ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ



จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อความสะดวก และสวยงาม
(เฉพาะหน้าจอใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์)
กรุณาคลิก จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อให้กรอบ
ค้นข้อความ ปรากฎที่ด้านซ้ายของหน้า

พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ สุตตันตปิฎกที่ ๒๕ ขุททกนิกาย
อปทาน ภาค ๒ พุทธวงศ์ จริยาปิฎก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๒. ภัททาลิวรรค] ๑. ภัททาลิเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก
ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๔๒. ภัททาลิวรรค
หมวดว่าด้วยพระภัททาลิเป็นต้น
๑. ภัททาลิเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระภัททาลิเถระ

(พระภัททาลิเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑] พระพุทธเจ้าพระนามว่าสุเมธะ ผู้เลิศ
ผู้ทรงเปี่ยมด้วยพระกรุณา ทรงเป็นผู้เลิศในโลก
ทรงเป็นมุนี เมื่อประสงค์วิเวก๑
จึงได้เสด็จไปยังภูเขาหิมพานต์
[๒] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสุเมธะ
ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก ทรงองอาจกว่าบุรุษ
ครั้นเสด็จไปยังภูเขาหิมพานต์แล้ว ได้ประทับนั่งขัดสมาธิ
[๓] พระพุทธเจ้าพระนามว่าสุเมธะ
ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก

เชิงอรรถ :
๑ วิเวก ในที่นี้หมายถึงกายวิเวก(ความสงัดกาย)และจิตตวิเวก(ความสงัดจิต) (ขุ.อป.อ. ๒/๔๓/๑๙๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๒. ภัททาลิวรรค] ๑. ภัททาลิเถราปทาน
ผู้เป็นบุรุษสูงสุด๑ พระองค์นั้น
ประทับนั่งเข้าสมาบัติตลอด ๗ วัน ๗ คืน
[๔] ข้าพเจ้าคอนหาบเข้าไปถึงกลางป่า
ณ ที่นั้นได้เห็นพระพุทธเจ้า
ผู้ข้ามโอฆะ๒ ได้แล้ว ไม่มีอาสวะ
[๕] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้หยิบไม้กวาดมากวาดอาศรม
ปักไม้เป็น ๔ เส้า ทำเป็นมณฑป
[๖] ข้าพเจ้าเก็บดอกสาละมามุงเป็นหลังคามณฑป
เป็นผู้มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี
ได้ไหว้พระผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลกแล้ว
[๗] พระพุทธเจ้าพระนามว่าสุเมธะ
ที่ชนทั้งหลายสรรเสริญกันว่า
มีพระปัญญาดังแผ่นดิน มีพระปัญญาดี
ประทับนั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ กำลังจะตรัสพระคาถาเหล่านี้
[๘] เทวดาทั้งปวงทราบว่า พระพุทธเจ้าจะทรงเปล่งวาจา
จึงพากันมาประชุมด้วยคิดว่า พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
ผู้มีพระจักษุ จะทรงแสดงธรรมโดยแน่แท้
[๙] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสุเมธะ
ผู้สมควรรับเครื่องบูชา ประทับนั่งในท่ามกลางหมู่เทวดา
ได้ตรัสพระคาถาดังต่อไปนี้ว่า
[๑๐] เราจักพยากรณ์ผู้ตั้งมณฑป
มีดอกสาละเป็นเครื่องมุงสำหรับเราตลอด ๗ วัน
ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าวเถิด

เชิงอรรถ :
๑ ผู้เป็นบุรุษสูงสุด หมายถึงผู้สูงกว่ามนุษย์ด้วยคุณธรรม (ขุ.อป.อ. ๒/๑๒๙/๓๕)
๒ โอฆะ หมายถึงกิเลสท่วมทับใจสัตว์มี ๔ คือ (๑) กาโมฆะ โอฆะคือกาม (๒) ภโวฆะ โอฆะคือภพ
(๓) ทิฏโฐฆะ โอฆะคือทิฏฐิ (๔) อวิชโชฆะ โอฆะคืออวิชชา (ขุ.เถร.อ. ๑/๑๕/๑๐๐, ที.ปา. (แปล)
๑๑/๓๑๒/๒๙๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๒. ภัททาลิวรรค] ๑. ภัททาลิเถราปทาน
[๑๑] ผู้นี้จักเกิดเป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็ตาม
จักเป็นผู้มีผิวพรรณเหมือนทองคำ
จักเสวยกามสุข มีโภคะล้นเหลือ
[๑๒] ช้างมาตังคะ ๖๐,๐๐๐ เชือก
ประดับด้วยเครื่องอลังการทุกอย่าง
รัดประโคนพานหน้าและพานหลังที่ทำด้วยทอง
ประกอบด้วยเครื่องประดับศีรษะและข่ายทอง
[๑๓] มีนายควาญช้างผู้ถือหอกซัดและขอขึ้นขี่บังคับประจำ
จักมาสู่ที่บำรุงของผู้นี้ ทั้งเวลาเช้าและเวลาเย็น
ผู้นี้จักเป็นผู้ที่ช้างเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว รื่นรมย์อยู่
[๑๔] ม้าสินธพชาติอาชาไนย ๖๐,๐๐๐ ตัว
ประดับด้วยเครื่องอลังการทุกอย่าง เป็นพาหนะที่มีฝีเท้าเร็ว
[๑๕] มีทหารม้าผู้เหน็บมีดสั้น ถือธนูขึ้นขี่บังคับประจำ
จักแวดล้อมผู้นี้อยู่เป็นนิตย์
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๑๖] รถ ๖๐,๐๐๐ คัน ประดับด้วยเครื่องอลังการทุกอย่าง
หุ้มหนังเสือเหลืองบ้าง หนังเสือโคร่งบ้าง มีธงปักหน้ารถ
[๑๗] มีพลขับถือธนูสวมเกราะประจำรถ
จักแวดล้อมผู้นี้อยู่เป็นนิตย์
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๑๘] หมู่บ้าน ๖๐,๐๐๐ หมู่ บริบูรณ์ด้วยเครื่องใช้ทุกอย่าง
มีทรัพย์และข้าวเปลือกล้นเหลือ บริบูรณ์ดีทุกประการ
จักปรากฏอยู่ทุกเมื่อ
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๑๙] กองทัพ ๔ เหล่า คือ พลช้าง พลม้า พลรถ
และพลเดินเท้า จักแวดล้อมผู้นี้อยู่เป็นนิตย์
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๒. ภัททาลิวรรค] ๑. ภัททาลิเถราปทาน
[๒๐] ผู้นี้จักรื่นรมย์ในเทวโลกตลอด ๑๑๘ กัป
จักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๑,๐๐๐ ชาติ
[๒๑] และจักครองเทวสมบัติตลอด ๓๐๐ ชาติ
จักเป็นเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์นับชาติไม่ถ้วน
[๒๒] ในกัปที่ ๓๐,๐๐๐ (นับจากกัปนี้ไป)
พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร
ทรงสมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก
[๒๓] ผู้นี้จักเป็นธรรมทายาทของพระศาสดาพระองค์นั้น
เป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต
กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว จักอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
[๒๔] ในกัปที่ ๓๐,๐๐๐ (นับจากกัปนี้ไป)
ข้าพเจ้าได้เห็นพระศาสดา ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
และได้แสวงหาอมตบท๑ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
[๒๕] การที่ข้าพเจ้ารู้ศาสนธรรมนี้
เป็นลาภที่ข้าพเจ้าได้ดีแล้ว
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๒๖] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นบุรุษอาชาไนย
ข้าพระองค์ขอนอบน้อมพระองค์
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นบุรุษผู้สูงสุด
ข้าพระองค์ขอนอบน้อมพระองค์
ข้าพระองค์ได้บรรลุอมตบทแล้ว
เพราะกล่าวสดุดีพระพุทธญาณ

เชิงอรรถ :
๑ อมตบท หมายถึงพระนิพพาน (ขุ.อป.อ. ๑/๒๖๗/๒๗๖, ขุ.อป.อ. ๒/๖๗/๑๐๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๒. ภัททาลิวรรค] ๑. ภัททาลิเถราปทาน
[๒๗] ข้าพเจ้าเกิดในกำเนิดใด ๆ
คือจะเกิดเป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็ตาม
ย่อมเป็นผู้มีความสุขในที่ทุกสถาน
นี้เป็นผลที่ข้าพเจ้ากล่าวสดุดีพระพุทธญาณ
[๒๘] ภพนี้เป็นภพสุดท้ายของข้าพเจ้า
ภพสุดท้ายกำลังเป็นไปอยู่
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพัน๑ ได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๒๙] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๓๐] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓๒ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๓๑] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔๓ วิโมกข์ ๘๔
และอภิญญา ๖๕ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระภัททาลิเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ภัททาลิเถราปทานที่ ๑ จบ

เชิงอรรถ :
๑ กิเลสเครื่องผูกพัน หมายถึงสังโยชน์ ๑๐ (ขุ.พุทฺธ.อ. ๒/๒๕๓)
๒ ที.ปา. (แปล) ๑๑/๓๐๕/๒๗๕, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๐๒/๒๔๓-๒๔๔
๓ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๗๒/๒๔๒-๒๔๓
๔ ที.ปา. (แปล) ๑๑/๓๓๙/๓๕๐-๓๕๑
๕ อภิญญา ๖ หมายถึงญาณพิเศษมี ๖ คือ (๑) อิทธิวิธิ(แสดงฤทธิ์ได้ต่าง ๆ) (๒) ทิพพโสต(หูทิพย์)
(๓) เจโตปริยญาณ(ญาณกำหนดรู้ใจผู้อื่นได้) (๔) ปุพเพนิวาสญาณ(ญาณเป็นเครื่องระลึกชาติได้)
(๕) ทิพพจักขุญาณ(ญาณคือตาทิพย์เห็นสัตว์ที่กำลังจุติและอุบัติได้) (๖) อาสวักขยญาณ(ญาณคือการ
ทำลายกิเลสให้สิ้นไป) (ขุ.อป.อ. ๑/๓๒/๑๒๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๒. ภัททาลิวรรค] ๒. เอกฉัตติยเถราปทาน
๒. เอกฉัตติยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระเอกฉัตติยเถระ
(พระเอกฉัตติยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๓๒] ข้าพเจ้าได้สร้างอาศรม เกลื่อนกล่นด้วยทรายขาวสะอาด
ใกล้แม่น้ำจันทภาคา และได้สร้างบรรณศาลาไว้
[๓๓] แม่น้ำจันทภาคานั้น เป็นแม่น้ำสายเล็กที่มีฝั่งลาด
และมีท่าราบเรียบ น่ารื่นรมย์ใจ มีปลาและเต่าชุกชุม
ทั้งยังเป็นที่อาศัยของจระเข้
[๓๔] หมี นกยูง เสือเหลือง นกการเวก และนกสาลิกา
ร่ำร้องระงมอยู่ทุกเวลา ประดับอาศรมของข้าพเจ้าให้งดงาม
[๓๕] นกดุเหว่ามีเสียงไพเราะ และหงส์มีเสียงเสนาะ
ก็ส่งเสียงร้องอยู่ใกล้อาศรมนั้น
ประดับอาศรมของข้าพเจ้าให้งดงาม
[๓๖] ราชสีห์ เสือโคร่ง หมูป่า หมี หมาป่า และหมาใน
เที่ยวส่งเสียงคำรนอยู่ตามซอกเขา
ประดับอาศรมของข้าพเจ้าให้งดงาม
[๓๗] เนื้อทราย กวาง สุนัขจิ้งจอก สุกร ก็มีมาก
ต่างส่งเสียงร้องอยู่ตามซอกเขา
ประดับอาศรมของข้าพเจ้าให้งดงาม
[๓๘] ต้นราชพฤกษ์ ต้นจำปา ต้นแคฝอย
ต้นย่านทราย ต้นอุโลก๑ และต้นอโศก
ประดับอาศรมของข้าพเจ้าให้งดงาม

เชิงอรรถ :
๑ ต้นอุโลก เป็นไม้ชนิดหนึ่ง เนื้อไม้สีขาว (ใช้ทำยาได้) เวลามีดอกส่งกลิ่นหอมฟุ้งไปทั่วทุกทิศ (ขุ.อิติ.อ.
๖๘๕/๑๙๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๒. ภัททาลิวรรค] ๒. เอกฉัตติยเถราปทาน
[๓๙] ต้นปรู ต้นคัดเค้า ต้นตีนเป็ด ต้นมะกล่ำหลวง
ต้นคนทีสอ และต้นกรรณิการ์
ล้วนมีดอกบานสะพรั่ง อยู่ใกล้ ๆ อาศรมของข้าพเจ้า
[๔๐] ต้นกากะทิง ต้นสาละ และต้นสน
รวมทั้งต้นมะม่วงป่า ล้วนมีดอกบานสะพรั่ง
ส่งกลิ่นหอมอบอวลคล้ายกลิ่นทิพย์
งดงามอยู่ใกล้ ๆ อาศรมของข้าพเจ้า
[๔๑] และที่ใกล้อาศรมนั้น มีต้นโพธิ์ ต้นประดู่
ต้นกระท้อน ต้นสาละ และต้นประยงค์
ล้วนมีดอกบานสะพรั่ง งดงามอยู่ใกล้ ๆ อาศรมของข้าพเจ้า
[๔๒] ต้นมะม่วง ต้นหว้า ต้นหมากหอมควาย
ต้นกระทุ่ม ต้นขานาง
ส่งกลิ่นหอมอบอวลคล้ายกลิ่นทิพย์
ประดับอาศรมของข้าพเจ้าให้งดงาม
[๔๓] ต้นอโศก ต้นมะขวิด และต้นกุหลาบ
ล้วนมีดอกบานสะพรั่ง
ส่งกลิ่นหอมอบอวลคล้ายกลิ่นทิพย์
ประดับอาศรมของข้าพเจ้าให้งดงาม
[๔๔] ต้นกระทุ่ม ต้นกล้วย ถั่วเหลือง
และต้นมะกล่ำดำ ล้วนผลิผลอยู่เนืองนิตย์
ประดับอาศรมของข้าพเจ้าให้งดงาม
[๔๕] ต้นสมอ ต้นมะขามป้อม ต้นมะม่วง
ต้นหว้า ต้นสมอพิเภก ต้นกระเบา ต้นรกฟ้า
ต้นมะตูม ก็ผลิผลอยู่ใกล้ ๆ อาศรมของข้าพเจ้า
[๔๖] ในที่ไม่ไกลจากอาศรม มีสระโบกขรณี
ซึ่งมีท่าราบเรียบ น่ารื่นรมย์ใจ
ดารดาษด้วยดอกบัวเผื่อน ดอกบัวหลวง และดอกบัวเขียว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๒. ภัททาลิวรรค] ๒. เอกฉัตติยเถราปทาน
[๔๗] ปทุมบางกอกำลังมีดอกตูม บางกอกำลังมีดอกบาน
บางกอก็มีกลีบและเกสร หลุดร่วง
อยู่ใกล้ ๆ อาศรมของข้าพเจ้า
[๔๘] ปลาสลาด ฝูงปลากระบอก ฝูงปลาสวาย
ฝูงปลาเค้า และฝูงปลาตะเพียน ต่างว่ายวนอยู่ในน้ำใส
ประดับอาศรมของข้าพเจ้าให้งดงาม
[๔๙] ต้นตาเสือ ต้นจงกลนี
และต้นลำเจียกซึ่งขึ้นอยู่ที่ริมฝั่ง
ส่งกลิ่นหอมอบอวลคล้ายกลิ่นทิพย์
ประดับอาศรมของข้าพเจ้าให้งดงาม
[๕๐] น้ำหวานไหลออกจากเหง้าบัว
นมสดและเนยใสไหลออกจากก้านบัว
ส่งกลิ่นหอมอบอวลคล้ายกลิ่นทิพย์
ประดับอาศรมของข้าพเจ้าให้งดงาม
[๕๑] ใกล้อาศรมนั้น มีเนินทรายที่สวยงามดาษดื่น
มีไม้ดอกที่อาศัยน้ำเป็นเครื่องหล่อเลี้ยง
ผลิดอกขาวบานสะพรั่ง
ประดับอาศรมของข้าพเจ้าให้งดงาม
[๕๒] ฤๅษีทั้งหลายผู้สวมชฎาและเครื่องบริขาร
นุ่งห่มผ้าหนังสัตว์ ทรงผ้าเปลือกไม้
ประดับอาศรมของข้าพเจ้าให้งดงาม
[๕๓] ฤๅษีทั้งหลายมีปกติทอดสายตาดูประมาณชั่วแอก
มีปัญญารักษาตน มีความประพฤติสงบ ไม่มีความยินดี
ไม่มีความกำหนัดในกาม อยู่ใกล้อาศรมของข้าพเจ้า
[๕๔] ฤๅษีทั้งหลายผู้มีขนรักแร้ เล็บ และมีขนงอกยาว
มีฟันเขรอะ มีธุลีบนศีรษะ คลุกฝุ่นและละออง
ล้วนอยู่ใกล้อาศรมของข้าพเจ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๒. ภัททาลิวรรค] ๒. เอกฉัตติยเถราปทาน
[๕๕] ฤๅษีเหล่านั้นล้วนเชี่ยวชาญอภิญญา
เหาะไปในท้องฟ้าได้ เมื่อเหาะขึ้นสู่ท้องฟ้า
ประดับอาศรมของข้าพเจ้าให้งดงาม
[๕๖] ครั้งนั้น ข้าพเจ้ามีศิษย์เหล่านั้นแวดล้อมอยู่ในป่าใหญ่
เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยความยินดีในฌาน
จนไม่รู้จักกลางคืนและกลางวัน
[๕๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพระนามว่าอัตถทัสสี
ผู้ทรงเป็นมหามุนี ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
เสด็จอุบัติขึ้น กำจัดความมืดมนคือโมหะให้พินาศไป
[๕๘] ครั้งนั้น ศิษย์บางรูปประสงค์จะเล่าเรียนคัมภีร์ลักษณะ
อันมีองค์ ๖๑ ในคัมภีร์พระเวท๒ ได้มายังสำนักของข้าพเจ้า
[๕๙] พระพุทธเจ้าพระนามว่าอัตถทัสสี ผู้ทรงเป็นมหามุนี
เสด็จอุบัติขึ้นในโลก เมื่อจะทรงประกาศสัจจะ ๔๓
จึงได้ทรงแสดงอมตบท๔

เชิงอรรถ :
๑ ลักษณะมีองค์ ๖ ในที่นี้หมายถึงมนตร์พรหมจินดามีองค์ ๖ คือ (๑) กัปปศาสตร์ (ว่าด้วยวิธีเกี่ยวกับ
การบูชายัญ) (๒) พยากรณ์ศาสตร์ (แสดงการแยกปกติ) (๓) นิรุตติศาสตร์ (แสดงศัพท์ เติมปัจจัย)
(๔) สิกขาศาสตร์ (แสดงฐานกรณ์และปตยนะของอักษร) (๕) ฉันโทวิจิติศาสตร์ (แสดงลักษณะของฉันท์)
(๖) โชติสัตถศาสตร์ (แสดงลักษณะของดวงดาวที่บ่งถึงความเจริญและความเสื่อมของมนุษย์) (ขุ.วิ.อ.
๙๙๖/๓๐๙)
ดูเทียบเวทางคศาสตร์ของพราหมณ์ มี ๖ อย่างคือ (๑) ศึกษา คือ วิธีออกเสียงคำในพระเวทให้ถูกต้อง
(๒) ไวยากรณ์ (๓) ฉันท์ (๔) เชยติส คือดาราศาสตร์ (๕) นิรุกติ คือกำเนิดของคำ และ (๖) กัลปะคือ
วิธีจัดทำพิธี (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ หน้า ๗๗๓)
๒ คัมภีร์พระเวท หมายถึงคัมภีร์ของพราหมณ์ คัมภีร์ที่เขียนด้วยภาษาสันสกฤตของชาวฮินดู (ที.สี.อ.
๑/๒๕๖/๒๒๓)
๓ สัจจะ ๔ ได้แก่ (๑) ทุกข์ (๒) สมุทัย (๓) นิโรธ (๔) มรรค (ขุ.อป.อ. ๒/๗/๑๐๗)
๔ ดูเชิงอรรถหน้า ๔ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๒. ภัททาลิวรรค] ๒. เอกฉัตติยเถราปทาน
[๖๐] ข้าพเจ้าเป็นผู้มีความยินดี ร่าเริงบันเทิงใจ
มุ่งหวังกองธรรมอันวิเศษ ออกจากอาศรมแล้วพูดดังนี้ว่า
[๖๑] พระพุทธเจ้าผู้ทรงลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ๑
เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก มาเถิด ท่านทั้งหลาย
เราทุกคนจักไปยังสำนักของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
[๖๒] ศิษย์เหล่านั้นผู้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนบรรลุบารมีในพระสัทธรรม
แสวงหาประโยชน์อย่างยอดเยี่ยม ต่างรับว่า สาธุ
[๖๓] ครั้งนั้น พวกเขาสวมชฎาและทรงบริขาร
นุ่งห่มผ้าหนังสัตว์
แสวงหาประโยชน์อย่างยอดเยี่ยมได้ออกไปจากป่า

เชิงอรรถ :
๑ ลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ คือ (๑) มีฝ่าพระบาทราบเสมอกัน (๒) พื้นใต้พระบาททั้ง ๒ มีจักร
ปรากฏข้างละ ๑,๐๐๐ ซี่ มีกงและดุม มีส่วนประกอบครบบริบูรณ์ทุกอย่าง (๓) ทรงมีส้นพระบาทยาว
(๔) มีองคุลียาว (๕) ทรงมีฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทอ่อนนุ่ม (๖) ทรงมีลายดุจตาข่ายที่ฝ่าพระหัตถ์
และฝ่าพระบาท (๗) ทรงมีพระบาทเหมือนสังข์คว่ำ (๘) ทรงมีพระชงฆ์เรียว ดุจแข้งเนื้อทราย (๙) เมื่อ
ประทับยืน ไม่ต้องทรงก้มก็ทรงลูบคลำถึงพระชานุได้ด้วยพระหัตถ์ทั้ง ๒ (๑๐) ทรงมีพระคุยหฐานเร้น
อยู่ในฝัก (๑๑) ทรงมีพระฉวีวรรณงดงามดุจหุ้มด้วยทองคำ (๑๒) ทรงมีพระฉวีละเอียดจนละอองธุลี
ไม่เกาะติดพระวรกาย (๑๓) ทรงมีพระโลมชาติงอกเส้นเดียวในแต่ละขุม (๑๔) ทรงมีพระโลมชาติสีเข้ม
เหมือนดอกอัญชันขดเป็นลอนเวียนขวามีปลายตั้งขึ้น (๑๕) ทรงมีพระวรกายตรงดุจกายพรหม (๑๖) ทรง
มีพระมังสะพูนเต็มในที่ ๗ แห่ง (คือ หลังพระหัตถ์ทั้ง ๒ หลังพระบาททั้ง ๒ พระอังสะทั้ง ๒ และ
ลำพระศอ) (๑๗) ทรงมีส่วนพระวรกายบริบูรณ์ดุจกึ่งกายท่อนหน้าของพญาราชสีห์ (๑๘) ทรงมีพระ
ปฤษฎางค์เต็มเรียบเสมอกัน (๑๙) ทรงมีพระวรกายเป็นปริมณฑลดุจปริมณฑลต้นไทร พระวรกายสูง
เท่ากับวาของพระองค์ (๒๐) ทรงมีพระศอกลมงามเต็มเสมอ (๒๑) ทรงมีเส้นประสาทสำหรับรับรส
พระกระยาหารได้อย่างดี (๒๒) ทรงมีพระหนุดุจคางราชสีห์ (๒๓) ทรงมีพระทนต์ ๔๐ ซี่ (๒๔) ทรง
มีพระทนต์เรียบเสมอกัน (๒๕) ทรงมีพระทนต์ไม่ห่างกัน (๒๖) ทรงมีพระเขี้ยวแก้วขาวงาม (๒๗) ทรง
มีพระชิวหาใหญ่ (๒๘) ทรงมีพระสุรเสียงดุจเสียงพรหมตรัสมีสำเนียงดุจนกการเวก (๒๙) ทรงมีพระเนตร
ดำสนิท (๓๐) ทรงมีดวงพระเนตรแจ่มใสดุจตาลูกโคเพิ่งคลอด (๓๑) ทรงมีพระอุณาโลมระหว่างพระโขนง
สีขาวอ่อนเหมือนปุยนุ่น (๓๒) ทรงมีพระเศียรงดงามดุจประดับด้วยกรอบพระพักตร์ (ที.ปา. (แปล)
๑๑/๒๐๐/๑๕๙-๑๖๓, ม.ม. (แปล) ๑๓/๓๘๖/๔๗๔-๔๗๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๒. ภัททาลิวรรค] ๒. เอกฉัตติยเถราปทาน
[๖๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพระนามว่าอัตถทัสสี
มีพระยศยิ่งใหญ่๑ เมื่อจะทรงประกาศสัจจะ ๔
จึงได้ทรงแสดงอมตบท
[๖๕] ข้าพเจ้ายืนถือเศวตฉัตรกั้นถวายพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
ครั้นกั้นถวายตลอดวันหนึ่งแล้ว
ได้กราบไหว้พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
[๖๖] อนึ่ง พระผู้มีพระภาคพระนามว่าอัตถทัสสี
ผู้เจริญที่สุดในโลก ทรงองอาจกว่านรชน
ประทับนั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์แล้ว ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
[๖๗] เราจักพยากรณ์ผู้ที่มีจิตเลื่อมใส
ซึ่งได้กั้นเศวตฉัตรให้เราด้วยมือทั้ง ๒ ของตน
ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าวเถิด
[๖๘] เมื่อผู้นี้เกิดเป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็ตาม
ประชาชนจักคอยกั้นฉัตรให้ทุกเมื่อ
นี้เป็นผลแห่งการกั้นฉัตรถวาย
[๖๙] ผู้นี้จักรื่นรมย์ในเทวโลกตลอด ๗๗ กัป
จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๑,๐๐๐ ชาติ
[๗๐] และจักครองเทวสมบัติตลอด ๗๗ ชาติ
จักเป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์นับชาติไม่ถ้วน
[๗๑] ในกัปที่ ๑๑๘ (นับจากกัปนี้ไป)
พระศาสดาพระนามว่าโคดมศากยะ ผู้ประเสริฐ
ผู้มีพระจักษุ จักเสด็จอุบัติขึ้น
กำจัดความมืดมนให้พินาศไป

เชิงอรรถ :
๑ มีพระยศใหญ่ หมายถึงมียศแผ่ไปในโลก ๓ คือ มนุษยโลก เทวโลก พรหมโลก (ขุ.อป.อ. ๑/๖๑๔/๓๖๔,
ขุ.อป.อ. ๒/๓๕๑/๓๓๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๒. ภัททาลิวรรค] ๒. เอกฉัตติยเถราปทาน
[๗๒] ผู้นี้จักเป็นธรรมทายาทของพระศาสดาพระองค์นั้น
เป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต
กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงเป็นผู้ไม่มีอาสวะแล้วนิพพาน
[๗๓] นับแต่กาลที่ข้าพเจ้าได้ทำกรรม
คือการได้กั้นฉัตรถวายพระพุทธเจ้าเป็นต้นมา
ในระหว่างนี้ข้าพเจ้าไม่รู้ภาวะที่ตนไม่เคยได้รับการกั้นเศวตฉัตรให้
[๗๔] ภพนี้เป็นภพสุดท้ายของข้าพเจ้า
ภพสุดท้ายกำลังเป็นไปอยู่
ทุกวันนี้เหนือศีรษะของข้าพเจ้า
ก็ได้มีการกั้นฉัตรตลอดกาลเป็นนิตย์
[๗๕] โอหนอ กรรมข้าพเจ้าได้ทำไว้ดีแล้ว
ในสำนักพระพุทธเจ้าพระนามว่าอัตถทัสสี ผู้มั่นคง
อาสวะทั้งปวงสิ้นไปแล้ว
บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก
[๗๖] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๗๗] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๗๘] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระเอกฉัตติยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
เอกฉัตติยเถราปทานที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๒. ภัททาลิวรรค] ๓. ติณสูลกฉาทนิยเถราปทาน
๓. ติณสูลกฉาทนิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระติณสูลกฉาทนิยเถระ
(พระติณสูลกฉาทนิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๗๙] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้พิจารณาความเกิด ความแก่
และความตายแล้วปลีกตัวออกบวชเป็นบรรพชิตแต่ผู้เดียว
[๘๐] เมื่อข้าพเจ้าเที่ยวไปโดยลำดับ ได้ไปถึงฝั่งแม่น้ำคงคา
เห็นพื้นดินที่ฝั่งแม่น้ำคงคานั้นราบเรียบ
[๘๑] จึงได้สร้างอาศรมที่ฝั่งแม่น้ำคงคานั้น
อยู่ในอาศรมของข้าพเจ้านั้น
ที่จงกรมซึ่งประกอบด้วยหมู่นกนานาชนิด
ซึ่งข้าพเจ้าสร้างไว้ดีแล้ว
[๘๒] สัตว์ทั้งหลายอยู่ใกล้ข้าพเจ้า ก็ส่งเสียงน่ารื่นรมย์ใจ
ข้าพเจ้ารื่นรมย์กับสัตว์เหล่านั้นอยู่ในอาศรม
[๘๓] ที่ใกล้อาศรมของข้าพเจ้ามีราชสีห์สามารถก้าวไปได้โดยทิศทั้ง ๔
ออกจากที่อยู่แล้ว คำรามเหมือนเสียงอสนีบาต
[๘๔] ก็เมื่อราชสีห์คำรน ข้าพเจ้าเกิดความร่าเริง
ค้นหาราชสีห์อยู่ จึงได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
[๘๕] ครั้นได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นผู้นำชั้นเลิศของโลก
พระนามว่าติสสะ ผู้เป็นเทพยิ่งกว่าเทพ
ข้าพเจ้ามีจิตร่าเริง บันเทิงใจ จึงบูชาพระองค์
ด้วยเกสรดอกกากะทิง
[๘๖] ได้ชื่นชมพระองค์ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ผู้เหมือนดวงอาทิตย์กำลังอุทัย
เหมือนต้นพญาไม้สาละซึ่งมีดอกเบ่งบาน
เหมือนดาวประกายพรึกกำลังทอแสงสว่างไสวว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๒. ภัททาลิวรรค] ๓. ติณสูลกฉาทนิยเถราปทาน
[๘๗] พระสัพพัญญู พระองค์ทรงยังโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก
ให้สว่างด้วยพระญาณของพระองค์
เขาเหล่านั้นทำให้พระองค์ทรงพอพระทัยจึงพ้นจากชาติได้
[๘๘] เพราะไม่ได้เฝ้าพระสัพพัญญูพุทธเจ้าผู้เห็นธรรมทั้งปวง
สัตว์ทั้งหลายจึงถูกราคะและโทสะครอบงำ
แล้วพากันตกไปในนรกอเวจี
[๘๙] เพราะอาศัยการได้เข้าเฝ้าพระองค์
ผู้สัพพัญญู ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
สัตว์ทั้งปวงจึงหลุดพ้นจากภพแล้วบรรลุอมตบท
[๙๐] เมื่อใด พระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้มีพระจักษุ
มีพระรัศมี เสด็จอุบัติขึ้น
เมื่อนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้นจะทรงแผ่พระรัศมีมีแสงสว่าง
แผดเผากิเลส(ของเหล่าสัตว์) ให้สิ้นไป
[๙๑] ข้าพเจ้าได้สดุดีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าติสสะ
ผู้ทรงเป็นผู้นำชั้นเลิศของสัตว์โลกแล้ว มีจิตร่าเริง
บันเทิงใจ ได้บูชาพระองค์ด้วยดอกมะลิซ้อน
[๙๒] พระพุทธเจ้าพระนามว่าติสสะ ผู้ทรงเป็นผู้นำชั้นเลิศของโลก
ทรงทราบความดำริของข้าพเจ้า
ประทับนั่งบนอาสนะของพระองค์แล้ว ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
[๙๓] เราจักพยากรณ์ผู้ที่เลื่อมใส ถือดอกไม้กั้น(แดด)ให้เรา
ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าวเถิด
[๙๔] ผู้นั้นจักครองเทวสมบัติในเทวโลกตลอด ๒๕ ชาติ
จักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๗๕ ชาติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๒. ภัททาลิวรรค] ๓. ติณสูลกฉาทนิยเถราปทาน
[๙๕] จักเป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์นับชาติไม่ถ้วน
นี้เป็นผลแห่งการกระทำการบูชาด้วยดอกไม้
[๙๖] ก็คนที่ใช้ดอกไม้กั้น(แดด)ให้เราตั้งแต่เช้าจดเย็น
จักเป็นผู้ประกอบด้วยกรรมดีปรากฏต่อไปในภายภาคหน้า
[๙๗] เขาปรารถนาสิ่งใด ๆ
สิ่งนั้น ๆ จักปรากฏตามความประสงค์
เขาทำความดำริชอบให้บริบูรณ์
จักเป็นผู้ไม่มีอาสวะแล้วนิพพาน
ภาณวารที่ ๑๘ จบ

[๙๘] ข้าพเจ้านั่งบนอาสนะเดียว มีสติสัมปชัญญะ
เผากิเลสทั้งหลายแล้ว ได้บรรลุพระอรหัต
[๙๙] ไม่ว่าข้าพเจ้าจะเดิน ยืน นั่ง นอนอยู่ก็ตาม
ย่อมระลึกถึงพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุดอยู่ทุกขณะ
[๑๐๐] ความพร่องในปัจจัยนั้น ๆ
คือจีวร บิณฑบาต คิลานปัจจยเภสัชบริขาร ที่นอน ที่นั่ง
มิได้มีแก่ข้าพเจ้า
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๑๐๑] บัดนี้ ข้าพเจ้าบรรลุอมตบทที่สงบระงับอย่างยอดเยี่ยม
กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
[๑๐๒] ในกัปที่ ๙๒ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้บูชาพระพุทธเจ้าไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๒. ภัททาลิวรรค] ๔. มธุมังสทายกเถราปทาน
[๑๐๓] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวง๑ ข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๐๔] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๐๕] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระติณสูลกฉาทนิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ติณสูลกฉาทนิยเถราปทานที่ ๓ จบ

๔. มธุมังสทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระมธุมังสทายกเถระ
(พระมธุมังสทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๐๖] ข้าพเจ้าเป็นคนฆ่าสุกรอยู่ในกรุงพันธุมดี
ได้ต้มเครื่องในแล้วใส่ผสมลงในเนื้อชั้นดี
[๑๐๗] ข้าพเจ้าได้ไปยังที่ประชุมสงฆ์ รับบาตรมาใบหนึ่ง
บรรจุบาตรนั้นจนเต็มแล้ว ได้ถวายภิกษุสงฆ์

เชิงอรรถ :
๑ ภพทั้งปวง ได้แก่ กรรมภพ อุปัตติภพ, กามภพ รูปภพ อรูปภพ, สัญญีภพ อสัญญีภพ เนวสัญญีนา-
สัญญีภพ, เอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ (ขุ.เถร.อ. ๑/๑๒๑/๓๗๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๒. ภัททาลิวรรค] ๓. ติณสูลกฉาทนิยเถราปทาน
[๑๐๘] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้ถวายพระสังฆเถระด้วยคิดว่า
ด้วยผลแห่งการถวายบาตรที่บรรจุเนื้อจนเต็มนี้
ข้าพเจ้าจักได้สุขอันไพบูลย์
[๑๐๙] เขาเสวยสมบัติ ๒ อย่างแล้ว
ถูกมูลกุศลกรรมเก่าชักให้
มาถึงภพสุดท้ายแล้วจักเผากิเลสได้
[๑๑๐] ข้าพเจ้าทำจิตให้เลื่อมใสในทานนั้น
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ณ ที่นั้น ข้าพเจ้ากิน ดื่ม ได้สุขอันไพบูลย์
[๑๑๑] ไม่ว่าข้าพเจ้าจะอยู่ที่มณฑปหรือที่โคนไม้
ข้าพเจ้าก็จักนึกถึงบุพกรรมเสมอ
ในขณะที่ข้าพเจ้านึกถึงบุพกรรมอยู่นั้น
ห่าฝนแห่งข้าวและน้ำตกลงมาเพื่อข้าพเจ้า
[๑๑๒] นี้เป็นภพสุดท้ายของข้าพเจ้า
ภพสุดท้ายกำลังเป็นไปอยู่
ถึงในภพนี้ข้าวและน้ำก็ตกลงมาเพื่อข้าพเจ้าตลอดกาลทุกเมื่อ
[๑๑๓] ด้วยอานิสงส์แห่งการถวายเนื้อชั้นดีนั้นนั่นแหละ
เมื่อข้าพเจ้าเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพแล้ว
จึงกำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
[๑๑๔] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ให้ทานไว้ในครั้งนั้น
ไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายเนื้อชั้นดี
[๑๑๕] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๒. ภัททาลิวรรค] ๕. นาคปัลลวกเถราปทาน
[๑๑๖] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๑๗] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระมธุมังสทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
มธุมังสทายกเถราปทานที่ ๔ จบ

๕. นาคปัลลวกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระนาคปัลลวกเถระ
(พระนาคปัลลวกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๑๘] ข้าพเจ้าอาศัยอยู่ที่พระราชอุทยานในกรุงพันธุมดี
พระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ได้ประทับนั่งอยู่ใกล้อาศรมของข้าพเจ้า
[๑๑๙] ข้าพเจ้าได้ถือยอดอ่อนไม้กากะทิงบูชาพระพุทธเจ้า
มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี ได้ถวายอภิวาทพระสุคตแล้ว
[๑๒๐] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ใช้ยอดอ่อนบูชา(พระพุทธเจ้า)ไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๑๒๑] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๒. ภัททาลิวรรค] ๖. เอกทีปิยเถราปทาน
[๑๒๒] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๒๓] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระนาคปัลลวกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
นาคปัลลวกเถราปทานที่ ๕ จบ

๖. เอกทีปิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระเอกทีปิยเถระ
(พระเอกทีปิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๒๔] เมื่อพระสุคตพระนามว่าสิทธัตถะ
ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก ปรินิพพานแล้ว
มนุษย์พร้อมทั้งเทวดาทั้งปวง
ต่างก็บูชาพระองค์ผู้สูงสุดแห่งเทวดาและมนุษย์๑ทั้งหลาย
[๑๒๕] และเมื่อเขาช่วยกันยกพระสิทธัตถะ
ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลกขึ้นบนจิตกาธานแล้ว
ต่างก็บูชาจิตกาธานของพระศาสดาตามกำลังของตน
[๑๒๖] ข้าพเจ้าได้ตามประทีปให้ลุกโพลงไว้ใกล้จิตกาธาน
ประทีปของข้าพเจ้าลุกโพลงอยู่จนถึงเวลาดวงอาทิตย์อุทัย
[๑๒๗] ด้วยกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ดีนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น

เชิงอรรถ :
๑ เทวดาและมนุษย์ ในที่นี้หมายถึงเทวดา พรหม และมนุษย์ (ขุ.อป.อ. ๒/๙/๑๐๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๒. ภัททาลิวรรค] ๖. เอกทีปิยเถราปทาน
ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดยังสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๑๒๘] ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้น
วิมานที่บุญกรรมได้ทำไว้เป็นอย่างดีเพื่อข้าพเจ้า
เรียกกันว่าเอกทีปิวิมาน
มีประทีป ๑๐๐,๐๐๐ ดวง
ส่องสว่างอยู่ในวิมานของข้าพเจ้า
[๑๒๙] ร่างกายของข้าพเจ้าสว่างไสวอยู่ทุกเมื่อ
เหมือนดวงอาทิตย์อุทัย
สรีระของข้าพเจ้ามีแสงสว่างด้วยรัศมีในกาลทุกเมื่อ
[๑๓๐] ข้าพเจ้ามีจักษุมองทะลุฝา กำแพง
และภูเขา โดยรอบ ๑๐๐ โยชน์
[๑๓๑] รื่นรมย์อยู่ในเทวโลกตลอด ๗๗ ชาติ
ได้ครองเทวสมบัติตลอด ๓๑ ชาติ
[๑๓๒] ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๒๘ ชาติ
และได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์นับชาติไม่ถ้วน
[๑๓๓] ข้าพเจ้าจุติจากเทวโลกแล้วเกิดในครรภ์มารดา
แม้อยู่ในครรภ์มารดาข้าพเจ้าก็ไม่หลับตา
[๑๓๔] ข้าพเจ้าเกิดได้ ๔ ขวบ ก็ออกบวชเป็นบรรพชิต
ยังไม่ถึงกึ่งเดือนก็ได้บรรลุอรหัตตผล
[๑๓๕] ข้าพเจ้าชำระทิพยจักษุให้หมดจดวิเศษแล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
กิเลสทั้งปวงข้าพเจ้าก็ตัดได้แล้ว
นี้เป็นผลแห่งประทีปดวงเดียว
[๑๓๖] ข้าพเจ้ามองทะลุฝา กำแพง และภูเขาทั้งสิ้นได้
นี้เป็นผลแห่งประทีปดวงเดียว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๒. ภัททาลิวรรค] ๗. อุจฉังคปุปผิยเถราปทาน
[๑๓๗] สำหรับข้าพเจ้า ภูมิภาคที่ขรุขระย่อมเป็นสภาพที่ราบเรียบ
ความมืดย่อมไม่ปรากฏ ข้าพเจ้าไม่เห็นความมืด
นี้เป็นผลแห่งประทีปดวงเดียว
[๑๓๘] ในกัปที่ ๙๔ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายประทีปไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งประทีปดวงเดียว
[๑๓๙] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๔๐] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๔๑] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระเอกทีปิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
เอกทีปิยเถราปทานที่ ๖ จบ

๗. อุจฉังคปุปผิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอุจฉังคปุปผิยเถระ
(พระอุจฉังคปุปผิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๔๒] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นช่างดอกไม้อยู่ในกรุงพันธุมดี
ข้าพเจ้าเก็บ(ดอกไม้)ใส่เต็มชายพก แล้วได้ไปในย่านตลาด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๒. ภัททาลิวรรค] ๗. อุจฉังคปุปผิยเถราปทาน
[๑๔๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
มีภิกษุสงฆ์ห้อมล้อมแล้ว เสด็จออกไปด้วยอานุภาพใหญ่
[๑๔๔] ข้าพเจ้าได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี
ผู้ส่องโลกให้โพลงทั่ว ทรงช่วยสัตว์โลกให้ข้ามพ้น
จึงหยิบดอกไม้ออกจากชายพกบูชาพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
[๑๔๕] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
การที่ข้าพเจ้าได้บูชาพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุดไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๑๔๖] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๔๗] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๔๘] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระอุจฉังคปุปผิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
อุจฉังคปุปผิยเถราปทานที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๒. ภัททาลิวรรค] ๘. ยาคุทายกเถราปทาน
๘. ยาคุทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระยาคุทายกเถระ
(พระยาคุทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๔๙] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้พาแขกมาบ้าน
เห็นแม่น้ำเต็มฝั่ง จึงเข้าไปยังสังฆาราม
[๑๕๐] ภิกษุทั้งหลายผู้ถือธุดงค์ข้อการอยู่ป่าเป็นวัตร
เข้าฌาน มีจีวรเศร้าหมอง
ยินดีในความสงัด เป็นนักปราชญ์
อาศัยอยู่ในสังฆาราม
[๑๕๑] ทางไปบิณฑบาตของภิกษุผู้หลุดพ้นดีแล้ว
ผู้คงที่เหล่านั้น ถูกตัดขาดแล้ว
ในเวลาต่อมาเมื่อน้ำท่วม
ท่านไปบิณฑบาตไม่ได้
[๑๕๒] ข้าพเจ้ามีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี
เกิดปีติปราโมทย์ ประนมมือ
ถือข้าวสาร (ต้ม) ข้าวยาคูแล้วถวาย
[๑๕๓] ข้าพเจ้าเลื่อมใส ถวายข้าวยาคูที่ต้มด้วยมือทั้ง ๒ ของตน
เมื่อปรารภถึงกรรมของตนแล้วจึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๑๕๔] วิมานแก้วมณีได้เกิดแก่ข้าพเจ้าในหมู่เทพชั้นดาวดึงส์
ข้าพเจ้าประกอบด้วยหมู่เทพนารี บันเทิงอยู่ในวิมานที่อุดม
[๑๕๕] ข้าพเจ้าได้เป็นจอมเทพครองเทวสมบัติตลอด ๓๓ ชาติ
ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิครองมหาราชสมบัติ ๓๐ ชาติ
[๑๕๖] ได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์นับชาติไม่ถ้วน
เสวยยศในเทวโลกบ้าง ในมนุษยโลกบ้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๒. ภัททาลิวรรค] ๘. ยาคุทายกเถราปทาน
[๑๕๗] เมื่อถึงภพสุดท้าย ข้าพเจ้าได้สละทรัพย์สมบัติทั้งปวง
ออกบวชเป็นบรรพชิต ขณะที่ปลงผมเสร็จ
[๑๕๘] ข้าพเจ้าพิจารณาร่างกายโดยความสิ้นไปและความเสื่อมไป
ก็ได้บรรลุอรหัตตผลก่อนการรับสิกขาบท
[๑๕๙] ทานอันประเสริฐที่เกิดจากมือเรา
ซึ่งเราประกอบดีแล้ว ชื่อว่าเป็นอันให้ดีแล้ว
เพราะการถวายข้าวยาคูนั้นเอง
ข้าพเจ้าจึงได้บรรลุบทที่ไม่หวั่นไหว๑
[๑๖๐] ข้าพเจ้าไม่รู้สึกว่ามีความเศร้าโศก ความร่ำไร
ความป่วยไข้ ความกระวนกระวาย
ความเดือดร้อนใจเกิดขึ้นเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายข้าวยาคู
[๑๖๑] โอหนอ ข้าวยาคูข้าพเจ้าได้ถวายดีแล้วหนอ
ข้าพเจ้าได้ถวายข้าวยาคูแด่หมู่พระสงฆ์
ผู้เป็นเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยม
จึงได้รับอานิสงส์ ๕ ประการ
[๑๖๒] คือ (๑) ไม่มีความเจ็บไข้ (๒) มีรูปงาม
(๓) ตรัสรู้ธรรมเร็วพลัน (๔) ได้ข้าวและน้ำ (๕) มีอายุยืน
[๑๖๓] บุคคลใด ๆ ยังโสมนัสให้เกิดอยู่
ถวายข้าวยาคูแด่หมู่พระสงฆ์
บุคคลนั้นเป็นบัณฑิตพึงได้รับอานิสงส์ ๕ ประการเหล่านี้
[๑๖๔] กิจทุกอย่างที่ควรทำ๒ ข้าพเจ้าก็ได้ทำเสร็จแล้ว
ภพทั้งหลายข้าพเจ้าก็เพิกถอนได้แล้ว
อาสวะทั้งปวงสิ้นไปแล้ว
บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก

เชิงอรรถ :
๑ บทที่ไม่หวั่นไหว หมายถึงพระนิพพาน (ขุ.อป.อ. ๑/๒๖๖/๒๗๖)
๒ กิจทุกอย่างที่ควรทำ ในที่นี้หมายถึงการกำจัดกิเลสให้สิ้นไป (ขุ.อป.อ. ๑/๓๕๔/๒๘๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๒. ภัททาลิวรรค] ๙. ปัตโถทนทายกเถราปทาน
[๑๖๕] ข้าพเจ้าจักเที่ยวไปนมัสการพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
และพระธรรมอันดี
จากบ้านหนึ่งไปยังบ้านหนึ่ง จากเมืองหนึ่งไปยังเมืองหนึ่ง
[๑๖๖] ในกัปที่ ๓๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
การที่ข้าพเจ้าได้ถวายทานไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายข้าวยาคู
[๑๖๗] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๖๘] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๖๙] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระยาคุทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ยาคุทายกเถราปทานที่ ๘ จบ

๙. ปัตโถทนทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระปัตโถทนทายกเถระ
(พระปัตโถทนทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๗๐] เมื่อก่อน ข้าพเจ้าชอบเที่ยวไปในป่า เป็นคนทำงานในป่าเสมอ
ถือข้าวสุกที่หุงจากข้าวสาลีแล่งหนึ่งแล้วได้ไปทำงาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๒. ภัททาลิวรรค] ๙. ปัตโถทนทายกเถราปทาน
[๑๗๑] ณ ที่นั้น ข้าพเจ้าได้เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า
ผู้ตรัสรู้เอง ไม่ทรงพ่ายแพ้
เสด็จออกจากป่าเพื่อบิณฑบาต
ครั้นเห็นแล้วก็ทำจิตให้เลื่อมใส (คิดว่า)
[๑๗๒] เราทำการงานให้คนอื่น บุญเราก็ไม่มี
คงมีแต่ข้าวสุกที่หุงจากข้าวสาลีแล่งหนึ่งนี้
เราจะนิมนต์พระมุนีนี้ให้เสวย
[๑๗๓] ข้าพเจ้าจึงหยิบข้าวสุกที่หุงจากข้าวสาลีแล่งหนึ่ง
ถวายพระสยัมภู ฝ่ายพระมหามุนีก็ได้เสวย
ขณะที่ข้าพเจ้าจ้องดูอยู่(นั่นเอง)
[๑๗๔] ด้วยกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๑๗๕] ข้าพเจ้าได้เป็นจอมเทพครองเทวสมบัติตลอด ๓๒ ชาติ
ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๓๓ ชาติ
[๑๗๖] ได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์นับชาติไม่ถ้วน
ข้าพเจ้าเป็นผู้มีความสุข มียศ
นี้เป็นผลแห่งการถวายข้าวสุกที่หุงจากข้าวสาลีแล่งหนึ่ง
[๑๗๗] เมื่อข้าพเจ้าเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพน้อยภพใหญ่
ได้ทรัพย์นับไม่ถ้วน ข้าพเจ้าไม่มีความบกพร่องในโภคะเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายข้าวสุกที่หุงจากข้าวสาลีแล่งหนึ่ง
[๑๗๘] โภคะทั้งหลายเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้าเหมือนกระแสน้ำ
ข้าพเจ้าไม่สามารถจะนับได้
นี้เป็นผลแห่งการถวายข้าวสุกที่หุงจากข้าวสาลีแล่งหนึ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๒. ภัททาลิวรรค] ๙. ปัตโถทนทายกเถราปทาน
[๑๗๙] ด้วยกรรมนั้น ข้าพเจ้าได้รับคำเชิญว่า เชิญเคี้ยวกินสิ่งนี้
เชิญบริโภคสิ่งนี้ เชิญนอนบนที่นอนนี้ ดังนี้แล
ข้าพเจ้าจึงเป็นผู้มีความสุข
นี้เป็นผลแห่งการถวายข้าวสุกที่หุงจากข้าวสาลีแล่งหนึ่ง
[๑๘๐] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายทานไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายข้าวสุกที่หุงจากข้าวสาลีแล่งหนึ่ง
[๑๘๑] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๘๒] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๘๓] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระปัตโถทนทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
ปัตโถทนทายกเถราปทานที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๒. ภัททาลิวรรค] ๑๐. มัญจทายกเถราปทาน
๑๐. มัญจทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระมัญจทายกเถระ
(พระมัญจทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๘๔] เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ
ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ผู้ประกอบด้วยพระกรุณา ปรินิพพานแล้ว
เมื่อปาพจน์๑กำลังแพร่หลายไป
เทวดาและมนุษย์พากันสักการะแล้ว
[๑๘๕] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นคนจัณฑาล
มีอาชีพทำเตียงนอนและตั่ง ข้าพเจ้าเลี้ยงชีพ
และ เลี้ยงดูบุตรภรรยาด้วยการงานนั้น
[๑๘๖] ข้าพเจ้าเลื่อมใส(ในพระศาสนา)
จึงทำเตียงนอนอย่างประณีตด้วยมือของตน
แล้วได้เข้าไปถวายแด่ภิกษุสงฆ์ด้วยตนเอง
[๑๘๗] ด้วยกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
เมื่อข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๑๘๘] ข้าพเจ้าถึงเทวโลก
ได้บันเทิงอยู่ในหมู่เทพชั้นดาวดึงส์
ที่นอนซึ่งมีราคามากเกิดขึ้นตามความปรารถนา
[๑๘๙] ข้าพเจ้าได้เป็นจอมเทพครองเทวสมบัติตลอด ๕๐ ชาติ
ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๘๐ ชาติ

เชิงอรรถ :
๑ ปาพจน์ หมายถึงพระไตรปิฎกที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้ (ขุ.อป.อ. ๑/๖๒๔/๓๖๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๒. ภัททาลิวรรค] ๑๐. มัญจทายกเถราปทาน
[๑๙๐] และได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์นับชาติไม่ถ้วน
เป็นผู้มีความสุข มียศ
นี้เป็นผลแห่งการถวายเตียงนอน
[๑๙๑] ครั้นข้าพเจ้าจุติจากเทวโลกมายังภพมนุษย์แล้ว
ที่นอนอย่างดี อันเหมาะสำหรับผู้สูงศักดิ์เกิดแก่ข้าพเจ้า
[๑๙๒] ภพนี้เป็นภพสุดท้ายของข้าพเจ้า
ภพสุดท้ายกำลังเป็นไปอยู่
แม้ในวันนี้ที่นอนก็ได้ปรากฏขึ้นในเวลาจะนอนเหมือนกัน
[๑๙๓] ในกัปที่ ๙๔ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายทานไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายเตียง
[๑๙๔] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๙๕] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๙๖] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระมัญจทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
มัญจทายกเถราปทานที่ ๑๐ จบ
ภัททาลิวรรคที่ ๔๒ จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๒. ภัททาลิวรรค] รวมอปทานที่มีในวรรค
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ภัททาลิเถราปทาน ๒. เอกฉัตติยเถราปทาน
๓. ติณสูลกฉาทนิยเถราปทาน ๔. มธุมังสทายกเถราปทาน
๕. นาคปัลลวกเถราปทาน ๖. เอกทีปิยเถราปทาน
๗. อุจฉังคปุปผิยเถราปทาน ๘. ยาคุทายกเถราปทาน
๙. ปัตโถทนทายกเถราปทาน ๑๐. มัญจทายกเถราปทาน

ในวรรคนี้ บัณฑิตนับคาถาได้ ๒๐๑ คาถา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๓. สกิงสัมมัชชกวรรค] ๑. สกิงสัมมัชชกเถราปทาน
๔๓. สกิงสัมมัชชกวรรค
หมวดว่าด้วยพระสกิงสัมมัชชกะเป็นต้น
๑. สกิงสัมมัชชกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระสกิงสัมมัชชกเถระ
(พระสกิงสัมมัชชกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑] ข้าพเจ้าได้เห็นต้นไม้อันเลิศชื่อว่าปาฏลิ(แคฝอย)
ซึ่งเป็นต้นไม้เป็นสถานที่ตรัสรู้อันสูงสุด
ของพระผู้มีพระภาคพระนามว่าวิปัสสี
แล้วทำใจให้เลื่อมใสในต้นไม้นั้น
[๒] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้ถือเอาไม้กวาดมากวาดบริเวณที่ตรัสรู้
ครั้นแล้วได้ไหว้ต้นปาฏลิอันเป็นสถานที่ตรัสรู้นั้น
[๓] ข้าพเจ้าทำจิตให้เลื่อมใสในต้นปาฏลินั้น
ประนมมือเหนือศีรษะ
นมัสการต้นโพธิ์นั้นแล้วกลับไปยังกระท่อม
[๔] ข้าพเจ้าเดินนึกถึงต้นไม้เป็นสถานที่ตรัสรู้
อันสูงสุดไปตามหนทางสัญจร
งูเหลือมตัวร้ายกาจมีกำลังมากรัดข้าพเจ้า
[๕] กรรมที่ข้าพเจ้าทำในเวลาใกล้ตาย
ได้ทำให้ข้าพเจ้ายินดีด้วยผล(ของกรรมนั้น)
งูเหลือมกลืนกินร่างข้าพเจ้า
ข้าพเจ้า(ตายไปแล้ว)รื่นรมย์อยู่ในเทวโลก
[๖] จิตของข้าพเจ้าไม่ขุ่นมัว บริสุทธิ์ผ่องใสในกาลทุกเมื่อ
ข้าพเจ้าไม่รู้จักลูกศรคือความเศร้าโศก
ที่เป็นเหตุทำจิตของข้าพเจ้าให้เร่าร้อนเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๓. สกิงสัมมัชชกวรรค] ๑. สกิงสัมมัชชกเถราปทาน
[๗] ข้าพเจ้าไม่มีโรคเรื้อน ฝี โรคกลาก
โรคลมบ้าหมู คุดทะราด หิดเปื่อย และหิดด้าน
นี้เป็นผลแห่งการกวาด
[๘] ความเศร้าโศก ความเร่าร้อนไม่มีในหทัยของข้าพเจ้า
จิตของข้าพเจ้าเที่ยงตรง ไม่วอกแวก
นี้เป็นผลแห่งการกวาด
[๙] ข้าพเจ้าเข้าถึงสมาธิ ใจก็บริสุทธิ์
สมาธิที่ข้าพเจ้าปรารถนาย่อมสำเร็จแก่ข้าพเจ้า
[๑๐] ข้าพเจ้าไม่กำหนัดในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
ไม่ขัดเคืองในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง
และไม่ลุ่มหลงในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความลุ่มหลง
นี้เป็นผลแห่งการกวาด
[๑๑] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ทำกรรมไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการกวาด(บริเวณที่ตรัสรู้)
[๑๒] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๓] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๓. สกิงสัมมัชชกวรรค] ๒. เอกทุสสทายกเถราปทาน
[๑๔] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระสกิงสัมมัชชกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
สกิงสัมมัชชกเถราปทานที่ ๑ จบ

๒. เอกทุสสทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระเอกทุสสทายกเถระ
(พระเอกทุสสทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๕] ข้าพเจ้าเป็นคนหาบหญ้าขายอยู่ในกรุงหงสวดี
เลี้ยงชีพด้วยการหาบหญ้า เลี้ยงดูบุตรภรรยาด้วยการงานนั้น
[๑๖] พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้ถึงความสำเร็จแห่งธรรมทั้งปวง
ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก กำจัดความมืดมนให้พินาศไป
เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว
[๑๗] ครั้งนั้น ข้าพเจ้านั่งอยู่ในเรือนของตน
คิดอย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลกแล้ว
ไทยธรรมก็ไม่มี
[๑๘] ข้าพเจ้ามีแต่ผ้าสาฎกผืนเดียวนี้
ไม่มีใครให้ข้าพเจ้า การตกนรกเป็นทุกข์
ข้าพเจ้าจักปลูกทักษิณา
[๑๙] ครั้นคิดเช่นนี้แล้ว ข้าพเจ้าจึงทำจิตของตนให้เลื่อมใส
ได้ถือผ้าผืนเดียวไปถวายพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๓. สกิงสัมมัชชกวรรค] ๒. เอกทุสสทายกเถราปทาน
[๒๐] ครั้นถวายแล้ว ได้ประกาศอย่างกึกก้องว่า
ข้าแต่พระมหามุนีผู้แกล้วกล้า
ถ้าพระองค์เป็นพระพุทธเจ้า
ขอได้ทรงโปรดช่วยข้าพระองค์ให้ข้ามพ้น(จากนรก)ด้วยเถิด
[๒๑] พระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ทรงรู้แจ้งโลก ผู้สมควรรับเครื่องบูชา
เมื่อจะทรงประกาศทานของข้าพเจ้า
ได้ทรงกระทำอนุโมทนาแก่ข้าพเจ้าว่า
[๒๒] ด้วยการถวายผ้าผืนเดียวนี้
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
บุรุษนี้จะไม่ตกนรกเลยตลอด ๑๐๐,๐๐๐ กัป
[๒๓] เขาจักได้เป็นจอมเทพครองเทวสมบัติตลอด ๓๖ ชาติ
จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๓๓ ชาติ
[๒๔] และจักได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์นับชาติไม่ถ้วน
เมื่อเธอเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพ
คือเทวโลกหรือมนุษยโลก
[๒๕] จักเป็นผู้มีรูปงาม สมบูรณ์ด้วยคุณธรรม
มีร่างกายสมส่วน จักได้ผ้านับไม่ได้ ประมาณไม่ได้
ตามที่ปรารถนา
[๒๖] ครั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ๑
ผู้เป็นนักปราชญ์ตรัสดังนี้แล้ว
ได้เสด็จเหาะขึ้นสู่ท้องฟ้า
เหมือนพญาหงส์ในอากาศ

เชิงอรรถ :
๑ ปทุมุตตระ แปลจากศัพท์ว่า ชลชุตฺตมนายโก (ขุ.อป.อ. ๒/๒๘/๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๓. สกิงสัมมัชชกวรรค] ๒. เอกทุสสทายกเถราปทาน
[๒๗] ข้าพเจ้าเกิดในกำเนิดใด ๆ
คือ จะเกิดเป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็ตาม
ข้าพเจ้าไม่มีความบกพร่องในโภคะเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผ้าผืนเดียว
[๒๘] ผ้าเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้าทุกย่างก้าว
ข้างล่างข้าพเจ้าก็ยืนอยู่บนผ้า
ข้างบนก็มีผ้าเป็นเครื่องมุงบัง
[๒๙] ในวันนี้ จักรวาลพร้อมทั้งป่า ภูเขา
เมื่อข้าพเจ้าปรารถนาก็จะพึงคลุมด้วยผ้าได้
[๓๐] เพราะถวายผ้าผืนเดียวเท่านั้นแหละ
ข้าพเจ้าเมื่อยังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพน้อยภพใหญ่๑
เป็นผู้มีผิวพรรณเหมือนทองคำ
เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพน้อยภพใหญ่
[๓๑] ข้าพเจ้าได้ถึงความเป็นภิกษุ
เพราะผลแห่งการถวายผ้าผืนเดียว
ถึงชาตินี้จะเป็นชาติสุดท้าย
ผ้าก็ยังให้ผลแก่ข้าพเจ้าอยู่ในขณะนี้
[๓๒] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายผ้าไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผ้าผืนเดียว
[๓๓] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ

เชิงอรรถ :
๑ ภพน้อยภพใหญ่ ในที่นี้หมายถึงความเจริญและความเสื่อม หรือสมบัติและวิบัติ ความยั่งยืนและความ
ขาดสูญ บุญและบาป (ขุ.จริยา.อ. ๒/๒๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๓. สกิงสัมมัชชกวรรค] ๓. เอกาสนทายกเถราปทาน
[๓๔] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๓๕] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระเอกทุสสทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
เอกทุสสทายกเถราปทานที่ ๒ จบ

๓. เอกาสนทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระเอกาสนทายกเถระ
(พระเอกาสนทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๓๖] ในที่ไม่ไกลจากภูเขาหิมพานต์ มีภูเขาลูกหนึ่งชื่อกสิกะ
ข้าพเจ้าได้สร้างอาศรมและบรรณศาลาไว้อย่างสวยงาม
[๓๗] ข้าพเจ้ามีนามว่านารทะ
แต่คนทั้งหลายเรียกว่ากัสสปะ
ครั้งนั้น ข้าพเจ้าแสวงหาทางบริสุทธิ์อาศัยอยู่ที่ภูเขากสิกะ
[๓๘] พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้ทรงถึงความสำเร็จแห่งธรรมทั้งปวง
ทรงประสงค์วิเวก จึงเสด็จมาทางอากาศ
[๓๙] ข้าพเจ้าเห็นพระรัศมีของพระองค์ ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
ซึ่งกำลังเสด็จมาเหนือยอดไม้
จึงจัดแจงเตียงไม้และปูลาดหนังสัตว์ไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๓. สกิงสัมมัชชกวรรค] ๒. เอกทุสสทายกเถราปทาน
[๔๐] ครั้นปูลาดอาสนะเสร็จแล้วประนมมือเหนือศีรษะ
ประกาศถึงความโสมนัสแล้ว ได้กราบทูลอย่างนี้ว่า
[๔๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นนักปราชญ์ ผู้ทรงเป็นผู้นำ
ขอพระองค์ผู้เป็นดังศัลยแพทย์ผู้ถอนลูกศร
ผู้เยียวยาความเดือดร้อน
ได้โปรดประทานการเยียวยาแก่ข้าพระองค์
ผู้ถูกความกำหนัดครอบงำด้วยเถิด
[๔๒] ข้าแต่พระมุนี ชนเหล่าใดมีความต้องการบุญ
พบเห็นพระองค์ผู้เป็นพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
ชนเหล่านั้นย่อมถึงความสำเร็จประโยชน์ที่ยั่งยืน
(และ)เขาเหล่านั้นจะพึงเป็นผู้ไม่แก่
[๔๓] ข้าพระองค์หาได้มีไทยธรรมถวายพระองค์ไม่
เพราะข้าพระองค์บริโภคผลไม้ที่หล่นเอง
ข้าพระองค์มีแต่อาสนะนี้
โปรดประทับนั่งบนเตียงไม้เถิด
[๔๔] พระผู้มีพระภาค ผู้ไม่มีความสะดุ้ง ผู้เป็นดุจราชสีห์
ได้ประทับนั่งบนเตียงไม้แล้ว สักครู่จึงได้ตรัสคำนี้ว่า
[๔๕] ท่านจงเบาใจเถิด อย่าได้กลัวเลย
ท่านได้แก้วมณีโชติรสแล้ว
อาสนะที่ท่านปรารถนาทั้งหมด
จักสำเร็จบริบูรณ์แก่ท่าน
[๔๖] บุญที่บุคคลบำเพ็ญไว้ดีแล้วในเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยม
เป็นบุญไม่น้อยเลย
ผู้ที่ตั้งจิตไว้ดีแล้วสามารถจะถอนตนเองขึ้นได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๓. สกิงสัมมัชชกวรรค] ๓. เอกาสนทายกเถราปทาน
[๔๗] ด้วยการถวายอาสนะนี้ และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
เขาจะไม่ตกนรกเลยตลอด ๑๐๐,๐๐๐ กัป
[๔๘] เขาจักเป็นจอมเทพครองเทวสมบัติตลอด ๕๐ ชาติ
จักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๘๐ ชาติ
[๔๙] และจักได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์นับชาติไม่ถ้วน
จักมีความสุขในที่ทุกสถานเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏ
[๕๐] ครั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้เป็นนักปราชญ์ตรัสดังนี้แล้ว
ได้เสด็จเหาะขึ้นสู่ท้องฟ้า
เหมือนพญาหงส์ในอากาศ
[๕๑] ยานคือช้าง ยานคือม้า
วอและคานหาม ข้าพเจ้าก็ได้รับมาครบถ้วน
นี้เป็นผลแห่งการถวายอาสนะที่เดียว
[๕๒] เมื่อข้าพเจ้าเข้าป่าแล้วต้องการอาสนะ
บัลลังก์ดังจะรู้ความดำริของข้าพเจ้าก็ปรากฏขึ้น
[๕๓] เมื่ออยู่ท่ามกลางน้ำต้องการที่นั่ง
บัลลังก์ดังจะรู้ความดำริของข้าพเจ้าก็ปรากฏขึ้น
[๕๔] ข้าพเจ้าเกิดในกำเนิดใด ๆ
คือจะเกิดเป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็ตาม
บัลลังก์ ๑๐๐,๐๐๐ แวดล้อมข้าพเจ้าอยู่ทุกเมื่อ
[๕๕] ข้าพเจ้าเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพทั้ง ๒
คือ (๑) ภพเทวดา (๒) ภพมนุษย์
เกิดในตระกูลเพียง ๒ ตระกูล
คือ (๑) ตระกูลกษัตริย์ (๒) ตระกูลพราหมณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๓. สกิงสัมมัชชกวรรค] ๓. เอกาสนทายกเถราปทาน
[๕๖] ข้าพเจ้าถวายอาสนะเพียงที่เดียวในเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยม
รู้ทั่วถึงบัลลังก์คือธรรมแล้ว จึงอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
[๕๗] ใน ๑๐๐,๐๐๐ กัป นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายทานไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายอาสนะที่เดียว
[๕๘] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๕๙] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๖๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระเอกาสนทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
เอกาสนทายกเถราปทานที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๓. สกิงสัมมัชชกวรรค] ๔. สัตตกทัมพปุปผิยเถราปทาน
๔. สัตตกทัมพปุปผิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระสัตตกทัมพปุปผิยเถระ
(พระสัตตกทัมพปุปผิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าว
ว่า)
[๖๑] ในที่ไม่ไกลจากภูเขาหิมพานต์ มีภูเขาลูกหนึ่งชื่อกทัมพะ
พระปัจเจกพุทธเจ้า ๗ องค์ อาศัยอยู่ที่ข้างภูเขานั้น
[๖๒] ข้าพเจ้าเห็นดอกกระทุ่ม
จึงเก็บมา ๗ ดอก แล้วประนมมือ
โปรยบูชาด้วยจิตที่เปี่ยมด้วยกุศล
[๖๓] ด้วยกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้วจึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๖๔] ในกัปที่ ๙๔ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ทำกรรมไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๖๕] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๖๖] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๓. สกิงสัมมัชชกวรรค] ๕. โกรัณฑปุปผิยเถราปทาน
[๖๗] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระสัตตกทัมพปุปผิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
สัตตกทัมพปุปผิยเถราปทานที่ ๔ จบ

๕. โกรัณฑปุปผิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระโกรัณฑปุปผิยเถระ
(พระโกรัณฑปุปผิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๖๘] เมื่อชาติปางก่อน ข้าพเจ้ากับบิดาและปู่เป็นคนทำงานในป่า
เลี้ยงชีพด้วยการฆ่าสัตว์ กุศลกรรมของเราไม่มี
[๖๙] ใกล้ที่อยู่ของข้าพเจ้า พระศาสดาพระนามว่าติสสะ
ผู้ทรงเป็นผู้นำชั้นเลิศของโลก ผู้มีพระจักษุ
ได้ทรงแสดงรอยพระบาทไว้ ๓ รอย
เพื่ออนุเคราะห์(ข้าพเจ้า)
[๗๐] ข้าพเจ้าเห็นรอยพระบาทของพระศาสดาพระนามว่าติสสะ
ที่พระองค์ทรงประทับไว้
ข้าพเจ้าเป็นผู้มีจิตร่าเริงบันเทิงใจ
ได้ทำจิตให้เลื่อมใสในรอยพระบาทนั้น
[๗๑] ข้าพเจ้าเห็นต้นอังกาบซึ่งงอกเลื้อยไปตามพื้นดิน
มีดอกบานสะพรั่ง จึงเด็ดมาพร้อมทั้งยอด
ได้บูชารอยพระบาทอันประเสริฐที่สุด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๓. สกิงสัมมัชชกวรรค] ๕. โกรัณฑปุปผิยเถราปทาน
[๗๒] ด้วยกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๗๓] ข้าพเจ้าเกิดในกำเนิดใด ๆ
คือจะเกิดเป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็ตาม
(ในกำเนิดนั้น ๆ )ข้าพเจ้ามีผิวพรรณดังดอกอังกาบ
มีรัศมีซ่านออกจากกาย
[๗๔] ในกัปที่ ๙๒ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ทำกรรมไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชารอยพระบาท
[๗๕] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๗๖] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๗๗] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระโกรัณฑปุปผิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
โกรัณฑปุปผิยเถราปทานที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๓. สกิงสัมมัชชกวรรค] ๖. ฆฏมัณฆทายกเถราปทาน
๖. ฆฏมัณฑทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระฆฏมัณฑทายกเถระ
(พระฆฏมัณฑทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๗๘] พระผู้มีพระภาคผู้ทรงดำริดีแล้ว
ผู้เจริญที่สุดในโลก ทรงองอาจกว่านรชน
เสด็จเข้าไปยังป่าใหญ่ ทรงพระประชวรด้วยโรคลม
[๗๙] ข้าพเจ้าได้เห็นแล้วจึงทำจิตให้เลื่อมใส นำหัวน้ำมันเนยเข้าไปถวาย
เพราะบุญกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้และได้สั่งสมไว้แล้ว
แม่น้ำคงคาภาคีรถี๑นี้
[๘๐] และมหาสมุทรทั้ง ๔ บันดาลเนยใสให้สำเร็จแก่ข้าพเจ้า
อนึ่ง พื้นปฐพีที่กว้างใหญ่ ประมาณมิได้ กำหนดนับมิได้นี้
[๘๑] ดังจะรู้ความดำริของข้าพเจ้า
จึงกลายเป็นน้ำผึ้งและน้ำตาลกรวด
ต้นไม้ที่งอกขึ้นบนแผ่นดินในทิศทั้ง ๔
[๘๒] ดังจะรู้ความดำริของข้าพเจ้า
จึงกลายเป็นต้นกัลปพฤกษ์ไป
ข้าพเจ้าได้เป็นจอมเทพครองเทวสมบัติตลอด ๕๐ ชาติ
[๘๓] ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๕๑ ชาติ
และได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์นับชาติไม่ถ้วน
[๘๔] ในกัปที่ ๙๔ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายทานไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายหัวน้ำมันเนย

เชิงอรรถ :
๑ สาเหตุที่เรียกแม่น้ำคงคาว่าภาคีรถี เนื่องจากเป็นแม่น้ำที่ไหลแยกเป็นแม่น้ำใหญ่ ๕ สาย เป็นเหตุให้
แผ่นดินชมพูทวีปแยกเป็น ๕ ส่วน (ขุ.อป.อ. ๑/๓๖๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๓. สกิงสัมมัชชกวรรค] ๗. เอกธัมมัสสวนิยเถราปทาน
[๘๕] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๘๖] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๘๗] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระฆฏมัณฑทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
ฆฏมัณฑทายกเถราปทานที่ ๖ จบ

๗. เอกธัมมัสสวนิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระเอกธัมมสวนิยเถระ
(พระเอกธัมมัสสวนิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๘๘] พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ทรงถึงฝั่งความสำเร็จแห่งธรรมทั้งปวง
ประกาศสัจจะ ๔๑ ทรงช่วยชนจำนวนมากให้ข้ามพ้นดีแล้ว
[๘๙] สมัยนั้น ข้าพเจ้าเป็นชฎิล มีตบะแก่กล้า
สะบัดผ้าเปลือกไม้ เหาะไปในท้องฟ้า ในครั้งนั้น

เชิงอรรถ :
๑ สัจจะ ๔ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค (ขุ.อป.อ. ๒/๖๗/๑๐๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๓. สกิงสัมมัชชกวรรค] ๗. เอกธัมมัสสวนิยเถราปทาน
[๙๐] ข้าพเจ้าไม่สามารถจะเหาะผ่านไปเหนือพระพุทธเจ้า
ผู้ประเสริฐที่สุดได้ ข้าพเจ้าเหาะไปไม่ได้
เหมือนนกเข้าไปใกล้ภูเขาแล้วบินผ่านไปไม่ได้
[๙๑] ข้าพเจ้าพ่นลมหายใจออกเป็นไอน้ำลอยอยู่ในท้องฟ้าด้วยคิดว่า
เหตุที่ทำให้อิริยาบถของเราขัดข้องเช่นนี้ ไม่เคยมี
[๙๒] เอาละ เราจักค้นหาสาเหตุนั้น
เผื่อจักได้ผล จึงลงจากอากาศ
ก็ได้ฟังพระสุรเสียงของพระศาสดา
[๙๓] เมื่อพระศาสดาตรัสถึงสังขารไม่เที่ยง
ด้วยพระสุรเสียงที่น่ายินดี น่าฟัง ไพเราะ
ขณะนั้นข้าพเจ้าได้เรียนอนิจจลักษณะนั่นแหละ
ครั้นเรียนอนิจจลักษณะได้แล้ว ก็ได้ไปยังอาศรมของตน
[๙๔] ข้าพเจ้าอยู่ในอาศรมนั่นแหละตราบเท่าสิ้นอายุ จึงได้ตาย
เมื่อจุติจิตซึ่งเป็นจิตดวงสุดท้ายกำลังจะเป็นไป
ข้าพเจ้าก็ระลึกถึงการฟังพระสัทธรรมได้๑
[๙๕] ด้วยกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ดีนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้วจึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๙๖] รื่นรมย์อยู่ในเทวโลกตลอด ๓๐,๐๐๐ กัป
ได้ครองเทวสมบัติตลอด ๕๑ ชาติ
[๙๗] ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๓๑ ชาติ
ได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์นับชาติไม่ถ้วน

เชิงอรรถ :
๑ สัทธรรม หมายถึงธรรมอันดี หรือศาสนามี ๓ ประการ คือ (๑) ปริยัติสัทธรรม (๒) ปฏิปัตติสัทธรรม
(๓) อธิคมสัทธรรม (วิ.อ. ๒/๔๓๘/๔๒๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๓. สกิงสัมมัชชกวรรค] ๗. เอกธัมมัสสวนิยเถราปทาน
[๙๘] ข้าพเจ้าเสวยบุญของตน
มีความสุขในภพน้อยภพใหญ่
ข้าพเจ้าเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพน้อยภพใหญ่
ก็ยังระลึกถึงสัญญานั้นได้
ข้าพเจ้าหาได้แทงตลอดบทอันไม่จุติ
คือพระนิพพานด้วยธรรมไร ๆ ไม่
[๙๙] ได้มีสมณะผู้อบรมอินทรีย์มานั่งที่เรือนบิดา
ท่านได้แสดงธรรมกถา
และยกอนิจจลักษณะในธรรมกถานั้นขึ้นว่า
[๑๐๐] สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ
มีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเป็นธรรมดา
เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป
ภาวะที่สังขารเหล่านั้นสงบระงับเป็นความสุข
[๑๐๑] ขณะที่สดับคาถา ข้าพเจ้าได้ระลึกถึงสัญญาทุกอย่าง
นั่ง ณ อาสนะเดียว ก็ได้บรรลุอรหัตตผลแล้ว
[๑๐๒] ข้าพเจ้าได้บรรลุอรหัตตผลตั้งแต่อายุได้ ๗ ขวบ
พระพุทธเจ้าจึงให้ข้าพเจ้าอุปสมบท
นี้เป็นผลแห่งการฟังธรรม
[๑๐๓] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ฟังธรรมไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการฟังธรรม
[๑๐๔] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๓. สกิงสัมมัชชกวรรค] ๘. สุจินติตเถราปทาน
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๐๕] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๐๖] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระเอกธัมมสวนิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
เอกธัมมัสสวนิยเถราปทานที่ ๗ จบ

๘. สุจินติตเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระสุจินติตเถระ
(พระสุจินติตเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๐๗] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นชาวนาอยู่ในกรุงหงสวดี
เลี้ยงชีพด้วยกสิกรรม เลี้ยงดูบุตรภรรยาด้วยกสิกรรมนั้น
[๑๐๘] ครั้งนั้น นาของข้าพเจ้าสมบูรณ์ดี
ข้าวของข้าพเจ้าออกรวงแล้ว
เมื่อถึงเวลาข้าวสุก บัดนั้น ข้าพเจ้าคิดอย่างนี้ว่า
[๑๐๙] การที่เรารู้คุณโทษอยู่ ไม่ได้ถวายสงฆ์
บริโภคส่วนเลิศด้วยตนเอง เป็นการไม่เหมาะ ไม่สมควร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๓. สกิงสัมมัชชกวรรค] ๘. สุจินติตเถราปทาน
[๑๑๐] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเสมอเหมือน๑ ในโลก
ผู้ทรงพระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ๒
และพระสงฆ์ผู้ถือกำเนิด จากพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
เป็นเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยม
[๑๑๑] เราจักถวายข้าวใหม่เป็นทาน แด่พระพุทธเจ้า
และพระสงฆ์เป็นปฐมฤกษ์ ครั้นคิดเช่นนี้แล้ว
ข้าพเจ้าเป็นผู้มีใจร่าเริง ปลาบปลื้มด้วยปีติ
[๑๑๒] จึงนำข้าวเปลือกมาจากนา เข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ครั้นเข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เจริญที่สุดในโลก
ผู้ทรงองอาจกว่านรชน
กราบพระยุคลบาทพระศาสดาแล้ว กราบทูลคำนี้ว่า
[๑๑๓] “ข้าแต่พระมุนี ข้าวใหม่สมบูรณ์แล้ว
ทั้งพระองค์ก็ยังประทับอยู่ ณ ที่นี้
ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระจักษุ
ขอพระองค์จงทรงพระกรุณารับเถิด”
[๑๑๔] พระศาสดาพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้ทรงรู้แจ้งโลก ผู้สมควรรับเครื่องบูชา
ทรงทราบความดำริของข้าพเจ้าแล้ว ได้ตรัสคำนี้ว่า

เชิงอรรถ :
๑ ผู้ไม่มีใครเสมอเหมือน หมายถึงไม่มีใครเสมอเหมือนด้วยปัญญาเป็นเครื่องรู้ประโยชน์อย่างยอดเยี่ยม
(ขุ.อป.อ. ๑/๕๖/๑๓๓)
๒ ดูเชิงอรรถหน้า ๑๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๓. สกิงสัมมัชชกวรรค] ๘. สุจินติตเถราปทาน
[๑๑๕] บุรุษบุคคลผู้กำลังปฏิบัติ ๔ จำพวก
และผู้ตั้งอยู่ในผล ๔ จำพวกนี้
คือสงฆ์ เป็นผู้ซื่อตรง มีปัญญา
มีศีล และมีสมาธิ
[๑๑๖] มนุษย์ทั้งหลายผู้หวังบุญให้ทานอยู่
ทำบุญปรารภเหตุแห่งการเวียนว่ายตายเกิด๑
ถวายทานแก่พระสงฆ์ใด จึงมีผลมาก
และข้าวของท่านก็ควรถวายพระสงฆ์นั้นจึงจะมีผลมากเช่นนั้น
[๑๑๗] ท่านจงนำภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้รับมอบหมายจากพระสงฆ์
ไปยังเรือนของตนแล้ว
ถวายสิ่งของที่มีอยู่ในเรือน
ซึ่งท่านตระเตรียมไว้แด่ภิกษุสงฆ์เถิด
[๑๑๘] ข้าพเจ้าได้นำภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้รับมอบหมายจากพระสงฆ์
ไปยังเรือนของตนแล้ว
ถวายสิ่งของที่ข้าพเจ้าตระเตรียมไว้ในเรือนแด่ภิกษุสงฆ์
[๑๑๙] ด้วยกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๑๒๐] ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้น
มีวิมานทองเปล่งปลั่งสูง ๖๐ โยชน์ กว้าง ๓๐ โยชน์
อันกรรมสร้างไว้อย่างสวยงามเพื่อข้าพเจ้า
ภาณวารที่ ๑๙ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ขุ.วิ. (แปล) ๒๖/๖๓๙/๗๐, ขุ.วิ.อ. ๖๓๘-๖๓๙/๑๗๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๓. สกิงสัมมัชชกวรรค] ๘. สุจินติตเถราปทาน
[๑๒๑] วิมานของข้าพเจ้าเนืองแน่นไปด้วยหมู่เทพนารี
ข้าพเจ้ากิน ดื่ม และอยู่ในวิมานนั้นในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๑๒๒] ข้าพเจ้าได้ครองเทวสมบัติตลอด ๓,๐๐๐ ชาติ
ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๕๐๐ ชาติ
และได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์นับชาติไม่ถ้วน
[๑๒๓] เมื่อข้าพเจ้าเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพน้อยภพใหญ่
ได้ทรัพย์นับไม่ถ้วน ข้าพเจ้าไม่มีความบกพร่องในโภคะเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายข้าวใหม่
[๑๒๔] ยานคือช้าง ยานคือม้า วอและคานหาม
ข้าพเจ้าก็ได้รับมาครบถ้วน
นี้เป็นผลแห่งการถวายข้าวใหม่
[๑๒๕] ผ้าใหม่ ผลไม้ใหม่ โภชนะที่มีรสเลิศใหม่ ๆ
ข้าพเจ้าก็ได้รับมาครบถ้วน
นี้เป็นผลแห่งการถวายข้าวใหม่
[๑๒๖] ผ้าไหม ผ้ากัมพล ผ้าเปลือกไม้ และผ้าฝ้าย
ข้าพเจ้าก็ได้รับมาครบถ้วน
นี้เป็นผลแห่งการถวายข้าวใหม่
[๑๒๗] หมู่ทาสหญิง ทาสชาย และเหล่านารี
ที่ประดับตกแต่งอย่างสวยงาม
ข้าพเจ้าก็ได้รับมาครบถ้วน
นี้เป็นผลแห่งการถวายข้าวใหม่
[๑๒๘] ความหนาว ความร้อนไม่เบียดเบียนข้าพเจ้า
ข้าพเจ้าไม่มีความเร่าร้อน
อนึ่ง ทุกข์ทางใจก็ไม่มีในหทัยของข้าพเจ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๓. สกิงสัมมัชชกวรรค] ๘. สุจินติตเถราปทาน
[๑๒๙] (คำเชื้อเชิญเช่นนี้ว่า) เชิญเคี้ยวกินสิ่งนี้ เชิญบริโภคสิ่งนี้
เชิญนอนบนที่นอนนี้ ข้าพเจ้าก็ได้รับมาครบถ้วน
นี้เป็นผลแห่งการถวายข้าวใหม่
[๑๓๐] บัดนี้ ภพนี้เป็นภพสุดท้าย
ภพสุดท้ายกำลังเป็นไปอยู่
แม้ในวันนี้ไทยธรรมของข้าพเจ้า
ก็เป็นผลทำให้ข้าพเจ้ายินดีอยู่ทุกเมื่อ
[๑๓๑] ข้าพเจ้าได้ถวายข้าวใหม่ในหมู่พระสงฆ์
ผู้เป็นคณะที่ประเสริฐสูงสุด
ย่อมได้รับอานิสงส์
ซึ่งสมควรแก่กรรมของข้าพเจ้า ๘ ประการ
[๑๓๒] คือ (๑) ข้าพเจ้าเป็นผู้มีผิวพรรณผุดผ่อง
(๒) มียศ (๓) มีโภคะมากมายซึ่งใคร ๆ ก็ลักไปไม่ได้
(๔) มีพรรคพวกมาก (๕) มีบริวารไม่แตกแยกกันทุกเมื่อ
[๑๓๓] (๖) สัตว์ที่อาศัยแผ่นดินทุกจำพวกล้วนยำเกรงข้าพเจ้า
(๗) ข้าพเจ้าได้ไทยธรรมก่อนผู้อื่น
[๑๓๔] (๘) จะเป็นในท่ามกลางหมู่ภิกษุ
หรือเฉพาะพระพักตร์พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุดก็ตาม
พวกทายกจะล่วงเลยท่านเหล่านั้นทั้งหมด
มุ่งมาถวายข้าพเจ้าเท่านั้น
[๑๓๕] ข้าพเจ้าได้รับอานิสงส์เหล่านี้
เพราะได้ถวายข้าวใหม่ในหมู่พระสงฆ์
ผู้เป็นคณะที่ประเสริฐสูงสุดก่อน
นี้เป็นผลแห่งการถวายข้าวใหม่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๓. สกิงสัมมัชชกวรรค] ๙. โสณณกิงกณิยเถราปทาน
[๑๓๖] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายทานไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายข้าวใหม่
[๑๓๗] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๓๘] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๓๙] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระสุจินติตเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
สุจินติตเถราปทานที่ ๘ จบ

๙. โสณณกิงกณิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระโสณณกิงกณิยเถระ
(พระโสณณกิงกณิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๔๐] ข้าพเจ้ามีศรัทธาได้ออกบวชเป็นบรรพชิต
อาศัยการบำเพ็ญตบะ จึงได้นุ่งห่มผ้าเปลือกไม้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๓. สกิงสัมมัชชกวรรค] ๙. โสณณกิงกณิยเถราปทาน
[๑๔๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพระนามว่าอัตถทัสสี
ผู้เจริญที่สุดในโลก ทรงองอาจกว่านรชน
เสด็จอุบัติขึ้น ทรงช่วยมหาชนให้ข้ามพ้น(วัฏฏสงสาร)
[๑๔๒] ข้าพเจ้าหมดกำลังเพราะป่วยหนัก
ระลึกถึงพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
จึงก่อพระสถูปที่อุดมไว้ที่หาดทราย
[๑๔๓] ครั้นแล้ว ข้าพเจ้าเป็นผู้มีจิตร่าเริง
มีใจเบิกบาน โปรยดอกกระดิ่งทองโดยพลัน
[๑๔๔] ข้าพเจ้าปรนนิบัติพระสถูป
เหมือนกับปรนนิบัติพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเฉพาะพระพักตร์
อนึ่ง ด้วยจิตที่เลื่อมใสต่อพระพุทธเจ้า
พระนามว่าอัตถทัสสี ผู้คงที่นั้น
[๑๔๕] ข้าพเจ้าจึงได้ไปเกิดยังเทวโลก
ได้ความสุขอันไพบูลย์ในเทวโลกนั้น
ข้าพเจ้ามีผิวพรรณเหมือนทองคำ
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๑๔๖] เทพนารีของข้าพเจ้ามีประมาณ ๘๐ โกฏิ
ประดับตกแต่งสวยงาม ต่างก็บำรุงข้าพเจ้าอยู่ทุกเมื่อ
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๑๔๗] เครื่องดนตรี ๖๐,๐๐๐ ชิ้น คือ กลอง
ตะโพน สังข์ บัณเฑาะว์ มโหระทึก กลองใหญ่
บรรเลงอย่างไพเราะในวิมานนั้น
[๑๔๘] ช้างกุญชรตระกูลมาตังคะตกมันสามแห่ง๑ อายุ ๖๐ ปี
จำนวน ๘๔,๐๐๐ เชือก ประดับตกแต่งสวยงาม
[๑๔๙] คลุมด้วยข่ายทองคำ บำรุงข้าพเจ้า
ความบกพร่องด้วยกำลังพลและที่อยู่ย่อมไม่มีแก่ข้าพเจ้า

เชิงอรรถ :
๑ สามแห่ง คือ (๑) ตา (๒) หู (๓) อวัยวะเพศ (ขุ.อป.อ. ๑/๕๕๓/๓๔๘,๖๕๗/๓๗๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๓. สกิงสัมมัชชกวรรค] ๙. โสณณกิงกณิยเถราปทาน
[๑๕๐] ข้าพเจ้าเสวยผลวิบากของดอกกระดิ่งทอง
ได้ครองเทวสมบัติตลอด ๕๘ ชาติ
[๑๕๑] ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๗๑ ชาติ
และได้ครองสมบัติในมหาปฐพีตลอด ๑๐๑ ชาติ
[๑๕๒] บัดนี้ ข้าพเจ้าได้บรรลุอมตบทที่ลึกซึ้ง
เห็นได้ยาก สังโยชน์สิ้นแล้ว
บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก
[๑๕๓] ในกัปที่ ๑,๘๐๐ (นับจากกัปนี้ไป)
ข้าพเจ้าได้ใช้ดอกไม้บูชาไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๑๕๔] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๕๕] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๕๖] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระโสณณกิงกณิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
โสณณกิงกณิยเถราปทานที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๓. สกิงสัมมัชชกวรรค] ๑๐. โสวัณณโกตริกเถราปทาน
๑๐. โสวัณณโกนตริกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระโสวัณณโกนตริกเถระ
(พระโสวัณณโกนตริกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าว
ว่า)
[๑๕๗] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ตรัสรู้
อบรมพระทัย ฝึกพระองค์แล้ว มีพระทัยตั้งมั่น
เสด็จดำเนินอยู่ในทางอันประเสริฐ
ทรงยินดีในการสงบระงับจิต
[๑๕๘] ผู้ทรงข้ามโอฆะ๑ ได้แล้ว มีปกติเพ่งพินิจ
ยินดีในฌาน เป็นมุนี เข้าสมาบัติ
ไม่ละการสำรวมอินทรีย์
[๑๕๙] ข้าพเจ้าเห็นแล้ว จึงใช้กะโหลกน้ำเต้าตักน้ำ
เข้าไปหาพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
ล้างพระบาทของพระพุทธเจ้าแล้ว ถวายกะโหลกน้ำเต้า
[๑๖๐] ก็พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ได้รับสั่งว่า
เธอจงใช้กะโหลกน้ำเต้านี้ตักน้ำมาวางไว้ใกล้ ๆ เท้าของเรา
[๑๖๑] เนื่องจาก ข้าพเจ้ามีความเคารพต่อพระศาสดา
จึงรับสนองพระพุทธดำรัสว่า ขอรับ
แล้วใช้กะโหลกน้ำเต้าไปตักน้ำมาถวาย
พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
[๑๖๒] พระมหาวีรพุทธเจ้า
เมื่อจะทรงยังจิตของข้าพเจ้าให้สงบเย็น

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๒ หน้า ๒ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๓. สกิงสัมมัชชกวรรค] ๑๐. โสวัณณโกตริกเถราปทาน
[๑๖๓] ข้าพเจ้ารื่นรมย์อยู่ในเทวโลกตลอด ๑๕ กัป
และได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๓๓ ชาติ
[๑๖๔] จะเป็นเวลากลางวันหรือกลางคืนก็ตาม
เมื่อข้าพเจ้าเดินหรือยืนอยู่
คนทั้งหลายถือเอาธงชัยทองคำยืนอยู่ข้างหน้าข้าพเจ้า
[๑๖๕] ข้าพเจ้าได้ธงชัยทองคำมา
เพราะการถวายกะโหลกน้ำเต้าแด่พระพุทธเจ้า
สักการะที่ทำไว้ในท่านผู้คงที่ทั้งหลาย
ถึงจะน้อยก็ย่อมเป็นของไพบูลย์
[๑๖๖] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายกะโหลกน้ำเต้าไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายกะโหลกน้ำเต้า
[๑๖๗] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๖๘] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๓. สกิงสัมมัชชกวรรค] รวมอปทานที่มีในวรรค
[๑๖๙] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระโสวัณณโกนตริกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
โสวัณณโกนตริกเถราปทานที่ ๑๐ จบ
สกิงสัมมัชชกวรรคที่ ๔๓ จบบริบูรณ์

รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สกิงสัมมัชชกเถราปทาน ๒. เอกทุสสทายกเถราปทาน
๓. เอกาสนทายกเถราปทาน ๔. สัตตกทัมพปุปผิยเถราปทาน
๕. โกรัณฑปุปผิยเถราปทาน ๖. ฆฏมัณฑทายกเถราปทาน
๗. เอกธัมมสวนิยเถราปทาน ๘. สุจินติตเถราปทาน
๙. โสณณกิงกณิยเถราปทาน ๑๐. โสวัณณโกนตริกเถราปทาน

ในวรรคนี้ บัณฑิตนับคาถาได้ ๑๗๑ คาถา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๔. เอกวิหาริวรรค] ๑. เอกวิหาริยเถราปทาน
๔๔. เอกวิหาริวรรค
หมวดว่าด้วยพระเถระผู้อยู่ผู้เดียวเป็นต้น
๑. เอกวิหาริยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระเอกวิหาริยเถระ
(พระเอกวิหาริยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑] ในภัทรกัปนี้ พระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ ตามพระโคตร
ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของท้าวมหาพรหม มีพระยศยิ่งใหญ่
ประเสริฐกว่าเจ้าลัทธิทั้งหลาย เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว
[๒] พระองค์ไม่มีธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า๑
ปราศจากธรรมเครื่องหน่วงเหนี่ยว
มีพระทัยเสมอด้วยอากาศ
มีปกติอยู่ในที่วิเวก เป็นผู้คงที่
ยินดีในอนิมิตตสมาธิ๒ มีความชำนาญ(ในญาณ)
[๓] มีพระทัยไม่เกี่ยวข้องในอารมณ์
ไม่มีตัณหาแปดเปื้อน
ไม่คลุกคลีในตระกูล ในหมู่คณะ
ทรงประกอบด้วยพระมหากรุณา
ทรงเป็นนักปราชญ์ ทรงฉลาดในอุบายสำหรับแนะนำ
[๔] ทรงขวนขวายในกิจของผู้อื่น
ทรงแนะนำทั้งมนุษย์และเทวดา
ทรงแนะนำทางไปสู่พระนิพพาน
อันสามารถยังเปือกตมคือคติให้เหือดแห้ง

เชิงอรรถ :
๑ ธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า ได้แก่ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ (ที.ม.อ. ๒/๓๕๘/๓๓๖)
๒ อนิมิตตสมาธิ ในที่นี้หมายถึงอนิมิตตวิโมกข์ (ขุ.อป.อ. ๑/๑๓๓/๒๔๕,๕๑๖/๓๔๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๔. เอกวิหาริวรรค] ๑. เอกวิหาริยเถราปทาน
[๕] และทรงแนะนำพระนิพพานอันเป็นอมตะ
มีความแช่มชื่นอย่างยิ่ง
เป็นธรรมเครื่องกั้นความแก่และความตาย
พระองค์ประทับนั่ง ท่ามกลางบริษัทใหญ่
ทรงช่วยสัตว์โลกให้ข้ามพ้น
[๖] ผู้ทรงเป็นที่พึ่ง มีพระสุรเสียงไพเราะ
เหมือนเสียงนกการเวก
มีพระสุรเสียงก้องดังเสียงพรหม
ทรงถอนเวไนยสัตว์ผู้จะฉิบหาย
เพราะขาดผู้แนะนำขึ้นจากมหันตทุกข์
[๗] ข้าพเจ้าได้เห็นพระผู้มีพระภาคผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ผู้ทรงแสดงธรรมที่ปราศจากธุลีคือกิเลส
ได้ฟังธรรมของพระองค์แล้ว จึงออกบวชเป็นภิกษุ
[๘] ครั้นบวชแล้วในกาลนั้น
ข้าพเจ้าถูกความคลุกคลี๑ บีบคั้น
คิดถึงคำสอนของพระชินเจ้า
จึงได้ไปอยู่ในป่าที่น่ารื่นรมย์แต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น
[๙] การดับแห่งสักกายทิฏฐิอันเป็นเหตุแห่งความยึดมั่น
เกิดแก่ข้าพเจ้าผู้มีความวิเวกแห่งจิต
ผู้เห็นภัยในความเกี่ยวข้อง
[๑๐] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ

เชิงอรรถ :
๑ ความคลุกคลี มี ๕ อย่าง คือ (๑) คลุกคลีด้วยการเห็น (๒) คลุกคลีด้วยการฟัง (๓) คลุกคลีด้วยการสัมผัส
ทางกาย (๔) คลุกคลีด้วยการเจรจาปราศรัย (๕) คลุกคลีด้วยการกินอยู่ร่วมกัน (ขุ.อป.อ. ๑/๙๒/๑๘๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๔. เอกวิหาริวรรค] ๒. เอกสังขิยเถราปทาน
[๑๒] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๓] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระเอกวิหาริยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
เอกวิหาริยเถราปทานที่ ๑ จบ

๒. เอกสังขิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระเอกสังขิยเถระ
(พระเอกสังขิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๓] ได้มีงานสมโภชต้นมหาโพธิ์
ของพระผู้มีพระภาคพระนามว่าวิปัสสี
มหาชนมาชุมนุมกันบูชาต้นมหาโพธิ์ที่ประเสริฐ
[๑๔] (ข้าพเจ้าเกิดความดำริว่า)
ต้นมหาโพธิ์นี้ที่ควรบูชาเช่นนี้
ของพระศาสดาพระองค์ใด(ย่อมแสดงว่า)
พระศาสดาพระองค์นั้นจักเป็นผู้เว้นจากความเศร้าโศกมาก
ทรง มีปัญญา เป็นพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
[๑๕] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าถือสังข์เป่าบูชาต้นโพธิ์ตลอดวัน
แล้วไหว้ต้นมหาโพธิ์ที่ประเสริฐ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๔. เอกวิหาริวรรค] ๒. เอกสังขิยเถราปทาน
[๑๖] เมื่อร่างกายข้าพเจ้าล้มตายลง
กรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำในเวลาใกล้ตาย
ส่งผลให้ข้าพเจ้าถึงเทวโลก
และข้าพเจ้าได้รื่นรมย์อยู่ในเทวโลก
[๑๗] เครื่องดนตรี ๖๐,๐๐๐ ชิ้น
มีเสียงน่ายินดี น่าร่าเริง บันเทิงใจ
ขับกล่อมข้าพเจ้าอยู่ทุกเมื่อ
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๑๘] ในกัปที่ ๗๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้เป็นพระราชามีนามว่าสุทัสสนะ
มีชัยชนะเป็นใหญ่ในชมพูทวีป
มีมหาสมุทรทั้ง ๔ เป็นขอบเขต
[๑๙] ครั้งนั้น เครื่องดนตรี ๘๐๐ ชิ้น
แวดล้อมข้าพเจ้าอยู่ทุกเมื่อ
ข้าพเจ้าได้รับผลบุญของตน
นี้เป็นผลแห่งการบำรุงต้นโพธิ์
[๒๐] ข้าพเจ้าเกิดในกำเนิดใด ๆ
คือจะเกิดเป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็ตาม
ถึงข้าพเจ้ายังอยู่ในครรภ์มารดา
กลองก็ประโคมอยู่ตลอดเวลา
[๒๑] เพราะอุปัฏฐากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ข้าพเจ้าจึงได้เสวยสมบัติทั้งหลาย
และบรรลุนิพพานบทอันไม่หวั่นไหว
เป็นแดนเกษมจากภัย เป็นอมตธรรม และไม่มีมลทิน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๔. เอกวิหาริวรรค] ๓. ปาฏิหีรสัญญกเถราปทาน
[๒๒] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ทำกรรมไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๒๓] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๒๔] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๒๕] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระเอกสังขิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
เอกสังขิยเถราปทานที่ ๒ จบ

๓. ปาฏิหีรสัญญกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระปาฏิหีรสัญญกเถระ
(พระปาฏิหีรสัญญกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๒๖] ครั้งนั้น พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้สมควรรับเครื่องบูชา ได้เสด็จเข้าไปยังพระนคร
พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ผู้ได้วสี จำนวน ๑๐๐,๐๐๐ รูป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๔. เอกวิหาริวรรค] ๓. ปาฏิหีรสัญญกเถราปทาน
[๒๗] ทันทีที่พระพุทธเจ้า ผู้สงบ ผู้คงที่
เสด็จเข้าพระนคร ก็ได้มีเสียงกึกก้อง
ให้การต้อนรับตามถนน
[๒๘] เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จเข้าพระนคร
พิณที่ไม่มีคนดีดคนเคาะ ก็บรรเลงขึ้นเอง ด้วยพุทธานุภาพ
[๒๙] ข้าพเจ้านมัสการพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
พระนามว่าปทุมุตตระ ผู้เป็นมหามุนี
และเห็นปาฏิหาริย์แล้ว ได้ทำจิตให้เลื่อมใสในปาฏิหาริย์นั้น
[๓๐] พระพุทธเจ้า ช่างน่าอัศจรรย์ พระธรรม ช่างน่าอัศจรรย์
การที่เรามาประจวบกับพระศาสดา ช่างน่าอัศจรรย์
เครื่องดนตรีแม้ปราศจากจิตวิญญาณก็ยังบรรเลงได้เอง
[๓๑] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
เพราะข้าพเจ้าได้ความประทับใจในพระพุทธเจ้า
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการประทับใจในพระพุทธเจ้า
[๓๒] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๓๓] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๔. เอกวิหาริวรรค] ๔. ญาณัตถวิกเถราปทาน
[๓๔] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระปาฏิหีรสัญญกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
ปาฏิหีรสัญญกเถราปทานที่ ๓ จบ

๔. ญาณัตถวิกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระญาณัตถวิกเถระ
(พระญาณัตถวิกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๓๕] ข้าพเจ้าได้เห็นพระพุทธเจ้า ผู้สูงสุด
แห่งเทวดาและมนุษย์รุ่งเรืองดังดอกกรรณิการ์
โชติช่วงดังต้นพฤกษาประทีป๑ ไพโรจน์ดังทองคำ
[๓๖] ข้าพเจ้าวางคนโทน้ำ ผ้าเปลือกไม้
ธมกรก(กระบอกกรองน้ำ) ทำหนังเสือเฉวียงบ่า
แล้วก็สดุดีพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุดว่า
[๓๗] ข้าแต่พระมุนี พระองค์ทรงขจัดความมืดมน
ซึ่งอากูลไปด้วยข่ายคือโมหะ
ทรงแสดงแสงสว่างคือญาณ แล้วเสด็จข้ามไป
[๓๘] พระองค์ทรงถอนสัตว์โลกนี้ขึ้น(จากวัฏฏสงสาร) แล้ว
พระญาณอันหยั่งรู้สรรพสิ่ง(ของพระองค์) เป็นสิ่งที่ยอดเยี่ยม
คติทั่วหล้าก็มิอาจเปรียบได้กับพระญาณของพระองค์

เชิงอรรถ :
๑ ต้นพฤกษาประทีป หมายถึงดอกไม้ไฟ โคมไฟ (ขุ.อป.อ. ๑/๔๔-๔๕/๑๓๑, ขุ.พุทฺธ.อ. ๔๕/๗๙,๓๐/๑๘๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๔. เอกวิหาริวรรค] ๔. ญาณัตถวิกเถราปทาน
[๓๙] ด้วยพระญาณนั้น ชาวโลกจึงขนานพระนามพระองค์ว่า
สัพพัญญู สัพพัญญู
ข้าพระพุทธเจ้าไหว้พระองค์
ผู้มีความเพียรอันยิ่งใหญ่
ทรงทราบธรรมทั้งปวง หาอาสวะมิได้
[๔๐] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้สดุดีพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุดไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการสดุดีพระพุทธญาณ
[๔๑] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๔๒] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๔๓] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระญาณัตถวิกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ญาณัตถวิกเถราปทานที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๔. เอกวิหาริวรรค] ๕. อุจฉุขัณฑิกเถราปทาน
๕. อุจฉุขัณฑิกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอุจฉุขัณฑิกเถระ
(พระอุจฉุขัณฑิกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๔๔] ข้าพเจ้าเป็นคนเฝ้าประตูอยู่ในกรุงพันธุมดี
ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลีคือกิเลส
ผู้ทรงถึงความสำเร็จแห่งธรรมทั้งปวง
[๔๕] ข้าพเจ้ามีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี
ได้ถือท่อนอ้อยมาถวายพระพุทธเจ้า
ผู้ประเสริฐที่สุดพระนามว่าวิปัสสี ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๔๖] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายอ้อยไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายท่อนอ้อย
[๔๗] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๔๘] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๔๙] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระอุจฉุขัณฑิกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
อุจฉุขัณฑิกเถราปทานที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๔. เอกวิหาริวรรค] ๖. กลัมพทายกเถราปทาน
๖. กลัมพทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระกลัมพทายกเถระ
(พระกลัมพทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๕๐] พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโรมสะ
ประทับอยู่ที่ซอกภูเขา
ข้าพเจ้าเลื่อมใส ได้ถวายผักบุ้ง
แด่พระองค์ด้วยมือทั้ง ๒ ของตน
[๕๑] ในกัปที่ ๙๔ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายทานไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผักบุ้ง
[๕๒] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๕๓] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๕๔] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระกลัมพทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
กลัมพทายกเถราปทานที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๔. เอกวิหาริวรรค] ๗. อัมพาฏกทายกเถราปทาน
๗. อัมพาฏกทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอัมพาฏกทายกเถระ
(พระอัมพาฏกทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าว
ว่า)
[๕๕] ที่ป่าใหญ่ข้าพเจ้าได้เห็นพระพุทธเจ้า
ผู้ทรงเป็นพระสยัมภู ผู้ไม่ทรงพ่ายแพ้
จึงได้ถือผลมะกอกมาถวายพระสยัมภู
[๕๖] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายผลไม้ไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
[๕๗] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๕๘] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๕๙] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระอัมพาฏกทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
อัมพาฏกทายกเถราปทานที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๔. เอกวิหาริวรรค] ๘. หรีตกทายกเถราปทาน
๘. หรีตกทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระหรีตกทายกเถระ
(พระหรีตกทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๖๐] ข้าพเจ้ากำลังนำผลสมอ ผลมะขามป้อม ผลมะม่วง
ผลหว้า ผลสมอพิเภก ผลกระเบา ผลรกฟ้า
และผลมะตูมมาด้วยตนเอง
[๖๑] ข้าพเจ้าได้พบพระมหามุนี ผู้มีปกติเข้าฌาน
ยินดีในฌาน เป็นมุนี ถูกอาพาธเบียดเบียน
ทรงเดินทางไกล ประทับอยู่ที่เงื้อมภูเขา
[๖๒] ข้าพเจ้าจึงนำผลสมอมาถวายพระสยัมภู
เพียงข้าพเจ้าปรุงเภสัชเสร็จแล้ว
ความเจ็บป่วยก็หายไปในทันใดนั้นเอง
[๖๓] พระพุทธเจ้าผู้ละความกระวนกระวายได้แล้ว
ได้ทรงอนุโมทนาว่า
ก็ด้วยการถวายเภสัชซึ่งเป็นเครื่องระงับความเจ็บป่วยนี้
[๖๔] ท่านจะเกิดเป็นเทวดา เป็นมนุษย์
หรือเกิดในชาติอื่น ๆ ก็ตาม
ขอจงเป็นผู้มีความสุขในที่ทุกสถาน
และอย่าได้มีความเจ็บป่วยเลย
[๖๕] ครั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงเป็นพระสยัมภู
ผู้ไม่ทรงพ่ายแพ้ ผู้ทรงเป็นนักปราชญ์ตรัสดังนี้แล้ว
ได้เสด็จเหาะขึ้นสู่ท้องฟ้า เหมือนพญาหงส์ไปในอากาศ
[๖๖] ข้าพเจ้าได้ถวายผลสมอแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้ทรงเป็นพระสยัมภู ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ในชาติใด
ความเจ็บป่วยจึงมิได้เกิดแก่ข้าพเจ้าอีกเลยจนถึงชาตินี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๔. เอกวิหาริวรรค] ๘. หรีตกทายกเถราปทาน
[๖๗] ภพนี้เป็นภพสุดท้ายของข้าพเจ้า
ภพสุดท้ายกำลังเป็นไปอยู่
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๖๘] ในกัปที่ ๙๔ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายเภสัชไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายเภสัช
[๖๙] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๗๐] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๗๑] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระหรีตกทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
หรีตกทายกเถราปทานที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๔. เอกวิหาริวรรค] ๙. อัมพปิณฑิยเถราปทาน
๙. อัมพปิณฑิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอัมพปิณฑิยเถระ
(พระอัมพปิณฑิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๗๒] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นพญาช้างมีงางอนงาม๑
เหมาะที่จะเป็นราชพาหนะ
เที่ยวอยู่ในป่าใหญ่ ได้เห็นพระผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
[๗๓] ข้าพเจ้าได้หยิบชิ้นมะม่วงมาถวายพระศาสดา
พระมหาวีระพระนามว่าสิทธัตถะ ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลกทรงรับแล้ว
[๗๔] ขณะที่ข้าพเจ้าเพ่งดูอยู่ พระชินเจ้าได้เสวยแล้วในครั้งนั้น
ข้าพเจ้าทำจิตให้เลื่อมใสในพระชินเจ้าพระองค์นั้นแล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต
[๗๕] ข้าพเจ้าจุติจากสวรรค์ชั้นดุสิตนั้นแล้ว
ได้เสวยสมบัติเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ โดยอุบายนั้นแล
[๗๖] ข้าพเจ้ามีจิตเด็ดเดี่ยวเพื่อบำเพ็ญเพียร
มีจิตสงบระงับ ไม่มีอุปธิ
กำหนดรู้อาสวะ๒ ทั้งปวงแล้ว จึงอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
[๗๗] ในกัปที่ ๙๔ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายทานไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้

เชิงอรรถ :
๑ มีงางอนงาม หมายถึงมีงางอนเหมือนงอนรถ (ขุ.อป.อ. ๑/๖๕๗/๓๗๗, ขุ.อป.อ. ๒/๑๗๙-๘๐/๓๗๐)
๒ อาสวะ หมายถึงกิเลสเครื่องหมักดองมี ๔ คือ (๑) กามาสวะ (๒) ภวาสวะ (๓) ทิฏฐาสวะ (๔) อวิชชาสวะ
(ขุ.เถร.อ. ๒/๕๙๖/๒๓๕, ที.ปา. (แปล) ๑๑/๓๐๕/๒๖๔, องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๙๘/๓๑๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๔. เอกวิหาริวรรค] ๑๐. ชัมพูผลิยเถราปทาน
[๗๘] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๗๙] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๘๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระอัมพปิณฑิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
อัมพปิณฑิยเถราปทานที่ ๙ จบ

๑๐. ชัมพูผลิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระชัมพูผลิยเถระ
(พระชัมพูผลิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๘๑] เมื่อพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้เจริญที่สุดในโลก ผู้คงที่ ทรงพระยศอย่างสูงสุด
ซึ่งกำลังเสด็จเที่ยวบิณฑบาต
[๘๒] ข้าพเจ้ามีจิตเลื่อมใส ได้ถือเอาผลหว้าไปถวายพระศาสดา
ผู้เป็นทักขิไณยบุคคล ผู้ทรงเป็นนักปราชญ์
[๘๓] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมแห่งเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ผู้เจริญที่สุดในโลก ทรงองอาจกว่านรชน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๔. เอกวิหาริวรรค] ๑๐. ชัมพูผลิยเถราปทาน
เพราะกรรมนั้น ข้าพเจ้าจึงเป็นผู้ละความชนะ๑
และความพ่ายแพ้๒ ได้แล้ว บรรลุฐานะที่ไม่หวั่นไหว๓
[๘๔] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายทานไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลหว้า
[๘๕] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๘๖] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๘๗] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระชัมพูผลิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ชัมพูผลิยเถราปทานที่ ๑๐ จบ
เอกวิหาริวรรคที่ ๔๔ จบบริบูรณ์

เชิงอรรถ :
๑ ละความชนะ หมายถึงละทิพยสมบัติและมนุษยสมบัติ (ขุ.อป.อ. ๒/๙/๑๐๗)
๒ ละความพ่ายแพ้ หมายถึงละทุกข์ในอบาย ๔ (ขุ.อป.อ. ๒/๙/๑๐๗)
๓ ฐานะที่ไม่หวั่นไหว หมายถึงพระอรหัตตผลและนิพพาน (ขุ.เถร.อ. ๒/๖๕๑/๒๖๘, ขุ.อป.อ. ๑/๒๙๑/๒๗๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๔. เอกวิหาริวรรค] รวมอปทานที่มีในวรรค
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. เอกวิหาริยเถราปทาน ๒. เอกสังขิยเถราปทาน
๓. ปาฏิหีรสัญญกเถราปทาน ๔. ญาณัตถวิกเถราปทาน
๕. อุจฉุขัณฑิกเถราปทาน ๖. กลัมพทายกเถราปทาน
๗. อัมพาฏกทายกเถราปทาน ๘. หรีตกทายกเถราปทาน
๙. อัมพปิณฑิยเถราปทาน ๑๐. ชัมพูผลิยเถราปทาน

ในวรรคนี้ บัณฑิตนับคาถาได้ ๘๖ คาถา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๕. วิเภทกิวรรค] ๑. วิเภทกพีชิยเถราปทาน
๔๕. วิเภทกิวรรค
หมวดว่าด้วยพระวิเภทกะเป็นต้น
๑. วิเภทกพีชิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระวิเภทกพีชิยเถระ
(พระวิเภทกพีชิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑] พระมหาวีรพุทธเจ้า ผู้ทรงถึงความสำเร็จแห่งธรรมทั้งปวง
พระนามว่ากกุสันธะ พระองค์เสด็จออกจากคณะไปสู่ป่า
[๒] ข้าพเจ้าได้ใช้เถาวัลย์ร้อยจาวตาลถือเที่ยวไปแล้ว
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเข้าฌานอยู่ที่ซอกภูเขา
[๓] ข้าพเจ้าเห็นพระพุทธเจ้าผู้เป็นเทพยิ่งกว่าเทพแล้ว
มีจิตเลื่อมใส ได้ถวายจาวตาลแด่พระพุทธเจ้า
ผู้เป็นทักขิไณยบุคคล ผู้ทรงเป็นนักปราชญ์
[๔] ข้าพเจ้าได้ถวายพืชไว้ในครั้งนั้น
ในภัทรกัปนี้ จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายจาวตาล
[๕] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๖] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๕. วิเภทกิวรรค] ๒. โกลทายกเถราปทาน
[๗] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระวิเภทกพีชิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
วิเภทกพีชิยเถราปทานที่ ๑ จบ

๒. โกลทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระโกลทายกเถระ
(พระโกลทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๘] ครั้งนั้น ข้าพเจ้านุ่งผ้าหนังสัตว์
ห่มผ้าเปลือกไม้ บรรจุผลพุทราจนเต็มหาบ
แล้วหาบไปยังอาศรมของข้าพเจ้า
[๙] กาลนั้น พระพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี
ผู้ทรงทำโลกให้สว่างไสวตลอดกาล
ได้เสด็จเข้ามายังอาศรมของข้าพเจ้าเพียงลำพังพระองค์เดียว
[๑๐] ข้าพเจ้าทำจิตของตนให้เลื่อมใส
และไหว้พระพุทธเจ้าผู้มีวัตรงดงาม
แล้วถวายผลพุทราแด่พระพุทธเจ้าด้วยมือทั้ง ๒
[๑๑] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายผลพุทราไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลพุทรา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๕. วิเภทกิวรรค] ๓. เวลุวผลิยเถราปทาน
[๑๒] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๓] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๔] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระโกลทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
โกลทายกเถราปทานที่ ๒ จบ

๓. เวลุวผลิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระเวลุวผลิยเถระ
(พระเวลุวผลิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๕] ใกล้ฝั่งแม่น้ำจันทภาคา
ข้าพเจ้าได้สร้างอาศรมไว้อย่างดี
มีต้นมะตูมอยู่เรียงราย
เป็นที่รวมหมู่ไม้นานาพันธุ์
[๑๖] ข้าพเจ้าเห็นผลมะตูมมีกลิ่นหอมแล้ว
ระลึกถึงพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
ทั้งยินดีและตื่นเต้น ได้เก็บผลมะตูมใส่หาบจนเต็ม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๕. วิเภทกิวรรค] ๓. เวลุวผิยเถราปทาน
[๑๗] เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าพระนามว่ากกุสันธะ
มีจิตเลื่อมใสได้ถวายผลมะตูมสุกแด่พระองค์
ผู้เป็นเนื้อนาบุญ ผู้ทรงเป็นนักปราชญ์
[๑๘] ข้าพเจ้าได้ถวายผลมะตูมไว้ในตอนต้นแห่งภัทรกัปนี้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลมะตูม
[๑๙] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๒๐] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๒๑] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระเวลุวผลิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
เวลุวผลิยเถราปทานที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๕. วิเภทกิวรรค] ๔. ภัลลาตกทายกเถราปทาน
๔. ภัลลาตกทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระภัลลาตกทายกเถระ
(พระภัลลาตกทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๒๒] พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้มีพระฉวีวรรณดังทองคำ
มีพระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ๑
ดุจต้นพญาไม้สาละที่มีดอกบานสะพรั่ง
กำลังเสด็จเหาะไปทางอากาศ
[๒๓] ข้าพเจ้าได้ปูลาดเครื่องลาดหญ้า
ทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
ขอพระพุทธเจ้าจงอนุเคราะห์ข้าพระองค์
ข้าพระองค์ปรารถนาจะถวายภิกษา
[๒๔] พระพุทธเจ้าพระนามว่าอัตถทัสสี
ผู้ทรงอนุเคราะห์ ประกอบด้วยพระกรุณา
มีพระยศยิ่งใหญ่ ได้ทรงทราบความดำริของข้าพเจ้า
จึงเสด็จลงมาที่อาศรมของข้าพเจ้า
[๒๕] ครั้นแล้ว พระองค์ได้ประทับบนเครื่องลาดใบไม้
ข้าพเจ้าได้ถือผลรกฟ้ามาถวายพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
[๒๖] ขณะที่ข้าพเจ้าเพ่งดูอยู่ พระชินเจ้าได้เสวยแล้วในครั้งนั้น
ข้าพเจ้าทำจิตให้เลื่อมใสในพระชินเจ้าพระองค์นั้นแล้ว
ก็ในครั้งนั้นได้ไหว้พระชินเจ้าอีก
[๒๗] ในกัปที่ ๑๑๘ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายผลไม้ไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถหน้า ๑๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๕. วิเภทกิวรรค] ๕. อุมาปุปผิยเถราปทาน
[๒๘] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๒๙] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๓๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระภัลลาตกทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ ฉะนี้
ภัลลาตกทายกเถราปทานที่ ๔ จบ

๕. อุมาปุปผิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอุมาปุปผิยเถระ
(พระอุมาปุปผิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๓๑] เมื่อต้นไทรซึ่งเป็นต้นไม้อันเป็นสถานที่ตรัสรู้ งอกงามเขียวขจี
ข้าพเจ้าได้ประคองดอกผักตบขึ้นบูชาต้นไม้อันเป็นสถานที่ตรัสรู้
[๓๒] ในภัทรกัปนี้ ข้าพเจ้าได้บูชาต้นไม้อันเป็นสถานที่ตรัสรู้ไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาต้นไม้อันเป็นสถานที่ตรัสรู้
[๓๓] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๕. วิเภทกิวรรค] ๖. อัมพาฏกิยเถราปทาน
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๓๔] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๓๕] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระอุมาปุปผิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
อุมาปุปผิยเถราปทานที่ ๕ จบ

๖. อัมพาฏกิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอัมพาฏกิยเถระ
(พระอัมพาฏกิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๓๖] พระมุนีพระนามว่าเวสสภู เสด็จเข้าไปยังป่าไม้สาละ
ซึ่งมีดอกบานสะพรั่ง ประทับนั่งอยู่ที่ซอกภูเขา
ดุจพญาราชสีห์มีชาติสูง
[๓๗] ข้าพเจ้าเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี
ได้ใช้ดอกมะกอกบูชาพระมหาวีระ
ผู้เป็นเนื้อนาบุญด้วยมือทั้ง ๒ ของตน
[๓๘] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ใช้ดอกไม้บูชาไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๕. วิเภทกิวรรค] ๗. สีหาสนิกเถราปทาน
[๓๙] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๔๐] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๔๑] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระอัมพาฏกิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
อัมพาฏกิยเถราปทานที่ ๖ จบ

๗. สีหาสนิกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระสีหาสนิกเถระ
(พระสีหาสนิกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๔๒] ข้าพเจ้าเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี
ได้ถวายพระแท่นสีหาสน์๑แด่พระผู้มีพระภาค
พระนามว่าปทุมุตตระ ผู้บำเพ็ญประโยชน์เพื่อสรรพสัตว์
[๔๓] ข้าพเจ้าอยู่ในโลกใด ๆ
คือจะเป็นเทวโลกหรือมนุษยโลกก็ตาม

เชิงอรรถ :
๑ พระแท่นสีหาสน์ ในที่นี้หมายถึงอาสนะที่มีรูปราชสีห์ ประดับด้วยเงิน ทอง และรัตนะ (ขุ.อป.อ.
๒/๒๑/๒๑๙) อีกนัยหนึ่ง หมายถึงอาสนะชั้นดี (ขุ.อป.อ. ๒/๒๗/๒๔๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๕. วิเภทกิวรรค] ๗. สีหาสนิกเถราปทาน
ในโลกนั้น ๆ ข้าพเจ้าได้วิมานอันไพบูลย์
นี้เป็นผลแห่งการถวายพระแท่นสีหาสน์
[๔๔] บัลลังก์ทอง บัลลังก์เงิน บัลลังก์แก้วทับทิม
และบัลลังก์แก้วมณีจำนวนมาก
บังเกิดแก่ข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อ
[๔๕] ข้าพเจ้าได้สร้างอาสนะไว้ที่ควงไม้สนอันเป็นที่ตรัสรู้
ของพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
แล้วได้บังเกิดในตระกูลสูง
น่าอัศจรรย์ พระธรรมเป็นธรรมดี
[๔๖] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ทำพระแท่นสีหาสน์ไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายพระแท่นสีหาสน์
[๔๗] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๔๘] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๔๙] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระสีหาสนิกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
สีหาสนิกเถราปทานที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๕. วิเภทกิวรรค] ๘. ปาทปีฐิยเถราปทาน
๘. ปาทปีฐิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระปาทปีฐิยเถระ
(พระปาทปีฐิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๕๐] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสุเมธะ
ผู้ประกอบด้วยพระกรุณา เป็นพระมหามุนี
พระองค์ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่
ทรงช่วยเหล่าสัตว์จำนวนมาก
ให้ข้ามพ้น(วัฏฏสงสาร) แล้วก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน
[๕๑] ข้าพเจ้าเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี
ได้ใช้ให้คนทำตั่งสำหรับวางเท้าไว้ที่ใกล้พระแท่นสีหาสน์
ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสุเมธะ
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๕๒] ข้าพเจ้าทำกุศลกรรมที่มีสุขเป็นผล
มีสุขเป็นกำไรแล้ว เป็นผู้ประกอบแต่กรรมดี
ได้ไปเกิดยังสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๕๓] ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้น
เมื่อข้าพเจ้าผู้มีความเพียบพร้อมด้วยกรรมดี
ก้าวเท้าไป ตั่งทองก็ผุดขึ้น(รองรับ)
[๕๔] นรชนเหล่าใดได้ยินคำว่าพระพุทธเจ้า
นรชนเหล่านั้นนับว่าโชคดี
การที่พวกเธอทำสักการะในพระพุทธเจ้า
ผู้เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว
ได้สุขอันไพบูลย์ นับว่าเป็นลาภที่พวกเธอได้ดีแล้ว
[๕๕] แม้กรรมข้าพเจ้าก็ทำไว้ดีแล้ว
ข้าพเจ้าประกอบการค้าขายไว้ดีแล้ว
ข้าพเจ้าทำตั่งสำหรับวางเท้า(ถวาย) จึงได้ตั่งทองคำ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๕. วิเภทกิวรรค] ๘. ปาทปีฐิยเถราปทาน
[๕๖] เมื่อข้าพเจ้ามีกิจธุระบางอย่างที่ต้องเดินทางไปสู่ทิศทางใด ๆ
ข้าพเจ้าต้องเหยียบไปบนตั่งทองคำในทิศนั้น ๆ
นี้เป็นผลแห่งกรรมดี
[๕๗] ในกัปที่ ๓๐,๐๐๐ (นับจากกัปนี้ไป)
ข้าพเจ้าได้ทำกรรมไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายตั่งสำหรับวางเท้า
[๕๘] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๕๙] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๖๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระปาทปีฐิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ปาทปีฐิยเถราปทานที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๕. วิเภทกิวรรค] ๙. เวทิการกเถราปทาน
๙. เวทิการกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระเวทิการกเถระ
(พระเวทิการกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๖๑] ข้าพเจ้าได้สร้างไพที๑อย่างสวยงามไว้ที่ควงไม้สน
อันประเสริฐอันเป็นที่ตรัสรู้
ซึ่งเป็นต้นไม้ที่สูงสุดของพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
แล้วทำจิตของตนให้เลื่อมใส
[๖๒] เครื่องใช้หลายชนิด ซึ่งเลิศโอฬาร
ทั้งที่ทำเสร็จแล้วและยังทำไม่เสร็จ
ตกลงมาจากอากาศ
นี้เป็นผลแห่งการสร้างไพที
[๖๓] ในสงครามทั้ง ๒ ฝ่ายประชิดกัน น่าสะพรึงกลัว
เมื่อข้าพเจ้าเข้าไปก็ไม่พบสิ่งที่น่าหวาดกลัวเลย
นี้เป็นผลแห่งการสร้างไพที
[๖๔] วิมานที่งดงามและที่นอนซึ่งมีค่ามาก
ดังจะรู้ความดำริของข้าพเจ้าก็บังเกิด
นี้เป็นผลแห่งการสร้างไพที
[๖๕] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้สร้างไพทีไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการสร้างไพที
[๖๖] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว

เชิงอรรถ :
๑ ไพที หมายถึงที่รอง แท่น ฐานบัวคว่ำบัวหงายที่พระเจดีย์ ชานล้อมรอบที่จงกรม (ขุ.พุทฺธ.อ. ๑๔/๖๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๕. วิเภทกิวรรค] ๑๐. โพธิฆรการกเถราปทาน
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๖๗] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๖๘] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระเวทิการกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
เวทิการกเถราปทานที่ ๙ จบ

๑๐. โพธิฆรการกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระโพธิฆรการกเถระ
(พระโพธิฆรการกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๖๙] ข้าพเจ้าเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี
ได้ใช้ให้คนทำเรือนโพธิ์ถวายพระผู้มีพระภาค
พระนามว่าสิทธัตถะ ผู้เป็นจอมแห่งเทวดาและมนุษย์ ผู้คงที่
[๗๐] ข้าพเจ้าเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต
อยู่ในเรือนแก้ว ความหนาว ความร้อน
หรือลมมิได้ถูกต้องตัวข้าพเจ้าเลย
[๗๑] ในกัปที่ ๖๕ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
วิสสุกรรมเทพบุตร ได้เนรมิตนครชื่อกาสิกะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๕. วิเภทกิวรรค] ๑๐. โพธิฆรการกเถราปทาน
[๗๒] ยาว ๑๐ โยชน์ กว้าง ๘ โยชน์ เพื่อข้าพเจ้า
ในนครนั้นไม่มีไม้เครือเถาและดินเลย
[๗๓] วิสสุกรรมเทพบุตรเนรมิตปราสาทชื่อมงคล
ยาวหนึ่งโยชน์ กว้างครึ่งโยชน์ เพื่อข้าพเจ้า
[๗๔] เสาปราสาท ๘๔,๐๐๐ ต้นล้วนเป็นทองคำ
พื้นสำเร็จด้วยแก้วมณี หลังคาทำด้วยแผ่นเงิน
[๗๕] วิสสุกรรมเทพบุตรเนรมิตตัวเรือนสำเร็จด้วยทองคำล้วน
ข้าพเจ้าได้อยู่ครองปราสาทนั้น
นี้เป็นผลแห่งการถวายเรือนโพธิ์
[๗๖] ข้าพเจ้าได้เสวยผลทั้งปวงนั้น
ในภพทั้งที่เป็นเทวดาและที่เป็นมนุษย์
ในวันนี้ ข้าพเจ้าบรรลุนิพพานซึ่งเป็นสันติบทอันประเสริฐ
[๗๗] ในกัปที่ ๓๐,๐๐๐ (นับจากกัปนี้ไป)
ข้าพเจ้าได้ใช้ให้คนทำเรือนโพธิ์ไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายเรือนโพธิ์
[๗๘] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๗๙] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๕. วิเภทกิวรรค] รวมอปทานที่มีในวรรค
[๘๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระโพธิฆรการกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
โพธิฆรการกเถราปทานที่ ๑๐ จบ
วิเภทกิวรรคที่ ๔๕ จบบริบูรณ์

รวมอปทานที่มีในวรรคนี้คือ

๑. วิเภทกพีชิยเถราปทาน ๒. โกลทายกเถราปทาน
๓. เวลุวผลิยเถราปทาน ๔. ภัลลาตกทายกเถราปทาน
๕. อุมาปุปผิยเถราปทาน ๖. อัมพาฏกิยเถราปทาน
๗. สีหาสนิกเถราปทาน ๘. ปาทปีฐิยเถราปทาน
๙. เวทิการกเถราปทาน ๑๐. โพธิฆรการกเถราปทาน

ในวรรคนี้ บัณฑิตนับคาถาได้ ๗๙ คาถา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๖. ชคติทายกวรรค] ๑. ชคติทายกเถราปทาน
๔๖. ชคติทายกวรรค
หมวดว่าด้วยพระชคติทายกะเป็นต้น
๑. ชคติทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระชคติทายกเถระ
(พระชคติทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑] ข้าพเจ้าเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี
ได้ให้สร้างแท่นบูชาไว้ที่ควงไม้โพธิ์
ซึ่งเป็นต้นไม้ที่ประเสริฐของพระมุนีพระนามว่าธัมมทัสสี
[๒] ข้าพเจ้าพลัดตกเหวก็ดี ภูเขาก็ดี
ต้นไม้ก็ดี ย่อมได้ที่รองรับ
นี้เป็นผลแห่งการสร้างแท่นบูชา
[๓] โจรไม่เบียดเบียนข้าพเจ้า กษัตริย์ก็ไม่ดูหมิ่นข้าพเจ้า
ข้าพเจ้ารอดพ้นจากศัตรูทุกจำพวก
นี้เป็นผลแห่งการสร้างแท่นบูชา
[๔] ข้าพเจ้าเกิดในกำเนิดใด ๆ
คือจะเกิดเป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็ตาม
ข้าพเจ้าย่อมเป็นผู้ที่เขาบูชาในที่ทุกสถาน
นี้เป็นผลแห่งการสร้างแท่นบูชา
[๕] ในกัปที่ ๑,๘๐๐ (นับจากกัปนี้ไป)
ข้าพเจ้าได้ให้สร้างแท่นบูชาไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการสร้างแท่นบูชา
[๖] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๖. ชคติทายกวรรค] ๒. โมรหัตถิยเถราปาทาน
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๗] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๘] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระชคติทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ชคติทายกเถราปทานที่ ๑ จบ

๒. โมรหัตถิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระโมรหัตถิยเถระ๑
(พระโมรหัตถิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๙] ข้าพเจ้าถือพัดหางนกยูงเข้าเฝ้าพระผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ข้าพเจ้าเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี ได้ถวายพัดหางนกยูง
[๑๐] ด้วยพัดหางนกยูงนี้ และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
ไฟ ๓ กอง๒ของข้าพเจ้าดับสนิทแล้ว
ข้าพเจ้าจึงได้ความสุขอันไพบูลย์

เชิงอรรถ :
๑ พระโมรหัตถิยเถระ หมายถึงพระเสนกเถระหลานของพระอุรุเวลกัสสปเถระ (ขุ.เถร.อ. ๒/๖/๑๗)
๒ ไฟ ๓ กอง ได้แก่ ไฟคือราคะ ไฟคือโทสะ และไฟคือโมหะ (ที.ปา. (แปล) ๑๑/๓๐๕/๒๖๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๖. ชคติทายกวรรค] ๒. โมรหัตถิยเถราปทาน
[๑๑] พระพุทธเจ้า ช่างน่าอัศจรรย์ พระธรรม ช่างน่าอัศจรรย์
การที่ข้าพเจ้าประจวบกับพระศาสดา ช่างน่าอัศจรรย์
เพราะถวายพัดหางนกยูง
ข้าพเจ้าจึงได้สุขอันไพบูลย์
[๑๒] ไฟ ๓ กอง ของข้าพเจ้าดับสนิทแล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
อาสวะทั้งปวงสิ้นไปแล้ว
บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก
[๑๓] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายทานไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายพัดหางนกยูง
[๑๔] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๕] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๖] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระโมรหัตถิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
โมรหัตถิยเถราปทานที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๖. ชคติทายกวรรค] ๓. สีหาสนพีชิยเถราปทาน
๓. สีหาสนพีชิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระสีหาสนพีชิยเถระ๑
(พระสีหาสนพีชิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๗] ข้าพเจ้าได้ไหว้ต้นโพธิ์ของพระผู้มีพระภาคพระนามว่าติสสะ
ได้ถือพัดวีชนีมาถวายงานพัดพระแท่นสีหาสน์ในที่นั้น
[๑๘] ในกัปที่ ๙๒ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายงานพัดพระแท่นสีหาสน์ไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายงานพัด
[๑๙] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๒๐] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๒๑] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระสีหาสนพีชิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
สีหาสนพีชิยเถราปทานที่ ๓ จบ

เชิงอรรถ :
๑ พระสีหาสนพีชิยเถระ หมายถึงพระชัมพุกเถระ (ขุ.เถร.อ. ๒/๕/๑๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๖. ชคติทายกวรรค] ๔. ติณุกกธาริยเถราปทาน
๔. ติณุกกธาริยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระติณุกกธาริยเถระ๑
(พระติณุกกธาริยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๒๒] ข้าพเจ้าเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี
ได้ถือคบเพลิง ๓ ดวง (บูชา)
ที่ใกล้ต้นโพธิ์ซึ่งเป็นต้นไม้ที่ประเสริฐของพระพุทธเจ้า
พระนามว่าปทุมุตตระ
[๒๓] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถือคบเพลิง(บูชา)
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายคบเพลิง
[๒๔] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๒๕] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๒๖] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระติณุกกธาริยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ติณุกกธาริยเถราปทานที่ ๔ จบ

เชิงอรรถ :
๑ พระติณุกกธาริยเถระ หมายถึงพระนันทกเถระ (ขุ.เถร.อ. ๒/๔/๑๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๖. ชคติทายกวรรค] ๕. อักกมนทายกเถราปทาน
๕. อักกมนทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอักกมนทายกเถระ๑
(พระอักกมนทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๒๗] ข้าพเจ้าได้ถวายฉลองพระบาทแด่พระพุทธเจ้า
พระนามว่ากกุสันธะ
ผู้ทรงเป็นนักปราชญ์ ลอยบาปได้แล้ว อยู่จบพรหมจรรย์
ผู้ทรงดำเนินไปสู่ที่ประทับในเวลากลางวัน
[๒๘] ในภัทรกัปนี้ ข้าพเจ้าได้ถวายทานไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายฉลองพระบาท
[๒๙] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๓๐] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๓๑] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระอักกมนทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
อักกมนทายกเถราปทานที่ ๕ จบ

เชิงอรรถ :
๑ พระอักกมนทายกเถระ หมายถึงพระสุภิยเถระ (ขุ.เถร.อ. ๒/๓/๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๖. ชคติทายกวรรค] ๖. วนโกรัณฑิยเถราปทาน
๖. วนโกรัณฑิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระวนโกรัณฑิยเถระ
(พระวนโกรัณฑิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๓๒] ข้าพเจ้าถือดอกอังกาบป่ามาบูชา
พระผู้มีพระภาคพระนามว่าสิทธัตถะ
ผู้เจริญที่สุดในโลก ผู้คงที่
[๓๓] ในกัปที่ ๙๔ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ใช้ดอกไม้บูชาไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๓๔] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๓๕] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๓๖] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระวนโกรัณฑิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
วนโกรัณฑิยเถราปทานที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๖. ชคติทายกวรรค] ๗. เอกฉัตติยเถราปทาน
๗. เอกฉัตติยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระเอกฉัตติยเถระ๑
(พระเอกฉัตติยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๓๗] แผ่นดินร้อนดังถ่านเพลิง แผ่นดินดุจมีเถ้ารึงไหล
พระผู้มีพระภาคพระนามว่าปทุมุตตระ
เสด็จจงกรมอยู่ที่กลางแจ้ง
[๓๘] ข้าพเจ้ากั้นร่มขาวเดินทางไกล
เพราะเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่กลางแจ้งนั้น
ข้าพเจ้าจึงเกิดความคิดอย่างนี้ว่า
[๓๙] ภาคพื้นปกคลุมด้วยพยับแดด
แผ่นดินนี้จึงเป็นเหมือนถ่านเพลิง
พายุใหญ่ที่จะพัดร่างกายให้ลอยขึ้นก็ปรากฏ
[๔๐] ความหนาว ความร้อน ย่อมทำให้ลำบาก
ขอพระองค์โปรดรับร่มนี้ไว้เป็นเครื่องกั้นลมและแดดเถิด
ข้าพเจ้าจักได้สัมผัสพระนิพพานบ้าง
[๔๑] ในครั้งนั้น พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้ทรงอนุเคราะห์ ประกอบด้วยพระกรุณา
มีพระยศยิ่งใหญ่ ทราบความดำริของข้าพเจ้าแล้วทรงรับไว้
[๔๒] ข้าพเจ้าได้เป็นจอมเทพครองเทวสมบัติตลอด ๓๐ กัป
ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๕๐๐ ชาติ
[๔๓] และได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์นับชาติไม่ถ้วน
ข้าพเจ้าเสวยผลกรรมของตนที่ได้ทำไว้ดีแล้วในปางก่อน

เชิงอรรถ :
๑ พระเอกฉัตติยเถระ หมายถึงพระนาคสมาลศากยบุตร (ขุ.เถร.อ. ๒/๑/๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๖. ชคติทายกวรรค] ๗. เอกฉัตติยเถราปทาน
[๔๔] ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายของข้าพเจ้า
ภพสุดท้ายกำลังเป็นไปอยู่
แม้ในวันนี้ชนทั้งหลายก็พากันกั้นร่มขาว
ให้ข้าพเจ้าตลอดกาลทุกเมื่อ
[๔๕] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายร่มไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายร่ม
[๔๖] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๔๗] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๔๘] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระเอกฉัตติยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
เอกฉัตติยเถราปทานที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๖. ชคติทายกวรรค] ๘. ชาติปุปผิยเถราปทาน
๘. ชาติปุปผิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระชาติปุปผิยเถระ๑
(พระชาติปุปผิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๔๙] เมื่อพระผู้มีพระภาคพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่ปรินิพพานแล้ว
ข้าพเจ้าได้ถือผอบซึ่งเต็มด้วยดอกไม้
ไปบูชาพระสรีระของพระพุทธเจ้า
[๕๐] ข้าพเจ้าทำจิตให้เลื่อมใสในการบูชานั้นแล้ว
ได้ไปเกิดยังสวรรค์ชั้นนิมมานรดี
ข้าพเจ้าแม้จะอยู่ในเทวโลก
ก็ยังประพฤติกรรมดีอยู่
[๕๑] ฝนดอกไม้ตกจากฟากฟ้าเพื่อข้าพเจ้าตลอดกาลทั้งปวง
ข้าพเจ้าเกิดในมนุษยโลกแล้วก็จะเป็นพระราชาผู้มีพระยศใหญ่
[๕๒] ในอัตภาพนั้น ฝนแห่งบุปผชาติตกลงมาเพื่อข้าพเจ้าตลอดเวลา
เพราะอานุภาพแห่งการใช้ดอกไม้บูชาพระสรีระของพระพุทธเจ้า
ผู้ทรงเห็นเหตุทั้งปวง
[๕๓] ภพนี้เป็นภพสุดท้ายของข้าพเจ้า
ภพสุดท้ายกำลังเป็นไปอยู่
แม้ในวันนี้ฝนดอกไม้ก็ยังตกเพื่อข้าพเจ้าตลอดเวลา
[๕๔] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ (นับจากกัปนี้ไป)
ข้าพเจ้าได้ใช้ดอกไม้บูชาไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระสรีระ

เชิงอรรถ :
๑ พระชาติปุปผิยเถระ หมายถึงพระภคุศากยบุตร (ขุ.เถร.อ. ๒/๒/๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๖. ชคติทายกวรรค] ๙. สัตติปัณณิยเถราปทาน
[๕๕] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๕๖] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๕๗] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระชาติปุปผิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ชาติปุปผิยเถราปทานที่ ๘ จบ

๙. สัตติปัณณิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระสัตติปัณณิยเถระ๑
(พระสัตติปัณณิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๕๘] เมื่อมหาชนกำลังช่วยกันนำพระสรีระของพระพุทธเจ้าไป
เมื่อกลองบรรเลงอยู่ ข้าพเจ้าเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี
ได้ใช้ดอกมะลิซ้อนบูชาแล้ว
[๕๙] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ใช้ดอกไม้บูชาไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระสรีระ

เชิงอรรถ :
๑ พระสัตติปัณณิยเถระ หมายถึงพระวิมลเถระศิษย์ของพระโสมมิตตเถระ (ขุ.เถร.อ. ๑/๑๖/๕๘๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๖. ชคติทายกวรรค] ๑๐. คันธปูชกเถราปทาน
[๖๐] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๖๑] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๖๒] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระสัตติปัณณิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
สัตติปัณณิยเถราปทานที่ ๙ จบ

๑๐. คันธปูชกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระคันธปูชกเถระ๑
(พระคันธปูชกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๖๓] เมื่อมหาชนกำลังช่วยกันทำจิตกาธานอยู่
เมื่อพวกเขานำของหอมนานาชนิดมา
ข้าพเจ้าเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี
ได้ใช้ของหอมกำมือหนึ่งบูชาแล้ว
[๖๔] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้บูชาจิตกาธานไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาจิตกาธาน

เชิงอรรถ :
๑ พระคันธปูชกเถระ หมายถึงพระหาริตเถระ (ขุ.เถร.อ. ๑/๙๑/๑๓๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๖. ชคติทายกวรรค] รวมอปทานที่มีในวรรค
[๖๕] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๖๖] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๖๗] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระคันธปูชกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
คันธปูชกเถราปทานที่ ๑๐ จบ
ชคติทายกวรรคที่ ๔๖ จบบริบูรณ์

รวมอปทานที่มีในวรรคนี้คือ

๑. ชคติทายกเถราปทาน ๒. โมรหัตถิยเถราปทาน
๓. สีหาสนพีชิยเถราปทาน ๔. ติณุกกธาริยเถราปทาน
๕. อักกมนทายกเถราปทาน ๖. วนโกรัณฑิยเถราปทาน
๗. เอกฉัตติยเถราปทาน ๘. ชาติปุปผิยเถราปทาน
๙. สัตติปัณณิยเถราปทาน ๑๐. คันธปูชกเถราปทาน

ในวรรคนี้ บัณฑิตนับคาถาได้ ๖๗ คาถา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๗. สาลกุสุมิยวรรค] ๑. สาลกุสุมิยเถราปทาน
๔๗. สาลกุสุมิยวรรค
หมวดว่าด้วยพระสาลกุสุมิยะเป็นต้น
๑. สาลกุสุมิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระสาลกุสุมิยเถระ
(พระสาลกุสุมิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑] เมื่อพระผู้มีพระภาคพระนามว่าปทุมุตตระ ปรินิพพานแล้ว
เมื่อมหาชนกำลังช่วยกันยกพระสรีระ
ของพระพุทธเจ้าขึ้นบนจิตกาธาน
ข้าพเจ้าได้ใช้ดอกสาละบูชาแล้ว
[๒] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ใช้ดอกไม้บูชาไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาจิตกาธาน
[๓] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๔] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๕] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระสาลกุสุมิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
สาลกุสุมิยเถราปทานที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๐๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๗. สาลกุสุมิยวรรค] ๒. จิตกปูชกเถราปทาน
๒. จิตกปูชกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระจิตกปูชกเถระ
(พระจิตกปูชกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๖] เมื่อเทวดาและมนุษย์พากันถวายพระเพลิง
พระผู้มีพระภาคพระนามว่าสิขี ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของโลก
ข้าพเจ้าได้ใช้ดอกจำปา ๘ ดอกบูชาจิตกาธาน
[๗] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ใช้ดอกไม้บูชา(จิตกาธาน)ไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๘] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๙] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระจิตกปูชกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
จิตกปูชกเถราปทานที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๗. สาลกุสุมิยวรรค] ๓. จิตกนิพพาปกเถราปทาน
๓. จิตกนิพพาปกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระจิตกนิพพาปกเถระ
(พระจิตกนิพพาปกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๑] เมื่อเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายพากันถวายพระเพลิง
พระสรีระของพระพุทธเจ้าพระนามว่าเวสสภู ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
ข้าพเจ้าได้นำเอาน้ำหอมมาดับจิตกาธาน
[๑๒] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ใช้น้ำหอมดับจิตกาธานไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งน้ำหอม
[๑๓] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๔] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๕] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระจิตกนิพพาปกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
จิตกนิพพาปกเถราปทานที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๗. สาลกุสุมิยวรรค] ๔. เสตุทายกเถราปทาน
๔. เสตุทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระเสตุทายกเถระ
(พระเสตุทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๖] ข้าพเจ้าเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี
ได้ให้สร้างสะพานในที่เฉพาะพระพักตร์
ของพระผู้มีพระภาคพระนามว่าวิปัสสี ผู้เสด็จดำเนินอยู่
[๑๗] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ให้สร้างสะพานถวายไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายสะพาน
[๑๘] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๙] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๒๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระเสตุทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
เสตุทายกเถราปทานที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๗. สาลกุสุมิยวรรค] ๕. สุมนตาลวัณฏิยเถราปทาน
๕. สุมนตาลวัณฏิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระสุมนตาลวัณฏิยเถระ
(พระสุมนตาลวัณฏิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๒๑] ข้าพเจ้าได้ถวายพัดใบตาลที่ประดับด้วยดอกมะลิ
แด่พระผู้มีพระภาคพระนามว่าสิทธัตถะ
แล้วถวายงานพัดพระพุทธองค์ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่
[๒๒] ในกัปที่ ๙๔ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายพัดใบตาลไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายพัดใบตาล
[๒๓] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๒๔] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๒๕] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระสุมนตาลวัณฏิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
สุมนตาลวัณฏิยเถราปทานที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๗. สาลกุสุมิยวรรค] ๖. อวฏผลิยเถราปทาน
๖. อวฏผลิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอวฏผลิยเถระ
(พระอวฏผลิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๒๖] พระปัจเจกพุทธเจ้าพระนามว่าสตรังสี
เป็นพระสยัมภู ผู้มีบุญ
ผู้ไม่ทรงพ่ายแพ้ ผู้ทรงประสงค์วิเวก
ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองเสด็จออกโคจรบิณฑบาต
[๒๗] ข้าพเจ้าถือผลไม้อยู่ ได้เห็นแล้ว
จึงเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ผู้องอาจกว่านรชน
ข้าพเจ้าเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี ได้ถวายผลไม้
[๒๘] ในกัปที่ ๙๔ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายผลไม้ไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
[๒๙] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๓๐] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๐๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๗. สาลกุสุมิยวรรค] ๗. ลพุชผลทายกเถราปทาน
[๓๑] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระอวฏผลิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
อวฏผลิยเถราปทานที่ ๖ จบ

๗. ลพุชผลทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระลพุชผลทายกเถระ
(พระลพุชผลทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๓๒] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นชาวสวนอยู่ในกรุงพันธุมดี
ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลีคือกิเลส
เสด็จเหาะไปในอากาศ
[๓๓] ข้าพเจ้าได้ถือเอาผลขนุนสำปะลอ
ถวายพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
พระพุทธเจ้าผู้มีพระยศยิ่งใหญ่
ประทับยืนอยู่ในอากาศนั้นเอง ทรงรับแล้ว
[๓๔] พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทำให้ข้าพเจ้าเกิดความปลื้มใจ
นำความสุขมาให้ในปัจจุบัน
ข้าพเจ้าได้ถวายผลไม้แด่พระพุทธเจ้าด้วยจิตที่เลื่อมใสแล้ว
[๓๕] ได้ประสบปีติอันไพบูลย์ เป็นสุขอย่างยอดเยี่ยมในครั้งนั้น
รัตนะเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้าผู้เกิดในที่นั้น ๆ
[๓๖] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายผลไม้ไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลขนุนสำปะลอ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๗. สาลกุสุมิยวรรค] ๘. มิลักขุผลทายกเถราปทาน
[๓๗] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๓๘] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๓๙] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระลพุชผลทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ลพุชผลทายกเถราปทานที่ ๗ จบ

๘. มิลักขุผลทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระมิลักขุผลทายกเถระ
(พระมิลักขุผลทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๔๐] ข้าพเจ้าได้เห็นพระพุทธเจ้าพระนามว่าอัตถทัสสี
ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่ ที่ราวป่า เป็นผู้มีจิตเลื่อมใส
มีใจยินดี ได้ถวายผลไทรย้อย
[๔๑] ในกัปที่ ๑,๘๐๐ (นับจากกัปนี้ไป)
ข้าพเจ้าได้ถวายผลไม้ไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไทรย้อย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๗. สาลกุสุมิยวรรค] ๙. สยัมปฏิภาณิยเถราปทาน
[๔๒] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๔๓] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๔๔] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระมิลักขุผลทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
มิลักขุผลทายกเถราปทานที่ ๘ จบ

๙. สยัมปฏิภาณิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระสยัมปฏิภาณิยเถระ
(พระสยัมปฏิภาณิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๔๕] พระพุทธเจ้าผู้องอาจกว่านรชน
ผู้เป็นเทพยิ่งกว่าเทพ งามเหมือนดอกซ่าง(กุ่ม)
ผู้เสด็จดำเนินอยู่ที่ถนน ใครเล่าเห็นแล้วจะไม่เลื่อมใส
[๔๖] พระพุทธเจ้าผู้กำจัดความมืดมนให้พินาศ
ทรงช่วยให้ชนจำนวนมากข้ามพ้น
โชติช่วงอยู่ด้วยแสงสว่างคือญาณ
ใครเล่าเห็นแล้วจะไม่เลื่อมใส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๗. สาลกุสุมิยวรรค] ๙. สยัมปฏิภาณิยเถราปทาน
[๔๗] พระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
กำลังเสด็จออกไปพร้อมกับพระขีณาสพผู้ได้วสี
จำนวน ๑๐,๐๐๐ รูป
ผู้ทรงช่วยสัตว์จำนวนมากให้ข้ามพ้นจากเปือกตมคือกาม
ใครเล่าเห็นแล้วจะไม่เลื่อมใส
[๔๘] พระพุทธเจ้าผู้ย่ำกลองคือพระธรรม ย่ำยีหมู่เดียรถีย์
ทรงบันลือสีหนาท ใครเล่าเห็นแล้วจะไม่เลื่อมใส
[๔๙] เทพทั้งหลายพร้อมทั้งพรหมทุกหมู่เหล่าพากันมาจากพรหมโลก
แล้วทูลถามปัญหาที่ลึกซึ้งกับพระพุทธเจ้า
ใครเล่าเห็นแล้วจะไม่เลื่อมใส
[๕๐] มนุษย์พร้อมทั้งเทวดาพากันมาประนมมือ
แด่พระพุทธเจ้าพระองค์ใด
ย่อมได้เสวยบุญด้วยการทำอัญชลีกรรมนั้น
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ใครเล่าเห็นแล้วจะไม่เลื่อมใส
[๕๑] ชนทั้งปวงมาประชุมห้อมล้อมพระพุทธเจ้า
ผู้มีพระจักษุ พระองค์ได้รับนิมนต์(เพื่อตอบปัญหา)
แต่ไม่ทรงหวั่นไหว ใครเล่าเห็นแล้วจะไม่เลื่อมใส
[๕๒] เมื่อพระพุทธเจ้าผู้องอาจกว่านรชนพระองค์ใด
เสด็จเข้าพระนคร กลองจำนวนมากประโคมกึกก้อง
คชสารที่ตกมันก็พากันบันลือ
พระพุทธเจ้าผู้องอาจกว่านรชนพระองค์นั้น
ใครเล่าเห็นแล้วจะไม่เลื่อมใส
[๕๓] เมื่อพระพุทธเจ้าผู้องอาจกว่านรชนพระองค์ใด
เสด็จดำเนินไปตามถนน พระรัศมีย่อมส่องสว่างทุกเมื่อ
ทั้งที่ลุ่มที่ดอนก็กลายเป็นที่สม่ำเสมอ
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ใครเล่าเห็นแล้วจะไม่เลื่อมใส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๗. สาลกุสุมิยวรรค] ๙. สยัมปฏิภาณิยเถราปทาน
[๕๔] เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสอยู่ หมู่สัตว์ในจักรวาลได้ยินกันทั่ว
พระองค์ทรงสามารถยังสัตว์โลกให้รู้ชัดได้ทั่วกัน
ใครเล่าเห็นแล้วจะไม่เลื่อมใส
[๕๕] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้สดุดีพระพุทธเจ้าไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการสดุดี
[๕๖] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๕๗] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๕๘] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระสยัมปฏิภาณิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
สยัมปฏิภาณิยเถราปทานที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๗. สาลกุสุมิยวรรค] ๑๐. นิมิตตพยากรณิยเถราปทาน
๑๐. นิมิตตพยากรณิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระนิมิตตพยากรณิยเถระ
(พระนิมิตตพยากรณิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๕๙] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้เข้าป่าหิมพานต์บอกมนตร์อยู่
ศิษย์ ๕๔,๐๐๐ คน ได้อุปัฏฐากข้าพเจ้า
[๖๐] ศิษย์เหล่านั้นล้วนเป็นนักศึกษาจบไตรเพท
ถึงความสำเร็จในเวทางคศาสตร์ ๖ สาขา๑
พวกเขากระด้างเพราะวิชชาของตน อยู่ในป่าหิมพานต์
[๖๑] เทพบุตรผู้มียศยิ่งใหญ่ เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ
จุติจากสวรรค์ชั้นดุสิตแล้ว อุบัติในครรภ์มารดา
[๖๒] เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้น
หมื่นจักรวาลก็หวั่นไหว
คนตาบอดกลับมองเห็นได้
ในเมื่อพระผู้ทรงเป็นผู้นำเสด็จอุบัติขึ้น
[๖๓] แต่พื้นพสุธาทั้งสิ้นนี้สั่นสะเทือนเพราะเหตุ ๖ ประการ
มหาชนได้สดับเสียงกึกก้องแล้ว พากันหวาดผวา
[๖๔] ชนทั้งปวงประชุมกันแล้ว
ได้พากันมายังสำนักของข้าพเจ้าถามว่า
พื้นพสุธานี้สั่นสะเทือน จักมีผลเป็นอย่างไร
[๖๕] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้พยากรณ์แก่พวกเขาว่า
อย่ากลัวเลย ท่านทั้งหลายไม่มีภัย
ขอท่านทั้งหลายแม้ทุกคนจงเบาใจเถิด
ความอุบัติขึ้นนี้ประกอบด้วยประโยชน์สุข

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ หน้า ๙ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๗. สาลกุสุมิยวรรค] ๑๐. นิมิตตพยากรณิยเถราปทาน
[๖๖] พื้นพสุธาถูกเหตุ ๘ ประการ๑กระทบแล้วย่อมสั่นสะเทือน
นิมิตย่อมปรากฏโดยอาการเช่นเดียวกัน
โอภาสก็ไพบูลย์ยิ่งใหญ่
[๖๗] พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด ผู้มีพระจักษุ
จักเสด็จอุบัติขึ้นอย่างไม่ต้องสงสัย
ข้าพเจ้าทำให้ชุมนุมชนเข้าใจดีแล้ว ได้บอกเบญจศีล
[๖๘] พวกเขาได้สดับเบญจศีล
และการอุบัติขึ้นของพระพุทธเจ้าที่ได้โดยยาก
จึงเกิดปีติซาบซ่าน มีใจยินดี พากันยินดีร่าเริง
[๖๙] ในกัปที่ ๙๒ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้พยากรณ์นิมิตไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการพยากรณ์
[๗๐] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๗๑] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ ดู ที.ม. (แปล) ๑๐/๑๗๑/๑๑๗-๑๑๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๗. สาลกุสุมิยวรรค] รวมอปทานที่มีในวรรค
[๗๒] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระนิมิตตพยากรณิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
นิมิตตพยากรณิยเถราปทานที่ ๑๐ จบ
สาลกุสุมิยวรรคที่ ๔๗ จบบริบูรณ์

รวมอปทานที่มีในวรรคนี้คือ

๑. สาลกุสุมิยเถราปทาน ๒. จิตกปูชกเถราปทาน
๓. จิตกนิพพาปกเถราปทาน ๔. เสตุทายกเถราปทาน
๕. สุมนตาลวัณฏิยเถราปทาน ๖. อวฏผลิยเถราปทาน
๗. ลพุชผลทายกเถราปทาน ๘. มิลักขุผลทายกเถราปทาน
๙. สยัมปฏิภาณิยเถราปทาน ๑๐. นิมิตตพยากรณิยเถราปทาน

ในวรรคนี้ บัณฑิตนับคาถาได้ ๗๒ คาถา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๘. นฬมาลิวรรค] ๑. นฬมาลิยเถราปทาน
๔๘. นฬมาลิวรรค
หมวดว่าด้วยพระนฬมาลิยะเป็นต้น
๑. นฬมาลิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระนฬมาลิยเถระ
(พระนฬมาลิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑] ข้าพเจ้าได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้มีพระฉวีวรรณดังทองคำ
ผู้สมควรรับเครื่องบูชา ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
กำลังเสด็จเหาะไปทางอากาศ
[๒] ข้าพเจ้าหยิบพวงมาลัยดอกอ้อแล้วออกไป ในทันใดนั้นเอง
ได้พบพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ข้ามโอฆะได้แล้ว
ไม่มีอาสวะ ณ ที่นั้น
[๓] ข้าพเจ้ามีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี
ได้ใช้พวงมาลัยดอกอ้อบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นทักขิไณยบุคคล
มีความเพียรมาก ผู้ทรงอนุเคราะห์โลกทั้งสิ้น
[๔] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ใช้ดอกไม้บูชาไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๕] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๘. นฬมาลิวรรค] ๒. มณิปูชกเถราปทาน
[๖] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๗] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระนฬมาลิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
นฬมาลิยเถราปทานที่ ๑ จบ

๒. มณิปูชกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระมณิปูชกเถระ
(พระมณิปูชกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๘] พระชินสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ทรงถึงความสำเร็จแห่งธรรมทั้งปวง
ทรงประสงค์วิเวก เสด็จเหาะไปในอากาศ
[๙] มีสระใหญ่อยู่ในที่ไม่ไกลป่าหิมพานต์ ที่อยู่ของข้าพเจ้า๑
ซึ่งบุญกรรมประกอบดีแล้วมีอยู่ในสระใหญ่นั้น
[๑๐] ข้าพเจ้าออกจากที่อยู่แล้วได้เห็นพระผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ทรงรุ่งเรืองเหมือนต้นราชพฤกษ์ โชติช่วงราวกับไฟที่ลุกโพลง
[๑๑] ข้าพเจ้าได้เห็นดอกไม้ที่สดใส
จึงคิดว่าจักบูชาพระผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก

เชิงอรรถ :
๑ ข้าพเจ้า ในที่นี้หมายถึงพญานาคผู้มีฤทธิ์อาศัยอยู่ใต้บึงใหญ่ใกล้ป่าหิมพานต์ (ขุ.เถร.อ. ๑/๓๑๑/๕๓๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๘. นฬมาลิวรรค] ๒. มณิปูชกเถราปทาน
ทำจิตของตนให้เลื่อมใสแล้ว
จึงได้ไหว้พระศาสดา
[๑๒] ข้าพเจ้าหยิบแก้วมณีประดับศีรษะของข้าพเจ้า
บูชาพระผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ปรารถนาว่า ด้วยการบูชาด้วยแก้วมณีนี้ ขอจงมีวิบากที่ดี
[๑๓] พระศาสดาพระนามว่าปทุมุตตระ
ทรงรู้แจ้งโลก ผู้สมควรรับเครื่องบูชา
ประทับยืนอยู่ในอากาศ ได้ตรัสพระคาถานี้ว่า
[๑๔] ขอความดำริของท่านนั้นจงสำเร็จเถิด
ขอท่านจงได้สุขอันไพบูลย์เถิด
ด้วยการบูชาด้วยแก้วมณีนี้
ขอท่านจงได้รับยศที่ยิ่งใหญ่เถิด
[๑๕] พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุดพระนามว่าปทุมุตตระ
ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง
ครั้นตรัสแก่ข้าพเจ้าผู้ตั้งจิตปรารถนาไว้แล้วก็เสด็จไป
[๑๖] ข้าพเจ้าได้เป็นจอมเทพครองเทวสมบัติตลอด ๖๐ กัป
และได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิหลายร้อยชาติ
[๑๗] เมื่อข้าพเจ้าเกิดเป็นเทวดา
ระลึกถึงบุพกรรมขึ้นมา
แก้วมณีย่อมบังเกิดแก่ข้าพเจ้า
(และ)ให้แสงสว่างแก่ข้าพเจ้า
[๑๘] สตรีสาวล้วน ๘๖,๐๐๐ นาง
สวมใส่ผ้าอาภรณ์อย่างงดงาม
ห้อยตุ้มหูแก้วมณี เป็นผู้รับใช้ของข้าพเจ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๘. นฬมาลิวรรค] ๒. มณิปูชกเถราปทาน
[๑๙] ล้วนมีหน้ากลมโต มีปกติร่าเริง รูปร่างงดงาม
เอวเล็กเอวบาง แวดล้อมข้าพเจ้าอยู่เป็นนิตย์
นี้เป็นผลแห่งการบูชาด้วยแก้วมณี
[๒๐] สิ่งของเครื่องประดับที่ทำด้วยทองคำ
แก้วมณี และแก้วทับทิม
เป็นอันทำดีแล้วเพื่อข้าพเจ้า
ตามที่ข้าพเจ้าต้องการ
[๒๑] เรือนยอด ถ้ำที่น่ารื่นรมย์
และที่นอนมีค่ามาก ดังจะรู้ความดำริของข้าพเจ้า
ก็บังเกิดตามความปรารถนา
[๒๒] การที่เหล่าสัตว์ได้เข้าไปฟัง
เป็นลาภที่พวกเขาได้ดีแล้ว
เป็นเนื้อนาบุญของมนุษย์
เป็นโอสถของสรรพสัตว์
[๒๓] ถึงกรรมที่ข้าพเจ้าได้เข้าเฝ้าพระผู้ทรงเป็นผู้นำ
ก็ชื่อว่าทำไว้ดีแล้ว ข้าพเจ้าเป็นผู้รอดพ้นจากนรก
ได้บรรลุบทที่ไม่หวั่นไหว
[๒๔] ข้าพเจ้าเกิดในกำเนิดใด ๆ
คือ จะเกิดเป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็ตาม
แสงสว่างย่อมมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ
ทั้งกลางวันและกลางคืน
[๒๕] เพราะการบูชาด้วยแก้วมณีนั้น
ข้าพเจ้าจึงได้เสวยสมบัติ
พบแสงสว่างคือญาณ ได้บรรลุบทที่ไม่หวั่นไหว
[๒๖] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ใช้แก้วมณีบูชาไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๘. นฬมาลิวรรค] ๓. อุกกาสติกเถราปทาน
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาด้วยแก้วมณี
[๒๗] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๒๘] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๒๙] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระมณิปูชกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
มณิปูชกเถราปทานที่ ๒ จบ

๓. อุกกาสติกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอุกกาสติกเถระ
(พระอุกกาสติกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๓๐] ครั้งนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้านามว่าโกสิกะ
ผู้มีบุญ มีปกติเข้าฌาน ยินดีในฌาน ผู้ทรงเป็นพุทธะ
ยินดีในวิเวก เป็นพระมุนีประทับอยู่ที่ภูเขาจิตรกูฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๘. นฬมาลิวรรค] ๓. อุกกาสติกเถราปทาน
[๓๑] ข้าพเจ้ามีหมู่นารีห้อมล้อมเข้าไปยังป่าหิมพานต์
ได้เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าพระนามว่าโกสิกะ
ผู้(รุ่งเรือง)ดังดวงจันทร์ในวันเพ็ญ
[๓๒] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าถือคบเพลิง ๑๐๐ ดวง
แวดล้อมพระปัจเจกพุทธเจ้าอยู่ตลอด ๗ วัน ๗ คืน
วันที่ ๘ ก็ได้จากไป
[๓๓] ข้าพเจ้าเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส
กราบไหว้พระปัจเจกพุทธเจ้าพระนามว่าโกสิกะ
ผู้เป็นพระสยัมภู ผู้ไม่ทรงพ่ายแพ้
เสด็จออกจากสมาบัติแล้วได้ถวายภิกษามื้อหนึ่ง
[๓๔] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมแห่งเทวดาและมนุษย์
ผู้เจริญที่สุดในโลก ทรงองอาจกว่านรชน
เพราะกรรมนั้น ข้าพเจ้าได้เกิดขึ้นในหมู่เทพชั้นดุสิต
นี้เป็นผลแห่งการถวายภิกษามื้อหนึ่ง
[๓๕] แสงสว่างย่อมมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อทั้งกลางวันและกลางคืน
ข้าพเจ้าแผ่รัศมีไปได้ ๑๐๐ โยชน์โดยรอบ
[๓๖] ในกัปที่ ๕๕ (นับจากกัปนี้ไป)
ข้าพเจ้าได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้มีชัยชนะ
เป็นใหญ่ในชมพูทวีป มีมหาสมุทรทั้ง ๔ เป็นขอบเขต
[๓๗] ครั้งนั้น นครของข้าพเจ้าเป็นนครที่มั่งคั่งแผ่ไพศาล
และสร้างไว้อย่างสวยงาม ยาว ๓๐ โยชน์
กว้าง ๒๐ โยชน์
[๓๘] กรุงชื่อโสภณะที่วิสสุกรรมเทพบุตรเนรมิตให้
เป็นกรุงที่สงัดจากเสียง ๑๐ ประการ๑
แต่ประกอบด้วยเสียงกังสดาลอย่างไพเราะ

เชิงอรรถ :
๑ เสียง ๑๐ ประการ คือ เสียงช้าง เสียงม้า เสียงกลอง เสียงสังข์ เสียงรถ เสียงตะโพน เสียงพิณ
เสียงเพลงขับ เสียงฉิ่ง เสียงเชื้อเชิญทานอาหาร (ขุ.พุทธ. ๓๓/๒/๔๔๗, ขุ.อป.อ. ๑/๔๑, ขุ.ชา.อ. ๑/๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๘. นฬมาลิวรรค] ๓. อุกกาสติกเถราปทาน
[๓๙] ในกรุงนั้นไม่มีไม้เถา ไม้ต้นและดิน
กรุงนั้นสำเร็จด้วยทองคำล้วน ๆ
โชติช่วงอยู่ตลอดกาลเป็นนิตย์
[๔๐] กรุงนั้นมีกำแพงล้อมถึง ๔ ชั้น
๓ ชั้นเป็นกำแพงที่ทำด้วยแก้วมณี
ส่วนตรงกลางวิสสุกรรมเทพบุตรได้เนรมิตแถวแห่งดงตาลไว้
[๔๑] มีสระโบกขรณีหนึ่งหมื่น
ที่ปกคลุมไปด้วยดอกปทุมชาติและดอกอุบล
ดารดาษด้วยดอกบุณฑริกเป็นต้น
เมื่อลมโชยก็มีกลิ่นต่าง ๆ หอมกรุ่น
[๔๒] ในกัปที่ ๙๔ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถือคบเพลิงถวายไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถือคบเพลิงถวาย
[๔๓] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๔๔] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๔๕] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระอุกกาสติกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
อุกกาสติกเถราปทานที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๘. นฬมาลิวรรค] ๔. สุมนวีชนิยเถราปทาน
๔. สุมนวีชนิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระสุมนวีชนิยเถระ
(พระสุมนวีชนิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๔๖] ข้าพเจ้ามีใจยินดี ได้จับพัดวีชนีพัดต้นโพธิ์ที่ประเสริฐ
อยู่ที่โคนต้นโพธิ์ซึ่งเป็นต้นไม้ที่ประเสริฐ
ของพระผู้มีพระภาคพระนามว่าวิปัสสี
[๔๗] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้พัดต้นโพธิ์ที่ประเสริฐไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการพัด
[๔๘] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๔๙] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๕๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระสุมนวีชนิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
สุมนวีชนิยเถราปทานที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๘. นฬมาลิวรรค] ๕. กุมมาสทายกเถราปทาน
๕. กุมมาสทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระกุมมาสทายกเถระ
(พระกุมมาสทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๕๑] ข้าพเจ้าเห็นบาตรที่ว่างเปล่าของพระผู้มีพระภาค
พระนามว่าวิปัสสี ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
เสด็จเที่ยวแสวงหาบิณฑบาตอยู่
จึงถวายขนมกุมมาสจนเต็มบาตร
[๕๒] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายภิกษาไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายขนมกุมมาส
[๕๓] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๕๔] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๕๕] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระกุมมาสทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
กุมมาสทายกเถราปทานที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๘. นฬมาลิวรรค] ๖. กุสัฏฐกทายกเถราปทาน
๖. กุสัฏฐกทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระกุสัฏฐกทายกเถระ
(พระกุสัฏฐกทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๕๖] ข้าพเจ้าเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี
ได้ถวายสลากภัต ๘ ครั้ง
แด่พระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ
ผู้ประเสริฐ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
[๕๗] ในกัปนี้เอง ข้าพเจ้าได้ถวายสลากภัต ๘ ครั้ง
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายสลากภัต ๘ ครั้ง
[๕๘] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๕๙] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๖๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระกุสัฏฐกทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
กุสัฏฐกทายกเถราปทานที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๘. นฬมาลิวรรค] ๗. คิริปุนนาคิยเถราปทาน
๗. คิริปุนนาคิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระคิริปุนนาคิยเถระ
(พระคิริปุนนาคิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๖๑] ครั้งนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโสภิตะ
ประทับอยู่ที่ภูเขาจิตรกูฏ
ข้าพเจ้าได้ถือดอกบุนนาคใหญ่ไปบูชาพระสยัมภู
[๖๒] ในกัปที่ ๙๔ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้บูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๖๓] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๖๔] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๖๕] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระคิริปุนนาคิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
คิริปุนนาคิยเถราปทานที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๘. นฬมาลิวรรค] ๘. วัลลิการผลทายกเถราปทาน
๘. วัลลิการผลทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระวัลลิการผลทายกเถระ
(พระวัลลิการผลทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๖๖] ครั้งนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสุมนะ
ประทับอยู่ในกรุงตักกรา
ข้าพเจ้าได้หยิบผลไม้เครือเถา๑ถวายพระสยัมภู
[๖๗] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายผลไม้ไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้เครือเถา
[๖๘] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๖๙] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๗๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระวัลลิการผลทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
วัลลิการผลทายกเถราปทานที่ ๘ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ผลไม้เครือเถา ในที่นี้หมายถึงผลแตงโมก็ได้ (ขุ.วิ.( แปล) ๒๖/๔๖๑-๔๖๘/๖๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๘. นฬมาลิวรรค] ๙. ปานธิทายกเถราปทาน
๙. ปานธิทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระปานธิทายกเถระ
(พระปานธิทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๗๑] พระผู้มีพระภาคพระนามว่าอโนมทัสสี
ผู้เจริญที่สุดในโลก ทรงองอาจกว่านรชน ผู้มีพระจักษุ
เสด็จออกจากที่ประทับกลางวันแล้วเสด็จขึ้นสู่ถนน
[๗๒] ข้าพเจ้าสวมรองเท้าที่ทำอย่างดีออกเดินทางไกล
ได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีพระรูปงดงามน่าดูน่าชมในที่นั้น
เสด็จดำเนินด้วยพระบาทเปล่า
[๗๓] ข้าพเจ้าทำจิตของตนให้เลื่อมใส
ถอดรองเท้าออกวางไว้แทบพระบาท
แล้วได้กราบทูลคำนี้ว่า
[๗๔] ข้าแต่พระสุคต ผู้มีความเพียรมาก
ผู้เป็นใหญ่ ผู้ทรงเป็นผู้นำวิเศษ
ขอเชิญพระองค์สวมรองเท้าเถิด
ข้าพระองค์จักได้ผลจากรองเท้าคู่นี้
ขอความต้องการของข้าพระองค์จงสำเร็จเถิด
[๗๕] พระผู้มีพระภาคพระนามว่าอโนมทัสสี
ผู้เจริญที่สุดในโลก ทรงองอาจกว่านรชน
ทรงสวมรองเท้าแล้ว ได้ตรัสพระดำรัสนี้ว่า
[๗๖] เราจักพยากรณ์ผู้ที่เลื่อมใสได้ถวายรองเท้าแก่เรา
ด้วยมือทั้ง ๒ ของตน
ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าวเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๘. นฬมาลิวรรค] ๙. ปานธิทายกเถราปทาน
[๗๗] เทวดาทั้งปวงที่ทราบพุทธดำรัสแล้วจึงพากันมาประชุม
ต่างก็มีจิตเบิกบาน มีใจยินดี
เกิดความโสมนัสประนมมือ
[๗๘] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า
เพราะการถวายรองเท้านี้แล
ผู้นี้จักเป็นผู้มีความสุข
และจักครองเทวสมบัติตลอด ๕๕ ชาติ
[๗๙] จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๑,๐๐๐ ชาติ
และจักได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์นับชาติไม่ถ้วน
[๘๐] ในกัปที่นับมิได้นับจากกัปนี้ไป
พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร
จักทรงสมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก
[๘๑] ผู้นี้๑ จักเป็นธรรมทายาทของพระศาสดาพระองค์นั้น
เป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต
กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงจักเป็นผู้ไม่มีอาสวะแล้วนิพพาน
[๘๒] ผู้นี้จักบังเกิดในเทวโลกหรือมนุษยโลกก็ตาม
จักเป็นผู้มีปัญญา จักได้ยานซึ่งเปรียบด้วยยานของเทวดา
[๘๓] ข้าพเจ้ามีปราสาท วอ ช้าง ที่ประดับตกแต่งอย่างสวยงาม
หรือรถที่เทียมด้วยม้าอาชาไนย
ย่อมปรากฏมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ
[๘๔] แม้เมื่อข้าพเจ้าออกบวช ก็ได้ออกไปด้วยรถ
ได้บรรลุอรหัตตผลขณะปลงผม
[๘๕] ข้อที่ข้าพเจ้าประกอบการค้าขายด้วยดี
(และ)ข้อที่ข้าพเจ้าถวายรองเท้า ๑ คู่แล้ว

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงพระภารตเถระชาวเมืองจำปา (ขุ.เถร.อ. ๑/๒๘๕/๔๖๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๘. นฬมาลิวรรค] ๙. ปานธิทายกเถราปทาน
ได้บรรลุบทอันไม่หวั่นไหวนั้น
เป็นลาภอันข้าพเจ้าได้ดีแล้ว
[๘๖] ในกัปที่นับมิได้นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายรองเท้าไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายรองเท้า
[๘๗] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๘๘] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๘๙] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระปานธิทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
ปานธิทายกเถราปทานที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๘. นฬมาลิวรรค] ๑๐. ปุฬินจังกมิยเถราปทาน
๑๐. ปุฬินจังกมิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระปุฬินจังกมิยเถระ
(พระปุฬินจังกมิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๙๐] เมื่อชาติก่อน ข้าพเจ้าเป็นนายพรานเนื้อ
แสวงหาเนื้อสมันอยู่ในป่าใหญ่ ได้เห็นที่จงกรม
[๙๑] ข้าพเจ้าเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี
ใช้ชายพกห่อทรายมาโปรยลงที่จงกรมของพระสุคตผู้มีพระสิริ
[๙๒] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้โปรยทรายไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการโปรยทราย
[๙๓] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๙๔] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๙๕] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระปุฬินจังกมิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ปุฬินจังกมิยเถราปทานที่ ๑๐ จบ
นฬมาลิวรรคที่ ๔๘ จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๘. นฬมาลิวรรค] รวมอปทานที่มีในวรรคนี้
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้คือ

๑. นฬมาลิยเถราปทาน ๒. มณิปูชกเถราปทาน
๓. อุกกาสติกเถราปทาน ๔. สุมนวีชนิยเถราปทาน
๕. กุมมาสทายกเถราปทาน ๖. กุสัฏฐกทายกเถราปทาน
๗. คิริปุนนาคิยเถราปทาน ๘. วิลลิการผลทายกเถราปทาน
๙. ปานธิทายกเถราปทาน ๑๐. ปุฬินจังกมิยเถราปทาน

ในวรรคนี้ บัณฑิตนับคาถาได้ ๙๕ คาถา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๑. ปังสุกูลสัญญกเถราปทาน
๔๙. ปังสุกูลวรรค
หมวดว่าด้วยผ้าบังสุกุลเป็นต้น
๑. ปังสุกูลสัญญกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระปังสุกูลสัญญกเถระ
(พระปังสุกูลสัญญกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑] พระผู้มีพระภาคพระนามว่าติสสะ
ผู้ทรงเป็นพระสยัมภู ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
พระชินเจ้าทรงวางผ้าบังสุกุลไว้แล้ว
เสด็จเข้าไปยังพระวิหาร
[๒] ข้าพเจ้าสะพายธนูที่จัดแจงไว้แล้ว
และกระบอกที่ใส่น้ำไว้แล้วถือดาบเข้าป่าใหญ่
[๓] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้เห็นผ้าบังสุกุลซึ่งแขวนอยู่ที่ยอดไม้ในป่านั้น
จึงวางธนูลง ณ ที่นั้นเอง แล้วประนมมือขึ้นเหนือศีรษะ
[๔] ข้าพเจ้าเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี
และมีปีติอันไพบูลย์ ระลึกถึงพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
แล้วได้ไหว้ผ้าบังสุกุล
[๕] ในกัปที่ ๙๒ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ไหว้ผ้าบังสุกุลไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการไหว้ผ้าบังสุกุล
[๖] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๒. พุทธสัญญกเถราปทาน
[๗] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๘] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระปังสุกูลสัญญกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ปังสุกูลสัญญกเถราปทานที่ ๑ จบ

๒. พุทธสัญญกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระพุทธสัญญกเถระ๑
(พระพุทธสัญญกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๙] ข้าพเจ้าเป็นผู้สาธยายพระเวท๒ ทรงมนตร์๓ จบไตรเพท๔
ชำนาญในคัมภีร์พยากรณ์ลักษณะ๕ คัมภีร์อิติหาสะ๖
พร้อมด้วยคัมภีร์นิฆัณฑุศาสตร์๗ และคัมภีร์เกฏุภศาสตร์๘

เชิงอรรถ :
๑ พระพุทธสัญญกเถระ หมายถึง พระวีตโสกเถระ พระอนุชาของพระเจ้าอโศกมหาราช ภายหลังพุทธ
ปรินิพพาน ๒๑๘ ปี (ขุ.เถร.อ. ๑/๒๘๒/๔๕๔)
๒ ผู้สาธยายพระเวท หมายถึงเป็นผู้บอกไตรเพทแก่ชนเหล่าอื่น (ขุ.อป.อ. ๑/๔๔๒/๓๓๒)
๓ ทรงมนตร์ หมายถึงมีปัญญา รอบรู้ในสาขาของพระเวท (ขุ.อป.อ. ๑/๔๔๒/๓๓๒)
๔ ไตรเพท หมายถึงคัมภีร์ ๓ คือ ฤคเวท(อิรุเวท) ยชุรเวท และสามเวท (ขุ.อป.อ. ๑/๔๔๒/๓๓๒)
๕ ลักษณะ หมายถึงศาสตร์ว่าด้วยลักษณะของบุคคลสำคัญมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น (ที.สี.อ. ๒๕๖/๒๐๓, ขุ.อป.อ.
๑/๔๔๒/๓๓๒)
๖ คัมภีร์อิติหาสะ หมายถึงประวัติศาสตร์ คือพงศาวดารเล่าเรื่องเก่า ๆ มักจะมีคำว่า สิ่งนี้ได้เป็นมาอย่างนี้
(ที.สี.อ. ๒๕๖/๒๒๓, ขุ.อป.อ. ๑/๓๓๒/๔๔๒) และดู Dawson, John. A CLASSICAL DICTIONARY
OF HINDU MYTHOLOGY (LONDON; ROUTLEDGE AND KEGAN PAUL 1957) P. 222

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๒. พุทธสัญญกเถราปทาน
[๑๐] ครั้งนั้น ศิษย์ทั้งหลายพากันมาหาข้าพเจ้าไม่ขาดสาย
เหมือนกระแสน้ำ ข้าพเจ้าไม่เกียจคร้าน
สอนมนตร์แก่ศิษย์เหล่านั้นทั้งกลางวันและกลางคืน
[๑๑] ในคราวนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ
เสด็จอุบัติขึ้นในโลก พระองค์ทรงกำจัดความมืดมนให้พินาศแล้ว
ให้แสงสว่างคือพระญาณเป็นไป
[๑๒] ครั้งนั้น ศิษย์ของข้าพเจ้าคนหนึ่ง
ได้บอกแก่ศิษย์ทั้งหลายของข้าพเจ้า
พวกเขาได้ฟังความนั้น จึงบอกแก่ข้าพเจ้า
[๑๓] ข้าพเจ้าคิดว่า พระสัพพัญญูพุทธเจ้า
ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก เสด็จอุบัติขึ้นในโลกแล้ว
ชนย่อมประพฤติตามพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น แต่เราไม่มีลาภเลย
[๑๔] พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นผู้มีการอุบัติเลิศลอย
มีพระจักษุ มีพระยศยิ่งใหญ่ ไฉนหนอ
เราควรเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
[๑๕] ข้าพเจ้าถือหนังสัตว์ ผ้าเปลือกไม้
และคนโทน้ำของข้าพเจ้าแล้ว จึงออกจากอาศรม
เรียกศิษย์ทั้งหลายมา (กล่าวว่า)

เชิงอรรถ :
๗ นิฆัณฑุศาสตร์ คัมภีร์ประเภทศัพท์มูลวิทยา (Etymology) คลังศัพท์ (Lexicon) หรืออภิธานศัพท์
(Glossary) ซึ่งรวบรวมคำศัพท์ในพระเวทซึ่งเป็นคำยากหรือคำที่เลิกใช้แล้ว นำมาอธิบายความหมาย เป็น
ส่วนหนึ่งของปรกติ ซึ่งเป็น ๑ ในเวทางคศาสตร์ ๖ ของศาสนาพราหมณ์ ภาษาสันสกฤตเรียกว่า นิฆัณฏุ
(ที.สี.อ. ๑/๒๕๖/๒๒๓)
๘ เกฏุภศาสตร์ คัมภีร์ที่ว่าด้วยกฎเกณฑ์การใช้ถ้อยคำให้เหมาะสมแก่การประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ เป็น
ส่วนหนึ่งของกัลปะซึ่งเป็น ๑ ในเวทางคศาสตร์ ๖ ของศาสนาพราหมณ์ ภาษาสันสกฤตเรียกว่า ไกฏภ
(ที.สี.อ. ๑/๒๕๖/๒๒๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๒. พุทธสัญญกเถราปทาน
[๑๖] ความเป็นพระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลกนี้หาได้ยาก
เหมือนหาดอกมะเดื่อที่ดี เหมือนหากระต่ายในดวงจันทร์
หรือเหมือนหาน้ำมันกา๑
[๑๗] พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลกแล้ว
แม้ความเป็นมนุษย์ก็หาได้ยาก เมื่อทั้ง ๒ อย่างมีอยู่
แต่การได้สดับพระสัทธรรมก็หาได้ยากยิ่ง
[๑๘] พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลกแล้ว
ความเจริญจักมีแก่พวกเราผู้ได้ดวงตา มาเถิดท่านทั้งหลาย
เราทุกคนจักไปยังสำนักของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
[๑๙] ศิษย์ทุกคนสะพายคนโทน้ำ นุ่งผ้าหนังสัตว์ที่มีเล็บ
ในครั้งนั้น พวกเขาเกล้าชฎาและหาบบริขารพากันออกจากป่าใหญ่
[๒๐] พวกเขาทอดสายตาดูประมาณชั่วแอก
แสวงหาประโยชน์สูงสุด เดินมาเหมือนลูกช้าง
เป็นผู้ไม่สะดุ้ง ดุจพญาไกรสรราชสีห์
[๒๑] พวกเขาไม่มีความสะดุ้ง หมดความละโมบ
มีปัญญารักษาตน มีความประพฤติสงบ
เที่ยวไปพร้อมด้วยเสบียงกรังเข้าไปใกล้พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
[๒๒] ในระยะทาง ๑ โยชน์ครึ่ง ข้าพเจ้าได้เกิดเจ็บป่วยขึ้น
จึงระลึกถึงพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุดแล้วสิ้นชีวิตในที่นั้น
[๒๓] ในกัปที่ ๙๔ (นับจากกัปนี้ไป)
ข้าพเจ้าได้สัญญาในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการได้สัญญาในพระพุทธเจ้า

เชิงอรรถ :
๑ น้ำมันกาหายาก เพราะกาทั้งหลายถูกความหิวความสะดุ้งเบียดเบียนทั้งกลางคืนและกลางวันจึงหามัน
เหลวได้ยาก (ขุ.อป.อ. ๒/๑๖/๒๖๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๓. ภิสทายกเถราปทาน
[๒๔] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๒๕] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๒๖] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระพุทธสัญญกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
พุทธสัญญกเถราปทานที่ ๒ จบ

๓. ภิสทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระภิสทายกเถระ
(พระภิสทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๒๗] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าลงสู่สระโบกขรณีที่ช้างนานาชนิดอาศัยอาบกิน
ถอนเหง้าบัวในสระนั้น เพราะเหตุต้องการจะกิน
[๒๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ทรงผ้ากัมพลสีแดง เสด็จไปในอากาศ
[๒๙] ขณะนั้น ข้าพเจ้าได้ยินเสียงชายผ้าบังสุกุลสะบัด
จึงแหงนหน้าขึ้นดู ก็ได้เห็นพระผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
[๓๐] ข้าพเจ้ายืนอยู่ที่สระโบกขรณีนั้นนั่นแหละ
ได้ทูลอ้อนวอนพระผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลกว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๓. ภิสทายกเถราปทาน
น้ำหวานไหลออกจากเหง้าบัว
น้ำนมและเนยใสไหลออกจากก้านบัว
[๓๑] ขอพระพุทธเจ้าผู้มีพระจักษุ
โปรดทรงรับ(ภิกษา)เพื่ออนุเคราะห์ข้าพระองค์ด้วยเถิด
ลำดับนั้น พระบรมศาสดาทรงประกอบด้วยพระมหากรุณา
มีพระยศยิ่งใหญ่ จึงเสด็จลง(จากอากาศ)
[๓๒] ทรงรับภิกษาของข้าพเจ้า เพื่ออนุเคราะห์
ครั้นแล้วพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงทำอนุโมทนาแก่ข้าพเจ้าว่า
[๓๓] ท่านผู้มีบุญมาก ขอจงมีความสุขเถิด
คติจงสำเร็จแก่ท่าน ด้วยการถวายเหง้าบัวนี้
ขอท่านจงได้รับความสุขอันไพบูลย์เถิด
[๓๔] ครั้นตรัสแล้วอย่างนี้
พระชินสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้ตรัสรู้เอง ได้ทรงรับภิกษาแล้วเสด็จไปทางอากาศ
[๓๕] ลำดับนั้น ข้าพเจ้าเก็บเหง้าบัว กลับมายังอาศรม
คล้องเหง้าบัวไว้บนต้นไม้ ระลึกถึงทานของตน
[๓๖] ครั้งนั้น ลมพายุใหญ่ตั้งขึ้นแล้วพัดป่าให้ปั่นป่วน
อากาศบันลือลั่นเมื่อสายฟ้าผ่าลงมา
[๓๗] ลำดับนั้น สายฟ้าผ่าลงที่ศีรษะของข้าพเจ้า
ดังนั้นข้าพเจ้านั้นเป็นผู้นั่งตายในที่นั้นเอง
[๓๘] ข้าพเจ้าเป็นผู้ประกอบด้วยกรรมดี
ไปเกิดยังสวรรค์ชั้นดุสิต ทิ้งไว้แต่ซากศพ
และข้าพเจ้าได้รื่นรมย์อยู่ในเทวโลก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๓. ภิสทายกเถราปทาน
[๓๙] นางอัปสร ๘๖,๐๐๐ นาง ล้วนประดับตกแต่ง
อย่างสวยงาม ต่างก็บำรุงข้าพเจ้าอยู่ทุกเช้าเย็น
นี้เป็นผลแห่งการถวายเหง้าบัว
[๔๐] ครั้งนั้น ข้าพเจ้ามาสู่กำเนิดมนุษย์
เป็นผู้มีความสุข ข้าพเจ้าไม่มีความบกพร่องในโภคะเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายเหง้าบัว
[๔๑] ข้าพเจ้าเป็นผู้ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นเทพยิ่งกว่าเทพ
ผู้คงที่พระองค์นั้นทรงอนุเคราะห์แล้ว
อาสวะทั้งปวงสิ้นแล้ว
บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก
[๔๒] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายเหง้าบัวไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายเหง้าบัว
[๔๓] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๔๔] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๔๕] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระภิสทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ภิสทายกเถราปทานที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๔. ญาณัตถวิกเถราปทาน
๔. ญาณัตถวิกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระญาณัตถวิกเถระ
(พระญาณัตถวิกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๔๖] ข้าพเจ้าสร้างอาศรมอย่างสวยงามไว้
ณ ทิศใต้แห่งภูเขาหิมพานต์
ครั้งนั้น ข้าพเจ้าแสวงหาประโยชน์สูงสุด
จึงอาศัยอยู่ในป่าใหญ่
[๔๗] ข้าพเจ้ายินดีด้วยเหง้ามันและผลไม้ตามมีตามได้
ไม่เที่ยวแสวงหา อยู่เพียงผู้เดียว
[๔๘] ครั้งนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสุเมธะ
เสด็จอุบัติขึ้นในโลกแล้ว
พระองค์ทรงประกาศสัจจะ ๔ ช่วยฉุดมหาชนขึ้น
[๔๙] ข้าพเจ้ามิได้สดับข่าวพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
แม้ใคร ๆ ก็ไม่บอกข้าพเจ้า เมื่อล่วงไปได้ ๘ ปี
ข้าพเจ้าจึงได้สดับข่าวพระผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
[๕๐] ข้าพเจ้านำไฟและฟืนออกแล้ว
กวาดอาศรม หาบบริขารออกจากป่าใหญ่ไป
[๕๑] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าพักอยู่ในบ้านและนิคม ๑ คืน
เข้าไปใกล้กรุงจันทวดีโดยลำดับ
[๕๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาค
ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลกพระนามว่าสุเมธะ
ทรงแสดงอมตบทช่วยฉุดสัตว์จำนวนมากขึ้น
[๕๓] ข้าพเจ้าได้ผ่านหมู่ชนเข้าไปไหว้พระชินเจ้าผู้เสด็จมาดีแล้ว
ทำผ้าหนังสัตว์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง
แล้วสรรเสริญพระผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลกว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๔. ญาณัตถวิกเถราปทาน
[๕๔] พระองค์ผู้เป็นพระศาสดาผู้สูงสุด
แห่งเทวดาและมนุษย์ ผู้ปรากฏดุจธง
เป็นดุจธงชัยและเป็นดุจเสาพิธีผูกสัตว์บูชายัญ
เป็นที่หมายปอง เป็นที่พึ่ง และเป็นดุจดวงประทีปของหมู่สัตว์
ภาณวารที่ ๒๑ จบ

[๕๕] พระองค์เป็นผู้ฉลาด เป็นนักปราชญ์ในญาณทัสสนะ๑
ทรงช่วยหมู่ชนให้ข้ามพ้นไปได้
ข้าแต่พระมุนี ผู้อื่นที่จะช่วยหมู่สัตว์
ให้ข้ามพ้น(วัฏฏสงสาร)ไปได้ยิ่งกว่าพระองค์ไม่มีในโลก
[๕๖] มหาสมุทรที่ลึกที่สุด ก็พึงอาจที่จะประมาณได้ด้วยปลายหญ้าคา
ข้าแต่พระสัพพัญญู ส่วนพระญาณของพระองค์
ใคร ๆ ไม่อาจจะประมาณได้เลย
[๕๗] แผ่นดินก็อาจจะวางลงบนตราชั่งแล้วชั่งดูได้
ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระจักษุ
แต่สิ่งที่เสมอด้วยพระปัญญาของพระองค์ไม่มีเลย
[๕๘] อากาศก็อาจจะวัดได้ด้วยเชือกและนิ้วมือ
ข้าแต่พระสัพพัญญู ส่วนศีลของพระองค์
ใคร ๆ ไม่อาจจะประมาณได้เลย
[๕๙] น้ำในมหาสมุทร อากาศและพื้นแผ่นดิน
สิ่งทั้ง ๓ นี้ ก็พึงอาจประมาณได้
ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระจักษุ
พระองค์เป็นผู้ที่ใคร ๆ จะประมาณไม่ได้เลย

เชิงอรรถ :
๑ ญาณทัสสนะ หมายถึงมัคคญาณ ผลญาณ สัพพัญญุตญาณ ปัจจเวกขณญาณ วิปัสสนาญาณ (ที.สี.อ.
๑/๒๓๔/๑๙๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๔. ญาณัตถวิกเถราปทาน
[๖๐] ข้าพเจ้ากล่าวสรรเสริญพระสัพพัญญู
ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่ ด้วยคาถา ๖ คาถาแล้ว
ประนมมือยืนนิ่งอยู่ในเวลานั้น
[๖๑] พระพุทธเจ้าผู้มีปัญญาเสมอด้วยพื้นปฐพี
เป็นเมธีชั้นเลิศ ซึ่งชนทั้งหลายถวายพระนามว่าสุเมธะ
ประทับนั่งในท่ามกลางหมู่ภิกษุแล้ว ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
[๖๒] เราจักพยากรณ์ผู้ที่มีจิตเลื่อมใส
ได้กล่าวสรรเสริญญาณของเรา
ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าวเถิด
[๖๓] ผู้นี้จักรื่นรมย์ในเทวโลกตลอด ๗๗ กัป
จักเป็นจอมเทพครองเทวสมบัติอยู่ในเทวโลกตลอด ๑,๐๐๐ ชาติ
[๖๔] จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิหลายร้อยชาติ
และจักได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์นับชาติไม่ถ้วน
[๖๕] เขาจะเกิดเป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็ตาม
ก็จักเป็นผู้มั่นคงในกรรมดี
จักเป็นผู้มีความดำริไม่บกพร่อง มีปัญญาเฉียบแหลม
[๖๖] ในกัปที่ ๓๐,๐๐๐ (นับจากกัปนี้ไป)
พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร
ทรงสมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก
[๖๗] ผู้นี้จักไม่มีความกังวล ออกบวช
จักบรรลุอรหัตตผลตั้งแต่อายุได้ ๗ ขวบ
[๖๘] ในระหว่างกาลที่ข้าพเจ้าจำความได้
จนถึงการบรรลุศาสนธรรมนี้
ข้าพเจ้าไม่รู้จักความไม่สบายใจเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๔. ญาณัตถวิกเถราปทาน
[๖๙] ข้าพเจ้าเวียนว่ายตายเกิด เสวยสมบัติในภพน้อยภพใหญ่
ข้าพเจ้าไม่มีความบกพร่องในโภคะเลย
นี้เป็นผลในการสรรเสริญพระญาณ
[๗๐] ไฟ ๓ กอง ข้าพเจ้าดับได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
อาสวะทั้งปวงสิ้นแล้ว
บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก
[๗๑] ในกัปที่ ๓๐,๐๐๐ (นับจากกัปนี้ไป)
ข้าพเจ้าได้สรรเสริญพระญาณไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลในการสรรเสริญพระญาณ
[๗๒] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๗๓] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๗๔] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระญาณัตถวิกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ญาณัตถวิกเถราปทานที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๕. จันทนมาลิยเถราปทาน
๕. จันทนมาลิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระจันทนมาลิยเถระ๑
(พระจันทนมาลิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๗๕] ข้าพเจ้าละเบญจกามคุณที่น่ายินดี น่าพอใจ
และละทรัพย์ประมาณ ๘๐ โกฏิแล้ว จึงออกบวชเป็นบรรพชิต
[๗๖] ครั้นบวชแล้ว ได้เว้นกายทุจริต
ละวจีทุจริต อาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ
[๗๗] ข้าพเจ้าอยู่คนเดียว พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
ได้เสด็จมาใกล้ ข้าพเจ้าไม่ทราบว่าเป็นพระพุทธเจ้า
แต่ก็ได้ทำการปฏิสันถาร
[๗๘] ครั้นทำการปฏิสันถารแล้ว จึงได้ทูลถามถึงชื่อและโคตรว่า
ท่านเป็นเทวดาหรือคนธรรพ์ หรือเป็นท้าวสักกปุรินททะ
[๗๙] ท่านเป็นใคร หรือเป็นบุตรของใคร
หรือเป็นท้าวมหาพรหม มา ณ ที่นี้
สว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เหมือนดวงอาทิตย์อุทัย
[๘๐] ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ จักรมีกำพันหนึ่งปรากฏที่เท้าของท่าน
ท่านเป็นใคร หรือเป็นบุตรของใคร เราจักรู้จักท่านได้อย่างไร
ขอท่านจงบอกชื่อและโคตร ขจัดความสงสัยของเราเถิด
[๘๑] พระพุทธเจ้าตรัสว่า เราไม่ใช่เทวดา
ไม่ใช่คนธรรพ์ ไม่ใช่ท้าวสักกปุรินททะ
และเราไม่ได้เป็นพรหม
เราเป็นผู้สูงส่งกว่าชนเหล่านั้น

เชิงอรรถ :
๑ พระจันทนมาลิยเถระ หมายถึงพระวัลลิยเถระหรือพระกัณหมิตตะ ชาวกรุงเวสาลี (ขุ.เถร.อ. ๑/๑๖๘/๔๕๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๕. จันทนมาลิยเถราปทาน
[๘๒] ล่วงวิสัยของชนเหล่านั้น
ทำลายเครื่องผูกมัดคือกามได้แล้ว
เผากิเลสหมดแล้ว บรรลุสัมโพธิญาณอันสูงสุด
[๘๓] ข้าพเจ้าได้ฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว
จึงได้กราบทูลคำนี้ว่า ข้าแต่พระมหามุนี
ถ้าพระองค์เป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้า
ขอเชิญพระองค์ประทับนั่งเถิด
[๘๔] พระองค์ทำที่สุดทุกข์ได้ ข้าพระองค์จักบูชาพระองค์
ข้าพเจ้าจึงได้ลาดหนังสัตว์ถวายพระศาสดา
[๘๕] พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนหนังสัตว์นั้น
ดุจพญาราชสีห์นั่งอยู่ในถ้ำ
ข้าพเจ้ารีบขึ้นภูเขาเก็บผลมะม่วง
[๘๖] ดอกสาละที่สวยงามและแก่นจันทน์ซึ่งมีราคามาก
ข้าพเจ้ารีบหอบของทั้งหมดเข้าเฝ้าพระผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
[๘๗] ได้ถวายผลไม้แด่พระพุทธเจ้า แล้วใช้ดอกสาละบูชา
ได้ใช้แก่นจันทน์ลูบไล้แล้วไหว้พระศาสดา
[๘๘] ข้าพเจ้าเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี มีปีติไพบูลย์แล้ว
พระศาสดาผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
พระนามว่าสุเมธะ ประทับนั่งบนหนังสัตว์
[๘๙] พระองค์เมื่อจะให้ข้าพเจ้ารื่นเริง
ได้ทรงพยากรณ์กรรมของข้าพเจ้าในครั้งนั้นว่า
ด้วยการถวายผลไม้กับของหอมและดอกไม้ทั้ง ๒ อย่างนี้
[๙๐] ผู้นี้จักรื่นรมย์ในเทวโลกตลอด ๑๒๕ กัป
เขาจักเป็นผู้มีความดำริทางใจไม่บกพร่อง มีอำนาจ
[๙๑] จักไปเกิดเป็นมนุษย์ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้มีฤทธิ์มาก
มีมหาสมุทรทั้ง ๔ เป็นขอบเขตตลอด ๑๒๖ กัป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๕. จันทนมาลิยเถราปทาน
[๙๒] วิสสุกรรมเทพบุตรเนรมิตนครมีนามว่าเวภาระ
นครนั้นจักเป็นทองคำล้วน
ประดับด้วยรัตนชาตินานาชนิด
[๙๓] เขาจักเวียนเกิดเวียนตายในกำเนิดทั้งหลายด้วยอุบายนี้แล
จักเป็นผู้มีความสุขทุกภพ
คือในภพเทวดาหรือภพมนุษย์
[๙๔] เมื่อถึงภพสุดท้าย เขาจักเกิดเป็นเผ่าพันธุ์ของท่านผู้ประเสริฐ๑
จักออกบวชเป็นบรรพชิต
จักเป็นผู้ไม่ออกปากขอปัจจัย ไม่มีอาสวะแล้วนิพพาน
[๙๕] ครั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสุเมธะ
ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลกตรัสอย่างนี้แล้ว
ขณะที่ข้าพเจ้ากำลังเพ่งดูอยู่ ได้เสด็จเหาะไปในอากาศ
[๙๖] ด้วยกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต
[๙๗] จุติจากสวรรค์ชั้นดุสิตแล้ว อุบัติในครรภ์มารดา
เมื่อข้าพเจ้าอยู่ในครรภ์ ข้าพเจ้าไม่มีความบกพร่องในโภคะเลย
[๙๘] เมื่อข้าพเจ้ายังอยู่ในครรภ์มารดา โภชนาหารคือข้าวและน้ำ
บังเกิดแก่มารดาตามความพอใจ ตามปรารถนาของข้าพเจ้า
[๙๙] ข้าพเจ้าบวชเป็นบรรพชิตเมื่ออายุได้ ๕ ขวบ
ขณะปลงผมเสร็จก็ได้บรรลุอรหัตตผล

เชิงอรรถ :
๑ เผ่าพันธุ์ของท่านผู้ประเสริฐ หมายถึงผู้เกิดในตระกูลพราหมณ์ (ขุ.อป.อ. ๒/๒๗๔/๒๗๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๕. จันทนมาลิยเถราปทาน
[๑๐๐] ข้าพเจ้าค้นหาบุพกรรมอยู่ ก็มิได้เห็นบุพกรรมอะไร ๆ
แต่ข้าพเจ้ามาระลึกถึงกรรมของตนได้
นอกเหนือไปในกัปที่ ๓๐,๐๐๐
[๑๐๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นบุรุษอาชาไนย
ข้าพระองค์ขอนอบน้อมพระองค์
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นบุรุษสูงสุด
ข้าพระองค์ขอนอบน้อมพระองค์
ข้าพระองค์อาศัยคำสั่งสอนของพระองค์
จึงได้บรรลุบทที่ไม่หวั่นไหว
[๑๐๒] ในกัปที่ ๓๐,๐๐๐ (นับจากกัปนี้ไป)
ข้าพเจ้าได้บูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๑๐๓] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๐๔] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๐๕] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระจันทนมาลิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
จันทนมาลิยเถราปทานที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๖. ธาตุปูชกเถราปทาน
๖. ธาตุปูชกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระธาตุปูชกเถระ
(พระธาตุปูชกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๐๖] เมื่อพระโลกนาถพระนามว่าสิทธัตถะ
ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก ปรินิพพานแล้ว
ข้าพเจ้าได้นำพวกญาติของข้าพเจ้ามาทำการบูชาพระธาตุ
[๑๐๗] ในกัปที่ ๙๔ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้บูชาพระธาตุไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระธาตุ
[๑๐๘] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๐๙] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๑๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระธาตุปูชกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ธาตุปูชกเถราปทานที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๗. ปุฬินุปปาทกเถราปทาน
๗. ปุฬินุปปาทกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระปุฬินุปปาทกเถระ
(พระปุฬินุปปาทกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๑๑] ข้าพเจ้าเป็นดาบสชื่อเทวละ อาศัยอยู่ที่ภูเขาหิมพานต์
ที่ภูเขานั้น ที่จงกรมของข้าพเจ้าเป็นที่ที่พวกอมนุษย์เนรมิตให้
[๑๑๒] ครั้งนั้น ข้าพเจ้ามุ่นมวยผม สะพายคนโทน้ำ
เมื่อจะแสวงหาประโยชน์อย่างสูงสุด ได้ออกจากป่าใหญ่ไปในกาลนั้น
[๑๑๓] ครั้งนั้น ศิษย์ประมาณ ๘๔,๐๐๐ คน อุปัฏฐากข้าพเจ้า
พวกเขาขวนขวายในการงานของตนอยู่ในป่าใหญ่
[๑๑๔] ข้าพเจ้าออกจากอาศรมได้ก่อพระเจดีย์ทรายแล้ว
รวบรวมดอกไม้นานาชนิดมาบูชาพระเจดีย์นั้น
[๑๑๕] ข้าพเจ้าทำจิตให้เลื่อมใสในพระเจดีย์แล้ว เข้าไปสู่อาศรม
ศิษย์ทุกคนได้มาประชุมพร้อมกันแล้ว ถามความข้อนี้ว่า
[๑๑๖] ข้าแต่ท่านเทวละ ท่านนมัสการสถูปที่ก่อด้วยทรายทำไม
แม้ข้าพเจ้าทั้งหลายก็อยากจะรู้
ข้าพเจ้าทั้งหลายถามท่านแล้วโปรดบอกด้วยเถิด
[๑๑๗] ข้าพเจ้าตอบว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ผู้มีพระจักษุ มีพระยศยิ่งใหญ่
ท่านทั้งหลายได้พบแล้วในบทมนตร์ของเรามิใช่หรือ
เรานมัสการพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุดเหล่านั้น
ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่เช่นไร
[๑๑๘] พระพุทธเจ้าเหล่านั้นผู้มีความเพียรมาก
เป็นสัพพัญญู ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
พระพุทธเจ้าเหล่านั้นมีคุณอย่างไร
มีศีลอย่างไร มีพระยศยิ่งใหญ่เช่นไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๗. ปุฬินุปปาทกเถราปทาน
[๑๑๙] พระพุทธเจ้าทั้งหลายมีพระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ๑
มีพระทนต์ครบ ๔๐ ซี่ มีดวงเนตรดังดวงตาแห่งโค
และสดใสเหมือนผลมะกล่ำ
[๑๒๐] อนึ่ง พระพุทธเจ้าเหล่านั้น ผู้บริสุทธิ์เมื่อเสด็จดำเนินไป
ก็ทอดพระเนตรเพียงชั่วแอก
พระชานุของพระองค์ไม่ลั่น ใคร ๆ ไม่ได้ยินเสียงที่ต่อ
[๑๒๑] อนึ่ง พระสุคตทั้งหลาย
เมื่อจะเสด็จดำเนินไม่ทรงรีบร้อนเสด็จดำเนินไป
ทรงก้าวพระบาทเบื้องขวาก่อน
นี้เป็นธรรมดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
[๑๒๒] และพระพุทธเจ้าเหล่านั้นเป็นผู้ไม่สะดุ้ง
ดุจพญาไกรสรราชสีห์
พระพุทธเจ้าเหล่านั้นไม่ทรงยกพระองค์ไม่ข่มสัตว์ทั้งหลาย
[๑๒๓] ทรงหลุดพ้นจากการถือตัวและดูหมิ่น
ท่านมีพระองค์เสมอในสัตว์ทั้งปวง
พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นผู้ไม่ทรงยกพระองค์
นี้เป็นธรรมดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
[๑๒๔] อนึ่ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเมื่อเสด็จอุบัติขึ้น
พระองค์ทรงแสดงแสงสว่าง
ทรงประกาศวิการ ๖๒ ทั่วพื้นแผ่นดินนี้ทั้งสิ้น
[๑๒๕] ทั้งพระองค์ทรงเห็นนรกด้วย
ครั้งนั้น ไฟนรกดับ มหาเมฆบันดาลฝนให้ตก
นี้เป็นธรรมดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถหน้า ๑๐ ในเล่มนี้
๒ วิการ ๖ หมายถึงแผ่นดินไหว ๖ ประการ คือ (๑) ข้างหน้ายืดขึ้นข้างหลังยุบลง (๒) ข้างหลังยืดขึ้น
ข้างหน้ายุบลง (๓) ข้างซ้ายยืดขึ้นข้างขวายุบลง (๔) ข้างขวายืดขึ้นข้างซ้ายยุบลง (๕) ตรงกลางยืดขึ้น
โดยรอบยุบลง (๖) โดยรอบยืดขึ้นตรงกลางยุบลง (ขุ.พุทฺธ.อ. ๗๑/๙๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๗. ปุฬินุปปาทกเถราปทาน
[๑๒๖] พระตถาคตทั้งหลายเหล่านั้น ทรงพระคุณประเสริฐมาก
ไม่มีใครเทียบได้ มีพระยศยิ่งใหญ่ มีพระคุณหาประมาณมิได้
ใคร ๆ ไม่เกินพระองค์ไปโดยเกียรติคุณ
พระพุทธเจ้าเหล่านั้น เป็นเช่นนี้
[๑๒๗] ศิษย์ทุกคนเป็นผู้มีความเคารพ ชื่นชมถ้อยคำของข้าพเจ้า
ต่างได้ปฏิบัติเช่นนั้น ตามความสามารถ ตามกำลัง(ของตน)
[๑๒๘] พวกเขามีความเพลิดเพลินในกรรมของตน
เชื่อฟังถ้อยคำของข้าพเจ้า
มีฉันทะอัธยาศัยน้อมไปในความเป็นพระพุทธเจ้า
พากันบูชาพระเจดีย์ทราย
[๑๒๙] ครั้งนั้น เทพบุตรผู้มียศใหญ่ จุติจากสวรรค์ชั้นดุสิต
อุบัติในพระครรภ์ของพระมารดา หมื่นจักรวาลไหวแล้ว
[๑๓๐] ข้าพเจ้ายืนอยู่ ณ ที่จงกรมไม่ไกลจากอาศรม
ศิษย์ทุกคนได้มาประชุมพร้อมกันในสำนักของข้าพเจ้า ถามว่า
[๑๓๑] แผ่นดินบันลือลั่นดุจโคอุสภะคึกคะนอง
ดุจราชสีห์คำรน ดุจจระเข้ฟาดหาง จักมีผลเป็นอย่างไร
[๑๓๒] ข้าพเจ้าตอบว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใด
ที่ข้าพเจ้าประกาศ ที่ใกล้พระสถูปกองทราย
บัดนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ผู้มีโชค ผู้ทรงเป็นพระศาสดา
เสด็จลงสู่พระครรภ์ของพระมารดาแล้ว
[๑๓๓] ข้าพเจ้าแสดงธรรมกถาแก่ศิษย์เหล่านั้นแล้ว
กล่าวสดุดีพระมหามุนี
ส่งศิษย์ของตนไปแล้ว นั่งขัดสมาธิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๗. ปุฬินุปปาทกเถราปทาน
[๑๓๔] ก็ข้าพเจ้ามีกำลังสิ้นไปแล้วหนอ ป่วยหนัก
ระลึกถึงพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุดแล้ว
ได้สิ้นชีวิตในที่นั้นเอง
[๑๓๕] ครั้งนั้น ศิษย์ทุกคนมาประชุมกันได้สร้างจิตกาธานขึ้น
แล้วได้ยกร่างของข้าพเจ้าขึ้นวางยังจิตกาธาน
[๑๓๖] พวกเขาพากันยืนประนมมือเหนือศีรษะล้อมรอบจิตกาธาน
พากันเศร้าโศก คร่ำครวญ
[๑๓๗] เมื่อศิษย์เหล่านั้นพิไรรำพันอยู่
ข้าพเจ้าได้ไปใกล้จิตกาธานแล้วสั่งสอนพวกเขาว่า
เราคืออาจารย์ของเธอทั้งหลาย
ท่านผู้มีปัญญาดีทั้งหลาย อย่าได้เศร้าโศกเลย
[๑๓๘] ท่านทั้งหลายพึงเป็นผู้ไม่เกียจคร้าน
พึงพยายามในประโยชน์ของตนทั้งกลางวันกลางคืน
อย่าได้ประมาท จงใช้เวลาที่มีให้เป็นประโยชน์
[๑๓๙] ข้าพเจ้าพร่ำสอนศิษย์ของตนแล้วกลับไปยังเทวโลก
ได้อยู่ในเทวโลกถึง ๑๘ กัป
[๑๔๐] ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๕๐๐ ชาติ
และได้ครองเทวสมบัติหลายร้อยชาติ
[๑๔๑] ในกัปที่เหลือ ข้าพเจ้าแม้จะเวียนว่ายตายเกิดไปมา
แต่ก็ไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการก่อพระเจดีย์ทราย
[๑๔๒] ในเดือนที่ดอกโกมุทบาน
ต้นไม้จำนวนมากก็มีดอกบาน ฉันใด
ข้าพเจ้าก็เป็นผู้ที่พระศาสดาผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
ให้เบิกบานแล้วในสมัยนั้น ฉันนั้นเหมือนกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๗. ปุฬินุปปาทกเถราปทาน
[๑๔๓] ข้าพเจ้ามีความเพียรนำพาธุระไป
อันเป็นเหตุนำธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะมาให้
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๔๔] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้สรรเสริญพระพุทธเจ้าไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการสรรเสริญพระพุทธเจ้า
[๑๔๕] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๔๖] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๔๗] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระปุฬินุปปาทกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ปุฬินุปปาทกเถราปทานที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๘. ตรณิยเถราปทาน
๘. ตรณิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระตรณิยเถระ
(พระตรณิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๔๘] พระผู้มีพระภาคพระนามว่าอัตถทัสสี
ผู้เป็นพระสยัมภู ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
เป็นพระตถาคต ได้เสด็จไปที่ฝั่งแม่น้ำวินดา
[๑๔๙] ข้าพเจ้าเป็นเต่าเที่ยวไปมาในแม่น้ำ ขึ้นจากน้ำแล้ว
ประสงค์จะอัญเชิญพระพุทธเจ้าเสด็จข้ามฟาก
จึงเข้าเฝ้าพระองค์ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก กราบทูลว่า
[๑๕๐] ขอทูลเชิญพระพุทธเจ้า
ผู้เป็นมหามุนีพระนามว่าอัตถทัสสี
เสด็จขึ้นหลังของข้าพระองค์เถิด
ข้าพระองค์จะนำเสด็จพระองค์ผู้ทำที่สุดทุกข์ข้ามฟาก
[๑๕๑] พระพุทธเจ้าผู้มีพระยศยิ่งใหญ่
ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลกพระนามว่าอัตถทัสสี
ทราบความดำริของข้าพเจ้าแล้ว
จึงเสด็จขึ้นประทับยืนบนหลังของข้าพเจ้า
[๑๕๒] ในเวลาที่ข้าพเจ้าจำความได้ และรู้เดียงสา
ข้าพเจ้าไม่มีความสุขเช่นกับความสุข(ที่ได้รับ)
ในขณะที่ฝ่าพระบาทถูกต้องเลย
[๑๕๓] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าอัตถทัสสี ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่
เสด็จขึ้นประทับยืนที่ริมฝั่งแม่น้ำแล้ว
ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๘. ตรณิยเถราปทาน
[๑๕๔] เราข้ามกระแสน้ำเพียงชั่วขณะจิตเป็นไป
ก็พญาเต่าตัวนี้มีบุญส่งเราข้ามฟาก
[๑๕๕] ด้วยการส่งพระพุทธเจ้า ข้ามฟากนี้
และด้วยความเป็นผู้มีจิตเมตตา
เขาจักรื่นรมย์ในเทวโลกตลอด ๑,๘๐๐ กัป
[๑๕๖] เขาจากเทวโลกมามนุษยโลกนี้
อันกุศลมูลตักเตือนแล้ว
นั่ง ณ อาสนะเดียวจักข้ามกระแสความสงสัยได้
[๑๕๗] พืชแม้น้อยที่ชาวนาหว่านลงในผืนนาที่ดี
เมื่อฝนตกลงอยู่โดยชอบ
ผลย่อมทำให้ชาวนายินดี แม้ฉันใด
[๑๕๘] พุทธเขตที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้นี้
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อบุญให้ผลสม่ำเสมอ
ผลก็จักทำให้ข้าพเจ้ายินดี
[๑๕๙] ข้าพเจ้ามีจิตเด็ดเดี่ยวเพื่อบำเพ็ญเพียร
สงบระงับ ไม่มีอุปธิ กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว
อยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
[๑๖๐] ในกัปที่ ๑,๘๐๐ (นับจากกัปนี้ไป)
ข้าพเจ้าได้ทำกรรมไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการส่งพระพุทธเจ้าข้ามฟาก
[๑๖๑] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๙. ธัมมรุจิเถราปทาน
[๑๖๒] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๖๓] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระตรณิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ตรณิยเถราปทานที่ ๘ จบ

๙. ธัมมรุจิเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระธัมมรุจิเถระ
(พระธัมมรุจิเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๖๔] ในเวลาที่พระพุทธชินเจ้าพระนามว่าทีปังกร
ทรงพยากรณ์สุเมธดาบสว่า
ในกัปนับประมาณมิได้จากกัปนี้ไป
ดาบสนี้จักเป็นพระพุทธเจ้า
[๑๖๕] พระมารดาผู้ให้กำเนิดดาบสนี้
จักมีพระนามว่ามายา พระบิดาจักมีพระนามว่าสุทโธทนะ
ดาบสนี้จักมีนามว่าโคดม
[๑๖๖] ดาบสนี้จักตั้งความเพียรบำเพ็ญทุกรกิริยาแล้ว
จักเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีพระยศยิ่งใหญ่
ตรัสรู้ที่โคนต้นอัสสัตถพฤกษ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๙. ธัมมรุจิเถราปทาน
[๑๖๗] พระอุปติสสเถระและพระโกลิตเถระจักเป็นพระอัครสาวก
พระอุปัฏฐากชื่อว่าพระอานนท์ จักอุปัฏฐากพระชินเจ้านี้
[๑๖๘] เขมาภิกษุณีและอุบลวรรณาภิกษุณีจักเป็นพระอัครสาวิกา
จิตตคหบดีอุบาสกและหัตถกคหบดีอุบาสก
ชาวเมืองอาฬวี จักเป็นอัครอุบาสก
[๑๖๙] ขุชชุตตราอุบาสิกาและนันทมารดาอุบาสิกาเป็นอัครอุบาสิกา
ต้นไม้เป็นสถานที่ตรัสรู้ของนักปราชญ์ผู้นี้
ชาวโลกเรียกกันว่าต้นอัสสัตถพฤกษ์
[๑๗๐] มนุษย์และเทวดาได้สดับพระดำรัสของพระพุทธเจ้า
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ซึ่งจะหาใครเสมอเหมือนมิได้
ต่างเป็นผู้เบิกบานประนมมือนมัสการ
[๑๗๑] ข้าแต่พระมหามุนี
ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นมาณพชื่อเมฆะ ศึกษามาดีแล้ว
ได้สดับคำพยากรณ์อันประเสริฐของสุเมธดาบส
[๑๗๒] ข้าพเจ้าเป็นผู้คุ้นเคยกับสุเมธดาบส ผู้มีความกรุณา
และรีบออกบวชตามสุเมธดาบส ผู้มีความเพียร ซึ่งบวชอยู่
[๑๗๓] เป็นผู้สำรวมในปาติโมกข์และอินทรีย์ ๕
มีอาชีวะหมดจด มีสติ เป็นนักปราชญ์
กระทำตามคำสั่งสอนของพระชินเจ้า
[๑๗๔] ข้าพเจ้าเป็นอยู่อย่างนี้
ถูกปาปมิตรบางคนชักนำในความประพฤติเลวทราม
ถูกขจัดออกจากหนทางที่ชอบแล้ว
[๑๗๕] เป็นผู้ตกอยู่ในอำนาจแห่งวิตก
จึงหลีกออกจากศาสนา
ภายหลังถูกปาปมิตรนั้นชักชวนให้ฆ่ามารดา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๙. ธัมมรุจิเถราปทาน
[๑๗๖] ข้าพเจ้ามีจิตชั่วร้ายได้ทำอนันตริยกรรมฆ่ามารดา
จุติจากภพนั้นแล้วไปเกิดในอเวจีมหานรกที่แสนจะทารุณ
[๑๗๗] ข้าพเจ้าตกนรกประสบความลำบากเวียนว่ายตายเกิดอยู่นาน
ไม่ได้เห็นสุเมธดาบส ผู้เป็นนักปราชญ์ ผู้ประเสริฐกว่านรชน
[๑๗๘] ในกัปนี้ ข้าพเจ้าเกิดเป็นปลาติมิงคละอยู่ในมหาสมุทร
เห็นเรือในสมุทรสาคร จึงเข้าไปเพื่อจะกิน
[๑๗๙] พวกพ่อค้าเห็นข้าพเจ้าก็กลัว
ระลึกถึงพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
ข้าพเจ้าได้ยินเสียงกึกก้องว่า
โคตมะ ที่พ่อค้าเหล่านั้นเปล่งขึ้น
[๑๘๐] จึงนึกถึงสัญญาเก่าขึ้นมาได้ จากนั้นก็เสียชีวิตแล้ว
ไปเกิดในตระกูลพราหมณ์ที่มั่งคั่ง ในกรุงสาวัตถี
[๑๘๑] ข้าพเจ้าชื่อว่าธัมมรุจิ เป็นผู้เกลียดบาปกรรมทุกอย่าง
พออายุได้ ๗ ขวบ ก็ได้พบพระพุทธองค์ผู้ส่องโลกให้โชติช่วง
[๑๘๒] ข้าพเจ้าจึงได้ไปยังพระเชตวันมหาวิหาร
แล้วบวชเป็นบรรพชิต
เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ๓ ครั้ง ต่อคืนและวัน
[๑๘๓] ครั้งนั้น พระองค์ผู้เป็นมุนี
ทอดพระเนตรเห็นข้าพเจ้าเข้าจึงตรัสว่า
ธัมมรุจิ ท่านจงระลึกถึงเรา
ลำดับนั้น ข้าพเจ้ากราบทูลบุพกรรมอย่างแจ่มแจ้ง
กับพระพุทธเจ้าว่า
[๑๘๔] นานมาแล้ว ข้าพระองค์ไม่ได้พบพระองค์
ผู้ทรงบุญลักษณะตั้ง ๑๐๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๙. ธัมมรุจิเถราปทาน
ผู้ทรงมีเหตุปัจจัยบริสุทธิ์ในชาติปางก่อน
บัดนี้ ข้าพระองค์ได้พบพระสรีระของพระองค์
นับว่าเป็นการเห็นที่ประเสริฐแท้ ไม่มีสิ่งเปรียบ
[๑๘๕] ความมืดคือโมหะ พระองค์ขจัดได้สิ้นเชิงหนอ
ข้าพเจ้าชมเชยพระองค์แล้ว
แม่น้ำคือตัณหา อันพระองค์ผู้มีอินทรีย์อันรักษาไว้ดีแล้ว
ให้เหือดแห้งไปโดยสิ้นเชิง พระนิพพานที่ไม่มีมลทิน๑
อันพระองค์ทรงชำระดีแล้ว สิ้นกาลนาน
ข้าแต่พระมหามุนี พระองค์บรรลุนัยนา๒
ที่สำเร็จด้วยญาณสิ้นกาลนาน
[๑๘๖] ข้าพระองค์พินาศไปในระหว่างตลอดกาลนาน
ข้าแต่พระโคดม แต่วันนี้ ข้าพระองค์ได้พบพระองค์
การพบเป็นต้นที่ได้ทำไว้จักไม่พินาศไปอีก
[๑๘๗] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๘๘] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ พระนิพพานที่ไม่มีมลทิน หมายถึงบรรลุนิพพาน (ขุ.อป.อ. ๒/๑๘๕-๘๖/๒๖๑)
๒ บรรลุนัยนา หมายถึงทิพพจักขุ (ขุ.อป.อ. ๒/๑๘๕-๘๖/๒๖๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๑๐. สาลมัณฑปิยเถราปทาน
[๑๘๙] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระธัมมรุจิเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ธัมมรุจิเถราปทานที่ ๙ จบ

๑๐. สาลมัณฑปิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระสาลมัณฑปิยเถระ
(พระสาลมัณฑปิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๙๐] ข้าพเจ้าเข้าไปยังป่าไม้สาละ สร้างอาศรมอย่างสวยงาม
มุงบังด้วยดอกสาละ อยู่ในป่าใหญ่
[๑๙๑] ส่วนพระผู้มีพระภาคพระนามว่าปิยทัสสี ผู้เป็นพระสยัมภู
เป็นบุคคลผู้เลิศ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง
ผู้ทรงประสงค์วิเวก ได้เสด็จเข้าไปยังป่าไม้สาละ
[๑๙๒] ข้าพเจ้าได้ออกจากอาศรมไปยังป่าใหญ่
เที่ยวแสวงหาเผือกมันและผลไม้ในป่า ในเวลานั้น
[๑๙๓] ได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าปิยทัสสี
ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่ ประทับนั่งเข้าสมาบัติรุ่งโรจน์อยู่ ในป่าใหญ่นั้น
[๑๙๔] ข้าพเจ้าปักไม้เป็น ๔ เส้า ทำปะรำอย่างดี
มุงด้วยดอกสาละเบื้องบนพระพุทธเจ้า
[๑๙๕] ข้าพเจ้าคงตั้งปะรำซึ่งมุงด้วยดอกสาละไว้ ๗ วัน
ทำจิตให้เลื่อมใสในกรรมนั้น
ได้ไหว้พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
[๑๙๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาค ผู้เป็นบุรุษผู้สูงสุด
เสด็จออกจากสมาธิ ประทับนั่งทอดพระเนตรดูเพียงชั่วแอก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๑๐. สาลมัณฑปิยเถราปทาน
[๑๙๗] สาวกของพระศาสดาพระนามว่าปิยทัสสี
ชื่อว่าวรุณะ พร้อมด้วยสาวกผู้ได้วสี ๑๐๐,๐๐๐ รูป
ได้เข้าเฝ้าพระศาสดาผู้นำสัตว์โลก
[๑๙๘] ส่วนพระผู้มีพระภาคพระนามว่าปิยทัสสี
ผู้เจริญที่สุดในโลก ทรงองอาจกว่านรชน
ประทับนั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์แล้ว
ทรงทำการแย้มให้ปรากฏ
[๑๙๙] พระอนุรุทธเถระผู้เป็นพุทธอุปัฏฐากของพระศาสดา
พระนามว่าปิยทัสสี
ห่มจีวรเฉวียงบ่าแล้ว ได้ทูลถามพระมหามุนีว่า
[๒๐๐] ข้าแต่พระผู้มีพระภาค
อะไรหนอ เป็นเหตุให้พระศาสดาทรงแย้ม
เพราะเมื่อมีเหตุ พระศาสดาจึงทรงทำการแย้มให้ปรากฏ
[๒๐๑] พระศาสดาตรัสว่า มาณพใดตั้งเครื่องมุงบังดอกสาละ
เพื่อเราไว้ตลอด ๗ วัน
เราระลึกถึงกรรมของมาณพนั้น
จึงได้ทำการแย้มให้ปรากฏ
[๒๐๒] เรายังไม่เห็นโอกาสที่บุญจะไม่ให้ผล
โอกาสในเทวโลกหรือมนุษยโลกยังไม่สงบ
[๒๐๓] เมื่อเขาผู้เพียบพร้อมด้วยบุญกรรมอยู่ในเทวโลก
บริวารของเขาเท่าที่มี จักมีดอกสาละมุงบัง
[๒๐๔] เขาเป็นผู้ประกอบด้วยบุญกรรม
จักรื่นรมย์ในเทวโลกนั้นด้วยการฟ้อน
การขับร้อง และการประโคมที่เป็นทิพย์ในกาลทุกเมื่อ
[๒๐๕] บริวารของเขาเท่าที่มีจักมีกายมีกลิ่นหอมฟุ้ง
และฝนดอกสาละจักตกลงทั่วไปในขณะนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๑๐. สาลมัณฑปิยเถราปทาน
[๒๐๖] มาณพนี้จุติจากเทวโลกแล้ว
จักมาเกิดเป็นมนุษย์ แม้ในมนุษยโลกนี้
เครื่องมุงบังดอกสาละ จักทรงอยู่ตลอดกาลทั้งปวง
[๒๐๗] ในมนุษยโลกนี้ การฟ้อนรำและการขับร้อง
ที่ประกอบด้วยเสียงกังสดาลอย่างไพเราะ
จักแวดล้อมมาณพนี้เป็นนิตย์
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๒๐๘] และเมื่อดวงอาทิตย์อุทัย ฝนดอกสาละจะตกลง
ฝนดอกสาละที่ประกอบด้วยบุญกรรม
จักตกลงมาตลอดกาลทั้งปวง
[๒๐๙] ในกัปที่ ๑,๘๐๐ (นับจากกัปนี้ไป)
พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร
ทรงสมภพในราชสกุลโอกกากราชจักอุบัติขึ้นในโลก
[๒๑๐] มาณพนี้จักเป็นธรรมทายาทของพระศาสดาพระองค์นั้น
เป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต
กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงเป็นผู้ไม่มีอาสวะแล้วนิพพาน
[๒๑๑] เมื่อเขาตรัสรู้ธรรม จักมีเครื่องมุงบังดอกสาละ
เมื่อถูกเผาอยู่บนเชิงตะกอน
ที่เชิงตะกอนนั้นก็จักมีเครื่องมุงบังดอกสาละ
[๒๑๒] พระมหามุนีพระนามว่าปิยทัสสี
ทรงพยากรณ์วิบากแล้ว แสดงธรรมแก่บริษัท
ให้ชุ่มชื่นด้วยฝนคือธรรม
[๒๑๓] ข้าพเจ้าได้ครองเทวสมบัติในเทวโลกตลอด ๓๐ กัป
ได้เกิดเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๖๗ ชาติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๑๐. สาลมัณฑปิยเถราปทาน
[๒๑๔] ข้าพเจ้าจุติจากเทวโลกมาในมนุษยโลกนี้
ได้รับความสุขอันไพบูลย์
แม้ในมนุษยโลกนี้ก็มีเครื่องมุงบังดอกสาละ
นี้เป็นผลแห่งการสร้างปะรำ
[๒๑๕] ภพนี้เป็นภพสุดท้ายของข้าพเจ้า
ภพสุดท้ายกำลังเป็นไปอยู่
แม้ในภพนี้เครื่องมุงบังดอกสาละก็จักมีตลอดกาลทั้งปวง
[๒๑๖] ข้าพเจ้าให้พระมหามุนีพระนามว่าโคตมศากยะ
ผู้ประเสริฐทรงยินดี ละความชนะ๑
และละความพ่ายแพ้๒ได้แล้ว บรรลุฐานะที่ไม่หวั่นไหว
[๒๑๗] ในกัปที่ ๑,๘๐๐ (นับจากกัปนี้ไป)
ข้าพเจ้าได้บูชาพระพุทธเจ้าไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๒๑๘] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๒๑๙] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ ละความชนะ หมายถึงละทิพยสมบัติและมนุษยสมบัติ (ขุ.อป.อ. ๒/๙/๑๐๗)
๒ ละความพ่ายแพ้ หมายถึงละทุกข์ในอบาย ๔ (ขุ.อป.อ. ๒/๙/๑๐๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] รวมอปทานที่มีในวรรค
[๒๒๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระสาลมัณฑปิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
สาลมัณฑปิยเถราปทานที่ ๑๐ จบ
ปังสุกูลวรรคที่ ๔๙ จบบริบูรณ์

รวมอปทานที่มีในวรรคนี้คือ

๑. ปังสุกูลสัญญกเถราปทาน ๒. พุทธสัญญกเถราปทาน
๓. ภิสทายกเถราปทาน ๔. ญาณัตถวิกเถราปทาน
๕. จันทนมาลิยเถราปทาน ๖. ธาตุปูชกเถราปทาน
๗. ปุฬินุปปาทกเถราปทาน ๘. ตรณิยเถราปทาน
๙. ธัมมรุจิเถราปทาน ๑๐. สาลมัณฑปิยเถราปทาน

ในวรรคนี้ บัณฑิตนับคาถาได้ ๒๑๙ คาถา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๐. กิงกณิปุปผวรรค] ๑. ตีณิกิงกณิปุปผิยเถราปทาน
๕๐. กิงกณิปุปผวรรค
หมวดว่าด้วยดอกกระดิ่งเป็นต้น
๑. ตีณิกิงกณิปุปผิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระตีณิกิงกณิปุปผิยเถระ
(พระตีณิกิงกณิปุปผิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑] ข้าพเจ้าได้เห็นพระพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี
ผู้ปราศจากธุลีคือกิเลส ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
รุ่งเรืองดังดอกกรรณิการ์ ประทับนั่งอยู่ที่ซอกภูเขา
[๒] ข้าพเจ้าเก็บดอกกระดิ่งทอง ๓ ดอกมาบูชา
ครั้นบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว
ได้บ่ายหน้าหลีกไปทางทิศใต้
[๓] ด้วยกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดยังสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๔] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้บูชาพระพุทธเจ้าไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๕] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๖] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๐. กิงกณิปุปผวรรค] ๒. ปังสุกูลปูชกเถราปทาน
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๗] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระตีณิกิงกณิปุปผิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ตีณิกิงกณิปุปผิยเถราปทานที่ ๑ จบ

๒. ปังสุกูลปูชกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระปังสุกูลปูชกเถระ
(พระปังสุกูลปูชกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๘] ในที่ไม่ไกลจากภูเขาหิมพานต์
มีภูเขาลูกหนึ่งชื่ออุทัพพละ ที่ภูเขานั้น
ข้าพเจ้าได้เห็นผ้าบังสุกุลแขวนห้อยอยู่บนยอดไม้
[๙] ครั้งนั้น ข้าพเจ้ามีจิตร่าเริง บันเทิงใจ
ได้เลือกเก็บดอกกระดิ่งทอง ๓ ดอกมาบูชาผ้าบังสุกุล
[๑๐] ด้วยกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดยังสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๑๑] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ทำกรรมไว้ในครั้งนั้น
เพราะการบูชาธงชัยแห่งพระอรหันต์
จึงไม่รู้จักทุคติเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๐. กิงกณิปุปผวรรค] ๓. โกรัณฑปุปผิยเถราปทาน
[๑๒] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๓] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๔] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระปังสุกูลปูชกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ปังสุกูลปูชกเถราปทานที่ ๒ จบ

๓. โกรัณฑปุปผิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระโกรัณฑปุปผิยเถระ
(พระโกรัณฑปุปผิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๕] เมื่อชาติปางก่อน ข้าพเจ้ากับบิดาและปู่เป็นคนทำงานในป่า
เลี้ยงชีพด้วยการฆ่าสัตว์ กุศลกรรมของเราไม่มี
[๑๖] ใกล้ที่อยู่ของข้าพเจ้า พระศาสดาพระนามว่าติสสะ
ผู้ทรงเป็นผู้นำชั้นเลิศของโลก ผู้มีพระจักษุ
ได้ทรงแสดงรอยพระบาทไว้ ๓ รอย
เพื่ออนุเคราะห์(ข้าพเจ้า)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๐. กิงกณิปุปผวรรค] ๓. โกรัณฑปุปผิยเถราปทาน
[๑๗] ข้าพเจ้าเห็นรอยพระบาทของพระศาสดาพระนามว่าติสสะ
ที่พระองค์ทรงประทับไว้
ข้าพเจ้าเป็นผู้มีจิตร่าเริงบันเทิงใจ
ได้ทำจิตให้เลื่อมใสในรอยพระบาทนั้น
[๑๘] ข้าพเจ้าเห็นต้นอังกาบซึ่งงอกเลื้อยไปตามพื้นดิน
มีดอกบานสะพรั่ง จึงเด็ดมาพร้อมทั้งยอด
ได้บูชารอยพระบาทอันประเสริฐที่สุด
[๑๙] ด้วยกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๒๐] ข้าพเจ้าเกิดในกำเนิดใด ๆ
คือจะเกิดเป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็ตาม
(ในกำเนิดนั้น ๆ) ข้าพเจ้ามีผิวพรรณดังดอกอังกาบ
มีรัศมีซ่านออกจากกาย
[๒๑] ในกัปที่ ๙๒ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ทำกรรมไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชารอยพระบาท
[๒๒] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๒๓] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๐. กิงกณิปุปผวรรค] ๔. กิงสุกปุปผิยเถราปทาน
[๒๔] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระโกรัณฑปุปผิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
โกรัณฑปุปผิยเถราปทานที่ ๓ จบ

๔. กิงสุกปุปผิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระกิงสุกปุปผิยเถระ
(พระกิงสุกปุปผิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๒๕] ข้าพเจ้าเห็นต้นทองกวาวมีดอกบานสะพรั่ง
ประคองอัญชลี ระลึกถึงพระพุทธเจ้า
ผู้ประเสริฐที่สุด แล้วบูชาในอากาศ
[๒๖] ด้วยกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๒๗] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ทำกรรมไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๒๘] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๐. กิงกณิปุปผวรรค] ๕. อุปัฑฒทุสสทายกเถราปทาน
[๒๙] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๓๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระกิงสุกปุปผิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
กิงสุกปุปผิยเถราปทานที่ ๔ จบ

๕. อุปัฑฒทุสสทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอุปัฑฒทุสสทายกเถระ
(พระอุปัฑฒทุสสทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าว
ว่า)
[๓๑] ครั้งนั้น สาวกของพระผู้มีพระภาคพระนามว่าปทุมุตตระ
ชื่อสุชาตะ กำลังแสวงหาผ้าบังสุกุลที่กองหยากเยื่อใกล้ถนน
[๓๒] ข้าพเจ้าเป็นลูกจ้างของคนอื่นอยู่ในกรุงหงสวดี
ได้ถวายผ้าครึ่งผืนแล้วอภิวาทด้วยเศียรเกล้า
[๓๓] ด้วยกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ดีนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๓๔] ข้าพเจ้าได้เป็นจอมเทพครองเทวสมบัติตลอด ๓๓ ชาติ
ได้เกิดเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๗๗ ชาติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๐. กิงกณิปุปผวรรค] ๕. อุปัฑฒทุสสทายกเถราปทาน
[๓๕] และได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์นับชาติไม่ถ้วน
เพราะถวายผ้าครึ่งผืน
ข้าพเจ้าจึงเป็นผู้ไม่มีภัยจากที่ไหน ๆ บันเทิงอยู่
[๓๖] ในวันนี้ ข้าพเจ้าเมื่อปรารถนาก็พึงใช้ผ้าเปลือกไม้คลุมดินนี้
พร้อมทั้งป่าใหญ่และภูเขาได้
นี้เป็นผลแห่งการถวายผ้าครึ่งผืน
[๓๗] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายทานไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผ้าครึ่งผืน
[๓๘] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๓๙] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๔๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระอุปัฑฒทุสสทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้
อุปัฑฒทุสสทายกเถราปทานที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๐. กิงกณิปุปผวรรค] ๖. ฆฏมัณฑทายกเถราปทาน
๖. ฆฏมัณฑทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระฆฏมัณฑทายกเถระ
(พระฆฏมัณฑทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๔๑] พระผู้มีพระภาคผู้ทรงดำริดีแล้ว
ผู้เจริญที่สุดในโลก ทรงองอาจกว่านรชน
เสด็จเข้าไปยังป่าใหญ่ ทรงพระประชวรด้วยโรคลม
[๔๒] ข้าพเจ้าได้เห็นแล้วจึงทำจิตให้เลื่อมใสนำหัวน้ำมันเนยเข้าไปถวาย
เพราะบุญกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้และสั่งสมไว้แล้ว
แม่น้ำคงคาชื่อภาคีรถีนี้
[๔๓] และมหาสมุทรทั้ง ๔ ได้บันดาลเนยใสให้สำเร็จแก่ข้าพเจ้า
อนึ่ง พื้นปฐพีที่กว้างใหญ่ ประมาณมิได้ กำหนดนับมิได้นี้
[๔๔] ดังจะรู้ความดำริของข้าพเจ้า
จึงกลายเป็นน้ำผึ้งและน้ำตาลกรวด
ต้นไม้ที่งอกขึ้นบนแผ่นดินในทิศทั้ง ๔
[๔๕] ดังจะรู้ความดำริของข้าพเจ้า
จึงกลายเป็นต้นกัลปพฤกษ์ไป
ข้าพเจ้าได้เป็นจอมเทพครองเทวสมบัติตลอด ๕๐ ชาติ
[๔๖] ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๕๑ ชาติ
และได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์นับชาติไม่ถ้วน
[๔๗] ในกัปที่ ๙๔ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายทานไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายหัวน้ำมันเนย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๐. กิงกณิปุปผวรรค] ๗. อุทกทายกเถราปทาน
[๔๘] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๔๙] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๕๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระฆฏมัณฑทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
ฆฏมัณฑทายกเถราปทานที่ ๖ จบ

๗. อุทกทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอุทกทายกเถระ
(พระอุทกทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๕๑] ข้าพเจ้าเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี
ในภิกษุสงฆ์ผู้ยอดเยี่ยมของพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
จึงได้บรรจุน้ำดื่มจนเต็มหม้อน้ำ
[๕๒] ในเวลาที่ข้าพเจ้าต้องการน้ำดื่ม
จะเป็นบนยอดภูเขา ยอดไม้ ในอากาศ
หรือที่พื้นดิน น้ำก็บังเกิดแก่ข้าพเจ้าทันที

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๗๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๐. กิงกณิปุปผวรรค] ๘. ปุฬินถูปิยเถราปทาน
[๕๓] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายทานไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายน้ำ
[๕๔] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๕๕] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๕๖] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระอุทกทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
อุทกทายกเถราปทานที่ ๗ จบ

๘. ปุฬินถูปิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระปุฬินถูปิยเถระ
(พระปุฬินถูปิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๕๗] ในที่ไม่ไกลจากภูเขาหิมพานต์
มีภูเขาลูกหนึ่งชื่อยมกะ ข้าพเจ้าได้สร้างอาศรม
และบรรณศาลาไว้อย่างดี
[๕๘] ข้าพเจ้าเป็นชฎิลผู้มีตบะแก่กล้า มีชื่อว่านารทะ
ศิษย์ประมาณ ๑๔,๐๐๐ คน บำรุงข้าพเจ้าอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๐. กิงกณิปุปผวรรค] ๘. ปุฬินถูปิยเถราปทาน
[๕๙] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นผู้หลีกเร้นอยู่
จึงคิดอย่างนี้ว่า มหาชนบูชาเรา แต่เราไม่ได้บูชาอะไรเลย
[๖๐] ผู้ที่จะสั่งสอนเราก็ไม่มี
ใคร ๆ ที่จะตักเตือนเราก็ไม่มี
เราไม่มีอุปัชฌาย์อาจารย์อาศัยอยู่ในป่า
[๖๑] ศิษย์ผู้ภักดีควรทำจิตให้หนักแน่น บำรุงอาจารย์ใด
อาจารย์นั้นของเราก็ไม่มี
การอยู่ในป่าจึงไม่มีประโยชน์
[๖๒] สิ่งที่ควรบูชาเราควรแสวงหา
สิ่งที่ควรเคารพยกย่องเราก็ควรแสวงหาเหมือนกัน
เราจักชื่อว่าอยู่อย่างมีที่พึ่ง ใคร ๆ จักติเตียนไม่ได้
[๖๓] แม่น้ำซึ่งมีฝั่งลาด มีท่าน้ำราบเรียบน่ารื่นรมย์ใจ
และเกลื่อนกล่นไปด้วยทรายที่บริสุทธิ์สะอาด
อาศรมของข้าพเจ้าก็อยู่ไม่ไกล
[๖๔] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้ไปยังแม่น้ำชื่ออมริกา
แล้วโกยทรายมาก่อเป็นพระเจดีย์ทราย
ข้าพเจ้าได้ทำพระเจดีย์ทรายนั้นให้เป็นนิมิตว่า
[๖๕] พระสถูปของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นมุนี
ผู้ทำลายที่สุดแห่งภพ ที่ได้มีแล้วก็เป็นเช่นนี้
[๖๖] ครั้นแล้ว ได้สร้างพระสถูปทองคำไว้ที่หาดทราย
แล้วใช้ดอกกระดิ่งทองจำนวน ๓,๐๐๐ ดอกบูชา
[๖๗] ข้าพเจ้ามีความอิ่มใจ ประนมมือนมัสการทุกเช้าเย็น
ไหว้พระเจดีย์ทราย เหมือนไหว้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ในที่เฉพาะพระพักตร์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๐. กิงกณิปุปผวรรค] ๘. ปุฬินถูปิยเถราปทาน
[๖๘] ในเวลาที่กิเลสหรือกามวิตกที่อาศัยความรักเกิดขึ้น
ข้าพเจ้าระลึกถึงและเพ่งดูพระสถูปที่ข้าพเจ้าก่อไว้
[๖๙] ข้าพเจ้าอาศัยพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้นำหมู่สัตว์(ออกจากที่กันดาร)
ผู้ทรงเป็นผู้นำวิเศษ อยู่ด้วยการตักเตือนตนเองว่า
ควรระวังกิเลสไว้นะท่านผู้นิรทุกข์
การให้กิเลสเกิดขึ้นนี้เป็นของไม่สมควรแก่ท่าน
[๗๐] เมื่อข้าพเจ้าระลึกถึงพระสถูป
ย่อมเกิดความเคารพขึ้นพร้อมกัน ในขณะนั้น
ข้าพเจ้าบรรเทาอกุศลวิตกเสียได้
เหมือนช้างถูกปฏักแทง บรรเทาได้แล้ว
[๗๑] ข้าพเจ้าประพฤติอยู่อย่างนี้ ได้ถูกมัจจุราชย่ำยี
สิ้นชีวิตที่นั้นแล้ว ได้ไปเกิดยังพรหมโลก
[๗๒] ข้าพเจ้าอยู่ในพรหมโลกนั้นจนหมดอายุขัย
มาเกิดยังสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นจอมเทพ
ได้ครองเทวสมบัติตลอด ๘๐ ชาติ
[๗๓] ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๓๐๐ ชาติ
และได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์นับชาติไม่ถ้วน
[๗๔] ข้าพเจ้าได้เสวยผลของดอกกระดิ่งทองเหล่านั้น
ดอกกระดิ่งทองจำนวน ๒๒,๐๐๐ ดอก
แวดล้อมข้าพเจ้าไปทุกภพ
[๗๕] เพราะข้าพเจ้าเป็นผู้บำรุงพระสถูป
ฝุ่นละอองย่อมไม่ติดกายข้าพเจ้า
ที่กายของข้าพเจ้าเหงื่อไม่ไหล ข้าพเจ้ามีรัศมีซ่านออก
[๗๖] โอหนอ พระสถูปข้าพเจ้าได้สร้างไว้ดีแล้ว
แม่น้ำอมริกาข้าพเจ้าได้เห็นดีแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๐. กิงกณิปุปผวรรค] ๘. ปุฬินถูปิยเถราปทาน
เพราะได้ก่อพระสถูปทราย
ข้าพเจ้าจึงได้บรรลุบทที่ไม่หวั่นไหว
[๗๗] สัตว์ผู้ปรารถนาจะทำกุศล ชื่อว่ายึดถือสิ่งที่เป็นสาระ
เขตหรืออเขตไม่สำคัญ การปฏิบัติเท่านั้นเป็นสิ่งสำคัญ
[๗๘] บุรุษผู้มีกำลัง มีความอุตสาหะที่จะข้ามทะเลใหญ่
พึงถือท่อนไม้เล็ก ๆ แล้ววิ่งลงทะเลใหญ่ด้วยคิดว่า
[๗๙] เราอาศัยท่อนไม้นี้แล้วจักข้ามทะเลใหญ่ไปได้
นรชนพึงข้ามทะเลใหญ่ไปได้ด้วยอุตสาหวิริยะ แม้ฉันใด
[๘๐] ข้าพเจ้าก็ฉันนั้นเหมือนกัน อาศัยกรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ
ที่ได้กระทำไว้แล้วจึงข้ามพ้นสงสารไปได้
[๘๑] เมื่อถึงภพสุดท้าย ข้าพเจ้าถูกกุศลมูลตักเตือนแล้ว
เกิดในตระกูลพราหมณมหาศาลที่มั่งคั่งในกรุงสาวัตถี
[๘๒] มารดาบิดาของข้าพเจ้าเป็นผู้มีศรัทธา
นับถือพระพุทธเจ้า
ท่านทั้ง ๒ นั้นเห็นธรรมแล้วและได้ฟังธรรมแล้ว
ประพฤติตนตามคำสอน
[๘๓] ท่านทั้ง ๒ ถือสะเก็ดไม้โพธิ์ให้สร้างเป็นพระสถูปทอง
นมัสการในที่เฉพาะพระพักตร์ของพระศากยบุตร ทุกเช้าเย็น
[๘๔] ในวันอุโบสถ ท่านทั้ง ๒ นำพระสถูปทองออกมาแล้ว
กล่าวสรรเสริญพระพุทธคุณ
ให้เวลาผ่านไปตลอด ๓ ยาม (ด้วยการปฏิบัติธรรม)
[๘๕] ข้าพเจ้าได้เห็นพระสถูปทองเสมอ
จึงระลึกถึงเจดีย์ทรายขึ้นได้
นั่งบนอาสนะเดียวได้บรรลุอรหัตตผลแล้ว
ภาณวารที่ ๒๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๐. กิงกณิปุปผวรรค] ๘. ปุฬินถูปิยเถราปทาน
[๘๖] เมื่อข้าพเจ้าแสวงหาพระพุทธเจ้าผู้เป็นนักปราชญ์อยู่นั้น
ได้เห็นพระธรรมเสนาบดี(สารีบุตร)
จึงออกบวชในสำนักของท่าน
[๘๗] ข้าพเจ้ามีอายุ ๗ ขวบก็ได้บรรลุอรหัตตผล
พระพุทธเจ้าผู้มีพระจักษุ
ทรงทราบคุณวิเศษ จึงให้ข้าพเจ้าอุปสมบท
[๘๘] กิจที่ควรกระทำ ข้าพเจ้าผู้ยังเป็นเด็กอยู่ ให้สำเร็จแล้ว
วันนี้ กิจที่ควรทำในศาสนาของพระศากยบุตร
ข้าพเจ้าก็ได้ทำเสร็จแล้ว
[๘๙] ข้าแต่พระองค์ผู้มีความเพียรมาก
สาวกของพระองค์เป็นผู้ล่วงพ้นเวรภัยทุกอย่าง
ล่วงพ้นกิเลสเป็นเครื่องข้อง๑ ทั้งปวง เป็นฤาษี
นี้เป็นผลของการสร้างพระสถูปทอง
[๙๐] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๙๑] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ กิเลสเป็นเครื่องข้อง หมายถึงกิเลสเป็นเครื่องข้องมีราคะเป็นต้น (ขุ.เถร.อ. ๒/๑๐๒๕/๔๖๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๐. กิงกณิปุปผวรรค] ๙. นฬกุฏิกทายกเถราปทาน
[๙๒] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระปุฬินถูปิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ปุฬินถูปิยเถราปทานที่ ๘ จบ

๙. นฬกุฏิกทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระนฬกุฏิกทายกเถระ
(พระนฬกุฏิกทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๙๓] ในที่ไม่ไกลจากภูเขาหิมพานต์ มีภูเขาลูกหนึ่งชื่อหาริกะ
ครั้งนั้น พระสยัมภูพระนามว่านารทะ ประทับอยู่ที่โคนต้นไม้
[๙๔] ข้าพเจ้าสร้างกุฎีไม้อ้อมุงด้วยหญ้า
ได้ทำความสะอาดที่จงกรมถวายพระสยัมภู
[๙๕] ด้วยกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๙๖] ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้น วิมานสูง ๖๐ โยชน์ กว้าง ๓๐ โยชน์
ซึ่งบุญกรรมเนรมิตสร้างขึ้นอย่างสวยงามเพื่อข้าพเจ้าเพราะกุฎีไม้อ้อ
[๙๗] ข้าพเจ้ารื่นรมย์อยู่ในเทวโลกตลอด ๑๔ กัป
ได้ครองเทวสมบัติตลอด ๗๑ ชาติ
[๙๘] ข้าพเจ้าได้เกิดเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๓๔ ชาติ
และได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์นับชาติไม่ถ้วน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๐. กิงกณิปุปผวรรค] ๑๐. ปิยาลผลทายกเถราปทาน
[๙๙] ข้าพเจ้าขึ้นสู่ปราสาทคือธรรม
อันควรเป็นสุญญาคารที่ประเสริฐอยู่ในศาสนา
ของพระศากยบุตรตามความปรารถนา
[๑๐๐] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ทำกรรมไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายกุฎีไม้อ้อ
[๑๐๑] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๐๒] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๐๓] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระนฬกุฏิกทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
นฬกุฏิกทายกเถราปทานที่ ๙ จบ

๑๐. ปิยาลผลทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระปิยาลผลทายกเถระ
(พระปิยาลผลทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๐๔] เมื่อชาติก่อน ข้าพเจ้าเป็นนายพรานเนื้อ
ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเที่ยวอยู่ในป่าใหญ่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๐. กิงกณิปุปผวรรค] ๑๐. ปิยาลผลทายกเถราปทาน
ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลีคือกิเลส
ทรงถึงความสำเร็จแห่งธรรมทั้งปวง
[๑๐๕] ข้าพเจ้าเลื่อมใสได้นำผลมะหาด
ไปถวายพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
ผู้เป็นเนื้อนาบุญ ผู้แกล้วกล้า ด้วยมือทั้ง ๒ ของตน
[๑๐๖] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายผลไม้ไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
[๑๐๗] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๐๘] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๐๙] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระปิยาลผลทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
ปิยาลผลทายกเถราปทานที่ ๑๐ จบ
กิงกณิปุปผวรรคที่ ๕๐ จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๐. กิงกณิปุปผวรรค] รวมวรรคทั้ง ๑๐ ศีล
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้คือ

๑. ตีณิกิงกณิปุปผิยเถราปทาน ๒. ปังสุกูลปูชกเถราปทาน
๓. โกรัณฑปุปผิยเถราปทาน ๔. กิงสุกปุปผิยเถราปทาน
๕. อุปัฑฒทุสสทายกเถราปทาน ๖. ฆฏมัณฑทายกเถราปทาน
๗. อุทกทายกเถราปทาน ๘. ปุฬินถูปิยเถราปทาน
๙. นฬกุฏิกทายกเถราปทาน ๑๐. ปิยาลผลทายกเถราปทาน

ในวรรคนี้ บัณฑิตนับคาถาได้ ๑๐๙ คาถา

รวมวรรคทั้ง ๑๐ คือ

๑. เมตเตยยวรรค ๒. ภัททาลิวรรค
๓. สกิงสัมมัชชกวรรค ๔. เอกวิหาริวรรค
๕. วิเภทกิวรรค ๖. ชคติทายกวรรค
๗. สาลกุสุมิยวรรค ๘. นฬมาลิวรรค
๙. ปังสุกูลวรรค ๑๐. กิงกณิปุปผวรรค

บัณฑิตนับคาถาได้ ๑,๔๘๒ คาถา
๑๐ วรรคมีเมตเตยยวรรคเป็นต้น
๕๐๐ อปทาน จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๑. กณิการวรรค] ๑. ตีณิกณิการปุปผิยเถราปทาน
๕๑. กณิการวรรค
หมวดว่าด้วยกรรณิการ์วิมานเป็นต้น
๑. ตีณิกณิการปุปผิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระตีณิกณิการปุปผิยเถระ
(พระตีณิกณิการปุปผิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าว
ว่า)
[๑] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสุเมธะ
มีพระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ๑ ตรัสรู้เอง
ทรงประสงค์วิเวก จึงเสด็จเข้าไปยังป่าหิมพานต์
[๒] ครั้นเสด็จเข้าไปยังป่าหิมพานต์แล้ว
พระองค์ผู้เป็นมุนี ผู้เลิศ ทรงประกอบด้วยพระกรุณา
เป็นบุรุษผู้สูงสุด ก็ประทับนั่งขัดสมาธิ
[๓] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นวิทยาธรสัญจรไปในอากาศ
ข้าพเจ้าถือหอกอันคม ซึ่งทำไว้ดีแล้ว เหาะไปในท้องฟ้า
[๔] พระพุทธเจ้าทรงทำป่าใหญ่ให้สว่างไสว
เหมือนไฟบนยอดภูเขา เหมือนดวงจันทร์ในวันเพ็ญ
และเหมือนต้นพญาไม้สาละซึ่งมีดอกบานสะพรั่ง
[๕] ข้าพเจ้าเห็นพุทธรังสี มีสีคล้ายเปลวไฟ
ที่ไหม้ไม้อ้อ พวยพุ่งออกจากป่า จึงทำจิตให้เลื่อมใส
[๖] ข้าพเจ้าเลือกเก็บดอกไม้อยู่
ได้เห็นดอกกรรณิการ์ที่มีกลิ่นหอมคล้ายกลิ่นทิพย์
จึงเก็บมา ๓ ดอก ได้บูชาพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถหน้า ๑๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๑. กณิการวรรค] ๑. ตีณิกณิการปุปผิยเถราปทาน
[๗] ครั้งนั้น ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า
ดอกไม้ของข้าพเจ้าทั้ง ๓ ดอก
กลับขั้วขึ้นหันกลีบดอกลงทำเป็นร่มเงาเพื่อพระศาสดา
[๘] ด้วยกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๙] ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้น มีวิมานสูง ๖๐ โยชน์ กว้าง ๓๐ โยชน์
ซึ่งบุญกรรมสร้างขึ้นอย่างสวยงามเพื่อข้าพเจ้า
รู้จักกันว่ากรรณิการ์วิมาน
[๑๐] ปราสาท ๗ ชั้น สูง ๑,๐๐๐ ชั่วลูกธนู
สะพรั่งไปด้วยธง พราวไปด้วยแก้วมณีสีเขียว
และป้อม ๑๐๐,๐๐๐ ป้อม ปรากฏในวิมานของข้าพเจ้า
[๑๑] บัลลังก์ทองคำ บัลลังก์แก้วมณี
บัลลังก์แก้วทับทิม และบัลลังก์แก้วผลึก
เกิดขึ้นตามปรารถนาตามประสงค์
[๑๒] ที่นอนมีราคามาก ยัดด้วยนุ่น มีลวดลายต่าง ๆ
มีขนตั้งขึ้นด้านเดียวและหมอนพร้อม
[๑๓] ข้าพเจ้ามีหมู่เทวดาห้อมล้อม
ออกจากวิมานเที่ยวจาริกไปในเทวโลก
ในเวลาที่ปรารถนาจะไป
[๑๔] ยืนอยู่ภายใต้ดอกไม้
ข้าพเจ้ามีดอกไม้เป็นเครื่องมุงบังอยู่เบื้องบน
สถานที่ประมาณ ๑๐๐ โยชน์มุงบังไปด้วยดอกกรรณิการ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๑. กณิการวรรค] ๑. ตีณิกณิการปุปผิยเถราปทาน
[๑๕] เครื่องดนตรี ๖๐,๐๐๐ ชิ้น บรรเลงกล่อมข้าพเจ้า
ทั้งเช้าและเย็น ไม่หยุดหย่อน แวดล้อมข้าพเจ้าเป็นนิตย์
ตลอดคืนตลอดวัน
[๑๖] ในวิมานนั้นข้าพเจ้ารื่นรมย์ด้วยการฟ้อน
การขับร้อง การเคาะกังสดาล และการประโคม
เป็นผู้หมกมุ่นในกาม บันเทิงอยู่ด้วยความยินดีในการเล่น
[๑๗] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าบริโภคและดื่มอยู่ในวิมานนั้น
บันเทิงอยู่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ข้าพเจ้าพร้อมด้วยหมู่นางอัปสรบันเทิงอยู่ในวิมานอันอุดม
[๑๘] ข้าพเจ้าครองเทวสมบัติตลอด ๕๐๐ ชาติ
เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๓๐๐ ชาติ
และได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์นับชาติไม่ถ้วน
[๑๙] เมื่อข้าพเจ้าเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพน้อยภพใหญ่
ย่อมได้โภคะมากมาย
ข้าพเจ้าไม่มีความบกพร่องในโภคะเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๒๐] ข้าพเจ้าเวียนว่ายตายเกิดอยู่ใน ๒ ภพ
คือ (๑) ภพเทวดา (๒) ภพมนุษย์
คติอื่นข้าพเจ้าไม่รู้จักเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๒๑] ข้าพเจ้าเกิดเฉพาะใน ๒ ตระกูล
คือ (๑) ตระกูลกษัตริย์ (๒) ตระกูลพราหมณ์
ตระกูลต่ำข้าพเจ้าไม่รู้จักเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๑. กณิการวรรค] ๑. ตีณิกณิการปุปผิยเถราปทาน
[๒๒] ยานคือช้าง ยานคือม้า วอ และคานหาม
ข้าพเจ้าก็ได้รับมาครบถ้วน
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๒๓] หมู่ทาสหญิง ทาสชาย และเหล่านารี
ที่ประดับตกแต่งอย่างสวยงาม
ข้าพเจ้าก็ได้รับมาครบถ้วน
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๒๔] ผ้าไหม ผ้ากัมพล ผ้าเปลือกไม้ และผ้าฝ้าย
ข้าพเจ้าก็ได้รับมาครบถ้วน
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๒๕] ผ้าใหม่ ผลไม้ใหม่ โภชนะที่มีรสเลิศใหม่ ๆ
ข้าพเจ้าก็ได้รับมาครบถ้วน
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๒๖] (คำเชื้อเชิญเช่นนี้ว่า) เชิญเคี้ยวกินสิ่งนี้ เชิญบริโภคสิ่งนี้
เชิญนอนบนที่นอนนี้ ข้าพเจ้าก็ได้รับมาครบถ้วน
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๒๗] ข้าพเจ้าเป็นผู้ที่เขาบูชาในที่ทุกสถาน
มียศสูงส่ง มีพวกมาก มีบริวารไม่แตกแยกกันทุกเมื่อ
บรรดาญาติทั้งหลาย ข้าพเจ้าเป็นผู้ประเสริฐที่สุด
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๒๘] ข้าพเจ้าไม่รู้จักความหนาว ความร้อน
ทั้งไม่มีความเร่าร้อน
อนึ่ง ทุกข์ทางใจก็ไม่มีในหทัยของข้าพเจ้า
[๒๙] ข้าพเจ้าเป็นผู้มีผิวพรรณดุจทองคำ
เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพน้อยภพใหญ่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๑. กณิการวรรค] ๑. ตีณิกณิการปุปผิยเถราปทาน
ความเป็นผู้มีผิวพรรณทรามข้าพเจ้าไม่รู้จักเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๓๐] ข้าพเจ้าถูกกุศลมูลตักเตือนแล้ว จุติจากเทวโลก
มาเกิดในตระกูลพราหมณมหาศาลที่มั่งคั่งในกรุงสาวัตถี
[๓๑] ข้าพเจ้าได้ละกามคุณ ๕ ออกบวชเป็นบรรพชิต
มีอายุได้ ๗ ขวบ ก็ได้บรรลุอรหัตตผล
[๓๒] พระพุทธเจ้าผู้มีพระจักษุ
ทรงทราบคุณวิเศษของข้าพเจ้า จึงให้ข้าพเจ้าอุปสมบท
ข้าพเจ้ายังมีอายุน้อยก็ได้เป็นปูชนียบุคคล
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๓๓] ทิพยจักษุของข้าพเจ้าบริสุทธิ์
ข้าพเจ้าฉลาดในสมาธิ
ถึงความสำเร็จในอภิญญา
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๓๔] ข้าพเจ้าบรรลุปฏิสัมภิทา ฉลาดในอิทธิบาท
ถึงความสำเร็จในพระสัทธรรม
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๓๕] ในกัปที่ ๓๐,๐๐๐ (นับจากกัปนี้ไป)
ข้าพเจ้าได้บูชาพระพุทธเจ้าไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๓๖] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๑. กณิการวรรค] ๒. เอกปัตตทายกเถราปทาน
[๓๗] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๓๘] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระตีณิกณิการปุปผิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
ตีณิกณิการปุปผิยเถราปทานที่ ๑ จบ

๒. เอกปัตตทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระเอกปัตตทายกเถระ
(พระเอกปัตตทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๓๙] ข้าพเจ้าเป็นช่างหม้ออยู่ในกรุงหงสวดี
ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลีคือกิเลส
ผู้ข้ามโอฆะได้แล้ว ไม่มีอาสวะ
[๔๐] ข้าพเจ้าได้ถวายบาตรดินที่ทำแล้วอย่างดี
แด่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
ครั้นถวายบาตรแด่พระผู้มีพระภาคผู้ตรง ผู้คงที่แล้ว
[๔๑] เมื่อบังเกิดในภพ ข้าพเจ้าย่อมได้ภาชนะทองคำ
และจานที่ทำด้วยเงิน ทำด้วยทองคำ และทำด้วยแก้วมณี
[๔๒] ข้าพเจ้าบริโภคอาหารด้วยถาดทองคำ
นี้เป็นผลแห่งบุญกรรม
และเป็นผู้เลิศกว่าชนทั้งหลายโดยยศ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๑. กณิการวรรค] ๒. เอกปัตตทายกเถราปทาน
[๔๓] พืชแม้น้อยแต่หว่านลงในนาดี
เมื่อฝนตกอยู่โดยสม่ำเสมอ
ผลย่อมทำชาวนาให้ยินดีได้ ฉันใด
[๔๔] การถวายบาตรก็ฉันนั้น ข้าพเจ้าได้หว่านลงในพุทธเขต
เมื่อสายธารคือปีติตกลงอยู่ ผลก็ทำข้าพเจ้าให้ยินดี
[๔๕] เขตคือสงฆ์ก็ดี คณะก็ดี เท่าที่มีอยู่
ที่จะให้ความสุขแก่สรรพสัตว์ เสมอด้วยพุทธเขตไม่มีเลย
[๔๖] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นบุรุษอาชาไนย
ข้าพระองค์ขอนอบน้อมพระองค์
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นบุรุษสูงสุด
ข้าพระองค์ขอนอบน้อมพระองค์
เพราะได้ถวายบาตรใบหนึ่ง
ข้าพระองค์จึงได้บรรลุบทอันไม่หวั่นไหว
[๔๗] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายบาตรไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายบาตร
[๔๘] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๔๙] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๑. กณิการวรรค] ๓. กาสุมาริกผลทายกเถราปทาน
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๕๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระเอกปัตตทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
เอกปัตตทายกเถราปทานที่ ๒ จบ

๓. กาสุมาริกผลทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระกาสุมาริกผลทายกเถระ
(พระกาสุมาริกผลทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึง
กล่าวว่า)
[๕๑] ข้าพเจ้าได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลีคือกิเลส
ผู้เจริญที่สุดในโลก ผู้องอาจกว่านรชน
โชติช่วงดังต้นกรรณิการ์ ประทับนั่งอยู่ระหว่างภูเขา
[๕๒] ข้าพเจ้าเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี ประนมมือเหนือศีรษะ
ได้ถือผลมะลื่นมาถวายพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
[๕๓] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายผลไม้ไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
[๕๔] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๑. กณิการวรรค] ๔. อวฏผลิยเถราปทาน
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๕๕] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๕๖] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระกาสุมาริกผลทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
กาสุมาริกผลทายกเถราปทานที่ ๓ จบ

๔. อวฏผลิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอวฏผลิยเถระ
(พระอวฏผลิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๕๗] พระผู้มีพระภาคพระนามว่าสหัสสรังสี
ทรงเป็นพระสยัมภู ผู้ไม่ทรงพ่ายแพ้
ทรงออกจากวิเวกแล้วเสด็จไปบิณฑบาต
[๕๘] ข้าพเจ้าถือผลไม้อยู่ ได้เห็นแล้ว
จึงเข้าไปเฝ้าพระองค์ผู้องอาจกว่านรชน
เป็นผู้มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี จึงได้ถวายผลกล้วย
[๕๙] ในกัปที่ ๙๔ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายผลไม้ไว้ในครั้งนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๑. กณิการวรรค] ๕. จารผลิยเถราปทาน
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
[๖๐] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๖๑] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๖๒] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระอวฏผลิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
อวฏผลิยเถราปทานที่ ๔ จบ

๕. จารผลิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระจารผลิยเถระ
(พระจารผลิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๖๓] ข้าพเจ้าได้ถวายผลอโมระแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้มีพระฉวีวรรณดังทองคำ ผู้สมควรรับเครื่องบูชา
ซึ่งกำลังเสด็จดำเนินไปตามถนน
[๖๔] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายผลไม้ไว้ในครั้งนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๑. กณิการวรรค] ๖. มาตุลุงคผลทายกเถราปทาน
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
[๖๕] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๖๖] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๖๗] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระจารผลิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
จารผลิยเถราปทานที่ ๕ จบ

๖. มาตุลุงคผลทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระมาตุลุงคผลทายกเถระ
(พระมาตุลุงคผลทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๖๘] ข้าพเจ้าได้เห็นพระผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ผู้โชติช่วงดังดอกกรรณิการ์
ผู้(รุ่งเรือง)ดังดวงจันทร์ในวันเพ็ญ ทรงรุ่งเรืองดังต้นกัลปพฤกษ์
[๖๙] ข้าพเจ้าเลื่อมใสแล้ว ได้ถือผลมะงั่วด้วยมือทั้ง ๒ ของตน
ไปถวายพระศาสดาผู้ทรงเป็นทักขิไณยบุคคล ผู้ทรงแกล้วกล้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๑. กณิการวรรค] ๗. อัชเชลผลทายกเถราปทาน
[๗๐] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายผลไม้ไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
[๗๑] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๗๒] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๗๓] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระมาตุลุงคผลทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้
มาตุลุงคผลทายกเถราปทานที่ ๖ จบ

๗. อัชเชลผลทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอัชเชลผลทายกเถระ
(พระอัชเชลผลทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๗๔] ครั้งนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าอชินะ(สิทธัตถะ)
ผู้เพียบพร้อมด้วยจรณะ ฉลาดในสมาธิ เป็นมุนี
ประทับอยู่ที่ภูเขาหิมพานต์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๑. กณิการวรรค] ๘. อโมรผลิยเถราปทาน
[๗๕] ข้าพเจ้าถือผลรกฟ้ามีขนาดเท่าหม้อ
ถือร่มใบไม้แล้วได้ถวายพระศาสดา
[๗๖] ในกัปที่ ๙๔ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายผลไม้ไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
[๗๗] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๗๘] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๗๙] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระอัชเชลผลทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
อัชเชลผลทายกเถราปทานที่ ๗ จบ

๘. อโมรผลิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอโมรผลิยเถระ
(พระอโมรผลิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๘๐] ข้าพเจ้าได้ถวายผลอโมระแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้มีพระฉวีวรรณดังทองคำ ผู้สมควรรับเครื่องบูชา
ซึ่งกำลังเสด็จดำเนินไปตามถนน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๑. กณิการวรรค] ๙. ตาลผลิยเถราปทาน
[๘๑] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายผลไม้ไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
[๘๒] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๘๓] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๘๔] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระอโมรผลิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
อโมรผลิยเถราปทานที่ ๘ จบ

๙. ตาลผลิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระตาลผลิยเถระ
(พระตาลผลิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๘๕] พระผู้มีพระภาคพระนามว่าสตรังสี๑
ทรงเป็นพระสยัมภู ผู้ไม่ทรงพ่ายแพ้
ทรงออกจากวิเวกแล้วเสด็จไปบิณฑบาต

เชิงอรรถ :
๑ สตรังสี เป็นพระคุณนามของพระพุทธเจ้า หมายถึงพระพุทธเจ้ามีพระรัศมีแผ่ออกจากพระวรกายหลายร้อย
หลายแสน เปรียบเหมือนรัศมีดวงอาทิตย์ที่แผ่ออกไปทั่วทุกทิศ (ขุ.อป.อ. ๒/๖๒-๓/๑๕๔,๑๕/๑๙๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๑. กณิการวรรค] ๙. ตาลผลิยเถราปทาน
[๘๖] ข้าพเจ้าถือผลไม้อยู่ ได้เห็นแล้ว
จึงเข้าไปเฝ้าพระองค์ผู้องอาจกว่านรชน
เป็นผู้มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี จึงได้ถวายผลตาล
[๘๗] ในกัปที่ ๙๔ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายผลไม้ไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
[๘๘] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๘๙] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๙๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระตาลผลิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ตาลผลิยเถราปทานที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๑. กณิการวรรค] ๑๐. นาฬิเกรผลทายกเถราปทาน
๑๐. นาฬิเกรผลทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระนาฬิเกรผลทายกเถระ
(พระนาฬิเกรผลทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๙๑] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นชาวสวนอยู่ในกรุงพันธุมดี
ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลีคือกิเลส
ซึ่งกำลังเสด็จไปในอากาศ
[๙๒] ข้าพเจ้าได้ถือผลมะพร้าวไปถวายพระพุทธเจ้า
ผู้ประเสริฐที่สุด พระองค์ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่
ประทับยืนอยู่ในอากาศ ทรงรับแล้ว
[๙๓] ทำให้ข้าพเจ้าเกิดความปลื้มใจ
และทรงนำความสุขมาให้ในปัจจุบัน
ข้าพเจ้ามีจิตผ่องใส เพราะได้ถวายผลมะพร้าวแด่พระพุทธเจ้า
[๙๔] ได้ประสบปีติอันไพบูลย์และสุขอันสูงสุด
รัตนะย่อมบังเกิดแก่ข้าพเจ้าผู้บังเกิดอยู่ในภพนั้น ๆ
[๙๕] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายผลไม้ไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
[๙๖] ทิพยจักษุของข้าพเจ้าบริสุทธิ์
ข้าพเจ้าฉลาดในสมาธิ ถึงความสำเร็จอภิญญา
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
[๙๗] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๑. กณิการวรรค] รวมอปทานที่มีในวรรค
[๙๘] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๙๙] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระนาฬิเกรผลทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
นาฬิเกรผลทายกเถราปทานที่ ๑๐ จบ
กณิการวรรคที่ ๕๑ จบบริบูรณ์

รวมอปทานที่มีในวรรคนี้คือ

๑. ตีณิกณิการปุปผิยเถราปทาน ๒. เอกปัตตทายกเถราปทาน
๓. กาสุมาริกผลทายกเถราปทาน ๔. อวฏผลิยเถราปทาน
๕. จารผลิยเถราปทาน ๖. มาตุลุงคผลทายกเถราปทาน
๗. อัชเชลผลทายกเถราปทาน ๘. อโมรผลิยเถราปทาน
๙. ตาลผลิยเถราปทาน ๑๐. นาฬิเกรผลทายกเถราปทาน

ในวรรคนี้ บัณฑิตนับคาถาได้ ๙๙ คาถา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๒. ผลทายกวรรค] ๑. กุรัญชิยผลทายกเถราปทาน
๕๒. ผลทายกวรรค
หมวดว่าด้วยการถวายผลไม้เป็นต้น
๑. กุรัญชิยผลทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระกุรัญชิยผลทายกเถระ
(พระกุรัญชิยผลทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑] เมื่อชาติก่อน ข้าพเจ้าเป็นนายพรานเนื้อ เที่ยวอยู่ในป่า
ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลีคือกิเลส
ทรงถึงความสำเร็จแห่งธรรมทั้งปวง
[๒] ข้าพเจ้าเลื่อมใสแล้ว ได้ถือผลอัญชันขาว ด้วยมือทั้ง ๒ ของตน
ไปถวายพระพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐที่สุด
เป็นเนื้อนาบุญ เป็นนักปราชญ์
[๓] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายผลไม้ไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
[๔] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๕] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๒. ผลทายกวรรค] ๒. กปิฏฐผลทายกเถราปทาน
[๖] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระกุรัญชิยผลทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
กุรัญชิยผลทายกเถราปทานที่ ๑ จบ

๒. กปิฏฐผลทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระกปิฏฐผลทายกเถระ
(พระกปิฏฐผลทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๗] ข้าพเจ้าได้ถวายผลมะขวิดแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้มีพระฉวีวรรณดังทองคำ ผู้สมควรรับเครื่องบูชา
ซึ่งกำลังเสด็จดำเนินไปตามถนน
[๘] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายผลไม้ไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
[๙] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๐] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๒. ผลทายกวรรค] ๓. โกสุมพผลิยเถราปทาน
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๑] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระกปิฏฐผลทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
กปิฏฐผลทายกเถราปทานที่ ๒ จบ

๓. โกสุมพผลิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระโกสุมพผลิยเถระ
(พระโกสุมพผลิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๒] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้ถวายผลสะคร้อแด่พระผู้องอาจกว่านรชน
ผู้เป็นเทพยิ่งกว่าเทพ ทรงงดงามดังต้นรกฟ้าขาว
ซึ่งกำลังเสด็จดำเนินไปตามถนน
[๑๓] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายผลไม้ไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
[๑๔] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๐๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๒. ผลทายกวรรค] ๔. เกตกปุปผิยเถราปทาน
[๑๕] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๖] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระโกสุมพผลิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
โกสุมพผลิยเถราปทานที่ ๓ จบ

๔. เกตกปุปผิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระเกตกปุปผิยเถระ
(พระเกตกปุปผิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๗] พระพุทธเจ้าผู้เป็นบุรุษสูงสุดประทับอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำวินตา
ข้าพเจ้าได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลีคือกิเลส
ผู้เป็นเอกอัครบุคคล มีพระทัยตั้งมั่น
[๑๘] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี
บูชาพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด ด้วยดอกการะเกด
ซึ่งมีกลิ่นหอมเหมือนน้ำผึ้ง
[๑๙] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ใช้ดอกไม้บูชาไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๒. ผลทายกวรรค] ๕. นาคปุปผิยเถราปทาน
[๒๐] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๒๑] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๒๒] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระเกตกปุปผิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
เกตกปุปผิยเถราปทานที่ ๔ จบ

๕. นาคปุปผิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระนาคปุปผิยเถระ
(พระนาคปุปผิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๒๓] ข้าพเจ้าได้นำดอกกากะทิงมาบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้มีพระฉวีวรรณดังทองคำ ผู้สมควรรับเครื่องบูชา
ซึ่งกำลังเสด็จดำเนินไปตามถนน
[๒๔] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ใช้ดอกไม้บูชาไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๒. ผลทายกวรรค] ๖. อัชชุนปุปผิยเถราปทาน
[๒๕] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๒๖] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๒๗] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระนาคปุปผิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
นาคปุปผิยเถราปทานที่ ๕ จบ

๖. อัชชุนปุปผิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอัชชุนปุปผิยเถระ
(พระอัชชุนปุปผิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๒๘] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้เป็นกินนรอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำจันทภาคา
ได้เห็นพระสยัมภูพุทธเจ้า ผู้ปราศจากธุลีคือกิเลส
ผู้ไม่ทรงพ่ายแพ้
[๒๙] ข้าพเจ้าเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี
เกิดความปราโมทย์ ประนมมือแล้ว
ถือดอกรกฟ้ามาบูชาพระสยัมภู
[๓๐] ด้วยกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๒. ผลทายกวรรค] ๖. อัชชุนปุปผิยเถราปทาน
ข้าพเจ้าละร่างกินนรแล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๓๑] ข้าพเจ้าได้เป็นจอมเทพครองเทวสมบัติตลอด ๓๖ ชาติ
ได้เกิดเป็นพระเจ้าจักรพรรดิครองมหาสมบัติ ๑๐ ชาติ
[๓๒] และได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์นับชาติไม่ถ้วน
พืชนั้นเป็นอันข้าพเจ้าได้หว่านไว้แล้ว
ในเนื้อนาที่ดีคือพระสยัมภู
[๓๓] กุศลของข้าพเจ้ามีอยู่ ข้าพเจ้าบวชเป็นบรรพชิต
วันนี้ ข้าพเจ้าเป็นผู้ควรแก่การบูชาในศาสนาของพระศากยบุตร
[๓๔] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๓๕] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๓๖] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระอัชชุนปุปผิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
อัชชุนปุปผิยเถราปทานที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๒. ผลทายกวรรค] ๗. กุฏชปุปผิยเถราปทาน
๗. กุฏชปุปผิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระกุฏชปุปผิยเถระ
(พระกุฏชปุปผิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๓๗] ในที่ไม่ไกลจากภูเขาหิมพานต์ มีภูเขาลูกหนึ่งชื่ออัจจละ
พระพุทธเจ้าพระนามว่าสุทัสสนะ ประทับอยู่ที่ระหว่างภูเขา
[๓๘] ข้าพเจ้าถือดอกไม้ซึ่งเกิดที่ภูเขาหิมพานต์เหาะไป ณ ที่นั้น
ได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ข้ามโอฆะได้แล้ว ผู้ไม่มีอาสวะ
[๓๙] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าถือดอกโมกใหญ่ทูลเกล้า
บูชาพระสยัมภูพุทธเจ้า ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๔๐] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ใช้ดอกไม้บูชาไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๔๑] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๔๒] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๔๓] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระกุฏชปุปผิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
กุฏชปุปผิยเถราปทานที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๐๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๒. ผลทายกวรรค] ๘. โฆสสัญญกเถราปทาน
๘. โฆสสัญญกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระโฆสสัญญกเถระ
(พระโฆสสัญญกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๔๔] เมื่อชาติก่อน ข้าพเจ้าเป็นนายพรานเนื้อเที่ยวอยู่ในป่าใหญ่
ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลีคือกิเลส
ซึ่งหมู่เทวดาห้อมล้อมแล้ว
[๔๕] ทรงประกาศสัจจะ ๔ ทรงแสดงอมตบทอยู่
ข้าพเจ้าได้ฟังธรรมอันไพเราะของพระพุทธเจ้า
ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของโลกพระนามว่าสิขี
[๔๖] จึงทำจิตให้เลื่อมใสในพระสุรเสียงและในพระองค์
ผู้หาใครเสมอเหมือนและเปรียบเทียบมิได้
ครั้นทำจิตให้เลื่อมใสแล้ว จึงได้ข้ามภพที่ข้ามได้ยาก
[๔๗] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้สัญญาในพระสุรเสียงในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งสัญญาในพระสุรเสียง
[๔๘] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๔๙] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๒. ผลทายกวรรค] ๙. สัพพผลทายกเถราปทาน
[๕๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระโฆสสัญญกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
โฆสสัญญกเถราปทานที่ ๘ จบ

๙. สัพพผลทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระสัพพผลทายกเถระ
(พระสัพพผลทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๕๑] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้เป็นพราหมณ์มีนามว่าวรุณ
เรียนจบมนตร์แล้วละทิ้งบุตร ๑๐ คน เข้าป่า
[๕๒] สร้างอาศรมอย่างดี สร้างบรรณศาลา
จัดไว้เป็นสัดส่วนน่ารื่นรมย์ใจ อยู่ในป่าใหญ่
[๕๓] พระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้ทรงรู้แจ้งโลก ผู้สมควรรับเครื่องบูชา
พระองค์ทรงประสงค์จะช่วยเหลือข้าพเจ้า
จึงเสด็จมายังอาศรมของข้าพเจ้า
[๕๔] พระรัศมีได้แผ่ไปทั่วไพรสณฑ์
ครั้งนั้น ป่าใหญ่สว่างไสวด้วยพุทธานุภาพ
[๕๕] ข้าพเจ้าเห็นปาฏิหาริย์ของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
ผู้คงที่ จึงได้เก็บใบไม้มาเย็บเป็นกระทงแล้วใส่ผลไม้จนเต็ม
[๕๖] เข้าไปเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วได้ถวายทั้งหาบ
เพราะจะทรงอนุเคราะห์ข้าพเจ้า
พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสพระดำรัสนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๒. ผลทายกวรรค] ๙. สัพพผลทายกเถราปทาน
[๕๗] ท่านจงหาบตามหลังเรามา
เมื่อพระสงฆ์ฉันแล้ว บุญจักมีแก่ท่าน
[๕๘] ข้าพเจ้าได้หอบห่อผลไม้ถวายภิกษุสงฆ์
ทำจิตให้เลื่อมใสในภิกษุสงฆ์นั้นแล้ว
ได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต
[๕๙] ข้าพเจ้าผู้ประกอบด้วยบุญกรรม
เสวยยศ พร้อมด้วยการฟ้อนรำ ขับร้อง
และประโคมดนตรีอันเป็นทิพย์
อยู่ในสวรรค์ชั้นดุสิตนั้น
[๖๐] ข้าพเจ้าเกิดในกำเนิดใด ๆ
คือจะเกิดเป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็ตาม
(ในกำเนิดนั้น ๆ) ข้าพเจ้าไม่มีความพร่องด้วยโภคะเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
[๖๑] เพราะได้ถวายผลไม้แด่พระพุทธเจ้า
ข้าพเจ้าจึงครองความเป็นใหญ่
ตลอดทวีปทั้ง ๔ พร้อมทั้งทะเลและภูเขา
[๖๒] แม้ฝูงนกเท่าที่โผบินอยู่ในอากาศ
ก็อยู่ในอำนาจของข้าพเจ้า
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
[๖๓] ยักษ์ ภูต รากษส กุมภัณฑ์ และครุฑ
เท่าที่มีอยู่ในไพรสณฑ์ ต่างก็มาบำรุงข้าพเจ้า
[๖๔] แม้จระเข้ หมาใน ผึ้ง เหลือบ และยุงทั้ง ๒
ก็อยู่ในอำนาจของข้าพเจ้า
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๒. ผลทายกวรรค] ๙. สัพพผลทายกเถราปทาน
[๖๕] แม้นกครุฑและเหล่าปักษีที่มีกำลังมาก
ก็มานับถือข้าพเจ้าเป็นที่พึ่ง
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
[๖๖] แม้พวกนาคที่มีอายุยืน มีฤทธิ์
มียศมาก ก็อยู่ในอำนาจของข้าพเจ้า
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
[๖๗] ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี
หมาป่า หมาใน ก็อยู่ในอำนาจของข้าพเจ้า
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
[๖๘] รุกขเทวดาที่มีรัศมีดังดาวประกายพรึก
และเหล่าอากาสัฏฐเทวดา
ทั้งหมดล้วนนับถือข้าพเจ้าเป็นที่พึ่ง
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
[๖๙] ธรรมที่เห็นได้โดยยาก ละเอียด ลึกซึ้ง
ซึ่งพระศาสดาทรงประกาศไว้ดีแล้ว
ข้าพเจ้าก็ได้บรรลุแล้ว
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
[๗๐] ข้าพเจ้าบรรลุวิโมกข์ ๘ เป็นผู้มีความเพียร
และมีปัญญาเครื่องรักษาตนอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
[๗๑] บรรดาพุทธบุตรผู้บรรลุอรหัตตผล
สิ้นโทสะ มียศยิ่งใหญ่ ข้าพเจ้าก็เป็นผู้หนึ่ง
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๒. ผลทายกวรรค] ๙. สัพพผลทายกเถราปทาน
[๗๒] ข้าพเจ้าได้สำเร็จอภิญญา ถูกกุศลมูลตักเตือนแล้ว
กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว อยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
[๗๓] บรรดาพุทธบุตรผู้ได้วิชชา ๓ มีฤทธิ์
มียศยิ่งใหญ่ มีหูทิพย์ ข้าพเจ้าก็เป็นผู้หนึ่ง
[๗๔] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายผลไม้ไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
[๗๕] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๗๖] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๗๗] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระสัพพผลทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
สัพพผลทายกเถราปทานที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๒. ผลทายกวรรค] ๑๐. ปทุมธาริยเถราปทาน
๑๐. ปทุมธาริยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระปทุมธาริยเถระ
(พระปทุมธาริยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๗๘] ในที่ไม่ไกลจากภูเขาหิมพานต์ มีภูเขาลูกหนึ่งชื่อโรมสะ
ครั้งนั้น พระพุทธเจ้าพระนามว่าอภิสัมภวะ ประทับอยู่กลางแจ้ง
[๗๙] ข้าพเจ้าออกจากที่อยู่ กั้นดอกปทุม(แทนร่ม)
ครั้นกั้นอยู่ตลอดหนึ่งวันแล้วจึงกลับไปยังที่อยู่
[๘๐] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้บูชาพระพุทธเจ้าไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๘๑] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๘๒] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๘๓] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระปทุมธาริยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ปทุมธาริยเถราปทานที่ ๑๐ จบ
ผลทายกวรรคที่ ๕๒ จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๒. ผลทายกวรรค] รวมอปทานที่มีในวรรคนี้
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. กุรัญชิยผลทายกเถราปทาน ๒. กปิฏฐผลทายกเถราปทาน
๓. โกสุมพผลิยเถราปทาน ๔. เกตกปุปผิยเถราปทาน
๕. นาคปุปผิยเถราปทาน ๖. อัชชุนปุปผิยเถราปทาน
๗. กุฏชปุปผิยเถราปทาน ๘. โฆสสัญญกเถราปทาน
๙. สัพพผลทายกเถราปทาน ๑๐. ปทุมธาริยเถราปทาน

ในวรรคนี้ บัณฑิตนับคาถาได้ ๘๓ คาถา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๓. ติณทายกวรรค] ๑. ติณมุฏฐิทายกเถราปทาน
๕๓. ติณทายกวรรค
หมวดว่าด้วยการถวายหญ้าเป็นต้น
๑. ติณมุฏฐิทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระติณมุฏฐิทายกเถระ
(พระติณมุฏฐิทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑] ในที่ไม่ไกลจากภูเขาหิมพานต์ มีภูเขาลูกหนึ่งชื่อลัมพกะ
ที่ภูเขานั้นแล พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าติสสะ
เสด็จจงกรมอยู่กลางแจ้ง
[๒] เมื่อชาติก่อน ข้าพเจ้าเป็นนายพรานเนื้ออยู่ในป่าดงใหญ่
เห็นพระพุทธเจ้าผู้เป็นเทพยิ่งกว่าเทพ
จึงได้ถวายหญ้ากำหนึ่ง
[๓] เพื่อประทับนั่งสำหรับพระพุทธเจ้า
ครั้นถวายแล้วทำจิตให้เลื่อมใส
ได้ถวายอภิวาทพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว
บ่ายหน้าหลีกไปทางทิศเหนือ
[๔] ข้าพเจ้าพอเดินไปได้ไม่นานก็ถูกราชสีห์ทำร้าย
ถูกราชสีห์ฆ่าตายในที่นั้นนั่นเอง
[๕] ในเวลาใกล้ตาย กรรมที่ข้าพเจ้าได้กระทำไว้ในพระพุทธเจ้า
ผู้ประเสริฐที่สุด ไม่มีอาสวะ ข้าพเจ้าจึงได้ไปเกิดในเทวโลก
ดุจความเร็วแห่งลูกศรที่พ้นจากแล่งไปแล้ว
[๖] ในเทวโลกนั้น ปราสาท ๗ ชั้น สูง ๑,๐๐๐ ชั่วลูกธนู
สะพรั่งไปด้วยธง พราวไปด้วยแก้วมณีสีเขียว
อันสวยงาม ซึ่งบุญกรรมเนรมิตให้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๓. ติณทายกวรรค] ๑. ติณมุฏฐิทายกเถราปทาน
[๗] แสงสว่างของปราสาทนั้นพวยพุ่งดังดวงอาทิตย์อุทัย
ข้าพเจ้ามีนางเทพกัญญาอยู่มากมาย
เพลิดเพลินหมกมุ่นอยู่ในกามคุณ
[๘] ข้าพเจ้าถูกกุศลมูลตักเตือนแล้ว
จุติจากเทวโลกกลับมาเกิดเป็นมนุษย์
ได้บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะแล้ว
[๙] ในกัปที่ ๙๔ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายหญ้าสำหรับประทับนั่งไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายหญ้ากำหนึ่ง
[๑๐] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๑] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๒] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระติณมุฏฐิทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ติณมุฏฐิทายกเถราปทานที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๓. ติณทายกวรรค] ๒. เวจจกทายกเถราปทาน
๒. เวจจกทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระเวจจกทายกเถระ
(พระเวจจกทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๓] ข้าพเจ้าเลื่อมใส ได้ถวายเวจกุฎีหลังหนึ่งด้วยมือของตน
แด่พระผู้มีพระภาคพระนามว่าวิปัสสี ผู้เจริญที่สุดในโลก ผู้คงที่
[๑๔] ข้าพเจ้าได้ยานคือช้าง ยานคือม้า
และยานทิพย์ อย่างครบถ้วน
ได้บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะเพราะการถวายเวจกุฎีนั้น
[๑๕] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายเวจกุฎีไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายเวจกุฎี
[๑๖] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๗] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๘] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระเวจจกทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
เวจจกทายกเถราปทานที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๓. ติณทายกวรรค] ๓. สรณคมนิยเถราปทาน
๓. สรณคมนิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระสรณคมนิยเถระ
(พระสรณคมนิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๙] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าผู้เป็นอาชีวกและภิกษุ
ลงเรือไปด้วยกัน เมื่อเรือกำลังจะอับปาง
ภิกษุได้ให้สรณะแก่ข้าพเจ้า
[๒๐] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป
ภิกษุนั้นได้ให้สรณะใดแก่ข้าพเจ้า
ด้วยสรณะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งสรณคมน์
[๒๑] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๒๒] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๒๓] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระสรณคมนิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
สรณคมนิยเถราปทานที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๓. ติณทายกวรรค] ๔. อัพภัญชนทายกเถราปทาน
๔. อัพภัญชนทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอัพภัญชนทายกเถระ
(พระอัพภัญชนทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๒๔] ข้าพเจ้าอยู่ใกล้พระราชอุทยานในกรุงพันธุมดี
ครั้งนั้น ข้าพเจ้านุ่งผ้าหนังสัตว์ สะพายคนโทน้ำ
[๒๕] ข้าพเจ้าได้เห็นพระสยัมภูพุทธเจ้า ผู้ปราศจากธุลีคือกิเลส
ผู้ไม่ทรงพ่ายแพ้ มีความเพียร มีพระทัยแน่วแน่
มีปกติเข้าฌาน ยินดีในฌาน ทรงแสวงคุณอันยิ่งใหญ่
[๒๖] สำเร็จความประสงค์ทั้งปวง ข้ามโอฆะได้แล้ว ไม่มีอาสวะ
ครั้นเห็นแล้วก็เป็นผู้เลื่อมใส มีใจยินดี ได้ถวายยาหยอดตา
[๒๗] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายทานไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายยาหยอดตา
[๒๘] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๒๙] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๓๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระอัพภัญชนทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
อัพภัญชนทายกเถราปทานที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๓. ติณทายกวรรค] ๕. สุปฏทายกเถราปทาน
๕. สุปฏทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระสุปฏทายกเถระ
(พระสุปฏทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๓๑] พระพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
เสด็จออกจากที่ประทับพักผ่อนกลางวันแล้ว
ข้าพเจ้าได้ถวายผ้าทออย่างดี เนื้อเบา
บันเทิงอยู่ในสวรรค์ตลอดกัปหนึ่ง
[๓๒] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายผ้าไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผ้าอย่างดี
[๓๓] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๓๔] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๓๕] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระสุปฏทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
สุปฏทายกเถราปทานที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๓. ติณทายกวรรค] ๖. ทัณฑทายกเถราปทาน
๖. ทัณฑทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระทัณฑทายกเถระ
(พระทัณฑทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๓๖] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้เข้าไปยังป่าใหญ่
ตัดไม้ไผ่มาทำเป็นไม้แขวน(ผ้า) ถวายพระสงฆ์
[๓๗] ข้าพเจ้าไหว้ท่านผู้มีวัตรงาม ด้วยจิตที่เลื่อมใสนั้น
ครั้นถวายไม้แขวนแล้วมุ่งหน้าหลีกไปทางทิศเหนือ
[๓๘] ในกัปที่ ๙๔ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายไม้ไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายไม้
[๓๙] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๔๐] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๔๑] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระทัณฑทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ทัณฑทายกเถราปทานที่ ๖ จบ
ภาณวารที่ ๒๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๓. ติณทายกวรรค] ๗. คิริเนลปูชกเถราปทาน
๗. คิริเนลปูชกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระคิริเนลปูชกเถระ
(พระคิริเนลปูชกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๔๒] เมื่อชาติก่อน ข้าพเจ้าเป็นนายพรานเนื้อ เที่ยวอยู่ในป่า
ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลีคือกิเลส
ทรงถึงความสำเร็จแห่งธรรมทั้งปวง
[๔๓] ข้าพเจ้าเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี
ในพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ผู้ประกอบด้วยพระมหากรุณา
ทรงยินดีในประโยชน์เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์
จึงบูชาด้วยดอกไม้ที่บริสุทธิ์
[๔๔] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ใช้ดอกไม้บูชาไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๔๕] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๔๖] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๓. ติณทายกวรรค] ๘. โพธิสัมมัชชกเถราปทาน
[๔๗] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระคิริเนลปูชกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
คิริเนลปูชกเถราปทานที่ ๗ จบ

๘. โพธิสัมมัชชกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระโพธิสัมมัชชกเถระ
(พระโพธิสัมมัชชกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๔๘] เมื่อชาติปางก่อน ข้าพเจ้าเก็บใบโพธิ์ที่ถูกทิ้งไว้
ที่ลานพระเจดีย์ไปทิ้ง จึงได้คุณ ๒๐ ประการ
[๔๙] ด้วยเดชแห่งกรรมนั้น
เมื่อข้าพเจ้าเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพน้อยภพใหญ่
ก็เวียนว่ายตายเกิดอยู่ใน ๒ ภพ
คือ (๑) ในภพเทวดา (๒) ภพมนุษย์
[๕๐] จุติจากเทวโลกแล้วมาสู่ภพมนุษย์
ก็เกิดเฉพาะใน ๒ ตระกูล
คือ (๑) ตระกูลกษัตริย์ (๒) ตระกูลพราหมณ์
[๕๑] ข้าพเจ้ามีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีร่างกายสูงใหญ่
รูปงาม สะอาดสะอ้าน สมบูรณ์ ไม่บกพร่อง
[๕๒] ข้าพเจ้าเกิดในภพใดภพหนึ่ง
คือในเทวโลกหรือในหมู่มนุษย์
มีผิวพรรณดังทองคำ
เหมือนทองคำที่นายช่างหลอมดีแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๓. ติณทายกวรรค] ๘. โพธิสัมมัชชกเถราปทาน
[๕๓] ผิวของข้าพเจ้า อ่อนนุ่ม สนิท
ละเอียดอ่อนอยู่ตลอดเวลา
ในเพราะใบโพธิ์ที่ข้าพเจ้าได้ขนไปทิ้ง
[๕๔] ในคติไหน ๆ ก็ตามเถิด ฝุ่นละออง
ย่อมไม่ติดร่างกาย ที่ประชุมกันขึ้น
นี้เป็นวิบากในเพราะใบไม้ที่ข้าพเจ้าได้ขนไปทิ้ง
[๕๕] เพราะความร้อนจากลม แดด
หรือเพราะความร้อนจากไฟก็ตาม
ที่กายของข้าพเจ้าเหงื่อไม่ไหล
นี้เป็นวิบากในเพราะใบไม้ที่ข้าพเจ้าได้ขนไปทิ้ง
[๕๖] ที่กายของข้าพเจ้าไม่มีโรคเรื้อน ฝี
โรคกลาก ตกกระ พุพอง และหิดเปื่อย
นี้เป็นวิบากในเพราะใบไม้ที่ข้าพเจ้าได้ขนไปทิ้ง
[๕๗] อีกข้อหนึ่ง คุณของกรรมนั้น
ย่อมบังเกิดในภพน้อยภพใหญ่
คือโรคไม่มีในกาย
นี้เป็นวิบากในเพราะใบไม้ที่ข้าพเจ้าได้ขนไปทิ้ง
[๕๘] อีกข้อหนึ่ง คุณของกรรมนั้น
ย่อมบังเกิดในภพน้อยภพใหญ่
คือความบีบคั้นทางใจไม่มี
นี้เป็นวิบากในเพราะใบไม้ที่ข้าพเจ้าได้ขนไปทิ้ง
[๕๙] อีกข้อหนึ่ง คุณของกรรมนั้น
ย่อมบังเกิดในภพน้อยภพใหญ่
คือข้าพเจ้าไม่มีศัตรู
นี้เป็นวิบากในเพราะใบไม้ที่ข้าพเจ้าได้ขนไปทิ้ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๓. ติณทายกวรรค] ๘. โพธิสัมมัชชกเถราปทาน
[๖๐] อีกข้อหนึ่ง คุณของกรรมนั้น
ย่อมบังเกิดในภพน้อยภพใหญ่
คือโภคสมบัติไม่มีความบกพร่องเลย
นี้เป็นวิบากในเพราะใบไม้ที่ข้าพเจ้าได้ขนไปทิ้ง
[๖๑] อีกข้อหนึ่ง คุณของกรรมนั้น
ย่อมบังเกิดในภพน้อยภพใหญ่
คือไม่มีอัคคีภัย ราชภัย โจรภัย และอุทกภัย
[๖๒] อีกข้อหนึ่ง คุณของกรรมนั้น
ย่อมบังเกิดในภพน้อยภพใหญ่
คือทาสหญิงชายเป็นผู้ติดตามคล้อยตามความคิดของข้าพเจ้า
[๖๓] บุคคลเกิดในมนุษยโลกที่มีอายุขัยเท่าใด
อายุของข้าพเจ้าไม่หย่อนไปกว่านั้น
ดำรงอยู่ได้จนชั่วอายุขัย
[๖๔] คนภายใน คนภายนอก ชาวนิคม
ตลอดจนชาวแว่นแคว้น ล้วนแต่เป็นผู้คอยช่วยเหลือ
มุ่งความเจริญ ปรารถนาความสุขแก่ข้าพเจ้าไปทุกคน
[๖๕] ทุก ๆ ภพ ข้าพเจ้าเป็นผู้มีโภคะ มียศ
มีสิริ มีญาติ มีพวกพ้อง ไม่มีเวร
ปราศจากความสะดุ้งกลัวภัย ในกาลทั้งปวง
[๖๖] เมื่อข้าพเจ้ายังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพ เทวดา
มนุษย์ อสูร คนธรรพ์ ยักษ์ และรากษส
ล้วนคอยอารักขาป้องกันอยู่ทุกเมื่อ
[๖๗] ข้าพเจ้าเสวยยศทั้ง ๒ ทั้งในเทวโลกและมนุษยโลก
และในอวสานก็ได้บรรลุนิพพานอันเกษมอย่างยอดเยี่ยม
[๖๘] คนเช่นใดพึงได้บุญเพราะเจาะจงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
หรือต้นไม้เป็นสถานที่ตรัสรู้ของพระศาสดาพระองค์นั้น
สำหรับคนเช่นนั้น อะไรเล่าที่พึงได้โดยยาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๓. ติณทายกวรรค] ๙. อามัณฑผลทายกเถราปทาน
[๖๙] เขาเป็นผู้ยิ่งใหญ่กว่าคนอื่น ๆ ในมรรค ผล และปริยัติธรรม
และในคุณคือฌาน และอภิญญา เป็นผู้ไม่มีอาสวะแล้วปรินิพพาน
[๗๐] เมื่อชาติก่อน ข้าพเจ้ามีใจร่าเริงเก็บใบโพธิ์ไปทิ้ง
จึงเป็นผู้พรั่งพร้อมด้วยองค์คุณ ๒๐ ประการนี้ ในกาลทั้งปวง
[๗๑] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๗๒] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๗๓] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระโพธิสัมมัชชกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
โพธิสัมมัชชกเถราปทานที่ ๘ จบ

๙. อามัณฑผลทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอามัณฑผลทายกเถระ
(พระอามัณฑผลทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๗๔] พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้ทรงถึงความสำเร็จแห่งธรรมทั้งปวง
ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก ออกจากสมาธิแล้วจงกรมอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๓. ติณทายกวรรค] ๙. อามัณฑผลทายกเถราปทาน
[๗๕] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเก็บผลไม้หาบมา
ได้เห็นพระมหามุนีพุทธเจ้า
ผู้ปราศจากธุลีคือกิเลส เสด็จจงกรมอยู่
[๗๖] ข้าพเจ้าเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี
ได้ประนมมือเหนือศีรษะ
ถวายอภิวาทพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วจึงได้ถวายผลแฟง
[๗๗] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายผลไม้ไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลแฟง
[๗๘] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๗๙] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๘๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระอามัณฑผลทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้
อามัณฑผลทายกเถราปทานที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๓. ติณทายกวรรค] ๑๐. สุคันธเถราปทาน
๑๐. สุคันธเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระสุคันธเถระ
(พระสุคันธเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๘๑] ในภัทรกัปนี้ พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของพราหมณ์
มีพระยศยิ่งใหญ่๑ พระนามว่ากัสสปะ ตามพระโคตร
ทรงประเสริฐกว่าเจ้าลัทธิทั้งหลาย เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว
[๘๒] พระองค์ทรงสมบูรณ์ด้วยอนุพยัญชนะ
มีพระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ๒
ซึ่งมีพระรัศมีประมาณ ๑ วาแวดล้อมแล้ว
ปกคลุมไปด้วยข่ายพระรัศมี
[๘๓] ทรงทำหมู่สัตว์ให้ยินดีได้เหมือนดวงจันทร์
เปล่งพระรัศมีได้เหมือนดวงอาทิตย์
ทำหมู่สัตว์ให้เยือกเย็นได้เหมือนเมฆฝน
เป็นบ่อเกิดแห่งคุณเหมือนสาคร
[๘๔] พระองค์เปรียบดังแผ่นดินโดยศีล
เปรียบดังภูเขาหิมพานต์โดยสมาธิ
เปรียบดังอากาศโดยปัญญา
เป็นผู้ไม่ข้องเกี่ยว(อะไร ๆ)เหมือนสายลม
[๘๕] มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ตามอัธยาศัย
ไม่บกพร่อง ทรงแกล้วกล้าในท่ามกลางบริษัท
เมื่อจะฉุดมหาชนขึ้น(จากหล่มคือกาม)จึงทรงประกาศสัจจะ

เชิงอรรถ :
๑ มีพระยศยิ่งใหญ่ หมายถึงมียศแผ่ไปในโลกทั้ง ๓ คือ มนุษยโลก เทวโลก พรหมโลก (ขุ.อป.อ.
๒/๒๕๑/๓๓๑)
๒ดูเชิงอรรถหน้า ๑๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๓. ติณทายกวรรค] ๑๐. สุคันธเถราปทาน
[๘๖] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นบุตรเศรษฐี
มียศยิ่งใหญ่ในกรุงพาราณสี
ข้าพเจ้ามีทรัพย์และธัญชาติอย่างล้นเหลือ
จึงมีความองอาจ
[๘๗] ข้าพเจ้าเดินพักผ่อนไปจนถึงป่ามฤคทายวัน
ได้เห็นพระศาสดาผู้เป็นที่พึ่งแห่งสัตว์โลก
กำลังแสดงอมตบทอยู่
[๘๘] มีพระดำรัสไพเราะ น่าฟัง
มีพระสุรเสียงดุจเสียงนกการเวก
มีพระสุรเสียงก้องกังวานคล้ายเสียงหงส์และเสียงฟ้าคำรน
ทำมหาชนให้รู้แจ้งชัด ผู้เป็นเทพยิ่งกว่าเทพ
[๘๙] ครั้นเห็นพระองค์แล้วและได้สดับพระสุรเสียงที่ไพเราะ
ข้าพเจ้าจึงได้สละโภคะมิใช่น้อย ออกบวชเป็นบรรพชิต
[๙๐] ข้าพเจ้าบวชแล้วเช่นนี้ ไม่นานนักก็เป็นพหูสูต
เป็นพระธรรมกถึก มีปฏิภาณอันวิจิตร
[๙๑] ข้าพเจ้าเป็นผู้องอาจในการพรรณนา
ได้สรรเสริญพระคุณของพระศาสดา
ผู้มีพระฉวีวรรณดังทองคำอยู่บ่อย ๆ
ณ ท่ามกลางบริษัทใหญ่ว่า
[๙๒] พระศาสดาพระองค์นี้ เป็นพระขีณาสพ
เป็นพระพุทธเจ้า ไม่มีทุกข์ ทรงตัดความสงสัยได้แล้ว
ถึงความสิ้นกรรมทุกอย่าง ทรงพ้นจากกิเลสแล้ว
ในเพราะธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิ
[๙๓] พระพุทธเจ้าพระองค์นี้นั้น เป็นพระผู้มีพระภาค
พระองค์ทรงเป็นผู้ประเสริฐอย่างยิ่ง
ทรงประกาศธรรมจักรอันประเสริฐแก่ชาวโลกพร้อมทั้งเทวโลก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๓. ติณทายกวรรค] ๑๐. สุคันธเถราปทาน
[๙๔] เป็นพระฤาษีทรงฝึกพระองค์เองและฝึกมหาชน
ทรงสงบระงับเองและทำให้มหาชนสงบระงับ
ทรงดับกิเลสเองและทรงยังมหาชนให้ดับกิเลส
ทรงเบาพระทัยเองและทรงให้มหาชนเบาใจ
[๙๕] ทรงมีความแกล้วกล้า องอาจ กล้าหาญ มีพระปัญญา
ทรงประกอบด้วยพระกรุณา ทรงได้วสี ทรงมีชัยชนะ
ทรงชนะแล้ว ไม่ทรงคะนอง ทรงหมดความห่วงใย
[๙๖] เป็นผู้ไม่หวั่นไหว ไม่สั่นคลอน เป็นนักปราชญ์
ไม่หลงใหล ไม่มีใครเสมอเหมือน เป็นมุนี ทรงฝักใฝ่ในธุระ
ทรงกล้าหาญแม้ในหมู่เจ้าลัทธิ ดังพญาโคอุสภะ
พญาคชสาร และพญาราชสีห์
[๙๗] เป็นผู้ปราศจากราคะ ปราศจากมลทิน
เป็นดังพรหม ฉลาดกว่านักปราชญ์
กำจัดเสียซึ่งข้าศึกคือกิเลส หมดเสี้ยนหนาม
ปราศจากความเศร้าโศก ไม่มีใครเสมอเหมือน
เป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้หมดจด
[๙๘] เป็นพราหมณ์ เป็นสมณะ เป็นที่พึ่ง เป็นหมอ
เป็นผู้กำจัดลูกศร(คือความโศก) เป็นนักรบ
เป็นผู้เบิกบาน เป็นผู้คงแก่เรียนและเรียนรู้กว้างขวาง
ไม่หวั่นไหว มีใจเบิกบาน ยิ้มแย้ม
[๙๙] ทรงฝึกอินทรีย์ เป็นผู้นำตนไป เป็นผู้ทำ เป็นผู้นำ
เป็นผู้ประกาศ เป็นผู้ยังสัตว์ให้ร่าเริง
เป็นผู้วิด เป็นผู้ตัด เป็นผู้ฟัง เป็นผู้สรรเสริญ
[๑๐๐] เป็นผู้ไม่มีลิ่มสลัก ปราศจากลูกศร ไม่มีทุกข์
ไม่มีความสงสัย เป็นผู้หมดตัณหา
ปราศจากธุลี เป็นผู้ขุด เป็นผู้ทำลาย
เป็นผู้กล่าว เป็นผู้ทำให้ปรากฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๓. ติณทายกวรรค] ๑๐. สุคันธเถราปทาน
[๑๐๑] เป็นผู้ช่วยสัตว์ให้ข้าม ให้ทำประโยชน์ ให้สร้างประโยชน์
เป็นผู้ช่วยให้ถึงสัมปทา เป็นผู้ช่วยสัตว์ให้บรรลุ
เป็นผู้มีประโยชน์เกื้อกูล เป็นผู้ฆ่า
ทรงทำกิเลสให้เร่าร้อน ทำตัณหาให้เหือดแห้ง
[๑๐๒] ดำรงอยู่ในสัจจะ หาผู้เสมอเหมือนมิได้
ไม่มีสหาย ทรงมีความกรุณา มีความมหัศจรรย์
ไม่ทรงหลอกลวง เป็นผู้ทำ
เป็นฤๅษี เป็นผู้ประเสริฐ(พระพุทธเจ้า)
[๑๐๓] ทรงข้ามพ้นความสงสัยได้แล้ว
ไม่ทรงถือพระองค์ ทรงมีพระคุณหาประมาณมิได้
ไม่มีใครเปรียบเทียบ ไม่ยึดถือถ้อยคำทุกชนิด
บรรลุธรรมที่ควรแนะนำทุกประการ ทรงชนะหมู่มาร
[๑๐๔] ความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ
พระนามว่าสตรังสีพระองค์นั้น
เป็นเหตุนำอมตมหานิพพานมาให้
เพราะฉะนั้น ความศรัทธาในพระพุทธเจ้า
พระธรรม และพระสงฆ์ จึงมีประโยชน์มาก
[๑๐๕] ข้าพเจ้าสรรเสริญพระพุทธเจ้า
ผู้เป็นสรณะอย่างสูงสุดของโลกทั้ง ๓
ด้วยคุณมีอย่างนี้เป็นต้น
จึงแสดงธรรมกถาในท่ามกลางบริษัท
[๑๐๖] จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว
ได้เสวยความสุขมากในสวรรค์ชั้นดุสิต
จุติจากสวรรค์ชั้นดุสิตแล้วเกิดในมนุษย์ เป็นผู้มีกลิ่นหอม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๓. ติณทายกวรรค] ๑๐. สุคันธเถราปทาน
[๑๐๗] ลมหายใจ กลิ่นปาก และกลิ่นกายของข้าพเจ้า
ก็เช่นนั้นเหมือนกัน(คือมีกลิ่นหอม)
และกลิ่นทั้งหมดนั้น
ของข้าพเจ้าก็หอมอยู่เป็นนิตย์
[๑๐๘] กลิ่นปากของข้าพเจ้า หอมฟุ้งไปตลอดกาล
เหมือนกลิ่นดอกปทุม ดอกอุบล และดอกจำปา
และกายของข้าพเจ้าก็หอมฟุ้งไปทุกเมื่อเช่นนั้นเหมือนกัน
[๑๐๙] ทั้งหมดนั้นเป็นผลแห่งการกล่าวสรรเสริญคุณของพระพุทธเจ้า
ผลนั้นน่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง
ขอท่านทุกคนจงตั้งใจฟังภาษิตของเรา
[๑๑๐] ครั้นข้าพเจ้ากล่าวสรรเสริญคุณของพระพุทธเจ้า
ซึ่งนำประโยชน์และความสุขมาให้แล้ว
เป็นผู้มีจิตผ่องแผ้วในธรรมทั้งปวง
พระสงฆ์เป็นผู้ขวนขวายในความเพียรอย่างยิ่ง
[๑๑๑] มียศ ถึงความสุข งดงาม รุ่งเรือง น่ารัก น่าชม
เป็นผู้กล่าว ไม่ดูหมิ่นดูแคลน ไม่มีโทษ และเป็นผู้มีปัญญา
[๑๑๒] ขวนขวายในธรรมเป็นที่สิ้นกิเลส
พระนิพพานอันเหล่าชนผู้ภักดีต่อพระพุทธเจ้าพึงได้โดยง่าย
ข้าพเจ้าจักกล่าวถึงเหตุของพวกเขา
เชิญท่านทั้งหลายฟังเหตุนั้นตามเป็นจริง
[๑๑๓] ข้าพเจ้าถวายอภิวาทก็เพราะค้นพบพระยศ
ที่มีอยู่ของพระผู้มีพระภาค
เพราะเหตุนั้น แม้ข้าพเจ้าจะเกิดในภพใด ๆ ก็เป็นผู้มียศในภพนั้น ๆ
[๑๑๔] ข้าพเจ้าสรรเสริญพระพุทธเจ้าผู้ทำที่สุดทุกข์ได้
และพระธรรมที่สงบซึ่งปัจจัยปรุงแต่งมิได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๓. ติณทายกวรรค] ๑๐. สุคันธเถราปทาน
เป็นผู้ให้ความสุขแก่สรรพสัตว์
เพราะกรรมนั้น ข้าพเจ้าจึงได้รับแต่ความสุข
[๑๑๕] ข้าพเจ้าผู้ประกอบด้วยปีติในพระพุทธเจ้า
สรรเสริญคุณของพระพุทธเจ้า
เป็นที่พอใจของตนเอง และเป็นที่พอใจของคนอื่น
เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงเป็นผู้มีความพอใจ
[๑๑๖] พระชินเจ้าพระองค์ใด ทรงย่ำยีพวกเดียรถีย์
ล่วงพ้นเดียรถีย์ได้
ข้าพเจ้าเมื่อสรรเสริญคุณของพระชินเจ้าพระองค์นั้น
จึงชมเชยพระองค์ผู้ทรงเป็นผู้นำ
เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงเป็นผู้มีแต่ความรุ่งเรือง
[๑๑๗] ข้าพเจ้าเมื่อกล่าวสรรเสริญคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ได้กระทำตนให้เป็นที่รักแม้ของประชาชน
เป็นเหมือนดวงจันทร์อันมีในสารทกาล๑
เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงเป็นผู้น่ารัก น่าชม
[๑๑๘] ข้าพเจ้าชมเชยพระสุคตด้วยวาจาทุกอย่างตามความสามารถ
เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงมีปฏิภาณวิจิตรเหมือนท่านพระวังคีสะ
[๑๑๙] คนพาลเหล่าใดเป็นผู้มีความสงสัย จึงดูหมิ่นพระมหามุนี
เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงข่มคนพาลเหล่านั้นโดยการข่มขี่ที่ชอบธรรม
[๑๒๐] ข้าพเจ้าช่วยกำจัดกิเลสทั้งหลายของเหล่าสัตว์
ด้วยการสรรเสริญพระพุทธเจ้า
เพราะอานุภาพของกรรมนั้น
ข้าพเจ้าจึงเป็นผู้มีจิตปราศจากกิเลส

เชิงอรรถ :
๑ สารทกาล หมายถึงฤดูใบไม้ร่วง ฤดูสารท ย่างเข้าฤดูหนาว (องฺ.ติก.(แปล) ๒๐/๖๔/๒๔๘,๙๕/๓๒๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๓. ติณทายกวรรค] ๑๐. สุคันธเถราปทาน
[๑๒๑] ข้าพเจ้าแสดงพุทธานุสสติ
ได้ทำปัญญาเครื่องตรัสรู้ให้เกิดแก่ผู้ฟัง
เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงเป็นผู้มีปัญญาเห็นแจ้งอรรถที่ละเอียด
[๑๒๒] ข้าพเจ้าเป็นผู้สิ้นอาสวะทุกอย่าง
จักข้ามพ้นห้วงน้ำคือสังสารวัฏไปได้
และเป็นผู้ได้วสี ไม่ถือมั่น๑ ถึงความดับสนิท
[๑๒๓] ในกัปนี้เอง ข้าพเจ้าได้สดุดีพระชินเจ้าไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๑๒๔] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๒๕] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๒๖] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระสุคันธเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
สุคันธเถราปทานที่ ๑๐ จบ
ติณทายกวรรคที่ ๕๓ จบบริบูรณ์

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า ไม่ถือมั่น หมายถึงไม่ถือกิเลสเครื่องยึดมั่นถือมั่น คือ อุปาทาน ๔ ประการ คือ (๑) กามุปาทาน
(๒) ทิฏฐุปาทาน (๓) สีลัพพตุปาทาน (๔) อัตตวาทุปาทาน (ที.ปา. (แปล) ๑๑/๓๑๒/๒๙๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๓. ติณทายกวรรค] รวมอปทานที่มีในวรรค
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ติณมุฏฐิทายกเถราปทาน ๒. เวจจกทายกเถราปทาน
๓. สรณคมนิยเถราปทาน ๔. อัพภัญชนทายกเถราปทาน
๕. สุปฏทายกเถราปทาน ๖. ทัณฑทายกเถราปทาน
๗. คิริเนลปูชกเถราปทาน ๘. โพธิสัมมัชชกเถราปทาน
๙. อามัณฑผลทายกเถราปทาน ๑๐. สุคันธเถราปทาน

ในวรรคนี้ บัณฑิตนับคาถาได้ ๑๒๓ คาถา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๑. มหากัจจายนเถราปทา
๕๔. กัจจายนวรรค
หมวดว่าด้วยพระกัจจายนะเป็นต้น
๑. มหากัจจายนเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระมหากัจจายนเถระ
(พระมหากัจจายนเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑] พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้หมดตัณหา ทรงชนะสิ่งที่ใคร ๆ เอาชนะไม่ได้
ทรงเป็นผู้นำ เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว
ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
[๒] พระองค์เป็นผู้แกล้วกล้า
มีพระเนตรเหมือนกลีบบัว
มีพระพักตร์ปราศจากมลทินดุจดวงจันทร์
มีพระฉวีวรรณดุจทองคำ
มีพระรัศมีเสมอด้วยแสงอาทิตย์
[๓] ดึงดูดดวงตาและดวงใจของสัตว์ไว้ได้
ประดับด้วยพระลักษณะอันประเสริฐ
ไม่ยึดถือถ้อยคำทุกชนิด
ผู้อันหมู่มนุษย์และเทวดาสักการะ
[๔] ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง ทรงช่วยเหล่าสัตว์ให้ตรัสรู้
ทรงนำไปได้อย่างรวดเร็ว ทรงมีพระสุรเสียงไพเราะ
มีพระอุปนิสัยเนื่องด้วยพระกรุณา
ทรงแกล้วกล้าในท่ามกลางบริษัท

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๑. มหากัจจายนเถราปทาน
[๕] ทรงแสดงธรรมอย่างไพเราะ ซึ่งประกอบด้วยสัจจะ ๔
ทรงช่วยเหลือหมู่สัตว์ ที่จมอยู่ในเปือกตมคือโมหะได้
[๖] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นดาบส เที่ยวไปแต่ผู้เดียว
อาศัยอยู่ที่ภูเขาหิมพานต์
กำลังไปยังมนุษยโลกทางอากาศก็ได้เห็นพระชินเจ้า
[๗] ข้าพเจ้าได้เข้าเฝ้าพระองค์แล้ว
ฟังพระธรรมเทศนาของพระธีรเจ้า
ผู้ทรงพรรณนาคุณอันยิ่งใหญ่ของสาวกอยู่ว่า
[๘-๙] ‘เราไม่เห็นสาวกอื่นบางรูป
ในธรรมวินัยนี้เหมือนพระกัจจายนะนี้
ผู้ประกาศธรรมที่เราแสดงไว้โดยย่อให้พิสดารได้
ทำชุมชนและเราให้ยินดี
เพราะฉะนั้น พระกัจจายนะนี้เป็นผู้เลิศในตำแหน่งที่เลิศนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงจำไว้อย่างนี้เถิด’
[๑๐] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้ฟังพระดำรัสที่รื่นรมย์ใจแล้ว
เกิดความอัศจรรย์ใจ จึงไปยังป่าหิมพานต์นำกลุ่มดอกไม้มา
[๑๑] บูชาพระผู้เป็นสรณะของสัตว์โลก
แล้วปรารถนาตำแหน่งนั้น
ครั้งนั้น พระผู้เป็นที่อยู่แห่งสรณะ
ทรงทราบอัธยาศัยของข้าพเจ้าแล้ว
ได้ทรงพยากรณ์ว่า
[๑๒] ‘เธอทั้งหลายจงดูฤๅษีผู้ประเสริฐนี้
ซึ่งเป็นผู้มีผิวพรรณเหมือนทองคำที่ไล่มลทินออกแล้ว
มีโลมชาติชูชันและมีใจเบิกบาน ยืนประนมมือนิ่งอยู่
[๑๓] ร่าเริง มีนัยน์ตาเต็มดี
มีอัธยาศัยน้อมไปในคุณของพระพุทธเจ้า


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๑. มหากัจจายนเถราปทาน
มีใจเบิกบาน ซึ่งเกิดแต่ธรรม
มีรัศมีเรืองรองเหมือนถูกรดด้วยน้ำอมฤต
[๑๔] ข้าแต่พระมหามุนี ข้าพระองค์ได้ฟังคุณของพระกัจจายนะแล้ว
จึงได้ยืนปรารถนาตำแหน่งนั้น
ในอนาคตกาลของพระโคดมพุทธเจ้า
[๑๕] ฤๅษีผู้นี้มีนามว่ากัจจายนะ ตามโคตร
เป็นธรรมทายาท เป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต
จักเป็นสาวกของพระศาสดา
[๑๖] เขาจักเป็นพหูสูต มีญาณยิ่งใหญ่
รู้อธิบายชัดแจ้ง เป็นมุนี
จักถึงตำแหน่งนั้น ดังที่เราพยากรณ์ไว้’
[๑๗] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ทำกรรมไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๑๘] ข้าพเจ้าเวียนว่ายตายเกิดอยู่ใน ๒ ภพ
คือ (๑) ภพเทวดา (๒) ภพมนุษย์
คติอื่นข้าพเจ้าไม่รู้จักเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๑๙] ข้าพเจ้ารู้เฉพาะ ๒ ตระกูล
คือ (๑) ตระกูลกษัตริย์ (๒) ตระกูลพราหมณ์
จะไม่เกิดในตระกูลที่ต่ำ
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๒๐] ในภพสุดท้าย ข้าพเจ้าเกิดเป็นพราหมณ์ปุโรหิต
ของพระเจ้าจัณฑปัชโชต ในกรุงอุชเชนีที่รื่นรมย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๑. มหากัจจายนเถราปทาน
[๒๑] เป็นบุตรของพราหมณ์ชื่อว่าติปีติวัจฉะ
เป็นผู้ฉลาด เรียนจบพระเวท
ส่วนมารดาของข้าพเจ้าชื่อว่าจันทนปทุมา
ข้าพเจ้าชื่อว่ากัจจายนะ เป็นผู้มีผิวพรรณสวยงาม
[๒๒] ข้าพเจ้าถูกพระเจ้าแผ่นดิน
ทรงส่งไปเพื่อพิจารณา(สืบข่าว)พระพุทธเจ้า
ได้เห็นพระผู้นำซึ่งเป็นประตูของโมกขบุรี๑
เป็นที่สั่งสมพระคุณ
[๒๓] และได้ฟังพุทธภาษิตที่ปราศจากมลทิน
เป็นเครื่องชำระล้างเปือกตมคือคติ
ได้บรรลุอมตธรรมที่สงบระงับ
พร้อมกับบุรุษที่เหลืออีก ๗ คน
[๒๔] ข้าพเจ้าเป็นผู้รู้อธิบายในอมตบทที่ยิ่งใหญ่ของพระสุคต
และมีมโนรถอันสำเร็จด้วยดี ได้รับแต่งตั้งในตำแหน่งเอตทัคคะ
[๒๕] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๒๖] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ โมกขบุรี หมายถึงบุรีคือพระนิพพาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๒. วักกลิเถราปทาน
[๒๗] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระมหากัจจายนเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
มหากัจจายนเถราปทานที่ ๑ จบ

๒. วักกลิเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระวักกลิเถระ
(พระวักกลิเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๒๘] พระผู้ทรงเป็นผู้นำมีพระนามไม่ต่ำต้อย
มีพระคุณนับไม่ถ้วน
พระนามว่าปทุมุตตระ ตามพระโคตร
เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
[๒๙] มีพระพักตร์เหมือนดอกปทุม
มีพระฉวีวรรณงดงาม ไม่มีมลทินเหมือนดอกปทุม
ไม่เปื้อนด้วยโลกธรรม เหมือนดอกปทุมไม่เปื้อนด้วยน้ำ
[๓๐] ทรงเป็นนักปราชญ์ มีพระเนตรเหมือนกลีบบัว
และน่ารักเหมือนดอกปทุม
กลิ่นพระโอษฐ์หอมคล้ายกลิ่นดอกปทุม
เพราะฉะนั้น พระองค์จึงทรงพระนามว่าปทุมุตตระ
[๓๑] พระองค์ทรงเป็นผู้เจริญที่สุดในโลก
ไม่ทรงถือพระองค์เปรียบเป็นนัยน์ตาให้คนบอด๑

เชิงอรรถ :
๑ เป็นนัยน์ตาให้คนบอด หมายความว่า ทรงประทานปัญญาจักษุให้แก่สรรพสัตว์ด้วยพระธรรมเทศนา
(ขุ.อป.อ. ๒/๓๑/๒๖๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๒. วักกลิเถราปทาน
มีพระอิริยาบถสงบ เป็นที่สั่งสมคุณ
เป็นดุจสาครที่รองรับพระกรุณาคุณและพระปัญญาคุณ
[๓๒] ถึงในครั้งไหน ๆ พระมหาวีระพระองค์นั้น
ก็เป็นผู้ที่พรหม อสูร และเทวดาบูชา เป็นผู้สูงสุดในหมู่ชน
ในท่ามกลางหมู่ชนที่คับคั่งไปด้วยเทวดาและมนุษย์
[๓๓] เมื่อจะให้บริษัททั้งปวงยินดีด้วยพระพักตร์มีกลิ่นหอม(เบิกบาน)
และด้วยพระสุรเสียงที่ไพเราะเพราะพริ้ง
จึงได้ชมสาวกของพระองค์ว่า
[๓๔] ภิกษุอื่นผู้มุ่งมั่นด้วยศรัทธา มีปัญญาดี
มีความอาลัยในการดูเราเช่นกับวักกลิภิกษุนี้ไม่มีเลย
[๓๕] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นบุตรของพราหมณ์ในกรุงหงสวดี
ได้ฟังพระดำรัสนั้น จึงปรารถนาตำแหน่งนั้น
[๓๖] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้ทูลนิมนต์พระตถาคต
ผู้ไม่มีมลทินพระองค์นั้น พร้อมด้วยพระสาวก
ให้เสวยและฉันตลอด ๗ วันแล้วให้ครองผ้าชุดใหม่
[๓๗] ข้าพเจ้าหมอบลงแล้วจมลง(ดื่มด่ำ)ในสาคร
คือพระอนันตคุณของพระตถาคตพระองค์นั้น
เต็มเปี่ยมไปด้วยปีติ ได้กราบทูลคำนี้ว่า
[๓๘] ข้าแต่พระมหามุนี ผู้เป็นพระฤาษี
ขอข้าพระองค์จงเป็นเช่นกับภิกษุผู้เป็นสัทธาธิมุต (มุ่งมั่นด้วยศรัทธา)
ที่พระองค์ทรงตรัสชมเชยว่า เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้มีศรัทธา
[๓๙] เมื่อข้าพเจ้ากราบทูลดังนี้แล้ว
พระมหามุนีผู้มีความเพียรมาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๒. วักกลิเถราปทาน
มีทรรศนะที่หาเครื่องกั้นมิได้
ได้ตรัสพระดำรัสนี้ในชุมนุมชนว่า
[๔๐] ‘จงดูมาณพนี้ ผู้นุ่งผ้าเนื้อเกลี้ยงสีเหลือง
มีสังวาลทองคำคล้องกาย
ดึงดูดดวงตาและดวงใจของหมู่ชนไว้ได้
[๔๑] ในอนาคตกาล
มาณพนี้ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้สัทธาธิมุต
จักได้เป็นสาวกของพระโคดม
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๔๒] เขาเป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็ตาม
จักเป็นผู้เว้นจากความเดือดร้อนทั้งปวง
เป็นที่รวมแห่งโภคะทุกอย่าง มีความสุขเวียนว่ายตายเกิดไป
[๔๓] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร
ทรงสมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก
[๔๔] มาณพผู้นี้จักมีนามว่าวักกลิ ตามโคตร
เป็นธรรมทายาท เป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต
เป็นพระสาวกของพระศาสดา’
[๔๕] ด้วยผลกรรมที่วิเศษนั้น และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๔๖] ข้าพเจ้ามีความสุขในที่ทุกสถาน
เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพน้อยภพใหญ่
ได้เกิดในตระกูลหนึ่งในกรุงสาวัตถี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๒. วักกลิเถราปทาน
[๔๗] ข้าพเจ้าผู้ละเอียดอ่อนเหมือนเนยข้น
นุ่มนิ่มเหมือนใบไม้อ่อนซึ่งยังนอนหงายอยู่
[๔๘] มารดาถูกภัยคือปีศาจคุกคาม
มีใจหวาดกลัวจึงให้นอนลง
แทบพระยุคลบาทของพระผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
กราบทูลว่า ‘ข้าแต่พระโลกนาถ ผู้ทรงเป็นผู้นำ
หม่อมฉันขอถวายทารกนี้แด่พระองค์
ขอพระองค์จงทรงเป็นที่พึ่งของเขาด้วยเถิด’
[๔๙] ครั้งนั้น พระมุนีพระองค์นั้นผู้ทรงเป็นที่พึ่ง
ของหมู่สัตว์ผู้หวาดกลัว ได้ทรงรับข้าพเจ้า
ด้วยฝ่าพระหัตถ์ที่บริสุทธิ์อ่อนนุ่มมีตาข่ายกำหนดด้วยจักร
[๕๐] จำเดิมแต่นั้นมา ข้าพเจ้าได้รับการคุ้มครองโดยไม่ต้องเฝ้ารักษา
จึงพ้นจากความป่วยไข้ทุกอย่าง อยู่อย่างสุขสำราญ
[๕๑] ข้าพเจ้าห่างจากพระสุคตเพียงครู่เดียว ก็กระวนกระวาย
พออายุได้ ๗ ขวบ ก็บวชเป็นบรรพชิต
[๕๒] ข้าพเจ้าเป็นผู้ไม่อิ่มอยู่ เพราะเห็นพระรูปกายที่ประเสริฐ
ซึ่งเกิดจากพระบารมีทุกอย่าง
มีดวงตาสีดำสนิท มีผิวพรรณสัณฐานงดงาม
[๕๓] ครั้งนั้น พระชินเจ้าทรงทราบว่า
ข้าพเจ้ายินดีในพระรูป
จึงได้ตรัสสอนข้าพเจ้าว่า ‘อย่าเลย วักกลิ
ทำไม เธอจึงยินดีในรูปที่ชนพาลชอบเล่า
[๕๔] ผู้ใดเห็นพระสัทธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเป็นบัณฑิตเห็นเรา
(ส่วน)ผู้ไม่เห็นพระสัทธรรม ถึงจะเห็นเราก็ชื่อว่าไม่เห็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๒. วักกลิเถราปทาน
[๕๕] ร่างกายมีโทษไม่สิ้นสุดเหมือนต้นไม้มีพิษ
เป็นที่อาศัยของโรคทุกชนิด ล้วนเป็นที่ประชุมของทุกข์
[๕๖] เพราะฉะนั้น เธอจงเบื่อหน่ายในรูป
พิจารณาเห็นความเกิดขึ้น
และความเสื่อมไปแห่งขันธ์ทั้งหลาย
จะถึงที่สุดแห่งสรรพกิเลสได้โดยง่ายเถิด’
[๕๗] ข้าพเจ้าถูกพระผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ผู้แสวงหาประโยชน์พระองค์นั้น ทรงพร่ำสอนอย่างนี้
ได้ขึ้นไปยังภูเขาคิชฌกูฏ เพ่งดูอยู่ที่ซอกภูเขา
[๕๘] พระชินเจ้าผู้มหามุนีประทับยืนอยู่ที่เชิงเขา
เมื่อจะทรงปลอบโยนข้าพเจ้า ได้ตรัสเรียกว่า ‘วักกลิ’
ข้าพเจ้าได้ฟังพระดำรัสนั้นจึงเบิกบานใจ
[๕๙] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าวิ่งลงไปที่เงื้อมเขาลึกหลายร้อยชั่วบุรุษ
แต่ก็ถึงแผ่นดินได้โดยสะดวกทีเดียวด้วยพุทธานุภาพ
[๖๐] พระผู้มีพระภาคทรงแสดงพระธรรมเทศนา
คือความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งขันธ์ทั้งหลายอีก
ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึงธรรมนั้นแล้ว จึงได้บรรลุอรหัตตผล
[๖๑] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงพระปรีชามาก
ทรงบรรลุจรณธรรม๑ ทรงประกาศข้าพเจ้าว่า
เป็นเลิศกว่าภิกษุทั้งหลายฝ่ายสัทธาธิมุต
ในท่ามกลางบุรุษผู้ควรบูชาอย่างยิ่ง

เชิงอรรถ :
๑ จรณธรรม หมายถึงจรณธรรม ๑๕ มีศีลเป็นต้น (ขุ.อป.อ. ๒/๖๑/๒๖๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๓. มหากัปปินเถราปทาน
[๖๒] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ทำกรรมไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๖๓] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๖๔] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๖๕] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระวักกลิเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
วักกลิเถราปทานที่ ๒ จบ

๓. มหากัปปินเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระมหากัปปินเถระ
(พระมหากัปปินเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๖๖] พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้ทรงถึงความสำเร็จแห่งธรรมทั้งปวง
ทรงปรากฏแล้วในอากาศทั้งสิ้น
เหมือนดวงอาทิตย์ปรากฏในท้องฟ้าในสารทกาล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๓. มหากัปปินเถราปทาน
[๖๗] ทรงทำดอกบัวคือเวไนยสัตว์ให้เบ่งบานด้วยพระรัศมีคือพระดำรัส
พระผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลกพระองค์นั้น
ทรงทำเปือกตมคือกิเลสให้แห้งไปด้วยพระรัศมีคือปัญญา
[๖๘] พระผู้ทรงวชิรญาณขจัดยศของพวกเดียรถีย์
เหมือนดวงอาทิตย์
พระทิวากรพุทธเจ้าทรงส่องสว่าง
ทั้งกลางวันและกลางคืน ในที่ทุกแห่ง
[๖๙] พระพุทธองค์เป็นบ่อเกิดแห่งคุณ
เหมือนทะเลเป็นบ่อเกิดแห่งรัตนะ
ทรงทำเมฆฝนคือธรรมให้ตกลงเพื่อหมู่สัตว์
เหมือนเมฆทำฝนให้ตก
[๗๐] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นผู้พิพากษาอยู่ในกรุงหงสวดี
ได้เข้าไปฟังธรรมของพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
[๗๑] ซึ่งกำลังประกาศคุณของสาวกผู้มีสติ
ผู้กล่าวสอนภิกษุทั้งหลายอยู่ ทรงทำใจของข้าพเจ้าให้ยินดี
[๗๒] ข้าพเจ้าได้ฟังแล้วเกิดปีติโสมนัส
ทูลนิมนต์พระตถาคตพร้อมด้วยสาวกให้เสวยและฉันแล้ว
ปรารถนาตำแหน่งนั้น
[๗๓] ครั้งนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้มีส่วนเปรียบด้วยหงส์
มีพระสุรเสียงเหมือนเสียงหงส์และเสียงมโหระทึก๑
ได้ตรัสว่า จงดูมหาอำมาตย์ผู้นี้ ผู้องอาจในการตัดสิน
[๗๔] ซึ่งหมอบอยู่แทบเท้าของเรา
มีโลมชาติชูชันและมีใจฟูขึ้น

เชิงอรรถ :
๑ มโหระทึก หมายถึงกลองโลหะชนิดหนึ่งของชนชาติที่อยู่ตอนใต้ประเทศจีน ใช้ตีเป็นสัญญาณและประโคม
(พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พ.ศ. ๒๕๒๕, น. ๖๓๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๓. มหากัปปินเถราปทาน
มีวรรณะเหมือนแก้วมุกดาที่งดงาม
มีนัยน์ตาและใบหน้าที่ผ่องใส
[๗๕] มีบริวารเป็นอันมาก ทำราชการ มียศใหญ่
มหาอำมาตย์นี้ปรารถนาตำแหน่งภิกษุผู้กล่าวสอน
เพราะร่วมยินดีด้วย
[๗๖] ด้วยบิณฑบาต ด้วยการบริจาค
และด้วยการตั้งความปรารถนาไว้นี้
เขาจะไม่เกิดยังทุคติเลยตลอด ๑๐๐,๐๐๐ กัป
[๗๗] จักเสวยความเป็นผู้มีส่วนแห่งความเป็นเทวดาในหมู่เทพ
และความเป็นใหญ่ในหมู่มนุษย์
จักบรรลุพระนิพพานด้วยผลกรรมที่เหลือ
[๗๘] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร
ทรงสมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก
[๗๙] มหาอำมาตย์นี้จักมีนามว่ากัปปินะ
เป็นธรรมทายาท เป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต
เป็นสาวกของพระศาสดา
[๘๐] จากนั้น ข้าพเจ้าได้ทำสักการะที่กระทำไว้ดีแล้ว
ในศาสนาของพระชินเจ้า ละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต
[๘๑] ข้าพเจ้าครองราชสมบัติในเทวโลก
และมนุษยโลกโดยธรรม แล้วเกิดในตระกูลช่างหูก
ในหมู่บ้านใกล้กรุงพาราณสี
[๘๒] ข้าพเจ้ากับภรรยามีบริวาร ๑๐๐,๐๐๐ คน
ได้อุปัฏฐากพระปัจเจกพุทธเจ้า ๕๐๐ องค์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๓. มหากัปปินเถราปทาน
[๘๓] นิมนต์ให้ฉันตลอดไตรมาส แล้วให้ครองไตรจีวร
ข้าพเจ้าทั้งหมดจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๘๔] ข้าพเจ้าทั้งหลายจุติจากสวรรค์นั้นแล้ว
กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก ในกุกกุฏบุรี ข้างภูเขาหิมพานต์
[๘๕] ข้าพเจ้าได้เป็นโอรสผู้มียศใหญ่นามว่ากัปปินะ
พวกที่เหลือเกิดในตระกูลอำมาตย์แวดล้อมข้าพเจ้า
[๘๖] ข้าพเจ้ามีความสุขในราชสมบัติเป็นอันมาก
สำเร็จสิ่งที่ต้องประสงค์ทุกประการ
ได้ฟังข่าวการอุบัติของพระพุทธเจ้าที่พวกพ่อค้าบอกดังนี้ว่า
[๘๗] ‘พระพุทธเจ้าผู้เป็นเอกอัครบุคคล ไม่มีใครเหมือน
เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก พระองค์ทรงประกาศพระสัทธรรม
ซึ่งเป็นอมตะเป็นสุขอย่างประเสริฐ
[๘๘] และสาวกของพระองค์ขวนขวายดีแล้ว
หลุดพ้นดีแล้ว ไม่มีอาสวะ’
ครั้นข้าพเจ้าได้ฟังคำของพ่อค้าเหล่านั้นแล้ว
ได้ทำสักการะพวกพ่อค้า
[๘๙] สละราชสมบัติ พร้อมด้วยอำมาตย์ ได้เป็นพุทธมามกะ
พากันออกเดินทาง ได้เห็นแม่น้ำมหาจันทามีน้ำเต็มเสมอขอบฝั่ง
[๙๐] ทั้งไม่มีท่าน้ำ ไม่มีแพ ข้ามได้ยาก
และยังมีกระแสน้ำไหลเชี่ยว
ข้าพเจ้าข้ามแม่น้ำไปได้โดยความสวัสดี
เพราะระลึกถึงพระพุทธคุณว่า
[๙๑] ‘ถ้าพระพุทธเจ้าทรงข้ามกระแสน้ำคือภพ
ทรงถึงที่สุดแห่งโลก ทรงรู้แจ้งไซร้
ด้วยสัจวาจานี้ ขอการไปของข้าพเจ้าจงสำเร็จ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๓. มหากัปปินเถราปทาน
[๙๒] ถ้ามรรคเป็นเครื่องให้สัตว์ถึงความสงบได้
เป็นเครื่องให้โมกขธรรมอันเป็นสันติสุขได้
ด้วยสัจวาจานี้ ขอการไปของข้าพเจ้าจงสำเร็จ
[๙๓] ถ้าพระสงฆ์เป็นผู้ข้ามพ้นความกันดารไปได้
เป็นเนื้อนาบุญอย่างยอดเยี่ยม
ด้วยสัจวาจานี้ ขอการไปของข้าพเจ้าจงสำเร็จ’
[๙๔] พร้อมกับที่ข้าพเจ้าทำสัจจะอย่างประเสริฐนี้
น้ำได้ไหลหลีกออกไปจากหนทาง
ลำดับนั้น ข้าพเจ้าได้ข้ามขึ้นฝั่งแม่น้ำที่น่ารื่นรมย์ใจได้โดยสะดวก
[๙๕] ข้าพเจ้าได้เห็นพระพุทธเจ้าประทับนั่งอยู่
เปล่งรัศมีดุจดวงอาทิตย์อุทัย รุ่งเรืองดุจภูเขาทอง
โชติช่วงดุจต้นพฤกษาประทีป
[๙๖] ผู้อันสาวกห้อมล้อม เปรียบดังดวงจันทร์
ที่ล้อมรอบด้วยดาวนักษัตร
ทำเทวดาและมนุษย์ให้เพลิดเพลิน
ประหนึ่งท้าววาสวะ ทำฝนคือรัตนะให้ตก
[๙๗] ข้าพเจ้าพร้อมด้วยอำมาตย์ถวายบังคม
เข้าเฝ้า ณ ที่สมควร
ลำดับนั้น พระพุทธเจ้าทรงทราบอัธยาศัยแล้ว
จึงได้ทรงแสดงธรรม
[๙๘] ข้าพเจ้าทั้งหลายได้ฟังธรรมที่ปราศจากมลทินแล้ว
ได้ทูลขอพระชินเจ้าว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้มีความเพียรมาก
ขอได้โปรดให้ข้าพระองค์ทั้งหลายได้บรรพชาเถิด
ข้าพระองค์ทั้งหลายข้ามภพได้แล้ว’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๓. มหากัปปินเถราปทาน
[๙๙] พระมุนีผู้ประเสริฐสุดตรัสว่า
‘ภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว
เธอทั้งหลายจงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดทุกข์เถิด’
[๑๐๐] พร้อมกับพุทธดำรัสนี้ ข้าพเจ้าทุกคนล้วนทรงเพศเป็นภิกษุ
ได้อุปสมบท เป็นพระโสดาบันในศาสนา
[๑๐๑] จากนั้น พระผู้ทรงเป็นผู้นำวิเศษ
ได้เสด็จไปยังพระเชตวัน แล้วทรงพร่ำสอน
ข้าพเจ้าผู้อันพระชินเจ้าทรงพร่ำสอนแล้วก็ได้บรรลุพระอรหัต
[๑๐๒] ลำดับนั้น ข้าพเจ้าได้สั่งสอนภิกษุ ๑,๐๐๐ รูป
แม้ภิกษุเหล่านั้นก็ปฏิบัติตามคำสอนของข้าพเจ้า
เป็นผู้ไม่มีอาสวะ
[๑๐๓] พระชินเจ้าทรงพอพระทัยในคุณข้อนั้น
จึงทรงตั้งข้าพเจ้าไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ
ในท่ามกลางมหาชนว่า
‘ภิกษุชื่อกัปปินะเลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้ให้โอวาทแก่ภิกษุ’
[๑๐๔] กรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐
ได้แสดงผลแก่ข้าพเจ้าแล้วในอัตภาพนี้
ข้าพเจ้าหลุดพ้นดีแล้ว(จากกิเลส)
ดุจความเร็วแห่งลูกศรที่พ้นไปจากแล่ง
ข้าพเจ้าเผากิเลสทั้งหลายได้แล้ว
[๑๐๕] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๐๖] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๔. ทัพพมัลลปุตตเถราปทาน
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๐๗] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระมหากัปปินเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
มหากัปปินเถราปทานที่ ๓ จบ

๔. ทัพพมัลลปุตตเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระทัพพมัลลปุตตเถระ
(พระทัพพมัลลบุตรเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๐๘] พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ทรงรู้แจ้งโลกทั้งปวง เป็นพระมุนี ทรงมีพระจักษุ
เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
[๑๐๙] พระองค์เป็นผู้ตรัสสอน ทรงแสดงธรรมให้สัตว์รู้ชัดได้
ทรงช่วยสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้น
ทรงฉลาดในเทศนา เป็นพระพุทธเจ้า
ทรงช่วยหมู่ชนให้ข้ามพ้นได้เป็นจำนวนมาก
[๑๑๐] พระองค์เป็นผู้อนุเคราะห์ ประกอบด้วยพระกรุณา
ทรงแสวงหาประโยชน์เกื้อกูลเพื่อสรรพสัตว์
ทรงทำเดียรถีย์ที่มาเฝ้าทั้งหมดให้ดำรงอยู่ในศีล ๕
[๑๑๑] เมื่อเป็นเช่นนี้ ศาสนาจึงหมดความอากูล
ว่างจากพวกเดียรถีย์
และงดงามด้วยพระอรหันต์ทั้งหลาย ผู้ได้วสี ผู้คงที่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๔. ทัพพมัลลปุตตเถราปทาน
[๑๑๒] พระมหามุนีพระองค์นั้นทรงมีพระวรกายสูง ๕๘ ศอก
มีพระฉวีวรรณคล้ายทองคำที่ล้ำค่า
มีพระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ๑
[๑๑๓] ครั้งนั้น สัตว์ทั้งหลายมีอายุประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ ปี
พระชินสีห์พระองค์นั้น
ก็ดำรงพระชนมายุอยู่ประมาณเท่านั้น
ทรงช่วยหมู่ชนให้ข้ามพ้นได้เป็นจำนวนมาก
[๑๑๔] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นบุตรเศรษฐีผู้มียศใหญ่ในกรุงหงสวดี
ได้เข้าเฝ้าพระองค์ผู้ส่องโลกให้สว่างไสว
แล้วได้ฟังพระธรรมเทศนา
[๑๑๕] ข้าพเจ้าได้ฟังพระดำรัสของพระองค์ซึ่งตรัสยกย่องภิกษุ
พร้อมด้วยสาวกผู้จัดแจงเสนาสนะให้ภิกษุทั้งหลายก็พลอยยินดี
[๑๑๖] จึงทำสักการะอย่างยิ่งใหญ่แด่พระองค์
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่พร้อมทั้งพระสงฆ์
หมอบลงแทบพระบาทด้วยเศียรเกล้า
แล้วปรารถนาตำแหน่งนั้น
[๑๑๗] ความจริง ในครั้งนั้น พระมหาวีระพระองค์นั้น
ได้ทรงพยากรณ์กรรมของข้าพเจ้าไว้ว่า
‘บุตรเศรษฐีนี้ได้นิมนต์พระผู้เป็นผู้นำสัตว์โลก’
พร้อมด้วยพระสงฆ์ให้เสวยและฉันตลอด ๗ วัน
[๑๑๘] เขาจักมีดวงตาเหมือนกลีบบัว มีช่วงไหล่เหมือนราชสีห์
มีผิวพรรณดุจทองคำ หมอบอยู่แทบเท้าของเรา
ปรารถนาตำแหน่งอันสูงสุด
[๑๑๙] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร
ทรงสมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถหน้า ๑๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๔. ทัพพมัลลปุตตเถราปทาน
[๑๒๐] บุตรเศรษฐีนี้จักได้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ปรากฏโดยชื่อว่าทัพพะ
เป็นภิกษุผู้เลิศฝ่ายภิกษุผู้จัดแจงเสนาสนะตามปรารถนา’
[๑๒๑] ด้วยกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๑๒๒] ครองเทวสมบัติตลอด ๓๐๐ ชาติ
ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๕๐๐ ชาติ
[๑๒๓] และได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์นับชาติไม่ถ้วน
เพราะอานุภาพแห่งกรรมนั้น
ข้าพเจ้าจึงมีความสุขในทุกภพ
[๑๒๔] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
พระพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ผู้ทรงเป็นผู้นำ
ผู้มีพระเนตรงาม ทรงเห็นแจ้งธรรมทั้งปวงเสด็จอุบัติขึ้นแล้ว
[๑๒๕] ข้าพเจ้ามีจิตขัดเคือง ได้กล่าวตู่สาวกของพระพุทธเจ้า
ผู้คงที่พระองค์นั้น ผู้สิ้นอาสวะทั้งปวงแล้ว
ทั้งที่รู้อยู่ว่า ท่านเป็นผู้บริสุทธิ์
[๑๒๖] อนึ่ง ข้าพเจ้าจับสลากแล้วถวายข้าวสุกที่หุงด้วยน้ำนม
แด่พระสาวกทั้งหลายผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
ของพระพุทธเจ้าผู้แกล้วกล้ากว่านรชนพระองค์นั้นแหละ
[๑๒๗] ในภัทรกัปนี้ พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของพราหมณ์
ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่ พระนามว่ากัสสปะ ตามพระโคตร
ทรงประเสริฐกว่าเจ้าลัทธิทั้งหลาย เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๔. ทัพพมัลลปุตตเถราปทาน
[๑๒๘] พระองค์พร้อมด้วยสาวกประกาศศาสนาให้รุ่งเรือง
ข่มเดียรถีย์ผู้หลอกลวงได้แล้ว
ทรงแนะนำเหล่าเวไนยสัตว์ ปรินิพพานแล้ว
[๑๒๙] เมื่อพระโลกนาถพร้อมด้วยสาวกปรินิพพานแล้ว
เมื่อศาสนากำลังจะสิ้นไป เทพและมนุษย์พากันสลดใจ
สยายผม มีน้ำตานองหน้า คร่ำครวญว่า
[๑๓๐] ‘ดวงตาคือพระธรรมจักดับ
เราทั้งหลายจักไม่ได้เห็นท่านผู้มีวัตรดีงาม
จักไม่ได้ฟังพระสัทธรรม น่าสังเวชใจ เราทั้งหลายช่างมีบุญน้อย’
[๑๓๑] ครั้งนั้น พื้นปฐพีทั้งหมดนี้ ทั้งใหญ่ทั้งหนา
ได้ไหว สาครดังจะมีความเศร้าโศก
ส่งเสียงดังกึกก้องอย่างน่าสงสาร
[๑๓๒] เหล่าอมนุษย์ตีกลองอยู่ทั่วทั้ง ๔ ทิศ
อสนีบาตที่น่าสะพรึงกลัวก็ฟาดลงอยู่โดยรอบ
[๑๓๓] อุกกาบาตตกจากท้องฟ้า ปรากฏเป็นลำเพลิง
มีควันและเปลวเพลิงพวยพุ่ง
หมู่สัตว์ร้องครวญครางอย่างน่าสงสาร
[๑๓๔] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าทั้งหลายเป็นภิกษุรวม ๗ รูปด้วยกัน
ได้เห็นความอุบาทว์ที่ร้ายแรง
แสดงเหตุถึงความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งศาสนา
จึงเกิดความสังเวชใจ คิดกันว่า
[๑๓๕] ‘เราทั้งหลายเว้นศาสนาไม่ควรจะมีชีวิตอยู่
จึงเข้าไปยังป่าใหญ่แล้ว
บำเพ็ญเพียรตามคำสอนของพระชินสีห์เถิด’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๔. ทัพพมัลลปุตตเถราปทาน
[๑๓๖] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้พบภูเขาหินสูงในป่า
จึงไต่บันไดขึ้นไปยังภูเขาลูกนั้นแล้วผลักบันไดให้ตกลง
[๑๓๗] ครั้งนั้น พระเถระได้ตักเตือนพวกข้าพเจ้าว่า
‘การอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าหาได้แสนยาก
อีกประการหนึ่ง ศรัทธาที่ได้ไว้ก็หายาก
และศาสนายังเหลืออีกเล็กน้อย
[๑๓๘] ผู้ที่ปล่อยเวลาให้ผ่านไป จะต้องตกลงไปในสาคร
คือความทุกข์ซึ่งไม่มีที่สิ้นสุด
เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลายควรกระทำความเพียร
ตลอดเวลาที่ศาสนายังดำรงอยู่เถิด’
[๑๓๙] ครั้งนั้น พระเถระนั้นเป็นพระอรหันต์
องค์รองได้เป็นพระอนาคามี
พวกข้าพเจ้าที่เหลือจากนั้น เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์
ประกอบความเพียร จึงได้ไปเกิดยังเทวโลก
[๑๔๐] พระเถระองค์ที่ข้ามสงสารไป
ได้ปรินิพพานในพรหมโลกชั้นสุทธาวาสเพียงองค์เดียว
ข้าพเจ้าทั้งหลาย คือ (๑) ตัวข้าพเจ้า (๒) พระปุกกุสาติ
(๓) พระสภิยะ (๔) พระพาหิยะ
[๑๔๑] (๕) พระกุมารกัสสปะ เกิดในที่นั้น ๆ
อันพระโคดมทรงอนุเคราะห์
จึงหลุดพ้นจากเครื่องจองจำคือสงสารได้
[๑๔๒] ข้าพเจ้าเกิดในตระกูลมัลลกษัตริย์
ในกรุงกุสินารา เมื่อยังอยู่ในครรภ์นั่นแหละ
มารดาได้สิ้นพระชนม์ เขาช่วยกันยกขึ้นสู่จิตกาธาน
ข้าพเจ้าได้ตกลงมาจากจิตกาธานนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๔. ทัพพมัลลปุตตเถราปทาน
[๑๔๓] ตกลงไปในกองไม้ จากนั้น จึงปรากฏนามว่าทัพพะ
ด้วยผลแห่งการประพฤติพรหมจรรย์
ข้าพเจ้ามีอายุได้ ๗ ขวบก็หลุดพ้นจากกิเลส
[๑๔๔] ด้วยผลที่ข้าพเจ้าถวายข้าวสุกที่หุงด้วยน้ำนม
ข้าพเจ้าจึงประกอบด้วยองค์ ๕
เพราะบาปที่ข้าพเจ้ากล่าวตู่พระขีณาสพ
จึงถูกคนชั่วจำนวนมากโจท(กล่าวหา)
[๑๔๕] บัดนี้ ข้าพเจ้าล่วงบุญและบาปทั้ง ๒ แล้ว
ได้บรรลุสันติสุขอย่างยิ่ง อยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
[๑๔๖] ข้าพเจ้าจัดแจงเสนาสนะให้ท่านผู้มีวัตรดีงามทั้งหลายยินดี
พระชินเจ้าทรงพอพระทัยในคุณข้อนั้น
จึงทรงตั้งข้าพเจ้าไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ
[๑๔๗] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๔๘] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๔๙] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระทัพพมัลลบุตรเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ทัพพมัลลปุตตเถราปทานที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๕. กุมารกัสสปเถราปทาน
๕. กุมารกัสสปเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระกุมารกัสสปเถระ
(พระกุมารกัสสปเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๕๐] พระผู้มีพระภาคพระนามว่าปทุมุตตระ ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ทรงบำเพ็ญประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์ เป็นนักปราชญ์
เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
[๑๕๑] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นพราหมณ์มีชื่อเสียงเลื่องลือ
เรียนจบไตรเพท เที่ยวพักสำราญในเวลากลางวัน
ได้เห็นพระผู้มีพระภาค ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
[๑๕๒] กำลังทรงประกาศสัจจะ ๔
ช่วยมนุษย์พร้อมด้วยเทวดาให้ตรัสรู้
กำลังสรรเสริญสาวกของพระองค์
ผู้กล่าวธรรมีกถาอย่างวิจิตรอยู่ในหมู่มหาชน
[๑๕๓] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเบิกบานใจจึงทูลนิมนต์พระตถาคต
แล้วประดับมณฑปด้วยผ้าที่ย้อมด้วยสีต่าง ๆ
[๑๕๔] ให้โชติช่วงด้วยรัตนะต่าง ๆ ทูลนิมนต์พระตถาคต
พร้อมทั้งพระสงฆ์ให้เสวยและฉันโภชนะ
มีรสเลิศต่าง ๆ ตลอด ๗ วัน ในมณฑปนั้น
[๑๕๕] ได้บูชาพระตถาคตพร้อมทั้งสาวก
ด้วยดอกไม้อันสวยงามนานาชนิด
แล้วหมอบลงแทบพระบาท ปรารถนาตำแหน่งนั้น
[๑๕๖] ครั้งนั้น พระมุนีผู้ประเสริฐ ทรงมีพระกรุณา
ได้ตรัสว่า ‘จงดูพราหมณ์ผู้ประเสริฐนี้
ผู้มีปากและดวงตาเหมือนดอกปทุม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๕. กุมารกัสสปเถราปทาน
[๑๕๗] ผู้มากด้วยความปรีดาปราโมทย์
มีโลมชาติชูชันและมีใจฟูขึ้น มีนัยน์ตากลมโต
นำความร่าเริงมา มีความอาลัยในศาสนาของเรา
[๑๕๘] ผู้มีใจดี มีผ้าผืนเดียวหมอบอยู่แทบเท้าของเรา
เขาปรารถนาตำแหน่งคือการกล่าวธรรมได้อย่างวิจิตรนั้น
[๑๕๙] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร
ทรงสมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก
[๑๖๐] ผู้นี้จักมีนามว่ากุมารกัสสปะ
เป็นธรรมทายาท เป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต
จักเป็นสาวกของพระศาสดาพระองค์นั้น
[๑๖๑] เพราะอานุภาพแห่งดอกไม้และผ้า
อันวิจิตรและรัตนะทั้งหลาย
เขาจักถึงความเป็นเลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย
ผู้กล่าวธรรมได้อย่างวิจิตร’
[๑๖๒] ด้วยกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๑๖๓] ข้าพเจ้าเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพน้อยภพใหญ่
เหมือนตัวละครเต้นรำหมุนเวียนอยู่กลางเวที
ข้าพเจ้าเป็นลูกของเนื้อชื่อสาขะ
ได้ถือปฏิสนธิในครรภ์ของแม่เนื้อ
[๑๖๔] ครั้งนั้น เมื่อข้าพเจ้ายังอยู่ในครรภ์
ถึงวาระที่จะต้องถูกฆ่า
มารดาของข้าพเจ้าถูกเนื้อชื่อสาขะทอดทิ้ง
จึงยึดเนื้อชื่อนิโครธเป็นที่พึ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๕. กุมารกัสสปเถราปทาน
[๑๖๕] มารดาของข้าพเจ้าได้พญาเนื้อชื่อนิโครธนั้น
สละชีวิตของตนช่วยให้พ้นจากความตายแล้ว
ตักเตือนข้าพเจ้าผู้เป็นลูกของตนในครั้งนั้นอย่างนี้ว่า
[๑๖๖] ‘ควรคบแต่เนื้อชื่อนิโครธเท่านั้น
ไม่ควรเข้าไปคบหาเนื้อชื่อสาขะ
การตายในสำนักของเนื้อชื่อนิโครธยังประเสริฐกว่า
การมีชีวิตอยู่ในสำนักของเนื้อชื่อสาขะ จะประเสริฐอย่างไร๑
[๑๖๗] ข้าพเจ้า มารดาของข้าพเจ้าและพวกเนื้อนอกนี้
ได้เนื้อชื่อนิโครธผู้เป็นนายฝูงนั้นพร่ำสอน
อาศัยโอวาทของเนื้อชื่อนิโครธนั้น
จึงได้ไปยังที่อยู่อาศัยคือสวรรค์ชั้นดุสิตที่รื่นรมย์
ประหนึ่งว่าได้ไปยังเรือนของตนที่ทิ้งจากไป
[๑๖๘] เมื่อศาสนาของพระกัสสปธีรเจ้า
กำลังถึงความสิ้นไป ข้าพเจ้าได้ขึ้นไปยังภูเขา
บำเพ็ญเพียรตามคำสอนของพระชินเจ้า
[๑๖๙] ก็บัดนี้ เกิดในตระกูลเศรษฐีในกรุงราชคฤห์
มารดาของข้าพเจ้ามีครรภ์ ออกบวชเป็นบรรพชิต
[๑๗๐] ภิกษุณีทั้งหลายรู้ว่ามารดาของข้าพเจ้ามีครรภ์
จึงนำไปหาพระเทวทัต พระเทวทัตนั้นกล่าวว่า
‘จงนาสนะภิกษุณีชั่วรูปนี้เสีย’
[๑๗๑] แม้ในบัดนี้ มารดาผู้ให้กำเนิดของข้าพเจ้า
อันพระชินเจ้าผู้เป็นจอมมุนี ทรงอนุเคราะห์ไว้
จึงได้มีความสุขอยู่ในสำนักของภิกษุณี

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.ชา.(แปล) ๒๗/๑๒/๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๕. กุมารกัสสปเถราปทาน
[๑๗๒] พระเจ้าแผ่นดินพระนามว่าโกศล
ได้ทรงทราบเรื่องนั้นแล้วจึงทรงชุบเลี้ยงข้าพเจ้าไว้
ด้วยเครื่องบริหารพระกุมาร
และตัวข้าพเจ้าก็มีชื่อว่ากัสสปะ
[๑๗๓] เพราะอาศัยท่านพระมหากัสสปเถระ
ข้าพเจ้าจึงมีชื่อว่ากุมารกัสสปะ
เพราะได้ฟังพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงว่า
กายเช่นกับจอมปลวก
[๑๗๔] จากนั้นจิตของข้าพเจ้าก็หลุดพ้น
ไม่ถือมั่นโดยประการทั้งปวง
ข้าพเจ้าได้รับตำแหน่งเอตทัคคะ ก็เพราะทรมานพระเจ้าปายาสิ
[๑๗๕] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๗๖] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๗๗] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระกุมารกัสสปเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
กุมารกัสสปเถราปทานที่ ๕ จบ
ภาณวารที่ ๒๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๖. พาหิยเถราปทาน
๖. พาหิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระพาหิยเถระ
(พระพาหิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๗๘] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
พระผู้มีพระภาคพระนามว่าปทุมุตตระ
ทรงเป็นผู้นำ(สัตว์โลก) มีพระรัศมีมาก
เป็นผู้เลิศในโลกทั้ง ๓ เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว
[๑๗๙] ข้าแต่พระมุนี เมื่อพระผู้มีพระภาค
ตรัสสรรเสริญคุณของภิกษุผู้ตรัสรู้ได้เร็วพลัน
ข้าพระองค์ได้ฟังแล้วมีจิตเบิกบาน
จึงได้ทำสักการะพระผู้มีพระภาค ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๑๘๐] ข้าแต่พระมุนี ข้าพระองค์ถวายทานตลอด ๗ วัน
แด่พระผู้มีพระภาค พร้อมทั้งพระสาวก
ถวายอภิวาทพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว
ปรารถนาตำแหน่งนั้นในกาลนั้น
[๑๘๑] ลำดับนั้น พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ข้าพเจ้าว่า
‘จงดูพราหมณ์ที่หมอบอยู่แทบเท้าของเรานี้
ผู้มีโสมนัสเอิบอิ่มสมบูรณ์ เห็นประจักษ์
[๑๘๒] มีร่างกายที่บุญกรรมสร้างสรรค์ให้คล้ายทองคำ
ผุดผ่อง ผิวบาง ริมฝีปากแดงเหมือนผลตำลึงสุก
มีฟันขาวคมเรียบเสมอ
[๑๘๓] มีกำลังคือคุณมาก มีโลมชาติชูชันและมีใจฟูขึ้น
เป็นบ่อเกิดแห่งกระแสน้ำคือคุณ
มีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใสด้วยปีติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๖. พาหิยเถราปทาน
[๑๘๔] เขาปรารถนาตำแหน่งของภิกษุผู้ตรัสรู้เร็วพลัน
ในอนาคต จักมีพระมหาวีระพระนามว่าโคดม
[๑๘๕] เขาจักมีนามว่าพาหิยะ
เป็นธรรมทายาท เป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต
จักเป็นสาวกของพระศาสดาพระองค์นั้น’
[๑๘๖] ครั้งนั้น ข้าพเจ้ายินดีแล้ว
หมั่นกระทำสักการะแด่พระมหามุนีจนตลอดชีวิต
จุติแล้วได้ไปเกิดในสวรรค์ ดุจไปยังที่อยู่ของตน
[๑๘๗] ข้าพเจ้าจะเป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็ตาม
ย่อมเป็นผู้มีความสุข เพราะอานุภาพแห่งกรรมนั้น
ข้าพเจ้าเวียนว่ายตายเกิดจึงได้เสวยสมบัติ
[๑๘๘] เมื่อสิ้นศาสนาของพระกัสสปธีรเจ้า
ข้าพเจ้าได้ขึ้นไปยังภูเขาศิลาล้วน
บำเพ็ญเพียรตามคำสอนของพระชินสีห์
[๑๘๙] เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ มีปัญญา
ทำตามคำสอนของพระชินสีห์
ข้าพเจ้า ๕ คนด้วยกัน
จุติจากอัตภาพนั้นแล้วได้ไปเกิดยังเทวโลก
[๑๙๐] ข้าพเจ้าชื่อพาหิยะ เกิดในภารุกัจฉนคร
ซึ่งเป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์
ภายหลังได้แล่นเรือไปในสาคร
ซึ่งให้สำเร็จประโยชน์เพียงเล็กน้อย
[๑๙๑] แต่นั้น เรือแล่นไปได้ ๒-๓ วัน ก็อับปางลง
ครั้งนั้น ข้าพเจ้าตกลงไปในสาคร
ซึ่งเป็นที่อยู่แห่งมังกรที่ร้ายกาจ น่าสะพรึงกลัว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๖. พาหิยเถราปทาน
[๑๙๒] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าพยายามว่ายน้ำข้ามทะเลใหญ่
ไปถึงท่าประเสริฐชื่อสุปปารกะ
ข้าพเจ้ามีคนรู้จักน้อย
[๑๙๓] นุ่งผ้าเปลือกไม้เข้าไปยังบ้านเพื่อก้อนข้าว
ครั้งนั้น หมู่ชนพากันยินดีกล่าวว่า
‘ผู้นี้เป็นพระอรหันต์มาที่นี้แล้ว
[๑๙๔] พวกเราสักการะพระอรหันต์นี้ด้วยข้าว น้ำ
ผ้า ที่นอน และเภสัชแล้ว จักถึงความสุข’
[๑๙๕] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้ปัจจัย เป็นผู้ที่พวกเขาสักการบูชาแล้ว
จึงเกิดความดำริโดยไม่แยบคายขึ้นว่า เราเป็นพระอรหันต์
[๑๙๖] ลำดับนั้น บุพเทวดารู้วารจิตของข้าพเจ้า
จึงตักเตือนว่า ‘ท่านไม่รู้ทางที่เป็นอุบาย๑
จะเป็นพระอรหันต์ได้อย่างไรเล่า’
[๑๙๗] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าถูกเทวดาตักเตือนแล้ว
ก็เกิดความสลดใจ จึงสอบถามเทวดานั้นว่า
‘พระอรหันต์ผู้ประเสริฐกว่านรชน
ในโลกเหล่านี้คือใคร ‘อยู่ที่ไหน’
[๑๙๘] เทวดานั้นตอบว่า ‘พระชินเจ้าผู้มีพระปัญญามาก
ผู้ประเสริฐ มีปัญญาเสมอด้วยแผ่นดิน
พระองค์เป็นโอรสของเจ้าศากยะ เป็นพระอรหันต์
ไม่มีอาสวะ ทรงแสดงธรรมเพื่อบรรลุอรหัต
อยู่ในพระราชมณเฑียรของพระเจ้าโกศลในกรุงสาวัตถี’
[๑๙๙] ข้าพเจ้าได้ฟังคำของเทวดานั้นแล้ว
เอิบอิ่มใจเหมือนคนกำพร้าได้ขุมทรัพย์

เชิงอรรถ :
๑ รู้ทางที่เป็นอุบาย คือรู้ทางที่จะให้บรรลุถึงพระนิพพาน (ขุ.อป.อ. ๒/๑๙๖/๒๙๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๖. พาหิยเถราปทาน
ยิ้มแย้ม เบิกบานใจที่จะได้พบพระอรหันต์ผู้ประเสริฐ
น่าชม น่าพึงใจ ผู้มีพระญาณเป็นโคจรไม่มีที่สิ้นสุด
[๒๐๐] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าออกจากที่นั้นไปด้วยตั้งใจว่า
‘เราเมื่อชนะกิเลสได้ก็จะได้เห็นพระพักตร์
ที่ปราศจากมลทินของพระศาสดาในกาลทุกเมื่อ’
ไปถึงแคว้นที่รื่นรมย์นั้นแล้วได้ถามพวกพราหมณ์ว่า
‘พระศาสดาผู้ทำชาวโลกให้เพลิดเพลินประทับอยู่ ณ ที่ไหน’
[๒๐๑] ครั้งนั้น พราหมณ์ทั้งหลายตอบว่า
‘พระศาสดาผู้ที่มนุษย์และเทวดากราบไหว้
เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังเมือง
ท่านผู้ขวนขวายจะเข้าเฝ้าพระมุนี
จงรีบกลับไปเฝ้ากราบไหว้พระองค์ผู้เป็นบุคคลผู้เลิศ’
[๒๐๒] ลำดับนั้น ข้าพเจ้าได้ไปยังกรุงสาวัตถี
ที่อุดมสมบูรณ์โดยด่วน ได้เห็นพระองค์ผู้ไม่มักมาก
และไม่ติดในรสอาหาร กำลังเสด็จบิณฑบาต
[๒๐๓] ทรงบาตร มีพระเนตรสำรวม
ทรงยังอมตธรรมให้โชติช่วงอยู่ในนครนี้
ประหนึ่งเป็นที่อยู่ของพระสิริ
มีพระพักตร์โชติช่วงดังรัศมีดวงอาทิตย์
[๒๐๔] ครั้นพบพระองค์ ข้าพเจ้าจึงได้หมอบลงแล้ว
กราบทูลดังนี้ว่า ‘ข้าแต่พระโคดม
ขอพระองค์โปรดเป็นที่พึ่งของข้าพระองค์
ผู้วิบัติในทางที่น่ารังเกียจด้วยเถิด’
[๒๐๕] พระมุนีผู้ประเสริฐได้ตรัสว่า ‘เรากำลังเที่ยวบิณฑบาต
เพื่อประโยชน์แก่การช่วยสัตว์ให้ข้ามพ้น
เวลานี้ไม่ใช่เวลาแสดงธรรมแก่ท่าน’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๖. พาหิยเถราปทาน
[๒๐๖] ครั้งนั้น ข้าพเจ้ามีความปรารถนาแรงกล้าในธรรม
จึงได้ทูลอ้อนวอนพระพุทธเจ้าบ่อย ๆ
พระองค์แสดงธรรมอันเป็นสุญญตบทที่ลึกซึ้งแก่ข้าพเจ้า
[๒๐๗] ข้าพเจ้าได้ฟังธรรมของพระองค์แล้ว
ก็บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะ
โอ ! ข้าพเจ้าเป็นผู้ที่พระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว
เป็นผู้มีอายุสิ้นแล้ว
[๒๐๘] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๒๐๙] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๒๑๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
[๒๑๑] พระพาหิยทารุจิริยเถระ
ถูกแม่โคตัวที่ถูกผีสิงไม่เห็นตัวขวิดให้ล้มลงที่กองขยะ
ได้กล่าวพยากรณ์ด้วยประการดังนี้
[๒๑๒] พระเถระผู้มีปัญญามาก เป็นนักปราชญ์
ครั้นกล่าวบุพจริตของตนแล้ว
ปรินิพพานในกรุงสาวัตถี ที่อุดมสมบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๖. พาหิยเถราปทาน
[๒๑๓] พระฤๅษีผู้ประเสริฐ เสด็จออกจากนคร
ทอดพระเนตรเห็นพระพาหิยทารุจิริยะผู้นุ่งผ้าเปลือกไม้
เป็นนักปราชญ์ ซึ่งมีความเร่าร้อนอันลอยได้แล้ว
[๒๑๔] ล้มลงที่ภูมิภาค ดุจคันเสาธงใหญ่อันลมพัดให้ล้มลง
หมดอายุ กิเลสเหือดแห้ง ทำกิจในศาสนาของพระชินเจ้า
[๒๑๕] ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสเรียกสาวกทั้งหลาย
ผู้ยินดีในศาสนามาสั่งว่า เธอทั้งหลายจงช่วยกันยกร่าง
ของเพื่อนพรหมจารีแล้วนำไปเผาเสียเถิด
[๒๑๖] จงสร้างสถูปบูชา เขาเป็นคนมีปรีชามากนิพพานแล้ว
สาวกผู้ทำตามคำของเรา
เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายฝ่ายที่ตรัสรู้ได้เร็วพลัน
[๒๑๗] คาถาที่มีประโยชน์คาถาเดียวที่คนฟังแล้วสงบระงับได้
ย่อมดีกว่าคาถาที่ไร้ประโยชน์ตั้ง ๑,๐๐๐ คาถา๑
[๒๑๘] ดิน น้ำ ลม ไฟ ไม่ตั้งอยู่ในนิพพานใด
ในพระนิพพานนั้น ดาวฤกษ์ที่สุกสกาวก็ส่องแสงไปไม่ถึง
ดวงอาทิตย์ก็ส่องแสงไปไม่ถึง
[๒๑๙] ดวงจันทร์ก็ส่องแสงไปไม่ถึง ความมืดก็ไม่มี
อนึ่ง เมื่อใด พราหมณ์ผู้ได้ชื่อว่าเป็นมุนี
เพราะเป็นผู้สงบ รู้จริงด้วยตนเองแล้ว
[๒๒๐] เมื่อนั้น เขาย่อมพ้นจากรูปภพ อรูปภพ สุข และทุกข์๒
พระโลกนาถผู้เป็นมุนี เป็นที่พึ่งของโลกทั้ง ๓
ได้ตรัสไว้อย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้
ได้ทราบว่า ท่านพระพาหิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
พาหิยเถราปทานที่ ๖ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.ธ. (แปล) ๒๕/๑๐๑/๖๑
๒ ดูเทียบ ขุ.อุ. (แปล) ๒๕/๑๐/๑๘๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๗. มหาโกฏฐิกเถราปทาน
๗. มหาโกฏฐิกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระมหาโกฏฐิกเถระ
(พระมหาโกฏฐิกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๒๒๑] พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ทรงรู้แจ้งโลกทั้งปวง๑ เป็นพระมุนี มีพระจักษุ
เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
[๒๒๒] พระองค์เป็นผู้ตรัสสอน ทรงแสดงธรรมให้สัตว์รู้ชัดได้
ทรงช่วยสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้น
ทรงฉลาดในเทศนา เป็นพระพุทธเจ้า
ทรงช่วยหมู่ชนให้ข้ามพ้นได้เป็นจำนวนมาก
[๒๒๓] พระองค์เป็นผู้อนุเคราะห์ ประกอบด้วยพระกรุณา
ทรงแสวงหาประโยชน์เกื้อกูลเพื่อสรรพสัตว์
ทรงทำเดียรถีย์ที่มาเฝ้าทั้งหมดให้ดำรงอยู่ในศีล ๕
[๒๒๔] เมื่อเป็นเช่นนี้ ศาสนาจึงหมดความอากูล
ว่างจากพวกเดียรถีย์
และงดงามด้วยพระอรหันต์ทั้งหลาย ผู้ได้วสี ผู้คงที่
[๒๒๕] พระมหามุนีพระองค์นั้น ทรงมีพระวรกายสูง ๕๘ ศอก
มีพระฉวีวรรณคล้ายทองคำที่ล้ำค่า
มีพระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ๒

เชิงอรรถ :
๑ รู้แจ้งโลกทั้งปวง ในที่นี้หมายถึงรู้แจ้งโลกตามสภาวะ เหตุเกิดโลก ความดับโลก วิธีปฏิบัติให้ลุถึง
ความดับโลก คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค และทรงรู้แจ้งโลกทั้ง ๓ คือ (๑) สังขารโลก (๒) สัตวโลก
(๓) โอกาสโลก (ขุ.พุทฺธ.อ. ๖๐/๑๔๓)
๒ ดูเชิงอรรถหน้า ๑๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๗. มหาโกฏฐิกเถราปทาน
[๒๒๖] ขณะนั้น สัตว์ทั้งหลายมีอายุประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ ปี
พระชินสีห์พระองค์นั้น
ก็ดำรงพระชนมายุอยู่ประมาณเท่านั้น
ทรงช่วยหมู่ชนให้ข้ามพ้นได้เป็นจำนวนมาก
[๒๒๗] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นพราหมณ์ชาวกรุงหงสวดี เรียนจบไตรเพท
ได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ผู้เลิศกว่าสัตว์โลกทั้งปวง
แล้วได้ฟังพระธรรมเทศนา
[๒๒๘] ครั้งนั้น พระธีรเจ้าพระองค์นั้น
ทรงตั้งสาวกผู้แตกฉานในปฏิสัมภิทา
ฉลาดในอรรถ ธรรม นิรุตติ
และปฏิภาณไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ
[๒๒๙] ข้าพเจ้าได้ฟังพระดำรัสนั้นแล้วก็พลอยยินดี
จึงได้ทูลนิมนต์พระชินเจ้าผู้ประเสริฐ
พร้อมทั้งสาวกให้เสวยและฉันตลอด ๗ วัน
[๒๓๐] ข้าพเจ้าทูลนิมนต์พระพุทธเจ้าผู้ดังสาคร
พร้อมทั้งสาวกให้ครองผ้าชุดใหม่
แล้วหมอบลงแทบพระบาท ปรารถนาตำแหน่งนั้น
[๒๓๑] ลำดับนั้น พระพุทธเจ้าทรงเป็นบุคคลผู้เลิศในโลก
ได้ตรัสว่า ‘จงดูพราหมณ์ผู้ประเสริฐ
ซึ่งหมอบอยู่แทบเท้าเรานี้ มีรัศมีเหมือนกลีบบัว
[๒๓๒] พราหมณ์นี้ปรารถนาตำแหน่งประเสริฐสุดของภิกษุ
เพราะการบริจาคทานด้วยศรัทธานั้น
และเพราะการฟังพระสัทธรรมของพระพุทธเจ้า
[๒๓๓] พราหมณ์นี้จักเป็นผู้มีความสุขในทุกภพ
เวียนว่ายตายเกิดในภพน้อยภพใหญ่
จักได้ตำแหน่งนั้นตามใจปรารถนาในอนาคตกาล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๗. มหาโกฏฐิกเถราปทาน
[๒๓๔] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร
ทรงสมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก
[๒๓๕] พราหมณ์นี้จักมีนามว่าโกฏฐิกะ
เป็นธรรมทายาท เป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต
เป็นสาวกของพระศาสดาพระองค์นั้น’
[๒๓๖] ข้าพเจ้าได้ฟังพุทธพยากรณ์นั้นแล้ว
เป็นผู้เบิกบาน มีจิตประกอบด้วยเมตตา
บำรุงพระชินเจ้าจนตลอดชีวิตในครั้งนั้น
เพราะข้าพเจ้าเป็นผู้ประกอบด้วยปัญญา
[๒๓๗] ด้วยวิบากกรรมนั้น และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๒๓๘] ข้าพเจ้าได้ครองเทวสมบัติตลอด ๓๐๐ ชาติ
ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๕๐๐ ชาติ
[๒๓๙] และได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์นับชาติไม่ถ้วน
เพราะอานุภาพแห่งกรรมนั้น
ข้าพเจ้าจึงเป็นผู้มีความสุขในทุกภพ
[๒๔๐] ข้าพเจ้าเวียนว่ายตายเกิดอยู่ใน ๒ ภพ
คือ (๑) เทวดา (๒) มนุษย์
คติอื่นข้าพเจ้าไม่รู้จักเลย
นี้เป็นผลแห่งกรรมที่สั่งสมไว้ดีแล้ว
[๒๔๑] ข้าพเจ้าเกิดเฉพาะใน ๒ ตระกูล
คือ (๑) ตระกูลกษัตริย์ (๒) ตระกูลพราหมณ์
จะไม่เกิดในตระกูลที่ต่ำ
นี้เป็นผลแห่งกรรมที่สั่งสมไว้ดีแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๗. มหาโกฏฐิกเถราปทาน
[๒๔๒] เมื่อถึงภพสุดท้าย
ข้าพเจ้าได้เป็นเผ่าพันธุ์ของพราหมณ์
เกิดในตระกูลพราหมณมหาศาล
ที่มีทรัพย์มากในกรุงสาวัตถี
[๒๔๓] มารดาของข้าพเจ้าชื่อจันทวดี
บิดาของข้าพเจ้าชื่ออัสสลายนะ
ในคราวที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำบิดาของข้าพเจ้า
เพื่อความบริสุทธิ์ทุกอย่าง
[๒๔๔] ข้าพเจ้าเลื่อมใสในพระสุคต
ได้บวชเป็นบรรพชิต
พระโมคคัลลานะเป็นพระอาจารย์
พระสารีบุตรเป็นพระอุปัชฌาย์
[๒๔๕] ในขณะกำลังปลงผม ข้าพเจ้าก็ตัดทิฏฐิพร้อมทั้งรากได้
และขณะนุ่งผ้ากาสาวะ ก็ได้บรรลุอรหัตตผล
[๒๔๖] ข้าพเจ้ามีปัญญาแตกฉานในอรรถ ธรรม นิรุตติ และปฏิภาณ
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้เลิศในโลก
จึงทรงตั้งข้าพเจ้าไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ
[๒๔๗] ข้าพเจ้าถูกท่านพระอุปติสสะ
ไต่ถามในปฏิสัมภิทาก็แก้ได้ไม่ขัดข้อง
เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงเป็นผู้เลิศในศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
[๒๔๘] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๘. อุรุเวลกัสสปเถราปทาน
[๒๔๙] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๒๕๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระมหาโกฏฐิกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
มหาโกฏฐิกเถราปทานที่ ๗ จบ

๘. อุรุเวลกัสสปเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอุรุเวลกัสสปเถระ
(พระอุรุเวลกัสสปเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๒๕๑] พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ทรงรู้แจ้งโลกทั้งปวง เป็นพระมุนี มีพระจักษุ
เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
[๒๕๒] พระองค์เป็นผู้ตรัสสอน ทรงแสดงธรรมให้สัตว์รู้ชัดได้
ทรงช่วยสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้น
ทรงฉลาดในเทศนา เป็นพระพุทธเจ้า
ทรงช่วยหมู่ชนให้ข้ามพ้นได้เป็นจำนวนมาก
[๒๕๓] พระองค์เป็นผู้อนุเคราะห์ ประกอบด้วยพระกรุณา
แสวงหาประโยชน์เกื้อกูลเพื่อสรรพสัตว์
ทรงทำเดียรถีย์ที่มาเฝ้าทั้งหมดให้ดำรงอยู่ในศีล ๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๘. อุรุเวลกัสสปเถราปทาน
[๒๕๔] เมื่อเป็นเช่นนี้ ศาสนาจึงหมดความอากูล
ว่างจากพวกเดียรถีย์
และงดงามด้วยพระอรหันต์ทั้งหลาย ผู้ได้วสี ผู้คงที่
[๒๕๕] พระมหามุนีพระองค์นั้น ทรงมีพระวรกายสูง ๕๘ ศอก
มีพระฉวีวรรณคล้ายทองคำที่ล้ำค่า
มีพระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ๑
[๒๕๖] ขณะนั้น สัตว์ทั้งหลายมีอายุประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ ปี
พระชินสีห์พระองค์นั้น
ก็ดำรงพระชนมายุอยู่ประมาณเท่านั้น
ทรงช่วยหมู่ชนให้ข้ามพ้นได้เป็นจำนวนมาก
[๒๕๗] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นพราหมณ์ชาวกรุงหงสวดี
ประชาชนสมมติว่าเป็นผู้ประเสริฐ
ได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าผู้ส่องโลกให้สว่างไสว
แล้วได้ฟังพระธรรมเทศนา
[๒๕๘] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้ฟังพระผู้มีพระภาค
ทรงแต่งตั้งสาวกของพระองค์ในตำแหน่งเอตทัคคะ
ในที่ประชุมใหญ่ จึงพลอยยินดี
[๒๕๙] ได้ทูลนิมนต์พระมหาชินเจ้าพร้อมกับสาวกจำนวนมาก
แล้วได้ถวายทานพร้อมด้วยพราหมณ์อีก ๑,๐๐๐ คน
[๒๖๐] ครั้นถวายมหาทานแล้ว
ข้าพเจ้าได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
แล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร เป็นผู้เบิกบาน ได้กราบทูลดังนี้ว่า
[๒๖๑] ‘ข้าแต่พระองค์ผู้แกล้วกล้า
ด้วยความเชื่อในพระองค์และด้วยอธิการคุณ
ขอให้ข้าพระองค์ผู้เกิดในภพนั้น ๆ จงมีบริวารมากเถิด’

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถหน้า ๑๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๘. อุรุเวลกัสสปเถราปทาน
[๒๖๒] ครั้งนั้น พระศาสดาผู้มีพระสุรเสียงก้อง
เหมือนเสียงคชสารคำราม
มีพระสำเนียงไพเราะเหมือนเสียงนกการเวก
ได้ตรัสกับบริษัทว่า ‘จงดูพราหมณ์นี้
[๒๖๓] ผู้มีผิวพรรณดุจทองคำ แขนใหญ่
ปากและดวงตาเหมือนดอกปทุม
มีโลมชาติชูชันและมีใจฟูขึ้น ร่าเริงมีศรัทธาในคุณของเรา
[๒๖๔] เขาปรารถนาตำแหน่งภิกษุผู้มีเสียงเหมือนราชสีห์
ในอนาคตกาล เขาจักได้ตำแหน่งนี้สมความปรารถนา
[๒๖๕] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร
ทรงสมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก
[๒๖๖] พราหมณ์นี้จักมีนามว่ากัสสปะ ตามโคตร
เป็นธรรมทายาท เป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต
จักเป็นสาวกของพระศาสดาพระองค์นั้น
[๒๖๗] ในกัปที่ ๙๒ นับจากกัปนี้ไป
ได้มีพระผู้เป็นผู้นำชั้นเลิศของโลกพระนามว่าผุสสะ
ทรงเป็นศาสดาผู้ยอดเยี่ยม หาผู้เปรียบมิได้
ไม่มีใครเสมอเหมือน
[๒๖๘] พระศาสดาพระนามว่าผุสสะพระองค์นั้นแล
ทรงกำจัดความมืด๑ ทั้งปวง ถางรกชัฏใหญ่
ทรงบันดาลฝนคืออมตธรรมให้ตกลง
ให้มนุษย์และทวยเทพอิ่มหนำ

เชิงอรรถ :
๑ ความมืด ในที่นี้หมายถึงกิเลสมีราคะ โทสะ และโมหะเป็นต้น (ขุ.อป.อ. ๒/๒๖๘/๒๙๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๗๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๘. อุรุเวลกัสสปเถราปทาน
[๒๖๙] ครั้งนั้น ข้าพเจ้า ๓ คนพี่น้อง
ได้เป็นราชอำมาตย์ในกรุงพาราณสี
ล้วนแต่เป็นที่ไว้วางพระทัยของพระราชา
[๒๗๐] รูปร่างองอาจแกล้วกล้า สมบูรณ์ด้วยพละกำลัง
ไม่พ่ายแพ้ในสงคราม
ครั้งนั้น พระเจ้าแผ่นดินผู้ถูกเจ้าเมืองชายแดนก่อกำเริบ
จึงมีรับสั่งกับพวกข้าพเจ้าว่า
[๒๗๑] ‘ท่านทั้งหลายจงไปชนบทชายแดน
ปราบปรามขบถของแผ่นดินให้ราบคาบแล้วกลับมา’
และทรงพร่ำสอนว่า ‘พวกท่านบำรุงแว่นแคว้นของเรา
ให้เกษมแล้วจงมอบคืน’
[๒๗๒] ลำดับนั้น ข้าพเจ้าได้กราบทูลว่า
‘ถ้าพระองค์จะพึงประทานพระผู้ทรงเป็นผู้นำ
เพื่อให้ข้าพระองค์ทั้งหลายอุปัฏฐากบ้าง
พระองค์ทั้งหลายก็จักทำกิจของพระองค์ให้สำเร็จ’
[๒๗๓] ลำดับนั้น ข้าพเจ้าได้รับพระราชทานพรแล้ว
ถูกพระภูมิบาลส่งไปปราบปรามชายแดนที่กำเริบให้วางอาวุธแล้ว
จึงกลับมายังนครนั้นอีก
[๒๗๔] ข้าพเจ้าทูลขอการรับอุปัฏฐากพระศาสดาจากพระราชา
ได้พระศาสดาทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
เป็นพระมุนีผู้ประเสริฐแล้ว ได้บูชาพระองค์จนตลอดชีวิต
[๒๗๕] ผ้ามีค่ามาก อาหารมีรสเลิศ
เสนาสนะเป็นที่รื่นรมย์และเภสัชที่มีประโยชน์
[๒๗๖] พวกข้าพเจ้ามีศีล มีกรุณา มีใจประกอบด้วยภาวนา
จึงถวายปัจจัยที่พวกข้าพเจ้าให้เกิดขึ้นโดยธรรม
แด่พระมุนีพร้อมทั้งพระสงฆ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๘. อุรุเวลกัสสปเถราปทาน
[๒๗๗] อุปัฏฐากพระผู้ทรงเป็นผู้นำด้วยจิตเมตตาตลอดเวลา
เมื่อพระผู้ทรงเป็นผู้นำ ผู้เลิศในโลกนั้นปรินิพพานแล้ว
ก็ทำการบูชาตามกำลัง
[๒๗๘] ทุกคนจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว
ได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
เสวยสุขอย่างมากในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้น
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๒๗๙] ข้าพเจ้าเมื่อเกิดอยู่ในภพ
เป็นเหมือนนายช่างดอกไม้
ได้ดอกไม้ตามแต่จะหามาได้แล้ว
จัดแสดงให้เป็นแบบต่าง ๆ มากมาย
ได้เป็นพระเจ้าวิเทหราช
[๒๘๐] ข้าพเจ้ามีอัธยาศัยเป็นมิจฉาทิฏฐิ
เพราะถ้อยคำของอเจลกคุณ
ตกนรกเพราะไม่เชื่อคำตักเตือนของธิดาของข้าพเจ้านามว่ารุจา
[๒๘๑] ถูกนารทพรหมพร่ำสอนมากมาย
จึงละทิฏฐิอันชั่วช้านั้นได้
[๒๘๒] แล้วบำเพ็ญกุศลกรรมบถ ๑๐ ให้บริบูรณ์โดยพิเศษ
ละกายมนุษย์แล้วจึงได้ไปเกิดในสวรรค์ ดุจไปยังที่อยู่ของตน
[๒๘๓] เมื่อถึงภพสุดท้าย
ข้าพเจ้าได้เป็นเผ่าพันธุ์ของพราหมณ์
เกิดในตระกูลพราหมณมหาศาล ในกรุงพาราณสีที่มั่งคั่ง
[๒๘๔] ข้าพเจ้ากลัวต่อความแก่ ความเจ็บ และความตาย
จึงเข้าป่าใหญ่ แสวงหาบทคือพระนิพพาน
ได้บวชในสำนักของชฎิล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๘. อุรุเวลกัสสปเถราปทาน
[๒๘๕] ครั้งนั้น น้องชายทั้ง ๒ ของข้าพเจ้า
ก็ได้บวชพร้อมกับข้าพเจ้า
ข้าพเจ้าได้สร้างอาศรมอาศัยอยู่ที่ตำบลอุรุเวลา
[๒๘๖] ข้าพเจ้ามีชื่อว่ากัสสปะ ตามโคตร
แต่เพราะอาศัยอยู่ที่ตำบลอุรุเวลา
จึงได้นามบัญญัติว่าอุรุเวลกัสสปะ
[๒๘๗] เพราะน้องชายของข้าพเจ้าอาศัยอยู่ใกล้แม่น้ำ
เขาจึงได้นามว่านทีกัสสปะ
เพราะน้องชายอีกคนหนึ่งของข้าพเจ้า
อาศัยอยู่ที่ตำบลคยา เขาจึงประกาศนามว่าคยากัสสปะ
[๒๘๘] น้องชายคนเล็กมีศิษย์ ๒๐๐ คน
น้องชายคนกลางมีศิษย์ ๓๐๐ คน
ส่วนข้าพเจ้ามีไม่น้อยกว่า ๕๐๐ คน
ศิษย์ทุกคนล้วนประพฤติตามข้าพเจ้า
[๒๘๙] ครั้งนั้น พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้เลิศในโลก
เป็นสารถีฝึกนรชน ได้เสด็จมาหาข้าพเจ้า
ทรงทำปาฏิหาริย์ต่าง ๆ แก่ข้าพเจ้า และทรงแนะนำ
[๒๙๐] ข้าพเจ้ากับบริวาร ๑,๐๐๐ ได้อุปสมบท
ด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา
ได้บรรลุอรหัตพร้อมกับภิกษุเหล่านั้นทุกรูป
[๒๙๑] ภิกษุเหล่านั้นและภิกษุเหล่าอื่นจำนวนมาก
แวดล้อมข้าพเจ้าเป็นบริวารยศ
และข้าพเจ้าก็สามารถสั่งสอนได้
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคผู้เป็นฤๅษี
ผู้ประเสริฐก็สั่งสอนข้าพเจ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๙. ราธเถราปทาน
[๒๙๒] พระองค์ทรงตั้งข้าพเจ้าไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ
คือความเป็นผู้มีบริษัทมาก
โอ สักการะที่ได้ทำไว้ในพระพุทธเจ้า
ได้ก่อให้เกิดผลแก่ข้าพเจ้าแล้ว
[๒๙๓] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๒๙๔] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๒๙๕] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระอุรุเวลกัสสปเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
อุรุเวลกัสสปเถราปทานที่ ๘ จบ

๙. ราธเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระราธเถระ
(พระราธเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๒๙๖] พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ทรงรู้แจ้งโลกทั้งปวง เป็นพระมุนี มีพระจักษุ
เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
[๒๙๗] พระองค์เป็นผู้ตรัสสอน ทรงแสดงธรรมให้สัตว์รู้ชัดได้
ทรงช่วยสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๙. ราธเถราปทาน
ทรงฉลาดในเทศนา เป็นพระพุทธเจ้า
ทรงช่วยหมู่ชนให้ข้ามพ้นได้เป็นจำนวนมาก
[๒๙๘] พระองค์เป็นผู้อนุเคราะห์ ประกอบด้วยพระกรุณา
ทรงแสวงหาประโยชน์เกื้อกูลเพื่อสรรพสัตว์
ทรงทำเดียรถีย์ที่มาเฝ้าทั้งหมดให้ดำรงอยู่ในศีล ๕
[๒๙๙] เมื่อเป็นเช่นนี้ ศาสนาจึงหมดความอากูล
ว่างจากพวกเดียรถีย์
และงดงามด้วยพระอรหันต์ทั้งหลาย ผู้ได้วสี ผู้คงที่
[๓๐๐] พระมหามุนีพระองค์นั้น ทรงมีพระวรกายสูง ๕๘ ศอก
มีพระฉวีวรรณคล้ายทองคำที่ล้ำค่า
มีพระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ๑
[๓๐๑] ขณะนั้น สัตว์ทั้งหลายมีอายุประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ ปี
พระชินสีห์พระองค์นั้น
ก็ดำรงพระชนมายุอยู่ประมาณเท่านั้น
ทรงช่วยหมู่ชนให้ข้ามพ้นได้เป็นจำนวนมาก
[๓๐๒] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นพราหมณ์ชาวกรุงหงสวดี เรียนจบมนตร์
ได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคผู้ประเสริฐกว่านรชน
[๓๐๓] ทรงมีความเพียรมาก ทรงแกล้วกล้าในบริษัท
ทรงเป็นผู้นำวิเศษ ทรงกำลังตั้งภิกษุผู้มีปฏิภาณไว้
ในตำแหน่งเอตทัคคะแล้วได้ฟังพระธรรมเทศนา
[๓๐๔] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าทำสักการะในพระองค์ผู้เป็นผู้นำสัตว์โลก
พร้อมทั้งภิกษุสงฆ์ แล้วหมอบลงแทบพระบาทด้วยเศียรเกล้า
ปรารถนาตำแหน่งนั้น

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถหน้า ๑๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๙. ราธเถราปทาน
[๓๐๕] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค
ผู้มีพระรัศมีซ่านออกจากพระวรกายดุจแท่งทอง
ได้ตรัสกับข้าพเจ้าด้วยพระสุรเสียงอันน่ายินดี
มีปกตินำมลทินคือกิเลสออกไปว่า
[๓๐๖] ‘จงเป็นผู้มีความสุข
มีอายุยืนเถิด ปณิธาน(ความปรารถนา) ของเธอก็จงสำเร็จเถิด
สักการะที่เธอทำในเราพร้อมทั้งพระสงฆ์ก็จงมีผลไพบูลย์อย่างยิ่งเถิด
[๓๐๗] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร
ทรงสมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก
[๓๐๘] พราหมณ์นี้จักมีนามว่าราธะ
เป็นธรรมทายาท เป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต
เป็นสาวกของพระศาสดาพระองค์นั้น
[๓๐๙] พระผู้ทรงเป็นผู้นำพระองค์นั้น
เป็นพระราชโอรสของเจ้าศากยะ ทรงองอาจกว่านรชน
ทรงยินดีในคุณที่เป็นเหตุของท่านแล้ว จักทรงแต่งตั้งท่านว่า
เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้มีปฏิภาณ’
[๓๑๐] ข้าพเจ้าได้ฟังพุทธพยากรณ์นั้นแล้ว
เป็นผู้เบิกบาน มีจิตประกอบด้วยเมตตา
บำรุงพระชินเจ้าจนตลอดชีวิต ในครั้งนั้น
เพราะข้าพเจ้าเป็นผู้ประกอบด้วยปัญญา
[๓๑๑] ด้วยกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๙. ราธเถราปทาน
[๓๑๒] ข้าพเจ้าได้ครองเทวสมบัติตลอด ๓๐๐ ชาติ
ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๕๐๐ ชาติ
[๓๑๓] และได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอย่างไพบูลย์นับชาติไม่ถ้วน
เพราะอานุภาพแห่งกรรมนั้น
ข้าพเจ้าจึงเป็นผู้มีความสุขในทุกภพ
[๓๑๔] เมื่อถึงภพสุดท้าย ข้าพเจ้าเกิดในตระกูลที่ยากจน
ขาดเครื่องนุ่งห่มและอาหาร
ในกรุงราชคฤห์ที่อุดมสมบูรณ์
[๓๑๕] ได้ถวายภิกษาทัพพีหนึ่งแก่พระสารีบุตรผู้คงที่
ในเวลาที่ข้าพเจ้าแก่เฒ่า ได้อาศัยอารามนั้นอยู่
[๓๑๖] ครั้งนั้น ไม่มีภิกษุรูปใดบวชให้ข้าพเจ้าผู้แก่เฒ่า
ผู้มีกำลังและเรี่ยวแรงถดถอย
เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงเป็นคนตกยาก
มีผิวพรรณไม่ผ่องใสและเศร้าโศก
[๓๑๗] พระมหามุนีผู้ประกอบด้วยพระมหากรุณา
ทอดพระเนตรเห็นเข้าจึงตรัสถามข้าพเจ้าว่า
‘ลูก ไฉนจึงเศร้าโศก จงบอกถึงความเสียดแทงที่เกิดในใจของเธอ’
[๓๑๘] ข้าพเจ้าได้กราบทูลว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้มีความเพียร
ข้าพระองค์ไม่ได้บวชในศาสนาของพระองค์ ซึ่งพระองค์ตรัสดีแล้ว
เพราะความเศร้าโศกนั้น ข้าพระองค์จึงเป็นคนตกยาก
ข้าแต่พระผู้ทรงเป็นผู้นำ
ขอพระองค์จงเป็นที่พึ่งของข้าพระองค์ด้วยเถิด’
[๓๑๙] ครั้งนั้น พระมุนีผู้ประเสริฐ
ได้รับสั่งให้เรียกภิกษุมาประชุมพร้อมแล้วตรัสถามว่า
‘ผู้ที่นึกถึงสักการะยิ่งใหญ่ของพราหมณ์นี้ได้ มีอยู่หรือจงบอกมา’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๙. ราธเถราปทาน
[๓๒๐] ครั้งนั้น พระสารีบุตรได้กราบทูลว่า
‘ข้าพระองค์ระลึกถึงสักการะของเขาได้อยู่
พราหมณ์นี้ได้ถวายภิกษาทัพพีหนึ่ง
แก่ข้าพระองค์ผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาต พระพุทธเจ้าข้า’
(พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
[๓๒๑] สาธุ สาธุ สารีบุตร เธอเป็นคนกตัญญู
เธอจงให้พราหมณ์เฒ่านี้บวชเถิด
เขาจักเป็นปูชนียบุคคล’
[๓๒๒] ลำดับนั้น ข้าพเจ้าได้รับการบรรพชาอุปสมบท
ด้วยกรรมวาจา และไม่นานนักก็ได้บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะ
[๓๒๓] เพราะข้าพเจ้าเป็นผู้เพลิดเพลิน
ฟังพุทธดำรัสโดยความเคารพ
ฉะนั้น พระชินเจ้าจึงทรงตั้งข้าพเจ้าว่า
เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายฝ่ายปฏิภาณ
[๓๒๔] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๓๒๕] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๓๒๖] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระราธเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ราธเถราปทานที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๑๐. โมฆราชเถราปทาน
๑๐. โมฆราชเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระโมฆราชเถระ
(พระโมฆราชเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๓๒๗] พระผู้มีพระภาคพระนามว่าปทุมุตตระ
ทรงรู้แจ้งโลก ทรงบำเพ็ญประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์
เป็นพระมุนี มีพระจักษุ
เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
[๓๒๘] พระองค์เป็นผู้ตรัสสอน ทรงแสดงธรรมให้สัตว์รู้ชัดได้
ทรงช่วยสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้น
ทรงฉลาดในเทศนา เป็นพระพุทธเจ้า
ทรงช่วยหมู่ชนให้ข้ามพ้นได้เป็นจำนวนมาก
[๓๒๙] พระองค์เป็นผู้อนุเคราะห์ ประกอบด้วยพระกรุณา
ทรงแสวงหาประโยชน์เกื้อกูลเพื่อสรรพสัตว์
ทรงทำเดียรถีย์ที่มาเฝ้าทั้งหมดให้ดำรงอยู่ในศีล ๕
[๓๓๐] เมื่อเป็นเช่นนี้ ศาสนาจึงหมดความอากูล
ว่างจากพวกเดียรถีย์
และงดงามด้วยพระอรหันต์ทั้งหลาย ผู้ได้วสี ผู้คงที่
[๓๓๑] พระมหามุนีพระองค์นั้น ทรงมีพระวรกายสูง ๕๘ ศอก
มีพระฉวีวรรณคล้ายทองคำที่ล้ำค่า
มีพระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ๑
[๓๓๒] ขณะนั้น สัตว์ทั้งหลายมีอายุประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ ปี
พระชินสีห์พระองค์นั้น

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถหน้า ๑๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๑๐. โมฆราชเถราปทาน
ก็ดำรงพระชนมายุอยู่ประมาณเท่านั้น
ทรงช่วยหมู่ชนให้ข้ามพ้นได้เป็นจำนวนมาก
[๓๓๓] ครั้งนั้น ข้าพเจ้ารับจ้างทำงานของบุคคลอื่นในตระกูลหนึ่ง
ในกรุงหงสวดี ข้าพเจ้าไม่มีทรัพย์สินอะไรที่เป็นของตนเลย
[๓๓๔] ข้าพเจ้าอาศัยอยู่ที่ศาลาพักผ่อนที่เขาปรับพื้นไว้แล้ว
ได้ก่อไฟขึ้นที่ศาลา พื้นศิลาจึงดำเพราะถูกไฟไหม้
[๓๓๕] ครั้งนั้น พระโลกนาถผู้ประกาศสัจจะ ๔
ได้ตรัสสรรเสริญสาวกผู้ทรงจีวรเศร้าหมองในที่ประชุมชน
[๓๓๖] ข้าพเจ้าพอใจในคุณนั้นของพระองค์ จึงได้ปรนนิบัติพระตถาคต
ปรารถนาตำแหน่งที่สูงสุดคือความเป็นผู้เลิศ
กว่าภิกษุผู้ทรงจีวรเศร้าหมอง
[๓๓๗] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคพระนามว่าปทุมุตตระ
ได้ตรัสกับสาวกทั้งหลายว่า
จงดูบุรุษนี้ผู้มีผ้าห่มเศร้าหมอง ร่างกายผอมบาง
[๓๓๘] แต่สีหน้าผ่องใสเพราะปีติ
ประกอบด้วยทรัพย์คือ ศรัทธา มีโลมชาติชูชัน
มีใจร่าเริง ไม่หวั่นไหว เหมือนหมู่ไม้สาละที่หนาแน่น๑
[๓๓๙] บุรุษนี้ผู้มีความพอใจในคุณของภิกษุชื่อสัจจเสนะ
ผู้ทรงจีวรเศร้าหมองนั้น จึงปรารถนาตำแหน่งนั้น
[๓๔๐] ข้าพเจ้าได้ฟังพุทธพยากรณ์นั้นแล้วเป็นผู้เบิกบาน
ซบศีรษะลงถวายพระชินเจ้า กระทำแต่กรรมที่ดีงาม
ในศาสนาพระชินเจ้าจนตลอดชีวิต

เชิงอรรถ :
๑ เหมือนหมู่ไม้สาละวนที่หนาแน่น ในที่นี้ ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ (องฺ.จตุกฺก. (แปล)
๒๑/๑๕๐/๒๑๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๑๐. โมฆราชเถราปทาน
[๓๔๑] ด้วยกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๓๔๒] ด้วยกรรมคือการใช้ไฟลนที่พื้นศาลาพักผ่อน
ข้าพเจ้าจึงถูกทุกขเวทนาเบียดเบียน
หมกไหม้ในนรกนับพันปี
[๓๔๓] ด้วยวิบากกรรมที่ยังเหลืออยู่นั้น
ข้าพเจ้าเกิดเป็นมนุษย์
จึงมีรอยตำหนิติดตัวมาตามลำดับตลอด ๕๐๐ ชาติ
[๓๔๔] เพราะอานุภาพแห่งกรรมนั้น
ข้าพเจ้าจึงเต็มไปด้วยโรคเรื้อน
เสวยมหันตทุกข์ตลอด ๕๐๐ ชาติเหมือนกัน
[๓๔๕] ในภัทรกัปนี้ ข้าพเจ้ามีจิตเลื่อมใส
จึงได้นิมนต์พระอุปริฏฐะผู้มียศ
ให้ฉันบิณฑบาตจนอิ่มหนำ
[๓๔๖] ด้วยผลกรรมอันวิเศษนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๓๔๗] เมื่อถึงภพสุดท้าย ข้าพเจ้าได้เกิดในตระกูลกษัตริย์
เพียบพร้อมไปด้วยมหาสมบัติ เมื่อพระชนกสวรรคตไป
[๓๔๘] ข้าพเจ้าถูกโรคเรื้อนรบกวน
ในเวลากลางคืน ก็ไม่ได้รับความสุขในการนอน
เพราะความสุขในรัชสมบัติกลายเป็นโมฆะไป
ฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงได้ชื่อว่าโมฆราช

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๑๐. โมฆราชเถราปทาน
[๓๔๙] ข้าพเจ้าเห็นโทษของร่างกาย
จึงบวชเป็นบรรพชิต มอบตัวเป็นศิษย์
ของพราหมณ์ผู้เลิศชื่อพาวรี
[๓๕๐] ข้าพเจ้าเข้าไปเฝ้าพระผู้ทรงเป็นผู้นำแห่งนรชน
พร้อมด้วยบริวารจำนวนมาก
ได้ทูลถามปัญหาที่ละเอียดลึกซึ้ง
กับพระองค์ผู้มีวาทะประเสริฐ ผู้มีวาทะเป็นประโยชน์ว่า
[๓๕๑] โลกนี้ โลกหน้า พรหมโลก และเทวโลก
ข้าพระองค์ไม่ทราบถึงความเห็นของพระองค์
พระนามว่าโคดม ผู้มีพระยศ
[๓๕๒] เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงมีปัญหามาถึงพระองค์
ผู้ทรงเห็นล่วงสามัญชนว่า
ข้าพระองค์พิจารณาเห็นโลกอย่างไร
มัจจุราชจึงจะมองไม่เห็น
[๓๕๓] โมฆราช เธอจงเป็นผู้มีสติทุกเมื่อ
พิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของว่างเปล่า
ถอนความเห็นว่าเป็นอัตตาเสีย
เมื่อเป็นเช่นนี้ จะพึงข้ามพ้นมัจจุราชได้
[๓๕๔] เธอเมื่อพิจารณาเห็นโลกด้วยอุบายอย่างนี้
มัจจุราชจึงจะมองไม่เห็น
พระพุทธเจ้า ผู้ทรงเยียวยาโรคได้ทุกชนิด
ได้ตรัสกับข้าพเจ้าดังว่ามานี้
[๓๕๕] พร้อมกับเวลาจบคาถา ข้าพเจ้าปราศจากผมและหนวด
นุ่งห่มผ้ากาสาวะได้เป็นภิกษุและเป็นพระอรหันต์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] ๑๐. โมฆราชเถราปทาน
[๓๕๖] ข้าพเจ้าถูกโรคเบียดเบียน ถูกเขาพูดบีบคั้นว่า
วิหารอย่าได้เสียหายเลย จึงไม่อยู่ในวิหารของสงฆ์
[๓๕๗] ข้าพเจ้าเก็บผ้ามาจากกองขยะ ป่าช้า และทางรถทางเกวียน
แล้วทำผ้าสังฆาฏิจากผ้านั้น ใช้สอยจีวรที่เศร้าหมอง
[๓๕๘] พระผู้ทรงเป็นผู้นำวิเศษ เป็นนายแพทย์ใหญ่
ทรงพอพระทัยในคุณข้อนั้นของข้าพเจ้า
จึงทรงตั้งข้าพเจ้าไว้ในตำแหน่งแห่งภิกษุ
ผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายฝ่ายที่ใช้สอยจีวรเศร้าหมอง
[๓๕๙] ข้าพเจ้าสิ้นบุญและบาป หายจากโรคทุกชนิด
ไม่มีอาสวะ ดับสนิท
เหมือนเปลวไฟที่หมดเชื้อดับไป
[๓๖๐] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๓๖๑] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๓๖๒] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระโมฆราชเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
โมฆราชเถราปทานที่ ๑๐ จบ
กัจจายนวรรคที่ ๕๔ จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๔. กัจจายนวรรค] รวมอปทานที่มีในวรรค
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. มหากัจจายนเถราปทาน ๒. วักกลิเถราปทาน
๓. มหากัปปินเถราปทาน ๔. ทัพพมัลลปุตตเถราปทาน
๕. กุมารกัสสปเถราปทาน ๖. พาหิยเถราปทาน
๗. มหาโกฏฐิกเถราปทาน ๘. อุรุเวลกัสสปเถราปทาน
๙. ราธเถราปทาน ๑๐. โมฆราชเถราปทาน

ในวรรคนี้ บัณฑิตนับคาถาได้ ๓๖๒ คาถา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๑. ลกุณฏกภัททิยเถราปทาน
๕๕. ภัททิยวรรค
หมวดว่าด้วยพระภัททิยะเป็นต้น
๑. ลกุณฏกภัททิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระลกุณฏกภัททิยเถระ
(พระลกุณฏกภัททิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑] พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ทรงถึงความสำเร็จแห่งธรรมทั้งปวง ทรงเป็นผู้นำ
เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลกในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
[๒] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นบุตรเศรษฐีผู้มีทรัพย์มากในกรุงหงสวดี
เที่ยวเดินเล่นพักผ่อนอยู่ ได้ไปถึงสังฆาราม
[๓] ครั้งนั้น พระผู้ทรงเป็นผู้นำ ผู้ส่องโลกให้สว่างไสวพระองค์นั้น
ทรงแสดงธรรม ได้ตรัสสรรเสริญสาวก
ผู้ประเสริฐกว่าภิกษุทั้งหลายที่มีเสียงไพเราะ
[๔] ข้าพเจ้าได้ฟังการสรรเสริญนั้นแล้วก็พลอยยินดี
จึงได้ทำสักการะแด่พระองค์ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
กราบพระยุคลบาทของพระศาสดาแล้ว
ปรารถนาตำแหน่งนั้น
[๕] ครั้งนั้น พระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นผู้นำวิเศษ
ได้ตรัสพยากรณ์ในท่ามกลางสงฆ์ว่า
ในอนาคตกาล ท่านผู้นี้จักได้ตำแหน่งนี้สมความปรารถนา
[๖] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร
ทรงสมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๑. ลกุณฏกภัททิยเถราปทาน
[๗] บุตรเศรษฐีนี้จักมีนามว่าภัททิยะ
เป็นธรรมทายาท เป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต
เป็นสาวกของพระศาสดาพระองค์นั้น
[๘] ด้วยกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๙] ในกัปที่ ๙๒ นับจากกัปนี้ไป
พระชินเจ้าพระนามว่าผุสสะ ทรงเป็นผู้นำ
หาผู้กระทบกระทั่งได้ยาก ยากที่จะข่มได้
ประเสริฐกว่าสัตว์โลกทั้งปวง เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว
[๑๐] และพระองค์ทรงเพียบพร้อมด้วยจรณะ
ทรงเป็นผู้ประเสริฐ เที่ยงตรง ทรงมีความเพียรเผากิเลส
ทรงแสวงหาประโยชน์เกื้อกูลเพื่อสรรพสัตว์
ทรงเปลื้องสัตว์จำนวนมากจากกิเลสเครื่องจองจำ
[๑๑] ข้าพเจ้าเกิดเป็นนกดุเหว่าขาว
อาศัยอยู่ที่ต้นมะม่วงใกล้พระคันธกุฎี
อันประเสริฐน่าเพลิดเพลินยินดี
ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าผุสสะพระองค์นั้น
[๑๒] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเห็นพระชินเจ้าผู้ประเสริฐสุด
ทรงเป็นทักขิไณยบุคคล กำลังเสด็จบิณฑบาต
จึงทำจิตให้เลื่อมใส แล้วส่งเสียงร้องอย่างไพเราะ
[๑๓] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าบินไปที่สวนหลวง
คาบมะม่วงผลที่สุกดีมีเปลือกเหมือนทองคำ
น้อมเข้าไปถวายพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๑. ลกุณฏกภัททิยเถราปทาน
[๑๔] ขณะนั้น พระชินเจ้าผู้ทรงเป็นผู้นำ
ประกอบด้วยพระมหากรุณา ทรงทราบวารจิตของข้าพเจ้า
จึงทรงรับบาตรมาจากมือของภิกษุผู้อุปัฏฐาก
[๑๕] ข้าพเจ้ามีจิตร่าเริงได้ถวายผลมะม่วงแด่พระมหามุนี
ครั้นใส่บาตรแล้วก็ประนมปีก
[๑๖] ส่งเสียงร้องด้วยเสียงไพเราะน่ายินดี น่าฟัง
เพื่อบูชาพระพุทธเจ้า แล้วกลับไปหลับนอน
[๑๗] ครั้งนั้น นกเหยี่ยวผู้มีใจหยาบช้า
ได้โฉบข้าพเจ้าผู้มีจิตเบิกบาน
มีอัธยาศัยน้อมไปสู่ความรักต่อพระพุทธเจ้าไปฆ่าเสีย
[๑๘] ข้าพเจ้าจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว
ไปเสวยสุขอย่างมากอยู่ในสวรรค์ชั้นดุสิต
แล้วมาสู่กำเนิดมนุษย์เพราะอานุภาพแห่งกรรมนั้น
[๑๙] ในภัทรกัปนี้ พระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ ตามพระโคตร
ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของพราหมณ์ มีพระยศยิ่งใหญ่
ประเสริฐกว่านักปราชญ์ทั้งหลาย เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว
[๒๐] พระองค์นั้นพร้อมสาวกทรงประกาศศาสนาให้รุ่งเรือง
ข่มเดียรถีย์ผู้หลอกลวงเสียแล้ว ทรงแนะนำเวไนยสัตว์
ปรินิพพานแล้ว
[๒๑] เมื่อพระองค์ทรงเป็นผู้เลิศในโลก เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว
ประชุมชนจำนวนมากที่เลื่อมใส
สร้างพระสถูปเพื่อจะบูชาพระพุทธเจ้าผู้ศาสดา
[๒๒] พวกเขาปรึกษากันอย่างนี้ว่า
เราทั้งหลายจักช่วยกันสร้างพระสถูปของพระศาสดา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๑. ลกุณฏกภัททิยเถราปทาน
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ให้สูงถึง ๗ โยชน์
ประดับด้วยรัตนะ ๗ ประการ
[๒๓] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นจอมทัพของพระเจ้าแผ่นดิน
แคว้นกาสีพระนามว่ากิกี
ได้พูดถึงขนาดเจดีย์ของพระพุทธเจ้า
ผู้ทรงพระคุณหาประมาณมิได้
[๒๔] ครั้งนั้น ชนเหล่านั้นได้ช่วยกันสร้างเจดีย์ของพระศาสดา
ผู้ทรงเป็นนักปราชญ์กว่านรชน สูงเพียงโยชน์เดียว
ประดับด้วยรัตนะนานาชนิดตามคำแนะนำของข้าพเจ้า
[๒๕] ด้วยกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๒๖] บัดนี้ เป็นภพสุดท้าย ข้าพเจ้าเกิดในตระกูลเศรษฐี
ที่มั่งคั่ง สมบูรณ์ มีทรัพย์มากในกรุงสาวัตถี
[๒๗] ข้าพเจ้าได้เห็นพระสุคตในเวลาเสด็จเข้านคร
เป็นผู้มีความอัศจรรย์ใจ บวชแล้วไม่นานก็ได้บรรลุอรหัตตผล
[๒๘] ด้วยกรรมคือการลดขนาดของพระเจดีย์ที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้แล้ว
ข้าพเจ้าจึงมีร่างกายต่ำเตี้ย น่าเย้ยหยัน
[๒๙] ข้าพเจ้าบูชาพระพุทธเจ้าผู้เป็นฤาษีผู้ประเสริฐ ด้วยเสียงที่ไพเราะ
จึงได้ถึงความเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายที่มีเสียงไพเราะ
[๓๐] ด้วยการถวายผลไม้แด่พระพุทธเจ้า
และด้วยการระลึกถึงพระพุทธคุณ
ข้าพเจ้าจึงสมบูรณ์ด้วยสามัญผลอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๒. กังขาเรวตเถราปทาน
[๓๑] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๓๒] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๓๓] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระลกุณฏกภัททิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
ลกุณฏกภัททิยเถราปทานที่ ๑ จบ

๒. กังขาเรวตเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระกังขาเรวตเถระ
(พระกังขาเรวตเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๓๔] พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้มีพระจักษุในธรรมทั้งปวง ทรงเป็นผู้นำ
เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
[๓๕] พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น มีพระหนุเหมือนคางราชสีห์
พระดำรัสเหมือนเสียงพรหม
พระดำรัสที่เปล่งออกดุจเสียงหงส์และเสียงมโหระทึก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๒. กังขาเรวตเถราปทาน
เสด็จดำเนินประดุจการก้าวย่างของพญากุญชร
มีพระรัศมีประหนึ่งรัศมีของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์เป็นต้น
[๓๖] ทรงพระปรีชามาก มีความเพียรมาก
มีความเพ่งพินิจมาก ทรงรู้คติของเหล่าสัตว์จำนวนมาก
ประกอบด้วยพระมหากรุณา
เป็นที่พึ่งของสรรพสัตว์ ทรงขจัดความมืดใหญ่
[๓๗] บางคราว พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เลิศในโลกทั้ง ๓ เป็นมุนี
ทรงทราบวารจิตของสัตว์ทั้งหลายพระองค์นั้น
เมื่อจะทรงแนะนำเวไนยสัตว์หมู่ใหญ่จึงทรงแสดงธรรม
[๓๘] พระชินเจ้าตรัสสรรเสริญภิกษุผู้มีปกติเข้าฌาน
ยินดีในฌาน มีความเพียร สงบระงับ
มีจิตไม่ขุ่นมัว ทรงทำหมู่ชนผู้เป็นบริษัทให้ยินดี
[๓๙] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นพราหมณ์ชาวกรุงหงสาวดี จบไตรเพท
ได้ฟังพระธรรมแล้วก็พลอยยินดี
จึงปรารถนาตำแหน่งนั้น
[๔๐] ครั้งนั้น พระชินเจ้าทรงเป็นผู้นำวิเศษ
ได้ตรัสพยากรณ์ในท่ามกลางสงฆ์ว่า
จงยินดีเถิด พราหมณ์ เธอจักได้ตำแหน่งนั้นสมความปรารถนา
[๔๑] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร
ทรงสมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก
[๔๒] เขาจักมีนามว่าเรวตะ
เป็นธรรมทายาท เป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต
เป็นสาวกของพระศาสดาพระองค์นั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๒. กังขาเรวตเถราปทาน
[๔๓] ด้วยกรรมที่ข้าพเจ้าทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๔๔] บัดนี้ เป็นภพสุดท้าย ข้าพเจ้าเกิดในตระกูลกษัตริย์
ที่มั่งคั่งสมบูรณ์ มีทรัพย์มาก ในกรุงโกลิยะ
[๔๕] ในคราวที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมในกรุงกบิลพัสดุ์
ข้าพเจ้าเลื่อมใสในพระสุคต จึงออกบวชเป็นบรรพชิต
[๔๖] ความสงสัยของข้าพเจ้าในสิ่งที่ควรและไม่ควรนั้น ๆ มีมาก
พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรมที่ประเสริฐ
กำจัดข้อสงสัยทั้งปวงนั้น
[๔๗] จากนั้น ข้าพเจ้าก็ข้ามพ้นสงสารได้
เป็นผู้มีความยินดีอยู่ในสุขที่เกิดแต่ฌานทุกเมื่อ
ครั้งนั้น พระพุทธเจ้าทอดพระเนตรเห็นข้าพเจ้าจึงตรัสพระดำรัสนี้ว่า
[๔๘] ความสงสัยบางอย่างในความรู้ของตน
หรือในความรู้ของผู้อื่นทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
ความสงสัยทั้งปวงนั้น บุคคลผู้มีปกติเข้าฌาน
มีความเพียรประพฤติพรหมจรรย์ย่อมละได้
[๔๙] กรรมที่ข้าพเจ้าทำได้ไว้ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐
ได้แสดงผลแก่ข้าพเจ้าแล้วในอัตภาพนี้
ข้าพเจ้าหลุดพ้นดีแล้ว(จากกิเลส)
ดุจความเร็วแห่งลูกศรที่พ้นไปจากแล่ง
ข้าพเจ้าเผากิเลสทั้งหลายได้แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๓. สีวลีเถราปทาน
[๕๐] ลำดับนั้น พระมุนีผู้มีพระปรีชามาก
ทรงถึงที่สุดโลก ทรงเห็นข้าพเจ้าว่ายินดีในฌานเนืองนิจ
จึงทรงตั้งข้าพเจ้าว่าเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายฝ่ายที่ยินดีในฌาน
[๕๑] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๕๒] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๕๓] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระกังขาเรวตเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
กังขาเรวตเถราปทานที่ ๒ จบ

๓. สีวลีเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระสีวลีเถระ
(พระสีวลีเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๕๔] พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้มีพระจักษุในธรรมทั้งปวง ทรงเป็นผู้นำ
เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๓. สีวลีเถราปทาน
[๕๕] สำหรับพระองค์ ศีลใคร ๆ ก็นับไม่ได้
สมาธิเปรียบได้ดังเพชร
ญาณที่ประเสริฐใคร ๆ ก็นับไม่ได้
และวิมุตติก็หาอะไรเปรียบมิได้
[๕๖] พระผู้ทรงเป็นผู้นำ ทรงแสดงธรรม
ในสมาคมมนุษย์ เทวดา นาค และพรหม
ซึ่งเนืองแน่นไปด้วยสมณะและพราหมณ์
[๕๗] พระพุทธองค์ผู้แกล้วกล้าในท่ามกลางบริษัท
ทรงตั้งสาวกของพระองค์ ผู้มีลาภมาก มีบุญ
มีความรุ่งเรืองไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ
[๕๘] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นกษัตริย์ในกรุงหงสวดี
ได้ฟังพระชินเจ้าตรัสถึงคุณเป็นอันมากของสาวกนั้น
[๕๙] ข้าพเจ้าจึงทูลนิมนต์พระชินสีห์พร้อมด้วยสาวก
ให้เสวยและฉันตลอด ๗ วัน
ครั้นถวายมหาทานแล้ว ก็ได้ปรารถนาตำแหน่งนั้น
[๖๐] ครั้งนั้น พระธีรเจ้าผู้องอาจกว่าบุรุษ
ทอดพระเนตรเห็นข้าพเจ้าผู้หมอบอยู่แทบยุคลบาท
จึงได้ตรัสพระดำรัสนี้ด้วยพระสุรเสียงอย่างกึกก้อง
[๖๑] ลำดับนั้น ผู้ประสงค์จะสดับพระดำรัสของพระชินเจ้า
คือ มหาชน ทวยเทพ คนธรรพ์ พรหมผู้มีฤทธิ์มาก
[๖๒] อนึ่ง สมณะและพราหมณ์ต่างประนมมือนมัสการ(กราบทูลว่า)
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นบุรุษอาชาไนย
ข้าพระองค์ทั้งหลายขอนอบน้อมพระองค์
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นบุรุษสูงสุด
ข้าพระองค์ทั้งหลายขอนอบน้อมพระองค์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๓. สีวลีเถราปทาน
[๖๓] พระมหากษัตริย์ได้ถวายทานเกิน ๗ วัน
ข้าแต่พระมหามุนี ข้าพระองค์ทั้งหลาย
ประสงค์จะฟังผลของมหาทานนั้น
ขอพระองค์โปรดพยากรณ์ด้วยเถิด
[๖๔] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า
ท่านทั้งหลายจงฟังภาษิตของเรา
ทักษิณาที่ตั้งไว้แล้วในพระพุทธเจ้า
ผู้ทรงคุณหาประมาณมิได้พร้อมทั้งพระสงฆ์
[๖๕] ใครจะเป็นผู้กล่าวถึงทักษิณาทานได้
เพราะทักษิณานั้นมีผลหาประมาณมิได้
อนึ่ง กษัตริย์ผู้มีโภคะมากนี้ปรารถนาตำแหน่งอันสูงสุดว่า
[๖๖] ในบรรดาคนที่มีลาภไพบูลย์
เราก็พึงเป็นผู้มีลาภเหมือนภิกษุชื่อสุทัศนะ
กษัตริย์องค์นี้จักทรงได้ตำแหน่งนั้นในอนาคตกาล
[๖๗] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร
ทรงสมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก
[๖๘] กษัตริย์องค์นี้จักมีนามว่าสีวลี
เป็นธรรมทายาท เป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต
เป็นสาวกของพระศาสดาพระองค์นั้น
[๖๙] ด้วยกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๓. สีวลีเถราปทาน
[๗๐] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
พระผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลกพระนามว่าวิปัสสี ผู้มีพระเนตรงดงาม
ทรงเห็นแจ้งธรรมทั้งปวง เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว
[๗๑] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นคนโปรดปราน
เป็นคนที่ขยันและขวนขวายในการงาน
แห่งตระกูลหนึ่งอยู่ในกรุงพันธุมดี
[๗๒] ครั้งนั้น ชุมชนหมู่หนึ่งสั่งให้นายช่างสร้างบริเวณ
ซึ่งปรากฏชื่อว่ามหันต์ ถวายพระผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
พระนามว่าวิปัสสี
[๗๓] เมื่อการสร้างบริเวณสำเร็จแล้ว
พวกเขาได้ถวายมหาทานซึ่งประกอบด้วยของเคี้ยว
มัวแต่แสวงหานมส้มใหม่
และน้ำผึ้งใหม่อยู่จึงไม่ได้ถวาย
[๗๔] ขณะนั้น ข้าพเจ้ากำลังถือนมส้ม
และน้ำผึ้งใหม่เดินไปยังเรือนของนายจ้าง
ชนทั้งหลายที่แสวงหานมส้มและน้ำผึ้งใหม่มาพบข้าพเจ้า
[๗๕] ถึงให้ราคาถึง ๑,๐๐๐ กหาปณะ ก็ยังไม่ได้ของ ๒ อย่างนั้น
ลำดับนั้น ข้าพเจ้าคิดว่า
ของอย่างนี้จักไม่ใช่เป็นของเล็กน้อยเลย
[๗๖] ชนเหล่านี้ทั้งหมดสักการะพระตถาคต ฉันใด
แม้เราก็จักทำสักการะพระผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
พร้อมทั้งพระสงฆ์ ฉันนั้น
[๗๗] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้นำนมส้มและน้ำผึ้งไป ผสมเข้าด้วยกัน
แล้วถวายพระโลกนาถพร้อมทั้งพระสงฆ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๓. สีวลีเถราปทาน
[๗๘] ด้วยกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๗๙] ข้าพเจ้าได้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน
ผู้มียศยิ่งใหญ่ในกรุงพาราณสีอีก
ครั้งนั้น ข้าพเจ้าแค้นใจศัตรูจึงสั่งทหาร
ให้ปิดประตูเมือง
[๘๐] ครั้งนั้น เหล่าพระราชาผู้มีเดช
ที่ถูกล้อมรักษาไว้ได้เพียงวันเดียว
เพราะวิบากแห่งกรรมนั้น
ข้าพเจ้าจึงต้องตกนรกที่ร้ายกาจ
[๘๑] บัดนี้ เป็นภพสุดท้าย ข้าพเจ้าเกิดในกรุงโกลิยะ
พระชนนีของข้าพเจ้าพระนามว่าสุปปวาสา
พระชนกของข้าพเจ้าพระนามว่ามหาลิลิจฉวี
[๘๒] ข้าพเจ้าเกิดในขัตติยตระกูลก็เพราะบุญกรรม
แต่เพราะอานุภาพแห่งการปิดประตูเมือง
ข้าพเจ้าจึงต้องประสบทุกข์
อยู่ในพระครรภ์ของพระมารดาถึง ๗ ปี
[๘๓] ข้าพเจ้าหลงช่องคลอดอีก ๗ วัน ประสบทุกข์หนัก
พระมารดาของข้าพเจ้าต้องประสบทุกข์แสนสาหัสเช่นนี้
ก็เพราะมีความพอใจให้ปิดประตูเมือง
[๘๔] ข้าพเจ้าผู้ที่พระพุทธเจ้าทรงอนุเคราะห์แล้ว
จึงคลอดออกจากพระครรภ์ของพระมารดาโดยความสวัสดี
ข้าพเจ้าได้ออกบวชเป็นบรรพชิตในวันที่คลอดนั่นเอง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๓. สีวลีเถราปทาน
[๘๕] พระสารีบุตรเถระผู้มีปัญญามาก
เป็นพระอุปัชฌาย์ของข้าพเจ้า
พระมหาโมคคัลลานเถระผู้มีฤทธิ์มาก
เมื่อปลงผมให้ได้พร่ำสอนข้าพเจ้า
[๘๖] ในขณะกำลังปลงผม ข้าพเจ้าก็ได้บรรลุอรหัตตผล
ทวยเทพ หมู่นาค และมนุษย์ทั้งหลาย
ต่างก็น้อมนำปัจจัยเข้ามาถวายข้าพเจ้า
[๘๗] ข้าพเจ้าเป็นผู้มีใจยินดีปรีดา
บูชาพระโลกนาถพระนามว่าปทุมุตตระ
และพระพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี
ผู้ทรงเป็นผู้นำวิเศษด้วยปัจจัยทั้งหลายโดยพิเศษ
[๘๘] ด้วยผลอันวิเศษแห่งกรรมนั้น
ข้าพเจ้าจึงได้ลาภที่อุดมไพบูลย์ในที่ทุกแห่ง
คือในป่า ในบ้าน ในน้ำ และบนบก
[๘๙] ในคราวใด พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้นำชั้นเลิศในโลก
เป็นผู้นำวิเศษพร้อมด้วยภิกษุ ๓๐,๐๐๐ รูป
เสด็จไปเยี่ยมพระเรวตะ
[๙๐] ในคราวนั้น ข้าพเจ้าบำรุงพระพุทธเจ้า
ผู้ทรงมีปรีชามาก ทรงมีความเพียรมาก
ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก พร้อมด้วยพระสงฆ์ด้วยปัจจัย ๔
ที่เหล่าเทวดาน้อมนำมาถวายข้าพเจ้า
[๙๑] พระองค์ได้เสด็จเยี่ยมพระเรวตะแล้ว
ภายหลังเสด็จกลับไปยังพระเชตวันมหาวิหาร
จึงทรงแต่งตั้งข้าพเจ้าไว้ในเอตทัคคะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๔. วังคีสเถราปทาน
[๙๒] พระศาสดาผู้ทรงบำเพ็ญประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์
ได้ตรัสสรรเสริญข้าพเจ้าในท่ามกลางบริษัทว่า
ภิกษุทั้งหลาย บรรดาสาวกของเรา
ภิกษุชื่อว่าสีวลีนี้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้ที่มีลาภมาก
[๙๓] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๙๔] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๙๕] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระสีวลีเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
สีวลีเถราปทานที่ ๓ จบ

๔. วังคีสเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระวังคีสเถระ
(พระวังคีสเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๙๖] พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้มีพระจักษุในธรรมทั้งปวง ทรงเป็นผู้นำ
เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๔. วังคีสเถราปทาน
[๙๗] ศาสนาของพระองค์งดงามไปด้วยพระอรหันต์ทั้งหลาย
เหมือนคลื่นในสาคร และเหมือนดวงดาวในท้องฟ้า
[๙๘] พระชินเจ้าผู้สูงสุด อันมนุษย์พร้อมทั้งทวยเทพ อสูร
และนาคห้อมล้อมในท่ามกลางหมู่ชน
ซึ่งเนืองแน่นไปด้วยสมณะและพราหมณ์
[๙๙] พระชินเจ้าพระองค์นั้นทรงถึงที่สุดโลก
ทรงทำสัตว์โลกทั้งหลายให้ยินดีด้วยพระรัศมี
ทรงทำดอกบัวคือเวไนยสัตว์ให้เบ่งบานด้วยพระดำรัส
[๑๐๐] ทรงสมบูรณ์ด้วยเวสารัชชธรรม ๔๑ ประการ
เป็นบุรุษผู้สูงสุด ละความกลัวและความกำหนัดได้แล้ว
ทรงบรรลุธรรมที่เกษม มีความแกล้วกล้า
[๑๐๑] พระผู้ทรงเป็นผู้เลิศในโลก
ทรงปฏิญาณฐานะที่ประเสริฐ ล้ำเลิศ
และพุทธภูมิทั้งสิ้น ไม่มีใครจะทักท้วงได้ในฐานะไหน ๆ
[๑๐๒] เมื่อพระพุทธเจ้าผู้คงที่พระองค์นั้น
บันลือสีหนาทที่น่าสะพรึงกลัวอยู่
ย่อมไม่มีเทวดา มนุษย์ หรือพรหมบันลือตอบได้
[๑๐๓] พระพุทธเจ้าผู้แกล้วกล้า
ทรงแสดงธรรมที่ประเสริฐ ทรงช่วยมนุษย์และเทวดา
ให้ข้าม(สงสารวัฏ)ทรงประกาศธรรมจักรในท่ามกลางบริษัท
[๑๐๔] ตรัสสรรเสริญคุณเป็นอันมาก
แล้วตั้งพระสาวกผู้เลิศกว่าภิกษุผู้มีปฏิภาณ
ที่ชาวโลกยกย่องว่าเป็นคนดีนั้นไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ

เชิงอรรถ :
๑ เวสารัชชธรรม ๔ (ม.มู. (แปล) ๑๒/๑๕๐/๑๔๘, ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๘/๑๓-๑๔, ขุ.อป.อ.
๒/๑๐๐/๓๑๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๐๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๔. วังคีสเถราปทาน
[๑๐๕] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นพราหมณ์ชาวกรุงหงสวดี
ประชาชนสมมติว่าเป็นผู้ประเสริฐ
รู้แจ้งพระเวททุกคัมภีร์ มีนามว่าวังคีสะ
มีวาทะที่เป็นประโยชน์
[๑๐๖] ข้าพเจ้าได้เข้าเฝ้าพระมหาวีระพระองค์นั้น
สดับพระธรรมเทศนานั้นแล้ว
ได้ปีติอย่างประเสริฐ เป็นผู้ยินดีในคุณของสาวก
[๑๐๗] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้ทูลนิมนต์พระสุคตผู้ทำสัตว์โลกให้เพลิดเพลิน
พร้อมทั้งพระสงฆ์ให้เสวยและฉันตลอด ๗ วันแล้ว
ให้ครองผ้าชุดใหม่
[๑๐๘] ข้าพเจ้าได้หมอบลงแทบพระบาทด้วยเศียรเกล้า
ได้โอกาสจึงยืนประนมมืออยู่ ณ ที่สมควร
เป็นผู้ร่าเริง กล่าวสดุดีพระชินเจ้าผู้สูงสุดว่า
[๑๐๙] ข้าแต่พระองค์ผู้มีวาทะที่เป็นประโยชน์
ข้าพระองค์ขอนอบน้อมพระองค์
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นพระฤาษีผู้ประเสริฐ
ข้าพระองค์ขอนอบน้อมพระองค์
ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเป็นผู้เลิศในโลกทั้งปวง
ข้าพระองค์ขอนอบน้อมพระองค์
ข้าแต่พระองค์ผู้ขจัดภัย ข้าพระองค์ขอนอบน้อมพระองค์
[๑๑๐] ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงย่ำยีมาร
ข้าพระองค์ขอนอบน้อมพระองค์
ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงแสดงทิฏฐิ
ข้าพระองค์ขอนอบน้อมพระองค์
ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงประทานสันติสุข

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๔. วังคีสเถราปทาน
ข้าพระองค์ขอนอบน้อมพระองค์
ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงทำที่พึ่ง ข้าพระองค์ขอนอบน้อมพระองค์
[๑๑๑] พระองค์ทรงเป็นที่พึ่งของชนทั้งหลายผู้ไม่มีที่พึ่ง
ทรงประทานความไม่มีภัยแก่คนทั้งหลายที่ตื่นกลัว
ทรงเป็นที่ไว้วางใจของคนทั้งหลายที่มีภูมิธรรม๑สงบระงับ
ทรงเป็นที่พึ่งของคนทั้งหลายผู้แสวงหาที่พึ่งที่ระลึก
[๑๑๒] เราได้สดุดีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ด้วยคำกล่าวสดุดีมีอาทิอย่างนี้แล้ว
ได้กล่าวสรรเสริญพระคุณอันยิ่งใหญ่
จึงได้บรรลุคติของภิกษุผู้เป็นนักพูดผู้กล้า
[๑๑๓] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคผู้ทรงมีปฏิภาณไม่มีที่สิ้นสุด
ได้ตรัสว่า ผู้นั้นใดเป็นผู้เลื่อมใสทูลนิมนต์พระพุทธเจ้า
พร้อมทั้งสาวกให้เสวยและฉันตลอด ๗ วัน
[๑๑๔] ด้วยมือทั้ง ๒ ของตน และได้กล่าวสดุดีคุณของเรา
ผู้นั้นปรารถนาตำแหน่งของภิกษุผู้เป็นนักพูดผู้แกล้วกล้า
[๑๑๕] ในอนาคตกาล เขาจักได้ตำแหน่งนี้สมความปรารถนา
เสวยทิพยสมบัติและมนุษยสมบัติมีประมาณไม่น้อย
[๑๑๖] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร
ทรงสมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก
[๑๑๗] พราหมณ์นี้จักมีนามว่าวังคีสะ
เป็นธรรมทายาท เป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต
เป็นสาวกของพระศาสดาพระองค์นั้น

เชิงอรรถ :
๑ ภูมิธรรม หมายถึงโสดาปัตติมรรคเป็นต้น (ขุ.อป.อ. ๒/๑๑๑/๓๑๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๔. วังคีสเถราปทาน
[๑๑๘] ข้าพเจ้าได้ฟังพุทธพยากรณ์นั้นแล้ว
เป็นผู้เบิกบาน มีจิตประกอบด้วยเมตตา
อุปัฏฐากพระชินเจ้าผู้ตถาคตด้วยปัจจัยทั้งหลาย
จนตลอดชีวิตในครั้งนั้น
[๑๑๙] ด้วยกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๑๒๐] บัดนี้ เป็นภพสุดท้าย ข้าพเจ้าเกิดในตระกูลปริพาชก
เมื่อข้าพเจ้าเกิดเป็นครั้งสุดท้าย มีอายุได้ ๗ ขวบ
[๑๒๑] เป็นผู้รู้แจ้งพระเวททุกคัมภีร์
แกล้วกล้าในวาทศาสตร์ มีเสียงไพเราะ
มีถ้อยคำวิจิตร สามารถย่ำยีวาทะของผู้อื่นได้
[๑๒๒] เพราะข้าพเจ้าเกิดที่วังคชนบท
และเป็นใหญ่ในถ้อยคำ ข้าพเจ้าจึงได้ชื่อว่าวังคีสะ
เพราะฉะนั้น ถึงแม้ชื่อของข้าพเจ้าจะเป็นเลิศ ก็เป็นชื่อสมมติตามโลก
[๑๒๓] ในกาลที่ข้าพเจ้ารู้เดียงสา อยู่ในวัยเริ่มเป็นหนุ่ม
ได้เห็นท่านพระสารีบุตรในกรุงราชคฤห์ที่รื่นรมย์
ภาณวารที่ ๒๕ จบ

[๑๒๔] ท่านอุ้มบาตรสำรวม สายตาไม่ลอกแลก
พูดพอประมาณ และมองดูเพียงชั่วแอก เที่ยวบิณฑบาตอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๔. วังคีสเถราปทาน
[๑๒๕] ครั้นเห็นท่านแล้วก็ยิ้มแย้ม
ได้กล่าวบทคาถาที่สมควรอันวิจิตร
เหมือนดอกกรรณิการ์ที่เป็นกลุ่ม
[๑๒๖] ท่านบอกข้าพเจ้าถึงพระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ครั้งนั้น พระสารีบุตรผู้ฉลาด เป็นนักปราชญ์นั้น
ได้พูดกับข้าพเจ้าให้ยิ่งขึ้นไป
[๑๒๗] ข้าพเจ้าอันพระเถระผู้คงที่กล่าวถ้อยคำ
อันประกอบด้วยวิราคธรรม ยอดเยี่ยมที่เห็นได้ยาก
ให้ยินดีแล้ว ด้วยปฏิภาณอันวิจิตร
[๑๒๘] จึงหมอบลงแทบเท้าของท่านด้วยเศียรเกล้า
แล้วก็กล่าวว่า ขอได้โปรดให้กระผมบรรพชาเถิด
ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตร ผู้มีปัญญามาก
ได้นำข้าพเจ้าเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
[๑๒๙] ข้าพเจ้าหมอบลงแทบพระยุคลพระบาทด้วยเศียรเกล้าแล้ว
นั่ง ณ ที่ใกล้พระศาสดา
พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐกว่าบัณฑิตทั้งหลาย
ได้ตรัสถามข้าพเจ้าว่า
วังคีสะ ศิลปะอะไร ๆ ของท่านมีอยู่จริงหรือ
[๑๓๐] (ข้าพเจ้ากราบทูลว่า จริง พระเจ้าข้า)
พระพุทธเจ้าตรัสว่า ท่านรู้ศีรษะของคนที่ตายไปแล้วว่า
ไปสู่สุคติหรือทุคติจริงหรือ
ถ้าท่านสามารถรู้ได้ด้วยวิชาพิเศษของท่าน จงบอกมา
[๑๓๑] เมื่อข้าพเจ้าทูลรับรองแล้ว
พระพุทธองค์ก็ทรงแสดงกะโหลกศีรษะ ๓ กะโหลก
ข้าพเจ้าได้กราบทูลว่า เป็นศีรษะของคนที่เกิดในนรกและเทวดา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๔. วังคีสเถราปทาน
[๑๓๒] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค ทรงเป็นผู้นำ
ได้แสดงกะโหลกศีรษะของพระขีณาสพ
เพราะศีรษะนั้น ข้าพเจ้าหมดมานะ
จึงทูลขอบรรพชา อย่างอ่อนน้อม
[๑๓๓] ครั้นบรรพชาแล้ว ได้กล่าวสรรเสริญพระสุคตทุก ๆ แห่ง
เมื่อนั้นแหละ ภิกษุทั้งหลายพากันเพ่งโทษข้าพเจ้าว่าเป็นจินตกวี
[๑๓๔] ลำดับนั้น พระพุทธเจ้า ทรงเป็นผู้นำวิเศษ
ได้ตรัสถามข้าพเจ้าเพื่อทดลองว่า
คาถาเหล่านี้ ย่อมแจ่มแจ้งโดยสมควรแก่เหตุแก่คนทั้งหลาย
ผู้ตรึกตรองแล้วมิใช่หรือ
[๑๓๕] ข้าแต่พระองค์ผู้มีความเพียร
ข้าพระองค์มิใช่นักกาพย์กลอน แต่ว่าคาถาทั้งหลาย
แจ่มแจ้งโดยสมควรแก่เหตุแก่ข้าพระองค์
วังคีสะ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงกล่าวสดุดีเราโดยสมควรแก่เหตุในบัดนี้
[๑๓๖] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้กล่าวคาถาสดุดีพระธีระผู้เป็นฤๅษีผู้ประเสริฐ
ในกาลนั้น พระชินเจ้าพระองค์นั้นทรงพอพระทัยด้วยสมควรแก่เหตุ
จึงทรงตั้งข้าพเจ้าไว้ในตำแหน่งอันเลิศ
[๑๓๗] ข้าพเจ้ามีปฏิภาณอันวิจิตรจึงดูหมิ่นภิกษุรูปอื่น
แต่มีศีลเป็นที่รัก
เกิดความสลดใจเพราะการดูหมิ่นนั้นจึงได้บรรลุอรหัตแล้ว
[๑๓๘] (พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า)
ไม่มีใครอื่นที่เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย
ที่มีปฏิภาณเหมือนกับวังคีสภิกษุนี้
ภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงจำไว้อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๐๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๕. นันทกเถราปทาน
[๑๓๙] กรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐
ได้แสดงผลแก่ข้าพเจ้าแล้วในอัตภาพนี้
ข้าพเจ้าหลุดพ้นดีแล้ว(จากกิเลส)
ดุจความเร็วแห่งลูกศรที่พ้นไปจากแล่ง
ข้าพเจ้าเผากิเลสทั้งหลายได้แล้ว
[๑๔๐] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๔๑] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๔๒] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระวังคีสเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
วังคีสเถราปทานที่ ๔ จบ

๕. นันทกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระนันทกเถระ
(พระนันทกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๔๓] พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้มีพระจักษุในธรรมทั้งปวง ทรงเป็นผู้นำ
เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๕. นันทกเถราปทาน
[๑๔๔] พระองค์เป็นผู้ประเสริฐกว่าเจ้าลัทธิทั้งหลาย
เป็นบุรุษอาชาไนย ทรงปฏิบัติเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล
และเพื่อความสุขแก่สรรพสัตว์ ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก
[๑๔๕] พระชินเจ้า ผู้ถึงความเป็นผู้เลิศด้วยยศ
มีพระสิริ ประดับด้วยพระเกียรติคุณ
คนทั่วโลกบูชา ปรากฏไปทุกทิศ
[๑๔๖] พระองค์ทรงข้ามพ้นวิจิกิจฉา ล่วงพ้นความสงสัย
มีใจดำริบริบูรณ์ ทรงบรรลุสัมโพธิญาณที่ยอดเยี่ยม
[๑๔๗] ทรงทำมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
เป็นผู้ยอดเยี่ยมกว่านรชน
ตรัสบอกสิ่งที่บุคคลอื่นยังไม่เคยบอก
และทรงทำสิ่งที่ยังไม่เกิดให้เกิดมีพร้อม
[๑๔๘] ทรงรู้จักทาง ทรงเข้าใจทางอย่างแจ่มแจ้ง
ตรัสบอกทางให้ ทรงองอาจกว่านรชน
ทรงฉลาดในทาง ทรงเป็นพระศาสดา
เป็นผู้ยอดเยี่ยมกว่านรชนผู้เป็นนายสารถีทั้งหลาย
[๑๔๙] ครั้งนั้น พระผู้ทรงเป็นผู้นำ
ทรงประกอบด้วยพระมหากรุณาได้แสดงธรรม
ทรงช่วยดึงหมู่สัตว์ผู้จมลงแล้วในเปือกตมคือโมหะขึ้น
[๑๕๐] พระมหามุนีทรงสรรเสริญสาวก
ผู้ที่ชาวโลกยกย่องว่าประเสริฐในการกล่าวสอนภิกษุณีทั้งหลาย
ได้ทรงตั้งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ
[๑๕๑] ข้าพเจ้าได้ฟังการสรรเสริญนั้นแล้วก็พลอยยินดี
จึงทูลนิมนต์พระตถาคตพร้อมทั้งพระสงฆ์
ให้เสวยและฉันภัตตาหารแล้ว ปรารถนาตำแหน่งที่สูงสุดนั้น
[๑๕๒] ครั้งนั้น พระผู้ทรงเป็นที่พึ่ง
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ทรงเบิกบานพระทัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๕. นันทกเถราปทาน
ได้ตรัสกับข้าพเจ้าว่า ท่านจงเป็นผู้มีความสุข มีอายุยืนเถิด
ท่านจักได้ตำแหน่งนั้นสมความปรารถนา
[๑๕๓] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร
ทรงสมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก
[๑๕๔] ท่านจักมีนามว่านันทกะ
เป็นธรรมทายาทเป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต
เป็นสาวกของพระศาสดาพระองค์นั้น
[๑๕๕] ด้วยกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๑๕๖] บัดนี้ เป็นภพสุดท้าย ข้าพเจ้าเกิดในตระกูลเศรษฐี
ที่มั่งคั่ง สมบูรณ์ มีทรัพย์มากในกรุงสาวัตถี
[๑๕๗] ข้าพเจ้าได้เห็นพระสุคตในเวลาเสด็จเข้านคร
เป็นผู้มีความอัศจรรย์ใจ ได้ออกบวชเป็นบรรพชิต
ในวันที่พระองค์ทรงรับพระอารามชื่อว่าเชตวัน
[๑๕๘] จากนั้นไม่นานข้าพเจ้าได้รับการสั่งสอน
จากพระศาสดาผู้รู้แจ้งธรรม
จึงข้ามพ้นสังสารวัฏไปได้ บรรลุอรหัตตผล
[๑๕๙] ข้าพเจ้ากระทำการสอบถามธรรมกถาแก่ภิกษุณีทั้งหลาย
ภิกษุณีที่ข้าพเจ้าสอนนั้น ล้วนได้เป็นผู้ไม่มีอาสวะ
[๑๖๐] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคผู้ทรงบำเพ็ญประโยชน์เกื้อกูล
อันใหญ่หลวง ทรงพอพระทัย
จึงทรงตั้งข้าพเจ้าไว้ในตำแหน่งภิกษุผู้เลิศ
กว่าภิกษุทั้งหลายฝ่ายผู้กล่าวสอนภิกษุณีจำนวน ๙๕ รูป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๖. กาฬุทายีเถราปทาน
[๑๖๑] กรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐
ได้แสดงผลแก่ข้าพเจ้าแล้วในอัตภาพนี้
ข้าพเจ้าหลุดพ้นดีแล้ว(จากกิเลส)
ดุจความเร็วแห่งลูกศรที่พ้นไปจากแล่ง
ข้าพเจ้าเผากิเลสทั้งหลายได้แล้ว
[๑๖๒] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๖๓] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๖๔] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระนันทกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
นันทกเถราปทานที่ ๕ จบ

๖. กาฬุทายีเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระกาฬุทายีเถระ
(พระกาฬุทายีเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๖๕] พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้มีพระจักษุในธรรมทั้งปวง ทรงเป็นผู้นำ
เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๖. กาฬุทายีเถราปทาน
[๑๖๖] พระชินเจ้าทรงเป็นศาสดา
ผู้ประเสริฐกว่าผู้นำ(เจ้าลัทธิ)ทั้งหลาย
ทรงรู้แจ้งสิ่งที่เป็นคุณและสิ่งที่เป็นโทษ
เป็นผู้กตัญญูกตเวที ทรงประกอบเหล่าสัตว์ไว้ในท่า๑
[๑๖๗] ทรงเป็นสัพพัญญู ทรงมีอัธยาศัยเอ็นดู
เป็นที่สั่งสมแห่งอนันตคุณ
ทรงพิจารณาด้วยพระญาณนั้นแล้ว
จึงทรงแสดงธรรมที่ประเสริฐ
[๑๖๘] บางครั้งพระชินเจ้านั้น ผู้มีความเพียรมาก
มีพระปัญญาบริสุทธิ์
แสดงธรรมที่ประกอบด้วยสัจจะทั้ง ๔ อันไพเราะ
แก่หมู่ชนเป็นอนันต์
[๑๖๙] สรรพสัตว์ประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ ได้บรรลุธรรม
เพราะได้สดับธรรมที่ประเสริฐ มีความงามในเบื้องต้น
ท่ามกลาง และที่สุดนั้น
[๑๗๐] ครั้งนั้น แผ่นดินก็สั่นสะเทือน
และ เมฆก็คำรน เหล่าเทวดา พรหม
มนุษย์ และอสูร ต่างก็แซ่ซ้องสาธุการ
[๑๗๑] โอ พระศาสดาทรงประกอบด้วยพระกรุณา
โอ พระสัทธรรมเทศนา
โอ พระชินเจ้าผู้ทรงช่วยหมู่สัตว์
ที่จมลงในสมุทรคือภพขึ้นมาได้
[๑๗๒] เมื่อหมู่สัตว์พร้อมทั้งมนุษย์
เทวดา และพรหม เกิดความสังเวชเช่นนี้แล้ว
พระชินเจ้าได้ทรงสรรเสริญสาวก
ผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายฝ่ายทำตระกูลให้เลื่อมใส

เชิงอรรถ :
๑ ในท่า ในที่นี้หมายถึงประกอบคือให้สรรพสัตว์ดำรงอยู่ในมรรคที่เป็นมหากุศลซึ่งเป็นอุบายในการบรรลุนิพพาน
ด้วยการแสดงธรรม (ขุ.อป.อ. ๒/๑๖๖/๓๒๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๖. กาฬุทายีเถราปทาน
[๑๗๓] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเกิดในตระกูลอำมาตย์ในกรุงหงสวดี
เป็นผู้นำมาซึ่งความเลื่อมใส น่าชม มีทรัพย์
และมีธัญญาหารเหลือล้น
[๑๗๔] ข้าพเจ้าเข้าไปยังวิหารหังสาราม
ไหว้พระตถาคตพระองค์นั้น
ได้ฟังธรรมที่ไพเราะ และทำสักการะแด่พระองค์ผู้คงที่
[๑๗๕] ข้าพเจ้าหมอบลงแทบพระยุคลบาทแล้ว ได้กราบทูลคำนี้ว่า
ข้าแต่พระมุนี ภิกษุรูปใดในศาสนาของพระองค์
เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายฝ่ายทำตระกูลให้เลื่อมใส
[๑๗๖] ข้าแต่พระมหาวีระ ข้าพระองค์พึงเป็นเหมือนภิกษุรูปนั้น
ในศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุดด้วยเถิด
ครั้งนั้น พระศาสดาผู้ประกอบด้วยพระมหากรุณา
เมื่อจะใช้น้ำอมฤตรดข้าพเจ้า
[๑๗๗] ได้ตรัสกับข้าพเจ้าว่า ลุกขึ้นเถิดลูก
เธอจักได้ตำแหน่งนี้สมความปรารถนา
บุคคลทำสักการะในพระชินเจ้าแล้ว
จะพึงเป็นผู้ปราศจากผลได้อย่างไรเล่า
[๑๗๘] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้
พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร
ทรงสมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก
[๑๗๙] เขาจักมีนามว่ากาฬุทายี
เป็นธรรมทายาท เป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต
เป็นสาวกของพระศาสดาพระองค์นั้น
[๑๘๐] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้ฟังพุทธพยากรณ์นั้นแล้ว
เป็นผู้เบิกบาน มีจิตประกอบด้วยเมตตา
บำรุงพระชินเจ้าผู้ทรงเป็นผู้นำวิเศษ
ด้วยปัจจัยทั้งหลายจนตลอดชีวิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๖. กาฬุทายีเถราปทาน
[๑๘๑] ด้วยวิบากกรรมนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๑๘๒] บัดนี้ ภพนี้เป็นภพสุดท้าย
ข้าพเจ้าเกิดในตระกูลมหาอำมาตย์
ในกรุงกบิลพัสดุ ที่น่ารื่นรมย์
พระเจ้าสุทโธทนะเป็นพระเจ้าแผ่นดิน
[๑๘๓] ครั้งนั้น เจ้าชายสิทธัตถะผู้ทรงเป็นผู้องอาจกว่านรชน
ได้ประสูติแล้วที่สวนลุมพินี ที่รื่นรมย์
เพื่อเกื้อกูลและเพื่อความสุขแก่สัตว์โลกทั้งมวล
[๑๘๔] ข้าพเจ้าก็เกิดในวันนั้น
เติบโตพร้อมกับพระสิทธัตถราชกุมารนั้นแหละ
เป็นสหายที่รักเอ็นดู คุ้นเคย และฉลาดในทางนิติธรรม
[๑๘๕] พระสิทธัตถราชกุมารนั้นมีพระชนมายุ ๒๙ พรรษา
ได้เสด็จออกผนวช บำเพ็ญเพียรตลอด ๖ ปี
จึงได้เป็นพระพุทธเจ้า ผู้ทรงเป็นผู้นำวิเศษ
[๑๘๖] พระองค์ทรงชนะมารพร้อมทั้งเสนามาร
ทรงข้ามห้วงน้ำคือภพได้แล้ว
ได้เป็นพระพุทธเจ้าในโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก
[๑๘๗] เสด็จไปยังป่าอิสิปตนะ ทรงแนะนำปัญจวัคคีย์
จากนั้น พระผู้มีพระภาคก็เสด็จไปในที่นั้น ๆ
ทรงแนะนำเวไนยสัตว์
[๑๘๘] พระชินเจ้าพระองค์นั้น เมื่อจะทรงแนะนำเวไนยสัตว์
เมื่อจะทรงสงเคราะห์หมู่มนุษย์พร้อมทั้งทวยเทพ
ได้เสด็จไปถึงภูเขาในแคว้นมคธแล้ว ประทับอยู่ในกาลนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๖. กาฬุทายีเถราปทาน
[๑๘๙] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าถูกพระเจ้าแผ่นดิน
พระนามว่าสุทโธทนะ ทรงส่งไปแล้ว
ได้เฝ้าพระทศพล บวชแล้ว ได้เป็นพระอรหันต์
[๑๙๐] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าทูลอ้อนวอนพระศาสดา
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ให้เสด็จไปกรุงกบิลพัสดุ์
ลำดับนั้น ข้าพเจ้าได้ล่วงหน้าไปก่อน
ทำตระกูลใหญ่ ๆ ให้เลื่อมใสแล้ว
[๑๙๑] พระชินเจ้าผู้องอาจกว่าบุรุษ
ทรงพอพระทัยในคุณข้อนั้นแล้วกล่าวชมเชยข้าพเจ้า
พระองค์ผู้ทรงเป็นผู้นำวิเศษได้ทรงตั้งข้าพเจ้าว่า
เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายฝ่ายที่ทำตระกูลให้เลื่อมใส
[๑๙๒] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๙๓] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๙๔] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระกาฬุทายีเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
กาฬุทายีเถราปทานที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๗. อภยเถราปทาน
๗. อภยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอภยเถระ
(พระอภยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๙๕] พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้ทรงถึงความสำเร็จในธรรมทั้งปวง ทรงเป็นผู้นำ
เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
[๑๙๖] พระตถาคตทรงทำบุคคลบางพวกให้ตั้งอยู่ในสรณคมน์
บางพวกให้ตั้งอยู่ในศีลคือกุศลกรรมบถ ๑๐ ที่อุดม
[๑๙๗] พระองค์ผู้ทรงเป็นนักปราชญ์
ทรงประทานสามัญญผล๑ ที่อุดมแก่บุคคลบางคน
ทรงมอบสมาบัติ ๘ และวิชชา ๓ แก่บุคคลบางคน
[๑๙๘] พระองค์ผู้ประเสริฐกว่านรชน
ทรงประกอบคนบางคนไว้ในอภิญญา ๖
พระองค์ผู้เป็นนาถะทรงประทาน
ปฏิสัมภิทา ๔ แก่บุคคลบางคน
[๑๙๙] พระองค์ผู้เป็นสารถีฝึกนรชน
ทรงเห็นหมู่สัตว์ที่ควรแนะนำให้ตรัสรู้ได้
แม้ในสถานที่นับโยชน์ไม่ถ้วน ก็รีบเสด็จไปแนะนำ
[๒๐๐] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นบุตรของพราหมณ์ในกรุงหงสวดี
เรียนจบพระเวททั้งหมด เข้าใจไวยากรณ์

เชิงอรรถ :
๑ สามัญญผล ได้แก่ โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตตผล (ที.ปา. (แปล) ๑๑/๓๑๑/๒๘๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๗. อภยเถราปทาน
[๒๐๑] ฉลาดในนิรุตติ๑ แกล้วกล้าในคัมภีร์นิฆัณฑุศาสตร์
เข้าใจตัวบท รู้แจ่มแจ้งในคัมภีร์เกฏุภะ๒
ฉลาดในฉันท์และกาพย์กลอน
[๒๐๒] เมื่อเที่ยวเดินพักผ่อน ได้ไปถึงพระวิหารหังสาราม
ข้าพเจ้าได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ล้ำเลิศประเสริฐที่สุด
มีมหาชนห้อมล้อม
[๒๐๓] ข้าพเจ้ามีความคิดเป็นข้าศึก
เข้าไปใกล้พระองค์ผู้ปราศจากธุลีคือกิเลส
ซึ่งกำลังทรงแสดงธรรม
ได้ฟังพระดำรัสซึ่งปราศจากมลทินของพระองค์
[๒๐๔] ข้าพเจ้าไม่เห็นพระดำรัสที่กระทบ
ที่กล่าวซ้ำ ๆ กัน ที่ผิดไวยากรณ์
หรือที่ไร้ประโยชน์ของพระมุนีพระองค์นั้นเลย
เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงบวช
[๒๐๕] โดยเวลาไม่นานนัก ข้าพเจ้าก็เป็นผู้แกล้วกล้าในธรรมทุกอย่าง
ได้รับยกย่องให้เป็นคณบดี ในพระพุทธพจน์ที่ละเอียดอ่อน
[๒๐๖] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้ประพันธ์คาถา ๔ คาถา
ซึ่งมีพยัญชนะสละสลวยชมเชยพระพุทธเจ้า
ผู้ทรงเป็นผู้เลิศในโลกทั้ง ๓ แล้วแสดงทุก ๆ วันว่า
[๒๐๗] พระพุทธเจ้าเป็นผู้ปราศจากความยินดี
มีความเพียรมาก ทรงอยู่ในสังสารวัฏที่มีภัย
ไม่เสด็จดับขันธปรินิพพาน
ก็เพราะทรงประกอบด้วยพระกรุณา(ในหมู่สัตว์)
ฉะนั้น พระมุนีจึงชื่อว่าทรงประกอบด้วยพระกรุณา

เชิงอรรถ :
๑ ที.สี.อ. ๒๕๖/๒๒๒ และดู Dawson, John. A classieal Dictionary of Hindu Mythology (London
Lroutledge and kegan Paul, 1957) P. 222
๒ ที.สี.อ. ๒๕๖/๒๒๒ และดู Dawson, John. A classieal Dictionary of Hindu Mythology (London
Lroutledge and kegan Paul, 1957) P. 222

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๗. อภยเถราปทาน
[๒๐๘] บุคคลผู้ใด ถึงเป็นปุถุชนก็ไม่ตกอยู่ในอำนาจของกิเลส
ประกอบด้วยสติ มีสัมปชัญญะ
เพราะฉะนั้น บุคคลผู้นั้นจึงเป็นอจินไตย
[๒๐๙] กิเลสที่มีกำลังอ่อน ซึ่งนอนเนื่องอยู่ในสันดานของเรา
ถูกเผาด้วยไฟคือญาณแล้วไม่สิ้นไป ข้อนั้นไม่เคยมีเลย
[๒๑๐] ผู้ใดเป็นที่เคารพของสัตว์โลกทั้งปวง
ซึ่งเป็นครูในโลก และเป็นอาจารย์ของชาวโลก
โลกย่อมอนุวัตรตามผู้นั้น
[๒๑๑] ข้าพเจ้าขอสดุดีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ด้วยคาถามีอาทิดังนี้แสดงธรรมตลอดชีวิต
จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในสวรรค์
[๒๑๒] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้ากล่าวสดุดีพระพุทธเจ้าไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการกล่าวสดุดี
[๒๑๓] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้ครองราชสมบัติที่ยิ่งใหญ่อันเป็นทิพย์ในเทวโลก
ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิเสวยราชสมบัติที่ยิ่งใหญ่เป็นอันมาก
[๒๑๔] ข้าพเจ้าเกิดเฉพาะใน ๒ ภพ
คือ (๑) ภพเทวดา (๒) ภพมนุษย์
คติอื่นข้าพเจ้าไม่รู้จักเลย
นี้เป็นผลแห่งการกล่าวสดุดี
[๒๑๕] ข้าพเจ้าเกิดเฉพาะใน ๒ ตระกูล
คือ (๑) ตระกูลกษัตริย์ (๒) ตระกูลพราหมณ์
ข้าพเจ้าไม่รู้จักตระกูลต่ำเลย
นี้เป็นผลแห่งการกล่าวสดุดี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๗. อภยเถราปทาน
[๒๑๖] บัดนี้ เป็นภพสุดท้าย ข้าพเจ้ามีนามว่าอภัย
เป็นโอรสของพระเจ้าพิมพิสาร
ในกรุงราชคฤห์ที่อุดมสมบูรณ์
[๒๑๗] ข้าพเจ้าตกอยู่ในอำนาจของปาปมิตร
ถูกนิครนถ์นาฏบุตรให้ลุ่มหลง
ส่งไปเฝ้าพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
[๒๑๘] ข้าพเจ้าทูลถามปัญหาที่ละเอียดสุขุม
ได้ฟังพยากรณ์ที่ประเสริฐ
จึงบวช ไม่นานก็ได้บรรลุอรหัตตผล
[๒๑๙] ข้าพเจ้าได้รับยกย่องทุกเมื่อ
เพราะการสดุดีพระชินเจ้าผู้ประเสริฐ
เป็นผู้มีร่างกายและปากมีกลิ่นหอม
แต่เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยความสุข
[๒๒๐] เพราะอานุภาพแห่งกรรมนั้น
ข้าพเจ้าจึงเป็นผู้มีปัญญาเฉียบแหลม
มีปัญญาแจ่มใส มีปัญญาว่องไว
มีปัญญามาก และมีปฏิภาณที่วิจิตร
[๒๒๑] ข้าพเจ้าเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส
กล่าวสดุดีพระสยัมภูพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้ไม่มีใครเสมอเหมือน
ด้วยผลแห่งกรรมนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่ได้ไปบังเกิด
ในอบายภูมิตั้งหลายแสนกัป
[๒๒๒] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๘. โลมสติยเถราปทาน
[๒๒๓] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๒๒๔] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระอภยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
อภยเถราปทานที่ ๗ จบ

๘. โลมสติยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระโลมสติยเถระ
(พระโลมสติยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๒๒๕] ในภัทรกัป๑นี้ พระชินเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของพราหมณ์
มีพระยศยิ่งใหญ่ พระนามว่ากัสสปะ ตามพระโคตร
ประเสริฐกว่าเจ้าลัทธิทั้งหลาย เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว
[๒๒๖] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าและสหายชื่อจันทนะ
บรรพชาในศาสนาแล้ว
ได้บำเพ็ญกิจในศาสนาจนตลอดชีวิต
[๒๒๗] ข้าพเจ้าทั้ง ๒ จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว
ได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต

เชิงอรรถ :
๑ กัปมี ๔ คือ (๑) กัปที่มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นองค์เดียว ชื่อว่าสารกัป (๒) กัปที่มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น ๒
หรือ ๓ องค์ ชื่อว่าวรกัป (๓) กัปที่มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น ๔ องค์ ชื่อว่ามัณฑกัป (๔) กัปที่มีพระ
พุทธเจ้าอุบัติขึ้น ๕ องค์ ชื่อว่าภัทรกัป ในภัทรกัปนี้มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น ๕ องค์ คือ พระกกุสันธ
พุทธเจ้า พระโกนาคมนพุทธเจ้า พระกัสสปพุทธเจ้า พระโคดมพุทธเจ้า พระเมตเตยยพุทธเจ้า (ขุ.อป.อ.
๒/๒๒๕/๓๓๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๘. โลมสติยเถราปทาน
ข่มเทพบุตรที่เหลือในสวรรค์ชั้นดุสิตนั้น
ด้วยการฟ้อน การขับร้อง การประโคม
[๒๒๘] และด้วยองค์ ๑๐ มีรูปเป็นต้นอันเป็นทิพย์
เสวยความสุขเป็นอันมากอยู่จนตลอดอายุ
[๒๒๙] จุติจากสวรรค์ชั้นดุสิตนั้นแล้ว
จันทเทพบุตรได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ส่วนข้าพเจ้าได้เกิดเป็นโอรสของเจ้าศากยะในกรุงกบิลพัสดุ์
[๒๓๐] ในคราวที่พระศาสดาทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ซึ่งพระอุทายีเถระทูลเชิญเสด็จถึงกรุงกบิลพัสดุ์
เพื่อทรงอนุเคราะห์เจ้าศากยะ
[๒๓๑] ครั้งนั้น พวกเจ้าศากยะมีมานะจัด
ไม่รู้คุณของพระพุทธเจ้า เป็นคนกระด้างเพราะชาติตระกูล
ไม่เอื้อเฟื้อ ไม่นอบน้อมพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
[๒๓๒] พระชินเจ้าทรงทราบความดำริ
ของเจ้าศากยะเหล่านั้น
จึงได้เสด็จจงกรมในอากาศ เหมือนเมฆฝนตกลง
และเหมือนเปลวไฟที่ลุกโพลงอยู่
[๒๓๓] ทรงแสดงพระรูปที่ไม่มีที่เปรียบแล้วอันตรธานไป
แม้พระองค์เดียวก็เนรมิตเป็นหลายองค์ได้
แล้วกลับเป็นองค์เดียวเหมือนเดิม
[๒๓๔] พระมุนีทรงแสดงความมืดและแสงสว่าง
ทรงกระทำปาฏิหาริย์มากมาย
ทรงปราบพวกพระญาติจนหมดมานะ
[๒๓๕] ขณะนั้นเอง มหาเมฆที่ตั้งขึ้นในทวีปทั้ง ๔ ทำฝนให้ตกแล้ว
ก็ในครั้งนั้น พระพุทธเจ้าได้แสดงเวสสันดรชาดก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๘. โลมสติยเถราปทาน
[๒๓๖] ครั้งนั้น กษัตริย์เหล่านั้นทุกพระองค์
กำจัดความมัวเมาที่เกิดจากชาติตระกูลได้แล้ว
ถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะ
ในครั้งนั้น พระเจ้าสุทโธทนะได้ตรัสว่า
[๒๓๗] ข้าแต่พระองค์ผู้มีปัญญาเสมอด้วยแผ่นดิน
ทรงมีสมันตจักษุ ครั้งนี้เป็นครั้งที่ ๓
ที่หม่อมฉันถวายบังคมพระบาทของพระองค์
(ครั้งที่ ๑) ในคราวที่พระองค์ประสูติแผ่นดินไหว
(ครั้งที่ ๒) ในคราวที่เงาต้นหว้าไม่ละพระองค์
[๒๓๘] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเห็นพุทธานุภาพนั้นแล้ว
เกิดอัศจรรย์ใจ จึงได้บรรพชา เป็นผู้บูชามารดา
ได้อาศัยอยู่ในกรุงกบิลพัสดุ์นั้นเอง
[๒๓๙] ครั้งนั้น จันทเทพบุตรได้เข้ามาหาข้าพเจ้าแล้ว
ถามถึงนัยทั้งโดยย่อและพิสดารแห่งภัทเทกรัตตสูตร๑
[๒๔๐] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าถูกจันทเทพบุตรตักเตือนแล้ว
จึงเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นผู้นำของนรชน
ได้ฟังภัทเทกรัตตสูตร เป็นผู้สลดใจต้องการอยู่ป่า
[๒๔๑] ได้บอกลามารดาว่า จักอยู่ป่าแต่เพียงผู้เดียว
เมื่อถูกมารดาห้ามปรามว่า
ลูกเป็นคนละเอียดอ่อน ข้าพเจ้าก็ได้ตอบว่า
[๒๔๒] ข้าพเจ้าจักใช้อกบดขยี้หญ้าคา หญ้าเลา หญ้าแฝก
หญ้าปล้อง และหญ้ามุงกระต่าย
ให้แหลกละเอียดทั้งหมด พอกพูนวิเวก

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ม.อุ. (แปล) ๑๔/๒๗๒-๒๗๕/๓๑๙-๓๒๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๘. โลมสติยเถราปทาน
[๒๔๓] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเข้าป่าจึงได้บรรลุอรหัตตผล
นึกถึงคำสอนของพระชินเจ้า
เพราะระลึกถึงคำสอนของพระชินเจ้า คือ ภัทเทกรัตโตวาทว่า
[๒๔๔] บุคคลไม่ควรนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
ไม่ควรหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง
สิ่งใดที่ล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว
สิ่งใดที่ยังไม่มาถึง สิ่งนั้นก็ยังไม่เกิดขึ้น
[๒๔๕] ส่วนบุคคลใดเห็นแจ้งธรรมที่เป็นปัจจุบัน
ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้น ๆ
บุคคลนั้นควรเจริญธรรมนั้นให้แจ่มแจ้ง
[๒๔๖] บุคคลควรทำความเพียรตั้งแต่วันนี้ทีเดียว
ใครเล่าจะรู้ว่า ความตายจักมีในวันพรุ่งนี้
เพราะว่าความผัดเพี้ยนกับมัจจุราชมีเสนานั้น
ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย
[๒๔๗] พระมุนีผู้สงบเรียกบุคคลผู้มีความเพียร
ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน
ซึ่งมีปกติอยู่อย่างนี้นั้นแลว่า ผู้มีราตรีเดียวเจริญ ดังนี้
[๒๔๘] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๒๔๙] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๙. วนวัจฉเถราปทาน
[๒๕๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระโลมสติยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
โลมสติยเถราปทานที่ ๘ จบ

๙. วนวัจฉเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระวนวัจฉเถระ
(พระวนวัจฉเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๒๕๑] ในภัทรกัปนี้ พระชินเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของพราหมณ์
มีพระยศยิ่งใหญ่ พระนามว่ากัสสปะ ตามพระโคตร
ประเสริฐกว่าเจ้าลัทธิทั้งหลาย เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว
[๒๕๒] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าบวชในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ประพฤติพรหมจรรย์จนตลอดชีวิต
จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว
[๒๕๓] ด้วยกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๒๕๔] จุติจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้นแล้ว ได้เกิดเป็นนกพิราบอยู่ในป่า
ในป่านั้นมีภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยคุณ
ยินดีในฌานทุกเมื่อ อาศัยอยู่
[๒๕๕] ท่านเป็นผู้มีจิตเมตตา ประกอบด้วยกรุณา
มีหน้าอิ่มเอิบทุกเมื่อ มีจิตวางเฉย
มีความเพียรมาก ฉลาดในอัปปมัญญา๑

เชิงอรรถ :
๑ อัปปมัญญา หมายถึงจิตที่ประกอบด้วยเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ซึ่งแผ่ไปโดยไม่มีขอบเขต ไม่มี
ประมาณ (ที.ปา. (แปล) ๑๑/๓๐๘/๒๘๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๙. วนวัจฉเถราปทาน
[๒๕๖] มีความดำริปราศจากนิวรณ์๑
มีอัธยาศัยมุ่งประโยชน์แก่สรรพสัตว์ โดยไม่นาน
ข้าพเจ้าก็มีความคุ้นเคยในสาวกของพระสุคตองค์นั้น
[๒๕๗] เมื่อข้าพเจ้าไปเกาะอยู่แทบเท้าของท่าน
ผู้นั่งอยู่ในอาศรม ในครั้งนั้น บางครั้งท่านก็ให้อาหาร
บางครั้งท่านก็แสดงธรรม
[๒๕๘] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเข้าไปหาท่านผู้เป็นโอรสของพระชินเจ้า
ด้วยความรักอันไพบูลย์ จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว
ได้ไปเกิดในสวรรค์ประหนึ่งจากที่อยู่
แล้วกลับไปยังที่อยู่ของตนฉะนั้น
[๒๕๙] ข้าพเจ้าจุติจากสวรรค์แล้ว
บังเกิดในหมู่มนุษย์ด้วยบุญกรรม
ได้สละเรือนออกบวชโดยมาก
[๒๖๐] ข้าพเจ้าเป็นสมณะ ดาบส พราหมณ์
ปริพาชกอยู่ในป่ามานานหลายร้อยชาติ
[๒๖๑] บัดนี้ เป็นภพสุดท้าย ข้าพเจ้าหยั่งลงสู่ครรภ์
แห่งภรรยาของพราหมณ์วัจฉโคตร
ในกรุงกบิลพัสดุ์ที่น่ารื่นรมย์
[๒๖๒] เมื่อข้าพเจ้ายังอยู่ในครรภ์มารดาของข้าพเจ้าแพ้ท้อง
ในเวลาที่ข้าพเจ้าใกล้คลอด ท่านตัดสินใจที่จะอยู่ป่า
[๒๖๓] จากนั้น มารดาของข้าพเจ้าได้คลอดข้าพเจ้า
ที่ชายป่าที่น่ารื่นรมย์
เมื่อข้าพเจ้าคลอดจากครรภ์มารดา
ชนทั้งหลายใช้ผ้ากาสายะรองรับไว้

เชิงอรรถ :
๑ นิวรณ์ หมายถึงธรรมกั้นจิตไม่ให้บรรลุความดีมี ๕ อย่าง คือ (๑) กามฉันทะ ความพอใจในกาม
(๒) พยาบาท ความคิดร้าย (๓) ถีนมิทธะ ความหดหู่และเซื่องซึม (๔) อุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่าน
และร้อนใจ (๕) วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย (ที.ปา. (แปล) ๑๑/๓๑๕/๓๐๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๙. วนวัจฉเถราปทาน
[๒๖๔] ขณะนั้น พระสิทธัตถราชกุมาร
ผู้เป็นดังธงชัยของศากยวงศ์ก็ทรงประสูติ
ข้าพเจ้าเป็นสหายรักสนิทชิดชอบกันของพระองค์
[๒๖๕] เมื่อพระองค์ทรงละยศที่ไพบูลย์
เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์
โดยมุ่งสาระประโยชน์แก่หมู่สัตว์
แม้ข้าพเจ้าก็ออกบวชแล้วเข้าไปยังป่าหิมพานต์
[๒๖๖] ข้าพเจ้าพบพระกัสสปะผู้อยู่ป่า
ผู้ควรสรรเสริญ ผู้บอกกล่าวเรื่องธุดงค์
ก็ได้ฟังข่าวว่า พระชินเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นแล้ว
จึงได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นสารถีฝึกนรชน
[๒๖๗] พระองค์ได้ทรงแสดงธรรม
ประกาศประโยชน์ทุกประการแก่ข้าพเจ้า
จากนั้น ข้าพเจ้าบวชแล้วเข้าไปยังป่าตามเดิม
[๒๖๘] เมื่อข้าพเจ้าอยู่ในป่านั้น
เป็นผู้ไม่ประมาทก็ได้สำเร็จอภิญญา ๖
โอ เราผู้ที่พระศาสดาผู้ทรงเป็นกัลยาณมิตรทรงอนุเคราะห์แล้ว
เป็นผู้มีลาภที่ได้ดีแล้วหนอ
[๒๖๙] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๒๗๐] การที่ข้าพเจ้าได้มาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๑๐. จูฬสุคันธเถราปทาน
[๒๗๑] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระวนวัจฉเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
วนวัจฉเถราปทานที่ ๙ จบ

๑๐. จูฬสุคันธเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระจูฬสุคันธเถระ
(พระจูฬสุคันธเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๒๗๒] ในภัทรกัปนี้ พระชินเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของพราหมณ์
มีพระยศยิ่งใหญ่ พระนามว่ากัสสปะ ตามพระโคตร
ประเสริฐกว่าเจ้าลัทธิทั้งหลาย เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว
[๒๗๓] พระองค์สมบูรณ์ด้วยอนุพยัญชนะ
มีพระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ๑
มีพระรัศมีล้อมรอบข้างละวา
ทรงประกอบด้วยข่ายรัศมี
[๒๗๔] ทรงทำหมู่สัตว์ให้ยินดีได้เหมือนดวงจันทร์
เปล่งพระรัศมีเหมือนดวงอาทิตย์
ทำหมู่สัตว์ให้เยือกเย็นได้เหมือนเมฆฝน
เป็นบ่อเกิดแห่งคุณเหมือนทะเล(เป็นบ่อเกิดแห่งรัตนะ)
[๒๗๕] พระองค์เปรียบดังแผ่นดินโดยศีล
เปรียบดังภูเขาหิมพานต์โดยสมาธิ
เปรียบดังอากาศโดยปัญญา
เป็นผู้ไม่ข้องเกี่ยว(กับอะไร ๆ) เหมือนสายลม

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถหน้า ๑๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๑๐. จูฬสุคันธเถราปทาน
[๒๗๖] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเกิดในตระกูลใหญ่
ที่มีทรัพย์และธัญญาหารมากมาย
เป็นที่สั่งสมรัตนะต่าง ๆ ในกรุงพาราณสี
[๒๗๗] ข้าพเจ้าได้เข้าเฝ้าพระผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ซึ่งประทับนั่งอยู่กับบริวารจำนวนมาก
ได้ฟังอมตธรรมที่นำมาซึ่งความยินดีแห่งจิต
[๒๗๘] พระพุทธองค์ทรงมีพระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ๑
เหมือนดวงจันทร์ซึ่งเป็นนักษัตรที่งาม
ทรงสมบูรณ์ด้วยอนุพยัญชนะ
เหมือนต้นพญาไม้สาละมีดอกบานสะพรั่ง
[๒๗๙] มีข่ายคือพระรัศมีแวดล้อม
เหมือนสุวรรณบรรพตมีรัศมีรุ่งเรือง
มีพระรัศมีล้อมรอบด้านละวา
เหมือนดวงอาทิตย์มีรัศมีเป็นร้อย
[๒๘๐] มีพระพักตร์เหมือนทองคำ
เป็นพระชินเจ้าผู้ประเสริฐ
เป็นดังขุนเขาที่ให้เกิดความยินดี
มีพระทัยเต็มด้วยพระกรุณา
มีพระคุณดุจสาคร
[๒๘๑] มีพระเกียรติปรากฏแก่ชาวโลก
เหมือนภูเขาสิเนรุซึ่งเป็นขุนเขาสูงสุด
มีพระยศแผ่ไป เป็นนักปราชญ์
เป็นผู้มีความรู้ดังอากาศ
[๒๘๒] มีพระหฤทัยไม่ข้องเกี่ยวในที่ทั้งปวงเหมือนสายลม
ทรงเป็นผู้นำ ทรงเป็นที่พึ่งของสรรพสัตว์ดังแผ่นดิน
ทรงเป็นพระมุนีผู้ประเสริฐ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถหน้า ๑๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๑๐. จูฬสุคันธเถราปทาน
[๒๘๓] ไม่ถูกโลกธรรมแปดเปื้อน
เหมือนดอกบัวไม่เปื้อนด้วยน้ำ
ประทับอยู่ดังกองไฟที่เผาเสี้ยนตอคือวาทะชั่ว
[๒๘๔] พระองค์ทรงเป็นเหมือนยาบำบัดโรค ในที่ทั้งปวง
ทรงทำลายยาพิษคือกิเลสให้พินาศ
ทรงประดับด้วยสุคนธชาติคือคุณ
เหมือนยอดเขาคันธมาทน์
[๒๘๕] ทรงเป็นนักปราชญ์ซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งคุณ
ดังทะเลเป็นบ่อเกิดแห่งรัตนะ
และทรงเป็นผู้ประเสริฐกว่านรชน
ดังม้าสินธพชาติอาชาไนย
ทรงกำจัดมลทินคือกิเลส
[๒๘๖] ทรงย่ำยีมารและเสนามารได้
เหมือนขุนพลผู้มีชัยโดยพิเศษ
ทรงเป็นใหญ่เพราะรัตนะคือโพชฌงค์ ๗๑
เหมือนพระเจ้าจักรพรรดิทรงเป็นใหญ่
เพราะรัตนะ ๗ ประการ๒ ฉะนั้น
[๒๘๗] ทรงเป็นผู้เยียวยาพยาธิคือโทสะเหมือนหมอใหญ่รักษาไข้
ทรงผ่าฝีคือทิฏฐิเหมือนศัลยแพทย์ผู้ประเสริฐ
[๒๘๘] ครั้งนั้น พระพุทธองค์ทรงส่องโลกให้สว่าง
อันมนุษย์และเทวดาสักการะแล้ว
เป็นดังดวงตะวันส่องแสงสว่างให้แก่นรชน
ทรงแสดงธรรมในท่ามกลางบริษัท

เชิงอรรถ :
๑ ที.ปา. (แปล) ๑๑/๓๓๐/๓๓๑
๒ รัตนะ ๗ ประการ คือ (๑) จักกรัตนะ (จักรแก้ว) (๒) หัตถิรัตนะ (ช้างแก้ว) (๓) อัสสรัตนะ
(ม้าแก้ว) (๔) มณิรัตนะ (มณีแก้ว) (๕) อิตถีรัตนะ (นางแก้ว) (๖) คหปติรัตนะ (ขุนคลังแก้ว)
(๗) ปริณายกรัตนะ (ขุนพลแก้ว) (ที.ม. (แปล) ๑๐/๓๓/๑๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๑๐. จูฬสุคันธเถราปทาน
[๒๘๙] พระองค์ทรงพร่ำสอนอย่างนี้ว่า
บุคคลจะเป็นผู้มีโภคสมบัติมากได้ก็เพราะการถวายทาน
จะเข้าถึงสุคติได้ก็เพราะศีล
จะดับกิเลสได้ก็เพราะการเจริญภาวนา
[๒๙๐] บริษัททั้งหลายทั้งปวงฟังเทศนานั้นที่มีความเบาใจมาก
ซึ่งไพเราะทั้งเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุด
มีรสเลิศประหนึ่งน้ำอมฤต
[๒๙๑] ข้าพเจ้าได้ฟังพระธรรมที่ไพเราะยิ่ง
ก็เกิดความเลื่อมใสในศาสนาของพระชินเจ้า
จึงถึงพระสุคตเป็นที่พึ่งนอบน้อมบูชาจนตลอดชีวิต
[๒๙๒] ครั้งนั้น ข้าพเจ้านั้นได้ใช้คันธชาติ ๔ ชนิด๑
ทาพื้นพระคันธกุฎีของพระมุนีเดือนละ ๘ วัน
[๒๙๓] โดยตั้งปณิธานให้สรีระที่ปราศจากกลิ่นหอมให้มีกลิ่นหอม
ครั้งนั้น พระชินเจ้าได้ตรัสพยากรณ์
ข้าพเจ้าผู้ต้องการได้กายมีกลิ่นหอมว่า
[๒๙๔] นรชนใด ใช้ของหอมทาพื้นพระคันธกุฎีคราวเดียว
ด้วยผลของกรรมนั้น นรชนนั้นเกิดในภพใดภพหนึ่ง
[๒๙๕] นรชนนี้จักเป็นผู้มีกลิ่นกายหอมไปทุก ๆ ชาติ
จักเป็นผู้ประกอบด้วยกลิ่นคือคุณ ไม่มีอาสวะแล้วนิพพาน
[๒๙๖] ด้วยกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

เชิงอรรถ :
๑ คันธชาติ ๔ ชนิด คือ (๑) กลิ่นที่เกิดจากราก (๒) กลิ่นที่เกิดจากแก่น (๓) กลิ่นที่เกิดจากดอก
(๔) กลิ่นที่เกิดจากใบ (องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๘๐/๓๐๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๑๐. จูฬสุคันธเถราปทาน
[๒๙๗] บัดนี้ เป็นภพสุดท้าย ข้าพเจ้าเกิดในตระกูลพราหมณ์
เมื่อข้าพเจ้ายังอยู่ในครรภ์มารดา
มารดาเป็นหญิงมีกายมีกลิ่นหอม
[๒๙๘] และในเวลาที่ข้าพเจ้าคลอดจากครรภ์มารดานั้น
กรุงสาวัตถีหอมฟุ้งเหมือนอบด้วยกลิ่นหอมทุกอย่าง
[๒๙๙] ขณะนั้น ฝนดอกไม้ที่หอมหวล
กลิ่นทิพย์ที่น่ารื่นรมย์ใจ และธูปมีค่ามากก็หอมฟุ้งไป
[๓๐๐] ข้าพเจ้าเกิดในเรือนหลังใด
เรือนหลังนั้น เทวดาได้ใช้ธูปและดอกไม้
ล้วนแต่มีกลิ่นหอมและเครื่องหอมมาอบ
[๓๐๑] ในเวลาที่ข้าพเจ้ายังเยาว์และเจริญวัยดำรงอยู่ในปฐมวัย
พระศาสดาผู้เป็นสารถีฝึกนรชน
ทรงแนะนำบริษัทของพระองค์ที่เหลือแล้ว
[๓๐๒] มีสาวกเหล่านั้นทั้งหมดแวดล้อมเสด็จมาถึงกรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้เห็นพุทธานุภาพนั้นแล้วจึงออกบวช
[๓๐๓] ข้าพเจ้าเจริญธรรม ๔ ประการ
คือ ศีล สมาธิ ปัญญา และวิมุตติอันยอดเยี่ยม
แล้วบรรลุธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะ
[๓๐๔] ในคราวที่ข้าพเจ้าออกบวช
ในคราวที่ข้าพเจ้าเป็นพระอรหันต์
และในคราวที่ข้าพเจ้าจักปรินิพพาน
ได้มีฝนซึ่งมีกลิ่นหอม(ตกลงมา)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] ๑๐. จูฬสุคันธเถราปทาน
[๓๐๕] ก็กลิ่นกายที่ประเสริฐสุดของข้าพเจ้า
ครอบงำจันทน์ ดอกจำปาและดอกอุบลซึ่งมีค่ามากได้
และข้าพเจ้าไปในที่ใด ๆ
ก็จะส่งกลิ่นฟุ้งไปทั่วเหนือกลิ่นหอมนอกนี้ได้
[๓๐๖] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๓๐๗] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๓๐๘] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระจูฬสุคันธเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
จูฬสุคันธเถราปทานที่ ๑๐ จบ
ภัททิยวรรคที่ ๕๕ จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๕. ภัททิยวรรค] รวมอปทานที่มีในวรรค
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ลกุณฏกภัททิยเถราปทาน ๒. กังขาเรวตเถราปทาน
๓. สีวลีเถราปทาน ๔. วังคีสเถราปทาน
๕. นันทกเถราปทาน ๖. กาฬุทายีเถราปทาน
๗. อภยเถราปทาน ๘. โลมสติยเถราปทาน
๙. วนวัจฉเถราปทาน ๑๐. จูฬสุคันธเถราปทาน

ในวรรคนี้ บัณฑิตนับคาถาได้ ๓๑๖ คาถา

รวมวรรค

๑. กณิการวรรค ๒. ผลทายกวรรค
๓. ติณทายกวรรค ๔. กัจจายนวรรค
๕. ภัททิยวรรค

บัณฑิตนับคาถาไว้แผนกหนึ่งรวมได้ ๙๘๔ คาถา
และประกาศอปทานรวมได้ ๕๕๖ อปทาน
พร้อมทั้งอุทานคาถา มีคาถารวม ๖,๒๑๘ คาถา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๖. ยสวรรค] ๑. ยสเถราปทาน
๕๖. ยสวรรค
หมวดว่าด้วยพระยสเถระเป็นต้น
๑. ยสเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระยสเถระ
(พระยสเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑] วิมาน ข้าพเจ้าได้สร้างไว้ดีแล้ว
ให้ยื่นลงไปในมหาสมุทร
สระโบกขรณีข้าพเจ้าก็สร้างไว้ดีแล้ว
ทั้งยังมีนกจักรพากมาส่งเสียงร้องขับขาน
[๒] ที่วิมานนั้นแม่น้ำก็ดารดาษด้วยบัวเผื่อน
ดอกปทุมและดอกอุบล
มีท่าน้ำราบเรียบน่ารื่นรมย์ใจ
กระแสน้ำก็ไหลไปเอื่อย ๆ
[๓] แม่น้ำนั้นก็ชุกชุมไปด้วยปลาและเต่า
คลาคล่ำไปด้วยนกนานาชนิด มีนกยูง นกกระเรียน
และนกดุเหว่าเป็นต้น ต่างก็ส่งเสียงร้องอย่างไพเราะ
[๔] ที่ริมแม่น้ำนี้มีนกพิราบ นกเป็ดน้ำ
นกจักรพาก นกกาน้ำ นกกระทา
นกสาลิกา นกเขาไฟ นกโพระดก
[๕] หงส์ นกกระเรียน นกเค้าแมว
นกขมิ้นเหลืองอ่อนมากมายพากันส่งเสียงร้อง
แม่น้ำก็สมบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗ ประการ
มีแก้วมณี แก้วมุกดา และแก้วประพาฬเป็นต้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๖. ยสวรรค] ๑. ยสเถราปทาน
[๖] ต้นไม้ทุกชนิดล้วนเป็นทองคำ
แออัดยัดเยียดด้วยลำต้นขนาดต่าง ๆ
ส่องวิมานของข้าพเจ้าให้สว่าง
ทั้งกลางวันและกลางคืน ตลอดกาลทุกเมื่อ
[๗] เครื่องดนตรี ๖๐,๐๐๐ ชิ้นก็บรรเลงอยู่ทั้งเช้าและเย็น
สตรี ๑๖,๐๐๐ นาง ก็แวดล้อมข้าพเจ้าอยู่ทุกเมื่อ
[๘] ข้าพเจ้าเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดีออกจากวิมานแล้ว
กราบไหว้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสุเมธะ
ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก มีพระยศยิ่งใหญ่พระองค์นั้น
[๙] ข้าพเจ้าครั้นถวายอภิวาทพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว
จึงทูลนิมนต์พระพุทธองค์พร้อมทั้งภิกษุสงฆ์
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสุเมธะ ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ทรงเป็นนักปราชญ์พระองค์นั้น ทรงรับนิมนต์แล้ว
[๑๐] พระมหามุนี ทรงแสดงธรรมีกถาแก่ข้าพเจ้าแล้ว
จึงส่งข้าพเจ้าไป ข้าพเจ้าถวายอภิวาทพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว
จึงเข้าสู่วิมานของตน
[๑๑] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเรียกบริวารชนมาประชุมกันทั้งหมด
โดยแจ้งให้ทราบว่า พระพุทธเจ้าจะเสด็จมายังวิมานของเรา
ในเวลาเช้า
[๑๒] การที่พวกเราอยู่ในที่ใกล้ของพระองค์
นับว่าเป็นลาภของพวกเราที่พวกเราได้ดีแล้ว
แม้พวกเราก็จักได้บูชาพระศาสดา
ผู้เป็นพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๖. ยสวรรค] ๑. ยสเถราปทาน
[๑๓] ข้าพเจ้าจัดตั้งข้าวน้ำเสร็จแล้ว
จึงให้คนไปกราบทูลบอกเวลา
พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ได้เสด็จมาถึงพร้อมด้วยพระอรหันต์ ๑๐๐,๐๐๐ รูป ผู้ได้วสี
[๑๔] ข้าพเจ้าได้รับเสด็จด้วยดนตรีประกอบด้วยองค์ ๕๑
พระพุทธเจ้าผู้เป็นบุรุษสูงสุด
ประทับนั่งบนตั่งที่เป็นทองคำล้วน
[๑๕] คราวนั้น เครื่องมุงเบื้องบนเป็นทองคำล้วน
เหล่าชนพากันกระพือพัดภิกษุสงฆ์ผู้ยอดเยี่ยม
[๑๖] ข้าพเจ้าเลี้ยงภิกษุสงฆ์
ให้อิ่มหนำด้วยข้าวน้ำอย่างเพียงพอ
ได้ถวายผ้าแก่ภิกษุสงฆ์องค์ละคู่
[๑๗] พระพุทธเจ้าพระนามว่าสุเมธะ
ผู้สมควรรับเครื่องบูชาพระองค์นั้น
ประทับนั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์แล้ว
ได้ตรัสคำเป็นพระคาถาเหล่านี้ว่า
[๑๘] เราจักประกาศเกียรติคุณ
ของผู้ที่เลี้ยงเราและภิกษุเหล่านี้ทั้งหมด
ให้อิ่มหนำด้วยข้าวและน้ำ
ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าวเถิด
[๑๙] ผู้นั้นจักรื่นเริงในเทวโลกตลอด ๑,๘๐๐ กัป
จักเกิดเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๑,๐๐๐ ชาติ

เชิงอรรถ :
๑ ดนตรีประกอบด้วยองค์ ๕ คือ (๑) อาตตะ (โทน) (๒) วิตตะ (ตะโพน) (๓) อาตตวิตตะ (บันเฑาะว์)
(๔) ฆานะ (กังสดาล) (๕) สุสิระ (ปี่,สังข์) (ขุ.วิ.อ. ๓๔/๓๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๖. ยสวรรค] ๑. ยสเถราปทาน
[๒๐] เขาจะเกิดยังกำเนิดใด
คือจะเป็นกำเนิดเทวดาหรือกำเนิดมนุษย์ก็ตาม
เขาจักมีเครื่องมุงบังที่เป็นทองคำล้วนคอยกางกั้น
[๒๑] ในกัปที่ ๓๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้
พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร
ทรงสมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก
[๒๒] เขาจักเป็นธรรมทายาทของพระศาสดาพระองค์นั้น
เป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต
กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงเป็นผู้ไม่มีอาสวะแล้วนิพพาน
[๒๓] เขาจักนั่งในท่ามกลางพระสงฆ์ บันลือสีหนาท
ชนทั้งหลายคอยกั้นฉัตรให้เขาแม้ที่เชิงตะกอน
เขาจักถูกเผาภายใต้ฉัตร
[๒๔] สามัญผลข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ข้าพเจ้าไม่มีความสะดุ้งไม่ว่าจะเป็นที่มณฑปหรือที่โคนไม้
[๒๕] ในกัปที่ ๓๐,๐๐๐ (นับจากกัปนี้ไป)
ข้าพเจ้าได้ถวายทานไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายทานทั้งปวง
[๒๖] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๒๗] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๖. ยสวรรค] ๒. นทีกัสสปเถราปทาน
[๒๘] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระยสเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ยสเถราปทานที่ ๑ จบ

๒. นทีกัสสปเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระนทีกัสสปเถระ
(พระนทีกัสสปเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๒๙] เมื่อพระผู้มีพระภาคพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้เจริญที่สุดในโลก ผู้คงที่ ผู้เป็นพระศาสดา
เสด็จโคจรบิณฑบาต
ข้าพเจ้าได้ถือผลไม้ที่มีรสเลิศ อันยอดเยี่ยม มีชื่อเสียง
ตามวาระได้ถวายแด่พระองค์
[๓๐] เพราะกรรมนั้น ข้าพเจ้าได้เกิดเป็นจอมเทพ
ผู้เจริญที่สุดในโลก เป็นผู้องอาจกว่านรชน
ละความชนะและความพ่ายแพ้ได้แล้ว
บรรลุฐานะที่ไม่หวั่นไหว
[๓๑] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายผลไม้ไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้ที่มีรสเลิศ
[๓๒] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๖. ยสวรรค] ๓. คยากัสสปเถราปทาน
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๓๓] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๓๔] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระนทีกัสสปเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
นทีกัสสปเถราปทานที่ ๒ จบ

๓. คยากัสสปเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระคยากัสสปเถระ
(พระคยากัสสปเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๓๕] ครั้งนั้น ข้าพเจ้านุ่งห่มหนังสัตว์
สะพายหาบบริขาร
ได้นำหาบใส่ผลกระเบาไปอาศรม
[๓๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคชินเจ้าพระองค์เดียว
ไม่มีสาวกติดตาม ทรงมีพระรัศมีโชติช่วงตลอดกาลทั้งปวง
ได้เสด็จเข้ามายังอาศรมของข้าพเจ้า
[๓๗] ข้าพเจ้าทำจิตของตนให้เลื่อมใส
ถวายอภิวาทพระชินเจ้าผู้มีวัตรงดงาม
ถวายผลกระเบาแด่พระพุทธเจ้าด้วยมือทั้ง ๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๖. ยสวรรค] ๔. กิมิลเถราปทาน
[๓๘] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้
ข้าพเจ้าได้ถวายผลไม้ไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลกระเบา
[๓๙] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๔๐] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๔๑] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระคยากัสสปเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
คยากัสสปเถราปทานที่ ๓ จบ

๔. กิมิลเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระกิมิลเถระ
(พระกิมิลเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๔๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากกุสันธะ
ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของพราหมณ์ ทรงอยู่จบพรหมจรรย์
เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว
ข้าพเจ้าถือเอาพวงมาลัยดอกสนไปให้ช่างทำมณฑป(สถูป)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๖. ยสวรรค] ๔. กิมิลเถราปทาน
[๔๓] ข้าพเจ้าไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ได้วิมานชั้นสูงสุด รุ่งเรืองล่วงเทวดาเหล่าอื่น
นี้เป็นผลแห่งบุญกรรม
[๔๔] ข้าพเจ้าเมื่อจงกรมและยืนอยู่ในเวลากลางวัน
หรือกลางคืนก็ตาม ก็มีดอกสนมุงบัง
นี้เป็นผลแห่งบุญกรรม
[๔๕] ในกัปนี้เอง ข้าพเจ้าได้บูชาพระพุทธเจ้าไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๔๖] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๔๗] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๔๘] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระกิมิลเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
กิมิลเถราปทานที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๖. ยสวรรค] ๕. วัชชีปุตตเถราปทาน
๕. วัชชีปุตตเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระวัชชีบุตรเถระ
(พระวัชชีบุตรเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๔๙] พระผู้มีพระภาคพระนามว่าสหัสสรังสี
ทรงเป็นพระสยัมภู ผู้ไม่ทรงพ่ายแพ้
ทรงออกจากวิเวกแล้ว เสด็จออกโคจรบิณฑบาต
[๕๐] ข้าพเจ้าถือผลไม้อยู่เห็นแล้วจึงไปใกล้พระพุทธองค์
ผู้องอาจกว่านรชน เป็นผู้มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี
ได้ถวายผลไม้พร้อมทั้งขั้ว
[๕๑] ในกัปที่ ๙๔ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายผลไม้ไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
[๕๒] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๕๓] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๕๔] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระวัชชีบุตรเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
วัชชีปุตตเถราปทานที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๖. ยสวรรค] ๖. อุตตรเถราปทาน
๖. อุตตรเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอุตตรเถระ
(พระอุตตรเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๕๕] พระผู้มีพระภาคสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสุเมธะ
มีพระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ๑
พระองค์ผู้มีวิเวกเป็นเยี่ยม จึงเสด็จเข้าไปยังป่าหิมพานต์
[๕๖] ครั้นเสด็จถึงป่าหิมพานต์แล้ว พระมุนีผู้เลิศ
ผู้เป็นบุรุษสูงสุด ทรงประกอบด้วยพระกรุณา
ก็ประทับนั่งขัดสมาธิ
[๕๗] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นวิทยาธรสัญจรไปในอากาศ
ถือหลาวคมซึ่งทำดีแล้ว เหาะไปในท้องฟ้า
[๕๘] พระพุทธเจ้าทรงทำป่าใหญ่ให้สว่างไสว
เหมือนไฟบนยอดภูเขา เหมือนดวงจันทร์ในวันเพ็ญ
เหมือนต้นพญาไม้สาละซึ่งมีดอกบานสะพรั่ง ฉะนั้น
[๕๙] ข้าพเจ้าเห็นพุทธรังสี มีสีคล้ายเปลวไฟที่ไหม้ไม้อ้อ
พวยพุ่งออกจากป่า จึงทำจิตให้เลื่อมใส
[๖๐] ข้าพเจ้าเลือกเก็บดอกไม้อยู่
ได้เห็นดอกกรรณิการ์ซึ่งมีกลิ่นหอมคล้ายกลิ่นทิพย์
จึงเก็บมา ๓ ดอก ได้บูชาพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
[๖๑] ครั้งนั้น ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า
ดอกไม้ของข้าพเจ้าทั้ง ๓ ดอกกลับขั้วขึ้นหันกลีบดอกลง
ทำเป็นร่มเงาเพื่อพระศาสดา
[๖๒] ด้วยกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถหน้า ๑๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๖. ยสวรรค] ๖. อุตตรเถราปทาน
ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๖๓] ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้น
วิมานสูง ๖๐ โยชน์ กว้าง ๓๐ โยชน์
ซึ่งบุญกรรมสร้างขึ้นอย่างสวยงามเพื่อข้าพเจ้า
รู้จักกันว่ากรรณิการ์วิมาน
[๖๔] ปราสาท ๗ ชั้นสูง ๑,๐๐๐ ชั่วลูกธนู
สะพรั่งไปด้วยธง พราวไปด้วยแก้วมณีสีเขียว
และป้อม ๑๐๐,๐๐๐ ป้อม ปรากฏในวิมานของข้าพเจ้า
[๖๕] บัลลังก์ทองคำ บัลลังก์แก้วมณี
บัลลังก์แก้วทับทิม และบัลลังก์แก้วผลึก
เกิดขึ้นตามปรารถนาตามประสงค์
[๖๖] ที่นอนมีราคามากยัดด้วยนุ่น
มีลวดลายต่าง ๆ มีขนตั้งขึ้นด้านเดียวและหมอนพร้อม
[๖๗] ข้าพเจ้ามีหมู่เทวดาห้อมล้อมออกจากวิมาน
เที่ยวจาริกไปในเทวโลก
ในเวลาที่ปรารถนาจะไป
[๖๘] ยืนอยู่ภายใต้ดอกไม้
ข้าพเจ้ามีดอกไม้เป็นเครื่องมุงบังอยู่เบื้องบน
สถานที่ประมาณ ๑๐๐ โยชน์มุงบังไปด้วยดอกกรรณิการ์
[๖๙] เครื่องดนตรี ๖๐,๐๐๐ ชิ้น บรรเลงกล่อมข้าพเจ้าทั้งเช้าและเย็น
ไม่หยุดหย่อน แวดล้อมข้าพเจ้าเป็นนิตย์ ตลอดคืนตลอดวัน
[๗๐] ในวิมานนั้น ข้าพเจ้ารื่นรมย์ด้วยการฟ้อน
การขับร้อง การเคาะกังสดาล และการประโคม
ข้าพเจ้าเป็นผู้หมกมุ่นในกาม บันเทิงอยู่ด้วยความยินดีในการเล่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๖. ยสวรรค] ๖. อุตตรเถราปทาน
[๗๑] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าบริโภคและดื่มอยู่ในวิมานนั้น
บันเทิงอยู่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ข้าพเจ้าพร้อมด้วยหมู่นางอัปสรบันเทิงอยู่ในวิมานอันอุดม
[๗๒] ข้าพเจ้าครองเทวสมบัติตลอด ๕๐๐ ชาติ
เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๓๐๐ ชาติ
และได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์นับชาติไม่ถ้วน
[๗๓] เมื่อข้าพเจ้าเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพน้อยภพใหญ่
ย่อมได้โภคะมากมาย ข้าพเจ้าไม่มีความบกพร่องในโภคะเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๗๔] ข้าพเจ้าเวียนว่ายตายเกิดอยู่ใน ๒ ภพ
คือ (๑) ภพเทวดา (๒) ภพมนุษย์
คติอื่นข้าพเจ้าไม่รู้จักเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๗๕] ข้าพเจ้าเกิดเฉพาะใน ๒ ตระกูล
คือ (๑) ตระกูลกษัตริย์ (๒) ตระกูลพราหมณ์
ตระกูลต่ำข้าพเจ้าไม่รู้จักเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๗๖] ยานคือช้าง ยานคือม้า วอและคานหาม
ข้าพเจ้าก็ได้รับมาครบถ้วน
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๗๗] หมู่ทาสหญิง ทาสชาย
และเหล่านารีที่ประดับตกแต่งอย่างสวยงาม
ข้าพเจ้าก็ได้รับมาครบถ้วน
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๗๘] ผ้าไหม ผ้ากัมพล ผ้าเปลือกไม้ และผ้าฝ้าย
ข้าพเจ้าก็ได้รับมาครบถ้วน
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๖. ยสวรรค] ๖. อุตตรเถราปทาน
[๗๙] ผ้าใหม่ ผลไม้ใหม่ โภชนะมีรสเลิศใหม่ ๆ
ข้าพเจ้าก็ได้รับมาครบถ้วน
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๘๐] (คำเชื้อเชิญเช่นนี้ว่า) เชิญเคี้ยวกินสิ่งนี้
เชิญบริโภคสิ่งนี้ เชิญนอนบนที่นอนนี้
ข้าพเจ้าก็ได้รับมาครบถ้วน
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๘๑] ข้าพเจ้าเป็นผู้ที่เขาบูชาในที่ทุกสถาน
มียศสูงส่ง มีพวกมาก มีบริวารไม่แตกแยกกันทุกเมื่อ
บรรดาพวกญาติ ข้าพเจ้าเป็นผู้ประเสริฐที่สุด
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๘๒] ข้าพเจ้าไม่รู้จักความหนาว ความร้อน
ทั้งไม่มีความเร่าร้อน
อนึ่ง ทุกข์ทางใจก็ไม่มีในหทัยของข้าพเจ้า
[๘๓] ข้าพเจ้าเป็นผู้มีผิวพรรณดุจทองคำ
เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพน้อยภพใหญ่
ความเป็นผู้ผิวพรรณทรามข้าพเจ้าไม่รู้จักเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๘๔] ข้าพเจ้าถูกกุศลมูลตักเตือนแล้วจุติจากเทวโลก
เกิดในตระกูลมหาศาลที่มั่งคั่งในกรุงสาวัตถี
[๘๕] ข้าพเจ้าได้ละกามคุณ ๕๑ ออกบวชเป็นบรรพชิต
มีอายุได้ ๗ ขวบ ก็ได้บรรลุอรหัตตผล

เชิงอรรถ :
๑ กามคุณ ๕ หมายถึงสิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ ๕ อย่าง คือ รูป,เสียง,กลิ่น,รส และโผฏฐัพพะ
(ที.ปา. (แปล) ๑๑/๓๑๕/๓๐๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๖. ยสวรรค] ๖. อุตตรเถราปทาน
[๘๖] พระพุทธเจ้าผู้มีพระจักษุ
ทรงทราบคุณวิเศษของข้าพเจ้า
จึงให้ข้าพเจ้าอุปสมบท
ข้าพเจ้ามีอายุน้อยอยู่ก็ได้เป็นปูชนียบุคคล
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๘๗] ทิพยจักษุของข้าพเจ้าบริสุทธิ์ ข้าพเจ้าผู้ฉลาดในสมาธิ
ถึงความสำเร็จอภิญญา
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๘๘] ข้าพเจ้าบรรลุปฏิสัมภิทา ฉลาดในอิทธิบาท๑
ถึงความสำเร็จในธรรมทั้งหลาย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๘๙] ในกัปที่ ๓๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้บูชาพระพุทธเจ้าไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๙๐] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๙๑] การที่ข้าพเจ้าได้มาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ อิทธิบาท หมายถึงคุณเครื่องให้ถึงความสำเร็จ มี ๔ อย่าง คือ (๑) ฉันทะ (ความพอใจรักใคร่สิ่งนั้น)
(๒) วิริยะ (ความพยายามทำสิ่งนั้น) (๓) จิตตะ (ความเอาใจฝักใฝ่สิ่งนั้น) (๔) วิมังสา (ความพิจารณา
ใคร่ครวญหาเหตุผลในสิ่งนั้น) (ที.ปา. (แปล) ๑๑/๓๐๖/๒๗๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๖. ยสวรรค] ๗. อปรอุตตรเถราปทาน
[๙๒] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระอุตตรเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
อุตตรเถราปทานที่ ๖ จบ

๗. อปรอุตตรเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอปรอุตตรเถระ
(พระอปรอุตตรเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๙๓] เมื่อพระสิทธัตถโลกนาถ ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว
ข้าพเจ้าได้นำหมู่ญาติของข้าพเจ้ามาทำการบูชาพระธาตุ
[๙๔] ในกัปที่ ๙๔ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้บูชาพระธาตุไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระธาตุ
[๙๕] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๙๖] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๖. ยสวรรค] ๘. ภัททชิเถราปทาน
[๙๗] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระอปรอุตตรเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
อปรอุตตรเถราปทานที่ ๗ จบ

๘. ภัททชิเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระภัททชิเถระ
(พระภัททชิเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๙๘] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าลงสู่สระโบกขรณี
ที่ช้างนานาชนิดอาศัยอาบกิน(ดื่มกิน)
ถอนเหง้าบัวในสระโบกขรณีนั้นขึ้นมา
เพราะเหตุต้องการจะกิน
[๙๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้ทรงผ้ากาสาวะรุ่งเรืองดุจนภาสีทอง
เสด็จเหาะไปในอากาศ
[๑๐๐] ครั้งนั้น พระพุทธองค์ทรงสะบัดผ้าบังสุกุล
ข้าพเจ้าได้ยินเสียงจึงแหงนหน้าขึ้นดู
ได้พบพระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
[๑๐๑] ข้าพเจ้ายืนอยู่ ณ ที่นั้นเอง
ได้ทูลอ้อนวอนพระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลกว่า
น้ำผึ้งพร้อมทั้งเหง้าบัว
น้ำนม เนยใสที่มีอยู่ในก้านบัว มีอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๖. ยสวรรค] ๘. ภัททชิเถราปทาน
[๑๐๒] ขอพระพุทธเจ้าผู้มีพระจักษุจงรับเพื่ออนุเคราะห์ข้าพระองค์เถิด
ลำดับนั้น พระศาสดาผู้ประกอบด้วยพระกรุณา
มีพระยศยิ่งใหญ่เสด็จลงจากอากาศ
[๑๐๓] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีพระจักษุ
ทรงรับภิกษาหารของข้าพเจ้าเพื่อทรงอนุเคราะห์
ครั้นทรงรับภิกษาหารแล้ว
ได้กระทำอนุโมทนาแก่ข้าพเจ้าว่า
[๑๐๔] ท่านผู้มีบุญมาก ขอจงมีความสุขเถิด
คติจงสำเร็จแก่เธอ ด้วยการถวายเหง้าบัวนี้
เธอจงได้รับความสุขอันไพบูลย์เถิด
[๑๐๕] พระชินสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ครั้นตรัสพระดำรัสนี้แล้ว
ทรงรับภิกษาหารแล้วเหาะไปทางอากาศ
[๑๐๖] ลำดับนั้น ข้าพเจ้าถือเหง้าบัวกลับมายังอาศรม
ของข้าพเจ้า แขวนเหง้าบัวไว้ที่ต้นไม้
แล้วระลึกถึงทานของตน
[๑๐๗] ครั้งนั้น ลมพายุใหญ่ก็เกิดขึ้น
ได้พัดป่าให้ปั่นป่วน
ครั้งนั้น อากาศบันลือลั่นและฟ้าผ่าลงมา
[๑๐๘] ลำดับนั้น สายฟ้าผ่าลงที่ศีรษะของข้าพเจ้า
ข้าพเจ้าเป็นผู้นั่งตายในที่นั้นเอง
[๑๐๙] ข้าพเจ้าประกอบด้วยบุญกรรม
จึงไปเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต ทิ้งไว้แต่ซากศพ
ข้าพเจ้าอภิรมย์อยู่ในเทวโลก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๖. ยสวรรค] ๘. ภัททชิเถราปทาน
[๑๑๐] เทพอัปสร ๘๖,๐๐๐ นางล้วนประดับตกแต่งอย่างสวยงาม
ปรนนิบัติข้าพเจ้าทั้งเช้าและเย็น
นี้เป็นผลแห่งการถวายเหง้าบัว
[๑๑๑] ครั้งนั้น ข้าพเจ้ากลับมาเกิดยังกำเนิดมนุษย์
เป็นผู้มีความสุข ข้าพเจ้าไม่มีความพร่องในโภคะเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายเหง้าบัว
[๑๑๒] ข้าพเจ้าอันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเทพยิ่งกว่าเทพ
ผู้คงที่พระองค์นั้นทรงอนุเคราะห์แล้ว อาสวะทั้งปวงก็สิ้นไป
บัดนี้ ภพใหม่ย่อมไม่มี
[๑๑๓] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายเหง้าบัวไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายเหง้าบัว
[๑๑๔] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๑๕] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๑๖] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระภัททชิเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ภัททชิเถราปทานที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๖. ยสวรรค] ๙. สิวกเถราปทาน
๙. สิวกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระสิวกเถระ
(พระสิวกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๑๗] เมื่อพระผู้มีพระภาคพระนามว่าวิปัสสี
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ เสด็จเที่ยวบิณฑบาตอยู่
ข้าพเจ้าเห็นบาตรที่ว่างเปล่า
จึงได้ถวายขนมกุมมาสจนเต็มบาตร
[๑๑๘] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายภิกษาไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายขนมกุมมาส
[๑๑๙] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๒๐] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๒๑] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระสิวกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
สิวกเถราปทานที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๖. ยสวรรค] ๑๐. อุปวานเถราปทาน
๑๐. อุปวานเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอุปวานเถระ
(พระอุปวานเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๒๒] พระชินสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้ถึงความสำเร็จแห่งธรรมทั้งปวง
ทรงรุ่งเรืองดังกองไฟเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว
[๑๒๓] มหาชนมาประชุมกันบูชาพระตถาคต
สร้างจิตกาธานอย่างงดงามแล้ว ยกพระสรีระขึ้นวางไว้
[๑๒๔] ชนเหล่านั้นทั้งหมด พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์
ถวายพระเพลิงพุทธสรีระแล้ว รวบรวมพระธาตุ
พากันสร้างพุทธสถูปไว้ ณ ที่นั้น
[๑๒๕] สถูปชั้นที่ ๑ ทำด้วยทองคำ
ชั้นที่ ๒ ทำด้วยแก้วมณี ชั้นที่ ๓ ทำด้วยเงิน
ชั้นที่ ๔ ทำด้วยแก้วผลึก
[๑๒๖] ที่พระสถูปนั้น ชั้นที่ ๕ ทำด้วยแก้วทับทิม
ชั้นที่ ๖ ทำด้วยแก้วลาย
ชั้นที่สูง ๆ ขึ้นไปจากนี้ทำด้วยแก้วทั้งหมด
[๑๒๗] ร่างร้าน ทำด้วยแก้วมณี
ไพที(แท่นสำหรับวางเครื่องสักการะ) ทำด้วยรัตนะ
องค์พระสถูปทำด้วยทองคำล้วน สูงขึ้นไปหนึ่งโยชน์
[๑๒๘] ครั้งนั้น หมู่เทวดามาประชุมกัน ณ ที่นั้นแล้วร่วมปรึกษากันว่า
ถึงพวกเราก็จักสร้างพระสถูปเพื่อบูชาพระโลกนาถ ผู้คงที่
[๑๒๙] พระบรมสารีริกธาตุไม่แยกกัน คือรวมเป็นกลุ่มเดียวกัน
พวกเราจักสร้างพระสถูปครอบไว้ที่พระพุทธสถูปนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๖. ยสวรรค] ๑๐. อุปวานเถราปทาน
[๑๓๐] หมู่เทพได้ขยายพระสถูปให้สูงขึ้นไปอีกหนึ่งโยชน์
ด้วยรัตนะทั้ง ๗ ประการ
พระสถูปองค์นั้นจึงมีความสูง ๒ โยชน์
ซึ่งส่องสว่างขจัดความมืดได้
[๑๓๑] ครั้งนั้น พวกนาคมาประชุมกัน ณ ที่นั้นแล้ว
ร่วมปรึกษากันว่า มนุษย์และเทวดาเหล่านั้น
ได้พากันสร้างพระพุทธสถูปเสร็จแล้ว
[๑๓๒] พวกเราอย่าได้ประมาทกันเลย
มนุษย์และเทวดาไม่ประมาทกันแล้ว
ถึงพวกเราก็จักสร้างพระสถูป
เพื่อบูชาพระโลกนาถ ผู้คงที่
[๑๓๓] พวกนาคพากันรวบรวมแก้วมรกต แก้วมหานิล
และแก้วมณีโชติรส ช่วยกันประดับพระพุทธสถูป
[๑๓๔] ครั้งนั้น พระสถูปทั้งองค์ สำเร็จด้วยแก้วมณี
จนกระทั่งเป็นพุทธเจดีย์สูง ๓ โยชน์ ส่องแสงสว่างไสว
[๑๓๕] ครั้งนั้น พวกครุฑมาประชุมกันแล้ว
ร่วมปรึกษากันว่า มนุษย์ เทวดา
และนาคเหล่านั้นได้พากันทำพุทธบูชาแล้ว
[๑๓๖] พวกเราอย่ามัวประมาทอยู่เลย
มนุษย์ นาค และเทวดาไม่ประมาทกันแล้ว
ถึงพวกเราก็จักสร้างพระสถูป
เพื่อบูชาพระโลกนาถ ผู้คงที่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๖. ยสวรรค] ๑๐. อุปวานเถราปทาน
[๑๓๗] ครุฑเหล่านั้น ได้สร้างพระสถูป
ครอบพระสถูปแก้วมณีทั้งองค์
แม้พวกเขาก็ได้ขยายพระพุทธเจดีย์ให้กว้างไปอีกหนึ่งโยชน์
[๑๓๘] พระพุทธสถูปสูงขึ้นไปอีก ๔ โยชน์ รุ่งโรจน์
ย่อมส่องสว่างไปทั่วทุกทิศ ดุจดวงอาทิตย์อุทัย
[๑๓๙] ครั้งนั้น พวกกุมภัณฑ์มาประชุมกันแล้ว
ร่วมปรึกษากันว่า มนุษย์ เทวดา
นาค และครุฑก็เป็นเหมือนกันหมด
[๑๔๐] ต่างก็ได้พากันสร้างพระสถูปที่อุดมพวกละองค์
บูชาพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
พวกเราอย่ามัวประมาทกันเลย
มนุษย์และเทวดาไม่ประมาทกันแล้ว
[๑๔๑] ถึงพวกเราก็จักสร้างพระสถูป
เพื่อบูชาพระโลกนาถ ผู้คงที่
จักใช้รัตนะทั้งหลายประดับพระพุทธเจดีย์ให้กว้างออกไป
[๑๔๒] กุมภัณฑ์แม้เหล่านั้น
ได้ขยายพระพุทธเจดีย์ให้กว้างออกไปอีกหนึ่งโยชน์
ครั้งนั้น พระสถูปจึงสูงขึ้นเป็น ๕ โยชน์
ย่อมส่องแสงสว่างไสว
[๑๔๓] ครั้งนั้น พวกยักษ์มาประชุมกัน ณ ที่นั้นแล้ว
ร่วมปรึกษากันว่า มนุษย์ เทวดา
นาค ครุฑ และกุมภัณฑ์
[๑๔๔] ต่างก็ได้พากันสร้างพระสถูป
ที่ประเสริฐสุดพวกละองค์บูชาพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๖. ยสวรรค] ๑๐. อุปวานเถราปทาน
พวกเราอย่ามัวประมาทกันเลย
มนุษย์และเทวดาไม่ประมาทกันแล้ว
[๑๔๕] ถึงพวกเราก็จักสร้างพระสถูป บูชาพระโลกนาถ ผู้คงที่
นำแก้วผลึกมาประดับพระพุทธเจดีย์ให้กว้างออกไปอีก
[๑๔๖] ยักษ์แม้เหล่านั้น
ได้ขยายพระพุทธเจดีย์ให้กว้างออกไปอีกหนึ่งโยชน์
ครั้งนั้น พระสถูปจึงสูงขึ้นเป็น ๖ โยชน์ ส่องแสงสว่างไสว
[๑๔๗] ครั้งนั้น พวกคนธรรพ์มาประชุมกันแล้ว
ร่วมปรึกษากันว่า มนุษย์ เทวดา
นาค กุมภัณฑ์ และครุฑก็เหมือนกัน
[๑๔๘] พวกเขาทั้งหมดได้พากันสร้างพระพุทธสถูป
ในเรื่องสร้างพระสถูปนี้ พวกเรายังไม่ได้สร้าง
ถึงพวกเราก็จักสร้างพระสถูป บูชาพระโลกนาถ ผู้คงที่
[๑๔๙] ครั้งนั้น คนธรรพ์เหล่านั้น
สร้างไพทีเป็น ๗ แห่งแล้วได้ทำธงและฉัตรไว้
พวกคนธรรพ์ได้ช่วยกันสร้างพระสถูปซึ่งสำเร็จด้วยทองคำล้วน
[๑๕๐] ครั้งนั้น พระสถูปสูงขึ้นเป็น ๗ โยชน์
ส่องแสงสว่างไสว จนไม่รู้กลางวันหรือกลางคืน
เพราะมีแสงสว่างอยู่ตลอดเวลา
[๑๕๑] ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์พร้อมทั้งดวงดาว
ก็ข่มแสงพระสถูปนั้นไม่ได้
ในที่ประมาณ ๑๐๐ โยชน์โดยรอบ แม้ประทีปก็ไม่โชติช่วง
[๑๕๒] โดยกาลนั้น มนุษย์เหล่าใดเหล่าหนึ่งจะบูชาพระสถูป
พวกเขาไม่ขึ้นไปยังพระสถูป
เพียงโยนเครื่องสักการะขึ้นไปบนอากาศ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๖. ยสวรรค] ๑๐. อุปวานเถราปทาน
[๑๕๓] ยักษ์ที่มีนามว่าอภิสัมมตะ
ซึ่งเหล่าเทวดาตั้งไว้(เพื่อรักษาพระสถูป)
คอยรับธงหรือพวงดอกไม้ไปบูชาให้ยิ่งขึ้น
[๑๕๔] ชนเหล่านั้นไม่เห็นยักษ์นั้น
คงเห็นแต่พวงดอกไม้ของยักษ์ลอยไปอยู่
พวกเขาทั้งหมดเห็นแล้วอย่างนี้
เมื่อตายไปจึงไปสู่สุคติ
[๑๕๕] มนุษย์ทั้งหลายที่ไม่พอใจในพระพุทธพจน์
และมนุษย์ทั้งหลายที่เลื่อมใสศาสนา
ผู้มีความต้องการจะเห็นปาฏิหาริย์
จะพากันบูชาพระสถูป
[๑๕๖] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้เป็นคนรับจ้างอยู่ในกรุงหงสวดี
เห็นประชาชนพากันรื่นเริงบันเทิงใจ
จึงคิดอย่างนี้ในครั้งนั้นว่า
[๑๕๗] หมู่ชนเหล่านี้พากันดีใจไม่เคยอิ่มถึงสักการะ
ซึ่งปรากฏที่เรือนแห่งพระธาตุ
ของพระผู้มีพระภาคพระองค์ใด
พระผู้มีพระภาคผู้ยิ่งใหญ่พระองค์นั้น หาเป็นเช่นนั้นไม่
[๑๕๘] แม้เราก็จักทำสักการบูชาพระโลกนาถ ผู้คงที่
เป็นธรรมทายาทของพระองค์ในอนาคตกาล
[๑๕๙] ข้าพเจ้าจึงใช้ผ้าห่มของข้าพเจ้าที่ช่างย้อมซักไว้อย่างดี
คล้องไว้ที่ปลายไม้ไผ่แล้วจึงยกขึ้นเป็นธงในท้องฟ้า
[๑๖๐] ยักษ์อภิสัมมตะ หยิบธงของข้าพเจ้านำไปในท้องฟ้า
ข้าพเจ้าเห็นแต่ธงสะบัดพลิ้วเพราะสายลม
จึงทำความร่าเริงให้เกิดขึ้นอย่างยิ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๖. ยสวรรค] ๑๐. อุปวานเถราปทาน
[๑๖๑] ข้าพเจ้าทำจิตให้เลื่อมใสในธงนั้นแล้ว
เข้าไปหาพระสมณะ อภิวาทพระภิกษุรูปนั้นแล้ว
จึงถามถึงวิบากในการบูชาด้วยธง
[๑๖๒] พระภิกษุรูปนั้นมีความยินดีมากต่อข้าพเจ้า
จึงกล่าวถ้อยคำที่ทำความปีติให้เกิดแก่ข้าพเจ้าว่า
ท่านจักได้เสวยวิบากแห่งธงนั้นตลอดกาล
[๑๖๓] กองทัพ ๔ เหล่า คือ พลช้าง พลม้า พลรถ
พลเดินเท้า จักแวดล้อมท่านเป็นนิตย์
นี้เป็นผลแห่งการถวายธง
[๑๖๔] เครื่องดนตรี ๖๐,๐๐๐ ชิ้น
กลองที่ประดับตกแต่งอย่างสวยงาม
จักแวดล้อมท่านเป็นนิตย์
นี้เป็นผลแห่งการถวายธง
[๑๖๕] สาวรุ่น ๘๖,๐๐๐ นาง ล้วนประดับตกแต่งสวยงาม
สวมใส่ผ้าอาภรณ์อันงดงาม ห้อยตุ้มหูแก้วมณี
[๑๖๖] มีตากลมโต มีปกติร่าเริง รูปร่างงาม
เอวเล็กเอวบาง จักแวดล้อมท่านเป็นนิตย์
นี้เป็นผลแห่งการถวายธง
[๑๖๗] ท่านจักรื่นรมย์ในเทวโลกตลอด ๓๐,๐๐๐ กัป
จักเกิดเป็นจอมเทพ ครองเทวสมบัติตลอด ๘๐ ชาติ
[๑๖๘] จักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๑,๐๐๐ ชาติ
จักเป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์นับชาติไม่ถ้วน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๖. ยสวรรค] ๑๐. อุปวานเถราปทาน
[๑๖๙] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ (นับจากกัปนี้ไป)
พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร
ทรงสมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก
[๑๗๐] ท่านถูกกุศลมูลตักเตือนแล้วจุติจากเทวโลก
ประกอบด้วยบุญกรรม
จักเกิดเป็นเผ่าพันธุ์ของพราหมณ์
[๑๗๑] ท่านจักละทิ้งสมบัติประมาณ ๘๐ โกฏิ
และทาสกรรมกรจำนวนมากแล้ว
บวชในศาสนาของพระผู้มีพระภาคพระนามว่าโคดม
[๑๗๒] ท่านมีชื่อว่าอุปวานะ
จักให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโคดม
ผู้ประเสริฐแห่งวงศ์ศากยะ ผู้ประเสริฐ ทรงพอพระทัยแล้ว
เป็นสาวกของพระศาสดา
[๑๗๓] กรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐
ได้แสดงผลแก่ข้าพเจ้าแล้วในอัตภาพนี้
ข้าพเจ้าหลุดพ้นดีแล้ว(จากกิเลส)
ดุจความเร็วแห่งลูกศรที่พ้นไปจากแล่ง
ข้าพเจ้าเผากิเลสทั้งหลายได้แล้ว
[๑๗๔] เมื่อข้าพเจ้าเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
เป็นใหญ่ในทวีปทั้ง ๔ ชนทั้งหลาย
จักโบกธงประจำตลอดที่ ๓ โยชน์โดยรอบทุกเวลา
[๑๗๕] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ทำกรรมไว้ในครั้งนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๖. ยสวรรค] ๑๑. รัฏฐปาลเถราปทาน
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายธง
[๑๗๖] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๗๗] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๗๘] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระอุปวานเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
อุปวานเถราปทานที่ ๑๐ จบ

๑๑. รัฏฐปาลเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระรัฏฐบาลเถระ
(พระรัฏฐบาลเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๗๙] ข้าพเจ้าได้ถวายช้างประเสริฐ มีงางอนงาม
สมควรเป็นพาหนะแด่พระผู้มีพระภาค
พระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้เจริญที่สุดในโลก ผู้คงที่
[๑๘๐] พญาช้างนั้นงดงามด้วยเศวตฉัตร
พร้อมทั้งเครื่องประดับและควาญช้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๖. ยสวรรค] ๑๑. รัฏฐปาลเถราปทาน
ข้าพเจ้าให้ตีราคา ทั้งหมดนั้นแล้ว
ให้สร้างสังฆาราม(ด้วยราคาช้างนั้น)
[๑๘๑] ข้าพเจ้าให้สร้างปราสาท ๕๔,๐๐๐ หลัง
บำเพ็ญทานดุจห้วงน้ำใหญ่
มอบถวายพระพุทธเจ้า ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๑๘๒] พระสยัมภูพุทธเจ้า ผู้มีความเพียรมาก
เป็นบุคคลผู้เลิศ ได้ทรงอนุโมทนาแล้ว
เมื่อจะให้ชนทั้งหมดรื่นเริง ทรงแสดงอมตบทแล้ว
[๑๘๓] พระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ประทับนั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์แล้ว
ทรงพยากรณ์กรรมนั้นแก่ข้าพเจ้า
ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
[๑๘๔] บุคคลผู้นี้ให้สร้างปราสาท ๕๔,๐๐๐ หลัง
เราจักกล่าวผลวิบากของเขา
พวกเธอจงฟังเรากล่าวเถิด
[๑๘๕] เรือนยอด ๑๘,๐๐๐ หลัง จักเกิดมี
และเรือนยอดเหล่านั้นสำเร็จด้วยทองคำล้วน
บังเกิดขึ้นในวิมานชั้นสูงสุด
[๑๘๖] ผู้นี้จักเกิดเป็นจอมเทพ
ครองเทวสมบัติตลอด ๕๐ ชาติ
จักเกิดเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๕๘ ชาติ
[๑๘๗] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ (นับจากกัปนี้ไป)
พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร
ทรงสมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๖. ยสวรรค] ๑๑. รัฏฐปาลเถราปทาน
[๑๘๘] เขาถูกกุศลมูลตักเตือนแล้ว จักจุติจากเทวโลก
บังเกิดในตระกูลที่มั่งคั่ง มีโภคะเป็นอันมาก
[๑๘๙] เขาจักมีชื่อว่ารัฏฐบาล
ภายหลังถูกกุศลมูลตักเตือนแล้ว
จักออกบวชเป็นสาวกของพระศาสดา
[๑๙๐] เขามีจิตเด็ดเดี่ยวยินดีเพื่อบำเพ็ญเพียร
สงบระงับ ไม่มีอุปธิ
กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงเป็นผู้ไม่มีอาสวะแล้วนิพพาน”
[๑๙๑] ข้าพเจ้าขวนขวายออกบวช ละโภคสมบัติ
ไม่มีความรักในโภคะ ซึ่งเหมือนก้อนเขฬะ
[๑๙๒] ข้าพเจ้ามีความเพียรนำพาธุระไป
อันเป็นเหตุนำธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะมาให้
ข้าพเจ้าทรงร่างกายอันมีในภพสุดท้าย
อยู่ในศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
[๑๙๓] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๙๔] การที่ข้าพเจ้าได้มาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๖. ยสวรรค] รวมอปทานที่มีในวรรค
[๑๙๕] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระรัฏฐบาลเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
รัฏฐปาลเถราปทานที่ ๑๑ จบ
ยสวรรคที่ ๕๖ จบบริบูรณ์

รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ยสเถราปทาน ๒. นทีกัสสปเถราปทาน
๓. คยากัสสปเถราปทาน ๔. กิมิลเถราปทาน
๕. วัชชีปุตตเถราปทาน ๖. อุตตรเถราปทาน
๗. อปรอุตตรเถราปทาน ๘. ภัททชิเถราปทาน
๙. สิวกเถราปทาน ๑๐. อุปวานเถราปทาน
๑๑. รัฏฐปาลเถราปทาน

ในวรรคนี้ บัณฑิตนับคาถาได้ ๑๙๕ คาถา
เถราปทาน จบ
พุทธาปทาน ปัจเจกพุทธาปทาน
และเถราปทาน จบเพียงเท่านี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๑. สุเมธาวรรค] ๑. สุเมธาเถริยาปทาน
พระสุตตันตปิฎก
ขุททกนิกาย เถรีอปทาน
__________________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๑. สุเมธาวรรค
หมวดว่าด้วยพระเถรีชื่อสุเมธาเป็นต้น
๑. สุเมธาเถริยาปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระสุเมธาเถรี
ลำดับต่อไปนี้ จงสดับอปทานของพระเถรีต่อไป
(พระสุเมธาเถรี เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑] เมื่อพระผู้มีพระภาคพระนามว่าโกนาคมนะ
ประทับอยู่ที่สังฆาราม
หม่อมฉันเป็นหญิงสหายกัน ๓ คน ได้ถวายวิหารทาน
[๒] หม่อมฉันทั้งหลายเกิดในเทวโลก ๑๐ ครั้ง ๑๐๐ ครั้ง
๑๐๐,๐๐๐ ครั้ง ในมนุษยโลก ไม่จำต้องพูดถึง
[๓] ในเทวโลกหม่อมฉันเป็นผู้มีฤทธิ์มาก
ในมนุษยโลกไม่จำต้องพูดถึง
ได้เป็นนางแก้ว๑ เป็นพระมเหสีของพระเจ้าจักรพรรดิ

เชิงอรรถ :
๑ นางแก้ว ในที่นี้หมายถึงหญิงดีที่มีคุณสมบัติ คือ เว้นโทษ ๖ ประการ มีความงาม ๕ ประการ มีความ
งามกว่ามนุษย์ทั่วไป ฯลฯ (ขุ.เถรี.อ. ๓/๓๖๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๑. สุเมธาวรรค] ๑. สุเมธาเถริยาปทาน
[๔] ชน ๓ คน คือ นางธนัญชานีพราหมณี
พระนางเขมาเถรี และหม่อมฉัน ได้สั่งสมกุศลไว้ในชาตินั้น
เกิดในตระกูลที่เพียบพร้อมทุกอย่าง
[๕] ได้สร้างอารามอย่างสวยงาม
ประดับด้วยเครื่องตกแต่งทุกอย่างเสร็จแล้ว
มอบถวายพระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข
เป็นผู้เพลิดเพลินแล้ว
[๖] เพราะอำนาจแห่งกรรมนั้น
หม่อมฉันเกิดในที่ไหน ๆ
ในเทวโลกก็ตาม ในมนุษยโลกก็ตาม
ก็ถึงความเป็นผู้เลิศ
[๗] ในกัปนี้เอง พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของพราหมณ์
มีพระยศยิ่งใหญ่ พระนามว่ากัสสปะ ตามพระโคตร
ประเสริฐกว่าเจ้าลัทธิทั้งหลาย เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว
[๘] ครั้งนั้น พระเจ้ากาสีพระนามว่ากิกี
ทรงเป็นใหญ่กว่านรชนในกรุงพาราณสีที่อุดม
ทรงเป็นอุปัฏฐากของพระพุทธเจ้าผู้แสวงหาพระคุณอันยิ่งใหญ่
[๙] ท้าวเธอมีพระราชธิดา ๗ พระองค์
พระราชกัญญาเหล่านั้นดำรงอยู่ในความสุข
ทรงพอพระทัยในการอุปัฏฐากพระพุทธเจ้า
และประพฤติพรหมจรรย์๑
[๑๐] หม่อมฉันเป็นพระสหายของพระราชธิดาเหล่านั้น
เป็นสตรีผู้มั่นคงในศีล ได้ถวายทานโดยเคารพ
ประพฤติวัตรอยู่ในเรือนนั่นเอง

เชิงอรรถ :
๑ พรหมจรรย์ ในที่นี้หมายถึงความประพฤติประเสริฐ มี ๑๐ ประการ คือ (๑) ทาน (๒) เวยยาวัจจะ
(๓) เบญจศีล (๔) อัปปมัญญา (๕) เมถุนวิรัติ (๖) สทารสันโดษ (๗) วิริยะ (๘) อุโปสถังคะ
(๙) อริยมรรค (๑๐) ศาสนา (ที.สี.อ. ๑/๑๙๐/๑๖๐-๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๑. สุเมธาวรรค] ๑. สุเมธาเถริยาปทาน
[๑๑] ด้วยกรรมที่หม่อมฉันได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
หม่อมฉันละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๑๒] หม่อมฉันจุติจากสวรรคชั้นดาวดึงส์นั้นแล้วไปเกิดในสวรรค์ชั้นยามา
จุติจากสวรรค์ชั้นยามานั้นแล้วไปเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต
จุติจากสวรรค์ชั้นดุสิตนั้นแล้วไปเกิดในสวรรค์ชั้นนิมมานรดี
จุติจากสวรรค์ชั้นนิมมานรดีนั้นแล้วไปเกิดในสวรรค์
ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี
[๑๓] หม่อมฉันประกอบบุญกรรมไว้
เกิดในภพใด ๆ ในภพนั้น ๆ
ก็ได้เป็นพระมเหสีของพระราชา
[๑๔] หม่อมฉันจุติจากสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตดีนั้นแล้ว
มาเกิดในหมู่มนุษย์ ได้เป็นพระมเหสีของพระเจ้าจักรพรรดิ
และได้เป็นพระมเหสีของพระเจ้าแผ่นดิน
[๑๕] เสวยสมบัติทั้งในเทวโลกและมนุษยโลก
มีความสุขทุกชาติ เวียนว่ายตายเกิดอยู่หลายชาติ
[๑๖] นั้นเป็นเหตุ เป็นแดนเกิด และมูลเหตุ
คือเป็นความสมควรในพระศาสนา
นั่นเป็นสโมธานข้อที่ ๑
ข้อนั้นเป็นความดับของหม่อมฉันผู้ยินดีในธรรม
[๑๗] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว
หม่อมฉันตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๑. สุเมธาวรรค] ๒. เมขลทายิกาเถริยาปทาน
[๑๘] การที่หม่อมฉันมาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๙] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ หม่อมฉันก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า พระสุเมธาภิกษุณีได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
สุเมธาเถริยาปทานที่ ๑ จบ

๒. เมขลทายิกาเถริยาปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระเมขลทายิกาเถรี
(พระเมขลทายิกาเถรี เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๒๐] หม่อมฉันได้สร้างพระสถูป
เพื่อพระผู้มีพระภาคพระนามว่าสิทธัตถะ
หม่อมฉันได้ถวายสังวาล๑ เพื่อนวกรรมสถูปของพระศาสดา
[๒๑] และเมื่อมหาสถูปสำเร็จแล้ว หม่อมฉันเลื่อมใสต่อพระมุนี
ผู้ทรงเป็นที่พึ่งของสัตว์โลก
ได้ถวายสังวาลอีกด้วยมือทั้ง ๒ ของตน
[๒๒] ในกัปที่ ๙๔ นับจากกัปนี้ไป
หม่อมฉันได้ถวายสังวาลไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการสร้างพระสถูป

เชิงอรรถ :
๑ สังวาล หมายถึงสายรัดเอวผู้หญิง, เข็มขัดสตรี (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕
น. ๘๑๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๑. สุเมธาวรรค] ๓. มัณฑปทายิกาเถริยาปทาน
[๒๓] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว
หม่อมฉันตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๒๔] การที่หม่อมฉันมาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๒๕] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ หม่อมฉันได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า พระเมขลทายิกาภิกษุณีได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
เมขลทายิกาเถริยาปทานที่ ๒ จบ

๓. มัณฑปทายิกาเถริยาปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระมัณฑปทายิกาเถรี
(พระมัณฑปทายิกาเถรี เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๒๖] หม่อมฉันได้ให้นายช่างสร้างมณฑป
ถวายพระพุทธเจ้าพระนามว่าโกนาคมนะ
และได้อุทิศถวายพระสถูปที่ประเสริฐแก่พระพุทธเจ้า
ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของโลกไว้
[๒๗] หม่อมฉันไปยังชนบท นิคม หรือราชธานีใด ๆ
ย่อมได้รับการบูชาในที่นั้น ๆ ทุกแห่ง
นี้เป็นผลแห่งบุญกรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๑. สุเมธาวรรค] ๔. สังกมนทาเถริยาปทาน
[๒๘] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว
หม่อมฉันตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๒๙] การที่หม่อมฉันมาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๓๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ หม่อมฉันก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า พระมัณฑปทายิกาภิกษุณีได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
มัณฑปทายิกาเถริยาปทานที่ ๓ จบ

๔. สังกมนทาเถริยาปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระสังกมนทาเถรี
(พระสังกมนทาเถรี เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๓๑] เมื่อพระผู้มีพระภาคพระนามว่าโกณฑัญญะ
ผู้เจริญที่สุดในโลก ผู้คงที่
ทรงช่วยสัตว์ให้ข้ามพ้น เสด็จดำเนินไปตามถนน
[๓๒] กุลบุตรกุลธิดาออกจากเรือนแล้วนอนคว่ำหน้า
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคผู้เจริญที่สุดในโลก ผู้ทรงอนุเคราะห์
ได้เสด็จเหยียบไปบนศีรษะหม่อมฉัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๑. สุเมธาวรรค] ๕. นฬมาลิกาเถริยาปทาน
[๓๓] พระองค์ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ครั้นเสด็จเหยียบแล้ว ได้เสด็จเลยไป
หม่อมฉันได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต
ก็เพราะจิตที่เลื่อมใสนั้น
[๓๔] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว
หม่อมฉันตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๓๕] การที่หม่อมฉันมาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๓๖] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ หม่อมฉันก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า พระสังกมนทาภิกษุณีได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
สังกมนทาเถริยาปทานที่ ๔ จบ

๕. นฬมาลิกาเถริยาปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระนฬมาลิกาเถรี
(พระนฬมาลิกาเถรี เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๓๗] ครั้งนั้น หม่อมฉันได้เกิดเป็นนางกินนรี
อาศัยอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำจันทภาคา
หม่อมฉันได้เห็นพระสยัมภูพุทธเจ้า
ผู้ปราศจากธุลีคือกิเลส ไม่ทรงพ่ายแพ้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๑. สุเมธาวรรค] ๕. นฬมาลิกาเถริยาปทาน
[๓๘] หม่อมฉันเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี เกิดโสมนัส
ประนมมือแล้ว ถือพวงมาลัยดอกอ้อมาบูชาพระสยัมภู
[๓๙] ด้วยกรรมที่หม่อมฉันได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
หม่อมฉันละกายกินนรีแล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๔๐] หม่อมฉันได้เป็นพระมเหสีของท้าวเทวราช ๓๖ พระองค์
และได้เป็นพระมเหสีของพระเจ้าจักรพรรดิ ๑๐ พระองค์
หม่อมฉันเสวยกุศลกรรมแล้วก็ออกบวชเป็นบรรพชิต
[๔๑] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว
อาสวะทั้งปวงก็สิ้นแล้ว
บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก
[๔๒] ในกัปที่ ๙๔ นับจากกัปนี้ไป
หม่อมฉันใช้ดอกไม้บูชาไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๔๓] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว
หม่อมฉันตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๔๔] การที่หม่อมฉันมาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๑. สุเมธาวรรค] ๖. เอกปิณฑปาตทายิกาเถริยาปทาน
[๔๕] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ หม่อมฉันก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า พระนฬมาลิกาภิกษุณีได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
นฬมาลิกาเถริยาปทานที่ ๕ จบ

๖. เอกปิณฑปาตทายิกาเถริยาปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระเอกปิณฑปาตทายิกาเถรี
(พระเอกปิณฑปาตทายิกาเถรี เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึง
กล่าวว่า)
[๔๖] ในกรุงพันธุมดี มีกษัตริย์พระองค์หนึ่ง
พระนามว่าพันธุมา หม่อมฉันเป็นพระมเหสีของท้าวเธอ
ย่อมสนทนากันเป็นบางครั้งบางคราวเท่านั้น
[๔๗] ครั้งนั้น หม่อมฉันนั่งอยู่ในที่สงัด คิดอย่างนี้ว่า
‘กุศลที่จะนำติดตัวไปซึ่งเราทำไว้ไม่มีเลย
[๔๘] เราคงจะต้องตกนรกที่มีความเร่าร้อนมาก
ทั้งเผ็ดร้อนร้ายกาจแสนจะทารุณโดยแน่นอน
เราไม่มีความสงสัยในข้อนี้เลย’
[๔๙] หม่อมฉันจึงไปเข้าเฝ้าพระราชาแล้วกราบทูลดังนี้ว่า
‘ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นกษัตริย์
ขอพระองค์ทรงพระราชทานสมณะ
แก่หม่อมฉันสักองค์หนึ่งเถิด
หม่อมฉันจักนิมนต์ท่านให้ฉัน’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๑. สุเมธาวรรค] ๖. เอกปิณฑปาตทายิกาเถริยาปทาน
[๕๐] พระมหาราชาได้พระราชทานสมณะ
ผู้มีอินทรีย์อันอบรมแล้ว๑แก่หม่อมฉัน
หม่อมฉันรับบาตรของท่านมาแล้ว
นิมนต์ให้ฉันจนอิ่มหนำด้วยอาหารอย่างดีเยี่ยม
[๕๑] หม่อมฉันได้ปรุงอาหารอย่างดีเยี่ยม
และเครื่องลูบไล้ที่มีกลิ่นหอม
ปิดด้วยตาข่าย คลุมด้วยผ้าสีเหลือง
[๕๒] หม่อมฉันระลึกถึงวัตถุทานของหม่อมฉันนี้เป็นอารมณ์จนตลอดชีวิต
ทำจิตให้เลื่อมใสในกุศลกรรมนั้นแล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๕๓] หม่อมฉันได้เป็นพระมเหสีของท้าวเทวราช ๓๐ พระองค์
สิ่งที่ใจของหม่อมฉันปรารถนาก็บังเกิดตามความปรารถนา
[๕๔] หม่อมฉันได้เป็นพระมเหสี
ของพระเจ้าจักรพรรดิ ๒๐ พระองค์
เป็นหญิงผู้มีกุศลอันสั่งสมไว้แล้ว
เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพน้อยภพใหญ่๒
[๕๕] หม่อมฉันเป็นผู้พ้นจากเครื่องผูกพันทุกอย่างแล้ว
หม่อมฉันปราศจากตัณหาที่จะให้เกิดอีก
อาสวะทั้งปวงก็สิ้นไปแล้ว
บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก

เชิงอรรถ :
๑ อินทรีย์อันอบรมแล้ว ในที่นี้หมายถึงอินทรีย์ ๕ คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา อันอบรมแล้วด้วย
อริยมรรคภาวนา (ขุ.เถรี.อ. ๑๘๒-๑๘๘/๒๑๐)
๒ ภพน้อยภพใหญ่ ในที่นี้หมายถึงความเจริญและความเสื่อม หรือสมบัติและวิบัติ ความยั่งยืนและ
ความขาดสูญ บุญและบาป (ขุ.จริยา.อ. ๒/๒๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๗๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๑. สุเมธาวรรค] ๗. กฏัจฉุภิกขทายิกาเถริยาปทาน
[๕๖] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
หม่อมฉันได้ถวายทานไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายบิณฑบาต
[๕๗] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว
หม่อมฉันตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๕๘] การที่หม่อมฉันมาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๕๙] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ หม่อมฉันก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า พระเอกปิณฑปาตทายิกาภิกษุณีได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
เอกปิณฑปาตทายิกาเถริยาปทานที่ ๖ จบ

๗. กฏัจฉุภิกขทายิกาเถริยาปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระกฏัจฉุภิกขทายิกาเถรี
(พระกฏัจฉุภิกขทายิกาเถรี เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๖๐] หม่อมฉันได้ตักภิกษาหารทัพพีหนึ่งถวายพระพุทธเจ้า
ผู้ประเสริฐที่สุดพระนามว่าติสสะ ผู้พระศาสดา
ซึ่งกำลังเสด็จบิณฑบาตอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๑. สุเมธาวรรค] ๗. กฏัจฉุภิกขทายิกาเถริยาปทาน
[๖๑] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าติสสะ ผู้พระศาสดา
ทรงเป็นผู้นำชั้นเลิศของโลก ทรงรับแล้ว
ได้ประทับยืนที่ถนนทรงทำอนุโมทนาแก่หม่อมฉันว่า
[๖๒] ‘เธอถวายภิกษาหารทัพพีหนึ่งนี้แล้ว
จักได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
จักเป็นพระมเหสีของท้าวเทวราช ๓๖ พระองค์
[๖๓] จักเป็นพระมเหสีของพระเจ้าจักรพรรดิ ๕๐ พระองค์
และจักได้สิ่งตามที่ใจปรารถนาทุกอย่างในกาลทั้งปวง
[๖๔] เธอเสวยสมบัติแล้ว จักเป็นผู้ไม่มีความห่วงใยบวช
จักกำหนดรู้อาสวะทั้งปวงเป็นผู้ไม่มีอาสวะแล้วนิพพาน’
[๖๕] ครั้นตรัสอย่างนี้แล้วพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าติสสะ
ทรงเป็นผู้นำชั้นเลิศของโลก เป็นนักปราชญ์
ได้เสด็จเหาะขึ้นสู่ท้องฟ้า เหมือนพญาหงส์ไปในอากาศ
[๖๖] ทานหม่อมฉันถวายไว้ดีแล้ว
ยัญสมบัติหม่อมฉันก็ได้บูชาดีแล้ว
หม่อมฉันได้บรรลุบทที่ไม่หวั่นไหว
ก็เพราะการถวายภิกษาหารทัพพีหนึ่ง
[๖๗] ในกัปที่ ๙๒ นับจากกัปนี้ไป
หม่อมฉันได้ถวายทานไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายภิกษาหาร
[๖๘] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว
หม่อมฉันตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๑. สุเมธาวรรค] ๘. สัตตอุปปลมาลิกาเถริยาปทาน
[๖๙] การที่หม่อมฉันมาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๗๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ หม่อมฉันก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า พระกฏัจฉุภิกขทายิกาภิกษุณีได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
กฏัจฉุภิกขทายิกาเถริยาปทานที่ ๗ จบ

๘. สัตตอุปปลมาลิกาเถริยาปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระสัตตอุปปลมาลิกาเถรี
(พระสัตตอุปปลมาลิกาเถรี เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๗๑] ในกรุงอรุณวดี มีกษัตริย์พระองค์หนึ่งพระนามว่าอรุณ
หม่อมฉันเป็นพระมเหสีของท้าวเธอ หม่อมฉันไม่ได้ร้อยพวงมาลัย
[๗๒] ได้หยิบดอกอุบลมีกลิ่นหอมเหมือนดอกไม้ทิพย์มา ๗ ดอก
แล้วนั่งในปราสาทที่ประเสริฐ คิดอย่างนี้ในขณะนั้นว่า
[๗๓] ‘ประโยชน์อะไรสำหรับเราด้วยพวงมาลัยเหล่านี้
ซึ่งเรานำมาประดับศีรษะของตนเอง
เราควรนำไปบูชาพระญาณของพระพุทธเจ้า
ผู้ประเสริฐที่สุด จะประเสริฐกว่า’
[๗๔] เราเมื่อจะบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นั่งแล้วที่ใกล้ประตู
จักบูชาพระมหามุนีสัมมาสัมพุทธเจ้า ในเวลาที่พระองค์เสด็จมา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๑. สุเมธาวรรค] ๘. สัตตอุปปลมาลิกาเถริยาปทาน
[๗๕] พระชินเจ้าผู้งดงามดังต้นรกฟ้าขาว
เหมือนพญาไกรสรราชสีห์
พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ เสด็จมาตามถนน
[๗๖] หม่อมฉันเห็นพระพุทธรังสีแล้ว ก็ร่าเริงตื่นเต้น
ยังไม่ทันถึงประตู ก็ได้บูชาพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
[๗๗] ทำดอกอุบล ๗ ดอกเหล่านั้น
ให้แผ่ขยายเป็นหลังคากั้นอยู่ในท้องฟ้า
เหนือพระเศียรของพระพุทธเจ้า
[๗๘] หม่อมฉันมีจิตเบิกบาน๑ มีใจยินดี
เกิดโสมนัส๒ ประนมมือ ทำจิตให้เลื่อมใสในบูชานั้น
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๗๙] เหนือศีรษะของหม่อมฉัน เขากั้นเครื่องมุงบังดอกไม้
สีเขียวขนาดใหญ่กลิ่นทิพย์หอมฟุ้งไป
นี้เป็นผลแห่งดอกอุบล ๗ ดอก
[๘๐] บางครั้ง เมื่อหม่อมฉันถูกหมู่ญาตินำออกไป
ครั้งนั้น เขากั้นเครื่องมุงบังดอกไม้สีเขียว
ให้บริวารของหม่อมฉันเท่าที่มีอยู่
[๘๑] หม่อมฉันได้เป็นพระมเหสีของท้าวเทวราช ๗๐ พระองค์
เป็นใหญ่ในทุกภพ เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพน้อยภพใหญ่
[๘๒] ได้เป็นพระมเหสีของพระเจ้าจักรพรรดิ ๖๓ พระองค์
ชนทั้งหลายอนุวัตตามหม่อมฉันทั้งหมด หม่อมฉันมีวาจาน่าเชื่อถือ

เชิงอรรถ :
๑ มีจิตเบิกบาน หมายถึงมีจิตปราศจากกิเลสมีความโกรธและความถือตัวเป็นต้น มีจิตโสมนัส มีใจสงบ
(ขุ.อป.อ. ๑/๑๓๔/๒๔๕)
๒ เทียบได้กับคำว่า เวทชาโต แก้เป็น อุปฺปนฺนโสมนสฺโส (ขุ.อป.อ. ๒/๑๓๒/๓๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๑. สุเมธาวรรค] ๘. สัตตอุปปลมาลิกาเถริยาปทาน
[๘๓] ผิวพรรณของหม่อมฉันเหมือนสีดอกอุบล
และกลิ่นกายของหม่อมฉันก็หอมฟุ้งไปคล้ายกลิ่นหอมของดอกอุบล
หม่อมฉันไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๘๔] หม่อมฉันเป็นผู้ฉลาดในอิทธิบาท
ยินดีในการเจริญโพชฌงค์ ถึงความสำเร็จอภิญญา
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๘๕] หม่อมฉันเป็นผู้ฉลาดในสติปัฏฐาน
มีสมาธิฌานเป็นโคจร ขวนขวายในสัมมัปปธาน
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๘๖] หม่อมฉันมีความเพียรนำพาธุระไป
อันเป็นเหตุนำธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะมาให้
อาสวะทั้งปวงก็สิ้นไปแล้ว
บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก
[๘๗] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป
หม่อมฉันได้ใช้ดอกไม้บูชาไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๘๘] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว
หม่อมฉันตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๘๙] การที่หม่อมฉันมาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๑. สุเมธาวรรค] ๙. ปัญจทีปิกาเถริยาปทาน
[๙๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ หม่อมฉันก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า พระสัตตอุปปลมาลิกาภิกษุณีได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
สัตตอุปปลมาลิกาเถริยาปทานที่ ๘ จบ

๙. ปัญจทีปิกาเถริยาปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระปัญจทีปิกาเถรี
(พระปัญจทีปิกาเถรี เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๙๑] ครั้งนั้น หม่อมฉันเป็นผู้ประพฤติธรรมอยู่ในกรุงหงสวดี
มีความต้องการกุศล จึงท่องเที่ยวไปตามวัดวาอาราม
[๙๒] ได้เห็นต้นโพธิ์ที่ประเสริฐ ในกาฬปักข์(ข้างแรม)
จึงทำจิตให้เลื่อมใสในต้นโพธิ์นั้นแล้วนั่งที่โคนต้นโพธิ์
[๙๓] หม่อมฉันตั้งจิตคารวะประนมมือเหนือศีรษะ
ประกาศถึงความโสมนัสแล้วคิดอย่างนี้ในขณะนั้นว่า
[๙๔] ‘ถ้าพระพุทธเจ้าทรงมีพระคุณหาประมาณมิได้
ไม่มีบุคคลเปรียบเสมอเหมือน
โปรดแสดงปาฏิหาริย์แก่เราเถิด
คือขอให้ต้นโพธิ์นี้จงเปล่งรัศมีเถิด’
[๙๕] ทันใดนั้นเอง พร้อมกับที่หม่อมฉันรำพึง
ต้นโพธิ์มีรัศมีดั่งทองคำล้วน โชติช่วงสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ
[๙๖] หม่อมฉันนั่งอยู่ที่โคนต้นโพธิ์นั้นตลอด ๗ คืน ๗ วัน
เมื่อถึงวันที่ ๗ หม่อมฉันได้ทำการบูชาด้วยประทีป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๑. สุเมธาวรรค] ๙. ปัญจทีปิกาเถริยาปทาน
[๙๗] ประทีป ๕ ดวง โชติช่วงล้อมรอบอาสนะ
ครั้งนั้น ประทีปของหม่อมฉันโชติช่วงอยู่จนอาทิตย์อุทัย
[๙๘] ด้วยกรรมที่หม่อมฉันได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
หม่อมฉันละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๙๙] วิมานที่บุญกรรมสร้างขึ้นอย่างสวยงามเพื่อหม่อมฉัน
ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้น เรียกว่าปัญจทีปวิมาน
สูง ๑๐๐ โยชน์ กว้าง ๖๐ โยชน์
[๑๐๐] ประทีปนับไม่ถ้วนส่องสว่างล้อมรอบหม่อมฉันอยู่
ทั่วทั้งเทววิมานโชติช่วงด้วยแสงประทีป
[๑๐๑] หม่อมฉันนั่งหันหน้าไปทางทิศบูรพา
ถ้าปรารถนาจะดู ก็จะเห็นได้ทุกอย่างด้วยจักษุ
ทั้งในเบื้องบน เบื้องล่าง และเบื้องขวาง
[๑๐๒] หม่อมฉันปรารถนาจะเห็นกรรมดีและกรรมชั่ว
ที่คนทำแล้วในที่มีประมาณเท่าใด ที่มีประมาณเท่านั้น
ย่อมไม่มีต้นไม้หรือภูเขามากางกั้นได้
[๑๐๓] หม่อมฉันได้เป็นพระมเหสีของท้าวเทวราช ๘๐ พระองค์
และได้เป็นพระมเหสีของพระเจ้าจักรพรรดิ ๑๐๐ พระองค์
[๑๐๔] หม่อมฉันเกิดในกำเนิดใด ๆ
คือจะเกิดเป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็ตาม
ในกำเนิดนั้น ๆ ประทีปนับแสนดวงส่องแสงล้อมรอบหม่อมฉัน
[๑๐๕] หม่อมฉันจุติจากเทวโลกแล้ว เกิดในครรภ์มารดา
เมื่อหม่อมฉันอยู่ในครรภ์มารดา นัยน์ตาของหม่อมฉันมิได้หลับ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๑. สุเมธาวรรค] ๙. ปัญจทีปิกาเถริยาปทาน
[๑๐๖] ประทีปนับแสนดวงส่องสว่างอยู่ที่เรือนคลอดของหม่อมฉัน
ผู้เพียบพร้อมด้วยบุญกรรม
นี้เป็นผลแห่งประทีป ๕ ดวง
[๑๐๗] เมื่อถึงภพสุดท้าย หม่อมฉันกลับใจให้วิเศษ
จึงเห็นพระนิพพานอันเป็นสภาวะเยือกเย็น
ไม่มีชราและมรณะ
[๑๐๘] พอหม่อมฉันอายุได้ ๗ ขวบก็ได้บรรลุอรหัตตผล
พระพุทธเจ้าพระนามว่าโคดม
ทรงทราบถึงคุณธรรมของหม่อมฉัน
แล้วจึงประทานอุปสมบทให้
[๑๐๙] ประทีป ๕ ดวง ลุกโพลงส่องสว่างให้หม่อมฉัน
มณฑป โคนไม้ ปราสาท ถ้ำ หรือที่เรือนว่าง
[๑๑๐] ทิพยจักษุของหม่อมฉันบริสุทธิ์
หม่อมฉันฉลาดในสมาธิ ถึงความสำเร็จอภิญญา
นี้เป็นผลแห่งประทีป ๕ ดวง
[๑๑๑] หม่อมฉันเป็นผู้อยู่จบพรหมจรรย์ทั้งปวง
ทำกิจเสร็จแล้ว ไม่มีอาสวะ
ข้าแต่พระมหาวีระ ผู้มีพระจักษุ
หม่อมฉันชื่อว่าปัญจทีปา ขอกราบพระยุคลบาทของพระองค์
[๑๑๒] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
หม่อมฉันได้ถวายประทีปไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งประทีป ๕ ดวง
[๑๑๓] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว
หม่อมฉันตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๑. สุเมธาวรรค] ๑๐. อุทกทายิกาเถริยาปทาน
[๑๑๔] การที่หม่อมฉันมาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๑๕] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ หม่อมฉันก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า พระปัญจทีปิกาภิกษุณีได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ปัญจทีปิกาเถริยาปทานที่ ๙ จบ

๑๐. อุทกทายิกาเถริยาปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอุทกทายิกาเถรี
(พระอุทกทายิกาเถรี เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๑๖] หม่อมฉันเป็นหญิงหาบน้ำขายอยู่ในกรุงพันธุมดี
เลี้ยงชีพอยู่ด้วยการหาบน้ำขาย
เลี้ยงดูเด็ก ๆ ด้วยการงานนั้น
[๑๑๗] หม่อมฉันไม่มีไทยธรรม หม่อมฉันเข้าไปยังซุ้มน้ำแล้ว
ตั้งน้ำถวายไว้ในหมู่สงฆ์ผู้เป็นบุญเขตที่ยอดเยี่ยม
[๑๑๘] ด้วยกรรมที่หม่อมฉันได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้น วิมานอันบุญกรรมเนรมิต
สร้างขึ้นอย่างสวยงามเพื่อหม่อมฉันเพราะการหาบน้ำถวาย
[๑๑๙] ครั้งนั้น หม่อมฉันเป็นผู้ประเสริฐกว่านางอัปสรตั้ง ๑,๐๐๐
หม่อมฉันปกครองนางอัปสรเหล่านั้นทั้งหมดด้วยฐานะ ๑๐ ประการ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๑. สุเมธาวรรค] ๑๐. อุทกทายิกาเถริยาปทาน
[๑๒๐] หม่อมฉันได้เป็นพระมเหสีของท้าวเทวราช ๕๐ พระองค์
และได้เป็นพระมเหสีของพระเจ้าจักรพรรดิ ๒๐ พระองค์
[๑๒๑] หม่อมฉันเวียนว่ายตายเกิดอยู่ใน ๒ ภพ
คือ (๑) ภพเทวดา (๒) ภพมนุษย์
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายน้ำ
[๑๒๒] บนยอดภูเขา ยอดไม้ ในอากาศหรือที่พื้นดินก็ตาม
ในเวลาที่ต้องการน้ำหม่อมฉันย่อมได้เร็วพลัน
[๑๒๓] ทิศที่ไม่มีฝนตก เพราะแดดร้อนจัดหม่อมฉันจึงกระหายน้ำ
มหาเมฆดังจะรู้ความดำริของหม่อมฉันย่อมให้ฝนตก
[๑๒๔] บางครั้ง เมื่อหม่อมฉันถูกหมู่ญาตินำออกไป
ครั้งนั้น มหาเมฆก็บันดาลให้ฝนตกในเวลาที่หม่อมฉันปรารถนา
[๑๒๕] ในสรีระของหม่อมฉัน ไม่มีความร้อนหรือความเร่าร้อนเลย
และที่กายของหม่อมฉันก็ไม่มีละอองธุลีเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายน้ำสรง
[๑๒๖] วันนี้ หม่อมฉันมีใจบริสุทธิ์ ปราศจากจิตที่หยาบช้า
อาสวะทั้งปวงก็สิ้นไปแล้ว
บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก
[๑๒๗] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
หม่อมฉันได้ทำกรรมไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายน้ำสรง
[๑๒๘] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๑. สุเมธาวรรค] รวมอปทานที่มีในวรรค
หม่อมฉันตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๒๙] การที่หม่อมฉันมาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๓๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ หม่อมฉันก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า พระอุทกทายิกาภิกษุณีได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
อุทกทายิกาเถริยาปทานที่ ๑๐ จบ
สุเมธาวรรคที่ ๑ จบบริบูรณ์

รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สุเมธาเถริยาปทาน ๒. เมขลทายิกาเถริยาปทาน
๓. มัณฑปทายิกาเถริยาปทาน ๔. สังกมนทาเถริยาปทาน
๕. นฬมาลิกาเถริยาปทาน ๖. เอกปิณฑปาตทายิกาเถริยาปทาน
๗. กฏัจฉุภิกขทายิกาเถริยาปทาน ๘. สัตตอุปปลมาลิกาเถริยาปทาน
๙. ปัญจทีปิกาเถริยาปทาน ๑๐. อุทกทายิกาเถริยาปทาน

ในวรรคนี้ บัณฑิตนับจำนวนคาถาได้ ๑๓๐ คาถา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๒. เอกูโปสถิกวรรค] ๑. เอกูโปสถิกาเถริยาปทาน
๒. เอกูโปสถิกวรรค
หมวดว่าด้วยผู้รักษาอุโบสถอย่างเดียว
๑. เอกูโปสถิกาเถริยาปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระเอกูโปสถิกาเถรี
(พระเอกูโปสถิกาเถรี เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑] ในกรุงพันธุมดี มีกษัตริย์พระองค์หนึ่งพระนามว่าพันธุมา
ในวันเพ็ญ ท้าวเธอทรงอยู่จำอุโบสถ
[๒] สมัยนั้น หม่อมฉันได้เป็นนางกุมภทาสีอยู่ในกรุงพันธุมดีนั้น
เห็นเสนาพร้อมทั้งพระราชา จึงคิดอย่างนี้ในครั้งนั้นว่า
[๓] ‘แม้พระราชาก็ยังทรงละราชกิจมาอยู่จำอุโบสถ
กรรมนั้นต้องมีผลแน่นอน หมู่ชนจึงพากันเบิกบานใจ’
[๔] หม่อมฉันพิจารณาทุคติและความเป็นคนยากจนได้
โดยอุบายที่แยบคาย ทำจิตใจให้ร่าเริงแล้วอยู่จำอุโบสถ
[๕] หม่อมฉันรักษาอุโบสถในศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ด้วยกรรมที่หม่อมฉันได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
หม่อมฉันจึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๖] วิมานที่บุญกรรมสร้างให้หม่อมฉันอย่างสวยงาม
ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้น
สูงขึ้นไป ๑ โยชน์ ประกอบด้วยเรือนยอดอันประเสริฐ
มีที่นั่งมีค่ามากประดับอย่างสวยงาม
[๗] เทพอัปสร ๑๐๐,๐๐๐ นาง ต่างก็อยู่ใกล้หม่อมฉันทุกเมื่อ
หม่อมฉันรุ่งเรืองเหนือกว่าเทพอัปสรเหล่าอื่น ในกาลทั้งปวง
[๘] หม่อมฉันได้เป็นพระมเหสีของท้าวเทวราช ๖๔ พระองค์
และได้เป็นพระมเหสีของพระเจ้าจักรพรรดิ ๖๓ พระองค์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๒. เอกูโปสถิกวรรค] ๑. เอกูโปสถิกาเถริยาปทาน
[๙] หม่อมฉันมีผิวพรรณงามดังทองคำ
เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพทั้งหลาย
ได้เป็นผู้ประเสริฐในทุกภพ
นี้เป็นผลแห่งการรักษาอุโบสถ
[๑๐] ยานคือช้าง ยานคือม้า และยานคือรถ
หม่อมฉันก็ได้รับมาครบถ้วน
นี้เป็นผลแห่งการรักษาอุโบสถ
[๑๑] ภาชนะทอง ภาชนะเงิน ภาชนะแก้วผลึก
และภาชนะแก้วทับทิม หม่อมฉันก็ได้รับมาครบถ้วน
[๑๒] ผ้าไหม ผ้ากัมพล ผ้าเปลือกไม้ ผ้าฝ้าย
และผ้าที่มีราคาแพง ๆ หม่อมฉันก็ได้รับมาครบถ้วน
[๑๓] ข้าว น้ำ ของเคี้ยว ผ้า และเสนาสนะ
หม่อมฉันก็ได้รับมาครบถ้วน
นี้เป็นผลแห่งการรักษาอุโบสถ
[๑๔] เครื่องหอมชนิดดี ดอกไม้ และจุรณสำหรับลูบไล้
หม่อมฉันก็ได้รับมาครบถ้วน
นี้เป็นผลแห่งการรักษาอุโบสถ
[๑๕] เรือนยอด ปราสาท มณฑป เรือนโล้น และถ้ำ
หม่อมฉันก็ได้รับมาครบถ้วน
นี้เป็นผลแห่งการรักษาอุโบสถ
[๑๖] หม่อมฉันอายุ ๗ ขวบก็ได้บวชเป็นบรรพชิต
ยังไม่ถึงกึ่งเดือนก็ได้บรรลุอรหัตตผล
[๑๗] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว
อาสวะทั้งปวงก็สิ้นไปแล้ว
บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๒. เอกูโปสถิกวรรค] ๒. สลฬปุปผิกาเถริยาปทาน
[๑๘] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
หม่อมฉันได้ทำกรรมไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการรักษาอุโบสถ
[๑๙] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว
หม่อมฉันตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๒๐] การที่หม่อมฉันมาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๒๑] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ หม่อมฉันก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า พระเอกูโปสถิกาภิกษุณีได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
เอกูโปสถิกาเถริยาปทานที่ ๑ จบ

๒. สลฬปุปผิกาเถริยาปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระสลฬปุปผิกาเถรี
(พระสลฬปุปผิกาเถรี เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๒๒] ครั้งนั้น หม่อมฉันได้เกิดเป็นนางกินนรี
อาศัยอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำจันทภาคา
หม่อมฉันได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ทรงองอาจกว่านรชน
ผู้เป็นเทพยิ่งกว่าเทพ เสด็จจงกรมอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๒. เอกูโปสถิกวรรค] ๒. สลฬปุปผิกาเถริยาปทาน
[๒๓] หม่อมฉันได้เลือกเก็บดอกสน
มาถวายพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
พระมหาวีระทรงสูดดมกลิ่นดอกสน
ซึ่งมีกลิ่นหอมเหมือนกลิ่นทิพย์
[๒๔] พระมหาวีรสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลกพระนามว่าวิปัสสี ทรงรับแล้ว
ได้สูดกลิ่นในขณะที่หม่อมฉันยังมองดูอยู่นั่นเอง
[๒๕] หม่อมฉันประนมมือไหว้พระพุทธองค์
ผู้สูงสุดแห่งเทวดาและมนุษย์
ทำจิตของตนให้เลื่อมใสแล้ว จากนั้นจึงขึ้นเขาไป
[๒๖] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
หม่อมฉันได้ถวายดอกไม้ไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๒๗] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว
หม่อมฉันตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๒๘] การที่หม่อมฉันมาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๒๙] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ หม่อมฉันก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า พระสลฬปุปผิกาภิกษุณีได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
สลฬปุปผิกาเถริยาปทานที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๒. เอกูโปสถิกวรรค] ๓. โมทกทายิกาเถริยาปทาน
๓. โมทกทายิกาเถริยาปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระโมทกทายิกาเถรี
(พระโมทกทายิกาเถรี เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๓๐] หม่อมฉันได้เป็นนางกุมภทาสีอยู่ในกรุงพันธุมดี
หม่อมฉันถือขนมต้มที่เป็นส่วนของหม่อมฉันไปยังท่าน้ำ
[๓๑] ได้เห็นพระสมณะผู้มีจิตสงบ มีใจตั้งมั่น ที่หนทาง
ก็เป็นผู้มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี จึงได้ถวายขนมต้ม ๓ มัด
[๓๒] ด้วยกรรมที่หม่อมฉันได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
หม่อมฉันจึงไม่ตกวินิบาตนรกเลยตลอด ๒๙ กัป
[๓๓] หม่อมฉันสร้างสมบัติไว้แล้วได้เสวยสมบัติทุกอย่าง
หม่อมฉันได้บรรลุบทที่ไม่หวั่นไหว เพราะถวายขนมต้ม ๓ มัด
[๓๔] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว
หม่อมฉันตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๓๕] การที่หม่อมฉันมาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๓๖] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ หม่อมฉันก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า พระโมทกทายิกาภิกษุณีได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
โมทกทายิกาเถริยาปทานที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๒. เอกูโปสถิกวรรค] ๔. เอกาสนทายิกาเถริยาปทาน
๔. เอกาสนทายิกาเถริยาปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระเอกาสนทายิกาเถรี
(พระเอกาสนทายิกาเถรี เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๓๗] ครั้งนั้น หม่อมฉันได้เป็นหญิงร้อยพวงมาลัยอยู่ในกรุงหงสวดี
มารดาบิดาของหม่อมฉันไปทำงาน
[๓๘] หม่อมฉันได้เห็นพระสมณะกำลังเดินไปตามถนน
ในเวลาเที่ยงวัน จึงได้ปูลาดอาสนะถวาย
[๓๙] ครั้นปูลาดอาสนะด้วยผ้าโกเชาว์อันวิจิตรเป็นต้นแล้ว
เป็นผู้มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดีกล่าวดังนี้ว่า
[๔๐] ‘ภูมิภาคร้อนระอุ เวลาเที่ยงวัน
ลมก็ไม่รำเพยพัด และเวลาก็จะล่วงเลยแล้ว
[๔๑] ข้าแต่พระมหามุนี อาสนะนี้หม่อมฉันปูลาดไว้เพื่อพระองค์
ขอพระองค์ได้โปรดอนุเคราะห์ นั่งบนอาสนะของหม่อมฉันเถิด’
[๔๒] พระสมณะผู้ฝึกตนดีแล้ว มีใจบริสุทธิ์ ได้นั่งบนอาสนะนั้น
หม่อมฉันรับบาตรของท่านแล้ว ได้ถวายบิณฑบาตตามที่ตนหุงต้มไว้
[๔๓] ด้วยกรรมที่หม่อมฉันได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
หม่อมฉันละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๔๔] ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
วิมานสูง ๖๐ โยชน์ กว้าง ๓๐ โยชน์
ซึ่งบุญกรรมเนรมิตสร้างขึ้นอย่างสวยงาม
เพื่อหม่อมฉันเพราะ(การปูลาด)อาสนะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๒. เอกูโปสถิกวรรค] ๔. เอกาสนทายิกาเถริยาปทาน
[๔๕] บัลลังก์ของหม่อมฉันมีหลายชนิด
คือบัลลังก์ทองคำ บัลลังก์แก้วมณี
บัลลังก์แก้วผลึก และบัลลังก์แก้วทับทิม
[๔๖] บัลลังก์ของหม่อมฉันปูลาดด้วยเครื่องลาดที่ยัดด้วยนุ่น
ด้วยเครื่องลาดอันวิจิตรด้วยรูปราชสีห์และเสือโคร่งเป็นต้น๑ก็มี
ด้วยเครื่องลาดแกมไหมประดับด้วยเพชรพลอยก็มี
ด้วยเครื่องลาดมีขนตั้งขึ้นด้านเดียวก็มี
[๔๗] หม่อมฉันเพียบพร้อมด้วยความร่าเริงสนุกสนาน
ไปได้ตามที่หม่อมฉันปรารถนา
พร้อมกับบัลลังก์อันประเสริฐในคราวที่หม่อมฉันต้องการจะไป
[๔๘] หม่อมฉันได้เป็นพระมเหสีของท้าวเทวราช ๘๐ พระองค์
และได้เป็นพระมเหสีของพระเจ้าจักรพรรดิ ๗๐ พระองค์
[๔๙] เมื่อหม่อมฉันยังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพน้อยภพใหญ่
ได้โภคสมบัติมากมาย
หม่อมฉันไม่มีความบกพร่องด้วยโภคสมบัติเลย
นี้เป็นผลแห่งการปูลาดอาสนะที่เดียวถวาย
[๕๐] หม่อมฉันเวียนว่ายตายเกิดอยู่ใน ๒ ภพ
คือ (๑) ภพเทวดา (๒) ภพมนุษย์
ภพอื่นหม่อมฉันไม่รู้จักเลย
นี้เป็นผลแห่งการปูลาดอาสนะที่เดียวถวาย
[๕๑] หม่อมฉันเกิดเฉพาะใน ๒ ตระกูล
คือ (๑) ตระกูลกษัตริย์ (๒) ตระกูลพราหมณ์
หม่อมฉันเกิดในตระกูลสูงทุก ๆ ภพ
นี้เป็นผลแห่งการปูลาดอาสนะที่เดียวถวาย

เชิงอรรถ :
๑ ด้วยเครื่องลาดอันวิจิตรด้วยรูปราชสีห์และเสือโคร่งเป็นต้น แปลมาจากศัพท์ว่า วิกติกา (ตามนัยอภิธานัป-
ปทีปิกา ๓๑๔/๘๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๒. เอกูโปสถิกวรรค] ๔. เอกาสนทายิกาเถริยาปทาน
[๕๒] ความโทมนัสที่ทำจิตของหม่อมฉันให้เร่าร้อนหม่อมฉันก็ไม่รู้จัก
ความเป็นผู้มีผิวพรรณทรามหม่อมฉันก็ไม่รู้จัก
นี้เป็นผลแห่งการปูลาดอาสนะที่เดียวถวาย
[๕๓] พี่เลี้ยงนางนม หญิงค่อม และหญิงรับใช้จำนวนมาก
ต่างก็ปรนนิบัติหม่อมฉัน หม่อมฉันถูกพี่เลี้ยงต่างผลัดกันอุ้ม
นี้เป็นผลแห่งการปูลาดอาสนะที่เดียวถวาย
[๕๔] พี่เลี้ยงพวกหนึ่งอาบน้ำให้หม่อมฉัน
พวกหนึ่งคอยป้อนข้าวหม่อมฉัน
พวกหนึ่งประดับตกแต่งหม่อมฉัน
พวกหนึ่งชวนหม่อมฉันให้รื่นรมย์ทุกเวลา
พวกหนึ่งลูบไล้ของหอมให้
นี้เป็นผลแห่งการปูอาสนะที่เดียวถวาย
[๕๕] บัลลังก์ดังจะรู้ความดำริของหม่อมฉันผู้อยู่ที่มณฑป
โคนไม้ หรือที่เรือนว่าง ย่อมปรากฏขึ้น
[๕๖] ภพนี้เป็นภพสุดท้ายของหม่อมฉัน
ภพสุดท้ายกำลังเป็นไปอยู่
แม้ในวันนี้หม่อมฉันก็สละราชสมบัติออกบวชเป็นบรรพชิต
[๕๗] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
หม่อมฉันได้ถวายทานไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการปูอาสนะที่เดียวถวาย
[๕๘] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว
หม่อมฉันตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๒. เอกูโปสถิกวรรค] ๕. ปัญจทีปทายิกาเถริยาปทาน
[๕๙] การที่หม่อมฉันมาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๖๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ หม่อมฉันก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า พระเอกาสนทายิกาภิกษุณีได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
เอกาสนทายิกาเถริยาปทานที่ ๔ จบ

๕. ปัญจทีปทายิกาเถริยาปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระปัญจทีปทายิกาเถรี
(พระปัญจทีปทายิกาเถรี เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๖๑] ครั้งนั้น หม่อมฉันเป็นผู้ประพฤติธรรมอยู่ในกรุงหงสวดี
มีความต้องการกุศล จึงท่องเที่ยวไปตามวัดวาอาราม
[๖๒] ได้เห็นต้นโพธิ์ที่ประเสริฐ ในกาฬปักข์(ข้างแรม)
จึงทำจิตให้เลื่อมใสในต้นโพธิ์นั้นแล้วนั่งที่โคนต้นโพธิ์
[๖๓] หม่อมฉันตั้งจิตคารวะประนมมือเหนือศีรษะ
ประกาศถึงความโสมนัสแล้วคิดอย่างนี้ในขณะนั้นว่า
[๖๔] ‘ถ้าพระพุทธเจ้าทรงมีพระคุณหาประมาณมิได้
ไม่มีบุคคลเปรียบเสมอเหมือน
โปรดแสดงปาฏิหาริย์แก่เราเถิด
คือขอให้ต้นโพธิ์นี้จงเปล่งรัศมีเถิด’
[๖๕] ทันใดนั้นเอง พร้อมกับที่หม่อมฉันรำพึง
ต้นโพธิ์มีรัศมีดั่งทองคำล้วน โชติช่วงสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๒. เอกูโปสถิกวรรค] ๕. ปัญจทีปทายิกาเถริยาปทาน
[๖๖] หม่อมฉันนั่งอยู่ที่โคนต้นโพธิ์นั้นตลอด ๗ คืน ๗ วัน
เมื่อถึงวันที่ ๗ หม่อมฉันได้ทำการบูชาด้วยประทีป
[๖๗] ประทีป ๕ ดวง โชติช่วงล้อมรอบอาสนะ
ครั้งนั้น ประทีปของหม่อมฉันโชติช่วงอยู่จนอาทิตย์อุทัย
[๖๘] ด้วยกรรมที่หม่อมฉันได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
หม่อมฉันละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๖๙] วิมานที่บุญกรรมสร้างขึ้นอย่างสวยงามเพื่อหม่อมฉัน
ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้น เรียกว่าปัญจทีปวิมาน
สูง ๖๐ โยชน์ กว้าง ๓๐ โยชน์
[๗๐] ประทีปนับไม่ถ้วนส่องสว่างล้อมรอบหม่อมฉันอยู่
ทั่วทั้งเทววิมานโชติช่วงด้วยแสงประทีป
[๗๑] หม่อมฉันนั่งหันหน้าไปทางทิศบูรพา
ถ้าปรารถนาจะดู ก็จะเห็นได้ทุกอย่างด้วยจักษุ
ทั้งในเบื้องบน เบื้องล่าง และเบื้องขวาง
[๗๒] หม่อมฉันปรารถนาจะเห็นกรรมดีและกรรมชั่ว
ที่คนทำแล้วในที่มีประมาณเท่าใด ที่มีประมาณเท่านั้น
ย่อมไม่มีต้นไม้หรือภูเขามากางกั้นได้
[๗๓] หม่อมฉันได้เป็นพระมเหสีของท้าวเทวราช ๘๐ พระองค์
และได้เป็นพระมเหสีของพระเจ้าจักรพรรดิ ๑๐๐ พระองค์
[๗๔] หม่อมฉันเกิดในกำเนิดใด ๆ
คือจะเกิดเป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็ตาม
ในกำเนิดนั้น ๆ ประทีปนับแสนดวงส่องแสงล้อมรอบหม่อมฉัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๒. เอกูโปสถิกวรรค] ๕. ปัญจทีปทายิกาเถริยาปทาน
[๗๕] หม่อมฉันจุติจากเทวโลกแล้ว เกิดในครรภ์มารดา
เมื่อหม่อมฉันอยู่ในครรภ์มารดา นัยน์ตาของหม่อมฉันมิได้หลับ
[๗๖] ประทีปนับแสนดวงส่องแสงสว่างอยู่ที่เรือนคลอดของหม่อมฉัน
ผู้เพียบพร้อมด้วยบุญกรรม
นี้เป็นผลแห่งประทีป ๕ ดวง
[๗๗] เมื่อถึงภพสุดท้าย หม่อมฉันกลับใจให้วิเศษ
จึงเห็นพระนิพพานอันเป็นสภาวะเยือกเย็น
ไม่มีชราและมรณะ
[๗๘] พอหม่อมฉันอายุได้ ๗ ขวบก็ได้บรรลุอรหัตตผล
พระพุทธเจ้าจึงให้หม่อมฉันอุปสมบท
นี้เป็นผลแห่งประทีป ๕ ดวง
[๗๙] ประทีปลุกโพลงส่องสว่างให้หม่อมฉัน
ผู้อยู่ที่มณฑป โคนไม้ หรือที่เรือนว่าง ทุกเมื่อ
นี้เป็นผลแห่งประทีป ๕ ดวง
[๘๐] ทิพยจักษุของหม่อมฉันบริสุทธิ์
หม่อมฉันฉลาดในสมาธิ ถึงความสำเร็จอภิญญา
นี้เป็นผลแห่งประทีป ๕ ดวง
[๘๑] หม่อมฉันเป็นผู้อยู่จบพรหมจรรย์ทั้งปวง
ทำกิจเสร็จแล้ว ไม่มีอาสวะ
ข้าแต่พระมหาวีระ ผู้มีพระจักษุ
หม่อมฉันชื่อว่าปัญจทีปา ขอกราบพระยุคลบาทของพระองค์
[๘๒] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
หม่อมฉันได้ถวายทานไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งประทีป ๕ ดวง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๒. เอกูโปสถิกวรรค] ๖. นฬมาลิกาเถริยาปทาน
[๘๓] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว
หม่อมฉันตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๘๔] การที่หม่อมฉันมาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๘๕] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ หม่อมฉันก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า พระปัญจทีปทายิกาภิกษุณีได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ปัญจทีปทายิกาเถริยาปทานที่ ๕ จบ

๖. นฬมาลิกาเถริยาปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระนฬมาลิกาเถรี
(พระนฬมาลิกาเถรี เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๘๖] ครั้งนั้น หม่อมฉันได้เกิดเป็นนางกินนรี
อาศัยอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำจันทภาคา
หม่อมฉันได้เห็นพระสยัมภูพุทธเจ้า
ผู้ปราศจากธุลีคือกิเลส ผู้ไม่ทรงพ่ายแพ้
[๘๗] หม่อมฉันเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี เกิดโสมนัส
ประนมมือแล้ว ถือพวงมาลัยดอกอ้อมาบูชาพระสยัมภู
[๘๘] ด้วยกรรมที่หม่อมฉันได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๒. เอกูโปสถิกวรรค] ๖. นฬมาลิกาเถริยาปทาน
หม่อมฉันละกายกินนรีแล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๘๙] หม่อมฉันได้เป็นพระมเหสีของท้าวเทวราช ๓๖ พระองค์
สิ่งที่หม่อมฉันปรารถนาด้วยใจย่อมบังเกิดตามความปรารถนา
[๙๐] หม่อมฉันได้เป็นพระมเหสีของพระเจ้าจักรพรรดิ ๑๐ พระองค์
เป็นสตรีมีบุญกุศลสั่งสมไว้แล้ว เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพ
[๙๑] กุศลของหม่อมฉันมี หม่อมฉันได้บวชเป็นบรรพชิต
วันนี้ หม่อมฉันเป็นบุคคลผู้ควรแก่การบูชา
ในศาสนาของพระศากยบุตร
[๙๒] วันนี้ หม่อมฉันมีใจบริสุทธิ์ ปราศจากจิตที่หยาบช้า
อาสวะทั้งปวงก็สิ้นไปแล้ว
บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก
[๙๓] ในกัปที่ ๙๔ นับจากกัปนี้ไป
หม่อมฉันได้บูชาพระพุทธเจ้าไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายพวงมาลัยดอกอ้อ
[๙๔] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว
หม่อมฉันตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๙๕] การที่หม่อมฉันมาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๒. เอกูโปสถิกวรรค] ๗. มหาปชาปตีโคตมีเถริยาปทาน
[๙๖] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ หม่อมฉันก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า พระนฬมาลิกาภิกษุณีได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
นฬมาลิกาเถริยาปทานที่ ๖ จบ

๗. มหาปชาปตีโคตมีเถริยาปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระมหาปชาบดีโคตมีเถรี
(พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๙๗] คราวหนึ่ง พระพุทธเจ้าผู้ทรงส่องโลกให้สว่าง
ทรงเป็นสารถีฝึกนรชน
ประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลาป่ามหาวัน เขตกรุงเวสาลี
[๙๘] ครั้งนั้น พระมหาปชาบดีโคตมีภิกษุณีพระมาตุจฉา(น้าสาว)
ของพระชินเจ้า อยู่ในสำนักของภิกษุณี
ในกรุงที่น่ารื่นรมย์นั้น
[๙๙] พร้อมด้วยภิกษุณีอีก ๕๐๐ รูป
ซึ่งล้วนแต่พ้นจากกิเลสแล้ว
เมื่อพระมหาปชาบดีโคตมีนั้น
อยู่ในที่สงัดได้ตรึก(คิด)อย่างนี้ว่า
[๑๐๐] “การปรินิพพานของพระพุทธเจ้าก็ดี
ของพระอัครสาวกทั้งคู่ก็ดี ของพระราหุลก็ดี
ของพระอานนท์ และของพระนันทะก็ดี เราจะไม่ได้เห็น
[๑๐๑] ก่อนแต่การปรินิพพานของพระพุทธเจ้า
ของพระอัครสาวกทั้งคู่ ของพระมหากัสสปะ
ของพระนันทะ ของพระอานนท์ และของพระราหุล
เราก็จะไม่ได้เห็นเหมือนกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๒. เอกูโปสถิกวรรค] ๗. มหาปชาปตีโคตมีเถริยาปทาน
[๑๐๒] เราผู้ที่พระโลกนาถ
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ทรงอนุญาตแล้ว
พึงปลงอายุสังขารแล้วนิพพาน”
[๑๐๓] ภิกษุณีทั้ง ๕๐๐ รูป ก็ได้ตรึกอย่างนั้น
แม้พระเขมาภิกษุณีเป็นต้นก็ได้ตรึกเช่นนี้เหมือนกัน
[๑๐๔] ครั้งนั้น เกิดแผ่นดินไหว กลองทิพย์บันลือลั่น
เทพที่สถิตอยู่ในสำนักภิกษุณี
ถูกความเศร้าโศกบีบคั้น
[๑๐๕] บ่นเพ้ออยู่อย่างน่าสงสาร หลั่งน้ำตาในที่นั้น
ภิกษุณีทุกรูปพร้อมด้วยเทพเหล่านั้น
ได้เข้าไปหาพระโคตมีภิกษุณี
[๑๐๖] ซบศีรษะลงแทบเท้าแล้วกล่าวคำนี้ว่า “ข้าแต่พระแม่เจ้า
เพราะหม่อมฉันมีปกติอยู่ด้วยการเทียบเคียงในธรรมเหล่านั้น
หม่อมฉันจึงได้อยู่ในที่สงัด
[๑๐๗] แผ่นดินไหวสะเทือนเลื่อนลั่น กลองทิพย์บันลือลั่น
และหม่อมฉันได้ยินเสียงคร่ำครวญ
ข้าแต่พระโคตมี จะต้องมีเหตุอะไรเกิดขึ้นแน่”
[๑๐๘] ครั้งนั้น พระมหาปชาบดีโคตมีนั้น
ได้บอกถึงเหตุทุกอย่างตามที่ตนได้ตรึกแล้ว
ลำดับนั้น ภิกษุณีทุกรูปก็ได้บอกถึงเหตุที่ตนตรึกแล้วกล่าวว่า
[๑๐๙] “ข้าแต่พระแม่เจ้า ถ้าพระแม่เจ้าชอบใจการนิพพาน
ที่เกษมอย่างยิ่งไซร้ ถึงหม่อมฉันทั้งหลายก็จักนิพพานทั้งหมด
ในกาลที่พระพุทธเจ้าจะทรงอนุญาตก่อน
[๑๑๐] แม้หม่อมฉันทั้งหลายก็ได้ออกจากเรือน
และจากภพพร้อมกับพระแม่เจ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๒. เอกูโปสถิกวรรค] ๗. มหาปชาปตีโคตมีเถริยาปทาน
หม่อมฉันทั้งหลายก็จักไปสู่เมืองอันยอดเยี่ยมคือพระนิพพาน
พร้อมกับพระแม่เจ้าเหมือนกัน”
[๑๑๑] พระมหาปชาบดีโคตมีกล่าวว่า
“เมื่อท่านทั้งหลายจะไปนิพพาน ฉันจักว่าอะไรได้เล่า”
แล้วได้ออกจากสำนักภิกษุณีไป
พร้อมกับภิกษุณีทั้งหมดในครั้งนั้น
[๑๑๒] พระมหาปชาบดีโคตมีภิกษุณี
ได้กล่าวกับทวยเทพทั้งหลายว่า
“ขอเทพทั้งหลายที่สถิตอยู่ ณ สำนักภิกษุณี
จงยกโทษให้ข้าพเจ้าด้วยเถิด
การเห็นสำนักภิกษุณีของข้าพเจ้านี้เป็นการเห็นครั้งสุดท้าย
[๑๑๓] ในที่ใดไม่มีความแก่และความตาย
ไม่มีการสมาคมกับสัตว์และสังขารซึ่งไม่เป็นที่รัก
ไม่มีการพลัดพรากจากสัตว์และสังขารซึ่งเป็นที่รัก
ที่นั้นนักปราชญ์กล่าวว่าเป็นอสังขตสถาน
(สถานที่ที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง)”
[๑๑๔] พระโอรสของพระสุคตทั้งหลายที่ยังไม่ปราศจากราคะ
ได้สดับคำนั้น เป็นผู้อัดอั้นตันใจด้วยความเศร้าโศกคร่ำครวญว่า
“น่าสังเวชหนอ เราทั้งหลายช่างมีบุญน้อย
[๑๑๕] สำนักภิกษุณีนี้จักว่างเปล่า
เพราะเว้นจากภิกษุณีเหล่านั้น
ภิกษุณีผู้เป็นชิโนรสจะไม่ปรากฏ
เหมือนดวงดาวทั้งหลายไม่ปรากฏในเวลาสว่าง
[๑๑๖] พระมหาปชาบดีโคตมีจะนิพพาน
พร้อมด้วยภิกษุณีอีก ๕๐๐ รูป
เหมือนกับแม่น้ำคงคาไหลไปสู่สาคร
พร้อมกับแม่น้ำ ๕๐๐ สาย”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๒. เอกูโปสถิกวรรค] ๗. มหาปชาปตีโคตมีเถริยาปทาน
[๑๑๗] อุบาสิกาทั้งหลายผู้มีศรัทธา
เห็นภิกษุณีทั้งหลายกำลังเดินไปตามถนน
ได้พากันออกจากเรือนไปหมอบลงแทบเท้า
แล้วกล่าวคำนี้กับพระโคตมีนั้นว่า
[๑๑๘] “การที่พระแม่เจ้าละทิ้งหม่อมฉันทั้งหลาย
ผู้จมอยู่ในโภคะเป็นอันมาก ไม่มีที่พึ่งแล้วนิพพานไม่สมควร”
อุบาสิกาเหล่านั้นมีความต้องการบีบคั้นจึงพร่ำเพ้อ
[๑๑๙] เพื่อจะให้อุบาสิกาเหล่านั้นละความเศร้าโศก
พระนางจึงได้ตรัสอย่างไพเราะว่า
“อย่าร้องไห้ไปเลย ลูกทั้งหลาย
วันนี้เป็นเวลารื่นเริงของท่านทั้งหลาย
[๑๒๐] ทุกข์ฉันกำหนดรู้แล้ว
เหตุแห่งทุกข์(สมุทัย)ฉันเว้นขาดแล้ว
นิโรธฉันได้ทำให้แจ้งแล้ว
และมรรคฉันก็ได้อบรมดีแล้ว
ภาณวารที่ ๑ จบ

[๑๒๑] พระศาสดาฉันก็ได้บำรุงแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
ภาระหนัก๑ฉันก็ปลงลงได้แล้ว
ตัณหาที่เป็นเหตุนำไปสู่ภพฉันก็ถอนได้แล้ว
[๑๒๒] กุลบุตรกุลธิดาออกบวชเป็นบรรพชิตเพื่อประโยชน์ใด
ประโยชน์นั้นคือความสิ้นสังโยชน์ทั้งปวง
ฉันได้บรรลุแล้วโดยลำดับ

เชิงอรรถ :
๑ ภาระหนัก หมายถึงขันธภาระ คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ (ขุ.เถร.อ.
๒/๖๐๔/๒๔๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๒. เอกูโปสถิกวรรค] ๗. มหาปชาปตีโคตมีเถริยาปทาน
[๑๒๓] พระพุทธเจ้าและพระสัทธรรมของพระองค์
มิได้ย่อหย่อนยังดำรงอยู่ตราบใด ตราบนั้นเป็นเวลาสมควรแล้ว
ที่ฉันจะนิพพาน ลูกเอ๋ย อย่าได้เศร้าโศกถึงแม่เลย
[๑๒๔] พระชินเจ้า พระราหุล พระอัญญาโกณฑัญญะ
พระอานนท์ และพระนันทะเป็นต้น ก็ยังดำรงอยู่
ขอพระสงฆ์จงมีประโยชน์สุขร่วมกัน
ขอให้เดียรถีย์จงเป็นผู้มีความโง่เขลาถูกกำจัดเสียเถิด
[๑๒๕] ยศคือการย่ำยีมารแห่งวงศ์พระเจ้าโอกกากราช
ฉันก็ให้รุ่งเรืองแล้ว
ลูก ๆ ถึงเวลาที่แม่จะนิพพานแล้วมิใช่หรือ
[๑๒๖] ความปรารถนาที่แม่ตั้งไว้ตั้งแต่ต้นมาช้านาน
จะสำเร็จแก่แม่ในวันนี้
เวลานี้เป็นเวลาที่กลองอานันทเภรีบันลือเสียง
ลูกเอ๋ย น้ำตาจะมีประโยชน์อะไรแก่พวกลูก
[๑๒๗] ถ้าลูกทั้งหลายจะมีความเอ็นดู
หรือมีความกตัญญูในมารดา
ก็ขอให้ลูกทุกคนจงทำความเพียรให้มั่น
เพื่อความดำรงมั่นแห่งพระสัทธรรมเถิด
[๑๒๘] พระสัมมาพุทธเจ้า ซึ่งแม่ทูลอ้อนวอน
จึงได้ทรงประทานการบรรพชาแก่สตรีทั้งหลาย
เพราะฉะนั้น แม่ยินดี ฉันใด
ลูกทั้งหลายก็จงเจริญรอยตามความยินดีนั้น ฉันนั้นเถิด”
[๑๒๙] ครั้นพระนางพร่ำสอนอุบาสิกาเหล่านั้นอย่างนี้แล้ว
มีภิกษุณีทั้งหลายห้อมล้อมเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า
ไหว้แล้วได้กราบทูลคำนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๐๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๒. เอกูโปสถิกวรรค] ๗. มหาปชาปตีโคตมีเถริยาปทาน
[๑๓๐] “ข้าแต่พระสุคต หม่อมฉันเคยเป็นมารดาเลี้ยงของพระองค์
ข้าแต่พระธีรเจ้า ส่วนพระองค์เป็นบิดาของหม่อมฉัน
ข้าแต่พระโลกนาถ พระองค์ทรงเป็นผู้ประทานความสุข
ที่เกิดจากพระสัทธรรม
ข้าแต่พระโคดม หม่อมฉันเป็นผู้ที่พระองค์ทรงให้เกิดแล้ว
[๑๓๑] ข้าแต่พระสุคต พระรูปกายของพระองค์นี้
อันหม่อมฉันเคยฟูมฟักให้เจริญเติบใหญ่แล้ว
ส่วนพระธรรมกายที่น่าเพลิดเพลินของหม่อมฉัน
อันพระองค์ทรงฟูมฟักให้เจริญแล้ว
[๑๓๒] พระองค์หม่อมฉันให้ดื่มน้ำนม
อันระงับความหิวได้เพียงชั่วครู่
ส่วนหม่อมฉันพระองค์ทรงให้ดื่มแม้น้ำนม
คือพระธรรมซึ่งสงบระงับได้แท้จริง
[๑๓๓] ข้าแต่พระมหามุนี พระองค์ชื่อว่ามิได้เป็นหนี้หม่อมฉัน
ในเพราะการเลี้ยงดูด้วยความผูกพัน
หม่อมฉันได้ฟังมาว่า สตรีทั้งหลายผู้ปรารถนาบุตรขออยู่
ก็ย่อมได้บุตรเช่นนั้น
[๑๓๔] มารดาใดของจอมนรชน มีพระเจ้ามันธาตุเป็นต้น
มารดานั้นชื่อว่ายังบุตรให้จมอยู่ในห้วงมหรรณพคือภพ
ข้าแต่พระปิโยรส ส่วนหม่อมฉันผู้จมอยู่แล้ว
พระองค์ทรงช่วยให้ข้ามพ้นจากสาครคือภพได้
[๑๓๕] พระนามว่า พระพันปีหลวง
สตรีทั้งหลายได้มาโดยง่าย
(แต่)พระนามว่า พุทธมารดา นี้
สตรีทั้งหลายได้มาโดยยากอย่างยิ่ง
[๑๓๖] ข้าแต่พระมหาวีระ ก็พระนามว่า
พุทธมารดานั้นอันหม่อมฉันได้แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๒. เอกูโปสถิกวรรค] ๗. มหาปชาปตีโคตมีเถริยาปทาน
ปณิธานน้อยใหญ่ของหม่อมฉันพระองค์ก็ทรงให้สำเร็จแล้ว
ทั้งหมดนั้นพระองค์ทรงให้บริบูรณ์แล้ว
[๑๓๗] หม่อมฉันปรารถนาที่จะละร่างนี้ปรินิพพาน
ข้าแต่พระวีรเจ้า ผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ ทรงเป็นผู้นำ
ขอพระองค์ทรงโปรดอนุญาตให้หม่อมฉันเถิด
[๑๓๘] ขอพระองค์โปรดทรงเหยียดพระยุคลบาท
ที่วิจิตรด้วยลายจักร (ลายจักรก้นหอย)
และธงอันละเอียดอ่อนเหมือนดอกบัวออกเถิด
หม่อมฉันจะนอบน้อมพระยุคลบาทนั้น
จักขอทำความรักในบุตร
[๑๓๙] ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเป็นผู้นำ
หม่อมฉันจะทำสรีระคือร่างกายของพระองค์
เหมือนกองทอง อันปรากฏเหมือนทับทิม
ให้เป็นอันหม่อมฉันเห็นดีแล้วจึงจะนิพพาน”
[๑๔๐] พระชินเจ้าทรงแสดงให้พระมาตุจฉาเห็นพระวรกาย
ที่ประกอบด้วยพระลักษณะ ๓๒ ประการ
ประดับด้วยพระรัศมีอย่างงดงาม
ซึ่งเป็นเหมือนดึงดูดดวงตาของคนพาล
[๑๔๑] ลำดับนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมีนั้น
ได้ซบพระเศียรลงแทบพื้นพระยุคลบาท
ซึ่งเป็นลายจักรคล้ายดอกบัวบาน
มีพระรัศมีดังดวงอาทิตย์แรกทอแสง แล้วได้กราบทูลว่า
[๑๔๒] “ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นดุจดวงอาทิตย์ของนรชน
หม่อมฉันนอบน้อมพระองค์ ผู้เป็นธงแห่งวงศ์พระอาทิตย์
ขอพระองค์ทรงโปรดเป็นที่พึ่งของหม่อมฉันในกาลสุดท้ายด้วยเถิด
หม่อมฉันจะไม่ได้เห็นพระองค์อีก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๒. เอกูโปสถิกวรรค] ๗. มหาปชาปตีโคตมีเถริยาปทาน
[๑๔๓] ข้าแต่พระองค์ผู้เลิศในโลก ผู้เป็นบ่อเกิดแห่งพระกรุณา
ธรรมดาสตรีทั้งหลายรู้กันว่ามีแต่จะก่อโทษทุกประการ
ถ้าโทษอย่างใดอย่างหนึ่งของหม่อมฉันมีอยู่
ก็ขอพระองค์ได้โปรดยกโทษแก่หม่อมฉันด้วยเถิด
[๑๔๔] อนึ่ง หม่อมฉันได้ทูลขอบ่อย ๆ
ให้สตรีทั้งหลายได้บวช
ข้าแต่พระองค์ผู้องอาจกว่านรชน
ถ้าโทษในข้อนั้นจะมีแก่หม่อมฉัน
ขอได้โปรดยกโทษนั้นด้วยเถิด
[๑๔๕] ข้าแต่พระวีรเจ้าผู้ทรงไว้ซึ่งการยกโทษ
ภิกษุณีทั้งหลาย อันหม่อมฉันสั่งสอนแล้ว
ตามที่พระองค์ทรงอนุญาต
ถ้าข้อนั้นจะมีการแนะนำผิด
ขอได้โปรดยกโทษในข้อนั้นด้วยเถิด”
[๑๔๖] (พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า)
“โคตมีผู้ประดับไปด้วยคุณ
ชื่อว่านิพพานก็สมควรแก่เธอ จะมีโทษอะไร
เมื่อเธอบอกว่าจะลานิพพาน
ตถาคตจักไปว่าอะไรเธอให้มากเล่า
[๑๔๗] เมื่อภิกษุสงฆ์ของตถาคตบริสุทธิ์
ไม่บกพร่อง เธอจะออกไปเสียจากโลกนี้ก็ควร
เพราะในเวลาสว่าง เมื่อดวงดาวหมดแสง
จันทเลขาก็เห็นเลือนไป”
[๑๔๘] ภิกษุณีทั้งหลายนอกจากพระมหาปชาบดีโคตมี
พากันทำประทักษิณพระชินเจ้าผู้เลิศ
เหมือนกลุ่มดาวที่ติดตามดวงจันทร์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๒. เอกูโปสถิกวรรค] ๗. มหาปชาปตีโคตมีเถริยาปทาน
ทำประทักษิณภูเขาพระสุเมรุ หมอบลงแทบพระยุคลบาทแล้ว
ยืนเพ่งดูพระพักตร์ของพระพุทธเจ้าแล้วกราบทูลว่า
[๑๔๙] “จักษุของหม่อมฉัน
ไม่เคยอิ่มด้วยการเห็นพระองค์
โสตของหม่อมฉันก็ไม่เคยอิ่มด้วยภาษิตของพระองค์
จิตของหม่อมฉันดวงเดียวเท่านั้น
บรรลุธรรมจึงอิ่มด้วยรสแห่งธรรม
[๑๕๐] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นนระผู้ประเสริฐ
เมื่อพระองค์บันลืออยู่ในท่ามกลางบริษัท กำจัดทิฏฐิมานะ
ชนเหล่าใดเห็นพระพักตร์ของพระองค์
ชนเหล่านั้นชื่อว่าเป็นผู้มีโชคดี
[๑๕๑] ข้าแต่พระองค์ผู้ถึงที่สุดแห่งสงคราม
ชนเหล่าใดประณตน้อมพระยุคลบาทของพระองค์
ซึ่งมีพระองคุลียาว มีพระนขาแดงงดงาม มีส้นพระยุคลบาทยาว
แม้ชนเหล่านั้นก็ชื่อว่าเป็นผู้มีโชคดี
[๑๕๒] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นนระผู้สูงสุด
ชนเหล่าใดได้สดับพระดำรัสของพระองค์
ซึ่งไพเราะน่าปลื้มใจ เผาเสียซึ่งโทษ เป็นประโยชน์เกื้อกูล
แม้ชนเหล่านั้นก็ชื่อว่าเป็นผู้มีโชคดี
[๑๕๓] ข้าแต่พระมหาวีระ หม่อมฉัน
อิ่มไปด้วยการบูชาพระยุคลบาทของพระองค์
ข้ามพ้นทางกันดารคือสงสารได้
ด้วยพระสุนทรกถาของพระองค์ผู้มีพระสิริ
ฉะนั้น หม่อมฉันจึงชื่อว่าเป็นผู้มีโชคดี”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๒. เอกูโปสถิกวรรค] ๗. มหาปชาปตีโคตมีเถริยาปทาน
[๑๕๔] ลำดับนั้น พระมหาปชาบดีโคตมีผู้มีวัตรงาม
ประกาศในหมู่ภิกษุสงฆ์แล้วไหว้พระราหุล
พระอานนท์ และพระนันทะแล้วได้ตรัสดังนี้ว่า
[๑๕๕] “ดิฉันเบื่อหน่ายร่างกายซึ่งเสมอด้วยที่อยู่ของอสรพิษ
เป็นรังแห่งโรค เป็นสถานที่เกิดทุกข์
มีชราและมรณะเป็นโคจร
[๑๕๖] เกลื่อนกล่นไปด้วยมลทินคือซากศพต่าง ๆ
ต้องพึ่งพาผู้อื่น ปราศจากความน่าใฝ่ใจ
ฉะนั้น ดิฉันจึงปรารถนาจะนิพพานเสีย
ขอลูก ๆ ทั้งหลายจงเข้าใจตามสมควรเถิด”
[๑๕๗] พระนันทเถระและพระภัททราหุล
เป็นผู้ปราศจากความเศร้าโศก หมดอาสวะ ตั้งมั่น
ไม่หวั่นไหว มีปัญญา มีความเพียร ได้คิดตามธรรมดาว่า
[๑๕๘] “น่าติเตียน ร่างกายที่ปัจจัยปรุงแต่ง
มีภาวะหวั่นไหว ปราศจากแก่นสาร เปรียบได้กับต้นกล้วย
เช่นเดียวกับพยับแดดซึ่งเป็นมายา ต่ำช้าไม่มั่นคง
[๑๕๙] พระโคตมีเถรีพระมาตุจฉาของพระชินเจ้านี้
ซึ่งได้เคยเลี้ยงดูพระพุทธเจ้าก็ยังต้องเสด็จนิพพาน
สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งล้วนไม่เที่ยง”
[๑๖๐] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์พุทธอนุชา
ซึ่งเป็นพระอุปัฏฐากของพระชินเจ้า
ยังเป็นพระเสขบุคคลอยู่ ท่านหลั่งน้ำตา
คร่ำครวญอย่างน่าเวทนาในที่นั้นว่า
[๑๖๑] “พระโคตมีเถรีตรัสอยู่หลัด ๆ ก็จะเสด็จนิพพานเสียแล้ว
คงอีกไม่นานเลย แม้พระพุทธเจ้าก็จะเสด็จดับขันธปรินิพพาน
เหมือนไฟที่หมดเชื้อแล้ว”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๐๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๒. เอกูโปสถิกวรรค] ๗. มหาปชาปตีโคตมีเถริยาปทาน
[๑๖๒] พระโคตมีเถรีได้ตรัสกับพระอานนท์
ผู้เชี่ยวชาญพระปริยัติธรรมที่ลึกล้ำปานสาคร
ฝักใฝ่ในการอุปัฏฐากพระพุทธเจ้าซึ่งพร่ำรำพันอยู่ดังกล่าวมาว่า
[๑๖๓] “ลูกเอ๋ย เมื่อกาลเป็นที่ร่าเริงปรากฏแล้ว
พ่อไม่ควรที่จะเศร้าโศกถึงการตายของแม่
การนิพพานของแม่นั้นใกล้เข้ามาแล้ว
[๑๖๔] ลูกเอ๋ย พระศาสดาลูกได้ทูลให้ทรงยินยอม
จึงได้ทรงอนุญาตให้แม่บวช
ลูกเอ๋ย พ่ออย่าเสียใจไปเลย
ความพยายามของพ่อต้องมีผล
[๑๖๕] ก็บทใด ที่เจ้าลัทธิทั้งหลายผู้เก่าก่อนไม่เห็น
บทนั้นอันเด็กหญิงซึ่งมีอายุ ๗ ขวบรู้แจ้งประจักษ์แล้ว
[๑๖๖] พ่อจงรักษาพุทธศาสนาไว้
การเห็นลูกเป็นการเห็นครั้งสุดท้าย
ลูกเอ๋ย แม่จะไปสถานที่ที่บุคคลไปแล้วไม่ปรากฏ
[๑๖๗] ในกาลบางคราว พระผู้ทรงเป็นผู้นำชั้นเลิศของโลก
ทรงเปล่งวาจาแสดงธรรม
ครั้งนั้น แม่ผู้มีความอนุเคราะห์จึงกล่าววาจาที่มีความหวังว่า
[๑๖๘] “ข้าแต่พระมหาวีระ ขอพระองค์จงทรงพระชนม์อยู่นาน ๆ
ข้าแต่พระมหามุนี ขอพระองค์จงดำรงพระชนม์อยู่ตลอดกัป
เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชาวโลกทั้งปวงเถิด
ขอพระองค์ทรงอย่าชราและปรินิพพานเลย”
[๑๖๙] พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ได้ตรัสกับแม่ผู้กราบทูลอยู่
เช่นนั้นว่า “พระนางโคตมี พระพุทธเจ้าทั้งหลาย
เป็นผู้อันใคร ๆ ไม่ควรวิงวอน เหมือนอย่างที่เธอวิงวอนอยู่เลย”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๒. เอกูโปสถิกวรรค] ๗. มหาปชาปตีโคตมีเถริยาปทาน
[๑๗๐] “ก็อย่างไร พระตถาคตผู้สัพพัญญู
จึงชื่อว่าอันบุคคลพึงวิงวอน
และอย่างไรพระพุทธเจ้าจึงชื่อว่าอันบุคคลไม่พึงวิงวอน
พระองค์อันหม่อมฉันทูลถามถึงเหตุนั้นแล้ว
ขอได้โปรดตรัสบอกเหตุนั้นแก่หม่อมฉันด้วยเถิด”
[๑๗๑] “ท่านจงดูสาวกทั้งหลายผู้ปรารภความเพียร
มีใจเด็ดเดี่ยวเพื่อบำเพ็ญเพียร มีความบากบั่นมั่นคงเป็นนิตย์
เป็นผู้พร้อมเพรียงกัน
นี้เป็นการวิงวอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย”
[๑๗๒] ต่อแต่นั้น ดิฉันไปสู่สำนักของภิกษุณี
อยู่คนเดียวคิดได้อย่างแจ้งชัดว่า
“พระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นที่พึ่ง ผู้ถึงที่สุดแห่งไตรภพ๑
ทรงพอพระทัยบริษัทที่สามัคคีกัน
[๑๗๓] เอาเถิด เราจะนิพพาน
อย่าได้พบเห็นความวิบัตินั้นเลย”
ครั้นดิฉันคิดดังนี้แล้ว
ได้เข้าเฝ้าพระฤาษีผู้ประเสริฐ๒(พระพุทธเจ้า)
[๑๗๔] แล้วได้กราบทูลกาลเป็นที่ปรินิพพาน
กับพระผู้ทรงเป็นผู้นำวิเศษ
ลำดับนั้น พระองค์ได้ทรงอนุญาตว่า
“จงรู้กาลเองเถิด พระนางโคตมี”
[๑๗๕] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว

เชิงอรรถ :
๑ ไตรภพ หมายถึงกามภพ รูปภพ อรูปภพ (ที.ปา. (แปล) ๑๑/๓๐๕/๒๖๕)
๒ สตฺตโม=ประเสริฐ (อภิธานัปปทีปิกา คาถาที่ ๖๙๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๒. เอกูโปสถิกวรรค] ๗. มหาปชาปตีโคตมีเถริยาปทาน
หม่อมฉันตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๗๖] การที่หม่อมฉันมาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๗๗] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ หม่อมฉันก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
[๑๗๘] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
“โคตมี คนพาลเหล่าใดมีความสงสัย
ในการตรัสรู้ธรรมของสตรีทั้งหลาย
ท่านจงแสดงฤทธิ์เพื่อการละทิฏฐิของคนพาลเหล่านั้น”
[๑๗๙] ครั้งนั้น พระโคตมีเถรีหมอบกราบพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว
เหาะขึ้นสู่ท้องฟ้า แสดงฤทธิ์เป็นอเนกประการ
ตามพุทธานุญาต
[๑๘๐] คือคนเดียวเป็นหลายคนก็ได้
หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้
ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา กำแพง ภูเขาก็ได้
[๑๘๑] ไปได้ไม่ติดขัด ดำลงไปในแผ่นดินเหมือนดำลงไปในน้ำก็ได้
เดินไปบนน้ำโดยที่น้ำไม่แตกกระจายเหมือนเดินไปบนแผ่นดินก็ได้
[๑๘๒] นั่งขัดสมาธิลอยไปในอากาศเหมือนนางนกก็ได้
ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้
[๑๘๓] ทำสิเนรุบรรพตให้เป็นคันร่ม
ทำแผ่นดินใหญ่ให้เป็นตัวร่ม
พลิกเอาเบื้องล่างขึ้น เดินกั้นร่มไปมาในอากาศ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๒. เอกูโปสถิกวรรค] ๗. มหาปชาปตีโคตมีเถริยาปทาน
[๑๘๔] ได้ทำโลกให้สวยงามประหนึ่งเวลาอาทิตย์ ๖ ดวง
อุทัยเหนือภูเขายุคันธร
และได้ทำโลกให้เป็นเหมือนกลุ่มตาข่ายดอกไม้ที่ยอดภูเขายุคันธร
[๑๘๕] ใช้พระหัตถ์ข้างหนึ่งกำภูเขามุจลินท์
ภูเขาสิเนรุ ภูเขามันทาระ
และภูเขาทัททระไว้ได้ทั้งหมด
เหมือนกำเมล็ดพันธุ์ผักกาด
[๑๘๖] ใช้ปลายนิ้วพระหัตถ์บังดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ไว้
ทัดทรงดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ไว้เป็นพัน ๆ ดวง
เหมือนทัดทรงพวงมาลัย
[๑๘๗] ใช้ฝ่าพระหัตถ์ข้างหนึ่งธารน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไว้ได้
ทำฝนห่าใหญ่ให้ตกมีอาการดังสายน้ำที่ตกจากภูเขายุคันธร
[๑๘๘] พระนางนั้นได้เนรมิตองค์เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
พร้อมด้วยบริวารในท้องฟ้า แสดงเป็นครุฑ
คชสาร ราชสีห์ ต่างบันลือร้องอยู่
[๑๘๙] พระองค์เดียวทรงเนรมิตเป็นคณะภิกษุณีนับไม่ถ้วน
แล้วก็อันตรธานกลับเป็นองค์เดียวกราบทูลพระมุนีว่า
[๑๙๐] “ข้าแต่พระมหาวีระ ผู้มีพระจักษุ
หม่อมฉันผู้เป็นพระมาตุจฉาของพระองค์
เป็นผู้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระองค์
บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว
ขอกราบพระยุคลบาท”
[๑๙๑] พระนาง ครั้นแสดงฤทธิ์อย่างต่าง ๆ แล้วลงจากท้องฟ้า
ทรงไหว้พระพุทธองค์ผู้ทรงส่องโลกให้สว่างแล้ว
ประทับนั่ง ณ ที่สมควรแห่งหนึ่ง (กราบทูลว่า)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๒. เอกูโปสถิกวรรค] ๗. มหาปชาปตีโคตมีเถริยาปทาน
[๑๙๒] “ข้าแต่พระมหามุนีวีรเจ้า
ผู้ทรงเป็นผู้นำ หม่อมฉันนั้นมีอายุได้ ๑๒๐ ปี
เพียงเท่านี้ก็พอแล้ว หม่อมฉันจักนิพพาน”
[๑๙๓] ครั้งนั้น บริษัททั้งหมดนั้น
ถึงความพิศวงยิ่งนักจึงได้พากันประนมมือถามว่า
“ข้าแต่พระแม่เจ้า ผู้มีความบากบั่น พระแม่เจ้าได้ทำบุญอะไรไว้
จึงเป็นผู้มีฤทธิ์หาที่เปรียบมิได้”
[๑๙๔] (พระมหาปชาบดีโคตมีเถรีได้กล่าวบุพจริยาของท่านดังต่อไปนี้ว่า)
พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้มีพระจักษุในธรรมทั้งปวง ทรงเป็นผู้นำ
เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
[๑๙๕] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเกิดในตระกูลอำมาตย์
ซึ่งสมบูรณ์ด้วยเครื่องอำนวยความสะดวกทุกอย่าง
เจริญรุ่งเรือง ร่ำรวย มีทรัพย์มาก ในกรุงหงสวดี
[๑๙๖] ในกาลบางคราว ข้าพเจ้าพร้อมด้วยบิดา
มีหมู่ทาสีห้อมล้อมเข้าไปเฝ้าพระองค์ผู้องอาจกว่านรชน
พร้อมด้วยบริวารจำนวนมาก
[๑๙๗] พระชินเจ้าผู้ไม่มีอาสวะ
ทำฝนคือธรรมให้ตกลงอยู่ เหมือนท้าววาสวะ
มีกลุ่มแห่งพระรัศมีโชติช่วง
เช่นกับดวงอาทิตย์ในสารทกาล
[๑๙๘] ข้าพเจ้าเห็นแล้วทำจิตให้เลื่อมใส
และได้สดับสุภาษิตของพระองค์
ได้สดับพระผู้ทรงเป็นผู้นำของนรชน
ทรงตั้งภิกษุณีผู้เป็นพระมาตุจฉาไว้ในตำแหน่งที่เลิศ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๒. เอกูโปสถิกวรรค] ๗. มหาปชาปตีโคตมีเถริยาปทาน
[๑๙๙] จึงได้ถวายมหาทานและปัจจัยจำนวนมาก
แด่พระผู้เลิศกว่านรชน ผู้คงที่พระองค์นั้น
พร้อมทั้งพระสงฆ์ตลอด ๗ วัน
[๒๐๐] แล้วจึงหมอบลงแทบพระยุคลบาทได้ปรารถนาตำแหน่งนั้น
ลำดับนั้น พระฤาษีผู้ประเสริฐ(พระพุทธเจ้า)
ได้ตรัสในที่ประชุมใหญ่นั้นว่า
[๒๐๑] “เราจักพยากรณ์สตรีผู้ที่นิมนต์พระผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
พร้อมทั้งภิกษุสงฆ์ให้เสวยและฉันตลอด ๗ วัน
ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าวเถิด
[๒๐๒] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร
ทรงสมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก
[๒๐๓] สตรีผู้นี้จักมีนามปรากฏว่าโคตมี
เป็นธรรมทายาท เป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต
จักเป็นสาวิกาของพระศาสดาพระองค์นั้น
[๒๐๔] จักเป็นพระมาตุจฉาบำรุงเลี้ยงชีวิต
ของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ได้ความเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุณีทั้งหลายฝ่ายรู้ราตรีนาน”
[๒๐๕] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้ฟังพุทธพยากรณ์นั้นแล้ว
เป็นผู้มีใจปราโมทย์ บำรุงพระชินเจ้า
ด้วยปัจจัยทั้งหลายจนตลอดชีวิต
ต่อจากนั้น ข้าพเจ้าก็ได้ตายไป
[๒๐๖] ข้าพเจ้าบังเกิดในหมู่เทพชั้นดาวดึงส์
ซึ่งให้สำเร็จสิ่งที่น่าใคร่ทุกประการ
ครอบงำพวกเทพเหล่าอื่นด้วยองค์ ๑๐ ประการ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๒. เอกูโปสถิกวรรค] ๗. มหาปชาปตีโคตมีเถริยาปทาน
[๒๐๗] คือ ด้วยรูป เสียง กลิ่น รส ผัสสะ(ธรรมารมณ์)
อายุ วรรณะ สุข และยศ
[๒๐๘] อนึ่ง รุ่งเรืองครอบงำเทพเหล่าอื่นด้วยความเป็นใหญ่
ข้าพเจ้าได้เป็นพระมเหสีผู้เป็นที่รัก
ของท้าวอัมรินทราธิราชชั้นดาวดึงส์นั้น
[๒๐๙] เมื่อข้าพเจ้ายังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสงสาร
เป็นผู้หวั่นไหวเพราะพายุคือกรรม
จึงเกิดในหมู่บ้านทาสในอาณาเขตของพระเจ้ากาสี
[๒๑๐] ครั้งนั้น ทาส ๕๐๐ คนอาศัยอยู่ในหมู่บ้านนั้น
ข้าพเจ้าได้เป็นภรรยาของหัวหน้าทาสทั้งหมดในหมู่บ้านนั้น
[๒๑๑] พระปัจเจกพุทธเจ้า ๕๐๐ องค์
ได้เข้าไปสู่บ้านเพื่อบิณฑบาต
ข้าพเจ้ากับญาติทุกคนเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น
จึงมีความยินดี
[๒๑๒] ข้าพเจ้าทั้งหลายพร้อมด้วยสามี เลื่อมใสแล้ว
จึงช่วยกันสร้างกุฎี ๕๐๐ หลังถวาย
อุปัฏฐากตลอด ๔ เดือนแล้วถวายไตรจีวร
[๒๑๓] จากนั้น ข้าพเจ้าทั้งหลายพร้อมด้วยสามีตายไป
ก็ได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
บัดนี้ เป็นภพสุดท้าย ข้าพเจ้าได้เกิดในกรุงเทวทหะ
[๒๑๔] พระชนกของข้าพเจ้าทรงพระนามว่าอัญชนศากยะ
พระชนนีของข้าพเจ้าทรงพระนามว่าสุลักขณา
ต่อมา ข้าพเจ้าได้ไปสู่พระราชวังของพระเจ้าสุทโธทนะ
ในกรุงกบิลพัสดุ์
[๒๑๕] สตรีทุกคนเกิดในตระกูลศากยะแล้ว
ได้ไปสู่พระราชวังของเจ้าศากยะทั้งหลาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๒. เอกูโปสถิกวรรค] ๗. มหาปชาปตีโคตมีเถริยาปทาน
ข้าพเจ้าประเสริฐกว่าสตรีทุกคน
ได้เป็นผู้บำรุงเลี้ยงพระชินเจ้า
[๒๑๖] พระโอรสของข้าพเจ้าพระองค์นั้น
เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์แล้ว
ได้เป็นพระพุทธเจ้า ทรงเป็นผู้นำวิเศษ
ภายหลังข้าพเจ้าพร้อมด้วยนางศากิยานี ๕๐๐ นางจึงได้บวช
[๒๑๗] แล้วได้ประสบสันติสุขพร้อมด้วยนางศากิยานีผู้มีความเพียร
ในครั้งนั้น ชนเหล่าใดผู้เคยเป็นสามีของพวกข้าพเจ้าในชาติก่อน
[๒๑๘] ชนเหล่านั้น เคยทำบุญร่วมกันมา
ประพฤติตามคำสอนที่ควรบูชา
พระสุคตทรงอนุเคราะห์แล้ว ได้บรรลุอรหัตตผล
[๒๑๙] ภิกษุณีทั้งหลายผู้มีฤทธิ์มาก
นอกจากพระมหาปชาบดีโคตมีเถรีนั้น
ได้พากันเหาะขึ้นสู่ท้องฟ้า รุ่งโรจน์
เหมือนดวงดาวทั้งหลายที่โคจรเกาะกลุ่มกันไป
[๒๒๐] ภิกษุณีเหล่านั้น เป็นผู้ศึกษาแล้วในบุญกรรม
จึงแสดงฤทธิ์ได้เป็นอเนกประการ
เหมือนนายช่างทองที่ได้รับการศึกษาแล้ว
แสดงเครื่องประดับทองคำชนิดต่าง ๆ
[๒๒๑] ครั้งนั้น ภิกษุณีเหล่านั้น
ครั้นแสดงปาฏิหาริย์มากมายหลายอย่างแล้ว
ทำพระมุนีผู้ประเสริฐกว่าดวงอาทิตย์
พร้อมทั้งบริษัทให้ทรงพอพระทัยยินดีแล้ว
[๒๒๒] ได้พากันลงจากท้องฟ้า
ไหว้พระฤๅษีผู้ประเสริฐ(พระพุทธเจ้า)
ผู้อันพระศาสดาผู้เป็นนระผู้เลิศ
ทรงอนุญาตแล้วจึงนั่ง ณ ที่สมควร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๒. เอกูโปสถิกวรรค] ๗. มหาปชาปตีโคตมีเถริยาปทาน
[๒๒๓] (ได้กราบทูลว่า) “ข้าแต่พระวีรเจ้า
น่าชมเชย พระโคตมีเถรี
เป็นผู้อนุเคราะห์หม่อมฉันทั้งปวง
หม่อมฉันทั้งหลายถูกพระนางอบรมด้วยบุญ
จึงได้บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะ
[๒๒๔] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันทั้งหลายก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงหม่อมฉันทั้งหลายก็ถอนได้แล้ว
หม่อมฉันทั้งหลายตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๒๒๕] การที่หม่อมฉันทั้งหลายมาในสำนัก
ของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ หม่อมฉันทั้งหลายได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันทั้งหลายก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๒๒๖] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ หม่อมฉันทั้งหลายก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันทั้งหลายก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
[๒๒๗] ข้าแต่พระมหามุนี หม่อมฉันทั้งหลาย
เป็นผู้มีความชำนาญในฤทธิ์ ในทิพพโสตธาตุ๑
และในเจโตปริยญาณ๒
[๒๒๘] รู้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ๓
ทิพยจักษุหม่อมฉันทั้งหลายก็ชำระให้หมดจดแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงหูทิพย์, ญาณพิเศษที่ทำให้ฟังอะไรได้ยินหมดตามปรารถนา (ที.สี. (แปล) ๙/๒๔๐-๑/๘๐)
๒ หมายถึงญาณกำหนดรู้ใจผู้อื่นได้, อ่านความคิดของเขาได้ เช่น รู้ว่าเขากำลังคิดอะไรอยู่ เป็นต้น (ที.สี.
(แปล) ๙/๒๔๒-๓/๘๐-๘๑)
๓ หมายถึงความรู้เป็นเครื่องระลึกได้ถึงขันธ์ที่อาศัยอยู่ในก่อน,ระลึกชาติได้ (ที.สี. (แปล) ๙/๒๔๔-๕/๘๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๒. เอกูโปสถิกวรรค] ๗. มหาปชาปตีโคตมีเถริยาปทาน
อาสวะทั้งปวงก็สิ้นไปแล้ว
บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก
[๒๒๙] ข้าแต่พระมหาวีระ อัตถปฏิสัมภิทาญาณ
ธัมมปฏิสัมภิทาญาณ นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ
และปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณของหม่อมฉันทั้งหลายที่มีอยู่
ล้วนเกิดขึ้นแล้วในสำนักของพระองค์
[๒๓๐] ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเป็นผู้นำ ทรงเป็นมหามุนี
พระองค์ทรงเป็นผู้ที่หม่อมฉันทั้งหลายมีจิตเมตตา ปฏิบัติ
ขอพระองค์โปรดทรงอนุญาตให้หม่อมฉันทั้งหมดนิพพานเถิด”
[๒๓๑] พระชินเจ้าได้ตรัสว่า “เมื่อเธอทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า
‘จักนิพพาน’ เราตถาคตจะไปกล่าวอะไรได้
ก็บัดนี้เธอทั้งหลายจงสำคัญกาลอันสมควรเถิด
[๒๓๒] ครั้งนั้น ภิกษุณีเหล่านั้นมีพระโคตมีเถรีเป็นอาทิ
ไหว้พระชินเจ้าแล้ว ได้พากันลุกจากที่นั่งนั้นไป
[๒๓๓] พระธีรเจ้า ทรงเป็นผู้นำชั้นเลิศของโลก
พร้อมด้วยหมู่ชนจำนวนมาก
ได้เสด็จไปส่งพระมาตุจฉาจนถึงซุ้มประตู
[๒๓๔] ครั้งนั้น พระโคตมีเถรีพร้อมด้วยภิกษุณีทุกรูปนอกนี้
ได้พากันหมอบลงแทบพระยุคลบาทของพระศาสดา
ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของโลกแล้วกราบทูลว่า
“นี้เป็นการกราบพระยุคลบาทครั้งสุดท้าย
[๒๓๕] นี้เป็นการเห็นพระโลกนาถครั้งสุดท้ายของหม่อมฉัน
หม่อมฉันจักไม่ได้เห็นพระพักตร์
ซึ่งมีอาการดังน้ำอมฤตของพระองค์อีก
[๒๓๖] ข้าแต่พระวีระผู้เลิศในโลก
การกราบไหว้ของหม่อมฉัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๒. เอกูโปสถิกวรรค] ๗. มหาปชาปตีโคตมีเถริยาปทาน
จักไม่สัมผัสพระยุคลบาทอันละเอียดอ่อนของพระองค์(อีก)
วันนี้ หม่อมฉันจะนิพพาน”
[๒๓๗] พระศาสดาตรัสว่า “จะมีประโยชน์อะไรแก่เธอด้วยรูปนี้
เมื่อธรรมที่เธอเห็นแล้วตามความเป็นจริง
สังขตธรรมทั้งปวงนั้นถูกปัจจัยปรุงแต่ง
ไม่ใช่เป็นสิ่งที่น่ายินดี และเป็นของเลวทราม”
[๒๓๘] พระมหาปชาบดีเถรีพร้อมด้วยภิกษุณีเหล่านั้น
กลับไปยังสำนักของตนแล้ว
นั่งขัดสมาธิชั้นเดียวบนอาสนะที่ประเสริฐ
[๒๓๙] ครั้งนั้น อุบาสิกาทั้งหลายในที่นั้น
ผู้มีความเคารพรักในพุทธศาสนา
ได้สดับความเป็นไปของพระนาง ต่างก็เข้าไปนมัสการพระยุคลบาท
[๒๔๐] ใช้มือตบอก ร้องไห้ คร่ำครวญอย่างน่าสงสาร
อัดอั้นตันใจด้วยความเศร้าโศก ล้มลงที่ภาคพื้น
ดุจเถาวัลย์ที่มีรากขาดแล้วกองลง รำพันด้วยวาจาว่า
[๒๔๑] “ข้าแต่พระแม่เจ้าผู้ประทานที่พึ่งแก่หม่อมฉันทั้งหลาย
พระแม่เจ้า อย่าได้ละทิ้งหม่อมฉันทั้งหลายนิพพานเลย
หม่อมฉันทุกคนขอซบเศียรอ้อนวอน”
[๒๔๒] พระมหาปชาบดีเถรีลูบศีรษะของอุบาสิกาผู้มีศรัทธา
มีปัญญา ซึ่งเป็นหัวหน้าของอุบาสิกาเหล่านั้น ได้กล่าวคำนี้ว่า
[๒๔๓] “ลูกทั้งหลายเอ๋ย
อย่าเลย การพร่ำเพ้อซึ่งเป็นไปในบ่วงแห่งมาร
สังขตธรรมทั้งปวงล้วนไม่เที่ยง
มีแต่จะหวั่นไหวพลัดพรากจากกันไป”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๒. เอกูโปสถิกวรรค] ๗. มหาปชาปตีโคตมีเถริยาปทาน
[๒๔๔] ต่อจากนั้น พระนางก็ละอุบาสิกาเหล่านั้นแล้ว
เข้าปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน
และจตุตถฌาน อันยอดเยี่ยม
[๒๔๕] แล้วเข้าอากาสานัญจายตนฌาน
วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน
และเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ตามลำดับ
[๒๔๖] แล้วพระโคตมีเถรี ก็เข้าฌานทั้งหลายโดยปฏิโลม
จนถึงปฐมฌาน เข้าฌานทั้ง ๓ จนถึงจตุตถฌาน
[๒๔๗] ครั้นออกจากจตุตถฌานแล้วไม่มีอาสวะนิพพาน
เหมือนดวงประทีปหมดเชื้อดับไป
ได้เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ สายฟ้าก็ผ่าลงมาจากนภากาศ
[๒๔๘] กลองทิพย์ก็บันลือลั่นขึ้นเอง เทพทั้งหลายพากันคร่ำครวญ
และฝนดอกไม้ก็โปรยปรายจากอากาศลงสู่พื้นดิน
[๒๔๙] แม้ภูเขาเมรุราชก็กัมปนาทหวั่นไหว
เหมือนคนเต้นรำท่ามกลางโรงเต้นรำ
ทะเลก็ปั่นป่วนครวญครางเพราะความเศร้าโศก
[๒๕๐] เทพ นาค อสูร และพรหมต่างก็พากันสลดใจ
กล่าวขึ้นในขณะนั้นเองว่า “สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ
เหมือนอย่างพระมหาปชาบดีเถรีนี้
ถึงความย่อยยับไปแล้ว”
[๒๕๑] และพระเถรีทั้งหลายผู้ทำตามคำสั่งสอนของพระศาสดา
ซึ่งห้อมล้อมพระมหาปชาบดีเถรีนี้ก็ไม่ยึดมั่นถือมั่น
พากันนิพพานไปแล้ว
เหมือนดวงประทีปหมดเชื้อดับไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๒. เอกูโปสถิกวรรค] ๗. มหาปชาปตีโคตมีเถริยาปทาน
[๒๕๒] โอ ! ความประจวบกันมีความพลัดพรากเป็นที่สุด
โอ ! สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งล้วนไม่เที่ยง
โอ ! ชีวิตมีความพินาศเป็นที่สุด
การคร่ำครวญได้มีแล้ว ด้วยประการฉะนี้
[๒๕๓] ลำดับนั้น เทวดาและพรหมต่างก็เข้าไปเฝ้าพระฤาษีผู้ประเสริฐ
จึงทำความประพฤติตามโลกธรรมสมควรแก่กาล
[๒๕๔] ครั้งนั้น พระศาสดาตรัสเรียกพระอานนท์
ผู้เป็นพหูสูต มีปัญญาดุจห้วงน้ำมาสั่งว่า
“อานนท์ เธอจงไปประกาศให้ภิกษุทั้งหลายทราบ
ถึงการปรินิพพานของพระมารดา”
[๒๕๕] ในกาลนั้น ท่านพระอานนท์หมดความแช่มชื่น
มีน้ำตานองนัยนา ประกาศด้วยเสียงสั่นเครือว่า
“ขอภิกษุทั้งหลายจงมาประชุมกัน
[๒๕๖] คือภิกษุทั้งหลายที่เป็นโอรสของพระสุคตทั้งที่อยู่ในทิศตะวันออก
ทิศใต้ ทิศตะวันตก ทิศเหนือ
ภิกษุณีนั้นเป็นมารดาของเรา
[๒๕๗] ผู้ประคบประหงมสรีระสุดท้ายของพระมุนีให้เจริญ
ด้วยน้ำนมของตน ภิกษุณีนั้น คือพระโคตมีเถรี
ดับสนิทแล้วเหมือนดวงดาวดับแสงในเวลาดวงอาทิตย์ขึ้น
[๒๕๘] พระนางทรงประกาศให้รู้ว่า ‘เป็นพุทธมารดา’
แล้วนิพพาน ซึ่งเป็นที่ที่คนแม้มีดวงตา ๕ ดวงก็มองไม่เห็น
แต่พระผู้มีพระภาคผู้เป็นผู้นำทรงเห็นได้
[๒๕๙] ขอพระโอรสของพระสุคต ผู้มีศรัทธาในพระสุคต
หรือเป็นศิษย์ของพระมหามุนี
จงทำสักการะพุทธมารดาเถิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๒. เอกูโปสถิกวรรค] ๗. มหาปชาปตีโคตมีเถริยาปทาน
[๒๖๐] ภิกษุทั้งหลายถึงอยู่ในที่ไกลแสนไกล
ได้สดับคำประกาศนั้นแล้ว ก็รีบมา
บางพวกมาด้วยพุทธานุภาพ
บางพวกที่ชำนาญในฤทธิ์ก็มาด้วยฤทธิ์ของตน
[๒๖๑] ต่างช่วยกันยกเตียงที่พระโคตมีเถรีนอนสงบนิ่ง
ขึ้นตั้งบนเรือนยอดที่ประเสริฐ
สำเร็จด้วยทองคำล้วน งดงามน่ายินดี
[๒๖๒] ท้าวโลกบาลทั้ง ๔๑ ต่างก็ใช้บ่ารองรับเรือนยอดไว้
เทวดาที่เหลือมีท้าวสักกเทวราชเป็นต้น
ก็เข้าช่วยรับเรือนยอดด้วย
[๒๖๓] ก็เรือนยอดทั้งหมดมี ๕๐๐ หลัง
วิสสุกรรมเทพบุตรได้เนรมิตขึ้น
มีสีเหมือนดวงอาทิตย์ในสารทกาล
[๒๖๔] ภิกษุณีทั้งหมด ผู้นอนสงบนิ่งอยู่บนเตียง
ในที่นั้น ก็ถูกเทพทั้งหลายแบกนำออกไปตามลำดับ
[๒๖๕] พื้นนภากาศถูกเพดานบังไว้ทั่ว
ที่เพดานนั้นมีดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์
พร้อมทั้งดวงดาวที่ทำด้วยทองคำประดับติดไว้
[๒๖๖] ธงปฏาก (ธงผ้า) ได้ถูกยกขึ้นประดับไว้เป็นอันมาก
เครื่องคลุมดอกไม้ที่สวยงาม
ดอกบัวในอากาศมีปลายห้อยลง
ส่วนดอกไม้ที่พื้นดินมีปลายชี้ขึ้น

เชิงอรรถ :
๑ ท้าวโลกบาลทั้ง ๔ คือ (๑) ท้าวธตรฐ (๒) ท้าววิรุฬหก (๓) ท้าววิรูปักษ์ (๔) ท้าวกุเวร (ที.สี.
(แปล) ๙/๓๓๖/๒๑๙-๒๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๒. เอกูโปสถิกวรรค] ๗. มหาปชาปตีโคตมีเถริยาปทาน
[๒๖๗] ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ก็ปรากฏ
และดวงดาวทั้งหลายก็ส่องแสง
อนึ่ง ดวงอาทิตย์แม้อยู่ในเวลาเที่ยงวัน
ก็เหมือนดวงจันทร์ไม่ส่องแสงให้เร่าร้อน
[๒๖๘] เทพทั้งหลายพากันบูชาด้วยของหอม
และดอกไม้มีกลิ่นหอม
ด้วยการประโคมดนตรี ฟ้อนรำ และขับร้องอันเป็นทิพย์
[๒๖๙] นาค อสูร และพรหม
ต่างก็พากันบูชาพุทธมารดาผู้นิพพานซึ่งถูกเขานำออกไปแล้ว
ตามความสามารถตามกำลัง
[๒๗๐] ภิกษุณีผู้เป็นโอรสของพระสุคต
ซึ่งนิพพานแล้วทั้งหมดถูกอัญเชิญไปข้างหน้า
พระโคตมีเถรีผู้เลี้ยงดูพระพุทธเจ้า
ผู้อันเทวดาและมนุษย์สักการะแล้วถูกอัญเชิญไปข้างหลัง
[๒๗๑] เทวดา มนุษย์ พร้อมด้วยนาค อสูร
และพรหมไปข้างหน้า
พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยสาวกเสด็จไปข้างหลัง
เพื่อบูชาพุทธมารดา
[๒๗๒] การปรินิพพานของพระพุทธเจ้า
หาได้เป็นเช่นการปรินิพพานของพระโคตมีเถรีไม่
การปรินิพพานของพระโคตมีเถรีอัศจรรย์ยิ่งนัก
[๒๗๓] ในเวลาที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน
ไม่มีพระพุทธเจ้าและภิกษุทั้งหลายมีพระสารีบุตรเป็นต้น
เหมือนในเวลาที่พระโคตมีเถรีนิพพาน
ซึ่งมีทั้งพระพุทธเจ้าและภิกษุทั้งหลายมีพระสารีบุตรเป็นต้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๒. เอกูโปสถิกวรรค] ๗. มหาปชาปตีโคตมีเถริยาปทาน
[๒๗๔] ชนทั้งหลายช่วยกันทำจิตกาธาน
ซึ่งสำเร็จด้วยไม้มีกลิ่นหอมล้วนและโปรยจุรณเครื่องหอม
แล้วฌาปนกิจภิกษุณีเหล่านั้นบนจิตกาธานนั้น ๆ
[๒๗๕] ส่วนที่เหลือถูกไฟไหม้ไปสิ้นเหลือไว้เพียงอัฐิ
ก็เวลานั้น ท่านพระอานนท์ได้กล่าววาจา
ให้เกิดความสังเวชว่า
[๒๗๖] “พระโคตมีเถรีนิพพานแล้ว
พระสรีระของพระนางก็ถูกเผาแล้ว
กำหนดได้ว่า การปรินิพพานของพระพุทธเจ้านี้
คงจักมีโดยกาลไม่นาน
[๒๗๗] จากนั้น ท่านพระอานนท์ถูกพระพุทธเจ้าทรงตักเตือน
จึงได้น้อมนำอัฐิธาตุของพระโคตมีเถรี
ซึ่งอยู่ในบาตรของพระนางเข้ามาถวายพระโลกนาถ
[๒๗๘] พระผู้มีพระภาค ผู้เป็นฤๅษีผู้ประเสริฐ
ทรงใช้พระหัตถ์ประคองอัฐิเหล่านั้น
ได้ตรัสว่า “ต้นไม้ใหญ่มีแก่นยืนต้น
[๒๗๙] ถึงจะมีลำต้นใหญ่โต ก็พึงหักทำลายไปได้
เพราะความไม่เที่ยง พระโคตมีเถรีก็เหมือนกัน
ถึงจะเป็นใหญ่กว่าภิกษุณีสงฆ์ก็ปรินิพพานไปแล้ว
[๒๘๐] ดูเถิดอานนท์ พุทธมารดาแม้ปรินิพพานแล้ว
เหลือเพียงสรีรธาตุ เธอไม่ควรเศร้าโศกคร่ำครวญถึง
[๒๘๑] คนอื่น ๆ ก็ไม่ควรเศร้าโศกถึง
พระนางผู้ข้ามห้วงน้ำคือสังสารวัฏไปแล้ว
ละเว้นเหตุที่ทำให้เดือดร้อนได้แล้ว เป็นผู้เย็นดับสนิทแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๒. เอกูโปสถิกวรรค] ๗. มหาปชาปตีโคตมีเถริยาปทาน
[๒๘๒] พระนางเป็นบัณฑิต มีปัญญามากและมีปัญญากว้างขวาง
ทั้งเป็นรัตตัญญูกว่าภิกษุณีทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงทราบอย่างนี้เถิด
[๒๘๓] พระโคตมีเถรีเป็นผู้ชำนาญในฤทธิ์ ในทิพพโสตธาตุ
และในเจโตปริยญาณ
[๒๘๔] รู้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
ทิพยจักษุพระโคตมีเถรีก็ชำระให้หมดจดแล้ว
อาสวะทั้งปวงก็สิ้นไปแล้ว
บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก
[๒๘๕] อัตถปฏิสัมภิทาญาณ ธัมมปฏิสัมภิทาญาณ
นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณก็บริสุทธิ์แล้ว
เพราะฉะนั้น พระโคตมีเถรีนั้นอันใคร ๆ ไม่ควรเศร้าโศกถึง
[๒๘๖] ความเป็นไปของไฟที่ลุกโพลงขึ้น
ที่ถูกแผ่นเหล็กหนาทับไว้แล้ว
ดับสนิทไปตามลำดับ ใคร ๆ ก็รู้ไม่ได้ ฉันใด
[๒๘๗] คติของผู้หลุดพ้นโดยชอบแล้ว
ซึ่งข้ามเครื่องผูกพันคือกามและโอฆะได้
บรรลุบทอันไม่หวั่นไหว ย่อมไม่มี
เพื่อจะให้ใคร ๆ รู้ได้ ก็ฉันนั้น
[๒๘๘] เพราะฉะนั้น เธอทั้งหลายจงมีตนเป็นที่พึ่ง
มีสติปัฏฐานเป็นโคจร
เธอทั้งหลายเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการแล้ว
จักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้”
ได้ทราบว่า พระนางมหาปชาบดีโคตมีภิกษุณีได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
มหาปชาปตีโคตมีเถริยาปทานที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๒. เอกูโปสถิกวรรค] ๘. เขมาเถริยาปทาน
๘. เขมาเถริยาปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระเขมาเถรี
(พระเขมาเถรี เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๒๘๙] พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้มีพระจักษุในธรรมทั้งปวง ทรงเป็นผู้นำ
เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
[๒๙๐] ครั้งนั้น หม่อมฉันเกิดในตระกูลเศรษฐี
มีความรุ่งเรืองด้วยรัตนะต่าง ๆ ในกรุงหงสวดี
เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยความสุขมาก
[๒๙๑] หม่อมฉันเข้าไปเฝ้าพระมหาวีระพระองค์นั้นแล้ว
ได้ฟังพระธรรมเทศนา
แต่นั้นหม่อมฉันเกิดความเลื่อมใส
ได้ถึงพระชินเจ้าเป็นสรณะ
[๒๙๒] หม่อมฉันได้วิงวอนมารดาบิดาแล้ว
จึงทูลนิมนต์พระชินเจ้าผู้ทรงเป็นผู้นำวิเศษ
พร้อมทั้งสาวกให้เสวยและฉันตลอด ๗ วัน
[๒๙๓] เมื่อ ๗ วันล่วงไปแล้ว
พระผู้มีพระภาคผู้ทรงเป็นสารถีฝึกนรชน
ทรงตั้งภิกษุณีรูปหนึ่ง
ซึ่งสูงสุดฝ่ายภิกษุณีผู้มีปัญญามากในเอตทัคคะ
[๒๙๔] หม่อมฉันได้ฟังเรื่องนั้นแล้ว มีความยินดี
ทำสักการะพระพุทธเจ้า
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่พระองค์นั้นอีก
แล้วหมอบลงปรารถนาตำแหน่งนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๒. เอกูโปสถิกวรรค] ๘. เขมาเถริยาปทาน
[๒๙๕] แต่นั้น พระชินเจ้าพระองค์นั้นตรัสกะหม่อมฉันว่า
“ความปรารถนาของเธอจักสำเร็จ
สักการะที่เธอทำแล้วแก่เรา
พร้อมทั้งพระสงฆ์นี้มีผลประมาณไม่ได้
[๒๙๖] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร
ทรงสมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก
[๒๙๗] สตรีผู้นี้จักเป็นภิกษุณีมีนามว่าเขมา
เป็นธรรมทายาทของพระศาสดาพระองค์นั้น
เป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต จักได้ตำแหน่งอันเลิศนี้”
[๒๙๘] ด้วยกรรมที่หม่อมฉันได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
หม่อมฉันละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๒๙๙] หม่อมฉันจุติจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้นแล้วไปเกิดในสวรรค์ชั้นยามา
จุติจากสวรรค์ชั้นยามานั้นแล้วไปเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต
จุติจากสวรรค์ชั้นดุสิตนั้นแล้วไปเกิดในสวรรค์ชั้นนิมมานรดี
จุติจากสวรรค์ชั้นนิมมานรดีนั้นแล้วไปเกิดในสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี
[๓๐๐] เพราะอำนาจแห่งกรรมนั้น หม่อมฉันเกิดในภพใด ๆ
ในภพนั้น ๆ ก็ได้เป็นพระมเหสีของพระราชา
[๓๐๑] หม่อมฉันจุติจากสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตดีนั้นแล้ว
มาเกิดในหมู่มนุษย์ ได้เป็นพระมเหสีของพระเจ้าจักรพรรดิ
และได้เป็นพระมเหสีของพระเจ้าแผ่นดิน
[๓๐๒] เสวยสมบัติทั้งในเทวโลกและในมนุษยโลก
มีความสุขทุกชาติ เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในกัปเป็นอันมาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๒. เอกูโปสถิกวรรค] ๘. เขมาเถริยาปทาน
[๓๐๓] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
พระพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี
ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก งดงามน่าทัศนายิ่งนัก
ทรงเห็นแจ้งในธรรมทั้งปวง เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว
[๓๐๔] หม่อมฉันเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก ทรงเป็นสารถีฝึกนรชน
ได้ฟังธรรมที่ประณีตแล้วจึงออกบวชเป็นบรรพชิต
[๓๐๕] ประพฤติพรหมจรรย์อยู่ในศาสนา
ของพระวีรเจ้าพระองค์นั้นตลอด ๑๐,๐๐๐ ปี
ประกอบความเพียร เป็นพหูสูต
[๓๐๖] ฉลาดในปัจจยาการ ชำนาญในสัจจะ ๔
มีปัญญาละเอียด แสดงธรรมไพเราะ
ปฏิบัติตามสัตถุศาสน์๑
[๓๐๗] ด้วยผลแห่งการประพฤติพรหมจรรย์
หม่อมฉันจุติจากภพนั้นแล้วไปเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต
เป็นผู้มียศ เสวยสมบัติอยู่ในภพนั้นและภพอื่น
[๓๐๘] หม่อมฉันเกิดในภพใด ๆ ก็เป็นผู้มีโภคะมาก
มีทรัพย์มาก มีปัญญา มีรูปงาม มีบริวารชนที่เชื่อฟัง
[๓๐๙] ด้วยกรรมและความเพียรในศาสนาของพระชินเจ้านั้น
หม่อมฉันเป็นที่รักดังดวงใจ(ของสามี)
สมบัติทุกอย่างหม่อมฉันได้โดยง่าย
[๓๑๐] ด้วยผลแห่งการปฏิบัติของหม่อมฉัน
เมื่อหม่อมฉันอยู่ ณ ที่ใด ๆ
ผู้ที่เป็นสามีหม่อมฉันก็ไม่ดูหมิ่น ทั้งใครอื่น ๆ ก็ไม่ดูหมิ่นหม่อมฉัน

เชิงอรรถ :
๑ สัตถุศาสน์ ในที่นี้หมายถึง สัจจะ ๔ กัมมัฏฐาน และภาวนา (ขุ.เถรี.อ. ๑๑๓/๑๔๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๒. เอกูโปสถิกวรรค] ๘. เขมาเถริยาปทาน
[๓๑๑] ในภัทรกัปนี้ พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของพราหมณ์
มีพระยศยิ่งใหญ่ พระนามว่าโกนาคมนะ
ประเสริฐกว่าเจ้าลัทธิทั้งหลาย เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว
[๓๑๒] ครั้งนั้นเอง ชน ๓ คน คือนางธนัญชานีพราหมณี
พระนางสุเมธาเถรี และหม่อมฉัน
เป็นคนของตระกูลที่สำเร็จความประสงค์ทุกอย่างในกรุงพาราณสี
[๓๑๓] หม่อมฉันทั้งหลายได้ถวายสังฆารามแก่พระมุนีหลายพันองค์
และได้สร้างวิหารอุทิศถวายพระพุทธเจ้าพร้อมทั้งสงฆ์สาวก
[๓๑๔] หม่อมฉันทั้งหลายทั้งหมดพากันจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว
ได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ถึงความเป็นผู้เลิศด้วยยศ
และเมื่อเกิดในหมู่มนุษย์ก็เหมือนกัน
[๓๑๕] ในกัปนี้เอง พระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ ตามพระโคตร
ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของพราหมณ์ มีพระยศยิ่งใหญ่
ประเสริฐกว่าเจ้าลัทธิทั้งหลาย เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว
[๓๑๖] ครั้งนั้น พระเจ้ากาสีพระนามว่ากิกี
เป็นใหญ่กว่านรชนในกรุงพาราณสีที่ประเสริฐสุด
ทรงเป็นอุปัฏฐากของพระพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๓๑๗] หม่อมฉันเป็นธิดาคนโตของพระองค์มีนามปรากฏว่าสมณี
ได้ฟังธรรมของพระชินเจ้าผู้เลิศแล้วพอใจการบรรพชา
[๓๑๘] แต่พระชนกนาถมิได้ทรงอนุญาตให้หม่อมฉันทั้งหลายบวช
ครั้งนั้น หม่อมฉันทั้งหลายไม่เกียจคร้าน ครองเรือนอยู่ ๒๐,๐๐๐ ปี
[๓๑๙] พระราชกัญญาทั้ง ๗ พระองค์
มีความสุข ประพฤติพรหมจรรย์ตั้งแต่ยังเป็นกุมารี
เพลิดเพลินยินดีอุปัฏฐากพระพุทธเจ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๒. เอกูโปสถิกวรรค] ๘. เขมาเถริยาปทาน
[๓๒๐] คือ (๑) พระนางสมณี (๒) พระนางสมณคุตตา
(๓) พระนางภิกษุณี (๔) พระนางภิกขุทาสิกา
(๕) พระนางธรรมา (๖) พระนางสุธรรมา
(๗) พระนางสังฆทาสิกา
[๓๒๑] (พระราชธิดาทั้ง ๗ นั้นได้กลับชาติมาเกิด)
คือ หม่อมฉัน ๑ พระอุบลวรรณาเถรี ๑
พระปฏาจาราเถรี ๑ พระกุณฑลเกสีเถรี ๑
พระกีสาโคตมีเถรี ๑ พระธรรมทินนาเถรี ๑
และคนที่ ๗ เป็นวิสาขามหาอุบาสิกา
[๓๒๒] บางครั้งพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ผู้เป็นดังดวงอาทิตย์ของนรชน
ทรงแสดงธรรมเป็นอัศจรรย์
หม่อมฉันได้ฟังมหานิทานสูตร๑แล้วนำมาศึกษาปฏิบัติอยู่
[๓๒๓] ด้วยกรรมทั้งหลายที่หม่อมฉันได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
หม่อมฉันละกายมนุษย์แล้วจึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๓๒๔] บัดนี้ เป็นภพสุดท้าย หม่อมฉันเป็นพระธิดาที่พอพระทัย
รักใคร่ โปรดปรานของพระเจ้ามัททราช
ในสากลนครที่อุดมสมบูรณ์
[๓๒๕] พร้อมกับในกาลที่หม่อมฉันพอเกิดมา
นครนั้นได้มีแต่ความเกษมสำราญ
เพราะฉะนั้น นามว่าเขมา จึงเกิดขึ้นแก่หม่อมฉันโดยคุณ
[๓๒๖] เมื่อหม่อมฉันเจริญวัยเป็นสาว
มีรูปร่างและผิวพรรณงดงาม
พระราชบิดาก็โปรดประทานหม่อมฉันแก่พระเจ้าพิมพิสาร

เชิงอรรถ :
๑ ที.ม. (แปล) ๑๐/๙๕/๕๗-๗๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๒. เอกูโปสถิกวรรค] ๘. เขมาเถริยาปทาน
[๓๒๗] หม่อมฉันเป็นที่โปรดปรานของพระราชสวามีนั้น
ยินดีแต่ในการบำรุงรูปโฉม
ไม่เอื้อเฟื้ออย่างมากด้วยคิดว่า
พระพุทธเจ้ามีปกติกล่าวโทษของรูป
[๓๒๘] ครั้งนั้น พระเจ้าพิมพิสารทรงโปรดให้นักขับ
ขับร้องเพลงพรรณนาพระเวฬุวันเจาะจงหม่อมฉัน
เพื่ออนุเคราะห์หม่อมฉันให้มีความรู้สึก
[๓๒๙] หม่อมฉันสำคัญว่าพระเวฬุวัน
ซึ่งเป็นที่ประทับของพระสุคต
เป็นสถานที่น่ารื่นรมย์ ผู้ใดยังมิได้เห็น
ผู้นั้นก็จัดว่ายังไม่ได้เห็นสวนนันทวัน
[๓๓๐] พระเวฬุวัน ซึ่งเป็นสถานที่น่าเพลิดเพลินยินดีของนรชน
ผู้ใดได้เห็นแล้ว ผู้นั้นเหมือนได้เห็นสวนนันทวัน
ซึ่งเป็นสถานที่เพลิดเพลินของท้าวอัมรินทราธิราช
[๓๓๑] ท้าวสักกเทวราชและเทพทั้งหลายละสวนนันทวันแล้ว
ลงมาที่พื้นปฐพี เห็นพระเวฬุวันที่น่ารื่นรมย์แล้ว
ก็อัศจรรย์ใจ มิรู้เบื่อ
[๓๓๒] พระเวฬุวันเกิดขึ้นเพราะบุญของพระราชา
อันบุญญานุภาพแห่งพระพุทธเจ้าประดับแล้ว
ใครเล่าจะประมวลคุณแห่งพระเวฬุวันมากล่าวให้หมดสิ้นได้
[๓๓๓] ครั้งนั้น หม่อมฉันได้ฟังความสำเร็จแห่งสมบัติของพระเวฬุวัน
ที่เสนาะโสตไพเราะจับใจหม่อมฉัน
ใคร่จะได้ชมอุทยานนั้นจึงกราบทูลพระราชาให้ทรงทราบ
[๓๓๔] ครั้งนั้น พระเจ้าแผ่นดินจึงโปรดส่งหม่อมฉัน
ผู้มุ่งจะชมอุทยานนั้น
ไปพร้อมด้วยบริวารเป็นจำนวนมาก ด้วยพระดำรัสว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๒. เอกูโปสถิกวรรค] ๘. เขมาเถริยาปทาน
[๓๓๕] “พระนางผู้มีโภคะเป็นอันมาก
เชิญไปชมพระเวฬุวันซึ่งเป็นที่สบายตา
ซึ่งเปล่งปลั่งด้วยพระรัศมีของพระสุคต
สว่างไสวด้วยพระสิริตลอดเวลา”
[๓๓๖] (หม่อมฉันทูลว่า)
“เมื่อใดพระมุนีเสด็จเข้ามาทรงรับบิณฑบาต
ยังกรุงราชคฤห์อันยอดเยี่ยม
เมื่อนั้น หม่อมฉันจะเข้าไปชมพระเวฬุวันมหาวิหาร”
[๓๓๗] ขณะนั้น พระเวฬุวันมหาวิหาร
มีสวนดอกไม้ที่แย้มบาน มีเสียงหึ่งด้วยหมู่ภมรนานาชนิด
มีเสียงนกดุเหว่าร่ำร้อง ทั้งหมู่นกยูงก็รำแพน
[๓๓๘] สงัดจากเสียงอย่างอื่น ไม่พลุกพล่าน
ประดับไปด้วยที่จงกรมต่าง ๆ
สะพรั่งไปด้วยแถวแห่งกุฎีและมณฑป
เรียงรายไปด้วยพระโยคีผู้บำเพ็ญเพียร
[๓๓๙] หม่อมฉันเมื่อเดินเที่ยวไปได้รู้สึกว่า “นัยน์ตาของเรามีประโยชน์”
ครั้งนั้น หม่อมฉันเห็นภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งประกอบกิจอยู่ แล้วคิดไปว่า
[๓๔๐] ‘ภิกษุนี้ยังอยู่ในวัยรุ่นหนุ่ม มีรูปงาม น่าปรารถนา
ปฏิบัติดีอยู่ในป่าที่น่ารื่นรมย์เช่นนี้ เหมือนคนอยู่ในที่มืด
[๓๔๑] ภิกษุนี้มีศีรษะโล้น ห่มผ้าสังฆาฏินั่งอยู่ที่โคนไม้
ละความยินดีที่เกิดจากอารมณ์เข้าฌานอยู่หนอ
[๓๔๒] ธรรมดาคฤหัสถ์บริโภคกามอย่างมีความสุข
แก่แล้วจึงควรประพฤติธรรมอันดีงามนี้ในภายหลังมิใช่หรือ’
[๓๔๓] หม่อมฉันเข้าใจว่า ‘พระคันธกุฎีที่ประทับแห่งพระชินเจ้าว่างเปล่า’
จึงเดินเข้าไป ได้เห็นพระชินเจ้าผู้งดงามดังดวงอาทิตย์อุทัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๒. เอกูโปสถิกวรรค] ๘. เขมาเถริยาปทาน
[๓๔๔] ประทับสำราญอยู่พระองค์เดียว มีสตรีสาวสวยพัดวีอยู่
ครั้นแล้วจึงมีความคิดผิดอย่างนี้ว่า ‘พระผู้มีพระภาค
ผู้องอาจกว่านรชนพระองค์นี้มิได้เศร้าหมองเลย
[๓๔๕] หญิงสาวนั้นก็มีรัศมีเปล่งปลั่งดังทองธรรมชาติ
มีหน้าตางดงามดังปทุมชาติ ริมฝีปากก็แดงดังผลตำลึงสุก
ชำเลืองมองแต่น้อย เป็นที่ติดตาตรึงใจยิ่งนัก
[๓๔๖] มีลำแขนงามเหมือนทองคำ วงหน้าสวย
ถันทั้งคู่ก็เต่งตึงดังดอกบัวตูม มีเอวคอดกลมกลึง
สะโพกผึ่งผาย ลำขาน่ายินดี มีเครื่องประดับสวยงาม
[๓๔๗] ผ้าสไบมีสีแดงแวววาว นุ่งห่มผ้าเนื้อเกลี้ยงสีเขียว
มีรูปสมบัติที่ชวนชมโดยไม่รู้เบื่อ
ประดับด้วยเครื่องอาภรณ์ทุกชนิด’
[๓๔๘] หม่อมฉันเห็นสตรีสาวนั้นแล้วจึงคิดว่า
‘โอ ! สตรีสาวคนนี้มีรูปงามเหลือเกิน
เราไม่เคยเห็นด้วยนัยน์ตาดวงนี้ในที่ไหน ๆ มาก่อนเลย’
[๓๔๙] ขณะนั้น สตรีสาวคนนั้นถูกชราย่ำยี
มีผิวพรรณแปลกไป ปากอ้า ฟันหัก ผมหงอก
น้ำลายไหล หน้าไม่สะอาด
[๓๕๐] หูตึง นัยน์ตาฝ้าฟาง ถันหย่อนยาน ไม่งาม
เหี่ยวย่นทั่วกาย มีศีรษะและร่างกายสั่นงันงก
[๓๕๑] หลังงอ มีไม้เท้าเป็นเพื่อนเดิน
ร่างกายซูบผอมซีดไป สั่นงันงก ล้มลงแล้วหายใจถี่ ๆ
[๓๕๒] จากนั้น ความสังเวชที่ก่อให้เกิดขนพองสยองเกล้า
ซึ่งไม่เคยมีก็ได้มีแก่หม่อมฉันว่า
‘น่าติเตียน รูปไม่สะอาดที่พวกคนเขลายินดีกัน’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๒. เอกูโปสถิกวรรค] ๘. เขมาเถริยาปทาน
[๓๕๓] ครั้งนั้น พระพุทธเจ้าผู้ประกอบด้วยพระมหากรุณา
มีจิตเบิกบานโสมนัส ทอดพระเนตรเห็นหม่อมฉัน
ผู้มีใจสังเวชแล้ว จึงตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
[๓๕๔] “เขมา เธอจงดูรูปกายที่กระสับกระส่าย
ไม่สะอาด เปื่อยเน่า (มีของเหลว)
ไหลเข้าและไหลออก ที่พวกคนเขลาพากันยินดียิ่งนัก
[๓๕๕] เธอจงอบรมจิตให้เป็นสมาธิมีอารมณ์เดียว
ด้วยอารมณ์ที่ไม่งามเถิด
เธอจงเจริญกายคตาสติมากไปด้วยความเบื่อหน่ายเถิด
[๓๕๖] รูปของหญิงนี้เป็นฉันใด
รูปกายของเธอนั้นก็เป็นฉันนั้น
รูปกายของเธอนั้นเป็นฉันใด
รูปของหญิงนี้ก็เป็นฉันนั้น
เธอจงคลายความยินดีพอใจในกาย
ทั้งภายในและภายนอกเถิด
[๓๕๗] จงอบรมอนิมิตตวิโมกข์๑ จงละมานานุสัยเสีย
แต่นั้นเธอจักเป็นผู้อยู่อย่างสงบ
เพราะมานานุสัยสงบระงับไป
[๓๕๘] ชนเหล่าใดกำหนัดเพราะราคะเกาะติดกระแสอยู่
เหมือนแมลงมุมเกาะใยอยู่ตรงกลางที่ทำไว้เอง
ชนเหล่านั้นตัดกระแสราคะนั้นแล้ว ไม่มีความอาลัย
ละกามสุข หลีกไป”
[๓๕๙] ครั้งนั้น พระพุทธเจ้าผู้เป็นสารถีฝึกนรชน
ทรงทราบว่า หม่อมฉันมีจิตควรแล้ว
จึงทรงแสดงมหานิทานสูตรเพื่อทรงแนะนำหม่อมฉัน

เชิงอรรถ :
๑ อนิมิตตวิโมกข์ หมายถึงความหลุดพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นนามรูป โดยความเป็นอนิจจัง คือ
หลุดพ้นด้วยเห็นอนิจจตาแล้วถอนนิมิตเสียได้ (ขุ.ป. (แปล) ๓๑/๒๒๙/๒๘๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๒. เอกูโปสถิกวรรค] ๘. เขมาเถริยาปทาน
[๓๖๐] หม่อมฉันได้ฟังพระสูตรอันประเสริฐนั้นแล้ว
จึงระลึกถึงสัญญาในกาลก่อนได้
ตั้งมั่นอยู่ในสัญญานั้นแล้ว ชำระธรรมจักษุ๑ให้หมดจด
[๓๖๑] ขณะนั้น หม่อมฉันหมอบลงแทบพระยุคลบาท
ของพระพุทธเจ้า ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
เพื่อประสงค์จะแสดงโทษ จึงได้กราบทูลคำนี้ว่า
[๓๖๒] “ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเห็นแจ้งในธรรมทั้งปวง
หม่อมฉันขอนอบน้อมพระองค์
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นบ่อเกิดแห่งพระมหากรุณา
หม่อมฉันขอนอบน้อมพระองค์
ข้าแต่พระองค์ผู้เสด็จข้ามวัฏฏสงสารได้แล้ว
หม่อมฉันขอนอบน้อมพระองค์
ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงประทานอมตธรรม
หม่อมฉันขอนอบน้อมพระองค์
[๓๖๓] หม่อมฉันจมอยู่ในมิจฉาทิฏฐิ
หลงใหลเพราะกามราคะ
พระองค์ทรงแนะนำด้วยอุบายที่ชอบ
เป็นผู้ยินดีในธรรมที่ทรงแนะนำ
[๓๖๔] สัตว์ทั้งหลายพลัดพรากจากประโยชน์
เพราะไม่ได้เห็นพระพุทธเจ้า
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่เช่นพระองค์
จึงประสบมหันตทุกข์อยู่ในสงสารสาคร
[๓๖๕] ในกาลใดหม่อมฉันยังมิได้มาเข้าเฝ้าพระองค์
ผู้ทรงเป็นที่พึ่งของสัตว์โลก ผู้ไม่มีข้าศึกคือกิเลส

เชิงอรรถ :
๑ ธรรมจักษุ หมายถึงปัญญาในมรรค ๓ คือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค (ที.สี.อ.
๑/๒๑๓/๑๖๕,๒๑๔,๒๕๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๒. เอกูโปสถิกวรรค] ๘. เขมาเถริยาปทาน
ทรงถึงที่สุดแห่งมรณธรรม
ทรงมีธรรมที่เป็นประโยชน์อย่างดี
หม่อมฉันขอแสดงโทษนั้น
[๓๖๖] หม่อมฉันมัวแต่ยินดีในรูป
ระแวงว่าพระองค์จะไม่เป็นประโยชน์จึงมิได้เข้าเฝ้า
พระองค์ผู้ทรงมีความเกื้อกูลมาก
ทรงประทานพระธรรมที่ประเสริฐ
หม่อมฉันขอแสดงโทษนั้น”
[๓๖๗] ครั้งนั้น พระชินเจ้าผู้ประกอบด้วยพระมหากรุณา
มีพระสุรเสียงไพเราะและก้องกังวาน
เมื่อจะทรงใช้น้ำอมฤตรดหม่อมฉันจึงตรัสว่า “ลุกขึ้นเถิดเขมา”
[๓๖๘] ครั้งนั้น หม่อมฉันประณตน้อมนมัสการด้วยเศียรเกล้า
ทำประทักษิณพระองค์แล้ว กลับไปเฝ้าพระราชา
ผู้เป็นใหญ่กว่านรชนแล้วกราบทูลคำนี้ว่า
[๓๖๙] “ข้าแต่พระองค์ผู้ย่ำยีข้าศึก
อุบายที่พระองค์ทรงดำริแล้วโดยชอบนี้ น่าอัศจรรย์
หม่อมฉันผู้ปรารถนาจะเที่ยวชมพระเวฬุวันมหาวิหาร
ได้เฝ้าพระมุนีผู้ไม่มีกิเลสเพียงดังป่าแล้ว
[๓๗๐] ข้าแต่พระราชา ถ้าพระองค์ทรงพอพระทัย
หม่อมฉันผู้เบื่อหน่ายในรูปตามที่พระมุนีทรงตรัสสอนแล้ว
จักบวชในศาสนาของพระมุนีผู้คงที่พระองค์นั้น”
ภาณวารที่ ๒ จบ

[๓๗๑] ครั้งนั้น พระเจ้าแผ่นดินพระนามว่าพิมพิสาร พระองค์นั้น
ทรงประคองอัญชลีตรัสว่า “พระน้องนาง
พี่อนุญาตแก่เธอ ขอการบรรพชาจงสำเร็จแก่เธอเถิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๒. เอกูโปสถิกวรรค] ๘. เขมาเถริยาปทาน
[๓๗๒] ครั้งนั้น หม่อมฉันบวชมาแล้วผ่านไป ๗ เดือน
เห็นประทีปสว่างขึ้นและดับไป จึงมีใจสังเวช
[๓๗๓] มีความเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง ฉลาดในปัจจยาการ
ข้ามพ้นโอฆะ๑ ๔ แล้ว ก็ได้บรรลุอรหัตตผล
[๓๗๔] หม่อมฉันเป็นผู้มีความชำนาญในฤทธิ์
ในทิพพโสตธาตุและในเจโตปริยญาณ
[๓๗๕] รู้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
ทิพยจักษุหม่อมฉันก็ชำระให้หมดจดแล้ว
อาสวะทั้งปวงก็สิ้นไปแล้ว
บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก
[๓๗๖] อัตถปฏิสัมภิทาญาณ ธัมมปฏิสัมภิทาญาณ
นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ
และปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณที่บริสุทธิ์ของหม่อมฉัน
ล้วนเกิดขึ้นแล้วในศาสนาของพระพุทธเจ้า
[๓๗๗] หม่อมฉันเป็นผู้ฉลาดในวิสุทธิทั้งหลาย๒
คล่องแคล่วในกถาวัตถุ
รู้แจ้งนัยแห่งพระอภิธรรม เชี่ยวชาญในศาสนา
[๓๗๘] จากนั้น พระราชสวามีผู้ฉลาด
ตรัสถามปัญหาที่ละเอียดลึกซึ้งในโตรณวัตถุ
หม่อมฉันได้วิสัชนาโดยควรแก่กถา
[๓๗๙] ครั้งนั้น พระราชาเสด็จเข้าเฝ้าพระสุคตแล้ว
ทูลถามปัญหาเหล่านั้น
พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ปัญหาเหล่านั้น
เหมือนอย่างที่หม่อมฉันพยากรณ์

เชิงอรรถ :
๑ โอฆะ หมายถึงสังกิเลสท่วมทับใจสัตว์มี ๔ คือ (๑) กาโมฆะ (๒) ภโวฆะ (๓) ทิฏโฐฆะ (๔) อวิชโชฆะ
๒ วิสุทธิทั้งหลาย หมายถึงสีลวิสุทธิ จิตตวิสุทธิ และทิฏฐิวิสุทธิ (ที.ปา. (แปล) ๑๑/๓๐๔/๒๕๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๒. เอกูโปสถิกวรรค] ๙. อุปปลวัณณาเถริยาปทาน
[๓๘๐] พระชินเจ้าผู้สูงสุดแห่งนระ
ทรงพอพระทัยในคุณสมบัตินั้น
จึงทรงตั้งหม่อมฉันไว้ในเอตทัคคะว่า
เป็นผู้เลิศกว่าบรรดาภิกษุณีผู้มีปัญญามาก
[๓๘๑] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว
หม่อมฉันตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๓๘๒] การที่หม่อมฉันมาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๓๘๓] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ หม่อมฉันก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า พระเขมาภิกษุณีได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
เขมาเถริยาปทานที่ ๘ จบ

๙. อุปปลวัณณาเถริยาปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอุบลวรรณาเถรี
(พระอุบลวรรณาเถรี เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๓๘๔] พระอุบลวรรณาภิกษุณีถึงความสำเร็จแห่งฤทธิ์
กราบไหว้พระยุคลบาทของพระศาสดาแล้วกราบทูลคำนี้ว่า
[๓๘๕] “ข้าแต่พระมหามุนี หม่อมฉันข้ามพ้นชาติสงสารได้แล้ว
บรรลุบทที่ไม่หวั่นไหว ทุกข์ทั้งปวงหม่อมฉันให้สิ้นไปแล้วจึงขอบอกว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๒. เอกูโปสถิกวรรค] ๙. อุปปลวัณณาเถริยาปทาน
[๓๘๖] “ขอประชุมชนผู้เลื่อมใสในศาสนาของพระชินเจ้า
และชนที่ข้าพเจ้าได้ทำความผิดให้เท่าที่มีอยู่
จงยกโทษให้ข้าพเจ้า เฉพาะพระพักตร์ของพระชินเจ้า
[๓๘๗] ข้าแต่พระมหาวีระ หม่อมฉันขอกราบทูลว่า
เมื่อหม่อมฉันเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏฏสงสาร
ถ้าหม่อมฉันมีความผิดพลาด
ขอพระองค์จงยกโทษให้หม่อมฉันด้วยเถิด”
[๓๘๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบลวรรณา
ผู้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของเรา เธอจงแสดงฤทธิ์
และตัดความสงสัยของบริษัท ๔ เท่าที่มีอยู่ ในวันนี้เถิด”
[๓๘๙] พระอุบลวรรณาเถรีกราบทูลว่า
“ข้าแต่พระมหาวีระ ผู้มีพระปัญญา ผู้ทรงพระรัศมีรุ่งเรือง
หม่อมฉันเป็นธิดาของพระองค์
กรรมที่ทำได้ยาก ทำได้แสนลำบากจำนวนมาก
หม่อมฉันได้ทำแล้ว
[๓๙๐] ข้าแต่พระมหาวีระ ผู้มีพระจักษุ๑
หม่อมฉันมีผิวพรรณเหมือนสีดอกอุบล
จึงมีนามว่าอุบลวรรณา
เป็นธิดาของพระองค์ ขอกราบพระยุคลบาท

เชิงอรรถ :
๑ ผู้มีพระจักษุ ในที่นี้หมายถึงจักษุ ๕ คือ (๑) มังสจักษุ (ตาเนื้อ คือ ทรงมีพระเนตรงาม มีอำนาจ
เห็นแจ่มใสไว และเห็นได้ไกล) (๒) ทิพยจักษุ (ตาทิพย์ คือ ทรงมีพระญาณเห็นหมู่สัตว์ผู้เป็นต่าง ๆ กัน
ด้วยอำนาจกรรม) (๓) ปัญญาจักษุ (ตาปัญญา คือ ทรงประกอบด้วยพระปัญญาคุณอันยิ่งใหญ่ เป็นเหตุ
ให้สามารถตรัสรู้อริยสัจจธรรมเป็นต้น) (๔) พุทธจักษุ (ตาพระพุทธเจ้า คือ ทรงประกอบด้วยอินทริย-
ปโรปริยัตตญาณและอาสยานุสยญาณเป็นเหตุให้ทรงทราบอัธยาศัยและอุปนิสัยแห่งเวไนยสัตว์แล้วทรงสั่งสอน
แนะนำให้บรรลุคุณวิเศษต่าง ๆ (ยังพุทธกิจให้บริบูรณ์) (๕) สมันตจักษุ (ตาเห็นรอบ คือ ทรงประกอบ
ด้วยพระสัพพัญญุตญาณ อันหยั่งรู้ธรรมทุกประการ) (ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๕๑/๔๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๒. เอกูโปสถิกวรรค] ๙. อุปปลวัณณาเถริยาปทาน
[๓๙๑] พระราหุลเถระและหม่อมฉัน
เกิดร่วมภพเดียวกันหลายร้อยชาติ
เป็นผู้มีจิตสมานฉันท์กัน
[๓๙๒] บังเกิดพร้อมกันร่วมชาติเดียวกัน
เมื่อถึงภพสุดท้าย แม้เราทั้ง ๒ ก็ชื่อว่าเกิดร่วมภพเดียวกัน
[๓๙๓] พระเถระนามว่าราหุลเป็นพระโอรส
หม่อมฉันผู้มีนามว่าอุบลวรรณาเป็นธิดา
ข้าแต่พระวีระ ขอเชิญทอดพระเนตรฤทธิ์ของหม่อมฉันเถิด
หม่อมฉันจักแสดงพลังถวายพระศาสดา”
[๓๙๔] พระอุบลวรรณาเถรียกมหาสมุทรทั้ง ๔
วางไว้ที่ฝ่ามือเหมือนเด็กเล่นน้ำมันที่อยู่บนฝ่ามือ
[๓๙๕] ยกแผ่นดินแล้ว วางไว้ที่ฝ่ามือ
เหมือนเด็กหนุ่มดึงไส้หญ้าป้อง
[๓๙๖] ใช้ฝ่ามือปิดครอบจักรวาลแล้ว
บันดาลหยาดฝนสีต่าง ๆ ให้ตกลงที่ศีรษะบ่อย ๆ
[๓๙๗] ทำพื้นพสุธาให้เป็นครก ทำก้อนกรวดให้เป็นข้าวเปลือก
ทำภูเขาสิเนรุให้เป็นสาก
แล้วตำอยู่เหมือนนางกุมาริกาซ้อมข้าว
[๓๙๘] หม่อมฉันมีนามว่าอุบลวรรณา
เป็นธิดาของพระพุทธองค์ผู้ประเสริฐที่สุด
มีความชำนาญในอภิญญาทั้งหลาย
เป็นผู้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระองค์
[๓๙๙] หม่อมฉันผู้มีจักษุแสดงฤทธิ์ต่าง ๆ
ถวายพระองค์ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ประกาศนามและโคตรแล้วขอกราบพระยุคลบาท

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๒. เอกูโปสถิกวรรค] ๙. อุปปลวัณณาเถริยาปทาน
[๔๐๐] ข้าแต่พระมหามุนี หม่อมฉันเป็นผู้มีความชำนาญในฤทธิ์
ในทิพพโสตธาตุและในเจโตปริยญาณ
[๔๐๑] รู้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
ทิพยจักษุหม่อมฉันก็ชำระให้หมดจดแล้ว
อาสวะทั้งปวงก็สิ้นไปแล้ว
บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก
[๔๐๒] อัตถปฏิสัมภิทาญาณ ธัมมปฏิสัมภิทาญาณ
นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ
และปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณของหม่อมฉัน
บริสุทธิ์ไพบูลย์ตามสภาวะแห่งพระองค์
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๔๐๓] ข้าแต่พระมหามุนี อธิการเป็นอันมากของหม่อมฉัน
อันหม่อมฉันผู้เสร็จสงครามแสดงแล้ว(กระทำแล้ว)
แด่พระชินเจ้าผู้ประเสริฐทั้งหลายในปางก่อน
เพื่อประโยชน์แก่พระองค์
[๔๐๔] ข้าแต่พระมหามุนี
ขอพระองค์ทรงระลึกถึงกุศลกรรมของหม่อมฉัน
ที่หม่อมฉันกระทำแล้วในปางก่อน
ข้าแต่พระมหาวีระ
หม่อมฉันสั่งสมบุญไว้แล้วเพื่อประโยชน์แก่พระองค์
[๔๐๕] ข้าแต่พระมหาวีระ พระองค์ทรงเว้นอนาจาร
ในสถานที่ไม่ควร อบรมพระญาณให้แก่กล้าอยู่
หม่อมฉันได้สละชีวิตที่สูงสุดเพื่อประโยชน์แก่พระองค์
[๔๐๖] ข้าแต่พระมหามุนี หม่อมฉันได้ถวายชีวิต
ของหม่อมฉันหลายหมื่นโกฏิกัป
แม้ตัวหม่อมฉัน หม่อมฉันก็ได้สละแล้ว
เพื่อประโยชน์แก่พระองค์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๒. เอกูโปสถิกวรรค] ๙. อุปปลวัณณาเถริยาปทาน
[๔๐๗] ครั้งนั้น บริษัททั้งหมดมีความพิศวงยิ่งนัก
จึงได้พากันประนมมือเหนือศีรษะ พูดว่า
‘ข้าแต่พระแม่เจ้า อย่างไร พระแม่เจ้าจึงมีความบากบั่น มีฤทธิ์
หาสิ่งใดเปรียบปานมิได้’
[๔๐๘] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นนางนาคกัญญามีนามว่าวิมลา
หมู่นาคยกย่องว่า เป็นผู้ประเสริฐกว่าพวกนางนาคกัญญา
[๔๐๙] พญานาคชื่อมโหรคะ
เลื่อมใสในศาสนาของพระชินเจ้า
ทูลนิมนต์พระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้ทรงมีเดชานุภาพมาก พร้อมทั้งพระสาวก
[๔๑๐] ตกแต่งมณฑปแก้ว บัลลังก์แก้ว
โปรยทรายแก้ว เครื่องอุปโภคแก้ว
[๔๑๑] และตกแต่งหนทางประดับด้วยธงแก้ว
พญานาคนั้นบรรเลงดนตรี
ต้อนรับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
[๔๑๒] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ทรงแผ่ขยายบริษัท ๔ ประทับนั่งบนอาสนะ
อันประเสริฐในภพของพญานาคชื่อมโหรคะ
[๔๑๓] พญานาคได้ถวายข้าวน้ำ
ขาทนียะและโภชนียาหารอย่างดี ๆ มีราคามาก
แด่พระผู้มีพระภาคผู้มีพระยศใหญ่
[๔๑๔] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ครั้นเสวยเสร็จแล้วทรงล้างบาตร
ได้ทรงทำการอนุโมทนาอันสมควร
โดยอุบายอันแยบคายว่า ‘นางนาคกัญญาจงเป็นผู้มีฤทธิ์มาก’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๒. เอกูโปสถิกวรรค] ๙. อุปปลวัณณาเถริยาปทาน
[๔๑๕] นางนาคกัญญา เห็นพระสัพพัญญู
ผู้เบิกบาน มีพระยศมาก
จึงทำจิตให้เลื่อมใส ทำใจให้มั่นคงต่อพระศาสดา
[๔๑๖] ครั้งนั้น พระมหาวีระพระนามว่าปทุมุตตระ
ทรงทราบวาระจิตของหม่อมฉันแล้ว
ทรงแสดงภิกษุณีรูปหนึ่งด้วยฤทธิ์
[๔๑๗] ภิกษุณีรูปนั้นมีความแกล้วกล้าแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง
หม่อมฉันเกิดปีติปราโมทย์ได้กราบทูลพระศาสดาว่า
[๔๑๘] ‘หม่อมฉันได้เห็นฤทธิ์ทั้งหลายที่ภิกษุณีรูปนี้แสดงแล้ว
ข้าแต่พระธีรเจ้า อย่างไร ภิกษุณีรูปนั้นจึงเป็นผู้แกล้วกล้าดีในฤทธิ์’
[๔๑๙] (พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นตรัสตอบว่า)
‘ภิกษุณีรูปนั้นเป็นธิดาที่เกิดจากโอษฐ์ของเรา
ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของเรา มีฤทธิ์มาก มีความแกล้วกล้าดีในฤทธิ์’
[๔๒๐] หม่อมฉันได้ฟังพระพุทธพจน์แล้ว
มีความยินดีได้กราบทูลอย่างนี้ว่า
‘แม้หม่อมฉันก็ขอเป็นผู้มีความแกล้วกล้าในฤทธิ์เช่นนั้น
[๔๒๑] ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
หม่อมฉันเบิกบานโสมนัส มีใจสูงสุดถึงที่แล้ว
ขอให้ได้เป็นเช่นภิกษุณีรูปนี้ในอนาคตกาลเถิด’
[๔๒๒] หม่อมฉันตกแต่งบัลลังก์แก้วมณี
และมณฑปที่ผุดผ่องแล้ว
ทูลนิมนต์พระผู้นำสัตว์โลกพร้อมทั้งพระสงฆ์
ให้เสวยและฉันข้าวน้ำจนอิ่มหนำ
[๔๒๓] แล้วได้ใช้ดอกอุบลที่มีชื่อว่าอรุณ
ซึ่งเป็นดอกไม้อันประเสริฐของพวกนาค

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๒. เอกูโปสถิกวรรค] ๙. อุปปลวัณณาเถริยาปทาน
บูชาพระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
โดยตั้งความปรารถนาไว้ว่า
‘ขอให้ผิวพรรณของข้าพเจ้าจงเป็นเช่นนี้เถิด’
[๔๒๔] ด้วยกรรมที่หม่อมฉันได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
ข้าพเจ้าละกายนาคแล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๔๒๕] จุติจากภพนั้นแล้วก็มาเกิดในหมู่มนุษย์
ได้ถวายบิณฑบาตที่ใช้ดอกอุบลปิดแด่พระสยัมภู
[๔๒๖] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
พระพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี
ผู้ทรงเป็นผู้นำ ผู้มีพระเนตรงาม
มีพระจักษุในธรรมทั้งปวง เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว
[๔๒๗] ครั้งนั้น หม่อมฉันเป็นธิดาของเศรษฐี
ในกรุงพาราณสีที่ประเสริฐสุด
ได้ทูลนิมนต์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลกพร้อมทั้งพระสงฆ์
[๔๒๘] ถวายมหาทานและบูชาพระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นผู้นำวิเศษ
ด้วยดอกอุบลเป็นอันมากแล้ว
ได้ปรารถนาให้มีผิวพรรณงามเหมือนดอกอุบลเหล่านั้น
[๔๒๙] ในภัทรกัปนี้ พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของพราหมณ์
มีพระยศใหญ่ พระนามว่ากัสสปะ ตามพระโคตร
ประเสริฐกว่าเจ้าลัทธิทั้งหลาย เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว
[๔๓๐] ครั้งนั้น พระเจ้ากาสีพระนามว่ากิกี
เป็นใหญ่กว่านรชนในกรุงพาราณสีที่ประเสริฐสุด
ทรงเป็นอุปัฏฐากของพระพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๒. เอกูโปสถิกวรรค] ๙. อุปปลวัณณาเถริยาปทาน
[๔๓๑] หม่อมฉันเป็นธิดาคนที่ ๒ ของพระองค์ มีนามปรากฏว่า
สมณีคุตตา ได้ฟังธรรมของพระชินเจ้าผู้เลิศแล้ว
พอใจการบรรพชา
[๔๓๒] แต่พระชนกนาถมิได้ทรงอนุญาตให้หม่อมฉันทั้งหลายบวช
ครั้งนั้น หม่อมฉันทั้งหลายไม่เกียจคร้านครองเรือนอยู่ ๒๐,๐๐๐ ปี
[๔๓๓] พระราชกัญญาทั้ง ๗ พระองค์
มีความสุข ประพฤติพรหมจรรย์ตั้งแต่ยังเป็นกุมารี
เพลิดเพลินยินดีอุปัฏฐากพระพุทธเจ้า
[๔๓๔] คือ (๑) พระนางสมณี (๒) พระนางสมณคุตตา
(๓) พระนางภิกษุณี (๔) พระนางภิกขุทาสิกา
(๕) พระนางธรรมา (๖) พระนางสุธรรมา
(๗) พระนางสังฆทาสิกา
[๔๓๕] (พระราชธิดาทั้ง ๗ นั้น ได้กลับชาติมาเกิด)
คือ หม่อมฉัน ๑ พระเขมาเถรีผู้มีปัญญา ๑
พระปฏาจาราเถรี ๑ พระกุณฑลเกสีเถรี ๑
พระกีสาโคตมีเถรี ๑ พระธรรมทินนาเถรี ๑
และคนที่ ๗ เป็นวิสาขามหาอุบาสิกา
[๔๓๖] ด้วยกรรมทั้งหลายที่หม่อมฉันได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
หม่อมฉันละกายมนุษย์แล้วจึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๔๓๗] หม่อมฉันจุติจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้นแล้ว
มาเกิดในตระกูลใหญ่ในหมู่มนุษย์
ได้ถวายผ้าอย่างดีมีสีเหลือง เนื้อเกลี้ยงแก่พระอรหันต์องค์หนึ่ง
[๔๓๘] จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว
ได้ไปเกิดในตระกูลพราหมณมหาศาลในอริฏฐบุรี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๒. เอกูโปสถิกวรรค] ๙. อุปปลวัณณาเถริยาปทาน
เป็นธิดาของพราหมณ์ชื่อติริฏิวัจฉะ
มีชื่อว่าอุมมาทันตี มีสิริโฉมงดงามเป็นที่จูงใจให้หลงใหล
[๔๓๙] จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในตระกูลหนึ่ง
ที่ไม่ค่อยมีความอุดมสมบูรณ์มากนักในชนบท
รักษาข้าวสาลีในครั้งนั้น
[๔๔๐] หม่อมฉันเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง
ได้ถวายข้าวตอก ๕๐๐ ดอก ห่อด้วยดอกปทุม
ปรารถนามีบุตร ๕๐๐ คน
[๔๔๑] เมื่อหม่อมฉันปรารถนาบุตรจำนวนเท่านั้นแล้ว
ได้ถวายน้ำผึ้งแด่พระสยัมภู
จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว
ได้เกิดภายในดอกบัวในป่า
[๔๔๒] ได้เป็นพระมเหสีของพระเจ้ากาสี เป็นผู้ที่ประชาชนสักการบูชา
ได้ให้กำเนิดพระราชบุตรครบ ๕๐๐ องค์
[๔๔๓] เมื่อพระราชบุตรเหล่านั้นทรงเจริญวัยแล้ว
ทรงเล่นน้ำ ได้เห็นดอกบัวที่ร่วงโรยไป
ก็ได้สำเร็จเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า
[๔๔๔] หม่อมฉันนั้น เมื่อต้องพลัดพรากจากบุตรผู้ประเสริฐเหล่านั้น
ก็มีความเศร้าโศก จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว
ได้ไปเกิดในหมู่บ้านข้างภูเขาอิสิคิลิ
[๔๔๕] เมื่อหม่อมฉันทราบว่า บุตรเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า
ได้ถือข้าวยาคูไปเพื่อบุตรและเพื่อตนเอง
ได้เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ๘ องค์
[๔๔๖] เข้าไปสู่บ้านเพื่อภิกษาหาร ก็ระลึกถึงบุตรขึ้นมา
ธารน้ำนมของหม่อมฉันก็หลั่งไหลออกเพราะความรักบุตร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๒. เอกูโปสถิกวรรค] ๙. อุปปลวัณณาเถริยาปทาน
[๔๔๗] หม่อมฉันมีความเลื่อมใส ได้ถวายข้าวยาคูด้วยมือของตน
แก่พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น
หม่อมฉันจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว
ไปเกิดในสวนนันทวันบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๔๔๘] ข้าแต่พระมหาวีระ
หม่อมฉันเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพน้อยภพใหญ่
ได้เสวยสุขและทุกข์และได้สละชีวิตเพื่อประโยชน์แก่พระองค์
[๔๔๙] หม่อมฉันมีทุกข์ก็มาก มีสมบัติก็หลายชนิด
ดังที่กราบทูลมานี้ เมื่อถึงภพสุดท้าย หม่อมฉันเกิดในกรุงสาวัตถี
[๔๕๐] ในตระกูลเศรษฐีมีทรัพย์มาก
ประกอบด้วยสุขสมบัติ มีความรุ่งเรืองด้วยรัตนะต่าง ๆ
ให้สำเร็จสิ่งที่ปรารถนาทุกอย่าง
[๔๕๑] เป็นผู้ที่ประชุมชนสักการบูชา
นับถือและยำเกรง ประกอบด้วยสิริรูป
อันชนในตระกูลทั้งหลายสักการะอย่างยิ่ง
[๔๕๒] หม่อมฉันเป็นหญิงที่น่าปรารถนายิ่งนัก
ด้วยสิริคือรูปสมบัติและโภคสมบัติ
บุตรเศรษฐีทั้งหลายและบริวารของตนจำนวนมากต่างปรารถนา
[๔๕๓] หม่อมฉันละเรือน ออกบวชเป็นบรรพชิต
ยังไม่ถึงกึ่งเดือนก็ได้บรรลุสัจจะ ๔
[๔๕๔] หม่อมฉันเนรมิตรถเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสได้ด้วยฤทธิ์
ขอกราบพระยุคลบาทของพระพุทธเจ้า
ผู้ทรงเป็นที่พึ่งของโลกผู้มีพระสิริ
[๔๕๕] (พญามารมากล่าวกับหม่อมฉันว่า)
‘ท่านเข้ามายังต้นไม้ชั้นเลิศที่มีดอกแย้มบานดีแล้ว
ยืนอยู่เพียงผู้เดียวที่โคนต้นสาละ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๒. เอกูโปสถิกวรรค] ๙. อุปปลวัณณาเถริยาปทาน
ไม่มีใครเป็นเพื่อน ท่านผู้โง่เขลา
ท่านไม่กลัวพวกนักเลงดอกหรือ’
[๔๕๖] หม่อมฉันกล่าวว่า ‘ถึงพวกนักเลงตั้ง ๑๐๐,๐๐๐ คนมาในที่นี้
พึงเป็นเหมือนกับท่านนี้ ก็ทำขนของเราให้เอนให้ไหวไม่ได้
พญามาร ท่านเพียงผู้เดียวจักทำอะไรเราได้
[๔๕๗] เรานี้จักหายตัวไปก็ได้ หรือว่าเข้าไปในท้องของท่านก็ได้
ท่านจักมองไม่เห็นเราผู้ยืนอยู่ที่ระหว่างคิ้วของท่าน
[๔๕๘] เรามีความชำนาญในเรื่องจิต อิทธิบาทเราก็เจริญดีแล้ว
พ้นจากสรรพกิเลสเครื่องผูกทั้งปวง
พญามาร เรามิได้เกรงกลัวท่าน
[๔๕๙] กามทั้งหลายเปรียบด้วยหอกและหลาว
แม้ขันธ์ทั้งหลาย๑ก็คล้ายกองไฟ
ท่านกล่าวถึงความยินดีในกาม
บัดนี้ เราไม่มีความยินดีในกาม
[๔๖๐] ความเพลิดเพลินในอารมณ์ทั้งปวงเรากำจัดได้หมดแล้ว
กองแห่งความมืด๒เราก็ทำลายได้แล้ว
มารผู้มีบาป ท่านจงรู้อย่างนี้ ท่านถูกเรากำจัดแล้ว’
[๔๖๑] พระชินเจ้าผู้ทรงเป็นผู้นำวิเศษ
ทรงพอพระทัยในคุณสมบัตินั้น
จึงทรงตั้งหม่อมฉันไว้ในเอตทัคคะในบริษัททั้งหลายว่า
‘อุบลวรรณาภิกษุณีเป็นผู้ประเสริฐสุด
แห่งภิกษุณีทั้งหลายผู้มีฤทธิ์’

เชิงอรรถ :
๑ ขันธ์ทั้งหลาย หมายถึงขันธ์ ๕ คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์
(ที.ปา. (แปล) ๑๑/๓๑๕/๒๙๙-๓๐๐)
๒ กองแห่งความมืด ในที่นี้หมายถึงโมหะ (ความหลง) (ขุ.เถรี.อ. ๓/๑๒,๔๓,๖๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๒. เอกูโปสถิกวรรค] ๙. อุปปลวัณณาเถริยาปทาน
[๔๖๒] พระศาสดาหม่อมฉันก็ปรนนิบัติแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
ภาระอันหนักหม่อมฉันก็ปลงลงได้แล้ว
ตัณหาที่นำไปสู่ภพหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว
[๔๖๓] กุลบุตรกุลธิดาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเพื่อประโยชน์ใด
ประโยชน์นั้นคือความสิ้นสังโยชน์ทั้งปวง
หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
[๔๖๔] ทายกทั้งหลายน้อมปัจจัย คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เข้ามาครั้งละหลายพันโดยรอบ
[๔๖๕] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว
หม่อมฉันตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๔๖๖] การที่หม่อมฉันมาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๔๖๗] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ หม่อมฉันก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า พระอุบลวรรณาภิกษุณีได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
อุปปลวัณณาเถริยาปทานที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๒. เอกูโปสถิกวรรค] ๑๐. ปฏาจาราเถริยาปทาน
๑๐. ปฏาจาราเถริยาปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระปฏาจาราเถรี
(พระปฏาจาราเถรี เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๔๖๘] พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้ถึงความสำเร็จแห่งธรรมทั้งปวง ทรงเป็นผู้นำ
เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
[๔๖๙] ครั้งนั้น หม่อมฉันเกิดในตระกูลเศรษฐี
มีความรุ่งเรืองด้วยรัตนะต่าง ๆ ในกรุงหงสวดี
เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยความสุขมาก
[๔๗๐] หม่อมฉันได้เข้าเฝ้าพระมหาวีระพระองค์นั้นแล้ว
ได้ฟังพระธรรมเทศนา แต่นั้นหม่อมฉันเกิดความเลื่อมใส
ได้ถึงพระชินเจ้าเป็นสรณะ
[๔๗๑] ครั้งนั้น พระชินเจ้าผู้ทรงเป็นผู้นำ
ทรงสรรเสริญภิกษุณีรูปหนึ่งผู้มีหิริ ผู้คงที่
คล่องแคล่วในกิจที่ควรและไม่ควรว่า
เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุณีทั้งหลายผู้ทรงวินัย
[๔๗๒] ครั้งนั้น หม่อมฉันมีจิตเบิกบาน หวังตำแหน่งนั้น
จึงทูลนิมนต์พระทศพลผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
พร้อมทั้งพระสงฆ์
[๔๗๓] ให้เสวยและฉันตลอด ๗ วัน ถวายบาตรและจีวรแล้ว
ซบศีรษะลงแทบพระยุคลบาท แล้วได้กราบทูลคำนี้ว่า
[๔๗๔] ‘ข้าแต่พระธีรมุนี ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ภิกษุณีรูปใด ที่พระองค์ทรงสรรเสริญในตำแหน่งที่เลิศ
ในวันที่ ๘ แต่นี้ ถ้าตำแหน่งนั้นจะสำเร็จแก่หม่อมฉัน
หม่อมฉันจักเป็นเช่นนั้น’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๒. เอกูโปสถิกวรรค] ๑๐. ปฏาจาราเถริยาปทาน
[๔๗๕] ครั้งนั้น พระศาสดาได้ตรัสกับหม่อมฉันว่า
‘นางผู้เจริญ อย่ากลัวเลย จงเบาใจเถิด
เธอจักได้ตำแหน่งนั้นสมความปรารถนาในอนาคตกาล
[๔๗๖] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร
ทรงสมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก
[๔๗๗] สตรีผู้นี้จักมีนามว่าปฏาจารา
เป็นธรรมทายาท เป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต
จักเป็นสาวิกาของพระศาสดาพระองคนั้น’
[๔๗๘] ครั้งนั้น หม่อมฉันเป็นผู้เบิกบาน มีจิตประกอบด้วยเมตตา
ปรนนิบัติพระชินเจ้าผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
พร้อมทั้งพระสงฆ์จนตลอดชีวิต
[๔๗๙] ด้วยกรรมที่หม่อมฉันได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
หม่อมฉันละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๔๘๐] ในภัทรกัปนี้ พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของพราหมณ์
มีพระยศยิ่งใหญ่พระนามว่ากัสสปะ ตามพระโคตร
ประเสริฐกว่าเจ้าลัทธิทั้งหลายเสด็จอุบัติขึ้นแล้ว
[๔๘๑] ครั้งนั้น พระเจ้ากาสีพระนามว่ากิกี
เป็นใหญ่กว่านรชนในกรุงพาราณสีที่ประเสริฐสุด
ทรงเป็นอุปัฏฐากของพระพุทธเจ้า ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๔๘๒] หม่อมฉันเป็นธิดาคนที่ ๓ ของพระองค์
มีนามปรากฏว่าภิกษุณี
ได้ฟังธรรมของพระชินเจ้าผู้เลิศแล้วพอใจการบรรพชา
[๔๘๓] แต่พระชนกนาถมิได้ทรงอนุญาตให้หม่อมฉันทั้งหลายบวช
ครั้งนั้น หม่อมฉันทั้งหลายไม่เกียจคร้านครองเรือนอยู่ ๒๐,๐๐๐ ปี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๒. เอกูโปสถิกวรรค] ๑๐. ปฏาจาราเถริยาปทาน
[๔๘๔] พระราชกัญญาทั้ง ๗ พระองค์
มีความสุข ประพฤติพรหมจรรย์ตั้งแต่ยังเป็นกุมารี
เพลิดเพลินยินดีอุปัฏฐากพระพุทธเจ้า
[๔๘๕] คือ (๑) พระนางสมณี (๒) พระนางสมณคุตตา
(๓) พระนางภิกษุณี (๔) พระนางภิกขุทาสิกา
(๕) พระนางธรรมา (๖) พระนางสุธรรมา
(๗) พระนางสังฆทาสิกา
[๔๘๖] (พระราชธิดาทั้ง ๗ นั้นได้กลับชาติมาเกิด)
คือ หม่อมฉัน ๑ พระอุบลวรรณาเถรี ๑
พระเขมาเถรี ๑ พระภัทราภิกษุณีเถรี ๑
พระกีสาโคตมีเถรี ๑ พระธรรมทินนาเถรี ๑
และคนที่ ๗ เป็นวิสาขามหาอุบาสิกา
[๔๘๗] ด้วยกรรมทั้งหลายที่หม่อมฉันได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
หม่อมฉันละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๔๘๘] บัดนี้ เป็นภพสุดท้าย หม่อมฉันเกิดในตระกูลเศรษฐี
ในกรุงสาวัตถีที่เจริญมั่งคั่ง กว้างขวาง มีทรัพย์มาก
[๔๘๙] เมื่อหม่อมฉันเจริญวัยเป็นสาว
ได้ตกอยู่ในอำนาจของวิตก
พบบุรุษชาวชนบทผู้หนึ่งแล้วได้ตามไปอยู่กับเขา
[๔๙๐] หม่อมฉันคลอดบุตรคนที่หนึ่ง ตั้งครรภ์บุตรคนที่ ๒
เมื่อนั้น หม่อมฉันปรารถนาว่าจะไปเยี่ยมมารดาบิดา
[๔๙๑] ครั้งนั้น หม่อมฉันมิได้บอกสามี เมื่อสามีของหม่อมฉันไม่อยู่
หม่อมฉันคนเดียวออกจากเรือน
จะเดินทางไปยังกรุงสาวัตถีที่ประเสริฐสุด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๒. เอกูโปสถิกวรรค] ๑๐. ปฏาจาราเถริยาปทาน
[๔๙๒] ภายหลังสามีของหม่อมฉันตามมาทันที่หนทาง
ขณะนั้น ลมกรรมชวาต๑แสนจะทารุณเกิดขึ้นแก่หม่อมฉัน
[๔๙๓] ครั้งนั้น มหาเมฆก็เกิดขึ้นในเวลาที่หม่อมฉันจะคลอด
สามีไปหาเครื่องกำบังแต่ถูกงูกัดตาย
[๔๙๔] ครั้งนั้น หม่อมฉันมีทุกข์เพราะการคลอด หมดที่พึ่ง
เป็นคนกำพร้า เดินไปเห็นแม่น้ำน้อยแห่งหนึ่ง
ซึ่งมีน้ำเต็มเปี่ยม เป็นที่อยู่อาศัยของนกเหยี่ยว
[๔๙๕] หม่อมฉันอุ้มลูกคนเล็ก ข้ามไปที่ฝั่งโน้นคนเดียว
ให้ลูกคนเล็กดื่มนมจนอิ่มแล้ว
ประสงค์ที่จะนำบุตรอีกคนหนึ่ง (คนโต) ให้ข้ามมา
[๔๙๖] จึงย้อนกลับมา เหยี่ยวตัวหนึ่งโฉบลูกคนเล็กที่ร้องไห้จ้าไป
บุตรคนโตกระแสน้ำก็พัดไป
หม่อมฉันนั้นเปี่ยมไปด้วยความเศร้าโศกเหลือประมาณ
[๔๙๗] จึงเดินทางต่อไปยังกรุงสาวัตถี ได้ฟังข่าวว่า
ญาติของตน (มารดา บิดาและพี่ชาย) ตายแล้ว
เวลานั้น หม่อมฉันอัดอั้นตันใจด้วยความเศร้าโศก
เปี่ยมด้วยความโสกาดูรอย่างใหญ่หลวง ได้กล่าวว่า
[๔๙๘] ‘ลูก ๒ คนก็ตายเสียแล้ว สามีของเราก็ตายในป่า
มารดาบิดาและพี่ชายของเรา
ก็ถูกเผาอยู่ที่เชิงตะกอนเดียวกัน’
[๔๙๙] ครั้งนั้น หม่อมฉันทั้งซูบผอม ทั้งเหลืองซีด
ไม่มีที่พึ่ง ตรอมใจอยู่ทุกวัน เมื่อหม่อมฉันกระเซอะกระเซิงไป
ได้พบพระผู้มีพระภาคผู้ทรงเป็นสารถีฝึกนรชน

เชิงอรรถ :
๑ ลมกรรมชวาต หมายถึงลมเกิดแต่กรรมคือลมเกิดในครรภ์เวลาคลอดบุตร ได้แก่ ลมเบ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๒. เอกูโปสถิกวรรค] ๑๐. ปฏาจาราเถริยาปทาน
[๕๐๐] ลำดับนั้น พระศาสดาได้ตรัสกับหม่อมฉันว่า
‘เธออย่าเศร้าโศกถึงบุตรเลย
จงผ่อนคลายบ้างเถิด จงแสวงหาตนเองเถิด
จะเดือดร้อนอย่างไร้ประโยชน์ไปทำไม
[๕๐๑] บุตร ธิดา ญาติและพวกพ้อง
มีไว้เพื่อต้านทานคนผู้ถึงที่ตายไม่ได้เลย
บรรดาหมู่ญาติ ผู้ที่จะต้านทานได้ก็ไม่มี’
[๕๐๒] หม่อมฉันได้ฟังพระดำรัสของพระมุนีนั้นแล้ว
ได้บรรลุโสดาปัตติผล
บวชแล้วไม่นานก็ได้บรรลุอรหัตตผล
[๕๐๓] หม่อมฉันเป็นผู้มีความชำนาญในฤทธิ์
ในทิพพโสตธาตุและเจโตปริยญาณ
เป็นผู้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระศาสดา
[๕๐๔] รู้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
ทิพยจักษุหม่อมฉันก็ชำระให้หมดจดแล้ว
หม่อมฉันทำอาสวะทั้งปวงให้สิ้นไปแล้ว
เป็นผู้บริสุทธิ์สะอาดปราศจากมลทิน
[๕๐๕] ครั้งนั้น หม่อมฉันเรียนวินัยทั้งปวง
ในสำนักของพระผู้ทรงรู้เห็นธรรมทั้งปวง
และกล่าวอธิบายพระวินัยทั้งปวงได้อย่างพิสดารตามเป็นจริง
[๕๐๖] พระชินเจ้าทรงพอพระทัยในคุณสมบัตินั้น
จึงทรงตั้งหม่อมฉันไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะว่า
‘ปฏาจาราภิกษุณีเพียงผู้เดียวเลิศกว่าภิกษุณีทั้งหลายผู้ทรงวินัย’
[๕๐๗] พระศาสดาหม่อมฉันก็ปรนนิบัติแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ทำสำเร็จแล้ว
ภาระอันหนักหม่อมฉันก็ปลงลงได้แล้ว
ตัณหาที่นำไปสู่ภพหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๒. เอกูโปสถิกวรรค] รวมอปทานที่มีในวรรคนี้
[๕๐๘] กุลบุตรกุลธิดาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเพื่อประโยชน์ใด
ประโยชน์นั้นคือความสิ้นสังโยชน์ทั้งปวง
หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
[๕๐๙] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว
หม่อมฉันตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๕๑๐] การที่หม่อมฉันมาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๕๑๑] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ หม่อมฉันก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ปฏาจาราภิกษุณีได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ปฏาจาราเถริยาปทานที่ ๑๐ จบ
เอกูโปสถิกวรรคที่ ๒ จบบริบูรณ์

รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. เอกูโปสถิกาเถริยาปทาน ๒. สลฬปุปผิกาเถริยาปทาน
๓. โมทกทายิกาเถริยาปทาน ๔. เอกาสนทายิกาเถริยาปทาน
๕. ปัญจทีปทายิกาเถริยาปทาน ๖. นฬมาลิกาเถริยาปทาน
๗. มหาปชาบดีโคตมีเถริยาปทาน ๘. เขมาเถริยาปทาน
๙. อุปปลวัณณาเถริยาปทาน ๑๐. ปฏาจาราเถริยาปทาน

ในวรรคนี้ บัณฑิตนับจำนวนคาถาได้ ๕๐๙ คาถา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๑. กุณฑลเกสีเถริยาปทาน
๓. กุณฑลเกสีวรรค
หมวดว่าด้วยพระเถรีชื่อกุณฑลเกสีเป็นต้น
๑. กุณฑลเกสีเถริยาปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระกุณฑลเกสีเถรี
(พระกุณฑลเกสีเถรี เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑] พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้ถึงความสำเร็จแห่งธรรมทั้งปวง ทรงเป็นผู้นำ
เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
[๒] ครั้งนั้น หม่อมฉันเกิดในตระกูลเศรษฐี
ที่มีความรุ่งเรืองด้วยรัตนะต่าง ๆ ในกรุงหงสวดี
เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยความสุขมาก
[๓] หม่อมฉันได้เข้าเฝ้าพระมหาวีระพระองค์นั้นแล้วได้ฟังธรรมที่สูงสุด
แต่นั้นหม่อมฉันเกิดความเลื่อมใส
ได้ถึงพระชินเจ้าเป็นสรณะ
[๔] ครั้งนั้น พระชินเจ้าทรงเป็นผู้นำ พระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้ประกอบด้วยพระมหากรุณา
ทรงตั้งภิกษุณีรูปหนึ่งผู้มีปัญญาดีไว้ในเอตทัคคะว่า
‘เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุณีทั้งหลายผู้ขิปปาภิญญา(รู้ฉับพลัน)’
[๕] หม่อมฉันได้ฟังพุทธพยากรณ์นั้นแล้ว เป็นผู้เบิกบาน
ได้ถวายทานแด่พระพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่แล้ว
ซบศีรษะลงแทบพระยุคลบาท ปรารถนาตำแหน่งนั้น
[๖] พระมหาวีรพุทธเจ้าตรัสอนุโมทนาว่า
‘นางผู้เจริญ ตำแหน่งใดที่เธอปรารถนาแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๑. กุณฑลเกสีเถริยาปทาน
ตำแหน่งนั้นทั้งปวงจักสำเร็จแก่เธอ
เธอจงเป็นผู้มีสุขนิพพานเถิด
[๗] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร
ทรงสมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก
[๘] สตรีผู้นี้จักมีนามว่ากุณฑลเกสี ผู้เจริญ
เป็นธรรมทายาท เป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต
จักเป็นสาวิกาของพระศาสดาพระองค์นั้น’
[๙] ด้วยกรรมที่หม่อมฉันได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
หม่อมฉันละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๑๐] หม่อมฉันจุติจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้นแล้วไปเกิดในสวรรค์ชั้นยามา
จุติจากสวรรค์ชั้นยามานั้นแล้วไปเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต
จุติจากสวรรค์ชั้นดุสิตนั้นแล้วไปเกิดในสวรรค์ชั้นนิมมานรดี
จุติจากสวรรค์ชั้นนิมมานรดีนั้นแล้วไปเกิดในสวรรคชั้นปรนิมมิตวสวัตดี
[๑๑] เพราะอำนาจแห่งกรรมนั้น หม่อมฉันเกิดในภพใด ๆ
ในภพนั้น ๆ ก็ได้เป็นพระมเหสีของพระราชา
[๑๒] หม่อมฉันจุติจากสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตดีนั้นแล้ว
มาเกิดในหมู่มนุษย์ ได้เป็นพระมเหสีของพระเจ้าจักรพรรดิ
และได้เป็นพระมเหสีของพระเจ้าแผ่นดิน
[๑๓] เสวยสมบัติทั้งในเทวโลกและในมนุษยโลก
มีความสุขทุกชาติ เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในกัปเป็นอันมาก
[๑๔] ในภัทรกัปนี้ พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของพราหมณ์
มีพระยศยิ่งใหญ่ พระนามว่ากัสสปะ ตามพระโคตร
ประเสริฐกว่าเจ้าลัทธิทั้งหลายเสด็จอุบัติขึ้นแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๑. กุณฑลเกสีเถริยาปทาน
[๑๕] ครั้งนั้น พระเจ้ากาสีพระนามว่ากิกี
เป็นใหญ่กว่านรชนในกรุงพาราณสีที่ประเสริฐสุด
ทรงเป็นผู้อุปัฏฐากของพระพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๑๖] หม่อมฉันเป็นธิดาคนที่ ๔ ของพระองค์
มีนามปรากฏว่าภิกขุทาสี
ได้ฟังธรรมของพระชินเจ้าผู้เลิศแล้วพอใจการบรรพชา
[๑๗] แต่พระชนกนาถมิได้ทรงอนุญาตให้หม่อมฉันทั้งหลายบวช
ครั้งนั้น หม่อมฉันทั้งหลายไม่เกียจคร้านครองเรือนอยู่ ๒๐,๐๐๐ ปี
[๑๘] พระราชกัญญาทั้ง ๗ พระองค์
มีความสุข ประพฤติพรหมจรรย์ตั้งแต่ยังเป็นกุมารี
เพลิดเพลินยินดีอุปัฏฐากพระพุทธเจ้า
[๑๙] คือ (๑) พระนางสมณี (๒) พระนางสมณคุตตา
(๓) พระนางภิกษุณี (๔) พระนางภิกขุทาสิกา
(๕) พระนางธรรมา (๖) พระนางสุธรรมา
(๗) พระนางสังฆทาสิกา
[๒๐] (พระราชธิดาทั้ง ๗ นั้น ได้กลับชาติมาเกิด)
คือ หม่อมฉัน ๑ พระเขมาเถรี ๑
พระอุบลวรรณาเถรี ๑ พระปฏาจาราเถรี ๑
พระกีสาโคตมีเถรี ๑ พระธรรมทินนาเถรี ๑
และคนที่ ๗ เป็นวิสาขามหาอุบาสิกา
[๒๑] ด้วยกรรมทั้งหลายที่หม่อมฉันได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
หม่อมฉันละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๒๒] บัดนี้ เป็นภพสุดท้าย หม่อมฉันเกิดในตระกูลเศรษฐี
ที่มีความเจริญในกรุงราชคฤห์ที่อุดมสมบูรณ์
เมื่อครั้งหม่อมฉันยังเป็นสาว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๑. กุณฑลเกสีเถริยาปทาน
[๒๓] ได้เห็นราชบุรุษนำโจรไปเพื่อประหาร มีความรักในโจรคนนั้น
บิดาของหม่อมฉันใช้ทรัพย์ ๑,๐๐๐ ปลดเปลื้องโจรนั้น
ให้หลุดพ้นจากการถูกประหาร
[๒๔] บิดาทราบจิตใจของหม่อมฉันแล้ว จึงยกหม่อมฉันให้โจรนั้น
หม่อมฉันไว้วางใจ เอ็นดู เกื้อกูลโจรคนนั้นยิ่งนัก
[๒๕] โจรนั้น มีความโลภในเครื่องประดับของหม่อมฉัน
แล้วคิดจะฆ่าหม่อมฉันผู้ช่วยนำเครื่องบวงสรวง
ไปยังเหวทิ้งโจรบนภูเขา
[๒๖] เวลานั้น หม่อมฉันเมื่อจะรักษาชีวิตของตนไว้
จึงประนมมือไหว้โจรผู้เป็นศัตรูที่ร้ายกาจแล้วกล่าวว่า
[๒๗] ‘นายผู้เจริญ สร้อยคอทองคำ แก้วมุกดา
และแก้วไพฑูรย์เป็นจำนวนมาก
ทั้งหมดนี้ นายเอาไปเถิด จงปล่อยดิฉันไป
และจงประกาศดิฉันให้ทราบว่าเป็นทาสีเถิด’
[๒๘] (โจรกล่าวว่า) ‘นี่แม่นาง จงเปลื้องออกมา
อย่ามัวรำพันนักเลย เรารู้เพียงว่า
ไม่ฆ่าเจ้าผู้มาถึงป่าแล้วไม่ได้’
[๒๙] (หม่อมฉันกล่าวว่า) ‘ตั้งแต่ดิฉันรู้เดียงสา จำความได้
ยังไม่รู้จักรักชายอื่นยิ่งไปกว่าท่านเลย
[๓๐] มาเถิด ดิฉันจักกอดท่าน
ขอทำประทักษิณท่าน ไหว้ท่าน
เพราะดิฉันกับท่านจะไม่มีโอกาสอยู่ร่วมกันอีก’
[๓๑] (เทวดาซึ่งสถิตอยู่ในที่นั้นได้กล่าวว่า)
‘บุรุษเท่านั้นจะเป็นคนฉลาดในฐานะทั้งปวง ก็หาไม่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๑. กุณฑลเกสีเถริยาปทาน
แม้สตรีผู้มีปัญญาเห็นประจักษ์ในฐานะนั้น ๆ
ก็เป็นคนฉลาดได้
[๓๒] บุรุษเท่านั้นจะเป็นคนฉลาดในฐานะทั้งปวง ก็หาไม่
แม้สตรีผู้คิดเนื้อความได้ฉับไว ก็เป็นคนฉลาดได้’
[๓๓] ครั้งนั้น หม่อมฉันคิดได้หลาย ๆ เรื่องอย่างรวดเร็วและฉับไว
ดุจบ่อเกิดแห่งปัญญาที่เต็มด้วยความคิดจึงได้ฆ่าศัตรูที่ร้ายกาจ
[๓๔] ผู้ใดไม่รู้จักเรื่องที่เกิดขึ้นได้อย่างฉับพลัน
ผู้นั้นเป็นคนเขลา ย่อมถูกเขาฆ่าตาย
เหมือนโจรซึ่งถูกฆ่าที่ปากเหว
[๓๕] ผู้ใดรู้จักเรื่องที่เกิดขึ้นได้อย่างฉับพลัน
ผู้นั้นก็พ้นจากพวกศัตรูเบียดเบียน
เหมือนที่หม่อมฉันพ้นจากโจรซึ่งเป็นศัตรูในครั้งนั้น
[๓๖] เมื่อหม่อมฉันผลักศัตรูตกเหวไปแล้ว
ได้เข้าไปบวชยังสำนักของปริพาชกที่ครองผ้าขาว
[๓๗] ครั้งนั้น พวกปริพาชกใช้แหนบถอนผมของหม่อมฉัน
จนหมดแล้วให้บวช สอนลัทธิให้เนือง ๆ
[๓๘] หม่อมฉันเรียนลัทธินั้นแล้ว นั่งคนเดียวคิดถึงลัทธิ
ซึ่งทำมนุษย์ให้เป็นเยี่ยงสุนัขนั้น
[๓๙] ปริพาชกถือผมที่ถอนแล้วโยนไว้ใกล้หม่อมฉันแล้วก็หลีกไป
หม่อมฉันเห็นแล้วได้นิมิตเหมือนหมู่หนอนตั้งอยู่
[๔๐] แต่นั้น หม่อมฉันมีความสลดใจลุกขึ้น
ได้สอบถามพวกปริพาชกที่มีลัทธิเดียวกัน
พวกนั้นบอกว่า
‘ภิกษุศากยบุตรทั้งหลายย่อมรู้เรื่องนั้น’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๑. กุณฑลเกสีเถริยาปทาน
[๔๑] หม่อมฉันเข้าไปหาพุทธสาวกแล้วถามเรื่องนั้น
พุทธสาวกเหล่านั้นพาหม่อมฉัน
ไปยังสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
[๔๒] พระองค์ผู้ทรงเป็นผู้นำ
ทรงแสดงธรรมแก่หม่อมฉันว่า ‘ขันธ์ อายตนะ
และธาตุทั้งหลาย ไม่งาม ไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา’
[๔๓] หม่อมฉันได้ฟังพระธรรมของพระองค์แล้ว
ชำระธรรมจักษุให้หมดจดโดยวิเศษ
รู้แจ้งพระสัทธรรมแล้วได้ทูลขอบรรพชาอุปสมบท
[๔๔] ครั้งนั้น พระพุทธเจ้าอันหม่อมฉันทูลขอแล้วได้ตรัสว่า
‘เธอจงเป็นภิกษุณีมาเถิด นางผู้เจริญ’
หม่อมฉันอุปสมบทแล้ว ได้เห็นน้ำ
[๔๕] รู้จักสังขารที่มีความเกิดและความดับไปด้วยน้ำล้างเท้า
คิดว่า ‘สังขารแม้ทั้งปวง ก็เป็นอย่างนั้น’
[๔๖] จากนั้นจิตของหม่อมฉันหลุดพ้นแล้ว
เพราะไม่ถือมั่นโดยประการทั้งปวง
ในครั้งนั้น พระชินเจ้าทรงตั้งหม่อมฉันไว้ในเอตทัคคะว่า
‘เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุณีทั้งหลาย ผู้ขิปปาภิญญา’
[๔๗] หม่อมฉันเป็นผู้มีความชำนาญในฤทธิ์
ในทิพพโสตธาตุและในเจโตปริยญาณ
เป็นผู้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระศาสดา
[๔๘] รู้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
ทิพยจักษุหม่อมฉันก็ชำระให้หมดจดแล้ว
หม่อมฉันทำอาสวะทั้งปวงให้สิ้นไปแล้ว
เป็นผู้บริสุทธิ์สะอาดปราศจากมลทิน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๑. กุณฑลเกสีเถริยาปทาน
[๔๙] พระศาสดาหม่อมฉันก็ปรนนิบัติแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
ภาระอันหนักหม่อมฉันก็ปลงลงได้แล้ว
ตัณหาที่นำไปสู่ภพหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว
[๕๐] กุลบุตรกุลธิดาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์นั้นคือความสิ้นสังโยชน์ทั้งปวง
หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
[๕๑] อัตถปฏิสัมภิทาญาณ ธัมมปฏิสัมภิทาญาญ
นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ และปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ
ของหม่อมฉัน บริสุทธิ์ไพบูลย์
ในศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
[๕๒] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว
หม่อมฉันตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๕๓] การที่หม่อมฉันมาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๕๔] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ หม่อมฉันก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า พระภัททากุณฑลเกสีภิกษุณีได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
กุณฑลเกสีเถริยาปทานที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๒. กีสาโคตมีเถริยาปทาน
๒. กีสาโคตมีเถริยาปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระกีสาโคตมีเถรี
(พระกีสาโคตมีเถรี เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๕๕] พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้ถึงความสำเร็จแห่งธรรมทั้งปวง ทรงเป็นผู้นำ
เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
[๕๖] ครั้งนั้น หม่อมฉันเกิดในตระกูลหนึ่งในกรุงหงสวดี
ได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐกว่านรชนพระองค์นั้น
แล้วได้ถึงพระองค์เป็นสรณะ
[๕๗] หม่อมฉันได้ฟังธรรมของพระองค์
ซึ่งประกอบด้วยสัจจะ ๔ ที่ไพเราะจับใจอย่างยิ่ง
นำมาซึ่งสันติสุขแห่งจิต
[๕๘] แม้ครั้งนั้น พระธีรเจ้าผู้สูงสุดแห่งบุรุษ
ทรงยกย่องตั้งภิกษุณีรูปหนึ่ง ผู้ทรงจีวรเศร้าหมอง
ไว้ในเอตทัคคะ
[๕๙] หม่อมฉันได้ฟังคุณของภิกษุณีนั้นแล้ว เกิดปีติมิใช่น้อย
ทำสักการะพระพุทธเจ้าตามกำลังความสามารถ
[๖๐] หมอบลงใกล้พระธีรมุนีแล้ว ปรารถนาตำแหน่งนั้น
ครั้งนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นผู้นำ
ตรัสอนุโมทนาเพื่อการได้ตำแหน่งว่า
[๖๑] ‘ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร
ทรงสมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก
[๖๒] สตรีผู้นี้ จักมีนามปรากฏว่ากีสาโคตมี
เป็นธรรมทายาท เป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต
จักเป็นสาวิกาของพระศาสดาพระองค์นั้น’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๒. กีสาโคตมีเถริยาปทาน
[๖๓] ครั้งนั้น หม่อมฉันได้ฟังพุทธพยากรณ์นั้นแล้ว
เป็นผู้มีความยินดี มีจิตประกอบด้วยเมตตา
บำรุงพระชินเจ้า ผู้ทรงเป็นผู้นำวิเศษ
ด้วยปัจจัยทั้งหลายจนตลอดชีวิต
[๖๔] ด้วยกรรมทั้งหลายที่หม่อมฉันได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
หม่อมฉันละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๖๕] ในภัทรกัปนี้ พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของพราหมณ์
มีพระยศยิ่งใหญ่พระนามว่ากัสสปะ ตามพระโคตร
ประเสริฐกว่าเจ้าลัทธิทั้งหลาย เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว
[๖๖] ครั้งนั้น พระเจ้ากาสีพระนามว่ากิกี
ทรงเป็นใหญ่กว่านรชนในกรุงพาราณสีที่ประเสริฐสุด
ทรงเป็นอุปัฏฐากของพระพุทธเจ้า ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๖๗] หม่อมฉันเป็นธิดาคนที่ ๕ ของพระองค์
มีนามปรากฏว่าธรรมา ได้ฟังธรรมของพระชินเจ้าผู้เลิศแล้ว
พอใจการบรรพชา
[๖๘] แต่พระชนกนาถมิได้ทรงอนุญาตให้หม่อมฉันทั้งหลายบวช
ครั้งนั้น หม่อมฉันทั้งหลายไม่เกียจคร้าน ครองเรือนอยู่ ๒๐,๐๐๐ ปี
[๖๙] พระราชกัญญาทั้ง ๗ พระองค์
มีความสุข ประพฤติพรหมจรรย์ตั้งแต่ยังเป็นกุมารี
เพลิดเพลินยินดีอุปัฏฐากพระพุทธเจ้า
[๗๐] คือ (๑) พระนางสมณี (๒) พระนางสมณคุตตา
(๓) พระนางภิกษุณี (๔) พระนางภิกขุทาสิกา
(๕) พระนางธรรมา (๖) พระนางสุธรรมา
(๗) พระนางสังฆทาสิกา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๒. กีสาโคตมีเถริยาปทาน
[๗๑] (พระราชธิดาทั้ง ๗ นั้นได้กลับชาติมาเกิด)
คือพระเขมาเถรี ๑ พระอุบลวรรณาเถรี ๑
พระปฏาจาราเถรี ๑ พระกุณฑลเกสีเถรี ๑
หม่อมฉัน ๑ พระธรรมทินนาเถรี ๑
และคนที่ ๗ เป็นวิสาขามหาอุบาสิกา
[๗๒] ด้วยกรรมทั้งหลายที่หม่อมฉันได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
หม่อมฉันละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๗๓] บัดนี้ เป็นภพสุดท้าย หม่อมฉันเกิดในตระกูลเศรษฐี
ที่ตกยาก จนทรัพย์ เป็นตระกูลที่ต่ำต้อย
ได้(แต่งงาน)ไปยังตระกูลที่มีทรัพย์
[๗๔] ชนทั้งหลายที่เหลือเว้นสามีของหม่อมฉัน
เกลียดชังว่าเป็นหญิงไม่มีทรัพย์
เมื่อหม่อมฉันคลอดบุตรแล้ว ก็เป็นที่ชื่นชอบของชนทั้งปวง
[๗๕] ในคราวที่บุตรยังเป็นเด็กอ่อน มีความสุข
เป็นที่รักใคร่ของหม่อมฉันเหมือนดังชีวิตของตน
ก็ตกไปยังอำนาจของพญายม(ตายไป)
[๗๖] หม่อมฉันอัดอั้นตันใจด้วยความเศร้าโศก
มีหน้าเศร้าหมอง ร้องไห้น้ำตานองหน้า
อุ้มศพลูกที่ตายแล้วเที่ยวพูดบ่นเพ้อไป
[๗๗] ครั้งนั้น หม่อมฉันอันบุรุษคนหนึ่งเห็นแล้ว
พาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า
ผู้ทรงเป็นนายแพทย์ที่ประเสริฐที่สุด
จึงได้ทูลว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอพระองค์โปรดประทานยาให้บุตรคืนชีพด้วยเถิด’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๒. กีสาโคตมีเถริยาปทาน
[๗๘] พระชินเจ้าผู้ทรงฉลาดในอุบายแนะนำรับสั่งว่า
‘ในเรือนหลังใดไม่มีคนตาย
เธอจงไปนำเมล็ดพันธุ์ผักกาดจากเรือนหลังนั้นมา’
[๗๙] ครั้งนั้น หม่อมฉันไปจนทั่วกรุงสาวัตถี
ไม่ได้พบเรือนเช่นนั้นเลย
เพราะเหตุนั้น หม่อมฉันจึงกลับได้สติว่า
จักได้เมล็ดพันธุ์ผักกาดแต่ที่ไหน
[๘๐] จึงทิ้งศพแล้วเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า
ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก พระองค์ผู้มีพระสุรเสียงอันไพเราะ
ทอดพระเนตรเห็นหม่อมฉันแต่ที่ไกล แล้วตรัสว่า
[๘๑] ‘ก็ความเป็นอยู่เพียงวันเดียวของบุคคลผู้เห็นความเกิดขึ้น
และความเสื่อมไป ประเสริฐกว่าความเป็นอยู่ตั้ง ๑๐๐ ปี
ของบุคคลผู้มิได้เห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป
[๘๒] ธรรมนี้ ไม่ใช่ธรรมสำหรับชาวบ้าน
ไม่ใช่ธรรมสำหรับชาวนิคม ไม่ใช่ธรรมสำหรับสกุลเดียว
แต่เป็นธรรมสำหรับชาวโลกทั้งปวงพร้อมทั้งเทวโลก
ธรรมนั่นคืออนิจจตา (ความไม่เที่ยง)’
[๘๓] หม่อมฉันได้ฟังคาถาเหล่านี้แล้ว
ได้ชำระธรรมจักษุให้หมดจดโดยพิเศษ
แต่นั้น รู้แจ้งพระสัทธรรมแล้วได้บวชเป็นบรรพชิต
[๘๔] แม้เมื่อบวชแล้วอย่างนั้น
ประกอบความเพียรในศาสนาของพระชินเจ้า
ไม่นานนักก็ได้บรรลุอรหัตตผล
[๘๕] หม่อมฉันเป็นผู้มีความชำนาญในฤทธิ์
ในทิพพโสตธาตุและในเจโตปริยญาณ
เป็นผู้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของศาสดา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๒. กีสาโคตมีเถริยาปทาน
[๘๖] รู้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
ทิพยจักษุหม่อมฉันก็ชำระให้หมดจดแล้ว
หม่อมฉันทำอาสวะทั้งปวงให้สิ้นแล้ว
เป็นผู้บริสุทธิ์สะอาดปราศจากมลทิน
[๘๗] พระศาสดาหม่อมฉันก็ปรนนิบัติแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
ภาระอันหนักหม่อมฉันก็ปลงลงได้แล้ว
ตัณหาที่นำไปสู่ภพหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว
[๘๘] กุลบุตรกุลธิดาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเพื่อประโยชน์ใด
ประโยชน์นั้นคือความสิ้นสังโยชน์ทั้งปวง
หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
[๘๙] อัตถปฏิสัมภิทาญาณ ธัมมปฏิสัมภิทาญาณ
นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ และปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ
ของหม่อมฉันบริสุทธิ์ไพบูลย์
เพราะอำนาจของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
[๙๐] หม่อมฉันเก็บผ้ามาจากกองขยะ ป่าช้า ทางรถและทางเกวียน
แล้วทำเป็นผ้าสังฆาฏิจากผ้านั้น
ทรงจีวรที่เศร้าหมอง
[๙๑] พระชินเจ้า ทรงเป็นผู้นำวิเศษ
ทรงพอพระทัยในคุณสมบัติคือการทรงจีวรเศร้าหมองนั้น
จึงทรงแต่งตั้งหม่อมฉันไว้ในเอตทัคคะในบริษัททั้งหลาย
[๙๒] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันก็ได้เผาแล้ว
ภพทั้งปวงหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว
หม่อมฉันตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๙๓] การที่หม่อมฉันมาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๓. ธัมมทินนาเถริยาปทาน
วิชชา ๓ หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๙๔] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ หม่อมฉันก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า พระกีสาโคตมีภิกษุณีได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
กีสาโคตมีเถริยาปทานที่ ๒ จบ

๓. ธัมมทินนาเถริยาปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระธรรมทินนาเถรี
(พระธรรมทินนาเถรี เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๙๕] พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้ถึงความสำเร็จแห่งธรรมทั้งปวง ทรงเป็นผู้นำ
เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
[๙๖] ครั้งนั้น หม่อมฉันเกิดในตระกูลหนึ่งในกรุงหงสวดี
เป็นผู้มีปัญญา สำรวมอยู่ในศีล รับจ้างทำงานของคนอื่น
[๙๗] พระเถระนามว่าสุชาตะ
อัครสาวกของพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ออกจากวิหารไปบิณฑบาต
[๙๘] ครั้งนั้น หม่อมฉันเป็นคนหาบน้ำ ถือหม้อน้ำเดินไปอยู่
เห็นท่านแล้วเลื่อมใส ได้ถวายขนมด้วยมือของตน
[๙๙] ท่านรับแล้วนั่งฉัน ณ ที่นั้นเอง
แต่นั้นหม่อมฉันนิมนต์ท่านไปยังเรือน
ได้ถวายโภชนาหารแก่ท่าน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๓. ธัมมทินนาเถริยาปทาน
[๑๐๐] จากนั้น เจ้านายของหม่อมฉันมีความยินดีแล้ว
ได้แต่งหม่อมฉันเป็นลูกสะใภ้ของตน
หม่อมฉันได้ไปถวายอภิวาทพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพร้อมกับแม่ผัว
[๑๐๑] ครั้งนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ทรงประกาศแต่งตั้งภิกษุณีรูปหนึ่ง
ผู้เป็นธรรมกถึกไว้ในเอตทัคคะ
หม่อมฉันได้ฟังพุทธดำรัสนั้นแล้วมีความเบิกบาน
[๑๐๒] ได้ทูลนิมนต์พระสุคตทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก พร้อมทั้งพระสงฆ์
ถวายมหาทานแล้ว ปรารถนาตำแหน่งนั้น
[๑๐๓] ลำดับนั้น พระสุคตผู้มีพระสุระเสียงไพเราะดุจเมฆคำรน
ได้ตรัสกับหม่อมฉันว่า ‘เธอจงยินดีบำรุง อังคาสเราพร้อมทั้งพระสงฆ์
[๑๐๔] ขวนขวายในการสดับพระสัทธรรม
มีใจเจริญด้วยคุณธรรม เธอผู้เจริญ
เธอจงเป็นผู้เบิกบานเถิด เธอจักได้ตำแหน่งนั้น
ซึ่งเป็นผลแห่งความปรารถนา
[๑๐๕] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร
ทรงสมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก
[๑๐๖] สตรีผู้นี้จักมีนามปรากฏว่าธรรมทินนา
เป็นธรรมทายาท เป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต
จักเป็นสาวิกาของพระศาสดาพระองค์นั้น’
[๑๐๗] หม่อมฉันได้ฟังพุทธพยากรณ์นั้นแล้วเป็นผู้มีความยินดี
มีจิตประกอบด้วยเมตตา บำรุงพระมหามุนี
ผู้ทรงเป็นผู้นำวิเศษด้วยปัจจัยทั้งหลายจนตลอดชีวิต
[๑๐๘] ด้วยกรรมที่หม่อมฉันได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๓. ธัมมทินนาเถริยาปทาน
หม่อมฉันละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๑๐๙] ในภัทรกัปนี้ พระพุทธเจ้า ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของพราหมณ์
มีพระยศยิ่งใหญ่ พระนามว่ากัสสปะ ตามพระโคตร
ประเสริฐกว่าเจ้าลัทธิทั้งหลายเสด็จอุบัติขึ้นแล้ว
[๑๑๐] ครั้งนั้น พระเจ้ากาสีพระนามว่ากิกี
ทรงเป็นใหญ่กว่านรชนในกรุงพาราณสีที่ประเสริฐสุด
ทรงเป็นอุปัฏฐากของพระพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๑๑๑] หม่อมฉันเป็นธิดาคนที่ ๖ ของพระองค์
มีนามปรากฏว่าสุธรรมา ได้ฟังธรรมของพระชินเจ้าผู้เลิศแล้ว
พอใจการบรรพชา
[๑๑๒] แต่พระชนกนาถมิได้ทรงอนุญาตให้หม่อมฉันทั้งหลายบวช
ครั้งนั้น หม่อมฉันทั้งหลายไม่เกียจคร้าน ครองเรือนอยู่ ๒๐,๐๐๐ ปี
ภาณวารที่ ๓ จบ

[๑๑๓] พระราชกัญญาทั้ง ๗ องค์
มีความสุข ประพฤติพรหมจรรย์ตั้งแต่ยังเป็นกุมารี
เพลิดเพลินยินดีอุปัฏฐากพระพุทธเจ้า
[๑๑๔] คือ (๑) พระนางสมณี (๒) พระนางสมณคุตตา
(๓) พระนางภิกษุณี (๔) พระนางภิกขุทาสิกา
(๕) พระนางธรรมา (๖) พระนางสุธรรมา
(๗) พระนางสังฆทาสิกา
[๑๑๕] (พระราชธิดาทั้ง ๗ นั้นได้กลับชาติมาเกิด)
คือ พระเขมาเถรี ๑ พระอุบลวรรณาเถรี ๑
พระปฏาจาราเถรี ๑ พระกุณฑลเกสีเถรี ๑
หม่อมฉัน ๑ พระกีสาโคตมีเถรี ๑
และคนที่ ๗ เป็นวิสาขามหาอุบาสิกา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๓. ธัมมทินนาเถริยาปทาน
[๑๑๖] ด้วยกรรมทั้งหลายที่หม่อมฉันได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
หม่อมฉันละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๑๑๗] บัดนี้ เป็นภพสุดท้าย หม่อมฉันเกิดในตระกูลเศรษฐี
ที่มีความเจริญมั่งคั่งให้สำเร็จความประสงค์ทั้งปวง
ในกรุงราชคฤห์ที่ประเสริฐสุด
[๑๑๘] ในคราวที่หม่อมฉันดำรงอยู่ในปฐมวัยรุ่นสาว
ประกอบด้วยรูปสมบัติ ได้ไปสู่ตระกูลอื่น (แต่งงาน)
เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยความสุขอยู่
[๑๑๙] สามีของหม่อมฉันเป็นผู้มีความรู้ดี
เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าผู้เป็นที่พึ่งของสัตว์โลก
สดับพระธรรมเทศนาแล้วได้บรรลุอนาคามิผล
[๑๒๐] ครั้งนั้น หม่อมฉันได้ขออนุญาตสามีนั้นแล้ว
ออกบวชเป็นบรรพชิต โดยกาลไม่นานนักก็ได้บรรลุอรหัตตผล
[๑๒๑] ครั้งนั้น สามีผู้เป็นอุบาสกนั้นได้เข้าไปหาหม่อมฉันแล้ว
ได้ถามปัญหาที่ละเอียดลึกซึ้งมาก
หม่อมฉันแก้ปัญหาทั้งหมดนั้นได้
[๑๒๒] พระชินเจ้าทรงพอพระทัยในคุณสมบัตินั้น
จึงทรงตั้งหม่อมฉันไว้ในเอตทัคคะด้วยพระดำรัสว่า
‘เรามิได้เห็นภิกษุณีรูปอื่น ผู้เป็นพระธรรมกถึก
เหมือนภิกษุณีธัมมทินนานี้เลย
[๑๒๓] ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงทรงจำ
ภิกษุณีธรรมทินนาว่าเป็นนักปราชญ์’
หม่อมฉันอันพระผู้มีพระภาคผู้ทรงเป็นผู้นำทรงอนุเคราะห์แล้ว
ชื่อว่าเป็นบัณฑิตอย่างนี้
[๑๒๔] พระศาสดาหม่อมฉันก็ปรนนิบัติแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันได้ทำแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๓. ธัมมทินนาเถริยาปทาน
ภาระอันหนักหม่อมฉันก็ปลงลงได้แล้ว
ตัณหาที่นำไปสู่ภพหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว
[๑๒๕] กุลบุตรกุลธิดาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเพื่อประโยชน์ใด
ประโยชน์นั้นคือความสิ้นสังโยชน์ทั้งปวง
หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
[๑๒๖] หม่อมฉันเป็นผู้มีความชำนาญในฤทธิ์
ในทิพพโสตธาตุและในเจโตปริยญาณ
เป็นผู้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
[๑๒๗] รู้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
ทิพยจักษุหม่อมฉันก็ชำระให้หมดจดแล้ว
หม่อมฉันทำอาสวะทั้งปวงให้สิ้นแล้ว
เป็นผู้บริสุทธิ์สะอาดปราศจากมลทิน
[๑๒๘] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันก็ได้เผาแล้ว
ภพทั้งปวงหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว
หม่อมฉันตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๒๙] การที่หม่อมฉันมาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๓๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ หม่อมฉันก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า พระธรรมทินนาภิกษุณีได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ธัมมทินนาเถริยาปทานที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๔. สกุลาเถริยาปทาน
๔. สกุลาเถริยาปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระสกุลาเถรี
(พระสกุลาเถรี เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๓๑] พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้ถึงความสำเร็จแห่งธรรมทั้งปวง ทรงเป็นผู้นำ
เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
[๑๓๒] พระองค์เป็นผู้ประเสริฐกว่าเจ้าลัทธิทั้งหลาย
เป็นบุรุษอาชาไนย
ทรงปฏิบัติเพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข
เพื่อประโยชน์แก่สรรพสัตว์ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก
[๑๓๓] พระชินเจ้า ผู้มีพระยศอันเลิศ มีพระสิริ
มีพระเกียรติคุณฟุ้งขจรไป อันชาวโลกทั้งปวงบูชาแล้ว
มีพระคุณปรากฏไปทั่วทิศ
[๑๓๔] พระองค์ทรงข้ามพ้นความสงสัยแล้ว
ทรงล่วงความเคลือบแคลงแล้ว
มีความดำริในพระหทัยบริบูรณ์เต็มที่
ทรงบรรลุสัมโพธิญาณที่ประเสริฐสุด
[๑๓๕] พระองค์ทรงเป็นผู้สูงสุดแห่งนระ
ทรงทำมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
ตรัสบอกมรรคที่ยังไม่มีใครบอก
ทรงทำธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดพร้อม
[๑๓๖] พระองค์ทรงรู้มรรค รู้แจ้งมรรค
ตรัสบอกมรรค เป็นผู้องอาจกว่านรชน
เป็นพระศาสดาผู้ฉลาดในมรรค
ผู้ประเสริฐสูงสุด ในบรรดาสารถีทั้งหลาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๔. สกุลาเถริยาปทาน
[๑๓๗] ผู้ประกอบด้วยพระมหากรุณา ผู้เป็นที่พึ่ง ทรงเป็นผู้นำ
ทรงแสดงธรรมถอนเหล่าสัตว์ผู้จมอยู่ในเปือกตมคือกาม
[๑๓๘] ครั้งนั้น หม่อมฉันเกิดเป็นนางกษัตริย์ในกรุงหงสวดี
มีนามว่านันทนา
มีรูปสวย รวยทรัพย์ น่าเอ็นดู มีสิริ
[๑๓๙] เป็นธิดาของมหาราชพระนามว่าอานันทะ งดงามอย่างยิ่ง
เป็นภคินีต่างมารดาของพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
[๑๔๐] ห้อมล้อมด้วยราชกัญญาทั้งหลาย
ประดับด้วยเครื่องอาภรณ์ทุกชนิด
เข้าไปเฝ้าพระมหาวีระ ได้ฟังพระธรรมเทศนา
[๑๔๑] ครั้งนั้น พระมหาวีรเจ้าพระองค์นั้นผู้ทรงรู้แจ้งโลก
ทรงตั้งภิกษุณีรูปหนึ่ง ผู้มีทิพยจักษุไว้ในเอตทัคคะ
ในท่ามกลางบริษัท ๔
[๑๔๒] หม่อมฉันได้ฟังพุทธดำรัสนั้นแล้ว มีความร่าเริง
ถวายทานแด่พระศาสดาและบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว
ได้ปรารถนาทิพยจักษุ
[๑๔๓] จากนั้น พระศาสดาได้ตรัสกับหม่อมฉันว่า
‘นันทนา เธอจักได้ตำแหน่งตามที่เธอปรารถนา
ตำแหน่งที่เธอปรารถนานี้เป็นผลแห่งประทีปธรรมและทาน
[๑๔๔] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร
ทรงสมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก
[๑๔๕] สตรีผู้นี้จักมีนามว่าสกุลา
เป็นธรรมทายาท เป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต
จักเป็นสาวิกาของพระศาสดาพระองค์นั้น’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๗๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๔. สกุลาเถริยาปทาน
[๑๔๖] ด้วยกรรมที่หม่อมฉันได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
หม่อมฉันละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๑๔๗] ในภัทรกัปนี้ พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของพราหมณ์
มีพระยศยิ่งใหญ่พระนามว่ากัสสปะ ตามพระโคตร
ประเสริฐกว่าเจ้าลัทธิทั้งหลาย เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว
[๑๔๘] ครั้งนั้น หม่อมฉันเป็นปริพาชิกา ประพฤติอยู่ผู้เดียว
เที่ยวภิกขาจารได้เพียงน้ำมัน
[๑๔๙] มีใจผ่องใส ใช้น้ำมันนั้นตามประทีปบูชา
พระเจดีย์ชื่อว่าสัพพสังวร
ของพระพุทธเจ้าผู้เลิศกว่าเทวดาและมนุษย์
[๑๕๐] ด้วยกรรมที่หม่อมฉันได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
หม่อมฉันละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๑๕๑] เพราะอำนาจแห่งกรรมนั้น หม่อมฉันเกิดในที่ใด ๆ
ประทีปเป็นอันมากส่องแสงสว่างเพื่อหม่อมฉันผู้อยู่ในที่นั้น ๆ
[๑๕๒] หม่อมฉันเห็นสิ่งที่อยู่นอกฝาหรือสิ่งที่อยู่นอกกำแพง
และเห็นทะลุภูเขาตามที่ปรารถนา
นี้เป็นผลแห่งการถวายประทีป
[๑๕๓] หม่อมฉันมีนัยน์ตาแจ่มใส รุ่งเรืองด้วยยศ
มีศรัทธา มีปัญญา
นี้เป็นผลแห่งการถวายประทีป
[๑๕๔] บัดนี้ เป็นภพสุดท้าย หม่อมฉันเกิดในตระกูลมหาศาล
มีทรัพย์และข้าวเปลือกมากมาย
ที่มหาชนยินดี พระราชาทรงบูชา (ยกย่อง)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๔. สกุลาเถริยาปทาน
[๑๕๕] หม่อมฉันผู้สมบูรณ์ด้วยอวัยวะทั้งปวง
ประดับด้วยเครื่องอาภรณ์ทุกชนิด ยืนอยู่ที่หน้าต่าง
ได้เห็นพระสุคตเสด็จเข้าไปในเมือง
[๑๕๖] พระองค์ทรงรุ่งเรืองด้วยพระยศ
อันเทวดาและมนุษย์สักการบูชา
ทรงสมบูรณ์ด้วยอนุพยัญชนะ
ประดับด้วยพระลักษณะทั้งหลาย
[๑๕๗] หม่อมฉันมีจิตเบิกบาน มีใจยินดี
บวชแล้วไม่นานก็ได้บรรลุอรหัตตผล
[๑๕๘] หม่อมฉันเป็นผู้มีความชำนาญในฤทธิ์
ในทิพพโสตธาตุและในเจโตปริยญาณ
เป็นผู้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระศาสดา
[๑๕๙] รู้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
ทิพยจักษุหม่อมฉันก็ชำระให้หมดจดแล้ว
หม่อมฉันทำอาสวะทั้งปวงให้สิ้นแล้ว
เป็นผู้บริสุทธิ์สะอาดปราศจากมลทิน
[๑๖๐] พระศาสดาหม่อมฉันก็ปรนนิบัติแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันได้ทำแล้ว
ภาระอันหนักหม่อมฉันก็ปลงลงได้แล้ว
ตัณหาที่นำไปสู่ภพหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว
[๑๖๑] กุลบุตรกุลธิดาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเพื่อประโยชน์ใด
ประโยชน์นั้นคือความสิ้นสังโยชน์ทั้งปวง
หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
[๑๖๒] จากนั้น พระผู้มีพระภาคผู้ประกอบด้วยพระมหากรุณา
ผู้สูงสุดแห่งนรชน ทรงตั้งหม่อมฉันไว้ในเอตทัคคะว่า
‘สกุลาภิกษุณีเป็นผู้เลิศกว่าบรรดาภิกษุณีทั้งหลายฝ่ายผู้มีทิพยจักษุ’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๕. นันทาเถริยาปทาน
[๑๖๓] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว
หม่อมฉันตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๖๔] การที่หม่อมฉันมาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๖๕] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ หม่อมฉันก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า พระสกุลาภิกษุณีได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
สกุลาเถริยาปทานที่ ๔ จบ

๕. นันทาเถริยาปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระนันทาเถรี
(พระนันทาเถรี เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๖๖] พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้ถึงความสำเร็จแห่งธรรมทั้งปวง ทรงเป็นผู้นำ
เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
[๑๖๗] พระองค์เป็นผู้ตรัสสอน ทรงแสดงธรรมให้สัตว์รู้ชัดได้
ทรงช่วยสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้น(วัฏฏสงสาร)
ทรงฉลาดในเทศนา เป็นพระพุทธเจ้า
ทรงช่วยหมู่ชนให้ข้ามพ้นได้เป็นจำนวนมาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๕. นันทาเถริยาปทาน
[๑๖๘] พระองค์เป็นผู้อนุเคราะห์ ประกอบด้วยพระกรุณา
ทรงแสวงหาประโยชน์เกื้อกูลเพื่อสรรพสัตว์
ทรงทำเดียรถีย์ที่มาเฝ้าทั้งหมดให้ดำรงอยู่ในเบญจศีล
[๑๖๙] เมื่อเป็นเช่นนี้ ศาสนาจึงหมดความอากูล(หมดเสี้ยนหนาม)
ว่างจากพวกเดียรถีย์และงดงามด้วยพระอรหันต์ทั้งหลาย
ผู้ได้วสี ผู้คงที่
[๑๗๐] พระมหามุนีพระองค์นั้นทรงมีพระวรกายสูง ๕๘ ศอก
มีพระฉวีเปล่งปลั่งดังทองคำที่ล้ำค่า
มีพระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ
[๑๗๑] ครั้งนั้น สัตว์ทั้งหลายมีอายุประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ ปี
พระชินสีห์พระองค์นั้น
ก็ทรงดำรงพระชนมายุประมาณเท่านั้น
ทรงช่วยหมู่ชนให้ข้ามพ้นได้เป็นจำนวนมาก
[๑๗๒] ครั้งนั้น หม่อมฉันเกิดในตระกูลเศรษฐี
ที่มีความรุ่งเรืองด้วยรัตนะต่าง ๆ ในกรุงหงสวดี
เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยความสุขมาก
[๑๗๓] หม่อมฉันได้เข้าเฝ้าพระมหาวีระพระองค์นั้นแล้ว
ได้ฟังพระธรรมเทศนาอันประกาศถึงปรมัตถธรรม
ที่ไพเราะอย่างจับใจยิ่งนัก ซึ่งเป็นอมตธรรม
[๑๗๔] ครั้งนั้น หม่อมฉันมีความเลื่อมใส
ได้ทูลนิมนต์พระพุทธผู้เจ้าทรงเป็นผู้นำสัตว์โลกพร้อมทั้งพระสงฆ์
ได้ถวายมหาทานแด่พระองค์ด้วยมือของตน
[๑๗๕] ได้ซบศีรษะลงใกล้พระวีรเจ้า
ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก พร้อมทั้งพระสงฆ์
ปรารถนาตำแหน่งที่เลิศกว่าภิกษุณีทั้งหลายผู้เข้าฌาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๕. นันทาเถริยาปทาน
[๑๗๖] ครั้งนั้น พระสุคตผู้ฝึกนรชนที่ยังไม่ได้ฝึก
เป็นที่พึ่งของโลกทั้ง ๓ ทรงเป็นใหญ่
ทรงพยุงนรชนไว้เป็นอย่างดีตรัสพยากรณ์ว่า
‘เธอจักได้ตำแหน่งที่เธอปรารถนาไว้ดีแล้วนั้น
[๑๗๗] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร
ทรงสมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก
[๑๗๘] สตรีผู้นี้จักมีนามปรากฏว่านันทา
เป็นธรรมทายาท เป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต
เป็นสาวิกาของพระศาสดาพระองค์นั้น’
[๑๗๙] ครั้งนั้น หม่อมฉันได้ฟังพุทธพยากรณ์นั้นแล้วเป็นผู้มีความยินดี
มีจิตประกอบด้วยเมตตา บำรุงพระชินเจ้า ผู้ทรงเป็นผู้นำวิเศษ
ด้วยปัจจัยทั้งหลายจนตลอดชีวิต
[๑๘๐] ด้วยกรรมที่หม่อมฉันได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
หม่อมฉันละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๑๘๑] หม่อมฉันจุติจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้นแล้วไปเกิดในสวรรค์ชั้นยามา
จุติจากสวรรค์ชั้นยามานั้นแล้วไปเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต
จุติจากสวรรค์ชั้นดุสิตนั้นแล้วไปเกิดในสวรรค์ชั้นนิมมานรดี
จุติจากสวรรค์ชั้นนิมมานรดีนั้นแล้วไปเกิดในสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี
[๑๘๒] เพราะอำนาจแห่งกรรมนั้น หม่อมฉันเกิดในภพใด ๆ
ในภพนั้น ๆ ก็ได้เป็นพระมเหสีของพระราชา
[๑๘๓] หม่อมฉันจุติจากสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตดีนั้นแล้ว
มาเกิดในหมู่มนุษย์ ได้เป็นพระมเหสีของพระเจ้าจักรพรรดิ
และได้เป็นพระมเหสีของพระเจ้าแผ่นดินหลายชาติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๕. นันทาเถริยาปทาน
[๑๘๔] เสวยสมบัติทั้งในเทวโลกและมนุษยโลก
มีความสุขทุกชาติ
เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในกัปเป็นอันมาก
[๑๘๕] เมื่อถึงภพสุดท้าย
หม่อมฉันเกิดเป็นธิดาของพระเจ้าสุทโธทนะ
ในกรุงกบิลพัสดุ์ เป็นผู้มีรูปสมบัติอันใคร ๆ ไม่นินทา
[๑๘๖] ราชสกุลนั้นเห็นหม่อมฉันมีรูปงามดังดวงอาทิตย์
จึงพากันชื่นชม เพราะฉะนั้น หม่อมฉันจึงมีนามว่านันทา
เป็นผู้มีรูปลักษณ์ที่งดงามประเสริฐ
[๑๘๗] ในกรุงกบิลพัสดุ์ ซึ่งเป็นราชธานีที่รื่นรมย์นั้น
นอกจากพระนางยโสธราแล้ว
ปรากฏว่าหม่อมฉันมีความงามกว่ายุวนารีทุกคน
[๑๘๘] พระเชฏฐภาดาก็เป็นพระพุทธเจ้าผู้เลิศในโลก ๓
พระภาดาองค์สุดท้ายก็เป็นพระอรหันต์
หม่อมฉันเป็นสตรีเพียงผู้เดียวที่เป็นคฤหัสถ์
พระมารดาทรงตักเตือนว่า
[๑๘๙] ‘ลูกรัก เจ้าเกิดในศากยสกุล
เป็นน้องของพระพุทธเจ้า เมื่อเว้นจากนันทกุมารแล้ว
จักได้ประโยชน์อะไรในวังเล่า’
[๑๙๐] ความเป็นหนุ่มสาว ก็มีความแก่เป็นที่สุด
รูปบัณฑิตรู้กันว่าเป็นของไม่สะอาด
แม้ไม่มีโรค ก็มีโรคเป็นที่สุด
ชีวิตมีความตายเป็นที่สุด
[๑๙๑] รูปที่สวยงามของเธอแม้นี้ น่าใคร่ดังดวงจันทร์
จูงใจให้นิยม อลังการด้วยเครื่องประดับทั้งหลาย
คล้ายกำหนดรู้ได้ด้วยสิริ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๕. นันทาเถริยาปทาน
[๑๙๒] ดุจเป็นสิ่งสำคัญของชาวโลกที่เขาบูชากัน
เป็นที่ดึงดูดแห่งนัยนา
เป็นที่ก่อเกิดการสรรเสริญบุญ
เป็นที่ชื่นชมแห่งวงศ์โอกกากราช
[๑๙๓] โดยกาลไม่นานนัก ความแก่ก็จักมาครอบงำลูกรัก
ผู้มีรูปอันใคร ๆ ไม่นินทา จงละพระราชฐานและรูปกาย
ที่บัณฑิตตำหนิแล้วประพฤติธรรมเถิด
[๑๙๔] หม่อมฉันผู้ยังโลเลในรูปที่ยังเป็นสาว
ได้ฟังพระดำรัสของพระมารดาแล้ว
ก็ออกบวชเป็นบรรพชิตแต่เพียงกาย
แต่หาออกบวชด้วยจิตใจไม่
[๑๙๕] หม่อมฉันระลึกถึงตนด้วยความขวนขวายตรวจตราอย่างมาก
พระมารดาตรัสตักเตือนเพื่อให้ประพฤติธรรม
แต่หม่อมฉันมิได้สนใจขวนขวายในการประพฤติธรรมนั้นเลย
[๑๙๖] ครั้งนั้น พระชินเจ้าผู้ประกอบด้วยพระมหากรุณา
ทอดพระเนตรเห็นหม่อมฉันผู้มีผิวหน้าดังดอกบัว
เพื่อให้หม่อมฉันเกิดความเบื่อหน่ายในรูปกาย
[๑๙๗] จึงทรงเนรมิตหญิงคนหนึ่งมีความงามน่าชม น่าชอบใจยิ่งนัก
ซึ่งมีรูปงามกว่าหม่อมฉัน ให้อยู่ในคลองแห่งจักษุของหม่อมฉัน
ด้วยอานุภาพของพระองค์
[๑๙๘] หม่อมฉันอัศจรรย์ใจ เพราะเห็นหญิงที่มีเรือนร่าง
อันน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก ก็คิดว่า ‘เราเห็นหญิงมนุษย์ดังกล่าว
นี้มีผลดีและเป็นลาภแก่นัยน์ตาของเรา
[๑๙๙] เชิญเถิดแม่คนงาม แม่จงบอกสิ่งที่ต้องประสงค์แก่ฉัน
ฉันจะให้ แม่จงบอกสกุล นาม
โคตรของเธอแก่ฉัน ถ้าเธอพอใจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๕. นันทาเถริยาปทาน
[๒๐๐] แม่คนงาม เวลานี้ยังไม่ใช่เวลาแห่งปัญหา
แม่จงนอนหนุนตักเรา
ทับซ้อนร่างกายเราหลับสักครู่หนึ่งเถิด’
[๒๐๑] จากนั้นแม่คนแสนสวยก็นอนพาดศีรษะบนตักหม่อมฉัน
ของแข็งขนาดใหญ่ตกไปที่หน้าผากของนาง
[๒๐๒] พร้อมกับของแข็งที่ตกมากระทบ รอยโปนก็ปรากฏขึ้น
และทั้งหนองทั้งเลือดก็ไหลออกจากซากศพที่แตก
[๒๐๓] แม้ใบหน้าที่แตกแล้วนั้น ก็มีกลิ่นคล้ายซากศพเน่าโชยออกมา
ทั่วทั้งสรีระพองขึ้นเขียวคล้ำ
[๒๐๔] แม่คนสวยมีสรรพางค์กายสั่น หายใจหอบถี่ ๆ
เสวยทุกข์ของตนอยู่ รำพันอย่างน่าสงสาร
[๒๐๕] หม่อมฉันเป็นทุกข์เพราะทุกข์นั้น ต้องเวทนาจมอยู่ในทุกข์ใหญ่
ขอพระองค์ทรงเป็นที่พึ่ง แม่นางเป็นเพื่อนของหม่อมฉัน
[๒๐๖] ใบหน้าที่งามของแม่หายไปไหน
จมูกที่โด่งงามของแม่หายไปไหน
ริมฝีปากที่สวยเหมือนสีลูกมะพลับสุกของแม่หายไปไหน
วงหน้าที่งดงามของแม่หายไปไหน
[๒๐๗] วรรณะที่เปล่งปลั่งดังดวงจันทร์หายไปไหน
และลำคอที่คล้ายปล้องทองคำของแม่หายไปไหน
ใบหูของแม่ดังพวงดอกไม้ก็หมดสีสันวรรณะไปเสียแล้ว
[๒๐๘] ถันที่กลมกลึงคล้ายดอกบัวตูมทั้งคู่ของแม่แตกแล้ว
มีกลิ่นเหม็นฟุ้งไปคล้ายซากศพเน่า
[๒๐๙] นางมีเอวคอดกลม มีตะโพกผึ่งผาย
นำสิ่งชั่วร้ายมาให้เหมือนเขียง
เต็มไปด้วยสิ่งที่ไม่สะอาด โอ ! รูปไม่เที่ยง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๕. นันทาเถริยาปทาน
[๒๑๐] อวัยวะที่เกิดจากสรีระทั้งหมดมีกลิ่นเหม็นเน่า
น่ากลัว น่าเกลียดเหมือนซากศพในป่าช้า
ที่พวกคนเขลาพากันยินดี
[๒๑๑] ครั้งนั้น พระภาดาของหม่อมฉันผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ผู้ประกอบด้วยพระมหากรุณา
ทอดพระเนตรเห็นหม่อมฉันผู้มีจิตสังเวช
จึงได้ตรัสคาถาเหล่านี้ว่า
[๒๑๒] ‘นันทา เธอจงดูรูปกายที่กระสับกระส่าย
เปื่อยเน่าดังซากศพ จงอบรมจิตให้ตั้งมั่นด้วยดี
มีอารมณ์เดียว ด้วยอารมณ์อันไม่งาม
[๒๑๓] รูปนี้เป็นฉันใด รูปของเธอนั้นก็เป็นฉันนั้น
รูปของเธอนั้นเป็นฉันใด รูปนี้ก็เป็นฉันนั้น
มีกลิ่นเหม็นเน่าฟุ้งไป
ที่พวกคนเขลาพากันยินดียิ่งนัก
[๒๑๔] เธอไม่เกียจคร้าน
พิจารณาเห็นรูปเป็นอย่างนั้น ทั้งกลางคืนกลางวัน
แต่นั้นจะเบื่อหน่ายยิ่งนักเห็นด้วยปัญญาของตน’
[๒๑๕] จากนั้น หม่อมฉันมีจิตสลด เพราะฟังคาถาสุภาษิต
ยืนอยู่ ณ ที่นั้น ก็ได้บรรลุอรหัตตผล
[๒๑๖] หม่อมฉันเข้าฌานตลอดเวลา ไม่ว่าจะนั่งอยู่ ณ ที่ใด ๆ
พระชินเจ้าทรงพอพระทัยในคุณสมบัตินั้น
จึงทรงตั้งหม่อมฉันไว้ในเอตทัคคะ
[๒๑๗] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว
หม่อมฉันตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๖. โสณาเถริยาปทาน
[๒๑๘] การที่หม่อมฉันมาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๒๑๙] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ หม่อมฉันก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า พระนันทาภิกษุณีผู้เป็นชนบทกัลยาณีได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้
นันทาเถริยาปทานที่ ๕ จบ

๖. โสณาเถริยาปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระโสณาเถรี
(พระโสณาเถรี เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๒๒๐] พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้ถึงความสำเร็จแห่งธรรมทั้งปวง ทรงเป็นผู้นำ
เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
[๒๒๑] ครั้งนั้น หม่อมฉันเกิดในตระกูลเศรษฐี เป็นผู้มีความสุข
ถูกประดับตกแต่ง เป็นที่รัก
เข้าไปเฝ้าพระมุนีผู้ประเสริฐพระองค์นั้น
ได้ฟังพระดำรัสที่ไพเราะ
[๒๒๒] พระชินเจ้าทรงสรรเสริญภิกษุณีรูปหนึ่งว่า
เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุณีทั้งหลายผู้ปรารภความเพียร
หม่อมฉันได้ฟังพุทธดำรัสนั้นแล้วเป็นผู้มีความยินดี
ทำสักการะพระศาสดา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๖. โสณาเถริยาปทาน
[๒๒๓] หม่อมฉันไหว้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว
ได้ปรารถนาตำแหน่งนั้นในกาลนั้น
พระมหาวีรพุทธเจ้าทรงอนุโมทนาว่า
‘ความตั้งใจปรารถนาของเธอจักสำเร็จ
[๒๒๔] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร
ทรงสมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก
[๒๒๕] สตรีผู้นี้จักมีนามปรากฏว่าโสณา
เป็นธรรมทายาท เป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต
จักเป็นสาวิกาของพระศาสดาพระองค์นั้น’
[๒๒๖] หม่อมฉันได้ฟังพุทธพยากรณ์นั้นแล้ว
เป็นผู้มีความยินดี มีจิตประกอบด้วยเมตตา
บำรุงพระชินเจ้า ผู้ทรงเป็นผู้นำวิเศษ
ด้วยปัจจัยทั้งหลายโดยประการเช่นนั้นจนตลอดชีวิต
[๒๒๗] ด้วยกรรมที่หม่อมฉันได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
หม่อมฉันละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๒๒๘] บัดนี้ เป็นภพสุดท้าย
หม่อมฉันเกิดในตระกูลเศรษฐี เจริญมั่งคั่งด้วยทรัพย์มาก
ในกรุงสาวัตถีที่ประเสริฐ
[๒๒๙] เมื่อหม่อมฉันเจริญวัยเป็นสาวแล้ว
ได้ไปสู่ตระกูลสามี คลอดบุตรชาย ๑๐ คน
ล้วนแต่มีรูปงามยิ่งนัก
[๒๓๐] บุตรทุกคนนั้นดำรงอยู่ในความสุข
ติดตาตรึงใจผู้คนให้นิยม แม้แต่พวกศัตรูก็ชอบใจ
สำหรับหม่อมฉันไม่ต้องพูดถึง พวกเขาเป็นที่รัก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๖. โสณาเถริยาปทาน
[๒๓๑] ครั้งนั้น โดยที่หม่อมฉันไม่ต้องการ
สามีหม่อมฉันพร้อมด้วยบุตรทั้ง ๑๐ คน
พากันไปบวชในศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้เป็นเทพยิ่งกว่าเทพ
[๒๓๒] ในกาลนั้น หม่อมฉันอยู่แต่ผู้เดียวคิดว่า ‘พอละด้วยชีวิตของเรา
ผู้พลัดพรากจากสามีและบุตร เป็นคนแก่ น่าสงสาร
[๒๓๓] แม้เราก็จักไปยังอารามที่สามีเราไปถึง’
ครั้นคิดอย่างนี้แล้วจึงบวชเป็นบรรพชิต
[๒๓๔] ครั้งนั้น พวกภิกษุณีปล่อยหม่อมฉันไว้ในสำนักแต่เพียงผู้เดียว
สั่งหม่อมฉันว่า ‘เธอจงต้มน้ำไว้’ แล้วก็พากันจากไป
[๒๓๕] ขณะนั้น หม่อมฉันนำน้ำมาแล้ว ใส่ลงไปในหม้อ
ตั้งบนก้อนเส้าแล้วนั่ง จากนั้นก็ตั้งจิตให้เป็นสมาธิ
[๒๓๖] ได้พิจารณาเห็นขันธ์โดยความเป็นของไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
ทำอาสวะทั้งปวงให้สิ้นไปแล้ว ก็ได้บรรลุอรหัตตผล
[๒๓๗] เมื่อภิกษุณีกลับมาได้ถามถึงน้ำร้อน
หม่อมฉันอธิษฐานเตโชธาตุให้น้ำร้อนเร็วพลัน
[๒๓๘] ภิกษุณีเหล่านั้นพากันอัศจรรย์ใจ
ไปกราบทูลพระชินเจ้าผู้ประเสริฐให้ทรงทราบเรื่องนั้น
พระผู้เป็นนาถะทรงสดับเรื่องนั้นแล้วทรงชื่นชม ได้ตรัสคาถานี้ว่า
[๒๓๙] ‘แท้จริง บุคคลผู้ปรารภความเพียรอย่างหนัก
มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียว ก็ประเสริฐกว่าคนเกียจคร้าน
และละทิ้งความเพียรมีชีวิตอยู่ตั้ง ๑๐๐ ปี’
[๒๔๐] พระมหาวีรเจ้า หม่อมฉันให้ทรงพอพระทัยแล้ว
เพราะการปฏิบัติดี พระมหามุนีพระองค์นั้น
ตรัสสรรเสริญหม่อมฉันว่าเป็นผู้เลิศกว่าบรรดาภิกษุณีทั้งหลาย
ผู้ปรารภความเพียร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๗. ภัททกาปิลานีเถริยาปทาน
[๒๔๑] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว
หม่อมฉันตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๒๔๒] การที่หม่อมฉันมาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๒๔๓] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ หม่อมฉันก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า พระโสณาภิกษุณีได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
โสณาเถริยาปทานที่ ๖ จบ

๗. ภัททกาปิลานีเถริยาปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระภัททกาปิลานีเถรี
(พระภัททกาปิลานีเถรี เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๒๔๔] พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้ถึงความสำเร็จแห่งธรรมทั้งปวง ทรงเป็นผู้นำ
เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
[๒๔๕] ครั้งนั้น หม่อมฉันเป็นภริยาของเศรษฐีชื่อว่าวิเทหะ
มีรัตนะมาก ในกรุงหงสวดี
[๒๔๖] บางคราวเศรษฐีนั้นพร้อมด้วยชนที่เป็นบริวาร
เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าผู้เป็นดังสุริยเทพบุตร
ได้ฟังพระธรรมอันนำความสิ้นทุกข์ทั้งปวงมาให้
ของพระพุทธเจ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๗. ภัททกาปิลานีเถริยาปทาน
[๒๔๗] พระองค์ทรงเป็นผู้นำประกาศสรรเสริญภิกษุ
ผู้เป็นสาวกรูปหนึ่งว่า เป็นผู้เลิศกว่าบรรดาภิกษุทั้งหลายผู้ถือธุดงค์
หม่อมฉันได้ฟังแล้ว ได้ถวายทานแด่พระพุทธเจ้าผู้คงที่ตลอด ๗ วัน
[๒๔๘] แล้วซบศีรษะลงแทบพระยุคลบาทปรารถนาตำแหน่งนั้น
ก็ครั้งนั้น พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐแห่งนระ
เมื่อจะทรงให้บริษัทร่าเริง
[๒๔๙] ได้ตรัสคาถาเหล่านี้ เพื่อทรงอนุเคราะห์เศรษฐีว่า
‘ดูก่อนบุตร เธอจักได้ตำแหน่งที่เธอปรารถนา
จงเป็นผู้เย็นใจเถิด
[๒๕๐] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร
ทรงสมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก
[๒๕๑] เธอจักมีนามปรากฏว่ากัสสปะ ตามโคตร
เป็นธรรมทายาท เป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต
จักเป็นสาวกของพระศาสดาพระองค์นั้น
[๒๕๒] เศรษฐีได้ฟังพุทธพยากรณ์นั้นแล้ว
เป็นผู้มีความยินดี มีจิตประกอบด้วยเมตตา
บำรุงพระชินเจ้า ผู้ทรงเป็นผู้นำวิเศษ
ด้วยปัจจัยทั้งหลายจนตลอดชีวิต
[๒๕๓] พระองค์ทรงประกาศศาสนาให้รุ่งเรืองแล้ว
ย่ำยีเดียรถีย์ผู้หลอกลวงได้แล้ว
ทรงแนะนำเวไนยสัตว์ (คือผู้ที่ควรแนะนำได้)
พระองค์พร้อมทั้งพระสาวกปรินิพพานแล้ว
[๒๕๔] เมื่อพระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้เลิศในโลกนั้นปรินิพพานแล้ว
เพื่อจะบูชาพระศาสดา เศรษฐีนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๗. ภัททกาปิลานีเถริยาปทาน
จึงเชิญญาติและมิตรมาประชุมแล้ว
พร้อมกับญาติและมิตรเหล่านั้นได้สร้าง
[๒๕๕] พระสถูปรัตนะสูงได้ ๗ โยชน์
ซึ่งมีความรุ่งเรืองเหมือนดวงอาทิตย์
และเหมือนต้นพญาไม้สาละที่กำลังมีดอกบานสะพรั่ง
[๒๕๖] หม่อมฉันได้ให้ช่าง ๗ คนใช้รัตนะ ๗ ประการ
ทำตุม ๗๐๐,๐๐๐ ใบ ซึ่งโชติช่วงเหมือนไฟไหม้ไม้อ้อ
[๒๕๗] หม่อมฉันบรรจุน้ำมันหอมจนเต็ม
ตามประทีปไว้ ณ พระสถูปนั้น
เพื่อบูชาพระศาสดา ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
ผู้ทรงอนุเคราะห์สรรพสัตว์
[๒๕๘] หม่อมฉันให้ช่างทำหม้อ ๗๐๐,๐๐๐ ใบ
ใส่รัตนะต่าง ๆ จนเต็มครบทุกใบ
เพื่อบูชาพระศาสดา ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๒๕๙] ในระหว่างกลางหม้อทุก ๘ ใบ ยกพวงทองตั้งประดับไว้
ซึ่งมีรัศมีรุ่งโรจน์เหมือนดวงอาทิตย์ในสารทกาล
[๒๖๐] ที่ประตูทั้ง ๔ มีเสาระเนียดซึ่งทำด้วยรัตนะ
ทั้งมีแผ่นกระดานที่ทำด้วยรัตนะน่ารื่นรมย์
ยกขึ้นไว้ย่อมงดงาม
[๒๖๑] คูและปล่องที่สร้างไว้อย่างดี ก็รุ่งโรจน์
ธงรัตนะที่ยกขึ้นไว้ล้วนงามไพโรจน์
[๒๖๒] พระเจดีย์ที่สร้างด้วยรัตนะนั้น
สร้างไว้อย่างสวยงาม มีสีสุก
มีรัศมีรุ่งโรจน์ดุจดวงจันทร์และดวงอาทิตย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๗. ภัททกาปิลานีเถริยาปทาน
[๒๖๓] พระสถูปของหม่อมฉันมี ๓ ด้าน ด้านหนึ่งบรรจุหรดาล
ด้านหนึ่งบรรจุมโนศิลา ด้านหนึ่งบรรจุแร่พลวงไว้จนเต็ม
[๒๖๔] หม่อมฉันให้ช่างทำเครื่องบูชาที่น่ายินดีเช่นนี้แล้ว
ได้ถวายทานแก่พระสงฆ์ผู้กล่าวธรรมที่ประเสริฐ
ตามกำลัง จนตลอดชีวิต
[๒๖๕] หม่อมฉันกับเศรษฐีนั้น ทำบุญเหล่านั้น
โดยประการทั้งปวงจนตลอดชีวิต
แล้วได้ไปเกิดในสุคติภพร่วมกัน
[๒๖๖] เสวยสมบัติทั้งหลายทั้งในเทวดาและในมนุษย์
เวียนว่ายตายเกิดร่วมกับเศรษฐีนั้น
ปานประหนึ่งว่าเงาติดตามตัว
[๒๖๗] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
พระพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ทรงเป็นผู้นำ
ทรงมีพระเนตรงาม ทรงเห็นแจ้งธรรมทั้งปวง เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว
[๒๖๘] ครั้งนั้น ท่านเศรษฐีได้เกิดเป็นพราหมณ์ ในกรุงพันธุมดี
เป็นที่รู้จักกันดีว่า เป็นผู้มั่งคั่งด้วยคุณธรรม
แต่เป็นคนจนแสนจนด้วยทรัพย์
[๒๖๙] แม้ครั้งนั้น หม่อมฉันก็เป็นพราหมณีของพราหมณ์นั้น
มีความคิดอย่างเดียวกัน
บางครั้งพราหมณ์นั้นเข้าเฝ้าพระมหามุนี
[๒๗๐] ซึ่งประทับนั่งทรงแสดงอมตบทอยู่ในหมู่ชน
ได้ฟังธรรมแล้วเบิกบานใจ ได้ถวายผ้าสาฎกผืนหนึ่ง
[๒๗๑] มีผ้านุ่งผืนเดียวกลับไปเรือน แล้วได้บอกหม่อมฉันว่า
‘น้องหญิง เชิญอนุโมทนามหาบุญเถิด
ผ้าสาฎกพี่ได้ถวายพระพุทธเจ้าไปแล้ว’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๗. ภัททกาปิลานีเถริยาปทาน
[๒๗๒] ขณะนั้น หม่อมฉันมีความเอิบอิ่มประนมมือ
อนุโมทนาว่า ‘ข้าแต่สามี ผ้าสาฎกท่านถวายดีแล้ว
แด่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ผู้คงที่’
[๒๗๓] พราหมณ์มีความสุข ประดับตกแต่งแล้ว
เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพน้อยภพใหญ่
ได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินในกรุงพาราณสีที่น่ารื่นรมย์
[๒๗๔] ครั้งนั้น หม่อมฉันเป็นพระมเหสีผู้ประเสริฐกว่าพวกนางสนม
เป็นที่โปรดปรานอย่างยิ่งของท้าวเธอ เพราะความรักที่มีในกาลก่อน
[๒๗๕] พระเจ้าแผ่นดินพระองค์นั้น
ทอดพระเนตรเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ๘ พระองค์
ผู้เที่ยวบิณฑบาต ทรงเบิกบานพระทัย
ได้ถวายอาหารบิณฑบาตที่มีราคามาก
[๒๗๖] นิมนต์พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายไว้
ทรงสร้างรัตนมณฑปซึ่งประดับด้วยทองมีรัศมีเปล่งปลั่ง
ที่พวกช่างทองได้ทำไว้ซึ่งสูงประมาณ ๑๐๐ ศอก
[๒๗๗] ท้าวเธอทรงเลื่อมใส รับสั่งให้นิมนต์
พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหมด
แล้วได้ทรงถวายทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น
ซึ่งเข้ามาในพระราชนิเวศน์ด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เอง
[๒๗๘] แม้ครั้งนั้น หม่อมฉันก็ได้ร่วมถวายทานนั้นกับพระเจ้ากาสี
ได้เกิดในกาสิกคามในกรุงพาราณสีอีก
[๒๗๙] พระเจ้ากาสีกับพระภาดามีความสุขอยู่ในตระกูลกุฎุมพีที่เจริญ
หม่อมฉันเป็นภรรยาของพี่ชายคนโต ปรนนิบัติสามีอย่างดี
[๒๘๐] น้องชายของสามีหม่อมฉัน เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว
นำอาหารของพี่ชายไปถวายแก่พระปัจเจกพุทธเจ้านั้น
เมื่อพี่ชายผู้ซึ่งเป็นสามีของหม่อมฉันมาถึงแล้ว จึงได้บอก(สามี)ให้ทราบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๗. ภัททกาปิลานีเถริยาปทาน
[๒๘๑] เขาไม่ยินดีทาน จากนั้น หม่อมฉันก็ได้ให้อาหาร
ที่ตนนำมาเพื่อพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายแก่สามีนั้น
สามีนั้นได้ถวายอาหารนั้น
แก่พระปัจเจกพุทธเจ้านั้นอีก
[๒๘๒] ขณะนั้น หม่อมฉันโกรธจึงเทอาหาร
ที่ถวายแก่พระปัจเจกพุทธเจ้านั้นทิ้งเสีย
ได้ถวายบาตรที่เต็มด้วยเปือกตม
แก่พระปัจเจกพุทธเจ้าผู้คงที่นั้น
[๒๘๓] ครั้งนั้น หม่อมฉันเห็นใบหน้า มีจิตสงบของท่าน
ทั้งในการให้ การรับ การเคารพ
และการประทุษร้าย จึงสลดใจมาก
[๒๘๔] หม่อมฉันมีจิตเลื่อมใสรับบาตรมาแล้ว
ใช้น้ำหอมอย่างดีล้างจนสะอาด
บรรจุน้ำตาลกรวดกับเปรียงจนเต็มบาตรแล้วถวายคืน
[๒๘๕] หม่อมฉันเกิดในภพใด ๆ ก็มีรูปงาม
เพราะถวายทาน แต่มีกลิ่นตัวเหม็น
เพราะการย่ำยีที่กระทำไม่สมควรแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า
[๒๘๖] เมื่อพระเจดีย์ของพระธีรเจ้าพระนามว่ากัสสปะ
ซึ่งสามีหม่อมฉันได้ให้สร้างสำเร็จแล้ว
หม่อมฉันมีความยินดี ได้ถวายแผ่นอิฐทองคำอย่างดีอีก
[๒๘๗] ชุบอิฐนั้นให้ชุ่มด้วยของหอม ๔ ชนิด
จึงพ้นจากโทษที่มีกลิ่นตัวเหม็น
กลายเป็นผู้มีรูปทรงสมส่วนไปทั่วสรรพางค์กาย
[๒๘๘] ให้ช่างใช้รัตนะ ๗ ประการทำถาด ๗,๐๐๐ ถาด
เต็มไปด้วยเปรียง และไส้เป็นพัน ๆ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๗. ภัททกาปิลานีเถริยาปทาน
[๒๘๙] ใส่ไปแล้วตามประทีปตั้งไว้ ๗ แถว
เพื่อบูชาพระพุทธเจ้า ผู้เป็นที่พึ่งของสัตว์โลก ด้วยจิตที่เลื่อมใส
[๒๙๐] แม้ครั้งนั้น หม่อมฉันมีส่วนในบุญนั้นโดยพิเศษ
สามีของหม่อมฉันไปเกิดในแคว้นกาสี
มีนามปรากฏว่าสุมิตตะ
[๒๙๑] หม่อมฉันเป็นภรรยาของเขา
มีความสุขอันเขาประดับตกแต่งแล้ว เป็นที่รัก
ครั้งนั้น สามีของหม่อมฉันได้ถวายผ้าโพกศีรษะเนื้อดี
แก่พระปัจเจกมุนี
[๒๙๒] แม้หม่อมฉันก็มีส่วนแห่งทานนั้น อนุโมทนาทานที่ประเสริฐ
สามีได้ไปเกิดในกำเนิดแห่งชาวโกลิยะในแคว้นกาสีอีก
[๒๙๓] ครั้งนั้น สามีของหม่อมฉันพร้อมด้วยบุตร
ของชาวโกลิยะ ๕๐๐ คน
ได้บำรุงพระปัจเจกพุทธเจ้า ๕๐๐ องค์
[๒๙๔] นิมนต์พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น
ให้อยู่จำพรรษาตลอดไตรมาสแล้วได้ถวายไตรจีวร
ครั้งนั้น หม่อมฉันเป็นภรรยาของเขา
เป็นผู้ปฏิบัติกุศลกรรมบถ
[๒๙๕] สามีจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว
ได้เป็นพระราชาพระนามว่านันทะ มียศมาก
แม้หม่อมฉันก็ได้เป็นพระมเหสีของท้าวเธอ
เป็นผู้มีสมบัติให้สำเร็จสิ่งที่ต้องประสงค์ทุกประการ
[๒๙๖] พระเจ้านันทะนั้นจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว
ได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินนามว่าพรหมทัต
ครั้งนั้น พระปัจเจกมุนี ๕๐๐ องค์ถ้วน
ผู้เป็นพระโอรสของนางปทุมวดี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๗. ภัททกาปิลานีเถริยาปทาน
[๒๙๗] หม่อมฉันได้บำรุงจนตลอดชีวิต
นิมนต์ให้พักอยู่ในพระราชอุทยานแล้ว
และบูชาพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น ผู้นิพพานแล้ว
[๒๙๘] หม่อมฉันทั้ง ๒ ได้สร้างเจดีย์หลายองค์
แล้วก็พากันออกบวช เจริญอัปปมัญญา
แล้วได้ไปเกิดในพรหมโลก
[๒๙๙] จุติจากพรหมโลกแล้ว สามีของหม่อมฉัน
เกิดเป็นพราหมณ์ชื่อปิปผลายนะ
ที่ประเทศมหาติตถะ มารดาชื่อสุมนเทวี
บิดาเป็นพราหมณ์โกสิยโคตร
[๓๐๐] หม่อมฉันเป็นธิดาของกบิลพราหมณ์
มารดาชื่อสุจิมตี ในมัททชนบท นครสากละที่ประเสริฐสุด
[๓๐๑] บิดาหล่อรูปของหม่อมฉันด้วยทองคำแท่งแล้ว
ถวายรูปหล่อแก่พระกัสสปธีรเจ้า ผู้เว้นจากกามทั้งหลาย
[๓๐๒] พราหมณ์ปิปผลายนะนั้นเป็นหนุ่ม
ไปตรวจดูงานในกาลบางคราว
เห็นสัตว์ทั้งหลายที่ถูกกาเป็นต้นจิกกินแล้ว เกิดความสลดใจ
[๓๐๓] ครั้งนั้น หม่อมฉันเห็นเมล็ดงาที่มีอยู่ในเรือน
ซึ่งนำออกผึ่งแดด เห็นกาจิกกินหนอนอยู่ ได้ความสลดใจ
[๓๐๔] ครั้งนั้น พราหมณ์ปิปผลายนะผู้เป็นปราชญ์ออกบวช
หม่อมฉันก็ออกบวชตาม อยู่บำเพ็ญศีลพรตของปริพาชก ๕ ปี
[๓๐๕] เมื่อพระนางโคตมีผู้บำรุงเลี้ยงพระชินเจ้าทรงผนวชแล้ว
หม่อมฉันได้เข้าไปหาพระนาง และเป็นผู้อันพระพุทธเจ้าสั่งสอนแล้ว
[๓๐๖] โดยกาลไม่นานนัก หม่อมฉันก็ได้บรรลุอรหัตตผล
โอ ! เรามีพระมหากัสสปเถระผู้มีสิริ เป็นกัลยาณมิตร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๗. ภัททกาปิลานีเถริยาปทาน
[๓๐๗] พระกัสสปเถระเป็นพุทธบุตร
เป็นทายาทของพระพุทธเจ้า
มีจิตตั้งมั่นดี รู้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
เห็นสวรรค์และอบาย
[๓๐๘] อนึ่ง ท่านถึงความสิ้นชาติ เป็นมุนีอยู่จบอภิญญา
ด้วยวิชชา ๓ เหล่านี้ จึงได้ชื่อว่าเป็นพราหมณ์ผู้มีวิชชา ๓
[๓๐๙] ภัททกาปิลานีก็เหมือนกัน
ได้วิชชา ๓ ละมัจจุราชเสียได้ ทรงร่างกายนี้เป็นที่สุด
ชนะมารพร้อมทั้งเสนามารแล้ว
[๓๑๐] หม่อมฉันทั้ง ๒ เห็นโทษในโลกแล้วพากันบวช
เป็นผู้สิ้นอาสวะ ฝึกตนแล้ว มีความเย็น ดับสนิทแล้ว
[๓๑๑] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว
หม่อมฉันตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๓๑๒] การที่หม่อมฉันมาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
[๓๑๓] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ หม่อมฉันก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า พระภัททกาปิลานีภิกษุณีได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ภัททกาปิลานีเถริยาปทานที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๘. ยโสธราเถริยาปทาน
๘. ยโสธราเถริยาปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระยโสธราเถรี
(พระยโสธราเถรี เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๓๑๔] สมัยหนึ่ง เมื่อพระผู้ทรงเป็นผู้นำแห่งนรชน
ประทับอยู่ ณ เงื้อมภูเขาที่ประเสริฐแห่งหนึ่ง
ใกล้กรุงราชคฤห์ ที่น่ารื่นรมย์ มั่งคั่ง
[๓๑๕] ยโสธราภิกษุณี ผู้อยู่ในสำนักของภิกษุณี
ในนครที่น่ารื่นรมย์นั้น ได้มีความรำพึงอย่างนี้ว่า
[๓๑๖] ‘พระเจ้าสุทโธทนมหาราช
และพระนางมหาปชาบดีโคตมี
พระมหาเถระผู้มีชื่อเสียง และพระเถรีผู้มีฤทธิ์มาก
[๓๑๗] ท่านเหล่านั้น ล้วนนิพพานไปแล้ว
เหมือนเปลวประทีปหมดเชื้อดับไปฉะนั้น
เมื่อพระโลกนาถยังทรงพระชนม์อยู่
แม้เราก็จักบรรลุถึงสิวบท(นิพพาน)’
[๓๑๘] ยโสธราภิกษุณีนั้นครั้นคิดแล้ว
จึงพิจารณาดูอายุของตน เห็นอายุสังขาร
จะถึงความสิ้นไปในวันนั้นเอง
[๓๑๙] จึงถือบาตรและจีวรออกจากที่อยู่ของตน
มีภิกษุณี ๑๐๐,๐๐๐ รูปห้อมล้อม
[๓๒๐] มีฤทธิ์มาก มีปัญญามาก
เข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถวายอภิวาท
ที่ลายลักษณ์กงจักรของพระศาสดาแล้ว
นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลคำนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๘. ยโสธราเถริยาปทาน
[๓๒๑] ‘หม่อมฉันมีอายุได้ ๗๘ ปี ล่วงเข้าปัจฉิมวัยแล้ว
ถึงความเป็นผู้มีกายค้อมลงโดยลำดับ ขอกราบทูลลาพระมหามุนี
[๓๒๒] หม่อมฉันมีวัยแก่หง่อม ชีวิตของหม่อมฉันมีอยู่นิดหน่อย
หม่อมฉันจักละพระองค์ไป ที่พึ่งของตนหม่อมฉันทำไว้แล้ว
[๓๒๓] ในกาลปัจฉิมวัยนี้ ความตายเข้ามาปิดล้อมไว้แล้ว
ข้าแต่พระมหาวีระ หม่อมฉันจักนิพพานในคืนวันนี้
[๓๒๔] ข้าแต่พระมหามุนี หม่อมฉันไม่มีชาติ
ชรา พยาธิ และมรณะ
หม่อมฉันจักเข้าถึงนิพพานที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง
เป็นบุรีที่ไม่มีความแก่ ความตาย และไม่มีภัย
[๓๒๕] บริษัทที่เข้าเฝ้าพระองค์อยู่ รู้จักความผิด
จึงขอประทานโทษ เฉพาะพระพักตร์ของพระศาสดา
[๓๒๖] ข้าแต่พระมหาวีระ
เมื่อหม่อมฉันเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสงสาร
หากมีความผิดพลาดในพระองค์ หม่อมฉันกราบทูลว่า
ขอพระองค์โปรดยกโทษให้แก่หม่อมฉันด้วยเถิด’
[๓๒๗] พระจอมมุนีทรงสดับคำของพระยโสธราภิกษุณีแล้ว
จึงตรัสดังนี้ว่า ‘เมื่อเธอบอกว่าจะลานิพพาน
ตถาคตจะไปว่าอะไรเธอให้มากเล่า
[๓๒๘] เธอผู้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของเรา จงแสดงฤทธิ์
และตัดความสงสัยของบริษัททั้งปวงในศาสนาเถิด’
[๓๒๙] พระยโสธราภิกษุณีนั้น
ได้ฟังพระดำรัสของพระมุนีพระองค์นั้นแล้ว
จึงไหว้พระราชมุนีนั้นกราบทูลคำนี้ว่า
[๓๓๐] ‘ข้าแต่พระมหาวีระ หม่อมฉันชื่อยโสธรา
เมื่อสมัยที่ยังทรงครองฆราวาสวิสัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๘. ยโสธราเถริยาปทาน
เป็นปชาบดีของพระองค์
เกิดในตระกูลศากยะ ตั้งอยู่ในองค์สมบัติของผู้หญิง
[๓๓๑] ข้าแต่พระมหาวีระ บรรดาหญิงจำนวน ๑๙๖,๐๐๐ นาง
หม่อมฉันเป็นประธาน เป็นใหญ่กว่าหญิงทั้งปวง
ในพระราชนิเวศน์ของพระองค์
[๓๓๒] สตรีทั้งหมดประกอบด้วยรูปสมบัติและอาจารสมบัติ
แม้ดำรงอยู่ในวัยสาว ก็ยำเกรงหม่อมฉันทุกเมื่อ
เหมือนมนุษย์ทั้งหลายยำเกรงเทวดา
[๓๓๓] หญิงเหล่านั้นมีนางกษัตริย์ ๑,๐๐๐ นาง เป็นประธาน
ร่วมสุขร่วมทุกข์กันอยู่ในพระราชนิเวศน์ของศากยบุตร
ปานประหนึ่งเทวดาทั้งหลายในสวนนันทวัน
[๓๓๔] เว้นพระองค์ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลกแล้ว
เหล่าสตรีผู้ฉลาดล่วงเลยกามภูมิ ตั้งอยู่ในรูปภูมิ
มีรูปเช่นกับหม่อมฉันไม่มี’
[๓๓๕] พระยโสธราเถรี ถวายอภิวาทพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว
แสดงฤทธิ์ถวายพระศาสดา แล้วแสดงฤทธิ์มากมายหลายอย่าง
[๓๓๖] คือ แสดงกายเท่าภูเขาจักรวาล ศีรษะเท่าอุตตรกุรุทวีป
ทวีปทั้ง ๒ ให้เป็นปีกทั้ง ๒ ข้าง
ชมพูทวีปให้เป็นลำตัว
[๓๓๗] แสดงมหาสมุทรด้านทิศใต้ให้เป็นกำหาง
กิ่งไม้ต่าง ๆ ให้เป็นขนปีก
ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ให้เป็นนัยน์ตา
ภูเขาพระสุเมรุให้เป็นหงอน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๘. ยโสธราเถริยาปทาน
[๓๓๘] แสดงภูเขาจักรวาลให้เป็นจะงอยปาก นำต้นหว้า
พร้อมทั้งรากเข้ามาใกล้แล้วไหว้และพัดวีพระผู้เป็นผู้นำสัตว์โลก
[๓๓๙] แสดงเป็นช้าง ม้า ภูเขา ทะเล ดวงจันทร์
ดวงอาทิตย์ ภูเขาพระสุเมรุ และเป็นท้าวสักกะจอมเทพ
[๓๔๐] กราบทูลว่า ‘ข้าแต่พระมหาวีระ ผู้มีพระจักษุ
หม่อมฉันชื่อว่ายโสธรา ขอกราบพระยุคลบาท’
แล้วใช้ดอกบัวบานปิด ๑,๐๐๐ โลกธาตุไว้
[๓๔๑] เนรมิตเป็นพรหมแสดงสุญญตธรรมอยู่
กราบทูลว่า ‘ข้าแต่พระวีระ ผู้มีพระจักษุ
หม่อมฉันชื่อว่ายโสธรา ขอกราบพระยุคลบาท’
[๓๔๒] ข้าแต่พระมหามุนี หม่อมฉันเป็นผู้มีความชำนาญในฤทธิ์
ในทิพพโสตธาตุ และมีความชำนาญในเจโตปริยญาณ
[๓๔๓] รู้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
ทิพยจักษุหม่อมฉันก็ชำระให้หมดจดแล้ว
อาสวะทั้งปวงก็สิ้นไปแล้ว
บัดนี้ ภพใหม่ไม่มี
[๓๔๔] ข้าแต่พระมหาวีระ อัตถปฏิสัมภิทาญาณ
ธัมมปฏิสัมภิทาญาณ นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ
และปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณของหม่อมฉัน
เกิดขึ้นแล้วในสำนักของพระองค์
[๓๔๕] ความพร้อมเพรียงแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ผู้ทรงเป็นที่พึ่งของสัตว์โลก พระองค์ทรงแสดงแล้ว
ข้าแต่พระมหามุนี อธิการเป็นอันมากของหม่อมฉัน
เพื่อประโยชน์แก่พระองค์
[๓๔๖] ข้าแต่พระมหาวีระผู้เป็นพระมุนี
ขอพระองค์พึงหวนระลึกถึงกุศลกรรมเก่าของหม่อมฉันเถิด
หม่อมฉันสั่งสมบุญไว้ก็เพื่อประโยชน์แก่พระองค์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๘. ยโสธราเถริยาปทาน
[๓๔๗] ข้าแต่พระมหาวีระ หม่อมฉันงดเว้นอนาจารในสถานที่ไม่สมควร
แม้ชีวิตก็ยอมสละได้เพื่อประโยชน์แก่พระองค์
[๓๔๘] ข้าแต่พระมหามุนี พระองค์ประทานหม่อมฉัน
เพื่อต้องการให้เป็นภรรยาของผู้อื่นหลายพันโกฏิกัป
ก็เพื่อประโยชน์แก่พระองค์
หม่อมฉันไม่เคยเสียใจในเรื่องนั้นเลย
[๓๔๙] ข้าแต่พระมหามุนี พระองค์ประทานหม่อมฉัน
เพื่ออุดหนุนผู้อื่นหลายพันโกฏิกัป
ก็เพื่อประโยชน์แก่พระองค์
หม่อมฉันไม่เคยเสียใจในเรื่องนั้นเลย
[๓๕๐] ข้าแต่พระมหามุนี พระองค์ประทานหม่อมฉัน
เพื่อประโยชน์เป็นอาหารหลายพันโกฏิกัป
ก็เพื่อประโยชน์แก่พระองค์
หม่อมฉันไม่เคยเสียใจในเรื่องนั้นเลย
[๓๕๑] หม่อมฉันยอมสละชีวิตหลายพันโกฏิกัป
ด้วยคิดว่าจักกระทำความพ้นภัย
จึงยอมสละชีวิตตนเอง
[๓๕๒] ข้าแต่พระมหามุนี หม่อมฉันไม่เคยหวงเครื่องประดับ
มีผ้านานาชนิดที่ติดตัวอยู่และภัณฑะของหญิง
เพื่อประโยชน์แก่พระองค์
[๓๕๓] ข้าแต่พระมหามุนี ทรัพย์ ข้าวเปลือก
ปัจจัยเครื่องบริจาค บ้าน นิคม ไร่ นา
บุตร ธิดา หม่อมฉันก็บริจาคแล้ว
[๓๕๔] ช้าง ม้า โค ทาสี นางบำเรอ มากมายนับไม่ถ้วน
หม่อมฉันก็บริจาคแล้ว เพื่อประโยชน์แก่พระองค์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๘. ยโสธราเถริยาปทาน
[๓๕๕] พระองค์ทรงปรึกษาหม่อมฉันว่า
‘เราจะให้ทานแก่พวกยาจก’
เมื่อพระองค์ให้ทานที่ประเสริฐอยู่ หม่อมฉันก็ไม่เคยเสียใจ
[๓๕๖] ข้าแต่พระมหาวีระ หม่อมฉันยอมรับทุกข์ทรมาน
มากมายหลายอย่างจนนับไม่ถ้วน ในสงสารเป็นอเนก
ก็เพื่อประโยชน์แก่พระองค์
[๓๕๗] ข้าแต่พระมหามุนี หม่อมฉันได้รับสุขก็อนุโมทนา
และคราวที่ได้รับทุกข์ก็ไม่เสียใจ เป็นผู้ยินดีแล้วทุกอย่าง
เพื่อประโยชน์แก่พระองค์
[๓๕๘] ข้าแต่พระมหามุนี พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญธรรม
โดยมรรคที่สมควร เสวยสุขและทุกข์แล้ว
ได้บรรลุพระโพธิญาณ
[๓๕๙] การที่พระองค์และหม่อมฉันพบพระสัมพุทธเจ้า
ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลกพระนามว่าพรหมเทพ
และพระนามว่าโคดม แล้วพบพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้ทรงเป็นที่พึ่งสัตว์โลกเหล่าอื่นอีกก็มาก
[๓๖๐] ข้าแต่พระมหามุนี อธิการของหม่อมฉันมีมาก
เพื่อประโยชน์แก่พระองค์ หม่อมฉันเมื่อแสวงหาพุทธธรรมอยู่
ก็ได้เป็นบาทบริจาริกาของพระองค์
[๓๖๑] ใน ๔ อสงไขยและอีก ๑๐๐,๐๐๐ กัป
พระมหาวีระพระนามว่าทีปังกร
ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว
[๓๖๒] ประชาชนในปัจจันตประเทศ
ต่างมีใจยินดีทูลนิมนต์พระตถาคตแล้ว
ช่วยกันแผ้วถางทางซึ่งเป็นที่เสด็จพุทธดำเนิน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๘. ยโสธราเถริยาปทาน
[๓๖๓] ครั้งนั้น พระองค์เกิดเป็นพราหมณ์นามว่าสุเมธะ
กำลังตกแต่งหนทางเพื่อพระสุคต
ผู้ทรงเห็นธรรมทั้งปวงกำลังเสด็จมา
[๓๖๔] ครั้งนั้น หม่อมฉันได้เกิดในตระกูลพราหมณ์
เป็นหญิงสาวมีนามว่าสุมิตตา เข้าไปสู่สมาคม
[๓๖๕] ถือดอกอุบลไป ๘ กำเพื่อบูชาพระศาสดา
ได้เห็นพระองค์ผู้เป็นฤาษีผู้ประเสริฐ ในท่ามกลางหมู่ชน
[๓๖๖] ครั้งนั้น หม่อมฉันได้เห็นพระองค์ผู้น่าพอใจ
ผู้มีความเอ็นดูประทับอยู่นาน ดำเนินผ่านไป
จึงได้สำคัญว่าชีวิตของเรามีผล
[๓๖๗] ครั้งนั้น หม่อมฉันเห็นความพยายามที่มีผล
ของพระองค์ผู้เป็นพระฤาษี ด้วยบุพกรรม
แม้จิตของหม่อมฉันก็เลื่อมใสในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
[๓๖๘] หม่อมฉันทำจิตให้เลื่อมใสอย่างยิ่ง
ในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นพระฤๅษี มีพระทัยเบิกบาน
ข้าแต่พระฤาษี หม่อมฉันมิได้เห็นสิ่งอื่นที่ควรถวาย
จึงถวายดอกอุบลแด่พระองค์ พร้อมกับกล่าวว่า
[๓๖๙] ‘ข้าแต่พระฤๅษี ดอกอุบล ๕ กำ จงเป็นของท่าน
ดอกอุบล ๓ กำ จงเป็นของหม่อมฉัน
ข้าแต่พระฤๅษี ดอกบัว ๓ กำของหม่อมฉัน
กับดอกบัว ๕ กำของท่านนั้น จงมีผลเสมอกัน
เพื่อประโยชน์แก่พระโพธิญาณของท่าน’
ภาณวารที่ ๔ จบ

[๓๗๐] สุเมธมหาฤาษีรับดอกอุบลแล้วบูชาพระพุทธเจ้าพระนามว่าทีปังกร
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ มีบริวารยศมากมาย
เสด็จดำเนินมาท่ามกลางชุมชน เพื่อประโยชน์แก่พระโพธิญาณ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๘. ยโสธราเถริยาปทาน
[๓๗๑] พระมหามุนีผู้มีความเพียรมากพระนามว่าวีรทีปังกร
ทอดพระเนตรเห็นพระฤาษี ผู้มีใจสูงแล้ว
จึงตรัสพยากรณ์ในท่ามกลางชุมชน
[๓๗๒] ข้าแต่พระมหามุนี ในกัปที่หาประมาณมิได้นับจากกัปนี้ไป
พระมหามุนีพระนามว่าทีปังกร ทรงพยากรณ์กรรม
คือความเป็นผู้ซื่อตรงของหม่อมฉันไว้ว่า
[๓๗๓] ‘ท่านฤาษีผู้เป็นใหญ่ อุบาสิกาผู้นี้จักเป็นผู้มีจิตเสมอกัน
มีการกระทำเสมอกัน มีปกติทำร่วมกัน
จักเป็นที่น่ารักเพราะการกระทำเพื่อประโยชน์แก่ท่าน
[๓๗๔] จักเป็นหญิงมีรูปร่างน่าดู น่าชม น่ารักยิ่ง
น่าชอบใจ มีวาจาอ่อนหวาน มีฤทธิ์
เป็นธรรมทายาทของท่าน
[๓๗๕] อุบาสิกาผู้นี้ จักรักษากุศลธรรมทั้งหลาย
เหมือนพวกเจ้าของรักษาเครื่องสมุก
[๓๗๖] จะอนุเคราะห์ท่าน จักบำเพ็ญบารมีเพื่อท่าน
ละกิเลสได้ดังพญาราชสีห์ละกรงแล้ว จักบรรลุพระโพธิญาณ’
[๓๗๗] ในกัปที่หาประมาณมิได้นับจากกัปนี้ไป
พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ดำรัสใดกับหม่อมฉัน
หม่อมฉันเมื่ออนุโมทนาพระดำรัสนั้น เป็นผู้ทำอย่างนี้
[๓๗๘] หม่อมฉันทำจิตให้เลื่อมใสในกุศลกรรมที่ได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
ได้บังเกิดในกำเนิดเทวดาและมนุษย์มากมาย
[๓๗๙] ได้เสวยสุขและทุกข์ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เมื่อถึงภพสุดท้ายได้เกิดในศากยตระกูล
[๓๘๐] หม่อมฉันมีรูปสมบัติ มีโภคสมบัติ มียศ มีศีล
สมบูรณ์ด้วยองค์สมบัติทั้งปวง
แต่นั้นได้รับความยำเกรงจากเจ้านายในตระกูลทั้งหลาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๐๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๘. ยโสธราเถริยาปทาน
[๓๘๑] พรั่งพร้อมด้วยโลกธรรม คือ ลาภ สักการะ สรรเสริญ
มีจิตไม่ประกอบด้วยทุกข์ อยู่อย่างผู้ไม่มีภัยแต่ที่ไหน ๆ
[๓๘๒] สมจริงตามพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
‘ข้าแต่พระพระองค์ผู้แกล้วกล้า ในครั้งนั้น
พระองค์ทรงแสดงอุปการะของนารีทั้งหลาย
ไว้ภายในพระราชมณเฑียรและในขัตติยบุรีว่า
[๓๘๓] นารีผู้มีอุปการะ ๑ นารีผู้เป็นเพื่อนร่วมสุขร่วมทุกข์ ๑
นารีผู้แนะนำประโยชน์ให้ ๑ นารีผู้ทำความอนุเคราะห์ให้ ๑’
[๓๘๔] พระพุทธเจ้ามีจำนวนถึง ๕๐๐ โกฏิ และ ๙๐๐ โกฏิ
หม่อมฉันจัดถวายมหาทานแด่พระพุทธเจ้าเหล่านั้น
[๓๘๕] ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์จงสดับอธิการ
ของหม่อมฉันมีมากมาย
พระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นผู้นำชั้นเลิศของชาวโลก
มีจำนวนถึง ๑,๑๐๐ โกฏิ
[๓๘๖] หม่อมฉันจัดถวายมหาทานแด่พระพุทธเจ้าเหล่านั้น
ผู้เป็นเทพยิ่งกว่าเทพ ข้าแต่มหาราช
ขอพระองค์จงสดับ
อธิการของหม่อมฉันมีมากมาย
[๓๘๗] หม่อมฉันจัดถวายมหาทานแก่พระพุทธเจ้า ๒,๐๐๐ โกฏิ
และแก่พระพุทธเจ้า ๓,๐๐๐ โกฏิ ผู้เป็นเทพยิ่งกว่าเทพ
[๓๘๘] ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์ทรงสดับอธิการ
ของหม่อมฉันมีมากมาย
พระพุทธเจ้ามีจำนวนถึง ๔,๐๐๐ โกฏิ และ ๕,๐๐๐ โกฏิ
[๓๘๙] หม่อมฉันจัดถวายมหาทานแก่พระพุทธเจ้าเหล่านั้น
ผู้เป็นเทพยิ่งกว่าเทพ ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์จงสดับ
อธิการของหม่อมฉันมีมากมาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๘. ยโสธราเถริยาปทาน
[๓๙๐] พระพุทธเจ้ามีจำนวนถึง ๖,๐๐๐ โกฏิ และ ๗,๐๐๐ โกฏิ
หม่อมฉันจัดถวายมหาทานแด่พระพุทธเจ้าเหล่านั้น
ผู้เป็นเทพยิ่งกว่าเทพ
[๓๙๑] ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์จงสดับอธิการ
ของหม่อมฉันมีมากมาย
พระพุทธเจ้ามีจำนวนถึง ๘,๐๐๐ โกฏิ และ ๙,๐๐๐ โกฏิ
[๓๙๒] หม่อมฉันจัดถวายมหาทานแด่พระพุทธเจ้าเหล่านั้น
ผู้เป็นเทพยิ่งกว่าเทพ ข้าแต่มหาราช
ขอพระองค์จงสดับอธิการของหม่อมฉันมีมากมาย
[๓๙๓] พระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นผู้นำชั้นเลิศของชาวโลก
มีจำนวนถึง ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ
หม่อมฉันจัดถวายมหาทานแด่พระพุทธเจ้าเหล่านั้น
ผู้เป็นเทพยิ่งกว่าเทพ
[๓๙๔] ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์จงสดับอธิการ
ของหม่อมฉันมีมากมาย
พระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นผู้นำอื่น ๆ มีจำนวนถึง ๙,๐๐๐ โกฏิ
[๓๙๕] หม่อมฉันจัดถวายมหาทานแด่พระพุทธเจ้าเหล่านั้น
ผู้เป็นเทพยิ่งกว่าเทพ ข้าแต่มหาราช
ขอพระองค์จงสดับอธิการของหม่อมฉันมีมากมาย
[๓๙๖] พระพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่จำนวน ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ
๘๕ องค์ ๘,๕๐๐ โกฏิ ๓๐ โกฏิ
[๓๙๗] หม่อมฉันจัดถวายมหาทานแด่พระพุทธเจ้าเหล่านั้น
ผู้เป็นเทพยิ่งกว่าเทพ ข้าแต่มหาราช
ขอพระองค์จงสดับอธิการของหม่อมฉันมีมากมาย
[๓๙๘] หม่อมฉันจัดถวายมหาทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า
ผู้ปราศจากราคะจำนวน ๘๘ โกฏิ
ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์ทรงสดับอธิการของหม่อมฉันมีมากมาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๘. ยโสธราเถริยาปทาน
[๓๙๙] หม่อมฉันจัดถวายมหาทานแก่พระขีณาสพ
ผู้ปราศจากมลทิน ซึ่งเป็นพุทธสาวกมากมายนับไม่ถ้วน
ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์ทรงสดับอธิการหม่อมฉันมีมากมาย
[๔๐๐] หม่อมฉันจัดถวายมหาทานแด่พระพุทธเจ้า
พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้สั่งสมไว้ดีแล้วในธรรมทั้งหลาย
และแด่พระอริยสงฆ์ทั้งหลายผู้ประพฤติพระสัทธรรมทุกเมื่อ
ด้วยประการฉะนี้
บุคคลผู้ประพฤติธรรมย่อมอยู่เป็นสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
[๔๐๑] บุคคลควรประพฤติธรรมให้สุจริต
ไม่ควรประพฤติธรรมให้ทุจริต
เพราะบุคคลผู้ประพฤติธรรม
ย่อมอยู่เป็นสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
[๔๐๒] ข้าพระองค์เบื่อหน่ายในสังสารวัฏ
จึงออกบวชเป็นบรรพชิตพร้อมด้วยบริวาร ๑,๐๐๐
ครั้นบวชแล้วก็หมดกังวล๑
[๔๐๓] หม่อมฉันละการครองเรือนแล้วบวชเป็นบรรพชิต
ยังไม่ทันถึงกึ่งเดือน ก็ได้บรรลุสัจจะ ๔
[๔๐๔] ‘คนเป็นอันมากนำจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และปัจจัยเข้ามาถวายมากมายมิใช่น้อย
เหมือนคลื่นในมหาสมุทร
[๔๐๕] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว
หม่อมฉันตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ

เชิงอรรถ :
๑ กังวล หมายถึงกังวล ๓ คือ (๑) กังวลคือราคะ (๒) กังวลคือโทสะ (๓) กังวลคือโมหะ (ดูเทียบ ที.ปา.
(แปล) ๑๑/๓๐๕/๒๖๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๙. ทสสหัสสเถริยาปทาน
[๔๐๖] การที่หม่อมฉันมาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๔๐๗] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ หม่อมฉันก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
[๔๐๘] หม่อมฉันได้รับทุกข์หลายอย่าง และสุขสมบัติหลายอย่าง
ถึงความเป็นผู้บริสุทธิ์ ได้สมบัติทุกอย่างด้วยประการฉะนี้
[๔๐๙] บุคคลผู้ถวายตนของตนแด่พระพุทธเจ้า
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
เพื่อต้องการบุญก็ย่อมพรั่งพร้อมด้วยสหาย
บรรลุพระนิพพานซึ่งเป็นอสังขตะ
[๔๑๐] กรรมทั้งที่เป็นอดีต ปัจจุบันและอนาคตสิ้นไปแล้ว
กรรมทั้งปวงของหม่อมฉันสิ้นไปแล้ว
ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระจักษุ หม่อมฉันขอกราบไหว้พระยุคลบาท
ได้ทราบว่า พระยโสธราภิกษุณีได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ เฉพาะพระพักตร์พระผู้
มีพระภาค ด้วยประการฉะนี้
ยโสธราเถริยาปทานที่ ๘ จบ

๙. ทสสหัสสเถริยาปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระเถรี ๑๐,๐๐๐ รูป
(พระเถรี ๑๐,๐๐๐ รูป เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๔๑๑] ใน ๔ อสงไขย และอีก ๑๐๐,๐๐๐ กัป
พระชินเจ้าพระนามว่าทีปังกร
ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลกเสด็จอุบัติขึ้นแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๙. ทสสหัสสเถริยาปทาน
[๔๑๒] พระมหาวีรพุทธเจ้าพระนามว่าทีปังกรทรงเป็นผู้นำวิเศษ
ทรงพยากรณ์ว่า ‘สุเมธบัณฑิตกับนางสุมิตตา
มีสุขและทุกข์ร่วมกัน’
[๔๑๓] เมื่อเสด็จเที่ยวไปยังมนุษยโลก พร้อมทั้งเทวโลก
ทอดพระเนตรเห็นมนุษย์พร้อมทั้งเทวดา
ได้เสด็จเข้ามาสู่สมาคม
ในเมื่อเรากล่าวสรรเสริญสุเมธบัณฑิตและนางสุมิตตานั้นอยู่
[๔๑๔] สุเมธบัณฑิตจะเป็นสามีของหม่อมฉันทั้งปวง
ในการพบกันในอนาคตแห่งหม่อมฉันทั้งหลาย
หม่อมฉันผู้เป็นภรรยาทั้งหมดของท่าน เป็นคนน่ารัก พูดจาไพเราะ
[๔๑๕] ข้าแต่พระมหามุนี ทานมัย ศีลมัย
ภาวนามัยทั้งปวงหม่อมฉันทั้งหลายบำเพ็ญดีแล้ว
หม่อมฉันทั้งหลายเสียสละวัตถุทานทุกอย่างนี้ตลอดกาลนาน
[๔๑๖] คือ ของหอม ระเบียบดอกไม้ เครื่องลูบไล้
และประทีปที่สำเร็จด้วยรัตนะ ข้าแต่พระมหามุนี
สิ่งที่ปรารถนาทุกอย่าง หม่อมฉันทั้งหลายก็สละแล้ว
[๔๑๗] ข้าแต่พระมหามุนี กรรมอย่างอื่น
และวัตถุเครื่องบริโภคที่เป็นของมนุษย์
หม่อมฉันทั้งหลายทำไว้แล้วทุกอย่าง
หม่อมฉันทั้งหลายได้สละตลอดกาลนาน
[๔๑๘] เพราะบุญเป็นอันมาก หม่อมฉันทั้งหลายได้ความเป็นใหญ่
เวียนว่ายตายเกิดในภพน้อยภพใหญ่
ตลอดสงสารเป็นอเนกชาติได้กระทำไว้แล้ว
[๔๑๙] เมื่อถึงภพสุดท้าย หม่อมฉันทั้งหลายเกิดในตระกูลต่าง ๆ
ในนิเวศน์ของศากยบุตร มีวรรณะงดงามน่าใคร่ ดุจนางอัปสร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๐๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๙. ทสสหัสสเถริยาปทาน
[๔๒๐] หม่อมฉันทั้งหลายมีลาภอย่างเลิศ ได้รับยศแล้ว
ได้รับการบูชาสักการะจากชนทั้งปวง
ได้ข้าวและน้ำ ได้รับการยอมรับนับถือทุกเมื่อ
[๔๒๑] หม่อมฉันทั้งหลายละการครองเรือนบวชเป็นบรรพชิต
ยังไม่ทันถึงกึ่งเดือนก็ได้บรรลุความดับทุกข์ทั้งหมด
[๔๒๒] หม่อมฉันทั้งหลายได้ข้าว น้ำ ได้รับสักการะบูชาด้วยผ้า
เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
ที่เหล่าชนนำเข้ามาถวาย
[๔๒๓] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันทั้งหลายก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงหม่อมฉันทั้งหลายก็ถอนได้แล้ว
หม่อมฉันทั้งหลายตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๔๒๔] การที่หม่อมฉันมาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ หม่อมฉันทั้งหลายได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันทั้งหลายก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๔๒๕] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ หม่อมฉันทั้งหลายก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันทั้งหลายก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
ดังนี้แล
ทราบว่า ภิกษุณี ๑๐,๐๐๐ รูปมีพระยโสธราเถรีเป็นประธานได้ภาษิตคาถา
เหล่านี้ เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาค ด้วยประการฉะนี้
ทสสหัสสเถริยาปทานที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๑๐. อัฏฐารสเถรีสหัสสานมปทาน
๑๐. อัฏฐารสเถรีสหัสสานมปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระเถรี ๑๘,๐๐๐ รูป
(พระเถรี ๑๘,๐๐๐ รูป เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๔๒๖] ภิกษุณีที่สมภพในศากยตระกูล ๑๘,๐๐๐ รูป
มีพระยโสธราเถรีเป็นประธาน
เข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
[๔๒๗] ภิกษุณีทั้ง ๑๘,๐๐๐ รูป ล้วนเป็นผู้มีฤทธิ์มาก
กราบพระยุคลบาทของพระมุนีแล้ว
ได้กราบทูลตามกำลังว่า
[๔๒๘] ‘ข้าแต่พระมหามุนี ผู้ทรงเป็นผู้นำ
หม่อมฉันทั้งหลายมีชาติ ชรา พยาธิ และมรณะสิ้นแล้ว
ถึงอมตบทที่สงบ ไม่มีอาสวะ
[๔๒๙] ข้าแต่พระมหามุนีผู้ทรงเป็นผู้นำวิเศษ
ในกาลก่อนความพลั้งพลาดของหม่อมฉันแม้ทั้งหมดก็มีอยู่
ชนทั้งหลายย่อมรู้ว่าเป็นความผิด
ขอพระองค์โปรดยกโทษแก่หม่อมฉันทั้งหลายด้วยเถิด’
[๔๓๐] (พระบรมศาสดาตรัสว่า) ‘เธอทั้งหลาย
ผู้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของเรา
จงแสดงฤทธิ์และตัดความสงสัยของบริษัททั้งมวลเท่าที่มีอยู่เถิด’
[๔๓๑] ข้าแต่พระมหาวีระ
พระยโสธราเถรีเป็นหญิงที่น่าพอพระทัยน่ารักน่าชม
ข้าแต่พระมหาวีระ หม่อมฉันทั้งปวงเป็นปชาบดีของพระองค์
เมื่อสมัยที่ยังครองฆราวาสวิสัย
[๔๓๒] ข้าแต่พระมหาวีระ บรรดาหญิงจำนวน ๑๙๖,๐๐๐ นาง
หม่อมฉันทั้งหลายเป็นประธาน เป็นใหญ่กว่าหญิงทั้งปวง
ในพระราชนิเวศน์ของพระองค์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๑๐. อัฏฐารสเถรีสหัสสานมปทาน
[๔๓๓] สตรีทั้งหมดประกอบด้วยรูปสมบัติและอาจารสมบัติ
ดำรงอยู่ในวัยสาว พูดจาไพเราะ
ยำเกรงต่อหม่อมฉันทั้งหลาย
เหมือนพวกมนุษย์ยำเกรงเทวดา
[๔๓๔] ในกาลนั้น หม่อมฉันจำนวน ๑๘,๐๐๐ นาง
ทั้งหมด เป็นผู้สมภพในศากยตระกูล
พระยโสธราเถรีและหม่อมฉัน ๑,๐๐๐ นาง เป็นประธาน เป็นใหญ่
[๔๓๕] ข้าแต่พระมหามุนี บรรดาหม่อมฉัน ๑,๐๐๐ นาง
หม่อมฉันทั้งหลายผู้ก้าวล่วงกามธาตุ
ดำรงอยู่ในรูปธาตุ มีรูป(มีฤทธิ์)ไม่เหมือนกัน๑
[๔๓๖] พระเถรีเหล่านั้น ถวายอภิวาทพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว
แสดงฤทธิ์ถวายพระศาสดา
แสดงฤทธิ์มากมายหลายอย่างต่าง ๆ กัน
[๔๓๗] คือแสดงกายเท่าภูเขาจักรวาล ศีรษะเท่าอุตตรกุรุทวีป
ทวีปทั้ง ๒ ให้เป็นปีกทั้ง ๒ ข้าง
ชมพูทวีปให้เป็นลำตัว
[๔๓๘] แสดงมหาสมุทรด้านทิศใต้ให้เป็นกำหาง
กิ่งไม้ต่าง ๆ ให้เป็นขนปีก
ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ให้เป็นนัยน์ตา
ภูเขาพระสุเมรุให้เป็นหงอน
[๔๓๙] แสดงภูเขาจักรวาลให้เป็นจะงอยปาก
นำต้นหว้าพร้อมทั้งราก
เข้ามาใกล้แล้วไหว้และพัดวีพระผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ที.ปา. (แปล) ๑๑/๓๐๕/๒๖๒, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๑๐๐๗-๑๐๑๖/๕๐๑-๕๑๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๑๐. อัฏฐารสเถรีสหัสสานมปทาน
[๔๔๐] แสดงเป็นช้าง ม้า ภูเขา ทะเล ดวงจันทร์
ดวงอาทิตย์ ภูเขาพระสุเมรุและเป็นท้าวสักกจอมเทพ
[๔๔๑] กราบทูลว่า ‘ข้าแต่พระวีรเจ้า
ผู้มีพระจักษุ ทรงเป็นผู้นำของนรชน
หม่อมฉันทั้งหลายผู้ทรงไว้ซึ่งยศ
ซึ่งสำเร็จแล้วด้วยกุศลธรรมที่อบรมมานานเพื่อพระองค์
ขอกราบพระยุคลบาท
[๔๔๒] ข้าแต่พระมหามุนี หม่อมฉันทั้งหลาย
เป็นผู้มีความชำนาญในฤทธิ์
ในทิพพโสตธาตุ และมีความชำนาญในเจโตปริยญาณ
[๔๔๓] รู้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
ทิพยจักษุหม่อมฉันทั้งหลายก็ชำระให้หมดจดแล้ว
อาสวะทั้งปวงก็สิ้นไปแล้ว
บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก
[๔๔๔] ข้าแต่พระมหาวีระ อัตถปฏิสัมภิทาญาณ
ธัมมปฏิสัมภิทาญาณ นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ
และปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ ของหม่อมฉันทั้งหลาย
เกิดขึ้นแล้วในสำนักของพระองค์
[๔๔๕] การพบพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ผู้ทรงเป็นที่พึ่งของโลก พระองค์ก็ได้แสดงแล้วแก่หม่อมฉันทั้งหลาย
ข้าแต่พระมหามุนี อธิการจำนวนมากของหม่อมฉันทั้งหลาย
ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่พระองค์
[๔๔๖] ข้าแต่พระมหาวีระ ผู้เป็นพระมุนี
ขอพระองค์พึงหวนระลึกถึงกุศลกรรมเก่า
ของหม่อมฉันทั้งหลายเถิด
หม่อมฉันทั้งหลายสั่งสมบุญไว้ก็เพื่อประโยชน์แก่พระองค์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๑๐. อัฏฐารสเถรีสหัสสานมปทาน
[๔๔๗] ข้าแต่พระมหาวีระ หม่อมฉันทั้งหลาย
งดเว้นอนาจารในสถานที่ไม่สมควร
แม้ชีวิตก็ยอมสละแล้วเพื่อประโยชน์แก่พระองค์
[๔๔๘] ข้าแต่พระมหามุนี พระองค์ประทานหม่อมฉันทั้งหลาย
เพื่อต้องการให้เป็นภรรยาของผู้อื่นหลายพันโกฏิกัป
ก็เพื่อประโยชน์แก่พระองค์
หม่อมฉันทั้งหลายไม่เคยเสียใจในเรื่องนั้นเลย
[๔๔๙] ข้าแต่พระมหามุนี พระองค์ประทานหม่อมฉันทั้งหลาย
เพื่ออุดหนุนผู้อื่นหลายพันโกฏิกัป
ก็เพื่อประโยชน์แก่พระองค์
หม่อมฉันทั้งหลายไม่เคยเสียใจในเรื่องนั้นเลย
[๔๕๐] ข้าแต่พระมหามุนี พระองค์ประทานหม่อมฉันทั้งหลาย
เพื่อประโยชน์เป็นอาหารหลายพันโกฏิกัป
เพื่อประโยชน์แก่พระองค์
หม่อมฉันทั้งหลายไม่เคยเสียใจในเรื่องนั้นเลย
[๔๕๑] หม่อมฉันทั้งหลายยอมสละชีวิตหลายพันโกฏิกัป
ด้วยคิดว่าจักทำความพ้นภัย จึงยอมสละชีวิต
[๔๕๒] ข้าแต่พระมหามุนี
หม่อมฉันทั้งหลายไม่เคยหวงเครื่องประดับ
ผ้านานาชนิดที่ติดตัวอยู่ และภัณฑะของหญิง
เพื่อประโยชน์แก่พระองค์
[๔๕๓] ข้าแต่พระมหามุนี ทรัพย์ ข้าวเปลือก
ปัจจัยเครื่องบริจาค บ้าน นิคม ไร่ นา
บุตร ธิดา หม่อมฉันทั้งหลายก็บริจาคแล้ว
[๔๕๔] ช้าง ม้า โค ทาสี นางบำเรอ มากมายนับไม่ถ้วน
หม่อมฉันทั้งหลายก็บริจาคแล้ว เพื่อประโยชน์แก่พระองค์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๑๐. อัฏฐารสเถรีสหัสสานมปทาน
[๔๕๕] พระองค์ทรงปรึกษาหม่อมฉันทั้งหลายว่า
‘เราทั้งหลายจะให้ทานแก่พวกยาจก’
เมื่อพระองค์ให้ทานที่ประเสริฐอยู่
หม่อมฉันทั้งหลายก็ไม่เคยเสียใจ
[๔๕๖] ข้าแต่พระมหาวีระ หม่อมฉันทั้งหลาย
ยอมรับทุกข์ทรมานมากมายหลายอย่างจนนับไม่ถ้วน
ในสงสารเป็นอเนก ก็เพื่อประโยชน์แก่พระองค์
[๔๕๗] ข้าแต่พระมหามุนี หม่อมฉันทั้งหลายได้รับความสุข
ย่อมอนุโมทนา และคราวที่ได้รับทุกข์ก็ไม่เสียใจ
เป็นผู้ยินดีแล้วทุกอย่าง เพื่อประโยชน์แก่พระองค์
[๔๕๘] ข้าแต่พระมหามุนี พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญธรรม
โดยมรรคที่สมควร เสวยสุขและทุกข์แล้ว
ได้บรรลุซึ่งพระโพธิญาณ
[๔๕๙] การที่พระองค์และหม่อมฉันทั้งหลายพบพระสัมพุทธเจ้า
ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลกพระนามว่าพรหมเทพ
และพระนามว่าโคดมแล้วพบพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้ทรงเป็นที่พึ่งสัตว์โลกเหล่าอื่นอีกก็มาก
[๔๖๐] ข้าแต่พระมหามุนี อธิการของหม่อมฉันทั้งหลายมีมาก
เพื่อประโยชน์แก่พระองค์
เมื่อพระองค์ทรงแสวงหาพุทธธรรมอยู่
หม่อมฉันทั้งหลายก็ได้เป็นบาทบริจาริกาของพระองค์
[๔๖๑] ใน ๔ อสงไขย ๑๐๐,๐๐๐ กัป
พระมหาวีระพระนามว่าทีปังกร
ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๑๐. อัฏฐารสเถรีสหัสสานมปทาน
[๔๖๒] ประชาชนในปัจจันตประเทศต่างมีใจยินดี
ทูลนิมนต์พระตถาคตแล้ว
ช่วยกันแผ้วถางทางซึ่งเป็นที่เสด็จพุทธดำเนิน
[๔๖๓] ครั้งนั้น พระองค์เกิดเป็นพราหมณ์นามว่าสุเมธะ
กำลังตกแต่งหนทางเพื่อพระสุคต
ผู้ทรงเห็นธรรมทั้งปวงกำลังเสด็จมา
[๔๖๔] ครั้งนั้น หม่อมฉันทั้งหลายทั้งหมด
ได้เกิดในตระกูลพราหมณ์
ถือดอกไม้ที่เกิดจากข้อไปสู่สมาคม
[๔๖๕] สมัยนั้น พระพุทธเจ้าพระนามว่าทีปังกร
ผู้มีบริวารยศมาก เป็นพระมหาวีระ
ทรงพยากรณ์สุเมธดาบสผู้มีใจสูง
[๔๖๖] พระพุทธเจ้าพระนามว่าทีปังกรกำลังทรงประกาศกรรม
ของสุเมธดาบส ยกย่องฤาษีผู้มีใจสูงอยู่
แผ่นดินก็ไหวสะเทือนเลื่อนลั่นไปในโลกพร้อมทั้งเทวโลก
[๔๖๗] เทพกัญญา มนุษย์ และหม่อมฉันทั้งหลาย
พร้อมทั้งเทวดา พากันใช้สิ่งของที่ควรบูชาต่าง ๆ
บูชาแล้วปรารถนา
[๔๖๘] พระพุทธเจ้าผู้มีพระนามว่าทีปังกร
ทรงพยากรณ์เขาเหล่านั้นว่า
‘ในวันนี้ ชนเหล่าใดมีความปรารถนา
ชนเหล่านั้นจักสำเร็จพร้อมหน้ากัน
[๔๖๙] ในกัปซึ่งหาประมาณมิได้นับจากกัปนี้ไป
พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์พระดำรัสใดแก่หม่อมฉันทั้งหลาย
หม่อมฉันทั้งหลายเมื่ออนุโมทนาพระดำรัสนั้น
จึงเป็นผู้ทำอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๑๐. อัฏฐารสเถรีสหัสสานมปทาน
[๔๗๐] หญิงทั้งหลายทำจิตให้เลื่อมใสในกรรมที่ได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
จึงได้บังเกิดในกำเนิดเทวดาและมนุษย์นับชาติไม่ถ้วน
[๔๗๑] ครั้นเสวยสุขและทุกข์ในเทวดาและมนุษย์แล้ว
เมื่อถึงภพสุดท้าย จึงมาเกิดในศากยตระกูล
[๔๗๒] มีรูปสมบัติ โภคสมบัติ ยศ และศีล
สมบูรณ์ด้วยองค์สมบัติทั้งปวง
ได้รับสักการะอย่างยิ่งในตระกูลทั้งหลาย
[๔๗๓] พรั่งพร้อมไปด้วยโลกธรรม คือ ลาภ สรรเสริญ สักการะ
มีจิตไม่ประกอบด้วยทุกข์ อยู่อย่างผู้ไม่มีภัยแต่ที่ไหน ๆ
[๔๗๔] สมจริงตามพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
‘ในครั้งนั้น พระองค์ทรงแสดงอุปการะของนารีทั้งหลาย
ไว้ภายในพระราชมณเฑียรและในขัตติยบุรีว่า
[๔๗๕] นารีผู้มีอุปการะ ๑ นารีผู้เป็นเพื่อนร่วมสุขร่วมทุกข์ ๑
นารีผู้แนะนำประโยชน์ให้ ๑ นารีผู้ทำความอนุเคราะห์ให้ ๑
[๔๗๖] บุคคลควรประพฤติธรรมให้สุจริต
ไม่ควรประพฤติธรรมให้ทุจริต
เพราะบุคคลผู้ประพฤติธรรม
ย่อมอยู่เป็นสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า’
[๔๗๗] หม่อมฉันทั้งหลายละการครองเรือนแล้วบวชเป็นบรรพชิต
ยังไม่ทันถึงกึ่งเดือนก็ได้บรรลุสัจจะ ๔
[๔๗๘] คนเป็นอันมากนำจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และปัจจัยมากมาย เข้ามาถวายหม่อมฉันทั้งหลาย
เหมือนคลื่นในมหาสมุทร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] ๑๐. อัฏฐารสเถรีสหัสสานมปทาน
[๔๗๙] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันทั้งหลายก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงหม่อมฉันทั้งหลายก็ถอนได้แล้ว
หม่อมฉันทั้งหลายตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๔๘๐] การที่หม่อมฉันทั้งหลายมาในสำนัก
ของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ หม่อมฉันทั้งหลายได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันทั้งหลายก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๔๘๑] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ หม่อมฉันทั้งหลายก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันทั้งหลายก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๔๘๒] หม่อมฉันทั้งหลายได้รับทุกข์หลายอย่าง
และสุขสมบัติหลายอย่าง
ถึงความเป็นผู้บริสุทธิ์
ได้สมบัติทุกอย่าง ด้วยประการฉะนี้
[๔๘๓] บุคคลผู้ถวายตนของตนแด่พระพุทธเจ้า
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
เพื่อต้องการบุญก็ย่อมพรั่งพร้อมด้วยสหาย
บรรลุพระนิพพานซึ่งเป็นอสังขตะ
[๔๘๔] กรรมทั้งที่เป็นอดีต ปัจจุบันและอนาคตสิ้นไปแล้ว
กรรมทั้งปวงของหม่อมฉันทั้งหลายสิ้นแล้ว
ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระจักษุ
หม่อมฉันทั้งหลายขอกราบไหว้พระยุคลบาท

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓. กุณฑลเกสีวรรค] รวมอปทานที่มีในวรรค
[๔๘๕] พระพุทธเจ้าตรัสว่า ‘เมื่อเธอทั้งหลายบอกลาเพื่อจะนิพพาน
เราจะกล่าวอะไรให้มากเล่า
บุคคลที่เป็นทาสที่นับว่าสัตว์ก็บรรลุถึงอมตบทแล้ว’
ได้ทราบว่า ภิกษุณี ๑๘,๐๐๐ รูปมีพระยโสธราเถรีเป็นประธาน ได้ภาษิตคาถา
เหล่านี้ เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาค ด้วยประการฉะนี้
อัฏฐารสเถรีสหัสสานมปทานที่ ๑๐ จบ
กุณฑลเกสีวรรคที่ ๓ จบบริบูรณ์

รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. กุณฑลเกสีเถริยาปทาน ๒. กีสาโคตมีเถริยาปทาน
๓. ธัมมทินนาเถริยาปทาน ๔. สกุลาเถริยาปทาน
๕. นันทาเถริยาปทาน ๖. โสณาเถริยาปทาน
๗. ภัททกาปิลานีเถริยาปทาน ๘. ยโสธราเถริยาปทาน
๙. ทสสหัสสเถริยาปทาน ๑๐. อัฏฐารสเถรีสหัสสานมปทาน

ในวรรคนี้ บัณฑิตนับจำนวนคาถาได้ ๔๗๘ คาถา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔. ขัตติยกัญญาวรรค] ๑. อัฏฐารสสหัสสขัตติยกัญญาเถรีนมปทาน
๔. ขัตติยกัญญาวรรค
หมวดว่าด้วยพระเถรีผู้เคยเป็นขัตติยกัญญาเป็นต้น
๑. อัฏฐารสสหัสสขัตติยกัญญาเถรีนมปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระเถรี
ผู้เคยเป็นพระขัตติยกัญญา ๑๘,๐๐๐ รูป
(พระเถรีผู้เคยเป็นขัตติยกัญญา ๑๘,๐๐๐ รูป เมื่อจะประกาศประวัติในอดีต
ชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑] ข้าแต่พระมหามุนี หม่อมฉันทั้งหลายมีภพทั้งปวงสิ้นแล้ว
ปลดเปลื้องที่ต่อแห่งภพแล้ว
ไม่มีอาสวะทั้งปวงเลยขอกราบทูลว่า
[๒] ‘ข้าแต่พระมหามุนี บริกรรมที่เป็นกุศล
ความดีอย่างใดอย่างหนึ่งที่ตนปรารถนาไว้
และวัตถุที่เป็นเครื่องบริโภคหม่อมฉันทั้งหลายถวายแล้ว
เพื่อประโยชน์แก่พระองค์
[๓] ข้าแต่พระมหามุนี ความดีที่ปรารถนาแล้ว
และวัตถุที่เป็นเครื่องบริโภคหม่อมฉันทั้งหลายถวายแล้วแด่พระพุทธเจ้า
พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระสาวกทั้งหลาย
ก็เพื่อประโยชน์แก่พระองค์
[๔] ข้าแต่พระมหามุนี กรรมที่สูงและต่ำหม่อมฉันทั้งหลายก็กระทำแล้ว
ความดีหม่อมฉันทั้งหลายก็ปรารถนาแล้ว
การบริกรรมในตระกูลสูงหม่อมฉันทั้งหลาย
ทำไว้แล้วเพื่อภิกษุทั้งหลาย’
[๕] หญิงเหล่านั้นถูกกุศลมูลนั้นนั่นแหละตักเตือนแล้ว
เป็นผู้พรั่งพร้อมไปด้วยกุศลกรรม
ล่วงสมบัติของมนุษย์แล้ว มาเกิดในตระกูลกษัตริย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔. ขัตติยกัญญาวรรค] ๑. อัฏฐารสสหัสสขัตติยกัญญาเถรีนมปทาน
[๖] เมื่อกรรมที่หม่อมฉันทั้งหลายได้ร่วมกันสั่งสมสร้างไว้ในชาติเดียวกัน
ในภพสุดท้าย หม่อมฉันทั้งหลายสมภพในตระกูลกษัตริย์เกิดร่วมกัน
[๗] ข้าแต่พระมหาวีระ หม่อมฉันทั้งหลายเป็นผู้มีรูปสมบัติ
มีโภคสมบัติ มีลาภสักการะ
อันมหาชนในภายในบุรีบูชาแล้ว
เหมือนนันทนวันอุทยานแห่งหมู่เทพอันมหาชนบูชาแล้ว
[๘] หม่อมฉันทั้งหลายพากันเบื่อหน่ายออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิตสิ้นไป ๒-๓ วัน
ก็บรรลุถึงความดับทุกข์ทั้งหมดด้วยกัน
[๙] คนเป็นอันมากนำจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารมากมาย
มาสักการบูชาหม่อมฉันทั้งหลายตลอดเวลา
[๑๐] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันทั้งหลายก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงหม่อมฉันทั้งหลายก็ถอนได้แล้ว
หม่อมฉันทั้งหลายตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๑] การที่หม่อมฉันทั้งหลายมาในสำนัก
ของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ หม่อมฉันทั้งหลายได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันทั้งหลายก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๒] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ หม่อมฉันทั้งหลายก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันทั้งหลายก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
ดังนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔. ขัตติยกัญญาวรรค] ๒. จตุราสีติสหัสสพราหมณกัญญาเถรีนมปทาน
ได้ทราบว่า ภิกษุณีที่เคยเป็นขัตติยกัญญา ๑๘,๐๐๐ มีพระยสวดีเถรีเป็น
ประธาน ได้ภาษิตคาถาเหล่านี้เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาค ด้วยประการฉะนี้
อัฏฐารสสหัสสขัตติยกัญญาเถริยาปทานที่ ๑ จบ

๒. จตุราสีติสหัสสพราหมณกัญญาเถรีนมปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระเถรีพราหมณกัญญา ๘๔,๐๐๐ รูป
(พระเถรีพราหมณกัญญา ๘๔,๐๐๐ รูป เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของ
ตน จึงกล่าว่า)
[๑๓] ข้าแต่พระมหามุนี หม่อมฉัน ๘๔,๐๐๐ นาง
ได้เกิดในตระกูลพราหมณ์
มีมือและเท้าละเอียดอ่อน เกิดในนคร(ศาสนา)ของพระองค์
[๑๔] เกิดในตระกูลแพศย์และตระกูลศูทร
ข้าแต่พระมหามุนี เหล่าเทพ นาค กินนร
และกัญญาจำนวนมากอยู่ในทวีปทั้ง ๔
เกิดในนคร(ศาสนา)ของพระองค์
[๑๕] หญิงบางพวกบวชแล้ว ได้เห็นธรรมทั้งปวงก็มีมาก
เหล่าเทพ กินนร นาค ก็จักตรัสรู้ในอนาคตกาล
[๑๖] ชนทั้งหลายได้เสวยเกียรติยศทั้งปวง ได้สมบัติทั้งปวง
ได้ความเลื่อมใสในพระองค์ ก็จักตรัสรู้ในอนาคต
[๑๗] ข้าแต่พระมหาวีระ ผู้มีพระจักษุ
ส่วนหม่อมฉันทั้งหลายเกิดในตระกูลพราหมณ์
เป็นธิดาของพราหมณ์ เป็นผู้มีลักษณะดี
ขอกราบพระยุคลบาท
[๑๘] ภพทั้งปวงหม่อมฉันทั้งหลายก็ขจัดได้แล้ว
ตัณหาที่เป็นรากเหง้า(แห่งอกุศล) หม่อมฉันทั้งหลายก็ถอนได้แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔. ขัตติยกัญญาวรรค] ๒. จตุราสีติสหัสสพราหมณกัญญาเถรีนมปทาน
อนุสัย๑หม่อมฉันทั้งหลายก็ตัดได้แล้ว
ปุญญาภิสังขาร หม่อมฉันทั้งหลายก็ทำลายได้แล้ว
[๑๙] หม่อมฉันทั้งปวงมีสมาธิเป็นอารมณ์
ชำนาญในสมาบัติเช่นกัน จักอยู่ด้วยฌาน
และความยินดีในธรรมทุกเมื่อ
[๒๐] ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเป็นผู้นำ
หม่อมฉันทั้งหลายได้ทำตัณหาที่นำไปสู่ภพ
อวิชชา และแม้สังขารให้สิ้นไปแล้ว
ตามไปรู้แจ้งซึ่งบทที่รู้ได้แสนยาก
[๒๑] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) ‘เธอทั้งหลายมีอุปการะแก่เรา
ผู้เดินทางไกลมาตลอดกาลนาน
จงตัดความสงสัยของบริษัท ๔ แล้วทั้งหมดจงนิพพานเถิด’
[๒๒] พระเถรีเหล่านั้น กราบพระยุคลบาทของพระมุนีแล้ว
แสดงฤทธิ์ต่าง ๆ บางพวกแสดงแสงสว่าง
บางพวกแสดงความมืด บางพวกแสดงอย่างอื่น
[๒๓] บางพวกแสดงดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์
และทะเลพร้อมด้วยปลา บางพวกแสดงภูเขาสิเนรุ
ภูเขาสัตตบริภัณฑ์และต้นปาริฉัตตกะ
[๒๔] บางพวกแสดงภพดาวดึงส์
ยามาเทวโลกด้วยฤทธิ์
บางพวกเนรมิตตนเป็นเทวดาชั้นดุสิต
เป็นเทวดาชั้นนิมมานรดี
เป็นเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดีผู้เป็นใหญ่ยิ่ง

เชิงอรรถ :
๑ อนุสัย ในที่นี้หมายถึงปุญญาภิสังขาร ได้แก่ สภาพที่ปรุงแต่งคือบุญ (ดูเทียบ ที.ปา. (แปล)
๑๑/๓๐๕/๒๖๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔. ขัตติยกัญญาวรรค] ๒. จตุราสีติสหัสสพราหมณกัญญาเถรีนมปทาน
[๒๕] บางพวกแสดงตนเป็นพรหม
บางพวกเนรมิตที่จงกรมมีค่ามาก
และเพศพระพรหม แสดงสุญญตธรรม๑อยู่
[๒๖] พระเถรีทั้งปวง ครั้นแสดงอิทธิฤทธิ์มีประการต่าง ๆ
แล้วก็แสดงพลังถวายพระศาสดา
ได้กราบพระยุคลบาทของพระศาสดา พลางกราบทูลว่า
[๒๗] ‘ข้าแต่พระมหามุนี หม่อมฉันทั้งหลาย
เป็นผู้มีความชำนาญในฤทธิ์
ในทิพพโสตธาตุ และมีความชำนาญในเจโตปริยญาณ
[๒๘] รู้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
ทิพยจักษุหม่อมฉันทั้งหลายก็ชำระให้หมดจดแล้ว
อาสวะทั้งปวงก็สิ้นไปแล้ว
บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก
[๒๙] ข้าแต่พระมหาวีระ อัตถปฏิสัมภิทาญาณ
ธัมมปฏิสัมภิทาญาณ นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ
และปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณของหม่อมฉันทั้งหลาย
เกิดขึ้นแล้วในสำนักของพระองค์
[๓๐] ความพร้อมเพรียงแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ผู้ทรงเป็นที่พึ่งของสัตว์โลก
พระองค์ทรงแสดงแล้ว
ข้าแต่พระมหามุนี อธิการเป็นอันมากของหม่อมฉันทั้งหลาย
เพื่อประโยชน์แก่พระองค์
[๓๑] ข้าแต่พระมหาวีระผู้เป็นพระมุนี
ขอพระองค์ทรงหวนระลึกถึงกุศลกรรมเก่าของหม่อมฉันทั้งหลายเถิด
หม่อมฉันทั้งหลายสั่งสมบุญไว้ก็เพื่อประโยชน์แก่พระองค์

เชิงอรรถ :
๑ สุญญตธรรม ในที่นี้หมายถึงฌาน (อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๓๒๓/๒๑๔,๓๘๕,๒๔๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔. ขัตติยกัญญาวรรค] ๒. จตุราสีติสหัสสพราหมณกัญญาเถรีนมปทาน
[๓๒] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
มีกรุงชื่อว่าหงสวดี เป็นที่อยู่อาศัยแห่งตระกูล
ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นพระมหามุนีพระนามว่าปทุมุตตระ
[๓๓] มีแม่น้ำคงคาไหลผ่านที่หน้าประตูกรุงหงสวดีอยู่ตลอดเวลา
ภิกษุทั้งหลายเดือดร้อนไปไม่ได้เพราะแม่น้ำ
[๓๔] น้ำเต็มตลิ่งอยู่ ๑ วันบ้าง ๒ วันบ้าง ๓ วันบ้าง
๑ สัปดาห์บ้าง ๑ เดือนบ้าง ๔ เดือนบ้าง
ภิกษุเหล่านั้นจึงไปไม่ได้
[๓๕] ครั้งนั้น ชาวแว่นแคว้นผู้หนึ่งมีนามว่าชัชชิยะ
มีทรัพย์เป็นสาระเพื่อประโยชน์แก่ตน เห็นภิกษุทั้งหลาย
จึงได้สั่งให้นายช่างจัดสร้างสะพานข้ามแม่น้ำขึ้นที่ฝั่งด้านหน้าเมือง
[๓๖] ครั้งนั้น เขาได้สร้างสะพานข้ามแม่น้ำคงคา
ด้วยทรัพย์หลายแสน
และได้ให้สร้างวิหารถวายสงฆ์ที่ฝั่งด้านตรงกันข้าม
[๓๗] ทั้งสตรี บุรุษ ตระกูลสูง และตระกูลต่ำเหล่านั้น
ได้ร่วมกันสร้างสะพานและวิหารเท่า ๆ กันกับนายชัชชิยะนั้น
[๓๘] หม่อมฉันทั้งหลายและหมู่มนุษย์เหล่าอื่น
ในนครและในชนบทล้วนมีจิตเลื่อมใส
เป็นธรรมทายาทของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
[๓๙] ทั้งสตรี บุรุษ เด็กชาย และเด็กหญิงจำนวนมากด้วยกัน
ต่างก็ช่วยกันเกลี่ยทรายลงที่สะพานและที่วิหาร
[๔๐] กวาดถนน แล้วตั้งต้นกล้วย
หม้อน้ำซึ่งมีน้ำเต็มเปี่ยมและปักธงขึ้น
จัดธูป จุรณและดอกไม้สักการะพระศาสดา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔. ขัตติยกัญญาวรรค] ๒. จตุราสีติสหัสสพราหมณกัญญาเถรีนมปทาน
[๔๑] หม่อมฉันทั้งหลายครั้นสร้างสะพานและวิหารเสร็จแล้ว
ได้ทูลนิมนต์พระผู้ทรงเป็นผู้นำวิเศษ
ถวายมหาทาน แล้วปรารถนาสัมโพธิญาณ
[๔๒] ข้าแต่พระมหามุนี พระมหาวีระพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้ทรงเป็นที่เคารพของสรรพสัตว์
ทรงทำอนุโมทนาแล้ว ตรัสพยากรณ์ว่า
[๔๓] ‘เมื่อ ๑๐๐,๐๐๐ กัปล่วงไปแล้ว จักมีภัทรกัป
บุรุษนี้ได้ความสุขในภพน้อยภพใหญ่แล้ว จักบรรลุพระโพธิญาณ
[๔๔] บุรุษและสตรีที่ช่วยกันทำหัตถกรรมทั้งหมด
จักมีพร้อมหน้ากันในอนาคตกาล’
[๔๕] ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
ชนเหล่านั้นเกิดในเทวโลกแล้ว จักเป็นคนรับใช้พระองค์
[๔๖] เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพน้อยภพใหญ่ เสวยสุขเป็นทิพย์
และเป็นของมนุษย์นับไม่ถ้วน ตลอดกาลนาน
[๔๗] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ (นับจากกัปนี้ไป)
กรรมสมบัติหม่อมฉันทั้งหลายก็ทำไว้ดีแล้ว
ในหมู่มนุษย์สุขุมาลชาติ และในเทวโลกที่ประเสริฐ
[๔๘] หม่อมฉันทั้งหลายย่อมได้รูปสมบัติ
โภคสมบัติ ยศ ความสรรเสริญ
และความสุขอันเป็นที่รัก ทั้งหมดเป็นกรรมสมบัติ
ที่หม่อมฉันทั้งหลายกระทำไว้ดีแล้ว อย่างต่อเนื่อง
[๔๙] เมื่อถึงภพสุดท้าย
หม่อมฉันทั้งหลายเกิดในตระกูลพราหมณ์
ในนิเวศน์ของเจ้าศากยบุตร เป็นผู้มีมือและเท้าละเอียดอ่อน
[๕๐] ข้าแต่พระมหามุนี หม่อมฉันทั้งหลาย
ไม่เห็นแผ่นดินที่เขายังไม่ตกแต่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔. ขัตติยกัญญาวรรค] ๒. จตุราสีติสหัสสพราหมณกัญญาเถรีนมปทาน
และไม่เห็นภาคพื้นที่เป็นทางเดินลื่น ๆ
แม้ตลอดกาลทั้งปวง
[๕๑] เมื่อหม่อมฉันยังครองเรือนอยู่
ชนทั้งหลายก็นำสักการะทุกอย่างที่เกิดขึ้นทุกฤดูกาลมาให้ทุกเมื่อ
เพราะผลแห่งบุพกรรมของหม่อมฉันทั้งหลาย
[๕๒] หม่อมฉันทั้งหลายละการครองเรือนแล้ว
บวชเป็นบรรพชิต ข้ามทางสังสารวัฏได้แล้ว
บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก
[๕๓] ทายกทายิกาหลายพันจากที่นั้น ๆ นำจีวร
บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
มาถวายหม่อมฉันทั้งหลายตลอดเวลา
[๕๔] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันทั้งหลายก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงหม่อมฉันทั้งหลายก็ถอนได้แล้ว
หม่อมฉันทั้งหลายตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๕๕] การที่หม่อมฉันทั้งหลายมาในสำนัก
ของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ หม่อมฉันทั้งหลายได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันทั้งหลายก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๕๖] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ หม่อมฉันทั้งหลายก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันทั้งหลายก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ภิกษุณีบุตรีพราหมณ์ ๘๔,๐๐๐ รูปได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ เฉพาะ
พระพักตร์พระผู้มีพระภาค ด้วยประการฉะนี้
จตุราสีติสหัสสพราหมณกัญญาเถรีนมปทานที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔. ขัตติยกัญญาวรรค] ๓. อุปปลทายิกาเถริยาปทาน
๓. อุปปลทายิกาเถริยาปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอุปปลทายิกาเถรี
(พระอุปปลทายิกาเถรี เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๕๗] ในกรุงอรุณวดี มีกษัตริย์พระองค์หนึ่งพระนามว่าอรุณ
หม่อมฉันเป็นพระมเหสีของท้าวเธอ
ย่อมสนทนากันเป็นบางครั้งบางคราวเท่านั้น
[๕๘] ครั้งนั้น หม่อมฉันนั่งอยู่ในที่สงัด คิดอย่างนี้ว่า
‘กุศลที่จะนำติดตัวไปซึ่งเราทำไว้ไม่มีเลย
[๕๙] เราต้องตกนรกที่มีความเร่าร้อนมาก
ทั้งเผ็ดร้อนร้ายกาจแสนจะทารุณอย่างแน่นอน
เราไม่มีความสงสัยในข้อนี้เลย’
[๖๐] ครั้นหม่อมฉันคิดอย่างนี้แล้ว
ทำจิตให้ร่าเริงเข้าเฝ้าพระราชาแล้ว กราบทูลดังนี้ว่า
[๖๑] ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นกษัตริย์
หม่อมฉันทั้งหลายชื่อว่าเป็นสตรี หม่อมฉันทั้งหลายไม่ใช่บุรุษ
ขอพระองค์ทรงพระราชทานพระสมณะ
แก่หม่อมฉันทั้งหลายสักองค์หนึ่งเถิด
หม่อมฉันทั้งหลายจักนิมนต์ท่านให้ฉัน”
[๖๒] ครั้งนั้น พระราชาได้พระราชทานพระสมณะ
ผู้มีอินทรีย์อันอบรมแล้วให้หม่อมฉัน
หม่อมฉันรับบาตรของท่านมาแล้ว
ใส่ภัตตาหารอย่างประณีตจนเต็ม
[๖๓] แล้วบรรจุอาหารอันประณีตของหอมและเครื่องลูบไล้
ไปพร้อมกัน มีใจยินดีได้ถวายให้ครองผ้าผืนใหญ่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔. ขัตติยกัญญาวรรค] ๓. อุปปลทายิกาเถริยาปทาน
[๖๔] ด้วยกรรมที่หม่อมฉันได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
หม่อมฉันละกายมนุษย์แล้วจึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๖๕] ได้เป็นพระมเหสีของท้าวเทวราช ๑,๐๐๐ ชาติ
ได้เป็นพระมเหสีของพระเจ้าจักรพรรดิ ๑,๐๐๐ ชาติ
[๖๖] และได้เป็นพระมเหสีของพระเจ้าประเทศราช
อันไพบูลย์นับชาติไม่ถ้วน
แต่นั้น ผลอื่นอีกมากมายหลายชนิด
เป็นผลกรรมแห่งทานนั้น
[๖๗] หม่อมฉันมีผิวพรรณเหมือนดอกอุบล
เป็นสตรีมีรูปงาม น่าดูน่าชม
มีองค์สมบัติทั้งปวงสมบูรณ์๑
เป็นอภิชาตบุตร ทรงไว้ซึ่งความเปล่งปลั่ง
[๖๘] เมื่อถึงภพสุดท้าย หม่อมฉันเกิดในศากยตระกูล
เป็นหัวหน้าของนารี ๑,๐๐๐ นาง
ของพระโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ
[๖๙] หม่อมฉันเบื่อหน่ายการครองเรือน
จึงออกบวชเป็นบรรพชิต เพียง ๗ ราตรี ก็ได้บรรลุสัจจะ ๔
[๗๐] หม่อมฉันไม่สามารถจะประมาณจีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารได้
นี้เป็นผลแห่งการถวายบิณฑบาต
[๗๑] ข้าแต่พระมหาวีระ ผู้เป็นพระมุนี
ขอพระองค์พึงหวนระลึกถึงกุศลกรรมเก่าของหม่อมฉันเถิด
หม่อมฉันได้สละวัตถุเป็นอันมาก ก็เพื่อประโยชน์แก่พระองค์

เชิงอรรถ :
๑ องค์สมบัติทั้งปวง ในที่นี้หมายถึงมีอวัยวะทุกส่วนสมบูรณ์ได้สัดส่วน (ขุ.อป.อ. ๑/๑๗๓/๒๖๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔. ขัตติยกัญญาวรรค] ๓. อุปปลทายิกาเถริยาปทาน
[๗๒] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป
หม่อมฉันได้ถวายทานไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายบิณฑบาต
[๗๓] หม่อมฉันรู้จักเพียง ๒ คติ
คือ (๑) คติเทวดา (๒) คติมนุษย์ คติอื่นหม่อมฉันไม่รู้จักเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายบิณฑบาต
[๗๔] หม่อมฉันรู้จักแต่ตระกูลสูงซึ่งเป็นตระกูลมหาศาลมีทรัพย์มาก
ตระกูลอื่น ๆ หม่อมฉันไม่รู้จักเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายบิณฑบาต
[๗๕] หม่อมฉันเวียนว่ายตายเกิดในภพน้อยภพใหญ่
ถูกกุศลมูลตักเตือนแล้ว ไม่เห็นสิ่งที่ไม่พอใจเลย
นี้เป็นผลแห่งโสมนัส
[๗๖] ข้าแต่พระมหามุนี หม่อมฉันเป็นผู้มีความชำนาญในฤทธิ์
ในทิพพโสตธาตุ และในเจโตปริยญาณ
[๗๗] รู้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
ทิพยจักษุหม่อมฉันก็ชำระให้หมดจดแล้ว
อาสวะทั้งปวงก็สิ้นไปแล้ว
บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก
[๗๘] ข้าแต่พระมหาวีระ อัตถปฏิสัมภิทาญาณ
ธัมมปฏิสัมภิทาญาณ นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ
และปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณของหม่อมฉันที่มีอยู่
ล้วนเกิดขึ้นแล้วในสำนักของพระองค์
[๗๙] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว
หม่อมฉันตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔. ขัตติยกัญญาวรรค] ๔. สิงคาลมาตุเถริยาปทาน
[๘๐] การที่หม่อมฉันมาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๘๑] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ หม่อมฉันก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า พระอุปปลทายิกาภิกษุณีได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
อุปปลทายิกาเถริยาปทานที่ ๓ จบ

๔. สิงคาลมาตุเถริยาปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระสิงคาลมาตาเถรี
(พระสิงคาลมาตาเถรี เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๘๒] พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้ถึงความสำเร็จแห่งธรรมทั้งปวง ทรงเป็นผู้นำ
เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
[๘๓] ครั้งนั้น หม่อมฉันเกิดในตระกูลอำมาตย์
ที่รุ่งเรืองด้วยรัตนะต่าง ๆ
เป็นตระกูลมั่งคั่ง เจริญ มีทรัพย์มาก ในกรุงหงสวดี
[๘๔] หม่อมฉันมีมหาชนห้อมล้อมไปกับบิดา
ได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าแล้ว บวชเป็นบรรพชิต
[๘๕] ครั้นบวชแล้ว เว้นบาปกรรมทางกาย
ละวจีทุจริต ชำระอาชีวะให้บริสุทธิ์
[๘๖] มีความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า และพระธรรม
และมีความเคารพอย่างแรงกล้าในพระสงฆ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔. ขัตติยกัญญาวรรค] ๔. สิงคาลมาตุเถริยาปทาน
ขวนขวายในการฟังพระสัทธรรม
มีการได้เห็นพระพุทธเจ้าเป็นปกติ
[๘๗] ครั้งนั้น หม่อมฉันได้ฟังภิกษุณีรูปหนึ่ง
ซึ่งเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุณีทั้งหลาย ฝ่ายสัทธาธิมุต
จึงปรารถนาตำแหน่งนั้นแล้วบำเพ็ญไตรสิกขา๑ให้บริบูรณ์
[๘๘] ครั้งนั้น พระสุคตผู้มีพระอัธยาศัย
ประกอบด้วยพระกรุณา ตรัสกับหม่อมฉันว่า
‘บุคคลผู้มีศรัทธาไม่หวั่นไหวตั้งมั่นดีในพระตถาคต
มีศีลดีงามที่พระอริยเจ้าใคร่และสรรเสริญ
[๘๙] มีความเลื่อมใสในพระสงฆ์ มีความเห็นตรง
นักปราชญ์เรียกผู้นั้นว่า
เป็นผู้ไม่ขัดสน ชีวิตของผู้นั้นไม่เปล่าประโยชน์’
[๙๐] เพราะฉะนั้น บุคคลผู้มีปัญญา
เมื่อมาระลึกถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
พึงหมั่นประกอบศรัทธา ศีล ปสาทะ(ความเลื่อมใส)
และความเห็นที่ชอบธรรม
[๙๑] หม่อมฉันได้ฟังพระดำรัสนั้นแล้ว มีความเบิกบานใจ
ได้ทูลถามถึงความปรารถนาของหม่อมฉัน
ในครั้งนั้น พระสุคตผู้ทรงเป็นผู้นำชั้นวิเศษ
ทรงมีปัญญาไม่ต่ำต้อย มีพระคุณนับไม่ถ้วน
ทรงพยากรณ์ว่า ‘เธอเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าผู้มีธรรมอันงาม
จักได้ตำแหน่งนั้นที่เธอปรารถนาไว้แล้ว
[๙๒] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร
ทรงสมภพในราชตระกูลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก

เชิงอรรถ :
๑ ไตรสิกขา หมายถึงศีล สมาธิ และปัญญา (ที.ปา. (แปล) ๑๑/๓๐๕/๒๗๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔. ขัตติยกัญญาวรรค] ๔. สิงคาลมาตุเถริยาปทาน
[๙๓] สตรีผู้นี้จักมีนามว่าสิงคาลมาตา
เป็นธรรมทายาท เป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต
เป็นสาวิกาของพระศาสดาพระองค์นั้น’
[๙๔] ครั้งนั้น หม่อมฉันได้ฟังพุทธพยากรณ์นั้นแล้ว
เป็นผู้มีความยินดี มีจิตประกอบด้วยเมตตา
ปรนนิบัติพระชินเจ้า ผู้ทรงเป็นผู้นำ
ด้วยการปฏิบัติทั้งหลายจนตลอดชีวิต
[๙๕] ด้วยกรรมที่หม่อมฉันได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
หม่อมฉันละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๙๖] บัดนี้ เป็นภพสุดท้าย หม่อมฉันเกิดในตระกูลเศรษฐี
มีความเจริญรุ่งเรือง สั่งสมรัตนะไว้เป็นอันมาก
ในกรุงราชคฤห์ ที่ประเสริฐสุด
[๙๗] บุตรของหม่อมฉันชื่อสิงคาลมาณพ มีความเห็นผิด
แล่นไปสู่มิจฉาทิฏฐิ มุ่งแต่การบูชาทิศ
[๙๘] นอบน้อมทิศต่าง ๆ พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้นำวิเศษ
เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังพระนคร
ทอดพระเนตรเห็นเขาแล้ว ประทับยืนโอวาทที่หนทาง
[๙๙] เมื่อพระองค์ทรงแสดงธรรม บุตรของหม่อมฉัน
ส่งเสียงร้อง น่าประหลาดใจ
บุรุษสตรี ๒ โกฏิได้บรรลุธรรม
[๑๐๐] ครั้งนั้น หม่อมฉันได้เข้าไปยังที่ประชุมนั้น
ฟังภาษิตของพระสุคตแล้ว
ได้บรรลุโสดาปัตติผล ออกบวชเป็นบรรพชิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔. ขัตติยกัญญาวรรค] ๔. สิงคาลมาตุเถริยาปทาน
[๑๐๑] ได้เห็นพระพุทธเจ้าเป็นปกติ
เจริญพุทธานุสสติอยู่ไม่นาน ก็ได้บรรลุอรหัตตผล
[๑๐๒] หม่อมฉันไปเฝ้าพระพุทธเจ้าเป็นประจำ
เห็นพระรูปซึ่งเป็นที่เพลิดเพลินนัยนาก็ยังไม่เบื่อ
[๑๐๓] หม่อมฉันไม่เบื่อพระรูปที่เกิดจากบารมีทั้งปวง
เป็นที่อยู่อาศัยแห่งสิริที่ประเสริฐ
พรั่งพร้อมด้วยความงามทุกอย่าง
[๑๐๔] พระชินเจ้าทรงพอพระทัยในคุณสมบัตินั้น
จึงทรงตั้งหม่อมฉันผู้เป็นมารดาของสิงคาลมาณพไว้
ในเอตทัคคะว่า ‘เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุณีทั้งหลายฝ่ายสัทธาธิมุต’
[๑๐๕] ข้าแต่พระมหามุนี หม่อมฉันเป็นผู้มีความชำนาญในฤทธิ์
ในทิพพโสตธาตุ และในเจโตปริยญาณ
[๑๐๖] รู้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
ทิพยจักษุหม่อมฉันก็ชำระให้หมดจดแล้ว
อาสวะทั้งปวงก็สิ้นไปแล้ว
บัดนี้ ภพใหม่ไม่มี
[๑๐๗] ข้าแต่พระมหาวีระ อัตถปฏิสัมภิทาญาณ
ธัมมปฏิสัมภิทาญาณ นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ
และปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ ของหม่อมฉันที่มีอยู่
ล้วนเกิดขึ้นแล้วในสำนักของพระองค์
[๑๐๘] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว
หม่อมฉันตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔. ขัตติยกัญญาวรรค] ๕. สุกกาเถริยาปทาน
[๑๐๙] การที่หม่อมฉันมาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๑๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ หม่อมฉันก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ทราบว่า ท่านพระภิกษุณีมารดาสิงคาลมาณพได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
สิงคาลมาตาเถริยาปทานที่ ๔ จบ

๕. สุกกาเถริยาปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระสุกกาเถรี
(พระสุกกาเถรี เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๑๑] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
พระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นผู้นำพระนามว่าวิปัสสี
มีพระวรกายงดงาม ทรงเห็นแจ้งธรรมทั้งปวง เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว
[๑๑๒] ครั้งนั้น หม่อมฉันเกิดในตระกูลหนึ่งในกรุงพันธุมดี
ได้ฟังธรรมของพระมุนีแล้ว ออกบวชเป็นบรรพชิต
[๑๑๓] เป็นพหูสูต ทรงธรรม มีปฏิภาณ
กล่าวธรรมีกถาอย่างไพเราะ
ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระชินเจ้า
[๑๑๔] ครั้งนั้น หม่อมฉันกล่าวธรรมเพื่อประโยชน์แก่หมู่ชนทุกสมัย
หม่อมฉันจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว
ได้ไปเกิดเป็นเทพธิดาผู้มียศในสวรรค์ชั้นดุสิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔. ขัตติยกัญญาวรรค] ๕. สุกกาเถริยาปทาน
[๑๑๕] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป
พระชินเจ้าพระนามว่าสิขี มีพระรัศมีเปรียบด้วยเปลวเพลิง
ส่องโลกให้รุ่งเรืองด้วยยศ
ประเสริฐกว่าเจ้าลัทธิทั้งหลาย เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว
[๑๑๖] แม้ในครั้งนั้น หม่อมฉันบวชแล้ว เป็นผู้ฉลาดในพุทธศาสนา
ทำพระพุทธพจน์ให้กระจ่างแล้วไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๑๑๗] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป
พระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นผู้นำพระนามว่าเวสสภู
มีพระปรีชาญาณมาก เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว
แม้ในครั้งนั้น หม่อมฉันก็เป็นเหมือนอย่างในภพก่อน
[๑๑๘] ออกบวชแล้วเป็นผู้ทรงธรรม
ช่วยประกาศคำสั่งสอนของพระชินเจ้าให้รุ่งเรืองแล้ว
ไปเกิดในเมืองแห่งเทพที่น่ายินดี ได้เสวยความสุขมาก
[๑๑๙] ในภัทรกัปนี้ พระชินเจ้าผู้สูงสุดพระนามว่ากกุสันธะ
ทรงเป็นผู้สูงสุดแห่งนระ เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว
แม้ในครั้งนั้น หม่อมฉันก็เป็นเหมือนอย่างในภพก่อน
[๑๒๐] ออกบวชแล้ว ช่วยประกาศคำสั่งสอน
ของพระชินเจ้าให้รุ่งเรืองอยู่จนตลอดชีวิต
จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เหมือนไปสู่ที่อยู่ของตน
[๑๒๑] ในกัปนี้เอง พระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นผู้นำ
พระนามว่าโกนาคมนะ ประเสริฐกว่าเจ้าลัทธิทั้งหลาย
เป็นผู้สูงสุดแห่งสรรพสัตว์ เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว
[๑๒๒] แม้ครั้งนั้น หม่อมฉันก็ออกบวชในศาสนาของพระองค์
ผู้คงที่ เป็นพหูสูต ทรงธรรม
ช่วยประกาศคำสั่งสอนของพระชินเจ้าให้รุ่งเรือง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔. ขัตติยกัญญาวรรค] ๕. สุกกาเถริยาปทาน
[๑๒๓] ในกัปนี้เอง พระมุนีพระนามว่ากัสสปะ
เป็นศาสดาผู้ประเสริฐ เป็นที่พึ่งของสัตว์โลก
ไม่มีข้าศึกคือกิเลส ถึงที่สุดแห่งมรณธรรม เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว
[๑๒๔] หม่อมฉันบวชในศาสนาของพระพุทธเจ้า
ทรงเป็นนระ ผู้เป็นปราชญ์พระองค์นั้น
ศึกษาพระสัทธรรมอย่างคล่องแคล่ว
มีความแกล้วกล้าในปริปุจฉา๑
[๑๒๕] ข้าแต่พระมหามุนี หม่อมฉันมีศีลงาม มีความละอาย
ฉลาดในไตรสิกขา กล่าวธรรมเป็นอันมากจนตลอดชีวิต
[๑๒๖] ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้นและด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
หม่อมฉันละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๑๒๗] บัดนี้ เป็นภพสุดท้าย
หม่อมฉันเกิดในตระกูลเศรษฐีที่เจริญมั่งคั่ง
สั่งสมรัตนะมากมาย ในกรุงราชคฤห์ที่ประเสริฐสุด
[๑๒๘] เมื่อพระผู้มีพระภาคผู้ทรงเป็นผู้นำ
มีภิกษุ ๑,๐๐๐ รูปห้อมล้อม
ท้าวสหัสสนัยน์สรรเสริญแล้ว เสด็จเข้าไปยังกรุงราชคฤห์
[๑๒๙] พระผู้มีพระภาคทรงฝึกอินทรีย์แล้ว
พ้นขาดจากสรรพกิเลส มีวรรณะเปล่งปลั่งดั่งแท่งทอง
เสด็จเข้าไปยังกรุงราชคฤห์ พร้อมทั้งพระขีณาสพ
ผู้เป็นปุราณชฎิล ผู้มีอินทรีย์อันอบรมแล้ว
พ้นเด็ดขาดจากสรรพกิเลส

เชิงอรรถ :
๑ ปริปุจฉา หมายถึงการถาม การไต่สวน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔. ขัตติยกัญญาวรรค] ๕. สุกกาเถริยาปทาน
[๑๓๐] หม่อมฉันได้เห็นพุทธานุภาพ
และได้ฟังธรรมซึ่งเป็นที่สั่งสมคุณแล้ว
ทำจิตให้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า
บูชาพระองค์ผู้มีพลธรรมมาก๑
[๑๓๑] ต่อมา หม่อมฉันได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
ในสำนักของพระธรรมทินนาเถรี
[๑๓๒] หม่อมฉันเผากิเลสทั้งหลายได้ในขณะที่กำลังปลงผม
บวชแล้วไม่นาน ก็ศึกษาศาสนธรรมได้อย่างทั่วถึง
[๑๓๓] ต่อจากนั้น ได้แสดงธรรมในสมาคมแห่งมหาชน
เมื่อหม่อมฉันกำลังแสดงธรรมอยู่
การบรรลุธรรมก็ได้มี
[๑๓๔] มียักษ์ตนหนึ่ง ได้ทราบการตรัสรู้ธรรมนั้น
ของสัตว์หลายพันแล้ว เกิดอัศจรรย์ใจ
เลื่อมใสต่อหม่อมฉันได้ไปยังกรุงราชคฤห์
[๑๓๕] มนุษย์ทั้งหลายในกรุงราชคฤห์ที่ไม่ได้เข้าไปนั่งใกล้
พระเถรีชื่อว่าสุกกา ผู้แสดงอมตบทอยู่
หม่อมฉันจะให้ดื่มอมตบทเหมือนดื่มน้ำผึ้งได้อย่างไร
[๑๓๖] ก็แลพวกเขาผู้มีปัญญา คงจะดื่มอมตบทนั้น
อันมีสภาพไม่ถอยกลับ ให้เกิดความชื่นใจมีโอชาได้
เหมือนคนเดินทางไกลแสวงหาน้ำดื่ม
[๑๓๗] ข้าแต่พระมหามุนี หม่อมฉันเป็นผู้มีความชำนาญในฤทธิ์
ในทิพพโสตธาตุ และในเจโตปริยญาณ

เชิงอรรถ :
๑ พลธรรม หมายถึงธรรมอันเป็นกำลัง มี ๕ อย่าง (๑) สัทธา(ความเชื่อ) (๒) วิริยะ(ความเพียร)
(๓) สติ(ความระลึกได้) (๔) สมาธิ(ความตั้งจิตมั่น) (๕) ปัญญา(ความรู้แจ้ง) (ที.ปา. (แปล) ๑๑/๓๓๑/๓๓๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔. ขัตติยกัญญาวรรค] ๕. สุกกาเถริยาปทาน
[๑๓๘] รู้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
ทิพยจักษุหม่อมฉันก็ชำระให้หมดจดแล้ว
อาสวะทั้งปวงก็สิ้นไปแล้ว
บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก
[๑๓๙] ข้าแต่พระมหาวีระ อัตถปฏิสัมภิทาญาณ
ธัมมปฏิสัมภิทาญาณ นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ
และปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ ของหม่อมฉันที่มีอยู่
ล้วนเกิดขึ้นแล้วในสำนักของพระองค์
[๑๔๐] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว
หม่อมฉันตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๔๑] การที่หม่อมฉันมาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๔๒] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ หม่อมฉันก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า พระสุกกาภิกษุณีได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ด้วยประการฉะนี้
สุกกาเถริยาปทานที่ ๕ จบ
ภาณวารที่ ๕ จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔. ขัตติยกัญญาวรรค] ๖. อภิรูปนันทาเถริยาปทาน
๖. อภิรูปนันทาเถริยาปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอภิรูปนันทาเถรี
(พระอภิรูปนันทาเถรี เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๔๓] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้นำพระนามว่าวิปัสสี
ทรงมีพระวรกายงดงาม
มีพระจักษุในธรรมทั้งปวง เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว
[๑๔๔] ครั้งนั้น หม่อมฉันเกิดในตระกูลใหญ่ที่มั่งคั่ง
มีความเจริญในกรุงพันธุมดี เป็นสตรี มีรูปงาม
น่าเอ็นดู และน่าบูชาของหมู่ชน
[๑๔๕] ได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี
ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก ทรงมีความเพียรมาก
ได้สดับพระธรรมแล้ว
ถึงพระองค์ทรงเป็นผู้นำของนรชน เป็นที่พึ่งที่ระลึก
[๑๔๖] หม่อมฉันสำรวมอยู่ในศีล เมื่อพระผู้มีพระภาค
เป็นผู้สูงสุดแห่งนระ เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว
ได้ใช้ฉัตรทองบูชาไว้ ณ เบื้องบน
แห่งพระสถูปที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
[๑๔๗] หม่อมฉันเป็นผู้สละได้ขาดแล้ว
มีศีลจนตลอดชีวิต จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว
ละกายมนุษย์จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๑๔๘] ครั้งนั้น หม่อมฉันครอบงำ(เทพธิดา)ได้ทั้งหมด
ด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ (๑) รูป
(๒) เสียง (๓) กลิ่น (๔) รส (๕) โผฏฐัพพะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔. ขัตติยกัญญาวรรค] ๖. อภิรูปนันทาเถริยาปทาน
[๑๔๙] (๖) อายุ (๗) วรรณะ (๘) สุข (๙) ยศ
(๑๐) ความเป็นอธิบดี รุ่งโรจน์อยู่
[๑๕๐] บัดนี้ เป็นภพสุดท้าย หม่อมฉันเกิดในกรุงกบิลพัสดุ์
เป็นธิดาแห่งเจ้าศากยะพระนามว่าเขมกะ
มีนามปรากฏว่านันทา
[๑๕๑] หมู่ชนกล่าวว่า หม่อมฉันเป็นผู้หนึ่ง
ซึ่งมีความถึงพร้อมด้วยรูปงาม น่าชม
ในคราวที่หม่อมฉันเติบโตเป็นสาว(รู้จัก)
มีรูปและผิวพรรณงดงาม
[๑๕๒] พวกเจ้าศากยะเกิดการวิวาทกันใหญ่โต
เพราะเรื่องแย่งตัวหม่อมฉันนี้
ครั้งนั้น พระบิดาของหม่อมฉันดำริว่า
‘พวกเจ้าศากยะ จงอย่าพินาศเลย’ จึงให้หม่อมฉันบวช
[๑๕๓] ครั้นหม่อมฉันบวชแล้ว ได้ฟังว่า
พระตถาคตเป็นผู้สูงสุดแห่งนรชน ทรงติเตียนรูป
จึงไม่ยอมเข้าเฝ้า เพราะหม่อมฉันมีความหลงใหลรูป
[๑๕๔] หม่อมฉันขลาดต่อการเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า จึงไม่ยอมไปรับโอวาท
ครั้งนั้น พระชินเจ้าทรงให้หม่อมฉัน
เข้าไปสู่สำนักของพระองค์ด้วยอุบาย
[๑๕๕] พระองค์ผู้ทรงฉลาดในมรรค
ทรงเนรมิตหญิง ๓ คน ด้วยฤทธิ์
คือ (๑) หญิงสาวที่สวยเหมือนเทพอัปสร
(๒) หญิงชรา (๓) หญิงที่ตายแล้ว
[๑๕๖] หม่อมฉันเห็นหญิงทั้ง ๓ แล้วเกิดความสลดใจ
ไม่ยินดีในซากศพของหญิงที่ตายแล้ว
มีความเบื่อหน่ายในภพ ยืนเฉยอยู่
ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้นำ ตรัสกับหม่อมฉันว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔. ขัตติยกัญญาวรรค] ๖. อภิรูปนันทาเถริยาปทาน
[๑๕๗] ‘นันทา เธอจงดูรูปกายที่กระสับกระส่าย
ไม่สะอาด เปื่อยเน่า ไหลเข้าไหลออกอยู่
ที่พวกคนเขลาพากันปรารถนายิ่งนัก
[๑๕๘] เธอจงอบรมจิตให้เป็นสมาธิมีอารมณ์เดียวด้วยอสุภารมณ์เถิด
รูปนี้เป็นฉันใด รูปของเธอนั้นก็เป็นฉันนั้น
รูปของเธอนั้นเป็นฉันใด รูปนี้ก็เป็นฉันนั้น
[๑๕๙] เมื่อเธอพิจารณาเห็นรูปอยู่อย่างนี้
มิได้เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน
แต่นั้น ก็จะเบื่อหน่ายอยู่ด้วยปัญญาของตน’
[๑๖๐] เมื่อหม่อมฉันไม่ประมาทแล้ว
พิจารณาในกายนี้อยู่โดยแยบคายว่า
กายนี้ทั้งภายในและภายนอก
เราได้เห็นแล้วตามความเป็นจริง
[๑๖๑] เมื่อเป็นเช่นนั้น จึงเบื่อหน่ายในกาย
และคลายกำหนัดในภายใน ไม่ประมาท
ไม่เกาะเกี่ยว เป็นผู้สงบเย็นแล้ว
[๑๖๒] ข้าแต่พระมหามุนี หม่อมฉันเป็นผู้มีความชำนาญในฤทธิ์
ในทิพพโสตธาตุ และในเจโตปริยญาณ
[๑๖๓] รู้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
ทิพยจักษุหม่อมฉันก็ชำระให้หมดจดแล้ว
อาสวะทั้งปวงก็สิ้นไปแล้ว
บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก
[๑๖๔] ข้าแต่พระมหาวีระ อัตถปฏิสัมภิทาญาณ
ธัมมปฏิสัมภิทาญาณ นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ
และปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ ของหม่อมฉันที่มีอยู่
ล้วนเกิดขึ้นแล้วในสำนักของพระองค์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔. ขัตติยกัญญาวรรค] ๗. อัฑฒกาสีเถริยาปทาน
[๑๖๕] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว
หม่อมฉันตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๖๖] การที่หม่อมฉันมาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๖๗] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ หม่อมฉันก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า พระอภิรูปนันทาภิกษุณีได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
อภิรูปนันทาเถริยาปทานที่ ๖ จบ

๗. อัฑฒกาสีเถริยาปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอัฑฒกาสีเถรี
(พระอัฑฒกาสีเถรี เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๖๘] ในภัทรกัปนี้ พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพราหมณ์
พระนามว่ากัสสปะ ตามพระโคตร มีพระยศยิ่งใหญ่
ทรงเป็นผู้ประเสริฐกว่าเจ้าลัทธิทั้งหลาย เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว
[๑๖๙] ครั้งนั้น หม่อมฉันบวชในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
สำรวมในพระปาฏิโมกข์ และอินทรีย์ ๕๑

เชิงอรรถ :
๑ ที.ปา. (แปล) ๑๑/๓๒๐/๓๑๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔. ขัตติยกัญญาวรรค] ๗. อัฑฒกาสีเถริยาปทาน
[๑๗๐] หม่อมฉันรู้จักประมาณในอาสนะต่ำ
ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เสมอ บำเพ็ญเพียรอยู่
[๑๗๑] ในกาลนั้น หม่อมฉันมีความคิดชั่ว
ได้ด่าภิกษุณีผู้ปราศจากอาสวะรูปหนึ่งครั้งเดียวว่า ‘นางแพศยา’
ต้องหมกไหม้อยู่ในนรก เพราะบาปกรรมนั้นนั่นเอง
[๑๗๒] เพราะเศษกรรมนั้นแล
หม่อมฉันเกิดในตระกูลหญิงแพศยา
อยู่อาศัยชายอื่นโดยมาก ในชาติสุดท้าย
[๑๗๓] หม่อมฉันเกิดในตระกูลเศรษฐีในแคว้นกาสี
มีความงาม ดุจนางเทพอัปสรในหมู่เทวดา
ด้วยผลแห่งการประพฤติพรหมจรรย์
[๑๗๔] หมู่ชนเห็นหม่อมฉันมีรูปน่าชม
จึงตั้งหม่อมฉันในฐานะเป็นหญิงคณิกา
ในกรุงราชคฤห์ที่ประเสริฐสุด
เพราะผลกรรมที่ด่าภิกษุณีนั้นของหม่อมฉัน
[๑๗๕] หม่อมฉัน ได้ฟังพระสัทธรรมที่พระพุทธเจ้า
ผู้ประเสริฐที่สุดตรัสแล้ว
ผู้สมบูรณ์ด้วยบุพวาสนา(บาปบุญที่ได้อบรมมาในกาลก่อน)
จึงได้บวชเป็นบรรพชิต
[๑๗๖] แต่เมื่อเดินทางไปสู่สำนักของพระชินเจ้าเพื่อจะอุปสมบท
พบพวกนักเลงดักอยู่ที่หนทาง จึงได้รับการอุปสมบทโดยทูต
[๑๗๗] กรรมทั้งหมดสิ้นไปแล้ว บุญ และบาปก็สิ้นไปแล้วเหมือนกัน
หม่อมฉันข้ามพ้นสังสารวัฏทั้งปวงได้แล้ว
และความเป็นหญิงคณิกาหม่อมฉันก็ให้สิ้นไปแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔. ขัตติยกัญญาวรรค] ๘. ปุณณิกาเถริยาปทาน
[๑๗๘] ข้าแต่พระมหามุนี หม่อมฉันเป็นผู้มีความชำนาญในฤทธิ์
ในทิพพโสตธาตุ และในเจโตปริยญาณ
[๑๗๙] รู้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
ทิพยจักษุหม่อมฉันก็ชำระให้หมดจดแล้ว
อาสวะทั้งปวงก็สิ้นไปแล้ว
บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก
[๑๘๐] ข้าแต่พระมหาวีระ อัตถปฏิสัมภิทาญาณ
ธัมมปฏิสัมภิทาญาณ นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ
และปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ ของหม่อมฉันที่มีอยู่
ล้วนเกิดขึ้นแล้วในสำนักของพระองค์
[๑๘๑] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว
หม่อมฉันตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๘๒] การที่หม่อมฉันมาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๘๓] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ หม่อมฉันก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า พระอัฑฒกาสีภิกษุณีได้ภาษิตคาถาเล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
อัฑฒกาสีเถริยาปทานที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔. ขัตติยกัญญาวรรค] ๘. ปุณณิกาเถริยาปทาน
๘. ปุณณิกาเถริยาปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระปุณณิกาเถรี
(พระปุณณิกาเถรี เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๘๔] พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ผู้เป็นพระมุนี ผู้คงที่
ทรงพระนามว่าพระวิปัสสี ๑ พระสิขี ๑ พระเวสสภู ๑
พระกกุสันธะ ๑ พระโกนาคมนะ ๑ พระกัสสปะ ๑
[๑๘๕] หม่อมฉันบวชเป็นภิกษุณีในศาสนา
ของพระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ
เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล มีปัญญารักษาตน สำรวมอินทรีย์
[๑๘๖] เป็นพหูสูต ทรงธรรม สอบถามเหตุและผล
เล่าเรียน สดับธรรม เป็นผู้นั่งใกล้
[๑๘๗] หม่อมฉันแสดงคำสอนของพระชินเจ้าในท่ามกลางหมู่ชน
ได้เป็นผู้มีศีลเป็นที่รัก ดูหมิ่นเพราะความเป็นพหูสูตนั้น
[๑๘๘] บัดนี้ เป็นภพสุดท้าย หม่อมฉันเกิดในเรือนแห่งนางกุมภทาสี
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐีในกรุงสาวัตถีที่ประเสริฐสุด
[๑๘๙] หม่อมฉันไปตักน้ำ ได้เห็นโสตถิยพราหมณ์
นั่งหนาวสั่นอยู่ท่ามกลางน้ำ
ครั้นเห็นแล้วได้กล่าวดังนี้ว่า ‘ฉันเป็นคนตักน้ำ
[๑๙๐] กลัวภัยต่ออาชญาของเจ้านาย
และถูกภัยคือวาจาที่เกรี้ยวกราดของเจ้านายเบียดเบียน
จึงต้องลงน้ำเป็นประจำในฤดูหนาว
[๑๙๑] พราหมณ์เอ๋ย ท่านกลัวใคร จึงต้องลงน้ำเป็นประจำ
มีร่างกายสั่นเทา รู้สึกหนาวรุนแรงใช่ไหม’
[๑๙๒] (พรามหณ์ได้กล่าวว่า) ‘นางปุณณิกาผู้เจริญ
เธอทั้งที่รู้อยู่ยังสอบถามเราผู้ทำกุศลกรรม
เพื่อกำจัดบาปกรรมอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔. ขัตติยกัญญาวรรค] ๘. ปุณณิกาเถริยาปทาน
[๑๙๓] บุคคลใดเป็นผู้ใหญ่ก็ตาม เป็นเด็กก็ตาม ทำบาปกรรมไว้
บุคคลนั้น ๆ จะพ้นจากบาปกรรมได้ เพราะการอาบน้ำ’
[๑๙๔] เมื่อพราหมณ์นั้นขึ้นจากน้ำมา
หม่อมฉันได้บอกบทที่ประกอบด้วยเหตุและผล
พราหมณ์ได้ฟังบทแห่งธรรมนั้นแล้ว
มีความสลดใจ ออกบวชแล้วได้เป็นพระอรหันต์
[๑๙๕] เพราะหม่อมฉันเกิดในตระกูลทาสี
ครบจำนวนทาสี ๑๐๐ คนพอดี
เจ้านายจึงตั้งชื่อให้หม่อมฉันว่า ปุณณา
และปลดหม่อมฉัน(จากทาส)ให้เป็นไท
[๑๙๖] แต่นั้นหม่อมฉันอนุโมทนาเศรษฐีแล้ว
บวชเป็นบรรพชิต โดยกาลไม่นานนักก็ได้บรรลุอรหัตตผล
[๑๙๗] ข้าแต่พระมหามุนี หม่อมฉันเป็นผู้มีความชำนาญในฤทธิ์
ในทิพพโสตธาตุและในเจโตปริยญาณ
[๑๙๘] รู้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
ทิพยจักษุหม่อมฉันชำระให้หมดจดแล้ว
อาสวะทั้งปวงสิ้นไปแล้ว
บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก
[๑๙๙] อัตถปฏิสัมภิทาญาณ ธัมมปฏิสัมภิทาญาณ
นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ และปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ
ของหม่อมฉัน บริสุทธิ์ ไม่มีมลทิน
เพราะอำนาจของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด
[๒๐๐] หม่อมฉันมีปัญญามากเพราะการเจริญภาวนา
มีสุตะมากเพราะการเรียนรู้
เกิดในตระกูลต่ำเพราะมีมานะจัด
แต่กุศลกรรมมิได้วิบัติไปเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔. ขัตติยกัญญาวรรค] ๙. อัมพปาลีเถริยาปทาน
[๒๐๑] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว
หม่อมฉันตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๒๐๒] การที่หม่อมฉันมาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๒๐๓] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ หม่อมฉันก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า พระปุณณิกาภิกษุณีได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ปุณณิกาเถริยาปทานที่ ๘ จบ

๙. อัมพปาลีเถริยาปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอัมพปาลีเถรี
(พระอัมพปาลีเถรี เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๒๐๔] หม่อมฉันเกิดในตระกูลกษัตริย์
เป็นพระภคินีของพระมหามุนีพระนามว่าผุสสะ
ผู้มีพระรัศมีงาม รุ่งเรืองดุจเทริด
[๒๐๕] หม่อมฉันได้ฟังธรรมของพระองค์แล้ว
มีจิตผ่องใส ได้ถวายมหาทานแล้ว ปรารถนารูปสมบัติ
[๒๐๖] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป
พระชินเจ้าพระนามว่าสิขี ทรงเป็นผู้นำชั้นเลิศของโลก
ทรงส่องโลกให้สว่างไสว ทรงเป็นที่พึ่ง ที่ระลึกในไตรโลก
เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔. ขัตติยกัญญาวรรค] ๙. อัมพปาลีเถริยาปทาน
[๒๐๗] ครั้งนั้น หม่อมฉันเกิดในตระกูลพราหมณ์
ในกรุงอรุณที่น่ารื่นรมย์ โกรธแล้ว
สาปแช่งภิกษุณีรูปหนึ่งผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วว่า
[๒๐๘] ‘ท่านเป็นหญิงแพศยา ประพฤติอนาจาร
ประทุษร้ายพระศาสนาของพระชินเจ้า’
ครั้นด่าอย่างนี้แล้ว เพราะกรรมชั่วที่ทำไว้นั้น
[๒๐๙] หม่อมฉันต้องตกนรกที่ร้ายกาจ
เพียบด้วยมหันตทุกข์ เคลื่อนจากนรกนั้นแล้ว
มาเกิดในหมู่มนุษย์ ก็มีความเดือดร้อนเป็นประจำ
[๒๑๐] ครองตำแหน่งหญิงแพศยาอยู่ถึง ๑๐,๐๐๐ ชาติ
ก็ยังไม่พ้นจากบาปกรรมนั้น
เปรียบเหมือนคนที่กลืนกินยาพิษอย่างร้ายแรง
[๒๑๑] หม่อมฉันได้ออกบวชเป็นภิกษุณี
มีเพศประเสริฐในศาสนาของพระชินเจ้าพระนามว่ากัสสปะ
ได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพราะผลแห่งกรรมนั้น
[๒๑๒] เมื่อถึงภพสุดท้าย หม่อมฉันเกิดเป็นโอปปาติกะ๑
ที่ระหว่างกิ่งต้นมะม่วง
จึงมีชื่อว่าอัมพปาลี ตามนิมิตหมายนั้น
[๒๑๓] หม่อมฉันมีประชาชนหลายโกฏิ
แห่ห้อมล้อมมาบวชในศาสนาของพระชินเจ้า
เป็นลูกหญิงแห่งพระพุทธเจ้า
บรรลุถึงฐานะที่ไม่หวั่นไหว

เชิงอรรถ :
๑ โอปปาติกะ หมายถึงสัตว์ที่เกิดและเติบโตเต็มที่ทันที และเมื่อจุติ (ตาย) ก็หายวับไปไม่ทิ้งซากศพไว้ เช่น
เทวดา และสัตว์นรกเป็นต้น (ที.สี.อ. ๑/๑๗๑/๑๔๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔. ขัตติยกัญญาวรรค] ๙. อัมพปาลีเถริยาปทาน
[๒๑๔] ข้าแต่พระมหามุนี หม่อมฉันเป็นผู้มีความชำนาญในฤทธิ์
ในทิพพโสตธาตุ และมีความชำนาญในเจโตปริยญาณ
[๒๑๕] รู้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
ทิพยจักษุ หม่อมฉันก็ชำระให้หมดจดแล้ว
อาสวะทั้งปวงก็สิ้นไปแล้ว
บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก
[๒๑๖] อัตถปฏิสัมภิทาญาณ ธัมมปฏิสัมภิทาญาณ
นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ และปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ
ของหม่อมฉัน บริสุทธิ์ ไม่มีมลทิน
เพราะอำนาจของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
[๒๑๗] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว
หม่อมฉันตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๒๑๘] การที่หม่อมฉันมาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
เป็นการมาที่ดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๒๑๙] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ หม่อมฉันก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า พระอัมพปาลีภิกษุณีได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
อัมพปาลีเถริยาปทานที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔. ขัตติยกัญญาวรรค] ๑๐. เสลาเถริยาปทาน
๑๐. เสลาเถริยาปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระเสลาเถรี
(พระเสลาเถรี เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๒๒๐] ในภัทรกัปนี้ พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของพราหมณ์
มีพระยศยิ่งใหญ่ พระนามว่ากัสสปะ ตามพระโคตร
ประเสริฐกว่าเจ้าลัทธิทั้งหลาย เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว
[๒๒๑] ครั้งนั้น หม่อมฉันเกิดในตระกูลอุบาสก
ในกรุงสาวัตถีซึ่งเป็นเมืองประเสริฐ
เห็นพระชินเจ้าผู้ประเสริฐพระองค์นั้น
และฟังพระธรรมเทศนาแล้ว
[๒๒๒] ถึงพระวีระพระองค์นั้นเป็นที่พึ่งที่ระลึกและสมาทานศีล
ครั้งหนึ่งในสมาคมแห่งมหาชน
พระมหาวีระพระองค์นั้น
[๒๒๓] ผู้องอาจกว่านรชน ทรงประกาศอภิสัมโพธิญาณของพระองค์
ในธรรมที่ไม่เคยฟังมาในกาลก่อน
และในอริยสัจมีทุกข์เป็นต้นว่า
[๒๒๔] ‘เรามีจักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา
และแสงสว่าง’ แก่หม่อมฉัน
หม่อมฉันสดับ เล่าเรียนธรรมนั้นแล้ว
จึงสอบถามภิกษุทั้งหลาย
[๒๒๕] ด้วยกรรมที่หม่อมฉันได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
หม่อมฉันละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔. ขัตติยกัญญาวรรค] ๑๐. เสลาเถริยาปทาน
[๒๒๖] บัดนี้ ภพนี้เป็นภพสุดท้าย
หม่อมฉันเกิดในตระกูลมหาเศรษฐี
ได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ได้ฟังพระสัทธรรมอันประกอบด้วยมัจจุ
[๒๒๗] บวชแล้ว ค้นคว้าอรรถธรรมทั้งปวง
ทำอาสวะทั้งปวงให้สิ้นไปแล้ว
ได้บรรลุอรหัตตผลโดยกาลไม่นานเลย
[๒๒๘] ข้าแต่พระมหามุนี หม่อมฉันเป็นผู้มีความชำนาญในฤทธิ์
ในทิพพโสตธาตุ และมีความชำนาญในเจโตปริยญาณ
[๒๒๙] รู้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
ทิพยจักษุหม่อมฉันก็ชำระให้หมดจดแล้ว
อาสวะทั้งปวงก็สิ้นไปแล้ว
บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก
[๒๓๐] อัตถปฏิสัมภิทาญาณ ธัมมปฏิสัมภิทาญาณ
นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ และปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ
ของหม่อมฉัน บริสุทธิ์ไม่มีมลทิน
เพราะอำนาจของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
[๒๓๑] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว
หม่อมฉันตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๒๓๒] การที่หม่อมฉันมาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔. ขัตติยกัญญาวรรค] รวมอปทานที่มีในวรรค
[๒๓๓] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ หม่อมฉันก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระเสลาภิกษุณีได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
เสลาเถริยาปทานที่ ๑๐ จบ
ขัตติยกัญญาวรรคที่ ๔ จบ

รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อัฏฐารสสหัสสขัตติย- ๒. จตุราสีติสหัสสพราหมณกัญญา-
กัญญาเถริยาปทาน เถริยาปทาน
๓. อุปปลทายิกาเถริยาปทาน ๔. สิงคาลมาตุเถริยาปทาน
๕. สุกกาเถริยาปทาน ๖. อภิรูปนันทาเถริยาปทาน
๗. อัฑฒกาสีเถริยาปทาน ๘. ปุณณิกาเถริยาปทาน
๙. อัมพปาลีเถริยาปทาน ๑๐. เสลาเถริยาปทาน

รวมวรรคได้ ๔ วรรค คือ

๑. สุเมธาวรรค ๒. เอกูโปสถิกวรรค
๓. กุณฑลเกสีวรรค ๔. ขัตติยกัญญาวรรค

ในวรรคนี้ บัณฑิตประมวลคาถาไว้ได้ ๑,๓๔๗ คาถา พร้อมทั้งอุทานคาถา
นับได้ ๑,๓๕๗ คาถา
เถรีอปทาน จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑. รตนจังกมนกัณฑ์
พระสุตตันตปิฎก
ขุททกนิกาย พุทธวงศ์
__________________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๑. รตนจังกมนกัณฑ์
ว่าด้วยพระพุทธเจ้าทรงเนรมิตที่จงกรมแก้ว
[๑] ท้าวสหัมบดีพรหม ผู้เป็นใหญ่แห่งชาวโลก
ได้ประนมมือทูลอาราธนาพระผู้มีพระภาค
ผู้ไม่มีใครประเสริฐยิ่งไปกว่า
สัตว์ทั้งหลายผู้มีธุลีในดวงตาน้อย๑มีอยู่ในโลกนี้
ขอพระองค์โปรดอนุเคราะห์หมู่สัตว์นี้แสดงธรรมเถิด
พระผู้มีพระภาค ผู้เป็นใหญ่แห่งชาวโลก เป็นผู้สูงสุดแห่งนระ
อันหมู่พรหมประนมมือทูลอาราธนาว่า
‘สัตว์ทั้งหลายผู้เป็นปราชญ์ มีธุลีในดวงตาน้อยมีอยู่ในโลกนี้
ขอพระองค์โปรดอนุเคราะห์หมู่สัตว์นี้แสดงธรรมเถิด
ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเป็นผู้นำ
ขอพระสุคตโปรดแสดงธรรม ขอพระองค์โปรดแสดงอมตบท
ขอพระสุคตโปรดแสดงธรรมเพื่ออนุเคราะห์ชาวโลกเถิด’
[๒] พระตถาคต ผู้หาบุคคลเปรียบมิได้
ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ๒ ผู้คงที่

เชิงอรรถ :
๑ ธุลีในดวงตาน้อย หมายถึงมีธุลีคือราคะ โทสะ โมหะ ปิดบังดวงตาคือปัญญาเบาบาง (ขุ.พุทฺธ.อ. ๑/๑๘)
๒ วิชชา หมายถึงวิชชา ๓ และวิชชา ๘, จรณะ หมายถึงจรณะ ๑๕ (ขุ.พุทฺธ.อ. ๒/๒๐-๒๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑. รตนจังกมนกัณฑ์
ผู้ทรงความรุ่งเรือง ทรงไว้ซึ่งพระวรกายครั้งสุดท้าย
ทรงเกิดความกรุณาในสรรพสัตว์
พระผู้มีพระภาค ผู้ศาสดา
ทรงสดับดังนั้นแล้วจึงตรัสพระดำรัสนี้ว่า
‘พรหม สัตว์เหล่าใดผู้มีโสตประสาท
จงปล่อยศรัทธามาเถิด
เรามิได้ปิดประตูอมตธรรมแก่สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น
เพราะเรารู้สำคัญว่าจะลำบาก
จึงมิได้แสดงธรรมที่ประณีต
คล่องแคล่วในหมู่มนุษย์‘๑
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคผู้ประเสริฐกว่ามุนี
เมื่อจะทรงอนุเคราะห์เหล่าเวไนยสัตว์๒
จึงเสด็จออกจากโคนต้นอชปาลนิโครธ
เสด็จถึงกรุงพาราณสี โดยการเสด็จดำเนินไปตามลำดับ
ก็ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนบัลลังก์ที่ประเสริฐนั้น
และทรงประกาศพระธรรมจักร
คือทุกขสัจ สมุทยสัจ นิโรธสัจ
และมรรคสัจ อันสูงสุด แก่ปัญจวัคคีย์
ในกาลนั้น พระผู้พระภาคทรงประกาศพระธรรมจักรนั้นแล้ว
ฤาษีปัญจวัคคีย์เหล่านั้น พร้อมด้วยหมู่พรหม
และเทวดาประมาณ ๑๘ โกฏิ
ได้บรรลุธรรมในการประชุมครั้งแรก
สมัยต่อมาฤาษีปัญจวัคคีย์ทั้งหมด
คือโกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ

เชิงอรรถ :
๑ ม.มู. (แปล) ๑๒/๒๘๓/๓๐๘ และดูเทียบ วิ.ม. (แปล) ๔/๙/๑๕, ที.ม. (แปล) ๑๐/๗๑/๔๑, สํ.ส. (แปล)
๑๕/๑๗๒/๒๓๒.
๒ เวไนยสัตว์ หมายถึงเหล่าสัตว์ที่จะแนะนำให้บรรลุอรหัตตมรรคได้ (ขุ.อป.อ. ๒/๙๙/๓๑๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑. รตนจังกมนกัณฑ์
พร้อมด้วยหมู่พรหมและเทวดาประมาณ ๑๘ โกฏิ
อันพระผู้มีพระภาคทรงแนะนำให้วิเศษโดยลำดับ ในกาลนั้น
โสดาปัตติผลได้มี(แก่เหล่าเทวดา)ในการประชุมครั้งแรก
ในกาลนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จถึงกรุงราชคฤห์
โดยการเสด็จดำเนินไปตามลำดับ
พระพุทธองค์ผู้ประเสริฐกว่ามุนี
ประทับอยู่ที่พระเวฬุวันมหาวิหาร
ฝ่ายพระเจ้าพิมพิสารได้ทรงสดับความนั้น
ได้เสด็จไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
มีบริวารเป็นจำนวนมากถึง ๑๑ นหุต
พระองค์ทรงใช้ประทีป ของหอม ธูป
และดอกไม้เป็นต้นบูชาพระผู้มีพระภาค
ในสมาคมนั้น พระผู้มีพระภาค
ทรงแสดงกามาทีนวกถา(ว่าด้วยโทษของกาม)
ในเวลาจบพระธรรมเทศนาครั้งนั้น
สัตว์ประมาณ ๘๔,๐๐๐ มีพระราชาเป็นประมุขได้บรรลุธรรม
พระราชบิดาได้ทรงสดับความนั้น จึงทรงส่งทูตไป ๙ นาย
ทูตเหล่านั้นพร้อมด้วยบริวาร ๙,๐๐๐
ทูลขอบรรพชากับพระมุนี ทูตเหล่านั้น
พร้อมด้วยบริวารทั้ง ๙,๐๐๐ ได้บรรลุอรหัตตผล
ครั้งสุดท้าย กาฬุทายีอำมาตย์กับบริวาร ๑,๐๐๐
ถือเพศภิกษุแล้ว นิมนต์พระผู้มีพระภาค
พระศากยมุนีผู้ประเสริฐ ทรงรับนิมนต์แล้ว
เสด็จดำเนินไปตามทางใหญ่
เสด็จพร้อมด้วยภิกษุ ๒๐,๐๐๐ รูป
พระพุทธองค์เสด็จถึงกรุงกบิลพัสดุ์
โดยการเสด็จดำเนินไปตามลำดับ
ได้ทรงทำปาฏิหาริย์ที่ใกล้ฝั่งแม่น้ำโรหิณี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑. รตนจังกมนกัณฑ์
พระผู้มีพระภาคผู้ศากยมุนี ผู้ประเสริฐ
ประทับนั่งท่ามกลางบัลลังก์นั้น
แสดงมหาเวสสันดรชาดก แก่พระราชบิดาท่ามกลางบัลลังก์นั้น
สัตว์ ๘๔,๐๐๐ ได้บรรลุธรรม
[๓] (พระผู้มีพระภาคทรงพระดำริว่า)
มนุษย์พร้อมทั้งเทวดาเหล่านี้ไม่รู้ว่า
พระพุทธเจ้าผู้เป็นผู้สูงสุดแห่งนรชนนี้เป็นเช่นไร
พระพุทธเจ้าผู้ทรงประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์โลก
ทรงมีกำลังฤทธิ์ และกำลังปัญญาเช่นไร มีพุทธพลัง๑เช่นไร
[๔] มนุษย์พร้อมทั้งเทวดาเหล่านี้ไม่รู้ว่า
พระพุทธเจ้าผู้สูงสุดแห่งนรชนนี้เป็นเช่นนี้
พระพุทธเจ้าผู้ทรงประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์โลก
ทรงมีกำลังฤทธิ์และกำลังปัญญาเช่นนี้ มีพุทธพลังเช่นนี้
[๕] เอาละ เราจักแสดงพุทธพลังอันยอดเยี่ยม
จักเนรมิตที่จงกรมซึ่งประดับด้วยรัตนะในนภากาศ”
[๖] เทวดาประจำภาคพื้น เทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา
ชั้นดาวดึงส์ ชั้นยามา ชั้นดุสิต ชั้นนิมมานรดี
ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี และเทวดาที่นับเนื่องในหมู่พรหม
ต่างก็ยินดี ได้พากันส่งเสียงอื้ออึงกึกก้อง
[๗] พื้นแผ่นดินพร้อมทั้งเทวโลกสว่างไสว
โลกันตนรกจำนวนมากที่ไม่เชื่อมติดกัน
และความมืดอันหนาทึบถูกขจัดไปในกาลนั้น
เพราะเห็นปาฏิหาริย์อันน่าอัศจรรย์

เชิงอรรถ :
๑ พุทธพลัง หมายถึงพุทธานุภาพ ทศพลญาณ (ขุ.พุทฺธ.อ. ๓-๕/๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑. รตนจังกมนกัณฑ์
[๘] แสงสว่างเจิดจ้าอย่างโอฬาร ได้เกิดแผ่ซ่านไปในโลกทั้ง ๒
คือในโลกนี้และโลกอื่นพร้อมด้วยเทวดา
คนธรรพ์ มนุษย์ และรากษส
แผ่ไปตลอดพื้นที่กว้างขวางทั้งเบื้องล่าง เบื้องบน และเบื้องขวาง
[๙] พระศาสดาผู้ประเสริฐกว่าเหล่าสัตว์ ไม่มีใครประเสริฐยิ่งไปกว่า
ทรงเป็นผู้นำวิเศษ อันเทวดาและมนุษย์บูชา
ทรงมีอานุภาพมาก มีบุญลักษณะนับร้อย
ทรงแสดงปาฏิหาริย์๑ ที่น่าอัศจรรย์
ในสมาคมนั้น พระชินเจ้าผู้พระศาสดา
เสด็จเหาะขึ้นในนภากาศแล้ว
ทรงเนรมิตภูเขาสิเนรุราชให้เป็นที่จงกรมที่รื่นรมย์
ทวยเทพในโลกธาตุมีหมื่นจักรวาลนมัสการพระตถาคตแล้ว
กระทำการบูชาพุทธเจ้าในสำนักของพระชินเจ้า
[๑๐] ครั้งนั้น พระศาสดาผู้มีพระจักษุ
เป็นผู้สูงสุดแห่งนรชน ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
อันท้าวสหัมบดีพรหมผู้ประเสริฐกว่าเทวดาทูลอาราธนาแล้ว
ทรงพิจารณาเห็นประโยชน์
ทรงเนรมิตที่จงกรมอันสำเร็จด้วยรัตนะทุกชนิดสำเร็จดีแล้ว
[๑๑] พระผู้มีพระภาค ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ทรงมีความชำนาญในปาฏิหาริย์ ๓ อย่างคือ
อิทธิปาฏิหาริย์๒ อาเทสนาปาฏิหาริย์๓

เชิงอรรถ :
๑ ปาฏิหาริย์ หมายถึงการกระทำที่กำจัดหรือทำให้ปฏิปักษ์ยอมได้ การกระทำที่ให้เห็นเป็นอัศจรรย์ หรือ
การกระทำที่ให้บังเกิดผลเป็นอัศจรรย์
๒ อิทธิปาฏิหาริย์ หมายถึงปาฏิหาริย์คือฤทธิ์, แสดงฤทธิ์ได้เป็นอัศจรรย์ (ที.สี. (แปล) ๙/๔๘๔/๒๑๔, ขุ.ปฏิ.
(แปล) ๓๑/๓๐/๔๓๖)
๓ อาเทสนาปาฏิหาริย์ หมายถึงปาฏิหาริย์คือการทายใจ, รอบรู้กระบวนการของจิตจนสามารถกำหนด
อาการที่หมายเล็กน้อยแล้วบอกสภาพจิต ความคิด อุปนิสัยได้ถูกต้อง เป็นอัศจรรย์ (ที.สี. (แปล) ๙/๔๘๕/
๒๑๕, ที.ปา. (แปล) ๑๑/๓๐๕/๒๗๕ ขุ.ป. (แปล) ๓๑/๓๐/๔๓๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑. รตนจังกมนกัณฑ์
และอนุสาสนีปาฏิหาริย์๑
ทรงเนรมิตที่จงกรมอันสำเร็จด้วยรัตนะทุกชนิดสำเร็จดีแล้ว
[๑๒] ทรงแสดงภูเขาสิเนรุซึ่งสูงสุดในโลกธาตุมีหมื่นจักรวาล
เป็นดุจเสาเรียงกันไปตามลำดับในที่จงกรมซึ่งทำด้วยรัตนะ
[๑๓] พระชินเจ้าทรงเนรมิตที่จงกรมเลยขอบปากหมื่นจักรวาล
ชานทั้ง ๒ ด้าน ที่จงกรมที่สำเร็จด้วยรัตนะ สำเร็จด้วยทองคำล้วน
[๑๔] ทรงเนรมิตไพที๒ทองคำล้วน ลาดด้วยแผ่นทองคำ
อันเหมาะสมแก่ขื่อและเต้าไว้ทั้ง ๒ ข้าง
[๑๕] รัตนจงกรมที่ทรงเนรมิต เกลื่อนไปด้วยทรายแก้วมณี
ทรายแก้วมุกดา สว่างไปทั่วทิศ เหมือนดวงอาทิตย์อุทัย
[๑๖] พระชินสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงเป็นนักปราชญ์
มีพระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ๓
ทรงเปล่งปลั่งด้วยพระรัศมีที่รุ่งเรือง
เสด็จจงกรมอยู่ ณ ที่จงกรมนั้น
[๑๗] เทพทั้งปวงที่มาประชุมกัน
ต่างก็โปรยปรายดอกมณฑารพ ดอกปทุม
และดอกปาริฉัตตกะอันเป็นทิพย์ลงบนที่จงกรม
[๑๘] เทพทั้งหลายในหมื่นจักรวาล
ได้เห็นพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นจึงได้มาประชุมกัน
ต่างก็ยินดีร่าเริงบันเทิงใจ หมอบลงกราบ
[๑๙] เทวดาทั้งหลายชั้นดาวดึงส์ ชั้นยามา ชั้นดุสิต
ชั้นนิมมานรดี และชั้นปรนิมมิตวสวัตดี

เชิงอรรถ :
๑ อนุสาสนีปาฏิหาริย์ หมายถึงคำสอนเป็นอัศจรรย์
๒ ดูเชิงอรรถหน้า ๘๖ ในเล่มนี้
๓ ดูเชิงอรรถหน้า ๑๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑. รตนจังกมนกัณฑ์
ต่างก็มีจิตเบิกบาน มีใจดี
พากันมองดูพระองค์ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
[๒๐] นาค ครุฑ หรือแม้กินนร พร้อมด้วยเหล่าเทวดา
คนธรรพ์ มนุษย์ และรากษส ต่างก็ได้เห็นพระศาสดา
ผู้ทรงเกื้อกูล อนุเคราะห์สัตว์โลก
เหมือนดวงจันทร์ลอยเด่นอยู่ในนภากาศ
[๒๑] เหล่าอาภัสสรพรหม สุภกิณหพรหม เวหัปผลพรหม
และอกนิฏฐพรหม ต่างองค์ก็นุ่งผ้าขาวล้วนยืนประนมมือ
[๒๒] ต่างก็โปรยปรายดอกไม้ ๕ สี และดอกมณฑารพ๑
ที่เจือด้วยกระแจะจันทน์ และพากันโบกผ้าอยู่บนท้องฟ้า
ครั้งนั้น ทั้งหมดต่างก็เปล่งเสียงว่า
น่าอัศจรรย์ พระชินเจ้าผู้ทรงเกื้อกูล อนุเคราะห์สัตว์โลก
[๒๓] พระองค์ผู้สูงสุดแห่งเทวดาและมนุษย์
ทรงเป็นพระศาสดา ปรากฏดังเสาธง
เป็นหลักชัย เป็นที่พึ่งอาศัย และเป็นประทีปของปวงสัตว์
[๒๔] เทวดาทั้งหลายผู้มีฤทธิ์มากในหมื่นจักรวาล๒
ต่างก็ยินดีร่าเริงบันเทิงใจ พากันแวดล้อมถวายบังคม
[๒๕] เทพบุตรและเทพกัญญา ต่างก็เลื่อมใส
มีใจยินดี พากันบูชาพระผู้องอาจกว่านรชน ด้วยดอกไม้ ๕ สี
[๒๖] เทวดาทั้งหลาย ได้เห็นพระศาสดาพระองค์นั้น
ต่างก็เลื่อมใส มีใจยินดี
พากันบูชาพระองค์ผู้องอาจกว่านรชน
ด้วยดอกไม้ ๕ สี แล้วเปล่งเสียงว่า

เชิงอรรถ :
๑ ดอกมณฑารพ หมายถึงดอกไม้ทิพย์ (ที.ม. (แปล) ๑๐/๑๙๙/๑๔๘)
๒ ในหมื่นจักรวาล แปลมาจากศัพท์ว่า ทสสหสฺสีโลกธาตุยา (ขุ.พุทฺธ.อ. ๑๘/๖๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑. รตนจังกมนกัณฑ์
[๒๗] ‘โอ ! น่าอัศจรรย์ ขนพองสยองเกล้า
ไม่เคยปรากฏในโลก ความอัศจรรย์
ขนพองสยองเกล้าเช่นนี้ ไม่เคยปรากฏ’
[๒๘] เทวดาเหล่านั้นนั่งอยู่ในภพของตน ๆ
ได้เห็นความอัศจรรย์ในนภากาศแล้ว
พากันหัวเราะดังลั่น
[๒๙] เหล่าภุมมเทวดาที่ประจำอยู่ตามต้นไม้
และอากาสัฏฐเทวดาที่ประจำอยู่ตามดวงดาว
ต่างก็มีความยินดีร่าเริงบันเทิงใจ พากันประนมมือนมัสการ
[๓๐] แม้พวกนาคที่มีอายุยืน มีบุญญาธิการ มีฤทธิ์มาก
ต่างก็มีความบันเทิงใจ นมัสการ
บูชาพระศาสดาเป็นผู้สูงสุดแห่งนรชน
[๓๑] บรรเลงสังคีต ตีกลองกันอยู่ในอากาศกลางเวหา
เพราะเห็นเหตุอัศจรรย์ในนภากาศ
[๓๒] เทวดาจำนวนมาก เป่าสังข์ แกว่งบัณเฑาะว์
เคาะมโหระทึก บรรเลงอยู่ในนภากาศ
เพราะเห็นความมหัศจรรย์ในนภากาศ
[๓๓] เป็นความอัศจรรย์หนอไม่เคยปรากฏ
วันนี้เกิดขนพองสยองเกล้าขึ้นแล้ว
เราทั้งหลายได้ความสำเร็จประโยชน์ที่ยั่งยืน
ขณะเราทั้งหลายให้สำเร็จเฉพาะแล้ว’
[๓๔] เพราะได้สดับคำว่า “พุทโธ”
เทวดาเหล่านั้นเกิดปีติในขณะนั้น
ต่างก็ยืนประนมมือกล่าวว่า ‘พุทโธ พุทโธ‘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑. รตนจังกมนกัณฑ์
[๓๕] สัตว์ต่าง ๆ ที่อยู่ในฟากฟ้า
ต่างก็ประนมมือเปล่งเสียงสาธุการดังกระหึ่ม
และเสียงโห่ร้องบันลือลั่น
[๓๖] นาคทั้งหลายต่างก็ขับร้อง ประสานเสียง
ประโคม ปรบขนด ฟ้อนรำ
และต่างก็โปรยปรายดอกไม้ ๕ สี และดอกมณฑารพ
ที่เจือด้วยกระแจะจันทน์
[๓๗] กราบทูลว่า ‘ข้าแต่พระมหาวีระ
ที่พระยุคลบาทของพระองค์มีจักรลักษณะเป็นรูปธงชัย
รูปธงปฏาก รูปวชิราวุธ รูปแว่นแก้ว และรูปขอ
[๓๘] ไม่มีใครเทียบกับพระองค์ได้ในเพราะรูปกาย
ศีล สมาธิ ปัญญา และวิมุตติ
อนึ่ง ไม่มีใครเสมอเหมือนกับพระองค์ได้
ในเพราะการประกาศพระธรรมจักร
[๓๙] กำลังกายของพญาช้าง ๑๐ เชือก
เท่ากับกำลังกายตามปกติของพระองค์
ไม่มีใครเสมอกับพระองค์ด้วยกำลังฤทธิ์
ทั้งไม่มีใครเสมอเหมือนกับพระองค์ได้
ในเพราะการประกาศพระธรรมจักร
[๔๐] ท่านทั้งหลายจงนมัสการพระมหามุนี
ผู้ประกอบด้วยคุณสมบัติทุกประการ
ทรงประกอบด้วยองค์คุณทั้งปวง
ทรงมีพระกรุณา ทรงเป็นที่พึ่งของสัตว์โลกอย่างนี้
[๔๑] พระองค์ย่อมควรแก่การอภิวาท การสดุดี
การไหว้ การสรรเสริญ การนมัสการ
และการบูชาทุกอย่าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑. รตนจังกมนกัณฑ์
[๔๒] ข้าแต่พระมหาวีระ บุคคลผู้ประเสริฐที่สุด
ในบรรดาบุคคลผู้ที่ต้องไหว้
และบุคคลที่ควรไหว้ทั้งหมดในโลกเช่นกับพระองค์ไม่มี
[๔๓] พระสารีบุตรผู้มีปัญญามาก
เป็นผู้ฉลาดในสมาธิและในฌาน ยืนอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ
ได้เห็นพระองค์ ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
[๔๔] มองดูพระองค์ผู้องอาจกว่านรชน
ผู้งามเหมือนต้นพญาไม้สาละที่มีดอกบานสะพรั่ง
เหมือนดวงจันทร์ในท้องฟ้า
และเหมือนดวงอาทิตย์ในยามเที่ยงวัน
[๔๕] เห็นพระองค์ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก ผู้เป็นนักปราชญ์
ซึ่งมีพระรัศมีแวดล้อมอยู่ด้านละวา
รุ่งเรืองเหมือนต้นพฤกษาประทีป
งามเด่นเหมือนดวงอาทิตย์ยามรุ่งอรุณ
[๔๖] พระสารีบุตรได้นิมนต์ภิกษุ ๕๐๐ รูป
มีกิจอันกระทำแล้ว ผู้คงที่ ผู้เป็นพระขีณาสพ
ผู้ปราศจากมลทินให้มาประชุมกันในขณะนั้น
[๔๗] แล้วกล่าวว่า พระชินเจ้าทรงแสดงปาฏิหาริย์
อันทำสัตว์โลกทั้งผองให้เลื่อมใส
แม้เราทั้งหลายก็จักไปกราบไหว้พระชินเจ้า ณ ที่นั้น
[๔๘] มาเถิด เราทั้งปวงจักไปเฝ้าพระชินเจ้า
ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก จักทูลถามให้บรรเทาความสงสัย
[๔๙] ภิกษุผู้มีปัญญารักษาตน สำรวมอินทรีย์เหล่านั้น
รับคำว่า “สาธุ” แล้วต่างก็ถือบาตรและจีวร
พากันเข้าไปหา(พระสารีบุตร)อย่างรีบเร่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑. รตนจังกมนกัณฑ์
[๕๐] พระสารีบุตรผู้มีปัญญามาก
พร้อมด้วยพระขีณาสพผู้ปราศจากมลทิน
ผู้ฝึกตนในการฝึกอันยอดเยี่ยม๑ พากันไปเฝ้าด้วยฤทธิ์
[๕๑] พระสารีบุตรผู้เป็นเจ้าคณะใหญ่อันภิกษุเหล่านั้นแวดล้อม
เข้าเฝ้าด้วยฤทธิ์ ดังเทวดาลอยมาในฟากฟ้า
[๕๒] ภิกษุเหล่านั้น ผู้มีวัตรงาม มีความเคารพยำเกรง
ไม่ไอ ไม่จาม พากันเข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
[๕๓] ครั้นเข้าเฝ้าแล้ว เห็นพระสยัมภูวีรเจ้าผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ลอยเด่นอยู่ในนภากาศเหมือนดวงจันทร์ในฟากฟ้า
[๕๔] เห็นพระพุทธเจ้า ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ผู้รุ่งเรืองดังต้นพฤกษาประทีป
เหมือนสายฟ้าในท้องฟ้า
และเหมือนดวงอาทิตย์ในยามเที่ยงวัน
[๕๕] ภิกษุทั้ง ๕๐๐ รูป เห็นพระพุทธเจ้า
ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก ดังห้วงน้ำใสแจ๋ว
และดังปทุมชาติที่กำลังบาน
[๕๖] ต่างก็ยินดีร่าเริงบันเทิงใจ
ประนมมือหมอบลงนอบน้อม
แทบพระยุคลบาทที่มีจักรลักษณะของพระศาสดา
[๕๗] พระสารีบุตรผู้มีปัญญามาก
มีผิวพรรณเสมอเหมือนดอกหงอนไก่
เป็นผู้ฉลาดในสมาธิและในฌาน
ไหว้พระศาสดาผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
[๕๘] พระมหาโมคคัลลานะผู้มีฤทธิ์มาก
ไม่มีใครเสมอได้ด้วยกำลังฤทธิ์

เชิงอรรถ :
๑ อันยอดเยี่ยม หมายถึงพระอรหัตตผล (ขุ.พุทธ.อ. ๕๐-๕๑/๘๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑. รตนจังกมนกัณฑ์
มีผิวพรรณเสมอเหมือนดอกอุบลเขียว
ได้บันลือมา(ด้วยวิสัยแห่งฤทธิ์)
เหมือนเมฆในฤดูฝนคำรนอยู่
[๕๙] แม้พระมหากัสสปเถระผู้ผิวพรรณดั่งทองที่หลอมอยู่ในเบ้า
พระศาสดาทรงสรรเสริญตั้งไว้ว่า
เป็นผู้เลิศในฝ่ายธุดงค์คุณ
[๖๐] พระอนุรุทธเถระผู้เป็นเจ้าคณะใหญ่
เลิศกว่าบรรดาภิกษุทั้งหลายฝ่ายทิพยจักษุ
เป็นพระญาติผู้ประเสริฐของพระผู้มีพระภาค ยืนอยู่ในที่ไม่ไกล
[๖๑] พระอุบาลีเถระผู้ฉลาดในอาบัติ อนาบัติ และสเตกิจฉา
พระศาสดาทรงสรรเสริญตั้งไว้ว่า
เป็นผู้เลิศในฝ่ายพระวินัย
[๖๒] พระเถระผู้ฤาษีปรากฏชื่อว่าปุณณมันตานีบุตร
ผู้รู้แจ้งในอรรถอันละเอียดสุขุม๑
ประเสริฐกว่าภิกษุทั้งหลายฝ่ายพระธรรมกถึก เป็นหัวหน้าคณะ
[๖๓] พระมุนีมหาวีระผู้ทรงฉลาดในอุปมา ตัดความสงสัย
ทรงทราบจิตของท่านเหล่านั้นแล้ว
จึงตรัสถึงพระคุณของพระองค์ว่า
[๖๔] สิ่งที่นับไม่ได้ มีที่สุด
ที่บุคคลรู้ไม่ได้ ๔ อย่าง
คือ (๑) หมู่สัตว์ (๒) อากาศ (๓) อนันตจักรวาล
(๔) พระพุทธญาณที่หาประมาณมิได้
สิ่งเหล่านี้อันใคร ๆ ไม่อาจรู้แจ้งได้

เชิงอรรถ :
๑ รู้แจ้งในอรรถอันสุขุม หมายถึงญาณหยั่งรู้สัจจะ ๔ และนิพพาน ซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์ของตน (ขุ.เถร.อ.
๑/๔/๕๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑. รตนจังกมนกัณฑ์
[๖๕] การที่เราจะแสดงฤทธิ์นี้ จะอัศจรรย์อะไรในโลกเล่า
เพราะความอัศจรรย์ที่ทำให้เกิดขนพองสยองเกล้าอย่างอื่น
ยังมีอยู่อีกมากมาย
[๖๖] ในกาลใด เราเป็นเทพอยู่ในสวรรค์ชั้นดุสิต
ในกาลนั้น เรามีชื่อว่าสันดุสิตเทพบุตร
เทวดาในหมื่นจักรวาล ได้มาประชุมกันแล้ว
ประนมมือกล่าวอัญเชิญเราว่า
[๖๗] ข้าแต่พระมหาวีระ
บัดนี้ ถึงเวลาสมควรของพระองค์แล้ว
ขอเชิญพระองค์เสด็จอุบัติในพระครรภ์มารดา
ตรัสรู้อมตบทช่วยสัตว์โลกพร้อมทั้งเทวโลก
ให้ข้ามพ้น(สังสารวัฏ)เถิด
[๖๘] ขณะเมื่อเราจุติจากสวรรค์ชั้นดุสิตลงสู่ครรภ์นั้น
โลกธาตุมีหมื่นจักรวาล แผ่นดินก็ไหว
[๖๙] ขณะเมื่อเรามีความรู้สึกตัว ประสูติจากพระครรภ์มารดานั้น
ทวยเทพก็พากันสาธุการ หมื่นจักรวาลก็ไหว
[๗๐] ในการก้าวลงสู่พระครรภ์มารดา
และในการประสูติ ไม่มีใครเสมอด้วยเรา
เราเป็นผู้ประเสริฐที่สุดในการตรัสรู้
และในการประกาศพระธรรมจักร
[๗๑] โอ ! ความอัศจรรย์ได้มีในโลก
เพราะพระพุทธเจ้าทรงพระคุณมาก
โลกธาตุมีหมื่นจักรวาลไหว ๖ ครั้ง
มีรัศมีสว่างจ้า น่าอัศจรรย์ขนพองสยองเกล้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑. รตนจังกมนกัณฑ์
[๗๒] ก็สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคชินเจ้า
ผู้เจริญที่สุดในโลก ทรงองอาจกว่านรชน
เสด็จจงกรมด้วยพระฤทธิ์ แสดงให้มนุษย์พร้อมทั้งเทวโลกเห็น
[๗๓] พระศาสดาผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
เสด็จจงกรมอยู่ ในที่จงกรมนั่นเอง
ตรัสธรรมีกถา ไม่เสด็จกลับในระหว่าง
เหมือนเสด็จจงกรมอยู่ในที่จงกรมเพียง ๔ ศอก
[๗๔] พระสารีบุตรผู้มีปัญญามาก
เป็นผู้ฉลาดในสมาธิและฌาน
ถึงความบริบูรณ์ด้วยปัญญา
ได้ทูลถามพระศาสดาผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลกว่า
[๗๕] ข้าแต่พระมหาวีระ เป็นผู้สูงสุดแห่งนรชน
อภินิหารของพระองค์เป็นเช่นไร
ข้าแต่พระวีรเจ้า พระองค์ทรงปรารถนา
พระโพธิญาณอันสูงสุดในกาลไร
[๗๖] ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ
สัจจะ และอธิษฐานเป็นเช่นไร เมตตาและอุเบกขาเป็นเช่นไร
[๗๗] ข้าแต่พระมหาวีระ ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
บารมี ๑๐ เป็นอย่างไร อุปบารมี ๑๐ เต็มได้อย่างไร
และปรมัตถบารมี ๑๐ เต็มได้อย่างไร
เพราะทรงอธิษฐานกรรมอะไร เป็นอธิบดีได้อย่างไร
มีบารมีได้อย่างไร นักปราชญ์เป็นเช่นไร ในโลก
เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขาเป็นเช่นไร
พระองค์ทรงบำเพ็ญพุทธการกธรรม
(ธรรมที่กระทำความเป็นพระพุทธเจ้า)
ให้บริบูรณ์สิ้นเชิงได้อย่างไร’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒. สุเมธกถา
[๗๘] พระศาสดา ผู้มีพระสุรเสียงไพเราะดังเสียงนกการเวก
อันพระสารีบุตรนั้นทูลถามแล้ว ทรงพยากรณ์ให้เย็นใจ
และทรงทำมนุษยโลกพร้อมทั้งเทวโลกให้ร่าเริง
[๗๙] พระศาสดาทรงประกาศประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์โลก
ที่พระพุทธชินเจ้าในอดีตทรงแสดงไว้ ทรงชมเชย
ที่นำสืบ ๆ กันมาของพระพุทธเจ้า
ด้วยพระพุทธญาณที่ไปตามปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
ในโลกพร้อมทั้งเทวโลกว่า
[๘๐] ท่านทั้งหลายจงทำจิตให้เกิดปีติปราโมทย์
ให้บรรเทาลูกศรคือความเศร้าโศก ให้ได้สมบัติทั้งปวงแล้วจงฟังเรา
[๘๑] ท่านทั้งหลายจงดำเนินไปตามมรรคที่ย่ำยีความเมา
บรรเทาความเศร้าโศก เปลื้องตนจากสงสาร
เป็นที่สิ้นทุกข์ทั้งปวง โดยความเคารพเถิด
รตนจังกมนกัณฑ์ จบ

๒. สุเมธกถา
ว่าด้วยสุเมธพุทธเจ้า
[๑] ใน ๔ อสงไขย ๑๐๐,๐๐๐ กัป
มีนครหนึ่งชื่อว่าอมระ เป็นนครที่น่าชม น่ารื่นรมย์ใจ
[๒] เป็นนครที่สมบูรณ์ด้วยข้าว น้ำ
ไม่ว่างเว้นจากเสียง ๑๐ ประการ
คือ เสียงช้าง เสียงม้า เสียงกลอง เสียงสังข์
เสียงรถ(เสียงตะโพน เสียงพิณ เสียงเพลงขับ เสียงฉิ่ง)
และเสียงเชื้อเชิญด้วยของกินและเครื่องดื่มว่า
เชิญท่านเคี้ยวกิน เชิญท่านดื่ม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒. สุเมธกถา
[๓] เป็นนครที่สมบูรณ์ด้วยองค์คุณทั้งปวง
ประกอบด้วยการงานทุกอย่าง
สมบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗ ประการ
คับคั่งไปด้วยหมู่ชนต่าง ๆ
เป็นนครที่อุดมสมบูรณ์เหมือนเทพนคร
เป็นที่อยู่ของผู้มีบุญ
[๔] เราเป็นพราหมณ์นามว่าสุเมธะ
อยู่ในกรุงอมรวดี สั่งสมทรัพย์ไว้หลายโกฏิ
มีทรัพย์สมบัติและธัญญาหารมากมาย
[๕] เป็นผู้คงแก่เรียน ทรงจำมนตร์ จบไตรเพท
ถึงความสำเร็จในคัมภีร์ทำนายลักษณะ๑
และอิติหาสะ๒และในธรรมของตน
[๖] นั่งอยู่ในที่สงัด คิดอย่างนี้ว่า
การเกิดในภพใหม่ และการแตกไปแห่งสรีระเป็นทุกข์
ความหลงตายเป็นทุกข์ ชีวิตถูกชราย่ำยี
[๗] ก็ครั้งนั้น เรามีความเกิด ความแก่
ความป่วยไข้เป็นธรรมดา
เราจักแสวงหาพระนิพพาน
ที่ไม่แก่ ไม่ตาย เป็นแดนเกษม
[๘] เอาเถิด เราควรเป็นผู้ไม่มีความห่วงใย
ไม่มีความต้องการ ละทิ้งร่างกายที่เปื่อยเน่า
เต็มไปด้วยซากศพต่าง ๆ นี้ไปเสีย
[๙] มรรคนั้นไม่อาจจะไม่เป็นเหตุ มรรคนั้นที่มีอยู่ก็จักมี
เราจักแสวงหามรรคนั้น เพื่อหลุดพ้นไปจากภพ

เชิงอรรถ :
๑ ทำนายลักษณะ หมายถึงทำนายลักษณะหญิง ลักษณะชาย ลักษณะมหาบุรุษ (ขุ.พุทฺธ.อ. ๕/๑๐๘)
๒ อิติหาสะ หมายถึงคัมภีร์พิเศษ ซึ่งเป็นคัมภีร์เก่าแก่ของพราหมณ์ว่าด้วยคำพูดว่าเป็นเช่นนี้ (ขุ.พุทฺธ.อ
๕/๑๐๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒. สุเมธกถา
[๑๐] เมื่อความทุกข์มี ชื่อว่าความสุขก็ต้องมีฉันใด
เมื่อภพมีอยู่ วิภพ๑ก็จำต้องปรารถนา ฉันนั้น
[๑๑] เมื่อความร้อนมี ความเย็นอย่างอื่นก็ต้องมีฉันใด
เมื่อไฟ ๓๒ อย่างมีอยู่
นิพพาน(ความดับ)ก็จำต้องปรารถนา ฉันนั้น
[๑๒] เมื่อความชั่วมี แม้ความดีก็ต้องมี ฉันใด
เมื่อความเกิดมีอยู่ ความไม่เกิดก็จำต้องปรารถนา ฉันนั้น
[๑๓] บุรุษผู้ตกไปในหลุมคูถเห็นสระน้ำเต็ม
ไม่เข้าไปยังสระน้ำนั้น นั้นไม่ใช่ความผิดของสระน้ำ ฉันใด
[๑๔] เมื่อสระน้ำอมฤต๓มีอยู่ บุคคลไม่แสวงหาสระน้ำนั้น
อันเป็นที่ชำระมลทินคือกิเลส
นั้นก็ไม่ใช่ความผิดของสระน้ำอมฤต ฉันนั้น
[๑๕] เมื่อทางไปมีอยู่ บุรุษนั้นถูกข้าศึกปิดล้อมไม่ยอมหนีไป
นั้นไม่ใช่ความผิดของหนทาง ฉันใด
[๑๖] เมื่อทางเกษมมีอยู่ บุคคลถูกกิเลสปิดล้อม
ไม่แสวงหาทางนั้น นั้นก็ไม่ใช่ความผิดของทางอันเกษม ฉันนั้น
[๑๗] คนป่วย เมื่อหมอมีอยู่ ก็ไม่ให้หมอเยียวยา
ความป่วยไข้นั้น นั้นไม่ใช่ความผิดของหมอ ฉันใด
[๑๘] คนมีทุกข์ถูกความป่วยไข้คือกิเลสเบียดเบียน
ไม่แสวงหาอาจารย์ นั้นก็ไม่ใช่ความผิดของอาจารย์ผู้แนะนำ

เชิงอรรถ :
๑ วิภพ หมายถึงธรรมที่ไม่ให้เกิด (ขุ.พุทธ.อ. ๑๐/๑๑๐)
๒ ไฟ ๓ หมายถึงไฟคือราคะ โทสะ และโมหะ (ที.ปา. (แปล) ๑๑/๓๐๕/๒๖๘)
๓ สระน้ำอมฤต ในที่นี้หมายถึงนิพพาน ( ขุ.พุทฺธ.อ. ๑๔/๑๑๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒. สุเมธกถา
เอาเถิดเราควรเป็นผู้ไม่มีความห่วงใย
ไม่มีความต้องการ ละทิ้งร่างกายที่เปื่อยเน่า
เต็มไปด้วยซากศพต่าง ๆ นี้ไปเสีย ฉันนั้น
[๑๙] คนปลดเปลื้องซากศพที่น่ารังเกียจที่ผูกไว้ที่คอแล้ว
ไปอยู่เป็นสุขอย่างเสรีตามลำพังตน ฉันใด
[๒๐] เราไม่มีความห่วงใย ไม่มีความต้องการ
ละทิ้งร่างกายที่เปื่อยเน่าเป็นที่รวมซากศพต่าง ๆ นี้ไปเสีย ฉันนั้น
[๒๑] คนชายหญิงถ่ายอุจจาระลงในส้วม
แล้วละทิ้งส้วมไปไม่มีความห่วงใย ไม่มีความต้องการ ฉันใด
[๒๒] เราจักละทิ้งร่างกายที่เต็มไปด้วยซากศพต่าง ๆ นี้ไปเสีย
ดุจคนถ่ายอุจจาระ(ลงในส้วม) แล้วละทิ้งส้วมไป ฉันนั้น
[๒๓] เจ้าของเรือทิ้งเรือที่คร่ำคร่า ชำรุด น้ำไหลเข้าได้ไป
อย่างไม่มีความห่วงใย ไม่มีความต้องการ ฉันใด
[๒๔] เราจักละทิ้งร่างกายนี้ที่มีทวาร ๙
มีของไม่สะอาดไหลออกอยู่เป็นนิตย์ไปเสีย
ดุจเจ้าของเรือละทิ้งเรือที่คร่ำคร่าไป ฉันนั้น
[๒๕] บุรุษนำสิ่งของมีค่าไปกับพวกโจร
เห็นภัยคือการถูกปล้นสิ่งของจึงละทิ้ง(โจร)ไปเสีย ฉันใด
[๒๖] กายนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เปรียบเสมอด้วยมหาโจร
เราจักละกายนี้ไปเพราะกลัวแต่การปล้นกุศลธรรม ฉันนั้น
[๒๗] ครั้นเราคิดอย่างนี้แล้ว ได้ให้ทรัพย์หลายร้อยโกฏิ
แก่คนมีที่พึ่งและไม่มีที่พึ่งแล้วเข้าไปยังภูเขาหิมพานต์
[๒๘] ในที่ไม่ไกลจากภูเขาหิมพานต์ มีภูเขาลูกหนึ่งชื่อธรรมิกะ
เราสร้างอาศรมอย่างดี สร้างบรรณศาลาอย่างดีไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒. สุเมธกถา
[๒๙] ในที่นั้น เราสร้างที่จงกรมซึ่งเว้นโทษ ๕ ประการ๑
เป็นที่นำมาซึ่งอภิญญาพละประกอบด้วยคุณ ๘ ประการ ๒
[๓๐] ละทิ้งผ้าสาฎกซึ่งประกอบด้วยโทษ ๙ ประการ๓เสีย
แล้วนุ่งผ้าคากรอง(ผ้าเปลือกไม้) ซึ่งประกอบด้วยคุณ ๑๒ ประการ
[๓๑] เราละทิ้งบรรณศาลาที่ประกอบไปด้วยโทษ ๘ ประการ๔เสีย
เข้าไปอาศัยโคนต้นไม้ซึ่งประกอบด้วยคุณ ๑๐ ประการ๕
[๓๒] เราละทิ้งข้าวเปลือกที่หว่านไว้ ปลูกไว้เสียโดยไม่เหลือ
บริโภคผลไม้ที่หล่นเองซึ่งประกอบด้วยคุณหลายอย่าง
[๓๓] ในที่นั้น เราบำเพ็ญความเพียรอยู่ในที่นั่งที่ยืนและที่จงกรม
ภายในเวลา ๗ วัน ก็ได้บรรลุอภิญญาพละ
[๓๔] เมื่อเราบรรลุถึงความสำเร็จ
มีความชำนาญในศาสนาอย่างนี้แล้ว
พระชินเจ้าพระนามว่าทีปังกร ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว
[๓๕] ในขณะที่พระชินเจ้าทรงปฏิสนธิ ประสูติ ตรัสรู้
และแสดงธรรม เราเป็นผู้เปี่ยมด้วยความยินดีในฌาน
จึงไม่ได้เห็นนิมิต ๔ ประการ

เชิงอรรถ :
๑ โทษ ๕ ประการ คือ (๑) ที่แข็งกระด้างขรุขระ (๒) มีต้นไม้อยู่ภายใน (๓) มีกอไม้ปกคลุม (๔) แคบเกินไป
(๕) กว้างเกินไป (ขุ.พุทธ.อ. ๒๙/๑๑๗)
๒ ประกอบด้วยคุณ ๘ ประการ หมายถึงประกอบด้วยสุขของสมณะ ๘ ประการ (๑) มีจิตเป็นสมาธิ
(๒) บริสุทธิ์ (๓) ผุดผ่อง (๔) ไม่มีกิเลสยียวน (๕) ปราศจากกิเลส ที่เป็นเหตุให้เศร้าหมอง (๖) อ่อนโยน
(๗) ควรแก่การงาน (๘) ตั้งขึ้นไม่หวั่นไหว (ขุ.พุทฺธ.อ. ๒๙/๑๑๗)
๓ ขุ.พุทฺธ.อ. ๓๐/๑๑๘
๔ ขุ.พุทฺธ.อ. ๓๐/๑๑๘
๕ ขุ.พุทฺธ.อ. ๓๑/๑๑๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒. สุเมธกถา
[๓๖] ในแคว้นปัจจันตประเทศ ชนทั้งหลาย
ทูลนิมนต์พระตถาคตแล้ว มีใจยินดี
ช่วยกันแผ้วถางทางสำหรับพระตถาคตเสด็จดำเนินมา
[๓๗] ครั้งนั้น เราออกจากอาศรมของตนแล้ว
สลัดผ้าคากรอง เหาะไปในท้องฟ้า
[๓๘] เห็นหมู่ชนผู้มีจิตโสมนัส ยินดีร่าเริงบันเทิงใจ
จึงลงจากท้องฟ้ามาถามมนุษย์ทั้งหลายในขณะนั้นว่า
[๓๙] มหาชนผู้มีจิตโสมนัส ยินดีร่าเริงบันเทิงใจ
ช่วยกันแผ้วถางทางสำหรับเดินเพื่อใคร
[๔๐] ชนเหล่านั้นถูกเราถามแล้วบอกว่า
‘พระพุทธชินเจ้าผู้ยอดเยี่ยม พระนามว่าทีปังกร
ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก เสด็จอุบัติขึ้นในโลกแล้ว
ชนทั้งหลายช่วยกันแผ้วถางทางสำหรับเสด็จดำเนินเพื่อพระองค์’
[๔๑] เดี๋ยวนั้น ปีติเกิดแก่เราเพราะได้ฟังคำว่า ‘พุทโธ‘
เราจึงกล่าวประกาศความโสมนัสว่า ‘พุทโธ พุทโธ‘
[๔๒] เราทั้งยินดี ทั้งตื้นตันใจ ยืนคิดอยู่ ณ ที่นั้นว่า
‘เราจักปลูกพืชคือบุญลงในที่นี้ ขณะอย่าได้ล่วงเลยไป’
[๔๓] แล้วกล่าวว่า ‘ถ้าท่านทั้งหลายช่วยกันแผ้วถางทางเพื่อพระพุทธเจ้า
ขอจงให้โอกาสหนึ่งแก่ข้าพเจ้า
แม้ข้าพเจ้าก็จะช่วยแผ้วถางทางสำหรับเสด็จดำเนิน’
[๔๔] ครั้งนั้น ชนเหล่านั้นได้ให้โอกาสแก่เราเพื่อการแผ้วถางทาง
เราแผ้วถางทางไปพลางคิดไปพลางว่า ‘พุทโธ พุทโธ‘
[๔๕] เมื่อโอกาสของเรายังไม่ทันเสร็จ
พระชินมหามุนีพระนามว่าทีปังกร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒. สุเมธกถา
กับพระขีณาสพ ๔๐๐,๐๐๐ รูป
ผู้ได้อภิญญา ๖ ผู้คงที่ ปราศจากมลทินก็เสด็จมาถึงทาง
[๔๖] การต้อนรับย่อมเป็นไป คนเป็นอันมากประโคมกลองเภรี
เทวดาและมนุษย์ต่างก็มีความชื่นชม เปล่งเสียงสาธุการ
[๔๗] เทวดาก็เห็นมนุษย์ มนุษย์ก็เห็นเทวดา
ทั้ง ๒ พวกนั้น พากันประนมมือเดินตามพระตถาคต
[๔๘] เทวดาทั้งหลายนำดนตรีทิพย์มาประโคม
มนุษย์ทั้งหลายนำดนตรีมนุษย์มาประโคม
ทั้ง ๒ พวกนั้นพากันประโคม
[๔๙] เทพผู้อยู่ในนภากาศ
ต่างก็โปรยปรายดอกมณฑารพ ดอกปทุม
ดอกปาริฉัตตกะอันเป็นทิพย์ลงมายังทิศน้อยทิศใหญ่
[๕๐] และโปรยปรายกระแจะจันทน์ และของหอมอย่างดี
ล้วนแต่เป็นของทิพย์ลงมายังทิศน้อยทิศใหญ่
[๕๑] มนุษย์ทั้งหลายผู้อยู่บนพื้นดิน ต่างก็โปรยปรายดอกจำปา
ดอกสน กระทุ่ม ดอกกากะทิง
ดอกบุนนาค ดอกการะเกดลงมายังทิศน้อยทิศใหญ่
[๕๒] เราสยายผมแล้วลาดผ้าคากรอง
และหนังสัตว์ลงบนเปือกตม
แล้วนอนคว่ำหน้าลงที่นั้น
[๕๓] ด้วยคิดว่า ‘พระพุทธเจ้าพร้อมทั้ง(สาวก)ผู้เป็นศิษย์
จงเหยียบเราเสด็จไปเถิด อย่าทรงเหยียบเปือกตมนั้นเลย
ข้อนั้นจักเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่เรา’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒. สุเมธกถา
[๕๔] เมื่อเรานอนอยู่ที่พื้นดิน มีความคิดอย่างนี้ว่า
เราเมื่อต้องการอยู่ ก็พึงเผากิเลสเราได้ ในวันนี้
[๕๕] (แต่)จะมีประโยชน์อะไรแก่เรา
ที่จะรู้แจ้งพระธรรมในศาสนานี้ โดยเพศที่คนอื่นไม่รู้จัก
เราจักบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ พ้นแล้ว
พึงปลดเปลื้องมนุษย์พร้อมทั้งเทวดา
[๕๖] จะมีประโยชน์อะไรแก่เรา
ที่เป็นผู้ชายเห็นกำลังความสามารถ
จะข้ามพ้นแต่เพียงผู้เดียว
เราจักบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ
ช่วยมนุษยโลกพร้อมทั้งเทวโลกให้ข้ามพ้นด้วย
[๕๗] ด้วยอธิการ(คือกุศลอันยิ่งใหญ่) นี้
ที่เราได้ทำแล้วในพระพุทธเจ้า ทรงเป็นสูงสุดแห่งบุรุษ
เราจะบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ
จะช่วยหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามพ้น
[๕๘] เราจักตัดกระแสสังสารวัฏ๑ ทำลายภพทั้ง ๓๒
แล้วขึ้นสู่ธรรมนาวา๓(เรือคือธรรม)
ช่วยมนุษยโลกพร้อมทั้งเทวโลกให้ข้ามพ้น
[๕๙] อภินิหารย่อมสำเร็จได้เพราะธรรม ๘ ประการ
ประชุมพร้อมกัน คือ ความเป็นมนุษย์ ๑
ความสมบูรณ์ด้วยบุรุษเพศ ๑

เชิงอรรถ :
๑ กระแสสังสารวัฏ ในที่นี้หมายถึง กำเนิด คติ วิญญาณฐิติ สัตตาวาส ๙ หรือกระแสตัณหา (ขุ.พุทฺธ.อ.
๕๘/๑๓๙)
๒ ภพทั้ง ๓ ได้แก่ กามภพ รูปภพ อรูปภพ (ขุ.พุทฺธ.อ. ๕๘/๑๓๙)
๓ ธรรมนาวา ได้แก่ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ (ขุ.พุทฺธ.อ. ๕๘/๑๓๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๗๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒. สุเมธกถา
เหตุที่จะทำให้สำเร็จพระอรหันต์ได้ในชาตินั้น ๑
การได้เห็นพระศาสดา ๑ การบรรพชา ๑
ความถึงพร้อมแห่งคุณ(คือสมาบัติ ๘ และอภิญญา ๕) ๑
อธิการคือการทำให้ยิ่ง ๑ ความเป็นผู้มีฉันทะ ๑
[๖๐] พระพุทธเจ้าพระนามว่าทีปังกร
ผู้ทรงรู้แจ้งโลก สมควรรับเครื่องบูชา
ประทับยืนอยู่เหนือศีรษะเรา ตรัสพระดำรัสนี้ว่า
[๖๑] ‘เธอทั้งหลายจงดูชฎิลดาบสนี้ ผู้มีตบะแก่กล้า
ในกัปอันประมาณมิได้นับจากกัปนี้ไป
เขาจักเป็นพระพุทธเจ้าในโลก
[๖๒] พระตถาคตได้เสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ที่น่ารื่นรมย์
ทรงเริ่มตั้งความเพียรบำเพ็ญทุกรกิริยา
[๖๓] พระตถาคตจักประทับนั่งที่โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวปายาสในที่นั้นแล้ว
เสด็จไปยังแม่น้ำเนรัญชรา
[๖๔] พระชินเจ้าพระองค์นั้น จักเสวยข้าวปายาส
ที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา แล้วเสด็จไปที่โคนต้นโพธิ์
ตามหนทางอันประเสริฐที่ตกแต่งไว้แล้ว
[๖๕] จากนั้น พระองค์ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่
จักทำประทักษิณโพธิมัณฑ์อันยอดเยี่ยมแล้ว
ตรัสรู้ที่โคนต้นอัสสัตถพฤกษ์
[๖๖] พระมารดาผู้ให้กำเนิดพระชินเจ้าพระองค์นี้
จักมีพระนามว่ามายา พระบิดาจักมีพระนามว่าสุทโธทนะ
พระชินเจ้าพระองค์นี้จักมีพระนามว่าโคดม
[๖๗] พระโกลิตเถระและพระอุปติสสเถระ
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒. สุเมธกถา
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าอานนท์ จักเป็นพระอุปัฏฐาก
บำรุงพระชินเจ้าพระองค์นี้
[๖๘] พระเขมาเถรีและพระอุบลวรรณาเถรี
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวิกา
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่า ต้นอัสสัตถพฤกษ์
[๖๙] จิตตคหบดีอุบาสกและหัตถกคหบดีอุบาสก
ชาวเมืองอาฬวี จักเป็นอัครอุปัฏฐาก
นันทมารดาอุบาสิกาและอุตตราอุบาสิกา
จักเป็นอัครอุปัฏฐายิกา
พระโคดมผู้มียศพระองค์นั้นจักมีพระชนมายุประมาณ ๑๐๐ ปี’
[๗๐] เทวดาและมนุษย์ได้ฟังพระดำรัสนี้
ของพระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเสมอเหมือน
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่แล้ว
ต่างก็มีความชื่นชมกล่าวว่า
ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร’
[๗๑] สัตว์ทั้งหลายในหมื่นจักรวาลพร้อมทั้งเทวดา
ต่างก็เปล่งเสียงโห่ร้องปรบมือ ร่าเริง
ประนมมือนมัสการว่า
[๗๒] ‘ถ้าเราทั้งหลายจักพลาดศาสนาของพระโลกนาถพระองค์นี้
เราทั้งหลายก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล
[๗๓] มนุษย์ทั้งหลายเมื่อจะข้ามแม่น้ำ พลาดท่าเฉพาะหน้าแล้ว
ก็ยึดเอาท่าถัดไปจึงข้ามแม่น้ำใหญ่ไป ฉันใด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒. สุเมธกถา
[๗๔] เราทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ถ้าพลาดพระชินเจ้าพระองค์นี้
ก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล
[๗๕] พระพุทธเจ้าพระนามว่าทีปังกร ผู้ทรงรู้แจ้งโลก
สมควรรับเครื่องบูชา
ทรงประกาศกรรมของเราแล้ว
ทรงยกพระบาทเบื้องขวาขึ้น
[๗๖] สาวกของพระชินเจ้าที่อยู่ในที่นั้น
ได้ทำประทักษิณเราทุก ๆ องค์
เทวดา มนุษย์ อสูร ยักษ์ อภิวาทเราแล้ว พากันหลีกไป
[๗๗] ครั้งนั้น เมื่อพระพุทธเจ้าพระนามว่าทีปังกร
ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก พร้อมทั้งพระสงฆ์ล่วงคลองจักษุเราไป
เราลุกขึ้นจากการนอนแล้ว นั่งขัดสมาธิอยู่
[๗๘] เราสำราญใจด้วยความสุข บันเทิงใจด้วยความปราโมทย์
และดื่มด่ำด้วยปีติ นั่งขัดสมาธิอยู่ในกาลนั้น
[๗๙] ครั้งนั้น เรานั่งขัดสมาธิแล้วคิดอย่างนี้ว่า
‘เราเป็นผู้มีความชำนาญในฌาน ถึงความสำเร็จอภิญญา
[๘๐] ในโลกธาตุมีหมื่นจักรวาล ไม่มีฤาษีผู้เสมอกับเรา
ในธรรมคือฤทธิ์ ก็ไม่มีใครเสมอกับเรา เราได้สุขเช่นนี้’
[๘๑] ขณะที่เรานั่งขัดสมาธิอยู่
เทวดาผู้สถิตอยู่ในโลกธาตุมีหมื่นจักรวาล
พากันเปล่งเสียงอย่างกึกก้องว่า
‘ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน
[๘๒] นิมิตเหล่าใดที่เคยปรากฏ
ในขณะที่พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒. สุเมธกถา
นั่งขัดสมาธิอย่างประเสริฐ
นิมิตเหล่านั้นก็ปรากฏในวันนี้
[๘๓] ความหนาวก็บำราศไป และความร้อนก็สงบ
นิมิตเหล่านั้นปรากฏในวันนี้
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน
[๘๔] โลกธาตุมีหมื่นจักรวาล ปราศจากเสียง
หมดความวุ่นวาย นิมิตเหล่านั้นปรากฏในวันนี้
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน
[๘๕] ลมพายุไม่พัด แม่น้ำทั้งหลายก็ไม่ไหล
นิมิตเหล่านั้นปรากฏในวันนี้
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน
[๘๖] ดอกไม้ทั้งหลาย ทั้งที่เป็นพันธุ์ไม้บก
และพันธุ์ไม้น้ำทุกชนิดต่างก็ผลิดอกในขณะนั้น
แม้ในวันนี้ดอกไม้เหล่านั้นก็บานหมดทุกดอก
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน
[๘๗] ไม้เถาหรือไม้ต้นต่างก็เผล็ดผลแล้วในขณะนั้น
แม้ในวันนี้ ไม้ผลเหล่านั้นก็เผล็ดผลแล้วทุกต้น
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน
[๘๘] รัตนะทั้งหลายที่อยู่ในอากาศ
และที่อยู่บนพื้นดินสว่างไสวแล้วในขณะนั้น
แม้ในวันนี้ รัตนะเหล่านั้นก็สว่างไสว
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน
[๘๙] ดนตรีทั้งหลาย ทั้งที่เป็นของมนุษย์
และเป็นของทิพย์ ต่างก็บรรเลงขึ้นแล้วในขณะนั้น
แม้ในวันนี้ ดนตรีทั้ง ๒ อย่างนั้นก็บรรเลง
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒. สุเมธกถา
[๙๐] ทิพยบุปผชาติอันวิจิตร ต่างก็ตกลงจากท้องฟ้าในขณะนั้น
แม้ในวันนี้ ทิพยบุปผชาติเหล่านั้นก็ปรากฏ
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน
[๙๑] มหาสมุทรย่อมกระฉ่อน โลกธาตุมีหมื่นจักรวาลก็ไหว
แม้ในวันนี้ ทั้ง ๒ นั้น(มหาสมุทรและโลกธาตุ)ก็บันลือลั่น
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน
[๙๒] ไฟนรกนับหมื่นดวงก็ดับลงในขณะนั้น
แม้ในวันนี้ ไฟนรกนั้นก็ดับแล้ว
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน
[๙๓] ดวงอาทิตย์ปราศจากมลทิน
ดาวทุกดวงต่างก็สุกสกาว
แม้ในวันนี้ ดวงอาทิตย์และดวงดาวต่างก็ผ่องแผ้วสุกใส
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน
[๙๔] ทั้งที่ฝนไม่ตกเลย (แต่)น้ำในแม่น้ำ
กลับเอ่อขึ้นจากแผ่นดินในขณะนั้น
แม้ในวันนี้ น้ำในแม่น้ำนั้นก็เอ่อขึ้นจากแผ่นดิน
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน
[๙๕] หมู่ดาวนพเคราะห์และหมู่ดาวนักษัตร
เปล่งประกายสว่างทั่วท้องฟ้า
ดวงจันทร์ประกอบด้วยวิสาขฤกษ์แจ่มจรัส
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน
[๙๖] สัตว์ทั้งหลายจำพวกที่อยู่ในรู
และจำพวกที่อาศัยอยู่ตามซอก
ต่างก็พากันออกจากที่อยู่ของตน
แม้ในวันนี้ สัตว์เหล่านั้นละทิ้งที่อยู่อาศัย
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒. สุเมธกถา
[๙๗] ความไม่พอใจมิได้มีแก่สัตว์ทั้งหลาย
สัตว์ทั้งหลายต่างพากันยินดีอยู่ทั่วกันในขณะนั้น
แม้ในวันนี้ สัตว์ทั้งหลายก็ยินดีอยู่ด้วยกันทั้งสิ้น
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน
[๙๘] โรคทั้งหลายต่างก็สงบระงับลง
และความหิวโหยก็หายไปในขณะนั้น
แม้ในวันนี้ ภาวะทั้ง ๒ อย่างนั้นก็ปรากฏเหมือนกัน
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน
[๙๙] ราคะก็เบาบางลงไป โทสะ และโมหะ
ต่างก็ถดถอยไปในขณะนั้น
แม้ในวันนี้ กิเลสเหล่านั้นก็ปราศจากไปจนหมดสิ้น
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน
[๑๐๐] ภัยมิได้มีในขณะนั้น แม้ในวันนี้ ก็ปรากฏอย่างนั้น
เพราะเหตุนั้นเราทั้งหลายจึงรู้ได้ว่า
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน
[๑๐๑] ขณะนั้น ธุลีมิได้ฟุ้งขึ้นไปในอากาศ
แม้ในวันนี้ ก็ปรากฏอย่างนั้น
เพราะเครื่องหมายนั้น เราทั้งหลายจึงรู้ได้ว่า
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน
[๑๐๒] กลิ่นที่ไม่น่าปรารถนาก็ปราศไปหมดสิ้น
กลิ่นทิพย์ก็หอมฟุ้งตลบไป(ในขณะนั้น)
แม้ในวันนี้ กลิ่นหอมก็ฟุ้งตลบไป
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน
[๑๐๓] เทวดาทั้งปวงก็ได้พากันปรากฏกาย(ในขณะนั้น)
เว้นแต่อรูปพรหม แม้ในวันนี้ ก็ปรากฏอย่างนั้นทั้งหมด
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒. สุเมธกถา
[๑๐๔] นรกทั้งหลายมีประมาณเท่าใด
ก็ได้ปรากฏทั้งหมดเท่านั้น ในขณะนั้น
แม้ในวันนี้ ก็ปรากฏทั้งหมด
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน
[๑๐๕] กำแพง ประตู และภูเขา
ก็มิได้เป็นสิ่งที่ปิดกั้นได้ในขณะนั้น
แม้ในวันนี้ ทั้งหมดก็เปิดโล่ง
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน
[๑๐๖] การจุติและการอุบัติ๑ก็มิได้มีในขณะนั้น
แม้ในวันนี้ การจุติและการอุบัติเหล่านั้นก็ปรากฏ
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน
นิมิตเหล่านี้ย่อมปรากฏ
เพื่อประโยชน์แก่การตรัสรู้ของสัตว์ทั้งหลาย
[๑๐๗] ท่านจงบำเพ็ญความเพียรให้มั่นคง
อย่าถอยกลับ จงก้าวไปข้างหน้าเถิด
แม้เราทั้งหลายก็รู้ความเพียรนั้นอย่างแจ่มแจ้งว่า
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน’
[๑๐๘] เราได้สดับพระพุทธดำรัสและคำ
ของเทวดาในหมื่นจักรวาลทั้ง ๒ แล้ว
ก็ยินดีร่าเริงบันเทิงใจ ได้คิดอย่างนี้ในกาลนั้นว่า
[๑๐๙] ‘พระพุทธชินเจ้าทั้งหลาย มีพระดำรัสไม่เป็นสอง
มีพระดำรัสไม่เป็นโมฆะ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ไม่มีพระดำรัสไม่จริง เราคงจะเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน

เชิงอรรถ :
๑ การจุติ หมายถึงการตาย การอุบัติ หมายถึงเกิด (ขุ.พุทฺธ.อ. ๑๐๖/๑๕๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒. สุเมธกถา
[๑๑๐] พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
ย่อมเที่ยงแท้แน่นอน เหมือนก้อนดินที่โยนขึ้นไปบนท้องฟ้า
ย่อมตกลงมาที่พื้นดินเป็นแน่
พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มีพระดำรัสไม่จริง
เราคงจะเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน
[๑๑๑] พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
ย่อมเที่ยงแท้แน่นอน เหมือนสัตว์ทั้งปวง
ต้องมีความตายเที่ยงแท้แน่นอน
พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มีพระดำรัสไม่จริง
เราคงจะเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน
[๑๑๒] พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
ย่อมเที่ยงแท้แน่นอน
เหมือนสิ้นราตรีแล้ว อาทิตย์ต้องอุทัยแน่
พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มีพระดำรัสไม่จริง
เราคงจะเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน
[๑๑๓] พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
ย่อมเที่ยงแท้แน่นอน เหมือนราชสีห์ลุกออกจากที่นอน
ต้องมีการบันลือสีหนาทแน่
พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มีพระดำรัสไม่จริง
เราคงจะเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน
[๑๑๔] พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
ย่อมเที่ยงแท้แน่นอน เหมือนสตรีมีครรภ์แก่
จะต้องมีการคลอดบุตรในครรภ์เป็นแน่
พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มีพระดำรัสไม่จริง
เราคงจะเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒. สุเมธกถา
[๑๑๕] เอาเถิด เราจักค้นหาพุทธการกธรรม๑จากสิบทิศ
คือข้างนี้ ๆ เบื้องบน เบื้องล่าง ตลอดทั่วธรรมธาตุ
[๑๑๖] ครั้งนั้น เมื่อเราค้นหาอยู่ ได้เห็นทานบารมีเป็นข้อที่ ๑
ซึ่งเป็นทางใหญ่ที่ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ทั้งหลายในปางก่อน
ได้อบรมสั่งสมมา จึงเตือนตนเองว่า
[๑๑๗] ‘ท่านจงยึดทานบารมีข้อที่ ๑ นี้ บำเพ็ญให้มั่นคงก่อน
ถ้าท่านปรารถนาจะบรรลุพระโพธิญาณ
ท่านก็จงบำเพ็ญทานบารมีเถิด
[๑๑๘] หม้อที่เต็มด้วยน้ำซึ่งผู้ใดผู้หนึ่งจับคว่ำลง
น้ำย่อมไหลออกหมด ไม่ขังอยู่ในหม้อนั้น ฉันใด
[๑๑๙] ท่านเห็นผู้ขอทั้งชั้นต่ำ ชั้นกลาง และชั้นสูงแล้ว
จงให้ทานอย่าให้เหลือ ดุจหม้อน้ำที่เขาคว่ำลง ฉันนั้น
[๑๒๐] แต่พุทธธรรมเหล่านี้จักมีเพียงเท่านี้ก็หามิได้
เราจักค้นหาธรรมที่เป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณอย่างอื่นต่อไป
[๑๒๑] ครั้งนั้น เมื่อเราค้นหาอยู่ ได้เห็นศีลบารมีเป็นข้อที่ ๒
ที่ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ทั้งหลายในปางก่อน
ได้อบรมสั่งสมมา จึงเตือนตนเองว่า
[๑๒๒] ‘ท่านจงยึดศีลบารมีข้อที่ ๒ นี้ บำเพ็ญให้มั่นคงก่อน
ถ้าท่านปรารถนาจะบรรลุพระโพธิญาณ
ท่านก็จงบำเพ็ญศีลบารมีเถิด
[๑๒๓] จามรีย่อมรักษาขนหาง(ของตน)ที่ติดข้องอยู่ในที่ไร ๆ
ก็ยอมตายในที่นั้น ไม่ยอมให้ขนหางเสียไป ฉันใด

เชิงอรรถ :
๑ พุทธการกธรรม ได้แก่ ธรรมที่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้ามี ๑๐ ประการ คือ (๑) ทาน (๒) ศีล (๓) เนกขัมมะ
(๔) ปัญญา (๕) วิริยะ (๖) ขันติ (๗) สัจจะ (๘) อธิษฐาน (๙) เมตตา (๑๐) อุเบกขา (ขุ.พุทฺธ.อ. ๑๑๕/๑๕๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒. สุเมธกถา
[๑๒๔] ท่านจงบำเพ็ญศีลในภูมิทั้ง ๔๑
รักษาศีลให้บริบูรณ์ในกาลทุกเมื่อ
ดุจจามรีรักษาขนหาง ฉันนั้น’
[๑๒๕] แต่พุทธธรรมเหล่านี้จักมีเพียงเท่านี้ก็หามิได้
เราจักค้นหาธรรมที่เป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณอย่างอื่นต่อไป
[๑๒๖] ครั้งนั้น เมื่อเราค้นหาอยู่ ได้เห็นเนกขัมมบารมีเป็นข้อที่ ๓
ที่ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ทั้งหลายในปางก่อน
ได้อบรมสั่งสมมา จึงเตือนตนเองว่า
[๑๒๗] ‘ท่านจงยึดเนกขัมมบารมีข้อที่ ๓ นี้ บำเพ็ญให้มั่นคงก่อน
ถ้าท่านปรารถนาจะบรรลุพระโพธิญาณ
ท่านจงบำเพ็ญเนกขัมมบารมีเถิด
[๑๒๘] คนที่ถูกขังอยู่ในเรือนจำ ได้รับทุกข์มานาน
ย่อมไม่เกิดความยินดีในเรือนจำนั้น
มีแต่จะหาช่องทางที่จะพ้นออกไป ฉันใด
[๑๒๙] ท่านจงเห็นภพทั้งปวงดุจเรือนจำ
จงมุ่งหน้าต่อเนกขัมมะเพื่อหลุดพ้นไปจากภพ ฉันนั้นเถิด’
[๑๓๐] แต่พุทธธรรมเหล่านี้จักมีเพียงเท่านี้ก็หามิได้
เราจักค้นหาธรรมที่เป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณอย่างอื่นต่อไป
[๑๓๑] ครั้งนั้น เมื่อเราค้นหาอยู่ ได้เห็นปัญญาบารมีเป็นข้อที่ ๔
ที่ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ทั้งหลายในปางก่อน
ได้อบรมสั่งสมมา จึงเตือนตนเองว่า

เชิงอรรถ :
๑ ศีลในภูมิทั้ง ๔ ในที่นี้ ได้แก่ ปาฏิโมกขสังวรศีล อินทรียสังวรศีล อาชีวปาริสุทธิศีล และปัจจเวกขณศีล
(ขุ.พุทฺธ.อ.๑๒๔/๑๕๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒. สุเมธกถา
[๑๓๒] ‘ท่านจงยึดปัญญาบารมีข้อที่ ๔ นี้ บำเพ็ญให้มั่นคงก่อน
ถ้าท่านปรารถนาจะบรรลุพระโพธิญาณ
ท่านก็จงบำเพ็ญปัญญาบารมีเถิด
[๑๓๓] ภิกษุเมื่อเที่ยวบิณฑบาต
มิได้เว้นว่าจะเป็นตระกูลชั้นต่ำ ชั้นกลาง หรือชั้นสูง
ย่อมได้อาหารพอยังอัตภาพให้เป็นไปได้ ฉันใด
[๑๓๔] ท่านเมื่อสอบถามคนมีความรู้ตลอดกาลทั้งปวง
บำเพ็ญปัญญาบารมีไปเถิด
แล้วจักบรรลุสัมโพธิญาณได้ ฉันนั้น’
[๑๓๕] แต่พุทธธรรมเหล่านี้จักมีเพียงเท่านี้ก็หามิได้
เราจักค้นหาธรรมที่เป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณอย่างอื่นต่อไป
[๑๓๖] ครั้งนั้น เมื่อเราค้นหาอยู่ ได้เห็นวิริยบารมีเป็นข้อที่ ๕
ที่ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ทั้งหลายในปางก่อน
ได้อบรมสั่งสมมา จึงเตือนตนเองว่า
[๑๓๗] ‘ท่านจงยึดวิริยบารมีข้อที่ ๕ นี้ บำเพ็ญให้มั่นคงก่อน
ถ้าท่านปรารถนาจะบรรลุพระโพธิญาณ
ท่านก็จงบำเพ็ญวิริยบารมีเถิด
[๑๓๘] ราชสีห์พญาเนื้อมีความเพียรไม่ย่อหย่อน
ทั้งในขณะหมอบ ยืน และเดิน ประคองใจไว้ทุกเมื่อ ฉันใด
[๑๓๙] ท่านจงประคองความเพียรให้มั่นคงทุกภพทุกชาติ
บำเพ็ญวิริยบารมีไปเกิด
แล้วจักบรรลุสัมโพธิญาณได้ ฉันนั้น’
[๑๔๐] แต่พุทธธรรมเหล่านี้จักมีเพียงเท่านี้ก็หามิได้
เราจักค้นหาธรรมที่เป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณอย่างอื่นต่อไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒. สุเมธกถา
[๑๔๑] ครั้งนั้น เมื่อเราค้นหาอยู่ ได้เห็นขันติบารมีเป็นข้อที่ ๖
ที่ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ทั้งหลายในปางก่อน
ได้อบรมสั่งสมมา จึงเตือนตนเองว่า
[๑๔๒] ‘ท่านจงยึดขันติบารมีข้อที่ ๖ นี้ บำเพ็ญให้มั่นคงก่อน
ท่านมีใจแน่วแน่(ไม่เป็นสอง)ในขันติบารมีนั้น
จักบรรลุสัมโพธิญาณได้
[๑๔๓] ธรรมดาแผ่นดินย่อมทนทานต่อสิ่งที่เขาทิ้งลงทุกอย่าง
ทั้งที่สะอาดและไม่สะอาด
ไม่ทำความยินดีและความขัดเคือง แม้ฉันใด
[๑๔๔] ถึงท่านก็ฉันนั้นเหมือนกัน อดทนต่อการยกย่อง
และการดูหมิ่นของคนทั้งปวง
บำเพ็ญขันติบารมีแล้วจักบรรลุสัมโพธิญาณได้’
[๑๔๕] แต่พุทธธรรมเหล่านี้จักมีเพียงเท่านี้ก็หามิได้
เราจักค้นหาธรรมที่เป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณอย่างอื่นต่อไป
[๑๔๖] ครั้งนั้น เมื่อเราค้นหาอยู่ ได้เห็นสัจจบารมีเป็นข้อที่ ๗
ที่ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ทั้งหลายในปางก่อน
ได้อบรมสั่งสมมา จึงเตือนตนเองว่า
[๑๔๗] ‘ท่านจงยึดสัจจบารมีข้อที่ ๗ นี้ บำเพ็ญให้มั่นคงก่อน
ท่านมีคำพูดที่แน่นอน(ไม่เป็นสอง)ในสัจจบารมีนั้น
จักบรรลุสัมโพธิญาณได้
[๑๔๘] ธรรมดาว่าดาวประกายพรึก
เป็นดาวนพเคราะห์ที่เที่ยงตรงในโลกพร้อมทั้งเทวโลก
ย่อมไม่เคลื่อนไปจากวิถีโคจร ไม่ว่าจะเป็นฤดูร้อน
ฤดูหนาว หรือฤดูฝน แม้ฉันใด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒. สุเมธกถา
[๑๔๙] ถึงท่านก็ฉันนั้นเหมือนกัน
จงอย่าถอยกลับไปจากทาง(ที่ถูกต้องมั่นคง)
ในสัจจะทั้งหลาย บำเพ็ญสัจจบารมีแล้ว
จักบรรลุสัมโพธิญาณได้’
[๑๕๐] แต่พุทธธรรมเหล่านี้จักมีเพียงเท่านี้ก็หามิได้
เราจักค้นหาธรรมที่เป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณอย่างอื่นต่อไป
[๑๕๑] ครั้งนั้น เมื่อเราค้นหาอยู่ ได้เห็นอธิษฐานบารมีเป็นข้อที่ ๘
ที่ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ทั้งหลายในปางก่อน
ได้อบรมสั่งสมมา จึงเตือนตนเองว่า
[๑๕๒] ‘ท่านจงยึดอธิษฐานบารมีข้อที่ ๘ นี้ บำเพ็ญให้มั่นคงก่อน
ท่านเป็นผู้ไม่หวั่นไหวในอธิษฐานบารมีนั้นแล้ว
จักบรรลุสัมโพธิญาณได้
[๑๕๓] ภูผาไม่หวั่นไหว ตั้งมั่นไม่สะเทือนเพราะลมแรง
คงตั้งอยู่ในที่เดิมนั่นเอง แม้ฉันใด
[๑๕๔] ท่านก็ฉันนั้นเหมือนกัน
จงเป็นผู้ไม่หวั่นไหวในอธิษฐานบารมีทุกเมื่อ
บำเพ็ญอธิษฐานบารมีแล้ว
จักบรรลุสัมโพธิญาณได้’
[๑๕๕] แต่พุทธธรรมเหล่านี้จักมีเพียงเท่านี้ก็หามิได้
เราจักค้นหาธรรมที่เป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณอย่างอื่นต่อไป
[๑๕๖] ครั้งนั้น เมื่อเราค้นหาอยู่ ได้เห็นเมตตาบารมีเป็นข้อที่ ๙
ที่ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ทั้งหลายในปางก่อน
ได้อบรมสั่งสมมา จึงเตือนตนเองว่า
[๑๕๗] ‘ท่านจงยึดเมตตาบารมีข้อที่ ๙ นี้ บำเพ็ญให้มั่นคงก่อน
ถ้าท่านปรารถนาจะบรรลุพระโพธิญาณ
ท่านก็จงเป็นผู้ไม่มีใครเสมอในเมตตาบารมี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒. สุเมธกถา
[๑๕๘] ธรรมดาน้ำย่อมแผ่ความเย็น
ชำระล้างมลทินคือธุลีเสมอกัน
ทั้งในคนดีและคนชั่ว แม้ฉันใด
[๑๕๙] ท่านก็ฉันนั้นเหมือนกัน จงเจริญเมตตาให้เสมอกัน
ทั้งในคนที่เกื้อกูลกันและในคนที่ไม่ได้เกื้อกูลกัน
บำเพ็ญเมตตาบารมีแล้ว
จักบรรลุสัมโพธิญาณได้
[๑๖๐] แต่พุทธธรรมเหล่านี้จักมีเพียงเท่านี้ก็หามิได้
เราจักค้นหาธรรมที่เป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณอย่างอื่นต่อไป
[๑๖๑] ครั้งนั้น เมื่อเราค้นหาอยู่ ได้เห็นอุเบกขาบารมีเป็นข้อที่ ๑๐
ที่ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ทั้งหลายในปางก่อน
ได้อบรมสั่งสมมา จึงเตือนตนเองว่า
[๑๖๒] ‘ท่านจงยึดอุเบกขาบารมีข้อที่ ๑๐ นี้ บำเพ็ญให้มั่นคงก่อน
ท่านเป็นผู้มีอุเบกขาเที่ยงตรง มั่นคง
จักบรรลุสัมโพธิญาณได้
[๑๖๓] ธรรมดาแผ่นดินย่อมวางเฉยในสิ่งที่เขาทิ้งลงทั้งสะอาด
และไม่สะอาด ทั้ง ๒ อย่าง เว้นความโกรธและความยินดี แม้ฉันใด
[๑๖๔] ท่านก็ฉันนั้นเหมือนกัน
จงมีใจเที่ยงตรงในสุขและทุกข์ในกาลทุกเมื่อ
บำเพ็ญอุเบกขาบารมีแล้ว
จักบรรลุสัมโพธิญาณได้
[๑๖๕] ธรรมที่เป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณ
มีอยู่ในโลกเพียงเท่านี้ นอกจากนี้ยิ่งกว่านั้นไม่มี
ท่านจงตั้งมั่นอยู่ในธรรมนั้นเถิด’
[๑๖๖] เมื่อเราพิจารณาเห็นธรรมเหล่านี้
พร้อมทั้งกิจและลักษณะอันเป็นภาวะของตน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒. สุเมธกถา
พื้นพสุธาโลกธาตุมีหมื่นจักรวาล
ก็ไหวด้วยเดชแห่งธรรม
[๑๖๗] ปฐพีไหวสะเทือนเลื่อนลั่นเหมือนยนต์หีบอ้อย
เมทนีดลหวั่นไหวเหมือนล้อที่หีบน้ำมัน
[๑๖๘] บริษัทประมาณเท่าใด มีอยู่ในบริเวณรอบ ๆ พระพุทธเจ้า
บริษัทประมาณเท่านั้น สั่นเทานอนสลบอยู่บนภาคพื้นที่บริเวณนั้น
[๑๖๙] หม้อน้ำหลายพันหม้อ หม้อข้าวหลายร้อยหม้อ
หม้อใส่กระแจะและหม้อที่ใส่เปรียงในที่นั้น
ต่างก็กระทบกันและกัน
[๑๗๐] มหาชนหวาดเสียว สะดุ้งกลัว ตื่นตระหนก
มีใจหวาดหวั่น ประชุมกัน
พากันเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าพระนามว่าทีปังกร
[๑๗๑] ทูลถามว่า ‘อะไรจักมีแก่ชาวโลก
เป็นเหตุดีหรือเหตุร้าย
ชาวโลกทั้งปวงถูกเบียดเบียน
ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระจักษุ
ขอพระองค์ได้โปรดบรรเทาภัยที่เบียดเบียนนั้นเถิด’
[๑๗๒] ครั้งนั้น พระพุทธเจ้าพระนามว่าทีปังกร
ทรงเป็นพระมหามุนี ทรงแจ้งให้มหาชนได้เข้าใจว่า
‘ในการที่พสุธาไหวครั้งนี้ ท่านทั้งหลายจงเบาใจเถิด
อย่าตกใจกลัวเลย
[๑๗๓] วันนี้เราพยากรณ์ผู้ใดว่าจักเป็นพระพุทธเจ้าในโลก
ผู้นั้นพิจารณาเห็นธรรมที่พระชินเจ้าทรงอบรมสั่งสมมาก่อน
[๑๗๔] เมื่อผู้นั้นพิจารณาธรรมซึ่งเป็นพุทธภูมิโดยไม่มีเหลือ
เพราะเหตุนั้น ปฐพีโลกธาตุมีหมื่นจักรวาล
ในโลกพร้อมทั้งเทวโลกจึงไหวแล้ว’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒. สุเมธกถา
[๑๗๕] ขณะนั้น มหาชนได้ฟังพระดำรัสแล้ว
ก็เกิดความสบายใจขึ้น
ทุกคนพากันมาหาเราแล้วอภิวาทอีก
[๑๗๖] ครั้งนั้น เรายึดพระพุทธคุณ ทำใจให้มั่นคง
นมัสการพระพุทธเจ้าพระนามว่าทีปังกรแล้วลุกจากอาสนะ
[๑๗๗] ชน ๒ ฝ่าย คือ เทพถือดอกไม้ทิพย์
หมู่มนุษย์ถือดอกไม้ที่เป็นของมนุษย์
ต่างโปรยปรายดอกไม้ทั้งหลายเพื่อเราผู้ลุกจากอาสนะ
[๑๗๘] อนึ่ง เทพและมนุษย์ทั้ง ๒ ฝ่ายเหล่านั้น
ต่างก็ประกาศความสวัสดีว่า
‘ท่านปรารถนาตำแหน่งอันใหญ่หลวง
ขอท่านได้ตำแหน่งนั้นตามความปรารถนาเถิด
[๑๗๙] เสนียดจัญไรทั้งปวงจงอย่ามี
ความโศกและโรคจงอย่ามี
อันตรายจงอย่ามีแก่ท่าน
ขอให้ท่านได้บรรลุพระโพธิญาณ๑อันประเสริฐเร็วพลันเถิด
[๑๘๐] เมื่อถึงฤดู (ที่ต้นไม้ผลิดอก) หมู่ไม้จำพวกที่มีดอก
ก็ผลิดอก ฉันใด
ท่านผู้มีความเพียรอันยิ่งใหญ่
ขอท่านจงผลิด้วยพระพุทธญาณ๒ ฉันนั้นเหมือนกันเถิด
[๑๘๑] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์
ก็ได้ทรงบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการมาแล้วฉันใด

เชิงอรรถ :
๑ โพธิญาณ ในที่นี้ ได้แก่ อรหัตตมรรคญาณ หรือสัพพัญญุตญาณ (ขุ.พุทฺธ.อ. ๑๗๙/๑๗๗)
๒ พุทธญาณ ได้แก่ พุทธญาณ ๑๘ (ขุ.พุทธ.อ. ๑๘๐/๑๗๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒. สุเมธกถา
ท่านผู้มีความเพียรอันยิ่งใหญ่
ขอท่านจงบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการ ฉันนั้นเหมือนกันเถิด
[๑๘๒] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์
ก็ได้ตรัสรู้ที่โพธิมัณฑ์ ฉันใด
ท่านผู้มีความเพียรอันยิ่งใหญ่
ขอท่านจงตรัสรู้ที่ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระชินเจ้า
ฉันนั้นเหมือนกันเถิด
[๑๘๓] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์
ก็ทรงประกาศพระธรรมจักรแล้ว ฉันใด
ท่านผู้มีความเพียรอันยิ่งใหญ่
ขอท่านจงประกาศพระธรรมจักร ฉันนั้นเหมือนกันเถิด
[๑๘๔] ดวงจันทร์ในวันเพ็ญเต็มดวงส่องสว่าง ฉันใด
ขอท่านผู้มีใจปรารถนาที่เต็มเปี่ยมแล้ว
จงรุ่งโรจน์(สว่างไสว)ในหมื่นจักรวาล
ฉันนั้นเหมือนกันเถิด
[๑๘๕] ดวงอาทิตย์พ้นจากราหูแล้ว
ย่อมไพโรจน์แจ่มจ้าด้วยแสงสว่าง ฉันใด
ขอท่านจงพ้นจากโลกธรรมแล้ว
แจ่มจ้าด้วยสิริ(แห่งพระพุทธเจ้า) ฉันนั้นเหมือนกันเถิด
[๑๘๖] แม่น้ำทุกสายไหลไปสู่ทะเลหลวง ฉันใด
ขอชาวโลกพร้อมทั้งเทวดาทั้งหลาย
จงพากันหลั่งไหลไปในสำนักของท่าน ฉันนั้นเหมือนกันเถิด’
[๑๘๗] ครั้งนั้น สุเมธดาบสนั้น อันทวยเทพและหมู่มนุษย์เหล่านั้น
ชมเชย สรรเสริญแล้ว สมาทานธรรม ๑๐ ประการ(บารมี ๑๐)
เมื่อจะบำเพ็ญธรรมเหล่านั้นให้บริบูรณ์ จึงเข้าไปยังป่าใหญ่
สุเมธกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑. ทีปังกรพุทธวงศ์
๓. พุทธวงศ์
๑. ทีปังกรพุทธวงศ์
ว่าด้วยพระประวัติของพระทีปังกรพุทธเจ้า
[๑] ครั้งนั้น ชนเหล่านั้นทูลนิมนต์พุทธเจ้าพระนามว่าทีปังกร
ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลกพร้อมทั้งภิกษุสงฆ์ให้เสวยและฉันแล้ว
ได้ถึงพระศาสดาพระนามว่าทีปังกรพระองค์นั้นเป็นสรณะ
[๒] พระตถาคตให้คนบางคนตั้งอยู่ในสรณคมน์
ให้คนบางคนตั้งอยู่ในศีล ๕ ให้คนบางคนตั้งอยู่ในศีล ๑๐
[๓] ทรงประทานสามัญผล๑ ๔ อันสูงสุดให้แก่คนบางคน
ทรงประทานธรรมที่ไม่มีธรรมอย่างอื่นเสมอเหมือน
คือปฏิสัมภิทาให้แก่คนบางคน
[๔] พระตถาคตผู้องอาจกว่านรชน
ทรงประทานสมาบัติที่ประเสริฐ ๘ ประการ๒ให้แก่คนบางคน
ทรงประทานวิชชา ๓ อภิญญา ๖ ให้แก่คนบางคน
[๕] พระมหามุนีย่อมตรัสสอนหมู่ชนตามลำดับนั้น
เพราะเหตุนั้นศาสนาของพระโลกนาถ
จึงแผ่ไปอย่างกว้างขวาง
[๖] พระศาสดาพระนามว่าทีปังกร
ผู้ทรงมีพระหนุใหญ่ และพระวรกายงดงาม
ทรงช่วยหมู่ชนให้ข้ามพ้นได้เป็นจำนวนมาก
ทรงปลดเปลื้องจากทุคติ

เชิงอรรถ :
๑ สามัญผล ๔ คือ โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตตผล (ที.ปา. (แปล) ๑๑/๓๑๑/๒๘๗)
๒ ดูเทียบ ขุ.ป. (แปล) ๓๑/๖๐/๖๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑. ทีปังกรพุทธวงศ์
[๗] พระมหามุนีทรงเห็นชนที่ควรแนะนำให้ตรัสรู้ได้
แม้ในที่ไกลถึง ๑๐๐,๐๐๐ โยชน์
ก็เสด็จไปเพียงชั่วขณะเดียว ทรงช่วยผู้นั้นให้ตรัสรู้
[๘] ในการบรรลุธรรม(การตรัสรู้ธรรม) ครั้งที่ ๑
พระพุทธเจ้าทรงช่วยเทวดาและมนุษย์ ๑๐๐ โกฏิให้บรรลุธรรม
ในการบรรลุธรรมครั้งที่ ๒ พระผู้เป็นที่พึ่ง
ทรงช่วยเทวดาและมนุษย์ ๙๐ โกฏิให้บรรลุธรรม
[๙] และในคราวที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมในเทพพิภพ
ได้มีเทวดา ๙๐,๐๐๐ โกฏิ ได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๓
[๑๐] พระศาสดาพระนามว่าทีปังกร
ได้มีการประชุมสาวก ๓ ครั้ง
สาวกประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ มาประชุมกันเป็นครั้งที่ ๑
[๑๑] เมื่อพระชินเจ้าประทับอยู่ในสถานที่อันสงัด ที่ยอดภูเขานารทะ
พระขีณาสพผู้ปราศจากมลทินประมาณ ๑๐๐ โกฏิ มาประชุมกัน
[๑๒] ในกาลใด พระมหาวีรเจ้าผู้ทรงเป็นพระมหามุนี
ทรงปวารณาออกพรรษา
พร้อมทั้งภิกษุสงฆ์ ๙๐,๐๐๐ โกฏิ ที่ยอดเขาสุทัสสนะ
สมัยนั้น เราเป็นชฎิลผู้มีตบะแก่กล้า
สำเร็จอภิญญา ๕๑ เหาะไปในอากาศได้
[๑๓] เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ ได้บรรลุธรรม
การบรรลุธรรมครั้งละองค์สององค์นับจำนวนไม่ถ้วน
[๑๔] ครั้งนั้น พระศาสนาของพระผู้มีพระภาคพระนามว่าทีปังกร
แผ่ไพศาล มีคนรู้มาก เจริญแพร่หลาย สะอาด บริสุทธิ์

เชิงอรรถ :
๑ อภิญญา ๕ ได้แก่ อภิญญาที่เป็นโลกิยะ (ขุ.อป.อ. ๒/๖-๗/๒๓๙, ที.สี. (แปล) ๙/๔๗๔-๘/๒๐๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑. ทีปังกรพุทธวงศ์
[๑๕] ภิกษุประมาณ ๔๐๐,๐๐๐ รูป ล้วนได้อภิญญา ๖ มีฤทธิ์มาก
แวดล้อมพระผู้มีพระภาคพระนามว่าทีปังกร
ผู้ทรงรู้แจ้งโลกในกาลทั้งปวง
[๑๖] สมัยนั้น ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
ไม่ได้บรรลุอรหัตตผล เป็นพระเสขะละมนุษยภูมิไป
ชนเหล่านั้นย่อมถูกติเตียน
[๑๗] ศาสนาแพร่หลาย งดงามด้วยพระอรหันตขีณาสพ
ผู้คงที่ ปราศจากมลทิน ในกาลทั้งปวง
[๑๘] เมืองชื่อว่ารัมมวดี กษัตริย์พระนามว่าสุเทพ เป็นพระชนก
พระเทวีพระนามว่าสุเมธาเป็นพระชนนี
ของพระศาสดาพระนามว่าทีปังกร
[๑๙] พระชินเจ้าทรงครองฆราวาสอยู่ ๒๐,๐๐๐ ปี
ทรงมีฝูงหงส์ นกกระเรียน นกยูงมากมาย
มีปราสาทที่อุดมอยู่ ๓ หลัง
[๒๐] มีนางสนมกำนัล ๓๐๐,๐๐๐ นาง
ล้วนประดับประดาสวยงาม
พระมเหสีพระนามว่าปทุมา
พระราชโอรสพระนามว่าอุสภขันธกุมาร
[๒๑] พระชินเจ้าทรงเห็นนิมิต ๔๑ ประการ
จึงทรงราชพาหนะคือช้างออกผนวชแล้ว
ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๑๐ เดือนเต็ม(จึงได้บรรลุพระโพธิญาณ)
[๒๒] ครั้นทรงบำเพ็ญความเพียรเสร็จแล้ว
ก็ได้ตรัสรู้สัมโพธิญาณ
พระมหามุนีพระนามว่าทีปังกร ผู้อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ นิมิต ๔ ได้แก่ (๑) คนแก่ (๒) คนเจ็บ (๓) คนตาย (๔) บรรพชิต (ที.ม. (แปล) ๑๐/๔๓-๕๒/๒๒-๓๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑. ทีปังกรพุทธวงศ์
[๒๓] พระมหาวีรชินเจ้าทรงประกาศพระธรรมจักร
แล้วประทับอยู่ในนันทาราม ประทับนั่งที่โคนต้นซึก
ทรงปราบปรามเดียรถีย์
[๒๔] พระสุมังคลเถระและพระติสสเถระเป็นพระอัครสาวก
พระสาคตเถระเป็นอุปัฏฐากของพระศาสดาพระนามว่าทีปังกร
[๒๕] พระนันทาเถรีและพระสุนันทาเถรีเป็นพระอัครสาวิกา
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่า ต้นเลียบ
[๒๖] ตปุสสอุบาสกและภัลลิกอุบาสกเป็นอัครอุปัฏฐาก
สิริมาอุบาสิกาและโสณาอุบาสิกาเป็นอัครอุปัฏฐายิกา
[๒๗] พระมหามุนีพระนามว่าทีปังกร
ทรงมีพระวรกายสูง ๘๐ ศอก
ทรงงดงามดังต้นพฤกษาประทีป
ดังต้นพญาไม้สาละที่มีดอกบานสะพรั่ง
พระองค์ทรงมีพระรัศมีแผ่ซ่านออก ๑๐ โยชน์โดยรอบ
[๒๘] พระองค์ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
ทรงมีพระชนมายุประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ ปี
ทรงดำรงอยู่นานเพียงนั้น
ทรงช่วยหมู่ชนให้ข้ามพ้น(สังสารวัฏ)ได้เป็นจำนวนมาก
[๒๙] พระองค์พร้อมทั้งสาวกประกาศพระสัทธรรมให้รุ่งเรือง
ช่วยมหาชนให้ข้ามพ้นได้
แล้วเสด็จดับขันธปรินิพพานเหมือนกองไฟที่ลุกโพลงแล้วดับไป
[๓๐] พระองค์ทรงมีพระฤทธิ์ มีพระยศ
พร้อมทั้งจักรรัตนะที่พระยุคลบาท
ทุกอย่างล้วนอันตรธานไปหมดแล้ว
สังขารทั้งปวงเป็นสภาพว่างเปล่าหนอ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒. โกณฑัญญพุทธวงศ์
[๓๑] พระชินศาสดาพระนามว่าทีปังกรเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว
ณ นันทาราม พระสถูปอันประเสริฐของพระชินเจ้าพระองค์นั้น
สูง ๓๖ โยชน์ ณ นันทารามนั้น
พระสถูปบรรจุบาตร จีวร บริขาร และเครื่องบริโภค
ของพระองค์ผู้ศาสดา ที่โคนต้นโพธิ์ในกาลนั้นสูง ๓ โยชน์
ทีปังกรพุทธวงศ์ที่ ๑ จบ

๒. โกณฑัญญพุทธวงศ์
ว่าด้วยพระประวัติของพระโกณฑัญญพุทธเจ้า
[๑] สมัยต่อจากพระพุทธเจ้าพระนามว่าทีปังกร
ได้มีพระพุทธเจ้าพระนามว่าโกณฑัญญะ
ผู้ทรงเป็นผู้นำ ทรงมีพระเดชหาที่สุดมิได้
มีพระยศประมาณมิได้ มีพระคุณประมาณมิได้
และยากที่จะกระทบกระทั่งได้
[๒] พระองค์ทรงเปรียบดังแผ่นดินโดยขันติธรรม
เปรียบดังสาครโดยศีล
เปรียบดังภูเขาสิเนรุโดยสมาธิ
เปรียบดังท้องฟ้าโดยปัญญา
[๓] ทรงประกาศธรรมที่ควรประกาศคืออินทรีย์ พละ โพชฌงค์ มรรค
อริยสัจ ในกาลทุกเมื่อ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์
[๔] เมื่อพระพุทธเจ้าพระนามว่าโกณฑัญญะ
ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก ทรงประกาศพระธรรมจักร
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ ได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๑
[๕] จากนั้น เมื่อทรงแสดงพระธรรมในสมาคมของเทวดาและมนุษย์
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๙๐,๐๐๐ โกฏิ
ได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒. โกณฑัญญพุทธวงศ์
[๖] ในคราวที่พระองค์เมื่อทรงแสดงธรรมย่ำยีพวกเดียรถีย์
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๘๐,๐๐๐ โกฏิได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๓
[๗] พระพุทธเจ้าพระนามว่าโกณฑัญญะ
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
ได้มีการประชุมพระสาวกผู้เป็นขีณาสพ
ผู้ปราศจากมลทิน มีจิตสงบระงับ ผู้คงที่ ๓ ครั้ง
[๘] พระขีณาสพจำนวน ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ มาประชุมกัน ครั้งที่ ๑
พระขีณาสพจำนวน ๑,๐๐๐ โกฏิ มาประชุมกัน ครั้งที่ ๒
พระขีณาสพจำนวน ๙๐ โกฏิ มาประชุมกัน ครั้งที่ ๓
[๙] ครั้งนั้น เราเป็นพระมหากษัตริย์มีนามว่าวิชิตาวี
แผ่ความเป็นใหญ่ไปโดยมีมหาสมุทรสาครเป็นขอบเขต
[๑๐] เราได้อังคาสภิกษุประมาณ ๑๐,๐๐๐ โกฏิ
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ผู้ปราศจากมลทิน
พร้อมด้วยพระผู้ทรงเป็นที่พึ่งอันเลิศของสัตว์โลก
ให้อิ่มหนำด้วยอาหารอันประณีต
[๑๑] แม้พระพุทธเจ้าพระนามว่าโกณฑัญญะพระองค์นั้น
ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก ก็ทรงพยากรณ์เราว่า
ในกัปอันนับประมาณมิได้นับจากกัปนี้ไป
เขาจักเป็นพุทธเจ้าในโลก
พระตถาคตได้เสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ที่น่ารื่นรมย์
[๑๒] พระตถาคตทรงเริ่มตั้งความเพียร
บำเพ็ญทุกรกิริยา จักประทับนั่งที่โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวปายาสในที่นั้น แล้วเสด็จไปยังแม่น้ำเนรัญชรา
พระชินเจ้าพระองค์นั้นจักเสวยข้าวปายาส
ที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา แล้วเสด็จไปที่โคนต้นโพธิ์
ตามหนทางอันประเสริฐที่ตกแต่งไว้แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒. โกณฑัญญพุทธวงศ์
จากนั้น พระองค์ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่
จักทำประทักษิณโพธิมัณฑ์อันยอดเยี่ยมแล้ว
ตรัสรู้ที่โคนต้นอัสสัตถพฤกษ์
[๑๓] พระมารดาผู้ให้กำเนิดพระชินเจ้าพระองค์นี้
จักมีพระนามว่ามายา พระบิดาจักมีพระนามว่าสุทโธทนะ
พระชินเจ้าพระองค์นี้จักมีพระนามว่าโคดม
[๑๔] พระโกลิตเถระและพระอุปติสสเถระ
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าอานนท์ จักเป็นพระอุปัฏฐาก
บำรุงพระชินเจ้าพระองค์นี้
[๑๕] พระเขมาเถรีและพระอุบลวรรณาเถรี
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวิกา
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่า ต้นอัสสัตถพฤกษ์
[๑๖] จิตตคหบดีอุบาสกและหัตถกคหบดีอุบาสก
ชาวเมืองอาฬวี จักเป็นอัครอุปัฏฐาก
นันทมารดาอุบาสิกาและอุตตราอุบาสิกา
จักเป็นอัครอุปัฏฐายิกา
พระโคดมผู้มียศพระองค์นั้น จักมีพระชนมายุประมาณ ๑๐๐ ปี
[๑๗] เทวดาและมนุษย์ได้ฟังพระดำรัสนี้
ของพระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเสมอเหมือน
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่แล้ว
ต่างก็มีความชื่นชมกล่าวว่า
‘ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒. โกณฑัญญพุทธวงศ์
[๑๘] สัตว์ทั้งหลายในหมื่นจักรวาลพร้อมทั้งเทวดา
ต่างก็เปล่งเสียงโห่ร้องปรบมือ ร่าเริง
ประนมมือนมัสการว่า
[๑๙] ‘ถ้าเราทั้งหลายจักพลาดศาสนาของพระโลกนาถพระองค์นี้
เราทั้งหลายก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล
[๒๐] มนุษย์ทั้งหลายเมื่อจะข้ามแม่น้ำ พลาดท่าเฉพาะหน้าแล้ว
ก็ยึดเอาท่าถัดไปจึงข้ามแม่น้ำใหญ่ไป ฉันใด
[๒๑] เราทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ถ้าพลาดพระชินเจ้าพระองค์นี้
ก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล’
[๒๒] เราได้ฟังพระดำรัสของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นแล้ว
ก็ทำจิตให้เลื่อมใสอย่างยิ่ง เราเมื่อจะทำประโยชน์นั้นให้สำเร็จ
จึงได้ถวายราชสมบัติอันใหญ่หลวงแก่พระชินเจ้า
ครั้นแล้วก็ออกบวชในสำนักของพระองค์
[๒๓] เราได้เล่าเรียนพระสูตรและพระวินัย
อันเป็นนวังคสัตถุศาสน์ทั้งปวง
แล้วช่วยประกาศศาสนาของพระชินเจ้าให้รุ่งเรือง
[๒๔] เราเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่ในคำสั่งสอนนั้นทั้งในเวลานั่ง
ยืนและเดิน ถึงความสำเร็จอภิญญาแล้ว ได้ไปเกิดยังพรหมโลก
[๒๕] กรุงชื่อว่ารัมมวดี กษัตริย์พระนามว่าสุนันทะเป็นพระชนก
พระเทวีพระนามว่าสุชาดา เป็นพระชนนี
ของพระพุทธเจ้าพระนามว่าโกณฑัญญะ
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๒๖] พระองค์ทรงครองฆราวาสอยู่ ๑๐,๐๐๐ ปี
มีปราสาทที่อุดมอยู่ ๓ หลัง
คือสุจิปราสาท สุรุจิปราสาท และสุภปราสาท

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒. โกณฑัญญพุทธวงศ์
[๒๗] มีนางสนมกำนัล ๓๐๐,๐๐๐ นาง
ล้วนประดับประดาสวยงาม
พระมเหสีพระนามว่ารุจิเทวี
พระราชโอรสพระนามว่าวิชิตเสนะ
[๒๘] พระชินเจ้าทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ
จึงทรงราชพาหนะคือรถออกผนวชแล้ว
ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๑๐ เดือนเต็ม(จึงได้บรรลุพระโพธิญาณ)
[๒๙] พระมหาวีระพระนามว่าโกณฑัญญะ
ผู้สูงสุดแห่งเทวดาและมนุษย์
ผู้อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักรแก่เทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย ณ ป่ามหาวัน
[๓๐] พระภัททเถระและพระสุภัททเถระเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าอนุรุทธะเป็นพระอุปัฏฐาก
ของพระพุทธเจ้าพระนามว่าโกณฑัญญะ
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๓๑] พระติสสาเถรีและพระอุปติสสาเถรีเป็นพระอัครสาวิกา
ต้นขานางเป็นต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าพระนามว่าโกณฑัญญะ
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๓๒] โสณอุบาสกและอุปโสณอุบาสกเป็นอัครอุปัฏฐาก
นันทาอุบาสิกาและสิริมาอุบาสิกาเป็นอัครอุปัฏฐายิกา
[๓๓] พระมหามุนีพระองค์นั้นทรงมีพระวรกายสูง ๘๘ ศอก
ทรงงดงามดังดวงจันทร์ในวันเพ็ญ
และดังดวงอาทิตย์ในเวลาเที่ยงวัน
[๓๔] ขณะนั้น มนุษย์ทั้งหลายมีอายุประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ ปี
พระองค์ก็ทรงดำรงพระชนมายุประมาณเท่านั้น
ทรงช่วยหมู่ชนให้ข้ามพ้นได้เป็นจำนวนมาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๓. มังคลพุทธวงศ์
[๓๕] เมทนีดลงามวิจิตรด้วยพระขีณาสพ ผู้ปราศจากมลทิน
เมทนีนั้นงามเหมือนท้องฟ้าที่วิจิตรไปด้วยหมู่ดาว
[๓๖] พระอรหันต์ผู้ประเสริฐแม้เหล่านั้น
มีคุณหาประมาณมิได้ ไม่กำเริบ หาผู้กระทบกระทั่งได้ยาก
ท่านผู้มียศเหล่านั้น แสดงประดุจสายฟ้าฟาด ปรินิพพานแล้ว
[๓๗] ฤทธิ์ของพระชินเจ้าไม่มีที่เปรียบ
สมาธิอันปัญญาอบรมดีแล้ว
ทุกอย่างอันตรธานไปพร้อมกันแล้ว
สังขารทั้งปวงเป็นสภาพว่างเปล่าหนอ
[๓๘] พระพุทธเจ้าพระนามว่าโกณฑัญญะ ผู้ทรงพระสิริ
เสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ นันทาราม
พระเจดีย์ของพระองค์สูง ๗ โยชน์
ณ นันทารามนั้น ฉะนี้แล
โกณฑัญญพุทธวงศ์ที่ ๒ จบ

๓. มังคลพุทธวงศ์
ว่าด้วยพระประวัติของพระมังคลพุทธเจ้า
[๑] สมัยต่อจากพระพุทธเจ้าพระนามว่าโกณฑัญญะ
ได้มีพระพุทธเจ้าพระนามว่ามังคละ ผู้ทรงเป็นผู้นำ
ทรงชูคบเพลิงคือพระธรรม กำจัดความมืดในโลก
[๒] รัศมีของพระองค์ไม่มีที่เปรียบ
ยิ่งกว่าพระชินเจ้าองค์อื่น ๆ
ข่มรัศมีของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์
รุ่งโรจน์ไปทั่วหมื่นจักรวาล
[๓] แม้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ก็ทรงประกาศอริยสัจ ๔ ที่ประเสริฐสุด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๓. มังคลพุทธวงศ์
เทวดาและมนุษย์ต่างก็ได้ดื่มรสแห่งอริยสัจ
แล้วย่อมบรรเทาความมืดมนเสียได้
[๔] เมื่อพระองค์ทรงบรรลุพระโพธิญาณอันไม่มีที่เปรียบแล้ว
ทรงแสดงธรรมครั้งแรก
เหล่าสัตว์ประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ ได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๑
[๕] พระพุทธเจ้า ทรงแสดงธรรม
ที่ภพของเทวดาผู้เป็นจอมเทพ
ครั้งนั้น เทพประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ
ได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๒
[๖] ในกาลเมื่อพระเจ้าจักรพรรดิพระนามว่าสุนันทะ
เสด็จเข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงลั่นธรรมเภรี(กลองคือธรรม)
อันประเสริฐยอดเยี่ยม
[๗] และครั้งนั้น บริวารของพระเจ้าจักรพรรดิพระนามว่าสุนันทะ
มีประมาณ ๙๐ โกฏิ ทั้งหมดนั้น ไม่เหลือเลย
ได้บวชด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา
[๘] พระพุทธเจ้าพระนามว่ามังคละ
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ได้มีการประชุมสาวก ๓ ครั้ง
สาวกประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ มาประชุมกัน เป็นครั้งที่ ๑
[๙] สาวกจำนวน ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ มาประชุมกัน เป็นครั้งที่ ๒
สาวกจำนวน ๙๐ โกฏิ มาประชุมกัน เป็นครั้งที่ ๓
การประชุมครั้งนั้น ล้วนแต่พระสาวก
ผู้พระขีณาสพปราศจากมลทินเท่านั้น
[๑๐] สมัยนั้น เราเป็นพราหมณ์มีนามว่าสุรุจิ
เป็นผู้คงแก่เรียน ทรงจำมนตร์ จบไตรเพท

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๓. มังคลพุทธวงศ์
[๑๑] เราได้เข้าเฝ้าพระศาสดาพระองค์นั้น
ได้ถึงพระองค์เป็นสรณะ และได้บูชาพระสงฆ์
ซึ่งมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธานด้วยของหอมและดอกไม้
ครั้นแล้วได้อังคาสให้อิ่มหนำด้วยน้ำนมโค
[๑๒] แม้พระพุทธเจ้าพระนามว่ามังคละพระองค์นั้น
ผู้สูงสุดแห่งเทวดาและมนุษย์ก็ทรงพยากรณ์เราว่า
ในกัปอันประมาณมิได้นับจากกัปนี้ไป
“พราหมณ์ชื่อสุรุจินี้ จักเป็นพระพุทธเจ้า
พระตถาคตได้เสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ที่น่ารื่นรมย์
[๑๓] พระตถาคตทรงเริ่มตั้งความเพียร
บำเพ็ญทุกรกิริยา จักประทับนั่งที่โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวปายาสในที่นั้นแล้ว เสด็จไปยังแม่น้ำเนรัญชรา
พระชินเจ้าพระองค์นั้นจักเสวยข้าวปายาส
ที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา แล้วเสด็จไปที่โคนต้นโพธิ์
ตามหนทางอันประเสริฐที่ตกแต่งไว้แล้ว
จากนั้น พระองค์ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่
จักทำประทักษิณโพธิมัณฑ์อันยอดเยี่ยมแล้ว
ตรัสรู้ที่โคนต้นอัสสัตถพฤกษ์
พระมารดาผู้ให้กำเนิดพระชินเจ้าพระองค์นี้
จักมีพระนามว่ามายา
พระบิดาจักมีพระนามว่าสุทโธทนะ
พระชินเจ้าพระองค์นี้จักมีพระนามว่าโคดม
พระโกลิตเถระและพระอุปติสสเถระ
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าอานนท์ จักเป็นพระอุปัฏฐาก
บำรุงพระชินเจ้าพระองค์นี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๐๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๓. มังคลพุทธวงศ์
พระเขมาเถรีและพระอุบลวรรณาเถรี
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวิกา
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่า ต้นอัสสัตถพฤกษ์
จิตตคหบดีอุบาสกและหัตถกคหบดีอุบาสก
ชาวเมืองอาฬวี จักเป็นอัครอุปัฏฐาก
นันทมารดาอุบาสิกาและอุตตราอุบาสิกา
จักเป็นอัครอุปัฏฐายิกา
พระโคดมผู้มียศพระองค์นั้น
จักมีพระชนมายุประมาณ ๑๐๐ ปี
เทวดาและมนุษย์ได้ฟังพระดำรัสนี้
ของพระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเสมอเหมือน
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่แล้ว
ต่างก็มีความชื่นชมกล่าวว่า
‘ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร’
สัตว์ทั้งหลายในหมื่นจักรวาลพร้อมทั้งเทวดา
ต่างก็เปล่งเสียงโห่ร้องปรบมือ ร่าเริง
ประนมมือนมัสการว่า
‘ถ้าเราทั้งหลายจักพลาดศาสนาของพระโลกนาถพระองค์นี้
เราทั้งหลายก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล
มนุษย์ทั้งหลายเมื่อจะข้ามแม่น้ำ พลาดท่าเฉพาะหน้าแล้ว
ก็ยึดเอาท่าถัดไปจึงข้ามแม่น้ำใหญ่ไป ฉันใด
เราทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ถ้าพลาดพระชินเจ้าพระองค์นี้
ก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล’
[๑๔] เราได้ฟังพระดำรัสของพระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้นแล้ว
ก็ทำจิตให้เลื่อมใสอย่างยิ่ง
ได้อธิษฐานวัตรเพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการ ให้ยิ่งขึ้นไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๓. มังคลพุทธวงศ์
[๑๕] ครั้งนั้น เราเพิ่มพูนปีติเพื่อบรรลุสัมโพธิญาณอันประเสริฐ
จึงถวายเรือนของเราในพระพุทธเจ้าแล้ว
บวชในสำนักของพระพุทธองค์
[๑๖] เราได้เล่าเรียนพระสูตรและพระวินัย
อันเป็นนวังคสัตถุศาสน์ทั้งปวง
แล้วช่วยประกาศศาสนาของพระชินเจ้าให้รุ่งเรือง
[๑๗] เราเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่ในคำสั่งสอนนั้น
เจริญพรหมวิหารภาวนา
ถึงความสำเร็จอภิญญาแล้ว ได้ไปเกิดยังพรหมโลก
[๑๘] กรุงชื่อว่าอุตตระ กษัตริย์พระนามว่าอุตตระเป็นพระชนก
พระเทวีนามว่าอุตตราเป็นพระชนนี
ของพระพุทธเจ้าพระนามว่ามังคละ ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๑๙] พระองค์ทรงครองฆราวาสอยู่ ๙,๐๐๐ ปี
มีปราสาทที่อุดมอยู่ ๓ หลัง
คือยสวาปราสาท สุจิมาปราสาท และสิริมาปราสาท
[๒๐] มีนางสนมกำนัล ๓๐,๐๐๐ นาง
ล้วนประดับประดาสวยงาม
พระมเหสีพระนามว่ายสวดี
พระราชโอรสพระนามว่าสีวละ
[๒๑] พระชินเจ้าทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ
จึงทรงราชพาหนะคือม้าออกผนวชแล้ว
ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๘ เดือนเต็ม(จึงได้บรรลุพระโพธิญาณ)
[๒๒] พระมหาวีระพระนามว่ามังคละทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ผู้สูงสุดแห่งเทวดาและมนุษย์ ผู้อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักรเสด็จจาริกไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๓. มังคลพุทธวงศ์
[๒๓] พระสุเทวเถระและพระธรรมเสนเถระเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าปาลิตะเป็นพระอุปัฏฐาก
ของพระพุทธเจ้าพระนามว่ามังคละ
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๒๔] พระสีลวาเถรีและพระอโสกาเถรีเป็นพระอัครสาวิกา
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่า ต้นกากะทิง
[๒๕] นันทอุบาสกและวิสาขอุบาสกเป็นอัครอุปัฏฐาก
อนุฬาอุบาสิกาและสุมนาอุบาสิกาเป็นอัครอุปัฏฐายิกา
[๒๖] พระมหามุนีทรงมีพระวรกายสูง ๘๘ ศอก
มีพระรัศมีแผ่ซ่านออกจากพระวรกาย
ของพระองค์นั้นไปไกลหลายแสนจักรวาล
[๒๗] ขณะนั้น มนุษย์ทั้งหลายมีอายุประมาณ ๙๐,๐๐๐ ปี
พระองค์ก็ทรงดำรงพระชนมายุประมาณเท่านั้น
ทรงช่วยหมู่ชนให้ข้ามพ้นได้เป็นจำนวนมาก
[๒๘] สาวกของพระองค์ใคร ๆ ไม่สามารถจะนับได้
เหมือนคลื่นในสมุทรสาครที่ใคร ๆ ไม่อาจนับได้
[๒๙] ครั้งนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่ามังคละ
ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก ทรงดำรงพระชนมายุอยู่เพียงใด
ในศาสนาของพระองค์ไม่มีการตายอย่างคนมีกิเลสเพียงนั้น
[๓๐] พระองค์ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่ ทรงชูคบเพลิงคือพระธรรม
ทรงช่วยมหาชนให้ข้ามพ้น
ทรงรุ่งเรืองเหมือนเปลวไฟ เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว
[๓๑] ทรงแสดงอรรถแห่งสภาวะของสังขาร
ในมนุษยโลกพร้อมทั้งเทวโลก
ทรงรุ่งเรืองดังกองเพลิง เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว
ดังดวงอาทิตย์อัสดง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๔. สุมนพุทธวงศ์
[๓๒] พระพุทธเจ้าพระนามว่ามังคละ
เสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ พระราชอุทยานชื่อเวสสระ
พระสถูปของพระชินเจ้านั้นสูง ๓๐ โยชน์
ณ พระราชอุทยานชื่อเวสสระนั้น” ฉะนี้แล
มังคลพุทธวงศ์ที่ ๓ จบ

๔. สุมนพุทธวงศ์
ว่าด้วยพระประวัติของพระสุมนพุทธเจ้า
[๑] สมัยต่อจากพระพุทธเจ้าพระนามว่ามังคละ
ได้มีพระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้นำพระนามว่าสุมนะ
ไม่มีใครเสมอโดยธรรมทั้งปวง
ทรงสูงสุดแห่งสัตว์ทั้งปวง
[๒] ครั้งนั้น พระศาสดาทรงลั่นอมตเภรี๑ในเมขลบุรี
คำสอนของพระชินเจ้ามีองค์ ๙ ประกอบด้วยธรรมฝ่ายขาว
[๓] พระศาสดาพระองค์นั้น ทรงชำนะกิเลสแล้ว
ทรงบรรลุสัมโพธิญาณอันประเสริฐสุด
ทรงสร้างนครคือพระสัทธรรมซึ่งเป็นเมืองประเสริฐที่สุด
[๔] พระองค์ทรงสร้างถนนใหญ่คือสติปัฏฐาน อันล้ำเลิศ
ไม่มีอะไรคั่น ไม่คด เป็นถนนตรง ไพบูลย์ กว้างขวาง
[๕] ทรงแผ่สามัญผล ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ อภิญญา ๖
และสมาบัติ ๘ ไว้บนถนน๒นั้น
[๖] ชนเหล่าใดเป็นผู้ไม่ประมาท ไม่มีกิเลสเพียงดังตะปูตรึงใจ๓
ประกอบด้วยหิริและความเพียร
ชนเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมถือเอาคุณอันประเสริฐนี้ได้อย่างสบาย

เชิงอรรถ :
๑ ลั่นอมตเภรี ได้แก่ บรรลุนิพพาน (ขุ.พุทฺธ.อ. ๒/๒๒๗)
๒ ถนน หมายถึงมหาสติปัฏฐาน ๔ (ขุ.พุทธ.อ. ๔/๒๒๘)
๓ กิเลสเพียงดังตะปูตรึงใจ ได้แก่ เคลือบแคลงสงสัยในพระพุทธ ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขาและ
โกรธ (องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๔/๒๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๔. สุมนพุทธวงศ์
[๗] พระศาสดาทรงช่วยเหลือมหาชนด้วยความเพียรนั้นอย่างนี้
ทรงช่วยเทวดาและมนุษย์ประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ
ให้บรรลุธรรมครั้งที่ ๑
[๘] พระมหาวีระตรัสสอนหมู่เดียรถีย์ในกาลใด
ในกาลนั้นทรงช่วยเหล่าสัตว์ ประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ
ให้บรรลุธรรมในกาลแสดงธรรมครั้งที่ ๒
[๙] ในกาลเมื่อเทวดาและมนุษย์ผู้พร้อมเพรียงกัน
ร่วมใจกันมาทูลถามนิโรธปัญหาและความสงสัยทางใจ
[๑๐] ในกาลทรงแสดงธรรมเป็นเครื่องแสดงนิโรธ
แม้ครั้งนั้นเหล่าสัตว์ประมาณ ๙๐,๐๐๐ โกฏิ
ได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๓
[๑๑] พระพุทธเจ้าพระนามว่าสุมนะ
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ มีการประชุมแห่งพระขีณาสพ
ผู้ปราศจากมลทิน มีจิตสงบระงับ ผู้คงที่ ๓ ครั้ง
[๑๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงจำพรรษาแล้ว
เมื่อสงฆ์ประกาศปวารณา พระตถาคตทรงปวารณา
พร้อมด้วยภิกษุประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ
[๑๓] จากนั้น ในการประชุมกันที่สุวรรณบรรพตอันสุกปลั่ง
พระขีณาสพประมาณ ๙๐,๐๐๐ โกฏิ มาประชุมกัน เป็นครั้งที่ ๒
[๑๔] ในกาลเมื่อท้าวสักกเทวราชเสด็จเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า
พระขีณาสพจำนวน ๘๐,๐๐๐ โกฏิ
มาประชุมกัน เป็นครั้งที่ ๓
[๑๕] สมัยนั้น เราเป็นพญานาค ผู้มีฤทธิ์มาก
มีชื่อว่าอตุละ เป็นผู้สร้างกุศลให้เจริญขึ้น
[๑๖] ครั้งนั้น เราพร้อมด้วยหมู่ญาติออกจากนาคพิภพ
บำรุงพระชินเจ้าพร้อมทั้งพระสงฆ์ด้วยดนตรีทิพย์ของพวกนาค

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๐๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๔. สุมนพุทธวงศ์
[๑๗] จัดอังคาสพระสงฆ์สาวก ประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ
ให้อิ่มหนำด้วยข้าวและน้ำแล้ว ถวายผ้ารูปละหนึ่งคู่
ได้ถึงพระชินเจ้าพระองค์นั้นเป็นสรณะ
[๑๘] แม้พระพุทธเจ้าพระนามว่าสุมนะพระองค์นั้น
ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก ก็ทรงพยากรณ์เราว่า
ในกัปอันประมาณมิได้นับจากกัปนี้ไป
อตุลพญานาคนี้ จักเป็นพระพุทธเจ้า
พระตถาคตได้เสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ที่น่ารื่นรมย์
[๑๙] พระตถาคตทรงเริ่มตั้งความเพียร
บำเพ็ญทุกรกิริยา จักประทับนั่งที่โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวปายาสในที่นั้นแล้ว เสด็จไปยังแม่น้ำเนรัญชรา
พระชินเจ้าพระองค์นั้น จักเสวยข้าวปายาส
ที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา แล้วเสด็จไปที่โคนต้นโพธิ์
ตามหนทางอันประเสริฐที่ตกแต่งไว้แล้ว
จากนั้น พระองค์ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่
จักทำประทักษิณโพธิมัณฑ์อันยอดเยี่ยมแล้ว
ตรัสรู้ที่โคนต้นอัสสัตถพฤกษ์
พระมารดาผู้ให้กำเนิดพระชินเจ้าพระองค์นี้
จักมีพระนามว่ามายา
พระบิดาจักมีพระนามว่าสุทโธทนะ
พระชินเจ้าพระองค์นี้จักมีพระนามว่าโคดม
พระโกลิตเถระและพระอุปติสสเถระ
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าอานนท์ จักเป็นพระอุปัฏฐาก
บำรุงพระชินเจ้าพระองค์นี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๔. สุมนพุทธวงศ์
พระเขมาเถรีและพระอุบลวรรณาเถรี
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวิกา
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่า ต้นอัสสัตถพฤกษ์
จิตตคหบดีอุบาสกและหัตถกคหบดีอุบาสก
ชาวเมืองอาฬวี จักเป็นอัครอุปัฏฐาก
นันทมารดาอุบาสิกาและอุตตราอุบาสิกา
จักเป็นอัครอุปัฏฐายิกา
พระโคดมผู้มียศพระองค์นั้นจักมีพระชนมายุประมาณ ๑๐๐ ปี
เทวดาและมนุษย์ได้ฟังพระดำรัสนี้
ของพระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเสมอเหมือน
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่แล้ว
ต่างก็มีความชื่นชมกล่าวว่า
‘ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร’
สัตว์ทั้งหลายในหมื่นจักรวาลพร้อมทั้งเทวดา
ต่างก็เปล่งเสียงโห่ร้องปรบมือ ร่าเริง
ประนมมือนมัสการว่า
‘ถ้าเราทั้งหลายจักพลาดศาสนาของพระโลกนาถพระองค์นี้
เราทั้งหลายก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล
มนุษย์ทั้งหลายเมื่อจะข้ามแม่น้ำ พลาดท่าเฉพาะหน้าแล้ว
ก็ยึดเอาท่าถัดไปจึงข้ามแม่น้ำใหญ่ไป ฉันใด
เราทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ถ้าพลาดพระชินเจ้าพระองค์นี้
ก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๔. สุมนพุทธวงศ์
[๒๐] เราได้ฟังพระดำรัสของพระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้นแล้ว
ก็ทำจิตให้เลื่อมใสอย่างยิ่ง
ได้อธิษฐานวัตรเพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการ ให้ยิ่งขึ้นไป
[๒๑] กรุงชื่อว่าเมขละ กษัตริย์พระนามว่าสุทัตตะเป็นพระชนก
พระนางสิริมาเป็นพระชนนี
ของพระพุทธเจ้าพระนามว่าสุมนะ ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๒๒] พระองค์ทรงครองฆราวาสอยู่ ๙,๐๐๐ ปี
มีปราสาทที่อุดมอยู่ ๓ หลัง
คือจันทปราสาท สุจันทปราสาท และวฏังสปราสาท
[๒๓] มีนางสนมกำนัล ๖,๓๐๐,๐๐๐ นาง
ล้วนประดับประดาสวยงาม
พระมเหสีพระนามว่าฏังสกี
พระราชโอรสพระนามว่าอนูปมะ
[๒๔] พระชินเจ้าทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ
จึงทรงราชพาหนะคือช้างออกผนวชแล้ว
ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๑๐ เดือนเต็ม(จึงได้บรรลุพระโพธิญาณ)
[๒๕] พระมหาวีระเจ้าพระนามว่าสุมนะ
ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก ผู้อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ เมขลบุรีซึ่งเป็นเมืองประเสริฐที่สุด
[๒๖] พระสรณเถระและพระภาวิตัตตเถระเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าอุเทนเป็นพระอุปัฏฐาก
ของพระพุทธเจ้าพระนามว่าสุมนะ
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๒๗] พระโสณาเถรีและพระอุปโสณาเถรีเป็นพระอัครสาวิกา
แม้พระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเสมอเหมือนพระองค์นั้น
ได้ตรัสรู้ที่โคนต้นกากะทิง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๔. สุมนพุทธวงศ์
[๒๘] วรุณอุบาสกและสรณอุบาสกเป็นอัครอุปัฏฐาก
จาลาอุบาสิกาและอุปจาลาอุบาสิกาเป็นอัครอุปัฏฐายิกา
[๒๙] พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นทรงมีพระวรกายสูง ๙๐ ศอก
ทรงงดงามดังทองคำที่ล้ำค่า
รุ่งเรืองไปทั่วหมื่นจักรวาล
[๓๐] ขณะนั้น มนุษย์ทั้งหลายมีอายุประมาณ ๙๐,๐๐๐ ปี
พระองค์ก็ทรงดำรงพระชนมายุประมาณเท่านั้น
ทรงช่วยหมู่ชนให้ข้ามพ้นได้จำนวนมาก
[๓๑] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงช่วยคนที่ควรข้ามให้ข้าม
ทรงช่วยคนที่ควรตรัสรู้ให้ตรัสรู้
แล้วเสด็จดับขันธปรินิพพาน เหมือนดวงจันทร์ดับไป
[๓๒] ภิกษุผู้ขีณาสพเหล่านั้น ผู้มียศยิ่งใหญ่
และพระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเปรียบได้พระองค์นั้น
แสดงพระรัศมีที่ไม่มีอะไรเปรียบได้เสด็จดับขันธปรินิพพานไป
[๓๓] พระสัพพัญญุตญาณและพระรัตนตรัย
ที่ไม่มีอะไรเทียบเคียงเหล่านั้น
ทุกอย่างล้วนอันตรธานไปหมดแล้ว
สังขารทั้งปวงเป็นสภาพว่างเปล่าหนอ
[๓๔] พระพุทธเจ้าพระนามว่าสุมนะ ผู้ทรงพระยศ
เสด็จดับขันธปรินิพพานที่อังคาราม
พระสถูปของพระชินเจ้านั้นสูงที่อังคารามนั้นสูงถึง ๔ โยชน์ ฉะนี้แล
สุมนพุทธวงศ์ที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๕. เรวตพุทธวงศ์
๕. เรวตพุทธวงศ์
ว่าด้วยพระประวัติของพระเรวตพุทธเจ้า
[๑] สมัยต่อจากพระพุทธเจ้าพระนามว่าสุมนะ
ได้มีพระชินเจ้าทรงเป็นผู้นำพระนามว่าเรวตะ
ไม่มีผู้เปรียบปาน ไม่มีผู้เทียมเท่า ผู้สูงสุด
[๒] แม้พระองค์อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว
ก็ทรงประกาศพระธรรม อันกำหนดด้วยขันธ์และธาตุ
ไม่เป็นไปในภพน้อยภพใหญ่
[๓] ในกาลที่พระองค์ทรงแสดงธรรม
การบรรลุธรรมมี ๓ ครั้ง
ผู้ได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๑ จะคำนวณนับไม่ได้เลย
[๔] ในกาลเมื่อพระมุนีพระนามว่าเรวตะ
ทรงแนะนำพระเจ้าอรินทมะ
เทวดาและมนุษย์จำนวน ๑,๐๐๐ โกฏิ ได้บรรลุธรรม ครั้งที่ ๒
[๕] พระผู้องอาจกว่านรชนเสด็จออกจากนิโรธสมาบัติในวันที่ ๗
ทรงแนะนำเทวดาและมนุษย์ในอรหัตตผลจำนวน ๑๐๐ โกฏิ
[๖] พระชินเจ้าผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่พระนามว่าเรวตะ
ได้มีการประชุมพระขีณาสพ
ผู้ปราศจากมลทิน หลุดพ้นดี คงที่ ๓ ครั้ง
[๗] ครั้งที่ ๑ มีพระขีณาสพมาประชุมกันมากจนเกินกว่าที่จะนับ
ครั้งที่ ๒ มีพระขีณาสพจำนวน ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ มาประชุมกัน
[๘] ในกาลเมื่อพระองค์ไม่มีใครเสมอด้วยพระปัญญาของพระองค์
ทรงประกาศพระธรรมจักรแล้ว
ทรงพระประชวรจวนจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๕. เรวตพุทธวงศ์
[๙] ครั้งที่ ๓ มีพระขีณาสพที่มาเข้าเฝ้าพระมุนี
เพื่อทูลถามพระอาการประชวรของพระองค์
ครั้งนั้นมีเทวดาและมนุษย์จำนวน ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ มาประชุมกัน
[๑๐] สมัยนั้น เราเป็นพราหมณ์มีนามว่าอติเทพ
ได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าพระนามว่าเรวตะ
แล้วถึงพระองค์เป็นสรณะ
[๑๑] ได้กล่าวสดุดีศีลคุณ สมาธิคุณ และปัญญาคุณ
อันยอดเยี่ยมของพระองค์
แล้วได้ทูลถวายผ้าห่มแด่พระองค์ตามกำลัง
[๑๒] แม้พระพุทธเจ้าพระนามว่าเรวตะ พระองค์นั้น
ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลกก็ทรงพยากรณ์เราว่า
ในกัปอันประมาณมิได้นับจากกัปนี้ไป
พราหมณ์นี้จักเป็นพระพุทธเจ้าในโลก
พระตถาคตได้เสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ที่น่ารื่นรมย์
[๑๓] พระตถาคตทรงเริ่มตั้งความเพียร
บำเพ็ญทุกรกิริยา จักประทับนั่งที่โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวปายาสในที่นั้น แล้วเสด็จไปยังแม่น้ำเนรัญชรา
พระชินเจ้าพระองค์นั้นจักเสวยข้าวปายาส
ที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชราแล้วเสด็จไปที่โคนต้นโพธิ์
ตามหนทางอันประเสริฐที่ตกแต่งไว้แล้ว
จากนั้น พระองค์ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่
จักทำประทักษิณโพธิมัณฑ์อันยอดเยี่ยมแล้ว
ตรัสรู้ที่โคนต้นอัสสัตถพฤกษ์
พระมารดาผู้ให้กำเนิดพระชินเจ้าพระองค์นี้
จักมีพระนามว่ามายา
พระบิดาจักมีพระนามว่าสุทโธทนะ
พระชินเจ้าพระองค์นี้จักมีพระนามว่าโคดม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๕. เรวตพุทธวงศ์
พระโกลิตเถระและพระอุปติสสเถระ
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าอานนท์ จักเป็นพระอุปัฏฐาก
บำรุงพระชินเจ้าพระองค์นี้
พระเขมาเถรีและพระอุบลวรรณาเถรี
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวิกา
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่า ต้นอัสสัตถพฤกษ์
จิตตคหบดีอุบาสกและหัตถกคหบดีอุบาสก
ชาวเมืองอาฬวีจักเป็นอัครอุปัฏฐาก
นันทมารดาอุบาสิกาและอุตตราอุบาสิกา
จักเป็นอัครอุปัฏฐายิกา
พระโคดมผู้มียศพระองค์นั้นจักมีพระชนมายุประมาณ ๑๐๐ ปี
เทวดาและมนุษย์ได้ฟังพระดำรัสนี้
ของพระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเสมอเหมือน
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่แล้ว
ต่างก็มีความชื่นชมกล่าวว่า
‘ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร’
สัตว์ทั้งหลายในหมื่นจักรวาลพร้อมทั้งเทวดา
ต่างก็เปล่งเสียงโห่ร้องปรบมือ ร่าเริง
ประนมมือนมัสการว่า
‘ถ้าเราทั้งหลายจักพลาดศาสนาของพระโลกนาถพระองค์นี้
เราทั้งหลายก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล
มนุษย์ทั้งหลายเมื่อจะข้ามแม่น้ำ พลาดท่าเฉพาะหน้าแล้ว
ก็ยึดเอาท่าถัดไปจึงข้ามแม่น้ำใหญ่ไป ฉันใด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๕. เรวตพุทธวงศ์
เราทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ถ้าพลาดพระชินเจ้าพระองค์นี้
ก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล’
[๑๔] เราได้ฟังพระดำรัสของพระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้นแล้ว
ก็ทำจิตให้เลื่อมใสอย่างยิ่ง
ได้อธิษฐานวัตรเพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการ ให้ยิ่งขึ้นไป
[๑๕] แม้ครั้งนั้น เราระลึกถึงพุทธการกธรรมนั้นแล้ว
เพิ่มพูนให้เจริญขึ้นด้วยหวังว่า ‘เราจักนำมาซึ่งธรรมนั้น
อันเป็นธรรมที่เราปรารถนาอย่างยิ่ง’
[๑๖] กรุงชื่อว่าสุธัญญกะ กษัตริย์พระนามว่าวิปุละเป็นพระชนก
พระเทวีพระนามว่าวิปุลาเป็นพระชนนี
ของพระพุทธเจ้าพระนามว่าเรวตะ
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๑๗] พระองค์ทรงครองฆราวาสอยู่ ๖,๐๐๐ ปี
มีปราสาทที่อุดมอยู่ ๓ หลัง
คือสุทัสสนปราสาท รัตนัคฆิปราสาท และอาเวฬปราสาท
ตกแต่งสวยงาม บังเกิดเพราะบุญกรรม
[๑๘] มีนางสนมกำนัล ๓,๓๐๐,๐๐๐ นาง
ล้วนประดับประดาสวยงาม
พระมเหสีพระนามว่าสุทัสสนา
พระราชโอรสพระนามว่าวรุณะ
[๑๙] พระชินเจ้าทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ
จึงทรงราชพาหนะคือรถออกผนวชแล้ว
ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๗ เดือนเต็ม(จึงได้บรรลุพระโพธิญาณ)
[๒๐] พระมหาวีรชินเจ้าพระนามว่าเรวตะทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ผู้อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร
ประทับอยู่ที่วรุณาราม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๕. เรวตพุทธวงศ์
[๒๑] พระวรุณเถระและพระพรหมเทพเถระเป็นพระอัครสาวก
พระสัมภวเถระเป็นพระอุปัฏฐาก
ของพระพุทธเจ้าพระนามว่าเรวตะ
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๒๒] พระภัททาเถรีและพระสุภัททาเถรีเป็นพระอัครสาวิกา
แม้พระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเสมอเหมือนพระองค์นั้น
ก็ได้ตรัสรู้ที่โคนต้นกากะทิง
[๒๓] วรุณอุบาสกและสรภอุบาสกเป็นอัครอุปัฏฐาก
ปาลาอุบาสิกาและอุปปาลาอุบาสิกาเป็นอัครอุปัฏฐายิกา
[๒๔] พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงมีพระวรกายสูง ๘๐ ศอก
ทรงเปล่งพระรัศมีสว่างไสวไปทั่วทิศ ดังดวงอาทิตย์อุทัย
[๒๕] วงพระรัศมี อันยอดเยี่ยม
ที่เกิดในพระสรีระของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
แผ่ไปโยชน์หนึ่งโดยรอบ ทั้งกลางวันกลางคืน
[๒๖] ขณะนั้น มนุษย์ทั้งหลายมีอายุประมาณ ๖๐,๐๐๐ ปี
พระองค์ก็ทรงดำรงพระชนมายุประมาณเท่านั้น
ทรงช่วยหมู่ชนให้ข้ามพ้นได้เป็นจำนวนมาก
[๒๗] ทรงแสดงพุทธพลังแล้ว
ประกาศอมตธรรมในโลก
ไม่ทรงมีอุปาทานเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว
เพราะสิ้นความยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นผู้เลิศ
[๒๘] พระวรกายมีพระรัศมีดังทอง
พระธรรมก็ไม่มีอะไรเหมือน
ทุกอย่างล้วนอันตรธานไปหมดแล้ว
สังขารทั้งปวงเป็นสภาพว่างเปล่าหนอ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๖. โสภิตพุทธวงศ์
[๒๙] พระเรวตพุทธเจ้าพระองค์นั้นผู้มีพระยศ
ผู้เป็นมหามุนีเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว
พระบรมสารีริกธาตุของพระองค์
แผ่ไปอย่างกว้างขวางในนานาอารยประเทศ ฉะนี้แล
เรวตพุทธวงศ์ที่ ๕ จบ

๖. โสภิตพุทธวงศ์
ว่าด้วยพระประวัติของพระโสภิตพุทธเจ้า
[๑] สมัยต่อจากพระพุทธเจ้าพระนามว่าเรวตะ
ได้มีพระพุทธเจ้าพระนามว่าโสภิตะทรงเป็นผู้นำ
มีพระทัยสงบมั่นคงไม่มีใครเสมอเหมือน ไม่มีบุคคลเปรียบ
[๒] พระชินเจ้าพระองค์นั้นไม่ทรงยินดีในพระราชวังของพระองค์
ทรงบรรลุพระโพธิญาณโดยสิ้นเชิง ประกาศพระธรรมจักรแล้ว
[๓] จากเบื้องบนจรดอเวจีมหานรก จากเบื้องล่างจรดภวัคคพรหม
ในระหว่างนี้ มีบริษัทเป็นหนึ่งเดียวกัน ในการแสดงธรรม
[๔] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศพระธรรมจักรแก่บริษัทนั้น
ผู้ได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๑ จะคำนวณนับมิได้เลย
[๕] ถัดจากนั้น เมื่อพระองค์ทรงแสดงธรรม
ในสมาคมของเทวดาและมนุษย์
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๙๐,๐๐๐ โกฏิ
ได้บรรลุธรรม ครั้งที่ ๒
[๖] ในกาลนั้น พระราชบุตรผู้เป็นกษัตริย์พระนามว่าชัยเสน
ทรงรับสั่งให้สร้างพระอารามอีกแห่งหนึ่งน้อมถวายพระพุทธเจ้า
[๗] พระพุทธเจ้าผู้ทรงมีพระจักษุ
ทรงแสดงธรรมประกาศการบูชาของกษัตริย์พระองค์นี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๖. โสภิตพุทธวงศ์
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๑,๐๐๐ โกฏิ
ได้บรรลุธรรม ครั้งที่ ๓
[๘] พระพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่พระนามว่าโสภิตะ
ได้มีการประชุมแห่งพระขีณาสพ ผู้ปราศจากมลทิน
มีจิตสงบระงับ ผู้คงที่ ๓ ครั้ง
[๙] พระราชาทรงพระนามว่าอุคคตะพระองค์นั้น
ทรงถวายทานแด่พระพุทธเจ้าเป็นผู้สูงสุดแห่งนรชน
ในทานนั้น พระอรหันต์ประมาณ ๑๐๐ โกฏิ มาประชุมกัน
[๑๐] ครั้งนั้น มีหมู่คณะมาถวายทานแด่พระพุทธเจ้า
เป็นผู้สูงสุดแห่งนรชน
พระอรหันต์ประมาณ ๙๐ โกฏิ มาประชุมกัน ครั้งที่ ๒
[๑๑] ในกาลเมื่อพระชินเจ้าทรงเสด็จจำพรรษาในเทวโลกแล้วเสด็จลง
พระอรหันต์ประมาณ ๘๐ โกฏิ มาประชุมกัน ครั้งที่ ๓
[๑๒] สมัยนั้น เราเป็นพราหมณ์มีนามว่าสุชาตะ
เราได้อังคาสพระพุทธเจ้าพร้อมทั้งสาวกให้อิ่มหนำด้วยข้าวและน้ำ
[๑๓] แม้พระพุทธเจ้าพระนามว่าโสภิตะพระองค์นั้น
ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก ก็ทรงพยากรณ์เราว่า
ในกัปอันประมาณมิได้จากกัปนี้ไป
สุชาตพราหมณ์นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า
พระตถาคตได้เสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ที่น่ารื่นรมย์
[๑๔] พระตถาคตทรงเริ่มตั้งความเพียร
บำเพ็ญทุกรกิริยา จักประทับนั่งที่โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวปายาสในที่นั้นแล้ว เสด็จไปยังแม่น้ำเนรัญชรา
พระชินเจ้าพระองค์นั้น จักเสวยข้าวปายาส
ที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา แล้วเสด็จไปที่โคนต้นโพธิ์
ตามหนทางอันประเสริฐที่ตกแต่งไว้แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๖. โสภิตพุทธวงศ์
จากนั้น พระองค์ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่
จักทำประทักษิณโพธิมัณฑ์อันยอดเยี่ยมแล้ว
ตรัสรู้ที่โคนต้นอัสสัตถพฤกษ์
พระมารดาผู้ให้กำเนิดพระชินเจ้าพระองค์นี้
จักมีพระนามว่ามายา
พระบิดาจักมีพระนามว่าสุทโธทนะ
พระชินเจ้าพระองค์นี้จักมีพระนามว่าโคดม
พระโกลิตเถระและพระอุปติสสเถระ
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าอานนท์ จักเป็นพระอุปัฏฐาก
บำรุงพระชินเจ้าพระองค์นี้
พระเขมาเถรีและพระอุบลวรรณาเถรี
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวิกา
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่า ต้นอัสสัตถพฤกษ์
จิตตคหบดีอุบาสกและหัตถกคหบดีอุบาสก
ชาวเมืองอาฬวีจักเป็นอัครอุปัฏฐาก
นันทมารดาอุบาสิกาและอุตตราอุบาสิกา
จักเป็นอัครอุปัฏฐายิกา
พระโคดมผู้มียศพระองค์นั้นจักมีพระชนมายุประมาณ ๑๐๐ ปี
เทวดาและมนุษย์ได้ฟังพระดำรัสนี้
ของพระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเสมอเหมือน
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่แล้ว
ต่างก็มีความชื่นชมกล่าวว่า
‘ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๖. โสภิตพุทธวงศ์
สัตว์ทั้งหลายในหมื่นจักรวาลพร้อมทั้งเทวดา
ต่างก็เปล่งเสียงโห่ร้องปรบมือ ร่าเริง
ประนมมือนมัสการว่า
‘ถ้าเราทั้งหลายจักพลาดศาสนาของพระโลกนาถพระองค์นี้
เราทั้งหลายก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล
มนุษย์ทั้งหลายเมื่อจะข้ามแม่น้ำ พลาดท่าเฉพาะหน้าแล้ว
ก็ยึดเอาท่าถัดไปจึงข้ามแม่น้ำใหญ่ไป ฉันใด
เราทั้งหมดก็ฉันนั้น
ถ้าพลาดพระชินเจ้าพระองค์นี้
ก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล’
[๑๕] เราได้ฟังพระดำรัสของพระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้นแล้ว
ทั้งยินดี ทั้งตื้นตันใจ ได้บำเพ็ญความเพียรให้ยิ่งขึ้นไป
เพื่อบรรลุประโยชน์นั้น
[๑๖] กรุงชื่อว่าสุธรรม กษัตริย์พระนามว่าสุธรรม เป็นพระชนก
พระเทวีพระนามว่าสุธรรมา เป็นพระชนนี
ของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าโสภิตะ ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๑๗] พระองค์ทรงครองฆราวาสอยู่ ๙,๐๐๐ ปี
มีปราสาทที่อุดมอยู่ ๓ หลัง
คือกุมุทปราสาท นฬินีปราสาท และปทุมปราสาท
[๑๘] มีนางสนมกำนัล ๔๓,๐๐๐ นาง
ล้วนประดับประดาสวยงาม
พระมเหสีพระนามว่ามกิลา
พระราชโอรสพระนามว่าสีหะ
[๑๙] พระองค์ผู้เป็นผู้สูงสุดแห่งบุรุษทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ
จึงเสด็จออกจากปราสาทไปผนวช
ทรงบำเพ็ญความเพียรอยู่ ๗ วัน(จึงได้บรรลุพระโพธิญาณ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๖. โสภิตพุทธวงศ์
[๒๐] พระมหาวีระพระนามว่าโสภิตะ
ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลกผู้อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักร
ณ พระอุทยานสุธรรมาอันประเสริฐ
[๒๑] พระอสมเถระและพระสุเนตตเถระเป็นพระอัครสาวก
พระอโนมเถระเป็นอุปัฏฐากของพระพุทธเจ้าพระนามว่าโสภิตะ
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๒๒] พระนกุลาเถรีและพระสุชาตาเถรีเป็นพระอัครสาวิกา
และพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น เมื่อตรัสรู้
ก็ได้ตรัสรู้ที่โคนต้นกากะทิง
[๒๓] รัมมอุบาสกและสุเนตตอุบาสกเป็นอัครอุปัฏฐาก
นกุลาอุบาสิกาและจิตตาอุบาสิกาเป็นอัครอุปัฏฐายิกา
[๒๔] พระมหามุนีทรงมีพระวรกายสูง ๕๘ ศอก
ทรงเปล่งพระรัศมีสว่างไสวไปทั่วทิศ ดังดวงอาทิตย์อุทัย
[๒๕] คำสั่งสอนของพระองค์อบไปด้วยกลิ่นศีล
เปรียบเหมือนป่าไม้ที่มีดอกบานสะพรั่งอบไปด้วยกลิ่นต่าง ๆ
[๒๖] คำสอนของพระองค์ใคร ๆ ไม่เบื่อจะฟัง
เหมือนสาครที่ใคร ๆ ไม่เบื่อที่จะเห็น
[๒๗] ขณะนั้น มนุษย์ทั้งหลายมีอายุประมาณ ๙๐,๐๐๐ ปี
พระองค์ก็ทรงดำรงพระชนมายุประมาณเท่านั้น
ทรงช่วยหมู่ชนให้ข้ามพ้นได้เป็นจำนวนมาก
[๒๘] พระองค์พร้อมกับสาวกนั้น
ทรงประทานพระโอวาทและการพร่ำสอน
ทรงสั่งสอนหมู่ชนที่เหลือให้เผากิเลสแล้ว
ปรินิพพานดังเปลวไฟไหม้เชื้อแล้วดับไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๗. อโนมทัสสีพุทธวงศ์
[๒๙] พระพุทธเจ้าผู้หาใครเสมอเหมือนมิได้
และสาวกผู้บรรลุพลธรรม
ทุกอย่างล้วนอันตรธานไปหมดแล้ว
สังขารทั้งปวงเป็นสภาพว่างเปล่าหนอ
[๓๐] พระโสภิตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ
เสด็จดับขันธปรินิพพานที่สีหาราม
พระบรมสารีริกธาตุของพระองค์
แผ่ไปอย่างกว้างขวางในนานาอารยประเทศ ฉะนี้แล
โสภิตพุทธวงศ์ที่ ๖ จบ

๗. อโนมทัสสีพุทธวงศ์
ว่าด้วยพระประวัติของพระอโนมทัสสีพุทธเจ้า
[๑] สมัยต่อจากพระพุทธเจ้าพระนามว่าโสภิตะ
ได้มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าอโนมทัสสี
ผู้สูงสุดแห่งเทวดาและมนุษย์ มีพระยศหาประมาณมิได้
ทรงมีพระเดชยากที่จะล่วงได้
[๒] พระองค์ทรงตัดกิเลสเครื่องผูกได้ทุกอย่าง๑
ทรงทำลายภพทั้ง ๓๒ แล้ว
ทรงแสดงทางที่มีการไปไม่หวนกลับ๓
แก่หมู่เทวดาและมนุษย์
[๓] พระองค์ทรงเป็นผู้ไม่หวั่นไหวดังมหาสมุทร
หาผู้กระทบกระทั่งได้ยากดังภูเขา

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงตัดกิเลสเครื่องผูกคือสังโยชน์ ๑๐ ได้ทั้งหมด (ขุ.พุทฺธ.อ. ๒/๒๕๓)
๒ ภพ ๓ ได้แก่ กามภพ รูปภพ และอรูปภพ (ที.ปา. (แปล) ๑๑/๓๐๕/๒๖๕)
๓ ทางที่ไปแล้วไม่หวนกลับในที่นี้ได้แก่ นิพพาน (ขุ.พุทฺธ.อ. ๒๕๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๗. อโนมทัสสีพุทธวงศ์
ทรงมีพระคุณหาที่สุดมิได้ดังอากาศ
ทรงงดงาม(ด้วยมหาปุริสลักษณะและพระอนุพยัญชนะ)
ดังต้นพญาไม้สาละที่มีดอกบานสะพรั่ง
[๔] สัตว์ทั้งหลายย่อมยินดีแม้ด้วยการเห็นพระพุทธองค์
สัตว์เหล่านั้นได้สดับพระดำรัสที่กำลังตรัสแล้ว
ย่อมบรรลุอมตธรรม
[๕] ครั้งนั้น ในการแสดงธรรมครั้งแรกของพระองค์
การบรรลุธรรมเจริญรุ่งเรืองแผ่ไปอย่างกว้างขวาง
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๑๐๐ โกฏิ ได้บรรลุธรรม
[๖] สมัยต่อมา ในการตรัสพระธรรมเทศนาครั้งที่ ๒ นี้
เมื่อพระพุทธเจ้ายังฝนคือธรรมให้ตกอยู่
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๘๐ โกฏิได้บรรลุธรรม
[๗] สมัยต่อมา เมื่อพระพุทธองค์ยังธารน้ำคือธรรมให้หลั่งไหล
ทำหมู่สัตว์ให้อิ่มหนำ
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๗๘ โกฏิได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๓
[๘] เฉพาะพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าอโนมทัสสีพระองค์นั้น
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
ได้มีการประชุมพระภิกษุสงฆ์สาวกผู้บรรลุอภิญญา
และพลธรรม ผู้เบิกบานด้วยการหลุดพ้น ๓ ครั้ง
[๙] ครั้งนั้น พระขีณาสพผู้ละความมัวเมาและความหลง
ผู้มีจิตสงบระงับ ผู้คงที่ ประมาณ ๘๐๐,๐๐๐ รูป มาประชุมกัน
[๑๐] พระขีณาสพผู้ไม่มีกิเลสเครื่องยั่วยวน ปราศจากธุลีคือกิเลส
ผู้มีจิตสงบระงับ ผู้คงที่ จำนวน ๗๐๐,๐๐๐ รูป
มาประชุมกัน เป็นครั้งที่ ๒
[๑๑] พระขีณาสพผู้บรรลุอภิญญาและพลธรรม ดับกิเลสได้แล้ว
มีตบะ ประมาณ ๖๐๐,๐๐๐ รูป มาประชุมกัน เป็นครั้งที่ ๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๗. อโนมทัสสีพุทธวงศ์
[๑๒] สมัยนั้น เราเกิดเป็นยักษ์ผู้มีฤทธิ์มาก วางอำนาจ
เป็นใหญ่กว่ายักษ์หลายโกฏิ
[๑๓] แม้ครั้งนั้น เราก็ได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐพระองค์นั้น
ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่แล้ว
ได้อังคาสพระองค์ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
พร้อมทั้งพระสงฆ์ให้อิ่มหนำด้วยข้าวและน้ำ
[๑๔] ครั้งนั้น แม้พระมุนีผู้มีนัยนาบริสุทธิ์พระองค์นั้น
ก็ทรงพยากรณ์เราว่า
ในกัปอันประมาณมิได้นับจากกัปนี้ไป
ยักษ์ตนนี้จักเป็นพระพุทธเจ้า
พระตถาคตได้เสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ที่น่ารื่นรมย์
[๑๕] พระตถาคตทรงเริ่มตั้งความเพียร
บำเพ็ญทุกรกิริยา จักประทับนั่งที่โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวปายาสในที่นั้นแล้ว เสด็จไปยังแม่น้ำเนรัญชรา
พระชินเจ้าพระองค์นั้นจักเสวยข้าวปายาส
ที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา แล้วเสด็จไปที่โคนต้นโพธิ์
ตามหนทางอันประเสริฐที่ตกแต่งไว้แล้ว
จากนั้น พระองค์ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่
จักทำประทักษิณโพธิมัณฑ์อันยอดเยี่ยมแล้ว
ตรัสรู้ที่โคนต้นอัสสัตถพฤกษ์
พระมารดาผู้ให้กำเนิดพระชินเจ้าพระองค์นี้
จักมีพระนามว่ามายา
พระบิดาจักมีพระนามว่าสุทโธทนะ
พระชินเจ้าพระองค์นี้จักมีพระนามว่าโคดม
พระโกลิตเถระและพระอุปติสสเถระ
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๗. อโนมทัสสีพุทธวงศ์
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าอานนท์ จักเป็นพระอุปัฏฐาก
บำรุงพระชินเจ้าพระองค์นี้
พระเขมาเถรีและพระอุบลวรรณาเถรี
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวิกา
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่า ต้นอัสสัตถพฤกษ์
จิตตคหบดีอุบาสกและหัตถกคหบดีอุบาสก
ชาวเมืองอาฬวีจักเป็นอัครอุปัฏฐาก
นันทมารดาอุบาสิกาและอุตตราอุบาสิกา
จักเป็นอัครอุปัฏฐายิกา
พระโคดมผู้มียศพระองค์นั้น
จักมีพระชนมายุประมาณ ๑๐๐ ปี
เทวดาและมนุษย์ ได้ฟังพระดำรัสนี้
ของพระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเสมอเหมือน
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่แล้ว
ต่างก็มีความชื่นชมกล่าวว่า
‘ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร’
สัตว์ทั้งหลายในหมื่นจักรวาลพร้อมทั้งเทวดา
ต่างก็เปล่งเสียงโห่ร้องปรบมือ ร่าเริง
ประนมมือนมัสการว่า
‘ถ้าเราทั้งหลายจักพลาดศาสนาของพระโลกนาถพระองค์นี้
เราทั้งหลายก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล
มนุษย์ทั้งหลายเมื่อจะข้ามแม่น้ำ พลาดท่าเฉพาะหน้าแล้ว
ก็ยึดเอาท่าถัดไปจึงข้ามแม่น้ำใหญ่ไป ฉันใด
เราทั้งหมดก็ฉันนั้น ถ้าพลาดพระชินเจ้าพระองค์นี้
ก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๗. อโนมทัสสีพุทธวงศ์
[๑๖] เราได้ฟังพระดำรัสของพระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้นแล้ว
ทั้งยินดี ทั้งตื้นตันใจ
ได้อธิษฐานวัตรเพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการให้ยิ่งขึ้นไป
[๑๗] กรุงชื่อว่าจันทวดี กษัตริย์พระนามว่ายสวาเป็นพระชนก
พระเทวีพระนามว่ายโสธราเป็นพระชนนี
ของพระศาสดาพระนามว่าอโนมทัสสี
[๑๘] พระองค์ทรงครองฆราวาสอยู่ ๑๐,๐๐๐ ปี
มีปราสาทที่อุดมอยู่ ๓ หลัง
คือสิริปราสาท อุปสิริปราสาท และวัฑฒปราสาท
[๑๙] มีนางสนมกำนัล ๒๓,๐๐๐ นาง
ล้วนประดับประดาสวยงาม
พระมเหสีพระนามว่าสิริมา
พระราชโอรสพระนามว่าอุปสาละ
[๒๐] พระชินเจ้าทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ
จึงทรงวอทองออกผนวชแล้ว
ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๑๐ เดือนเต็ม(จึงได้บรรลุพระโพธิญาณ)
[๒๑] พระมหาวีรมหามุนีพระนามว่าอโนมทัสสี
ผู้อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร
ณ พระอุทยานสุทัสสนะอันประเสริฐ
[๒๒] พระนิสภเถระและพระอโนมเถระเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าวรณะเป็นพระอุปัฏฐาก
ของพระศาสดาพระนามว่าอโนมทัสสี
[๒๓] พระสุนทราเถรีและพระสุมนาเถรีเป็นพระอัครสาวิกา
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่าต้นรกฟ้า
[๒๔] นันทิวัฑฒอุบาสกและสิริวัฑฒอุบาสกเป็นอัครอุปัฏฐาก
อุปปลาอุบาสิกาและปทุมาอุบาสิกาเป็นอัครอุปัฏฐายิกา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๘. ปทุมพุทธวงศ์
[๒๕] พระมหามุนีทรงมีพระวรกายสูง ๕๘ ศอก
พระองค์มีพระรัศมีแผ่ซ่านออกสว่างไสว ดังดวงอาทิตย์อุทัย
[๒๖] ขณะนั้น มนุษย์ทั้งหลายมีอายุประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ ปี
พระองค์ก็ทรงดำรงพระชนมายุประมาณเท่านั้น
ทรงช่วยหมู่ชนให้ข้ามพ้นได้เป็นจำนวนมาก
[๒๗] ศาสนาของพระชินเจ้าบานสะพรั่ง
งดงามด้วยพระอรหันต์ทั้งหลาย ผู้คงที่
ปราศจากราคะและไม่มีมลทิน
[๒๘] พระศาสดาพระองค์นั้นผู้มีพระยศหาประมาณมิได้
และคู่พระอัครสาวกผู้ไม่มีบุคคลเสมอเหมือน
ทุกอย่างล้วนอันตรธานไปหมดแล้ว
สังขารทั้งปวงเป็นสภาพว่างเปล่าหนอ
[๒๙] พระชินศาสดาพระนามว่าอโนมทัสสี
เสด็จดับขันธปรินิพพานที่ธรรมาราม
พระสถูปของพระชินเจ้านั้น
ที่ธรรมารามนั้น สูง ๒๕ โยชน์ ฉะนี้แล
อโนมทัสสีพุทธวงศ์ที่ ๗ จบ

๘. ปทุมพุทธวงศ์
ว่าด้วยพระประวัติพระปทุมพุทธเจ้า
[๑] สมัยต่อจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าอโนมทัสสี
ได้มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมะตามพระโคตร
ผู้สูงสุดแห่งเทวดาและมนุษย์ ไม่มีใครเสมอเหมือน
ไม่มีบุคคลเปรียบ
[๒] แม้ศีลของพระองค์ก็ไม่มีสิ่งไรเสมอ แม้สมาธิก็ไม่มีที่สุด
พระญาณอันประเสริฐนับไม่ถ้วน และแม้วิมุตติก็ไม่มีอะไรเปรียบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๘. ปทุมพุทธวงศ์
[๓] แม้ในคราวที่พระองค์ผู้มีเดชหาอะไรเทียบมิได้
ทรงประกาศพระธรรมจักร
การบรรลุธรรม กำจัดความมืดใหญ่ได้มี ๓ ครั้ง
[๔] ในการบรรลุธรรม ครั้งที่ ๑ พระพุทธธีรเจ้า
ทรงช่วยเทวดาและมนุษย์ ประมาณ ๑๐๐ โกฏิ ให้บรรลุ
ในการบรรลุธรรม ครั้งที่ ๒ ทรงช่วยเทวดาและมนุษย์
ประมาณ ๙๐ โกฏิ ให้บรรลุ
[๕] และในคราวเมื่อพระปทุมพุทธเจ้า
ตรัสสอนพระราชโอรสของพระองค์
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๘๐ โกฏิ ได้บรรลุธรรม ครั้งที่ ๓
[๖] พระปทุมพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
ได้มีการประชุมสาวก ๓ ครั้ง
ภิกษุประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ มาประชุมกัน เป็นครั้งที่ ๑
[๗] เมื่อกฐินจีวรเกิดขึ้นในสมัยกรานกฐิน
ภิกษุทั้งหลายช่วยกันเย็บจีวรเพื่อประโยชน์แก่พระธรรมเสนาบดี
[๘] ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นล้วนปราศจากมลทิน
ได้อภิญญา ๖ มีฤทธิ์มาก
ผู้ไม่พ่ายแพ้ ประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ รูป มาประชุมกัน
[๙] สมัยต่อมา ในคราวที่พระปทุมพุทธเจ้า
ผู้องอาจกว่านรชนทรงเข้าจำพรรษาในป่าใหญ่
ครั้งนั้น ภิกษุประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ รูป มาประชุมกัน
[๑๐] สมัยนั้น ข้าพเจ้าเกิดเป็นราชสีห์
เป็นเจ้าแห่งฝูงเนื้อได้เห็นพระชินเจ้า
ซึ่งกำลังเจริญวิเวกธรรมอยู่ในป่าใหญ่
[๑๑] ข้าพเจ้ากราบพระยุคลบาทด้วยศีรษะ
กระทำประทักษิณพระองค์ บันลือสีหนาท ๓ ครั้ง
บำรุงพระชินเจ้าอยู่ตลอด ๗ วัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๘. ปทุมพุทธวงศ์
[๑๒] ครบ ๗ วันแล้ว พระตถาคตเสด็จออกจากสมาบัติอันประเสริฐ
ทรงมีหทัยดำริให้ภิกษุจำนวน ๑ โกฏิ มาประชุมกัน
[๑๓] แม้ครั้งนั้น พระมหาวีระพระองค์นั้น
ก็ทรงพยากรณ์ในท่ามกลางภิกษุเหล่านั้นว่า
ในกัปอันประมาณมิได้นับจากกัปนี้ไป
พญาราชสีห์นี้ จักเป็นพระพุทธเจ้า
พระตถาคตได้เสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ที่น่ารื่นรมย์
[๑๔] พระตถาคตทรงเริ่มตั้งความเพียร
บำเพ็ญทุกรกิริยา จักประทับนั่งที่โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวปายาสในที่นั้นแล้ว
เสด็จไปยังแม่น้ำเนรัญชรา
พระชินเจ้าพระองค์นั้นจักเสวยข้าวปายาส
ที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา แล้วเสด็จไปที่โคนต้นโพธิ์
ตามหนทางอันประเสริฐที่ตกแต่งไว้แล้ว
จากนั้น พระองค์ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่
จักทำประทักษิณโพธิมัณฑ์อันยอดเยี่ยมแล้ว
ตรัสรู้ที่โคนต้นอัสสัตถพฤกษ์
พระมารดาผู้ให้กำเนิดพระชินเจ้าพระองค์นี้
จักมีพระนามว่ามายา
พระบิดาจักมีพระนามว่าสุทโธทนะ
พระชินเจ้าพระองค์นี้จักมีพระนามว่าโคดม
พระโกลิตเถระและพระอุปติสสเถระ
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่นดีจักเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าอานนท์ จักเป็นพระอุปัฏฐาก
บำรุงพระชินเจ้าพระองค์นี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๘. ปทุมพุทธวงศ์
พระเขมาเถรีและพระอุบลวรรณาเถรี
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวิกา
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่า ต้นอัสสัตถพฤกษ์
จิตตคหบดีอุบาสกและหัตถกคหบดีอุบาสก
ชาวเมืองอาฬวี จักเป็นอัครอุปัฏฐาก
นันทมารดาอุบาสิกาและขุชชุตตราอุบาสิกา
จักเป็นอัครอุปัฏฐายิกา
พระโคดมผู้มียศพระองค์นั้น
จักมีพระชนมายุประมาณ ๑๐๐ ปี
เทวดาและมนุษย์ได้ฟังพระดำรัสนี้
ของพระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเสมอเหมือน
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่แล้ว
ต่างก็มีความชื่นชมกล่าวว่า
‘ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร’
สัตว์ทั้งหลายในหมื่นจักรวาลพร้อมทั้งเทวดา
ต่างก็เปล่งเสียงโห่ร้องปรบมือ ร่าเริง
ประนมมือนมัสการว่า
‘ถ้าเราทั้งหลายจักพลาดศาสนาของพระโลกนาถพระองค์นี้
เราทั้งหลายก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล
มนุษย์ทั้งหลายเมื่อจะข้ามแม่น้ำ พลาดท่าเฉพาะหน้าแล้ว
ก็ยึดเอาท่าถัดไปจึงข้ามแม่น้ำใหญ่ไป ฉันใด
เราทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถ้าพลาดพระชินเจ้าพระองค์นี้
ก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล’
[๑๕] เราได้ฟังพระดำรัสของพระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้นแล้ว
ก็ทำจิตให้เลื่อมใสอย่างยิ่ง
ได้อธิษฐานวัตรเพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการให้ยิ่งขึ้นไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๘. ปทุมพุทธวงศ์
[๑๖] กรุงชื่อว่าจัมปกะ กษัตริย์พระนามว่าอสมะ เป็นพระชนก
พระเทวีพระนามว่าอสมา เป็นพระชนนี
ของพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมะ ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๑๗] พระองค์ทรงครองฆราวาสอยู่ ๑๐,๐๐๐ ปี
มีปราสาทที่อุดมอยู่ ๓ หลัง
คือนันทปราสาท วสุปราสาท และยสุตตรปราสาท
[๑๘] มีนางสนมกำนัล ๓๓,๐๐๐ นาง
ล้วนประดับประดาสวยงาม
พระมเหสีพระนามว่าอุตตรา
พระราชโอรสพระนามว่ารัมมะ
[๑๙] พระชินเจ้าทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ
จึงทรงราชพาหนะคือรถออกผนวชแล้ว
ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๘ เดือนเต็ม(จึงได้บรรลุพระโพธิญาณ)
[๒๐] พระมหาวีระพระนามว่าปทุมะ ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ผู้อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร
ณ พระอุทยานธนัญชะอันประเสริฐ
[๒๑] พระสาลเถระและพระอุปสาลเถระเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าวรณะเป็นพระอุปัฏฐากของพระปทุมพุทธเจ้า
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๒๒] พระราธาเถรีและพระสุราธาเถรีเป็นพระอัครสาวิกา
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่า ต้นอ้อยช้างใหญ่
[๒๓] สภิยอุบาสกและอสมอุบาสกเป็นอัครอุปัฏฐาก
รุจิอุบาสิกาและนันทรามาอุบาสิกาเป็นอัครอุปัฏฐายิกา
[๒๔] พระมหามุนีทรงมีพระวรกายสูง ๕๘ ศอก
พระองค์มีพระรัศมีหาอะไรเสมอมิได้ ซึ่งแผ่ซ่านออกทั่วทิศ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๙. นารทพุทธวงศ์
[๒๕] แสงดวงจันทร์ แสงดวงอาทิตย์ แสงรัตนะ แสงไฟ
และแสงแก้วมณีจินดาแม้ทุกอย่างนั้น
ครั้นมาถึงรัศมีอันสูงสุดของพระชินเจ้าแล้วย่อมอันตรธานไป
[๒๖] ขณะนั้น มนุษย์ทั้งหลายมีอายุประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ ปี
พระองค์ก็ทรงดำรงพระชนมายุประมาณเท่านั้น
ทรงช่วยหมู่ชนให้ข้ามพ้นได้เป็นจำนวนมาก
[๒๗] พระองค์พร้อมกับสาวกนั้น ทรงช่วยเหล่าสัตว์
ที่มีญาณแก่กล้าให้ตรัสรู้ได้โดยไม่เหลือ
ทรงพร่ำสอนชนที่เหลืออื่น ๆ แล้วเสด็จดับขันธปรินิพพาน
[๒๘] พระองค์ทรงละทิ้งสังขารทั้งปวงเหมือนงูลอกคราบเก่า
ดังรุกขชาติสลัดใบเก่า แล้วเสด็จดับขันธปรินิพพาน
เหมือนเปลวเพลิงดับไป
[๒๙] พระปทุมชินศาสดาผู้ประเสริฐ
เสด็จดับขันธปรินิพพานที่ธรรมาราม
พระบรมสารีริกธาตุของพระองค์
แผ่ไปอย่างกว้างขวางในนานาอารยประเทศ ฉะนี้แล
ปทุมพุทธวงศ์ที่ ๘ จบ

๙. นารทพุทธวงศ์
ว่าด้วยพระประวัติของพระนารทพุทธเจ้า
[๑] สมัยต่อจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมะ
ได้มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่านารทะ ตามพระโคตร
ผู้สูงสุดแห่งเทวดาและมนุษย์ไม่มีใครเสมอเหมือน ไม่มีบุคคลเปรียบ
[๒] พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงเป็นพระเชษฐโอรส
ที่ทรงโปรดปรานของพระเจ้าจักรพรรดิ
ทรงสวมใส่อาภรณ์แก้วมุกดา เสด็จเข้าไปยังพระราชอุทยาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๙. นารทพุทธวงศ์
[๓] ในพระราชอุทยานนั้น มีต้นไม้ใหญ่
แผ่กิ่งก้านสาขาร่มครึ้มสวยงาม
พระองค์เสด็จถึงท่ามกลางพระราชอุทยานนั้นแล้ว
ประทับนั่งภายใต้ต้นอ้อยช้างใหญ่
[๔] ณ ที่นั้น เกิดพระญาณอันประเสริฐหาที่สุดมิได้
เปรียบด้วยเพชร ทรงพิจารณาสังขาร
และพิจารณาสังขารว่าเป็นสภาวะที่เปิดเผย
และที่ปกปิด ด้วยพระญาณนั้น
[๕] ทรงลอยกิเลสทั้งปวงได้โดยไม่เหลือในที่นั้นเอง
ทรงบรรลุพระโพธิญาณทั้งสิ้นและพระพุทธญาณ ๑๔๑
[๖] ครั้นทรงบรรลุสัมโพธิญาณแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักร
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ
ได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๑
[๗] ในกาลนั้นพระมหามุนีทรงกำราบพญานาค
ผู้มีลำตัวเท่าเรือโกลนขนาดใหญ่
ได้ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ให้มนุษยโลก
พร้อมทั้งเทวโลกได้เห็นพร้อมกัน
[๘] ในกาลที่ทรงประกาศพระธรรมแก่เทวดาและมนุษย์
ครั้งนั้น เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๙๐,๐๐๐ โกฏิ
ข้ามความสงสัยทั้งปวงได้
[๙] ในกาลเมื่อพระมหาวีระตรัสสอนพระราชโอรสของพระองค์
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๘๐,๐๐๐ โกฏิ
ได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๓

เชิงอรรถ :
๑ พุทธญาณ ๑๔ ได้แก่ มรรคญาณ ๔ ผลญาณ ๔ อสาธารณญาณ ๖ (ขุ.พุทธ.อ. ๕/๒๖๘-๒๖๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๙. นารทพุทธวงศ์
[๑๐] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่านารทะ
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
ได้มีการประชุมสาวก ๓ ครั้ง
สาวกประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ มาประชุมกัน เป็นครั้งที่ ๑
[๑๑] ในกาลที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระพุทธคุณ
พร้อมด้วยเหตุ สาวกผู้ปราศจากมลทิน
ประมาณ ๙๐,๐๐๐ โกฏิ มาประชุมกัน
[๑๒] ในกาลที่เวโรจนนาคราชถวายทานแด่พระศาสดา
สาวกของพระชินเจ้าประมาณ ๘๐ ล้าน มาประชุมกัน
[๑๓] สมัยนั้น เราเป็นชฎิลผู้มีตบะแก่กล้า
สำเร็จอภิญญา ๕ เหาะไปในอากาศได้
[๑๔] แม้ครั้งนั้น เราก็ได้อังคาสพระศาสดา
หาผู้เสมอเหมือนมิได้พร้อมทั้งพระสงฆ์
และบริวารชนให้อิ่มหนำด้วยข้าวและน้ำแล้ว
ได้บูชาด้วยไม้จันทน์หอม
[๑๕] ครั้งนั้น แม้พระพุทธเจ้าพระนามว่านารทะ
พระองค์นั้น ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ก็ทรงพยากรณ์เราว่า
‘ในกัปอันประมาณมิได้นับจากกัปนี้ไป
เขาจักเป็นพระพุทธเจ้าในโลก’
พระตถาคตได้เสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ที่น่ารื่นรมย์
[๑๖] พระตถาคตทรงเริ่มตั้งความเพียร
บำเพ็ญทุกรกิริยา จักประทับนั่งที่โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวปายาสในที่นั้น แล้วเสด็จไปยังแม่น้ำเนรัญชรา
พระชินเจ้าพระองค์นั้น จักเสวยข้าวปายาส
ที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา แล้วเสด็จไปที่โคนต้นโพธิ์
ตามหนทางอันประเสริฐที่ตกแต่งไว้แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๙. นารทพุทธวงศ์
จากนั้น พระองค์ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่
จักทำประทักษิณโพธิมัณฑ์อันยอดเยี่ยมแล้ว
ตรัสรู้ที่โคนต้นอัสสัตถพฤกษ์
พระมารดาผู้ให้กำเนิดพระชินเจ้าพระองค์นี้
จักมีพระนามว่ามายา
พระบิดาจักมีพระนามว่าสุทโธทนะ
พระชินเจ้าพระองค์นี้จักมีพระนามว่าโคดม
พระโกลิตเถระและพระอุปติสสเถระ
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าอานนท์ จักเป็นพระอุปัฏฐาก
บำรุงพระชินเจ้าพระองค์นี้
พระเขมาเถรีและพระอุบลวรรณาเถรี
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวิกา
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่า ต้นอัสสัตถพฤกษ์
จิตตคหบดีอุบาสกและหัตถกคหบดีอุบาสก
ชาวเมืองอาฬวีจักเป็นอัครอุปัฏฐาก
นันทมารดาอุบาสิกาและอุตตราอุบาสิกา
จักเป็นอัครอุปัฏฐายิกา
พระโคดมผู้มียศพระองค์นั้นจักมีพระชนมายุประมาณ ๑๐๐ ปี
เทวดาและมนุษย์ ได้ฟังพระดำรัสนี้
ของพระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเสมอเหมือน
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่แล้ว
ต่างก็มีความชื่นชมกล่าวว่า
‘ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๙. นารทพุทธวงศ์
สัตว์ทั้งหลายในหมื่นจักรวาลพร้อมทั้งเทวดา
ต่างก็เปล่งเสียงโห่ร้องปรบมือ ร่าเริง
ประนมมือนมัสการว่า
‘ถ้าเราทั้งหลายจักพลาดศาสนาของพระโลกนาถพระองค์นี้
เราทั้งหลายก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล
มนุษย์ทั้งหลายเมื่อจะข้ามแม่น้ำ พลาดท่าเฉพาะหน้าแล้ว
ก็ยึดเอาท่าถัดไปจึงข้ามแม่น้ำใหญ่ไป ฉันใด
เราทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ถ้าพลาดพระชินเจ้าพระองค์นี้
ก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล’
[๑๗] เราได้ฟังพระดำรัสของพระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้นแล้ว
ก็ทำใจให้ยินดีอย่างยิ่ง
ได้อธิษฐานวัตรเพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการให้ยิ่งขึ้นไป
[๑๘] กรุงชื่อว่าธัญญวดี กษัตริย์พระนามว่าสุเทพ เป็นพระชนก
พระเทวีพระนามว่าอโนมา เป็นพระชนนี
ของพระพุทธเจ้าพระนามว่านารทะ ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๑๙] พระองค์ทรงครองฆราวาสอยู่ ๙,๐๐๐ ปี
มีปราสาทที่อุดมอยู่ ๓ หลัง
คือชิตปราสาท วิชิตปราสาท และอภิรามปราสาท
[๒๐] มีนางสนมกำนัล ๔๓,๐๐๐ นาง
ล้วนประดับประดาสวยงาม
พระมเหสีพระนามว่าวิชิตเสนา
พระราชโอรสพระนามว่านันทุตตระ
[๒๑] พระองค์ผู้เป็นผู้สูงสุดแห่งบุรุษ ทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ
จึงเสด็จออกผนวชด้วยการเดินเท้า
บำเพ็ญเพียรอยู่ ๗ วัน(จึงได้บรรลุพระโพธิญาณ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๙. นารทพุทธวงศ์
[๒๒] พระมหาวีระพระนามว่านารทะ ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ผู้อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร
ณ พระอุทยานธนัญชะอันประเสริฐ
[๒๓] พระภัททสาลเถระและพระชิตมิตตเถระเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าวาเสฏฐะเป็นพระอุปัฏฐาก
ของพระพุทธเจ้าพระนามว่านารทะ
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๒๔] พระอุตตราเถรีและพระผัคคุนีเถรีเป็นพระอัครสาวิกา
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่า ต้นอ้อยช้างใหญ่
[๒๕] อุคครินทอุบาสกและวสภอุบาสกเป็นอัครอุปัฏฐาก
อินทวรีอุบาสิกาและคัณฑีอุบาสิกาเป็นอัครอุปัฏฐายิกา
[๒๖] พระมหามุนีทรงมีพระวรกายสูง ๘๘ ศอก
ทรงงดงามดังทองคำที่ล้ำค่า ทำหมื่นจักรวาลให้สว่างไสว
[๒๗] พระองค์ทรงมีพระวรกายมีรัศมีวาหนึ่ง
พระรัศมี(นั้น) แผ่ซ่านไปทั่วทิศ ติดกันไปตลอดโยชน์หนึ่ง
ทั้งกลางวันและกลางคืนทุกเมื่อ(ที่ต้องการ)
[๒๘] ขณะนั้น ในระยะโยชน์หนึ่งโดยรอบ
ใคร ๆ ไม่ต้องจุดคบเพลิงหรือประทีป(เพราะ)พระพุทธรัศมีแผ่ไปทั่ว
[๒๙] สมัยนั้น มนุษย์ทั้งหลายมีอายุประมาณ ๙๐,๐๐๐ ปี
พระองค์ก็ทรงดำรงพระชนมายุประมาณเท่านั้น
ทรงช่วยหมู่ชนให้ข้ามพ้นได้เป็นจำนวนมาก
[๓๐] ศาสนาของพระองค์งดงามด้วยพระอรหันต์ทั้งหลาย
เหมือนท้องฟ้างามวิจิตรด้วยหมู่ดาว
[๓๑] พระผู้องอาจกว่านรชนพระองค์นั้น
ทรงสร้างสะพานคือธรรมไว้อย่างมั่นคง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๐. ปทุมุตตรพุทธวงศ์
สำหรับให้คนผู้ปฏิบัติที่เหลือ๑เดินข้ามกระแสสังสารวัฏแล้ว
เสด็จดับขันธปรินิพพาน
[๓๒] แม้พระพุทธเจ้าหาผู้เสมอเหมือนมิได้พระองค์นั้น
และพระขีณาสพผู้มีเดชหาอะไรเทียบมิได้เหล่านั้น
ทุกอย่างล้วนอันตรธานไปหมดแล้ว
สังขารทั้งปวงเป็นสภาพว่างเปล่าหนอ
[๓๓] พระนารทชินเจ้าผู้ประเสริฐ
เสด็จดับขันธปรินิพพานที่สุทัสสนนคร
พระสถูปอันประเสริฐของพระองค์
ที่สุทัศนนครนั้นสูง ๔ โยชน์ ฉะนี้แล
นารทพุทธวงศ์ที่ ๙ จบ

๑๐. ปทุมุตตรพุทธวงศ์
ว่าด้วยพระประวัติของพระปทุมุตตรพุทธเจ้า
[๑] สมัยต่อจากพุทธเจ้าพระนามว่านารทะ
ได้มีพระชินสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้สูงสุดกว่าเทวดาและมนุษย์
ไม่หวั่นไหว เปรียบด้วยสมุทรสาคร
[๒] ก็กัปที่พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นนั้น
เป็นมัณฑกัป(กัปที่มีพระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติ ๒ พระองค์)
หมู่ชนผู้มีกุศลมากได้เกิดขึ้นในกัปนั้น
[๓] ในคราวที่พระผู้มีพระภาคพระนามว่าปทุมุตตระ
ทรงแสดงธรรมครั้งแรก
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ ได้บรรลุธรรม

เชิงอรรถ :
๑ คนผู้ปฏิบัติที่เหลือ ในที่นี้ได้แก่ เสกขบุคคลกับกัลยาณปุถุชน (ขุ.พุทธ.อ. ๓๑/๒๗๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๐. ปทุมุตตรพุทธวงศ์
[๔] จากนั้น เมื่อพระองค์ทำฝนคือธรรมให้ตก
ช่วยเหล่าสัตว์ให้อิ่มหนำ(ด้วยฝนคืออมตะ)
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๓๗,๐๐๐(โกฏิ) ได้บรรลุธรรม ครั้งที่ ๒
[๕] ในกาลที่พระมหาวีรเจ้า
ได้เสด็จเข้าไปหาพระเจ้าอานันทะ(ผู้เป็นพระราชบิดา)
ครั้นเข้าไปสำนักของพระราชบิดาแล้ว ได้ทรงลั่นอมตเภรี
[๖] เมื่อพระพุทธเจ้าทรงลั่นอมตเภรี
บันดาลสายฝนคือธรรมให้ตกลง
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๕,๐๐๐,๐๐๐ (โกฏิ)
ได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๓
[๗] พระพุทธเจ้าผู้ฉลาดในเทศนา ผู้ทรงประทานโอวาท
ผู้ทำเหล่าสัตว์ให้รู้แจ้งทรงช่วยสัตว์ทั้งปวงให้ข้าม
ทรงช่วยหมู่ชนให้ข้ามพ้นได้เป็นจำนวนมาก
[๘] พระศาสดาพระนามว่าปทุมุตตระ
มีการประชุมสาวก ๓ ครั้ง
มีสาวกประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ มาประชุมกัน เป็นครั้งที่ ๑
[๙] ในกาลที่พระพุทธเจ้า
ผู้ไม่มีใครเสมอเหมือน ประทับอยู่ที่เวภารบรรพต
สาวกประมาณ ๙๐,๐๐๐ โกฏิ มาประชุมกัน เป็นครั้งที่ ๒
[๑๐] เมื่อพระองค์เสด็จจากคามนิคมและแว่นแคว้นหลีกจาริกไป
สาวกประมาณ ๘๐,๐๐๐ โกฏิ มาประชุมกัน เป็นครั้งที่ ๓
[๑๑] สมัยนั้น เราเป็นชฎิลมีชื่อว่ารัฏฐิกะ
ได้ถวายผ้าพร้อมภัตตาหารแด่พระสงฆ์
มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน
[๑๒] แม้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ก็ประทับนั่งท่ามกลางพระสงฆ์
ทรงพยากรณ์เราว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๐. ปทุมุตตรพุทธวงศ์
จากนี้ไปอีก ๑๐๐,๐๐๐ กัป
ชฎิลนี้จักเป็นพระพุทธเจ้า
พระตถาคตได้เสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ที่น่ารื่นรมย์
[๑๓] ทรงเริ่มตั้งความเพียร บำเพ็ญทุกรกิริยา
จักประทับนั่งที่โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวปายาสในที่นั้น แล้วเสด็จไปยังแม่น้ำเนรัญชรา
พระชินเจ้าพระองค์นั้นจักเสวยข้าวปายาส
ที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชราแล้วเสด็จไปที่โคนต้นโพธิ์
ตามหนทางอันประเสริฐที่ตกแต่งไว้แล้ว
จากนั้น พระองค์ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่
จักทำประทักษิณโพธิมัณฑ์อันยอดเยี่ยมแล้ว
ตรัสรู้ที่โคนต้นอัสสัตถพฤกษ์
พระมารดาผู้ให้กำเนิดพระชินเจ้าพระองค์นี้
จักมีพระนามว่ามายา
พระบิดาจักมีพระนามว่าสุทโธทนะ
พระชินเจ้าพระองค์นี้จักมีพระนามว่าโคดม
พระโกลิตเถระและพระอุปติสสเถระ
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าอานนท์ จักเป็นพระอุปัฏฐาก
บำรุงพระชินเจ้าพระองค์นี้
พระเขมาเถรีและพระอุบลวรรณาเถรี
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวิกา
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่า ต้นอัสสัตถพฤกษ์
จิตตคหบดีอุบาสกและหัตถกคหบดีอุบาสก
ชาวเมืองอาฬวีจักเป็นอัครอุปัฏฐาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๐. ปทุมุตตรพุทธวงศ์
นันทมารดาอุบาสิกาและอุตตราอุบาสิกา
จักเป็นอัครอุปัฏฐายิกา
พระโคดมผู้มียศพระองค์นั้นจักมีพระชนมายุประมาณ ๑๐๐ ปี
เทวดาและมนุษย์ ได้ฟังพระดำรัสนี้
ของพระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเสมอเหมือน
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่แล้ว
ต่างก็มีความชื่นชมกล่าวว่า
‘ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร’
สัตว์ทั้งหลายในหมื่นจักรวาลพร้อมทั้งเทวดา
ต่างก็เปล่งเสียงโห่ร้องปรบมือ ร่าเริง
ประนมมือนมัสการว่า
‘ถ้าเราทั้งหลายจักพลาดศาสนาของพระโลกนาถพระองค์นี้
เราทั้งหลายก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล
มนุษย์ทั้งหลายเมื่อจะข้ามแม่น้ำ พลาดท่าเฉพาะหน้าแล้ว
ก็ยึดเอาท่าถัดไปจึงข้ามแม่น้ำใหญ่ไป ฉันใด
เราทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ถ้าพลาดพระชินเจ้าพระองค์นี้
ก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล’
[๑๔] เราได้ฟังพระดำรัสของพระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้นแล้ว
ก็อธิษฐานวัตรให้ยิ่งขึ้นไป เราได้บำเพ็ญเพียร
อย่างมั่นคงเพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการให้ยิ่งขึ้นไป
[๑๕] ครั้งนั้น เดียรถีย์ทั้งปวงถูกขจัดไป จึงพากันโทมนัสเสียใจ
ใคร ๆ ก็ไม่บำรุงเดียรถีย์เหล่านั้น
ขับไล่พวกเขาไปจากแว่นแคว้น
[๑๖] พวกเดียรถีย์ประชุมกันในที่นั้นทั้งหมด
เข้าไปสำนักของพระพุทธเจ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๐. ปทุมุตตรพุทธวงศ์
กราบทูลว่า ‘ข้าแต่พระมหาวีรเจ้าผู้มีพระจักษุ
ขอพระองค์เป็นที่พึ่งที่ระลึกของพวกข้าพระองค์เถิด’
[๑๗] พระองค์ผู้ทรงอนุเคราะห์ ประกอบด้วยพระกรุณา
ทรงแสวงหาประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์
ทรงทำเดียรถีย์ที่มาเฝ้าทั้งหมดให้ดำรงอยู่ในเบญจศีล
[๑๘] เมื่อเป็นเช่นนี้ พุทธศาสนานั้นหมดความอากูล
ว่างจากพวกเดียรถีย์
และงดงามด้วยพระอรหันต์ทั้งหลายผู้ได้วสี ผู้คงที่
[๑๙] กรุงชื่อว่าหงสวดี กษัตริย์พระนามว่าอานนท์เป็นพระชนก
พระเทวีพระนามว่าสุชาดาเป็นพระชนนี
ของพระศาสดาพระนามว่าปทุมุตตระ
[๒๐] พระองค์ทรงครองฆราวาสอยู่ ๙,๐๐๐ ปี
มีปราสาทที่อุดมอยู่ ๓ หลัง
คือนารีปราสาท พาหนปราสาท และยสวดีปราสาท
[๒๑] มีนางสนมกำนัล ๔๓,๐๐๐ นาง
ล้วนประดับประดาสวยงาม
พระมเหสีพระนามว่าวสุลทัตตา
พระราชโอรสพระนามว่าอุตตระ
[๒๒] พระองค์เป็นผู้สูงสุดแห่งบุรุษ ทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ
จึงเสด็จออกจากปราสาทไปผนวช
ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๗ วัน(จึงได้บรรลุพระโพธิญาณ)
[๒๓] พระมหาวีระพระนามว่าปทุมุตตระทรงเป็นผู้นำวิเศษ
ผู้อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร
ณ พระอุทยานมิถิลา อันประเสริฐ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๐. ปทุมุตตรพุทธวงศ์
[๒๔] พระเทวิลเถระและพระสุชาตเถระเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าสุมนะเป็นพระอุปัฏฐาก
ของพระศาสดาพระนามว่าปทุมุตตระ
[๒๕] พระอมิตาเถรีและพระอสมาเถรีเป็นพระอัครสาวิกา
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่า ต้นสน
[๒๖] อมิตอุบาสกและติสสอุบาสกเป็นอัครอุปัฏฐาก
หัตถาอุบาสิกาและสุจิตตาอุบาสิกาเป็นอัครอุปัฏฐายิกา
[๒๗] พระมหามุนีทรงมีพระวรกายสูง ๕๘ ศอก
ทรงงดงามดังทองคำที่ล้ำค่า
ทรงมีพระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ๑
[๒๘] กำแพง บานประตู ฝาเรือน ต้นไม้ และภูผาสูง
ก็กำบังพระรัศมีของพระองค์นั้น ในที่ ๑๒ โยชน์โดยรอบไม่ได้
[๒๙] ขณะนั้น มนุษย์ทั้งหลายมีอายุประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ ปี
พระองค์ก็ทรงดำรงพระชนมายุประมาณเท่านั้น
ทรงช่วยหมู่ชนให้ข้ามพ้นได้เป็นจำนวนมาก
[๓๐] พระองค์พร้อมกับสาวกนั้น ทรงช่วยหมู่ชน
ให้ข้ามพ้นได้เป็นจำนวนมาก
ทรงตัดความสงสัยของชนทั้งปวงแล้ว
ทรงรุ่งเรือง ดับไปเหมือนกองไฟไม่มีเชื้อดับไป
[๓๑] พระชินพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
เสด็จดับขันธปรินิพพานที่นันทาราม
พระสถูปอันประเสริฐของพระองค์
ที่นันทารามนั้นสูง ๑๒ โยชน์ ฉะนี้แล
ปทุมุตตรพุทธวงศ์ที่ ๑๐ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถหน้า ๑๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๑. สุเมธพุทธวงศ์
๑๑. สุเมธพุทธวงศ์
ว่าด้วยพระประวัติของพระสุเมธพุทธเจ้า
[๑] สมัยต่อจากพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ได้มีพระชินเจ้าพระนามว่าสุเมธะ ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
หาผู้กระทบกระทั่งได้ยาก ทรงมีพระเดชรุ่งเรือง
ทรงประเสริฐสุดในบรรดาสัตว์โลกทั้งปวง
[๒] ทรงมีพระเนตรสุกใส มีพระพักตร์ชื่นบาน
มีพระวรกายสูงสง่า ทรงแสวงหาประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์
ทรงเปลื้องสัตว์เป็นจำนวนมากให้หลุดพ้นจากเครื่องพันธนาการ
[๓] พระพุทธเจ้าทรงบรรลุพระโพธิญาณอันอุดม
ทรงประกาศพระธรรมจักรที่สุทัสสนนคร
[๔] แม้ในการที่พระองค์ทรงแสดงธรรม
ได้มีการบรรลุธรรม ๓ ครั้ง
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ ได้บรรลุธรรม ครั้งที่ ๑
[๕] อีกเรื่องหนึ่ง พระชินเจ้าทรงทรมานยักษ์ชื่อว่ากุมภกรรณ์
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๙๐,๐๐๐ โกฏิ ได้บรรลุธรรม ครั้งที่ ๒
[๖] อีกเรื่องหนึ่ง พระองค์ผู้มีพระยศนับไม่ได้
ทรงประกาศอริยสัจ ๔
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๘๐,๐๐๐ โกฏิ ได้บรรลุธรรม ครั้งที่ ๓
[๗] พระชินเจ้าพระนามว่าสุเมธะ ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
ได้มีการประชุมแห่งพระขีณาสพผู้ปราศจากมลทิน
มีจิตสงบระงับ ผู้คงที่ ๓ ครั้ง
[๘] ในกาลที่พระชินเจ้าเสด็จเข้าไปยังสุทัศนนคร
พระขีณาสพจำนวน ๑๐๐ โกฏิ มาประชุมกัน
[๙] อีกเรื่องหนึ่ง เมื่อภิกษุทั้งหลายกรานกฐิน ณ เทวกูฏบรรพต
พระขีณาสพประมาณ ๙๐ โกฏิ มาประชุมกัน เป็นครั้งที่ ๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๑. สุเมธพุทธวงศ์
[๑๐] อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลที่พระทศพลเสด็จจาริกไป
พระขีณาสพประมาณ ๘๐ โกฏิ มาประชุมกัน เป็นครั้งที่ ๓
[๑๑] สมัยนั้น เราเป็นมาณพมีชื่อว่าอุตตระ
มีทรัพย์ที่เก็บสะสมไว้ในเรือนถึง ๘๐ โกฏิ
[๑๒] เราได้ถวายทรัพย์สมบัติทั้งสิ้นแด่พระชินเจ้า
ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลกพร้อมทั้งพระสงฆ์
ถึงพระองค์เป็นสรณะแล้ว พอใจการบรรพชา
[๑๓] ครั้นนั้น แม้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น เมื่อทรงทำอนุโมทนา
ก็ทรงพยากรณ์เราว่า
ใน ๓๐,๐๐๐ กัป มาณพนี้จักเป็นพระพุทธเจ้า
พระตถาคตได้เสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ที่น่ารื่นรมย์
[๑๔] พระตถาคตทรงเริ่มตั้งความเพียร
บำเพ็ญทุกรกิริยา จักประทับนั่งที่โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวปายาสในที่นั้น แล้วเสด็จไปยังแม่น้ำเนรัญชรา
พระชินเจ้าพระองค์นั้นจักเสวยข้าวปายาส
ที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา แล้วเสด็จไปที่โคนต้นโพธิ์
ตามหนทางอันประเสริฐที่ตกแต่งไว้แล้ว
จากนั้น พระองค์ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่
จักทำประทักษิณโพธิมัณฑ์อันยอดเยี่ยมแล้ว
ตรัสรู้ที่โคนต้นอัสสัตถพฤกษ์
พระมารดาผู้ให้กำเนิดพระชินเจ้าพระองค์นี้
จักมีพระนามว่ามายา
พระบิดาจักมีพระนามว่าสุทโธทนะ
พระชินเจ้าพระองค์นี้จักมีพระนามว่าโคดม
พระโกลิตเถระและพระอุปติสสเถระ
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๑. สุเมธพุทธวงศ์
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าอานนท์จักเป็นพระอุปัฏฐาก
บำรุงพระชินเจ้าพระองค์นี้
พระเขมาเถรีและพระอุบลวรรณาเถรี
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวิกา
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่า ต้นอัสสัตถพฤกษ์
จิตตคหบดีอุบาสกและหัตถกคหบดีอุบาสก
ชาวเมืองอาฬวีจักเป็นอัครอุปัฏฐาก
นันทมารดาอุบาสิกาและอุตตราอุบาสิกา
จักเป็นอัครอุปัฏฐายิกา
พระโคดมผู้มีพระยศพระองค์นั้นจักมีพระชนมายุประมาณ ๑๐๐ ปี
เทวดาและมนุษย์ได้ฟังพระดำรัสนี้
ของพระพุทธเจ้าผู้ไม่มีผู้เสมอเหมือน
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่แล้ว
ต่างก็มีความชื่นชมกล่าวว่า
‘ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร’
สัตว์ทั้งหลายในหมื่นจักรวาลพร้อมทั้งเทวดา
ต่างก็เปล่งเสียงโห่ร้องปรบมือ ร่าเริง
ประนมมือนมัสการว่า
‘ถ้าเราทั้งหลายจักพลาดศาสนาของพระโลกนาถพระองค์นี้
เราทั้งหลายก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล
มนุษย์ทั้งหลายเมื่อจะข้ามแม่น้ำ พลาดท่าเฉพาะหน้าแล้ว
ก็ยึดเอาท่าถัดไปจึงข้ามแม่น้ำใหญ่ไป ฉันใด
เราทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ถ้าพลาดพระชินเจ้าพระองค์นี้
ก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๑. สุเมธพุทธวงศ์
[๑๕] เราได้ฟังพระดำรัสของพระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้นแล้ว
ก็ทำจิตให้เลื่อมใสอย่างยิ่ง
ได้อธิษฐานวัตรเพื่อการบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการให้ยิ่งขึ้นไป
[๑๖] เราได้เล่าเรียนพระสูตรและพระวินัย
อันเป็นนวังคสัตถุศาสน์ทั้งปวงแล้ว
ช่วยประกาศศาสนาของพระชินเจ้าให้รุ่งเรือง
[๑๗] เราเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่ในคำสั่งสอนนั้น
ทั้งในเวลานั่ง ยืน และเดิน
ถึงความสำเร็จอภิญญาแล้วได้ไปเกิดในพรหมโลก
[๑๘] กรุงชื่อว่าสุทัสสนะ กษัตริย์พระนามว่าสุทัตตะเป็นพระชนก
พระเทวีพระนามว่าสุทัตตาเป็นพระชนนี
ของพระชินเจ้าพระนามว่าสุเมธะผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๑๙] พระองค์ทรงครองฆราวาสอยู่ ๙,๐๐๐ ปี
มีปราสาทที่อุดมอยู่ ๓ หลัง
คือสุจันทปราสาท กัญจนปราสาท และสิริวัฑฒปราสาท
[๒๐] มีนางสนมกำนัล ๔๘,๐๐๐ นาง
ล้วนประดับประดาสวยงาม
พระมเหสีพระนามว่าสุมนา
พระราชโอรสพระนามว่าปุนัพพะ
[๒๑] พระชินเจ้าทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ
จึงทรงราชพาหนะคือช้างออกผนวชแล้ว
ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๘ เดือนเต็ม(จึงได้บรรลุพระโพธิญาณ)
[๒๒] พระมหาวีระพระนามว่าสุเมธะ ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ผู้อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร
ที่พระอุทยานสุทัศนอันประเสริฐ
[๒๓] พระสรณเถระและพระสัพพกามเถระเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าสาคระเป็นพระอุปัฏฐาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๑. สุเมธพุทธวงศ์
ของพระชินเจ้าพระนามว่าสุเมธะ
แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๒๔] พระรามาเถรีและพระสุรามาเถรีเป็นพระอัครสาวิกา
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่า ต้นสะเดา
[๒๕] อุรุเวลาอุบาสกและยสวาอุบาสกเป็นอัครอุปัฏฐาก
ยโสธราอุบาสิกาและสิริมาอุบาสิกาเป็นอัครอุปัฏฐายิกา
[๒๖] พระมหามุนีทรงมีพระวรกายสูง ๘๘ ศอก
ทรงเปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทิศ เหมือนดวงจันทร์ในหมู่ดาว
[๒๗] พระรัตนะ๑ของพระองค์แผ่ไปตลอดโยชน์หนึ่งโดยรอบ
เหมือนแก้วมณีของพระเจ้าจักรพรรดิแผ่ไปโยชน์หนึ่ง
[๒๘] ขณะนั้น มนุษย์ทั้งหลายมีอายุประมาณ ๙๐,๐๐๐ ปี
พระองค์ก็ทรงดำรงพระชนมายุประมาณเท่านั้น
ทรงช่วยหมู่ชนให้ข้ามพ้นได้เป็นจำนวนมาก
[๒๙] ศาสนาของพระองค์คับคั่งไปด้วยพระอรหันต์ทั้งหลาย
ล้วนแต่ผู้ได้วิชชา ๓ อภิญญา ๖ และพละ๒ ผู้คงที่
[๓๐] แม้ท่านทั้งหมดนั้นล้วนมียศนับไม่ถ้วน หลุดพ้นแล้ว
ไม่มีอุปธิมีพระยศอันยิ่งใหญ่ แสดงแสงสว่างแห่งญาณแล้วนิพพาน
[๓๑] พระชินพุทธเจ้าผู้ประเสริฐพระนามว่าสุเมธะ
เสด็จดับขันธปรินิพพานที่เมธาราม
พระบรมสารีริกธาตุของพระองค์
แผ่ไปอย่างกว้างขวางในนานาอารยประเทศ ฉะนี้แล
สุเมธพุทธวงศ์ที่ ๑๑ จบ

เชิงอรรถ :
๑ พระรัตนะ หมายถึงพระรัศมี (ขุ.พุทธ.อ. ๒๗/๒๙๓)
๒ พละ หมายถึงกำลังฤทธิ์ (ขุ.พุทธ.อ. ๒๗/๒๙๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๒. สุชาตพุทธวงศ์
๑๒. สุชาตพุทธวงศ์
ว่าด้วยพระประวัติของพระสุชาตพุทธเจ้า
[๑] ในมัณฑกัปนั้นแล ได้มีพระพุทธเจ้าพระนามว่าสุชาตะ
ทรงเป็นผู้นำ มีพระหนุดังคางราชสีห์
มีลำพระศองามดุจลำคอโคอุสภะ
ทรงมีพระคุณหาประมาณมิได้ หาผู้กระทบกระทั่งได้ยาก
[๒] พระองค์ไม่มีมลทิน บริสุทธิ์ดุจดวงจันทร์
มีพระวรกายงดงามดังดวงอาทิตย์
มีพระรัศมีรุ่งเรืองงดงามทุกเมื่ออย่างนี้
[๓] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบรรลุพระโพธิญาณ
อันประเสริฐอย่างสิ้นเชิงแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักรที่สุมังคลนคร
[๔] เมื่อพระพุทธเจ้าพระนามว่าสุชาตะทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ทรงแสดงพระธรรมอันประเสริฐ ในการแสดงธรรมครั้งที่ ๑
เทวดาและมนุษย์จำนวน ๘๐ โกฏิ ได้บรรลุธรรม
[๕] ในคราวที่พระสุชาตพุทธเจ้าผู้มีพระยศหาประมาณมิได้
เสด็จจำพรรษาในเทวโลก
เทวดาและมนุษย์จำนวน ๓,๗๐๐,๐๐๐ โกฏิ
ได้บรรลุธรรม ครั้งที่ ๒
[๖] ในคราวที่พระสุชาตพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเสมอเหมือน
เสด็จเข้าไปยังสำนักของพุทธบิดา
เทวดาและมนุษย์จำนวน ๖,๐๐๐,๐๐๐ โกฏิ
ได้บรรลุธรรม ครั้งที่ ๓
[๗] พระพุทธเจ้าพระนามว่าสุชาตะผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
มีการประชุมแห่งพระขีณาสพ ผู้ปราศจากมลทิน
มีจิตสงบระงับ ผู้คงที่ ๓ ครั้ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๒. สุชาตพุทธวงศ์
[๘] พระขีณาสพล้วนบรรลุอภิญญาและพลธรรม
ผู้ที่ยังไม่บรรลุในภพน้อยภพใหญ่
ประมาณ ๖,๐๐๐,๐๐๐ รูป เหล่านั้นมาประชุมกัน ครั้งที่ ๑
[๙] ในการประชุมครั้งต่อมา
ในกาลเมื่อพระชินเจ้าเสด็จลงจากดาวดึงสเทวโลก
มีพระขีณาสพประมาณ ๕,๐๐๐,๐๐๐ รูป
มาประชุมกัน เป็นครั้งที่ ๒
[๑๐] พระอัครสาวกพร้อมด้วยพระขีณาสพประมาณ ๔๐๐,๐๐๐ รูป
ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
เข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้องอาจกว่านรชน
[๑๑] สมัยนั้น เราเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ มีพลานุภาพมาก
เป็นใหญ่ในทวีปทั้ง ๔ เหาะไปในอากาศได้
[๑๒] เรานั้น เห็นความอัศจรรย์น่าประหลาดใจ
ให้เกิดขนพองสยองเกล้าในโลก
จึงเข้าไปกราบพระพุทธเจ้าพระนามว่าสุชาตะทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
[๑๓] เรามอบถวายราชสมบัติเป็นอันมากในทวีปทั้ง ๔
และรัตนะ ๗ ประการอันอุดมในพระพุทธเจ้าแล้ว
จึงบวชในสำนักของพระองค์
[๑๔] พวกคนรักษาอารามได้รวบรวมสิ่งที่เกิดขึ้นในชนบท
น้อมปัจจัย๑ ที่นอน ที่นั่งเข้าไปถวายภิกษุสงฆ์
[๑๕] ครั้งนั้น แม้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ผู้เป็นใหญ่ในหมื่นจักรวาล
ก็ทรงพยากรณ์เราว่า
“ในที่สุด ๓๐,๐๐๐ กัป ผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า”
พระตถาคตได้เสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ที่น่ารื่นรมย์

เชิงอรรถ :
๑ ปัจจัย หมายถึงปัจจัยต่าง ๆ มีจีวรเป็นต้น (ขุ.พุทธ.อ. ๑๔/๒๙๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๒. สุชาตพุทธวงศ์
[๑๖] พระตถาคตทรงเริ่มตั้งความเพียร
บำเพ็ญทุกรกิริยา จักประทับนั่งที่โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวปายาสในที่นั้น แล้วเสด็จไปยังแม่น้ำเนรัญชรา
พระชินเจ้าพระองค์นั้นจักเสวยข้าวปายาส
ที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชราแล้วเสด็จไปที่โคนต้นโพธิ์
ตามหนทางอันประเสริฐที่ตกแต่งไว้แล้ว
จากนั้น พระองค์ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่
จักทำประทักษิณโพธิมัณฑ์อันยอดเยี่ยมแล้ว
ตรัสรู้ที่โคนต้นอัสสัตถพฤกษ์
พระมารดาผู้ให้กำเนิดพระชินเจ้าพระองค์นี้
จักมีพระนามว่ามายา
พระบิดาจักมีพระนามว่าสุทโธทนะ
พระชินเจ้าพระองค์นี้จักมีพระนามว่าโคดม
พระโกลิตเถระและพระอุปติสสเถระ
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าอานนท์ จักเป็นพระอุปัฏฐาก
บำรุงพระชินเจ้าพระองค์นี้
พระเขมาเถรีและพระอุบลวรรณาเถรี
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวิกา
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่า ต้นอัสสัตถพฤกษ์
จิตตคหบดีอุบาสกและหัตถกคหบดีอุบาสก
ชาวเมืองอาฬวี จักเป็นอัครอุปัฏฐาก
นันทมารดาอุบาสิกาและอุตตราอุบาสิกา
จักเป็นอัครอุปัฏฐายิกา
พระโคดมผู้มียศพระองค์นั้นจักมีพระชนมายุประมาณ ๑๐๐ ปี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๒. สุชาตพุทธวงศ์
เทวดาและมนุษย์ได้ฟังพระดำรัสนี้
ของพระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเสมอเหมือน
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่แล้ว
ต่างก็มีความชื่นชมกล่าวว่า
“ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร’
สัตว์ทั้งหลายในหมื่นจักรวาลพร้อมทั้งเทวดา
ต่างก็เปล่งเสียงโห่ร้องปรบมือ ร่าเริง
ประนมมือนมัสการว่า
‘ถ้าเราทั้งหลายจักพลาดศาสนาของพระโลกนาถพระองค์นี้
เราทั้งหลายก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล
มนุษย์ทั้งหลายเมื่อจะข้ามแม่น้ำ พลาดท่าเฉพาะหน้าแล้ว
ก็ยึดเอาท่าถัดไปจึงข้ามแม่น้ำใหญ่ไป ฉันใด
เราทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ถ้าพลาดพระชินเจ้าพระองค์นี้
ก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล’
[๑๗] เราได้ฟังพระดำรัสของพระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้นแล้ว
ก็ทำความยินดีให้เกิดขึ้นอย่างยิ่ง
ได้อธิษฐานวัตรเพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการ ให้ยิ่งขึ้นไป
[๑๘] เราได้เล่าเรียนพระสูตรและพระวินัย
อันเป็นนวังคสัตถุศาสน์ทั้งปวงแล้ว
ช่วยประกาศศาสนาของพระชินเจ้าให้รุ่งเรือง
[๑๙] เราเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่ในคำสั่งสอนนั้น
เจริญพรหมวิหารภาวนา
ถึงความสำเร็จอภิญญาแล้ว ได้ไปเกิดในพรหมโลก
[๒๐] กรุงชื่อว่าสุมังคละ กษัตริย์พระนามว่าอุคคตะเป็นพระชนก
พระเทวีพระนามว่าประภาวดีเป็นพระชนนี
ของพระพุทธเจ้าพระนามว่าสุชาตะ ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๒. สุชาตพุทธวงศ์
[๒๑] พระองค์ทรงครองฆราวาสอยู่ ๙,๐๐๐ ปี
มีปราสาทที่อุดมอยู่ ๓ หลัง
คือสิริปราสาท อุปสิริปราสาท และจันทปราสาท
[๒๒] มีนางสนมกำนัล ๒๓,๐๐๐ นาง
ล้วนประดับประดาสวยงาม
พระมเหสีพระนามว่าสิรินันทา
พระราชโอรสพระนามว่าอุปเสนะ
[๒๓] พระชินเจ้าทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ
จึงทรงราชพาหนะคือม้าออกผนวชแล้ว
ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๙ เดือนเต็ม(จึงได้บรรลุพระโพธิญาณ)
[๒๔] พระมหาวีระพระนามว่าสุชาตะ ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ผู้อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร
ที่พระอุทยานสุมังคละ อันประเสริฐ
[๒๕] พระสุทัสสนเถระและพระสุเทวเถระเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่านารทะเป็นอุปัฏฐาก
ของพระพุทธเจ้าพระนามว่าสุชาตะ
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๒๖] พระนาคาเถรีและพระนาคสมานาเถรีเป็นพระอัครสาวิกา
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่า ต้นไผ่ใหญ่
[๒๗] และต้นไม้นั้น ลำต้นแข็งเป็นไผ่ตัน๑ มีใบแน่นหนา
ลำต้นตรงใหญ่ น่าดู น่ารื่นรมย์ใจ
[๒๘] ต้นหนึ่งเจริญงอกงามแล้วแตกกิ่งก้านสาขาออกไป
ต้นไม้นั้นย่อมงามเหมือนกำหางนกยูงที่ผูกไว้ดีแล้ว
[๒๙] ไม้ไผ่นั้นไม่มีหนาม มีช่องไม่ใหญ่
มีกิ่งชิดไม่ห่าง มีเงาทึบ น่ารื่นรมย์ใจ

เชิงอรรถ :
๑ ไผ่ตัน หมายถึงไผ่มีรูที่ปล้องเล็ก (ขุ.พุทธ.อ. ๒๗/๓๐๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๒. สุชาตพุทธวงศ์
[๓๐] สุทัตตอุบาสกและจิตตอุบาสกเป็นอัครอุปัฏฐาก
สุภัททาอุบาสิกาและปทุมาอุบาสิกาเป็นอัครอุปัฏฐายิกา
[๓๑] พระชินเจ้าพระองค์นั้นทรงมีพระวรกายสูง ๕๐ ศอก
ประกอบด้วยพระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ๑
และทรงประกอบด้วยพระคุณทั้งปวง
[๓๒] ทรงมีพระรัศมีไม่มีอะไรเสมอเหมือน
ซ่านออกไปโดยรอบ ไม่มีประมาณ
ไม่มีอะไรเทียบเคียง หาอุปมามิได้
[๓๓] ขณะนั้น มนุษย์ทั้งหลายมีอายุประมาณ ๙๐,๐๐๐ ปี
พระองค์ก็ทรงดำรงพระชนมายุประมาณเท่านั้น
ทรงช่วยหมู่ชนให้ข้ามพ้นได้เป็นจำนวนมาก
[๓๔] ครั้งนั้น ศาสนางดงามไปด้วยพระอรหันต์ทั้งหลาย
เหมือนคลื่นในสาคร และเหมือนดวงดาวในท้องฟ้า
ศาสนาของพระองค์คับคั่งไปด้วยพระอรหันต์ทั้งหลาย
ล้วนแต่ผู้ได้วิชชา ๓ อภิญญา ๖ และพละ ผู้คงที่
[๓๕] พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น หาผู้เสมอเหมือนมิได้
และพระคุณเหล่านั้นก็หาอะไรเทียบเคียงมิได้
ทุกอย่างล้วนอันตรธานไปหมดแล้ว
สังขารทั้งปวงเป็นสภาพว่างเปล่าหนอ
[๓๖] พระชินพุทธเจ้าผู้ประเสริฐพระนามว่าสุชาตะ
เสด็จดับขันธปรินิพพานที่เสลาราม
พระเจดีย์ของพระศาสดา
ที่เสลารามนั้น สูงถึง ๓ คาวุต ฉะนี้แล
สุชาตพุทธวงศ์ที่ ๑๒ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถหน้า ๑๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๓. ปิยทัสสีพุทธวงศ์
๑๓. ปิยทัสสีพุทธวงศ์
ว่าด้วยพระประวัติของพระปิยทัสสีพุทธเจ้า
[๑] สมัยต่อจากพระพุทธเจ้าพระนามว่าสุชาตะ
ได้มีพระสยัมภูพระนามว่าปิยทัสสี ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
หาผู้กระทบกระทั่งได้ยาก ไม่มีผู้เสมอเหมือน มีพระยศยิ่งใหญ่
[๒] แม้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นผู้มียศอันนับมิได้
ทรงรุ่งเรืองดังดวงอาทิตย์ ทรงขจัดความมืดทั้งปวงแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักร
[๓] (สาวก)ของพระพุทธเจ้าผู้มีพระเดชไม่มีอะไรเปรียบปาน
มีการบรรลุธรรม ๓ ครั้ง
เทวดาและมนุษย์จำนวน ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ ได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๑
[๔] ท้าวสุทัสสนเทวราช มากราบทูลถึงมิจฉาทิฏฐิ
พระศาสดาเมื่อจะทรงบรรเทามิจฉาทิฏฐิ
ของท้าวเทวราชนั้นจึงทรงแสดงธรรม
[๕] ครั้งนั้น มหาชนได้มาประชุมกันมากมาย ประมาณไม่ได้
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๙,๐๐๐ โกฏิ ได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๒
[๖] ในกาลที่พระพุทธเจ้า ผู้ทรงเป็นสารถีฝึกนรชน
ทรงฝึกช้างโทณมุข
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๘๐,๐๐๐ โกฏิ ได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๓
[๗] แม้พระปิยทัสสีพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ก็มีการประชุมสาวก ๓ ครั้ง
พระสาวกประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ มาประชุมกัน เป็นครั้งที่ ๑
[๘] พระมุนีขีณาสพประมาณ ๙๐ โกฏิ มาประชุมร่วมกัน
ในการประชุมครั้งที่ ๓ มีพระมุนีขีณาสพประมาณ ๘๐ โกฏิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๓. ปิยทัสสีพุทธวงศ์
[๙] สมัยนั้น เราเป็นมาณพมีชื่อว่ากัสสปะ
เป็นผู้คงแก่เรียน ทรงจำมนตร์ จบไตรเพท๑
[๑๐] เราได้ฟังธรรมของพระองค์แล้ว เกิดความเลื่อมใส
ได้บริจาคทรัพย์ ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิสร้างสังฆาราม
[๑๑] ครั้นถวายอารามแก่พระองค์แล้ว ร่าเริง ตื้นตันใจ
ได้สมาทานสรณคมน์และเบญจศีลให้มั่นคง
[๑๒] แม้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นประทับนั่ง ท่ามกลางสงฆ์
ทรงพยากรณ์เราว่า
“ใน ๑๑๘ กัป มาณพนี้จักเป็นพระพุทธเจ้า”
พระตถาคตได้เสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ที่น่ารื่นรมย์
[๑๓] พระตถาคตทรงเริ่มตั้งความเพียร
บำเพ็ญทุกรกิริยาจักประทับนั่งโคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวปายาสที่ที่นั้น แล้วเสด็จไปยังแม่น้ำเนรัญชรา
พระชินเจ้าพระองค์นั้นจักเสวยข้าวปายาส
ที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา แล้วเสด็จไปที่โคนต้นโพธิ์
ตามหนทางอันประเสริฐที่ตกแต่งไว้แล้ว
จากนั้น พระองค์ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่
จักทำประทักษิณโพธิมัณฑ์อันยอดเยี่ยมแล้ว
ตรัสรู้ที่โคนต้นอัสสัตถพฤกษ์
พระมารดาผู้ให้กำเนิดพระชินเจ้าพระองค์นี้
จักมีพระนามว่ามายา
พระบิดาจักมีพระนามว่าสุทโธทนะ
พระชินเจ้าพระองค์นี้จักมีพระนามว่าโคดม
พระโกลิตเถระและพระอุปติสสเถระ
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ

เชิงอรรถ :
๑ ไตรเพท หมายถึงบทสวดสรรเสริญเทพเจ้า ซึ่งรวบรวมเป็นหมวด ๆ เรียกชื่อว่า ฤคเวท ยชุรเวท สามเวท
และอาถรรพเวท (ที.สี. (แปล) ๙/๒๕๖/๘๗-๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๓. ปิยทัสสีพุทธวงศ์
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าอานนท์จักเป็นพระอุปัฏฐาก
บำรุงพระชินเจ้าพระองค์นี้
พระเขมาเถรีและพระอุบลวรรณาเถรี
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวิกา
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่า ต้นอัสสัตถพฤกษ์
จิตตคหบดีอุบาสกและหัตถกคหบดีอุบาสก
ชาวเมืองอาฬวีจักเป็นอัครอุปัฏฐาก
นันทมารดาอุบาสิกาและอุตตราอุบาสิกา
จักเป็นอัครอุปัฏฐายิกา
พระโคดมผู้มียศพระองค์นั้นจักมีพระชนมายุประมาณ ๑๐๐ ปี
เทวดาและมนุษย์ได้ฟังพระดำรัสนี้
ของพระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเสมอเหมือน
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่แล้ว
ต่างก็มีความชื่นชมกล่าวว่า
‘ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร’
สัตว์ทั้งหลายในหมื่นจักรวาลพร้อมทั้งเทวดา
ต่างก็เปล่งเสียงโห่ร้องปรบมือ ร่าเริง
ประนมมือนมัสการว่า
‘ถ้าเราทั้งหลายจักพลาดศาสนาของพระโลกนาถพระองค์นี้
เราทั้งหลายก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล
มนุษย์ทั้งหลายเมื่อจะข้ามแม่น้ำ พลาดท่าเฉพาะหน้าแล้ว
ก็ยึดเอาท่าถัดไปจึงข้ามแม่น้ำใหญ่ไป ฉันใด
เราทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ถ้าพลาดพระชินเจ้าพระองค์นี้
ก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๓. ปิยทัสสีพุทธวงศ์
[๑๔] เราได้ฟังพระดำรัสของพระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้นแล้ว
ก็ทำจิตให้เลื่อมใสอย่างยิ่ง
ได้อธิษฐานวัตรเพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการให้ยิ่งขึ้นไป
[๑๕] กรุงชื่อว่าสุธัญญะ กษัตริย์พระนามว่าสุทัตตะเป็นพระชนก
พระเทวีพระนามว่าสุจันทาเป็นพระชนนี
ของพระศาสดาพระนามว่าปิยทัสสี
[๑๖] พระองค์ทรงครองฆราวาสอยู่ ๙,๐๐๐ ปี
มีปราสาทที่อุดมอยู่ ๓ หลัง
คือสุนิมมลปราสาท วิมลปราสาท และคิริคูหาปราสาท
[๑๗] มีนางสนมกำนัล ๓๓,๐๐๐ นาง
ล้วนประดับประดาสวยงาม
พระมเหสีพระนามว่าวิมลา
พระราชโอรสพระนามว่ากัญจนาเวฬะ
[๑๘] พระองค์ผู้สูงสุดแห่งบุรุษทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ
จึงทรงราชพาหนะคือรถออกผนวชแล้ว
ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๖ เดือนเต็ม(จึงได้บรรลุพระโพธิญาณ)
[๑๙] พระมหาวีรมหามุนีพระนามว่าปิยทัสสี
ผู้อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร
ที่พระอุทยานอุสภวันน่ารื่นรมย์ใจ
[๒๐] พระปาลิตเถระและพระสัพพทัสสีเถระเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าโสภิตะเป็นพระอุปัฏฐาก
ของพระศาสดาพระนามว่าปิยทัสสี
[๒๑] พระสุชาตาเถรีและพระธรรมทินนาเถรีเป็นพระอัครสาวิกา
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่า ต้นกุ่ม
[๒๒] สันทกอุบาสกและธรรมิกอุบาสกเป็นอัครอุปัฏฐาก
วิสาขาอุบาสิกาและธรรมทินนาอุบาสิกาเป็นอัครอุปัฏฐายิกา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๔. อัตถทัสสีพุทธวงศ์
[๒๓] แม้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นผู้มีพระยศนับไม่ถ้วน
ทรงพระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ๑
มีพระวรกายสูง ๘๐ ศอก ปรากฏดังต้นพญาไม้สาละ
[๒๔] รัศมีไฟ รัศมีดวงจันทร์ รัศมีดวงอาทิตย์
ก็ไม่เหมือนกับพระรัศมีพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
หาผู้เสมอมิได้ ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๒๕] แม้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นผู้เป็นเทพยิ่งกว่าเทพ
มีพระจักษุ ก็ดำรงพระชนมายุอยู่ในโลกประมาณ ๙๐,๐๐๐ ปี
[๒๖] แม้พระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเสมอเหมือนพระองค์นั้น
แม้คู่พระอัครสาวกซึ่งไม่มีผู้เทียบเคียงเหล่านั้น
ทุกอย่างล้วนอันตรธานไปหมดแล้ว
สังขารทั้งปวงเป็นสภาพว่างเปล่าหนอ
[๒๗] พระมุนีผู้ประเสริฐพระนามว่าปิยทัสสี
เสด็จดับขันธปรินิพพานที่อัสสัตถาราม
พระสถูปของพระชินเจ้านั้น
ที่อัสสัตถารามนั้น สูงถึง ๓ โยชน์ ฉะนี้แล
ปิยทัสสีพุทธวงศ์ที่ ๑๓ จบ

๑๔. อัตถทัสสีพุทธวงศ์
ว่าด้วยพระประวัติของพระอัตถทัสสีพุทธเจ้า
[๑] ในมัณฑกัปนั้นแล ได้มีพระพุทธเจ้าพระนามว่าอัตถทัสสี
ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่ ทรงขจัดความมืด๒ใหญ่ออกไปแล้ว
ทรงบรรลุสัมโพธิญาณอันสูงสุด

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถหน้า ๑๐ ในเล่มนี้
๒ ความมืด หมายถึงความมืดคือโมหะ (ขุ.พุทธ.อ. ๒๑๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๔. อัตถทัสสีพุทธวงศ์
[๒] พระองค์ผู้อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักร
ทรงช่วยชาวโลกในหมื่นจักรวาล
พร้อมทั้งเทวดาให้อิ่มหนำด้วยอมตธรรม
[๓] สาวกของพระองค์แม้นั้นผู้ทรงเป็นที่พึ่งของโลก
มีการบรรลุธรรม ๓ ครั้ง
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ
ได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๑
[๔] ในกาลที่พระพุทธเจ้าพระนามว่าอัตถทัสสีเสด็จจาริกไปในเทวโลก
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ
ได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๒
[๕] ต่อมา ในกาลที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม
ในราชสำนักของพระชนก
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ ได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๓
[๖] แม้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
ก็ได้มีการประชุมแห่งพระขีณาสพ
ผู้ปราศจากมลทิน มีจิตสงบระงับ ผู้คงที่ ๓ ครั้ง
[๗] พระขีณาสพประมาณ ๙๘,๐๐๐ รูป
มาประชุมกัน เป็นครั้งที่ ๑
พระขีณาสพประมาณ ๘๘,๐๐๐ รูป มาประชุมกัน เป็นครั้งที่ ๒
[๘] พระขีณาสพผู้หลุดพ้น เพราะไม่ถือมั่น
ผู้ปราศจากมลทิน ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
ประมาณ ๗๘,๐๐๐ รูป มาประชุมกัน เป็นครั้งที่ ๓
[๙] สมัยนั้น เราเป็นชฎิลมีชื่อว่าสุสิมะ ตามโคตร มีตบะแก่กล้า
ประชาชนยกย่องว่าเป็นผู้ประเสริฐที่สุดในแผ่นดิน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๔. อัตถทัสสีพุทธวงศ์
[๑๐] เรานำดอกมณฑารพ ดอกปทุม และดอกปาริฉัตตกะ
อันเป็นทิพย์จากเทวโลก มาบูชาพระสัมพุทธเจ้า
[๑๑] แม้พระมหามุนีพุทธเจ้าพระองค์นั้นพระนามว่าอัตถทัสสี
ก็ทรงพยากรณ์เราว่า
“ใน ๑๑๘ กัป ชฎิลนี้จักเป็นพระพุทธเจ้า”
พระตถาคตได้เสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ที่น่ารื่นรมย์
[๑๒] พระตถาคตทรงเริ่มตั้งความเพียร
บำเพ็ญทุกรกิริยา จักประทับนั่งที่โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวปายาสในที่นั้น แล้วเสด็จไปยังแม่น้ำเนรัญชรา
พระชินเจ้าพระองค์นั้น จักเสวยข้าวปายาส
ที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา แล้วเสด็จไปที่โคนต้นโพธิ์
ตามหนทางอันประเสริฐที่ตกแต่งไว้แล้ว
จากนั้น พระองค์ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่
จักทำประทักษิณโพธิมัณฑ์อันยอดเยี่ยมแล้ว
ตรัสรู้ที่โคนต้นอัสสัตถพฤกษ์
พระมารดาผู้ให้กำเนิดพระชินเจ้าพระองค์นี้
จักมีพระนามว่ามายา
พระบิดาจักมีพระนามว่าสุทโธทนะ
พระชินเจ้าพระองค์นี้จักมีพระนามว่าโคดม
พระโกลิตเถระและพระอุปติสสเถระ
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าอานนท์ จักเป็นพระอุปัฏฐาก
บำรุงพระชินเจ้าพระองค์นี้
พระเขมาเถรีและพระอุบลวรรณาเถรี
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวิกา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๔. อัตถทัสสีพุทธวงศ์
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่า ต้นอัสสัตถพฤกษ์
จิตตคหบดีอุบาสกและหัตถกคหบดีอุบาสก
ชาวเมืองอาฬวี จักเป็นอัครอุปัฏฐาก
นันทมารดาอุบาสิกาและอุตตราอุบาสิกา
จักเป็นอัครอุปัฏฐายิกา
พระโคดมผู้มีพระยศพระองค์นั้นจักมีพระชนมายุประมาณ ๑๐๐ ปี
เทวดาและมนุษย์ได้ฟังพระดำรัสนี้
ของพระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเสมอเหมือน
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่แล้ว
ต่างก็มีความชื่นชมกล่าวว่า
‘ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร’
สัตว์ทั้งหลายในหมื่นจักรวาลพร้อมทั้งเทวดา
ต่างก็เปล่งเสียงโห่ร้องปรบมือ ร่าเริง
ประนมมือนมัสการว่า
‘ถ้าเราทั้งหลายจักพลาดศาสนาของพระโลกนาถพระองค์นี้
เราทั้งหลายก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล
มนุษย์ทั้งหลายเมื่อจะข้ามแม่น้ำ พลาดท่าเฉพาะหน้าแล้ว
ก็ยึดเอาท่าถัดไปจึงข้ามแม่น้ำใหญ่ไป ฉันใด
เราทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ถ้าพลาดพระชินเจ้าพระองค์นี้
ก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล’
[๑๓] เราได้ฟังพระดำรัสของพระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้นแล้ว
ทั้งยินดี ทั้งตื้นตันใจ
ได้อธิษฐานวัตรเพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการให้ยิ่งขึ้นไป
[๑๔] กรุงชื่อว่าโสภณะ กษัตริย์พระนามว่าสาคระเป็นพระชนก
พระเทวีพระนามว่าสุทัสสนาเป็นพระชนนี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๔. อัตถทัสสีพุทธวงศ์
ของพระพุทธเจ้าพระนามว่าอัตถทัสสี
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๑๕] พระองค์ทรงครองฆราวาสอยู่ ๑๐,๐๐๐ ปี
มีปราสาทที่อุดมอยู่ ๓ หลัง
คืออมรคิปราสาท สุรคิปราสาท และคิริพาหนาปราสาท
[๑๖] มีนางสนมกำนัล ๓๓,๐๐๐ นาง
ล้วนประดับประดาสวยงาม
พระมเหสีพระนามว่าวิสาขา
พระราชโอรสพระนามว่าเสละ
[๑๗] พระชินเจ้าทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ
จึงทรงราชพาหนะคือม้าออกผนวชแล้ว
ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๘ เดือนเต็ม(จึงได้บรรลุพระโพธิญาณ)
[๑๘] พระมหาวีระพระนามว่าอัตถทัสสี ผู้องอาจกว่านรชน
มีพระยศยิ่งใหญ่ ผู้อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักรที่พระอุทยานอโนมา
[๑๙] พระสันตเถระและพระอุปสันตเถระเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าอภัยเป็นอุปัฏฐากของพระพุทธเจ้า
พระนามว่าอัตถทัสสี ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๒๐] พระธรรมาเถรีและพระสุธรรมาเถรีเป็นพระอัครสาวิกา
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่า ต้นจำปา
[๒๑] นกุลอุบาสกและนิสภอุบาสกเป็นอัครอุปัฏฐาก
มกิลาอุบาสิกาและสุนันทาอุบาสิกาเป็นอัครอุปัฏฐายิกา
[๒๒] แม้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นผู้ไม่มีใครเสมอเหมือน
ทรงมีพระวรกายสูง ๘๐ ศอก ทรงสง่างามดังต้นพญาไม้สาละ
เหมือนดวงจันทร์เต็มดวง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๕. ธัมมทัสสีพุทธวงศ์
[๒๓] พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นมีพระรัศมีหลายร้อยโกฏิตามปกติ
แผ่ไปตลอดโยชน์หนึ่งทั่ว ๑๐ ทิศทั้งเบื้องบนและเบื้องล่างตลอดเวลา
[๒๔] แม้พระพุทธมุนีพระองค์นั้น
ผู้องอาจกว่านรชน ผู้สูงสุดแห่งสรรพสัตว์
ผู้มีพระจักษุ ก็ดำรงอยู่ในโลกตลอด ๑๐๐,๐๐๐ ปี
[๒๕] แม้พระองค์ทรงแสดงพระรัศมีที่ไม่มีสิ่งอื่นเทียมทัน
ให้สว่างไสวรุ่งโรจน์ในโลกพร้อมทั้งเทวโลกแล้ว
ก็ถึงสภาวะไม่เที่ยง(เสด็จดับขันธปรินิพพานไป)
ดังไฟสิ้นเชื้อดับไป ฉะนั้น
[๒๖] พระชินเจ้าผู้ประเสริฐพระนามว่าอัตถทัสสี
เสด็จดับขันธปรินิพพานที่อโนมาราม
พระบรมสารีริกธาตุของพระองค์
แผ่ไปอย่างกว้างขวางในนานาอารยประเทศ ฉะนี้แล
อัตถทัสสีพุทธวงศ์ที่ ๑๔ จบ

๑๕. ธัมมทัสสีพุทธวงศ์
ว่าด้วยพระประวัติของพระธัมมทัสสีพุทธเจ้า
[๑] ในมัณฑกัปนั้นแล ได้มีพระพุทธเจ้าพระนามว่าธัมมทัสสี
ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่ทรงขจัดความมืดแล้ว
ทรงรุ่งเรืองอย่างยิ่งในโลกพร้อมทั้งเทวโลก
[๒] แม้ในการที่พระองค์ผู้มีพระเดชไม่มีอะไรเปรียบเทียบ
ทรงประกาศพระธรรมจักร
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ
ได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๑
[๓] ในกาลที่พระพุทธเจ้าพระนามว่าธัมมทัสสี
ทรงแนะนำสัญชัยฤาษี
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๙๐ โกฏิ ได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๕. ธัมมทัสสีพุทธวงศ์
[๔] ในกาลที่ท้าวสักกะพร้อมทั้งบริษัท
เสด็จเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้นำวิเศษ
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๘๐ โกฏิ ได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๓
[๕] แม้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นผู้เป็นเทพยิ่งกว่าเทพ
ก็มีการประชุมแห่งพระขีณาสพผู้ปราศจากมลทิน
มีจิตสงบระงับ ผู้คงที่ ๓ ครั้ง
[๖] ในกาลที่พระธัมมทัสสีพุทธเจ้า
ทรงเสด็จจำพรรษาที่สรณนคร
พระขีณาสพประมาณ ๑,๐๐๐ โกฏิ มาประชุมกัน เป็นครั้งที่ ๑
[๗] ต่อมา ในกาลที่พระพุทธเจ้า
เสด็จลงจากเทวโลกมายังโลกมนุษย์
พระขีณาสพประมาณ ๑๐๐ โกฏิ มาประชุมกัน เป็นครั้งที่ ๒
[๘] ต่อมา ในกาลที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศธุดงค์คุณ
พระขีณาสพจำนวน ๘๐ โกฏิ มาประชุมกัน เป็นครั้งที่ ๓
[๙] สมัยนั้น เราเป็นท้าวสักกปุรินททะ๑
ได้บูชาด้วยของหอมมาลาและดนตรีทิพย์
[๑๐] แม้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ประทับนั่งท่ามกลางเทวดา
ก็ทรงพยากรณ์เราว่า
“ใน ๑๑๘ กัป ท้าวสักกปุรินททะนี้จักเป็นพระพุทธเจ้า”
พระตถาคตได้เสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ที่น่ารื่นรมย์
[๑๑] พระตถาคตทรงเริ่มตั้งความเพียร
บำเพ็ญทุกรกิริยา จักประทับนั่งที่โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวปายาสในที่นั้น แล้วเสด็จไปยังแม่น้ำเนรัญชรา

เชิงอรรถ :
๑ ปุรินททะ หมายถึงผู้ให้ทานในชาติก่อน เป็นชื่อของท้าวสักกะ (ขุ.วิ.อ. ๙๗๘/๓๐๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๕. ธัมมทัสสีพุทธวงศ์
พระชินเจ้าพระองค์นั้น จักเสวยข้าวปายาส
ที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชราแล้วเสด็จไปที่โคนต้นโพธิ์
ตามหนทางอันประเสริฐที่ตกแต่งไว้แล้ว
จากนั้น พระองค์ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่
จักทำประทักษิณโพธิมัณฑ์อันยอดเยี่ยมแล้ว
ตรัสรู้ที่โคนต้นอัสสัตถพฤกษ์
พระมารดาผู้ให้กำเนิดพระชินเจ้าพระองค์นี้
จักมีพระนามว่ามายา
พระบิดาจักมีพระนามว่าสุทโธทนะ
พระชินเจ้าพระองค์นี้จักมีพระนามว่าโคดม
พระโกลิตเถระและพระอุปติสสเถระ
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าอานนท์ จักเป็นพระอุปัฏฐาก
บำรุงพระชินเจ้าพระองค์นี้
พระเขมาเถรีและพระอุบลวรรณาเถรี
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวิกา
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่า ต้นอัสสัตถพฤกษ์
จิตตคหบดีอุบาสกและหัตถกคหบดีอุบาสก
ชาวเมืองอาฬวีจักเป็นอัครอุปัฏฐาก
นันทมารดาอุบาสิกาและขุชชุตตราอุบาสิกา
จักเป็นอัครอุปัฏฐายิกา
พระโคดมผู้มียศพระองค์นั้นจักมีพระชนมายุประมาณ ๑๐๐ ปี
เทวดาและมนุษย์ได้ฟังพระดำรัสนี้
ของพระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเสมอเหมือน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๕. ธัมมทัสสีพุทธวงศ์
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่แล้ว
ต่างก็มีความชื่นชมกล่าวว่า
‘ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร’
สัตว์ทั้งหลายในหมื่นจักรวาลพร้อมทั้งเทวดา
ต่างก็เปล่งเสียงโห่ร้องปรบมือ ร่าเริง
ประนมมือนมัสการว่า
‘ถ้าเราทั้งหลายจักพลาดศาสนาของพระโลกนาถพระองค์นี้
เราทั้งหลายก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล
มนุษย์ทั้งหลายเมื่อจะข้ามแม่น้ำ พลาดท่าเฉพาะหน้าแล้ว
ก็ยึดเอาท่าถัดไปจึงข้ามแม่น้ำใหญ่ไป ฉันใด
เราทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ถ้าพลาดพระชินเจ้าพระองค์นี้
ก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล’
[๑๒] เราได้ฟังพระดำรัสของพระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้นแล้ว
ก็ทำจิตให้เลื่อมใสอย่างยิ่ง
ได้อธิษฐานวัตรเพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการให้ยิ่งขึ้นไป
[๑๓] กรุงชื่อว่าสรณะ กษัตริย์พระนามว่าสรณะเป็นพระชนก
พระเทวีพระนามว่าสุนันทาเป็นพระชนนี
ของพระศาสดาพระนามว่าธัมมทัสสี
[๑๔] พระองค์ทรงครองฆราวาสอยู่ ๘,๐๐๐ ปี
มีปราสาทที่อุดมอยู่ ๓ หลัง
คืออรชปราสาท วิรชปราสาท และสุทัศนปราสาท
[๑๕] มีนางสนมกำนัล ๔๐,๐๐๐ นาง
ล้วนประดับประดาสวยงาม
พระมเหสีนามว่าวิจิโกสี
พระราชโอรสพระนามว่าปุญญวัฑฒนะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๕. ธัมมทัสสีพุทธวงศ์
[๑๖] พระองค์ผู้สูงสุดแห่งบุรุษทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ
จึงเสด็จออกจากปราสาทไปผนวช
ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๗ วัน(จึงได้บรรลุพระโพธิญาณ)
[๑๗] พระมหาวีระพระนามว่าธัมมทัสสี ผู้องอาจกว่านรชน
เป็นผู้สูงสุดแห่งนรชน ผู้อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักรที่มฤคทายวัน
[๑๘] พระปทุมเถระและพระปุสสเทวเถระเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าสุทัตตะเป็นพระอุปัฏฐาก
ของพระศาสดานามว่าธัมมทัสสี
[๑๙] พระเขมาเถรีและพระสัจจนามาเถรีเป็นพระอัครสาวิกา
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่า ต้นมะกล่ำหลวง
[๒๐] สุภัททอุบาสกและกฏิสสหอุบาสกเป็นอัครอุปัฏฐาก
สาฬิสาอุบาสิกาและกฬิสสาอุบาสิกาเป็นอัครอุปัฏฐายิกา
[๒๑] แม้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นผู้ไม่มีใครเสมอเหมือน
ทรงมีพระวรกายสูง ๘๐ ศอก
ทรงรุ่งเรืองยิ่งด้วยพระเดชในโลกธาตุมีหมื่นจักรวาล
[๒๒] พระองค์ทรงงามสง่าดังต้นพญาไม้สาละที่มีดอกบานสะพรั่ง
เหมือนสายฟ้าในท้องฟ้า และเหมือนดวงอาทิตย์ในยามเที่ยงวัน
[๒๓] แม้พระพุทธเจ้าผู้มีพระจักษุ
มีพระเดชไม่มีอะไรเปรียบเทียบ
ทรงดำรงชีวิตอยู่ในโลก ๑๐๐,๐๐๐ ปีถ้วน
[๒๔] พระองค์พร้อมทั้งสาวก ทรงแสดงพระรัศมีอันสว่างไสว
ทำศาสนาให้ปราศจากมลทิน เสด็จดับขันธปรินิพพาน
ดังดวงจันทร์บนท้องฟ้าเคลื่อนลับไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๖. สิทธัตถพุทธวงศ์
[๒๕] พระมหาวีระพระนามว่าธัมมทัสสี
เสด็จดับขันธปรินิพพานที่เกสาราม
พระสถูปอันประเสริฐของพระองค์นั้น สูงถึง ๓ โยชน์ ฉะนี้แล
ธัมมทัสสีพุทธวงศ์ที่ ๑๕ จบ

๑๖. สิทธัตถพุทธวงศ์
ว่าด้วยพระประวัติของพระสิทธัตถพุทธเจ้า
[๑] สมัยต่อจากพระพุทธเจ้าพระนามว่าธัมมทัสสี
ได้มีพระพุทธเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ทรงกำจัดความมืดทั้งปวง(ปรากฏ)
เหมือนดวงอาทิตย์อุทัย
[๒] แม้พระองค์ทรงบรรลุสัมโพธิญาณแล้ว
ทรงช่วยหมู่มนุษย์พร้อมทั้งเทวดาให้ข้ามพ้น
ทรงบันดาลฝนคือธรรมให้ตก
ช่วยชาวโลกพร้อมทั้งเทวโลกให้เย็น
[๓] สาวกแม้ของพระองค์ผู้มีพระเดชไม่มีอะไรเปรียบเทียบ
ได้มีการบรรลุธรรม ๓ ครั้ง
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ
ได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๑
[๔] ต่อมา ในกาลที่พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ทรงลั่นอมตเภรีที่ภีมรัฏฐนคร
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๙๐ โกฏิ ได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๒
[๕] ในกาลที่พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นทรงเป็นนระผู้สูงสุด
ทรงแสดงธรรมที่เวภารบรรพต
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๙๐ โกฏิ ได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๖. สิทธัตถพุทธวงศ์
[๖] พระพุทธเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
ได้มีการประชุมแห่งพระขีณาสพ
ผู้ปราศจากมลทิน มีจิตสงบระงับ ผู้คงที่ ๓ ครั้ง
[๗] ได้มีการประชุมของพระขีณาสพผู้ปราศจากมลทิน ๓ ครั้งเหล่านี้
คือพระขีณาสพประมาณ ๑๐๐ โกฏิ ๑ ครั้ง
พระขีณาสพประมาณ ๙๐ โกฏิ ๑ ครั้ง
พระขีณาสพประมาณ ๘๐ โกฏิ ๑ ครั้ง
[๘] สมัยนั้น เราเป็นดาบสมีชื่อว่ามงคล มีเดชรุ่งเรือง
ข่มได้ยาก ทั้งประกอบด้วยอภิญญาและพละ
[๙] เราได้นำผลหว้ามาถวายพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ
พระองค์ทรงรับแล้ว ได้ตรัสพระดำรัสนี้ว่า
[๑๐] จงดูชฎิลดาบสผู้มีตบะแก่กล้านี้ ในกัปที่ ๙๔ นับจากกัปนี้ไป
ชฎิลดาบสนี้จักเป็นพระพุทธเจ้า
พระตถาคตได้เสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ที่น่ารื่นรมย์
[๑๑] พระตถาคตทรงเริ่มตั้งความเพียร
บำเพ็ญทุกรกิริยา จักประทับนั่งที่โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวปายาสในที่นั้น แล้วเสด็จไปยังแม่น้ำเนรัญชรา
พระชินเจ้าพระองค์นั้นจักเสวยข้าวปายาส
ที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา แล้วเสด็จไปที่โคนต้นโพธิ์
ตามหนทางอันประเสริฐที่ตกแต่งไว้แล้ว
จากนั้น พระองค์ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่
จักทำประทักษิณโพธิมัณฑ์อันยอดเยี่ยมแล้ว
ตรัสรู้ที่โคนต้นอัสสัตถพฤกษ์
พระมารดาผู้ให้กำเนิดพระชินเจ้าพระองค์นี้
จักมีพระนามว่ามายา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๖. สิทธัตถพุทธวงศ์
พระบิดาจักมีพระนามว่าสุทโธทนะ
พระชินเจ้าพระองค์นี้จักมีพระนามว่าโคดม
พระโกลิตเถระและพระอุปติสสเถระ
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าอานนท์ จักเป็นพระอุปัฏฐาก
บำรุงพระชินเจ้าพระองค์นี้
พระเขมาเถรีและพระอุบลวรรณาเถรี
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวิกา
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่า ต้นอัสสัตถพฤกษ์
จิตตคหบดีอุบาสกและหัตถกคหบดีอุบาสก
ชาวเมืองอาฬวีจักเป็นอัครอุปัฏฐาก
นันทมารดาอุบาสิกาและอุตตราอุบาสิกา
จักเป็นอัครอุปัฏฐายิกา
พระโคดมผู้มียศพระองค์นั้นจักมีพระชนมายุประมาณ ๑๐๐ ปี
เทวดาและมนุษย์ ได้ฟังพระดำรัสนี้
ของพระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเสมอเหมือน
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่แล้ว
ต่างก็มีความชื่นชมกล่าวว่า
‘ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร’
สัตว์ทั้งหลายในหมื่นจักรวาลพร้อมทั้งเทวดา
ต่างก็เปล่งเสียงโห่ร้องปรบมือ ร่าเริง
ประนมมือนมัสการว่า
‘ถ้าเราทั้งหลายจักพลาดศาสนาของพระโลกนาถพระองค์นี้
เราทั้งหลายก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๖. สิทธัตถพุทธวงศ์
มนุษย์ทั้งหลายเมื่อจะข้ามแม่น้ำ พลาดท่าเฉพาะหน้าแล้ว
ก็ยึดเอาท่าถัดไปจึงข้ามแม่น้ำใหญ่ไป ฉันใด
เราทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ถ้าพลาดพระชินเจ้าพระองค์นี้
ก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล’
[๑๒] เราได้ฟังพระดำรัสของพระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้นแล้ว
ก็ทำจิตให้เลื่อมใสอย่างยิ่ง
ได้อธิษฐานวัตรเพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการให้ยิ่งขึ้นไป
[๑๓] กรุงชื่อว่าเวภาระ กษัตริย์พระนามว่าอุเทนเป็นพระชนก
พระเทวีพระนามว่าสุผัสสาเป็นพระชนนี
ของพระพุทธเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๑๔] พระองค์ทรงครองฆราวาสอยู่ ๑๐,๐๐๐ ปี
มีปราสาทที่อุดมอยู่ ๓ หลัง
คือโกกาสปราสาท อุปลปราสาท และโกกนุทปราสาท
[๑๕] มีนางสนมกำนัล ๔๘,๐๐๐ นาง
ล้วนประดับประดาสวยงาม
พระมเหสีพระนามว่าสุมนา
พระราชโอรสพระนามว่าอนุปมะ
[๑๖] พระชินเจ้าทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ
จึงทรงวอทองออกผนวชแล้ว
ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๑๐ เดือนเต็ม(จึงได้บรรลุพระโพธิญาณ)
[๑๗] พระมหาวีระพระนามว่าสิทธัตถะทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ทรงเป็นผู้สูงสุดแห่งนระ ผู้อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักรที่มฤคทายวัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๖. สิทธัตถพุทธวงศ์
[๑๘] พระสัมพลเถระและพระสุมิตตเถระ เป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าเรวตะเป็นพระอุปัฏฐาก
ของพระพุทธเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๑๙] พระสีวลาเถรีและพระสุรามาเถรีเป็นพระอัครสาวิกา
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่า ต้นกรรณิการ์
[๒๐] สุปปิยอุบาสกและสมุททอุบาสกเป็นอัครอุปัฏฐาก
รัมมาอุบาสิกาและสุรัมมาอุบาสิกาเป็นอัครอุปัฏฐายิกา
[๒๑] พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงมีพระวรกายสูง ๖๐ ศอก
ทรงงดงามดังทองคำที่ล้ำค่า
รุ่งเรืองไปทั่วหมื่นจักรวาล
[๒๒] แม้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นผู้ไม่มีใครเสมอเหมือน
มีพระคุณนับไม่ได้ ไม่มีบุคคลเปรียบ ผู้มีพระจักษุ
ก็ดำรงพระชนมายุอยู่ในโลกประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ ปี
[๒๓] พระองค์ทรงแสดงพระรัศมีอย่างกว้างขวาง
ทรงทำสาวกทั้งหลายให้เบิกบาน
ทรงเยื้องกรายงดงามด้วยสมาบัติ
พร้อมทั้งสาวกเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว
[๒๔] พระพุทธเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะทรงเป็นมุนีผู้ประเสริฐ
เสด็จดับขันธปรินิพพานที่อโนมาราม
พระสถูปอันประเสริฐของพระองค์
ที่อโนมารามนั้น สูงถึง ๔ โยชน์ ฉะนี้แล
สิทธัตถพุทธวงศ์ที่ ๑๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๗๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๗. ติสสพุทธวงศ์
๑๗. ติสสพุทธวงศ์
ว่าด้วยพระประวัติของพระติสสพุทธเจ้า
[๑] สมัยต่อจากพระพุทธเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ
ได้มีพระพุทธเจ้าพระนามว่าติสสะ
ไม่มีผู้เสมอ ไม่มีบุคคลเปรียบ
มีศีลหาที่สุดมิได้ มีพระยศนับมิได้
ทรงเป็นผู้นำชั้นเลิศของโลก
[๒] พระมหาวีระผู้มีพระจักษุ ผู้ทรงอนุเคราะห์
เสด็จอุบัติขึ้นในโลก ทรงขจัดความมืดได้แล้ว
ฉายพระรัศมีให้มนุษยโลกพร้อมทั้งเทวโลกสว่างไสว
[๓] แม้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงมีพระฤทธิ์
ศีลและสมาธิอันหาสิ่งทัดเทียมมิได้
ทรงถึงความสำเร็จในธรรมทั้งปวงแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักร
[๔] พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นทรงแสดงธรรม
ประกาศความบริสุทธิ์ไปในหมื่นจักรวาล
ในพระธรรมเทศนาครั้งที่ ๑
เทวดาและมนุษย์ ๑๐๐ โกฏิ ได้บรรลุธรรม
[๕] เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๙๐ โกฏิ ได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๒
ในการแสดงธรรมครั้งที่ ๓
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๖๐ โกฏิ ได้บรรลุธรรม
ครั้งนั้นพระองค์ทรงเปลื้องเทวดาและมนุษย์
ที่มาประชุมกันให้หลุดพ้นจากเครื่องผูกพัน๑
[๖] พระติสสพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
ได้มีการประชุมแห่งพระขีณาสพ
ผู้ปราศจากมลทิน มีจิตสงบระงับ ผู้คงที่ ๓ ครั้ง

เชิงอรรถ :
๑ เครื่องผูกพัน หมายถึงสังโยชน์ ๑๐ (ขุ.พุทธ.อ. ๕/๓๓๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๗. ติสสพุทธวงศ์
[๗] พระขีณาสพประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ รูป
มาประชุมกัน เป็นครั้งที่ ๑
พระขีณาสพประมาณ ๙,๐๐๐,๐๐๐ รูป
มาประชุมกัน เป็นครั้งที่ ๒
[๘] พระขีณาสพผู้ปราศจากมลทิน
เบิกบานแล้วด้วยวิมุตติประมาณ ๘,๐๐๐,๐๐๐ รูป
มาประชุมกันเป็นครั้งที่ ๓
[๙] สมัยนั้น เราเป็นกษัตริย์มีนามว่าสุชาตะ
ละทิ้งโภคะเป็นอันมากแล้ว บวชเป็นฤๅษี
[๑๐] เมื่อเราบวชแล้ว พระพุทธเจ้า
ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลกเสด็จอุบัติขึ้น
เพราะได้ฟังเสียงว่า พุทโธ ปีติจึงเกิดแก่เรา
[๑๑] เราผู้กำจัดมานะแล้ว ใช้มือทั้ง ๒ ประคองดอกมณฑารพ
ดอกปทุม และดอกปาริฉัตตกะอันเป็นทิพย์เข้าเฝ้า
[๑๒] เราถือดอกไม้นั้น กั้นเหนือพระเศียร
พระชินเจ้าพระนามว่าติสสะ
ทรงเป็นผู้นำชั้นเลิศของโลก
ผู้แวดล้อมด้วยวรรณะทั้ง ๔๑
[๑๓] แม้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ประทับนั่งท่ามกลางประชุมชน
ทรงพยากรณ์เราว่า
‘ในกัปที่ ๙๒ จากกัปนี้ไป ผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า’
พระตถาคตได้เสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ที่น่ารื่นรมย์
[๑๔] พระตถาคตทรงเริ่มตั้งความเพียร
บำเพ็ญทุกรกิริยา จักประทับนั่งที่โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวปายาสในที่นั้น แล้วเสด็จไปยังแม่น้ำเนรัญชรา

เชิงอรรถ :
๑ วรรณะ ๔ หมายถึง วรรณะกษัตริย์ พราหมณ์ คหบดี และสมณะ (ขุ.พุทธ.อ. ๑๒/๓๓๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๗. ติสสพุทธวงศ์
พระชินเจ้าพระองค์นั้นจักเสวยข้าวปายาส
ที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชราแล้วเสด็จไปที่โคนต้นโพธิ์
ตามหนทางอันประเสริฐที่ตกแต่งไว้แล้ว
จากนั้น พระองค์ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่
จักทำประทักษิณโพธิมัณฑ์อันยอดเยี่ยมแล้ว
ตรัสรู้ที่โคนต้นอัสสัตถพฤกษ์
พระมารดาผู้ให้กำเนิดพระชินเจ้าพระองค์นี้
จักมีพระนามว่ามายา
พระบิดาจักมีพระนามว่าสุทโธทนะ
พระชินเจ้าพระองค์นี้จักมีพระนามว่าโคดม
พระโกลิตเถระและพระอุปติสสเถระ
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าอานนท์ จักเป็นพระอุปัฏฐาก
บำรุงพระชินเจ้าพระองค์นี้
พระเขมาเถรีและพระอุบลวรรณาเถรี
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวิกา
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่า ต้นอัสสัตถพฤกษ์
จิตตคหบดีอุบาสกและหัตถกคหบดีอุบาสก
ชาวเมืองอาฬวี จักเป็นอัครอุปัฏฐาก
นันทมารดาอุบาสิกาและอุตตราอุบาสิกา
จักเป็นอัครอุปัฏฐายิกา
พระโคดมผู้มียศพระองค์นั้นจักมีพระชนมายุประมาณ ๑๐๐ ปี
เทวดาและมนุษย์ ได้ฟังพระดำรัสนี้
ของพระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเสมอเหมือน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๗. ติสสพุทธวงศ์
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่แล้ว
ต่างก็มีความชื่นชมกล่าวว่า
‘ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร’
สัตว์ทั้งหลายในหมื่นจักรวาลพร้อมทั้งเทวดา
ต่างก็เปล่งเสียงโห่ร้องปรบมือ ร่าเริง
ประนมมือนมัสการว่า
‘ถ้าเราทั้งหลายจักพลาดศาสนาของพระโลกนาถพระองค์นี้
เราทั้งหลายก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล’
มนุษย์ทั้งหลายเมื่อจะข้ามแม่น้ำ พลาดท่าเฉพาะหน้าแล้ว
ก็ยึดเอาท่าถัดไปจึงข้ามแม่น้ำใหญ่ไป ฉันใด
เราทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ถ้าพลาดพระชินเจ้าพระองค์นี้
ก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล
[๑๕] เราได้ฟังพระดำรัสของพระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้นแล้ว
ก็ทำจิตให้เลื่อมใสอย่างยิ่ง
ได้อธิษฐานวัตรเพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการให้ยิ่งขึ้นไป
[๑๖] กรุงชื่อว่าเขมกะ กษัตริย์พระนามว่าชนสันธะเป็นพระชนก
พระเทวีพระนามว่าปทุมาเป็นพระชนนี
ของพระพุทธเจ้าพระนามว่าติสสะ ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๑๗] พระองค์ทรงครองฆราวาสอยู่ ๗,๐๐๐ ปี
มีปราสาทที่อุดมอยู่ ๓ หลัง
คือคุณเสลาปราสาท นาทิยปราสาท และนิสภปราสาท
[๑๘] มีนางสนมกำนัล ๓๐,๐๐๐ นาง
ล้วนประดับประดาสวยงาม
พระมเหสีพระนามว่าสุภัททา
พระราชโอรสพระนามว่าอานันทะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๗. ติสสพุทธวงศ์
[๑๙] พระชินเจ้าทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ
จึงทรงราชพาหนะคือม้าออกผนวชแล้ว
ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ครึ่งเดือนเต็ม(จึงได้บรรลุพระโพธิญาณ)
[๒๐] พระมหาวีระพระนามว่าติสสะ ทรงเป็นผู้นำชั้นเลิศของโลก
ผู้อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักรที่ยสวดีทายวันอันประเสริฐ
[๒๑] พระพรหมเทพเถระและพระอุทัยเถระเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าสุมังคละเป็นพระอุปัฏฐาก
ของพระพุทธเจ้าพระนามว่าติสสะ
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๒๒] พระผุสสาเถรีและพระสุทัตตาเถรีเป็นพระอัครสาวิกา
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่า ต้นประดู่
[๒๓] สัมพลอุบาสกและสิริอุบาสกเป็นอัครอุปัฏฐาก
กีสาโคตมีอุบาสิกาและอุปเสนาอุบาสิกาเป็นอัครอุปัฏฐายิกา
[๒๔] พระชินพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ทรงมีพระวรกายสูง ๖๐ ศอก
ผู้ไม่มีบุคคลเปรียบ ผู้ไม่มีใครเสมอเหมือน ทรงปรากฏดังภูเขา
[๒๕] แม้พระองค์ผู้มีเดชไม่มีอะไรเปรียบเทียบ ผู้มีพระจักษุ
ทรงดำรงพระชนมายุอยู่ในโลกประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ ปี
ไม่ยิ่งไปกว่านั้น๑
[๒๖] พระองค์พร้อมทั้งสาวก เสวยยศยิ่งใหญ่ อุดม ประเสริฐสุด
ทรงรุ่งเรืองดังกองเพลิงเสด็จดับขันธปรินิพพาน

เชิงอรรถ :
๑ ไม่ยิ่งไปกว่านั้น หมายถึงไม่มากไม่น้อยไปกว่า ๑๐๐,๐๐๐ ปี (ขุ.พุทธ.อ. ๒๕/๓๓๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๘. ปุสสพุทธวงศ์
[๒๗] พระองค์พร้อมทั้งสาวก เสด็จดับขันธปรินิพพาน
ดังเมฆหายจางไปเพราะสายลม
ดังน้ำค้างเหือดแห้งไปเพราะดวงอาทิตย์
และดังความมืดหายไปเพราะดวงไฟ ฉะนั้น
[๒๘] พระชินพุทธเจ้าผู้ประเสริฐพระนามว่าติสสะ
เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้วที่นันทาราม
พระสถูปของพระชินเจ้านั้น
ที่นันทารามนั้น สูงถึง ๓ โยชน์ ฉะนี้แล
ติสสพุทธวงศ์ที่ ๑๗ จบ

๑๘. ปุสสพุทธวงศ์
ว่าด้วยพระประวัติของพระปุสสพุทธเจ้า
[๑] ในมัณฑกัปนั้นแล ได้มีพระศาสดาผู้ยอดเยี่ยมพระนามว่าปุสสะ
ไม่มีบุคคลเปรียบ ผู้ไม่มีใครเสมอเหมือน
ทรงเป็นผู้นำชั้นเลิศของโลก
[๒] แม้พระองค์ก็ทรงกำจัดความมืดทั้งปวง
ทรงสางความรกชัฏเป็นอันมาก๑แล้ว
ทรงยังน้ำอมฤต๒ให้ตก ช่วยมนุษย์
พร้อมทั้งเทวดาได้ดื่มจนสำราญ
[๓] เมื่อพระพุทธเจ้าพระนามว่าผุสสะ
ทรงประกาศพระธรรมจักรในนักขัตตมงคล
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ
ได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๑

เชิงอรรถ :
๑ ความรกชัฏเป็นอันมาก ได้แก่ ตัณหา (ขุ.พุทธ.อ. ๒/๓๓๕)
๒ น้ำอมฤต ได้แก่ ธรรมกถา (ขุ.พุทธ.อ. ๒/๓๓๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๘. ปุสสพุทธวงศ์
[๔] เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๙,๐๐๐,๐๐๐
ได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๒
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๘,๐๐๐,๐๐๐ ได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๓
[๕] พระพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่พระนามว่าปุสสะ
ได้มีการประชุมแห่งพระขีณาสพ
ผู้ปราศจากมลทิน มีจิตสงบระงับ ผู้คงที่ ๓ ครั้ง
[๖] พระขีณาสพประมาณ ๖,๐๐๐,๐๐๐ รูป
มาประชุมกัน เป็นครั้งที่ ๑
พระขีณาสพประมาณ ๕,๐๐๐,๐๐๐ รูป มาประชุมกัน เป็นครั้งที่ ๒
[๗] พระขีณาสพประมาณ ๔,๐๐๐,๐๐๐ รูป
ล้วนแต่หลุดพ้นแล้วเพราะไม่ถือมั่น ตัดที่ต่อคือกิเลสได้แล้ว
มาประชุมกัน เป็นครั้งที่ ๓
[๘] สมัยนั้น เราเป็นกษัตริย์มีนามว่าวิชิตะ
สละราชสมบัติเป็นอันมาก แล้วออกผนวชในสำนักของพระองค์
[๙] แม้พระพุทธเจ้าพระนามว่าปุสสะ
พระองค์นั้น ทรงเป็นผู้นำชั้นเลิศของชาวโลก
ทรงพยากรณ์เราว่า
‘ในกัปที่ ๙๒ จากกัปนี้ไป ผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า’
พระตถาคตได้เสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ที่น่ารื่นรมย์
[๑๐] พระตถาคตทรงเริ่มตั้งความเพียร
บำเพ็ญทุกรกิริยา จักประทับนั่งที่โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวปายาสในที่นั้น แล้วเสด็จไปยังแม่น้ำเนรัญชรา
พระชินเจ้าพระองค์นั้นจักเสวยข้าวปายาส
ที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชราแล้วเสด็จไปที่โคนต้นโพธิ์
ตามหนทางอันประเสริฐที่ตกแต่งไว้แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๘. ปุสสพุทธวงศ์
จากนั้น พระองค์ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่
จักทำประทักษิณโพธิมัณฑ์อันยอดเยี่ยมแล้ว
ตรัสรู้ที่โคนต้นอัสสัตถพฤกษ์
พระมารดาผู้ให้กำเนิดพระชินเจ้าพระองค์นี้
จักมีพระนามว่ามายา
พระบิดาจักมีพระนามว่าสุทโธทนะ
พระชินเจ้าพระองค์นี้จักมีพระนามว่าโคดม
พระโกลิตเถระและพระอุปติสสเถระ
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าอานนท์ จักเป็นพระอุปัฏฐาก
บำรุงพระชินเจ้าพระองค์นี้
พระเขมาเถรีและพระอุบลวรรณาเถรี
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวิกา
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่า ต้นอัสสัตถพฤกษ์
จิตตคหบดีอุบาสกและหัตถกคหบดีอุบาสก
ชาวเมืองอาฬวี จักเป็นอัครอุปัฏฐาก
นันทมารดาอุบาสิกาและอุตตราอุบาสิกา
จักเป็นอัครอุปัฏฐายิกา พระโคดมผู้มียศพระองค์นั้น
จักมีพระชนมายุประมาณ ๑๐๐ ปี
เทวดาและมนุษย์ได้ฟังพระดำรัสนี้
ของพระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเสมอเหมือน
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่แล้ว
ต่างก็มีความชื่นชมกล่าวว่า
‘ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๘. ปุสสพุทธวงศ์
สัตว์ทั้งหลายในหมื่นจักรวาลพร้อมทั้งเทวดา
ต่างก็เปล่งเสียงโห่ร้องปรบมือ ร่าเริง
ประนมมือนมัสการว่า
‘ถ้าเราทั้งหลายจักพลาดศาสนาของพระโลกนาถพระองค์นี้
เราทั้งหลายก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล’
[๑๑] เราได้ฟังพระดำรัสของพระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้นแล้ว
ก็ทำจิตให้เลื่อมใสอย่างยิ่ง
ได้อธิษฐานวัตรเพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการให้ยิ่งขึ้นไป
[๑๒] เราได้เล่าเรียนพระสูตรและพระวินัย
อันเป็นนวังคสัตถุศาสน์ทั้งปวงแล้ว
ช่วยประกาศศาสนาของพระชินเจ้าให้รุ่งเรือง
[๑๓] เราเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่ในคำสั่งสอนนั้น
เจริญพรหมวิหารภาวนา
ถึงความสำเร็จอภิญญาแล้ว ได้ไปเกิดในพรหมโลก
[๑๔] กรุงชื่อว่ากาสิกะ กษัตริย์พระนามว่าชัยเสนเป็นพระชนก
พระเทวีพระนามว่าสิริมาเป็นพระชนนี
ของพระพุทธเจ้าพระนามว่าปุสสะ ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๑๕] พระองค์ทรงครองฆราวาสอยู่ ๙,๐๐๐ ปี
มีปราสาทที่อุดมอยู่ ๓ หลัง
คือครุฬปราสาท หังสปราสาท และสุวรรณดาราปราสาท
[๑๖] มีนางสนมกำนัล ๒๓,๐๐๐ นาง
ล้วนประดับประดาสวยงาม
พระมเหสีพระนามว่ากีสาโคตมี
พระราชโอรสพระนามว่าอนูปมะ
[๑๗] พระองค์ผู้สูงสุดแห่งบุรุษ ทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ
จึงทรงราชพาหนะคือช้างออกผนวชแล้ว
ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๗ วันเต็ม(จึงได้บรรลุพระโพธิญาณ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๘. ปุสสพุทธวงศ์
[๑๘] พระมหาวีระพระนามว่าปุสสะ
ทรงเป็นผู้นำชั้นเลิศของโลก สูงสุดกว่านรชน
ผู้อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักรที่มฤคทายวัน
[๑๙] พระสุรักขิตเถระและพระธรรมเสนเถระเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าสภิยะเป็นพระอุปัฏฐากของพระปุสสพุทธเจ้า
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๒๐] พระจาลาเถรีและพระอุปจาลาเถรีเป็นพระอัครสาวิกา
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่าต้นมะขามป้อม
[๒๑] ธนัญชัยอุบาสกและวิสาขอุบาสก เป็นอัครอุปัฏฐาก
ปทุมาอุบาสิกาและสิรินาคาอุบาสิกา เป็นอัครอุปัฏฐายิกา
[๒๒] พระมุนีพระองค์นั้นทรงมีพระวรกายสูง ๕๘ ศอก
ทรงงดงามดังดวงอาทิตย์ และเหมือนดวงจันทร์ในวันเพ็ญ
[๒๓] ขณะนั้น มนุษย์ทั้งหลายมีอายุประมาณ ๙๐,๐๐๐ ปี
พระองค์ก็ทรงดำรงพระชนมายุประมาณเท่านั้น
ทรงช่วยหมู่ชนให้ข้ามพ้นได้เป็นจำนวนมาก
[๒๔] แม้พระศาสดาผู้มีพระยศอันไม่มีใคร ๆ เสมอเหมือนพระองค์นั้น
ตรัสสอนเวไนยสัตว์เป็นจำนวนมาก
ทรงช่วยหมู่ชนให้ข้ามพ้นได้เป็นจำนวนมาก
พระองค์ผู้เป็นไปกับสาวกเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว
[๒๕] พระชินศาสดาผู้ประเสริฐพระนามว่าปุสสะ
เสด็จดับขันธปรินิพพานที่เสนาราม
พระบรมสารีริกธาตุของพระองค์
แผ่ไปอย่างกว้างขวางในนานาอารยประเทศ ฉะนี้แล
ปุสสพุทธวงศ์ที่ ๑๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๙. วิปัสสีพุทธวงศ์
๑๙. วิปัสสีพุทธวงศ์
ว่าด้วยพระประวัติของพระวิปัสสีพุทธเจ้า
[๑] สมัยต่อจากพระพุทธเจ้าพระนามว่าปุสสะ
ได้มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ตามพระโคตร
ผู้สูงสุดแห่งเทวดาและมนุษย์
ผู้มีพระจักษุ เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก
[๒] พระองค์ทรงทำลายกระเปาะฟองไข่คืออวิชชาแล้ว
ทรงบรรลุสัมโพธิญาณอันอุดม เสด็จไปยังกรุงพันธุมดี
เพื่อทรงประกาศพระธรรมจักร
[๓] พระองค์ทรงเป็นผู้นำ ทรงประกาศพระธรรมจักร
ให้ราชบุตรและบุตรปุโรหิตทั้ง ๒ ได้บรรลุธรรม
การบรรลุธรรมครั้งที่ ๑ บอกจำนวนไม่ได้
[๔] ต่อมาพระองค์ผู้มีพระยศนับไม่ได้
ทรงประกาศอริยสัจ ๔ ในนครนั้น
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๘๔,๐๐๐ ได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๒
[๕] กุลบุตรประมาณ ๘๔,๐๐๐ บวชตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระองค์ผู้มีพระจักษุทรงแสดงธรรมแก่เขาเหล่านั้นผู้มาถึงอาราม
[๖] เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประทานธรรมทานตามอุปนิสัย
จึงประทับยืนตรัสโดยอาการทั้งปวง
แม้บรรพชิตเหล่านั้นก็ได้บรรลุธรรมอันประเสริฐ
จึงชื่อว่าได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๓
[๗] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
ได้มีการประชุมพระขีณาสพผู้ปราศจากมลทิน
มีจิตสงบระงับ คงที่ ๓ ครั้ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๙. วิปัสสีพุทธวงศ์
[๘] ภิกษุประมาณ ๖,๘๐๐,๐๐๐ รูป มาประชุมกัน เป็นครั้งที่ ๑
ภิกษุประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ รูป มาประชุมกัน เป็นครั้งที่ ๒
[๙] ภิกษุประมาณ ๘๐,๐๐๐ รูป มาประชุมกัน เป็นครั้งที่ ๓
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงรุ่งเรืองยิ่งในท่ามกลางหมู่ภิกษุนั้น
[๑๐] สมัยนั้น เราเป็นพญานาคผู้มีฤทธิ์มาก
มีบุญ มีความรุ่งเรือง มีนามว่าอตุละ ตามโคตร
[๑๑] ครั้งนั้น เรามีนาคหลายโกฏิแวดล้อม
เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าผู้เจริญที่สุดในโลก
บรรเลงดนตรีทิพย์ถวาย
[๑๒] เราครั้นเข้าเฝ้าพระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลกแล้ว
ทูลนิมนต์พระองค์แล้ว ได้ถวายตั่งทอง
อันประดับด้วยแก้วมณีและแก้วมุกดา
ประดับด้วยอาภรณ์ทุกชนิดแก่พระองค์ผู้เป็นพระธรรมราชา
[๑๓] แม้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ประทับนั่งท่ามกลางสงฆ์แล้ว
ทรงพยากรณ์เราว่า
‘ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป พญานาคนี้จักเป็นพระพุทธเจ้า’
[๑๔] พระตถาคตได้เสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ที่น่ารื่นรมย์แล้ว
ทรงเริ่มตั้งความเพียรบำเพ็ญทุกรกิริยา
[๑๕] พระตถาคตจักประทับนั่งที่โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวปายาสในที่นั้น แล้วเสด็จไปยังแม่น้ำเนรัญชรา
[๑๖] พระชินเจ้าพระองค์นั้นจักเสวยข้าวปายาส
ที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา แล้วเสด็จไปที่โคนต้นโพธิ์
ตามหนทางอันประเสริฐที่ตกแต่งไว้แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๙. วิปัสสีพุทธวงศ์
[๑๗] จากนั้น พระองค์ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่
จักทำประทักษิณโพธิมัณฑ์อันยอดเยี่ยมแล้ว
ตรัสรู้สัมโพธิญาณที่โคนต้นอัสสัตถพฤกษ์
[๑๘] พระมารดาผู้ให้กำเนิดพระชินเจ้าพระองค์นี้
จักมีพระนามว่ามายา
พระบิดาจักมีพระนามว่าสุทโธทนะ
พระชินเจ้าพระองค์นี้จักมีพระนามว่าโคดม
[๑๙] พระโกลิตเถระและพระอุปติสสเถระ
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าอานนท์ จักเป็นพระอุปัฏฐาก
บำรุงพระชินเจ้าพระองค์นี้
[๒๐] พระเขมาเถรีและพระอุบลวรรณาเถรี
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบระงับ
ตั้งมั่นดีจักเป็นพระอัครสาวิกา
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่า ต้นอัสสัตถพฤกษ์
[๒๑] จิตตคหบดีอุบาสกและหัตถกคหบดีอุบาสก
ชาวเมืองอาฬวี จักเป็นอัครอุปัฏฐาก
นันทมารดาอุบาสิกาและอุตตราอุบาสิกา
จักเป็นอัครอุปัฏฐายิกา
พระโคดมผู้มียศพระองค์นั้นจักมีพระชนมายุประมาณ ๑๐๐ ปี
[๒๒] เทวดาและมนุษย์ ได้ฟังพระดำรัสนี้
ของพระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเสมอเหมือน
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่แล้ว
ต่างก็มีความชื่นชมกล่าวว่า
‘ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๙. วิปัสสีพุทธวงศ์
สัตว์ทั้งหลายในหมื่นจักรวาลพร้อมทั้งเทวดา
ต่างก็เปล่งเสียงโห่ร้องปรบมือ ร่าเริง
ประนมมือ นมัสการว่า
‘ถ้าเราทั้งหลายจักพลาดศาสนาของพระโลกนาถพระองค์นี้
เราทั้งหลายก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล
มนุษย์ทั้งหลายเมื่อจะข้ามแม่น้ำ พลาดท่าเฉพาะหน้าแล้ว
ก็ยึดเอาท่าถัดไปจึงข้ามแม่น้ำใหญ่ไป ฉันใด
เราทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ถ้าพลาดพระชินเจ้าพระองค์นี้
ก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล’
[๒๓] เราได้ฟังพระดำรัสของพระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้นแล้ว
ก็ทำจิตให้เลื่อมใสอย่างยิ่ง
ได้อธิษฐานวัตรเพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการให้ยิ่งขึ้นไป
[๒๔] กรุงชื่อว่าพันธุมดี กษัตริย์พระนามว่าพันธุมะเป็นพระชนก
พระเทวีพระนามว่าพันธุมดีเป็นพระชนนี
ของพระพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๒๕] พระองค์ทรงครองฆราวาสอยู่ ๘,๐๐๐ ปี
มีปราสาทที่อุดมอยู่ ๓ หลัง
คือนันทปราสาท สุนันทปราสาท และสิริมาปราสาท
[๒๖] มีนางสนมกำนัล ๔๓,๐๐๐ นาง
ล้วนประดับประดาสวยงาม
พระมเหสีพระนามว่าสุทัสสนา
พระราชโอรสพระนามว่าสมวัตตขันธ์
[๒๗] พระชินเจ้าทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ
จึงทรงราชพาหนะคือรถออกผนวชแล้ว
ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๘ เดือนเต็ม(จึงได้บรรลุพระโพธิญาณ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๑๙. วิปัสสีพุทธวงศ์
[๒๘] พระมหาวีระพระนามว่าวิปัสสี ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
สูงสุดกว่านรชน ผู้อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักรที่มฤคทายวัน
[๒๙] พระขันธเถระและพระติสสนามเถระเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าอโสกะเป็นพระอุปัฏฐาก
ของพระวิปัสสีพุทธเจ้า ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๓๐] พระจันทาเถรีและพระจันทมิตตาเถรีเป็นพระอัครสาวิกา
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่า ต้นแคฝอย
[๓๑] ปุนัพพสุมิตตอุบาสกและนาคอุบาสกเป็นอัครอุปัฏฐาก
สิริมาอุบาสิกาและอุตตราอุบาสิกาเป็นอัครอุปัฏฐายิกา
[๓๒] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ทรงมีพระวรกายสูง ๘๐ ศอก
พระองค์ทรงมีพระรัศมีเปล่งปลั่ง แผ่ไป ๗ โยชน์โดยรอบ
[๓๓] ขณะนั้น พระพุทธเจ้ามีพระชนมายุประมาณ ๘๐,๐๐๐ ปี
พระองค์ทรงดำรงพระชนมายุประมาณเท่านั้น
ทรงช่วยหมู่ชนให้ข้ามพ้นได้เป็นจำนวนมาก
[๓๔] ทรงเปลื้องเทวดาและมนุษย์เป็นจำนวนมาก
ให้พ้นจากเครื่องพันธนาการ
ตรัสบอกทางและมิใช่ทางแก่ปุถุชนที่เหลือ
[๓๕] พระองค์พร้อมทั้งสาวก ทรงแสดงแสงสว่าง แสดงอมตบท
ทรงรุ่งเรืองดังกองเพลิงเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว
[๓๖] พระฤทธิ์และบุญอันประเสริฐ
พระลักษณะมีลายจักรที่สวยงาม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒๐. สิขีพุทธวงศ์
ทุกอย่างล้วนอันตรธานไปหมดแล้ว
สังขารทั้งปวงเป็นสภาพว่างเปล่าหนอ
[๓๗] พระวีรเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ทรงเป็นนระผู้ประเสริฐ
เสด็จดับขันธปรินิพพานที่สุมิตตาราม
พระสถูปอันประเสริฐของพระองค์
ที่สุมิตตารามนั้น สูงถึง ๗ โยชน์ ฉะนี้แล
วิปัสสีพุทธวงศ์ที่ ๑๙ จบ

๒๐. สิขีพุทธวงศ์
ว่าด้วยพระประวัติของพระสิขีพุทธเจ้า
[๑] สมัยต่อจากพระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า
ได้มีพระชินสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี
ผู้สูงสุดแห่งเทวดาและมนุษย์
ผู้ไม่มีบุคคลเสมอ ไม่มีบุคคลเปรียบเทียบ
[๒] ทรงย่ำยีมารและเสนามารแล้ว
ทรงบรรลุสัมโพธิญาณอันสูงสุด
ทรงประกาศพระธรรมจักร เพื่ออนุเคราะห์สัตว์ทั้งหลาย
[๓] เมื่อพระชินเจ้าผู้ประเสริฐพระนามว่าสิขี
ทรงประกาศพระธรรมจักร
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ ได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๑
[๔] เมื่อพระองค์ผู้ประเสริฐที่สุดในหมู่คณะ
เป็นผู้สูงสุดแห่งนระ ทรงแสดงธรรมแม้อื่นอีก
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๙๐,๐๐๐ โกฏิ
ได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒๐. สิขีพุทธวงศ์
[๕] เมื่อพระองค์ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ในมนุษย์โลกพร้อมเทวโลก
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๘๐,๐๐๐ โกฏิ
ได้บรรรลุธรรมครั้งที่ ๓
[๖] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขีผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
ก็ได้มีการประชุมแห่งพระขีณาสพ
ผู้ปราศจากมลทิน มีจิตสงบระงับ ผู้คงที่ ๓ ครั้ง
[๗] พระขีณาสพจำนวน ๑๐๐,๐๐๐ รูป
มาประชุมกัน เป็นครั้งที่ ๑
มีพระขีณาสพจำนวน ๘๐,๐๐๐ รูป มาประชุมกัน เป็นครั้งที่ ๒
[๘] มีพระขีณาสพจำนวน ๗๐,๐๐๐ รูป
มาประชุมกัน เป็นครั้งที่ ๓
ภิกษุที่มาประชุมกันแม้นั้น ไม่แปดเปื้อนด้วยโลกธรรม
เหมือนดอกบัวที่เจริญในน้ำก็ไม่แปดเปื้อนด้วยน้ำ
[๙] สมัยนั้น เราเป็นกษัตริย์มีนามว่าอรินทมะ
ได้อังคาสพระสงฆ์มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน
ให้อิ่มหนำด้วยข้าวและน้ำ
[๑๐] ได้ถวายผ้าอย่างดีมากมายหลายโกฏิผืน
ได้ถวายพาหนะคือช้างซึ่งประดับแล้วอย่างดี
แด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
[๑๑] เราได้ทำราชพาหนะคือช้างให้เป็นของสมควรแก่สมณะ
แล้วนำไปถวาย ทำจิตของเราให้ตั้งมั่นเป็นนิตย์
[๑๒] พระพุทธเจ้าพระนามว่าสิขีพระองค์นั้น
ทรงเป็นผู้นำชั้นเลิศของโลก
ก็ทรงพยากรณ์เราว่า
‘ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป ผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒๐. สิขีพุทธวงศ์
[๑๓] พระตถาคตได้เสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ที่น่ารื่นรมย์แล้ว
ทรงเริ่มตั้งความเพียร บำเพ็ญทุกรกิริยา
พระตถาคตจักประทับนั่งที่โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวปายาสในที่นั้นแล้ว เสด็จไปยังแม่น้ำเนรัญชรา
พระชินเจ้าพระองค์นั้นจักเสวยข้าวปายาส
ที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา แล้วเสด็จไปที่โคนต้นโพธิ์
ตามหนทางอันประเสริฐที่ตกแต่งไว้แล้ว
จากนั้น พระองค์ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่
จักทำประทักษิณโพธิมัณฑ์อันยอดเยี่ยมแล้ว
ตรัสรู้ที่โคนต้นอัสสัตถพฤกษ์
พระมารดาผู้ให้กำเนิดพระชินเจ้าพระองค์นี้
จักมีพระนามว่ามายา
พระบิดาจักมีพระนามว่าสุทโธทนะ
พระชินเจ้าพระองค์นี้จักมีพระนามว่าโคดม
พระโกลิตเถระและพระอุปติสสเถระ
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าอานนท์ จักเป็นพระอุปัฏฐาก
บำรุงพระชินเจ้าพระองค์นี้
พระเขมาเถรีและพระอุบลวรรณาเถรี
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวิกา
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่า ต้นอัสสัตถพฤกษ์
จิตตคหบดีอุบาสกและหัตถกคหบดีอุบาสก
ชาวเมืองอาฬวี จักเป็นอัครอุปัฏฐาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒๐. สิขีพุทธวงศ์
นันทมารดาอุบาสิกาและอุตตราอุบาสิกา
จักเป็นอัครอุปัฏฐายิกา
พระโคดมผู้มียศพระองค์นั้น
จักมีพระชนมายุประมาณ ๑๐๐ ปี
เทวดาและมนุษย์ได้ฟังพระดำรัสนี้
ของพระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเสมอเหมือน
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่แล้ว
ต่างก็มีความชื่นชมกล่าวว่า
‘ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร’
สัตว์ทั้งหลายในหมื่นจักรวาลพร้อมทั้งเทวดา
ต่างก็เปล่งเสียงโห่ร้องปรบมือ ร่าเริง
ประนมมือนมัสการว่า
‘ถ้าเราทั้งหลายจักพลาดศาสนาของพระโลกนาถพระองค์นี้
เราทั้งหลายก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล
มนุษย์ทั้งหลายเมื่อจะข้ามแม่น้ำ พลาดท่าเฉพาะหน้าแล้ว
ก็ยึดเอาท่าถัดไปจึงข้ามแม่น้ำใหญ่ไป ฉันใด
เราทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ถ้าพลาดพระชินเจ้าพระองค์นี้
ก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล’
[๑๔] เราได้ฟังพระดำรัสของพระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้นแล้ว
ก็ทำจิตให้เลื่อมใสอย่างยิ่ง
ได้อธิษฐานวัตรเพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการให้ยิ่งขึ้นไป
[๑๕] กรุงชื่อว่าอรุณวดี กษัตริย์พระนามว่าอรุณเป็นพระชนก
พระเทวีพระนามว่าประภาวดีเป็นพระชนนี
ของพระพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๑๖] พระองค์ทรงครองฆราวาสอยู่ ๗,๐๐๐ ปี
มีปราสาทที่อุดมอยู่ ๓ หลัง
คือสุวัฑฒกปราสาท คิริปราสาท และวาหนปราสาท

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒๐. สิขีพุทธวงศ์
[๑๗] มีนางสนมกำนัล ๒๔,๐๐๐ นาง
ล้วนประดับประดาสวยงาม
พระมเหสีพระนามว่าสัพพกามา
พระราชโอรสพระนามว่าอตุละ
[๑๘] พระองค์เป็นผู้สูงสุดแห่งบุรุษ ทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ
จึงทรงราชพาหนะคือช้างออกผนวชแล้ว
ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๘ เดือนเต็ม(จึงได้บรรลุพระโพธิญาณ)
[๑๙] พระมหาวีระ ทรงเป็นผู้นำชั้นเลิศของโลก
ผู้สูงสุดแห่งนรชนพระนามว่าสิขี
ผู้อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว
ทูลทรงประกาศพระธรรมจักรที่มฤคทายวัน
[๒๐] พระอภิภูเถระและพระสัมภวเถระเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าเขมังกรเป็นพระอุปัฏฐาก
ของพระสิขีสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๒๑] พระสขิลาเถรีและพระปทุมาเถรีเป็นพระอัครสาวิกา
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่า ต้นกุ่มบก
[๒๒] สิริวัฑฒอุบาสกและนันทอุบาสกเป็นอัครอุปัฏฐาก
จิตตาอุบาสิกาและสุจิตตาอุบาสิกาเป็นอัครอุปัฏฐายิกา
[๒๓] พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงมีพระวรกายสูง ๗๐ ศอก
ทรงงดงามดังทองคำที่ล้ำค่า
มีพระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ๑
[๒๔] แม้พระองค์ก็มีพระรัศมีประมาณวาหนึ่ง
ซ่านออกไปจากพระวรกายต่อเนื่องกันไป
พระรัศมีนั้นแผ่ไปยังทิศน้อยทิศใหญ่ถึง ๓ โยชน์

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถหน้า ๑๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒๑. เวสสภูพุทธวงศ์
[๒๕] พระองค์ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่นั้น
มีพระชนมายุประมาณ ๗๐,๐๐๐ ปี
พระองค์ทรงดำรงพระชนมายุประมาณเท่านั้น
ทรงช่วยหมู่ชนให้ข้ามพ้นได้เป็นจำนวนมาก
[๒๖] พระองค์พร้อมทั้งสาวก
ทรงบันดาลฝนคือธรรมให้ตกลง
ช่วยเทวดาและมนุษย์ให้แช่มชื่น
ให้บรรรลุถึงความเกษมแล้ว
เสด็จดับขันธปรินิพพาน
[๒๗] พระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ๑
ซึ่งสมบูรณ์ด้วยอนุพยัญชนะ
ทุกอย่างล้วนอันตรธานไปหมดแล้ว
สังขารทั้งปวงเป็นสภาพว่างเปล่าหนอ
[๒๘] พระพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี ทรงเป็นมุนีผู้ประเสริฐ
เสด็จดับขันธปรินิพพานที่อัสสาราม
พระสถูปอันประเสริฐของพระองค์
ที่อัสสารามนั้น สูงถึง ๓ โยชน์ ฉะนี้แล
สิขีพุทธวงศ์ที่ ๒๐ จบ

๒๑. เวสสภูพุทธวงศ์
ว่าด้วยพระประวัติของพระเวสสภูพุทธเจ้า
[๑] ในมัณฑกัปนั้นแล ได้มีพระชินเจ้าพระนามว่าเวสสภู
ตามพระโคตร พระองค์ผู้ไม่มีบุคคลเสมอ ไม่มีบุคคลเปรียบ
เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถหน้า ๑๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒๑. เวสสภูพุทธวงศ์
[๒] พระชินเจ้าพระองค์นั้น
ทรงทราบว่า ไฟคือราคะนี้เป็นของร้อน
เป็นแว่นแคว้นของตัณหา ทรงตัดกิเลสเครื่องผูก
ดุจช้างตัดเครื่องพันธนาการแล้ว
ทรงบรรลุสัมโพธิญาณอันสูงสุด
[๓] พระเวสสภูพุทธเจ้าทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ทรงประกาศพระธรรมจักรแล้ว
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๘๐,๐๐๐ โกฏิ ได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๑
[๔] เมื่อพระนราสภะผู้เจริญที่สุดในโลก
เสด็จจาริกไปในแว่นแคว้น
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๗๐,๐๐๐ โกฏิ ได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๒
[๕] เมื่อพระองค์ทรงกระทำปาฏิหาริย์บรรเทาทิฏฐิอันสำคัญ
เทวดาและมนุษย์ในโลกพร้อมทั้งเทวโลกในหมื่นจักรวาล
มาประชุมกัน
[๖] เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๖๐ โกฏิ
ได้เห็นความมหัศจรรย์ที่ไม่เคยมี
เป็นเหตุให้ขนพองสยองเกล้าแล้วบรรลุธรรม
[๗] พระชินเจ้าผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่พระนามว่าเวสสภู
ได้มีการประชุมแห่งพระขีณาสพ
ผู้ปราศจากมลทิน มีจิตสงบระงับ ผู้คงที่ ๓ ครั้ง
[๘] ภิกษุประมาณ ๘๐,๐๐๐ รูป ได้มาประชุมกัน เป็นครั้งที่ ๑
ภิกษุประมาณ ๗๐,๐๐๐ รูป ได้มาประชุมกัน เป็นครั้งที่ ๒
[๙] ภิกษุประมาณ ๖๐,๐๐๐ รูป มาประชุมกัน เป็นครั้งที่ ๓
ล้วนกลัวภัยมีชราเป็นต้น เป็นโอรสของพระมเหสีเจ้า
[๑๐] สมัยนั้น เราเป็นกษัตริย์มีนามว่าสุทัสสนะ
ทูลอาราธนาพระมหาวีรเจ้า แล้วถวายทานอันมีค่ามาก
ได้บูชาพระชินเจ้าพร้อมทั้งภิกษุสงฆ์ด้วยข้าวน้ำและผ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒๑. เวสสภูพุทธวงศ์
[๑๑] เราฟังพระธรรมจักรอันประณีต
อันประเสริฐที่พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ผู้ไม่มีบุคคลเสมอ ทรงประกาศแล้ว
จึงชอบใจการบรรพชา
[๑๒] เราบำเพ็ญมหาทานให้เป็นไป
ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน
ทราบว่าการบวชถึงพร้อมด้วยคุณ
จึงบวชในสำนักของพระชินเจ้า
[๑๓] เราเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยอาจารคุณ
ตั้งมั่นอยู่ในวัตรและศีล แสวงหาสัพพัญญุตญาณ
ยินดีในศาสนาของพระชินเจ้า
[๑๔] เราทำศรัทธาและปีติให้เกิดขึ้น
ไหว้พระพุทธเจ้าผู้พระศาสดา
ปีติเกิดขึ้นแก่เราเพราะเหตุแห่งพระโพธิญาณนั่นเอง
[๑๕] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงทราบว่า
เรามีจิตไม่หวนกลับ จึงได้ตรัสดังนี้ว่า
‘ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป ผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า’
[๑๖] พระตถาคตได้เสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ที่น่ารื่นรมย์
ทรงเริ่มตั้งความเพียร บำเพ็ญทุกรกิริยา
พระตถาคตจักประทับนั่ง ที่โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวปายาสในที่นั้น แล้วเสด็จไปยังแม่น้ำเนรัญชรา
พระชินเจ้าพระองค์นั้นจักเสวยข้าวปายาส
ที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา แล้วเสด็จไปที่โคนต้นโพธิ์
ตามหนทางอันประเสริฐที่ตกแต่งไว้แล้ว
จากนั้น พระองค์ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่
จักทำประทักษิณโพธิมัณฑ์อันยอดเยี่ยมแล้ว
ตรัสรู้ที่โคนต้นอัสสัตถพฤกษ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒๑. เวสสภูพุทธวงศ์
พระมารดาผู้ให้กำเนิดพระชินเจ้าพระองค์นี้
จักมีพระนามว่ามายา
พระบิดาจักมีพระนามว่าสุทโธทนะ
พระชินเจ้าพระองค์นี้จักมีพระนามว่าโคดม
พระโกลิตเถระและพระอุปติสสเถระ
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าอานนท์ จักเป็นพระอุปัฏฐาก
บำรุงพระชินเจ้าพระองค์นี้
พระเขมาเถรีและพระอุบลวรรณาเถรี
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวิกา
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่า ต้นอัสสัตถพฤกษ์
จิตตคหบดีอุบาสกและหัตถกคหบดีอุบาสก
ชาวเมืองอาฬวี จักเป็นอัครอุปัฏฐาก
นันทมารดาอุบาสิกาและอุตตราอุบาสิกา
จักเป็นอัครอุปัฏฐายิกา พระโคดมผู้มียศพระองค์นั้น
จักมีพระชนมายุประมาณ ๑๐๐ ปี
เทวดาและมนุษย์ ได้ฟังพระดำรัสนี้
ของพระพุทธเจ้า ผู้ไม่มีใครเสมอเหมือน
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่แล้ว
ต่างก็มีความชื่นชมกล่าวว่า
‘ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร’
สัตว์ทั้งหลายในหมื่นจักรวาลพร้อมทั้งเทวดา
ต่างก็เปล่งเสียงโห่ร้องปรบมือ ร่าเริง
ประนมมือนมัสการว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒๑. เวสสภูพุทธวงศ์
‘ถ้าเราทั้งหลายจักพลาดศาสนาของพระโลกนาถพระองค์นี้
เราทั้งหลายก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล
มนุษย์ทั้งหลายเมื่อจะข้ามแม่น้ำ พลาดท่าเฉพาะหน้าแล้ว
ก็ยึดเอาท่าถัดไปจึงข้ามแม่น้ำใหญ่ไป ฉันใด
เราทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ถ้าพลาดพระชินเจ้าพระองค์นี้
ก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล’
[๑๗] เราได้ฟังพระดำรัสของพระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้นแล้ว
ก็ทำจิตให้เลื่อมใสอย่างยิ่ง
ได้อธิษฐานวัตรเพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการให้ยิ่งขึ้นไป
[๑๘] กรุงชื่อว่าอโนมะ กษัตริย์พระนามว่าสุปปติตะเป็นพระชนก
พระเทวีพระนามว่ายสวดีเป็นพระมารดา
ของพระพุทธเจ้าพระนามว่าเวสสภู ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๑๙] พระองค์ทรงครองฆราวาสอยู่ ๖,๐๐๐ ปี
มีปราสาทที่อุดมอยู่ ๓ หลัง
คือรุจิปราสาท สุรติปราสาท และวัฑฒกปราสาท
[๒๐] มีนางสนมกำนัล ๓๐,๐๐๐ นาง
ล้วนประดับประดาสวยงาม
พระมเหสีพระนามว่าสุจิตตา
พระราชโอรสพระนามว่าสุปปพุทธะ
[๒๑] พระองค์ผู้สูงสุดแห่งบุรุษ
ทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ
จึงทรงวอทองออกผนวชแล้ว
ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๖ เดือนเต็ม(จึงได้บรรลุสัมโพธิญาณ)
[๒๒] พระมหาวีระทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
เป็นผู้สูงสุดแห่งนระ พระนามว่าเวสสภู

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒๑. เวสสภูพุทธวงศ์
ผู้อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักรที่อรุณาราม
[๒๓] พระโสณเถระและพระอุตตรเถระเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าอุปสันตะเป็นพระอุปัฏฐาก
ของพระชินเจ้าพระนามว่าเวสสภู
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๒๔] พระรามาเถรีและพระสมาลาเถรีเป็นอัครสาวิกา
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่า ต้นอ้อยช้างใหญ่
[๒๕] โสตถิกอุบาสกและรัมมอุบาสกเป็นอัครอุปัฏฐาก
โคตมีอุบาสิกาและสิริมาอุบาสิกาเป็นอัครอุปัฏฐายิกา
[๒๖] พระองค์ทรงมีพระวรกายสูง ๖๐ ศอก
เปรียบเสมอด้วยเสาทองคำ พระรัศมีเปล่งออกจากพระวรกาย
ดังไฟบนภูเขาในเวลากลางคืน
[๒๗] พระชินเจ้าผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่พระองค์นั้น
มีพระชนมายุประมาณ ๖๐,๐๐๐ ปี
พระองค์ทรงดำรงพระชนมายุประมาณเท่านั้น
ทรงช่วยหมู่ชนให้ข้ามพ้นได้เป็นจำนวนมาก
[๒๘] พระองค์พร้อมทั้งสาวก ทรงจำแนกธรรมไว้อย่างพิสดาร
ประดิษฐานมหาชนไว้ในธรรมนาวาแล้ว๑
ก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน
[๒๙] ชนทุกหมู่เหล่า พระวิหารและอิริยาบถที่น่าทัศนา
ทุกอย่างล้วนอันตรธานไปหมดแล้ว
สังขารทั้งปวงเป็นสภาพว่างเปล่าหนอ

เชิงอรรถ :
๑ ธรรมนาวา ในที่นี้ได้แก่ มรรคมีองค์ ๘ (ขุ.พุทฺธ.อ. ๒๘/๓๖๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒๒. กกุสันธพุทธวงศ์
[๓๐] พระชินศาสดาผู้ประเสริฐพระนามว่าเวสสภู
เสด็จดับขันธปรินิพพานที่เขมาราม
พระบรมสารีริกธาตุของพระองค์
แผ่ไปอย่างกว้างขวางในนานาอารยประเทศ ฉะนี้แล
เวสสภูพุทธวงศ์ที่ ๒๑ จบ

๒๒. กกุสันธพุทธวงศ์
ว่าด้วยพระประวัติของพระกกุสันธพุทธเจ้า
[๑] สมัยต่อจากพระพุทธเจ้าพระนามว่าเวสสภู
ได้มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่ากกุสันธะ ตามพระโคตร
ผู้สูงสุดแห่งเทวดาและมนุษย์
มีพระคุณหาประมาณมิได้ หาผู้กระทบกระทั่งได้ยาก
[๒] ทรงเพิกถอนภพทั้งปวง๑ ถึงที่สุดแห่งจริยา๒
ทรงทำลายกิเลส ดังราชสีห์ทำลายกรง๓แล้ว
ทรงบรรลุสัมโพธิญาณอันประเสริฐ
[๓] เมื่อพระกกุสันธพุทธเจ้า ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ทรงประกาศพระธรรมจักร
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๔๐,๐๐๐ โกฏิ ได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๑
[๔] พระองค์แสดงฤทธิ์กระทำยมกปาฏิหาริย์ในอากาศกลางหาว
ทรงทำเทวดาและมนุษย์ประมาณ ๓๐,๐๐๐ โกฏิ ให้บรรลุธรรม
[๕] ในคราวประกาศอริยสัจ ๔ แก่ยักษ์นรเทพ
การบรรลุธรรมของยักษ์นั้น ไม่ได้คำนวณนับ

เชิงอรรถ :
๑ ภพทั้งปวง ได้แก่ ภพ ๙ (ขุ.พุทฺธ.อ. ๒/๓๖๘)
๒ จริยา หมายถึงบารมี (ขุ.พุทฺธ.อ. ๒/๓๖๘)
๓ กรง หมายถึงภพ (ขุ.พุทธ.อ. ๒/๓๖๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒๒. กกุสันธพุทธวงศ์
[๖] พระผู้มีพระภาคพระนามว่ากกุสันธะ
ได้มีการประชุมแห่งพระขีณาสพผู้ปราศจากมลทิน
มีจิตสงบระงับ ผู้คงที่ครั้งเดียว
[๗] ครั้งนั้น พระขีณาสพผู้บรรลุถึงภูมิที่ฝึกแล้ว
เพราะความสิ้นไปแห่งหมู่ข้าศึกคืออาสวะ
ประมาณ ๔๐,๐๐๐ รูป มาประชุมกัน
[๘] สมัยนั้น เราเป็นกษัตริย์มีนามว่าเขมะ
ได้ถวายทานมิใช่น้อยในพระตถาคตและในสาวกผู้ชินบุตร
[๙] ถวายบาตร จีวร ยาหยอดตา ชะเอมเครือ
ถวายสิ่งนั้น สิ่งนี้ ที่ประเสริฐยอดเยี่ยม
ทุกอย่างตามที่ภิกษุสงฆ์ปรารถนา
[๑๐] แม้พระพุทธเจ้าพระนามว่ากกุสันธะพระองค์นั้น
ผู้ทรงเป็นผู้นำวิเศษก็ทรงพยากรณ์เราว่า
‘ในภัทรกัปนี้ ผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า’
[๑๑] พระตถาคตได้เสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ที่น่ารื่นรมย์
ทรงเริ่มตั้งความเพียร บำเพ็ญทุกรกิริยา
พระตถาคตจักประทับนั่งที่โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวปายาสในที่นั้น แล้วเสด็จไปยังแม่น้ำเนรัญชรา
พระชินเจ้าพระองค์นั้นจักเสวยข้าวปายาส
ที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา แล้วเสด็จไปที่โคนต้นโพธิ์
ตามหนทางอันประเสริฐที่ตกแต่งไว้แล้ว
จากนั้น พระองค์ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่
จักทำประทักษิณโพธิมัณฑ์อันยอดเยี่ยมแล้ว
ตรัสรู้ที่โคนต้นอัสสัตถพฤกษ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒๒. กกุสันธพุทธวงศ์
พระมารดาผู้ให้กำเนิดพระชินเจ้าพระองค์นี้
จักมีพระนามว่ามายา
พระบิดาจักมีพระนามว่าสุทโธทนะ
พระชินเจ้าพระองค์นี้จักมีพระนามว่าโคดม
พระโกลิตเถระและพระอุปติสสเถระ
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าอานนท์ จักเป็นพระอุปัฏฐาก
บำรุงพระชินเจ้าพระองค์นี้
พระเขมาเถรีและพระอุบลวรรณาเถรี
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวิกา
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่า ต้นอัสสัตถพฤกษ์
จิตตคหบดีอุบาสกและหัตถกคหบดีอุบาสก
ชาวเมืองอาฬวีจักเป็นอัครอุปัฏฐาก
นันทมารดาอุบาสิกาและอุตตราอุบาสิกา
จักเป็นอัครอุปัฏฐายิกา พระโคดมผู้มียศพระองค์นั้น
จักมีพระชนมายุประมาณ ๑๐๐ ปี
เทวดาและมนุษย์ได้ฟังพระดำรัสนี้
ของพระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเสมอเหมือน
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่แล้ว
ต่างก็มีความชื่นชมกล่าวว่า
‘ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร’
สัตว์ทั้งหลายในหมื่นจักรวาลพร้อมทั้งเทวดา
ต่างก็เปล่งเสียงโห่ร้องปรบมือ ร่าเริง
ประนมมือนมัสการว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๐๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒๒. กกุสันธพุทธวงศ์
‘ถ้าเราทั้งหลายจักพลาดศาสนาของพระโลกนาถพระองค์นี้
เราทั้งหลายก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล
มนุษย์ทั้งหลายเมื่อจะข้ามแม่น้ำ พลาดท่าเฉพาะหน้าแล้ว
ก็ยึดเอาท่าถัดไปจึงข้ามแม่น้ำใหญ่ไป ฉันใด
เราทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ถ้าพลาดพระชินเจ้าพระองค์นี้
ก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล’
[๑๒] เราได้ฟังพระดำรัสของพระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้นแล้ว
ก็ทำจิตให้เลื่อมใสอย่างยิ่ง
ได้อธิษฐานวัตรเพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการให้ยิ่งขึ้นไป
[๑๓] กรุงชื่อว่าเขมวดี ครั้งนั้น เรามีชื่อว่าเขมะ
เมื่อแสวงหาพระสัพพัญญุตญาณ
จึงออกบวชในสำนักของพระองค์
[๑๔] อัคคิทัตตพราหมณ์นั้นเป็นพุทธบิดา
นางพราหมณีชื่อว่าวิสาขาเป็นมารดาของพระพุทธเจ้า
พระนามกกุสันธะ ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๑๕] ตระกูลใหญ่ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เป็นตระกูลที่ประเสริฐที่สุดของคนทั้งหลาย
มีชาติสูง มียศมาก อยู่ในเขมนครนั้น
[๑๖] พระองค์ทรงครองฆราวาสอยู่ ๔,๐๐๐ ปี
มีปราสาทที่อุดมอยู่ ๓ หลัง
คือกามวัฑฒปราสาท กามสุทธิปราสาท และรติวัฑฒปราสาท
[๑๗] มีนางสนมกำนัล ๓๐,๐๐๐ นาง
ล้วนประดับประดาสวยงาม
พระมเหสีพระนามว่าโรปินี
พระราชโอรสพระนามว่าอุตตระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒๒. กกุสันธพุทธวงศ์
[๑๘] พระชินเจ้าทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ
จึงทรงราชพาหนะคือรถออกผนวชแล้ว
ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๘ เดือนเต็ม(จึงได้บรรลุพระโพธิญาณ)
[๑๙] พระมหาวีระพระนามว่ากกุสันธะ
ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก เป็นผู้สูงสุดแห่งนรชน
ผู้อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ มฤคทายวัน
[๒๐] พระวิธุรเถระและพระสัญชีวนามเถระเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าพุทธิชะเป็นพระอุปัฏฐาก
ของพระพุทธเจ้าพระนามว่ากกุสันธะ ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๒๑] พระสามาเถรีและพระจัมปานามาเถรีเป็นพระอัครสาวิกา
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่า ต้นซึก
[๒๒] อัจจุคคตอุบาสกและสุมนอุบาสกเป็นอัครอุปัฏฐาก
นันทาอุบาสิกาและสุนันทาอุบาสิกาเป็นอัครอุปัฏฐายิกา
[๒๓] พระมหามุนีทรงมีพระวรกายสูง ๔๐ ศอก
พระรัศมีเปล่งปลั่งดังทองคำ แผ่ออกไป ๑๐ โยชน์โดยรอบ
[๒๔] พระชินเจ้าผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่พระองค์นั้น
มีพระชนมายุประมาณ ๔๐,๐๐๐ ปี
พระองค์ทรงดำรงพระชนมายุประมาณเท่านั้น
ทรงช่วยหมู่ชนให้ข้ามพ้นได้เป็นจำนวนมาก
[๒๕] พระองค์พร้อมทั้งสาวก ทรงแผ่ขยายตลาดธรรม๑
ให้แก่บุรุษและสตรี ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก

เชิงอรรถ :
๑ ทรงแผ่ขยายตลาดธรรม หมายถึง บอกกล่าวสอนพระพุทธพจน์ที่ประกอบด้วยองค์ ๙ โดยอรรถ
พยัญชนะ นัย เหตุ อุทาหรณ์ (มิลินฺท. ๓๕๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒๓. โกนาคมนพุทธวงศ์
ทรงบันลือสีหนาท๑แล้ว
เสด็จดับขันธปรินิพพาน
[๒๖] พระองค์ทรงถึงพร้อมด้วยพระดำรัสอันมีองค์ ๘
มีศีลไม่ด่างพร้อยตลอดกาล ทุกอย่างล้วนอันตรธานไปหมดแล้ว๒
สังขารทั้งปวงเป็นสภาพว่างเปล่าหนอ
[๒๗] พระชินเจ้าผู้ประเสริฐพระนามว่ากกุสันธะ
เสด็จดับขันธปรินิพพานที่เขมาราม
พระสถูปอันประเสริฐของพระองค์
ที่เขมารามนั้น สูงถึง ๑ คาวุต ฉะนี้แล
กกุสันธพุทธวงศ์ที่ ๒๒ จบ

๒๓. โกนาคมนพุทธวงศ์
ว่าด้วยพระประวัติของพระพุทธเจ้าพระนามว่าโกนาคมนะ
[๑] สมัยต่อจากพระพุทธเจ้าพระนามว่ากกุสันธะ
ได้มีพระชินสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโกนาคมนะ
ผู้สูงสุดแห่งเทวดาและมนุษย์ ทรงองอาจกว่านรชน
เป็นผู้เจริญที่สุดในโลก
[๒] ทรงบำเพ็ญบารมีธรรม ๑๐ ประการให้บริบูรณ์
ข้ามทางกันดาร๓ได้แล้ว ลอยมลทิน๔ทั้งปวงแล้ว
ทรงบรรลุสัมโพธิญาณอันประเสริฐ

เชิงอรรถ :
๑ บันลือสีหนาท ในที่นี้ได้แก่ บันลือสีหนาท คือ ประกาศการให้อภัย (ขุ.พุทฺธ.อ. ๒๕/๓๗๐)
๒ ได้แก่ ยุคของพระสาวกอันตรธานไป (ขุ.พุทฺธ.อ. ๒๕/๓๗๑)
๓ ทางกันดาร คือชาติ (ขุ.พุทฺธ.อ. ๑/๓๗๓)
๔ มลทินทั้งปวง ได้แก่ มลทิน ๓ มีราคะเป็นต้น (ขุ.พุทฺธ.อ. ๒/๓๗๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒๓. โกนาคมนพุทธวงศ์
[๓] เมื่อพระพุทธเจ้าพระนามว่าโกนาคมนะ ผู้ทรงเป็นผู้นำวิเศษ
ทรงประกาศพระธรรมจักร
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๓๐,๐๐๐ โกฏิ ได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๑
[๔] เมื่อพระองค์ทรงทำปาฏิหาริย์ในการย่ำยีวาทะของผู้อื่น
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๒๐,๐๐๐ โกฏิ ได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๒
[๕] จากนั้น พระชินสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงฤทธิ์ต่าง ๆ
แล้วเสด็จไปยังเทวโลก
ประทับที่บัณฑุกัมพลสิลาอาสน์ในเทวโลกนั้น
[๖] พระมุนีนั้นทรงจำพรรษา ทรงแสดงพระอภิธรรม ๗ ปกรณ์
ทวยเทพประมาณ ๑๐,๐๐๐ โกฏิ ได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๓
[๗] แม้พระพุทธเจ้าผู้เป็นเทพยิ่งกว่าเทพพระองค์นั้น
ก็ได้มีการประชุมแห่งพระขีณาสพ
ผู้ปราศจากมลทิน มีจิตสงบระงับ ผู้คงที่ครั้งเดียว
[๘] ครั้งนั้น ภิกษุ ๓๐,๐๐๐ รูป ผู้ข้ามโอฆะ
จะถูกมัจจุราชทำลาย มาประชุมกัน
[๙] สมัยนั้น เราเป็นกษัตริย์มีนามว่าปัพพตะ
พรั่งพร้อมด้วยมิตรและอำมาตย์ มีพลนิกายและพาหนะมิใช่น้อย
[๑๐] ไปเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ฟังธรรมอันยอดเยี่ยมแล้ว
นิมนต์พระสงฆ์พร้อมทั้งพระชินเจ้า ได้ถวายทานตามที่ตนปรารถนา
[๑๑] ได้ถวายผ้าปัตตุณณะ ผ้าเมืองจีน ผ้าไหม ผ้ากำพล
และฉลองพระบาททองคำแด่พระศาสดาและสาวก
[๑๒] แม้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ประทับนั่งท่ามกลางสงฆ์แล้วทรงพยากรณ์เราว่า
‘ในภัทรกัปนี้ ผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า’
[๑๓] พระตถาคตได้เสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ที่น่ารื่นรมย์
ทรงเริ่มตั้งความเพียร บำเพ็ญทุกรกิริยา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒๓. โกนาคมนพุทธวงศ์
พระตถาคตจักประทับนั่งที่โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวปายาสในที่นั้น แล้วเสด็จไปยังแม่น้ำเนรัญชรา
พระชินเจ้าพระองค์นั้นจักเสวยข้าวปายาส
ที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา แล้วเสด็จไปที่โคนต้นโพธิ์
ตามหนทางอันประเสริฐที่ตกแต่งไว้แล้ว
จากนั้น พระองค์ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่
จักทำประทักษิณโพธิมัณฑ์อันยอดเยี่ยมแล้ว
ตรัสรู้ที่โคนต้นอัสสัตถพฤกษ์
พระมารดาผู้ให้กำเนิดพระชินเจ้าพระองค์นี้
จักมีพระนามว่ามายา
พระบิดาจักมีพระนามว่าสุทโธทนะ
พระชินเจ้าพระองค์นี้จักมีพระนามว่าโคดม
พระโกลิตเถระและพระอุปติสสเถระ
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าอานนท์ จักเป็นพระอุปัฏฐาก
บำรุงพระชินเจ้าพระองค์นี้
พระเขมาเถรีและพระอุบลวรรณาเถรี
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวิกา
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่า ต้นอัสสัตถพฤกษ์
จิตตคหบดีอุบาสกและหัตถกคหบดีอุบาสก
ชาวเมืองอาฬวี จักเป็นอัครอุปัฏฐาก
นันทมารดาอุบาสิกาและอุตตราอุบาสิกา
จักเป็นอัครอุปัฏฐายิกา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๐๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒๓. โกนาคมนพุทธวงศ์
พระโคดมผู้มียศพระองค์นั้น
จักมีพระชนมายุประมาณ ๑๐๐ ปี
เทวดาและมนุษย์ได้ฟังพระดำรัสนี้
ของพระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเสมอเหมือน
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่แล้ว
ต่างก็มีความชื่นชมกล่าวว่า
‘ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร’
สัตว์ทั้งหลายในหมื่นจักรวาลพร้อมทั้งเทวดา
ต่างก็เปล่งเสียงโห่ร้องปรบมือ ร่าเริง
ประนมมือนมัสการว่า
‘ถ้าเราทั้งหลายจักพลาดศาสนาของพระโลกนาถพระองค์นี้
เราทั้งหลายก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล
มนุษย์ทั้งหลายเมื่อจะข้ามแม่น้ำ พลาดท่าเฉพาะหน้าแล้ว
ก็ยึดเอาท่าถัดไปจึงข้ามแม่น้ำใหญ่ไป ฉันใด
เราทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ถ้าพลาดพระชินเจ้าพระองค์นี้
ก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล’
[๑๔] เราได้ฟังพระดำรัสของพระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้นแล้ว
ก็ทำจิตให้เลื่อมใสอย่างยิ่ง
ได้อธิษฐานวัตรเพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการให้ยิ่งขึ้นไป
[๑๕] เราเป็นผู้สูงสุดแห่งนรชน เมื่อแสวงหาพระสัพพัญญุตญาณ
จึงให้ทาน สละราชสมบัติอันยิ่งใหญ่
บวชในสำนักของพระชินเจ้า
[๑๖] กรุงชื่อว่าโสภวดี กษัตริย์พระนามว่าโสภะ
ตระกูลใหญ่ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็อยู่ในนครนั้น
[๑๗] ยัญญทัตตพราหมณ์นั้นเป็นพุทธบิดา
นางพราหมณีชื่อว่าอุตตราเป็นพระมารดา
ของพระศาสดาพระนามว่าโกนาคมนะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒๓. โกนาคมนพุทธวงศ์
[๑๘] พระองค์ทรงครองฆราวาสอยู่ ๓,๐๐๐ ปี
มีปราสาทที่อุดมอยู่ ๓ หลัง
คือดุสิตปราสาท สันดุสิตปราสาท และสันตุฏฐปราสาท
[๑๙] มีนางสนมกำนัล ๑๖,๐๐๐ นาง
ล้วนประดับประดาสวยงาม
พระมเหสีพระนามว่ารุจิคัตตา
พระราชโอรสพระนามว่าสัตถวาหะ
[๒๐] พระองค์เป็นผู้สูงสุดแห่งบุรุษ ทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ
จึงทรงราชยานพาหนะคือช้างออกผนวชแล้ว
ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๖ เดือนเต็ม(จึงได้บรรลุพระโพธิญาณ)
[๒๑] พระมหาวีระพระนามว่าโกนาคมนะ
ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก เป็นผู้สูงสุดแห่งนรชน
ผู้อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักรที่มฤคทายวัน
[๒๒] พระภิยโยสเถระและพระอุตตรเถระเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าโสตถิชะเป็นพระอุปัฏฐาก
ของพุทธเจ้าพระนามว่าโกนาคมนะ ผู้มีพระยศ
[๒๓] พระสมุททาเถรีและพระอุตตราเถรีเป็นพระอัครสาวิกา
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่าต้นมะเดื่อ
[๒๔] อุคคอุบาสกและโสมเทพอุบาสกเป็นอัครอุปัฏฐาก
สีวลาอุบาสิกาและสามาอุบาสิกาเป็นอัครอุปัฏฐายิกา
[๒๕] พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงมีพระวรกายสูง ๓๐ ศอก
ประดับด้วยพระรัศมีเปล่งปลั่งดังทองคำที่ปากเบ้า
[๒๖] ขณะนั้น พระพุทธองค์มีพระชนมายุประมาณ ๓๐,๐๐๐ ปี
พระองค์ทรงดำรงพระชนมายุอยู่ประมาณเท่านั้น
ทรงช่วยหมู่ชนให้ข้ามพ้นได้เป็นจำนวนมาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒๔. กัสสปพุทธวงศ์
[๒๗] พระองค์พร้อมทั้งสาวก ทรงยกธรรมเจดีย์
อันประดับด้วยผ้าคือธรรมแล้ว๑
ทรงร้อยพวงดอกไม้คือธรรมเสร็จแล้ว
เสด็จดับขันธปรินิพพาน
[๒๘] สาวกของพระองค์งดงามด้วยฤทธิ์อันยิ่งใหญ่
พระองค์ทรงประกาศศิริธรรม๒
ทุกอย่างล้วนอันตรธานไปหมดแล้ว
สังขารทั้งปวงเป็นสภาพว่างเปล่าหนอ
[๒๙] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโกนาคมนะ
เสด็จดับขันธปรินิพพานที่ปัตตาราม
พระบรมสารีริกธาตุของพระองค์
แผ่ไปอย่างกว้างขวางในนานาอารยประเทศ ฉะนี้แล
โกนาคมนพุทธวงศ์ที่ ๒๓ จบ

๒๔. กัสสปพุทธวงศ์
ว่าด้วยพระประวัติของพระกัสสปพุทธเจ้า
[๑] สมัยต่อจากพระพุทธเจ้าพระนามว่าโกนาคมนะ
ได้มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ ตามพระโคตร
ผู้สูงสุดแห่งเทวดาและมนุษย์
ทรงเป็นธรรมราชา มีพระรัศมี
[๒] ทรัพย์อันเป็นมรดกของตระกูล ที่สัตว์เป็นอันมากบูชากัน
พระองค์ทรงสละให้ทานแก่พวกยาจก

เชิงอรรถ :
๑ ยกธรรมเจดีย์ หมายถึงโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ
อันประดับด้วยแผ่นผ้า หมายถึงประดับด้วยอริยสัจ ๔ (ขุ.พุทฺธ.อ. ๒๗/๓๗๗)
๒ ศิริธรรม ได้แก่ โลกุตตรธรรม (ขุ.พุทฺธ.อ. ๒๘/๓๗๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒๔. กัสสปพุทธวงศ์
ทำจิตให้เต็ม ทำลายกิเลสดังคอก
เหมือนโคอุสภะทำลายคอก ฉะนั้นแล้ว
ทรงบรรลุสัมโพธิญาณอันประเสริฐ
[๓] เมื่อพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นพระผู้นำสัตว์โลก
ประกาศพระธรรมจักร
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๒๐,๐๐๐ โกฏิ ได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๑
[๔] ในคราวที่พระพุทธเจ้าเสด็จจาริกไปในโลกตลอด ๔ เดือน
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๑๐,๐๐๐ โกฏิ ได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๒
[๕] ในคราวเมื่อพระองค์ทรงทำยมกปาฏิหาริย์แสดงฤทธิ์ต่าง ๆ
ประกาศพระญาณธาตุ๑
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๕,๐๐๐ โกฏิ ได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๓
[๖] พระชินเจ้าทรงแสดงธรรมที่สุธรรมเทพนคร ที่รื่นรมย์นั้น
ทรงทำให้เทวดาประมาณ ๓,๐๐๐ โกฏิ ได้บรรลุธรรม
[๗] ในคราวที่ทรงแสดงธรรมแก่ยักษ์นรเทพ
อีกครั้งหนึ่ง
เทวดาเหล่านั้นได้บรรลุธรรมคำนวณนับไม่ได้
[๘] แม้พระพุทธเจ้าผู้เป็นเทพยิ่งกว่าเทพพระองค์นั้น
ก็ได้มีการประชุมแห่งพระขีณาสพ
ผู้ปราศจากมลทิน มีจิตสงบระงับ ผู้คงที่ครั้งเดียว
[๙] ครั้งนั้น ภิกษุประมาณ ๒๐,๐๐๐ รูป
ผู้ล่วงภพ ผู้คงที่ด้วยหิริและศีล มาประชุมกัน
[๑๐] ครั้งนั้น เราเป็นมาณพมีชื่อปรากฏว่าโชติปาละ
คงแก่เรียน ทรงมนตร์ จบไตรเพท

เชิงอรรถ :
๑ พระญาณธาตุ ได้แก่ สัพพัญญุตญาณ (ขุ.พุทฺธ.อ. ๕/๓๘๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒๔. กัสสปพุทธวงศ์
[๑๑] ถึงความสำเร็จในคัมภีร์ทำนายลักษณะและคัมภีร์อิติหาสะ
เป็นผู้ฉลาดในวิชาดูพื้นที่และอากาศ เป็นผู้ใช้วิชา ไม่มีทุกข์
[๑๒] ฆฏิการอุบาสก ผู้เป็นอุปัฏฐาก
ของพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ
เป็นผู้มีความเคารพยำเกรง เป็นพระอนาคามี
[๑๓] ฆฏิการอุบาสกได้พาเราเข้าเฝ้าพระชินเจ้าพระนามว่ากัสสปะ
เราได้ฟังธรรมของพระองค์แล้วจึงบวชในสำนักของพระองค์
[๑๔] เราเป็นผู้ปรารภความเพียร ฉลาดในวัตรน้อยวัตรใหญ่
ไม่เสื่อมในที่ไหน ๆ๑ ปฏิบัติตามคำสั่งสอน
ของพระชินเจ้าอย่างสมบูรณ์
[๑๕] เล่าเรียนนวังคสัตถุศาสน์ เท่าที่พระพุทธเจ้าตรัสแล้วทุกอย่าง
ช่วยประกาศพระศาสนาของพระชินเจ้าให้งดงาม
[๑๖] แม้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงเห็นความอัศจรรย์ของเราแล้ว
จึงทรงพยากรณ์เราว่า
‘ในภัทรกัปนี้ ผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า’
[๑๗] พระตถาคตได้เสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ที่น่ารื่นรมย์
ทรงเริ่มตั้งความเพียร บำเพ็ญทุกรกิริยา
[๑๘] พระตถาคตจักประทับนั่งที่โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวปายาสในที่นั้น แล้วเสด็จไปยังแม่น้ำเนรัญชรา
[๑๙] พระชินเจ้าพระองค์นั้นจักเสวยข้าวปายาส
ที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา แล้วเสด็จไปที่โคนต้นโพธิ์
ตามหนทางอันประเสริฐที่ตกแต่งไว้แล้ว

เชิงอรรถ :
๑ ไม่เสื่อมในที่ไหน ๆ หมายถึงไม่เสื่อมในศีล สมาธิ และสมาบัติเป็นต้น (ขุ.พุทธ.อ. ๓๘๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒๔. กัสสปพุทธวงศ์
[๒๐] จากนั้นพระองค์ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่
จักทำประทักษิณโพธิมัณฑ์อันยอดเยี่ยมแล้ว
ตรัสรู้ที่โคนต้นอัสสัตถพฤกษ์
[๒๑] พระมารดาผู้ให้กำเนิดพระชินเจ้าพระองค์นี้
จักมีพระนามว่ามายา
พระบิดาจักมีพระนามว่าสุทโธทนะ
พระชินเจ้าพระองค์นี้จักมีพระนามว่าโคดม
[๒๒] พระโกลิตเถระและพระอุปติสสเถระ
ผู้ไม่มีอาสวะ สิ้นราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าอานนท์จักเป็นพระอุปัฏฐาก
บำรุงพระชินเจ้าพระองค์นี้
[๒๓] พระเขมาเถรีและพระอุบลวรรณาเถรีผู้ไม่มีอาสวะ
สิ้นราคะ มีจิตตั้งมั่นดี จักเป็นพระอัครสาวิกา
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่า ต้นอัสสัตถพฤกษ์
[๒๔] จิตตคหบดีอุบาสกและหัตถกคหบดีอุบาสก
ชาวเมืองอาฬวีจักเป็นอัครอุปัฏฐาก
นันทมารดาอุบาสิกาและอุตตราอุบาสิกาจักเป็นอัครอุปัฏฐายิกา
พระโคดมผู้มียศพระองค์นั้น
จักมีพระชนมายุประมาณ ๑๐๐ ปี
[๒๕] เทวดาและมนุษย์ได้ฟังพระดำรัสนี้
ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ไม่มีใครเสมอเหมือน
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ต่างก็มีความชื่นชมกล่าวว่า
‘ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร’
[๒๖] สัตว์ทั้งหลายในหมื่นจักรวาลพร้อมทั้งเทวดา
ต่างก็เปล่งเสียงโห่ร้องปรบมือ ร่าเริง
ประนมมือนมัสการว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒๔. กัสสปพุทธวงศ์
[๒๗] ‘ถ้าเราทั้งหลายจักพลาดศาสนาของพระโลกนาถพระองค์นี้
เราทั้งหลายก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคต
[๒๘] มนุษย์ทั้งหลายเมื่อจะข้ามแม่น้ำ พลาดท่าเฉพาะหน้าแล้ว
ก็ยึดเอาท่าถัดไปจึงข้ามแม่น้ำใหญ่ไป ฉันใด
[๒๙] เราทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ถ้าพลาดพระชินเจ้าพระองค์นี้
ก็จักพร้อมหน้าหน่อพุทธางกูรนี้ในอนาคตกาล’
[๓๐] เราได้ฟังพระดำรัสของพระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้นแล้ว
ก็ทำจิตให้เลื่อมใสอย่างยิ่ง
ได้อธิษฐานวัตรเพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการให้ยิ่งขึ้นไป
[๓๑] เราระลึกถึงพุทธพยากรณ์อย่างนี้แล้ว
งดเว้นความประพฤติเสียหาย
ข้าพเจ้าทำกรรมที่ทำได้ยาก
เพราะเหตุแห่งพระโพธิญาณเท่านั้น
[๓๒] กรุงชื่อว่าพาราณสี กษัตริย์พระนามว่ากิกี
ตระกูลใหญ่ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็อยู่ในนครนั้น
[๓๓] พรหมทัตตพราหมณ์นั้นเป็นพุทธบิดา
นางพราหมณีชื่อว่าธนวดีเป็นมารดา
ของพระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๓๔] พระองค์ทรงครองฆราวาสอยู่ ๒,๐๐๐ ปี
มีปราสาทที่อุดมอยู่ ๓ หลัง
คือหังสปราสาท ยสปราสาท และสิริจันทปราสาท
[๓๕] มีนางสนมกำนัล ๔๘,๐๐๐ นาง
ล้วนประดับประดาสวยงาม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒๔. กัสสปพุทธวงศ์
พระมเหสีพระนามว่าสุนันทา
พระราชโอรสพระนามว่าวิชิตเสนะ
[๓๖] พระองค์เป็นผู้สูงสุดแห่งบุรุษ
ทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ
จึงออกจากปราสาทไปผนวช
ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๗ วัน (จึงได้บรรลุพระโพธิญาณ)
[๓๗] พระมหาวีระพระนามว่ากัสสปะ
ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก ผู้สูงสุดแห่งนรชน
ผู้อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักรที่มฤคทายวัน
[๓๘] พระติสสเถระและพระภารทวาชเถระเป็นพระอัครสาวก
พระเถระนามว่าสรรพมิตตะเป็นพระอุปัฏฐาก
ของพระพระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๓๙] พระอนุลาเถรีและพระอุรุเวลาเถรีเป็นพระอัครสาวิกา
ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ชาวโลกเรียกว่า ต้นไทร
[๔๐] สุมังคลอุบาสกและฆฏิการอุบาสกเป็นอัครอุปัฏฐาก
วิชิตเสนาอุบาสิกาและภัททาอุบาสิกาเป็นอัครอุปัฏฐายิกา
[๔๑] พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงมีพระวรกายสูง ๒๐ ศอก
มีพระรัศมีเปล่งปลั่งดังสายฟ้าในอากาศ
ดุจดวงจันทร์ทรงกลด
[๔๒] พระองค์ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
ทรงมีพระชนมายุประมาณ ๒๐,๐๐๐ ปี
พระองค์ทรงดำรงพระชนมายุประมาณเท่านั้น
ทรงช่วยหมู่ชนให้ข้ามพ้นได้เป็นจำนวนมาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒๔. กัสสปพุทธวงศ์
[๔๓] ทรงสร้างสระน้ำคือธรรมไว้ ทรงประทานเครื่องลูบไล้คือศีล
ทรงจัดผ้าคือธรรมไว้๑เป็นเครื่องนุ่งห่ม ทรงแจกพวงมาลัยคือธรรม๒
[๔๔] ทรงตั้งกระจกเงาที่ไร้มลทินคือธรรมไว้๓ให้มหาชน
ด้วยทรงหวังว่า ชนบางพวกปรารถนานิพพาน
จงเห็นเครื่องประดับของเรา
[๔๕] ทรงประทานเสื้อคือศีล๔ เกราะหนังคือฌาน
ทรงจัดหนังคือธรรมไว้๕คลุมกาย และเครื่องผูกสอด๖ อย่างดีเลิศ
[๔๖] ทรงประทานโล่คือสติปัฏฐาน ๔ หอกคือญาณอันคมกล้า
ดาบอย่างดี๗คือธรรม และศาสตราวุธเครื่องย่ำยีศัตรูคือศีลไว้ให้
[๔๗] ประทานภูษาคือวิชชา ๓
พวงมาลัยสำหรับสวมศีรษะคือผล ๔
เครื่องอาภรณ์คืออภิญญา ๖
และดอกไม้เครื่องประดับคือพระธรรม
[๔๘] ร่มขาว๘คือพระสัทธรรมอันเป็นเครื่องป้องกันบาป
ทรงเนรมิตดอกไม้๙คือความไม่มีเวรภัยไว้ให้เสร็จแล้ว
พระองค์ก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน

เชิงอรรถ :
๑ ทรงจัดผ้าคือธรรมไว้ หมายถึงหิริและโอตตัปปะ (ขุ.พุทฺธ.อ. ๒๖/๓๘๗)
๒ ทรงแจกพวงมาลัยคือธรรม หมายถึงโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ (ขุ.พุทฺธ.อ. ๒๖/๓๘๗)
๓ กระจกเงาที่ไร้มลทินคือธรรมไว้ หมายถึงโสดาปัตติมรรค (ขุ.พุทฺธ.อ. ๒๖/๓๘๗)
๔ ทรงประทานเสื้อคือศีล หมายถึงศีล ๕ ศีล ๑๐ จตุปาริสุทธิศีล (ขุ.พุทฺธ.อ. ๒๖/๓๘๗)
๕ หนังคือธรรมไว้ หมายถึงสติสัมปชัญญะ (ขุ.พุทฺธ.อ. ๒๖/๓๘๗)
๖ เครื่องผูกสอด หมายถึงความเพียร (ขุ.พุทฺธ.อ. ๒๖/๓๘๗)
๗ ดาบอย่างดี หมายถึงมรรคปัญญา (ขุ.พุทฺธ.อ. ๒๖/๓๘๗)
๘ ร่มขาว หมายถึงวิมุตติ (ขุ.พุทฺธ.อ. ๒๖/๓๘๘)
๙ ดอกไม้ หมายถึงมรรคมีองค์ ๘ (ขุ.พุทฺธ.อ. ๒๖/๓๘๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒๕. โคตมพุทธวงศ์
[๔๙] แท้จริง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมีคุณหาประมาณมิได้
กระทบกระทั่งได้ยาก
พระธรรมรัตนะนี้ทรงตรัสไว้ดีแล้ว ควรเรียกให้มาดู
[๕๐] พระสังฆรัตนะผู้ปฏิบัติดีแล้ว ไม่มีผู้อื่นยิ่งไปกว่า
พระรัตนะทั้ง ๓ นี้ ทุกอย่างล้วนอันตรธานไปหมดแล้ว
สังขารทั้งปวงเป็นสภาพว่างเปล่าหนอ
[๕๑] พระชินศาสดาพระนามว่ามหากัสสปะ
เสด็จดับขันธปรินิพพานที่เสตัพยาราม
พระสถูปของพระชินเจ้านั้น
ที่เสตัพยารามนั้น สูงถึง ๑ โยชน์ ฉะนี้แล
กัสสปพุทธวงศ์ที่ ๒๔ จบ

๒๕. โคตมพุทธวงศ์
ว่าด้วยพระประวัติของพระโคดมพุทธเจ้า
[๑] ในกาลบัดนี้ ตถาคตเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้านามว่าโคดม
เจริญในศากยสกุล บำเพ็ญความเพียรแล้ว
ได้บรรลุสัมโพธิญาณอันประเสริฐ
[๒] ผู้อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว ประกาศพระธรรมจักร
เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๑๘ โกฏิ ได้บรรลุธรรมครั้งที่ ๑
[๓] จากนั้น เราเมื่อแสดงธรรมในสมาคมเทวดาและมนุษย์
การบรรลุธรรมครั้งที่ ๒ ไม่ต้องกล่าวถึงจำนวน
[๔] ต่อมา ในคราวที่เรากล่าวสอนบุตรของเรา บัดนี้ ณ ที่นี้แล
การบรรลุธรรมครั้งที่ ๓ ไม่ต้องกล่าวถึงจำนวน
[๕] เรามีการประชุมสาวก ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ครั้งเดียว
ภิกษุประมาณ ๑,๒๕๐ รูป ได้มาประชุมกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒๕. โคตมพุทธวงศ์
[๖] เราผู้ปราศจากมลทิน รุ่งเรืองอยู่ในท่ามกลางภิกษุสงฆ์
ให้สิ่งที่ปรารถนาทุกอย่างเหมือนแก้วสารพัดนึก
ให้สิ่งที่ต้องการทั้งปวง ฉะนั้น
[๗] เราประกาศอริยสัจ ๔ เพื่ออนุเคราะห์สัตว์ทั้งหลาย
ผู้หวังผล ผู้แสวงธรรมเป็นเครื่องละความพอใจในภพ
[๘] เทวดาและมนุษย์ประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ องค์ ได้บรรลุธรรม
การบรรลุธรรมครั้งละองค์สององค์ นับจำนวนไม่ได้เลย
[๙] คำสั่งสอนของเราผู้เป็นศากยมุนี
กว้างขวางรู้กันโดยมาก เจริญแพร่หลาย
งอกงามดี บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ในโลกนี้
[๑๐] ภิกษุหลายร้อยรูปเป็นผู้ไม่มีอาสวะสิ้นราคะ
มีจิตสงบ ตั้งมั่น แวดล้อมเราทุกเมื่อ
[๑๑] ในกาลนี้ บัดนี้ ภิกษุเหล่าใด เป็นพระเสขะ
ยังไม่บรรลุอรหัตตผล๑ ละภพมนุษย์ไป
ภิกษุเหล่านั้น ถูกวิญญูชนตำหนิ
[๑๒] นรชนทั้งหลายชมเชยทางพระอริยะ ยินดีในธรรมทุกเมื่อ
มีความรุ่งเรือง ถึงจะท่องเที่ยวอยู่ในสงสารก็จักบรรลุได้
[๑๓] กรุงของเราชื่อกบิลพัสดุ์ พระเจ้าสุทโธทนะเป็นพระบิดาของเรา
พระมารดาบังเกิดเกล้าของเราชาวโลกเรียกพระนามว่ามายาเทวี
[๑๔] เราครองฆราวาสอยู่ ๒๙ ปี มีปราสาทที่อุดมอยู่ ๓ หลัง
คือสุจันทปราสาท โกกนุทปราสาท และโกญจปราสาท
[๑๕] มีนางสนมกำนัล ๔๐,๐๐๐ นาง
ล้วนประดับประดาสวยงาม
พระมเหสีของเราชื่อว่ายโสธรา
พระโอรสของเราชื่อว่าราหุล

เชิงอรรถ :
๑ ยังไม่บรรลุอรหัตตผล แปลมาจากศัพท์ว่า อปฺปตฺตมานสา (ดู มงฺคลตฺถ. ๒/๕๖๒/๔๓๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒๕. โคตมพุทธวงศ์
[๑๖] เราเห็นนิมิต ๔ ประการ
จึงทรงราชพาหนะคือม้าออกผนวชแล้ว
ได้บำเพ็ญเพียรประพฤติทุกรกิริยาอยู่ ๖ ปี
(จึงได้บรรลุพระโพธิญาณ)
[๑๗] เราเป็นพระชินสีห์ประกาศพระธรรมจักร
ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี
เราเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าชื่อว่าโคดม เป็นที่พึ่งของสรรพสัตว์
[๑๘] ภิกษุ ๒ รูป ชื่ออุปติสสะและโกลิตะเป็นอัครสาวกของเรา
ภิกษุชื่อว่าอานนท์เป็นอุปัฏฐากอยู่ในสำนักของเรา
ภิกษุณีชื่อเขมาและภิกษุณีชื่ออุบลวรรณาเป็นอัครสาวิกา
[๑๙] จิตตคหบดีอุบาสกและหัตถกคหบดีอุบาสก
ชาวเมืองอาฬวีเป็นอัครอุปัฏฐาก
นันทมารดาอุบาสิกาและอุตตราอุบาสิกาเป็นอัครอุปัฏฐายิกา
[๒๐] เราบรรลุสัมโพธิญาณอย่างประเสริฐ
ที่โคนต้นอัสสัตถพฤกษ์ เรามีรัศมีวาหนึ่ง
ฟุ้งขึ้นไป ๑๖ ศอกทุกเมื่อ
[๒๑] บัดนี้ อายุของเรามีน้อยประมาณ ๑๐๐ ปี
ถึงเราจะดำรงอยู่เพียงนั้น
ก็ช่วยหมู่ชนให้ข้ามพ้นได้เป็นจำนวนมาก
[๒๒] เราตั้งคบเพลิงคือธรรมไว้สำหรับให้คนรุ่นหลังได้ตรัสรู้
อีกไม่นานเลยแม้เรากับสงฆ์สาวก
ก็จักปรินิพพาน ณ ที่นี้ เหมือนไฟสิ้นเชื้อ(ดับไป)
[๒๓] คู่อัครสาวกเป็นต้นเหล่านั้นมีเดชไม่มีอะไรเทียบเคียง
มียศและกำลัง เรามีร่างกายทรงไว้ซึ่งคุณ
มีร่างกายวิจิตรด้วยพระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ๑

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถหน้า ๑๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒๖. พุทธปกิณณกกัณฑ์
[๒๔] เรามีรัศมี ๖ ประการ สว่างไสวไปทั่วทั้ง ๑๐ ทิศ
ดุจดวงอาทิตย์ ทุกอย่างล้วนจักอันตรธานไปหมดสิ้น
สังขารทั้งปวงเป็นสภาพว่างเปล่าหนอ ฉะนี้แล
โคตมพุทธวงศ์ที่ ๒๕ จบ

๒๖. พุทธปกิณณกกัณฑ์
ว่าด้วยเรื่องเบ็ดเตล็ดเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า
[๑] ในกัปอันประมาณมิได้นับจากภัทรกัปนี้ไป
ได้มีพระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้นำวิเศษ ๔ พระองค์
คือพระตัณหังกรสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑
พระเมธังกรสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑
พระสรณังกรสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑
และพระทีปังกรสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑
พระชินเจ้าเหล่านั้น เสด็จอุบัติขึ้นในกัปเดียวกัน
[๒] สมัยต่อจากพระทีปังกรสัมมาสัมพุทธเจ้า
ได้มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระะนามว่าโกณฑัญญะ
ทรงเป็นผู้นำพระองค์เดียวเสด็จอุบัติขึ้นในกัปหนึ่ง
ทรงช่วยหมู่ชนให้ข้ามพ้นได้เป็นจำนวนมาก
[๓] อันตรกัปของพระผู้มีพระภาคทีปังกร
กับพระศาสดาพระนามว่าโกณฑัญญะ จะคำนวณนับมิได้
[๔] สมัยต่อจากพระพุทธเจ้าพระนามว่าโกณฑัญญะ
ได้มีพระพุทธเจ้าพระนามว่ามังคละ ทรงเป็นผู้นำ
แม้อันตรกัปของพระโกณฑัญญะกับพระมังคลพุทธเจ้านั้น
จะคำนวณนับมิได้
[๕] พระพุทธเจ้า ๔ พระองค์ คือ พระนามว่ามังคละ ๑
พระนามว่าสุมนะ ๑ พระนามว่าเรวตะ ๑ พระนามว่าโสภิตะ ๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒๖. พุทธปกิณณกกัณฑ์
ผู้เป็นมุนี ผู้มีพระจักษุ มีพระรัศมีสว่างไสว
ก็เสด็จอุบัติขึ้นในกัปเดียวกัน
[๖] สมัยต่อจากพระพุทธเจ้าพระนามว่าโสภิตะ
ได้มีพระมหามุนีพระนามว่าอโนมทัสสี
แม้อันตรกัปของพระพุทธเจ้าพระนามว่าโสภิตะ
กับพระพุทธเจ้าพระนามว่าอโนมทัสสี จะคำนวณนับมิได้
[๗] พระพุทธเจ้าทั้งหลาย คือ พระนามว่าอโนมทัสสี ๑
พระนามว่าปทุมะ ๑ พระนามว่านารทะ ๑ ผู้ทรงเป็นผู้นำ
ผู้เป็นมุนี ทำที่สุดความมืดได้แม้เหล่านั้น
ก็เสด็จอุบัติขึ้นในกัปเดียวกัน
[๘] สมัยต่อจากพระนารทสัมมาสัมพุทธเจ้า
ได้มีพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ทรงเป็นผู้นำ
เสด็จอุบัติขึ้นในกัปหนึ่ง ทรงช่วยหมู่ชนให้ข้ามพ้นได้เป็นจำนวนมาก
[๙] แม้อันตรกัปของพระผู้มีพระภาคพระนามว่านารทะ
กับพระศาสดาพระนามว่าปทุมุตตระ จะคำนวณนับมิได้
[๑๐] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ (นับจากกัปนี้ไป)
มีพระมหามุนีพระองค์เดียว
คือพระปทุมุตตระ ผู้ทรงรู้แจ้งโลก ผู้สมควรรับเครื่องบูชา
[๑๑] ในกัปที่ ๓๐,๐๐๐ (นับจากกัปนี้ไป)
ต่อจากพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ได้มีพระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้นำ ๒ พระองค์
คือพระสุเมธะและพระสุชาตะ
[๑๒] ในกัปที่ ๑,๘๐๐ (นับจากกัปนี้ไป)
ได้มีพระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้นำ ๓ พระองค์
คือพระปิยทัสสี ๑ พระอัตถทัสสี ๑
พระธัมมทัสสี ๑ ล้วนเป็นผู้นำ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒๖. พุทธปกิณณกกัณฑ์
[๑๓] ต่อจากพระพุทธเจ้าพระนามว่าสุชาตะ
ได้มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้สูงสุดแห่งเทวดาและมนุษย์
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้นผู้ไม่มีบุคคลเปรียบได้ในโลก
เสด็จอุบัติขึ้นในกัปเดียวกัน
[๑๔] ในกัปที่ ๙๔ นับจากกัปนี้ไป
ได้มีพระมหามุนีพระองค์เดียวคือพระสิทธัตถะ
ผู้ทรงรู้แจ้งโลก ทรงเป็นดังศัลยแพทย์ผู้ยอดเยี่ยม
[๑๕] ในกัปที่ ๙๒ นับจากกัปนี้ไป
มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นผู้นำ ๒ พระองค์
คือพระติสสะ ๑ พระปุสสะ ๑
ผู้ไม่มีบุคคลเสมอ ไม่มีบุคคลเปรียบ
[๑๖] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
มีพระพุทธเจ้าทรงนามว่าวิปัสสี ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นทรงมีพระกรุณา
ทรงเปลื้องสัตว์ทั้งหลายจากเครื่องพันธนาการ
[๑๗] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป
ได้มีพระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้นำ ๒ พระองค์
คือพระสิขี ๑ พระเวสสภู ๑
ผู้ไม่มีบุคคลเสมอ ไม่มีบุคคลเปรียบ
[๑๘] ในภัทรกัปนี้ได้มีพระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นผู้นำ ๓ พระองค์
คือพระกกุสันธะ ๑ พระโกนาคมนะ ๑
พระกัสสปะ ผู้ทรงเป็นผู้นำ ๑
[๑๙] บัดนี้ เราเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
และพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าเมตไตรยจักมี(ในอนาคต)
แม้พระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ ก็ทรงเป็นนักปราชญ์อนุเคราะห์สัตว์โลก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒๗. ธาตุภาชนียกถา
[๒๐] บรรดาพระพุทธเจ้า ผู้ทรงเป็นพระธรรมราชาเหล่านั้น
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้นพร้อมด้วยสาวก
จักตรัสบอกมรรคนั้นแก่ผู้อื่นหลายโกฏิ
แล้วจักเสด็จดับขันธปรินิพพาน ฉะนี้แล
พุทธปกิณณกกัณฑ์ที่ ๒๖ จบ

๒๗. ธาตุภาชนียกถา
ว่าด้วยการแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ
[๑] พระมหาโคดมชินเจ้าผู้ประเสริฐ
เสด็จดับขันธปรินิพพานที่กรุงกุสินารา
พระบรมสารีริกธาตุของพระองค์
แผ่ไปอย่างกว้างขวางในนานาอารยประเทศ
[๒] พระบรมสารีริกธาตุทะนานหนึ่งเป็นของพระเจ้าอชาตศัตรู
อีกทะนานหนึ่งอยู่ที่กรุงเวสาลี
อีกทะนานหนึ่งอยู่ที่กรุงกบิลพัสดุ์
และอีกทะนานหนึ่งอยู่ที่กรุงอัลลกัปปะ
[๓] ทะนานหนึ่งอยู่ที่กรุงรามคาม
ทะนานหนึ่งอยู่ที่กรุงเวฏฐทีปกะ
ทะนานหนึ่งอยู่ที่กรุงปาวาของมัลลกษัตริย์
ทะนานหนึ่งอยู่ที่กรุงกุสินารา
[๔] โทณพราหมณ์ให้ช่างสร้างสถูปบรรจุทะนานทอง
กษัตริย์กรุงโมริยะผู้มีหทัยยินดี
รับสั่งให้สร้างพระสถูปบรรจุพระอังคาร
[๕] พระสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ๘ แห่ง
ตุมพเจดีย์เป็นแห่งที่ ๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒๗. ธาตุภาชนียกถา
และพระสถูปบรรจุพระอังคารเป็นแห่งที่ ๑๐
ประดิษฐานอยู่แล้วในกาลนั้น
[๖] พระบรมสารีริกธาตุ ๗ อย่าง
คือพระอุณหิส ๑ พระทาฐธาตุทั้ง ๔
และพระรากขวัญ ๒ ข้าง ไม่แตก
พระบรมสารีริกธาตุที่เหลือแตกออกจากกัน
[๗] พระบรมสารีริกธาตุขนาดใหญ่เท่ากับเมล็ดถั่วเขียว
ขนาดกลางเท่าเมล็ดข้าวสารหัก
ขนาดเล็กเท่ากับเมล็ดพันธุ์ผักกาด มีสีต่าง ๆ กัน
[๘] พระบรมสารีริกธาตุขนาดใหญ่มีสีเหมือนทองคำ
ขนาดกลางมีสีเหมือนแก้วมุกดา
และขนาดเล็กมีสีเหมือนดอกมะลิ
รวมทั้งหมดมีประมาณ ๑๖ ทะนาน
[๙] พระบรมสารีริกธาตุเหล่านั้นทุกขนาด
คือขนาดใหญ่มี ๕ ทะนาน ขนาดกลางมี ๕ ทะนาน
ขนาดเล็กมี ๖ ทะนานเท่านั้น
[๑๐] พระบรมสารีริกธาตุเหล่านี้แม้ทั้งหมด
ประดิษฐานอยู่ในที่ต่าง ๆ กัน
คือพระอุณหิสอยู่ที่เกาะสีหล
พระรากขวัญเบื้องซ้ายอยู่ที่พรหมโลก
และพระรากขวัญเบื้องขวาอยู่ที่เกาะสีหล
[๑๑] พระทาฐธาตุองค์หนึ่งอยู่ที่ภพดาวดึงส์
องค์หนึ่งอยู่ที่นาคปุระ องค์หนึ่งอยู่ที่เมืองคันธารวิสัย
องค์หนึ่งอยู่ที่เมืองกาลิงคราช
[๑๒] พระทันตธาตุทั้ง ๔๐ พระเกสาและพระโลมาทั้งหมด
เทวดานำมาไว้ จักรวาลละหนึ่งอย่าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒๗. ธาตุภาชนียกถา
[๑๓] บาตร ไม้เท้า และจีวรของพระผู้มีพระภาค
อยู่ที่วชิรานคร สบงอยู่ที่กุลฆรนคร
ผ้าปัจจัตถรณะอยู่ที่สีลนคร(กรุงกบิลพัสดุ์)
[๑๔] ธมกรกและประคดเอวอยู่ที่กรุงปาตลีบุตร
ผ้าอาบน้ำอยู่ที่กรุงจัมปา พระอุณณาโลมอยู่ที่แคว้นโกศล
[๑๕] ผ้ากาสาวพัสตร์อยู่ที่พรหมโลก ผ้าโพกอยู่ที่ดาวดึงส์
รอยพระบาทอันประเสริฐอยู่ที่หินเหมือนมีอยู่ที่กัจฉตบุรี
ผ้านิสีทนะอยู่ที่อวันตีชนบท ผ้าลาดอยู่ที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๑๖] ไม้สีไฟอยู่ที่กรุงมิถิลา ผ้ากรองน้ำอยู่ที่วิเทหรัฐ
มีดและกล่องเข็มอยู่ที่กรุงอินทปัตถ์ ในกาลนั้น
[๑๗] บริขารที่เหลืออยู่ที่อปรันตชนบท
หมู่มนุษย์ในกาลนั้นจักบูชาบริขารที่พระมุนีทรงใช้สอย
[๑๘] พระบรมสารีริกธาตุของพระโคดม
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ กระจายแผ่กว้างขวางไป
เพื่ออนุเคราะห์สัตว์ทั้งหลาย เป็นของเก่าในกาลนั้น ฉะนี้แล
ธาตุภาชนียกถาที่ ๒๗ จบ
พุทธวงศ์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก [๑. อกิตติวรรค] ๑. อกิตติจริยา
พระสุตตันตปิฎก
ขุททกนิกาย จริยาปิฎก
________________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๑. อกิตติวรรค
หมวดว่าด้วยอกิตติดาบสเป็นต้น
๑. การบำเพ็ญทานบารมี
๑. อกิตติจริยา
ว่าด้วยจริยาของอกิตติดาบส
[๑] ใน ๔ อสงไขยแสนกัป ความประพฤติใดในระหว่างนี้
ความประพฤตินั้นทั้งหมด เป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณ
[๒] เราจักเว้นความประพฤติในภพน้อยภพใหญ่ในกัปที่ล่วงแล้วเสีย
จักบอกความประพฤติในกัปนี้ เธอจงฟังเรา
[๓] เราเป็นดาบสมีนามว่าอกิตติ
เข้าไปอาศัยอยู่ในป่าใหญ่ที่ว่างเปล่า
สงัดเงียบปราศจากเสียงอื้ออึงในกาลใด
[๔] ในกาลนั้น ด้วยเดชแห่งความประพฤติตบะของเรา
ท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่ในดาวดึงสเทวโลก ทรงร้อนพระทัย
แปลงร่างเป็นพราหมณ์ เข้ามาหาเราเพื่อภิกษา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก [๑. อกิตติวรรค] ๒. สังขพราหมณจริยา
[๕] เราได้เห็นอินทพราหมณ์มายืนอยู่ใกล้ประตูบรรณศาลาของเรา
จึงหยิบใบหมากเม่าที่เรานำมาจากป่า
ซึ่งไม่มีน้ำมันทั้งไม่มีรสเค็ม มอบให้จนหมดพร้อมทั้งภาชนะ
[๖] เราครั้นให้ใบหมากเม่าแก่อินทพราหมณ์นั้นแล้ว
จึงคว่ำภาชนะ ละการแสวงหาใหม่ เข้าไปยังบรรณศาลา
[๗] แม้ในวันที่ ๒ ที่ ๓ อินทพราหมณ์ก็เข้ามายังสำนักของเรา
เราไม่หวั่นไหว ไม่ยึดมั่น ได้ให้ไปเหมือนอย่างนั้น
[๘] ในสรีระของเรามีผิวพรรณไม่เปลี่ยนแปลง
เพราะการอดอาหารนั้นเป็นปัจจัยเลย
เรายับยั้งอยู่ตลอดวันนั้น ๆ ด้วยปีติ สุข และความยินดี
[๙] ถ้าเราพึงได้ทักขิไณยบุคคลที่ประเสริฐ
แม้เดือนหนึ่ง สองเดือน เราก็ไม่หวั่นไหว
ไม่ท้อใจ พึงให้ทานอันอุดม
[๑๐] เมื่อเราให้ทานแก่อินทพราหมณ์นั้น
เราจะได้ปรารถนายศและลาภก็หามิได้
แต่เราปรารถนาพระสัพพัญญุตญาณเท่านั้น
จึงได้ประพฤติกรรมเหล่านั้น ฉะนี้แล
อกิตติจริยาที่ ๑ จบ

๒. สังขพราหมณจริยา
ว่าด้วยจริยาของสังขพราหมณ์
[๑๑] อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลที่เราเป็นพราหมณ์นามว่าสังขะ
ต้องการจะข้ามมหาสมุทรจึงเข้าไปยังปัฏฏนคาม
[๑๒] ณ ที่นั้น เราได้เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้ตรัสรู้เอง
ผู้ไม่ทรงพ่ายแพ้เดินสวนทางมาตามทางกันดาร
บนภาคพื้นที่แข็งกระด้างอันร้อนจัด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก [๑. อกิตติวรรค] ๓. กุรุธรรมจริยา
[๑๓] เราครั้นเห็นท่านเดินสวนทางมา จึงคิดถึงประโยชน์นี้ว่า
บุญเขตนี้มาถึงสัตว์ผู้ต้องการบุญ
[๑๔] เปรียบเหมือนบุรุษชาวนาเห็นนาเป็นที่น่ายินดีมาก
(เป็นอู่ข้าวอู่น้ำ) แต่ไม่ปลูกพืชลงในนานั้น
เขาชื่อว่าเป็นผู้ไม่ต้องการข้าวเปลือกฉันใด
[๑๕] เราผู้ต้องการบุญก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เห็นบุญเขตที่ประเสริฐสุดแล้ว
ถ้าไม่ทำสักการะในบุญเขตนั้น
เราก็ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ต้องการบุญ
[๑๖] อำมาตย์ต้องการจะให้ชนชาวเมืองของพระราชายินดี
แต่ไม่ยอมให้ทรัพย์และข้าวเปลือกแก่ชนชาวเมืองเหล่านั้น
เขาก็ย่อมเสื่อมจากความยินดีฉันใด
[๑๗] เราผู้ต้องการบุญก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เห็นทักขิไณยบุคคลที่ไพบูลย์แล้ว
ถ้าไม่ถวายทานแก่ทักขิไณยบุคคลนั้น ก็จักเสื่อมจากบุญ
[๑๘] เราครั้นคิดอย่างนี้แล้วจึงถอดรองเท้า
กราบเท้าของท่านแล้ว ได้ถวายร่มและรองเท้า
[๑๙] เพราะเหตุนั้น เราจึงเป็นผู้ละเอียดอ่อนเจริญสุขเป็นร้อยเท่า
อนึ่ง เราเมื่อบำเพ็ญทานให้บริบูรณ์
ได้ถวายแก่ท่านอย่างนี้แล
สังขพราหมณจริยาที่ ๒ จบ

๓. กุรุธรรมจริยา
ว่าด้วยพระจริยาของพระเจ้าธนัญชัยกุรุราช
[๒๐] อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลที่เราเป็นพระราชานามว่าธนัญชัย
อยู่ในกรุงอินทปัตถ์ที่อุดม ประกอบด้วยกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก [๑. อกิตติวรรค] ๓. กุรุธรรมจริยา
[๒๑] ครั้งนั้น พวกพราหมณ์ชาวแคว้นกาลิงคะได้มาหาเรา
ขอพญาคชสาร ซึ่งประกอบด้วยธัญญลักษณะ
สมบูรณ์ด้วยมงคลกับเราว่า
[๒๒] ชนบทฝนไม่ตกเลย เกิดทุพภิกขภัย อดอยากมาก
ขอพระองค์โปรดพระราชทานพญาคชสาร
ตัวประเสริฐมีกายสีเขียวชื่อว่าอัญชันด้วยเถิด
[๒๓] เราคิดว่าการห้ามยาจกที่มาถึงแล้ว
เป็นการไม่สมควรแก่เราเลย
กุศลสมาทานของเราอย่าได้เสียหายเลย
เราจักให้คชสารตัวประเสริฐ
[๒๔] เราได้จับงวงพญาคชสารวางลงบนมือพราหมณ์แล้ว
จึงหลั่งน้ำในเต้าทองลงบนมือของพวกพราหมณ์ ได้ให้พญาคชสารไป
[๒๕] เมื่อเราได้ให้พญาคชสารนั้นไป พวกอำมาตย์ได้กล่าวคำนี้ว่า
“เหตุไรหนอ พระองค์จึงพระราชทานพญาคชสารตัวประเสริฐ
ของพระองค์แก่พวกยาจก
[๒๖] เมื่อพระองค์พระราชทานพญาคชสาร
ซึ่งประกอบด้วยธัญลักษณะ
สมบูรณ์ด้วยมงคล ชนะสงคราม
อันสูงสุดนั้นแล้ว พระองค์เป็นพระราชาจักทำอะไรได้”
[๒๗] เราได้ตอบว่า แม้ราชสมบัติทั้งหมดเราก็ควรให้
ถึงสรีระของตนเราก็ควรให้
แต่พระสัพพัญญุตญาณเป็นที่รักของเรา
เพราะฉะนั้น เราจึงได้ให้พญาคชสาร ฉะนี้แล
กุรุธรรมจริยาที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก [๑. อกิตติวรรค] ๔. มหาสุทัสสนจริยา
๔. มหาสุทัสสนจริยา
ว่าด้วยพระจริยาของพระเจ้าจักรพรรดิทรงพระนามว่ามหาสุทัสสนะ
[๒๘] ในกาลที่เราเป็นพระเจ้าจักรพรรดินามว่ามหาสุทัสสนะ
มีพลานุภาพมาก ได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินในกรุงกุสาวดี
[๒๙] ครั้งนั้น เราได้สั่งให้ประกาศทุก ๆ วัน
วันละ ๓ ครั้งว่า “ใครอยากได้อะไร
ปรารถนาอะไร ใครจะให้ทรัพย์อะไร
[๓๐] ใครหิว ใครกระหาย ใครต้องการดอกไม้
ใครต้องการเครื่องลูบไล้
ใครเปลือย จักนุ่งห่มผ้าสีต่าง ๆ
[๓๑] ใครต้องการร่มสำหรับไปในหนทาง ก็จงมารับเอาไป
ใครต้องการรองเท้าที่อ่อนนุ่มสวยงาม ก็จงมารับเอาไป
เราให้ประกาศดังนี้ ทั้งเวลาเช้าและเวลาเย็นทุก ๆ วัน
[๓๒] ทานนั้นเราไม่ตกแต่งไว้ในที่ ๑๐ แห่ง
หรือในที่ ๑๐๐ แห่ง แต่เราตกแต่งทรัพย์ไว้
สำหรับยาจกในที่หลายร้อยแห่ง
[๓๓] วณิพกจะมาในเวลากลางวันหรือจะมาในเวลากลางคืนก็ตาม
ก็จะได้โภคะตามความปรารถนาพอเต็มมือกลับไปเสมอ
[๓๔] เราได้ให้มหาทานเห็นปานนี้จนตลอดชีวิต
เราจะให้ทรัพย์ที่น่ารังเกียจก็หาไม่
และเราจะไม่มีการสั่งสมก็หาไม่
[๓๕] เหมือนคนไข้กระสับกระส่าย เพื่อจะพ้นจากโรค
ต้องให้หมอพอใจด้วยทรัพย์จึงจะพ้นจากโรคได้ฉันใด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก [๑. อกิตติวรรค] ๖. เนมิราชจริยา
[๓๖] เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน รู้อยู่
เพื่อบำเพ็ญทานให้บริบูรณ์โดยไม่มีส่วนเหลือ
เพื่อทำใจที่พร่องให้เต็ม จึงให้ทานแก่วณิพก
เรามิได้อาลัย มิได้หวังอะไร ได้ให้ทาน
เพื่อบรรลุสัมโพธิญาณ ฉะนี้แล
มหาสุทัสสนจริยาที่ ๔ จบ

๕. มหาโควินทจริยา
ว่าด้วยจริยาของมหาโควินทพราหมณ์
[๓๗] อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลที่เราเป็นพราหมณ์มีนามว่ามหาโควินทะ
เป็นปุโรหิตของพระราชา ๗ พระองค์
อันมนุษย์และเทวดาบูชาแล้ว
[๓๘] ครั้งนั้น เครื่องบรรณาการอันใด
ในราชอาณาจักรทั้ง ๗ ได้มีแล้วแก่เรา
เราได้ให้มหาทานด้วยเครื่องบรรณาการนั้น
ซึ่งเหมือนทะเลที่ไม่กระเพื่อม
[๓๙] ทรัพย์และข้าวเปลือกจะเป็นที่น่ารังเกียจสำหรับเราก็หาไม่
แม้ตัวเราเองจะไม่มีการสั่งสมก็หาไม่
แต่พระสัพพัญญุตญาณเป็นที่รักของเรา
เพราะฉะนั้น เราจึงให้ทรัพย์อย่างประเสริฐ ฉะนี้แล
มหาโควินทจริยาที่ ๕ จบ

๖. เนมิราชจริยา
ว่าด้วยพระจริยาของพระเจ้าเนมิราช
[๔๐] อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลที่เราเป็นมหาราชนามว่าเนมิ เป็นบัณฑิต
ต้องการกุศลอยู่ในกรุงมิถิลาที่อุดมสมบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก [๑. อกิตติวรรค] ๗. จันทกุมารจริยา
[๔๑] เราได้สร้างโรงทานจตุรมุข ๔ แห่ง
แล้วได้บำเพ็ญทานที่ศาลานั้นแก่หมู่เนื้อ นก และคนเป็นต้น
[๔๒] บำเพ็ญมหาทาน คือ เครื่องนุ่มห่ม ที่นอน
ข้าว น้ำ และโภชนะ ไม่ขาดสาย
[๔๓] เหมือนเสวกรับใช้นายเพราะเหตุแห่งทรัพย์
ย่อมแสวงหานายที่ตนพึงให้ยินดีได้
ด้วยกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ฉันใด
[๔๔] เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน
จักแสวงหาพระสัพพัญญุตญาณในภพทั้งปวง
จึงให้สัตว์ทั้งหลายได้อิ่มหนำด้วยทานแล้ว
ปรารถนาพระโพธิญาณอันอุดม ฉะนี้แล
เนมิราชจริยาที่ ๖ จบ

๗. จันทกุมารจริยา
ว่าด้วยพระจริยาของพระจันทกุมาร
[๔๕] อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลที่เราเป็นโอรสของพระเจ้าเอกราช
มีนามว่าจันทกุมาร อยู่ในกรุงปุปผวดี
[๔๖] เราพ้นจากการบูชายัญแล้ว ออกมาจากที่บวงสรวงนั้น
ยังความสังเวชให้เกิดขึ้นแล้ว บำเพ็ญมหาทาน
[๔๗] เรายังมิได้ให้ทานแก่ทักขิไณยบุคคลแล้ว
ก็จะไม่ดื่มน้ำ ไม่เคี้ยว
และไม่บริโภคโภชนะแม้ ๕-๖ ราตรี
[๔๘] ธรรมดาพ่อค้า รวบรวมสินค้าไว้แล้ว
ในที่ใดจะมีกำไรมาก ก็จะนำสินค้าไปขายในที่นั้น ฉันใด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก [๑. อกิตติวรรค] ๘. สิวิราชจริยา
[๔๙] สิ่งของที่เราให้แก่ผู้อื่น มีค่ามากกว่าสิ่งของที่ตนใช้เองฉันนั้น
เพราะฉะนั้น ควรให้ทานแก่ผู้อื่น อันนั้นจักมีผลตั้งร้อย
[๕๐] เรารู้อำนาจประโยชน์นั้นแล้ว จึงให้ทานในภพน้อยภพใหญ่
จักไม่ถอยกลับ(ไม่ท้อถอย) จากการให้ทาน
เพื่อบรรลุสัมโพธิญาณ ฉะนี้แล
จันทกุมารจริยาที่ ๗ จบ

๘. สิวิราชจริยา
ว่าด้วยพระจริยาของพระเจ้าสิวิ
[๕๑] ในกาลที่เราเป็นกษัตริย์นามว่าสิวิ
อยู่ในกรุงชื่ออริฏฐะ เรานั่งอยู่ในปราสาทที่ประเสริฐ
ได้คิดอย่างนี้ว่า
[๕๒] “ทานในมนุษยโลกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ที่เราไม่ได้ให้แล้วไม่มี แม้ผู้ใดพึงขอจักษุกะเรา
เราก็พึงให้แก่ผู้นั้นได้ไม่หวั่นไหว
[๕๓] ท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่กว่าทวยเทพ
ทรงทราบความดำริของเราแล้ว
ประทับนั่งในเทพบริษัทได้ตรัสพระดำรัสนี้ว่า
[๕๔] ‘พระเจ้าสิวิพระองค์นั้นผู้ทรงมีฤทธิ์มาก
ประทับนั่งในปราสาทที่ประเสริฐ
ทรงดำริถึงทานต่าง ๆ ไม่ทรงเห็นสิ่งที่ยังมิได้ให้
[๕๕] ข้อนั้นจะเป็นจริงหรือไม่หนอ เอาเถอะ
เราจักทดลองพระองค์ดู ท่านทั้งหลายพึงคอยเราสักครู่หนึ่ง
เพียงเราทราบความจริงใจของพระเจ้าสิวิเท่านั้น’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก [๑. อกิตติวรรค] ๘. สิวิราชจริยา
[๕๖] ท้าวสักกะจึงแปลงร่างเป็นคนตาบอด มีกายสั่น
ศีรษะหงอก หนังย่น กระสับกระส่ายเพราะความชรา
เข้าเฝ้าพระราชา
[๕๗] ครั้งนั้น อินทพราหมณ์นั้นประคองแขนทั้งซ้ายและขวา
ประนมมือขึ้นเหนือศีรษะได้กล่าวคำนี้ว่า
[๕๘] ‘ข้าแต่พระมหาราชผู้ทรงธรรม ทรงปกครองแคว้นให้เจริญ
ข้าพระองค์จะขอรับบริจาคทานกะพระองค์
เกียรติคุณคือความยินดีในทานของพระองค์
ฟุ้งขจรไปในเทวดาและมนุษย์
[๕๙] นัยน์ตาแม้ทั้ง ๒ ข้างของข้าพระองค์ถูกโรคขจัดบอดเสียแล้ว
ขอพระองค์จงพระราชทานพระเนตรข้างหนึ่งแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด
แม้พระองค์ก็ทรงยังอัตภาพให้เป็นไปได้ด้วยพระเนตรข้างหนึ่ง’
[๖๐] เราได้ฟังคำของพราหมณ์นั้นแล้ว ทั้งยินดีและตื่นเต้น
ประนมมือ เกิดปีติปราโมทย์ ได้กล่าวคำนี้ว่า
[๖๑] ‘เราคิดแล้ว ลงจากปราสาทมาถึงที่นี้เดี๋ยวนี้เอง
ท่านรู้จิตของเราแล้วมาขอนัยน์ตา
[๖๒] โอ ! ความปรารถนาของเราสำเร็จแล้ว
ความดำริของเราบริบูรณ์แล้ว วันนี้
เราจักให้ทานอันประเสริฐ ซึ่งเรายังไม่เคยให้แก่พวกยาจก
[๖๓] มานี่แน่ะหมอสิวิกะ จงขมีขมันอย่าชักช้า
อย่าครั่นคร้าม จงควักนัยน์ตาทั้ง ๒ ข้างออกให้แก่วณิพกไปเถิด’
[๖๔] หมอสิวิกะนั้นถูกเราเตือนแล้ว เชื่อฟังคำของเรา
ได้ควักนัยน์ตาทั้ง ๒ ออกให้แก่ยาจก
เหมือนคนควักจาวตาล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก [๑. อกิตติวรรค] ๙. เวสสันตรจริยา
[๖๕] เมื่อเราจะให้ทานก็ดี กำลังให้ทานก็ดี ให้ทานแล้วก็ดี
จิตของเราไม่เป็นอย่างอื่น เพราะเหตุแห่งพระโพธิญาณเท่านั้น
[๖๖] จักษุทั้ง ๒ เป็นที่น่าเกลียดชังสำหรับเราก็หาไม่
แม้ตัวเราเองจะเป็นที่เกลียดชังก็หาไม่
แต่พระสัพพัญญุตญาณเป็นที่รักของเรา
เพราะฉะนั้น เราจึงได้ให้จักษุ ฉะนี้แล
สิวิราชจริยาที่ ๘ จบ

๙. เวสสันตรจริยา
ว่าด้วยพระจริยาของพระเวสสันดร
[๖๗] นางกษัตริย์พระนามว่าผุสดีพระชนนีของเรา
เป็นพระมเหสีที่รักของท้าวสักกะ ในอดีตชาติ
[๖๘] ท้าวสักกะจอมเทพทรงทราบว่าพระนางจะสิ้นอายุ
จึงตรัสดังนี้ว่า ‘นางผู้เจริญ เราจะให้พร ๑๐ ประการ๑
ที่เธอปรารถนาแก่เธอ’
[๖๙] พอท้าวสักกะตรัสอย่างนั้นแล้ว
พระเทวีนั้นได้ทูลท้าวสักกะดังนี้ว่า
หม่อมฉันมีความผิดอะไรหนอ
หม่อมฉันเป็นที่น่ารังเกียจสำหรับพระองค์หรือหนอ
พระองค์จึงจะให้หม่อมฉันเคลื่อนจากสถานอันน่ารื่นรมย์
เหมือนลมพัดต้นไม้ให้หวั่นไหว

เชิงอรรถ :
๑ พร ๑๐ ประการ คือ (๑) ขอให้ได้เป็นพระมเหสีของพระองค์ทุกชาติ (๒) ขอให้มีพระเนตรสีเขียว (๓) ขอ
ให้มีพระโขนงสีเขียว (๔) ขอให้มีนามว่าผุสดี (๕) ขอให้ได้บุตรที่ประกอบด้วยคุณ (๖) ตั้งครรภ์มีอุทรไม่นูนขึ้น
(๗) มีถันไม่ยาน (๘) ผมไม่หงอก (๙) มีผิวละเอียด (๑๐) ไม่เป็นหมัน (ขุ.จริยา.อ. ๗๒/๙๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก [๑. อกิตติวรรค] ๙. เวสสันตรจริยา
[๗๐] ท้าวสักกะนั้นเมื่อพระนางผุสดีตรัสอย่างนี้
ก็ได้ตรัสกะพระนางดังนี้อีกว่า
‘เธอไม่ได้ทำความชั่วเลย
และเธอจะไม่เป็นที่รักของเราก็หาไม่
[๗๑] แต่อายุของเธอมีประมาณเท่านี้เอง
เวลานี้จักเป็นเวลาที่เธอต้องจุติ
เธอจงรับพร ๑๐ ประการอันประเสริฐสุดที่เราจะให้’
[๗๒] พระนางผุสดีนั้น รับพรที่ท้าวสักกะประทานแล้ว
ร่าเริงยินดีปราโมทย์เลือกพร ๑๐ ประการ รวมเราไว้ด้วย
[๗๓] พระนางผุสดีนั้น จุติจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้นแล้ว
มาบังเกิดในตระกูลกษัตริย์
ได้สมาคมกับพระเจ้ากรุงสญชัย(เป็นมเหสีของพระเจ้ากรุงสญชัย)
ในกรุงเชตุดร
[๗๔] ในกาลที่เราลงสู่พระครรภ์ของพระนางผุสดีพระมารดาที่รัก
ด้วยเดชของเรา พระมารดาของเราเป็นผู้ยินดีในทานทุกเมื่อ
[๗๕] คนไม่มีทรัพย์ คนป่วยไข้(กระสับกระส่าย)
คนแก่ ยาจก คนเดินทาง
สมณะ พราหมณ์ คนสิ้นเนื้อประดาตัว
คนไม่มีอะไรเลย พระนางก็ให้ทาน
[๗๖] พระนางผุสดีทรงพระครรภ์ครบ ๑๐ เดือน
เมื่อพระเจ้าสัญชัยทรงทำประทักษิณพระนคร
พระนางก็ประสูติเราที่ท่ามกลางถนนของคนค้าขาย
[๗๗] ชื่อของเราจึงไม่เนื่องข้างฝ่ายพระมารดา
และไม่เนื่องข้างฝ่ายพระบิดา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก [๑. อกิตติวรรค] ๙. เวสสันตรจริยา
เพราะเราเกิดที่ถนนของคนค้าขายนี้
เพราะฉะนั้น เราจึงมีนามว่าพระเวสสันดร
[๗๘] ในกาลที่เราเป็นทารกอายุได้ ๘ ขวบแต่กำเนิด
นั่งอยู่ในปราสาทคิดจะให้ทานว่า
[๗๙] เราพึงประกาศให้หัวใจ นัยน์ตา แม้กระทั่งเนื้อและเลือด
พึงให้ทั้งกาย ถ้าใครจะพึงขอกับเรา
[๘๐] เมื่อเราคิดถึงความเป็นจริง จิตของเราก็ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว
ในขณะนั้น แผ่นดิน ภูเขาสิเนรุราช
และราวป่าก็ไหว
[๘๑] ในเดือนเต็มวันอุโบสถที่ ๑๕ ทุกกึ่งเดือน
เราขึ้นคอมงคลหัตถีปัจจัยนาค เข้าไปยังศาลาเพื่อจะให้ทาน
[๘๒] พราหมณ์ทั้งหลายชาวแคว้นกาลิงคะได้เข้ามาหาเรา
ได้ขอพญาคชสารซึ่งประกอบด้วยธัญลักษณะ
สมบูรณ์ด้วยมงคลกับเราว่า
[๘๓] “ชนบทฝนไม่ตกเลย เกิดทุพภิกขภัยอดอยากมาก
ขอพระองค์โปรดพระราชทานพญาคชสาร
ตัวประเสริฐเผือกผ่อง ซึ่งเป็นช้างอุดมมงคลด้วยเถิด”
[๘๔] พราหมณ์ทั้งหลายขอสิ่งใดกับเรา
เราจะให้สิ่งนั้นไม่หวั่นไหวเลย
เราไม่ซ่อนเร้นของที่มีอยู่
ใจของเรายินดีในทาน
[๘๕] เมื่อยาจกมาถึงแล้ว การห้าม(การไม่ให้) ไม่สมควรแก่เรา
กุศลสมาทานของเราอย่าได้เสียหายเลย
เราจักให้คชสารตัวประเสริฐ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก [๑. อกิตติวรรค] ๙. เวสสันตรจริยา
[๘๖] เราได้จับงวงพญาคชสารวางบนมือพราหมณ์แล้ว
จึงหลั่งน้ำในเต้าทองลงบนมือ ได้ให้พญาคชสารแก่พวกพราหมณ์
[๘๗] อีกเรื่องหนึ่ง เมื่อเราให้พญาคชสารที่อุดมเผือกผ่อง
แม้ในกาลนั้น แผ่นดิน ภูเขาสิเนรุราช
และราวป่าก็ไหวอีก
[๘๘] เพราะเราให้พญาคชสารนั้น ชาวกรุงสีพีจึงพากันโกรธเคือง
มาประชุมกันแล้ว ขับไล่เราจากแว่นแคว้นของตนว่า
จงไปยังภูเขาวงกต
[๘๙] เมื่อชาวนครเหล่านั้นกลับไป จิตของเราตั้งมั่นไม่หวั่นไหว
เราได้ขอพรอย่างหนึ่งเพื่อจะบำเพ็ญมหาทาน
[๙๐] เราขอแล้ว ชาวกรุงสีพีทั้งหมดได้ให้พรอย่างหนึ่งแก่เรา
เราจึงให้นำกลองคู่หนึ่งไปตีประกาศว่า เราจะบริจาคมหาทาน
[๙๑] เสียงดังกึกก้องอึงมี่น่าหวาดกลัวย่อมเป็นไปในโรงทานนั้นว่า
ชาวกรุงสีพีขับไล่พระเวสสันดรนี้เพราะทาน
เรายังจะให้ทานอีกหรือ
[๙๒] เราได้ให้ช้าง ม้า รถ ทาสี ทาสา แม่โค ทรัพย์
ครั้นให้มหาทานแล้ว ก็ออกจากนครไปในกาลนั้น
[๙๓] เมื่อเราครั้นออกจากนครแล้ว เหลียวกลับมาดู
แม้ในกาลนั้น แผ่นดิน ภูเขาสิเนรุราช
และราวป่าก็ไหวแล้ว
[๙๔] เราให้ม้าสินธพ ๔ ตัวและรถแล้วยืนอยู่ที่ทางใหญ่ ๔ แยก
ผู้เดียวไม่มีเพื่อน ได้กล่าวกับพระนางมัทรีเทวีดังนี้ว่า
[๙๕] “แม่มัทรี เธอจงอุ้มกัณหากุมารีเถิด
เพราะเธอเป็นน้องคงเบากว่า พี่จะอุ้มพ่อชาลี
เพราะเขาเป็นพี่คงจะหนัก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก [๑. อกิตติวรรค] ๙. เวสสันตรจริยา
[๙๖] พระนางมัทรีทรงอุ้มแม่กัณหาผู้อ่อนนุ่มดังดอกปทุมและบัวขาว
เราได้อุ้มพ่อชาลีหน่อกษัตริย์ เปรียบดังแท่งทองคำ
[๙๗] ชนทั้ง ๔ เป็นกษัตริย์สุขุมาลชาติ ผู้อภิชาตบุตร
ได้เสด็จดำเนินไปตามทางที่ขรุขระและราบเรียบไปยังภูเขาวงกต
[๙๘] มนุษย์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เดินตามมาในหนทางก็ดี
สวนทางก็ดี เราทั้งหลายได้ไต่ถามเขาถึงหนทางว่า
เขาวงกตอยู่ที่ไหน
[๙๙] เขาเห็นเราทั้งหลาย ณ ที่นั้นแล้ว
ได้เปล่งเสียงอันประกอบด้วยกรุณา
กษัตริย์เหล่านี้คงจะต้องเสวยทุกข์อย่างยิ่ง เพราะภูเขาวงกตไกล
[๑๐๐] ถ้าพระกุมารและกุมารีเห็นต้นไม้ที่มีผลในป่าใหญ่
พระกุมารกุมารีก็จะทรงกันแสง เพราะเหตุแห่งผลไม้เหล่านั้น
[๑๐๑] ต้นไม้ทั้งหลายอันสูงใหญ่ไพศาล
เห็นพระกุมารและกุมารีทรงกันแสง
ก็จะโน้มยอดลงมาหาพระกุมารและกุมารีเอง
[๑๐๒] พระนางมัทรีผู้ทรงความงามทั่วสรรพางค์กาย
ทรงเห็นความอัศจรรย์นี้ซึ่งไม่เคยมีมา
น่าขนพองสยองเกล้า จึงให้สาธุการเป็นไปว่า
[๑๐๓] ความอัศจรรย์ไม่เคยมีในโลก บังเกิดขนชูชันหนอ
หมู่ไม้น้อมยอดลงมาเองด้วยเดชแห่งพระเวสสันดร
[๑๐๔] ยักษ์(เทวดา)ทั้งหลายได้ย่นทางให้
ด้วยความเอ็นดูพระกุมารและกุมารี
ในวันที่เสด็จออกจากกรุงสีพีนั้นเอง
เราทั้ง ๔ ได้ไปถึงเจตราษฎร์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก [๑. อกิตติวรรค] ๙. เวสสันตรจริยา
[๑๐๕] ครั้งนั้น พวกเจ้า ๑๖,๐๐๐ องค์อยู่ในกรุงมาตุละ
ทั้งหมดก็ประนมมือร้องไห้มาหา
[๑๐๖] เราเจรจาปราศรัยกับโอรสของพระเจ้าเจตราชเหล่านี้อยู่ ณ ที่นั้น
ให้พระโอรสของพระเจ้าเจตราชเหล่านั้นกลับที่ประตูนั้นแล้ว
ได้ไปยังภูเขาวงกต
[๑๐๗] ท้าวสักกะจอมเทพ ตรัสเรียกวิสสุกรรมเทพบุตรผู้มีฤทธิ์มาก
แล้วรับสั่งให้เนรมิตบรรณศาลาอย่างสวยงาม
น่ารื่นรมย์สำหรับเป็นอาศรมอย่างดี
[๑๐๘] วิสสุกรรมเทพบุตรผู้มีฤทธิ์มาก
รับพระบัญชาของท้าวสักกะแล้ว
เนรมิตบรรณศาลาอย่างสวยงาม
น่ารื่นรมย์สำหรับเป็นอาศรมอย่างดี
[๑๐๙] เราทั้ง ๔ คน มาถึงป่าใหญ่อันสงัดเงียบไม่พลุกพล่าน
อยู่ในบรรณศาลานั้น ณ ระหว่างภูเขา
[๑๑๐] ครั้งนั้น เรา พระนางมัทรีเทวี
และโอรสทั้ง ๒ คือ ชาลีและกัณหาชินา
บรรเทาความเศร้าโศกของกันและกันอยู่ในอาศรม
[๑๑๑] เรารักษาสองกุมารเป็นผู้ไม่ว่างอยู่ในอาศรม
พระนางมัทรีนำผลไม้มาเลี้ยงคนทั้ง ๓
[๑๑๒] เมื่อเราอยู่ในป่าใหญ่ พราหมณ์ (ชูชก)
ผู้มีความต้องการ เดินเข้ามาหาเรา
ได้ขอพระโอรสทั้ง ๒ ของเรา คือ ชาลีและกัณหาชินา
[๑๑๓] เพราะได้เห็นผู้ขอเข้ามาหา ความร่าเริงจึงเกิดขึ้นแก่เรา
ครั้งนั้น เราได้พาบุตรและธิดาทั้ง ๒ มาให้พราหมณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก [๑. อกิตติวรรค] ๙. เวสสันตรจริยา
[๑๑๔] เมื่อเราสละบุตรและธิดาทั้ง ๒ ของตน
ให้พราหมณ์ชูชกไป ในกาลใด
แม้ในกาลนั้น แผ่นดิน ภูเขาสิเนรุราช และราวป่าก็ไหวแล้ว
[๑๑๕] ท้าวสักกะทรงแปลงร่างเป็นพราหมณ์เสด็จลงจากเทวโลก
มาขอพระนางมัทรีเทวีผู้มีศีลจริยาวัตรงดงามกับเราอีก
[๑๑๖] เรามีความดำริแห่งใจผ่องใส
จับพระหัตถ์พระนางมัทรีแล้วมอบให้ด้วยการหลั่งน้ำ(ทักขิโณทก)
ได้ให้พระนางมัทรีแก่พราหมณ์นั้น
[๑๑๗] เมื่อเราให้พระนางมัทรี
หมู่เทวดาในท้องฟ้าพากันเบิกบาน(พลอยยินดี)
แม้ในกาลนั้น แผ่นดิน ภูเขาสิเนรุราช และราวป่าก็ไหวแล้ว
[๑๑๘] เราสละพ่อชาลีและแม่กัณหาชินาผู้เป็นบุตรธิดา
และพระนางมัทรีเทวี ผู้มีจริยาวัตรงดงาม
ไม่คิดถึงเลยเพราะเหตุแห่งพระโพธิญาณนั่นเอง
[๑๑๙] บุตรทั้ง ๒ จะเป็นที่น่ารังเกียจสำหรับเราก็หาไม่
พระเทวีมัทรีเป็นที่น่ารังเกียจก็หาไม่
แต่พระสัพพัญญุตญาณเป็นที่รักของเรา
เพราะฉะนั้น เราจึงให้บุตรธิดาและภรรยาผู้เป็นที่รัก
[๑๒๐] อีกเรื่องหนึ่ง เมื่อพระมารดาและพระบิดาเสด็จมาพร้อมกัน
ณ ป่าใหญ่ ทรงกันแสงสะอึกสะอื้นน่าเวทนา
ตรัสถามถึงสุขทุกข์กันอยู่
[๑๒๑] เราได้เข้าเฝ้าพระมารดาและพระบิดาทั้ง ๒
ด้วยหิริและโอตตัปปะด้วยความเคารพ
แม้ในกาลนั้น แผ่นดิน ภูเขาสิเนรุราช และราวป่าก็หวั่นไหว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก [๑. อกิตติวรรค] ๑๐. สสปัณฑิตจริยา
[๑๒๒] อีกเรื่องหนึ่ง เรากับบรรดาพระญาติของเราออกจากป่าใหญ่
เข้าสู่กรุงเชตุดร ซึ่งเป็นนครที่น่ารื่นรมย์
[๑๒๓] แก้ว ๗ ประการตกลงมา มหาเมฆทำฝนให้ตก
แม้ในกาลนั้น แผ่นดิน ภูเขาสิเนรุราช และราวป่าก็ไหวแล้ว
[๑๒๔] แม้แผ่นดินนี้ไม่มีจิตใจ ไม่รู้สุขและทุกข์ ก็ไหวถึง ๗ ครั้ง
เพราะกำลังแห่งทานของเรา ฉะนี้แล
เวสสันตรจริยาที่ ๙ จบ

๑๐. สสปัณฑิตจริยา
ว่าด้วยจริยาของสสบัณฑิต
[๑๒๕] อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลที่เราเป็นกระต่าย เที่ยวอยู่ในป่า
มีหญ้า ใบไม้ ผัก และผลไม้เป็นภักษา เว้นการเบียดเบียนผู้อื่น
[๑๒๖] ครั้งนั้น ลิง สุนัขจิ้งจอก ลูกนาค และเรา
อยู่ร่วมสามัคคีกัน มาพบกันทั้งเวลาเช้าและเวลาเย็น
[๑๒๗] เราสั่งสอนสหายเหล่านั้น ในการทำความดีและความชั่วว่า
“ท่านทั้งหลาย จงเว้นความชั่ว จงตั้งอยู่ในความดี”
[๑๒๘] เราเห็นดวงจันทร์เต็มดวงในวันอุโบสถ
จึงบอกแก่สหายเหล่านั้นว่า วันนี้เป็นวันอุโบสถ
[๑๒๙] ท่านทั้งหลายจงตระเตรียมทานเพื่อให้แก่ทักขิไณยบุคคล
ให้ทานแก่ทักขิไณยบุคคลแล้ว จงอยู่จำอุโบสถ
[๑๓๐] สหายเหล่านั้นรับคำของเราว่า “สาธุ”
แล้วได้ตระเตรียมทานต่าง ๆ ตามความสามารถ
ตามกำลัง แล้วแสวงหาทักขิไณยบุคคล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก [๑. อกิตติวรรค] ๑๐. สสปัณฑิตจริยา
[๑๓๑] เรานอนคิดถึงทานอันสมควรแก่ทักขิไณยบุคคลว่า
‘ถ้าเราพึงได้ทักขิไณยบุคคล เราจักให้อะไรเป็นทาน
[๑๓๒] งา ถั่วเขียว ของเราก็ไม่มี ถั่วราชมาส
ข้าวสาร เปรียงของเราก็ไม่มี
เราเลี้ยงชีวิตด้วยหญ้า เราไม่อาจที่จะให้หญ้า
[๑๓๓] ถ้าทักขิไณยบุคคลสักท่านหนึ่งมาเพื่อขอในสำนักของเรา
เราพึงให้ร่างกายของตน ทักขิไณยบุคคลจักไม่ไปเปล่า’
[๑๓๔] ท้าวสักกะทรงทราบความดำริของเราแล้ว
จึงแปลงร่างเป็นพราหมณ์ เข้ามายังที่อยู่ของเรา
เพื่อทรงทดลองทานของเรา
[๑๓๕] เราเห็นพราหมณ์นั้นแล้วก็ยินดี ได้กล่าวคำนี้ว่า
‘ท่านมาถึงที่อยู่ของเราแล้ว เพราะเหตุแห่งอาหารเป็นการดีแล
[๑๓๖] วันนี้เราจักให้ทานอันประเสริฐที่ใคร ๆ
ไม่เคยให้แก่ท่าน ท่านผู้ประกอบด้วยศีลคุณ
การเบียดเบียนผู้อื่นไม่ควรแก่ท่าน
[๑๓๗] ท่านจงไปนำไม้ต่าง ๆ มาก่อไฟให้ลุกโพลงขึ้น
เราจักปิ้งตัวของเรา ท่านจักได้กินเนื้อที่สุก’
[๑๓๘] พราหมณ์รับคำว่า “สาธุ” แล้วมีใจร่าเริง
ได้นำไม้ต่างๆ มาทำเป็นเชิงตะกอนใหญ่
ทำเป็นห้องซึ่งเต็มด้วยถ่านเพลิง
[๑๓๙] ก่อไฟลุกโพลงขึ้น ณ ที่นั้นทันที
เหมือนไฟนั้นเป็นกองใหญ่
เพราะฉะนั้น เราสลัดตัวอันมีธุลีแล้ว เข้าไปนั่งอยู่ข้างหนึ่ง
[๑๔๐] ในเมื่อกองไม้ที่ไฟติดทั่วแล้วเป็นควันตลบอยู่
ขณะนั้น เราโดดลงไปในท่ามกลางระหว่างเปลวไฟ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก [๑. อกิตติวรรค] รวมจริยาที่มีในวรรคนี้
[๑๔๑] น้ำเย็นอันผู้ใดผู้หนึ่งดำลงแล้ว
ย่อมระงับความกระวนกระวายและความร้อน
ย่อมให้ความยินดี และปีติได้ ฉันใด
[๑๔๒] ในขณะที่เราเข้าไปยังไฟที่ลุกโพลง ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เหมือนดำลงไปในน้ำเย็น
ความกระวนกระวายทั้งปวงระงับไป
[๑๔๓] เราได้ให้ร่างกายทั้งสิ้นโดยไม่เหลือ
คือผิว หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก
และชิ้นเนื้อหัวใจแก่พราหมณ์ ฉะนี้แล
สสปัณฑิตจริยาที่ ๑๐ จบ
อกิตติวรรคที่ ๑ จบ

รวมจริยาที่มีในวรรคนี้คือ
อกิตติดาบส สังขพราหมณ์ พระเจ้าธนัญชัยกุรุราช
พระเจ้ามหาสุทัศนจักรพรรดิราช
มหาโควินทพราหมณ์
พระเจ้าเนมิราช จันทกุมาร พระเจ้าสิวิราช
พระเวสสันดร และสสบัณฑิต
ผู้ให้ทานอันประเสริฐในกาลนั้น เป็นเรานี้เอง
การบริจาคเหล่านี้เป็นบริขารแห่งทาน เป็นทานบารมี
เราได้ให้ชีวิตเป็นทานแก่ยาจก จึงบำเพ็ญบารมีนี้ได้
เราเห็นยาจกเข้ามาเพื่อขอแล้ว ได้สละร่างกายของตนให้
ความเสมอด้วยทานของเราไม่มี
นี้เป็นทานบารมีของเรา ฉะนี้แล
การบำเพ็ญทานบารมี จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก [๒. หัตถินาควรรค] ๑. มาตุโปสกจริยา
๒. หัตถินาควรรค
หมวดว่าด้วยพญาช้างเป็นต้น
๒. การบำเพ็ญศีลบารมี
๑. มาตุโปสกจริยา
ว่าด้วยจริยาของพญาช้างตัวเลี้ยงมารดา
[๑] ในกาลที่เราเป็นช้างกุญชรเลี้ยงมารดาอยู่ในป่าใหญ่
ครั้งนั้น ในแผ่นดินนี้ไม่มีอะไรที่จะเสมอด้วยคุณ(ศีล)ของเรา
[๒] พรานป่าพบเราในป่าใหญ่แล้ว ได้กราบทูลแด่พระราชาว่า
‘ข้าแต่มหาราช ช้างมงคลซึ่งสมควรแก่พระองค์อยู่ในป่าใหญ่
[๓] อันการจับช้างนั้นไม่ต้องขุดคู
แม้การปักเสาตะลุง(เสาสำหรับผูกช้าง)
และการขุดหลุมพรางก็ไม่ต้อง
ในขณะที่จับที่งวงเท่านั้น ช้างนั้นก็จะมา ณ ที่นี้เอง พระเจ้าข้า’
[๔] ฝ่ายพระราชาได้สดับคำของพรานป่านั้นแล้ว
ก็ทรงดีพระทัย ทรงส่งควาญช้างซึ่งเป็นอาจารย์ผู้ฉลาดศึกษาดีแล้วไป
[๕] ควาญช้างนั้นไปแล้ว ได้พบช้างกำลังถอนเหง้าบัวอยู่
ในสระบัวหลวง เพื่อเลี้ยงมารดา
[๖] ควาญช้างรู้คุณคือศีลของเรา พิจารณาดูลักษณะแล้วกล่าวว่า
มานี่แนะลูก แล้วได้จับที่งวงของเรา
[๗] ครั้งนั้น กำลังของเราที่มีอยู่ในกายตามปกติอันใด
วันนี้ กำลังของเรานั้นเสมอเหมือนด้วยกำลังของช้างหลายพันเชือก
[๘] ถ้าเราโกรธควาญช้างเหล่านั้น ผู้เข้ามาใกล้เพื่อจับเรา
เราก็สามารถเหยียบเขาเหล่านั้น(ให้แหลกละเอียด)ได้
แม้จนถึงราชสมบัติของมนุษย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก [๒. หัตถินาควรรค] ๒. ภูริทัตตจริยา
[๙] อีกอย่างหนึ่ง แม้เขาจะผูกข้าพเจ้าไว้ที่เสาตะลุง
เราก็ไม่ทำความเสียใจ เพราะรักษาศีล
เพื่อบำเพ็ญศีลบารมีให้บริบูรณ์
[๑๐] ถ้าเขาเหล่านั้นพึงทำลายเราที่เสาตะลุงนี้ด้วยขวานและหอกซัด
เราก็จะไม่โกรธเขาเหล่านั้นเลย
เพราะเรากลัวศีลขาด ฉะนี้แล
มาตุโปสกจริยาที่ ๑ จบ

๒. ภูริทัตตจริยา
ว่าด้วยจริยาของภูริทัตตนาคราช
[๑๑] อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลที่เราเป็นพญานาคชื่อว่าภูริทัตตะ
มีฤทธิ์มาก ได้ไปยังเทวโลกพร้อมกับท้าววิรูปักษ์มหาราช
[๑๒] ในเทวโลกนั้น เราได้เห็นทวยเทพ
ผู้เพียบพร้อมด้วยความสุขโดยส่วนเดียว
จึงสมาทานศีลวัตร เพื่อต้องการจะไปยังสวรรค์นั้น
[๑๓] เราชำระร่างกาย บริโภคอาหารพอเป็นเครื่องเลี้ยงชีพแล้ว
นอนบนยอดจอมปลวก อธิษฐานองค์ ๔ ประการว่า
[๑๔] ‘ผู้ใดพึงทำกิจด้วยผิวก็ดี หนังก็ดี เนื้อก็ดี เอ็นก็ดี
กระดูกก็ดี ผู้นั้นจงนำอวัยวะที่เราให้นี้ไปเถิด’
[๑๕] พราหมณ์อาลัมพานะผู้ที่คนอกตัญญูบอกแล้ว
ได้จับเราใส่ไว้ในตะกร้า ให้เล่นในที่นั้น ๆ
[๑๖] แม้เมื่อพราหมณ์อาลัมพานะใส่เราไว้ในตะกร้าบ้าง
บีบเราด้วยฝ่ามือบ้าง เราก็ไม่โกรธพราหมณ์อาลัมพานะนั้น
เพราะเรากลัวศีลขาด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก [๒. หัตถินาควรรค] ๓. จัมเปยยจริยา
[๑๗] การที่เราสละชีวิตของตนเป็นของเบาแม้กว่าหญ้า
การล่วงศีลของเราเป็นเหมือนดังว่าพลิกแผ่นดินขึ้น
[๑๘] เราพึงสละชีวิตของเราสิ้น ๑๐๐ ชาติเนือง ๆ
เราไม่พึงทำลายศีลแม้เพราะเหตุแห่งทวีปทั้ง ๔
[๑๙] อีกอย่างหนึ่ง แม้เขาจะใส่เราไว้ในตะกร้า
เราก็ไม่ทำความเสียใจ
เพราะรักษาศีล เพื่อบำเพ็ญศีลบารมีให้เต็ม ฉะนี้แล
ภูริทัตตจริยาที่ ๒ จบ

๓. จัมเปยยจริยา
ว่าด้วยจริยาของจัมเปยยกนาคราช
[๒๐] อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลที่เราเป็นพญานาค
ชื่อว่าจัมเปยยกะ มีฤทธิ์มาก
แม้ในกาลนั้น เราเป็นผู้ประพฤติธรรม เพียบพร้อมด้วยศีลวัตร
[๒๑] หมองูได้จับเราผู้ประพฤติธรรม รักษาอุโบสถ
แล้วให้เล่นรำอยู่ใกล้ประตูพระราชวัง
[๒๒] หมองูนั้นคิดสีใด คือ สีเขียว สีเหลือง หรือสีแดง
เราย่อมเปลี่ยนไปตามความคิดของเขา
แปลงกายให้เหมือนที่เขาคิด
[๒๓] เราได้เนรมิตบก(คือแผ่นดิน)ให้เป็นน้ำบ้าง
เนรมิตน้ำให้เป็นบกบ้าง ถ้าเราโกรธเคืองต่อหมองูนั้น
ก็พึงทำเขาให้กลายเป็นเถ้าไปในพริบตา
[๒๔] ถ้าเราจักเป็นไปตามอำนาจจิต เราก็จักเสื่อมจากศีล
เมื่อเราเสื่อมจากศีล ประโยชน์สูงสุดก็จะไม่สำเร็จ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก [๒. หัตถินาควรรค] ๔. จูฬโพธิจริยา
[๒๕] กายของเรานี้จงแตกไป จงกระจัดกระจายอยู่ ณ ที่นี้
เหมือนแกลบกระจัดกระจายอยู่ก็ตามเถิด
เราไม่ควรทำลายศีล ฉะนี้แล
จัมเปยยจริยาที่ ๓ จบ

๔. จูฬโพธิจริยา
ว่าด้วยจริยาของจูฬโพธิปริพาชก
[๒๖] อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลที่เราเป็นปริพาชกชื่อว่าจูฬโพธิ
มีศีลงาม เราเห็นภพโดยความเป็นของน่ากลัว จึงออกบวช
[๒๗] นางพราหมณี ผู้มีผิวพรรณดังทองคำ
ซึ่งเป็นภรรยาเก่าของเรา แม้นางมิได้อาลัยในวัฏฏะ ออกบวชแล้ว
[๒๘] เราทั้ง ๒ ไม่มีความอาลัย ตัดขาดพวกพ้อง
ไม่ห่วงใยในตระกูลและหมู่ญาติ
เที่ยวไปยังบ้านและนิคม มาถึงกรุงพาราณสี
[๒๙] เราทั้ง ๒ อยู่ ณ ที่นั้น มีปัญญารักษาตน
ไม่คลุกคลีกับสกุลกับคณะ
เราทั้ง ๒ อยู่ในพระราชอุทยานอันสงัดเงียบ ไม่พลุกพล่าน
[๓๐] พระราชาเสด็จทอดพระเนตรพระราชอุทยาน
ได้ทอดพระเนตรเห็นนางพราหมณี
จึงเสด็จเข้ามาหาเราแล้วตรัสถามว่า
“นางพราหมณีคนนี้เป็นอะไรกับท่าน เป็นภริยาของใคร”
[๓๑] เมื่อพระราชาตรัสถามอย่างนี้ เราได้ทูลพระองค์ดังนี้ว่า
“นางพราหมณีนี้มิใช่ภริยาของอาตมภาพ
แต่เป็นผู้ประพฤติธรรมร่วมกัน มีศาสนาเดียวกัน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก [๒. หัตถินาควรรค] ๕. มหิสราชจริยา
[๓๒] พระราชาทรงกำหนัดหนักในนางพราหมณีนั้น
จึงรับสั่งให้พวกราชบุรุษจับ ทรงบีบคั้นด้วยกำลัง
สั่งให้นำเข้าไปภายในนคร
[๓๓] เมื่อภรรยาเก่าของเราซึ่งเกิดร่วมกัน
มีศาสนาเดียวกัน ถูกฉุดคร่าไป ความโกรธเกิดขึ้นแก่เรา
[๓๔] เราระลึกถึงศีลวัตรได้พร้อมกับความโกรธที่เกิดขึ้น
เราข่มความโกรธได้ ณ ที่นั้นเอง ไม่ให้มันเจริญขึ้นไปอีก
[๓๕] ถ้าใคร ๆ พึงเอาหอกอันคมกริบแทงนางพราหมณีนั้น
เราก็ไม่พึงทำลายศีลของเราเลย เพราะเหตุแห่งพระโพธิญาณเท่านั้น
[๓๖] นางพราหมณีนั้นจะเป็นที่รังเกียจของเราก็หาไม่
และเราจะไม่มีกำลังก็หามิได้
แต่เพราะพระสัพพัญญุตญาณเป็นที่รักของเรา
เพราะฉะนั้น เราจึงตามรักษาศีลไว้ ฉะนี้แล
จูฬโพธิจริยาที่ ๔ จบ

๕. มหิสราชจริยา
ว่าด้วยจริยาของพญากระบือ
[๓๗] อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลที่เราเป็นกระบือ เที่ยวอยู่ในป่าใหญ่
มีกายอ้วนพี มีกำลังมาก ใหญ่โต ดูน่ากลัว
[๓๘] พื้นที่แห่งใดแห่งหนึ่งในป่านี้ อันเป็นที่อยู่ของฝูงกระบือ
มีอยู่ที่เงื้อมภูเขาก็ดี ที่ซอกภูเขาก็ดี ที่โคนต้นไม้ก็ดี ที่ใกล้บึงก็ดี
[๓๙] เราเที่ยวไปในที่นั้น ๆ เมื่อเราเที่ยวไปในป่าใหญ่
ได้เห็นสถานที่อันเจริญ เราจึงเข้าไปยังที่นั้น
แล้วยืนพักอยู่และนอนอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก [๒. หัตถินาควรรค] ๕. มหิสราชจริยา
[๔๐] ครั้งนั้น ลิงป่าตัวชั่วร้าย ไม่เจริญ ลอกแลก
มาที่นั้น ถ่ายปัสสาวอุจจาระรดที่คอ ที่หน้าผาก ที่คิ้ว
[๔๑] ย่อมเบียดเบียนเราวันแรกครั้งหนึ่ง
วันที่ ๒ วันที่ ๓ วันที่ ๔ ก็วันละครั้ง
เราจึงถูกลิงนั้นเบียดเบียนตลอดกาลทั้งปวง
[๔๒] ยักษ์(เทวดา)เห็นเราถูกลิงเบียดเบียนได้กล่าวกับเราดังนี้ว่า
“ท่านจงทำลิงชั่วช้าลามกตัวนี้ให้ฉิบหาย
ด้วยเขาและกีบเสียเถิด”
[๔๓] เมื่อยักษ์กล่าวอย่างนี้ในครั้งนั้นแล้ว เราได้ตอบยักษ์นั้นว่า
“เหตุไร ท่านจะให้เราเปื้อนซากศพอันลามกไม่เจริญเล่า”
[๔๔] ถ้าเราพึงโกรธต่อลิงนั้น เราก็จะพึงเลวกว่ามัน
ศีลของเราจะพึงขาด และวิญญูชนทั้งหลายก็จะพึงติเตียนเรา
[๔๕] เราเป็นผู้บริสุทธิ์ ตายเสียยังประเสริฐกว่าความเป็นอยู่ที่น่าติเตียน
เราจักเบียดเบียนผู้อื่น แม้เพราะเหตุแห่งชีวิตได้อย่างไร
[๔๖] ลิงนี้ดูหมิ่นเราได้อย่างนี้ ก็จักกระทำแม้แก่ผู้อื่นอย่างนี้
เขาก็จักฆ่ามันเสีย เราก็จักรอดตัวไป
[๔๗] บุคคลผู้มีปัญญา อดกลั้นคำดูหมิ่นในเพราะคำของคนเลว
คนปานกลาง และคนชั้นสูง
ย่อมได้สิ่งตามที่ใจปรารถนาอย่างนี้ ฉะนี้แล
มหิสราชจริยาที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก [๒. หัตถินาควรรค] ๖. รุรุราชจริยา
๖. รุรุราชจริยา
ว่าด้วยจริยาของพญาเนื้อชื่อรุรุ
[๔๘] อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลที่เราเป็นพญาเนื้อชื่อรุรุ
มีขนสีเหลืองคล้ายทองคำที่หลอมดีแล้ว
ประกอบด้วยศีลอันบริสุทธิ์ยิ่ง
[๔๙] เราเข้าไปอาศัยอยู่ ณ ประเทศที่น่ารื่นรมย์ใจ
เป็นรมณียสถาน สงัดเงียบปราศจากมนุษย์
เป็นที่ยินดีแห่งใจใกล้ฝั่งแม่น้ำ
[๕๐] ครั้งนั้น บุรุษถูกเจ้าหนี้เบียดเบียน
จึงโดดลงในแม่น้ำ ในกระแสน้ำข้างเหนือ
ด้วยคิดว่า เราจะเป็นหรือตายก็ตามเถอะ
[๕๑] เขาถูกกระแสน้ำพัดไปในแม่น้ำใหญ่
ตลอดคืนตลอดวัน ร้องไห้คร่ำครวญอย่างน่าเวทนา
ลอยไปท่ามกลางแม่น้ำคงคา
[๕๒] เราได้ยินเสียงของเขาผู้ร้องไห้คร่ำครวญอย่างน่าเวทนาแล้ว
ไปยืนอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำถามว่า ท่านเป็นคนเช่นไร
[๕๓] เขาถูกเราถามแล้ว ได้แจ้งเหตุของตนในกาลนั้นว่า
ข้าพเจ้ากลัว สะดุ้งต่อพวกเจ้าหนี้แล้ว จึงโดดลงยังมหานที
[๕๔] เราทำความกรุณาแก่เขา
สละชีวิตของตนว่ายน้ำไปนำเขามาในเวลากลางคืนข้างแรม
[๕๕] เรารู้กาลที่เขาสบายใจแล้ว
ได้กล่าวแก่เขาดังนี้ว่า ข้าพเจ้าจะขอพรกะท่านสักข้อหนึ่ง
คือท่านอย่าบอกใครว่า ข้าพเจ้าอยู่ ณ ที่นี้
[๕๖] เขาไปยังนครแล้ว พระราชาตรัสถาม
มีความต้องการทรัพย์จึงกราบทูล
เขาได้พาพระราชามายังที่อยู่ของเรา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก [๒. หัตถินาควรรค] ๗. มาตังคจริยา
[๕๗] เรากราบทูลเหตุการณ์ทุกอย่างแก่พระราชา
พระราชาทรงสดับคำของเราแล้ว
ทรงสอดศรจะยิงบุรุษนั้น ตรัสว่า
“เราจักฆ่าอนารยชน ผู้ประทุษร้ายมิตรเสียในที่นี้แหละ”
[๕๘] เราตามรักษาคนผู้ประทุษร้ายมิตรนั้น
ได้มอบตัวของเราถวายว่า
ข้าแต่มหาราช ขอได้ทรงโปรดก่อนเถิด
พระเจ้าข้า ข้าพระองค์จะทำตามพระราชประสงค์ของพระองค์
[๕๙] เราตามรักษาศีลของเรา ไม่ใช่ตามรักษาชีวิตของเรา
เพราะในกาลนั้น เราเป็นผู้รักษาศีล
เพราะเหตุแห่งพระโพธิญาณเท่านั้น
รุรุราชจริยาที่ ๖ จบ

๗. มาตังคจริยา
ว่าด้วยจริยาของชฎิลชื่อมาตังคะ
[๖๐] อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลที่เราเป็นชฎิลมีนามว่ามาตังคะ ตามโคตร
มีความเพียรทำลายกิเลสที่แรงกล้า มีศีล มีจิตมั่นคงดี
[๖๑] เราทั้ง ๒ คือ เราและพราหมณ์คนหนึ่ง
อยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำคงคา เราอยู่ข้างเหนือ พราหมณ์อยู่ข้างใต้
[๖๒] พราหมณ์เที่ยวไปตามริมฝั่งน้ำ เห็นอาศรมของเราข้างเหนือน้ำ
บริภาษเราในที่นั้น แล้วแช่งให้เราศีรษะแตก
[๖๓] ถ้าเราพึงโกรธต่อพราหมณ์นั้น ถ้าเราไม่คุ้มครองศีล
เราแลดูพราหมณ์นั้นแล้ว พึงทำให้เป็นดังขี้เถ้าได้
[๖๔] ครั้งนั้น พราหมณ์นั้นโกรธ มีจิตคิดประทุษร้าย
จึงแช่งเรา คำแช่งนั้นจะตกลงบนศีรษะของเขาเอง
เราได้ช่วยเปลื้องเขาให้พ้นโดยความพยายาม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก [๒. หัตถินาควรรค] ๘. ธัมมเทวปุตตจริยา
[๖๕] เราตามรักษาศีลของเรา มิใช่รักษาชีวิตของเรา
เพราะในกาลนั้น เราเป็นผู้รักษาศีล
เพราะเหตุแห่งพระโพธิญาณเท่านั้น ฉะนี้แล
มาตังคจริยาที่ ๗ จบ

๘. ธัมมเทวปุตตจริยา
ว่าด้วยจริยาของธรรมเทพบุตร
[๖๖] อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลที่เราเป็นเทพบุตรนามว่าธรรมะ
มีศักดิ์ใหญ่ มีฤทธิ์มาก มีบริวารมาก เป็นผู้อนุเคราะห์โลกทั้งปวง
[๖๗] เราชักชวนมหาชนให้สมาทานกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ
พร้อมทั้งมิตรสหาย พร้อมทั้งบริวารชนเที่ยวไปยังบ้านและนิคม
[๖๘] ครั้งนั้น เทพบุตรผู้ลามก เป็นผู้ตระหนี่
แสดงอกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ
แม้เทพบุตรนั้น พร้อมทั้งมิตรสหาย
พร้อมทั้งบริวารชนก็เที่ยวไปบนแผ่นดินนี้
[๖๙] เราทั้ง ๒ คือ ธรรมวาทีเทพบุตรและอธรรมวาทีเทพบุตร
เป็นศัตรูต่อกัน เราทั้ง ๒ นั่งรถสวนทางกันมา
จึงทำแอกรถให้กระทบกัน
[๗๐] การทะเลาะอันน่าสะพรึงกลัวย่อมเกิดขึ้นแก่เทพบุตรทั้ง ๒
ผู้ประกอบด้วยกัลยาณธรรมและบาปธรรม
มหาสงครามปรากฏแล้ว เพื่อต้องการจะให้กันและกันหลีกทาง
[๗๑] ถ้าเราพึงโกรธเคืองอธรรมวาทีเทพบุตรนั้น
ถ้าเราพึงทำลายตบะคุณ เราพึงทำอธรรมวาทีเทพบุตรนั้น
พร้อมทั้งบริวารให้เป็นดุจธุลี
[๗๒] อีกเรื่องหนึ่ง เพื่อรักษาศีลไว้ เราจึงระงับจิตได้แล้ว
พร้อมทั้งบริวาร ได้หลีกทางให้แก่อธรรมวาทีเทพบุตรผู้ชั่วช้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก [๒. หัตถินาควรรค] ๙. ชยทิสจริยา
[๗๓] เพราะทำจิตให้สงบพร้อมกับหลีกทางให้
แผ่นดินได้แยกช่องแก่เทพบุตรผู้ชั่วช้าในขณะนั้น ฉะนี้แล
ธัมมเทวปุตตจริยาที่ ๘ จบ

๙. ชยทิสจริยา
ว่าด้วยพระจริยาของพระเจ้าชัยทิศ
[๗๔] ในกรุงที่ประเสริฐชื่อกัปปิลา เป็นนครที่อุดมในแคว้นปัญจาละ
ได้มีพระราชาพระนามว่าชัยทิศ ประกอบด้วยคุณคือศีล
[๗๕] เราเป็นโอรสของพระราชาพระองค์นั้น
มีธรรมอันสดับแล้ว มีศีลดีงาม มีนามว่าอลีนสัตตกุมาร
มีคุณสงเคราะห์บริวารชนทุกเมื่อ
[๗๖] พระราชบิดาของเราเสด็จล่าเนื้อ ได้เข้าใกล้พระยาโปริสาท
พระยาโปริสาทนั้นได้จับพระราชบิดาของเราแล้วกล่าวว่า
ท่านเป็นอาหารของเรา อย่าดิ้นรนไปเลย
[๗๗] พระราชบิดาของเราทรงสดับคำของพระยาโปริสาทนั้น
ตกพระทัย สะดุ้งหวาดหวั่น มีพระเพลาแข็ง๑
เพราะทอดพระเนตรเห็นพระยาโปริสาท
[๗๘] พระยาโปริสาทรับเอาเนื้อแล้วปล่อยไปโดยบังคับให้กลับมาอีก
พระราชบิดาพระราชทานทรัพย์แก่พราหมณ์แล้วตรัสเรียกเรามาว่า
[๗๙] ลูกเอ๋ย จงปกครองราชสมบัติ อย่าประมาทปกครองนครนี้
พระยาโปริสาทบังคับพ่อให้กลับไปหาอีก
[๘๐] เราไหว้พระราชมารดาและพระราชบิดาแล้ว
ตกแต่งร่างกาย สะพายธนู เหน็บพระแสงขรรค์
ออกไปหาพระยาโปริสาท(เราคิดว่า)

เชิงอรรถ :
๑ พระเพลาแข็ง หมายถึงขาแข็งไม่สามารถจะหนีไปได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก [๒. หัตถินาควรรค] ๑๐. สังขปาลจริยา
[๘๑] พระยาโปริสาทเห็นเรามีอาวุธถืออยู่ในมือ บางทีจักสะดุ้งกลัว
แต่เพราะเมื่อเราทำความสะดุ้งกลัวต่อพระยาโปริสาท
ศีลของเราจะขาด
[๘๒] เพราะเรากลัวศีลจะขาด จึงไม่กล่าววาจาน่ารังเกียจ
แก่พระยาโปริสาทนั้น
เรามีเมตตาจิตกล่าวคำที่เป็นประโยชน์ว่า
[๘๓] “ท่านจงก่อไฟกองใหญ่ขึ้น เราจักโดดจากต้นไม้เข้ากองไฟ
ท่านปู่ ท่านรู้เวลาว่า เราสุกดีแล้วจงกินเถิด”
[๘๔] เราไม่ได้รักษาชีวิตของเราเพราะเหตุแห่งพระราชบิดาผู้ทรงศีล
และเราได้ให้พระยาโปริสาทผู้ฆ่าสัตว์เป็นปกติทุกเมื่อนั้น
บวชแล้ว ฉะนี้แล
ชยทิสจริยาที่ ๙ จบ

๑๐. สังขปาลจริยา
ว่าด้วยจริยาของสังขปาลนาคราช
[๘๕] อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลที่เราเป็นพญานาคนามว่าสังขปาละ
มีฤทธิ์มาก มีเขี้ยวเป็นอาวุธ มีพิษแรงกล้า
มีลิ้น ๒ แฉก
[๘๖] เราอยู่ที่หนทางใหญ่ ๔ แพร่ง คับคั่งไปด้วยชนต่าง ๆ
อธิษฐานองค์ ๔ ว่า
[๘๗] ผู้ใดกระทำกิจที่ควรทำด้วยอวัยวะนี้
คือผิว หนัง เนื้อ เอ็น หรือกระดูก
ผู้นั้นจงนำอวัยวะที่เราให้แล้วเท่านั้นไปเกิด
[๘๘] พวกบุตรของนายพรานเป็นคนดุร้าย หยาบช้า
ไม่มีความกรุณา ได้เห็นเราแล้ว
ถือไม้พลองตะบองสั้นกรูกันเข้ามาหาเรา ณ ที่นั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก [๒. หัตถินาควรรค] รวมจริยาที่มีในวรรค
[๘๙] พวกบุตรของนายพรานได้แทงที่จมูก
หางและกระดูกสันหลัง ยกใส่หาบแล้ว นำเราไป
[๙๐] ถ้าเราปรารถนา ก็พึงเผามหาปฐพีซึ่งมีสมุทรสาครเป็นที่สุด
พร้อมทั้งป่าทั้งภูเขาได้ด้วยลมจากจมูกในที่นั้น
[๙๑] แต่เราไม่โกรธเคืองพวกบุตรนายพราน
แม้จะแทงเราด้วยหลาว แม้จะทุบตีเราด้วยหอก
นี้เป็นศีลบารมีของเรา ฉะนี้แล
สังขปาลจริยาที่ ๑๐ จบ
หัตถินาควรรคที่ ๒ จบ

รวมจริยาที่มีในวรรคนี้คือ

๑. มาตุโปสกจริยา ๒. ภูริทัตตจริยา
๓. จัมเปยยจริยา ๔. จูฬโพธิจริยา
๕. มหิสราชจริยา ๖. รุรุราชจริยา
๗. มาตังคจริยา ๘. ธรรมเทวปุตตจริยา
๙. ชยทิสจริยา ๑๐. สังขปาลจริยา

จริยาทั้งหมดนี้เป็นกำลังของศีล เป็นบริขารเป็นข้ออ้างของศีล
เราตามรักษาศีลเพราะยังห่วงใยชีวิต
เราผู้เป็นสังขปาลนาคราชได้มอบชีวิตให้
แก่คนใดคนหนึ่ง แม้ตลอดกาลทุกเมื่อ
เพราะเหตุนั้น จริยานั้นจึงเป็นศีลบารมี ฉะนี้แล
นิทเทสแห่งศีลบารมี จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก [๓. ยุธัญชยวรรค] ๑. ยุธัญชยจริยา
๓. ยุธัญชยวรรค
หมวดว่าด้วยกุมารนามว่ายุธัญชัยเป็นต้น
๓. การบำเพ็ญบารมีมีเนกขัมมะเป็นต้น
๑. ยุธัญชยจริยา
ว่าด้วยพระจริยาของพระยุธัญชัยกุมาร
[๑] ในกาลที่เราเป็นพระราชโอรส
นามว่ายุธัญชัย มีบริวารยศหาประมาณมิได้
สลดใจเพราะได้เห็นหยาดน้ำค้างที่เหือดแห้งไปเพราะแสงดวงอาทิตย์
[๒] เราทำความเป็นอนิจจัง(ความไม่เที่ยง)นั้นแล
ให้เป็นสิ่งที่สำคัญ พอกพูนความสังเวช
ไหว้พระมารดาและพระบิดาแล้วทูลขอบรรพชา
[๓] พระมารดาและพระบิดาพร้อมทั้งชาวนิคมทั้งชาวแว่นแคว้น
ประนมมืออ้อนวอนเราว่า
วันนี้ เจ้าจงปกครองแผ่นดินอันกว้างใหญ่ไพศาลเถิดลูก
[๔] เมื่อมหาชนพร้อมทั้งพระบิดา นางสนม ชาวนิคม
และชาวแว่นแคว้น ร้องไห้ร่ำไรน่าเวทนายิ่งนัก
เราไม่ห่วงใย สละไปแล้ว
[๕] เราสละราชสมบัติในแผ่นดิน หมู่ญาติ บริวารชน
และยศศักดิ์ทั้งสิ้น ไม่คิดถึงเลย เพราะเหตุแห่งพระโพธิญาณเท่านั้น
[๖] พระมารดาและพระบิดาจะเป็นที่รังเกียจของเราก็หาไม่
ยศอันยิ่งใหญ่ จะเป็นที่รังเกียจของเราก็หาไม่
แต่เพราะพระสัพพัญญุตญาณเป็นที่รักของเรา
เพราะฉะนั้น เราจึงสละราชสมบัติ ฉะนี้แล
ยุธัญชยจริยาที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก [๓. ยุธัญชยวรรค] ๒. โสมนัสสจริยา
๒. โสมนัสสจริยา
ว่าด้วยพระจริยาของพระโสมนัสสกุมาร
[๗] อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลที่เราเป็นบุตรสุดที่รัก
พระมารดาและพระบิดารักใคร่ เอ็นดู ปรากฏนามว่าโสมนัส
อยู่ในกรุงอินทปัตถ์ที่อุดมสมบูรณ์
[๘] เป็นผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยคุณธรรม
มีกัลยาณธรรม มีปฏิภาณ เคารพนบนอบต่อบุคคลผู้เจริญ
มีหิริ และฉลาดในสังคหธรรม
[๙] ครั้งนั้น มีดาบสโกงผู้หนึ่ง
เป็นที่โปรดปรานของพระราชาพระองค์นั้น
ดาบสนั้นทำสวนและปลูกไม้ผล ไม้ดอก ไม้ประดับเลี้ยงชีวิต
[๑๐] เราได้เห็นดาบสโกงนั้น เหมือนกองแกลบที่ไม่มีข้าวสาร
เหมือนไม้เป็นโพรงข้างใน เหมือนต้นกล้วยหาแก่นมิได้
[๑๑] ดาบสโกงผู้นี้ ไม่มีธรรมของสัตบุรุษ
ปราศจากความเป็นสมณะ ละหิริและธรรมฝ่ายขาว
เพราะเหตุแห่งการเลี้ยงชีวิต
[๑๒] ปัจจันตชนบทกำเริบขึ้น เพราะโจรเที่ยวอยู่ในดง
พระบิดาของเรา เมื่อจะเสด็จไปปราบความกำเริบนั้น ตรัสสั่งเราว่า
[๑๓] พ่ออย่าประมาทในชฎิล ผู้มีตบะแก่กล้านะลูก
พ่อจงอนุวัตรตามความปรารถนา ด้วยว่าชฎิลนั้น
เป็นผู้ให้ความสำเร็จ ความปรารถนาทั้งปวง
[๑๔] เราไปสู่ที่บำรุงชฎิลนั้นแล้ว ได้กล่าวคำนี้ว่า
คหบดี ท่านสบายดีหรือ หรือว่าท่านจะให้นำอะไรมา
[๑๕] เหตุนั้น ดาบสโกงนั้นอาศัยมานะจึงโกรธเราว่า
เราจะให้พระราชาประหารท่านเสียในวันนี้
หรือจะให้เนรเทศเสียจากแว่นแคว้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก [๓. ยุธัญชยวรรค] ๒. โสมนัสสจริยา
[๑๖] พระราชาทรงปราบปรามปัจจันตชนบทสงบราบคาบแล้ว
ได้ตรัสถามชฎิลโกงว่า พระผู้เป็นเจ้าสบายดีหรือ
สักการสัมมานะยังเป็นไปแก่พระผู้เป็นเจ้าหรือ
[๑๗] ชฎิลชั่วนั้นกราบทูลพระราชา
โดยประการที่กุมารนั้นจะพึงถูกทำให้พินาศเสีย
พระเจ้าแผ่นดินทรงสดับคำของชฎิลโกงนั้น แล้วทรงบังคับว่า
[๑๘] จงตัดศีรษะเสียในที่นั้นนั่นแหละ
จงบั่นออกเป็น ๔ ท่อน ประจานไว้ที่ถนน
นั่นเป็นตัวอย่างที่เบียดเบียนชฎิล
[๑๙] พวกโจรฆาต(ผู้ฆ่าโจร)ผู้มีใจดุร้ายหยาบคาย
ไม่มีความกรุณาเหล่านั้น ผู้ได้รับพระราชโองการไปที่นั้น
เมื่อเรานั่งอยู่บนพระเพลาของพระมารดา ก็ฉุดคร่านำเราไป
[๒๐] เราได้กล่าวแก่เขาเหล่านั้น
ซึ่งกำลังผูกมัดอย่างมั่นคงนี้ว่า
ท่านทั้งหลายจงพาเราไปเฝ้าพระราชาโดยเร็ว ราชกิจของเรามีอยู่
[๒๑] เขาเหล่านั้น พาเราไปเฝ้าพระราชาผู้ชั่ว คบแต่คนชั่ว
เราไปเฝ้าพระราชาแล้ว
ทูลให้ทรงเข้าพระทัยและนำมาสู่อำนาจของเรา
[๒๒] พระบิดาขอให้เราอดโทษ ณ ที่นั้น
ได้พระราชทานสมบัติอันยิ่งใหญ่แก่เรา
เรานั้นทำลายความมืดมนแล้ว ออกบวชเป็นบรรพชิต
[๒๓] ราชสมบัติจะเป็นที่น่ารังเกียจของเราก็หาไม่
กามโภคะจะเป็นสิ่งที่เราพึงรังเกียจก็หาไม่
แต่เพราะพระสัพพัญญุตญาณเป็นที่รักของเรา
เพราะฉะนั้น เราจึงสละราชสมบัติ ฉะนี้แล
โสมนัสสจริยาที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก [๓. ยุธัญชยวรรค] ๓. อโยฆรจริยา
๓. อโยฆรจริยา
ว่าด้วยพระจริยาของพระอโยฆรราชกุมาร
[๒๔] อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลที่เราเป็นพระโอรสของพระเจ้ากาสี
เจริญวัยในเรือนเหล็ก จึงมีนามว่าอโยฆระ
[๒๕] พระบิดาตรัสว่า เจ้าได้ชีวิตมาอย่างลำบาก
ถูกเจ้านายเลี้ยงไว้ในที่แคบ ลูกเอ๋ย วันนี้จงปกครองแผ่นดินทั้งสิ้น
[๒๖] เราประนมมือไหว้กษัตริย์พร้อมทั้งชาวแว่นแคว้น
พร้อมทั้งชาวนิคม และบริวารชน แล้วได้กราบทูลดังนี้ว่า
[๒๗] บรรดาสัตว์ในแผ่นดิน ทั้งชั้นต่ำ ทั้งชั้นสูง
และปานกลาง สัตว์ทั้งหมดนั้นไม่มีอารักขา เจริญอยู่
ในเรือนของตนพร้อมด้วยหมู่ญาติของตน
[๒๘] การเลี้ยงดูข้าพระองค์ในที่คับแคบ
นี้เป็นความยอดเยี่ยมในโลก ข้าพระองค์เติบโตอยู่ในเรือนเหล็ก
เหมือนดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ที่ไม่มีแสงสว่าง
[๒๙] ข้าพระองค์ประสูติจากครรภ์พระมารดา
อันเต็มด้วยซากศพที่เน่าแล้ว ยังถูกขังไว้ในเรือนเหล็ก
ซึ่งมีทุกข์ร้ายกว่านั้นเสียอีก
[๓๐] ข้าพระองค์ได้รับความทุกข์ร้ายอย่างยิ่งเช่นนั้นแล้ว
ถ้ายังยินดีในราชสมบัติ ก็จะเป็นผู้เลวทรามที่สุด
แห่งคนที่เลวทรามทั้งหลายเสียอีก
[๓๑] ข้าพระองค์เป็นผู้เหนื่อยหน่ายทางกาย
ไม่ต้องการราชสมบัติ
ข้าพระองค์จะแสวงหาธรรมเครื่องดับทุกข์
ที่มัจจุราชย่ำยีข้าพระองค์ไม่ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก [๓. ยุธัญชยวรรค] ๔. ภิงสจริยา
[๓๒] เราคิดอย่างนี้แล้ว เมื่อมหาชนไม่เหนี่ยวรั้งไว้
ได้ตัดเครื่องผูกเสียแล้ว เข้าไปยังป่าใหญ่
เหมือนช้างทำลายปลอกหนีไปป่าใหญ่
[๓๓] พระมารดาและพระบิดาจะเป็นที่น่ารังเกียจสำหรับเราก็หาไม่
ยศศักดิ์อันยิ่งใหญ่จะเป็นที่น่ารังเกียจสำหรับเราก็หาไม่
แต่เพราะพระสัพพัญญุตญาณเป็นที่รักของเรา
เพราะฉะนั้น เราจึงสละราชสมบัติ ฉะนี้แล
อโยฆรจริยาที่ ๓ จบ

๔. ภิงสจริยา
ว่าด้วยจริยาของภิงสพราหมณ์
[๓๔] อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลที่เราอยู่ในกรุงกาสี
ซึ่งประเสริฐสุด มีน้องหญิงชาย ๗ คน
เกิดในตระกูลโสตถิยพราหมณ์
[๓๕] เราเป็นพี่ของน้องหญิงชายเหล่านั้น
ประกอบด้วยหิริและธรรมฝ่ายขาว
เราเห็นภพโดยความเป็นภัย
จึงยินดีอย่างยิ่งในการออกบวช
[๓๖] พวกสหายร่วมใจของเรา ที่มารดาและบิดาส่งมาแล้ว
เชื้อเชิญเราด้วยกามทั้งหลายว่า เชิญท่านดำรงสกุลเถิด
[๓๗] คำใดที่สหายเหล่านั้นกล่าวแล้ว
เป็นเครื่องนำสุขมาให้ในธรรมของคฤหัสถ์
คำนั้นเป็นเหมือนคำหยาบ เสมอด้วยผาลไถที่ร้อนสำหรับเรา
[๓๘] ครั้งนั้น เราปฏิเสธอยู่
สหายเหล่านั้นได้ถามถึงความปรารถนาของเราว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก [๓. ยุธัญชยวรรค] ๕. โสณนันทปัณฑิตจริยา
ท่านปรารถนาอะไรเล่าเพื่อน
ถ้าท่านไม่บริโภคกาม
[๓๙] เราผู้ใคร่ประโยชน์แก่ตน ได้กล่าวแก่สหาย
ผู้แสวงหาประโยชน์เหล่านั้นว่า
เราไม่ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์
เรายินดีอย่างยิ่งในการออกบวช
[๔๐] สหายเหล่านั้นฟังคำเราแล้ว
ได้บอกแก่มารดาและบิดา
มารดาและบิดาได้กล่าวอย่างนี้ว่า
พ่อผู้เจริญ แม้เราทั้ง ๒ ก็จะบวช
[๔๑] มารดาและบิดาของเราทั้ง ๒
และน้องหญิงชายทั้ง ๗ ของเรา
ละทิ้งทรัพย์นับไม่ถ้วน
แล้วเข้าไปยังป่าใหญ่ ฉะนี้แล
ภิงสจริยาที่ ๔ จบ

๕. โสณนันทปัณฑิตจริยา
ว่าด้วยจริยาของโสณนันทบัณฑิต
[๔๒] อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลที่เราเกิดในตระกูลมหาศาล
ซึ่งประเสริฐสุด อยู่ในกรุงพรหมวัทธนะ
[๔๓] ครั้งนั้น เราเห็นสัตว์โลกเป็นผู้บอดถูกความมืดครอบงำ
จิตของเราเบื่อหน่ายจากภพ
เหมือนช้างที่ถูกสับด้วยกำลังขอมีความสลดใจ
[๔๔] เราเห็นความชั่วต่าง ๆ จึงคิดอย่างนี้ ในกาลนั้นว่า
เมื่อไร เราจึงจะออกไปจากเรือนแล้วเข้าป่าใหญ่ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก [๓. ยุธัญชยวรรค] ๖. มูคปักขจริยา
[๔๕] แม้ครั้งนั้น พวกญาติก็เชื้อเชิญเราด้วยกามโภคะทั้งหลาย
เราได้บอกความพอใจแม้แก่เขาเหล่านั้นว่า
อย่าเชื้อเชิญเราด้วยสิ่งเหล่านั้นเลย
[๔๖] น้องชายของเราเป็นบัณฑิตชื่อว่านันทะ
แม้เขาก็คล้อยตามเรา ชอบใจการบรรพชา
[๔๗] แม้ครั้งนั้น เราคือโสณบัณฑิต นันทบัณฑิต
มารดาและบิดาทั้ง ๒ ของเรา
ก็ละทิ้งโภคะทั้งหลายแล้วเข้าป่าใหญ่ ฉะนี้แล
โสณนันทบัณฑิตจริยาที่ ๕ จบ

๖. มูคปักขจริยา
ว่าด้วยพระจริยาของพระมูคปักขกุมาร
[๔๘] อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลที่เราเป็นพระโอรสของพระเจ้ากาสี
ชนทั้งหลายเรียกเราโดยชื่อว่ามูคปักขกุมารบ้าง เตมิยกุมารบ้าง
[๔๙] ครั้งนั้น นางสนมกำนัล ๑๖,๐๐๐ นาง ไม่มีพระราชโอรส
โดยวันคืนล่วงไป ๆ เราเกิดขึ้นเพียงผู้เดียว
[๕๐] พระราชบิดารับสั่งให้กั้นเศวตฉัตร
ให้เลี้ยงดูเราผู้เป็นบุตรสุดที่รักซึ่งได้โดยยาก
เป็นอภิชาตบุตร ทรงไว้ซึ่งความรุ่งเรือง บนที่นอน
[๕๑] ครั้งนั้น เรานอนหลับอยู่บนที่นอนอันอ่อนนุ่ม
ตื่นขึ้นแล้วได้เห็นเศวตฉัตร ซึ่งเป็นเหตุให้เราตกนรก
[๕๒] ความสะดุ้งหวาดกลัว เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
พร้อมกับได้เห็นเศวตฉัตร เราถึงความตัดสินใจว่า
เมื่อไรหนอ เราจึงจะเปลื้องราชสมบัตินี้ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก [๓. ยุธัญชยวรรค] ๖. มูคปักขจริยา
[๕๓] เทวดาผู้เป็นสาโลหิตของเรามาก่อน
ผู้ใคร่ประโยชน์ต่อเรา เห็นเราประสบทุกข์
จึงแนะนำเราให้ประกอบในเหตุ ๓ ประการว่า
[๕๔] ท่านจงอย่าแสดงความเป็นบัณฑิต
จงแสดงความเป็นคนโง่แก่ชนทั้งปวง
ชนทั้งหมดก็จะดูหมิ่นท่าน
ประโยชน์จักสำเร็จแก่ท่านด้วยอาการอย่างนี้
[๕๕] เมื่อเทวดากล่าวอย่างนี้แล้ว เราได้กล่าวดังนี้ว่า
เทวดา ข้าพเจ้าจะทำตามคำที่ท่านกล่าวกับเรา
ท่านเป็นผู้ปรารถนาประโยชน์
เป็นผู้ใคร่ความเกื้อกูลแก่เรา
[๕๖] ครั้นเราได้ฟังคำของเทวดานั้นแล้ว
เหมือนได้พบฝั่งในสาคร ร่าเริง ตื้นตันใจ
ได้อธิษฐานองค์ ๓ ประการ
[๕๗] คือ เราเป็นคนใบ้ เป็นคนหูหนวก
เป็นคนง่อยเปลี้ย เว้นจากคติ
เราอธิษฐานองค์ ๓ ประการนี้อยู่ ๑๖ ปี
[๕๘] ครั้งนั้น เสนาบดีเป็นต้นตรวจดูมือเท้าลิ้นและช่องหูของเราแล้ว
เห็นความไม่บกพร่องของเราก็ติเตียนว่า เป็นคนกาลกิณี
[๕๙] แต่นั้น ชาวชนบท เสนาบดี และปุโรหิตทั้งปวง
ร่วมใจกันทั้งหมด ดีใจการที่รับสั่งให้นำไปทิ้ง
[๖๐] เรานั้นได้ฟังความประสงค์ของเสนาบดีเป็นต้นนั้นแล้ว
ร่าเริง ตื้นตันใจว่า เราประพฤติตบะมาเพื่อประโยชน์ใด
ประโยชน์นั้นสำเร็จแล้วแก่เรา
[๖๑] ราชบุรุษทั้งหลายอาบน้ำให้เรา
ไล้ทาด้วยของหอม สวมราชมงกุฎราชาภิเษกแล้ว
ให้กั้นเศวตฉัตรทำประทักษิณนคร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก [๓. ยุธัญชยวรรค] ๗. กปิลราชจริยา
[๖๒] ให้กั้นไว้ ๗ วัน พอดวงอาทิตย์อุทัย
นายสารถีก็อุ้มเราขึ้นรถ เข้าไปยังป่า
[๖๓] นายสารถีหยุดรถไว้ ณ โอกาสหนึ่ง
ปล่อยรถเทียมม้าพ้นมือก็ขุดหลุมเพื่อจะฝังเราเสียในแผ่นดิน
[๖๔] พระมหากษัตริย์ทรงคุกคามการอธิษฐาน
ที่เราอธิษฐานไว้ด้วยเหตุต่าง ๆ
แต่เราก็ไม่ทำลายการอธิษฐานนั้นเด็ดขาด
เพราะเหตุแห่งพระโพธิญาณเท่านั้น
[๖๕] พระมารดาและพระบิดาจะเป็นที่น่ารังเกียจสำหรับเราก็หาไม่
ตนของเราจะเป็นที่น่ารังเกียจก็หาไม่
แต่เพราะพระสัพพัญญุตญาณเป็นที่รักของเรา
เพราะฉะนั้น เราจึงอธิษฐานองค์ ๓ ประการนี้
[๖๖] เราอธิษฐานองค์ ๓ ประการนี้อยู่ ๑๖ ปี
บุคคลมีอธิษฐานเสมอเราไม่มี
นี้เป็นอธิษฐานบารมีของเรา ฉะนี้แล
มูคปักขจริยาที่ ๖ จบ

๗. กปิลราชจริยา
ว่าด้วยจริยาของพญาวานร
[๖๗] ในกาลที่เราเป็นพญาวานร อยู่ ณ ซอกภูเขาใกล้ฝั่งแม่น้ำ
ครั้งนั้น เราถูกจระเข้เบียดเบียนไปไหนไม่ได้
[๖๘] เรายืนอยู่ ณ โอกาสใด โดดจากฝั่งนี้ไปฝั่งโน้น
จระเข้เป็นสัตว์ดุร้าย แสดงความน่ากลัวอยู่ ณ โอกาสนั้น
[๖๙] จระเข้นั้นกล่าวกับเราว่า “มาเถิด”
แม้เราก็กล่าวกับจระเข้นั้นว่า “แม้เราก็จะไป” ดังนี้
โดดลงเหยียบศีรษะจระเข้นั้นแล้ว ไปยืนอยู่ที่ฝั่งโน้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก [๓. ยุธัญชยวรรค] ๙. วัฏฏกโปตกจริยา
[๗๐] เรามิได้ทำตามคำของจระเข้ที่กล่าวหลอกลวงนั้นก็หาไม่
บุคคลมีสัจจะเสมอเราไม่มี นี้เป็นสัจจบารมีของเรา ฉะนี้แล
กปิลราชจริยาที่ ๗ จบ

๘. สัจจสวหยปัณฑิตจริยา
ว่าด้วยจริยาของดาบสผู้เป็นบัณฑิตชื่อว่าสัจจะ
[๗๑] อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลที่เราเป็นดาบสนามว่าสัจจะ
เรารักษาสัตว์โลกไว้ด้วยคำสัจ ได้ทำหมู่ชนให้สามัคคีกัน ฉะนี้แล
สัจจสวหยปัณฑิตจริยาที่ ๘ จบ

๙. วัฏฏกโปตกจริยา
ว่าด้วยจริยาของลูกนกคุ่ม
[๗๒] อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลที่เราเป็นลูกนกคุ่ม ยังอ่อน
ขนยังไม่งอก เป็นดังชิ้นเนื้อ อยู่ในรัง ในมคธชนบท
[๗๓] มารดาเอาจะงอยปากคาบเหยื่อมาเลี้ยงเรา
เราเป็นอยู่ด้วยผัสสะของมารดา
กำลังกายของเรายังไม่มี
[๗๔] ในฤดูร้อนทุก ๆ ปี มีไฟป่าไหม้ลุกลามมา
ไฟป่าเป็นทางดำลุกลามมาใกล้เรา
[๗๕] ไฟกำลังไหม้ มีเปลวโชติช่วง ส่งเสียงดัง
อื้ออึง ลามมาใกล้เราโดยลำดับ
[๗๖] มารดาและบิดาของเราตกใจ สะดุ้งกลัว
เพราะกลัวไฟที่ไหม้มาโดยเร็ว
จึงทิ้งเราไว้ในรังหนีเอาตัวรอดไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก [๓. ยุธัญชยวรรค] ๑๐. มัจฉราชจริยา
[๗๗] เราเหยียดเท้า กางปีกออกรู้ว่า กำลังกายของเราไม่มี
เรานั้นไปไม่ได้ อยู่ในรังนั่นเอง จึงคิดอย่างนี้ในกาลนั้นว่า
[๗๘] เมื่อก่อนเราสะดุ้งหวาดหวั่น
พึงเข้าไปซ่อนตัวอยู่ในระหว่างปีกของมารดาและบิดา
บัดนี้ มารดาและบิดาทิ้งเราหนีไปเสียแล้ว
วันนี้เราจะทำอย่างไร
[๗๙] ศีลคุณ ความสัตย์ ความสะอาด
และความเอ็นดู ยังมีอยู่ในโลก
ด้วยความสัตย์นั้น เราจักทำสัจจกิริยาอันยอดเยี่ยม
[๘๐] เราระลึกถึงพระพุทธเจ้า ผู้พิชิตมารซึ่งมีในก่อน
คำนึงถึงกำลังพระธรรม ได้กระทำสัจจกิริยา
เพื่อฝนคือกำลังความสัตย์ว่า
[๘๑] ปีกของเรามีอยู่ แต่ขนไม่มี เท้าของเรามีอยู่
แต่ยังเดินไม่ได้ มารดาและบิดาก็พากันบินออกไปแล้ว
แน่ะไฟจงกลับไป(จงดับไปเสีย)
[๘๒] พร้อมกับเมื่อเราทำสัจจกิริยา
เปลวไฟที่ลุกโชติช่วงเว้นที่ไว้ ๑๖ กรีส๑
เหมือนเปลวไฟที่จุ่มน้ำ บุคคลมีสัจจะเสมอเราไม่มี
นี้เป็นสัจจบารมีของเรา ฉะนี้แล
วัฏฏกโปตกจริยาที่ ๙ จบ

๑๐. มัจฉราชจริยา
ว่าด้วยจริยาของพญาปลา
[๘๓] อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลที่เราเป็นพญาปลาอยู่ในสระใหญ่
น้ำในสระแห้งขอด เพราะแสงดวงอาทิตย์ในฤดูร้อน

เชิงอรรถ :
๑ กรีส หมายถึงมาตรานับ ๑ กรีสเท่ากับ ๑๒๕ ศอก (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตย์ ๒๕๒๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก [๓. ยุธัญชยวรรค] ๑๐. มัจฉราชจริยา
[๘๔] ทีนั้น นกกา นกแร้ง นกกระสา นกตะกรุม และเหยี่ยว
มาคอยจับปลากินทั้งกลางวันและกลางคืน
[๘๕] ครั้งนั้น เรากับหมู่ญาติถูกเบียดเบียนจึงคิดอย่างนี้ว่า
โดยอุบายอะไรหนอ หมู่ญาติจะพึงพ้นทุกข์ได้
[๘๖] เราคิดถึงเหตุและผลแล้ว
ได้เห็นสัจจะว่าเป็นที่พึ่งได้
จึงตั้งอยู่ในความสัตย์แล้ว
เปลื้องความพินาศใหญ่ของหมู่ญาตินั้นได้
[๘๗] เราระลึกธรรมของสัตบุรุษ คิดถึงปรมัตถธรรม
ได้กระทำสัจจกิริยา
ซึ่งเป็นธรรมอันยั่งยืนเที่ยงแท้ในโลก
[๘๘] ตั้งแต่เราจำความได้ ตั้งแต่เรารู้เดียงสาได้มาจนถึงบัดนี้
เราไม่รู้สึกว่าจงใจเบียดเบียนสัตว์แม้ตัวหนึ่งเลย
[๘๙] ด้วยสัจจวาจานี้ ขอเมฆจงทำฝนห่าใหญ่ให้ตก
แน่ะเมฆ ท่านจงคำราม
จงทำขุมทรัพย์ของกาให้พินาศไป
ท่านจงทำกาให้ตรอมตรมด้วยความโศก
จงปลดเปลื้องฝูงปลาจากความโศก
[๙๐] พร้อมกับเมื่อเราทำสัจจะอันประเสริฐ
เมฆส่งเสียงสนั่นครั่นครืน ทำฝนให้ตก
ครู่เดียว ก็เต็มเปี่ยมทั้งที่ดอนและที่ลุ่ม
[๙๑] ครั้นเราทำสัจจะอันประเสริฐเห็นปานนี้
อันเป็นความเพียรอันสูงสุด อาศัยกำลังเดชความสัตย์
บรรดาลฝนห่าใหญ่ให้ตก บุคคลมีสัจจะเสมอเราไม่มี
นี้เป็นสัจจบารมีของเรา ฉะนี้แล
มัจฉราชจริยาที่ ๑๐ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก [๓. ยุธัญชยวรรค] ๑๑. กัณหทีปายนจริยา
๑๑. กัณหทีปายนจริยา
ว่าด้วยจริยาของกัณหทีปายนดาบส
[๙๒] อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลที่เราเป็นฤาษีนามว่ากัณหทีปายนะ
เราไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์เกินกว่า ๕๐ ปี
[๙๓] ใคร ๆ จะรู้ใจเราที่ไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์นั้นหามิได้
แม้เราก็ไม่บอกแก่ใคร ๆ ว่า ความไม่ยินดี
และความยินดีมีในใจของเรา
[๙๔] สหายเพื่อนพรหมจารีของเราชื่อว่ามัณฑัพยะ
เป็นฤๅษีมีอานุภาพมาก
ประกอบด้วยบุพกรรม(กรรมเก่าให้ผล)
ถูกหลาวเสียบ
[๙๕] เราช่วยเหลือพยาบาลมัณฑัพยดาบสนั้นให้หายโรคแล้ว
ได้อำลากลับมายังอาศรมของเราเอง
[๙๖] พราหมณ์ผู้เป็นสหายของเรา ได้พาภริยาและบุตร
ทั้ง ๓ คนพร้อมใจกันเป็นแขกของเรา
[๙๗] เรานั่งเจรจาปราศรัยกับสหาย
และภรรยาของเขาอยู่ในอาศรมของตน
เด็กโยนลูกข่างเล่นอยู่ ทำให้อสรพิษโกรธแล้ว
[๙๘] ทีนั้น เด็กนั้นใช้มือควานหาตามทางที่ลูกข่างหมุนไป
มือไปถูกหัวอสรพิษเข้า
[๙๙] พอไปถูกหัวของมัน งูก็โกรธ
มันเคืองจนเหลือจะอดกลั้นอาศัยกำลังพิษ ได้กัดเด็กทันที

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก [๓. ยุธัญชยวรรค] ๑๒. สุตโสมจริยา
[๑๐๐] เด็กถูกงูมีพิษกล้ากัด ล้มลงที่พื้นดิน
เหตุนั้น เราเป็นผู้ได้รับทุกข์
หรือว่าทุกข์นั้นเนื่องจากเรา
[๑๐๑] เราได้ปลอบมารดาและบิดาของเด็กนั้น
ผู้มีทุกข์เศร้าโศกให้เบาใจแล้ว
ได้ทำสัจจกิริยาอันประเสริฐสุดครั้งแรกว่า
[๑๐๒] เราผู้ต้องการบุญ ได้ประพฤติพรหมจรรย์
มีจิตเลื่อมใสอยู่เพียง ๗ วันเท่านั้น
ต่อจากนั้น การประพฤติของเรามีมาเกิน ๕๐ ปีนี้
[๑๐๓] เราไม่ปรารถนาเลย แต่ก็ยังประพฤติอยู่
ด้วยสัจจะนี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่เด็กนี้
พิษจงระงับ ยัญญทัตตกุมารจงเป็นอยู่เถิด
[๑๐๔] พร้อมกับเมื่อเราทำสัจจกิริยา
มาณพซึ่งสั่นเทาด้วยกำลังพิษ
ก็รู้สึกตัว ลุกขึ้นได้ และหายโรค
บุคคลมีสัจจะเสมอเราไม่มี
นี้เป็นสัจจบารมีของเรา ฉะนี้แล
กัณหทีปายนจริยาที่ ๑๑ จบ

๑๒. สุตโสมจริยา
ว่าด้วยจริยาของพระเจ้าสุตโสม
[๑๐๕] อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลที่เราเป็นพระเจ้าแผ่นดินนามว่าสุตโสม
ถูกพระยาโปริสาทจับตัวไปได้
ระลึกถึงคำผัดเพี้ยนไว้กะพราหมณ์(โปริสาท)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก [๓. ยุธัญชยวรรค] ๑๓. สุวัณณสามจริยา
[๑๐๖] พระยาโปริสาทใช้เชือกร้อยฝ่ามือกษัตริย์ ๑๐๑ พระองค์ไว้แล้ว
ทำกษัตริย์เหล่านั้นให้เมื่อยล้าแล้ว
เมื่อต้องการจะทำพลีกรรมให้สำเร็จจึงนำเราเข้าไป
[๑๐๗] พระยาโปริสาทได้ถามเราว่า
ท่านปรารถนาจะให้ปล่อยหรือ
ถ้าท่านจะกลับมาหาเรา
เราจักทำตามใจชอบของท่าน
[๑๐๘] เรารับคำพระยาโปริสาทนั้นว่า
การกลับมาของเรามีปัญญาหรือ
แล้วเข้าไปยังนครที่น่ารื่นรมย์
มอบราชสมบัติแล้ว ในกาลนั้น
[๑๐๙] เพราะเราระลึกถึงธรรมของสัตบุรุษ เป็นของเก่า
อันพระชินเจ้าเป็นต้นเสพแล้ว
ให้ทรัพย์แก่พราหมณ์แล้ว
จึงเข้าไปหาพระยาโปริสาท
[๑๑๐] ในการกลับมายังสำนักของพระยาโปริสาทนั้น
เราไม่มีความสงสัยว่าจักถูกฆ่าหรือไม่
เราตามรักษาสัจจวาจา ยอมสละชีวิตเข้าไปหาพระยาโปริสาท
บุคคลมีสัจจะเสมอเราไม่มี นี้เป็นสัจจบารมีของเรา ฉะนี้แล
สุตโสมจริยาที่ ๑๒ จบ

๑๓. สุวัณณสามจริยา
ว่าด้วยจริยาของพระสุวรรณสามดาบส
[๑๑๑] ในกาลที่เราเป็นดาบสชื่อสามะ ถูกท้าวสักกะเชื้อเชิญมาอยู่ในป่า
เรากับราชสีห์และเสือโคร่งในป่าใหญ่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก [๓. ยุธัญชยวรรค] ๑๔. เอกราชจริยา
ต่างน้อมเมตตาเข้าหากัน
(เราเข้าใกล้ราชสีห์และเสือโคร่งในป่าใหญ่ได้ด้วยเมตตา)
[๑๑๒] เราแวดล้อมด้วยราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง
หมี กระบือ เนื้อฟาน และหมูป่า อยู่ในป่าใหญ่
[๑๑๓] สัตว์อะไร ๆ มิได้สะดุ้งกลัวเรา
แม้เราก็มิได้กลัวสัตว์อะไร ๆ
เพราะเรามีกำลังเมตตาค้ำจุน
จึงยินดีอยู่ในป่า ในกาลนั้น ฉะนี้แล
สุวัณณสามจริยาที่ ๑๓ จบ

๑๔. เอกราชจริยา
ว่าด้วยพระจริยาของพระเจ้าเอกราช
[๑๑๔] อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลที่เราเป็นพระราชา
ปรากฏนามว่าเอกราช ครั้งนั้น เราอธิษฐานศีลที่บริสุทธิ์ยิ่ง
ปกครองแผ่นดินใหญ่
[๑๑๕] สมาทานกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ
ประพฤติโดยไม่มีเศษ
สงเคราะห์มหาชนด้วยสังคหวัตถุ ๔ ประการ๑
[๑๑๖] เมื่อเราเป็นผู้ไม่ประมาทประโยชน์ในโลกนี้
และประโยชน์ในโลกหน้า ด้วยอาการอย่างนี้
พระเจ้าโกศลพระนามว่าทัพพเสน มาชิงเอานครของเราไป
[๑๑๗] ทรงทำข้าราชการ ชาวนิคม พร้อมด้วยทหาร ชาวชนบท
ให้อยู่ในเงื้อมพระหัตถ์หมดแล้ว ตรัสสั่งให้ฝังเราเสียในหลุม

เชิงอรรถ :
๑ ดู สังคหวัตถุ ๔ ประการ คือ (๑) ทาน (๒) เปยยวัชชะ (๓) อัตถจริยา (๔) สมานัตตตา (ที.ปา. (แปล)
๑๑/๓๑๓/๒๙๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก [๓. ยุธัญชยวรรค] รวมจริยาที่มีในวรรคนี้
[๑๑๘] เราเห็นหมู่อำมาตย์ที่แย่งชิงราชสมบัติ
ที่มั่งคั่งภายในนครเราไป เหมือนบุตรที่รัก
บุคคลมีเมตตาเสมอเราไม่มี
นี้เป็นเมตตาบารมีของเรา ฉะนี้แล
เอกราชจริยาที่ ๑๔ จบ

๑๕. มหาโลมหังสจริยา
ว่าด้วยจริยาของมหาโลมหังสบัณฑิต
[๑๑๙] เรานอนอยู่ในป่าช้า เอาซากศพซึ่งมีแต่กระดูกทำเป็นหมอนหนุน
เด็กชาวบ้านพวกหนึ่ง พากันแสดงอาการหยาบช้าร้ายกาจนานัปการ
[๑๒๐] อีกพวกหนึ่งร่าเริงดีใจ พากันนำของหอม ดอกไม้ อาหาร
และเครื่องบรรณาการต่าง ๆ เป็นอันมากมาให้เรา
[๑๒๑] พวกใดนำทุกข์มาให้เรา และพวกใดนำสุขมาให้เรา
เราเป็นผู้เสมอแก่เขาทั้งหมด ไม่มีความเอ็นดู ไม่มีความโกรธ
[๑๒๒] เราเป็นผู้วางเฉยในสุขและทุกข์ ในยศและความเสื่อมยศ
เป็นผู้เสมอในสิ่งทั้งปวง
นี้เป็นอุเบกขาบารมีของเรา ฉะนี้แล
มหาโลมหังสจริยาที่ ๑๕ จบ
ยุธัญชยวรรคที่ ๓ จบ

รวมจริยาที่มีในวรรคนี้คือ
เราผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ได้ประพฤติจริยาดังนี้ คือ
๑. ยุธัญชยจริยา ๒. โสมนัสสจริยา
๓. อโยฆรจริยา ๔. ภิงสจริยา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๗๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก [๓. ยุธัญชยวรรค] รวมจริยาที่มีในวรรคนี้

๕. โสณนันทปัณฑิตจริยา ๖. มูคปักขจริยา
๗. กปิลราชจริยา ๘. สัจจสวหยปัณฑิตจริยา
๙. วัฏฏกโปตกจริยา ๑๐. มัจฉราชจริยา
๑๑. กัณหทีปายนจริยา ๑๒. สุตโสมจริยา
๑๓. สุวัณณสามจริยา ๑๔. เอกราชจริยา
๑๕. มหาโลมหังสจริยา

ได้เสวยทุกข์และสมบัติมากมายหลายอย่าง
เราได้ให้ทานที่ควรให้ บำเพ็ญศีลโดยหาเศษมิได้
ถึงเนกขัมมบารมีแล้ว จึงบรรลุสัมโพธิญาณอันสูงสุด
เราสอบถามบัณฑิตทั้งหลาย ทำความเพียรอย่างอุกฤษฏ์
ถึงขันติบารมีแล้ว จึงบรรลุสัมโพธิญาณอันสูงสุด
เรากระทำอธิษฐานอย่างมั่นคง ตามรักษาสัจจวาจา
ถึงเมตตาบารมีแล้ว จึงบรรลุสัมโพธิญาณอันสูงสุด
เราเป็นผู้มีจิตเสมอในลาภและความเสื่อมลาภ
ในยศและความเสื่อมยศ ในความนับถือและการดูหมิ่นทั้งปวงแล้ว
จึงบรรลุสัมโพธิญาณอันสูงสุด
ท่านทั้งหลายจงเห็นความเกียจคร้านโดยความเป็นภัย
และเห็นการทำความเพียรโดยเป็นทางเกษม
แล้วจงปรารภความเพียรเถิด
นี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ท่านทั้งหลายจงเห็นความวิวาทโดยความเป็นภัย
และเห็นความไม่วิวาทโดยเป็นทางเกษม
แล้วจงกล่าววาจาอ่อนหวานอันสมัครสมานกันเถิด
นี้เป็นคำสั่งของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก [๓. ยุธัญชยวรรค] สโมธานกถา
ท่านทั้งหลายจงเห็นความประมาทโดยความเป็นภัย
และเห็นความไม่ประมาทโดยเป็นทางเกษมแล้ว
จงเจริญมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการเถิด
นี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
นิเทสแห่งเนกขัมมบารมีเป็นต้น จบ
ทราบว่าพระผู้มีพระภาค เมื่อจะทรงยกย่องบุพจริยา
ของพระองค์ จึงได้ตรัสธรรมปริยายชื่อพุทธาปทานีย์
ด้วยประการฉะนี้แล

สโมธานกถา
สรุปการบำเพ็ญบารมี ๓๐
พระผู้มีพระภาคผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ได้ตรัสไว้ดังนี้ว่า
“การบำเพ็ญบารมีอันเป็นธรรมเครื่องบ่มพระโพธิญาณเหล่านี้
จัดเป็นบารมี ๑๐ อุปบารมี ๑๐ และปรมัตถบารมี ๑๐
คือ การบำเพ็ญทานในภพที่เป็นพระเจ้าสิวิราช
ผู้ประเสริฐเป็นทานบารมี ๑
ในภพที่เราเป็นเวสสันดรและเวลามพราหมณ์เป็นทานอุปบารมี ๒
ในภพที่เราเป็นอกิตติดาบสอดอาหารนั้น เป็นทานอุปบารมี
ในภพที่เราเป็นพญาไก่ป่า สีลวนาคและพญากระต่าย
เป็นทานปรมัตถบารมี ๓
ในภพที่เราเป็นพญาวานร ช้างฉัททันต์และช้างเลี้ยงมารดา
เป็นศีลบารมี” ๔
การรักษาศีลในภพที่เราเป็นจัมเปยยนาคราช
และภูริทัตตนาคราชเป็นศีลอุปบารมี ๕
ในภพที่เราเป็นสังขปาลบัณฑิตเป็นศีลปรมัตถบารมี ๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก [๓. ยุธัญชยวรรค] สโมธานกถา
ในภพที่เราเป็นยุธัญชัยกุมาร มหาโควินทพราหมณ์ คนเลี้ยงช้าง
อโยฆรราชโอรส ภัลลาติ สุวรรณสาม มฆเทพ
และเนมิราช บารมีเหล่านี้เป็นอุปบารมี
ในภพที่เราเป็นมโหสถ ผู้เป็นทรัพย์ของรัฐ กุณฑล ตัณฑิละ
และนกกระทา บารมีเหล่านี้เป็นปัญญาอุปบารมี ๗
ในภพที่เราเป็นวิธูรบัณฑิตและสุริยพราหมณ์ มาตังคพราหมณ์
ผู้เป็นศิษย์เก่าของอาจารย์ บารมีทั้ง ๒ นี้ เป็นปัญญาบารมี ๘
ในภพที่เราเป็นพระราชาผู้มีศีล มีความเพียร
เป็นผู้ก่อเกิดสัตตุภัสตชาดก บารมีนี้แลเป็นปัญญาปรมัตถบารมี ๙
ในภพที่เราเป็นพระราชา ผู้มีความบากบั่น
เป็นวิริยปรมัตถบารมี ๑๐
ในภพที่เราเป็นธรรมปาลกุมารเป็นขันติบารมี ๑๒
ในภพที่เราเป็นธรรมิกเทพบุตร
ทำสงครามกับอธรรมิกเทพบุตร
เรียกว่าขันติอุปบารมี ๑๓
ในภพที่เราเป็นขันติวาทีดาบสแสวงหาพุทธภูมิ
ด้วยการบำเพ็ญขันติบารมี
ได้ทำกรรมที่ทำได้ยากเป็นอันมาก นี้เป็นขันติปรมัตถบารมี ๑๔
ในภพที่เราเป็นสสบัณฑิต นกคุ่ม ซึ่งประกาศคุณสัจจะ
ทำไฟให้ดับด้วยสัจจะ นี้เป็นสัจจบารมี ๑๕
ในภพที่เราเป็นปลาอยู่ในน้ำ ได้ทำสัจจะอย่างสูง
ทำฝนให้ตกห่าใหญ่ นี้เป็นสัจจบารมีของเรา
ในภพที่เราเป็นสุปารบัณฑิตผู้เป็นนักปราชญ์
ยังเรือให้ข้ามสมุทรจนถึงฝั่งด้วยสัจจะ
เป็นกัณหทีปายนดาบส ระงับพิษได้ด้วยสัจจะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก [๓. ยุธัญชยวรรค] สโมธานกถา
และเป็นวานรข้ามกระแสแม่น้ำคงคาได้ด้วยสัจจะ
นี้เป็นบารมีของพระศาสดา บารมีนั้นเป็นอุปปารมี ๑๖
ในภพที่เป็นสุตโสมราชา รักษาสัจจะอย่างสูง
ช่วยปล่อยกษัตริย์ ๑๐๑ นี้เป็นสัจจปรมัตถบารมี ๑๗
อะไรที่จะเป็นความพอใจไปกว่าอธิษฐาน นี้เป็นอธิษฐานบารมี ๑๘
ในภพที่เราเป็นมาตังคชฎิลและช้างมาตังคะ
นี้เป็นอธิษฐานอุปบารมี ๑๙
ในภพที่เราเป็นมูคปักขกุมารเป็นอธิษฐานปรมัตถบารมี ๒๐
ในภพที่เราเป็นมหากัณหฤๅษีและพระเจ้าโสธนะ
และบารมี ๒ อย่างคือ
ในภพที่เราเป็นพระเจ้าพรหมทัตต์และคัณฑิติณฑกะ
ที่กล่าวมาแล้วเป็นเมตตาบารมี ๒๑
ในภพที่เราเป็นโสณนันทบัณฑิตผู้ทำความรัก
บารมีเหล่านั้นเป็นเมตตาอุปบารมี ๒๒
ในภพที่เราเป็นพระเจ้าเอกราช เป็นบารมีไม่มีของผู้อื่นเหมือน
นี้เป็นเมตตาปรมัตถบารมี ๒๓
ในภพที่เราเป็นนกแขกเต้า ๒ ครั้ง เป็นอุเบกขาบารมี ๒๔
ในภพที่เราเป็นโลมหังสบัณฑิต เป็นอุเบกขาปรมัตถบารมี ๒๖
บารมีของเรา ๑๐ ประการนี้ เป็นส่วนแห่งพระโพธิญาณอันเลิศ
บารมีที่เกินกว่า ๑๐ ไม่มี และบารมีที่หย่อนกว่า ๑๐ ก็ไม่มี
เราบำเพ็ญบารมีทุกอย่าง ไม่ยิ่งไม่หย่อน
เป็นบารมี ๑๐ ประการฉะนี้แล
สโมธานกถา จบ
จริยาปิฎก จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๗๘ }


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ สุตตันตปิฎกที่ ๒๕ ขุททกนิกาย
อปทาน ภาค ๒ พุทธวงศ์ จริยาปิฎก จบ





eXTReMe Tracker