ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ



จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อความสะดวก และสวยงาม
(เฉพาะหน้าจอใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์)
กรุณาคลิก จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อให้กรอบ
ค้นข้อความ ปรากฎที่ด้านซ้ายของหน้า

พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓-๑ สุตตันตปิฎกที่ ๒๕ ขุททกนิกาย
อปทาน ภาค ๒ พุทธวงศ์ จริยาปิฎก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๒. ภัททาลิวรรค] ๑. ภัททาลิเถราปทาน

พระสุตตันตปิฎก
ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๔๒. ภัททาลิวรรค
หมวดว่าด้วยพระภัททาลิเป็นต้น
๑. ภัททาลิเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระภัททาลิเถระ

(พระภัททาลิเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑] พระพุทธเจ้าพระนามว่าสุเมธะ ผู้เลิศ
ผู้ทรงเปี่ยมด้วยพระกรุณา ทรงเป็นผู้เลิศในโลก
ทรงเป็นมุนี เมื่อประสงค์วิเวก๑
จึงได้เสด็จไปยังภูเขาหิมพานต์
[๒] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสุเมธะ
ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก ทรงองอาจกว่าบุรุษ
ครั้นเสด็จไปยังภูเขาหิมพานต์แล้ว ได้ประทับนั่งขัดสมาธิ
[๓] พระพุทธเจ้าพระนามว่าสุเมธะ
ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก

เชิงอรรถ :
๑ วิเวก ในที่นี้หมายถึงกายวิเวก(ความสงัดกาย)และจิตตวิเวก(ความสงัดจิต) (ขุ.อป.อ. ๒/๔๓/๑๙๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๒. ภัททาลิวรรค] ๑. ภัททาลิเถราปทาน
ผู้เป็นบุรุษสูงสุด๑ พระองค์นั้น
ประทับนั่งเข้าสมาบัติตลอด ๗ วัน ๗ คืน
[๔] ข้าพเจ้าคอนหาบเข้าไปถึงกลางป่า
ณ ที่นั้นได้เห็นพระพุทธเจ้า
ผู้ข้ามโอฆะ๒ ได้แล้ว ไม่มีอาสวะ
[๕] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้หยิบไม้กวาดมากวาดอาศรม
ปักไม้เป็น ๔ เส้า ทำเป็นมณฑป
[๖] ข้าพเจ้าเก็บดอกสาละมามุงเป็นหลังคามณฑป
เป็นผู้มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี
ได้ไหว้พระผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลกแล้ว
[๗] พระพุทธเจ้าพระนามว่าสุเมธะ
ที่ชนทั้งหลายสรรเสริญกันว่า
มีพระปัญญาดังแผ่นดิน มีพระปัญญาดี
ประทับนั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ กำลังจะตรัสพระคาถาเหล่านี้
[๘] เทวดาทั้งปวงทราบว่า พระพุทธเจ้าจะทรงเปล่งวาจา
จึงพากันมาประชุมด้วยคิดว่า พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
ผู้มีพระจักษุ จะทรงแสดงธรรมโดยแน่แท้
[๙] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสุเมธะ
ผู้สมควรรับเครื่องบูชา ประทับนั่งในท่ามกลางหมู่เทวดา
ได้ตรัสพระคาถาดังต่อไปนี้ว่า
[๑๐] เราจักพยากรณ์ผู้ตั้งมณฑป
มีดอกสาละเป็นเครื่องมุงสำหรับเราตลอด ๗ วัน
ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าวเถิด

เชิงอรรถ :
๑ ผู้เป็นบุรุษสูงสุด หมายถึงผู้สูงกว่ามนุษย์ด้วยคุณธรรม (ขุ.อป.อ. ๒/๑๒๙/๓๕)
๒ โอฆะ หมายถึงกิเลสท่วมทับใจสัตว์มี ๔ คือ (๑) กาโมฆะ โอฆะคือกาม (๒) ภโวฆะ โอฆะคือภพ
(๓) ทิฏโฐฆะ โอฆะคือทิฏฐิ (๔) อวิชโชฆะ โอฆะคืออวิชชา (ขุ.เถร.อ. ๑/๑๕/๑๐๐, ที.ปา. (แปล)
๑๑/๓๑๒/๒๙๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๒. ภัททาลิวรรค] ๑. ภัททาลิเถราปทาน
[๑๑] ผู้นี้จักเกิดเป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็ตาม
จักเป็นผู้มีผิวพรรณเหมือนทองคำ
จักเสวยกามสุข มีโภคะล้นเหลือ
[๑๒] ช้างมาตังคะ ๖๐,๐๐๐ เชือก
ประดับด้วยเครื่องอลังการทุกอย่าง
รัดประโคนพานหน้าและพานหลังที่ทำด้วยทอง
ประกอบด้วยเครื่องประดับศีรษะและข่ายทอง
[๑๓] มีนายควาญช้างผู้ถือหอกซัดและขอขึ้นขี่บังคับประจำ
จักมาสู่ที่บำรุงของผู้นี้ ทั้งเวลาเช้าและเวลาเย็น
ผู้นี้จักเป็นผู้ที่ช้างเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว รื่นรมย์อยู่
[๑๔] ม้าสินธพชาติอาชาไนย ๖๐,๐๐๐ ตัว
ประดับด้วยเครื่องอลังการทุกอย่าง เป็นพาหนะที่มีฝีเท้าเร็ว
[๑๕] มีทหารม้าผู้เหน็บมีดสั้น ถือธนูขึ้นขี่บังคับประจำ
จักแวดล้อมผู้นี้อยู่เป็นนิตย์
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๑๖] รถ ๖๐,๐๐๐ คัน ประดับด้วยเครื่องอลังการทุกอย่าง
หุ้มหนังเสือเหลืองบ้าง หนังเสือโคร่งบ้าง มีธงปักหน้ารถ
[๑๗] มีพลขับถือธนูสวมเกราะประจำรถ
จักแวดล้อมผู้นี้อยู่เป็นนิตย์
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๑๘] หมู่บ้าน ๖๐,๐๐๐ หมู่ บริบูรณ์ด้วยเครื่องใช้ทุกอย่าง
มีทรัพย์และข้าวเปลือกล้นเหลือ บริบูรณ์ดีทุกประการ
จักปรากฏอยู่ทุกเมื่อ
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๑๙] กองทัพ ๔ เหล่า คือ พลช้าง พลม้า พลรถ
และพลเดินเท้า จักแวดล้อมผู้นี้อยู่เป็นนิตย์
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๒. ภัททาลิวรรค] ๑. ภัททาลิเถราปทาน
[๒๐] ผู้นี้จักรื่นรมย์ในเทวโลกตลอด ๑๑๘ กัป
จักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๑,๐๐๐ ชาติ
[๒๑] และจักครองเทวสมบัติตลอด ๓๐๐ ชาติ
จักเป็นเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์นับชาติไม่ถ้วน
[๒๒] ในกัปที่ ๓๐,๐๐๐ (นับจากกัปนี้ไป)
พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร
ทรงสมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก
[๒๓] ผู้นี้จักเป็นธรรมทายาทของพระศาสดาพระองค์นั้น
เป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต
กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว จักอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
[๒๔] ในกัปที่ ๓๐,๐๐๐ (นับจากกัปนี้ไป)
ข้าพเจ้าได้เห็นพระศาสดา ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
และได้แสวงหาอมตบท๑ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
[๒๕] การที่ข้าพเจ้ารู้ศาสนธรรมนี้
เป็นลาภที่ข้าพเจ้าได้ดีแล้ว
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๒๖] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นบุรุษอาชาไนย
ข้าพระองค์ขอนอบน้อมพระองค์
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นบุรุษผู้สูงสุด
ข้าพระองค์ขอนอบน้อมพระองค์
ข้าพระองค์ได้บรรลุอมตบทแล้ว
เพราะกล่าวสดุดีพระพุทธญาณ

เชิงอรรถ :
๑ อมตบท หมายถึงพระนิพพาน (ขุ.อป.อ. ๑/๒๖๗/๒๗๖, ขุ.อป.อ. ๒/๖๗/๑๐๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๒. ภัททาลิวรรค] ๑. ภัททาลิเถราปทาน
[๒๗] ข้าพเจ้าเกิดในกำเนิดใด ๆ
คือจะเกิดเป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็ตาม
ย่อมเป็นผู้มีความสุขในที่ทุกสถาน
นี้เป็นผลที่ข้าพเจ้ากล่าวสดุดีพระพุทธญาณ
[๒๘] ภพนี้เป็นภพสุดท้ายของข้าพเจ้า
ภพสุดท้ายกำลังเป็นไปอยู่
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพัน๑ ได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๒๙] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๓๐] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓๒ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๓๑] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔๓ วิโมกข์ ๘๔
และอภิญญา ๖๕ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระภัททาลิเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ภัททาลิเถราปทานที่ ๑ จบ

เชิงอรรถ :
๑ กิเลสเครื่องผูกพัน หมายถึงสังโยชน์ ๑๐ (ขุ.พุทฺธ.อ. ๒/๒๕๓)
๒ ที.ปา. (แปล) ๑๑/๓๐๕/๒๗๕, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๐๒/๒๔๓-๒๔๔
๓ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๗๒/๒๔๒-๒๔๓
๔ ที.ปา. (แปล) ๑๑/๓๓๙/๓๕๐-๓๕๑
๕ อภิญญา ๖ หมายถึงญาณพิเศษมี ๖ คือ (๑) อิทธิวิธิ(แสดงฤทธิ์ได้ต่าง ๆ) (๒) ทิพพโสต(หูทิพย์)
(๓) เจโตปริยญาณ(ญาณกำหนดรู้ใจผู้อื่นได้) (๔) ปุพเพนิวาสญาณ(ญาณเป็นเครื่องระลึกชาติได้)
(๕) ทิพพจักขุญาณ(ญาณคือตาทิพย์เห็นสัตว์ที่กำลังจุติและอุบัติได้) (๖) อาสวักขยญาณ(ญาณคือการ
ทำลายกิเลสให้สิ้นไป) (ขุ.อป.อ. ๑/๓๒/๑๒๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๒. ภัททาลิวรรค] ๒. เอกฉัตติยเถราปทาน
๒. เอกฉัตติยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระเอกฉัตติยเถระ
(พระเอกฉัตติยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๓๒] ข้าพเจ้าได้สร้างอาศรม เกลื่อนกล่นด้วยทรายขาวสะอาด
ใกล้แม่น้ำจันทภาคา และได้สร้างบรรณศาลาไว้
[๓๓] แม่น้ำจันทภาคานั้น เป็นแม่น้ำสายเล็กที่มีฝั่งลาด
และมีท่าราบเรียบ น่ารื่นรมย์ใจ มีปลาและเต่าชุกชุม
ทั้งยังเป็นที่อาศัยของจระเข้
[๓๔] หมี นกยูง เสือเหลือง นกการเวก และนกสาลิกา
ร่ำร้องระงมอยู่ทุกเวลา ประดับอาศรมของข้าพเจ้าให้งดงาม
[๓๕] นกดุเหว่ามีเสียงไพเราะ และหงส์มีเสียงเสนาะ
ก็ส่งเสียงร้องอยู่ใกล้อาศรมนั้น
ประดับอาศรมของข้าพเจ้าให้งดงาม
[๓๖] ราชสีห์ เสือโคร่ง หมูป่า หมี หมาป่า และหมาใน
เที่ยวส่งเสียงคำรนอยู่ตามซอกเขา
ประดับอาศรมของข้าพเจ้าให้งดงาม
[๓๗] เนื้อทราย กวาง สุนัขจิ้งจอก สุกร ก็มีมาก
ต่างส่งเสียงร้องอยู่ตามซอกเขา
ประดับอาศรมของข้าพเจ้าให้งดงาม
[๓๘] ต้นราชพฤกษ์ ต้นจำปา ต้นแคฝอย
ต้นย่านทราย ต้นอุโลก๑ และต้นอโศก
ประดับอาศรมของข้าพเจ้าให้งดงาม

เชิงอรรถ :
๑ ต้นอุโลก เป็นไม้ชนิดหนึ่ง เนื้อไม้สีขาว (ใช้ทำยาได้) เวลามีดอกส่งกลิ่นหอมฟุ้งไปทั่วทุกทิศ (ขุ.อิติ.อ.
๖๘๕/๑๙๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๒. ภัททาลิวรรค] ๒. เอกฉัตติยเถราปทาน
[๓๙] ต้นปรู ต้นคัดเค้า ต้นตีนเป็ด ต้นมะกล่ำหลวง
ต้นคนทีสอ และต้นกรรณิการ์
ล้วนมีดอกบานสะพรั่ง อยู่ใกล้ ๆ อาศรมของข้าพเจ้า
[๔๐] ต้นกากะทิง ต้นสาละ และต้นสน
รวมทั้งต้นมะม่วงป่า ล้วนมีดอกบานสะพรั่ง
ส่งกลิ่นหอมอบอวลคล้ายกลิ่นทิพย์
งดงามอยู่ใกล้ ๆ อาศรมของข้าพเจ้า
[๔๑] และที่ใกล้อาศรมนั้น มีต้นโพธิ์ ต้นประดู่
ต้นกระท้อน ต้นสาละ และต้นประยงค์
ล้วนมีดอกบานสะพรั่ง งดงามอยู่ใกล้ ๆ อาศรมของข้าพเจ้า
[๔๒] ต้นมะม่วง ต้นหว้า ต้นหมากหอมควาย
ต้นกระทุ่ม ต้นขานาง
ส่งกลิ่นหอมอบอวลคล้ายกลิ่นทิพย์
ประดับอาศรมของข้าพเจ้าให้งดงาม
[๔๓] ต้นอโศก ต้นมะขวิด และต้นกุหลาบ
ล้วนมีดอกบานสะพรั่ง
ส่งกลิ่นหอมอบอวลคล้ายกลิ่นทิพย์
ประดับอาศรมของข้าพเจ้าให้งดงาม
[๔๔] ต้นกระทุ่ม ต้นกล้วย ถั่วเหลือง
และต้นมะกล่ำดำ ล้วนผลิผลอยู่เนืองนิตย์
ประดับอาศรมของข้าพเจ้าให้งดงาม
[๔๕] ต้นสมอ ต้นมะขามป้อม ต้นมะม่วง
ต้นหว้า ต้นสมอพิเภก ต้นกระเบา ต้นรกฟ้า
ต้นมะตูม ก็ผลิผลอยู่ใกล้ ๆ อาศรมของข้าพเจ้า
[๔๖] ในที่ไม่ไกลจากอาศรม มีสระโบกขรณี
ซึ่งมีท่าราบเรียบ น่ารื่นรมย์ใจ
ดารดาษด้วยดอกบัวเผื่อน ดอกบัวหลวง และดอกบัวเขียว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๒. ภัททาลิวรรค] ๒. เอกฉัตติยเถราปทาน
[๔๗] ปทุมบางกอกำลังมีดอกตูม บางกอกำลังมีดอกบาน
บางกอก็มีกลีบและเกสร หลุดร่วง
อยู่ใกล้ ๆ อาศรมของข้าพเจ้า
[๔๘] ปลาสลาด ฝูงปลากระบอก ฝูงปลาสวาย
ฝูงปลาเค้า และฝูงปลาตะเพียน ต่างว่ายวนอยู่ในน้ำใส
ประดับอาศรมของข้าพเจ้าให้งดงาม
[๔๙] ต้นตาเสือ ต้นจงกลนี
และต้นลำเจียกซึ่งขึ้นอยู่ที่ริมฝั่ง
ส่งกลิ่นหอมอบอวลคล้ายกลิ่นทิพย์
ประดับอาศรมของข้าพเจ้าให้งดงาม
[๕๐] น้ำหวานไหลออกจากเหง้าบัว
นมสดและเนยใสไหลออกจากก้านบัว
ส่งกลิ่นหอมอบอวลคล้ายกลิ่นทิพย์
ประดับอาศรมของข้าพเจ้าให้งดงาม
[๕๑] ใกล้อาศรมนั้น มีเนินทรายที่สวยงามดาษดื่น
มีไม้ดอกที่อาศัยน้ำเป็นเครื่องหล่อเลี้ยง
ผลิดอกขาวบานสะพรั่ง
ประดับอาศรมของข้าพเจ้าให้งดงาม
[๕๒] ฤๅษีทั้งหลายผู้สวมชฎาและเครื่องบริขาร
นุ่งห่มผ้าหนังสัตว์ ทรงผ้าเปลือกไม้
ประดับอาศรมของข้าพเจ้าให้งดงาม
[๕๓] ฤๅษีทั้งหลายมีปกติทอดสายตาดูประมาณชั่วแอก
มีปัญญารักษาตน มีความประพฤติสงบ ไม่มีความยินดี
ไม่มีความกำหนัดในกาม อยู่ใกล้อาศรมของข้าพเจ้า
[๕๔] ฤๅษีทั้งหลายผู้มีขนรักแร้ เล็บ และมีขนงอกยาว
มีฟันเขรอะ มีธุลีบนศีรษะ คลุกฝุ่นและละออง
ล้วนอยู่ใกล้อาศรมของข้าพเจ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๒. ภัททาลิวรรค] ๒. เอกฉัตติยเถราปทาน
[๕๕] ฤๅษีเหล่านั้นล้วนเชี่ยวชาญอภิญญา
เหาะไปในท้องฟ้าได้ เมื่อเหาะขึ้นสู่ท้องฟ้า
ประดับอาศรมของข้าพเจ้าให้งดงาม
[๕๖] ครั้งนั้น ข้าพเจ้ามีศิษย์เหล่านั้นแวดล้อมอยู่ในป่าใหญ่
เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยความยินดีในฌาน
จนไม่รู้จักกลางคืนและกลางวัน
[๕๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพระนามว่าอัตถทัสสี
ผู้ทรงเป็นมหามุนี ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
เสด็จอุบัติขึ้น กำจัดความมืดมนคือโมหะให้พินาศไป
[๕๘] ครั้งนั้น ศิษย์บางรูปประสงค์จะเล่าเรียนคัมภีร์ลักษณะ
อันมีองค์ ๖๑ ในคัมภีร์พระเวท๒ ได้มายังสำนักของข้าพเจ้า
[๕๙] พระพุทธเจ้าพระนามว่าอัตถทัสสี ผู้ทรงเป็นมหามุนี
เสด็จอุบัติขึ้นในโลก เมื่อจะทรงประกาศสัจจะ ๔๓
จึงได้ทรงแสดงอมตบท๔

เชิงอรรถ :
๑ ลักษณะมีองค์ ๖ ในที่นี้หมายถึงมนตร์พรหมจินดามีองค์ ๖ คือ (๑) กัปปศาสตร์ (ว่าด้วยวิธีเกี่ยวกับ
การบูชายัญ) (๒) พยากรณ์ศาสตร์ (แสดงการแยกปกติ) (๓) นิรุตติศาสตร์ (แสดงศัพท์ เติมปัจจัย)
(๔) สิกขาศาสตร์ (แสดงฐานกรณ์และปตยนะของอักษร) (๕) ฉันโทวิจิติศาสตร์ (แสดงลักษณะของฉันท์)
(๖) โชติสัตถศาสตร์ (แสดงลักษณะของดวงดาวที่บ่งถึงความเจริญและความเสื่อมของมนุษย์) (ขุ.วิ.อ.
๙๙๖/๓๐๙)
ดูเทียบเวทางคศาสตร์ของพราหมณ์ มี ๖ อย่างคือ (๑) ศึกษา คือ วิธีออกเสียงคำในพระเวทให้ถูกต้อง
(๒) ไวยากรณ์ (๓) ฉันท์ (๔) เชยติส คือดาราศาสตร์ (๕) นิรุกติ คือกำเนิดของคำ และ (๖) กัลปะคือ
วิธีจัดทำพิธี (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ หน้า ๗๗๓)
๒ คัมภีร์พระเวท หมายถึงคัมภีร์ของพราหมณ์ คัมภีร์ที่เขียนด้วยภาษาสันสกฤตของชาวฮินดู (ที.สี.อ.
๑/๒๕๖/๒๒๓)
๓ สัจจะ ๔ ได้แก่ (๑) ทุกข์ (๒) สมุทัย (๓) นิโรธ (๔) มรรค (ขุ.อป.อ. ๒/๗/๑๐๗)
๔ ดูเชิงอรรถหน้า ๔ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๒. ภัททาลิวรรค] ๒. เอกฉัตติยเถราปทาน
[๖๐] ข้าพเจ้าเป็นผู้มีความยินดี ร่าเริงบันเทิงใจ
มุ่งหวังกองธรรมอันวิเศษ ออกจากอาศรมแล้วพูดดังนี้ว่า
[๖๑] พระพุทธเจ้าผู้ทรงลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ๑
เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก มาเถิด ท่านทั้งหลาย
เราทุกคนจักไปยังสำนักของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
[๖๒] ศิษย์เหล่านั้นผู้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนบรรลุบารมีในพระสัทธรรม
แสวงหาประโยชน์อย่างยอดเยี่ยม ต่างรับว่า สาธุ
[๖๓] ครั้งนั้น พวกเขาสวมชฎาและทรงบริขาร
นุ่งห่มผ้าหนังสัตว์
แสวงหาประโยชน์อย่างยอดเยี่ยมได้ออกไปจากป่า

เชิงอรรถ :
๑ ลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ คือ (๑) มีฝ่าพระบาทราบเสมอกัน (๒) พื้นใต้พระบาททั้ง ๒ มีจักร
ปรากฏข้างละ ๑,๐๐๐ ซี่ มีกงและดุม มีส่วนประกอบครบบริบูรณ์ทุกอย่าง (๓) ทรงมีส้นพระบาทยาว
(๔) มีองคุลียาว (๕) ทรงมีฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทอ่อนนุ่ม (๖) ทรงมีลายดุจตาข่ายที่ฝ่าพระหัตถ์
และฝ่าพระบาท (๗) ทรงมีพระบาทเหมือนสังข์คว่ำ (๘) ทรงมีพระชงฆ์เรียว ดุจแข้งเนื้อทราย (๙) เมื่อ
ประทับยืน ไม่ต้องทรงก้มก็ทรงลูบคลำถึงพระชานุได้ด้วยพระหัตถ์ทั้ง ๒ (๑๐) ทรงมีพระคุยหฐานเร้น
อยู่ในฝัก (๑๑) ทรงมีพระฉวีวรรณงดงามดุจหุ้มด้วยทองคำ (๑๒) ทรงมีพระฉวีละเอียดจนละอองธุลี
ไม่เกาะติดพระวรกาย (๑๓) ทรงมีพระโลมชาติงอกเส้นเดียวในแต่ละขุม (๑๔) ทรงมีพระโลมชาติสีเข้ม
เหมือนดอกอัญชันขดเป็นลอนเวียนขวามีปลายตั้งขึ้น (๑๕) ทรงมีพระวรกายตรงดุจกายพรหม (๑๖) ทรง
มีพระมังสะพูนเต็มในที่ ๗ แห่ง (คือ หลังพระหัตถ์ทั้ง ๒ หลังพระบาททั้ง ๒ พระอังสะทั้ง ๒ และ
ลำพระศอ) (๑๗) ทรงมีส่วนพระวรกายบริบูรณ์ดุจกึ่งกายท่อนหน้าของพญาราชสีห์ (๑๘) ทรงมีพระ
ปฤษฎางค์เต็มเรียบเสมอกัน (๑๙) ทรงมีพระวรกายเป็นปริมณฑลดุจปริมณฑลต้นไทร พระวรกายสูง
เท่ากับวาของพระองค์ (๒๐) ทรงมีพระศอกลมงามเต็มเสมอ (๒๑) ทรงมีเส้นประสาทสำหรับรับรส
พระกระยาหารได้อย่างดี (๒๒) ทรงมีพระหนุดุจคางราชสีห์ (๒๓) ทรงมีพระทนต์ ๔๐ ซี่ (๒๔) ทรง
มีพระทนต์เรียบเสมอกัน (๒๕) ทรงมีพระทนต์ไม่ห่างกัน (๒๖) ทรงมีพระเขี้ยวแก้วขาวงาม (๒๗) ทรง
มีพระชิวหาใหญ่ (๒๘) ทรงมีพระสุรเสียงดุจเสียงพรหมตรัสมีสำเนียงดุจนกการเวก (๒๙) ทรงมีพระเนตร
ดำสนิท (๓๐) ทรงมีดวงพระเนตรแจ่มใสดุจตาลูกโคเพิ่งคลอด (๓๑) ทรงมีพระอุณาโลมระหว่างพระโขนง
สีขาวอ่อนเหมือนปุยนุ่น (๓๒) ทรงมีพระเศียรงดงามดุจประดับด้วยกรอบพระพักตร์ (ที.ปา. (แปล)
๑๑/๒๐๐/๑๕๙-๑๖๓, ม.ม. (แปล) ๑๓/๓๘๖/๔๗๔-๔๗๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๒. ภัททาลิวรรค] ๒. เอกฉัตติยเถราปทาน
[๖๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพระนามว่าอัตถทัสสี
มีพระยศยิ่งใหญ่๑ เมื่อจะทรงประกาศสัจจะ ๔
จึงได้ทรงแสดงอมตบท
[๖๕] ข้าพเจ้ายืนถือเศวตฉัตรกั้นถวายพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
ครั้นกั้นถวายตลอดวันหนึ่งแล้ว
ได้กราบไหว้พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
[๖๖] อนึ่ง พระผู้มีพระภาคพระนามว่าอัตถทัสสี
ผู้เจริญที่สุดในโลก ทรงองอาจกว่านรชน
ประทับนั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์แล้ว ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
[๖๗] เราจักพยากรณ์ผู้ที่มีจิตเลื่อมใส
ซึ่งได้กั้นเศวตฉัตรให้เราด้วยมือทั้ง ๒ ของตน
ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าวเถิด
[๖๘] เมื่อผู้นี้เกิดเป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็ตาม
ประชาชนจักคอยกั้นฉัตรให้ทุกเมื่อ
นี้เป็นผลแห่งการกั้นฉัตรถวาย
[๖๙] ผู้นี้จักรื่นรมย์ในเทวโลกตลอด ๗๗ กัป
จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๑,๐๐๐ ชาติ
[๗๐] และจักครองเทวสมบัติตลอด ๗๗ ชาติ
จักเป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์นับชาติไม่ถ้วน
[๗๑] ในกัปที่ ๑๑๘ (นับจากกัปนี้ไป)
พระศาสดาพระนามว่าโคดมศากยะ ผู้ประเสริฐ
ผู้มีพระจักษุ จักเสด็จอุบัติขึ้น
กำจัดความมืดมนให้พินาศไป

เชิงอรรถ :
๑ มีพระยศใหญ่ หมายถึงมียศแผ่ไปในโลก ๓ คือ มนุษยโลก เทวโลก พรหมโลก (ขุ.อป.อ. ๑/๖๑๔/๓๖๔,
ขุ.อป.อ. ๒/๓๕๑/๓๓๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๒. ภัททาลิวรรค] ๒. เอกฉัตติยเถราปทาน
[๗๒] ผู้นี้จักเป็นธรรมทายาทของพระศาสดาพระองค์นั้น
เป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต
กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงเป็นผู้ไม่มีอาสวะแล้วนิพพาน
[๗๓] นับแต่กาลที่ข้าพเจ้าได้ทำกรรม
คือการได้กั้นฉัตรถวายพระพุทธเจ้าเป็นต้นมา
ในระหว่างนี้ข้าพเจ้าไม่รู้ภาวะที่ตนไม่เคยได้รับการกั้นเศวตฉัตรให้
[๗๔] ภพนี้เป็นภพสุดท้ายของข้าพเจ้า
ภพสุดท้ายกำลังเป็นไปอยู่
ทุกวันนี้เหนือศีรษะของข้าพเจ้า
ก็ได้มีการกั้นฉัตรตลอดกาลเป็นนิตย์
[๗๕] โอหนอ กรรมข้าพเจ้าได้ทำไว้ดีแล้ว
ในสำนักพระพุทธเจ้าพระนามว่าอัตถทัสสี ผู้มั่นคง
อาสวะทั้งปวงสิ้นไปแล้ว
บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก
[๗๖] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๗๗] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๗๘] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระเอกฉัตติยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
เอกฉัตติยเถราปทานที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๒. ภัททาลิวรรค] ๓. ติณสูลกฉาทนิยเถราปทาน
๓. ติณสูลกฉาทนิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระติณสูลกฉาทนิยเถระ
(พระติณสูลกฉาทนิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๗๙] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้พิจารณาความเกิด ความแก่
และความตายแล้วปลีกตัวออกบวชเป็นบรรพชิตแต่ผู้เดียว
[๘๐] เมื่อข้าพเจ้าเที่ยวไปโดยลำดับ ได้ไปถึงฝั่งแม่น้ำคงคา
เห็นพื้นดินที่ฝั่งแม่น้ำคงคานั้นราบเรียบ
[๘๑] จึงได้สร้างอาศรมที่ฝั่งแม่น้ำคงคานั้น
อยู่ในอาศรมของข้าพเจ้านั้น
ที่จงกรมซึ่งประกอบด้วยหมู่นกนานาชนิด
ซึ่งข้าพเจ้าสร้างไว้ดีแล้ว
[๘๒] สัตว์ทั้งหลายอยู่ใกล้ข้าพเจ้า ก็ส่งเสียงน่ารื่นรมย์ใจ
ข้าพเจ้ารื่นรมย์กับสัตว์เหล่านั้นอยู่ในอาศรม
[๘๓] ที่ใกล้อาศรมของข้าพเจ้ามีราชสีห์สามารถก้าวไปได้โดยทิศทั้ง ๔
ออกจากที่อยู่แล้ว คำรามเหมือนเสียงอสนีบาต
[๘๔] ก็เมื่อราชสีห์คำรน ข้าพเจ้าเกิดความร่าเริง
ค้นหาราชสีห์อยู่ จึงได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
[๘๕] ครั้นได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นผู้นำชั้นเลิศของโลก
พระนามว่าติสสะ ผู้เป็นเทพยิ่งกว่าเทพ
ข้าพเจ้ามีจิตร่าเริง บันเทิงใจ จึงบูชาพระองค์
ด้วยเกสรดอกกากะทิง
[๘๖] ได้ชื่นชมพระองค์ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ผู้เหมือนดวงอาทิตย์กำลังอุทัย
เหมือนต้นพญาไม้สาละซึ่งมีดอกเบ่งบาน
เหมือนดาวประกายพรึกกำลังทอแสงสว่างไสวว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๒. ภัททาลิวรรค] ๓. ติณสูลกฉาทนิยเถราปทาน
[๘๗] พระสัพพัญญู พระองค์ทรงยังโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก
ให้สว่างด้วยพระญาณของพระองค์
เขาเหล่านั้นทำให้พระองค์ทรงพอพระทัยจึงพ้นจากชาติได้
[๘๘] เพราะไม่ได้เฝ้าพระสัพพัญญูพุทธเจ้าผู้เห็นธรรมทั้งปวง
สัตว์ทั้งหลายจึงถูกราคะและโทสะครอบงำ
แล้วพากันตกไปในนรกอเวจี
[๘๙] เพราะอาศัยการได้เข้าเฝ้าพระองค์
ผู้สัพพัญญู ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
สัตว์ทั้งปวงจึงหลุดพ้นจากภพแล้วบรรลุอมตบท
[๙๐] เมื่อใด พระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้มีพระจักษุ
มีพระรัศมี เสด็จอุบัติขึ้น
เมื่อนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้นจะทรงแผ่พระรัศมีมีแสงสว่าง
แผดเผากิเลส(ของเหล่าสัตว์) ให้สิ้นไป
[๙๑] ข้าพเจ้าได้สดุดีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าติสสะ
ผู้ทรงเป็นผู้นำชั้นเลิศของสัตว์โลกแล้ว มีจิตร่าเริง
บันเทิงใจ ได้บูชาพระองค์ด้วยดอกมะลิซ้อน
[๙๒] พระพุทธเจ้าพระนามว่าติสสะ ผู้ทรงเป็นผู้นำชั้นเลิศของโลก
ทรงทราบความดำริของข้าพเจ้า
ประทับนั่งบนอาสนะของพระองค์แล้ว ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
[๙๓] เราจักพยากรณ์ผู้ที่เลื่อมใส ถือดอกไม้กั้น(แดด)ให้เรา
ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าวเถิด
[๙๔] ผู้นั้นจักครองเทวสมบัติในเทวโลกตลอด ๒๕ ชาติ
จักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๗๕ ชาติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๒. ภัททาลิวรรค] ๓. ติณสูลกฉาทนิยเถราปทาน
[๙๕] จักเป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์นับชาติไม่ถ้วน
นี้เป็นผลแห่งการกระทำการบูชาด้วยดอกไม้
[๙๖] ก็คนที่ใช้ดอกไม้กั้น(แดด)ให้เราตั้งแต่เช้าจดเย็น
จักเป็นผู้ประกอบด้วยกรรมดีปรากฏต่อไปในภายภาคหน้า
[๙๗] เขาปรารถนาสิ่งใด ๆ
สิ่งนั้น ๆ จักปรากฏตามความประสงค์
เขาทำความดำริชอบให้บริบูรณ์
จักเป็นผู้ไม่มีอาสวะแล้วนิพพาน
ภาณวารที่ ๑๘ จบ

[๙๘] ข้าพเจ้านั่งบนอาสนะเดียว มีสติสัมปชัญญะ
เผากิเลสทั้งหลายแล้ว ได้บรรลุพระอรหัต
[๙๙] ไม่ว่าข้าพเจ้าจะเดิน ยืน นั่ง นอนอยู่ก็ตาม
ย่อมระลึกถึงพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุดอยู่ทุกขณะ
[๑๐๐] ความพร่องในปัจจัยนั้น ๆ
คือจีวร บิณฑบาต คิลานปัจจยเภสัชบริขาร ที่นอน ที่นั่ง
มิได้มีแก่ข้าพเจ้า
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๑๐๑] บัดนี้ ข้าพเจ้าบรรลุอมตบทที่สงบระงับอย่างยอดเยี่ยม
กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
[๑๐๒] ในกัปที่ ๙๒ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้บูชาพระพุทธเจ้าไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๒. ภัททาลิวรรค] ๔. มธุมังสทายกเถราปทาน
[๑๐๓] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวง๑ ข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๐๔] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๐๕] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระติณสูลกฉาทนิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ติณสูลกฉาทนิยเถราปทานที่ ๓ จบ

๔. มธุมังสทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระมธุมังสทายกเถระ
(พระมธุมังสทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๐๖] ข้าพเจ้าเป็นคนฆ่าสุกรอยู่ในกรุงพันธุมดี
ได้ต้มเครื่องในแล้วใส่ผสมลงในเนื้อชั้นดี
[๑๐๗] ข้าพเจ้าได้ไปยังที่ประชุมสงฆ์ รับบาตรมาใบหนึ่ง
บรรจุบาตรนั้นจนเต็มแล้ว ได้ถวายภิกษุสงฆ์

เชิงอรรถ :
๑ ภพทั้งปวง ได้แก่ กรรมภพ อุปัตติภพ, กามภพ รูปภพ อรูปภพ, สัญญีภพ อสัญญีภพ เนวสัญญีนา-
สัญญีภพ, เอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ (ขุ.เถร.อ. ๑/๑๒๑/๓๗๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๒. ภัททาลิวรรค] ๓. ติณสูลกฉาทนิยเถราปทาน
[๑๐๘] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้ถวายพระสังฆเถระด้วยคิดว่า
ด้วยผลแห่งการถวายบาตรที่บรรจุเนื้อจนเต็มนี้
ข้าพเจ้าจักได้สุขอันไพบูลย์
[๑๐๙] เขาเสวยสมบัติ ๒ อย่างแล้ว
ถูกมูลกุศลกรรมเก่าชักให้
มาถึงภพสุดท้ายแล้วจักเผากิเลสได้
[๑๑๐] ข้าพเจ้าทำจิตให้เลื่อมใสในทานนั้น
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ณ ที่นั้น ข้าพเจ้ากิน ดื่ม ได้สุขอันไพบูลย์
[๑๑๑] ไม่ว่าข้าพเจ้าจะอยู่ที่มณฑปหรือที่โคนไม้
ข้าพเจ้าก็จักนึกถึงบุพกรรมเสมอ
ในขณะที่ข้าพเจ้านึกถึงบุพกรรมอยู่นั้น
ห่าฝนแห่งข้าวและน้ำตกลงมาเพื่อข้าพเจ้า
[๑๑๒] นี้เป็นภพสุดท้ายของข้าพเจ้า
ภพสุดท้ายกำลังเป็นไปอยู่
ถึงในภพนี้ข้าวและน้ำก็ตกลงมาเพื่อข้าพเจ้าตลอดกาลทุกเมื่อ
[๑๑๓] ด้วยอานิสงส์แห่งการถวายเนื้อชั้นดีนั้นนั่นแหละ
เมื่อข้าพเจ้าเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพแล้ว
จึงกำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
[๑๑๔] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ให้ทานไว้ในครั้งนั้น
ไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายเนื้อชั้นดี
[๑๑๕] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๒. ภัททาลิวรรค] ๕. นาคปัลลวกเถราปทาน
[๑๑๖] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๑๗] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระมธุมังสทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
มธุมังสทายกเถราปทานที่ ๔ จบ

๕. นาคปัลลวกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระนาคปัลลวกเถระ
(พระนาคปัลลวกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๑๘] ข้าพเจ้าอาศัยอยู่ที่พระราชอุทยานในกรุงพันธุมดี
พระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ได้ประทับนั่งอยู่ใกล้อาศรมของข้าพเจ้า
[๑๑๙] ข้าพเจ้าได้ถือยอดอ่อนไม้กากะทิงบูชาพระพุทธเจ้า
มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี ได้ถวายอภิวาทพระสุคตแล้ว
[๑๒๐] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ใช้ยอดอ่อนบูชา(พระพุทธเจ้า)ไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๑๒๑] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๒. ภัททาลิวรรค] ๖. เอกทีปิยเถราปทาน
[๑๒๒] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๒๓] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระนาคปัลลวกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
นาคปัลลวกเถราปทานที่ ๕ จบ

๖. เอกทีปิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระเอกทีปิยเถระ
(พระเอกทีปิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๒๔] เมื่อพระสุคตพระนามว่าสิทธัตถะ
ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก ปรินิพพานแล้ว
มนุษย์พร้อมทั้งเทวดาทั้งปวง
ต่างก็บูชาพระองค์ผู้สูงสุดแห่งเทวดาและมนุษย์๑ทั้งหลาย
[๑๒๕] และเมื่อเขาช่วยกันยกพระสิทธัตถะ
ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลกขึ้นบนจิตกาธานแล้ว
ต่างก็บูชาจิตกาธานของพระศาสดาตามกำลังของตน
[๑๒๖] ข้าพเจ้าได้ตามประทีปให้ลุกโพลงไว้ใกล้จิตกาธาน
ประทีปของข้าพเจ้าลุกโพลงอยู่จนถึงเวลาดวงอาทิตย์อุทัย
[๑๒๗] ด้วยกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ดีนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น

เชิงอรรถ :
๑ เทวดาและมนุษย์ ในที่นี้หมายถึงเทวดา พรหม และมนุษย์ (ขุ.อป.อ. ๒/๙/๑๐๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๒. ภัททาลิวรรค] ๖. เอกทีปิยเถราปทาน
ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดยังสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๑๒๘] ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้น
วิมานที่บุญกรรมได้ทำไว้เป็นอย่างดีเพื่อข้าพเจ้า
เรียกกันว่าเอกทีปิวิมาน
มีประทีป ๑๐๐,๐๐๐ ดวง
ส่องสว่างอยู่ในวิมานของข้าพเจ้า
[๑๒๙] ร่างกายของข้าพเจ้าสว่างไสวอยู่ทุกเมื่อ
เหมือนดวงอาทิตย์อุทัย
สรีระของข้าพเจ้ามีแสงสว่างด้วยรัศมีในกาลทุกเมื่อ
[๑๓๐] ข้าพเจ้ามีจักษุมองทะลุฝา กำแพง
และภูเขา โดยรอบ ๑๐๐ โยชน์
[๑๓๑] รื่นรมย์อยู่ในเทวโลกตลอด ๗๗ ชาติ
ได้ครองเทวสมบัติตลอด ๓๑ ชาติ
[๑๓๒] ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๒๘ ชาติ
และได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์นับชาติไม่ถ้วน
[๑๓๓] ข้าพเจ้าจุติจากเทวโลกแล้วเกิดในครรภ์มารดา
แม้อยู่ในครรภ์มารดาข้าพเจ้าก็ไม่หลับตา
[๑๓๔] ข้าพเจ้าเกิดได้ ๔ ขวบ ก็ออกบวชเป็นบรรพชิต
ยังไม่ถึงกึ่งเดือนก็ได้บรรลุอรหัตตผล
[๑๓๕] ข้าพเจ้าชำระทิพยจักษุให้หมดจดวิเศษแล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
กิเลสทั้งปวงข้าพเจ้าก็ตัดได้แล้ว
นี้เป็นผลแห่งประทีปดวงเดียว
[๑๓๖] ข้าพเจ้ามองทะลุฝา กำแพง และภูเขาทั้งสิ้นได้
นี้เป็นผลแห่งประทีปดวงเดียว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๒. ภัททาลิวรรค] ๗. อุจฉังคปุปผิยเถราปทาน
[๑๓๗] สำหรับข้าพเจ้า ภูมิภาคที่ขรุขระย่อมเป็นสภาพที่ราบเรียบ
ความมืดย่อมไม่ปรากฏ ข้าพเจ้าไม่เห็นความมืด
นี้เป็นผลแห่งประทีปดวงเดียว
[๑๓๘] ในกัปที่ ๙๔ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายประทีปไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งประทีปดวงเดียว
[๑๓๙] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๔๐] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๔๑] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระเอกทีปิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
เอกทีปิยเถราปทานที่ ๖ จบ

๗. อุจฉังคปุปผิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอุจฉังคปุปผิยเถระ
(พระอุจฉังคปุปผิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๔๒] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นช่างดอกไม้อยู่ในกรุงพันธุมดี
ข้าพเจ้าเก็บ(ดอกไม้)ใส่เต็มชายพก แล้วได้ไปในย่านตลาด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๒. ภัททาลิวรรค] ๗. อุจฉังคปุปผิยเถราปทาน
[๑๔๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
มีภิกษุสงฆ์ห้อมล้อมแล้ว เสด็จออกไปด้วยอานุภาพใหญ่
[๑๔๔] ข้าพเจ้าได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี
ผู้ส่องโลกให้โพลงทั่ว ทรงช่วยสัตว์โลกให้ข้ามพ้น
จึงหยิบดอกไม้ออกจากชายพกบูชาพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
[๑๔๕] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
การที่ข้าพเจ้าได้บูชาพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุดไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๑๔๖] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๔๗] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๔๘] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระอุจฉังคปุปผิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
อุจฉังคปุปผิยเถราปทานที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๒. ภัททาลิวรรค] ๘. ยาคุทายกเถราปทาน
๘. ยาคุทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระยาคุทายกเถระ
(พระยาคุทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๔๙] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้พาแขกมาบ้าน
เห็นแม่น้ำเต็มฝั่ง จึงเข้าไปยังสังฆาราม
[๑๕๐] ภิกษุทั้งหลายผู้ถือธุดงค์ข้อการอยู่ป่าเป็นวัตร
เข้าฌาน มีจีวรเศร้าหมอง
ยินดีในความสงัด เป็นนักปราชญ์
อาศัยอยู่ในสังฆาราม
[๑๕๑] ทางไปบิณฑบาตของภิกษุผู้หลุดพ้นดีแล้ว
ผู้คงที่เหล่านั้น ถูกตัดขาดแล้ว
ในเวลาต่อมาเมื่อน้ำท่วม
ท่านไปบิณฑบาตไม่ได้
[๑๕๒] ข้าพเจ้ามีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี
เกิดปีติปราโมทย์ ประนมมือ
ถือข้าวสาร (ต้ม) ข้าวยาคูแล้วถวาย
[๑๕๓] ข้าพเจ้าเลื่อมใส ถวายข้าวยาคูที่ต้มด้วยมือทั้ง ๒ ของตน
เมื่อปรารภถึงกรรมของตนแล้วจึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๑๕๔] วิมานแก้วมณีได้เกิดแก่ข้าพเจ้าในหมู่เทพชั้นดาวดึงส์
ข้าพเจ้าประกอบด้วยหมู่เทพนารี บันเทิงอยู่ในวิมานที่อุดม
[๑๕๕] ข้าพเจ้าได้เป็นจอมเทพครองเทวสมบัติตลอด ๓๓ ชาติ
ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิครองมหาราชสมบัติ ๓๐ ชาติ
[๑๕๖] ได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์นับชาติไม่ถ้วน
เสวยยศในเทวโลกบ้าง ในมนุษยโลกบ้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๒. ภัททาลิวรรค] ๘. ยาคุทายกเถราปทาน
[๑๕๗] เมื่อถึงภพสุดท้าย ข้าพเจ้าได้สละทรัพย์สมบัติทั้งปวง
ออกบวชเป็นบรรพชิต ขณะที่ปลงผมเสร็จ
[๑๕๘] ข้าพเจ้าพิจารณาร่างกายโดยความสิ้นไปและความเสื่อมไป
ก็ได้บรรลุอรหัตตผลก่อนการรับสิกขาบท
[๑๕๙] ทานอันประเสริฐที่เกิดจากมือเรา
ซึ่งเราประกอบดีแล้ว ชื่อว่าเป็นอันให้ดีแล้ว
เพราะการถวายข้าวยาคูนั้นเอง
ข้าพเจ้าจึงได้บรรลุบทที่ไม่หวั่นไหว๑
[๑๖๐] ข้าพเจ้าไม่รู้สึกว่ามีความเศร้าโศก ความร่ำไร
ความป่วยไข้ ความกระวนกระวาย
ความเดือดร้อนใจเกิดขึ้นเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายข้าวยาคู
[๑๖๑] โอหนอ ข้าวยาคูข้าพเจ้าได้ถวายดีแล้วหนอ
ข้าพเจ้าได้ถวายข้าวยาคูแด่หมู่พระสงฆ์
ผู้เป็นเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยม
จึงได้รับอานิสงส์ ๕ ประการ
[๑๖๒] คือ (๑) ไม่มีความเจ็บไข้ (๒) มีรูปงาม
(๓) ตรัสรู้ธรรมเร็วพลัน (๔) ได้ข้าวและน้ำ (๕) มีอายุยืน
[๑๖๓] บุคคลใด ๆ ยังโสมนัสให้เกิดอยู่
ถวายข้าวยาคูแด่หมู่พระสงฆ์
บุคคลนั้นเป็นบัณฑิตพึงได้รับอานิสงส์ ๕ ประการเหล่านี้
[๑๖๔] กิจทุกอย่างที่ควรทำ๒ ข้าพเจ้าก็ได้ทำเสร็จแล้ว
ภพทั้งหลายข้าพเจ้าก็เพิกถอนได้แล้ว
อาสวะทั้งปวงสิ้นไปแล้ว
บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก

เชิงอรรถ :
๑ บทที่ไม่หวั่นไหว หมายถึงพระนิพพาน (ขุ.อป.อ. ๑/๒๖๖/๒๗๖)
๒ กิจทุกอย่างที่ควรทำ ในที่นี้หมายถึงการกำจัดกิเลสให้สิ้นไป (ขุ.อป.อ. ๑/๓๕๔/๒๘๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๒. ภัททาลิวรรค] ๙. ปัตโถทนทายกเถราปทาน
[๑๖๕] ข้าพเจ้าจักเที่ยวไปนมัสการพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
และพระธรรมอันดี
จากบ้านหนึ่งไปยังบ้านหนึ่ง จากเมืองหนึ่งไปยังเมืองหนึ่ง
[๑๖๖] ในกัปที่ ๓๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
การที่ข้าพเจ้าได้ถวายทานไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายข้าวยาคู
[๑๖๗] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๖๘] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๖๙] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระยาคุทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ยาคุทายกเถราปทานที่ ๘ จบ

๙. ปัตโถทนทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระปัตโถทนทายกเถระ
(พระปัตโถทนทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๗๐] เมื่อก่อน ข้าพเจ้าชอบเที่ยวไปในป่า เป็นคนทำงานในป่าเสมอ
ถือข้าวสุกที่หุงจากข้าวสาลีแล่งหนึ่งแล้วได้ไปทำงาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๒. ภัททาลิวรรค] ๙. ปัตโถทนทายกเถราปทาน
[๑๗๑] ณ ที่นั้น ข้าพเจ้าได้เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า
ผู้ตรัสรู้เอง ไม่ทรงพ่ายแพ้
เสด็จออกจากป่าเพื่อบิณฑบาต
ครั้นเห็นแล้วก็ทำจิตให้เลื่อมใส (คิดว่า)
[๑๗๒] เราทำการงานให้คนอื่น บุญเราก็ไม่มี
คงมีแต่ข้าวสุกที่หุงจากข้าวสาลีแล่งหนึ่งนี้
เราจะนิมนต์พระมุนีนี้ให้เสวย
[๑๗๓] ข้าพเจ้าจึงหยิบข้าวสุกที่หุงจากข้าวสาลีแล่งหนึ่ง
ถวายพระสยัมภู ฝ่ายพระมหามุนีก็ได้เสวย
ขณะที่ข้าพเจ้าจ้องดูอยู่(นั่นเอง)
[๑๗๔] ด้วยกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๑๗๕] ข้าพเจ้าได้เป็นจอมเทพครองเทวสมบัติตลอด ๓๒ ชาติ
ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๓๓ ชาติ
[๑๗๖] ได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์นับชาติไม่ถ้วน
ข้าพเจ้าเป็นผู้มีความสุข มียศ
นี้เป็นผลแห่งการถวายข้าวสุกที่หุงจากข้าวสาลีแล่งหนึ่ง
[๑๗๗] เมื่อข้าพเจ้าเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพน้อยภพใหญ่
ได้ทรัพย์นับไม่ถ้วน ข้าพเจ้าไม่มีความบกพร่องในโภคะเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายข้าวสุกที่หุงจากข้าวสาลีแล่งหนึ่ง
[๑๗๘] โภคะทั้งหลายเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้าเหมือนกระแสน้ำ
ข้าพเจ้าไม่สามารถจะนับได้
นี้เป็นผลแห่งการถวายข้าวสุกที่หุงจากข้าวสาลีแล่งหนึ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๒. ภัททาลิวรรค] ๙. ปัตโถทนทายกเถราปทาน
[๑๗๙] ด้วยกรรมนั้น ข้าพเจ้าได้รับคำเชิญว่า เชิญเคี้ยวกินสิ่งนี้
เชิญบริโภคสิ่งนี้ เชิญนอนบนที่นอนนี้ ดังนี้แล
ข้าพเจ้าจึงเป็นผู้มีความสุข
นี้เป็นผลแห่งการถวายข้าวสุกที่หุงจากข้าวสาลีแล่งหนึ่ง
[๑๘๐] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายทานไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายข้าวสุกที่หุงจากข้าวสาลีแล่งหนึ่ง
[๑๘๑] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๘๒] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๘๓] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระปัตโถทนทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
ปัตโถทนทายกเถราปทานที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๒. ภัททาลิวรรค] ๑๐. มัญจทายกเถราปทาน
๑๐. มัญจทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระมัญจทายกเถระ
(พระมัญจทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๘๔] เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ
ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ผู้ประกอบด้วยพระกรุณา ปรินิพพานแล้ว
เมื่อปาพจน์๑กำลังแพร่หลายไป
เทวดาและมนุษย์พากันสักการะแล้ว
[๑๘๕] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นคนจัณฑาล
มีอาชีพทำเตียงนอนและตั่ง ข้าพเจ้าเลี้ยงชีพ
และ เลี้ยงดูบุตรภรรยาด้วยการงานนั้น
[๑๘๖] ข้าพเจ้าเลื่อมใส(ในพระศาสนา)
จึงทำเตียงนอนอย่างประณีตด้วยมือของตน
แล้วได้เข้าไปถวายแด่ภิกษุสงฆ์ด้วยตนเอง
[๑๘๗] ด้วยกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
เมื่อข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๑๘๘] ข้าพเจ้าถึงเทวโลก
ได้บันเทิงอยู่ในหมู่เทพชั้นดาวดึงส์
ที่นอนซึ่งมีราคามากเกิดขึ้นตามความปรารถนา
[๑๘๙] ข้าพเจ้าได้เป็นจอมเทพครองเทวสมบัติตลอด ๕๐ ชาติ
ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๘๐ ชาติ

เชิงอรรถ :
๑ ปาพจน์ หมายถึงพระไตรปิฎกที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้ (ขุ.อป.อ. ๑/๖๒๔/๓๖๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๒. ภัททาลิวรรค] ๑๐. มัญจทายกเถราปทาน
[๑๙๐] และได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์นับชาติไม่ถ้วน
เป็นผู้มีความสุข มียศ
นี้เป็นผลแห่งการถวายเตียงนอน
[๑๙๑] ครั้นข้าพเจ้าจุติจากเทวโลกมายังภพมนุษย์แล้ว
ที่นอนอย่างดี อันเหมาะสำหรับผู้สูงศักดิ์เกิดแก่ข้าพเจ้า
[๑๙๒] ภพนี้เป็นภพสุดท้ายของข้าพเจ้า
ภพสุดท้ายกำลังเป็นไปอยู่
แม้ในวันนี้ที่นอนก็ได้ปรากฏขึ้นในเวลาจะนอนเหมือนกัน
[๑๙๓] ในกัปที่ ๙๔ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายทานไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายเตียง
[๑๙๔] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๙๕] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๙๖] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระมัญจทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
มัญจทายกเถราปทานที่ ๑๐ จบ
ภัททาลิวรรคที่ ๔๒ จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๒. ภัททาลิวรรค] รวมอปทานที่มีในวรรค
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ภัททาลิเถราปทาน ๒. เอกฉัตติยเถราปทาน
๓. ติณสูลกฉาทนิยเถราปทาน ๔. มธุมังสทายกเถราปทาน
๕. นาคปัลลวกเถราปทาน ๖. เอกทีปิยเถราปทาน
๗. อุจฉังคปุปผิยเถราปทาน ๘. ยาคุทายกเถราปทาน
๙. ปัตโถทนทายกเถราปทาน ๑๐. มัญจทายกเถราปทาน

ในวรรคนี้ บัณฑิตนับคาถาได้ ๒๐๑ คาถา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๓. สกิงสัมมัชชกวรรค] ๑. สกิงสัมมัชชกเถราปทาน
๔๓. สกิงสัมมัชชกวรรค
หมวดว่าด้วยพระสกิงสัมมัชชกะเป็นต้น
๑. สกิงสัมมัชชกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระสกิงสัมมัชชกเถระ
(พระสกิงสัมมัชชกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑] ข้าพเจ้าได้เห็นต้นไม้อันเลิศชื่อว่าปาฏลิ(แคฝอย)
ซึ่งเป็นต้นไม้เป็นสถานที่ตรัสรู้อันสูงสุด
ของพระผู้มีพระภาคพระนามว่าวิปัสสี
แล้วทำใจให้เลื่อมใสในต้นไม้นั้น
[๒] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้ถือเอาไม้กวาดมากวาดบริเวณที่ตรัสรู้
ครั้นแล้วได้ไหว้ต้นปาฏลิอันเป็นสถานที่ตรัสรู้นั้น
[๓] ข้าพเจ้าทำจิตให้เลื่อมใสในต้นปาฏลินั้น
ประนมมือเหนือศีรษะ
นมัสการต้นโพธิ์นั้นแล้วกลับไปยังกระท่อม
[๔] ข้าพเจ้าเดินนึกถึงต้นไม้เป็นสถานที่ตรัสรู้
อันสูงสุดไปตามหนทางสัญจร
งูเหลือมตัวร้ายกาจมีกำลังมากรัดข้าพเจ้า
[๕] กรรมที่ข้าพเจ้าทำในเวลาใกล้ตาย
ได้ทำให้ข้าพเจ้ายินดีด้วยผล(ของกรรมนั้น)
งูเหลือมกลืนกินร่างข้าพเจ้า
ข้าพเจ้า(ตายไปแล้ว)รื่นรมย์อยู่ในเทวโลก
[๖] จิตของข้าพเจ้าไม่ขุ่นมัว บริสุทธิ์ผ่องใสในกาลทุกเมื่อ
ข้าพเจ้าไม่รู้จักลูกศรคือความเศร้าโศก
ที่เป็นเหตุทำจิตของข้าพเจ้าให้เร่าร้อนเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๓. สกิงสัมมัชชกวรรค] ๑. สกิงสัมมัชชกเถราปทาน
[๗] ข้าพเจ้าไม่มีโรคเรื้อน ฝี โรคกลาก
โรคลมบ้าหมู คุดทะราด หิดเปื่อย และหิดด้าน
นี้เป็นผลแห่งการกวาด
[๘] ความเศร้าโศก ความเร่าร้อนไม่มีในหทัยของข้าพเจ้า
จิตของข้าพเจ้าเที่ยงตรง ไม่วอกแวก
นี้เป็นผลแห่งการกวาด
[๙] ข้าพเจ้าเข้าถึงสมาธิ ใจก็บริสุทธิ์
สมาธิที่ข้าพเจ้าปรารถนาย่อมสำเร็จแก่ข้าพเจ้า
[๑๐] ข้าพเจ้าไม่กำหนัดในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
ไม่ขัดเคืองในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง
และไม่ลุ่มหลงในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความลุ่มหลง
นี้เป็นผลแห่งการกวาด
[๑๑] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ทำกรรมไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการกวาด(บริเวณที่ตรัสรู้)
[๑๒] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๓] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๓. สกิงสัมมัชชกวรรค] ๒. เอกทุสสทายกเถราปทาน
[๑๔] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระสกิงสัมมัชชกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
สกิงสัมมัชชกเถราปทานที่ ๑ จบ

๒. เอกทุสสทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระเอกทุสสทายกเถระ
(พระเอกทุสสทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๕] ข้าพเจ้าเป็นคนหาบหญ้าขายอยู่ในกรุงหงสวดี
เลี้ยงชีพด้วยการหาบหญ้า เลี้ยงดูบุตรภรรยาด้วยการงานนั้น
[๑๖] พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้ถึงความสำเร็จแห่งธรรมทั้งปวง
ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก กำจัดความมืดมนให้พินาศไป
เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว
[๑๗] ครั้งนั้น ข้าพเจ้านั่งอยู่ในเรือนของตน
คิดอย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลกแล้ว
ไทยธรรมก็ไม่มี
[๑๘] ข้าพเจ้ามีแต่ผ้าสาฎกผืนเดียวนี้
ไม่มีใครให้ข้าพเจ้า การตกนรกเป็นทุกข์
ข้าพเจ้าจักปลูกทักษิณา
[๑๙] ครั้นคิดเช่นนี้แล้ว ข้าพเจ้าจึงทำจิตของตนให้เลื่อมใส
ได้ถือผ้าผืนเดียวไปถวายพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๓. สกิงสัมมัชชกวรรค] ๒. เอกทุสสทายกเถราปทาน
[๒๐] ครั้นถวายแล้ว ได้ประกาศอย่างกึกก้องว่า
ข้าแต่พระมหามุนีผู้แกล้วกล้า
ถ้าพระองค์เป็นพระพุทธเจ้า
ขอได้ทรงโปรดช่วยข้าพระองค์ให้ข้ามพ้น(จากนรก)ด้วยเถิด
[๒๑] พระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ทรงรู้แจ้งโลก ผู้สมควรรับเครื่องบูชา
เมื่อจะทรงประกาศทานของข้าพเจ้า
ได้ทรงกระทำอนุโมทนาแก่ข้าพเจ้าว่า
[๒๒] ด้วยการถวายผ้าผืนเดียวนี้
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
บุรุษนี้จะไม่ตกนรกเลยตลอด ๑๐๐,๐๐๐ กัป
[๒๓] เขาจักได้เป็นจอมเทพครองเทวสมบัติตลอด ๓๖ ชาติ
จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๓๓ ชาติ
[๒๔] และจักได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์นับชาติไม่ถ้วน
เมื่อเธอเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพ
คือเทวโลกหรือมนุษยโลก
[๒๕] จักเป็นผู้มีรูปงาม สมบูรณ์ด้วยคุณธรรม
มีร่างกายสมส่วน จักได้ผ้านับไม่ได้ ประมาณไม่ได้
ตามที่ปรารถนา
[๒๖] ครั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ๑
ผู้เป็นนักปราชญ์ตรัสดังนี้แล้ว
ได้เสด็จเหาะขึ้นสู่ท้องฟ้า
เหมือนพญาหงส์ในอากาศ

เชิงอรรถ :
๑ ปทุมุตตระ แปลจากศัพท์ว่า ชลชุตฺตมนายโก (ขุ.อป.อ. ๒/๒๘/๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๓. สกิงสัมมัชชกวรรค] ๒. เอกทุสสทายกเถราปทาน
[๒๗] ข้าพเจ้าเกิดในกำเนิดใด ๆ
คือ จะเกิดเป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็ตาม
ข้าพเจ้าไม่มีความบกพร่องในโภคะเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผ้าผืนเดียว
[๒๘] ผ้าเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้าทุกย่างก้าว
ข้างล่างข้าพเจ้าก็ยืนอยู่บนผ้า
ข้างบนก็มีผ้าเป็นเครื่องมุงบัง
[๒๙] ในวันนี้ จักรวาลพร้อมทั้งป่า ภูเขา
เมื่อข้าพเจ้าปรารถนาก็จะพึงคลุมด้วยผ้าได้
[๓๐] เพราะถวายผ้าผืนเดียวเท่านั้นแหละ
ข้าพเจ้าเมื่อยังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพน้อยภพใหญ่๑
เป็นผู้มีผิวพรรณเหมือนทองคำ
เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพน้อยภพใหญ่
[๓๑] ข้าพเจ้าได้ถึงความเป็นภิกษุ
เพราะผลแห่งการถวายผ้าผืนเดียว
ถึงชาตินี้จะเป็นชาติสุดท้าย
ผ้าก็ยังให้ผลแก่ข้าพเจ้าอยู่ในขณะนี้
[๓๒] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายผ้าไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผ้าผืนเดียว
[๓๓] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ

เชิงอรรถ :
๑ ภพน้อยภพใหญ่ ในที่นี้หมายถึงความเจริญและความเสื่อม หรือสมบัติและวิบัติ ความยั่งยืนและความ
ขาดสูญ บุญและบาป (ขุ.จริยา.อ. ๒/๒๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๓. สกิงสัมมัชชกวรรค] ๓. เอกาสนทายกเถราปทาน
[๓๔] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๓๕] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระเอกทุสสทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
เอกทุสสทายกเถราปทานที่ ๒ จบ

๓. เอกาสนทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระเอกาสนทายกเถระ
(พระเอกาสนทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๓๖] ในที่ไม่ไกลจากภูเขาหิมพานต์ มีภูเขาลูกหนึ่งชื่อกสิกะ
ข้าพเจ้าได้สร้างอาศรมและบรรณศาลาไว้อย่างสวยงาม
[๓๗] ข้าพเจ้ามีนามว่านารทะ
แต่คนทั้งหลายเรียกว่ากัสสปะ
ครั้งนั้น ข้าพเจ้าแสวงหาทางบริสุทธิ์อาศัยอยู่ที่ภูเขากสิกะ
[๓๘] พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้ทรงถึงความสำเร็จแห่งธรรมทั้งปวง
ทรงประสงค์วิเวก จึงเสด็จมาทางอากาศ
[๓๙] ข้าพเจ้าเห็นพระรัศมีของพระองค์ ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
ซึ่งกำลังเสด็จมาเหนือยอดไม้
จึงจัดแจงเตียงไม้และปูลาดหนังสัตว์ไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๓. สกิงสัมมัชชกวรรค] ๒. เอกทุสสทายกเถราปทาน
[๔๐] ครั้นปูลาดอาสนะเสร็จแล้วประนมมือเหนือศีรษะ
ประกาศถึงความโสมนัสแล้ว ได้กราบทูลอย่างนี้ว่า
[๔๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นนักปราชญ์ ผู้ทรงเป็นผู้นำ
ขอพระองค์ผู้เป็นดังศัลยแพทย์ผู้ถอนลูกศร
ผู้เยียวยาความเดือดร้อน
ได้โปรดประทานการเยียวยาแก่ข้าพระองค์
ผู้ถูกความกำหนัดครอบงำด้วยเถิด
[๔๒] ข้าแต่พระมุนี ชนเหล่าใดมีความต้องการบุญ
พบเห็นพระองค์ผู้เป็นพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
ชนเหล่านั้นย่อมถึงความสำเร็จประโยชน์ที่ยั่งยืน
(และ)เขาเหล่านั้นจะพึงเป็นผู้ไม่แก่
[๔๓] ข้าพระองค์หาได้มีไทยธรรมถวายพระองค์ไม่
เพราะข้าพระองค์บริโภคผลไม้ที่หล่นเอง
ข้าพระองค์มีแต่อาสนะนี้
โปรดประทับนั่งบนเตียงไม้เถิด
[๔๔] พระผู้มีพระภาค ผู้ไม่มีความสะดุ้ง ผู้เป็นดุจราชสีห์
ได้ประทับนั่งบนเตียงไม้แล้ว สักครู่จึงได้ตรัสคำนี้ว่า
[๔๕] ท่านจงเบาใจเถิด อย่าได้กลัวเลย
ท่านได้แก้วมณีโชติรสแล้ว
อาสนะที่ท่านปรารถนาทั้งหมด
จักสำเร็จบริบูรณ์แก่ท่าน
[๔๖] บุญที่บุคคลบำเพ็ญไว้ดีแล้วในเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยม
เป็นบุญไม่น้อยเลย
ผู้ที่ตั้งจิตไว้ดีแล้วสามารถจะถอนตนเองขึ้นได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๓. สกิงสัมมัชชกวรรค] ๓. เอกาสนทายกเถราปทาน
[๔๗] ด้วยการถวายอาสนะนี้ และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
เขาจะไม่ตกนรกเลยตลอด ๑๐๐,๐๐๐ กัป
[๔๘] เขาจักเป็นจอมเทพครองเทวสมบัติตลอด ๕๐ ชาติ
จักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๘๐ ชาติ
[๔๙] และจักได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์นับชาติไม่ถ้วน
จักมีความสุขในที่ทุกสถานเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏ
[๕๐] ครั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้เป็นนักปราชญ์ตรัสดังนี้แล้ว
ได้เสด็จเหาะขึ้นสู่ท้องฟ้า
เหมือนพญาหงส์ในอากาศ
[๕๑] ยานคือช้าง ยานคือม้า
วอและคานหาม ข้าพเจ้าก็ได้รับมาครบถ้วน
นี้เป็นผลแห่งการถวายอาสนะที่เดียว
[๕๒] เมื่อข้าพเจ้าเข้าป่าแล้วต้องการอาสนะ
บัลลังก์ดังจะรู้ความดำริของข้าพเจ้าก็ปรากฏขึ้น
[๕๓] เมื่ออยู่ท่ามกลางน้ำต้องการที่นั่ง
บัลลังก์ดังจะรู้ความดำริของข้าพเจ้าก็ปรากฏขึ้น
[๕๔] ข้าพเจ้าเกิดในกำเนิดใด ๆ
คือจะเกิดเป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็ตาม
บัลลังก์ ๑๐๐,๐๐๐ แวดล้อมข้าพเจ้าอยู่ทุกเมื่อ
[๕๕] ข้าพเจ้าเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพทั้ง ๒
คือ (๑) ภพเทวดา (๒) ภพมนุษย์
เกิดในตระกูลเพียง ๒ ตระกูล
คือ (๑) ตระกูลกษัตริย์ (๒) ตระกูลพราหมณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๓. สกิงสัมมัชชกวรรค] ๓. เอกาสนทายกเถราปทาน
[๕๖] ข้าพเจ้าถวายอาสนะเพียงที่เดียวในเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยม
รู้ทั่วถึงบัลลังก์คือธรรมแล้ว จึงอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
[๕๗] ใน ๑๐๐,๐๐๐ กัป นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายทานไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายอาสนะที่เดียว
[๕๘] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๕๙] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๖๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระเอกาสนทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
เอกาสนทายกเถราปทานที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๓. สกิงสัมมัชชกวรรค] ๔. สัตตกทัมพปุปผิยเถราปทาน
๔. สัตตกทัมพปุปผิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระสัตตกทัมพปุปผิยเถระ
(พระสัตตกทัมพปุปผิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าว
ว่า)
[๖๑] ในที่ไม่ไกลจากภูเขาหิมพานต์ มีภูเขาลูกหนึ่งชื่อกทัมพะ
พระปัจเจกพุทธเจ้า ๗ องค์ อาศัยอยู่ที่ข้างภูเขานั้น
[๖๒] ข้าพเจ้าเห็นดอกกระทุ่ม
จึงเก็บมา ๗ ดอก แล้วประนมมือ
โปรยบูชาด้วยจิตที่เปี่ยมด้วยกุศล
[๖๓] ด้วยกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้วจึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๖๔] ในกัปที่ ๙๔ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ทำกรรมไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๖๕] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๖๖] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๓. สกิงสัมมัชชกวรรค] ๕. โกรัณฑปุปผิยเถราปทาน
[๖๗] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระสัตตกทัมพปุปผิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
สัตตกทัมพปุปผิยเถราปทานที่ ๔ จบ

๕. โกรัณฑปุปผิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระโกรัณฑปุปผิยเถระ
(พระโกรัณฑปุปผิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๖๘] เมื่อชาติปางก่อน ข้าพเจ้ากับบิดาและปู่เป็นคนทำงานในป่า
เลี้ยงชีพด้วยการฆ่าสัตว์ กุศลกรรมของเราไม่มี
[๖๙] ใกล้ที่อยู่ของข้าพเจ้า พระศาสดาพระนามว่าติสสะ
ผู้ทรงเป็นผู้นำชั้นเลิศของโลก ผู้มีพระจักษุ
ได้ทรงแสดงรอยพระบาทไว้ ๓ รอย
เพื่ออนุเคราะห์(ข้าพเจ้า)
[๗๐] ข้าพเจ้าเห็นรอยพระบาทของพระศาสดาพระนามว่าติสสะ
ที่พระองค์ทรงประทับไว้
ข้าพเจ้าเป็นผู้มีจิตร่าเริงบันเทิงใจ
ได้ทำจิตให้เลื่อมใสในรอยพระบาทนั้น
[๗๑] ข้าพเจ้าเห็นต้นอังกาบซึ่งงอกเลื้อยไปตามพื้นดิน
มีดอกบานสะพรั่ง จึงเด็ดมาพร้อมทั้งยอด
ได้บูชารอยพระบาทอันประเสริฐที่สุด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๓. สกิงสัมมัชชกวรรค] ๕. โกรัณฑปุปผิยเถราปทาน
[๗๒] ด้วยกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๗๓] ข้าพเจ้าเกิดในกำเนิดใด ๆ
คือจะเกิดเป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็ตาม
(ในกำเนิดนั้น ๆ )ข้าพเจ้ามีผิวพรรณดังดอกอังกาบ
มีรัศมีซ่านออกจากกาย
[๗๔] ในกัปที่ ๙๒ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ทำกรรมไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชารอยพระบาท
[๗๕] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๗๖] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๗๗] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระโกรัณฑปุปผิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
โกรัณฑปุปผิยเถราปทานที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๓. สกิงสัมมัชชกวรรค] ๖. ฆฏมัณฆทายกเถราปทาน
๖. ฆฏมัณฑทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระฆฏมัณฑทายกเถระ
(พระฆฏมัณฑทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๗๘] พระผู้มีพระภาคผู้ทรงดำริดีแล้ว
ผู้เจริญที่สุดในโลก ทรงองอาจกว่านรชน
เสด็จเข้าไปยังป่าใหญ่ ทรงพระประชวรด้วยโรคลม
[๗๙] ข้าพเจ้าได้เห็นแล้วจึงทำจิตให้เลื่อมใส นำหัวน้ำมันเนยเข้าไปถวาย
เพราะบุญกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้และได้สั่งสมไว้แล้ว
แม่น้ำคงคาภาคีรถี๑นี้
[๘๐] และมหาสมุทรทั้ง ๔ บันดาลเนยใสให้สำเร็จแก่ข้าพเจ้า
อนึ่ง พื้นปฐพีที่กว้างใหญ่ ประมาณมิได้ กำหนดนับมิได้นี้
[๘๑] ดังจะรู้ความดำริของข้าพเจ้า
จึงกลายเป็นน้ำผึ้งและน้ำตาลกรวด
ต้นไม้ที่งอกขึ้นบนแผ่นดินในทิศทั้ง ๔
[๘๒] ดังจะรู้ความดำริของข้าพเจ้า
จึงกลายเป็นต้นกัลปพฤกษ์ไป
ข้าพเจ้าได้เป็นจอมเทพครองเทวสมบัติตลอด ๕๐ ชาติ
[๘๓] ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๕๑ ชาติ
และได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์นับชาติไม่ถ้วน
[๘๔] ในกัปที่ ๙๔ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายทานไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายหัวน้ำมันเนย

เชิงอรรถ :
๑ สาเหตุที่เรียกแม่น้ำคงคาว่าภาคีรถี เนื่องจากเป็นแม่น้ำที่ไหลแยกเป็นแม่น้ำใหญ่ ๕ สาย เป็นเหตุให้
แผ่นดินชมพูทวีปแยกเป็น ๕ ส่วน (ขุ.อป.อ. ๑/๓๖๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๓. สกิงสัมมัชชกวรรค] ๗. เอกธัมมัสสวนิยเถราปทาน
[๘๕] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๘๖] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๘๗] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระฆฏมัณฑทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
ฆฏมัณฑทายกเถราปทานที่ ๖ จบ

๗. เอกธัมมัสสวนิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระเอกธัมมสวนิยเถระ
(พระเอกธัมมัสสวนิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๘๘] พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ทรงถึงฝั่งความสำเร็จแห่งธรรมทั้งปวง
ประกาศสัจจะ ๔๑ ทรงช่วยชนจำนวนมากให้ข้ามพ้นดีแล้ว
[๘๙] สมัยนั้น ข้าพเจ้าเป็นชฎิล มีตบะแก่กล้า
สะบัดผ้าเปลือกไม้ เหาะไปในท้องฟ้า ในครั้งนั้น

เชิงอรรถ :
๑ สัจจะ ๔ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค (ขุ.อป.อ. ๒/๖๗/๑๐๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๓. สกิงสัมมัชชกวรรค] ๗. เอกธัมมัสสวนิยเถราปทาน
[๙๐] ข้าพเจ้าไม่สามารถจะเหาะผ่านไปเหนือพระพุทธเจ้า
ผู้ประเสริฐที่สุดได้ ข้าพเจ้าเหาะไปไม่ได้
เหมือนนกเข้าไปใกล้ภูเขาแล้วบินผ่านไปไม่ได้
[๙๑] ข้าพเจ้าพ่นลมหายใจออกเป็นไอน้ำลอยอยู่ในท้องฟ้าด้วยคิดว่า
เหตุที่ทำให้อิริยาบถของเราขัดข้องเช่นนี้ ไม่เคยมี
[๙๒] เอาละ เราจักค้นหาสาเหตุนั้น
เผื่อจักได้ผล จึงลงจากอากาศ
ก็ได้ฟังพระสุรเสียงของพระศาสดา
[๙๓] เมื่อพระศาสดาตรัสถึงสังขารไม่เที่ยง
ด้วยพระสุรเสียงที่น่ายินดี น่าฟัง ไพเราะ
ขณะนั้นข้าพเจ้าได้เรียนอนิจจลักษณะนั่นแหละ
ครั้นเรียนอนิจจลักษณะได้แล้ว ก็ได้ไปยังอาศรมของตน
[๙๔] ข้าพเจ้าอยู่ในอาศรมนั่นแหละตราบเท่าสิ้นอายุ จึงได้ตาย
เมื่อจุติจิตซึ่งเป็นจิตดวงสุดท้ายกำลังจะเป็นไป
ข้าพเจ้าก็ระลึกถึงการฟังพระสัทธรรมได้๑
[๙๕] ด้วยกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ดีนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้วจึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๙๖] รื่นรมย์อยู่ในเทวโลกตลอด ๓๐,๐๐๐ กัป
ได้ครองเทวสมบัติตลอด ๕๑ ชาติ
[๙๗] ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๓๑ ชาติ
ได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์นับชาติไม่ถ้วน

เชิงอรรถ :
๑ สัทธรรม หมายถึงธรรมอันดี หรือศาสนามี ๓ ประการ คือ (๑) ปริยัติสัทธรรม (๒) ปฏิปัตติสัทธรรม
(๓) อธิคมสัทธรรม (วิ.อ. ๒/๔๓๘/๔๒๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๓. สกิงสัมมัชชกวรรค] ๗. เอกธัมมัสสวนิยเถราปทาน
[๙๘] ข้าพเจ้าเสวยบุญของตน
มีความสุขในภพน้อยภพใหญ่
ข้าพเจ้าเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพน้อยภพใหญ่
ก็ยังระลึกถึงสัญญานั้นได้
ข้าพเจ้าหาได้แทงตลอดบทอันไม่จุติ
คือพระนิพพานด้วยธรรมไร ๆ ไม่
[๙๙] ได้มีสมณะผู้อบรมอินทรีย์มานั่งที่เรือนบิดา
ท่านได้แสดงธรรมกถา
และยกอนิจจลักษณะในธรรมกถานั้นขึ้นว่า
[๑๐๐] สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ
มีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเป็นธรรมดา
เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป
ภาวะที่สังขารเหล่านั้นสงบระงับเป็นความสุข
[๑๐๑] ขณะที่สดับคาถา ข้าพเจ้าได้ระลึกถึงสัญญาทุกอย่าง
นั่ง ณ อาสนะเดียว ก็ได้บรรลุอรหัตตผลแล้ว
[๑๐๒] ข้าพเจ้าได้บรรลุอรหัตตผลตั้งแต่อายุได้ ๗ ขวบ
พระพุทธเจ้าจึงให้ข้าพเจ้าอุปสมบท
นี้เป็นผลแห่งการฟังธรรม
[๑๐๓] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ฟังธรรมไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการฟังธรรม
[๑๐๔] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๓. สกิงสัมมัชชกวรรค] ๘. สุจินติตเถราปทาน
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๐๕] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๐๖] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระเอกธัมมสวนิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
เอกธัมมัสสวนิยเถราปทานที่ ๗ จบ

๘. สุจินติตเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระสุจินติตเถระ
(พระสุจินติตเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๐๗] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นชาวนาอยู่ในกรุงหงสวดี
เลี้ยงชีพด้วยกสิกรรม เลี้ยงดูบุตรภรรยาด้วยกสิกรรมนั้น
[๑๐๘] ครั้งนั้น นาของข้าพเจ้าสมบูรณ์ดี
ข้าวของข้าพเจ้าออกรวงแล้ว
เมื่อถึงเวลาข้าวสุก บัดนั้น ข้าพเจ้าคิดอย่างนี้ว่า
[๑๐๙] การที่เรารู้คุณโทษอยู่ ไม่ได้ถวายสงฆ์
บริโภคส่วนเลิศด้วยตนเอง เป็นการไม่เหมาะ ไม่สมควร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๓. สกิงสัมมัชชกวรรค] ๘. สุจินติตเถราปทาน
[๑๑๐] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเสมอเหมือน๑ ในโลก
ผู้ทรงพระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ๒
และพระสงฆ์ผู้ถือกำเนิด จากพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
เป็นเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยม
[๑๑๑] เราจักถวายข้าวใหม่เป็นทาน แด่พระพุทธเจ้า
และพระสงฆ์เป็นปฐมฤกษ์ ครั้นคิดเช่นนี้แล้ว
ข้าพเจ้าเป็นผู้มีใจร่าเริง ปลาบปลื้มด้วยปีติ
[๑๑๒] จึงนำข้าวเปลือกมาจากนา เข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ครั้นเข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เจริญที่สุดในโลก
ผู้ทรงองอาจกว่านรชน
กราบพระยุคลบาทพระศาสดาแล้ว กราบทูลคำนี้ว่า
[๑๑๓] “ข้าแต่พระมุนี ข้าวใหม่สมบูรณ์แล้ว
ทั้งพระองค์ก็ยังประทับอยู่ ณ ที่นี้
ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระจักษุ
ขอพระองค์จงทรงพระกรุณารับเถิด”
[๑๑๔] พระศาสดาพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้ทรงรู้แจ้งโลก ผู้สมควรรับเครื่องบูชา
ทรงทราบความดำริของข้าพเจ้าแล้ว ได้ตรัสคำนี้ว่า

เชิงอรรถ :
๑ ผู้ไม่มีใครเสมอเหมือน หมายถึงไม่มีใครเสมอเหมือนด้วยปัญญาเป็นเครื่องรู้ประโยชน์อย่างยอดเยี่ยม
(ขุ.อป.อ. ๑/๕๖/๑๓๓)
๒ ดูเชิงอรรถหน้า ๑๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๓. สกิงสัมมัชชกวรรค] ๘. สุจินติตเถราปทาน
[๑๑๕] บุรุษบุคคลผู้กำลังปฏิบัติ ๔ จำพวก
และผู้ตั้งอยู่ในผล ๔ จำพวกนี้
คือสงฆ์ เป็นผู้ซื่อตรง มีปัญญา
มีศีล และมีสมาธิ
[๑๑๖] มนุษย์ทั้งหลายผู้หวังบุญให้ทานอยู่
ทำบุญปรารภเหตุแห่งการเวียนว่ายตายเกิด๑
ถวายทานแก่พระสงฆ์ใด จึงมีผลมาก
และข้าวของท่านก็ควรถวายพระสงฆ์นั้นจึงจะมีผลมากเช่นนั้น
[๑๑๗] ท่านจงนำภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้รับมอบหมายจากพระสงฆ์
ไปยังเรือนของตนแล้ว
ถวายสิ่งของที่มีอยู่ในเรือน
ซึ่งท่านตระเตรียมไว้แด่ภิกษุสงฆ์เถิด
[๑๑๘] ข้าพเจ้าได้นำภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้รับมอบหมายจากพระสงฆ์
ไปยังเรือนของตนแล้ว
ถวายสิ่งของที่ข้าพเจ้าตระเตรียมไว้ในเรือนแด่ภิกษุสงฆ์
[๑๑๙] ด้วยกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๑๒๐] ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้น
มีวิมานทองเปล่งปลั่งสูง ๖๐ โยชน์ กว้าง ๓๐ โยชน์
อันกรรมสร้างไว้อย่างสวยงามเพื่อข้าพเจ้า
ภาณวารที่ ๑๙ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ขุ.วิ. (แปล) ๒๖/๖๓๙/๗๐, ขุ.วิ.อ. ๖๓๘-๖๓๙/๑๗๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๓. สกิงสัมมัชชกวรรค] ๘. สุจินติตเถราปทาน
[๑๒๑] วิมานของข้าพเจ้าเนืองแน่นไปด้วยหมู่เทพนารี
ข้าพเจ้ากิน ดื่ม และอยู่ในวิมานนั้นในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๑๒๒] ข้าพเจ้าได้ครองเทวสมบัติตลอด ๓,๐๐๐ ชาติ
ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๕๐๐ ชาติ
และได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์นับชาติไม่ถ้วน
[๑๒๓] เมื่อข้าพเจ้าเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพน้อยภพใหญ่
ได้ทรัพย์นับไม่ถ้วน ข้าพเจ้าไม่มีความบกพร่องในโภคะเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายข้าวใหม่
[๑๒๔] ยานคือช้าง ยานคือม้า วอและคานหาม
ข้าพเจ้าก็ได้รับมาครบถ้วน
นี้เป็นผลแห่งการถวายข้าวใหม่
[๑๒๕] ผ้าใหม่ ผลไม้ใหม่ โภชนะที่มีรสเลิศใหม่ ๆ
ข้าพเจ้าก็ได้รับมาครบถ้วน
นี้เป็นผลแห่งการถวายข้าวใหม่
[๑๒๖] ผ้าไหม ผ้ากัมพล ผ้าเปลือกไม้ และผ้าฝ้าย
ข้าพเจ้าก็ได้รับมาครบถ้วน
นี้เป็นผลแห่งการถวายข้าวใหม่
[๑๒๗] หมู่ทาสหญิง ทาสชาย และเหล่านารี
ที่ประดับตกแต่งอย่างสวยงาม
ข้าพเจ้าก็ได้รับมาครบถ้วน
นี้เป็นผลแห่งการถวายข้าวใหม่
[๑๒๘] ความหนาว ความร้อนไม่เบียดเบียนข้าพเจ้า
ข้าพเจ้าไม่มีความเร่าร้อน
อนึ่ง ทุกข์ทางใจก็ไม่มีในหทัยของข้าพเจ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๓. สกิงสัมมัชชกวรรค] ๘. สุจินติตเถราปทาน
[๑๒๙] (คำเชื้อเชิญเช่นนี้ว่า) เชิญเคี้ยวกินสิ่งนี้ เชิญบริโภคสิ่งนี้
เชิญนอนบนที่นอนนี้ ข้าพเจ้าก็ได้รับมาครบถ้วน
นี้เป็นผลแห่งการถวายข้าวใหม่
[๑๓๐] บัดนี้ ภพนี้เป็นภพสุดท้าย
ภพสุดท้ายกำลังเป็นไปอยู่
แม้ในวันนี้ไทยธรรมของข้าพเจ้า
ก็เป็นผลทำให้ข้าพเจ้ายินดีอยู่ทุกเมื่อ
[๑๓๑] ข้าพเจ้าได้ถวายข้าวใหม่ในหมู่พระสงฆ์
ผู้เป็นคณะที่ประเสริฐสูงสุด
ย่อมได้รับอานิสงส์
ซึ่งสมควรแก่กรรมของข้าพเจ้า ๘ ประการ
[๑๓๒] คือ (๑) ข้าพเจ้าเป็นผู้มีผิวพรรณผุดผ่อง
(๒) มียศ (๓) มีโภคะมากมายซึ่งใคร ๆ ก็ลักไปไม่ได้
(๔) มีพรรคพวกมาก (๕) มีบริวารไม่แตกแยกกันทุกเมื่อ
[๑๓๓] (๖) สัตว์ที่อาศัยแผ่นดินทุกจำพวกล้วนยำเกรงข้าพเจ้า
(๗) ข้าพเจ้าได้ไทยธรรมก่อนผู้อื่น
[๑๓๔] (๘) จะเป็นในท่ามกลางหมู่ภิกษุ
หรือเฉพาะพระพักตร์พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุดก็ตาม
พวกทายกจะล่วงเลยท่านเหล่านั้นทั้งหมด
มุ่งมาถวายข้าพเจ้าเท่านั้น
[๑๓๕] ข้าพเจ้าได้รับอานิสงส์เหล่านี้
เพราะได้ถวายข้าวใหม่ในหมู่พระสงฆ์
ผู้เป็นคณะที่ประเสริฐสูงสุดก่อน
นี้เป็นผลแห่งการถวายข้าวใหม่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๓. สกิงสัมมัชชกวรรค] ๙. โสณณกิงกณิยเถราปทาน
[๑๓๖] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายทานไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายข้าวใหม่
[๑๓๗] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๓๘] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๓๙] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระสุจินติตเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
สุจินติตเถราปทานที่ ๘ จบ

๙. โสณณกิงกณิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระโสณณกิงกณิยเถระ
(พระโสณณกิงกณิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๔๐] ข้าพเจ้ามีศรัทธาได้ออกบวชเป็นบรรพชิต
อาศัยการบำเพ็ญตบะ จึงได้นุ่งห่มผ้าเปลือกไม้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๓. สกิงสัมมัชชกวรรค] ๙. โสณณกิงกณิยเถราปทาน
[๑๔๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพระนามว่าอัตถทัสสี
ผู้เจริญที่สุดในโลก ทรงองอาจกว่านรชน
เสด็จอุบัติขึ้น ทรงช่วยมหาชนให้ข้ามพ้น(วัฏฏสงสาร)
[๑๔๒] ข้าพเจ้าหมดกำลังเพราะป่วยหนัก
ระลึกถึงพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
จึงก่อพระสถูปที่อุดมไว้ที่หาดทราย
[๑๔๓] ครั้นแล้ว ข้าพเจ้าเป็นผู้มีจิตร่าเริง
มีใจเบิกบาน โปรยดอกกระดิ่งทองโดยพลัน
[๑๔๔] ข้าพเจ้าปรนนิบัติพระสถูป
เหมือนกับปรนนิบัติพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเฉพาะพระพักตร์
อนึ่ง ด้วยจิตที่เลื่อมใสต่อพระพุทธเจ้า
พระนามว่าอัตถทัสสี ผู้คงที่นั้น
[๑๔๕] ข้าพเจ้าจึงได้ไปเกิดยังเทวโลก
ได้ความสุขอันไพบูลย์ในเทวโลกนั้น
ข้าพเจ้ามีผิวพรรณเหมือนทองคำ
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๑๔๖] เทพนารีของข้าพเจ้ามีประมาณ ๘๐ โกฏิ
ประดับตกแต่งสวยงาม ต่างก็บำรุงข้าพเจ้าอยู่ทุกเมื่อ
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๑๔๗] เครื่องดนตรี ๖๐,๐๐๐ ชิ้น คือ กลอง
ตะโพน สังข์ บัณเฑาะว์ มโหระทึก กลองใหญ่
บรรเลงอย่างไพเราะในวิมานนั้น
[๑๔๘] ช้างกุญชรตระกูลมาตังคะตกมันสามแห่ง๑ อายุ ๖๐ ปี
จำนวน ๘๔,๐๐๐ เชือก ประดับตกแต่งสวยงาม
[๑๔๙] คลุมด้วยข่ายทองคำ บำรุงข้าพเจ้า
ความบกพร่องด้วยกำลังพลและที่อยู่ย่อมไม่มีแก่ข้าพเจ้า

เชิงอรรถ :
๑ สามแห่ง คือ (๑) ตา (๒) หู (๓) อวัยวะเพศ (ขุ.อป.อ. ๑/๕๕๓/๓๔๘,๖๕๗/๓๗๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๓. สกิงสัมมัชชกวรรค] ๙. โสณณกิงกณิยเถราปทาน
[๑๕๐] ข้าพเจ้าเสวยผลวิบากของดอกกระดิ่งทอง
ได้ครองเทวสมบัติตลอด ๕๘ ชาติ
[๑๕๑] ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๗๑ ชาติ
และได้ครองสมบัติในมหาปฐพีตลอด ๑๐๑ ชาติ
[๑๕๒] บัดนี้ ข้าพเจ้าได้บรรลุอมตบทที่ลึกซึ้ง
เห็นได้ยาก สังโยชน์สิ้นแล้ว
บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก
[๑๕๓] ในกัปที่ ๑,๘๐๐ (นับจากกัปนี้ไป)
ข้าพเจ้าได้ใช้ดอกไม้บูชาไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๑๕๔] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๕๕] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๕๖] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระโสณณกิงกณิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
โสณณกิงกณิยเถราปทานที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๓. สกิงสัมมัชชกวรรค] ๑๐. โสวัณณโกตริกเถราปทาน
๑๐. โสวัณณโกนตริกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระโสวัณณโกนตริกเถระ
(พระโสวัณณโกนตริกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าว
ว่า)
[๑๕๗] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ตรัสรู้
อบรมพระทัย ฝึกพระองค์แล้ว มีพระทัยตั้งมั่น
เสด็จดำเนินอยู่ในทางอันประเสริฐ
ทรงยินดีในการสงบระงับจิต
[๑๕๘] ผู้ทรงข้ามโอฆะ๑ ได้แล้ว มีปกติเพ่งพินิจ
ยินดีในฌาน เป็นมุนี เข้าสมาบัติ
ไม่ละการสำรวมอินทรีย์
[๑๕๙] ข้าพเจ้าเห็นแล้ว จึงใช้กะโหลกน้ำเต้าตักน้ำ
เข้าไปหาพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
ล้างพระบาทของพระพุทธเจ้าแล้ว ถวายกะโหลกน้ำเต้า
[๑๖๐] ก็พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ได้รับสั่งว่า
เธอจงใช้กะโหลกน้ำเต้านี้ตักน้ำมาวางไว้ใกล้ ๆ เท้าของเรา
[๑๖๑] เนื่องจาก ข้าพเจ้ามีความเคารพต่อพระศาสดา
จึงรับสนองพระพุทธดำรัสว่า ขอรับ
แล้วใช้กะโหลกน้ำเต้าไปตักน้ำมาถวาย
พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
[๑๖๒] พระมหาวีรพุทธเจ้า
เมื่อจะทรงยังจิตของข้าพเจ้าให้สงบเย็น

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๒ หน้า ๒ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๓. สกิงสัมมัชชกวรรค] ๑๐. โสวัณณโกตริกเถราปทาน
[๑๖๓] ข้าพเจ้ารื่นรมย์อยู่ในเทวโลกตลอด ๑๕ กัป
และได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๓๓ ชาติ
[๑๖๔] จะเป็นเวลากลางวันหรือกลางคืนก็ตาม
เมื่อข้าพเจ้าเดินหรือยืนอยู่
คนทั้งหลายถือเอาธงชัยทองคำยืนอยู่ข้างหน้าข้าพเจ้า
[๑๖๕] ข้าพเจ้าได้ธงชัยทองคำมา
เพราะการถวายกะโหลกน้ำเต้าแด่พระพุทธเจ้า
สักการะที่ทำไว้ในท่านผู้คงที่ทั้งหลาย
ถึงจะน้อยก็ย่อมเป็นของไพบูลย์
[๑๖๖] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายกะโหลกน้ำเต้าไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายกะโหลกน้ำเต้า
[๑๖๗] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๖๘] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๓. สกิงสัมมัชชกวรรค] รวมอปทานที่มีในวรรค
[๑๖๙] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระโสวัณณโกนตริกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
โสวัณณโกนตริกเถราปทานที่ ๑๐ จบ
สกิงสัมมัชชกวรรคที่ ๔๓ จบบริบูรณ์

รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สกิงสัมมัชชกเถราปทาน ๒. เอกทุสสทายกเถราปทาน
๓. เอกาสนทายกเถราปทาน ๔. สัตตกทัมพปุปผิยเถราปทาน
๕. โกรัณฑปุปผิยเถราปทาน ๖. ฆฏมัณฑทายกเถราปทาน
๗. เอกธัมมสวนิยเถราปทาน ๘. สุจินติตเถราปทาน
๙. โสณณกิงกณิยเถราปทาน ๑๐. โสวัณณโกนตริกเถราปทาน

ในวรรคนี้ บัณฑิตนับคาถาได้ ๑๗๑ คาถา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๔. เอกวิหาริวรรค] ๑. เอกวิหาริยเถราปทาน
๔๔. เอกวิหาริวรรค
หมวดว่าด้วยพระเถระผู้อยู่ผู้เดียวเป็นต้น
๑. เอกวิหาริยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระเอกวิหาริยเถระ
(พระเอกวิหาริยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑] ในภัทรกัปนี้ พระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ ตามพระโคตร
ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของท้าวมหาพรหม มีพระยศยิ่งใหญ่
ประเสริฐกว่าเจ้าลัทธิทั้งหลาย เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว
[๒] พระองค์ไม่มีธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า๑
ปราศจากธรรมเครื่องหน่วงเหนี่ยว
มีพระทัยเสมอด้วยอากาศ
มีปกติอยู่ในที่วิเวก เป็นผู้คงที่
ยินดีในอนิมิตตสมาธิ๒ มีความชำนาญ(ในญาณ)
[๓] มีพระทัยไม่เกี่ยวข้องในอารมณ์
ไม่มีตัณหาแปดเปื้อน
ไม่คลุกคลีในตระกูล ในหมู่คณะ
ทรงประกอบด้วยพระมหากรุณา
ทรงเป็นนักปราชญ์ ทรงฉลาดในอุบายสำหรับแนะนำ
[๔] ทรงขวนขวายในกิจของผู้อื่น
ทรงแนะนำทั้งมนุษย์และเทวดา
ทรงแนะนำทางไปสู่พระนิพพาน
อันสามารถยังเปือกตมคือคติให้เหือดแห้ง

เชิงอรรถ :
๑ ธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า ได้แก่ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ (ที.ม.อ. ๒/๓๕๘/๓๓๖)
๒ อนิมิตตสมาธิ ในที่นี้หมายถึงอนิมิตตวิโมกข์ (ขุ.อป.อ. ๑/๑๓๓/๒๔๕,๕๑๖/๓๔๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๔. เอกวิหาริวรรค] ๑. เอกวิหาริยเถราปทาน
[๕] และทรงแนะนำพระนิพพานอันเป็นอมตะ
มีความแช่มชื่นอย่างยิ่ง
เป็นธรรมเครื่องกั้นความแก่และความตาย
พระองค์ประทับนั่ง ท่ามกลางบริษัทใหญ่
ทรงช่วยสัตว์โลกให้ข้ามพ้น
[๖] ผู้ทรงเป็นที่พึ่ง มีพระสุรเสียงไพเราะ
เหมือนเสียงนกการเวก
มีพระสุรเสียงก้องดังเสียงพรหม
ทรงถอนเวไนยสัตว์ผู้จะฉิบหาย
เพราะขาดผู้แนะนำขึ้นจากมหันตทุกข์
[๗] ข้าพเจ้าได้เห็นพระผู้มีพระภาคผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ผู้ทรงแสดงธรรมที่ปราศจากธุลีคือกิเลส
ได้ฟังธรรมของพระองค์แล้ว จึงออกบวชเป็นภิกษุ
[๘] ครั้นบวชแล้วในกาลนั้น
ข้าพเจ้าถูกความคลุกคลี๑ บีบคั้น
คิดถึงคำสอนของพระชินเจ้า
จึงได้ไปอยู่ในป่าที่น่ารื่นรมย์แต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น
[๙] การดับแห่งสักกายทิฏฐิอันเป็นเหตุแห่งความยึดมั่น
เกิดแก่ข้าพเจ้าผู้มีความวิเวกแห่งจิต
ผู้เห็นภัยในความเกี่ยวข้อง
[๑๐] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ

เชิงอรรถ :
๑ ความคลุกคลี มี ๕ อย่าง คือ (๑) คลุกคลีด้วยการเห็น (๒) คลุกคลีด้วยการฟัง (๓) คลุกคลีด้วยการสัมผัส
ทางกาย (๔) คลุกคลีด้วยการเจรจาปราศรัย (๕) คลุกคลีด้วยการกินอยู่ร่วมกัน (ขุ.อป.อ. ๑/๙๒/๑๘๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๔. เอกวิหาริวรรค] ๒. เอกสังขิยเถราปทาน
[๑๒] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๓] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระเอกวิหาริยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
เอกวิหาริยเถราปทานที่ ๑ จบ

๒. เอกสังขิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระเอกสังขิยเถระ
(พระเอกสังขิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๓] ได้มีงานสมโภชต้นมหาโพธิ์
ของพระผู้มีพระภาคพระนามว่าวิปัสสี
มหาชนมาชุมนุมกันบูชาต้นมหาโพธิ์ที่ประเสริฐ
[๑๔] (ข้าพเจ้าเกิดความดำริว่า)
ต้นมหาโพธิ์นี้ที่ควรบูชาเช่นนี้
ของพระศาสดาพระองค์ใด(ย่อมแสดงว่า)
พระศาสดาพระองค์นั้นจักเป็นผู้เว้นจากความเศร้าโศกมาก
ทรง มีปัญญา เป็นพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
[๑๕] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าถือสังข์เป่าบูชาต้นโพธิ์ตลอดวัน
แล้วไหว้ต้นมหาโพธิ์ที่ประเสริฐ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๔. เอกวิหาริวรรค] ๒. เอกสังขิยเถราปทาน
[๑๖] เมื่อร่างกายข้าพเจ้าล้มตายลง
กรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำในเวลาใกล้ตาย
ส่งผลให้ข้าพเจ้าถึงเทวโลก
และข้าพเจ้าได้รื่นรมย์อยู่ในเทวโลก
[๑๗] เครื่องดนตรี ๖๐,๐๐๐ ชิ้น
มีเสียงน่ายินดี น่าร่าเริง บันเทิงใจ
ขับกล่อมข้าพเจ้าอยู่ทุกเมื่อ
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๑๘] ในกัปที่ ๗๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้เป็นพระราชามีนามว่าสุทัสสนะ
มีชัยชนะเป็นใหญ่ในชมพูทวีป
มีมหาสมุทรทั้ง ๔ เป็นขอบเขต
[๑๙] ครั้งนั้น เครื่องดนตรี ๘๐๐ ชิ้น
แวดล้อมข้าพเจ้าอยู่ทุกเมื่อ
ข้าพเจ้าได้รับผลบุญของตน
นี้เป็นผลแห่งการบำรุงต้นโพธิ์
[๒๐] ข้าพเจ้าเกิดในกำเนิดใด ๆ
คือจะเกิดเป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็ตาม
ถึงข้าพเจ้ายังอยู่ในครรภ์มารดา
กลองก็ประโคมอยู่ตลอดเวลา
[๒๑] เพราะอุปัฏฐากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ข้าพเจ้าจึงได้เสวยสมบัติทั้งหลาย
และบรรลุนิพพานบทอันไม่หวั่นไหว
เป็นแดนเกษมจากภัย เป็นอมตธรรม และไม่มีมลทิน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๔. เอกวิหาริวรรค] ๓. ปาฏิหีรสัญญกเถราปทาน
[๒๒] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ทำกรรมไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๒๓] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๒๔] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๒๕] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระเอกสังขิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
เอกสังขิยเถราปทานที่ ๒ จบ

๓. ปาฏิหีรสัญญกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระปาฏิหีรสัญญกเถระ
(พระปาฏิหีรสัญญกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๒๖] ครั้งนั้น พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้สมควรรับเครื่องบูชา ได้เสด็จเข้าไปยังพระนคร
พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ผู้ได้วสี จำนวน ๑๐๐,๐๐๐ รูป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๔. เอกวิหาริวรรค] ๓. ปาฏิหีรสัญญกเถราปทาน
[๒๗] ทันทีที่พระพุทธเจ้า ผู้สงบ ผู้คงที่
เสด็จเข้าพระนคร ก็ได้มีเสียงกึกก้อง
ให้การต้อนรับตามถนน
[๒๘] เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จเข้าพระนคร
พิณที่ไม่มีคนดีดคนเคาะ ก็บรรเลงขึ้นเอง ด้วยพุทธานุภาพ
[๒๙] ข้าพเจ้านมัสการพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
พระนามว่าปทุมุตตระ ผู้เป็นมหามุนี
และเห็นปาฏิหาริย์แล้ว ได้ทำจิตให้เลื่อมใสในปาฏิหาริย์นั้น
[๓๐] พระพุทธเจ้า ช่างน่าอัศจรรย์ พระธรรม ช่างน่าอัศจรรย์
การที่เรามาประจวบกับพระศาสดา ช่างน่าอัศจรรย์
เครื่องดนตรีแม้ปราศจากจิตวิญญาณก็ยังบรรเลงได้เอง
[๓๑] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
เพราะข้าพเจ้าได้ความประทับใจในพระพุทธเจ้า
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการประทับใจในพระพุทธเจ้า
[๓๒] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๓๓] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๔. เอกวิหาริวรรค] ๔. ญาณัตถวิกเถราปทาน
[๓๔] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระปาฏิหีรสัญญกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
ปาฏิหีรสัญญกเถราปทานที่ ๓ จบ

๔. ญาณัตถวิกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระญาณัตถวิกเถระ
(พระญาณัตถวิกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๓๕] ข้าพเจ้าได้เห็นพระพุทธเจ้า ผู้สูงสุด
แห่งเทวดาและมนุษย์รุ่งเรืองดังดอกกรรณิการ์
โชติช่วงดังต้นพฤกษาประทีป๑ ไพโรจน์ดังทองคำ
[๓๖] ข้าพเจ้าวางคนโทน้ำ ผ้าเปลือกไม้
ธมกรก(กระบอกกรองน้ำ) ทำหนังเสือเฉวียงบ่า
แล้วก็สดุดีพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุดว่า
[๓๗] ข้าแต่พระมุนี พระองค์ทรงขจัดความมืดมน
ซึ่งอากูลไปด้วยข่ายคือโมหะ
ทรงแสดงแสงสว่างคือญาณ แล้วเสด็จข้ามไป
[๓๘] พระองค์ทรงถอนสัตว์โลกนี้ขึ้น(จากวัฏฏสงสาร) แล้ว
พระญาณอันหยั่งรู้สรรพสิ่ง(ของพระองค์) เป็นสิ่งที่ยอดเยี่ยม
คติทั่วหล้าก็มิอาจเปรียบได้กับพระญาณของพระองค์

เชิงอรรถ :
๑ ต้นพฤกษาประทีป หมายถึงดอกไม้ไฟ โคมไฟ (ขุ.อป.อ. ๑/๔๔-๔๕/๑๓๑, ขุ.พุทฺธ.อ. ๔๕/๗๙,๓๐/๑๘๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๔. เอกวิหาริวรรค] ๔. ญาณัตถวิกเถราปทาน
[๓๙] ด้วยพระญาณนั้น ชาวโลกจึงขนานพระนามพระองค์ว่า
สัพพัญญู สัพพัญญู
ข้าพระพุทธเจ้าไหว้พระองค์
ผู้มีความเพียรอันยิ่งใหญ่
ทรงทราบธรรมทั้งปวง หาอาสวะมิได้
[๔๐] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้สดุดีพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุดไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการสดุดีพระพุทธญาณ
[๔๑] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๔๒] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๔๓] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระญาณัตถวิกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ญาณัตถวิกเถราปทานที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๔. เอกวิหาริวรรค] ๕. อุจฉุขัณฑิกเถราปทาน
๕. อุจฉุขัณฑิกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอุจฉุขัณฑิกเถระ
(พระอุจฉุขัณฑิกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๔๔] ข้าพเจ้าเป็นคนเฝ้าประตูอยู่ในกรุงพันธุมดี
ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลีคือกิเลส
ผู้ทรงถึงความสำเร็จแห่งธรรมทั้งปวง
[๔๕] ข้าพเจ้ามีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี
ได้ถือท่อนอ้อยมาถวายพระพุทธเจ้า
ผู้ประเสริฐที่สุดพระนามว่าวิปัสสี ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๔๖] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายอ้อยไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายท่อนอ้อย
[๔๗] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๔๘] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๔๙] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระอุจฉุขัณฑิกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
อุจฉุขัณฑิกเถราปทานที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๔. เอกวิหาริวรรค] ๖. กลัมพทายกเถราปทาน
๖. กลัมพทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระกลัมพทายกเถระ
(พระกลัมพทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๕๐] พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโรมสะ
ประทับอยู่ที่ซอกภูเขา
ข้าพเจ้าเลื่อมใส ได้ถวายผักบุ้ง
แด่พระองค์ด้วยมือทั้ง ๒ ของตน
[๕๑] ในกัปที่ ๙๔ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายทานไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผักบุ้ง
[๕๒] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๕๓] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๕๔] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระกลัมพทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
กลัมพทายกเถราปทานที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๔. เอกวิหาริวรรค] ๗. อัมพาฏกทายกเถราปทาน
๗. อัมพาฏกทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอัมพาฏกทายกเถระ
(พระอัมพาฏกทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าว
ว่า)
[๕๕] ที่ป่าใหญ่ข้าพเจ้าได้เห็นพระพุทธเจ้า
ผู้ทรงเป็นพระสยัมภู ผู้ไม่ทรงพ่ายแพ้
จึงได้ถือผลมะกอกมาถวายพระสยัมภู
[๕๖] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายผลไม้ไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
[๕๗] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๕๘] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๕๙] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระอัมพาฏกทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
อัมพาฏกทายกเถราปทานที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๔. เอกวิหาริวรรค] ๘. หรีตกทายกเถราปทาน
๘. หรีตกทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระหรีตกทายกเถระ
(พระหรีตกทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๖๐] ข้าพเจ้ากำลังนำผลสมอ ผลมะขามป้อม ผลมะม่วง
ผลหว้า ผลสมอพิเภก ผลกระเบา ผลรกฟ้า
และผลมะตูมมาด้วยตนเอง
[๖๑] ข้าพเจ้าได้พบพระมหามุนี ผู้มีปกติเข้าฌาน
ยินดีในฌาน เป็นมุนี ถูกอาพาธเบียดเบียน
ทรงเดินทางไกล ประทับอยู่ที่เงื้อมภูเขา
[๖๒] ข้าพเจ้าจึงนำผลสมอมาถวายพระสยัมภู
เพียงข้าพเจ้าปรุงเภสัชเสร็จแล้ว
ความเจ็บป่วยก็หายไปในทันใดนั้นเอง
[๖๓] พระพุทธเจ้าผู้ละความกระวนกระวายได้แล้ว
ได้ทรงอนุโมทนาว่า
ก็ด้วยการถวายเภสัชซึ่งเป็นเครื่องระงับความเจ็บป่วยนี้
[๖๔] ท่านจะเกิดเป็นเทวดา เป็นมนุษย์
หรือเกิดในชาติอื่น ๆ ก็ตาม
ขอจงเป็นผู้มีความสุขในที่ทุกสถาน
และอย่าได้มีความเจ็บป่วยเลย
[๖๕] ครั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงเป็นพระสยัมภู
ผู้ไม่ทรงพ่ายแพ้ ผู้ทรงเป็นนักปราชญ์ตรัสดังนี้แล้ว
ได้เสด็จเหาะขึ้นสู่ท้องฟ้า เหมือนพญาหงส์ไปในอากาศ
[๖๖] ข้าพเจ้าได้ถวายผลสมอแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้ทรงเป็นพระสยัมภู ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ในชาติใด
ความเจ็บป่วยจึงมิได้เกิดแก่ข้าพเจ้าอีกเลยจนถึงชาตินี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๔. เอกวิหาริวรรค] ๘. หรีตกทายกเถราปทาน
[๖๗] ภพนี้เป็นภพสุดท้ายของข้าพเจ้า
ภพสุดท้ายกำลังเป็นไปอยู่
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๖๘] ในกัปที่ ๙๔ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายเภสัชไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายเภสัช
[๖๙] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๗๐] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๗๑] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระหรีตกทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
หรีตกทายกเถราปทานที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๔. เอกวิหาริวรรค] ๙. อัมพปิณฑิยเถราปทาน
๙. อัมพปิณฑิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอัมพปิณฑิยเถระ
(พระอัมพปิณฑิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๗๒] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นพญาช้างมีงางอนงาม๑
เหมาะที่จะเป็นราชพาหนะ
เที่ยวอยู่ในป่าใหญ่ ได้เห็นพระผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
[๗๓] ข้าพเจ้าได้หยิบชิ้นมะม่วงมาถวายพระศาสดา
พระมหาวีระพระนามว่าสิทธัตถะ ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลกทรงรับแล้ว
[๗๔] ขณะที่ข้าพเจ้าเพ่งดูอยู่ พระชินเจ้าได้เสวยแล้วในครั้งนั้น
ข้าพเจ้าทำจิตให้เลื่อมใสในพระชินเจ้าพระองค์นั้นแล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต
[๗๕] ข้าพเจ้าจุติจากสวรรค์ชั้นดุสิตนั้นแล้ว
ได้เสวยสมบัติเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ โดยอุบายนั้นแล
[๗๖] ข้าพเจ้ามีจิตเด็ดเดี่ยวเพื่อบำเพ็ญเพียร
มีจิตสงบระงับ ไม่มีอุปธิ
กำหนดรู้อาสวะ๒ ทั้งปวงแล้ว จึงอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
[๗๗] ในกัปที่ ๙๔ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายทานไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้

เชิงอรรถ :
๑ มีงางอนงาม หมายถึงมีงางอนเหมือนงอนรถ (ขุ.อป.อ. ๑/๖๕๗/๓๗๗, ขุ.อป.อ. ๒/๑๗๙-๘๐/๓๗๐)
๒ อาสวะ หมายถึงกิเลสเครื่องหมักดองมี ๔ คือ (๑) กามาสวะ (๒) ภวาสวะ (๓) ทิฏฐาสวะ (๔) อวิชชาสวะ
(ขุ.เถร.อ. ๒/๕๙๖/๒๓๕, ที.ปา. (แปล) ๑๑/๓๐๕/๒๖๔, องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๙๘/๓๑๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๔. เอกวิหาริวรรค] ๑๐. ชัมพูผลิยเถราปทาน
[๗๘] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๗๙] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๘๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระอัมพปิณฑิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
อัมพปิณฑิยเถราปทานที่ ๙ จบ

๑๐. ชัมพูผลิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระชัมพูผลิยเถระ
(พระชัมพูผลิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๘๑] เมื่อพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้เจริญที่สุดในโลก ผู้คงที่ ทรงพระยศอย่างสูงสุด
ซึ่งกำลังเสด็จเที่ยวบิณฑบาต
[๘๒] ข้าพเจ้ามีจิตเลื่อมใส ได้ถือเอาผลหว้าไปถวายพระศาสดา
ผู้เป็นทักขิไณยบุคคล ผู้ทรงเป็นนักปราชญ์
[๘๓] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมแห่งเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ผู้เจริญที่สุดในโลก ทรงองอาจกว่านรชน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๔. เอกวิหาริวรรค] ๑๐. ชัมพูผลิยเถราปทาน
เพราะกรรมนั้น ข้าพเจ้าจึงเป็นผู้ละความชนะ๑
และความพ่ายแพ้๒ ได้แล้ว บรรลุฐานะที่ไม่หวั่นไหว๓
[๘๔] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายทานไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลหว้า
[๘๕] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๘๖] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๘๗] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระชัมพูผลิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ชัมพูผลิยเถราปทานที่ ๑๐ จบ
เอกวิหาริวรรคที่ ๔๔ จบบริบูรณ์

เชิงอรรถ :
๑ ละความชนะ หมายถึงละทิพยสมบัติและมนุษยสมบัติ (ขุ.อป.อ. ๒/๙/๑๐๗)
๒ ละความพ่ายแพ้ หมายถึงละทุกข์ในอบาย ๔ (ขุ.อป.อ. ๒/๙/๑๐๗)
๓ ฐานะที่ไม่หวั่นไหว หมายถึงพระอรหัตตผลและนิพพาน (ขุ.เถร.อ. ๒/๖๕๑/๒๖๘, ขุ.อป.อ. ๑/๒๙๑/๒๗๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๔. เอกวิหาริวรรค] รวมอปทานที่มีในวรรค
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. เอกวิหาริยเถราปทาน ๒. เอกสังขิยเถราปทาน
๓. ปาฏิหีรสัญญกเถราปทาน ๔. ญาณัตถวิกเถราปทาน
๕. อุจฉุขัณฑิกเถราปทาน ๖. กลัมพทายกเถราปทาน
๗. อัมพาฏกทายกเถราปทาน ๘. หรีตกทายกเถราปทาน
๙. อัมพปิณฑิยเถราปทาน ๑๐. ชัมพูผลิยเถราปทาน

ในวรรคนี้ บัณฑิตนับคาถาได้ ๘๖ คาถา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๕. วิเภทกิวรรค] ๑. วิเภทกพีชิยเถราปทาน
๔๕. วิเภทกิวรรค
หมวดว่าด้วยพระวิเภทกะเป็นต้น
๑. วิเภทกพีชิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระวิเภทกพีชิยเถระ
(พระวิเภทกพีชิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑] พระมหาวีรพุทธเจ้า ผู้ทรงถึงความสำเร็จแห่งธรรมทั้งปวง
พระนามว่ากกุสันธะ พระองค์เสด็จออกจากคณะไปสู่ป่า
[๒] ข้าพเจ้าได้ใช้เถาวัลย์ร้อยจาวตาลถือเที่ยวไปแล้ว
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเข้าฌานอยู่ที่ซอกภูเขา
[๓] ข้าพเจ้าเห็นพระพุทธเจ้าผู้เป็นเทพยิ่งกว่าเทพแล้ว
มีจิตเลื่อมใส ได้ถวายจาวตาลแด่พระพุทธเจ้า
ผู้เป็นทักขิไณยบุคคล ผู้ทรงเป็นนักปราชญ์
[๔] ข้าพเจ้าได้ถวายพืชไว้ในครั้งนั้น
ในภัทรกัปนี้ จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายจาวตาล
[๕] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๖] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๕. วิเภทกิวรรค] ๒. โกลทายกเถราปทาน
[๗] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระวิเภทกพีชิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
วิเภทกพีชิยเถราปทานที่ ๑ จบ

๒. โกลทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระโกลทายกเถระ
(พระโกลทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๘] ครั้งนั้น ข้าพเจ้านุ่งผ้าหนังสัตว์
ห่มผ้าเปลือกไม้ บรรจุผลพุทราจนเต็มหาบ
แล้วหาบไปยังอาศรมของข้าพเจ้า
[๙] กาลนั้น พระพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี
ผู้ทรงทำโลกให้สว่างไสวตลอดกาล
ได้เสด็จเข้ามายังอาศรมของข้าพเจ้าเพียงลำพังพระองค์เดียว
[๑๐] ข้าพเจ้าทำจิตของตนให้เลื่อมใส
และไหว้พระพุทธเจ้าผู้มีวัตรงดงาม
แล้วถวายผลพุทราแด่พระพุทธเจ้าด้วยมือทั้ง ๒
[๑๑] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายผลพุทราไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลพุทรา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๕. วิเภทกิวรรค] ๓. เวลุวผลิยเถราปทาน
[๑๒] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๓] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๔] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระโกลทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
โกลทายกเถราปทานที่ ๒ จบ

๓. เวลุวผลิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระเวลุวผลิยเถระ
(พระเวลุวผลิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๕] ใกล้ฝั่งแม่น้ำจันทภาคา
ข้าพเจ้าได้สร้างอาศรมไว้อย่างดี
มีต้นมะตูมอยู่เรียงราย
เป็นที่รวมหมู่ไม้นานาพันธุ์
[๑๖] ข้าพเจ้าเห็นผลมะตูมมีกลิ่นหอมแล้ว
ระลึกถึงพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
ทั้งยินดีและตื่นเต้น ได้เก็บผลมะตูมใส่หาบจนเต็ม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๕. วิเภทกิวรรค] ๓. เวลุวผิยเถราปทาน
[๑๗] เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าพระนามว่ากกุสันธะ
มีจิตเลื่อมใสได้ถวายผลมะตูมสุกแด่พระองค์
ผู้เป็นเนื้อนาบุญ ผู้ทรงเป็นนักปราชญ์
[๑๘] ข้าพเจ้าได้ถวายผลมะตูมไว้ในตอนต้นแห่งภัทรกัปนี้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลมะตูม
[๑๙] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๒๐] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๒๑] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระเวลุวผลิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
เวลุวผลิยเถราปทานที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๕. วิเภทกิวรรค] ๔. ภัลลาตกทายกเถราปทาน
๔. ภัลลาตกทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระภัลลาตกทายกเถระ
(พระภัลลาตกทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๒๒] พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้มีพระฉวีวรรณดังทองคำ
มีพระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ๑
ดุจต้นพญาไม้สาละที่มีดอกบานสะพรั่ง
กำลังเสด็จเหาะไปทางอากาศ
[๒๓] ข้าพเจ้าได้ปูลาดเครื่องลาดหญ้า
ทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
ขอพระพุทธเจ้าจงอนุเคราะห์ข้าพระองค์
ข้าพระองค์ปรารถนาจะถวายภิกษา
[๒๔] พระพุทธเจ้าพระนามว่าอัตถทัสสี
ผู้ทรงอนุเคราะห์ ประกอบด้วยพระกรุณา
มีพระยศยิ่งใหญ่ ได้ทรงทราบความดำริของข้าพเจ้า
จึงเสด็จลงมาที่อาศรมของข้าพเจ้า
[๒๕] ครั้นแล้ว พระองค์ได้ประทับบนเครื่องลาดใบไม้
ข้าพเจ้าได้ถือผลรกฟ้ามาถวายพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
[๒๖] ขณะที่ข้าพเจ้าเพ่งดูอยู่ พระชินเจ้าได้เสวยแล้วในครั้งนั้น
ข้าพเจ้าทำจิตให้เลื่อมใสในพระชินเจ้าพระองค์นั้นแล้ว
ก็ในครั้งนั้นได้ไหว้พระชินเจ้าอีก
[๒๗] ในกัปที่ ๑๑๘ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายผลไม้ไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถหน้า ๑๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๕. วิเภทกิวรรค] ๕. อุมาปุปผิยเถราปทาน
[๒๘] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๒๙] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๓๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระภัลลาตกทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ ฉะนี้
ภัลลาตกทายกเถราปทานที่ ๔ จบ

๕. อุมาปุปผิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอุมาปุปผิยเถระ
(พระอุมาปุปผิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๓๑] เมื่อต้นไทรซึ่งเป็นต้นไม้อันเป็นสถานที่ตรัสรู้ งอกงามเขียวขจี
ข้าพเจ้าได้ประคองดอกผักตบขึ้นบูชาต้นไม้อันเป็นสถานที่ตรัสรู้
[๓๒] ในภัทรกัปนี้ ข้าพเจ้าได้บูชาต้นไม้อันเป็นสถานที่ตรัสรู้ไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาต้นไม้อันเป็นสถานที่ตรัสรู้
[๓๓] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๕. วิเภทกิวรรค] ๖. อัมพาฏกิยเถราปทาน
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๓๔] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๓๕] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระอุมาปุปผิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
อุมาปุปผิยเถราปทานที่ ๕ จบ

๖. อัมพาฏกิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอัมพาฏกิยเถระ
(พระอัมพาฏกิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๓๖] พระมุนีพระนามว่าเวสสภู เสด็จเข้าไปยังป่าไม้สาละ
ซึ่งมีดอกบานสะพรั่ง ประทับนั่งอยู่ที่ซอกภูเขา
ดุจพญาราชสีห์มีชาติสูง
[๓๗] ข้าพเจ้าเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี
ได้ใช้ดอกมะกอกบูชาพระมหาวีระ
ผู้เป็นเนื้อนาบุญด้วยมือทั้ง ๒ ของตน
[๓๘] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ใช้ดอกไม้บูชาไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๕. วิเภทกิวรรค] ๗. สีหาสนิกเถราปทาน
[๓๙] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๔๐] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๔๑] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระอัมพาฏกิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
อัมพาฏกิยเถราปทานที่ ๖ จบ

๗. สีหาสนิกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระสีหาสนิกเถระ
(พระสีหาสนิกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๔๒] ข้าพเจ้าเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี
ได้ถวายพระแท่นสีหาสน์๑แด่พระผู้มีพระภาค
พระนามว่าปทุมุตตระ ผู้บำเพ็ญประโยชน์เพื่อสรรพสัตว์
[๔๓] ข้าพเจ้าอยู่ในโลกใด ๆ
คือจะเป็นเทวโลกหรือมนุษยโลกก็ตาม

เชิงอรรถ :
๑ พระแท่นสีหาสน์ ในที่นี้หมายถึงอาสนะที่มีรูปราชสีห์ ประดับด้วยเงิน ทอง และรัตนะ (ขุ.อป.อ.
๒/๒๑/๒๑๙) อีกนัยหนึ่ง หมายถึงอาสนะชั้นดี (ขุ.อป.อ. ๒/๒๗/๒๔๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๕. วิเภทกิวรรค] ๗. สีหาสนิกเถราปทาน
ในโลกนั้น ๆ ข้าพเจ้าได้วิมานอันไพบูลย์
นี้เป็นผลแห่งการถวายพระแท่นสีหาสน์
[๔๔] บัลลังก์ทอง บัลลังก์เงิน บัลลังก์แก้วทับทิม
และบัลลังก์แก้วมณีจำนวนมาก
บังเกิดแก่ข้าพเจ้า ในกาลทุกเมื่อ
[๔๕] ข้าพเจ้าได้สร้างอาสนะไว้ที่ควงไม้สนอันเป็นที่ตรัสรู้
ของพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
แล้วได้บังเกิดในตระกูลสูง
น่าอัศจรรย์ พระธรรมเป็นธรรมดี
[๔๖] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ทำพระแท่นสีหาสน์ไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายพระแท่นสีหาสน์
[๔๗] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๔๘] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๔๙] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระสีหาสนิกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
สีหาสนิกเถราปทานที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๕. วิเภทกิวรรค] ๘. ปาทปีฐิยเถราปทาน
๘. ปาทปีฐิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระปาทปีฐิยเถระ
(พระปาทปีฐิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๕๐] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสุเมธะ
ผู้ประกอบด้วยพระกรุณา เป็นพระมหามุนี
พระองค์ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่
ทรงช่วยเหล่าสัตว์จำนวนมาก
ให้ข้ามพ้น(วัฏฏสงสาร) แล้วก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน
[๕๑] ข้าพเจ้าเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี
ได้ใช้ให้คนทำตั่งสำหรับวางเท้าไว้ที่ใกล้พระแท่นสีหาสน์
ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสุเมธะ
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
[๕๒] ข้าพเจ้าทำกุศลกรรมที่มีสุขเป็นผล
มีสุขเป็นกำไรแล้ว เป็นผู้ประกอบแต่กรรมดี
ได้ไปเกิดยังสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๕๓] ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้น
เมื่อข้าพเจ้าผู้มีความเพียบพร้อมด้วยกรรมดี
ก้าวเท้าไป ตั่งทองก็ผุดขึ้น(รองรับ)
[๕๔] นรชนเหล่าใดได้ยินคำว่าพระพุทธเจ้า
นรชนเหล่านั้นนับว่าโชคดี
การที่พวกเธอทำสักการะในพระพุทธเจ้า
ผู้เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว
ได้สุขอันไพบูลย์ นับว่าเป็นลาภที่พวกเธอได้ดีแล้ว
[๕๕] แม้กรรมข้าพเจ้าก็ทำไว้ดีแล้ว
ข้าพเจ้าประกอบการค้าขายไว้ดีแล้ว
ข้าพเจ้าทำตั่งสำหรับวางเท้า(ถวาย) จึงได้ตั่งทองคำ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๕. วิเภทกิวรรค] ๘. ปาทปีฐิยเถราปทาน
[๕๖] เมื่อข้าพเจ้ามีกิจธุระบางอย่างที่ต้องเดินทางไปสู่ทิศทางใด ๆ
ข้าพเจ้าต้องเหยียบไปบนตั่งทองคำในทิศนั้น ๆ
นี้เป็นผลแห่งกรรมดี
[๕๗] ในกัปที่ ๓๐,๐๐๐ (นับจากกัปนี้ไป)
ข้าพเจ้าได้ทำกรรมไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายตั่งสำหรับวางเท้า
[๕๘] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๕๙] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๖๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระปาทปีฐิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ปาทปีฐิยเถราปทานที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๕. วิเภทกิวรรค] ๙. เวทิการกเถราปทาน
๙. เวทิการกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระเวทิการกเถระ
(พระเวทิการกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๖๑] ข้าพเจ้าได้สร้างไพที๑อย่างสวยงามไว้ที่ควงไม้สน
อันประเสริฐอันเป็นที่ตรัสรู้
ซึ่งเป็นต้นไม้ที่สูงสุดของพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
แล้วทำจิตของตนให้เลื่อมใส
[๖๒] เครื่องใช้หลายชนิด ซึ่งเลิศโอฬาร
ทั้งที่ทำเสร็จแล้วและยังทำไม่เสร็จ
ตกลงมาจากอากาศ
นี้เป็นผลแห่งการสร้างไพที
[๖๓] ในสงครามทั้ง ๒ ฝ่ายประชิดกัน น่าสะพรึงกลัว
เมื่อข้าพเจ้าเข้าไปก็ไม่พบสิ่งที่น่าหวาดกลัวเลย
นี้เป็นผลแห่งการสร้างไพที
[๖๔] วิมานที่งดงามและที่นอนซึ่งมีค่ามาก
ดังจะรู้ความดำริของข้าพเจ้าก็บังเกิด
นี้เป็นผลแห่งการสร้างไพที
[๖๕] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้สร้างไพทีไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการสร้างไพที
[๖๖] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว

เชิงอรรถ :
๑ ไพที หมายถึงที่รอง แท่น ฐานบัวคว่ำบัวหงายที่พระเจดีย์ ชานล้อมรอบที่จงกรม (ขุ.พุทฺธ.อ. ๑๔/๖๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๕. วิเภทกิวรรค] ๑๐. โพธิฆรการกเถราปทาน
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๖๗] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๖๘] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระเวทิการกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
เวทิการกเถราปทานที่ ๙ จบ

๑๐. โพธิฆรการกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระโพธิฆรการกเถระ
(พระโพธิฆรการกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๖๙] ข้าพเจ้าเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี
ได้ใช้ให้คนทำเรือนโพธิ์ถวายพระผู้มีพระภาค
พระนามว่าสิทธัตถะ ผู้เป็นจอมแห่งเทวดาและมนุษย์ ผู้คงที่
[๗๐] ข้าพเจ้าเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต
อยู่ในเรือนแก้ว ความหนาว ความร้อน
หรือลมมิได้ถูกต้องตัวข้าพเจ้าเลย
[๗๑] ในกัปที่ ๖๕ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
วิสสุกรรมเทพบุตร ได้เนรมิตนครชื่อกาสิกะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๕. วิเภทกิวรรค] ๑๐. โพธิฆรการกเถราปทาน
[๗๒] ยาว ๑๐ โยชน์ กว้าง ๘ โยชน์ เพื่อข้าพเจ้า
ในนครนั้นไม่มีไม้เครือเถาและดินเลย
[๗๓] วิสสุกรรมเทพบุตรเนรมิตปราสาทชื่อมงคล
ยาวหนึ่งโยชน์ กว้างครึ่งโยชน์ เพื่อข้าพเจ้า
[๗๔] เสาปราสาท ๘๔,๐๐๐ ต้นล้วนเป็นทองคำ
พื้นสำเร็จด้วยแก้วมณี หลังคาทำด้วยแผ่นเงิน
[๗๕] วิสสุกรรมเทพบุตรเนรมิตตัวเรือนสำเร็จด้วยทองคำล้วน
ข้าพเจ้าได้อยู่ครองปราสาทนั้น
นี้เป็นผลแห่งการถวายเรือนโพธิ์
[๗๖] ข้าพเจ้าได้เสวยผลทั้งปวงนั้น
ในภพทั้งที่เป็นเทวดาและที่เป็นมนุษย์
ในวันนี้ ข้าพเจ้าบรรลุนิพพานซึ่งเป็นสันติบทอันประเสริฐ
[๗๗] ในกัปที่ ๓๐,๐๐๐ (นับจากกัปนี้ไป)
ข้าพเจ้าได้ใช้ให้คนทำเรือนโพธิ์ไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายเรือนโพธิ์
[๗๘] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๗๙] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๕. วิเภทกิวรรค] รวมอปทานที่มีในวรรค
[๘๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระโพธิฆรการกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
โพธิฆรการกเถราปทานที่ ๑๐ จบ
วิเภทกิวรรคที่ ๔๕ จบบริบูรณ์

รวมอปทานที่มีในวรรคนี้คือ

๑. วิเภทกพีชิยเถราปทาน ๒. โกลทายกเถราปทาน
๓. เวลุวผลิยเถราปทาน ๔. ภัลลาตกทายกเถราปทาน
๕. อุมาปุปผิยเถราปทาน ๖. อัมพาฏกิยเถราปทาน
๗. สีหาสนิกเถราปทาน ๘. ปาทปีฐิยเถราปทาน
๙. เวทิการกเถราปทาน ๑๐. โพธิฆรการกเถราปทาน

ในวรรคนี้ บัณฑิตนับคาถาได้ ๗๙ คาถา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๖. ชคติทายกวรรค] ๑. ชคติทายกเถราปทาน
๔๖. ชคติทายกวรรค
หมวดว่าด้วยพระชคติทายกะเป็นต้น
๑. ชคติทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระชคติทายกเถระ
(พระชคติทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑] ข้าพเจ้าเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี
ได้ให้สร้างแท่นบูชาไว้ที่ควงไม้โพธิ์
ซึ่งเป็นต้นไม้ที่ประเสริฐของพระมุนีพระนามว่าธัมมทัสสี
[๒] ข้าพเจ้าพลัดตกเหวก็ดี ภูเขาก็ดี
ต้นไม้ก็ดี ย่อมได้ที่รองรับ
นี้เป็นผลแห่งการสร้างแท่นบูชา
[๓] โจรไม่เบียดเบียนข้าพเจ้า กษัตริย์ก็ไม่ดูหมิ่นข้าพเจ้า
ข้าพเจ้ารอดพ้นจากศัตรูทุกจำพวก
นี้เป็นผลแห่งการสร้างแท่นบูชา
[๔] ข้าพเจ้าเกิดในกำเนิดใด ๆ
คือจะเกิดเป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็ตาม
ข้าพเจ้าย่อมเป็นผู้ที่เขาบูชาในที่ทุกสถาน
นี้เป็นผลแห่งการสร้างแท่นบูชา
[๕] ในกัปที่ ๑,๘๐๐ (นับจากกัปนี้ไป)
ข้าพเจ้าได้ให้สร้างแท่นบูชาไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการสร้างแท่นบูชา
[๖] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๖. ชคติทายกวรรค] ๒. โมรหัตถิยเถราปาทาน
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๗] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๘] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระชคติทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ชคติทายกเถราปทานที่ ๑ จบ

๒. โมรหัตถิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระโมรหัตถิยเถระ๑
(พระโมรหัตถิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๙] ข้าพเจ้าถือพัดหางนกยูงเข้าเฝ้าพระผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ข้าพเจ้าเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี ได้ถวายพัดหางนกยูง
[๑๐] ด้วยพัดหางนกยูงนี้ และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
ไฟ ๓ กอง๒ของข้าพเจ้าดับสนิทแล้ว
ข้าพเจ้าจึงได้ความสุขอันไพบูลย์

เชิงอรรถ :
๑ พระโมรหัตถิยเถระ หมายถึงพระเสนกเถระหลานของพระอุรุเวลกัสสปเถระ (ขุ.เถร.อ. ๒/๖/๑๗)
๒ ไฟ ๓ กอง ได้แก่ ไฟคือราคะ ไฟคือโทสะ และไฟคือโมหะ (ที.ปา. (แปล) ๑๑/๓๐๕/๒๖๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๖. ชคติทายกวรรค] ๒. โมรหัตถิยเถราปทาน
[๑๑] พระพุทธเจ้า ช่างน่าอัศจรรย์ พระธรรม ช่างน่าอัศจรรย์
การที่ข้าพเจ้าประจวบกับพระศาสดา ช่างน่าอัศจรรย์
เพราะถวายพัดหางนกยูง
ข้าพเจ้าจึงได้สุขอันไพบูลย์
[๑๒] ไฟ ๓ กอง ของข้าพเจ้าดับสนิทแล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
อาสวะทั้งปวงสิ้นไปแล้ว
บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก
[๑๓] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายทานไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายพัดหางนกยูง
[๑๔] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๕] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๖] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระโมรหัตถิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
โมรหัตถิยเถราปทานที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๖. ชคติทายกวรรค] ๓. สีหาสนพีชิยเถราปทาน
๓. สีหาสนพีชิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระสีหาสนพีชิยเถระ๑
(พระสีหาสนพีชิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๗] ข้าพเจ้าได้ไหว้ต้นโพธิ์ของพระผู้มีพระภาคพระนามว่าติสสะ
ได้ถือพัดวีชนีมาถวายงานพัดพระแท่นสีหาสน์ในที่นั้น
[๑๘] ในกัปที่ ๙๒ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายงานพัดพระแท่นสีหาสน์ไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายงานพัด
[๑๙] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๒๐] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๒๑] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระสีหาสนพีชิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
สีหาสนพีชิยเถราปทานที่ ๓ จบ

เชิงอรรถ :
๑ พระสีหาสนพีชิยเถระ หมายถึงพระชัมพุกเถระ (ขุ.เถร.อ. ๒/๕/๑๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๖. ชคติทายกวรรค] ๔. ติณุกกธาริยเถราปทาน
๔. ติณุกกธาริยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระติณุกกธาริยเถระ๑
(พระติณุกกธาริยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๒๒] ข้าพเจ้าเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี
ได้ถือคบเพลิง ๓ ดวง (บูชา)
ที่ใกล้ต้นโพธิ์ซึ่งเป็นต้นไม้ที่ประเสริฐของพระพุทธเจ้า
พระนามว่าปทุมุตตระ
[๒๓] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถือคบเพลิง(บูชา)
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายคบเพลิง
[๒๔] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๒๕] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๒๖] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระติณุกกธาริยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ติณุกกธาริยเถราปทานที่ ๔ จบ

เชิงอรรถ :
๑ พระติณุกกธาริยเถระ หมายถึงพระนันทกเถระ (ขุ.เถร.อ. ๒/๔/๑๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๖. ชคติทายกวรรค] ๕. อักกมนทายกเถราปทาน
๕. อักกมนทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอักกมนทายกเถระ๑
(พระอักกมนทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๒๗] ข้าพเจ้าได้ถวายฉลองพระบาทแด่พระพุทธเจ้า
พระนามว่ากกุสันธะ
ผู้ทรงเป็นนักปราชญ์ ลอยบาปได้แล้ว อยู่จบพรหมจรรย์
ผู้ทรงดำเนินไปสู่ที่ประทับในเวลากลางวัน
[๒๘] ในภัทรกัปนี้ ข้าพเจ้าได้ถวายทานไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายฉลองพระบาท
[๒๙] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๓๐] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๓๑] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระอักกมนทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
อักกมนทายกเถราปทานที่ ๕ จบ

เชิงอรรถ :
๑ พระอักกมนทายกเถระ หมายถึงพระสุภิยเถระ (ขุ.เถร.อ. ๒/๓/๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๖. ชคติทายกวรรค] ๖. วนโกรัณฑิยเถราปทาน
๖. วนโกรัณฑิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระวนโกรัณฑิยเถระ
(พระวนโกรัณฑิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๓๒] ข้าพเจ้าถือดอกอังกาบป่ามาบูชา
พระผู้มีพระภาคพระนามว่าสิทธัตถะ
ผู้เจริญที่สุดในโลก ผู้คงที่
[๓๓] ในกัปที่ ๙๔ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ใช้ดอกไม้บูชาไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๓๔] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๓๕] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๓๖] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระวนโกรัณฑิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
วนโกรัณฑิยเถราปทานที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๖. ชคติทายกวรรค] ๗. เอกฉัตติยเถราปทาน
๗. เอกฉัตติยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระเอกฉัตติยเถระ๑
(พระเอกฉัตติยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๓๗] แผ่นดินร้อนดังถ่านเพลิง แผ่นดินดุจมีเถ้ารึงไหล
พระผู้มีพระภาคพระนามว่าปทุมุตตระ
เสด็จจงกรมอยู่ที่กลางแจ้ง
[๓๘] ข้าพเจ้ากั้นร่มขาวเดินทางไกล
เพราะเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่กลางแจ้งนั้น
ข้าพเจ้าจึงเกิดความคิดอย่างนี้ว่า
[๓๙] ภาคพื้นปกคลุมด้วยพยับแดด
แผ่นดินนี้จึงเป็นเหมือนถ่านเพลิง
พายุใหญ่ที่จะพัดร่างกายให้ลอยขึ้นก็ปรากฏ
[๔๐] ความหนาว ความร้อน ย่อมทำให้ลำบาก
ขอพระองค์โปรดรับร่มนี้ไว้เป็นเครื่องกั้นลมและแดดเถิด
ข้าพเจ้าจักได้สัมผัสพระนิพพานบ้าง
[๔๑] ในครั้งนั้น พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้ทรงอนุเคราะห์ ประกอบด้วยพระกรุณา
มีพระยศยิ่งใหญ่ ทราบความดำริของข้าพเจ้าแล้วทรงรับไว้
[๔๒] ข้าพเจ้าได้เป็นจอมเทพครองเทวสมบัติตลอด ๓๐ กัป
ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๕๐๐ ชาติ
[๔๓] และได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์นับชาติไม่ถ้วน
ข้าพเจ้าเสวยผลกรรมของตนที่ได้ทำไว้ดีแล้วในปางก่อน

เชิงอรรถ :
๑ พระเอกฉัตติยเถระ หมายถึงพระนาคสมาลศากยบุตร (ขุ.เถร.อ. ๒/๑/๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๖. ชคติทายกวรรค] ๗. เอกฉัตติยเถราปทาน
[๔๔] ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายของข้าพเจ้า
ภพสุดท้ายกำลังเป็นไปอยู่
แม้ในวันนี้ชนทั้งหลายก็พากันกั้นร่มขาว
ให้ข้าพเจ้าตลอดกาลทุกเมื่อ
[๔๕] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายร่มไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายร่ม
[๔๖] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๔๗] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๔๘] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระเอกฉัตติยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
เอกฉัตติยเถราปทานที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๖. ชคติทายกวรรค] ๘. ชาติปุปผิยเถราปทาน
๘. ชาติปุปผิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระชาติปุปผิยเถระ๑
(พระชาติปุปผิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๔๙] เมื่อพระผู้มีพระภาคพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่ปรินิพพานแล้ว
ข้าพเจ้าได้ถือผอบซึ่งเต็มด้วยดอกไม้
ไปบูชาพระสรีระของพระพุทธเจ้า
[๕๐] ข้าพเจ้าทำจิตให้เลื่อมใสในการบูชานั้นแล้ว
ได้ไปเกิดยังสวรรค์ชั้นนิมมานรดี
ข้าพเจ้าแม้จะอยู่ในเทวโลก
ก็ยังประพฤติกรรมดีอยู่
[๕๑] ฝนดอกไม้ตกจากฟากฟ้าเพื่อข้าพเจ้าตลอดกาลทั้งปวง
ข้าพเจ้าเกิดในมนุษยโลกแล้วก็จะเป็นพระราชาผู้มีพระยศใหญ่
[๕๒] ในอัตภาพนั้น ฝนแห่งบุปผชาติตกลงมาเพื่อข้าพเจ้าตลอดเวลา
เพราะอานุภาพแห่งการใช้ดอกไม้บูชาพระสรีระของพระพุทธเจ้า
ผู้ทรงเห็นเหตุทั้งปวง
[๕๓] ภพนี้เป็นภพสุดท้ายของข้าพเจ้า
ภพสุดท้ายกำลังเป็นไปอยู่
แม้ในวันนี้ฝนดอกไม้ก็ยังตกเพื่อข้าพเจ้าตลอดเวลา
[๕๔] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ (นับจากกัปนี้ไป)
ข้าพเจ้าได้ใช้ดอกไม้บูชาไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระสรีระ

เชิงอรรถ :
๑ พระชาติปุปผิยเถระ หมายถึงพระภคุศากยบุตร (ขุ.เถร.อ. ๒/๒/๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๖. ชคติทายกวรรค] ๙. สัตติปัณณิยเถราปทาน
[๕๕] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๕๖] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๕๗] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระชาติปุปผิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ชาติปุปผิยเถราปทานที่ ๘ จบ

๙. สัตติปัณณิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระสัตติปัณณิยเถระ๑
(พระสัตติปัณณิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๕๘] เมื่อมหาชนกำลังช่วยกันนำพระสรีระของพระพุทธเจ้าไป
เมื่อกลองบรรเลงอยู่ ข้าพเจ้าเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี
ได้ใช้ดอกมะลิซ้อนบูชาแล้ว
[๕๙] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ใช้ดอกไม้บูชาไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระสรีระ

เชิงอรรถ :
๑ พระสัตติปัณณิยเถระ หมายถึงพระวิมลเถระศิษย์ของพระโสมมิตตเถระ (ขุ.เถร.อ. ๑/๑๖/๕๘๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๖. ชคติทายกวรรค] ๑๐. คันธปูชกเถราปทาน
[๖๐] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๖๑] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๖๒] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระสัตติปัณณิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
สัตติปัณณิยเถราปทานที่ ๙ จบ

๑๐. คันธปูชกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระคันธปูชกเถระ๑
(พระคันธปูชกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๖๓] เมื่อมหาชนกำลังช่วยกันทำจิตกาธานอยู่
เมื่อพวกเขานำของหอมนานาชนิดมา
ข้าพเจ้าเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี
ได้ใช้ของหอมกำมือหนึ่งบูชาแล้ว
[๖๔] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้บูชาจิตกาธานไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาจิตกาธาน

เชิงอรรถ :
๑ พระคันธปูชกเถระ หมายถึงพระหาริตเถระ (ขุ.เถร.อ. ๑/๙๑/๑๓๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๖. ชคติทายกวรรค] รวมอปทานที่มีในวรรค
[๖๕] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๖๖] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๖๗] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระคันธปูชกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
คันธปูชกเถราปทานที่ ๑๐ จบ
ชคติทายกวรรคที่ ๔๖ จบบริบูรณ์

รวมอปทานที่มีในวรรคนี้คือ

๑. ชคติทายกเถราปทาน ๒. โมรหัตถิยเถราปทาน
๓. สีหาสนพีชิยเถราปทาน ๔. ติณุกกธาริยเถราปทาน
๕. อักกมนทายกเถราปทาน ๖. วนโกรัณฑิยเถราปทาน
๗. เอกฉัตติยเถราปทาน ๘. ชาติปุปผิยเถราปทาน
๙. สัตติปัณณิยเถราปทาน ๑๐. คันธปูชกเถราปทาน

ในวรรคนี้ บัณฑิตนับคาถาได้ ๖๗ คาถา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๗. สาลกุสุมิยวรรค] ๑. สาลกุสุมิยเถราปทาน
๔๗. สาลกุสุมิยวรรค
หมวดว่าด้วยพระสาลกุสุมิยะเป็นต้น
๑. สาลกุสุมิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระสาลกุสุมิยเถระ
(พระสาลกุสุมิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑] เมื่อพระผู้มีพระภาคพระนามว่าปทุมุตตระ ปรินิพพานแล้ว
เมื่อมหาชนกำลังช่วยกันยกพระสรีระ
ของพระพุทธเจ้าขึ้นบนจิตกาธาน
ข้าพเจ้าได้ใช้ดอกสาละบูชาแล้ว
[๒] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ใช้ดอกไม้บูชาไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาจิตกาธาน
[๓] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๔] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๕] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระสาลกุสุมิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
สาลกุสุมิยเถราปทานที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๐๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๗. สาลกุสุมิยวรรค] ๒. จิตกปูชกเถราปทาน
๒. จิตกปูชกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระจิตกปูชกเถระ
(พระจิตกปูชกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๖] เมื่อเทวดาและมนุษย์พากันถวายพระเพลิง
พระผู้มีพระภาคพระนามว่าสิขี ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของโลก
ข้าพเจ้าได้ใช้ดอกจำปา ๘ ดอกบูชาจิตกาธาน
[๗] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ใช้ดอกไม้บูชา(จิตกาธาน)ไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๘] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๙] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระจิตกปูชกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
จิตกปูชกเถราปทานที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๗. สาลกุสุมิยวรรค] ๓. จิตกนิพพาปกเถราปทาน
๓. จิตกนิพพาปกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระจิตกนิพพาปกเถระ
(พระจิตกนิพพาปกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๑] เมื่อเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายพากันถวายพระเพลิง
พระสรีระของพระพุทธเจ้าพระนามว่าเวสสภู ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
ข้าพเจ้าได้นำเอาน้ำหอมมาดับจิตกาธาน
[๑๒] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ใช้น้ำหอมดับจิตกาธานไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งน้ำหอม
[๑๓] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๔] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๕] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระจิตกนิพพาปกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
จิตกนิพพาปกเถราปทานที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๗. สาลกุสุมิยวรรค] ๔. เสตุทายกเถราปทาน
๔. เสตุทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระเสตุทายกเถระ
(พระเสตุทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๖] ข้าพเจ้าเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี
ได้ให้สร้างสะพานในที่เฉพาะพระพักตร์
ของพระผู้มีพระภาคพระนามว่าวิปัสสี ผู้เสด็จดำเนินอยู่
[๑๗] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ให้สร้างสะพานถวายไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายสะพาน
[๑๘] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๙] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๒๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระเสตุทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
เสตุทายกเถราปทานที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๗. สาลกุสุมิยวรรค] ๕. สุมนตาลวัณฏิยเถราปทาน
๕. สุมนตาลวัณฏิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระสุมนตาลวัณฏิยเถระ
(พระสุมนตาลวัณฏิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๒๑] ข้าพเจ้าได้ถวายพัดใบตาลที่ประดับด้วยดอกมะลิ
แด่พระผู้มีพระภาคพระนามว่าสิทธัตถะ
แล้วถวายงานพัดพระพุทธองค์ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่
[๒๒] ในกัปที่ ๙๔ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายพัดใบตาลไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายพัดใบตาล
[๒๓] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๒๔] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๒๕] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระสุมนตาลวัณฏิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
สุมนตาลวัณฏิยเถราปทานที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๗. สาลกุสุมิยวรรค] ๖. อวฏผลิยเถราปทาน
๖. อวฏผลิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอวฏผลิยเถระ
(พระอวฏผลิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๒๖] พระปัจเจกพุทธเจ้าพระนามว่าสตรังสี
เป็นพระสยัมภู ผู้มีบุญ
ผู้ไม่ทรงพ่ายแพ้ ผู้ทรงประสงค์วิเวก
ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองเสด็จออกโคจรบิณฑบาต
[๒๗] ข้าพเจ้าถือผลไม้อยู่ ได้เห็นแล้ว
จึงเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ผู้องอาจกว่านรชน
ข้าพเจ้าเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี ได้ถวายผลไม้
[๒๘] ในกัปที่ ๙๔ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายผลไม้ไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
[๒๙] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๓๐] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๐๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๗. สาลกุสุมิยวรรค] ๗. ลพุชผลทายกเถราปทาน
[๓๑] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระอวฏผลิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
อวฏผลิยเถราปทานที่ ๖ จบ

๗. ลพุชผลทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระลพุชผลทายกเถระ
(พระลพุชผลทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๓๒] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นชาวสวนอยู่ในกรุงพันธุมดี
ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลีคือกิเลส
เสด็จเหาะไปในอากาศ
[๓๓] ข้าพเจ้าได้ถือเอาผลขนุนสำปะลอ
ถวายพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
พระพุทธเจ้าผู้มีพระยศยิ่งใหญ่
ประทับยืนอยู่ในอากาศนั้นเอง ทรงรับแล้ว
[๓๔] พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทำให้ข้าพเจ้าเกิดความปลื้มใจ
นำความสุขมาให้ในปัจจุบัน
ข้าพเจ้าได้ถวายผลไม้แด่พระพุทธเจ้าด้วยจิตที่เลื่อมใสแล้ว
[๓๕] ได้ประสบปีติอันไพบูลย์ เป็นสุขอย่างยอดเยี่ยมในครั้งนั้น
รัตนะเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้าผู้เกิดในที่นั้น ๆ
[๓๖] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายผลไม้ไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลขนุนสำปะลอ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๗. สาลกุสุมิยวรรค] ๘. มิลักขุผลทายกเถราปทาน
[๓๗] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๓๘] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๓๙] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระลพุชผลทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ลพุชผลทายกเถราปทานที่ ๗ จบ

๘. มิลักขุผลทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระมิลักขุผลทายกเถระ
(พระมิลักขุผลทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๔๐] ข้าพเจ้าได้เห็นพระพุทธเจ้าพระนามว่าอัตถทัสสี
ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่ ที่ราวป่า เป็นผู้มีจิตเลื่อมใส
มีใจยินดี ได้ถวายผลไทรย้อย
[๔๑] ในกัปที่ ๑,๘๐๐ (นับจากกัปนี้ไป)
ข้าพเจ้าได้ถวายผลไม้ไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไทรย้อย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๗. สาลกุสุมิยวรรค] ๙. สยัมปฏิภาณิยเถราปทาน
[๔๒] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๔๓] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๔๔] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระมิลักขุผลทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
มิลักขุผลทายกเถราปทานที่ ๘ จบ

๙. สยัมปฏิภาณิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระสยัมปฏิภาณิยเถระ
(พระสยัมปฏิภาณิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๔๕] พระพุทธเจ้าผู้องอาจกว่านรชน
ผู้เป็นเทพยิ่งกว่าเทพ งามเหมือนดอกซ่าง(กุ่ม)
ผู้เสด็จดำเนินอยู่ที่ถนน ใครเล่าเห็นแล้วจะไม่เลื่อมใส
[๔๖] พระพุทธเจ้าผู้กำจัดความมืดมนให้พินาศ
ทรงช่วยให้ชนจำนวนมากข้ามพ้น
โชติช่วงอยู่ด้วยแสงสว่างคือญาณ
ใครเล่าเห็นแล้วจะไม่เลื่อมใส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๗. สาลกุสุมิยวรรค] ๙. สยัมปฏิภาณิยเถราปทาน
[๔๗] พระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
กำลังเสด็จออกไปพร้อมกับพระขีณาสพผู้ได้วสี
จำนวน ๑๐,๐๐๐ รูป
ผู้ทรงช่วยสัตว์จำนวนมากให้ข้ามพ้นจากเปือกตมคือกาม
ใครเล่าเห็นแล้วจะไม่เลื่อมใส
[๔๘] พระพุทธเจ้าผู้ย่ำกลองคือพระธรรม ย่ำยีหมู่เดียรถีย์
ทรงบันลือสีหนาท ใครเล่าเห็นแล้วจะไม่เลื่อมใส
[๔๙] เทพทั้งหลายพร้อมทั้งพรหมทุกหมู่เหล่าพากันมาจากพรหมโลก
แล้วทูลถามปัญหาที่ลึกซึ้งกับพระพุทธเจ้า
ใครเล่าเห็นแล้วจะไม่เลื่อมใส
[๕๐] มนุษย์พร้อมทั้งเทวดาพากันมาประนมมือ
แด่พระพุทธเจ้าพระองค์ใด
ย่อมได้เสวยบุญด้วยการทำอัญชลีกรรมนั้น
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ใครเล่าเห็นแล้วจะไม่เลื่อมใส
[๕๑] ชนทั้งปวงมาประชุมห้อมล้อมพระพุทธเจ้า
ผู้มีพระจักษุ พระองค์ได้รับนิมนต์(เพื่อตอบปัญหา)
แต่ไม่ทรงหวั่นไหว ใครเล่าเห็นแล้วจะไม่เลื่อมใส
[๕๒] เมื่อพระพุทธเจ้าผู้องอาจกว่านรชนพระองค์ใด
เสด็จเข้าพระนคร กลองจำนวนมากประโคมกึกก้อง
คชสารที่ตกมันก็พากันบันลือ
พระพุทธเจ้าผู้องอาจกว่านรชนพระองค์นั้น
ใครเล่าเห็นแล้วจะไม่เลื่อมใส
[๕๓] เมื่อพระพุทธเจ้าผู้องอาจกว่านรชนพระองค์ใด
เสด็จดำเนินไปตามถนน พระรัศมีย่อมส่องสว่างทุกเมื่อ
ทั้งที่ลุ่มที่ดอนก็กลายเป็นที่สม่ำเสมอ
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ใครเล่าเห็นแล้วจะไม่เลื่อมใส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๗. สาลกุสุมิยวรรค] ๙. สยัมปฏิภาณิยเถราปทาน
[๕๔] เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสอยู่ หมู่สัตว์ในจักรวาลได้ยินกันทั่ว
พระองค์ทรงสามารถยังสัตว์โลกให้รู้ชัดได้ทั่วกัน
ใครเล่าเห็นแล้วจะไม่เลื่อมใส
[๕๕] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้สดุดีพระพุทธเจ้าไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการสดุดี
[๕๖] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๕๗] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๕๘] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระสยัมปฏิภาณิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
สยัมปฏิภาณิยเถราปทานที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๗. สาลกุสุมิยวรรค] ๑๐. นิมิตตพยากรณิยเถราปทาน
๑๐. นิมิตตพยากรณิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระนิมิตตพยากรณิยเถระ
(พระนิมิตตพยากรณิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๕๙] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้เข้าป่าหิมพานต์บอกมนตร์อยู่
ศิษย์ ๕๔,๐๐๐ คน ได้อุปัฏฐากข้าพเจ้า
[๖๐] ศิษย์เหล่านั้นล้วนเป็นนักศึกษาจบไตรเพท
ถึงความสำเร็จในเวทางคศาสตร์ ๖ สาขา๑
พวกเขากระด้างเพราะวิชชาของตน อยู่ในป่าหิมพานต์
[๖๑] เทพบุตรผู้มียศยิ่งใหญ่ เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ
จุติจากสวรรค์ชั้นดุสิตแล้ว อุบัติในครรภ์มารดา
[๖๒] เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้น
หมื่นจักรวาลก็หวั่นไหว
คนตาบอดกลับมองเห็นได้
ในเมื่อพระผู้ทรงเป็นผู้นำเสด็จอุบัติขึ้น
[๖๓] แต่พื้นพสุธาทั้งสิ้นนี้สั่นสะเทือนเพราะเหตุ ๖ ประการ
มหาชนได้สดับเสียงกึกก้องแล้ว พากันหวาดผวา
[๖๔] ชนทั้งปวงประชุมกันแล้ว
ได้พากันมายังสำนักของข้าพเจ้าถามว่า
พื้นพสุธานี้สั่นสะเทือน จักมีผลเป็นอย่างไร
[๖๕] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้พยากรณ์แก่พวกเขาว่า
อย่ากลัวเลย ท่านทั้งหลายไม่มีภัย
ขอท่านทั้งหลายแม้ทุกคนจงเบาใจเถิด
ความอุบัติขึ้นนี้ประกอบด้วยประโยชน์สุข

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ หน้า ๙ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๗. สาลกุสุมิยวรรค] ๑๐. นิมิตตพยากรณิยเถราปทาน
[๖๖] พื้นพสุธาถูกเหตุ ๘ ประการ๑กระทบแล้วย่อมสั่นสะเทือน
นิมิตย่อมปรากฏโดยอาการเช่นเดียวกัน
โอภาสก็ไพบูลย์ยิ่งใหญ่
[๖๗] พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด ผู้มีพระจักษุ
จักเสด็จอุบัติขึ้นอย่างไม่ต้องสงสัย
ข้าพเจ้าทำให้ชุมนุมชนเข้าใจดีแล้ว ได้บอกเบญจศีล
[๖๘] พวกเขาได้สดับเบญจศีล
และการอุบัติขึ้นของพระพุทธเจ้าที่ได้โดยยาก
จึงเกิดปีติซาบซ่าน มีใจยินดี พากันยินดีร่าเริง
[๖๙] ในกัปที่ ๙๒ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้พยากรณ์นิมิตไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการพยากรณ์
[๗๐] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๗๑] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ ดู ที.ม. (แปล) ๑๐/๑๗๑/๑๑๗-๑๑๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๗. สาลกุสุมิยวรรค] รวมอปทานที่มีในวรรค
[๗๒] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระนิมิตตพยากรณิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
นิมิตตพยากรณิยเถราปทานที่ ๑๐ จบ
สาลกุสุมิยวรรคที่ ๔๗ จบบริบูรณ์

รวมอปทานที่มีในวรรคนี้คือ

๑. สาลกุสุมิยเถราปทาน ๒. จิตกปูชกเถราปทาน
๓. จิตกนิพพาปกเถราปทาน ๔. เสตุทายกเถราปทาน
๕. สุมนตาลวัณฏิยเถราปทาน ๖. อวฏผลิยเถราปทาน
๗. ลพุชผลทายกเถราปทาน ๘. มิลักขุผลทายกเถราปทาน
๙. สยัมปฏิภาณิยเถราปทาน ๑๐. นิมิตตพยากรณิยเถราปทาน

ในวรรคนี้ บัณฑิตนับคาถาได้ ๗๒ คาถา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๘. นฬมาลิวรรค] ๑. นฬมาลิยเถราปทาน
๔๘. นฬมาลิวรรค
หมวดว่าด้วยพระนฬมาลิยะเป็นต้น
๑. นฬมาลิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระนฬมาลิยเถระ
(พระนฬมาลิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑] ข้าพเจ้าได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้มีพระฉวีวรรณดังทองคำ
ผู้สมควรรับเครื่องบูชา ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
กำลังเสด็จเหาะไปทางอากาศ
[๒] ข้าพเจ้าหยิบพวงมาลัยดอกอ้อแล้วออกไป ในทันใดนั้นเอง
ได้พบพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ข้ามโอฆะได้แล้ว
ไม่มีอาสวะ ณ ที่นั้น
[๓] ข้าพเจ้ามีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี
ได้ใช้พวงมาลัยดอกอ้อบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นทักขิไณยบุคคล
มีความเพียรมาก ผู้ทรงอนุเคราะห์โลกทั้งสิ้น
[๔] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ใช้ดอกไม้บูชาไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๕] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๘. นฬมาลิวรรค] ๒. มณิปูชกเถราปทาน
[๖] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๗] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระนฬมาลิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
นฬมาลิยเถราปทานที่ ๑ จบ

๒. มณิปูชกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระมณิปูชกเถระ
(พระมณิปูชกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๘] พระชินสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ทรงถึงความสำเร็จแห่งธรรมทั้งปวง
ทรงประสงค์วิเวก เสด็จเหาะไปในอากาศ
[๙] มีสระใหญ่อยู่ในที่ไม่ไกลป่าหิมพานต์ ที่อยู่ของข้าพเจ้า๑
ซึ่งบุญกรรมประกอบดีแล้วมีอยู่ในสระใหญ่นั้น
[๑๐] ข้าพเจ้าออกจากที่อยู่แล้วได้เห็นพระผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ทรงรุ่งเรืองเหมือนต้นราชพฤกษ์ โชติช่วงราวกับไฟที่ลุกโพลง
[๑๑] ข้าพเจ้าได้เห็นดอกไม้ที่สดใส
จึงคิดว่าจักบูชาพระผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก

เชิงอรรถ :
๑ ข้าพเจ้า ในที่นี้หมายถึงพญานาคผู้มีฤทธิ์อาศัยอยู่ใต้บึงใหญ่ใกล้ป่าหิมพานต์ (ขุ.เถร.อ. ๑/๓๑๑/๕๓๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๘. นฬมาลิวรรค] ๒. มณิปูชกเถราปทาน
ทำจิตของตนให้เลื่อมใสแล้ว
จึงได้ไหว้พระศาสดา
[๑๒] ข้าพเจ้าหยิบแก้วมณีประดับศีรษะของข้าพเจ้า
บูชาพระผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ปรารถนาว่า ด้วยการบูชาด้วยแก้วมณีนี้ ขอจงมีวิบากที่ดี
[๑๓] พระศาสดาพระนามว่าปทุมุตตระ
ทรงรู้แจ้งโลก ผู้สมควรรับเครื่องบูชา
ประทับยืนอยู่ในอากาศ ได้ตรัสพระคาถานี้ว่า
[๑๔] ขอความดำริของท่านนั้นจงสำเร็จเถิด
ขอท่านจงได้สุขอันไพบูลย์เถิด
ด้วยการบูชาด้วยแก้วมณีนี้
ขอท่านจงได้รับยศที่ยิ่งใหญ่เถิด
[๑๕] พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุดพระนามว่าปทุมุตตระ
ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง
ครั้นตรัสแก่ข้าพเจ้าผู้ตั้งจิตปรารถนาไว้แล้วก็เสด็จไป
[๑๖] ข้าพเจ้าได้เป็นจอมเทพครองเทวสมบัติตลอด ๖๐ กัป
และได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิหลายร้อยชาติ
[๑๗] เมื่อข้าพเจ้าเกิดเป็นเทวดา
ระลึกถึงบุพกรรมขึ้นมา
แก้วมณีย่อมบังเกิดแก่ข้าพเจ้า
(และ)ให้แสงสว่างแก่ข้าพเจ้า
[๑๘] สตรีสาวล้วน ๘๖,๐๐๐ นาง
สวมใส่ผ้าอาภรณ์อย่างงดงาม
ห้อยตุ้มหูแก้วมณี เป็นผู้รับใช้ของข้าพเจ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๘. นฬมาลิวรรค] ๒. มณิปูชกเถราปทาน
[๑๙] ล้วนมีหน้ากลมโต มีปกติร่าเริง รูปร่างงดงาม
เอวเล็กเอวบาง แวดล้อมข้าพเจ้าอยู่เป็นนิตย์
นี้เป็นผลแห่งการบูชาด้วยแก้วมณี
[๒๐] สิ่งของเครื่องประดับที่ทำด้วยทองคำ
แก้วมณี และแก้วทับทิม
เป็นอันทำดีแล้วเพื่อข้าพเจ้า
ตามที่ข้าพเจ้าต้องการ
[๒๑] เรือนยอด ถ้ำที่น่ารื่นรมย์
และที่นอนมีค่ามาก ดังจะรู้ความดำริของข้าพเจ้า
ก็บังเกิดตามความปรารถนา
[๒๒] การที่เหล่าสัตว์ได้เข้าไปฟัง
เป็นลาภที่พวกเขาได้ดีแล้ว
เป็นเนื้อนาบุญของมนุษย์
เป็นโอสถของสรรพสัตว์
[๒๓] ถึงกรรมที่ข้าพเจ้าได้เข้าเฝ้าพระผู้ทรงเป็นผู้นำ
ก็ชื่อว่าทำไว้ดีแล้ว ข้าพเจ้าเป็นผู้รอดพ้นจากนรก
ได้บรรลุบทที่ไม่หวั่นไหว
[๒๔] ข้าพเจ้าเกิดในกำเนิดใด ๆ
คือ จะเกิดเป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็ตาม
แสงสว่างย่อมมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ
ทั้งกลางวันและกลางคืน
[๒๕] เพราะการบูชาด้วยแก้วมณีนั้น
ข้าพเจ้าจึงได้เสวยสมบัติ
พบแสงสว่างคือญาณ ได้บรรลุบทที่ไม่หวั่นไหว
[๒๖] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ใช้แก้วมณีบูชาไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๘. นฬมาลิวรรค] ๓. อุกกาสติกเถราปทาน
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาด้วยแก้วมณี
[๒๗] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๒๘] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๒๙] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระมณิปูชกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
มณิปูชกเถราปทานที่ ๒ จบ

๓. อุกกาสติกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอุกกาสติกเถระ
(พระอุกกาสติกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๓๐] ครั้งนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้านามว่าโกสิกะ
ผู้มีบุญ มีปกติเข้าฌาน ยินดีในฌาน ผู้ทรงเป็นพุทธะ
ยินดีในวิเวก เป็นพระมุนีประทับอยู่ที่ภูเขาจิตรกูฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๘. นฬมาลิวรรค] ๓. อุกกาสติกเถราปทาน
[๓๑] ข้าพเจ้ามีหมู่นารีห้อมล้อมเข้าไปยังป่าหิมพานต์
ได้เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าพระนามว่าโกสิกะ
ผู้(รุ่งเรือง)ดังดวงจันทร์ในวันเพ็ญ
[๓๒] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าถือคบเพลิง ๑๐๐ ดวง
แวดล้อมพระปัจเจกพุทธเจ้าอยู่ตลอด ๗ วัน ๗ คืน
วันที่ ๘ ก็ได้จากไป
[๓๓] ข้าพเจ้าเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส
กราบไหว้พระปัจเจกพุทธเจ้าพระนามว่าโกสิกะ
ผู้เป็นพระสยัมภู ผู้ไม่ทรงพ่ายแพ้
เสด็จออกจากสมาบัติแล้วได้ถวายภิกษามื้อหนึ่ง
[๓๔] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมแห่งเทวดาและมนุษย์
ผู้เจริญที่สุดในโลก ทรงองอาจกว่านรชน
เพราะกรรมนั้น ข้าพเจ้าได้เกิดขึ้นในหมู่เทพชั้นดุสิต
นี้เป็นผลแห่งการถวายภิกษามื้อหนึ่ง
[๓๕] แสงสว่างย่อมมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อทั้งกลางวันและกลางคืน
ข้าพเจ้าแผ่รัศมีไปได้ ๑๐๐ โยชน์โดยรอบ
[๓๖] ในกัปที่ ๕๕ (นับจากกัปนี้ไป)
ข้าพเจ้าได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้มีชัยชนะ
เป็นใหญ่ในชมพูทวีป มีมหาสมุทรทั้ง ๔ เป็นขอบเขต
[๓๗] ครั้งนั้น นครของข้าพเจ้าเป็นนครที่มั่งคั่งแผ่ไพศาล
และสร้างไว้อย่างสวยงาม ยาว ๓๐ โยชน์
กว้าง ๒๐ โยชน์
[๓๘] กรุงชื่อโสภณะที่วิสสุกรรมเทพบุตรเนรมิตให้
เป็นกรุงที่สงัดจากเสียง ๑๐ ประการ๑
แต่ประกอบด้วยเสียงกังสดาลอย่างไพเราะ

เชิงอรรถ :
๑ เสียง ๑๐ ประการ คือ เสียงช้าง เสียงม้า เสียงกลอง เสียงสังข์ เสียงรถ เสียงตะโพน เสียงพิณ
เสียงเพลงขับ เสียงฉิ่ง เสียงเชื้อเชิญทานอาหาร (ขุ.พุทธ. ๓๓/๒/๔๔๗, ขุ.อป.อ. ๑/๔๑, ขุ.ชา.อ. ๑/๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๘. นฬมาลิวรรค] ๓. อุกกาสติกเถราปทาน
[๓๙] ในกรุงนั้นไม่มีไม้เถา ไม้ต้นและดิน
กรุงนั้นสำเร็จด้วยทองคำล้วน ๆ
โชติช่วงอยู่ตลอดกาลเป็นนิตย์
[๔๐] กรุงนั้นมีกำแพงล้อมถึง ๔ ชั้น
๓ ชั้นเป็นกำแพงที่ทำด้วยแก้วมณี
ส่วนตรงกลางวิสสุกรรมเทพบุตรได้เนรมิตแถวแห่งดงตาลไว้
[๔๑] มีสระโบกขรณีหนึ่งหมื่น
ที่ปกคลุมไปด้วยดอกปทุมชาติและดอกอุบล
ดารดาษด้วยดอกบุณฑริกเป็นต้น
เมื่อลมโชยก็มีกลิ่นต่าง ๆ หอมกรุ่น
[๔๒] ในกัปที่ ๙๔ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถือคบเพลิงถวายไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถือคบเพลิงถวาย
[๔๓] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๔๔] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๔๕] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระอุกกาสติกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
อุกกาสติกเถราปทานที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๘. นฬมาลิวรรค] ๔. สุมนวีชนิยเถราปทาน
๔. สุมนวีชนิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระสุมนวีชนิยเถระ
(พระสุมนวีชนิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๔๖] ข้าพเจ้ามีใจยินดี ได้จับพัดวีชนีพัดต้นโพธิ์ที่ประเสริฐ
อยู่ที่โคนต้นโพธิ์ซึ่งเป็นต้นไม้ที่ประเสริฐ
ของพระผู้มีพระภาคพระนามว่าวิปัสสี
[๔๗] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้พัดต้นโพธิ์ที่ประเสริฐไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการพัด
[๔๘] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๔๙] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๕๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระสุมนวีชนิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
สุมนวีชนิยเถราปทานที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๘. นฬมาลิวรรค] ๕. กุมมาสทายกเถราปทาน
๕. กุมมาสทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระกุมมาสทายกเถระ
(พระกุมมาสทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๕๑] ข้าพเจ้าเห็นบาตรที่ว่างเปล่าของพระผู้มีพระภาค
พระนามว่าวิปัสสี ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
เสด็จเที่ยวแสวงหาบิณฑบาตอยู่
จึงถวายขนมกุมมาสจนเต็มบาตร
[๕๒] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายภิกษาไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายขนมกุมมาส
[๕๓] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๕๔] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๕๕] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระกุมมาสทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
กุมมาสทายกเถราปทานที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๘. นฬมาลิวรรค] ๖. กุสัฏฐกทายกเถราปทาน
๖. กุสัฏฐกทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระกุสัฏฐกทายกเถระ
(พระกุสัฏฐกทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๕๖] ข้าพเจ้าเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี
ได้ถวายสลากภัต ๘ ครั้ง
แด่พระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ
ผู้ประเสริฐ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
[๕๗] ในกัปนี้เอง ข้าพเจ้าได้ถวายสลากภัต ๘ ครั้ง
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายสลากภัต ๘ ครั้ง
[๕๘] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๕๙] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๖๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระกุสัฏฐกทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
กุสัฏฐกทายกเถราปทานที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๘. นฬมาลิวรรค] ๗. คิริปุนนาคิยเถราปทาน
๗. คิริปุนนาคิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระคิริปุนนาคิยเถระ
(พระคิริปุนนาคิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๖๑] ครั้งนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโสภิตะ
ประทับอยู่ที่ภูเขาจิตรกูฏ
ข้าพเจ้าได้ถือดอกบุนนาคใหญ่ไปบูชาพระสยัมภู
[๖๒] ในกัปที่ ๙๔ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้บูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๖๓] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๖๔] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๖๕] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระคิริปุนนาคิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
คิริปุนนาคิยเถราปทานที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๘. นฬมาลิวรรค] ๘. วัลลิการผลทายกเถราปทาน
๘. วัลลิการผลทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระวัลลิการผลทายกเถระ
(พระวัลลิการผลทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๖๖] ครั้งนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสุมนะ
ประทับอยู่ในกรุงตักกรา
ข้าพเจ้าได้หยิบผลไม้เครือเถา๑ถวายพระสยัมภู
[๖๗] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายผลไม้ไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้เครือเถา
[๖๘] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๖๙] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๗๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระวัลลิการผลทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
วัลลิการผลทายกเถราปทานที่ ๘ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ผลไม้เครือเถา ในที่นี้หมายถึงผลแตงโมก็ได้ (ขุ.วิ.( แปล) ๒๖/๔๖๑-๔๖๘/๖๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๘. นฬมาลิวรรค] ๙. ปานธิทายกเถราปทาน
๙. ปานธิทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระปานธิทายกเถระ
(พระปานธิทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๗๑] พระผู้มีพระภาคพระนามว่าอโนมทัสสี
ผู้เจริญที่สุดในโลก ทรงองอาจกว่านรชน ผู้มีพระจักษุ
เสด็จออกจากที่ประทับกลางวันแล้วเสด็จขึ้นสู่ถนน
[๗๒] ข้าพเจ้าสวมรองเท้าที่ทำอย่างดีออกเดินทางไกล
ได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีพระรูปงดงามน่าดูน่าชมในที่นั้น
เสด็จดำเนินด้วยพระบาทเปล่า
[๗๓] ข้าพเจ้าทำจิตของตนให้เลื่อมใส
ถอดรองเท้าออกวางไว้แทบพระบาท
แล้วได้กราบทูลคำนี้ว่า
[๗๔] ข้าแต่พระสุคต ผู้มีความเพียรมาก
ผู้เป็นใหญ่ ผู้ทรงเป็นผู้นำวิเศษ
ขอเชิญพระองค์สวมรองเท้าเถิด
ข้าพระองค์จักได้ผลจากรองเท้าคู่นี้
ขอความต้องการของข้าพระองค์จงสำเร็จเถิด
[๗๕] พระผู้มีพระภาคพระนามว่าอโนมทัสสี
ผู้เจริญที่สุดในโลก ทรงองอาจกว่านรชน
ทรงสวมรองเท้าแล้ว ได้ตรัสพระดำรัสนี้ว่า
[๗๖] เราจักพยากรณ์ผู้ที่เลื่อมใสได้ถวายรองเท้าแก่เรา
ด้วยมือทั้ง ๒ ของตน
ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าวเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๘. นฬมาลิวรรค] ๙. ปานธิทายกเถราปทาน
[๗๗] เทวดาทั้งปวงที่ทราบพุทธดำรัสแล้วจึงพากันมาประชุม
ต่างก็มีจิตเบิกบาน มีใจยินดี
เกิดความโสมนัสประนมมือ
[๗๘] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า
เพราะการถวายรองเท้านี้แล
ผู้นี้จักเป็นผู้มีความสุข
และจักครองเทวสมบัติตลอด ๕๕ ชาติ
[๗๙] จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๑,๐๐๐ ชาติ
และจักได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์นับชาติไม่ถ้วน
[๘๐] ในกัปที่นับมิได้นับจากกัปนี้ไป
พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร
จักทรงสมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก
[๘๑] ผู้นี้๑ จักเป็นธรรมทายาทของพระศาสดาพระองค์นั้น
เป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต
กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงจักเป็นผู้ไม่มีอาสวะแล้วนิพพาน
[๘๒] ผู้นี้จักบังเกิดในเทวโลกหรือมนุษยโลกก็ตาม
จักเป็นผู้มีปัญญา จักได้ยานซึ่งเปรียบด้วยยานของเทวดา
[๘๓] ข้าพเจ้ามีปราสาท วอ ช้าง ที่ประดับตกแต่งอย่างสวยงาม
หรือรถที่เทียมด้วยม้าอาชาไนย
ย่อมปรากฏมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ
[๘๔] แม้เมื่อข้าพเจ้าออกบวช ก็ได้ออกไปด้วยรถ
ได้บรรลุอรหัตตผลขณะปลงผม
[๘๕] ข้อที่ข้าพเจ้าประกอบการค้าขายด้วยดี
(และ)ข้อที่ข้าพเจ้าถวายรองเท้า ๑ คู่แล้ว

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงพระภารตเถระชาวเมืองจำปา (ขุ.เถร.อ. ๑/๒๘๕/๔๖๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๘. นฬมาลิวรรค] ๙. ปานธิทายกเถราปทาน
ได้บรรลุบทอันไม่หวั่นไหวนั้น
เป็นลาภอันข้าพเจ้าได้ดีแล้ว
[๘๖] ในกัปที่นับมิได้นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายรองเท้าไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายรองเท้า
[๘๗] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๘๘] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๘๙] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระปานธิทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
ปานธิทายกเถราปทานที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๘. นฬมาลิวรรค] ๑๐. ปุฬินจังกมิยเถราปทาน
๑๐. ปุฬินจังกมิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระปุฬินจังกมิยเถระ
(พระปุฬินจังกมิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๙๐] เมื่อชาติก่อน ข้าพเจ้าเป็นนายพรานเนื้อ
แสวงหาเนื้อสมันอยู่ในป่าใหญ่ ได้เห็นที่จงกรม
[๙๑] ข้าพเจ้าเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี
ใช้ชายพกห่อทรายมาโปรยลงที่จงกรมของพระสุคตผู้มีพระสิริ
[๙๒] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้โปรยทรายไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการโปรยทราย
[๙๓] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๙๔] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๙๕] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระปุฬินจังกมิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ปุฬินจังกมิยเถราปทานที่ ๑๐ จบ
นฬมาลิวรรคที่ ๔๘ จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๘. นฬมาลิวรรค] รวมอปทานที่มีในวรรคนี้
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้คือ

๑. นฬมาลิยเถราปทาน ๒. มณิปูชกเถราปทาน
๓. อุกกาสติกเถราปทาน ๔. สุมนวีชนิยเถราปทาน
๕. กุมมาสทายกเถราปทาน ๖. กุสัฏฐกทายกเถราปทาน
๗. คิริปุนนาคิยเถราปทาน ๘. วิลลิการผลทายกเถราปทาน
๙. ปานธิทายกเถราปทาน ๑๐. ปุฬินจังกมิยเถราปทาน

ในวรรคนี้ บัณฑิตนับคาถาได้ ๙๕ คาถา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๑. ปังสุกูลสัญญกเถราปทาน
๔๙. ปังสุกูลวรรค
หมวดว่าด้วยผ้าบังสุกุลเป็นต้น
๑. ปังสุกูลสัญญกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระปังสุกูลสัญญกเถระ
(พระปังสุกูลสัญญกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑] พระผู้มีพระภาคพระนามว่าติสสะ
ผู้ทรงเป็นพระสยัมภู ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
พระชินเจ้าทรงวางผ้าบังสุกุลไว้แล้ว
เสด็จเข้าไปยังพระวิหาร
[๒] ข้าพเจ้าสะพายธนูที่จัดแจงไว้แล้ว
และกระบอกที่ใส่น้ำไว้แล้วถือดาบเข้าป่าใหญ่
[๓] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้เห็นผ้าบังสุกุลซึ่งแขวนอยู่ที่ยอดไม้ในป่านั้น
จึงวางธนูลง ณ ที่นั้นเอง แล้วประนมมือขึ้นเหนือศีรษะ
[๔] ข้าพเจ้าเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี
และมีปีติอันไพบูลย์ ระลึกถึงพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
แล้วได้ไหว้ผ้าบังสุกุล
[๕] ในกัปที่ ๙๒ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ไหว้ผ้าบังสุกุลไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการไหว้ผ้าบังสุกุล
[๖] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๒. พุทธสัญญกเถราปทาน
[๗] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๘] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระปังสุกูลสัญญกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ปังสุกูลสัญญกเถราปทานที่ ๑ จบ

๒. พุทธสัญญกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระพุทธสัญญกเถระ๑
(พระพุทธสัญญกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๙] ข้าพเจ้าเป็นผู้สาธยายพระเวท๒ ทรงมนตร์๓ จบไตรเพท๔
ชำนาญในคัมภีร์พยากรณ์ลักษณะ๕ คัมภีร์อิติหาสะ๖
พร้อมด้วยคัมภีร์นิฆัณฑุศาสตร์๗ และคัมภีร์เกฏุภศาสตร์๘

เชิงอรรถ :
๑ พระพุทธสัญญกเถระ หมายถึง พระวีตโสกเถระ พระอนุชาของพระเจ้าอโศกมหาราช ภายหลังพุทธ
ปรินิพพาน ๒๑๘ ปี (ขุ.เถร.อ. ๑/๒๘๒/๔๕๔)
๒ ผู้สาธยายพระเวท หมายถึงเป็นผู้บอกไตรเพทแก่ชนเหล่าอื่น (ขุ.อป.อ. ๑/๔๔๒/๓๓๒)
๓ ทรงมนตร์ หมายถึงมีปัญญา รอบรู้ในสาขาของพระเวท (ขุ.อป.อ. ๑/๔๔๒/๓๓๒)
๔ ไตรเพท หมายถึงคัมภีร์ ๓ คือ ฤคเวท(อิรุเวท) ยชุรเวท และสามเวท (ขุ.อป.อ. ๑/๔๔๒/๓๓๒)
๕ ลักษณะ หมายถึงศาสตร์ว่าด้วยลักษณะของบุคคลสำคัญมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น (ที.สี.อ. ๒๕๖/๒๐๓, ขุ.อป.อ.
๑/๔๔๒/๓๓๒)
๖ คัมภีร์อิติหาสะ หมายถึงประวัติศาสตร์ คือพงศาวดารเล่าเรื่องเก่า ๆ มักจะมีคำว่า สิ่งนี้ได้เป็นมาอย่างนี้
(ที.สี.อ. ๒๕๖/๒๒๓, ขุ.อป.อ. ๑/๓๓๒/๔๔๒) และดู Dawson, John. A CLASSICAL DICTIONARY
OF HINDU MYTHOLOGY (LONDON; ROUTLEDGE AND KEGAN PAUL 1957) P. 222

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๒. พุทธสัญญกเถราปทาน
[๑๐] ครั้งนั้น ศิษย์ทั้งหลายพากันมาหาข้าพเจ้าไม่ขาดสาย
เหมือนกระแสน้ำ ข้าพเจ้าไม่เกียจคร้าน
สอนมนตร์แก่ศิษย์เหล่านั้นทั้งกลางวันและกลางคืน
[๑๑] ในคราวนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ
เสด็จอุบัติขึ้นในโลก พระองค์ทรงกำจัดความมืดมนให้พินาศแล้ว
ให้แสงสว่างคือพระญาณเป็นไป
[๑๒] ครั้งนั้น ศิษย์ของข้าพเจ้าคนหนึ่ง
ได้บอกแก่ศิษย์ทั้งหลายของข้าพเจ้า
พวกเขาได้ฟังความนั้น จึงบอกแก่ข้าพเจ้า
[๑๓] ข้าพเจ้าคิดว่า พระสัพพัญญูพุทธเจ้า
ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก เสด็จอุบัติขึ้นในโลกแล้ว
ชนย่อมประพฤติตามพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น แต่เราไม่มีลาภเลย
[๑๔] พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นผู้มีการอุบัติเลิศลอย
มีพระจักษุ มีพระยศยิ่งใหญ่ ไฉนหนอ
เราควรเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
[๑๕] ข้าพเจ้าถือหนังสัตว์ ผ้าเปลือกไม้
และคนโทน้ำของข้าพเจ้าแล้ว จึงออกจากอาศรม
เรียกศิษย์ทั้งหลายมา (กล่าวว่า)

เชิงอรรถ :
๗ นิฆัณฑุศาสตร์ คัมภีร์ประเภทศัพท์มูลวิทยา (Etymology) คลังศัพท์ (Lexicon) หรืออภิธานศัพท์
(Glossary) ซึ่งรวบรวมคำศัพท์ในพระเวทซึ่งเป็นคำยากหรือคำที่เลิกใช้แล้ว นำมาอธิบายความหมาย เป็น
ส่วนหนึ่งของปรกติ ซึ่งเป็น ๑ ในเวทางคศาสตร์ ๖ ของศาสนาพราหมณ์ ภาษาสันสกฤตเรียกว่า นิฆัณฏุ
(ที.สี.อ. ๑/๒๕๖/๒๒๓)
๘ เกฏุภศาสตร์ คัมภีร์ที่ว่าด้วยกฎเกณฑ์การใช้ถ้อยคำให้เหมาะสมแก่การประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ เป็น
ส่วนหนึ่งของกัลปะซึ่งเป็น ๑ ในเวทางคศาสตร์ ๖ ของศาสนาพราหมณ์ ภาษาสันสกฤตเรียกว่า ไกฏภ
(ที.สี.อ. ๑/๒๕๖/๒๒๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๒. พุทธสัญญกเถราปทาน
[๑๖] ความเป็นพระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลกนี้หาได้ยาก
เหมือนหาดอกมะเดื่อที่ดี เหมือนหากระต่ายในดวงจันทร์
หรือเหมือนหาน้ำมันกา๑
[๑๗] พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลกแล้ว
แม้ความเป็นมนุษย์ก็หาได้ยาก เมื่อทั้ง ๒ อย่างมีอยู่
แต่การได้สดับพระสัทธรรมก็หาได้ยากยิ่ง
[๑๘] พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลกแล้ว
ความเจริญจักมีแก่พวกเราผู้ได้ดวงตา มาเถิดท่านทั้งหลาย
เราทุกคนจักไปยังสำนักของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
[๑๙] ศิษย์ทุกคนสะพายคนโทน้ำ นุ่งผ้าหนังสัตว์ที่มีเล็บ
ในครั้งนั้น พวกเขาเกล้าชฎาและหาบบริขารพากันออกจากป่าใหญ่
[๒๐] พวกเขาทอดสายตาดูประมาณชั่วแอก
แสวงหาประโยชน์สูงสุด เดินมาเหมือนลูกช้าง
เป็นผู้ไม่สะดุ้ง ดุจพญาไกรสรราชสีห์
[๒๑] พวกเขาไม่มีความสะดุ้ง หมดความละโมบ
มีปัญญารักษาตน มีความประพฤติสงบ
เที่ยวไปพร้อมด้วยเสบียงกรังเข้าไปใกล้พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
[๒๒] ในระยะทาง ๑ โยชน์ครึ่ง ข้าพเจ้าได้เกิดเจ็บป่วยขึ้น
จึงระลึกถึงพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุดแล้วสิ้นชีวิตในที่นั้น
[๒๓] ในกัปที่ ๙๔ (นับจากกัปนี้ไป)
ข้าพเจ้าได้สัญญาในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการได้สัญญาในพระพุทธเจ้า

เชิงอรรถ :
๑ น้ำมันกาหายาก เพราะกาทั้งหลายถูกความหิวความสะดุ้งเบียดเบียนทั้งกลางคืนและกลางวันจึงหามัน
เหลวได้ยาก (ขุ.อป.อ. ๒/๑๖/๒๖๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๓. ภิสทายกเถราปทาน
[๒๔] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๒๕] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๒๖] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระพุทธสัญญกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
พุทธสัญญกเถราปทานที่ ๒ จบ

๓. ภิสทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระภิสทายกเถระ
(พระภิสทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๒๗] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าลงสู่สระโบกขรณีที่ช้างนานาชนิดอาศัยอาบกิน
ถอนเหง้าบัวในสระนั้น เพราะเหตุต้องการจะกิน
[๒๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ทรงผ้ากัมพลสีแดง เสด็จไปในอากาศ
[๒๙] ขณะนั้น ข้าพเจ้าได้ยินเสียงชายผ้าบังสุกุลสะบัด
จึงแหงนหน้าขึ้นดู ก็ได้เห็นพระผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
[๓๐] ข้าพเจ้ายืนอยู่ที่สระโบกขรณีนั้นนั่นแหละ
ได้ทูลอ้อนวอนพระผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลกว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๓. ภิสทายกเถราปทาน
น้ำหวานไหลออกจากเหง้าบัว
น้ำนมและเนยใสไหลออกจากก้านบัว
[๓๑] ขอพระพุทธเจ้าผู้มีพระจักษุ
โปรดทรงรับ(ภิกษา)เพื่ออนุเคราะห์ข้าพระองค์ด้วยเถิด
ลำดับนั้น พระบรมศาสดาทรงประกอบด้วยพระมหากรุณา
มีพระยศยิ่งใหญ่ จึงเสด็จลง(จากอากาศ)
[๓๒] ทรงรับภิกษาของข้าพเจ้า เพื่ออนุเคราะห์
ครั้นแล้วพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงทำอนุโมทนาแก่ข้าพเจ้าว่า
[๓๓] ท่านผู้มีบุญมาก ขอจงมีความสุขเถิด
คติจงสำเร็จแก่ท่าน ด้วยการถวายเหง้าบัวนี้
ขอท่านจงได้รับความสุขอันไพบูลย์เถิด
[๓๔] ครั้นตรัสแล้วอย่างนี้
พระชินสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้ตรัสรู้เอง ได้ทรงรับภิกษาแล้วเสด็จไปทางอากาศ
[๓๕] ลำดับนั้น ข้าพเจ้าเก็บเหง้าบัว กลับมายังอาศรม
คล้องเหง้าบัวไว้บนต้นไม้ ระลึกถึงทานของตน
[๓๖] ครั้งนั้น ลมพายุใหญ่ตั้งขึ้นแล้วพัดป่าให้ปั่นป่วน
อากาศบันลือลั่นเมื่อสายฟ้าผ่าลงมา
[๓๗] ลำดับนั้น สายฟ้าผ่าลงที่ศีรษะของข้าพเจ้า
ดังนั้นข้าพเจ้านั้นเป็นผู้นั่งตายในที่นั้นเอง
[๓๘] ข้าพเจ้าเป็นผู้ประกอบด้วยกรรมดี
ไปเกิดยังสวรรค์ชั้นดุสิต ทิ้งไว้แต่ซากศพ
และข้าพเจ้าได้รื่นรมย์อยู่ในเทวโลก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๓. ภิสทายกเถราปทาน
[๓๙] นางอัปสร ๘๖,๐๐๐ นาง ล้วนประดับตกแต่ง
อย่างสวยงาม ต่างก็บำรุงข้าพเจ้าอยู่ทุกเช้าเย็น
นี้เป็นผลแห่งการถวายเหง้าบัว
[๔๐] ครั้งนั้น ข้าพเจ้ามาสู่กำเนิดมนุษย์
เป็นผู้มีความสุข ข้าพเจ้าไม่มีความบกพร่องในโภคะเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายเหง้าบัว
[๔๑] ข้าพเจ้าเป็นผู้ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นเทพยิ่งกว่าเทพ
ผู้คงที่พระองค์นั้นทรงอนุเคราะห์แล้ว
อาสวะทั้งปวงสิ้นแล้ว
บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก
[๔๒] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายเหง้าบัวไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายเหง้าบัว
[๔๓] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๔๔] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๔๕] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระภิสทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ภิสทายกเถราปทานที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๔. ญาณัตถวิกเถราปทาน
๔. ญาณัตถวิกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระญาณัตถวิกเถระ
(พระญาณัตถวิกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๔๖] ข้าพเจ้าสร้างอาศรมอย่างสวยงามไว้
ณ ทิศใต้แห่งภูเขาหิมพานต์
ครั้งนั้น ข้าพเจ้าแสวงหาประโยชน์สูงสุด
จึงอาศัยอยู่ในป่าใหญ่
[๔๗] ข้าพเจ้ายินดีด้วยเหง้ามันและผลไม้ตามมีตามได้
ไม่เที่ยวแสวงหา อยู่เพียงผู้เดียว
[๔๘] ครั้งนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสุเมธะ
เสด็จอุบัติขึ้นในโลกแล้ว
พระองค์ทรงประกาศสัจจะ ๔ ช่วยฉุดมหาชนขึ้น
[๔๙] ข้าพเจ้ามิได้สดับข่าวพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
แม้ใคร ๆ ก็ไม่บอกข้าพเจ้า เมื่อล่วงไปได้ ๘ ปี
ข้าพเจ้าจึงได้สดับข่าวพระผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
[๕๐] ข้าพเจ้านำไฟและฟืนออกแล้ว
กวาดอาศรม หาบบริขารออกจากป่าใหญ่ไป
[๕๑] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าพักอยู่ในบ้านและนิคม ๑ คืน
เข้าไปใกล้กรุงจันทวดีโดยลำดับ
[๕๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาค
ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลกพระนามว่าสุเมธะ
ทรงแสดงอมตบทช่วยฉุดสัตว์จำนวนมากขึ้น
[๕๓] ข้าพเจ้าได้ผ่านหมู่ชนเข้าไปไหว้พระชินเจ้าผู้เสด็จมาดีแล้ว
ทำผ้าหนังสัตว์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง
แล้วสรรเสริญพระผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลกว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๔. ญาณัตถวิกเถราปทาน
[๕๔] พระองค์ผู้เป็นพระศาสดาผู้สูงสุด
แห่งเทวดาและมนุษย์ ผู้ปรากฏดุจธง
เป็นดุจธงชัยและเป็นดุจเสาพิธีผูกสัตว์บูชายัญ
เป็นที่หมายปอง เป็นที่พึ่ง และเป็นดุจดวงประทีปของหมู่สัตว์
ภาณวารที่ ๒๑ จบ

[๕๕] พระองค์เป็นผู้ฉลาด เป็นนักปราชญ์ในญาณทัสสนะ๑
ทรงช่วยหมู่ชนให้ข้ามพ้นไปได้
ข้าแต่พระมุนี ผู้อื่นที่จะช่วยหมู่สัตว์
ให้ข้ามพ้น(วัฏฏสงสาร)ไปได้ยิ่งกว่าพระองค์ไม่มีในโลก
[๕๖] มหาสมุทรที่ลึกที่สุด ก็พึงอาจที่จะประมาณได้ด้วยปลายหญ้าคา
ข้าแต่พระสัพพัญญู ส่วนพระญาณของพระองค์
ใคร ๆ ไม่อาจจะประมาณได้เลย
[๕๗] แผ่นดินก็อาจจะวางลงบนตราชั่งแล้วชั่งดูได้
ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระจักษุ
แต่สิ่งที่เสมอด้วยพระปัญญาของพระองค์ไม่มีเลย
[๕๘] อากาศก็อาจจะวัดได้ด้วยเชือกและนิ้วมือ
ข้าแต่พระสัพพัญญู ส่วนศีลของพระองค์
ใคร ๆ ไม่อาจจะประมาณได้เลย
[๕๙] น้ำในมหาสมุทร อากาศและพื้นแผ่นดิน
สิ่งทั้ง ๓ นี้ ก็พึงอาจประมาณได้
ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระจักษุ
พระองค์เป็นผู้ที่ใคร ๆ จะประมาณไม่ได้เลย

เชิงอรรถ :
๑ ญาณทัสสนะ หมายถึงมัคคญาณ ผลญาณ สัพพัญญุตญาณ ปัจจเวกขณญาณ วิปัสสนาญาณ (ที.สี.อ.
๑/๒๓๔/๑๙๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๔. ญาณัตถวิกเถราปทาน
[๖๐] ข้าพเจ้ากล่าวสรรเสริญพระสัพพัญญู
ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่ ด้วยคาถา ๖ คาถาแล้ว
ประนมมือยืนนิ่งอยู่ในเวลานั้น
[๖๑] พระพุทธเจ้าผู้มีปัญญาเสมอด้วยพื้นปฐพี
เป็นเมธีชั้นเลิศ ซึ่งชนทั้งหลายถวายพระนามว่าสุเมธะ
ประทับนั่งในท่ามกลางหมู่ภิกษุแล้ว ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
[๖๒] เราจักพยากรณ์ผู้ที่มีจิตเลื่อมใส
ได้กล่าวสรรเสริญญาณของเรา
ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าวเถิด
[๖๓] ผู้นี้จักรื่นรมย์ในเทวโลกตลอด ๗๗ กัป
จักเป็นจอมเทพครองเทวสมบัติอยู่ในเทวโลกตลอด ๑,๐๐๐ ชาติ
[๖๔] จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิหลายร้อยชาติ
และจักได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์นับชาติไม่ถ้วน
[๖๕] เขาจะเกิดเป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็ตาม
ก็จักเป็นผู้มั่นคงในกรรมดี
จักเป็นผู้มีความดำริไม่บกพร่อง มีปัญญาเฉียบแหลม
[๖๖] ในกัปที่ ๓๐,๐๐๐ (นับจากกัปนี้ไป)
พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร
ทรงสมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก
[๖๗] ผู้นี้จักไม่มีความกังวล ออกบวช
จักบรรลุอรหัตตผลตั้งแต่อายุได้ ๗ ขวบ
[๖๘] ในระหว่างกาลที่ข้าพเจ้าจำความได้
จนถึงการบรรลุศาสนธรรมนี้
ข้าพเจ้าไม่รู้จักความไม่สบายใจเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๔. ญาณัตถวิกเถราปทาน
[๖๙] ข้าพเจ้าเวียนว่ายตายเกิด เสวยสมบัติในภพน้อยภพใหญ่
ข้าพเจ้าไม่มีความบกพร่องในโภคะเลย
นี้เป็นผลในการสรรเสริญพระญาณ
[๗๐] ไฟ ๓ กอง ข้าพเจ้าดับได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
อาสวะทั้งปวงสิ้นแล้ว
บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก
[๗๑] ในกัปที่ ๓๐,๐๐๐ (นับจากกัปนี้ไป)
ข้าพเจ้าได้สรรเสริญพระญาณไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลในการสรรเสริญพระญาณ
[๗๒] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๗๓] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๗๔] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระญาณัตถวิกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ญาณัตถวิกเถราปทานที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๕. จันทนมาลิยเถราปทาน
๕. จันทนมาลิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระจันทนมาลิยเถระ๑
(พระจันทนมาลิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๗๕] ข้าพเจ้าละเบญจกามคุณที่น่ายินดี น่าพอใจ
และละทรัพย์ประมาณ ๘๐ โกฏิแล้ว จึงออกบวชเป็นบรรพชิต
[๗๖] ครั้นบวชแล้ว ได้เว้นกายทุจริต
ละวจีทุจริต อาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ
[๗๗] ข้าพเจ้าอยู่คนเดียว พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
ได้เสด็จมาใกล้ ข้าพเจ้าไม่ทราบว่าเป็นพระพุทธเจ้า
แต่ก็ได้ทำการปฏิสันถาร
[๗๘] ครั้นทำการปฏิสันถารแล้ว จึงได้ทูลถามถึงชื่อและโคตรว่า
ท่านเป็นเทวดาหรือคนธรรพ์ หรือเป็นท้าวสักกปุรินททะ
[๗๙] ท่านเป็นใคร หรือเป็นบุตรของใคร
หรือเป็นท้าวมหาพรหม มา ณ ที่นี้
สว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เหมือนดวงอาทิตย์อุทัย
[๘๐] ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ จักรมีกำพันหนึ่งปรากฏที่เท้าของท่าน
ท่านเป็นใคร หรือเป็นบุตรของใคร เราจักรู้จักท่านได้อย่างไร
ขอท่านจงบอกชื่อและโคตร ขจัดความสงสัยของเราเถิด
[๘๑] พระพุทธเจ้าตรัสว่า เราไม่ใช่เทวดา
ไม่ใช่คนธรรพ์ ไม่ใช่ท้าวสักกปุรินททะ
และเราไม่ได้เป็นพรหม
เราเป็นผู้สูงส่งกว่าชนเหล่านั้น

เชิงอรรถ :
๑ พระจันทนมาลิยเถระ หมายถึงพระวัลลิยเถระหรือพระกัณหมิตตะ ชาวกรุงเวสาลี (ขุ.เถร.อ. ๑/๑๖๘/๔๕๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๕. จันทนมาลิยเถราปทาน
[๘๒] ล่วงวิสัยของชนเหล่านั้น
ทำลายเครื่องผูกมัดคือกามได้แล้ว
เผากิเลสหมดแล้ว บรรลุสัมโพธิญาณอันสูงสุด
[๘๓] ข้าพเจ้าได้ฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว
จึงได้กราบทูลคำนี้ว่า ข้าแต่พระมหามุนี
ถ้าพระองค์เป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้า
ขอเชิญพระองค์ประทับนั่งเถิด
[๘๔] พระองค์ทำที่สุดทุกข์ได้ ข้าพระองค์จักบูชาพระองค์
ข้าพเจ้าจึงได้ลาดหนังสัตว์ถวายพระศาสดา
[๘๕] พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนหนังสัตว์นั้น
ดุจพญาราชสีห์นั่งอยู่ในถ้ำ
ข้าพเจ้ารีบขึ้นภูเขาเก็บผลมะม่วง
[๘๖] ดอกสาละที่สวยงามและแก่นจันทน์ซึ่งมีราคามาก
ข้าพเจ้ารีบหอบของทั้งหมดเข้าเฝ้าพระผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
[๘๗] ได้ถวายผลไม้แด่พระพุทธเจ้า แล้วใช้ดอกสาละบูชา
ได้ใช้แก่นจันทน์ลูบไล้แล้วไหว้พระศาสดา
[๘๘] ข้าพเจ้าเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี มีปีติไพบูลย์แล้ว
พระศาสดาผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
พระนามว่าสุเมธะ ประทับนั่งบนหนังสัตว์
[๘๙] พระองค์เมื่อจะให้ข้าพเจ้ารื่นเริง
ได้ทรงพยากรณ์กรรมของข้าพเจ้าในครั้งนั้นว่า
ด้วยการถวายผลไม้กับของหอมและดอกไม้ทั้ง ๒ อย่างนี้
[๙๐] ผู้นี้จักรื่นรมย์ในเทวโลกตลอด ๑๒๕ กัป
เขาจักเป็นผู้มีความดำริทางใจไม่บกพร่อง มีอำนาจ
[๙๑] จักไปเกิดเป็นมนุษย์ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้มีฤทธิ์มาก
มีมหาสมุทรทั้ง ๔ เป็นขอบเขตตลอด ๑๒๖ กัป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๕. จันทนมาลิยเถราปทาน
[๙๒] วิสสุกรรมเทพบุตรเนรมิตนครมีนามว่าเวภาระ
นครนั้นจักเป็นทองคำล้วน
ประดับด้วยรัตนชาตินานาชนิด
[๙๓] เขาจักเวียนเกิดเวียนตายในกำเนิดทั้งหลายด้วยอุบายนี้แล
จักเป็นผู้มีความสุขทุกภพ
คือในภพเทวดาหรือภพมนุษย์
[๙๔] เมื่อถึงภพสุดท้าย เขาจักเกิดเป็นเผ่าพันธุ์ของท่านผู้ประเสริฐ๑
จักออกบวชเป็นบรรพชิต
จักเป็นผู้ไม่ออกปากขอปัจจัย ไม่มีอาสวะแล้วนิพพาน
[๙๕] ครั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสุเมธะ
ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลกตรัสอย่างนี้แล้ว
ขณะที่ข้าพเจ้ากำลังเพ่งดูอยู่ ได้เสด็จเหาะไปในอากาศ
[๙๖] ด้วยกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต
[๙๗] จุติจากสวรรค์ชั้นดุสิตแล้ว อุบัติในครรภ์มารดา
เมื่อข้าพเจ้าอยู่ในครรภ์ ข้าพเจ้าไม่มีความบกพร่องในโภคะเลย
[๙๘] เมื่อข้าพเจ้ายังอยู่ในครรภ์มารดา โภชนาหารคือข้าวและน้ำ
บังเกิดแก่มารดาตามความพอใจ ตามปรารถนาของข้าพเจ้า
[๙๙] ข้าพเจ้าบวชเป็นบรรพชิตเมื่ออายุได้ ๕ ขวบ
ขณะปลงผมเสร็จก็ได้บรรลุอรหัตตผล

เชิงอรรถ :
๑ เผ่าพันธุ์ของท่านผู้ประเสริฐ หมายถึงผู้เกิดในตระกูลพราหมณ์ (ขุ.อป.อ. ๒/๒๗๔/๒๗๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๕. จันทนมาลิยเถราปทาน
[๑๐๐] ข้าพเจ้าค้นหาบุพกรรมอยู่ ก็มิได้เห็นบุพกรรมอะไร ๆ
แต่ข้าพเจ้ามาระลึกถึงกรรมของตนได้
นอกเหนือไปในกัปที่ ๓๐,๐๐๐
[๑๐๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นบุรุษอาชาไนย
ข้าพระองค์ขอนอบน้อมพระองค์
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นบุรุษสูงสุด
ข้าพระองค์ขอนอบน้อมพระองค์
ข้าพระองค์อาศัยคำสั่งสอนของพระองค์
จึงได้บรรลุบทที่ไม่หวั่นไหว
[๑๐๒] ในกัปที่ ๓๐,๐๐๐ (นับจากกัปนี้ไป)
ข้าพเจ้าได้บูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๑๐๓] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๐๔] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๐๕] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระจันทนมาลิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
จันทนมาลิยเถราปทานที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๖. ธาตุปูชกเถราปทาน
๖. ธาตุปูชกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระธาตุปูชกเถระ
(พระธาตุปูชกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๐๖] เมื่อพระโลกนาถพระนามว่าสิทธัตถะ
ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก ปรินิพพานแล้ว
ข้าพเจ้าได้นำพวกญาติของข้าพเจ้ามาทำการบูชาพระธาตุ
[๑๐๗] ในกัปที่ ๙๔ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้บูชาพระธาตุไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระธาตุ
[๑๐๘] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๐๙] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๑๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระธาตุปูชกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ธาตุปูชกเถราปทานที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๗. ปุฬินุปปาทกเถราปทาน
๗. ปุฬินุปปาทกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระปุฬินุปปาทกเถระ
(พระปุฬินุปปาทกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๑๑] ข้าพเจ้าเป็นดาบสชื่อเทวละ อาศัยอยู่ที่ภูเขาหิมพานต์
ที่ภูเขานั้น ที่จงกรมของข้าพเจ้าเป็นที่ที่พวกอมนุษย์เนรมิตให้
[๑๑๒] ครั้งนั้น ข้าพเจ้ามุ่นมวยผม สะพายคนโทน้ำ
เมื่อจะแสวงหาประโยชน์อย่างสูงสุด ได้ออกจากป่าใหญ่ไปในกาลนั้น
[๑๑๓] ครั้งนั้น ศิษย์ประมาณ ๘๔,๐๐๐ คน อุปัฏฐากข้าพเจ้า
พวกเขาขวนขวายในการงานของตนอยู่ในป่าใหญ่
[๑๑๔] ข้าพเจ้าออกจากอาศรมได้ก่อพระเจดีย์ทรายแล้ว
รวบรวมดอกไม้นานาชนิดมาบูชาพระเจดีย์นั้น
[๑๑๕] ข้าพเจ้าทำจิตให้เลื่อมใสในพระเจดีย์แล้ว เข้าไปสู่อาศรม
ศิษย์ทุกคนได้มาประชุมพร้อมกันแล้ว ถามความข้อนี้ว่า
[๑๑๖] ข้าแต่ท่านเทวละ ท่านนมัสการสถูปที่ก่อด้วยทรายทำไม
แม้ข้าพเจ้าทั้งหลายก็อยากจะรู้
ข้าพเจ้าทั้งหลายถามท่านแล้วโปรดบอกด้วยเถิด
[๑๑๗] ข้าพเจ้าตอบว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ผู้มีพระจักษุ มีพระยศยิ่งใหญ่
ท่านทั้งหลายได้พบแล้วในบทมนตร์ของเรามิใช่หรือ
เรานมัสการพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุดเหล่านั้น
ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่เช่นไร
[๑๑๘] พระพุทธเจ้าเหล่านั้นผู้มีความเพียรมาก
เป็นสัพพัญญู ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
พระพุทธเจ้าเหล่านั้นมีคุณอย่างไร
มีศีลอย่างไร มีพระยศยิ่งใหญ่เช่นไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๗. ปุฬินุปปาทกเถราปทาน
[๑๑๙] พระพุทธเจ้าทั้งหลายมีพระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ๑
มีพระทนต์ครบ ๔๐ ซี่ มีดวงเนตรดังดวงตาแห่งโค
และสดใสเหมือนผลมะกล่ำ
[๑๒๐] อนึ่ง พระพุทธเจ้าเหล่านั้น ผู้บริสุทธิ์เมื่อเสด็จดำเนินไป
ก็ทอดพระเนตรเพียงชั่วแอก
พระชานุของพระองค์ไม่ลั่น ใคร ๆ ไม่ได้ยินเสียงที่ต่อ
[๑๒๑] อนึ่ง พระสุคตทั้งหลาย
เมื่อจะเสด็จดำเนินไม่ทรงรีบร้อนเสด็จดำเนินไป
ทรงก้าวพระบาทเบื้องขวาก่อน
นี้เป็นธรรมดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
[๑๒๒] และพระพุทธเจ้าเหล่านั้นเป็นผู้ไม่สะดุ้ง
ดุจพญาไกรสรราชสีห์
พระพุทธเจ้าเหล่านั้นไม่ทรงยกพระองค์ไม่ข่มสัตว์ทั้งหลาย
[๑๒๓] ทรงหลุดพ้นจากการถือตัวและดูหมิ่น
ท่านมีพระองค์เสมอในสัตว์ทั้งปวง
พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นผู้ไม่ทรงยกพระองค์
นี้เป็นธรรมดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
[๑๒๔] อนึ่ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเมื่อเสด็จอุบัติขึ้น
พระองค์ทรงแสดงแสงสว่าง
ทรงประกาศวิการ ๖๒ ทั่วพื้นแผ่นดินนี้ทั้งสิ้น
[๑๒๕] ทั้งพระองค์ทรงเห็นนรกด้วย
ครั้งนั้น ไฟนรกดับ มหาเมฆบันดาลฝนให้ตก
นี้เป็นธรรมดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถหน้า ๑๐ ในเล่มนี้
๒ วิการ ๖ หมายถึงแผ่นดินไหว ๖ ประการ คือ (๑) ข้างหน้ายืดขึ้นข้างหลังยุบลง (๒) ข้างหลังยืดขึ้น
ข้างหน้ายุบลง (๓) ข้างซ้ายยืดขึ้นข้างขวายุบลง (๔) ข้างขวายืดขึ้นข้างซ้ายยุบลง (๕) ตรงกลางยืดขึ้น
โดยรอบยุบลง (๖) โดยรอบยืดขึ้นตรงกลางยุบลง (ขุ.พุทฺธ.อ. ๗๑/๙๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๗. ปุฬินุปปาทกเถราปทาน
[๑๒๖] พระตถาคตทั้งหลายเหล่านั้น ทรงพระคุณประเสริฐมาก
ไม่มีใครเทียบได้ มีพระยศยิ่งใหญ่ มีพระคุณหาประมาณมิได้
ใคร ๆ ไม่เกินพระองค์ไปโดยเกียรติคุณ
พระพุทธเจ้าเหล่านั้น เป็นเช่นนี้
[๑๒๗] ศิษย์ทุกคนเป็นผู้มีความเคารพ ชื่นชมถ้อยคำของข้าพเจ้า
ต่างได้ปฏิบัติเช่นนั้น ตามความสามารถ ตามกำลัง(ของตน)
[๑๒๘] พวกเขามีความเพลิดเพลินในกรรมของตน
เชื่อฟังถ้อยคำของข้าพเจ้า
มีฉันทะอัธยาศัยน้อมไปในความเป็นพระพุทธเจ้า
พากันบูชาพระเจดีย์ทราย
[๑๒๙] ครั้งนั้น เทพบุตรผู้มียศใหญ่ จุติจากสวรรค์ชั้นดุสิต
อุบัติในพระครรภ์ของพระมารดา หมื่นจักรวาลไหวแล้ว
[๑๓๐] ข้าพเจ้ายืนอยู่ ณ ที่จงกรมไม่ไกลจากอาศรม
ศิษย์ทุกคนได้มาประชุมพร้อมกันในสำนักของข้าพเจ้า ถามว่า
[๑๓๑] แผ่นดินบันลือลั่นดุจโคอุสภะคึกคะนอง
ดุจราชสีห์คำรน ดุจจระเข้ฟาดหาง จักมีผลเป็นอย่างไร
[๑๓๒] ข้าพเจ้าตอบว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใด
ที่ข้าพเจ้าประกาศ ที่ใกล้พระสถูปกองทราย
บัดนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ผู้มีโชค ผู้ทรงเป็นพระศาสดา
เสด็จลงสู่พระครรภ์ของพระมารดาแล้ว
[๑๓๓] ข้าพเจ้าแสดงธรรมกถาแก่ศิษย์เหล่านั้นแล้ว
กล่าวสดุดีพระมหามุนี
ส่งศิษย์ของตนไปแล้ว นั่งขัดสมาธิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๗. ปุฬินุปปาทกเถราปทาน
[๑๓๔] ก็ข้าพเจ้ามีกำลังสิ้นไปแล้วหนอ ป่วยหนัก
ระลึกถึงพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุดแล้ว
ได้สิ้นชีวิตในที่นั้นเอง
[๑๓๕] ครั้งนั้น ศิษย์ทุกคนมาประชุมกันได้สร้างจิตกาธานขึ้น
แล้วได้ยกร่างของข้าพเจ้าขึ้นวางยังจิตกาธาน
[๑๓๖] พวกเขาพากันยืนประนมมือเหนือศีรษะล้อมรอบจิตกาธาน
พากันเศร้าโศก คร่ำครวญ
[๑๓๗] เมื่อศิษย์เหล่านั้นพิไรรำพันอยู่
ข้าพเจ้าได้ไปใกล้จิตกาธานแล้วสั่งสอนพวกเขาว่า
เราคืออาจารย์ของเธอทั้งหลาย
ท่านผู้มีปัญญาดีทั้งหลาย อย่าได้เศร้าโศกเลย
[๑๓๘] ท่านทั้งหลายพึงเป็นผู้ไม่เกียจคร้าน
พึงพยายามในประโยชน์ของตนทั้งกลางวันกลางคืน
อย่าได้ประมาท จงใช้เวลาที่มีให้เป็นประโยชน์
[๑๓๙] ข้าพเจ้าพร่ำสอนศิษย์ของตนแล้วกลับไปยังเทวโลก
ได้อยู่ในเทวโลกถึง ๑๘ กัป
[๑๔๐] ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๕๐๐ ชาติ
และได้ครองเทวสมบัติหลายร้อยชาติ
[๑๔๑] ในกัปที่เหลือ ข้าพเจ้าแม้จะเวียนว่ายตายเกิดไปมา
แต่ก็ไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการก่อพระเจดีย์ทราย
[๑๔๒] ในเดือนที่ดอกโกมุทบาน
ต้นไม้จำนวนมากก็มีดอกบาน ฉันใด
ข้าพเจ้าก็เป็นผู้ที่พระศาสดาผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
ให้เบิกบานแล้วในสมัยนั้น ฉันนั้นเหมือนกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๗. ปุฬินุปปาทกเถราปทาน
[๑๔๓] ข้าพเจ้ามีความเพียรนำพาธุระไป
อันเป็นเหตุนำธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะมาให้
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๔๔] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้สรรเสริญพระพุทธเจ้าไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการสรรเสริญพระพุทธเจ้า
[๑๔๕] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๔๖] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๔๗] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระปุฬินุปปาทกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ปุฬินุปปาทกเถราปทานที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๘. ตรณิยเถราปทาน
๘. ตรณิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระตรณิยเถระ
(พระตรณิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๔๘] พระผู้มีพระภาคพระนามว่าอัตถทัสสี
ผู้เป็นพระสยัมภู ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
เป็นพระตถาคต ได้เสด็จไปที่ฝั่งแม่น้ำวินดา
[๑๔๙] ข้าพเจ้าเป็นเต่าเที่ยวไปมาในแม่น้ำ ขึ้นจากน้ำแล้ว
ประสงค์จะอัญเชิญพระพุทธเจ้าเสด็จข้ามฟาก
จึงเข้าเฝ้าพระองค์ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก กราบทูลว่า
[๑๕๐] ขอทูลเชิญพระพุทธเจ้า
ผู้เป็นมหามุนีพระนามว่าอัตถทัสสี
เสด็จขึ้นหลังของข้าพระองค์เถิด
ข้าพระองค์จะนำเสด็จพระองค์ผู้ทำที่สุดทุกข์ข้ามฟาก
[๑๕๑] พระพุทธเจ้าผู้มีพระยศยิ่งใหญ่
ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลกพระนามว่าอัตถทัสสี
ทราบความดำริของข้าพเจ้าแล้ว
จึงเสด็จขึ้นประทับยืนบนหลังของข้าพเจ้า
[๑๕๒] ในเวลาที่ข้าพเจ้าจำความได้ และรู้เดียงสา
ข้าพเจ้าไม่มีความสุขเช่นกับความสุข(ที่ได้รับ)
ในขณะที่ฝ่าพระบาทถูกต้องเลย
[๑๕๓] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าอัตถทัสสี ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่
เสด็จขึ้นประทับยืนที่ริมฝั่งแม่น้ำแล้ว
ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๘. ตรณิยเถราปทาน
[๑๕๔] เราข้ามกระแสน้ำเพียงชั่วขณะจิตเป็นไป
ก็พญาเต่าตัวนี้มีบุญส่งเราข้ามฟาก
[๑๕๕] ด้วยการส่งพระพุทธเจ้า ข้ามฟากนี้
และด้วยความเป็นผู้มีจิตเมตตา
เขาจักรื่นรมย์ในเทวโลกตลอด ๑,๘๐๐ กัป
[๑๕๖] เขาจากเทวโลกมามนุษยโลกนี้
อันกุศลมูลตักเตือนแล้ว
นั่ง ณ อาสนะเดียวจักข้ามกระแสความสงสัยได้
[๑๕๗] พืชแม้น้อยที่ชาวนาหว่านลงในผืนนาที่ดี
เมื่อฝนตกลงอยู่โดยชอบ
ผลย่อมทำให้ชาวนายินดี แม้ฉันใด
[๑๕๘] พุทธเขตที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้นี้
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อบุญให้ผลสม่ำเสมอ
ผลก็จักทำให้ข้าพเจ้ายินดี
[๑๕๙] ข้าพเจ้ามีจิตเด็ดเดี่ยวเพื่อบำเพ็ญเพียร
สงบระงับ ไม่มีอุปธิ กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว
อยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
[๑๖๐] ในกัปที่ ๑,๘๐๐ (นับจากกัปนี้ไป)
ข้าพเจ้าได้ทำกรรมไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการส่งพระพุทธเจ้าข้ามฟาก
[๑๖๑] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๙. ธัมมรุจิเถราปทาน
[๑๖๒] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๖๓] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระตรณิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ตรณิยเถราปทานที่ ๘ จบ

๙. ธัมมรุจิเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระธัมมรุจิเถระ
(พระธัมมรุจิเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๖๔] ในเวลาที่พระพุทธชินเจ้าพระนามว่าทีปังกร
ทรงพยากรณ์สุเมธดาบสว่า
ในกัปนับประมาณมิได้จากกัปนี้ไป
ดาบสนี้จักเป็นพระพุทธเจ้า
[๑๖๕] พระมารดาผู้ให้กำเนิดดาบสนี้
จักมีพระนามว่ามายา พระบิดาจักมีพระนามว่าสุทโธทนะ
ดาบสนี้จักมีนามว่าโคดม
[๑๖๖] ดาบสนี้จักตั้งความเพียรบำเพ็ญทุกรกิริยาแล้ว
จักเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีพระยศยิ่งใหญ่
ตรัสรู้ที่โคนต้นอัสสัตถพฤกษ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๙. ธัมมรุจิเถราปทาน
[๑๖๗] พระอุปติสสเถระและพระโกลิตเถระจักเป็นพระอัครสาวก
พระอุปัฏฐากชื่อว่าพระอานนท์ จักอุปัฏฐากพระชินเจ้านี้
[๑๖๘] เขมาภิกษุณีและอุบลวรรณาภิกษุณีจักเป็นพระอัครสาวิกา
จิตตคหบดีอุบาสกและหัตถกคหบดีอุบาสก
ชาวเมืองอาฬวี จักเป็นอัครอุบาสก
[๑๖๙] ขุชชุตตราอุบาสิกาและนันทมารดาอุบาสิกาเป็นอัครอุบาสิกา
ต้นไม้เป็นสถานที่ตรัสรู้ของนักปราชญ์ผู้นี้
ชาวโลกเรียกกันว่าต้นอัสสัตถพฤกษ์
[๑๗๐] มนุษย์และเทวดาได้สดับพระดำรัสของพระพุทธเจ้า
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ซึ่งจะหาใครเสมอเหมือนมิได้
ต่างเป็นผู้เบิกบานประนมมือนมัสการ
[๑๗๑] ข้าแต่พระมหามุนี
ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นมาณพชื่อเมฆะ ศึกษามาดีแล้ว
ได้สดับคำพยากรณ์อันประเสริฐของสุเมธดาบส
[๑๗๒] ข้าพเจ้าเป็นผู้คุ้นเคยกับสุเมธดาบส ผู้มีความกรุณา
และรีบออกบวชตามสุเมธดาบส ผู้มีความเพียร ซึ่งบวชอยู่
[๑๗๓] เป็นผู้สำรวมในปาติโมกข์และอินทรีย์ ๕
มีอาชีวะหมดจด มีสติ เป็นนักปราชญ์
กระทำตามคำสั่งสอนของพระชินเจ้า
[๑๗๔] ข้าพเจ้าเป็นอยู่อย่างนี้
ถูกปาปมิตรบางคนชักนำในความประพฤติเลวทราม
ถูกขจัดออกจากหนทางที่ชอบแล้ว
[๑๗๕] เป็นผู้ตกอยู่ในอำนาจแห่งวิตก
จึงหลีกออกจากศาสนา
ภายหลังถูกปาปมิตรนั้นชักชวนให้ฆ่ามารดา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๙. ธัมมรุจิเถราปทาน
[๑๗๖] ข้าพเจ้ามีจิตชั่วร้ายได้ทำอนันตริยกรรมฆ่ามารดา
จุติจากภพนั้นแล้วไปเกิดในอเวจีมหานรกที่แสนจะทารุณ
[๑๗๗] ข้าพเจ้าตกนรกประสบความลำบากเวียนว่ายตายเกิดอยู่นาน
ไม่ได้เห็นสุเมธดาบส ผู้เป็นนักปราชญ์ ผู้ประเสริฐกว่านรชน
[๑๗๘] ในกัปนี้ ข้าพเจ้าเกิดเป็นปลาติมิงคละอยู่ในมหาสมุทร
เห็นเรือในสมุทรสาคร จึงเข้าไปเพื่อจะกิน
[๑๗๙] พวกพ่อค้าเห็นข้าพเจ้าก็กลัว
ระลึกถึงพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
ข้าพเจ้าได้ยินเสียงกึกก้องว่า
โคตมะ ที่พ่อค้าเหล่านั้นเปล่งขึ้น
[๑๘๐] จึงนึกถึงสัญญาเก่าขึ้นมาได้ จากนั้นก็เสียชีวิตแล้ว
ไปเกิดในตระกูลพราหมณ์ที่มั่งคั่ง ในกรุงสาวัตถี
[๑๘๑] ข้าพเจ้าชื่อว่าธัมมรุจิ เป็นผู้เกลียดบาปกรรมทุกอย่าง
พออายุได้ ๗ ขวบ ก็ได้พบพระพุทธองค์ผู้ส่องโลกให้โชติช่วง
[๑๘๒] ข้าพเจ้าจึงได้ไปยังพระเชตวันมหาวิหาร
แล้วบวชเป็นบรรพชิต
เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ๓ ครั้ง ต่อคืนและวัน
[๑๘๓] ครั้งนั้น พระองค์ผู้เป็นมุนี
ทอดพระเนตรเห็นข้าพเจ้าเข้าจึงตรัสว่า
ธัมมรุจิ ท่านจงระลึกถึงเรา
ลำดับนั้น ข้าพเจ้ากราบทูลบุพกรรมอย่างแจ่มแจ้ง
กับพระพุทธเจ้าว่า
[๑๘๔] นานมาแล้ว ข้าพระองค์ไม่ได้พบพระองค์
ผู้ทรงบุญลักษณะตั้ง ๑๐๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๙. ธัมมรุจิเถราปทาน
ผู้ทรงมีเหตุปัจจัยบริสุทธิ์ในชาติปางก่อน
บัดนี้ ข้าพระองค์ได้พบพระสรีระของพระองค์
นับว่าเป็นการเห็นที่ประเสริฐแท้ ไม่มีสิ่งเปรียบ
[๑๘๕] ความมืดคือโมหะ พระองค์ขจัดได้สิ้นเชิงหนอ
ข้าพเจ้าชมเชยพระองค์แล้ว
แม่น้ำคือตัณหา อันพระองค์ผู้มีอินทรีย์อันรักษาไว้ดีแล้ว
ให้เหือดแห้งไปโดยสิ้นเชิง พระนิพพานที่ไม่มีมลทิน๑
อันพระองค์ทรงชำระดีแล้ว สิ้นกาลนาน
ข้าแต่พระมหามุนี พระองค์บรรลุนัยนา๒
ที่สำเร็จด้วยญาณสิ้นกาลนาน
[๑๘๖] ข้าพระองค์พินาศไปในระหว่างตลอดกาลนาน
ข้าแต่พระโคดม แต่วันนี้ ข้าพระองค์ได้พบพระองค์
การพบเป็นต้นที่ได้ทำไว้จักไม่พินาศไปอีก
[๑๘๗] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๘๘] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ พระนิพพานที่ไม่มีมลทิน หมายถึงบรรลุนิพพาน (ขุ.อป.อ. ๒/๑๘๕-๘๖/๒๖๑)
๒ บรรลุนัยนา หมายถึงทิพพจักขุ (ขุ.อป.อ. ๒/๑๘๕-๘๖/๒๖๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๑๐. สาลมัณฑปิยเถราปทาน
[๑๘๙] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระธัมมรุจิเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ธัมมรุจิเถราปทานที่ ๙ จบ

๑๐. สาลมัณฑปิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระสาลมัณฑปิยเถระ
(พระสาลมัณฑปิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๙๐] ข้าพเจ้าเข้าไปยังป่าไม้สาละ สร้างอาศรมอย่างสวยงาม
มุงบังด้วยดอกสาละ อยู่ในป่าใหญ่
[๑๙๑] ส่วนพระผู้มีพระภาคพระนามว่าปิยทัสสี ผู้เป็นพระสยัมภู
เป็นบุคคลผู้เลิศ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง
ผู้ทรงประสงค์วิเวก ได้เสด็จเข้าไปยังป่าไม้สาละ
[๑๙๒] ข้าพเจ้าได้ออกจากอาศรมไปยังป่าใหญ่
เที่ยวแสวงหาเผือกมันและผลไม้ในป่า ในเวลานั้น
[๑๙๓] ได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าปิยทัสสี
ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่ ประทับนั่งเข้าสมาบัติรุ่งโรจน์อยู่ ในป่าใหญ่นั้น
[๑๙๔] ข้าพเจ้าปักไม้เป็น ๔ เส้า ทำปะรำอย่างดี
มุงด้วยดอกสาละเบื้องบนพระพุทธเจ้า
[๑๙๕] ข้าพเจ้าคงตั้งปะรำซึ่งมุงด้วยดอกสาละไว้ ๗ วัน
ทำจิตให้เลื่อมใสในกรรมนั้น
ได้ไหว้พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
[๑๙๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาค ผู้เป็นบุรุษผู้สูงสุด
เสด็จออกจากสมาธิ ประทับนั่งทอดพระเนตรดูเพียงชั่วแอก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๑๐. สาลมัณฑปิยเถราปทาน
[๑๙๗] สาวกของพระศาสดาพระนามว่าปิยทัสสี
ชื่อว่าวรุณะ พร้อมด้วยสาวกผู้ได้วสี ๑๐๐,๐๐๐ รูป
ได้เข้าเฝ้าพระศาสดาผู้นำสัตว์โลก
[๑๙๘] ส่วนพระผู้มีพระภาคพระนามว่าปิยทัสสี
ผู้เจริญที่สุดในโลก ทรงองอาจกว่านรชน
ประทับนั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์แล้ว
ทรงทำการแย้มให้ปรากฏ
[๑๙๙] พระอนุรุทธเถระผู้เป็นพุทธอุปัฏฐากของพระศาสดา
พระนามว่าปิยทัสสี
ห่มจีวรเฉวียงบ่าแล้ว ได้ทูลถามพระมหามุนีว่า
[๒๐๐] ข้าแต่พระผู้มีพระภาค
อะไรหนอ เป็นเหตุให้พระศาสดาทรงแย้ม
เพราะเมื่อมีเหตุ พระศาสดาจึงทรงทำการแย้มให้ปรากฏ
[๒๐๑] พระศาสดาตรัสว่า มาณพใดตั้งเครื่องมุงบังดอกสาละ
เพื่อเราไว้ตลอด ๗ วัน
เราระลึกถึงกรรมของมาณพนั้น
จึงได้ทำการแย้มให้ปรากฏ
[๒๐๒] เรายังไม่เห็นโอกาสที่บุญจะไม่ให้ผล
โอกาสในเทวโลกหรือมนุษยโลกยังไม่สงบ
[๒๐๓] เมื่อเขาผู้เพียบพร้อมด้วยบุญกรรมอยู่ในเทวโลก
บริวารของเขาเท่าที่มี จักมีดอกสาละมุงบัง
[๒๐๔] เขาเป็นผู้ประกอบด้วยบุญกรรม
จักรื่นรมย์ในเทวโลกนั้นด้วยการฟ้อน
การขับร้อง และการประโคมที่เป็นทิพย์ในกาลทุกเมื่อ
[๒๐๕] บริวารของเขาเท่าที่มีจักมีกายมีกลิ่นหอมฟุ้ง
และฝนดอกสาละจักตกลงทั่วไปในขณะนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๑๐. สาลมัณฑปิยเถราปทาน
[๒๐๖] มาณพนี้จุติจากเทวโลกแล้ว
จักมาเกิดเป็นมนุษย์ แม้ในมนุษยโลกนี้
เครื่องมุงบังดอกสาละ จักทรงอยู่ตลอดกาลทั้งปวง
[๒๐๗] ในมนุษยโลกนี้ การฟ้อนรำและการขับร้อง
ที่ประกอบด้วยเสียงกังสดาลอย่างไพเราะ
จักแวดล้อมมาณพนี้เป็นนิตย์
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๒๐๘] และเมื่อดวงอาทิตย์อุทัย ฝนดอกสาละจะตกลง
ฝนดอกสาละที่ประกอบด้วยบุญกรรม
จักตกลงมาตลอดกาลทั้งปวง
[๒๐๙] ในกัปที่ ๑,๘๐๐ (นับจากกัปนี้ไป)
พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร
ทรงสมภพในราชสกุลโอกกากราชจักอุบัติขึ้นในโลก
[๒๑๐] มาณพนี้จักเป็นธรรมทายาทของพระศาสดาพระองค์นั้น
เป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต
กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงเป็นผู้ไม่มีอาสวะแล้วนิพพาน
[๒๑๑] เมื่อเขาตรัสรู้ธรรม จักมีเครื่องมุงบังดอกสาละ
เมื่อถูกเผาอยู่บนเชิงตะกอน
ที่เชิงตะกอนนั้นก็จักมีเครื่องมุงบังดอกสาละ
[๒๑๒] พระมหามุนีพระนามว่าปิยทัสสี
ทรงพยากรณ์วิบากแล้ว แสดงธรรมแก่บริษัท
ให้ชุ่มชื่นด้วยฝนคือธรรม
[๒๑๓] ข้าพเจ้าได้ครองเทวสมบัติในเทวโลกตลอด ๓๐ กัป
ได้เกิดเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๖๗ ชาติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๑๐. สาลมัณฑปิยเถราปทาน
[๒๑๔] ข้าพเจ้าจุติจากเทวโลกมาในมนุษยโลกนี้
ได้รับความสุขอันไพบูลย์
แม้ในมนุษยโลกนี้ก็มีเครื่องมุงบังดอกสาละ
นี้เป็นผลแห่งการสร้างปะรำ
[๒๑๕] ภพนี้เป็นภพสุดท้ายของข้าพเจ้า
ภพสุดท้ายกำลังเป็นไปอยู่
แม้ในภพนี้เครื่องมุงบังดอกสาละก็จักมีตลอดกาลทั้งปวง
[๒๑๖] ข้าพเจ้าให้พระมหามุนีพระนามว่าโคตมศากยะ
ผู้ประเสริฐทรงยินดี ละความชนะ๑
และละความพ่ายแพ้๒ได้แล้ว บรรลุฐานะที่ไม่หวั่นไหว
[๒๑๗] ในกัปที่ ๑,๘๐๐ (นับจากกัปนี้ไป)
ข้าพเจ้าได้บูชาพระพุทธเจ้าไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๒๑๘] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๒๑๙] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ ละความชนะ หมายถึงละทิพยสมบัติและมนุษยสมบัติ (ขุ.อป.อ. ๒/๙/๑๐๗)
๒ ละความพ่ายแพ้ หมายถึงละทุกข์ในอบาย ๔ (ขุ.อป.อ. ๒/๙/๑๐๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] รวมอปทานที่มีในวรรค
[๒๒๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระสาลมัณฑปิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
สาลมัณฑปิยเถราปทานที่ ๑๐ จบ
ปังสุกูลวรรคที่ ๔๙ จบบริบูรณ์

รวมอปทานที่มีในวรรคนี้คือ

๑. ปังสุกูลสัญญกเถราปทาน ๒. พุทธสัญญกเถราปทาน
๓. ภิสทายกเถราปทาน ๔. ญาณัตถวิกเถราปทาน
๕. จันทนมาลิยเถราปทาน ๖. ธาตุปูชกเถราปทาน
๗. ปุฬินุปปาทกเถราปทาน ๘. ตรณิยเถราปทาน
๙. ธัมมรุจิเถราปทาน ๑๐. สาลมัณฑปิยเถราปทาน

ในวรรคนี้ บัณฑิตนับคาถาได้ ๒๑๙ คาถา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๐. กิงกณิปุปผวรรค] ๑. ตีณิกิงกณิปุปผิยเถราปทาน
๕๐. กิงกณิปุปผวรรค
หมวดว่าด้วยดอกกระดิ่งเป็นต้น
๑. ตีณิกิงกณิปุปผิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระตีณิกิงกณิปุปผิยเถระ
(พระตีณิกิงกณิปุปผิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑] ข้าพเจ้าได้เห็นพระพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี
ผู้ปราศจากธุลีคือกิเลส ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
รุ่งเรืองดังดอกกรรณิการ์ ประทับนั่งอยู่ที่ซอกภูเขา
[๒] ข้าพเจ้าเก็บดอกกระดิ่งทอง ๓ ดอกมาบูชา
ครั้นบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว
ได้บ่ายหน้าหลีกไปทางทิศใต้
[๓] ด้วยกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดยังสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๔] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้บูชาพระพุทธเจ้าไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๕] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๖] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๐. กิงกณิปุปผวรรค] ๒. ปังสุกูลปูชกเถราปทาน
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๗] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระตีณิกิงกณิปุปผิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ตีณิกิงกณิปุปผิยเถราปทานที่ ๑ จบ

๒. ปังสุกูลปูชกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระปังสุกูลปูชกเถระ
(พระปังสุกูลปูชกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๘] ในที่ไม่ไกลจากภูเขาหิมพานต์
มีภูเขาลูกหนึ่งชื่ออุทัพพละ ที่ภูเขานั้น
ข้าพเจ้าได้เห็นผ้าบังสุกุลแขวนห้อยอยู่บนยอดไม้
[๙] ครั้งนั้น ข้าพเจ้ามีจิตร่าเริง บันเทิงใจ
ได้เลือกเก็บดอกกระดิ่งทอง ๓ ดอกมาบูชาผ้าบังสุกุล
[๑๐] ด้วยกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดยังสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๑๑] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ทำกรรมไว้ในครั้งนั้น
เพราะการบูชาธงชัยแห่งพระอรหันต์
จึงไม่รู้จักทุคติเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๐. กิงกณิปุปผวรรค] ๓. โกรัณฑปุปผิยเถราปทาน
[๑๒] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๓] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๔] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระปังสุกูลปูชกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ปังสุกูลปูชกเถราปทานที่ ๒ จบ

๓. โกรัณฑปุปผิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระโกรัณฑปุปผิยเถระ
(พระโกรัณฑปุปผิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๕] เมื่อชาติปางก่อน ข้าพเจ้ากับบิดาและปู่เป็นคนทำงานในป่า
เลี้ยงชีพด้วยการฆ่าสัตว์ กุศลกรรมของเราไม่มี
[๑๖] ใกล้ที่อยู่ของข้าพเจ้า พระศาสดาพระนามว่าติสสะ
ผู้ทรงเป็นผู้นำชั้นเลิศของโลก ผู้มีพระจักษุ
ได้ทรงแสดงรอยพระบาทไว้ ๓ รอย
เพื่ออนุเคราะห์(ข้าพเจ้า)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๐. กิงกณิปุปผวรรค] ๓. โกรัณฑปุปผิยเถราปทาน
[๑๗] ข้าพเจ้าเห็นรอยพระบาทของพระศาสดาพระนามว่าติสสะ
ที่พระองค์ทรงประทับไว้
ข้าพเจ้าเป็นผู้มีจิตร่าเริงบันเทิงใจ
ได้ทำจิตให้เลื่อมใสในรอยพระบาทนั้น
[๑๘] ข้าพเจ้าเห็นต้นอังกาบซึ่งงอกเลื้อยไปตามพื้นดิน
มีดอกบานสะพรั่ง จึงเด็ดมาพร้อมทั้งยอด
ได้บูชารอยพระบาทอันประเสริฐที่สุด
[๑๙] ด้วยกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๒๐] ข้าพเจ้าเกิดในกำเนิดใด ๆ
คือจะเกิดเป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็ตาม
(ในกำเนิดนั้น ๆ) ข้าพเจ้ามีผิวพรรณดังดอกอังกาบ
มีรัศมีซ่านออกจากกาย
[๒๑] ในกัปที่ ๙๒ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ทำกรรมไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชารอยพระบาท
[๒๒] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๒๓] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๐. กิงกณิปุปผวรรค] ๔. กิงสุกปุปผิยเถราปทาน
[๒๔] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระโกรัณฑปุปผิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
โกรัณฑปุปผิยเถราปทานที่ ๓ จบ

๔. กิงสุกปุปผิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระกิงสุกปุปผิยเถระ
(พระกิงสุกปุปผิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๒๕] ข้าพเจ้าเห็นต้นทองกวาวมีดอกบานสะพรั่ง
ประคองอัญชลี ระลึกถึงพระพุทธเจ้า
ผู้ประเสริฐที่สุด แล้วบูชาในอากาศ
[๒๖] ด้วยกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๒๗] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ทำกรรมไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๒๘] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๐. กิงกณิปุปผวรรค] ๕. อุปัฑฒทุสสทายกเถราปทาน
[๒๙] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๓๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระกิงสุกปุปผิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
กิงสุกปุปผิยเถราปทานที่ ๔ จบ

๕. อุปัฑฒทุสสทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอุปัฑฒทุสสทายกเถระ
(พระอุปัฑฒทุสสทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าว
ว่า)
[๓๑] ครั้งนั้น สาวกของพระผู้มีพระภาคพระนามว่าปทุมุตตระ
ชื่อสุชาตะ กำลังแสวงหาผ้าบังสุกุลที่กองหยากเยื่อใกล้ถนน
[๓๒] ข้าพเจ้าเป็นลูกจ้างของคนอื่นอยู่ในกรุงหงสวดี
ได้ถวายผ้าครึ่งผืนแล้วอภิวาทด้วยเศียรเกล้า
[๓๓] ด้วยกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ดีนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๓๔] ข้าพเจ้าได้เป็นจอมเทพครองเทวสมบัติตลอด ๓๓ ชาติ
ได้เกิดเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๗๗ ชาติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๐. กิงกณิปุปผวรรค] ๕. อุปัฑฒทุสสทายกเถราปทาน
[๓๕] และได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์นับชาติไม่ถ้วน
เพราะถวายผ้าครึ่งผืน
ข้าพเจ้าจึงเป็นผู้ไม่มีภัยจากที่ไหน ๆ บันเทิงอยู่
[๓๖] ในวันนี้ ข้าพเจ้าเมื่อปรารถนาก็พึงใช้ผ้าเปลือกไม้คลุมดินนี้
พร้อมทั้งป่าใหญ่และภูเขาได้
นี้เป็นผลแห่งการถวายผ้าครึ่งผืน
[๓๗] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายทานไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผ้าครึ่งผืน
[๓๘] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๓๙] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๔๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระอุปัฑฒทุสสทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้
อุปัฑฒทุสสทายกเถราปทานที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๐. กิงกณิปุปผวรรค] ๖. ฆฏมัณฑทายกเถราปทาน
๖. ฆฏมัณฑทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระฆฏมัณฑทายกเถระ
(พระฆฏมัณฑทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๔๑] พระผู้มีพระภาคผู้ทรงดำริดีแล้ว
ผู้เจริญที่สุดในโลก ทรงองอาจกว่านรชน
เสด็จเข้าไปยังป่าใหญ่ ทรงพระประชวรด้วยโรคลม
[๔๒] ข้าพเจ้าได้เห็นแล้วจึงทำจิตให้เลื่อมใสนำหัวน้ำมันเนยเข้าไปถวาย
เพราะบุญกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้และสั่งสมไว้แล้ว
แม่น้ำคงคาชื่อภาคีรถีนี้
[๔๓] และมหาสมุทรทั้ง ๔ ได้บันดาลเนยใสให้สำเร็จแก่ข้าพเจ้า
อนึ่ง พื้นปฐพีที่กว้างใหญ่ ประมาณมิได้ กำหนดนับมิได้นี้
[๔๔] ดังจะรู้ความดำริของข้าพเจ้า
จึงกลายเป็นน้ำผึ้งและน้ำตาลกรวด
ต้นไม้ที่งอกขึ้นบนแผ่นดินในทิศทั้ง ๔
[๔๕] ดังจะรู้ความดำริของข้าพเจ้า
จึงกลายเป็นต้นกัลปพฤกษ์ไป
ข้าพเจ้าได้เป็นจอมเทพครองเทวสมบัติตลอด ๕๐ ชาติ
[๔๖] ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๕๑ ชาติ
และได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์นับชาติไม่ถ้วน
[๔๗] ในกัปที่ ๙๔ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายทานไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายหัวน้ำมันเนย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๐. กิงกณิปุปผวรรค] ๗. อุทกทายกเถราปทาน
[๔๘] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๔๙] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๕๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระฆฏมัณฑทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
ฆฏมัณฑทายกเถราปทานที่ ๖ จบ

๗. อุทกทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอุทกทายกเถระ
(พระอุทกทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๕๑] ข้าพเจ้าเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี
ในภิกษุสงฆ์ผู้ยอดเยี่ยมของพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
จึงได้บรรจุน้ำดื่มจนเต็มหม้อน้ำ
[๕๒] ในเวลาที่ข้าพเจ้าต้องการน้ำดื่ม
จะเป็นบนยอดภูเขา ยอดไม้ ในอากาศ
หรือที่พื้นดิน น้ำก็บังเกิดแก่ข้าพเจ้าทันที

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๗๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๐. กิงกณิปุปผวรรค] ๘. ปุฬินถูปิยเถราปทาน
[๕๓] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายทานไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายน้ำ
[๕๔] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๕๕] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๕๖] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระอุทกทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
อุทกทายกเถราปทานที่ ๗ จบ

๘. ปุฬินถูปิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระปุฬินถูปิยเถระ
(พระปุฬินถูปิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๕๗] ในที่ไม่ไกลจากภูเขาหิมพานต์
มีภูเขาลูกหนึ่งชื่อยมกะ ข้าพเจ้าได้สร้างอาศรม
และบรรณศาลาไว้อย่างดี
[๕๘] ข้าพเจ้าเป็นชฎิลผู้มีตบะแก่กล้า มีชื่อว่านารทะ
ศิษย์ประมาณ ๑๔,๐๐๐ คน บำรุงข้าพเจ้าอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๐. กิงกณิปุปผวรรค] ๘. ปุฬินถูปิยเถราปทาน
[๕๙] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นผู้หลีกเร้นอยู่
จึงคิดอย่างนี้ว่า มหาชนบูชาเรา แต่เราไม่ได้บูชาอะไรเลย
[๖๐] ผู้ที่จะสั่งสอนเราก็ไม่มี
ใคร ๆ ที่จะตักเตือนเราก็ไม่มี
เราไม่มีอุปัชฌาย์อาจารย์อาศัยอยู่ในป่า
[๖๑] ศิษย์ผู้ภักดีควรทำจิตให้หนักแน่น บำรุงอาจารย์ใด
อาจารย์นั้นของเราก็ไม่มี
การอยู่ในป่าจึงไม่มีประโยชน์
[๖๒] สิ่งที่ควรบูชาเราควรแสวงหา
สิ่งที่ควรเคารพยกย่องเราก็ควรแสวงหาเหมือนกัน
เราจักชื่อว่าอยู่อย่างมีที่พึ่ง ใคร ๆ จักติเตียนไม่ได้
[๖๓] แม่น้ำซึ่งมีฝั่งลาด มีท่าน้ำราบเรียบน่ารื่นรมย์ใจ
และเกลื่อนกล่นไปด้วยทรายที่บริสุทธิ์สะอาด
อาศรมของข้าพเจ้าก็อยู่ไม่ไกล
[๖๔] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้ไปยังแม่น้ำชื่ออมริกา
แล้วโกยทรายมาก่อเป็นพระเจดีย์ทราย
ข้าพเจ้าได้ทำพระเจดีย์ทรายนั้นให้เป็นนิมิตว่า
[๖๕] พระสถูปของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นมุนี
ผู้ทำลายที่สุดแห่งภพ ที่ได้มีแล้วก็เป็นเช่นนี้
[๖๖] ครั้นแล้ว ได้สร้างพระสถูปทองคำไว้ที่หาดทราย
แล้วใช้ดอกกระดิ่งทองจำนวน ๓,๐๐๐ ดอกบูชา
[๖๗] ข้าพเจ้ามีความอิ่มใจ ประนมมือนมัสการทุกเช้าเย็น
ไหว้พระเจดีย์ทราย เหมือนไหว้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ในที่เฉพาะพระพักตร์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๐. กิงกณิปุปผวรรค] ๘. ปุฬินถูปิยเถราปทาน
[๖๘] ในเวลาที่กิเลสหรือกามวิตกที่อาศัยความรักเกิดขึ้น
ข้าพเจ้าระลึกถึงและเพ่งดูพระสถูปที่ข้าพเจ้าก่อไว้
[๖๙] ข้าพเจ้าอาศัยพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้นำหมู่สัตว์(ออกจากที่กันดาร)
ผู้ทรงเป็นผู้นำวิเศษ อยู่ด้วยการตักเตือนตนเองว่า
ควรระวังกิเลสไว้นะท่านผู้นิรทุกข์
การให้กิเลสเกิดขึ้นนี้เป็นของไม่สมควรแก่ท่าน
[๗๐] เมื่อข้าพเจ้าระลึกถึงพระสถูป
ย่อมเกิดความเคารพขึ้นพร้อมกัน ในขณะนั้น
ข้าพเจ้าบรรเทาอกุศลวิตกเสียได้
เหมือนช้างถูกปฏักแทง บรรเทาได้แล้ว
[๗๑] ข้าพเจ้าประพฤติอยู่อย่างนี้ ได้ถูกมัจจุราชย่ำยี
สิ้นชีวิตที่นั้นแล้ว ได้ไปเกิดยังพรหมโลก
[๗๒] ข้าพเจ้าอยู่ในพรหมโลกนั้นจนหมดอายุขัย
มาเกิดยังสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นจอมเทพ
ได้ครองเทวสมบัติตลอด ๘๐ ชาติ
[๗๓] ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๓๐๐ ชาติ
และได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์นับชาติไม่ถ้วน
[๗๔] ข้าพเจ้าได้เสวยผลของดอกกระดิ่งทองเหล่านั้น
ดอกกระดิ่งทองจำนวน ๒๒,๐๐๐ ดอก
แวดล้อมข้าพเจ้าไปทุกภพ
[๗๕] เพราะข้าพเจ้าเป็นผู้บำรุงพระสถูป
ฝุ่นละอองย่อมไม่ติดกายข้าพเจ้า
ที่กายของข้าพเจ้าเหงื่อไม่ไหล ข้าพเจ้ามีรัศมีซ่านออก
[๗๖] โอหนอ พระสถูปข้าพเจ้าได้สร้างไว้ดีแล้ว
แม่น้ำอมริกาข้าพเจ้าได้เห็นดีแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๐. กิงกณิปุปผวรรค] ๘. ปุฬินถูปิยเถราปทาน
เพราะได้ก่อพระสถูปทราย
ข้าพเจ้าจึงได้บรรลุบทที่ไม่หวั่นไหว
[๗๗] สัตว์ผู้ปรารถนาจะทำกุศล ชื่อว่ายึดถือสิ่งที่เป็นสาระ
เขตหรืออเขตไม่สำคัญ การปฏิบัติเท่านั้นเป็นสิ่งสำคัญ
[๗๘] บุรุษผู้มีกำลัง มีความอุตสาหะที่จะข้ามทะเลใหญ่
พึงถือท่อนไม้เล็ก ๆ แล้ววิ่งลงทะเลใหญ่ด้วยคิดว่า
[๗๙] เราอาศัยท่อนไม้นี้แล้วจักข้ามทะเลใหญ่ไปได้
นรชนพึงข้ามทะเลใหญ่ไปได้ด้วยอุตสาหวิริยะ แม้ฉันใด
[๘๐] ข้าพเจ้าก็ฉันนั้นเหมือนกัน อาศัยกรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ
ที่ได้กระทำไว้แล้วจึงข้ามพ้นสงสารไปได้
[๘๑] เมื่อถึงภพสุดท้าย ข้าพเจ้าถูกกุศลมูลตักเตือนแล้ว
เกิดในตระกูลพราหมณมหาศาลที่มั่งคั่งในกรุงสาวัตถี
[๘๒] มารดาบิดาของข้าพเจ้าเป็นผู้มีศรัทธา
นับถือพระพุทธเจ้า
ท่านทั้ง ๒ นั้นเห็นธรรมแล้วและได้ฟังธรรมแล้ว
ประพฤติตนตามคำสอน
[๘๓] ท่านทั้ง ๒ ถือสะเก็ดไม้โพธิ์ให้สร้างเป็นพระสถูปทอง
นมัสการในที่เฉพาะพระพักตร์ของพระศากยบุตร ทุกเช้าเย็น
[๘๔] ในวันอุโบสถ ท่านทั้ง ๒ นำพระสถูปทองออกมาแล้ว
กล่าวสรรเสริญพระพุทธคุณ
ให้เวลาผ่านไปตลอด ๓ ยาม (ด้วยการปฏิบัติธรรม)
[๘๕] ข้าพเจ้าได้เห็นพระสถูปทองเสมอ
จึงระลึกถึงเจดีย์ทรายขึ้นได้
นั่งบนอาสนะเดียวได้บรรลุอรหัตตผลแล้ว
ภาณวารที่ ๒๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๐. กิงกณิปุปผวรรค] ๘. ปุฬินถูปิยเถราปทาน
[๘๖] เมื่อข้าพเจ้าแสวงหาพระพุทธเจ้าผู้เป็นนักปราชญ์อยู่นั้น
ได้เห็นพระธรรมเสนาบดี(สารีบุตร)
จึงออกบวชในสำนักของท่าน
[๘๗] ข้าพเจ้ามีอายุ ๗ ขวบก็ได้บรรลุอรหัตตผล
พระพุทธเจ้าผู้มีพระจักษุ
ทรงทราบคุณวิเศษ จึงให้ข้าพเจ้าอุปสมบท
[๘๘] กิจที่ควรกระทำ ข้าพเจ้าผู้ยังเป็นเด็กอยู่ ให้สำเร็จแล้ว
วันนี้ กิจที่ควรทำในศาสนาของพระศากยบุตร
ข้าพเจ้าก็ได้ทำเสร็จแล้ว
[๘๙] ข้าแต่พระองค์ผู้มีความเพียรมาก
สาวกของพระองค์เป็นผู้ล่วงพ้นเวรภัยทุกอย่าง
ล่วงพ้นกิเลสเป็นเครื่องข้อง๑ ทั้งปวง เป็นฤาษี
นี้เป็นผลของการสร้างพระสถูปทอง
[๙๐] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๙๑] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ กิเลสเป็นเครื่องข้อง หมายถึงกิเลสเป็นเครื่องข้องมีราคะเป็นต้น (ขุ.เถร.อ. ๒/๑๐๒๕/๔๖๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๐. กิงกณิปุปผวรรค] ๙. นฬกุฏิกทายกเถราปทาน
[๙๒] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระปุฬินถูปิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ปุฬินถูปิยเถราปทานที่ ๘ จบ

๙. นฬกุฏิกทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระนฬกุฏิกทายกเถระ
(พระนฬกุฏิกทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๙๓] ในที่ไม่ไกลจากภูเขาหิมพานต์ มีภูเขาลูกหนึ่งชื่อหาริกะ
ครั้งนั้น พระสยัมภูพระนามว่านารทะ ประทับอยู่ที่โคนต้นไม้
[๙๔] ข้าพเจ้าสร้างกุฎีไม้อ้อมุงด้วยหญ้า
ได้ทำความสะอาดที่จงกรมถวายพระสยัมภู
[๙๕] ด้วยกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๙๖] ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้น วิมานสูง ๖๐ โยชน์ กว้าง ๓๐ โยชน์
ซึ่งบุญกรรมเนรมิตสร้างขึ้นอย่างสวยงามเพื่อข้าพเจ้าเพราะกุฎีไม้อ้อ
[๙๗] ข้าพเจ้ารื่นรมย์อยู่ในเทวโลกตลอด ๑๔ กัป
ได้ครองเทวสมบัติตลอด ๗๑ ชาติ
[๙๘] ข้าพเจ้าได้เกิดเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๓๔ ชาติ
และได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์นับชาติไม่ถ้วน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๐. กิงกณิปุปผวรรค] ๑๐. ปิยาลผลทายกเถราปทาน
[๙๙] ข้าพเจ้าขึ้นสู่ปราสาทคือธรรม
อันควรเป็นสุญญาคารที่ประเสริฐอยู่ในศาสนา
ของพระศากยบุตรตามความปรารถนา
[๑๐๐] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ทำกรรมไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายกุฎีไม้อ้อ
[๑๐๑] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๐๒] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๐๓] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระนฬกุฏิกทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
นฬกุฏิกทายกเถราปทานที่ ๙ จบ

๑๐. ปิยาลผลทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระปิยาลผลทายกเถระ
(พระปิยาลผลทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๐๔] เมื่อชาติก่อน ข้าพเจ้าเป็นนายพรานเนื้อ
ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเที่ยวอยู่ในป่าใหญ่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๐. กิงกณิปุปผวรรค] ๑๐. ปิยาลผลทายกเถราปทาน
ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลีคือกิเลส
ทรงถึงความสำเร็จแห่งธรรมทั้งปวง
[๑๐๕] ข้าพเจ้าเลื่อมใสได้นำผลมะหาด
ไปถวายพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
ผู้เป็นเนื้อนาบุญ ผู้แกล้วกล้า ด้วยมือทั้ง ๒ ของตน
[๑๐๖] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายผลไม้ไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
[๑๐๗] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๐๘] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๐๙] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระปิยาลผลทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
ปิยาลผลทายกเถราปทานที่ ๑๐ จบ
กิงกณิปุปผวรรคที่ ๕๐ จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๐. กิงกณิปุปผวรรค] รวมวรรคทั้ง ๑๐ ศีล
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้คือ

๑. ตีณิกิงกณิปุปผิยเถราปทาน ๒. ปังสุกูลปูชกเถราปทาน
๓. โกรัณฑปุปผิยเถราปทาน ๔. กิงสุกปุปผิยเถราปทาน
๕. อุปัฑฒทุสสทายกเถราปทาน ๖. ฆฏมัณฑทายกเถราปทาน
๗. อุทกทายกเถราปทาน ๘. ปุฬินถูปิยเถราปทาน
๙. นฬกุฏิกทายกเถราปทาน ๑๐. ปิยาลผลทายกเถราปทาน

ในวรรคนี้ บัณฑิตนับคาถาได้ ๑๐๙ คาถา

รวมวรรคทั้ง ๑๐ คือ

๑. เมตเตยยวรรค ๒. ภัททาลิวรรค
๓. สกิงสัมมัชชกวรรค ๔. เอกวิหาริวรรค
๕. วิเภทกิวรรค ๖. ชคติทายกวรรค
๗. สาลกุสุมิยวรรค ๘. นฬมาลิวรรค
๙. ปังสุกูลวรรค ๑๐. กิงกณิปุปผวรรค

บัณฑิตนับคาถาได้ ๑,๔๘๒ คาถา
๑๐ วรรคมีเมตเตยยวรรคเป็นต้น
๕๐๐ อปทาน จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๑. กณิการวรรค] ๑. ตีณิกณิการปุปผิยเถราปทาน
๕๑. กณิการวรรค
หมวดว่าด้วยกรรณิการ์วิมานเป็นต้น
๑. ตีณิกณิการปุปผิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระตีณิกณิการปุปผิยเถระ
(พระตีณิกณิการปุปผิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าว
ว่า)
[๑] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสุเมธะ
มีพระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ๑ ตรัสรู้เอง
ทรงประสงค์วิเวก จึงเสด็จเข้าไปยังป่าหิมพานต์
[๒] ครั้นเสด็จเข้าไปยังป่าหิมพานต์แล้ว
พระองค์ผู้เป็นมุนี ผู้เลิศ ทรงประกอบด้วยพระกรุณา
เป็นบุรุษผู้สูงสุด ก็ประทับนั่งขัดสมาธิ
[๓] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นวิทยาธรสัญจรไปในอากาศ
ข้าพเจ้าถือหอกอันคม ซึ่งทำไว้ดีแล้ว เหาะไปในท้องฟ้า
[๔] พระพุทธเจ้าทรงทำป่าใหญ่ให้สว่างไสว
เหมือนไฟบนยอดภูเขา เหมือนดวงจันทร์ในวันเพ็ญ
และเหมือนต้นพญาไม้สาละซึ่งมีดอกบานสะพรั่ง
[๕] ข้าพเจ้าเห็นพุทธรังสี มีสีคล้ายเปลวไฟ
ที่ไหม้ไม้อ้อ พวยพุ่งออกจากป่า จึงทำจิตให้เลื่อมใส
[๖] ข้าพเจ้าเลือกเก็บดอกไม้อยู่
ได้เห็นดอกกรรณิการ์ที่มีกลิ่นหอมคล้ายกลิ่นทิพย์
จึงเก็บมา ๓ ดอก ได้บูชาพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถหน้า ๑๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๑. กณิการวรรค] ๑. ตีณิกณิการปุปผิยเถราปทาน
[๗] ครั้งนั้น ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า
ดอกไม้ของข้าพเจ้าทั้ง ๓ ดอก
กลับขั้วขึ้นหันกลีบดอกลงทำเป็นร่มเงาเพื่อพระศาสดา
[๘] ด้วยกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๙] ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้น มีวิมานสูง ๖๐ โยชน์ กว้าง ๓๐ โยชน์
ซึ่งบุญกรรมสร้างขึ้นอย่างสวยงามเพื่อข้าพเจ้า
รู้จักกันว่ากรรณิการ์วิมาน
[๑๐] ปราสาท ๗ ชั้น สูง ๑,๐๐๐ ชั่วลูกธนู
สะพรั่งไปด้วยธง พราวไปด้วยแก้วมณีสีเขียว
และป้อม ๑๐๐,๐๐๐ ป้อม ปรากฏในวิมานของข้าพเจ้า
[๑๑] บัลลังก์ทองคำ บัลลังก์แก้วมณี
บัลลังก์แก้วทับทิม และบัลลังก์แก้วผลึก
เกิดขึ้นตามปรารถนาตามประสงค์
[๑๒] ที่นอนมีราคามาก ยัดด้วยนุ่น มีลวดลายต่าง ๆ
มีขนตั้งขึ้นด้านเดียวและหมอนพร้อม
[๑๓] ข้าพเจ้ามีหมู่เทวดาห้อมล้อม
ออกจากวิมานเที่ยวจาริกไปในเทวโลก
ในเวลาที่ปรารถนาจะไป
[๑๔] ยืนอยู่ภายใต้ดอกไม้
ข้าพเจ้ามีดอกไม้เป็นเครื่องมุงบังอยู่เบื้องบน
สถานที่ประมาณ ๑๐๐ โยชน์มุงบังไปด้วยดอกกรรณิการ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๑. กณิการวรรค] ๑. ตีณิกณิการปุปผิยเถราปทาน
[๑๕] เครื่องดนตรี ๖๐,๐๐๐ ชิ้น บรรเลงกล่อมข้าพเจ้า
ทั้งเช้าและเย็น ไม่หยุดหย่อน แวดล้อมข้าพเจ้าเป็นนิตย์
ตลอดคืนตลอดวัน
[๑๖] ในวิมานนั้นข้าพเจ้ารื่นรมย์ด้วยการฟ้อน
การขับร้อง การเคาะกังสดาล และการประโคม
เป็นผู้หมกมุ่นในกาม บันเทิงอยู่ด้วยความยินดีในการเล่น
[๑๗] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าบริโภคและดื่มอยู่ในวิมานนั้น
บันเทิงอยู่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ข้าพเจ้าพร้อมด้วยหมู่นางอัปสรบันเทิงอยู่ในวิมานอันอุดม
[๑๘] ข้าพเจ้าครองเทวสมบัติตลอด ๕๐๐ ชาติ
เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๓๐๐ ชาติ
และได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์นับชาติไม่ถ้วน
[๑๙] เมื่อข้าพเจ้าเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพน้อยภพใหญ่
ย่อมได้โภคะมากมาย
ข้าพเจ้าไม่มีความบกพร่องในโภคะเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๒๐] ข้าพเจ้าเวียนว่ายตายเกิดอยู่ใน ๒ ภพ
คือ (๑) ภพเทวดา (๒) ภพมนุษย์
คติอื่นข้าพเจ้าไม่รู้จักเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๒๑] ข้าพเจ้าเกิดเฉพาะใน ๒ ตระกูล
คือ (๑) ตระกูลกษัตริย์ (๒) ตระกูลพราหมณ์
ตระกูลต่ำข้าพเจ้าไม่รู้จักเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๑. กณิการวรรค] ๑. ตีณิกณิการปุปผิยเถราปทาน
[๒๒] ยานคือช้าง ยานคือม้า วอ และคานหาม
ข้าพเจ้าก็ได้รับมาครบถ้วน
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๒๓] หมู่ทาสหญิง ทาสชาย และเหล่านารี
ที่ประดับตกแต่งอย่างสวยงาม
ข้าพเจ้าก็ได้รับมาครบถ้วน
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๒๔] ผ้าไหม ผ้ากัมพล ผ้าเปลือกไม้ และผ้าฝ้าย
ข้าพเจ้าก็ได้รับมาครบถ้วน
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๒๕] ผ้าใหม่ ผลไม้ใหม่ โภชนะที่มีรสเลิศใหม่ ๆ
ข้าพเจ้าก็ได้รับมาครบถ้วน
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๒๖] (คำเชื้อเชิญเช่นนี้ว่า) เชิญเคี้ยวกินสิ่งนี้ เชิญบริโภคสิ่งนี้
เชิญนอนบนที่นอนนี้ ข้าพเจ้าก็ได้รับมาครบถ้วน
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๒๗] ข้าพเจ้าเป็นผู้ที่เขาบูชาในที่ทุกสถาน
มียศสูงส่ง มีพวกมาก มีบริวารไม่แตกแยกกันทุกเมื่อ
บรรดาญาติทั้งหลาย ข้าพเจ้าเป็นผู้ประเสริฐที่สุด
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๒๘] ข้าพเจ้าไม่รู้จักความหนาว ความร้อน
ทั้งไม่มีความเร่าร้อน
อนึ่ง ทุกข์ทางใจก็ไม่มีในหทัยของข้าพเจ้า
[๒๙] ข้าพเจ้าเป็นผู้มีผิวพรรณดุจทองคำ
เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพน้อยภพใหญ่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๑. กณิการวรรค] ๑. ตีณิกณิการปุปผิยเถราปทาน
ความเป็นผู้มีผิวพรรณทรามข้าพเจ้าไม่รู้จักเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๓๐] ข้าพเจ้าถูกกุศลมูลตักเตือนแล้ว จุติจากเทวโลก
มาเกิดในตระกูลพราหมณมหาศาลที่มั่งคั่งในกรุงสาวัตถี
[๓๑] ข้าพเจ้าได้ละกามคุณ ๕ ออกบวชเป็นบรรพชิต
มีอายุได้ ๗ ขวบ ก็ได้บรรลุอรหัตตผล
[๓๒] พระพุทธเจ้าผู้มีพระจักษุ
ทรงทราบคุณวิเศษของข้าพเจ้า จึงให้ข้าพเจ้าอุปสมบท
ข้าพเจ้ายังมีอายุน้อยก็ได้เป็นปูชนียบุคคล
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๓๓] ทิพยจักษุของข้าพเจ้าบริสุทธิ์
ข้าพเจ้าฉลาดในสมาธิ
ถึงความสำเร็จในอภิญญา
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๓๔] ข้าพเจ้าบรรลุปฏิสัมภิทา ฉลาดในอิทธิบาท
ถึงความสำเร็จในพระสัทธรรม
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๓๕] ในกัปที่ ๓๐,๐๐๐ (นับจากกัปนี้ไป)
ข้าพเจ้าได้บูชาพระพุทธเจ้าไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๓๖] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๑. กณิการวรรค] ๒. เอกปัตตทายกเถราปทาน
[๓๗] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๓๘] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระตีณิกณิการปุปผิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
ตีณิกณิการปุปผิยเถราปทานที่ ๑ จบ

๒. เอกปัตตทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระเอกปัตตทายกเถระ
(พระเอกปัตตทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๓๙] ข้าพเจ้าเป็นช่างหม้ออยู่ในกรุงหงสวดี
ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลีคือกิเลส
ผู้ข้ามโอฆะได้แล้ว ไม่มีอาสวะ
[๔๐] ข้าพเจ้าได้ถวายบาตรดินที่ทำแล้วอย่างดี
แด่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
ครั้นถวายบาตรแด่พระผู้มีพระภาคผู้ตรง ผู้คงที่แล้ว
[๔๑] เมื่อบังเกิดในภพ ข้าพเจ้าย่อมได้ภาชนะทองคำ
และจานที่ทำด้วยเงิน ทำด้วยทองคำ และทำด้วยแก้วมณี
[๔๒] ข้าพเจ้าบริโภคอาหารด้วยถาดทองคำ
นี้เป็นผลแห่งบุญกรรม
และเป็นผู้เลิศกว่าชนทั้งหลายโดยยศ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๑. กณิการวรรค] ๒. เอกปัตตทายกเถราปทาน
[๔๓] พืชแม้น้อยแต่หว่านลงในนาดี
เมื่อฝนตกอยู่โดยสม่ำเสมอ
ผลย่อมทำชาวนาให้ยินดีได้ ฉันใด
[๔๔] การถวายบาตรก็ฉันนั้น ข้าพเจ้าได้หว่านลงในพุทธเขต
เมื่อสายธารคือปีติตกลงอยู่ ผลก็ทำข้าพเจ้าให้ยินดี
[๔๕] เขตคือสงฆ์ก็ดี คณะก็ดี เท่าที่มีอยู่
ที่จะให้ความสุขแก่สรรพสัตว์ เสมอด้วยพุทธเขตไม่มีเลย
[๔๖] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นบุรุษอาชาไนย
ข้าพระองค์ขอนอบน้อมพระองค์
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นบุรุษสูงสุด
ข้าพระองค์ขอนอบน้อมพระองค์
เพราะได้ถวายบาตรใบหนึ่ง
ข้าพระองค์จึงได้บรรลุบทอันไม่หวั่นไหว
[๔๗] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายบาตรไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายบาตร
[๔๘] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๔๙] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๑. กณิการวรรค] ๓. กาสุมาริกผลทายกเถราปทาน
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๕๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระเอกปัตตทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
เอกปัตตทายกเถราปทานที่ ๒ จบ

๓. กาสุมาริกผลทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระกาสุมาริกผลทายกเถระ
(พระกาสุมาริกผลทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึง
กล่าวว่า)
[๕๑] ข้าพเจ้าได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลีคือกิเลส
ผู้เจริญที่สุดในโลก ผู้องอาจกว่านรชน
โชติช่วงดังต้นกรรณิการ์ ประทับนั่งอยู่ระหว่างภูเขา
[๕๒] ข้าพเจ้าเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี ประนมมือเหนือศีรษะ
ได้ถือผลมะลื่นมาถวายพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
[๕๓] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายผลไม้ไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
[๕๔] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๑. กณิการวรรค] ๔. อวฏผลิยเถราปทาน
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๕๕] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๕๖] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระกาสุมาริกผลทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
กาสุมาริกผลทายกเถราปทานที่ ๓ จบ

๔. อวฏผลิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอวฏผลิยเถระ
(พระอวฏผลิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๕๗] พระผู้มีพระภาคพระนามว่าสหัสสรังสี
ทรงเป็นพระสยัมภู ผู้ไม่ทรงพ่ายแพ้
ทรงออกจากวิเวกแล้วเสด็จไปบิณฑบาต
[๕๘] ข้าพเจ้าถือผลไม้อยู่ ได้เห็นแล้ว
จึงเข้าไปเฝ้าพระองค์ผู้องอาจกว่านรชน
เป็นผู้มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี จึงได้ถวายผลกล้วย
[๕๙] ในกัปที่ ๙๔ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายผลไม้ไว้ในครั้งนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๑. กณิการวรรค] ๕. จารผลิยเถราปทาน
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
[๖๐] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๖๑] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๖๒] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระอวฏผลิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
อวฏผลิยเถราปทานที่ ๔ จบ

๕. จารผลิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระจารผลิยเถระ
(พระจารผลิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๖๓] ข้าพเจ้าได้ถวายผลอโมระแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้มีพระฉวีวรรณดังทองคำ ผู้สมควรรับเครื่องบูชา
ซึ่งกำลังเสด็จดำเนินไปตามถนน
[๖๔] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายผลไม้ไว้ในครั้งนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๑. กณิการวรรค] ๖. มาตุลุงคผลทายกเถราปทาน
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
[๖๕] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๖๖] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๖๗] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระจารผลิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
จารผลิยเถราปทานที่ ๕ จบ

๖. มาตุลุงคผลทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระมาตุลุงคผลทายกเถระ
(พระมาตุลุงคผลทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๖๘] ข้าพเจ้าได้เห็นพระผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ผู้โชติช่วงดังดอกกรรณิการ์
ผู้(รุ่งเรือง)ดังดวงจันทร์ในวันเพ็ญ ทรงรุ่งเรืองดังต้นกัลปพฤกษ์
[๖๙] ข้าพเจ้าเลื่อมใสแล้ว ได้ถือผลมะงั่วด้วยมือทั้ง ๒ ของตน
ไปถวายพระศาสดาผู้ทรงเป็นทักขิไณยบุคคล ผู้ทรงแกล้วกล้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๙๔ }


>>>>> หน้าต่อไป >>>>>





eXTReMe Tracker