ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ



จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อความสะดวก และสวยงาม
(เฉพาะหน้าจอใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์)
กรุณาคลิก จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อให้กรอบ
ค้นข้อความ ปรากฎที่ด้านซ้ายของหน้า

พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒-๔ สุตตันตปิฎกที่ ๒๔ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑

พระสุตตันตปิฎก
ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๕. เอกปทุมวรรค] ๘. ติณมุฏฐิทายกเถราปทาน
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าอุปติสสะ
เสด็จจงกรมอยู่ ณ ที่กลางแจ้ง
[๔๙] เมื่อก่อน ข้าพเจ้าเป็นนายพรานเนื้ออยู่ในป่าดงทึบ
ได้เห็นพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ผู้เป็นเทพยิ่งกว่าเทพ
ทรงเป็นพระสยัมภู ผู้ไม่ทรงพ่ายแพ้
[๕๐] ครั้งนั้น ข้าพเจ้ามีจิตผ่องใส
ได้ถวายหญ้ากำมือหนึ่งสำหรับประทับนั่งแด่พระพุทธเจ้า
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่พระองค์นั้น
[๕๑] ครั้นถวายแด่พระองค์ผู้เป็นเทพยิ่งกว่าเทพแล้ว
ก็ทำจิตให้เลื่อมใสอย่างยิ่ง
ถวายอภิวาทพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
แล้วบ่ายหน้าหลีกไปทางทิศเหนือ
[๕๒] พอข้าพเจ้าไปได้ไม่นาน
ราชสีห์ได้เบียดเบียนข้าพเจ้า
ข้าพเจ้าถูกราชสีห์ทำให้ล้มลงได้สิ้นชีวิตลงในที่นั้น
[๕๓] (เพราะ)กรรมที่ข้าพเจ้าทำแล้วในสำนักของพระพุทธเจ้า
ผู้ประเสริฐที่สุดผู้ไม่มีอาสวะ
ข้าพเจ้าจึงได้ไปเกิดยังเทวโลก
ดุจความเร็วแห่งลูกศรที่หลุดแล่นไปดีแล้ว
[๕๔] ในเทวโลกนั้น มีปราสาทงดงาม
ที่บุญกรรมเนรมิตไว้แล้วสูง ๑,๐๐๐ ชั่วธนู มี ๗ ชั้น
สะพรั่งไปด้วยธง พราวไปด้วยแก้วมณีสีเขียว
[๕๕] รัศมีของปราสาทนั้นพวยพุ่งดุจดวงอาทิตย์อุทัย
ปราสาทแออัดด้วยเหล่านางเทพกัญญา
ข้าพเจ้าบันเทิงเริงรมย์ด้วยวัตถุกามและกิเลสกาม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๕. เอกปทุมวรรค] ๙. ตินทุกผลทายกเถราปทาน
[๕๖] ข้าพเจ้าอันกุศลมูลตักเตือนแล้ว
จุติจากเทวโลกมาเกิดเป็นมนุษย์แล้ว
ได้บรรลุความสิ้นอาสวะ
[๕๗] ในกัปที่ ๙๔ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายที่นั่งไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายหญ้ากำมือหนึ่ง
[๕๘] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระติณมุฏฐิทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
ติณมุฏฐิทายกเถราปทานที่ ๘ จบ

๙. ตินทุกผลทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระตินทุกผลทายกเถระ
(พระตินทุกผลทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าว
ว่า)
[๕๙] ข้าพเจ้าได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้โชติช่วง
ดังดอกกรรณิการ์ ปราศจากธุลีคือกิเลส
ข้ามโอฆกิเลสได้แล้ว ไม่มีอาสวะ
ประทับนั่งอยู่ระหว่างภูเขา
[๖๐] ข้าพเจ้าเห็นต้นมะพลับกำลังมีผล
จึงหักมาพร้อมทั้งก้าน มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี
ได้ถวายแด่พระพุทธเจ้าพระนามว่าเวสสภู

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๕. เอกปทุมวรรค] ๑๐. เอกัญชลิยเถราปทาน
[๖๑] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายผลไม้ไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
[๖๒] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระตินทุกผลทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
ตินทุกผลทายกเถราปทานที่ ๙ จบ

๑๐. เอกัญชลิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระเอกัญชลิยเถระ
(พระเอกัญชลิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๖๓] ครั้งนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าเรวตะ
ประทับอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำ
ข้าพเจ้าได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลีคือกิเลส
มีพระรัศมีรุ่งเรืองดุจดวงจันทร์
[๖๔] มีพระรัศมีเรืองรองดุจถ่านไม้ตะเคียน
ที่กระทบที่ปากเบ้า
รุ่งโรจน์ดุจดาวประกายพรึก
ข้าพเจ้าได้ประคองอัญชลีไหว้ครั้งหนึ่ง
[๖๕] ในกัปที่ ๙๔ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ประคองอัญชลีไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๕. เอกปทุมวรรค] รวมอปทานที่มีในวรรค
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการประคองอัญชลี
[๖๖] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระเอกัญชลิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
เอกัญชลิยเถราปทานที่ ๑๐ จบ
เอกปทุมวรรคที่ ๓๕ จบบริบูรณ์

รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. เอกปทุมิยเถราปทาน ๒. ตีณุปปลมาลิยเถราปทาน
๓. ธชทายกเถราปทาน ๔. ตีณิกิงกณิปูชกเถราปทาน
๕. นฬาคาริกเถราปทาน ๖. จัมปกปุปผิยเถราปทาน
๗. ปทุมปูชกเถราปทาน ๘. ติณมุฏฐิทายกเถราปทาน
๙. ตินทุกผลทายกเถราปทาน ๑๐. เอกัญชลิยเถราปทาน

บัณฑิตทั้งหลายคำนวณคาถาไว้ ๖๖ คาถา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๖. สัททสัญญิกวรรค] ๑. สัททสัญญิกเถราปทาน
๓๖. สัททสัญญิกวรรค
หมวดว่าด้วยพระสัททสัญญิกะเป็นต้น
๑. สัททสัญญิกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระสัททสัญญิกเถระ
(พระสัททสัญญิกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑] เมื่อก่อน ข้าพเจ้าเป็นนายพรานเนื้อ(เที่ยว)อยู่ในป่าดงทึบ
ได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีหมู่เทวดาแวดล้อมในป่านั้น
[๒] ซึ่งกำลังทรงประกาศสัจจะ ๔ ช่วยเหลือมหาชน
ข้าพเจ้าได้ฟังพระดำรัส
ที่ไพเราะเปรียบด้วยเสียงนกการเวก
[๓] ข้าพเจ้าทำจิตให้เลื่อมใสในพระสุรเสียง
ของมหามุนีพระนามว่าสิขี
ผู้มีพระสุรเสียงดังพรหม เป็นเผ่าพันธุ์ของโลก
ได้บรรลุความสิ้นอาสวะแล้ว
[๔] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ทำกรรมไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งความเลื่อมใส
[๕] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระสัททสัญญิกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
สัททสัญญิกเถราปทานที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๖. สัททสัญญิกวรรค] ๒. ยวกลาปิยเถราปทาน
๒. ยวกลาปิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระยวกลาปิยเถระ
(พระยวกลาปิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๖] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นคนทำนาข้าวเหนียวอยู่ในกรุงอรุณวดี
ได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่หนทาง
จึงลาดฟ่อนข้าวเหนียวถวาย (ให้ประทับ)
[๗] พระพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี
ผู้ทรงอนุเคราะห์ ทรงมีพระกรุณา
เป็นผู้นำชั้นเลิศของโลก
ทรงทราบความคิดของข้าพเจ้า
จึงประทับนั่งบนเครื่องลาดฟ่อนข้าวเหนียว
[๘] ข้าพเจ้าเห็นพระองค์ผู้ปราศจากมลทิน
ผู้เพ่งพินิจมาก ผู้นำวิเศษ ประทับนั่งแล้ว
จึงเกิดความปราโมทย์ ได้สิ้นชีวิตลง ณ ที่นั้น
[๙] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ทำกรรมไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการลาดฟ่อนข้าวเหนียว
[๑๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระยวกลาปิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ยวกลาปิยเถราปทานที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๖. สัททสัญญิกวรรค] ๔. สโกสกโกรัณฑทายกเถราปทาน
๓. กิงสุกปูชกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระกิงสุกปูชกเถระ
(พระกิงสุกปูชกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๑] ข้าพเจ้าได้เห็นต้นทองกวาวมีดอกบานสะพรั่ง
จึงประนมมือ ระลึกถึงพระพุทธเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ
แล้วบูชาในอากาศ
[๑๒] ในกัปที่ ๙๔ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ใช้ดอกไม้บูชาไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๑๓] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระกิงสุกปูชกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
กิงสุกปูชกเถราปทานที่ ๓ จบ

๔. สโกสกโกรัณฑทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระสโกสกโกรัณฑทายกเถระ
(พระสโกสกโกรัณฑทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึง
กล่าวว่า)
[๑๔] ข้าพเจ้าได้พบรอยพระบาทที่พระพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี
ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของโลกทรงเหยียบไว้
จึงห่มหนังสัตว์เฉวียงบ่า
ได้ไหว้รอยพระบาทที่ประเสริฐแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๖. สัททสัญญิกวรรค] ๕. ทัณฑทายกเถราปทาน
[๑๕] เห็นต้นหงอนไก่งอกขึ้นอยู่บนแผ่นดินมีดอกบานสะพรั่ง
จึง(เด็ด)ถือมาพร้อมทั้งก้าน
ได้บูชารอยพระบาทที่วิจิตรด้วยลายจักร
[๑๖] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ทำกรรมไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๑๗] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระสโกสกโกรัณฑทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้
สโกสกโกรัณฑทายกเถราปทานที่ ๔ จบ

๕. ทัณฑทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระทัณฑทายกเถระ
(พระทัณฑทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๘] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเข้าไปยังป่าดงทึบ
ตัดไม้ไผ่ ทำเป็นไม้ขอ(สำหรับแขวนสิ่งของ)นำมาถวายแก่สงฆ์
[๑๙] ข้าพเจ้ากราบไหว้ภิกษุทั้งหลายผู้มีวัตรงาม
ด้วยจิตที่เลื่อมใสนั้น ครั้นถวายไม้ขอแล้ว
จึงบ่ายหน้าหลีกไปทางทิศเหนือ
[๒๐] ในกัปที่ ๙๔ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายไม้ขอไว้ในครั้งนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๖. สัททสัญญิกวรรค] ๖. อัมพยาคุทายกเถราปทาน
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายไม้ขอ
[๒๑] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระทัณฑทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้
ทัณฑทายกเถราปทานที่ ๕ จบ

๖. อัมพยาคุทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอัมพยาคุทายกเถระ
(พระอัมพยาคุทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๒๒] พระสัมพุทธเจ้า๑ผู้เป็นพระสยัมภูพระนามว่าสตรังสี
ผู้ไม่ทรงพ่ายแพ้ ออกจากสมาธิแล้ว
เสด็จเข้ามาหาข้าพเจ้าเพื่อภิกษา
[๒๓] ข้าพเจ้าเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว มีใจผ่องใส
ได้ถวายมะม่วงและข้าวยาคูแด่ท่านผู้มีใจผ่องใส ไม่มีที่สุด
[๒๔] ในกัปที่ ๙๔ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ทำกรรมไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายมะม่วงและข้าวยาคู

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า พระสัมพุทธเจ้า ในที่นี้หมายถึงพระปัจเจกพุทธเจ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๖. สัททสัญญิกวรรค] ๗. สุปุฏกปูชกเถราปทาน
[๒๕] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระอัมพยาคุทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
อัมพยาคุทายกเถราปทานที่ ๖ จบ

๗. สุปุฏกปูชกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระสุปุฏกปูชกเถระ
(พระสุปุฏกปูชกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๒๖] พระพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
เสด็จออกจากที่พักกลางวันแล้ว
พระองค์เสด็จเที่ยวภิกษามาถึงที่พำนักของข้าพเจ้า
[๒๗] ลำดับนั้น ข้าพเจ้ามีปีติ มีใจยินดี
ได้ถวายเกลือห่อหนึ่งแด่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด ผู้คงที่
แล้วบันเทิงอยู่ในสวรรค์ตลอดกัปหนึ่ง
[๒๘] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายห่อเกลือไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายเกลือห่อหนึ่ง
[๒๙] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระสุปุฏกปูชกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
สุปุฏกปูชกเถราปทานที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๖. สัททสัญญิกวรรค] ๙. สรณคมนิยเถราปทาน
๘. มัญจทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระมัญจทายกเถระ
(พระมัญจทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๓๐] ข้าพเจ้าเลื่อมใส ได้ถวายเตียง ๑ ตัวด้วยมือของตน
แด่พระผู้มีพระภาคพระนามว่าวิปัสสี
ผู้เจริญที่สุดในโลก ผู้คงที่
[๓๑] ข้าพเจ้าได้ยานพาหนะคือช้าง
ยานเทียมด้วยม้า และยานทิพย์บริบูรณ์
เพราะผลแห่งการถวายเตียงนั้น
ข้าพเจ้าจึงได้บรรลุความสิ้นอาสวะ
[๓๒] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายเตียงไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายเตียง
[๓๓] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระมัญจทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
มัญจทายกเถราปทานที่ ๘ จบ

๙. สรณคมนิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระสรณคมนิยเถระ
(พระสรณคมนิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๓๔] ครั้งนั้น ภิกษุและข้าพเจ้าผู้เป็นอาชีวกลงเรือไปด้วยกัน
เมื่อเรือกำลังจะอับปาง ภิกษุได้ให้สรณะแก่ข้าพเจ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๖. สัททสัญญิกวรรค] ๑๐. ปิณฑปาติกเถราปทาน
[๓๕] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป
ภิกษุได้ให้สรณะแก่ข้าพเจ้าไว้
ข้าพเจ้าจึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถึงสรณะ
[๓๖] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระสรณคมนิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
สรณคมนิยเถราปทานที่ ๙ จบ

๑๐. ปิณฑปาติกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระปิณฑปาติกเถระ
(พระปิณฑปาติกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๓๗] ครั้งนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าติสสะ
ประทับอยู่ในป่าดงทึบ
ข้าพเจ้าจากสวรรค์ชั้นดุสิตลงมายังมนุษยโลกนี้
ได้ถวายบิณฑบาต
[๓๘] ข้าพเจ้าครั้นถวายอภิวาทพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระนามว่าติสสะ ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่
ทำจิตของตนให้เลื่อมใสแล้ว ได้กลับไปยังสวรรค์ชั้นดุสิต
[๓๙] ในกัปที่ ๙๒ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายทานไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายบิณฑบาต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๖. สัททสัญญิกวรรค] รวมอปทานที่มีในวรรค
[๔๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระปิณฑปาติกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ปิณฑปาติกเถราปทานที่ ๑๐ จบ
สัททสัญญิกวรรคที่ ๓๖ จบบริบูรณ์

รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สัททสัญญิกเถราปทาน ๒. ยวกลาปิยเถราปทาน
๓. กิงสุกปูชกเถราปทาน ๔. สโกสกโกรัณฑทายกเถราปทาน
๕. ทัณฑทายกเถราปทาน ๖. อัมพยาคุทายกเถราปทาน
๗. สุปุฏกปูชกเถราปทาน ๘. มัญจทายกเถราปทาน
๙. สรณคมนิยเถราปทาน ๑๐. ปิณฑปาติกเถราปทาน

และมีคาถา ๔๐ คาถา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๗. มันทารวปุปผิยวรรค] ๑. มันทารวปุปผิยเถราปทาน
๓๗. มันทารวปุปผิยวรรค
หมวดว่าด้วยพระมันทารวปุปผิยะเป็นต้น
๑. มันทารวปุปผิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระมันทารวปุปผิยเถระ
(พระมันทารวปุปผิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑] ข้าพเจ้า(แปลงร่าง)เป็นมาณพชื่อว่ามงคล
จากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ลงมายังมนุษยโลกนี้ ถือดอกมณฑารพ
[๒] มากั้นไว้เหนือพระเศียรของพระพุทธเจ้า
พระนามว่าวิปัสสี ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
ประทับนั่งขัดสมาธิอยู่
ข้าพเจ้ากั้นอยู่ตลอด ๗ วันแล้ว
จึงกลับมายังเทวโลกอีก
[๓] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้บูชาพระพุทธเจ้าไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๔] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระมันทารวปุปผิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
มันทารวปุปผิยเถราปทานที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๗. มันทารวปุปผิยวรรค] ๓. ภิสมุฬาลทายกเถราปทาน
๒. กักการุปุปผิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระกักการุปุปผิยเถระเป็นต้น
(พระกักการุปุปผิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๕] ข้าพเจ้าจากสวรรค์ชั้นยามาลงมายังมนุษยโลกนี้
ได้ถือดอกฟักทิพย์มาบูชาพระพุทธเจ้าพระนามว่าโคดม ผู้มีสิริ
[๖] ในกัปที่ ๙๒ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ใช้ดอกไม้บูชาไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๗] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระกักการุปุปผิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
กักการุปุปผิยเถราปทานที่ ๒ จบ

๓. ภิสมุฬาลทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระภิสมุฬาลทายกเถระ
(พระภิสมุฬาลทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๘] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าผุสสะ
ทรงถึงความสำเร็จแห่งธรรมทั้งปวง
ทรงประสงค์วิเวก มีพระปัญญา
เสด็จมาที่สำนักของข้าพเจ้า
[๙] ข้าพเจ้าทำจิตให้เลื่อมใสในพระชินเจ้า
ผู้ประกอบด้วยพระมหากรุณา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๗. มันทารวปุปผิยวรรค] ๔. เกสรปุปผิยเถราปทาน
ได้ถือเหง้าบัวและรากบัวมาถวาย
แด่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
[๑๐] ในกัปที่ ๙๒ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายเหง้าบัวและรากบัวไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายเหง้าบัวและรากบัว
[๑๑] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระภิสมุฬาลทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
ภิสมุฬาลทายกเถราปทานที่ ๓ จบ

๔. เกสรปุปผิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระเกสรปุปผิยเถระ
(พระเกสรปุปผิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๒] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นวิทยาธรอยู่ที่ภูเขาหิมพานต์
ได้เห็นพระพุทธเจ้า ผู้ปราศจากธุลีคือกิเลส
มีพระยศยิ่งใหญ่ กำลังเสด็จจงกรมอยู่
[๑๓] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าทูนดอกบุนนาค ๓ ดอกไว้บนศีรษะ
เข้าเฝ้าแล้วบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าเวสสภู
[๑๔] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ทำกรรมไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๗. มันทารวปุปผิยวรรค] ๕. อังโกลปุปผิยเถราปทาน
[๑๕] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระเกสรปุปผิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
เกสรปุปผิยเถราปทานที่ ๔ จบ

๕. อังโกลปุปผิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอังโกลปุปผิยเถระ
(พระอังโกลปุปผิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๖] ครั้งนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมะ
ประทับอยู่ที่ภูเขาจิตรกูฏ
ข้าพเจ้าได้เห็นพระสยัมภูพุทธเจ้าพระองค์นั้นแล้ว จึงเข้าเฝ้า
[๑๗] ขณะนั้น ข้าพเจ้าได้เห็นต้นปรูมีดอกบานสะพรั่ง
จึงเลือกเก็บแล้วนำเข้าบูชา
พระชินสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมะ
[๑๘] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ทำกรรมไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๑๙] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระอังโกลปุปผิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
อังโกลปุปผิยเถราปทานที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๗. มันทารวปุปผิยวรรค] ๗. อุททาลกปุปผิยเถราปทาน
๖. กทัมพปุปผิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระกทัมพปุปผิยเถระ
(พระกทัมพปุปผิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๒๐] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี
ผู้มีพระฉวีวรรณดังทองคำ ผู้เช่นกับทองคำมีค่า
มีพระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ
กำลังเสด็จไประหว่างร้านตลาด
[๒๑] ข้าพเจ้านั่งอยู่ในปราสาทที่ประเสริฐได้เห็นพระองค์
ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลกจึงประคองดอกกระทุ่มบูชา
[๒๒] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ใช้ดอกไม้บูชาไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๒๓] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระกทัมพปุปผิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
กทัมพปุปผิยเถราปทานที่ ๖ จบ

๗. อุททาลกปุปผิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอุททาลกปุปผิยเถระ
(พระอุททาลกปุปผิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๒๔] ครั้งนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสุชาตะ
ประทับอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำคงคา
ข้าพเจ้าได้ถือดอกคูนไปบูชาพระองค์ ผู้ไม่ทรงพ่ายแพ้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๗. มันทารวปุปผิยวรรค] ๘. เอกจัมปกปุปผิยเถราปทาน
[๒๕] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ใช้ดอกไม้บูชาไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๒๖] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระอุททาลกปุปผิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
อุททาลกปุปผิยเถราปทานที่ ๗ จบ

๘. เอกจัมปกปุปผิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระเอกจัมปกปุปผิยเถระ
(พระเอกจัมปกปุปผิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๒๗] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้สงบระงับ ประทับอยู่ระหว่างภูเขา
ข้าพเจ้าถือดอกจำปาดอกหนึ่ง
เข้าไปเฝ้าพระองค์ผู้ทรงเป็นนรชนผู้สูงสุด
[๒๘] มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี
ใช้มือทั้ง ๒ ประคองดอกไม้ขึ้นบูชาพระปัจเจกมุนี
ผู้สูงสุด ผู้ไม่ทรงพ่ายแพ้
[๒๙] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ใช้ดอกไม้บูชาไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๗. มันทารวปุปผิยวรรค] ๙. ติมิรปุปผิยเถราปทาน
[๓๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระเอกจัมปกปุปผิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
เอกจัมปกปุปผิยเถราปทานที่ ๘ จบ

๙. ติมิรปุปผิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระติมิรปุปผิยเถระ
(พระติมิรปุปผิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๓๑] ข้าพเจ้าเที่ยวไปตามกระแสน้ำริมฝั่งแม่น้ำจันทภาคา
ได้เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้ปราศจากธุลีคือกิเลส
เหมือนต้นพญาไม้สาละมีดอกบานสะพรั่ง
[๓๒] ข้าพเจ้าเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี
ได้ถือดอกดีหมีมาโปรยลงเหนือพระเศียร
บูชาพระปัจเจกมุนีผู้สูงสุด
[๓๓] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ใช้ดอกไม้บูชาไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๓๔] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระติมิรปุปผิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ติมิรปุปผิยเถราปทานที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๗. มันทารวปุปผิยวรรค] ๑๐. สลฬปุปผิยเถราปทาน
๑๐. สลฬปุปผิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระสลฬปุปผิยเถระ
(พระสลฬปุปผิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๓๕] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นกินนรอาศัยอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำจันทภาคา
ขณะนั้น ข้าพเจ้าได้เห็นพระพุทธเจ้า
ผู้เป็นเทพยิ่งกว่าเทพ
ทรงเป็นผู้องอาจกว่านรชน เสด็จจงกรมอยู่
[๓๖] จึงได้เลือกเก็บดอกช้างน้าวมา
ถวายแด่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
พระมหาวีรเจ้าทรงสูดดมกลิ่นดอกช้างน้าว
ซึ่งมีกลิ่นหอมดังดอกไม้ทิพย์
[๓๗] ขณะที่ข้าพเจ้าดูอยู่นั้น
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี
ผู้มีความเพียรมาก ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ทรงรับแล้ว สูดดมกลิ่น
[๓๘] ข้าพเจ้าเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี
ถวายอภิวาทพระองค์ผู้สูงสุดแห่งเทวดาและมนุษย์
ประคองอัญชลีแล้ว กลับขึ้นไปยังภูเขาตามเดิม
[๓๙] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ใช้ดอกไม้บูชาไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๗. มันทารวปุปผิยวรรค] รวมอปทานที่มีในวรรค
[๔๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระสลฬปุปผิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
สลฬปุปผิยเถราปทานที่ ๑๐ จบ
มันทารวปุปผิยวรรคที่ ๓๗ จบบริบูรณ์

รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. มันทารวปุปผิยเถราปทาน ๒. กักการุปุปผิยเถราปทาน
๓. ภิสมุฬาลทายกเถราปทาน ๔. เกสรปุปผิยเถราปทาน
๕. อังโกลปุปผิยเถราปทาน ๖. กทัมพปุปผิยเถราปทาน
๗. อุททาลกปุปผิยเถราปทาน ๘. เอกจัมปกปุปผิยเถราปทาน
๙. ติมิรปุปผิยเถราปทาน ๑๐. สลฬปุปผิยเถราปทาน

และมีคาถา ๔๐ คาถา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๘. โพธิวันทนวรรค] ๑. โพธิวันทกเถราปทาน
๓๘. โพธิวันทนวรรค
หมวดว่าด้วยพระโพธิวันทกะเป็นต้น
๑. โพธิวันทกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระโพธิวันทกเถระ
(พระโพธิวันทกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑] ข้าพเจ้าได้เห็นต้นแคฝอย
ซึ่งงอกขึ้นบนแผ่นดินงามรุ่งเรือง
จึงห่มผ้าเฉวียงบ่าแล้วประนมมือไหว้ต้นแคฝอย
[๒] ครั้นประคองอัญชลีแล้ว
ตั้งใจเคารพพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้บริสุทธิ์ทั้งภายในทั้งภายนอก
หลุดพ้นดีแล้ว ไม่มีอาสวะ
[๓] ข้าพเจ้าได้ไหว้ต้นแคฝอย
ดุจไหว้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี
ที่ชาวโลกบูชา มีพระกรุณาญาณดุจสาคร เฉพาะพระพักตร์
[๔] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ไหว้ต้นโพธิ์ไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการไหว้
[๕] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระโพธิวันทกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
โพธิวันทกเถราปทานที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๘. โพธิวันทนวรรค] ๒. ปาฏลิปุปผิยเถราปทาน
๒. ปาฏลิปุปผิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระปาฏลิปุปผิยเถระ
(พระปาฏลิปุปผิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๖] พระผู้มีพระภาคพระนามว่าวิปัสสี
ผู้เป็นพระสยัมภู เป็นบุคคลผู้เลิศ
ทรงชนะมาร ห้อมล้อมด้วยพระสาวกของพระองค์
เสด็จเข้าไปยังกรุงพันธุมดี
[๗] ข้าพเจ้าห่อดอกแคฝอย ๓ ดอกไว้ที่ชายพก
ประสงค์จะอาบน้ำดำเกล้า จึงได้ไปยังฝั่งแม่น้ำ
[๘] ข้าพเจ้าออกจากกรุงพันธุมดี
ได้เห็นพระองค์ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
รุ่งเรืองดังดอกอุบลเขียว
โชติช่วงเหมือนดวงไฟใหญ่
[๙] องอาจดุจพญาเสือโคร่ง
ประเสริฐดุจไกรสรราชสีห์ผู้มีชาติสูง
เลิศกว่าสมณะทั้งหลาย มีหมู่ภิกษุแวดล้อม
กำลังเสด็จดำเนินไป
[๑๐] ข้าพเจ้าเลื่อมใสพระสุคต
ผู้ชำระมลทินคือกิเลสพระองค์นั้น
จึงได้ถือดอกแคฝอย ๓ ดอก
ไปบูชาพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
[๑๑] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ใช้ดอกไม้บูชาไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๘. โพธิวันทนวรรค] ๓. ตีณุปปลมาลิยเถราปทาน
[๑๒] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระปาฏลิปุปผิยเถระ ได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ปาฏลิปุปผิยเถราปทานที่ ๒ จบ

๓. ตีณุปปลมาลิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระตีณุปปลมาลิยเถระ
(พระตีณุปปลมาลิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๓] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นวานร
อาศัยอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำจันทภาคา
ได้เห็นพระพุทธเจ้า ผู้ปราศจากธุลีคือกิเลส
ประทับนั่งอยู่ระหว่างภูเขา
[๑๔] ทรงทำทิศทั้งปวงให้สว่างไสวอยู่
ดังต้นพญาไม้สาละมีดอกบานสะพรั่ง
ทรงประกอบด้วยพระลักษณะและอนุพยัญชนะ
ครั้นได้เห็นแล้วก็มีความปลื้มใจ
[๑๕] ข้าพเจ้ามีจิตเบิกบาน มีใจยินดีร่าเริงด้วยปีติ
ได้ใช้ดอกอุบล ๓ ดอกบูชาเหนือเศียรเกล้า
[๑๖] ครั้นใช้ดอกไม้บูชาพระพุทธเจ้าพระนามว่าผุสสะ
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่แล้ว
เคารพนบนอบแล้วบ่ายหน้าหลีกไปทางทิศเหนือ
[๑๗] เมื่อข้าพเจ้ากำลังเดินกระโหย่งกลับไป ด้วยใจที่ผ่องใส
จึงพลัดตกไปในระหว่างภูเขาหิน ถึงความสิ้นชีวิตแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๘. โพธิวันทนวรรค] ๔. ปัตติปุปผิยเถราปทาน
[๑๘] ด้วยกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยการตั้งเจตนาไว้มั่น
ข้าพเจ้าละชาติเดิมแล้ว
ได้ไปเกิดยังสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๑๙] ข้าพเจ้าได้ครองเทวสมบัติ ๓๐๐ ชาติ
และได้เกิดเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๕๐๐ ชาติ
[๒๐] ในกัปที่ ๙๒ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ใช้ดอกไม้บูชาไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๒๑] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระตีณุปปลมาลิยเถระ ได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
ตีณุปปลมาลิยเถราปทานที่ ๓ จบ

๔. ปัตติปุปผิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระปัตติปุปผิยเถระ
(พระปัตติปุปผิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๒๒] ครั้งเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่พระนามว่าปทุมุตตระ
เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว
ชนทั้งปวงมาประชุมกันแห่พระสรีระไป
[๒๓] เมื่อนำพระสรีระไป เมื่อเขาประโคมกลองเภรีอยู่
ข้าพเจ้ามีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี ได้ใช้ดอกประดู่บูชา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๘. โพธิวันทนวรรค] ๕. สัตตปัณณิยเถราปทาน
[๒๔] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ใช้ดอกไม้บูชาไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระสรีระ
[๒๕] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๒๖] การที่ข้าพเจ้าได้มาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๒๗] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระปัตติปุปผิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ปัตติปุปผิยเถราปทานที่ ๔ จบ

๕. สัตตปัณณิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระสัตตปัณณิยเถระ
(พระสัตตปัณณิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๒๘] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
พระนามว่าสุมนะ เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว
ข้าพเจ้ามีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี ได้ใช้ต้นตีนเป็ดบูชา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๘. โพธิวันทนวรรค] ๖. คันธมุฏฐิยเถราปทาน
[๒๙] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ใช้ต้นตีนเป็ดบูชาไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาด้วยต้นตีนเป็ด
[๓๐] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๓๑] การที่ข้าพเจ้าได้มาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๓๒] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระสัตตปัณณิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
สัตตปัณณิยเถราปทานที่ ๕ จบ

๖. คันธมุฏฐิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระคันธมุฏฐิยเถระ
(พระคันธมุฏฐิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๓๓] เมื่อมหาชนกำลังช่วยกันทำจิตกาธานอยู่
ขนของหอมต่าง ๆ มากองรวมกันแล้ว
ข้าพเจ้ามีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี
ได้ใช้ของหอมกำมือหนึ่งบูชา(จิตกาธาน)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๘. โพธิวันทนวรรค] ๗. จิตกปูชกเถราปทาน
[๓๔] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้บูชาจิตกาธานไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาจิตกาธาน
[๓๕] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๓๖] การที่ข้าพเจ้าได้มาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๓๗] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระคันธมุฏฐิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
คันธมุฏฐิยเถราปทานที่ ๖ จบ

๗. จิตกปูชกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระจิตกปูชกเถระ
(พระจิตกปูชกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๓๘] เมื่อพระผู้มีพระภาคพระนามว่าปทุมุตตระ
เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว
เมื่อมหาชนช่วยกันยก(พุทธสรีระ)ขึ้นบนจิตกาธานแล้ว
ข้าพเจ้าได้ใช้ดอกสาละบูชา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๘. โพธิวันทนวรรค] ๘. สุมนตาลวัณฏิยเถราปทาน
[๓๙] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ใช้ดอกไม้บูชาไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาจิตกาธาน
[๔๐] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๔๑] การที่ข้าพเจ้าได้มาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๔๒] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระจิตกปูชกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
จิตกปูชกเถราปทานที่ ๗ จบ

๘. สุมนตาลวัณฏิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระสุมนตาลวัณฏิยเถระ
(พระสุมนตาลวัณฏิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๔๓] ข้าพเจ้าได้ถวายพัดใบตาลซึ่งอบด้วยดอกมะลิ
แด่พระผู้มีพระภาคพระนามว่าสิทธัตถะ
ข้าพเจ้าทรงไว้ซึ่งยศใหญ่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๘. โพธิวันทนวรรค] ๙. สุมนทามิยเถราปทาน
[๔๔] ในกัปที่ ๙๔ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายพัดใบตาลไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายพัดใบตาล
[๔๕] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๔๕] การที่ข้าพเจ้าได้มาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๔๗] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระสุมนตาลวัณฏิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
สุมนตาลวัณฏิยเถราปทานที่ ๘ จบ

๙. สุมนทามิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระสุมนทามิยเถระ
(พระสุมนทามิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๔๘] ข้าพเจ้าได้ร้อยพวงมาลัยดอกมะลิแล้ว
ยืนทรง(ถือ)ไว้เบื้องพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาค
พระนามว่าสิทธัตถะ ผู้บริสุทธิ์ (ชำระกิเลส) มีตบะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๘. โพธิวันทนวรรค] ๑๐. กาสุมาริผลทายกเถราปทาน
[๔๙] ในกัปที่ ๙๔ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ใช้พวงดอกมะลิบูชาไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาด้วยพวงดอกมะลิ
[๕๐] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๕๑] การที่ข้าพเจ้าได้มาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๕๒] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระสุมนทามิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
สุมนทามิยเถราปทานที่ ๙ จบ

๑๐. กาสุมาริผลทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระกาสุมาริผลทายกเถระ
(พระกาสุมาริผลทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๕๓] ข้าพเจ้าได้เห็นพระพุทธเจ้า ผู้ปราศจากธุลีคือกิเลส
โชติช่วงดังดอกกรรณิการ์ ผู้เจริญที่สุดในโลก
ทรงองอาจกว่านรชน ประทับนั่งอยู่ระหว่างภูเขา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๘. โพธิวันทนวรรค] ๑๐. กาสุมาริผลทายกเถราปทาน
[๕๔] ข้าพเจ้าเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี
จึงประนมมือไหว้เหนือเศียรเกล้าแล้ว
ได้ถือผลมะรื่นไปถวายพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
[๕๕] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายผลไม้ไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
[๕๖] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๕๗] การที่ข้าพเจ้าได้มาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๕๘] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระกาสุมาริผลทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้
กาสุมาริผลทายกเถราปทานที่ ๑๐ จบ
โพธิวันทนวรรคที่ ๓๘ จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๘. โพธิวันทนวรรค] รวมอปทานที่มีในวรรค
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. โพธิวันทกเถราปทาน ๒. ปาฏลิปุปผิยเถราปทาน
๓. ตีณุปปลมาลิยเถราปทาน ๔. ปัตติปุปผิยเถราปทาน
๕. สัตตปัณณิยเถราปทาน ๖. คันธมุฏฐิยเถราปทาน
๗. จิตกปูชกเถราปทาน ๘. สุมนตาลวัณฏิยเถราปทาน
๙. สุมนทามิยเถราปทาน ๑๐. กาสุมาริผลทายกเถราปทาน

มีคาถา ๕๙ คาถา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๙. อัมพฏผลวรรค] ๑. อัมพฏผลทายกเถราปทาน
๓๙. อัมพฏผลวรรค
หมวดว่าด้วยพระอัมพฏผละเป็นต้น
๑. อัมพฏผลทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอัมพฏผลทายกเถระ
(พระอัมพฏผลทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑] พระผู้มีพระภาคสัมพุทธเจ้า๑ พระนามว่าสตรังสี
ผู้เป็นพระสยัมภู ผู้ไม่ทรงพ่ายแพ้
ทรงประสงค์วิเวก ได้เสด็จออกโคจรบิณฑบาต
[๒] ข้าพเจ้าถือผลไม้อยู่ ได้เห็นพระองค์ผู้องอาจกว่านรชน
จึงเข้าเฝ้า มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี
ได้ถวายผลมะกอก
[๓] ในกัปที่ ๙๔ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายผลไม้ไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
[๔] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๕] การที่ข้าพเจ้าได้มาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า สัมพุทธเจ้า ในที่นี้หมายถึงพระปัจเจกพุทธเจ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๙. อัมพฏผลวรรค] ๒. ลพุชทายกเถราปทาน
[๖] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระอัมพฏผลทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
อัมพฏผลทายกเถราปทานที่ ๑ จบ

๒. ลพุชทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระลพุชทายกเถระ
(พระลพุชทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๗] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นคนเฝ้าสวนอาศัยอยู่ในกรุงพันธุมดี
ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลีคือกิเลส
กำลังเสด็จเหาะไปในอากาศ
[๘] ข้าพเจ้าได้ถือผลขนุนสำปะลอ
ไปถวายพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
พระองค์ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่
ประทับยืนอยู่ในอากาศ ทรงรับ(ผลขนุน)แล้ว
[๙] นั่นเป็นเหตุให้ข้าพเจ้าเกิดปีติ
นำความสุขมาให้ในปัจจุบัน
เพราะได้ถวายผลไม้แด่พระพุทธเจ้าด้วยใจที่ผ่องใส
[๑๐] ข้าพเจ้าได้ปีติและความสุข
อย่างสูงสุดเหลือล้นในครั้งนั้น
รัตนะย่อมเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้าผู้บังเกิดในภพนั้น ๆ
[๑๑] ในกัปที่ ๙๑ นัปจากกัปนี้
ข้าพเจ้าได้ถวายผลไม้ไว้ในครั้งนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๙. อัมพฏผลวรรค] ๓. อุทุมพรผลทายกเถราปทาน
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
[๑๒] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๓] การที่ข้าพเจ้าได้มาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๔] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระลพุชทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ลพุชทายกเถราปทานที่ ๒ จบ

๓. อุทุมพรผลทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอุทุมพรผลทายกเถระ
(พระอุทุมพรผลทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๕] พระพุทธเจ้าผู้เป็นบุรุษผู้สูงสุด
ประทับอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำนินนคา
ข้าพเจ้าได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลีคือกิเลส
เป็นเอกอัครบุคคลมีพระหฤทัยตั้งมั่นด้วยดี
[๑๖] ข้าพเจ้ามีใจเลื่อมใสในพระองค์ผู้ชำระมลทินคือกิเลส
จึงได้ถือผลมะเดื่อไปถวายพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๙. อัมพฏผลวรรค] ๔. ปิลักขผลทายกเถราปทาน
[๑๗] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายผลไม้ไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
[๑๘] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๙] การที่ข้าพเจ้าได้มาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๒๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระอุทุมพรผลทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
อุทุมพรผลทายกเถราปทานที่ ๓ จบ

๔. ปิลักขผลทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระปิลักขผลทายกเถระ
(พระปิลักขผลทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๒๑] ข้าพเจ้าได้เห็นพระพุทธเจ้าพระนามว่าอัตถทัสสี
ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่ที่แนวป่า
จึงมีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี ได้ถวายผลดีปลี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๙. อัมพฏผลวรรค] ๕. ผารุสผลทายกเถราปทาน
[๒๒] ในกัปที่ ๑๑๘ (นับจากกัปนี้ไป)
ข้าพเจ้าได้ถวายผลไม้ไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
[๒๓] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๒๔] การที่ข้าพเจ้าได้มาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๒๕] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระปิลักขผลทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
ปิลักขผลทายกเถราปทานที่ ๔ จบ

๕. ผารุสผลทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระผารุสผลทายกเถระ
(พระผารุสผลทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๒๖] ข้าพเจ้าได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้มีพระฉวีวรรณดังทองคำ
ผู้สมควรรับเครื่องบูชา เสด็จดำเนินอยู่ที่ถนน
จึงได้ถวายผลมะปรางแด่พระองค์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๙. อัมพฏผลวรรค] ๖. วัลลิผลทายกเถราปทาน
[๒๗] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายผลไม้ไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
[๒๘] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๒๙] การที่ข้าพเจ้าได้มาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๓๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระผารุสผลทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
ผารุสผลทายกเถราปทานที่ ๕ จบ

๖. วัลลิผลทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระวัลลิผลทายกเถระ
(พระวัลลิผลทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๓๑] ครั้งนั้น ชนทั้งปวงชักชวนกันไปยังป่า
ในครั้งนั้นพวกเขาแสวงหาผลไม้ ได้ผลไม้แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๙. อัมพฏผลวรรค] ๖. วัลลิผลทายกเถราปทาน
[๓๒] ในป่านั้น ข้าพเจ้าได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้เป็นพระสยัมภู ผู้ไม่ทรงพ่ายแพ้
จึงมีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี
ได้ถวายผลเครือเถา(แตงโม)
[๓๓] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายผลไม้ไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
[๓๔] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๓๕] การที่ข้าพเจ้าได้มาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๓๖] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระวัลลิผลทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
วัลลิผลทายกเถราปทานที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๙. อัมพฏผลวรรค] ๗. กทลิผลทายกเถราปทาน
๗. กทลิผลทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระกทลิผลทายกเถระ
(พระกทลิผลทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๓๗] ข้าพเจ้าได้เห็นพระศาสดาผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ทรงรุ่งเรืองดังดอกกรรณิการ์
โชติช่วงเหมือนดวงจันทร์วันเพ็ญและเหมือนต้นพฤกษาประทีป
[๓๘] ข้าพเจ้ามีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี
ได้ถือผลกล้วยไปถวายแด่พระศาสดา
ไหว้แล้วก็หลีกไป
[๓๙] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายผลไม้ไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
[๔๐] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๔๑] การที่ข้าพเจ้าได้มาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๔๒] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระกทลิผลทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
กทลิผลทายกเถราปทานที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๙. อัมพฏผลวรรค] ๘. ปนสผลทายกเถราปทาน
๘. ปนสผลทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระปนสผลทายกเถระ
(พระปนสผลทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๔๓] ครั้งนั้น พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่าอัชชุนะ
ทรงเพียบพร้อมด้วยจรณะและเป็นพระมุนี ฉลาดในสมาธิ
ประทับอยู่ที่ภูเขาหิมพานต์
[๔๔] ข้าพเจ้าถือผลขนุนสุกสด ผลขนาดเท่าหม้อ
ได้ถวายพระศาสดาวางไว้ที่ต้นตีนเป็ด
[๔๕] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายผลไม้ไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
[๔๖] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๔๗] การที่ข้าพเจ้าได้มาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๔๘] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระปนสผลทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ปนสผลทายกเถราปทานที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๙. อัมพฏผลวรรค] ๙. โสณโกฏิวีสเถราปทาน
๙. โสณโกฏิวีสเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระโสณโกฏิวีสเถระ
(พระโสณโกฏิวีสเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๔๙] ในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี
ข้าพเจ้าได้สร้างถ้ำไว้แห่งหนึ่ง
ถวายแด่สงฆ์ผู้มาจากทิศทั้ง ๔ ในพันธุมาราชธานี
[๕๐] ข้าพเจ้าบริจาคผ้าหลายผืนไว้ลาดพื้นถ้ำ
ในครั้งนั้น ข้าพเจ้ามีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี
ได้ทำความปรารถนาว่า
[๕๑] ข้าพเจ้าพึงให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงโปรดปราน
พึงได้บรรพชาและพึงสัมผัสพระนิพพาน
ซึ่งเป็นธรรมสูงสุด สงบอย่างยอดเยี่ยม
[๕๒] ด้วยกุศลมูลนั้นนั่นแล
ข้าพเจ้าระลึกชาติได้ถึง ๙๐ กัป
ข้าพเจ้าเกิดเป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็ตาม
ได้สร้างบุญไว้รุ่งเรืองนัก
[๕๓] ด้วยผลกรรมที่เหลือจากนั้น ในภพสุดท้ายนี้
ข้าพเจ้าเกิดเป็นบุตรคนเดียวของอัครเศรษฐีในกรุงจัมปา
[๕๔] พอฟังข่าวข้าพเจ้าว่าเกิดแล้ว
บิดาก็มีความพอใจดังนี้ว่า
เราจะให้ทรัพย์ ๒๐ โกฏิแก่กุมารไม่ให้ลดหย่อนเลย
[๕๕] ขนยาวประมาณ ๔ นิ้ว เส้นละเอียด
มีสัมผัสอ่อนนุ่มเสมอเหมือนปุยนุ่นงดงาม
เกิดที่ฝ่าเท้าทั้ง ๒ ของข้าพเจ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๙. อัมพฏผลวรรค] ๙. โสณโกฏิวีสเถราปทาน
[๕๖] ข้อนี้เป็นอาการพิเศษประการหนึ่งตลอด ๙๐ กัปที่ล่วงมา
ข้าพเจ้าไม่รู้สึกในเมื่อวางเท้าลง
บนภาคพื้นที่ไม่มีเครื่องลาดเลย
[๕๗] ข้าพเจ้าให้พระพุทธเจ้าโปรดปรานแล้วบวชเป็นบรรพชิต
ได้บรรลุอรหัตตผล และเป็นผู้เย็น ดับแล้ว
[๕๘] พระศาสดาผู้ทรงเห็นเหตุทั้งปวง
ทรงแสดงว่าข้าพเจ้าเป็นผู้เลิศกว่า
บรรดาภิกษุผู้ปรารภความเพียร
เป็นพระอรหันตขีณาสพ ได้อภิญญา ๖ มีฤทธิ์มาก
[๕๙] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายทานไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายถ้ำ
[๖๐] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๖๑] การที่ข้าพเจ้าได้มาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๖๒] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๙. อัมพฏผลวรรค] ๑๐. พุทธาปทานชื่อปุพพกัมมปิโลติ
[๖๓] พระโสณโกฏิวีสเถระ เป็นหัวหน้าของภิกษุสงฆ์
ถูกถามปัญหาแล้วได้พยากรณ์ที่ใกล้สระใหญ่ชื่ออโนดาต ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระโสณโกฏิวีสเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
โสณโกฏิวีสเถราปทานที่ ๙ จบ

๑๐. พุทธาปทานชื่อปุพพกัมมปิโลติ
ประวัติในอดีตชาติของพระพุทธเจ้าว่าด้วยบุพกรรมเก่า
(พระอานนทเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของพระพุทธเจ้าว่าด้วย
บุพกรรมเก่า จึงกล่าวว่า)
[๖๔] ณ พื้นศิลาที่น่ารื่นรมย์ ใกล้สระอโนดาต
โชติช่วงด้วยรัตนะต่าง ๆ
ในละแวกป่ามีดอกไม้มีกลิ่นหอมนานาชนิด
[๖๕] พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
มีหมู่ภิกษุหมู่ใหญ่ห้อมล้อม
ประทับนั่งที่ศิลาอาสน์นั้น
ทรงพยากรณ์บุพกรรมของพระองค์ว่า
[๖๖] ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงฟังกรรมของเรา
เราเห็นภิกษุ ผู้อยู่ป่าเป็นวัตร
จึงได้ถวายผ้าเก่าผืนหนึ่ง
[ก] ในกาลนั้น ข้าพเจ้าปรารถนาการตรัสรู้
เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้าเป็นครั้งแรก
ผลของการถวายผ้าเก่าให้ผลในความเป็นพระพุทธเจ้า
[ข] ในชาติปางก่อน เราเกิดเป็นนายโคบาล ต้อนโคไปเลี้ยง
เห็นแม่โคกำลังดื่มน้ำขุ่น จึงห้ามมันไว้
[ค] ด้วยผลกรรมนั้น ในภพสุดท้ายนี้ เรากระหายน้ำ
ก็ไม่ได้ดื่มน้ำตามความปรารถนา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๗๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๙. อัมพฏผลวรรค] ๑๐. พุทธาปทานชื่อปุพพกัมมปิโลติ
[๖๗] ในชาติอื่น ๆ ในปางก่อน
เราเกิดเป็นนักเลงชื่อว่าปุนาลิ
ได้กล่าวตู่พระปัจเจกพุทธเจ้ามีนามว่าสุรภี ผู้ไม่ประทุษร้ายใคร
[๖๘] ด้วยผลกรรมนั้น เราจึงได้เวียนว่ายตายเกิด
อยู่ในนรกเป็นเวลานาน เสวยทุกขเวทนาหลายพันปี
[๖๙] ด้วยผลกรรมที่เหลืออยู่นั้น
ในภพสุดท้ายนี้ เราได้รับการกล่าวตู่
เพราะนางสุนทรีเป็นเหตุ
[๗๐] เพราะการกล่าวตู่พระเถระนามว่านันทะ
ผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ครอบงำอันตรายทั้งปวง
เราจึงเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในนรกเป็นเวลานาน
[๗๑] เราเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในนรกเป็นเวลานานถึง ๑๐๐,๐๐๐ ปี
ครั้นได้เกิดเป็นมนุษย์ ก็ได้รับการกล่าวตู่มาก
[๗๒] ด้วยผลกรรมที่เหลืออยู่นั้น
นางจิญจมาณวิกาจึงมากล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริงท่ามกลางหมู่ชน
[๗๓] เราเกิดเป็นพราหมณ์
ผู้มีสุตะซึ่งประชาชนสักการบูชา
ได้สอนมนตร์ให้มาณพประมาณ ๕๐๐ คน ในป่าใหญ่
[๗๔] เราได้เห็นฤๅษีผู้น่าเกรงกลัว ผู้ได้อภิญญา ๕
มีฤทธิ์มาก มายังสำนักของเรา
เราจึงกล่าวตู่ฤๅษีผู้ไม่ประทุษร้ายใคร
[๗๕] ครั้งนั้น เราได้บอกพวกศิษย์ว่า
ฤๅษีตนนี้มักบริโภคกามคุณ
เพียงเราบอกเท่านั้น พวกมาณพก็พลอยเชื่อ
[๗๖] ตั้งแต่นั้นมา พวกมาณพทั้งหมด
ไปเที่ยวหาอาหารในตระกูลทั้งหลาย
พากันบอกประชาชนว่า ฤๅษีตนนี้มักบริโภคกามคุณ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๙. อัมพฏผลวรรค] ๑๐. พุทธาปทานชื่อปุพพกัมมปิโลติ
[๗๗] ด้วยผลกรรมนั้น ภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านี้
ได้รับการกล่าวตู่ เพราะนางสุนทรีเป็นเหตุ
[๗๘] ในชาติก่อน เราได้ฆ่าน้องชายต่างมารดา
เพราะเหตุแห่งทรัพย์
จับโยนลงซอกภูเขา แล้วโยนหินทับไว้
[๗๙] ด้วยผลกรรมนั้น พระเทวทัตจึงผลักก้อนหินกลิ้งลงมา
สะเก็ดหินกระทบนิ้วหัวแม่เท้าของเรา (จนห้อเลือด)
[๘๐] ในชาติก่อน เรายังเป็นเด็กเล่นอยู่ที่หนทางใหญ่
ได้เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า
จึงหว่านก้อนกรวดไว้ที่หนทาง
[๘๑] ด้วยผลกรรมนั้น ในภพสุดท้ายนี้
พระเทวทัตจึงชักชวนนักแม่นธนู
ผู้เป็นนักฆ่า เพื่อฆ่าเรา
[๘๒] ในชาติก่อน เราเป็นนายควาญช้าง
ได้ไสช้างไล่พระปัจเจกพุทธเจ้าผู้เป็นพระมุนีสูงสุด
ซึ่งกำลังเที่ยวบิณฑบาต
[๘๓] ด้วยผลกรรมนั้น ช้างนาฬาคีรีเชือกดุร้าย
จึงวิ่งไล่เราในกรุงราชคฤห์อันประเสริฐ
[๘๔] ในชาติก่อน เราเป็นทหารราบ
ได้ใช้หอกฆ่าคนจำนวนมาก
ด้วยผลกรรมนั้น
เราจึงถูกไฟไหม้อย่างร้อนแรงในนรก
[๘๕] ด้วยผลกรรมที่เหลืออยู่
ในบัดนี้ ไฟนั้นยังตามมา
ไหม้ผิวหนังที่เท้าของเราทุกแห่ง เพราะกรรมยังไม่สิ้นไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๙. อัมพฏผลวรรค] ๑๐. พุทธาปทานชื่อปุพพกัมมปิโลติ
[๘๖] ในชาติก่อน เราเป็นเด็กเล็กลูกของชาวประมง
อาศัยอยู่ในเกวัฏฏคาม
เห็นชาวประมงฆ่าปลาแล้วเกิดความโสมนัส
[๘๗] ด้วยผลกรรมนั้น เราจึงปวดศีรษะ
ในเมื่อเจ้าศากยะทั้งหลายถูกฆ่า
คราวที่พระเจ้าวิฑูฑภะฆ่า
[๘๘] เราได้ด่าบริภาษเหล่าสาวกในศาสนา
ของพระพุทธเจ้าพระนามว่าผุสสะด้วยคำว่า
ท่านทั้งหลายจงขบเคี้ยว
จงฉันแต่ข้าวเหนียว อย่าได้ฉันข้าวสาลีเลย
[๘๙] ด้วยผลกรรมนั้น เรารับนิมนต์พราหมณ์
อยู่จำพรรษาในเมืองเวรัญชา
ได้ฉันแต่ข้าวเหนียว ตลอด ๓ เดือน
[๙๐] ในชาติก่อน เมื่อนักมวยกำลังชกกัน
เราได้กันบุตรชายนักมวยปล้ำไว้
ด้วยผลกรรมนั้น
เราจึงเกิดความทุกข์ที่สันหลัง(ปวดหลัง)
[๙๑] ในชาติก่อน เราเป็นหมอรักษาโรค
ได้ถ่ายยาให้ลูกชายเศรษฐี(ถึงแก่ความตาย)
ด้วยผลกรรมนั้น
เราจึงป่วยเป็นโรคปักขันทิกาพาธ
[๙๒] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าชื่อว่าโชติปาละ
ได้กล่าวกับพระสุคตพระนามว่ากัสสปะ
ว่า การตรัสรู้ที่โคนต้นโพธิ์จักมีมาแต่ที่ไหน
การตรัสรู้หาได้แสนยาก
[๙๓] ด้วยผลกรรมนั้น
เราจึงได้บำเพ็ญทุกรกิริยานานถึง ๖ ปี
ต่อจากนั้น จึงได้บรรลุพระโพธิญาณที่ตำบลอุรุเวลา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๙. อัมพฏผลวรรค] รวมอปทานที่มีในวรรค
[๙๔] แต่ว่า เราก็มิได้บรรลุพระโพธิญาณที่สูงสุดด้วยทางนี้
เราถูกกรรมในปางก่อนตักเตือนแล้ว
จึงแสวงหา(โพธิญาณ)ผิดทาง
[๙๕] เราสิ้นบาปสิ้นบุญแล้ว
ปราศจากความเร่าร้อนทุกอย่าง
ไม่มีความเศร้าโศก ไม่มีความคับแค้น
ไม่มีอาสวะ จักปรินิพพาน
[๙๖] พระพุทธชินเจ้าได้ทรงบรรลุกำลังแห่งอภิญญาทั้งปวงแล้ว
ทรงพยากรณ์โดยมุ่งหวังประโยชน์สำหรับหมู่ภิกษุ
ที่ใกล้สระใหญ่ชื่ออโนดาต ด้วยประการฉะนี้แล
ได้ทราบว่า พระผู้มีพระภาคได้ทรงภาษิตธรรมบรรยายพุทธาปทาน ชื่อปุพพ-
กัมมปิโลติ ซึ่งเป็นบุพจริตของพระองค์ ด้วยประการฉะนี้แล
พุทธาปทานชื่อปุพพกัมมปิโลติที่ ๑๐ จบ
อัมพฏผลวรรคที่ ๓๙ จบบริบูรณ์

รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อัมพฏผลทายกเถราปทาน ๒. ลพุชทายกเถราปทาน
๓. อุทุมพรผลทายกเถราปทาน ๔. ปิลักขผลทายกเถราปทาน
๕. ผารุสผลทายกเถราปทาน ๖. วัลลิผลทายกเถราปทาน
๗. กทลิผลทายกเถราปทาน ๘. ปนสผลทายกเถราปทาน
๙. โสณโกฏิวีสเถราปทาน ๑๐. พุทธาปทานชื่อว่าปุพพกัมมปิโลติ

บัณฑิตทั้งหลายนับได้ ๙๑ คาถา
ภาณวารที่ ๑๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๑. ปิลินทวัจฉเถราปทาน
๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค
หมวดว่าด้วยพระปิลินทวัจฉะเป็นต้น
๑. ปิลินทวัจฉเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระปิลินทวัจฉเถระ
(พระปิลินทวัจฉเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑] ข้าพเจ้าเป็นคนเฝ้าประตูอยู่ที่กรุงหงสวดี
ได้รวบรวมโภคสมบัติเก็บไว้ในเรือนมากมายนับไม่ถ้วน
[๒] ครั้งนั้น ข้าพเจ้านั่งอยู่ในสถานที่สงัด
ทำใจให้ร่าเริง นั่งอยู่ในปราสาทที่ประเสริฐ
ได้คิดอย่างนี้ว่า
[๓] โภคสมบัติของเรามีมาก
ภายในบุรีของเราก็มั่งคั่ง
แม้พระราชาผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน
พระนามว่าอานนท์ ก็ทรงเชื้อเชิญเรา
[๔] พระพุทธเจ้าพระองค์นี้ เป็นพระมุนี
เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลกนี้
และโภคสมบัติของเราก็มีอยู่
เราจักถวายทานแด่พระศาสดา
[๕] พระโอรสของพระราชาพระนามว่าปทุมะ
ทรงถวายทานอย่างประเสริฐ
คือช้างเชือกประเสริฐ บัลลังก์และพนักพิง
ประมาณไม่น้อย ในพระชินเจ้า
[๖] แม้เราก็จักถวายทาน
ในพระสงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๑. ปิลินทวัจฉเถราปทาน
ทานอย่างประเสริฐที่ยังไม่เคยมีใครถวาย
เราจักเป็น (ผู้ถวาย) คนแรก
[๗] ข้าพเจ้าคิดถึงทานหลายอย่าง
ที่มีผลเป็นสุขในเพราะการบูชา
ก็ได้เห็นการถวายบริขาร
เป็นเหตุทำความคิดของข้าพเจ้าให้เต็มได้
[๘] ข้าพเจ้าจักถวายบริขาร
ในพระสงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุด
การถวายบริขารที่คนเหล่าอื่นยังไม่เคยถวาย
ข้าพเจ้าจักเป็นคนแรก
(การถึงพร้อมแห่งทานวัตถุ)
[๙] ขณะนั้น ข้าพเจ้าเข้าไปหาช่างจักสาน จ้างให้ทำร่ม
รวบรวมร่มได้ ๑๐๐,๐๐๐ คัน
[๑๐] รวบรวมผ้าได้ ๑๐๐,๐๐๐ ผืน
รวบรวมบาตรได้ ๑๐๐,๐๐๐ ใบ
[๑๑] จ้างช่างให้ทำมีดโกน มีดเล็ก เข็ม และมีดตัดเล็บ
ที่สมควร(แก่สมณบริโภค) แล้วให้วางไว้ภายใต้ร่ม
[๑๒] จ้างช่างให้ทำพัดใบตาล พัดขนปีกนกยูง แส้จามร
ผ้ากรองน้ำ ภาชนะน้ำมัน ให้สมควร (แก่สมณบริโภค)
[๑๓] จ้างช่างให้ทำกล่องเข็ม ผ้าอังสะ
ประคตเอว และเชิงรองบาตร ซึ่งทำอย่างสวยงาม
ให้สมควร(แก่สมณบริโภค)
[๑๔] ให้บรรจุเภสัชจนเต็มภาชนะสำหรับใส่ของบริโภค
และบรรจุขันสำริดให้วางไว้ภายใต้ร่ม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๑. ปิลินทวัจฉเถราปทาน
[๑๕] ให้บรรจุว่านน้ำ หญ้าคา ชะเอม ดีปลี พริก ผลสมอ
และขิงสด จนเต็มภาชนะทุกอย่าง
[๑๖] จ้างช่างให้ทำรองเท้า เขียงเท้า
ผ้าสำหรับเช็ดน้ำ และไม้เท้าคนแก่
อย่างสวยงาม ให้สมควร(แก่สมณบริโภค)
[๑๗] จ้างช่างให้ทำยารักษาไข้ ยาหยอดตา
ไม้ป้ายยาตา กระบอกกรองน้ำ
ลูกกุญแจ และกล่องลูกกุญแจ ซึ่งเย็บด้วยด้าย ๕ สี
[๑๘] สายโยค กระบอกเป่าควันไฟ ตะเกียงตั้ง
คนโทน้ำและผอบ ให้สมควร(แก่สมณบริโภค)
[๑๙] จ้างช่างให้ทำแหนบ กรรไกร
วัตถุขัดสนิมและถุงสำหรับใส่เภสัช
ให้สมควร(แก่สมณบริโภค)
[๒๐] จ้างช่างให้ทำเก้าอี้นอน ตั่งและบัลลังก์ ๔ เท้า
ให้สมควร(แก่สมณบริโภค)แล้วให้ตั้งไว้ภายใต้ร่ม
[๒๑] จ้างช่างให้ทำฟูกยัดด้วยขนสัตว์ ฟูกยัดด้วยนุ่น
ฟูกตั่งและหมอนทำอย่างดี
ให้สมควร(แก่สมณบริโภค)
[๒๒] จ้างช่างให้ทำจุรณสำหรับอาบ
ขี้ผึ้ง น้ำมันที่หุงด้วยมือ
และเตียงที่ปูด้วยแผ่นกระดานเล็ก ๆ
อันสะอาดพร้อมด้วยเครื่องลาด
[๒๓] เสนาสนะ ผ้าเช็ดเท้า ที่นอน
ที่นั่ง ไม้เท้า ไม้ชำระฟัน
กระเบื้อง ของหอมสำหรับไล้ทาศีรษะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๑. ปิลินทวัจฉเถราปทาน
[๒๔] ไม้สีไฟ ตั่งแผ่นกระดาน ฝาบาตร ถุงบาตร
กระบวยตักน้ำ เครื่องอบ (สีผงย้อมผ้า) รางย้อมผ้า
[๒๕] ไม้กวาด ผ้าอาบน้ำ ผ้าอาบน้ำฝน
ผ้านิสีทนะ ผ้าปิดฝี ผ้าอันตรวาสก (ผ้านุ่ง)
[๒๖] ผ้าอุตราสงค์(ผ้าห่ม) ผ้าสังฆาฏิ(ผ้าพาดบ่า)
ยานัตถุ์ น้ำบ้วนปาก น้ำส้ม
น้ำปลา น้ำผึ้ง นมส้ม น้ำปานะ
[๒๗] ขี้ผึ้ง ผ้าเก่า ผ้าเช็ดปาก ด้าย
สิ่งใดชื่อว่าเป็นของควรให้ทานมีอยู่
และสมควรแก่พระศาสดา
[๒๘] ข้าพเจ้ารวบรวมสิ่งนั้นทั้งหมดได้แล้ว
จึงเข้าเฝ้าพระเจ้าอานนท์
ครั้นเข้าเฝ้าพระราชาผู้นำหมู่ชน ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่
ถวายบังคมด้วยเศียรเกล้าแล้วได้กราบทูลคำนี้ว่า
(การขอโอกาสถวายทาน)
[๒๙] เราทั้ง ๒ เจริญเติบโตมาด้วยกัน มียศร่วมกัน
ร่วมสุข ร่วมทุกข์ และประพฤติคล้อยตามกัน
[๓๐] ขอเดชะพระองค์ผู้ปราบข้าศึก
ทุกข์ใจที่เกี่ยวเนื่องกับพระองค์ยังมีอยู่
ขอเดชะพระองค์ผู้ขัตติยราช ถ้าพระองค์สามารถ
ก็ขอได้ทรงพระกรุณาบรรเทาทุกข์นั้นด้วยเถิด
[๓๑] พระราชาตรัสว่า
ทุกข์ของท่านก็เป็นทุกข์ของข้าพเจ้าด้วย
เราทั้ง ๒ มีใจตรงกัน
ท่านย่อมรู้ว่าสำเร็จ ถ้าท่านจะพึงเปลื้องทุกข์นั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๑. ปิลินทวัจฉเถราปทาน
[๓๒] ขอเดชะพระมหาราช
ขอจงทรงทราบทุกข์ของข้าพระพุทธเจ้า ซึ่งบรรเทาได้ยาก
พระองค์บันลือมากไป
ทรัพย์นี้ พระองค์ยังสละได้ยาก
[๓๓] คือสิ่งที่มีอยู่ในแว่นแคว้นประมาณเท่าใด
ชีวิตของข้าพระพุทธเจ้าประมาณเท่าใด
ถ้าพระองค์ต้องการสิ่งเหล่านี้
ข้าพระพุทธเจ้าก็จักให้อย่างไม่หวั่นไหว
[๓๔] ขอเดชะ พระองค์ทรงบันลือแล้ว
การบันลือมากนั้นผิด
ข้าพระพุทธเจ้าจักทราบพระองค์
วันนี้ ว่าทรงดำรงอยู่ในธรรมทั้งปวง
[๓๕] ท่านบีบคั้นหนักนัก
เมื่อข้าพเจ้าจะให้
ท่านจะได้ประโยชน์อะไรจากการที่ข้าพเจ้าถูกบีบคั้น
ท่านปรารถนาสิ่งใดจงบอกแก่ข้าพเจ้า
[๓๖] ขอเดชะพระมหาราช
ข้าพระพุทธเจ้าปรารถนาพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐยิ่ง
ข้าพระพุทธเจ้าจักนิมนต์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้เสวย
ชีวิตของข้าพระพุทธเจ้าอย่าเป็นโทษเลย
[๓๗] ข้าพเจ้าจะให้พรอย่างอื่นแก่ท่าน
ท่านอย่าขอพระตถาคตเลย
พระพุทธเจ้าไม่มีใครจะให้แก่ใคร ๆ ได้
เปรียบเหมือนแก้วมณีโชติรส
[๓๘] ขอเดชะ พระองค์ทรงบันลือแล้วมิใช่หรือว่า กระทั่งชีวิตที่มีอยู่
เมื่อพระองค์ประทานชีวิตได้
ก็ควรพระราชทานพระตถาคตได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๑. ปิลินทวัจฉเถราปทาน
[๓๙] พระพุทธชินมหาวีรเจ้าควรงดไว้
ไม่พึงให้แก่ใคร ๆ ได้
เรารับปากให้ไม่ได้
ท่านจงเลือกเอาทรัพย์จนนับไม่ถ้วนเถิด
[๔๐] ข้าพระพุทธเจ้าจะต้องถึงการวินิจฉัย
พวกเราจักถามผู้วินิจฉัย
ผู้วินิจฉัยจักตัดสินละเอียดฉันใด
พวกเราจักสอบถามข้อนั้นฉันนั้น
[๔๑] ข้าพเจ้าจับพระหัตถ์พระราชา
พากันไปยังสถานที่วินิจฉัย
ได้กล่าวคำนี้ต่อหน้าผู้พิพากษาทั้งหลายว่า
[๔๒] ขอผู้พิพากษาจงฟังข้าพเจ้า
พระราชาได้พระราชทานพรแก่ข้าพเจ้า
พระองค์ไม่ยกเว้นอะไร ๆ ยอมให้ได้แม้กระทั่งชีวิต
[๔๓] เมื่อพระองค์พระราชทานพรแก่ข้าพเจ้าแล้ว
ข้าพเจ้าจึงขอพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
พระพุทธเจ้าเป็นอันพระราชาพระราชทาน
แก่ข้าพเจ้าดีแล้วมิใช่หรือ
ท่านทั้งหลายจงตัดความสงสัยของข้าพเจ้าด้วยเถิด
[๔๔] (ผู้พิพากษาทั้งหลายกล่าวว่า)
ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
จะฟังคำของท่านและพระดำรัสของพระราชา
ผู้ปกครองแผ่นดิน
ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายฟังคำของทั้ง ๒ ฝ่ายแล้ว
จักตัดความสงสัยในข้อนี้ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๑. ปิลินทวัจฉเถราปทาน
[๔๕] ขอเดชะ พระองค์พระราชทานทุกสิ่ง
ท่านผู้นี้ถือเอาทุกสิ่งแล้วหรือ พระเจ้าข้า
พระองค์ไม่ยกเว้นอะไร ๆ ยอมให้ได้แม้กระทั่งชีวิตหรือ
[๔๖] (พระราชาตรัสว่า)
เราได้รับความลำบาก
แสนสาหัสนักจนตลอดชีวิต
รู้ว่าผู้นี้ได้รับความทุกข์อย่างหนัก
จึงได้ให้สิ่งของที่ควรถือเอาไว้ทุกอย่าง
[๔๗] ขอเดชะ พระองค์ทรงเป็นผู้พ่ายแพ้
ควรจะพระราชทานพระตถาคตให้เขาไป
ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายตัดความสงสัยของทั้ง ๒ ฝ่ายได้แล้ว
ขอท่านทั้ง ๒ จงตั้งอยู่ในคำมั่นสัญญาเถิด
[๔๘] พระราชาประทับอยู่ ณ ที่นั้นแล
ได้ตรัสกับผู้พิพากษาดังนี้ว่า
ท่านทั้งหลายพึงให้แก่เราโดยชอบบ้าง
เราจะได้พระพุทธเจ้าอีก
[๔๙] (ผู้พิพากษาได้กล่าวกับข้าพเจ้าว่า)
ท่านทำความดำริของท่านให้บริบูรณ์
นิมนต์พระตถาคตให้เสวยแล้ว
พึงถวายคืนพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ให้แก่พระเจ้าอานนท์ผู้ทรงยศอีก
(กถาว่าด้วยการทูลนิมนต์)
[๕๐] ข้าพเจ้าไหว้ผู้พิพากษาและถวายบังคม
พระเจ้าอานนท์จอมกษัตริย์แล้ว
มีความยินดีปราโมทย์
ได้เข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๑. ปิลินทวัจฉเถราปทาน
[๕๑] ครั้นเข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้ข้ามโอฆกิเลสได้แล้ว ไม่มีอาสวะ
ถวายอภิวาทด้วยเศียรเกล้าแล้ว
ได้กราบทูลดังนี้ว่า
[๕๒] ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระจักษุ
ขอพระองค์พร้อมด้วยพระอรหันต์ ๑๐๐,๐๐๐ รูป โปรดรับนิมนต์
พระองค์เมื่อจะทำจิตของข้าพระองค์ให้ร่าเริง
ขอจงเสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของข้าพระองค์เถิด
[๕๓] พระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้ทรงรู้แจ้งโลก ผู้สมควรรับเครื่องบูชา
ผู้มีพระจักษุ ทรงรู้ความดำริของข้าพเจ้า
จึงทรงรับนิมนต์(ด้วยดุษณีภาพ)
[๕๔] ข้าพเจ้าทราบว่าพระองค์ทรงรับนิมนต์แล้ว
จึงถวายอภิวาทพระศาสดา
มีจิตร่าเริงเบิกบาน
เข้าไปยังนิเวศน์ของตน
(การตระเตรียมทาน)
[๕๕] ข้าพเจ้าประชุมมิตรและอำมาตย์แล้ว
ได้กล่าวคำนี้ว่า เราได้สิ่งที่ได้แสนยากแล้ว
เปรียบเหมือนได้แก้วมณีโชติรส
[๕๖] เราจักบูชาพระองค์ด้วยอะไร
พระชินเจ้ามีคุณหาประมาณมิได้
หาใครเปรียบมิได้ ไม่มีใครเทียบเท่า
ไม่มีใครเสมอ เป็นนักปราชญ์
ไม่มีบุคคลเปรียบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๑. ปิลินทวัจฉเถราปทาน
[๕๗] หาผู้เสมอเหมือนเช่นนั้นมิได้
ไม่เป็นที่ ๒ (รองใคร) ทรงองอาจกว่านรชน
อธิการ๑ที่สมควรแก่พระพุทธเจ้า เราทำได้โดยยาก
[๕๘] ขอพวกเราจงช่วยกันรวบรวมดอกไม้ต่าง ๆ
มาทำมณฑปดอกไม้เถิด
นี้ย่อมสมควรแก่พระพุทธเจ้า
ถือเป็นการบูชาด้วยสิ่งทั้งปวง
[๕๙] ข้าพเจ้าใช้ดอกบัวขาบ ดอกบัวหลวง ดอกมะลิ
ดอกลำดวน ดอกจำปา ดอกกากะทิง ทำให้เป็นมณฑป
[๖๐] ปูลาดอาสนะ ๑๐๐,๐๐๐ ไว้ใต้เงาร่ม
อาสนะของข้าพเจ้าอยู่สุดท้าย มีค่าเกินร้อย
[๖๑] ปูลาดอาสนะ ๑๐๐,๐๐๐ ไว้ใต้เงาร่ม
จัดแจงข้าวและน้ำเสร็จแล้วให้คนไปกราบทูลภัตกาล
(เวลาอันสมควรเพื่อฉันภัตตาหาร)
[๖๒] เมื่อคนไปกราบทูลภัตกาลแล้ว
พระมหามุนีพระนามว่าปทุมุตตระ
พร้อมด้วยพระอรหันต์ ๑๐๐,๐๐๐ องค์
ได้เสด็จเข้ามายังนิเวศน์ของข้าพเจ้า
[๖๓] ร่มกั้นอยู่เบื้องบน ในมณฑปดอกไม้ที่บานสะพรั่ง
พระพุทธเจ้าผู้เป็นบุรุษผู้สูงสุด
ประทับนั่งพร้อมด้วยพระอรหันต์ ๑๐๐,๐๐๐ องค์
[๖๔] (ข้าพเจ้ากราบทูลว่า) ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระจักษุ
ขอพระองค์โปรดทรงรับร่ม ๑๐๐,๐๐๐ คัน

เชิงอรรถ :
๑ อธิการ การกระทำที่ยิ่ง เช่น การบริจาคชีวิตเป็นต้น (ขุ.อป.อ. ๑/๑๖๘, และดูเทียบ ขุ.อป.อ. ๒/๕-๖/๒๓๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๑. ปิลินทวัจฉเถราปทาน
และอาสนะ ๑๐๐,๐๐๐ ที่
อันสมควรและไม่มีโทษเถิด
[๖๕] พระมหามุนีทรงพระนามว่าปทุมุตตระ
ทรงรู้แจ้งโลก ผู้สมควรรับเครื่องบูชา
พระองค์ประสงค์จะช่วยเหลือข้าพเจ้า
ให้ข้ามพ้น(สงสารวัฏ) จึงทรงรับไว้
(ทานกถา)
[๖๖] ข้าพเจ้าได้ถวายบาตรแก่ภิกษุรูปละหนึ่งใบ
ภิกษุทั้งหลายสละบาตรที่ตนใช้สอยแล้ว ใช้บาตรเหล็ก
[๖๗] พระพุทธเจ้าประทับนั่งอยู่
ในมณฑปดอกไม้ตลอด ๗ วัน ๗ คืน
เมื่อจะทรงให้สัตว์จำนวนมากตรัสรู้
จึงทรงประกาศพระธรรมจักร
[๖๘] เมื่อทรงประกาศพระธรรมจักรภายใต้มณฑปดอกไม้
เทวดาและมนุษย์ ๘๔,๐๐๐ ได้บรรลุธรรม
[๖๙] เมื่อถึงวันที่ ๗ พระมหามุนีพระนามว่าปทุมุตตระ
ประทับนั่งอยู่ภายในใต้เงาร่ม
ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
(พยากรณ์)
[๗๐] เราจักพยากรณ์มาณพผู้ที่ได้ถวายทานอย่างประเสริฐ
ไม่บกพร่องแก่เรา
ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าวเถิด
[๗๑] กองทัพ ๔ เหล่า คือ พลช้าง พลม้า พลรถ
และพลเดินเท้าจักห้อมล้อมมาณพนั้นเป็นนิตย์
นี้เป็นผลแห่งทานทั้งปวง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๑. ปิลินทวัจฉเถราปทาน
[๗๒] ยานพาหนะคือช้าง
ยานพาหนะคือม้า คานหาม และวอ
จักบำรุงเขาเป็นนิตย์
นี้เป็นผลแห่งทานทั้งปวง
[๗๓] รถ ๖,๐๐๐ คันประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง
จักแวดล้อมเขาเป็นนิตย์
นี้เป็นผลแห่งทานทั้งปวง
[๗๔] เครื่องดนตรี ๖,๐๐๐ ชิ้น
กลองที่ประดับตกแต่งอย่างสวยงาม
จักขับกล่อมเขาเป็นนิตย์
นี้เป็นผลแห่งทานทั้งปวง
[๗๕] สาวรุ่น ๘๖,๐๐๐ นาง
ผู้ประดับตกแต่งอย่างสวยงาม
สวมใส่ผ้าอาภรณ์อย่างงดงาม ห้อยตุ้มหูแก้วมณี
[๗๖] มีตากลมโต มีปกติร่าเริง รูปงาม เอวเล็กเอวบาง
จักห้อมล้อมเขาเป็นนิตย์
นี้เป็นผลแห่งทานทั้งปวง
[๗๗] เขาจักรื่นรมย์ในเทวโลก ๓,๐๐๐ กัป
จักเป็นจอมเทพครองเทวสมบัติ ๑,๐๐๐ ชาติ
[๗๘] และจักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๑,๐๐๐ ชาติ
จักเป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์นับชาติไม่ถ้วน
[๗๙] เมื่อเขาอยู่ในเทวโลก
พรั่งพร้อมด้วยบุญกรรม
เทวดาจักกั้นฉัตรแก้วไว้ที่ขอบเทวโลก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๑. ปิลินทวัจฉเถราปทาน
[๘๐] เขาจักปรารถนาเมื่อใด
หลังคาผ้าและดอกไม้(ดังจะ)รู้ความคิดของเขา
จักกั้นอยู่เนืองนิตย์เมื่อนั้น
[๘๑] เขาถูกกุศลมูลตักเตือนจุติจากเทวโลก
แล้วประกอบด้วยบุญกรรม
จักเป็นบุตรของพราหมณ์
[๘๒] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร
ทรงสมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก
[๘๓] พระผู้มีพระภาคผู้โคดมศากยะผู้ประเสริฐ
ทรงทราบความนั้นทั้งหมดแล้ว
ประทับนั่งในท่ามกลางหมู่ภิกษุ
จักทรงตั้งไว้ในเอตทัคคะ
[๘๔] เขาจักได้เป็นสาวกมีนามว่าปิลินทวัจฉะ ของพระศาสดา
จักเป็นผู้ที่เทวดา อสูร และคนธรรพ์ สักการะ
[๘๕] เขาจักเป็นที่รักของภิกษุ ภิกษุณี
และคฤหัสถ์ทั้งปวง อยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
(ว่าด้วยอานิสงส์ของทาน)
[๘๖] กรรมที่ข้าพเจ้ากระทำแล้วใน ๑๐๐,๐๐๐ กัป
ได้แสดงผลแก่ข้าพเจ้าแล้วในอัตภาพสุดท้ายนี้
ข้าพเจ้าหลุดพ้นดีแล้ว
ดุจความเร็วของลูกศรที่หลุดพ้นไปจากแล่ง
เผากิเลสทั้งหลายได้แล้ว
[๘๗] น่าปลื้มใจ กรรมข้าพเจ้าได้ทำไว้ดีแล้ว
ในเนื้อนาบุญอย่างยอดเยี่ยม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๑. ปิลินทวัจฉเถราปทาน
ซึ่งเป็นฐานะที่ข้าพเจ้าทำสักการะแล้ว
ได้บรรลุบทที่ไม่หวั่นไหว๑
[๘๘] ก็มาณพใดได้ให้ทานอย่างประเสริฐไม่บกพร่อง
มาณพนั้นได้เป็นหัวหน้าคนแรก
นี้เป็นผลแห่งทานนั้น
(๑. อานิสงส์ของการถวายร่ม)
[๘๙] ข้าพเจ้าได้ถวายร่มในพระสุคต
และพระสงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุดแล้วได้รับอานิสงส์
ซึ่งสมควรแก่กรรมของข้าพเจ้า ๘ ประการ
[๙๐] คือข้าพเจ้าไม่รู้สึกหนาว ๑ ไม่รู้สึกร้อน ๑
ละอองและธุลีไม่แปดเปื้อน ๑ เป็นผู้ไม่มีอันตราย ๑
ไม่มีเสนียดจัญไร ๑ ชนทั้งหลายยำเกรงทุกเมื่อ ๑
[๙๑] เป็นผู้มีผิวพรรณละเอียด ๑ เป็นผู้มีใจใสสะอาด ๑
เมื่อข้าพเจ้าเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพ
ฉัตร ๑๐๐,๐๐๐ คัน
[๙๒] ซึ่งประกอบด้วยเครื่องประดับทุกอย่าง
กั้นอยู่เหนือศีรษะของข้าพเจ้า ยกเว้นชาตินี้
เพราะอานุภาพแห่งกรรมนั้น
[๙๓] เพราะฉะนั้น ในชาตินี้
การกั้นฉัตรจึงไม่มีแก่ข้าพเจ้า
ข้าพเจ้ากระทำกรรมทุกอย่าง
ก็เพื่อบรรลุฉัตรคือวิมุตติ

เชิงอรรถ :
๑ บทที่ไม่หวั่นไหว ได้แก่พระนิพพาน (ขุ.อป.อ. ๑/๒๖๖/๒๗๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๑. ปิลินทวัจฉเถราปทาน
(๒. อานิสงส์ของการถวายผ้า)
[๙๔] ข้าพเจ้าได้ถวายผ้าในพระสุคต
และพระสงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุดแล้วได้รับอานิสงส์
ซึ่งสมควรแก่กรรมของข้าพเจ้า ๘ ประการ
[๙๕] คือข้าพเจ้าเป็นผู้มีผิวพรรณดังทอง ๑
ปราศจากธุลี(ปราศจากไฝฝ้า) ๑
มีรัศมีผ่องใส ๑ มีตบะ ๑ มีร่างกายมีผิวเกลี้ยงเกลา ๑
เมื่อข้าพเจ้าเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพ
[๙๖] ก็มีผ้าสีขาว ๑๐๐,๐๐๐ ผืน ๑
มีผ้าสีเหลือง ๑๐๐,๐๐๐ ผืน ๑
มีผ้าสีแดง ๑๐๐,๐๐๐ ผืน ๑
กั้นอยู่เหนือศีรษะของข้าพเจ้า
นี้เป็นผลแห่งการถวายผ้า
[๙๗] ข้าพเจ้าได้ผ้าไหม ผ้ากัมพล ผ้าป่าน
และผ้าฝ้ายในที่ทุกแห่ง เพราะผลกรรมเหล่านั้น
(๓. อานิสงส์ของการถวายบาตร)
[๙๘] ข้าพเจ้าได้ถวายบาตรในพระสุคต
และพระสงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุดแล้วได้รับอานิสงส์
ซึ่งสมควรแก่กรรมของข้าพเจ้า ๑๐ ประการ
[๙๙] คือข้าพเจ้าบริโภคโภชนาหารในภาชนะทองคำ
ภาชนะแก้วมณี ภาชนะเงิน
และภาชนะที่ทำด้วยทับทิม ทุกครั้ง ๑
[๑๐๐] ข้าพเจ้าเป็นผู้ไม่มีอันตราย ๑ ไม่มีเสนียดจัญไร ๑
ชนทั้งหลายยำเกรงทุกเมื่อ ๑
เป็นผู้ได้ข้าว น้ำ ผ้า และที่นอน เป็นปกติ ๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๑. ปิลินทวัจฉเถราปทาน
[๑๐๑] โภคสมบัติของข้าพเจ้าไม่พินาศ ๑
ข้าพเจ้าเป็นผู้มีจิตมั่นคง ๑
เป็นผู้ใคร่ธรรมทุกเมื่อ ๑
เป็นผู้มีกิเลสน้อย ๑ ไม่มีอาสวะ ๑
[๑๐๒] คุณเหล่านี้ ติดตามข้าพเจ้าไปทั้งในเทวโลกและมนุษยโลก
ไม่ละข้าพเจ้าในที่ทุกแห่ง
เปรียบเหมือนเงาต้นไม้
(๔. อานิสงส์ของการถวายมีด)
[๑๐๓] ข้าพเจ้าได้ถวายมีดเล็กที่ทำอย่างสวยงาม
เนื่องด้วยเครื่องผูกอย่างวิจิตรจำนวนมาก
แก่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุดและแก่สงฆ์แล้ว
[๑๐๔] ได้รับอานิสงส์ซึ่งสมควรแก่กรรมของข้าพเจ้า ๘ ประการ
คือข้าพเจ้าเป็นผู้กล้า ๑
เป็นผู้ไม่มีความเดือดร้อน ๑
ถึงความสำเร็จในเวสารัชชธรรม ๑
[๑๐๕] เป็นผู้มีปัญญาเครื่องทรงจำ ๑ มีความเพียร ๑
ประคองใจไว้ได้ทุกเมื่อ ๑
ได้ญาณอันสุขุมเป็นเครื่องตัดกิเลส ๑
ได้ความบริสุทธิ์ไม่มีอะไรเทียมเท่าในที่ทั้งปวง ๑
เพราะผลกรรมของข้าพเจ้านั้น
(๕. อานิสงส์ของการถวายมีดเล็ก)
[๑๐๖] ข้าพเจ้ามีจิตเลื่อมใสได้ถวายมีดเล็กอันราบเรียบ ไม่หยาบ
ขัดถูดีแล้ว จำนวนมากในพระพุทธเจ้าและในพระสงฆ์แล้ว
[๑๐๗] ได้รับอานิสงส์ซึ่งสมควรแก่กรรมของข้าพเจ้า ๕ ประการ
คือข้าพเจ้าย่อมได้กัลยาณมิตร ๑ ความเพียร ๑
ขันติ ๑ ศัสตราคือไมตรี ๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๑. ปิลินทวัจฉเถราปทาน
[๑๐๘] เพราะตัดลูกศรคือตัณหา
จึงได้ศัสตราคือปัญญาอันยอดเยี่ยม
และญาณที่เสมอด้วยเพชร ๑
เพราะผลแห่งกรรมเหล่านั้น
(๖. อานิสงส์ของการถวายเข็ม)
[๑๐๙] ข้าพเจ้าได้ถวายเข็มในพระสุคต
และพระสงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุดแล้วได้รับอานิสงส์
ซึ่งสมควรแก่กรรมของข้าพเจ้า ๕ ประการ
[๑๑๐] คือเมื่อข้าพเจ้าเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพน้อยภพใหญ่
เป็นผู้ที่มหาชนนอบน้อม ๑
ตัดความสงสัยได้ ๑
มีรูปร่างงดงาม ๑ มีโภคสมบัติ ๑
มีปัญญาฉลาดหลักแหลม ๑ ทุกเมื่อ
[๑๑๑] ข้าพเจ้าพิจารณาเห็นอรรถ
ซึ่งเป็นฐานะละเอียดลึกซึ้งด้วยญาณ
ญาณของข้าพเจ้าเสมอด้วยยอดเพชร
เป็นเครื่องกำจัดความมืด
(๗. อานิสงส์ของการถวายมีดตัดเล็บ)
[๑๑๒] ข้าพเจ้าได้ถวายมีดตัดเล็บในพระสุคต
และพระสงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุดแล้วได้รับอานิสงส์
ซึ่งสมควรแก่กรรมของข้าพเจ้า ๕ ประการ
[๑๑๓] คือข้าพเจ้าย่อมได้ทาสชายหญิง ๑ โคและม้า ๑
ลูกจ้างที่เป็นนางฟ้อนรำ ๑ ช่างตัดผม ๑
พ่อครัวผู้ทำอาหารจำนวนมากในที่ทั้งปวง ๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๑. ปิลินทวัจฉเถราปทาน
(๘. อานิสงส์ของการถวายพัดใบตาล)
[๑๑๔] ข้าพเจ้าได้ถวายพัดใบตาลสวยงามในพระสุคตแล้ว
ได้รับอานิสงส์ ๘ ประการ
ซึ่งสมควรแก่กรรมของข้าพเจ้า
[๑๑๕] คือข้าพเจ้าไม่รู้สึกหนาวร้อน ๑
ไม่มีความเร่าร้อน ๑
ไม่รู้สึกกระวนกระวาย ที่ทำจิตของข้าพเจ้าให้เร่าร้อน ๑
[๑๑๖] ไฟทั้งหมด คือ ไฟคือราคะ ๑ ไฟคือโทสะ ๑
ไฟคือโมหะ ๑ ไฟคือมานะ ๑
ไฟคือทิฏฐิ ๑ ข้าพเจ้าดับได้แล้ว
เพราะผลกรรมของข้าพเจ้านั้น
(๙. อานิสงส์ของการถวายพัดขนปีกนกยูงและแส้จามร)
[๑๑๗] ข้าพเจ้าได้ถวายพัดขนปีกนกยูงและแส้จามรในหมู่สงฆ์
และพระสงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุด
เป็นผู้มีกิเลสสงบระงับแล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน
(๑๐. อานิสงส์ของการถวายผ้ากรองน้ำคือธมกรก)
[๑๑๘] ข้าพเจ้าได้ถวายผ้ากรองน้ำคือธมกรกในพระสุคตแล้ว
ได้รับอานิสงส์ซึ่งสมควรแก่กรรมของข้าพเจ้า ๕ ประการ
[๑๑๙] คือข้าพเจ้าล่วงพ้นอันตรายทั้งปวงได้ ๑ ได้อายุทิพย์ ๑
โจรหรือข้าศึกข่มไม่ได้ทุกเมื่อ ๑
[๑๒๐] ศัสตราหรือยาพิษไม่เบียดเบียนข้าพเจ้า ๑
ไม่มีความตายในระหว่าง(ไม่ตายก่อนอายุขัย) ๑
เพราะผลแห่งกรรมเหล่านั้นของข้าพเจ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๑. ปิลินทวัจฉเถราปทาน
(๑๑. อานิสงส์ของการถวายภาชนะน้ำมัน)
[๑๒๑] ข้าพเจ้าได้ถวายภาชนะน้ำมันในพระสุคต
และพระสงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุดแล้วได้รับอานิสงส์
ซึ่งสมควรแก่กรรมของข้าพเจ้า ๕ ประการ
[๑๒๒] คือข้าพเจ้าเป็นผู้มีรูปร่างงดงาม ๑ มีความเจริญดี ๑
มีใจเบิกบานดี ๑ มีใจไม่ฟุ้งซ่าน ๑
ได้รับการคุ้มครองโดยการอารักขาทั้งปวง ๑
(๑๒. อานิสงส์ของการถวายกล่องเข็ม)
[๑๒๓] ข้าพเจ้าได้ถวายกล่องเข็มในพระสุคต
และพระสงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุดแล้วได้รับอานิสงส์
ซึ่งสมควรแก่กรรมข้าพเจ้า ๓ ประการ
[๑๒๔] คือข้าพเจ้าย่อมได้คุณเหล่านี้ คือ ความสุขใจ ๑
ความสุขกาย ๑ ความสุขเกิดแต่อิริยาบถ ๑
เพราะผลแห่งกรรมนั้น
(๑๓. อานิสงส์ของการถวายผ้าอังสะ)
[๑๒๕] ข้าพเจ้าได้ถวายผ้าอังสะในพระชินเจ้า
และพระสงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุดแล้วได้รับอานิสงส์
ซึ่งสมควรแก่กรรมของข้าพเจ้า ๓ ประการ
[๑๒๖] คือข้าพเจ้าย่อมได้ความมั่นคงในพระสัทธรรม ๑
ระลึกชาติได้ ๑ เป็นผู้มีผิวพรรณงดงามในที่ทุกแห่ง ๑
เพราะผลแห่งกรรมนั้น
(๑๔. อานิสงส์ของการถวายประคตเอว)
[๑๒๗] ข้าพเจ้าได้ถวายประคตเอวในพระชินเจ้า
และพระสงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุดแล้วได้รับอานิสงส์
ซึ่งสมควรแก่กรรมของข้าพเจ้า ๖ ประการ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๑. ปิลินทวัจฉเถราปทาน
[๑๒๘] คือข้าพเจ้าย่อมไม่หวั่นในสมาธิ(มีสมาธิแน่วแน่) ๑
เป็นผู้ชำนาญในสมาธิ ๑
มีบริวารไม่แตกแยกกัน ๑
มีถ้อยคำที่เชื่อถือได้ทุกเมื่อ ๑
[๑๒๙] มีสติตั้งมั่น ๑ ไม่มีความสะดุ้งกลัว ๑
คุณเหล่านี้ติดตามข้าพเจ้าไปทั้งในเทวโลกและมนุษยโลก
(๑๕. อานิสงส์ของการถวายเชิงรองบาตร)
[๑๓๐] ข้าพเจ้าได้ถวายเชิงรองบาตรในพระชินเจ้า
และในพระสงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุด
เป็นผู้ไม่มีภัยในเพราะวรรณะ ๕
และไม่หวั่นไหวด้วยอะไร ๆ
[๑๓๑] ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งมีสติ
และญาณเป็นเครื่องตรัสรู้ ข้าพเจ้าฟังแล้ว
ธรรมที่ข้าพเจ้าทรงจำไว้ย่อมไม่คลาดเคลื่อน
เป็นอันวินิจฉัยดีแล้ว
(๑๖. อานิสงส์ของการถวายภาชนะ)
[๑๓๒] ข้าพเจ้าได้ถวายภาชนะสำหรับใส่ของบริโภคในพระพุทธเจ้า
และในพระสงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่สูงสุดแล้วได้รับอานิสงส์
ซึ่งสมควรแก่กรรมของข้าพเจ้า ๓ ประการ
[๑๓๓] คือข้าพเจ้าย่อมได้ภาชนะทองคำ ภาชนะแก้วมณี
ภาชนะแก้วผลึก และภาชนะแก้วทับทิม ๑
[๑๓๔] ได้ภริยา ได้ทาสชายหญิง พลช้าง
พลม้า พลรถ พลเดินเท้า
และหญิงผู้เคารพนาย ๑
ได้เครื่องบริโภคทุกเวลา ๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๑. ปิลินทวัจฉเถราปทาน
[๑๓๕] วิชาในบทมนตร์ในอาคมต่าง ๆ
จำนวนมากและศิลปะทั้งปวง
ข้าพเจ้าย่อมใคร่ครวญให้เป็นที่ใช้สอยได้ทุกเวลา
(๑๗. อานิสงส์ของการถวายขัน)
[๑๓๖] ข้าพเจ้าได้ถวายขันในพระสุคต
และในหมู่สงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุดแล้วได้รับอานิสงส์
ซึ่งสมควรแก่กรรมของข้าพเจ้า ๓ ประการ
[๑๓๗] คือข้าพเจ้าย่อมได้ขันทองคำ ขันแก้วมณี
ขันแก้วผลึก และขันแก้วทับทิม ๑
[๑๓๘] ข้าพเจ้าได้ขันรูปต้นโพธิ์ รูปผลไม้
รูปใบบัว และสังข์สำหรับดื่มน้ำผึ้ง ๑
[๑๓๙] ข้าพเจ้าย่อมได้ข้อปฏิบัติในวัตรอันงาม
ในอาจาระและกิริยา ๑
ข้าพเจ้าได้คุณเหล่านี้
เพราะผลแห่งกรรมนั้น
(๑๘. อานิสงส์ของการถวายเภสัช)
[๑๔๐] ข้าพเจ้าได้ถวายเภสัชในพระสุคต
และในหมู่สงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุดแล้วได้รับอานิสงส์
ซึ่งสมควรแก่กรรมของข้าพเจ้า ๑๐ ประการ
[๑๔๑] คือข้าพเจ้าเป็นผู้มีอายุยืน ๑ มีกำลัง ๑
เป็นนักปราชญ์ ๑ มีวรรณะ ๑
มียศ ๑ มีสุข ๑ ไม่มีอันตราย ๑
ไม่มีเสนียดจัญไร ๑ ชนทั้งหลายยำเกรงทุกเมื่อ ๑
ไม่มีความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก ๑
เพราะผลแห่งกรรมของข้าพเจ้านั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๑. ปิลินทวัจฉเถราปทาน
(๑๙. อานิสงส์ของการถวายรองเท้า)
[๑๔๒] ข้าพเจ้าได้ถวายรองเท้าในพระชินเจ้า
และในหมู่สงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุดแล้วได้รับอานิสงส์
ซึ่งสมควรแก่กรรมของข้าพเจ้า ๓ ประการ
[๑๔๓] คือยานคือช้าง ยานคือม้า
วอ และคานหาม ๑
รถ ๖๐,๐๐๐ คันแวดล้อมข้าพเจ้าทุกเมื่อ ๑
[๑๔๔] เมื่อข้าพเจ้าเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพ รองเท้าแก้วมณี
รองเท้าทองแดง รองเท้าทองคำ
รองเท้าเงิน ผุดขึ้นรองรับทุกย่างเท้า ๑
[๑๔๕] บุญกรรมทั้งหลายย่อมช่วยชำระอาจารคุณให้สะอาดแน่นอน
ข้าพเจ้าได้คุณเหล่านี้เพราะผลแห่งกรรมนั้น
(๒๐. อานิสงส์ของการถวายเขียงเท้า)
[๑๔๖] ข้าพเจ้าได้ถวายเขียงเท้าในพระสุคต
และในหมู่สงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุดแล้วได้สวมเขียงเท้า
ซึ่งสำเร็จด้วยฤทธิ์แล้วอยู่ได้ตามปรารถนา
(๒๑. อานิสงส์ของการถวายผ้าเช็ดน้ำ)
[๑๔๗] ข้าพเจ้าได้ถวายผ้าเช็ดน้ำในพระสุคต
และในหมู่สงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุดแล้วได้รับอานิสงส์
ซึ่งสมควรแก่กรรมของข้าพเจ้า ๕ ประการ
[๑๔๘] คือข้าพเจ้าเป็นผู้มีผิวพรรณดุจทองคำปราศจากธุลี ๑
มีรัศมีผ่องใส ๑ มีตบะ ๑ ร่างกายมีผิวเกลี้ยงเกลา ๑
ฝุ่นละอองไม่ติดร่างกายข้าพเจ้า ๑
ข้าพเจ้าได้คุณเหล่านี้เพราะผลแห่งกรรมนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๕๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๑. ปิลินทวัจฉเถราปทาน
(๒๒. อานิสงส์ของการถวายไม้เท้าคนแก่)
[๑๔๙] ข้าพเจ้าได้ถวายไม้เท้าคนแก่ในพระสุคต
และในพระสงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุดแล้วได้รับอานิสงส์
ซึ่งสมควรแก่กรรมของข้าพเจ้า ๕ ประการ
[๑๕๐] คือข้าพเจ้ามีบุตรมาก ๑ ไม่มีความสะดุ้งกลัว ๑
ได้รับการคุ้มครองโดยการอารักขาทั้งปวง
ใคร ๆ ข่มไม่ได้ทุกเมื่อ ๑
ไม่รู้จักความพลั้งพลาด ๑ มีใจไม่ฟุ้งซ่าน ๑
(๒๓. อานิสงส์ของการถวายยารักษาไข้และยาหยอดตา)
[๑๕๑] ข้าพเจ้าได้ถวายยารักษาไข้และยาหยอดตา(ในพระสุคต)
และในพระสงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุดแล้วได้รับอานิสงส์
ซึ่งสมควรแก่กรรมของข้าพเจ้า ๘ ประการ
[๑๕๒] คือข้าพเจ้าเป็นผู้มีนัยน์ตาโต ๑
มีนัยน์ตาสีขาว ๑ มีนัยน์ตาสีเหลือง ๑
มีนัยน์ตาสีแดง ๑ มีนัยน์ตาแจ่มใสไม่มัว ๑
ปราศจากโรคตาโดยประการทั้งปวง ๑
[๑๕๓] มีตาทิพย์ ๑ มีดวงตาคือปัญญาอย่างสูงสุด ๑
ข้าพเจ้าได้คุณเหล่านี้เพราะผลแห่งกรรมนั้น
(๒๔. อานิสงส์ของการถวายลูกกุญแจ)
[๑๕๔] ข้าพเจ้าได้ถวายลูกกุญแจในพระสุคต
และในพระสงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุดแล้ว
ได้ลูกกุญแจคือญาณสำหรับเปิดประตูแห่งธรรม
(๒๕. อานิสงส์ของการถวายแม่กุญแจ)
[๑๕๕] ข้าพเจ้าได้ถวายแม่กุญแจ(ในพระสุคต)
และในพระสงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุดแล้วได้รับอานิสงส์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๑. ปิลินทวัจฉเถราปทาน
ซึ่งสมควรแก่กรรมของข้าพเจ้า ๒ ประการ
คือเมื่อข้าพเจ้าเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพ
เป็นคนมีความโกรธน้อย ๑ ไม่มีความคับแค้นใจ ๑
(๒๖. อานิสงส์ของการถวายสายโยก)
[๑๕๖] ข้าพเจ้าได้ถวายสายโยกในพระสุคต
และในพระสงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุดแล้วได้รับอานิสงส์
ซึ่งสมควรแก่กรรมของข้าพเจ้า ๕ ประการ
[๑๕๗] คือข้าพเจ้าย่อมไม่หวั่นไหวในสมาธิ ๑
เป็นผู้ชำนาญในสมาธิ ๑
มีบริวารไม่แตกแยกกัน ๑
มีถ้อยคำที่เชื่อถือได้ทุกเมื่อ ๑
โภคสมบัติย่อมเกิดเมื่อข้าพเจ้าเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพ ๑
(๒๗. อานิสงส์ของการถวายกระบอกเป่าควันไฟ)
[๑๕๘] ข้าพเจ้าได้ถวายกระบอกเป่าควันไฟในพระชินเจ้า
และในพระสงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุดแล้วได้รับอานิสงส์
ซึ่งสมควรแก่กรรมของข้าพเจ้า ๓ ประการ
[๑๕๙] คือข้าพเจ้ามีสติตั้งมั่น ๑
เส้นเอ็นต่อเนื่องกันดี ๑
ได้ที่นอนทิพย์ ๑ เพราะผลแห่งกรรมนั้น
(๒๘. อานิสงส์ของการถวายตะเกียง)
[๑๖๐] ข้าพเจ้าได้ถวายตะเกียงในพระชินเจ้า
และในพระสงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุดแล้วได้รับอานิสงส์
ซึ่งสมควรแก่กรรมของข้าพเจ้า ๓ ประการ
[๑๖๑] คือข้าพเจ้าเป็นผู้มีตระกูล ๑ มีอวัยวะสมบูรณ์ ๑
มีปัญญาที่พระพุทธเจ้าสรรเสริญ ๑
ข้าพเจ้าได้คุณเหล่านี้เพราะผลแห่งกรรมของข้าพเจ้านั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๑. ปิลินทวัจฉเถราปทาน
(๒๙. อานิสงส์ของการถวายคนโทน้ำและผอบ)
[๑๖๒] ข้าพเจ้าได้ถวายคนโทน้ำและผอบในพระพุทธเจ้า
และในพระสงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุดแล้วได้รับอานิสงส์
ซึ่งสมควรแก่กรรมของข้าพเจ้า ๑๐ ประการ
[๑๖๓] คือครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้รับการคุ้มครอง ๑
พรั่งพร้อมด้วยความสุข ๑
มียศยิ่งใหญ่ ๑ มีการดำเนินชีวิตที่ดี ๑
มีร่างกายที่ได้สัดส่วน ๑
เป็นสุขุมาลชาติ ๑ ปราศจากเสนียดจัญไรทั้งปวง ๑
[๑๖๔] ได้คุณอันไพบูลย์ ๑
ได้รับการยกย่องนับถืออย่างมั่นคง
ปราศจากความหวาดเสียว ๑
[๑๖๕] ได้คนโทน้ำและผอบ ๔ สี และช้างแก้ว ม้าแก้ว ๑
คุณของข้าพเจ้าเหล่านั้นไม่พินาศ
นี้เป็นผลในการถวายคนโทน้ำและผอบ
(๓๐. อานิสงส์ของการถวายวัตถุขัดสนิม)
[๑๖๖] ข้าพเจ้าได้ถวายแปรงมือในพระพุทธเจ้า
และในพระสงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุดแล้วได้รับอานิสงส์
ซึ่งสมควรแก่กรรมของข้าพเจ้า ๕ ประการ
[๑๖๗] คือข้าพเจ้าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยลักษณะทั้งปวง ๑
มีอายุยืน ๑ มีปัญญา ๑ มีจิตตั้งมั่น ๑
มีร่างกายพ้นจากความยากลำบาก
ทุกอย่างในกาลทุกเมื่อ ๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๑. ปิลินทวัจฉเถราปทาน
(๓๑. อานิสงส์ของการถวายกรรไกร)
[๑๖๘] ข้าพเจ้าได้ถวายกรรไกรที่มีคมบางซึ่งลับไว้ดีในพระสงฆ์
แล้วได้ญาณเป็นเครื่องตัดกิเลส
ซึ่งบริสุทธิ์ไม่มีอะไรเปรียบปาน
(๓๒. อานิสงส์ของการถวายแหนบ)
[๑๖๙] ข้าพเจ้าได้ถวายแหนบในพระสุคต
และในพระสงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุด
ย่อมได้ญาณเป็นเครื่องถอนกิเลส
ซึ่งบริสุทธิ์ไม่มีอะไรเทียบเท่า
(๓๓. อานิสงส์ของการถวายยานัตถุ์)
[๑๗๐] ข้าพเจ้าได้ถวายยานัตถุ์ในพระสุคต
และในพระสงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุดแล้วได้รับอานิสงส์
ซึ่งสมควรแก่กรรมของข้าพเจ้า ๘ ประการ
[๑๗๑] คือข้าพเจ้ามีศรัทธา ๑ มีศีล ๑ มีหิริ ๑
มีโอตตัปปะ ๑ มีสุตะ ๑
มีจาคะ ๑ มีขันติ ๑ มีปัญญา ๑
(๓๔. อานิสงส์ของการถวายตั่ง)
[๑๗๒] ข้าพเจ้าได้ถวายตั่งในพระสุคต
และในพระสงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุดแล้วได้รับอานิสงส์
ซึ่งสมควรแก่กรรมของข้าพเจ้า ๕ ประการ
[๑๗๓] คือข้าพเจ้าย่อมเกิดในตระกูลสูง เป็นผู้มีโภคสมบัติมาก ๑
ชนทั้งปวงยำเกรงข้าพเจ้า ๑
ชื่อเสียงของข้าพเจ้าฟุ้งขจรไป ๑
[๑๗๔] บัลลังก์สี่เหลี่ยมจัตุรัส ย่อมห้อมล้อมข้าพเจ้าเป็นนิตย์
ตลอด ๑๐๐,๐๐๐ กัป ๑ ยินดีในการจำแนกทาน ๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๐๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๑. ปิลินทวัจฉเถราปทาน
(๓๕. อานิสงส์ของการถวายฟูก)
[๑๗๕] ข้าพเจ้าได้ถวายฟูกในพระสุคต
และในพระสงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุดแล้วได้รับอานิสงส์
ซึ่งสมควรแก่กรรมของข้าพเจ้า ๖ ประการ
[๑๗๖] คือข้าพเจ้ามีร่างกายสมส่วนที่บุญกรรมก่อให้
เป็นผู้อ่อนโยน มีรูปงาม น่าดู ๑
ข้าพเจ้าย่อมได้ญาณอันประเสริฐ ๑
นี้เป็นผลแห่งการถวายฟูก
[๑๗๗] ข้าพเจ้าย่อมได้ฟูกที่ยัดด้วยนุ่น
อันวิจิตรด้วยรูปสัตว์ต่าง ๆ มีรูปราชสีห์
และเสือโคร่งเป็นต้น ด้วยผ้าไหม
แกมดิ้นที่ปักเพชรพลอย ๑
ผ้าป่านอย่างดี และผ้ากัมพลต่าง ๆ จำนวนมาก ๑
[๑๗๘] ได้ผ้าปาวารที่มีขนอ่อนนุ่ม
ผ้าทำด้วยขนสัตว์อ่อนนุ่มในที่ต่าง ๆ ๑
นี้เป็นผลแห่งการถวายฟูก
[๑๗๙] เมื่อใดข้าพเจ้าระลึกถึงตน
เมื่อใดข้าพเจ้าเป็นผู้รู้เดียงสา
เมื่อนั้นข้าพเจ้าเป็นผู้ไม่เปล่า มีฌานเป็นเตียงนอน ๑
นี้เป็นผลแห่งการถวายฟูก
(๓๖. อานิสงส์ของการถวายหมอน)
[๑๘๐] ข้าพเจ้าได้ถวายหมอนในพระชินเจ้า
และในพระสงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุดแล้วได้รับอานิสงส์
ซึ่งสมควรแก่กรรมของข้าพเจ้า ๖ ประการ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๑. ปิลินทวัจฉเถราปทาน
[๑๘๑] คือข้าพเจ้าใช้หมอนที่ยัดด้วยขนสัตว์
หมอนที่ยัดด้วยเกสรบัวหลวง
และหมอนที่ยัดด้วยจุรณจันทน์แดง
หนุนศีรษะของข้าพเจ้าทุกเมื่อ ๑
[๑๘๒] ข้าพเจ้าทำญาณให้เกิดในอัฏฐังคิกมรรคอย่างประเสริฐ
และในสามัญผล ๔ เหล่านั้น อยู่ตลอดกาลเป็นนิตย์ ๑
[๑๘๓] ข้าพเจ้าทำญาณให้เกิดในทาน
ทมะ สัญญมะ อัปปมัญญา
และรูปฌานเหล่านั้น อยู่ตลอดกาลทั้งปวง ๑
[๑๘๔] ข้าพเจ้าทำญาณให้เกิดในวัตร คุณ การปฏิบัติ
อาจาระและกิริยา อยู่ตลอดกาลทั้งปวง ๑
[๑๘๕] ข้าพเจ้าทำญาณให้เกิดในการจงกรม
ในความเพียรที่เป็นประธาน
และในโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น อยู่ตามปรารถนา ๑
[๑๘๖] ข้าพเจ้าทำญาณให้เกิดในศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ
และในวิมุตติญาณทัสสนะเหล่านั้นแล้ว อยู่เป็นสุข ๑
(๓๗. อานิสงส์ของการถวายตั่งแผ่นกระดาน)
[๑๘๗] ข้าพเจ้าได้ถวายตั่งแผ่นกระดานในพระชินเจ้า
และในพระสงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุดแล้วได้รับอานิสงส์
ซึ่งสมควรแก่กรรมของข้าพเจ้า ๒ ประการ
[๑๘๘] คือข้าพเจ้าได้บัลลังก์อย่างประเสริฐ
ทำด้วยทอง ทำด้วยแก้วมณี ๑
และทำด้วยงาช้างจำนวนมาก ๑
นี้เป็นผลแห่งการถวายตั่งแผ่นกระดาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๑. ปิลินทวัจฉเถราปทาน
(๓๘. อานิสงส์ของการถวายตั่งวางเท้า)
[๑๘๙] ข้าพเจ้าได้ถวายตั่งวางเท้าในพระชินเจ้า
และในพระสงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุดแล้วได้รับอานิสงส์
ซึ่งสมควรแก่กรรมของข้าพเจ้า ๒ ประการ
คือข้าพเจ้าย่อมได้ยานพาหนะจำนวนมาก ๑
นี้เป็นผลแห่งการถวายตั่งวางเท้า
[๑๙๐] ทาสหญิงชาย ภรรยา และคนผู้อาศัยเหล่าอื่น
บำรุงบำเรอข้าพเจ้าโดยชอบ ๑
นี้เป็นผลแห่งการถวายตั่งวางเท้า
(๓๙. อานิสงส์ของการถวายน้ำมันทาเท้า)
[๑๙๑] ข้าพเจ้าได้ถวายน้ำมันทาเท้า(ในพระชินเจ้า)
และในพระสงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุดแล้วได้รับอานิสงส์
ซึ่งสมควรแก่กรรมของข้าพเจ้า ๕ ประการ
[๑๙๒] คือข้าพเจ้าไม่มีความเจ็บไข้ ๑ มีรูปงาม ๑
มีเส้นประสาทรับรสได้เร็ว ๑ ได้ข้าวและน้ำ ๑
มีอายุยืนเป็นคำรบ ๕
(๔๐. อานิสงส์ของการถวายเนยใสและน้ำมัน)
[๑๙๓] ข้าพเจ้าได้ถวายเนยใสและน้ำมัน(ในพระชินเจ้า)
และในพระสงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุดแล้วได้รับอานิสงส์
ซึ่งสมควรแก่กรรมของข้าพเจ้า ๕ ประการ
[๑๙๔] คือข้าพเจ้าเป็นคนมีกำลังแข็งแรง ๑
มีร่างกายสมบูรณ์ ๑
เป็นคนร่าเริงทุกเมื่อ ๑ มีบุตรได้ทุกเมื่อ ๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๑. ปิลินทวัจฉเถราปทาน
และเป็นคนไม่เจ็บไข้ทุกเมื่อ ๑
นี้เป็นผลแห่งการถวายเนยใสและน้ำมัน
(๔๑. อานิสงส์ของการถวายน้ำบ้วนปาก)
[๑๙๕] ข้าพเจ้าได้ถวายน้ำบ้วนปาก(ในพระชินเจ้า)
และในพระสงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุดแล้วได้รับอานิสงส์
ซึ่งสมควรแก่กรรมของข้าพเจ้า ๕ ประการ
[๑๙๖] คือข้าพเจ้าเป็นผู้มีลำคอบริสุทธิ์ ๑ มีเสียงไพเราะ ๑
ปราศจากโรคไอ ๑ ปราศจากโรคหืด ๑
กลิ่นดอกอุบลฟุ้งออกจากปากของข้าพเจ้าทุกเมื่อ ๑
(๔๒. อานิสงส์ของการถวายนมส้ม)
[๑๙๗] ข้าพเจ้าได้ถวายนมส้มอย่างดีในพระพุทธเจ้า
และในพระสงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุด
ได้บริโภคอมตภัตคือกายคตาสติอันประเสริฐ
(๔๓. อานิสงส์ของการถวายน้ำผึ้ง)
[๑๙๘] ข้าพเจ้าได้ถวายน้ำผึ้งที่มีสีกลิ่นและรสในพระชินเจ้า
และในหมู่สงฆ์ผู้ประเสริฐสุดแล้ว
ได้วิมุตติรสที่ไม่มีรสอื่นเปรียบปานได้ ไม่เป็นอย่างอื่น
(๔๔. อานิสงส์ของการถวายรส)
[๑๙๙] ข้าพเจ้าได้ถวายรสตามเป็นจริงในพระพุทธเจ้า
และในพระสงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุดแล้วได้รับผล ๔ ประการ
ซึ่งสมควรแก่กรรมของข้าพเจ้า
(๔๕. อานิสงส์ของการถวายข้าวและน้ำ)
[๒๐๐] ข้าพเจ้าได้ถวายข้าวและน้ำในพระพุทธเจ้า
และในพระสงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุดแล้วได้รับอานิสงส์
ซึ่งสมควรแก่กรรมของข้าพเจ้า ๑๐ ประการ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๑. ปิลินทวัจฉเถราปทาน
[๒๐๑] คือข้าพเจ้าเป็นผู้มีอายุยืน ๑ มีกำลัง ๑
เป็นนักปราชญ์ ๑ มีวรรณะสวยงาม ๑
มียศ ๑ มีสุข ๑ เป็นผู้ได้ข้าว ๑ เป็นผู้ได้น้ำ ๑
เป็นคนกล้า ๑ เป็นผู้มีปัญญา ๑
ข้าพเจ้าเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพ ได้คุณเหล่านี้
(๔๖. อานิสงส์ของการถวายธูป)
[๒๐๒] ข้าพเจ้าได้ถวายธูปในพระสุคต
และในพระสงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุดแล้วได้รับอานิสงส์
ซึ่งสมควรแก่กรรมของข้าพเจ้า ๑๐ ประการ
[๒๐๓] คือเป็นผู้มีกลิ่นตัวหอมฟุ้ง ๑ มียศ ๑
มีปัญญาไว ๑ มีชื่อเสียง ๑
มีปัญญาเฉียบแหลม ๑ มีปัญญากว้างขวาง ๑
มีปัญญาร่าเริง ๑ มีปัญญาลึกซึ้ง ๑
[๒๐๔] มีปัญญาไพบูลย์ ๑ มีปัญญาแล่นไปเร็ว ๑
เพราะผลแห่งการถวายธูปนั้น
ข้าพเจ้าเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพน้อยภพใหญ่
ได้บรรลุนิพพานซึ่งเป็นสันติสุข ในกาลบัดนี้
(อานิสงส์ทั่ว ๆ ไป)
[๒๐๕] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๒๐๖] การที่ข้าพเจ้าได้มาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๐๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๒. เสลเถราปทาน
[๒๐๗] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระปิลินทวัจฉเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ปิลินทวัจฉเถราปทานที่ ๑ จบ

๒. เสลเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระเสลเถระ
(พระเสลเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๒๐๘] ข้าพเจ้าเป็นเจ้าของถนนอยู่ในกรุงหงสวดี
เรียกประชุมบรรดาญาติของตนแล้ว ได้กล่าวดังนี้ว่า
[๒๐๙] พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก
เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยม
พระองค์เป็นผู้สมควรรับเครื่องบูชาของชาวโลกทั้งปวง
[๒๑๐] กษัตริย์ก็ดี ชาวนิคมก็ดี พราหมณมหาศาลก็ดี
ล้วนมีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี
ได้พากันประพฤติธรรมจำนวนมาก
[๒๑๑] พลช้าง พลม้า พลรถ และพลเดินเท้า
ล้วนมีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี
ได้พากันประพฤติธรรมจำนวนมาก
[๒๑๒] นายทหารระดับสูงก็ดี ราชบุตรก็ดี พ่อค้าก็ดี
พราหมณ์ก็ดี ล้วนมีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี
ได้พากันประพฤติธรรมจำนวนมาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๒. เสลเถราปทาน
[๒๑๓] คนทำขนมก็ดี พ่อครัวก็ดี
คนจัดแจงเครื่องอาบน้ำก็ดี ช่างดอกไม้ก็ดี
ล้วนมีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี
ได้พากันประพฤติธรรมจำนวนมาก
[๒๑๔] ช่างย้อมก็ดี ช่างหูกก็ดี ช่างเย็บผ้าก็ดี ช่างกัลบกหญิงก็ดี
ล้วนมีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี
ได้พากันประพฤติธรรมจำนวนมาก
[๒๑๕] ช่างศรก็ดี ช่างกลึงก็ดี ช่างหนังก็ดี ช่างถากก็ดี
ล้วนมีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี
ได้พากันประพฤติธรรมจำนวนมาก
[๒๑๖] ช่างเหล็กก็ดี ช่างทองก็ดี ช่างดีบุกก็ดี ช่างทองแดงก็ดี
ล้วนมีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี
ได้พากันประพฤติธรรมจำนวนมาก
[๒๑๗] ลูกจ้างก็ดี คนเชิญธงก็ดี
ทาสก็ดี กรรมกรก็ดี จำนวนมาก
ได้พากันประพฤติธรรมจำนวนมากตามกำลังของตน ๆ
[๒๑๘] คนตักน้ำขายก็ดี คนหาฟืนขายก็ดี
ชาวนาก็ดี คนขนหญ้าก็ดี
ได้พากันประพฤติธรรมจำนวนมากตามกำลังของตน ๆ
[๒๑๙] คนขายดอกไม้ก็ดี คนขายพวงมาลัยก็ดี
คนขายใบไม้ก็ดี คนขายผลไม้ก็ดี
ได้พากันประพฤติธรรมจำนวนมากตามกำลังของตน ๆ
[๒๒๐] หญิงแพศยาก็ดี นางกุมภทาสีก็ดี
คนขายขนมก็ดี คนขายปลาก็ดี
ได้พากันประพฤติธรรมจำนวนมากตามกำลังของตน ๆ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๒. เสลเถราปทาน
[๒๒๑] พวกเราทั้งหมดนี้มาประชุม
รวมเป็นพวกเดียวกันแล้ว
จักทำบุญกุศลในพระพุทธเจ้าผู้เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยม
[๒๒๒] ญาติเหล่านั้นฟังคำของข้าพเจ้าแล้ว
รวมกันเป็นคณะในขณะนั้นกล่าวว่า
พวกเราควรให้สร้างโรงฉันที่สร้างอย่างสวยงามถวายแด่ภิกษุสงฆ์
[๒๒๓] ข้าพเจ้าจึงให้สร้างโรงฉันนั้นสำเร็จแล้ว
เป็นผู้เบิกบาน มีใจยินดี
มีญาติทั้งหมดนั้นห้อมล้อม
เข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
[๒๒๔] ครั้นเข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นที่พึ่งของสัตว์โลก
ทรงองอาจกว่านรชน
กราบพระยุคลบาทของพระศาสดาแล้วได้กราบทูลคำนี้ว่า
[๒๒๕] ข้าแต่พระมุนีวีรเจ้า บุรุษประมาณ ๓๐๐ คนนี้
รวมกันเป็นคณะ
ขอมอบถวายโรงฉันที่สร้างอย่างสวยงามแด่พระองค์
[๒๒๖] ขอพระองค์ผู้มีพระจักษุ
เป็นประธานหมู่ภิกษุ โปรดทรงรับเถิด
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้
ต่อหน้าบุรุษ ๓๐๐ คนว่า
[๒๒๗] บุรุษทั้ง ๓๐๐ คนและผู้เป็นหัวหน้า
ประพฤติตามเป็นหนึ่งเดียวกัน
ท่านทั้งปวงพากันทำแล้ว จักได้เสวยสมบัติ
[๒๒๘] เมื่อถึงภพสุดท้าย ท่านทั้งหลายจักเห็นนิพพาน
ซึ่งมีภาวะเย็นยอดเยี่ยม ไม่แก่ ไม่ตาย เป็นแดนเกษม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๒. เสลเถราปทาน
[๒๒๙] พระสัพพัญญูพุทธเจ้าผู้ยอดเยี่ยมกว่าสมณะ
ทรงพยากรณ์อย่างนี้แล้ว
ข้าพเจ้าได้ฟังพระพุทธดำรัสแล้ว ได้เสวยโสมนัส
[๒๓๐] ข้าพเจ้ารื่นรมย์อยู่ในเทวโลกตลอด ๓๐,๐๐๐ กัป
เป็นใหญ่ในหมู่เทวดา ครองเทวสมบัติตลอด ๕๐๐ ชาติ
[๒๓๑] ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๑,๐๐๐ ชาติ
และได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์นับชาติไม่ถ้วน
[๒๓๒] ในรัชสมบัติในมนุษยโลกนี้
มีพวกญาติเป็นบริวาร
ในภพสุดท้ายที่มาถึงนี้ มีพราหมณ์ชื่อวาเสฏฐะ
[๒๓๓] ข้าพเจ้าเป็นบุตรของพราหมณ์นั้น
สะสมสมบัติไว้ ๘๐ โกฏิ
ข้าพเจ้ามีนามว่าเสละถึงความสำเร็จในองค์ ๖๑
[๒๓๔] มีพวกศิษย์ของตนแวดล้อม
เดินเที่ยวพักผ่อนอิริยาบถ ดาบสชื่อเกนิยะ
ผู้เพียบพร้อมด้วยชฎาและบริขาร จัดแจงเครื่องบูชา
[๒๓๕] ข้าพเจ้าได้เห็นท่านแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า
ท่านจักทำอาวาหมงคลและวิวาหมงคล
หรือว่าท่านเชื้อเชิญพระราชา
[๒๓๖] ดาบสชื่อเกนิยะตอบว่า
ข้าพเจ้าใคร่จะใช้เครื่องบูชา

เชิงอรรถ :
๑ องค์ ๖ ในที่นี้หมายถึงมนตร์พรหมจินดา ๖ คือ (๑) กัปปศาสตร์ (๒) พยากรณ์ศาสตร์ (๓) นิรุตติ-
ศาสตร์ (๔) สิกขาศาสตร์ (๕) ฉันโทวิจิติศาสตร์ (๖) โชติสัตถศาสตร์ (ขุ.วิ.อ. ๙๙๖/๓๐๙, ที.สี.อ.
๒๕๖/๒๒๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๒. เสลเถราปทาน
บูชาพราหมณ์ที่สมมติกันว่าประเสริฐ
ข้าพเจ้าไม่ได้เชื้อเชิญพระราชา ไม่มีการบวงสรวง
[๒๓๗] อาวาหมงคลและวิวาหมงคลของข้าพเจ้าก็ไม่มี
พระพุทธเจ้าผู้ให้เกิดความยินดีแก่ศากยะทั้งหลาย
ประเสริฐที่สุดในโลกพร้อมทั้งเทวโลก
[๒๓๘] ทรงทำประโยชน์เกื้อกูลแก่โลกทั้งปวง
นำสุขมาให้แก่สรรพสัตว์
วันนี้ ข้าพเจ้าทูลนิมนต์พระองค์
จึงจัดแจงเครื่องบูชานี้เพื่อพระองค์
[๒๓๙] พระพุทธเจ้ามีพระรัศมีดุจสีมะพลับ
มีพระคุณหาประมาณมิได้
ไม่มีผู้เปรียบปาน ไม่มีใครเหมือนด้วยพระรูป
ข้าพเจ้าทูลนิมนต์เพื่อเสวยในวันพรุ่งนี้
[๒๔๐] พระองค์มีรัศมีเรืองรองดุจถ่านเพลิงไม้ตะเคียน
กระทบปากเบ้าทองคำ เปรียบด้วยสายฟ้า
ทรงเป็นผู้มีความเพียรมาก เป็นที่พึ่ง
ข้าพเจ้าทูลนิมนต์แล้ว
[๒๔๑] พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้เป็นดุจไฟบนยอดภูเขา
ดุจดวงจันทร์ในวันเพ็ญ และดุจสีแห่งเปลวไฟไม้อ้อ
ข้าพเจ้าทูลนิมนต์แล้ว
[๒๔๒] พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ไม่ทรงครั่นคร้าม
ทรงล่วงพ้นภัยแล้ว ทรงทำภพให้สิ้นไป
เป็นพระมุนีดุจราชสีห์ ทรงเป็นผู้มีความเพียรมาก
ข้าพเจ้าทูลนิมนต์แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๒. เสลเถราปทาน
[๒๔๓] พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงฉลาดในพุทธธรรม
ไม่มีใครอื่นข่มได้ ดุจพญาช้างเชือกประเสริฐ
ทรงเป็นผู้มีความเพียรมาก
ข้าพเจ้าทูลนิมนต์แล้ว
[๒๔๔] พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงฉลาดในฝั่งคือพระสัทธรรม
เป็นพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
ไม่มีใครเหมือน ดุจโคอุสภราช
ทรงเป็นผู้มีความเพียรมาก
ข้าพเจ้าทูลนิมนต์แล้ว
[๒๔๕] พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น มีพระคุณที่พรรณนาไม่สิ้นสุด
มีพระยศนับมิได้ มีพระลักษณะทั้งหมดงดงาม
ดุจท้าวสักกเทวราช
ทรงเป็นผู้มีความเพียรมาก
ข้าพเจ้าทูลนิมนต์แล้ว
[๒๔๖] พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงมีความชำนาญ
เป็นผู้นำหมู่ มีความเพียร มีเดช
หาผู้กระทบกระทั่งได้ยาก ดุจพระพรหม
ทรงเป็นผู้มีความเพียรมาก
ข้าพเจ้าทูลนิมนต์แล้ว
[๒๔๗] พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงมีพระธรรมล้ำเลิศ
น่าบูชา เป็นพระทศพล
ทรงถึงความสำเร็จพลธรรมเหนือพลธรรม(ของคนทั่วไป)
เปรียบด้วยแผ่นดิน ทรงเป็นผู้มีความเพียรมาก
ข้าพเจ้าทูลนิมนต์แล้ว
[๒๔๘] พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงมีศีลและปัญญาแผ่กระจาย
ทรงระบือไปด้วยการรู้แจ้งธรรม เปรียบด้วยท้องทะเล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๒. เสลเถราปทาน
ทรงเป็นผู้มีความเพียรมาก
ข้าพเจ้าทูลนิมนต์แล้ว
[๒๔๙] พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
หาผู้กระทบกระทั่งได้ยาก
ใคร ๆ ไม่อาจจะข่มได้ ไม่ทรงหวั่นไหว
ทรงเลิศกว่าพรหม เปรียบดังภูเขาเนรุราช
ทรงเป็นผู้มีความเพียรมาก
ข้าพเจ้าทูลนิมนต์แล้ว
[๒๕๐] พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงมีพระญาณไม่มีที่สิ้นสุด
ไม่มีใครเสมอเหมือน ไม่มีใครเทียมเท่า
ทรงบรรลุถึงความเป็นยอด เปรียบดังท้องฟ้า
ทรงเป็นผู้มีความเพียรมาก
ข้าพเจ้าทูลนิมนต์แล้ว
ภาณวารที่ ๑๕ จบ
[๒๕๑] พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเป็นที่พึ่งของบรรดาผู้กลัวภัย
เป็นที่ต้านทานของบรรดาผู้ถึงสรณะ เป็นที่เบาใจ
ทรงเป็นผู้มีความเพียรมาก
ข้าพเจ้าทูลนิมนต์แล้ว
[๒๕๒] พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเป็นที่อาศัยแห่งท่านผู้มีความรู้
เป็นเนื้อนาบุญของผู้แสวงหาความสุข เป็นบ่อเกิดแห่งรัตนะ
ทรงเป็นผู้มีความเพียรมาก
ข้าพเจ้าทูลนิมนต์แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๒. เสลเถราปทาน
[๒๕๓] พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงเป็นผู้ปลอบโยนให้เบาใจ
เป็นผู้ทำให้เป็นเทพ เป็นผู้ประทานสามัญผล เปรียบดังเมฆ
ทรงเป็นผู้มีความเพียรมาก
ข้าพเจ้าทูลนิมนต์แล้ว
[๒๕๔] พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ที่เขายกย่องในโลก ทรงแกล้วกล้า
เป็นผู้บรรเทาความมืดทั้งปวง เปรียบดังดวงอาทิตย์
ทรงเป็นผู้มีความเพียรมาก
ข้าพเจ้าทูลนิมนต์แล้ว
[๒๕๕] พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงแสดงสภาวะในอารมณ์
และความหลุดพ้น เป็นพระมุนี เปรียบดังดวงจันทร์
ทรงเป็นผู้มีความเพียรมาก
ข้าพเจ้าทูลนิมนต์แล้ว
[๒๕๖] พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นตรัสรู้แล้ว
อันบัณฑิตยกย่องในโลก
ทรงประดับด้วยพระลักษณะทั้งหลาย
ใคร ๆ ประมาณมิได้
ทรงเป็นผู้มีความเพียรมาก
ข้าพเจ้าทูลนิมนต์แล้ว
[๒๕๗] พระพุทธเจ้าผู้ทรงมีพระญาณหาประมาณมิได้
ทรงมีศีลที่ไม่มีอะไรเปรียบได้
เครื่องทรงจำที่ไม่มีอะไรเหมือน
ทรงมีพลังซึ่งเป็นอจินไตย(ไม่ควรคิด)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๒. เสลเถราปทาน
ทรงมีความบากบั่นอย่างยอดเยี่ยม
ข้าพเจ้าทูลนิมนต์แล้ว
[๒๕๙] พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงถอนพิษ
คือราคะ โทสะ โมหะได้หมดแล้ว ทรงเปรียบดังยา
ทรงเป็นผู้มีความเพียรมาก
ข้าพเจ้าทูลนิมนต์แล้ว
[๒๖๐] พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ทรงบรรเทาพยาธิคือกิเลสและความทุกข์มาก
ดุจดังโอสถ เปรียบดังหมอ
ทรงเป็นผู้มีความเพียรมาก
ข้าพเจ้าทูลนิมนต์แล้ว
[๒๖๑] เกนิยพราหมณ์ประกาศว่าพุทโธ
เสียงประกาศนั้น ข้าพเจ้าได้ฟังแสนยาก
เพราะได้ฟังเสียงประกาศว่าพุทโธ
ข้าพเจ้าก็เกิดปีติซาบซ่าน
[๒๖๒] ข้าพเจ้ามิได้มีปีติอยู่เฉพาะภายใน
แต่แผ่ซ่านออกมาภายนอก
ข้าพเจ้ามีใจอิ่มเอิบ ได้กล่าวคำนี้ว่า
[๒๖๓] พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ทรงเป็นผู้เจริญที่สุดในโลก
ทรงองอาจกว่านรชน เสด็จประทับอยู่ ณ ที่ไหนหนอ
ข้าพเจ้าจักไปนอบน้อมพระองค์
ผู้ทรงประทานสามัญผล ณ ที่นั้น
[๒๖๔] ขอท่านผู้เกิดโสมนัสซึ่งประนมมืออยู่
โปรดยกมือข้างขวาขึ้นชี้บอกพระผู้มีพระภาค

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๒. เสลเถราปทาน
ผู้ทรงเป็นพระธรรมราชา
ผู้ทรงบรรเทาลูกศรคือความเศร้าโศกให้ข้าพเจ้าด้วยเถิด
[๒๖๕] (เกนิยพราหมณ์ กล่าวว่า)
ท่านคงเห็นป่าใหญ่ เขียว
ดุจดังก้อนมหาเมฆตั้งขึ้น
เปรียบด้วยดอกอัญชัน ซึ่งปรากฏดุจท้องทะเล
[๒๖๖] พระพุทธเจ้า ผู้ทรงฝึกฝนคนที่ยังมิได้รับการฝึกฝน
ทรงเป็นมุนี ทรงแนะนำเวไนยสัตว์ให้ตรัสรู้โพธิปักขิยธรรม
พระองค์ทรงประทับอยู่ที่ป่านั้น
[๒๖๗] ข้าพเจ้าเที่ยวค้นหาพระชินเจ้า
เปรียบเหมือนคนกระหายน้ำแสวงหาน้ำดื่ม
เปรียบเหมือนคนหิวข้าวแสวงหาข้าวกิน
เปรียบเหมือนแม่โครักลูกโคเที่ยวค้นหาลูกโค
[๒๖๘] ข้าพเจ้ารู้จักอาจาระและอุปจาระ
สำรวมระวังเหมาะสมแก่เหตุ
ให้บรรดาศิษย์ของตนซึ่งจะไปยังสำนักพระชินเจ้า ศึกษาว่า
[๒๖๙] พระผู้มีพระภาคทั้งหลาย หาผู้กระทบกระทั่งได้ยาก
เสด็จเที่ยวไปเพียงพระองค์เดียว ดุจดังราชสีห์
มาณพทั้งหลาย พวกท่านควรเข้าแถวกันมา
[๒๗๐] พระพุทธเจ้าทั้งหลายหาผู้กระทบกระทั่งได้ยาก
ดุจอสรพิษกล้า
ดุจพญาเนื้อไกรสรราชสีห์
ดุจช้างกุญชรตกมันที่ได้รับการฝึกแล้ว
[๒๗๑] มาณพทั้งหลาย พวกท่านจงอย่าไอ อย่าจาม
เดินเข้าแถวพากันเข้าไปยังสำนักของพระพุทธเจ้าเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๒. เสลเถราปทาน
[๒๗๒] พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงเป็นผู้หนักในการอยู่ในที่เร้น
ชอบสถานที่เงียบเสียง
หาผู้กระทบกระทั่งได้ยาก ยากที่จะเข้าเฝ้า
ทรงเป็นครูในมนุษยโลกพร้อมทั้งเทวโลก
[๒๗๓] ข้าพเจ้าทูลถามปัญหาข้อใด หรือได้ปราศรัยโต้ตอบอยู่
ขณะนั้น ขอให้ท่านทั้งหลายจงเงียบเสียงนิ่งเฉยอยู่
[๒๗๔] พระองค์ทรงแสดงพระสัทธรรมใด
ซึ่งเป็นธรรมปลอดโปร่ง เพื่อบรรลุนิพพาน
ขอท่านทั้งหลายจงพิจารณาเนื้อความแห่งพระสัทธรรมนั้น
เพราะการฟังพระสัทธรรมเป็นเหตุนำสุขมาให้
[๒๗๕] ข้าพเจ้าได้เข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว
ได้สนทนาปราศรัยกับพระมุนี
ให้การสนทนานั้นผ่านไปแล้วจึงตรวจดูพระลักษณะ
[๒๗๖] ข้าพเจ้าสงสัยพระลักษณะ ๒ ประการ
ได้เห็นเพียงพระลักษณะ ๓๐ ประการ
พระมุนีจึงได้ทรงแสดงพระคุยหฐาน
ซึ่งเร้นอยู่ในฝักให้ปรากฏด้วยฤทธิ์
[๒๗๗] อนึ่ง พระชินเจ้าได้ทรงแลบพระชิวหา
สอดเข้าในช่องพระกรรณและเข้าในช่องพระนาสิก
แล้วปกปิดไปถึงสุดพระนลาฏทั้งสิ้น
[๒๗๘] ข้าพเจ้าได้เห็นพระลักษณะของพระองค์
ครบถ้วนบริบูรณ์พร้อมทั้งพระอนุพยัญชนะ
จึงแน่ใจได้ว่าเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว
ได้บวชพร้อมกับบรรดาศิษย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๒. เสลเถราปทาน
[๒๗๙] ข้าพเจ้าพร้อมด้วยบรรดาศิษย์ ๓๐๐ คน
ได้บวชเป็นบรรพชิต ยังไม่ทันถึงครึ่งเดือน
พวกเราทั้งหมดก็ได้บรรลุนิพพาน
[๒๘๐] ศิษย์ทั้งหลายร่วมกันทำกรรมในนาบุญที่ยอดเยี่ยม
ท่องเที่ยวไปร่วมกัน คลายกิเลสได้ร่วมกัน
[๒๘๑] ข้าพเจ้าได้ถวายไม้กลอนทั้งหลาย
จึงได้อยู่ในธรรมเป็นอันมาก
ด้วยกรรมที่ได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
ข้าพเจ้าย่อมได้เหตุ ๘ ประการ
[๒๘๒] คือข้าพเจ้าเป็นผู้ที่เขาบูชาในทิศทั้งหลาย ๑
มีโภคสมบัตินับไม่ถ้วน ๑
เป็นที่พึ่งของคนทั้งปวง ๑ ไม่มีความสะดุ้งกลัว ๑
[๒๘๓] ข้าพเจ้าไม่มีความเจ็บไข้ ๑ รักษาอายุได้ยืนยาว
มีผิวพรรณละเอียดอ่อน ๑ อยู่ในที่อยู่ที่ปรารถนาได้ ๑
[๒๘๔] เพราะได้ถวายไม้กลอน ๘ อัน
ข้าพเจ้าจึงได้อยู่ในธรรมเป็นอันมาก
ความเป็นพระอรหันต์ถึงพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา
เป็นข้อที่ ๘ อีกข้อหนึ่งของข้าพเจ้า
[๒๘๕] ข้าแต่พระมหามุนี
ข้าพระองค์มีธรรมเครื่องอยู่ทั้งปวงอยู่จบหมดแล้ว
ทำกิจเสร็จแล้ว ไม่มีอาสวะ มีชื่อว่าอัฏฐโคปานสี
เป็นบุตรของพระองค์
[๒๘๖] เพราะได้ถวายเสา ๕ ต้น
ข้าพเจ้าจึงได้อยู่ในธรรมเป็นอันมาก
ด้วยกรรมที่ได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
ข้าพเจ้าจึงได้เหตุ ๕ ประการ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๒. เสลเถราปทาน
[๒๘๗] คือข้าพเจ้าเป็นผู้มีเมตตาไม่หวั่นไหว ๑
มีโภคสมบัติไม่รู้จักพร่อง ๑
มีถ้อยคำที่ควรเชื่อถือได้ โดยที่ข้าพเจ้าไม่พูดกำจัด ๑
[๒๘๘] ข้าพเจ้ามีจิตไม่ฟุ้งซ่าน ๑
ไม่เป็นเสี้ยนหนามต่อใคร ๆ ๑
ด้วยกรรมที่ได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
ข้าพเจ้าจึงเป็นผู้ปราศจากมลทินในศาสนา
[๒๘๙] ข้าแต่พระมุนีผู้มีความเพียรมาก
ภิกษุสาวกของพระองค์มีความเคารพ
มีความยำเกรง ได้ทำกิจเสร็จแล้ว
ไม่มีอาสวะ ขอกราบไหว้พระองค์
[๒๙๐] ข้าพเจ้าได้ทำบัลลังก์ที่ทำอย่างสวยงามแล้วจัดตั้งไว้ในศาลา
ด้วยกรรมที่ได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
ข้าพเจ้าจึงได้เหตุ ๕ ประการ
[๒๙๑] คือเกิดในตระกูลสูง ๑ มีโภคะมาก ๑
มีสมบัติทุกอย่าง ๑ ไม่มีความตระหนี่ ๑
[๒๙๒] เมื่อข้าพเจ้าปรารถนาจะไป บัลลังก์ก็ตั้งขึ้น
ข้าพเจ้าย่อมไปพร้อมกับบัลลังก์อันประเสริฐ
ตามที่ข้าพเจ้าปรารถนา ๑
[๒๙๓] เพราะการถวายบัลลังก์นั้น
ข้าพเจ้ากำจัดความมืดทั้งหมดได้แล้ว
ข้าแต่พระมหามุนี
พระเถระผู้บรรลุอภิญญาและพลธรรมทั้งปวง
ขอกราบไหว้พระองค์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๒. เสลเถราปทาน
[๒๙๔] ข้าพเจ้าทำกิจทั้งปวงทั้งที่เป็นกิจ
ของผู้อื่นและกิจของตนสำเร็จแล้ว
ด้วยกรรมที่ได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
ข้าพเจ้าจึงได้เข้าไปยังบุรีที่ไม่มีภัย
[๒๙๕] ข้าพเจ้าได้ถวายเครื่องบริโภคในศาลาที่สร้างสำเร็จแล้ว
ด้วยกรรมที่ได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
ข้าพเจ้าจึงได้บรรลุความเป็นผู้ประเสริฐ
[๒๙๖] ผู้ฝึกเหล่าใดเหล่าหนึ่งในโลก
ผู้ฝึกเหล่านั้นย่อมฝึกช้างและม้า
พวกเขาให้ทำเหตุต่าง ๆ แล้วฝึกอย่างหนัก
[๒๙๗] ข้าแต่พระองค์ผู้มีความเพียรมาก
พระองค์หาทรงฝึกเหล่าชายหญิงเช่นนั้นไม่
พระองค์ทรงฝึกในวิธีฝึกอย่างสูงสุด
โดยไม่ต้องใช้อาชญาไม่ต้องใช้ศัสตรา
[๒๙๘] พระมุนีทรงฉลาดในเทศนา ทรงสรรเสริญคุณแห่งทาน
และตรัสปัญหาข้อเดียว
ก็ให้เวไนยสัตว์ ๓๐๐ ตรัสรู้ได้
[๒๙๙] ข้าพระองค์ทั้งหลาย อันพระองค์ผู้เป็นสารถีฝึกแล้ว
จึงพ้นวิเศษด้วยดี ไม่มีอาสวะ
บรรลุอภิญญาและพลธรรมทั้งปวง
ดับแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นอุปธิ
[๓๐๐] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายทานไว้ในครั้งนั้น
ภัยทั้งปวงล่วงพ้นไปแล้ว
นี้เป็นผลแห่งการถวายศาลา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๓. สัพพกิตติกเถราปทาน
[๓๐๑] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าเผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๓๐๒] การที่ข้าพเจ้าได้มาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๓๐๓] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระเสลเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
เสลเถราปทานที่ ๒ จบ

๓. สัพพกิตติกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระสัพพกิตติกเถระ
(พระสัพพกิตติกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๓๐๔] พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงรุ่งเรืองดุจดอกกรรณิการ์
ทรงโชติช่วงดุจต้นพฤกษาประทีป
ทรงรุ่งโรจน์ดุจดาวประกายพรึก
ดุจสายฟ้าในท้องฟ้า
[๓๐๕] ไม่ครั่นคร้าม ไม่สะดุ้งกลัว
ดุจพญาเนื้อ ทรงประกาศแสงสว่างคือญาณ
ทรงย่ำยีหมู่เดียรถีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๓. สัพพกิตติกเถราปทาน
[๓๐๖] ทรงช่วยโลกนี้ คลายความสงสัยทั้งปวงได้ไม่ครั่นคร้าม
ดุจพญาราชสีห์ ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว
[๓๐๗] ข้าพเจ้าทรงชฎาและหนังสัตว์
เป็นใหญ่ ซื่อตรง มีความเพียร
ถือเอาผ้าเปลือกปอไปปูลาดที่แทบพระบาท
[๓๐๘] ข้าพเจ้านำกระลำพักมาชโลมทาพระตถาคต
ครั้นชโลมทาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว
ได้ชมเชยพระองค์ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลกว่า
[๓๐๙] ข้าแต่พระมหามุนี พระองค์ทรงข้ามโอฆกิเลสได้แล้ว
ทรงช่วยเหลือสัตว์โลกนี้ ทรงโชติช่วง
ด้วยแสงสว่างแห่งพระญาณ
พระญาณ(ของพระองค์)ประเสริฐสุด
[๓๑๐] พระองค์ทรงประกาศธรรมจักร ย่ำยีเดียรถีย์อื่น
เป็นผู้องอาจ ชนะสงครามแล้ว
ทำแผ่นดินให้หวั่นไหว
[๓๑๑] ทิฏฐิทั้งปวงย่อมแตกทำลายไปเพราะพระญาณของพระองค์
ดุจคลื่นในมหาสมุทรย่อมแตกขจายไปเพราะริมฝั่ง
[๓๑๒] แหตาเล็ก ๆ ที่เขาเหวี่ยงลงไปในสระแล้ว
สัตว์ทั้งหลายที่อยู่ภายในแห
ย่อมถูกบีบคั้นในขณะนั้นฉันใด
[๓๑๓] ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์
พวกเดียรถีย์ในโลกเป็นผู้หลงงมงาย
ไม่อิงอาศัยสัจจะ ย่อมเป็นไปภายในพระญาณ
อันประเสริฐของพระองค์ฉันนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๓. สัพพกิตติกเถราปทาน
[๓๑๔] พระองค์เท่านั้นเป็นที่พึ่งของผู้ที่ถูกพัดพาไปในห้วงน้ำ
เป็นที่พึ่งของผู้ไม่มีญาติ เป็นสรณะของผู้ที่มีภัย
เป็นจุดมุ่งหมายของผู้ต้องการความหลุดพ้น
[๓๑๕] เสด็จเที่ยวไปผู้เดียว ไม่มีใครเหมือน
ทรงประกอบด้วยพระเมตตากรุณา
ทรงมีปัญญาประกอบด้วยจาคะ
ชำนาญ คงที่ เป็นที่อยู่แห่งคุณ
[๓๑๖] เป็นนักปราชญ์ ปราศจากความหลง
ไม่ทรงหวั่นไหว ไม่มีความสงสัย
เป็นผู้พอพระทัย ทรงคลายโทสะแล้ว
ไม่มีมลทิน ทรงสำรวม มีความบริสุทธิ์
[๓๑๗] ล่วงธรรมเครื่องข้อง ปราศจากความเมา
ได้วิชชา ๓ ถึงที่สุดภพ ทรงล่วงเขตแดน
เป็นผู้หนักในธรรม ถึงจุดมุ่งหมายแล้ว
ทรงหว่านประโยชน์เกื้อกูล
[๓๑๘] ทรงช่วยสัตว์ให้ข้ามพ้นเปรียบเหมือนเรือ(พาคนข้ามฟาก)
ทรงมีขุมทรัพย์ ทรงทำความเบาใจ
ไม่ทรงครั่นคร้ามเหมือนราชสีห์
ทรงฝึกแล้วเหมือนพญาคชสารที่ฝึกแล้ว
[๓๑๙] ครั้งนั้น ครั้นข้าพเจ้าสรรเสริญพระมหามุนี
พระนามว่าปทุมุตตระ ด้วยคาถา ๑๐ คาถา
กราบพระบาทของพระศาสดาแล้วได้ยืนนิ่งอยู่
[๓๒๐] พระศาสดาพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้ทรงรู้แจ้งโลก ผู้สมควรรับเครื่องบูชา
ประทับยืนอยู่ในท่ามกลางหมู่ภิกษุ ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๓. สัพพกิตติกเถราปทาน
[๓๒๑] เราจักพยากรณ์ผู้ที่สรรเสริญศีล
ปัญญา และธรรมของเรา
ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าวเถิด
[๓๒๒] ผู้นั้นจักรื่นรมย์อยู่ในเทวโลกตลอด ๖๐,๐๐๐ กัป
จักครองอิสริยยศปกครองเทวดาเหล่าอื่น
[๓๒๓] ภายหลังเขาบวชแล้ว ถูกกุศลมูลตักเตือน
จักบวชในศาสนา
ของพระผู้มีพระภาคพระนามว่าโคดม
[๓๒๔] ครั้นบวชแล้ว เว้นบาปกรรมทางกาย
กำหนดรู้อาสวะทั้งปวง จักเป็นผู้ไม่มีอาสวะ แล้วนิพพาน
[๓๒๕] เมฆคำรนกระหึ่ม ทำแผ่นดินนี้ให้ชุ่มฉันใด
ข้าแต่พระองค์ผู้มีความเพียรมาก
พระองค์ทรงให้ข้าพระองค์ชุ่มชื่นด้วยธรรมฉันนั้น
[๓๒๖] ครั้นข้าพเจ้าเชยชมศีล ปัญญา ธรรม
และพระผู้มีพระภาคผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลกแล้ว
ได้บรรลุนิพพานซึ่งเป็นธรรมสงบอย่างยิ่ง เป็นบทไม่จุติ
[๓๒๗] โอหนอ พระผู้มีพระภาคผู้มีพระจักษุพระองค์นั้น
พึงดำรงอยู่นานแน่
ข้าพเจ้าก็พึงรู้แจ้งธรรมที่ยังไม่รู้แจ้ง พึงเห็นอมตบท
[๓๒๘] ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายของข้าพเจ้า
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้ากำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๔. มธุทายกเถราปทาน
[๓๒๙] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้สรรเสริญพระพุทธเจ้าไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการสรรเสริญ
[๓๓๐] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงเข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
อาสวะทั้งปวงก็สิ้นไปแล้ว
บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก
[๓๓๑] การที่ข้าพเจ้าได้มาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๓๓๒] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระสัพพกิตติกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
สัพพกิตติกเถราปทานที่ ๓ จบ

๔. มธุทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระมธุทายกเถระ
(พระมธุทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๓๓๓] ข้าพเจ้าได้สร้างอาศรมอย่างสวยงามไว้ใกล้ฝั่งแม่น้ำสินธุ
สอนตำราประวัติศาสตร์พร้อมทั้งตำราทายลักษณะ
แก่พวกศิษย์ที่อาศรมนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๔. มธุทายกเถราปทาน
[๓๓๔] ศิษย์เหล่านั้นผู้ที่ข้าพเจ้าแนะนำแล้วเป็นผู้ใคร่ธรรม
ใคร่ฟังคำสั่งสอนดี
ถึงความสำเร็จในองค์ ๖๑ ประการ อยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำสินธุ
[๓๓๕] เป็นผู้ฉลาดในเหตุที่มาแห่งอุปปาทะ(ความเกิด)
และในลักษณะทั้งหลาย
แสวงหาประโยชน์สูงสุดอยู่ในป่าใหญ่ในครั้งนั้น
[๓๓๖] ครั้งนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสุเมธะ
เสด็จอุบัติขึ้นในโลก
พระองค์ทรงเป็นผู้นำโดยวิเศษ
เมื่อจะทรงอนุเคราะห์พวกข้าพเจ้า จึงเสด็จเข้ามา
[๓๓๗] ข้าพเจ้าได้เห็นพระมหาวีรเจ้าพระนามว่าสุเมธะ
ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก เสด็จเข้ามา
จึงได้ลาดหญ้าถวายแด่พระองค์ผู้เจริญที่สุดในโลก
[๓๓๘] ข้าพเจ้าถือน้ำผึ้งจากป่าใหญ่มาถวาย
แด่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสวยแล้วได้ตรัสพระดำรัสนี้ว่า
[๓๓๙] เราจักพยากรณ์ผู้ที่มีความเลื่อมใส
ซึ่งได้ถวายน้ำผึ้งแก่เราด้วยมือทั้ง ๒ ของตน
ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าวเถิด
[๓๔๐] ด้วยการถวายน้ำผึ้งและด้วยการลาดหญ้าถวายนี้
ผู้นั้นจักรื่นรมย์อยู่ในเทวโลกตลอด ๓๐,๐๐๐ กัป
[๓๔๑] ในกัปที่ ๓๐,๐๐๐ (นับจากกัปนี้ไป)
พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร
ทรงสมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก

เชิงอรรถ :
๑ ดู เชิงอรรถ หน้า ๖๑๒ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๔. มธุทายกเถราปทาน
[๓๔๒] ผู้นั้นจักเป็นธรรมทายาทของพระศาสดาพระองค์นั้น
เป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต
กำหนดรู้อาสวะทั้งปวง จักเป็นผู้ไม่มีอาสวะแล้วนิพพาน
[๓๔๓] เมื่อข้าพเจ้าจากเทวโลกมาในมนุษยโลกนี้
ปฏิสนธิในครรภ์มารดา
ฝนน้ำผึ้งได้ตกปกปิดแผ่นดินด้วยน้ำผึ้ง
[๓๔๔] แม้ในขณะเมื่อข้าพเจ้าออกจากครรภ์อย่างปลอดภัยนั้น
ฝนน้ำผึ้งก็ตกเพื่อข้าพเจ้าตลอดกาลเป็นนิตย์
[๓๔๕] เมื่อข้าพเจ้าออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตแล้ว
ย่อมได้ข้าวและน้ำ
นี้เป็นผลแห่งการถวายน้ำผึ้ง
[๓๔๖] ข้าพเจ้าเกิดในหมู่เทวดาและมนุษย์
เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสิ่งที่พึงปรารถนาทั้งปวง
ได้บรรลุความสิ้นอาสวะ
เพราะการถวายน้ำผึ้งนั้นแล
[๓๔๗] เมื่อฝนตกแล้ว หญ้างอกยาว ๔ นิ้ว
เมื่อต้นไม้ในที่เพาะปลูกมีดอกบานสะพรั่ง
ข้าพเจ้าเป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่เป็นสุขเนืองนิตย์
ที่เรือนว่าง ที่มณฑปและโคนต้นไม้
[๓๔๘] ภพที่ข้าพเจ้าก้าวล่วงมีในท่ามกลาง
ในวันนี้อาสวะทั้งหลายของข้าพเจ้าสิ้นไปแล้ว
บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก
[๓๔๙] ในกัปที่ ๓๐,๐๐๐ (นับจากกัปนี้ไป)
ข้าพเจ้าได้ถวายทานไว้ในครั้งนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๕. ปทุมกูฏาคาริกเถราปทาน
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายน้ำผึ้ง
[๓๕๐] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
อาสวะทั้งปวงก็สิ้นไปแล้ว
บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก
[๓๕๑] การที่ข้าพเจ้าได้มาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๓๕๒] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระมธุทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
มธุทายกเถราปทานที่ ๔ จบ

๕. ปทุมกูฏาคาริกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระปทุมกูฏาคาริกเถระ
(พระปทุมกูฏาคาริกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๓๕๓] พระผู้มีพระภาคพระนามว่าปิยทัสสี
ผู้เป็นพระสยัมภู ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ตรัสรู้แล้วด้วยพระองค์เอง
ทรงประสงค์วิเวก ฉลาดในสมาธิ เป็นมุนี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๕. ปทุมกูฏาคาริกเถราปทาน
[๓๕๔] พระมหามุนีพระนามว่าปิยทัสสี ผู้เป็นบุรุษผู้สูงสุด
เสด็จเข้าไปยังไพรสณฑ์
ทรงลาดผ้าบังสุกุลแล้วประทับนั่งอยู่
[๓๕๕] เมื่อก่อน ข้าพเจ้าเป็นพรานเนื้ออยู่ในป่าดงทึบ
เที่ยวแสวงหาเนื้อฟานอยู่ในครั้งนั้น
[๓๕๖] ณ ที่นั้น ข้าพเจ้าได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้ข้ามโอฆกิเลสได้แล้ว
ไม่มีอาสวะเด่นอยู่ดุจต้นพญาไม้สาละมีดอกบานสะพรั่ง
และดุจดวงอาทิตย์อุทัย
[๓๕๗] ครั้นเห็นพระพุทธเจ้าพระนามว่าปิยทัสสี
ผู้เป็นเทพยิ่งกว่าเทพ มีพระยศยิ่งใหญ่แล้ว
จึงลงไปยังชาติสระ นำดอกปทุมมาในขณะนั้น
[๓๕๘] ครั้นนำดอกปทุมร้อยกลีบซึ่งเป็นที่น่ารื่นรมย์ใจมาแล้ว
จึงสร้างเรือนยอด(ปราสาท)แล้วมุงด้วยดอกปทุม
[๓๕๙] พระพุทธชินเจ้าพระนามว่าปิยทัสสี ผู้มหามุนี
ผู้ทรงอนุเคราะห์ ประกอบด้วยพระกรุณา
ประทับอยู่ในเรือนยอดตลอด ๗ วัน ๗ คืน
[๓๖๐] ข้าพเจ้านำดอกปทุมที่เก่า ๆ ทิ้งแล้ว
มุงด้วยดอกปทุมใหม่
ได้ยืนประคองอัญชลี ในขณะนั้น
[๓๖๑] พระมหามุนีพระนามว่าปิยทัสสี ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
เสด็จออกจากสมาธิแล้วประทับนั่งเหลียวดูทิศอยู่
[๓๖๒] ครั้งนั้น พระเถระผู้อุปัฏฐากนามว่าสุทัสสนะ มีฤทธิ์มาก
รู้พระดำริของพระพุทธเจ้าพระนามว่าปิยทัสสี ผู้ศาสดา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๕. ปทุมกูฏาคาริกเถราปทาน
[๓๖๓] มีภิกษุ ๘๐,๐๐๐ รูปแวดล้อมแล้ว
เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ซึ่งประทับนั่งเป็นสุขอยู่ที่ชายป่า
[๓๖๔] และครั้งนั้น เทวดาที่สิงสถิตอยู่ในไพรสณฑ์
ทราบพระพุทธดำริแล้ว พากันมาประชุมทั้งหมด
[๓๖๕] เมื่อพวกยักษ์ กุมภัณฑ์ พร้อมทั้งผีเสื้อน้ำมาพร้อมกัน
และเมื่อภิกษุสงฆ์มาถึงพร้อมแล้ว
พระชินเจ้าได้ตรัสพระคาถาว่า
[๓๖๖] เราจักพยากรณ์ผู้ที่บูชาเราตลอด ๗ วัน
และได้สร้างอาวาสถวายเรา
ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าวเถิด
[๓๖๗] เราจักพยากรณ์สิ่งที่เห็นได้ยากนัก ละเอียดนัก
ลึกซึ้งให้ปรากฏชัดด้วยญาณ
ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าวเถิด
[๓๖๘] ผู้นั้นจักได้ครองเทวสมบัติตลอด ๑๔ กัป
เรือนยอดของผู้นั้นใหญ่ มุงด้วยดอกปทุม
[๓๖๙] เทวดาทั้งหลายทรงไว้ในอากาศ
นี้เป็นผลแห่งบุพกรรม
เขาจักเวียนว่ายตายเกิดสับสนใน ๑๑๔ กัป
[๓๗๐] ในกัปที่ ๑๑๔ นั้น
วิมานดอกไม้จักทรงอยู่ในอากาศ
น้ำไม่ติดอยู่บนใบบัวฉันใด
[๓๗๑] กิเลสทั้งหลายก็ไม่ติดอยู่ในญาณของผู้นี้ฉันนั้น
ผู้นี้จักปลดเปลื้องนิวรณ์ ๕ ออกจากใจได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๕. ปทุมกูฏาคาริกเถราปทาน
[๓๗๒] ให้ความคิดเกิดในเนกขัมมะแล้ว
จักออกจากเรือนบวช
ในครั้งนั้น วิมานดอกไม้ที่ยังทรงอยู่ก็จักออกไปด้วย
[๓๗๓] เมื่อผู้นั้นมีปัญญารักษาตน มีสติ อยู่ที่โคนต้นไม้
วิมานดอกไม้จักทรงอยู่เหนือศีรษะของผู้นั้นที่โคนต้นไม้นั้น
[๓๗๔] ผู้นั้นถวายจีวร บิณฑบาต คิลานปัจจัย
ที่นอนและที่นั่งแก่ภิกษุสงฆ์แล้ว
จักเป็นผู้ไม่มีอาสวะแล้วนิพพาน
[๓๗๕] เมื่อเรือนยอดลอยไป ข้าพเจ้าออกบวชแล้ว
กรรมทรงเรือนยอดไว้เฉพาะข้าพเจ้าแม้อยู่ที่โคนต้นไม้
[๓๗๖] ข้าพเจ้าไม่มีความตั้งใจ(แสวงหา)จีวรและบิณฑบาต
ข้าพเจ้าประกอบด้วยบุญกรรม
จึงได้จีวรและบิณฑบาตที่สำเร็จแล้ว
[๓๗๗] พระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ผ่านพ้นข้าพเจ้าไปเปล่า ๆ ตั้งหลายพระองค์
ตลอดโกฏิกัปจำนวนมาก โดยนับประมาณมิได้
[๓๗๘] ในกัปที่ ๑๑๘ (นับจากกัปนี้ไป)
ข้าพเจ้าได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าพระนามว่าปิยทัสสี
ผู้ทรงเป็นผู้นำโดยวิเศษ จึงมาเกิดยังกำเนิดนี้
[๓๗๙] ข้าพเจ้าได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
พระนามว่าอโนมะ ผู้มีพระจักษุ
ครั้นเข้าเฝ้าพระองค์แล้ว ก็ได้บวชเป็นบรรพชิต
[๓๘๐] พระพุทธชินเจ้าผู้ทรงทำที่สุดทุกข์ได้
ทรงแสดงพระสัทธรรม
ข้าพเจ้าได้ฟังธรรมของพระองค์แล้ว
ได้บรรลุบทที่ไม่หวั่นไหว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๕. ปทุมกูฏาคาริกเถราปทาน
[๓๘๑] ข้าพเจ้าให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโคดมศากยะ
ผู้ประเสริฐทรงพอพระทัย
กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว จึงอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
[๓๘๒] ในกัปที่ ๑๑๘ (นับจากกัปนี้ไป)
ข้าพเจ้าได้บูชาพระพุทธเจ้าไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๓๘๓] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
อาสวะทั้งปวงสิ้นไปแล้ว
บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก
[๓๘๔] การที่ข้าพเจ้าได้มาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๓๘๕] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระปทุมกูฏาคาริกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
ปทุมกูฏาคาริกเถราปทานที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๖. พักกุลเถราปทาน
๖. พักกุลเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระพักกุลเถระ
(พระพักกุลเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๓๘๖] ในที่ไม่ไกลภูเขาหิมพานต์ มีภูเขาลูกหนึ่งชื่อโสภิตะ
พวกศิษย์ของข้าพเจ้า
ช่วยกันสร้างอาศรมอย่างสวยงามให้ข้าพเจ้า
[๓๘๗] ที่ใกล้อาศรมนั้น มีมณฑปจำนวนมาก
ต้นย่านทรายมีดอกบานสะพรั่ง
ต้นมะขวิด ต้นจำปา ต้นกากะทิง ต้นเกด มีจำนวนมาก
[๓๘๘] มีต้นคนทีสอ ต้นพุทรา และต้นมะขามป้อม
ต้นมะปราง น้ำเต้า และบัวขาว
มีดอกบานสะพรั่งจำนวนมาก
[๓๘๙] มีต้นรักขาว ต้นมะตูม ต้นกล้วย และต้นมะงั่ว (มะนาว)
ต้นกระท้อน ต้นรกฟ้าขาว และต้นประยงค์ มีอยู่มาก
[๓๙๐] มีต้นคำ ต้นช้างน้าว ต้นกระทุ่ม ต้นไทร และต้นมะขวิด
อาศรมของข้าพเจ้าเป็นเช่นนี้
ข้าพเจ้าพร้อมด้วยศิษย์อยู่ที่อาศรมนั้น
[๓๙๑] พระผู้มีพระภาคพระนามว่าอโนมทัสสี ผู้เป็นพระสยัมภู
ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก ทรงแสวงหาที่เร้น
เสด็จเข้ามาใกล้อาศรมของข้าพเจ้า
[๓๙๒] เมื่อพระมหาวีรเจ้าพระนามว่าอโนมทัสสี
ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่เสด็จเข้ามาใกล้แล้ว
โรคลมก็เกิดขึ้นแก่พระองค์
ผู้ทรงเป็นที่พึ่งของสัตว์โลกโดยฉับพลัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๖. พักกุลเถราปทาน
[๓๙๓] ข้าพเจ้าเที่ยวไปในป่า ได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก มีพระจักษุ
มีพระยศยิ่งใหญ่ จึงได้เข้าเฝ้า
[๓๙๔] ครั้นได้เห็นพระอิริยาบถก็เข้าใจได้ในทันทีว่า
พระพุทธเจ้าทรงพระประชวรแน่นอน
[๓๙๕] ข้าพเจ้าจึงรีบกลับมายังอาศรม
ในสำนักของศิษย์ทั้งหลายของข้าพเจ้า
ขณะนั้นข้าพเจ้าปรึกษาศิษย์ว่า เราต้องการปรุงยา
[๓๙๖] ศิษย์ทั้งหมดผู้มีความเคารพ
เชื่อฟังข้าพเจ้าแล้วร่วมประชุมกัน
เพราะเคารพข้าพเจ้าผู้เป็นครู
[๓๙๗] ข้าพเจ้ารีบขึ้นภูเขาไปเก็บยาทุกสิ่งมาปรุง
ได้ปรุงให้เป็นยาสำหรับดื่มถวายพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ
[๓๙๘] เมื่อพระมหาวีรเจ้าผู้สัพพัญญู
ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลกเสวยแล้ว
โรคลมของพระสุคตผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ก็สงบลงฉับพลัน
[๓๙๙] พระพุทธเจ้าพระนามว่าอโนมทัสสี ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่
ทรงเห็นข้าพเจ้ามีความกระวนกระวายสงบแล้ว
ประทับนั่งบนอาสนะของพระองค์
ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
[๔๐๐] เราจักพยากรณ์ผู้ที่ได้ถวายยา
แก่เราและระงับอาพาธของเราได้
ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าวเถิด
[๔๐๑] ผู้นี้จักรื่นรมย์ในเทวโลกตลอด ๑๐๐,๐๐๐ กัป
จักบันเทิงในเทวโลกนั้น ซึ่งมีดนตรีประโคมอยู่ทุกเมื่อ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๖. พักกุลเถราปทาน
[๔๐๒] อันกุศลมูลตักเตือนมา(เกิด)ยังมนุษยโลกแล้ว
จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๑,๐๐๐ ชาติ
[๔๐๓] ในกัปที่ ๕๕ (นับจากกัปนี้ไป)
จักได้เป็นกษัตริย์พระนามว่าอโนมิ
ทรงมีชัยชนะมีสมุทรทั้ง ๔ เป็นขอบเขต
เป็นใหญ่ในชมพูทวีป
[๔๐๔] จักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
สมบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗ ประการ มีพลานุภาพมาก
ลือกระฉ่อนไปจนถึงภพดาวดึงส์ ครองความเป็นใหญ่
[๔๐๕] เขา(เกิด)เป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็ตาม
จักเป็นผู้มีอาพาธน้อย จักเว้นความเร่าร้อนแล้ว
ผ่านพ้นความเจ็บไข้ได้ในโลก
[๔๐๖] ในกัปที่นับมิได้ นับจากกัปนี้ไป
พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร
ทรงสมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก
[๔๐๗] เขาจักเป็นธรรมทายาทของพระศาสดาพระองค์นั้น
เป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต
กำหนดรู้อาสวะทั้งปวง จักเป็นผู้ไม่มีอาสวะแล้วนิพพาน
[๔๐๘] เผากิเลสทั้งหลายแล้ว ข้ามพ้นกระแสตัณหาได้
จักมีนามว่าพักกุละเป็นสาวกของพระศาสดา
[๔๐๙] พระโคดมศากยะผู้ประเสริฐ
ทรงทราบความนี้ทั้งหมดแล้ว
ประทับนั่งในท่ามกลางหมู่ภิกษุ
จักทรงตั้งเขาไว้ในเอตทัคคะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๖. พักกุลเถราปทาน
[๔๑๐] พระผู้มีพระภาคพระนามว่าอโนมทัสสี
ผู้เป็นพระสยัมภู ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ทรงตรวจดูอาศรมของข้าพเจ้าว่าเป็นที่วิเวก
จึงเสด็จเข้าไป
[๔๑๑] ข้าพเจ้ามีความเลื่อมใส ให้พระมหาวีรเจ้า
ผู้สัพพัญญูทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
เสด็จมาถึง อิ่มเอิบด้วยโอสถทุกอย่างด้วยมือของตน
[๔๑๒] ข้าพเจ้านั้นได้ทำกรรมไว้ดีแล้ว
เพราะความถึงพร้อมด้วยพืชในเขตที่ดี
ข้าพเจ้าจึงไม่อาจจะให้กรรม
ที่ข้าพเจ้าทำแล้วสิ้นไปได้เลยในกาลนั้น
[๔๑๓] การที่ข้าพเจ้าได้เห็นพระผู้มีพระภาค ผู้ทรงเป็นผู้นำนั้น
เป็นลาภที่ข้าพเจ้าได้ดีแล้ว
ด้วยกรรมที่เหลืออยู่นั้น
ข้าพเจ้าจึงได้บรรลุบทที่ไม่หวั่นไหว
[๔๑๔] พระโคดมศากยะผู้ประเสริฐทรงทราบความนั้นทั้งหมดแล้ว
ประทับนั่งในท่ามกลางหมู่ภิกษุแล้ว
ทรงตั้งข้าพเจ้าไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ
[๔๑๕] ในกัปที่นับมิได้ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ทำกรรมไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายยา
[๔๑๖] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้ามีอาสวะทั้งปวงสิ้นไปแล้ว
บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๗. คิริมานันทเถราปทาน
[๔๑๗] การที่ข้าพเจ้าได้มาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๔๑๘] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระพักกุลเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
พักกุลเถราปทานที่ ๖ จบ

๗. คิริมานันทเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระคิริมานันทเถระ
(พระคิริมานันทเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๔๑๙] ภริยาของข้าพเจ้าถึงแก่กรรมแล้ว
บุตรของข้าพเจ้าก็ตกไปอยู่ป่าช้าแล้ว(ตาย)
บิดามารดาและพี่ชายของข้าพเจ้าก็ถูกเผาที่เชิงตะกอนเดียวกัน
[๔๒๐] เพราะความเศร้าโศกนั้น
ข้าพเจ้าจึงเป็นผู้รุ่มร้อน ผอมเหลือง
จิตของข้าพเจ้าฟุ้งซ่าน
คับแค้นใจด้วยความเศร้าโศกนั้น
[๔๒๑] ข้าพเจ้ามากไปด้วยลูกศรคือความเศร้าโศกจึงเข้าไปยังชายป่า
บริโภคผลไม้ที่หล่นเอง อาศัยอยู่ที่โคนต้นไม้
[๔๒๒] พระชินสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสุเมธะ ผู้กระทำที่สุดทุกข์
พระองค์ประสงค์จะช่วยเหลือข้าพเจ้า
จึงเสด็จมาใกล้ข้าพเจ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๗. คิริมานันทเถราปทาน
[๔๒๓] ข้าพเจ้าได้ยินเสียงพระบาทของพระพุทธเจ้า
พระนามว่าสุเมธะ ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
จึงแหงน(หน้า)มองดูพระมหามุนี
[๔๒๔] พระมหาวีรเจ้าเสด็จเข้ามา ปีติเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้า
ในครั้งนั้นข้าพเจ้าได้มีใจเบิกบาน
เพราะเห็นพระองค์ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
[๔๒๕] ข้าพเจ้าจึงได้สติ แล้วได้ถวายใบไม้กำมือหนึ่ง
พระผู้มีพระภาคผู้มีพระจักษุ
ประทับนั่งบนใบไม้นั้น ด้วยความอนุเคราะห์
[๔๒๖] พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าพระนามว่าสุเมธะ
ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก ครั้นประทับนั่งบนใบไม้นั้นแล้ว
ทรงแสดงธรรมเครื่องบรรเทาลูกศร
คือความเศร้าโศกแก่ข้าพเจ้าว่า
[๔๒๗] ชนเหล่านั้น ไม่มีใครเชิญก็พากันมาจากปรโลกนั้นเอง
ไม่มีใครอนุญาตก็พากันไปจากมนุษยโลกนี้แล้ว
เขาก็พากันไปตามที่เขาจะไป
จะคร่ำครวญไปทำไมในการตายของพวกเขานั้น
[๔๒๘] เมื่อฝนตกลงมาคนเดินทางที่มีสิ่งของ
ก็หลบฝนจนกว่าฝนจะหาย
[๔๒๙] เมื่อฝนหายแล้ว พวกเขาก็ไปตามปรารถนาฉันใด
มารดาบิดาของท่านก็ฉันนั้น
จะคร่ำครวญไปทำไมในการตายของเขานั้น
[๔๓๐] แขกผู้จรมาผู้ทำเจ้าของบ้านให้หวั่นไหวสั่นสะท้านฉันใด
มารดาและบิดาของท่านก็ฉันนั้น
จะคร่ำครวญไปทำไมในการตายของเขานั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๗. คิริมานันทเถราปทาน
[๔๓๑] งูลอกคราบเก่าไปฉันใด
มารดาและบิดาของท่านก็ฉันนั้น
ย่อมละกายของตนในโลกนี้ไป
[๔๓๒] ข้าพเจ้าได้ทราบพระพุทธดำรัสแล้ว
จึงละลูกศรคือความเศร้าโศกได้
เกิดความปราโมทย์แล้ว ได้กราบไหว้
พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
[๔๓๓] ครั้นแล้ว ใช้ช่อดอกกล้วยไม้ที่มีกลิ่นหอมทิพย์
บูชาพระพุทธเจ้าพระนามว่าสุเมธะ
ผู้เป็นพระมหานาค ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
[๔๓๔] ครั้นบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว
ประนมมือขึ้นเหนือศีรษะระลึกถึงคุณอันเลิศแล้ว
ได้สรรเสริญพระองค์ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลกว่า
[๔๓๕] ข้าแต่พระมหามุนีผู้มีความเพียรมาก
พระองค์ทรงเป็นสัพพัญญู เป็นผู้นำสัตว์โลก
ทรงข้ามพ้นแล้ว ยังทรงช่วยเหลือสรรพสัตว์ ด้วยพระญาณอีก
[๔๓๖] ข้าแต่พระมหามุนีผู้มีพระจักษุ
พระองค์ตัดความเคลือบแคลงสงสัยของข้าพระองค์
และให้ข้าพระองค์บรรลุมรรคด้วยพระญาณของพระองค์
[๔๓๗] พระอรหันต์ผู้ถึงความสำเร็จ
ได้อภิญญา ๖ มีฤทธิ์มาก
เที่ยวไปในอากาศได้
เป็นนักปราชญ์ แวดล้อมอยู่ในขณะนั้น
[๔๓๘] พระเสขะผู้กำลังปฏิบัติ และผู้ตั้งอยู่ในผล
เป็นสาวกของพระองค์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๗. คิริมานันทเถราปทาน
สาวกทั้งหลายของพระองค์ย่อมเบ่งบาน
เหมือนดอกปทุมแย้มบานเมื่อดวงอาทิตย์อุทัย
[๔๓๙] มหาสมุทรประมาณมิได้ ไม่มีอะไรเทียมเท่า
ยากที่จะข้ามได้ ฉันใด
ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระจักษุ
พระองค์ก็ทรงสมบูรณ์ด้วยพระญาณนับประมาณมิได้ ฉันนั้น
[๔๔๐] ข้าพเจ้าได้คุกเข่าน้อมไหว้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงชนะโลก
ผู้มีพระจักษุ มีพระยศยิ่งใหญ่ทุกทิศแล้วหลีกไป
[๔๔๑] ข้าพเจ้าจุติจากเทวโลกแล้ว
มีสติสัมปชัญญะอยู่เฉพาะหน้า
เร่ร่อนอยู่ในภพน้อยภพใหญ่
ลงมาปฏิสนธิในครรภ์มารดา
[๔๔๒] ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เป็นผู้มีความเพียร
มีปัญญารักษาตน
มีปกติเข้าฌาน มีการหลีกเร้นเป็นอารมณ์
[๔๔๓] ตั้งความเพียร ให้พระมหามุนีทรงพอพระทัย
พ้นจากกิเลส ดังดวงจันทร์พ้นแล้วจากกลีบเมฆ อยู่ทุกเมื่อ
[๔๔๔] ข้าพเจ้าเป็นผู้ขวนขวายในวิเวก สงบระงับ ไม่มีอุปธิ
กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
[๔๔๕] ในกัปที่ ๓๐,๐๐๐ (นับจากกัปนี้ไป)
ข้าพเจ้าได้บูชาพระพุทธเจ้าไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๔๔๖] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๘. สลฬมัณฑปิยเถราปทาน
อาสวะทั้งปวงสิ้นไปแล้ว
บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก
[๔๔๗] การที่ข้าพเจ้าได้มาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๔๔๘] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระคิริมานันทเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
คิริมานันทเถราปทานที่ ๗ จบ

๘. สลฬมัณฑปิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระสลฬมัณฑปิยเถระ
(พระสลฬมัณฑปิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๔๔๙] เมื่อพระพุทธเจ้าพระนามว่ากกุสันธะ
ทรงอยู่จบพรหมจรรย์ ปรินิพพานแล้ว
ข้าพเจ้าได้เก็บดอกช้างน้าวมาทำเป็นมณฑป
[๔๕๐] ข้าพเจ้าไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ได้วิมานชั้นสูงสุด
รุ่งเรืองเหนือเทวดาเหล่าอื่น
นี้เป็นผลแห่งบุญกรรม
[๔๕๑] ข้าพเจ้าเดินและยืนอยู่ในเวลากลางวันหรือกลางคืนก็ตาม
ย่อมมีดอกช้างน้าวกำบังไว้
นี้เป็นผลแห่งบุญกรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๙. สัพพทายกเถราปทาน
[๔๕๒] ในกัปนี้เอง ข้าพเจ้าได้บูชาพระพุทธเจ้าไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๔๕๓] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๔๕๔] การที่ข้าพเจ้าได้มาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๔๕๕] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระสลฬมัณฑปิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
สลฬมัณฑปิยเถราปทานที่ ๘ จบ

๙. สัพพทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระสัพพทายกเถระ
(พระสัพพทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๔๕๖] ที่อยู่ของข้าพเจ้าซึ่งบุญกรรมเนรมิตไว้ดีแล้วจดถึงมหาสมุทร
สระโบกขรณีซึ่งบุญกรรมเนรมิตไว้ดีแล้ว
มีนกจักรพากส่งเสียงร้องอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๙. สัพพทายกเถราปทาน
[๔๕๗] ดารดาษด้วยบัวเผื่อนบัวหลวงและบัวขาบ
ในสระนั้นมีน้ำไหล มีท่าน้ำราบเรียบ เป็นที่น่ารื่นรมย์ใจ
[๔๕๘] มีปลาและเต่าชุกชุม ชุกชุมไปด้วยเนื้อต่าง ๆ
มีนกยูง นกกระเรียน และนกดุเหว่า เป็นต้น
ส่งเสียงร้องอย่างไพเราะ
[๔๕๙] นกเขา นกเป็ดน้ำ นกจักรพาก นกกาน้ำ นกต้อยตีวิด
นกสาลิกา นกช้อนหอย นกโพระดก
[๔๖๐] หงส์ นกกระเรียน นกแสก นกขมิ้น
ช่างน่าเพลิดเพลินอยู่มาก
สระโบกขรณีสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ
มีทรายแก้วมณีและแก้วมุกดา
[๔๖๑] ต้นไม้ทั้งหลายเป็นสีทองทั้งหมด
มีกลิ่นหอมต่าง ๆ ฟุ้งขจรไป
ส่องที่อยู่ของข้าพเจ้าให้สว่างไสวตลอดกาลทั้งปวง
ทั้งกลางวันกลางคืน
[๔๖๒] เครื่องดนตรี ๖๐,๐๐๐ ชิ้น
ประโคมอยู่ทั้งเวลาเย็นและเวลาเช้า
สตรีสาวล้วน ๖๐,๐๐๐ นาง แวดล้อมข้าพเจ้าอยู่ทุกเมื่อ
[๔๖๓] ข้าพเจ้าออกจากที่อยู่แล้ว
ได้เห็นพระพุทธเจ้าพระนามว่าสุเมธะ
ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี
ได้ไหว้พระองค์ ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่
[๔๖๔] ถวายอภิวาทแล้วได้ทูลนิมนต์พระองค์พร้อมทั้งพระสาวก
พระพุทธเจ้าผู้เป็นนักปราชญ์พระนามว่าสุเมธะ
ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก ทรงรับนิมนต์แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๙. สัพพทายกเถราปทาน
[๔๖๕] พระมหามุนีตรัสธรรมกถาแก่ข้าพเจ้าแล้วทรงส่งข้าพเจ้าไป
ข้าพเจ้าถวายอภิวาทพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว
กลับเข้าไปยังที่อยู่ของตน
[๔๖๖] ข้าพเจ้าเรียกบริวารชนมาบอกว่า ท่านทั้งหมดจงประชุมกัน
เวลาเช้าพระพุทธเจ้าจะเสด็จมายังที่อยู่ของเรา
[๔๖๗] การที่พวกเราจะได้อยู่ในสำนักของพระองค์
เป็นลาภที่พวกเราได้ดีแล้วหนอ
แม้พวกเราจักทำการบูชาพระพุทธเจ้า
ผู้ประเสริฐที่สุดผู้เป็นศาสดา
[๔๖๘] ข้าพเจ้าตระเตรียมข้าวและน้ำเสร็จแล้ว จึงกราบทูลภัตกาล
พระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
เสด็จเข้ามาพร้อมด้วยพระอรหันต์ ๒๐๐,๐๐๐ องค์
[๔๖๙] ข้าพเจ้าได้รับเสด็จด้วยดนตรีเครื่องห้า
พระพุทธเจ้าผู้เป็นบุรุษผู้สูงสุด
ประทับนั่งบนตั่งทองคำล้วน
[๔๗๐] ในครั้งนั้น หลังคาเบื้องบนก็มุงด้วยทองคำล้วน
คนทั้งหลายโบกพัดถวายในระหว่างภิกษุสงฆ์
[๔๗๑] ข้าพเจ้าได้ถวายข้าวน้ำอย่างเพียงพอ
ให้ภิกษุสงฆ์ฉันจนอิ่มหนำแล้ว
ได้ถวายผ้าแก่ภิกษุสงฆ์รูปละ ๑ คู่
[๔๗๒] พระพุทธเจ้าที่ผู้คนเรียกพระนามว่าสุเมธะ
ผู้สมควรรับเครื่องบูชาของโลก
ประทับนั่งในท่ามกลางหมู่ภิกษุแล้ว
ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๙. สัพพทายกเถราปทาน
[๔๗๓] เราจักพยากรณ์ผู้ที่ถวายข้าวน้ำ
ให้ภิกษุทั้งหมดนี้ฉันจนอิ่มหนำ
ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าวเถิด
[๔๗๔] ผู้นี้จักรื่นรมย์ในเทวโลกตลอด ๑๑๘ กัป
จักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๑,๐๐๐ ชาติ
[๔๗๕] เขาเกิดในกำเนิดใด
คือจะเกิดเป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็ตาม
ในกำเนิดนั้น ๆ หลังคาทองคำล้วนจักกางกั้นให้ตลอดเวลา
[๔๗๖] ในกัปที่ ๓๐,๐๐๐ (นับจากกัปนี้ไป)
พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร
ทรงสมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก
[๔๗๗] ผู้นั้นจักเป็นธรรมทายาทของพระศาสดาพระองค์นั้น
เป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต
กำหนดรู้อาสวะทั้งปวง จักเป็นผู้ไม่มีอาสวะแล้วนิพพาน
[๔๗๘] ผู้นั้นจักนั่งในท่ามกลางหมู่ภิกษุแล้วบันลือสีหนาท
เขาสิ้นชีวิตแล้วถูกเผาภายใต้ฉัตร
ที่ชนทั้งหลายกั้นไว้ที่เชิงตะกอน
[๔๗๙] สามัญผลข้าพเจ้าบรรลุแล้วตามลำดับ
กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ที่มณฑปหรือที่โคนต้นไม้
ความเร่าร้อนไม่มีแก่ข้าพเจ้า
[๔๘๐] ในกัปที่ ๓๐,๐๐๐ (นับจากกัปนี้ไป)
ข้าพเจ้าได้ถวายทานไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการให้ทุกสิ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๑๐. อชิตเถราปทาน
[๔๘๑] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๔๘๒] การที่ข้าพเจ้าได้มาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๔๘๓] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระสัพพทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
สัพพทายกเถราปทานที่ ๙ จบ

๑๐. อชิตเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอชิตเถระ
(พระอชิตเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๔๘๔] พระผู้มีพระภาคชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ทรงถึงความสำเร็จแห่งธรรมทั้งปวง ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
เสด็จมายังภูเขาหิมพานต์ แล้วประทับนั่งอยู่
[๔๘๕] ข้าพเจ้าไม่เคยได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
แม้พระสุรเสียงข้าพเจ้าก็ไม่เคยได้ฟัง
ข้าพเจ้าเที่ยวไปในป่าแสวงหาอาหารเพื่อตนเอง
[๔๘๖] ได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้มีพระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ
ในป่านั้น ครั้นเห็นแล้วจึงปลื้มใจด้วยคิดว่า นี้เป็นใครกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๑๐. อชิตเถราปทาน
[๔๘๗] ข้าพเจ้าพิจารณาดูลักษณะแล้ว
ระลึกถึงความรู้ของตนเองได้
ข้าพเจ้าฟังคำสุภาษิตของบัณฑิตผู้เจริญ
[๔๘๘] ตามคำของบัณฑิตเหล่านั้น
ท่านผู้นี้คงเป็นพระพุทธเจ้า
ทางที่ดีเราควรสักการะพระองค์
พระองค์จะช่วยชำระคติของเราได้
[๔๘๙] ข้าพเจ้าจึงรีบกลับไปยังอาศรม
หยิบเอาน้ำผึ้งและน้ำมัน
ถือหม้อเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นผู้นำโดยวิเศษ
[๔๙๐] ได้นำไม้ ๓ ท่อนไปวางไว้ในที่กลางแจ้ง
แล้วตามประทีปให้ลุกโพลงเสร็จแล้วกราบ ๘ ครั้ง
[๔๙๑] พระพุทธเจ้าผู้เป็นบุรุษผู้สูงสุด
ประทับนั่งอยู่ตลอด ๗ วัน ๗ คืน
พระพุทธองค์ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลกได้เสด็จลุกขึ้นในเวลารุ่งสาง
[๔๙๒] ข้าพเจ้ามีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี
ได้ตามประทีปถวายพระพุทธเจ้า
ด้วยมือของตน ตลอด ๗ วัน ๗ คืน
[๔๙๓] กลิ่นหอมทุกอย่างที่เกิดในป่า ณ ภูเขาคันธมาทน์
โชยมาในสำนักของพระพุทธเจ้า ด้วยพุทธานุภาพ
[๔๙๔] เวลานั้น ต้นไม้ที่มีดอกมีกลิ่นหอมทุกชนิด บานสะพรั่ง
ร่วงหล่นมารวมกันในกาลนั้นด้วยพุทธานุภาพ
[๔๙๕] นาคและครุฑทั้ง ๒ พวกเท่าที่มีอยู่ที่ภูเขาหิมพานต์
ต้องการจะฟังธรรมจึงพากันมายังสำนักของพระพุทธเจ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๑๐. อชิตเถราปทาน
[๔๙๖] พระสมณะนามว่าเทวละ เป็นอัครสาวกของพระพุทธเจ้า
พร้อมด้วยพระอรหันต์ ๒๐๐,๐๐๐ รูป
เข้ามายังสำนักของพระพุทธเจ้า
[๔๙๗] พระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ผู้ทรงรู้แจ้งโลก
ผู้สมควรรับเครื่องบูชา ประทับนั่งในท่ามกลางหมู่ภิกษุแล้ว
ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
[๔๙๘] เราจักพยากรณ์ผู้ที่มีความเลื่อมใส
ได้ตามประทีปถวายเราด้วยมือของตน
ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าวเถิด
[๔๙๙] เขาจักรื่นรมย์ในเทวโลกตลอด ๖๐,๐๐๐ กัป
และจักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๑,๐๐๐ ชาติ
ภาณวารที่ ๑๖ จบ

[๕๐๐] เขาจักได้เป็นจอมเทพครองเทวสมบัติตลอด ๓๖ ชาติ
จักได้ครองรัชสมบัติอันไพบูลย์ในแผ่นดิน ๗๐๐ ชาติ
[๕๐๑] จักเป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์นับชาติไม่ถ้วน
ด้วยผลแห่งการตามประทีปถวายนี้ จักเป็นผู้มีทิพยจักษุ
[๕๐๒] ผู้นี้จักมองเห็นได้ไกล ๒๕๐ ชั่วธนู โดยรอบทุกเมื่อ
เมื่อเขาจุติจากเทวโลกมาบังเกิดเป็นมนุษย์
[๕๐๓] ประทีปจักทรงอยู่ตลอดทั้งกลางวันและกลางคืนเพื่อผู้นี้
ซึ่งเกิดมาพรั่งพร้อมด้วยบุญกรรม
[๕๐๔] เขาเกิดในกำเนิดใด
คือจะเกิดเป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็ตาม
ในกำเนิดนั้นจักโชติช่วงตลอดทั่วนคร
[๕๐๕] เพราะผลแห่งการตามประทีปถวาย ๘ ดวงนั้น
ชนทั้งหลายจักบำรุงผู้นี้
นี้เป็นผลแห่งการตามประทีปถวาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๑๐. อชิตเถราปทาน
[๕๐๖] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ (นับจากกัปนี้ไป)
พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร
ทรงสมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก
[๕๐๗] ผู้นี้จักเป็นธรรมทายาทของพระศาสดาพระองค์นั้น
เป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต
กำหนดรู้อาสวะทั้งปวง จักเป็นผู้ไม่มีอาสวะแล้วนิพพาน
[๕๐๘] ข้าพเจ้าให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโคดมศากยะ
ผู้ประเสริฐทรงพอพระทัยแล้ว
จักมีนามว่าอชิตะ เป็นสาวกของพระศาสดา
[๕๐๙] ข้าพเจ้ารื่นรมย์อยู่ในเทวโลกตลอด ๖๐,๐๐๐ กัป
แม้ในเทวโลกนั้น ประทีบ ๑๐๐ ดวง
ก็ส่องสว่างเพื่อข้าพเจ้าตลอดกาลเป็นนิตย์
[๕๑๐] รัศมีของข้าพเจ้าพวยพุ่ง (โพลง)
ไปในเทวโลกและมนุษยโลก
ข้าพเจ้าระลึกถึงพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุดแล้ว
จึงเกิดความร่าเริงอย่างยิ่ง
[๕๑๑] ข้าพเจ้าจุติจากสวรรค์ชั้นดุสิตแล้ว
ลงมาปฏิสนธิในครรภ์มารดา
เมื่อข้าพเจ้าเกิดก็ได้มีแสงสว่างเจิดจ้า
[๕๑๒] ข้าพเจ้าออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิตแล้ว
ได้เข้าไปหาพราหมณ์พาวรี ยอมตนเข้าเป็นศิษย์
[๕๑๓] เมื่อข้าพเจ้าอยู่ที่ภูเขาหิมพานต์
ได้ทราบข่าวพระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ข้าพเจ้าแสวงหาประโยชน์อย่างสูงสุด
จึงเข้าเฝ้าพระองค์ผู้เป็นผู้นำโดยวิเศษ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] ๑๐. อชิตเถราปทาน
[๕๑๔] พระพุทธเจ้าผู้ฝึกพระองค์แล้ว ทรงฝึกผู้อื่นด้วย
ทรงข้ามโอฆกิเลสได้แล้ว ไม่มีอุปธิ
ตรัสบอกนิพพานเป็นเหตุพ้นจากทุกข์ทั้งปวง
[๕๑๕] การมาของข้าพเจ้านั้นให้สำเร็จประโยชน์
ข้าพเจ้าให้พระมหามุนีทรงพอพระทัย
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๕๑๖] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายประทีปไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายประทีป
[๕๑๗] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๕๑๘] การที่ข้าพเจ้าได้มาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๕๑๙] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระอชิตเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
อชิตเถราปทานที่ ๑๐ จบ
ปิลินทวัจฉวรรคที่ ๔๐ จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๐. ปิลินทวัจฉวรรค] รวมอปทานที่มีในวรรค รวมวรรคได้ ๑๐ วรรค
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปิลินทวัจฉเถราปทาน ๒. เสลเถราปทาน
๓. สัพพกิตติกเถราปทาน ๔. มธุทายกเถราปทาน
๕. ปทุมกูฏาคาริกเถราปทาน ๖. พักกุลเถราปทาน
๗. คิริมานันทเถราปทาน ๘. สลฬมัณฑปิยเถราปทาน
๙. สัพพทายกเถราปทาน ๑๐. อชิตเถราปทาน

ท่านนับคาถาได้ ๕๒๐ คาถา

และรวมวรรคได้ ๑๐ วรรค คือ

๑. ปทุมเกสริยวรรค ๒. อารักขทายกวรรค
๓. อุมาปุปผิยวรรค ๔. คันโธทกวรรค
๕. เอกปทุมวรรค ๖. สัททสัญญิกวรรค
๗. มันทารวปุปผิยวรรค ๘. โพธิวันทนวรรค
๙. อัมพฏผลวรรค ๑๐. ปิลินทวัจฉวรรค

และท่านคำนวณคาถาได้ ๑,๑๗๔ คาถา
หมวด ๑๐ แห่งวรรคมีปทุมเกสริยวรรคเป็นต้น จบ
๑๐๐ เรื่อง หมวดที่ ๔ จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๑. เมตเตยยวรรค] ๑. ติสสเมตเตยยเถราปทาน
๔๑. เมตเตยยวรรค
หมวดว่าด้วยพระเมตเตยยะเป็นต้น
๑. ติสสเมตเตยยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระติสสเมตเตยยเถระ
(พระติสสเมตเตยยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑] (ข้าพเจ้าเป็น)ดาบสชื่อโสภิตะ
บริโภคแต่ผลไม้ที่หล่นเอง
อาศัยยอดเงื้อมอยู่ในระหว่างภูเขา
[๒] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าแสวงหาประโยชน์อย่างสูงสุด
เพื่อเกิดในพรหมโลก
จึงนำฟืนสำหรับก่อไฟมาสุมไฟให้ลุกโพลง
[๓] พระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้ทรงรู้แจ้งโลก ผู้สมควรรับเครื่องบูชา
พระองค์ประสงค์จะช่วยเหลือข้าพเจ้า
จึงเสด็จมาในสำนักของข้าพเจ้า
[๔] ตรัสถามว่า ทำอะไรอยู่หรือ ท่านผู้มีบุญมาก
ขอท่านจงให้ฟืนสำหรับก่อไฟแก่เราบ้าง
เราจะบำเรอไฟ
เพราะการบำเรอไฟนั้น
ความบริสุทธิ์จักมีแก่เรา
[๕] ข้าพเจ้าทูลว่า ข้าแต่ท่านผู้เป็นมนุษย์
ท่านเป็นผู้เจริญดี ท่านเข้าใจเทวดาดี
เชิญท่านบำเรอไฟ
เชิญท่านนำฟืนสำหรับก่อไฟไปเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๑. เมตเตยยวรรค] ๑. ติสสเมตเตยยเถราปทาน
[๖] ลำดับนั้น พระชินเจ้าทรงถือฟืนจากที่นั้นไปก่อไฟ
แต่ไม่ทำฟืนให้ไหม้ในกองไฟนั้น
เพราะพระองค์ผู้แสวงหาคุณ
อันยิ่งใหญ่ทรงทำปาฏิหาริย์
[๗] พระชินเจ้าตรัสว่า ไฟของท่านไม่ลุกโพลง
เครื่องบูชาของท่านไม่มีการบำเรอ
ไฟของท่านไร้ประโยชน์
เชิญท่านบำเรอไฟของเราบ้างซิ
[๘] ข้าพเจ้าทูลถามว่า ข้าแต่ท่านผู้มีความเพียรมาก
ไฟของท่านเป็นเช่นไร
ขอจงบอกไฟของท่าน
เมื่อบอกแก่ข้าพเจ้าแล้ว
เราทั้ง ๒ จะบูชา(ร่วมกัน)
[๙] พระชินเจ้าตรัสว่า การบูชาของเรามีไว้
(เพื่อประโยชน์) ๓ ประการนี้
คือเพื่อดับธรรมที่เป็นเหตุ ๑ เพื่อเผากิเลส ๑
เพื่อละความริษยาและความตระหนี่ ๑
[๑๐] ข้าพเจ้าทูลถามว่า ข้าแต่ท่านผู้มีความเพียรมาก
ผู้นิรทุกข์ พระองค์เป็นคนเช่นไร มีตระกูลอย่างไร
ข้าพเจ้าชอบใจอาจาระและข้อปฏิบัติของพระองค์นัก
[๑๑] พระชินเจ้าตรัสตอบว่า
เราเกิดในตระกูลกษัตริย์
ถึงความสำเร็จแห่งอภิญญา
สิ้นอาสวะทั้งปวงแล้ว
บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๑. เมตเตยยวรรค] ๑. ติสสเมตเตยยเถราปทาน
[๑๒] ข้าพเจ้าทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ส่องแสงสว่าง
ทรงบรรเทาความมืด
ถ้าพระองค์เป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้า
ข้าพระองค์จักขอนอบน้อมพระองค์
พระองค์เป็นผู้ทำที่สุดทุกข์
[๑๓] ข้าพเจ้าจึงปูหนังสัตว์ถวายให้เป็นที่ประทับนั่ง
พระสัพพัญญูประทับนั่งบนหนังสัตว์นั้น
ข้าพเจ้าอุปัฏฐากพระองค์
[๑๔] พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนหนังสัตว์ที่ข้าพเจ้าปูถวายนั้น
ข้าพเจ้านิมนต์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วได้ไปยังภูเขา
[๑๕] เก็บผลมะพลับใส่หาบจนเต็ม
นำผลมาคลุกเคล้าด้วยน้ำผึ้งแล้ว
ได้ถวายแด่พระพุทธเจ้า
[๑๖] เมื่อข้าพเจ้ามองดูอยู่ พระชินเจ้าทรงเสวยในขณะนั้น
ข้าพเจ้ามองดูพระองค์ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ทำจิตให้เลื่อมใสในพระองค์
[๑๗] พระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้ทรงรู้แจ้งโลก ผู้สมควรรับเครื่องบูชา
ประทับนั่งอยู่ในอาศรมของข้าพเจ้า
ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
[๑๘] เราจักพยากรณ์ผู้ที่เลื่อมใสได้ถวายผลไม้
ให้เราฉันจนอิ่มหนำ ด้วยมือของตน
ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าวเถิด
[๑๙] ผู้นั้นจักครองเทวสมบัติ ๒๕ ชาติ
และจักเกิดเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๑,๐๐๐ ชาติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๑. เมตเตยยวรรค] ๑. ติสสเมตเตยยเถราปทาน
[๒๐] ข้าว น้ำ ผ้า และที่นอน ซึ่งสมควรแก่ค่ามาก
ดังจะรู้ความดำริของเขา ผู้ประกอบด้วยบุญกรรม
[๒๑] ปัจจัยทั้งหลาย ประกอบด้วยบุญกรรมจักบังเกิดขึ้นทันที
ผู้นี้จักบันเทิง และไม่มีโรคตลอดเวลา
[๒๒] เขาเกิดในกำเนิดใด
คือจะเกิดเป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็ตาม
ในกำเนิดนั้น เขาจักได้เป็นมนุษย์ มีสุขในที่ทุกแห่ง
[๒๓] เขาเป็นผู้คงแก่เรียน ทรงมนตร์ จบไตรเพท
เข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วจักเป็นพระอรหันต์
[๒๔] ตั้งแต่ข้าพเจ้าจำความได้ รู้เดียงสา
ความพร่องในโภคสมบัติไม่มีแก่ข้าพเจ้าเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
[๒๕] ข้าพเจ้าบรรลุถึงธรรมอย่างประเสริฐแล้ว
ถอนราคะและโทสะขึ้นได้แล้ว
สิ้นอาสวะทั้งปวงแล้ว
บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก
[๒๖] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๒๗] การที่ข้าพเจ้าได้มาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๑. เมตเตยยวรรค] ๒. ปุณณกเถราปทาน
[๒๘] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระติสสเมตเตยยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
ติสสเมตเตยยเถราปทานที่ ๑ จบ

๒. ปุณณกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระปุณณกเถระ
(พระปุณณกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๒๙] พระสยัมภูพุทธเจ้า ผู้ไม่ทรงพ่ายแพ้
ทรงพระประชวร
ทรงอาศัยยอดเงื้อมประทับอยู่ระหว่างภูเขา
[๓๐] ขณะนั้น ได้มีเสียงบันลือลั่นรอบ ๆ อาศรมของข้าพเจ้า
เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน
ได้มีแสงสว่างในขณะนั้น
[๓๑] หมี หมาใน เสือดาว เนื้อร้าย และพญาราชสีห์
เท่าที่มีอยู่ในไพรสณฑ์
ทั้งหมดได้พากันส่งเสียงร้องขึ้นในขณะนั้น
[๓๒] ข้าพเจ้าเห็นความอัศจรรย์นั้นแล้ว ได้ไปยังเงื้อม
ณ ที่นั้น ข้าพเจ้าได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้ไม่ทรงพ่ายแพ้ เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว
[๓๓] เหมือนต้นพญาไม้สาละมีดอกบานสะพรั่ง
เหมือนดวงอาทิตย์อุทัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๑. เมตเตยยวรรค] ๒. ปุณณกเถราปทาน
เหมือนถ่านเพลิงปราศจากเปลวไฟ
พระองค์ผู้ไม่ทรงพ่ายแพ้เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว
[๓๔] ข้าพเจ้านำหญ้าและไม้มารวมกันแล้ว
ก่อเป็นเชิงตะกอนขึ้นในที่นั้น
ครั้นทำเชิงตะกอนดีแล้ว
ได้ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ
[๓๕] ครั้นถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระแล้วได้ใช้น้ำหอมประพรม
ในขณะนั้น เทวดายืนอยู่ในอากาศได้ระบุชื่อว่า
[๓๖] ดูกรท่านผู้เป็นมุนี ในครั้งที่ท่านมีนามว่าปุณณกะ
ท่านก็ได้บำเพ็ญกิจนั้นแก่พระสยัมภูพุทธเจ้า
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่แล้ว
[๓๗] ข้าพเจ้าเคลื่อนจากกายนั้นแล้ว ได้ไปเกิดยังเทวโลก
ในเทวโลกนั้น กลิ่นทิพย์ย่อมตกลงจากอากาศ
[๓๘] แม้ในภพไหน ๆ ข้าพเจ้าก็มีชื่อว่าปุณณกะ
ในครั้งนั้น ข้าพเจ้าจะเกิดเป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็ตาม
ก็ให้ความดำริบริบูรณ์ได้
[๓๙] นี้เป็นชาติสุดท้ายของข้าพเจ้า
ภพสุดท้ายกำลังเป็นไปอยู่
แม้ในภพนี้ชื่อของข้าพเจ้าก็ยังปรากฏว่าปุณณกะเหมือนกัน
[๔๐] ข้าพเจ้าให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโคดมศากยะ
ผู้ประเสริฐ ทรงพอพระทัยแล้ว
กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้วจึงอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
[๔๑] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ทำกรรมไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๑. เมตเตยยวรรค] ๓. เมตตคูเถราปทาน
[๔๒] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๔๓] การที่ข้าพเจ้าได้มาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๔๔] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระปุณณกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ปุณณกเถราปทานที่ ๒ จบ

๓. เมตตคูเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระเมตตคูเถระ
(พระเมตตคูเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๔๕] ในที่ไม่ไกลภูเขาหิมพานต์มีภูเขาลูกหนึ่งชื่ออโศก
วิสสุกรรมเทพบุตรเนรมิตอาศรม
ให้แก่ข้าพเจ้าที่ภูเขาอโศกนั้น
[๔๖] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสุเมธะ ผู้เลิศ
ทรงประกอบด้วยพระกรุณา เป็นพระมุนี
เวลาเช้าทรงครองผ้าแล้ว
เสด็จเข้ามาบิณฑบาตในสำนักข้าพเจ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๑. เมตเตยยวรรค] ๓. เมตตคูเถราปทาน
[๔๗] ข้าพเจ้าได้เห็นพระมหาวีรเจ้าพระนามว่าสุเมธะ
ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลกเสด็จเข้ามา
จึงรับบาตรของพระสุคตแล้ว
บรรจุเนยใสและน้ำมันจนเต็ม
[๔๘] ถวายพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุดพระนามว่าสุเมธะ
ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก ประคองอัญชลี
เกิดความร่าเริงอย่างยิ่ง
[๔๙] ด้วยผลแห่งการถวายเนยใส(และน้ำมัน)นี้
และด้วยการตั้งเจตนาไว้มั่น
ข้าพเจ้าจะเกิดเป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็ตาม
ย่อมได้สุขอย่างเหลือล้น
[๕๐] ข้าพเจ้าเวียนว่ายตายเกิดอยู่
ในภพน้อยภพใหญ่ เว้นวินิบาตนรก
ตั้งจิตมั่นไว้ในพระพุทธเจ้านั้น
ย่อมได้บทที่ไม่หวั่นไหว
[๕๑] (พระพุทธเจ้าตรัสว่า)
พราหมณ์ การที่ท่านได้เห็นเรานั้น
เป็นลาภที่ท่านได้ดีแล้ว
ด้วยว่า บุคคลอาศัยการเห็นเราแล้วจักได้บรรลุอรหัต
[๕๒] ท่านบรรลุยศใหญ่แล้วเป็นผู้เบาใจ ไม่ต้องกลัว
ถวายเนยใสแก่เราแล้วจักพ้นจากชาติทุกข์ได้
[๕๓] ด้วยการถวายเนยใสนี้และด้วยการตั้งเจตนาไว้มั่น
ข้าพเจ้าจะเกิดเป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็ตาม
ย่อมได้สุขอย่างเหลือล้น
[๕๔] ด้วยอธิการนี้และด้วยความเป็นผู้มีจิตเมตตา
ผู้นั้นจักรื่นรมย์อยู่ในเทวโลกตลอด ๑๑๘ กัป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๑. เมตเตยยวรรค] ๓. เมตตคูเถราปทาน
[๕๕] จักได้เป็นท้าวเทวราช ๓ ชาติ ตลอด ๑๘ กัป
จักเป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์นับชาติไม่ถ้วน
[๕๖] จักเกิดเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๕๑ ชาติ
ทรงเป็นใหญ่ มีชัยชนะ มีสมุทรทั้ง ๔ เป็นขอบเขต
เป็นใหญ่ในชมพูทวีป
[๕๗] มหาสมุทรใคร ๆ ให้กระเพื่อมไม่ได้
และแผ่นดินใคร ๆ ยกขึ้นได้ยากฉันใด
โภคสมบัติของข้าพเจ้าก็นับประมาณมิได้ฉันนั้น
[๕๘] ข้าพเจ้าบริจาคเงิน ๖๐ โกฏิแล้วออกบวช
แสวงหากุศลบางอย่างอยู่ จึงเข้าไปหาพราหมณ์พาวรี
[๕๙] ข้าพเจ้าเล่าเรียนลักษณะมีองค์ ๖ ในมนตร์นั้นอยู่
ข้าแต่พระมหามุนี
พระองค์เสด็จอุบัติขึ้นกำจัดความมืดนั้นแล้ว
[๖๐] ข้าแต่พระมหามุนี
ข้าพระองค์ประสงค์จะเข้าเฝ้าพระองค์จึงมา
ได้ฟังธรรมของพระองค์แล้ว
ได้บรรลุบทที่ไม่หวั่นไหว
[๖๑] ในกัปที่ ๓๐,๐๐๐ (นับจากกัปนี้ไป)
ข้าพเจ้าได้ถวายเนยใสแด่พระพุทธเจ้า
ในระหว่างนี้ จึงไม่รู้จักว่า
ข้าพเจ้าจะต้องขอเนยใสเลย
[๖๒] เนยใสดังจะรู้ความดำริของข้าพเจ้า
จึงเกิดขึ้นตามความปรารถนา
รู้ความดำริแล้วจึงบังเกิด
ข้าพเจ้าเลี้ยงดูภิกษุทั้งปวงให้อิ่มหนำ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๑. เมตเตยยวรรค] ๓. เมตตคูเถราปทาน
[๖๓] ช่างน่าอัศจรรย์ พระพุทธเจ้า
ช่างน่าอัศจรรย์ พระธรรม
ช่างน่าอัศจรรย์ การที่ข้าพเจ้าได้มาประจวบกับพระศาสดา
ข้าพเจ้าถวายเนยใสหน่อยเดียวแต่ได้เนยใสประมาณมิได้
[๖๔] น้ำในมหาสมุทรมีประมาณตั้งแต่เชิงเขาสิเนรุ
เมื่อเทียบกับเนยใสของข้าพเจ้าจักไม่เท่าส่วนเสี้ยวเลย
[๖๕] โอกาสแห่งจักรวาลที่เขาทำให้เป็นกองประมาณเท่าใด
โอกาสประมาณนั้นไม่สมกับกองผ้าที่บังเกิดแก่ข้าพเจ้า
[๖๖] ภูเขาหิมพานต์มีหินล้วนแม้จะสูงสุด
ก็ยังไม่เท่าของหอมที่ข้าพเจ้าลูบไล้
[๖๗] ผ้า ของหอม เนยใส และสิ่งอื่น ที่เกิดในปัจจุบัน
และนิพพานที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง
นี้เป็นผลแห่งการถวายเนยใส
[๖๘] ข้าพเจ้ามีสติปัฏฐานเป็นที่นอน
มีสมาธิและฌานเป็นอารมณ์
วันนี้ ข้าพเจ้าเป็นผู้ให้โพชฌงค์เกิด
นี้เป็นผลแห่งการถวายเนยใส
[๖๙] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๗๐] การที่ข้าพเจ้าได้มาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๑. เมตเตยยวรรค] ๔. โธตกเถราปทาน
[๗๑] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระเมตตคูเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
เมตตคูเถราปทานที่ ๓ จบ

๔. โธตกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระโธตกเถระ
(พระโธตกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๗๒] ครั้งนั้น แม่น้ำภาคีรถี เกิดจากภูเขาหิมพานต์
ไหลผ่านไปทางประตูกรุงหงสวดี
[๗๓] อารามชื่อโสภิตะ มหาชนสร้างไว้อย่างสวยงามใกล้ฝั่งแม่น้ำ
พระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก ประทับอยู่ในอารามนั้น
[๗๔] พระผู้มีพระภาคมีหมู่มนุษย์ห้อมล้อม
ดังพระอินทร์จากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ประทับนั่งในอารามนั้น ไม่ครั่นคร้ามดุจราชสีห์
[๗๕] ข้าพเจ้าเป็นพราหมณ์มีนามว่าฉฬังคะ
อยู่ในกรุงหงสวดี พระมหามุนีก็มีนามอย่างนั้น
[๗๖] ครั้งนั้น ศิษย์ ๑๑๘ คน แวดล้อมข้าพเจ้า
ข้าพเจ้าพร้อมด้วยศิษย์เหล่านั้นไปยังฝั่งแม่น้ำ
[๗๗] ณ ที่นั้น ข้าพเจ้าได้เห็นสมณะหลายรูป
ผู้ไม่คดโกง ผู้ชำระบาปแล้ว
ในครั้งนั้น ข้าพเจ้ากำลังข้ามแม่น้ำภาคีรถีคิดอย่างนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๑. เมตเตยยวรรค] ๔. โธตกเถราปทาน
[๗๘] บุตรของพระพุทธเจ้าผู้มียศมากเหล่านี้
ข้ามแม่น้ำทั้งในเวลาเย็นและในเวลาเช้า
ย่อมทำตนให้ลำบาก ทำตนให้เดือดร้อน
[๗๙] บัณฑิตย่อมกล่าวสรรเสริญพระพุทธเจ้าว่า
เป็นผู้เลิศในโลกพร้อมทั้งเทวโลก
เครื่องสักการะสำหรับชำระทางคือคติในทักษิณาของเราก็ไม่มี
[๘๐] ทางที่ดี เราพึงให้สร้างสะพานข้ามแม่น้ำ
ถวายแด่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุดเถิด
ครั้นให้สร้างสะพานนี้แล้ว จะข้ามภพนี้ไปได้
[๘๑] ข้าพเจ้าเชื่อว่ากุศลที่ข้าพเจ้าทำแล้วนี้ จักไพบูลย์
จึงได้ให้ทรัพย์ ๑๐๐ (บ้าง) ๑,๐๐๐ (บ้าง)
แล้วให้สร้างสะพาน
[๘๒] ข้าพเจ้าให้สร้างสะพานนั้นเสร็จแล้ว
ได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ประนมมือเหนือศีรษะแล้วได้กราบทูลคำนี้ว่า
[๘๓] ข้าพเจ้าได้จ่ายทรัพย์ ๑๐๐ (บ้าง) ๑,๐๐๐ (บ้าง)
แล้วให้สร้างสะพานใหญ่ เพื่อประโยชน์แก่พระองค์
ข้าแต่พระมหามุนี ขอได้โปรดทรงรับเถิด
[๘๔] พระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้ทรงรู้แจ้งโลก ผู้สมควรรับเครื่องบูชา
ประทับนั่งในท่ามกลางหมู่ภิกษุแล้ว
ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
[๘๕] เราจักพยากรณ์ผู้ที่เลื่อมใส ซึ่งได้ให้สร้างสะพาน
ถวายเราด้วยมือของตน
ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าวเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๑. เมตเตยยวรรค] ๔. โธตกเถราปทาน
[๘๖] ผู้นี้แม้ตกจากซอกเขาก็ดี จากภูเขาก็ดี จากต้นไม้ก็ดี
แม้จุติแล้วก็จักได้ที่ตั้งมั่น (คือที่พึ่ง)
นี้เป็นผลแห่งการถวายสะพาน
[๘๗] ศัตรูทั้งหลายข่มไม่ได้ เปรียบเหมือนลมข่มต้นไทร
ที่มีรากและย่านงอกงามไม่ได้ฉะนั้น
นี้เป็นผลแห่งการถวายสะพาน
[๘๘] พวกโจรข่มเหงไม่ได้ กษัตริย์ทั้งหลายไม่ดูหมิ่น
ผู้นี้จักผ่านศัตรูทั้งปวงไปได้
นี้เป็นผลแห่งการถวายสะพาน
[๘๙] ผู้นี้ประกอบด้วยบุญกรรม
ถึงจะอยู่ในโอกาสกลางแจ้งถูกแดดกล้าจัดแผดเผา
ก็จักไม่มีเวทนา
[๙๐] ในเทวโลกก็ดี ในมนุษยโลกก็ดี ยานพาหนะคือช้าง
ที่บุญกรรมเนรมิตดีแล้ว
ดังจะรู้ความดำริของผู้นั้น จักบังเกิดในทันที
[๙๑] ม้าสินธพ ๑,๐๐๐ ตัวซึ่งเป็นพาหนะวิ่งเร็วปานกำลังลม
จักคอยรับใช้ทั้งเวลาเช้าและเวลาเย็น
นี้เป็นผลแห่งการถวายสะพาน
[๙๒] ผู้นี้มาเกิดเป็นมนุษย์ จักเป็นผู้มีความสุข
แม้ในการเกิดเป็นมนุษย์นี้ ก็จักมียานพาหนะคือช้าง
[๙๓] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ (นับจากกัปนี้ไป)
พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร
ทรงสมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก
[๙๔] ผู้นี้จักเป็นธรรมทายาทของพระศาสดาพระองค์นั้น
เป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต
กำหนดรู้อาสวะทั้งปวง จักเป็นผู้ไม่มีอาสวะแล้วนิพพาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๑. เมตเตยยวรรค] ๔. โธตกเถราปทาน
[๙๕] ช่างน่าปลื้มใจ ข้าพเจ้าได้ทำกรรมไว้ดีแล้ว
ในพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ข้าพเจ้ากระทำสักการะไว้ในพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
จึงบรรลุความสิ้นอาสวะ
[๙๖] ข้าพเจ้าเป็นผู้มีจิตเด็ดเดี่ยว เพื่อบำเพ็ญเพียร
เป็นผู้สงบระงับ ไม่มีอุปธิ
ตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๙๗] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๙๘] การที่ข้าพเจ้าได้มาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๙๙] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
ได้ทราบว่า ท่านพระโธตกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
โธตกเถราปทานที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๑. เมตเตยยวรรค] ๕. อุปสีวเถราปทาน
๕. อุปสีวเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอุปสีวเถระ
(พระอุปสีวเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๐๐] ในที่ไม่ไกลภูเขาหิมพานต์ มีภูเขาลูกหนึ่งชื่ออโนมะ
เขาได้สร้างอาศรมและสร้างบรรณศาลาไว้อย่างดีเพื่อข้าพเจ้า
[๑๐๑] ในที่ไม่ไกลอาศรมของข้าพเจ้านั้น
มีแม่น้ำสายหนึ่งไหลอยู่
มีท่าน้ำราบเรียบ น่ารื่นรมย์ใจ
มีกอปทุมและกออุบลจำนวนมาก
เกิดอยู่ที่ท่าน้ำซึ่งเต็มเปี่ยมด้วยน้ำ
[๑๐๒] ในแม่น้ำนั้น ฝูงปลาสลาด ฝูงปลากระบอก
ฝูงปลาสวาย ฝูงปลาเค้า ฝูงปลาตะเพียน
แม่น้ำมีปลาและเต่าชุกชุมไหลอยู่เสมอ
[๑๐๓] มีต้นดีหมี ต้นอโศก ต้นเข็ม
ต้นบุนนาค ต้นบุนนาคเขา มีดอกบานสะพรั่ง
ส่งกลิ่นหอมอบอวลไปทั่วอาศรมของข้าพเจ้า
[๑๐๔] มีต้นอัญชันเขียว ต้นมะลิซ้อน
ต้นสาละ ต้นช้างน้าว ต้นจำปา
ขึ้นอยู่เป็นหมู่ ๆ มากด้วยกัน มีดอกบานสะพรั่ง
[๑๐๕] ต้นรกฟ้าขาว ต้นลำดวน ต้นกระท้อน
ต้นประดู่ และต้นมะซางหอม
มีดอกบานสะพรั่งมีอยู่ในที่ใกล้อาศรมของข้าพเจ้า
[๑๐๖] ต้นราชพฤกษ์ ต้นหงอนไก่
ต้นคัดเค้า ต้นประยงค์ ต้นมะกล่ำหลวง
มีอยู่ดาษดื่นโดยรอบตลอดกึ่งโยชน์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๑. เมตเตยยวรรค] ๕. อุปสีวเถราปทาน
[๑๐๗] ต้นโพธิ์ ต้นชบาซ้อน ต้นแคฝอย ต้นย่านทราย
ต้นปรู ต้นงิ้ว มีดอกบานสะพรั่ง มีอยู่มาก
ใกล้แม่น้ำนั้น ต้นกำยาน มีดอกบานสะพรั่ง
มีอยู่มากใกล้อาศรมของข้าพเจ้า ณ ใกล้ฝั่งแม่น้ำนั้น
[๑๐๘] เมื่อต้นไม้เหล่านี้มีดอก ต้นไม้จำนวนมากก็งาม
อาศรมของข้าพเจ้าโดยรอบ
หอมตลบไปด้วยกลิ่นดอกไม้นั้น
[๑๐๙] มีต้นสมอไทย ต้นมะขามป้อม ต้นมะม่วง
ต้นหว้า ต้นสมอพิเภก ต้นกระเบา ต้นรกฟ้า
ต้นมะตูม และต้นมะปราง มีผลมาก ในที่นั้น
[๑๑๐] ต้นมะพลับ ต้นมะหาด ต้นมะซาง
ต้นหมากเม่า ต้นขนุนสำปะลอ ต้นขนุน
ต้นกล้วย ต้นจันทน์ มีผลมาก ในที่นั้น
[๑๑๑] ต้นมะกอกและต้นเครือเถา มีผลมากในที่นั้น
และเผล็ดผลมีรสหวานทุกฤดูกาล
อยู่ใกล้อาศรมของข้าพเจ้า
[๑๑๒] ถั่วดำ ถั่วเหลือง มีฝักดกมาก
ต้นไทรย้อย และต้นไม้เลียบ
ต้นมะเดื่อ มีผลสุกงอมเต็มต้น
[๑๑๓] ดีปลี พริก ต้นไทร ต้นมะขวิด ต้นมะเดื่อ
มีผลสุกงอมมากเต็มต้นใกล้อาศรมของข้าพเจ้านั้น
[๑๑๔] ต้นไม้เหล่านี้และชนิดอื่นอีกมาก
กำลังมีผลใกล้อาศรมของข้าพเจ้า
แม้ไม้ดอกก็มีมาก
มีดอกบานสะพรั่งใกล้อาศรมของข้าพเจ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๑. เมตเตยยวรรค] ๕. อุปสีวเถราปทาน
[๑๑๕] มันเทศ มันอ้อน มันมือเสือ
หอม กระเทียม และคนทา
อาลกา ต้นตาล มีอยู่ใกล้อาศรมของข้าพเจ้า
[๑๑๖] ในที่ไม่ไกลอาศรมของข้าพเจ้า
มีสระใหญ่ธรรมชาติสระหนึ่ง
มีน้ำใส เย็นสนิท มีท่าน้ำราบเรียบน่ารื่นรมย์ใจ
[๑๑๗] ในสระนั้น มีบัวหลวง บัวขาบ สะพรั่งด้วยบัวขาว
ดารดาษด้วยบัวเผื่อน
ลมพัดพากลิ่นหอมต่าง ๆ โชยมา
[๑๑๘] ปทุมบางกอ มีดอกตูม บางกอมีดอกบาน
บางกอมีเกสรร่วงหล่น คงมีแต่ฝักบัวจำนวนมาก
[๑๑๙] น้ำหวานไหลออกจากก้านบัว
นมสดและเนยใสไหลออกจากเหง้าบัว
อบอวลไปด้วยกลิ่นหอมต่าง ๆ ด้วยกลิ่นหอมนั้นโดยรอบ
[๑๒๐] ต้นโกมุท ต้นจงกลนี และต้นตาเสือ
ปรากฏมีมากที่ใกล้ขอบสระธรรมชาติ
ต้นการะเกดจำนวนมากก็มีดอกบานสะพรั่ง
[๑๒๑] ต้นชบามีดอกบานสะพรั่ง สาหร่ายมีกลิ่นหอม
จระเข้ ตะโขง นาก เกิดอยู่ในสระนั้น
[๑๒๒] ในสระนั้นมีงูหลาม งูเหลือม ปลาสลาด ปลากระบอก
ปลาสวาย ปลาเค้า ปลาตะเพียน จำนวนมาก
[๑๒๓] มีปลา เต่า และตะพาบน้ำ นกพิราบ นกเป็ดน้ำ
นกกวัก นกกาน้ำ ชุกชุม
[๑๒๔] นกต้อยตีวิด นกจักรพาก นกช้อนหอย นกโพระดก
กระแต นกเขา เหยี่ยว และนาก มีอยู่มาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๑. เมตเตยยวรรค] ๕. อุปสีวเถราปทาน
[๑๒๕] สุนัขจิ้งจอก ลูกนกแขกเต้า ไก่ป่า จามรี มีอยู่มาก
กา เหยี่ยว และเสือดาว ก็อาศัยสระนั้นเลี้ยงชีวิต
[๑๒๖] ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี หมาใน เสือดาว
ลิง กินนร ปรากฏอยู่ใกล้อาศรมของข้าพเจ้า
[๑๒๗] ข้าพเจ้าสูดกลิ่นหอมเหล่านั้น บริโภคผลไม้
และดื่มน้ำหอม อยู่ในอาศรมของข้าพเจ้า
[๑๒๘] ฝูงเนื้อทราย ฝูงสุกร ฝูงเนื้อฟาน
นกเขาชวา นกเขาไฟ และนกกะปูด
อยู่ใกล้อาศรมของข้าพเจ้า
[๑๒๙] หงส์ นกกระเรียน นกยูง นกสาลิกา นกดุเหว่า
นกเค้าแมว นกแสก นกหัวขวาน มีอยู่มากในที่นั้น
[๑๓๐] พวกปีศาจทานพ (อสูร) กุมภัณฑ์ ผีเสื้อน้ำ
ครุฑ งูมีมาก อยู่ใกล้อาศรมของข้าพเจ้า
[๑๓๑] ฤๅษีทั้งหลาย มีอานุภาพมาก มีจิตสงบ มีใจมั่นคง
ทั้งหมดล้วนถือคนโทน้ำ นุ่งห่มหนังสัตว์
เพียบพร้อมด้วยชฎาและบริขาร
อยู่ในอาศรมของข้าพเจ้า
[๑๓๒] ฤๅษีเหล่านั้น ทอดตาดูประมาณชั่วแอก
มีปัญญารักษาตน มีความประพฤติสงบ
สันโดษตามมีตามได้ อยู่ในอาศรมของข้าพเจ้า
[๑๓๓] ฤๅษีเหล่านั้น สลัดผ้าคากรอง
เคาะหนังสัตว์อาศัยพลังของตน
เหาะไปได้ในอากาศ ในครั้งนั้น
[๑๓๔] ฤๅษีเหล่านั้นไม่ต้องนำน้ำหรือฟืนสำหรับก่อไฟมา
สิ่งเหล่านั้นสมบูรณ์ขึ้นเอง
นี้เป็นผลแห่งปาฏิหาริย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๑. เมตเตยยวรรค] ๕. อุปสีวเถราปทาน
[๑๓๕] ฤๅษีเหล่านั้นนำรางเหล็กมา อยู่ท่ามกลางป่า
เปรียบเหมือนช้างกุญชรมหานาค
(และ) พญาราชสีห์ผู้ไม่ครั่นคร้ามฉะนั้น
[๑๓๖] ฤๅษีเหล่านั้นทราบกำลังของตนแล้ว
พวกหนึ่งไปอปรโคยานทวีป
พวกหนึ่งไปปุพพวิเทหทวีป
พวกหนึ่งไปอุตตรกุรุทวีป
[๑๓๗] ฤๅษีเหล่านั้น ต่างนำอาหาร
จากทวีปนั้น ๆ มาบริโภคร่วมกัน
เมื่อฤๅษีเหล่านั้นผู้มีเดชแผ่ไป
ผู้คงที่ ทั้งหมดหลีกไปอยู่
[๑๓๘] เพราะเสียงหนังสัตว์ของพวกฤๅษี
ป่าย่อมมีเสียงดังลั่นในครั้งนั้น
ข้าแต่พระมหาวีระ พวกศิษย์ของข้าพเจ้าเหล่านั้น
มีตบะแก่กล้าเช่นนี้
[๑๓๙] ข้าพเจ้ามีฤๅษีเหล่านั้นแวดล้อม
อยู่ในอาศรมของตน
ฤๅษีเหล่านั้น แม้ถูกแนะนำแล้ว
ก็ยินดีด้วยกรรมของตน มาประชุมพร้อมกันแล้ว
[๑๔๐] ฤๅษีเหล่านั้น เพลิดเพลินในกรรมของตน
เป็นผู้มีศีล มีปัญญารักษาตน
และฉลาดในอัปปมัญญา ให้ข้าพเจ้ายินดี
[๑๔๑] พระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ผู้ทรงรู้แจ้งโลก
ผู้สมควรรับเครื่องบูชา ผู้ทรงเป็นผู้นำโดยวิเศษ
ทรงทราบถึงการประชุมแล้วเสด็จเข้ามาใกล้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๑. เมตเตยยวรรค] ๕. อุปสีวเถราปทาน
[๑๔๒] ครั้นแล้วพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้ทรงตรัสรู้เอง ผู้มีความเพียร
มีปัญญารักษาตน เป็นพระมุนี จึงประคองบาตร
แล้วเสด็จเข้ามาเพื่อภิกษา
[๑๔๓] ข้าพเจ้าได้เห็นพระมหาวีรเจ้า
พระนามว่าปทุมุตตระ เสด็จเข้ามา
จึงปูลาดเครื่องลาดหญ้าแล้วโปรยด้วยดอกสาละ
[๑๔๔] ทูลนิมนต์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับนั่งแล้ว
ทั้งดีใจและสลดใจ ได้รีบขึ้นไปบนภูเขา
แล้วนำกฤษณามา
[๑๔๕] ได้เก็บขนุนที่มีกลิ่นหอมคล้ายกลิ่นทิพย์
ผลโตประมาณเท่าหม้อ ยกขึ้นคอแบกมา
เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นผู้นำโดยวิเศษ
[๑๔๖] ได้ถวายผลขนุนแด่พระพุทธเจ้าแล้ว ใช้กฤษณาไล้ทา
ข้าพเจ้ามีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี
ได้กราบไหว้พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด
[๑๔๗] พระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ผู้ทรงรู้แจ้งโลก
ผู้สมควรรับเครื่องบูชา ประทับนั่งในท่ามกลางหมู่ฤๅษี
ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
[๑๔๘] เราจักพยากรณ์ผู้ที่ได้ถวายผลขนุน
กฤษณา และอาสนะแก่เรา
ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าวเถิด
[๑๔๙] ในบ้านก็ตาม ในป่าก็ตาม
ที่เงื้อมเขาก็ตาม ในถ้ำก็ตาม
โภชนาหารดังจะรู้จิตของผู้นี้ จักบังเกิดขึ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๑. เมตเตยยวรรค] ๕. อุปสีวเถราปทาน
[๑๕๐] คนผู้นี้บังเกิดในเทวโลกหรือในมนุษยโลกก็ตาม
จักให้บริษัทอิ่มเอิบด้วยโภชนาหารและผ้า
[๑๕๑] ผู้นี้เกิดในกำเนิดใด
คือจะเกิดเป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็ตาม
ในกำเนิดนั้น จักมีโภคะนับไม่ถ้วนเวียนว่ายตายเกิดไป
[๑๕๒] จักรื่นรมย์ในเทวโลกตลอด ๓๐,๐๐๐ กัป
จักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๑,๐๐๐ ชาติ
[๑๕๓] จักครองเทวสมบัติ ๗๑ ชาติ
จักเป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์ นับชาติไม่ถ้วน
[๑๕๔] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ (นับจากกัปนี้ไป)
พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร
ทรงสมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก
[๑๕๕] ผู้นี้จักมีนามว่าอุปสีวะ
เป็นธรรมทายาท เป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต
เป็นสาวกของพระศาสดาพระองค์นั้น
กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
[๑๕๖] การที่ข้าพเจ้าได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นผู้นำ
เป็นลาภที่ข้าพเจ้าได้ดีแล้ว
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๕๗] ในบ้านก็ตาม ในป่าก็ตาม
ที่เงื้อมเขาก็ตาม ในถ้ำก็ตาม
โภชนาหารดังจะรู้ความดำริของข้าพเจ้า
ย่อมมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๗๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๑. เมตเตยยวรรค] ๖. นันทกเถราปทาน
[๑๕๘] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๕๙] การที่ข้าพเจ้าได้มาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๖๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระอุปสีวเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
อุปสีวเถราปทานที่ ๕ จบ

๖. นันทกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระนันทกเถระ
(พระนันทกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๖๑] เมื่อก่อน ข้าพเจ้าเป็นพรานเนื้อ
อยู่ในป่าดงทึบเที่ยวแสวงหาเนื้อฟานอยู่ ได้พบพระสยัมภู
[๑๖๒] ครั้งนั้น พระสยัมภูปัจเจกพุทธเจ้าพระนามว่าอนุรุทธะนั้น
ผู้ไม่ทรงพ่ายแพ้ เป็นนักปราชญ์
ทรงประสงค์วิเวกจึงเสด็จเข้าป่า
[๑๖๓] ข้าพเจ้าถือท่อนไม้ ๔ ท่อน มาปักลงเป็น ๔ เส้า
ทำเป็นมณฑปเรียบร้อยแล้ว มุงด้วยดอกปทุม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๑. เมตเตยยวรรค] ๖. นันทกเถราปทาน
[๑๖๔] ครั้นมุงมณฑปแล้ว ได้ถวายอภิวาทพระสยัมภู
ทิ้งธนูไว้ ณ ที่นั้นเอง แล้วบวชเป็นบรรพชิต
[๑๖๕] เมื่อข้าพเจ้าบวชแล้วไม่นาน ก็เกิดเจ็บไข้ขึ้น
ข้าพเจ้าระลึกถึงบุพกรรมแล้ว ก็ได้ตายไปในที่นั้น
[๑๖๖] ข้าพเจ้าประกอบด้วยบุพกรรม
จึงได้ไปเกิดยังสวรรค์ชั้นดุสิต
ในสวรรค์ชั้นดุสิตนั้น
วิมานทองบังเกิดแก่ข้าพเจ้าตามปรารถนา
[๑๖๗] ข้าพเจ้าอธิษฐานยานพาหนะทิพย์เทียมด้วยม้าพันตัว
ขึ้นยานพาหนะนั้นแล้ว ไปได้ตามปรารถนา
[๑๖๘] เมื่อข้าพเจ้าอันบุญกรรมนำ
จากมนุษยโลกนั้นไปเกิดเป็นเทวดา
มณฑปย่อมกางกั้นไว้แก่ข้าพเจ้าตลอด ๑๐๐ โยชน์โดยรอบ
[๑๖๙] ข้าพเจ้านั้นนอนอยู่บนที่นอนที่ไม่มีเครื่องมุง
ลาดด้วยดอกไม้
ดอกปทุมทั้งหลายย่อมตกลงมา
จากอากาศตลอดกาลเป็นนิตย์
[๑๗๐] เมื่อพยับแดดเต้นไหวอยู่ เมื่อแดดแผดเผาอยู่
แดดย่อมไม่แผดเผาข้าพเจ้า
นี้เป็นผลแห่งการทำมณฑปถวาย
[๑๗๑] ข้าพเจ้าล่วงพ้นทุคติแล้ว
อบายทั้งหลายปิดแล้วสำหรับข้าพเจ้า
(เมื่อข้าพเจ้าอยู่) ที่มณฑปหรือที่โคนต้นไม้
ความร้อนย่อมไม่มีแก่ข้าพเจ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๑. เมตเตยยวรรค] ๖. นันทกเถราปทาน
[๑๗๒] ข้าพเจ้าอธิษฐานสัญญาว่าเป็นแผ่นดินแล้ว
ข้ามทะเลไปก็ได้ กรรมข้าพเจ้าทำไว้ดีแล้ว
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๑๗๓] ข้าพเจ้าทำทางในอากาศแล้วเหาะไปในอากาศก็ได้
น่าปลื้มใจจริง กรรมข้าพเจ้าทำไว้ดีแล้ว
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๑๗๔] ข้าพเจ้าระลึกชาติก่อน ๆ ได้
ทิพยจักษุข้าพเจ้าชำระให้หมดจดแล้ว
อาสวะทั้งหลายของข้าพเจ้าสิ้นแล้ว
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๑๗๕] ชาติก่อนข้าพเจ้าละได้แล้ว
ข้าพเจ้าเป็นโอรสของพระพุทธเจ้า
และเป็นทายาทในพระสัทธรรม
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๑๗๖] ข้าพเจ้าให้พระสุคตพระนามว่าโคดมศากยะ
ผู้ประเสริฐ ทรงพอพระทัยแล้ว
เป็นธงชัยแห่งธรรม และเป็นธรรมทายาท
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๑๗๗] ข้าพเจ้าได้บำรุงพระสัมพุทธเจ้าผู้โคดมศากยะผู้ประเสริฐ
เป็นผู้นำสัตว์โลกแล้ว
ได้ทูลถามถึงทางที่จะไปนิพพาน
[๑๗๘] พระพุทธเจ้าอันข้าพเจ้าทูลแล้ว
ได้ตรัสบอกบทที่ลึกซึ้งละเอียด
ข้าพเจ้าฟังธรรมของพระองค์แล้ว
ได้บรรลุความสิ้นอาสวะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๑. เมตเตยยวรรค] ๗. เหมกเถราปทาน
[๑๗๙] น่าปลื้มใจจริง กรรมข้าพเจ้าทำไว้ดีแล้ว
ข้าพเจ้าหลุดพ้นจากชาติแล้ว สิ้นอาสวะทั้งปวงแล้ว
บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก
[๑๘๐] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๘๑] การที่ข้าพเจ้าได้มาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๘๒] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระนันทกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
นันทกเถราปทานที่ ๖ จบ

๗. เหมกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระเหมกเถระ
(พระเหมกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๘๓] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นดาบสชื่ออโนมะ
อาศัยยอดเงื้อมเขาสร้างอาศรมไว้อย่างดี
อยู่ในบรรณศาลา
[๑๘๔] การบำเพ็ญตบะของข้าพเจ้านั้นสำเร็จแล้ว
ข้าพเจ้าถึงความสำเร็จในพลังของตน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๑. เมตเตยยวรรค] ๗. เหมกเถราปทาน
กล้าหาญในสามัญคุณของตน มีความเพียร
มีปัญญารักษาตน เป็นมุนี
[๑๘๕] แกล้วกล้าในลัทธิสมัยของตน
ฉลาดในการโต้ตอบ
ไปได้ทั้งบนพื้นดินและในอากาศ
ฉลาดในลางร้ายลางดี
[๑๘๖] ปราศจากความเศร้าโศก ไม่แข่งดี
มีอาหารน้อย(ฉันอาหารน้อย)
ไม่โลภจัด สันโดษตามมีตามได้ (ลาภาลาเภน)
มีปกติเข้าฌาน ยินดีในฌาน เป็นมุนี
[๑๘๗] ครั้งนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าปิยทัสสี
ผู้เลิศ ประกอบด้วยพระกรุณา เป็นมุนี
พระองค์ทรงประสงค์จะช่วยสัตว์ให้ข้ามพ้น(จากวัฏสงสาร)
จึงทรงแผ่พระกรุณาไป
[๑๘๘] พระมหามุนีทรงพระนามว่าปิยทัสสี
ทรงพิจารณาเห็นคนผู้ควรตรัสรู้แล้ว
ก็เสด็จไปประทานโอวาทในที่ ๑,๐๐๐ จักรวาล
[๑๘๙] พระองค์ทรงประสงค์จะช่วยเหลือข้าพเจ้า
จึงเสด็จเข้ามายังอาศรมของข้าพเจ้า
ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นพระชินเจ้ามาก่อน
และไม่เคยได้ฟังมาจากใคร ๆ
[๑๙๐] ลางดีลางร้าย ความฝัน
และลักษณะดีร้าย ข้าพเจ้ารู้ดีแล้ว
ข้าพเจ้าไปได้ทั้งบนพื้นดินและในอากาศ
ฉลาดในบทนักษัตร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๑. เมตเตยยวรรค] ๗. เหมกเถราปทาน
[๑๙๑] ข้าพเจ้านั้นได้ฟังข่าวพระพุทธเจ้าแล้ว
ทำจิตให้เลื่อมใสในพระพุทธองค์
จะยืนหรือนั่งอยู่ก็ตาม
ย่อมระลึกถึงตลอดกาลเป็นนิตย์
[๑๙๒] เมื่อข้าพเจ้าระลึกถึงอยู่อย่างนี้
แม้พระผู้มีพระภาคก็ทรงระลึกถึง
เมื่อข้าพเจ้าระลึกถึงพระพุทธเจ้า ปีติก็เกิดขึ้นทันที
[๑๙๓] พระมหามุนีทรงรอเวลาอีกหน่อยแล้ว
จึงเสด็จมาหาข้าพเจ้า
แม้เมื่อพระองค์เสด็จมาถึง
ข้าพเจ้าก็ไม่รู้จักว่าผู้นี้คือพระพุทธมหามุนี
[๑๙๔] พระมหามุนีพระนามว่าปิยทัสสี ผู้อนุเคราะห์
ประกอบด้วยพระกรุณาทรงให้รู้จักพระองค์ว่า
เราเป็นพระพุทธเจ้าในมนุษยโลกพร้อมทั้งเทวโลก
[๑๙๕] ครั้นข้าพเจ้ารู้จักแน่ชัดว่า
พระองค์เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าปิยทัสสี
ผู้เป็นมหามุนีแล้ว
จึงทำจิตของตนให้เลื่อมใส ได้กราบทูลคำนี้ว่า
[๑๙๖] นิมนต์ภิกษุทั้งปวงนั่งบนตั่ง
บนบัลลังก์ และบนพนักพิง
ส่วนพระองค์ผู้มีปกติเห็นเหตุทั้งสิ้น
ขอเชิญประทับบนอาสนะที่รุ่งเรือง
[๑๙๗] ในขณะนั้น ข้าพเจ้าเนรมิตตั่งซึ่งสำเร็จด้วยแก้วล้วน ๆ แล้ว
ถวายอาสนะที่เนรมิตด้วยฤทธิ์แด่พระมุนีพระนามว่าปิยทัสสี
[๑๙๘] เมื่อพระพุทธเจ้าประทับนั่ง
บนตั่งแก้วที่ข้าพเจ้าเนรมิตด้วยฤทธิ์แล้ว
ข้าพเจ้าได้ถวายผลหว้าโตประมาณเท่าหม้อทันที

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๑. เมตเตยยวรรค] ๗. เหมกเถราปทาน
[๑๙๙] พระมหามุนีทรงให้ความร่าเริงเกิดแก่ข้าพเจ้าแล้ว ทรงเสวยแล้ว
ในครั้งนั้น ข้าพเจ้าทำจิตให้เลื่อมใสแล้ว
ถวายอภิวาทพระศาสดา
[๒๐๐] ส่วนพระผู้มีพระภาคพระนามว่าปิยทัสสี ผู้เจริญที่สุดในโลก
ทรงองอาจกว่านรชน ประทับนั่งอยู่บนอาสนะแก้ว
ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
[๒๐๑] เราจักพยากรณ์ผู้ที่ได้ถวายตั่งแก้วและผลซึ่งเป็นอมตะแก่เรา
ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าวเถิด
[๒๐๒] ผู้นี้จักรื่นรมย์ในเทวโลกตลอด ๗๗ กัป
จักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๗๕ ชาติ
[๒๐๓] จักเป็นจอมเทพครองเทวสมบัติ ๓๒ ชาติ
จักเป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์นับชาติไม่ถ้วน
[๒๐๔] จักได้บัลลังก์ทองคำ บัลลังก์เงิน บัลลังก์แก้วทับทิม
และบัลลังก์แก้วล้วน จำนวนมาก ที่ทำอย่างสวยงาม
[๒๐๕] บัลลังก์มากมายจักแวดล้อมผู้นี้ซึ่งเกิดเป็นมนุษย์
พรั่งพร้อมด้วยบุญกรรม แม้เดินอยู่ ทุกเมื่อ
[๒๐๖] ปราสาทที่เป็นเรือนยอดและที่นอนอันควรค่ามาก
ดังจะรู้จิตของผู้นี้ บังเกิดขึ้นในขณะนั้นนั่นเอง
[๒๐๗] ช้างพลายชาติมาตังคะ ๖๐,๐๐๐ เชือก
ประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง
มีสายประโคนพานหน้าและพานหลังทำด้วยทอง
ประกอบด้วยเครื่องประดับศีรษะและข่ายล้วนเป็นทอง
[๒๐๘] มีควาญช้างผู้ถือหอกซัดและขอขึ้นขี่ประจำ
พลช้างเหล่านั้นจักบำเรอผู้นี้
นี้เป็นผลแห่งการถวายตั่งแก้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๑. เมตเตยยวรรค] ๗. เหมกเถราปทาน
[๒๐๙] ม้าสินธพชาติอาชาไนย ๖๐,๐๐๐ ตัว
เป็นพาหนะวิ่งเร็ว ประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง
[๒๑๐] มีทหารม้าถือธนูสวมเกราะหนังขึ้นขี่ประจำ
พลม้าเหล่านั้นจักบำเรอผู้นี้
นี้เป็นผลแห่งการถวายตั่งแก้ว
[๒๑๑] รถ ๖๐,๐๐๐ คัน ประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง
หุ้มด้วยหนังเสือเหลืองบ้าง
หุ้มด้วยหนังเสือโคร่งบ้าง ปักธงหน้ารถ
[๒๑๒] มีนายสารถีถือกริชและธนูขึ้นประจำ
จักแวดล้อมผู้นี้อยู่เป็นนิตย์
นี้เป็นผลแห่งการถวายตั่งแก้ว
[๒๑๓] แม่โคนม ๖๐,๐๐๐ ตัว จักตกลูกโคผู้ตัวประเสริฐ
นี้เป็นผลแห่งการถวายตั่งแก้ว
[๒๑๔] สตรี ๖๐,๐๐๐ คน ประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง
สวมใส่ผ้าอาภรณ์อย่างงดงาม ห้อยตุ้มหูแก้วมณี
[๒๑๕] มีตากลมโต มีปกติร่าเริง รูปร่างงาม เอวเล็กเอวบาง
จักแวดล้อมผู้นี้เป็นนิตย์
นี้เป็นผลแห่งการถวายตั่งแก้ว
[๒๑๖] ในกัปที่ ๑๑๘ (นับจากกัปนี้ไป)
พระพุทธเจ้าพระนามว่าโคดม ผู้มีพระจักษุ
ทรงกำจัดความมืดมนอนธการ จักอุบัติขึ้นในโลก
[๒๑๗] ผู้นี้อาศัยการได้เห็นพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
จักตัดความกังวลออกบวช
จักให้พระศาสดาทรงพอพระทัยแล้ว ยินดียิ่งอยู่ในศาสนา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๑. เมตเตยยวรรค] ๗. เหมกเถราปทาน
[๒๑๘] ได้ฟังธรรมของพระศาสดาพระองค์นั้นแล้ว
จักเผากิเลสทั้งหลาย
กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงจักเป็นผู้ไม่มีอาสวะแล้วนิพพาน
[๒๑๙] ข้าพเจ้ามีความเพียรสำหรับนำพาธุระไป
เป็นความเพียรนำมาซึ่งธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะ
ข้าพเจ้าปรารถนาประโยชน์สูงสุด อยู่ในศาสนา
[๒๒๐] นี้เป็นชาติสุดท้ายของข้าพเจ้า
ภพสุดท้ายกำลังเป็นไปอยู่
อาสวะทั้งปวงของข้าพเจ้าสิ้นไปแล้ว
บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก
[๒๒๑] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๒๒๒] การที่ข้าพเจ้าได้มาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๒๒๓] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระเหมกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
เหมกเถราปทานที่ ๗ จบ
ภาณวารที่ ๑๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๑. เมตเตยยวรรค] ๘. โตเทยยเถราปทาน
๘. โตเทยยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระโตเทยยเถระ
(พระโตเทยยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๒๒๔] ครั้งนั้น (ข้าพเจ้าเกิดเป็น)พระราชาพระนามว่าวิชิตชัย
ในกรุงเกตุมดี เป็นเมืองชั้นเลิศ เป็นผู้แกล้วกล้า
เต็มเปี่ยมด้วยความกล้าหาญ
ประทับอยู่ท่ามกลางกรุง
[๒๒๕] เมื่อพระราชาพระองค์นั้น ทรงประมาท
ข้าศึกแห่งแว่นแคว้นก็กำเริบขึ้น
ฝ่ายตรงกันข้ามและพวกยุยงก็ทำลายแว่นแคว้น
[๒๒๖] เมื่อปัจจันตชนบท(ชนบทปลายแดน)กำเริบ
พระราชาจึงรับสั่งให้พลรบและทหารสื่อสารมาประชุมกัน
รับสั่งให้ปราบข้าศึก ในครั้งนั้น
[๒๒๗] พลช้าง พลม้า ทหารสวมเกราะกล้าหาญ
ทหารแม่นธนู และพลรถ มาประชุมกันทั้งหมด
[๒๒๘] พวกพ่อครัว พนักงานเครื่องต้น พนักงานสรงสนาน
ช่างทำดอกไม้ เป็นผู้กล้าหาญ
เคยชนะในสงคราม มาประชุมกันทั้งหมด
[๒๒๙] พวกชายฉกรรจ์ถือดาบ ถือธนู สวมเกราะหนัง
เป็นคนแข็งแรง เคยชนะในสงคราม
มาประชุมกันทั้งหมด
[๒๓๐] ช้างมาตังคะตกมัน ๓ แห่ง
เสื่อมกำลังเมื่ออายุ ๖๐ ปี มีสายประโคน๑

เชิงอรรถ :
๑ สายรัดจากใต้สัปคับคือที่นั่งบนหลังช้าง ใช้รัดสัปคับอกช้าง หลังขาหน้าแล้วลอดมาบรรจบกันโยงใต้
ท้องช้างและหน้าขาหลังไปจากสายชนักที่คอช้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๑. เมตเตยยวรรค] ๘. โตเทยยเถราปทาน
พานหน้าพานหลัง และเครื่องประดับทองคำ
มาประชุมกันทั้งหมด
[๒๓๑] นักรบอาชีพ อดทนต่อความหนาวความร้อน
อดทนต่ออุจจาระปัสสาวะ เตรียมการสำเร็จแล้ว
มาประชุมกันทั้งหมด
[๒๓๒] พวกทหารเหล่านั้นร่าเริงด้วยเสียงสังข์ เสียงกลอง
และเสียงแตกตื่นมาประชุมกันทั้งหมด
[๒๓๓] พวกทหารเหล่านั้นตีรันฟันแทงด้วยหลาว หอก
แหลน ธนู และโตมร กลับมาประชุมกันทั้งหมด
[๒๓๔] ในครั้งนั้น ข้าพเจ้าสวมเกราะแล้ว
สั่งให้จับทหาร ๖๐,๐๐๐ คน พร้อมทั้งพระราชาผู้ชนะ
คนที่ไม่เคยชนะเสียบหลาว(ประจาน)
[๒๓๕] ทหารเหล่านั้นพากันส่งเสียงร้องว่า
โธ่เอ๋ย พระราชาไร้ธรรม เมื่อถูกไฟเผาไหม้อยู่ในนรก
เมื่อไรจักสิ้นสุดกรรม
[๒๓๖] ครั้งนั้น ข้าพเจ้านอนอยู่บนที่นอน เห็นไฟนรก
จึงนอนไม่หลับตลอดทั้งวันทั้งคืน
พวกนายนิรยบาลใช้หลาวขู่ข้าพเจ้า
[๒๓๗] (ข้าพเจ้าคิดว่า) ความมัวเมาราชสมบัติ สัตว์พาหนะ
และพลรบ จะมีประโยชน์อะไร
สิ่งเหล่านั้นไม่สามารถจะต้านทานเราไว้ได้
มีแต่จะทำให้สะดุ้งอยู่ทุกเมื่อ
[๒๓๘] บุตร ภรรยา และราชสมบัติทั้งหมด
จะมีประโยชน์อะไรสำหรับเรา
ทางที่ดีเราควรออกบวช ชำระทางที่จะดำเนินไปให้หมดจด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๑. เมตเตยยวรรค] ๘. โตเทยยเถราปทาน
[๒๓๙] ช้างมาตังคะ ๖๐,๐๐๐ เชือก
ตกแต่งด้วยเครื่องประดับทุกอย่าง
มีสายประโคนพานหน้า พานหลัง
เครื่องประดับศีรษะทองคำ
[๒๔๐] มีนายควาญช้างถือโตมรและขอขึ้นขี่ประจำ
ข้าพเจ้าไม่มีความห่วงใยละทิ้งไว้ในสนามรบ
เดือดร้อนเพราะกรรมของตน
จึงออกบวชเป็นบรรพชิต
[๒๔๑] ม้าสินธพชาติอาชาไนย ๖๐,๐๐๐ ตัว
ตกแต่งด้วยเครื่องประดับทุกอย่างเป็นพาหนะวิ่งเร็ว
[๒๔๒] มีทหารม้าถือธนูสวมเกราะขึ้นขี่ประจำ
ข้าพเจ้าทอดทิ้งม้าเหล่านั้นทั้งหมดแล้ว
ออกบวชเป็นบรรพชิต
[๒๔๓] รถ ๖๐,๐๐๐ คัน ตกแต่งด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ
เป็นรถที่หุ้มหนังเสือเหลืองบ้าง
หุ้มหนังเสือโคร่งบ้างบรรทุกอาวุธรบ ปักธงไว้หน้ารถ
ข้าพเจ้าละทิ้งรถนั้นทั้งหมดแล้วออกบวชเป็นบรรพชิต
[๒๔๔] แม่โคนม ๖๐,๐๐๐ ตัว และขันสำริดสำหรับรองน้ำนม
ทั้งหมดข้าพเจ้าละทิ้งแล้ว ออกบวชเป็นบรรพชิต
[๒๔๕] สตรี ๖๐,๐๐๐ นาง
ผู้ประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง
สวมใส่ผ้าอาภรณ์อย่างงดงาม ห้อยตุ้มหูแก้วมณี
[๒๔๖] มีตากลมโต มีปกติร่าเริง
รูปร่างงดงาม เอวเล็กเอวบาง
ข้าพเจ้าละสตรีเหล่านั้นผู้พากันคร่ำครวญอยู่แล้ว
ออกบวชเป็นบรรพชิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๑. เมตเตยยวรรค] ๘. โตเทยยเถราปทาน
[๒๔๗] หมู่บ้าน ๖๐,๐๐๐ ตำบล ที่บริบูรณ์ด้วยทุกสิ่งทุกอย่าง
ข้าพเจ้าละทิ้งราชสมบัตินั้นแล้ว
ออกบวชเป็นบรรพชิต
[๒๔๘] ข้าพเจ้าออกจากนครแล้ว เข้าไปยังภูเขาหิมพานต์
ได้สร้างอาศรมไว้ ณ ที่ใกล้ฝั่งแม่น้ำภาคีรถี
[๒๔๙] สร้างบรรณศาลาเสร็จแล้ว สร้างโรงสำหรับบูชาไฟ
บำเพ็ญเพียร มีจิตเด็ดเดี่ยว อยู่ในอาศรม
[๒๕๐] เมื่อข้าพเจ้าเข้าฌานอยู่ในมณฑปก็ดี ที่โคนต้นไม้ก็ดี
ในเรือนว่างก็ดี ความสะดุ้งกลัวย่อมไม่มีแก่ข้าพเจ้า
ข้าพเจ้าไม่เห็นภัยที่น่าหวาดกลัวเลย
[๒๕๑] ในขณะนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสุเมธะ
ผู้เลิศ ประกอบด้วยพระกรุณา เป็นมุนี
มีแสงสว่างแห่งพระญาณโชติช่วง เสด็จอุบัติขึ้นในโลก
[๒๕๒] ใกล้อาศรมของข้าพเจ้า มียักษ์ตนหนึ่งผู้มีฤทธิ์มาก
เมื่อพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุดอุบัติขึ้นแล้ว
ยักษ์บอกกับข้าพเจ้าในครั้งนั้นว่า
[๒๕๓] พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก
พระองค์ทรงพระนามว่าสุเมธะ
ทรงมีจักษุ ทรงช่วยหมู่ชนทั้งปวงให้ข้าม
แม้ท่าน พระองค์ก็จักช่วยให้ข้าม
[๒๕๔] ขณะนั้น ข้าพเจ้าฟังคำของยักษ์แล้วมีความสลดใจ
คิดอยู่ว่า พุทโธ พุทโธ ปิดอาศรม
[๒๕๕] ข้าพเจ้าทิ้งฟืนสำหรับบูชาไฟ และเก็บสันถัต
ไหว้อาศรมแล้วออกจากป่าใหญ่ไป
[๒๕๖] ข้าพเจ้าถือไม้จันทน์จากที่นั้น จากบ้านไปสู่บ้าน
จากเมืองไปสู่เมือง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๑. เมตเตยยวรรค] ๘. โตเทยยเถราปทาน
แสวงหาพระพุทธเจ้าผู้เป็นเทพยิ่งกว่าเทพอยู่
ได้เข้าเฝ้าพระองค์ ซึ่งเป็นผู้นำโดยวิเศษ
[๒๕๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพระนามว่าสุเมธะ
ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ทรงประกาศสัจจะ ๔ ทำหมู่ชนจำนวนมากให้ตรัสรู้
[๒๕๘] ข้าพเจ้าประนมมือไหว้เหนือเศียรเกล้า
ถวายอภิวาทพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว
ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า
[๒๕๙] เมื่อต้นมะลิซ้อนมีดอกบานสะพรั่ง
กลิ่นหอมฟุ้งไปในที่ใกล้
ข้าแต่พระองค์ผู้มีความเพียร
พระองค์มีกลิ่นคือคุณหอมฟุ้งไปทั่วทุกทิศ
[๒๖๐] เมื่อต้นจำปา ต้นกระถินพิมาน
ต้นลำดวน ต้นการะเกด และต้นสาละ
กำลังมีดอกบาน กลิ่นหอมฟุ้งไปตามลม
[๒๖๑] ข้าพระองค์สูดกลิ่นของพระองค์
จึงจากภูเขาหิมพานต์มาจนถึงที่นี่
ข้าแต่พระองค์ผู้มีความเพียรมาก
ผู้เจริญที่สุดในโลก มีพระยศยิ่งใหญ่
ข้าพระองค์ขอบูชาพระองค์
[๒๖๒] ข้าพเจ้าใช้จุรณจันทน์อย่างดี
ไล้ทาพระพุทธเจ้าพระนามว่าสุเมธะ
ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลกทำจิตของตนให้เลื่อมใส
แล้วได้ยืนนิ่งอยู่ในขณะนั้น
[๒๖๓] พระผู้มีพระภาคพระนามว่าสุเมธะ
ผู้เจริญที่สุดในโลก ทรงองอาจกว่านรชน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๑. เมตเตยยวรรค] ๘. โตเทยยเถราปทาน
ประทับนั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์แล้ว
ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
[๒๖๔] เราจักพยากรณ์ผู้ที่สรรเสริญคุณของเรา
และได้ใช้จุรณจันทน์บูชา
ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าวเถิด
[๒๖๕] ผู้นี้จักเป็นผู้กล่าวถ้อยคำที่เชื่อถือได้
เป็นพรหม ผู้ซื่อตรง มีตบะ
มีรัศมีสว่างไสวตลอด ๒๕ กัป
[๒๖๖] จักรื่นรมย์ในเทวโลกตลอด ๒,๖๐๐ กัป
จักเกิดเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๑,๐๐๐ ชาติ
[๒๖๗] จักเป็นจอมเทพครองเทวสมบัติ ๓๓ ชาติ
จักเป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์นับชาติไม่ถ้วน
[๒๖๘] ผู้นี้จุติจากเทวโลกนั้นแล้ว จักไปเกิดเป็นมนุษย์
ประกอบด้วยบุญกรรม จักเป็นบุตรของพราหมณ์
[๒๖๙] พราหมณ์ชื่อพาวรี ผู้คงแก่เรียน
ทรงมนตร์ จบไตรเพท ถึงพร้อมด้วยลักษณะ ๓ ประการ
[๒๗๐] เขาเป็นศิษย์ของพราหมณ์นั้นเป็นผู้จบมนตร์
จักได้เข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระนามว่าโคดมศากยะ ผู้ประเสริฐ
[๒๗๑] ข้าพเจ้าได้ทูลถามปัญหาอย่างละเอียด ทำใจให้ร่าเริง
กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
[๒๗๒] ไฟ ๓ กองของข้าพเจ้าดับแล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้ากำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๑. เมตเตยยวรรค] ๙. ชตุกัณณิกเถราปทาน
[๒๗๓] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๒๗๔] การที่ข้าพเจ้าได้มาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๒๗๕] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระโตเทยยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
โตเทยยเถราปทานที่ ๘ จบ

๙. ชตุกัณณิกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระชตุกัณณิกเถระ
(พระชตุกัณณิกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๒๗๖] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นบุตรเศรษฐีอยู่ในกรุงหงสวดี
เพียบพร้อมห้อมล้อมอยู่ด้วยกามคุณทั้งหลาย
[๒๗๗] ลำดับนั้น ข้าพเจ้าขึ้นสู่ปราสาท
ใช้สอยโภคสมบัติมากมาย
แวดล้อมด้วยการฟ้อนรำขับร้องอยู่ในปราสาทนั้น ในครั้งนั้น
[๒๗๘] นักดนตรีมีเครื่องประโคมอย่างดีมาประโคมให้ข้าพเจ้า
หญิงทั้งปวงยั่วยวน ทำใจของข้าพเจ้าให้ลุ่มหลง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๑. เมตเตยยวรรค] ๙. ชตุกัณณิกเถราปทาน
[๒๗๙] พวกนางเจลาวกา พวกนางวามนิกา
พวกนางมัชฌิตา พร้อมด้วยนางกุญชวาสี
พวกนางลังฆิกา และพวกนางโสกัชฌายี
ต่างแวดล้อมข้าพเจ้าอยู่ทุกเมื่อ
[๒๘๐] คนตีฉิ่ง คนตีกลอง นักฟ้อน นักรำ
ตัวละครและพวกนาฏศิลป์จำนวนมาก
แวดล้อมข้าพเจ้าอยู่ทุกเมื่อ
[๒๘๑] ช่างกัลบก คนจัดแจงเครื่องอาบน้ำ
พ่อครัว ช่างร้อยดอกไม้
คนทิ้งมูล(คนทิ้งอุจจาระ) นักกายกรรมและนักมวยเหล่านั้น
ทั้งหมดแวดล้อมข้าพเจ้าอยู่ทุกเมื่อ
[๒๘๒] เมื่อคนเหล่านั้นเล่นอยู่
เมื่อข้าพเจ้าชื่นชมการบำเรอที่คนเหล่านั้นทำ
ข้าพเจ้าย่อมไม่รู้วันและคืน
เปรียบเหมือนพระอินทร์ในเมืองสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๒๘๓] คนเดินทาง คนกำพร้า
คนขอทาน นักสืบ จำนวนมาก
เข้ามาขอข้าพเจ้าจนถึงเรือนเป็นนิตย์
[๒๘๔] สมณะและพราหมณ์ทั้งหลายผู้เป็นเนื้อนาบุญอย่างยอดเยี่ยม
เมื่อจะให้ข้าพเจ้าเจริญบุญ มาจนถึงเรือนข้าพเจ้า
[๒๘๕] พวกนิครนถ์นุ่งผ้า ใช้มูลไถทา ใช้ดอกไม้กรองนุ่ง
ถือไม้ ๓ อัน ไว้ผมหนึ่งปอย มาหาข้าพเจ้าจนถึงเรือน
[๒๘๖] พวกอาชีวก พวกโจรปล้น
พวกประพฤติวัตรเหมือนโค
พวกประพฤติเทวธรรม
พวกคนทิ้งขยะเหล่านั้นต่างพากันมาหาข้าพเจ้าจนถึงเรือน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๑. เมตเตยยวรรค] ๙. ชตุกัณณิกเถราปทาน
[๒๘๗] พวกนักสวด พวกรักสิทธิ (เสรีภาพ)
พวกโกธปุคคนิกะ พวกบำเพ็ญตบะ
และพวกฤๅษีเที่ยวอยู่ป่าจำนวนมาก
ต่างพากันมาหาข้าพเจ้าจนถึงเรือน
[๒๘๘] ชาวแคว้นอันธกะ (โอฑฑกะ) ชาวทมิฬ
ชาวสากุฬะ ชาวมะละยาฬกะ ชาวสะวะระ
และชาวโยนก ต่างพากันมาหาข้าพเจ้าจนถึงเรือน
[๒๘๙] ชาวแคว้นอันธกะ พวกสมณะโล้นทั้งหมด
ชาวกุฏฐละ ชาวสานุวินทกะ ชาวอาฬวีจีนรัฐ
ต่างพากันมาหาข้าพเจ้าจนถึงเรือน
[๒๙๐] ชาวอลสันทกะ ชาวปัลลวกะ ชาวปัพพตะ
ชาวนัคคมารุหะ ชาวพาหิกะ และชาวแคว้นเจตปุตตะ
ต่างพากันมาหาข้าพเจ้าจนถึงเรือน
[๒๙๑] ชาวแคว้นมธุระ ชาวแคว้นโกศล ชาวแคว้นกาสี
ชาวหัตถิบุรี ชาวแคว้นอิสินทะ ชาวแคว้นมักกละ
ต่างพากันมาหาข้าพเจ้าจนถึงเรือน
[๒๙๒] ชาวเจลาวกะ ชาวอารัมพะ ชาวโอภาสะ
ชาวเมฆละ ชาวขุททกะ ชาวสุททกะ จำนวนมาก
ต่างพากันมาหาข้าพเจ้าจนถึงเรือน
[๒๙๓] ชาวโรหกชนบท ชาวลุ่มแม่น้ำสินธุ ชาวจิตกา
ชาวเอกกัณณิกนิคม ชาวสุรัฏฐา และชาวอปรันตชนบท
ต่างพากันมาหาข้าพเจ้าจนถึงเรือน
[๒๙๔] ชาวสุปปารกะ ชาวกุมาร (ชาวมะละกา) ชาวมะลัยชนบท
ชาวสุวรรณภูมิ และชาววัชชี เหล่านั้นทั้งหมด
ต่างพากันมาหาข้าพเจ้าจนถึงเรือน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๑. เมตเตยยวรรค] ๙. ชตุกัณณิกเถราปทาน
[๒๙๕] ช่างสาน ช่างหูก ช่างหนัง
ช่างถาก คนงาน และช่างหม้อ
ต่างพากันมาหาข้าพเจ้าจนถึงเรือน
[๒๙๖] ช่างแก้ว ช่างเหล็ก ช่างทอง ช่างเย็บผ้า
และช่างดีบุกเหล่านั้นทั้งหมด
ต่างพากันมาหาข้าพเจ้าจนถึงเรือน
[๒๙๗] ช่างศร ช่างกลึง คนส่งของ
ช่างปรุงของหอม ช่างย้อม และช่างชุน
ต่างพากันมาหาข้าพเจ้าจนถึงเรือน
[๒๙๘] พวกคนขายน้ำมัน คนหาบฟืน คนหาบน้ำ
คนรับใช้ คนหุงต้ม คนตักน้ำ
ต่างพากันมาหาข้าพเจ้าจนถึงเรือน
[๒๙๙] พวกคนเฝ้าประตู ทหาร
ช่างร้อยดอกไม้ คนทิ้งขยะดอกไม้
ควาญช้าง คนเลี้ยงช้าง
ต่างพากันมาหาข้าพเจ้าจนถึงเรือน
[๓๐๐] ข้าพเจ้าได้ทูลถวายของทุกอย่าง
แก่พระราชาพระนามว่าอานันทะ ผู้พร้อมเพรียง
ข้าพเจ้าทำความพร่องให้เต็มด้วยรัตนะ ๗ สี
[๓๐๑] ข้าพเจ้ารู้จิตของชนจำนวนมากมีวรรณะต่างกัน
ที่ข้าพเจ้ายกย่องทั้งหมดให้พึงพอใจแม้ด้วยรัตนะ
[๓๐๒] เมื่อดนตรีมีเสียงไพเราะบรรเลงอยู่
เมื่อกลองดังก้องอยู่ เมื่อสังข์เขาเป่าอยู่
ข้าพเจ้ารื่นรมย์อยู่ในเรือนของตน
[๓๐๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพระนามว่าปทุมุตตระ
พร้อมด้วยภิกษุขีณาสพจำนวน ๑๐๐,๐๐๐ รูป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๑. เมตเตยยวรรค] ๙. ชตุกัณณิกเถราปทาน
[๓๐๔] พระองค์ ผู้มีจักษุพร้อมด้วยภิกษุทั้งหลาย
เสด็จดำเนินไปตามถนน
ทรงทำทิศทั้งปวงให้สว่างโชติช่วง
เหมือนต้นพฤกษาประทีป
[๓๐๕] เมื่อพระองค์ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลกกำลังเสด็จดำเนินไป
กลองทั้งปวงยังดังก้องอยู่
รัศมีของพระองค์พวยพุ่งดุจดวงอาทิตย์อุทัย ฉะนั้น
[๓๐๖] ขณะนั้น แสงสว่างจ้าส่องเข้าไปภายในเรือนของข้าพเจ้า
ด้วยพระรัศมีที่ส่องเข้าไปทางช่องหน้าต่าง
[๓๐๗] ข้าพเจ้าเห็นพระรัศมีของพระพุทธเจ้าแล้ว
ได้กล่าวกับพวกบริวารว่า
พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุดเสด็จมาถึงถนนนี้แน่แล้ว
[๓๐๘] ข้าพเจ้ารีบลงจากปราสาทแล้ว ได้ไปยังระหว่างทาง
ถวายอภิวาทพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้กราบทูลคำนี้ว่า
[๓๐๙] ขอพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
โปรดทรงอนุเคราะห์ข้าพระองค์ด้วยเถิด
พระมุนีพระองค์นั้นพร้อมด้วยพระอรหันต์ ๑๐๐,๐๐๐ องค์
ทรงรับนิมนต์
[๓๑๐] ครั้นข้าพเจ้านิมนต์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว
ได้นำเสด็จพระองค์มายังเรือนของตน
อังคาสพระมหามุนีให้อิ่มหนำด้วยข้าวและน้ำในเรือนนั้น
[๓๑๑] ข้าพเจ้ารู้เวลาที่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
ผู้คงที่ กำลังเสวย
ได้บำรุงพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
ด้วยการขับร้องและดนตรี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๑. เมตเตยยวรรค] ๙. ชตุกัณณิกเถราปทาน
[๓๑๒] พระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้ทรงรู้แจ้งโลก ผู้สมควรรับเครื่องบูชา
ประทับนั่งอยู่ภายในเรือน
ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
[๓๑๓] เราจักพยากรณ์ผู้ที่บำรุงเราด้วยดนตรี
และได้ถวายข้าวน้ำแก่เรา
ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าวเถิด
[๓๑๔] คนผู้นี้จักเป็นผู้มีอาหารมาก มีเงิน มีโภชนะ
ครองเอกราชในทวีปทั้ง ๔
[๓๑๕] จักสมาทานศีล ๕ ยินดีในกรรมบถ ๑๐
ครั้นสมาทานแล้ว ก็ประพฤติ ให้บริวารศึกษาด้วย
[๓๑๖] เครื่องดนตรี ๑๐๐,๐๐๐ ชิ้น
กลองที่ประดับตกแต่งสวยงาม
จักบรรเลงให้ผู้นี้อยู่เป็นนิตย์
นี้เป็นผลแห่งการบำรุง
[๓๑๗] ผู้นี้จักรื่นรมย์ในเทวโลกตลอด ๓๐,๐๐๐ กัป
จักเป็นจอมเทพครองเทวสมบัติตลอด ๖๔ ชาติ
[๓๑๘] จักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๗๔ ชาติ
จักเป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์นับชาติไม่ถ้วน
[๓๑๙] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ (นับจากกัปนี้ไป)
พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร
ทรงสมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก
[๓๒๐] ผู้นี้เกิดในกำเนิดใด
คือจะเกิดเป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็ตาม
ในกำเนิดนั้น เขาจักเกิดเป็นมนุษย์มีโภคะไม่บกพร่อง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๑. เมตเตยยวรรค] ๙. ชตุกัณณิกเถราปทาน
[๓๒๑] จักเป็นผู้คงแก่เรียน จบไตรเพท
เที่ยวแสวงหาประโยชน์อย่างสูงสุดอยู่ทั่วแผ่นดินนี้
[๓๒๒] และภายหลัง เขาถูกกุศลมูลตักเตือนออกบวชแล้ว
จักยินดียิ่งในศาสนาของพระผู้มีพระภาคพระนามว่าโคดม
[๓๒๓] ผู้นี้จักให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโคดมศากยะ
ผู้ประเสริฐทรงพอพระทัย
เผากิเลสทั้งหลายได้แล้ว จักเป็นพระอรหันต์
[๓๒๔] วันนี้ ข้าพเจ้าเป็นผู้ไม่ครั่นคร้ามอยู่
ในศาสนาของพระศากยะผู้ประเสริฐ
ดุจพญาเสือโคร่งและราชสีห์ พญาเนื้อในป่าใหญ่
[๓๒๕] ข้าพเจ้าไม่เห็นการบังเกิดของข้าพเจ้าในตระกูลที่ขัดสน
หรือยากจนในเทวโลก หรือในมนุษยโลก
นี้เป็นผลแห่งการบำรุง
[๓๒๖] ข้าพเจ้าเป็นผู้ขวนขวายในวิเวก สงบระงับ ไม่มีอุปธิ
ตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๓๒๗] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๓๒๘] การที่ข้าพเจ้าได้มาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๑. เมตเตยยวรรค] ๑๐. อุเทนเถราปทาน
[๓๒๙] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระชตุกัณณิกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ชตุกัณณิกเถราปทานที่ ๙ จบ

๑๐. อุเทนเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอุเทนเถระ
(พระอุเทนเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๓๓๐] ในที่ไม่ไกลภูเขาหิมพานต์มีภูเขาลูกหนึ่งชื่อปทุม
ข้าพเจ้าสร้างอาศรมสร้างบรรณศาลาอย่างดีไว้
[๓๓๑] ที่ใกล้อาศรมของข้าพเจ้านั้น
แม่น้ำไหลอยู่มีท่าน้ำราบเรียบ น่ารื่นรมย์ใจ
แม่น้ำมีน้ำใสสะอาด เย็นสนิท ไหลอยู่เป็นนิตย์
[๓๓๒] ฝูงปลาสลาด ฝูงปลากระบอก
ฝูงปลาสวาย ฝูงปลาเค้า
และฝูงปลาตะเพียน อยู่ประจำในแม่น้ำ
ทำให้แม่น้ำงามทุกเมื่อ
[๓๓๓] ดาษดื่นไปด้วยต้นมะม่วง ต้นหว้า
อนึ่ง ต้นกุ่ม ต้นหมากเม่า
ต้นราชพฤกษ์ ต้นแคฝอย
ประดับอาศรมของข้าพเจ้าให้งดงาม
[๓๓๔] ต้นปรู ต้นมะกล่ำหลวง
ต้นกาหลง มีดอกบานสะพรั่ง
ส่งกลิ่นหอมอบอวลประดับอาศรมของข้าพเจ้าให้งดงาม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๑. เมตเตยยวรรค] ๑๐. อุเทนเถราปทาน
[๓๓๕] ต้นลำดวน ต้นชบา ต้นกากะทิง
และต้นสาละ มีดอกบานสะพรั่ง
ส่งกลิ่นหอมอบอวลคล้ายกลิ่นทิพย์
ประดับอาศรมของข้าพเจ้าให้งดงาม
[๓๓๖] ต้นคำ ต้นช้างน้าว ต้นกระทุ่ม ต้นมะเฟือง มีดอกบาน
ส่งกลิ่นหอมอบอวลคล้ายกลิ่นทิพย์
ประดับอาศรมของข้าพเจ้าให้งดงาม
[๓๓๗] ต้นสมอ ต้นมะขามป้อม ต้นมะม่วง ต้นหว้า
ต้นสมอพิเภก ต้นพุทรา ต้นรกฟ้า ต้นมะตูม
มีผลดกอยู่ใกล้อาศรมของข้าพเจ้า
[๓๓๘] มันอ้อน ต้นมะเขือพวง กำลังผลิดอกออกผล
ใกล้อาศรมของข้าพเจ้านั้น
ส่งกลิ่นหอมอบอวลคล้ายกลิ่นทิพย์
ประดับอาศรมของข้าพเจ้าให้งดงาม
[๓๓๙] ต้นอโศก ต้นวารี และต้นสะเดา มีดอกบานสะพรั่ง
ส่งกลิ่นหอมอบอวลคล้ายกลิ่นทิพย์
ประดับอาศรมของข้าพเจ้าให้งดงาม
[๓๔๐] ต้นบุนนาค ต้นบุนนาคเขา
ต้นดีหมี ในที่ใกล้อาศรมนั้น มีดอกบานสะพรั่ง
ส่งกลิ่นหอมอบอวลคล้ายกลิ่นทิพย์
ประดับอาศรมของข้าพเจ้าให้งดงาม
[๓๔๑] ต้นย่านทราย ต้นคนทีเขมา และต้นจำปา
ในที่ใกล้อาศรมของข้าพเจ้านั้น มีดอกบานสะพรั่ง
ส่งกลิ่นหอมอบอวลคล้ายกลิ่นทิพย์
ประดับอาศรมของข้าพเจ้าให้งดงาม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๑. เมตเตยยวรรค] ๑๐. อุเทนเถราปทาน
[๓๔๒] ในที่ไม่ไกลมีสระโบกขรณี
มีนกจักรพากส่งเสียงร้องอยู่
ดารดาษด้วยบัวเผื่อน บัวหลวง และบัวขาบ
[๓๔๓] มีน้ำใส เย็นสนิท มีท่าน้ำราบเรียบน่ารื่นรมย์ใจ
น้ำใสสะอาด เสมอด้วยแก้วผลึก
ประดับอาศรมของข้าพเจ้าให้งดงาม
[๓๔๔] ในสระนั้น มีบัวหลวง บัวขาว
บัวขาบ ดารดาษด้วยบัวเผื่อน มีดอกบานสะพรั่ง
ประดับอาศรมของข้าพเจ้าให้งดงาม
[๓๔๕] ฝูงปลาสลาด ฝูงปลากระบอก ฝูงปลาสวาย ฝูงปลาเค้า
และฝูงปลาตะเพียนว่ายเวียนอยู่ในสระนั้น
ประดับอาศรมของข้าพเจ้าให้งดงาม
[๓๔๖] จระเข้ ตะโขง เต่า นาก งูหลาม
และงูเหลือมจำนวนมาก
ประดับอาศรมของข้าพเจ้าให้งดงาม
[๓๔๗] นกพิราบ นกเป็ดน้ำ นกจักรพาก
นกกาน้ำ นกต้อยตีวิด และนกสาลิกา
อยู่ในที่ใกล้อาศรมนั้น
ประดับอาศรมของข้าพเจ้าให้งดงาม
[๓๔๘] ต้นตาเสือ ต้นจงกลนี
ต้นการะเกด ในที่ใกล้อาศรมนั้น
มีดอกบานสะพรั่งส่งกลิ่นหอมอบอวลคล้ายกลิ่นทิพย์
ประดับอาศรมของข้าพเจ้าให้งดงาม
[๓๔๙] ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง
หมี หมาป่า หมาใน เสือดาว
เที่ยวสัญจรอยู่ในป่าใหญ่
ประดับอาศรมของข้าพเจ้าให้งดงาม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๖๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๑. เมตเตยยวรรค] ๑๐. อุเทนเถราปทาน
[๓๕๐] ฤๅษีทั้งหลาย เพียบพร้อมด้วยชฎา
และบริขาร นุ่งห่มหนังสัตว์
เที่ยวสัญจรอยู่ในป่าใหญ่
ประดับอาศรมของข้าพเจ้าให้งดงาม
[๓๕๑] บางพวกนุ่งห่มหนังสัตว์ มีปัญญารักษาตน
มีความประพฤติสงบและบริโภคอาหารแต่น้อยเหล่านั้นทั้งหมด
ประดับอาศรมของข้าพเจ้าให้งดงาม
[๓๕๒] ครั้งนั้น ฤๅษีทั้งหลายหาบบริขารเข้าไปสู่ป่า
กินหัวมันและผลไม้อยู่ในอาศรม
[๓๕๓] ครั้งนั้น ฤๅษีเหล่านั้นไม่ต้องนำฟืนมา
น้ำสำหรับล้างเท้าก็ไม่ต้องนำมา
ด้วยอานุภาพแห่งฤๅษีทั้งปวง ฟืนและน้ำย่อมมาเอง
[๓๕๔] ฤๅษี ๘๔,๐๐๐ ตน
ประชุมกันอยู่ในอาศรมนั้น ทั้งหมดนี้
เป็นผู้เข้าฌาน แสวงหาประโยชน์สูงสุด
[๓๕๕] ฤๅษีเหล่านั้นเป็นผู้มีตบะ ประพฤติพรหมจรรย์
ตักเตือนกันและกัน เป็นผู้แน่นแฟ้น
เหาะไปในอากาศได้ทุกตนอยู่ในอาศรมในครั้งนั้น
[๓๕๖] ประชุมกันทุก ๕ วัน
ไม่ระส่ำระสาย มีความประพฤติสงบ
กราบไหว้กันและกันแล้ว
จึงบ่ายหน้าหลีกไปตามทิศ (ที่ตนอยู่)
[๓๕๗] ครั้งนั้น พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ทรงถึงความสำเร็จแห่งธรรมทั้งปวง
พระองค์เสด็จอุบัติขึ้น กำจัดความมืดมนอนธการ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๗๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๑. เมตเตยยวรรค] ๑๐. อุเทนเถราปทาน
[๓๕๘] ใกล้อาศรมของข้าพเจ้า
มียักษ์ตนหนึ่ง ผู้มีฤทธิ์มาก
ยักษ์ตนนั้นได้บอกข่าวพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงพระนามว่าปทุมุตตระ แก่ข้าพเจ้าว่า
[๓๕๙] พระพุทธเจ้าองค์นี้พระนามว่าปทุมุตตระ
เป็นพระมหามุนี เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว
ท่านจงรีบไปเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเถิด ท่านผู้นิรทุกข์
[๓๖๐] ข้าพเจ้าได้ฟังคำของยักษ์แล้วก็มีจิตผ่องใสยิ่งนัก
จึงปิดอาศรมแล้วออกจากป่าในขณะนั้น
[๓๖๑] เมื่อไฟกำลังไหม้ผ้าอยู่
ข้าพเจ้าออกจากอาศรม
พักอยู่กลางทางคืนหนึ่งแล้ว
เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นผู้นำโดยวิเศษ
[๓๖๒] พระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ทรงรู้แจ้งโลก ผู้สมควรรับเครื่องบูชา
ทรงประกาศสัจจะ ๔ แสดงอมตบทอยู่
[๓๖๓] ข้าพเจ้าถือดอกปทุมซึ่งบานเต็มที่
เข้าเฝ้าพระองค์ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่แล้ว
มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี ถวายอภิวาทพระพุทธเจ้า
[๓๖๔] บูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้ทรงเป็นผู้นำแล้วห่มหนังสัตว์เฉวียงบ่า
สรรเสริญพระองค์ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลกว่า
[๓๖๕] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ไม่มีอาสวะ
ประทับอยู่ที่นี้ด้วยพระญาณใด
ข้าพระองค์จักสรรเสริญพระญาณนั้น
ขอพระองค์จงสดับข้าพระองค์กราบทูล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๗๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๑. เมตเตยยวรรค] ๑๐. อุเทนเถราปทาน
[๓๖๖] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตัดกระแสวัฏสงสารแล้ว
ทรงช่วยสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้น
สรรพสัตว์นั้นฟังธรรมของพระองค์แล้ว
ย่อมข้ามพ้นกระแสตัณหาได้
[๓๖๗] ข้าแต่พระองค์ผู้สูงสุดแห่งเทวดา
และมนุษย์ พระองค์เป็นพระศาสดา
เป็นธงชัย เป็นหลัก เป็นจุดมุ่งหมาย เป็นที่พึ่ง
และเป็นประทีปของสัตว์ทั้งหลาย
[๓๖๘] คณาจารย์ผู้นำหมู่ประมาณเท่าใด ที่ถูกกล่าวถึงในโลก
พระองค์เป็นสัพพัญญูผู้เลิศกว่าคณาจารย์เหล่านั้น
คณาจารย์เหล่านั้นนับว่าอยู่ในคำสอนของพระองค์
[๓๖๙] พระองค์ผู้สัพพัญญูทรงช่วยหมู่ชนจำนวนมาก
ให้ข้ามพ้น(จากวัฏสงสาร)
ด้วยพระญาณของพระองค์
หมู่ชนอาศัยการได้เฝ้าพระองค์แล้ว จักทำที่สุดทุกข์ได้
[๓๗๐] ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระจักษุ
คันธชาติเหล่าใดเหล่าหนึ่งหอมฟุ้งไปในโลก
ข้าแต่พระมหามุนีผู้เป็นนาบุญ
กลิ่นหอมที่จะเสมอด้วยกลิ่นหอมของพระองค์ไม่มี
[๓๗๑] ข้าแต่พระมหามุนีผู้มีพระจักษุ
ขอพระองค์ทรงเปลื้อง
กำเนิดดิรัจฉานและนรกเถิด
พระองค์ทรงแสดงบทที่ปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้ สงบระงับ
[๓๗๒] พระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้ทรงรู้แจ้งโลก ผู้สมควรรับเครื่องบูชา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๗๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๑. เมตเตยยวรรค] ๑๐. อุเทนเถราปทาน
ประทับนั่งในท่ามกลางหมู่ภิกษุแล้ว
ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
[๓๗๓] เราจักพยากรณ์ผู้ที่เลื่อมใสได้บูชาญาณของเรา
ด้วยมือของตน เธอทั้งหลายจงฟังเรากล่าวเถิด
[๓๗๔] ผู้นั้นจักรื่นรมย์ในเทวโลกตลอด ๓๐,๐๐๐ กัป
และจักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๑,๐๐๐ ชาติ
[๓๗๕] ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ลาภอย่างดีแล้ว
ข้าพเจ้าให้พระพุทธเจ้าผู้มีวัตรงามทรงพอพระทัย
กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
[๓๗๖] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๓๗๗] การที่ข้าพเจ้าได้มาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๓๗๘] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระอุเทนเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
อุเทนเถราปทานที่ ๑๐ จบ
เมตเตยยวรรคที่ ๔๑ จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๗๐๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๑. เมตเตยยวรรค] รวมอปทานที่มีในวรรค
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ติสสเมตเตยยเถราปทาน ๒. ปุณณกเถราปทาน
๓. เมตตคูเถราปทาน ๔. โธตกเถราปทาน
๕. อุปสีวเถราปทาน ๖. นันทกเถราปทาน
๗. เหมกเถราปทาน ๘. โตเทยยเถราปทาน
๙. ชตุกัณณิกเถราปทาน ๑๐. อุเทนเถราปทาน

และในวรรคนี้มีคาถา ๓๙๓ คาถา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า :๗๐๔ }


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒ สุตตันตปิฎกที่ ๒๔ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ จบ





eXTReMe Tracker