ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ



จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อความสะดวก และสวยงาม
(เฉพาะหน้าจอใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์)
กรุณาคลิก จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อให้กรอบ
ค้นข้อความ ปรากฎที่ด้านซ้ายของหน้า

พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ สุตตันตปิฎกที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] มาติกา

พระสุตตันตปิฎก
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๑. มหาวรรค
หมวดว่าด้วยหลักธรรมสำคัญ
มาติกา

[๑] ปัญญาในการทรงจำธรรมที่ได้สดับมา ชื่อว่าสุตมยญาณ (ญาณในการ
ทรงจำธรรมที่ได้สดับมา)
[๒] ปัญญาในการสดับธรรมแล้วสำรวมไว้ ชื่อว่าสีลมยญาณ (ญาณในการ
สำรวมศีล)
[๓] ปัญญาในการสำรวมจิตตั้งมั่น ชื่อว่าสมาธิภาวนามยญาณ (ญาณในการ
สำรวมจิตเจริญสมาธิ)
[๔] ปัญญาในการกำหนดปัจจัย ชื่อว่าธัมมัฏฐิติญาณ (ญาณในการกำหนด
ที่ตั้งแห่งธรรม)
[๕] ปัญญาในการย่อธรรมทั้งหลายทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันแล้ว
กำหนดไว้ ชื่อว่าสัมมสนญาณ (ญาณที่กำหนดนามธรรมและรูปธรรม)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] มาติกา
[๖] ปัญญาในการพิจารณาเห็นความแปรผันแห่งธรรมทั้งหลายที่เป็นปัจจุบัน
ชื่อว่าอุทยัพพยานุปัสสนาญาณ (ญาณที่พิจารณาเห็นความเกิดและ
ความดับ)
[๗] ปัญญาในการพิจารณาอารมณ์แล้วพิจารณาเห็นความดับ ชื่อว่าวิปัสสนา-
ญาณ (ญาณที่พิจารณาเห็นความดับ)
[๘] ปัญญาในการ (เห็นสังขาร) ปรากฏโดยความเป็นภัย ชื่อว่าอาทีนวญาณ
(ญาณที่คำนึงเห็นโทษ)
[๙] ปัญญาที่ปรารถนาจะพ้นไป พิจารณาและดำรงมั่นอยู่ ชื่อว่าสังขารุเปกขา-
ญาณ (ญาณที่เป็นกลางต่อสังขาร)
[๑๐] ปัญญาในการออกและหลีกไปจากนิมิตภายนอก ชื่อว่าโคตรภูญาณ
(ญาณครอบโคตร)
[๑๑] ปัญญาในการออกและหลีกไปทั้งจากกิเลสขันธ์และจากนิมิตภายนอก
ชื่อว่ามัคคญาณ (ญาณในอริยมรรค)
[๑๒] ปัญญาที่หยุดความพยายาม ชื่อว่าผลญาณ (ญาณในอริยผล)
[๑๓] ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสที่อริยมรรคตัดขาดแล้ว ชื่อว่าวิมุตติ-
ญาณ (ญาณในวิมุตติ)
[๑๔] ปัญญาในการเห็นธรรมที่มาร่วมกันในขณะนั้น ชื่อว่าปัจจเวกขณญาณ
(ญาณในการพิจารณาทบทวน)
[๑๕] ปัญญาในการกำหนดธรรมต่าง ๆ ที่เป็นภายใน ชื่อว่าวัตถุนานัตตญาณ
(ญาณในวัตถุต่าง ๆ)
[๑๖] ปัญญาในการกำหนดธรรมต่าง ๆ ที่เป็นภายนอก ชื่อว่าโคจรนานัตตญาณ
(ญาณในอารมณ์ต่าง ๆ)
[๑๗] ปัญญาในการกำหนดจริยา ชื่อว่าจริยานานัตตญาณ (ญาณในจริยาต่างๆ)
[๑๘] ปัญญาในการกำหนดธรรม ๔ ประการ ชื่อว่าภูมินานัตตญาณ (ญาณใน
ภูมิต่าง ๆ)
[๑๙] ปัญญาในการกำหนดธรรม ๙ ประการ ชื่อว่าธัมมนานัตตญาณ (ญาณ
ในธรรมต่าง ๆ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] มาติกา
[๒๐] ปัญญาเครื่องรู้ยิ่ง ชื่อว่าญาตัฏฐญาณ (ญาณที่มีสภาวะรู้)
[๒๑] ปัญญาเครื่องกำหนดรู้ ชื่อว่าตีรณัฏฐญาณ (ญาณที่มีสภาวะพิจารณา)
[๒๒] ปัญญาเครื่องละ ชื่อว่าปริจจาคัฏฐญาณ (ญาณที่มีสภาวะสละ)
[๒๓] ปัญญาเครื่องเจริญ ชื่อว่าเอกรสัฏฐญาณ (ญาณที่มีสภาวะเป็นรสเดียว)
[๒๔] ปัญญาเครื่องทำให้แจ้ง ชื่อว่าผัสสนัฏฐญาณ (ญาณที่มีสภาวะถูกต้อง)
[๒๕] ปัญญาในอรรถต่าง ๆ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทาญาณ (ญาณแตกฉานใน
อรรถ)
[๒๖] ปัญญาในธรรมต่าง ๆ ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทาญาณ (ญาณแตกฉานในธรรม)
[๒๗] ปัญญาในนิรุตติต่าง ๆ ชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ (ญาณแตกฉานใน
นิรุตติ)
[๒๘] ปัญญาในปฏิภาณต่าง ๆ ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ (ญาณแตกฉาน
ในปฏิภาณ)
[๒๙] ปัญญาในวิหารธรรมต่าง ๆ ชื่อว่าวิหารัฏฐญาณ (ญาณในสภาวะแห่ง
วิหารธรรม)
[๓๐] ปัญญาในสมาบัติต่าง ๆ ชื่อว่าสมาปัตตัฏฐญาณ (ญาณในสภาวะแห่ง
สมาบัติ)
[๓๑] ปัญญาในวิหารสมาบัติต่าง ๆ ชื่อว่าวิหารสมาปัตตัฏฐญาณ (ญาณใน
สภาวะแห่งวิหารสมาบัติ)
[๓๒] ปัญญาในการตัดขาดอาสวะ เพราะความบริสุทธิ์แห่งจิตที่ไม่ฟุ้งซ่าน
ชื่อว่าอานันตริกสมาธิญาณ (ญาณในสมาธิตามลำดับ)
[๓๓] ทัสสนาธิปไตย วิหาราธิคมที่สงบ และปณีตาธิมุตตตาปัญญา ชื่อว่า
อรณวิหารญาณ (ญาณในอรณวิหาร)
[๓๔] ปัญญาที่มีความชำนาญ ในการระงับสังขาร ๓ ด้วยญาณจริยา ๑๖
และด้วยสมาธิจริยา ๙ เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยพละ ๒ อย่าง ชื่อว่า
นิโรธสมาปัตติญาณ (ญาณในนิโรธสมาบัติ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] มาติกา
[๓๕] ปัญญาในการทำความเป็นไปแห่งกิเลสให้สิ้นไปของผู้มีสัมปชัญญะ ชื่อ
ว่าปรินิพพานญาณ (ญาณในปรินิพพาน)
[๓๖] ปัญญาในความไม่ปรากฏแห่งธรรมทั้งปวง เพราะตัดขาดโดยชอบและ
ดับไป ชื่อว่าสมสีสัฏฐญาณ (ญาณในอรรถแห่งธรรมที่สงบและเป็นประธาน)
[๓๗] ปัญญาในสภาวะแต่ละอย่าง สภาวะต่าง ๆ สภาวะเดียวและเดช ชื่อว่า
สัลเลขัฏฐญาณ (ญาณในอรรถแห่งธรรมเป็นเครื่องขัดเกลา)
[๓๘] ปัญญาในการประคองจิตที่ไม่หดหู่และจิตที่ส่งไป ชื่อว่าวิริยารัมภญาณ
(ญาณในการปรารภความเพียร)
[๓๙] ปัญญาในการประกาศธรรมต่าง ๆ ชื่อว่าอัตถสันทัสสนญาณ (ญาณใน
การเห็นชัดซึ่งอรรถแห่งธรรม)
[๔๐] ปัญญาในการรวมธรรมทั้งปวงเข้าเป็นหมวดเดียวกัน ในการรู้แจ้งสภาวะ
ต่าง ๆ และสภาวะเดียว ชื่อว่าทัสสนวิสุทธิญาณ (ญาณในความหมดจด
แห่งทัสสนะ)
[๔๑] ปัญญาที่รู้ชัด ชื่อว่าขันติญาณ (ญาณในธรรมที่พอใจ)
[๔๒] ปัญญาที่ถูกต้องธรรม ชื่อว่าปริโยคาหนญาณ (ญาณในการหยั่งลงสู่ธรรม)
[๔๓] ปัญญาในการรวมปัจจัย ชื่อว่าปเทสวิหารญาณ (ญาณในวิหารธรรมส่วน
หนึ่ง)
[๔๔] ปัญญาที่มีกุศลธรรมเป็นใหญ่ ชื่อว่าสัญญาวิวัฏฏญาณ (ญาณในการ
หลีกออกจากอกุศลด้วยสัญญา)
[๔๕] ปัญญาในธรรมเป็นเหตุหลีกออกจากสภาวะต่าง ๆ ชื่อว่าเจโตวิวัฏฏญาณ
(ญาณในการหลีกออกจากอกุศลด้วยการคิดถึงกุศล)
[๔๖] ปัญญาในการอธิษฐาน ชื่อว่าจิตตวิวัฏฏญาณ (ญาณในการหลีกออก
จากอกุศลด้วยกุศลที่อธิษฐาน)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] มาติกา
[๔๗] ปัญญาในธรรมที่ว่าง ชื่อว่าญาณวิวัฏฏญาณ (ญาณในการหลีกออกจาก
อกุศลด้วยความรู้)
[๔๘] ปัญญาในความสละ ชื่อว่าวิโมกขวิวัฏฏญาณ (ญาณในการหลีกออกจาก
อกุศลด้วยการสละ)
[๔๙] ปัญญาในสภาวะแท้ ชื่อว่าสัจจวิวัฏฏญาณ (ญาณในการหลีกออกจาก
ภาวะที่ไม่แท้ด้วยภาวะที่แท้)
[๕๐] ปัญญาในสภาวะที่สำเร็จ ด้วยการกำหนดกายและจิตเข้าด้วยกัน ด้วย
อำนาจการตั้งไว้ซึ่งสุขสัญญาและลหุสัญญา ชื่อว่าอิทธิวิธญาณ (ญาณที่
ทำให้แสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ได้)
[๕๑] ปัญญาในการหยั่งลงสู่สัททนิมิตที่มีสภาวะต่าง ๆ และสภาวะเดียว
ด้วยอำนาจการแผ่วิตกไป ชื่อว่าโสตธาตุวิสุทธิญาณ (ญาณในความ
หมดจดแห่งโสตธาตุ)
[๕๒] ปัญญาในการหยั่งลงสู่วิญญาณจริยาที่มีสภาวะต่าง ๆ และสภาวะเดียว
ด้วยอำนาจความผ่องใสแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย เพราะการแผ่ไปแห่งจิต ๓
ประเภท ชื่อว่าเจโตปริยญาณ (ญาณที่ทำให้กำหนดใจผู้อื่นได้)
[๕๓] ปัญญาในการหยั่งลงสู่ธรรมทั้งหลายที่เป็นไปตามปัจจัย ด้วยอำนาจการ
แผ่ไปแห่งกรรมที่มีสภาวะต่าง ๆ และสภาวะเดียว ชื่อว่าปุพเพนิวาสานุสสติ-
ญาณ (ญาณที่ทำให้ระลึกชาติได้)
[๕๔] ปัญญาในการเห็นรูปนิมิตที่มีสภาวะต่าง ๆ และสภาวะเดียวด้วยอำนาจ
แสงสว่าง ชื่อว่าทิพพจักขุญาณ (ญาณที่ทำให้มีตาทิพย์)
[๕๕] ปัญญาที่มีความชำนาญในอินทรีย์ ๓ ประการ โดยอาการ ๖๔ ชื่อว่า
อาสวักขยญาณ (ญาณที่ทำให้สิ้นอาสวะ)
[๕๖] ปัญญาในสภาวะที่ควรกำหนดรู้ ชื่อว่าทุกขญาณ (ญาณในทุกข์)
[๕๗] ปัญญาในสภาวะที่ควรละ ชื่อว่าสมุทยญาณ (ญาณในสมุทัย)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] มาติกา
[๕๘] ปัญญาในสภาวะที่ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่านิโรธญาณ (ญาณในนิโรธ)
[๕๙] ปัญญาในสภาวะที่ควรเจริญ ชื่อว่ามัคคญาณ (ญาณในมรรค)
[๖๐] ทุกขญาณ (ญาณในทุกข์)
[๖๑] ทุกขสมุทยญาณ (ญาณในเหตุเกิดทุกข์)
[๖๒] ทุกขนิโรธญาณ (ญาณในความดับทุกข์)
[๖๓] ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ (ญาณในข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับทุกข์)
[๖๔] อัตถปฏิสัมภิทาญาณ (ญาณแตกฉานในอรรถ)
[๖๕] ธัมมปฏิสัมภิทาญาณ (ญาณแตกฉานในธรรม)
[๖๖] นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ (ญาณแตกฉานในนิรุตติ)
[๖๗] ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ (ญาณแตกฉานในปฏิภาณ)
[๖๘] อินทริยปโรปริยัตตญาณ (ญาณในความยิ่งและความหย่อนแห่งอินทรีย์
ของสัตว์ทั้งหลาย)
[๖๙] อาสยานุสยญาณ (ญาณในอาสยะและอนุสัยของสัตว์ทั้งหลาย)
[๗๐] ยมกปฏิหาริยญาณ (ญาณในยมกปาฏิหาริย์)
[๗๑] มหากรุณาสมาปัตติญาณ (ญาณในมหากรุณาสมาบัติ)
[๗๒] สัพพัญญุตญาณ (ญาณความรู้ในธรรมทั้งปวง)
[๗๓] อนาวรณญาณ (ญาณที่ไม่มีเครื่องกั้น)
ญาณเหล่านี้รวมเป็น ๗๓ ประการ ในญาณทั้ง ๗๓ ประการนี้ ญาณ ๖๗
ประการ (เบื้องต้น) เป็นญาณที่ทั่วไปแก่สาวก ญาณ ๖ ประการ (เบื้องปลาย)
เป็นญาณที่ไม่ทั่วไปแก่สาวก (เฉพาะพระตถาคตเท่านั้น)

มาติกา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
๑. ญาณกถา
ว่าด้วยญาณ
๑. สุตมยญาณนิทเทส
แสดงสุตมยญาณ
[๑] ปัญญาในการทรงจำธรรมที่ได้สดับมา ชื่อว่าสุตมยญาณ เป็นอย่างไร
คือ
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง” ปัญญารู้ชัดธรรมที่
ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๑)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้ควรกำหนดรู้” ปัญญารู้ชัด
ธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๒)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้ควรละ” ปัญญารู้ชัด
ธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๓)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้ควรเจริญ” ปัญญารู้ชัด
ธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๔)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง” ปัญญารู้ชัด
ธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๕)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม”
ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๖)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้เป็นส่วนแห่งความตั้งอยู่” ปัญญา
รู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๗)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้เป็นส่วนแห่งคุณวิเศษ” ปัญญา
รู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๘)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส”
ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๙)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง” ปัญญารู้ชัดธรรมที่
ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๑๐)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์” ปัญญารู้ชัดธรรมที่
ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๑๑)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา” ปัญญารู้ชัดธรรมที่
ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๑๒)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “นี้ทุกขอริยสัจ” ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น
ชื่อว่าสุตมยญาณ (๑๓)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “นี้ทุกขสมุทยอริยสัจ” ปัญญารู้ชัดธรรมที่
ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๑๔)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ” ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้
สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๑๕)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ” ปัญญารู้
ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๑๖)
[๒] การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง” ปัญญา
รู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ เป็นอย่างไร คือ
ธรรม ๑ อย่างที่ควรรู้ยิ่ง คือ สัตว์ทั้งปวงดำรงอยู่ได้เพราะอาหาร
ธรรม ๒ อย่างที่ควรรู้ยิ่ง คือ ธาตุ ๒
ธรรม ๓ อย่างที่ควรรู้ยิ่ง คือ ธาตุ ๓
ธรรม ๔ อย่างที่ควรรู้ยิ่ง คือ อริยสัจ ๔
ธรรม ๕ อย่างที่ควรรู้ยิ่ง คือ วิมุตตายตนะ ๕
ธรรม ๖ อย่างที่ควรรู้ยิ่ง คือ อนุตตริยะ ๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
ธรรม ๗ อย่างที่ควรรู้ยิ่ง คือ นิททสวัตถุ ๗๑
ธรรม ๘ อย่างที่ควรรู้ยิ่ง คือ อภิภายตนะ ๘
ธรรม ๙ อย่างที่ควรรู้ยิ่ง คือ อนุปุพพวิหาร ๙
ธรรม ๑๐ อย่างที่ควรรู้ยิ่ง คือ นิชชรวัตถุ ๑๐๒
[๓] ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรรู้ยิ่ง สิ่งทั้งปวงที่ควรรู้ยิ่ง คืออะไร
คือ จักขุ (ตา) ควรรู้ยิ่ง รูปควรรู้ยิ่ง จักขุวิญญาณควรรู้ยิ่ง จักขุสัมผัสควรรู้ยิ่ง
สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัส
เป็นปัจจัยควรรู้ยิ่ง
โสตะ (หู) ควรรู้ยิ่ง สัททะ (เสียง) ฯลฯ
ฆานะ (จมูก) ควรรู้ยิ่ง คันธะ (กลิ่น) ฯลฯ
ชิวหา (ลิ้น) ควรรู้ยิ่ง รส ฯลฯ
กาย ควรรู้ยิ่ง โผฏฐัพพะ (สัมผัสทางกาย) ฯลฯ
มโน (ใจ) ควรรู้ยิ่ง ธรรมารมณ์ควรรู้ยิ่ง มโนวิญญาณควรรู้ยิ่ง มโนสัมผัส
ควรรู้ยิ่ง สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัส
เป็นปัจจัยควรรู้ยิ่ง
รูปควรรู้ยิ่ง เวทนาควรรู้ยิ่ง สัญญาควรรู้ยิ่ง สังขารควรรู้ยิ่ง วิญญาณควรรู้ยิ่ง
จักขุควรรู้ยิ่ง โสตะ ... ฆานะ ... ชิวหา ... กาย ... มโน... รูป ... สัททะ ...
คันธะ ... รส ... โผฏฐัพพะ ... ธรรมารมณ์ควรรู้ยิ่ง

เชิงอรรถ :
๑ นิททสวัตถุ ๗ ได้แก่ (๑) การสมาทานสิกขาบท (๒) ความเอาใจใส่สังเกตธรรม (๓) การกำจัดความริษยา
(๔) ความหลีกเร้น (๕) การปรารภความเพียร (๖) ความมีสติและมีปัญญารักษาตน (๗) การรู้แจ้งทิฏฐิ
(ขุ.ป.อ. ๑/๒/๘๐)
๒ นิชชรวัตถุ ๑๐ หมายถึงอริยมรรคมีองค์ ๘ มีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น รวมกับสัมมาญาณ และสัมมาวิมุตติ
อีก ๒ จึงเป็น ๑๐ (ขุ.ป.อ. ๑/๒/๘๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
จักขุวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางตา) ควรรู้ยิ่ง โสตวิญญาณ (ความรู้แจ้ง
อารมณ์ทางหู) ... ฆานวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางจมูก) ... ชิวหาวิญญาณ
(ความรู้แจ้งอารมณ์ทางลิ้น) ... กายวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางกาย) ...
มโนวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางใจ) ควรรู้ยิ่ง
จักขุสัมผัส (ความกระทบทางตา) ควรรู้ยิ่ง โสตสัมผัส (ความกระทบทางจมูก)
... ฆานสัมผัส (ความกระทบทางกลิ่น) ... ชิวหาสัมผัส (ความกระทบทางลิ้น) ...
กายสัมผัส (ความกระทบทางกาย) ... มโนสัมผัส (ความกระทบทางใจ) ควรรู้ยิ่ง
จักขุสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางตา) ควรรู้ยิ่ง โสตสัมผัสสชา-
เวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางหู) ... ฆานสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจาก
สัมผัสทางจมูก) ... ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางลิ้น) ... กาย-
สัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางกาย) ... มโนสัมผัสสชาเวทนา (เวทนา
เกิดจากสัมผัสทางใจ) ควรรู้ยิ่ง
รูปสัญญา (ความหมายรู้รูป) ควรรู้ยิ่ง สัททสัญญา (ความหมายรู้เสียง) ...
คันธสัญญา (ความหมายรู้กลิ่น) ... รสสัญญา (ความหมายรู้รส) ... โผฏฐัพพสัญญา
(ความหมายรู้สัมผัสทางกาย) ... ธัมมสัญญา (ความหมายรู้ธรรมารมณ์) ควรรู้ยิ่ง
รูปสัญเจตนา (ความจำนงรูป) ควรรู้ยิ่ง สัททสัญเจตนา (ความจำนงเสียง) ...
คันธสัญเจตนา (ความจำนงกลิ่น) ... รสสัญเจตนา (ความจำนงรส) ... โผฏฐัพพ-
สัญเจตนา (ความจำนงโผฏฐัพพะ) ... ธัมมสัญเจตนา (ความจำนงธรรมารมณ์)
ควรรู้ยิ่ง
รูปตัณหา (อยากได้รูป) ควรรู้ยิ่ง สัททตัณหา (อยากได้เสียง) ... คันธตัณหา
(อยากได้กลิ่น) ... รสตัณหา (อยากได้รส) ... โผฏฐัพพตัณหา (อยากได้โผฏฐัพพะ) ...
ธัมมตัณหา (อยากได้ธรรมารมณ์) ควรรู้ยิ่ง
รูปวิตก (ความตรึกเกี่ยวกับรูป) ควรรู้ยิ่ง สัททวิตก (ความตรึกเกี่ยวกับเสียง) ...
คันธวิตก (ความตรึกเกี่ยวกับกลิ่น) ... รสวิตก (ความตรึกเกี่ยวกับรส) ... โผฏฐัพพ-
วิตก (ความตรึกเกี่ยวกับโผฏฐัพพะ) ... ธัมมวิตก (ความตรึกเกี่ยวกับธรรมารมณ์)
ควรรู้ยิ่ง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
รูปวิจาร (ความตรองเกี่ยวกับรูป) ควรรู้ยิ่ง สัททวิจาร (ความตรองเกี่ยวกับ
เสียง) ... คันธวิจาร (ความตรองเกี่ยวกับกลิ่น) ... รสวิจาร (ความตรองเกี่ยวกับรส) ...
โผฏฐัพพวิจาร (ความตรองเกี่ยวกับโผฏฐัพพะ) ... ธัมมวิจาร (ความตรองเกี่ยว
กับธรรมารมณ์) ควรรู้ยิ่ง
[๔] ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) ควรรู้ยิ่ง อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ) ... เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) ...
วาโยธาตุ (ธาตุลม) ... อากาสธาตุ (ธาตุคือที่ว่าง) ... วิญญาณธาตุ (ธาตุคือวิญญาณ)
ควรรู้ยิ่ง
ปฐวีกสิณ (กสิณคือดิน) ควรรู้ยิ่ง อาโปกสิณ (กสิณคือน้ำ) ... เตโชกสิณ
(กสิณคือไฟ) ... วาโยกสิณ (กสิณคือลม) ... นีลกสิณ (กสิณคือสีเขียว) ... ปีตกสิณ
(กสิณคือสีเหลือง) ... โลหิตกสิณ (กสิณคือสีแดง) ... โอทาตกสิณ (กสิณคือสีขาว) ...
อากาสกสิณ (กสิณคือช่องว่าง) ... วิญญาณกสิณ (กสิณคือวิญญาณ) ควรรู้ยิ่ง
ผมควรรู้ยิ่ง ขน ... เล็บ ... ฟัน ... หนัง ... เนื้อ ... เอ็น ... กระดูก ... เยื่อในกระดูก
... ไต๑... หัวใจ ... ตับ ... พังผืด ... ม้าม๒... ปอด ... ไส้ใหญ่ ...ไส้น้อย ... อาหารใหม่
อาหารเก่า ... ดี ... เสลด ... หนอง ... เลือด ... เหงื่อ ... มันข้น ... น้ำตา ... เปลวมัน
... น้ำลาย ... น้ำมูก ... ไขข้อ ... มูตร๓... มันสมองควรรู้ยิ่ง

เชิงอรรถ :
๑ ไต แปลจากคำบาลีว่า วกฺก (โบราณแปลว่า ม้าม) ได้แก่ก้อนเนื้อ ๒ ก้อนมีขั้วเดียวกัน มีสีแดงอ่อน
เหมือนเมล็ดทองหลาง รูปร่างคล้ายลูกสะบ้าของเด็ก ๆ หรือคล้ายผลมะม่วง ๒ ผล ที่ติดอยู่ที่ขั้วเดียวกัน
มีเอ็นใหญ่รึงรัดจากลำคอลงไปถึงหัวใจแล้วแยกออกมาห้อยอยู่ทั้ง ๒ ข้าง (ขุ.ขุ.อ. ๓/๔๓), พจนานุกรม
ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ หน้า ๓๖๒ ให้บทนิยามของคำว่า “ไต” ว่า “อวัยวะคู่หนึ่งของคน
และสัตว์อยู่ในช่องท้องใกล้กระดูกสันหลัง ทำหน้าที่ขับของเสียออกมากับน้ำปัสสาวะ”, Buddhadatta,
A.P. A Concise Pali-English Dictionary, 1985,(P. 224) ; และ Phys David, T.W. Pali-English
Dictionary, 1921-1925, (P. 591) ให้ความหมายของคำว่า วกฺก ตรงกัน หมายถึง ไต (Kidney)
๒ ม้าม แปลจากคำบาลีว่า ปิหก (โบราณแปลว่า ไต) มีสีเขียวเหมือนดอกคนทิสอแห้ง รูปร่างคล้ายลิ้นลูก
โคถึกดำ ยาวประมาณ ๗ นิ้ว อยู่ด้านบนติดกับหัวใจข้างซ้ายชิดพื้นท้องด้านบน (ขุ.ขุ.อ. ๓/๔๕);
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ หน้า ๖๔๗ ให้บทนิยามของคำว่า “ม้าม” ไว้ว่า
“อวัยวะภายในร่างกายริมกระเพาะอาหารข้างซ้าย มีหน้าที่ทำลายเม็ดเลือดแดง สร้างเม็ดน้ำเหลืองและ
สร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย” Buddhadatta, A.P. A Concise Pali-English Dictionary, 1985, (P.186);
และ Rhys David, T.W. Pali-English Dictionary, 1921-1925, (P.461) ให้ความหมายของคำว่า ปิหก
ตรงกัน หมายถึง ม้าม (spleen)
๓ มูตร หมายถึงน้ำปัสสาวะที่มีอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ (ขุ.ขุ.อ. ๓/๕๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
จักขายตนะ (อายตนะคือตา) ควรรู้ยิ่ง รูปายตนะ (อายตนะคือรูป) ...
โสตายตนะ (อายตนะคือหู) ... สัททายตนะ (อายตนะคือเสียง) ... ฆานายตนะ
(อายตนะคือจมูก) ... คันธายตนะ (อายตนะคือกลิ่น) ... ชิวหายตนะ (อายตนะคือลิ้น)
... รสายตนะ (อายตนะคือรส) ... กายายตนะ (อายตนะคือกาย) ... โผฏฐัพพายตนะ
(อายตนะคือโผฏฐัพพะ) ... มนายตนะ (อายตนะคือใจ) ... ธัมมายตนะ (อายตนะคือ
ธรรมารมณ์) ควรรู้ยิ่ง
จักขุธาตุ (ธาตุคือจักขุปสาท) ควรรู้ยิ่ง รูปธาตุ (ธาตุคือรูปารมณ์) ... จักขุ-
วิญญาณธาตุ (ธาตุคือจักขุวิญญาณ) ... โสตธาตุ (ธาตุคือโสตปสาท) ... สัททธาตุ
(ธาตุคือสัททารมณ์) ... โสตวิญญาณธาตุ (ธาตุคือโสตวิญญาณ) ... ฆานธาตุ (ธาตุ
คือฆานปสาท) ... คันธธาตุ (ธาตุคือคันธารมณ์) ... ฆานวิญญาณธาตุ (ธาตุคือฆาน-
วิญญาณ) ... ชิวหาธาตุ (ธาตุคือชิวหาปสาท) ... รสธาตุ (ธาตุคือรสารมณ์) ...
ชิวหาวิญญาณธาตุ (ธาตุคือชิวหาวิญญาณ) ... กายธาตุ (ธาตุคือกายปสาท) ...
โผฏฐัพพธาตุ (ธาตุคือโผฏฐัพพารมณ์) ... กายวิญญาณธาตุ (ธาตุคือกายวิญญาณ)
... มโนธาตุ (ธาตุคือมโน) ... ธัมมธาตุ (ธาตุคือธรรมารมณ์) ... มโนวิญญาณธาตุ
(ธาตุคือมโนวิญญาณ) ควรรู้ยิ่ง
จักขุนทรีย์ (อินทรีย์คือจักขุปสาท) ควรรู้ยิ่ง โสตินทรีย์ (อินทรีย์คือโสตปสาท)
... ฆานินทรีย์ (อินทรีย์คือฆานปสาท) ... ชิวหินทรีย์ (อินทรีย์คือชิวหาปสาท) ...
กายินทรีย์ (อินทรีย์คือกายปสาท) ... มนินทรีย์ (อินทรีย์คือใจ) ... ชีวิตินทรีย์
(อินทรีย์คือชีวิต) ... อิตถินทรีย์ (อินทรีย์คืออิตถีภาวะ) ... ปุริสินทรีย์ (อินทรีย์คือ
ปุริสภาวะ) ... สุขินทรีย์ (อินทรีย์คือสุขเวทนา) ... ทุกขินทรีย์ (อินทรีย์คือทุกขเวทนา)
... โสมนัสสินทรีย์ (อินทรีย์คือโสมนัสสเวทนา) ... โทมนัสสินทรีย์ (อินทรีย์คือ
โทมนัสสเวทนา) ... อุเปกขินทรีย์ (อินทรีย์คืออุเบกขาเวทนา) ... สัทธินทรีย์
(อินทรีย์คือศรัทธา) ... วิริยินทรีย์ (อินทรีย์คือวิริยะ) ... สตินทรีย์ (อินทรีย์คือสติ)
... สมาธินทรีย์ (อินทรีย์คือสมาธิ) ... ปัญญินทรีย์ (อินทรีย์คือปัญญา) ...
อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ (อินทรีย์แห่งท่านผู้ปฏิบัติด้วยมุ่งว่าเราจักรู้สัจธรรมที่
ยังมิได้รู้) ... อัญญินทรีย์ (อินทรีย์คือปัญญาอันรู้ทั่วถึง) ... อัญญาตาวินทรีย์
(อินทรีย์แห่งท่านผู้รู้ทั่วถึงแล้ว) ควรรู้ยิ่ง
[๕] กามธาตุ (ธาตุคือกาม) ควรรู้ยิ่ง รูปธาตุ (ธาตุคือรูป) ... อรูปธาตุ (ธาตุ
คืออรูป) ... กามภพ (ภพที่เป็นกามาวจร) ... รูปภพ (ภพที่เป็นรูปาวจร) ... อรูปภพ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
(ภพที่เป็นอรูปาวจร) ... สัญญาภพ (ภพที่มีสัญญา) ... อสัญญาภพ (ภพที่ไม่มีสัญญา)
... เนวสัญญานาสัญญาภพ (ภพที่มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่) ... เอกโวการภพ
(ภพที่มีโวการเดียว๑) ... จตุโวการภพ (ภพที่มี ๔ โวการ๒) ... ปัญจโวการภพ
(ภพที่มี ๕ โวการ๓) ควรรู้ยิ่ง
[๖] ปฐมฌาน ควรรู้ยิ่ง ทุติยฌาน ... ตติยฌาน ... จตุตถฌาน ... เมตตาเจโต-
วิมุตติ (ความหลุดพ้นแห่งจิตด้วยอำนาจเมตตา) ... กรุณาเจโตวิมุตติ (ความหลุด
พ้นแห่งจิตด้วยอำนาจกรุณา) ... มุทิตาเจโตวิมุตติ (ความหลุดพ้นแห่งจิตด้วย
อำนาจพลอยยินดี) ... อุเบกขาเจโตวิมุตติ (ความหลุดพ้นแห่งจิตด้วยอำนาจการวาง
ตนเป็นกลาง) ... อากาสานัญจายตนสมาบัติ (สมาบัติกำหนดอากาศคือช่องว่าง
หาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์) ... วิญญาณัญจายตนสมาบัติ (สมาบัติกำหนดวิญญาณ
หาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์) ... อากิญจัญญายตนสมาบัติ (สมาบัติกำหนดภาวะที่ไม่มี
อะไร ๆ เป็นอารมณ์) ... เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ (สมาบัติเข้าถึงภาวะมี
สัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่) ควรรู้ยิ่ง
อวิชชา (ความไม่รู้แจ้ง) ควรรู้ยิ่ง สังขาร (สภาพที่ปรุงแต่ง) ... วิญญาณ
(ความรู้แจ้งอารมณ์) ... นามรูป (รูปและนาม) ... สฬายตนะ (อายตนะ ๖) ... ผัสสะ
(ความกระทบ) ... เวทนา (ความเสวยอารมณ์) ... ตัณหา (ความทะยานอยาก) ...
อุปาทาน (ความยึดถือ) ... ภพ (ภาวะชีวิต) ... ชาติ (ความเกิด) ... ชราและมรณะ
(ความแก่และความตาย) ควรรู้ยิ่ง
[๗] ทุกข์ควรรู้ยิ่ง ทุกขสมุทัย (เหตุให้เกิดทุกข์) ควรรู้ยิ่ง ทุกขนิโรธ (ความ
ดับทุกข์) ควรรู้ยิ่ง ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับทุกข์) ควรรู้ยิ่ง
รูปควรรู้ยิ่ง รูปสมุทัย (เหตุให้เกิดรูป) ควรรู้ยิ่ง รูปนิโรธ (ความดับรูป) ควรรู้ยิ่ง
รูปนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับรูป) ควรรู้ยิ่ง

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า โวการเดียว หมายถึงขันธ์เดียวคือรูปขันธ์ (ขุ.ป.อ.๑/๕/๙๗)
๒ คำว่า ๔ โวการ หมายถึงอรูปขันธ์ ๔ (ขุ.ป.อ.๑/๕/๙๗)
๓ คำว่า ๕ โวการ หมายถึงขันธ์ ๕ (ขุ.ป.อ.๑/๕/๙๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
เวทนา ฯลฯ
สัญญา ฯลฯ
สังขาร ฯลฯ
วิญญาณ ฯลฯ
จักขุ ฯลฯ
ชราและมรณะควรรู้ยิ่ง ชรามรณสมุทัย (เหตุให้เกิดชราและมรณะ) ควรรู้ยิ่ง
ชรามรณนิโรธ (ความดับแห่งชราและมรณะ) ควรรู้ยิ่ง ชรามรณนิโรธคามินีปฏิปทา
(ข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ) ควรรู้ยิ่ง
สภาวะที่ควรกำหนดรู้แห่งทุกข์ควรรู้ยิ่ง สภาวะที่ควรละแห่งทุกขสมุทัยควรรู้ยิ่ง
สภาวะที่ควรทำให้แจ้งแห่งทุกขนิโรธควรรู้ยิ่ง สภาวะที่ควรเจริญแห่งทุกขนิโรธ-
คามินีปฏิปทาควรรู้ยิ่ง
สภาวะที่ควรกำหนดรู้แห่งรูปควรรู้ยิ่ง สภาวะที่ควรละแห่งรูปสมุทัยควรรู้ยิ่ง
สภาวะที่ควรทำให้แจ้งแห่งรูปนิโรธควรรู้ยิ่ง สภาวะที่ควรเจริญแห่งรูปนิโรธคามินีปฏิปทา
ควรรู้ยิ่ง
สภาวะที่ควรกำหนดรู้แห่งเวทนา ฯลฯ
สภาวะที่ควรกำหนดรู้แห่งสัญญา ฯลฯ
สภาวะที่ควรกำหนดรู้แห่งสังขาร ฯลฯ
สภาวะที่ควรกำหนดรู้แห่งวิญญาณ ฯลฯ
สภาวะที่ควรกำหนดรู้แห่งจักขุ ฯลฯ
สภาวะที่ควรกำหนดรู้แห่งชราและมรณะควรรู้ยิ่ง สภาวะที่ควรละแห่งชรา-
มรณสมุทัยควรรู้ยิ่ง สภาวะที่ควรทำให้แจ้งแห่งชรามรณนิโรธควรรู้ยิ่ง สภาวะที่ควร
เจริญแห่งชรามรณนิโรธคามินีปฏิปทาควรรู้ยิ่ง
สภาวะที่รู้แจ้งด้วยการกำหนดรู้แห่งทุกข์ควรรู้ยิ่ง สภาวะที่รู้แจ้งด้วยการละ
แห่งทุกขสมุทัยควรรู้ยิ่ง สภาวะที่รู้แจ้งด้วยการทำให้แจ้งแห่งทุกขนิโรธควรรู้ยิ่ง
สภาวะที่รู้แจ้งด้วยการเจริญแห่งทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาควรรู้ยิ่ง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
สภาวะที่รู้แจ้งด้วยการกำหนดรู้แห่งรูปควรรู้ยิ่ง สภาวะที่รู้แจ้งด้วยการละแห่ง
รูปสมุทัยควรรู้ยิ่ง สภาวะที่รู้แจ้งด้วยการทำให้แจ้งแห่งรูปนิโรธควรรู้ยิ่ง สภาวะที่
รู้แจ้งด้วยการเจริญแห่งรูปนิโรธคามินีปฏิปทาควรรู้ยิ่ง
สภาวะที่รู้แจ้งด้วยการกำหนดรู้แห่งเวทนา ฯลฯ
สภาวะที่รู้แจ้งด้วยการกำหนดรู้แห่งสัญญา ฯลฯ
สภาวะที่รู้แจ้งด้วยการกำหนดรู้แห่งสังขาร ฯลฯ
สภาวะที่รู้แจ้งด้วยการกำหนดรู้แห่งวิญญาณ ฯลฯ
สภาวะที่รู้แจ้งด้วยการกำหนดรู้แห่งจักขุ ฯลฯ
สภาวะที่รู้แจ้งด้วยการกำหนดรู้แห่งชราและมรณะควรรู้ยิ่ง สภาวะที่รู้แจ้งด้วย
การละแห่งชรามรณสมุทัยควรรู้ยิ่ง สภาวะที่รู้แจ้งด้วยการทำให้แจ้งแห่งชรามรณนิโรธ
ควรรู้ยิ่ง สภาวะที่รู้แจ้งด้วยการเจริญแห่งชรามรณนิโรธคามินีปฏิปทาควรรู้ยิ่ง
[๘] ทุกข์ควรรู้ยิ่ง ทุกขสมุทัยควรรู้ยิ่ง ทุกขนิโรธควรรู้ยิ่ง ความดับเหตุเกิด
แห่งทุกข์ควรรู้ยิ่ง ความดับฉันทราคะในทุกข์ควรรู้ยิ่ง คุณ๑แห่งทุกข์ควรรู้ยิ่ง
โทษ๒แห่งทุกข์ควรรู้ยิ่ง เครื่องสลัดออกจากทุกข์ควรรู้ยิ่ง
รูปควรรู้ยิ่ง รูปสมุทัย ... รูปนิโรธ ... ความดับเหตุให้เกิดรูป ... ความดับ
ฉันทราคะในรูป ... คุณแห่งรูป ... โทษแห่งรูป ... เครื่องสลัดออกจากรูปควรรู้ยิ่ง
เวทนา ฯลฯ
สัญญา ฯลฯ
สังขาร ฯลฯ
วิญญาณ ฯลฯ
จักขุ ฯลฯ
ชราและมรณะควรรู้ยิ่ง ชรามรณสมุทัย ... ชรามรณนิโรธ ... ความดับเหตุให้
เกิดชราและมรณะ ... ความดับฉันทราคะในชราและมรณะ ... คุณแห่งชราและมรณะ
... โทษแห่งชราและมรณะ ... เครื่องสลัดออกจากชราและมรณะควรรู้ยิ่ง

เชิงอรรถ :
๑ คุณ (อัสสาทะ) หมายถึงสภาวะที่อร่อย หรือสภาวะที่สุขกายและสุขใจ ซึ่งเกี่ยวข้องกับกามคุณ (องฺ.จตุกฺก.
อ. ๒/๑๐/๒๘๘, องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๑๐/๒๘๘)
๒ โทษ (อาทีนวะ) หมายถึงสภาวะที่ไม่อร่อย หรือสภาวะที่ทุกข์กายและทุกข์ใจ ซึ่งมีธรรมเป็นเหตุ (องฺ.จตุกฺก.
อ. ๒/๑๐/๒๘๘, องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๑๐/๒๘๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
ทุกข์ควรรู้ยิ่ง ทุกขสมุทัย ... ทุกขนิโรธ ... ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ... คุณแห่ง
ทุกข์ ... โทษแห่งทุกข์ ... เครื่องสลัดออกจากทุกข์ควรรู้ยิ่ง
รูปควรรู้ยิ่ง รูปสมุทัย ... รูปนิโรธ ... รูปนิโรธคามินีปฏิปทา ... คุณแห่งรูป ...
โทษแห่งรูป ... เครื่องสลัดออกจากรูปควรรู้ยิ่ง
เวทนา ฯลฯ
สัญญา ฯลฯ
สังขาร ฯลฯ
วิญญาณ ฯลฯ
จักขุ ฯลฯ
ชราและมรณะควรรู้ยิ่ง ชรามรณสมุทัย ... ชรามรณนิโรธ ... ชรามรณ-
นิโรธคามินีปฏิปทา ... คุณแห่งชราและมรณะ ... โทษแห่งชราและมรณะ ... เครื่อง
สลัดออกจากชราและมรณะควรรู้ยิ่ง
[๙] อนิจจานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง) ควรรู้ยิ่ง ทุกขานุ-
ปัสสนา (การพิจารณาเห็นทุกข์) ... อนัตตานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นอนัตตา) ...
นิพพิทานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความเบื่อหน่าย) ... วิราคานุปัสสนา (การ
พิจารณาเห็นความคลายกำหนัด) ... นิโรธานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความดับ) ...
ปฏินิสสัคคานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความสละคืน) ควรรู้ยิ่ง
อนิจจานุปัสสนาในรูปควรรู้ยิ่ง ทุกขานุปัสสนาในรูป ... อนัตตานุปัสสนา
ในรูป ... นิพพิทานุปัสสนาในรูป ... วิราคานุปัสสนาในรูป ... นิโรธานุปัสสนาในรูป ...
ปฏินิสสัคคานุปัสสนาในรูปควรรู้ยิ่ง
อนิจจานุปัสสนาในเวทนา ฯลฯ
อนิจจานุปัสสนาในสัญญา ฯลฯ
อนิจจานุปัสสนาในสังขาร ฯลฯ
อนิจจานุปัสสนาในวิญญาณ ฯลฯ
อนิจจานุปัสสนาในจักขุ ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
อนิจจานุปัสสนาในชราและมรณะควรรู้ยิ่ง ทุกขานุปัสสนาในชราและมรณะ ...
อนัตตานุปัสสนาในชราและมรณะ ... นิพพิทานุปัสสนาในชราและมรณะ ...
วิราคานุปัสสนาในชราและมรณะ ... นิโรธานุปัสสนาในชราและมรณะ ...
ปฏินิสสัคคานุปัสสนาในชราและมรณะควรรู้ยิ่ง
[๑๐] ความเกิดขึ้นควรรู้ยิ่ง ความเป็นไป ... นิมิต (เครื่องหมาย) ... กรรม
เป็นเครื่องประมวลมา ... ปฏิสนธิ ... คติ (ภพที่ไปเกิด) ... ความบังเกิด ... ความ
อุบัติ ... ความเกิด ... ความแก่ ... ความเจ็บไข้ ... ความตาย ... ความเศร้าโศก ...
ความรำพัน ... ความคับแค้นใจควรรู้ยิ่ง
ความไม่เกิดขึ้นควรรู้ยิ่ง ความไม่เป็นไป ... อนิมิต (ความไม่มีเครื่องหมาย) ...
ความไม่มีกรรมเป็นเครื่องประมวลมา ... ความไม่มีปฏิสนธิ ... อคติ (ความไม่มีภพ
ที่ไปเกิด) ... ความไม่บังเกิด ... ความไม่อุบัติ ... ความไม่เกิด ... ความไม่แก่ ...
ความไม่เจ็บไข้ ... ความไม่ตาย ... ความไม่เศร้าโศก ... ความไม่รำพัน ... ความไม่คับ
แค้นใจควรรู้ยิ่ง
ความเกิดขึ้นควรรู้ยิ่ง ความไม่เกิดขึ้น ... ความเป็นไป ... ความไม่เป็นไป ...
นิมิต ... อนิมิต ... กรรมเป็นเครื่องประมวลมา ... ความไม่มีกรรมเป็นเครื่องประมวลมา
... ปฏิสนธิ ... ความไม่มีปฏิสนธิ ... คติ ... อคติ ... ความบังเกิด ... ความไม่บังเกิด ...
ความอุบัติ ... ความไม่อุบัติ ... ความเกิด ... ความไม่เกิด ... ความแก่ ... ความไม่แก่
... ความเจ็บไข้ ... ความไม่เจ็บไข้ ... ความตาย ... ความไม่ตาย ... ความเศร้าโศก ...
ความไม่เศร้าโศก ... ความรำพัน ... ความไม่รำพัน ... ความคับแค้นใจ ... ความไม่
คับแค้นใจควรรู้ยิ่ง
ควรรู้ยิ่งว่า “ความเกิดขึ้นเป็นทุกข์” ... “ความเป็นไปเป็นทุกข์” ... “นิมิต
เป็นทุกข์” ...“กรรมเป็นเครื่องประมวลมาเป็นทุกข์” ... “ปฏิสนธิเป็นทุกข์” ...
“คติเป็นทุกข์” ... “ความบังเกิดเป็นทุกข์” ... “ความอุบัติเป็นทุกข์” ... “ความเกิด
เป็นทุกข์” ... “ความแก่เป็นทุกข์” ... “ความเจ็บไข้เป็นทุกข์” ... “ความตายเป็น
ทุกข์” ... “ความเศร้าโศกเป็นทุกข์” ... “ความรำพันเป็นทุกข์” ควรรู้ยิ่งว่า
“ความคับแค้นใจเป็นทุกข์”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
ควรรู้ยิ่งว่า “ความไม่เกิดขึ้นเป็นสุข” ... “ความไม่เป็นไปเป็นสุข” ... “อนิมิต
เป็นสุข” ... “ความไม่มีกรรมเป็นเครื่องประมวลมาเป็นสุข” ... “ความไม่มีปฏิสนธิ
เป็นสุข” ... “อคติเป็นสุข” ... “ความไม่บังเกิดเป็นสุข” ... “ความไม่อุบัติเป็นสุข” ...
“ความไม่เกิดเป็นสุข” ... “ความไม่แก่เป็นสุข” ... “ความไม่เจ็บไข้เป็นสุข” ...
“ความไม่ตายเป็นสุข” ... “ความไม่เศร้าโศกเป็นสุข” ... “ความไม่รำพันเป็นสุข”
ควรรู้ยิ่งว่า “ความไม่คับแค้นใจเป็นสุข”
ควรรู้ยิ่งว่า “ความเกิดขึ้นเป็นทุกข์ ความไม่เกิดขึ้นเป็นสุข” ... “ความเป็น
ไปเป็นทุกข์ ความไม่เป็นไปเป็นสุข” ... “นิมิตเป็นทุกข์ อนิมิตเป็นสุข” ... “กรรม
เป็นเครื่องประมวลมาเป็นทุกข์ ความไม่มีกรรมเป็นเครื่องประมวลมาเป็นสุข” ...
“ปฏิสนธิเป็นทุกข์ ความไม่มีปฏิสนธิเป็นสุข” ... “คติเป็นทุกข์ อคติเป็นสุข” ...
“ความบังเกิดเป็นทุกข์ ความไม่บังเกิดเป็นสุข” ... “ความอุบัติเป็นทุกข์ ความไม่
อุบัติเป็นสุข” ... “ความเกิดเป็นทุกข์ ความไม่เกิดเป็นสุข” ... “ความแก่เป็น
ทุกข์ ความไม่แก่เป็นสุข” ... “ความเจ็บไข้เป็นทุกข์ ความไม่เจ็บไข้เป็นสุข” ...
“ความตายเป็นทุกข์ ความไม่ตายเป็นสุข” ... “ความเศร้าโศกเป็นทุกข์ ความไม่
เศร้าโศกเป็นสุข” ... “ความรำพันเป็นทุกข์ ความไม่รำพันเป็นสุข” ควรรู้ยิ่งว่า
“ความคับแค้นใจเป็นทุกข์ ความไม่คับแค้นใจเป็นสุข”
ควรรู้ยิ่งว่า “ความเกิดขึ้นเป็นภัย” ... “ความเป็นไปเป็นภัย” ... “นิมิตเป็นภัย”
... “กรรมเป็นเครื่องประมวลมาเป็นภัย” ... “ปฏิสนธิเป็นภัย” ... “คติเป็นภัย” ...
“ความบังเกิดเป็นภัย” ... “ความอุบัติเป็นภัย” ... “ความเกิดเป็นภัย” ... “ความแก่
เป็นภัย” ... “ความเจ็บไข้เป็นภัย” ... “ความตายเป็นภัย” ... “ความเศร้าโศก
เป็นภัย” ... “ความรำพันเป็นภัย” ควรรู้ยิ่งว่า “ความคับแค้นใจเป็นภัย”
ควรรู้ยิ่งว่า “ความไม่เกิดขึ้นปลอดภัย” ... “ความไม่เป็นไปปลอดภัย” ...
“อนิมิตปลอดภัย” ... “ความไม่มีกรรมเป็นเครื่องประมวลมาปลอดภัย” ... “ความ
ไม่มีปฏิสนธิปลอดภัย” ... “อคติปลอดภัย” ... “ความไม่บังเกิดปลอดภัย” ...
“ความไม่อุบัติปลอดภัย” ... “ความไม่เกิดปลอดภัย” ... “ความไม่แก่ปลอดภัย” ...
“ความไม่เจ็บไข้ปลอดภัย” ... “ความไม่ตายปลอดภัย” ... “ความไม่เศร้าโศก
ปลอดภัย” ... “ความไม่รำพันปลอดภัย” ควรรู้ยิ่งว่า “ความไม่คับแค้นใจปลอดภัย”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
ควรรู้ยิ่งว่า “ความเกิดขึ้นเป็นภัย ความไม่เกิดขึ้นปลอดภัย” ... “ความเป็นไป
เป็นภัย ความไม่เป็นไปปลอดภัย” ... “นิมิตเป็นภัย อนิมิตปลอดภัย” ... “กรรม
เป็นเครื่องประมวลมาเป็นภัย ความไม่มีกรรมเป็นเครื่องประมวลมาปลอดภัย” ...
“ปฏิสนธิเป็นภัย ความไม่มีปฏิสนธิปลอดภัย” ... “คติเป็นภัย อคติปลอดภัย” ...
“ความบังเกิดเป็นภัย ความไม่บังเกิดปลอดภัย” ... “ความอุบัติเป็นภัย ความไม่
อุบัติปลอดภัย” ... “ความเกิดเป็นภัย ความไม่เกิดปลอดภัย” ... “ความแก่เป็นภัย
ความไม่แก่ปลอดภัย” ... “ความเจ็บไข้เป็นภัย ความไม่เจ็บไข้ปลอดภัย” ... “ความ
ตายเป็นภัย ความไม่ตายปลอดภัย” ... “ความเศร้าโศกเป็นภัย ความไม่เศร้าโศก
ปลอดภัย” ... “ความรำพันเป็นภัย ความไม่รำพันปลอดภัย” ควรรู้ยิ่งว่า “ความ
คับแค้นใจเป็นภัย ความไม่คับแค้นใจปลอดภัย”
ควรรู้ยิ่งว่า “ความเกิดขึ้นเป็นอามิส๑” ... “ความเป็นไปเป็นอามิส” ... “นิมิต
เป็นอามิส” ... “กรรมเป็นเครื่องประมวลมาเป็นอามิส” ... “ปฏิสนธิเป็นอามิส” ...
“คติเป็นอามิส” ... “ความบังเกิดเป็นอามิส” ... “ความอุบัติเป็นอามิส” ... “ความ
เกิดเป็นอามิส” ... “ความแก่เป็นอามิส” ... “ความเจ็บไข้เป็นอามิส” ... “ความ
ตายเป็นอามิส” ... “ความเศร้าโศกเป็นอามิส” ... “ความรำพันเป็นอามิส” ควรรู้
ยิ่งว่า “ความคับแค้นใจเป็นอามิส”
ควรรู้ยิ่งว่า “ความไม่เกิดขึ้นไม่เป็นอามิส” ... “ความไม่เป็นไปไม่เป็นอามิส”...
“อนิมิตไม่เป็นอามิส” ... “ความไม่มีกรรมเป็นเครื่องประมวลมาไม่เป็นอามิส” ...
“ความไม่มีปฏิสนธิไม่เป็นอามิส” ... “อคติไม่เป็นอามิส” ... “ความไม่บังเกิดไม่เป็น
อามิส” ... “ความไม่อุบัติไม่เป็นอามิส” ... “ความไม่เกิดไม่เป็นอามิส” ... “ความ
ไม่แก่ไม่เป็นอามิส” ... “ความไม่เจ็บไข้ไม่เป็นอามิส” ... “ความไม่ตายไม่เป็น
อามิส” ... “ความไม่เศร้าโศกไม่เป็นอามิส” ... “ความไม่รำพันไม่เป็นอามิส” ควรรู้
ยิ่งว่า “ความไม่คับแค้นใจไม่เป็นอามิส”
ควรรู้ยิ่งว่า “ความเกิดขึ้นเป็นอามิส ความไม่เกิดขึ้นไม่เป็นอามิส” ... “ความ
เป็นไปเป็นอามิส ความไม่เป็นไปไม่เป็นอามิส” ... “นิมิตเป็นอามิส อนิมิตไม่เป็น

เชิงอรรถ :
๑ เป็นอามิส ในที่นี้หมายถึงสภาวะที่ไม่พ้นไปจากการเกี่ยวข้องอยู่ในวัฏฏะและโลก (ขุ.ป.อ.๑/๑๐/๑๐๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
อามิส” ... “กรรมเป็นเครื่องประมวลมาเป็นอามิส ความไม่มีกรรมเป็นเครื่อง
ประมวลมาไม่เป็นอามิส” ... “ปฏิสนธิเป็นอามิส ความไม่มีปฏิสนธิไม่เป็นอามิส” ...
“คติเป็นอามิส อคติไม่เป็นอามิส” ... “ความบังเกิดเป็นอามิส ความไม่บังเกิดไม่
เป็นอามิส” ... “ความอุบัติเป็นอามิส ความไม่อุบัติไม่เป็นอามิส” ... “ความเกิด
เป็นอามิส ความไม่เกิดไม่เป็นอามิส” ... “ความแก่เป็นอามิส ความไม่แก่ไม่เป็น
อามิส” ... “ความเจ็บไข้เป็นอามิส ความไม่เจ็บไข้ไม่เป็นอามิส” ... “ความตายเป็น
อามิส ความไม่ตายไม่เป็นอามิส” ... “ความเศร้าโศกเป็นอามิส ความไม่เศร้าโศก
ไม่เป็นอามิส” ... “ความรำพันเป็นอามิส ความไม่รำพันไม่เป็นอามิส” ควรรู้ยิ่งว่า
“ความคับแค้นใจเป็นอามิส ความไม่คับแค้นใจไม่เป็นอามิส”
ควรรู้ยิ่งว่า “ความเกิดขึ้นเป็นสังขาร” ... “ความเป็นไปเป็นสังขาร” ... “นิมิต
เป็นสังขาร” ... “กรรมเป็นเครื่องประมวลมาเป็นสังขาร” ... “ปฏิสนธิเป็นสังขาร” ...
“คติเป็นสังขาร” ... “ความบังเกิดเป็นสังขาร” ... “ความอุบัติเป็นสังขาร” ...
“ความเกิดเป็นสังขาร” ... “ความแก่เป็นสังขาร” ... “ความเจ็บไข้เป็นสังขาร” ...
“ความตายเป็นสังขาร” ... “ความเศร้าโศกเป็นสังขาร” ... “ความรำพันเป็นสังขาร”
ควรรู้ยิ่งว่า “ความคับแค้นใจเป็นสังขาร”
ควรรู้ยิ่งว่า “ความไม่เกิดขึ้นเป็นนิพพาน” ... “ความไม่เป็นไปเป็นนิพพาน” ...
“อนิมิตเป็นนิพพาน” ... “ความไม่มีกรรมเป็นเครื่องประมวลมาเป็นนิพพาน” ...
“ความไม่มีปฏิสนธิเป็นนิพพาน” ... “อคติเป็นนิพพาน” ... “ความไม่บังเกิดเป็น
นิพพาน” ... “ความไม่อุบัติเป็นนิพพาน” ... “ความไม่เกิดเป็นนิพพาน” ... “ความ
ไม่แก่เป็นนิพพาน” ... “ความไม่เจ็บไข้เป็นนิพพาน” ... “ความไม่ตายเป็นนิพพาน” ...
“ความไม่เศร้าโศกเป็นนิพพาน” ... “ความไม่รำพันเป็นนิพพาน” ควรรู้ยิ่งว่า
“ความไม่คับแค้นใจเป็นนิพพาน”
ควรรู้ยิ่งว่า “ความเกิดขึ้นเป็นสังขาร ความไม่เกิดขึ้นเป็นนิพพาน” ... “ความ
เป็นไปเป็นสังขาร ความไม่เป็นไปเป็นนิพพาน” ... “นิมิตเป็นสังขาร อนิมิตเป็น
นิพพาน” ... “กรรมเป็นเครื่องประมวลมาเป็นสังขาร ความไม่มีกรรมเป็นเครื่อง
ประมวลมาเป็นนิพพาน” ... “ปฏิสนธิเป็นสังขาร ความไม่มีปฏิสนธิเป็นนิพพาน” ...
“คติเป็นสังขาร อคติเป็นนิพพาน” ... “ความบังเกิดเป็นสังขาร ความไม่บังเกิดเป็น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
นิพพาน” ... “ความอุบัติเป็นสังขาร ความไม่อุบัติเป็นนิพพาน” ... “ความเกิดเป็น
สังขาร ความไม่เกิดเป็นนิพพาน” ... “ความแก่เป็นสังขาร ความไม่แก่เป็นนิพพาน”
... “ความเจ็บไข้เป็นสังขาร ความไม่เจ็บไข้เป็นนิพพาน” ... “ความตายเป็นสังขาร
ความไม่ตายเป็นนิพพาน” ... “ความเศร้าโศกเป็นสังขาร ความไม่เศร้าโศกเป็น
นิพพาน” ... “ความรำพันเป็นสังขาร ความไม่รำพันเป็นนิพพาน” ควรรู้ยิ่งว่า
“ความคับแค้นใจเป็นสังขาร ความไม่คับแค้นใจเป็นนิพพาน”
ปฐมภาณวาร จบ

[๑๑] สภาวะที่ควรกำหนดควรรู้ยิ่ง สภาวะที่เป็นบริวาร ... สภาวะที่เต็มรอบ
... สภาวะที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่าน ... สภาวะที่ประคองไว้ ...
สภาวะที่ไม่กระจัดกระจายไป ... สภาวะที่ไม่ขุ่นมัว ... สภาวะที่ไม่หวั่นไหว ...
สภาวะที่ตั้งอยู่ด้วยอำนาจความปรากฏแห่งจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่เป็น
อารมณ์ ... สภาวะที่เป็นโคจร ... สภาวะที่ละ ... สภาวะที่สละ ... สภาวะที่ออก ...
สภาวะที่หลีกไป ... สภาวะที่ละเอียด ... สภาวะที่ประณีต ... สภาวะที่หลุดพ้น ...
สภาวะที่ไม่มีอาสวะ ... สภาวะเครื่องข้าม ... สภาวะที่ไม่มีนิมิต ... สภาวะอันไม่มีที่ตั้ง
... สภาวะที่ว่าง ... สภาวะที่มีรสเป็นอย่างเดียวกัน ... สภาวะที่ไม่ล่วงเลยกัน ...
สภาวะที่เป็นคู่กัน ... สภาวะที่นำออก ... สภาวะที่เป็นเหตุ ... สภาวะที่เห็น ...
สภาวะที่เป็นใหญ่ควรรู้ยิ่ง
[๑๒] สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งสมถะควรรู้ยิ่ง สภาวะที่พิจารณาเห็นแห่ง
วิปัสสนา ... สภาวะที่มีรสเป็นอย่างเดียวกันแห่งสมถะและวิปัสสนา ... สภาวะที่ไม่
ล่วงเลยกันแห่งธรรมที่เป็นคู่กัน ... สภาวะที่สมาทานแห่งสิกขา ... สภาวะที่เป็น
โคจรแห่งอารมณ์ ... สภาวะที่ประคองจิตซึ่งย่อท้อ ... สภาวะที่ข่มจิตที่ฟุ้งซ่าน ...
สภาวะที่คุมจิตอันบริสุทธิ์จากความย่อท้อและความฟุ้งซ่านทั้ง ๒ ประการ ...
สภาวะที่บรรลุคุณวิเศษ ... สภาวะที่รู้แจ้งอริยมรรคอันยอดเยี่ยม ... สภาวะที่ตรัสรู้
สัจจะ ... สภาวะที่ให้จิตตั้งอยู่เฉพาะในนิโรธควรรู้ยิ่ง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
สภาวะที่น้อมใจเชื่อแห่งสัทธินทรีย์ควรรู้ยิ่ง สภาวะที่ประคองไว้แห่งวิริยินทรีย์ ...
สภาวะที่ตั้งมั่นแห่งสตินทรีย์ ... สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งสมาธินทรีย์ ... สภาวะที่เห็น
แห่งปัญญินทรีย์ควรรู้ยิ่ง
สภาวะที่ไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธาแห่งสัทธาพละควรรู้ยิ่ง สภาวะที่
ไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้านแห่งวิริยพละ ... สภาวะที่ไม่หวั่นไหวเพราะความ
ประมาทแห่งสติพละ ... สภาวะที่ไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะแห่งสมาธิพละ ...
สภาวะที่ไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชาแห่งปัญญาพละควรรู้ยิ่ง
สภาวะที่ตั้งมั่นแห่งสติสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความระลึก
ได้) ควรรู้ยิ่ง สภาวะที่เลือกเฟ้นแห่งธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการ
ตรัสรู้คือความเลือกเฟ้นธรรม) ... สภาวะที่ประคองไว้แห่งวิริยสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็น
องค์แห่งการตรัสรู้คือความเพียร) ... สภาวะที่แผ่ไปแห่งปีติสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็น
องค์แห่งการตรัสรู้คือความอิ่มใจ) ... สภาวะที่สงบแห่งปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็น
องค์แห่งการตรัสรู้คือความสงบกายสงบใจ) ... สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งสมาธิสัมโพชฌงค์
(ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความตั้งจิตมั่น) ... สภาวะที่พิจารณาแห่งอุเบกขา-
สัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความมีใจเป็นกลาง) ควรรู้ยิ่ง
สภาวะที่เห็นแห่งสัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) ควรรู้ยิ่ง สภาวะที่ตรึกตรองแห่งสัมมา-
สังกัปปะ (ดำริชอบ) ... สภาวะที่กำหนดแห่งสัมมาวาจา (เจรจาชอบ) ... สภาวะที่
เป็นสมุฏฐานแห่งสัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ) ... สภาวะที่ผ่องแผ้วแห่งสัมมาอาชีวะ
(เลี้ยงชีพชอบ) ... สภาวะที่ประคองไว้แห่งสัมมาวายามะ (พยายามชอบ) ... สภาวะ
ที่ตั้งมั่นแห่งสัมมาสติ (ระลึกชอบ) ... สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งสัมมาสมาธิ (ตั้งจิต
มั่นชอบ) ควรรู้ยิ่ง
[๑๓] สภาวะที่เป็นใหญ่แห่งอินทรีย์ควรรู้ยิ่ง สภาวะที่ไม่หวั่นไหวแห่งพละ ...
สภาวะที่นำออกแห่งโพชฌงค์ ... สภาวะที่เป็นเหตุแห่งมรรค ... สภาวะที่ตั้งมั่นแห่ง
สติปัฏฐาน ... สภาวะที่เริ่มตั้งแห่งสัมมัปปธาน ... สภาวะที่สำเร็จแห่งอิทธิบาท ...
สภาวะที่เป็นของแท้แห่งสัจจะ ... สภาวะที่ระงับแห่งมรรค ... สภาวะที่ทำให้แจ้ง
แห่งผลควรรู้ยิ่ง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
สภาวะที่ตรึกตรองแห่งวิตกควรรู้ยิ่ง สภาวะที่ตรวจตราแห่งวิจาร ... สภาวะที่
แผ่ไปแห่งปีติ ... สภาวะที่ไหลมาแห่งสุข ... สภาวะที่เป็นเอกัคคตารมณ์ (มีอารมณ์
เดียว) แห่งจิต ... สภาวะที่นึก ... สภาวะที่รู้แจ้ง ... สภาวะที่รู้ชัด ... สภาวะที่จำได้ ...
สภาวะที่มีรสเป็นอย่างเดียวกันควรรู้ยิ่ง
สภาวะที่รู้แห่งอภิญญาควรรู้ยิ่ง สภาวะที่พิจารณาแห่งปริญญา ... สภาวะที่
สละแห่งปหานะ ... สภาวะที่มีรสเป็นอย่างเดียวกันแห่งภาวนา ... สภาวะที่ถูกต้อง
แห่งสัจฉิกิริยา ... สภาวะที่เป็นกองแห่งขันธ์ทั้งหลาย ... สภาวะที่ทรงไว้แห่งธาตุ
ทั้งหลาย ... สภาวะที่ต่อแห่งอายตนะทั้งหลาย ... สภาวะที่ปัจจัยปรุงแต่งแห่ง
สังขตธรรม ... สภาวะที่ปัจจัยมิได้ปรุงแต่งแห่งอสังขตธรรมควรรู้ยิ่ง
[๑๔] สภาวะแห่งจิตควรรู้ยิ่ง สภาวะที่ไม่มีระหว่างคั่นแห่งจิต ... สภาวะที่
ออกแห่งจิต ... สภาวะที่หลีกไปแห่งจิต ... สภาวะที่เป็นเหตุแห่งจิต ... สภาวะที่เป็น
ปัจจัยแห่งจิต ... สภาวะที่ตั้งมั่นแห่งจิต ... สภาวะที่เป็นภูมิแห่งจิต ... สภาวะที่เป็น
อารมณ์แห่งจิต ... สภาวะที่เป็นโคจรแห่งจิต ... สภาวะที่เที่ยวไปแห่งจิต ... สภาวะ
ที่ไปแห่งจิต ... สภาวะที่นำไปแห่งจิต ... สภาวะที่นำออกแห่งจิต ... สภาวะที่สลัด
ออกแห่งจิตควรรู้ยิ่ง
[๑๕] สภาวะที่นึกในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ (มีอารมณ์เดียว) ควรรู้ยิ่ง
สภาวะที่รู้แจ้งในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่รู้ชัดในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ...
สภาวะที่จำได้ในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่เป็นธรรมเอกผุดขึ้นในจิตที่เป็น
เอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่เนื่องในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่แล่นไปในจิต
ที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่ผ่องใสในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่ตั้ง
มั่นในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่หลุดพ้นในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ...
สภาวะที่เห็นว่า “นี้ละเอียด” ในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่ทำให้
เป็นดุจญาณในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่ทำให้เป็นที่ตั้งในจิตที่เป็น
เอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่ตั้งขึ้นเนือง ๆ ในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่
อบรมในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่ปรารภเสมอดีในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์
... สภาวะที่กำหนดในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่เป็นบริวารในจิตที่เป็น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
เอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่เต็มรอบในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่ประชุม
ในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่อธิษฐานในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะ
ที่ปฏิบัติในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่เจริญในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะ
ที่ทำให้มากในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่รวมดีในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ...
สภาวะที่หลุดพ้นด้วยดีในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่ตรัสรู้๑ ในจิตที่เป็น
เอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่ตรัสรู้ตาม๒ในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่ตรัสรู้
เฉพาะ๓ในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่ตรัสรู้พร้อม๔ในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์
... สภาวะที่ให้ตรัสรู้ในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่ให้ตรัสรู้ตามในจิตที่เป็น
เอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่ให้ตรัสรู้เฉพาะในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่ให้
ตรัสรู้พร้อมในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่เป็นไปในฝ่ายตรัสรู้ในจิตที่เป็น
เอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่เป็นไปในฝ่ายตรัสรู้ตามในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ...
สภาวะที่เป็นไปในฝ่ายตรัสรู้เฉพาะในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่เป็นไป
ในฝ่ายตรัสรู้พร้อมในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่สว่างในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์
... สภาวะที่สว่างขึ้นในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่สว่างเนือง ๆ ในจิตที่
เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่สว่างเฉพาะในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่
สว่างพร้อมในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ควรรู้ยิ่ง
[๑๖] สภาวะที่อริยมรรคให้สว่างควรรู้ยิ่ง สภาวะที่อริยมรรคให้รุ่งเรือง ...
สภาวะที่อริยมรรคทำให้กิเลสเร่าร้อน ... สภาวะที่อริยมรรคไม่มีมลทิน ... สภาวะที่
อริยมรรคปราศจากมลทิน ... สภาวะที่อริยมรรคหมดมลทิน ... สภาวะที่อริยมรรค
สงบ ... สภาวะที่อริยมรรคให้กิเลสระงับ ... สภาวะแห่งวิเวก ... สภาวะที่ดำเนินไป
ในวิเวก ... สภาวะแห่งความคลายกำหนัด ... สภาวะที่ดำเนินไปในความคลาย
กำหนัด ... สภาวะแห่งความดับ ... สภาวะที่ดำเนินไปในความดับ ... สภาวะแห่ง
การสละ ... สภาวะที่ดำเนินไปในการสละ ... สภาวะแห่งความพ้น ... สภาวะที่
ดำเนินไปในความพ้นควรรู้ยิ่ง

เชิงอรรถ :
๑ สภาวะที่ตรัสรู้ ในที่นี้หมายถึงตรัสรู้โสดาปัตติมรรค (ขุ.ป.อ. ๑/๑๕/๑๑๐)
๒ สภาวะที่ตรัสรู้ตาม ในที่นี้หมายถึงตรัสรู้สกทาคามิมรรค (ขุ.ป.อ. ๑/๑๕/๑๑๐)
๓ สภาวะที่ตรัสรู้เฉพาะ ในที่นี้หมายถึงตรัสรู้อนาคามิมรรค (ขุ.ป.อ. ๑/๑๕/๑๑๐)
๔ สภาวะที่ตรัสรู้พร้อม ในที่นี้หมายถึงตรัสรู้อรหัตตมรรค (ขุ.ป.อ. ๑/๑๕/๑๑๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
สภาวะแห่งฉันทะควรรู้ยิ่ง สภาวะที่เป็นมูลแห่งฉันทะ ... สภาวะที่เป็นบาท
แห่งฉันทะ ... สภาวะที่เป็นประธานแห่งฉันทะ ... สภาวะที่สำเร็จแห่งฉันทะ ...
สภาวะที่น้อมไปแห่งฉันทะ ... สภาวะที่ประคองไว้แห่งฉันทะ ... สภาวะที่ตั้งมั่นแห่ง
ฉันทะ ... สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งฉันทะ ... สภาวะที่เห็นแห่งฉันทะควรรู้ยิ่ง
สภาวะแห่งวิริยะควรรู้ยิ่ง สภาวะที่เป็นมูลแห่งวิริยะ ... สภาวะที่เป็นบาท
แห่งวิริยะ ... สภาวะที่เป็นประธานแห่งวิริยะ ... สภาวะที่สำเร็จแห่งวิริยะ ... สภาวะ
ที่น้อมไปแห่งวิริยะ ... สภาวะที่ประคองไว้แห่งวิริยะ ... สภาวะที่ตั้งมั่นแห่งวิริยะ ...
สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งวิริยะ ... สภาวะที่เห็นแห่งวิริยะควรรู้ยิ่ง
สภาวะแห่งจิตตะควรรู้ยิ่ง สภาวะที่เป็นมูลแห่งจิตตะ ... สภาวะที่เป็นบาทแห่ง
จิตตะ ... สภาวะที่เป็นประธานแห่งจิตตะ ... สภาวะที่สำเร็จแห่งจิตตะ ... สภาวะที่
น้อมไปแห่งจิตตะ ... สภาวะที่ประคองไว้แห่งจิตตะ ... สภาวะที่ตั้งมั่นแห่งจิตตะ ...
สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิตตะ ... สภาวะที่เห็นแห่งจิตตะควรรู้ยิ่ง
สภาวะแห่งวิมังสาควรรู้ยิ่ง สภาวะที่เป็นมูลแห่งวิมังสา ... สภาวะที่เป็นบาท
แห่งวิมังสา ... สภาวะที่เป็นประธานแห่งวิมังสา ... สภาวะที่สำเร็จแห่งวิมังสา ...
สภาวะที่น้อมไปแห่งวิมังสา ... สภาวะที่ประคองไว้แห่งวิมังสา ... สภาวะที่ตั้งมั่น
แห่งวิมังสา ... สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งวิมังสา ... สภาวะที่เห็นแห่งวิมังสาควรรู้ยิ่ง
[๑๗] สภาวะแห่งทุกข์ควรรู้ยิ่ง สภาวะที่บีบคั้นแห่งทุกข์ ... สภาวะที่ปัจจัย
ปรุงแต่งแห่งทุกข์ ... สภาวะที่ทำให้เดือดร้อนแห่งทุกข์ ... สภาวะที่แปรผันแห่ง
ทุกข์ ... สภาวะแห่งสมุทัย ... สภาวะที่ประมวลมาแห่งสมุทัย ... สภาวะที่เป็นเหตุ
แห่งสมุทัย ... สภาวะที่เกี่ยวข้องแห่งสมุทัย ... สภาวะที่พัวพันแห่งสมุทัย ... สภาวะ
แห่งนิโรธ ... สภาวะที่เป็นเครื่องสลัดออกแห่งนิโรธ ... สภาวะที่เป็นวิเวกแห่งนิโรธ...
สภาวะที่เป็นอสังขตะแห่งนิโรธ ... สภาวะที่เป็นอมตะแห่งนิโรธ ... สภาวะแห่ง
มรรค ... สภาวะที่นำออกแห่งมรรค ... สภาวะที่เป็นเหตุแห่งมรรค ... สภาวะที่เห็น
แห่งมรรค ... สภาวะที่เป็นใหญ่แห่งมรรคควรรู้ยิ่ง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
สภาวะที่เป็นของแท้ควรรู้ยิ่ง สภาวะที่เป็นอนัตตา ... สภาวะที่เป็นจริง ...
สภาวะที่รู้แจ้ง ... สภาวะที่รู้ยิ่ง ... สภาวะที่กำหนดรู้ ... สภาวะที่เป็นธรรม ...
สภาวะที่เป็นธาตุ ... สภาวะที่รู้ ... สภาวะที่ทำให้แจ้ง ... สภาวะที่ถูกต้อง ... สภาวะ
ที่ตรัสรู้ควรรู้ยิ่ง
[๑๘] เนกขัมมะ (การออกจากกาม) ควรรู้ยิ่ง อพยาบาท (ความไม่พยาบาท)
... อาโลกสัญญา (ความหมายรู้ในนิมิตแห่งแสงสว่าง) ... อวิกเขปะ (ความไม่ฟุ้งซ่าน)
... ธัมมววัตถาน (ความกำหนดธรรม) ... ญาณ (ความรู้) ... ปามุชชะ (ความปราโมทย์)
ควรรู้ยิ่ง
ปฐมฌานควรรู้ยิ่ง ทุติยฌาน ... ตติยฌาน ... จตุตถฌาน ... อากาสานัญ-
จายตนสมาบัติ ... วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ... อากิญจัญญายตนสมาบัติ ...
เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติควรรู้ยิ่ง
อนิจจานุปัสสนาควรรู้ยิ่ง ทุกขานุปัสสนา ... อนัตตานุปัสสนา ... นิพพิทานุ-
ปัสสนา ... วิราคานุปัสสนา ... นิโรธานุปัสสนา ... ปฏินิสสัคคานุปัสสนา ... ขยานุ-
ปัสสนา (การพิจารณาเห็นความสิ้นไป) ... วยานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความ
เสื่อมไป) ... วิปริณามานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความแปรผัน) ... อนิมิตตานุ-
ปัสสนา (การพิจารณาเห็นความไม่มีนิมิต) ... อัปปณิหิตานุปัสสนา (การพิจารณา
เห็นความไม่มีที่ตั้ง) ... สุญญตานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความว่าง) ...
อธิปัญญาธัมมวิปัสสนา (การพิจารณาเห็นธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง) ... ยถาภูต-
ญาณทัสสนะ (การรู้เห็นตามความเป็นจริง) ... อาทีนวานุปัสสนา (การพิจารณา
เห็นโทษ) ... ปฏิสังขานุปัสสนา (การตามพิจารณา) ... วิวัฏฏนานุปัสสนา (การ
พิจารณาเห็นอุบายที่จะหลีกไป) ควรรู้ยิ่ง
[๑๙] โสดาปัตติมรรคควรรู้ยิ่ง โสดาปัตติผลสมาบัติ ... สกทาคามิมรรค ...
สกทาคามิผลสมาบัติ ... อนาคามิมรรค ... อนาคามิผลสมาบัติ ... อรหัตตมรรค ...
อรหัตตผลสมาบัติควรรู้ยิ่ง
ชื่อว่าสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อควรรู้ยิ่ง ชื่อว่าวิริยินทรีย์ เพราะมี
สภาวะประคองไว้ ... ชื่อว่าสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น ... ชื่อว่าสมาธินทรีย์
เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ... ชื่อว่าปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็นควรรู้ยิ่ง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธาควรรู้ยิ่ง
ชื่อว่าวิริยพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน ... ชื่อว่าสติพละ
เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะความประมาท ... ชื่อว่าสมาธิพละ เพราะมีสภาวะ
ไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ ... ชื่อว่าปัญญาพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะ
อวิชชาควรรู้ยิ่ง
ชื่อว่าสติสัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่นควรรู้ยิ่ง ชื่อว่าธัมมวิจย-
สัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเลือกเฟ้นธรรม ... ชื่อว่าวิริยสัมโพชฌงค์ เพราะมี
สภาวะประคองไว้ ... ชื่อว่าปีติสัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแผ่ไป ... ชื่อว่าปัสสัทธิ-
สัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะสงบ ... ชื่อว่าสมาธิสัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะไม่
ฟุ้งซ่าน ... ชื่อว่าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะพิจารณาควรรู้ยิ่ง
ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็นควรรู้ยิ่ง ชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ เพราะมี
สภาวะตรึกตรอง ... ชื่อว่าสัมมาวาจา เพราะมีสภาวะกำหนด ... ชื่อว่าสัมมากัมมันตะ
เพราะมีสภาวะเป็นสมุฏฐาน ... ชื่อว่าสัมมาอาชีวะ เพราะมีสภาวะผ่องแผ้ว ... ชื่อว่า
สัมมาวายามะ เพราะมีสภาวะประคองไว้ ... ชื่อว่าสัมมาสติ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น ...
ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่านควรรู้ยิ่ง
ชื่อว่าอินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ควรรู้ยิ่ง ชื่อว่าพละ เพราะมีสภาวะไม่
หวั่นไหว ... ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะนำออก ... ชื่อว่ามรรค เพราะมีสภาวะ
เป็นเหตุ ... ชื่อว่าสติปัฏฐาน เพราะมีสภาวะตั้งมั่น ... ชื่อว่าสัมมัปปธาน เพราะมี
สภาวะดำรงไว้ ... ชื่อว่าอิทธิบาท เพราะมีสภาวะสำเร็จ ... ชื่อว่าสัจจะ เพราะมี
สภาวะเป็นของแท้ ... ชื่อว่าสมถะ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ... ชื่อว่าวิปัสสนา
เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น ... ชื่อว่าสมถะและวิปัสสนา เพราะมีสภาวะมีรสเป็น
อย่างเดียวกัน ... ชื่อว่าธรรมที่เป็นคู่กัน เพราะมีสภาวะไม่ล่วงเลยกันควรรู้ยิ่ง
ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีสภาวะสำรวมควรรู้ยิ่ง ชื่อว่าจิตตวิสุทธิ เพราะ
มีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ... ชื่อว่าทิฏฐิวิสุทธิ เพราะมีสภาวะเห็น ... ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะ
มีสภาวะหลุดพ้น ... ชื่อว่าวิชชา เพราะมีสภาวะรู้แจ้ง ... ชื่อว่าวิมุตติ เพราะมี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
สภาวะสละ ... ชื่อว่าญาณในความสิ้นไป เพราะมีสภาวะตัดขาด ... ชื่อว่าอนุปปาท-
ญาณ๑ เพราะมีสภาวะสงบระงับควรรู้ยิ่ง
[๒๐] ชื่อว่าฉันทะ เพราะมีสภาวะเป็นมูลควรรู้ยิ่ง ชื่อว่ามนสิการ เพราะมี
สภาวะเป็นสมุฏฐาน ... ชื่อว่าผัสสะ เพราะมีสภาวะประมวลมา ... ชื่อว่าเวทนา
เพราะมีสภาวะประชุม ... ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีสภาวะเป็นประธาน ... ชื่อว่าสติ
เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ... ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะเป็นธรรมที่ยิ่งกว่าธรรมนั้น ...
ชื่อว่าวิมุตติ เพราะมีสภาวะเป็นแก่นสาร ... ชื่อว่าธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน
เพราะมีสภาวะเป็นที่สุดควรรู้ยิ่ง
ธรรมใด ๆ ที่รู้ยิ่งแล้ว ธรรมนั้น ๆ ก็เป็นอันรู้แล้ว ชื่อว่าญาณ เพราะมี
สภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง” ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้สดับ
มานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (ญาณในการทรงจำธรรมที่ได้สดับมา) (๑)
ทุติยภาณวาร จบ

[๒๑] การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้ควรกำหนดรู้” ปัญญา
รู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ เป็นอย่างไร คือ
ธรรม ๑ อย่างที่ควรกำหนดรู้ คือ ผัสสะซึ่งมีอาสวะเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน
ธรรม ๒ อย่างที่ควรกำหนดรู้ คือ นาม ๑ รูป ๑
ธรรม ๓ อย่างที่ควรกำหนดรู้ คือ เวทนา ๓
ธรรม ๔ อย่างที่ควรกำหนดรู้ คือ อาหาร ๔
ธรรม ๕ อย่างที่ควรกำหนดรู้ คือ อุปาทานขันธ์ ๕
ธรรม ๖ อย่างที่ควรกำหนดรู้ คือ อายตนะภายใน ๖

เชิงอรรถ :
๑ อนุปปาทญาณ หมายถึงญาณในอริยผล (ขุ.ป.อ. ๑/๑๙/๑๑๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
ธรรม ๗ อย่างที่ควรกำหนดรู้ คือ วิญญาณฐิติ ๗๑
ธรรม ๘ อย่างที่ควรกำหนดรู้ คือ โลกธรรม ๘
ธรรม ๙ อย่างที่ควรกำหนดรู้ คือ สัตตาวาส ๙๒
ธรรม ๑๐ อย่างที่ควรกำหนดรู้ คือ อายตนะ ๑๐
ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรกำหนดรู้ สิ่งทั้งปวงที่ควรกำหนดรู้ คืออะไร
คือ จักขุควรกำหนดรู้ รูปควรกำหนดรู้ จักขุวิญญาณควรกำหนดรู้
จักขุสัมผัสควรกำหนดรู้ สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้น
เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยควรกำหนดรู้
โสตะควรกำหนดรู้ สัททะ ฯลฯ
ฆานะควรกำหนดรู้ คันธะ ฯลฯ
ชิวหาควรกำหนดรู้ รส ฯลฯ
กายควรกำหนดรู้ โผฏฐัพพะ ฯลฯ
มโนควรกำหนดรู้ ธรรมารมณ์ ... มโนวิญญาณ ... มโนสัมผัส ... สุขเวทนา
ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยควรกำหนดรู้
รูปควรกำหนดรู้ เวทนาควรกำหนดรู้ สัญญาควรกำหนดรู้ สังขารควร
กำหนดรู้ วิญญาณควรกำหนดรู้
จักขุควรกำหนดรู้ ฯลฯ ชราและมรณะ ฯลฯ ธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือ
นิพพานเพราะมีสภาวะเป็นที่สุดควรกำหนดรู้ บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้

เชิงอรรถ :
๑ วิญญาณฐิติ ๗ ได้แก่ (๑) สัตว์บางพวกมีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน เช่น พวกมนุษย์ เทพบางเหล่า
วินิปาติกะ(เปรต)บางเหล่า (๒) สัตว์บางพวกมีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น เหล่าเทพจำพวก
พรหมผู้เกิดในภูมิปฐมฌาน (๓) สัตว์บางพวกมีกายอย่างเดียวกัน แต่มีสัญญาต่างกัน เช่น พวกเทพ
อาภัสสระ (๔) สัตว์บางพวกมีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น พวกเทพสุภกิณหะ
(๕) สัตว์บางพวก ผู้เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนะ (๖) สัตว์บางพวกผู้เข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะ
(๗) สัตว์บางพวก ผู้เข้าถึงชั้นอากิญจัญญายตนะ (ขุ.ป.อ. ๑/๒๑/๑๒๐)
๒ สัตตาวาส ๙ ได้แก่ ข้อ (๑-๔) ตรงกับวิญญาณฐิติ ๔ ข้อต้น, (๕) สัตว์บางพวก ไม่มีสัญญา ไม่เสวย
เวทนา เช่น เหล่าเทพอสัญญีสัตว์, ข้อ (๖-๘) ตรงกับวิญญาณฐิติ ข้อที่ ๕-๗, (๙) สัตว์บางพวก ผู้เข้าถึง
ชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนะ (ขุ.ป.อ. ๑/๒๑/๑๒๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
ธรรมใด ๆ ได้ธรรมนั้น ๆ แล้ว ธรรมเหล่านั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และ
พิจารณาแล้วอย่างนี้
[๒๒] บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้เนกขัมมะ ได้เนกขัมมะแล้ว ธรรมนั้น
เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลพยายามเพื่อ
ต้องการได้อพยาบาท ได้อพยาบาทแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้
และพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้อาโลกสัญญา ได้อาโลก-
สัญญาแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคล
พยายามเพื่อต้องการได้อวิกเขปะ ได้อวิกเขปะแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้น
กำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้ธัมมววัตถาน
ได้ธัมมววัตถานแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้ว
อย่างนี้ บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้ญาณ ได้ญาณแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรม
อันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้ปามุชชะ
ได้ปามุชชะแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้
บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้ปฐมฌาน ได้ปฐมฌานแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรม
อันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้ทุติย-
ฌาน ฯลฯ ตติยฌาน ฯลฯ บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้จตุตถฌาน ได้จตุตถ-
ฌานแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้
บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้อากาสานัญจายตนสมาบัติ ได้อากาสานัญจายตน-
สมาบัติแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้
บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ได้วิญญาณัญจายตน-
สมาบัติแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้
บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้อากิญจัญญายตนสมาบัติ ได้อากิญจัญญายตน-
สมาบัติแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้
บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ได้เนวสัญญา-
นาสัญญายตนสมาบัติแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณา
แล้วอย่างนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้อนิจจานุปัสสนา ได้อนิจจานุปัสสนาแล้ว ธรรม
นั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลพยายามเพื่อ
ต้องการได้ทุกขานุปัสสนา ได้ทุกขานุปัสสนาแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้น
กำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้อนัตตานุปัสสนา
ได้อนัตตานุปัสสนาแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้ว
อย่างนี้
บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้นิพพิทานุปัสสนา ได้นิพพิทานุปัสสนาแล้ว
ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลพยายาม
เพื่อต้องการได้วิราคานุปัสสนา ได้วิราคานุปัสสนาแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคล
นั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้นิโรธานุปัสสนา
ได้นิโรธานุปัสสนาแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้
บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้ปฏินิสสัคคานุปัสสนา ได้ปฏินิสสัคคานุปัสสนาแล้ว
ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลพยายามเพื่อ
ต้องการได้ขยานุปัสสนา ได้ขยานุปัสสนาแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้น
กำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้วยานุปัสสนา ได้
วยานุปัสสนาแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้
บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้วิปริณามานุปัสสนา ได้วิปริณามานุปัสสนาแล้ว ธรรมนั้น
เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้
บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้อนิมิตตานุปัสสนา ได้อนิมิตตานุปัสสนาแล้ว
ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลพยายาม
เพื่อต้องการได้อัปปณิหิตานุปัสสนา ได้อัปปณิหิตานุปัสสนาแล้ว ธรรมนั้นเป็น
ธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้
สุญญตานุปัสสนา ได้สุญญตานุปัสสนาแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนด
รู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้อธิปัญญาธัมมวิปัสสนา
ได้อธิปัญญาธัมมวิปัสสนาแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
แล้วอย่างนี้ บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้ยถาภูตญาณทัสสนะ ได้ยถาภูตญาณ-
ทัสสนะแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้
บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้อาทีนวานุปัสสนา ได้อาทีนวานุปัสสนาแล้ว ธรรมนั้น
เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้
ปฏิสังขานุปัสสนา ได้ปฏิสังขานุปัสสนาแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้น
กำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้วิวัฏฏนานุปัสสนา
ได้วิวัฏฏนานุปัสสนาแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้ว
อย่างนี้
บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้โสดาปัตติมรรค ได้โสดาปัตติมรรคแล้ว ธรรม
นั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลพยายามเพื่อ
ต้องการได้สกทาคามิมรรค ได้สกทาคามิมรรคแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้น
กำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้อนาคามิมรรค
ได้อนาคามิมรรคแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้ว
อย่างนี้ บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้อรหัตตมรรค ได้อรหัตตมรรคแล้ว ธรรมนั้น
เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลพยายามเพื่อต้องการ
ได้ธรรมใด ๆ ได้ธรรมนั้น ๆ แล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณา
แล้วอย่างนี้
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้ควร
กำหนดรู้” ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๒)
[๒๓] การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้ควรละ” ปัญญารู้ชัด
ธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ เป็นอย่างไร คือ
ธรรม ๑ อย่างที่ควรละ คือ อัสมิมานะ๑
ธรรม ๒ อย่างที่ควรละ คือ อวิชชา ๑ ภวตัณหา ๑
ธรรม ๓ อย่างที่ควรละ คือ ตัณหา ๓
ธรรม ๔ อย่างที่ควรละ คือ โอฆะ ๔

เชิงอรรถ :
๑ อัสมิมานะ หมายถึงความถือตัวว่ามีอยู่ในอุปาทานขันธ์ ๕ มีรูปเป็นต้น (ขุ.ป.อ. ๑/๒๓/๑๒๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
ธรรม ๕ อย่างที่ควรละ คือ นิวรณ์ ๕
ธรรม ๖ อย่างที่ควรละ คือ ตัณหา ๖
ธรรม ๗ อย่างที่ควรละ คือ อนุสัย ๗
ธรรม ๘ อย่างที่ควรละ คือ มิจฉัตตะ ๘๑
ธรรม ๙ อย่างที่ควรละ คือ ธรรมที่มีตัณหาเป็นมูล ๙๒
ธรรม ๑๐ อย่างที่ควรละ คือ มิจฉัตตะ ๑๐๓
[๒๔] ปหานะ ๒ คือ
๑. สมุจเฉทปหานะ (การละด้วยการตัดขาด)
๒. ปฏิปัสสัทธิปหานะ (การละด้วยสงบระงับ)
สมุจเฉทปหานะซึ่งเป็นโลกุตตรมรรคและปฏิปัสสัทธิปหานะซึ่งเป็นโลกุตตรผล
ในขณะแห่งผล ย่อมมีแก่บุคคลผู้เจริญมรรคที่ให้ถึงความสิ้นไป
ปหานะ ๓ คือ
๑. เนกขัมมปหานะ เป็นเครื่องสลัดออกจากกาม
๒. อรูปฌาน เป็นเครื่องสลัดออกจากรูปฌาน
๓. นิโรธ เป็นเครื่องสลัดออกจากสังขตธรรมที่เกิดขึ้นแล้วอย่างใดอย่างหนึ่ง
ซึ่งอาศัยกันและกันเกิดขึ้น
บุคคลผู้ได้เนกขัมมะย่อมละและสละกามได้ บุคคลผู้ได้อรูปฌานย่อมละและ
สละรูปได้ บุคคลผู้ได้นิโรธย่อมละและสละสังขารได้

เชิงอรรถ :
๑ มิจฉัตตะ ๘ ได้แก่ (๑) มิจฉาทิฏฐิ (๒) มิจฉาสังกัปปะ (๓) มิจฉาวาจา (๔) มิจฉากัมมันตะ
(๕) มิจฉาอาชีวะ (๖) มิจฉาวายามะ (๗) มิจฉาสติ (๘) มิจฉาสมาธิ (ขุ.ป.อ. ๑/๒๓/๑๒๙)
๒ ธรรมที่มีตัณหาเป็นมูล ๙ ได้แก่ (๑) ปริเยสนา (๒) ลาภะ (๓) วินิจฉยะ (๔) ฉันทราคะ
(๕) อัชโฌสานะ (๖) ปริคคหะ (๗) มัจฉริยะ (๘) อารักขกะ (๙) อารักขาธิกรณะ (ขุ.ป.อ. ๑/๒๓/๑๓๐)
๓ มิจฉัตตะ ๑๐ ได้แก่ มิจฉัตตะ ๘ เพิ่มมิจฉาญาณและมิจฉาวิมุตติอีก ๒ จึงเป็น ๑๐ (ขุ.ป.อ. ๑/๒๓/๑๓๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
ปหานะ ๔ คือ
๑. เมื่อรู้แจ้งทุกขสัจด้วยการกำหนดรู้ ชื่อว่าย่อมละ (กิเลสที่ควรละ) ได้
๒. เมื่อรู้แจ้งสมุทยสัจด้วยการละ ชื่อว่าย่อมละ (กิเลสที่ควรละ) ได้
๓. เมื่อรู้แจ้งนิโรธสัจด้วยการทำให้แจ้ง ชื่อว่าย่อมละ (กิเลสที่ควรละ) ได้
๔. เมื่อรู้แจ้งมัคคสัจด้วยการเจริญ ชื่อว่าย่อมละ (กิเลสที่ควรละ) ได้
ปหานะ ๕ คือ
๑. วิกขัมภนปหานะ (การละด้วยการข่มไว้)
๒. ตทังคปหานะ (การละด้วยองค์นั้น ๆ)
๓. สมุจเฉทปหานะ (การละด้วยการตัดขาด)
๔. ปฏิปัสสัทธิปหานะ (การละด้วยสงบระงับ)
๕. นิสสรณปหานะ (การละด้วยสลัดออกได้)
การละนิวรณ์ด้วยการข่มไว้ย่อมมีแก่บุคคลผู้เจริญปฐมฌาน การละทิฏฐิ-
สังโยชน์ด้วยองค์นั้น ๆ ย่อมมีแก่บุคคลผู้เจริญสมาธิซึ่งเป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส
สมุจเฉทปหานะซึ่งเป็นโลกุตตรมรรค และปฏิปัสสัทธิปหานะซึ่งเป็นโลกุตตรผล
ในขณะแห่งผล ย่อมมีแก่บุคคลผู้เจริญมรรคที่ให้ถึงความสิ้นไป และนิสสรณปหานะ
เป็นนิโรธ คือพระนิพพาน
ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรละ สิ่งทั้งปวงที่ควรละ คืออะไร
คือ จักขุควรละ รูปควรละ จักขุวิญญาณควรละ จักขุสัมผัสควรละ สุขเวทนา
ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยควรละ
โสตะควรละ สัททะ ฯลฯ
ฆานะควรละ คันธะ ฯลฯ
ชิวหาควรละ รส ฯลฯ
กายควรละ โผฏฐัพพะ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
มโนควรละ ธรรมารมณ์ควรละ มโนวิญญาณควรละ มโนสัมผัสควรละ
สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือแม้อทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย
ควรละ
พระโยคาวจรเมื่อเห็นรูป ชื่อว่าย่อมละ(กิเลสที่ควรละ)ได้ เมื่อเห็นเวทนา ฯลฯ
เมื่อเห็นสัญญา ฯลฯ เมื่อเห็นสังขาร ฯลฯ เมื่อเห็นวิญญาณ(โดยความเป็น
ของไม่เที่ยงเป็นต้น) ชื่อว่าย่อมละ(กิเลสที่ควรละ)ได้ เมื่อเห็นจักขุ ฯลฯ เมื่อเห็น
ชราและมรณะ ฯลฯ เมื่อเห็นธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เพราะมีสภาวะ
เป็นที่สุด ชื่อว่าย่อมละ(กิเลสที่ควรละ)ได้ ธรรมใด ๆ ที่ละได้แล้ว ธรรรมนั้น ๆ เป็น
อันละได้แล้ว
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้
ควรละ” ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๓)
ตติยภาณวาร จบ

[๒๕] การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้ควรเจริญ” ปัญญารู้
ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ เป็นอย่างไร คือ
ธรรม ๑ อย่างที่ควรเจริญ คือ กายคตาสติที่ประกอบด้วยความสำราญ
ธรรม ๒ อย่างที่ควรเจริญ คือ สมถะ ๑ วิปัสสนา ๑
ธรรม ๓ อย่างที่ควรเจริญ คือ สมาธิ ๓
ธรรม ๔ อย่างที่ควรเจริญ คือ สติปัฏฐาน ๔
ธรรม ๕ อย่างที่ควรเจริญ คือ สัมมาสมาธิอันมีองค์ ๕๑
ธรรม ๖ อย่างที่ควรเจริญ คือ อนุสสติฏฐาน (อนุสสติที่เป็นเหตุ) ๖

เชิงอรรถ :
๑ สัมมาสมาธิอันมีองค์ ๕ ได้แก่ ความแผ่ซ่านแห่งปีติ, ความแผ่ซ่านแห่งสุข, ความแผ่ซ่านแห่งจิต, ความ
แผ่ซ่านแห่งแสงสว่าง, นิมิตคือการพิจารณา (ขุ.ป.อ. ๑/๒๕/๑๓๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
ธรรม ๗ อย่างที่ควรเจริญ คือ โพชฌงค์ ๗
ธรรม ๘ อย่างที่ควรเจริญ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘
ธรรม ๙ อย่างที่ควรเจริญ คือ ปาริสุทธิปธานิยังคะ ๙๑
ธรรม ๑๐ อย่างที่ควรเจริญ คือ กสิณ ๑๐
[๒๖] ภาวนา ๒ อย่าง คือ
๑. โลกิยภาวนา
๒. โลกุตตรภาวนา
ภาวนา ๓ อย่าง คือ
๑. การเจริญธรรมที่เป็นรูปาวจรกุศล
๒. การเจริญธรรมที่เป็นอรูปาวจรกุศล
๓. การเจริญธรรมที่เป็นโลกุตตรกุศล
การเจริญธรรมที่เป็นรูปาวจรกุศลอย่างหยาบก็มี ปานกลางก็มี ประณีตก็มี
การเจริญธรรมที่เป็นอรูปาวจรกุศลอย่างหยาบก็มี ปานกลางก็มี ประณีตก็มี
การเจริญธรรมที่เป็นโลกุตตรกุศลประณีตอย่างเดียว
[๒๗] ภาวนา ๔ อย่าง คือ
๑. เมื่อรู้แจ้งทุกขสัจด้วยการกำหนดรู้ ชื่อว่าเจริญ
๒. เมื่อรู้แจ้งสมุทยสัจด้วยการละ ชื่อว่าเจริญ
๓. เมื่อรู้แจ้งนิโรธสัจด้วยการทำให้แจ้ง ชื่อว่าเจริญ
๔. เมื่อรู้แจ้งมัคคสัจด้วยการเจริญ ชื่อว่าเจริญ
เหล่านี้ ชื่อว่าภาวนา ๔

เชิงอรรถ :
๑ ปาริสุทธิปธานิยังคะ ๙ ได้แก่ (๑) สีลวิสุทธิ (๒) จิตตวิสุทธิ (๓) ทิฏฐิวิสุทธิ (๔) กังขาวิตรณวิสุทธิ
(๕) มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ (๖) ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ (๗) ญาณทัสสนวิสุทธิ (๘) ปัญญาวิสุทธิ
(๙) วิมุตติวิสุทธิ (ขุ.ป.อ. ๑/๒๕/๑๓๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
ภาวนาแม้อีก ๔ อย่าง คือ
๑. เอสนาภาวนา
๒. ปฏิลาภภาวนา
๓. เอกรสาภาวนา
๔. อาเสวนาภาวนา
เอสนาภาวนา เป็นอย่างไร
คือ เมื่อพระโยคาวจรทั้งปวงเข้าสมาธิอยู่ ธรรมทั้งหลายที่เกิดในส่วนเบื้องต้น
นั้นมีรสเป็นอย่างเดียวกัน เพราะฉะนั้น ภาวนานี้จึงชื่อว่าเอสนาภาวนา
ปฏิลาภภาวนา เป็นอย่างไร
คือ เมื่อพระโยคาวจรทั้งปวงเข้าสมาธิแล้ว ธรรมทั้งหลายที่เกิดในอัปปนานั้น
ไม่ล่วงเลยกันและกัน เพราะฉะนั้น ภาวนานี้จึงชื่อว่าปฏิลาภภาวนา
เอกรสาภาวนา เป็นอย่างไร
คือ เมื่อพระโยคาวจรเจริญสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ อินทรีย์อีก ๔
อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งสัทธินทรีย์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ภาวนา เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้ อินทรีย์อีก
๔ อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งวิริยินทรีย์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ภาวนา เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น อินทรีย์อีก ๔ อย่างก็มี
รสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งสตินทรีย์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมี
ความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน อินทรีย์อีก ๔
อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งสมาธินทรีย์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา
เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
เมื่อพระโยคาวจรเจริญปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น อินทรีย์อีก ๔ อย่าง
ก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา
เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญสัทธาพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มี
ศรัทธา พละอีก ๔ อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกัน ด้วยอำนาจแห่งสัทธาพละ เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าพละทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญวิริยพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน
พละอีก ๔ อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งวิริยพละ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าพละทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญสติพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะความประมาท
พละอีก ๔ อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งสติพละ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าพละทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญสมาธิพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ
พละอีก ๔ อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งสมาธิพละ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าพละทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญปัญญาพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา
พละอีก ๔ อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งปัญญาพละ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าพละทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญสติสัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น โพชฌงค์อีก ๖
อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งสติสัมโพชฌงค์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ภาวนา เพราะมีความหมายว่าโพชฌงค์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเลือกเฟ้น โพชฌงค์
อีก ๖ อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าโพชฌงค์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่าง
เดียวกัน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
เมื่อพระโยคาวจรเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะประคองไว้ โพชฌงค์
อีก ๖ อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งวิริยสัมโพชฌงค์ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าโพชฌงค์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญปีติสัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแผ่ซ่าน โพชฌงค์
อีก ๖ อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งปีติสัมโพชฌงค์ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าโพชฌงค์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะสงบ โพชฌงค์อีก
๖ อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าโพชฌงค์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน โพชฌงค์
อีก ๖ อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งสมาธิสัมโพชฌงค์ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าโพชฌงค์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะพิจารณา โพชฌงค์
อีก ๖ อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าโพชฌงค์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่าง
เดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น องค์มรรคอีก ๗ อย่าง
ก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งสัมมาทิฏฐิ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา
เพราะมีความหมายว่าองค์มรรคทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญสัมมาสังกัปปะ เพราะมีสภาวะตรึกตรอง องค์มรรค
อีก ๗ อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งสัมมาสังกัปปะ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าองค์มรรคทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญสัมมาวาจา เพราะมีสภาวะกำหนด องค์มรรคอีก ๗
อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งสัมมาวาจา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ภาวนา เพราะมีความหมายว่าองค์มรรคทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
เมื่อพระโยคาวจรเจริญสัมมากัมมันตะ เพราะมีสภาวะเป็นสมุฏฐาน องค์มรรค
อีก ๗ อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งสัมมากัมมันตะ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าองค์มรรคทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญสัมมาอาชีวะ เพราะมีสภาวะผ่องแผ้ว องค์มรรคอีก ๗
อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งสัมมาอาชีวะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ภาวนา เพราะมีความหมายว่าองค์มรรคทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญสัมมาวายามะ เพราะมีสภาวะประคองไว้ องค์มรรค
อีก ๗ อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งสัมมาวายามะ เพราะฉะนั้น จึง
ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าองค์มรรคทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญสัมมาสติ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น องค์มรรคอีก ๗ อย่าง
ก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งสัมมาสติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา
เพราะมีความหมายว่าองค์มรรคทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญสัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน องค์มรรคอีก ๗
อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งสัมมาสมาธิ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา
เพราะมีความหมายว่าองค์มรรคทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน ภาวนานี้จึงชื่อว่า
เอกรสาภาวนา
อาเสวนาภาวนา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าสมาธิในเวลาเช้าก็ได้ กลางวันก็ได้ เย็นก็ได้ ก่อน
อาหารก็ได้ หลังอาหารก็ได้ ปฐมยามก็ได้ มัชฌิมยามก็ได้ ปัจฉิมยามก็ได้ ตลอดคืน
ก็ได้ ตลอดวันก็ได้ ตลอดคืนและวันก็ได้ ตลอดข้างขึ้นและข้างแรมก็ได้ ตลอดฤดูฝน
ก็ได้ ฤดูหนาวก็ได้ ฤดูร้อนก็ได้ ตลอดปฐมวัยก็ได้ มัชฌิมวัยก็ได้ ปัจฉิมวัยก็ได้
ภาวนานี้จึงชื่อว่าอาเสวนาภาวนา
ภาวนา ๔ อย่างเหล่านี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
[๒๘] อีกประการหนึ่ง ภาวนา ๔ อย่าง คือ
๑. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้น
ไม่ล่วงเลยกัน
๒. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่าง
เดียวกัน
๓. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่านำความเพียรที่สมควรแก่ธรรม
นั้นเข้าไป
๔. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่
ล่วงเลยกัน เป็นอย่างไร
คือ เมื่อพระโยคาวจรละกามฉันทะ (ความพอใจในกาม) ธรรมทั้งหลายที่เกิด
ด้วยอำนาจแห่งเนกขัมมะ ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา
เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเลยกัน
เมื่อละพยาบาท (ความคิดร้าย) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งอพยาบาท
ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละถีนมิทธะ (ความหดหู่) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งอาโลกสัญญา
ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละอุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งอวิกเขปะ
ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละวิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่ง
ธัมมววัตถาน ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละอวิชชา (ความไม่รู้แจ้ง) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งญาณ ย่อม
ไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละอรติ (ความไม่ยินดี) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งปามุชชะ ย่อม
ไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละนิวรณ์ทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งปฐมฌาน ย่อมไม่
ล่วงเลยกันและกัน ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
เมื่อละวิตกและวิจาร ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งทุติยฌาน ย่อมไม่
ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละปีติ ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งตติยฌาน ย่อมไม่ล่วงเลยกัน
และกัน ...
เมื่อละสุขและทุกข์ ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งจตุตถฌาน ย่อมไม่
ล่วงเลยกันและกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรม
ทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเลยกัน
เมื่อพระโยคาวจรละรูปสัญญา (ความหมายรู้รูป) ปฏิฆสัญญา (ความหมาย
รู้ความกระทบกระทั่งในใจ) นานัตตสัญญา (ความหมายรู้ภาวะต่างกัน) ธรรมทั้งหลาย
ที่เกิดด้วยอำนาจแห่งอากาสานัญจายตนสมาบัติ ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่
ล่วงเลยกัน
เมื่อละอากาสานัญจายตนสัญญา (ความหมายรู้อากาสานัญจายตนะ) ธรรม
ทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนา
นั้นไม่ล่วงเลยกัน
เมื่อละวิญญาณัญจายตนสัญญา (ความหมายรู้วิญญาณัญจายตนะ) ธรรม
ทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งอากิญจัญญายตนสมาบัติ ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละอากิญจัญญายตนสัญญา (ความหมายรู้อากิญจัญญายตนะ) ธรรม
ทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ย่อมไม่ล่วงเลยกัน
และกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิด
ในภาวนานั้นไม่ล่วงเลยกัน
เมื่อพระโยคาวจรละนิจจสัญญา (ความหมายรู้ว่าเที่ยง) ธรรมทั้งหลายที่เกิด
ด้วยอำนาจแห่งอนิจจานุปัสสนา ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเลยกัน
เมื่อละสุขสัญญา (ความหมายรู้ว่าเป็นสุข) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่ง
ทุกขานุปัสสนา ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
เมื่อละอัตตสัญญา (ความหมายรู้ว่าอัตตา) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจ
แห่งอนัตตานุปัสสนา ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละนันทิ (ความยินดี) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งนิพพิทานุปัสสนา
ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละราคะ (ความกำหนัด) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งวิราคานุปัสสนา
ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละสมุทัย (เหตุเกิด) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งนิโรธานุปัสสนา
ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละอาทานะ (ความยึดถือ) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งปฏินิสสัคคา-
นุปัสสนา ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละฆนสัญญา (ความหมายรู้ว่าเป็นก้อน) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจ
แห่งขยานุปัสสนา ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละอายุหนะ (กรรมเป็นเครื่องประมวลมา) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจ
แห่งวยานุปัสสนา ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละธุวสัญญา (ความหมายรู้ว่ามั่นคง) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่ง
วิปริณามานุปัสสนา ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละนิมิต (เครื่องหมาย) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งอนิมิตตานุ-
ปัสสนา ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละปณิธิ (ความตั้งมั่น) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งอัปปณิหิตานุ-
ปัสสนา ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละอภินิเวส (ความยึดมั่น) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งสุญญตานุ-
ปัสสนา ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละสาราทานาภินิเวส (ความยึดมั่นว่าเป็นแก่นสาร) ธรรมทั้งหลายที่เกิด
ด้วยอำนาจแห่งอธิปัญญาธัมมวิปัสสนา ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละสัมโมหาภินิเวส (ความยึดมั่นเพราะความหลง) ธรรมทั้งหลายที่เกิด
ด้วยอำนาจแห่งยถาภูตญาณทัสสนะ ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
เมื่อละอาลยาภินิเวส (ความยึดมั่นด้วยความอาลัย) ธรรมทั้งหลายที่เกิด
ด้วยอำนาจแห่งอาทีนวานุปัสสนา ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละอัปปฏิสังขา (การไม่พิจารณา) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่ง
ปฏิสังขานุปัสสนา ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละสัญโญคาภินิเวส (ความยึดมั่นเพราะกิเลสเครื่องประกอบ) ธรรมทั้งหลาย
ที่เกิดด้วยอำนาจแห่งวิวัฏฏนานุปัสสนา ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วง
เลยกัน
เมื่อละกิเลสที่ตั้งอยู่ร่วมกันกับทิฏฐิ ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งโสดา-
ปัตติมรรค ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความ
หมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเลยกัน
เมื่อละกิเลสอย่างหยาบ ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งสกทาคามิมรรค
ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละกิเลสอย่างละเอียด ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งอนาคามิมรรค
ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละกิเลสทั้งปวง ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งอรหัตตมรรค ย่อมไม่
ล่วงเลยกันและกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลาย
ที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเลยกัน
ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เป็นอย่างไร
คือ พระโยคาวจรเมื่อละกามฉันทะ อินทรีย์ ๕ มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วย
อำนาจแห่งเนกขัมมะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์
ทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน เมื่อละพยาบาท อินทรีย์ ๕ มีรสเป็นอย่างเดียวกัน
ด้วยอำนาจแห่งอพยาบาท ฯลฯ เมื่อละกิเลสทั้งปวง อินทรีย์ ๕ มีรสเป็นอย่าง
เดียวกันด้วยอำนาจแห่งอรหัตตมรรค เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความ
หมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
อย่างนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่านำความเพียรที่สมควรแก่ธรรมนั้น
เข้าไป เป็นอย่างไร
คือ พระโยคาวจรเมื่อละกามฉันทะ ย่อมนำความเพียรด้วยอำนาจแห่ง
เนกขัมมะเข้าไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่านำความเพียร
ที่สมควรแก่ธรรมนั้นเข้าไป เมื่อละพยาบาทย่อมนำความเพียรด้วยอำนาจแห่ง
อพยาบาทเข้าไป ฯลฯ เมื่อละกิเลสทั้งปวง ย่อมนำความเพียรด้วยอำนาจแห่ง
อรหัตตมรรคเข้าไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่านำความ
เพียรที่สมควรแก่ธรรมนั้นเข้าไป
ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่านำความเพียรที่สมควรแก่ธรรมนั้นเข้าไป
อย่างนี้
ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ เป็นอย่างไร
คือ พระโยคาวจรเมื่อละกามฉันทะ ย่อมปฏิบัติเนือง ๆ ซึ่งเนกขัมมะ เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ เมื่อละพยาบาท ย่อม
ปฏิบัติเนือง ๆ ซึ่งอพยาบาท เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่า
ปฏิบัติเนือง ๆ ฯลฯ เมื่อละกิเลสทั้งปวง ย่อมปฏิบัติเนือง ๆ ซึ่งอรหัตตมรรค
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนืองๆ
ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ อย่างนี้
ภาวนา ๔ ประการนี้ พระโยคาวจรเมื่อเห็นรูป ชื่อว่าเจริญอยู่ เมื่อเห็นเวทนา
ฯลฯ เมื่อเห็นสัญญา ฯลฯ เมื่อเห็นสังขาร ฯลฯ เมื่อเห็นวิญญาณ ฯลฯ เมื่อเห็น
จักขุ ฯลฯ เมื่อเห็นชราและมรณะ ฯลฯ เมื่อเห็นธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน
เพราะมีสภาวะเป็นที่สุด ชื่อว่าเจริญอยู่ ธรรมใด ๆ ที่ได้เจริญแล้ว ธรรมนั้น ๆ มีรส
เป็นอย่างเดียวกัน
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้
ควรเจริญ” ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๔)
จตุตถภาณวาร จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
[๒๙] การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง”
ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ เป็นอย่างไร คือ
ธรรม ๑ อย่างที่ควรทำให้แจ้ง คือ เจโตวิมุตติที่ไม่กำเริบ
ธรรม ๒ อย่างที่ควรทำให้แจ้ง คือ วิชชา ๑ วิมุตติ ๑
ธรรม ๓ อย่างที่ควรทำให้แจ้ง คือ วิชชา ๓
ธรรม ๔ อย่างที่ควรทำให้แจ้ง คือ สามัญญผล ๔
ธรรม ๕ อย่างที่ควรทำให้แจ้ง คือ ธรรมขันธ์ ๕๑
ธรรม ๖ อย่างที่ควรทำให้แจ้ง คือ อภิญญา ๖
ธรรม ๗ อย่างที่ควรทำให้แจ้ง คือ ขีณาสวพละ ๗
ธรรม ๘ อย่างที่ควรทำให้แจ้ง คือ วิโมกข์ ๘
ธรรม ๙ อย่างที่ควรทำให้แจ้ง คือ อนุปุพพนิโรธ ๙๒
ธรรม ๑๐ อย่างที่ควรทำให้แจ้ง คือ อเสขธรรม ๑๐๓
ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรทำให้แจ้ง สิ่งทั้งปวงที่ควรทำให้แจ้ง คืออะไร
คือ จักขุควรทำให้แจ้ง รูปควรทำให้แจ้ง จักขุวิญญาณควรทำให้แจ้ง จักขุ-
สัมผัสควรทำให้แจ้ง สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะ
จักขุสัมผัสเป็นปัจจัยควรทำให้แจ้ง
โสตะควรทำให้แจ้ง สัททะ ฯลฯ
ฆานะควรทำให้แจ้ง คันธะ ฯลฯ
ชิวหาควรทำให้แจ้ง รส ฯลฯ
กายควรทำให้แจ้ง โผฏฐัพพะ ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ธรรมขันธ์ ๕ ได้แก่ (๑) สีลขันธ์ (๒) สมาธิขันธ์ (๓) ปัญญาขันธ์ (๔) วิมุตติขันธ์ (๕) วิมุตติญาณ-
ทัสสนขันธ์ (ขุ.ป.อ. ๑/๒๙/๑๔๗)
๒ อนุปุพพนิโรธ ๙ ได้แก่ (๑) กามสัญญา (๒) วิตกวิจาร (๓) ปีติ (๔) ลมอัสสาสะ ปัสสาสะ (๕) รูปสัญญา
(๖) อากาสานัญจายตนสัญญา (๗) วิญญานัญจายตนสัญญา (๘) อากิญจัญญายตนสัญญา (๙) สัญญาและ
เวทนา (ขุ.ป.อ. ๑/๒๙/๑๔๙)
๓ อเสขธรรม ๑๐ ได้แก่ (๑) สัมมาทิฏฐิ (๒) สัมมาสังกัปปะ (๓) สัมมาวาจา (๔) สัมมากัมมันตะ
(๕) สัมมาอาชีวะ (๖) สัมมาวายามะ (๗) สัมมาสติ (๘) สัมมาสมาธิ (๙) สัมมาญาณ (๑๐) สัมมาวิมุตติ
(ขุ.ป.อ. ๑/๒๙/๑๕๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
มโนควรทำให้แจ้ง ธรรมารมณ์ควรทำให้แจ้ง มโนวิญญาณควรทำให้แจ้ง
มโนสัมผัสควรทำให้แจ้ง สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้น
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยควรทำให้แจ้ง
พระโยคาวจรเมื่อเห็นรูป ชื่อว่าย่อมทำให้แจ้ง (ด้วยการทำให้เป็นอารมณ์)
เมื่อเห็นเวทนา ฯลฯ เมื่อเห็นสัญญา ฯลฯ เมื่อเห็นสังขาร ฯลฯ เมื่อเห็นวิญญาณ ฯลฯ
เมื่อเห็นจักขุ ฯลฯ เมื่อเห็นชราและมรณะ ฯลฯ เมื่อเห็นธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือ
นิพพาน เพราะมีสภาวะเป็นที่สุด ชื่อว่าย่อมทำให้แจ้ง (ด้วยการทำให้เป็นอารมณ์)
ธรรมใด ๆ ที่ทำให้แจ้งแล้ว ธรรมนั้น ๆ เป็นธรรมที่ถูกต้องแล้ว
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้ควร
ทำให้แจ้ง” ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๕)
[๓๐] การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้เป็นส่วนแห่งความเสื่อม
ธรรมเหล่านี้เป็นส่วนแห่งความตั้งอยู่ ธรรมเหล่านี้เป็นส่วนแห่งคุณวิเศษ ธรรม
เหล่านี้เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส” ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่า
สุตมยญาณ เป็นอย่างไร
คือ พระโยคาวจรผู้ได้ปฐมฌาน มีสัญญา (ความหมายรู้) และมนสิการ (การ
ทำไว้ในใจ) ที่ประกอบด้วยกามเกิดขึ้น ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งความเสื่อม มีสติ๑ที่เป็น
ธรรมสมควรแก่ปฐมฌานนั้นตั้งอยู่ ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งความตั้งอยู่ มีสัญญาและ
มนสิการที่ไม่ประกอบด้วยวิตกเกิดขึ้น ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งคุณวิเศษ มีสัญญาและ
มนสิการที่ประกอบด้วยนิพพิทา(ความเบื่อหน่าย)(และ)วิราคะ(ความคลายกำหนัด)
เกิดขึ้น ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส
พระโยคาวจรผู้ได้ทุติยฌาน มีสัญญาและมนสิการที่ประกอบด้วยวิตกเกิดขึ้น
ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งความเสื่อม มีสติที่เป็นธรรมสมควรแก่ทุติยฌานนั้นตั้งอยู่ ธรรม

เชิงอรรถ :
๑ สติ ในที่นี้หมายถึงนิกันติ (ความติดใจ) (ขุ.ป.อ.๑/๓๐/๑๕๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
นี้เป็นส่วนแห่งความตั้งอยู่ มีสัญญาและมนสิการที่ประกอบด้วยอุเบกขาและสุขเกิดขึ้น
ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งคุณวิเศษ มีสัญญาและมนสิการที่ประกอบด้วยนิพพิทา(และ)
วิราคะเกิดขึ้น ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส
พระโยคาวจรผู้ได้ตติยฌาน มีสัญญาและมนสิการที่ประกอบด้วยปีติและสุข
เกิดขึ้น ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งความเสื่อม มีสติที่เป็นธรรมสมควรแก่ตติยฌานนั้น
ตั้งอยู่ ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งความตั้งอยู่ มีสัญญาและมนสิการที่ประกอบ
ด้วยอทุกขมสุขเกิดขึ้น ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งคุณวิเศษ มีสัญญาและมนสิการที่
ประกอบด้วยนิพพิทา (และ) วิราคะเกิดขึ้น ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส
พระโยคาวจรผู้ได้จตุตถฌาน มีสัญญาและมนสิการที่ประกอบด้วยอุเบกขา
เกิดขึ้น ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งความเสื่อม มีสติที่เป็นธรรมสมควรแก่จตุตถฌานนั้น
ตั้งอยู่ ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งความตั้งอยู่ มีสัญญาและมนสิการที่ประกอบด้วย
อากาสานัญจายตนฌานเกิดขึ้น ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งคุณวิเศษ มีสัญญาและมนสิการ
ที่ประกอบด้วยนิพพิทา (และ) วิราคะเกิดขึ้น ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส
พระโยคาวจรผู้ได้อากาสานัญจายตนฌาน มีสัญญาและมนสิการที่ประกอบ
ด้วยรูปเกิดขึ้น ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งความเสื่อม มีสติที่เป็นธรรมสมควรแก่
อากาสานัญจายตนฌานนั้นตั้งอยู่ ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งความตั้งอยู่ มีสัญญาและ
มนสิการที่ประกอบด้วยวิญญาณัญจายตนฌานเกิดขึ้น ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งคุณวิเศษ
มีสัญญาและมนสิการที่ประกอบด้วยนิพพิทา(และ)วิราคะเกิดขึ้น ธรรมนี้เป็นส่วน
แห่งการชำแรกกิเลส
พระโยคาวจรผู้ได้วิญญาณัญจายตนฌาน มีสัญญาและมนสิการที่ประกอบ
ด้วยอากาสานัญจายตนฌานเกิดขึ้น ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งความเสื่อม มีสติที่เป็น
ธรรมสมควรแก่วิญญาณัญจายตนฌานนั้นตั้งอยู่ ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งความตั้งอยู่
มีสัญญาและมนสิการที่ประกอบด้วยอากิญจัญญายตนฌานเกิดขึ้น ธรรมนี้เป็นส่วน
แห่งคุณวิเศษ มีสัญญาและมนสิการที่ประกอบด้วยนิพพิทา(และ)วิราคะเกิดขึ้น
ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส
พระโยคาวจรผู้ได้อากิญจัญญายตนฌาน มีสัญญาและมนสิการที่ประกอบ
ด้วยวิญญาณัญจายตนฌานเกิดขึ้น ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งความเสื่อม มีสติที่เป็นธรรม
สมควรแก่อากิญจัญญายตนฌานนั้นตั้งอยู่ ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งความตั้งอยู่ มีสัญญา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
และมนสิการที่ประกอบด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนฌานเกิดขึ้น ธรรมนี้เป็นส่วน
แห่งคุณวิเศษ มีสัญญาและมนสิการที่ประกอบด้วยนิพพิทา(และ)วิราคะเกิดขึ้น
ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้เป็นส่วนแห่ง
ความเสื่อม ธรรมเหล่านี้เป็นส่วนแห่งความตั้งอยู่ ธรรมเหล่านี้เป็นส่วนแห่งคุณวิเศษ
ธรรมเหล่านี้เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส” ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่า
สุตมยญาณ (๔-๙)
[๓๑] การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขาร
ทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา” ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่า
สุตมยญาณ เป็นอย่างไร
คือ การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “รูปไม่เที่ยง เพราะมีสภาวะสิ้นไป เป็นทุกข์
เพราะมีสภาวะเป็นภัย เป็นอนัตตา เพราะมีสภาวะไม่มีแก่นสาร” ปัญญา
รู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ
วิญญาณ ฯลฯ จักขุ ฯลฯ” การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ชราและมรณะไม่เที่ยง
เพราะมีสภาวะสิ้นไป เป็นทุกข์ เพราะมีสภาวะเป็นภัย เป็นอนัตตา เพราะมีสภาวะ
ไม่มีแก่นสาร” ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง
สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา” ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น
ชื่อว่าสุตมยญาณ (๓-๑๒)
[๓๒] การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “นี้ทุกขอริยสัจ นี้ทุกขสมุทยอริยสัจ
นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ” ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้
สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ เป็นอย่างไร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
[๓๓] บรรดาอริยสัจ ๔ นั้น ทุกขอริยสัจ เป็นอย่างไร
คือ ชาติเป็นทุกข์ ชราเป็นทุกข์ มรณะเป็นทุกข์ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
อุปายาสเป็นทุกข์ การประสบกับอารมณ์๑อันไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์ ความพลัดพราก
จากอารมณ์อันเป็นที่รักเป็นทุกข์ การไม่ได้สิ่งที่ต้องการเป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทาน-
ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์
บรรดาทุกขอริยสัจนั้น ชาติ เป็นอย่างไร
คือ ความเกิด ความเกิดพร้อม ความหยั่งลง ความบังเกิด ความบังเกิด
เฉพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะ ในหมู่สัตว์นั้น ๆ ของเหล่าสัตว์นั้น ๆ
นี้เรียกว่า ชาติ
บรรดาทุกขอริยสัจนั้น ชรา เป็นอย่างไร
คือ ความแก่ ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด ความมีผมหงอก ความมีหนัง
เหี่ยวย่น ความเสื่อมอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้น ๆ ของเหล่า
สัตว์นั้น ๆ นี้เรียกว่า ชรา
บรรดาทุกขอริยสัจนั้น มรณะ เป็นอย่างไร
คือ ความจุติ ความเคลื่อนไป ความทำลายไป ความหายไป ความตายกล่าว
คือมฤตยู การทำกาละ ความแตกแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งร่างกาย ความขาดสูญแห่ง
ชีวิตินทรีย์ ของเหล่าสัตว์นั้น ๆ จากหมู่สัตว์นั้น ๆ นี้เรียกว่า มรณะ
บรรดาทุกขอริยสัจนั้น โสกะ เป็นอย่างไร
คือ ความเศร้าโศก กิริยาที่เศร้าโศก ภาวะที่เศร้าโศก ความแห้งผากภายใน
ความแห้งกรอบภายใน ความเกรียมใจ ความโทมนัส ลูกศรคือความเศร้าโศก ของผู้
ที่ถูกความเสื่อมญาติ ความเสื่อมโภคทรัพย์ ความเสื่อมเกี่ยวกับโรค ความเสื่อมศีล
หรือความเสื่อมทิฏฐิ๒กระทบ ของผู้ที่ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่ง
(หรือ) ผู้ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบ นี้เรียกว่า โสกะ

เชิงอรรถ :
๑ อารมณ์ ในที่นี้หมายถึงสัตว์และสังขาร (ขุ.ป.อ.๑/๓๒/๑๖๐)
๒ ทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึงสัมมาทิฏฐิ (ขุ.ป.อ. ๑/๓๓/๑๖๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
บรรดาทุกขอริยสัจนั้น ปริเทวะ เป็นอย่างไร
คือ ความร้องไห้ ความคร่ำครวญ กิริยาที่ร้องไห้ กิริยาที่คร่ำครวญ ภาวะที่
ร้องไห้ ภาวะที่คร่ำครวญ ความบ่นถึง ความพร่ำเพ้อ ความร่ำไห้ ความพิไรรำพัน
กิริยาที่พิไรรำพัน ภาวะที่พิไรรำพัน ของผู้ที่ถูกความเสื่อมญาติ ความเสื่อมโภคทรัพย์
ความเสื่อมเกี่ยวกับโรค ความเสื่อมศีล หรือความเสื่อมทิฏฐิกระทบ ของผู้ที่
ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่ง (หรือ) ผู้ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่าง
หนึ่งกระทบ นี้เรียกว่า ปริเทวะ
บรรดาทุกขอริยสัจนั้น ทุกข์ เป็นอย่างไร
คือ ความไม่สำราญทางกาย ความทุกข์ทางกาย ความเสวยอารมณ์
ที่ไม่สำราญ เป็นทุกข์ อันเกิดจากกายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญ เป็นทุกข์ อันเกิด
จากกายสัมผัส นี้เรียกว่า ทุกข์
บรรดาทุกขอริยสัจนั้น โทมนัส เป็นอย่างไร
คือ ความไม่สำราญ ความไม่สำราญใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวยอารมณ์
ที่ไม่สำราญ เป็นทุกข์ อันเกิดจากเจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญ เป็น
ทุกข์ อันเกิดจากเจโตสัมผัส นี้เรียกว่า ความทุกข์ใจ
บรรดาทุกขอริยสัจนั้น อุปายาส เป็นอย่างไร
คือ ความแค้น ความคับแค้น ภาวะที่แค้น ภาวะที่เคือง ภาวะที่คับแค้น
ภาวะที่แค้นเคือง ของผู้ที่ถูกความเสื่อมญาติ ความเสื่อมโภคทรัพย์ ความเสื่อม
เกี่ยวกับโรค ความเสื่อมศีล หรือความเสื่อมทิฏฐิกระทบ ของผู้ที่ประกอบด้วยความ
เสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่ง (หรือ) ผู้ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบ นี้เรียกว่า
อุปายาส
บรรดาทุกขอริยสัจนั้น การประสบกับอารมณ์อันไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์ เป็นอย่างไร
คือ การไปร่วม การมาร่วม การประชุมร่วม การอยู่ร่วมกับอารมณ์อันไม่
เป็นที่ปรารถนา ไม่เป็นที่รักใคร่ ไม่เป็นที่ชอบใจของเขาในโลกนี้ เช่น รูป เสียง กลิ่น
รส โผฏฐัพพะ หรือจากบุคคลผู้ปรารถนาแต่สิ่งที่มิใช่ประโยชน์ ปรารถนาแต่สิ่ง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
ที่ไม่เกื้อกูล ปรารถนาแต่สิ่งที่ไม่ผาสุก ไม่ปรารถนาความหลุดพ้นจากโยคะของเขา
นี้เรียกว่า การประสบกับอารมณ์อันไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์
บรรดาทุกขอริยสัจนั้น การพลัดพรากจากอารมณ์อันเป็นที่รักเป็นทุกข์ เป็น
อย่างไร
คือ การไม่ไปร่วม การไม่มาร่วม การไม่ประชุมร่วม การไม่อยู่ร่วมกับอารมณ์
อันเป็นที่ปรารถนาเป็นที่รักใคร่ชอบใจของเขาในโลกนี้ เช่น รูป เสียง กลิ่น รส
โผฏฐัพพะ หรือจากบุคคลผู้ที่มุ่งประโยชน์ มุ่งความเกื้อกูล มุ่งความผาสุก มุ่งความ
เกษมจากโยคะของเขา เช่น มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย พี่สาว น้องสาว มิตร๑
อำมาตย์๒ ญาติ หรือสาโลหิต๓ นี้เรียกว่า การพลัดพรากจากอารมณ์อันเป็นที่รัก
เป็นทุกข์
บรรดาทุกขอริยสัจนั้น การไม่ได้อารมณ์ที่ปรารถนาเป็นทุกข์ เป็นอย่างไร
คือ เหล่าสัตว์ผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา เกิดความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า
“ไฉนหนอ ขอเราอย่าได้มีความเกิดเป็นธรรมดา หรือขอความเกิดอย่าได้มาถึงเรา
เลยนะ” ข้อนี้ไม่พึงสำเร็จได้ตามความปรารถนา นี้เรียกว่า การไม่ได้อารมณ์ที่
ปรารถนาเป็นทุกข์
เหล่าสัตว์ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา ฯลฯ เหล่าสัตว์ผู้มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา
ฯลฯ เหล่าสัตว์ผู้มีความตายเป็นธรรมดา ฯลฯ เหล่าสัตว์ผู้มีความเศร้าโศก ความ
รำพัน ความทุกข์ ความโทมนัส และความคับแค้นเป็นธรรมดา ต่างก็เกิด
ความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า “ไฉนหนอ ขอเราอย่าได้เป็นผู้มีความเศร้าโศก ความ
รำพัน ความทุกข์ ความโทมนัส และความคับแค้นเป็นธรรมดาเลย ขอความ

เชิงอรรถ :
๑ มิตร หมายถึงคนรู้จักกันเพราะการใช้ของในเรือนร่วมกัน เช่น ให้ของแก่กันและกันหรือรับของจากกัน
(สํ.สฬา.อ. ๓/๑๐๑๒/๓๖๗,สํ.ฏีกา ๒/๑๐๑๒/๖๒๙)
๒ อำมาตย์ ในที่นี้หมายถึงผู้ทำกิจร่วมกัน เช่น ปรึกษาหารือกัน ไปด้วยกัน นั่งด้วยกัน เป็นต้น (สํ.สฬา.อ.
๓/๑๐๑๖/๓๖๗, สํ.ฏีกา ๒/๑๐๑๒/๖๒๙)
๓ สาโลหิต หมายถึงผู้ร่วมสายเลือดเดียวกัน ได้แก่ พี่ชาย น้องชาย พี่สาว น้องสาว เป็นต้น (องฺ.ติก.อ.
๒/๗๖/๒๒๗) หรือญาติฝ่ายมารดา (องฺ.ติก.ฏีกา ๒/๗๖/๒๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
เศร้าโศก ความรำพัน ความทุกข์ ความโทมนัส และความคับแค้น อย่าได้มาถึง
เราเลยนะ” ข้อนี้ไม่พึงสำเร็จได้ตามความปรารถนา นี้เรียกว่า การไม่ได้อารมณ์ที่
ปรารถนาเป็นทุกข์
บรรดาทุกขอริยสัจนั้นโดยย่อ อุปาทานขันธ์๑ ๕ เป็นทุกข์ เป็นอย่างไร คือ
๑. รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป)
๒. เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา)
๓. สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา)
๔. สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ)
๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ)
เหล่านี้เรียกว่า โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์
นี้เรียกว่า ทุกขอริยสัจ
[๓๔] บรรดาอริยสัจ ๔ นั้น ทุกขสมุทยอริยสัจ เป็นอย่างไร
คือ ตัณหาอันทำให้เกิดอีกประกอบด้วยความเพลิดเพลินและความกำหนัด
มีปกติให้เพลิดเพลินในอารมณ์นั้น ๆ คือ กามตัณหา (ความทะยานอยากในกาม)
ภวตัณหา (ความทะยานอยากในภพ) วิภวตัณหา (ความทะยานอยากในวิภพ)
ก็ตัณหานี้ เมื่อเกิด เกิดที่ไหน เมื่อตั้งอยู่ ตั้งอยู่ที่ไหน
คือ ปิยรูปสาตรูปเป็นสภาวะที่มีอยู่ในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็เกิดที่ปิยรูป-
สาตรูปนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่ปิยรูปสาตรูปนี้
ก็อะไรเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก
คือ จักขุเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิด ก็เกิดที่จักขุนี้ เมื่อตั้งอยู่
ก็ตั้งอยู่ที่จักขุนี้ โสตะเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ ฆานะเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก
ฯลฯ ชิวหาเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ กายเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ อุปาทานขันธ์ ในที่นี้หมายถึงกองที่เป็นอารมณ์ของความยึดมั่น (วิสุทธิ. ๒/๕๐๕/๑๒๒, สํ.ข.อ. ๒/๑๖,
๖๓/๓๐๘, อภิ.สงฺ.อ. ๔๔๒/๔๔๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
มโนเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิด ก็เกิดที่มโนนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่
มโนนี้
รูปเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิด ก็เกิดที่รูปนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่
ที่รูปนี้ สัททะเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ ธรรมารมณ์เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ
จักขุวิญญาณเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ มโนวิญญาณเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ
จักขุสัมผัสเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ มโนสัมผัสเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ
จักขุสัมผัสสชาเวทนาเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ มโนสัมผัสสชาเวทนาเป็น
ปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ รูปสัญญาเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ ธัมมสัญญาเป็น
ปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ รูปสัญเจตนาเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ ธัมม-
สัญเจตนาเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ รูปตัณหาเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ
ธัมมตัณหาเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ รูปวิตกเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ
ธัมมวิตกเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ รูปวิจารเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ
ธัมมวิจารเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิด ก็เกิดที่ธัมมวิจารนี้ เมื่อตั้งอยู่
ก็ตั้งอยู่ที่ธัมมวิจารนี้
นี้เรียกว่า ทุกขสมุทยอริยสัจ
[๓๕] บรรดาอริยสัจ ๔ นั้น ทุกขนิโรธอริยสัจ เป็นอย่างไร
คือ ความดับตัณหานั้นนั่นแลโดยไม่เหลือด้วยวิราคะ ความสละ ความสละคืน
ความพ้น ความไม่อาลัยในตัณหา
ก็ตัณหานี้ เมื่อละ ละที่ไหน เมื่อดับ ดับที่ไหน
คือ ปิยรูปสาตรูปใดมีอยู่ในโลก ตัณหานี้เมื่อละ ก็ละที่ปิยรูปสาตรูปนี้ เมื่อดับ
ก็ดับที่ปิยรูปสาตรูปนี้
ก็อะไรเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก
คือ จักขุเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อละ ก็ละที่จักขุนั้น เมื่อดับ ก็ดับ
ที่จักขุนั้น โสตะเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ฯลฯ ธัมมวิจารเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก
ตัณหานี้ เมื่อละ ก็ละที่ธัมมวิจารนี้ เมื่อดับ ก็ดับที่ธัมมวิจารนี้
นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
[๓๖] บรรดาอริยสัจ ๔ นั้น ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ได้แก่

๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) ๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) ๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ)
๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) ๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ)
๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ) ๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ)

บรรดาอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาทิฏฐิ เป็นอย่างไร
คือ ความรู้ในทุกข์ (ความทุกข์) ความรู้ในทุกขสมุทัย (เหตุเกิดแห่งทุกข์)
ความรู้ในทุกขนิโรธ (ความดับทุกข์) ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้
ถึงความดับทุกข์) นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ
บรรดาอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาสังกัปปะ เป็นอย่างไร
คือ ความดำริในเนกขัมมะ (การออกจากกาม) ความดำริในอพยาบาท (ความ
ไม่พยาบาท) ความดำริในอวิหิงสา (การไม่เบียดเบียน) นี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ
บรรดาอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาวาจา เป็นอย่างไร
คือ เจตนาเป็นเหตุเว้นจากมุสาวาท (พูดเท็จ) เจตนาเป็นเหตุเว้นจากปิสุณาวาจา
(พูดส่อเสียด) เจตนาเป็นเหตุเว้นจากผรุสวาจา (พูดคำหยาบ) เจตนาเป็นเหตุเว้นจาก
สัมผัปปลาปะ (พูดเพ้อเจ้อ) นี้เรียกว่า สัมมาวาจา
บรรดาอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมากัมมันตะ เป็นอย่างไร
คือ เจตนาเป็นเหตุเว้นจากปาณาติบาต (การฆ่าสัตว์) เจตนาเป็นเหตุเว้นจาก
อทินนาทาน (การลักทรัพย)์ เจตนาเป็นเหตุเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร (การประพฤติ
ผิดในกาม) นี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ
บรรดาอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาอาชีวะ เป็นอย่างไร
คือ ข้อที่พระอริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ละมิจฉาอาชีวะ สำเร็จการเลี้ยงชีพด้วย
สัมมาอาชีวะ นี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
บรรดาอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาวายามะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต
มุ่งมั่นเพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อละบาปอกุศล-
ธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ เพื่อทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ฯลฯ สร้างฉันทะ
พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย
ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว นี้เรียกว่า สัมมาวายามะ
บรรดาอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาสติ เป็นอย่างไร
คือ ข้อที่ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พิจารณา
เห็นกายในกายอยู่ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ พิจารณาเห็นเวทนาใน
เวทนาอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ เป็นผู้มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ นี้เรียกว่า
สัมมาสติ
บรรดาอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาสมาธิ เป็นอย่างไร
คือ ข้อที่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุ
ปฐมฌานที่มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารระงับ
ไปแล้ว บรรลุทุติยฌานที่เป็นความผ่องใสภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มี
วิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ เพราะปีติจางคลายไป มีจิตเป็น
อุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะอยู่และเสวยสุขด้วยกาย (นามกาย) บรรลุตติยฌานที่
พระอริยะทั้งหลายกล่าวสรรเสริญว่า “ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข” เพราะละสุข
และทุกข์ได้และเพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์
ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ
นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “นี้ทุกขอริยสัจ
นี้ทุกขสมุทยอริยสัจ นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ”
ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ
ปัญญาในการทรงจำธรรมที่ได้สดับมาอย่างนี้ ชื่อว่าสุตมยญาณ (๑๔-๑๖)
สุตมยญาณนิทเทสที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๒. สีลมยญาณนิทเทส
๒. สีลมยญาณนิทเทส
แสดงสีลมยญาณ
[๓๗] ปัญญาในการสดับธรรมแล้วสำรวมไว้ ชื่อว่าสีลมยญาณ เป็นอย่างไร
คือ ศีล ๕ อย่าง ได้แก่
๑. ปริยันตปาริสุทธิศีล (ศีลคือความบริสุทธิ์อันมีที่สุด)
๒. อปริยันตปาริสุทธิศีล (ศีลคือความบริสุทธิ์อันไม่มีที่สุด)
๓. ปริปุณณปาริสุทธิศีล (ศีลคือความบริสุทธิ์บริบูรณ์)
๔. อปรามัฏฐปาริสุทธิศีล (ศีลคือความบริสุทธิ์ที่ไม่ยึดมั่นด้วยอำนาจทิฏฐิ)
๕. ปฏิปัสสัทธิปาริสุทธิศีล (ศีลคือความบริสุทธิ์เพราะการสงบระงับ)
ในศีล ๕ อย่างนั้น ปริยันตปาริสุทธิศีล เป็นอย่างไร
คือ ศีลของอนุปสัมบันผู้มีสิกขาบทอันมีที่สุด นี้ชื่อว่าปริยันตปาริสุทธิศีล
อปริยันตปาริสุทธิศีล เป็นอย่างไร
คือ ศีลของอุปสัมบันผู้มีสิกขาบทอันไม่มีที่สุด นี้ชื่อว่าอปริยันตปาริสุทธิศีล
ปริปุณณปาริสุทธิศีล เป็นอย่างไร
คือ ศีลของกัลยาณปุถุชนผู้ประกอบกุศลธรรม บำเพ็ญธรรมซึ่งเป็นที่สุดของ
พระเสขะให้บริบูรณ์ ไม่อาลัยในกายและชีวิต สละชีวิตแล้ว นี้ชื่อว่าปริปุณณ-
ปาริสุทธิศีล
อปรามัฏฐปาริสุทธิศีล เป็นอย่างไร
คือ ศีลของพระเสขะ ๗ จำพวก นี้ชื่อว่าอปรามัฏฐปาริสุทธิศีล
ปฏิปัสสัทธิปาริสุทธิศีล เป็นอย่างไร
คือ ศีลของสาวกพระตถาคตผู้เป็นพระขีณาสพ ของพระปัจเจกพุทธเจ้า และ
ของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า นี้ชื่อว่าปฏิปัสสัทธิปาริสุทธิศีล
[๓๘] ศีลมีที่สุดก็มี ศีลไม่มีที่สุดก็มี ในศีล ๒ อย่างนั้น ศีลมีที่สุดนั้น
เป็นอย่างไร
คือ ศีลมีลาภเป็นที่สุดก็มี ศีลมียศเป็นที่สุดก็มี ศีลมีญาติเป็นที่สุดก็มี ศีลมี
อวัยวะเป็นที่สุดก็มี ศีลมีชีวิตเป็นที่สุดก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๒. สีลมยญาณนิทเทส
ศีลมีลาภเป็นที่สุดนั้น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ล่วงละเมิดสิกขาบทตามที่ได้สมาทานไว้ เพราะลาภ
เป็นเหตุ เพราะลาภเป็นปัจจัย เพราะลาภเป็นตัวการณ์ ศีลนี้ชื่อว่ามีลาภเป็นที่สุด
ศีลมียศเป็นที่สุดนั้น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ล่วงละเมิดสิกขาบทตามที่ได้สมาทานไว้ เพราะยศ
เป็นเหตุ เพราะยศเป็นปัจจัย เพราะยศเป็นตัวการณ์ ศีลนี้ชื่อว่ามียศเป็นที่สุด
ศีลมีญาติเป็นที่สุดนั้น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ล่วงละเมิดสิกขาบทตามที่ได้สมาทานไว้ เพราะ
ญาติเป็นเหตุ เพราะญาติเป็นปัจจัย เพราะญาติเป็นตัวการณ์ ศีลนี้ชื่อว่ามีญาติเป็น
ที่สุด
ศีลมีอวัยวะเป็นที่สุดนั้น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ล่วงละเมิดสิกขาบทตามที่ได้สมาทานไว้ เพราะ
อวัยวะเป็นเหตุ เพราะอวัยวะเป็นปัจจัย เพราะอวัยวะเป็นตัวการณ์ ศีลนี้ชื่อว่ามี
อวัยวะเป็นที่สุด
ศีลมีชีวิตเป็นที่สุดนั้น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ล่วงละเมิดสิกขาบทตามที่ได้สมาทานไว้ เพราะชีวิต
เป็นเหตุ เพราะชีวิตเป็นปัจจัย เพราะชีวิตเป็นตัวการณ์ ศีลนี้ชื่อว่ามีชีวิตเป็นที่สุด
ศีลดังกล่าวนี้เป็นศีลขาด ทะลุ ด่าง พร้อย ไม่เป็นไท ท่านผู้รู้ไม่สรรเสริญ
ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ ไม่เป็นไปเพื่อสมาธิ เป็นที่ตั้งแห่งความเดือดร้อน
ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความปราโมทย์ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งปีติ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งปัสสัทธิ ไม่เป็น
ที่ตั้งแห่งความสุข ไม่เป็นที่ตั้งแห่งสมาธิ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งยถาภูตญาณทัสสนะ
ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อระงับ
เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ศีลนี้ชื่อว่ามีที่สุด
ศีลไม่มีที่สุดนั้น เป็นอย่างไร
คือ ศีลไม่มีลาภเป็นที่สุดก็มี ศีลไม่มียศเป็นที่สุดก็มี ศีลไม่มีญาติเป็นที่สุดก็มี
ศีลไม่มีอวัยวะเป็นที่สุดก็มี ศีลไม่มีชีวิตเป็นที่สุดก็มี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๒. สีลมยญาณนิทเทส
ศีลไม่มีลาภเป็นที่สุดนั้น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้ความคิดที่จะล่วงละเมิดสิกขาบทตามที่ได้
สมาทานไว้ เพราะลาภเป็นเหตุ เพราะลาภเป็นปัจจัย เพราะลาภเป็นตัวการณ์ ก็ไม่
เกิดขึ้น ไฉนเขาจักล่วงละเมิดสิกขาบทเล่า ศีลนี้ชื่อว่าไม่มีลาภเป็นที่สุด
ศีลไม่มียศเป็นที่สุดนั้น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้ความคิดที่จะล่วงละเมิดสิกขาบทตามที่ได้
สมาทานไว้ เพราะยศเป็นเหตุ เพราะยศเป็นปัจจัย เพราะยศเป็นตัวการณ์ ก็ไม่เกิดขึ้น
ไฉนเขาจักล่วงละเมิดสิกขาบทเล่า ศีลนี้ชื่อว่าไม่มียศเป็นที่สุด
ศีลไม่มีญาติเป็นที่สุดนั้น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้ความคิดที่จะล่วงละเมิดสิกขาบทตามที่ได้
สมาทานไว้ เพราะญาติเป็นเหตุ เพราะญาติเป็นปัจจัย เพราะญาติเป็นตัวการณ์ ก็ไม่
เกิดขึ้น ไฉนเขาจักล่วงละเมิดสิกขาบทเล่า ศีลนี้ชื่อว่าไม่มีญาติเป็นที่สุด
ศีลไม่มีอวัยวะเป็นที่สุดนั้น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้ความคิดที่จะล่วงละเมิดสิกขาบทตามที่ได้
สมาทานไว้ เพราะอวัยวะเป็นเหตุ เพราะอวัยวะเป็นปัจจัย เพราะอวัยวะเป็นตัวการณ์
ก็ไม่เกิดขึ้น ไฉนเขาจักล่วงละเมิดสิกขาบทเล่า ศีลนี้ชื่อว่าไม่มีอวัยวะเป็นที่สุด
ศีลไม่มีชีวิตเป็นที่สุดนั้น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้ความคิดที่จะล่วงละเมิดสิกขาบทตามที่ได้
สมาทานไว้ เพราะชีวิตเป็นเหตุ เพราะชีวิตเป็นปัจจัย เพราะชีวิตเป็นตัวการณ์ ก็ไม่
เกิดขึ้น ไฉนเขาจักล่วงละเมิดสิกขาบทเล่า ศีลนี้ชื่อว่าไม่มีชีวิตเป็นที่สุด
ศีลดังกล่าวนี้เป็นศีลไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท ท่านผู้รู้
สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ เป็นไปเพื่อสมาธิ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความ
เดือดร้อน เป็นที่ตั้งแห่งความปราโมทย์ เป็นที่ตั้งแห่งปีติ เป็นที่ตั้งแห่งปัสสัทธิ
เป็นที่ตั้งแห่งความสุข เป็นที่ตั้งแห่งสมาธิ เป็นที่ตั้งแห่งยถาภูตญาณทัสสนะ ย่อม
เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อระงับ เพื่อ
รู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ศีลนี้ชื่อว่าไม่มีที่สุด


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๒. สีลมยญาณนิทเทส
[๓๙] อะไรชื่อว่าศีล ศีลมีเท่าไร ศีลมีอะไรเป็นสมุฏฐาน ศีลเป็นที่รวมแห่ง
ธรรมอะไร
อะไร ชื่อว่าศีล
เจตนาชื่อว่าศีล เจตสิกชื่อว่าศีล ความสำรวมชื่อว่าศีล ความไม่ล่วงละเมิด
ชื่อว่าศีล
ศีลมีเท่าไร
ศีลมี ๓ คือ (๑) กุศลศีล (๒) อกุศลศีล (๓) อัพยากตศีล
ศีลมีอะไรเป็นสมุฏฐาน
กุศลศีลมีกุศลจิตเป็นสมุฏฐาน อกุศลศีลมีอกุศลจิตเป็นสมุฏฐาน อัพยากตศีล
มีอัพยากตจิตเป็นสมุฏฐาน
ศีลเป็นที่รวมแห่งธรรมอะไร
ศีลเป็นที่รวมแห่งความสำรวม เป็นที่รวมแห่งความไม่ล่วงละเมิด เป็นที่รวม
แห่งเจตนาที่เกิดในขณะสำรวมและไม่ล่วงละเมิดนั้น
[๔๐] ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าสำรวม๑ปาณาติบาต ชื่อว่าศีล เพราะ
มีความหมายว่าไม่ล่วงละเมิดปาณาติบาต ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าสำรวม
อทินนาทาน ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าไม่ล่วงละเมิดอทินนาทาน ชื่อว่าศีล
เพราะมีความหมายว่าสำรวมกาเมสุมิจฉาจาร ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าไม่
ล่วงละเมิดกาเมสุมิจฉาจาร ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าสำรวมมุสาวาท ชื่อว่า
ศีล เพราะมีความหมายว่าไม่ล่วงละเมิดมุสาวาท ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่า
สำรวมปิสุณาวาจา ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าไม่ล่วงละเมิดปิสุณาวาจา ชื่อว่า
ศีล เพราะมีความหมายว่าสำรวมผรุสวาจา ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าไม่ล่วง
ละเมิดผรุสวาจา ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าสำรวมสัมผัปปลาปะ ชื่อว่าศีล
เพราะมีความหมายว่าไม่ล่วงละเมิดสัมผัปปลาปะ ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่า
สำรวมอภิชฌา ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าไม่ล่วงละเมิดอภิชฌา ชื่อว่าศีล
เพราะมีความหมายว่าสำรวมพยาบาท ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าไม่ล่วง

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า สำรวม ในที่นี้หมายถึงปิดกั้น ห้าม ระมัดระวัง (ขุ.ป.อ. ๑/๔๐/๒๓๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๒. สีลมยญาณนิทเทส
ละเมิดพยาบาท ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าสำรวมมิจฉาทิฏฐิ ชื่อว่าศีล
เพราะมีความหมายว่าไม่ล่วงละเมิดมิจฉาทิฏฐิ
[๔๑] ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าสำรวมกามฉันทะด้วยเนกขัมมะ ชื่อว่า
ศีล เพราะมีความหมายว่าไม่ล่วงละเมิดกามฉันทะด้วยเนกขัมมะ ... พยาบาทด้วย
อพยาบาท ... ถีนมิทธะด้วยอาโลกสัญญา ... อุทธัจจะด้วยอวิกเขปะ ... วิจิกิจฉา
ด้วยธัมมววัตถาน ... อวิชชาด้วยญาณ ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าสำรวมอรติ
ด้วยปามุชชะ ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าไม่ล่วงละเมิดอรติด้วยปามุชชะ
ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าสำรวมนิวรณ์ด้วยปฐมฌาน ชื่อว่าศีล เพราะ
มีความหมายว่าไม่ล่วงละเมิดนิวรณ์ด้วยปฐมฌาน ... วิตกวิจารด้วยทุติยฌาน ...
ปีติด้วยตติยฌาน ... สุขและทุกข์ด้วยจตุตถฌาน ... รูปสัญญา ปฏิฆสัญญา
นานัตตสัญญาด้วยอากาสานัญจายตนสมาบัติ ... อากาสานัญจายตนสมาบัติด้วย
วิญญาณัญจายตนสัญญา ... วิญญาณัญจายตนสัญญาด้วยอากิญจัญญายตนสมาบัติ
ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าสำรวมอากิญจัญญายตนสัญญาด้วยเนวสัญญานา-
สัญญายตนสมาบัติ ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าไม่ล่วงละเมิดอากิญจัญญายตน-
สัญญาด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ
ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าสำรวมนิจจสัญญาด้วยอนิจจานุปัสสนา ชื่อว่า
ศีล เพราะมีความหมายว่าไม่ล่วงละเมิดนิจจสัญญาด้วยอนิจจานุปัสสนา ...
สุขสัญญาด้วยทุกขานุปัสสนา ... อัตตสัญญาด้วยอนัตตานุปัสสนา ... นันทิด้วย
นิพพิทานุปัสสนา ... ราคะด้วยวิราคานุปัสสนา ... สมุทัยด้วยนิโรธานุปัสสนา ...
อาทานะด้วยปฏินิสสัคคานุปัสสนา ... ฆนสัญญาด้วยขยานุปัสสนา ... อายุหนะด้วย
วยานุปัสสนา ... ธุวสัญญาด้วยวิปริณามานุปัสสนา ... นิมิตด้วยอนิมิตตานุปัสสนา ...
ปณิธิด้วยอัปปณิหิตานุปัสสนา ... อภินิเวสด้วยสุญญตานุปัสสนา ... สาราทานา-
ภินิเวสด้วยอธิปัญญาธัมมวิปัสสนา ... สัมโมหาภินิเวสด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ ...
อาลยาภินิเวสด้วยอาทีนวานุปัสสนา ... อัปปฏิสังขาด้วยปฏิสังขานุปัสสนา ชื่อว่าศีล
เพราะมีความหมายว่าสำรวมสัญโญคาภินิเวสด้วยวิวัฏฏนานุปัสสนา ชื่อว่าศีล
เพราะมีความหมายว่าไม่ล่วงละเมิดสัญโญคาภินิเวสด้วยวิวัฏฏนานุปัสสนา
ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าสำรวมกิเลสที่ตั้งอยู่รวมกันกับทิฏฐิด้วยโสดา-
ปัตติมรรค ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าไม่ล่วงละเมิดกิเลสที่ตั้งอยู่รวมกันกับ
ทิฏฐิด้วยโสดาปัตติมรรค ... กิเลสอย่างหยาบด้วยสกทาคามิมรรค ... กิเลสอย่าง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๒. สีลมยญาณนิทเทส
ละเอียดด้วยอนาคามิมรรค ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าสำรวมกิเลสทั้งปวง
ด้วยอรหัตตมรรค ชื่อว่าศีล เพราะมีความหมายว่าไม่ล่วงละเมิดกิเลสทั้งปวง
ด้วยอรหัตตมรรค
ศีล ๕ ประเภท คือ
๑. การละปาณาติบาต ชื่อว่าศีล
๒. การเว้นปาณาติบาต ชื่อว่าศีล
๓. เจตนาที่เป็นข้าศึกต่อปาณาติบาต ชื่อว่าศีล
๔. ความสำรวมปาณาติบาต ชื่อว่าศีล
๕. ความไม่ล่วงละเมิดปาณาติบาต ชื่อว่าศีล
ศีลดังกล่าวนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เดือดร้อนใจ เพื่อปราโมทย์ เพื่อปีติ
เพื่อปัสสัทธิ เพื่อโสมนัส เพื่อการปฏิบัติโดยเอื้อเฟื้อ เพื่อความเจริญ เพื่อทำให้มาก
เพื่อเป็นเครื่องประดับ เพื่อเป็นเครื่องป้องกัน เพื่อเป็นเครื่องแวดล้อม เพื่อความ
สมบูรณ์ ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ
เพื่อระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
ความบริสุทธิ์ด้วยความสำรวมแห่งศีลดังกล่าวนี้ ชื่อว่าอธิสีล จิตที่ตั้งอยู่ใน
ความบริสุทธิ์ด้วยความสำรวม ย่อมไม่ฟุ้งซ่าน ความบริสุทธิ์แห่งจิตที่ไม่ฟุ้งซ่าน
ชื่อว่าอธิจิต พระโยคาวจรเห็นความบริสุทธิ์ด้วยความสำรวมโดยชอบ เห็นความ
บริสุทธิ์แห่งจิตที่ไม่ฟุ้งซ่านโดยชอบ ความบริสุทธิ์แห่งความเห็น (ทั้งสองประการนี้)
ชื่อว่าอธิปัญญา
บรรดาความสำรวม ความไม่ฟุ้งซ่าน และความเห็นนั้น ความสำรวม ชื่อว่า
อธิสีลสิกขา ความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าอธิจิตตสิกขา ความเห็น ชื่อว่าอธิปัญญาสิกขา
พระโยคาวจรเมื่อนึกถึงสิกขา ๓ นี้ ชื่อว่าศึกษา เมื่อรู้ ชื่อว่าศึกษา เมื่อเห็น
ชื่อว่าศึกษา เมื่อพิจารณา ชื่อว่าศึกษา เมื่ออธิษฐานจิต ชื่อว่าศึกษา เมื่อน้อมใจเชื่อ
ด้วยศรัทธา ชื่อว่าศึกษา เมื่อประคองความเพียรไว้ ชื่อว่าศึกษา เมื่อตั้งสติไว้มั่น
ชื่อว่าศึกษา เมื่อตั้งจิตไว้มั่น ชื่อว่าศึกษา เมื่อรู้ชัดด้วยปัญญา ชื่อว่าศึกษา เมื่อรู้
ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง ชื่อว่าศึกษา เมื่อกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ชื่อว่าศึกษา
เมื่อละธรรมที่ควรละ ชื่อว่าศึกษา เมื่อทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าศึกษา
เมื่อเจริญธรรมที่ควรให้เจริญ ชื่อว่าศึกษา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๒. สีลมยญาณนิทเทส
ศีล ๕ ประเภท คือ
การละอทินนาทาน ชื่อว่าศีล ฯลฯ๑ การละกาเมสุมิจฉาจาร ฯลฯ การละ
มุสาวาท ฯลฯ การละปิสุณาวาจา ฯลฯ การละผรุสวาจา ฯลฯ การละสัมผัปปลาปะ
ฯลฯ การละอภิชฌา ฯลฯ การละพยาบาท ฯลฯ การละมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ
การละกามฉันทะด้วยเนกขัมมะ ฯลฯ การละพยาบาทด้วยอพยาบาท ฯลฯ
การละถีนมิทธะด้วยอาโลกสัญญา ฯลฯ การละอุทธัจจะด้วยอวิกเขปะ ฯลฯ การละ
วิจิกิจฉาด้วยธัมมววัตถาน ฯลฯ การละอวิชชาด้วยญาณ ฯลฯ การละอรติด้วย
ปามุชชะ ฯลฯ
การละนิวรณ์ด้วยปฐมฌาน ฯลฯ การละวิตกวิจารด้วยทุติยฌาน ฯลฯ การละ
ปีติด้วยตติยฌาน ฯลฯ การละสุขและทุกข์ด้วยจตุตถฌาน ฯลฯ การละรูปสัญญา
ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญาด้วยอากาสานัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ การละ
อากาสานัญจายตนสัญญาด้วยวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ การละวิญญาณัญ-
จายตนสัญญาด้วยอากิญจัญญายตนสัญญาสมาบัติ ฯลฯ การละอากิญจัญญายตน-
สัญญาด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ฯลฯ
การละสุขสัญญาด้วยทุกขานุปัสสนา ฯลฯ การละอัตตสัญญาด้วยอนัตตา-
นุปัสสนา ฯลฯ การละนันทิด้วยนิพพิทานุปัสสนา ฯลฯ การละราคะด้วยวิราคา-
นุปัสสนา ฯลฯ การละสมุทัยด้วยนิโรธานุปัสสนา ฯลฯ การละอาทานะด้วย
ปฏินิสสัคคานุปัสสนา ฯลฯ การละฆนสัญญาด้วยขยานุปัสสนา ฯลฯ การละ
อายุหนะด้วยวยานุปัสสนา ฯลฯ การละธุวสัญญาด้วยวิปริณามานุปัสสนา ฯลฯ
การละนิมิตด้วยอนิมิตตานุปัสสนา ฯลฯ การละปณิธิด้วยอัปปณิหิตานุปัสสนา
ฯลฯ การละอภินิเวสด้วยสุญญตานุปัสสนา ฯลฯ การละสาราทานาภินิเวสด้วย
อธิปัญญาธัมมวิปัสสนา ฯลฯ การละสัมโมหาภินิเวสด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ
ฯลฯ การละอาลยาภินิเวสด้วยอาทีนวานุปัสสนา ฯลฯ การละอัปปฏิสังขาด้วย
ปฏิสังขานุปัสสนา ฯลฯ การละสัญโญคาภินิเวสด้วยวิวัฏฏนานุปัสสนา ฯลฯ
การละกิเลสที่ตั้งอยู่รวมกันกับทิฏฐิด้วยโสดาปัตติมรรค ฯลฯ การละกิเลสที่
หยาบด้วยสกทาคามิมรรค ฯลฯ การละกิเลสที่ละเอียดด้วยอนาคามิมรรค ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเนื้อความเต็มในศีล ๕ ประเภทในรอบแรกและรอบสุดท้าย ต่างกันเพียงองค์ธรรมเท่านั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๒. สีลมยญาณนิทเทส
(ศีล ๕ ประเภท คือ)
๑. การละกิเลสทั้งปวงด้วยอรหัตตมรรค ชื่อว่าศีล
๒. การเว้นกิเลสทั้งปวงด้วยอรหัตตมรรค ชื่อว่าศีล
๓. เจตนาที่เป็นข้าศึกต่อกิเลสทั้งปวงด้วยอรหัตตมรรค ชื่อว่าศีล
๔. ความสำรวมกิเลสทั้งปวงด้วยอรหัตตมรรค ชื่อว่าศีล
๕. ความไม่ล่วงละเมิดกิเลสทั้งปวงด้วยอรหัตตมรรค ชื่อว่าศีล
ศีลดังกล่าวนี้ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เดือดร้อน เพื่อปราโมทย์ เพื่อปีติ เพื่อ
ปัสสัทธิ เพื่อโสมนัส เพื่อการปฏิบัติโดยเอื้อเฟื้อ เพื่อความเจริญ เพื่อทำให้มาก
เพื่อเป็นเครื่องประดับ เพื่อเป็นเครื่องป้องกัน เพื่อเป็นเครื่องแวดล้อม เพื่อความ
สมบูรณ์ ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ
เพื่อระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
[๔๒] ความบริสุทธิ์ด้วยความสำรวมแห่งศีลดังกล่าวนี้ ชื่อว่าอธิสีล จิตที่ตั้ง
อยู่ในความบริสุทธิ์ด้วยความสำรวม ย่อมไม่ฟุ้งซ่าน ความบริสุทธิ์แห่งจิตที่ไม่
ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าอธิจิต พระโยคาวจรเห็นความบริสุทธิ์ด้วยความสำรวมโดยชอบ
เห็นความบริสุทธิ์แห่งจิตที่ไม่ฟุ้งซ่านโดยชอบ ความบริสุทธิ์แห่งความเห็น (ทั้งสอง
ประการนี้) ชื่อว่าอธิปัญญา
บรรดาความสำรวม ความไม่ฟุ้งซ่าน และความเห็นนั้น ความสำรวม ชื่อว่า
อธิสีลสิกขา ความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าอธิจิตตสิกขา ความเห็น ชื่อว่าอธิปัญญาสิกขา
พระโยคาวจรเมื่อนึกถึงสิกขา ๓ นี้ ชื่อว่าศึกษา เมื่อรู้ ชื่อว่าศึกษา เมื่อเห็น
ชื่อว่าศึกษา เมื่อพิจารณา ชื่อว่าศึกษา เมื่ออธิษฐานจิต ชื่อว่าศึกษา เมื่อน้อมใจเชื่อ
ด้วยศรัทธา ชื่อว่าศึกษา เมื่อประคองความเพียร ชื่อว่าศึกษา เมื่อตั้งสติไว้มั่น
ชื่อว่าศึกษา เมื่อตั้งจิตไว้มั่น ชื่อว่าศึกษา เมื่อรู้ชัดด้วยปัญญา ชื่อว่าศึกษา เมื่อรู้ยิ่ง
ธรรมที่ควรรู้ยิ่ง ชื่อว่าศึกษา เมื่อกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ชื่อว่าศึกษา เมื่อละ
ธรรมที่ควรละ ชื่อว่าศึกษา เมื่อทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าศึกษา เมื่อ
เจริญธรรมที่ควรให้เจริญ ชื่อว่าศึกษา
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการสดับธรรมแล้วสำรวมไว้ ชื่อว่าสีลมยญาณ
(ญาณในการสำรวมศีล)

สีลมยญาณนิทเทสที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๓. สมาธิภาวนามยญาณนิทเทส
๓. สมาธิภาวนามยญาณนิทเทส
แสดงสมาธิภาวนามยญาณ
[๔๓] ปัญญาในการสำรวมตั้งจิตมั่น ชื่อว่าสมาธิภาวนามยญาณ เป็นอย่างไร
คือ
สมาธิ ๑ อย่าง ได้แก่
เอกัคคตาจิต
สมาธิ ๒ อย่าง ได้แก่
๑. โลกิยสมาธิ
๒. โลกุตตรสมาธิ
สมาธิ ๓ อย่าง ได้แก่
๑. สมาธิที่มีวิตกวิจาร
๒. สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร
๓. สมาธิที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจาร
สมาธิ ๔ อย่าง ได้แก่
๑. สมาธิที่เป็นส่วนแห่งความเสื่อม
๒. สมาธิที่เป็นส่วนแห่งความตั้งอยู่
๓. สมาธิที่เป็นส่วนแห่งคุณวิเศษ
๔. สมาธิที่เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส
สมาธิ ๕ อย่าง ได้แก่
๑. สมาธิที่มีปีติแผ่ไป
๒. สมาธิที่มีสุขแผ่ไป
๓. สมาธิที่มีจิตแผ่ไป
๔. สมาธิที่มีแสงสว่างแผ่ไป
๕. สมาธิที่มีการพิจารณาเป็นนิมิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๓. สมาธิภาวนามยญาณนิทเทส
สมาธิ ๖ อย่าง ได้แก่
๑. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ (มีอารมณ์เดียว) ไม่ฟุ้งซ่านด้วย
อำนาจแห่งพุทธานุสสติ
๒. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งธัมมา-
นุสสติ
๓. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งสังฆา-
นุสสติ
๔. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งสีลานุสสติ
๕. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งจาคา-
นุสสติ
๖. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งเทวตา-
นุสสติ
สมาธิ ๗ อย่าง ได้แก่
๑. ความฉลาดในสมาธิ
๒. ความฉลาดในการเข้าสมาธิ
๓. ความฉลาดในการดำรงสมาธิ
๔. ความฉลาดในการออกจากสมาธิ
๕. ความฉลาดในการใช้สมาธิ
๖ ความฉลาดในอารมณ์แห่งสมาธิ
๗. ความฉลาดในการนำสมาธิให้สูง ๆ ขึ้นไป
สมาธิ ๘ อย่าง ได้แก่
๑. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งปฐวีกสิณ
๒. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งอาโปกสิณ
๓. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งเตโชกสิณ
๔. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งวาโยกสิณ
๕. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งนีลกสิณ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๓. สมาธิภาวนามยญาณนิทเทส
๖. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งปีตกสิณ
๗. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งโลหิตกสิณ
๘. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งโอทาต-
กสิณ
สมาธิ ๙ อย่าง ได้แก่
๑. รูปาวจรสมาธิอย่างต่ำ
๒. รูปาวจรสมาธิอย่างปานกลาง
๓. รูปาวจรสมาธิอย่างประณีต
๔. อรูปาวจรสมาธิอย่างต่ำ
๕. อรูปาวจรสมาธิอย่างปานกลาง
๖. อรูปาวจรสมาธิอย่างประณีต
๗. สุญญตสมาธิ (สมาธิพิจารณาเห็นความว่าง)
๘. อนิมิตตสมาธิ (สมาธิพิจารณาเห็นธรรมไม่มีนิมิต)
๙. อัปปณิหิตสมาธิ (สมาธิพิจารณาเห็นธรรมไม่มีความตั้งปรารถนา)
สมาธิ ๑๐ อย่าง ได้แก่
๑. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งอุทธุมาตก-
สัญญา (ความหมายรู้ซากศพที่พองขึ้น)
๒. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งวินีลกสัญญา
(ความหมายรู้ซากศพที่มีสีเขียว)
๓. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งวิปุพพกสัญญา
(ความหมายรู้ซากศพที่มีน้ำเหลืองไหลเยิ้ม)
๔. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งวิจฉิททก-
สัญญา (ความหมายรู้ซากศพที่ขาดจากกัน)
๕. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งวิกขายิตก-
สัญญา (ความหมายรู้ซากศพที่ถูกสัตว์กัด)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๓. สมาธิภาวนามยญาณนิทเทส
๖. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งวิกขิตตสัญญา
(ความหมายรู้ซากศพที่กระจัดกระจาย)
๗. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งหตวิกขิตตก-
สัญญา (ความหมายรู้ซากศพที่ถูกสับเป็นท่อน)
๘. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งโลหิตกสัญญา
(ความหมายรู้ซากศพที่มีโลหิต)
๙. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งปุฬุวกสัญญา
(ความหมายรู้ซากศพที่มีหนอน)
๑๐. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งอัฏฐิกสัญญา
(ความหมายรู้ซากศพที่มีแต่กระดูก)
สมาธิเหล่านี้รวมเป็น ๕๕ อย่าง
[๔๔] อีกอย่างหนึ่ง สมาธิมีความหมาย ๒๕ อย่าง คือ
๑. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าสัทธินทรีย์เป็นต้นกำหนดถือเอา
๒. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์เป็นบริวารแห่งกันและกัน
๓. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าสัทธินทรีย์เป็นต้นบริบูรณ์
๔. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่ามีอารมณ์เดียว
๕. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าไม่ฟุ้งซ่าน
๖. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าไม่ซ่านไป
๗. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าไม่ขุ่นมัว
๘. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าไม่หวั่นไหว
๙. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าหลุดพ้นจากกิเลส
สรุปว่า ชื่อว่าสมาธิ เพราะจิตตั้งมั่นด้วยอำนาจปรากฏชัดในเอกัคคตารมณ์
๑๐. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าแสวงหาความสงบ
๑๑. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าไม่แสวงหาธรรมที่เป็นข้าศึกแก่
ความสงบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๓. สมาธิภาวนามยญาณนิทเทส
๑๒. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าแสวงหาความสงบแล้ว
๑๓. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าไม่แสวงหาธรรมที่เป็นข้าศึกแก่
ความสงบแล้ว
๑๔. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่ายึดมั่นความสงบ
๑๕. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าไม่ยึดมั่นธรรมที่เป็นข้าศึกแก่
ความสงบแล้ว
๑๖. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่ายึดมั่นความสงบแล้ว
๑๗. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าไม่ยึดมั่นธรรมที่เป็นข้าศึกแก่
ความสงบแล้ว
๑๘. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติความสงบ
๑๙. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าไม่ปฏิบัติความไม่สงบ
๒๐. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติความสงบแล้ว
๒๑. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าไม่ปฏิบัติความไม่สงบแล้ว
๒๒. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าเพ่งความสงบ
๒๓. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าเผาธรรมที่เป็นข้าศึกแก่
ความสงบ
๒๔. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าเพ่งความสงบแล้ว
๒๕. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าเผาธรรมที่เป็นข้าศึกแก่ความ
สงบแล้ว
สรุปว่า ชื่อว่าสมาธิ เพราะสงบเกื้อกูลและเป็นสุข เหล่านี้เป็นความหมายแห่ง
สมาธิ ๒๕ ประการ
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่าปัญญาในการสำรวมตั้งจิตมั่น ชื่อว่าสมาธิภาวนามยญาณ
สมาธิภาวนามยญาณนิทเทสที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๔. ธัมมัฏฐิติญาณนิทเทส
๔. ธัมมัฏฐิติญาณนิทเทส
แสดงธัมมัฏฐิติญาณ
[๔๕] ปัญญาในการกำหนดปัจจัย ชื่อว่าธัมมัฏฐิติญาณ เป็นอย่างไร
คือ ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า “อวิชชาเป็นที่ตั้ง๑แห่งความเกิดขึ้น เป็นที่
ตั้งแห่งความเป็นไป เป็นที่ตั้งแห่งนิมิต เป็นที่ตั้งแห่งกรรมเป็นเครื่องประมวลมา
เป็นที่ตั้งแห่งความประกอบไว้ เป็นที่ตั้งแห่งความพัวพัน เป็นที่ตั้งแห่งสมุทัย เป็นที่
ตั้งแห่งเหตุ และเป็นที่ตั้งแห่งปัจจัยของสังขารทั้งหลาย ด้วยอาการ ๙ อย่างนี้
อวิชชาจึงเป็นปัจจัย สังขารเกิดขึ้นเพราะปัจจัย แม้ธรรมทั้งสองอย่างนี้ต่างก็เกิดขึ้น
เพราะปัจจัย” ชื่อว่าธัมมัฏฐิติญาณ
ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า “ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี บรรดา
อวิชชาและสังขาร อวิชชาเป็นที่ตั้งแห่งความเกิดขึ้น เป็นที่ตั้งแห่งความเป็นไป เป็นที่
ตั้งแห่งนิมิต เป็นที่ตั้งแห่งกรรมเป็นเครื่องประมวลมา เป็นที่ตั้งแห่งความประกอบไว้
เป็นที่ตั้งแห่งความพัวพัน เป็นที่ตั้งแห่งสมุทัย เป็นที่ตั้งแห่งเหตุ และเป็นที่ตั้งแห่ง
ปัจจัยของสังขารทั้งหลาย ด้วยอาการ ๙ อย่างนี้ อวิชชาจึงเป็นปัจจัย สังขาร
เกิดขึ้นเพราะปัจจัย แม้ธรรมทั้งสองอย่างนี้ต่างก็เกิดขึ้นเพราะปัจจัย” ชื่อว่า
ธัมมัฏฐิติญาณ
ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า “สังขารเป็นที่ตั้งแห่งความเกิดขึ้น ฯลฯ และ
เป็นที่ตั้งแห่งปัจจัยของวิญญาณ ฯลฯ วิญญาณเป็นที่ตั้งแห่งความเกิดขึ้น ฯลฯ และ
เป็นที่ตั้งแห่งปัจจัยของนามรูป ฯลฯ นามรูปเป็นที่ตั้งแห่งความเกิดขึ้น ฯลฯ และ
เป็นที่ตั้งแห่งปัจจัยของสฬายตนะ ฯลฯ สฬายตนะเป็นที่ตั้งแห่งความเกิดขึ้น ฯลฯ
และเป็นที่ตั้งแห่งปัจจัยของผัสสะ ฯลฯ ผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งความเกิดขึ้น ฯลฯ และ
เป็นที่ตั้งแห่งปัจจัยของเวทนา ฯลฯ เวทนาเป็นที่ตั้งแห่งความเกิดขึ้น ฯลฯ และเป็น
ที่ตั้งแห่งปัจจัยของตัณหา ฯลฯ ตัณหาเป็นที่ตั้งแห่งความเกิดขึ้น ฯลฯ และเป็นที่ตั้ง
แห่งปัจจัยของอุปาทาน ฯลฯ อุปาทานเป็นที่ตั้งแห่งความเกิดขึ้น ฯลฯ และเป็นที่ตั้ง

เชิงอรรถ :
๑ เป็นที่ตั้ง ในที่นี้หมายถึงเป็นเหตุ (ขุ.ป.อ. ๑/๔๕/๒๕๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๔. ธัมมัฏฐิติญาณนิทเทส
แห่งปัจจัยของภพ ฯลฯ ภพเป็นที่ตั้งแห่งความเกิดขึ้น ฯลฯ และเป็นที่ตั้งแห่งปัจจัย
ของชาติ ฯลฯ ชาติเป็นที่ตั้งแห่งความเกิดขึ้น ฯลฯ และเป็นที่ตั้งแห่งปัจจัยของชรา
และมรณะ ด้วยอาการ ๙ อย่างนี้ ชาติจึงเป็นปัจจัย ชราและมรณะเกิดขึ้นเพราะ
ปัจจัย แม้ธรรมทั้งสองอย่างนี้ต่างก็เกิดขึ้นเพราะปัจจัย” ชื่อว่าธัมมัฏฐิติญาณ
ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า “ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี ชาติเป็นที่
ตั้งแห่งความเกิดขึ้น เป็นที่ตั้งแห่งความเป็นไป เป็นที่ตั้งแห่งนิมิต เป็นที่ตั้งแห่งกรรม
เป็นเครื่องประมวลมา เป็นที่ตั้งแห่งความประกอบไว้ เป็นที่ตั้งแห่งความพัวพัน
เป็นที่ตั้งแห่งสมุทัย เป็นที่ตั้งแห่งเหตุ และเป็นที่ตั้งแห่งปัจจัยของชราและมรณะ
ด้วยอาการ ๙ อย่างนี้ ชาติจึงเป็นปัจจัย ชราและมรณะเกิดขึ้นเพราะปัจจัย แม้ธรรม
ทั้งสองอย่างนี้ต่างก็เกิดขึ้นเพราะปัจจัย” ชื่อว่าธัมมัฏฐิติญาณ
[๔๖] ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า “อวิชชาเป็นเหตุ สังขารเกิดขึ้นเพราะเหตุ
แม้ธรรมทั้งสองอย่างนี้ต่างก็เกิดขึ้นเพราะเหตุ” ชื่อว่าธัมมัฏฐิติญาณ
ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า “ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี อวิชชา
เป็นเหตุ สังขารอาศัยเหตุเกิดขึ้น แม้ธรรมทั้งสองอย่างนี้ต่างก็เกิดขึ้นเพราะเหตุ”
ชื่อว่าธัมมัฏฐิติญาณ
ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า “สังขารเป็นเหตุ วิญญาณเกิดขึ้นเพราะเหตุ ฯลฯ
วิญญาณเป็นเหตุ นามรูปเกิดขึ้นเพราะเหตุ ฯลฯ นามรูปเป็นเหตุ สฬายตนะเกิดขึ้น
เพราะเหตุ ฯลฯ สฬายตนะเป็นเหตุ ผัสสะเกิดขึ้นเพราะเหตุ ฯลฯ ผัสสะเป็นเหตุ
เวทนาเกิดขึ้นเพราะเหตุ ฯลฯ เวทนาเป็นเหตุ ตัณหาเกิดขึ้นเพราะเหตุ ฯลฯ ตัณหา
เป็นเหตุ อุปาทานเกิดขึ้นเพราะเหตุ อุปาทานเป็นเหตุ ภพเกิดขึ้นเพราะเหตุ ฯลฯ
ภพเป็นเหตุ ชาติเกิดขึ้นเพราะเหตุ ฯลฯ ชาติเป็นเหตุ ชราและมรณะเกิดขึ้นเพราะเหตุ
แม้ธรรมทั้งสองอย่างนี้ต่างก็เกิดขึ้นเพราะเหตุ” ชื่อว่าธัมมัฏฐิติญาณ
ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า “ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี ชาติเป็น
เหตุ ชราและมรณะเกิดขึ้นเพราะเหตุ แม้ธรรมทั้งสองอย่างนี้ต่างก็เกิดขึ้นเพราะเหตุ”
ชื่อว่าธัมมัฏฐิติญาณ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๔. ธัมมัฏฐิติญาณนิทเทส
ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า “อวิชชาอาศัยปัจจัยเป็นไป สังขารอาศัยอวิชชา
เกิดขึ้น แม้ธรรมทั้งสองอย่างนี้ต่างก็อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น” ชื่อว่าธัมมัฏฐิติญาณ
ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า “ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี อวิชชา
อาศัยปัจจัยเป็นไป สังขารอาศัยอวิชชาเกิดขึ้น แม้ธรรมทั้งสองอย่างนี้ต่างก็อาศัย
ปัจจัยเกิดขึ้น” ชื่อว่าธัมมัฏฐิติญาณ
ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า “สังขารอาศัยปัจจัยเป็นไป วิญญาณอาศัย
สังขารเกิดขึ้น ฯลฯ วิญญาณอาศัยปัจจัยเป็นไป นามรูปอาศัยวิญญาณเกิดขึ้น ฯลฯ
นามรูปอาศัยปัจจัยเป็นไป สฬายตนะอาศัยนามรูปเกิดขึ้น ฯลฯ สฬายตนะอาศัย
ปัจจัยเป็นไป ผัสสะอาศัยสฬายตนะเกิดขึ้น ฯลฯ ผัสสะอาศัยปัจจัยเป็นไป เวทนา
อาศัยผัสสะเกิดขึ้น ฯลฯ เวทนาอาศัยปัจจัยเป็นไป ตัณหาอาศัยเวทนาเกิดขึ้น ฯลฯ
ตัณหาอาศัยปัจจัยเป็นไป อุปาทานอาศัยตัณหาเกิดขึ้น ฯลฯ อุปาทานอาศัยปัจจัย
เป็นไป ภพอาศัยอุปาทานเกิดขึ้น ฯลฯ ภพอาศัยปัจจัยเป็นไป ชาติอาศัยภพเกิดขึ้น
ฯลฯ ชาติอาศัยปัจจัยเป็นไป ชราและมรณะอาศัยชาติเกิดขึ้น แม้ธรรมทั้งสองอย่าง
นี้ต่างก็อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น” ชื่อว่าธัมมัฏฐิติญาณ
ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า “ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี ชาติอาศัย
ปัจจัยเป็นไป ชราและมรณะอาศัยชาติเกิดขึ้น แม้ธรรมทั้งสองอย่างนี้ต่างก็อาศัย
ปัจจัยเกิดขึ้น” ชื่อว่าธัมมัฏฐิติญาณ
ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า “อวิชชาเป็นปัจจัย สังขารเกิดขึ้นเพราะปัจจัย
แม้ธรรมทั้งสองอย่างนี้ต่างก็เกิดขึ้นเพราะปัจจัย” ชื่อว่าธัมมัฏฐิติญาณ
ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า “ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี อวิชชาเป็น
ปัจจัย สังขารเกิดขึ้นเพราะปัจจัย แม้ธรรมทั้งสองอย่างนี้ต่างก็เกิดขึ้นเพราะปัจจัย”
ชื่อว่าธัมมัฏฐิติญาณ
ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า “สังขารเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดขึ้นเพราะ
ปัจจัย ฯลฯ วิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปเกิดขึ้นเพราะปัจจัย ฯลฯ นามรูปเป็นปัจจัย
สฬายตนะเกิดขึ้นเพราะปัจจัย ฯลฯ สฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดขึ้นเพราะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๔. ธัมมัฏฐิติญาณนิทเทส
ปัจจัย ฯลฯ ผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาเกิดขึ้นเพราะปัจจัย ฯลฯ เวทนาเป็นปัจจัย
ตัณหาเกิดขึ้นเพราะปัจจัย ฯลฯ ตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานเกิดขึ้นเพราะปัจจัย ฯลฯ
อุปาทานเป็นปัจจัย ภพเกิดขึ้นเพราะปัจจัย ฯลฯ ภพเป็นปัจจัย ชาติเกิดขึ้นเพราะ
ปัจจัย ฯลฯ ชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะเกิดขึ้นเพราะปัจจัย แม้ธรรมทั้งสองอย่าง
นี้ต่างก็เกิดขึ้นเพราะปัจจัย” ชื่อว่าธัมมัฏฐิติญาณ
ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า “ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี ชาติเป็น
ปัจจัย ชราและมรณะเกิดขึ้นเพราะปัจจัย แม้ธรรมทั้งสองอย่างนี้ต่างก็เกิดขึ้นเพราะ
ปัจจัย” ชื่อว่าธัมมัฏฐิติญาณ
[๔๗] ในกัมมภพก่อน ความหลงเป็นอวิชชา กรรมเป็นเครื่องประมวล
มาเป็นสังขาร ความติดใจเป็นตัณหา ความยึดมั่นเป็นอุปาทาน เจตนาเป็นภพ
ธรรม ๕ ประการนี้ในกัมมภพก่อน ย่อมเป็นไปเพราะปัจจัยแห่งปฏิสนธิในภพ
ปัจจุบันนี้
ในภพปัจจุบันนี้ ปฏิสนธิเป็นวิญญาณ ความก้าวลงเป็นนามรูป ปสาทะ๑เป็น
อายตนะ ส่วนที่ถูกต้องเป็นผัสสะ การเสวยอารมณ์เป็นเวทนา ธรรม ๕ ประการนี้
ในภพปัจจุบัน ย่อมเป็นไปเพราะปัจจัยแห่งกรรมที่ทำไว้ในภพก่อน
เพราะอายตนะทั้งหลายในภพนี้สุกรอบ ความหลงเป็นอวิชชา กรรมเป็น
เครื่องประมวลมาเป็นสังขาร ความติดใจเป็นตัณหา ความยึดมั่นเป็นอุปาทาน
เจตนาเป็นภพ ธรรม ๕ ประการนี้ในกัมมภพนี้ ย่อมเป็นไปเพราะปัจจัยแห่ง
ปฏิสนธิในอนาคตกาล
ปฏิสนธิในอนาคตกาลเป็นวิญญาณ ความก้าวลงเป็นนามรูป ปสาทะ
เป็นอายตนะ ส่วนที่ถูกต้องเป็นผัสสะ การเสวยอารมณ์เป็นเวทนา ธรรม ๕ ประการ
นี้ในภพปัจจุบัน ในอนาคตกาล ย่อมเป็นไปเพราะปัจจัยแห่งกรรมที่ทำไว้
ในภพนี้

เชิงอรรถ :
๑ ปสาทะ ในที่นี้หมายถึงความผ่องใส (ขุ.ป.อ. ๑/๔๗/๒๖๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๕. สัมมสนญาณนิทเทส
พระโยคาวจรย่อมรู้ ย่อมเห็น ย่อมทราบชัด ย่อมรู้แจ้งสังเขป ๔๑ กาล ๓๒
ปฏิจจสมุปบาทอันมีสนธิ ๓๓ ด้วยอาการ ๒๐๔ นี้ ด้วยประการดังนี้
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดปัจจัย ชื่อว่าธัมมัฏฐิติญาณ
ธัมมัฏฐิติญาณนิทเทสที่ ๔ จบ

๕. สัมมสนญาณนิทเทส
แสดงสัมมสนญาณ
[๔๘] ปัญญาในการย่อธรรมทั้งหลาย ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน
แล้วกำหนดไว้ ชื่อว่าสัมมสนญาณ เป็นอย่างไร
คือ พระโยคาวจรกำหนดรูปทุกอย่างทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็น
ภายในก็ตาม เป็นภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม เลวก็ตาม ประณีต
ก็ตาม มีในที่ไกลก็ตาม มีในที่ใกล้ก็ตาม โดยความไม่เที่ยง การกำหนดนี้ ชื่อว่า

เชิงอรรถ :
๑ สังเขป ๔ หมายถึงธรรม ๔ กลุ่ม ได้แก่ (๑) อดีตเหตุ คือ อวิชชาและสังขาร เรียกว่า เหตุสังเขป (๒) ปัจจุบัน-
ผล คือ วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ และเวทนา เรียกว่า ผลสังเขป (๓) ปัจจุบันเหตุ คือ ตัณหา
อุปาทานและภพ เรียกว่า เหตุสังเขป (๔) อนาคตผล คือชาติ ชรา มรณะและโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
อุปายาส เรียกว่า ผลสังเขป (ขุ.ป.อ. ๑/๔๗/๒๖๑)
๒ กาล ๓ หมายถึงธรรมที่เป็นไปในกาล ๓ กาล ได้แก่ (๑) อดีตกาล คือ อวิชชาและสังขาร (๒) ปัจจุบันกาล
คือ วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน และภพ (๓) อนาคตกาล คือ ชาติ ชรา
มรณะ และโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส (ขุ.ป.อ. ๑/๔๗/๒๖๑)
๓ สนธิ ๓ หมายถึงขั้วต่อระหว่างสังเขป ๔ มี ๓ ขั้วต่อ ได้แก่ (๑) ขั้วต่อระหว่างอดีตเหตุกับปัจจุบันผล เรียกว่า
เหตุผลสนธิ (๒) ขั้วต่อระหว่างปัจจุบันผลกับปัจจุบันเหตุ เรียกว่าผลเหตุสนธิ (๓) ขั้วต่อระหว่างปัจจุบัน-
เหตุกับอนาคตผล เรียกว่า เหตุผลสนธิ (ขุ.ป.อ. ๑/๔๗/๒๖๑)
๔ อาการ ๒๐ หมายถึงองค์ประกอบแต่ละอย่างดุจกำของล้อที่ต้องกระจายให้เต็มตามช่องแห่งสังเขป ๔
อาการ ๒๐ ประการนี้ จำแนกตามส่วนที่เป็นเหตุและส่วนที่เป็นผลได้ดังนี้ คือ อดีตเหตุ ๕ ได้แก่ อวิชชา
สังขาร ตัณหา อุปาทาน และภพ ปัจจุบันผล ๕ ได้แก่ วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ และเวทนา
ปัจจุบันเหตุ ๕ ได้แก่ อวิชชา สังขาร ตัณหา อุปาทานและภพ อนาคตผล ๕ ได้แก่ วิญญาณ นามรูป
สฬายตนะ ผัสสะ และเวทนา (ขุ.ป.อ. ๑/๔๗/๒๖๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๗๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๕. สัมมสนญาณนิทเทส
สัมมสนญาณอย่างหนึ่ง กำหนดโดยความเป็นทุกข์ การกำหนดนี้ ชื่อว่าสัมมสน-
ญาณอย่างหนึ่ง กำหนดโดยความเป็นอนัตตา การกำหนดนี้ ชื่อว่าสัมมสนญาณ
อย่างหนึ่ง
พระโยคาวจรกำหนดเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ
พระโยคาวจรกำหนดวิญญาณทุกอย่างทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็น
ภายในก็ตาม เป็นภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม เลวก็ตาม ประณีตก็ตาม
มีในที่ไกลก็ตาม มีในที่ใกล้ก็ตาม โดยความไม่เที่ยง การกำหนดนี้ ชื่อว่าสัมมสน-
ญาณอย่างหนึ่ง กำหนดโดยความเป็นทุกข์ การกำหนดนี้ ชื่อว่าสัมมสนญาณอย่าง
หนึ่ง กำหนดโดยความเป็นอนัตตา การกำหนดนี้ ชื่อว่าสัมมสนญาณอย่างหนึ่ง
พระโยคาวจรกำหนดจักขุทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน โดยความไม่เที่ยง
การกำหนดนี้ ชื่อว่าสัมมสนญาณอย่างหนึ่ง ฯลฯ๑
พระโยคาวจรกำหนดชราและมรณะทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน โดย
ความไม่เที่ยง การกำหนดนี้ ชื่อว่าสัมมสนญาณอย่างหนึ่ง กำหนดโดย
ความเป็นทุกข์ การกำหนดนี้ ชื่อว่าสัมมสนญาณอย่างหนึ่ง กำหนดโดยความเป็น
อนัตตา การกำหนดนี้ ชื่อว่าสัมมสนญาณอย่างหนึ่ง
ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า “รูปทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน
ชื่อว่าไม่เที่ยง เพราะมีสภาวะสิ้นไป ชื่อว่าเป็นทุกข์ เพราะมีสภาวะเป็นภัย ชื่อว่า
เป็นอนัตตา เพราะมีสภาวะไม่มีแก่นสาร” ชื่อว่าสัมมสนญาณ
ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า “เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ
วิญญาณ ฯลฯ
ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า “จักขุ ฯลฯ ชราและมรณะทั้งที่เป็นอดีต
อนาคต และปัจจุบัน ชื่อว่าไม่เที่ยง เพราะมีสภาวะสิ้นไป ชื่อว่าเป็นทุกข์ เพราะมี
สภาวะเป็นภัย ชื่อว่าเป็นอนัตตา เพราะมีสภาวะไม่มีแก่นสาร” ชื่อว่าสัมมสนญาณ
ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดรูปทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันว่า “ไม่เที่ยง
อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา เสื่อมไปเป็นธรรมดา
คลายไปเป็นธรรมดา ดับไปเป็นธรรมดา” ชื่อว่าสัมมสนญาณ

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มองค์ธรรม ในข้อ ๓-๖ หน้า ๙-๑๓ แห่งสุตมยญาณนิทเทส ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๕. สัมมสนญาณนิทเทส
ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ
ฯลฯ
ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดจักขุ ฯลฯ ชราและมรณะ ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต
และปัจจุบันว่า “ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา
เสื่อมไปเป็นธรรมดา คลายไปเป็นธรรมดา ดับไปเป็นธรรมดา” ชื่อว่าสัมมสนญาณ
ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า “เพราะชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะจึงมี
เมื่อชาติไม่มี ชราและมรณะก็ไม่มี” ชื่อว่าสัมมสนญาณ
ปัญญาในการย่อแล้วกำหนด ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดีว่า “เพราะ
ชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะจึงมี เมื่อชาติไม่มี ชราและมรณะก็ไม่มี” ชื่อว่า
สัมมสนญาณ
ปัญญาในการย่อแล้วกำหนดว่า “เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เมื่อภพไม่มี
ชาติก็ไม่มี ฯลฯ เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เมื่ออุปาทานไม่มี ภพก็ไม่มี
ฯลฯ เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี เมื่อตัณหาไม่มี อุปาทานก็ไม่มี ฯลฯ
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี เมื่อเวทนาไม่มี ตัณหาก็ไม่มี ฯลฯ เพราะผัสสะ
เป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เมื่อผัสสะไม่มี เวทนาก็ไม่มี ฯลฯ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย
ผัสสะจึงมี เมื่อสฬายตนะไม่มี ผัสสะก็ไม่มี ฯลฯ เพราะนามรูปเป็นปัจจัย
สฬายตนะจึงมี เมื่อนามรูปไม่มี สฬายตนะก็ไม่มี ฯลฯ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย
นามรูปจึงมี เมื่อวิญญาณไม่มี นามรูปก็ไม่มี ฯลฯ เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณ
จึงมี เมื่อสังขารไม่มี วิญญาณก็ไม่มี ฯลฯ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารก็ไม่มี” ชื่อว่าสัมมสนญาณ
ปัญญาในการย่อแล้วกำหนด ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดีว่า “เพราะ
อวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารก็ไม่มี” ชื่อว่าสัมมสนญาณ
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการย่อธรรมทั้งหลายทั้งที่เป็นอดีต อนาคต
และปัจจุบันแล้วกำหนดไว้ ชื่อว่าสัมมสนญาณ
สัมมสนญาณนิทเทสที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๖. อุทยัพพยญาณนิทเทส
๖. อุทยัพพยญาณนิทเทส
แสดงอุทยัพพยญาณ
[๔๙] ปัญญาในการพิจารณาเห็นความแปรผันแห่งธรรมทั้งหลายที่เป็น
ปัจจุบัน ชื่อว่าอุทยัพพยานุปัสสนาญาณ เป็นอย่างไร
คือ รูปที่เกิดแล้วเป็นปัจจุบัน ลักษณะความบังเกิดแห่งรูปนั้น ชื่อว่าความเกิด
ขึ้น ลักษณะความแปรผันไป (แห่งรูปนั้น) ชื่อว่าความเสื่อม ปัญญาที่พิจารณาเห็นดังนี้
ชื่อว่าอนุปัสสนาญาณ
เวทนาที่เกิดแล้ว ฯลฯ สัญญาที่เกิดแล้ว ฯลฯ สังขารที่เกิดแล้ว ฯลฯ วิญญาณ
ที่เกิดแล้ว ฯลฯ
จักขุที่เกิดแล้ว ฯลฯ ภพที่เกิดแล้ว เป็นปัจจุบัน ลักษณะความบังเกิดแห่ง
ภพนั้น ชื่อว่าความเกิดขึ้น ลักษณะความแปรผันไป (แห่งภพนั้น) ชื่อว่าความเสื่อม
ปัญญาที่พิจารณาเห็นดังนี้ ชื่อว่าอนุปัสสนาญาณ
[๕๐] พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเกิดขึ้นแห่งเบญจขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะเท่าไร
เมื่อเห็นความเสื่อม (แห่งเบญจขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะเท่าไร เมื่อเห็นความเกิดขึ้น
และความเสื่อม (แห่งเบญจขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะเท่าไร
พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเกิดขึ้นแห่งเบญจขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะ ๒๕
ประการ เมื่อเห็นความเสื่อม (แห่งเบญจขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะ ๒๕ ประการ เมื่อ
เห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อม (แห่งเบญจขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะ ๕๐ ประการ
พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเกิดขึ้นแห่งรูปขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะเท่าไร เมื่อ
เห็นความเสื่อม (แห่งรูปขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะเท่าไร เมื่อเห็นความเกิดขึ้นและ
ความเสื่อม (แห่งรูปขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะเท่าไร
พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเกิดขึ้นแห่งเวทนาขันธ์ ฯลฯ แห่งสัญญาขันธ์ ฯลฯ
แห่งสังขารขันธ์ ฯลฯ แห่งวิญญาณขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะเท่าไร เมื่อเห็นความเสื่อม
(แห่งเวทนาขันธ์ ฯลฯ แห่งสัญญาขันธ์ ฯลฯ แห่งสังขารขันธ์ ฯลฯ แห่งวิญญาณขันธ์)
ย่อมเห็นลักษณะเท่าไร เมื่อเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อม (แห่งวิญญาณขันธ์)
ย่อมเห็นลักษณะเท่าไร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๖. อุทยัพพยญาณนิทเทส
พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเกิดขึ้นแห่งรูปขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะ ๕ ประการ
เมื่อเห็นความเสื่อม (แห่งรูปขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะ ๕ ประการ เมื่อเห็นความ
เกิดขึ้นและความเสื่อม (แห่งรูปขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะ ๑๐ ประการ เมื่อเห็น
ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาขันธ์ ฯลฯ แห่งสัญญาขันธ์ ฯลฯ แห่งสังขารขันธ์ ฯลฯ แห่ง
วิญญาณขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะ ๕ ประการ เมื่อเห็นความเสื่อม (แห่งวิญญาณขันธ์)
ย่อมเห็นลักษณะ ๕ ประการ เมื่อเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อม (แห่งวิญญาณขันธ์)
ย่อมเห็นลักษณะ ๑๐ ประการ
พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเกิดขึ้นแห่งรูปขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะ ๕ ประการ
อะไรบ้าง คือ
๑. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเกิดขึ้นแห่งรูปขันธ์ โดยความเกิดขึ้น
แห่งปัจจัยว่า “เพราะอวิชชาเกิด รูปจึงเกิด”
๒. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเกิดขึ้นแห่งรูปขันธ์ โดยความเกิดขึ้น
แห่งปัจจัยว่า “เพราะตัณหาเกิด รูปจึงเกิด”
๓. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเกิดขึ้นแห่งรูปขันธ์ โดยความเกิดขึ้น
แห่งปัจจัยว่า “เพราะกรรมเกิด รูปจึงเกิด”
๔. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเกิดขึ้นแห่งรูปขันธ์ โดยความเกิดขึ้น
แห่งปัจจัยว่า “เพราะอาหารเกิด รูปจึงเกิด”
๕. พระโยคาวจรแม้เมื่อเห็นลักษณะแห่งความบังเกิด ก็ย่อมเห็น
ความเกิดขึ้นแห่งรูปขันธ์
พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเกิดขึ้นแห่งรูปขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะ ๕ ประการนี้
พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเสื่อม(แห่งรูปขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะ ๕
ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเสื่อมแห่งรูปขันธ์ โดยความดับแห่ง
ปัจจัยว่า “เพราะอวิชชาดับ รูปจึงดับ”
๒. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเสื่อมแห่งรูปขันธ์ โดยความดับแห่ง
ปัจจัยว่า “เพราะตัณหาดับ รูปจึงดับ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๖. อุทยัพพยญาณนิทเทส
๓. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเสื่อมแห่งรูปขันธ์ โดยความดับแห่ง
ปัจจัยว่า “เพราะกรรมดับ รูปจึงดับ”
๔. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเสื่อมแห่งรูปขันธ์ โดยความดับแห่ง
ปัจจัยว่า “เพราะอาหารดับ รูปจึงดับ”
๕. พระโยคาวจรแม้เมื่อเห็นลักษณะแห่งความแปรผัน ก็ย่อมเห็น
ความเสื่อมแห่งรูปขันธ์
พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเสื่อมแห่งรูปขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะ ๕ ประการนี้
เมื่อเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อม (แห่งรูปขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะ ๑๐ ประการนี้
พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเกิดขึ้นแห่งเวทนาขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะ
๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเกิดขึ้นแห่งเวทนาขันธ์ โดยความเกิดขึ้น
แห่งปัจจัยว่า “เพราะอวิชชาเกิด เวทนาจึงเกิด”
๒. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเกิดขึ้นแห่งเวทนาขันธ์ โดยความเกิดขึ้น
แห่งปัจจัยว่า “เพราะตัณหาเกิด เวทนาจึงเกิด”
๓. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเกิดขึ้นแห่งเวทนาขันธ์ โดยความเกิดขึ้น
แห่งปัจจัยว่า “เพราะกรรมเกิด เวทนาจึงเกิด”
๔. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเกิดขึ้นแห่งเวทนาขันธ์ โดยความเกิดขึ้น
แห่งปัจจัยว่า “เพราะผัสสะเกิด เวทนาจึงเกิด”
๕. พระโยคาวจรแม้เมื่อเห็นลักษณะแห่งความบังเกิด ก็ย่อมเห็นความ
เกิดขึ้นแห่งเวทนาขันธ์
พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเกิดขึ้นแห่งเวทนาขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะ ๕ ประการนี้
พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเสื่อม (แห่งเวทนาขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะ
๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเสื่อมแห่งเวทนาขันธ์ โดยความดับแห่ง
ปัจจัยว่า “เพราะอวิชชาดับ เวทนาจึงดับ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๖. อุทยัพพยญาณนิทเทส
๒. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเสื่อมแห่งเวทนาขันธ์ โดยความดับ
แห่งปัจจัยว่า “เพราะตัณหาดับ เวทนาจึงดับ”
๓. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเสื่อมแห่งเวทนาขันธ์ โดยความดับแห่ง
ปัจจัยว่า “เพราะกรรมดับ เวทนาจึงดับ”
๔. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเสื่อมแห่งเวทนาขันธ์ โดยความดับแห่ง
ปัจจัยว่า “เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ”
๕. พระโยคาวจรแม้เมื่อเห็นลักษณะแห่งความแปรผัน ก็ย่อมเห็น
ความเสื่อมแห่งเวทนาขันธ์
พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเสื่อมแห่งเวทนาขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะ ๕ ประการนี้
เมื่อเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อม (แห่งเวทนาขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะ ๑๐ ประการนี้
พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเกิดขึ้นแห่งสัญญาขันธ์ ฯลฯ แห่งสังขารขันธ์ ฯลฯ
พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะ ๕
ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณขันธ์ โดยความเกิด
ขึ้นแห่งปัจจัยว่า “เพราะอวิชชาเกิด วิญญาณจึงเกิด”
๒. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณขันธ์ โดยความเกิด
ขึ้นแห่งปัจจัยว่า “เพราะตัณหาเกิด วิญญาณจึงเกิด”
๓. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณขันธ์ โดยความเกิด
ขึ้นแห่งปัจจัยว่า “เพราะกรรมเกิด วิญญาณจึงเกิด”
๔. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณขันธ์ โดยความเกิด
ขึ้นแห่งปัจจัย ว่า “เพราะนามรูปเกิด วิญญาณจึงเกิด”
๕. พระโยคาวจรแม้เมื่อเห็นลักษณะแห่งความบังเกิด ก็ย่อมเห็นความ
เกิดขึ้นแห่งวิญญาณขันธ์
พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะ ๕ ประการนี้
พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเสื่อม (แห่งสัญญาขันธ์ ฯลฯ แห่งสังขารขันธ์ ฯลฯ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๖. อุทยัพพยญาณนิทเทส
พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเสื่อม (แห่งวิญญาณขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะ
๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเสื่อมแห่งวิญญาณขันธ์ โดยความดับ
แห่งปัจจัยว่า “เพราะอวิชชาดับ วิญญาณจึงดับ”
๒. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเสื่อมแห่งวิญญาณขันธ์ โดยความดับ
แห่งปัจจัยว่า “เพราะตัณหาดับ วิญญาณจึงดับ”
๓. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเสื่อมแห่งวิญญาณขันธ์ โดยความดับ
แห่งปัจจัยว่า “เพราะกรรมดับ วิญญาณจึงดับ”
๔. พระโยคาวจรย่อมเห็นความเสื่อมแห่งวิญญาณขันธ์ โดยความดับ
แห่งปัจจัยว่า “เพราะนามรูปดับ วิญญาณจึงดับ”
๕. พระโยคาวจรแม้เมื่อเห็นลักษณะแห่งความแปรผัน ก็ย่อมเห็นความ
เสื่อมแห่งวิญญาณขันธ์
พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเสื่อมแห่งวิญญาณขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะ ๕ ประการนี้
เมื่อเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อม (แห่งวิญญาณขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะ ๑๐ ประการนี้
พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเกิดขึ้นแห่งเบญจขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะ ๒๕ ประการนี้
เมื่อเห็นความเสื่อม (แห่งเบญจขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะ ๒๕ ประการนี้ เมื่อเห็น
ความเกิดขึ้นและความเสื่อม (แห่งเบญจขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะ ๕๐ ประการนี้
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณาเห็นความแปรผันแห่งธรรมทั้งหลาย
ที่เป็นปัจจุบัน ชื่อว่าอุทยัพพยานุปัสสนาญาณ
รูปขันธ์มีอาหารเป็นเหตุเกิด ขันธ์ที่เหลือคือเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขาร-
ขันธ์มีผัสสะเป็นเหตุเกิด วิญญาณขันธ์มีนามรูปเป็นเหตุเกิด

อุทยัพพยญาณนิทเทสที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๗. ภังคานุปัสสนาญาณนิทเทส
๗. ภังคานุปัสสนาญาณนิทเทส
แสดงภังคานุปัสสนาญาณ
[๕๑] ปัญญาในการพิจารณาอารมณ์แล้วพิจารณาเห็นความดับ ชื่อว่า
วิปัสสนาญาณ เป็นอย่างไร
คือ จิตมีรูปเป็นอารมณ์เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป พระโยคาวจรพิจารณาอารมณ์
นั้นแล้ว พิจารณาเห็นความดับไปแห่งจิตนั้น
พิจารณาเห็นอย่างไร ชื่อว่าพิจารณาเห็น
คือ พิจารณาเห็นโดยความไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเที่ยง พิจารณา
เห็นโดยความเป็นทุกข์ ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นสุข พิจารณาเห็นโดยความ
เป็นอนัตตา ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลาย
กำหนัด ไม่กำหนัด ย่อมทำราคะให้ดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ยึดถือ
[๕๒] เมื่อพิจารณาเห็นโดยความไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณา
เห็นโดยความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา
ย่อมละอัตตสัญญาได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละนันทิ (ความยินดี) ได้ เมื่อคลายกำหนัด
ย่อมละราคะได้ เมื่อทำราคะให้ดับ ย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืน ย่อมละอาทานะ
(ความยึดถือ) ได้
จิตมีเวทนาเป็นอารมณ์ ฯลฯ จิตมีสัญญาเป็นอารมณ์ ฯลฯ จิตมีสังขารเป็นอารมณ์
ฯลฯ จิตมีวิญญาณเป็นอารมณ์ ฯลฯ
จิตมีจักขุเป็นอารมณ์ ฯลฯ จิตมีชราและมรณะเป็นอารมณ์เกิดขึ้นแล้วย่อม
ดับไป พระโยคาวจรพิจารณาอารมณ์นั้นแล้ว พิจารณาเห็นความดับไปแห่งจิตนั้น
พิจารณาเห็นอย่างไร ชื่อว่าพิจารณาเห็น
คือ พิจารณาเห็นโดยความไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเที่ยง พิจารณา
เห็นโดยความเป็นทุกข์ ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นสุข พิจารณาเห็นโดยความ
เป็นอนัตตา ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลาย
กำหนัด ไม่กำหนัด ย่อมทำราคะให้ดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ยึดถือ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๗. ภังคานุปัสสนาญาณนิทเทส
เมื่อพิจารณาเห็นโดยความไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็น
โดยความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา
ย่อมละอัตตสัญญาได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละนันทิได้ เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละ
ราคะได้ เมื่อทำราคะให้ดับ ย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืน ย่อมละอาทานะได้
การก้าวลงสู่อารมณ์ การหลีกไปด้วยปัญญา
การคำนึงถึงที่มีกำลัง ชื่อว่าปฏิสังขาวิปัสสนา๑
การกำหนดธรรม ๒ ประการ๒
ว่ามีสภาวะอย่างเดียวกันกับอารมณ์ปัจจุบัน
ความน้อมจิตไปในความดับ ชื่อว่าวยลักขณวิปัสสนา๓
การที่พระโยคาวจรพิจารณาอารมณ์แล้ว
พิจารณาเห็นความดับแห่งจิต
และความปรากฏโดยสุญญตะ
ชื่อว่าอธิปัญญาวิปัสสนา๔
พระโยคาวจรผู้ฉลาดในอนุปัสสนา ๓
และวิปัสสนา ๔ ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฏฐิต่าง ๆ
เพราะเป็นผู้ฉลาดในความปรากฏ ๓ ประการ๕
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณาอารมณ์แล้วพิจารณาเห็นความดับไป
ชื่อว่าวิปัสสนาญาณ
ภังคานุปัสสนาญาณนิทเทสที่ ๗ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ปฏิสังขาวิปัสสนา ได้แก่ การพิจารณาอารมณ์แล้วเห็นความดับ (ขุ.ป.อ. ๑/๕๒/๒๗๙)
๒ ธรรม ๒ ประการ ได้แก่ สังขารที่เป็นอดีตและที่เป็นอนาคต (ขุ.ป.อ. ๑/๕๒/๒๗๙)
๓ วยลักขณวิปัสสนา ได้แก่ ความเห็นแจ้งซึ่งมีความเสื่อมไปเป็นลักษณะ (ขุ.ป.อ. ๑/๕๒/๒๗๙)
๔ อธิปัญญาวิปัสสนา ได้แก่ ความเห็นแจ้งด้วยอธิปัญญา ( ขุ.ป.อ. ๑/๕๒/๒๗๙)
๕ ความปรากฏ ๓ ประการ ได้แก่ ความสิ้นไป, ความเสื่อมไป, ความว่างเปล่า (ขุ.ป.อ. ๑/๕๒/๒๘๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๘. อาทีนวญาณนิทเทส
๘. อาทีนวญาณนิทเทส
แสดงอาทีนวญาณ
[๕๓] ปัญญาในการ (เห็นสังขาร) ปรากฏโดยความเป็นภัย ชื่อว่า
อาทีนวญาณ เป็นอย่างไร
คือ ปัญญาในการ (เห็นสังขาร) ปรากฏโดยความเป็นภัยว่า “ความเกิดขึ้นเป็น
ภัย” ชื่อว่าอาทีนวญาณ ... “ความเป็นไปเป็นภัย” ... “นิมิต๑เป็นภัย” “กรรม
เป็นเครื่องประมวลมาเป็นภัย” ... “ปฏิสนธิเป็นภัย” ... “คติเป็นภัย” ... “ความ
บังเกิดเป็นภัย” ... “ความอุบัติเป็นภัย” ... “ความเกิดเป็นภัย” ... “ความแก่เป็นภัย”
... “ความเจ็บไข้เป็นภัย” ... “ความตายเป็นภัย” ... “ความเศร้าโศกเป็นภัย” ...
“ความรำพันเป็นภัย”... ปัญญาในการ (เห็นสังขาร) ปรากฏโดยความเป็นภัยว่า
“ความคับแค้นใจเป็นภัย” ชื่อว่าอาทีนวญาณ
ญาณในสันติบท๒ว่า “ความไม่เกิดขึ้นปลอดภัย” ... “ความไม่เป็นไปปลอดภัย”
ฯลฯ ญาณในสันติบทว่า “ความไม่คับแค้นใจปลอดภัย”
ญาณในสันติบทว่า “ความเกิดขึ้นเป็นภัย” ... “ความไม่เกิดขึ้นปลอดภัย” ...
“ความเป็นไปเป็นภัย” ... “ความไม่เป็นไปปลอดภัย” ฯลฯ “ความคับแค้นใจเป็นภัย”
ญาณในสันติบทว่า “ความไม่คับแค้นใจปลอดภัย”
ปัญญาในการ (เห็นสังขาร) ปรากฏโดยความเป็นภัยว่า “ความเกิดขึ้นเป็นทุกข์”
ชื่อว่าอาทีนวญาณ ฯลฯ ปัญญาในการ(เห็นสังขาร)ปรากฏโดยความเป็นภัยว่า
“ความคับแค้นใจเป็นทุกข์” ชื่อว่าอาทีนวญาณ
ญาณในสันติบทว่า “ความไม่เกิดขึ้นเป็นสุข” ... “ความไม่เป็นไปเป็นสุข” ฯลฯ
ญาณในสันติบทว่า “ความไม่คับแค้นใจเป็นสุข”

เชิงอรรถ :
๑ นิมิต ในที่นี้หมายถึงสังขารนิมิต (ขุ.ป.อ. ๑/๕๓/๒๘๑)
๒ สันติบท หมายถึงส่วนแห่งความสงบ อีกนัยหนึ่งคือพระนิพพาน (ขุ.ป.อ. ๑/๕๓/๒๘๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๘. อาทีนวญาณนิทเทส
ญาณในสันติบทว่า “ความเกิดขึ้นเป็นทุกข์” ... “ความไม่เกิดขึ้นเป็นสุข”
... “ความเป็นไปเป็นทุกข์” ... “ความไม่เป็นไปเป็นสุข” ฯลฯ “ความคับแค้นใจเป็นทุกข์”
ญาณในสันติบทว่า “ความไม่คับแค้นใจเป็นสุข”
ปัญญาในการ(เห็นสังขาร)ปรากฏโดยความเป็นภัยว่า “ความเกิดขึ้นเป็นอามิส”
ชื่อว่าอาทีนวญาณ ... “ความเป็นไปเป็นอามิส” ฯลฯ ปัญญาในการ(เห็นสังขาร)
ปรากฏโดยความเป็นภัยว่า “ความคับแค้นใจเป็นอามิส” ชื่อว่าอาทีนวญาณ
ญาณในสันติบทว่า “ความไม่เกิดขึ้นไม่เป็นอามิส” ... “ความไม่เป็นไปไม่เป็น
อามิส” ฯลฯ ญาณในสันติบทว่า “ความไม่คับแค้นใจไม่เป็นอามิส”
ญาณในสันติบทว่า “ความเกิดขึ้นเป็นอามิส” ... “ความไม่เกิดขึ้นไม่เป็น
อามิส” ... “ความเป็นไปเป็นอามิส” ... “ความไม่เป็นไปไม่เป็นอามิส” ฯลฯ
“ความคับแค้นใจเป็นอามิส” ญาณในสันติบทว่า “ความไม่คับแค้นใจไม่เป็นอามิส”
ปัญญาในการ (เห็นสังขาร) ปรากฏโดยความเป็นภัยว่า “ความเกิดขึ้นเป็นสังขาร”
ชื่อว่าอาทีนวญาณ ฯลฯ ปัญญาในการ(เห็นสังขาร)ปรากฏโดยความเป็นภัยว่า
“ความคับแค้นใจเป็นสังขาร” ชื่อว่าอาทีนวญาณ
ญาณในสันติบทว่า “ความไม่เกิดขึ้นเป็นนิพพาน” ... “ความไม่เป็นไปเป็น
นิพพาน” ฯลฯ ญาณในสันติบทว่า “ความไม่คับแค้นใจเป็นนิพพาน”
ญาณในสันติบทว่า “ความเกิดขึ้นเป็นสังขาร” ... “ความไม่เกิดขึ้นเป็น
นิพพาน” ... “ความเป็นไปเป็นสังขาร” ... “ความไม่เป็นไปเป็นนิพพาน” ฯลฯ
“ความคับแค้นใจเป็นสังขาร” ญาณในสันติบทว่า “ความไม่คับแค้นใจเป็น
นิพพาน”
การที่พระโยคาวจรเห็นความเกิดขึ้น
ความเป็นไป นิมิต กรรมเป็นเครื่องประมวลมา
และปฏิสนธิว่าเป็นทุกข์
นี้เป็นอาทีนวญาณ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๙. สังขารุเปกขาญาณนิทเทส
การที่พระโยคาวจรเห็นความไม่เกิดขึ้น
ความไม่เป็นไป อนิมิต
ความไม่มีกรรมเป็นเครื่องประมวลมา
และความไม่มีปฏิสนธิว่าเป็นสุข
นี้เป็นญาณในสันติบท
อาทีนวญาณนี้ย่อมเกิดขึ้นในฐานะ ๕
ญาณในสันติบทย่อมเกิดขึ้นในฐานะ ๕
พระโยคาวจรรู้ชัดญาณ ๑๐ ประการ
ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฏฐิต่าง ๆ
เพราะเป็นผู้ฉลาดในญาณทั้งสอง
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการ (เห็นสังขาร) ปรากฏโดยความเป็นภัย ชื่อว่า
อาทีนวญาณ
อาทีนวญาณนิทเทสที่ ๘ จบ

๙. สังขารุเปกขาญาณนิทเทส
แสดงสังขารุเปกขาญาณ
[๕๔] ปัญญาที่ปรารถนาจะพ้นไป พิจารณาและดำรงมั่นอยู่ ชื่อว่า
สังขารุเปกขาญาณ เป็นอย่างไร
คือ ปัญญาที่ปรารถนาจะพ้นไปจากความเกิดขึ้น พิจารณาและดำรงมั่นอยู่
ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ ปัญญาที่ปรารถนาจะพ้นไปจากความเป็นไป พิจารณาและ
ดำรงมั่นอยู่ ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ ปัญญาที่ปรารถนาจะพ้นไปจากนิมิต ... จาก
กรรมเป็นเครื่องประมวลมา ... จากปฏิสนธิ ... จากคติ ... จากความบังเกิด ... จาก
ความอุบัติ ... จากความเกิด ... จากความแก่ ... จากความเจ็บไข้ ... จากความตาย ...
จากความเศร้าโศก ... จากความรำพัน ... ปัญญาที่ปรารถนาจะพ้นไปจากความ
คับแค้นใจ พิจารณาและดำรงมั่นอยู่ ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๙. สังขารุเปกขาญาณนิทเทส
ปัญญาที่ปรารถนาจะพ้นไปพิจารณาและดำรงมั่นอยู่ว่า “ความเกิดขึ้นเป็น
ทุกข์” ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ ... “ความเป็นไปเป็นทุกข์” ... “นิมิตเป็นทุกข์” ฯลฯ
ปัญญาที่ปรารถนาจะพ้นไปพิจารณาและดำรงมั่นอยู่ว่า “ความคับแค้นใจเป็นทุกข์”
ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
ปัญญาที่ปรารถนาจะพ้นไปพิจารณาและดำรงมั่นอยู่ว่า “ความเกิดขึ้นเป็นภัย”
ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ ... “ความเป็นไปเป็นภัย” ฯลฯ ปัญญาที่ปรารถนาจะพ้น
ไปพิจารณาและดำรงมั่นอยู่ว่า “ความคับแค้นใจเป็นภัย” ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
ปัญญาที่ปรารถนาจะพ้นไปพิจารณาและดำรงมั่นอยู่ว่า “ความเกิดขึ้นเป็น
อามิส” ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ ... “ความเป็นไปเป็นอามิส” ฯลฯ ปัญญาที่
ปรารถนาจะพ้นไปพิจารณาและดำรงมั่นอยู่ว่า “ความคับแค้นใจเป็นอามิส” ชื่อว่า
สังขารุเปกขาญาณ
ปัญญาที่ปรารถนาจะพ้นไปพิจารณาและดำรงมั่นอยู่ว่า “ความเกิดขึ้นเป็น
สังขาร” ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ ... “ความเป็นไปเป็นสังขาร” ฯลฯ ปัญญาที่
ปรารถนาจะพ้นไปพิจารณาและดำรงมั่นอยู่ว่า “ความคับแค้นใจเป็นสังขาร” ชื่อว่า
สังขารุเปกขาญาณ
ความเกิดขึ้นเป็นสังขาร ญาณเพ่งเฉยสังขารเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
สังขารุเปกขาญาณ
แม้ธรรม ๒ ประการนี้ คือ สังขารและอุเบกขาก็เป็นสังขาร ญาณเพ่งเฉย
สังขารเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
ความเป็นไปเป็นสังขาร ญาณเพ่งเฉยสังขารเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
สังขารุเปกขาญาณ ฯลฯ นิมิตเป็นสังขาร ... กรรมเป็นเครื่องประมวลมาเป็นสังขาร
.. ปฏิสนธิเป็นสังขาร ... คติเป็นสังขาร ... ความบังเกิดเป็นสังขาร ... ความอุบัติ
เป็นสังขาร ... ความเกิดเป็นสังขาร ... ความแก่เป็นสังขาร ... ความเจ็บไข้เป็นสังขาร ...
ความตายเป็นสังขาร ... ความเศร้าโศกเป็นสังขาร ... ความรำพันเป็นสังขาร ...
ความคับแค้นใจเป็นสังขาร ญาณเพ่งเฉยสังขารเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
สังขารุเปกขาญาณ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๙. สังขารุเปกขาญาณนิทเทส
แม้ธรรม ๒ ประการ คือ สังขารและอุเบกขาก็เป็นสังขาร ญาณเพ่งเฉยสังขาร
เหล่านั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
[๕๕] การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขามีด้วยอาการเท่าไร
คือ การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขามีด้วยอาการ ๘ อย่าง
การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชนมีด้วยอาการเท่าไร การน้อมจิตไป
ในสังขารุเปกขาของพระเสขะมีด้วยอาการเท่าไร การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของ
ท่านผู้ปราศจากราคะมีด้วยอาการเท่าไร
คือ การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชนมีด้วยอาการ ๒ อย่าง การน้อม
จิตไปในสังขารุเปกขาของพระเสขะมีด้วยอาการ ๓ อย่าง การน้อมจิตไปในสังขารุ-
เปกขาของท่านผู้ปราศจากราคะมีด้วยอาการ ๓ อย่าง
การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชนมีด้วยอาการ ๒ อย่าง
อะไรบ้าง คือ
๑. ปุถุชนย่อมยินดีสังขารุเปกขา
๒. ปุถุชนย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขา
การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชนมีด้วยอาการ ๒ อย่างนี้
การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของพระเสขะมีด้วยอาการ ๓ อย่าง
อะไรบ้าง คือ
๑. พระเสขะย่อมยินดีสังขารุเปกขา
๒. พระเสขะย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขา
๓. พระเสขะพิจารณาแล้วย่อมเข้าผลสมาบัติ
การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของพระเสขะมีด้วยอาการ ๓ อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๙. สังขารุเปกขาญาณนิทเทส
การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของท่านผู้ปราศจากราคะมีด้วยอาการ
๓ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ท่านผู้ปราศจากราคะย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขา
๒. ท่านผู้ปราศจากราคะพิจารณาแล้วย่อมเข้าผลสมาบัติ
๓. ท่านผู้ปราศจากราคะเพ่งเฉยในสังขารุเปกขานั้นแล้วย่อมอยู่ด้วย
สุญญตวิหารสมาบัติ อนิมิตตวิหารสมาบัติ หรืออัปปณิหิตวิหารสมาบัติ
การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของท่านผู้ปราศจากราคะมีด้วยอาการ ๓
อย่างนี้
[๕๖] การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน และของพระเสขะ
เหมือนกันอย่างไร
คือ ปุถุชนผู้ยินดีสังขารุเปกขา จิตย่อมเศร้าหมอง (ความเศร้าหมองนั้น)เป็น
เครื่องกีดขวางต่อภาวนา เป็นอันตรายต่อปฏิเวธ เป็นปัจจัยแห่งปฏิสนธิสืบต่อไป
แม้พระเสขะผู้ยินดีสังขารุเปกขา จิตก็ย่อมเศร้าหมอง (ความเศร้าหมองนั้น)เป็น
เครื่องกีดขวางต่อภาวนา เป็นอันตรายต่อปฏิเวธในมรรคชั้นสูง เป็นปัจจัยแห่ง
ปฏิสนธิสืบต่อไป การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชนและของพระเสขะ เหมือน
กันโดยสภาวะแห่งความยินดีอย่างนี้
การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะ และของท่านผู้
ปราศจากราคะ เหมือนกันอย่างไร
คือ ปุถุชนย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขาทั้งโดยความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็น
อนัตตา แม้พระเสขะก็เห็นแจ้งสังขารุเปกขาทั้งโดยความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็น
อนัตตา แม้ท่านผู้ปราศจากราคะก็เห็นแจ้งสังขารุเปกขาทั้งโดยความไม่เที่ยง เป็นทุกข์
และเป็นอนัตตา การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะ และของ
ท่านผู้ปราศจากราคะ เหมือนกันโดยสภาวะแห่งการพิจารณาเห็นอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๙. สังขารุเปกขาญาณนิทเทส
การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะ และของท่านผู้
ปราศจากราคะ ต่างกันอย่างไร
คือ สังขารุเปกขาของปุถุชนเป็นกุศล แม้ของพระเสขะก็เป็นกุศล แต่ของท่าน
ผู้ปราศจากราคะเป็นอัพยากฤต การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระ
เสขะ และของท่านผู้ปราศจากราคะ ต่างกันโดยสภาวะเป็นกุศล เป็นอัพยากฤต
อย่างนี้
การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะ และของท่านผู้
ปราศจากราคะ ต่างกันอย่างไร
คือ สังขารุเปกขาของปุถุชน บางคราวปรากฏชัด๑ บางคราวไม่ปรากฏชัด
แม้สังขารุเปกขาของพระเสขะ บางคราวก็ปรากฏชัด บางคราวไม่ปรากฏชัด
สังขารุเปกขาของท่านผู้ปราศจากราคะ ย่อมปรากฏชัดโดยส่วนเดียว การน้อมจิตไป
ในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะ และของท่านผู้ปราศจากราคะ ต่างกันโดย
สภาวะที่ปรากฏกับสภาวะที่ไม่ปรากฏอย่างนี้
การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะ และของท่านผู้
ปราศจากราคะ ต่างกันอย่างไร
คือ ปุถุชนย่อมเห็นแจ้งเพราะเป็นผู้ยังไม่เสร็จกิจจากสังขารุเปกขา แม้พระเสขะ
ย่อมเห็นแจ้งเพราะยังไม่เสร็จกิจจากสังขารุเปกขา ส่วนท่านผู้ปราศจากราคะย่อม
เห็นแจ้งเพราะเป็นผู้เสร็จกิจจากสังขารุเปกขา การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน
ของพระเสขะ และของท่านผู้ปราศจากราคะ ต่างกันโดยสภาวะที่เสร็จกิจแล้วกับ
สภาวะที่ยังไม่เสร็จกิจอย่างนี้

เชิงอรรถ :
๑ บางคราวปรากฏชัด หมายถึงปรากฏชัดในเวลาเจริญวิปัสสนา (ขุ.ป.อ. ๑/๕๖/๒๙๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๙. สังขารุเปกขาญาณนิทเทส
การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะ และของท่านผู้
ปราศจากราคะ ต่างกันอย่างไร
คือ ปุถุชนย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขาเพื่อละสังโยชน์ ๓๑ เพื่อต้องการได้
โสดาปัตติมรรค พระเสขะย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขาเพื่อต้องการได้มรรคชั้นสูงขึ้นไป
เพราะเป็นผู้ละสังโยชน์ ๓ ได้แล้ว ท่านผู้ปราศจากราคะย่อมเห็นแจ้งสังขารุเปกขา
เพื่อต้องการอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เพราะเป็นผู้ละกิเลสทั้งปวงได้แล้ว การน้อมจิตไป
ในสังขารุเปกขาของปุถุชน ของพระเสขะ และของท่านผู้ปราศจากราคะต่างกันโดย
สภาวะที่ละกิเลสได้กับสภาวะที่ยังละกิเลสไม่ได้อย่างนี้
การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของพระเสขะ และของท่านผู้ปราศจากราคะ
ต่างกันอย่างไร
คือ พระเสขะยินดีสังขารุเปกขาบ้าง เห็นแจ้งสังขารุเปกขาบ้าง พิจารณาแล้ว
เข้าผลสมาบัติบ้าง ท่านผู้ปราศจากราคะเห็นแจ้งสังขารุเปกขาบ้าง พิจารณาแล้วเข้า
ผลสมาบัติบ้าง เพ่งเฉยสังขารุเปกขานั้นแล้วอยู่ด้วยสุญญตวิหารสมาบัติ อนิมิตต-
วิหารสมาบัติหรืออัปปณิหิตวิหารสมาบัติ การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของพระ
เสขะและของท่านผู้ปราศจากราคะ ต่างกันโดยสภาวะแห่งวิหารสมาบัติอย่างนี้
[๕๗] สังขารุเปกขาเท่าไรเกิดขึ้นด้วยอำนาจสมถะ สังขารุเปกขาเท่าไร
เกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา
คือ สังขารุเปกขา ๘ อย่างเกิดขึ้นด้วยอำนาจสมถะ สังขารุเปกขา ๑๐ อย่าง
เกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา
สังขารุเปกขา ๘ อย่าง อะไรบ้าง เกิดขึ้นด้วยอำนาจสมถะ คือ
๑. ปัญญาที่พิจารณานิวรณ์แล้วดำรงมั่นอยู่ เพื่อต้องการได้ปฐมฌาน
ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ

เชิงอรรถ :
๑ สังโยชน์ ๓ ได้แก่ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส (ขุ.ป.อ. ๑/๕๖/๒๙๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๙. สังขารุเปกขาญาณนิทเทส
๒. ปัญญาที่พิจารณาวิตกวิจารแล้วดำรงมั่นอยู่ เพื่อต้องการได้ทุติยฌาน
ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
๓. ปัญญาที่พิจารณาปีติแล้วดำรงมั่นอยู่ เพื่อต้องการได้ตติยฌาน
ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
๔. ปัญญาที่พิจารณาสุขและทุกข์แล้วดำรงมั่นอยู่ เพื่อต้องการได้
จตุตถฌาน ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
๕. ปัญญาที่พิจารณารูปสัญญา ปฏิฆสัญญานานัตตสัญญาแล้วดำรงมั่น
อยู่ เพื่อต้องการได้อากาสานัญจายตนสมาบัติ ชื่อว่าสังขารุเปกขา-
ญาณ
๖. ปัญญาที่พิจารณาอากาสานัญจายตนสัญญาแล้วดำรงมั่นอยู่ เพื่อ
ต้องการได้วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
๗. ปัญญาที่พิจารณาวิญญาณัญจายตนสัญญาแล้วดำรงมั่นอยู่ เพื่อ
ต้องการได้อากิญจัญญายตนสมาบัติ ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
๘. ปัญญาที่พิจารณาอากิญจัญญายตนสัญญาแล้วดำรงมั่นอยู่ เพื่อ
ต้องการได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
สังขารุเปกขา ๘ อย่างนี้เกิดขึ้นด้วยอำนาจสมถะ
สังขารุเปกขา ๑๐ อย่าง อะไรบ้าง เกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา คือ
๑. ปัญญาที่พิจารณาความเกิดขึ้น ความเป็นไป นิมิต กรรมเป็นเครื่อง
ประมวลมา ปฏิสนธิ คติ ความบังเกิด ความอุบัติ ความเกิด
ความแก่ ความเจ็บไข้ ความตาย ความเศร้าโศก ความรำพัน
ความคับแค้นใจแล้วดำรงมั่นอยู่ เพื่อต้องการได้โสดาปัตติมรรค
ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
๒. ปัญญาที่พิจารณาความเกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อต้องการได้โสดาปัตติผล-
สมาบัติ ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๙. สังขารุเปกขาญาณนิทเทส
๓. ปัญญาที่พิจารณาความเกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อต้องการได้สกทาคามิมรรค
ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
๔. ปัญญาที่พิจารณาความเกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อต้องการได้สกทาคามิผล-
สมาบัติ ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
๕. ปัญญาที่พิจารณาความเกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อต้องการได้อนาคามิมรรค
ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
๖. ปัญญาที่พิจารณาความเกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อต้องการได้อนาคามิผล-
สมาบัติ ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
๗. ปัญญาที่พิจารณาความเกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อต้องการได้อรหัตตมรรค
ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
๘. ปัญญาที่พิจารณาความเกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อต้องการได้อรหัตตผล-
สมาบัติ ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
๙. ปัญญาที่พิจารณาความเกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อต้องการได้สุญญตวิหาร-
สมาบัติ ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
๑๐. ปัญญาที่พิจารณาความเกิดขึ้น ความเป็นไป นิมิต กรรมเป็นเครื่อง
ประมวลมา ปฏิสนธิ คติ ความบังเกิด ความอุบัติ ความเกิด
ความแก่ ความเจ็บไข้ ความตาย ความเศร้าโศก ความรำพัน
ความคับแค้นใจแล้วดำรงมั่นอยู่ เพื่อต้องการได้อนิมิตตวิหารสมาบัติ
ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
สังขารุเปกขาญาณ ๑๐ อย่างนี้เกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา
[๕๘] สังขารุเปกขาฝ่ายกุศลมีเท่าไร ฝ่ายอกุศลมีเท่าไร ฝ่ายอัพยากฤต
มีเท่าไร
สังขารุเปกขาฝ่ายกุศลมี ๑๕ ฝ่ายอัพยากฤตมี ๓ ฝ่ายอกุศลไม่มี
ปัญญาที่พิจารณาแล้วดำรงมั่นอยู่
๘ ประการเป็นอารมณ์ของสมาธิจิต
๒ ประการเป็นอารมณ์ของปุถุชน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๐. โคตรภูญาณนิทเทส
๓ ประการเป็นอารมณ์ของพระเสขะ
และ ๓ ประการเป็นเหตุให้จิต
ของท่านผู้ปราศจากราคะหลีกไป
๘ ประการเป็นปัจจัยแก่สมาธิ
๑๐ ประการเป็นอารมณ์แห่งญาณ
สังขารุเปกขา ๑๘ ประการ
เป็นปัจจัยแห่งวิโมกข์ ๓
ปัญญา ๑๘ ประการนี้
อันพระโยคาวจรใดอบรมแล้ว
พระโยคาวจรนั้นเป็นผู้ฉลาดในสังขารุเปกขา
ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฏฐิต่าง ๆ
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาที่ปรารถนาจะพ้นไป พิจารณาและดำรงมั่นอยู่
ชื่อว่าสังขารุเปกขาญาณ
สังขารุเปกขาญาณนิทเทสที่ ๙ จบ

๑๐. โคตรภูญาณนิทเทส
แสดงโคตรภูญาณ
[๕๙] ปัญญาในการออกและหลีกไปจากนิมิตภายนอก ชื่อว่าโคตรภูญาณ
เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำความเกิดขึ้น ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำ
ความเป็นไป ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำนิมิต ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำกรรม
เป็นเครื่องประมวลมา ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำปฏิสนธิ ชื่อว่าโคตรภู เพราะ
ครอบงำคติ ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำความบังเกิด ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำ
ความอุบัติ ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำความเกิด ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำความ
แก่ ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำความเจ็บไข้ ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำความตาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๐. โคตรภูญาณนิทเทส
ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำความเศร้าโศก ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำความ
รำพัน ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำความคับแค้นใจ ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำ
สังขารนิมิตภายนอก
ชื่อว่าโคตรภู เพราะแล่นไปสู่ความไม่เกิดขึ้น ฯลฯ ชื่อว่าโคตรภู เพราะแล่นไป
สู่ความดับคือนิพพาน
ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำความเกิดขึ้นแล้วแล่นไปสู่ความไม่เกิดขึ้น ชื่อว่า
โคตรภู เพราะครอบงำความเป็นไปแล้วแล่นไปสู่ความไม่เป็นไป ชื่อว่าโคตรภู เพราะ
ครอบงำนิมิตแล้วแล่นไปสู่อนิมิต ฯลฯ ชื่อว่าโคตรภู เพราะครอบงำสังขารนิมิต
ภายนอกแล้วแล่นไปสู่ความดับคือนิพพาน
ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากความเกิดขึ้น ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากความ
เป็นไป ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากนิมิต ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากกรรมเป็น
เครื่องประมวลมา ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากปฏิสนธิ ชื่อว่าโคตรภู เพราะออก
จากคติ ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากความบังเกิด ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจาก
ความอุบัติ ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากความเกิด ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจาก
ความแก่ ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากความเจ็บไข้ ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจาก
ความตาย ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากความเศร้าโศก ชื่อว่าโคตรภู เพราะออก
จากความรำพัน ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากความคับแค้นใจ ชื่อว่าโคตรภู เพราะ
ออกจากสังขารนิมิตภายนอก
ชื่อว่าโคตรภู เพราะแล่นไปสู่ความไม่เกิดขึ้น ชื่อว่าโคตรภู เพราะแล่นไปสู่
ความไม่เป็นไป ฯลฯ ชื่อว่าโคตรภู เพราะแล่นไปสู่ความดับคือนิพพาน
ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากความเกิดขึ้นแล้วแล่นไปสู่ความไม่เกิดขึ้น ชื่อว่า
โคตรภู เพราะออกจากความเป็นไปแล้วแล่นไปสู่ความไม่เป็นไป ชื่อว่าโคตรภู เพราะ
ออกจากนิมิตแล้วแล่นไปสู่อนิมิต ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากกรรมเป็นเครื่อง
ประมวลมาแล้วแล่นไปสู่ความไม่มีกรรมเป็นเครื่องประมวลมา ชื่อว่าโคตรภู เพราะ
ออกจากปฏิสนธิแล้วแล่นไปสู่ความไม่มีปฏิสนธิ ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากคติแล้ว

 


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๐. โคตรภูญาณนิทเทส
แล่นไปสู่อคติ ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากความบังเกิดแล้วแล่นไปสู่ความไม่
บังเกิด ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากความอุบัติแล้วแล่นไปสู่ความไม่อุบัติ ชื่อว่า
โคตรภู เพราะออกจากความเกิดแล้วแล่นไปสู่ความไม่เกิด ชื่อว่าโคตรภู เพราะออก
จากความแก่แล้วแล่นไปสู่ความไม่แก่ ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากความเจ็บไข้แล้ว
แล่นไปสู่ความไม่เจ็บไข้ ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากความตายแล้วแล่นไปสู่ความ
ไม่ตาย ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากความเศร้าโศกแล้วแล่นไปสู่ความไม่เศร้าโศก
ชื่อว่าโคตรภู เพราะออกจากความรำพันแล้วแล่นไปสู่ความไม่รำพัน ชื่อว่าโคตรภู
เพราะออกจากความคับแค้นใจแล้วแล่นไปสู่ความไม่คับแค้นใจ ชื่อว่าโคตรภู เพราะ
ออกจากสังขารนิมิตภายนอกแล้วแล่นไปสู่ความดับคือนิพพาน
ชื่อว่าโคตรภู เพราะหลีกออกจากความเกิดขึ้น ชื่อว่าโคตรภู เพราะหลีกออก
จากความเป็นไป ฯลฯ ชื่อว่าโคตรภู เพราะหลีกออกจากสังขารนิมิตภายนอก
ชื่อว่าโคตรภู เพราะแล่นไปสู่ความไม่เกิดขึ้น ชื่อว่าโคตรภู เพราะแล่นไปสู่
ความไม่เป็นไป ฯลฯ ชื่อว่าโคตรภู เพราะแล่นไปสู่ความดับคือนิพพาน
ชื่อว่าโคตรภู เพราะหลีกออกจากความเกิดขึ้นแล้วแล่นไปสู่ความไม่เกิดขึ้น
ชื่อว่าโคตรภู เพราะหลีกออกจากความเป็นไปแล้วแล่นไปสู่ความไม่เป็นไป ฯลฯ
ชื่อว่าโคตรภู เพราะหลีกออกจากสังขารนิมิตภายนอกแล้วแล่นไปสู่ความดับ
คือนิพพาน
[๖๐] โคตรภูธรรมเท่าไรเกิดขึ้นด้วยอำนาจสมถะ โคตรภูธรรมเท่าไร
เกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา
คือ โคตรภูธรรม ๘ ประการเกิดขึ้นด้วยอำนาจสมถะ โคตรภูธรรม ๑๐
ประการเกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา
โคตรภูธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง เกิดขึ้นด้วยอำนาจสมถะ คือ
๑. ญาณที่ครอบงำนิวรณ์ เพื่อได้ปฐมฌาน ชื่อว่าโคตรภู
๒. ญาณที่ครอบงำวิตกวิจาร เพื่อได้ทุติยฌาน ชื่อว่าโคตรภู
๓. ญาณที่ครอบงำปีติ เพื่อได้ตติยฌาน ชื่อว่าโคตรภู

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๐. โคตรภูญาณนิทเทส
๔. ญาณที่ครอบงำสุขและทุกข์ เพื่อได้จตุตถฌาน ชื่อว่าโคตรภู
๕. ญาณที่ครอบงำรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา เพื่อได้
อากาสานัญจายตนสมาบัติ ชื่อว่าโคตรภู
๖. ญาณที่ครอบงำอากาสานัญจายตนสัญญา เพื่อได้วิญญาณัญจายตน-
สมาบัติ ชื่อว่าโคตรภู
๗. ญาณที่ครอบงำวิญญาณัญจายตนสัญญา เพื่อได้อากิญจัญญายตน-
สมาบัติ ชื่อว่าโคตรภู
๘. ญาณที่ครอบงำอากิญจัญญายตนสัญญา เพื่อได้เนวสัญญา-
นาสัญญายตนสมาบัติ ชื่อว่าโคตรภู
โคตรภูธรรม ๘ ประการนี้เกิดขึ้นด้วยอำนาจสมถะ
โคตรภูธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง เกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา คือ
๑. ญาณที่ครอบงำความเกิดขึ้น ความเป็นไป นิมิต กรรมเป็นเครื่อง
ประมวลมา ปฏิสนธิ คติ ความบังเกิด ความอุบัติ
ความเกิด ความแก่ ความเจ็บไข้ ความตาย ความเศร้าโศก
ความรำพัน ความคับแค้นใจ สังขารนิมิตภายนอก เพื่อได้
โสดาปัตติมรรค ชื่อว่าโคตรภู
๒. ญาณที่ครอบงำความเกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อได้โสดาปัตติผลสมาบัติ
ชื่อว่าโคตรภู
๓. ญาณที่ครอบงำความเกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อได้สกทาคามิมรรค ชื่อว่าโคตรภู
๔. ญาณที่ครอบงำความเกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อได้สกทาคามิผลสมาบัติ
ชื่อว่าโคตรภู
๕. ญาณที่ครอบงำความเกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อได้อนาคามิมรรค ชื่อว่าโคตรภู
๖. ญาณที่ครอบงำความเกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อได้อนาคามิผลสมาบัติ
ชื่อว่าโคตรภู
๗. ญาณที่ครอบงำความเกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อได้อรหัตตมรรค ชื่อว่าโคตรภู
๘. ญาณที่ครอบงำความเกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อได้อรหัตตผลสมาบัติ ชื่อ
ว่าโคตรภู
๙. ญาณที่ครอบงำความเกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อได้สุญญตวิหารสมาบัติ
ชื่อว่าโคตรภู

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๐. โคตรภูญาณนิทเทส
๑๐. ญาณที่ครอบงำความเกิดขึ้น ความเป็นไป นิมิต กรรมเป็นเครื่อง
ประมวลมา ปฏิสนธิ คติ ความบังเกิด ความอุบัติ ความเกิด ความแก่
ความเจ็บไข้ ความตาย ความเศร้าโศก ความรำพัน ความคับแค้นใจ
สังขารนิมิตภายนอก เพื่อได้อนิมิตตวิหารสมาบัติ ชื่อว่าโคตรภู
โคตรภูธรรม ๑๐ ประการนี้เกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา
โคตรภูธรรม ฝ่ายกุศลมีเท่าไร ฝ่ายอกุศลมีเท่าไร ฝ่ายอัพยากฤตมีเท่าไร
คือ โคตรภูธรรม ฝ่ายกุศลมี ๑๕ ฝ่ายอัพยากฤตมี ๓ ฝ่ายอกุศลไม่มี
โคตรภูธรรม ๘ ประการ คือ
(๑) มีอามิส๑ (๒) ไม่มีอามิส
(๓) มีที่ตั้ง ๒(๔) ไม่มีที่ตั้ง
(๕) เป็นสุญญตะ ๓(๖) เป็นวิสุญญตะ
(๗) เป็นวุฏฐิตะ๔ (๘) เป็นอวุฏฐิตะ
๘ ประการเป็นปัจจัยแห่งสมาธิ
๑๐ ประการเป็นโคจรแห่งญาณ
๑๘ ประการเป็นปัจจัยแห่งวิโมกข์ ๓
อาการ ๑๘ ประการนี้
อันพระโยคาวจรใดอบรมแล้วด้วยปัญญา
พระโยคาวจรนั้นเป็นผู้ฉลาดในญาณ
ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฏฐิต่าง ๆ
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกและหลีกไปจากนิมิตภายนอก
ชื่อว่าโคตรภูญาณ
โคตรภูญาณนิทเทสที่ ๑๐ จบ

เชิงอรรถ :
๑ อามิส ในที่นี้หมายถึงวัฏฏามิส โลกามิส และกิเลสามิส (ขุ.ป.อ. ๑/๖๐/๒๙๕)
๒ ที่ตั้ง ในที่นี้หมายถึงนิกันติ (ขุ.ป.อ. ๑/๖๐/๒๙๕)
๓ สุญญตะ ในที่นี้หมายถึงโคตรภูธรรมที่ประกอบด้วยนิกันติ (ขุ.ป.อ. ๑/๖๐/๒๙๕)
๔ วุฏฐิตะ ในที่นี้หมายถึงวิปัสสนาโคตรภูญาณ (ขุ.ป.อ. ๑/๖๐/๒๙๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๑. มัคคญาณนิทเทส
๑๑. มัคคญาณนิทเทส
แสดงมัคคญาณ
[๖๑] ปัญญาในการออกและหลีกไปทั้งจากกิเลสขันธ์และจากนิมิต
ภายนอก ชื่อว่ามัคคญาณ เป็นอย่างไร
คือ ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค ญาณที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น
ย่อมออกจากมิจฉาทิฏฐิ ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาทิฏฐินั้น จากขันธ์
ทั้งหลาย และออกจากสรรพนิมิตภายนอก เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
ปัญญาในการออกและหลีกไปทั้งจากกิเลสขันธ์และจากนิมิตภายนอก ชื่อว่ามัคคญาณ
ญาณที่ชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ เพราะมีสภาวะตรึกตรอง ย่อมออกจากมิจฉา-
สังกัปปะ ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสังกัปปะนั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และ
ออกจากสรรพนิมิตภายนอก เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกและ
หลีกไปทั้งจากกิเลสขันธ์และจากนิมิตภายนอก ชื่อว่ามัคคญาณ
ญาณที่ชื่อว่าสัมมาวาจา เพราะมีสภาวะกำหนดไว้ ย่อมออกจากมิจฉาวาจา
ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาวาจานั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และออกจาก
สรรพนิมิตภายนอก เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกและหลีกไป
ทั้งจากกิเลสขันธ์และจากนิมิตภายนอก ชื่อว่ามัคคญาณ
ญาณที่ชื่อว่าสัมมากัมมันตะ เพราะมีสภาวะเป็นสมุฏฐาน ย่อมออกจาก
มิจฉากัมมันตะ ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉากัมมันตะนั้น จากขันธ์
ทั้งหลาย และออกจากสรรพนิมิตภายนอก เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญา
ในการออกและหลีกไปทั้งจากกิเลสขันธ์และจากนิมิตภายนอก ชื่อว่ามัคคญาณ
ญาณที่ชื่อว่าสัมมาอาชีวะ เพราะมีสภาวะผ่องแผ้ว ย่อมออกจากมิจฉาอาชีวะ
ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาอาชีวะนั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และออกจาก
สรรพนิมิตภายนอก เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกและหลีกไป
ทั้งจากกิเลสขันธ์และจากนิมิตภายนอก ชื่อว่ามัคคญาณ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๑. มัคคญาณนิทเทส
ญาณที่ชื่อว่าสัมมาวายามะ เพราะมีสภาวะประคองไว้ ย่อมออกจากมิจฉา-
วายามะ ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาวายามะนั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และ
ออกจากสรรพนิมิตภายนอก เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออก
และหลีกไปทั้งจากกิเลสขันธ์และจากนิมิตภายนอก ชื่อว่ามัคคญาณ
ญาณที่ชื่อว่าสัมมาสติ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น ย่อมออกจากมิจฉาสติ ออกจาก
เหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสตินั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และออกจากสรรพนิมิตภาย
นอก เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกและหลีกไปทั้งจากกิเลสขันธ์
และจากนิมิตภายนอก ชื่อว่ามัคคญาณ
ญาณที่ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมออกจากมิจฉาสมาธิ
ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และออกจาก
สรรพนิมิตภายนอก เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกและหลีกไป
ทั้งจากกิเลสขันธ์และจากนิมิตภายนอก ชื่อว่ามัคคญาณ
ในขณะแห่งสกทาคามิมรรค ญาณที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น ฯลฯ
ญาณที่ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมออกจากกามราคสังโยชน์
(กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคือกามราคะ) จากปฏิฆสังโยชน์ (กิเลสเครื่อง
ประกอบสัตว์ไว้ในภพคือปฏิฆะ) จากกามราคานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน
คือกามราคะ) จากปฏิฆานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดานคือปฏิฆะ) ส่วนหยาบ ๆ
ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และออกจาก
สรรพนิมิตภายนอก เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกและหลีก
ไปทั้งจากกิเลสขันธ์ และจากนิมิตภายนอก ชื่อว่ามัคคญาณ
ในขณะแห่งอนาคามิมรรค ญาณที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น ฯลฯ
ญาณที่ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมออกจากกามราคสังโยชน์
จากปฏิฆสังโยชน์ จากกามราคานุสัย จากปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียด ๆ ออกจาก
เหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และออกจากสรรพนิมิต
ภายนอก เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกและหลีกไปทั้งจาก
กิเลสขันธ์และจากนิมิตภายนอก ชื่อว่ามัคคญาณ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๑. มัคคญาณนิทเทส
ในขณะแห่งอรหัตตมรรค ญาณที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น ฯลฯ
ญาณที่ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมออกจากรูปราคะ (ความ
กำหนัดในรูป) จากอรูปราคะ (ความกำหนัดในอรูป) จากมานะ (ความถือตัว) จาก
อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน) จากอวิชชา (ความไม่รู้) จากมานานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่อง
อยู่ในสันดานคือมานะ) จากภวราคานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดานคือภวราคะ)
จากอวิชชานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดานคืออวิชชา) ออกจากเหล่ากิเลสที่
เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และออกจากสรรพนิมิตภายนอก
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่าปัญญาในการออกและหลีกไปทั้งจากกิเลสขันธ์และ
จากนิมิตภายนอก ชื่อว่ามัคคญาณ
[๖๒] บุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยอริยมรรค
ย่อมเผากิเลสที่ยังไม่เกิด
ด้วยโลกุตตรฌานที่เกิดขึ้นแล้ว
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวโลกุตตระว่าเป็นฌาน
บุคคลนั้นย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฏฐิต่าง ๆ
เพราะเป็นผู้ฉลาดในฌานและวิโมกข์
พระโยคาวจรตั้งจิตมั่นแล้วย่อมเห็นแจ้งฉันใด
เมื่อเห็นแจ้งก็พึงตั้งจิตมั่นฉันนั้น
ทั้งสมถะและวิปัสสนาได้เกิดขึ้นในขณะนั้น
มีส่วนเสมอกันดำเนินไปคู่กัน
ความเห็นว่าสังขารทั้งหลายเป็นทุกข์ นิโรธ๑เป็นสุข
ปัญญาที่ออกจากธรรมทั้งสองย่อมถูกต้องอมตบท๒

เชิงอรรถ :
๑ นิโรธ ในที่นี้หมายถึงนิพพาน (ขุ.ป.อ. ๑/๖๓/๓๐๐)
๒ อมตบท ในที่นี้หมายถึงนิพพาน (ขุ.ป.อ. ๑/๖๓/๓๐๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๒. ผลญาณนิทเทส
พระโยคาวจรผู้ฉลาดในความต่างกัน
และความเป็นอันเดียวกันแห่งวิโมกข์เหล่านั้น
ย่อมรู้วิโมกขจริยา ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฏฐิต่าง ๆ
เพราะเป็นผู้ฉลาดในญาณทั้งสอง
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการออกและหลีกไปทั้งจากกิเลสขันธ์
และจากนิมิตภายนอก ชื่อว่ามัคคญาณ
มัคคญาณนิทเทสที่ ๑๑ จบ

๑๒. ผลญาณนิทเทส
แสดงผลญาณ
[๖๓] ปัญญาที่หยุดความพยายาม ชื่อว่าผลญาณ เป็นอย่างไร
คือ ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค ญาณที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น
ย่อมออกจากมิจฉาทิฏฐิ ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาทิฏฐินั้น จากขันธ์
ทั้งหลาย และออกจากสรรพนิมิตภายนอก สัมมาทิฏฐิย่อมเกิดขึ้นเพราะหยุดความ
พยายามนั้น การหยุดความพยายามนั้นเป็นผลของมรรค
ญาณที่ชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ เพราะมีสภาวะตรึกตรอง ย่อมออกจากมิจฉา-
สังกัปปะ ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสังกัปปะนั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และ
ออกจากสรรพนิมิตภายนอก สัมมาสังกัปปะย่อมเกิดขึ้นเพราะหยุดความพยายามนั้น
การหยุดความพยายามนั้นเป็นผลของมรรค
ญาณที่ชื่อว่าสัมมาวาจา เพราะมีสภาวะกำหนดไว้ ย่อมออกจากมิจฉาวาจา
ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาวาจานั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และออกจาก
สรรพนิมิตภายนอก สัมมาวาจาย่อมเกิดขึ้นเพราะหยุดความพยายามนั้น การหยุด
ความพยายามนั้นเป็นผลของมรรค

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๒. ผลญาณนิทเทส
ญาณที่ชื่อว่าสัมมากัมมันตะ เพราะมีสภาวะเป็นสมุฏฐาน ย่อมออกจากมิจฉา-
กัมมันตะ ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉากัมมันตะนั้น จากขันธ์ทั้งหลาย
และออกจากสรรพนิมิตภายนอก สัมมากัมมันตะย่อมเกิดขึ้นเพราะหยุดความ
พยายามนั้น การหยุดความพยายามนั้นเป็นผลของมรรค
ญาณที่ชื่อว่าสัมมาอาชีวะ เพราะมีสภาวะผ่องแผ้ว ย่อมออกจากมิจฉาอาชีวะ
ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาอาชีวะนั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และออกจาก
สรรพนิมิตภายนอก สัมมาอาชีวะย่อมเกิดขึ้นเพราะหยุดความพยายามนั้น การหยุด
ความพยายามนั้นเป็นผลของมรรค
ญาณที่ชื่อว่าสัมมาวายามะ เพราะมีสภาวะประคองไว้ ย่อมออกจากมิจฉา-
วายามะ ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาวายามะนั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และ
ออกจากสรรพนิมิตภายนอก สัมมาวายามะย่อมเกิดขึ้นเพราะหยุดความพยายามนั้น
การหยุดความพยายามนั้นเป็นผลของมรรค
ญาณที่ชื่อว่าสัมมาสติ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น ย่อมออกจากมิจฉาสติ ออกจาก
เหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสตินั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และออกจากสรรพนิมิต
ภายนอก สัมมาสติย่อมเกิดขึ้นเพราะหยุดความพยายามนั้น การหยุดความพยายาม
นั้นเป็นผลของมรรค
ญาณที่ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมออกจากมิจฉาสมาธิ
ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และออกจาก
สรรพนิมิตภายนอก สัมมาสมาธิย่อมเกิดขึ้นเพราะหยุดความพยายามนั้น การหยุด
ความพยายามนั้นเป็นผลของมรรค
ในขณะแห่งสกทาคามิมรรค ญาณที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น ฯลฯ
ญาณที่ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมออกจากกามราคสังโยชน์
จากปฏิฆสังโยชน์ จากกามราคานุสัย จากปฏิฆานุสัยส่วนหยาบ ๆ ออกจากเหล่า
กิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และออกจากสรรพนิมิตภายนอก
สัมมาสมาธิย่อมเกิดขึ้นเพราะหยุดความพยายามนั้น การหยุดความพยายามนั้น
เป็นผลของมรรค


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๐๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๓. วิมุตติญาณนิทเทส
ในขณะแห่งอนาคามิมรรค ญาณที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น ฯลฯ
ญาณที่ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมออกจากกามราคสังโยชน์
จากปฏิฆสังโยชน์ จากกามราคานุสัย จากปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียด ๆ ออกจาก
เหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และออกจากสรรพนิมิต
ภายนอก สัมมาสมาธิย่อมเกิดขึ้นเพราะหยุดความพยายามนั้น การหยุดความ
พยายามนั้นเป็นผลของมรรค
ในขณะแห่งอรหัตตมรรค ญาณที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น ฯลฯ
ญาณที่ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมออกจากรูปราคะ จาก
อรูปราคะ จากมานะ จากอุทธัจจะ จากถีนมิทธะ จากอวิชชา จากภวราคานุสัย จาก
มานานุสัย จากอวิชชานุสัย ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จาก
ขันธ์ทั้งหลายและออกจากสรรพนิมิตภายนอก สัมมาสมาธิย่อมเกิดขึ้นเพราะหยุด
ความพยายามนั้น การหยุดความพยายามนั้นเป็นผลของมรรค
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาที่หยุดความพยายาม ชื่อว่าผลญาณ
ผลญาณนิทเทสที่ ๑๒ จบ

๑๓. วิมุตติญาณนิทเทส
แสดงวิมุตติญาณ
[๖๔] ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสที่อริยมรรคตัดขาดแล้ว ชื่อว่า
วิมุตติญาณ เป็นอย่างไร
คือ อุปกิเลสแห่งจิตของตน คือ สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นอัตตาของตน)
วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) สีลัพพตปรามาส (การยึดมั่นศีลพรต) ทิฏฐานุสัย
(กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดานคือทิฏฐิ) วิจิกิจฉานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ใน
สันดานคือวิจิกิจฉา) เป็นกิเลสที่โสดาปัตติมรรคตัดได้โดยเด็ดขาดแล้ว จิตจึงชื่อว่า


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๓. วิมุตติญาณนิทเทส
หลุดพ้นแล้ว หลุดพ้นดีแล้วจากอุปกิเลส ๕ ประการนี้ พร้อมด้วยกิเลสที่กลุ้มรุมจิต
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้วิมุตตินั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสที่อริยมรรคตัดขาดแล้ว
ชื่อว่าวิมุตติญาณ
อุปกิเลสแห่งจิตของตน คือ กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ ส่วนหยาบ ๆ
กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนหยาบ ๆ เป็นกิเลสที่สกทาคามิมรรคตัดได้โดย
เด็ดขาดแล้ว จิตจึงชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว หลุดพ้นดีแล้วจากอุปกิเลส ๔ ประการนี้
พร้อมด้วยกิเลสที่กลุ้มรุมจิต ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้วิมุตตินั้น ชื่อว่าปัญญา
เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณาเห็น
อุปกิเลสที่อริยมรรคตัดขาดแล้ว ชื่อว่าวิมุตติญาณ
อุปกิเลสแห่งจิตของตน คือ กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ ส่วนละเอียด ๆ
กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียด ๆ เป็นกิเลสที่อนาคามิมรรคตัดได้โดย
เด็ดขาดแล้ว จิตจึงชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว หลุดพ้นดีแล้วจากอุปกิเลส ๔ ประการนี้
พร้อมด้วยกิเลสที่กลุ้มรุมจิต ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้วิมุตตินั้น ชื่อว่าปัญญา
เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณาเห็น
อุปกิเลสที่อริยมรรคตัดขาดแล้ว ชื่อว่าวิมุตติญาณ
อุปกิเลสแห่งจิตของตน คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา
มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย เป็นกิเลสที่อรหัตตมรรคตัดได้โดยเด็ดขาดแล้ว
จิตจึงชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว หลุดพ้นดีแล้วจากอุปกิเลส ๘ ประการนี้ พร้อมด้วยกิเลส
ที่กลุ้มรุมจิต ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้วิมุตตินั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะ
รู้ชัด เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสที่อริยมรรค
ตัดขาดแล้ว ชื่อว่าวิมุตติญาณ
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสที่อริยมรรคตัดขาดแล้ว
ชื่อว่าวิมุตติญาณ

วิมุตติญาณนิทเทสที่ ๑๓ จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๔. ปัจจเวกขณญาณนิทเทส
๑๔. ปัจจเวกขณญาณนิทเทส
แสดงปัจจเวกขณญาณ
[๖๕] ปัญญาในการเห็นธรรมที่มาร่วมกันในขณะนั้น ชื่อว่าปัจจเวกขณ-
ญาณ เป็นอย่างไร
คือ ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค ญาณที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น
มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ เพราะมีสภาวะตรึกตรอง มาร่วม
กันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าสัมมาวาจา เพราะมีสภาวะกำหนดไว้ มาร่วมกันใน
ขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าสัมมากัมมันตะ เพราะมีสภาวะเป็นสมุฏฐาน มาร่วมกันใน
ณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าสัมมาอาชีวะ เพราะมีสภาวะผ่องแผ้ว มาร่วมกันในขณะนั้น
ญาณที่ชื่อว่าสัมมาวายามะ เพราะมีสภาวะประคองไว้ มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่
ชื่อว่าสัมมาสติ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าสัมมาสมาธิ
เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน มาร่วมกันในขณะนั้น
ญาณที่ชื่อว่าสติสัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่
ชื่อว่าธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเลือกเฟ้น มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่
ชื่อว่าวิริยสัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะประคองไว้ มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่า
ปีติสัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแผ่ซ่านไป มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่า
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะสงบระงับ มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่า
สมาธิสัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่า
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะพิจารณา มาร่วมกันในขณะนั้น
ญาณที่ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธา
มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าวิริยพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะความ
เกียจคร้าน มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าสติพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหว
เพราะความประมาท มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าสมาธิพละ เพราะมีสภาวะ
ไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าปัญญาพละ เพราะมี
สภาวะไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา มาร่วมกันในขณะนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๔. ปัจจเวกขณญาณนิทเทส
ญาณที่ชื่อว่าสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ มาร่วมกันในขณะนั้น
ญาณที่ชื่อว่าวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้ มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่า
สตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าสมาธินทรีย์
เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าปัญญินทรีย์ เพราะมี
สภาวะเห็น มาร่วมกันในขณะนั้น
ญาณที่ชื่อว่าอินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่
ชื่อว่าพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหว มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าสัมโพชฌงค์
เพราะมีสภาวะนำออก มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่ามรรค เพราะมีสภาวะเป็น
เหตุ มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าสติปัฏฐาน เพราะมีสภาวะตั้งมั่น มาร่วมกัน
ในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าสัมมัปปธาน เพราะมีสภาวะตั้งไว้ มาร่วมกันในขณะนั้น
ญาณที่ชื่อว่าอิทธิบาท เพราะมีสภาวะสำเร็จ มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่า
สัจจะ เพราะมีสภาวะเป็นของแท้ มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าสมถะ เพราะมี
สภาวะไม่ฟุ้งซ่าน มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะ
พิจารณาเห็น มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าสมถะและวิปัสสนา เพราะมีสภาวะ
มีรสเป็นอย่างเดียวกัน มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าธรรมเป็นคู่กัน เพราะมี
สภาวะไม่ล่วงเลยกัน มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีสภาวะ
สำรวม มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าจิตตวิสุทธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน
มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าทิฏฐิวิสุทธิ เพราะมีสภาวะเห็น มาร่วมกัน
ในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะมีสภาวะหลุดพ้น มาร่วมกันในขณะนั้น
ญาณที่ชื่อว่าวิชชา เพราะมีสภาวะรู้ชัด มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าวิมุตติ
เพราะมีสภาวะสละ มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าญาณในความสิ้นไป เพราะมี
สภาวะตัดขาด มาร่วมกันในขณะนั้น
ญาณที่ชื่อว่าฉันทะ เพราะมีสภาวะเป็นมูล มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่า
มนสิการ เพราะมีสภาวะเป็นสมุฏฐาน มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าผัสสะ
เพราะมีสภาวะเป็นที่รวม มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าเวทนา เพราะมีสภาวะ
เป็นที่ประชุม มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีสภาวะเป็นประธาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๔. ปัจจเวกขณญาณนิทเทส
มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าสติ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ มาร่วมกันในขณะนั้น
ญาณที่ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะยิ่งกว่าธรรมนั้น ๆ มาร่วมกันในขณะนั้น
ญาณที่ชื่อว่าวิมุตติ เพราะมีสภาวะเป็นแก่นสาร มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่า
ธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เพราะมีสภาวะเป็นที่สุด มาร่วมกันในขณะนั้น
พระโยคาวจรออก (จากสมาบัติ) แล้วพิจารณาว่า ธรรมเหล่านี้มาร่วมกันในขณะนั้น
ในขณะแห่งโสดาปัตติผล ญาณที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น มาร่วม
กันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ เพราะมีสภาวะตรึกตรอง มาร่วมกัน
ในขณะนั้น ฯลฯ ญาณที่ชื่อว่าอนุปปาทญาณ (ญาณในความไม่เกิดขึ้น) เพราะมี
สภาวะระงับ มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าฉันทะ เพราะมีสภาวะเป็นมูล
มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่ามนสิการ เพราะมีสภาวะเป็นสมุฏฐาน มาร่วมกัน
ในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าผัสสะ เพราะมีสภาวะเป็นที่รวม มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณ
ที่ชื่อว่าเวทนา เพราะมีสภาวะเป็นที่ประชุม มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าสมาธิ
เพราะมีสภาวะเป็นประธาน มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าสติ เพราะมีสภาวะ
เป็นใหญ่ มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะยิ่งกว่าธรรมนั้น ๆ
มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าวิมุตติ เพราะมีสภาวะเป็นแก่นสาร มาร่วมกัน
ในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เพราะมีสภาวะเป็นที่สุด
มาร่วมกันในขณะนั้น พระโยคาวจรออก (จากสมาบัติ) แล้วพิจารณาว่า ธรรมเหล่านี้
มาร่วมกันในขณะนั้น
ในขณะแห่งสกทาคามิมรรค ญาณที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น
มาร่วมกันในขณะนั้น ฯลฯ
ในขณะแห่งสกทาคามิผล ญาณที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น
มาร่วมกันในขณะนั้น ฯลฯ
ในขณะแห่งอนาคามิมรรค ญาณที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น
มาร่วมกันในขณะนั้น ฯลฯ
ในขณะแห่งอนาคามิผล ญาณที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น มาร่วมกัน
ในขณะนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๐๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๕. วัตถุนานัตตญาณนิทเทส
ในขณะแห่งอรหัตตมรรค ญาณที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น
มาร่วมกันในขณะนั้น ฯลฯ ญาณที่ชื่อว่าญาณในความสิ้นไป เพราะมีสภาวะตัดขาด
มาร่วมกันในขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าฉันทะ เพราะมีสภาวะเป็นมูล มาร่วมกันใน
ขณะนั้น ฯลฯ ญาณที่ชื่อว่าธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เพราะมีสภาวะเป็น
ที่สุด มาร่วมกันในขณะนั้น พระโยคาวจรออก (จากสมาบัติ) แล้วพิจารณาว่า ธรรม
เหล่านี้มาร่วมกันในขณะนั้น
ในขณะแห่งอรหัตตผล ญาณที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น มาร่วมกัน
ในขณะนั้น ฯลฯ ญาณที่ชื่อว่าอนุปปาทญาณ เพราะมีสภาวะระงับ มาร่วมกันใน
ขณะนั้น ญาณที่ชื่อว่าฉันทะ เพราะมีสภาวะเป็นมูล มาร่วมกันในขณะนั้น ฯลฯ
ญาณที่ชื่อว่าธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เพราะมีสภาวะเป็นที่สุด มาร่วมกันใน
ขณะนั้น พระโยคาวจรออก (จากสมาบัติ) แล้วพิจารณาว่า ธรรมเหล่านี้มาร่วมกัน
ในขณะนั้น
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณาธรรมที่เข้ามาประชุมกันใน
ขณะนั้น ชื่อว่าปัจจเวกขณญาณ
ปัจจเวกขณญาณนิทเทสที่ ๑๔ จบ

๑๕. วัตถุนานัตตญาณนิทเทส
แสดงญาณในวัตถุต่าง ๆ๑
[๖๖] ปัญญาในการกำหนดธรรมต่าง ๆ ที่เป็นภายใน ชื่อว่าวัตถุนานัตต-
ญาณ (ญาณในวัตถุต่าง ๆ) เป็นอย่างไร พระโยคาวจรกำหนดธรรมทั้งหลายที่
เป็นภายใน อย่างไร
คือ พระโยคาวจรกำหนดจักขุที่เป็นภายใน กำหนดโสตะที่เป็นภายใน กำหนด
ฆานะที่เป็นภายใน กำหนดชิวหาที่เป็นภายใน กำหนดกายที่เป็นภายใน กำหนด
มโนที่เป็นภายใน

เชิงอรรถ :
๑ วัตถุต่าง ๆ ในที่นี้หมายถึงที่ตั้งที่เกิดแห่งอารมณ์ ได้แก่ อายตนะภายใน ๖ เป็นที่ตั้งที่เกิดแห่งอารมณ์
(ขุ.ป.อ. ๑/๖๗/๗๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๕. วัตถุนานัตตญาณนิทเทส
พระโยคาวจรกำหนดจักขุที่เป็นภายใน อย่างไร
คือ กำหนดว่า “จักขุเกิดเพราะอวิชชา” กำหนดว่า “จักขุเกิดเพราะตัณหา”
กำหนดว่า “จักขุเกิดเพราะกรรม” กำหนดว่า “จักขุเกิดเพราะอาหาร” กำหนดว่า
“จักขุเกิดเพราะอาศัยมหาภูตรูป ๔” กำหนดว่า “จักขุเกิดแล้ว” กำหนดว่า “จักขุ
มาร่วมกันแล้ว” กำหนดว่า “จักขุไม่มีแล้วเกิดมี มีแล้วจักไม่มี”
กำหนดจักขุโดยความเป็นของมีที่สุด คือกำหนดว่า “จักขุไม่ยั่งยืน ไม่เที่ยง
มีความแปรผันไปเป็นธรรมดา” กำหนดว่า “จักขุไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัย
ปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา เสื่อมไปเป็นธรรมดา คลายไปเป็นธรรมดา
ดับไปเป็นธรรมดา”
กำหนดจักขุโดยความไม่เที่ยง ไม่กำหนดโดยความเที่ยง กำหนดโดยความเป็น
ทุกข์ ไม่กำหนดโดยความเป็นสุข กำหนดโดยความเป็นอนัตตา ไม่กำหนดโดยความ
เป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด ไม่กำหนัด ย่อมทำราคะให้ดับ
ไม่ให้เกิดขึ้น ย่อมสละคืน ไม่ยึดถือ
เมื่อกำหนดโดยความไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญา (ความหมายรู้ว่าเที่ยง)ได้
เมื่อกำหนดโดยความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญา(ความหมายรู้ว่าเป็นสุข)ได้ เมื่อ
กำหนดโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละอัตตสัญญา(ความหมายรู้ว่าอัตตา)ได้ เมื่อเบื่อ
หน่าย ย่อมละนันทิ (ความยินดี) ได้ เมื่อคลายกำหนัดย่อมละราคะได้ เมื่อทำราคะ
(ความกำหนัด) ให้ดับ ย่อมละสมุทัย (เหตุเกิด) ได้ เมื่อสละคืน ย่อมละอาทานะ
(ความยึดถือ) ได้ พระโยคาวจรกำหนดจักขุที่เป็นภายในอย่างนี้
พระโยคาวจรกำหนดโสตะที่เป็นภายใน อย่างไร
คือ กำหนดว่า “โสตะเกิดเพราะอวิชชา” ฯลฯ พระโยคาวจรกำหนดโสตะที่
เป็นภายในอย่างนี้
พระโยคาวจรกำหนดฆานะที่เป็นภายใน อย่างไร
คือ กำหนดว่า “ฆานะเกิดเพราะอวิชชา” ฯลฯ พระโยคาวจรกำหนดฆานะที่
เป็นภายในอย่างนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๕. วัตถุนานัตตญาณนิทเทส
พระโยคาวจรกำหนดชิวหาที่เป็นภายใน อย่างไร
คือ กำหนดว่า “ชิวหาเกิดเพราะอวิชชา” ฯลฯ พระโยคาวจรกำหนดชิวหาที่
เป็นภายในอย่างนี้
พระโยคาวจรกำหนดกายที่เป็นภายใน อย่างไร
คือ กำหนดว่า “กายเกิดเพราะอวิชชา” ฯลฯ พระโยคาวจรกำหนดกายที่เป็น
ภายในอย่างนี้
พระโยคาวจรกำหนดมโนที่เป็นภายใน อย่างไร
คือ กำหนดว่า “มโนเกิดเพราะอวิชชา” กำหนดว่า “มโนเกิดเพราะตัณหา”
กำหนดว่า “มโนเกิดเพราะกรรม” กำหนดว่า “มโนเกิดเพราะอาหาร (อาศัยหทัย
วัตถุ)” กำหนดว่า “มโนเกิดแล้ว” กำหนดว่า “มโนมาร่วมกันแล้ว” กำหนดว่า
“มโนไม่มีแล้วเกิดมี มีแล้วจักไม่มี”
กำหนดมโนโดยความเป็นของมีที่สุด คือกำหนดว่า “มโนไม่ยั่งยืน ไม่เที่ยง
มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา” กำหนดว่า “มโนไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัย
ปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา เสื่อมไปเป็นธรรมดา คลายไปเป็นธรรมดา
ดับไปเป็นธรรมดา”
กำหนดมโนโดยความไม่เที่ยง ไม่กำหนดโดยความเที่ยง กำหนดโดยความเป็น
ทุกข์ ไม่กำหนดโดยความเป็นสุข กำหนดโดยความเป็นอนัตตา ไม่กำหนดโดยความ
เป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด ไม่กำหนัด ย่อมทำราคะให้ดับ
ไม่ให้เกิดขึ้น ย่อมสละคืน ไม่ยึดถือ
เมื่อกำหนดโดยความไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อกำหนดโดยความเป็น
ทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อ กำหนดโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละอัตตสัญญาได้
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละนันทิได้ เมื่อคลายกำหนัดย่อมละราคะได้ เมื่อทำราคะให้ดับ
ย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืน ย่อมละอาทานะได้ พระโยคาวจรกำหนดมโนที่เป็น
ภายในอย่างนี้ กำหนดธรรมที่เป็นภายในอย่างนี้
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดธรรมที่เป็นภายใน ชื่อว่า
วัตถุนานัตตญาณ
วัตถุนานัตตญาณนิทเทสที่ ๑๕ จบ

 


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๖. โคจรนานัตตญาณนิทเทส
๑๖. โคจรนานัตตญาณนิทเทส
แสดงโคจรนานัตตญาณ
[๖๗] ปัญญาในการกำหนดธรรมต่าง ๆ ที่เป็นภายนอก ชื่อว่าโคจร-
นานัตตญาณ เป็นอย่างไร พระโยคาวจรกำหนดธรรมทั้งหลายที่เป็นภายนอก
อย่างไร
คือ พระโยคาวจรกำหนดรูปที่เป็นภายนอก กำหนดสัททะ (เสียง) ที่เป็นภาย
นอก กำหนดคันธะ (กลิ่น) ที่เป็นภายนอก กำหนดรสที่เป็นภายนอก กำหนด
โผฏฐัพพะที่เป็นภายนอก กำหนดธรรมารมณ์ที่เป็นภายนอก
พระโยคาวจรกำหนดรูปที่เป็นภายนอก อย่างไร
คือ กำหนดว่า “รูปเกิดเพราะอวิชชา” กำหนดว่า “รูปเกิดเพราะตัณหา” กำหนด
ว่า “รูปเกิดเพราะกรรม” กำหนดว่า “รูปเกิดเพราะอาหาร” กำหนดว่า “รูปอาศัย
มหาภูตรูป ๔” กำหนดว่า “รูปเกิดแล้ว” กำหนดว่า “รูปมาร่วมกันแล้ว” กำหนดว่า
“รูปไม่มีแล้วเกิดมี มีแล้วจักไม่มี”
กำหนดรูปโดยความเป็นของมีที่สุด คือกำหนดว่า “รูปไม่ยั่งยืน ไม่เที่ยง
มีความแปรผันไปเป็นธรรมดา” กำหนดว่า “รูปไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัย
ปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา เสื่อมไปเป็นธรรมดา คลายไปเป็นธรรมดา
ดับไปเป็นธรรมดา”
กำหนดรูปโดยความไม่เที่ยง ไม่กำหนดโดยความเที่ยง กำหนดโดยความ
เป็นทุกข์ ไม่กำหนดโดยความเป็นสุข กำหนดโดยความเป็นอนัตตา ไม่กำหนดโดย
ความเป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่ายไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด ไม่กำหนัด ย่อมทำราคะ
ให้ดับ ไม่ให้เกิดขึ้น ย่อมสละคืน ไม่ยึดถือ
เมื่อกำหนดโดยความไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อกำหนดโดยความ
เป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อกำหนดโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละอัตต-
สัญญาได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละนันทิได้ เมื่อคลายกำหนัดย่อมละราคะได้ เมื่อทำ
ราคะให้ดับย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืน ย่อมละอาทานะได้ พระโยคาวจรกำหนด
รูปที่เป็นภายนอกอย่างนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๖. โคจรนานัตตญาณนิทเทส
พระโยคาวจรกำหนดสัททะ (เสียง) ที่เป็นภายนอก อย่างไร
คือ กำหนดว่า “สัททะเกิดเพราะอวิชชา” ฯลฯ พระโยคาวจรกำหนดสัททะที่
เป็นภายนอกอย่างนี้
พระโยคาวจรกำหนดคันธะ (กลิ่น) ที่เป็นภายนอก อย่างไร
คือ กำหนดว่า “คันธะเกิดเพราะอวิชชา” ฯลฯ พระโยคาวจรกำหนดคันธะที่
เป็นภายนอกอย่างนี้
พระโยคาวจรกำหนดรสที่เป็นภายนอก อย่างไร
คือ กำหนดว่า “รสเกิดเพราะอวิชชา” ฯลฯ พระโยคาวจรกำหนดรสที่เป็น
ภายนอกอย่างนี้
พระโยคาวจรกำหนดโผฏฐัพพะที่เป็นภายนอก อย่างไร
คือ กำหนดว่า “โผฏฐัพพะเกิดเพราะอวิชชา” ฯลฯ พระโยคาวจรกำหนด
โผฏฐัพพะที่เป็นภายนอกอย่างนี้
พระโยคาวจรกำหนดธรรมารมณ์ที่เป็นภายนอก อย่างไร
คือ กำหนดว่า “ธรรมารมณ์เกิดเพราะอวิชชา” กำหนดว่า “ธรรมารมณ์เกิด
เพราะตัณหา” กำหนดว่า “ธรรมารมณ์เกิดเพราะกรรม” กำหนดว่า “ธรรมารมณ์
เกิดเพราะอาหาร (อาศัยหทัยวัตถุ)” กำหนดว่า “ธรรมารมณ์เกิดแล้ว” กำหนดว่า
“ธรรมารมณ์มาร่วมกันแล้ว” กำหนดว่า “ธรรมารมณ์ไม่มีแล้วเกิดมี มีแล้วจักไม่มี”
กำหนดธรรมารมณ์โดยความเป็นของมีที่สุด คือกำหนดว่า “ธรรมารมณ์ไม่
ยั่งยืน ไม่เที่ยง มีความแปรผันไปเป็นธรรมดา” กำหนดว่า “ธรรมารมณ์ไม่เที่ยง
ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา เสื่อมไปเป็น
ธรรมดา คลายไปเป็นธรรมดา ดับไปเป็นธรรมดา”
กำหนดธรรมารมณ์โดยความไม่เที่ยง ไม่กำหนดโดยความเที่ยง กำหนดโดย
ความเป็นทุกข์ ไม่กำหนดโดยความเป็นสุข กำหนดโดยความเป็นอนัตตา ไม่กำหนด
โดยความเป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด ไม่กำหนัด ย่อมทำ
ราคะให้ดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ยึดถือ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๗. จริยานานัตตญาณนิทเทส
เมื่อกำหนดโดยความไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อกำหนดโดยความเป็น
ทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อกำหนดโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละอัตตสัญญาได้
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละนันทิได้ เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละราคะได้ เมื่อทำราคะให้ดับ
ย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืน ย่อมละอาทานะได้ พระโยคาวจรกำหนดธรรมารมณ์
ที่เป็นภายนอกอย่างนี้
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดธรรมต่าง ๆ ที่เป็นภายนอก
ชื่อว่าโคจรนานัตตญาณ
โคจรนานัตตญาณนิทเทสที่ ๑๖ จบ

๑๗. จริยานานัตตญาณนิทเทส
แสดงจริยานานัตตญาณ
[๖๘] ปัญญาในการกำหนดจริยา ชื่อว่าจริยานานัตตญาณ เป็นอย่างไร
คือ คำว่า จริยา อธิบายว่า จริยา ๓ อย่าง ได้แก่
๑. วิญญาณจริยา
๒. อัญญาณจริยา
๓. ญาณจริยา
วิญญาณจริยา เป็นอย่างไร
คือ ความคิดเพื่อดูรูปทั้งหลายอันเป็นเพียงกิริยาอัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณ-
จริยา จักขุวิญญาณที่เป็นแต่เพียงเห็นรูป ชื่อว่าวิญญาณจริยา มโนธาตุอันเป็นวิบาก
ที่ขึ้นสู่อารมณ์ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะได้เห็นรูปแล้ว มโนวิญญาณธาตุอัน
เป็นวิบาก ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะขึ้นสู่รูปแล้ว
ความคิดเพื่อฟังเสียงอันเป็นเพียงกิริยาอัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา
โสตวิญญาณที่เป็นแต่เพียงฟังเสียง ชื่อว่าวิญญาณจริยา มโนธาตุอันเป็นวิบากที่ขึ้น
สู่อารมณ์ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะได้ฟังเสียงแล้ว มโนวิญญาณธาตุอันเป็น
วิบาก ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะขึ้นสู่เสียงแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๗. จริยานานัตตญาณนิทเทส
ความคิดเพื่อดมกลิ่นอันเป็นเพียงกิริยาอัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา
ฆานวิญญาณที่เป็นแต่เพียงดมกลิ่น ชื่อว่าวิญญาณจริยา มโนธาตุอันเป็นวิบากที่ขึ้น
สู่อารมณ์ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะได้ดมกลิ่นแล้ว มโนวิญญาณธาตุอันเป็นวิบาก
ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะขึ้นสู่กลิ่นแล้ว
ความคิดเพื่อลิ้มรสอันเป็นเพียงกิริยาอัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา
ชิวหาวิญญาณที่เป็นแต่เพียงลิ้มรส ชื่อว่าวิญญาณจริยา มโนธาตุอันเป็นวิบากที่ขึ้น
สู่อารมณ์ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะได้ลิ้มรสแล้ว มโนวิญญาณธาตุอันเป็นวิบาก
ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะขึ้นสู่รสแล้ว
ความคิดเพื่อสัมผัสโผฏฐัพพะอันเป็นเพียงกิริยาอัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณ-
จริยา กายวิญญาณที่เป็นแต่เพียงสัมผัสโผฏฐัพพะ ชื่อว่าวิญญาณจริยา มโนธาตุ
อันเป็นวิบากที่ขึ้นสู่อารมณ์ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะได้สัมผัสโผฏฐัพพะแล้ว
มโนวิญญาณธาตุอันเป็นวิบาก ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะขึ้นสู่โผฏฐัพพะแล้ว
ความคิดเพื่อรู้แจ้งธรรมารมณ์อันเป็นเพียงกิริยาอัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา
มโนวิญญาณธาตุที่เป็นแต่เพียงรู้แจ้งธรรมารมณ์ ชื่อว่าวิญญาณจริยา มโนธาตุ
อันเป็นวิบากที่ขึ้นสู่อารมณ์ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะรู้แจ้งธรรมารมณ์แล้ว
มโนวิญญาณธาตุอันเป็นวิบาก ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะขึ้นสู่ธรรมารมณ์แล้ว
[๖๙] คำว่า วิญญาณจริยา อธิบายว่า ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะมีความ
หมายว่าอย่างไร
คือ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่มีราคะ ชื่อว่าวิญญาณจริยา
เพราะประพฤติไม่มีโทสะ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่มีโมหะ ชื่อว่า
วิญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่มีมานะ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่มี
ทิฏฐิ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่มีอุทธัจจะ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะ
ประพฤติไม่มีวิจิกิจฉา ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่มีอนุสัย ชื่อว่า


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๗. จริยานานัตตญาณนิทเทส
วิญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่ประกอบด้วยราคะ ชื่อว่าวิญญาณจริยา
เพราะประพฤติไม่ประกอบด้วยโทสะ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่
ประกอบด้วยโมหะ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่ประกอบด้วยมานะ ชื่อว่า
วิญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่ประกอบด้วยทิฏฐิ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะ
ประพฤติไม่ประกอบด้วยอุทธัจจะ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่ประกอบ
ด้วยวิจิกิจฉา ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่ประกอบด้วยอนุสัย ชื่อว่า
วิญญาณจริยา เพราะประพฤติประกอบด้วยกุศลกรรม ชื่อว่าวิญญาณจริยา
เพราะประพฤติไม่ประกอบด้วยอกุศลกรรม ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะประพฤติ
ไม่ประกอบด้วยกรรมมีโทษ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะประพฤติประกอบด้วย
กรรมไม่มีโทษ ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่ประกอบด้วยกรรมดำ ชื่อว่า
วิญญาณจริยา เพราะประพฤติประกอบด้วยกรรมขาว ชื่อว่าวิญญาณจริยา
เพราะประพฤติประกอบด้วยกรรมที่มีสุขเป็นกำไร ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะ
ประพฤติไม่ประกอบด้วยกรรมที่มีทุกข์เป็นกำไร ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะ
ประพฤติประกอบด้วยกรรมที่มีสุขเป็นวิบาก ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะประพฤติ
ไม่ประกอบด้วยกรรมที่มีทุกข์เป็นวิบาก ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะประพฤติใน
อารมณ์ที่รู้แจ้งแล้ว วิญญาณมีจริยาเช่นนี้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าวิญญาณจริยา
จิตนี้บริสุทธิ์โดยปกติ เพราะไม่มีกิเลส เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าวิญญาณจริยา นี้ชื่อว่า
วิญญาณจริยา
อัญญาณจริยา เป็นอย่างไร
คือ ความคิดเพื่อความแล่นไปแห่งราคะในรูปที่น่าพอใจ อันเป็นเพียงกิริยา-
อัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งราคะ ชื่อว่าอัญญาณจริยา
ความคิดเพื่อความแล่นไปแห่งโทสะในรูปที่น่าพอใจ อันเป็นเพียงกิริยาอัพยากฤต
ชื่อว่าวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งโทสะ ชื่อว่าอัญญาณจริยา
ความคิดเพื่อความแล่นไปแห่งโมหะในวัตถุที่มิได้เพ่งเล็งด้วยราคะและโทสะ
ทั้งสองนั้น อันเป็นเพียงกิริยาอัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งโมหะ
ชื่อว่าอัญญาณจริยา
ความคิดเพื่อความแล่นไปแห่งมานะที่ผูกพัน อันเป็นเพียงกิริยาอัพยากฤต
ชื่อว่าวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งมานะ ชื่อว่าอัญญาณจริยา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๗. จริยานานัตตญาณนิทเทส
ความคิดเพื่อความแล่นไปแห่งทิฏฐิที่ยึดถือ อันเป็นเพียงกิริยาอัพยากฤต
ชื่อว่าวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งทิฏฐิ ชื่อว่าอัญญาณจริยา
ความคิดเพื่อความแล่นไปแห่งอุทธัจจะที่ถึงความฟุ้งซ่าน อันเป็นเพียงกิริยา-
อัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งอุทธัจจะ ชื่อว่าอัญญาณจริยา
ความคิดเพื่อความแล่นไปแห่งวิจิกิจฉาที่ไม่ถึงความตกลง อันเป็นเพียงกิริยา-
อัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งวิจิกิจฉา ชื่อว่าอัญญาณจริยา
ความคิดเพื่อความแล่นไปแห่งอนุสัยที่ถึงความเป็นธรรมมีกำลัง อันเป็นเพียง
กิริยาอัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งอนุสัย ชื่อว่าอัญญาณจริยา
ความคิดเพื่อความแล่นไปแห่งราคะในเสียงที่น่าพอใจ อันเป็นเพียงกิริยา-
อัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา ฯลฯ ความคิดเพื่อความแล่นไปแห่งราคะในกลิ่นที่
น่าพอใจ ฯลฯ ในรสที่น่าพอใจ ฯลฯ ในโผฏฐัพพะที่น่าพอใจ ฯลฯ ความคิด
เพื่อแล่นไปแห่งราคะในธรรมารมณ์ที่น่าพอใจ อันเป็นเพียงกิริยาอัพยากฤต ชื่อว่า
วิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งราคะ ชื่อว่าอัญญาณจริยา
ความคิดเพื่อความแล่นไปแห่งโทสะในธรรมารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ อันเป็นเพียง
กิริยาอัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งโทสะ ชื่อว่าอัญญาณจริยา
ความคิดเพื่อความแล่นไปแห่งโมหะในวัตถุที่มิได้เพ่งเล็งด้วยราคะและโทสะทั้งสอง
นั้น อันเป็นเพียงกิริยาอัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งโมหะ
ชื่อว่าอัญญาณจริยา ฯลฯ ความคิดเพื่อความแล่นไปแห่งทิฏฐิที่ยึดถือ อันเป็นเพียง
กิริยาอัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งทิฏฐิ ชื่อว่าอัญญาณจริยา
ความคิดเพื่อความแล่นไปแห่งอุทธัจจะที่ถึงความฟุ้งซ่าน อันเป็นเพียงกิริยา-
อัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งอุทธัจจะ ชื่อว่าอัญญาณจริยา
ความคิดเพื่อความแล่นไปแห่งวิจิกิจฉาที่ไม่ถึงความตกลง อันเป็นเพียงกิริยา-
อัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งวิจิกิจฉา ชื่อว่าอัญญาณจริยา
ความคิดเพื่อความแล่นไปแห่งอนุสัยที่ถึงความเป็นธรรมมีกำลัง อันเป็นเพียง
กิริยาอัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งอนุสัย ชื่อว่าอัญญาณจริยา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๗. จริยานานัตตญาณนิทเทส
[๗๐] คำว่า อัญญาณจริยา อธิบายว่า ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะมีความ
หมายว่าอย่างไร
คือ ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะประพฤติมีราคะ ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะ
ประพฤติมีโทสะ ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะประพฤติมีโมหะ ชื่อว่าอัญญาณจริยา
เพราะประพฤติมีมานะ ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะประพฤติมีทิฏฐิ ชื่อว่า
อัญญาณจริยา เพราะประพฤติมีอุทธัจจะ ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะประพฤติ
มีวิจิกิจฉา ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะประพฤติมีอนุสัย ชื่อว่าอัญญาณจริยา
เพราะประพฤติประกอบด้วยราคะ ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะประพฤติประกอบ
ด้วยโทสะ ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะประพฤติประกอบด้วยโมหะ ชื่อว่าอัญญาณ-
จริยา เพราะประพฤติประกอบด้วยมานะ ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะประพฤติ
ประกอบด้วยทิฏฐิ ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะประพฤติประกอบด้วยอุทธัจจะ
ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะประพฤติประกอบด้วยวิจิกิจฉา ชื่อว่าอัญญาณจริยา
เพราะประพฤติประกอบด้วยอนุสัย ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่
ประกอบด้วยกุศลกรรม ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะประพฤติประกอบด้วย
อกุศลกรรม ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะประพฤติประกอบด้วยกรรมมีโทษ ชื่อว่า
อัญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่ประกอบด้วยกรรมไม่มีโทษ ชื่อว่าอัญญาณจริยา
เพราะประพฤติประกอบด้วยกรรมดำ ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่
ประกอบด้วยกรรมขาว ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่ประกอบด้วยกรรม
ที่มีสุขเป็นกำไร ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะประพฤติประกอบด้วยกรรมที่มีทุกข์
เป็นกำไร ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะประพฤติไม่ประกอบด้วยกรรมที่มีสุข
เป็นวิบาก ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะประพฤติประกอบด้วยกรรมที่มีทุกข์
เป็นวิบาก ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะประพฤติในอารมณ์ที่ไม่รู้ ความไม่รู้มีจริยา
เห็นปานนี้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอัญญาณจริยา นี้ชื่อว่าอัญญาณจริยา
[๗๑] ญาณจริยา เป็นอย่างไร
คือ ความคิดเพื่ออนิจจานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง) อันเป็น
เพียงกิริยาอัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา อนิจจานุปัสสนา ชื่อว่าญาณจริยา
ความคิดเพื่อทุกขานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความทุกข์) อันเป็นเพียง
กิริยาอัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา ทุกขานุปัสสนา ชื่อว่าญาณจริยา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๗. จริยานานัตตญาณนิทเทส
ความคิดเพื่ออนัตตานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นอนัตตา) อันเป็นเพียงกิริยา
อัพยากฤต ชื่อว่าวิญญาณจริยา อนัตตานุปัสสนา ชื่อว่าญาณจริยา
ความคิดเพื่อนิพพิทานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความเบื่อหน่าย) อันเป็น
เพียงกิริยาอัพยากฤต ฯลฯ
ความคิดเพื่อวิราคานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความคลายกำหนัด) อันเป็น
เพียงกิริยาอัพยากฤต ฯลฯ
ความคิดเพื่อนิโรธานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความดับ) อันเป็นเพียง
กิริยาอัพยากฤต ฯลฯ
ความคิดเพื่อปฏินิสสัคคานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความสละคืน) อันเป็น
เพียงกิริยาอัพยากฤต ฯลฯ
ความคิดเพื่อขยานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความสิ้นไป) อันเป็นเพียง
กิริยาอัพยากฤต ฯลฯ
ความคิดเพื่อวยานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความเสื่อมไป) อันเป็นเพียง
กิริยาอัพยากฤต ฯลฯ
ความคิดเพื่อวิปริณามานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความแปรผัน) อันเป็น
เพียงกิริยาอัพยากฤต ฯลฯ
ความคิดเพื่ออนิมิตตานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความไม่มีนิมิต) อันเป็น
เพียงกิริยาอัพยากฤต ฯลฯ
ความคิดเพื่ออัปปณิหิตานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความไม่มีที่ตั้ง) อันเป็น
เพียงกิริยาอัพยากฤต ฯลฯ
ความคิดเพื่อสุญญตานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความว่าง) อันเป็นเพียง
กิริยาอัพยากฤต ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๗. จริยานานัตตญาณนิทเทส
ความคิดเพื่ออธิปัญญาธัมมานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นธรรมด้วยปัญญา
อันยิ่ง) อันเป็นเพียงกิริยาอัพยากฤต ฯลฯ
ความคิดเพื่อยถาภูตญาณทัสสนะ (การรู้เห็นตามความเป็นจริง) อันเป็นเพียง
กิริยาอัพยากฤต ฯลฯ
ความคิดเพื่ออาทีนวานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นโทษ) อันเป็นเพียง
กิริยาอัพยากฤต ฯลฯ
ความคิดเพื่อปฏิสังขานุปัสสนา (การตามพิจารณา) อันเป็นเพียงกิริยาอัพยากฤต
ชื่อว่าวิญญาณจริยา ปฏิสังขานุปัสสนา ชื่อว่าญาณจริยา
วิวัฏฏนานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความคลายออก) ชื่อว่าญาณจริยา
โสดาปัตติมรรค ชื่อว่าญาณจริยา โสดาปัตติผลสมาบัติ ชื่อว่าญาณจริยา
สกทาคามิมรรค ชื่อว่าญาณจริยา สกทาคามิผลสมาบัติ ชื่อว่าญาณจริยา
อนาคามิมรรค ชื่อว่าญาณจริยา อนาคามิผลสมาบัติ ชื่อว่าญาณจริยา
อรหัตตมรรค ชื่อว่าญาณจริยา อรหัตตผลสมาบัติ ชื่อว่าญาณจริยา
คำว่า ญาณจริยา อธิบายว่า ชื่อว่าญาณจริยา เพราะมีความหมายว่าอย่างไร
คือ ชื่อว่าญาณจริยา เพราะประพฤติไม่มีราคะ ชื่อว่าญาณจริยา เพราะ
ประพฤติไม่มีโทสะ ฯลฯ ชื่อว่าญาณจริยา เพราะประพฤติไม่มีอนุสัย ชื่อว่า
ญาณจริยา เพราะประพฤติไม่ประกอบด้วยราคะ ชื่อว่าญาณจริยา เพราะประพฤติ
ไม่ประกอบด้วยโทสะ ชื่อว่าญาณจริยา เพราะประพฤติไม่ประกอบด้วยโมหะ ชื่อว่า
ญาณจริยา เพราะประพฤติไม่ประกอบด้วยมานะ ฯลฯ ไม่ประกอบด้วยทิฏฐิ ฯลฯ
ไม่ประกอบด้วยอุทธัจจะ ฯลฯ ไม่ประกอบด้วยวิจิกิจฉา ฯลฯ ไม่ประกอบด้วยอนุสัย
ฯลฯ ประกอบด้วยกุศลกรรม ฯลฯ ไม่ประกอบด้วยอกุศลกรรม ฯลฯ ไม่ประกอบ
ด้วยกรรมที่มีโทษ ฯลฯ ประกอบด้วยกรรมที่ไม่มีโทษ ฯลฯ ไม่ประกอบด้วยกรรมดำ
ฯลฯ ประกอบด้วยกรรมขาว ฯลฯ ประกอบด้วยกรรมที่มีสุขเป็นกำไร ฯลฯ ไม่
ประกอบด้วยกรรมที่มีทุกข์เป็นกำไร ฯลฯ ชื่อว่าญาณจริยา เพราะประพฤติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๘. ภูมินานัตตญาณนิทเทส
ประกอบด้วยกรรมที่มีสุขเป็นวิบาก ฯลฯ ชื่อว่าญาณจริยา เพราะประพฤติไม่
ประกอบด้วยกรรมที่มีทุกข์เป็นวิบาก ชื่อว่าญาณจริยา เพราะประพฤติในญาณ
ญาณมีจริยาเช่นนี้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าญาณจริยา
นี้ชื่อว่าญาณจริยา วิญญาณจริยา อัญญาณจริยา ญาณจริยา
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดจริยา ชื่อว่าจริยานานัตตญาณ
จริยานานัตตญาณนิทเทสที่ ๑๗ จบ

๑๘. ภูมินานัตตญาณนิทเทส
แสดงภูมินานัตตญาณ
[๗๒] ปัญญาในการกำหนดธรรม ๔ ประการ ชื่อว่าภูมินานัตตญาณ
เป็นอย่างไร
คือ ภูมิ ๔ ประการ ได้แก่
๑. กามาวจรภูมิ (ชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในกาม)
๒. รูปาวจรภูมิ (ชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในรูป)
๓. อรูปาวจรภูมิ (ชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในอรูป)
๔. อปริยาปันนภูมิ (ชั้นที่ไม่นับเนื่องในภูมิ ๓ หมายถึงโลกุตตรภูมิ)
กามาวจรภูมิ เป็นอย่างไร
คือ ขันธ์ ธาตุ อายตนะ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณที่ท่องเที่ยว
อยู่ในภูมินี้ นับเนื่องในภูมินี้ ในระหว่างนี้ คือเบื้องล่างกำหนดเอาอเวจีนรกเป็นที่สุด
เบื้องบนกำหนดเอาเหล่าเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดีเป็นที่สุด นี้ชื่อว่ากามาวจรภูมิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๘. ภูมินานัตตญาณนิทเทส
รูปาวจรภูมิ เป็นอย่างไร
คือ ธรรมคือจิตและเจตสิกของบุคคลผู้เข้าสมาบัติ ผู้เกิดในรูปภูมิ หรือพระ
อรหันต์ผู้อยู่เป็นสุขในปัจจุบัน๑ ที่ท่องเที่ยวอยู่ในภูมินี้ นับเนื่องในภูมินี้ ในระหว่างนี้
คือเบื้องล่างกำหนดเอาพรหมโลกเป็นที่สุด (ชั้นพรหมปาริสัชชา) เบื้องบนกำหนด
เอาพรหมชั้นอกนิฏฐภพเป็นที่สุด นี้ชื่อว่ารูปาวจรภูมิ
อรูปาวจรภูมิ เป็นอย่างไร
คือ ธรรมคือจิตและเจตสิกของบุคคลผู้เข้าสมาบัติ ผู้เกิดในอรูปภูมิ หรือพระ
อรหันต์ผู้อยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ที่ท่องเที่ยวอยู่ในภูมินี้ นับเนื่องในภูมินี้ ในระหว่างนี้
คือเบื้องล่างกำหนดเอาพรหมผู้เข้าถึงอากาสานัญจายตนภพเป็นที่สุด เบื้องบนกำหนด
เอาเหล่าพรหมผู้เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนภพเป็นที่สุด นี้ชื่อว่าอรูปาวจรภูมิ
อปริยาปันนภูมิ เป็นอย่างไร
คือ มรรค ผล ธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุ่งแต่ง (นิพพาน) เป็นอปริยาปันนะ นี้ชื่อว่า
อปริยาปันนภูมิ
เหล่านี้ชื่อว่าภูมิ ๔
ภูมิ ๔ อีกนัยหนึ่ง คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔
ฌาน ๔ อัปปมัญญา ๔ อรูปาวจรสมาบัติ ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ ปฏิปทา ๔
อารมณ์ ๔ อริยวงศ์ ๔๒ สังคหวัตถุ ๔ จักร ๔ ธรรมบท ๔๓
เหล่านี้ชื่อว่าภูมิ ๔
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดธรรม ๔ ประการ ชื่อว่า
ภูมินานัตตญาณ

ภูมินานัตตญาณนิทเทสที่ ๑๘ จบ

เชิงอรรถ :
๑ สุขในปัจจุบัน ในที่นี้หมายถึงความสุขขณะที่ดำรงอยู่ในภาวะที่รู้แจ้งนั้น (ขุ.ป.อ. ๑/๗๓/๓๑๓)
๒ อริยวงศ์ ๔ ได้แก่ (๑) ความสันโดษในจีวร (๒) ความสันโดษในบิณฑบาต (๓) ความสันโดษในเสนาสนะ
(๔) ความยินดีในการเจริญภาวนา (ขุ.ป.อ. ๑/๗๒/๓๑๕)
๓ ธรรมบท ๔ ในที่นี้ ได้แก่ (๑) อนภิชฌา (๒) อพยาบาท (๓) สัมมาสติ (๔) สัมมาสมาธิ (ขุ.ป.อ. ๑/๗๒/๓๑๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๙. ธัมมนานัตตญาณนิทเทส
๑๙. ธัมมนานัตตญาณนิทเทส
แสดงธัมมนานัตตญาณ
[๗๓] ปัญญาในการกำหนดธรรม ๙ ชื่อว่าธัมมนานัตตญาณ เป็นอย่างไร
พระโยคาวจรกำหนดธรรมทั้งหลาย อย่างไร
คือ พระโยคาวจรกำหนดกามาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอกุศล เป็น
ฝ่ายอัพยากฤต กำหนดรูปาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤต กำหนด
อรูปาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤต กำหนดอปริยาปันนธรรมเป็น
ฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤต
พระโยคาวจรกำหนดกามาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอกุศล เป็นฝ่าย
อัพยากฤต อย่างไร
คือ พระโยคาวจรกำหนดกุศลกรรมบถ ๑๐๑ เป็นฝ่ายกุศล กำหนดอกุศล-
กรรมบถ ๑๐๒ เป็นฝ่ายอกุศล กำหนดรูป วิบาก และกิริยาเป็นฝ่ายอัพยากฤต
พระโยคาวจรกำหนดกามาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอกุศล เป็นฝ่าย
อัพยากฤตอย่างนี้
พระโยคาวจรกําหนดรูปาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤต อย่างไร
คือ พระโยคาวจรกำหนดฌาน ๔ ของบุคคลผู้ยังอยู่ในโลกนี้ เป็นฝ่ายกุศล
กำหนดฌาน ๔ ของบุคคลผู้เกิดในพรหมโลกเป็นฝ่ายอัพยากฤต พระโยคาวจร
กำหนดรูปาวจรธรรม เป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤตอย่างนี้
พระโยคาวจรกำหนดอรูปาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤต อย่างไร
คือ พระโยคาวจรกำหนดอรูปาวจรสมาบัติ ๔ ของบุคคลผู้ยังอยู่ในโลกนี้
เป็นฝ่ายกุศล กำหนดอรูปาวจรสมาบัติ ๔ ของบุคคลผู้เกิดในพรหมโลกนั้น เป็น

เชิงอรรถ :
๑ กุศลกรรมบถ ๑๐ ได้แก่ กายสุจริต ๓ วจีสุจริต ๔ และมโนสุจริต ๓ (ขุ.ป.อ. ๑/๗๓/๓๑๗)
๒ อกุศลกรรมบถ ๑๐ ได้แก่ กายทุจริต ๓ วจีทุจริต ๔ และมโนทุจริต ๓ (ขุ.ป.อ. ๑/๗๓/๓๑๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๙. ธัมมนานัตตญาณนิทเทส
ฝ่ายอัพยากฤต พระโยคาวจรกำหนดอรูปาวจรธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่าย
อัพยากฤตอย่างนี้
พระโยคาวจรกำหนดอปริยาปันนธรรมเป็นฝ่ายกุศล เป็นฝ่ายอัพยากฤต
อย่างไร
คือ พระโยคาวจรกำหนดอริยมรรค ๔ เป็นฝ่ายกุศล กำหนดอปริยาปันน-
ธรรมเป็นฝ่ายกุศล กำหนดสามัญญผลและนิพพานเป็นฝ่ายอัพยากฤตอย่างนี้
พระโยคาวจรกำหนดธรรมทั้งหลายอย่างนี้
ธรรม ๙ ประการ มีปราโมทย์เป็นมูล เมื่อพระโยคาวจรมนสิการโดย
ความไม่เที่ยง ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อมีปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด เมื่อใจมีปีติ กายย่อม
สงบ ผู้มีกายสงบย่อมเสวยสุข เมื่อมีความสุข จิตย่อมเป็นสมาธิ เมื่อจิตเป็นสมาธิ
ย่อมรู้ ย่อมเห็นตามความเป็นจริง เมื่อรู้ เมื่อเห็นตามความเป็นจริง ย่อมเบื่อหน่าย
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตจึงหลุดพ้น เมื่อมนสิการ
โดยความเป็นทุกข์ ปราโมทย์ย่อมเกิด ฯลฯ เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา
ปราโมทย์ย่อมเกิด ฯลฯ
เมื่อพระโยคาวจรมนสิการรูปโดยความไม่เที่ยง ปราโมทย์ย่อมเกิด ฯลฯ เมื่อ
มนสิการรูปโดยความเป็นทุกข์ ฯลฯ เมื่อมนสิการรูปโดยความเป็นอนัตตา ฯลฯ
เมื่อพระโยคาวจรมนสิการเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ
ฯลฯ จักขุ ฯลฯ เมื่อมนสิการชราและมรณะโดยความไม่เที่ยง ปราโมทย์ย่อมเกิด
ฯลฯ เมื่อมนสิการชราและมรณะโดยความเป็นทุกข์ ปราโมทย์ย่อมเกิด ฯลฯ
เมื่อมนสิการชราและมรณะโดยความเป็นอนัตตา ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อมีปราโมทย์
ปีติย่อมเกิด เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบ ย่อมเสวยสุข เมื่อมีความสุข
จิตย่อมเป็นสมาธิ เมื่อจิตเป็นสมาธิ ย่อมรู้ ย่อมเห็นตามความเป็นจริง เมื่อรู้ เมื่อ
เห็นตามความเป็นจริง ย่อมเบื่อหน่าย เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะ
คลายกำหนัด จิตจึงหลุดพ้น
นี้คือธรรม ๙ ประการ มีปราโมทย์เป็นมูล


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑๙. ธัมมนานัตตญาณนิทเทส
[๗๔] ธรรม ๙ ประการ มีโยนิโสมนสิการเป็นมูล เมื่อพระโยคาวจรมนสิการ
โดยอุบายแยบคายโดยความไม่เที่ยง ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อมีปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด
เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบ ย่อมเสวยสุข เมื่อมีความสุข จิตย่อมเป็น
สมาธิ ผู้มีจิตเป็นสมาธิ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์” รู้ชัดตามความเป็น
จริงว่า “นี้ทุกขสมุทัย” รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกขนิโรธ” รู้ชัดตามความเป็น
จริงว่า “นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา” เมื่อพระโยคาวจรมนสิการโดยอุบายแยบคาย
โดยความเป็นทุกข์ ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อมีปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด เมื่อใจมีปีติ
กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบ ย่อมเสวยสุข เมื่อมีความสุข จิตย่อมเป็นสมาธิ ผู้มีจิต
เป็นสมาธิ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์” รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
“นี้ทุกขสมุทัย” รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกขนิโรธ” รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
“นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา” เมื่อมนสิการโดยอุบายแยบคายโดยความเป็นอนัตตา
ปราโมทย์ย่อมเกิด ฯลฯ
เมื่อพระโยคาวจรมนสิการรูปโดยอุบายแยบคายโดยความไม่เที่ยง ปราโมทย์
ย่อมเกิด ฯลฯ เมื่อมนสิการรูปโดยอุบายแยบคายโดยความเป็นทุกข์ ปราโมทย์
ย่อมเกิด ฯลฯ เมื่อมนสิการรูปโดยอุบายแยบคายโดยความเป็นอนัตตา ปราโมทย์
ย่อมเกิด ฯลฯ
เมื่อพระโยคาวจรมนสิการเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ
ฯลฯ จักขุ ฯลฯ เมื่อมนสิการชราและมรณะโดยอุบายแยบคายโดยความไม่เที่ยง
ปราโมทย์ย่อมเกิด ฯลฯ เมื่อมนสิการชราและมรณะโดยอุบายแยบคายโดยความ
เป็นทุกข์ ปราโมทย์ย่อมเกิด ฯลฯ เมื่อมนสิการชราและมรณะโดยอุบายแยบคาย
โดยความเป็นอนัตตา ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อมีปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด เมื่อใจมีปีติ
กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบ ย่อมเสวยสุข เมื่อมีความสุข จิตย่อมเป็นสมาธิ ผู้มี
จิตเป็นสมาธิ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์” รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
“นี้ทุกขสมุทัย” รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกขนิโรธ” รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
“นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”
นี้คือธรรม ๙ ประการ มีโยนิโสมนสิการเป็นมูล
ความต่าง ๙ ประการ คือ ผัสสะต่าง ๆ อาศัยธาตุต่าง ๆ เกิดขึ้น เวทนา
ต่าง ๆ อาศัยผัสสะต่าง ๆ เกิดขึ้น สัญญาต่าง ๆ อาศัยเวทนาต่าง ๆ เกิดขึ้น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๒๐-๒๔. ญาณปัญจกนิทเทส
ความดำริต่าง ๆ อาศัยสัญญาต่าง ๆ เกิดขึ้น ฉันทะต่าง ๆ อาศัยความดำริต่าง ๆ
เกิดขึ้น ความเร่าร้อนต่าง ๆ อาศัยฉันทะต่าง ๆ เกิดขึ้น การแสวงหาต่าง ๆ อาศัย
ความเร่าร้อนต่าง ๆ เกิดขึ้น ลาภต่าง ๆ อาศัยการแสวงหาต่าง ๆ เกิดขึ้น
นี้คือความต่าง ๙ ประการ
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดธรรม ๙ ประการ ชื่อว่า
ธัมมนานัตตญาณ
ธัมมนานัตตญาณนิทเทสที่ ๑๙ จบ

๒๐-๒๔. ญาณปัญจกนิทเทส
แสดงญาณ ๕ หมวด
[๗๕] ปัญญาเครื่องรู้ยิ่ง ชื่อว่าญาตัฏฐญาณ (ญาณที่มีสภาวะรู้) ปัญญา
เครื่องกำหนดรู้ ชื่อว่าตีรณัฏฐญาณ (ญาณที่มีสภาวะพิจารณา) ปัญญาเครื่อง
ละ ชื่อว่าปริจจาคัฏฐญาณ (ญาณที่มีสภาวะสละ) ปัญญาเครื่องเจริญ ชื่อว่า
เอกรสัฏฐญาณ (ญาณที่มีสภาวะเป็นรสเดียว) ปัญญาเครื่องทำให้แจ้ง ชื่อว่า
ผัสสนัฏฐญาณ (ญาณที่มีสภาวะถูกต้อง) เป็นอย่างไร
คือ ธรรมใด ๆ ที่พระโยคาวจรรู้ยิ่งแล้ว ธรรมนั้น ๆ ก็เป็นอันรู้แล้ว ธรรมใด ๆ
ที่พระโยคาวจรกำหนดรู้แล้ว ธรรมนั้น ๆ ก็เป็นอันพิจารณาแล้ว ธรรมใด ๆ ที่พระ
โยคาวจรละได้แล้ว ธรรมนั้น ๆ เป็นอันละได้แล้ว ธรรมใด ๆ ที่พระโยคาวจรเจริญแล้ว
ธรรมนั้น ๆ ก็เป็นธรรมมีรสเป็นอันเดียว ธรรมใด ๆ ที่พระโยคาวจรทำให้แจ้งแล้ว
ธรรมนั้น ๆ ก็เป็นอันถูกต้องแล้ว
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาเครื่องรู้ยิ่ง ชื่อว่าญาตัฏฐญาณ ปัญญา
เครื่องกำหนดรู้ ชื่อว่าตีรณัฏฐญาณ ปัญญาเครื่องละ ชื่อว่าปริจจาคัฏฐญาณ
ปัญญาเครื่องเจริญ ชื่อว่าเอกรสัฏฐญาณ ปัญญาเครื่องทำให้แจ้ง ชื่อว่าผัสส-
นัฏฐญาณ

ญาณปัญจกนิทเทสที่ ๒๐-๒๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๒๕-๒๘. ปฏิสัมภิทาญาณนิทเทส
๒๕-๒๘. ปฏิสัมภิทาญาณนิทเทส
แสดงปฏิสัมภิทาญาณ
[๗๖] ปัญญาในอรรถต่าง ๆ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในธรรม
ต่าง ๆ ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในนิรุตติต่าง ๆ ชื่อว่านิรุตติปฏิสัม-
ภิทาญาณ ปัญญาในปฏิภาณต่าง ๆ ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ เป็นอย่างไร
คือ สัทธินทรีย์ชื่อว่าธรรม วิริยินทรีย์ชื่อว่าธรรม สตินทรีย์ชื่อว่าธรรม
สมาธินทรีย์ชื่อว่าธรรม ปัญญินทรีย์ชื่อว่าธรรม สัทธินทรีย์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง
วิริยินทรีย์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง สตินทรีย์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง สมาธินทรีย์เป็นธรรม
อย่างหนึ่ง ปัญญินทรีย์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้ธรรมต่าง ๆ เหล่านี้
ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะธรรมต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในธรรมต่าง ๆ ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทาญาณ (๑)
สภาวะที่น้อมไปชื่อว่าอรรถ สภาวะที่ประคองไว้ชื่อว่าอรรถ สภาวะที่เข้าไป
ตั้งไว้ชื่อว่าอรรถ สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านชื่อว่าอรรถ สภาวะที่เห็นชื่อว่าอรรถ สภาวะที่
น้อมไปเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่ประคองไว้เป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่เข้าไป
ตั้งไว้เป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่เห็น
เป็นอรรถอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้อรรถต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะ
อรรถต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญา
ในอรรถต่าง ๆ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทาญาณ (๒)
การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงธรรม ๕ ประการ การระบุพยัญชนะ
และนิรุตติเพื่อแสดงอรรถ ๕ ประการ ธรรมนิรุตติเป็นอย่างหนึ่ง อรรถนิรุตติเป็น
อย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้นิรุตติต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะนิรุตติ
ต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญา
ในนิรุตติต่าง ๆ ชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ (๓)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๒๕-๒๘. ปฏิสัมภิทาญาณนิทเทส
ญาณในธรรม ๕ ประการ ญาณในอรรถ ๕ ประการ ญาณในนิรุตติ ๑๐ ประการ
ญาณในธรรมเป็นอย่างหนึ่ง ญาณในอรรถเป็นอย่างหนึ่ง ญาณในนิรุตติเป็น
อย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้ญาณต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะญาณ
ต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาใน
ปฏิภาณต่าง ๆ ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ (๔)
[๗๗] สัทธาพละชื่อว่าธรรม วิริยพละชื่อว่าธรรม สติพละชื่อว่าธรรม
สมาธิพละชื่อว่าธรรม ปัญญาพละชื่อว่าธรรม สัทธาพละเป็นธรรมอย่างหนึ่ง
วิริยพละเป็นธรรมอย่างหนึ่ง สติพละเป็นธรรมอย่างหนึ่ง สมาธิพละเป็นธรรม
อย่างหนึ่ง ปัญญาพละเป็นธรรมอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้ธรรมต่าง ๆ เหล่านี้
ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะธรรมต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในธรรมต่าง ๆ ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทาญาณ
สภาวะที่ไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธาชื่อว่าอรรถ สภาวะที่ไม่หวั่นไหว
เพราะความเกียจคร้านชื่อว่าอรรถ สภาวะที่ไม่หวั่นไหวเพราะความประมาทชื่อว่า
อรรถ สภาวะที่ไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะชื่อว่าอรรถ สภาวะที่ไม่หวั่นไหวเพราะ
อวิชชาชื่อว่าอรรถ สภาวะที่ไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธาเป็นอรรถอย่างหนึ่ง
สภาวะที่ไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้านเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่ไม่หวั่นไหว
เพราะความประมาทเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่ไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะเป็น
อรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่ไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชาเป็นอรรถอย่างหนึ่ง พระโยคาวจร
รู้อรรถต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะอรรถต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณ
นั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในอรรถต่าง ๆ ชื่อว่าอัตถ-
ปฏิสัมภิทาญาณ
การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงธรรม ๕ ประการ การระบุพยัญชนะ
และนิรุตติเพื่อแสดงอรรถ ๕ ประการ ธรรมนิรุตติเป็นอย่างหนึ่ง อรรถนิรุตติเป็น
อย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้นิรุตติต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะนิรุตติ
ต่าง ๆ เหล่านั้นด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาใน
นิรุตติต่าง ๆ ชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๒๕-๒๘. ปฏิสัมภิทาญาณนิทเทส
ญาณในธรรม ๕ ประการ ญาณในอรรถ ๕ ประการ ญาณในนิรุตติ ๑๐
ประการ ญาณในธรรมเป็นอย่างหนึ่ง ญาณในอรรถเป็นอย่างหนึ่ง ญาณในนิรุตติ
เป็นอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้ญาณต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะ
ญาณต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญา
ในปฏิภาณต่าง ๆ ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ
สติสัมโพชฌงค์ชื่อว่าธรรม ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ชื่อว่าธรรม วิริยสัมโพชฌงค์
ชื่อว่าธรรม ปีติสัมโพชฌงค์ชื่อว่าธรรม ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ชื่อว่าธรรม สมาธิ-
สัมโพชฌงค์ชื่อว่าธรรม อุเบกขาสัมโพชฌงค์ชื่อว่าธรรม สติสัมโพชฌงค์เป็นธรรม
อย่างหนึ่ง ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง วิริยสัมโพชฌงค์เป็นธรรม
อย่างหนึ่ง ปีติสัมโพชฌงค์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์เป็นธรรม
อย่างหนึ่ง สมาธิสัมโพชฌงค์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง อุเบกขาสัมโพชฌงค์เป็นธรรม
อย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้ธรรมต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะธรรม
ต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในธรรม
ต่าง ๆ ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทาญาณ
สภาวะที่ตั้งมั่นชื่อว่าอรรถ สภาวะที่เลือกเฟ้นชื่อว่าอรรถ สภาวะที่ประคองไว้
ชื่อว่าอรรถ สภาวะที่แผ่ซ่านชื่อว่าอรรถ สภาวะที่สงบชื่อว่าอรรถ สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่าน
ชื่อว่าอรรถ สภาวะที่พิจารณาชื่อว่าอรรถ สภาวะที่ตั้งมั่นเป็นอรรถอย่างหนึ่ง
สภาวะที่เลือกเฟ้นเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่ประคองไว้เป็นอรรถอย่างหนึ่ง
สภาวะที่แผ่ซ่านเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่สงบเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่ไม่
ฟุ้งซ่านเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่พิจารณาเป็นอรรถอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้
อรรถต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะอรรถต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้น
นั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในอรรถต่าง ๆ ชื่อว่า
อัตถปฏิสัมภิทาญาณ
การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงธรรม ๗ ประการ การระบุพยัญชนะ
และนิรุตติเพื่อแสดงอรรถ ๗ ประการ ธรรมนิรุตติเป็นอย่างหนึ่ง อรรถนิรุตติเป็น
อย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้นิรุตติต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะนิรุตติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๒๕-๒๘. ปฏิสัมภิทาญาณนิทเทส
ต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาใน
นิรุตติต่าง ๆ ชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ
ญาณในธรรม ๗ ประการ ญาณในอรรถ ๗ ประการ ญาณในนิรุตติ ๑๔
ประการ ญาณในธรรมเป็นอย่างหนึ่ง ญาณในอรรถเป็นอย่างหนึ่ง ญาณในนิรุตติเป็น
อย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้ญาณต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะ
ญาณต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญา
ในปฏิภาณต่าง ๆ ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ
สัมมาทิฏฐิชื่อว่าธรรม สัมมาสังกัปปะชื่อว่าธรรม สัมมาวาจาชื่อว่าธรรม
สัมมากัมมันตะชื่อว่าธรรม สัมมาอาชีวะชื่อว่าธรรม สัมมาวายามะชื่อว่าธรรม
สัมมาสติชื่อว่าธรรม สัมมาสมาธิชื่อว่าธรรม สัมมาทิฏฐิเป็นธรรมอย่างหนึ่ง
สัมมาสังกัปปะเป็นธรรมอย่างหนึ่ง สัมมากัมมันตะเป็นธรรมอย่างหนึ่ง สัมมา-
อาชีวะเป็นธรรมอย่างหนึ่ง สัมมาวายามะเป็นธรรมอย่างหนึ่ง สัมมาสมาธิเป็นธรรม
อย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้ธรรมต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะธรรม
ต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญา
ในธรรมต่าง ๆ ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทาญาณ
สภาวะที่เห็นชื่อว่าอรรถ สภาวะที่ตรึกตรองชื่อว่าอรรถ สภาวะที่กำหนดไว้
ชื่อว่าอรรถ สภาวะที่เป็นสมุฏฐานชื่อว่าอรรถ สภาวะที่ผ่องแผ้วชื่อว่าอรรถ สภาวะที่
ประคองไว้ชื่อว่าอรรถ สภาวะที่ตั้งมั่นชื่อว่าอรรถ สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านชื่อว่าอรรถ
สภาวะที่เห็นเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่ตรึกตรองเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่
กำหนดไว้เป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่เป็นสมุฏฐานเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่
ผ่องแผ้วเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่ประคองไว้เป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่ตั้งมั่น
เป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านเป็นอรรถอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้อรรถ
ต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะอรรถต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในอรรถต่าง ๆ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทาญาณ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๒๙-๓๑. ญาณัตตยนิทเทส
การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงธรรม ๘ ประการ การระบุพยัญชนะ
และนิรุตติเพื่อแสดงอรรถ ๘ ประการ ธรรมนิรุตติเป็นอย่างหนึ่ง อรรถนิรุตติเป็น
อย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้นิรุตติต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะนิรุตติ
ต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาใน
นิรุตติต่าง ๆ ชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ
ญาณในธรรม ๘ ประการ ญาณในอรรถ ๘ ประการ ญาณในนิรุตติ ๑๖
ประการ ญาณในธรรมเป็นอย่างหนึ่ง ญาณในอรรถเป็นอย่างหนึ่ง ญาณในนิรุตติ
เป็นอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรรู้ญาณต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะ
ญาณต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญา
ในปฏิภาณต่าง ๆ ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในอรรถต่าง ๆ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทาญาณ
ปัญญาในธรรมต่าง ๆ ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในนิรุตติต่าง ๆ ชื่อว่า
นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในปฏิภาณต่าง ๆ ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ
ปฏิสัมภิทาญาณนิทเทสที่ ๒๕-๒๘ จบ

๒๙-๓๑. ญาณัตตยนิทเทส
แสดงญาณ ๓ อย่าง
[๗๘] ปัญญาในวิหารธรรมต่าง ๆ ชื่อว่าวิหารัฏฐญาณ (ญาณในสภาวะ
แห่งวิหารธรรม) ปัญญาในสมาบัติต่าง ๆ ชื่อว่าสมาปัตตัฏฐญาณ (ญาณใน
สภาวะแห่งสมาบัติ) ปัญญาในวิหารสมาบัติต่าง ๆ ชื่อว่าวิหารสมาปัตตัฏฐญาณ
(ญาณในสภาวะแห่งวิหารสมาบัติ) เป็นอย่างไร
คือ พระโยคาวจรเมื่อพิจารณานิมิตโดยความเป็นภัย ถูกต้องแล้ว ๆ (ซึ่งสัง
ขารนิมิตด้วยญาณ) ย่อมเห็นความเสื่อม เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่ไม่มีนิมิต
นี้ชื่อว่าอนิมิตตวิหาร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๒๙-๓๑. ญาณัตตยนิทเทส
เมื่อพิจารณาปณิธิ๑ (ความตั้งมั่น) โดยความเป็นภัย ถูกต้องแล้ว ๆ (ซึ่งปณิธิ
ด้วยญาณ) ย่อมเห็นความเสื่อม เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่ไม่มีปณิหิตะ๒ นี้ชื่อว่า
อัปปณิหิตวิหาร
เมื่อพิจารณาอภินิเวส๓ (ความยึดมั่น) โดยความเป็นภัย ถูกต้องแล้ว ๆ (ซึ่ง
อภินิเวสด้วยญาณ) ย่อมเห็นความเสื่อม เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่เป็น
สุญญตะ๔ นี้ชื่อว่าสุญญตวิหาร
พระโยคาวจรเมื่อพิจารณานิมิตโดยความเป็นภัย เพ่งเฉยความเป็นไปแล้ว
นึกถึงนิพพานอันเป็นความดับไม่มีนิมิตแล้ว ย่อมเข้าสมาบัติ เพราะจิตน้อมไปใน
นิพพานที่ไม่มีนิมิต นี้ชื่อว่าอนิมิตตสมาบัติ
เมื่อพิจารณาปณิธิโดยความเป็นภัย เพ่งเฉยความเป็นไปแล้ว นึกถึงนิพพาน
อันเป็นความดับ ไม่มีปณิหิตะแล้ว ย่อมเข้าสมาบัติ เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่ไม่
มีปณิหิตะ นี้ชื่อว่าอัปปณิหิตสมาบัติ
เมื่อพิจารณาอภินิเวสโดยความเป็นภัย เพ่งเฉยความเป็นไปแล้ว นึกถึง
นิพพานอันเป็นความดับเป็นสุญญตะแล้ว ย่อมเข้าสมาบัติ เพราะจิตน้อมไปใน
นิพพานที่เป็นสุญญตะ นี้ชื่อว่าสุญญตสมาบัติ
พระโยคาวจรเมื่อพิจารณานิมิตโดยความเป็นภัย ถูกต้องแล้ว ๆ ย่อมเห็น
ความเสื่อม เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่ไม่มีนิมิต เพ่งเฉยความเป็นไปแล้ว นึกถึง
นิพพานอันเป็นความดับไม่มีนิมิตแล้ว ย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่าอนิมิตตวิหาร-
สมาบัติ

เชิงอรรถ :
๑ ปณิธิ หมายถึงตัณหา (ขุ.ป.อ. ๑/๗๘/๓๒๓)
๒ นิพพานที่ไม่มีปณิหิตะ หมายถึงนิพพานที่เป็นปฏิปักข์ต่อตัณหา (ขุ.ป.อ. ๑/๗๘/๓๒๓)
๓ อภินิเวส หมายถึงความยึดมั่นว่าอัตตา (ขุ.ป.อ. ๑/๗๘/๓๒๓)
๔ นิพพานที่เป็นสุญญตะ หมายถึงนิพพานที่ปราศจากอัตตา (ขุ.ป.อ. ๑/๗๘/๓๒๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๒๙-๓๑. ญาณัตตยนิทเทส
เมื่อพิจารณาปณิธิโดยความเป็นภัย ถูกต้องแล้ว ๆ ย่อมเห็นความเสื่อม
เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่ไม่มีปณิหิตะ เพ่งเฉยความเป็นไปแล้ว นึกถึงนิพพาน
อันเป็นความดับไม่มีปณิหิตะแล้ว ย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่าอัปปณิหิตวิหารสมาบัติ
เมื่อพิจารณาอภินิเวสโดยความเป็นภัย ถูกต้องแล้ว ๆ ย่อมเห็นความเสื่อม
เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่เป็นสุญญตะ เพ่งเฉยความเป็นไปแล้ว นึกถึงนิพพาน
อันเป็นความดับเป็นสุญญตะแล้ว ย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่าสุญญตวิหารสมาบัติ
[๗๙] พระโยคาวจรเมื่อพิจารณารูปนิมิตโดยความเป็นภัย ถูกต้องแล้ว ๆ
ย่อมเห็นความเสื่อม เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่ไม่มีนิมิต นี้ชื่อว่าอนิมิตตวิหาร
เมื่อพิจารณารูปปณิธิ (ตัณหาอันเป็นที่ตั้งแห่งรูป) โดยความเป็นภัย ถูกต้อง
แล้ว ๆ ย่อมเห็นความเสื่อม เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่ไม่มีปณิหิตะ นี้ชื่อว่า
อัปปณิหิตวิหาร
เมื่อพิจารณารูปาภินิเวส (ความยึดมั่นว่ารูป) โดยความเป็นภัย ถูกต้องแล้ว ๆ
ย่อมเห็นความเสื่อม เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่เป็นสุญญตะ นี้ชื่อว่าสุญญตวิหาร
พระโยคาวจรเมื่อพิจารณารูปนิมิตโดยความเป็นภัย เพ่งเฉยความเป็นไปแล้ว
นึกถึงนิพพานอันเป็นความดับไม่มีนิมิตแล้ว ย่อมเข้าสมาบัติ เพราะจิตน้อมไปใน
นิพพานที่ไม่มีนิมิต นี้ชื่อว่าอนิมิตตสมาบัติ
เมื่อพิจารณารูปปณิธิโดยความเป็นภัย เพ่งเฉยความเป็นไปแล้ว นึกถึงนิพพาน
อันเป็นความดับไม่มีปณิหิตะแล้ว ย่อมเข้าสมาบัติ เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่ไม่มี
ปณิหิตะ นี้ชื่อว่าอัปปณิหิตสมาบัติ
เมื่อพิจารณารูปาภินิเวสโดยความเป็นภัย เพ่งเฉยความเป็นไปแล้ว นึกถึง
นิพพานอันเป็นความดับเป็นสุญญตะแล้ว ย่อมเข้าสมาบัติ เพราะจิตน้อมไปใน
นิพพานที่เป็นสุญญตะ นี้ชื่อว่าสุญญตสมาบัติ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๒๙-๓๑. ญาณัตตยนิทเทส
พระโยคาวจรเมื่อพิจารณารูปนิมิตโดยความเป็นภัย ถูกต้องแล้ว ๆ ย่อมเห็น
ความเสื่อม เพ่งเฉยความเป็นไปแล้ว นึกถึงนิพพานอันเป็นความดับไม่มีนิมิตแล้ว
ย่อมเข้าสมาบัติ เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่ไม่มีนิมิต นี้ชื่อว่าอนิมิตตวิหารสมาบัติ
เมื่อพิจารณารูปปณิธิโดยความเป็นภัย ถูกต้องแล้ว ๆ ย่อมเห็นความเสื่อม
เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่ไม่มีปณิหิตะ เพ่งเฉยความเป็นไปแล้ว นึกถึงนิพพาน
อันเป็นความดับไม่มีปณิหิตะแล้ว ย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่าอัปปณิหิตวิหารสมาบัติ
เมื่อพิจารณารูปาภินิเวสโดยความเป็นภัย ถูกต้องแล้ว ๆ ย่อมเห็นความเสื่อม
เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่เป็นสุญญตะ เพ่งเฉยความเป็นไปแล้ว นึกถึงนิพพาน
อันเป็นความดับเป็นสุญญตะแล้ว ย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่าสุญญตวิหารสมาบัติ
พระโยคาวจรเมื่อพิจารณาเวทนานิมิต ฯลฯ สัญญานิมิต ฯลฯ สังขารนิมิต
ฯลฯ วิญญาณนิมิต ฯลฯ จักขุ ฯลฯ เมื่อพิจารณาชรามรณนิมิตโดยความ
เป็นภัย ถูกต้องแล้ว ๆ ย่อมเห็นความเสื่อม เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่ไม่มีนิมิต
นี้ชื่อว่าอนิมิตตวิหาร
เมื่อพิจารณาชรามรณปณิธิ (ตัณหาอันเป็นที่ตั้งแห่งชราและมรณะ) โดยความ
เป็นภัย ถูกต้องแล้ว ๆ ย่อมเห็นความเสื่อม เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่ไม่มี
ปณิหิตะ นี้ชื่อว่าอัปปณิหิตวิหาร
เมื่อพิจารณาชรามรณาภินิเวส (ความยึดมั่นว่าชราและมรณะ) โดยความเป็นภัย
ถูกต้องแล้ว ๆ ย่อมเห็นความเสื่อม เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่เป็นสุญญตะ นี้ชื่อว่า
สุญญตวิหาร
พระโยคาวจรเมื่อพิจารณาชรามรณนิมิตโดยความเป็นภัย เพ่งเฉยความเป็น
ไปแล้ว นึกถึงนิพพานอันเป็นความดับไม่มีนิมิตแล้ว ย่อมเข้าสมาบัติ เพราะจิต
น้อมไปในนิพพานที่ไม่มีนิมิต นี้ชื่อว่าอนิมิตตวิหารสมาบัติ
เมื่อพิจารณาชรามรณปณิธิโดยความเป็นภัย เพ่งเฉยความเป็นไปแล้ว นึกถึง
นิพพานอันเป็นความดับไม่มีปณิหิตะแล้ว ย่อมเข้าสมาบัติ เพราะจิตน้อมไปใน
นิพพานที่ไม่มีปณิหิตะ นี้ชื่อว่าอัปปณิหิตวิหารสมาบัติ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๒๙-๓๑. ญาณัตตยนิทเทส
เมื่อพิจารณาชรามรณาภินิเวสโดยความเป็นภัย เพ่งเฉยความเป็นไปแล้ว
นึกถึงนิพพานอันเป็นความดับเป็นสุญญตะแล้ว ย่อมเข้าสมาบัติ เพราะจิตน้อมไปใน
นิพพานที่เป็นสุญญตะ นี้ชื่อว่าสุญญตสมาบัติ
พระโยคาวจรเมื่อพิจารณาชรามรณนิมิตโดยความเป็นภัย ถูกต้องแล้ว ๆ
ย่อมเห็นความเสื่อม เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่ไม่มีนิมิต เพ่งเฉยความเป็นไปแล้ว
นึกถึงนิพพานอันเป็นความดับไม่มีนิมิตแล้ว ย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่าอนิมิตตวิหาร-
สมาบัติ
เมื่อพิจารณาชรามรณปณิธิโดยความเป็นภัย ถูกต้องแล้ว ๆ ย่อมเห็นความ
เสื่อม เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่ไม่มีปณิหิตะ เพ่งเฉยความเป็นไปแล้ว นึกถึง
นิพพานอันเป็นความดับ ไม่มีปณิหิตะแล้ว ย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่าอัปปณิหิตวิหาร-
สมาบัติ
เมื่อพิจารณาชรามรณาภินิเวสโดยความเป็นภัย ถูกต้องแล้ว ๆ ย่อมเห็น
ความเสื่อม เพราะจิตน้อมไปในนิพพานที่เป็นสุญญตะ เพ่งเฉยความเป็นไปแล้ว
นึกถึงนิพพานอันเป็นความดับเป็นสุญญตะแล้ว ย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่าสุญญต-
วิหารสมาบัติ
อนิมิตตวิหารเป็นอย่างหนึ่ง อัปปณิหิตวิหารเป็นอย่างหนึ่ง สุญญตวิหารเป็น
อย่างหนึ่ง อนิมิตตสมาบัติเป็นอย่างหนึ่ง อัปปณิหิตสมาบัติเป็นอย่างหนึ่ง สุญญต-
สมาบัติเป็นอย่างหนึ่ง อนิมิตตวิหารสมาบัติเป็นอย่างหนึ่ง อัปปณิหิตวิหารสมาบัติ
เป็นอย่างหนึ่ง สุญญตวิหารสมาบัติเป็นอย่างหนึ่ง
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในวิหารธรรมต่าง ๆ ชื่อว่าวิหารัฏฐญาณ
ปัญญาในสมาบัติต่าง ๆ ชื่อว่าสมาปัตตัฏฐญาณ ปัญญาในวิหารสมาบัติต่าง ๆ
ชื่อว่าวิหารสมาปัตตัฏฐญาณ

ญาณัตตยนิทเทสที่ ๒๙-๓๑ จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๓๒. อานันตริกสมาธิญาณนิทเทส
๓๒. อานันตริกสมาธิญาณนิทเทส
แสดงอานันตริกสมาธิญาณ
[๘๐] ปัญญาในการตัดขาดอาสวะ เพราะความบริสุทธิ์แห่งจิตที่ไม่ฟุ้งซ่าน
ชื่อว่าอานันตริกสมาธิญาณ เป็นอย่างไร
คือ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ (มีอารมณ์เดียว) ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่ง
เนกขัมมะ ชื่อว่าสมาธิ ญาณย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งสมาธินั้น อาสวะทั้งหลาย
ย่อมสิ้นไปด้วยญาณนั้น สมถะมีก่อน ญาณมีภายหลัง ด้วยประการฉะนี้ ความ
สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ย่อมมีได้ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
ปัญญาในการตัดขาดอาสวะเพราะความบริสุทธิ์แห่งจิตที่ไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าอานันตริก-
สมาธิญาณ
คำว่า อาสวะ อธิบายว่า อาสวะเหล่านั้น อะไรบ้าง
คือ กามาสวะ (อาสวะคือกาม) ภวาสวะ (อาสวะคือภพ) ทิฏฐาสวะ (อาสวะ
คือทิฏฐิ) อวิชชาสวะ (อาสวะคืออวิชชา)
อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไป ณ ที่ไหน
คือ ทิฏฐาสวะทั้งสิ้นย่อมสิ้นไปด้วยโสดาปัตติมรรค กามาสวะซึ่งเป็นเหตุให้
สัตว์ไปสู่อบาย ภวาสวะซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบาย อวิชชาสวะซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์
ไปสู่อบาย ย่อมสิ้นไปด้วยโสดาปัตติมรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่ง
โสดาปัตติมรรคนี้
กามาสวะส่วนหยาบย่อมสิ้นไปด้วยสกทาคามิมรรค ภวาสวะซึ่งตั้งอยู่ร่วมกับ
กามาสวะนั้น อวิชชาสวะซึ่งตั้งอยู่ร่วมกับกามาสวะนั้น ย่อมสิ้นไปด้วยสกทาคามิ-
มรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งสกทาคามิมรรคนี้
กามาสวะทั้งสิ้นย่อมสิ้นไปด้วยอนาคามิมรรค ภวาสวะซึ่งตั้งอยู่ร่วมกับกามาสวะ
นั้น อวิชชาสวะซึ่งตั้งอยู่ร่วมกับกามาสวะนั้น ย่อมสิ้นไปด้วยอนาคามิมรรค อาสวะ
เหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งอนาคามิมรรคนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๓๒. อานันตริกสมาธิญาณนิทเทส
ภวาสวะทั้งสิ้น อวิชชาสวะทั้งสิ้น ย่อมสิ้นไปด้วยอรหัตตมรรค อาสวะเหล่านี้
ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งอรหัตตมรรคนี้
ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งอพยาบาท ชื่อว่าสมาธิ
ฯลฯ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งอาโลกสัญญา ฯลฯ
ด้วยอำนาจแห่งอวิกเขปะ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งธัมมววัตถาน ฯลฯ ด้วยอำนาจ
แห่งญาณ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งปามุชชะ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งปฐมฌาน ฯลฯ
ด้วยอำนาจแห่งทุติยฌาน ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งตติยฌาน ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่ง
จตุตถฌาน ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งอากาสานัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ ด้วยอำนาจ
แห่งวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งอากิญจัญญายตนสมาบัติ ฯลฯ
ด้วยอำนาจแห่งเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งปฐวีกสิณ
ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งอาโปกสิณ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งเตโชกสิณ ฯลฯ ด้วยอำนาจ
แห่งวาโยกสิณ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งนีลกสิณ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งปีตกสิณ ฯลฯ
ด้วยอำนาจแห่งโลหิตกสิณ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งโอทาตกสิณ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่ง
อากาสกสิณ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งวิญญาณกสิณ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งพุทธานุสสติ
ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งธัมมานุสสติ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งสังฆานุสสติ ฯลฯ ด้วย
อำนาจแห่งสีลานุสสติ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งจาคานุสสติ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่ง
เทวตานุสสติ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งอานาปานัสสติ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งมรณัสสติ
ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งกายคตาสติ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งอุปสมานุสสติ ฯลฯ
ด้วยอำนาจแห่งอุทธุมาตกสัญญา ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งวินีลกสัญญา ฯลฯ ด้วยอำนาจ
แห่งวิปุพพกสัญญา ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งวิจฉิททกสัญญา ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่ง
วิกขายิตกสัญญา ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งวิกขิตตกสัญญา ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่ง
หตวิกขิตตกสัญญา ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งโลหิตกสัญญา ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่ง
ปุฬวกสัญญา ฯลฯ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งอัฏฐิก-
สัญญา ชื่อว่าสมาธิ ฯลฯ
[๘๑] ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งลมหายใจเข้ายาว
ชื่อว่าสมาธิ ฯลฯ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งลมหายใจ
ออกยาว ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งลมหายใจเข้าสั้น ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งลมหายใจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๓๒. อานันตริกสมาธิญาณนิทเทส
ออกสั้น ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งความเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจเข้า ฯลฯ ด้วย
อำนาจแห่งความเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจออก ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งการ
ระงับกายสังขารหายใจเข้า ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งการระงับกายสังขารหายใจออก ฯลฯ
ด้วยอำนาจแห่งความรู้แจ้งปีติหายใจเข้า ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งความรู้แจ้งปีติหายใจ
ออก ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งความรู้แจ้งสุขหายใจเข้า ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งความรู้
แจ้งสุขหายใจออก ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งความรู้แจ้งจิตตสังขารหายใจเข้า ฯลฯ
ด้วยอำนาจแห่งความรู้แจ้งจิตตสังขารหายใจออก ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งการระงับ
จิตตสังขารหายใจเข้า ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งการระงับจิตตสังขารหายใจออก ฯลฯ
ด้วยอำนาจแห่งความรู้แจ้งจิตหายใจเข้า ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งความรู้แจ้งจิตหายใจออก
ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งการยังจิตให้บันเทิงหายใจเข้า ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งการยังจิต
ให้บันเทิงหายใจออก ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งการตั้งจิตไว้หายใจเข้า ฯลฯ ด้วยอำนาจ
แห่งการตั้งจิตไว้หายใจออก ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งการเปลื้องจิตหายใจเข้า ฯลฯ
ด้วยอำนาจแห่งการเปลื้องจิตหายใจออก ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งการพิจารณาเห็น
ความไม่เที่ยงหายใจเข้า ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งการพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง
หายใจออก ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งการพิจารณาเห็นความคลายกำหนัดหายใจเข้า
ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งการพิจารณาเห็นความคลายกำหนัดหายใจออก ฯลฯ
ด้วยอำนาจแห่งการพิจารณาเห็นความดับหายใจเข้า ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งการ
พิจารณาเห็นความดับหายใจออก ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งการพิจารณาเห็นความสละ
คืนหายใจเข้า ฯลฯ
ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งการพิจารณาเห็น
ความสละคืนหายใจออก ชื่อว่าสมาธิ ญาณย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งสมาธินั้น
อาสวะทั้งหลายย่อมสิ้นไปด้วยญาณนั้น สมถะมีก่อน ญาณมีภายหลัง ด้วยประการ
ฉะนี้ ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายย่อมมีได้ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึง
กล่าวว่า ปัญญาในการตัดขาดอาสวะเพราะความบริสุทธิ์แห่งจิตที่ไม่ฟุ้งซ่าน
ชื่อว่าอานันตริกสมาธิญาณ
คำว่า อาสวะ อธิบายว่า อาสวะเหล่านั้น อะไรบ้าง
คือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๓๓. อรณวิหารญาณนิทเทส
อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไป ณ ที่ไหน
คือ ทิฏฐาสวะทั้งสิ้นย่อมสิ้นไปด้วยโสดาปัตติมรรค กามาสวะซึ่งเป็นเหตุให้
สัตว์ไปสู่อบาย ภวาสวะซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบาย อวิชชาสวะซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์
ไปสู่อบาย ย่อมสิ้นไปด้วยโสดาปัตติมรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่ง
โสดาปัตติมรรคนี้
กามาสวะส่วนหยาบย่อมสิ้นไปด้วยสกทาคามิมรรค ภวาสวะซึ่งตั้งอยู่ร่วมกับ
กามาสวะนั้น อวิชชาสวะซึ่งตั้งอยู่ร่วมกับกามาสวะนั้น ย่อมสิ้นไปด้วยสกทาคามิ-
มรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งสกทาคามิมรรคนี้
กามาสวะทั้งสิ้นย่อมสิ้นไปด้วยอนาคามิมรรค ภวาสวะซึ่งตั้งอยู่ร่วมกับ
กามาสวะนั้น อวิชชาสวะซึ่งตั้งอยู่ร่วมกับกามาสวะนั้น ย่อมสิ้นไปด้วยอนาคามิ-
มรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งอนาคามิมรรคนี้
ภวาสวะทั้งสิ้น อวิชชาสวะทั้งสิ้นย่อมสิ้นไปด้วยอรหัตตมรรค อาสวะเหล่านี้
ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งอรหัตตมรรคนี้
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการตัดขาดอาสวะเพราะความบริสุทธิ์
แห่งจิตที่ไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าอานันตริกสมาธิญาณ
อานันตริกสมาธิญาณนิทเทสที่ ๓๒ จบ

๓๓. อรณวิหารญาณนิทเทส
แสดงอรณวิหารญาณ
[๘๒] ทัสสนาธิปไตย วิหาราธิคมที่สงบ และปณีตาธิมุตตตาปัญญา ชื่อว่า
อรณวิหารญาณ เป็นอย่างไร
คือ คำว่า ทัสสนาธิปไตย อธิบายว่า อนิจจานุปัสสนาชื่อว่าทัสสนาธิปไตย
ทุกขานุปัสสนาชื่อว่าทัสสนาธิปไตย อนัตตานุปัสสนาชื่อว่าทัสสนาธิปไตย
อนิจจานุปัสสนาในรูปชื่อว่าทัสสนาธิปไตย ทุกขานุปัสสนาในรูปชื่อว่าทัสสนาธิปไตย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๓๓. อรณวิหารญาณนิทเทส
อนัตตานุปัสสนาในรูปชื่อว่าทัสสนาธิปไตย อนิจจานุปัสสนาในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา
ฯลฯ ในสังขาร ฯลฯ ในวิญญาณ ฯลฯ ในจักขุ ฯลฯ อนิจจานุปัสสนาในชราและ
มรณะชื่อว่าทัสสนาธิปไตย ทุกขานุปัสสนาในชราและมรณะชื่อว่าทัสสนาธิปไตย
อนัตตานุปัสสนาในชราและมรณะชื่อว่าทัสสนาธิปไตย
คำว่า วิหาราธิคมที่สงบ อธิบายว่า สุญญตวิหารชื่อว่าวิหาราธิคมที่สงบ
อนิมิตตวิหารชื่อว่าวิหาราธิคมที่สงบ อัปปณิหิตวิหารชื่อว่าวิหาราธิคมที่สงบ
คำว่า ปณีตาธิมุตตตา อธิบายว่า ความที่จิตน้อมไปในธรรมที่ว่าง ชื่อว่า
ปณีตาธิมุตตตา ความที่จิตน้อมไปในธรรมที่ไม่มีนิมิตชื่อว่าปณีตาธิมุตตตา ความที่
จิตน้อมไปในธรรมที่ไม่มีปณิหิตะ(ที่ตั้ง) ชื่อว่าปณีตาธิมุตตตา
คำว่า อรณวิหาร อธิบายว่า ปฐมฌานชื่อว่าอรณวิหาร ทุติยฌานชื่อว่าอรณ-
วิหาร ตติยฌานชื่อว่าอรณวิหาร จตุตถฌานชื่อว่าอรณวิหาร อากาสานัญจายตนสมาบัติ
ฯลฯ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติชื่อว่าอรณวิหาร
คำว่า อรณวิหาร อธิบายว่า ชื่อว่าอรณวิหาร เพราะมีความหมายว่าอย่างไร
คือ ชื่อว่าอรณวิหาร เพราะกำจัดนิวรณ์ได้ด้วยปฐมฌาน ชื่อว่าอรณวิหาร
เพราะกำจัดวิตกวิจารได้ด้วยทุติยฌาน ชื่อว่าอรณวิหาร เพราะกำจัดปีติได้ด้วย
ตติยฌาน ชื่อว่าอรณวิหาร เพราะกำจัดสุขและทุกข์ได้ด้วยจตุตถฌาน ชื่อว่า
อรณวิหาร เพราะกำจัดรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญาได้ด้วยอากาสานัญ-
จายตนสมาบัติ ชื่อว่าอรณวิหาร เพราะกำจัดอากาสานัญจายตนสัญญาได้ด้วย
วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ชื่อว่าอรณวิหาร เพราะกำจัดวิญญาณัญจายตนสัญญา
ได้ด้วยอากิญจัญญายตนสมาบัติ ชื่อว่าอรณวิหาร เพราะกำจัดอากิญจัญญายตน-
สัญญาได้ด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ นี้ชื่อว่าอรณวิหาร
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ทัสสนาธิปไตย วิหาราธิคมที่สงบ และปณีตาธิ-
มุตตตาปัญญา ชื่อว่าอรณวิหารญาณ
อรณวิหารญาณนิทเทสที่ ๓๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๓๔. นิโรธสมาปัตติญาณนิทเทส
๓๔. นิโรธสมาปัตติญาณนิทเทส
แสดงนิโรธสมาปัตติญาณ
[๘๓] ปัญญาที่มีความชำนาญในการระงับสังขาร ๓ ด้วยญาณจริยา ๑๖
และด้วยสมาธิจริยา ๙ เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยพละ ๒ อย่าง ชื่อว่านิโรธ-
สมาปัตติญาณ เป็นอย่างไร
คือ คำว่า พละ ๒ อย่าง อธิบายว่า พละ ๒ อย่าง ได้แก่
๑. สมถพละ
๒. วิปัสสนาพละ
สมถพละ เป็นอย่างไร
คือ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งเนกขัมมะ ชื่อว่า
สมถพละ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งอพยาบาท ชื่อว่า
สมถพละ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งอาโลกสัญญา
ชื่อว่าสมถพละ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งอวิกเขปะ
ชื่อว่าสมถพละ ฯลฯ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งการ
พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจเข้า ชื่อว่าสมถพละ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์
ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งการพิจารณาเห็นความสละคืนหายใจออก ชื่อว่าสมถพละ
คำว่า สมถพละ อธิบายว่า ชื่อว่าสมถพละ เพราะมีความหมายว่าอย่างไร
คือ ชื่อว่าสมถพละ เพราะไม่หวั่นไหวเพราะนิวรณ์ด้วยปฐมฌาน ชื่อว่า
สมถพละ เพราะไม่หวั่นไหวเพราะวิตกวิจารด้วยทุติยฌาน ชื่อว่าสมถพละ เพราะ
ไม่หวั่นไหวเพราะปีติด้วยตติยฌาน ชื่อว่าสมถพละ เพราะไม่หวั่นไหวเพราะสุขและ
ทุกข์ด้วยจตุตถฌาน ชื่อว่าสมถพละ เพราะไม่หวั่นไหวเพราะรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา
นานัตตสัญญา ด้วยอากาสานัญจายตนสมาบัติ ชื่อว่าสมถพละ เพราะไม่หวั่นไหว
เพราะอากาสานัญจายตนสัญญาด้วยวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ชื่อว่าสมถพละ
เพราะไม่หวั่นไหวเพราะวิญญาณัญจายตนสัญญาด้วยอากิญจัญญายตนสมาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๓๔. นิโรธสมาปัตติญาณนิทเทส
ชื่อว่าสมถพละ เพราะไม่หวั่นไหวเพราะอากิญจัญญายตนสัญญา ด้วยเนวสัญญา-
นาสัญญายตนสมาบัติ ชื่อว่าสมถพละ เพราะไม่หวั่นไหว ไม่กวัดแกว่ง ไม่เอนเอียง
เพราะอุทธัจจะ เพราะกิเลสที่ประกอบด้วยอุทธัจจะ และเพราะขันธ์ นี้ชื่อว่าสมถพละ
วิปัสสนาพละ เป็นอย่างไร
คือ อนิจจานุปัสสนาชื่อว่าวิปัสสนาพละ ทุกขานุปัสสนาชื่อว่าวิปัสสนา-
พละ อนัตตานุปัสสนาชื่อว่าวิปัสสนาพละ นิพพิทานุปัสสนาชื่อว่าวิปัสสนาพละ
วิราคานุปัสสนาชื่อว่าวิปัสสนาพละ นิโรธานุปัสสนาชื่อว่าวิปัสสนาพละ ปฏินิส-
สัคคานุปัสสนาชื่อว่าวิปัสสนาพละ อนิจจานุปัสสนาในรูปชื่อว่าวิปัสสนาพละ ฯลฯ
ปฏินิสสัคคานุปัสสนาในรูป ฯลฯ ในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา ฯลฯ ในสังขาร ฯลฯ
ในวิญญาณ ฯลฯ ในจักขุ ฯลฯ ในชราและมรณะ ฯลฯ ปฏินิสสัคคานุปัสสนาในชรา
และมรณะชื่อว่าวิปัสสนาพละ
คำว่า วิปัสสนาพละ อธิบายว่า ชื่อว่าวิปัสสนาพละ เพราะมีความหมายว่า
อย่างไร
คือ ชื่อว่าวิปัสสนาพละ เพราะไม่หวั่นไหวเพราะนิจจสัญญาด้วยอนิจจานุปัสสนา
ชื่อว่าวิปัสสนาพละ เพราะไม่หวั่นไหวเพราะสุขสัญญาด้วยทุกขานุปัสสนา ชื่อว่า
วิปัสสนาพละ เพราะไม่หวั่นไหวเพราะอัตตสัญญาด้วยอนัตตานุปัสสนา ชื่อว่า
วิปัสสนาพละ เพราะไม่หวั่นไหวเพราะนันทิด้วยนิพพิทานุปัสสนา ชื่อว่าวิปัสสนาพละ
เพราะไม่หวั่นไหวเพราะราคะด้วยวิราคานุปัสสนา ชื่อว่าวิปัสสนาพละ เพราะไม่หวั่น
ไหวเพราะสมุทัยด้วยนิโรธานุปัสสนา ชื่อว่าวิปัสสนาพละ เพราะไม่หวั่นไหวเพราะ
อาทานะด้วยปฏินิสสัคคานุปัสสนา ชื่อว่าวิปัสสนาพละ เพราะไม่หวั่นไหว
ไม่กวัดแกว่ง ไม่เอนเอียงเพราะอวิชชา เพราะกิเลสที่ประกอบด้วยอวิชชาและ
เพราะขันธ์ นี้ชื่อว่าวิปัสสนาพละ
คำว่า ด้วยการระงับสังขาร ๓ อธิบายว่า ด้วยการระงับสังขาร ๓ เป็นอย่างไร
คือ วิตก วิจารที่เป็นวจีสังขารของท่านผู้เข้าทุติยฌานย่อมระงับไป ลมหายใจ
เข้าหายใจออกที่เป็นกายสังขาร ของท่านผู้เข้าจตุตถฌานย่อมระงับไป สัญญา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๓๔. นิโรธสมาปัตติญาณนิทเทส
และเวทนาที่เป็นจิตตสังขารของท่านผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ย่อมระงับไปด้วยการ
ระงับสังขาร ๓ นี้
[๘๔] คำว่า ด้วยญาณจริยา ๑๖ อธิบายว่า ด้วยญาณจริยา ๑๖ เป็นอย่างไร
คือ อนิจจานุปัสสนาชื่อว่าญาณจริยา ทุกขานุปัสสนาชื่อว่าญาณจริยา
อนัตตานุปัสสนาชื่อว่าญาณจริยา นิพพิทานุปัสสนาชื่อว่าญาณจริยา วิราคา-
นุปัสสนาชื่อว่าญาณจริยา นิโรธานุปัสสนาชื่อว่าญาณจริยา ปฏินิสสัคคา-
นุปัสสนาชื่อว่าญาณจริยา วิวัฏฏนานุปัสสนาชื่อว่าญาณจริยา โสดาปัตติมรรค
ชื่อว่าญาณจริยา โสดาปัตติผลสมาบัติชื่อว่าญาณจริยา สกทาคามิมรรคชื่อว่า
ญาณจริยา สกทาคามิผลสมาบัติชื่อว่าญาณจริยา อนาคามิมรรคชื่อว่าญาณจริยา
อนาคามิผลสมาบัติชื่อว่าญาณจริยา อรหัตตมรรคชื่อว่าญาณจริยา อรหัตตผล-
สมาบัติชื่อว่าญาณจริยา ด้วยญาณจริยา ๑๖ นี้
[๘๕] คำว่า ด้วยสมาธิจริยา ๙ อธิบายว่า ด้วยสมาธิจริยา ๙ เป็นอย่างไร
คือ ปฐมฌานชื่อว่าสมาธิจริยา ทุติยฌานชื่อว่าสมาธิจริยา ตติยฌาน
ชื่อว่าสมาธิจริยา จตุตถฌานชื่อว่าสมาธิจริยา อากาสานัญจายนตสมาบัติ ฯลฯ
วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ อากิญจัญญายตนสมาบัติ ฯลฯ เนวสัญญา-
นาสัญญายตนสมาบัติชื่อว่าสมาธิจริยา วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตาจิต
เพื่อได้ปฐมฌาน ฯลฯ วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตาจิต เพื่อได้เนวสัญญา-
นาสัญญายตนสมาบัติชื่อว่าสมาธิจริยา ด้วยสมาธิจริยา ๙ นี้
คำว่า วสี อธิบายว่า วสี ๕ ประการ ได้แก่
๑. อาวัชชนาวสี (ชำนาญในการคำนึงถึง)
๒. สมาปัชชนวสี (ชำนาญในการเข้า)
๓. อธิฏฐานวสี (ชำนาญในการอธิษฐาน)
๔. วุฏฐานวสี (ชำนาญในการออก)
๕. ปัจจเวกขณาวสี (ชำนาญในการพิจารณา)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๓๔. นิโรธสมาปัตติญาณนิทเทส
สมาปัตติลาภีบุคคล (บุคคลผู้ได้สมาบัติ) คำนึงถึงปฐมฌาน ที่ไหนก็ได้ เมื่อไร
ก็ได้ นานเท่าไรก็ได้ ตามปรารถนา ไม่มีความเนิ่นช้าในการคำนึงถึง เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าอาวัชชนาวสี
สมาปัตติลาภีบุคคลเข้าปฐมฌานที่ไหนก็ได้ เมื่อไรก็ได้ นานเท่าไรก็ได้
ตามปรารถนา ไม่มีความเนิ่นช้าในการเข้า เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสมาปัชชนวสี
สมาปัตติลาภีบุคคลอธิษฐานปฐมฌานที่ไหนก็ได้ เมื่อไรก็ได้ นานเท่าไร
ก็ได้ ตามปรารถนา ไม่มีความเนิ่นช้าในการอธิษฐาน เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
อธิฏฐานวสี
สมาปัตติลาภีบุคคลออกจากปฐมฌานที่ไหนก็ได้ เมื่อไรก็ได้ นานเท่าไรก็ได้
ตามปรารถนา ไม่มีความเนิ่นช้าในการออก เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าวุฏฐานวสี
สมาปัตติลาภีบุคคลพิจารณาปฐมฌานที่ไหนก็ได้ เมื่อไรก็ได้ นานเท่าไร
ก็ได้ ตามปรารถนา ไม่มีความเนิ่นช้าในการพิจารณา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
ปัจจเวกขณาวสี
สมาปัตติลาภีบุคคลคำนึงถึงทุติยฌาน ฯลฯ คำนึงถึงเนวสัญญา-
นาสัญญายตนสมาบัติที่ไหนก็ได้ เมื่อไรก็ได้ นานเท่าไรก็ได้ ตามปรารถนา ไม่มี
ความเนิ่นช้าในการคำนึงถึง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอาวัชชนาวสี
สมาปัตติลาภีบุคคลเข้า ฯลฯ อธิฏฐาน ฯลฯ ออก ฯลฯ พิจารณา
เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติที่ไหนก็ได้ เมื่อไรก็ได้ นานเท่าไรก็ได้ ตาม
ปรารถนา ไม่มีความเนิ่นช้าในการพิจารณา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าปัจจเวกขณาวสี
วสี ๕ ประการนี้
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาที่มีความชำนาญในการระงับสังขาร ๓ ด้วย
ญาณจริยา ๑๖ และด้วยสมาธิจริยา ๙ เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยพละ ๒ อย่าง
ชื่อว่านิโรธสมาปัตติญาณ
นิโรธสมาปัตติญาณนิทเทสที่ ๓๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๓๕. ปรินิพพานญาณนิทเทส
๓๕. ปรินิพพานญาณนิทเทส
แสดงปรินิพพานญาณ
[๘๖] ปัญญาในการทำความเป็นไปแห่งกิเลสให้สิ้นไปของผู้มีสัมปชัญญะ
ชื่อว่าปรินิพพานญาณ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลผู้มีสัมปชัญญะในศาสนานี้ ทำความเป็นไปแห่งกามฉันทะให้สิ้นไป
ด้วยเนกขัมมะ ทำความเป็นไปแห่งพยาบาทให้สิ้นไปด้วยอพยาบาท ทำความเป็นไป
แห่งถีนมิทธะให้สิ้นไปด้วยอาโลกสัญญา ทำความเป็นไปแห่งอุทธัจจะให้สิ้นไป
ด้วยอวิกเขปะ ทำความเป็นไปแห่งวิจิกิจฉาให้สิ้นไปด้วยธัมมววัตถาน ฯลฯ แห่ง
อวิชชาให้สิ้นไปด้วยญาณ ฯลฯ แห่งอรติให้สิ้นไปด้วยปามุชชะ ฯลฯ แห่งนิวรณ์ให้
สิ้นไปด้วยปฐมฌาน ฯลฯ ทำความเป็นไปแห่งกิเลสทั้งปวงให้สิ้นไปด้วยอรหัตตมรรค
อีกประการหนึ่ง ความเป็นไปแห่งจักขุนี้ ของบุคคลผู้มีสัมปชัญญะผู้ปรินิพพาน
ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ย่อมสิ้นไป และความเป็นไปแห่งจักขุอื่นย่อมไม่เกิดขึ้น
ความเป็นไปแห่งโสตะ ฯลฯ ความเป็นไปแห่งฆานะ ฯลฯ ความเป็นไปแห่งชิวหา
ฯลฯ ความเป็นไปแห่งกาย ฯลฯ ความเป็นไปแห่งมโนนี้ ของบุคคลผู้มีสัมปชัญญะ
ผู้ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ย่อมสิ้นไป และความเป็นไปแห่งมโนอื่น
ย่อมไม่เกิดขึ้น ปัญญาในการทำความเป็นไปแห่งกิเลสให้สิ้นไปของบุคคลผู้มีสัมปชัญญะ
นี้ชื่อว่าปรินิพพานญาณ
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการทำความเป็นไปแห่งกิเลสให้สิ้นไปของผู้มี
สัมปชัญญะ ชื่อว่าปรินิพพานญาณ

ปรินิพพานญาณนิทเทสที่ ๓๕ จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๓๖. สมสีสัฏฐญาณนิทเทส
๓๖. สมสีสัฏฐญาณนิทเทส
แสดงสมสีสัฏฐญาณ
[๘๗] ปัญญาในความไม่ปรากฏแห่งธรรมทั้งปวง เพราะตัดขาดโดยชอบ
และดับไป ชื่อว่าสมสีสัฏฐญาณ (ญาณในอรรถแห่งธรรมที่สงบและเป็นประธาน)๑
เป็นอย่างไร
คือ คำว่า ธรรมทั้งปวง ได้แก่ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ กุศลธรรม
อกุศลธรรม อัพยากตธรรม กามาวจรธรรม รูปาวจรธรรม อรูปาวจรธรรม
อปริยาปันนธรรม
คำว่า เพราะตัดขาดโดยชอบ อธิบายว่า พระโยคาวจรย่อมตัดกามฉันทะขาด
โดยชอบด้วยเนกขัมมะ ตัดพยาบาทขาดโดยชอบด้วยอพยาบาท ตัดถีนมิทธะขาด
โดยชอบด้วยอาโลกสัญญา ตัดอุทธัจจกุกกุจจะขาดโดยชอบด้วยอวิกเขปะ ตัดวิจิกิจฉา
ขาดโดยชอบด้วยธัมมววัตถาน ตัดอวิชชาขาดโดยชอบด้วยญาณ ตัดอรติขาด
โดยชอบด้วยปามุชชะ ตัดนิวรณ์ขาดโดยชอบด้วยปฐมฌาน ฯลฯ ตัดกิเลสทั้งปวง
ขาดโดยชอบด้วยอรหัตตมรรค
คำว่า ดับไป อธิบายว่า พระโยคาวจรดับกามฉันทะได้ด้วยเนกขัมมะ ดับ
พยาบาทได้ด้วยอพยาบาท ดับถีนมิทธะได้ด้วยอาโลกสัญญา ดับอุทธัจจะได้
ด้วยอวิกเขปะ ดับวิจิกิจฉาได้ด้วยธัมมววัตถาน ดับอวิชชาได้ด้วยญาณ ดับอรติได้
ด้วยปามุชชะ ดับนิวรณ์ได้ด้วยปฐมฌาน ฯลฯ ดับกิเลสทั้งปวงได้ด้วยอรหัตตมรรค
คำว่า ไม่ปรากฏ อธิบายว่า เมื่อพระโยคาวจรได้เนกขัมมะ กามฉันทะย่อมไม่
ปรากฏ เมื่อได้อพยาบาท พยาบาทย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้อาโลกสัญญา ถีนมิทธะ
ย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้อวิกเขปะ อุทธัจจะย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้ธัมมววัตถาน วิจิกิจฉา
ย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้ญาณ อวิชชาย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้ปามุชชะ อรติย่อมไม่
ปรากฏ เมื่อได้ปฐมฌาน นิวรณ์ย่อมไม่ปรากฏ ฯลฯ เมื่อได้อรหัตตมรรค กิเลส
ทั้งปวงย่อมไม่ปรากฏ

เชิงอรรถ :
๑ คำแปลของแต่ละญาณมีปรากฏอยู่ในภาคอุทเทสหรือมาติกาหน้า ๔ โดยทั่วไปจะไม่นำมาไว้ในภาคนิทเทสนี้
นอกจากคำแปลของญาณที่ท่านอธิบายไว้ด้วย จึงจะนำมา เช่น คำแปลของญาณนี้คือคำว่า สงบ และเป็น
ประธาน ท่านอธิบายไว้ด้วย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๓๖. สมสีสัฏฐญาณนิทเทส
คำว่า สงบ อธิบายว่า เนกขัมมะชื่อว่าสงบ เพราะละกามฉันทะได้แล้ว
อพยาบาทชื่อว่าสงบ เพราะละพยาบาทได้แล้ว อาโลกสัญญาชื่อว่าสงบ เพราะละ
ถีนมิทธะได้แล้ว อวิกเขปะชื่อว่าสงบ เพราะละอุทธัจจะได้แล้ว ธัมมววัตถานชื่อว่า
สงบ เพราะละวิจิกิจฉาได้แล้ว ญาณชื่อว่าสงบ เพราะละอวิชชาได้แล้ว ปามุชชะ
ชื่อว่าสงบ เพราะละอรติได้แล้ว ปฐมฌาณชื่อว่าสงบ เพราะละนิวรณ์ได้แล้ว ฯลฯ
อรหัตตมรรคชื่อว่าสงบ เพราะละกิเลสทั้งปวงได้แล้ว
คำว่า เป็นประธาน อธิบายว่า ธรรมเป็นประธาน ๑๓ ประการ ได้แก่
๑. ตัณหามีความกังวลเป็นประธาน
๒. มานะมีความพัวพันเป็นประธาน
๓. ทิฏฐิมีความยึดถือเป็นประธาน
๔. อุทธัจจะมีความฟุ้งซ่านเป็นประธาน
๕. อวิชชามีกิเลสเป็นประธาน
๖. ศรัทธามีความน้อมใจเชื่อเป็นประธาน
๗. วิริยะมีความประคองไว้เป็นประธาน
๘. สติมีความเข้าไปตั้งมั่นเป็นประธาน
๙. สมาธิมีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นประธาน
๑๐. ปัญญามีความเห็นเป็นประธาน
๑๑. ชีวิตินทรีย์มีความเป็นไปเป็นประธาน
๑๒. วิโมกข์มีอารมณ์เป็นประธาน
๑๓. นิโรธมีสังขารเป็นประธาน
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความไม่ปรากฏแห่งธรรมทั้งปวง เพราะตัดขาด
โดยชอบและดับไป ชื่อว่าสมสีสัฏฐญาณ

สมสีสัฏฐญาณนิทเทสที่ ๓๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๓๗. สัลเลขัฏฐญาณนิทเทส
๓๗. สัลเลขัฏฐญาณนิทเทส
แสดงสัลเลขัฏฐญาณ
[๘๘] ปัญญาในสภาวะแต่ละอย่าง สภาวะต่าง ๆ สภาวะเดียว๑ และเดช
ชื่อว่าสัลเลขัฏฐญาณ (ญาณในอรรถแห่งธรรมเครื่องขัดเกลา) เป็นอย่างไร
คือ คำว่า สภาวะแต่ละอย่าง อธิบายว่า ราคะ (ความกำหนัด) เป็นสภาวะ
อย่างหนึ่ง โทสะ (ความประทุษร้าย) เป็นสภาวะอย่างหนึ่ง โมหะ (ความหลง)
เป็นสภาวะอย่างหนึ่ง โกธะ (ความโกรธ) ฯลฯ อุปนาหะ (ความผูกโรธ) ฯลฯ มักขะ
(ความลบหลู่) ฯลฯ ปฬาสะ (ความตีเสมอ) ฯลฯ อิสสา (ความริษยา) ฯลฯ มัจฉริยะ
(ความตระหนี่) ฯลฯ มายา (มารยา) ฯลฯ สาเฐยยะ (ความโอ้อวด) ฯลฯ ถัมภะ
(ความหัวดื้อ) ฯลฯ สารัมภะ (ความแข่งดี) ฯลฯ มานะ (ความถือตัว) ฯลฯ อติมานะ
(ความดูหมิ่นท่าน) ฯลฯ มทะ (ความมัวเมา) ฯลฯ ปมาทะ (ความประมาท) ฯลฯ
กิเลสทั้งปวง ฯลฯ ทุจจริตทั้งปวง ฯลฯ อภิสังขารทั้งปวง ฯลฯ กรรมอันเป็นเหตุให้
สัตว์ไปสู่ภพทั้งปวง เป็นสภาวะอย่างหนึ่ง
คำว่า สภาวะต่าง ๆ และสภาวะเดียว อธิบายว่า กามฉันทะชื่อว่าสภาวะ
ต่าง ๆ เนกขัมมะชื่อว่าสภาวะเดียว พยาบาทชื่อว่าสภาวะต่าง ๆ อพยาบาทชื่อว่า
สภาวะเดียว ถีนมิทธะชื่อว่าสภาวะต่าง ๆ อาโลกสัญญาชื่อว่าสภาวะเดียว อุทธัจจะ
ชื่อว่าสภาวะต่าง ๆ อวิกเขปะชื่อว่าสภาวะเดียว วิจิกิจฉาชื่อว่าสภาวะต่าง ๆ
ธัมมววัตถานชื่อว่าสภาวะเดียว อวิชชาชื่อว่าสภาวะต่าง ๆ ญาณชื่อว่าสภาวะเดียว
อรติชื่อว่าสภาวะต่าง ๆ ปามุชชะชื่อว่าสภาวะเดียว นิวรณ์ชื่อว่าสภาวะต่าง ๆ
ปฐมฌานชื่อว่าสภาวะเดียว ฯลฯ กิเลสทั้งปวงชื่อว่าสภาวะต่าง ๆ อรหัตตมรรค
ชื่อว่าสภาวะเดียว
คำว่า เดช อธิบายว่า เดชมี ๕ คือ (๑) เดชคือศีลเครื่องดำเนินไป (๒) เดชคือคุณ
(๓) เดชคือปัญญา (๔) เดชคือบุญ (๕) เดชคือธรรม บุคคลผู้มีเดช ย่อมทำเดชคือ

เชิงอรรถ :
๑ สภาวะต่าง ๆ หมายถึงสภาวะที่คงที่ไม่แปรผันไปต่าง ๆ ตรงกันข้ามกับสภาวะเดียวที่คงที่ไม่แปรผันไป
(ขุ.ป.อ. ๑/๘๘/๓๔๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๓๘. วิริยารัมภญาณนิทเทส
ความเป็นผู้ทุศีลให้สิ้นไปด้วยเดชคือศีลเครื่องดำเนินไป ย่อมทำเดชมิใช่คุณให้สิ้น
ไปด้วยเดชคือคุณ ย่อมทำเดชคือความเป็นผู้มีปัญญาทรามให้สิ้นไปด้วยเดชคือปัญญา
ย่อมทำเดชมิใช่บุญให้สิ้นไปด้วยเดชคือบุญ ย่อมทำเดชคืออธรรมให้สิ้นไปด้วยเดช
คือธรรม
คำว่า ธรรมเครื่องขัดเกลา อธิบายว่า กามฉันทะมิใช่ธรรมเครื่อง
ขัดเกลา เนกขัมมะเป็นธรรมเครื่องขัดเกลา พยาบาทมิใช่ธรรมเครื่องขัดเกลา
อพยาบาทเป็นธรรมเครื่องขัดเกลา ถีนมิทธะมิใช่ธรรมเครื่องขัดเกลา อาโลกสัญญา
เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา อุทธัจจะมิใช่ธรรมเครื่องขัดเกลา อวิกเขปะเป็นธรรม
เครื่องขัดเกลา วิจิกิจฉามิใช่ธรรมเครื่องขัดเกลา ธัมมววัตถานเป็นธรรมเครื่อง
ขัดเกลา อวิชชามิใช่ธรรมเครื่องขัดเกลา ญาณเป็นธรรมเครื่องขัดเกลา อรติมิใช่
ธรรมเครื่องขัดเกลา ปามุชชะเป็นธรรมเครื่องขัดเกลา นิวรณ์มิใช่ธรรมเครื่อง
ขัดเกลา ปฐมฌานเป็นธรรมเครื่องขัดเกลา ฯลฯ กิเลสทั้งปวงมิใช่ธรรมเครื่อง
ขัดเกลา อรหัตตมรรคเป็นธรรมเครื่องขัดเกลา
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในสภาวะแต่ละอย่าง สภาวะต่าง ๆ สภาวะ
เดียว และเดช ชื่อว่าสัลเลขัฏฐญาณ
สัลเลขัฏฐญาณนิทเทสที่ ๓๗ จบ

๓๘. วิริยารัมภญาณนิทเทส
แสดงวิริยารัมภญาณ
[๘๙] ปัญญาในการประคองจิตที่ไม่หดหู่และจิตที่ส่งไป ชื่อว่าวิริยารัมภ-
ญาณ เป็นอย่างไร
คือ ปัญญาในการประคองจิตที่ไม่หดหู่และจิตที่ส่งไป เพื่อป้องกันบาปอกุศล-
ธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น ชื่อว่าวิริยารัมภญาณ ปัญญาในการประคองจิตที่ไม่หดหู่
และจิตที่ส่งไป เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ชื่อว่าวิริยารัมภญาณ ปัญญาใน
การประคองจิตที่ไม่หดหู่และจิตที่ส่งไป เพื่อทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ชื่อว่า
วิริยารัมภญาณ ปัญญาในการประคองจิตที่ไม่หดหู่และจิตที่ส่งไป เพื่อความดำรงมั่น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๓๙. อัตถสันทัสสนญาณนิทเทส
ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ชื่อว่า
วิริยารัมภญาณ
ปัญญาในการประคองจิตที่ไม่หดหู่และจิตที่ส่งไป เพื่อป้องกันกามฉันทะที่ยัง
ไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น ชื่อว่าวิริยารัมภญาณ ปัญญาในการประคองจิตที่ไม่หดหู่และจิต
ที่ส่งไป เพื่อละกามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้ว ชื่อว่าวิริยารัมภญาณ ปัญญาในการประคอง
จิตที่ไม่หดหู่และจิตที่ส่งไป เพื่อทำเนกขัมมะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ชื่อว่าวิริยา-
รัมภญาณ ปัญญาในการประคองจิตที่ไม่หดหู่และจิตที่ส่งไป เพื่อความดำรงมั่น
ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งเนกขัมมะที่เกิดขึ้นแล้ว ชื่อว่า
วิริยารัมภญาณ ฯลฯ ปัญญาในการประคองจิตที่ไม่หดหู่และจิตที่ส่งไป เพื่อทำกิเลส
ทั้งปวงที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น ชื่อว่าวิริยารัมภญาณ ปัญญาในการประคองจิตที่ไม่
หดหู่และจิตที่ส่งไป เพื่อละกิเลสทั้งปวงที่เกิดขึ้นแล้ว ชื่อว่าวิริยารัมภญาณ ฯลฯ
ปัญญาในการประคองจิตที่ไม่หดหู่และจิตที่ส่งไป เพื่อทำอรหัตตมรรคที่ยังไม่เกิดให้
เกิดขึ้น ชื่อว่าวิริยารัมภญาณ ปัญญาในการประคองจิตที่ไม่หดหู่และจิตที่ส่งไป เพื่อ
ความดำรงมั่น ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งอรหัตตมรรค
ที่เกิดขึ้นแล้ว ชื่อว่าวิริยารัมภญาณ
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการประคองจิตที่ไม่หดหู่และจิตที่ส่งไป
ชื่อว่าวิริยารัมภญาณ
วิริยารัมภญาณนิทเทสที่ ๓๘ จบ

๓๙. อัตถสันทัสสนญาณนิทเทส
แสดงอัตถสันทัสสนญาณ
[๙๐] ปัญญาในการประกาศธรรมต่าง ๆ ชื่อว่าอัตถสันทัสสนญาณ
(ญาณในการเห็นชัดซึ่งอรรถ) เป็นอย่างไร
คือ คำว่า ธรรมต่าง ๆ ได้แก่ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ กุศลธรรม
อกุศลธรรม อัพยากตธรรม กามาวจรธรรม รูปาวจรธรรม อรูปาวจรธรรม
อปริยาปันนธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๔๐. ทัสสนวิสุทธิญาณนิทเทส
คำว่า ประกาศ อธิบายว่า ปัญญาย่อมประกาศรูปโดยความไม่เที่ยง ประกาศ
รูปโดยความเป็นทุกข์ ประกาศรูปโดยความเป็นอนัตตา ประกาศเวทนา ฯลฯ
สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ จักขุ ฯลฯ ประกาศชราและมรณะโดย
ความไม่เที่ยง ประกาศชราและมรณะโดยความเป็นทุกข์ ประกาศชราและมรณะโดย
ความเป็นอนัตตา
คำว่า การเห็นชัดซึ่งอรรถ อธิบายว่า พระโยคาวจรเมื่อละกามฉันทะย่อมเห็นชัด
ซึ่งอรรถแห่งเนกขัมมะ เมื่อละพยาบาทย่อมเห็นชัดซึ่งอรรถแห่งอพยาบาท เมื่อละ
ถีนมิทธะย่อมเห็นชัดซึ่งอรรถแห่งอาโลกสัญญา เมื่อละอุทธัจจะย่อมเห็นชัดซึ่งอรรถ
แห่งอวิกเขปะ เมื่อละวิจิกิจฉาย่อมเห็นชัดซึ่งอรรถแห่งธัมมววัตถาน เมื่อละอวิชชา
ย่อมเห็นชัดซึ่งอรรถแห่งญาณ เมื่อละอรติย่อมเห็นชัดซึ่งอรรถแห่งปามุชชะ เมื่อละ
นิวรณ์ย่อมเห็นชัดซึ่งอรรถแห่งปฐมฌาน ฯลฯ เมื่อละกิเลสทั้งปวงย่อมเห็นชัดซึ่ง
อรรถแห่งอรหัตตมรรค
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการประกาศธรรมต่าง ๆ ชื่อว่าอัตถ-
สันทัสสนญาณ
อัตถสันทัสสนญาณนิทเทสที่ ๓๙ จบ

๔๐. ทัสสนวิสุทธิญาณนิทเทส
แสดงทัสสนวิสุทธิญาณ
[๙๑] ปัญญาในการรวมธรรมทั้งปวงเข้าเป็นหมวดเดียวกัน ในการรู้แจ้ง
สภาวะต่าง ๆ และสภาวะเดียว ชื่อว่าทัสสนวิสุทธิญาณ (ญาณในความหมดจด
แห่งทัสสนะ) เป็นอย่างไร
คือ คำว่า ธรรมทั้งปวง ได้แก่ ขันธ์ ๕ ฯลฯ๑ อปริยาปันนธรรม
คำว่า รวมเข้าเป็นหมวดเดียวกัน อธิบายว่า ธรรมทั้งปวงท่านรวมเข้าเป็น
หมวดเดียวกันโดยอาการ ๑๒ คือ โดยสภาวะที่เป็นของแท้ ๑ โดยสภาวะที่เป็น

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มข้อ ๘๗ หน้า ๑๔๖ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๔๐. ทัสสนวิสุทธิญาณนิทเทส
อนัตตา ๑ โดยสภาวะที่เป็นจริง ๑ โดยสภาวะที่รู้แจ้ง ๑ โดยสภาวะที่รู้ยิ่ง ๑ โดย
สภาวะที่กำหนดรู้ ๑ โดยสภาวะที่เป็นธรรม ๑ โดยสภาวะที่เป็นธาตุ ๑ โดย
สภาวะที่รู้ได้ ๑ โดยสภาวะที่ทำให้แจ้ง ๑ โดยสภาวะที่ถูกต้อง ๑ โดยสภาวะที่
ตรัสรู้ ๑ ธรรมทั้งปวงท่านสงเคราะห์เข้าเป็นหมวดเดียวกัน โดยอาการ ๑๒
อย่างนี้
คำว่า สภาวะต่าง ๆ และสภาวะเดียว อธิบายว่า กามฉันทะชื่อว่าสภาวะ
ต่าง ๆ เนกขัมมะชื่อว่าสภาวะเดียว ฯลฯ๑ กิเลสทั้งปวงชื่อว่าสภาวะต่าง ๆ
อรหัตตมรรคชื่อว่าสภาวะเดียว
คำว่า การรู้แจ้ง อธิบายว่า พระโยคาวจรย่อมรู้แจ้งทุกขสัจด้วยการกำหนดรู้
รู้แจ้งสมุทยสัจด้วยการละ รู้แจ้งนิโรธสัจด้วยการทำให้แจ้ง รู้แจ้งมัคคสัจด้วย
การเจริญ
คำว่า ความหมดจดแห่งทัสสนะ อธิบายว่า ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค
ทัสสนะกำลังหมดจด ในขณะแห่งโสดาปัตติผล ทัสสนะหมดจดแล้ว ในขณะแห่ง
สกทาคามิมรรค ทัสสนะกำลังหมดจด ในขณะแห่งสกทาคามิผล ทัสสนะหมดจดแล้ว
ในขณะแห่งอนาคามิมรรค ทัสสนะกำลังหมดจด ในขณะแห่งอนาคามิผล ทัสสนะ
หมดจดแล้ว ในขณะแห่งอรหัตตมรรค ทัสสนะกำลังหมดจด ในขณะแห่งอรหัตตผล
ทัสสนะหมดจดแล้ว
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการรวมธรรมทั้งปวงเข้าเป็นหมวดเดียวกัน
ในการรู้แจ้งสภาวะต่าง ๆ และสภาวะเดียว ชื่อว่าทัสสนวิสุทธิญาณ

ทัสสนวิสุทธิญาณนิทเทสที่ ๔๐ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มข้อ ๘๘ หน้า ๑๔๘ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๔๒. ปริโยคาหนญาณนิทเทส
๔๑. ขันติญาณนิทเทส
แสดงขันติญาณ
[๙๒] ปัญญาที่รู้ชัด ชื่อว่าขันติญาณ เป็นอย่างไร
คือ รูปที่รู้ชัดโดยความไม่เที่ยง รูปที่รู้ชัดโดยความเป็นทุกข์ รูปที่รู้ชัดโดยความ
เป็นอนัตตา รูปใด ๆ ที่พระโยคาวจรรู้ชัดแล้ว รูปนั้น ๆ พระโยคาวจรย่อมพอใจ
เพราะฉะนั้น ปัญญาที่รู้ชัด จึงชื่อว่าขันติญาณ
เวทนาที่รู้ชัดโดยความไม่เที่ยง ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ
จักขุที่รู้ชัดโดยความไม่เที่ยง ฯลฯ ชราและมรณะที่รู้ชัดโดยความไม่เที่ยง
ชราและมรณะที่รู้ชัดโดยความเป็นทุกข์ ชราและมรณะที่รู้ชัดโดยความเป็นอนัตตา
ชราและมรณะใด ๆ ที่พระโยคาวจรรู้ชัดแล้ว ชราและมรณะนั้น ๆ พระโยคาวจร
ย่อมพอใจ เพราะฉะนั้น ปัญญาที่รู้ชัด จึงชื่อว่าขันติญาณ
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาที่รู้ชัด ชื่อว่าขันติญาณ
ขันติญาณนิทเทสที่ ๔๑ จบ

๔๒. ปริโยคาหนญาณนิทเทส
แสดงปริโยคาหนญาณ
[๙๓] ปัญญาที่ถูกต้องธรรม ชื่อว่าปริโยคาหนญาณ เป็นอย่างไร
คือ ปัญญาย่อมถูกต้องรูปโดยความไม่เที่ยง ถูกต้องรูปโดยความเป็นทุกข์
ถูกต้องรูปโดยความเป็นอนัตตา ถูกต้องรูปใด ๆ ก็หยั่งลงสู่รูปนั้น ๆ เพราะฉะนั้น
ปัญญาที่ถูกต้องธรรม จึงชื่อว่าปริโยคาหนญาณ
ปัญญาย่อมถูกต้องเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ
ปัญญาย่อมถูกต้องจักขุ ฯลฯ ปัญญาย่อมถูกต้องชราและมรณะโดยความ
ไม่เที่ยง ถูกต้องชราและมรณะโดยความเป็นทุกข์ ถูกต้องชราและมรณะโดยความ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๔๓. ปเทสวิหารญาณนิทเทส
เป็นอนัตตา ถูกต้องชราและมรณะใด ๆ ก็หยั่งลงสู่ชราและมรณะนั้น ๆ เพราะฉะนั้น
ปัญญาที่ถูกต้องธรรม จึงชื่อว่าปริโยคาหนญาณ
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาที่ถูกต้องธรรม ชื่อว่าปริโยคาหนญาณ
ปริโยคาหนญาณนิทเทสที่ ๔๒ จบ

๔๓. ปเทสวิหารญาณนิทเทส
แสดงปเทสวิหารญาณ

[๙๔] ปัญญาในการรวมปัจจัย ชื่อว่าปเทสวิหารญาณ เป็นอย่างไร คือ
เพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะความสงบไปแห่งมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะความสงบไปแห่งสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะมิจฉาสังกัปปะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะความสงบไปแห่งมิจฉาสังกัปปะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะสัมมาสังกัปปะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะความสงบไปแห่งสัมมาสังกัปปะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี

ฯลฯ

เพราะมิจฉาวิมุตติเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะความสงบไปแห่งมิจฉาวิมุตติเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะสัมมาวิมุตติเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะความสงบไปแห่งสัมมาวิมุตติเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะฉันทะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะความสงบไปแห่งฉันทะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะวิตกเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๔๔-๔๙. ฉวิวัฏฏญาณนิทเทส
เพราะความสงบไปแห่งวิตกเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะสัญญาเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะความสงบไปแห่งสัญญาเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะฉันทะ วิตก และสัญญาเป็นธรรมไม่สงบไปเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะฉันทะเป็นธรรมสงบไป แต่วิตกและสัญญาเป็นธรรมไม่สงบไปเป็นปัจจัย
เวทนาจึงมี
เพราะฉันทะและวิตกเป็นธรรมสงบไป แต่สัญญาเป็นธรรมไม่สงบไปเป็นปัจจัย
เวทนาจึงมี
เพราะฉันทะ วิตก และสัญญาเป็นธรรมสงบไปเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
อาสวะ๑เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุมีอยู่ แต่เพราะยังไม่ได้บรรลุฐานะนั้น
เป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการรวมปัจจัย ชื่อว่าปเทสวิหารญาณ
ปเทสวิหารญาณนิทเทสที่ ๔๓ จบ

๔๔-๔๙. ฉวิวัฏฏญาณนิทเทส
แสดงญาณในการหลีกออก ๖ อย่าง
[๙๕] ปัญญาที่มีกุศลธรรมเป็นใหญ่ ชื่อว่าสัญญาวิวัฏฏญาณ เป็นอย่างไร
คือ ปัญญาที่มีเนกขัมมะเป็นใหญ่ ย่อมหลีกออกจากกามฉันทะด้วยสัญญา
(ความหมายรู้) เพราะฉะนั้น ปัญญาที่มีกุศลธรรมเป็นใหญ่ จึงชื่อว่าสัญญาวิวัฏฏญาณ
ปัญญาที่มีอพยาบาทเป็นใหญ่ ย่อมหลีกออกจากพยาบาทด้วยสัญญา เพราะฉะนั้น
ปัญญาที่มีกุศลธรรมเป็นใหญ่ จึงชื่อว่าสัญญาวิวัฏฏญาณ ปัญญาที่มีอาโลกสัญญา
เป็นใหญ่ ย่อมหลีกออกจากถีนมิทธะด้วยสัญญา เพราะฉะนั้น ปัญญาที่มีกุศลธรรม

เชิงอรรถ :
๑ อาสวะ ในที่นี้หมายถึงวิริยะ (ความเพียร) (ขุ.ป.อ. ๑/๙๔/๓๔๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๔๔-๔๙. ฉวิวัฏฏญาณนิทเทส
เป็นใหญ่ จึงชื่อว่าสัญญาวิวัฏฏญาณ ปัญญาที่มีอวิกเขปะเป็นใหญ่ ย่อมหลีกออก
จากอุทธัจจะด้วยสัญญา เพราะฉะนั้น ปัญญาที่มีกุศลธรรมเป็นใหญ่ จึงชื่อว่า
สัญญาวิวัฏฏญาณ ปัญญาที่มีธัมมววัตถานเป็นใหญ่ ย่อมหลีกออกจากวิจิกิจฉา
ด้วยสัญญา เพราะฉะนั้น ปัญญาที่มีกุศลธรรมเป็นใหญ่ จึงชื่อว่าสัญญาวิวัฏฏญาณ
ปัญญาที่มีญาณเป็นใหญ่ ย่อมหลีกออกจากอวิชชาด้วยสัญญา เพราะฉะนั้น ปัญญา
ที่มีกุศลธรรมเป็นใหญ่ จึงชื่อว่าสัญญาวิวัฏฏญาณ ปัญญาที่มีปามุชชะเป็นใหญ่
ย่อมหลีกออกจากอรติด้วยสัญญา เพราะฉะนั้น ปัญญาที่มีกุศลธรรมเป็นใหญ่
จึงชื่อว่าสัญญาวิวัฏฏญาณ ปัญญาที่มีปฐมฌานเป็นใหญ่ ย่อมหลีกออกจากนิวรณ์
ด้วยสัญญา ฯลฯ ปัญญาที่มีอรหัตตมรรคเป็นใหญ่ ย่อมหลีกออกจากกิเลสทั้งปวง
ด้วยสัญญา เพราะฉะนั้น ปัญญาที่มีกุศลธรรมเป็นใหญ่ จึงชื่อว่าสัญญาวิวัฏฏญาณ
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาที่มีกุศลธรรมเป็นใหญ่ ชื่อว่าสัญญา-
วิวัฏฏญาณ
[๙๖] ปัญญาในสภาวะต่าง ๆ ชื่อว่าเจโตวิวัฏฏญาณ เป็นอย่างไร
คือ กามฉันทะเป็นสภาวะต่าง ๆ เนกขัมมะเป็นสภาวะเดียว เมื่อพระโยคาวจร
คิดถึงเนกขัมมะที่เป็นสภาวะเดียว จิตย่อมหลีกออกจากกามฉันทะ เพราะฉะนั้น
ปัญญาในสภาวะต่าง ๆ จึงชื่อว่าเจโตวิวัฏฏญาณ
พยาบาทเป็นสภาวะต่าง ๆ อพยาบาทเป็นสภาวะเดียว เมื่อพระโยคาวจร
คิดถึงอพยาบาทที่เป็นสภาวะเดียว จิตย่อมหลีกออกจากพยาบาท เพราะฉะนั้น
ปัญญาในสภาวะต่าง ๆ จึงชื่อว่าเจโตวิวัฏฏญาณ
ถีนมิทธะเป็นสภาวะต่าง ๆ อาโลกสัญญาเป็นสภาวะเดียว เมื่อพระโยคาวจร
คิดถึงอาโลกสัญญาที่เป็นสภาวะเดียว จิตย่อมหลีกออกจากถีนมิทธะ เพราะฉะนั้น
ปัญญาในสภาวะต่าง ๆ จึงชื่อว่าเจโตวิวัฏฏญาณ ฯลฯ
กิเลสทั้งปวงเป็นสภาวะต่าง ๆ อรหัตตมรรคเป็นสภาวะเดียว เมื่อพระโยคาวจร
คิดถึงอรหัตตมรรคที่เป็นสภาวะเดียว จิตย่อมหลีกออกจากกิเลสทั้งปวง เพราะฉะนั้น
ปัญญาในสภาวะต่าง ๆ จึงชื่อว่าเจโตวิวัฏฏญาณ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๔๔-๔๙. ฉวิวัฏฏญาณนิทเทส
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในสภาวะต่าง ๆ ชื่อว่าเจโตวิวัฏฏญาณ
[๙๗] ปัญญาในการอธิษฐาน ชื่อว่าจิตตวิวัฏฏญาณ เป็นอย่างไร
คือ พระโยคาวจรเมื่อละกามฉันทะ ย่อมอธิษฐานจิตด้วยอำนาจแห่งเนกขัมมะ
เพราะฉะนั้น ปัญญาในการอธิษฐาน จึงชื่อว่าจิตตวิวัฏฏญาณ เมื่อละพยาบาท
ย่อมอธิษฐานจิตด้วยอำนาจแห่งอพยาบาท เพราะฉะนั้น ปัญญาในการอธิษฐาน
จึงชื่อว่าจิตตวิวัฏฏญาณ เมื่อละถีนมิทธะ ย่อมอธิษฐานจิตด้วยอำนาจแห่งอาโลก-
สัญญา เพราะฉะนั้น ปัญญาในการอธิษฐาน จึงชื่อว่าจิตตวิวัฏฏญาณ เมื่อละกิเลส
ทั้งปวง ย่อมอธิษฐานจิตด้วยอำนาจแห่งอรหัตตมรรค เพราะฉะนั้น ปัญญาในการ
อธิษฐาน จึงชื่อว่าจิตตวิวัฏฏญาณ
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการอธิษฐาน ชื่อว่าจิตตวิวัฏฏญาณ
[๙๘] ปัญญาในธรรมที่ว่าง ชื่อว่าญาณวิวัฏฏญาณ เป็นอย่างไร
คือ เมื่อพระโยคาวจรรู้ชัดและเห็นแจ้งตามความเป็นจริงว่า “จักขุว่างจาก
อัตตา จากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา จากความเที่ยง จากความยั่งยืน จากความคงที่
หรือจากความไม่แปรผันเป็นธรรมดา” ญาณย่อมหลีกออกจากความยึดถือในกาม
เพราะฉะนั้น ปัญญาในธรรมที่ว่าง จึงชื่อว่าญาณวิวัฏฏญาณ
เมื่อพระโยคาวจรรู้ชัดและเห็นแจ้งตามความเป็นจริงว่า “โสตะว่าง ฯลฯ
ฆานะว่าง ฯลฯ ชิวหาว่าง ฯลฯ กายว่าง ฯลฯ มโนว่างจากอัตตา จากสิ่งที่เนื่อง
ด้วยอัตตา จากความเที่ยง จากความยั่งยืน จากความคงที่ หรือจากความไม่แปรผัน
เป็นธรรมดา” ญาณย่อมหลีกออกจากความยึดถือในกาม เพราะฉะนั้น ปัญญาใน
ธรรมที่ว่าง จึงชื่อว่าญาณวิวัฏฏญาณ
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในธรรมที่ว่าง ชื่อว่าญาณวิวัฏฏญาณ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๔๔-๔๙. ฉวิวัฏฏญาณนิทเทส
[๙๙] ปัญญาในความสละ ชื่อว่าวิโมกขวิวัฏฏญาณ เป็นอย่างไร
คือ พระโยคาวจรสละกามฉันทะด้วยเนกขัมมะ เพราะฉะนั้น ปัญญาในความ
สละ จึงชื่อว่าวิโมกขวิวัฏฏญาณ สละพยาบาทด้วยอพยาบาท เพราะฉะนั้น ปัญญา
ในความสละ จึงชื่อว่าวิโมกขวิวัฏฏญาณ สละถีนมิทธะด้วยอาโลกสัญญา เพราะ
ฉะนั้น ปัญญาในความสละ จึงชื่อว่าวิโมกขวิวัฏฏญาณ สละอุทธัจจะด้วยอวิกเขปะ
เพราะฉะนั้น ปัญญาในความสละ จึงชื่อว่าวิโมกขวิวัฏฏญาณ สละวิจิกิจฉา
ด้วยธัมมววัตถาน เพราะฉะนั้น ปัญญาในความสละ จึงชื่อว่าวิโมกขวิวัฏฏญาณ
สละกิเลสทั้งปวงด้วยอรหัตตมรรค เพราะฉะนั้น ปัญญาในความสละ จึงชื่อว่า
วิโมกขวิวัฏฏญาณ
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความสละ ชื่อว่าวิโมกขวิวัฏฏญาณ
[๑๐๐] ปัญญาในสภาวะแท้ ชื่อว่าสัจจวิวัฏฏญาณ เป็นอย่างไร
คือ พระโยคาวจรเมื่อกำหนดรู้สภาวะที่บีบคั้น สภาวะที่ปัจจัยปรุงแต่ง
สภาวะที่ทำให้เดือดร้อน สภาวะที่แปรผันแห่งทุกข์ ย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น
ปัญญาในสภาวะแท้ จึงชื่อว่าสัจจวิวัฏฏญาณ
เมื่อละสภาวะที่ประมวลมา สภาวะที่เป็นเหตุ สภาวะที่เกี่ยวข้อง สภาวะที่
พัวพันแห่งสมุทัย ย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น ปัญญาในสภาวะแท้ จึงชื่อว่า
สัจจวิวัฏฏญาณ
เมื่อทำให้แจ้งสภาวะที่เป็นเครื่องสลัดออก สภาวะที่เป็นวิเวก สภาวะที่เป็น
อสังขตะ สภาวะที่เป็นอมตะแห่งนิโรธ ย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น ปัญญาในสภาวะแท้
จึงชื่อว่าสัจจวิวัฏฏญาณ
เมื่อเจริญสภาวะที่นำออก สภาวะที่เป็นเหตุ สภาวะที่เห็น สภาวะที่เป็นใหญ่
แห่งมรรค ย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น ปัญญาในสภาวะแท้ จึงชื่อว่าสัจจวิวัฏฏญาณ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๔๔-๔๙. ฉวิวัฏฏญาณนิทเทส
สัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏ ญาณวิวัฏ วิโมกขวิวัฏ สัจจวิวัฏ
พระโยคาวจรเมื่อหมายรู้ย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าสัญญาวิวัฏ เมื่อคิด
ย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าเจโตวิวัฏ เมื่อรู้แจ้งย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าจิตตวิวัฏ เมื่อกระทำญาณย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าญาณวิวัฏ
เมื่อสละย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าวิโมกขวิวัฏ ย่อมหลีกไปในสภาวะแท้
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าสัจจวิวัฏ
ในขณะแห่งมรรคใดมีสัญญาวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีเจโตวิวัฏ ในขณะ
แห่งมรรคใดมีเจโตวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีสัญญาวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคใด
มีสัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีจิตตวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคใด
มีจิตตวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีสัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคใด
มีสัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีญาณวิวัฏ ในขณะ
แห่งมรรคใดมีญาณวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีสัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏ
ในขณะแห่งมรรคใดมีสัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏ ญาณวิวัฏ ในขณะแห่ง
มรรคนั้นย่อมมีวิโมกขวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคใดมีวิโมกขวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคนั้น
ย่อมมีสัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏ ญาณวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคใดมีสัญญา-
วิวัฏ เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏ ญาณวิวัฏ วิโมกขวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมี
สัจจวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคใดมีสัจจวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีสัญญาวิวัฏ
เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏ ญาณวิวัฏ วิโมกขวิวัฏ
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในสภาวะแท้ ชื่อว่าสัจจวิวัฏฏญาณ

ฉวิวัฏฏญาณนิทเทสที่ ๔๔-๔๙ จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๕๐. อิทธิวิธญาณนิทเทส
๕๐. อิทธิวิธญาณนิทเทส
แสดงอิทธิวิธญาณ
[๑๐๑] ปัญญาในสภาวะที่สำเร็จด้วยการกำหนดกาย (ของตน) และจิต
(มีฌานเป็นบาท) เข้าด้วยกัน ด้วยอำนาจการตั้งไว้ซึ่งสุขสัญญาและลหุสัญญา
ชื่อว่าอิทธิวิธญาณ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
(สมาธิที่เกิดจากฉันทะและความเพียรสร้างสรรค์) เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วย
วิริยสมาธิปธานสังขาร(สมาธิที่เกิดจากวิริยะและความเพียรสร้างสรรค์)เจริญอิทธิบาท
ที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร (สมาธิที่เกิดจากจิตตะและความเพียรสร้างสรรค์)
เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร (สมาธิที่เกิดจากวิมังสาและ
ความเพียรสร้างสรรค์) ภิกษุนั้นย่อมอบรมข่มจิตทำให้เป็นจิตอ่อน ควรแก่การงาน
ในอิทธิบาท ๔ ประการนี้ ครั้นแล้วย่อมตั้งกายไว้ในจิตบ้าง ตั้งจิตไว้ในกายบ้าง น้อมจิต
ไปด้วยอำนาจกายบ้าง น้อมกายไปด้วยอำนาจจิตบ้าง อธิษฐานจิตด้วยอำนาจกาย
บ้าง อธิษฐานกายด้วยอำนาจจิตบ้าง ครั้นน้อมจิตไปด้วยอำนาจกาย น้อมกายไป
ด้วยอำนาจจิต อธิษฐานจิตด้วยอำนาจกาย อธิษฐานกายด้วยอำนาจจิตแล้ว ย่อมให้
สุขสัญญาและลหุสัญญาหยั่งลงในกายอยู่ เธอมีจิตอบรมแล้วอย่างนั้น บริสุทธิ์
ผ่องแผ้ว ย่อมน้อมนำจิตไปเพื่ออิทธิวิธญาณ เธอย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง
[๑๐๒] คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้
แสดงให้ปรากฏก็ได้ หรือให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา กำแพง ภูเขา ไปได้ไม่ติดขัด
เหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นหรือดำลงในแผ่นดินเหมือนไปในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำโดย
ที่น้ำไม่แยกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ นั่งขัดสมาธิเหาะไปในอากาศเหมือนนกบินไป
ก็ได้ ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มากมีอานุภาพมากก็ได้ ใช้
อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในสภาวะที่สำเร็จด้วยการกำหนดกาย (ของตน)
และจิต (มีฌานเป็นบาท) เข้าด้วยกันด้วยอำนาจการตั้งไว้ซึ่งสุขสัญญาและลหุสัญญา
ชื่อว่าอิทธิวิธญาณ

อิทธิวิธญาณนิทเทสที่ ๕๐ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๕๑. โสตธาตุวิสุทธิญาณนิทเทส
๕๑. โสตธาตุวิสุทธิญาณนิทเทส
แสดงโสตธาตุวิสุทธิญาณ
[๑๐๓] ปัญญาในการหยั่งลงสู่สัททนิมิตที่มีสภาวะต่าง ๆ และสภาวะเดียว
ด้วยอำนาจการแผ่วิตกไป ชื่อว่าโสตธาตุวิสุทธิญาณ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
ฯลฯ เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร ฯลฯ เจริญอิทธิบาท
ที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร ฯลฯ เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสา-
สมาธิปธานสังขาร ภิกษุนั้นย่อมอบรมข่มจิต ทำให้เป็นจิตอ่อน ควรแก่การงาน
ในอิทธิบาท ๔ ประการนี้แล้ว ย่อมใส่ใจสัททนิมิตแห่งเสียงทั้งหลายในที่ไกลบ้าง
ย่อมใส่ใจสัททนิมิตแห่งเสียงทั้งหลายในที่ใกล้บ้าง ย่อมใส่ใจสัททนิมิตแห่งเสียง
ทั้งหลายหยาบบ้าง ย่อมใส่ใจสัททนิมิตแห่งเสียงทั้งหลายละเอียดบ้าง ย่อมใส่ใจ
สัททนิมิตแห่งเสียงทั้งหลายละเอียดอย่างยิ่ง ย่อมใส่ใจสัททนิมิตแห่งเสียงทั้งหลาย
ทั้งทางทิศบูรพา ย่อมใส่ใจสัททนิมิตแห่งเสียงทั้งหลายทั้งทางทิศปัจฉิม ย่อมใส่ใจ
สัททนิมิตแห่งเสียงทั้งหลายทั้งทางทิศอุดร ย่อมใส่ใจสัททนิมิตแห่งเสียงทั้งหลายทั้ง
ทางทิศทักษิณ ย่อมใส่ใจสัททนิมิตแห่งเสียงทั้งหลายทั้งทางทิศอาคเนย์ ย่อมใส่ใจ
สัททนิมิตแห่งเสียงทั้งหลายทั้งทางทิศพายัพ ย่อมใส่ใจสัททนิมิตแห่งเสียงทั้งหลาย
ทั้งทางทิศอีสาน ย่อมใส่ใจสัททนิมิตแห่งเสียงทั้งหลายทั้งทางทิศหรดี ย่อมใส่ใจ
สัททนิมิตแห่งเสียงทั้งหลายทั้งทางทิศเบื้องต่ำ ย่อมใส่ใจสัททนิมิตแห่งเสียงทั้งหลาย
ทั้งทางทิศเบื้องบน เธอมีจิตอบรมแล้วอย่างนั้น บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ย่อมน้อมนำ
จิตไปเพื่อโสตธาตุวิสุทธิญาณ ได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือเสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ทั้งที่
อยู่ไกลและใกล้ ด้วยหูทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการหยั่งลงสู่สัททนิมิตที่มีสภาวะต่าง ๆ
และสภาวะเดียว ด้วยอำนาจการแผ่วิตกไป ชื่อว่าโสตธาตุวิสุทธิญาณ

โสตธาตุวิสุทธิญาณนิทเทสที่ ๕๑ จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๕๒. เจโตปริยญาณนิทเทส
๕๒. เจโตปริยญาณนิทเทส
แสดงเจโตปริยญาณ
[๑๐๔] ปัญญาในการหยั่งลงสู่วิญญาณจริยาที่มีสภาวะต่าง ๆ และสภาวะ
เดียว ด้วยอำนาจความผ่องใสแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย เพราะการแผ่ไปแห่งจิต ๓
ประเภท ชื่อว่าเจโตปริยญาณ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
ฯลฯ เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร ฯลฯ เจริญอิทธิบาทที่
ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร ฯลฯ เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสา-
สมาธิปธานสังขาร ภิกษุนั้นย่อมอบรมข่มจิต ทำให้เป็นจิตอ่อน ควรแก่การงาน
ในอิทธิบาท ๔ ประการนี้ ครั้นแล้วย่อมรู้ว่า “รูปนี้เกิดขึ้นด้วยโสมนัสสินทรีย์
รูปนี้เกิดขึ้นด้วยโทมนัสสินทรีย์ รูปนี้เกิดขึ้นด้วยอุเปกขินทรีย์” เธอมีจิตอบรมแล้ว
อย่างนั้น บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ย่อมน้อมนำจิตไปเพื่อเจโตปริยญาณ เธอย่อมกำหนดรู้
ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นด้วยใจของตน คือจิตมีราคะก็รู้ว่า “จิตมีราคะ” หรือจิต
ปราศจากราคะก็รู้ว่า “จิตปราศจากราคะ” จิตมีโทสะก็รู้ว่า “จิตมีโทสะ” หรือจิต
ปราศจากโทสะก็รู้ว่า “จิตปราศจากโทสะ” จิตมีโมหะก็รู้ว่า “จิตมีโมหะ” หรือจิต
ปราศจากโมหะก็รู้ว่า “จิตปราศจากโมหะ” จิตหดหู่ก็รู้ว่า “จิตหดหู่” หรือจิตฟุ้งซ่าน
ก็รู้ว่า “จิตฟุ้งซ่าน” จิตเป็นมหัคคตะก็รู้ว่า “จิตเป็นมหัคคตะ” หรือจิตไม่เป็น
มหัคคตะก็รู้ว่า “จิตไม่เป็นมหัคคตะ” จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่า “จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า”
หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่า “จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า” จิตเป็นสมาธิก็รู้ว่า “จิตเป็น
สมาธิ” หรือจิตไม่เป็นสมาธิก็รู้ว่า “จิตไม่เป็นสมาธิ” จิตหลุดพ้นก็รู้ว่า “จิตหลุดพ้น”
หรือจิตไม่หลุดพ้นก็รู้ว่า “จิตไม่หลุดพ้น” จิตน้อมไปก็รู้ว่า “จิตน้อมไป” หรือจิตไม่
น้อมไปก็รู้ว่า “จิตไม่น้อมไป”
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการหยั่งลงสู่วิญญาณจริยาที่มีสภาวะ
ต่าง ๆ และสภาวะเดียว ด้วยอำนาจความผ่องใสแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย เพราะการ
แผ่ไปแห่งจิต ๓ ประเภท ชื่อว่าเจโตปริยญาณ
เจโตปริยญาณนิทเทสที่ ๕๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๕๓. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณนิทเทส
๕๓. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณนิทเทส
แสดงปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
[๑๐๕] ปัญญาในการกำหนดธรรมทั้งหลายที่เป็นไปตามปัจจัยด้วยอำนาจ
การแผ่ไปแห่งกรรมที่มีสภาวะต่าง ๆ และสภาวะเดียว ชื่อว่าปุพเพนิวาสา-
นุสสติญาณ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
ฯลฯ เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร ฯลฯ เจริญอิทธิบาท
ที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร ฯลฯ เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสา-
สมาธิปธานสังขาร ภิกษุนั้นย่อมอบรมข่มจิต ทำให้เป็นจิตอ่อน ควรแก่การงาน
ในอิทธิบาท ๔ ประการนี้ ครั้นแล้วย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า “เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะ
สิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น คือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขาร
เป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี เพราะนามรูป
เป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็น
ปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย
อุปาทานจึงมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงมี
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้”
เธอมีจิตอบรมแล้วอย่างนี้ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ย่อมน้อมนำจิตไป เพื่อ
ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ เธอย่อมระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง
๒ ชาติบ้าง ๓ ชาติบ้าง ๔ ชาติบ้าง ๕ ชาติบ้าง ๑๐ ชาติบ้าง ๒๐ ชาติบ้าง
๓๐ ชาติบ้าง ๔๐ ชาติบ้าง ๕๐ ชาติบ้าง ๑๐๐ ชาติบ้าง ๑,๐๐๐ ชาติบ้าง
๑๐๐,๐๐๐ ชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมาก
บ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า “ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น
มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุข ทุกข์และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นจึง
มาเกิดในภพนี้ เธอระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติ
อย่างนี้”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๕๔. ทิพพจักขุญาณนิทเทส
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดธรรมทั้งหลายที่เป็นไปตาม
ปัจจัย ด้วยอำนาจการแผ่ไปแห่งกรรมที่มีสภาวะต่าง ๆ และสภาวะเดียว ชื่อว่า
ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
ปุพเพนิวาสานุสสติญาณนิทเทสที่ ๕๓ จบ

๕๔. ทิพพจักขุญาณนิทเทส
แสดงทิพพจักขุญาณ
[๑๐๖] ปัญญาในการเห็นรูปนิมิตที่มีสภาวะต่าง ๆ และสภาวะเดียว ด้วย
อำนาจแสงสว่าง ชื่อว่าทิพพจักขุญาณ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
ฯลฯ เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร ฯลฯ เจริญอิทธิบาทที่
ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร ฯลฯ เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสา-
สมาธิปธานสังขาร ภิกษุนั้นย่อมอบรมข่มจิต ทำให้เป็นจิตอ่อน ควรแก่การงาน
ในอิทธิบาท ๔ ประการนี้ ครั้นแล้วย่อมใส่ใจถึงอาโลกสัญญา ตั้งสัญญาว่าเป็น
กลางวัน มีใจเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ เจริญจิตให้มีแสงสว่างว่า กลางวันฉันใด
กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น เธอมีจิตอบรมแล้วอย่างนั้น
บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ย่อมน้อมนำจิตไปเพื่อจุตูปปาตญาณ เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ
กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์
อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า “หมู่สัตว์ที่ประกอบ
กายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นผิด และชักชวน
ผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นผิด พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปบังเกิดในอบาย
ทุคติ วินิบาต นรก แต่หมู่สัตว์ที่ประกอบกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต
ไม่กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นชอบและชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๕๕. อาสวักขยญาณนิทเทส
เห็นชอบ พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปบังเกิดในสุคติ โลกสวรรค์” เธอเห็นหมู่สัตว์
ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตา
ทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมอย่างนี้แล
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการเห็นรูปนิมิตที่มีสภาวะต่าง ๆ และ
สภาวะเดียว ด้วยอำนาจแสงสว่าง ชื่อว่าทิพพจักขุญาณ
ทิพพจักขุญาณนิทเทสที่ ๕๔ จบ

๕๕. อาสวักขยญาณนิทเทส
แสดงอาสวักขยญาณ
[๑๐๗] ปัญญาที่มีความชำนาญในอินทรีย์ ๓ ประการ โดยอาการ ๖๔
ชื่อว่าอาสวักขยญาณ เป็นอย่างไร
คือ อินทรีย์ ๓ ประการ อะไรบ้าง ได้แก่
๑. อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ (อินทรีย์ของท่านผู้ปฏิบัติด้วยมุ่งว่าเรา
จักรู้สัจธรรมที่ยังไม่รู้)
๒. อัญญินทรีย์ (อินทรีย์คือปัญญาอันรู้ทั่วถึง)
๓. อัญญาตาวินทรีย์ (อินทรีย์ของท่านผู้รู้ทั่วถึงแล้ว)
อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ย่อมถึงฐานะเท่าไร อัญญินทรีย์ย่อมถึงฐานะเท่าไร
อัญญาตาวินทรีย์ย่อมถึงฐานะเท่าไร
อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ ย่อมถึงฐานะ ๑ คือ โสดาปัตติมรรค
อัญญินทรีย์ ย่อมถึงฐานะ ๖ คือ โสดาปัตติผล สกทาคามิมรรค สกทาคามิผล
อนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหัตตมรรค
อัญญาตาวินทรีย์ ย่อมถึงฐานะ ๑ คือ อรหัตตผล
ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์มีสัทธินทรีย์ซึ่งมี
ความน้อมไปเป็นบริวาร มีวิริยินทรีย์ซึ่งมีการประคองไว้เป็นบริวาร มีสตินทรีย์ซึ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๕๕. อาสวักขยญาณนิทเทส
มีความตั้งมั่นเป็นบริวาร มีสมาธินทรีย์ซึ่งมีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นบริวาร มีปัญญินทรีย์
ซึ่งมีความเห็นเป็นบริวาร มีมนินทรีย์ซึ่งมีความรู้แจ้งเป็นบริวาร มีโสมนัสสินทรีย์
ซึ่งมีความยินดีเป็นบริวาร มีชีวิตินทรีย์ซึ่งมีความเป็นใหญ่ในความสืบต่อที่กำลัง
เป็นไปเป็นบริวาร
ธรรมทั้งหลายที่เกิดในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค ยกเว้นรูปซึ่งมีจิตเป็นสมุฏฐาน
ทั้งหมดเป็นกุศล ทั้งหมดไม่มีอาสวะ ทั้งหมดเป็นธรรมเครื่องนำออก ทั้งหมดเป็น
เครื่องให้ถึงความไม่สั่งสม ทั้งหมดเป็นโลกุตตระ ทั้งหมดมีนิพพานเป็นอารมณ์
ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์มีอินทรีย์ ๘ ประการ
นี้ซึ่งมีสหชาตธรรมเป็นบริวาร มีธรรมที่อาศัยกันและกันเป็นบริวาร มีธรรมที่
อาศัยกันเป็นบริวาร มีธรรมที่ประกอบกันเป็นบริวาร ไปร่วมกัน เกิดร่วมกัน เกี่ยวข้องกัน
ประกอบด้วยกัน ธรรมเหล่านั้นเป็นอาการและเป็นบริวารของอนัญญาตัญญัสสามี-
ตินทรีย์นั้น
ในขณะแห่งโสดาปัตติผล อัญญินทรีย์มีสัทธินทรีย์ซึ่งมีความน้อมไปเป็นบริวาร
มีวิริยินทรีย์ซึ่งมีการประคองไว้เป็นบริวาร มีสตินทรีย์ซึ่งมีความตั้งมั่นเป็นบริวาร
มีสมาธินทรีย์ซึ่งมีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นบริวาร มีปัญญินทรีย์ซึ่งมีความเห็นเป็นบริวาร
มีมนินทรีย์ซึ่งมีความรู้แจ้งเป็นบริวาร มีโสมนัสสินทรีย์ซึ่งมีความยินดีเป็นบริวาร
มีชีวิตินทรีย์ซึ่งมีความเป็นใหญ่ในความสืบต่อที่กำลังเป็นไปเป็นบริวาร
ธรรมทั้งหลายที่เกิดในขณะแห่งโสดาปัตติผล ยกเว้นรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน
ทั้งหมดเป็นอัพยากฤต ทั้งหมดไม่มีอาสวะ ทั้งหมดเป็นโลกุตตระ ทั้งหมดมีนิพพาน
เป็นอารมณ์
ในขณะแห่งโสดาปัตติผล อัญญินทรีย์มีอินทรีย์ ๘ ประการนี้ซึ่งมี
สหชาตธรรมเป็นบริวาร มีธรรมที่อาศัยกันและกันเป็นบริวาร มีธรรมที่อาศัยกัน
เป็นบริวาร มีธรรมที่ประกอบกันเป็นบริวาร ไปร่วมกัน เกิดร่วมกัน เกี่ยวข้องกัน
ประกอบด้วยกัน ธรรมเหล่านั้นเป็นอาการ และเป็นบริวารของอัญญินทรีย์นั้น
ในขณะแห่งสกทาคามิมรรค ฯลฯ
ในขณะแห่งสกทาคามิผล ฯลฯ
ในขณะแห่งอนาคามิมรรค ฯลฯ
ในขณะแห่งอนาคามิผล ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๕๕. อาสวักขยญาณนิทเทส
ในขณะแห่งอรหัตตมรรค อัญญินทรีย์มีสัทธินทรีย์ซึ่งมีความน้อมไปเป็นบริวาร
มีวิริยินทรีย์ซึ่งมีการประคองไว้เป็นบริวาร มีสตินทรีย์ซึ่งมีความตั้งมั่นเป็นบริวาร
มีสมาธินทรีย์ซึ่งมีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นบริวาร มีปัญญินทรีย์ซึ่งมีความเห็นเป็นบริวาร
มีมนินทรีย์ซึ่งมีความรู้แจ้งเป็นบริวาร มีโสมนัสสินทรีย์ซึ่งมีความยินดีเป็นบริวาร มี
ชีวิตินทรีย์ซึ่งมีความเป็นใหญ่ในความสืบต่อที่กำลังเป็นไปเป็นบริวาร
ธรรมทั้งหลายที่เกิดในขณะแห่งอรหัตตมรรค ยกเว้นรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน
ทั้งหมดเป็นกุศล ทั้งหมดไม่มีอาสวะ ทั้งหมดเป็นธรรมเครื่องนำออก ทั้งหมดเป็น
เครื่องให้ถึงความไม่สั่งสม ทั้งหมดเป็นโลกุตตระ ทั้งหมดมีนิพพานเป็นอารมณ์
ในขณะแห่งอรหัตตมรรค อัญญินทรีย์มีอินทรีย์ ๘ ประการนี้ ซึ่งมีสหชาต
ธรรมเป็นบริวาร มีธรรมที่อาศัยกันและกันเป็นบริวาร มีธรรมที่อาศัยกันเป็นบริวาร
มีธรรมที่ประกอบกันเป็นบริวาร ไปร่วมกัน เกิดร่วมกัน เกี่ยวข้องกัน ประกอบ
ด้วยกัน ธรรมเหล่านั้นเป็นอาการ และเป็นบริวารของอัญญินทรีย์นั้น
ในขณะแห่งอรหัตตผล อัญญาตาวินทรีย์มีสัทธินทรีย์ซึ่งมีความน้อมไปเป็นบริวาร
มีวิริยินทรีย์ซึ่งมีการประคองไว้เป็นบริวาร มีสตินทรีย์ซึ่งมีความตั้งมั่นเป็นบริวาร
มีสมาธินทรีย์ซึ่งมีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นบริวาร มีปัญญินทรีย์ซึ่งมีความเห็นเป็นบริวาร
มีมนินทรีย์ซึ่งมีความรู้แจ้งเป็นบริวาร มีโสมนัสสินทรีย์ซึ่งมีความยินดีเป็นบริวาร
มีชีวิตินทรีย์ซึ่งมีความเป็นใหญ่ในความสืบต่อที่กำลังเป็นไปเป็นบริวาร
ธรรมทั้งหลายที่เกิดในขณะแห่งอรหัตตผล ยกเว้นรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน
ทั้งหมดเป็นอัพยากฤต ทั้งหมดไม่มีอาสวะ ทั้งหมดเป็นโลกุตตระ ทั้งหมดมีนิพพาน
เป็นอารมณ์
ในขณะแห่งอรหัตตผล อัญญาตาวินทรีย์มีอินทรีย์ ๘ ประการนี้ซึ่งมีสหชาต-
ธรรมเป็นบริวาร มีธรรมที่อาศัยกันและกันเป็นบริวาร มีธรรมที่อาศัยกันเป็นบริวาร
มีธรรมที่ประกอบกันเป็นบริวาร ไปร่วมกัน เกิดร่วมกัน เกี่ยวข้องกัน ประกอบ
ด้วยกัน ธรรมเหล่านั้นเป็นอาการและเป็นบริวารของอัญญาตาวินทรีย์นั้น อินทรีย์ ๘
รวม ๘ หมวดนี้ จึงเป็นอาการ ๖๔ ด้วยประการฉะนี้
คำว่า อาสวะ อธิบายว่า อาสวะเหล่านั้น อะไรบ้าง
คือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๕๖-๖๓. สัจจญาณจตุกกทวยนิทเทส
อาสวะเหล่านั้นย่อมสิ้นไป ณ ที่ไหน
คือ ทิฏฐาสวะทั้งสิ้นย่อมสิ้นไปด้วยโสดาปัตติมรรค กามาสวะซึ่งเป็นเหตุให้
สัตว์ไปสู่อบาย ภวาสวะซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบาย อวิชชาสวะซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์
ไปสู่อบาย ย่อมสิ้นไปด้วยโสดาปัตติมรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่ง
โสดาปัตติมรรคนี้
กามาสวะส่วนหยาบย่อมสิ้นไปด้วยสกทาคามิมรรค ภวาสวะซึ่งตั้งอยู่ร่วมกับ
กามาสวะนั้น อวิชชาสวะซึ่งตั้งอยู่ร่วมกับกามาสวะนั้นย่อมสิ้นไปด้วยสกทาคามิมรรค
อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งสกทาคามิมรรคนี้
กามาสวะทั้งสิ้นย่อมสิ้นไปด้วยอนาคามิมรรค ภวาสวะซึ่งตั้งอยู่ร่วมกับ
กามาสวะนั้น อวิชชาสวะซึ่งตั้งอยู่ร่วมกับกามาสวะนั้น ย่อมสิ้นไปด้วยอนาคามิมรรค
อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งอนาคามิมรรคนี้
ภวาสวะทั้งสิ้น อวิชชาสวะทั้งสิ้นย่อมสิ้นไปด้วยอรหัตตมรรค อาสวะเหล่านี้
ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งอรหัตตมรรคนี้
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาที่มีความชำนาญในอินทรีย์ ๓ ประการ
โดยอาการ ๖๔ ชื่อว่าอาสวักขยญาณ
อาสวักขยญาณนิทเทสที่ ๕๕ จบ

๕๖-๖๓. สัจจญาณจตุกกทวยนิทเทส
แสดงญาณในสัจจะ ๔ สองหมวด
[๑๐๘] ปัญญาในสภาวะที่ควรกำหนดรู้ ชื่อว่าทุกขญาณ ปัญญาใน
สภาวะที่ควรละ ชื่อว่าสมุทยญาณ ปัญญาในสภาวะที่ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่า
นิโรธญาณ ปัญญาในสภาวะที่ควรเจริญ ชื่อว่ามัคคญาณ เป็นอย่างไร
คือ สภาวะที่บีบคั้น สภาวะที่ปัจจัยปรุงแต่ง สภาวะที่ทำให้เดือดร้อน
สภาวะที่แปรผัน สภาวะที่ควรกำหนดรู้แห่งทุกข์
สภาวะที่ประมวลมา สภาวะที่เป็นเหตุ สภาวะที่เกี่ยวข้อง สภาวะที่พัวพัน
สภาวะที่ควรละแห่งสมุทัย


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๕๖-๖๓. สัจจญาณจตุกกทวยนิทเทส
สภาวะที่เป็นเครื่องสลัดออก สภาวะที่เป็นวิเวก สภาวะที่เป็นอสังขตะ สภาวะ
ที่เป็นอมตะ สภาวะที่ควรทำให้แจ้งแห่งนิโรธ
สภาวะที่นำออก สภาวะที่เป็นเหตุ สภาวะที่เห็น สภาวะที่เป็นใหญ่ สภาวะที่
ควรเจริญแห่งมรรค
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในสภาวะที่ควรกำหนดรู้ ชื่อว่า
ทุกขญาณ ปัญญาในสภาวะที่ควรละ ชื่อว่าสมุทยญาณ ปัญญาในสภาวะที่ควรทำ
ให้แจ้ง ชื่อว่านิโรธญาณ ปัญญาในสภาวะที่ควรเจริญ ชื่อว่ามัคคญาณ
[๑๐๙] ทุกขญาณ ทุกขสมุทยญาณ ทุกขนิโรธญาณ ทุกขนิโรธคามินี-
ปฏิปทาญาณ เป็นอย่างไร
คือ ญาณของท่านผู้มีความเพียบพร้อมด้วยมรรคนี้ ชื่อว่าทุกขญาณ ทุกข-
สมุทยญาณ ทุกขนิโรธญาณ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ
ในญาณเหล่านั้น ทุกขญาณ เป็นอย่างไร
คือ ความรู้ทั่ว ความรู้ชัด การเลือกเฟ้น การค้นคว้า ความสอดส่องธรรม
การกำหนดดี การเข้าไปกำหนด การเข้าไปกำหนดเฉพาะ ความเป็นบัณฑิต ความ
เป็นผู้ฉลาด ความเป็นผู้ละเอียด ความแจ่มแจ้ง ความคิด การพิจารณา ปัญญา
กว้างขวางดุจแผ่นดิน ปัญญาที่ทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องแนะนำ ความเห็นแจ้ง
ความรู้พร้อม ปัญญาดังประตัก ปัญญาเป็นใหญ่ ปัญญาเป็นกำลัง ปัญญาเป็น
ศัสตรา ปัญญาดังปราสาท ปัญญาเป็นแสงสว่าง ปัญญาเป็นรัศมี ปัญญาอัน
รุ่งเรือง ปัญญาดังรัตนะ ความไม่หลง การเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ซึ่งปรารภทุกข์
เกิดขึ้น นี้ท่านกล่าวว่า ทุกขญาณ
ความรู้ทั่ว ความรู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง การเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ
ซึ่งปรารภทุกขสมุทัยเกิดขึ้น นี้ท่านกล่าวว่า ทุกขสมุทยญาณ
ความรู้ทั่ว ความรู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง การเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ
ซึ่งปรารภทุกขนิโรธเกิดขึ้น นี้ท่านกล่าวว่า ทุกขนิโรธญาณ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๖๔-๖๗. สุทธิกปฏิสัมภิทาญาณนิทเทส
ความรู้ทั่ว ความรู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง การเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ
ซึ่งปรารภทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาเกิดขึ้น นี้ท่านกล่าวว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา-
ญาณ
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ทุกขญาณ ทุกขสมุทยญาณ ทุกขนิโรธญาณ
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ
สัจจญาณจตุกกทวยญาณนิทเทสที่ ๕๖-๖๓ จบ

๖๔-๖๗. สุทธิกปฏิสัมภิทาญาณนิทเทส
แสดงญาณในปฏิสัมภิทาล้วน
[๑๑๐] อัตถปฏิสัมภิทาญาณ ธัมมปฏิสัมภิทาญาณ นิรุตติปฏิสัมภิทา-
ญาณ ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ เป็นอย่างไร
คือ ญาณในอรรถ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทาญาณ ญาณในธรรม ชื่อว่าธัมม-
ปฏิสัมภิทาญาณ ญาณในนิรุตติ ชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ญาณในปฏิภาณ
ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ
ปัญญาในอรรถต่าง ๆ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในธรรมต่าง ๆ
ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในนิรุตติต่าง ๆ ชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ
ปัญญาในปฏิภาณต่าง ๆ ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ
ปัญญาในการกำหนดอรรถ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในการกำหนด
ธรรม ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในการกำหนดนิรุตติ ชื่อว่านิรุตติ-
ปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในการกำหนดปฏิภาณ ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ
ปัญญาในการพิจารณาอรรถ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในการ
พิจารณาธรรม ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในการพิจารณานิรุตติ ชื่อว่า
นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในการพิจารณาปฏิภาณ ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา-
ญาณ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๖๔-๖๗. สุทธิกปฏิสัมภิทาญาณนิทเทส
ปัญญาในการเข้าไปพิจารณาอรรถ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในการ
เข้าไปพิจารณาธรรม ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในการเข้าไปพิจารณา
นิรุตติ ชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในการเข้าไปพิจารณาปฏิภาณ ชื่อว่า
ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ
ปัญญาในประเภทแห่งอรรถ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในประเภท
แห่งธรรม ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในประเภทแห่งนิรุตติ ชื่อว่านิรุตติ-
ปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในประเภทแห่งปฏิภาณ ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ
ปัญญาในความปรากฏแห่งอรรถ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาใน
ความปรากฏแห่งธรรม ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความปรากฏแห่ง
นิรุตติ ชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความปรากฏแห่งปฏิภาณ ชื่อว่า
ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ
ปัญญาในความกระจ่างแห่งอรรถ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาใน
ความกระจ่างแห่งธรรม ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความกระจ่างแห่ง
นิรุตติ ชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความกระจ่างแห่งปฏิภาณ ชื่อว่า
ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ
ปัญญาในความรุ่งเรืองแห่งอรรถ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความ
รุ่งเรืองแห่งธรรม ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความรุ่งเรืองแห่งนิรุตติ
ชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในความรุ่งเรืองแห่งปฏิภาณ ชื่อว่าปฏิภาณ-
ปฏิสัมภิทาญาณ
ปัญญาในการประกาศอรรถ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในการ
ประกาศธรรม ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในการประกาศนิรุตติ ชื่อว่า
นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในการประกาศปฏิภาณ ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา-
ญาณ
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อัตถปฏิสัมภิทาญาณ ธัมมปฏิสัมภิทาญาณ
นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ
สุทธิกปฏิสัมภิทาญาณนิทเทสที่ ๖๔-๖๗ จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๖๘. อินทริยปโรปริยัตตญาณนิทเทส
๖๘. อินทริยปโรปริยัตตญาณนิทเทส
แสดงอินทริยปโรปริยัตตญาณ
[๑๑๑] ญาณในความยิ่งและความหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย ของ
พระตถาคต เป็นอย่างไร
คือ ในญาณนี้ พระตถาคตทรงเห็นหมู่สัตว์ ผู้มีกิเลสดุจธุลีน้อยในปัญญาจักษุ
มีกิเลสดุจธุลีมากในปัญญาจักษุ มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มี
อาการทราม พึงสอนให้รู้แจ้งได้ง่าย พึงสอนให้รู้แจ้งได้ยาก บางพวกมักเห็นปรโลก
และโทษโดยความเป็นภัย บางพวกมักไม่เห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย
คำว่า ผู้มีกิเลสดุจธุลีน้อยในปัญญาจักษุ มีกิเลสดุจธุลีมากในปัญญาจักษุ
อธิบายว่า บุคคลผู้มีศรัทธา ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีน้อยในปัญญาจักษุ บุคคลผู้ไม่มี
ศรัทธา ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีมากในปัญญาจักษุ บุคคลผู้มีความเพียร ชื่อว่ามีกิเลส
ดุจธุลีน้อยในปัญญาจักษุ บุคคลผู้มีความเกียจคร้าน ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีมากใน
ปัญญาจักษุ บุคคลผู้มีสติตั้งมั่น ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีน้อยในปัญญาจักษุ บุคคลผู้มี
สติหลงลืม ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีมากในปัญญาจักษุ บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น ชื่อว่ามีกิเลส
ดุจธุลีน้อยในปัญญาจักษุ บุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีมากในปัญญา
จักษุ บุคคลผู้มีปัญญาดี ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีน้อยในปัญญาจักษุ บุคคลผู้มีปัญญา
ทราม ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีมากในปัญญาจักษุ
คำว่า มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน อธิบายว่า บุคคลผู้มีศรัทธาเป็น
ผู้มีอินทรีย์แก่กล้า บุคคลผู้ไม่มีศรัทธาเป็นผู้มีอินทรีย์อ่อน บุคคลผู้มีความเพียร
เป็นผู้มีอินทรีย์แก่กล้า บุคคลผู้เกียจคร้านเป็นผู้มีอินทรีย์อ่อน บุคคลผู้มีสติตั้งมั่น
เป็นผู้มีอินทรีย์แก่กล้า บุคคลผู้มีสติหลงลืมเป็นผู้มีอินทรีย์อ่อน บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น
เป็นผู้มีอินทรีย์แก่กล้า บุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่นเป็นผู้มีอินทรีย์อ่อน บุคคลผู้มีปัญญาดี
เป็นผู้มีอินทรีย์แก่กล้า บุคคลผู้มีปัญญาทรามเป็นผู้มีอินทรีย์อ่อน
คำว่า มีอาการดี มีอาการทราม อธิบายว่า บุคคลผู้มีศรัทธาเป็นผู้มีอาการดี
บุคคลผู้ไม่มีศรัทธาเป็นผู้มีอาการทราม บุคคลผู้มีความเพียรเป็นผู้มีอาการดี บุคคล
ผู้เกียจคร้านเป็นผู้มีอาการทราม บุคคลผู้มีสติตั้งมั่นเป็นผู้มีอาการดี บุคคลผู้มีสติ
หลงลืมเป็นผู้มีอาการทราม บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่นเป็นผู้มีอาการดี บุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น
เป็นผู้มีอาการทราม บุคคลผู้มีปัญญาดีเป็นผู้มีอาการดี บุคคลผู้มีปัญญาทรามเป็น
ผู้มีอาการทราม


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๖๘. อินทริยปโรปริยัตตญาณนิทเทส
คำว่า พึงสอนให้รู้แจ้งได้ง่าย พึงสอนให้รู้แจ้งได้ยาก อธิบายว่า บุคคลผู้มี
ศรัทธาเป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ง่าย บุคคลผู้ไม่มีศรัทธาเป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ยาก
บุคคลผู้มีความเพียรเป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ง่าย บุคคลผู้เกียจคร้านเป็นผู้พึงสอน
ให้รู้แจ้งได้ยาก บุคคลผู้มีสติตั้งมั่นเป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ง่าย บุคคลผู้มีสติหลงลืม
เป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ยาก บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่นเป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ง่าย บุคคล
ผู้มีจิตไม่ตั้งมั่นเป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ยาก บุคคลผู้มีปัญญาดีเป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้ง
ได้ง่าย บุคคลผู้มีปัญญาทรามเป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ยาก
คำว่า บางพวกมักเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย บางพวกมักไม่เห็น
ปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย อธิบายว่า บุคคลผู้มีศรัทธาเป็นผู้มักเห็นปรโลก
และโทษโดยความเป็นภัย บุคคลผู้ไม่มีศรัทธาเป็นผู้มักไม่เห็นปรโลกและโทษโดย
ความเป็นภัย บุคคลผู้มีความเพียรเป็นผู้มักเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย
บุคคลผู้เกียจคร้านเป็นผู้มักไม่เห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย บุคคลผู้มีสติ
ตั้งมั่นเป็นผู้มักเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย บุคคลผู้มีสติหลงลืมเป็นผู้มัก
ไม่เห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่นเป็นผู้มักเห็นปรโลกและ
โทษโดยความเป็นภัย บุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่นเป็นผู้มักไม่เห็นปรโลกและโทษโดยความ
เป็นภัย บุคคลผู้มีปัญญาดีเป็นผู้มักเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย บุคคลผู้มี
ปัญญาทรามเป็นผู้มักไม่เห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย
[๑๑๒] คำว่า โลก อธิบายว่า ขันธโลก (โลกคือขันธ์) ธาตุโลก (โลกคือธาตุ)
อายตนโลก(โลกคืออายตนะ) วิปัตติภวโลก วิปัตติสัมภวโลก สัมปัตติภวโลก
สัมปัตติสัมภวโลก๑
โลก ๑ คือ สัตว์โลกทั้งปวงดำรงอยู่ได้เพราะอาหาร
โลก ๒ คือ นาม ๑ รูป ๑
โลก ๓ คือ เวทนา ๓
โลก ๔ คือ อาหาร ๔
โลก ๕ คือ อุปาทานขันธ์ ๕

เชิงอรรถ :
๑ วิปัตติภวโลก หมายถึงโลกคือภพวิบัติได้แก่อบายโลก วิปัตติสัมภวโลก หมายถึงโลกคือสมภพวิบัติได้แก่
กรรมที่ให้เกิดในอบายโลก สัมปัตติภวโลก หมายถึงโลกคือภพสมบัติได้แก่สุคติโลก สัมปัตติสัมภวโลก
หมายถึงโลกคือสมภพสมบัติได้แก่กรรมที่ให้เกิดในสุคติโลก (ขุ.ป.อ. ๒/๑๑๒/๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๖๙. อาสยานุสยญาณนิทเทส
โลก ๖ คือ อายตนะภายใน ๖
โลก ๗ คือ วิญญาณัฏฐิติ ๗
โลก ๘ คือ โลกธรรม ๘
โลก ๙ คือ สัตตาวาส ๙
โลก ๑๐ คือ อายตนะ ๑๐
โลก ๑๒ คือ อายตนะ ๑๒
โลก ๑๘ คือ ธาตุ ๑๘๑
คำว่า โทษ อธิบายว่า กิเลสทั้งปวงเป็นโทษ ทุจริตทั้งปวงเป็นโทษ อภิสังขาร
ทั้งปวงเป็นโทษ กรรมอันเป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่ภพทั้งปวงเป็นโทษ สัญญาในโลกนี้
และในโทษนี้ว่าเป็นภัยอันแรงกล้า ปรากฏแล้วด้วยประการฉะนี้ เหมือนสัญญาใน
ศัตรูผู้เงื้อดาบเข้ามาจะฆ่า ปรากฏแล้ว ฉะนั้น พระตถาคตทรงรู้ ทรงเห็น ทรงทราบ
ทรงรู้แจ้งซึ่งอินทรีย์ ๕ ประการนี้ ด้วยอาการ ๕๐ อย่างนี้
นี้เป็นญาณในความยิ่งและความหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลายของพระ
ตถาคต
อินทริยปโรปริยัตตญาณนิทเทสที่ ๖๘ จบ

๖๙. อาสยานุสยญาณนิทเทส
แสดงอาสยานุสยญาณ
[๑๑๓] ญาณในอาสยะและอนุสัยของสัตว์ทั้งหลาย ของพระตถาคต เป็น
อย่างไร
คือ ในญาณนี้ พระตถาคตทรงทราบอาสยะของสัตว์ทั้งหลาย ทรงทราบอนุสัย
ของสัตว์ทั้งหลาย ทรงทราบจริตของสัตว์ทั้งหลาย ทรงทราบอธิมุตติ๒ของสัตว์
ทั้งหลาย ทรงทราบชัดภัพพสัตว์(สัตว์ที่ควรบรรลุธรรมในภพนี้)และอภัพพสัตว์
(สัตว์ที่ไม่ควรบรรลุธรรมในภพนี้)

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๑๐๔/๓๕๕-๓๕๖
๒ อาสยะ หมายถึงทิฏฐิและยถาภูตญาณอันเป็นที่อาศัยอยู่ของเหล่าสัตว์ อนุสัย หมายถึงกิเลสที่นอนเนื่อง
ซึ่งยังละไม่ได้ จริต หมายถึงกุศลและอกุศลที่กายกรรมเป็นต้นปรุงแต่ง อธิมุตติ หมายถึงอัธยาศัยของ
เหล่าสัตว์ (อภิ.วิ.อ. ๘๑๔/๔๙๓-๔๙๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๗๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๖๙. อาสยานุสยญาณนิทเทส
อาสยะของสัตว์ทั้งหลาย เป็นอย่างไร
คือ ความเห็นว่า โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีวะกับ
สรีระเป็นอย่างเดียวกัน ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน หลังจากตายแล้วตถาคต๑
เกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มีไม่
เกิดอีกก็มี หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มิใช่ไม่เกิดอีกก็มิใช่ สัตว์ทั้งหลายผู้
อาศัยภวทิฏฐิหรือวิภวทิฏฐิดังกล่าวมานี้
สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่เข้าไปอาศัยที่สุดทั้ง ๒ นี้ ได้อนุโลมขันติ๒ ในสภาวธรรม
ทั้งหลายที่เป็นปัจจัยของกันและกันและอาศัยกันและกันเกิดขึ้น หรือยถาภูตญาณ๓
พระตถาคตย่อมทรงทราบบุคคลผู้เสพกามว่า “บุคคลนี้เป็นผู้หนักในกาม มีกาม
เป็นที่อาศัย น้อมไปในกาม” ทรงทราบบุคคลผู้ปฏิบัติเนกขัมมะว่า “บุคคลนี้เป็น
ผู้หนักในเนกขัมมะ มีเนกขัมมะเป็นที่อาศัย น้อมไปในเนกขัมมะ” ทรงทราบบุคคล
ผู้ปฏิบัติซึ่งพยาบาทว่า “บุคคลนี้เป็นผู้หนักในพยาบาท มีพยาบาทเป็นที่อาศัย
น้อมไปในพยาบาท” ทรงทราบบุคคลผู้ปฏิบัติซึ่งอพยาบาทว่า “บุคคลนี้เป็นผู้
หนักในอพยาบาท มีอพยาบาทเป็นที่อาศัย น้อมไปในอพยาบาท” ทรงทราบ
บุคคลผู้ปฏิบัติซึ่งถีนมิทธะว่า “บุคคลนี้เป็นผู้หนักในถีนมิทธะ มีถีนมิทธะเป็นที่
อาศัย น้อมไปในถีนมิทธะ” ทรงทราบบุคคลผู้ปฏิบัติซึ่งอาโลกสัญญาว่า “บุคคลนี้
เป็นผู้หนักในอาโลกสัญญา มีอาโลกสัญญาเป็นที่อาศัย น้อมไปในอาโลกสัญญา”
นี้เป็นฉันทะที่มานอนเนื่องของสัตว์ทั้งหลาย
[๑๑๔] อนุสัยของสัตว์ทั้งหลาย เป็นอย่างไร
คือ อนุสัย ๗ ได้แก่

เชิงอรรถ :
๑ ตถาคต ในที่นี้เป็นคำที่ลัทธิอื่นใช้มาก่อนพุทธกาล หมายถึงอัตตา (อาตมัน) ไม่ได้หมายถึงพระพุทธเจ้า
อรรถกถาอธิบายว่า หมายถึงสัตว์ (ที.สี.อ. ๖๕/๑๐๘)
๒ อนุโลมขันติ หมายถึงวิปัสสนาญาณ (อภิ.วิ.อ. ๘๑๕/๔๙๔)
๓ ยถาภูตญาณ หมายถึงมัคคญาณ (อภิ.วิ.อ. ๘๑๕/๔๙๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๖๙. อาสยานุสยญาณนิทเทส

๑. กามราคานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดานคือกามราคะ)
๒. ปฏิฆานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดานคือปฏิฆะ)
๓. มานานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดานคือมานะ)
๔. ทิฏฐานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดานคือทิฏฐิ)
๕. วิจิกิจฉานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดานคือวิจิกิจฉา)
๖. ภวราคานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดานคือภวราคะ)
๗. อวิชชานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดานคืออวิชชา)

กามราคานุสัยของสัตว์ทั้งหลายย่อมนอนเนื่องในปิยรูป (อารมณ์อันเป็นที่รัก)
สาตรูป (อารมณ์อันเป็นที่ยินดี) ในโลก ปฏิฆานุสัยของสัตว์ทั้งหลายย่อมนอนเนื่อง
ในอัปปิยรูป (อารมณ์อันไม่เป็นที่รัก) อสาตรูป (อารมณ์อันไม่เป็นที่ยินดี) ในโลก
อวิชชาตกไปในสภาวธรรม ๒ นี้ ด้วยอาการอย่างนี้ มานะ ทิฏฐิ และวิจิกิจฉาพึงเห็น
ว่า ตั้งอยู่ในฐานะแห่งเดียวกันกับอวิชชานั้น นี้ชื่อว่าอนุสัยของสัตว์ทั้งหลาย
จริตของสัตว์ทั้งหลาย เป็นอย่างไร
คือ ปุญญาภิสังขาร (สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายดี) อปุญญาภิสังขาร (สภาพ
ที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายชั่ว) อาเนญชาภิสังขาร (สภาพที่ปรุงแต่งภพอันมั่นคงไม่หวั่นไหว)
ที่เป็นกามาวจรภูมิ หรือที่เป็นรูปาวจรภูมิ และอรูปาวจรภูมิ นี้ชื่อว่าจริตของสัตว์
ทั้งหลาย
[๑๑๕] อธิมุตติของสัตว์ทั้งหลาย เป็นอย่างไร
คือ สัตว์ทั้งหลายมีอธิมุตติทรามก็มี มีอธิมุตติประณีตก็มี สัตว์ทั้งหลาย
ที่มีอธิมุตติทราม ย่อมคบหาสมาคม เข้าไปนั่งใกล้สัตว์ผู้มีอธิมุตติทรามเหมือนกัน
สัตว์ทั้งหลายผู้มีอธิมุตติประณีต ย่อมคบหาสมาคม เข้าไปนั่งใกล้สัตว์ผู้มีอธิมุตติ
ประณีตเหมือนกัน แม้ในอดีตกาล สัตว์ทั้งหลายผู้มีอธิมุตติทราม ก็คบหาสมาคม
เข้าไปนั่งใกล้สัตว์ผู้มีอธิมุตติทรามเหมือนกัน สัตว์ทั้งหลายผู้มีอธิมุตติประณีต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๗๐. ยมกปาฏิหีรญาณนิทเทส
ก็คบหาสมาคม เข้าไปนั่งใกล้สัตว์ผู้มีอธิมุตติประณีตเหมือนกัน แม้ในอนาคตกาล
สัตว์ทั้งหลายผู้มีอธิมุตติทราม ก็จักคบหาสมาคมเข้าไปนั่งใกล้สัตว์ผู้มีอธิมุตติทราม
เหมือนกัน สัตว์ทั้งหลายผู้มีอธิมุตติประณีต ก็จักคบหาสมาคมเข้าไปนั่งใกล้สัตว์ผู้มี
อธิมุตติประณีตเหมือนกัน นี้ชื่อว่าอธิมุตติของสัตว์ทั้งหลาย
อภัพพสัตว์ เป็นอย่างไร
คือ สัตว์ทั้งหลายผู้ประกอบด้วยธรรมเป็นเครื่องกั้น คือ กรรม กิเลส วิบาก
เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ไม่มีฉันทะ มีปัญญาทราม ไม่อาจเข้าสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรม
ทั้งหลาย เหล่านี้ชื่อว่าอภัพพสัตว์
ภัพพสัตว์ เป็นอย่างไร
คือ สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่ประกอบด้วยธรรมเป็นเครื่องกั้น คือ กรรม กิเลส วิบาก
เป็นผู้มีศรัทธา มีฉันทะ มีปัญญาดี อาจเข้าสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลาย
เหล่านี้ชื่อว่าภัพพสัตว์
นี้เป็นญาณในอาสยะและอนุสัยของสัตว์ทั้งหลาย ของพระตถาคต
อาสยานุสยญาณนิทเทสที่ ๖๙ จบ

๗๐. ยมกปาฏิหีรญาณนิทเทส
แสดงญาณในยมกปาฏิหาริย์
[๑๑๖] ญาณในยมกปาฏิหาริย์ของพระตถาคต เป็นอย่างไร
คือ ในญาณนี้ พระตถาคตทรงทำยมกปาฏิหาริย์ที่ไม่ทั่วไปแก่สาวก ได้แก่

ท่อไฟพุ่งออกจากพระวรกายเบื้องบน สายน้ำพุ่งออกจากพระวรกายเบื้องล่าง
ท่อไฟพุ่งออกจากพระวรกายเบื้องล่าง สายน้ำพุ่งออกจากพระวรกายเบื้องบน
ท่อไฟพุ่งออกจากพระวรกายเบื้องหน้า สายน้ำพุ่งออกจากพระวรกายเบื้องหลัง
ท่อไฟพุ่งออกจากพระวรกายเบื้องหลัง สายน้ำพุ่งออกจากพระวรกายเบื้องหน้า
ท่อไฟพุ่งออกจากพระเนตรเบื้องขวา สายน้ำพุ่งออกจากพระเนตรเบื้องซ้าย


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๗๐. ยมกปาฏิหีรญาณนิทเทส

ท่อไฟพุ่งออกจากพระเนตรเบื้องซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากพระเนตรเบื้องขวา
ท่อไฟพุ่งออกจากช่องพระกรรณเบื้องขวา สายน้ำพุ่งออกจากช่องพระกรรณเบื้องซ้าย
ท่อไฟพุ่งออกจากช่องพระกรรณเบื้องซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากช่องพระกรรณเบื้องขวา
ท่อไฟพุ่งออกจากช่องพระนาสิกเบื้องขวา สายน้ำพุ่งออกจากช่องพระนาสิกเบื้องซ้าย
ท่อไฟพุ่งออกจากช่องพระนาสิกเบื้องซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากช่องพระนาสิกเบื้องขวา
ท่อไฟพุ่งออกจากจะงอยพระอังสาเบื้องขวา สายน้ำพุ่งออกจากจะงอยพระอังสาเบื้องซ้าย
ท่อไฟพุ่งออกจากจะงอยพระอังสาเบื้องซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากจะงอยพระอังสาเบื้องขวา
ท่อไฟพุ่งออกจากพระหัตถ์เบื้องขวา สายน้ำพุ่งออกจากพระหัตถ์เบื้องซ้าย
ท่อไฟพุ่งออกจากพระหัตถ์เบื้องซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากพระหัตถ์เบื้องขวา
ท่อไฟพุ่งออกจากพระปรัศว์เบื้องขวา สายน้ำพุ่งออกจากพระปรัศว์เบื้องซ้าย
ท่อไฟพุ่งออกจากพระปรัศว์เบื้องซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากพระปรัศว์เบื้องขวา
ท่อไฟพุ่งออกจากพระบาทเบื้องขวา สายน้ำพุ่งออกจากพระบาทเบื้องซ้าย
ท่อไฟพุ่งออกจากพระบาทเบื้องซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากพระบาทเบื้องขวา
ท่อไฟพุ่งออกจากพระองคุลี สายน้ำพุ่งออกจากระหว่างพระองคุลี
ท่อไฟพุ่งออกจากระหว่างพระองคุลี สายน้ำพุ่งออกจากพระองคุลี
ท่อไฟพุ่งออกจากพระโลมาแต่ละเส้น สายน้ำพุ่งออกจากพระโลมาแต่ละเส้น
ท่อไฟพุ่งออกจากพระโลมาแต่ละขุม สายน้ำพุ่งออกจากพระโลมาแต่ละขุม

ฉัพพัณณรังสี คือ สีเขียว สีเหลือง สีแดง สีขาว สีแสด สีประภัสสร (แผ่ซ่าน
ออกจากพระวรกาย)
พระผู้มีพระภาคเสด็จจงกรม พระพุทธนิมิตประทับยืน ประทับนั่ง หรือทรง
สำเร็จไสยา
พระผู้มีพระภาคประทับยืน พระพุทธนิมิตเสด็จจงกรม ประทับนั่ง หรือทรง
สำเร็จไสยา
พระผู้มีพระภาคประทับนั่ง พระพุทธนิมิตเสด็จจงกรม ประทับยืน หรือทรง
สำเร็จไสยา
พระผู้มีพระภาคทรงสำเร็จไสยา พระพุทธนิมิตเสด็จจงกรม ประทับยืน หรือ
ประทับนั่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๗๑. มหากรุณาญาณนิทเทส
พระผู้มีพระภาคเสด็จจงกรม ประทับนั่ง หรือทรงสำเร็จไสยา พระพุทธนิมิต
ประทับยืน
พระผู้มีพระภาคเสด็จจงกรม ประทับยืน หรือทรงสำเร็จไสยา พระพุทธนิมิต
ประทับนั่ง
พระผู้มีพระภาคประทับยืน ประทับนั่ง หรือเสด็จจงกรม พระพุทธนิมิต
ทรงสำเร็จไสยา
นี้เป็นญาณในยมกปาฏิหาริย์ของพระตถาคต
ยมกปาฏิหีรญาณนิทเทสที่ ๗๐ จบ

๗๑. มหากรุณาญาณนิทเทส
แสดงญาณในมหากรุณาสมาบัติ
[๑๑๗] ญาณในมหากรุณาสมาบัติของพระตถาคต เป็นอย่างไร
คือ พระผู้มีพระภาคทั้งหลายตรัสรู้แล้ว ทรงพิจารณาเห็นด้วยอาการเป็น
อันมาก จึงทรงแผ่พระมหากรุณาไปในหมู่สัตว์ คือ พระผู้มีพระภาคทั้งหลาย
ตรัสรู้แล้ว ทรงพิจารณาเห็นว่า “โลกสันนิวาสอันไฟลุกโชนแล้ว” จึงทรงแผ่
พระมหากรุณาไปในหมู่สัตว์ พระผู้มีพระภาคทั้งหลายตรัสรู้แล้ว ทรงพิจารณา
เห็นว่า “โลกสันนิวาสยกพลแล้ว” ฯลฯ “โลกสันนิวาสเคลื่อนพลแล้ว” ฯลฯ
“โลกสันนิวาสเดินทางผิดแล้ว” ฯลฯ “โลกถูกชรานำไปแล้ว ไม่ยั่งยืน” ฯลฯ
“โลกไม่มีที่ต้านทาน ไม่เป็นใหญ่” ฯลฯ “โลกไม่มีอะไรเป็นของตน จำต้องละทิ้งสิ่ง
ทั้งปวงไป” ฯลฯ “โลกพร่อง ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา” ฯลฯ “โลกสันนิวาส
ไม่มีที่ต้านทาน” ฯลฯ “โลกสันนิวาสไม่มีที่เร้น” ฯลฯ “โลกสันนิวาสไม่มีที่พึ่ง” ฯลฯ
“โลกสันนิวาสไม่เป็นที่พึ่งของใคร” ฯลฯ
“โลกฟุ้งซ่าน ไม่สงบ” ฯลฯ “โลกสันนิวาสถูกลูกศรเป็นอันมากเสียบแทงแล้ว
ใครอื่นนอกจากเราผู้จะช่วยถอนลูกศรทั้งหลายของโลกสันนิวาสนั้นได้เป็นไม่มี”
ฯลฯ “โลกสันนิวาสมีความมืดคืออวิชชาปิดกั้นไว้ ถูกขังไว้ในกรงกิเลส ใครอื่น
นอกจากเราผู้จะแสดงธรรมให้แสงสว่างแก่โลกสันนิวาสนั้นได้เป็นไม่มี” ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๗๑. มหากรุณาญาณนิทเทส
“โลกสันนิวาสตกอยู่ในอำนาจของอวิชชา มืดมน อันอวิชชาหุ้มห่อไว้ ยุ่งดุจเส้นด้าย
พันกันเป็นกลุ่มก้อน นุงนังดุจหญ้าปล้อง หญ้ามุงกระต่าย ไม่ล่วงพ้นสงสารคือ
อบาย ทุคติ และวินิบาต” ฯลฯ “โลกสันนิวาสถูกยาพิษที่มีโทษคืออวิชชาฉาบทา
หนาแน่นแล้ว มีกิเลสเป็นโทษ” ฯลฯ “โลกสันนิวาสรกชัฏด้วยราคะ โทสะ และโมหะ
ใครอื่นนอกจากเราผู้จะช่วยสางรกชัฏแก่โลกสันนิวาสนั้นได้เป็นไม่มี” ฯลฯ
“โลกสันนิวาสถูกกองตัณหาสุมไว้” ฯลฯ “โลกสันนิวาสถูกข่ายตัณหาครอบไว้”
ฯลฯ “โลกสันนิวาสถูกกระแสตัณหาพัดไป” ฯลฯ “โลกสันนิวาสถูกตัณหาเครื่อง
ข้องคล้องไว้” ฯลฯ “โลกสันนิวาสซ่านไปเพราะตัณหานุสัย” ฯลฯ “โลกสันนิวาส
เดือดร้อนด้วยความเดือดร้อนเพราะตัณหา” ฯลฯ “โลกสันนิวาสเร่าร้อนด้วยความ
เร่าร้อนเพราะตัณหา” ฯลฯ
“โลกสันนิวาสถูกกองทิฏฐิสุมไว้” ฯลฯ “โลกสันนิวาสถูกข่ายคือทิฏฐิครอบไว้”
ฯลฯ “โลกสันนิวาสถูกกระแสทิฏฐิพัดไป” ฯลฯ “โลกสันนิวาสถูกทิฏฐิเป็นเครื่อง
ข้องคล้องไว้” ฯลฯ “โลกสันนิวาสซ่านไปเพราะทิฏฐานุสัย” ฯลฯ “โลกสันนิวาส
เดือดร้อนด้วยความเดือดร้อนเพราะทิฏฐิ” ฯลฯ “โลกสันนิวาสเร่าร้อนด้วยความ
เร่าร้อนเพราะทิฏฐิ” ฯลฯ
“โลกสันนิวาสถูกชาติติดตาม” ฯลฯ “โลกสันนิวาสถูกชราตามติด” ฯลฯ
“โลกสันนิวาสถูกพยาธิครอบงำ” ฯลฯ “โลกสันนิวาสถูกมรณะห้ำหั่น” ฯลฯ
“โลกสันนิวาสตกอยู่ในกองทุกข์” ฯลฯ
“โลกสันนิวาสถูกตัณหาดักไว้” ฯลฯ “โลกสันนิวาสถูกกำแพงคือชราล้อมไว้” ฯลฯ
“โลกสันนิวาสถูกบ่วงมัจจุคล้องไว้” ฯลฯ “โลกสันนิวาสถูกผูกไว้ด้วยเครื่องผูกเป็น
อันมาก ได้แก่ เครื่องผูกคือราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ กิเลส ทุจริต
ใครอื่นนอกจากเราผู้จะช่วยแก้เครื่องผูกให้แก่โลกสันนิวาสนั้นได้เป็นไม่มี” ฯลฯ
“โลกสันนิวาสไปในทางที่แคบมาก ใครอื่นนอกจากเราผู้จะช่วยชี้ทางสว่างให้แก่
โลกสันนิวาสนั้นได้เป็นไม่มี” ฯลฯ “โลกสันนิวาสถูกความกังวลเป็นอันมากพัวพันไว้
ใครอื่นนอกจากเราผู้จะช่วยตัดความกังวลให้แก่โลกสันนิวาสนั้นได้เป็นไม่มี” ฯลฯ
“โลกสันนิวาสตกลงไปในเหวใหญ่ ใครอื่นนอกจากเราผู้จะช่วยฉุดโลกสันนิวาสนั้นให้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๗๑. มหากรุณาญาณนิทเทส
พ้นจากเหวได้เป็นไม่มี” ฯลฯ “โลกสันนิวาสเดินทางกันดารมาก ใครอื่นนอกจาก
เราผู้จะช่วยให้โลกสันนิวาสนั้นข้ามพ้นทางกันดารได้เป็นไม่มี” ฯลฯ “โลกสันนิวาส
เดินไปในสังสารวัฏใหญ่ ใครอื่นนอกจากเราผู้จะช่วยให้โลกสันนิวาสนั้นพ้นจาก
สังสารวัฏได้เป็นไม่มี” ฯลฯ “โลกสันนิวาสกลิ้งเกลือกอยู่ในหล่มใหญ่ ใครอื่นนอก
จากเราผู้จะช่วยฉุดโลกสันนิวาสนั้นให้พ้นจากหล่มได้เป็นไม่มี” ฯลฯ “โลกสันนิวาส
ติดอยู่ในเปือกตมอันกว้างใหญ่ ใครอื่นนอกจากเราผู้จะช่วยฉุดโลกสันนิวาสนั้นให้
พ้นจากเปือกตมได้เป็นไม่มี” ฯลฯ
“โลกสันนิวาสถูกไฟคือราคะ โทสะ โมหะ ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ
ทุกข์ โทมนัส อุปายาสกระทบแล้ว ใครอื่นนอกจากเราผู้จะช่วยดับไฟเหล่านั้นให้แก่
โลกสันนิวาสได้เป็นไม่มี” ฯลฯ “โลกสันนิวาสทุรนทุราย เดือดร้อนเป็นนิตย์ ไม่มี
อะไรต้านทาน ต้องรับอาชญา ต้องทำตามอาชญา” ฯลฯ “โลกสันนิวาสถูกผูกด้วย
เครื่องผูกในวัฏฏะ ปรากฏอยู่ในตะแลงแกง ใครอื่นนอกจากเราผู้จะช่วยแก้เครื่องผูก
ให้แก่โลกสันนิวาสนั้นให้หลุดพ้นได้เป็นไม่มี” ฯลฯ “โลกสันนิวาสไม่มีที่พึ่ง ควรได้
รับความกรุณาอย่างยิ่ง ใครอื่นนอกจากเราผู้จะช่วยต้านทานให้แก่โลกสันนิวาสนั้นได้
เป็นไม่มี” ฯลฯ “โลกสันนิวาสถูกทุกข์เสียบแทงบีบคั้นมานาน” ฯลฯ “โลกสันนิวาส
ติดใจกระหายเป็นนิตย์” ฯลฯ
“โลกสันนิวาสเป็นโลกบอด ไม่มีจักษุ” ฯลฯ “โลกสันนิวาสมีจักษุเสื่อมไป
ไม่มีผู้นำ” ฯลฯ “โลกสันนิวาสแล่นไปสู่ทางผิด หลงทางแล้ว ใครอื่นนอกจากเรา
ผู้จะช่วยนำพาโลกสันนิวาสนั้นมาสู่ทางอริยะนั้นได้เป็นไม่มี” ฯลฯ “โลกสันนิวาส
แล่นไปสู่ห้วงโมหะ ใครอื่นนอกจากเราผู้จะช่วยฉุดโลกสันนิวาสนั้นให้พ้นจากห้วง
โมหะนั้นได้เป็นไม่มี” ฯลฯ
[๑๑๘] “โลกสันนิวาสถูกทิฏฐิ ๒ อย่างกลุ้มรุม” ฯลฯ “โลกสันนิวาส
ปฏิบัติผิดด้วยทุจริต ๓” ฯลฯ “โลกสันนิวาสเต็มไปด้วยกิเลสเครื่องประกอบ
๔ อย่าง ถูกกิเลสเครื่องประกอบ ๔ อย่างประกอบไว้” ฯลฯ “โลกสันนิวาสถูกกิเลส
เครื่องร้อยรัด ๔ อย่างร้อยไว้” ฯลฯ “โลกสันนิวาสถือมั่นด้วยอุปาทาน ๔” ฯลฯ
“โลกสันนิวาสขึ้นสู่คติ ๕” ฯลฯ “โลกสันนิวาสกำหนัดอยู่ด้วยกามคุณ ๕” ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๗๑. มหากรุณาญาณนิทเทส
“โลกสันนิวาสถูกนิวรณ์ ๕ ทับไว้” ฯลฯ “โลกสันนิวาสวิวาทกันอยู่ด้วยมูลเหตุ
แห่งการวิวาท ๖ อย่าง” ฯลฯ “โลกสันนิวาสกำหนัดอยู่ด้วยกองตัณหา ๖” ฯลฯ
“โลกสันนิวาสถูกทิฏฐิ ๖ อย่างกลุ้มรุมแล้ว” ฯลฯ “โลกสันนิวาสซ่านไปเพราะ
อนุสัย ๗” ฯลฯ “โลกสันนิวาสถูกสังโยชน์ ๗ คล้องไว้” ฯลฯ “โลกสันนิวาส
ฟูขึ้นเพราะมานะ ๗” ฯลฯ
“โลกสันนิวาสเวียนอยู่เพราะโลกธรรม ๘” ฯลฯ “โลกสันนิวาสดิ่งลงเพราะ
มิจฉัตตะ ๘” ฯลฯ “โลกสันนิวาสประทุษร้ายกันเพราะบุรุษโทษ ๘” ฯลฯ “โลก-
สันนิวาสมุ่งร้ายกันเพราะอาฆาตวัตถุ ๙” ฯลฯ “โลกสันนิวาสพองขึ้นเพราะมานะ ๙”
ฯลฯ “โลกสันนิวาสกำหนัดอยู่เพราะธรรมอันมีตัณหาเป็นมูล ๙” ฯลฯ “โลก-
สันนิวาสย่อมเศร้าหมองเพราะกิเลสวัตถุ ๑๐” ฯลฯ “โลกสันนิวาสมุ่งร้ายกันเพราะ
อาฆาตวัตถุ ๑๐” ฯลฯ “โลกสันนิวาสประกอบด้วยอกุศลกรรมบถ ๑๐” ฯลฯ
“โลกสันนิวาสถูกสังโยชน์ ๑๐ คล้องไว้” ฯลฯ “โลกสันนิวาสดิ่งลงเพราะมิจฉัตตะ
๑๐” ฯลฯ “โลกสันนิวาสเพียบพร้อมด้วยมิจฉาทิฏฐิ ๑๐” ฯลฯ “โลกสันนิวาส
เพียบพร้อมด้วยสักกายทิฏฐิอันมีวัตถุ ๑๐” ฯลฯ “โลกสันนิวาสเนิ่นช้าเพราะ
ตัณหา ๑๐๘ ทำให้เนิ่นช้า” ฯลฯ พระผู้มีพระภาคทั้งหลายตรัสรู้แล้ว ทรงพิจารณา
เห็นว่า “โลกสันนิวาสถูกทิฏฐิ ๖๒ กลุ้มรุม” จึงทรงแผ่พระมหากรุณาไปในหมู่สัตว์
พระผู้มีพระภาคทั้งหลายตรัสรู้แล้ว ทรงพิจารณาเห็นว่า “ส่วนเราเป็นผู้ข้าม
ได้แล้ว แต่สัตว์โลกยังข้ามไม่ได้ เราเป็นผู้พ้นแล้ว แต่สัตว์โลกยังไม่พ้น เราเป็นผู้
ฝึกแล้ว แต่สัตว์โลกยังไม่ได้ฝึก เราเป็นผู้สงบแล้ว แต่สัตว์โลกยังไม่สงบ เราเป็นผู้
เบาใจแล้ว แต่สัตว์โลกยังไม่เบาใจ เราเป็นผู้ดับรอบแล้ว แต่สัตว์โลกยังไม่ดับรอบ
เราเป็นผู้ข้ามได้แล้วจะให้สัตว์โลกข้ามได้ด้วย เราเป็นผู้พ้นแล้วจะให้สัตว์โลกพ้นได้ด้วย
เราฝึกได้แล้ว จะฝึกสัตว์โลกได้ด้วย เราเป็นผู้สงบแล้วจะให้สัตว์โลกสงบได้ด้วย เรา
เป็นผู้เบาใจแล้วจะให้สัตว์โลกเบาใจได้ด้วย เราเป็นผู้ดับสนิทแล้วจะให้สัตว์โลกดับ
สนิทได้ด้วย” จึงทรงแผ่พระมหากรุณาไปในหมู่สัตว์
นี้เป็นญาณในมหากรุณาสมาบัติของพระตถาคต

มหากรุณาญาณนิทเทสที่ ๗๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๗๒-๗๓. สัพพัญญุตญาณนิทเทส
๗๒-๗๓. สัพพัญญุตญาณนิทเทส
แสดงสัพพัญญุตญาณ
[๑๑๙] สัพพัญญุตญาณของพระตถาคต เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้สังขตธรรมและอสังขตธรรมทั้งปวงไม่มี
อะไรเหลือ ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น
[๑๒๐] ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้ธรรมส่วนอนาคตทั้งปวง ชื่อว่า
อนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้ธรรม
ส่วนอดีตทั้งปวง ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น ชื่อว่า
สัพพัญญุตญาณ เพราะรู้ธรรมส่วนปัจจุบันทั้งปวง ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มี
เครื่องกั้นในญาณนั้น
ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้จักขุและรูปทั้งหมดอย่างนี้ ชื่อว่าอนาวรณญาณ
เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้โสตะและสัททะ ฯลฯ
เพราะรู้ฆานะและคันธะ ฯลฯ เพราะรู้ชิวหาและรส ฯลฯ เพราะรู้กายและโผฏฐัพพะ
ฯลฯ ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้มโนและธรรมารมณ์ทั้งหมดอย่างนี้ ชื่อว่า
อนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น
ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้สภาวะที่ไม่เที่ยง สภาวะที่เป็นทุกข์ สภาวะที่เป็น
อนัตตาตลอดทั้งหมด ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น ชื่อว่า
สัพพัญญุตญาณ เพราะรู้สภาวะที่ไม่เที่ยง สภาวะที่เป็นทุกข์ สภาวะที่เป็นอนัตตา
แห่งรูปตลอดทั้งหมด ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น ชื่อว่า
สัพพัญญุตญาณ เพราะรู้สภาวะที่ไม่เที่ยง สภาวะที่เป็นทุกข์ สภาวะที่เป็นอนัตตา
แห่งเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ จักขุ ฯลฯ ชื่อว่า
สัพพัญญุตญาณ เพราะรู้สภาวะที่ไม่เที่ยง สภาวะที่เป็นทุกข์ สภาวะที่เป็นอนัตตา
แห่งชราและมรณะตลอดทั้งหมด ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นใน
ญาณนั้น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๗๒-๗๓. สัพพัญญุตญาณนิทเทส
ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้สภาวะที่รู้ยิ่งแห่งอภิญญาตลอดทั้งหมด ชื่อว่า
อนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้
สภาวะที่กำหนดรู้แห่งปริญญาตลอดทั้งหมด ฯลฯ เพราะรู้สภาวะที่ละแห่งปหานะ
ตลอดทั้งหมด ฯลฯ เพราะรู้สภาวะที่เจริญแห่งภาวนาตลอดทั้งหมด ฯลฯ ชื่อว่า
สัพพัญญุตญาณ เพราะรู้สภาวะที่ทำให้แจ้งแห่งสัจฉิกิริยาตลอดทั้งหมด ชื่อว่า
อนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น
ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้สภาวะที่เป็นกองแห่งขันธ์ตลอดทั้งหมด ชื่อว่า
อนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้สภาวะ
ที่ทรงไว้แห่งธาตุตลอดทั้งหมด ฯลฯ เพราะรู้สภาวะที่เป็นบ่อเกิดแห่งอายตนะตลอด
ทั้งหมด ฯลฯ เพราะรู้สภาวะที่ปัจจัยปรุงแต่งแห่งสังขตธรรมตลอดทั้งหมด ฯลฯ
ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้สภาวะที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่งแห่งอสังขตธรรมตลอด
ทั้งหมด ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น
ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้กุศลธรรมตลอดทั้งหมด ชื่อว่าอนาวรณญาณ
เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น ฯลฯ ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้อกุศลธรรม ฯลฯ
เพราะรู้อัพยากตธรรม ฯลฯ เพราะรู้กามาวจรธรรม ฯลฯ เพราะรู้รูปาวจรธรรม ฯลฯ
เพราะรู้อรูปาวจรธรรม ฯลฯ ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้อปริยาปันนธรรมตลอด
ทั้งหมด ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น
ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้สภาวะที่ทนได้ยากแห่งทุกข์ตลอดทั้งหมด
ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ
เพราะรู้สภาวะที่เป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัย ฯลฯ เพราะรู้สภาวะที่เป็นความดับแห่ง
นิโรธ ฯลฯ ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้สภาวะที่เป็นทางแห่งมรรคตลอดทั้งหมด
ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น
ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้สภาวะแห่งปัญญาที่แตกฉานดีในอรรถแห่ง
อัตถปฏิสัมภิทาตลอดทั้งหมด ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น
ฯลฯ ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้สภาวะแห่งปัญญาที่แตกฉานดีในธรรมแห่ง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๗๒-๗๓. สัพพัญญุตญาณนิทเทส
ธัมมปฏิสัมภิทาตลอดทั้งหมด ฯลฯ เพราะรู้สภาวะแห่งปัญญาที่แตกฉานดีใน
นิรุตติแห่งนิรุตติปฏิสัมภิทาตลอดทั้งหมด ฯลฯ ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้
สภาวะแห่งปัญญาที่แตกฉานดีในปฏิภาณแห่งปฏิภาณปฏิสัมภิทาตลอดทั้งหมด
ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น
ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้ญาณในความยิ่งและความหย่อนแห่งอินทรีย์
ตลอดทั้งหมด ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น ชื่อว่า
สัพพัญญุตญาณ เพราะรู้ญาณในอาสยะและอนุสัยของสัตว์ทั้งหลาย ฯลฯ เพราะรู้
ญาณในยมกปาฏิหาริย์ ฯลฯ ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้ญาณในมหากรุณา-
สมาบัติตลอดทั้งหมด ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น
ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ
ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจ แห่งโลกพร้อมทั้งเทวโลก
มารโลก พรหมโลก แห่งหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์
ตลอดทั้งหมด ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น
[๑๒๑] สิ่งไร ๆ ในไตรโลกธาตุนี้
พระปัญญาจักขุของพระตถาคตนั้นไม่ทรงเห็น ไม่มีเลย
อนึ่ง ธรรมชาติอะไร ๆ ที่ควรรู้
พระพุทธญาณไม่รู้แจ้งก็ไม่มี
ธรรมชาติที่ควรแนะนำใดมีอยู่
พระตถาคตได้ทรงทราบธรรมชาติที่ควรแนะนำนั้นทั้งหมด
เพราะเหตุนั้น พระตถาคตจึงชื่อว่ามีพระสมันตจักขุ
คำว่า สมันตจักขุ อธิบายว่า ชื่อว่าสมันตจักขุ เพราะมีความหมายว่าอย่างไร
คือ พระพุทธญาณ ๑๔ ประการ ได้แก่
๑. ญาณในทุกข์ ชื่อว่าพุทธญาณ
๒. ญาณในสมุทัย ชื่อว่าพุทธญาณ
๓. ญาณในทุกขนิโรธ ชื่อว่าพุทธญาณ
๔. ญาณในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ชื่อว่าพุทธญาณ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๗๒-๗๓. สัพพัญญุตญาณนิทเทส
๕. ญาณในอัตถปฏิสัมภิทา ชื่อว่าพุทธญาณ
๖. ญาณในธัมมปฏิสัมภิทา ชื่อว่าพุทธญาณ
๗. ญาณในนิรุตติปฏิสัมภิทา ชื่อว่าพุทธญาณ
๘. ญาณในปฏิภาณปฏิสัมภิทา ชื่อว่าพุทธญาณ
๙. ญาณในความยิ่งและความหย่อนแห่งอินทรีย์ ชื่อว่าพุทธญาณ
๑๐. ญาณในอาสยะและอนุสัยของสัตว์ทั้งหลาย ชื่อว่าพุทธญาณ
๑๑. ญาณในยมกปาฏิหาริย์ ชื่อว่าพุทธญาณ
๑๒. ญาณในมหากรุณาสมาบัติ ชื่อว่าพุทธญาณ
๑๓. สัพพัญญุตญาณ ชื่อว่าพุทธญาณ
๑๔. อนาวรณญาณ ชื่อว่าพุทธญาณ
พุทธญาณ ๑๔ ประการนี้แล บรรดาพุทธญาณ ๑๔ ประการนี้ ญาณ ๘
ประการเบื้องต้นเป็นญาณที่ทั่วไปแก่สาวก ส่วนญาณอีก ๖ ประการเบื้องปลาย
เป็นญาณที่ไม่ทั่วไปแก่สาวก
ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะสภาวะที่ทนได้ยากแห่งทุกข์ พระตถาคต
ทรงทราบแล้วตลอดทั้งหมด ที่มิได้ทรงทราบไม่มี ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มี
เครื่องกั้นในญาณนั้น ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะสภาวะที่ทนได้ยากแห่งทุกข์
พระตถาคตทรงทราบแล้ว ทรงเห็นแล้ว ทรงรู้แจ้งแล้ว ทรงทำให้แจ้งแล้ว ทรงถูก
ต้องแล้ว ตลอดทั้งหมดด้วยพระปัญญา ที่มิได้ทรงถูกต้องด้วยพระปัญญาไม่มี
ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น
ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะสภาวะที่เป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัย ฯลฯ เพราะ
สภาวะที่เป็นความดับแห่งนิโรธ ฯลฯ เพราะสภาวะที่เป็นทางแห่งมรรค ฯลฯ เพราะ
สภาวะแห่งปัญญาที่แตกฉานดีในอรรถแห่งอัตถปฏิสัมภิทา ฯลฯ เพราะสภาวะแห่ง
ปัญญาที่แตกฉานดีในธรรมแห่งธัมมปฏิสัมภิทา ฯลฯ เพราะสภาวะแห่งปัญญาที่
แตกฉานดีในนิรุตติแห่งนิรุตติปฏิสัมภิทา ฯลฯ ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะสภาวะ
แห่งปัญญาที่แตกฉานดีในปฏิภาณแห่งปฏิภาณปฏิสัมภิทา พระตถาคตทรงทราบ
แล้ว ทรงเห็นแล้ว ทรงรู้แจ้งแล้ว ทรงทำให้แจ้งแล้ว ทรงถูกต้องแล้ว ตลอดทั้งหมด
ด้วยพระปัญญา ที่มิได้ทรงถูกต้องด้วยพระปัญญาไม่มี ชื่อว่าอนาวรณญาณ
เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๗๒-๗๓. สัพพัญญุตญาณนิทเทส
ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะญาณในความยิ่งและความหย่อนแห่งอินทรีย์
พระตถาคตทรงทราบแล้ว ทรงเห็นแล้ว ทรงรู้แจ้งแล้ว ทรงทำให้แจ้งแล้ว ทรงถูก
ต้องแล้ว ตลอดทั้งหมดด้วยพระปัญญา ที่มิได้ทรงถูกต้องด้วยพระปัญญาไม่มี ชื่อว่า
อนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะญาณ
ในอาสยะและอนุสัยของสัตว์ทั้งหลาย ฯลฯ เพราะญาณในยมกปาฏิหาริย์ ฯลฯ
ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะญาณในมหากรุณาสมาบัติ พระตถาคตทรงทราบแล้ว
ทรงเห็นแล้ว ทรงรู้แจ้งแล้ว ทรงทำให้แจ้งแล้ว ทรงถูกต้องแล้ว ตลอดทั้งหมดด้วย
พระปัญญา ที่มิได้ทรงถูกต้องด้วยพระปัญญาไม่มี ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่
มีเครื่องกั้นในญาณนั้น
ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ
ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจแห่งโลกพร้อมทั้งเทวโลก
มารโลก พรหมโลก แห่งหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์
พระตถาคตทรงทราบแล้ว ทรงเห็นแล้ว ทรงรู้แจ้งแล้ว ทรงทำให้แจ้งแล้ว ทรงถูก
ต้องแล้ว ตลอดทั้งหมดด้วยพระปัญญา ที่มิได้ทรงถูกต้องด้วยพระปัญญาไม่มี
ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น
สิ่งไร ๆ ในไตรโลกธาตุนี้
พระปัญญาจักขุของพระตถาคตนั้นไม่ทรงเห็น ไม่มีเลย
อนึ่ง ธรรมชาติอะไร ๆ ที่ควรรู้
พระพุทธญาณไม่รู้แจ้งก็ไม่มี
ธรรมชาติที่ควรแนะนำใดมีอยู่
พระตถาคตได้ทรงทราบธรรมชาติที่ควรแนะนำนั้นทั้งหมด
เพราะเหตุนั้น พระตถาคตจึงชื่อว่ามีพระสมันตจักขุ๑

สัพพัญญุตญาณนิทเทสที่ ๗๒-๗๓ จบ
ญาณกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๕๖/๔๓๑, ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๘๕/๓๐๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา
๒. ทิฏฐิกถา
ว่าด้วยทิฏฐิ
[๑๒๒] อะไรชื่อว่าทิฏฐิ ฐาน๑แห่งทิฏฐิ มีเท่าไร ปริยุฏฐานแห่งทิฏฐิมีเท่าไร
ทิฏฐิมีเท่าไร ความยึดมั่นทิฏฐิมีเท่าไร ความถอนฐานแห่งทิฏฐิเป็นอย่างไร
ถาม: ทิฏฐิคืออะไร
ตอบ: ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น
ถาม: ฐานแห่งทิฏฐิมีเท่าไร
ตอบ: ฐานแห่งทิฏฐิมี ๘ ประการ
ถาม: ปริยุฏฐานแห่งทิฏฐิมีเท่าไร
ตอบ: ปริยุฏฐานแห่งทิฏฐิมี ๑๘ ประการ
ถาม: ทิฏฐิมีเท่าไร
ตอบ: ทิฏฐิมี ๑๖ ประการ
ถาม: ความยึดมั่นทิฏฐิมีเท่าไร
ตอบ: ความยึดมั่นทิฏฐิมี ๓๐๐ ประการ(โดยประมาณ)
ถาม: เครื่องถอนฐานแห่งทิฏฐิเป็นอย่างไร
ตอบ: โสดาปัตติมรรคเป็นเครื่องถอนฐานแห่งทิฏฐิ
[๑๒๓] ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น เป็นอย่างไร
คือ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นรูปว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตา
ของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ ทิฏฐิคือ
ความยึดมั่นถือมั่นวิญญาณว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นจักขุว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตา
ของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นโสตะ ฯลฯ ฆานะ ฯลฯ ชิวหา ฯลฯ กาย ฯลฯ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นมโนว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”

เชิงอรรถ :
๑ ฐาน ในที่นี้หมายถึงเหตุ (ขุ.ป.อ. ๑/๑๑๒/๔๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นรูปว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตา
ของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นสัททะ ฯลฯ คันธะ ฯลฯ รส ฯลฯ
โผฏฐัพพะ ฯลฯ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นธรรมารมณ์ว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น
นั่นเป็นอัตตาของเรา”
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นจักขุวิญญาณว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็น
อัตตาของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นโสตวิญญาณ ฯลฯ ฆานวิญญาณ ฯลฯ
ชิวหาวิญญาณ ฯลฯ กายวิญญาณ ฯลฯ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นมโนวิญญาณว่า
“นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นจักขุสัมผัสว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็น
อัตตาของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นโสตสัมผัส ฯลฯ ฆานสัมผัส ฯลฯ
ชิวหาสัมผัส ฯลฯ กายสัมผัส ฯลฯ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นมโนสัมผัสว่า
“นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นจักขุสัมผัสสชาเวทนาว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น
นั่นเป็นอัตตาของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นโสตสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ
ฆานสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ กายสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นมโนสัมผัสสชาเวทนาว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็น
อัตตาของเรา”
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นรูปสัญญาว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตา
ของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นสัททสัญญา ฯลฯ คันธสัญญา ฯลฯ รสสัญญา
ฯลฯ โผฏฐัพพสัญญา ฯลฯ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นธัมมสัญญาว่า “นั่นของเรา
เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นรูปสัญเจตนาว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็น
อัตตาของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นสัททสัญเจตนา ฯลฯ คันธสัญเจตนา ฯลฯ
รสสัญเจตนา ฯลฯ โผฏฐัพพสัญเจตนา ฯลฯ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นธัมม-
สัญเจตนาว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นรูปตัณหาว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตา
ของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นสัททตัณหา ฯลฯ คันธตัณหา ฯลฯ รสตัณหา
ฯลฯ โผฏฐัพพตัณหา ฯลฯ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นธัมมตัณหาว่า “นั่นของเรา
เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นรูปวิตกว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตา
ของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นสัททวิตก ฯลฯ คันธวิตก ฯลฯ รสวิตก ฯลฯ
โผฏฐัพพวิตก ฯลฯ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นธัมมวิตกว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น
นั่นเป็นอัตตาของเรา”
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นรูปวิจารว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตา
ของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นสัททวิจาร ฯลฯ คันธวิจาร ฯลฯ รสวิจาร ฯลฯ
โผฏฐัพพวิจาร ฯลฯ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นธัมมวิจารว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น
นั่นเป็นอัตตาของเรา”
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นปฐวีธาตุว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตา
ของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นอาโปธาตุ ฯลฯ เตโชธาตุ ฯลฯ วาโยธาตุ ฯลฯ
อากาสธาตุ ฯลฯ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นวิญญาณธาตุว่า “นั่นของเรา
เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นปฐวีกสิณว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตา
ของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นอาโปกสิณ ฯลฯ เตโชกสิณ ฯลฯ วาโยกสิณ ฯลฯ
นีลกสิณ ฯลฯ ปีตกสิณ ฯลฯ โลหิตกสิณ ฯลฯ โอทาตกสิณ ฯลฯ ทิฏฐิคือ
ความยึดมั่นถือมั่นอากาสกสิณว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นผมว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นขน ฯลฯ เล็บ ฯลฯ ฟัน ฯลฯ หนัง ฯลฯ เนื้อ ฯลฯ
เอ็น ฯลฯ กระดูก ฯลฯ เยื่อในกระดูก ฯลฯ ไต๑ ฯลฯ หัวใจ ฯลฯ ตับ ฯลฯ
พังผืด ฯลฯ ม้าม๒ ฯลฯ ปอด ฯลฯ ไส้ใหญ่ ฯลฯ ไส้น้อย ฯลฯ อาหารใหม่ ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑-๒ ดูเชิงอรรถในข้อ ๔ หน้า ๑๑ ในสุตมยญาณนิทเทสในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา
อาหารเก่า ฯลฯ ดี ฯลฯ เสลด ฯลฯ หนอง ฯลฯ เลือด ฯลฯ เหงื่อ ฯลฯ มันข้น ฯลฯ
น้ำตา ฯลฯ มันเหลว ฯลฯ น้ำลาย ฯลฯ น้ำมูก ฯลฯ ไขข้อ ฯลฯ มูตร ฯลฯ ทิฏฐิคือ
ความยึดมั่นถือมั่นมันสมองว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นจักขายตนะว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็น
อัตตาของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นรูปายตนะ ฯลฯ โสตายตนะ ฯลฯ
สัททายตนะ ฯลฯ ฆานายตนะ ฯลฯ คันธายตนะ ฯลฯ ชิวหายตนะ ฯลฯ
รสายตนะ ฯลฯ กายายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ มนายตนะ ฯลฯ ทิฏฐิคือ
ความยึดมั่นถือมั่นธัมมายตนะว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นจักขุธาตุว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตา
ของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นรูปธาตุ ฯลฯ จักขุวิญญาณธาตุ ฯลฯ โสตธาตุ
ฯลฯ สัททธาตุ ฯลฯ โสตวิญญาณธาตุ ฯลฯ ฆานธาตุ ฯลฯ คันธธาตุ ฯลฯ
ฆานวิญญาณธาตุ ฯลฯ ชิวหาธาตุ ฯลฯ รสธาตุ ฯลฯ ชิวหาวิญญาณธาตุ ฯลฯ
กายธาตุ ฯลฯ โผฏฐัพพธาตุ ฯลฯ กายวิญญาณธาตุ ฯลฯ มโนธาตุ ฯลฯ
ธัมมธาตุ ฯลฯ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นมโนวิญญาณธาตุว่า “นั่นของเรา เรา
เป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นจักขุนทรีย์ว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตา
ของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นโสตินทรีย์ ฯลฯ ฆานินทรีย์ ฯลฯ ชิวหินทรีย์ ฯลฯ
กายินทรีย์ ฯลฯ มนินทรีย์ ฯลฯ ชีวิตินทรีย์ ฯลฯ อิตถินทรีย์ ฯลฯ ปุริสินทรีย์ ฯลฯ
สุขินทรีย์ ฯลฯ ทุกขินทรีย์ ฯลฯ โสมนัสสินทรีย์ ฯลฯ โทมนัสสินทรีย์ ฯลฯ
อุเปกขินทรีย์ ฯลฯ สัทธินทรีย์ ฯลฯ วิริยินทรีย์ ฯลฯ สตินทรีย์ ฯลฯ สมาธินทรีย์
ฯลฯ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นปัญญินทรีย์ว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็น
อัตตาของเรา”
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นกามธาตุว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตา
ของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นรูปธาตุ ฯลฯ อรูปธาตุ ฯลฯ กามภพ ฯลฯ
รูปภพ ฯลฯ อรูปภพ ฯลฯ สัญญาภพ ฯลฯ อสัญญาภพ ฯลฯ เนวสัญญา-
นาสัญญาภพ ฯลฯ เอกโวการภพ ฯลฯ จตุโวการภพ ฯลฯ ปัญจโวการภพ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา
ปฐมฌาน ฯลฯ ทุติยฌาน ฯลฯ ตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌาน ฯลฯ เมตตา-
เจโตวิมุตติ ฯลฯ กรุณาเจโตวิมุตติ ฯลฯ มุทิตาเจโตวิมุตติ ฯลฯ อุเบกขา-
เจโตวิมุตติ ฯลฯ อากาสานัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ
อากิญจัญญายตนสมาบัติ ฯลฯ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นเนวสัญญานาสัญญายตน-
สมาบัติว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นอวิชชาว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตา
ของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นสังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ นามรูป ฯลฯ
สฬายตนะ ฯลฯ ผัสสะ ฯลฯ เวทนา ฯลฯ ตัณหา ฯลฯ อุปาทาน ฯลฯ ภพ ฯลฯ
ชาติ ฯลฯ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นชราและมรณะว่า “นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็น
อัตตาของเรา” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นมีดังว่ามานี้
[๑๒๔] ฐานแห่งทิฏฐิ ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ขันธ์ทั้งหลายเป็นฐานแห่งทิฏฐิ
๒. อวิชชาเป็นฐานแห่งทิฏฐิ
๓. ผัสสะเป็นฐานแห่งทิฏฐิ
๔. สัญญาเป็นฐานแห่งทิฏฐิ
๕. วิตกเป็นฐานแห่งทิฏฐิ
๖. อโยนิโสมนสิการเป็นฐานแห่งทิฏฐิ
๗. ปาปมิตรเป็นฐานแห่งทิฏฐิ
๘. ปรโตโฆสะ๑เป็นฐานแห่งทิฏฐิ
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเหตุเป็นปัจจัย ชื่อว่าเป็นฐานแห่งทิฏฐิ เพราะมีความ
หมายว่าเป็นที่อาศัยตั้งขึ้น แม้ขันธ์ทั้งหลายก็เป็นฐานแห่งทิฏฐิอย่างนี้
อวิชชาที่เป็นเหตุเป็นปัจจัย ชื่อว่าเป็นฐานแห่งทิฏฐิ เพราะมีความหมายว่า
เป็นที่อาศัยตั้งขึ้น แม้อวิชชาก็เป็นฐานแห่งทิฏฐิอย่างนี้

เชิงอรรถ :
๑ ปรโตโฆสะ หมายถึงการฟังอสัทธรรมจากผู้อื่น (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๒๗/๖๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา
ผัสสะที่เป็นเหตุเป็นปัจจัย ชื่อว่าเป็นฐานแห่งทิฏฐิ เพราะมีความหมายว่าเป็นที่
อาศัยตั้งขึ้น แม้ผัสสะก็เป็นฐานแห่งทิฏฐิอย่างนี้
สัญญาที่เป็นเหตุเป็นปัจจัย ชื่อว่าเป็นฐานแห่งทิฏฐิ เพราะมีความหมายว่า
เป็นที่อาศัยตั้งขึ้น แม้สัญญาก็เป็นฐานแห่งทิฏฐิอย่างนี้
วิตกที่เป็นเหตุเป็นปัจจัย ชื่อว่าเป็นฐานแห่งทิฏฐิ เพราะมีความหมายว่าเป็นที่
อาศัยตั้งขึ้น แม้วิตกก็เป็นฐานแห่งทิฏฐิอย่างนี้
อโยนิโสมนสิการที่เป็นเหตุเป็นปัจจัย ชื่อว่าเป็นฐานแห่งทิฏฐิ เพราะมีความ
หมายว่าเป็นที่อาศัยตั้งขึ้น แม้อโยนิโสมนสิการก็เป็นฐานแห่งทิฏฐิอย่างนี้
ปาปมิตรที่เป็นเหตุเป็นปัจจัย ชื่อว่าเป็นฐานแห่งทิฏฐิ เพราะมีความหมายว่า
เป็นที่อาศัยตั้งขึ้น แม้ปาปมิตรก็เป็นฐานแห่งทิฏฐิอย่างนี้
ปรโตโฆสะที่เป็นเหตุเป็นปัจจัย ชื่อว่าเป็นฐานแห่งทิฏฐิ เพราะมีความหมายว่า
เป็นที่อาศัยตั้งขึ้น แม้ปรโตโฆสะก็เป็นฐานแห่งทิฏฐิอย่างนี้
เหล่านี้ คือฐานแห่งทิฏฐิ ๘ ประการ
[๑๒๕] ปริยุฏฐานแห่งทิฏฐิ ๑๘ ประการ อะไรบ้าง ทิฏฐิคือ

๑. การตกอยู่ในทิฏฐิ ๒. ความรกชัฏคือทิฏฐิ
๓. ความกันดารคือทิฏฐิ ๔. เสี้ยนหนามคือทิฏฐิ
๕. ความดิ้นรนคือทิฏฐิ ๖. สังโยชน์คือทิฏฐิ
๗. ลูกศรคือทิฏฐิ ๘. สมภพคือทิฏฐิ๑
๙. เครื่องกังวลคือทิฏฐิ ๑๐. เครื่องผูกคือทิฏฐิ
๑๑. เหวคือทิฏฐิ ๑๒. อนุสัยคือทิฏฐิ
๑๓. เหตุให้เดือดร้อนคือทิฏฐิ ๑๔. เหตุให้เร่าร้อนคือทิฏฐิ
๑๕. เครื่องร้อยรัดคือทิฏฐิ ๑๖. ความยึดถือคือทิฏฐิ
๑๗. ความยึดมั่นคือทิฏฐิ ๑๘. ความถือมั่นคือทิฏฐิ

เหล่านี้ คือปริยุฏฐานแห่งทิฏฐิ ๑๘ ประการ

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า สมภพคือทิฏฐิ คำบาลีคือ ทิฏฺฐิสมฺภโว ในอรรถกถา (ขุ.ป. ๒/๑๒๕/๕๒) ใช้ ทิฏฺฐิสมฺพาโธ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา
[๑๒๖] ทิฏฐิ ๑๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อัสสาททิฏฐิ (ความเห็นที่เนื่องด้วยคุณ)
๒. อัตตานุทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นอัตตา)
๓. มิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด)
๔. สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นอัตตาของตน)
๕. สัสสตทิฏฐิ (ความเห็นว่าอัตตาและโลกเที่ยง) อันมีสักกายะเป็นวัตถุ๑
๖. อุจเฉททิฏฐิ (ความเห็นว่าขาดสูญ) อันมีสักกายะเป็นวัตถุ
๗. อันตัคคาหิกทิฏฐิ (ความเห็นอันถือเอาที่สุด)
๘. ปุพพันตานุทิฏฐิ (ความเห็นขันธ์ส่วนอดีต)
๙. อปรันตานุทิฏฐิ (ความเห็นขันธ์ส่วนอนาคต)
๑๐. สัญโญชนิกาทิฏฐิ (ความเห็นเป็นเครื่องผูกสัตว์)
๑๑. มานวินิพันธาทิฏฐิ (ความเห็นอันกางกั้นด้วยมานะ) ว่า “เป็นเรา”
๑๒. มานวินิพันธาทิฏฐิ (ความเห็นอันกางกั้นด้วยมานะ) ว่า “ของเรา”
๑๓. อัตตวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิ (ความเห็นอันสัมปยุตด้วยอัตตวาทะ)
๑๔. โลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิ (ความเห็นอันสัมปยุตด้วยโลกวาทะ)
๑๕. ภวทิฏฐิ (ความเห็นว่าอัตตาและโลกมีอยู่)
๑๖. วิภวทิฏฐิ (ความเห็นว่าอัตตาและโลกไม่มีอยู่)
[๑๒๗] ความยึดมั่นทิฏฐิ ๓๐๐ ประการ(โดยประมาณ)
คือ อัสสาททิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร
อัตตานุทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร
มิจฉาทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร
สักกายทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร
สัสสตทิฏฐิ อันมีสักกายะเป็นวัตถุ มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร
อุจเฉททิฏฐิ อันมีสักกายะเป็นวัตถุ มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร

เชิงอรรถ :
๑ มีสักกายะเป็นวัตถุ หมายถึงมีขันธ์ ๕ เป็นที่อาศัย (ขุ.ป.อ. ๒/๑๒๖/๕๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา
อันตัคคาหิกทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร
ปุพพันตานุทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร
อปรันตานุทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร
สัญโญชนิกาทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร
มานวินิพันธาทิฏฐิว่า “เป็นเรา” มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร
มานวินิพันธาทิฏฐิว่า “ของเรา” มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร
อัตตวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร
โลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร
ภวทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร
วิภวทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร
คือ อัสสาททิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๓๕ อย่าง
อัตตานุทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๒๐ อย่าง
มิจฉาทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๐ อย่าง
สักกายทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๒๐ อย่าง
สัสสตทิฏฐิอันมีสักกายะเป็นวัตถุ มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๕ อย่าง
อุจเฉททิฏฐิอันมีสักกายะเป็นวัตถุ มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่าง
อันตัคคาหิกทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕๐ อย่าง
ปุพพันตานุทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๘ อย่าง
อปรันตานุทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๔๔ อย่าง
สัญโญชนิกาทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๘ อย่าง
มานวินิพันธาทิฏฐิว่า “เป็นเรา” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๘ อย่าง
มานวินิพันธาทิฏฐิว่า “ของเรา” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๘ อย่าง
อัตตวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๒๐ อย่าง
โลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๘ อย่าง
ภวทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๙ อย่าง
วิภวทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๙ อย่าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๑. อัสสาททิฏฐินิทเทส
๑. อัสสาททิฏฐินิทเทส
แสดงอัสสาททิฏฐิ
[๑๒๘] อัสสาททิฏฐิ มีความเห็นผิดด้วยอาการ ๓๕ อย่าง เป็นอย่างไร
คือ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “สุข โสมนัสที่อาศัยรูปเกิดขึ้น นี้เป็น
อัสสาทะ (คุณ) แห่งรูป” ทิฏฐิไม่ใช่อัสสาทะ อัสสาทะก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็น
อย่างหนึ่ง อัสสาทะก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและอัสสาทะนี้ ท่านกล่าวว่า อัสสาททิฏฐิ
อัสสาททิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นทิฏฐิวิบัติ บุคคลผู้ประกอบด้วยทิฏฐิวิบัตินั้น
เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติ บุคคลผู้มีทิฏฐิวิบัติ ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรนั่งใกล้ ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้นมีทิฏฐิชั่ว ทิฏฐิใด ราคะใด ราคะนั้นไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐินั้น
ก็ไม่ใช่ราคะ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง ราคะก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและราคะนี้ เรียกว่า
ทิฏฐิราคะ บุคคลผู้ประกอบด้วยทิฏฐินั้นและราคะนั้น เป็นผู้ยินดีในทิฏฐิราคะ
ทานที่ให้แก่บุคคลผู้ยินดีทิฏฐิราคะ เป็นทานมีผลไม่มาก มีอานิสงส์ไม่มาก ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้นมีทิฏฐิชั่ว อัสสาททิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ
บุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิมีคติเป็น ๒ คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน อนึ่ง
กายกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ วจีกรรม ฯลฯ และมโนกรรม
ที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ เจตนา ความปรารถนา ความตั้งใจ
และสังขารทั้งหลายของบุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ ธรรมทั้งหมดนั้นย่อมเป็นไปเพื่อผลที่
ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ ไม่เกื้อกูล เป็นทุกข์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะบุคคลนั้นมีทิฏฐิชั่ว
เปรียบเหมือนเมล็ดสะเดา เมล็ดบวบขม หรือเมล็ดน้ำเต้าขมที่บุคคลเพาะไว้
ในดินชุ่มชื้น รสดินและรสน้ำที่มันดูดซับเอาไว้ทั้งหมด ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็น
ของขม เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะสะเดาเป็นต้นนั้นมีเมล็ดเลว
ฉันใด กายกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ วจีกรรม ฯลฯ และ
มโนกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ เจตนา ความปรารถนา
ความตั้งใจ และสังขารทั้งหลายของบุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ ธรรมทั้งหมดนั้นย่อม


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๑. อัสสาททิฏฐินิทเทส
เป็นไปเพื่อผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ ไม่เกื้อกูล เป็นทุกข์ ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้นมีทิฏฐิชั่ว ฉันนั้น อัสสาททิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ
การตกอยู่ในทิฏฐิ ความรกชัฏคือทิฏฐิ ฯลฯ ความถือมั่นคือทิฏฐิ ความ
เกี่ยวข้องแห่งจิตที่ทิฏฐิกลุ้มรุม (เป็นมิจฉาทิฏฐิซึ่งจัดเป็นอัสสาททิฏฐิ) ด้วยอาการ
๑๘ ประการนี้
[๑๒๙] สังโยชน์และทิฏฐิมีอยู่ สังโยชน์แต่ไม่เป็นทิฏฐิก็มีอยู่
สังโยชน์และทิฏฐิ อะไรบ้าง คือ
๑. สักกายทิฏฐิ
๒. สีลัพพตปรามาส
เหล่านี้เป็นสังโยชน์และทิฏฐิ
สังโยชน์แต่ไม่เป็นทิฏฐิ อะไรบ้าง คือ

๑. กามราคสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคือกามราคะ)
๒. ปฏิฆสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคือปฏิฆะ)
๓. มานสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคือมานะ)
๔. วิจิกิจฉาสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคือวิจิกิจฉา)
๕. ภวราคสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคือภวราคะ)
๖. อิสสาสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคืออิสสา)
๗. มัจฉริยสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคือมัจฉริยะ)
๘. อนุสัยสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคืออนุสัย)
๙. อวิชชาสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคืออวิชชา)

เหล่านี้เป็นสังโยชน์แต่ไม่เป็นทิฏฐิ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “สุข โสมนัสที่อาศัยเวทนาเกิดขึ้น นี้เป็น
อัสสาทะแห่งเวทนา” ฯลฯ อาศัยสัญญา ฯลฯ อาศัยสังขาร ฯลฯ อาศัยวิญญาณ ฯลฯ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “สุข โสมนัสที่อาศัยจักขุ ฯลฯ อาศัยโสตะ ฯลฯ
อาศัยฆานะ ฯลฯ อาศัยชิวหา ฯลฯ อาศัยกาย ฯลฯ อาศัยมโน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๑. อัสสาททิฏฐินิทเทส
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “สุข โสมนัสที่อาศัยรูป ฯลฯ อาศัยสัททะ ฯลฯ
อาศัยคันธะ ฯลฯ อาศัยรส ฯลฯ อาศัยโผฏฐัพพะ ฯลฯ อาศัยธรรมารมณ์ ฯลฯ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “สุข โสมนัสที่อาศัยจักขุวิญญาณ ฯลฯ อาศัย
โสตวิญญาณ ฯลฯ อาศัยฆานวิญญาณ ฯลฯ อาศัยชิวหาวิญญาณ ฯลฯ อาศัย
กายวิญญาณ ฯลฯ อาศัยมโนวิญญาณ ฯลฯ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “สุข โสมนัสที่อาศัยจักขุสัมผัส ฯลฯ อาศัย
โสตสัมผัส ฯลฯ อาศัยฆานสัมผัส ฯลฯ อาศัยชิวหาสัมผัส ฯลฯ อาศัย
กายสัมผัส ฯลฯ อาศัยมโนสัมผัส ฯลฯ อาศัยจักขุสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ อาศัย
โสตสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ อาศัยฆานสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ อาศัยชิวหา-
สัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ อาศัยกายสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “สุข โสมนัสที่อาศัยมโนสัมผัสสชาเวทนา
เกิดขึ้น นี้เป็นอัสสาทะแห่งมโนสัมผัสสชาเวทนา” ทิฏฐิไม่ใช่อัสสาทะ อัสสาทะก็
ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง อัสสาทะก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและอัสสาทะนี้ ท่าน
กล่าวว่า อัสสาททิฏฐิ
อัสสาททิฏฐิ เป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นทิฏฐิวิบัติ บุคคลผู้ประกอบด้วยทิฏฐิวิบัตินั้น
เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติ บุคคลผู้มีทิฏฐิวิบัติไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรนั่งใกล้ ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้นมีทิฏฐิชั่ว ทิฏฐิใด ราคะใด ราคะนั้นไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐินั้น
ก็ไม่ใช่ราคะ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง ราคะก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและราคะนี้เรียกว่า
ทิฏฐิราคะ บุคคลผู้ประกอบด้วยทิฏฐินั้นและราคะนั้น เป็นผู้ยินดีในทิฏฐิราคะ
ทานที่ให้แก่บุคคลผู้ยินดีทิฏฐิราคะ เป็นทานมีผลไม่มาก มีอานิสงส์ไม่มาก ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้นมีทิฏฐิชั่ว อัสสาททิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ
บุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ มีคติเป็น ๒ คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
อนึ่ง กายกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ วจีกรรม ฯลฯ และ
มโนกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ เจตนา ความปรารถนา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๑. อัสสาททิฏฐินิทเทส
ความตั้งใจ และสังขารทั้งหลายของบุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ ธรรมทั้งหมดนั้นย่อมเป็น
ไปเพื่อผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ ไม่เกื้อกูล เป็นทุกข์ ข้อนั้นเพราะ
เหตุไร เพราะบุคคลนั้นมีทิฏฐิชั่ว
เปรียบเหมือนเมล็ดสะเดา เมล็ดบวบขม หรือเมล็ดน้ำเต้าขมที่บุคคลเพาะไว้
ในดินชุ่มชื้น รสดินและรสน้ำที่มันดูดซับเอาไว้ทั้งหมด ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็น
ของขม เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะสะเดาเป็นต้นนั้นมีเมล็ดเลว
ฉันใด กายกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ วจีกรรม ฯลฯ และ
มโนกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ เจตนา ความปรารถนา ความ
ตั้งใจ และสังขารทั้งหลายของบุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ ธรรมทั้งหมดนั้นย่อมเป็นไป
เพื่อผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ ไม่เกื้อกูล เป็นทุกข์ ข้อนั้นเพราะ
เหตุไร เพราะบุคคลนั้นมีทิฏฐิชั่ว ฉันนั้น อัสสาททิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ
การตกอยู่ในทิฏฐิ ความรกชัฏคือทิฏฐิ ฯลฯ ความถือมั่นคือทิฏฐิ ความ
เกี่ยวข้องแห่งจิตที่ทิฏฐิกลุ้มรุม (เป็นมิจฉาทิฏฐิซึ่งจัดเป็นอัสสาททิฏฐิ) ด้วยอาการ
๑๘ ประการนี้
สังโยชน์และทิฏฐิมีอยู่ สังโยชน์แต่ไม่เป็นทิฏฐิก็มีอยู่
สังโยชน์และทิฏฐิ อะไรบ้าง คือ
๑. สักกายทิฏฐิ
๒. สีลัพพตปรามาส
เหล่านี้ เป็นสังโยชน์และทิฏฐิ
สังโยชน์แต่ไม่เป็นทิฏฐิ อะไรบ้าง คือ
๑. กามราคสังโยชน์
๒. ปฏิฆสังโยชน์
๓. มานสังโยชน์
๔. วิจิกิจฉาสังโยชน์
๕. ภวราคสังโยชน์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๒. อัตตานุทิฏฐินิทเทส
๖. อิสสาสังโยชน์
๗. มัจฉริยสังโยชน์
๘. อนุสัยสังโยชน์
๙. อวิชชาสังโยชน์
เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ อัสสาททิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ
๓๕ อย่างนี้
อัสสาททิฏฐินิทเทสที่ ๑ จบ

๒. อัตตานุทิฏฐินิทเทส
แสดงอัตตานุทิฏฐิ
[๑๓๐] อัตตานุทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๒๐ อย่าง เป็นอย่างไร
คือ ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระ
อริยะ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรม
ของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็น
อัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตามีรูปบ้าง พิจารณาเห็นรูปในอัตตาบ้าง พิจารณาเห็น
อัตตาในรูปบ้าง พิจารณาเห็นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ พิจารณาเห็น
วิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตามีวิญญาณบ้าง พิจารณาเห็น
วิญญาณในอัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณบ้าง
[๑๓๑] ปุถุชนพิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นปฐวีกสิณโดยความเป็นอัตตา คือ
พิจารณาเห็นปฐวีกสิณและอัตตาไม่เป็นสองว่า “ปฐวีกสิณอันใด เราก็อันนั้น เรา
อันใด ปฐวีกสิณก็อันนั้น” เมื่อประทีปน้ำมันกำลังลุกโพลงอยู่ บุคคลเห็นเปลวไฟและ
แสงสว่างไม่เป็นสองว่า “เปลวไฟอันใด แสงสว่างก็อันนั้น แสงสว่างอันใด เปลวไฟก็
อันนั้น” ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาเห็นปฐวีกสิณโดย
ความเป็นอัตตา คือ พิจารณาเห็นปฐวีกสิณและอัตตาไม่เป็นสองว่า “ปฐวีกสิณอันใด
เราก็อันนั้น เราอันใด ปฐวีกสิณก็อันนั้น” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น ทิฏฐิไม่ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๒. อัตตานุทิฏฐินิทเทส
วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้
เป็นอัตตานุทิฏฐิมีรูปเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๑ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็น
ทิฏฐิวิบัติ ฯลฯ บุคคลผู้ประกอบด้วยอัตตานุทิฏฐิย่อมมีคติเป็น ๒ ฯลฯ เหล่านี้
เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ
บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นอาโปกสิณ ... เตโชกสิณ ... วาโยกสิณ ...
นีลกสิณ ... ปีตกสิณ ... โลหิตกสิณ ... พิจารณาเห็นโอทาตกสิณโดยความเป็นอัตตา
คือ พิจารณาเห็นโอทาตกสิณและอัตตาไม่เป็นสองว่า “โอทาตกสิณอันใด เราก็
อันนั้น เราอันใด โอทาตกสิณก็อันนั้น” เมื่อประทีปน้ำมันกำลังลุกโพลงอยู่ บุคคล
เห็นเปลวไฟและแสงสว่างไม่เป็นสองว่า “เปลวไฟอันใด แสงสว่างก็อันนั้น
แสงสว่างอันใด เปลวไฟก็อันนั้น” ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ฯลฯ พิจารณาเห็นโอทาตกสิณและอัตตาไม่เป็นสอง ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น
ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิ
และวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีรูปเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๑ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ
เป็นทิฏฐิวิบัติ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณาเห็นรูปโดย
ความเป็นอัตตาอย่างนี้ (๑)
ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตามีรูป เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นเวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... พิจารณาเห็น
วิญญาณโดยความเป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา แต่ว่า
อัตตาของเรานี้มีรูปเพราะรูปนี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นอัตตามีรูป ต้นไม้มีเงา บุรุษพึง
พูดถึงต้นไม้นั้นอย่างนี้ว่า “นี้ต้นไม้ นี้เงา ต้นไม้เป็นอย่างหนึ่ง เงาก็เป็นอย่างหนึ่ง
แต่ต้นไม้นี้มีเงาเพราะเงานี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นต้นไม้มีเงาฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็
ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาเห็นเวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... พิจารณาเห็นวิญญาณ
โดยความเป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา แต่ว่าอัตตา
ของเรานี้มีรูปเพราะรูปนี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นอัตตามีรูป ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น
ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและ
วัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีรูปเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๒ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ
เป็นทิฏฐิวิบัติ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตา
มีรูปอย่างนี้ (๒)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๒. อัตตานุทิฏฐินิทเทส
ปุถุชนพิจารณาเห็นรูปในอัตตา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นเวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... พิจารณา
เห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา
ก็ในอัตตานี้มีรูปเช่นนี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นรูปในอัตตา ดอกไม้มีกลิ่นหอม บุรุษ
พึงพูดถึงดอกไม้นั้นอย่างนี้ว่า “นี้ดอกไม้ นี้กลิ่นหอม ดอกไม้เป็นอย่างหนึ่ง กลิ่น
หอมก็เป็นอย่างหนึ่ง แต่กลิ่นหอมนี้มีอยู่ในดอกไม้นี้ ชื่อว่าพิจารณาเห็นกลิ่นหอม
ในดอกไม้นั้น ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาเห็นเวทนา ...
สัญญา ... สังขาร ... พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา เขามีความเห็น
อย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา ก็ในอัตตานี้มีรูปเช่นนี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นรูปใน
อัตตา ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ฯลฯ นี้เป็นอัตตา-
นุทิฏฐิมีรูปเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๓ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นทิฏฐิวิบัติ ฯลฯ
เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณาเห็นรูปในอัตตาอย่างนี้ (๓)
ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตาในรูป เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นเวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... พิจารณา
เห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา
แต่ว่าอัตตาของเรานี้มีอยู่ในรูปนี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นอัตตาในรูป แก้วมณีที่ใส่ไว้
ในขวด บุรุษพึงพูดถึงแก้วมณีนั้นอย่างนี้ว่า “นี้แก้วมณี นี้ขวด แก้วมณีเป็นอย่างหนึ่ง
ขวดก็เป็นอย่างหนึ่ง แต่แก้วมณีนี้มีอยู่ในขวดนี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นแก้วมณีในขวด
ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาเห็นเวทนา ... สัญญา ...
สังขาร ... พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า
“นี้เป็นอัตตาของเรา แต่ว่าอัตตาของเรานี้มีอยู่ในรูปนี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นอัตตา
ในรูป ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง
วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีรูปเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๔
อัตตานุทิฏฐิ เป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นทิฏฐิวิบัติ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ
ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตาในรูปอย่างนี้ (๔)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๒. อัตตานุทิฏฐินิทเทส
[๑๓๒] ปุถุชนพิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นจักขุสัมผัสสชาเวทนา ... โสตสัมผัสสชา-
เวทนา ... ฆานสัมผัสสชาเวทนา ... ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา ... กายสัมผัสสชา-
เวทนา ... พิจารณาเห็นมโนสัมผัสสชาเวทนาโดยความเป็นอัตตา คือ พิจารณาเห็น
มโนสัมผัสสชาเวทนาและอัตตาไม่เป็นสองว่า “มโนสัมผัสสชาเวทนาอันใด เราก็
อันนั้น เราอันใด มโนสัมผัสสชาเวทนาก็อันนั้น” เมื่อประทีปน้ำมันกำลังลุกโพลงอยู่
บุคคลพิจารณาเห็นเปลวไฟและแสงสว่างไม่เป็นสองว่า “เปลวไฟอันใด แสงสว่าง
ก็อันนั้น แสงสว่างอันใด เปลวไฟก็อันนั้น” ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน พิจารณาเห็นมโนสัมผัสสชาเวทนาโดยความเป็นอัตตา คือ พิจารณา
เห็นมโนสัมผัสสชาเวทนาและอัตตาไม่เป็นสองว่า “มโนสัมผัสสชาเวทนาอันใด เราก็
อันนั้น เราอันใด มโนสัมผัสสชาเวทนาก็อันนั้น” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น ทิฏฐิ
ไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุ
นี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีเวทนาเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๑ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็น
ทิฏฐิวิบัติ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณาเห็นเวทนาโดย
ความเป็นอัตตาอย่างนี้ (๑-๕)
ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตามีเวทนา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นสัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ ... พิจารณา
เห็นรูปโดยความเป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา แต่ว่า
อัตตาของเรานี้มีเวทนาเพราะเวทนานี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นอัตตามีเวทนา ต้นไม้มีเงา
บุคคลพึงพูดถึงต้นไม้นั้นอย่างนี้ว่า “นี้ต้นไม้ นี้เงา ต้นไม้เป็นอย่างหนึ่ง เงาก็เป็น
อย่างหนึ่ง แต่ต้นไม้นี้มีเงาเพราะเงานี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นต้นไม้มีเงา ฉันใด บุคคล
บางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาเห็นสัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ ...
พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา
แต่ว่าอัตตาของเรานี้มีเวทนาเพราะเวทนานี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นอัตตามีเวทนา
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็
เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีเวทนาเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๒
อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นทิฏฐิวิบัติ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ
ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตามีเวทนาอย่างนี้ (๒-๖)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๐๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๒. อัตตานุทิฏฐินิทเทส
ปุถุชนพิจารณาเห็นเวทนาในอัตตา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นสัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ ...
พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา
ก็ในอัตตานี้มีเวทนานี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นเวทนาในอัตตา ดอกไม้มีกลิ่นหอม
บุคคลพึงพูดถึงดอกไม้นั้นอย่างนี้ว่า “นี้ดอกไม้ นี้กลิ่นหอม ดอกไม้เป็นอย่างหนึ่ง
กลิ่นหอมก็เป็นอย่างหนึ่ง แต่กลิ่นหอมนี้มีอยู่ในดอกไม้นี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นกลิ่น
หอมในดอกไม้ ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาเห็นสัญญา
... สังขาร ... วิญญาณ ... พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา เขามีความเห็น
อย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา ก็ในอัตตานี้มีเวทนานี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นเวทนาใน
อัตตา ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ฯลฯ นี้เป็น
อัตตานุทิฏฐิมีเวทนาเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๓ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็น
ทิฏฐิวิบัติ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณาเห็นเวทนา
ในอัตตาอย่างนี้ (๓-๗)
ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตาในเวทนา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นสัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ ... พิจารณา
เห็นรูปโดยความเป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา แต่ว่า
อัตตาของเรานี้มีอยู่ในเวทนานี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นอัตตาในเวทนา ฯลฯ ชื่อว่า
พิจารณาเห็นแก้วมณีในขวด ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณา
เห็นสัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ ... พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา
เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา แต่ว่าอัตตาของเรานี้มีอยู่ในเวทนานี้”
ชื่อว่าพิจารณาเห็นอัตตาในเวทนา ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็
ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิ
มีเวทนาเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๔ อัตตานุทิฏฐิ เป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นทิฏฐิวิบัติ
ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตาในเวทนาอย่างนี้
(๔-๘)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๒. อัตตานุทิฏฐินิทเทส
[๑๓๓] ปุถุชนพิจารณาเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นจักขุสัมผัสสชาสัญญา ... โสต-
สัมผัสสชาสัญญา ... ฆานสัมผัสสชาสัญญา ... ชิวหาสัมผัสสชาสัญญา ... กาย-
สัมผัสสชาสัญญา ... พิจารณาเห็นมโนสัมผัสสชาสัญญาโดยความเป็นอัตตา คือ
พิจารณาเห็นมโนสัมผัสสชาสัญญาและอัตตาไม่เป็นสองว่า “มโนสัมผัสสชาสัญญา
อันใด เราก็อันนั้น เราอันใด มโนสัมผัสสชาสัญญาก็อันนั้น” เมื่อประทีปน้ำมันกำลัง
ลุกโพลงอยู่ บุคคลเห็นเปลวไฟและแสงสว่างไม่เป็นสองว่า “เปลวไฟอันใด แสงสว่าง
ก็อันนั้น แสงสว่างอันใด เปลวไฟก็อันนั้น” ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน พิจารณาเห็นมโนสัมผัสสชาสัญญาโดยความเป็นอัตตา คือ พิจารณา
เห็นมโนสัมผัสสชาสัญญา และอัตตาไม่เป็นสองว่า “มโนสัมผัสสชาสัญญาอันใด
เราก็อันนั้น เราอันใด มโนสัมผัสสชาสัญญาก็อันนั้น” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น
ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและ
วัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีสัญญาเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๑ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ
ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณาเห็นสัญญาโดยความเป็น
อัตตาอย่างนี้ (๑-๙)
ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตามีสัญญา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นสังขาร ... วิญญาณ ... รูป ...
พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา
แต่ว่าอัตตาของเรานี้มีสัญญาเพราะสัญญานี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นอัตตามีสัญญา
ต้นไม้มีเงา บุรุษพึงพูดถึงต้นไม้นั้นอย่างนี้ว่า “นี้ต้นไม้ นี้เงา ต้นไม้เป็นอย่างหนึ่ง
เงาก็เป็นอย่างหนึ่ง แต่ต้นไม้นี้มีเงาเพราะเงานี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นต้นไม้มีเงา ฉันใด
บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาเห็นสังขาร ... วิญญาณ ... รูป ...
พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตา
ของเราแต่ว่าอัตตาของเรานี้มีสัญญาเพราะสัญญานี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นอัตตา
มีสัญญา ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็น
อย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีสัญญาเป็นวัตถุ
เป็นอาการที่ ๒ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ
ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตามีสัญญาอย่างนี้ (๒-๑๐)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๒. อัตตานุทิฏฐินิทเทส
ปุถุชนพิจารณาเห็นสัญญาในอัตตา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ พิจารณาเห็นสังขาร ... วิญญาณ ... รูป ...
พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา
ก็ในอัตตานี้มีสัญญานี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นสัญญาในอัตตา ดอกไม้มีกลิ่นหอม
บุคคลพึงพูดถึงดอกไม้นั้นอย่างนี้ว่า “นี้ดอกไม้ นี้กลิ่นหอม ดอกไม้เป็นอย่างหนึ่ง
กลิ่นหอมก็เป็นอย่างหนึ่ง แต่กลิ่นหอมนี้มีอยู่ในดอกไม้นี้” ชื่อว่าพิจารณา
เห็นกลิ่นหอมในดอกไม้ ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณา
เห็นสังขาร ... วิญญาณ ... รูป ... พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา เขามี
ความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา ก็ในอัตตานี้มีสัญญานี้” ชื่อว่าพิจารณา
เห็นสัญญาในอัตตา ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ
ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีสัญญา
เป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๓ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์
แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณาเห็นสัญญาในอัตตาอย่างนี้ (๓-๑๑)
ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตาในสัญญา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นสังขาร ... วิญญาณ ... รูป ... พิจารณา
เห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา
แต่ว่าอัตตาของเรานี้มีอยู่ในสัญญานี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นอัตตาในสัญญา แก้วมณี
ที่ใส่ไว้ในขวด บุคคลพึงพูดถึงแก้วมณีนั้นอย่างนี้ว่า “นี้แก้วมณี นี้ขวด แก้วมณีเป็น
อย่างหนึ่ง ขวดก็เป็นอย่างหนึ่ง แต่แก้วมณีนี้มีอยู่ในขวดนี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็น
แก้วมณีในขวด ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาเห็น
สังขาร ... วิญญาณ ... รูป ... พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา เขามีความ
เห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา แต่ว่าอัตตาของเรานี้มีอยู่ในสัญญานี้” ชื่อว่า
พิจารณาเห็นอัตตาในสัญญา ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่
ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิ
มีสัญญาเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๔ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็น
สังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตาในสัญญาอย่างนี้ (๔-๑๒)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๒. อัตตานุทิฏฐินิทเทส
[๑๓๔] ปุถุชนพิจารณาเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นจักขุสัมผัสสชาเจตนา ฯลฯ โสต-
สัมผัสสชาเจตนา ฯลฯ ฆานสัมผัสสชาเจตนา ฯลฯ ชิวหาสัมผัสสชาเจตนา ฯลฯ
กายสัมผัสสชาเจตนา ฯลฯ พิจารณาเห็นมโนสัมผัสสชาเจตนาโดยความเป็นอัตตา
คือ พิจารณาเห็นมโนสัมผัสสชาเจตนาและอัตตาไม่เป็นสองว่า “มโนสัมผัสสชา-
เจตนาอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด มโนสัมผัสสชาเจตนาก็อันนั้น” เมื่อประทีป
น้ำมันกำลังลุกโพลงอยู่ บุคคลพิจารณาเห็นเปลวไฟและแสงสว่างไม่เป็นสองว่า
“เปลวไฟอันใด แสงสว่างก็อันนั้น แสงสว่างอันใด เปลวไฟก็อันนั้น” ฉันใด บุคคล
บางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาเห็นมโนสัมผัสสชาเจตนาโดยความ
เป็นอัตตา คือ พิจารณาเห็นมโนสัมผัสสชาเจตนาและอัตตาไม่เป็นสองว่า “มโน-
สัมผัสสชาเจตนาอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด มโนสัมผัสสชาเจตนาก็อันนั้น” ทิฏฐิ
คือความยึดมั่นถือมั่น ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็น
อย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีสังขารเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๑ อัตตา-
นุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณา
เห็นสังขารโดยความเป็นอัตตาอย่างนี้ (๑-๑๓)
ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตามีสังขาร เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นวิญญาณ รูป เวทนา สัญญาโดยความ
เป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา แต่ว่าอัตตาของเรานี้มี
สังขารเพราะสังขารเหล่านี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นอัตตามีสังขาร ต้นไม้มีเงา บุรุษพึง
พูดถึงต้นไม้นั้นอย่างนี้ว่า “นี้ต้นไม้ นี้เงา ต้นไม้เป็นอย่างหนึ่ง เงาก็เป็นอย่างหนึ่ง
แต่ต้นไม้นี้มีเงาเพราะเงานี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นต้นไม้มีเงา ฉันใด บุคคลบางคน
ในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาเห็นวิญญาณ รูป เวทนา สัญญาโดยความเป็น
อัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา แต่ว่าอัตตาของเรานี้มีสังขาร
เพราะสังขารเหล่านี้” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ
ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีสังขาร
เป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๒ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์
แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตามีสังขารอย่างนี้ (๑-๑๔)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๒. อัตตานุทิฏฐินิทเทส
ปุถุชนพิจารณาเห็นสังขารในอัตตา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นวิญญาณ รูป เวทนา สัญญาโดยความ
เป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา ก็ในอัตตานี้มีสังขาร
เหล่านี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นสังขารในอัตตา ดอกไม้มีกลิ่นหอม บุรุษพึงพูดถึง
ดอกไม้นั้นอย่างนี้ว่า “นี้ดอกไม้ นี้กลิ่นหอม ดอกไม้เป็นอย่างหนึ่ง กลิ่นหอมก็เป็น
อย่างหนึ่ง แต่กลิ่นหอมนี้มีอยู่ในดอกไม้นี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นกลิ่นหอมในดอกไม้
ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาเห็นวิญญาณ รูป เวทนา
สัญญา โดยความเป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา ก็ใน
อัตตานี้มีสังขารเหล่านี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นสังขารในอัตตา ทิฏฐิคือความยึดมั่น
ถือมั่น ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง
ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีสังขารเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๓ อัตตานุทิฏฐิเป็น
มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณาเห็นสังขารใน
อัตตาอย่างนี้ (๓-๑๕)
ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตาในสังขาร เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นวิญญาณ รูป เวทนา สัญญาโดยความ
เป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา แต่ว่าอัตตาของเรานี้มีอยู่ใน
สังขารนี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นอัตตาในสังขาร แก้วมณีที่ใส่ไว้ในขวด บุรุษพึงพูดถึง
แก้วมณีนั้นอย่างนี้ว่า “นี้แก้วมณี นี้ขวด แก้วมณีเป็นอย่างหนึ่ง ขวดก็เป็นอย่างหนึ่ง
แต่แก้วมณีนี้มีอยู่ในขวดนี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นแก้วมณีในขวด ฉันใด บุคคลบางคน
ในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาเห็นวิญญาณ รูป เวทนา สัญญาโดยความ
เป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา แต่ว่าอัตตาของเรานี้มีอยู่
ในสังขารเหล่านี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นอัตตาในสังขาร ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น
ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและ
วัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีสังขารเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๔ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉา-
ทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตาในสังขาร
อย่างนี้ (๔-๑๖)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๐๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๒. อัตตานุทิฏฐินิทเทส
[๑๓๕] ปุถุชนพิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นจักขุวิญญาณ ... โสตวิญญาณ ... ฆาน-
วิญญาณ ... ชิวหาวิญญาณ ... กายวิญญาณ ... พิจารณาเห็นมโนวิญญาณโดย
ความเป็นอัตตา คือ พิจารณาเห็นมโนวิญญาณและอัตตาไม่เป็นสองว่า “มโน-
วิญญาณอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด มโนวิญญาณก็อันนั้น” เมื่อประทีปน้ำมันกำลัง
ลุกโพลงอยู่ บุคคลพิจารณาเห็นเปลวไฟและแสงสว่างไม่เป็นสองว่า “เปลวไฟอันใด
แสงสว่างก็อันนั้น แสงสว่างอันใด เปลวไฟก็อันนั้น” ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็
ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาเห็นมโนวิญญาณโดยความเป็นอัตตา คือ พิจารณาเห็น
มโนวิญญาณและอัตตาไม่เป็นสองว่า “มโนวิญญาณอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด
มโนวิญญาณก็อันนั้น” ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ
ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีวิญญาณ
เป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๑ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์
แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาอย่างนี้ (๑-๑๗)
ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตามีวิญญาณ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขารโดยความเป็น
อัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา แต่ว่าอัตตาของเรานี้มีวิญญาณ
เพราะวิญญาณนี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นอัตตามีวิญญาณ ต้นไม้มีเงา บุรุษพึงพูดถึง
ต้นไม้นันอย่างนี้ว่า “นี้ต้นไม้ นี้เงา ต้นไม้นี้เป็นอย่างหนึ่ง เงาก็เป็นอย่างหนึ่ง แต่ต้น
ไม้นี้มีเงาเพราะเงานี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นต้นไม้มีเงา ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน พิจารณาเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขารโดยความเป็นอัตตา เขามีความ
เห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา แต่ว่าอัตตาของเรานี้มีวิญญาณเพราะวิญญาณนี้”
ชื่อว่าพิจารณาเห็นอัตตามีวิญญาณ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ
วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตา-
นุทิฏฐิมีวิญญาณเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๒ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้
เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตามีวิญญาณอย่างนี้ (๒-๑๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๒. อัตตานุทิฏฐินิทเทส
ปุถุชนพิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขารโดยความเป็น
อัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา ก็ในอัตตานี้มีวิญญาณเช่นนี้”
ชื่อว่าพิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา ดอกไม้มีกลิ่นหอม บุรุษพึงพูดถึงดอกไม้นั้นว่า
“นี้ดอกไม้ นี้กลิ่นหอม ดอกไม้เป็นอย่างหนึ่ง กลิ่นหอมก็เป็นอย่างหนึ่ง แต่ว่ากลิ่น
หอมนี้ มีอยู่ในดอกไม้นี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นกลิ่นหอมในดอกไม้ ฉันใด บุคคลบาง
คนในโลกนี้ก็ฉันนั้นหมือนกัน พิจารณาเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขารโดยความเป็น
อัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา ก็ในอัตตานี้มีวิญญาณนี้”
ชื่อว่าพิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุ
ก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิ
มีวิญญาณเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๓ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็น
สังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตาอย่างนี้ (๓-๑๙)
ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขารโดยความ
เป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา แต่ว่าอัตตาของเรานี้มีอยู่
ในวิญญาณนี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ แก้วมณีที่ใส่ไว้ในขวด บุรุษพึง
พูดถึงแก้วมณีนั้นอย่างนี้ว่า “นี้แก้วมณี นี้ขวด แก้วมณีเป็นอย่างหนึ่ง ขวดก็เป็น
อย่างหนึ่ง แต่ว่าแก้วมณีนี้มีอยู่ในในขวดนี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นแก้วมณีในขวด ฉันใด
บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร
โดยความเป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา แต่ว่าอัตตา
ของเรานี้ มีอยู่ในวิญญาณนี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ ทิฏฐิคือความ
ยึดมั่นถือมั่น ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง
ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมีวิญญาณเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๔ ฯลฯ อัตตา-
นุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณาเห็น
อัตตาในวิญญาณอย่างนี้
อัตตานุทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๒๐ อย่างนี้ (๔-๒๐)

อัตตานุทิฏฐินิทเทสที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๓. มิจฉาทิฏฐินิทเทส
๓. มิจฉาทิฏฐินิทเทส
แสดงมิจฉาทิฏฐิ
[๑๓๖] มิจฉาทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๐ อย่าง เป็นอย่างไร
คือ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นแห่งมิจฉาทิฏฐิที่กล่าวถึงวัตถุอย่างนี้ว่า “ทาน
ที่ให้แล้วไม่มีผล” ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็น
อย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิมีวัตถุผิด เป็นอาการที่ ๑ มิจฉาทิฏฐิเป็น
ทิฏฐิวิบัติ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นแห่งมิจฉาทิฏฐิที่กล่าวถึงวัตถุอย่างนี้ว่า “ยัญที่บูชา
แล้วไม่มีผล” ฯลฯ “การเซ่นสรวง ไม่มีผล” ฯลฯ “ผลวิบากแห่งกรรมที่บุคคลทำดี
ทำชั่วไม่มี” ฯลฯ “โลกนี้ไม่มี” ฯลฯ “โลกหน้าไม่มี” ฯลฯ “มารดาไม่มี” ฯลฯ
“บิดาไม่มี” ฯลฯ “โอปปาติกสัตว์๑ไม่มี” ฯลฯ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นแห่งมิจฉาทิฏฐิที่กล่าวถึงวัตถุอย่างนี้ว่า “สมณะและ
พราหมณ์ผู้พร้อมเพรียงกันปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ รู้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยตนเอง
แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ตามไม่มีในโลก” ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็น
อย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิมีความเห็นผิดเป็นวัตถุ
เป็นอาการที่ ๑๐ มิจฉาทิฏฐิเป็นทิฏฐิวิบัติ ฯลฯ บุคคลผู้เพียบพร้อมด้วยมิจฉาทิฏฐิ
ย่อมมีคติเป็น ๒ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ
มิจฉาทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๐ อย่างนี้

มิจฉาทิฏฐินิทเทสที่ ๓ จบ

เชิงอรรถ :
๑ โอปปาติกสัตว์ ในที่นี้หมายถึงสัตว์ที่เกิดและเติบโตเต็มที่ทันที และเมื่อจุติ (ตาย) ก็หายวับไปไม่ทิ้งซาก
ศพไว้ เช่นเทวดาและสัตว์นรก เป็นต้น (ที.สี.อ. ๑๗๑/๑๔๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๔. สักกายทิฏฐินิทเทส
๔. สักกายทิฏฐินิทเทส
แสดงสักกายทิฏฐิ
[๑๓๗] สักกายทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๒๐ อย่าง เป็นอย่างไร
คือ ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระ
อริยะ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรม
ของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็น
อัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตามีรูปบ้าง พิจารณาเห็นรูปในอัตตาบ้าง พิจารณาเห็น
อัตตาในรูปบ้าง พิจารณาเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณโดยความเป็นอัตตา
บ้าง พิจารณาเห็นอัตตามีวิญญาณบ้าง พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง พิจารณา
เห็นอัตตาในวิญญาณบ้าง
ปุถุชนพิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นปฐวีกสิณ ฯลฯ พิจารณาเห็นโอทาต-
กสิณ โดยความเป็นอัตตา คือ พิจารณาเห็นโอทาตกสิณและอัตตาไม่เป็นสองว่า
“โอทาตกสิณอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด โอทาตกสิณก็อันนั้น” เมื่อประทีป
น้ำมันกำลังลุกโพลงอยู่ ฯลฯ ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
พิจารณาเห็นโอทาตกสิณ โดยความเป็นอัตตา ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่น ฯลฯ
นี้เป็นสักกายทิฏฐิมีรูปเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๑ สักกายทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ
เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา
อย่างนี้ ฯลฯ
สักกายทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๒๐ อย่างนี้

สักกายทิฏฐินิทเทสที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๕. สัสสตทิฏฐินิทเทส
๕. สัสสตทิฏฐินิทเทส
แสดงสัสสตทิฏฐิ
[๑๓๘] สัสสตทิฏฐิที่มีสักกายะเป็นวัตถุ มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๕
อย่าง เป็นอย่างไร
คือ ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของ
พระอริยะ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาด
ในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ พิจารณาเห็นอัตตามี
รูปบ้าง พิจารณาเห็นรูปในอัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตาในรูปบ้าง พิจารณาเห็น
อัตตามีเวทนาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตามีสัญญาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตามีสังขารบ้าง
พิจารณาเห็นอัตตามีวิญญาณบ้าง พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง พิจารณาเห็น
อัตตาในวิญญาณบ้าง
ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตามีรูป เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณโดย
ความเป็นอัตตา เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “นี้เป็นอัตตาของเรา แต่ว่าอัตตาของ
เรานี้มีรูปเพราะรูปนี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นอัตตามีรูป ต้นไม้มีเงา บุรุษพึงพูดถึงต้นไม้
นั้นอย่างนี้ว่า “นี้ต้นไม้ นี้เงา ต้นไม้เป็นอย่างหนึ่ง เงาก็เป็นอย่างหนึ่ง แต่ต้นไม้นี้
มีเงาเพราะเงานี้” ชื่อว่าพิจารณาเห็นต้นไม้มีเงาฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน พิจารณาเห็นเวทนา ฯลฯ โดยความเป็นอัตตา นี้เป็นสัสสตทิฏฐิที่มี
สักกายะเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๑ สัสสตทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์
แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณาเห็นอัตตามีรูปอย่างนี้ ฯลฯ
สัสสตทิฏฐิที่มีสักกายะเป็นวัตถุ มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๕ อย่างนี้

สัสสตทิฏฐินิทเทสที่ ๕ จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๗. อันตัคคาหิกทิฏฐินิทเทส
๖. อุจเฉททิฏฐินิทเทส
แสดงอุจเฉททิฏฐิ
[๑๓๙] อุจเฉททิฏฐิที่มีสักกายะเป็นวัตถุ มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่าง
เป็นอย่างไร
คือ ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ
ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรม
ของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็น
อัตตา พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นสัญญาโดยความเป็น
อัตตา พิจารณาเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็น
อัตตา
ปุถุชนพิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นปฐวีกสิณ ฯลฯ พิจารณาเห็นโอทาต-
กสิณ โดยความเป็นอัตตา คือ พิจารณาเห็นโอทาตกสิณและอัตตาไม่เป็นสองว่า
“โอทาตกสิณอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด โอทาตกสิณก็อันนั้น” เมื่อประทีปน้ำมัน
กำลังลุกโพลงอยู่ ฯลฯ ฉันใด นี้เป็นอุจเฉททิฏฐิที่มีสักกายะเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๑
อุจเฉททิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ ปุถุชนพิจารณา
เห็นรูปโดยความเป็นอัตตาอย่างนี้ ฯลฯ
อุจเฉททิฏฐิที่มีสักกายะเป็นวัตถุ มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่างนี้
อุจเฉททิฏฐินิทเทสที่ ๖ จบ

๗. อันตัคคาหิกทิฏฐินิทเทส
แสดงอันตัคคาหิกทิฏฐิ
[๑๔๐] อันตัคคาหิกทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕๐ อย่าง เป็นอย่างไร
คือ อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “โลกเที่ยง” มีความยึดมั่นด้วยอาการเท่าไร
อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “โลกไม่เที่ยง” ฯลฯ “โลกมีที่สุด” ฯลฯ “โลกไม่มีที่สุด” ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๗. อันตัคคาหิกทิฏฐินิทเทส
“ชีวะ๑กับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน” ฯลฯ “ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน” ฯลฯ
“หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก” ฯลฯ “หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก” ฯลฯ
“หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีกก็มี” ฯลฯ อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า
“หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มิใช่ ไม่เกิดอีกก็มิใช่” มีความยึดมั่นด้วยอาการ
เท่าไร
คือ อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “โลกเที่ยง” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่าง ฯลฯ
อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มิใช่ ไม่เกิดอีกก็มิใช่”
มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่าง
อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “โลกเที่ยง” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่าง
เป็นอย่างไร
คือ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “รูปเป็นโลกและเป็นของเที่ยง” ทิฏฐินั้นถือ
เอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอันตัคคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่
ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอันตัคคาหิกทิฏฐิ
ว่า “โลกเที่ยง” เป็นอาการที่ ๑ อันตัคคาหิกทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้
เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “เวทนาเป็นโลกและเป็นของเที่ยง” ฯลฯ “สัญญา
เป็นโลกและเป็นของเที่ยง” ฯลฯ “สังขารเป็นโลกและเป็นของเที่ยง” ฯลฯ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “วิญญาณ เป็นโลกและเป็นของเที่ยง” ทิฏฐินั้น
ถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอันตัคคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็
ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอันตัค-
คาหิกทิฏฐิว่า “โลกเที่ยง” เป็นอาการที่ ๕ อันตัคคาหิกทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ
เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “โลกเที่ยง” มีความยึดมั่น
ด้วยอาการ ๕ อย่างนี้ (๕)
อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “โลกไม่เที่ยง” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่าง เป็น
อย่างไร

เชิงอรรถ :
๑ ชีวะ ในที่นี้หมายถึงวิญญาณอมตะ หรือ อาตมัน (soul) (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑/๑/๑๒๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๗. อันตัคคาหิกทิฏฐินิทเทส
คือ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “รูปเป็นโลกและเป็นของไม่เที่ยง” ทิฏฐินั้น
ถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอันตัคคาหิกทิฏฐิ ฯลฯ นี้เป็นอันตัคคาหิก-
ทิฏฐิว่า “โลกไม่เที่ยง” เป็นอาการที่ ๑ อันตัคคาหิกทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็น
ทิฏฐิวิบัติ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “เวทนาเป็นโลกและเป็นของไม่เที่ยง” ฯลฯ
“สัญญาเป็นโลกและเป็นของไม่เที่ยง” ฯลฯ “สังขารเป็นโลกและเป็นของไม่เที่ยง” ฯลฯ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “วิญญาณเป็นโลกและเป็นของไม่เที่ยง” ทิฏฐิ
นั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอันตัคคาหิกทิฏฐิ อันตัคคาหิกทิฏฐิ
เป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า
“โลกไม่เที่ยง” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่างนี้ (๕-๑๐)
อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “โลกมีที่สุด” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่าง เป็น
อย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ทำสีเขียวให้เป็นอารมณ์แผ่ไปสู่โอกาสนิดหน่อย เขามี
ความเห็นอย่างนี้ว่า “โลกนี้มีที่สุดกลม” จึงมีความหมายรู้ว่าโลกมีที่สุด ทิฏฐิคือ
ความยึดมั่นถือมั่นว่า “กสิณที่แผ่ไปเป็นวัตถุและเป็นโลก จิตที่เป็นเหตุให้กสิณแผ่ไป
เป็นอัตตาและเป็นโลก” ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
อันตัคคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็น
อย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “โลกมีที่สุด” เป็นอาการที่ ๑
อันตัคคาหิกทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ
บุคคลบางคนในโลกนี้ทำสีเหลืองให้เป็นอารมณ์แผ่ไป ฯลฯ ทำสีแดงให้เป็น
อารมณ์แผ่ไป ฯลฯ ทำสีขาวให้เป็นอารมณ์แผ่ไป ฯลฯ
บุคคลบางคนในโลกนี้ทำแสงสว่างให้เป็นอารมณ์แผ่ไปสู่โอกาสนิดหน่อย
เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “โลกนี้มีที่สุดกลม” จึงมีความหมายรู้ว่าโลกมีที่สุด ทิฏฐิ
คือความยึดมั่นถือมั่นว่า “กสิณที่แผ่ไปเป็นวัตถุและเป็นโลก จิตที่เป็นเหตุให้กสิณ
แผ่ไปเป็นอัตตาและเป็นโลก” ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
อันตัคคาหิกทิฏฐิ ฯลฯ อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “โลกมีที่สุด” มีความยึดมั่นด้วย
อาการ ๕ อย่างนี้ (๕-๑๕)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๗. อันตัคคาหิกทิฏฐินิทเทส
อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “โลกไม่มีที่สุด” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่าง
เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ทำสีเขียวแผ่ไปสู่โอกาสกว้าง เขามีความเห็นอย่าง
นี้ว่า “โลกนี้ไม่มีที่สุด หาที่สุดมิได้” จึงมีความหมายรู้ว่าโลกไม่มีที่สุด ทิฏฐิคือความ
ยึดมั่นถือมั่นว่า “กสิณที่แผ่ไปเป็นวัตถุและเป็นโลก จิตที่เป็นเหตุให้กสิณแผ่ไปเป็น
อัตตาและเป็นโลก” ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอันตัคคาหิก-
ทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิ
และวัตถุนี้เป็นอันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “โลกไม่มีที่สุด” เป็นอาการที่ ๑ อันตัคคาหิก-
ทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ
บุคคลบางคนในโลกนี้ทำสีเหลือง ฯลฯ สีแดง ฯลฯ สีขาว ฯลฯ บุคคล
บางคนในโลกนี้ทำแสงสว่างแผ่ไปสู่โอกาสอันกว้าง เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า “โลก
นี้ไม่มีที่สุด หาที่สุดมิได้” จึงมีความหมายรู้ว่าโลกไม่มีที่สุด ทิฏฐิคือความยึดมั่น
ถือมั่นว่า “กสิณที่แผ่ไปเป็นวัตถุและเป็นโลก จิตที่เป็นเหตุให้กสิณแผ่ไปเป็นอัตตา
และเป็นโลก” ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอันตัคคาหิกทิฏฐิ ฯลฯ
อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “โลกไม่มีที่สุด” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่างนี้ (๕-๒๐)
อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน” มีความยึดมั่นด้วย
อาการ ๕ อย่าง เป็นอย่างไร
คือ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “รูปเป็นชีวะและเป็นสรีระ ชีวะอันใด สรีระ
ก็อันนั้น สรีระอันใด ชีวะก็อันนั้น” ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
อันตัคคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็น
อย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน”
เป็นอาการที่ ๑ อันตัคคาหิกทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่
เป็นทิฏฐิ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “เวทนาเป็นชีวะและเป็นสรีระ ...” ฯลฯ “สัญญา
เป็นชีวะและเป็นสรีระ ...” ฯลฯ “สังขารเป็นชีวะและเป็นสรีระ ...” ฯลฯ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “วิญญาณเป็นชีวะและเป็นสรีระ ชีวะอันใด
สรีระก็อันนั้น สรีระอันใด ชีวะก็อันนั้น” ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าอันตัคคาหิกทิฏฐิ ฯลฯ อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน”
มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่างนี้ (๕-๒๕)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๗. อันตัคคาหิกทิฏฐินิทเทส
อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน” มีความยึดมั่นด้วย
อาการ ๕ อย่าง เป็นอย่างไร
คือ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “รูปเป็นสรีระ ไม่ใช่ชีวะ รูปนั้นเป็นสรีระ
ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน” ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
อันตัคคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็น
อย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน”
เป็นอาการที่ ๑ อันตัคคาหิกทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “เวทนาเป็นสรีระ ไม่ใช่ชีวะ ...” ฯลฯ “สัญญา
เป็นสรีระ ไม่ใช่ชีวะ ...” ฯลฯ “สังขารเป็นสรีระ ไม่ใช่ชีวะ ...” ฯลฯ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “วิญญาณเป็นสรีระ ไม่ใช่ชีวะ วิญญาณนั้นเป็น
สรีระ ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน” ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าอันตัคคาหิกทิฏฐิ ฯลฯ อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่าง
กัน” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่างนี้ (๕-๓๐)
อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มี” มีความยึดมั่น
ด้วยอาการ ๕ อย่าง เป็นอย่างไร
คือ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “รูปต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แน่นอน
หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกบ้าง ดำรงอยู่บ้าง ถือกำเนิดบ้าง บังเกิดบ้าง”
ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอันตัคคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ
วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็น
อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มี” เป็นอาการที่ ๑
อันตัคคาหิกทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “เวทนาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แน่นอน ...”
ฯลฯ “สัญญาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แน่นอน ...” ฯลฯ “สังขารต้องตายเป็น
ธรรมดาในโลกนี้แน่นอน ...” ฯลฯ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “วิญญาณต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แน่นอน
หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกบ้าง ดำรงอยู่บ้าง ถือกำเนิดบ้าง บังเกิดบ้าง” ทิฏฐิ
นั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอันตัคคาหิกทิฏฐิ ฯลฯ อันตัค-
คาหิกทิฏฐิว่า “หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มี” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕
อย่างนี้ (๕-๓๕)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๗. อันตัคคาหิกทิฏฐินิทเทส
อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีกก็มี” มีความยึดมั่น
ด้วยอาการ ๕ อย่าง เป็นอย่างไร
คือ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “รูปต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แน่นอน
หลังจากตายแล้วตถาคตย่อมขาดสูญ พินาศไป ไม่เกิดอีก” ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุด
เช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอันตัคคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ
ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอันตัคคาหิกทิฏฐิว่า
“หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีกก็มี” เป็นอาการที่ ๑ อันตัคคาหิกทิฏฐิเป็น
มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “เวทนาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แน่นอน ...”
ฯลฯ “สัญญาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แน่นอน ...” ฯลฯ “สังขารต้องตายเป็น
ธรรมดาในโลกนี้แน่นอน ...” ฯลฯ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “วิญญาณต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แน่นอน
หลังจากตายแล้วตถาคตย่อมขาดสูญ พินาศไป ไม่เกิดอีก” ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุด
เช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอันตัคคาหิกทิฏฐิ ฯลฯ อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “หลังจาก
ตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่างนี้ (๕-๔๐)
อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีกก็มี”
มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่าง เป็นอย่างไร
คือ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “รูปต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แน่นอน
หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีกก็มี” ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอันตัคคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็น
อย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “หลังจาก
ตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีกก็มี” เป็นอาการที่ ๑ อันตัคคาหิกทิฏฐิเป็น
มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “เวทนาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แน่นอน ...”
ฯลฯ “สัญญาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แน่นอน ...” ฯลฯ “สังขารต้องตายเป็น
ธรรมดาในโลกนี้แน่นอน ...” ฯลฯ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “วิญญาณต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แน่นอน
หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีกก็มี” ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอันตัคคาหิกทิฏฐิ ฯลฯ อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “หลังจากตาย
แล้วตถาคตเกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีกก็มี” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่างนี้ (๕-๔๕)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๘. ปุพพันตานุทิฏฐินิทเทส
อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มิใช่ ไม่เกิดอีกก็
มิใช่” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่าง เป็นอย่างไร
คือ ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “รูปต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แน่นอน
หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มิใช่ ไม่เกิดอีกก็มิใช่” ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอันตัคคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็น
อย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “หลังจาก
ตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มิใช่ ไม่เกิดอีกก็มิใช่” เป็นอาการที่ ๑ อันตัคคาหิกทิฏฐิ
เป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “เวทนาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แน่นอน ...”
ฯลฯ “สัญญาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แน่นอน ...” ฯลฯ “สังขารต้องตายเป็น
ธรรมดาในโลกนี้แน่นอน ...” ฯลฯ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “วิญญาณต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แน่นอน
หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มิใช่ ไม่เกิดอีกก็มิใช่” ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอันตัคคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็น
อย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “หลังจาก
ตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มิใช่ ไม่เกิดอีกก็มิใช่” เป็นอาการที่ ๕ อันตัคคาหิกทิฏฐิ
เป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า
“หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มิใช่ ไม่เกิดอีกก็มิใช่” มีความยึดมั่นด้วยอาการ
๕ อย่างนี้
อันตัคคาหิกทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕๐ อย่างนี้ (๕๐)
อันตัคคาหิกทิฏฐินิทเทสที่ ๗ จบ

๘. ปุพพันตานุทิฏฐินิทเทส
แสดงปุพพันตานุทิฏฐิ
[๑๔๑] ปุพพันตานุทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๘ อย่าง อะไรบ้าง
คือ สัสสตวาทะ (ลัทธิที่ถือว่าอัตตาและโลกเที่ยง) มี ๔ ลัทธิ
เอกัจจสัสสติกวาทะ (ลัทธิที่ถือว่าบางอย่างเที่ยง) มี ๔ ลัทธิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๙. อปรันตานุทิฏฐินิทเทส

อันตานันติกวาทะ (ลัทธิที่ถือว่าโลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด) มี ๔ ลัทธิ
อมราวิกเขปิกวาทะ (ลัทธิที่พูดหลบเลี่ยงไม่แน่นอนตายตัว) มี ๔ ลัทธิ
อธิจจสมุปปันนิกวาทะ (ลัทธิที่ถือว่าอัตตาและโลกเกิดขึ้นเองไม่มีเหตุ-
ปัจจัย) มี ๒ ลัทธิ

ปุพพันตานุทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๘ อย่างนี้
ปุพพันตานุทิฏฐินิทเทสที่ ๘ จบ

๙. อปรันตานุทิฏฐินิทเทส
แสดงอปรันตานุทิฏฐิ
[๑๔๒] อปรันตานุทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๔๔ อย่าง อะไรบ้าง

คือ สัญญีวาทะ (ลัทธิที่ถือว่าหลังจากตายแล้วอัตตามีสัญญา)
มี ๑๖ ลัทธิ
อสัญญีวาทะ (ลัทธิที่ถือว่าหลังจากตายแล้วอัตตาไม่มีสัญญา)
มี ๘ ลัทธิ
เนวสัญญีนาสัญญีวาทะ (ลัทธิที่ถือว่าหลังจากตายแล้วอัตตามีสัญญาก็
มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่) มี ๘ ลัทธิ
อุจเฉทวาทะ (ลัทธิที่ถือว่าหลังจากตายแล้วอัตตาขาดสูญ)
มี ๗ ลัทธิ
ทิฏฐธัมมนิพพานวาทะ (ลัทธิที่ถือว่ามีสภาวะบางอย่างเป็นนิพพานใน
ปัจจุบัน) มี ๕ ลัทธิ

อปรันตานุทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๔๔ อย่างนี้
อปรันตานุทิฏฐินิทเทสที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๑๐-๑๒. สัญโญชนิกาทิทิฏฐินิทเทส
๑๐-๑๒. สัญโญชนิกาทิทิฏฐินิทเทส
แสดงสัญโญชนิกาทิทิฏฐิ
[๑๔๓] สัญโญชนิกาทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๘ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. การตกอยู่ในทิฏฐิ ๒. ความรกชัฏคือทิฏฐิ
ฯลฯ๑
๑๗. ความยึดมั่นคือทิฏฐิ ๑๘. ความถือมั่นคือทิฏฐิ
สัญโญชนิกาทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๘ อย่างนี้
[๑๔๔] มานวินิพันธาทิฏฐิว่า “เป็นเรา” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๘ อย่าง
เป็นอย่างไร
คือ ความยึดมั่นถือมั่นว่า “จักขุเป็นเรา” ชื่อว่ามานวินิพันธาทิฏฐิว่า “เป็นเรา”
ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและ
วัตถุนี้เป็นมานวินิพันธาทิฏฐิว่า “เป็นเรา” เป็นอาการที่ ๑ มานวินิพันธาทิฏฐิเป็น
มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ
ความยึดมั่นถือมั่นว่า “โสตะเป็นเรา” ชื่อว่ามานวินิพันธาทิฏฐิว่า “เป็นเรา”
ฯลฯ ความยึดมั่นถือมั่นว่า “ฆานะเป็นเรา” ฯลฯ “ชิวหาเป็นเรา” ฯลฯ “กาย
เป็นเรา” ฯลฯ “มโนเป็นเรา” ฯลฯ “รูปเป็นเรา” ฯลฯ “ธรรมารมณ์เป็นเรา” ฯลฯ
“จักขุวิญญาณเป็นเรา” ฯลฯ
ความยึดมั่นถือมั่นว่า “มโนวิญญาณเป็นเรา” ชื่อว่ามานวินิพันธาทิฏฐิว่า
“เป็นเรา” ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง
ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นมานวินิพันธาทิฏฐิว่า “เป็นเรา” เป็นอาการที่ ๑๘ มานวินิพันธา-
ทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ มานวินิพันธาทิฏฐิว่า
“เป็นเรา” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๘ อย่างนี้
[๑๔๕] มานวินิพันธาทิฏฐิว่า “ของเรา” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๘
อย่าง เป็นอย่างไร

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มข้อ ๑๒๕ หน้า ๑๙๓ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๑๓. อัตตวาทปฏิสังยุตตทิฏฐินิทเทส
คือ ความยึดมั่นถือมั่นว่า “จักขุของเรา” ชื่อว่ามานวินิพันธาทิฏฐิว่า “ของเรา”
ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและ
วัตถุนี้เป็นมานวินิพันธาทิฏฐิว่า “ของเรา” เป็นอาการที่ ๑ มานวินิพันธาทิฏฐิเป็น
มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ
ความยึดมั่นถือมั่นว่า “โสตะของเรา” ชื่อว่ามานวินิพันธาทิฏฐิว่า “ของเรา”
ฯลฯ ความยึดมั่นถือมั่นว่า “ฆานะของเรา” ฯลฯ “ชิวหาของเรา” ฯลฯ “มโน
ของเรา” ฯลฯ “ธรรมารมณ์ของเรา” ฯลฯ “จักขุวิญญาณของเรา” ฯลฯ
ความยึดมั่นถือมั่นว่า “มโนวิญญาณของเรา” ชื่อว่ามานวินิพันธาทิฏฐิว่า
“ของเรา” ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ฯลฯ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุก็เป็น
อย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นมานวินิพันธาทิฏฐิว่า “ของเรา” เป็นอาการที่ ๑๘
มานวินิพันธาทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ มาน-
วินิพันธาทิฏฐิว่า “ของเรา” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๘ อย่างนี้
สัญโญชนิกาทิทิฏฐินิทเทสที่ ๑๐-๑๒ จบ

๑๓. อัตตวาทปฏิสังยุตตทิฏฐินิทเทส
แสดงอัตตวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิ
[๑๔๖] อัตตวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๒๐ อย่าง
เป็นอย่างไร
คือ ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระ
อริยะ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรม
ของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็น
อัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตามีรูปบ้าง พิจารณาเห็นรูปในอัตตาบ้าง พิจารณาเห็น
อัตตาในรูปบ้าง ฯลฯ พิจารณาเห็นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ พิจารณา
เห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตามีวิญญาณบ้าง พิจารณา
เห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณบ้าง
ปุถุชนพิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้พิจารณาเห็นปฐวีกสิณ ฯลฯ พิจารณาเห็นโอทาต-
กสิณโดยความเป็นอัตตา คือ พิจารณาเห็นโอทาตกสิณและอัตตาไม่เป็นสองว่า


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๑๔. โลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐินิทเทส
“โอทาตกสิณอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด โอทาตกสิณก็อันนั้น เมื่อประทีปน้ำมัน
กำลังลุกโพลงอยู่ บุคคลพิจารณาเห็นเปลวไฟและแสงสว่างไม่เป็นสอง ฯลฯ ฉันใด
บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาเห็นโอทาตกสิณโดยความเป็น
อัตตา ฯลฯ นี้เป็นอัตตวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิมีรูปเป็นวัตถุ เป็นอาการที่ ๑ อัตตวาท-
ปฏิสังยุตตทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ อัตตวาท-
ปฏิสังยุตตทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๒๐ อย่างนี้
อัตตวาทปฏิสังยุตตทิฏฐินิทเทสที่ ๑๓ จบ

๑๔. โลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐินิทเทส
แสดงโลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิ
[๑๔๗] โลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๘ อย่าง เป็น
อย่างไร
คือ ความยึดมั่นถือมั่นว่า “อัตตาและโลกเที่ยง” ชื่อว่าโลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิ
ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างนึ่ง วัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุ
นี้เป็นโลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิ เป็นอาการที่ ๑ โลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ
ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ
ความยึดมั่นถือมั่นว่า “อัตตาและโลกไม่เที่ยง” ชื่อว่าโลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิ
ฯลฯ ความยึดมั่นถือมั่นว่า “อัตตาและโลกเที่ยงก็มี ไม่เที่ยงก็มี” ฯลฯ “อัตตาและ
โลกเที่ยงก็ไม่ใช่ ไม่เที่ยงก็ไม่ใช่” ฯลฯ “อัตตาและโลกมีที่สุดก็มี” ฯลฯ “อัตตาและ
โลกไม่มีที่สุดก็มี” ฯลฯ “อัตตาและโลกมีที่สุดก็มีไม่มีที่สุดก็มี” ฯลฯ
ความยึดมั่นถือมั่นว่า “อัตตาและโลกมีที่สุดก็ไม่ใช่ ไม่มีที่สุดก็ไม่ใช่” ชื่อว่า
โลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุก็ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุ
ก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นโลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิ เป็นอาการที่ ๘
โลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่เป็นทิฏฐิ
โลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๘ อย่างนี้
โลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐินิทเทสที่ ๑๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๑๕-๑๖. ภววิภวทิฏฐินิทเทส
๑๕-๑๖. ภววิภวทิฏฐินิทเทส
แสดงภววิภวทิฏฐิ
[๑๔๘] ความยึดมั่นด้วยการติดอยู่ เป็นภวทิฏฐิ๑ ความยึดมั่นด้วยการแล่น
เลยไป เป็นวิภวทิฏฐิ๒
อัสสาททิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๓๕ อย่าง เป็นภวทิฏฐิเท่าไร เป็น
วิภวทิฏฐิเท่าไร
อัตตานุทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๒๐ อย่าง เป็นภวทิฏฐิเท่าไร เป็น
วิภวทิฏฐิเท่าไร ฯลฯ
โลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิ มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๘ อย่าง เป็นภวทิฏฐิเท่าไร
เป็นวิภวทิฏฐิเท่าไร
คือ อัสสาททิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๓๕ อย่าง เป็นภวทิฏฐิก็มี
เป็นวิภวทิฏฐิก็มี
อัตตานุทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๒๐ อย่าง เป็นภวทิฏฐิ ๑๕ เป็น
วิภวทิฏฐิ ๕
มิจฉาทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๐ อย่าง เป็นวิภวทิฏฐิทั้งหมด
สักกายทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๒๐ อย่าง เป็นภวทิฏฐิ ๑๕ เป็น
วิภวทิฏฐิ ๕
สัสสตทิฏฐิที่มีสักกายะเป็นวัตถุมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๕ อย่าง เป็น
ภวทิฏฐิทั้งหมด
อุจเฉททิฏฐิที่มีสักกายะเป็นวัตถุมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่าง เป็น
วิภวทิฏฐิทั้งหมด
อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “โลกเที่ยง” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่าง เป็น
ภวทิฏฐิทั้งหมด

เชิงอรรถ :
๑ ภวทิฏฐิ หมายถึงสัสสตทิฏฐิ (ขุ.ป.อ. ๒/๑๔๘/๗๐)
๒ วิภวทิฏฐิ หมายถึงอุจเฉททิฏฐิ (ขุ.ป.อ. ๒/๑๔๘/๗๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๑๕-๑๖. ภววิภวทิฏฐินิทเทส
อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “โลกไม่เที่ยง” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่าง เป็น
วิภวทิฏฐิทั้งหมด
อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “โลกมีที่สุด” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่าง เป็น
ภวทิฏฐิก็มี เป็นวิภวทิฏฐิก็มี
อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “โลกไม่มีที่สุด” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่าง เป็น
ภวทิฏฐิก็มี เป็นวิภวทิฏฐิก็มี
อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน” มีความยึดมั่นด้วย
อาการ ๕ อย่าง เป็นวิภวทิฏฐิทั้งหมด
อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน” มีความยึดมั่น
ด้วยอาการ ๕ อย่าง เป็นภวทิฏฐิทั้งหมด
อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก” มีความยึดมั่น
ด้วยอาการ ๕ อย่าง เป็นภวทิฏฐิทั้งหมด
อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก” มีความยึดมั่น
ด้วยอาการ ๕ อย่าง เป็นวิภวทิฏฐิทั้งหมด
อันตัคคาหิกทิฏฐิว่า “หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีกก็มี”
มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๕ อย่าง เป็นภวทิฏฐิก็มี เป็นวิภวทิฏฐิก็มี
อปรันตานุทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๔๔ อย่าง เป็นภวทิฏฐิก็มี เป็น
วิภวทิฏฐิก็มี
สัญโญชนิกาทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๘ อย่าง เป็นภวทิฏฐิก็มี เป็น
วิภวทิฏฐิก็มี
มานวินิพันธาทิฏฐิว่า “เป็นเรา” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๘ อย่าง เป็น
วิภวทิฏฐิทั้งหมด
มานวินิพันธาทิฏฐิว่า “ของเรา” มีความยึดมั่นด้วยอาการ ๑๘ อย่าง เป็น
ภวทิฏฐิทั้งหมด


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๑๕-๑๖. ภววิภวทิฏฐินิทเทส
อัตตวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๒๐ อย่าง เป็นภว-
ทิฏฐิ ๑๕ เป็นวิภวทิฏฐิ ๕
โลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิมีความยึดมั่นด้วยอาการ ๘ อย่าง เป็นภวทิฏฐิก็มี
เป็นวิภวทิฏฐิก็มี
ทิฏฐิทั้งหมด เป็นอัตตานุทิฏฐิ เป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นสักกายทิฏฐิ เป็น
อันตัคคาหิกทิฏฐิ เป็นสัญโญชนิกาทิฏฐิ เป็นอัตตวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิ
ชนเหล่าใดกล่าวโดยการคาดคะเน
ยึดถือทิฏฐิทั้ง ๒ คือ ภวทิฏฐิและวิภวทิฏฐิ
ญาณในนิโรธย่อมไม่มีแก่ชนเหล่านั้น
สัตว์โลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก
มีสัญญาวิปริตว่าเป็นทุกข์ในนิโรธที่เป็นสุขใด
ในนิโรธนั้นไม่มีญาณ เพราะมีสัญญาวิปริต
ว่าเป็นทุกข์ ดังนี้
[๑๔๙] ภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์ผู้ถูกทิฏฐิ ๒ อย่างนี้กลุ้มรุมแล้ว
พวกหนึ่งติดอยู่ พวกหนึ่งแล่นเลยไป ส่วนผู้มีจักษุย่อมเห็น
เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่งติดอยู่ เป็นอย่างไร
คือ เทวดาและมนุษย์ผู้ชอบภพ ยินดีในภพ บันเทิงอยู่ในภพ จิตของเทวดาและ
มนุษย์เหล่านั้นย่อมแล่นเลยไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในธรรมที่เราแสดง
เพื่อความดับภพ ภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่งติดอยู่อย่างนี้
เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่งแล่นเลยไป เป็นอย่างไร
คือ เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่ง อึดอัด ระอา รังเกียจภพ ยินดีปรารถนาวิภพว่า
“ชาวเราเอ๋ย ได้ยินว่า เมื่อใด อัตตาหลังจากตายแล้วย่อมขาดสูญ พินาศไป เมื่อนั้น
อัตตาหลังจากตายแล้วย่อมไม่เกิดอีก” เพราะฉะนั้น ความไม่เกิดอีกนี้ละเอียด
ประณีตตามที่มี ภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่งแล่นเลยไปอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๑๕-๑๖. ภววิภวทิฏฐินิทเทส
ส่วนผู้มีจักษุย่อมเห็น เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเห็นภูตะ๑โดยความเป็นภูตะ ครั้นแล้วย่อมปฏิบัติ
เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับภูตะ ภิกษุทั้งหลาย ผู้มีจักษุย่อมเห็น
อย่างนี้
ถ้าภิกษุใดเห็นภูตะโดยความเป็นภูตะ
และก้าวล่วงภูตะได้แล้ว
ย่อมน้อมไปในธรรมตามความเป็นจริง
เพราะความหมดสิ้นแห่งภวตัณหา
ภิกษุนั้นกำหนดรู้ภูตะได้แล้ว
ปราศจากตัณหาในภพน้อยภพใหญ่
ย่อมไม่มาสู่ภพใหม่ เพราะไม่มีภูตะ ดังนี้
[๑๕๐] บุคคล ๓ จำพวกมีทิฏฐิวิบัติ บุคคล ๓ จำพวกมีทิฏฐิสมบัติ
บุคคลผู้มีทิฏฐิวิบัติ ๓ จำพวก ไหนบ้าง คือ
๑. เดียรถีย์
๒. สาวกของเดียรถีย์
๓. บุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ
บุคคล ๓ จำพวกนี้มีทิฏฐิวิบัติ
บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ ๓ จำพวก ไหนบ้าง คือ
๑. พระตถาคต
๒. สาวกของพระตถาคต
๓. บุคคลผู้เป็นสัมมาทิฏฐิ
บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ ๓ จำพวกนี้

เชิงอรรถ :
๑ ภูตะ ในที่นี้หมายถึงทุกข์ (ขุ.ป.อ. ๒/๑๔๙/๗๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๑๕-๑๖. ภววิภวทิฏฐินิทเทส
นรชนใดเป็นคนมักโกรธ
ผูกโกรธ มีความลบหลู่อันชั่วร้าย
มีทิฏฐิวิบัติ เจ้าเล่ห์
พึงรู้จักนรชนนั้นว่า เป็นคนเลว
นรชนใดไม่เป็นคนมักโกรธ
ไม่ผูกโกรธ ไม่ลบหลู่คุณท่าน
ถึงความเป็นผู้บริสุทธิ์ มีทิฏฐิสมบัติ มีปัญญา
พึงรู้จักนรชนนั้นว่า เป็นผู้ประเสริฐ ดังนี้
ทิฏฐิวิบัติ ๓ ประการ ทิฏฐิสมบัติ ๓ ประการ
ทิฏฐิวิบัติ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทิฏฐิวิบัติว่า “นั่นของเรา”
๒. ทิฏฐิวิบัติว่า “เราเป็นนั่น”
๓. ทิฏฐิวิบัติว่า “นั่นเป็นอัตตาของเรา”
ทิฏฐิวิบัติ ๓ ประการนี้
ทิฏฐิสมบัติ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทิฏฐิสมบัติว่า “นั่นไม่ใช่ของเรา”
๒. ทิฏฐิสมบัติว่า “เราไม่เป็นนั่น”
๓. ทิฏฐิสมบัติว่า “นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา”
ทิฏฐิสมบัติ ๓ ประการนี้
การถือว่า “นั่นของเรา” เป็นทิฏฐิอะไร เป็นทิฏฐิเท่าไร ทิฏฐิเหล่านั้นตามถือ
ส่วนสุดอันไหน
การถือว่า “เราเป็นนั่น” เป็นทิฏฐิอะไร เป็นทิฏฐิเท่าไร ทิฏฐิเหล่านั้นตามถือ
ส่วนสุดอันไหน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๑๕-๑๖. ภววิภวทิฏฐินิทเทส
การถือว่า “นั่นเป็นอัตตาของเรา” เป็นทิฏฐิอะไร เป็นทิฏฐิเท่าไร ทิฏฐิเหล่านั้น
ตามถือส่วนสุดอันไหน
การถือว่า “นั่นของเรา” เป็นปุพพันตานุทิฏฐิ เป็นทิฏฐิ ๑๘ ทิฏฐิเหล่านั้นตามถือ
ขันธ์ส่วนอดีต
การถือว่า “เราเป็นนั่น” เป็นอปรันตานุทิฏฐิ เป็นทิฏฐิ ๔๔ ทิฏฐิเหล่านั้น
ตามถือขันธ์ส่วนอนาคต
การถือว่า “นั่นเป็นอัตตาของเรา” เป็นอัตตานุทิฏฐิมีวัตถุ ๒๐ เป็นสักกาย-
ทิฏฐิมีวัตถุ ๒๐ ทิฏฐิ ๖๒ มีสักกายทิฏฐิเป็นประธาน ทิฏฐิเหล่านั้นตามถือขันธ์
ส่วนอดีตและส่วนอนาคต
[๑๕๑] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเป็นผู้มีความเชื่อในเรา
บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิเหล่านั้น
๕ จำพวกสำเร็จในโลกนี้ ๕ จำพวกละโลกนี้แล้วจึงสำเร็จ
บุคคล ๕ จำพวกไหนสำเร็จในโลกนี้ คือ

๑. สัตตักขัตตุปรมโสดาบัน๑ ๒. โกลังโกลโสดาบัน๒
๓. เอกพีชีโสดาบัน๓ ๔. พระสกทาคามี๔
๕. พระอรหันต์ในปัจจุบัน

บุคคล ๕ จำพวกนี้สำเร็จในโลกนี้

เชิงอรรถ :
๑ สัตตักขัตตุปรมโสดาบัน หมายถึงพระโสดาบันผู้ละสังโยชน์เบื้องต่ำ ๓ ประการได้แล้ว เป็นผู้ไม่ตกไปใน
อบาย ๔ มีความแน่นอนที่จะตรัสรู้มรรค ๓ เบื้องสูง (องฺ.ติก.อ. ๒/๘๓/๒๔๒) เมื่อจะเกิดในภพใหม่เป็นเทวดา
หรือมนุษย์ก็เกิดได้ไม่เกิน ๗ ครั้ง (อภิ.ปุ.(แปล) ๓๖/๓๑/๑๒๒, อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๑/๕๓)
๒ โกลังโกลโสดาบัน หมายถึงพระโสดาบันผู้เมื่อจะเกิดในภพใหม่เป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็เกิดได้ ๒ หรือ
๓ ภพ และถ้าเกิดเป็นมนุษย์ก็ไม่เกิดในตระกูลต่ำ คือเกิดในตระกูลที่มีโภคสมบัติมากเท่านั้น (อภิ.ปุ.(แปล)
๓๖/๓๑/๑๒๒-๓, อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๑/๕)
๓ เอกพีชีโสดาบัน หมายถึงผู้มีพืชคืออัตภาพเดียว คือเกิดครั้งเดียวก็จะบรรลุพระอรหันต์ (องฺ.ติก.อ.
๒/๘๘/๒๔๒, องฺ.ติก.ฏีกา ๒/๘๘/๒๓๗)
๔ พระสกทาคามี หมายถึงผู้กลับมาสู่กามภพอีกครั้งเดียวด้วยสามารถปฏิสนธิ (ขุ.ป.อ. ๒/๑๕๑/๗๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๑๕-๑๖. ภววิภวทิฏฐินิทเทส
บุคคล ๕ จำพวกไหนละโลกนี้แล้วจึงสำเร็จ คือ
๑. อันตราปรินิพพายีอนาคามีบุคคล๑
๒. อุปหัจจปรินิพพายีอนาคามีบุคคล๒
๓. อสังขารปรินิพพายีอนาคามีบุคคล๓
๔. สสังขารปรินิพพายีอนาคามีบุคคล๔
๕. อุทธังโสโตอกนิฏฐคามีอนาคามีบุคคล๕
บุคคล ๕ จำพวกนี้ละโลกนี้แล้วจึงสำเร็จ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเป็นผู้มีความเชื่อในเรา บุคคลเหล่านั้น
ทั้งหมดเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิเหล่านั้น ๕ จำพวกนี้
สำเร็จในโลกนี้ ๕ จำพวกนี้ละโลกนี้แล้วจึงสำเร็จ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง เป็นผู้มีความเลื่อมใสไม่คลอนแคลน
ในเรา บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นพระโสดาบัน พระโสดาบันเหล่านั้น ๕ จำพวก
สำเร็จในโลกนี้ ๕ จำพวกละโลกนี้แล้วจึงสำเร็จ

เชิงอรรถ :
๑ อันตราปรินิพพายีอนาคามีบุคคล หมายถึงพระอนาคามีผู้ปรินิพพานในระหว่าง คือเกิดในสุทธาวาส
ภพใดภพหนึ่งแล้ว อายุยังไม่ถึงกึ่งก็ปรินิพพาน มี ๓ จำพวก คือ พวกที่ ๑ เกิดในชั้นสุทธาวาสอวิหาซึ่ง
มีอายุ ๑,๐๐๐ กัป แต่ก็บรรลุพระอรหัตตผลในวันที่เกิด ถ้าไม่บรรลุในวันที่เกิดก็บรรลุภายใน ๑๐๐ กัป
พวกที่ ๒ เมื่อไม่สามารถบรรลุพระอรหัตตผลในวันที่เกิดก็บรรลุไม่เกินภายใน ๒๐๐ กัป พวกที่ ๓ บรรลุ
พระอรหัตตผลไม่เกินภายใน ๔๐๐ กัป (องฺ.ติก.อ. ๒/๘๘/๒๔๓)
๒ อุปหัจจปรินิพพายีอนาคามีบุคคล หมายถึงพระอนาคามีผู้เกิดในสุทธาวาสภพใดภพหนึ่งแล้วจวนถึง
ปรินิพพาน คืออายุพ้นกึ่งแล้วจวนถึงสิ้นอายุจึงปรินิพพาน (องฺ.ติก.อ. ๒/๘๘/๒๔๓)
๓ อสังขารปรินิพพายีอนาคามีบุคคล หมายถึงพระอนาคามีผู้ปรินิพพานโดยไม่ต้องใช้ความเพียรมาก
(องฺ.ติก.อ. ๒/๘๘/๒๔๓)
๔ สสังขารปรินิพพายีอนาคามีบุคคล หมายถึงพระอนาคามีผู้เกิดในสุทธาวาสภพใดภพหนึ่งแล้ว
ปรินิพพานโดยต้องใช้ความเพียรมาก (องฺ.ติก.อ. ๒/๘๘/๒๔๓)
๕ อุทธังโสโตอกนิฏฐอนาคามีบุคคล หมายถึงพระอนาคามีผู้มีกระแสในเบื้องบนไปสู่อกนิฏฐภพ คือเกิดใน
สุทธาวาสภพใดภพหนึ่งแล้วก็จะเกิดเลื่อนต่อไปจนถึงอกนิฏฐภพแล้วจึงปรินิพพานในภพนั้น (องฺ.ติก.อ.
๒/๘๘/๒๔๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๒. ทิฏฐิกถา ๑๕-๑๖. ภววิภวทิฏฐินิทเทส
บุคคล ๕ จำพวกไหนสำเร็จในโลกนี้ คือ
๑. สัตตักขัตตุปรมโสดาบัน
๒. โกลังโกลโสดาบัน
๓. เอกพีชีโสดาบัน
๔. พระสกทาคามี
๕. พระอรหันต์ในปัจจุบัน
บุคคล ๕ จำพวกนี้สำเร็จในโลกนี้
บุคคล ๕ จำพวกไหนละโลกนี้แล้วจึงสำเร็จ คือ
๑. อันตราปรินิพพายีอนาคามีบุคคล
๒. อุปหัจจปรินิพพายีอนาคามีบุคคล
๓. อสังขารปรินิพพายีอนาคามีบุคคล
๔. สสังขารปรินิพพายีอนาคามีบุคคล
๕. อุทธังโสโตอกนิฏฐคามีอนาคามีบุคคล
บุคคล ๕ จำพวกนี้ละโลกนี้แล้วจึงสำเร็จ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเป็นผู้มีความเลื่อมใสไม่คลอนแคลน
ในเรา บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นพระโสดาบัน พระโสดาบันเหล่านั้น ๕ จำพวกนี้
สำเร็จในโลกนี้ ๕ จำพวกนี้ละโลกนี้แล้วจึงสำเร็จ

ภววิภวทิฏฐินิทเทสที่ ๑๕-๑๖ จบ
ทิฏฐิกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๑. คณนวาระ
๓. อานาปานัสสติกถา
ว่าด้วยสติกำหนดลมหายใจเข้าลมหายใจออก
๑. คณนวาระ
วาระว่าด้วยการนับ
[๑๕๒] เมื่อพระโยคาวจรเจริญสมาธิที่ประกอบด้วยอานาปานสติอันมีวัตถุ
๑๖ ญาณเกินกว่า ๒๐๐ ย่อมเกิดขึ้น (คือ) ญาณในธรรมที่เป็นอันตราย ๘ ญาณ
ในธรรมที่เป็นอุปการะ ๘ ญาณในอุปกิเลส ๑๘ ญาณในโวทาน ๑๓ ญาณในการทำ
สติ ๓๒ ญาณด้วยอำนาจสมาธิ ๒๔ ญาณด้วยอำนาจวิปัสสนา ๗๒ นิพพิทาญาณ ๘
นิพพิทานุโลมญาณ ๘ นิพพิทาปฏิปัสสัทธิญาณ ๘ ญาณในวิมุตติสุข ๒๑
ญาณในธรรมที่เป็นอันตราย ๘ และญาณในธรรมที่เป็นอุปการะ ๘ เป็น
อย่างไร คือ

กามฉันทะ เป็นอันตรายต่อสมาธิ เนกขัมมะ เป็นอุปการะแก่สมาธิ
พยาบาท เป็นอันตรายต่อสมาธิ อพยาบาท เป็นอุปการะแก่สมาธิ
ถีนมิทธะ เป็นอันตรายต่อสมาธิ อาโลกสัญญา เป็นอุปการะแก่สมาธิ
อุทธัจจะ เป็นอันตรายต่อสมาธิ อวิกเขปะ เป็นอุปการะแก่สมาธิ
วิจิกิจฉา เป็นอันตรายต่อสมาธิ ธัมมววัตถาน เป็นอุปการะแก่สมาธิ
อวิชชา เป็นอันตรายต่อสมาธิ ญาณ เป็นอุปการะแก่สมาธิ
อรติ เป็นอันตรายต่อสมาธิ ปามุชชะ เป็นอุปการะแก่สมาธิ

อกุศลธรรมทั้งปวงเป็นอันตรายต่อสมาธิ กุศลธรรมทั้งปวงเป็นอุปการะแก่สมาธิ
ญาณในธรรมที่เป็นอันตราย ๘ และญาณในธรรมที่เป็นอุปการะ ๘ เหล่านี้
คณนวาระที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๒. โสฬสญาณนิทเทส
๒. โสฬสญาณนิทเทส
แสดงญาณ ๑๖
[๑๕๓] จิตที่ฟุ้งซ่านและจิตที่สงบ ย่อมดำรงอยู่ในธรรมที่มีสภาวะเดียว
และย่อมหมดจดจากนิวรณ์ด้วยอาการ ๑๖ อย่างนี้
ธรรมที่มีสภาวะเดียวเหล่านั้น อะไรบ้าง คือ
๑. เนกขัมมะ(การหลีกออกจากกาม) เป็นสภาวะเดียว
๒. อพยาบาท(ความไม่คิดร้าย) เป็นสภาวะเดียว
๓. อาโลกสัญญา(ความหมายรู้แสงสว่าง) เป็นสภาวะเดียว
๔. อวิกเขปะ(ความไม่ฟุ้งซ่าน) เป็นสภาวะเดียว
๕. ธัมมววัตถาน(การกำหนดธรรม) เป็นสภาวะเดียว
๖. ญาณ(ความรู้) เป็นสภาวะเดียว
๗. ปามุชชะ(ความปราโมทย์) เป็นสภาวะเดียว
๘. กุศลธรรมทั้งปวง เป็นสภาวะเดียว
บทว่า นิวรณ์ อธิบายว่า นิวรณ์เหล่านั้น อะไรบ้าง คือ
๑. กามฉันทะ (ความพอใจในกาม) เป็นนิวรณ์
๒. พยาบาท (ความคิดร้าย) เป็นนิวรณ์
๓. ถีนมิทธะ (ความหดหู่และเซื่องซึม) เป็นนิวรณ์
๔. อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ) เป็นนิวรณ์
๕. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) เป็นนิวรณ์
๖. อวิชชา (ความไม่รู้แจ้ง) เป็นนิวรณ์
๗. อรติ (ความไม่ยินดี) เป็นนิวรณ์
๘. อกุศลธรรมทั้งปวง เป็นนิวรณ์
บทว่า นิวรณ์ อธิบายว่า ชื่อว่านิวรณ์ เพราะมีความหมายว่าอย่างไร
คือ ชื่อว่านิวรณ์ เพราะมีความหมายว่าเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก
ธรรมเครื่องนำออกเหล่านั้น เป็นอย่างไร
คือ เนกขัมมะ เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยะและพระอริยะย่อมออก
ด้วยเนกขัมมะนั้น กามฉันทะ เป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออกและบุคคลย่อมไม่รู้จัก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๒. โสฬสญาณนิทเทส
เนกขัมมะที่เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยะ เพราะเป็นผู้ถูกกามฉันทะนั้นกั้นไว้
เพราะเหตุนั้น กามฉันทะจึงชื่อว่าเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก
อพยาบาท เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยะและพระอริยะย่อมออกด้วย
อพยาบาทนั้น พยาบาท เป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออกและบุคคลย่อมไม่รู้จัก
อพยาบาทที่เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยะ เพราะเป็นผู้ถูกพยาบาทนั้นกั้นไว้
เพราะเหตุนั้น พยาบาทจึงชื่อว่าเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก
อาโลกสัญญา เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยะและพระอริยะย่อมออก
ด้วยอาโลกสัญญานั้น ถีนมิทธะ เป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออกและบุคคลย่อม
ไม่รู้จักอาโลกสัญญาที่เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยะ เพราะเป็นผู้ถูกถีนมิทธะ
นั้นกั้นไว้ เพราะเหตุนั้น ถีนมิทธะจึงชื่อว่าเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก
อวิกเขปะ เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยะและพระอริยะย่อมออกด้วย
อวิกเขปะนั้น อุทธัจจะ เป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออกและบุคคลย่อมไม่รู้จัก
อวิกเขปะที่เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยะ เพราะเป็นผู้ถูกอุทธัจจะนั้นกั้นไว้
เพราะเหตุนั้น อุทธัจจะจึงชื่อว่าเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก
ธัมมววัตถาน เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยะและพระอริยะย่อมออก
ด้วยธัมมววัตถานนั้น วิจิกิจฉา เป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออกและบุคคลย่อม
ไม่รู้จักธัมมววัตถานที่เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยะ เพราะเป็นผู้ถูกวิจิกิจฉา
นั้นกั้นไว้ เพราะเหตุนั้น วิจิกิจฉาจึงชื่อว่าเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก
ญาณ เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยะและพระอริยะย่อมออกด้วย
ญาณนั้น อวิชชาเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออกและบุคคลย่อมไม่รู้จักญาณที่เป็น
ธรรมเครื่องนำออกของพระอริยะ เพราะเป็นผู้ถูกอวิชชานั้นกั้นไว้ เพราะเหตุนั้น
อวิชชาจึงชื่อว่าเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก
ปามุชชะ เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยะและพระอริยะย่อมออกด้วย
ปามุชชะนั้น อรติ เป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออกและบุคคลย่อมไม่รู้จักปามุชชะ
ที่เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยะ เพราะเป็นผู้ถูกอรตินั้นกั้นไว้ เพราะเหตุนั้น
อรติจึงชื่อว่าเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๓. อุปกิเลสญาณนิทเทส
กุศลธรรมแม้ทั้งปวง เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยะและพระอริยะย่อม
ออกด้วยกุศลธรรมเหล่านั้น อกุศลธรรมแม้ทั้งปวง เป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก
และบุคคลย่อมไม่รู้จักกุศลธรรมที่เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยะ เพราะเป็นผู้
ถูกอกุศลธรรมเหล่านั้นกั้นไว้ เพราะเหตุนั้น อกุศลธรรมแม้ทั้งปวงจึงชื่อว่าเป็น
เครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก
เมื่อพระโยคาวจรผู้มีจิตหมดจดจากนิวรณ์เหล่านี้ เจริญสมาธิที่ประกอบด้วย
อานาปานสติอันมีวัตถุ ๑๖ ความที่จิตตั้งมั่นเป็นไปเพียงชั่วขณะย่อมมีได้
โสฬสญาณนิทเทสที่ ๒ จบ

๓. อุปกิเลสญาณนิทเทส
แสดงญาณในอุปกิเลส
ปฐมฉักกะ
หมวดหก ที่ ๑
[๑๕๔] อุปกิเลส ๑๘ เหล่าไหนย่อมเกิดขึ้น
คือ เมื่อพระโยคาวจรใช้สติไปตามลมหายใจเข้าที่ฐานเบื้องต้น ท่ามกลาง และ
ที่สุด๑ จิตที่ถึงความฟุ้งซ่านในภายใน ย่อมเป็นอันตรายต่อสมาธิ
เมื่อพระโยคาวจรใช้สติไปตามลมหายใจออกที่ฐานเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด
จิตที่ถึงความฟุ้งซ่านในภายนอก ย่อมเป็นอันตรายต่อสมาธิ
ความเป็นไปแห่งตัณหาคือความติดใจหวังลมหายใจเข้า ย่อมเป็นอันตรายต่อ
สมาธิ
ความเป็นไปแห่งตัณหาคือความติดใจหวังลมหายใจออก ย่อมเป็นอันตรายต่อ
สมาธิ

เชิงอรรถ :
๑ ฐานเบื้องต้น หมายถึงปลายจมูกหรือริมฝีปาก ฐานท่ามกลาง หมายถึงหทัย ฐานที่สุด หมายถึงสะดือ
(ขุ.ป.อ. ๒/๑๕๔/๘๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๓. อุปกิเลสญาณนิทเทส
ความหลงในการได้ลมหายใจออกของพระโยคาวจรผู้ถูกลมหายใจเข้าครอบงำ
ย่อมเป็นอันตรายต่อสมาธิ
ความหลงในการได้ลมหายใจเข้าของพระโยคาวจรผู้ถูกลมหายใจออกครอบงำ
ย่อมเป็นอันตรายต่อสมาธิ
สติไปตามลมหายใจเข้า ๑
สติไปตามลมหายใจออก ๑
ความหวัง (ลมหายใจเข้า) ที่ฟุ้งซ่านภายใน ๑
ความหวัง (ลมหายใจออก) ที่ฟุ้งซ่านภายนอก ๑
(ความหลงในการได้ลมหายใจออก
ของพระโยคาวจรผู้ถูกลมหายใจเข้าครอบงำ ๑
ความหลงในการได้ลมหายใจเข้า
ของพระโยคาวจรผู้ถูกลมหายใจออกครอบงำ ๑)
อุปกิเลส ๖ ประการนี้เป็นอันตราย
ต่อสมาธิที่ประกอบด้วยอานาปานสติ
และเป็นเหตุให้จิตของพระโยคาวจร
ผู้หวั่นไหวไม่หลุดพ้น
พระโยคาวจรทั้งหลายยังไม่เข้าใจวิโมกข์
จึงสมควรเชื่อบุคคลอื่น ฉะนี้แล

ทุติยฉักกะ
หมวดหก ที่ ๒
[๑๕๕] เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงนิมิต จิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า นี้เป็น
อันตรายต่อสมาธิ
เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงลมหายใจเข้า จิตกวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต นี้เป็นอันตราย
ต่อสมาธิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๓. อุปกิเลสญาณนิทเทส
เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงนิมิต จิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก นี้เป็นอันตราย
ต่อสมาธิ
เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงลมหายใจออก จิตกวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต นี้เป็นอันตราย
ต่อสมาธิ
เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงลมหายใจเข้า จิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก นี้เป็น
อันตรายต่อสมาธิ
เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงลมหายใจออก จิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า นี้เป็น
อันตรายต่อสมาธิ
เมื่อคำนึงถึงนิมิต จิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า
เมื่อคำนึงถึงลมหายใจเข้า จิตกวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต
เมื่อคำนึงถึงนิมิต จิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก
เมื่อคำนึงถึงลมหายใจออก จิตกวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต
เมื่อคำนึงถึงลมหายใจเข้า จิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก
เมื่อคำนึงถึงลมหายใจออก จิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า
อุปกิเลส ๖ ประการนี้ เป็นอันตราย
ต่อสมาธิที่ประกอบด้วยอานาปานสติ
และเป็นเหตุให้จิตของพระโยคาวจร
ผู้หวั่นไหวไม่หลุดพ้น
พระโยคาวจรทั้งหลายยังไม่เข้าใจวิโมกข์
จึงสมควรเชื่อบุคคลอื่น ฉะนี้แล

ตติยฉักกะ
หมวดหก ที่ ๓
[๑๕๖] จิตที่แล่นไปในอตีตารมณ์ ตกไปข้างฝ่ายฟุ้งซ่าน ย่อมเป็นอันตราย
ต่อสมาธิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๓. อุปกิเลสญาณนิทเทส
จิตที่หวังอนาคตารมณ์ถึงความกวัดแกว่ง ย่อมเป็นอันตรายต่อสมาธิ
จิตที่หดหู่ตกไปข้างฝ่ายเกียจคร้าน ย่อมเป็นอันตรายต่อสมาธิ
จิตที่มีความเพียรกล้า ตกไปข้างฝ่ายอุทธัจจะ ย่อมเป็นอันตรายต่อสมาธิ
จิตที่น้อมรับตกไปข้างฝ่ายกำหนัด ย่อมเป็นอันตรายต่อสมาธิ
จิตที่ผละออกตกไปข้างฝ่ายพยาบาท ย่อมเป็นอันตรายต่อสมาธิ
จิตที่แล่นไปตามอตีตารมณ์
จิตที่หวังอนาคตารมณ์
จิตที่หดหู่ จิตที่มีความเพียรกล้า
จิตที่น้อมรับ จิตที่ผละออก ย่อมไม่ตั้งมั่น
อุปกิเลส ๖ ประการนี้ เป็นอันตราย
ต่อสมาธิที่ประกอบด้วยอานาปานสติ
เป็นเหตุให้บุคคลผู้มีความดำริเศร้าหมอง
ไม่รู้ชัดซึ่งอธิจิต ฉะนี้แล
[๑๕๗] เมื่อพระโยคาวจรใช้สติไปตามลมหายใจเข้าที่ฐานเบื้องต้น ท่ามกลาง
และที่สุด
กายและจิตย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะจิตถึงความฟุ้งซ่าน
ในภายใน
เมื่อพระโยคาวจรใช้สติไปตามลมหายใจออกที่ฐานเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด
กายและจิตย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะจิตถึงความฟุ้ง
ซ่านในภายนอก
กายและจิตย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะความเป็นไปแห่ง
ตัณหาคือความติดใจหวังลมหายใจเข้า
กายและจิตย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะความเป็นไปแห่ง
ตัณหาคือความติดใจหวังลมหายใจออก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๓. อุปกิเลสญาณนิทเทส
กายและจิตย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะพระโยคาวจร
ผู้ถูกลมหายใจเข้าครอบงำ เป็นผู้หลงในการได้ลมหายใจออก
กายและจิตย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะพระโยคาวจร
ผู้ถูกลมหายใจออกครอบงำ เป็นผู้หลงในการได้ลมหายใจเข้า
กายและจิตย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะพระโยคาวจร
ผู้คำนึงถึงนิมิต มีจิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า
กายและจิตย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะพระโยคาวจร
ผู้คำนึงถึงลมหายใจเข้า มีจิตกวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต
กายและจิตย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะพระโยคาวจร
ผู้คำนึงถึงนิมิต มีจิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก
กายและจิตย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะพระโยคาวจร
ผู้คำนึงถึงลมหายใจออก มีจิตกวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต
กายและจิตย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะพระโยคาวจร
ผู้คำนึงถึงลมหายใจเข้า มีจิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก
กายและจิตย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะพระโยคาวจร
ผู้คำนึงถึงลมหายใจออก มีจิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า
กายและจิตย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะจิตแล่นไปตาม
อตีตารมณ์ ตกไปข้างฝ่ายฟุ้งซ่าน
กายและจิตย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะจิตหวังอนาคตารมณ์
ถึงความกวัดแกว่ง
กายและจิตย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะจิตหดหู่ตกไป
ข้างฝ่ายเกียจคร้าน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๔. โวทานญาณนิทเทส
กายและจิตย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะจิตมีความเพียรกล้า
ตกไปข้างฝ่ายอุทธัจจะ
กายและจิตย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะจิตน้อมรับ ตกไป
ข้างฝ่ายกำหนัด
กายและจิตย่อมกระสับกระส่าย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะจิตผละออก
ตกไปข้างฝ่ายพยาบาท
ผู้ใดไม่บำเพ็ญ ไม่เจริญอานาปานสติ
กายและจิตของผู้นั้นย่อมหวั่นไหว
กายและจิตของผู้นั้นย่อมดิ้นรน
ส่วนผู้ใดบำเพ็ญ เจริญอานาปานสติดีแล้ว
กายและจิตของผู้นั้นย่อมไม่หวั่นไหว
กายและจิตของผู้นั้นย่อมไม่ดิ้นรน ฉะนี้แล
อนึ่ง เมื่อพระโยคาวจรผู้มีจิตหมดจดจากนิวรณ์เหล่านั้น เจริญสมาธิที่ประกอบ
ด้วยอานาปานสติอันมีวัตถุ ๑๖ ความที่จิตตั้งมั่นเป็นไปเพียงชั่วขณะย่อมมีได้
อุปกิเลส ๑๘ ประการนี้ย่อมเกิดขึ้น
อุปกิเลสญาณนิทเทสที่ ๓ จบ

๔. โวทานญาณนิทเทส
แสดงญาณในโวทาน
[๑๕๘] ญาณในโวทาน ๑๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. จิตที่แล่นไปตามอตีตารมณ์ ตกไปข้างฝ่ายฟุ้งซ่าน พระโยคาวจร
ละจิตนั้นแล้วตั้งจิตไว้มั่นในฐานหนึ่ง
๒. จิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่านแม้ด้วยอาการอย่างนี้
๓. จิตที่หวังอนาคตารมณ์ถึงความกวัดแกว่ง พระโยคาวจรเว้นจิตนั้น
แล้วน้อมจิตไปในฐานะนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๔. โวทานญาณนิทเทส
๔. จิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่านแม้ด้วยอาการอย่างนี้
๕. จิตที่หดหู่ ตกไปข้างฝ่ายเกียจคร้าน พระโยคาวจรยกจิตนั้นไว้แล้ว
ละความเกียจคร้าน
๖. จิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่านแม้ด้วยอาการอย่างนี้
๗. จิตที่มีความเพียรกล้า ตกไปข้างฝ่ายอุทธัจจะ พระโยคาวจรข่มจิตนั้น
แล้วละอุทธัจจะ
๘. จิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่านแม้ด้วยอาการอย่างนี้
๙. จิตน้อมรับ ตกไปข้างฝ่ายกำหนัด พระโยคาวจรรู้ทันจิตนั้นแล้ว
ละความกำหนัด
๑๐. จิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่านแม้ด้วยอาการอย่างนี้
๑๑. จิตผละออก ตกไปข้างฝ่ายพยาบาท พระโยคาวจรรู้ทันจิตนั้นแล้วละ
พยาบาท
๑๒. จิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่านแม้ด้วยอาการอย่างนี้
๑๓. จิตบริสุทธิ์ผุดผ่องถึงสภาวะเดียว ด้วยฐานะ ๖ ประการ๑นี้
ธรรมที่มีสภาวะเดียวเหล่านั้น เป็นอย่างไร
คือ ความปรากฏแห่งการบริจาคทาน เป็นสภาวะเดียว ความปรากฏแห่ง
สมถนิมิต เป็นสภาวะเดียว ความปรากฏแห่งลักษณะความเสื่อม เป็นสภาวะเดียว
ความปรากฏแห่งความดับ เป็นสภาวะเดียว ความปรากฏแห่งการบริจาคทานของ
บุคคลผู้น้อมใจไปในจาคะทั้งหลาย เป็นสภาวะเดียว ความปรากฏแห่งสมถนิมิตของ
บุคคลผู้ประกอบในอธิจิตทั้งหลาย เป็นสภาวะเดียว ความปรากฏแห่งลักษณะความ
เสื่อมของบุคคลผู้เจริญวิปัสสนาทั้งหลาย เป็นสภาวะเดียว ความปรากฏแห่งความ
ดับของพระอริยบุคคลทั้งหลาย เป็นสภาวะเดียว

เชิงอรรถ :
๑ ฐานะ ๖ ประการ หมายถึงข้อที่ ๑ กับข้อที่ ๒ จัดเป็นฐานะที่หนึ่ง, ข้อที่ ๓ กับข้อที่ ๔ จัดเป็นฐานะที่สอง,
ข้อที่ ๕ กับข้อที่ ๖ จัดเป็นฐานะที่สาม, ข้อที่ ๗ กับข้อที่ ๘ จัดเป็นฐานะที่สี่, ข้อที่ ๙ กับข้อที่ ๑๐ จัดเป็น
ฐานะที่ห้า, ข้อที่ ๑๑ กับข้อที่ ๑๒ จัดเป็นฐานะที่หก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๔. โวทานญาณนิทเทส
จิตที่ถึงสภาวะเดียวด้วยฐานะ ๔ นี้ ย่อมเป็นจิตที่มีปฏิปทาหมดจด
ผ่องใส เจริญงอกงามด้วยอุเบกขา และถึงความร่าเริงด้วยญาณ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งปฐมฌาน อะไรเป็นท่ามกลางแห่งปฐมฌาน อะไร
เป็นที่สุดแห่งปฐมฌาน
คือ ความหมดจดแห่งปฏิปทาเป็นเบื้องต้นแห่งปฐมฌาน ความเพิ่มพูน
อุเบกขาเป็นท่ามกลางแห่งปฐมฌาน ความร่าเริงเป็นที่สุดแห่งปฐมฌาน
ความหมดจดแห่งปฏิปทาที่เป็นเบื้องต้นแห่งปฐมฌาน มีลักษณะเท่าไร
คือ มีลักษณะ ๓ ประการ ได้แก่
๑. จิตหมดจดจากอันตรายแห่งฌานนั้น
๒. จิตดำเนินไปสู่สมถนิมิตอันเป็นท่ามกลาง เพราะเป็นจิตหมดจด
๓. จิตแล่นไปในสมถนิมิตนั้น เพราะเป็นจิตดำเนินไปแล้ว
จิตหมดจดจากอันตราย ๑ จิตดำเนินไปสู่สมถนิมิตอันเป็นท่ามกลาง เพราะ
เป็นจิตหมดจด ๑ จิตแล่นไปในสมถนิมิตนั้น เพราะเป็นจิตดำเนินไปแล้ว ๑ ความ
หมดจดแห่งปฏิปทาที่เป็นเบื้องต้นแห่งปฐมฌานมีลักษณะ ๓ ประการนี้ เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า ปฐมฌานเป็นฌานมีความงามในเบื้องต้นและถึงพร้อมด้วยลักษณะ
ความเพิ่มพูนอุเบกขาที่เป็นท่ามกลางแห่งปฐมฌาน มีลักษณะเท่าไร
คือ มีลักษณะ ๓ ประการ ได้แก่
๑. เพ่งเฉยจิตที่หมดจด
๒. เพ่งเฉยจิตที่ดำเนินไปในสมถะ
๓. เพ่งเฉยความปรากฏในสภาวะเดียว
ความเพิ่มพูนอุเบกขาที่เป็นท่ามกลางแห่งปฐมฌานเพ่งเฉยจิตที่หมดจด ๑
เพ่งเฉยจิตที่ดำเนินไปในสมถะ ๑ เพ่งเฉยความปรากฏในสภาวะเดียว ๑ ความเพิ่ม
พูนอุเบกขาที่เป็นท่ามกลางแห่งปฐมฌาน มีลักษณะ ๓ ประการนี้ เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า ปฐมฌานเป็นฌานมีความงามในท่ามกลางและถึงพร้อมด้วยลักษณะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๔. โวทานญาณนิทเทส
ความร่าเริงที่เป็นที่สุดแห่งปฐมฌาน มีลักษณะเท่าไร
คือ มีลักษณะ ๔ ประการ ได้แก่
๑. ความร่าเริงเพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในปฐมฌานนั้น
ไม่ล่วงเลยกัน
๒. ความร่าเริงเพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่าง
เดียวกัน
๓. ความร่าเริงเพราะมีความหมายว่านำความเพียรที่สมควรแก่ธรรมนั้น
เข้าไป
๔. ความร่าเริงเพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
ความร่าเริงที่เป็นที่สุดแห่งปฐมฌาน มีลักษณะ ๔ ประการนี้ เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า ปฐมฌานมีความงามในที่สุดและถึงพร้อมด้วยลักษณะ
จิตที่ถึงความเป็นไป ๓ ประการ มีความงาม ๓ ประการ ถึงพร้อมด้วย
ลักษณะ ๑๐ ประการอย่างนี้ ย่อมเป็นจิตที่ถึงพร้อมด้วยวิตก วิจาร ปีติ สุข
การอธิษฐานจิต สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และถึงพร้อมด้วยปัญญา
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งทุติยฌาน อะไรเป็นท่ามกลางแห่งทุติยฌาน อะไรเป็น
ที่สุดแห่งทุติยฌาน
คือ ความหมดจดแห่งปฏิปทาเป็นเบื้องต้นแห่งทุติยฌาน ความเพิ่มพูนอุเบกขา
เป็นท่ามกลางแห่งทุติยฌาน ความร่าเริงเป็นที่สุดแห่งทุติยฌาน ฯลฯ
จิตที่ถึงความเป็นไป ๓ ประการ มีความงาม ๓ ประการ ถึงพร้อมด้วย
ลักษณะ ๑๐ ประการอย่างนี้ ย่อมเป็นจิตที่ถึงพร้อมด้วยปีติ สุข การอธิษฐานจิต สัทธา
วิริยะ สติ สมาธิ และถึงพร้อมด้วยปัญญา
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งตติยฌาน อะไรเป็นท่ามกลางแห่งตติยฌาน อะไรเป็น
ที่สุดแห่งตติยฌาน ฯลฯ
จิตที่ถึงความเป็นไป ๓ ประการ มีความงาม ๓ ประการ ถึงพร้อมด้วย
ลักษณะ ๑๐ ประการอย่างนี้ ย่อมเป็นจิตที่ถึงพร้อมด้วยสุข การอธิษฐานจิต
สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และถึงพร้อมด้วยปัญญา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๔. โวทานญาณนิทเทส
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งจตุตถฌาน อะไรเป็นท่ามกลางแห่งจตุตถฌาน อะไรเป็น
ที่สุดแห่งจตุตถฌาน ฯลฯ
จิตที่ถึงความเป็นไป ๓ ประการ มีความงาม ๓ ประการ ถึงพร้อมด้วย
ลักษณะ ๑๐ ประการอย่างนี้ ย่อมเป็นจิตที่ถึงพร้อมด้วยอุเบกขา การอธิษฐานจิต
สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และถึงพร้อมด้วยปัญญา
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งอากาสานัญจายตนสมาบัติ อะไรเป็นท่ามกลางแห่ง
อากาสานัญจายตนสมาบัติ อะไรเป็นที่สุดแห่งอากาสานัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งอากิญจัญญายตนสมาบัติ ฯลฯ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ อะไรเป็นท่ามกลาง
แห่งเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ อะไรเป็นที่สุดแห่งเนวสัญญานาสัญญายตน-
สมาบัติ ฯลฯ
จิตที่ถึงความเป็นไป ๓ ประการ มีความงาม ๓ ประการ ถึงพร้อมด้วย
ลักษณะ ๑๐ ประการอย่างนี้ ย่อมเป็นจิตที่ถึงพร้อมด้วยอุเบกขา การอธิษฐานจิต
ฯลฯ และถึงพร้อมด้วยปัญญา
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งอนิจจานุปัสสนา อะไรเป็นท่ามกลางแห่งอนิจจานุปัสสนา
อะไรเป็นที่สุดแห่งอนิจจานุปัสสนา ฯลฯ
จิตที่ถึงความเป็นไป ๓ ประการ มีความงาม ๓ ประการ ถึงพร้อมด้วย
ลักษณะ ๑๐ ประการอย่างนี้ ย่อมเป็นจิตที่ถึงพร้อมด้วยวิตก วิจาร ปีติ สุข การ
อธิษฐานจิต สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และถึงพร้อมด้วยปัญญา
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งทุกขานุปัสสนา ฯลฯ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งอนัตตานุปัสสนา ฯลฯ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งนิพพิทานุปัสสนา ฯลฯ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งวิราคานุปัสสนา ฯลฯ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งนิโรธานุปัสสนา ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๔. โวทานญาณนิทเทส
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งขยานุปัสสนา ฯลฯ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งวยานุปัสสนา ฯลฯ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งวิปริณามานุปัสสนา ฯลฯ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งอนิมิตตานุปัสสนา ฯลฯ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งอัปปณิหิตานุปัสสนา ฯลฯ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งสุญญตานุปัสสนา ฯลฯ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งอธิปัญญาธัมมวิปัสสนา ฯลฯ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งยถาภูตญาณทัสสนะ ฯลฯ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งอาทีนวานุปัสสนา ฯลฯ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งปฏิสังขานุปัสสนา ฯลฯ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งวิวัฏฏนานุปัสสนา ฯลฯ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งโสดาปัตติมรรค ฯลฯ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งสกทาคามิมรรค ฯลฯ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งอนาคามิมรรค ฯลฯ
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งอรหัตตมรรค อะไรเป็นเป็นท่ามกลางแห่งอรหัตตมรรค
อะไรเป็นที่สุดแห่งอรหัตตมรรค
ความหมดจดแห่งปฏิปทาที่เป็นเบื้องต้นแห่งอรหัตตมรรค ความเพิ่มพูน
อุเบกขาที่เป็นท่ามกลางแห่งอรหัตตมรรค ความร่าเริงที่เป็นที่สุดแห่งอรหัตต-
มรรค ความหมดจดแห่งปฏิปทาที่เป็นเบื้องต้นแห่งอรหัตตมรรค มีลักษณะเท่าไร
คือ มีลักษณะ ๓ ประการ ได้แก่
๑. จิตหมดจดจากอันตรายแห่งฌานนั้น
๒. จิตดำเนินไปสู่สมถนิมิตอันเป็นท่ามกลาง เพราะเป็นจิตหมดจด
๓. จิตแล่นไปในสมถนิมิตนั้น เพราะเป็นจิตดำเนินไปแล้ว
จิตหมดจดจากอันตราย ๑ จิตดำเนินไปสู่สมถนิมิตอันเป็นท่ามกลาง เพราะ
เป็นจิตหมดจด ๑ จิตแล่นไปในสมถนิมิตนั้น เพราะเป็นจิตดำเนินไปแล้ว ๑ ความ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๔. โวทานญาณนิทเทส
หมดจดแห่งปฏิปทาที่เป็นเบื้องต้นแห่งอรหัตตมรรค มีลักษณะ ๓ ประการนี้ เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อรหัตตมรรคเป็นธรรมมีความงามในเบื้องต้น และถึงพร้อม
ด้วยลักษณะ
ความเพิ่มพูนอุเบกขาที่เป็นท่ามกลางแห่งอรหัตตมรรค มีลักษณะเท่าไร
คือ มีลักษณะ ๓ ประการ ได้แก่
๑. เพ่งเฉยจิตที่หมดจด
๒. เพ่งเฉยจิตที่ดำเนินไปในสมถะ
๓. เพ่งเฉยความปรากฏในสภาวะเดียว
ความเพิ่มพูนอุเบกขาที่เป็นท่ามกลางแห่งอรหัตตมรรคเพ่งเฉยจิตที่หมดจด ๑
เพ่งเฉยจิตที่ดำเนินไปในสมถะ ๑ เพ่งเฉยความปรากฏในสภาวะเดียว ๑ เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า อรหัตตมรรคเป็นธรรมมีความงามในท่ามกลางและถึงพร้อมด้วยลักษณะ
ความร่าเริงที่เป็นที่สุดแห่งอรหัตตมรรค มีลักษณะเท่าไร
คือ มีลักษณะ ๔ ประการ ได้แก่
๑. ความร่าเริงเพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในอรหัตตมรรค
นั้นไม่ล่วงเลยกัน
๒. ความร่าเริงเพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่าง
เดียวกัน
๓. ความร่าเริงเพราะมีความหมายว่านำความเพียรที่สมควรแก่ธรรมนั้น
เข้าไป
๔. ความร่าเริงเพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
ความร่าเริงที่เป็นที่สุดแห่งอรหัตตมรรค มีลักษณะ ๔ ประการนี้ เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า อรหัตตมรรคเป็นธรรมมีความงามในที่สุดและถึงพร้อมด้วยลักษณะ
จิตที่ถึงความเป็นไป ๓ ประการ มีความงาม ๓ ประการ ถึงพร้อมด้วย
ลักษณะ ๑๐ ประการอย่างนี้ ย่อมเป็นจิตที่ถึงพร้อมด้วยวิตก วิจาร ปีติ สุข
การอธิษฐานจิต สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และถึงพร้อมด้วยปัญญา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๔. โวทานญาณนิทเทส
[๑๕๙] นิมิต ลมหายใจเข้าหายใจออก
ไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว
เพราะไม่รู้ธรรม ๓ ประการ จึงไม่ได้ภาวนา
นิมิต ลมหายใจเข้าหายใจออก
ไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว
เพราะรู้ธรรม ๓ ประการ จึงได้ภาวนา ฉะนี้แล
ธรรม ๓ ประการนี้ ไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว เป็นธรรมไม่ปรากฏ
จิตไม่ถึงความฟุ้งซ่าน ประธานปรากฏ ให้ประโยคสำเร็จและบรรลุผลวิเศษ เป็น
อย่างไร
คือ เปรียบเหมือนต้นไม้ที่เขาวางไว้บนพื้นดินที่ราบเรียบ บุรุษใช้เลื่อยตัดต้นไม้นั้น
ตั้งสติไว้ที่ฟันเลื่อยที่ถูกต้นไม้ ไม่ได้ใส่ใจถึงฟันเลื่อยที่มาหรือที่ไป ฟันเลื่อยที่มาหรือ
ที่ไปจะไม่ปรากฏก็หามิได้ ประธานปรากฏ ให้ประโยคสำเร็จและบรรลุผลวิเศษ นิมิต
ที่ผูกจิตไว้ เหมือนต้นไม้ที่เขาวางไว้บนพื้นดินที่ราบเรียบ ลมหายใจเข้าหายใจออก
เหมือนฟันเลื่อย ภิกษุนั่งตั้งสติไว้มั่นที่ปลายจมูกหรือที่ริมฝีปาก ไม่ได้ใส่ใจถึงลม
หายใจเข้าหายใจออกที่เข้ามาหรือออกไป ลมหายใจเข้าหายใจออก ที่เข้ามาหรือ
ออกไปจะไม่ปรากฏก็หามิได้ ประธานปรากฏ ให้ประโยคสำเร็จและบรรลุผลวิเศษ
เหมือนบุรุษนั่งตั้งสติไว้ที่ฟันเลื่อยที่ถูกต้นไม้ ไม่ได้ใส่ใจถึงฟันเลื่อยที่มาหรือที่ไป
ฟันเลื่อยที่มาหรือที่ไปจะไม่ปรากฏก็หามิได้ ประธานปรากฏ ให้ประโยคสำเร็จและ
บรรลุผลวิเศษ ฉะนั้น
ประธาน เป็นอย่างไร
คือ กายและจิตของภิกษุผู้มีความเพียร ย่อมควรแก่การงาน นี้เป็นประธาน
ประโยค เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุผู้มีความเพียร ย่อมละอุปกิเลส๑ได้ วิตกย่อมสงบไป นี้เป็นประโยค

เชิงอรรถ :
๑ อุปกิเลส หมายถึงนิวรณ์ (ขุ.ป.อ. ๒/๑๕๙/๙๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๔. โวทานญาณนิทเทส
ผลวิเศษ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุผู้มีความเพียรย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมถึงความพินาศไป นี้เป็น
ผลวิเศษ
ธรรม ๓ ประการนี้ ย่อมไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียวอย่างนี้ และ
ธรรม ๓ ประการนี้จะไม่ปรากฏก็หามิได้ จิตไม่ถึงความฟุ้งซ่าน ประธานปรากฏ
ให้ประโยคสำเร็จและบรรลุผลวิเศษ
[๑๖๐] บุคคลใด ภาวนาอานาปานสติดีแล้ว บริบูรณ์แล้ว
อบรมแล้วตามลำดับ ตามสภาวะที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้
บุคคลนั้นย่อมทำโลกนี้ให้สว่างไสว
เหมือนดวงจันทร์พ้นจากหมอก ฉะนั้น
คำว่า อานะ อธิบายว่า ลมหายใจเข้า ไม่ใช่ลมหายใจออก
คำว่า อปานะ อธิบายว่า ลมหายใจออก ไม่ใช่ลมหายใจเข้า สติเข้าไปตั้ง
อยู่ที่ลมหายใจเข้าหายใจออก ผู้ใดหายใจเข้า สติย่อมปรากฏแก่ผู้นั้น ผู้ใดหายใจออก
สติย่อมปรากฏแก่ผู้นั้น
คำว่า บริบูรณ์แล้ว อธิบายว่า ชื่อว่าบริบูรณ์แล้ว เพราะมีความหมายว่าถือเอา
รอบ ชื่อว่าบริบูรณ์แล้ว เพราะมีความหมายว่ารวมไว้ ชื่อว่าบริบูรณ์แล้ว เพราะมี
ความหมายว่าเต็มรอบแล้ว
คำว่า ภาวนา...ดีแล้ว อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ
๑. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดใน
ภาวนานั้นไม่ล่วงเลยกัน
๒. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็น
อย่างเดียวกัน
๓. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่านำความเพียรที่สมควรแก่
ธรรมนั้นเข้าไป
๔. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๔. โวทานญาณนิทเทส
ความหมายแห่งภาวนา ๔ ประการนี้ เป็นอันภิกษุนั้นทำให้เป็นดุจยาน ทำให้
เป็นที่ตั้ง น้อมไป อบรมแล้ว ปรารภเสมอดีแล้ว
คำว่า ทำให้เป็นดุจยาน อธิบายว่า ภิกษุนั้นหวังในธรรมใด ๆ ย่อมเป็นผู้ถึง
ความชำนาญ มีกำลัง๑ ถึงความแกล้วกล้าในธรรมนั้น ๆ ธรรมเหล่านั้นเป็นธรรมที่
เนื่องด้วยความคำนึงถึง เนื่องด้วยความหวัง เนื่องด้วยมนสิการ เนื่องด้วยจิตตุปบาท
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ทำให้เป็นดุจยาน
คำว่า ทำให้เป็นที่ตั้ง อธิบายว่า จิตตั้งมั่นดีในวัตถุใด ๆ สติก็ปรากฏดีใน
วัตถุนั้น ๆ หรือสติปรากฏดีในวัตถุใด ๆ จิตก็ตั้งมั่นดีในวัตถุนั้น ๆ เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า ทำให้เป็นที่ตั้ง
คำว่า น้อมไป อธิบายว่า จิตน้อมไปด้วยอาการใด ๆ สติก็หมุนไปตาม (คุมอยู่)
ด้วยอาการนั้น ๆ ก็หรือว่า สติหมุนไปด้วยอาการใด ๆ จิตก็น้อมไปด้วยอาการนั้น ๆ
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า น้อมไป
คำว่า อบรมแล้ว อธิบายว่า ชื่อว่าอบรมแล้ว เพราะมีความหมายว่า
ถือเอารอบ ชื่อว่าอบรมแล้ว เพราะมีความหมายว่ารวมไว้ ชื่อว่าอบรมแล้ว เพราะมี
ความหมายว่าเต็มรอบ ภิกษุกำหนดถือเอาด้วยสติ ย่อมชนะบาปอกุศลธรรมได้
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อบรมแล้ว
คำว่า ปรารภเสมอดีแล้ว อธิบายว่า ภาวนา ๔ อย่าง ภิกษุปรารภเสมอ
ดีแล้ว คือ
๑. ปรารภเสมอดีแล้ว เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดใน
ภาวนานั้นไม่ล่วงเลยกัน
๒. ปรารภเสมอดีแล้ว เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรส
เป็นอย่างเดียวกัน
๓. ปรารภเสมอดีแล้ว เพราะมีความหมายว่านำความเพียรที่สมควร
แก่ธรรมนั้นเข้าไป

เชิงอรรถ :
๑ มีกำลัง ในที่นี้หมายถึงมีกำลังคือสมถะและวิปัสสนา (ขุ.ป.อ. ๒/๑๖๐/๙๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๔. โวทานญาณนิทเทส
๔. ปรารภเสมอดีแล้ว เพราะเพิกถอนกิเลสทั้งหลายซึ่งเป็นข้าศึกแก่
ธรรมนั้น
[๑๖๑] คำว่า เสมอดี อธิบายว่า ความเสมอก็มี ความเสมอดีก็มี
ความเสมอ เป็นอย่างไร
คือ กุศลธรรมทั้งหลายอันไม่มีโทษ เกิดในธรรมนั้น เป็นฝ่ายแห่งความตรัสรู้
นี้ชื่อว่าความเสมอ
ความเสมอดี เป็นอย่างไร
คือ ความดับอารมณ์แห่งธรรมเหล่านั้นเป็นนิพพาน นี้ชื่อว่าความเสมอดี
ก็ความเสมอและความเสมอดี ดังนี้ ภิกษุนั้นรู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้
แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ความเพียรภิกษุนั้นปรารภแล้ว ไม่ย่อหย่อน
สติตั้งมั่น ไม่หลงลืม กายสงบไม่กระสับกระส่าย จิตตั้งมั่นเป็นเอกัคคตารมณ์
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปรารภเสมอดีแล้ว
คำว่า อบรมแล้วตามลำดับ อธิบายว่า ภิกษุนั้นอบรมอานาปานสติข้อต้น ๆ
ด้วยอำนาจลมหายใจเข้ายาว ก็ชื่อว่าอบรมอานาปานสติข้อหลัง ๆ ตามลำดับ อบรม
อานาปานสติข้อต้น ๆ ด้วยอำนาจลมหายใจออกยาว ก็ชื่อว่าอบรมอานาปานสติ
ข้อหลัง ๆ ตามลำดับ อบรมอานาปานสติข้อต้น ๆ ด้วยอำนาจลมหายใจเข้าสั้น
ก็ชื่อว่าอบรมอานาปานสติข้อหลัง ๆ ตามลำดับ ฯลฯ อบรมอานาปานสติข้อต้น ๆ
ด้วยอำนาจลมหายใจเข้าสั้น ก็ชื่อว่าอบรมอานาปานสติข้อหลัง ๆ ตามลำดับ อบรม
อานาปานสติข้อต้น ๆ ด้วยอำนาจลมหายใจออกสั้น ก็ชื่อว่าอบรมอานาปานสติ
ข้อหลัง ๆ ตามลำดับ ฯลฯ อบรมอานาปานสติข้อต้น ๆ ด้วยอำนาจความ
เป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจเข้า ก็ชื่อว่าอบรมอานาปานสติข้อหลัง ๆ
ตามลำดับ อบรมอานาปานสติข้อต้น ๆ ด้วยอำนาจความเป็นผู้พิจารณาเห็นความ
สละคืนหายใจออก ก็ชื่อว่าอบรมอานาปานสติข้อหลัง ๆ ตามลำดับ อานาปานสติ
อันมีวัตถุ ๑๖ แม้ทั้งปวงอาศัยกัน ภิกษุนั้นอบรมแล้วและอบรมแล้วตามลำดับ
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อบรมแล้วตามลำดับ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๔. โวทานญาณนิทเทส
คำว่า ตามสภาวะ อธิบายว่า ตามสภาวะมีความหมาย ๑๐ อย่าง คือ
๑. ตามสภาวะที่มีความหมายว่าฝึกตน
๒. ตามสภาวะที่มีความหมายว่าสงบตน
๓. ตามสภาวะที่มีความหมายว่ายังตนให้ปรินิพพาน
๔. ตามสภาวะที่มีความหมายว่ารู้ยิ่ง
๕. ตามสภาวะที่มีความหมายว่ากำหนดรู้
๖. ตามสภาวะที่มีความหมายว่าละ
๗. ตามสภาวะที่มีความหมายว่าเจริญ
๘. ตามสภาวะที่มีความหมายว่าทำให้แจ้ง
๙. ตามสภาวะที่มีความหมายว่าตรัสรู้สัจจะ
๑๐. ตามสภาวะที่มีความหมายว่ายังตนให้ตั้งอยู่ในนิโรธ
คำว่า พระพุทธเจ้า อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคผู้ทรงเป็นพระสยัมภู ไม่มี
ครูอาจารย์ ได้ตรัสรู้สัจจะในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อนด้วยพระองค์เอง ทรงบรรลุ
ความเป็นพระสัพพัญญูในสัจจะนั้นและถึงความเป็นผู้ทรงชำนาญในพลญาณทั้งหลาย
[๑๖๒] คำว่า พระพุทธเจ้า อธิบายว่า ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะมีความ
หมายว่าอย่างไร คือ
ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะตรัสรู้สัจจะทั้งหลายแล้ว
ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะทรงทำหมู่สัตว์ให้ตรัสรู้
ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะทรงเป็นพระสัพพัญญู
ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะทรงเป็นผู้เห็นธรรมทั้งปวง
ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะไม่มีคนอื่นแนะนำ
ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะทรงเป็นผู้เบิกบาน
ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะทรงเป็นพระขีณาสพ
ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะทรงเป็นผู้ปราศจากอุปกิเลส
ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะปราศจากราคะโดยสิ้นเชิง
ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะปราศจากโทสะโดยสิ้นเชิง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๔. โวทานญาณนิทเทส
ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะปราศจากโมหะโดยสิ้นเชิง
ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะปราศจากกิเลสโดยสิ้นเชิง
ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะเสด็จถึงทางสายเอก
ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณลำพังพระองค์เดียว
ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะทรงเป็นผู้ขจัดความไม่รู้ได้แล้ว เพราะทรงเป็นผู้ได้
เฉพาะซึ่งความรู้
คำว่า พระพุทธเจ้า นี้ มิใช่พระชนนีทรงตั้ง มิใช่พระชนกทรงตั้ง มิใช่พระภาดา
ทรงตั้ง มิใช่พระภคินีทรงตั้ง มิใช่มิตรอำมาตย์ตั้ง มิใช่พระญาติสาโลหิตทรงตั้ง มิใช่
สมณพราหมณ์ตั้ง มิใช่เทวดาตั้ง
คำว่า พระพุทธเจ้า นี้ เป็นวิโมกขันติกนาม๑ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ๒ของพระ
ผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย เกิดขึ้นพร้อมกับการทรงได้เฉพาะซึ่งพระสัพพัญญุตญาณ
ที่โคนต้นโพธิ์ รวมความว่า พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น๓
คำว่า ทรงแสดงไว้ อธิบายว่า ตามสภาวะที่มีความหมายว่าฝึกตน ชื่อว่า
พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ตามสภาวะ ตามสภาวะที่มีความหมายว่าสงบตน ชื่อว่า
พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ตามสภาวะ ตามสภาวะที่มีความหมายว่ายังตนให้ปรินิพพาน
ชื่อว่าพระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ตามสภาวะ ฯลฯ ตามสภาวะที่มีความหมายว่ายังตน
ให้ตั้งอยู่ในนิโรธ ชื่อว่าพระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ตามสภาวะ
คำว่า บุคคลนั้น อธิบายว่า ผู้ที่เป็นคฤหัสถ์ หรือผู้ที่เป็นบรรพชิต
คำว่า โลก อธิบายว่า ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก วิปัตติภวโลก วิปัตติ-
สัมภวโลก สัมปัตติภวโลก สัมปัตติวิภวโลก
โลก ๑ คือ สัตว์โลกทั้งปวงดำรงอยู่ได้เพราะอาหาร ฯลฯ
โลก ๑๘ คือ ธาตุ ๑๘

เชิงอรรถ :
๑ วิโมกขันติกนาม หมายถึงพระนามที่เกิดในที่สุดแห่งอรหัตตผล (ขุ.ป.อ. ๒/๑๖๒/๑๐๐)
๒ สัจฉิกาบัญญัติ หมายถึงการทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล อีกนัยหนึ่งคือบัญญัติที่เกิดด้วยการทำให้แจ้งซึ่งธรรม
ทั้งปวง (ขุ.ป.อ. ๒/๑๖๒/๑๐๐)
๓ ขุ.ม.(แปล) ๒๙/๑๙๒/๕๕๑-๕๕๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
คำว่า ให้สว่างไสว อธิบายว่า บุคคลนั้นทำโลกนี้ให้สว่างไสว แจ่มแจ้ง เพราะ
เป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะตามสภาวะที่มีความหมายว่าฝึกตน ทำโลกนี้ให้สว่างไสว แจ่มแจ้ง
เพราะเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะตามสภาวะที่มีความหมายว่าสงบตน ทำโลกนี้ให้สว่างไสว
แจ่มแจ้ง เพราะเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะตามสภาวะที่มีความหมายว่ายังตนให้ปรินิพพาน
ฯลฯ ทำโลกนี้ให้สว่างไสว แจ่มแจ้ง เพราะเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะตามสภาวะที่มีความ
หมายว่ายังตนให้ตั้งอยู่ในนิโรธ
คำว่า เหมือนดวงจันทร์พ้นจากหมอก อธิบายว่า กิเลสเหมือนหมอก
อริยญาณเหมือนดวงจันทร์ ภิกษุเหมือนจันทิมเทพบุตร ภิกษุพ้นจากกิเลสทั้งปวง
แล้ว ทำโลกนี้ให้สว่างไสว เปล่งปลั่ง และรุ่งเรือง เหมือนดวงจันทร์พ้นจากหมอก
พ้นจากควันและธุลี พ้นจากฝ่ามือราหู ทำโอกาสโลกให้สว่างไสว เปล่งปลั่ง และ
รุ่งเรืองฉะนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เหมือนดวงจันทร์พ้นจากหมอก
ญาณในโวทาน ๑๓ ประการนี้
โวทานญาณนิทเทสที่ ๔ จบ
ภาณวารจบ

๕. สโตการิญาณนิทเทส
แสดงญาณในการทำสติ
[๑๖๓] ญาณในการทำสติ ๓๒ ประการ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในที่นี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์๑
ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า ภิกษุนั้นมีสติหายใจเข้ามีสติหายใจออก คือ
๑. เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว
๒. เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว
๓. เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้าสั้น
๔. เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าหายใจออกสั้น

เชิงอรรถ :
๑ นั่งคู้บัลลังก์ หมายถึงนั่งพับขาเข้าหากันทั้ง ๒ ข้าง ซึ่งเรียกว่า นั่งขัดสมาธิ (วิ.อ. ๑/๑๖๕/๔๔๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
๕. สำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้า”
๖. สำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจออก”
๗. สำเหนียกว่า “เราระงับกายสังขารหายใจเข้า”
๘. สำเหนียกว่า “เราระงับกายสังขารหายใจออก”
๙. สำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้ปีติหายใจเข้า”
๑๐. สำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้ปีติหายใจออก”
๑๑. สำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้สุขหายใจเข้า”
๑๒. สำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้สุขหายใจออก”
๑๓. สำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้จิตตสังขารหายใจเข้า”
๑๔. สำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้จิตตสังขารหายใจออก”
๑๕. สำเหนียกว่า “เราระงับจิตตสังขารหายใจเข้า”
๑๖. สำเหนียกว่า “เราระงับจิตตสังขารหายใจออก”
๑๗. สำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้จิตหายใจเข้า”
๑๘. สำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้จิตหายใจออก”
๑๙. สำเหนียกว่า “เราทำจิตให้บันเทิงหายใจเข้า”
๒๐. สำเหนียกว่า “เราทำจิตให้บันเทิงหายใจออก”
๒๑. สำเหนียกว่า “เราตั้งจิตไว้หายใจเข้า”
๒๒. สำเหนียกว่า “เราตั้งจิตไว้หายใจออก”
๒๓. สำเหนียกว่า “เราเปลื้องจิตหายใจเข้า”
๒๔. สำเหนียกว่า “เราเปลื้องจิตหายใจออก”
๒๕. สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงหายใจเข้า”
๒๖. สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงหายใจออก”
๒๗. สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความคลายออกได้หายใจเข้า”
๒๘. สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความคลายออกได้หายใจออก”
๒๙. สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความดับไปหายใจเข้า”
๓๐. สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความดับไปหายใจออก”
๓๑. สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความสละคืนหายใจเข้า”
๓๒. สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความสละคืนหายใจออก”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
[๑๖๔] คำว่า ในที่นี้ อธิบายว่า ในความเห็นนี้ คือ ในความถูกใจนี้ ความ
พอใจนี้ ความยึดถือนี้ ธรรมนี้ วินัยนี้ ธรรมวินัยนี้ ปาพจน์นี้ พรหมจรรย์นี้
สัตถุศาสน์นี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ในที่นี้
คำว่า ภิกษุ อธิบายว่า ภิกษุผู้เป็นกัลยาณปุถุชน พระเสขะ หรือเป็น
พระอรหันต์ ผู้มีธรรมไม่กำเริบ
คำว่า ป่า อธิบายว่า สถานที่ทุกแห่งนอกจากเสาเขื่อนออกไป สถานที่นั้น
ทั้งหมด ชื่อว่าป่า
คำว่า โคนไม้ อธิบายว่า อาสนะของภิกษุซึ่งจัดไว้ที่โคนไม้ คือ เตียง ตั่ง ฟูก
เสื่ออ่อน ท่อนหนัง เครื่องลาดทำด้วยหญ้า เครื่องลาดทำด้วยใบไม้ หรือเครื่องลาด
ทำด้วยฟาง ภิกษุยืน เดิน นั่ง หรือนอนที่อาสนะนั้น
คำว่า ว่าง อธิบายว่า เป็นสถานที่ไม่พลุกพล่านด้วยใคร ๆ จะเป็นคฤหัสถ์
หรือบรรพชิต
คำว่า เรือน อธิบายว่า วิหาร โรงที่มุงไว้ครึ่งหนึ่ง ปราสาท เรือนโล้น ถ้ำ
คำว่า นั่งคู้บัลลังก์ อธิบายว่า ภิกษุนั้นเป็นผู้นั่งคู้บัลลังก์
คำว่า ตั้งกายตรง อธิบายว่า กายเป็นกายที่ภิกษุนั้นตั้งไว้ตรง
คำว่า เฉพาะ ในคำว่า ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า มีการกำหนดถือเอาเป็นอรรถ
คำว่า หน้า มีการนำออกเป็นอรรถ คำว่า สติ มีการเข้าไปตั้งไว้เป็นอรรถ
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า
[๑๖๕] คำว่า มีสติ หายใจเข้า อธิบายว่า ภิกษุทำสติโดยอาการ ๓๒ อย่าง
คือ ภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจเข้ายาว
สติย่อมตั้งมั่น ชื่อว่าเป็นผู้ทำสติด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เมื่อรู้ความที่จิตเป็น
เอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจออกยาว สติย่อมตั้งมั่น ชื่อว่าเป็น
ผู้ทำสติด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่าน
ด้วยอำนาจลมหายใจเข้าสั้น สติย่อมตั้งมั่น ชื่อว่าเป็นผู้ทำสติด้วยสตินั้น ด้วย
ญาณนั้น เมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจ
ออกสั้น สติย่อมตั้งมั่น ชื่อว่าเป็นผู้ทำสติด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น ฯลฯ เมื่อรู้ความ
ที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจความเป็นผู้พิจารณาเห็นความ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
สละคืนหายใจเข้า สติย่อมตั้งมั่น ฯลฯ เมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่าน
ด้วยอำนาจความเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจออก สติย่อมตั้งมั่น ชื่อว่า
เป็นผู้ทำสติด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น

ปฐมจตุกกนิทเทส
แสดงหมวด ๔ แห่งญาณที่ ๑
[๑๖๖] ภิกษุเมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออก
ยาวก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุหายใจเข้ายาวในกาลที่นับว่ายาว หายใจออกยาวในกาลที่นับว่ายาว
หายใจเข้าหายใจออกยาวในกาลที่นับว่ายาว ฉันทะเกิดขึ้นแก่เธอผู้ทั้งหายใจเข้า
หายใจออกยาวในกาลที่นับว่ายาว
หายใจเข้ายาวที่ละเอียดกว่านั้นด้วยอำนาจฉันทะในกาลที่นับว่ายาว หายใจ
ออกยาวละเอียดกว่านั้นด้วยอำนาจฉันทะในกาลที่นับว่ายาว เธอทั้งหายใจเข้า
หายใจออกยาวที่ละเอียดกว่านั้นด้วยอำนาจฉันทะในกาลที่นับว่ายาว ความปราโมทย์
เกิดขึ้นแก่เธอผู้ทั้งหายใจเข้าหายใจออกยาวที่ละเอียดกว่านั้น ด้วยอำนาจฉันทะ
ในกาลที่นับว่ายาว
หายใจเข้ายาวละเอียดกว่านั้นด้วยอำนาจความปราโมทย์ ในกาลที่นับว่ายาว
หายใจออกยาวละเอียดกว่านั้นด้วยอำนาจความปราโมทย์ในกาลที่นับว่ายาว หาย
ใจเข้าหายใจออกยาวละเอียดกว่านั้นด้วยอำนาจความปราโมทย์ในกาลที่นับว่ายาว
จิตของเธอผู้ทั้งหายใจเข้าหายใจออกยาวที่ละเอียดกว่านั้น ด้วยอำนาจความ
ปราโมทย์ในกาลที่นับว่ายาว ย่อมหลีกออกจากการหายใจเข้าหายใจออกยาว
อุเบกขาย่อมตั้งอยู่
กายคือลมหายใจเข้าหายใจออกยาวด้วยอาการ ๙ อย่างนี้ ย่อมปรากฏ
ความปรากฏเป็นสติ กายย่อมปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย
ภิกษุพิจารณาเห็นกายนั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
สติปัฏฐานภาวนาคือการพิจารณาเห็นกายในกาย


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
[๑๖๗] คำว่า พิจารณาเห็น อธิบายว่า ภิกษุพิจารณาเห็นกายนั้นอย่างไร
คือ พิจารณาเห็นโดยความไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเที่ยง พิจารณา
เห็นโดยความเป็นทุกข์ ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นสุข พิจารณาเห็นโดยความ
เป็นอนัตตา ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อม
คลายกำหนัด ไม่กำหนัด ย่อมทำราคะให้ดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ยึดถือ
เมื่อพิจารณาเห็นโดยความไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดย
ความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละ
อัตตสัญญาได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละนันทิ(ความยินดี)ได้ เมื่อคลายกำหนัด
ย่อมละราคะได้ เมื่อทำราคะให้ดับ ย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืน ย่อมละอาทานะ
(ความยึดถือ)ได้ ภิกษุนั้นพิจารณาเห็นกายนั้นอย่างนี้
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ
๑. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนา
นั้นไม่ล่วงเลยกัน
๒. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่าง
เดียวกัน
๓. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่านำความเพียรที่สมควรแก่
ธรรมเข้าไป
๔. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจเข้า
หายใจออกยาว เวทนาจึงปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความ
ดับไป สัญญาจึงปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไป วิตกจึง
ปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไป
เวทนาย่อมปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไปอย่างไร
ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาย่อมปรากฏ อย่างไร
คือ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาย่อมปรากฏโดยความเกิดขึ้นแห่งปัจจัยว่า “เพราะ
อวิชชาเกิด เวทนาจึงเกิด” ... “เพราะตัณหาเกิด เวทนาจึงเกิด” ... “เพราะกรรมเกิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
เวทนาจึงเกิด” ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาย่อมปรากฏโดยความเกิดขึ้นแห่งปัจจัยว่า
“เพราะผัสสะเกิด เวทนาจึงเกิด” แม้เมื่อเห็นลักษณะแห่งความเกิดขึ้น ความเกิดขึ้น
แห่งเวทนาก็ย่อมปรากฏ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาย่อมปรากฏอย่างนี้
ความเข้าไปตั้งอยู่แห่งเวทนาย่อมปรากฏ อย่างไร
คือ เมื่อภิกษุมนสิการโดยความไม่เที่ยง ความเข้าไปตั้งอยู่โดยความสิ้นไป
ย่อมปรากฏ เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ความเข้าไปตั้งอยู่โดยความเป็นภัย
ย่อมปรากฏ เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ความเข้าไปตั้งอยู่โดยสุญญตะ
(ความว่าง) ย่อมปรากฏ ความเข้าไปตั้งอยู่แห่งเวทนาย่อมปรากฏอย่างนี้
ความดับไปแห่งเวทนาย่อมปรากฏ อย่างไร
คือ ความดับไปแห่งเวทนา ย่อมปรากฏโดยความดับไปแห่งปัจจัยว่า “เพราะ
อวิชชาดับ เวทนาจึงดับ” ... “เพราะตัณหาดับ เวทนาจึงดับ” ... “เพราะกรรมดับ
เวทนาจึงดับ” ความดับไปแห่งเวทนา ย่อมปรากฏโดยความดับไปแห่งปัจจัยว่า
“เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ” แม้เมื่อเห็นลักษณะแห่งความแปรผัน ความดับ
ไปแห่งเวทนาก็ย่อมปรากฏ ความดับไปแห่งเวทนาย่อมปรากฏอย่างนี้ เวทนาย่อม
ปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไปอย่างนี้
สัญญาย่อมปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไปอย่างไร
ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาย่อมปรากฏ อย่างไร
คือ ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาย่อมปรากฏโดยความเกิดขึ้นแห่งปัจจัยว่า “เพราะ
อวิชชาเกิด สัญญาจึงเกิด” ... “เพราะตัณหาเกิด สัญญาจึงเกิด” ... “เพราะกรรมเกิด
สัญญาจึงเกิด” ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาย่อมปรากฏโดยความเกิดขึ้นแห่งปัจจัยว่า
“เพราะผัสสะเกิด สัญญาจึงเกิด” ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาย่อมปรากฏอย่างนี้
ความเข้าไปตั้งอยู่แห่งสัญญาย่อมปรากฏ อย่างไร
คือ เมื่อภิกษุมนสิการโดยความไม่เที่ยง ความเข้าไปตั้งอยู่โดยความสิ้นไปย่อม
ปรากฏ เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ความเข้าไปตั้งอยู่โดยความเป็นภัยย่อม
ปรากฏ เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ความเข้าไปตั้งอยู่โดยสุญญตะย่อม
ปรากฏ ความเข้าไปตั้งอยู่แห่งสัญญาย่อมปรากฏอย่างนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
ความดับไปแห่งสัญญาย่อมปรากฏ อย่างไร
คือ ความดับไปแห่งสัญญาย่อมปรากฏโดยความดับไปแห่งปัจจัยว่า “เพราะ
อวิชชาดับ สัญญาจึงดับ” ... “เพราะตัณหาดับ สัญญาจึงดับ” ... “เพราะกรรมดับ
สัญญาจึงดับ” ความดับไปแห่งสัญญาย่อมปรากฏโดยความดับไปแห่งปัจจัยว่า
“เพราะผัสสะดับ สัญญาจึงดับ” แม้เมื่อเห็นลักษณะแห่งความแปรผัน ความดับ
ไปแห่งสัญญาย่อมปรากฏ ความดับไปแห่งสัญญาย่อมปรากฏอย่างนี้ สัญญาย่อม
ปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไปอย่างนี้
วิตกย่อมปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไปอย่างไร
ความเกิดขึ้นแห่งวิตกย่อมปรากฏ อย่างไร
คือ ความเกิดขึ้นแห่งวิตกย่อมปรากฏโดยความเกิดขึ้นแห่งปัจจัยว่า “เพราะ
อวิชชาเกิด วิตกจึงเกิด” ... “เพราะตัณหาเกิด วิตกจึงเกิด” ... “เพราะกรรมเกิด
วิตกจึงเกิด” ความเกิดขึ้นแห่งวิตกย่อมปรากฏโดยความเกิดขึ้นแห่งปัจจัยว่า “เพราะ
สัญญาเกิด วิตกจึงเกิด” แม้เมื่อเห็นลักษณะแห่งความเกิดขึ้น ความเกิดขึ้นแห่ง
วิตกก็ย่อมปรากฏ ความเกิดขึ้นแห่งวิตกย่อมปรากฏอย่างนี้
ความเข้าไปตั้งอยู่แห่งวิตกย่อมปรากฏ อย่างไร
คือ เมื่อมนสิการโดยความไม่เที่ยง ความเข้าไปตั้งอยู่โดยความสิ้นไปย่อม
ปรากฏ เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ความเข้าไปตั้งอยู่โดยความเป็นภัยย่อม
ปรากฏ เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ความเข้าไปตั้งอยู่โดยสุญญตะย่อม
ปรากฏ ความเข้าไปตั้งอยู่แห่งวิตกย่อมปรากฏอย่างนี้
ความดับไปแห่งวิตกย่อมปรากฏ อย่างไร
คือ ความดับไปแห่งวิตกย่อมปรากฏโดยความเกิดขึ้นแห่งปัจจัยว่า “เพราะ
อวิชชาดับ วิตกจึงดับ” ... “เพราะตัณหาดับ วิตกจึงดับ” ... “เพราะกรรมดับ
วิตกจึงดับ” ความดับไปแห่งวิตกย่อมปรากฏโดยความเกิดขึ้นแห่งปัจจัยว่า “เพราะ
สัญญาดับ วิตกจึงดับ” แม้เมื่อเห็นลักษณะความแปรผัน ความดับไปแห่งวิตกก็
ย่อมปรากฏ ความดับไปแห่งวิตกย่อมปรากฏอย่างนี้ วิตกย่อมปรากฏเกิดขึ้น
ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไปอย่างนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
[๑๖๘] ภิกษุเมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลม
หายใจเข้าหายใจออกยาว ย่อมให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง รู้ชัดโคจรและรู้แจ้งธรรม
อันมีความสงบเป็นประโยชน์ ให้พละทั้งหลายประชุมลง ... ให้โพชฌงค์ทั้งหลาย
ประชุมลง ... ให้มรรคประชุมลง ... ให้ธรรมทั้งหลายประชุมลง รู้ชัดโคจร และรู้แจ้ง
ธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์
คำว่า ให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง อธิบายว่า ภิกษุให้อินทรีย์ทั้งหลาย
ประชุมลงอย่างไร
คือ ภิกษุให้สัทธินทรีย์ประชุมลง เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ ให้วิริยินทรีย์ประชุมลง
เพราะมีสภาวะประคองไว้ ให้สตินทรีย์ประชุมลง เพราะมีสภาวะเข้าไปตั้งไว้ ให้
สมาธินทรีย์ประชุมลง เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ให้ปัญญินทรีย์ประชุมลง เพราะมี
สภาวะเห็น บุคคลนี้๑ให้อินทรีย์เหล่านี้ประชุมลงในอารมณ์นี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึง
กล่าวว่า “ให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง”
คำว่า รู้ชัดโคจร อธิบายว่า รู้ชัดสิ่งที่เป็นอารมณ์ของบุคคลนั้นว่าเป็นโคจร
แห่งธรรมนั้น รู้ชัดสิ่งที่เป็นโคจรของบุคคลนั้นว่าเป็นอารมณ์แห่งธรรมนั้น
คำว่า รู้ชัด อธิบายว่า บุคคลผู้รู้ชัด คือผู้มีปัญญา
คำว่า สงบ อธิบายว่า อารมณ์ปรากฏเป็นความสงบ จิตไม่ฟุ้งซ่านเป็นความ
สงบ จิตตั้งมั่นเป็นความสงบ จิตผ่องแผ้วเป็นความสงบ
คำว่า ประโยชน์ อธิบายว่า สภาวะที่ไม่มีโทษเป็นประโยชน์ สภาวะที่ไม่มี
กิเลสเป็นประโยชน์ สภาวะที่มีความผ่องแผ้วเป็นประโยชน์ สภาวะที่ประเสริฐเป็น
ประโยชน์
คำว่า รู้แจ้ง อธิบายว่า รู้แจ้งสภาวะที่อารมณ์ปรากฏ รู้แจ้งสภาวะที่จิตไม่
ฟุ้งซ่าน รู้แจ้งสภาวะที่จิตตั้งมั่น รู้แจ้งสภาวะที่จิตผ่องแผ้ว เพราะเหตุนั้น ท่านจึง
กล่าวว่า “และรู้แจ้งธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์”
คำว่า ให้พละทั้งหลายประชุมลง อธิบายว่า ภิกษุให้พละทั้งหลายประชุมลง
อย่างไร

เชิงอรรถ :
๑ บุคคลนี้ หมายถึงพระโยคาวจรผู้ประกอบอานาปานสติภาวนา (ขุ.ป.อ. ๒/๑๖๘/๑๒๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
คือ ภิกษุให้สัทธาพละประชุมลง เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มี
ศรัทธา ให้วิริยพละประชุมลง เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน
ให้สติพละประชุมลง เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะความประมาท ให้สมาธิพละ
ประชุมลง เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ ให้ปัญญาพละประชุมลง
เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา บุคคลนี้ให้พละเหล่านี้ประชุมลงในอารมณ์นี้
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ให้พละทั้งหลายประชุมลง”
คำว่า รู้ชัดโคจร อธิบายว่า ฯลฯ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “และรู้แจ้ง
ธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์”
คำว่า ให้โพชฌงค์ทั้งหลายประชุมลง อธิบายว่า ภิกษุให้โพชฌงค์ทั้งหลาย
ประชุมลงอย่างไร
คือ ภิกษุให้สติสัมโพชฌงค์ประชุมลง เพราะมีสภาวะเข้าไปตั้งไว้ ให้ธัมม-
วิจยสัมโพชฌงค์ประชุมลง เพราะมีสภาวะเลือกเฟ้น ให้วิริยสัมโพชฌงค์ประชุมลง
เพราะมีสภาวะประคองไว้ ให้ปีติสัมโพชฌงค์ประชุมลง เพราะมีสภาวะแผ่ซ่านไป
ให้ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ประชุมลง เพราะมีสภาวะสงบ ให้สมาธิสัมโพชฌงค์ประชุมลง
เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ให้อุเบกขาสัมโพชฌงค์ประชุมลง เพราะมีสภาวะพิจารณา
บุคคลนี้ให้โพชฌงค์เหล่านี้ประชุมลงในอารมณ์นี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
“ให้โพชฌงค์ทั้งหลายประชุมลง”
คำว่า รู้ชัดโคจร อธิบายว่า ฯลฯ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “และรู้แจ้ง
ธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์”
คำว่า ให้มรรคประชุมลง อธิบายว่า ภิกษุให้มรรคประชุมลงอย่างไร
คือ ภิกษุให้สัมมาทิฏฐิประชุมลง เพราะมีสภาวะเห็น ให้สัมมาสังกัปปะประชุม
ลง เพราะมีสภาวะตรึกตรอง ให้สัมมาวาจาประชุมลง เพราะมีสภาวะกำหนด ให้
สัมมากัมมันตะประชุมลง เพราะมีสภาวะเกิดขึ้น ให้สัมมาอาชีวะประชุมลง เพราะมี
สภาวะผ่องแผ้ว ให้สัมมาวายามะประชุมลง เพราะมีสภาวะประคองไว้ ให้สัมมาสติ
ประชุมลง เพราะมีสภาวะเข้าไปตั้งไว้ ให้สัมมาสมาธิประชุมลง เพราะมีสภาวะไม่
ฟุ้งซ่าน บุคคลนี้ให้มรรคนี้ประชุมลงในอารมณ์นี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
“ให้มรรคประชุมลง”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
คำว่า รู้ชัดโคจร อธิบายว่า ฯลฯ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “และรู้แจ้ง
ธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์”
คำว่า ให้ธรรมทั้งหลายประชุมลง อธิบายว่า ภิกษุให้ธรรมทั้งหลาย
ประชุมลงอย่างไร
คือ ภิกษุให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ให้พละ
ทั้งหลายประชุมลง เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหว ให้โพชฌงค์ทั้งหลายประชุมลง
เพราะมีสภาวะเป็นธรรมเครื่องนำออก ให้มรรคประชุมลง เพราะมีสภาวะเป็นเหตุ
ให้สติปัฏฐานประชุมลง เพราะมีสภาวะเข้าไปตั้งไว้ ให้สัมมัปปธานประชุมลง
เพราะมีสภาวะเริ่มตั้งความเพียร ให้อิทธิบาทประชุมลง เพราะมีสภาวะให้สำเร็จ
ให้สัจจะประชุมลง เพราะมีสภาวะเป็นของแท้ ให้สมถะประชุมลง เพราะมีสภาวะ
ไม่ฟุ้งซ่าน ให้วิปัสสนาประชุมลง เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น ให้สมถะและ
วิปัสสนาประชุมลง เพราะมีสภาวะเป็นธรรมมีรสเป็นอย่างเดียวกัน ให้ธรรมเป็นคู่กัน
ประชุมลง เพราะมีสภาวะไม่ล่วงเลยกัน ให้สีลวิสุทธิประชุมลง เพราะมีสภาวะสำรวม
ให้จิตตวิสุทธิประชุมลง เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ให้ทิฏฐิวิสุทธิประชุมลง เพราะ
มีสภาวะเห็น ให้วิโมกข์ประชุมลง เพราะมีสภาวะหลุดพ้น ให้วิชชาประชุมลง
เพราะมีสภาวะแทงตลอด ให้วิมุตติประชุมลง เพราะมีสภาวะสละ ให้ญาณใน
ความสิ้นไปประชุมลง เพราะมีสภาวะตัดขาด ให้อนุปปาทญาณประชุมลง เพราะมี
สภาวะระงับ ให้ฉันทะประชุมลง เพราะมีสภาวะเป็นมูล ให้มนสิการประชุมลง
เพราะมีสภาวะเป็นสมุฏฐาน ให้ผัสสะประชุมลง เพราะมีสภาวะเป็นที่ประชุม
ให้เวทนาประชุมลง เพราะมีสภาวะเป็นที่รวม ให้สมาธิประชุมลง เพราะมีสภาวะ
เป็นประธาน ให้สติประชุมลงเพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ให้สติสัมปชัญญะประชุมลง
เพราะมีสภาวะเป็นธรรมที่ยิ่งกว่านั้น ให้วิมุตติประชุมลง เพราะมีสภาวะเป็นแก่นสาร
ให้ธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพานประชุมลง เพราะมีสภาวะเป็นที่สุด บุคคลนี้
ให้ธรรมเหล่านี้ประชุมลงในอารมณ์นี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ให้ธรรม
ทั้งหลายประชุมลง”
คำว่า รู้ชัดโคจร อธิบายว่า รู้ชัดสิ่งที่เป็นอารมณ์ของบุคคลนั้นว่าเป็นโคจร
ของบุคคลนั้น รู้ชัดสิ่งที่เป็นโคจรของบุคคลนั้นว่าเป็นอารมณ์ของบุคคลนั้น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
คำว่า รู้ชัด อธิบายว่า บุคคลผู้รู้ชัด คือผู้มีปัญญา
คำว่า สงบ อธิบายว่า อารมณ์ปรากฏเป็นความสงบ จิตไม่ฟุ้งซ่านเป็น
ความสงบ จิตตั้งมั่นเป็นความสงบ จิตผ่องแผ้วเป็นความสงบ
คำว่า ประโยชน์ อธิบายว่า สภาวะที่ไม่มีโทษเป็นประโยชน์ สภาวะที่ไม่มี
กิเลสเป็นประโยชน์ สภาวะที่มีความผ่องแผ้วเป็นประโยชน์ สภาวะที่ประเสริฐเป็น
ประโยชน์
คำว่า รู้แจ้ง อธิบายว่า รู้แจ้งสภาวะที่อารมณ์ปรากฏ รู้แจ้งสภาวะที่จิตไม่
ฟุ้งซ่าน รู้แจ้งสภาวะที่จิตตั้งมั่น รู้แจ้งสภาวะที่จิตผ่องแผ้ว เพราะเหตุนั้น ท่านจึง
กล่าวว่า “และรู้แจ้งธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์” (๑)
[๑๖๙] ภิกษุเมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ชัดว่าหายใจเข้าสั้น เมื่อหายใจออก
สั้นก็รู้ชัดว่าหายใจออกสั้น อย่างไร
คือ ภิกษุหายใจเข้าสั้นในกาลที่นับได้นิดหน่อย หายใจออกสั้นในกาลที่นับได้
นิดหน่อย เธอทั้งหายใจเข้าหายใจออกสั้นในกาลที่นับได้นิดหน่อย ฉันทะเกิดขึ้นแก่
เธอผู้ทั้งหายใจเข้าหายใจออกสั้นในกาลที่นับได้นิดหน่อย
หายใจเข้าสั้นละเอียดกว่านั้นด้วยอำนาจฉันทะในกาลที่นับได้นิดหน่อย หายใจ
ออกสั้นละเอียดกว่านั้นด้วยอำนาจฉันทะในกาลที่นับได้นิดหน่อย เธอทั้งหายใจเข้า
หายใจออกสั้นละเอียดกว่านั้นด้วยอำนาจฉันทะในกาลที่นับได้นิดหน่อย ความ
ปราโมทย์ย่อมเกิดแก่เธอผู้ทั้งหายใจเข้าหายใจออกสั้นละเอียดกว่านั้นด้วยอำนาจฉันทะ
ในกาลที่นับได้นิดหน่อย
หายใจเข้าสั้นละเอียดกว่านั้นด้วยอำนาจความปราโมทย์ในกาลที่นับได้
นิดหน่อย หายใจออกสั้นละเอียดกว่านั้นด้วยอำนาจความปราโมทย์ในกาลที่นับได้
นิดหน่อย เธอทั้งหายใจเข้าหายใจออกสั้นละเอียดกว่านั้นด้วยอำนาจความ
ปราโมทย์ในกาลที่นับได้นิดหน่อย จิตของเธอผู้ทั้งหายใจเข้าหายใจออกสั้นละเอียด
กว่านั้นด้วยอำนาจความปราโมทย์ในกาลที่นับได้นิดหน่อย ย่อมหลีกออกจากการ
หายใจเข้า หายใจออกสั้น อุเบกขาย่อมตั้งอยู่


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
กายคือลมหายใจเข้าหายใจออกสั้นด้วยอาการ ๙ อย่างนี้ ย่อมปรากฏ
ความปรากฏเป็นสติ การพิจารณาเห็นเป็นญาณ กายย่อมปรากฏ ไม่ใช่สติ สติ
ปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นกายนั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “สติปัฏฐานภาวนาคือการพิจารณาเห็นกายในกาย”
คำว่า พิจารณาเห็น อธิบายว่า ภิกษุพิจารณาเห็นกายนั้นอย่างไร ฯลฯ
พิจารณาเห็นกายนั้นอย่างนี้
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา เพราะ
มีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจเข้า
หายใจออกสั้น เวทนาจึงปรากฏเกิดขึ้น ฯลฯ ภิกษุเมื่อรู้ความที่จิตเป็น
เอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจเข้าหายใจออกสั้น ย่อมให้อินทรีย์
ทั้งหลายประชุมลง ฯลฯ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “และรู้แจ้งธรรมอันมี
ความสงบเป็นประโยชน์” (๒)
[๑๗๐] ภิกษุสำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้า”
สำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจออก” อย่างไร
คำว่า กาย อธิบายว่า กายมี ๒ อย่าง คือ
๑. นามกาย
๒. รูปกาย
นามกาย เป็นอย่างไร
คือ เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ นาม นามกายและสิ่งที่เรียกว่า
จิตตสังขาร นี้ชื่อว่านามกาย
รูปกาย เป็นอย่างไร
คือ มหาภูตรูป ๔ รูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ ลมหายใจเข้าหายใจออก นิมิต
และสิ่งที่เนื่องกันซึ่งเรียกว่า กายสังขาร นี้ชื่อว่ารูปกาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
กายเหล่านั้นย่อมปรากฏ อย่างไร
คือ เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจ
เข้ายาว สติย่อมตั้งมั่น กายเหล่านั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เมื่อรู้
ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจออกยาว สติย่อม
ตั้งมั่น กายเหล่านั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เมื่อรู้ความที่จิตเป็น
เอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจเข้าสั้น สติย่อมตั้งมั่น กายเหล่านั้น
ย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่าน
ด้วยอำนาจลมหายใจออกสั้น สติย่อมตั้งมั่น กายเหล่านั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น
ด้วยญาณนั้น
เมื่อคำนึงถึง กายเหล่านั้นย่อมปรากฏ เมื่อรู้ กายเหล่านั้นย่อมปรากฏ เมื่อ
เห็น กายเหล่านั้นย่อมปรากฏ เมื่อพิจารณา กายเหล่านั้นย่อมปรากฏ เมื่ออธิษฐาน
จิต กายเหล่านั้นย่อมปรากฏ เมื่อน้อมใจเชื่อด้วยศรัทธา กายเหล่านั้นย่อมปรากฏ
เมื่อประคองความเพียร กายเหล่านั้นย่อมปรากฏ เมื่อตั้งสติไว้มั่น กายเหล่านั้น
ย่อมปรากฏ เมื่อตั้งจิตไว้มั่น กายเหล่านั้นย่อมปรากฏ เมื่อรู้ชัดด้วยปัญญา กาย
เหล่านั้นย่อมปรากฏ เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กายเหล่านั้นย่อมปรากฏ เมื่อกำหนดรู้
ธรรมที่ควรกำหนดรู้ กายเหล่านั้นย่อมปรากฏ เมื่อละธรรมที่ควรละ กายเหล่านั้น
ย่อมปรากฏ เมื่อเจริญธรรมที่ควรเจริญ กายเหล่านั้นย่อมปรากฏ เมื่อทำให้แจ้ง
ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง กายเหล่านั้นย่อมปรากฏ กายเหล่านั้นย่อมปรากฏอย่างนี้
กายคือความเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจเข้าหายใจออกย่อมปรากฏ ความ
ปรากฏเป็นสติ การพิจารณาเห็นเป็นญาณ กายย่อมปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏ
ด้วย เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นกายนั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “สติปัฏฐานภาวนาคือการพิจารณาเห็นกายในกาย”
คำว่า พิจารณาเห็น อธิบายว่า ภิกษุพิจารณาเห็นกายนั้นอย่างไร ฯลฯ
พิจารณาเห็นกายนั้นอย่างนี้
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา
เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเป็นผู้รู้ชัดกองลมทั้งปวงระวังลมหายใจ
เข้าหายใจออก ชื่อว่าจิตตวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าทิฏฐิ-
วิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเห็น
บรรดาความสำรวม ความไม่ฟุ้งซ่านและความเห็นนั้น ความสำรวม ชื่อว่า
อธิสีลสิกขา ความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าอธิจิตตสิกขา ความเห็น ชื่อว่าอธิปัญญาสิกขา
ภิกษุเมื่อคำนึงถึงสิกขา ๓ นี้ ชื่อว่าศึกษา เมื่อรู้ ชื่อว่าศึกษา เมื่อเห็น ชื่อว่า
ศึกษา เมื่อพิจารณา ชื่อว่าศึกษา เมื่ออธิษฐานจิต ชื่อว่าศึกษา เมื่อน้อมใจเชื่อด้วย
ศรัทธา ชื่อว่าศึกษา เมื่อประคองความเพียร ชื่อว่าศึกษา เมื่อตั้งสติไว้มั่น ชื่อว่า
ศึกษา เมื่อตั้งจิตไว้มั่น ชื่อว่าศึกษา เมื่อรู้ชัดด้วยปัญญา ชื่อว่าศึกษา เมื่อรู้ยิ่งธรรม
ที่ควรรู้ยิ่ง ชื่อว่าศึกษา เมื่อกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ชื่อว่าศึกษา เมื่อละธรรม
ที่ควรละ ชื่อว่าศึกษา เมื่อเจริญธรรมที่ควรเจริญ ชื่อว่าศึกษา เมื่อทำให้แจ้งธรรม
ที่ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าศึกษา
เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจความเป็น
ผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้าหายใจออก เวทนาย่อมปรากฏเกิดขึ้น ฯลฯ ภิกษุ
เมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจความเป็นผู้กำหนดรู้กอง
ลมทั้งปวงหายใจเข้าหายใจออก ย่อมให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง ฯลฯ เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า “และรู้แจ้งธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์” (๓)
[๑๗๑] ภิกษุสำเหนียกว่า “เราระงับกายสังขารหายใจเข้า” สำเหนียกว่า
“เราระงับกายสังขารหายใจออก” อย่างไร
กายสังขาร เป็นอย่างไร
คือ ลมหายใจเข้ายาว เป็นไปในกาย ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยกาย เป็นกาย-
สังขาร ภิกษุเมื่อระงับ ดับ ทำกายสังขารเหล่านั้นให้สงบ ชื่อว่าสำเหนียกอยู่ ลม
หายใจออกยาว เป็นไปในกาย ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยกาย เป็นกายสังขาร ภิกษุ
เมื่อระงับ ดับ ทำกายสังขารเหล่านั้นให้สงบ ชื่อว่าสำเหนียกอยู่ ลมหายใจเข้าสั้น
ฯลฯ ลมหายใจออกสั้น ฯลฯ ลมที่ภิกษุกำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้า ฯลฯ
ลมที่ภิกษุกำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจออก เป็นไปในกาย ธรรมเหล่านี้เนื่อง
ด้วยกาย เป็นกายสังขาร ภิกษุเมื่อระงับ ดับ ทำกายสังขารเหล่านั้นให้สงบ ชื่อว่า
สำเหนียกอยู่


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
ความอ่อนไป ความน้อมไป ความเอนไป ความโอนไป ความหวั่นไหว ความ
ดิ้นรน ความโยก ความโคลงแห่งกาย มีอยู่ เพราะกายสังขารเห็นปานใด ภิกษุ
สำเหนียกว่า “เราระงับกายสังขารเห็นปานนั้นหายใจเข้า” สำเหนียกว่า “เราระงับ
กายสังขารเห็นปานนั้นหายใจออก” ความไม่อ่อนไป ความไม่น้อมไป ความไม่เอนไป
ความไม่โอนไป ความไม่หวั่นไหว ความไม่ดิ้นรน ความไม่โยก ความไม่โคลงแห่ง
กายมีอยู่ เพราะกายสังขารเห็นปานใด ภิกษุสำเหนียกว่า “เราระงับกายสังขาร
ที่ละเอียดสุขุมเห็นปานนั้นหายใจเข้า” สำเหนียกว่า “เราระงับกายสังขารที่ละเอียด
สุขุมเห็นปานนั้นหายใจออก” ภิกษุสำเหนียกว่า “เราระงับกายสังขารหายใจเข้า”
สำเหนียกว่า “เราระงับกายสังขารหายใจออก” ตามนัยที่ว่ามานี้
เมื่อเป็นอย่างนี้ ความได้ลมก็ไม่ปรากฏ ลมหายใจเข้าหายใจออกก็ไม่ปรากฏ
อานาปานสติก็ไม่ปรากฏ สมาธิที่ประกอบด้วยอานาปานสติก็ไม่ปรากฏ และ
ภิกษุผู้ฉลาดจะเข้าสมาบัติหรือออกจากสมาบัตินั้นก็ไม่ได้ ภิกษุสำเหนียกว่า “เรา
ระงับกายสังขารหายใจเข้า” สำเหนียกว่า “เราระงับกายสังขารหายใจออก”
เมื่อเป็นอย่างนี้ ความได้ลมก็ปรากฏ ลมหายใจเข้าหายใจออกก็ปรากฏ
อานาปานสติก็ปรากฏ สมาธิที่ประกอบด้วยอานาปานสติก็ปรากฏ และภิกษุ
ผู้ฉลาดจะเข้าสมาบัติหรือออกจากสมาบัตินั้นก็ได้ ข้อนั้นเหมือนอะไร
เหมือนเมื่อบุคคลเคาะกังสดาล เสียงดังย่อมเป็นไปก่อน เพราะกำหนด ใส่ใจ
จดจำนิมิตแห่งเสียงดังได้ดีแล้ว เมื่อเสียงดังค่อยลง ต่อมาภายหลัง เสียงค่อยย่อม
เป็นไป เพราะกำหนด ใส่ใจ จดจำนิมิตแห่งเสียงดังได้ดีแล้ว เมื่อเสียงค่อยเบา
ลงอีก ต่อมาภายหลัง จิตจึงเป็นไปได้ แม้เพราะนิมิตแห่งเสียงค่อยเป็นอารมณ์
ลมหายใจเข้าหายใจออกที่หยาบ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเป็นไปก่อน เพราะกำหนด
ใส่ใจ จดจำนิมิตแห่งลมหายใจเข้าหายใจออกอย่างหยาบได้ดีแล้ว เมื่อลมหายใจ
เข้าหายใจออกอย่างหยาบเบาลง ต่อมาภายหลัง ลมหายใจเข้าหายใจออกอย่าง
ละเอียดจึงเป็นไป เพราะกำหนด ใส่ใจ จดจำนิมิตแห่งลมหายใจเข้าหายใจออก
อย่างละเอียดได้ดีแล้ว เมื่อลมหายใจเข้าหายใจออกอย่างละเอียดเบาลงอีก ต่อมา
ภายหลัง จิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่าน แม้เพราะนิมิตแห่งลมหายใจเข้าหายใจออก
อย่างละเอียดเป็นอารมณ์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
เมื่อเป็นอย่างนี้ ความได้ลมก็ปรากฏ ลมหายใจเข้าหายใจออกก็ปรากฏ
อานาปานสติก็ปรากฏ สมาธิที่ประกอบด้วยอานาปานสติก็ปรากฏ และภิกษุ
ผู้ฉลาดจะเข้าหรือออกจากสมาบัตินั้นก็ได้ กายคือความที่บุคคลระงับกายสังขาร
หายใจเข้าหายใจออก กายย่อมปรากฏ ความปรากฏเป็นสติ การพิจารณาเห็น
เป็นญาณ กายย่อมปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุ
พิจารณาเห็นกายนั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
“สติปัฏฐานภาวนาคือการพิจารณาเห็นกายในกาย”
คำว่า พิจารณาเห็น อธิบายว่า ภิกษุพิจารณาเห็นกายนั้นอย่างไร ฯลฯ
พิจารณาเห็นกายนั้นอย่างนี้
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา เพราะ
มีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเป็นผู้ระงับกายสังขารระวังลมหายใจเข้า
หายใจออก ชื่อว่าจิตตวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าทิฏฐิวิสุทธิ
เพราะมีความหมายว่าเห็น
บรรดาความสำรวม ความไม่ฟุ้งซ่านและความเห็นนั้น ความสำรวม ชื่อว่า
อธิสีลสิกขา ความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าอธิจิตตสิกขา ความเห็น ชื่อว่าอธิปัญญาสิกขา
ภิกษุเมื่อคำนึงถึงสิกขา ๓ นี้ ชื่อว่าศึกษา ฯลฯ เมื่อทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำ
ให้แจ้ง ชื่อว่าศึกษา เมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจความ
เป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจเข้าหายใจออก เวทนาย่อมปรากฏเกิดขึ้น ฯลฯ ภิกษุ
เมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจความเป็นผู้ระงับกาย-
สังขารหายใจเข้าหายใจออก ย่อมให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง ฯลฯ เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า “และรู้แจ้งธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์” (๔)
อนุปัสสนาญาณ ๘ อุปัฏฐานุสสติ ๘ และสุตตันติกวัตถุ ๔ ในการพิจารณา
เห็นกายในกาย
ภาณวารจบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
ทุติยจตุกกนิทเทส
แสดงหมวด ๔ แห่งญาณที่ ๒
[๑๗๒] ภิกษุสำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้ปีติหายใจเข้า” สำเหนียกว่า
“เรากำหนดรู้ปีติหายใจออก” อย่างไร
ปีติ เป็นอย่างไร
คือ เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจ
เข้ายาว ปีติและปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้น ฯลฯ เมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์
ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจออกยาว ปีติและปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้น ฯลฯ ด้วย
อำนาจลมหายใจเข้าสั้น ฯลฯ ด้วยอำนาจลมหายใจออกสั้น ฯลฯ ด้วยอำนาจความ
เป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้า ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้กำหนดรู้กอง
ลมทั้งปวงหายใจออก ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจเข้า ฯลฯ
เมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจความเป็นผู้ระงับกายสังขาร
หายใจออก ปีติและปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้น ปีติและปราโมทย์คือความเบิกบานใจ
ความบันเทิง ความหรรษา ความรื่นเริงจิต ความปลื้มจิต ความดีใจ ความพอใจ
นี้ชื่อว่าปีติ
ปีตินั้นย่อมปรากฏ อย่างไร
คือ เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจ
เข้าหายใจออกยาว สติย่อมตั้งมั่น ปีตินั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น
เมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจออกยาว สติ
ย่อมตั้งมั่น ปีตินั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น ฯลฯ ด้วยอำนาจ
ลมหายใจเข้าสั้น ฯลฯ ด้วยอำนาจลมหายใจออกสั้น ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็น
ผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้า ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้กำหนดรู้กองลม
ทั้งปวงหายใจออก ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจเข้า ฯลฯ
เมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจความเป็นผู้ระงับกาย
สังขารหายใจออก สติย่อมตั้งมั่น ปีตินั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เมื่อ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
คำนึงถึง ปีตินั้นย่อมปรากฏ เมื่อรู้ ฯลฯ เมื่อเห็น ฯลฯ เมื่อพิจารณา ฯลฯ เมื่อ
อธิษฐานจิต ฯลฯ เมื่อน้อมใจเชื่อด้วยสัทธา ฯลฯ เมื่อประคองความเพียร ฯลฯ
เมื่อตั้งสติไว้มั่น ฯลฯ เมื่อตั้งจิตไว้มั่น ฯลฯ เมื่อรู้ชัดด้วยปัญญา ฯลฯ เมื่อรู้ยิ่งธรรม
ที่ควรรู้ยิ่ง ฯลฯ เมื่อกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ฯลฯ เมื่อละธรรมที่ควรละ ฯลฯ
เมื่อเจริญธรรมที่ควรเจริญ ฯลฯ เมื่อทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ปีตินั้นย่อมปรากฏ
ปีตินั้นย่อมปรากฏอย่างนี้ เวทนาด้วยอำนาจความเป็นผู้รู้ชัดปีติหายใจเข้าหายใจออก
ย่อมปรากฏ ความปรากฏเป็นสติ การพิจารณาเห็นเป็นญาณ เวทนาย่อมปรากฏ
ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนานั้นด้วยสตินั้น
ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “สติปัฏฐานภาวนาคือการพิจารณา
เห็นเวทนาในเวทนา”
คำว่า พิจารณาเห็น อธิบายว่า ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนานั้นอย่างไร คือ
พิจารณาเห็นโดยความไม่เที่ยง ฯลฯ พิจารณาเห็นเวทนานั้นอย่างนี้
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา เพราะ
มีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเป็นผู้กำหนดรู้ปีติระวังลมหายใจเข้าหาย
ใจออก ฯลฯ เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจ
ความเป็นผู้กำหนดรู้ปีติหายใจเข้าหายใจออก ฯลฯ ย่อมให้อินทรีย์ทั้งหลาย
ประชุมลง ฯลฯ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “และรู้แจ้งธรรมอันมีความสงบเป็น
ประโยชน์” (๑)
[๑๗๓] ภิกษุสำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้สุขหายใจเข้า” สำเหนียกว่า
“เรากำหนดรู้สุขหายใจออก” อย่างไร
คำว่า สุข อธิบายว่า สุขมี ๒ อย่าง คือ
๑. กายิกสุข
๒. เจตสิกสุข

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
กายิกสุข เป็นอย่างไร
คือ ความสำราญทางกาย ความสุขทางกาย ความเสวยสุขที่เป็นความสำราญ
ซึ่งเกิดจากกายสัมผัส สุขเวทนาที่เป็นความสำราญซึ่งเกิดจากกายสัมผัส นี้เป็น
กายิกสุข
เจตสิกสุข เป็นอย่างไร
คือ ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยสุขที่เป็นความสำราญ
ซึ่งเกิดจากเจโตสัมผัส สุขเวทนาที่เป็นความสำราญซึ่งเกิดจากเจโตสัมผัส นี้เป็น
เจตสิกสุข
สุขเหล่านั้นย่อมปรากฏ อย่างไร
คือ เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจ
เข้ายาว สติย่อมตั้งมั่น สุขเหล่านั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เมื่อรู้ความ
ที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจออกยาว สติย่อมตั้งมั่น
สุขเหล่านั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น ฯลฯ เมื่อทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง
สุขเหล่านั้นย่อมปรากฏ สุขเหล่านั้นย่อมปรากฏอย่างนี้ เวทนาด้วยอำนาจ
ความเป็นผู้รู้แจ้งสุขหายใจเข้าหายใจออกย่อมปรากฏ ความปรากฏเป็นสติ การ
พิจารณาเห็นเป็นญาณ เวทนาย่อมปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวระลึก
ด้วย ภิกษุพิจารณาเวทนานั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึง
กล่าวว่า “สติปัฏฐานภาวนาคือการพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย”
คำว่า พิจารณาเห็น อธิบายว่า ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาอย่างไร คือ
พิจารณาเห็นโดยความไม่เที่ยง ฯลฯ พิจารณาเห็นเวทนานั้นอย่างนี้
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา เพราะ
มีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเป็นผู้กำหนดรู้สุขระวังลมหายใจเข้า
หายใจออก ฯลฯ เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
ความเป็นผู้กำหนดรู้สุขหายใจเข้าหายใจออก ฯลฯ ย่อมให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง
ฯลฯ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “และรู้แจ้งธรรมอันมีความสงบเป็น
ประโยชน์” (๒)
[๑๗๔] ภิกษุสำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้จิตตสังขารหายใจเข้า” สำเหนียกว่า
“เรากำหนดรู้จิตตสังขารหายใจออก” อย่างไร
จิตตสังขาร เป็นอย่างไร
คือ สัญญาและเวทนาด้วยอำนาจลมหายใจเข้ายาว เป็นเจตสิก ธรรมเหล่านี้
เนื่องด้วยจิต เป็นจิตตสังขาร สัญญาและเวทนาด้วยอำนาจลมหายใจเข้าหายใจ
ออกยาว เป็นเจตสิก ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยจิต เป็นจิตตสังขาร ฯลฯ สัญญาและ
เวทนาด้วยอำนาจความเป็นผู้กำหนดรู้สุขหายใจเข้า ฯลฯ สัญญาและเวทนา
ด้วยอำนาจความเป็นผู้รู้แจ้งสุขหายใจออก เป็นเจตสิก ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยจิต
นี้ชื่อว่า จิตตสังขาร
จิตตสังขารเหล่านั้นย่อมปรากฏ อย่างไร
คือ เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจ
เข้ายาว สติย่อมตั้งมั่น จิตตสังขารเหล่านั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น
เมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจออกยาว
สติย่อมตั้งมั่น จิตตสังขารเหล่านั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น ฯลฯ เมื่อ
ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง จิตตสังขารเหล่านั้นย่อมปรากฏ จิตตสังขารเหล่านั้น
ย่อมปรากฏอย่างนี้ เวทนาด้วยอำนาจความเป็นผู้กำหนดรู้จิตตสังขารหายใจเข้าหายใจ
ออก ย่อมปรากฏ ความปรากฏเป็นสติ การพิจารณาเห็นเป็นญาณ เวทนาย่อม
ปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนานั้น
ด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “สติปัฏฐานภาวนาคือการ
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย”
คำว่า พิจารณาเห็น อธิบายว่า ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนานั้นอย่างไร คือ
พิจารณาเห็นโดยความไม่เที่ยง ฯลฯ พิจารณาเห็นเวทนานั้นอย่างนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา
เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเป็นผู้กำหนดรู้จิตตสังขารระวังลมหาย
ใจเข้าหายใจออก ฯลฯ เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วย
อำนาจความเป็นผู้กำหนดรู้จิตตสังขารหายใจเข้าหายใจออก ฯลฯ ย่อมให้อินทรีย์
ทั้งหลายประชุมลง ฯลฯ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “และรู้แจ้งธรรมอันมีความ
สงบเป็นประโยชน์” (๓)
[๑๗๕] ภิกษุสำเหนียกว่า “เราระงับจิตตสังขารหายใจเข้า” สำเหนียกว่า
“เราระงับจิตตสังขารหายใจออก” อย่างไร
จิตตสังขาร เป็นอย่างไร
คือ สัญญาและเวทนาด้วยอำนาจลมหายใจเข้ายาว เป็นเจตสิก ธรรมเหล่านี้
เนื่องด้วยจิต เป็นจิตตสังขาร ภิกษุเมื่อระงับ ดับ ทำจิตตสังขารเหล่านั้นให้สงบ ชื่อว่า
สำเหนียกอยู่ สัญญาและเวทนาด้วยอำนาจลมหายใจออกยาว เป็นเจตสิก ธรรม
เหล่านี้เนื่องด้วยจิต เป็นจิตตสังขาร ภิกษุเมื่อระงับ ดับ ทำจิตตสังขารเหล่านั้น
ให้สงบ ชื่อว่าสำเหนียกอยู่ สัญญาและเวทนาด้วยอำนาจความเป็นผู้กำหนดรู้
จิตตสังขารหายใจ ฯลฯ สัญญาและเวทนาด้วยอำนาจความเป็นผู้กำหนดรู้จิตต-
สังขารหายใจออก เป็นเจตสิก ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยจิต เป็นจิตตสังขาร ภิกษุ
เมื่อระงับ ดับ ทำจิตตสังขารเหล่านั้นให้สงบ ชื่อว่าสำเหนียกอยู่ เวทนาด้วย
อำนาจความเป็นผู้ระงับจิตตสังขารหายใจเข้าหายใจออก ย่อมปรากฏ ความ
ปรากฏเป็นสติ การพิจารณาเห็นเป็นญาณ เวทนาย่อมปรากฏ ไม่ใช่สติ สติ
ปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนานั้น ด้วยสตินั้น ด้วย
ญาณนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “สติปัฏฐานภาวนาคือการพิจารณาเห็น
เวทนาในเวทนาทั้งหลาย”
คำว่า พิจารณาเห็น อธิบายว่า ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนานั้นอย่างไร ฯลฯ
พิจารณาเห็นเวทนานั้นอย่างนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๗๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา เพราะ
มีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเป็นผู้ระงับจิตตสังขารระวังลมหายใจเข้า
หายใจออก ฯลฯ เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจ
ความเป็นผู้ระงับจิตตสังขารหายใจเข้าหายใจออก ฯลฯ ย่อมให้อินทรีย์ทั้งหลาย
ประชุมลง ฯลฯ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “และรู้แจ้งธรรมอันมีความสงบ
เป็นประโยชน์” (๔)
อนุปัสสนาญาณ ๘ อุปัฏฐานานุสสติ ๘ สุตตันติกวัตถุ ๔ ในการพิจารณา
เห็นเวทนา
ภาณวาร จบ

ตติยจตุกกนิทเทส
แสดงหมวด ๔ แห่งญาณที่ ๓
[๑๗๖] ภิกษุสำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้จิตหายใจเข้า” สำเหนียกว่า
“เรากำหนดรู้จิตหายใจออก” อย่างไร
จิตนั้น เป็นอย่างไร
คือ วิญญาณด้วยอำนาจลมหายใจเข้ายาวเป็นจิต จิต คือ มโน มานัส หทัย
ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุอัน
ควรแก่จิตนั้นใด นี้ชื่อว่าจิต วิญญาณด้วยอำนาจลมหายใจออกยาว ฯลฯ ด้วยอำนาจ
ความเป็นผู้ระงับจิตตสังขารหายใจเข้า ฯลฯ วิญญาณด้วยอำนาจความเป็นผู้ระงับ
จิตตสังขารหายใจออกเป็นจิต จิต คือ มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ
มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุอันควรแก่จิตนั้นใด นี้ชื่อว่าจิต
จิตนั้นย่อมปรากฏ อย่างไร
คือ เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลม
หายใจเข้ายาว สติย่อมตั้งมั่น จิตนั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เมื่อ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
รู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจออกยาว สติย่อม
ตั้งมั่น จิตนั้นย่อมปรากฏด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น ฯลฯ เมื่อทำให้แจ้งธรรมที่ควร
ทำให้แจ้ง จิตนั้นย่อมปรากฏ จิตนั้นย่อมปรากฏอย่างนี้ วิญญาณด้วยอำนาจความ
เป็นผู้กำหนดรู้จิตหายใจเข้าหายใจออก ย่อมปรากฏ ความปรากฏเป็นสติ การ
พิจารณาเห็นเป็นญาณ จิตย่อมปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย
ภิกษุพิจารณาเห็นจิตนั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึง
กล่าวว่า “สติปัฏฐานภาวนาคือการพิจารณาเห็นจิตในจิต”
คำว่า พิจารณาเห็น อธิบายว่า ภิกษุพิจารณาเห็นจิตนั้นอย่างไร ฯลฯ
พิจารณาเห็นจิตนั้นอย่างนี้
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา เพราะ
มีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเป็นผู้กำหนดรู้จิตระวังลมหายใจเข้า
หายใจออก ฯลฯ เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจ
ความเป็นผู้กำหนดรู้จิตหายใจเข้าหายใจออก ฯลฯ ย่อมให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง
ฯลฯ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “และรู้แจ้งธรรมอันมีความสงบเป็น
ประโยชน์” (๑)
[๑๗๗] ภิกษุสำเหนียกว่า “เราทำจิตให้บันเทิงหายใจเข้า” สำเหนียกว่า
“เราทำจิตให้บันเทิงหายใจออก” อย่างไร
ความเบิกบานแห่งจิต เป็นอย่างไร
คือ เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลม
หายใจเข้ายาว ความเบิกบานแห่งจิตย่อมเกิดขึ้น ความรื่นเริง ความบันเทิง ความ
หรรษา ความร่าเริงจิต ความปลื้มจิต ความปีติยินดี ความดีใจใด นี้เป็นความ
เบิกบานแห่งจิต ฯลฯ เมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจ
ลมหายใจออกยาว ความเบิกบานแห่งจิตย่อมเกิดขึ้น ความรื่นเริง ความบันเทิง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
ความหรรษา ความร่าเริงจิต ความปลื้มจิต ความปีติยินดี ความดีใจใด ฯลฯ เมื่อรู้
ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจความเป็นผู้กำหนดรู้จิตหายใจเข้า
ฯลฯ เมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจความเป็นผู้กำหนดรู้
จิตหายใจออก ความเบิกบานแห่งจิตย่อมเกิดขึ้น ความรื่นเริง ความบันเทิง ความ
หรรษา ความร่าเริงจิต ความปลื้มจิต ความปีติยินดี ความดีใจใด นี้เป็นความ
เบิกบานแห่งจิต วิญญาณด้วยอำนาจความเป็นผู้ให้จิตเบิกบานหายใจเข้าหายใจ
ออก ย่อมปรากฏ ความปรากฏเป็นสติ การพิจารณาเห็นเป็นญาณ จิตย่อมปรากฏ
ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นจิตนั้นด้วยสตินั้น
ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “สติปัฏฐานภาวนาคือการพิจารณา
เห็นจิตในจิต”
คำว่า พิจารณาเห็น อธิบายว่า ภิกษุพิจารณาเห็นจิตนั้นอย่างไร ฯลฯ
พิจารณาเห็นจิตนั้นอย่างนี้
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา
เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเป็นผู้ทำจิตให้บันเทิงระวังลมหายใจเข้า
หายใจออก ฯลฯ เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วย
อำนาจความเป็นผู้ทำจิตให้บันเทิงหายใจเข้าหายใจออก ฯลฯ ย่อมให้อินทรีย์ทั้งหลาย
ประชุมลง ฯลฯ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “และรู้แจ้งธรรมอันมีความสงบ
เป็นประโยชน์” (๒)
[๑๗๘] ภิกษุสำเหนียกว่า “เราตั้งจิตไว้หายใจเข้า” สำเหนียกว่า
“เราตั้งจิตไว้หายใจออก” อย่างไร
สมาธินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจเข้ายาว เป็น
สมาธิ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจออกยาว เป็น
สมาธิ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจตั้งจิตมั่นหายใจเข้า เป็น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
สมาธิ ความตั้งอยู่ ความตั้งอยู่ดี ความตั้งอยู่เฉพาะ ความไม่กวัดแกว่ง ความไม่
ฟุ้งซ่านแห่งจิต ความมีจิตไม่กวัดแกว่ง ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ
สัมมาสมาธิใด นี้เป็นสมาธินทรีย์ วิญญาณด้วยอำนาจตั้งจิตมั่นหายใจเข้าเป็นจิต
ความปรากฏเป็นสติ การพิจารณาเห็นเป็นญาณ จิตย่อมปรากฏ ไม่ใช่สติ สติ
ปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นจิตนั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “สติปัฏฐานภาวนาคือการพิจารณาเห็นจิตในจิต”
คำว่า พิจารณาเห็น อธิบายว่า ภิกษุพิจารณาเห็นจิตนั้นอย่างไร ฯลฯ
พิจารณาเห็นจิตนั้นอย่างนี้
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา เพราะ
มีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเป็นผู้ตั้งจิตไว้ระวังลมหายใจเข้า
หายใจออก ฯลฯ เมื่อบุคคลรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจ
ความเป็นผู้ตั้งมั่นหายใจเข้า ฯลฯ ย่อมให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง ฯลฯ เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “และรู้แจ้งธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์” (๓)
[๑๗๙] ภิกษุสำเหนียกว่า “เราเปลื้องจิตหายใจเข้า” สำเหนียกว่า
“เราเปลื้องจิตหายใจออก” อย่างไร
คือ ภิกษุสำเหนียกว่า “เราเปลื้องจิตจากราคะหายใจเข้า” สำเหนียกว่า
“เราเปลื้องจิตจากราคะหายใจออก” สำเหนียกว่า “เราเปลื้องจิตจากโทสะหายใจเข้า”
สำเหนียกว่า “เราเปลื้องจิตจากโทสะหายใจออก” สำเหนียกว่า “เราเปลื้องจิตจาก
โมหะหายใจเข้า” สำเหนียกว่า “เราเปลื้องจิตจากโมหะหายใจออก” สำเหนียก
ว่า “เราเปลื้องจิตจากมานะ ฯลฯ “เราเปลื้องจิตจากทิฏฐิ” ฯลฯ “เราเปลื้องจิตจาก
วิจิกิจฉา” ฯลฯ “เราเปลื้องจิตจากถีนมิทธะ” ฯลฯ “เราเปลื้องจิตจากอุทธัจจะ” ฯลฯ
“เราเปลื้องจิตจากอหิริกะ (ความไม่ละอาย)” ฯลฯ สำเหนียกว่า “เราเปลื้องจิตจาก
อโนตตัปปะ (ความไม่เกรงกลัวบาป) หายใจเข้า” สำเหนียกว่า “เราเปลื้องจิตจาก
อโนตตัปปะหายใจออก” วิญญาณด้วยอำนาจการเปลื้องจิตหายใจเข้าหายใจออก
ย่อมปรากฏ ความปรากฏเป็นสติ ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
คำว่า พิจารณาเห็น อธิบายว่า ภิกษุพิจารณาเห็นจิตนั้นอย่างไร ฯลฯ
พิจารณาเห็นจิตนั้นอย่างนี้
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา
เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเป็นผู้เปลื้องจิตระวังลมหายใจเข้า
หายใจออก ฯลฯ เมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจความ
เป็นผู้เปลื้องจิตหายใจเข้า ฯลฯ ย่อมให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง ฯลฯ เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “และรู้แจ้งธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์” (๔)
อนุปัสสนาญาณ ๘ อุปัฏฐานานุสสติ ๘ สุตตันติกวัตถุ ๔ ในการพิจารณา
เห็นจิตในจิต
ภาณวาร จบ

จตุตถจตุกกนิทเทส
แสดงหมวด ๔ แห่งญาณที่ ๔
[๑๘๐] ภิกษุสำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงหายใจเข้า”
สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงหายใจออก” อย่างไร
คือ คำว่า ไม่เที่ยง อธิบายว่า อะไรไม่เที่ยง คือเบญจขันธ์ไม่เที่ยง ไม่เที่ยง
เพราะมีสภาวะเป็นอย่างไร คือไม่เที่ยงเพราะมีสภาวะเกิดขึ้นและเสื่อมไป
พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเกิดขึ้นแห่งเบญจขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะเท่าไร
เมื่อเห็นความเสื่อมไป (แห่งเบญจขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะเท่าไร เมื่อเห็นความ
เกิดขึ้นและความเสื่อมไป (แห่งเบญจขันธ์) ย่อมเห็นลักษณะเท่าไร
พระโยคาวจรเมื่อเห็นความเกิดขึ้นแห่งเบญจขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะ ๒๕ ฯลฯ๑
เมื่อเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งเบญจขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะ ๕๐ นี้

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มในข้อ ๕๐ หน้า ๗๗ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
ภิกษุสำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงในรูปหายใจเข้า” สำเหนียกว่า
“เราพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงในรูปหายใจออก” สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นว่า
ไม่เที่ยงในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา ฯลฯ ในสังขาร ฯลฯ ในวิญญาณ ฯลฯ
ในจักขุ ฯลฯ สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงในชราและมรณะ
หายใจเข้า” สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงในชราและมรณะหายใจออก”
ธรรมทั้งหลายด้วยอำนาจความเป็นผู้พิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงหายใจเข้าหายใจออก
ย่อมปรากฏ ความปรากฏเป็นสติ การพิจารณาเห็นเป็นญาณ ธรรมย่อมปรากฏ
ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้น
ด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “สติปัฏฐานภาวนา
คือการพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย”
คำว่า พิจารณาเห็น อธิบายว่า ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นอย่างไร
ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นอย่างนี้
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา เพราะ
มีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเป็นผู้พิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง ระวัง
ลมหายใจเข้าหายใจออก ฯลฯ เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่าน
ด้วยอำนาจความเป็นผู้พิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงหายใจเข้าหายใจออก ฯลฯ ย่อมให้
อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง ฯลฯ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “และรู้แจ้งธรรมอัน
มีความสงบเป็นประโยชน์” (๑)
ภิกษุสำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความคลายออกได้หายใจเข้า”
สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความคลายออกได้หายใจออก” อย่างไร
คือ ภิกษุเห็นโทษในรูปแล้วเกิดฉันทะในความคลายออกได้ในรูป น้อมใจเชื่อด้วย
สัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดี สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความคลายออกได้
ในรูปหายใจเข้า” สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความคลายออกได้ในรูปหายใจออก
ภิกษุเห็นโทษในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา ฯลฯ ในสังขาร ฯลฯ ในวิญญาณ ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
ในจักขุ ฯลฯ เห็นโทษในชราและมรณะแล้วเกิดฉันทะในความคลายออกได้ในชรา
และมรณะน้อมใจเชื่อด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดี” สำเหนียกว่า “เราพิจารณา
เห็นความคลายออกได้ในชราและมรณะหายใจเข้า” สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความ
คลายออกได้ในชราและมรณะหายใจออก” ธรรมทั้งหลายด้วยอำนาจความเป็นผู้
พิจารณาเห็นความคลายออกได้หายใจเข้าหายใจออก ย่อมปรากฏ ความปรากฏ
เป็นสติ การพิจารณาเห็นเป็นญาณ ธรรมย่อมปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย
เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “สติปัฏฐานภาวนาคือการพิจารณาเห็นธรรมในธรรม
ทั้งหลาย”
คำว่า พิจารณาเห็น อธิบายว่า ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นอย่างไร
ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นอย่างนี้
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา
เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเป็นผู้พิจารณาเห็นความคลายออกได้
ระวังลมหายใจเข้าหายใจออก ฯลฯ เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่
ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจความเป็นผู้พิจารณาเห็นความคลายออกได้หายใจเข้าหายใจ
ออก ฯลฯ ย่อมให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง ฯลฯ เพราะเหตุนั้น ท่านจึง
กล่าวว่า “และรู้แจ้งธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์” (๒)
ภิกษุสำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความดับหายใจเข้า” สำเหนียกว่า
“เราพิจารณาเห็นความดับหายใจออก” อย่างไร
คือ ภิกษุเห็นโทษในรูปแล้วเกิดฉันทะในความดับแห่งรูป น้อมใจเชื่อด้วยศรัทธา
และมีจิตตั้งมั่นด้วยดี สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความดับในรูปหายใจเข้า”
สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความดับในรูปหายใจออก” ภิกษุเห็นโทษในเวทนา
ฯลฯ ในสัญญา ฯลฯ ในสังขาร ฯลฯ ในวิญญาณ ฯลฯ ในจักขุ ฯลฯ เห็นโทษ
ในชราและมรณะแล้วเกิดฉันทะในความดับแห่งชราและมรณะ น้อมใจเชื่อด้วยศรัทธา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
และมีจิตตั้งมั่นด้วยดี สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความดับในชราและมรณะ
หายใจเข้า” สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความดับในชราและมรณะหายใจออก”
[๑๘๑] โทษในอวิชชามี เพราะอาการเท่าไร อวิชชาดับ เพราะอาการเท่าไร
คือ โทษในอวิชชามี เพราะอาการ ๕ อย่าง อวิชชาดับ เพราะอาการ ๘ อย่าง
โทษในอวิชชามี เพราะอาการ ๕ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. โทษในอวิชชามี เพราะมีสภาวะไม่เที่ยง
๒. โทษในอวิชชามี เพราะมีสภาวะเป็นทุกข์
๓. โทษในอวิชชามี เพราะมีสภาวะเป็นอนัตตา
๔. โทษในอวิชชามี เพราะมีสภาวะเป็นเหตุให้เดือดร้อน
๕. โทษในอวิชชามี เพราะมีสภาวะแปรผัน
โทษในอวิชชามี เพราะอาการ ๕ อย่างนี้
อวิชชาดับ เพราะอาการ ๘ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. อวิชชาดับ เพราะต้นเหตุดับ
๒. อวิชชาดับ เพราะสมุทัยดับ
๓. อวิชชาดับ เพราะชาติดับ
๔. อวิชชาดับ เพราะอาหารดับ
๕. อวิชชาดับ เพราะเหตุดับ
๖. อวิชชาดับ เพราะปัจจัยดับ
๗. อวิชชาดับ เพราะญาณเกิดขึ้น
๘. อวิชชาดับ เพราะนิโรธปรากฏ
อวิชชาดับ เพราะอาการ ๘ อย่างนี้
ภิกษุเห็นโทษในอวิชชา เพราะอาการ ๕ อย่างนี้แล้ว เกิดฉันทะในความดับ
อวิชชา เพราะอาการ ๘ อย่างนี้ น้อมใจเชื่อด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดี
สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความดับแห่งอวิชชาหายใจเข้า” สำเหนียกว่า “เรา
พิจารณาเห็นความดับแห่งอวิชชาหายใจออก”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส

โทษในสังขารมี เพราะอาการเท่าไร สังขารดับ เพราะอาการเท่าไร ฯลฯ
โทษในวิญญาณมี เพราะอาการเท่าไร วิญญาณดับ เพราะอาการเท่าไร ฯลฯ
โทษในนามรูปมี เพราะอาการเท่าไร นามรูปดับ เพราะอาการเท่าไร ฯลฯ
โทษในสฬายตนะมี เพราะอาการเท่าไร สฬายตนะดับ เพราะอาการเท่าไร ฯลฯ
โทษในผัสสะมี เพราะอาการเท่าไร ผัสสะดับ เพราะอาการเท่าไร ฯลฯ
โทษในเวทนามี เพราะอาการเท่าไร เวทนาดับ เพราะอาการเท่าไร ฯลฯ
โทษในตัณหามี เพราะอาการเท่าไร ตัณหาดับ เพราะอาการเท่าไร ฯลฯ
โทษในอุปาทานมี เพราะอาการเท่าไร อุปาทานดับ เพราะอาการเท่าไร ฯลฯ
โทษในภพมี เพราะอาการเท่าไร ภพดับ เพราะอาการเท่าไร ฯลฯ
โทษในชาติมี เพราะอาการเท่าไร ชาติดับ เพราะอาการเท่าไร ฯลฯ

โทษในชราและมรณะมี เพราะอาการเท่าไร ชราและมรณะดับ เพราะอาการเท่าไร
คือ โทษในชราและมรณะมี เพราะอาการ ๕ อย่าง ชราและมรณะดับ เพราะอาการ
๘ อย่าง
โทษในชราและมรณะมี เพราะอาการ ๕ อย่าง อะไรบ้าง คือ

๑. โทษในชราและมรณะมี เพราะมีสภาวะไม่เที่ยง
๒. ฯลฯ เพราะมีสภาวะเป็นทุกข์
๓. ฯลฯ เพราะมีสภาวะเป็นอนัตตา
๔. ฯลฯ เพราะมีสภาวะเป็นเหตุให้เดือดร้อน
๕. โทษในชราและมรณะมี เพราะมีสภาวะแปรผัน

โทษในชราและมรณะมี เพราะอาการ ๕ อย่างนี้
ชราและมรณะดับ เพราะอาการ ๘ อย่าง อะไรบ้าง คือ

๑. ชราและมรณะดับ เพราะต้นเหตุดับ
๒. ฯลฯ เพราะสมุทัยดับ
๓. ฯลฯ เพราะชาติดับ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส

๔. ชราและมรณะดับ เพราะภพดับ
๕. ฯลฯ เพราะเหตุดับ
๖. ฯลฯ เพราะปัจจัยดับ
๗. ฯลฯ เพราะญาณเกิดขึ้น
๘. ชราและมรณะดับ เพราะนิโรธปรากฏ

ชราและมรณะดับ เพราะอาการ ๘ อย่างนี้
ภิกษุเห็นโทษในชราและมรณะ เพราะอาการ ๕ อย่างนี้แล้ว เกิดฉันทะ
ในความดับแห่งชราและมรณะ เพราะอาการ ๘ อย่างนี้ น้อมใจเชื่อด้วยศรัทธา และมี
จิตตั้งมั่นด้วยดี สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความดับในชราและมรณะหายใจเข้า”
สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความดับในชราและมรณะหายใจออก” ธรรมทั้งหลาย
ด้วยอำนาจความเป็นผู้พิจารณาเห็นความดับหายใจเข้าหายใจออก ย่อมปรากฏ
ความปรากฏเป็นสติ การพิจารณาเห็นเป็นญาณ ธรรมย่อมปรากฏ ไม่ใช่สติ สติ
ปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นด้วยสตินั้น ด้วย
ญาณนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “สติปัฏฐานภาวนาคือการพิจารณาเห็น
ธรรมในธรรมทั้งหลาย”
คำว่า พิจารณาเห็น อธิบายว่า ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นอย่างไร ฯลฯ
พิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นอย่างนี้
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา เพราะ
มีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเป็นผู้พิจารณาเห็นความดับระวังลมหายใจ
เข้าหายใจออก ฯลฯ เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่าน
ด้วยอำนาจความเป็นผู้พิจารณาเห็นความดับหายใจเข้าหายใจออก ฯลฯ ย่อมให้
อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง ฯลฯ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “และรู้แจ้งธรรม
อันมีความสงบเป็นประโยชน์” (๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
[๑๘๒] ภิกษุสำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความสละคืนหายใจเข้า”
สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความสละคืนหายใจออก” อย่างไร
คำว่า ความสละคืน อธิบายว่า ความสละคืนมี ๒ อย่าง คือ
๑. ความสละคืนด้วยการบริจาค
๒. ความสละคืนด้วยความแล่นไป
จิตสละรูป เพราะฉะนั้น จึงเป็นความสละคืนด้วยการบริจาค จิตแล่นไปใน
นิพพานซึ่งเป็นความดับแห่งรูป เพราะฉะนั้น จึงเป็นความสละคืนด้วยความแล่นไป
ภิกษุสำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความสละคืนในรูปหายใจเข้า” สำเหนียกว่า
“เราพิจารณาเห็นความสละคืนในรูปหายใจออก” จิตสละเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ
สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ จักขุ ฯลฯ จิตสละชราและมรณะ เพราะฉะนั้น จึงเป็น
ความสละคืนด้วยการบริจาค จิตแล่นไปในนิพพานซึ่งเป็นความดับแห่งชราและมรณะ
เพราะฉะนั้น จึงเป็นความสละคืนด้วยความแล่นไป ภิกษุสำเหนียกว่า “เรา
พิจารณาเห็นความสละคืนในชราและมรณะหายใจเข้า” สำเหนียกว่า “เราพิจารณา
เห็นความสละคืนในชราและมรณะหายใจออก” ธรรมทั้งหลายด้วยอำนาจความ
เป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจเข้าหายใจออก ย่อมปรากฏ ความปรากฏ
เป็นสติ การพิจารณาเห็นเป็นญาณ ธรรมย่อมปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย
เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “สติปัฏฐานภาวนาคือการพิจารณาเห็นธรรมใน
ธรรมทั้งหลาย”
คำว่า พิจารณาเห็น อธิบายว่า ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นอย่างไร
คือ พิจารณาเห็นโดยความไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเที่ยง ฯลฯ
สละคืน ไม่ยึดถือ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ ฯลฯ
เมื่อสละคืน ย่อมละอาทานะได้ พิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นอย่างนี้
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา
เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๕. สโตการิญาณนิทเทส
ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนระวัง
ลมหายใจเข้าหายใจออก ชื่อว่าจิตตวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่า
ทิฏฐิวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเห็น
บรรดาความสำรวม ความไม่ฟุ้งซ่านและความเห็นนั้น ความสำรวม ชื่อว่า
อธิสีลสิกขา ความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าอธิจิตตสิกขา ความเห็น ชื่อว่าอธิปัญญาสิกขา
ภิกษุเมื่อคำนึงถึงสิกขา ๓ นี้ ชื่อว่าศึกษา เมื่อรู้ ชื่อว่าศึกษา ฯลฯ เมื่อทำให้
แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าศึกษา เมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่าน
ด้วยอำนาจความเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืน หายใจเข้าหายใจออก เวทนา
ย่อมปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไป ฯลฯ เมื่อรู้ความที่จิต
เป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจความเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืน
หายใจเข้าหายใจออก ฯลฯ ย่อมให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง รู้ชัดโคจรและรู้แจ้ง
ธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์ ให้พละทั้งหลายประชุมลง ... ให้โพชฌงค์
ทั้งหลายประชุมลง ... ให้มรรคประชุมลง ... ให้ธรรมทั้งหลายประชุมลง รู้ชัดโคจร
และรู้แจ้งธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์
คำว่า ให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง อธิบายว่า ภิกษุให้อินทรีย์ทั้งหลาย
ประชุมลงอย่างไร
คือ ภิกษุให้สัทธินทรีย์ประชุมลง เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ ฯลฯ เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า “และรู้แจ้งธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์” (๔)
อนุปัสสนาญาณ ๘ อุปัฏฐานานุสสติ ๘ สุตตันติกวัตถุ ๔ ในการพิจารณา
เห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย ญาณในการทำสติ ๓๒ ประการเหล่านี้

สโตการิญาณนิทเทสที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๖. ญาณราสิฉักกนิทเทส
๖. ญาณราสิฉักกนิทเทส
แสดงหมวด ๖ แห่งกองญาณ
[๑๘๓] ญาณด้วยอำนาจแห่งสมาธิ ๒๔ ประการ เป็นอย่างไร
คือ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งลมหายใจเข้ายาว
เป็นสมาธิ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งลมหายใจ
ออกยาว เป็นสมาธิ ฯลฯ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่ง
ความเป็นผู้เปลื้องจิตหายใจเข้าหายใจออก เป็นสมาธิ ฯลฯ ญาณด้วยอำนาจแห่ง
สมาธิ ๒๔ นี้ (๑)
ญาณด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนา ๗๒ ประการ เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นลมหายใจเข้ายาว โดยความ
ไม่เที่ยง
ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นลมหายใจเข้ายาว โดยความ
เป็นทุกข์
ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นลมหายใจเข้ายาว โดยความเป็นอนัตตา
ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นลมหายใจออกยาว โดยความไม่เที่ยง
ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นลมหายใจออกยาว โดยความเป็นทุกข์
ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นลมหายใจออกยาว โดยความเป็นอนัตตา
ฯลฯ
ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นความเป็นผู้เปลื้องจิตหายใจเข้า
โดยความไม่เที่ยง
ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นความเป็นผู้เปลื้องจิตหายใจออก
โดยความไม่เที่ยง
ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นความเป็นผู้เปลื้องจิตหายใจออก
โดยความเป็นทุกข์
ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นความเป็นผู้เปลื้องจิตหายใจออก
โดยความเป็นอนัตตา
ญาณด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนา ๗๒ นี้ (๒)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๖. ญาณราสิฉักกนิทเทส
นิพพิทาญาณ ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ชื่อว่านิพพิทาญาณ เพราะพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงหายใจเข้ารู้เห็น
ตามความเป็นจริง
๒. ชื่อว่านิพพิทาญาณ เพราะพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงหายใจออก
รู้เห็นตามความเป็นจริง
๓. ชื่อว่านิพพิทาญาณ เพราะพิจารณาเห็นความคลายออกได้หายใจเข้า
รู้เห็นตามความเป็นจริง
๔. ชื่อว่านิพพิทาญาณ เพราะพิจารณาเห็นความคลายออกได้หายใจออก
รู้เห็นตามความเป็นจริง
๕. ชื่อว่านิพพิทาญาณ เพราะพิจารณาเห็นความดับไปหายใจเข้ารู้เห็น
ตามความเป็นจริง
๖. ชื่อว่านิพพิทาญาณ เพราะพิจารณาเห็นความดับไปหายใจออกรู้เห็น
ตามความเป็นจริง
๗. ชื่อว่านิพพิทาญาณ เพราะพิจารณาเห็นความสละคืนหายใจเข้ารู้เห็น
ตามความเป็นจริง
๘. ชื่อว่านิพพิทาญาณ เพราะพิจารณาเห็นความสละคืนหายใจออก
รู้เห็นตามความเป็นจริง
นิพพิทาญาณ ๘ ประการนี้ (๓)
นิพพิทานุโลมญาณ ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ปัญญาในการเห็นสังขารปรากฏโดยความเป็นภัยของบุคคลผู้
พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงหายใจเข้า ชื่อว่านิพพิทานุโลมญาณ
๒. ปัญญาในการเห็นสังขารปรากฏโดยความเป็นภัยของบุคคลผู้
พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงหายใจออก ชื่อว่านิพพิทานุโลมญาณ
ฯลฯ
๗. ปัญญาในการเห็นสังขารปรากฏโดยความเป็นภัยของบุคคลผู้
พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจเข้า ชื่อว่านิพพิทานุโลมญาณ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๓. อานาปานัสสติกถา ๖. ญาณราสิฉักกนิทเทส
๘. ปัญญาในการเห็นสังขารปรากฏโดยความเป็นภัยของบุคคลผู้
พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจออก ชื่อว่านิพพิทานุโลมญาณ
นิพพิทานุโลมญาณ ๘ ประการนี้ (๔)
นิพพิทาปฏิปัสสัทธิญาณ ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ปัญญาที่พิจารณาแล้วดำรงมั่นอยู่ของบุคคลผู้พิจารณาเห็นความไม่
เที่ยงหายใจเข้า ชื่อว่านิพพิทาปฏิปัสสัทธิญาณ
๒. ปัญญาที่พิจารณาแล้วดำรงมั่นอยู่ของบุคคลผู้พิจารณาเห็นความไม่
เที่ยงหายใจออก ชื่อว่านิพพิทาปฏิปัสสัทธิญาณ
ฯลฯ
นิพพิทาปฏิปัสสัทธิญาณ ๘ ประการนี้ (๕)
ญาณในวิมุตติ ๒๑ ประการ เป็นอย่างไร
คือ ด้วยโสดาปัตติมรรค ญาณในวิมุตติสุขเกิดขึ้น เพราะละ ตัดขาดสักกาย-
ทิฏฐิ ญาณในวิมุตติสุขเกิดขึ้น เพราะละ ตัดขาดวิจิกิจฉา ญาณในวิมุตติสุขเกิดขึ้น
เพราะละ ตัดขาดสีลัพพตปรามาส ญาณในวิมุตติสุขเกิดขึ้น เพราะละ ตัดขาด
ทิฏฐานุสัย ญาณในวิมุตติสุขเกิดขึ้น เพราะละ ตัดขาดวิจิกิจฉานุสัย
ด้วยสกทาคามิมรรค ญาณในวิมุตติสุขเกิดขึ้น เพราะละ ตัดขาดกามราค-
สังโยชน์อย่างหยาบ ญาณในวิมุตติสุขเกิดขึ้น เพราะละ ตัดขาดปฏิฆสังโยชน์
อย่างหยาบ ญาณในวิมุตติสุขเกิดขึ้น เพราะละ ตัดขาดกามราคานุสัยอย่างหยาบ
ญาณในวิมุตติสุขเกิดขึ้น เพราะละ ตัดขาดปฏิฆานุสัยอย่างหยาบ
ด้วยอนาคามิมรรค ญาณในวิมุตติสุขเกิดขึ้น เพราะละ ตัดขาดกามราค-
สังโยชน์อย่างละเอียด ... ปฏิฆสังโยชน์อย่างละเอียด ... กามราคานุสัยอย่างละเอียด
... ปฏิฆานุสัยอย่างละเอียด
ด้วยอรหัตตมรรค ญาณในวิมุตติสุขเกิดขึ้น เพราะละ ตัดขาดรูปราคะ ...
อรูปราคะ ... มานะ ... อุทธัจจะ ... อวิชชา ... มานานุสัย ... ภวราคานุสัย... อวิชชานุสัย
ญาณในวิมุตติสุข ๒๑ ประการนี้แล เมื่อบุคคลเจริญสมาธิที่ประกอบด้วย
อานาปานสติอันมีวัตถุ ๑๖ ญาณเกินกว่า ๒๐๐ นี้ย่อมเกิดขึ้น (๖)

อานาปานัสสติกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๑. ปฐมสุตตันตนิทเทส
๔. อินทริยกถา
ว่าด้วยอินทรีย์
๑. ปฐมสุตตันตนิทเทส
แสดงสูตรที่ ๑
[๑๘๔] ข้าพเจ้า (พระอานนท์) ได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมา
ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาค
จึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. สัทธินทรีย์ (อินทรีย์คือศรัทธา)
๒. วิริยินทรีย์ (อินทรีย์คือวิริยะ)
๓. สตินทรีย์ (อินทรีย์คือสติ)
๔. สมาธินทรีย์ (อินทรีย์คือสมาธิ)
๕. ปัญญินทรีย์ (อินทรีย์คือปัญญา)

ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล
[๑๘๕] อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ย่อมหมดจดด้วยอาการเท่าไร
คือ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ย่อมหมดจดด้วยอาการ ๑๕ อย่าง ได้แก่
เมื่อบุคคลเว้นบุคคลผู้ไม่มีศรัทธา สมาคม คบหา นั่งใกล้บุคคลผู้มีศรัทธา (และ)
พิจารณาพระสูตรที่เป็นเหตุนำมาซึ่งความเลื่อมใส สัทธินทรีย์ย่อมหมดจดด้วยอาการ
๓ อย่างนี้
เมื่อบุคคลเว้นบุคคลผู้เกียจคร้าน สมาคม คบหา นั่งใกล้บุคคลผู้มีความเพียร
(และ) พิจารณาสัมมัปปธาน วิริยินทรีย์ย่อมหมดจดด้วยอาการ ๓ อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๑. ปฐมสุตตันตนิทเทส
เมื่อบุคคลเว้นบุคคลผู้มีสติหลงลืม สมาคม คบหา นั่งใกล้บุคคลผู้มีสติตั้งมั่น
(และ) พิจารณาสติปัฏฐาน สตินทรีย์ย่อมหมดจดด้วยอาการ ๓ อย่างนี้
เมื่อบุคคลเว้นบุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น สมาคม คบหา นั่งใกล้บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น
(และ) พิจารณาฌานวิโมกข์ สมาธินทรีย์ย่อมหมดจดด้วยอาการ ๓ อย่างนี้
เมื่อบุคคลเว้นบุคคลผู้มีปัญญาทราม สมาคม คบหา นั่งใกล้บุคคลผู้มีปัญญาดี
(และ) พิจารณาญาณจริยาอันลึกซึ้ง ปัญญินทรีย์ย่อมหมดจดด้วยอาการ ๓ อย่างนี้
เมื่อบุคคลเว้นบุคคล ๕ จำพวก สมาคม คบหา นั่งใกล้บุคคล ๕ จำพวก (และ)
พิจารณาจำนวนพระสูตร ๕ ประการดังกล่าวมานี้ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ย่อมหมดจด
ด้วยอาการ ๑๕ อย่างนี้
อินทรีย์ ๕ อันบุคคลย่อมเจริญ ด้วยอาการเท่าไร การเจริญอินทรีย์ ๕มีได้
ด้วยอาการเท่าไร
คือ อินทรีย์ ๕ อันบุคคลย่อมเจริญด้วยอาการ ๑๐ อย่าง การเจริญอินทรีย์ ๕
มีได้ด้วยอาการ ๑๐ อย่าง บุคคลเมื่อละความไม่มีศรัทธา ชื่อว่าเจริญสัทธินทรีย์
เมื่อเจริญสัทธินทรีย์ ชื่อว่าละความไม่มีศรัทธา เมื่อละความเกียจคร้าน ชื่อว่าเจริญ
วิริยินทรีย์ เมื่อเจริญวิริยินทรีย์ ชื่อว่าละความเกียจคร้าน เมื่อละความประมาท
ชื่อว่าเจริญสตินทรีย์ เมื่อเจริญสตินทรีย์ ชื่อว่าละความประมาท เมื่อละอุทธัจจะ
ชื่อว่าเจริญสมาธินทรีย์ เมื่อเจริญสมาธินทรีย์ ชื่อว่าละอุทธัจจะ เมื่อละอวิชชา ชื่อว่า
เจริญปัญญินทรีย์ เมื่อเจริญปัญญินทรีย์ ชื่อว่าละอวิชชา อินทรีย์ ๕ อันบุคคล
ย่อมเจริญด้วยอาการ ๑๐ อย่างนี้ การเจริญอินทรีย์ ๕ มีได้ด้วยอาการ ๑๐ อย่างนี้
อินทรีย์ ๕ เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว ด้วยอาการเท่าไร
คือ อินทรีย์ ๕ เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้วด้วยอาการ ๑๐ อย่าง ได้แก่
๑. สัทธินทรีย์เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว เพราะละ ละ
ความไม่มีศรัทธาดีแล้ว
๒. ความไม่มีศรัทธาเป็นอันบุคคลละแล้ว ละดีแล้ว เพราะเจริญ เจริญ
สัทธินทรีย์ดีแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๑. ปฐมสุตตันตนิทเทส
๓. วิริยินทรีย์เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว เพราะละ ละความ
เกียจคร้านดีแล้ว
๔. ความเกียจคร้านเป็นอันบุคคลละแล้ว ละดีแล้ว เพราะเจริญ เจริญ
วิริยินทรีย์ดีแล้ว
๕. สตินทรีย์เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว เพราะละ ละความ
ประมาทดีแล้ว
๖. ความประมาทเป็นอันบุคคลละแล้ว ละดีแล้ว เพราะเจริญ เจริญ
สตินทรีย์ดีแล้ว
๗. สมาธินทรีย์เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว เพราะละ ละ
อุทธัจจะดีแล้ว
๘. อุทธัจจะเป็นอันบุคคลละแล้ว ละดีแล้ว เพราะเจริญ เจริญ
สมาธินทรีย์ดีแล้ว
๙. ปัญญินทรีย์เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว เพราะละ ละ
อวิชชาดีแล้ว
๑๐. อวิชชาเป็นอันบุคคลละแล้ว ละดีแล้ว เพราะเจริญ เจริญ
ปัญญินทรีย์ดีแล้ว
อินทรีย์ ๕ เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้วด้วยอาการ ๑๐ อย่างนี้
[๑๘๖] อินทรีย์ ๕ อันบุคคลย่อมเจริญด้วยอาการเท่าไร อินทรีย์ ๕ เป็น
อันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว ระงับแล้ว และระงับดีแล้ว ด้วยอาการเท่าไร
คือ อินทรีย์ ๕ อันบุคคลย่อมเจริญด้วยอาการ ๔ อย่าง อินทรีย์ ๕ เป็นอัน
บุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว ระงับแล้ว และระงับดีแล้ว ด้วยอาการ ๔ อย่าง
อินทรีย์ ๕ อันบุคคลย่อมเจริญในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค
อินทรีย์ ๕ เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว ระงับแล้ว และระงับดีแล้ว
ในขณะแห่งโสดาปัตติผล อินทรีย์ ๕ อันบุคคลย่อมเจริญ ในขณะแห่งสกทาคามิมรรค
อินทรีย์ ๕ เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว ระงับแล้ว และระงับดีแล้ว
ในขณะแห่งสกทาคามิผล อินทรีย์ ๕ อันบุคคลย่อมเจริญในขณะแห่งอนาคามิมรรค

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๑. ปฐมสุตตันตนิทเทส
อินทรีย์ ๕ เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว ระงับแล้ว และระงับดีแล้ว
ในขณะแห่งอนาคามิผล อินทรีย์ ๕ อันบุคคลย่อมเจริญในขณะแห่งอรหัตตมรรค
อินทรีย์ ๕ เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว ระงับแล้ว ระงับดีแล้วในขณะ
แห่งอรหัตตผล
มัคควิสุทธิ ๔ ผลวิสุทธิ ๔ สมุจเฉทวิสุทธิ ๔ ปฏิปัสสัทธิวิสุทธิ ๔ ด้วย
ประการดังนี้ อินทรีย์ ๕ อันบุคคลย่อมเจริญด้วยอาการ ๔ อย่างนี้ อินทรีย์ ๕
เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว ระงับแล้ว และระงับดีแล้ว ด้วยอาการ ๔ อย่างนี้
บุคคลกี่จำพวก ชื่อว่ากำลังเจริญอินทรีย์ บุคคลกี่จำพวก ชื่อว่าเจริญ
อินทรีย์แล้ว
คือ บุคคล ๘ จำพวกชื่อว่ากำลังเจริญอินทรีย์ บุคคล ๓ จำพวกชื่อว่า
เจริญอินทรีย์แล้ว
บุคคล ๘ จำพวกไหน ชื่อว่ากำลังเจริญอินทรีย์
คือ พระเสขบุคคล ๗ กัลยาณปุถุชน ๑ บุคคล ๘ จำพวกนี้ชื่อว่ากำลัง
เจริญอินทรีย์
บุคคล ๓ จำพวกไหน ชื่อว่าเจริญอินทรีย์แล้ว คือ
๑. พระขีณาสพสาวกของพระตถาคต ชื่อว่าเจริญอินทรีย์แล้ว เพราะ
รู้ด้วยอำนาจความเป็นผู้เจริญอินทรีย์แล้ว
๒. พระปัจเจกพุทธเจ้า ชื่อว่าเจริญอินทรีย์แล้ว เพราะมีสภาวะตรัสรู้เอง
๓. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ชื่อว่าเจริญอินทรีย์แล้ว
เพราะมีสภาวะมีพระคุณหาประมาณมิได้
บุคคล ๓ จำพวกนี้ ชื่อว่าเจริญอินทรีย์แล้ว
เพราะฉะนั้น บุคคล ๘ จำพวกนี้ ชื่อว่ากำลังเจริญอินทรีย์ บุคคล ๓ จำพวกนี้
ชื่อว่าเจริญอินทรีย์แล้ว

สุตตันตนิทเทสที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๒. ทุติยสุตตันตนิทเทส
๒. ทุติยสุตตันตนิทเทส
แสดงสูตรที่ ๒
[๑๘๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. สัทธินทรีย์ (อินทรีย์คือศรัทธา)
๒. วิริยินทรีย์ (อินทรีย์คือวิริยะ)
๓. สตินทรีย์ (อินทรีย์คือสติ)
๔. สมาธินทรีย์ (อินทรีย์คือสมาธิ)
๕. ปัญญินทรีย์ (อินทรีย์คือปัญญา)

ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่รู้ชัดซึ่งเหตุเกิด
ความดับ คุณ โทษ แห่งอินทรีย์ ๕ นี้และเครื่องสลัดออกจากอินทรีย์ ๕ นี้ตามความ
เป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น หาได้รับยกย่องว่า เป็นสมณะในหมู่สมณะ
หรือได้รับยกย่องว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ไม่ และท่านเหล่านั้นหาได้ทำให้
แจ้งสามัญญผล๑และพรหมัญญผล๒ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วเข้าถึงอยู่ในปัจจุบันไม่
ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ชัดซึ่งเหตุเกิด
ความดับ คุณ โทษ แห่งอินทรีย์ ๕ นี้ และเครื่องสลัดออกจากอินทรีย์ ๕ นี้ตาม
ความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมได้รับยกย่องว่า เป็นสมณะในหมู่
สมณะ ได้รับยกย่องว่า เป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ และท่านเหล่านั้นย่อมทำ
ให้แจ้งสามัญญผลและพรหมัญญผล ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน

เชิงอรรถ :
๑ สามัญญผล หมายถึงประโยชน์ของความเป็นสมณะ อีกอย่างหนึ่งหมายถึงผลเบื้องต่ำ ๓ ประการ (ขุ.ป.อ.
๒/๑๘๗/๑๕๕)
๒ พรหมัญญผล หมายถึงประโยชน์ของความเป็นพราหมณ์ อีกอย่างหนึ่งหมายถึงอรหัตตผล (ขุ.ป.อ.
๒/๑๘๗/๑๕๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๒. ทุติยสุตตันตนิทเทส
[๑๘๘] อินทรีย์ ๕ มีเหตุเกิด ด้วยอาการเท่าไร บุคคลรู้ชัดเหตุเกิดแห่ง
อินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร
อินทรีย์ ๕ มีความดับ ด้วยอาการเท่าไร บุคคลรู้ชัดความดับแห่งอินทรีย์ ๕
ด้วยอาการเท่าไร
อินทรีย์ ๕ มีคุณ ด้วยอาการเท่าไร บุคคลรู้ชัดคุณแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วย
อาการเท่าไร
อินทรีย์ ๕ มีโทษ ด้วยอาการเท่าไร บุคคลรู้ชัดโทษแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วย
อาการเท่าไร
อินทรีย์ ๕ มีเครื่องสลัดออก ด้วยอาการเท่าไร บุคคลรู้ชัดเครื่องสลัด
ออกจากอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร
คือ อินทรีย์ ๕ มีเหตุเกิดด้วยอาการ ๔๐ อย่าง บุคคลรู้ชัดเหตุเกิดแห่ง
อินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๔๐ อย่าง
อินทรีย์ ๕ มีความดับด้วยอาการ ๔๐ อย่าง บุคคลรู้ชัดความดับแห่ง
อินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๔๐ อย่าง
อินทรีย์ ๕ มีคุณด้วยอาการ ๒๕ อย่าง บุคคลรู้ชัดคุณแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วย
อาการ ๒๕ อย่าง
อินทรีย์ ๕ มีโทษด้วยอาการ ๒๕ อย่าง บุคคลรู้ชัดโทษแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วย
อาการ ๒๕ อย่าง
อินทรีย์ ๕ มีเครื่องสลัดออกด้วยอาการ ๑๘๐ อย่าง บุคคลรู้ชัดเครื่องสลัดออก
จากอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๑๘๐ อย่าง
อินทรีย์ ๕ มีเหตุเกิดด้วยอาการ ๔๐ อะไรบ้าง บุคคลรู้ชัดเหตุเกิดแห่ง
อินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๔๐ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. เหตุเกิดแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความน้อมใจเชื่อ เป็นเหตุ
เกิดแห่งสัทธินทรีย์
๒. เหตุเกิดแห่งฉันทะด้วยอำนาจความน้อมใจเชื่อ เป็นเหตุเกิดแห่ง
สัทธินทรีย์
๓. เหตุเกิดแห่งมนสิการด้วยอำนาจความน้อมใจเชื่อ เป็นเหตุเกิดแห่งสัทธินทรีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๒. ทุติยสุตตันตนิทเทส
๔. ความปรากฏเป็นสภาวะเดียว๑ด้วยอำนาจสัทธินทรีย์ เป็นเหตุเกิด
แห่งสัทธินทรีย์
๕. เหตุเกิดแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่การประคองไว้ เป็นเหตุ
เกิดแห่งวิริยินทรีย์
๖. เหตุเกิดแห่งฉันทะด้วยอำนาจการประคองไว้ เป็นเหตุเกิดแห่งวิริยินทรีย์
๗. เหตุเกิดแห่งมนสิการด้วยอำนาจการประคองไว้ เป็นเหตุเกิดแห่ง
วิริยินทรีย์
๘. ความปรากฏเป็นสภาวะเดียวด้วยอำนาจวิริยินทรีย์ เป็นเหตุเกิด
แห่งวิริยินทรีย์
๙. เหตุเกิดแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความตั้งมั่น เป็นเหตุเกิด
แห่งสตินทรีย์
๑๐. เหตุเกิดแห่งฉันทะด้วยอำนาจความตั้งมั่น เป็นเหตุเกิดแห่งสตินทรีย์
๑๑. เหตุเกิดแห่งมนสิการด้วยอำนาจความตั้งมั่น เป็นเหตุเกิดแห่งสตินทรีย์
๑๒. ความปรากฏเป็นสภาวะเดียวด้วยอำนาจสตินทรีย์ เป็นเหตุเกิดแห่ง
สตินทรีย์
๑๓. เหตุเกิดแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นเหตุ
เกิดแห่งสมาธินทรีย์
๑๔. เหตุเกิดแห่งฉันทะด้วยอำนาจความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นเหตุเกิดแห่ง
สมาธินทรีย์
๑๕. เหตุเกิดแห่งมนสิการด้วยอำนาจความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นเหตุเกิดแห่ง
สมาธินทรีย์
๑๖. ความปรากฏเป็นสภาวะเดียวด้วยอำนาจสมาธินทรีย์ เป็นเหตุเกิด
แห่งสมาธินทรีย์
๑๗. เหตุเกิดแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความเห็น เป็นเหตุเกิด
แห่งปัญญินทรีย์
๑๘. เหตุเกิดแห่งฉันทะด้วยอำนาจความเห็น เป็นเหตุเกิดแห่งปัญญินทรีย์

เชิงอรรถ :
๑ สภาวะเดียว หมายถึงอารมณ์เดียว (ขุ.ป.อ. ๒/๑๘๘/๑๕๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๒. ทุติยสุตตันตนิทเทส
๑๙. เหตุเกิดแห่งมนสิการด้วยอำนาจความเห็น เป็นเหตุเกิดแห่ง
ปัญญินทรีย์
๒๐. ความปรากฏเป็นสภาวะเดียวด้วยอำนาจปัญญินทรีย์ เป็นเหตุเกิด
แห่งปัญญินทรีย์
๒๑. เหตุเกิดแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความน้อมใจเชื่อ เป็น
เหตุเกิดแห่งสัทธินทรีย์
๒๒. เหตุเกิดแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่การประคองไว้ เป็น
เหตุเกิดแห่งวิริยินทรีย์
๒๓. เหตุเกิดแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความตั้งมั่น เป็นเหตุเกิด
แห่งสตินทรีย์
๒๔. เหตุเกิดแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นเหตุ
เกิดแห่งสมาธินทรีย์
๒๕. เหตุเกิดแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความเห็น เป็นเหตุเกิด
แห่งปัญญินทรีย์
๒๖. เหตุเกิดแห่งฉันทะด้วยอำนาจความน้อมใจเชื่อ เป็นเหตุเกิดแห่งสัทธินทรีย์
๒๗. เหตุเกิดแห่งฉันทะด้วยอำนาจการประคองไว้ เป็นเหตุเกิดแห่งวิริยินทรีย์
๒๘. เหตุเกิดแห่งฉันทะด้วยอำนาจความตั้งมั่น เป็นเหตุเกิดแห่งสตินทรีย์
๒๙. เหตุเกิดแห่งฉันทะด้วยอำนาจความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นเหตุเกิดแห่งสมาธินทรีย์
๓๐. เหตุเกิดแห่งฉันทะด้วยอำนาจความเห็น เป็นเหตุเกิดแห่งปัญญินทรีย์
๓๑. เหตุเกิดแห่งมนสิการด้วยอำนาจความน้อมใจเชื่อ เป็นเหตุเกิดแห่งสัทธินทรีย์
๓๒. เหตุเกิดแห่งมนสิการด้วยอำนาจการประคองไว้ เป็นเหตุเกิดแห่งวิริยินทรีย์
๓๓. เหตุเกิดแห่งมนสิการด้วยอำนาจความตั้งมั่น เป็นเหตุเกิดแห่งสตินทรีย์
๓๔. เหตุเกิดแห่งมนสิการด้วยอำนาจความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นเหตุเกิดแห่งสมาธินทรีย์
๓๕. เหตุเกิดแห่งมนสิการด้วยอำนาจความเห็น เป็นเหตุเกิดแห่งปัญญินทรีย์
๓๖. ความปรากฏเป็นสภาวะเดียวด้วยอำนาจสัทธินทรีย์ เป็นเหตุเกิดแห่งสัทธินทรีย์
๓๗. ความปรากฏเป็นสภาวะเดียวด้วยอำนาจวิริยินทรีย์ เป็นเหตุเกิดแห่งวิริยินทรีย์
๓๘. ความปรากฏเป็นสภาวะเดียวด้วยอำนาจสตินทรีย์ เป็นเหตุเกิดแห่ง
สตินทรีย์
๓๙. ความปรากฏเป็นสภาวะเดียวด้วยอำนาจสมาธินทรีย์ เป็นเหตุเกิด
แห่งสมาธินทรีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๒. ทุติยสุตตันตนิทเทส
๔๐. ความปรากฏเป็นสภาวะเดียวด้วยอำนาจปัญญินทรีย์ เป็นเหตุเกิด
แห่งปัญญินทรีย์
อินทรีย์ ๕ มีเหตุเกิดด้วยอาการ ๔๐ อย่างนี้ บุคคลรู้ชัดเหตุเกิดแห่ง
อินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๔๐ อย่างนี้
อินทรีย์ ๕ มีความดับ ด้วยอาการ ๔๐ อย่าง อะไรบ้าง บุคคลรู้ชัดความดับ
แห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๔๐ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ความดับแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความน้อมใจเชื่อ เป็น
ความดับแห่งสัทธินทรีย์
๒. ความดับแห่งฉันทะด้วยอำนาจความน้อมใจเชื่อ เป็นความดับแห่ง
สัทธินทรีย์
๓. ความดับแห่งมนสิการด้วยอำนาจความน้อมใจเชื่อ เป็นความดับแห่ง
สัทธินทรีย์
๔. ความไม่ปรากฏเป็นสภาวะเดียวด้วยอำนาจสัทธินทรีย์ เป็นความดับ
แห่งสัทธินทรีย์
๕. ความดับแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่การประคองไว้ เป็น
ความดับแห่งวิริยินทรีย์
๖. ความดับแห่งฉันทะด้วยอำนาจการประคองไว้ เป็นความดับแห่ง
วิริยินทรีย์
๗. ความดับแห่งมนสิการด้วยอำนาจการประคองไว้ เป็นความดับแห่ง
วิริยินทรีย์
๘. ความไม่ปรากฏเป็นสภาวะเดียวด้วยอำนาจวิริยินทรีย์ เป็นความ
ดับแห่งวิริยินทรีย์
๙. ความดับแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความตั้งมั่น เป็นความ
ดับแห่งสตินทรีย์
๑๐. ความดับแห่งฉันทะด้วยอำนาจความตั้งมั่น เป็นความดับแห่งสตินทรีย์
๑๑. ความดับแห่งมนสิการด้วยอำนาจความตั้งมั่น เป็นความดับแห่ง
สตินทรีย์
๑๒. ความไม่ปรากฏเป็นสภาวะเดียวด้วยอำนาจสตินทรีย์ เป็นความดับ
แห่งสตินทรีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๒. ทุติยสุตตันตนิทเทส
๑๓. ความดับแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความไม่ฟุ้งซ่าน เป็น
ความดับแห่งสมาธินทรีย์
๑๔. ความดับแห่งฉันทะด้วยอำนาจความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นความดับแห่ง
สมาธินทรีย์
๑๕. ความดับแห่งมนสิการด้วยอำนาจความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นความดับแห่ง
สมาธินทรีย์
๑๖. ความไม่ปรากฏเป็นสภาวะเดียวด้วยอำนาจสมาธินทรีย์ เป็นความดับ
แห่งสมาธินทรีย์
๑๗. ความดับแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความเห็น เป็นความดับ
แห่งปัญญินทรีย์
๑๘. ความดับแห่งฉันทะด้วยอำนาจความเห็น เป็นความดับแห่งปัญญินทรีย์
๑๙. ความดับแห่งมนสิการด้วยอำนาจความเห็น เป็นความดับแห่งปัญญินทรีย์
๒๐. ความไม่ปรากฏเป็นสภาวะเดียวด้วยอำนาจปัญญินทรีย์ เป็นความ
ดับแห่งปัญญินทรีย์
๒๑. ความดับแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความน้อมใจเชื่อ เป็น
ความดับแห่งสัทธินทรีย์
๒๒. ความดับแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่การประคองไว้ เป็นความ
ดับแห่งวิริยินทรีย์
๒๓. ความดับแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความตั้งมั่น เป็นความ
ดับแห่งสตินทรีย์
๒๔. ความดับแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความไม่ฟุ้งซ่าน เป็น
ความดับแห่งสมาธินทรีย์
๒๕. ความดับแห่งความคำนึงถึงเพื่อประโยชน์แก่ความเห็น เป็นความ
ดับแห่งปัญญินทรีย์
๒๖. ความดับแห่งฉันทะด้วยอำนาจความน้อมใจเชื่อ เป็นความดับแห่ง
สัทธินทรีย์
๒๗. ความดับแห่งฉันทะด้วยอำนาจการประคองไว้ เป็นความดับแห่ง
วิริยินทรีย์
๒๘. ความดับแห่งฉันทะด้วยอำนาจความตั้งมั่น เป็นความดับแห่ง
สตินทรีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๒. ทุติยสุตตันตนิทเทส
๒๙. ความดับแห่งฉันทะด้วยอำนาจความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นความดับแห่ง
สมาธินทรีย์
๓๐. ความดับแห่งฉันทะด้วยอำนาจความเห็น เป็นความดับแห่ง
ปัญญินทรีย์
๓๑. ความดับแห่งมนสิการด้วยอำนาจความน้อมใจเชื่อ เป็นความดับแห่ง
สัทธินทรีย์
๓๒. ความดับแห่งมนสิการด้วยอำนาจการประคองไว้ เป็นความดับ
แห่งวิริยินทรีย์
๓๓. ความดับแห่งมนสิการด้วยอำนาจความตั้งมั่น เป็นความดับแห่ง
สตินทรีย์
๓๔. ความดับแห่งมนสิการด้วยอำนาจความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นความดับแห่ง
สมาธินทรีย์
๓๕. ความดับแห่งมนสิการด้วยอำนาจความเห็น เป็นความดับแห่ง
ปัญญินทรีย์
๓๖. ความไม่ปรากฏเป็นสภาวะเดียวด้วยอำนาจสัทธินทรีย์ เป็นความ
ดับแห่งสัทธินทรีย์
๓๗. ความไม่ปรากฏเป็นสภาวะเดียวด้วยอำนาจวิริยินทรีย์ เป็นความดับ
แห่งวิริยินทรีย์
๓๘. ความไม่ปรากฏเป็นสภาวะเดียวด้วยอำนาจสตินทรีย์ เป็นความดับ
แห่งสตินทรีย์
๓๙. ความไม่ปรากฏเป็นสภาวะเดียวด้วยอำนาจสมาธินทรีย์ เป็นความ
ดับแห่งสมาธินทรีย์
๔๐. ความไม่ปรากฏเป็นสภาวะเดียวด้วยอำนาจปัญญินทรีย์ เป็นความ
ดับแห่งปัญญินทรีย์
อินทรีย์ ๕ มีความดับด้วยอาการ ๔๐ อย่างนี้ บุคคลรู้ชัดความดับแห่ง
อินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๔๐ อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๒. ทุติยสุตตันตนิทเทส
ก. อัสสาทนิทเทส
แสดงคุณ (แห่งอินทรีย์ ๕)
[๑๘๙] อินทรีย์ ๕ มีคุณ ด้วยอาการ ๒๕ อย่าง อะไรบ้าง บุคคลรู้ชัดคุณ
แห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๕ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ความไม่ปรากฏแห่งความไม่มีศรัทธา เป็นคุณแห่งสัทธินทรีย์
๒. ความไม่ปรากฏแห่งความเร่าร้อน เพราะความไม่มีศรัทธา เป็นคุณ
แห่งสัทธินทรีย์
๓. ความแกล้วกล้าแห่งความประพฤติด้วยความน้อมใจเชื่อ เป็นคุณแห่ง
สัทธินทรีย์
๔. ความสงบ๑และการบรรลุสุขวิหารธรรม๒ เป็นคุณแห่งสัทธินทรีย์
๕. สุขโสมนัสที่อาศัยสัทธินทรีย์เกิดขึ้น เป็นคุณแห่งสัทธินทรีย์
๖. ความไม่ปรากฏแห่งความเกียจคร้าน เป็นคุณแห่งวิริยินทรีย์
๗. ความไม่ปรากฏแห่งความเร่าร้อน เพราะความไม่เกียจคร้าน เป็น
คุณแห่งวิริยินทรีย์
๘. ความแกล้วกล้าแห่งความประพฤติด้วยการประคองไว้ เป็นคุณแห่ง
วิริยินทรีย์
๙. ความสงบและการบรรลุสุขวิหารธรรม เป็นคุณแห่งวิริยินทรีย์
๑๐. สุขโสมนัสที่อาศัยวิริยินทรีย์เกิดขึ้น เป็นคุณแห่งวิริยินทรีย์
๑๑. ความไม่ปรากฏแห่งความประมาท เป็นคุณแห่งสตินทรีย์
๑๒. ความไม่ปรากฏแห่งความเร่าร้อนเพราะเหตุแห่งความประมาท เป็น
คุณแห่งสตินทรีย์
๑๓. ความแกล้วกล้าแห่งความประพฤติด้วยความตั้งมั่น เป็นคุณแห่ง
สตินทรีย์
๑๔. ความสงบและการบรรลุสุขวิหารธรรม เป็นคุณแห่งสตินทรีย์

เชิงอรรถ :
๑ ความสงบ หมายถึงสมถะ (ขุ.ป.อ. ๒/๑๘๙/๑๕๗)
๒ สุขวิหารธรรม หมายถึงวิปัสสนา (ขุ.ป.อ. ๒/๑๘๙/๑๕๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๒. ทุติยสุตตันตนิทเทส
๑๕. สุขโสมนัสที่อาศัยสตินทรีย์เกิดขึ้น เป็นคุณแห่งสตินทรีย์
๑๖. ความไม่ปรากฏแห่งอุทธัจจะ เป็นคุณแห่งสมาธินทรีย์
๑๗. ความไม่ปรากฏแห่งความเร่าร้อนเพราะอุทธัจจะ เป็นคุณแห่งสมาธินทรีย์
๑๘. ความแกล้วกล้าแห่งความประพฤติด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นคุณแห่ง
สมาธินทรีย์
๑๙. ความสงบและการบรรลุสุขวิหารธรรม เป็นคุณแห่งสมาธินทรีย์
๒๐. สุขโสมนัสที่อาศัยสมาธินทรีย์เกิดขึ้น เป็นคุณแห่งสมาธินทรีย์
๒๑. ความไม่ปรากฏแห่งอวิชชา เป็นคุณแห่งปัญญินทรีย์
๒๒. ความไม่ปรากฏแห่งความเร่าร้อนเพราะอวิชชา เป็นคุณแห่งปัญญินทรีย์
๒๓. ความแกล้วกล้าแห่งความประพฤติด้วยความเห็น เป็นคุณแห่งปัญญินทรีย์
๒๔. ความสงบและการบรรลุสุขวิหารธรรม เป็นคุณแห่งปัญญินทรีย์
๒๕. สุขโสมนัสที่อาศัยปัญญินทรีย์เกิดขึ้น เป็นคุณแห่งปัญญินทรีย์
อินทรีย์ ๕ มีคุณด้วยอาการ ๒๕ อย่างนี้ บุคคลรู้ชัดคุณแห่งอินทรีย์ ๕
ด้วยอาการ ๒๕ อย่างนี้

ข. อาทีนวนิทเทส
แสดงโทษ (แห่งอินทรีย์ ๕)
[๑๙๐] อินทรีย์ ๕ มีโทษ เพราะอาการ ๒๕ อย่าง เป็นอย่างไร บุคคล
รู้ชัดโทษแห่งอินทรีย์ ๕ เพราะอาการ ๒๕ อย่าง เป็นอย่างไร คือ
๑. ความปรากฏแห่งความไม่มีศรัทธา เป็นโทษแห่งสัทธินทรีย์
๒. ความปรากฏแห่งความเร่าร้อนเพราะความไม่มีศรัทธา เป็นโทษ
แห่งสัทธินทรีย์
๓. สัทธินทรีย์มีโทษ เพราะมีสภาวะไม่เที่ยง
๔. สัทธินทรีย์มีโทษ เพราะมีสภาวะเป็นทุกข์
๕. สัทธินทรีย์มีโทษ เพราะมีสภาวะเป็นอนัตตา
๖. ความปรากฏแห่งความเกียจคร้าน เป็นโทษแห่งวิริยินทรีย์
๗. ความปรากฏแห่งความเร่าร้อนเพราะความเกียจคร้าน เป็นโทษ
แห่งวิริยินทรีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๒. ทุติยสุตตันตนิทเทส
๘. วิริยินทรีย์มีโทษ เพราะมีสภาวะไม่เที่ยง
๙. วิริยินทรีย์มีโทษ เพราะมีสภาวะเป็นทุกข์
๑๐. วิริยินทรีย์มีโทษ เพราะมีสภาวะเป็นอนัตตา
๑๑. ความปรากฏแห่งความประมาท เป็นโทษแห่งสตินทรีย์
๑๒. ความปรากฏแห่งความเร่าร้อนเพราะความประมาท เป็นโทษแห่ง
สตินทรีย์
๑๓. สตินทรีย์มีโทษ เพราะมีสภาวะไม่เที่ยง
๑๔. สตินทรีย์มีโทษ เพราะมีสภาวะเป็นทุกข์
๑๕. สตินทรีย์มีโทษ เพราะมีสภาวะเป็นอนัตตา
๑๖. ความปรากฏแห่งอุทธัจจะ เป็นโทษแห่งสมาธินทรีย์
๑๗. ความปรากฏแห่งความเร่าร้อนเพราะอุทธัจจะ เป็นโทษแห่ง
สมาธินทรีย์
๑๘. สมาธินทรีย์มีโทษ เพราะมีสภาวะไม่เที่ยง
๑๙. สมาธินทรีย์มีโทษ เพราะมีสภาวะเป็นทุกข์
๒๐. สมาธินทรีย์มีโทษ เพราะมีสภาวะเป็นอนัตตา
๒๑. ความปรากฏแห่งอวิชชา เป็นโทษแห่งปัญญินทรีย์
๒๒. ความปรากฏแห่งความเร่าร้อนเพราะอวิชชา เป็นโทษแห่งปัญญินทรีย์
๒๓. ปัญญินทรีย์มีโทษ เพราะมีสภาวะไม่เที่ยง
๒๔. ปัญญินทรีย์มีโทษ เพราะมีสภาวะเป็นทุกข์
๒๕. ปัญญินทรีย์มีโทษ เพราะมีสภาวะเป็นอนัตตา
อินทรีย์ ๕ มีโทษ เพราะอาการ ๒๕ อย่างนี้ บุคคลรู้ชัดโทษแห่งอินทรีย์ ๕
เพราะอาการ ๒๕ อย่างนี้

ค. นิสสรณนิทเทส
แสดงเครื่องสลัดออก (จากอินทรีย์ ๕)
[๑๙๑] อินทรีย์ ๕ มีเครื่องสลัดออกด้วยอาการ ๑๘๐ อย่าง เป็นอย่างไร
บุคคลรู้ชัดเครื่องสลัดออกจากอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๑๘๐ อย่าง เป็นอย่างไร คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๐๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๒. ทุติยสุตตันตนิทเทส
เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ สัทธินทรีย์จึง
๑. สลัดออกจากความไม่มีศรัทธา
๒. สลัดออกจากความเร่าร้อนเพราะความไม่มีศรัทธา
๓. สลัดออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามความไม่มีศรัทธาและจากขันธ์
๔. สลัดออกจากสรรพนิมิตภายนอก
๕. สลัดออกจากสัทธินทรีย์ที่มีอยู่ก่อนแต่การได้สัทธินทรีย์ที่ประณีตกว่านั้น
เพราะมีสภาวะประคองไว้ วิริยินทรีย์จึง
๑. สลัดออกจากความเกียจคร้าน
๒. สลัดออกจากความเร่าร้อนเพราะความเกียจคร้าน
๓. สลัดออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามความเกียจคร้านและจากขันธ์
๔. สลัดออกจากสรรพนิมิตภายนอก
๕. สลัดออกจากวิริยินทรีย์ซึ่งมีอยู่ก่อนแต่การได้วิริยินทรีย์ที่ประณีตกว่านั้น
เพราะมีสภาวะตั้งมั่น สตินทรีย์จึง
๑. สลัดออกจากความประมาท
๒. สลัดออกจากความเร่าร้อนเพราะความประมาท
๓. สลัดออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามความประมาทและจากขันธ์
๔. สลัดออกจากสรรพนิมิตภายนอก
๕. สลัดออกจากสตินทรีย์ซึ่งมีอยู่ก่อนแต่การได้สตินทรีย์ที่ประณีตกว่านั้น
เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน สมาธินทรีย์จึง
๑. สลัดออกจากอุทธัจจะ
๒. สลัดออกจากความเร่าร้อนเพราะอุทธัจจะ
๓. สลัดออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามอุทธัจจะนั้นและจากขันธ์
๔. สลัดออกจากสรรพนิมิตภายนอก
๕. สลัดออกจากสมาธินทรีย์ซึ่งมีอยู่ก่อนแต่การได้สมาธินทรีย์ที่ประณีตกว่านั้น
เพราะมีสภาวะเห็น ปัญญินทรีย์จึง
๑. สลัดออกจากอวิชชา
๒. สลัดออกจากความเร่าร้อนเพราะอวิชชา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๒. ทุติยสุตตันตนิทเทส
๓. สลัดออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามอวิชชาและจากขันธ์
๔. สลัดออกจากสรรพนิมิตภายนอก
๕. สลัดออกจากปัญญินทรีย์ซึ่งมีอยู่ก่อนแต่การได้ปัญญินทรีย์ที่ประณีตกว่านั้น
[๑๙๒] ด้วยอำนาจแห่งปฐมฌาน อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕
ในส่วนเบื้องต้น
ด้วยอำนาจแห่งทุติยฌาน อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕ ในปฐมฌาน
ด้วยอำนาจแห่งตติยฌาน อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕ ในทุติยฌาน
ด้วยอำนาจแห่งจตุตถฌาน อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕ ในตติยฌาน
ด้วยอำนาจแห่งอากาสานัญจายตนสมาบัติ อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจาก
อินทรีย์ ๕ ในจตุตถฌาน
ด้วยอำนาจแห่งวิญญาณัญจายตนสมาบัติ อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์
๕ ในอากาสานัญจายตนสมาบัติ
ด้วยอำนาจแห่งอากิญจัญญายตนสมาบัติ อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์
๕ ในวิญญาณัญจายตนสมาบัติ
ด้วยอำนาจแห่งเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจาก
อินทรีย์ ๕ ในอากิญจัญญายตนสมาบัติ
ด้วยอำนาจแห่งอนิจจานุปัสสนา อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕
ในเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ (๘)
ด้วยอำนาจแห่งทุกขานุปัสสนา อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕ ใน
อนิจจานุปัสสนา
ด้วยอำนาจแห่งอนัตตานุปัสสนา อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕
ในทุกขานุปัสสนา
ด้วยอำนาจแห่งนิพพิทานุปัสสนา อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕
ในอนัตตานุปัสสนา
ด้วยอำนาจแห่งวิราคานุปัสสนา อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕
ในนิพพิทานุปัสสนา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๒. ทุติยสุตตันตนิทเทส
ด้วยอำนาจแห่งนิโรธานุปัสสนา อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕
ในวิราคานุปัสสนา
ด้วยอำนาจแห่งปฏินิสสัคคานุปัสสนา อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕
ในนิโรธานุปัสสนา
ด้วยอำนาจแห่งขยานุปัสสนา อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕
ในปฏินิสสัคคานุปัสสนา
ด้วยอำนาจแห่งวยานุปัสสนา อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕ ใน
ขยานุปัสสนา
ด้วยอำนาจแห่งวิปริณามานุปัสสนา อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕
ในวยานุปัสสนา
ด้วยอำนาจแห่งอนิมิตตานุปัสสนา อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕
ในวิปริณามานุปัสสนา
ด้วยอำนาจแห่งอัปปณิหิตานุปัสสนา อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕
ในอนิมิตตานุปัสสนา
ด้วยอำนาจแห่งสุญญตานุปัสสนา อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕
ในอัปปณิหิตานุปัสสนา
ด้วยอำนาจแห่งอธิปัญญาธัมมวิปัสสนา อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕
ในสุญญตานุปัสสนา
ด้วยอำนาจแห่งยถาภูตญาณทัสสนะ อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕
ในอธิปัญญาธัมมวิปัสสนา
ด้วยอำนาจแห่งอาทีนวานุปัสสนา อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕
ในยถาภูตญาณทัสสนะ
ด้วยอำนาจแห่งปฏิสังขานุปัสสนา อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕
ในอาทีนวานุปัสสนา
ด้วยอำนาจแห่งวิวัฏฏนานุปัสสนา อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕
ในปฏิสังขานุปัสสนา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๒. ทุติยสุตตันตนิทเทส
ด้วยอำนาจแห่งโสดาปัตติมรรค อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕
ในวิวัฏฏนานุปัสสนา (๑๘-๒๖)
ด้วยอำนาจแห่งโสดาปัตติผลสมาบัติ อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕
ในโสดาปัตติมรรค
ด้วยอำนาจแห่งสกทาคามิมรรค อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕
ในโสดาปัตติผล
ด้วยอำนาจแห่งสกทาคามิผลสมาบัติ อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕
ในสกทาคามิมรรค
ด้วยอำนาจแห่งอนาคามิมรรค อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕
ในสกทาคามิผลสมาบัติ
ด้วยอำนาจแห่งอนาคามิผลสมาบัติ อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕
ในอนาคามิมรรค
ด้วยอำนาจแห่งอรหัตตมรรค อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕
ในอนาคามิผล
ด้วยอำนาจแห่งอรหัตตผลสมาบัติ อินทรีย์ ๕ จึงสลัดออกจากอินทรีย์ ๕
ในอรหัตตมรรค
อินทรีย์ ๕ ในเนกขัมมะ สลัดออกจากกามฉันทะ
อินทรีย์ ๕ ในอพยาบาท สลัดออกจากพยาบาท
อินทรีย์ ๕ ในอาโลกสัญญา สลัดออกจากถีนมิทธะ
อินทรีย์ ๕ ในอวิกเขปะ สลัดออกจากอุทธัจจะ
อินทรีย์ ๕ ในธัมมววัตถาน สลัดออกจากวิจิกิจฉา
อินทรีย์ ๕ ในญาณ สลัดออกจากอวิชชา
อินทรีย์ ๕ ในปามุชชะ สลัดออกจากอรติ
[๑๙๓] อินทรีย์ ๕ ในปฐมฌาน สลัดออกจากนิวรณ์
อินทรีย์ ๕ ในทุติยฌาน สลัดออกจากวิตกวิจาร
อินทรีย์ ๕ ในตติยฌาน สลัดออกจากปีติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๒. ทุติยสุตตันตนิทเทส
อินทรีย์ ๕ ในจตุตถฌาน สลัดออกจากสุขและทุกข์
อินทรีย์ ๕ ในอากาสานัญจายตนสมาบัติ สลัดออกจากรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา
นานัตตสัญญา
อินทรีย์ ๕ ในวิญญาณัญจายตนสมาบัติ สลัดออกจากอากาสานัญจายตน-
สัญญา
อินทรีย์ ๕ ในอากิญจัญญายตนสมาบัติ สลัดออกจากวิญญาณัญจายตน-
สัญญา
อินทรีย์ ๕ ในเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ สลัดออกจากอากิญจัญญายตน-
สัญญา
อินทรีย์ ๕ ในอนิจจานุปัสสนา สลัดออกจากนิจจสัญญา
อินทรีย์ ๕ ในทุกขานุปัสสนา สลัดออกจากสุขสัญญา
อินทรีย์ ๕ ในอนัตตานุปัสสนา สลัดออกจากอัตตสัญญา
อินทรีย์ ๕ ในนิพพิทานุปัสสนา สลัดออกจากนันทิ
อินทรีย์ ๕ ในวิราคานุปัสสนา สลัดออกจากราคะ
อินทรีย์ ๕ ในนิโรธานุปัสสนา สลัดออกจากสมุทัย
อินทรีย์ ๕ ในปฏินิสสัคคานุปัสสนา สลัดออกจากอาทานะ
อินทรีย์ ๕ ในขยานุปัสสนา สลัดออกจากฆนสัญญา
อินทรีย์ ๕ ในวยานุปัสสนา สลัดออกจากอายุหนะ
อินทรีย์ ๕ ในวิปริณามานุปัสสนา สลัดออกจากธุวสัญญา
อินทรีย์ ๕ ในอนิมิตตานุปัสสนา สลัดออกจากนิมิต
อินทรีย์ ๕ ในอัปปณิหิตานุปัสสนา สลัดออกจากปณิธิ
อินทรีย์ ๕ ในสุญญตานุปัสสนา สลัดออกจากอภินิเวส
อินทรีย์ ๕ ในอธิปัญญาธัมมวิปัสสนา สลัดออกจากสาราทานาภินิเวส
อินทรีย์ ๕ ในยถาภูตญาณทัสสนะ สลัดออกจากสัมโมหาภินิเวส
อินทรีย์ ๕ ในอาทีนวานุปัสสนา สลัดออกจากอาลยาภินิเวส
อินทรีย์ ๕ ในปฏิสังขานุปัสสนา สลัดออกจากอัปปฏิสังขา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๐๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๓. ตติยสุตตันตนิทเทส
อินทรีย์ ๕ ในวิวัฏฏนานุปัสสนา สลัดออกจากสัญโญคาภินิเวส
อินทรีย์ ๕ ในโสดาปัตติมรรค สลัดออกจากกิเลสซึ่งอยู่ร่วมกันกับทิฏฐิ
อินทรีย์ ๕ ในสกทาคามิมรรค สลัดออกจากกิเลสอย่างหยาบ
อินทรีย์ ๕ ในอนาคามิมรรค สลัดออกจากกิเลสอย่างละเอียด
อินทรีย์ ๕ ในอรหัตตมรรค สลัดออกจากกิเลสทั้งปวง
อินทรีย์ ๕ ในธรรมนั้น ๆ อันพระขีณาสพทั้งปวงสลัดออกได้แล้ว สลัดออก
ดีแล้ว ระงับแล้ว และระงับดีแล้ว
อินทรีย์ ๕ มีเครื่องสลัดออกด้วยอาการ ๑๘๐ อย่างนี้ บุคคลรู้ชัดเครื่องสลัด
ออกจากอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๑๘๐ อย่างนี้

สุตตันตนิทเทสที่ ๒ จบ
ปฐมภาณวาร จบ

๓. ตติยสุตตันตนิทเทส
แสดงสูตรที่ ๓
[๑๙๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. สัทธินทรีย์ (อินทรีย์คือศรัทธา)
๒. วิริยินทรีย์ (อินทรีย์คือวิริยะ)
๓. สตินทรีย์ (อินทรีย์คือสติ)
๔. สมาธินทรีย์ (อินทรีย์คือสมาธิ)
๕. ปัญญินทรีย์ (อินทรีย์คือปัญญา)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๓. ตติยสุตตันตนิทเทส
ภิกษุทั้งหลาย พึงเห็นสัทธินทรีย์ได้ที่ไหน
พึงเห็นได้ในโสตาปัตติยังคะ๑ ๔ พึงเห็นสัทธินทรีย์ได้ที่นี้
พึงเห็นวิริยินทรีย์ได้ที่ไหน
พึงเห็นได้ในสัมมัปปธาน ๔ พึงเห็นวิริยินทรีย์ได้ที่นี้
พึงเห็นสตินทรีย์ได้ที่ไหน
พึงเห็นได้ในสติปัฏฐาน ๔ พึงเห็นสตินทรีย์ได้ที่นี้
พึงเห็นสมาธินทรีย์ได้ที่ไหน
พึงเห็นได้ในฌาน ๔ พึงเห็นสมาธินทรีย์ได้ที่นี้
พึงเห็นปัญญินทรีย์ได้ที่ไหน
พึงเห็นได้ในอริยสัจ ๔ พึงเห็นปัญญินทรีย์ได้ที่นี้
ด้วยอำนาจแห่งสัทธินทรีย์ในโสตาปัตติยังคะ ๔ พึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ
เท่าไร
ด้วยอำนาจแห่งวิริยินทรีย์ในสัมมัปปธาน ๔ พึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ
เท่าไร
ด้วยอำนาจแห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน ๔ พึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร
ด้วยอำนาจแห่งสมาธินทรีย์ในฌาน ๔ พึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร
ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ ๔ พึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร
คือ ด้วยอำนาจแห่งสัทธินทรีย์ในโสตาปัตติยังคะ ๔ พึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วย
อาการ ๒๐ อย่าง
ด้วยอำนาจแห่งวิริยินทรีย์ในสัมมัปปธาน ๔ พึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ อย่าง
ด้วยอำนาจแห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน ๔ พึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ อย่าง
ด้วยอำนาจแห่งสมาธินทรีย์ในฌาน ๔ พึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ อย่าง
ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ ๔ พึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ อย่าง

เชิงอรรถ :
๑ โสตาปัตติยังคะ ได้แก่ (๑) คบหาสัตบุรุษ (๒) ฟังสัทธรรม (๓) มนสิการโดยอุบายแยบคาย (๔) ปฏิบัติ
ธรรมสมควรแก่ธรรม (ขุ.ป.อ. ๒/๑๙๔/๑๖๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๓. ตติยสุตตันตนิทเทส
(๑) ปเภทคณนนิทเทส
แสดงอินทรีย์ตามหมวดธรรมต่าง ๆ
[๑๙๕] ด้วยอำนาจแห่งสัทธินทรีย์ในโสตาปัตติยังคะ ๔ พึงเห็นอินทรีย์
๕ ด้วยอาการ ๒๐ อย่าง เป็นอย่างไร
คือ พึงเห็นสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในการน้อมใจเชื่อในโสตาปัตติ-
ยังคะคือการคบสัตบุรุษ (และ) ด้วยอำนาจแห่งสัทธินทรีย์ พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะ
มีสภาวะประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์
เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น
พึงเห็นสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในการน้อมใจเชื่อในโสตาปัตติยังคะ
คือการฟังสัทธรรมของสัตบุรุษ ฯลฯ
พึงเห็นสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในการน้อมใจเชื่อในโสตาปัตติยังคะ
คือการมนสิการโดยอุบายแยบคาย ฯลฯ
พึงเห็นสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในการน้อมใจเชื่อในโสตาปัตติยังคะ
คือการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม (และ) ด้วยอำนาจแห่งสัทธินทรีย์ พึงเห็น
วิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น พึงเห็น
สมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น
ด้วยอำนาจแห่งสัทธินทรีย์ ในโสตาปัตติยังคะ ๔ พึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วย
อาการ ๒๐ อย่างนี้
ด้วยอำนาจแห่งวิริยินทรีย์ในสัมมัปปธาน ๔ พึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ
๒๐ อย่าง เป็นอย่างไร
คือ พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในการประคองไว้ในสัมมัปปธาน
คือการไม่ทำบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น (และ) ด้วยอำนาจแห่งวิริยินทรีย์
พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน
พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ
พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในการประคองไว้ในสัมมัปปธาน
คือการละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๓. ตติยสุตตันตนิทเทส
พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในการประคองไว้ในสัมมัปปธาน
คือการทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ฯลฯ
พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในการประคองไว้ในสัมมัปปธาน
คือความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่ แห่งกุศลธรรมที่
เกิดขึ้นแล้ว (และ) ด้วยอำนาจแห่งวิริยินทรีย์ พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น
พึงเห็นสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น
พึงเห็นสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมไป
ด้วยอำนาจแห่งวิริยินทรีย์ ในสัมมัปปธาน ๔ พึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วย
อาการ ๒๐ อย่างนี้
ด้วยอำนาจแห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน ๔ พึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วย
อาการ ๒๐ อย่าง เป็นอย่างไร
คือ พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ในการตั้งมั่นในสติปัฏฐานคือ
การพิจารณาเห็นกายในกาย (และ) ด้วยอำนาจแห่งสตินทรีย์ พึงเห็นสมาธินทรีย์
เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์
เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้
พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ในการตั้งมั่นในสติปัฏฐานคือการ
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ในการตั้งมั่นในสติปัฏฐานคือการ
พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ในการตั้งมั่นในสติปัฏฐานคือการ
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย (และ) ด้วยอำนาจแห่งสตินทรีย์ พึงเห็น
สมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น
พึงเห็นสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะ
ประคองไว้
ด้วยอำนาจแห่งสตินทรีย์ ในสติปัฏฐาน ๔ พึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ
๒๐ อย่างนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๓. ตติยสุตตันตนิทเทส
ด้วยอำนาจแห่งสมาธินทรีย์ในฌาน ๔ พึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐
อย่าง เป็นอย่างไร
คือ พึงเห็นสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความไม่ฟุ้งซ่านในปฐมฌาน
(และ) ด้วยอำนาจแห่งสมาธินทรีย์ พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น พึงเห็น
สัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้
พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น
พึงเห็นสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความไม่ฟุ้งซ่าน ในทุติยฌาน ฯลฯ
พึงเห็นสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความไม่ฟุ้งซ่านในตติยฌาน
ฯลฯ
พึงเห็นสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความไม่ฟุ้งซ่านในจตุตถฌาน
(และ) ด้วยอำนาจแห่งสมาธินทรีย์ พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น พึงเห็น
สัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้
พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น
ด้วยอำนาจแห่งสมาธินทรีย์ในฌาน ๔ พึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐
อย่างนี้
ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ ๔ พึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐
อย่าง เป็นอย่างไร
คือ พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ในการเห็นในอริยสัจคือทุกข์
(และ) ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ พึงเห็นสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ
พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น
พึงเห็นสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน
พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ในการเห็นในอริยสัจคือทุกขสมุทัย
ฯลฯ
พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ในการเห็นในอริยสัจคือทุกขนิโรธ
ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๓. ตติยสุตตันตนิทเทส
พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ในการเห็นในอริยสัจคือทุกขนิโรธ-
คามินีปฏิปทา (และ) ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ พึงเห็นสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะ
น้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะ
มีสภาวะตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน
ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ ๔ พึงเห็นอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐
อย่างนี้

(๒) จริยวาร
วาระว่าด้วยความประพฤติ
[๑๙๖] ด้วยอำนาจแห่งสัทธินทรีย์ในโสตาปัตติยังคะ ๔ พึงเห็นความ
ประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการเท่าไร
ด้วยอำนาจแห่งวิริยินทรีย์ในสัมมัปปธาน ๔ ฯลฯ
ด้วยอำนาจแห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน ๔ ฯลฯ
ด้วยอำนาจแห่งสมาธินทรีย์ในฌาน ๔ ฯลฯ
ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ ๔ พึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕
ด้วยอาการเท่าไร
คือ ด้วยอำนาจแห่งสัทธินทรีย์ในโสตาปัตติยังคะ ๔ พึงเห็นความประพฤติ
แห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ อย่าง
ด้วยอำนาจแห่งวิริยินทรีย์ในสัมมัปปธาน ๔ ฯลฯ
ด้วยอำนาจแห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน ๔ ฯลฯ
ด้วยอำนาจแห่งสมาธินทรีย์ในฌาน ๔ ฯลฯ
ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ ๔ พึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕
ด้วยอาการ ๒๐ อย่าง
ด้วยอำนาจแห่งสัทธินทรีย์ในโสตาปัตติยังคะ ๔ พึงเห็นความประพฤติ
แห่งอินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ อย่าง เป็นอย่างไร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๓. ตติยสุตตันตนิทเทส
คือ พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความ
น้อมใจเชื่อ ในโสตาปัตติยังคะคือการคบหาสัตบุรุษ (และ) ด้วยอำนาจสัทธินทรีย์
พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้ พึงเห็นความ
ประพฤติแห่งสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์
เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นความประพฤติแห่งปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น
พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความ
น้อมใจเชื่อ ในโสตาปัตติยังคะคือการฟังธรรมของสัตบุรุษ ฯลฯ
พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความ
น้อมใจเชื่อ ในโสตาปัตติยังคะคือการมนสิการโดยอุบายแยบคาย ฯลฯ
พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความ
น้อมใจเชื่อ ในโสตาปัตติยังคะคือการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม (และ) ด้วยอำนาจ
สัทธินทรีย์ พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น พึงเห็นความ
ประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นความประพฤติแห่ง
ปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น
ด้วยอำนาจแห่งสัทธินทรีย์ในโสตาปัตติยังคะ ๔ พึงเห็นความประพฤติแห่ง
อินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ อย่างนี้
ด้วยอำนาจแห่งวิริยินทรีย์ในสัมมัปปธาน ๔ พึงเห็นความประพฤติแห่ง
อินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ อย่าง เป็นอย่างไร
คือ พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในการ
ประคองไว้ ในสัมมัปปธานคือการไม่ทำบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น (และ)
ด้วยอำนาจแห่งวิริยินทรีย์ พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น
พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นความ
ประพฤติแห่งปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์
เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ ฯลฯ
พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในการประคองไว้
ในสัมมัปปธานคือการละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๓. ตติยสุตตันตนิทเทส
พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในการประคองไว้
ในสัมมัปปธานคือการทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ฯลฯ
พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในการประคองไว้
ในสัมมัปปธานคือความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่ แห่ง
กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว (และ) ด้วยอำนาจแห่งวิริยินทรีย์ พึงเห็นความประพฤติแห่ง
สตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น ฯลฯ พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ เพราะมี
สภาวะน้อมใจเชื่อ
ด้วยอำนาจแห่งวิริยินทรีย์ในสัมมัปปธาน ๔ พึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์
๕ ด้วยอาการ ๒๐ อย่างนี้
ด้วยอำนาจแห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน ๔ พึงเห็นความประพฤติแห่ง
อินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ อย่าง เป็นอย่างไร
คือ พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความตั้งมั่น
ในสติปัฏฐานคือการพิจารณาเห็นกายในกาย (และ) ด้วยอำนาจแห่งสตินทรีย์ พึงเห็น
ความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นความประพฤติแห่ง
ปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ เพราะมี
สภาวะน้อมใจเชื่อ พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้
พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความตั้งมั่น
ในสติปัฏฐานคือการพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความตั้งมั่น
ในสติปัฏฐานคือการพิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความตั้งมั่น
ในสติปัฏฐานคือการพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย (และ) ด้วยอำนาจแห่ง
สตินทรีย์ ฯลฯ พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้
ด้วยอำนาจแห่งสตินทรีย์ในสติปัฏฐาน ๔ พึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕
ด้วยอาการ ๒๐ อย่างนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๓. ตติยสุตตันตนิทเทส
ด้วยอำนาจแห่งสมาธินทรีย์ในฌาน ๔ พึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์
๕ ด้วยอาการ ๒๐ อย่าง เป็นอย่างไร
คือ พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความ
ไม่ฟุ้งซ่านในปฐมฌาน (และ) ด้วยอำนาจแห่งสมาธินทรีย์ พึงเห็นความประพฤติแห่ง
ปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น พึงเห็นความประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ เพราะมี
สภาวะน้อมใจเชื่อ พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้ พึงเห็น
ความประพฤติแห่งสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น
พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความไม่
ฟุ้งซ่านในทุติยฌาน ฯลฯ
พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความไม่
ฟุ้งซ่านในตติยฌาน ฯลฯ
พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความไม่
ฟุ้งซ่านในจตุตถฌาณ ฯลฯ พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น
ด้วยอำนาจแห่งสมาธินทรีย์ในฌาน ๔ พึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕
ด้วยอาการ ๒๐ อย่างนี้
ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ ๔ พึงเห็นความประพฤติแห่ง
อินทรีย์ ๕ ด้วยอาการ ๒๐ อย่าง เป็นอย่างไร
คือ พึงเห็นความประพฤติแห่งปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในการเห็น
อริยสัจคือทุกข์ (และ) ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ พึงเห็นความประพฤติแห่ง
สัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ พึงเห็นความประพฤติแห่งวิริยินทรีย์ เพราะมี
สภาวะประคองไว้ พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น พึงเห็น
ความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน
พึงเห็นความประพฤติแห่งปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความเห็น
อริยสัจคือทุกขสมุทัย ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๓. ตติยสุตตันตนิทเทส
พึงเห็นความประพฤติแห่งปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความเห็น
อริยสัจคือทุกขนิโรธ ฯลฯ
พึงเห็นความประพฤติแห่งปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความเห็น
อริยสัจคือทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (และ) ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ พึงเห็นความ
ประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ พึงเห็นความประพฤติแห่ง
วิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้ พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ เพราะมี
สภาวะตั้งมั่น พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน
ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ ๔ พึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ ๕
ด้วยอาการ ๒๐ อย่างนี้

จารวิหารนิทเทส
แสดงความประพฤติและความเป็นอยู่
[๑๙๗] ความประพฤติและความเป็นอยู่ เป็นอันตรัสรู้แล้ว รู้แจ้งแล้ว
เหมือนอย่างสพรหมจารีผู้รู้แจ้ง มั่นใจบุคคล ตามที่ประพฤติ ตามที่เป็นอยู่ในฐานะ
ที่ลึกซึ้งว่า “ท่านผู้นี้บรรลุแล้วหรือว่าจักบรรลุแน่”
คำว่า ความประพฤติ อธิบายว่า ความประพฤติ ๘ อย่าง ได้แก่
๑. ความประพฤติในอิริยาบถ
๒. ความประพฤติในอายตนะ
๓. ความประพฤติในสติ
๔. ความประพฤติในสมาธิ
๕. ความประพฤติในญาณ
๖. ความประพฤติในมรรค
๗. ความประพฤติในผล
๘. ความประพฤติเพื่อประโยชน์แก่โลก
คำว่า ความประพฤติในอิริยาบถ ได้แก่ ความประพฤติในอิริยาบถ ๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๓. ตติยสุตตันตนิทเทส
คำว่า ความประพฤติในอายตนะ ได้แก่ ความประพฤติในอายตนะภายในและ
อายตนะภายนอกอย่างละ ๖
คำว่า ความประพฤติในสติ ได้แก่ ความประพฤติในสติปัฏฐาน ๔
คำว่า ความประพฤติในสมาธิ ได้แก่ ความประพฤติในฌาน ๔
คำว่า ความประพฤติในญาณ ได้แก่ ความประพฤติในอริยสัจ ๔
คำว่า ความประพฤติในมรรค ได้แก่ ความประพฤติในอริยมรรค ๔
คำว่า ความประพฤติในผล ได้แก่ ความประพฤติในสามัญญผล ๔
คำว่า ความประพฤติเพื่อประโยชน์แก่โลก ได้แก่ ความประพฤติในพระ
ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ความประพฤติในพระปัจเจกพุทธเจ้าบางส่วน
ความประพฤติในพระสาวกบางส่วน ความประพฤติในอิริยาบถมีแก่ผู้ตั้งตนไว้ชอบ
ความประพฤติในอายตนะมีแก่ผู้สำรวมอินทรีย์ ความประพฤติในสติมีแก่ผู้ที่อยู่ด้วย
ความไม่ประมาท ความประพฤติในสมาธิมีแก่ผู้ขวนขวายในอธิจิต ความประพฤติ
ในญาณมีแก่ผู้บรรลุปัญญาเครื่องตรัสรู้ ความประพฤติในมรรคมีแก่ผู้ปฏิบัติชอบ
ความประพฤติในผลมีแก่ผู้ได้บรรลุผล และความประพฤติเพื่อประโยชน์แก่โลกมีแก่
พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าบางส่วน พระสาวก
บางส่วน เหล่านี้ ชื่อว่าความประพฤติ ๘ อย่าง
อีกนัยหนึ่ง ความประพฤติ ๘ อย่าง คือ
๑. เมื่อน้อมใจเชื่อ ชื่อว่าย่อมประพฤติด้วยศรัทธา
๒. เมื่อประคองใจ ชื่อว่าย่อมประพฤติด้วยวิริยะ
๓. เมื่อตั้งจิตมั่น ชื่อว่าย่อมประพฤติด้วยสติ
๔. เมื่อทำความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าย่อมประพฤติด้วยสมาธิ
๕. เมื่อรู้ชัด ชื่อว่าย่อมประพฤติด้วยปัญญา
๖. เมื่อรู้แจ้ง ชื่อว่าย่อมประพฤติด้วยวิญญาณ๑

เชิงอรรถ :
๑ วิญญาณ ในที่นี้หมายถึงอาวัชชนวิญญาณ (ขุ.ป.อ. ๒/๑๙๗/๑๖๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๓. ตติยสุตตันตนิทเทส
๗. เมื่อมนสิการว่า “กุศลธรรมทั้งหลายย่อมดำเนินไปแก่ผู้ปฏิบัติอย่างนี้”
ชื่อว่าย่อมประพฤติด้วยความประพฤติในอายตนะ
๘. เมื่อมนสิการว่า “ผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ย่อมบรรลุคุณวิเศษ” ชื่อว่า
ย่อมประพฤติด้วยความประพฤติด้วยคุณวิเศษ
เหล่านี้ ชื่อว่าความประพฤติ ๘ อย่าง
อีกนัยหนึ่ง ความประพฤติ ๘ อย่าง คือ
๑. ความประพฤติสัมมาทิฏฐิ ชื่อว่าทัสสนจริยา (ความประพฤติด้วย
ความเห็น)
๒. ความประพฤติสัมมาสังกัปปะ ชื่อว่าอภินิโรปนจริยา (ความประพฤติ
ด้วยการปลูกฝังความดำริ)
๓. ความประพฤติสัมมาวาจา ชื่อว่าปริคคหจริยา (ความประพฤติด้วย
การกำหนดสำรวมวจี ๔ อย่าง )
๔. ความประพฤติสัมมากัมมันตะ ชื่อว่าสมุฏฐานจริยา (ความประพฤติ
ด้วยความหมั่น)
๕. ความประพฤติสัมมาอาชีวะ ชื่อว่าโวทานจริยา (ความประพฤติด้วย
ความผ่องแผ้ว)
๖. ความประพฤติสัมมาวายามะ ชื่อว่าปัคคหจริยา (ความประพฤติ
ด้วยการประคองความเพียร)
๗. ความประพฤติสัมมาสติ ชื่อว่าอุปัฏฐานจริยา (ความประพฤติด้วย
การเข้าไปตั้งสติ)
๘. ความประพฤติสัมมาสมาธิ ชื่อว่าอวิกเขปจริยา (ความประพฤติด้วย
ความไม่ฟุ้งซ่าน)
เหล่านี้ ชื่อว่าความประพฤติ ๘ อย่าง๑
คำว่า ความเป็นอยู่ อธิบายว่า บุคคลผู้น้อมใจเชื่อย่อมอยู่ด้วยศรัทธา ผู้
ประคองไว้ย่อมอยู่ด้วยความเพียร ผู้ตั้งมั่นย่อมอยู่ด้วยสติ ผู้ทำความไม่ฟุ้งซ่าน
ย่อมอยู่ด้วยสมาธิ ผู้รู้ชัดย่อมอยู่ด้วยปัญญา

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๑๒๑/๓๙๙-๔๐๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๓. ตติยสุตตันตนิทเทส
คำว่า ตรัสรู้แล้ว อธิบายว่า สภาวะที่น้อมใจเชื่อแห่งสัทธินทรีย์เป็นอันตรัสรู้
แล้ว สภาวะที่ประคองไว้แห่งวิริยินทรีย์เป็นอันตรัสรู้แล้ว สภาวะที่ตั้งมั่นแห่ง
สตินทรีย์เป็นอันตรัสรู้แล้ว สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งสมาธินทรีย์เป็นอันตรัสรู้แล้ว
สภาวะที่เห็นแห่งปัญญินทรีย์เป็นอันตรัสรู้แล้ว
คำว่า รู้แจ้งแล้ว อธิบายว่า สภาวะที่น้อมใจเชื่อแห่งสัทธินทรีย์เป็นอันรู้แจ้ง
แล้ว สภาวะที่ประคองไว้แห่งวิริยินทรีย์เป็นอันรู้แจ้งแล้ว สภาวะที่ตั้งมั่นแห่ง
สตินทรีย์เป็นอันรู้แจ้งแล้ว สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งสมาธินทรีย์เป็นอันรู้แจ้งแล้ว
สภาวะที่เห็นแห่งปัญญินทรีย์เป็นอันรู้แจ้งแล้ว
คำว่า ตามที่ประพฤติ อธิบายว่า ประพฤติด้วยศรัทธาอย่างนี้ ประพฤติด้วย
ความเพียรอย่างนี้ ประพฤติด้วยสติอย่างนี้ ประพฤติด้วยสมาธิอย่างนี้ ประพฤติด้วย
ปัญญาอย่างนี้
คำว่า ตามที่เป็นอยู่ อธิบายว่า เป็นอยู่ด้วยศรัทธาอย่างนี้ เป็นอยู่ด้วยความ
เพียรอย่างนี้ เป็นอยู่ด้วยสติอย่างนี้ เป็นอยู่ด้วยสมาธิอย่างนี้ เป็นอยู่ด้วยปัญญา
อย่างนี้
คำว่า ผู้รู้แจ้ง อธิบายว่า ผู้รู้แจ้ง ผู้มีปัญญาแจ่มแจ้ง ผู้มีปัญญาทำลายกิเลส
ผู้เป็นบัณฑิต ผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาเครื่องตรัสรู้
คำว่า สพรหมจารี อธิบายว่า ผู้ที่มีกรรมอย่างเดียวกัน มีอุทเทสอย่างเดียวกัน
มีสิกขาเสมอกัน
คำว่า ในฐานะที่ลึกซึ้ง อธิบายว่า ฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ มรรค
ผล อภิญญา และปฏิสัมภิทา ท่านกล่าวว่า เป็นฐานะที่ลึกซึ้ง
คำว่า มั่นใจ ได้แก่ พึงเชื่อ คือ พึงน้อมไป
คำว่า แน่ นี้เป็นคำกล่าวโดยนัยเดียว เป็นคำกล่าวโดยไม่สงสัย เป็นคำกล่าว
โดยไม่เคลือบแคลง เป็นคำกล่าวโดยไม่เป็น ๒ นัย เป็นคำกล่าวโดยไม่เป็น ๒ อย่าง
เป็นคำกล่าวโดยรัดกุม เป็นคำกล่าวโดยไม่ผิด คำว่า แน่ นี้ เป็นคำกล่าวที่กำหนดไว้
แน่นอน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๔. จตุตถสุตตันตนิทเทส
คำว่า ท่าน นี้เป็นคำกล่าวด้วยความรัก เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ คำว่า
ท่านนี้ เป็นคำกล่าวที่มีความเคารพและความยำเกรง
คำว่า บรรลุแล้ว ได้แก่ ถึงแล้ว
คำว่า หรือว่าจักบรรลุ ได้แก่ หรือว่าจักถึง
สุตตันตนิทเทส ที่ ๓ จบ

๔. จตุตถสุตตันตนิทเทส
แสดงสูตรที่ ๔
[๑๙๘] เหตุเกิดขึ้นเหมือนในสูตรข้างต้น๑
ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์
๒. วิริยินทรีย์
๓. สตินทรีย์
๔. สมาธินทรีย์
๕. ปัญญินทรีย์
ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการ นี้แล
อินทรีย์ ๕ ประการนี้พึงเห็นด้วยอาการเท่าไร เพราะมีสภาวะอย่างไร
คือ อินทรีย์ ๕ ประการนี้พึงเห็นด้วยอาการ ๖ อย่าง เพราะมีสภาวะอย่างนี้
คือ พึงเห็นเพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ เพราะมีสภาวะเป็นเครื่องชำระศีลที่เป็นเบื้องต้น
ให้หมดจด เพราะมีสภาวะมีประมาณยิ่ง เพราะมีสภาวะตั้งมั่น เพราะมีสภาวะ
ทำให้สิ้นไป เพราะมีสภาวะให้ตั้งอยู่

เชิงอรรถ :
๑ สูตรข้างต้น ในที่นี้หมายถึงสูตรที่ ๑ (ข้อ ๑๘๔ หน้า ๒๙๐ ในเล่มนี้)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๔. จตุตถสุตตันตนิทเทส
(๑) อาธิปเตยยัฏฐนิทเทส
แสดงสภาวะเป็นใหญ่
[๑๙๙] พึงเห็นอินทรีย์เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ เป็นอย่างไร
คือ พึงเห็นสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ในความน้อมใจเชื่อแห่งบุคคล
ผู้ละความไม่มีศรัทธา (และ) ด้วยอำนาจแห่งสัทธินทรีย์ พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมี
สภาวะประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์
เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น
พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ในการประคองไว้แห่งบุคคลผู้ละ
ความเกียจคร้าน (และ) ด้วยอำนาจแห่งวิริยินทรีย์ พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะ
ตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมี
สภาวะเห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ
พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ในความตั้งมั่นแห่งบุคคลผู้ละความ
ประมาท (และ) ด้วยอำนาจแห่งสตินทรีย์ พึงเห็นสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่
ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะ
น้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้
พึงเห็นสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ในความไม่ฟุ้งซ่านแห่งบุคคลผู้ละ
อุทธัจจะ (และ) ด้วยอำนาจแห่งสมาธินทรีย์ พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น
พึงเห็นสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะ
ประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น
พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ในการเห็นแห่งบุคคลผู้ละอวิชชา
(และ) ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ พึงเห็นสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ
พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น
พึงเห็นสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน
พึงเห็นสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ในความน้อมใจเชื่อ ด้วยอำนาจแห่ง
เนกขัมมะของบุคคลผู้ละกามฉันทะ (และ) ด้วยอำนาจแห่งสัทธินทรีย์ พึงเห็น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๔. จตุตถสุตตันตนิทเทส
วิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้ พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น พึงเห็น
สมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น
พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ในการประคองไว้ ด้วยอำนาจแห่ง
เนกขัมมะของบุคคลผู้ละกามฉันทะ (และ) ด้วยอำนาจแห่งวิริยินทรีย์ พึงเห็นสตินทรีย์
เพราะมีสภาวะตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็น
ปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ
พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ในความตั้งมั่น ด้วยอำนาจแห่ง
เนกขัมมะของบุคคลผู้ละกามฉันทะ (และ) ด้วยอำนาจแห่งสตินทรีย์ พึงเห็นสมาธินทรีย์
เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น พึงเห็นสัทธินทรีย์
เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ
พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้ พึงเห็นสมาธินทรีย์ เพราะมี
สภาวะเป็นใหญ่ในความไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจแห่งเนกขัมมะของบุคคลผู้ละกามฉันทะ
(และ) ด้วยอำนาจแห่งสมาธินทรีย์ พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น พึงเห็น
สัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้
พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น
พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ในความเห็น ด้วยอำนาจแห่ง
เนกขัมมะของบุคคลผู้ละกามฉันทะ (และ) ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ พึงเห็น
สัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้
พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน
พึงเห็นสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ในความน้อมใจเชื่อ ด้วยอำนาจแห่ง
อพยาบาทของบุคคลผู้ละพยาบาท ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งอาโลกสัญญาของบุคคลผู้
ละถีนมิทธะ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งอรหัตตมรรคของบุคคลผู้ละกิเลสทั้งปวง (และ)
ด้วยอำนาจแห่งสัทธินทรีย์ พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้ พึงเห็น
สตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน
พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๔. จตุตถสุตตันตนิทเทส
พึงเห็นปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ในการเห็น ด้วยอำนาจแห่ง
อรหัตตมรรคของบุคคลผู้ละกิเลสทั้งปวง (และ) ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ พึงเห็น
สัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ พึงเห็นวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้
พึงเห็นสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น พึงเห็นสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน
พึงเห็นอินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ อย่างนี้ (๑)

(๒) อาทิวิโสธนัฏฐนิทเทส
แสดงสภาวะเครื่องชำระศีลที่เป็นเบื้องต้นให้หมดจด
[๒๐๐] พึงเห็นอินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นเครื่องชำระศีลที่เป็นเบื้อง
ต้นให้หมดจด เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีสภาวะ
ระวังความไม่มีศรัทธา เป็นเครื่องชำระศีลที่เป็นเบื้องต้นแห่งสัทธินทรีย์ให้หมดจด
ชื่อว่าวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้ ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีสภาวะ
ระวังความเกียจคร้าน เป็นเครื่องชำระศีลที่เป็นเบื้องต้นแห่งวิริยินทรีย์ให้หมดจด
ชื่อว่าสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีสภาวะระวัง
ความประมาท เป็นเครื่องชำระศีลที่เป็นเบื้องต้นแห่งสตินทรีย์ให้หมดจด
ชื่อว่าสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีสภาวะ
ระวังอุทธัจจะ เป็นเครื่องชำระศีลที่เป็นเบื้องต้นแห่งสมาธินทรีย์ให้หมดจด
ชื่อว่าปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีสภาวะระวัง
อวิชชา เป็นเครื่องชำระศีลที่เป็นเบื้องต้นแห่งปัญญินทรีย์ให้หมดจด
อินทรีย์ ๕ ในเนกขัมมะ ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีสภาวะระวังกามฉันทะ
เป็นเครื่องชำระศีลที่เป็นเบื้องต้นแห่งอินทรีย์ ๕ ให้หมดจด


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๔. จตุตถสุตตันตนิทเทส
อินทรีย์ ๕ ในอพยาบาท ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีสภาวะระวังพยาบาท
เป็นเครื่องชำระศีลที่เป็นเบื้องต้นแห่งอินทรีย์ ๕ ให้หมดจด ฯลฯ
อินทรีย์ ๕ ในอรหัตตมรรค ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีสภาวะระวังกิเลสทั้งปวง
เป็นเครื่องชำระศีลที่เป็นเบื้องต้นแห่งอินทรีย์ ๕ ให้หมดจด
พึงเห็นอินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นเครื่องชำระศีลที่เป็นเบื้องต้นให้หมดจด
อย่างนี้ (๒)

(๓) อธิมัตตัฏฐนิทเทส
แสดงสภาวะมีประมาณยิ่ง
[๒๐๑] พึงเห็นอินทรีย์ เพราะมีสภาวะมีประมาณยิ่ง เป็นอย่างไร
คือ เพราะเจริญสัทธินทรีย์ ฉันทะจึงเกิดขึ้น ด้วยอำนาจฉันทะ ปามุชชะจึง
เกิดขึ้น ด้วยอำนาจปามุชชะ ด้วยอำนาจศรัทธา สัทธินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง
ด้วยอำนาจปามุชชะ ปีติจึงเกิดขึ้น ด้วยอำนาจปีติ ด้วยอำนาจศรัทธา
สัทธินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง
ด้วยอำนาจปีติ ปัสสัทธิจึงเกิดขึ้น ด้วยอำนาจปัสสัทธิ ด้วยอำนาจศรัทธา
สัทธินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง
ด้วยอำนาจปัสสัทธิ สุขจึงเกิดขึ้น ด้วยอำนาจสุข ด้วยอำนาจศรัทธา
สัทธินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง
ด้วยอำนาจสุข โอภาสจึงเกิดขึ้น ด้วยอำนาจโอภาส ด้วยอำนาจศรัทธา
สัทธินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง
ด้วยอำนาจโอภาส ความสังเวชจึงเกิดขึ้น ด้วยอำนาจความสังเวช ด้วยอำนาจ
ศรัทธา สัทธินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง
จิตสังเวชแล้วย่อมตั้งมั่น ด้วยอำนาจสมาธิ ด้วยอำนาจศรัทธา สัทธินทรีย์
จึงมีประมาณยิ่ง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๔. จตุตถสุตตันตนิทเทส
จิตตั้งมั่นอย่างนั้นแล้วย่อมประคองไว้ดี ด้วยอำนาจการประคองไว้ ด้วยอำนาจ
ศรัทธา สัทธินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง
จิตประคองไว้แล้วอย่างนั้นย่อมวางเฉยดี ด้วยอำนาจอุเบกขา ด้วยอำนาจ
ศรัทธา สัทธินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง
ด้วยอำนาจอุเบกขา จิตจึงหลุดพ้นจากกิเลสที่มีสภาวะต่าง ๆ ด้วยอำนาจ
ความหลุดพ้น ด้วยอำนาจศรัทธา สัทธินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง
เพราะจิตหลุดพ้นแล้ว ธรรมเหล่านั้นจึงมีรสเป็นอย่างเดียวกัน เพราะมี
ความหมายว่าธรรมทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน ด้วยอำนาจภาวนา ด้วยอำนาจ
ศรัทธา สัทธินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง
เพราะเป็นธรรมที่เจริญแล้ว ธรรมเหล่านั้นจึงหลีกออกจากธรรมนั้นไปสู่ธรรม
ที่ประณีตกว่า ด้วยอำนาจความหลีกออก ด้วยอำนาจศรัทธา สัทธินทรีย์จึงมี
ประมาณยิ่ง
เพราะหลีกออกแล้ว ฉะนั้น บุคคลจึงสละ(กิเลสและขันธ์)ได้ ด้วยอำนาจ
ความสละ ด้วยอำนาจศรัทธา สัทธินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง
เพราะสละแล้ว ฉะนั้น กิเลสและขันธ์จึงดับ ด้วยอำนาจความดับ ด้วยอำนาจ
ศรัทธา สัทธินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง
ความสละด้วยอำนาจความดับมี ๒ ประการ คือ
๑. ความสละด้วยการบริจาค
๒. ความสละด้วยความแล่นไป
ชื่อว่าความสละด้วยการบริจาค เพราะสละกิเลสและขันธ์ ชื่อว่าความสละด้วย
ความแล่นไป เพราะจิตแล่นไปในนิพพานธาตุที่เป็นความดับ ความสละด้วยอำนาจ
ความดับมี ๒ ประการนี้
เพราะละความไม่มีศรัทธา ฉันทะจึงเกิดขึ้น เพราะละความเร่าร้อนเพราะ
ความไม่มีศรัทธา ฉันทะจึงเกิดขึ้น เพราะละกิเลสที่ตั้งอยู่รวมกันกับทิฏฐิ ฉันทะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๔. จตุตถสุตตันตนิทเทส
จึงเกิดขึ้น เพราะละกิเลสส่วนที่หยาบ ฉันทะจึงเกิดขึ้น เพราะละกิเลสส่วนที่ละเอียด
ฉันทะจึงเกิดขึ้น เพราะละกิเลสทั้งปวง ฉันทะจึงเกิดขึ้น ด้วยอำนาจศรัทธา
ด้วยอำนาจฉันทะ สัทธินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง
เพราะเจริญวิริยินทรีย์ ฉันทะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะละความเกียจคร้าน
ฉันทะจึงเกิดขึ้น เพราะละความเร่าร้อนเพราะความเกียจคร้าน ฉันทะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ
เพราะเจริญสตินทรีย์ ฉันทะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะละความประมาท
ฉันทะจึงเกิดขึ้น เพราะละความเร่าร้อนเพราะความประมาท ฉันทะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ
เพราะเจริญสมาธินทรีย์ ฉันทะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะละอุทธัจจะ ฉันทะจึง
เกิดขึ้น เพราะละความเร่าร้อนเพราะอุทธัจจะ ฉันทะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ
เพราะเจริญปัญญินทรีย์ ฉันทะจึงเกิดขึ้น ด้วยอำนาจฉันทะ ปามุชชะจึงเกิดขึ้น
ด้วยอำนาจปามุชชะ ด้วยอำนาจปัญญา ปัญญินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง
ด้วยอำนาจปามุชชะ ปีติจึงเกิดขึ้น ด้วยอำนาจปีติ ด้วยอำนาจปัญญา
ปัญญินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง
ด้วยอำนาจปีติ ปัสสัทธิจึงเกิดขึ้น ด้วยอำนาจปัสสัทธิ ด้วยอำนาจปัญญา
ปัญญินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง
ด้วยอำนาจปัสสัทธิ สุขจึงเกิดขึ้น ด้วยอำนาจสุข ด้วยอำนาจปัญญา
ปัญญินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง
ด้วยอำนาจสุข โอภาสจึงเกิดขึ้น ด้วยอำนาจโอภาส ด้วยอำนาจปัญญา
ปัญญินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง
ด้วยอำนาจโอภาส ความสังเวชจึงเกิดขึ้น ด้วยอำนาจความสังเวช ด้วยอำนาจ
ปัญญา ปัญญินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง
จิตสังเวชแล้วย่อมตั้งมั่น ด้วยอำนาจสมาธิ ด้วยอำนาจปัญญา ปัญญินทรีย์
จึงมีประมาณยิ่ง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๔. จตุตถสุตตันตนิทเทส
จิตตั้งมั่นแล้วอย่างนี้ย่อมประคองไว้ดี ด้วยอำนาจการประคองไว้ ด้วยอำนาจ
ปัญญา ปัญญินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง
จิตที่ประคองไว้แล้วอย่างนั้นย่อมวางเฉยดี ด้วยอำนาจอุเบกขา ด้วยอำนาจ
ปัญญา ปัญญินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง
ด้วยอำนาจอุเบกขา จิตจึงหลุดพ้นจากกิเลสที่มีสภาวะต่าง ๆ ด้วยอำนาจ
ความหลุดพ้น ด้วยอำนาจปัญญา ปัญญินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง
เพราะจิตหลุดพ้นแล้ว ธรรมเหล่านั้นจึงมีรสเป็นอย่างเดียวกัน เพราะมี
ความหมายว่าธรรมทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน ด้วยอำนาจภาวนา ด้วยอำนาจ
ปัญญา ปัญญินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง
เพราะเป็นธรรมที่เจริญแล้ว ธรรมเหล่านั้นจึงหลีกออกจากธรรมนั้นไปสู่ธรรม
ที่ประณีตกว่า ด้วยอำนาจความหลีกออก ด้วยอำนาจปัญญา ปัญญินทรีย์จึงมี
ประมาณยิ่ง
เพราะหลีกออกแล้ว บุคคลจึงสละ(กิเลสและขันธ์)ได้ ด้วยอำนาจความสละ
ด้วยอำนาจปัญญา ปัญญินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง
เพราะสละแล้ว ฉะนั้น กิเลสและขันธ์จึงดับ ด้วยอำนาจความดับ ด้วยอำนาจ
ปัญญา ปัญญินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง
ความสละด้วยอำนาจความดับมี ๒ ประการ คือ
๑. ความสละด้วยการบริจาค
๒. ความสละด้วยความแล่นไป
ชื่อว่าความสละด้วยการบริจาค เพราะสละกิเลสและขันธ์ ชื่อว่าความสละด้วย
ความแล่นไป เพราะจิตแล่นไปในนิพพานธาตุที่เป็นความดับ ความสละด้วยอำนาจ
ความดับมี ๒ ประการนี้
พึงเห็นอินทรีย์ เพราะมีสภาวะมีประมาณยิ่งอย่างนี้

ทุติยภาณวาร จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๔. จตุตถสุตตันตนิทเทส
(๔) อธิฏฐานัฏฐนิทเทส
แสดงสภาวะตั้งมั่น
[๒๐๒] พึงเห็นอินทรีย์เพราะมีสภาวะตั้งมั่น เป็นอย่างไร
คือ เพราะเจริญสัทธินทรีย์ ฉันทะจึงเกิดขึ้น ด้วยอำนาจฉันทะ ด้วยอำนาจ
ศรัทธา สัทธินทรีย์จึงตั้งมั่น ด้วยอำนาจฉันทะ ปามุชชะจึงเกิดขึ้น ด้วยอำนาจ
ปามุชชะ ด้วยอำนาจศรัทธา สัทธินทรีย์ย่อมตั้งมั่น ฯลฯ๑
พึงเห็นอินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่นอย่างนี้

(๕) ปริยาทานัฏฐนิทเทส
แสดงสภาวะทำให้สิ้นไป
พึงเห็นอินทรีย์เพราะมีสภาวะทำให้สิ้นไป เป็นอย่างไร
คือ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ สัทธินทรีย์จึงทำความไม่มีศรัทธาให้สิ้นไป
ทำความเร่าร้อนเพราะความไม่มีศรัทธาให้สิ้นไป
เพราะมีสภาวะประคองไว้ วิริยินทรีย์จึงทำความเกียจคร้านให้สิ้นไป ทำความ
เร่าร้อนเพราะความเกียจคร้านให้สิ้นไป
เพราะมีสภาวะตั้งมั่น สตินทรีย์จึงทำความประมาทให้สิ้นไป ทำความเร่าร้อน
เพราะความประมาทให้สิ้นไป
เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน สมาธินทรีย์จึงทำอุทธัจจะให้สิ้นไป ทำความเร่าร้อน
เพราะอุทธัจจะให้สิ้นไป
เพราะมีสภาวะเห็น ปัญญินทรีย์จึงทำอวิชชาให้สิ้นไป ทำความเร่าร้อน
เพราะอวิชชาให้สิ้นไป
อินทรีย์ ๕ ในเนกขัมมะ ทำกามฉันทะให้สิ้นไป

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มองค์ธรรมในข้อ ๒๐๑ หน้า ๓๒๖-๓๒๙ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๔. จตุตถสุตตันตนิทเทส
อินทรีย์ ๕ ในอพยาบาท ทำพยาบาทให้สิ้นไป
อินทรีย์ ๕ ในอาโลกสัญญา ทำถีนมิทธะให้สิ้นไป
อินทรีย์ ๕ ในอวิกเขปะ ทำอุทธัจจะให้สิ้นไป
ฯลฯ๑
อินทรีย์ ๕ ในอรหัตตมรรค ทำกิเลสทั้งปวงให้สิ้นไป
พึงเห็นอินทรีย์ ๕ เพราะมีสภาวะทำให้สิ้นไปอย่างนี้

(๖) ปติฏฐาปกัฏฐนิทเทส
แสดงสภาวะให้ตั้งอยู่
[๒๐๓] พึงเห็นอินทรีย์ เพราะมีสภาวะให้ตั้งอยู่ เป็นอย่างไร
คือ ผู้มีศรัทธาให้สัทธินทรีย์ตั้งอยู่ในความน้อมใจเชื่อ สัทธินทรีย์ของผู้มี
ศรัทธาให้ผู้มีศรัทธาตั้งอยู่ในความน้อมใจเชื่อ
ผู้มีความเพียรให้วิริยินทรีย์ตั้งอยู่ในการประคองไว้ วิริยินทรีย์ของผู้มีความ
เพียรให้ผู้มีความเพียรตั้งอยู่ในการประคองไว้
ผู้มีสติให้สตินทรีย์ตั้งอยู่ในความตั้งมั่น สตินทรีย์ของผู้มีสติให้ผู้มีสติตั้งอยู่ใน
ความตั้งมั่น
ผู้มีจิตตั้งมั่นให้สมาธินทรีย์ตั้งอยู่ในอวิกเขปะ สมาธินทรีย์ของผู้มีจิตตั้งมั่นให้ผู้
มีจิตตั้งมั่นตั้งอยู่ในอวิกเขปะ
ผู้มีปัญญาให้ปัญญินทรีย์ตั้งอยู่ในความเห็น ปัญญินทรีย์ของผู้มีปัญญาให้ผู้มี
ปัญญาตั้งอยู่ในความเห็น
พระโยคาวจรให้อินทรีย์ ๕ ตั้งอยู่ในเนกขัมมะ อินทรีย์ ๕ ของพระโยคาวจร
ให้พระโยคาวจรตั้งอยู่ในเนกขัมมะ

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มองค์ธรรมในข้อ ๑๙๒-๑๙๓ หน้า ๓๐๗-๓๐๙ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๕. อินทริยสโมธาน
พระโยคาวจรให้อินทรีย์ ๕ ตั้งอยู่ในอพยาบาท อินทรีย์ ๕ ของพระโยคาวจร
ให้พระโยคาวจรตั้งอยู่ในอพยาบาท
พระโยคาวจรให้อินทรีย์ ๕ ตั้งอยู่ในอาโลกสัญญา อินทรีย์ ๕ ของพระโยคาวจร
ให้พระโยคาวจรตั้งอยู่ในอาโลกสัญญา
พระโยคาวจรให้อินทรีย์ ๕ ตั้งอยู่ในอวิกเขปะ อินทรีย์ ๕ ของพระโยคาวจร
ให้พระโยคาวจรตั้งอยู่ในอวิกเขปะ ฯลฯ๑
พระโยคาวจรให้อินทรีย์ ๕ ตั้งอยู่ในอรหัตตมรรค อินทรีย์ ๕ ของพระโยคาวจร
ให้พระโยคาวจรตั้งอยู่ในอรหัตตมรรค
พึงเห็นอินทรีย์ เพราะมีสภาวะให้ตั้งอยู่อย่างนี้
สุตตันตนิทเทสที่ ๔ จบ

๕. อินทริยสโมธาน
ว่าด้วยการประชุมอินทรีย์
[๒๐๔] ปุถุชนเมื่อเจริญสมาธิ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการเท่าไร
พระเสขะเมื่อเจริญสมาธิ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการเท่าไร ท่านผู้
ปราศจากราคะเมื่อเจริญสมาธิ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการเท่าไร
คือ ปุถุชนเมื่อเจริญสมาธิ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๗ อย่าง พระ
เสขะเมื่อเจริญสมาธิ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๘ อย่าง ท่านผู้ปราศจาก
ราคะเมื่อเจริญสมาธิ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๐ อย่าง
ปุถุชนเมื่อเจริญสมาธิ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๗ อย่าง
อะไรบ้าง
คือ เพราะน้อมนึกถึงแล้ว ปุถุชน
๑. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอารมณ์
๒. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งสมถนิมิต

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มองค์ธรรมในข้อ ๑๙๒-๑๙๓ หน้า ๓๐๗-๓๐๙ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๕. อินทริยสโมธาน
๓. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งปัคคหนิมิต
๔. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอวิกเขปะ
๕. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งโอภาส
๖. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งสัมปหังสนะ
๗. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอุเบกขา
ปุถุชนเมื่อเจริญสมาธิ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๗ อย่างนี้
พระเสขะเมื่อเจริญสมาธิ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๘ อย่าง
อะไรบ้าง
คือ เพราะน้อมนึกถึงแล้ว พระเสขะ
๑. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอารมณ์
๒. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งสมถนิมิต
๓. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งปัคคหนิมิต
๔. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอวิกเขปะ
๕. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งโอภาส
๖. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งสัมปหังสนะ
๗. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอุเบกขา
๘. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งสภาวะเดียว
พระเสขะเมื่อเจริญสมาธิ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๘ อย่างนี้
ท่านผู้ปราศจากราคะเมื่อเจริญสมาธิ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ
๑๐ อย่าง อะไรบ้าง
คือ เพราะน้อมนึกถึงแล้ว ท่านผู้ปราศจากราคะ
๑. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอารมณ์
ฯลฯ
๘. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งสภาวะเดียว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๕. อินทริยสโมธาน
๙. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งญาณ
๑๐. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งจิต
ท่านผู้ปราศจากราคะเมื่อเจริญสมาธิ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๐
อย่างนี้
[๒๐๕] ปุถุชนเมื่อเจริญวิปัสสนา เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการเท่าไร
เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการเท่าไร
พระเสขะเมื่อเจริญวิปัสสนา เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการเท่าไร เป็นผู้
ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการเท่าไร
ท่านผู้ปราศจากราคะเมื่อเจริญวิปัสสนา เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ
เท่าไร เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการเท่าไร
คือ ปุถุชนเมื่อเจริญวิปัสสนา เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๙ อย่าง
เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๙ อย่าง
พระเสขะเมื่อเจริญวิปัสสนา เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๐ อย่าง
เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๐ อย่าง
ท่านผู้ปราศจากราคะเมื่อเจริญวิปัสสนา เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ
๑๒ อย่าง เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๒ อย่าง
ปุถุชนเมื่อเจริญวิปัสสนา เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๙ อย่าง
อะไรบ้าง เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๙ อย่าง อะไรบ้าง
คือ ปุถุชนเมื่อเจริญวิปัสสนา
๑. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความไม่เที่ยง
๒. เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเที่ยง
๓. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเป็นทุกข์
๔. เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นสุข

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๕. อินทริยสโมธาน
๕. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเป็นอนัตตา
๖. เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นอัตตา
๗. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความสิ้นไป
๘. เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นก้อน
๙. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเสื่อมไป
๑๐. เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความประมวลมา
๑๑. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความแปรผัน
๑๒. เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความยั่งยืน
๑๓. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยอนิมิต
๑๔. เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยนิมิต
๑๕. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความไม่มีปณิหิตะ (ที่ตั้ง)
๑๖. เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยปณิธิ
๑๗. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยสุญญตะ (ความว่าง)
๑๘. เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยอภินิเวส (ความยึดมั่น)
ปุถุชนเมื่อเจริญวิปัสสนา เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๙ อย่างนี้ เป็น
ผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๙ อย่างนี้
[๒๐๖] พระเสขะเมื่อเจริญวิปัสสนา เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ
๑๐ อย่าง อะไรบ้าง เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๐ อย่าง อะไรบ้าง
คือ พระเสขะเมื่อเจริญวิปัสสนา
๑. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความไม่เที่ยง
๒. เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเที่ยง
ฯลฯ
๑๗. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยสุญญตะ
๑๘. เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยอภินิเวส
๑๙. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งญาณ
๒๐. เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ซึ่งสิ่งที่มิใช่ญาณ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๕. อินทริยสโมธาน
พระเสขะเมื่อเจริญวิปัสสนา เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๐ อย่างนี้
เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๐ อย่างนี้
ท่านผู้ปราศจากราคะเมื่อเจริญวิปัสสนา เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วย
อาการ ๑๒ อย่าง อะไรบ้าง เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๒ อย่าง
อะไรบ้าง
คือ ท่านผู้ปราศจากราคะเมื่อเจริญวิปัสสนา
๑. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความไม่เที่ยง
๒. เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเที่ยง
ฯลฯ
๑๙. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งญาณ
๒๐. เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ซึ่งสิ่งที่มิใช่ญาณ
๒๑. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความไม่เกี่ยวข้อง
๒๒. เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเกี่ยวข้อง
๒๓. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความดับ
๒๔. เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ในสังขาร
ท่านผู้ปราศจากราคะเมื่อเจริญวิปัสสนา เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ
๑๒ อย่างนี้ เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๒ อย่างนี้
เพราะน้อมนึกถึงแล้ว ภิกษุให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง ด้วยอำนาจความ
เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอารมณ์ รู้ชัดโคจร และรู้แจ้งธรรมอันมีความสงบเป็น
ประโยชน์ ฯลฯ๑ ให้ธรรมทั้งหลายประชุมลง รู้ชัดโคจร และรู้แจ้งธรรมอันมีความ
สงบเป็นประโยชน์
คำว่า ให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง อธิบายว่า ให้อินทรีย์ทั้งหลาย
ประชุมลงอย่างไร
คือ ให้สัทธินทรีย์ประชุมลง เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ ฯลฯ ให้อินทรีย์ทั้งหลาย
ประชุมลง ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งสมถนิมิต ฯลฯ ด้วยอำนาจ

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มข้อ ๑๖๘ หน้า ๒๖๑ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๕. อินทริยสโมธาน
ความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งปัคคหนิมิต ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาด
ในความตั้งไว้ซึ่งอวิกเขปะ ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่ง
สัมปหังสนะ ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอุเบกขา ฯลฯ ด้วย
อำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งสภาวะเดียว ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็น
ผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งญาณ ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งจิต
(ให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง) ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดย
ความไม่เที่ยง ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเที่ยง ฯลฯ
ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเป็นทุกข์ ฯลฯ ด้วยอำนาจ
ความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นสุข ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาด
ในความตั้งไว้โดยความเป็นอนัตตา ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้
โดยความเป็นอัตตา ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความสิ้นไป
ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นก้อน ฯลฯ ด้วย
อำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเสื่อมไป ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็น
ผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความประมวลมา ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดใน
ความตั้งไว้โดยความแปรผัน ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้
โดยความยั่งยืน ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยอนิมิต ฯลฯ
ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยนิมิต ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้
ฉลาดในความตั้งไว้โดยความไม่มีปณิหิตะ ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดใน
ความไม่ตั้งไว้โดยปณิธิ ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยสุญญตะ
ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยอภินิเวส ฯลฯ ด้วยอำนาจ
ความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งญาณ ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดใน
ความไม่ตั้งไว้ซึ่งสิ่งที่มิใช่ญาณ ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่ง
ความไม่เกี่ยวข้อง ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ซึ่งความเกี่ยวข้อง
ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๕. อินทริยสโมธาน
(ให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง) ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่ง
ความดับ ภิกษุย่อมให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง รู้ชัดโคจร และรู้แจ้งธรรมอันมี
ความสงบเป็นประโยชน์ (ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ซึ่งสังขาร)
[๒๐๗] ปัญญาที่มีความชำนาญในอินทรีย์ ๓ ประการ โดยอาการ ๖๔
ชื่อว่าอาสวักขยญาณ๑
อินทรีย์ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์
๒. อัญญินทรีย์
๓. อัญญาตาวินทรีย์
อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ ย่อมถึงฐานะเท่าไร อัญญินทรีย์ ย่อมถึงฐานะ
เท่าไร อัญญาตาวินทรีย์ ย่อมถึงฐานะเท่าไร
คือ อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ ย่อมถึงฐานะ ๑ คือ โสดาปัตติมรรค
อัญญินทรีย์ ย่อมถึงฐานะ ๖ คือ โสดาปัตติผล สกทาคามิมรรค สกทาคามิผล
อนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหัตตมรรค
อัญญาตาวินทรีย์ ย่อมถึงฐานะ ๑ คือ อรหัตตผล
ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์มีสัทธินทรีย์ซึ่งมี
ความน้อมใจเชื่อเป็นบริวาร มีวิริยินทรีย์ซึ่งมีการประคองไว้เป็นบริวาร มีสตินทรีย์
ซึ่งมีความตั้งมั่นเป็นบริวาร มีสมาธินทรีย์ซึ่งมีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นบริวาร
มีปัญญินทรีย์ซึ่งมีความเห็นเป็นบริวาร มีมนินทรีย์ซึ่งมีความรู้แจ้งเป็นบริวาร
มีโสมนัสสินทรีย์ซึ่งมีความยินดีเป็นบริวาร มีชีวิตินทรีย์ซึ่งมีความเป็นใหญ่ในความ
สืบต่อที่กำลังเป็นไป เป็นบริวาร

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบข้อ ๑๐๗ หน้า ๑๖๕ ในอาสวักขยญาณนิทเทสในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๕. อินทริยสโมธาน
ธรรมทั้งหลายที่เกิดในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค ยกเว้นรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน
ทั้งหมดเป็นกุศล ทั้งหมดไม่มีอาสวะ ทั้งหมดเป็นธรรมเครื่องนำออก ทั้งหมดเป็น
เครื่องให้ถึงความไม่สั่งสม ทั้งหมดเป็นโลกุตตระ ทั้งหมดมีนิพพานเป็นอารมณ์
ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์มีอินทรีย์ ๘ ประการนี้
ซึ่งมีสหชาตธรรมเป็นบริวาร มีธรรมที่อาศัยกันและกันเป็นบริวาร มีธรรมที่
อาศัยกันเป็นบริวาร มีธรรมที่ประกอบร่วมกันเป็นบริวาร ไปร่วมกัน เกิดร่วมกัน
เกี่ยวข้องกัน ประกอบร่วมกัน ธรรมเหล่านั้นเป็นอาการและเป็นบริวารของ
อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์นั้น
ในขณะแห่งโสดาปัตติผล ฯลฯ
ในขณะแห่งอรหัตตผล อัญญาตาวินทรีย์มีสัทธินทรีย์ซึ่งมีความน้อมใจเชื่อเป็น
บริวาร ฯลฯ มีชีวิตินทรีย์ซึ่งมีความเป็นใหญ่ในความสืบต่อที่กำลังเป็นไปเป็นบริวาร
ธรรมทั้งหลายที่เกิดในขณะแห่งอรหัตตผล ยกเว้นรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน
ทั้งหมดเป็นอัพยากฤต ทั้งหมดไม่มีอาสวะ ทั้งหมดเป็นโลกุตตระ ทั้งหมดมีนิพพาน
เป็นอารมณ์
ในขณะแห่งอรหัตตผล อัญญาตาวินทรีย์มีอินทรีย์ ๘ ประการนี้ ซึ่งมีสหชาต
ธรรมเป็นบริวาร ธรรมเหล่านี้เป็นอาการและเป็นบริวารของอัญญาตาวินทรีย์นั้น
อินทรีย์ ๘ รวม ๘ หมวดนี้ จึงเป็นอาการ ๖๔ ด้วยประการฉะนี้
คำว่า อาสวะ อธิบายว่า อาสวะเหล่านั้น อะไรบ้าง
คือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ
อาสวะเหล่านั้นย่อมสิ้นไป ณ ที่ไหน
คือ ทิฏฐาสวะทั้งสิ้นย่อมสิ้นไปด้วยโสดาปัตติมรรค กามาสวะซึ่งเป็นเหตุให้
สัตว์ไปสู่อบาย ภวาสวะซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบาย อวิชชาสวะซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์
ไปสู่อบาย ย่อมสิ้นไปด้วยโสดาปัตติมรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่ง
โสดาปัตติมรรคนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๕. อินทริยสโมธาน
กามาสวะส่วนหยาบย่อมสิ้นไปด้วยสกทาคามิมรรค ภวาสวะซึ่งตั้งอยู่ร่วมกับ
กามาสวะนั้น อวิชชาสวะซึ่งตั้งอยู่ร่วมกับกามาสวะนั้น ย่อมสิ้นไปด้วยสกทาคามิ-
มรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งสกทาคามิมรรคนี้
กามาสวะทั้งสิ้นย่อมสิ้นไปด้วยอนาคามิมรรค ภวาสวะซึ่งตั้งอยู่ร่วมกับ
กามาสวะนั้น อวิชชาสวะซึ่งตั้งอยู่ร่วมกับกามาสวะนั้น ย่อมสิ้นไปด้วยอนาคามิ-
มรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งอนาคามิมรรคนี้
ภวาสวะทั้งสิ้น อวิชชาสวะทั้งสิ้นย่อมสิ้นไปด้วยอรหัตตมรรค อาสวะเหล่านี้
ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งอรหัตตมรรคนี้
[๒๐๘] สิ่งไร ๆ ในไตรโลกธาตุนี้
พระปัญญาจักขุของพระตถาคตนั้นไม่ทรงเห็น ไม่มีเลย
อนึ่ง ธรรมชาติอะไร ๆ ที่ควรรู้
พระพุทธญาณไม่รู้แจ้งก็ไม่มี
ธรรมชาติที่ควรแนะนำใดมีอยู่
พระตถาคตได้ทรงทราบธรรมชาติที่ควรแนะนำนั้นทั้งหมด
เพราะเหตุนั้น พระตถาคตจึงชื่อว่ามีพระสมันตจักขุ๑
คำว่า สมันตจักขุ อธิบายว่า ชื่อว่าสมันตจักขุ เพราะมีความหมายว่าอย่างไร
คือ พระพุทธญาณ ๑๔ ประการ ได้แก่
๑. ญาณในทุกข์ ชื่อว่าพุทธญาณ
๒. ญาณในทุกขสมุทัย ชื่อว่าพุทธญาณ
ฯลฯ
๑๓. สัพพัญญุตญาณ ชื่อว่าพุทธญาณ
๑๔. อนาวรณญาณ ชื่อว่าพุทธญาณ

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๕๖/๔๓๑, ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๘๕/๓๐๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๕. อินทริยสโมธาน
พระพุทธญาณ ๑๔ ประการนี้แล บรรดาพุทธญาณ ๑๔ ประการนี้ ญาณ ๘
ประการเบื้องต้นเป็นญาณที่ทั่วไปแก่สาวก ส่วนญาณอีก ๖ ประการเบื้องปลาย
เป็นญาณที่ไม่ทั่วไปแก่สาวก
สภาวะที่ทนได้ยากแห่งทุกข์พระตถาคตทรงทราบแล้วตลอดทั้งหมด ที่ไม่ทรง
ทราบไม่มี เพราะเหตุนั้น พระตถาคตจึงชื่อว่ามีพระสมันตจักขุ สมันตจักขุเป็น
ปัญญินทรีย์ เป็นสัทธินทรีย์เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ เป็นวิริยินทรีย์เพราะมีสภาวะ
ประคองไว้ เป็นสตินทรีย์เพราะมีสภาวะตั้งมั่น เป็นสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่
ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ สภาวะที่ทนได้ยากแห่งทุกข์พระตถาคตทรง
เห็นแล้ว ทรงทราบแล้ว ทรงทำให้แจ้งแล้ว ทรงถูกต้องแล้วด้วยพระปัญญาตลอด
ทั้งหมด ที่ไม่ทรงถูกต้องแล้วด้วยพระปัญญาไม่มี เพราะเหตุนั้น พระตถาคตจึง
ชื่อว่ามีพระสมันตจักขุ สมันตจักขุเป็นปัญญินทรีย์ เป็นสัทธินทรีย์เพราะมีสภาวะ
น้อมใจเชื่อ เป็นวิริยินทรีย์เพราะมีสภาวะประคองไว้ เป็นสตินทรีย์เพราะมีสภาวะ
ตั้งมั่น เป็นสมาธินทรีย์เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์
สภาวะที่เป็นเหตุแห่งสมุทัย ฯลฯ
สภาวะที่เป็นความดับแห่งนิโรธ ฯลฯ
สภาวะที่เป็นทางแห่งมรรค ฯลฯ
สภาวะแห่งปัญญาที่แตกฉานดีในอรรถแห่งอัตถปฏิสัมภิทา ฯลฯ
สภาวะแห่งปัญญาที่แตกฉานดีในธรรมแห่งธัมมปฏิสัมภิทา ฯลฯ
สภาวะแห่งปัญญาที่แตกฉานดีในนิรุตติแห่งนิรุตติปฏิสัมภิทา ฯลฯ
สภาวะแห่งปัญญาที่แตกฉานดีในปฏิภาณแห่งปฏิภาณปฏิสัมภิทา ฯลฯ
ญาณในความยิ่งและความหย่อนแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ฯลฯ
ญาณในอาสยะและอนุสัยของสัตว์ทั้งหลาย ฯลฯ
ญาณในยมกปาฏิหาริย์ ฯลฯ
ญาณในพระมหากรุณาสมาบัติ ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๕. อินทริยสโมธาน
รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา
ที่ตรองตามด้วยใจ แห่งโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อม
ทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย พระตถาคตทรงทราบแล้ว ทรงรู้แล้ว
ทรงทำให้แจ้งแล้ว ทรงถูกต้องแล้วด้วยพระปัญญาตลอดทั้งหมด ที่ไม่ทรงถูกต้องแล้ว
ด้วยพระปัญญาไม่มี เพราะเหตุนั้น พระตถาคตจึงชื่อว่ามีพระสมันตจักขุ สมันตจักขุ
เป็นปัญญินทรีย์ เป็นสัทธินทรีย์เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ เป็นวิริยินทรีย์เพราะมี
สภาวะประคองไว้ เป็นสตินทรีย์เพราะมีสภาวะตั้งมั่น เป็นสมาธินทรีย์เพราะมี
สภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์
บุคคลเมื่อเชื่อ ชื่อว่าประคองไว้ เมื่อประคองไว้ ชื่อว่าเชื่อ เมื่อเชื่อ ชื่อว่า
ตั้งสติมั่น เมื่อตั้งสติมั่น ชื่อว่าเชื่อ เมื่อเชื่อ ชื่อว่าตั้งใจมั่น เมื่อตั้งใจมั่น ชื่อว่าเชื่อ
เมื่อเชื่อ ชื่อว่ารู้ชัด เมื่อรู้ชัด ชื่อว่าเชื่อ
บุคคลเมื่อประคองไว้ ชื่อว่าตั้งสติมั่น เมื่อตั้งสติมั่น ชื่อว่าประคองไว้ เมื่อ
ประคองไว้ ชื่อว่าตั้งใจมั่น เมื่อตั้งใจมั่น ชื่อว่าประคองไว้ เมื่อประคองไว้ ชื่อว่ารู้ชัด
เมื่อรู้ชัด ชื่อว่าประคองไว้ เมื่อประคองไว้ ชื่อว่าเชื่อ เมื่อเชื่อ ชื่อว่าประคองไว้
บุคคลเมื่อตั้งสติมั่น ชื่อว่าตั้งใจมั่น เมื่อตั้งใจมั่น ชื่อว่าตั้งสติมั่น เมื่อตั้งสติมั่น
ชื่อว่ารู้ชัด เมื่อรู้ชัด ชื่อว่าตั้งสติมั่น เมื่อตั้งสติมั่น ชื่อว่าเชื่อ เมื่อเชื่อ ชื่อว่าตั้งสติมั่น
เมื่อตั้งสติมั่น ชื่อว่าประคองไว้ เมื่อประคองไว้ ชื่อว่าตั้งสติมั่น
บุคคลเมื่อตั้งใจมั่น ชื่อว่ารู้ชัด เมื่อรู้ชัด ชื่อว่าตั้งใจมั่น เมื่อตั้งใจมั่น ชื่อว่าเชื่อ
เมื่อเชื่อ ชื่อว่าตั้งใจมั่น เมื่อตั้งใจมั่น ชื่อว่าประคองไว้ เมื่อประคองไว้ ชื่อว่าตั้งใจมั่น
เมื่อตั้งใจมั่น ชื่อว่าตั้งสติมั่น เมื่อตั้งสติมั่น ชื่อว่าตั้งใจมั่น
บุคคลเมื่อรู้ชัด ชื่อว่าเชื่อ เมื่อเชื่อ ชื่อว่ารู้ชัด เมื่อรู้ชัด ชื่อว่าประคองไว้ เมื่อ
ประคองไว้ ชื่อว่ารู้ชัด เมื่อรู้ชัด ชื่อว่าตั้งสติมั่น เมื่อตั้งสติมั่น ชื่อว่ารู้ชัด เมื่อรู้ชัด
ชื่อว่าตั้งใจมั่น เมื่อตั้งใจมั่น ชื่อว่ารู้ชัด
เพราะความเป็นผู้เชื่อจึงประคองไว้ เพราะความเป็นผู้ประคองไว้จึงเชื่อ เพราะ
ความเป็นผู้เชื่อจึงตั้งสติมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งสติมั่นจึงเชื่อ เพราะความเป็นผู้เชื่อ
จึงตั้งใจมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งใจมั่นจึงเชื่อ เพราะความเป็นผู้เชื่อจึงรู้ชัด เพราะ
ความเป็นผู้รู้ชัดจึงเชื่อ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๕. อินทริยสโมธาน
เพราะความเป็นผู้ประคองไว้จึงตั้งสติมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งสติมั่นจึงประคองไว้
เพราะความเป็นผู้ประคองไว้จึงตั้งใจมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งใจมั่นจึงประคองไว้
เพราะความเป็นผู้ประคองไว้จึงรู้ชัด เพราะความเป็นผู้รู้ชัดจึงประคองไว้ เพราะความ
เป็นผู้ประคองไว้จึงเชื่อ เพราะความเป็นผู้เชื่อจึงประคองไว้
เพราะความเป็นผู้ตั้งสติมั่นจึงตั้งใจมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งใจมั่นจึงตั้งสติมั่น
เพราะความเป็นผู้ตั้งสติมั่นจึงรู้ชัด เพราะความเป็นผู้รู้ชัดจึงตั้งสติมั่น เพราะความ
เป็นผู้ตั้งสติมั่นจึงเชื่อ เพราะความเป็นผู้เชื่อจึงตั้งสติมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งสติมั่น
จึงประคองไว้ เพราะความเป็นผู้ประคองไว้จึงตั้งสติมั่น
เพราะความเป็นผู้ตั้งใจมั่นจึงรู้ชัด เพราะความเป็นผู้รู้ชัดจึงตั้งใจมั่น เพราะ
ความเป็นผู้ตั้งใจมั่นจึงเชื่อ เพราะความเป็นผู้เชื่อจึงตั้งใจมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งใจ
มั่นจึงประคองไว้ เพราะความเป็นผู้ประคองไว้จึงตั้งใจมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งใจมั่น
จึงตั้งสติมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งสติมั่นจึงตั้งใจมั่น
เพราะความเป็นผู้รู้ชัดจึงเชื่อ เพราะความเป็นผู้เชื่อจึงรู้ชัด เพราะความเป็นผู้รู้
ชัดจึงประคองไว้ เพราะความเป็นผู้ประคองไว้จึงรู้ชัด เพราะความเป็นผู้รู้ชัดจึงตั้ง
สติมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งสติมั่นจึงรู้ชัด เพราะความเป็นผู้รู้ชัดจึงตั้งใจมั่น เพราะ
ความเป็นผู้ตั้งใจมั่นจึงรู้ชัด
พุทธจักขุชื่อว่าพุทธญาณ พุทธญาณชื่อว่าพุทธจักขุ เป็นเครื่องให้พระตถาคต
ทรงเห็นหมู่สัตว์ผู้มีกิเลสดุจธุลีในปัญญาจักษุน้อย มีกิเลสดุจธุลีในปัญญาจักษุมาก
มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการทราม พึงสอนให้รู้แจ้งได้ง่าย
พึงสอนให้รู้แจ้งได้ยาก บางพวกมักเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย บางพวก
มักไม่เห็นปรโลก และโทษโดยความเป็นภัย
คำว่า มีกิเลสดุจธุลีในปัญญาจักษุน้อย มีกิเลสดุจธุลีในปัญญาจักษุมาก
อธิบายว่า บุคคลผู้มีศรัทธา ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีในปัญญาจักษุน้อย บุคคลผู้ไม่มีศรัทธา
ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีในปัญญาจักษุมาก บุคคลผู้มีความเพียร ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีใน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๕. อินทริยสโมธาน
ปัญญาจักษุน้อย บุคคลผู้มีความเกียจคร้าน ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีในปัญญาจักษุมาก
บุคคลผู้มีสติตั้งมั่น ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีในปัญญาจักษุน้อย บุคคลผู้มีสติหลงลืม ชื่อ
ว่ามีกิเลสดุจธุลีในปัญญาจักษุมาก บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีใน
ปัญญาจักษุน้อย บุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีในปัญญาจักษุมาก
บุคคลผู้มีปัญญาดี ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีในปัญญาจักษุน้อย บุคคลผู้มีปัญญาทราม
ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีในปัญญาจักษุมาก
คำว่า มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน อธิบายว่า บุคคลผู้มีศรัทธา เป็นผู้มี
อินทรีย์แก่กล้า บุคคลผู้ไม่มีศรัทธา เป็นผู้มีอินทรีย์อ่อน ฯลฯ บุคคลผู้มีปัญญาดี
เป็นผู้มีอินทรีย์แก่กล้า บุคคลผู้มีปัญญาทราม เป็นผู้มีอินทรีย์อ่อน
คำว่า มีอาการดี มีอาการทราม อธิบายว่า บุคคลผู้มีศรัทธา เป็นผู้มีอาการดี
บุคคลผู้ไม่มีศรัทธา เป็นผู้มีอาการทราม ฯลฯ บุคคลผู้มีปัญญาดี เป็นผู้มีอาการดี
บุคคลผู้มีปัญญาทราม เป็นผู้มีอาการทราม
คำว่า พึงสอนให้รู้แจ้งได้ง่าย พึงสอนให้รู้แจ้งได้ยาก อธิบายว่า บุคคลผู้มี
ศรัทธา เป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ง่าย บุคคลผู้ไม่มีศรัทธา เป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ยาก
บุคคลผู้มีความเพียร เป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ง่าย บุคคลผู้เกียจคร้าน เป็นผู้พึงสอน
ให้รู้แจ้งได้ยาก บุคคลผู้มีสติตั้งมั่น เป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ง่าย บุคคลผู้มีสติหลงลืม
เป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ยาก บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น เป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ง่าย บุคคล
ผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น เป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ยาก บุคคลผู้มีปัญญาดี เป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้ง
ได้ง่าย บุคคลผู้มีปัญญาทราม เป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ยาก
คำว่า บางพวกมักเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย บางพวกมักไม่เห็น
ปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย อธิบายว่า บุคคลผู้มีศรัทธาเป็นผู้มักเห็นปรโลก
และโทษโดยความเป็นภัย บุคคลผู้ไม่มีศรัทธาเป็นผู้มักไม่เห็นปรโลกและโทษโดย
ความเป็นภัย ฯลฯ บุคคลผู้มีปัญญาดีเป็นผู้มักเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย
บุคคลผู้มีปัญญาทรามเป็นผู้มักไม่เห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๔. อินทริยกถา ๕. อินทริยสโมธาน
คำว่า โลก อธิบายว่า ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก วิปัตติภวโลก วิปัตติ-
สัมภวโลก สัมปัตติภวโลก สัมปัตติสัมภวโลก
โลก ๑ คือ สัตว์โลกทั้งปวงดำรงอยู่ได้เพราะอาหาร
โลก ๒ คือ นาม ๑ รูป ๑
โลก ๓ คือ เวทนา ๓
โลก ๔ คือ อาหาร ๔
โลก ๕ คือ อุปาทานขันธ์ ๕
โลก ๖ คือ อายตนะภายใน ๖
โลก ๗ คือ วิญญาณัฏฐิติ ๗
โลก ๘ คือ โลกธรรม ๘
โลก ๙ คือ สัตตาวาส ๙
โลก ๑๐ คือ อายตนะ ๑๐
โลก ๑๒ คือ อายตนะ ๑๒
โลก ๑๘ คือ ธาตุ ๑๘๑
คำว่า โทษ อธิบายว่า กิเลสทั้งปวงเป็นโทษ ทุจริตทั้งปวงเป็นโทษ อภิสังขาร
ทั้งปวงเป็นโทษ กรรมที่เป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่ภพทั้งปวงเป็นโทษ สัญญาในโลกนี้และ
ในโทษนี้ว่าเป็นภัยอันแรงกล้า ปรากฏแล้วด้วยประการฉะนี้ เหมือนสัญญาในศัตรู
ผู้เงื้อดาบเข้ามาจะฆ่า ปรากฏแล้ว ฉะนั้น๒ พระตถาคตทรงรู้ ทรงเห็น ทรงทราบ
ทรงรู้แจ้งอินทรีย์ ๕ ประการนี้ ด้วยอาการ ๕๐ อย่างนี้

ตติยภาณวาร จบ
อินทริยกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๑๐๔/๓๕๕-๓๕๖
๒ ดูเทียบข้อ ๑๑๒ หน้า ๑๗๒-๑๗๔ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา อุทเทส
๕. วิโมกขกถา
ว่าด้วยวิโมกข์

อุทเทส
[๒๐๙] เหตุเกิดขึ้นเหมือนในสูตรข้างต้น๑
ภิกษุทั้งหลาย วิโมกข์ ๓ ประการนี้
วิโมกข์ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สุญญตวิโมกข์
๒. อนิมิตตวิโมกข์
๓. อัปปณิหิตวิโมกข์
ภิกษุทั้งหลาย วิโมกข์ ๓ ประการนี้แล
อีกประการหนึ่ง วิโมกข์ ๖๘ ประการ๒ คือ

๑. สุญญตวิโมกข์ ๒. อนิมิตตวิโมกข์
๓. อัปปณิหิตวิโมกข์ ๔. อัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์ (วิโมกข์
มีการออกจากอารมณ์ภายใน)
๕. พหิทธาวุฏฐานวิโมกข์ ๖. ทุภโตวุฏฐานวิโมกข์ (วิโมกข์มี
(วิโมกข์มีการออกจาก การออกจากอารมณ์ทั้งสอง)
อารมณ์ภายนอก)


เชิงอรรถ :
๑ สูตรข้างต้น ในที่นี้หมายถึงสูตรที่ ๑ (ข้อ ๑๘๔ หน้า ๒๙๐ ในเล่มนี้)
๒ วิโมกข์ ๖๘ ประการ ถ้าหากนับตามจำนวนเป็น ๗๕ ประการ แต่ท่านให้ตัดวิโมกข์ออกไป ๗ ประการ
คือวิโมกข์ข้อที่ ๑ ถึงข้อที่ ๖ และวิโมกข์ข้อที่ ๖๕ จึงเหลือเพียง ๖๘ ประการ (ตามนัย ขุ.ป.อ.
๒/๒๐๙/๑๗๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา อุทเทส
๗-๑๐. วิโมกข์ ๔ จากอัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์
๑๑-๑๔. วิโมกข์ ๔ จากพหิทธาวุฏฐานวิโมกข์
๑๕-๑๘. วิโมกข์ ๔ จากทุภโตวุฏฐานวิโมกข์
๑๙-๒๒. วิโมกข์ ๔ อนุโลมตามอัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์
๒๓-๒๖. วิโมกข์ ๔ อนุโลมตามพหิทธาวุฏฐานวิโมกข์
๒๗-๓๐. วิโมกข์ ๔ อนุโลมตามทุภโตวุฏฐานวิโมกข์
๓๑-๓๔. วิโมกข์ ๔ ระงับจากอัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์
๓๕-๓๘. วิโมกข์ ๔ ระงับจากพหิทธาวุฏฐานวิโมกข์
๓๙-๔๒. วิโมกข์ ๔ ระงับจากทุภโตวุฏฐานวิโมกข์
๔๓. ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะภิกษุผู้ได้รูปฌานย่อมเห็นรูปทั้งหลาย
๔๔. ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะภิกษุผู้ไม่มีความหมายรู้ว่ารูปภายในเห็นรูป
ภายนอก
๔๕. ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะภิกษุเป็นผู้น้อมไปในอารมณ์ว่างามเท่านั้น
๔๖. อากาสานัญจายตนสมาบัติวิโมกข์
๔๗. วิญญาณัญจายตนสมาบัติวิโมกข์
๔๘. อากิญจัญญายตนสมาบัติวิโมกข์
๔๙. เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติวิโมกข์
๕๐. สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติวิโมกข์ ๕๑. สมยวิโมกข์

๕๒. อสมยวิโมกข์ ๕๓. สามยิกวิโมกข์
๕๔. อสามยิกวิโมกข์ ๕๕. กุปปวิโมกข์
๕๖. อกุปปวิโมกข์ ๕๗. โลกียวิโมกข์
๕๘. โลกุตตรวิโมกข์ ๕๙. สาสววิโมกข์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส

๖๐. อนาสววิโมกข์ ๖๑. สามิสวิโมกข์
๖๒. นิรามิสวิโมกข์ ๖๓. นิรามิสานิรามิสตรวิโมกข์
๖๔. ปณิหิตวิโมกข์ ๖๕. อัปปณิหิตวิโมกข์
๖๖. ปณิหิตัปปฏิปัสสัทธิวิโมกข์ ๖๗. สัญญุตตวิโมกข์
๖๘. วิสัญญุตตวิโมกข์ ๖๙. เอกัตตวิโมกข์
๗๐. นานัตตวิโมกข์ ๗๑. สัญญาวิโมกข์
๗๒. ญาณวิโมกข์ ๗๓. สีติสิยาวิโมกข์
๗๔. ฌานวิโมกข์ ๗๕. อนุปาทาจิตตวิโมกข์

นิทเทส
[๒๑๐] สุญญตวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี พิจารณา
ดังนี้ว่า “นามรูปนี้ว่างจากอัตตาและจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา” เธอไม่ทำอภินิเวส
(ความยึดมั่น) ในนามรูปนั้น เพราะเหตุนั้น วิโมกข์ของภิกษุนั้นจึงเป็นวิโมกข์ที่เป็น
สุญญตะ นี้ชื่อว่าสุญญตวิโมกข์
อนิมิตตวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี พิจารณา
ดังนี้ว่า “นามรูปนี้ว่างจากอัตตาและจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา” เธอไม่ทำนิมิตใน
นามรูปนั้น เพราะเหตุนั้น วิโมกข์ของภิกษุนั้นจึงเป็นวิโมกข์ที่ไม่มีนิมิต นี้ชื่อว่า
อนิมิตตวิโมกข์
อัปปณิหิตวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี พิจารณา
ดังนี้ว่า “นามรูปนี้ว่างจากอัตตาและจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา” เธอไม่ทำปณิธิ (ความ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
ตั้งมั่น) ในนามรูปนั้น เพราะเหตุนั้น วิโมกข์ของภิกษุนั้นจึงเป็นวิโมกข์ที่ไม่มีปณิหิตะ
นี้ชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์
อัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ ฌาน ๔ นี้ชื่อว่าอัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์
พหิทธาวุฏฐานวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ อรูปสมาบัติ ๔ นี้ชื่อว่าพหิทธาวุฏฐานวิโมกข์
ทุภโตวุฏฐานวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรค ๔ นี้ชื่อว่าทุภโตวุฏฐานวิโมกข์
วิโมกข์ ๔ จากอัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ ปฐมฌานออกจากนิวรณ์ ทุติยฌานออกจากวิตก วิจาร ตติยฌานออกจาก
ปีติ จตุตถฌานออกจากสุขและทุกข์ นี้ชื่อว่าวิโมกข์ ๔ จากอัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์ (๔)
วิโมกข์ ๔ จากพหิทธาวุฏฐานวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ อากาสานัญจายตนสมาบัติออกจากรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา
วิญญาณัญจายตนสมาบัติออกจากอากาสานัญจายตนสัญญา
อากิญจัญญายตนสมาบัติออกจากวิญญาณัญจายตนสัญญา
เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติออกจากอากิญจัญญายตนสัญญา
นี้ชื่อว่าวิโมกข์ ๔ จากพหิทธาวุฏฐานวิโมกข์ (๔-๘)
วิโมกข์ ๔ จากทุภโตวุฏฐานวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ โสดาปัตติมรรคออกจากสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส จาก
ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัยออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามสักกายทิฏฐิเป็นต้นนั้น
จากขันธ์ทั้งหลาย และออกจากสรรพนิมิตภายนอก


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
สกทาคามิมรรคออกจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ ส่วนหยาบ ๆ จาก
กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนหยาบ ๆ ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามกามราค-
สังโยชน์เป็นต้นนั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และออกจากสรรพนิมิตภายนอก
อนาคามิมรรคออกจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ ส่วนละเอียด ๆ จาก
กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียด ๆ ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามกามราค-
สังโยชน์เป็นต้นนั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และออกจากสรรพนิมิตภายนอก
อรหัตตมรรคออกจากรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา มานานุสัย
ภวราคานุสัย (และ)อวิชชานุสัยออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามรูปราคะเป็นต้นนั้น
จากขันธ์ทั้งหลาย และออกจากสรรพนิมิตภายนอก นี้ชื่อว่าวิโมกข์ ๔ จาก
ทุภโตวุฏฐานวิโมกข์ (๔-๑๒)
[๒๑๑] วิโมกข์ ๔ อนุโลมตามอัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตาจิต(จิตที่มีอารมณ์เดียว) เพื่อประโยชน์
แก่การได้ปฐมฌาน ฯลฯ เพื่อประโยชน์แก่การได้ทุติยฌาน ฯลฯ เพื่อประโยชน์แก่การ
ได้ตติยฌาน วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตาจิต เพื่อประโยชน์แก่การได้จตุตถฌาน
นี้ชื่อว่าวิโมกข์ ๔ อนุโลมตามอัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์ (๔-๑๖)
วิโมกข์ ๔ อนุโลมตามพหิทธาวุฏฐานวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตาจิต เพื่อประโยขน์แก่การได้อากาสานัญ-
จายตนสมาบัติ ฯลฯ เพื่อประโยชน์แก่การได้วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ เพื่อ
ประโยชน์แก่การได้อากิญจัญญายตนสมาบัติ วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตาจิต
เพื่อประโยขน์แก่การได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ นี้ชื่อว่าวิโมกข์ ๔ อนุโลม
ตามพหิทธาวุฏฐานวิโมกข์ (๔-๒๐)
วิโมกข์ ๔ อนุโลมตามทุภโตวุฏฐานวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ อนิจจานุปัสสนา ทุกขานุปัสสนา อนัตตานุปัสสนา เพื่อประโยชน์แก่การได้
โสดาปัตติมรรค ฯลฯ เพื่อประโยชน์แก่การได้สกทาคามิมรรค ฯลฯ เพื่อประโยชน์
แก่การได้อนาคามิมรรค อนิจจานุปัสสนา ทุกขานุปัสสนา อนัตตานุปัสสนา เพื่อ
ประโยชน์แก่การได้อรหัตตมรรค นี้ชื่อว่าวิโมกข์ ๔ อนุโลมตามทุภโตวุฏฐานวิโมกข์
(๔-๒๔)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
วิโมกข์ ๔ ระงับจากอัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ การได้ปฐมฌาน หรือวิบากแห่งปฐมฌาน การได้ทุติยฌาน หรือวิบากแห่ง
ทุติยฌาน การได้ตติยฌาน หรือวิบากแห่งตติยฌาน การได้จตุตถฌาน หรือวิบาก
แห่งจตุตถฌาน นี้ชื่อว่าวิโมกข์ ๔ ระงับจากอัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์ (๔-๒๘)
วิโมกข์ ๔ ระงับจากพหิทธาวุฏฐานวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ การได้อากาสานัญจายตนสมาบัติ หรือวิบากแห่งอากาสานัญจายตน-
สมาบัติ ฯลฯ การได้วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ การได้อากิญจัญญายตน-
สมาบัติ ฯลฯ การได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ หรือวิบากแห่งเนวสัญญา-
นาสัญญายตนสมาบัติ นี้ชื่อว่าวิโมกข์ ๔ ระงับจากพหิทธาวุฏฐานวิโมกข์ (๔-๓๒)
วิโมกข์ ๔ ระงับจากทุภโตวุฏฐานวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ โสดาปัตติผลแห่งโสดาปัตติมรรค สกทาคามิผลแห่งสกทาคามิมรรค
อนาคามิผลแห่งอนาคามิมรรค อรหัตตผลแห่งอรหัตตมรรค นี้ชื่อว่าวิโมกข์ ๔
ระงับจากทุภโตวุฏฐานวิโมกข์ (๔-๓๖)
[๒๑๒] ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะภิกษุผู้ได้รูปฌานย่อมเห็นรูปทั้งหลาย เป็น
อย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้มนสิการถึงนิมิตสีเขียวในภายใน ย่อมได้
นีลสัญญา เธอทำนิมิตนั้นให้เป็นอันถือไว้ดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้ว กำหนดไว้ดีแล้ว
ครั้นแล้วน้อมจิตไปในนิมิตสีเขียวภายนอก ย่อมได้นีลสัญญา เธอทำนิมิตนั้น
ให้เป็นอันถือไว้ดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้ว กำหนดไว้ดีแล้ว ครั้นแล้วปฏิบัติ เจริญ
ทำให้มาก เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า “นิมิตสีเขียวทั้งสองทั้งภายในและภายนอกนี้
เป็นรูป” เธอมีความหมายรู้ว่าเป็นรูป
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้มนสิการถึงนิมิตสีเหลือง ฯลฯ นิมิตสีแดง ฯลฯ
นิมิตสีขาวในภายใน ย่อมได้โอทาตสัญญา เธอทำนิมิตนั้นให้เป็นอันถือไว้ดีแล้ว ทรง
จำไว้ดีแล้ว กำหนดไว้ดีแล้ว ครั้นแล้วน้อมจิตไปในนิมิตสีขาวในภายนอก ย่อมได้
โอทาตสัญญา เธอทำนิมิตนั้นให้เป็นอันถือไว้ดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้ว ครั้นแล้วปฏิบัติ
เจริญ ทำให้มาก เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า “นิมิตสีขาวทั้งสองทั้งภายในและภายนอก
นี้เป็นรูป” เธอมีความหมายรู้ว่าเป็นรูป ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะภิกษุผู้ได้รูปฌานย่อม
เห็นรูปทั้งหลายอย่างนี้ (๓๗)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะภิกษุผู้ไม่มีความหมายรู้ว่ารูปภายในเห็นรูปภายนอก
เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ไม่มนสิการถึงนิมิตสีเขียวในภายใน จึงไม่ได้
นีลสัญญา น้อมจิตไปในนิมิตสีเขียวภายนอก ย่อมได้นีลสัญญา เธอทำ
นิมิตนั้นให้เป็นอันถือไว้ดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้ว กำหนดไว้ดีแล้ว ครั้นแล้วปฏิบัติ เจริญ
ทำให้มาก เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า “เราไม่มีความหมายรู้ว่าเป็นรูปในภายใน นิมิต
สีเขียวภายนอกนี้เป็นรูป” เธอมีความหมายรู้ว่าเป็นรูป
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ไม่มนสิการถึงนิมิตสีเหลือง ฯลฯ นิมิตสีแดง ฯลฯ
นิมิตสีขาวในภายใน ย่อมไม่ได้โอทาตสัญญา น้อมจิตไปในนิมิตสีขาวในภายนอก
ย่อมได้โอทาตสัญญา เธอทำนิมิตนั้นให้เป็นอันถือไว้ดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้ว
กำหนดไว้ดีแล้ว ครั้นแล้วปฏิบัติ เจริญ ทำให้มาก เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า “ไม่มี
รูปในภายใน นิมิตสีขาวในภายนอกนี้เป็นรูป” เธอมีความหมายรู้ว่าเป็นรูป ชื่อว่า
วิโมกข์ เพราะภิกษุผู้ไม่มีความหมายรู้ว่ารูปภายในเห็นรูปภายนอกอย่างนี้ (๓๘)
ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะภิกษุเป็นผู้น้อมไปในอารมณ์ว่างามเท่านั้น เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ฯลฯ ทิศที่ ๒ ฯลฯ
ทิศที่ ๓ ฯลฯ ทิศที่ ๔ ฯลฯ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลก
ทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถาน ด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต
ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ เพราะเป็นผู้เจริญเมตตา สัตว์ทั้งหลายไม่เป็นที่
เกลียดชัง
มีกรุณาจิต ฯลฯ เพราะเป็นผู้เจริญกรุณา สัตว์ทั้งหลายไม่เป็นที่เกลียดชัง
มีมุทิตาจิต ฯลฯ เพราะเป็นผู้เจริญมุทิตา สัตว์ทั้งหลายไม่เป็นที่เกลียดชัง
มีอุเบกขาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ฯลฯ เพราะเป็นผู้เจริญอุเบกขา สัตว์ทั้งหลาย
ไม่เป็นที่เกลียดชัง
ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะภิกษุเป็นผู้น้อมไปในอารมณ์ว่างามเท่านั้นอย่างนี้ (๓๙)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
[๒๑๓] อากาสานัญจายตนสมาบัติวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่
มนสิการถึงนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง บรรลุอากาสานัญจายตนสมาบัติ ด้วย
มนสิการว่า “อากาศไม่มีที่สุด” นี้ชื่อว่าอากาสานัญจายตนสมาบัติวิโมกข์ (๔๐)
วิญญาณัญจายตนสมาบัติวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนสมาบัติโดยประการ
ทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ด้วยมนสิการว่า “วิญญาณไม่มีที่สุด”
นี้ชื่อว่าวิญญาณัญจายตนสมาบัติวิโมกข์ (๔๑)
อากิญจัญญายตนสมาบัติวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนสมาบัติได้โดยประการ
ทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนสมาบัติ ด้วยมนสิการว่า “อะไรน้อยหนึ่งย่อมไม่มี”
นี้ชื่อว่า อากิญจัญญายตนสมาบัติวิโมกข์ (๔๒)
เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงอากิญจัญญายตนสมาบัติโดยประการ
ทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ นี้ชื่อว่าเนวสัญญานาสัญญายตน-
สมาบัติวิโมกข์ (๔๓)
สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติโดย
ประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ นี้ชื่อว่าสัญญาเวทยิตนิโรธ-
สมาบัติวิโมกข์ (๔๔)
สมยวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ ฌาน ๔ และอรูปสมาบัติ ๔ นี้ชื่อว่าสมยวิโมกข์ (๔๕)
อสมยวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ และนิพพาน นี้ชื่อว่าอสมยวิโมกข์ (๔๖)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
สามยิกวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ ฌาน ๔ และอรูปสมาบัติ ๔ นี้ชื่อว่าสามยิกวิโมกข์ (๔๗)
อสามยิกวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ และนิพพาน นี้ชื่อว่าอสามยิกวิโมกข์ (๔๘)
กุปปวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ ฌาน ๔ และอรูปสมาบัติ ๔ นี้ชื่อว่ากุปปวิโมกข์ (๔๙)
อกุปปวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ และนิพพาน นี้ชื่อว่าอกุปปวิโมกข์ (๕๐)
โลกียวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ ฌาน ๔ และอรูปสมาบัติ ๔ นี้ชื่อว่าโลกียวิโมกข์ (๕๑)
โลกุตตรวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ และนิพพาน นี้ชื่อว่าโลกุตตรวิโมกข์ (๕๒)
สาสววิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ ฌาน ๔ และอรูปสมาบัติ ๔ นี้ชื่อว่าสาสววิโมกข์ (๕๓)
อนาสววิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ และนิพพาน นี้ชื่อว่าอนาสววิโมกข์ (๕๔)
สามิสวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ วิโมกข์อันประกอบด้วยรูป นี้ชื่อว่าสามิสวิโมกข์ (๕๕)
นิรามิสวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ วิโมกข์ที่ไม่ประกอบด้วยรูป นี้ชื่อว่านิรามิสวิโมกข์ (๕๖)
นิรามิสานิรามิสตรวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ และนิพพาน นี้ชื่อว่านิรามิสานิรามิสตร-
วิโมกข์ (๕๗)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
ปณิหิตวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ ฌาน ๔ และอรูปสมาบัติ ๔ นี้ชื่อว่าปณิหิตวิโมกข์
อัปปณิหิตวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ และนิพพาน นี้ชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ (๕๘)
ปณิหิตัปปฏิปัสสัทธิวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ การได้ปฐมฌานหรือวิบากแห่งปฐมฌาน ฯลฯ การได้เนวสัญญา-
นาสัญญายตนสมาบัติ หรือวิบากแห่งเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ นี้ชื่อว่า
ปณิหิตัปปฏิปัสสัทธิวิโมกข์ (๕๙)
สัญญุตตวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ ฌาน ๔ และอรูปสมาบัติ ๔ นี้ชื่อว่าสัญญุตตวิโมกข์ (๖๐)
วิสัญญุตตวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ และนิพพาน นี้ชื่อว่าวิสัญญุตตวิโมกข์ (๖๑)
เอกัตตวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ และนิพพาน นี้ชื่อว่าเอกัตตวิโมกข์ (๖๒)
นานัตตวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ ฌาน ๔ และอรูปสมาบัติ ๔ นี้ชื่อว่านานัตตวิโมกข์ (๖๓)
[๒๑๔] สัญญาวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ สัญญาวิโมกข์ ๑ เป็นสัญญาวิโมกข์ ๑๐ สัญญาวิโมกข์ ๑๐ เป็นสัญญา-
วิโมกข์ ๑ ด้วยอำนาจวัตถุ๑ (และ) ด้วยปริยาย๒

เชิงอรรถ :
๑ สัญญาวิโมกข์ ๑ เป็นสัญญาวิโมกข์ ๑๐ ด้วยอำนาจวัตถุ หมายถึงเป็นสัญญาวิโมกข์ ๑๐ ด้วยอำนาจ
วัตถุ ๑๐ มีนิจจสัญญาเป็นต้น (ขุ.ป.อ.๒/๒๑๔/๑๘๓-๔)
๒ สัญญาวิโมกข์ ๑๐ เป็นสัญญาวิโมกข์ ๑ ด้วยปริยาย หมายถึงเป็นสัญญาวิโมกข์ ๑ ด้วยการพ้นจาก
สัญญานั้น (ขุ.ป.อ.๒/๒๑๔/๑๘๓-๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
พึงเป็นอย่างไร
คือ อนิจจานุปัสสนาญาณ (ญาณคือการพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง) พ้นจาก
นิจจสัญญา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสัญญาวิโมกข์ ทุกขานุปัสสนาญาณ (ญาณคือ
การพิจารณาเห็นความเป็นทุกข์) พ้นจากสุขสัญญา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสัญญา-
วิโมกข์ อนัตตานุปัสสนาญาณ (ญาณคือการพิจารณาเห็นความเป็นอนัตตา) พ้นจาก
อัตตสัญญา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสัญญาวิโมกข์ นิพพิทานุปัสสนาญาณ (ญาณ
คือการพิจารณาเห็นความเบื่อหน่าย) พ้นจากนันทิสัญญา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
สัญญาวิโมกข์ วิราคานุปัสสนาญาณ (ญาณคือการพิจารณาเห็นความคลายกำหนัด)
พ้นจากราคสัญญา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสัญญาวิโมกข์ นิโรธานุปัสสนาญาณ (ญาณ
คือการพิจารณาเห็นความดับ) พ้นจากสมุทยสัญญา ฯลฯ ปฏินิสสัคคานุปัสสนา-
ญาณ (ญาณคือการพิจารณาเห็นความสละคืน) พ้นจากอาทานสัญญา เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าสัญญาวิโมกข์ อนิมิตตานุปัสสนาญาณ (ญาณคือการพิจารณาเห็นความไม่
มีนิมิต) พ้นจากนิมิตตสัญญา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสัญญาวิโมกข์ อัปปณิหิตา-
นุปัสสนาญาณ (ญาณคือการพิจารณาเห็นความไม่มีที่ตั้ง) พ้นจากปณิธิสัญญา เพราะ
เหตุนั้น จึงชื่อว่าสัญญาวิโมกข์ สุญญตานุปัสสนาญาณ (ญาณคือการพิจารณาเห็น
ความว่าง) พ้นจากอภินิเวสสัญญา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสัญญาวิโมกข์ สัญญา-
วิโมกข์ ๑ เป็นสัญญาวิโมกข์ ๑๐ สัญญาวิโมกข์ ๑๐ เป็นสัญญาวิโมกข์ ๑ ด้วย
อำนาจวัตถุ (และ) ด้วยปริยาย พึงเป็นอย่างนี้
อนิจจานุปัสสนาญาณในรูป พ้นจากนิจจสัญญา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
สัญญาวิโมกข์ ฯลฯ สุญญตานุปัสสนาญาณในรูป พ้นจากอภินิเวส เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าสัญญาวิโมกข์ สัญญาวิโมกข์ ๑ เป็นสัญญาวิโมกข์ ๑๐ สัญญาวิโมกข์ ๑๐
เป็นสัญญาวิโมกข์ ๑ ด้วยอำนาจวัตถุ (และ) ด้วยปริยาย พึงเป็นอย่างนี้
อนิจจานุปัสสนาญาณในเวทนา พ้นจากนิจจสัญญา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
สัญญาวิโมกข์ ฯลฯ อนิจจานุปัสสนาญาณในสัญญา ฯลฯ ในสังขาร ฯลฯ ใน
วิญญาณ ฯลฯ ในจักขุ ฯลฯ อนิจจานุปัสสนาญาณในชราและมรณะ พ้นจาก
นิจจสัญญา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสัญญาวิโมกข์ ฯลฯ สุญญตานุปัสสนาญาณใน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
ชราและมรณะ พ้นจากอภินิเวสสัญญา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสัญญาวิโมกข์
สัญญาวิโมกข์ ๑ เป็นสัญญาวิโมกข์ ๑๐ สัญญาวิโมกข์ ๑๐ เป็นสัญญาวิโมกข์ ๑
ด้วยอำนาจวัตถุ (และ) ด้วยปริยาย พึงเป็นอย่างนี้ นี้ชื่อว่าสัญญาวิโมกข์ (๖๔)
[๒๑๕] ญาณวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ ญาณวิโมกข์ ๑ เป็นญาณวิโมกข์ ๑๐ ญาณวิโมกข์ ๑๐ เป็นญาณวิโมกข์ ๑
ด้วยอำนาจวัตถุ (และ) ด้วยปริยาย พึงเป็นอย่างนี้
พึงเป็นอย่างไร
คือ อนิจจานุปัสสนายถาภูตญาณ (ยถาภูตญาณคือการพิจารณาเห็นความ
ไม่เที่ยง) พ้นจากความไม่รู้คือความหลงว่าเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าญาณวิโมกข์
ทุกขานุปัสสนายถาภูตญาณ (ยถาภูตญาณคือการพิจารณาเห็นความเป็นทุกข์) พ้น
จากความไม่รู้คือความหลงว่าสุข เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าญาณวิโมกข์ อนัตตานุ-
ปัสสนายถาภูตญาณ (ยถาภูตญาณคือการพิจารณาเห็นความเป็นอนัตตา) พ้นจาก
ความไม่รู้คือความหลงว่าอัตตา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าญาณวิโมกข์ นิพพิทานุ-
ปัสสนายถาภูตญาณ (ยถาภูตญาณคือการพิจารณาเห็นความเบื่อหน่าย) พ้นจาก
ความไม่รู้คือความหลงว่านันทิ(ความยินดี) เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าญาณวิโมกข์
วิราคานุปัสสนายถาภูตญาณ (ยถาภูตญาณคือการพิจารณาเห็นความคลายกำหนัด)
พ้นจากความไม่รู้คือความหลงว่าราคะ(ความกำหนัด) เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าญาณ-
วิโมกข์ นิโรธานุปัสสนายถาภูตญาณ (ยถาภูตญาณคือการพิจารณาเห็นความดับ)
พ้นจากความไม่รู้คือความหลงว่าสมุทัย(เหตุเกิด) เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าญาณวิโมกข์
ปฏินิสสัคคานุปัสสนายถาภูตญาณ (ยถาภูตญาณคือการพิจารณาเห็นความสละคืน)
พ้นจากความไม่รู้คือความหลงว่าอภินิเวส(ความยึดมั่น) เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
ญาณวิโมกข์ อนิมิตตานุปัสสนายถาภูตญาณ (ยถาภูตญาณคือการพิจารณาเห็น
ความไม่มีนิมิต) พ้นจากความไม่รู้คือความหลงว่านิมิต เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
ญาณวิโมกข์ อัปปณิหิตานุปัสสนายถาภูตญาณ (ยถาภูตญาณคือการพิจารณาเห็น
ความไม่มีที่ตั้ง) พ้นจากความไม่รู้คือความหลงว่าปณิธิ(ความตั้งมั่น) เพราะเหตุนั้น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
จึงชื่อว่าญาณวิโมกข์ สุญญตานุปัสสนายถาภูตญาณ (ยถาภูตญาณคือการพิจารณา
เห็นความว่าง) พ้นจากความไม่รู้คือความหลงว่าอาทานะ(ความยึดถือ) เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าญาณวิโมกข์ ญาณวิโมกข์ ๑ เป็นญาณวิโมกข์ ๑๐ ญาณวิโมกข์ ๑๐
เป็นญาณวิโมกข์ ๑ ด้วยอำนาจวัตถุ (และ) ด้วยปริยาย พึงเป็นอย่างนี้
อนิจจานุปัสสนายถาภูตญาณในรูป พ้นจากความไม่รู้คือความหลงว่าเที่ยง
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าญาณวิโมกข์ ฯลฯ สุญญตานุปัสสนายถาภูตญาณในรูป
พ้นจากความไม่รู้คือความหลงว่าอภินิเวส เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าญาณวิโมกข์
ญาณวิโมกข์ ๑ เป็นญาณวิโมกข์ ๑๐ ญาณวิโมกข์ ๑๐ เป็นญาณวิโมกข์ ๑
ด้วยอำนาจวัตถุ (และ) ด้วยปริยาย พึงเป็นอย่างนี้
อนิจจานุปัสสนายถาภูตญาณในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา ฯลฯ ในสังขาร ฯลฯ
ในวิญญาณ ฯลฯ ในจักขุ ฯลฯ อนิจจานุปัสสนายถาภูตญาณในชราและมรณะ
พ้นจากความไม่รู้คือความหลงว่าเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าญาณวิโมกข์ ฯลฯ
สุญญตานุปัสสนายถาภูตญาณในชราและมรณะ พ้นจากความไม่รู้คือความหลงว่า
อาทานะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าญาณวิโมกข์ ญาณวิโมกข์ ๑ เป็นญาณวิโมกข์ ๑๐
ญาณวิโมกข์ ๑๐ เป็นญาณวิโมกข์ ๑ ด้วยอำนาจวัตถุ (และ) ด้วยปริยาย พึงเป็น
อย่างนี้ นี้ชื่อว่าญาณวิโมกข์ (๖๕)
[๒๑๖] สีติสิยาวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ สีติสิยาวิโมกข์ ๑ เป็นสีติสิยาวิโมกข์ ๑๐ สีติสิยาวิโมกข์ ๑๐ เป็นสีติสิยา-
วิโมกข์ ๑ ด้วยอำนาจวัตถุ (และ) ด้วยปริยาย
พึงเป็นอย่างไร
คือ อนิจจานุปัสสนาเป็นญาณมีความเย็นใจอย่างยอดเยี่ยม พ้นจากความ
เดือดร้อน ความเร่าร้อน และความกระวนกระวายเพราะเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อ
ว่าสีติสิยาวิโมกข์ ทุกขานุปัสสนาเป็นญาณมีความเย็นใจอย่างยอดเยี่ยม พ้นจาก
ความเดือดร้อน ความเร่าร้อน และความกระวนกระวายเพราะสุข เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าสีติสิยาวิโมกข์ อนัตตานุปัสสนาเป็นญาณมีความเย็นใจอย่างยอดเยี่ยม
พ้นจากความเดือดร้อน ความเร่าร้อน และความกระวนกระวายเพราะอัตตา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสีติสิยาวิโมกข์ นิพพิทานุปัสสนาเป็นญาณมีความเย็นใจอย่าง
ยอดเยี่ยม พ้นจากความเดือดร้อน ความเร่าร้อน และความกระวนกระวายเพราะ
นันทิ วิราคานุปัสสนาเป็นญาณมีความเย็นใจอย่างยอดเยี่ยม พ้นจากความเดือดร้อน
ความเร่าร้อน และความกระวนกระวายเพราะราคะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสีติสิยา-
วิโมกข์ นิโรธานุปัสสนาเป็นญาณมีความเย็นใจอย่างยอดเยี่ยม พ้นจากความ
เดือดร้อน ความเร่าร้อน และความกระวนกระวายเพราะสมุทัย เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าสีติสิยาวิโมกข์ ปฏินิสสัคคานุปัสสนาเป็นญาณมีความเย็นใจอย่างยอดเยี่ยม
พ้นจากความเดือดร้อน ความเร่าร้อน และความกระวนกระวายเพราะอภินิเวส
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสีติสิยาวิโมกข์ อนิมิตตานุปัสสนาเป็นญาณมีความเย็นใจ
อย่างยอดเยี่ยม พ้นจากความเดือดร้อน ความเร่าร้อน และความกระวนกระวาย
เพราะนิมิต เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสีติสิยาวิโมกข์ อัปปณิหิตานุปัสสนาเป็นญาณมี
ความเย็นใจอย่างยอดเยี่ยม พ้นจากความเดือดร้อน ความเร่าร้อน และความ
กระวนกระวายเพราะปณิธิ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสีติสิยาวิโมกข์ สุญญตานุปัสสนา
เป็นญาณมีความเย็นใจอย่างยอดเยี่ยม พ้นจากความเดือดร้อน ความเร่าร้อน และ
ความกระวนกระวายเพราะอาทานะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสีติสิยาวิโมกข์
สีติสิยาวิโมกข์ ๑ เป็นสีติสิยาวิโมกข์ ๑๐ สีติสิยาวิโมกข์ ๑๐ เป็นสีติสิยา-
วิโมกข์ ๑ ด้วยอำนาจวัตถุ (และ) ด้วยปริยาย พึงเป็นอย่างนี้
อนิจจานุปัสสนาในรูป เป็นญาณมีความเย็นใจอย่างยอดเยี่ยม พ้นจากความ
เดือดร้อน ความเร่าร้อน และความกระวนกระวายเพราะเที่ยง เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าสีติสิยาวิโมกข์ ฯลฯ ด้วยอำนาจวัตถุ (และ) ด้วยปริยาย พึงเป็นอย่างนี้
อนิจจานุปัสสนาในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา ฯลฯ ในสังขาร ฯลฯ ในวิญญาณ
ฯลฯ ในจักขุ ฯลฯ อนิจจานุปัสสนาในชราและมรณะ เป็นญาณมีความเย็นใจอย่าง
ยอดเยี่ยม พ้นจากความเดือดร้อน ความเร่าร้อน และความกระวนกระวาย
เพราะเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสีติสิยาวิโมกข์ ฯลฯ
สีติสิยาวิโมกข์ ๑ เป็นสีติสิยาวิโมกข์ ๑๐ สีติสิยาวิโมกข์ ๑๐ เป็นสีติสิยา-
วิโมกข์ ๑ ด้วยอำนาจวัตถุ (และ) ด้วยปริยาย พึงเป็นอย่างนี้ นี้ชื่อว่าสีติสิยา-
วิโมกข์ (๖๖)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
[๒๑๗] ฌานวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ เนกขัมมะย่อมเผา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌาน เนกขัมมะย่อมเผา
กามฉันทะให้ไหม้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌาน บุคคลเมื่อเผา ย่อมหลุดพ้น เพราะ
เหตุนั้น จึงชื่อว่าฌานวิโมกข์ เมื่อเผาให้ไหม้ ย่อมหลุดพ้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
ฌานวิโมกข์ กิเลสทั้งหลาย ย่อมไหม้ไป เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าธรรม
พระอรหันต์ย่อมเผากิเลสให้ไหม้ คือรู้จักกิเลสที่ถูกเผาแล้วและกิเลสที่กำลังถูกเผา
ให้ไหม้ไป เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌานวิโมกข์
อพยาบาทย่อมเผา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌาน อพยาบาทย่อมเผาพยาบาท
ให้ไหม้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌาน บุคคลเมื่อเผา ย่อมหลุดพ้น เพราะเหตุนั้น จึง
ชื่อว่าฌานวิโมกข์ เมื่อเผาให้ไหม้ ย่อมหลุดพ้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌานวิโมกข์
กิเลสทั้งหลาย ย่อมไหม้ไป เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าธรรม พระอรหันต์ย่อมเผากิเลส
ทั้งหลาย คือรู้จักกิเลสที่ถูกเผาแล้วและกิเลสที่กำลังถูกเผาให้ไหม้ไป เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าฌานวิโมกข์
อาโลกสัญญาย่อมเผา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌาน อาโลกสัญญาย่อมเผา
ถีนมิทธะให้ไหม้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌาน ฯลฯ อวิกเขปะย่อมเผา เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าฌาน อวิกเขปะย่อมเผาอุทธัจจะให้ไหม้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌาน
ธัมมววัตถานย่อมเผา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌาน ธัมมววัตถานย่อมเผาวิจิกิจฉา
ให้ไหม้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌาน
ญาณย่อมเผา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌาน ญาณย่อมเผาอวิชชาให้ไหม้
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌาน ปามุชชะย่อมเผา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌาน
ปามุชชะย่อมเผาอรติให้ไหม้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌาน ปฐมฌานย่อมเผา
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌาน ปฐมฌานย่อมเผานิวรณ์ให้ไหม้ เพราะเหตุนั้นจึงชื่อ
ว่าฌาน ฯลฯ อรหัตตมรรคย่อมเผา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌาน อรหัตตมรรค
ย่อมเผากิเลสทั้งปวงให้ไหม้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌาน พระอรหันต์เมื่อเผา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
ย่อมหลุดพ้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌาณวิโมกข์ เมื่อเผาให้ไหม้ ย่อมหลุดพ้น
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌานวิโมกข์ กิเลสทั้งหลาย ย่อมไหม้ไป เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
ธรรม พระอรหันต์ย่อมเผากิเลสให้ไหม้ คือรู้จักกิเลสที่ถูกเผาแล้วและกิเลสที่กำลัง
ถูกเผาให้ไหม้ไป เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌานวิโมกข์
นี้ชื่อว่าฌานวิโมกข์ ฯ (๖๗)
[๒๑๘] อนุปาทาจิตตวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ อนุปาทาจิตตวิโมกข์ ๑ เป็นอนุปาทาจิตตวิโมกข์ ๑๐ อนุปาทาจิตต-
วิโมกข์ ๑๐ เป็นอนุปาทาจิตตวิโมกข์ ๑ ด้วยอำนาจวัตถุ (และ) ด้วยปริยาย
พึงเป็นอย่างไร
คือ อนิจจานุปัสสนาญาณ พ้นจากอุปาทานว่าเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
อนุปาทาจิตตวิโมกข์ ทุกขานุปัสสนาญาณ พ้นจากอุปาทานว่าสุข เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าอนุปาทาจิตตวิโมกข์ อนัตตานุปัสสนาญาณ พ้นจากอุปาทานว่าอัตตา
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอนุปาทาจิตตวิโมกข์ นิพพิทานุปัสสนาญาณ พ้นจาก
อุปาทานว่านันทิ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอนุปาทาจิตตวิโมกข์ วิราคานุปัสสนาญาณ
พ้นจากอุปาทานว่าราคะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอนุปาทาจิตตวิโมกข์ นิโรธานุ-
ปัสสนาญาณ พ้นจากอุปาทานว่าสมุทัย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอนุปาทาจิตตวิโมกข์
ปฏินิสสัคคานุปัสสนาญาณ พ้นจากอุปาทานว่าอาทานะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
อนุปาทาจิตตวิโมกข์ อนิมิตตานุปัสสนาญาณ พ้นจากอุปาทานว่านิมิต เพราะ
เหตุนั้น จึงชื่อว่าอนุปาทาจิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตานุปัสสนาญาณ พ้นจากอุปาทาน
ว่าปณิธิ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอนุปาทาจิตตวิโมกข์ สุญญตานุปัสสนาญาณ
พ้นจากอุปาทานว่าอภินิเวส เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอนุปาทาจิตตวิโมกข์
อนุปาทาจิตตวิโมกข์ ๑ เป็นอนุปาทาจิตตวิโมกข์ ๑๐ อนุปาทาจิตตวิโมกข์ ๑๐
เป็นอนุปาทาจิตตวิโมกข์ ๑ ด้วยอำนาจวัตถุ (และ) ด้วยปริยาย พึงเป็นอย่างนี้
อนิจจานุปัสสนาญาณในรูป พ้นจากอุปาทานว่าเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
อนุปาทาจิตตวิโมกข์ ฯลฯ สุญญตานุปัสสนาญาณในรูป พ้นจากอุปาทานว่าอภินิเวส
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอนุปาทาจิตตวิโมกข์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
อนุปาทาจิตตวิโมกข์ ๑ เป็นอนุปาทาจิตตวิโมกข์ ๑๐ อนุปาทาจิตตวิโมกข์ ๑๐
เป็นอนุปาทาจิตตวิโมกข์ ๑ ด้วยอำนาจวัตถุ (และ) ด้วยปริยาย พึงเป็นอย่างนี้
อนิจจานุปัสสนาญาณในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา ฯลฯ ในสังขาร ฯลฯ ใน
วิญญาณ ฯลฯ ในจักขุ ฯลฯ อนิจจานุปัสสนาญาณในชราและมรณะ พ้นจาก
อุปาทานว่าเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอนุปาทาจิตตวิโมกข์ ฯลฯ สุญญตานุ-
ปัสสนาญาณในชราและมรณะ พ้นจากอุปาทานว่าอภินิเวส เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
อนุปาทาจิตตวิโมกข์
อนุปาทาจิตตวิโมกข์ ๑ เป็นอนุปาทาจิตตวิโมกข์ ๑๐ อนุปาทาจิตต-
วิโมกข์ ๑๐ เป็นอนุปาทาจิตตวิโมกข์ ๑ ด้วยอำนาจวัตถุ (และ) ด้วยปริยาย
พึงเป็นอย่างนี้
อนิจจานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทานเท่าไร ทุกขานุปัสสนาญาณพ้นจาก
อุปาทานเท่าไร อนัตตานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทานเท่าไร นิพพิทานุปัสสนา-
ญาณ ฯลฯ วิราคานุปัสสนาญาณ ฯลฯ นิโรธานุปัสสนาญาณ ฯลฯ ปฏินิสสัคคา-
นุปัสสนาญาณ ฯลฯ อนิมิตตานุปัสสนาญาณ ฯลฯ อัปปณิหิตานุปัสสนาญาณ
ฯลฯ สุญญตานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทานเท่าไร
คือ อนิจจานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน ๓ ทุกขานุปัสสนาญาณพ้นจาก
อุปาทาน ๑ อนัตตานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน ๓ นิพพิทานุปัสสนาญาณพ้น
จากอุปาทาน ๑ วิราคานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน ๑ นิโรธานุปัสสนาญาณพ้น
จากอุปาทาน ๔ ปฏินิสสัคคานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน ๔ อนิมิตตา-
นุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน ๓ อัปปณิหิตานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน ๑
สุญญตานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน ๓
อนิจจานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน ๓ อะไรบ้าง คือ
๑. ทิฏฐุปาทาน
๒. สีลัพพตุปาทาน
๓. อัตตวาทุปาทาน
อนิจจานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน ๓ นี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
ทุกขานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน ๑ อะไร
คือ กามุปาทาน
ทุกขานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน ๑ นี้
อนัตตานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน ๓ อะไรบ้าง คือ
๑. ทิฏฐุปาทาน
๒. สีลัพพตุปาทาน
๓. อัตตวาทุปาทาน
อนัตตานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน ๓ นี้
นิพพิทานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน ๑ อะไร
คือ กามุปาทาน
นิพพิทานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน ๑ นี้
วิราคานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน ๑ อะไร
คือ กามุปาทาน
วิราคานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน ๑ นี้
นิโรธานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน ๔ อะไรบ้าง คือ
๑. กามุปาทาน
๒. ทิฏฐุปาทาน
๓. สีลัพพตุปาทาน
๔. อัตตวาทุปาทาน
นิโรธานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน ๔ นี้
ปฏินิสสัคคานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน ๔ อะไรบ้าง คือ
๑. กามุปาทาน
๒. ทิฏฐุปาทาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
๓. สีลัพพตุปาทาน
๔. อัตตวาทุปาทาน
ปฏินิสสัคคานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน ๔ นี้
อนิมิตตานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน ๓ อะไรบ้าง คือ
๑. ทิฏฐุปาทาน
๒. สีลัพพตุปาทาน
๓. อัตตวาทุปาทาน
อนิมิตตานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน ๓ นี้
อัปปณิหิตานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน ๑ อะไร
คือ กามุปาทาน
อัปปณิหิตานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน ๑ นี้
สุญญตานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน ๓ อะไรบ้าง คือ
๑. ทิฏฐุปาทาน
๒. สีลัพพตุปาทาน
๓. อัตตวาทุปาทาน
สุญญตานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน ๓ นี้
ญาณ ๔ นี้ คือ
๑. อนิจจานุปัสสนาญาณ
๒. อนัตตานุปัสสนาญาณ
๓. อนิมิตตานุปัสสนาญาณ
๔. สุญญตานุปัสสนาญาณ
พ้นจากอุปาทาน ๓ คือ
๑. ทิฏฐุปาทาน
๒. สีลัพพตุปาทาน
๓. อัตตวาทุปาทาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
ญาณ ๔ นี้ คือ
๑. ทุกขานุปัสสนาญาณ
๒. นิพพิทานุปัสสนาญาณ
๓. วิราคานุปัสสนาญาณ
๔. อัปปณิหิตานุปัสสนาญาณ
พ้นจากอุปาทาน ๑
คือ กามุปาทาน
ญาณ ๒ นี้ คือ
๑. นิโรธานุปัสสนาญาณ
๒. ปฏินิสสัคคานุปัสสนาญาณ
พ้นจากอุปาทาน ๔ คือ
๑. กามุปาทาน
๒. ทิฏฐุปาทาน
๓. สีลัพพตุปาทาน
๔. อัตตวาทุปาทาน
นี้ชื่อว่าอนุปาทาจิตตวิโมกข์ (๖๘)
ปฐมภาณวารแห่งวิโมกขกถา จบ
[๒๑๙] ประตูสู่วิโมกข์ ๓ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อการนำออกจากโลก คือ
๑. การออกจากโลกมีได้ เพราะพิจารณาเห็นสังขารทั้งปวง ทั้งโดยส่วนเบื้อง
ต้นและส่วนเบื้องปลาย และเพราะจิตดำเนินไปในอนิมิตตธาตุ
๒. การออกจากโลกมีได้ เพราะทำใจให้อาจหาญในสังขารทั้งปวง และเพราะ
จิตดำเนินไปในอัปปณิหิตธาตุ
๓. การออกจากโลกมีได้ เพราะพิจารณาเห็นธรรมทั้งปวงโดยความเป็นฝ่ายอื่น
และเพราะจิตดำเนินไปในสุญญตธาตุ
ประตูสู่วิโมกข์ ๓ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อการนำออกจากโลก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง สังขารปรากฏอย่างไร เมื่อมนสิการ
โดยความเป็นทุกข์ สังขารปรากฏอย่างไร เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา
สังขารปรากฏอย่างไร
คือ เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง สังขารปรากฏโดยความสิ้นไป เมื่อ
มนสิการโดยความเป็นทุกข์ สังขารปรากฏโดยความเป็นภัย เมื่อมนสิการโดยความ
เป็นอนัตตา สังขารปรากฏโดยสุญญตะ๑
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง จิตมากด้วยธรรมอะไร เมื่อมนสิการ
โดยความเป็นทุกข์ จิตมากด้วยธรรมอะไร เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา
จิตมากด้วยธรรมอะไร
คือ เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง จิตมากด้วยความน้อมใจเชื่อ เมื่อ
มนสิการโดยความเป็นทุกข์ จิตมากด้วยความสงบ เมื่อมนสิการโดยความเป็น
อนัตตา จิตมากด้วยความรู้
บุคคลผู้มนสิการโดยความไม่เที่ยง มากด้วยความน้อมใจเชื่อ ย่อมได้อินทรีย์
อะไร ผู้มนสิการโดยความเป็นทุกข์ มากด้วยความสงบ ย่อมได้อินทรีย์อะไร ผู้
มนสิการโดยความเป็นอนัตตา มากด้วยความรู้ ย่อมได้อินทรีย์อะไร
คือ บุคคลผู้มนสิการโดยความไม่เที่ยง มากด้วยความน้อมใจเชื่อ ย่อมได้
สัทธินทรีย์ ผู้มนสิการโดยความเป็นทุกข์ มากด้วยความสงบ ย่อมได้สมาธินทรีย์
ผู้มนสิการโดยความเป็นอนัตตา มากด้วยความรู้ ย่อมได้ปัญญินทรีย์
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง มากด้วยความน้อมใจเชื่อ อินทรีย์อะไร
เป็นใหญ่ อินทรีย์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามอินทรีย์นั้นมีเท่าไร เป็นสหชาตปัจจัย
เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย เป็นธรรมมีรสเป็น
อย่างเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอย่างไร ใครย่อมเจริญ
เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ มากด้วยความสงบ อินทรีย์อะไรเป็นใหญ่
เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา มากด้วยความรู้ อินทรีย์อะไรเป็นใหญ่ อินทรีย์

เชิงอรรถ :
๑ สุญญตะ หมายถึงเว้นจากอัตตา (ขุ.ป.อ. ๒/๒๑๙/๑๘๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
แห่งภาวนาที่เป็นไปตามอินทรีย์นั้นมีเท่าไร เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย
เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย เป็นธรรมมีรส๑เป็นอย่างเดียวกัน ชื่อว่า
ภาวนา เพราะมีความหมายว่าอย่างไร ใครย่อมเจริญ
เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา มากด้วยความรู้ อินทรีย์อะไรเป็นใหญ่
อินทรีย์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามอินทรีย์นั้นมีเท่าไร เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญ-
มัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย เป็นธรรมมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอย่างไร ใครย่อมเจริญ
คือ เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง มากด้วยความน้อมใจเชื่อ สัทธินทรีย์
เป็นใหญ่ อินทรีย์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามสัทธินทรีย์นั้นมี ๔ ประการ เป็นสหชาต-
ปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย เป็นธรรม
มีรสเป็นอย่างเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่ามีรสเป็นอย่างเดียวกัน
ผู้ใดปฏิบัติชอบ ผู้นั้นย่อมเจริญ การเจริญอินทรีย์ย่อมไม่มีแก่ผู้ปฏิบัติผิด
เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ มากด้วยความสงบ สมาธินทรีย์เป็นใหญ่
อินทรีย์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามสมาธินทรีย์นั้นมี ๔ ประการ เป็นสหชาตปัจจัย
เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย เป็นธรรมมีรสเป็นอย่าง
เดียวกัน ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่ามีรสเป็นอย่างเดียวกัน ผู้ใดปฏิบัติ
ชอบ ผู้นั้นย่อมเจริญ การเจริญอินทรีย์ ย่อมไม่มีแก่ผู้ปฏิบัติผิด
เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา มากด้วยความรู้ ปัญญินทรีย์เป็นใหญ่
อินทรีย์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามปัญญินทรีย์นั้นมี ๔ ประการ เป็นสหชาตปัจจัย
เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย เป็นธรรมมีรส
เป็นอย่างเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่ามีรสเป็นอย่างเดียวกัน
ผู้ใดปฏิบัติชอบ ผู้นั้นย่อมเจริญ การเจริญอินทรีย์ ย่อมไม่มีแก่ผู้ปฏิบัติผิด

เชิงอรรถ :
๑ รส ในที่นี้หมายถึงวิมุตติรส (ขุ.ป.อ. ๒/๒๒๐/๑๘๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
[๒๒๐] เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง มากด้วยความน้อมใจเชื่อ อินทรีย์
อะไรเป็นใหญ่ อินทรีย์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามอินทรีย์นั้นมีเท่าไร เป็นสหชาตปัจจัย
เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย
ในเวลารู้แจ้งอินทรีย์อะไรเป็นใหญ่ อินทรีย์แห่งการรู้แจ้งที่เป็นไปตามอินทรีย์นั้น
มีเท่าไร เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตต-
ปัจจัย เป็นธรรมมีรสเป็นอย่างเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอย่างไร
ชื่อว่าการรู้แจ้ง เพราะมีความหมายว่าอย่างไร
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นทุกข์ มากด้วยความสงบ อินทรีย์อะไร
เป็นใหญ่ อินทรีย์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามอินทรีย์นั้นมีเท่าไร เป็นสหชาตปัจจัย เป็น
อัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย ในเวลารู้แจ้งอินทรีย์อะไร
เป็นใหญ่ อินทรีย์แห่งการรู้แจ้งที่เป็นไปตามอินทรีย์นั้นมีเท่าไร เป็นสหชาตปัจจัย
เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย เป็นธรรมมีรสเป็น
อย่างเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอย่างไร ชื่อว่าการรู้แจ้ง เพราะมี
ความหมายว่าอย่างไร
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นอนัตตา มากด้วยความรู้ อินทรีย์อะไร
เป็นใหญ่ อินทรีย์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามอินทรีย์นั้นมีเท่าไร เป็นสหชาตปัจจัย
เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย
ในเวลารู้แจ้งอินทรีย์อะไรเป็นใหญ่ อินทรีย์แห่งการรู้แจ้งที่เป็นไปตามอินทรีย์นั้น
มีเท่าไร เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตต-
ปัจจัย เป็นธรรมมีรสเป็นอย่างเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่า
อย่างไร ชื่อว่าการรู้แจ้ง เพราะมีความหมายว่าอย่างไร
คือ เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง มากด้วยความน้อมใจเชื่อ สัทธินทรีย์
เป็นใหญ่ อินทรีย์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามสัทธินทรีย์นั้นมี ๔ ประการ เป็นสหชาต-
ปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
ในเวลารู้แจ้งปัญญินทรีย์เป็นใหญ่ อินทรีย์แห่งการรู้แจ้งที่เป็นไปตามปัญญินทรีย์
นั้นมี ๔ ประการ เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็น
สัมปยุตตปัจจัย เป็นธรรมมีรสเป็นอย่างเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมาย
ว่ามีรสเป็นอย่างเดียวกัน ชื่อว่าการรู้แจ้ง เพราะมีความหมายว่าเห็น ด้วยอาการ
อย่างนี้ แม้บุคคลผู้รู้แจ้งก็ชื่อว่าย่อมเจริญ แม้ผู้เจริญก็ชื่อว่าย่อมรู้แจ้ง
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นทุกข์ มากด้วยความสงบ สมาธินทรีย์
เป็นใหญ่ อินทรีย์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามสมาธินทรีย์นั้นมี ๔ ประการ เป็นสหชาต-
ปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย
ในเวลารู้แจ้งปัญญินทรีย์เป็นใหญ่ อินทรีย์แห่งการรู้แจ้งที่เป็นไปตามปัญญินทรีย์
นั้นมี ๔ ประการ เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย
เป็นสัมปยุตตปัจจัย เป็นธรรมมีรสเป็นอย่างเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความ
หมายว่ามีรสเป็นอย่างเดียวกัน ชื่อว่าการรู้แจ้ง เพราะมีความหมายว่าเห็น ด้วย
อาการอย่างนี้ แม้บุคคลผู้รู้แจ้งก็ชื่อว่าย่อมเจริญ แม้ผู้เจริญก็ชื่อว่าย่อมรู้แจ้ง
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นอนัตตา มากด้วยความรู้ ปัญญินทรีย์
เป็นใหญ่ อินทรีย์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามปัญญินทรีย์นั้นมี ๔ ประการ เป็นสหชาต-
ปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย
ในเวลารู้แจ้งปัญญินทรีย์เป็นใหญ่ อินทรีย์แห่งการรู้แจ้งที่เป็นไปตามปัญญินทรีย์
นั้นมี ๔ ประการ เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย
เป็นสัมปยุตตปัจจัย เป็นธรรมมีรสเป็นอย่างเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความ
หมายว่ามีรสเป็นอย่างเดียวกัน ชื่อว่าการรู้แจ้ง เพราะมีความหมายว่าเห็น ด้วย
อาการอย่างนี้ แม้บุคคลผู้รู้แจ้งก็ชื่อว่าย่อมเจริญ แม้ผู้เจริญก็ชื่อว่าย่อมรู้แจ้ง
[๒๒๑] เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง อินทรีย์อะไรมีประมาณยิ่ง
เพราะอินทรีย์อะไรมีประมาณยิ่งบุคคลจึงเป็นสัทธาธิมุต เมื่อมนสิการโดยความ
เป็นทุกข์ อินทรีย์อะไรมีประมาณยิ่ง เพราะอินทรีย์อะไรมีประมาณยิ่งบุคคลจึงเป็น
กายสักขี เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา อินทรีย์อะไรมีประมาณยิ่ง เพราะ
อินทรีย์อะไรมีประมาณยิ่งบุคคลจึงเป็นทิฏฐิปัตตะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
คือ เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะ
สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นสัทธาธิมุต เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์
สมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะสมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นกายสักขี
เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะปัญญินทรีย์มี
ประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นทิฏฐิปัตตะ บุคคลผู้น้อมใจเชื่อ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
สัทธาธิมุต บุคคลชื่อว่าทำให้แจ้ง เพราะเป็นผู้ถูกต้องธรรม เพราะเหตุนั้น จึงชื่อ
ว่ากายสักขี บุคคลชื่อว่าบรรลุแล้ว เพราะเป็นผู้เห็นธรรม เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
ทิฏฐิปัตตะ บุคคลผู้ใจเชื่อ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสัทธาธิมุต บุคคลถูกต้อง
ฌานก่อน ภายหลังจึงทำให้แจ้งนิพพานซึ่งเป็นความดับ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
กายสักขี ญาณว่า “สังขารเป็นทุกข์ นิโรธเป็นสุข” เป็นญาณอันบุคคลเห็นแล้ว
ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าทิฏฐิ-
ปัตตะ บุคคล ๓ จำพวกนี้ คือ สัทธาธิมุต๑ ๑ กายสักขี๒ ๑ ทิฏฐิปัตตะ๓ ๑ พึงเป็น
สัทธาธิมุตก็ได้ เป็นกายสักขีก็ได้ เป็นทิฏฐิปัตตะก็ได้ด้วยอำนาจวัตถุ (และ) ด้วย
ปริยาย
คำว่า พึงเป็น อธิบายว่า พึงเป็นอย่างไร
คือ เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะ
สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นสัทธาธิมุต เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์
สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะสัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นสัทธาธิมุต
เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะสัทธินทรีย์มี
ประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นสัทธาธิมุต บุคคล ๓ จำพวกนี้เป็นสัทธาธิมุตด้วย
อำนาจสัทธินทรีย์อย่างนี้

เชิงอรรถ :
๑ สัทธาธิมุต หมายถึงพระอริยบุคคลผู้บรรลุโสดาปัตติผลขึ้นไป พ้นด้วยศรัทธา (องฺ.ติก.อ. ๒/๒๑/๙๘,
องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๑-๑๖๒)
๒ กายสักขี หมายถึงพระอริยบุคคลผู้บรรลุโสดาปัตติผลขึ้นไป เป็นผู้เห็นประจักษ์กับตัว สัมผัสวิโมกข์ ๘
ด้วยนามกายแล้วสามารถจะทำให้แจ้งพระนิพพาน (องฺ.ติก.อ. ๒/๒๑/๙๘, องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๑)
๓ ทิฏฐิปัตตะ หมายถึงพระอริยบุคคลผู้บรรลุโสดาปัตติผลขึ้นไป มีสัมมาทิฏฐิ เข้าใจอริยสัจถูกต้อง
(องฺ.ติก.อ. ๒/๒๑๙/๘, องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๑-๑๖๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นทุกข์ สมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะ
สมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นกายสักขี เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา
สมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะสมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นกายสักขี
เมื่อมนสิการโดยความไม่เที่ยง สมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะสมาธินทรีย์มี
ประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นกายสักขี บุคคล ๓ จำพวกนี้เป็นกายสักขีด้วยอำนาจ
สมาธินทรีย์อย่างนี้
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะ
ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นทิฏฐิปัตตะ เมื่อมนสิการโดยความไม่เที่ยง
ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นทิฏฐิปัตตะ
เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะปัญญินทรีย์มี
ประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นทิฏฐิปัตตะ บุคคล ๓ จำพวกนี้เป็นทิฏฐิปัตตะด้วยอำนาจ
ปัญญินทรีย์อย่างนี้
บุคคล ๓ จำพวกนี้ คือ สัทธาธิมุต ๑ กายสักขี ๑ ทิฏฐิปัตตะ ๑ พึงเป็น
สัทธาธิมุตก็ได้ เป็นกายสักขีก็ได้ เป็นทิฏฐิปัตตะก็ได้ด้วยอำนาจวัตถุ(และ)ด้วยปริยาย
อย่างนี้
บุคคล ๓ จำพวกนี้ คือ สัทธาธิมุต ๑ กายสักขี ๑ ทิฏฐิปัตตะ ๑ ฯลฯ
พึงเป็นสัทธาธิมุตอย่างหนึ่ง เป็นกายสักขีอย่างหนึ่ง เป็นทิฏฐิปัตตะอย่างหนึ่ง
ด้วยประการฉะนี้
ถามว่า พึงเป็นอย่างไร
ตอบว่า เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะ
สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นสัทธาธิมุต เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์
สมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะสมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นกายสักขี
เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะปัญญินทรีย์
มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นทิฏฐิปัตตะ บุคคล ๓ จำพวกนี้ คือ สัทธาธิมุต ๑
กายสักขี ๑ ทิฏฐิปัตตะ ๑ พึงเป็นสัทธาธิมุตอย่างหนึ่ง เป็นกายสักขีอย่างหนึ่ง
เป็นทิฏฐิปัตตะอย่างหนึ่ง ด้วยประการฉะนี้
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะสัทธินทรีย์
มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงได้โสดาปัตติมรรค เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่าเป็น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
สัทธานุสารี๑ อินทรีย์ที่เป็นไปตามสัทธินทรีย์นั้นมี ๔ ประการ เป็นสหชาตปัจจัย
เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย การเจริญอินทรีย์ ๔
ย่อมมีด้วยอำนาจสัทธินทรีย์ บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งได้โสดาปัตติมรรคด้วยอำนาจ
สัทธินทรีย์ บุคคลเหล่านั้นแม้ทั้งหมดเป็นสัทธานุสารี
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะสัทธินทรีย์
มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงทำให้แจ้งโสดาปัตติผล เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
เป็นสัทธาธิมุต อินทรีย์ที่เป็นไปตามอินทรีย์นั้นมี ๔ ประการ เป็นสหชาตปัจจัย
เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย อินทรีย์ ๔ เป็น
อันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้วด้วยอำนาจสัทธินทรีย์ บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
ทำให้แจ้งโสดาปัตติผลด้วยอำนาจสัทธินทรีย์ บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นสัทธาธิมุต
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะ
สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงได้สกทาคามิมรรค ฯลฯ ทำให้แจ้งสกทาคามิผล
ได้อนาคามิมรรค ฯลฯ ทำให้แจ้งอนาคามิผล ฯลฯ ได้อรหัตตมรรค ฯลฯ ทำให้
แจ้งอรหัตตผล เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เป็นสัทธาธิมุต อินทรีย์ที่เป็นไป
ตามสัทธินทรีย์นั้นมี ๔ ประการ ฯลฯ เป็นสัมปยุตตปัจจัย อินทรีย์ ๔ เป็นอัน
บุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว ด้วยอำนาจสัทธินทรีย์ บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
ทำให้แจ้งอรหัตตผลด้วยอำนาจสัทธินทรีย์ บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นสัทธาธิมุต
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นทุกข์ สมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะ
สมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงได้โสดาปัตติมรรค เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าว
ว่า เป็นกายสักขี อินทรีย์ที่เป็นไปตามสมาธินทรีย์นั้นมี ๔ ประการ เป็นสหชาต-
ปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย การเจริญ
อินทรีย์ ๔ ย่อมมีด้วยอำนาจสมาธินทรีย์ บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งได้โสดาปัตติมรรค
ด้วยอำนาจสมาธินทรีย์ บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นกายสักขี

เชิงอรรถ :
๑ สัทธานุสารี หมายถึงผู้แล่นไปตามศรัทธา ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุโสดาปัตติผล มีศรัทธาแก่กล้าบรรลุ
ผลแล้วกลายเป็นศรัทธาวิมุตติ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๙/๕๕,องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นทุกข์ สมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะ
สมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงทำให้แจ้งโสดาปัตติผล ฯลฯ ได้สกทาคามิ-
มรรค ฯลฯ ทำให้แจ้งสกทาคามิผล ฯลฯ ได้อนาคามิมรรค ฯลฯ ทำให้แจ้ง
อนาคามิผล ฯลฯ ได้อรหัตตมรรค ฯลฯ ทำให้แจ้งอรหัตตผล เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า เป็นกายสักขี อินทรีย์ที่เป็นไปตามสมาธินทรีย์นั้นมี ๔ ประการ
เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย
อินทรีย์ ๔ เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้วด้วยอำนาจสมาธินทรีย์ บุคคล
เหล่าใดเหล่าหนึ่งทำให้แจ้งอรหัตตผลด้วยอำนาจสมาธินทรีย์ บุคคลเหล่านั้น
ทั้งหมดเป็นกายสักขี
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะ
ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงได้โสดาปัตติมรรค เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
เป็นธรรมานุสารี๑ อินทรีย์ที่เป็นไปตามปัญญินทรีย์นั้นมี ๔ ประการ ฯลฯ เป็น
สัมปยุตตปัจจัย การเจริญอินทรีย์ ๔ ย่อมมีได้ด้วยอำนาจปัญญินทรีย์ บุคคล
เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ได้โสดาปัตติมรรคด้วยอำนาจปัญญินทรีย์ บุคคลเหล่านั้น
ทั้งหมดเป็นธรรมานุสารี
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะ
ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงทำให้แจ้งโสดาปัตติผล เพราะเหตุนั้น ท่านจึง
กล่าวว่า เป็นทิฏฐิปัตตะ อินทรีย์ที่เป็นไปตามปัญญินทรีย์นั้นมี ๔ ประการ ฯลฯ
เป็นสัมปยุตตปัจจัย อินทรีย์ ๔ เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้วด้วยอำนาจ
ปัญญินทรีย์ บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งทำให้แจ้งโสดาปัตติผลด้วยอำนาจปัญญินทรีย์
บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นทิฏฐิปัตตะ
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะ
ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงได้สกทาคามิมรรค ฯลฯ ทำให้แจ้งสกทาคามิผล
ฯลฯ ได้อนาคามิมรรค ฯลฯ ทำให้แจ้งอนาคามิผล ฯลฯ ได้อรหัตตมรรค ฯลฯ
ทำให้แจ้งอรหัตตผล เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เป็นทิฏฐิปัตตะ อินทรีย์ที่

เชิงอรรถ :
๑ ธรรมานุสารี หมายถึงผู้แล่นไปตามธรรม ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุโสดาปัตติผล มีปัญญาแก่กล้า บรรลุผล
แล้วกลายเป็นทิฏฐิปัตตะ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๙/๕๕, องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
เป็นไปตามปัญญินทรีย์นั้นมี ๔ ประการ เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย
เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย อินทรีย์ ๔ เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญ
ดีแล้วด้วยอำนาจปัญญินทรีย์ บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งทำให้แจ้งอรหัตตผลด้วย
อำนาจปัญญินทรีย์ บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นทิฏฐิปัตตะ
[๒๒๒] บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเจริญแล้ว กำลังเจริญ หรือจักเจริญซึ่ง
เนกขัมมะ บรรลุแล้ว กำลังบรรลุ หรือจักบรรลุ ถึงแล้ว กำลังถึง หรือจักถึง ได้แล้ว
กำลังได้ หรือจักได้ รู้แจ้งแล้ว กำลังรู้แจ้ง หรือจักรู้แจ้ง ทำให้แจ้งแล้ว กำลัง
ทำให้แจ้ง หรือจักทำให้แจ้ง ถูกต้องแล้ว กำลังถูกต้อง หรือจักถูกต้อง ถึงความ
ชำนาญแล้ว กำลังถึงความชำนาญ หรือจักถึงความชำนาญ ถึงความสำเร็จแล้ว
กำลังถึงความสำเร็จ หรือจักถึงความสำเร็จ ถึงความแกล้วกล้าแล้ว กำลังถึง
ความแกล้วกล้า หรือจักถึงความแกล้วกล้า บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นสัทธาธิมุต
ด้วยอำนาจสัทธินทรีย์ เป็นกายสักขีด้วยอำนาจสมาธินทรีย์ เป็นทิฏฐิปัตตะด้วย
อำนาจปัญญินทรีย์
บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเจริญแล้ว กำลังเจริญ หรือจักเจริญซึ่งอพยาบาท ฯลฯ
อาโลกสัญญา ฯลฯ อวิกเขปะ ฯลฯ ธัมมววัตถาน ฯลฯ ญาณ ฯลฯ ปามุชชะ
ฯลฯ ปฐมฌาน ฯลฯ ทุติยฌาน ฯลฯ ตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌาน ฯลฯ
อากาสานัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ อากิญจัญ-
ญายตนสมาบัติ ฯลฯ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ฯลฯ อนิจจานุปัสสนา
ฯลฯ ทุกขานุปัสสนา ฯลฯ อนัตตานุปัสสนา ฯลฯ นิพพิทานุปัสสนา ฯลฯ
วิราคานุปัสสนา ฯลฯ นิโรธานุปัสสนา ฯลฯ ปฏินิสสัคคานุปัสสนา ฯลฯ
ขยานุปัสสนา ฯลฯ วยานุปัสสนา ฯลฯ วิปริณามานุปัสสนา ฯลฯ อนิมิตตา-
นุปัสสนา ฯลฯ อัปปณิหิตานุปัสสนา ฯลฯ สุญญตานุปัสสนา ฯลฯ อธิปัญญา-
ธัมมวิปัสสนา ฯลฯ ยถาภูตญาณทัสสนะ ฯลฯ อาทีนวานุปัสสนา ฯลฯ
ปฏิสังขานุปัสสนา ฯลฯ วิวัฏฏนานุปัสสนา ฯลฯ โสดาปัตติมรรค ฯลฯ
สกทาคามิมรรค ฯลฯ อนาคามิมรรค บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเจริญแล้ว กำลัง
เจริญ หรือจักเจริญซึ่งอรหัตตมรรค


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๗๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเจริญแล้ว กำลังเจริญ หรือจักเจริญ ซึ่งสติปัฏฐาน ๔
ฯลฯ สัมมัปปธาน ๔ ฯลฯ อิทธิบาท ๔ ฯลฯ อินทรีย์ ๕ ฯลฯ พละ ๕ ฯลฯ
โพชฌงค์ ๗ ฯลฯ อริยมรรคมีองค์ ๘ บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเจริญแล้ว กำลังเจริญ
หรือจักเจริญ ซึ่งวิโมกข์ ๘ บรรลุแล้ว กำลังบรรลุ หรือจักบรรลุ ถึงแล้ว กำลังถึง
หรือจักถึง ได้แล้ว กำลังได้ หรือจักได้ รู้แจ้งแล้ว กำลังรู้แจ้ง หรือจักรู้แจ้ง
ทำให้แจ้งแล้ว กำลังทำให้แจ้ง หรือจักทำให้แจ้ง ถูกต้องแล้ว กำลังถูกต้อง หรือ
จักถูกต้อง ถึงความชำนาญแล้ว กำลังถึงความชำนาญ หรือจักถึงความชำนาญ
ถึงความสำเร็จแล้ว กำลังถึงความสำเร็จ หรือจักถึงความสำเร็จ ถึงความแกล้วกล้า
แล้ว กำลังถึงความแกล้วกล้า หรือจักถึงความแกล้วกล้า บุคคลเหล่านั้นทั้งหมด
เป็นสัทธาธิมุตด้วยอำนาจสัทธินทรีย์ เป็นกายสักขีด้วยอำนาจสมาธินทรีย์ เป็น
ทิฏฐิปัตตะด้วยอำนาจปัญญินทรีย์
บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง บรรลุแล้ว กำลังบรรลุ หรือจักบรรลุซึ่งปฏิสัมภิทา ๔
ฯลฯ บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นสัทธาธิมุตด้วยอำนาจสัทธินทรีย์ เป็นกายสักขีด้วย
อำนาจสมาธินทรีย์ เป็นทิฏฐิปัตตะด้วยอำนาจปัญญินทรีย์
บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้แจ้งแล้ว กำลังรู้แจ้ง หรือจักรู้แจ้งซึ่งวิชชา ๓ ฯลฯ
บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นสัทธาธิมุตด้วยอำนาจสัทธินทรีย์ เป็นกายสักขีด้วย
อำนาจสมาธินทรีย์ เป็นทิฏฐิปัตตะด้วยอำนาจปัญญินทรีย์
บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ศึกษาแล้ว กำลังศึกษา หรือจักศึกษาซึ่งสิกขา ๓
ทำให้แจ้งแล้ว กำลังทำให้แจ้ง หรือจักทำให้แจ้ง ถูกต้องแล้ว กำลังถูกต้อง หรือ
จักถูกต้อง ถึงความชำนาญแล้ว กำลังถึงความชำนาญ หรือจักถึงความชำนาญ
ถึงความสำเร็จแล้ว กำลังถึงความสำเร็จ หรือจักถึงความสำเร็จ ถึงความแกล้วกล้า
แล้ว กำลังถึงความแกล้วกล้า หรือจักถึงความแกล้วกล้า บุคคลเหล่านั้นทั้งหมด
เป็นสัทธาธิมุตด้วยอำนาจสัทธินทรีย์ เป็นกายสักขีด้วยอำนาจสมาธินทรีย์ เป็น
ทิฏฐิปัตตะด้วยอำนาจปัญญินทรีย์
บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง กำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ เจริญมรรค
บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นสัทธาธิมุตด้วยอำนาจสัทธินทรีย์ เป็นกายสักขีด้วย
อำนาจสมาธินทรีย์ เป็นทิฏฐิปัตตะด้วยอำนาจปัญญินทรีย์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
การรู้แจ้งสัจจะมีได้ด้วยอาการเท่าไร บุคคลรู้แจ้งสัจจะด้วยอาการเท่าไร
คือ การรู้แจ้งสัจจะมีได้ด้วยอาการ ๔ อย่าง บุคคลรู้แจ้งสัจจะด้วยอาการ ๔
อย่าง ได้แก่
๑. รู้แจ้งทุกขสัจว่า เป็นธรรมที่ควรรู้แจ้งด้วยการกำหนดรู้
๒. รู้แจ้งสมุทยสัจว่า เป็นธรรมที่ควรรู้แจ้งด้วยการละ
๓. รู้แจ้งนิโรธสัจว่า เป็นธรรมที่ควรรู้แจ้งด้วยการทำให้แจ้ง
๔. รู้แจ้งมัคคสัจว่า เป็นธรรมที่ควรรู้แจ้งด้วยการเจริญ
การรู้แจ้งสัจจะมีได้ด้วยอาการ ๔ อย่างนี้ บุคคลเมื่อรู้แจ้งสัจจะด้วยอาการ ๔
อย่างนี้ เป็นสัทธาธิมุตด้วยอำนาจสัทธินทรีย์ เป็นกายสักขีด้วยอำนาจสมาธินทรีย์
เป็นทิฏฐิปัตตะด้วยอำนาจปัญญินทรีย์
การรู้แจ้งสัจจะมีได้ด้วยอาการเท่าไร บุคคลรู้แจ้งสัจจะด้วยอาการเท่าไร
คือ การรู้แจ้งสัจจะมีได้ด้วยอาการ ๙ อย่าง บุคคลรู้แจ้งสัจจะด้วยอาการ ๙
อย่าง ได้แก่
๑. รู้แจ้งทุกขสัจว่า เป็นธรรมที่ควรรู้แจ้งด้วยการกำหนดรู้
๒. รู้แจ้งสมุทยสัจว่า เป็นธรรมที่ควรรู้แจ้งด้วยการละ
๓. รู้แจ้งนิโรธสัจว่า เป็นธรรมที่ควรรู้แจ้งด้วยการทำให้แจ้ง
๔. รู้แจ้งมัคคสัจว่า เป็นธรรมที่ควรรู้แจ้งด้วยการเจริญ
๕. รู้แจ้งธรรมทั้งปวงด้วยความรู้ยิ่ง
๖. รู้แจ้งสังขารทั้งปวงด้วยการกำหนดรู้
๗. รู้แจ้งอกุศลธรรมทั้งปวงด้วยการละ
๘. รู้แจ้งมรรค ๔ ด้วยการเจริญ
๙. รู้แจ้งนิโรธด้วยการทำให้แจ้ง
การรู้แจ้งสัจจะมีได้ด้วยอาการ ๙ อย่างนี้ บุคคลเมื่อรู้แจ้งสัจจะด้วยอาการ ๙
อย่างนี้ เป็นสัทธาธิมุตด้วยอำนาจสัทธินทรีย์ เป็นกายสักขีด้วยอำนาจสมาธินทรีย์
เป็นทิฏฐิปัตตะด้วยอำนาจปัญญินทรีย์
ทุติยภาณวาร จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
[๒๒๓] เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง สังขารปรากฏอย่างไร เมื่อ
มนสิการโดยความเป็นทุกข์ สังขารปรากฏอย่างไร เมื่อมนสิการโดยความเป็น
อนัตตา สังขารปรากฏอย่างไร
คือ เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง สังขารปรากฏโดยความสิ้นไป เมื่อ
มนสิการโดยความเป็นทุกข์ สังขารปรากฏโดยความเป็นภัย เมื่อมนสิการโดยความ
เป็นอนัตตา สังขารปรากฏโดยสุญญตะ
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง จิตมากด้วยอะไร เมื่อมนสิการโดยความ
เป็นทุกข์ จิตมากด้วยอะไร เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา จิตมากด้วยอะไร
คือ เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง จิตมากด้วยความน้อมใจเชื่อ เมื่อ
มนสิการโดยความเป็นทุกข์ จิตมากด้วยความสงบ เมื่อมนสิการโดยความเป็น
อนัตตา จิตมากด้วยความรู้
บุคคลผู้มนสิการโดยความไม่เที่ยง มากด้วยความน้อมใจเชื่อ ย่อมได้วิโมกข์
อะไร ผู้มนสิการโดยความเป็นทุกข์ มากด้วยความสงบ ย่อมได้วิโมกข์อะไร ผู้
มนสิการโดยความเป็นอนัตตา มากด้วยความรู้ ย่อมได้วิโมกข์อะไร
คือ บุคคลผู้มนสิการโดยความไม่เที่ยง มากด้วยความน้อมใจเชื่อ ย่อมได้
อนิมิตตวิโมกข์ ผู้มนสิการโดยความเป็นทุกข์ มากด้วยความสงบ ย่อมได้
อัปปณิหิตวิโมกข์ ผู้มนสิการโดยความเป็นอนัตตา มากด้วยความรู้ ย่อมได้
สุญญตวิโมกข์
[๒๒๔] เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง มากด้วยความน้อมใจเชื่อ
วิโมกข์อะไรเป็นใหญ่ วิโมกข์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามวิโมกข์นั้นมีเท่าไร เป็นสหชาต-
ปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย มีรสเป็น
อย่างเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอย่างไร ใครเจริญ
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นทุกข์ มากด้วยความสงบ วิโมกข์อะไร
เป็นใหญ่ วิโมกข์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามวิโมกข์นั้นมีเท่าไร เป็นสหชาตปัจจัย
เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย มีรสเป็นอย่างเดียวกัน
ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอย่างไร ใครเจริญ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา มากด้วยความรู้ วิโมกข์อะไรเป็นใหญ่
วิโมกข์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามวิโมกข์นั้นมีเท่าไร เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญ-
มัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย มีรสเป็นอย่างเดียวกัน ชื่อว่า
ภาวนา เพราะมีความหมายว่าอย่างไร ใครย่อมเจริญ
คือ เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง มากด้วยความน้อมใจเชื่อ อนิมิตต-
วิโมกข์เป็นใหญ่ วิโมกข์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามอนิมิตตวิโมกข์นั้นมี ๒ ประการ๑
เป็นสหชาตปัจจัย ฯลฯ มีรสเป็นอย่างเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความ
หมายว่ามีรสเป็นอย่างเดียวกัน ผู้ใดปฏิบัติโดยชอบ ผู้นั้นย่อมเจริญ การเจริญวิโมกข์
ย่อมไม่มีแก่ผู้ปฏิบัติผิด
เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ มากด้วยความสงบ อัปปณิหิตวิโมกข์
เป็นใหญ่ วิโมกข์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามอัปปณิหิตวิโมกข์นั้นมี ๒ ประการ๒เป็น
สหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย มีรส
เป็นอย่างเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่ามีรสเป็นอย่างเดียวกัน ผู้ใด
ปฏิบัติโดยชอบ ผู้นั้นย่อมเจริญ การเจริญวิโมกข์ย่อมไม่มีแก่ผู้ปฏิบัติผิด
เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา มากด้วยความรู้ สุญญตวิโมกข์เป็นใหญ่
วิโมกข์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามสุญญตวิโมกข์นั้นมี ๒ ประการ๓เป็นสหชาตปัจจัย
เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย มีรสเป็นอย่างเดียวกัน
ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่ามีรสเป็นอย่างเดียวกัน ผู้ใดปฏิบัติโดยชอบ
ผู้นั้นย่อมเจริญ การเจริญวิโมกข์ย่อมไม่มีแก่ผู้ปฏิบัติผิด
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง มากด้วยความน้อมใจเชื่อ วิโมกข์อะไร
เป็นใหญ่ วิโมกข์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามวิโมกข์นั้นมีเท่าไร เป็นสหชาตปัจจัย
เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย มีรสเป็นอย่างเดียวกัน
ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่ามีรสเป็นอย่างเดียวกัน ในเวลารู้แจ้ง วิโมกข์
อะไรเป็นใหญ่ วิโมกข์แห่งการรู้แจ้งที่เป็นไปตามวิโมกข์นั้นมีเท่าไร เป็นสหชาตปัจจัย

เชิงอรรถ :
๑ ได้แก่ อัปปณิหิตวิโมกข์และสุญญตวิโมกข์ (ขุ.ป.อ. ๒/๒๒๔/๑๙๒)
๒ ได้แก่ สุญญตวิโมกข์และอนิมิตตวิโมกข์ (ขุ.ป.อ. ๒/๒๒๔/๑๙๒)
๓ ได้แก่ อนิมิตตวิโมกข์และอัปปณิหิตวิโมกข์ (ขุ.ป.อ. ๒/๒๒๔/๑๙๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย มีรสเป็นอย่างเดียวกัน
ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอย่างไร ชื่อว่าการรู้แจ้ง เพราะมีความหมายว่า
อย่างไร
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นทุกข์ มากด้วยความสงบ วิโมกข์อะไรเป็น
ใหญ่ วิโมกข์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามวิโมกข์นั้นมีเท่าไร เป็นสหชาตปัจจัย
เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย มีรสเป็นอย่างเดียวกัน
ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่ามีรสเป็นอย่างเดียวกัน ในเวลารู้แจ้ง วิโมกข์
อะไรเป็นใหญ่ วิโมกข์แห่งการรู้แจ้งที่เป็นไปตามวิโมกข์นั้นมีเท่าไร เป็นสหชาตปัจจัย
เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย มีรสเป็นอย่างเดียวกัน
ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอย่างไร ชื่อว่าการรู้แจ้ง เพราะมีความหมาย
ว่าอย่างไร
เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา มากด้วยความรู้ วิโมกข์อะไรเป็น
ใหญ่ วิโมกข์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามวิโมกข์นั้นมีเท่าไร เป็นสหชาตปัจจัย เป็น
อัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย มีรสเป็นอย่างเดียวกัน
ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่ามีรสเป็นอย่างเดียวกัน ในเวลารู้แจ้ง วิโมกข์
อะไรเป็นใหญ่ วิโมกข์แห่งการรู้แจ้งที่เป็นไปตามวิโมกข์นั้นมีเท่าไร เป็นสหชาตปัจจัย
เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย มีรสเป็นอย่างเดียวกัน
ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอย่างไร ชื่อว่าการรู้แจ้ง เพราะมีความหมายว่า
อย่างไร
[๒๒๕] คือ เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง มากด้วยความน้อมใจเชื่อ
อนิมิตตวิโมกข์เป็นใหญ่ วิโมกข์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามอนิมิตตวิโมกข์นั้นมี ๒ ประการ
เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย
มีรสเป็นอย่างเดียวกัน แม้ในเวลารู้แจ้ง อนิมิตตวิโมกข์ก็เป็นใหญ่ วิโมกข์แห่ง
การรู้แจ้งที่เป็นไปตามอนิมิตตวิโมกข์นั้นมี ๒ ประการ เป็นสหชาตปัจจัย เป็น
อัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย มีรสเป็นอย่างเดียวกัน
ชื่อว่าการรู้แจ้ง เพราะมีความหมายว่าเห็น แม้บุคคลผู้รู้แจ้งอย่างนี้ ก็ชื่อว่าเจริญ
แม้ผู้เจริญก็ชื่อว่ารู้แจ้ง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ มากด้วยความสงบ อัปปณิหิตวิโมกข์
เป็นใหญ่ วิโมกข์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามอัปปณิหิตวิโมกข์นั้นมี ๒ ประการ เป็น
สหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย มีรส
เป็นอย่างเดียวกัน แม้ในเวลารู้แจ้ง อัปปณิหิตวิโมกข์ก็เป็นใหญ่ วิโมกข์แห่งการรู้
แจ้งที่เป็นไปตามอัปปณิหิตวิโมกข์นั้นมี ๒ ประการ เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญ-
มัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย แม้ผู้เจริญก็ชื่อว่ารู้แจ้ง
เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา มากด้วยความรู้ สุญญตวิโมกข์เป็นใหญ่
วิโมกข์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามสุญญตวิโมกข์นั้นมี ๒ ประการ เป็นสหชาตปัจจัย
เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย มีรสเป็นอย่างเดียวกัน
แม้ในเวลารู้แจ้ง สุญญตวิโมกข์ก็เป็นใหญ่ วิโมกข์แห่งการรู้แจ้งที่เป็นไปตาม
สุญญตวิโมกข์นั้นมี ๒ ประการ เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็น
นิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย แม้ผู้เจริญก็ชื่อว่ารู้แจ้ง
[๒๒๖] เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง วิโมกข์อะไรมีประมาณยิ่ง เพราะ
วิโมกข์อะไรมีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นสัทธาธิมุต เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์
วิโมกข์อะไรมีประมาณยิ่ง เพราะวิโมกข์อะไรมีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นกายสักขี
เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา วิโมกข์อะไรมีประมาณยิ่ง เพราะวิโมกข์อะไรมี
ประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นทิฏฐิปัตตะ
คือ เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง อนิมิตตวิโมกข์มีประมาณยิ่ง เพราะ
อนิมิตตวิโมกข์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นสัทธาธิมุต เมื่อมนสิการโดยความเป็น
ทุกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์มีประมาณยิ่ง เพราะอัปปณิหิตวิโมกข์มีประมาณยิ่ง บุคคล
จึงเป็นกายสักขี เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา สุญญตวิโมกข์มีประมาณยิ่ง
เพราะสุญญตวิโมกข์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นทิฏฐิปัตตะ
บุคคลผู้น้อมใจเชื่อ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสัทธาธิมุต บุคคลชื่อว่าทำให้แจ้ง
เพราะเป็นผู้ถูกต้องธรรม เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่ากายสักขี บุคคลชื่อว่าบรรลุแล้ว
เพราะเป็นผู้เห็นธรรม เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าทิฏฐิปัตตะ บุคคลผู้น้อมใจเชื่อ
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสัทธาธิมุต บุคคลถูกต้องฌานก่อน ภายหลังจึงทำให้แจ้ง
นิพพานซึ่งเป็นความดับ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่ากายสักขี ญาณว่า “สังขารเป็นทุกข์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
นิโรธเป็นสุข” เป็นญาณอันบุคคลเห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้ว
ด้วยปัญญา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าทิฏฐิปัตตะ ฯลฯ บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
เจริญแล้ว กำลังเจริญ หรือจักเจริญซึ่งเนกขัมมะ ฯลฯ บุคคลเหล่านั้นทั้งหมด
เป็นสัทธาธิมุตด้วยอำนาจอนิมิตตวิโมกข์ เป็นกายสักขีด้วยอำนาจอัปปณิหิตวิโมกข์
เป็นทิฏฐิปัตตะด้วยอำนาจสุญญตวิโมกข์
บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง เจริญแล้ว กำลังเจริญ หรือจักเจริญซึ่งอพยาบาท
ฯลฯ อาโลกสัญญา ฯลฯ อวิกเขปะ ฯลฯ บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง กำหนดรู้ทุกข์
ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ เจริญมรรค บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นสัทธาธิมุตด้วย
อำนาจอนิมิตตวิโมกข์ เป็นกายสักขีด้วยอำนาจอัปปณิหิตวิโมกข์ เป็นทิฏฐิปัตตะ
ด้วยอำนาจสุญญตวิโมกข์
การรู้แจ้งสัจจะมีได้ด้วยอาการเท่าไร บุคคลรู้แจ้งสัจจะด้วยอาการเท่าไร
คือ การรู้แจ้งสัจจะมีได้ด้วยอาการ ๔ อย่าง บุคคลรู้แจ้งสัจจะด้วยอาการ ๔
อย่าง ได้แก่
๑. รู้แจ้งทุกขสัจว่า เป็นธรรมที่ควรรู้แจ้งด้วยการกำหนดรู้
๒. รู้แจ้งสมุทยสัจว่า เป็นธรรมที่ควรรู้แจ้งด้วยการละ
๓. รู้แจ้งนิโรธสัจว่า เป็นธรรมที่ควรรู้แจ้งด้วยการทำให้แจ้ง
๔. รู้แจ้งมัคคสัจว่า เป็นธรรมที่ควรรู้แจ้งด้วยการเจริญ
การรู้แจ้งสัจจะมีได้ด้วยอาการ ๔ อย่างนี้ บุคคลเมื่อรู้แจ้งสัจจะด้วยอาการ ๔
อย่างนี้ เป็นสัทธาธิมุตด้วยอำนาจอนิมิตตวิโมกข์ เป็นกายสักขีด้วยอำนาจ
อัปปณิหิตวิโมกข์ เป็นทิฏฐิปัตตะด้วยอำนาจสุญญตวิโมกข์
การรู้แจ้งสัจจะมีได้ด้วยอาการเท่าไร บุคคลรู้แจ้งสัจจะด้วยอาการเท่าไร
คือ การรู้แจ้งสัจจะมีได้ด้วยอาการ ๙ อย่าง บุคคลรู้แจ้งสัจจะด้วยอาการ ๙
อย่าง ได้แก่
๑. รู้แจ้งทุกขสัจว่า เป็นธรรมที่ควรรู้แจ้งด้วยการกำหนดรู้
ฯลฯ
๙. รู้แจ้งนิโรธด้วยการทำให้แจ้ง๑

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มในข้อ ๒๒๒ หน้า ๓๗๖ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
การรู้แจ้งสัจจะมีได้ด้วยอาการ ๙ อย่างนี้ บุคคลเมื่อรู้แจ้งสัจจะด้วยอาการ
๙ อย่างนี้ เป็นสัทธาธิมุตด้วยอำนาจอนิมิตตวิโมกข์ เป็นกายสักขีด้วยอำนาจ
อัปปณิหิตวิโมกข์ เป็นทิฏฐิปัตตะด้วยอำนาจสุญญตวิโมกข์
[๒๒๗] บุคคลผู้มนสิการโดยความไม่เที่ยงจะรู้เห็นธรรมเหล่าไหนตามความ
เป็นจริง สัมมาทัสสนะ (ความเห็นชอบ) เป็นอย่างไร สังขารทั้งปวงชื่อว่าบุคคล
เห็นดีแล้วโดยความไม่เที่ยงด้วยการอนุมานตามสัมมาทัสสนะนั้นเป็นอย่างไร บุคคล
ละความสงสัยได้ที่ไหน
บุคคลผู้มนสิการโดยความเป็นทุกข์จะรู้เห็นธรรมเหล่าไหนตามความเป็นจริง
สัมมาทัสสนะเป็นอย่างไร สังขารทั้งปวงชื่อว่าบุคคลเห็นดีแล้วโดยความเป็นทุกข์
ด้วยการอนุมานตามสัมมาทัสสนะนั้นเป็นอย่างไร บุคคลละความสงสัยได้ที่ไหน
บุคคลผู้มนสิการโดยความเป็นอนัตตาจะรู้เห็นธรรมเหล่าไหนตามความเป็นจริง
สัมมาทัสสนะเป็นอย่างไร ธรรมทั้งปวงชื่อว่าบุคคลเห็นดีแล้วโดยความเป็นอนัตตา
ด้วยการอนุมานตามสัมมาทัสสนะนั้นเป็นอย่างไร บุคคลละความสงสัยได้ที่ไหน
คือ บุคคลผู้มนสิการโดยความไม่เที่ยงจะรู้เห็นนิมิตตามความเป็นจริง เพราะ
รู้เห็นนิมิตตามความเป็นจริงนั้น ท่านจึงกล่าวว่าสัมมาทัสสนะ สังขารทั้งปวงชื่อว่า
บุคคลเห็นดีแล้วโดยความไม่เที่ยงด้วยการอนุมานตามสัมมาทัสสสะนั้นอย่างนี้
บุคคลละความสงสัยได้ที่สัมมาทัสสนะนี้
บุคคลผู้มนสิการโดยความเป็นทุกข์จะรู้เห็นความเป็นไปตามความเป็นจริง
เพราะรู้เห็นความเป็นไปตามความเป็นจริงนั้น ท่านจึงกล่าวว่าสัมมาทัสสนะ สังขาร
ทั้งปวงชื่อว่าบุคคลเห็นดีแล้วโดยความเป็นทุกข์ด้วยการอนุมานตามสัมมาทัสสนะนั้น
อย่างนี้ บุคคลละความสงสัยได้ที่สัมมาทัสสนะนี้
บุคคลผู้มนสิการโดยความเป็นอนัตตา จะรู้เห็นนิมิตและความเป็นไปตามความ
เป็นจริง เพราะรู้เห็นนิมิตและความเป็นไปตามความเป็นจริงนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
สัมมาทัสสนะ ธรรมทั้งปวงชื่อว่าบุคคลเห็นดีแล้วโดยความเป็นอนัตตาด้วยการ
อนุมานตามสัมมาทัสสนะนั้นอย่างนี้ บุคคลละความสงสัยได้ที่สัมมาทัสสนะนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
ธรรมเหล่านี้ คือ ยถาภูตญาณ สัมมาทัสสนะ และกังขาวิตรณะมีอรรถ
ต่างกันและมีพยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น
ธรรมเหล่านี้ คือ ยถาภูตญาณ สัมมาทัสสนะ และกังขาวิตรณะมีอรรถ
อย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง อะไรปรากฏโดยความเป็นภัย เมื่อ
มนสิการโดยความเป็นทุกข์ อะไรปรากฏโดยความเป็นภัย เมื่อมนสิการโดยความ
เป็นอนัตตา อะไรปรากฏโดยความเป็นภัย
คือ เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง นิมิตปรากฏโดยความเป็นภัย เมื่อ
มนสิการโดยความเป็นทุกข์ ความเป็นไปปรากฏโดยความเป็นภัย เมื่อมนสิการโดย
ความเป็นอนัตตา นิมิตและความเป็นไปปรากฏโดยความเป็นภัย
ธรรมเหล่านี้ คือ ปัญญาในการ(เห็นสังขาร)ปรากฏโดยความเป็นภัย อาทีนว-
ญาณ และนิพพิทามีอรรถต่างกันและมีพยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกัน
ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น
ธรรมเหล่านี้ คือ ปัญญาในการ(เห็นสังขาร)ปรากฏโดยความเป็นภัย อาทีนว-
ญาณ และนิพพิทามีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น
ธรรมเหล่านี้ คือ อนัตตานุปัสสนาและสุญญตานุปัสสนามีอรรถต่างกันและ
มีพยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น
ธรรมเหล่านี้ คือ อนัตตานุปัสสนาและสุญญตานุปัสสนามีอรรถอย่างเดียวกัน
ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง ญาณคือการพิจารณาอะไรย่อมเกิดขึ้น
เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ญาณคือการพิจารณาอะไรย่อมเกิดขึ้น เมื่อ
มนสิการโดยความเป็นอนัตตา ญาณคือการพิจารณาอะไรย่อมเกิดขึ้น
คือ เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง ญาณคือการพิจารณานิมิตย่อม
เกิดขึ้น เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ญาณคือการพิจารณาความเป็นไปย่อม
เกิดขึ้น เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ญาณคือการพิจารณานิมิตและความ
เป็นไปย่อมเกิดขึ้น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
ธรรมเหล่านี้ คือ มุญจิตุกัมยตาญาณ ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ และ
สังขารุเปกขาญาณมีอรรถต่างกันและมีพยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกัน
ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น
ธรรมเหล่านี้ คือ มุญจิตุกัมยตาญาณ ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ และ
สังขารุเปกขาญาณมีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง จิตออกจากอะไร แล่นไปในที่ไหน
เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ จิตออกจากอะไร แล่นไปในที่ไหน เมื่อมนสิการ
โดยความเป็นอนัตตา จิตออกจากอะไร แล่นไปในที่ไหน
คือ เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง จิตออกจากนิมิต แล่นไปใน
นิพพานซึ่งไม่มีนิมิต เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ จิตออกจากความเป็นไป
แล่นไปในนิพพานซึ่งไม่มีความเป็นไป เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา จิตออก
จากนิมิตและความเป็นไป แล่นไปในนิพพานธาตุซึ่งเป็นความดับ ซึ่งไม่มีนิมิตและ
ความเป็นไป
ธรรมเหล่านี้ คือ ปัญญาในการออกและหลีกไปจากนิมิตภายนอกและโคตรภู-
ธรรมมีอรรถต่างกันและมีพยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่
พยัญชนะเท่านั้น
ธรรมเหล่านี้ คือ ปัญญาในการออกและหลีกไปจากนิมิตภายนอกและโคตรภู-
ธรรม มีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น
บุคคลผู้มนสิการโดยความไม่เที่ยงย่อมหลุดพ้นด้วยวิโมกข์อะไร ผู้มนสิการ
โดยความเป็นทุกข์ย่อมหลุดพ้นด้วยวิโมกข์อะไร ผู้มนสิการโดยความเป็นอนัตตา
ย่อมหลุดพ้นด้วยวิโมกข์อะไร
คือ บุคคลผู้มนสิการโดยความไม่เที่ยง ย่อมหลุดพ้นด้วยอนิมิตตวิโมกข์ ผู้
มนสิการโดยความเป็นทุกข์ย่อมหลุดพ้นด้วยอัปปณิหิตวิโมกข์ ผู้มนสิการโดยความ
เป็นอนัตตาย่อมหลุดพ้นด้วยสุญญตวิโมกข์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
ธรรมเหล่านี้ คือ ปัญญาในการออกและหลีกไปจากกิเลสขันธ์และจากนิมิต
ภายนอกและมัคคญาณมีอรรถต่างกันและมีพยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียว
กัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น
ธรรมเหล่านี้ คือ ปัญญาในการออกและหลีกไปจากกิเลสขันธ์และจากนิมิต
ภายนอกและมัคคญาณมีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น
[๒๒๘] วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยอาการเท่าไร ย่อมมีในขณะ
เดียวกันด้วยอาการเท่าไร
คือ วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยอาการ ๔ อย่าง ย่อมมีในขณะ
เดียวกันด้วยอาการ ๗ อย่าง
วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยอาการ ๔ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ด้วยสภาวะเป็นใหญ่ ๒. ด้วยสภาวะตั้งมั่น
๓. ด้วยสภาวะน้อมจิตไป ๔. ด้วยสภาวะนำออกไป
วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยสภาวะเป็นใหญ่ เป็นอย่างไร
คือ เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง อนิมิตตวิโมกข์เป็นใหญ่ เมื่อมนสิการ
โดยความเป็นทุกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์เป็นใหญ่ เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา
สุญญตวิโมกข์เป็นใหญ่ วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยสภาวะเป็นใหญ่อย่างนี้
วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยสภาวะตั้งมั่น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลผู้มนสิการโดยความไม่เที่ยงย่อมตั้งจิตไว้มั่นด้วยอำนาจแห่ง
อนิมิตตวิโมกข์ ผู้มนสิการโดยความเป็นทุกข์ย่อมตั้งจิตไว้มั่นด้วยอำนาจแห่ง
อัปปณิหิตวิโมกข์ ผู้มนสิการโดยความเป็นอนัตตาย่อมตั้งจิตไว้มั่นด้วยอำนาจแห่ง
สุญญตวิโมกข์ วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยสภาวะตั้งมั่นอย่างนี้
วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยสภาวะน้อมจิตไป เป็นอย่างไร
คือ บุคคลผู้มนสิการโดยความไม่เที่ยงย่อมน้อมจิตไปด้วยอำนาจแห่งอนิมิตต-
วิโมกข์ ผู้มนสิการโดยความเป็นทุกข์ย่อมน้อมจิตไปด้วยอำนาจแห่งอัปปณิหิตวิโมกข์
ผู้มนสิการโดยความเป็นอนัตตาย่อมน้อมจิตไปด้วยอำนาจแห่งสุญญตวิโมกข์ วิโมกข์
๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยสภาวะน้อมจิตไปอย่างนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยสภาวะนำออกไป เป็นอย่างไร
คือ บุคคลผู้มนสิการโดยความไม่เที่ยงย่อมนำจิตออกไปสู่นิพพานซึ่งเป็นความ
ดับด้วยอำนาจแห่งอนิมิตตวิโมกข์ ผู้มนสิการโดยความเป็นทุกข์ย่อมนำจิตออกไปสู่
นิพพานซึ่งเป็นความดับด้วยอำนาจแห่งอัปปณิหิตวิโมกข์ ผู้มนสิการโดยความเป็น
อนัตตาย่อมนำจิตออกไปสู่นิพพานซึ่งเป็นความดับด้วยอำนาจแห่งสุญญตวิโมกข์
วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยสภาวะนำออกไปอย่างนี้
วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยอาการ ๔ อย่างนี้
วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะเดียวกันด้วยอาการ ๗ อย่าง อะไรบ้าง คือ

๑. ด้วยสภาวะประชุมลง ๒. ด้วยสภาวะบรรลุ
๓. ด้วยสภาวะได้ ๔. ด้วยสภาวะรู้แจ้ง
๕. ด้วยสภาวะทำให้แจ้ง ๖. ด้วยสภาวะถูกต้อง
๗. ด้วยสภาวะตรัสรู้

วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะเดียวกันด้วยสภาวะประชุมลง ด้วยสภาวะบรรลุ
ด้วยสภาวะได้ ด้วยสภาวะรู้แจ้ง ด้วยสภาวะทำให้แจ้ง ด้วยสภาวะถูกต้อง
ด้วยสภาวะตรัสรู้ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลผู้มนสิการโดยความไม่เที่ยงย่อมพ้นจากนิมิต เพราะเหตุนั้น
วิโมกข์นั้นจึงเป็นอนิมิตตวิโมกข์ บุคคลพ้นจากอารมณ์ใดย่อมไม่ตั้งอยู่ในอารมณ์นั้น
เพราะเหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึงเป็นอัปปณิหิตวิโมกข์ บุคคลไม่ตั้งอยู่ในอารมณ์ใด
เป็นผู้ว่างจากอารมณ์นั้น เพราะเหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึงเป็นสุญญตวิโมกข์ บุคคล
ว่างจากนิมิตใด เป็นผู้ไม่มีนิมิตเพราะนิมิตนั้น เพราะเหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึงเป็น
อนิมิตตวิโมกข์ วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะเดียวกันด้วยสภาวะประชุมลง ด้วยสภาวะ
บรรลุ ด้วยสภาวะได้ ด้วยสภาวะรู้แจ้ง ด้วยสภาวะทำให้แจ้ง ด้วยสภาวะถูกต้อง
ด้วยสภาวะตรัสรู้อย่างนี้
บุคคลผู้มนสิการโดยความเป็นทุกข์ย่อมพ้นจากปณิธิ (ความตั้งมั่น) เพราะเหตุนั้น
วิโมกข์นั้นจึงเป็นอัปปณิหิตวิโมกข์ บุคคลไม่ตั้งอยู่ในทุกข์ใด เป็นผู้ว่างจากทุกข์นั้น
เพราะเหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึงเป็นสุญญตวิโมกข์ บุคคลว่างจากนิมิตใด เป็นผู้ไม่มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
นิมิตเพราะนิมิตนั้น เพราะเหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึงเป็นอนิมิตตวิโมกข์ บุคคลไม่มีนิมิต
เพราะนิมิตใด ไม่ตั้งอยู่ในนิมิตนั้น เพราะเหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึงเป็นอัปปณิหิตวิโมกข์
วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะเดียวกันด้วยสภาวะประชุมลง ด้วยสภาวะบรรลุ ด้วยสภาวะ
ได้ ด้วยสภาวะรู้แจ้ง ด้วยสภาวะทำให้แจ้ง ด้วยสภาวะถูกต้อง ด้วยสภาวะตรัสรู้
อย่างนี้
บุคคลผู้มนสิการโดยความเป็นอนัตตาย่อมพ้นจากอภินิเวส (ความยึดมั่น)
เพราะเหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึงเป็นสุญญตวิโมกข์ บุคคลว่างจากนิมิตใด เป็นผู้ไม่มีนิมิต
เพราะนิมิตนั้น เพราะเหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึงเป็นอนิมิตตวิโมกข์ บุคคลไม่มีนิมิต
เพราะนิมิตใด ไม่ตั้งอยู่ในนิมิตนั้น เพราะเหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึงเป็นอัปปณิหิตวิโมกข์
บุคคลไม่ตั้งอยู่ในนิมิตใด เป็นผู้ว่างจากนิมิตนั้น เพราะเหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึงเป็น
สุญญตวิโมกข์ วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะเดียวกันด้วยสภาวะประชุมลง ด้วยสภาวะ
บรรลุ ด้วยสภาวะได้ ด้วยสภาวะรู้แจ้ง ด้วยสภาวะทำให้แจ้ง ด้วยสภาวะถูกต้อง
ด้วยสภาวะตรัสรู้ วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะเดียวกันด้วยอาการ ๗ อย่างนี้
[๒๒๙] วิโมกข์มีอยู่ ธรรมที่เป็นประธานมีอยู่ ธรรมที่เป็นประธานแห่ง
วิโมกข์มีอยู่ ธรรมที่เป็นข้าศึกต่อวิโมกข์มีอยู่ ธรรมที่อนุโลมตามวิโมกข์มีอยู่
วิโมกขวิวัฏมีอยู่ การเจริญวิโมกข์มีอยู่ ความสงบระงับแห่งวิโมกข์มีอยู่
วิโมกข์ อะไรบ้าง คือ
๑. สุญญตวิโมกข์ ๒. อนิมิตตวิโมกข์
๓. อัปปณิหิตวิโมกข์
สุญญตวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ อนิจจานุปัสสนาญาณพ้นจากอภินิเวสว่าเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
สุญญตวิโมกข์ ทุกขานุปัสสนาญาณพ้นจากอภินิเวสว่าสุข เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
สุญญตวิโมกข์ อนัตตานุปัสสนาญาณพ้นจากอภินิเวสว่าอัตตา เพราะเหตุนั้น จึง
ชื่อว่าสุญญตวิโมกข์ นิพพิทานุปัสสนาญาณพ้นจากอภินิเวสว่านันทิ เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าสุญญตวิโมกข์ วิราคานุปัสสนาญาณพ้นจากอภินิเวสว่าราคะ เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าสุญญตวิโมกข์ นิโรธานุปัสสนาญาณพ้นจากอภินิเวสว่าสมุทัย เพราะเหตุนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
จึงชื่อว่าสุญญตวิโมกข์ ปฏินิสสัคคานุปัสสนาญาณพ้นจากอภินิเวสว่าอาทานะ
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสุญญตวิโมกข์ อนิมิตตานุปัสสนาญาณพ้นจากอภินิเวสว่า
นิมิต เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสุญญตวิโมกข์ อัปปณิหิตานุปัสสนาญาณพ้นจาก
อภินิเวสว่าปณิธิ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสุญญตวิโมกข์ สุญญตานุปัสสนาญาณ
พ้นจากอภินิเวสทุกอย่าง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสุญญตวิโมกข์
อนิจจานุปัสสนาญาณในรูปพ้นจากอภินิเวสว่าเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
สุญญตวิโมกข์ ฯลฯ สุญญตานุปัสสนาญาณในรูปพ้นจากอภินิเวสทุกอย่าง
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสุญญตวิโมกข์ อนิจจานุปัสสนาญาณในเวทนา ฯลฯ ใน
สัญญา ฯลฯ ในสังขาร ฯลฯ ในวิญญาณ ฯลฯ ในจักขุ ฯลฯ อนิจจานุปัสสนา-
ญาณในชราและมรณะพ้นจากอภินิเวสว่าเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสุญญตวิโมกข์
ฯลฯ สุญญตานุปัสสนาญาณในชราและมรณะพ้นจากอภินิเวสทุกอย่าง เพราะ
เหตุนั้น จึงชื่อว่าสุญญตวิโมกข์ นี้เป็นสุญญตวิโมกข์
อนิมิตตวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ อนิจจานุปัสสนาญาณพ้นจากนิมิตว่าเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
อนิมิตตวิโมกข์ ทุกขานุปัสสนาญาณพ้นจากนิมิตว่าสุข เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
อนิมิตตวิโมกข์ อนัตตานุปัสสนาญาณพ้นจากนิมิตว่าอัตตา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
อนิมิตตวิโมกข์ นิพพิทานุปัสสนาญาณพ้นจากนิมิตว่านันทิ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
อนิมิตตวิโมกข์ วิราคานุปัสสนาญาณพ้นจากนิมิตว่าราคะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
อนิมิตตวิโมกข์ นิโรธานุปัสสนาญาณพ้นจากนิมิตว่าสมุทัย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อ
ว่าอนิมิตตวิโมกข์ ปฏินิสสัคคานุปัสสนาญาณพ้นจากนิมิตว่าอาทานะ เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์ อนิมิตตานุปัสสนาญาณพ้นจากสรรพนิมิต เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตานุปัสสนาญาณพ้นจากนิมิตว่าปณิธิ เพราะ
เหตุนั้น จึงชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์ สุญญตานุปัสสนาญาณพ้นจากนิมิตว่าอภินิเวส
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์
อนิจจานุปัสสนาญาณในรูปพ้นจากนิมิตว่าเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
อนิมิตตวิโมกข์ ฯลฯ อนิมิตตานุปัสสนาญาณในรูปพ้นจากสรรพนิมิต เพราะ
เหตุนั้น จึงชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตานุปัสสนาญาณในรูปพ้นจากนิมิตว่าปณิธิ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์ สุญญตานุปัสสนาญาณในรูปพ้นจากนิมิตว่า
อภินิเวส เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์ อนิจจานุปัสสนาญาณในเวทนา ฯลฯ
ในสัญญา ฯลฯ ในสังขาร ฯลฯ ในวิญญาณ ฯลฯ ในจักขุ ฯลฯ อนิจจานุปัสสนา-
ญาณในชราและมรณะพ้นจากนิมิตว่าเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์
ฯลฯ อนิมิตตานุปัสสนาญาณในชราและมรณะพ้นจากสรรพนิมิต เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตานุปัสสนาญาณในชราและมรณะพ้นจากนิมิตว่า
ปณิธิ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์ สุญญตานุปัสสนาญาณในชรา
และมรณะพ้นจากนิมิตว่าอภินิเวส เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์ นี้เป็น
อนิมิตตวิโมกข์
อัปปณิหิตวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ อนิจจานุปัสสนาญาณพ้นจากปณิธิว่าเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
อัปปณิหิตวิโมกข์ ทุกขานุปัสสนาญาณพ้นจากปณิธิว่าสุข เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
อัปปณิหิตวิโมกข์ อนัตตานุปัสสนาญาณพ้นจากปณิธิว่าอัตตา เพราะเหตุนั้น จึง
ชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ นิพพิทานุปัสสนาญาณพ้นจากปณิธิว่านันทิ เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ วิราคานุปัสสนาญาณพ้นจากปณิธิว่าราคะ เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ นิโรธานุปัสสนาญาณพ้นจากปณิธิว่าสมุทัย เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ ปฏินิสสัคคานุปัสสนาญาณพ้นจากปณิธิว่าอาทานะ
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ อนิมิตตานุปัสสนาญาณพ้นจากปณิธิว่า
นิมิต เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ อัปปณิหิตานุปัสสนาญาณพ้นจาก
ปณิธิทุกอย่าง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ สุญญตานุปัสสนาญาณ
พ้นจากปณิธิว่าอภินิเวส เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์
อนิจจานุปัสสนาญาณในรูปพ้นจากปณิธิว่าเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
อัปปณิหิตวิโมกข์ ฯลฯ อัปปณิหิตานุปัสสนาญาณในรูปพ้นจากปณิธิทุกอย่าง
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ สุญญตานุปัสสนาญาณในรูปพ้นจาก
ปณิธิว่าอภินิเวส เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ อนิจจานุปัสสนาญาณ
ในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา ฯลฯ ในสังขาร ฯลฯ ในวิญญาณ ฯลฯ ในจักขุ ฯลฯ
อนิจจานุปัสสนาญาณในชราและมรณะพ้นจากปณิธิว่าเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
อัปปณิหิตวิโมกข์ ฯลฯ อัปปณิหิตานุปัสสนาญาณในชราและมรณะพ้นจากปณิธิ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
ทุกอย่าง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ สุญญตานุปัสสนาญาณในชรา
และมรณะพ้นจากปณิธิว่าอภินิเวส เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ นี้
เป็นอัปปณิหิตวิโมกข์ นี้เป็นวิโมกข์ (๑)
[๒๓๐] ธรรมที่เป็นประธาน เป็นอย่างไร
คือ ธรรมที่เป็นฝ่ายแห่งการตรัสรู้ เป็นกุศล ไม่มีโทษ เกิดในภาวนานั้น นี้
เป็นธรรมที่เป็นประธาน (๒)
ธรรมที่เป็นประธานแห่งวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ นิพพานซึ่งเป็นความดับ เป็นอารมณ์ของธรรมเหล่านั้น นี้เป็นธรรมที่
เป็นประธานแห่งวิโมกข์ (๓)
ธรรมที่เป็นข้าศึกต่อวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ อกุศลมูล ๓ ทุจริต ๓ อกุศลธรรมแม้ทุกอย่างเป็นข้าศึกต่อวิโมกข์ นี้
เป็นธรรมที่เป็นข้าศึกต่อวิโมกข์ (๔)
ธรรมที่อนุโลมตามวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ กุศลมูล ๓ สุจริต ๓ กุศลธรรมแม้ทุกอย่างเป็นธรรมที่อนุโลมตามวิโมกข์
นี้เป็นธรรมที่อนุโลมตามวิโมกข์ (๕)
วิโมกขวิวัฏ เป็นอย่างไร
คือ สัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏ ญาณวิวัฏ วิโมกขวิวัฏ สัจจวิวัฏ
พระโยคาวจรเมื่อหมายรู้ย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าสัญญาวิวัฏ เมื่อ
คิดย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าเจโตวิวัฏ เมื่อรู้แจ้งย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าจิตตวิวัฏ เมื่อกระทำญาณย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าญาณวิวัฏ
เมื่อสละย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าวิโมกขวิวัฏ ย่อมหลีกไปในสภาวะแท้
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าสัจจวิวัฏ
ในขณะแห่งมรรคใดมีสัญญาวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีเจโตวิวัฏ ในขณะ
แห่งมรรคใดมีเจโตวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีสัญญาวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคใด
มีสัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีจิตตวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคใด
มีจิตตวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีสัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคใด


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
มีสัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีญาณวิวัฏ ในขณะแห่ง
มรรคใดมีญาณวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีสัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏ
ในขณะแห่งมรรคใดมีสัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏ ญาณวิวัฏ ในขณะแห่งมรรค
นั้นย่อมมีวิโมกขวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคใดมีวิโมกขวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมี
สัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏ ญาณวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคใดมีสัญญาวิวัฏ
เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏ ญาณวิวัฏ โมกขวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีสัจจวิวัฏ
ในขณะแห่งมรรคใดมีสัจจวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีสัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏ
ญาณวิวัฏ วิโมกขวิวัฏ นี้เป็นวิโมกขวิวัฏ (๖)
การเจริญวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ การปฏิบัติ การเจริญ การทำให้มากซึ่งปฐมฌาน การปฏิบัติ การเจริญ
การทำให้มากซึ่งทุติยฌาน การปฏิบัติ การเจริญ การทำให้มากซึ่งตติยฌาน การ
ปฏิบัติ การเจริญ การทำให้มากซึ่งจตุตถฌาน การปฏิบัติ การเจริญ การทำ
ให้มากซึ่งอากาสานัญจายตนสมาบัติ การปฏิบัติ การเจริญ การทำให้มากซึ่ง
วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ ซึ่งอากิญจัญญายตนสมาบัติ การปฏิบัติ การเจริญ
การทำให้มากซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ การปฏิบัติ การเจริญ การทำ
ให้มากซึ่งโสดาปัตติมรรค การปฏิบัติ การเจริญ การทำให้มากซึ่งสกทาคามิมรรค
การปฏิบัติ การเจริญ การทำให้มากซึ่งอนาคามิมรรค การปฏิบัติ การเจริญ
การทำให้มากซึ่งอรหัตตมรรค นี้เป็นการเจริญวิโมกข์ (๗)
ความสงบระงับแห่งวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ การได้ปฐมฌานหรือวิบากแห่งปฐมฌาน การได้ทุติยฌานหรือวิบากแห่ง
ทุติยฌาน การได้ตติยฌานหรือวิบากแห่งตติยฌาน ฯลฯ การได้จตุตถฌาน ฯลฯ
อากาสานัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ วิญญานัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ อากิญจัญญายตน-
สมาบัติ ฯลฯ การได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ หรือวิบากแห่งเนวสัญญานา-
สัญญายตนสมาบัติ ฯลฯ โสดาปัตติผลแห่งโสดาปัตติมรรค ฯลฯ สกทาคามิผล
แห่งสกทาคามิมรรค ฯลฯ อนาคามิผลแห่งอนาคามิมรรค ฯลฯ อรหัตตผลแห่ง
อรหัตตมรรค นี้เป็นความสงบระงับแห่งวิโมกข์ (๘)
วิโมกขกถา จบ
ตติยภาณวาร จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๖. คติกถา
๖. คติกถา
ว่าด้วยคติ
[๒๓๑] ในปฏิสนธิขณะที่เป็นญาณสัมปยุต (ติเหตุกปฏิสนธิขณะ) ความเกิดขึ้น
แห่งคติสมบัติมีได้เพราะปัจจัยแห่งเหตุเท่าไร ในปฏิสนธิขณะที่เป็นญาณสัมปยุต
ความเกิดขึ้นแห่งขัตติยมหาศาล พราหมณมหาศาล คหบดีมหาศาล เทพชั้น
กามาวจรมีได้เพราะปัจจัยแห่งเหตุเท่าไร ความเกิดขึ้นแห่งเทพชั้นรูปาวจรมีได้
เพราะปัจจัยแห่งเหตุเท่าไร ความเกิดขึ้นแห่งเทพชั้นอรูปาวจรมีได้เพราะปัจจัย
แห่งเหตุเท่าไร
คือ ในปฏิสนธิขณะที่เป็นญาณสัมปยุต ความเกิดขึ้นแห่งคติสมบัติมีได
้เพราะปัจจัยแห่งเหตุ ๘ ประการ ในปฏิสนธิขณะที่เป็นญาณสัมปยุต ความเกิดขึ้น
แห่งขัตติยมหาศาล พราหมณมหาศาล คหบดีมหาศาล เทพชั้นกามาวจรมีได้
เพราะปัจจัยแห่งเหตุ ๘ ประการ ความเกิดขึ้นแห่งเทพชั้นรูปาวจรมีได้เพราะปัจจัย
แห่งเหตุ ๘ ประการ ความเกิดขึ้นแห่งเทพชั้นอรูปาวจรมีได้เพราะปัจจัยแห่งเหตุ ๘
ประการ
[๒๓๒] ในปฏิสนธิขณะที่เป็นญาณสัมปยุต (ติเหตุกปฏิสนธิขณะ) ความ
เกิดขึ้นแห่งคติสมบัติมีได้เพราะปัจจัยแห่งเหตุ ๘ ประการ เป็นอย่างไร
คือ ในชวนขณะแห่งกุศลกรรม เหตุ ๓ ประการ๑ ฝ่ายกุศลเป็นสหชาตปัจจัย
แก่เจตนาที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า แม้เพราะกุศลมูลเป็น
ปัจจัย สังขารจึงมี ในขณะติดใจ เหตุ ๒ ประการ๒ฝ่ายอกุศลเป็นสหชาตปัจจัย
แก่เจตนาที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า แม้เพราะอกุศลมูลเป็น
ปัจจัย สังขารจึงมี ในปฏิสนธิขณะ เหตุ ๓ ประการ ฝ่ายอัพยากฤตเป็นสหชาตปัจจัย
แก่เจตนาที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า แม้เพราะนามรูปเป็น
ปัจจัย วิญญาณจึงมี แม้เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี

เชิงอรรถ :
๑ เหตุ ๓ ประการ ได้แก่ อโลภะ อโทสะ และอโมหะ (ขุ.ป.อ. ๒/๒๓๒/๑๙๙)
๒ เหตุ ๒ ประการ ได้แก่ โลภะและโมหะ (ขุ.ป.อ. ๒/๒๓๒/๑๙๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๖. คติกถา
ในปฏิสนธิขณะ เบญจขันธ์เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็น
นิสสยปัจจัย เป็นวิปปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ มหาภูตรูป ๔ เป็นสหชาตปัจจัย
เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ องค์ประกอบแห่งชีวิต ๓
ประการ๑ เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นวิปปยุตต-
ปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ นามและรูปเป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็น
นิสสยปัจจัย เป็นวิปปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ธรรม ๑๔ ประการ๒นี้เป็น
สหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นวิปปยุตตปัจจัย ใน
ปฏิสนธิขณะ อรูปขันธ์ ๔ เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสย-
ปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ อินทรีย์ ๕ เป็นสหชาตปัจจัย เป็น
อัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ เหตุ ๓
ประการ เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตต-
ปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ นามและวิญญาณเป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย
เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ธรรม ๑๔ ประการ๓นี้
เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย
ในปฏิสนธิขณะ ธรรม ๒๘ ประการนี้เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็น
นิสสยปัจจัย เป็นวิปปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะที่เป็นญาณสัมปยุต ความเกิดขึ้น
แห่งคติสมบัติมีได้เพราะปัจจัยแห่งเหตุ ๘ ประการนี้ (๑)
ในปฏิสนธิขณะ ความเกิดขึ้นแห่งขัตติยมหาศาล พราหมณมหาศาล คหบดี
มหาศาล เทพชั้นกามาวจรมีได้เพราะปัจจัยแห่งเหตุ ๘ ประการ เป็นอย่างไร
คือ ในชวนขณะแห่งกุศลกรรม เหตุ ๓ ประการ ฝ่ายกุศลเป็นสหชาตปัจจัย
แก่เจตนาที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า แม้เพราะกุศลมูลเป็น
ปัจจัย สังขารจึงมี ในขณะติดใจ เหตุ ๒ ประการ ฝ่ายอกุศลเป็นสหชาตปัจจัย

เชิงอรรถ :
๑ องค์ประกอบแห่งชีวิต ๓ ประการ ได้แก่ (๑) อายุ (๒) ไออุ่น (๓) วิญญาณ (ขุ.ป.อ. ๒/๒๓๒/๒๐๑)
๒ ธรรม ๑๔ ประการ ได้แก่ ขันธ์ ๕, มหาภูตรูป ๔, ชีวิตสังขาร ๓, นาม ๑ รูป ๑ (รวมเป็น ๑๔) (ขุ.ป.อ.
๒/๒๓๒/๒๐๑)
๓ ธรรม ๑๔ ประการ ได้แก่ อรูปขันธ์ ๔, อินทรีย์ ๕, เหตุ ๓, นาม ๑, วิญญาณ ๑ (รวมเป็น ๑๔) (ขุ.ป.อ.
๒/๒๓๒/๒๐๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๖. คติกถา
แก่เจตนาที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า แม้เพราะอกุศลมูล
เป็นปัจจัย สังขารจึงมี ในติเหตุกปฏิสนธิขณะ เหตุ ๓ ประการ ฝ่ายอัพยากฤตเป็น
สหชาตปัจจัยแก่เจตนาที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า แม้เพราะ
นามรูปเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี แม้เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
ในปฏิสนธิขณะ เบญจขันธ์เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็น
นิสสยปัจจัย เป็นวิปปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ มหาภูตรูป ๔ เป็นสหชาตปัจจัย
เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ องค์ประกอบแห่งชีวิต ๓
ประการ เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นวิปปยุตต-
ปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ นามและรูปเป็นสหชาตปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็น
วิปปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ธรรม ๑๔ ประการนี้เป็นสหชาตปัจจัย เป็น
อัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นวิปปยุตตปัจจัย
ในปฏิสนธิขณะ อรูปขันธ์ ๔ เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็น
นิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ อินทรีย์ ๕ เป็นสหชาตปัจจัย
เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ เหตุ ๓
ประการเป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตต-
ปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ นามและวิญญาณเป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย
เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ธรรม ๑๔ ประการนี้เป็น
สหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย ใน
ปฏิสนธิขณะ ธรรม ๒๘ ประการนี้เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็น
นิสสยปัจจัย เป็นวิปปยุตตปัจจัย ในติเหตุกปฏิสนธิขณะ ความเกิดขึ้นแห่งขัตติย-
มหาศาล พราหมณมหาศาล คหบดีมหาศาล เทพชั้นกามาวจรมีได้เพราะปัจจัย
แห่งเหตุ ๘ ประการนี้ (๒)
ความเกิดขึ้นแห่งเทพชั้นรูปาวจรมีได้เพราะปัจจัยแห่งเหตุ ๘ ประการ
เป็นอย่างไร
คือ ในชวนขณะแห่งกุศลกรรม เหตุ ๓ ประการ ฝ่ายกุศล ฯลฯ ความ
เกิดขึ้นแห่งเทพชั้นรูปาวจรมีได้เพราะปัจจัยแห่งเหตุ ๘ ประการนี้ (๓)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๖. คติกถา
ความเกิดขึ้นแห่งเทพชั้นอรูปาวจรมีได้เพราะปัจจัยแห่งเหตุ ๘ ประการ
เป็นอย่างไร
คือ ในชวนขณะแห่งกุศลกรรม เหตุ ๓ ประการ ฝ่ายกุศล เป็นสหชาตปัจจัย
แก่เจตนาที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า แม้เพราะกุศลมูลเป็น
ปัจจัย สังขารจึงมี ในขณะติดใจ เหตุ ๒ ประการ ฝ่ายอกุศล เป็นสหชาตปัจจัย
แก่เจตนาที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า แม้เพราะอกุศลมูลเป็น
ปัจจัย สังขารจึงมี ในปฏิสนธิขณะ เหตุ ๓ ประการ ฝ่ายอัพยากฤต เป็นสหชาต-
ปัจจัยแก่เจตนาที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า แม้เพราะนามรูป
เป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี แม้เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
ในปฏิสนธิขณะ อรูปขันธ์ ๔ เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็น
นิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ อินทรีย์ ๕ เป็นสหชาตปัจจัย
เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ เหตุ ๓
ประการเป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตต-
ปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ นามและวิญญาณเป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย
เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ธรรม ๑๔ ประการนี้เป็น
สหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย ความ
เกิดขึ้นแห่งเทพชั้นอรูปาวจรมีได้เพราะปัจจัยแห่งเหตุ ๘ ประการนี้ (๔)
[๒๓๓] ในปฏิสนธิขณะที่เป็นญาณวิปปยุต (ทุเหตุกปฏิสนธิขณะ) ความ
เกิดขึ้นแห่งคติสมบัติมีได้เพราะปัจจัยแห่งเหตุเท่าไร ในปฏิสนธิขณะที่เป็น
ญาณวิปปยุต ความเกิดขึ้นแห่งขัตติยมหาศาล พราหมณมหาศาล คหบดีมหาศาล
เทพชั้นกามาวจรมีได้เพราะปัจจัยแห่งเหตุเท่าไร
คือ ในปฏิสนธิขณะที่เป็นญาณวิปปยุต ความเกิดขึ้นแห่งคติสมบัติมีได้เพราะ
ปัจจัยแห่งเหตุ ๖ ประการ๑ ในปฏิสนธิขณะที่เป็นญาณวิปปยุต ความเกิดขึ้น
แห่งขัตติยมหาศาล พราหมณมหาศาล คหบดีมหาศาล เทพชั้นกามาวจรมีได้
เพราะปัจจัยแห่งเหตุ ๖ ประการ

เชิงอรรถ :
๑ เหตุ ๖ ประการ ได้แก่ กุศลเหตุ ๒ อกุศลเหตุ ๒ และวิปากเหตุ ๒ (ขุ.ป.อ. ๒/๒๓๓/๒๐๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๗. กัมมกถา
ในปฏิสนธิขณะที่เป็นญาณวิปปยุต ความเกิดขึ้นแห่งคติสมบัติมีได้เพราะ
ปัจจัยแห่งเหตุ ๖ ประการ เป็นอย่างไร
คือ ในชวนขณะแห่งกุศลกรรม เหตุ ๒ ประการ๑ ฝ่ายกุศล เป็นสหชาตปัจจัย
แก่เจตนาที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า แม้เพราะกุศลมูล
เป็นปัจจัย สังขารจึงมี ในขณะติดใจ เหตุ ๒ ประการ ฝ่ายอกุศล เป็นสหชาตปัจจัย
แก่เจตนาที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า แม้เพราะอกุศลมูล
เป็นปัจจัย สังขารจึงมี ในปฏิสนธิขณะ เหตุ ๒ ประการ ฝ่ายอัพยากฤต เป็น
สหชาตปัจจัยแก่เจตนาที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า แม้
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี แม้เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
ในปฏิสนธิขณะ เบญจขันธ์เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็น
นิสสยปัจจัย เป็นวิปปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ มหาภูตรูป ๔ เป็นสหชาตปัจจัย
เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ องค์ประกอบแห่งชีวิต ๓
ประการเป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นวิปปยุตต-
ปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ นามและรูปเป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็น
นิสสยปัจจัย เป็นวิปปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ธรรม ๑๔ ประการนี้เป็นสหชาต-
ปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นวิปปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ
อรูปขันธ์ ๔ เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็น
สัมปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ อินทรีย์ ๔ เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย
เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ เหตุ ๒ ประการ เป็นสหชาต-
ปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ
นามและวิญญาณเป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็น
สัมปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ธรรม ๑๒ ประการนี้เป็นสหชาตปัจจัย เป็น
อัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ธรรม ๒๖
ประการนี้เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นวิปปยุตต-
ปัจจัย ในทวิเหตุกปฏิสนธิขณะ ความเกิดขึ้นแห่งคติสมบัติมีได้เพราะปัจจัยแห่งเหตุ
๖ ประการนี้ (๑)

เชิงอรรถ :
๑ เหตุ ๒ ประการ ได้แก่ อโลภะและอโทสะ (ขุ.ป.อ. ๒/๒๓๒/๒๐๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๗. กัมมกถา
ในปฏิสนธิขณะที่เป็นญาณวิปปยุต ความเกิดขึ้นแห่งขัตติยมหาศาล
พราหมณมหาศาล คหบดีมหาศาล เทพชั้นกามาวจรมีได้เพราะปัจจัยแห่ง
เหตุ ๖ ประการ เป็นอย่างไร
คือ ในชวนขณะแห่งกุศลกรรม เหตุ ๒ ประการฝ่ายกุศลเป็นสหชาตปัจจัย
แก่เจตนาที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า แม้เพราะกุศลมูลเป็น
ปัจจัย สังขารจึงมี ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะที่เป็นญาณวิปปยุต ความเกิดขึ้นแห่ง
ขัตติยมหาศาล พราหมณมหาศาล คหบดีมหาศาล เทพชั้นกามาวจรมีได้เพราะ
ปัจจัยแห่งเหตุ ๖ ประการนี้ (๒)
คติกถา จบ

๗. กัมมกถา
ว่าด้วยกรรม
[๒๓๔] กรรมได้มีแล้ว วิบากแห่งกรรมก็ได้มีแล้ว กรรมได้มีแล้ว (แต่)วิบาก
แห่งกรรมไม่ได้มีแล้ว กรรมได้มีแล้ว วิบากแห่งกรรมก็มีอยู่ กรรมได้มีแล้ว (แต่)วิบาก
แห่งกรรมไม่มีอยู่ กรรมได้มีแล้ว วิบากแห่งกรรมก็จักมี กรรมได้มีแล้ว (แต่)วิบาก
แห่งกรรมจักไม่มี (อดีตกรรม) (๖)
กรรมมีอยู่ วิบากแห่งกรรมก็มีอยู่ กรรมมีอยู่ (แต่)วิบากแห่งกรรมไม่มีอยู่
กรรมมีอยู่ วิบากแห่งกรรมก็จักมี กรรมมีอยู่ (แต่)วิบากแห่งกรรมจักไม่มี
(ปัจจุบันกรรม) (๔-๑๐)
กรรมจักมี วิบากแห่งกรรมก็จักมี กรรมจักมี (แต่)วิบากแห่งกรรมจักไม่มี
(อนาคตกรรม) (๒-๑๒)
[๒๓๕] กุศลกรรมได้มีแล้ว วิบากแห่งกุศลกรรมก็ได้มีแล้ว กุศลกรรมได้มี
แล้ว (แต่)วิบากแห่งกุศลกรรมไม่ได้มีแล้ว กุศลกรรมได้มีแล้ว วิบากแห่งกุศล-
กรรมก็มีอยู่ กุศลกรรมได้มีแล้ว (แต่)วิบากแห่งกุศลกรรมไม่มีอยู่ กุศลกรรมได้มีแล้ว
วิบากแห่งกุศลกรรมก็จักมี กุศลกรรมได้มีแล้ว (แต่)วิบากแห่งกุศลกรรมจักไม่มี
กุศลกรรมมีอยู่ วิบากแห่งกุศลกรรมก็มีอยู่ กุศลกรรมมีอยู่ (แต่)วิบากแห่ง
กุศลกรรมไม่มีอยู่ กุศลกรรมมีอยู่ วิบากแห่งกุศลกรรมก็จักมี กุศลกรรมมีอยู่
(แต่)วิบากแห่งกุศลกรรมจักไม่มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๗. กัมมกถา
กุศลกรรมจักมี วิบากแห่งกุศลกรรมก็จักมี กุศลกรรมจักมี (แต่)วิบากแห่ง
กุศลกรรมจักไม่มี
อกุศลกรรมได้มีแล้ว วิบากแห่งอกุศลกรรมก็ได้มีแล้ว อกุศลกรรมได้มีแล้ว
(แต่)วิบากแห่งอกุศลกรรมไม่ได้มีแล้ว อกุศลกรรมได้มีแล้ว วิบากแห่งอกุศลกรรมก็
มีอยู่ อกุศลกรรมได้มีแล้ว (แต่)วิบากแห่งอกุศลกรรมไม่มีอยู่ อกุศลกรรมได้มีแล้ว
วิบากแห่งอกุศลกรรมก็จักมี อกุศลกรรมได้มีแล้ว (แต่)วิบากแห่งอกุศลกรรมจักไม่มี
อกุศลกรรมมีอยู่ วิบากแห่งอกุศลกรรมก็มีอยู่ อกุศลกรรมมีอยู่ (แต่)วิบาก
แห่งอกุศลกรรมไม่มีอยู่ อกุศลกรรมมีอยู่ วิบากแห่งอกุศลกรรมก็จักมี อกุศลกรรม
มีอยู่ (แต่)วิบากแห่งอกุศลกรรมจักไม่มี
อกุศลกรรมจักมี วิบากแห่งอกุศลกรรมก็จักมี อกุศลกรรมจักมี (แต่)วิบาก
แห่งอกุศลกรรมจักไม่มี
กรรมมีโทษได้มีแล้ว ฯลฯ กรรมไม่มีโทษได้มีแล้ว ฯลฯ กรรมดำได้มีแล้ว
ฯลฯ กรรมขาวได้มีแล้ว ฯลฯ กรรมมีสุขเป็นกำไรได้มีแล้ว ฯลฯ กรรมมีทุกข์เป็น
กำไรได้มีแล้ว ฯลฯ กรรมมีสุขเป็นวิบากได้มีแล้ว ฯลฯ กรรมมีทุกข์เป็นวิบากได้
มีแล้ว วิบากแห่งกรรมที่มีทุกข์เป็นวิบากก็ได้มีแล้ว กรรมมีทุกข์เป็นวิบากได้มีแล้ว
(แต่)วิบากแห่งกรรมที่มีทุกข์เป็นวิบากไม่ได้มีแล้ว กรรมมีทุกข์เป็นวิบากได้มีแล้ว
วิบากแห่งกรรมที่มีทุกข์เป็นวิบากก็มีอยู่ กรรมที่มีทุกข์เป็นวิบากได้มีแล้ว (แต่)
วิบากแห่งกรรมที่มีทุกข์เป็นวิบากไม่มีอยู่ กรรมที่มีทุกข์เป็นวิบากได้มีแล้ว วิบาก
แห่งกรรมที่มีทุกข์เป็นวิบากก็จักมี กรรมที่มีทุกข์เป็นวิบากได้มีแล้ว (แต่)วิบาก
แห่งกรรมที่มีทุกข์เป็นวิบากจักไม่มี
กรรมที่มีทุกข์เป็นวิบากมีอยู่ วิบากแห่งกรรมที่มีทุกข์เป็นวิบากก็มีอยู่ กรรม
ที่มีทุกข์เป็นวิบากมีอยู่ (แต่)วิบากแห่งกรรมที่มีทุกข์เป็นวิบากไม่มีอยู่ กรรมที่มี
ทุกข์เป็นวิบากมีอยู่ วิบากแห่งกรรมที่มีทุกข์เป็นวิบากก็จักมี กรรมที่มีทุกข์เป็น
วิบากมีอยู่ (แต่)วิบากแห่งกรรมที่มีทุกข์เป็นวิบากจักไม่มี
กรรมที่มีทุกข์เป็นวิบากจักมี วิบากแห่งกรรมที่มีทุกข์เป็นวิบากก็จักมี กรรม
ที่มีทุกข์เป็นวิบากจักมี (แต่)วิบากแห่งกรรมที่มีทุกข์เป็นวิบากจักไม่มี
กัมมกถาที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๘. วิปัลลาสกถา
๘. วิปัลลาสกถา
ว่าด้วยวิปัลลาส
[๒๓๖] เหตุเกิดขึ้นเหมือนในสูตรข้างต้น ภิกษุทั้งหลาย สัญญาวิปัลลาส
(ความหมายรู้ผิด) จิตตวิปัลลาส (ความคิดผิด) ทิฏฐิวิปัลลาส (ความเห็นผิด) ๔
ประการนี้
สัญญาวิปัลลาส จิตตวิปัลลาส ทิฏฐิวิปัลลาส ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัญญาวิปัลลาส จิตตวิปัลลาส ทิฏฐิวิปัลลาส ในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง
๒. สัญญาวิปัลลาส จิตตวิปัลลาส ทิฏฐิวิปัลลาส ในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่า
เป็นสุข
๓. สัญญาวิปัลลาส จิตตวิปัลลาส ทิฏฐิวิปัลลาส ในสิ่งที่ไม่ใช่อัตตา
ว่าอัตตา
๔. สัญญาวิปัลลาส จิตตวิปัลลาส ทิฏฐิวิปัลลาส ในสิ่งที่ไม่งามว่างาม
ภิกษุทั้งหลาย สัญญาวิปัลลาส จิตตวิปัลลาส ทิฏฐิวิปัลลาส ๔ ประการ
นี้แล
นสัญญาวิปัลลาส (ความหมายรู้ไม่ผิด) นจิตตวิปัลลาส (ความคิดไม่ผิด)
นทิฏฐิวิปัลลาส (ความเห็นไม่ผิด) ๔ ประการนี้
นสัญญาวิปัลลาส นจิตตวิปัลลาส นทิฏฐิวิปัลลาส ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. นสัญญาวิปัลลาส นจิตตวิปัลลาส นทิฏฐิวิปัลลาส ในสิ่งที่ไม่
เที่ยงว่าไม่เที่ยง
๒. นสัญญาวิปัลลาส นจิตตวิปัลลาส นทิฏฐิวิปัลลาส ในสิ่งที่เป็นทุกข์
ว่าเป็นทุกข์
๓. นสัญญาวิปัลลาส นจิตตวิปัลลาส นทิฏฐิวิปัลลาส ในสิ่งที่ไม่ใช่
อัตตาว่าไม่ใช่อัตตา
๔. นสัญญาวิปัลลาส นจิตตวิปัลลาส นทิฏฐิวิปัลลาส ในสิ่งที่ไม่งาม
ว่าไม่งาม
ภิกษุทั้งหลาย นสัญญาวิปัลลาส นจิตตวิปัลลาส นทิฏฐิวิปัลลาส ๔ ประการ
นี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๘. วิปัลลาสกถา
เหล่าสัตว์ผู้ถูกมิจฉาทิฏฐิทำลาย
มีจิตฟุ้งซ่าน มีสัญญาผิด
มีสัญญาในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง
มีสัญญาในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข
มีสัญญาในสิ่งที่ไม่งามว่างาม
สัตว์เหล่านั้นชื่อว่าติดอยู่ในเครื่องประกอบของมาร
ไม่เกษมจากโยคะ ประสบกับความเกิดและความตาย
ท่องเที่ยวไปสู่สังสารวัฏ
ก็ในกาลใด พระพุทธเจ้าผู้จุดประกายให้แสงสว่าง
เสด็จอุบัติขึ้นในโลก
ในกาลนั้น พระองค์ย่อมประกาศธรรมนี้
ให้สัตว์ถึงความดับทุกข์
สัตว์เหล่านั้นผู้มีปัญญา
ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น
กลับได้ความคิดเป็นของตนเอง
ได้เห็นสิ่งที่ไม่เที่ยงโดยความไม่เที่ยง
ได้เห็นสิ่งที่เป็นทุกข์โดยความเป็นทุกข์
ได้เห็นสิ่งที่ไม่งามโดยความไม่งาม
ยึดถือสัมมาทิฏฐิพ้นทุกข์ทั้งหมดได้
วิปัลลาส ๔ ประการนี้ บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ๑ละได้แล้วก็มี ยังละ
ไม่ได้ก็มี บางประการละได้แล้ว บางประการยังละไม่ได้ สัญญาวิปัลลาส จิตต-
วิปัลลาส ทิฏฐิวิปัลลาส ในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยงละได้แล้ว สัญญาในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่า
เป็นสุขยังเกิดขึ้น จิตในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุขก็ยังเกิดขึ้น ทิฏฐิวิปัลลาสละได้แล้ว
สัญญาวิปัลลาส จิตตวิปัลลาส ทิฏฐิวิปัลลาสในสิ่งที่ไม่ใช่อัตตาว่าอัตตาละได้แล้ว
สัญญาในสิ่งที่ไม่งามว่างามยังเกิดขึ้น จิตในสิ่งที่ไม่งามว่างามก็ยังเกิดขึ้น ทิฏฐิวิปัลลาส

เชิงอรรถ :
๑ บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึงพระโสดาบัน (ขุ.ป.อ. ๒/๒๓๖/๒๐๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๙. มัคคกถา
(ในสิ่งที่ไม่งามว่างาม)ละได้แล้ว วิปัลลาส ๖ ในวัตถุ ๒ ละได้แล้ว๑ วิปัลลาส ๒
ในวัตถุ ๒ ละได้แล้ว๒ วิปัลลาส ๔ ยังละไม่ได้๓ วิปัลลาส ๘ ในวัตถุ ๔ ละได้แล้ว๔
วิปัลลาส ๔ ยังละไม่ได้
วิปัลลาสกถา จบ

๙. มัคคกถา
ว่าด้วยมรรค
[๒๓๗] คำว่า มรรค อธิบายว่า ชื่อว่ามรรค เพราะมีสภาวะว่าอย่างไร
คือ ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น เป็น
มรรคและเป็นเหตุ เพื่อละมิจฉาทิฏฐิ เพื่ออุปถัมภ์สหชาตธรรม เพื่อครอบงำ
กิเลสทั้งหลาย๕ เพื่อความหมดจดในเบื้องต้นแห่งปฏิเวธ เพื่อความตั้งมั่นแห่งจิต

เชิงอรรถ :
๑ วิปัลลาส ๖ ในวัตถุ ๒ ละได้แล้ว หมายถึงวิปัลลาส ๓ ประการ คือ สัญญาวิปัลลาส จิตตวิปัลลาส และ
ทิฏฐิวิปัลลาส คูณกับ วัตถุ ๒ ประการ คือ อนิจฺเจ นิจฺจํ (สิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง) และ อนตฺตนิ อตฺตา
(สิ่งที่ไม่ใช่อัตตาว่าอัตตา) เป็นวิปัลลาส ๖ ประการ ได้แก่ (๑) นิจจสัญญาวิปัลลาส (๒) อัตตสัญญาวิปัลลาส
(๓) นิจจจิตตวิปัลลาส (๔) อัตตจิตตวิปัลลาส (๕) นิจจทิฏฐิวิปัลลาส (๖) อัตตทิฏฐิวิปัลลาส (คำนวณ
ตามนัย ขุ.ป.อ. ๒/๒๓๖/๒๐๙)
๒ วิปัลลาส ๒ ในวัตถุ ๒ ละได้แล้ว หมายถึงทิฏฐิวิปัลลาส ๑ ประการ คูณกับ วัตถุ ๒ ประการ คือ
ทุกฺเข สุขํ (สิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข) และ อสุเภ สุภํ (สิ่งที่ไม่งามว่างาม) เป็นวิปัลลาส ๒ ประการ ได้แก่
(๑) สุขทิฏฐิวิปัลลาส (๒) สุภทิฏฐิวิปัลลาส (คำนวณตามนัย ขุ.ป.อ. ๒/๒๓๖/๒๐๙)
๓ วิปัลลาส ๔ ยังละไม่ได้ หมายถึงวิปัลลาส ๒ ประการ คือ สัญญาวิปัลลาส กับ จิตตวิปัลลาส ในวัตถุ ๒
คือ ทุกฺเข สุขํ (สภาวะที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข) อสุเภ สุภํ (สภาวะที่ไม่งามว่างาม) ประการละ ๒ วิปัลลาส
(๒ x ๒ เป็น ๔ วิปัลลาส) ได้แก่ (๑) สุขสัญญาวิปัลลาส (๒) สุภสัญญาวิปัลลาส (๓) สุขจิตตวิปัลลาส
(๔) สุภจิตตวิปัลลาส (คำนวณตามนัย ขุ.ป.อ. ๒/๒๓๖/๒๐๙)
๔ วิปัลลาส ๘ ในวัตถุ ๘ ละได้แล้ว หมายถึงวิปัลลาส ๖ ประการ ในวัตถุ ๒ (ในเชิงอรรถที่ ๒) รวมกับ
วิปัลลาส ๒ ประการ ในวัตถุ ๒ ประการ (ในเชิงอรรถที่ ๓) เป็นวิปัลลาส ๘ ประการ ได้แก่ (๑) นิจจสัญญา-
วิปัลลาส (๒) อัตตสัญญาวิปัลลาส (๓) นิจจจิตตวิปัลลาส (๔) อัตตจิตตวิปัลลาส (๕) นิจจทิฏฐิวิปัลลาส
(๖) สุขทิฏฐิวิปัลลาส (๗) อัตตทิฏฐิวิปัลลาส (๘) สุภทิฏฐิวิปัลลาส (คำนวณตามนัย ขุ.ป.อ. ๒/๒๓๖/๒๐๙)
๕ เพื่อครอบงำกิเลสทั้งหลาย หมายถึงทำกิเลสทั้งหลายให้สิ้นไป (ขุ.ป.อ. ๒/๒๓๗/๒๑๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๙. มัคคกถา
เพื่อความผ่องแผ้วแห่งจิต เพื่อบรรลุธรรมวิเศษ เพื่อรู้แจ้งธรรมอันยิ่ง เพื่อตรัสรู้
สัจจะ เพื่อให้จิตตั้งมั่นอยู่ในนิโรธ
ชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ เพราะมีสภาวะตรึกตรอง เป็นมรรคและเป็นเหตุ เพื่อละ
มิจฉาสังกัปปะ เพื่ออุปถัมภ์สหชาตธรรม เพื่อครอบงำกิเลสทั้งหลาย เพื่อความ
หมดจดในเบื้องต้นแห่งปฏิเวธ เพื่อความตั้งมั่นแห่งจิต เพื่อความผ่องแผ้วแห่งจิต
เพื่อบรรลุธรรมวิเศษ เพื่อรู้แจ้งธรรมอันยิ่ง เพื่อตรัสรู้สัจจะ เพื่อให้จิตตั้งมั่นอยู่
ในนิโรธ
ชื่อว่าสัมมาวาจา เพราะมีสภาวะกำหนด เป็นมรรคและเป็นเหตุ เพื่อละมิจฉา-
วาจา เพื่ออุปถัมภ์สหชาตธรรม เพื่อครอบงำกิเลสทั้งหลาย เพื่อความหมดจดใน
เบื้องต้นแห่งปฏิเวธ เพื่อความตั้งมั่นแห่งจิต เพื่อความผ่องแผ้วแห่งจิต เพื่อบรรลุ
ธรรมวิเศษ เพื่อรู้แจ้งธรรมอันยิ่ง เพื่อตรัสรู้สัจจะ เพื่อให้จิตตั้งมั่นอยู่ในนิโรธ
ชื่อว่าสัมมากัมมันตะ เพราะมีสภาวะเป็นสมุฏฐาน เป็นมรรคและเป็นเหตุ
เพื่อละมิจฉากัมมันตะ เพื่ออุปถัมภ์สหชาตธรรม เพื่อครอบงำกิเลสทั้งหลาย เพื่อ
ความหมดจดในเบื้องต้นแห่งปฏิเวธ เพื่อความตั้งมั่นแห่งจิต เพื่อความผ่องแผ้วแห่งจิต
เพื่อบรรลุธรรมวิเศษ เพื่อรู้แจ้งธรรมอันยิ่ง เพื่อตรัสรู้สัจจะ เพื่อให้จิตตั้งมั่นอยู่ใน
นิโรธ
ชื่อว่าสัมมาอาชีวะ เพราะมีสภาวะผ่องแผ้ว เป็นมรรคและเป็นเหตุ เพื่อละ
มิจฉาอาชีวะ ฯลฯ ชื่อว่าสัมมาวายามะ เพราะมีสภาวะประคองไว้ เป็นมรรคและ
เป็นเหตุ เพื่อละมิจฉาวายามะ ฯลฯ ชื่อว่าสัมมาสติ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น เป็น
มรรคและเป็นเหตุเพื่อละมิจฉาสติ ฯลฯ
ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน เป็นมรรคและเป็นเหตุ เพื่อละ
มิจฉาสมาธิ เพื่ออุปถัมภ์สหชาตธรรม เพื่อครอบงำกิเลสทั้งหลาย เพื่อความหมดจด
ในเบื้องต้นแห่งปฏิเวธ เพื่อความตั้งมั่นแห่งจิต เพื่อความผ่องแผ้วแห่งจิต เพื่อ
บรรลุธรรมวิเศษ เพื่อรู้แจ้งธรรมอันยิ่ง เพื่อตรัสรู้สัจจะ เพื่อให้จิตตั้งมั่นอยู่ในนิโรธ
ในขณะแห่งสกทาคามิมรรค ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น ฯลฯ ชื่อว่า
สัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน เป็นมรรคและเป็นเหตุ เพื่อละกามราค-
สังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ ส่วนหยาบ ๆ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนหยาบ ๆ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๙. มัคคกถา
เพื่ออุปถัมภ์สหชาตธรรม เพื่อครอบงำกิเลสทั้งหลาย เพื่อความหมดจดในเบื้องต้น
แห่งปฏิเวธ เพื่อความตั้งมั่นแห่งจิต เพื่อความผ่องแผ้วแห่งจิต เพื่อบรรลุธรรมวิเศษ
เพื่อรู้แจ้งธรรมอันยิ่ง เพื่อตรัสรู้สัจจะ เพื่อให้จิตตั้งมั่นอยู่ในนิโรธ
ในขณะแห่งอนาคามิมรรค ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น ฯลฯ ชื่อว่า
สัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน เป็นมรรคและเป็นเหตุ เพื่อละกามราค-
สังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ ส่วนละเอียด ๆ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียด ๆ
เพื่ออุปถัมภ์สหชาตธรรม เพื่อครอบงำกิเลสทั้งหลาย เพื่อความหมดจดในเบื้องต้น
แห่งปฏิเวธ เพื่อความตั้งมั่นแห่งจิต เพื่อความผ่องแผ้วแห่งจิต เพื่อบรรลุธรรมวิเศษ
เพื่อรู้แจ้งธรรมอันยิ่ง เพื่อตรัสรู้สัจจะ เพื่อให้จิตตั้งมั่นอยู่ในนิโรธ
ในขณะแห่งอรหัตตมรรค ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น ฯลฯ ชื่อว่า
สัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน เป็นมรรคและเป็นเหตุ เพื่อละรูปราคะ
อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย เพื่อ
อุปถัมภ์สหชาตธรรม เพื่อครอบงำกิเลสทั้งหลาย เพื่อความหมดจดในเบื้องต้น
แห่งปฏิเวธ เพื่อความตั้งมั่นแห่งจิต เพื่อความผ่องแผ้วแห่งจิต เพื่อบรรลุธรรมวิเศษ
เพื่อรู้แจ้งธรรมอันยิ่ง เพื่อตรัสรู้สัจจะ เพื่อให้จิตตั้งมั่นอยู่ในนิโรธ
มรรคคือความเห็น ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ มรรคคือความตรึกตรอง ชื่อว่า
สัมมาสังกัปปะ มรรคคือการกำหนด ชื่อว่าสัมมาวาจา มรรคคือสมุฏฐาน ชื่อว่า
สัมมากัมมันตะ มรรคคือความผ่องแผ้ว ชื่อว่าสัมมาอาชีวะ มรรคคือการประคองไว้
ชื่อว่าสัมมาวายามะ มรรคคือความตั้งมั่น ชื่อว่าสัมมาสติ มรรคคือความไม่ฟุ้งซ่าน
ชื่อว่าสัมมาสมาธิ
มรรคคือความตั้งมั่น ชื่อว่าสติสัมโพชฌงค์ มรรคคือการเลือกเฟ้น ชื่อว่า
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ มรรคคือการประคองไว้ ชื่อว่าวิริยสัมโพชฌงค์ มรรคคือ
ความแผ่ซ่าน ชื่อว่าปีติสัมโพชฌงค์ มรรคคือความสงบ ชื่อว่าปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
มรรคคือความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าสมาธิสัมโพชฌงค์ มรรคคือการพิจารณา ชื่อว่า
อุเบกขาสัมโพชฌงค์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๐๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๙. มัคคกถา
มรรคคือความไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธา ชื่อว่าสัทธาพละ มรรคคือ
ความไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน ชื่อว่าวิริยพละ มรรคคือความไม่หวั่นไหว
เพราะความประมาท ชื่อว่าสติพละ มรรคคือความไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ ชื่อว่า
สมาธิพละ มรรคคือความไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา ชื่อว่าปัญญาพละ
มรรคคือความน้อมใจเชื่อ ชื่อว่าสัทธินทรีย์ มรรคคือการประคองไว้ ชื่อว่า
วิริยินทรีย์ มรรคคือความตั้งมั่น ชื่อว่าสตินทรีย์ มรรคคือความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่า
สมาธินทรีย์ มรรคคือความเห็น ชื่อว่าปัญญินทรีย์
มรรคที่ชื่อว่าอินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ มรรคที่ชื่อว่าพละ เพราะมี
สภาวะไม่หวั่นไหว มรรคที่ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะนำออก มรรคที่ชื่อว่า
องค์แห่งมรรค เพราะมีสภาวะเป็นเหตุ มรรคที่ชื่อว่าสติปัฏฐาน เพราะมีสภาวะตั้งมั่น
มรรคที่ชื่อว่าสัมมัปปธาน เพราะมีสภาวะตั้งไว้ มรรคที่ชื่อว่าอิทธิบาท เพราะมี
สภาวะให้สำเร็จ มรรคที่ชื่อว่าสัจจะ เพราะมีสภาวะเป็นของแท้ มรรคที่ชื่อว่าสมถะ
เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน มรรคที่ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น
มรรคที่ชื่อว่าสมถะและวิปัสสนา เพราะมีสภาวะมีรสเป็นอย่างเดียวกัน มรรคที่ชื่อ
ว่าธรรมที่เป็นคู่กัน เพราะมีสภาวะไม่ล่วงเลยกัน มรรคที่ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมี
สภาวะสำรวม มรรคที่ชื่อว่าจิตตวิสุทธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน มรรคที่ชื่อว่า
ทิฏฐิวิสุทธิ เพราะมีสภาวะเห็น มรรคที่ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะมีสภาวะหลุดพ้น
มรรคที่ชื่อว่าวิชชา เพราะมีสภาวะรู้แจ้ง มรรคที่ชื่อว่าวิมุตติ เพราะมีสภาวะสละ
มรรคที่ชื่อว่าญาณในความสิ้นไป เพราะมีสภาวะตัดขาด มรรคที่ชื่อว่าฉันทะ
เพราะมีสภาวะเป็นมูล มรรคที่ชื่อว่ามนสิการ เพราะมีสภาวะเป็นสมุฏฐาน มรรค
ที่ชื่อว่าผัสสะ เพราะมีสภาวะเป็นที่ประชุม มรรคที่ชื่อว่าเวทนา เพราะมีสภาวะเป็นที่รวม
มรรคที่ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีสภาวะเป็นประธาน มรรคที่ชื่อว่าสติ เพราะมีสภาวะ
เป็นใหญ่ มรรคที่ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะเป็นธรรมที่ยิ่งกว่าธรรมนั้น มรรคที่
ชื่อว่าวิมุตติ เพราะมีสภาวะเป็นแก่นสาร มรรคที่ชื่อว่าธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือ
นิพพาน เพราะมีสภาวะเป็นที่สุด
มัคคกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑๐. มัณฑเปยยกถา
๑๐. มัณฑเปยยกถา
ว่าด้วยพรหมจรรย์ที่ใสและน่าดื่ม
[๒๓๘] ภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์นี้ใสและน่าดื่ม เมื่อพระศาสดายังปรากฏ
อยู่ ความใสมี ๓ ประการ คือ
๑. ความใสคือเทศนา ๒. ความใสคือผู้รับ
๓. ความใสคือพรหมจรรย์
ความใสคือเทศนา เป็นอย่างไร
คือ การบอก การแสดง การบัญญัติ การแต่งตั้ง การเปิดเผย การจำแนก
การทำให้ง่ายซึ่งอริยสัจ ๔ ฯลฯ สติปัฏฐาน ๔ ฯลฯ สัมมัปปธาน ๔ ฯลฯ
อิทธิบาท ๔ ฯลฯ อินทรีย์ ๕ ฯลฯ พละ ๕ ฯลฯ โพชฌงค์ ๗ ฯลฯ การบอก
การแสดง การบัญญัติ การแต่งตั้ง การเปิดเผย การจำแนก การทำให้ง่ายซึ่ง
อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เป็นความใสคือเทศนา (๑)
ความใสคือผู้รับ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เทวดา มนุษย์ หรือท่านผู้รู้แจ้ง
พวกใดพวกหนึ่ง นี้เป็นความใสคือผู้รับ (๒)
ความใสคือพรหมจรรย์ เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ได้แก่

๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ
๓. สัมมาวาจา ๔. สัมมากัมมันตะ
๕. สัมมาอาชีวะ ๖. สัมมาวายามะ
๗. สัมมาสติ ๘. สัมมาสมาธิ

นี้เป็นความใสคือพรหมจรรย์ (๓)
[๒๓๙] ความใสคือความน้อมใจเชื่อ ชื่อว่าสัทธินทรีย์ ความไม่มีศรัทธาเป็น
กาก๑ บุคคลทิ้งความไม่มีศรัทธาอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความน้อมใจเชื่อของ
สัทธินทรีย์ เพราะเหตุนั้น สัทธินทรีย์จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม

เชิงอรรถ :
๑ เป็นกาก หมายถึงเป็นของขุ่นมัวเว้นจากความผ่องใส (ขุ.ป.อ. ๒/๒๓๙/๒๑๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑๐. มัณฑเปยยกถา
ความใสคือการประคองไว้ ชื่อว่าวิริยินทรีย์ ความเกียจคร้านเป็นกาก บุคคล
ทิ้งความเกียจคร้านอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือการประคองไว้ของวิริยินทรีย์
เพราะเหตุนั้น วิริยินทรีย์จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือความตั้งมั่น ชื่อว่าสตินทรีย์ ความประมาทเป็นกาก บุคคลทิ้งความ
ประมาทอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความตั้งมั่นของสตินทรีย์ เพราะเหตุนั้น
สตินทรีย์จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าสมาธินทรีย์ อุทธัจจะเป็นกาก บุคคลทิ้ง
อุทธัจจะอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความไม่ฟุ้งซ่านของสมาธินทรีย์ เพราะ
เหตุนั้น สมาธินทรีย์จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือการเห็น ชื่อว่าปัญญินทรีย์ อวิชชาเป็นกาก บุคคลทิ้งอวิชชาอัน
เป็นกากแล้วดื่มความใสคือการเห็นของปัญญินทรีย์ เพราะเหุตนั้น ปัญญินทรีย์
จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธา ชื่อว่าสัทธาพละ ความ
ไม่มีศรัทธาเป็นกาก บุคคลทิ้งความไม่มีศรัทธาอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือ
ความไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธาของสัทธาพละ เพราะเหตุนั้น สัทธาพละ
จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน ชื่อว่าวิริยพละ ความ
เกียจคร้านเป็นกาก บุคคลทิ้งความเกียจคร้านอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความ
ไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้านของวิริยพละ เพราะเหตุนั้น วิริยพละจึงชื่อว่ามี
ความใสและน่าดื่ม
ความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะความประมาท ชื่อว่าสติพละ ความ
ประมาทเป็นกาก บุคคลทิ้งความประมาทอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความไม่
หวั่นไหวเพราะความไม่ประมาทของสติพละ เพราะเหตุนั้น สติพละจึงชื่อว่ามีความ
ใสและน่าดื่ม
ความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ ชื่อว่าสมาธิพละ อุทธัจจะเป็นกาก
บุคคลทิ้งอุทธัจจะอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะของ
สมาธิพละ เพราะเหตุนั้น สมาธิพละจึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑๐. มัณฑเปยยกถา
ความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา ชื่อว่าปัญญาพละ อวิชชาเป็นกาก
บุคคลทิ้งอวิชชาอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชาของ
ปัญญาพละ เพราะเหตุนั้น ปัญญาพละจึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือความตั้งมั่น ชื่อว่าสติสัมโพชฌงค์ ความประมาทเป็นกาก
บุคคลทิ้งความประมาทอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความตั้งมั่นของสติสัมโพชฌงค์
เพราะเหตุนั้น สติสัมโพชฌงค์จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือการเลือกเฟ้น ชื่อว่าธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อวิชชาเป็นกาก บุคคล
ทิ้งอวิชชาอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือการเลือกเฟ้นของธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
เพราะเหตุนั้น ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือการประคองไว้ ชื่อว่าวิริยสัมโพชฌงค์ ความเกียจคร้านเป็นกาก
บุคคลทิ้งความเกียจคร้านอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือการประคองไว้ของวิริย-
สัมโพชฌงค์ เพราะเหตุนั้น วิริยสัมโพชฌงค์จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือความแผ่ซ่าน ชื่อว่าปีติสัมโพชฌงค์ ความเร่าร้อนเป็นกาก บุคคล
ทิ้งความเร่าร้อนอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความแผ่ซ่านของปีติสัมโพชฌงค์
เพราะเหตุนั้น ปีติสัมโพชฌงค์จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือความสงบ ชื่อว่าปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ความชั่วหยาบเป็นกาก บุคคล
ทิ้งความชั่วหยาบอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความสงบของปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
เพราะเหตุนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าสมาธิสัมโพชฌงค์ อุทธัจจะเป็นกาก บุคคล
ทิ้งอุทธัจจะอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความไม่ฟุ้งซ่านของสมาธิสัมโพชฌงค์
เพราะเหตุนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือการพิจารณา ชื่อว่าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ การไม่พิจารณาเป็นกาก
บุคคลทิ้งการไม่พิจารณาอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือการพิจารณาของอุเบกขา-
สัมโพชฌงค์ เพราะเหตุนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือการเห็น ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ มิจฉาทิฏฐิเป็นกาก บุคคลทิ้งมิจฉาทิฏฐิ
อันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือการเห็นของสัมมาทิฏฐิ เพราะเหตุนั้น สัมมาทิฏฐิ
จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑๐. มัณฑเปยยกถา
ความใสคือความตรึกตรอง ชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ มิจฉาสังกัปปะเป็นกาก
บุคคลทิ้งมิจฉาสังกัปปะอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความตรึกตรองของสัมมา-
สังกัปปะ เพราะเหตุนั้น สัมมาสังกัปปะจึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือการกำหนด ชื่อว่าสัมมาวาจา มิจฉาวาจาเป็นกาก บุคคลทิ้ง
มิจฉาวาจาอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือการกำหนดของสัมมาวาจา เพราะเหตุนั้น
สัมมาวาจาจึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือสมุฏฐาน ชื่อว่าสัมมากัมมันตะ มิจฉากัมมันตะเป็นกาก บุคคล
ทิ้งมิจฉากัมมันตะอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือสมุฏฐานของสัมมากัมมันตะ เพราะ
เหตุนั้น สัมมากัมมันตะจึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือความผ่องแผ้ว ชื่อว่าสัมมาอาชีวะ มิจฉาอาชีวะเป็นกาก บุคคล
ทิ้งมิจฉาอาชีวะอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความผ่องแผ้วของสัมมาอาชีวะ
เพราะเหตุนั้น สัมมาอาชีวะจึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือการประคองไว้ ชื่อว่าสัมมาวายามะ มิจฉาวายามะเป็นกาก
บุคคลทิ้งมิจฉาวายามะอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือการประคองไว้ของสัมมาวายามะ
เพราะเหตุนั้น สัมมาวายามะจึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือความตั้งมั่น ชื่อว่าสัมมาสติ มิจฉาสติเป็นกาก บุคคลทิ้งมิจฉาสติ
อันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความตั้งมั่นของสัมมาสติ เพราะเหตุนั้น สัมมาสติ
จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าสัมมาสมาธิ มิจฉาสมาธิเป็นกาก บุคคล
ทิ้งมิจฉาสมาธิอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความไม่ฟุ้งซ่านของสัมมาสมาธิ เพราะ
เหตุนั้น สัมมาสมาธิจึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
[๒๔๐] ความใสมีอยู่ ความน่าดื่มมีอยู่ กากก็มีอยู่ ความใสคือความน้อม
ใจเชื่อ ชื่อว่าสัทธินทรีย์ ความไม่มีศรัทธาเป็นกาก อรรถรส๑ ธรรมรส๒ วิมุตติรส๓
ในสัทธินทรีย์นั้นเป็นความน่าดื่ม

เชิงอรรถ :
๑ อรรถรส หมายถึงสามัญญผล ๔ คือ โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล และอรหัตตผล
(องฺ.เอกก.อ. ๑/๓๓๕/๔๓๖)
๒ ธรรมรส หมายถึงมรรค ๔ คือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหัตตมรรค
(องฺ.เอกก.อ. ๑/๓๓๕/๔๓๖)
๓ วิมุตติรส หมายถึงอมตนิพพาน (องฺ.เอกก.อ. ๑/๓๓๕/๔๓๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๐๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑๐. มัณฑเปยยกถา
ความใสคือการประคองไว้ ชื่อว่าวิริยินทรีย์ ความเกียจคร้านเป็นกาก อรรถรส
ธรรมรส วิมุตติรสในวิริยินทรีย์นั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือความตั้งมั่น ชื่อว่าสตินทรีย์ ความประมาทเป็นกาก อรรถรส
ธรรมรส วิมุตติรสในสตินทรีย์นั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าสมาธินทรีย์ อุทธัจจะเป็นกาก อรรถรส
ธรรมรส วิมุตติรสในสมาธินทรีย์นั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือความเห็น ชื่อว่าปัญญินทรีย์ อวิชชาเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส
วิมุตติรสในปัญญินทรีย์นั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธา ชื่อว่าสัทธาพละ ความไม่
มีศรัทธาเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรสในสัทธาพละนั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน ชื่อว่าวิริยพละ ความ
เกียจคร้านเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรสในวิริยพละนั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะความประมาท ชื่อว่าสติพละ ความประมาท
เป็นกาก อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรสในสติพละนั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ ชื่อว่าสมาธิพละ อุทธัจจะเป็นกาก
อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรสในสมาธิพละนั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา ชื่อว่าปัญญาพละ อวิชชาเป็นกาก
อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรสในปัญญาพละนั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือความตั้งมั่น ชื่อว่าสติสัมโพชฌงค์ ความประมาทเป็นกาก อรรถรส
ธรรมรส วิมุตติรสในสติสัมโพชฌงค์นั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือการเลือกเฟ้น ชื่อว่าธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อวิชชาเป็นกาก อรรถรส
ธรรมรส วิมุตติรสในธัมมวิจยสัมโพชฌงค์นั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือการประคองไว้ ชื่อว่าวิริยสัมโพชฌงค์ ความเกียจคร้านเป็นกาก
อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรสในวิริยสัมโพชฌงค์นั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือความแผ่ซ่าน ชื่อว่าปีติสัมโพชฌงค์ ความเร่าร้อนเป็นกาก อรรถรส
ธรรมรส วิมุตติรสในปีติสัมโพชฌงค์นั้นเป็นความน่าดื่ม


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑๐. มัณฑเปยยกถา
ความใสคือความสงบ ชื่อว่าปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ความชั่วหยาบเป็นกาก อรรถรส
ธรรมรส วิมุตติรสในปัสสัทธิสัมโพชฌงค์นั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าสมาธิสัมโพชฌงค์ อุทธัจจะเป็นกาก อรรถรส
ธรรมรส วิมุตติรสในสมาธิสัมโพชฌงค์นั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือการพิจารณา ชื่อว่าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ การไม่พิจารณาเป็นกาก
อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรสในอุเบกขาสัมโพชฌงค์นั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือการเห็น ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ มิจฉาทิฏฐิเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส
วิมุตติรสในสัมมาทิฏฐินั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือความตรึกตรอง ชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ มิจฉาสังกัปปะเป็นกาก อรรถรส
ธรรมรส วิมุตติรสในสัมมาสังกัปปะนั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือการกำหนด ชื่อว่าสัมมาวาจา มิจฉาวาจาเป็นกาก อรรถรส
ธรรมรส วิมุตติรสในสัมมาวาจานั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือสมุฏฐาน ชื่อว่าสัมมากัมมันตะ มิจฉากัมมันตะเป็นกาก อรรถรส
ธรรมรส วิมุตติรสในสัมมากัมมันตะนั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือความผ่องแผ้ว ชื่อว่าสัมมาอาชีวะ มิจฉาอาชีวะเป็นกาก อรรถรส
ธรรมรส วิมุตติรสในสัมมาอาชีวะนั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือการประคองไว้ ชื่อว่าสัมมาวายามะ มิจฉาวายามะเป็นกาก
อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรสในสัมมาวายามะนั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือการตั้งมั่น ชื่อว่าสัมมาสติ มิจฉาสติเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส
วิมุตติรสในสัมมาสตินั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าสัมมาสมาธิ มิจฉาสมาธิเป็นกาก อรรถรส
ธรรมรส วิมุตติรสในสัมมาสมาธินั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือการเห็น ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ ความใสคือความตรึกตรอง ชื่อว่า
สัมมาสังกัปปะ ความใสคือการกำหนด ชื่อว่าสัมมาวาจา ความใสคือสมุฏฐาน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑๐. มัณฑเปยยกถา
ชื่อว่าสัมมากัมมันตะ ความใสคือความผ่องแผ้ว ชื่อว่าสัมมาอาชีวะ ความใสคือ
การประคองไว้ ชื่อว่าสัมมาวายามะ ความใสคือความตั้งมั่น ชื่อว่าสัมมาสติ
ความใสคือความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าสัมมาสมาธิ
ความใสคือความตั้งมั่น ชื่อว่าสติสัมโพชฌงค์ ความใสคือการเลือกเฟ้น ชื่อว่า
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ความใสคือการประคองไว้ ชื่อว่าวิริยสัมโพชฌงค์ ความใสคือ
ความแผ่ซ่าน ชื่อว่าปีติสัมโพชฌงค์ ความใสคือความสงบ ชื่อว่าปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
ความใสคือความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าสมาธิสัมโพชฌงค์ ความใสคือการพิจารณา ชื่อว่า
อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธา ชื่อว่าสัทธาพละ ความใส
คือความไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน ชื่อว่าวิริยพละ ความใสคือความไม่
หวั่นไหวเพราะความประมาท ชื่อว่าสติพละ ความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ
ชื่อว่าสมาธิพละ ความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา ชื่อว่าปัญญาพละ
ความใสคือความน้อมใจเชื่อ ชื่อว่าสัทธินทรีย์ ความใสคือการประคองไว้ ชื่อว่า
วิริยินทรีย์ ความใสคือความตั้งมั่น ชื่อว่าสตินทรีย์ ความใสคือความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่า
สมาธินทรีย์ ความใสคือการเห็น ชื่อว่าปัญญินทรีย์
ความใสที่ชื่อว่าอินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ความใสที่ชื่อว่าพละ เพราะ
มีสภาวะไม่หวั่นไหว ความใสที่ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะนำออก ความใสที่ชื่อว่า
มรรค เพราะมีสภาวะเป็นเหตุ ความใสที่ชื่อว่าสติปัฏฐาน เพราะมีสภาวะตั้งมั่น
ความใสที่ชื่อว่าสัมมัปปธาน เพราะมีสภาวะเริ่มตั้งไว้ ความใสที่ชื่อว่าอิทธิบาท
เพราะมีสภาวะให้สำเร็จ ความใสที่ชื่อว่าสมถะ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ความใส
ที่ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น ความใสที่ชื่อว่าสมถะและวิปัสสนา
เพราะมีสภาวะมีรสเป็นอย่างเดียวกัน ความใสที่ชื่อว่าธรรมที่เป็นคู่กัน เพราะมี
สภาวะไม่ล่วงเลยกัน ความใสที่ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีสภาวะสำรวม ความใสที่
ชื่อว่าจิตตวิสุทธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ความใสที่ชื่อว่าทิฏฐิวิสุทธิ เพราะมี
สภาวะเห็น ความใสที่ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะมีสภาวะหลุดพ้น ความใสที่ชื่อว่าวิชชา
เพราะมีสภาวะรู้แจ้ง ความใสที่ชื่อว่าวิมุตติ เพราะมีสภาวะปล่อย ความใสที่ชื่อว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] รวมกถาที่มีในวรรค
ญาณในความสิ้นไป เพราะมีสภาวะตัดขาด ความใสที่ชื่อว่าอนุปปาทญาณ เพราะ
มีสภาวะสงบ ความใสที่ชื่อว่าฉันทะ เพราะมีสภาวะเป็นมูล ความใสที่ชื่อว่า
มนสิการ เพราะมีสภาวะเป็นสมุฏฐาน ความใสที่ชื่อว่าผัสสะ เพราะมีสภาวะเป็น
ที่ประชุม ความใสที่ชื่อว่าเวทนา เพราะมีสภาวะเป็นที่รวม ความใสที่ชื่อว่าสมาธิ
เพราะมีสภาวะเป็นประธาน ความใสที่ชื่อว่าสติ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ความใส
ที่ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะเป็นธรรมที่ยิ่งกว่าธรรมนั้น ความใสที่ชื่อว่าวิมุตติ
เพราะมีสภาวะเป็นแก่นสาร ความใสที่ชื่อว่าธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เพราะ
มีสภาวะเป็นที่สุด ฉะนี้แล
มัณฑเปยยกถา จบ
จตุตถภาณวาร จบ
มหาวรรคที่ ๑ จบ

รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ญาณกถา ๒. ทิฏฐิกถา
๓. อานาปานัสสติกถา ๔. อินทริยกถา
๕. วิโมกขกถา ๖. คติกถา
๗. กัมมกถา ๘. วิปัลลาสกถา
๙. มัคคกถา ๑๐. มัณฑเปยยกถา

วรรคที่ ๑ นี้เป็นวรรคอันยอดเยี่ยม ไม่มีวรรคอื่นเสมอ ท่านผู้ทรงนิกาย
ตั้งไว้แล้ว ฉะนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๑. ยุคนัทธกถา
๒. ยุคนัทธวรรค
หมวดว่าด้วยการเจริญธรรมที่เป็นคู่
๑. ยุคนัทธกถา
ว่าด้วยการเจริญธรรมที่เป็นคู่
[๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี ณ ที่นั้น
ท่านพระอานนท์เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้น
รับคำแล้ว ท่านพระอานนท์จึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย ผู้ใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นภิกษุหรือภิกษุณี ย่อมทำให้แจ้งอรหัต
ในสำนักของเรา ด้วยมรรคครบทั้ง ๔ ประการ หรือมรรคใดมรรคหนึ่งบรรดามรรค
๔ ประการนี้
มรรค ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญวิปัสสนามีสมถะนำหน้า เมื่อเธอเจริญ
วิปัสสนามีสมถะนำหน้า มรรคย่อมเกิด เธอปฏิบัติ๑ เจริญ ทำให้
มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอปฏิบัติ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป
๒. ภิกษุเจริญสมถะมีวิปัสสนานำหน้า เมื่อเธอเจริญสมถะมีวิปัสสนา
นำหน้า มรรคย่อมเกิด เธอปฏิบัติ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อเธอปฏิบัติ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ได้
อนุสัยย่อมสิ้นไป
๓. ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป เมื่อเธอเจริญสมถะและ
วิปัสสนาคู่กันไป มรรคย่อมเกิด เธอปฏิบัติ เจริญ ทำให้มากซึ่ง

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “ปฏิบัติ” แปลจากคำว่า “อาเสวติ” ซึ่งมีความหมายหลายนัยแล้วแต่บริบท (ดูข้อ ๒ ถัดไป) ในที่นี้
ที่ใช้คำว่า “ปฏิบัติ” เพื่อให้เป็นคำกลางของความหมายเหล่านั้น ในกรณีอื่นจะใช้คำว่า “เสพ” ก็ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๑. ยุคนัทธกถา ๑. สุตตันตนิทเทส
มรรคนั้น เมื่อเธอปฏิบัติ เจริญ ทำให้มากซึ่ง มรรคนั้น ย่อมละ
สังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป
๔. ภิกษุมีใจถูกอุทธัจจะในธรรมกั้นไว้ ในเวลาที่จิตตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน
มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่ มรรคก็เกิดแก่เธอ เธอปฏิบัติ
เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอปฏิบัติ เจริญ ทำให้มากซึ่ง
มรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป
ผู้ใดผู้หนึ่งก็ตามไม่ว่าจะเป็นภิกษุหรือภิกษุณี ย่อมทำให้แจ้งอรหัตในสำนัก
ของเรา ด้วยมรรคครบทั้ง ๔ ประการ หรือมรรคใดมรรคหนึ่งบรรดามรรค ๔
ประการนี้”

๑. สุตตันตนิทเทส
แสดงพระสูตร
[๒] ภิกษุเจริญวิปัสสนามีสมถะนำหน้า เป็นอย่างไร
คือ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งเนกขัมมะ เป็น
สมาธิ ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในสมาธินั้น โดย
ความไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ด้วยประการดังนี้ สมถะ
จึงมีก่อน วิปัสสนามีภายหลัง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เจริญวิปัสสนา
มีสมถะนำหน้า”
คำว่า เจริญ อธิบายว่า ภาวนา (การเจริญ) มี ๔ อย่าง คือ
๑. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนา
นั้นไม่ล่วงเลยกัน
๒. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่าง
เดียวกัน
๓. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่านำความเพียรที่สมควรแก่ธรรม
นั้นเข้าไป
๔. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
คำว่า มรรคย่อมเกิด อธิบายว่า มรรคย่อมเกิดอย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๑. ยุคนัทธกถา ๑. สุตตันตนิทเทส
คือ มรรคชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น ย่อมเกิด มรรคชื่อว่าสัมมา-
สังกัปปะ เพราะมีสภาวะตรึกตรอง ย่อมเกิด มรรคชื่อว่าสัมมาวาจา เพราะมีสภาวะ
กำหนด ย่อมเกิด มรรคชื่อว่าสัมมากัมมันตะ เพราะมีสภาวะเป็นสมุฏฐาน ย่อมเกิด
มรรคชื่อว่าสัมมาอาชีวะ เพราะมีสภาวะผ่องแผ้ว ย่อมเกิด มรรคชื่อว่าสัมมา-
วายามะ เพราะมีสภาวะประคองไว้ ย่อมเกิด มรรคชื่อว่าสัมมาสติ เพราะมี
สภาวะตั้งมั่น ย่อมเกิด มรรคชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมเกิด
มรรคย่อมเกิดอย่างนี้
คำว่า เธอปฏิบัติ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น อธิบายว่า ภิกษุปฏิบัติ
อย่างไร
คือ ภิกษุนั้นเมื่อนึกถึง ชื่อว่าปฏิบัติ เมื่อรู้ ชื่อว่าปฏิบัติ เมื่อเห็น ชื่อว่าปฏิบัติ
เมื่อพิจารณา ชื่อว่าปฏิบัติ เมื่ออธิษฐานจิต ชื่อว่าปฏิบัติ เมื่อน้อมใจเชื่อด้วยศรัทธา
ชื่อว่าปฏิบัติ เมื่อประคองความเพียรไว้ ชื่อว่าปฏิบัติ เมื่อตั้งสติไว้มั่น ชื่อว่าปฏิบัติ
เมื่อตั้งจิตไว้มั่น ชื่อว่าปฏิบัติ เมื่อรู้ชัดด้วยปัญญา ชื่อว่าปฏิบัติ เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่
ควรรู้ยิ่ง ชื่อว่าปฏิบัติ เมื่อกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ชื่อว่าปฏิบัติ เมื่อละ
ธรรมที่ควรละ ชื่อว่าปฏิบัติ เมื่อเจริญธรรมที่ควรเจริญ ชื่อว่าปฏิบัติ เมื่อทำให้
แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าปฏิบัติ ภิกษุปฏิบัติอย่างนี้
คำว่า เจริญ อธิบายว่า ภิกษุเจริญอย่างไร
คือ ภิกษุนั้นเมื่อนึกถึง ชื่อว่าเจริญ เมื่อรู้ ชื่อว่าเจริญ เมื่อเห็น ชื่อว่าเจริญ
เมื่อพิจารณา ชื่อว่าเจริญ เมื่ออธิษฐานจิต ชื่อว่าเจริญ เมื่อน้อมใจเชื่อด้วยศรัทธา
ชื่อว่าเจริญ เมื่อประคองความเพียรไว้ ชื่อว่าเจริญ เมื่อตั้งสติไว้มั่น ชื่อว่าเจริญ
เมื่อตั้งจิตไว้มั่น ชื่อว่าเจริญ เมื่อรู้ชัดด้วยปัญญา ชื่อว่าเจริญ เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง
ชื่อว่าเจริญ เมื่อกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ชื่อว่าเจริญ เมื่อละธรรมที่ควรละ
ชื่อว่าเจริญ เมื่อเจริญธรรมที่ควรเจริญ ชื่อว่าเจริญ เมื่อทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง
ชื่อว่าเจริญ ภิกษุเจริญอย่างนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๑. ยุคนัทธกถา ๑. สุตตันตนิทเทส
คำว่า ทำให้มาก อธิบายว่า ภิกษุทำให้มากอย่างไร
คือ ภิกษุนั้นเมื่อนึกถึง ชื่อว่าทำให้มาก เมื่อรู้ ชื่อว่าทำให้มาก เมื่อเห็น
ชื่อว่าทำให้มาก เมื่อพิจารณา ชื่อว่าทำให้มาก เมื่ออธิษฐานจิต ชื่อว่าทำให้มาก
เมื่อน้อมใจเชื่อด้วยศรัทธา ชื่อว่าทำให้มาก เมื่อประคองความเพียรไว้ ชื่อว่าทำให้
มาก เมื่อตั้งสติไว้มั่น ชื่อว่าทำให้มาก เมื่อตั้งจิตไว้มั่น ชื่อว่าทำให้มาก เมื่อรู้ชัด
ด้วยปัญญา ชื่อว่าทำให้มาก เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง ชื่อว่าทำให้มาก เมื่อ
กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ชื่อว่าทำให้มาก เมื่อละธรรมที่ควรละ ชื่อว่าทำให้มาก
เมื่อเจริญธรรมที่ควรเจริญ ชื่อว่าทำให้มาก เมื่อทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง
ชื่อว่าทำให้มาก ภิกษุทำให้มากอย่างนี้
คำว่า เมื่อเธอปฏิบัติมรรคนั้น ฯลฯ อนุสัยย่อมสิ้นไป อธิบายว่า ภิกษุ
ย่อมละสังโยชน์ได้อย่างไร อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างไร
คือ ย่อมละสังโยชน์ ๓ นี้ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส
อนุสัย ๒ นี้ คือ ทิฏฐานุสัยและวิจิกิจฉานุสัย ย่อมสิ้นไปด้วยโสดาปัตติมรรค
ย่อมละสังโยชน์ ๒ นี้ คือ กามราคสังโยชน์และปฏิฆสังโยชน์ส่วนหยาบ ๆ
อนุสัย ๒ นี้ คือ กามราคานุสัยและปฏิฆานุสัยส่วนหยาบ ๆ ย่อมสิ้นไปด้วย
สกทาคามิมรรค
ย่อมละสังโยชน์ ๒ นี้ คือ กามราคสังโยชน์และปฏิฆสังโยชน์ ส่วนละเอียด ๆ
อนุสัย ๒ นี้ คือ กามราคานุสัยและปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียด ๆ ย่อมสิ้นไปด้วย
อนาคามิมรรค
ย่อมละสังโยชน์ ๕ นี้ คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และอวิชชา
อนุสัย ๓ นี้ คือ มานานุสัย ภวราคานุสัย และอวิชชานุสัย ย่อมสิ้นไปด้วยอรหัตต-
มรรค ภิกษุย่อมละสังโยชน์ได้อย่างนี้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้
[๓] ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งอพยาบาท
เป็นสมาธิ ฯลฯ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งอาโลก-
สัญญา เป็นสมาธิ ฯลฯ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่ง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๑. ยุคนัทธกถา ๑. สุตตันตนิทเทส
ความเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจเข้า ด้วยอำนาจแห่งความเป็นผู้พิจารณา
เห็นความสละคืนหายใจออก เป็นสมาธิ ฯลฯ ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีความหมาย
ว่าพิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในสมาธินั้น โดยความไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดย
ความเป็นอนัตตา ด้วยประการดังนี้ สมถะจึงมีก่อน วิปัสสนามีภายหลัง เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เจริญวิปัสสนามีสมถะนำหน้า”
คำว่า เจริญ อธิบายว่า ภาวนา (การเจริญ) มี ๔ อย่าง คือ
๑. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนา
นั้นไม่ล่วงเลยกัน
๒. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่าง
เดียวกัน
๓. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่านำความเพียรที่สมควรแก่ธรรม
นั้นเข้าไป
๔. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
คำว่า มรรคย่อมเกิด อธิบายว่า มรรคย่อมเกิดอย่างไร
คือ มรรคชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น ย่อมเกิด มรรคชื่อว่าสัมมา-
สังกัปปะ เพราะมีสภาวะตรึกตรอง ฯลฯ มรรคชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะ
ไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมเกิด มรรคย่อมเกิดอย่างนี้
คำว่า เธอปฏิบัติ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น อธิบายว่า ภิกษุปฏิบัติ
อย่างไร
คือ ภิกษุนั้นเมื่อนึกถึง ชื่อว่าปฏิบัติ เมื่อรู้ ชื่อว่าปฏิบัติ ฯลฯ เมื่อทำให้
แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าปฏิบัติ ภิกษุปฏิบัติอย่างนี้
คำว่า เจริญ อธิบายว่า ภิกษุเจริญอย่างไร
คือ ภิกษุนั้นเมื่อนึกถึง ชื่อว่าเจริญ เมื่อรู้ ชื่อว่าเจริญ ฯลฯ เมื่อทำให้
แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าเจริญ ภิกษุเจริญอย่างนี้
คำว่า ทำให้มาก อธิบายว่า ภิกษุทำให้มากอย่างไร
คือ ภิกษุนั้นเมื่อนึกถึง ชื่อว่าทำให้มาก เมื่อรู้ ชื่อว่าทำให้มาก ฯลฯ เมื่อ
ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าทำให้มาก ภิกษุทำให้มากอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๑. ยุคนัทธกถา ๑. สุตตันตนิทเทส
คำว่า เมื่อเธอปฏิบัติมรรคนั้น ฯลฯ อนุสัยย่อมสิ้นไป อธิบายว่า ภิกษุ
ย่อมละสังโยชน์ได้อย่างไร อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างไร
คือ ย่อมละสังโยชน์ ๓ นี้ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส
อนุสัย ๒ นี้ คือ ทิฏฐานุสัยและวิจิกิจฉานุสัย ย่อมสิ้นไปด้วยโสดาปัตติมรรค
ย่อมละสังโยชน์ ๒ นี้ คือ กามราคสังโยชน์ และปฏิฆสังโยชน์ ส่วนหยาบ ๆ
อนุสัย ๒ นี้ คือ กามราคานุสัยและปฏิฆานุสัยส่วนหยาบ ๆ ย่อมสิ้นไปด้วย
สกทาคามิมรรค
ย่อมละสังโยชน์ ๒ นี้ คือ กามราคสังโยชน์และปฏิฆสังโยชน์ ส่วนละเอียด ๆ
อนุสัย ๒ นี้ คือ กามราคานุสัยและปฏิฆานุสัยส่วนละเอียด ๆ ย่อมสิ้นไปด้วย
อนาคามิมรรค
ย่อมละสังโยชน์ ๕ นี้ คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และอวิชชา
อนุสัย ๓ นี้ คือ มานานุสัย ภวราคานุสัย และอวิชชานุสัย ย่อมสิ้นไปด้วยอรหัตต-
มรรค ภิกษุย่อมละสังโยชน์ได้อย่างนี้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าย่อม
เจริญวิปัสสนา มีสมถะนำหน้าอย่างนี้
[๔] ภิกษุนั้นเจริญสมถะมีวิปัสสนานำหน้า เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นโดยความไม่เที่ยง ชื่อว่า
วิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมี
สภาวะพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา สภาวะที่จิตปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดใน
วิปัสสนานั้นเป็นอารมณ์ และสภาวะที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ
วิปัสสนาจึงมีก่อน สมถะมีภายหลัง ด้วยประการดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
“เจริญสมถะมีวิปัสสนานำหน้า”
คำว่า เจริญ อธิบายว่า ภาวนา (การเจริญ) มี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่า
ภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
คำว่า มรรคย่อมเกิด อธิบายว่า มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อม
เกิดอย่างนี้ ภิกษุย่อมละสังโยชน์ได้อย่างนี้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๑. ยุคนัทธกถา ๑. สุตตันตนิทเทส
ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นรูปโดยความไม่เที่ยง ชื่อว่า
วิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นทุกข์ ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะ
มีสภาวะพิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอนัตตา สภาวะที่จิตปล่อยธรรมทั้งหลายที่
เกิดในภาวนานั้นเป็นอารมณ์ และสภาวะที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่าน เป็น
สมาธิ วิปัสสนาจึงมีก่อน สมถะมีภายหลัง ด้วยประการดังนี้ เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า “เจริญสมถะมีวิปัสสนานำหน้า”
คำว่า เจริญ อธิบายว่า ภาวนา (การเจริญ) มี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อ
ว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
คำว่า มรรคย่อมเกิด อธิบายว่า ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ภิกษุย่อมละ
สังโยชน์ได้อย่างนี้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้
ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร
ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ จักขุ ฯลฯ ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นชรา
และมรณะโดยความไม่เที่ยง ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นชราและ
มรณะโดยความเป็นทุกข์ ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นชราและมรณะ
โดยความเป็นอนัตตา สภาวะที่จิตปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นเป็น
อารมณ์ และสภาวะที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ วิปัสสนาจึงมีก่อน
สมถะมีภายหลัง ด้วยประการดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เจริญสมถะมี
วิปัสสนานำหน้า”
คำว่า เจริญ อธิบายว่า ภาวนา (การเจริญ) มี ๔ อย่าง ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา
เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
คำว่า มรรคย่อมเกิด อธิบายว่า มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อม
เกิดอย่างนี้ ภิกษุย่อมละสังโยชน์ได้อย่างนี้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ ภิกษุเจริญ
สมถะมีวิปัสสนานำหน้าอย่างนี้
[๕] ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป ด้วยอาการ ๑๖ อย่าง๑ ได้แก่

เชิงอรรถ :
๑ อาการ ๑๖ อย่าง หมายเอาสภาวะที่เป็นคู่กันด้วย (ขุ.ป.อ. ๒/๕/๒๒๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๑. ยุคนัทธกถา ๑. สุตตันตนิทเทส

๑. ด้วยมีสภาวะเป็นอารมณ์ ๒. ด้วยมีสภาวะเป็นโคจร
๓. ด้วยมีสภาวะละ ๔. ด้วยมีสภาวะสละ
๕. ด้วยมีสภาวะออก ๖. ด้วยมีสภาวะหลีกออก
๗. ด้วยมีสภาวะเป็นธรรมละเอียด ๘. ด้วยมีสภาวะเป็นธรรมประณีต
๙. ด้วยมีสภาวะหลุดพ้น ๑๐. ด้วยมีสภาวะไม่มีอาสวะ
๑๑. ด้วยมีสภาวะเป็นเครื่องข้าม ๑๒. ด้วยมีสภาวะไม่มีนิมิต
๑๓. ด้วยมีสภาวะไม่มีปณิหิตะ ๑๔. ด้วยมีสภาวะเป็นสุญญตะ
๑๕. ด้วยมีสภาวะมีรสเป็นอย่างเดียวกัน ๑๖. ด้วยมีสภาวะเป็นคู่กันไม่ล่วง
เลยกัน

ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะเป็นอารมณ์ เป็นอย่างไร
คือ เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ จึงมีสมาธิคือความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้ง
ซ่าน มีนิโรธเป็นอารมณ์ เมื่อภิกษุนั้นละอวิชชา จึงมีวิปัสสนา เพราะมีสภาวะ
พิจารณาเห็น มีนิโรธเป็นอารมณ์ ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีรส
เป็นอย่างเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเลยกันด้วยมีสภาวะเป็นอารมณ์ ดังนี้ เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะเป็น
อารมณ์”
คำว่า เจริญ อธิบายว่า ภาวนา (การเจริญ) มี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา
เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
คำว่า มรรคย่อมเกิด อธิบายว่า มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อม
เกิดอย่างนี้ ภิกษุย่อมละสังโยชน์ได้อย่างนี้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ ภิกษุเจริญ
สมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะเป็นอารมณ์อย่างนี้
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะเป็นโคจร เป็นอย่างไร
คือ เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ จึงมีสมาธิคือความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้ง
ซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา จึงมีวิปัสสนาเพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น
มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีรสเป็นอย่างเดียวกัน เป็นคู่กัน
ไม่ล่วงเลยกันด้วยมีสภาวะเป็นโคจร ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เจริญ
สมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะเป็นโคจร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๑. ยุคนัทธกถา ๑. สุตตันตนิทเทส
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะละ เป็นอย่างไร
คือ เมื่อภิกษุละกิเลสที่ประกอบด้วยอุทธัจจะและขันธ์ จึงมีสมาธิคือความ
ที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละกิเลสที่ประกอบด้วย
อวิชชาและขันธ์ จึงมีวิปัสสนาเพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น มีนิโรธเป็นโคจร ด้วย
ประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีรสเป็นอย่างเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเลย
กันด้วยมีสภาวะละ ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เจริญสมถะและวิปัสสนา
คู่กันไปด้วยมีสภาวะละ”
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะสละ เป็นอย่างไร
คือ เมื่อภิกษุสละกิเลสที่ประกอบด้วยอุทธัจจะและขันธ์ จึงมีสมาธิคือความ
ที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุสละกิเลสที่ประกอบ
ด้วยอวิชชาและขันธ์ จึงมีวิปัสสนาเพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น มีนิโรธเป็นโคจร
ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีรสเป็นอย่างเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วง
เลยกันด้วยมีสภาวะสละ ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เจริญสมถะและ
วิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะสละ”
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะออก เป็นอย่างไร
คือ เมื่อภิกษุออกจากกิเลสที่ประกอบด้วยอุทธัจจะและจากขันธ์ จึงมีสมาธิ
คือความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุออกจาก
กิเลสที่ประกอบด้วยอวิชชาและจากขันธ์ จึงมีวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น
มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเลยกันด้วยมีสภาวะออก ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
“เจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะออก”
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะหลีกออก เป็นอย่างไร
คือ เมื่อภิกษุหลีกออกจากกิเลสที่ประกอบด้วยอุทธัจจะและจากขันธ์ จึงมี
สมาธิคือความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุหลีก
ออกจากกิเลสที่ประกอบด้วยอวิชชาและจากขันธ์ จึงมีวิปัสสนา เพราะมีสภาวะ
พิจารณาเห็น มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีรสเป็น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๑. ยุคนัทธกถา ๑. สุตตันตนิทเทส
อย่างเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเลยกันด้วยมีสภาวะหลีกออก ดังนี้ เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า “เจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะหลีกออก”
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะเป็นธรรมละเอียด เป็น
อย่างไร
คือ เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ จึงมีสมาธิคือความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่
ฟุ้งซ่าน เป็นธรรมละเอียด มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา จึงมีวิปัสสนา
เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น เป็นธรรมละเอียด มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้
สมถะและวิปัสสนาจึงมีรสเป็นอย่างเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเลยกันด้วยมีสภาวะ
เป็นธรรมละเอียด ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เจริญสมถะและวิปัสสนา
คู่กันไปด้วยมีสภาวะเป็นธรรมละเอียด”
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะเป็นธรรมประณีต เป็น
อย่างไร
คือ เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ จึงมีสมาธิคือความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้ง
ซ่าน เป็นธรรมประณีต มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา จึงมีวิปัสสนา
เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น เป็นธรรมประณีต มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้
สมถะและวิปัสสนาจึงมีรสเป็นอย่างเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเลยกันด้วยมีสภาวะ
เป็นธรรมประณีต ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เจริญสมถะและวิปัสสนา
คู่กันไปด้วยมีสภาวะเป็นธรรมประณีต”
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะหลุดพ้น เป็นอย่างไร
คือ เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ จึงมีสมาธิคือความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้ง
ซ่าน หลุดพ้นจากกามาสวะ มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา จึงมีวิปัสสนา
เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น หลุดพ้นจากอวิชชาสวะ มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้
ชื่อว่าเจโตวิมุตติ เพราะมีสภาวะปราศจากราคะ ชื่อว่าปัญญาวิมุตติ เพราะมีสภาวะ
ปราศจากอวิชชา ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเลยกันด้วยมีสภาวะหลุดพ้น ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
“เจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะหลุดพ้น”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๑. ยุคนัทธกถา ๑. สุตตันตนิทเทส
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะไม่มีอาสวะ เป็นอย่างไร
คือ เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ จึงมีสมาธิคือความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้ง
ซ่าน ไม่มีอาสวะด้วยกามาสวะ มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา จึงมีวิปัสสนา
เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น ไม่มีอาสวะด้วยอวิชชาสวะ มีนิโรธเป็นโคจร ด้วย
ประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีรสเป็นอย่างเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเลยกัน
ด้วยมีสภาวะไม่มีอาสวะ ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เจริญสมถะและ
วิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะไม่มีอาสวะ”
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะเป็นเครื่องข้าม เป็นอย่างไร
คือ เมื่อภิกษุข้ามจากกิเลสที่ประกอบด้วยอุทธัจจะและจากขันธ์ จึงมีสมาธิ
คือความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุข้ามจาก
กิเลสที่ประกอบด้วยอวิชชาและจากขันธ์ จึงมีวิปัสสนาเพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น
มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีรสเป็นอย่างเดียวกัน เป็น
คู่กัน ไม่ล่วงเลยกันด้วยมีสภาวะเป็นเครื่องข้าม ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
“เจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะเป็นเครื่องข้าม”
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะไม่มีนิมิต เป็นอย่างไร
คือ เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ จึงมีสมาธิคือความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้ง
ซ่าน ไม่มีนิมิตด้วยนิมิตทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา จึงมีวิปัสสนา
เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น ไม่มีนิมิตด้วยนิมิตทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร ด้วย
ประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีรสเป็นอย่างเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเลย
กันด้วยมีสภาวะไม่มีนิมิต ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เจริญสมถะและ
วิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะไม่มีนิมิต”
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะไม่มีปณิหิตะ เป็นอย่างไร
คือ เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ จึงมีสมาธิคือความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้ง
ซ่าน ไม่มีปณิธิด้วยปณิธิทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา จึงมีวิปัสสนา
เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น ไม่มีปณิธิด้วยปณิธิทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร ด้วย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๑. ยุคนัทธกถา ๑. สุตตันตนิทเทส
ประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีรสเป็นอย่างเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเลยกัน
ด้วยมีสภาวะไม่มีปณิหิตะ ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เจริญสมถะและ
วิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะไม่มีปณิหิตะ”
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะเป็นสุญญตะ เป็นอย่างไร
คือ เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ จึงมีสมาธิคือความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้ง
ซ่าน ว่างจากอภินิเวสทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา จึงมีวิปัสสนา
เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น ว่างจากอภินิเวสทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้
สมถะและวิปัสสนาจึงมีรสเป็นอย่างเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเลยกันด้วยมีสภาวะ
เป็นสุญญตะ ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป
ด้วยมีสภาวะเป็นสุญญตะ”
คำว่า เจริญ อธิบายว่า ภาวนา (การเจริญ) มี ๔ อย่าง คือ
๑. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนา
นั้นไม่ล่วงเลยกัน
๒. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่าง
เดียวกัน
๓. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่านำความเพียรที่สมควรแก่ธรรม
นั้นเข้าไป
๔. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
คำว่า มรรคย่อมเกิด อธิบายว่า มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อม
เกิดอย่างนี้ ฯลฯ ภิกษุย่อมละสังโยชน์ได้อย่างนี้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ ภิกษุเจริญ
สมถะและวิปัสสนาคู่กันไป ด้วยมีสภาวะเป็นสุญญตะอย่างนี้ ภิกษุเจริญสมถะและ
วิปัสสนาคู่กันไป ด้วยอาการ ๑๖ อย่างนี้ ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป
อย่างนี้

สุตตันตนิทเทส จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๑. ยุคนัทธกถา ๒. ธัมมุทธัจจวารนิทเทส
๒. ธัมมุทธัจจวารนิทเทส
แสดงอุทธัจจะในธรรมกั้นไว้
[๖] (ภิกษุ) มีใจถูกอุทธัจจะในธรรมกั้นไว้ เป็นอย่างไร
คือ เมื่อภิกษุมนสิการโดยความไม่เที่ยง โอภาสย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนึกถึงโอภาส
ว่า “โอภาสเป็นธรรม” เพราะนึกถึงโอภาสนั้น ความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ภิกษุมี
ใจถูกอุทธัจจะนั้นกั้นไว้ ย่อมไม่รู้ชัดความปรากฏโดยความไม่เที่ยงตามความเป็นจริง
ไม่รู้ชัดความปรากฏโดยความเป็นทุกข์ตามความเป็นจริง ไม่รู้ชัดความปรากฏโดย
ความเป็นอนัตตาตามความเป็นจริง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มีใจถูกอุทธัจจะ
ในธรรมกั้นไว้ ในเวลาที่จิตตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่
มรรคก็เกิดแก่เธอ มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ภิกษุย่อม
ละสังโยชน์ได้อย่างนี้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้
เมื่อมนสิการโดยความไม่เที่ยง ญาณ (ความรู้) ย่อมเกิดขึ้น ปีติ (ความอิ่มใจ)
ย่อมเกิดขึ้น ปัสสัทธิ (ความสงบกายสงบใจ) ย่อมเกิดขึ้น สุข (ความสุข) ย่อมเกิดขึ้น
อธิโมกข์ (ความน้อมใจเชื่อ) ย่อมเกิดขึ้น ปัคคหะ (ความเพียรที่พอดี) ย่อมเกิดขึ้น
อุปัฏฐาน (สติแก่กล้า) ย่อมเกิดขึ้น อุเบกขา (ความมีใจเป็นกลาง) ย่อมเกิดขึ้น
นิกันติ (ความติดใจ) ย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนึกถึงนิกันติว่า “นิกันติเป็นธรรม” เพราะนึกถึง
นิกันตินั้น ความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ภิกษุมีใจถูกอุทธัจจะนั้นกั้นไว้อย่างนี้ ย่อม
ไม่รู้ชัดความปรากฏโดยความไม่เที่ยงตามความเป็นจริง ไม่รู้ชัดความปรากฏโดย
ความเป็นทุกข์ตามความเป็นจริง ไม่รู้ชัดความปรากฏโดยความเป็นอนัตตา
ตามความเป็นจริง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มีใจถูกอุทธัจจะในธรรมกั้นไว้
ในเวลาที่จิตตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่ มรรคก็
เกิดแก่เธอ มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ภิกษุย่อมละ
สังโยชน์ได้อย่างนี้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้
เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ฯลฯ เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา
โอภาสย่อมเกิดขึ้น ฯลฯ ญาณย่อมเกิดขึ้น ปีติย่อมเกิดขึ้น ปัสสัทธิย่อมเกิดขึ้น
สุขย่อมเกิดขึ้น อธิโมกข์ย่อมเกิดขึ้น ปัคคหะย่อมเกิดขึ้น อุปัฏฐานย่อมเกิดขึ้น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๒. สัจจกถา
อุเบกขาย่อมเกิดขึ้น นิกันติย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนึกถึงนิกันติว่า “นิกันติเป็นธรรม”
เพราะนึกถึงนิกันตินั้น ความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ภิกษุมีใจถูกอุทธัจจะนั้นกั้นไว้
ย่อมไม่รู้ชัดความปรากฏโดยความเป็นอนัตตาตามความเป็นจริง ไม่รู้ชัดความ
ปรากฏโดยความไม่เที่ยงตามความเป็นจริง ไม่รู้ชัดความปรากฏโดยความเป็นทุกข์
ตามความเป็นจริง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มีใจถูกอุทธัจจะในธรรมกั้นไว้ ฯลฯ
ภิกษุย่อมละสังโยชน์ได้อย่างนี้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้
เมื่อมนสิการรูปโดยความไม่เที่ยง ฯลฯ เมื่อมนสิการรูปโดยความเป็นทุกข์
ฯลฯ เมื่อมนสิการรูปโดยความเป็นอนัตตา เมื่อมนสิการเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ
สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ จักขุ ฯลฯ เมื่อมนสิการชราและมรณะโดยความไม่เที่ยง
ฯลฯ เมื่อมนสิการชราและมรณะโดยความเป็นทุกข์ ฯลฯ เมื่อมนสิการชราและ
มรณะโดยความเป็นอนัตตา โอภาสย่อมเกิดขึ้น ญาณย่อมเกิดขึ้น ปีติย่อมเกิดขึ้น
ปัสสัทธิย่อมเกิดขึ้น สุขย่อมเกิดขึ้น อธิโมกข์ย่อมเกิดขึ้น ปัคคหะย่อมเกิดขึ้น
อุปัฏฐานย่อมเกิดขึ้น อุเบกขาย่อมเกิดขึ้น นิกันติย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนึกถึงนิกันติว่า
“นิกันติเป็นธรรม” เพราะนึกถึงนิกันตินั้น ความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ภิกษุมีใจถูก
อุทธัจจะนั้นกั้นไว้ ย่อมไม่รู้ชัดชราและมรณะซึ่งปรากฏโดยความเป็นอนัตตาตาม
ความเป็นจริง ไม่รู้ชัดชราและมรณะซึ่งปรากฏโดยความไม่เที่ยงตามความเป็นจริง
ไม่รู้ชัดชราและมรณะซึ่งปรากฏโดยความเป็นทุกข์ตามความเป็นจริง เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า มีใจถูกอุทธัจจะในธรรมกั้นไว้ ในเวลาที่จิตตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน
มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่ โดยความไม่เที่ยง มรรคก็เกิดแก่เธอ มรรค
ย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ ภิกษุละสังโยชน์ได้อย่างนี้
อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ ภิกษุมีใจถูกอุทธัจจะในธรรมกั้นไว้อย่างนี้
[๗] จิตย่อมกวัดแกว่ง หวั่นไหว
เพราะโอภาส เพราะญาณ เพราะปีติ
เพราะปัสสัทธิ เพราะสุข
เพราะอธิโมกข์ เพราะปัคคหะ
เพราะอุปัฏฐาน เพราะอุเบกขา
เพราะน้อมนึกถึงอุเบกขาและนิกันติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๒. สัจจกถา
ภิกษุนั้นกำหนดฐานะ ๑๐ ประการนี้
ด้วยปัญญาแล้ว ย่อมเป็นผู้ฉลาด
ในอุทธัจจะในธรรม
และย่อมไม่ถึงความหลงใหล
จิตกวัดแกว่ง เศร้าหมอง
จิตภาวนาย่อมเคลื่อน
จิตกวัดแกว่ง ไม่เศร้าหมอง
จิตภาวนาย่อมเสื่อมไป
จิตบริสุทธิ์ ไม่เศร้าหมอง
จิตภาวนาย่อมไม่เสื่อมไป
จิตไม่ฟุ้งซ่าน ไม่เศร้าหมอง
จิตภาวนาย่อมไม่เคลื่อน
ด้วยฐานะ ๔ ประการนี้ ภิกษุย่อมรู้ชัดความที่จิตกวัดแกว่ง ฟุ้งซ่าน ถูก
โอภาสเป็นต้นกั้นไว้ ด้วยฐานะ ๑๐ ประการนี้ ฉะนี้แล
(ธัมมุทธัจจวารนิทเทส จบ)
ยุคนัทธกถา จบ

๒. สัจจกถา
ว่าด้วยสัจจะ
[๘] เหตุเกิดขึ้นเหมือนในสูตรข้างต้น๑ ภิกษุทั้งหลาย สัจจะ ๔ ประการนี้
เป็นของแท้ ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น
สัจจะ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

เชิงอรรถ :
๑ สูตรข้างต้น ในที่นี้หมายถึงยุคนัทธกถา ข้อที่ ๑ หน้า ๔๑๓ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๒. สัจจกถา ๑. ปฐมสุตตันตนิทเทส
๑. สัจจะว่า นี้ทุกข์ เป็นของแท้ ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น
๒. สัจจะว่า นี้ทุกขสมุทัย เป็นของแท้ ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น
๓. สัจจะว่า นี้ทุกขนิโรธ เป็นของแท้ ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น
๔. สัจจะว่า นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นของแท้ ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น
ภิกษุทั้งหลาย สัจจะ ๔ ประการนี้แล เป็นของแท้ ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น

๑. ปฐมสุตตันตนิทเทส
แสดงสูตรที่ ๑
ทุกข์ ชื่อว่าสัจจะ เพราะมีสภาวะเป็นของแท้ เป็นอย่างไร
คือ สภาวะที่ทนได้ยากแห่งทุกข์ ๔ ประการ เป็นของแท้ ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น
ได้แก่
๑. สภาวะที่บีบคั้นแห่งทุกข์ ๒. สภาวะที่ปัจจัยปรุงแต่งแห่งทุกข์
๓. สภาวะที่ทำให้เดือดร้อนแห่งทุกข์ ๔. สภาวะที่แปรผันแห่งทุกข์
สภาวะที่ทนได้ยากแห่งทุกข์ ๔ ประการนี้เป็นของแท้ ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น
ทุกข์ ชื่อว่าสัจจะ เพราะมีสภาวะเป็นของแท้อย่างนี้
สมุทัย ชื่อว่าสัจจะ เพราะมีสภาวะเป็นของแท้ เป็นอย่างไร
คือ สภาวะที่เป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัย ๔ ประการ เป็นของแท้ ไม่ผิด
ไม่เป็นอย่างอื่น ได้แก่
๑. สภาวะที่ประมวลมาแห่งสมุทัย ๒. สภาวะที่เป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัย
๓. สภาวะที่เกี่ยวข้องแห่งสมุทัย ๔. สภาวะที่พัวพันแห่งสมุทัย
สภาวะที่เป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัย ๔ ประการนี้เป็นของแท้ ไม่ผิด ไม่เป็น
อย่างอื่น สมุทัย ชื่อว่าสัจจะ เพราะมีสภาวะเป็นของแท้อย่างนี้
นิโรธ ชื่อว่าสัจจะ เพราะมีสภาวะเป็นของแท้ เป็นอย่างไร
คือ สภาวะที่เป็นความดับแห่งนิโรธ ๔ ประการ เป็นของแท้ ไม่ผิด
ไม่เป็นอย่างอื่น ได้แก่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๒. สัจจกถา ๑. ปฐมสุตตันตนิทเทส
๑. สภาวะที่เป็นเครื่องสลัดออกแห่งนิโรธ ๒. สภาวะที่เป็นวิเวกแห่งนิโรธ
๓. สภาวะที่เป็นอสังขตะแห่งนิโรธ ๔. สภาวะที่เป็นอมตะแห่งนิโรธ
สภาวะที่เป็นความดับแห่งนิโรธ ๔ ประการนี้เป็นของแท้ ไม่ผิด ไม่เป็น
อย่างอื่น นิโรธ ชื่อว่าสัจจะ เพราะมีสภาวะเป็นของแท้อย่างนี้
มรรค ชื่อว่าสัจจะ เพราะมีสภาวะเป็นของแท้ เป็นอย่างไร
คือ สภาวะที่เป็นทางแห่งมรรค ๔ ประการ เป็นของแท้ ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น
ได้แก่
๑. สภาวะที่นำออกแห่งมรรค ๒. สภาวะที่เป็นเหตุแห่งมรรค
๓. สภาวะที่เห็นแห่งมรรค ๔. สภาวะที่เป็นใหญ่แห่งมรรค
สภาวะที่เป็นทางแห่งมรรค ๔ ประการนี้เป็นของแท้ ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น
มรรค ชื่อว่าสัจจะ เพราะมีสภาวะเป็นของแท้อย่างนี้
[๙] สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยอาการเท่าไร
คือ สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยอาการ ๔ อย่าง ได้แก่
๑. ด้วยสภาวะเป็นของแท้ ๒. ด้วยสภาวะเป็นอนัตตา
๓. ด้วยสภาวะเป็นของจริง ๔. ด้วยสภาวะรู้แจ้ง
สัจจะ ๔ ท่านสงเคราะห์เข้ากับอาการ ๔ อย่างนี้ สัจจะใดท่านสงเคราะห์
เข้าด้วยกัน สัจจะนั้นเป็นสภาวะเดียว พระโยคาวจรย่อมรู้แจ้งสัจจะที่เป็นสภาวะเดียว
ด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ ๔ จึงมีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว
สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยสภาวะเป็นของแท้ เป็นอย่างไร
คือ สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยสภาวะเป็นของแท้
ด้วยอาการ ๔ อย่าง ได้แก่
๑. สภาวะที่ทนได้ยากแห่งทุกข์ มีสภาวะเป็นของแท้
๒. สภาวะที่เป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัย มีสภาวะเป็นของแท้
๓. สภาวะที่เป็นความดับแห่งนิโรธ มีสภาวะเป็นของแท้
๔. สภาวะที่เป็นทางแห่งมรรค มีสภาวะเป็นของแท้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๒. สัจจกถา ๑. ปฐมสุตตันตนิทเทส
สัจจะ ๔ ท่านสงเคราะห์เข้ากับสภาวะเป็นของแท้ ด้วยอาการ ๔ อย่างนี้
สัจจะใดท่านสงเคราะห์เข้าด้วยกัน สัจจะนั้นเป็นสภาวะเดียว พระโยคาวจรย่อม
รู้แจ้งสัจจะที่เป็นสภาวะเดียว ด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ ๔ จึงมีการ
รู้แจ้งด้วยญาณเดียว
สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยสภาวะเป็นอนัตตา เป็น
อย่างไร
คือ สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยสภาวะเป็นอนัตตา
ด้วยอาการ ๔ อย่าง ได้แก่
๑. สภาวะที่ทนได้ยากแห่งทุกข์ มีสภาวะเป็นอนัตตา
๒. สภาวะที่เป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัย มีสภาวะเป็นอนัตตา
๓. สภาวะที่เป็นความดับแห่งนิโรธ มีสภาวะเป็นอนัตตา
๔. สภาวะที่เป็นทางแห่งมรรค มีสภาวะเป็นอนัตตา
สัจจะ ๔ ท่านสงเคราะห์เข้ากับสภาวะเป็นอนัตตา ด้วยอาการ ๔ อย่างนี้
สัจจะใดท่านสงเคราะห์เข้าด้วยกัน สัจจะนั้นเป็นสภาวะเดียว พระโยคาวจรย่อม
รู้แจ้งสัจจะที่เป็นสภาวะเดียว ด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ ๔ จึงมีการ
รู้แจ้งด้วยญาณเดียว
สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยสภาวะเป็นของจริง เป็น
อย่างไร
คือ สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยสภาวะเป็นของจริง
ด้วยอาการ ๔ อย่าง ได้แก่
๑. สภาวะที่ทนได้ยากแห่งทุกข์ มีสภาวะเป็นของจริง
๒. สภาวะที่เป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัย มีสภาวะเป็นของจริง
๓. สภาวะที่เป็นความดับแห่งนิโรธ มีสภาวะเป็นของจริง
๔. สภาวะที่เป็นทางแห่งมรรค มีสภาวะเป็นของจริง
สัจจะ ๔ ท่านสงเคราะห์เข้ากับสภาวะเป็นของจริง ด้วยอาการ ๔ อย่างนี้
สัจจะใดท่านสงเคราะห์เข้าด้วยกัน สัจจะนั้นเป็นสภาวะเดียว พระโยคาวจรย่อมรู้
แจ้งสัจจะที่เป็นสภาวะเดียว ด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ ๔ จึงมีการ
รู้แจ้งด้วยญาณเดียว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๒. สัจจกถา ๑. ปฐมสุตตันตนิทเทส
สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยสภาวะรู้แจ้ง เป็นอย่างไร
คือ สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยสภาวะรู้แจ้ง ด้วยอาการ
๔ อย่าง ได้แก่
๑. สภาวะที่ทนได้ยากแห่งทุกข์ มีสภาวะรู้แจ้ง
๒. สภาวะที่เป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัย มีสภาวะรู้แจ้ง
๓. สภาวะที่เป็นความดับแห่งนิโรธ มีสภาวะรู้แจ้ง
๔. สภาวะที่เป็นทางแห่งมรรค มีสภาวะรู้แจ้ง
สัจจะ ๔ ท่านสงเคราะห์เข้ากับสภาวะรู้แจ้ง ด้วยอาการ ๔ อย่างนี้
สัจจะใดท่านสงเคราะห์เข้าด้วยกัน สัจจะนั้นเป็นสภาวะเดียว พระโยคาวจรย่อม
รู้แจ้งสัจจะที่เป็นสภาวะเดียว ด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ ๔ จึงมีการ
รู้แจ้งด้วยญาณเดียว
[๑๐] สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว เป็นอย่างไร คือ
สัจจะใดไม่เที่ยง สัจจะนั้นเป็นทุกข์ สัจจะใดเป็นทุกข์ สัจจะนั้นไม่เที่ยง
สัจจะใดไม่เที่ยงและเป็นทุกข์ สัจจะนั้นเป็นอนัตตา
สัจจะใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา สัจจะนั้นเป็นของแท้
สัจจะใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา และเป็นของแท้ สัจจะนั้นเป็นของจริง
สัจจะใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นของแท้ และเป็นของจริง
สัจจะนั้นท่านสงเคราะห์เข้าด้วยกัน สัจจะใดท่านสงเคราะห์เข้าด้วยกัน สัจจะนั้น
เป็นสภาวะเดียว พระโยคาวจรย่อมรู้แจ้งสัจจะหนึ่งด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น
สัจจะ ๔ จึงมีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว
สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยอาการเท่าไร
คือ สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยอาการ ๙ อย่าง ได้แก่
๑. ด้วยสภาวะเป็นของแท้ ๒. ด้วยสภาวะเป็นอนัตตา
๓. ด้วยสภาวะเป็นของจริง ๔. ด้วยสภาวะรู้แจ้ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๒. สัจจกถา ๑. ปฐมสุตตันตนิทเทส
๕. ด้วยสภาวะเป็นธรรมที่ควรรู้ยิ่ง
๖. ด้วยสภาวะเป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้
๗. ด้วยสภาวะเป็นธรรมที่ควรละ
๘. ด้วยสภาวะเป็นธรรมที่ควรเจริญ
๙. ด้วยสภาวะเป็นธรรมที่ควรทำให้แจ้ง
สัจจะ ๔ ท่านสงเคราะห์เข้ากับอาการ ๙ อย่างนี้ สัจจะใดท่าน
สงเคราะห์เข้าด้วยกัน สัจจะนั้นเป็นสภาวะเดียว พระโยคาวจรย่อมรู้แจ้งสัจจะที่
เป็นสภาวะเดียวด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ ๔ จึงมีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว
สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยสภาวะเป็นของแท้ เป็น
อย่างไร
คือ สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยสภาวะเป็นของแท้
ด้วยอาการ ๙ อย่างนี้ ได้แก่
๑. สภาวะที่ทนได้ยากแห่งทุกข์ มีสภาวะเป็นของแท้
๒. สภาวะที่เป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัย มีสภาวะเป็นของแท้
๓. สภาวะที่เป็นความดับแห่งนิโรธ มีสภาวะเป็นของแท้
๔. สภาวะที่เป็นทางแห่งมรรค มีสภาวะเป็นของแท้
๕. สภาวะที่ควรรู้ยิ่งแห่งอภิญญา มีสภาวะเป็นของแท้
๖. สภาวะที่ควรกำหนดรู้แห่งปริญญา มีสภาวะเป็นของแท้
๗. สภาวะที่ควรละแห่งปหานะ มีสภาวะเป็นของแท้
๘. สภาวะที่ควรเจริญแห่งภาวนา มีสภาวะเป็นของแท้
๙. สภาวะที่ควรทำให้แจ้งแห่งสัจฉิกิริยา มีสภาวะเป็นของแท้
สัจจะ ๔ ท่านสงเคราะห์เข้ากับสภาวะเป็นของแท้ ด้วยอาการ ๙ อย่างนี้
สัจจะใดท่านสงเคราะห์เข้าด้วยกัน สัจจะนั้นเป็นสภาวะเดียว พระโยคาวจรย่อมรู้
แจ้งสัจจะที่เป็นสภาวะเดียว ด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ ๔ จึงมีการรู้
แจ้งด้วยญาณเดียว
สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยสภาวะเป็นอนัตตา ...
พร้อมด้วยสภาวะเป็นของจริง ... สัจจะ ๔ มีการรู้แจังด้วยญาณเดียวพร้อม
ด้วยสภาวะรู้แจ้ง เป็นอย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๒. สัจจกถา ๑. ปฐมสุตตันตนิทเทส
คือ สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยสภาวะรู้แจ้ง ด้วย
อาการ ๙ อย่าง ได้แก่
๑. สภาวะที่ทนได้ยากแห่งทุกข์ มีสภาวะรู้แจ้ง
๒. สภาวะที่เป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัย มีสภาวะรู้แจ้ง
๓. สภาวะที่เป็นความดับแห่งนิโรธ มีสภาวะรู้แจ้ง
๔. สภาวะที่เป็นทางแห่งมรรค มีสภาวะรู้แจ้ง
๕. สภาวะที่ควรรู้ยิ่งแห่งอภิญญา มีสภาวะรู้แจ้ง
๖. สภาวะที่ควรกำหนดรู้แห่งปริญญา มีสภาวะรู้แจ้ง
๗. สภาวะที่ควรละแห่งปหานะ มีสภาวะรู้แจ้ง
๘. สภาวะที่ควรเจริญแห่งภาวนา มีสภาวะรู้แจ้ง
๙. สภาวะที่ควรทำให้แจ้งแห่งสัจฉิกิริยา มีสภาวะรู้แจ้ง
สัจจะ ๔ ท่านสงเคราะห์เข้ากับสภาวะรู้แจ้ง ด้วยอาการ ๙ อย่างนี้
สัจจะใดท่านสงเคราะห์เข้าด้วยกัน สัจจะนั้นเป็นสภาวะเดียว พระโยคาวจรย่อม
รู้แจ้งสัจจะที่เป็นสภาวะเดียว ด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ ๔ จึงมีการ
รู้แจ้งด้วยญาณเดียว
[๑๑] สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยอาการเท่าไร
คือ สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียวพร้อมด้วยอาการ ๑๒ อย่าง ได้แก่


๑. ด้วยสภาวะเป็นของแท้ ๒. ด้วยสภาวะเป็นอนัตตา
๓. ด้วยสภาวะเป็นของจริง ๔. ด้วยสภาวะรู้แจ้ง
๕. ด้วยสภาวะเป็นเครื่องรู้ยิ่ง ๖. ด้วยสภาวะเป็นเครื่องกำหนดรู้
๗. ด้วยสภาวะเป็นธรรม ๘. ด้วยสภาวะเป็นเหมือนอย่างนั้น
๙. ด้วยสภาวะเป็นธรรมที่รู้แล้ว ๑๐. ด้วยสภาวะเป็นธรรมที่ควร
ทำให้แจ้ง
๑๑. ด้วยสภาวะถูกต้อง ๑๒. ด้วยสภาวะตรัสรู้

สัจจะ ๔ ท่านสงเคราะห์เข้ากับอาการ ๑๒ อย่างนี้ สัจจะใดท่านสงเคราะห์
เข้าด้วยกัน สัจจะนั้นเป็นสภาวะเดียว พระโยคาวจรย่อมรู้แจ้งสัจจะที่เป็นสภาวะ
เดียวด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ ๔ จึงมีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๒. สัจจกถา ๑. ปฐมสุตตันตนิทเทส
สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยสภาวะเป็นของแท้
เป็นอย่างไร
คือ สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยสภาวะเป็นของแท้
ด้วยอาการ ๑๖ อย่าง ได้แก่
๑. สภาวะที่บีบคั้นแห่งทุกข์ มีสภาวะเป็นของแท้
๒. สภาวะที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งแห่งทุกข์ มีสภาวะเป็นของแท้
๓. สภาวะที่ทำให้เดือดร้อนแห่งทุกข์ มีสภาวะเป็นของแท้
๔. สภาวะที่แปรผันแห่งทุกข์ มีสภาวะเป็นของแท้
๕. สภาวะที่ประมวลมาแห่งสมุทัย มีสภาวะเป็นของแท้
๖. สภาวะที่เป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัย มีสภาวะเป็นของแท้
๗. สภาวะที่เกี่ยวข้องแห่งสมุทัย มีสภาวะเป็นของแท้
๘. สภาวะที่พัวพันแห่งสมุทัย มีสภาวะเป็นของแท้
๙. สภาวะที่เป็นเครื่องสลัดออกแห่งนิโรธ มีสภาวะเป็นของแท้
๑๐. สภาวะที่เป็นวิเวกแห่งนิโรธ มีสภาวะเป็นของแท้
๑๑. สภาวะที่เป็นอสังขตะแห่งนิโรธ มีสภาวะเป็นของแท้
๑๒. สภาวะที่เป็นอมตะแห่งนิโรธ มีสภาวะเป็นของแท้
๑๓. สภาวะที่นำออกแห่งมรรค มีสภาวะเป็นของแท้
๑๔. สภาวะที่เป็นเหตุแห่งมรรค มีสภาวะเป็นของแท้
๑๕. สภาวะที่เห็นแห่งมรรค มีสภาวะเป็นของแท้
๑๖. สภาวะที่เป็นใหญ่แห่งมรรค มีสภาวะเป็นของแท้
สัจจะ ๔ ท่านสงเคราะห์เข้ากับสภาวะเป็นของแท้ ด้วยอาการ ๑๖ อย่างนี้
สัจจะใดท่านสงเคราะห์เข้าด้วยกัน สัจจะนั้นเป็นสภาวะเดียว พระโยคาวจร ย่อมรู้
แจ้งสัจจะที่เป็นสภาวะเดียว ด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ ๔ จึงมีการรู้
แจ้งด้วยญาณเดียว
สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยสภาวะเป็นอนัตตา ฯลฯ
พร้อมด้วยสภาวะเป็นของจริง พร้อมด้วยสภาวะรู้แจ้ง พร้อมด้วยสภาวะเป็น
เครื่องรู้ยิ่ง พร้อมด้วยสภาวะเป็นเครื่องกำหนดรู้ พร้อมด้วยสภาวะเป็นธรรม
พร้อมด้วยสภาวะเป็นของแท้ พร้อมด้วยสภาวะเป็นธรรมที่รู้แล้ว พร้อมด้วย
สภาวะเป็นธรรมที่ควรทำให้แจ้ง พร้อมด้วยสภาวะถูกต้อง ด้วยมีสภาวะตรัสรู้
เป็นอย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๒. สัจจกถา ๑. ปฐมสุตตันตนิทเทส
คือ สัจจะ ๔ มีการรู้แจ้งด้วยญาณเดียว พร้อมด้วยสภาวะตรัสรู้ ด้วย
อาการ ๑๖ อย่าง ได้แก่
๑. สภาวะที่บีบคั้นแห่งทุกข์ มีสภาวะตรัสรู้
๒. สภาวะที่ปัจจัยปรุงแต่งแห่งทุกข์ มีสภาวะตรัสรู้
๓. สภาวะที่ทำให้เดือดร้อนแห่งทุกข์ มีสภาวะตรัสรู้
๔. สภาวะที่แปรผันแห่งทุกข์ มีสภาวะตรัสรู้
๕. สภาวะที่ประมวลมาแห่งสมุทัย มีสภาวะตรัสรู้
๖. สภาวะที่เป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัย มีสภาวะตรัสรู้
๗. สภาวะที่เกี่ยวข้องแห่งสมุทัย มีสภาวะตรัสรู้
๘. สภาวะที่พัวพันแห่งสมุทัย มีสภาวะตรัสรู้
๙. สภาวะที่เป็นเครื่องสลัดออกแห่งนิโรธ มีสภาวะตรัสรู้
๑๐. สภาวะที่เป็นวิเวกแห่งนิโรธ มีสภาวะตรัสรู้
๑๑. สภาวะที่เป็นอสังขตะแห่งนิโรธ มีสภาวะตรัสรู้
๑๒. สภาวะที่เป็นอมตะแห่งนิโรธ มีสภาวะตรัสรู้
๑๓. สภาวะที่นำออกแห่งมรรค มีสภาวะตรัสรู้
๑๔. สภาวะที่เป็นเหตุแห่งมรรค มีสภาวะตรัสรู้
๑๕. สภาวะที่เห็นแห่งมรรค มีสภาวะตรัสรู้
๑๖. สภาวะที่เป็นใหญ่แห่งมรรค มีสภาวะตรัสรู้
สัจจะ ๔ ท่านสงเคราะห์เข้ากับสภาวะตรัสรู้ ด้วยอาการ ๑๖ อย่างนี้
สัจจะใดท่านสงเคราะห์เข้าด้วยกัน สัจจะนั้นเป็นสภาวะเดียว พระโยคาวจร ย่อมรู้
แจ้งสัจจะที่เป็นสภาวะเดียว ด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ ๔ จึงมีการรู้
แจ้งด้วยญาณเดียว
[๑๒] สัจจะมีลักษณะเท่าไร สัจจะมีลักษณะ ๒ คือ
๑. สังขตลักษณะ (ลักษณะแห่งธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่ง)
๒. อสังขตลักษณะ (ลักษณะแห่งธรรมที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง)
สัจจะมีลักษณะ ๒ อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๒. สัจจกถา ๑. ปฐมสุตตันตนิทเทส
สัจจะมีลักษณะเท่าไร สัจจะมีลักษณะ ๖ คือ
๑. สัจจะที่ปัจจัยปรุงแต่ง มีความเกิดปรากฏ
๒. สัจจะที่ปัจจัยปรุงแต่ง มีความเสื่อมปรากฏ
๓. สัจจะที่ปัจจัยปรุงแต่ง เมื่อยังตั้งอยู่ ความแปรเปลี่ยนปรากฏ
๔. สัจจะที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง ความเกิดไม่ปรากฏ
๕. สัจจะที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง ความเสื่อมไม่ปรากฏ
๖. สัจจะที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง เมื่อยังตั้งอยู่ ความแปรเปลี่ยนไม่ปรากฏ
สัจจะมีลักษณะ ๖ อย่างนี้
สัจจะมีลักษณะเท่าไร สัจจะมีลักษณะ ๑๒ คือ
๑. ทุกขสัจ มีความเกิดปรากฏ
๒. ทุกขสัจ มีความเสื่อมปรากฏ
๓. ทุกขสัจ เมื่อยังตั้งอยู่ ความแปรเปลี่ยนปรากฏ
๔. สมุทยสัจ มีความเกิดปรากฏ
๕. สมุทยสัจ มีความเสื่อมปรากฏ
๖. สมุทยสัจ เมื่อยังตั้งอยู่ ความแปรเปลี่ยนปรากฏ
๗. มัคคสัจ มีความเกิดปรากฏ
๘. มัคคสัจ มีความเสื่อมปรากฏ
๙. มัคคสัจ เมื่อยังตั้งอยู่ ความแปรเปลี่ยนปรากฏ
๑๐. นิโรธสัจ ความเกิดไม่ปรากฏ
๑๑. นิโรธสัจ ความเสื่อมไม่ปรากฏ
๑๒. นิโรธสัจ เมื่อยังตั้งอยู่ ความแปรเปลี่ยนไม่ปรากฏ
สัจจะมีลักษณะ ๑๒ อย่างนี้
สัจจะ ๔ เป็นกุศลเท่าไร เป็นอกุศลเท่าไร เป็นอัพยากฤตเท่าไร
คือ สมุทยสัจเป็นอกุศล มัคคสัจเป็นกุศล นิโรธสัจเป็นอัพยากฤต ทุกขสัจ
เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี สัจจะ ๓ นี้ ท่านสงเคราะห์เข้ากับ
สัจจะ ๑ สัจจะ ๑ ท่านสงเคราะห์เข้ากับสัจจะ ๓ ด้วยอำนาจวัตถุ๑(และ) ด้วยปริยาย

เชิงอรรถ :
๑ วัตถุ ในที่นี้หมายถึงกุศล อกุศล อัพยากฤต ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค (ขุ.ป.อ. ๒/๑๒/๒๓๒))

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๒. สัจจกถา ๒. ทุติยสุตตันตบาลี
คำว่า พึงมี อธิบายว่า พึงมีได้อย่างไร
คือ ทุกขสัจเป็นอกุศล สมุทยสัจเป็นอกุศล สัจจะ ๒ นี้ท่านสงเคราะห์เข้า
กับสัจจะ ๑ สัจจะ ๑ ท่านสงเคราะห์เข้ากับสัจจะ ๒ ด้วยความเป็นอกุศล พึงมีได้
อย่างนี้
ทุกขสัจเป็นกุศล มัคคสัจเป็นกุศล สัจจะ ๒ ท่านสงเคราะห์เข้ากับสัจจะ ๑
สัจจะ ๑ ท่านสงเคราะห์เข้ากับสัจจะ ๒ ด้วยความเป็นกุศล พึงมีได้อย่างนี้
ทุกขสัจเป็นอัพยากฤต นิโรธสัจเป็นอัพยากฤต สัจจะ ๒ ท่านสงเคราะห์เข้ากับ
สัจจะ ๑ สัจจะ ๑ ท่านสงเคราะห์เข้ากับสัจจะ ๒ ด้วยความเป็นอัพยากฤต
พึงมีได้อย่างนี้
สัจจะ ๓ ท่านสงเคราะห์เข้ากับสัจจะ ๑ สัจจะ ๑ ท่านสงเคราะห์เข้ากับสัจจะ
๓ ด้วยอำนาจวัตถุ (และ) ด้วยปริยาย พึงมีได้อย่างนี้
ปฐมสุตตันตนิทเทส จบ

๒. ทุติยสุตตันตบาลี
พระบาลีแห่งสูตรที่ ๒
[๑๓] ภิกษุทั้งหลาย ก่อนตรัสรู้ เมื่อเราเป็นโพธิสัตว์ยังมิได้ตรัสรู้ ได้มีความ
คิดดังนี้ว่า “อะไรหนอแลเป็นคุณ๑แห่งรูป อะไรเป็นโทษ๒แห่งรูป อะไรเป็นเครื่องสลัด
ออกจากรูป อะไรเป็นคุณแห่งเวทนา อะไรเป็นโทษแห่งเวทนา อะไรเป็นเครื่องสลัด
ออกจากเวทนา อะไรเป็นคุณแห่งสัญญา อะไรเป็นโทษแห่งสัญญา อะไรเป็นเครื่อง
สลัดออกจากสัญญา อะไรเป็นคุณแห่งสังขาร อะไรเป็นโทษแห่งสังขาร อะไรเป็น
เครื่องสลัดออกจากสังขาร อะไรเป็นคุณแห่งวิญญาณ อะไรเป็นโทษแห่งวิญญาณ
อะไรเป็นเครื่องสลัดออกจากวิญญาณ” เรานั้นได้มีความคิดอย่างนี้อีกว่า “สุขโสมนัส
ที่อาศัยรูปเกิดขึ้น นี้เป็นคุณแห่งรูป รูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผัน
เป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งรูป ธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะ๓

เชิงอรรถ :
๑-๒ ดูเชิงอรรถข้อ ๘/๑๕ ในสุตมยญาณนิทเทสในเล่มนี้
๓ ธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะ ในที่นี้หมายถึงนิพพาน (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๐๔/๒๕๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๒. สัจจกถา ๒. ทุติยสุตตันตนิทเทส
ในรูป นี้เป็นเครื่องสลัดออกจากรูป สุขโสมนัสที่อาศัยเวทนา ฯลฯ ที่อาศัยสัญญา
ฯลฯ ที่อาศัยสังขาร ฯลฯ สุขโสมนัสที่อาศัยวิญญาณเกิดขึ้น นี้เป็นคุณแห่งวิญญาณ
วิญญาณไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งวิญญาณ
ธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะในวิญญาณ นี้เป็นเครื่องสลัด
ออกจากวิญญาณ
เรายังไม่รู้ทั่วถึงคุณโดยความเป็นคุณ โทษโดยความเป็นโทษ และเครื่องสลัด
ออกจากอุปาทานขันธ์ ๕ โดยความเป็นเครื่องสลัดออกนี้ ตามความเป็นจริง
เพียงใด เราก็ยังไม่ยืนยันว่าเป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม ในโลก
พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์
เทวดาและมนุษย์ เพียงนั้น แต่เมื่อใด เราได้รู้ทั่วถึงคุณโดยความเป็นคุณ โทษ
โดยความเป็นโทษ และเครื่องสลัดออกจากอุปาทานขันธ์ ๕ โดยความเป็นเครื่อง
สลัดออกนี้ ตามความเป็นจริง เมื่อนั้น เราจึงจะยินยันว่าเป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิ--
ญาณอันยอดเยี่ยม ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์
พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ อนึ่ง ญาณทัสสนะ๑เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า
“เจโตวิมุตติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก”
ทุติยสุตตันตบาลี จบ

๒. ทุติยสุตตันตนิทเทส
แสดงสูตรที่ ๒
[๑๔] การรู้แจ้งด้วยการละสุขโสมนัสที่อาศัยรูปเกิดขึ้นว่า “นี้เป็นคุณแห่งรูป”
เป็นสมุทยสัจ การรู้แจ้งด้วยการกำหนดรู้รูปที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผัน
เป็นธรรมดาว่า “นี้เป็นโทษแห่งรูป” เป็นทุกขสัจ การรู้แจ้งด้วยการทำให้แจ้ง
ธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะในรูปว่า “นี้เป็นเครื่องสลัด
ออกจากรูป” เป็นนิโรธสัจ การรู้แจ้งด้วยการเจริญทิฏฐิ สังกัปปะ วาจา กัมมันตะ
อาชีวะ วายามะ สติ สมาธิ ในฐานะทั้ง ๓ นี้เป็นมัคคสัจ

เชิงอรรถ :
๑ ญาณทัสสนะ หมายถึงปัจจเวกขณญาณ ญาณหยั่งรู้ด้วยการพิจารณาทบทวน คือสำรวจรู้มรรค ผล กิเลส
ที่ละแล้ว กิเลสที่เหลืออยู่ และนิพพาน (เว้นพระอรหันต์) ไม่มีการพิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่ (องฺ.ติก.อ.
๒/๑๐๔/๑๒๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๒. สัจจกถา ๒. ทุติยสุตตันตนิทเทส
การรู้แจ้งด้วยการละสุขโสมนัสที่อาศัยเวทนา ฯลฯ ที่อาศัยสัญญา ฯลฯ
ที่อาศัยสังขาร ฯลฯ การรู้แจ้งด้วยการละสุขโสมนัสที่อาศัยวิญญาณเกิดขึ้นว่า “นี้
เป็นคุณแห่งวิญญาณ” เป็นสมุทยสัจ การรู้แจ้งด้วยการกำหนดรู้วิญญาณที่ไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดาว่า “นี้เป็นโทษแห่งวิญญาณ” เป็นทุกขสัจ
การรู้แจ้งด้วยการทำให้แจ้งธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะ
ในวิญญาณว่า “นี้เป็นเครื่องสลัดออกจากวิญญาณ” เป็นนิโรธสัจ การรู้แจ้งด้วย
การเจริญทิฏฐิ สังกัปปะ วาจา กัมมันตะ อาชีวะ วายามะ สติ สมาธิ ในฐานะ
ทั้ง ๓ นี้เป็นมัคคสัจ
[๑๕] คำว่า สัจจะ อธิบายว่า ชื่อว่าสัจจะด้วยอาการเท่าไร
คือ ชื่อว่าสัจจะด้วยอาการ ๓ อย่าง ได้แก่
๑. ด้วยมีสภาวะแสวงหา ๒. ด้วยมีสภาวะกำหนด
๓. ด้วยมีสภาวะรู้แจ้ง
ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะแสวงหา เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะแสวงหาอย่างนี้ว่า “ชราและมรณะมีอะไรเป็นเหตุ
มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมี
สภาวะกำหนดอย่างนี้ว่า “ชราและมรณะมีชาติเป็นเหตุ มีชาติเป็นเหตุเกิด มีชาติ
เป็นกำเนิด มีชาติเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะรู้แจ้งอย่างนี้ว่า “ญาณรู้
ชัดซึ่งชราและมรณะ เหตุเกิดแห่งชราและมรณะ ความดับแห่งชราและมรณะ และข้อ
ปฏิบัติที่ให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ”
ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะแสวงหาอย่างนี้ว่า “ชาติมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็น
เหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะกำหนด
อย่างนี้ว่า “ชาติมีภพเป็นเหตุ มีภพเป็นเหตุเกิด มีภพเป็นกำเนิด มีภพเป็นแดน
เกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะรู้แจ้งอย่างนี้ว่า “ญาณรู้ชัดซึ่งชาติ เหตุเกิดแห่งชาติ
ความดับแห่งชาติ และข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับแห่งชาติ”
ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะแสวงหาอย่างนี้ว่า “ภพมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็น
เหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะกำหนด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๒. สัจจกถา ๒. ทุติยสุตตันตนิทเทส
อย่างนี้ว่า “ภพมีอุปาทานเป็นเหตุ มีอุปาทานเป็นเหตุเกิด มีอุปาทานเป็นกำเนิด มี
อุปาทานเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะรู้แจ้งอย่างนี้ว่า “ญาณรู้ชัดซึ่งภพ
เหตุเกิดแห่งภพ ความดับแห่งภพ และข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับแห่งภพ”
ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะแสวงหาอย่างนี้ว่า “อุปาทานมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไร
เป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะ
กำหนดอย่างนี้ว่า “อุปาทานมีตัณหาเป็นเหตุ มีตัณหาเป็นเหตุเกิด มีตัณหาเป็น
กำเนิด มีตัณหาเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะรู้แจ้งอย่างนี้ว่า “ญาณรู้
ชัดซึ่งอุปาทาน เหตุเกิดแห่งอุปาทาน ความดับแห่งอุปาทาน และข้อปฏิบัติที่ให้
ถึงความดับแห่งอุปาทาน”
ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะแสวงหาอย่างนี้ว่า “ตัณหามีอะไรเป็นเหตุ มีอะไร
เป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะกำหนด
อย่างนี้ว่า “ตัณหามีเวทนาเป็นเหตุ มีเวทนาเป็นเหตุเกิด มีเวทนาเป็นกำเนิด มี
เวทนาเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะรู้แจ้งอย่างนี้ว่า “ญาณรู้ชัดซึ่งตัณหา
เหตุเกิดแห่งตัณหา ความดับแห่งตัณหา และข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับแห่งตัณหา”
ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะแสวงหาอย่างนี้ว่า “เวทนามีอะไรเป็นเหตุ มีอะไร
เป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะกำหนด
อย่างนี้ว่า “เวทนามีผัสสะเป็นเหตุ มีผัสสะเป็นเหตุเกิด มีผัสสะเป็นกำเนิด มี
ผัสสะเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะรู้แจ้งอย่างนี้ว่า “ญาณรู้ชัดซึ่งเวทนา
เหตุเกิดแห่งเวทนา ความดับแห่งเวทนา และข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับแห่งเวทนา”
ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะแสวงหาอย่างนี้ว่า “ผัสสะมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็น
เหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะกำหนด
อย่างนี้ว่า “ผัสสะมีสฬายตนะเป็นเหตุ มีสฬายตนะเป็นเหตุเกิด มีสฬายตนะเป็น
กำเนิด มีสฬายตนะเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะรู้แจ้งอย่างนี้ว่า “ญาณ
รู้ชัดซึ่งผัสสะ เหตุเกิดแห่งผัสสะ ความดับแห่งผัสสะ และข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความ
ดับแห่งผัสสะ”
ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะแสวงหาอย่างนี้ว่า “สฬายตนะมีอะไรเป็นเหตุ มี
อะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๒. สัจจกถา ๒. ทุติยสุตตันตนิทเทส
สภาวะกำหนดอย่างนี้ว่า “สฬายตนะมีนามรูปเป็นเหตุ มีนามรูปเป็นเหตุเกิด มี
นามรูปเป็นกำเนิด มีนามรูปเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะรู้แจ้งอย่างนี้ว่า
“ญาณรู้ชัดซึ่งสฬายตนะ เหตุเกิดแห่งสฬายตนะ ความดับแห่งสฬายตนะ และข้อ
ปฏิบัติที่ให้ถึงความดับแห่งสฬายตนะ”
ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะแสวงหาอย่างนี้ว่า “นามรูปมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไร
เป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะกำหนด
อย่างนี้ว่า “นามรูปมีวิญญาณเป็นเหตุ มีวิญญาณเป็นเหตุเกิด มีวิญญาณเป็นกำเนิด
มีวิญญาณเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะรู้แจ้งอย่างนี้ว่า “ญาณรู้ชัดซึ่ง
นามรูป เหตุเกิดแห่งนามรูป ความดับแห่งนามรูป และข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับ
แห่งนามรูป”
ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะแสวงหาอย่างนี้ว่า “วิญญาณมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไร
เป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะ
กำหนดอย่างนี้ว่า “วิญญาณมีสังขารเป็นเหตุ มีสังขารเป็นเหตุเกิด มีสังขารเป็น
กำเนิด มีสังขารเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะรู้แจ้งอย่างนี้ว่า “ญาณรู้ชัด
ซึ่งวิญญาณ เหตุเกิดแห่งวิญญาณ ความดับแห่งวิญญาณ และข้อปฏิบัติที่ให้ถึง
ความดับแห่งวิญญาณ”
ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะแสวงหาอย่างนี้ว่า “สังขารมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็น
เหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะกำหนด
อย่างนี้ว่า “สังขารมีอวิชชาเป็นเหตุ มีอวิชชาเป็นเหตุเกิด มีอวิชชาเป็นกำเนิด มี
อวิชชาเป็นแดนเกิด” ชื่อว่าสัจจะด้วยมีสภาวะรู้แจ้งอย่างนี้ว่า “ญาณรู้ชัดซึ่งสังขาร
เหตุเกิดแห่งสังขาร ความดับแห่งสังขาร และข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับแห่งสังขาร”
[๑๖] ชราและมรณะเป็นทุกขสัจ ชาติเป็นสมุทยสัจ การสลัดชรามรณะและ
ชาติแม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้ชัดความดับแห่งชรามรณะและชาติเป็นมัคคสัจ
ชาติเป็นทุกขสัจ ภพเป็นสมุทยสัจ การสลัดออกจากชาติและภพแม้ทั้งสอง
เป็นนิโรธสัจ การรู้ชัดความดับแห่งชาติและภพเป็นมัคคสัจ
ภพเป็นทุกขสัจ อุปาทานเป็นสมุทยสัจ การสลัดออกจากภพและอุปาทาน
แม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้ชัดความดับภพและอุปาทานเป็นมัคคสัจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๒. สัจจกถา ๒. ทุติยสุตตันตนิทเทส
อุปาทานเป็นทุกขสัจ ตัณหาเป็นสมุทยสัจ การสลัดออกจากอุปาทานและ
ตัณหาแม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้ชัดความดับแห่งอุปาทานและตัณหาเป็นมัคคสัจ
ตัณหาเป็นทุกขสัจ เวทนาเป็นสมุทยสัจ การสลัดออกจากตัณหาและเวทนา
แม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้ชัดความดับแห่งตัณหาและเวทนาเป็นมัคคสัจ
เวทนาเป็นทุกขสัจ ผัสสะเป็นสมุทยสัจ การสลัดออกจากเวทนาและผัสสะ
แม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้ชัดความดับแห่งเวทนาและผัสสะเป็นมัคคสัจ
ผัสสะเป็นทุกขสัจ สฬายตนะเป็นสมุทยสัจ การสลัดออกจากผัสสะและสฬายตนะ
แม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้ชัดความดับแห่งผัสสะและสฬายตนะเป็นมัคคสัจ
สฬายตนะเป็นทุกขสัจ นามรูปเป็นสมุทยสัจ การสลัดออกจากสฬายตนะ
และนามรูปแม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้ชัดความดับแห่งสฬายตนะและนามรูปเป็น
มัคคสัจ
นามรูปเป็นทุกขสัจ วิญญาณเป็นสมุทยสัจ การสลัดออกจากนามรูปและ
วิญญาณแม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้ชัดความดับแห่งนามรูปและวิญญาณเป็นมัคคสัจ
วิญญาณเป็นทุกขสัจ สังขารเป็นสมุทยสัจ การสลัดออกจากวิญญาณและ
สังขารแม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้ชัดความดับแห่งวิญญาณและสังขารเป็นมัคคสัจ
สังขารเป็นทุกขสัจ อวิชชาเป็นสมุทยสัจ การสลัดออกจากสังขารและอวิชชา
แม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้ชัดความดับแห่งสังขารและอวิชชาเป็นมัคคสัจ
ชราและมรณะเป็นทุกขสัจ ชาติเป็นทุกขสัจก็มี เป็นสมุทยสัจก็มี การสลัด
ออกจากชรามรณะและชาติแม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้ชัดความดับแห่งชรามรณะ
และชาติเป็นมัคคสัจ
ชาติเป็นทุกขสัจก็มี เป็นสมุทยสัจก็มี ภพเป็นทุกขสัจก็มี เป็นสมุทยสัจก็มี
การสลัดออกจากชาติและภพแม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้ชัดความดับแห่งชาติและ
ภพเป็นมัคคสัจ ฯลฯ สังขารเป็นทุกขสัจ อวิชชาเป็นทุกขสัจก็มี เป็นสมุทยสัจก็มี
การสลัดสังขารและอวิชชาแม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้ชัดความดับแห่งสังขารและ
อวิชชาเป็นมัคคสัจ ฉะนี้แล
ทุติยสุตตันตนิทเทส จบ
สัจจกถา จบ
ภาณวาร จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๓. โพชฌังคกถา
๓. โพชฌังคกถา
ว่าด้วยโพชฌงค์
[๑๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. สติสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความระลึกได้)
๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือการเลือกเฟ้น
ธรรม)
๓. วิริยสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความเพียร)
๔. ปีติสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความอิ่มใจ)
๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความสงบกาย
สงบใจ)
๖. สมาธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความตั้งจิตมั่น)
๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความมีใจเป็น
กลาง)

ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้แล
คำว่า โพชฌงค์ อธิบายว่า ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีความหมายว่าอย่างไร คือ
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะเป็นไปในความตรัสรู้ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ตาม ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้เฉพาะ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้พร้อม
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะตรัสรู้ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะตรัสรู้
ตาม ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะตรัสรู้เฉพาะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะ
ตรัสรู้พร้อม (๑)
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะให้ตรัสรู้ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะให้ตรัสรู้ตาม ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะให้ตรัสรู้เฉพาะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะให้ตรัสรู้พร้อม (๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๓. โพชฌังคกถา
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะให้ตรัสรู้ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะให้
ตรัสรู้ตาม ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะให้ตรัสรู้เฉพาะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมี
สภาวะให้ตรัสรู้พร้อม (๓)
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเป็นไปในธรรมฝ่ายตรัสรู้ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะมีสภาวะเป็นไปในธรรมฝ่ายตรัสรู้ตาม ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเป็น
ไปในธรรมฝ่ายตรัสรู้เฉพาะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเป็นไปในธรรมฝ่าย
ตรัสรู้พร้อม (๔)
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเป็นเหตุให้ได้ความตรัสรู้ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะมีสภาวะปลูกความตรัสรู้ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะบำรุงความตรัสรู้
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะให้ถึงความตรัสรู้ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะให้
ถึงพร้อมความตรัสรู้ (๕)

มูลมูลกาทิทสกะ
ว่าด้วยหมวด ๑๐ แห่งธรรมที่เป็นมูลมีสภาวะเป็นมูลเป็นต้น
[๑๘] ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเป็นมูล ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะ
ดำเนินไปในธรรมที่เป็นมูล ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะกำหนดธรรมที่เป็นมูล
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเป็นบริวารแห่งธรรมที่เป็นมูล ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะมีสภาวะเต็มรอบในธรรมที่เป็นมูล ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแก่กล้าใน
ธรรมที่เป็นมูล ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแตกฉานในธรรมที่เป็นมูล ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะมีสภาวะให้ถึงความแตกฉานในธรรมที่เป็นมูล ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะมีสภาวะเจริญความชำนาญในความแตกฉานในธรรมที่เป็นมูล ชื่อว่าโพชฌงค์
แม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญในความแตกฉานในธรรมที่เป็นมูล (๑)
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเป็นเหตุ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะ
ดำเนินไปในธรรมที่เป็นเหตุ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะกำหนดธรรมที่เป็นเหตุ
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเป็นบริวารแห่งธรรมที่เป็นเหตุ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะมีสภาวะเต็มรอบในธรรมที่เป็นเหตุ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแก่กล้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๓. โพชฌังคกถา
ในธรรมที่เป็นเหตุ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแตกฉานในธรรมที่เป็นเหตุ ชื่อ
ว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะให้ถึงความแตกฉานในธรรมที่เป็นเหตุ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะมีสภาวะเจริญความชำนาญในความแตกฉานในธรรมที่เป็นเหตุ ชื่อว่า
โพชฌงค์แม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญในความแตกฉานในธรรมที่เป็นเหตุ (๒)
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเป็นปัจจัย ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะ
ดำเนินไปในธรรมที่เป็นปัจจัย ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะกำหนดธรรมที่เป็น
ปัจจัย ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเป็นบริวารแห่งธรรมที่เป็นปัจจัย ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะมีสภาวะเต็มรอบในธรรมที่เป็นปัจจัย ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแก่กล้า
ในธรรมที่เป็นปัจจัย ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแตกฉานในธรรมที่เป็นปัจจัย
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะให้ถึงความแตกฉานในธรรมที่เป็นปัจจัย ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเจริญความชำนาญในความแตกฉานในธรรมที่เป็นปัจจัย
ชื่อว่าโพชฌงค์แม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญในความแตกฉานในธรรมที่เป็นปัจจัย (๓)
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะหมดจด ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะ
ดำเนินไปในความหมดจด ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะกำหนดความหมดจด
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเป็นบริวารแห่งความหมดจด ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะมีสภาวะเต็มรอบในความหมดจด ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแก่กล้าใน
ความหมดจด ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแตกฉานในความหมดจด ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะมีสภาวะให้ถึงความแตกฉานในความหมดจด ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะมีสภาวะเจริญความชำนาญในความแตกฉานในความหมดจด ชื่อว่าโพชฌงค์
แม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญในความแตกฉานในความหมดจด (๔)
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะไม่มีโทษ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะ
ดำเนินไปในความไม่มีโทษ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะกำหนดความไม่มีโทษ
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเป็นบริวารแห่งความไม่มีโทษ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ
มีสภาวะเต็มรอบในความไม่มีโทษ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแก่กล้าในความ
ไม่มีโทษ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแตกฉานในความไม่มีโทษ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะมีสภาวะให้ถึงความแตกฉานในความไม่มีโทษ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมี
สภาวะเจริญความชำนาญในความแตกฉานในความไม่มีโทษ ชื่อว่าโพชฌงค์แม้ของ
บุคคลผู้ถึงความชำนาญในความแตกฉานในความไม่มีโทษ (๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๓. โพชฌังคกถา
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเป็นเนกขัมมะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะ
ดำเนินไปในเนกขัมมะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะกำหนดเนกขัมมะ ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเป็นบริวารแห่งเนกขัมมะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะ
เต็มรอบในเนกขัมมะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแก่กล้าในเนกขัมมะ ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแตกฉานในเนกขัมมะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะให้
ถึงความแตกฉานในเนกขัมมะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเจริญความชำนาญ
ในความแตกฉานในเนกขัมมะ ชื่อว่าโพชฌงค์แม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญใน
ความแตกฉานในเนกขัมมะ (๖)
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะหลุดพ้น ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะ
ดำเนินไปในความหลุดพ้น ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะกำหนดความหลุดพ้น
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเป็นบริวารแห่งความหลุดพ้น ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะมีสภาวะเต็มรอบในความหลุดพ้น ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแก่กล้าใน
ความหลุดพ้น ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแตกฉานในความหลุดพ้น ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะมีสภาวะให้ถึงความแตกฉานในความหลุดพ้น ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะมีสภาวะเจริญความชำนาญในความแตกฉานในความหลุดพ้น ชื่อว่าโพชฌงค์
แม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญในความแตกฉานในความหลุดพ้น (๗)
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะไม่มีอาสวะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะ
ดำเนินไปในความไม่มีอาสวะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะกำหนดความไม่มี
อาสวะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเป็นบริวารแห่งความไม่มีอาสวะ ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเต็มรอบในความไม่มีอาสวะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมี
สภาวะแก่กล้าในความไม่มีอาสวะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแตกฉานในความ
ไม่มีอาสวะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะให้ถึงความแตกฉานในความไม่มีอาสวะ
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเจริญความชำนาญในความแตกฉานในความไม่มีอาสวะ
ชื่อว่าโพชฌงค์แม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญในความแตกฉานในความไม่มีอาสวะ (๘)
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเป็นวิเวก ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะ
ดำเนินไปในวิเวก ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะกำหนดวิเวก ชื่อว่าโพชฌงค์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๓. โพชฌังคกถา
เพราะมีสภาวะเป็นบริวารแห่งวิเวก ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเต็มรอบในวิเวก
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแก่กล้าในวิเวก ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะ
แตกฉานในวิเวก ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะให้ถึงความแตกฉานในวิเวก ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเจริญความชำนาญในความแตกฉานในวิเวก ชื่อว่า
โพชฌงค์แม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญในความแตกฉานในวิเวก (๙)
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะสละ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะดำเนินไป
ในความสละ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะกำหนดความสละ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะมีสภาวะเป็นบริวารแห่งความสละ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเต็มรอบใน
ความสละ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแก่กล้าในความสละ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะมีสภาวะแตกฉานในความสละ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะให้ถึงความ
แตกฉานในความสละ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเจริญความชำนาญในความ
แตกฉานในความสละ ชื่อว่าโพชฌงค์แม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญในความ
แตกฉานในความสละ (๑๐)
[๑๙] ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นมูล ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ
ตรัสรู้สภาวะที่เป็นเหตุ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นปัจจัย ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่หมดจด ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ไม่มีโทษ
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นเนกขัมมะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
สภาวะที่หลุดพ้น ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ไม่มีอาสวะ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นวิเวก ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่สละ
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะดำเนินไปในธรรมที่เป็นมูล ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะดำเนินไปในธรรมที่เป็นเหตุ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะ
ดำเนินไปในธรรมที่เป็นปัจจัย ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะดำเนินไปในความ
หมดจด ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะดำเนินไปในความไม่มีโทษ ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะดำเนินไปในเนกขัมมะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
สภาวะดำเนินไปในความหลุดพ้น ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะดำเนินไปใน
ความไม่มีอาสวะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะดำเนินไปในวิเวก ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะดำเนินไปในความสละ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๓. โพชฌังคกถา
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะกำหนดธรรมที่เป็นมูล ฯลฯ ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะกำหนดความสละ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะ
ที่เป็นบริวารแห่งธรรมที่เป็นมูล ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็น
บริวารแห่งความสละ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เต็มรอบแห่งธรรมที่
เป็นมูล ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะเต็มรอบในความสละ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่แก่กล้าในธรรมที่เป็นมูล ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
สภาวะที่แก่กล้าในความสละ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะความแตกฉานใน
ธรรมที่เป็นมูล ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะความแตกฉานในความสละ
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ให้ถึงความแตกฉานในธรรมที่เป็นมูล ฯลฯ
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ให้ถึงความแตกฉานในความสละ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะเจริญความชำนาญในความแตกฉานในธรรมที่เป็นมูล ฯลฯ ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เจริญความชำนาญในความแตกฉานในความสละ
(ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะแม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญในความแตก
ฉานในธรรมที่เป็นมูล ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะแม้ของบุคคลผู้ถึง
ความชำนาญในความแตกฉานในความสละ)
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ควรกำหนด ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ
ตรัสรู้สภาวะที่เป็นบริวาร ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เต็มรอบ ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ประคองไว้ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่ไม่กระจัดกระจายไป ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ไม่
ขุ่นมัว ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ไม่หวั่นไหว ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ
ตรัสรู้สภาวะที่ตั้งอยู่ด้วยอำนาจความปรากฏแห่งจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นอารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่
เป็นโคจร ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ละ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
สภาวะที่สละ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ออก ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ
ตรัสรู้สภาวะที่หลีกไป ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ละเอียด ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่ประณีต ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่หลุดพ้น ชื่อว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๓. โพชฌังคกถา
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ไม่มีอาสวะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะ
เครื่องข้าม ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ไม่มีนิมิต ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ
ตรัสรู้สภาวะที่ไม่มีที่ตั้ง ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ว่าง ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่มีรสเป็นอย่างเดียวกัน ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่
ไม่ล่วงเลยกัน ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะแห่งธรรมที่เป็นคู่กัน ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะเครื่องนำออก ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นเหตุ
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เห็น ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็น
ใหญ่
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งสมถะ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่พิจารณาเห็นแห่งวิปัสสนา ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะ
ที่มีรสเป็นอย่างเดียวกันแห่งสมถะและวิปัสสนา ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
สภาวะที่ไม่ล่วงเลยกันแห่งธรรมที่เป็นคู่กัน ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่
สมาทานแห่งสิกขา ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นโคจรแห่งอารมณ์
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ประคองจิตที่ย่อท้อ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ
ตรัสรู้สภาวะที่ข่มจิตที่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่คุมจิตอัน
บริสุทธิ์จากความย่อท้อ และความฟุ้งซ่านทั้ง ๒ ประการ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ
ตรัสรู้สภาวะที่บรรลุคุณวิเศษ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่รู้แจ้ง
อริยมรรคอันยอดเยี่ยม ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ตรัสรู้สัจจะ ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ให้จิตตั้งอยู่เฉพาะในนิโรธ
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่น้อมใจเชื่อแห่งสัทธินทรีย์ ฯลฯ ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เห็นแห่งปัญญินทรีย์
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ไม่หวั่นไหว เพราะความไม่มีศรัทธาแห่ง
สัทธาพละ ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ไม่หวั่นไหว เพราะอวิชชา
แห่งปัญญาพละ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๓. โพชฌังคกถา
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ตั้งมั่นแห่งสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่พิจารณาแห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เห็นแห่งสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งสัมมาสมาธิ
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นใหญ่แห่งอินทรีย์ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่ไม่หวั่นไหวแห่งพละ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่นำ
ออกแห่งโพชฌงค์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นเหตุแห่งมรรค ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ตั้งมั่นแห่งสติปัฏฐาน ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
สภาวะที่เริ่มตั้งแห่งสัมมัปปธาน ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่สำเร็จแห่ง
อิทธิบาท ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นของแท้แห่งสัจจะ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่สงบระงับแห่งมรรค ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่
ทำให้แจ้งแห่งผล
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ตรึกตรองแห่งวิตก ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่ตรวจตราแห่งวิจาร ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่แผ่ไป
แห่งปีติ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ไหลมาแห่งสุข ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นเอกัคคตารมณ์แห่งจิต ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะ
ที่นึก ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่รู้แจ้ง ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
สภาวะที่รู้ชัด ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่จำได้ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ
ตรัสรู้สภาวะที่เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ควรรู้ยิ่ง ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
สภาวะที่พิจารณาแห่งปริญญา ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่สละแห่งปหานะ
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่มีรสเป็นอย่างเดียวกันแห่งภาวนา ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ถูกต้องแห่งสัจฉิกิริยา ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
สภาวะที่เป็นกองแห่งขันธ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ทรงไว้แห่งธาตุ
ทั้งหลาย ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ต่อแห่งอายตนะทั้งหลาย ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ปัจจัยปรุงแต่งแห่งสังขตธรรม ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่ปัจจัยมิได้ปรุงแต่งแห่งอสังขตธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๓. โพชฌังคกถา
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะแห่งจิต ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะ
ที่ไม่มีระหว่างคั่นแห่งจิต ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ออกแห่งจิต ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะหลีกไปแห่งจิต ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็น
เหตุแห่งจิต ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นปัจจัยแห่งจิต ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่ตั้งมั่นแห่งจิต ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นภูมิ
แห่งจิต ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นอารมณ์แห่งจิต ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นโคจรแห่งจิต ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เที่ยวไป
แห่งจิต ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ไปแห่งจิต ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ
ตรัสรู้สภาวะที่นำไปแห่งจิต ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่นำออกแห่งจิต
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่สลัดออกแห่งจิต
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่นึกในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่รู้แจ้งในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่รู้ชัดในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
สภาวะที่จำได้ในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะ
ที่เป็นธรรมเอกผุดขึ้นในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะ
ที่เนื่องในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่แล่นไปใน
จิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ผ่องใสในจิตที่เป็น
เอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ตั้งมั่นในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่หลุดพ้นในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เห็นว่า “นี้ละเอียด” ในจิตที่เป็น
เอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ทำให้เป็นดุจญาณในจิตที่เป็น
เอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ทำให้เป็นที่ตั้งในจิตที่เป็น
เอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ตั้งขึ้นเนือง ๆ ในจิตที่เป็น
เอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่อบรมในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ปรารภเสมอดีในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่กำหนดในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นบริวารในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๓. โพชฌังคกถา
ตรัสรู้สภาวะที่เต็มรอบในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
สภาวะที่ประชุมลงในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่
อธิษฐานในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ปฏิบัติใน
จิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เจริญในจิตที่เป็น
เอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ทำให้มากในจิตที่เป็น
เอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่รวมดีในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่หลุดพ้นด้วยดีในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ตรัสรู้ในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ตรัสรู้ตามในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่ตรัสรู้เฉพาะในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ
ตรัสรู้สภาวะที่ตรัสรู้พร้อมในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
สภาวะที่ให้ตรัสรู้ในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่
ให้ตรัสรู้ตามในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ให้
ตรัสรู้เฉพาะในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ให้
ตรัสรู้พร้อมในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นไป
ในฝ่ายตรัสรู้ในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นไป
ในฝ่ายตรัสรู้ตามในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่
เป็นไปในฝ่ายให้ตรัสรู้เฉพาะในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ
ตรัสรู้สภาวะที่เป็นไปในฝ่ายตรัสรู้พร้อมในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่สว่างในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
สภาวะที่สว่างขึ้นในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่
สว่างเนือง ๆ ในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่
สว่างเฉพาะในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่สว่าง
พร้อมในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่อริยมรรคให้สว่าง ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่อริยมรรคให้รุ่งเรือง ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่
อริยมรรคทำให้กิเลสเร่าร้อน ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่อริยมรรคไม่มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๓. โพชฌังคกถา
มลทิน ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่อริยมรรคปราศจากมลทิน ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่อริยมรรคหมดมลทิน ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
สภาวะแห่งความสงบ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่อริยมรรคทำให้กิเลสระงับ
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะแห่งวิเวก ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่
ดำเนินไปในวิเวก ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะแห่งความคลายกำหนัด
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ดำเนินไปในความคลายกำหนัด ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะแห่งความดับ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ดำเนินไปใน
ความดับ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะแห่งความสละ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่ดำเนินไปในความสละ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะแห่ง
ความหลุดพ้น ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ดำเนินไปในความหลุดพ้น
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะแห่งฉันทะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
สภาวะที่เป็นมูลแห่งฉันทะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นบาทแห่งฉันทะ
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นประธานแห่งฉันทะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ
ตรัสรู้สภาวะที่สำเร็จแห่งฉันทะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่น้อมไปแห่งฉันทะ
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ประคองไว้แห่งฉันทะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ
ตรัสรู้สภาวะที่ตั้งมั่นแห่งฉันทะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่ง
ฉันทะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เห็นแห่งฉันทะ
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะแห่งวิริยะ ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
สภาวะแห่งจิตตะ ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะแห่งวิมังสา ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นมูลแห่งวิมังสา ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็น
บาทแห่งวิมังสา ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นประธานแห่งวิมังสา ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่สำเร็จแห่งวิมังสา ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะ
ที่น้อมไปแห่งวิมังสา ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ประคองไว้แห่งวิมังสา
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ตั้งมั่นแห่งวิมังสา ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งวิมังสา ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เห็นแห่งวิมังสา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๓. โพชฌังคกถา
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะแห่งทุกข์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
สภาวะที่บีบคั้นแห่งทุกข์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ปัจจัยปรุงแต่งแห่งทุกข์
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ทำให้เดือดร้อนแห่งทุกข์ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่แปรผันแห่งทุกข์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะแห่งสมุทัย
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ประมวลมาแห่งสมุทัย ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัย ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
สภาวะที่เกี่ยวข้องแห่งสมุทัย ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่พัวพัน
แห่งสมุทัย ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะแห่งนิโรธ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ
ตรัสรู้สภาวะที่เป็นเครื่องสลัดออกแห่งนิโรธ ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
สภาวะที่เป็นวิเวกแห่งนิโรธ ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็น
อสังขตะแห่งนิโรธ ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นอมตะแห่งนิโรธ
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะแห่งมรรค ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่
นำออกแห่งมรรค ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นเหตุแห่งมรรค ฯลฯ
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เห็นแห่งมรรค ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ
ตรัสรู้สภาวะที่เป็นใหญ่แห่งมรรค
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นของแท้ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
สภาวะที่เป็นอนัตตา ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นของจริง ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่รู้แจ้ง ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่รู้ยิ่ง ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สภาวะที่กำหนดรู้ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นธรรม ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่เป็นธาตุ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่รู้
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ทำให้แจ้ง ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะ
ที่ถูกต้อง ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่ตรัสรู้
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้เนกขัมมะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้อพยาบาท
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้อาโลกสัญญา ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้อวิกเขปะ
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ธัมมววัตถาน ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ญาณ ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ปามุชชะ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ปฐมฌาน ฯลฯ ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้อรหัตตมรรค ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้อรหัตตผลสมาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๓. โพชฌังคกถา
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สัทธินทรีย์ด้วยสภาวะน้อมใจเชื่อ ฯลฯ ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ปัญญินทรีย์ด้วยสภาวะเห็น ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
สัทธาพละด้วยสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธา ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้ปัญญาพละด้วยสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ
ตรัสรู้สติสัมโพชฌงค์ด้วยสภาวะตั้งมั่น ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้อุเบกขา-
สัมโพชฌงค์ด้วยสภาวะพิจารณา
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สัมมาทิฏฐิด้วยสภาวะเห็น ฯลฯ ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้สัมมาสมาธิด้วยสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้อินทรีย์
ด้วยสภาวะเป็นใหญ่ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้พละด้วยสภาวะไม่หวั่นไหว ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สภาวะที่นำออก ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้มรรคด้วย
สภาวะเป็นเหตุ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สติปัฏฐานด้วยสภาวะตั้งมั่น ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สัมมัปปธานด้วยสภาวะตั้งไว้ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้
อิทธิบาทด้วยสภาวะให้สำเร็จ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สัจจะด้วยสภาวะเป็น
ของแท้ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สมถะด้วยสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้วิปัสสนาด้วยสภาวะพิจารณาเห็น ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สมถะ
และวิปัสสนาด้วยสภาวะมีรสเป็นอย่างเดียวกัน ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ธรรมที่
เป็นคู่กันด้วยสภาวะไม่ล่วงเลยกัน ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สีลวิสุทธิด้วยสภาวะ
สำรวม ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้จิตตวิสุทธิด้วยสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะตรัสรู้ทิฏฐิวิสุทธิด้วยสภาวะเห็น ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้วิโมกข์ด้วยสภาวะ
หลุดพ้น ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้วิชชาด้วยสภาวะรู้แจ้ง ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ
ตรัสรู้วิมุตติด้วยสภาวะสละ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ญาณในความสิ้นไปด้วย
สภาวะตัดขาด ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้อนุปปาทญาณด้วยสภาวะสงบระงับ
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ฉันทะด้วยสภาวะเป็นมูล ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ
ตรัสรู้มนสิการด้วยสภาวะเป็นสมุฏฐาน ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ผัสสะด้วย
สภาวะเป็นที่รวม ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้เวทนาด้วยสภาวะเป็นที่ประชุม ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สมาธิด้วยสภาวะเป็นประธาน ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้สติ
ด้วยสภาวะเป็นใหญ่ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ปัญญาด้วยสภาวะเป็นธรรมที่ยิ่ง
กว่าธรรมนั้น ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้วิมุตติด้วยสภาวะเป็นแก่นสาร ชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะตรัสรู้ธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพานด้วยสภาวะเป็นที่สุด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๓. โพชฌังคกถา
[๒๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ณ ที่นั้น ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย”
ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า
ท่านทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ โพชฌงค์ ๗ ประการอะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
โพชฌงค์ ๗ ประการนี้แล ผมนั้นประสงค์จะอยู่ในเวลาเช้าด้วยโพชฌงค์
ใด ๆ บรรดาโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ ผมก็อยู่ในเวลาเช้าด้วยโพชฌงค์นั้น ๆ
ประสงค์จะอยู่ในเวลาเที่ยง ฯลฯ ในเวลาเย็นด้วยโพชฌงค์ใด ๆ ผมก็อยู่ในเวลา
เย็นด้วยโพชฌงค์นั้น ๆ ถ้าสติสัมโพชฌงค์ของผมมีอยู่ดังนี้ สติสัมโพชฌงค์ของผม
ก็ชื่อว่าหาประมาณมิได้ ชื่อว่าผมปรารภเสมอดีแล้ว เมื่อผมกำลังเที่ยวไป ย่อมรู้ชัด
สติสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่า “ดำรงอยู่” ถ้าแม้สติสัมโพชฌงค์ของผมเคลื่อนไป
ก็รู้ชัดว่า “สติสัมโพชฌงค์ของผมเคลื่อนไปเพราะปัจจัยนี้” ฯลฯ ท่านทั้งหลาย
ถ้าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ของผมมีอยู่ดังนี้ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของผมก็ชื่อว่า
หาประมาณมิได้ ชื่อว่าผมปรารภเสมอดีแล้ว เมื่อผมกำลังเที่ยวไป ย่อมรู้ชัด
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่า “ดำรงอยู่” ถ้าแม้อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของผมเคลื่อนไป
ก็รู้ชัดว่า “อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของผมเคลื่อนไปเพราะปัจจัยนี้”
ท่านทั้งหลาย เปรียบเหมือนตู้เก็บผ้าของพระราชาหรือของมหาอำมาตย์ของ
พระราชา เต็มด้วยผ้าสีต่าง ๆ พระราชาหรือมหาอำมาตย์นั้นประสงค์จะใช้ผ้าคู่ใด
ในเวลาเช้า ก็ใช้ผ้าคู่นั้นนั่นแหละในเวลาเช้า ประสงค์จะใช้ผ้าคู่ใดในเวลาเที่ยง ฯลฯ
ในเวลาเย็น ก็ใช้ผ้าคู่นั้นนั่นแหละในเวลาเย็น ฉันใด ผมก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ประสงค์จะอยู่ในเวลาเช้าด้วยโพชฌงค์ใด ๆ บรรดาโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ ก็อยู่
ในเวลาเช้าด้วยโพชฌงค์นั้น ๆ ประสงค์จะอยู่ในเวลาเที่ยง ฯลฯ ในเวลาเย็นด้วย
โพชฌงค์ใด ๆ ก็อยู่ด้วยโพชฌงค์นั้น ๆ ถ้าสติสัมโพชฌงค์ของผมมีอยู่ดังนี้ สติ-
สัมโพชฌงค์ของผมก็ชื่อว่าหาประมาณมิได้ ชื่อว่าผมปรารภเสมอดีแล้ว เมื่อผม
กำลังเที่ยวไป ย่อมรู้ชัดสติสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่า “ดำรงอยู่” ถ้าแม้สติ-
สัมโพชฌงค์ของผมเคลื่อนไปก็รู้ว่า “สติสัมโพชฌงค์ของผมเคลื่อนไปเพราะปัจจัยนี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๓. โพชฌังคกถา
ฯลฯ ถ้าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ของผมมีอยู่ดังนี้ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของผมก็ชื่อว่า
หาประมาณมิได้ ชื่อว่าผมปรารภเสมอดีแล้ว เมื่อผมกำลังเที่ยวไปย่อมรู้ชัดอุเบกขา-
สัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่า “ดำรงอยู่” ถ้าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ของผมเคลื่อนไป ก็รู้ชัด
ว่า “อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของผมเคลื่อนไปเพราะปัจจัยนี้”

สุตตันตนิทเทส
แสดงพระสูตร
[๒๑] โพชฌงค์ ในข้อว่า “ถ้าสติสัมโพชฌงค์ของผมมีอยู่ ดังนี้” มีอยู่อย่างไร
คือ นิโรธปรากฏเพียงใด โพชฌงค์ในข้อว่า “ถ้าสติสัมโพชฌงค์ของผมมีอยู่
ดังนี้” ก็มีเพียงนั้น เหมือนประทีปน้ำมันกำลังสว่างอยู่ เปลวไฟมีเพียงใด แสงก็
มีเพียงนั้น แสงมีเพียงใด เปลวไฟก็มีเพียงนั้น นิโรธมีอยู่เพียงใด โพชฌงค์ในข้อว่า
“ถ้าสติสัมโพชฌงค์ของผมมีอยู่ ดังนี้” ก็มีอยู่เพียงนั้น
โพชฌงค์ในข้อว่า “สติสัมโพชฌงค์ของผมก็ชื่อว่าหาประมาณมิได้ ดังนี้” มีอยู่
อย่างไร
คือ กิเลสทั้งหลาย ได้แก่ กิเลสที่กลุ้มรุมจิตทั้งปวงเทียว สังขารที่ให้เกิดในภพ
ใหม่มีประมาณ นิโรธชื่อว่าหาประมาณมิได้ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหว เพราะมี
สภาวะเป็นอสังขตธรรม นิโรธปรากฏเพียงใด โพชฌงค์ในข้อว่า “สติสัมโพชฌงค์
ของผมก็ชื่อว่าหาประมาณมิได้ ดังนี้” ก็มีอยู่เพียงนั้น
โพชฌงค์ในข้อว่า “สติสัมโพชฌงค์ ชื่อว่าผมปรารภเสมอดีแล้วนั้น ดังนี้”
มีอยู่อย่างไร
คือ กิเลสทั้งหลาย ได้แก่ กิเลสที่กลุ้มรุมจิตทั้งปวงเทียว สังขารที่ให้เกิดใน
ภพใหม่ไม่เสมอ นิโรธมีความเสมอเป็นธรรมดา เพราะมีสภาวะเป็นธรรมละเอียด
เพราะมีสภาวะเป็นธรรมประณีต นิโรธปรากฏเพียงใด โพชฌงค์ในข้อว่า “สติ-
สัมโพชฌงค์ ชื่อว่าผมปรารภเสมอดีแล้ว ดังนี้” ก็มีอยู่เพียงนั้น
เมื่อผมกำลังเที่ยวไป ย่อมรู้ชัดสติสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่า “ดำรงอยู่” ถ้า
สติสัมโพชฌงค์เคลื่อนไป ก็รู้ชัดว่า “สติสัมโพชฌงค์ของผมเคลื่อนไปเพราะปัจจัยนี้”
เป็นอย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๓. โพชฌังคกถา
คือ สติสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยอาการเท่าไร สติสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วย
อาการเท่าไร
สติสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยอาการ ๘ อย่าง สติสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วย
อาการ ๘ อย่าง
สติสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยอาการ ๘ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยการนึกถึง(นิพพาน)ที่ไม่มีความเกิด
๒. สติสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยการไม่นึกถึงความเกิด
๓. สติสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยการนึกถึง(นิพพาน)ที่ไม่มีความเป็นไป
๔. สติสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยการไม่นึกถึงความเป็นไป
๕. สติสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยการนึกถึง(นิพพาน)ที่ไม่มีนิมิต
๖. สติสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยการไม่นึกถึงนิมิต
๗. สติสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยการนึกถึงนิโรธ
๘. สติสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยการไม่นึกถึงสังขาร
สติสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยอาการ ๘ อย่างนี้
สติสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยอาการ ๘ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยการนึกถึงความเกิด
๒. สติสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยการไม่นึกถึง(นิพพาน)ที่ไม่มีความเกิด
๓. สติสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยการนึกถึงความเป็นไป
๔. สติสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยการไม่นึกถึง(นิพพาน)ที่ไม่มีความเป็นไป
๕. สติสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยการนึกถึงนิมิต
๖. สติสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยการไม่นึกถึง(นิพพาน)ที่ไม่มีนิมิต
๗. สติสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยการนึกถึงสังขาร
๘. สติสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยการไม่นึกถึงนิโรธ
สติสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยอาการ ๘ อย่างนี้ เมื่อผมกำลังเที่ยวไป ย่อมรู้ชัด
สติสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่า “ดำรงอยู่” ถ้าสติสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปก็รู้ชัดว่า
“สติสัมโพชฌงค์ของผมเคลื่อนไปเพราะปัจจัยนี้ อย่างนี้แล” ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๓. โพชฌังคกถา
โพชฌงค์ในข้อว่า “ถ้าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ของผมมีอยู่ ดังนี้” มีอยู่อย่างไร
คือ นิโรธปรากฏเพียงใด โพชฌงค์ในข้อว่า “ถ้าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ของผม
มีอยู่ ดังนี้” ก็มีอยู่เพียงนั้น เหมือนประทีปน้ำมันกำลังสว่างอยู่ ฯลฯ
โพชฌงค์ในข้อว่า “อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของผมก็ชื่อว่าหาประมาณมิได้ ดังนี้”
มีอยู่อย่างไร ฯลฯ
โพชฌงค์ในข้อว่า “อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ชื่อว่าผมปรารภเสมอดีแล้ว ดังนี้”
มีอยู่อย่างไร ฯลฯ
เมื่อผมกำลังเที่ยวไป ย่อมรู้ชัดอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่า “ดำรงอยู่”
ถ้าอุเบกขาสัมโพชฌงค์เคลื่อนไป ก็รู้ชัดว่า “อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของผมเคลื่อนไป
เพราะปัจจัยนี้” เป็นอย่างไร
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยอาการเท่าไร อุเบกขาสัมโพชฌงค์เคลื่อนไป
ด้วยอาการเท่าไร
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยอาการ ๘ อย่าง อุเบกขาสัมโพชฌงค์เคลื่อน
ไปด้วยอาการ ๘ อย่าง
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยอาการ ๘ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยการนึกถึง(นิพพาน)ที่ไม่มีความเกิด
๒. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยการไม่นึกถึงความเกิด
๓. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยการนึกถึง(นิพพาน)ที่ไม่มีความ
เป็นไป
๔. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยการไม่นึกถึงความเป็นไป
๕. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยการนึกถึง(นิพพาน)ที่ไม่มีนิมิต
๖. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยการไม่นึกถึงนิมิต
๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยการนึกถึงนิโรธ
๘. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยการไม่นึกถึงสังขาร
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยอาการ ๘ อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๔. เมตตากถา
อุเบกขาสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยอาการ ๘ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. อุเบกขาสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยการนึกถึงความเกิด
๒. อุเบกขาสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยการไม่นึกถึง(นิพพาน)ที่ไม่มี
ความเกิด
๓. อุเบกขาสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยการนึกถึงความเป็นไป
๔. อุเบกขาสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยการไม่นึกถึง(นิพพาน)ที่ไม่มี
ความเป็นไป
๕. อุเบกขาสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยการนึกถึงนิมิต
๖. อุเบกขาสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยการไม่นึกถึง(นิพพาน)ที่ไม่มีนิมิต
๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยการนึกถึงสังขาร
๘. อุเบกขาสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยการไม่นึกถึงนิโรธ
อุเบกขาสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยอาการ ๘ อย่างนี้ เมื่อผมกำลังเที่ยวไป
ย่อมรู้ชัดอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่า “ดำรงอยู่” ถ้าอุเบกขาสัมโพชฌงค์
เคลื่อนไปก็รู้ชัดว่า “อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของผมเคลื่อนไปเพราะปัจจัยนี้ อย่างนี้แล”
โพชฌังคกถา จบ

๔. เมตตากถา
ว่าด้วยเมตตา
[๒๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุตติอันบุคคลปฏิบัติแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มาก
แล้ว ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนือง ๆ สั่งสมแล้ว ปรารภเสมอดีแล้ว
พึงหวังได้อานิสงส์ ๑๑ ประการ
อานิสงส์ ๑๑ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. หลับเป็นสุข ๒. ตื่นเป็นสุข
๓. ไม่ฝันร้าย ๔. เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๔. เมตตากถา

๕. เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย ๖. เทวดาทั้งหลายรักษา
๗. ไฟ ยาพิษ หรือศัสตรากล้ำกรายไม่ได้ ๘. จิตตั้งมั่นเร็ว
๙. สีหน้าสดใส ๑๐. ไม่หลงลืมสติตาย

๑๑. เมื่อยังไม่แทงตลอดคุณวิเศษอันยอดยิ่งย่อมเข้าถึงพรหมโลก
ภิกษุทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุตติอันบุคคลปฏิบัติแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มาก
แล้ว ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนือง ๆ สั่งสมแล้ว ปรารภเสมอดีแล้ว
พึงหวังได้อานิสงส์ ๑๑ ประการนี้๑
เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงก็มี เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยเจาะจง
ก็มี เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายก็มี เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจง
ด้วยอาการเท่าไร เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการเท่าไร เมตตาเจโต-
วิมุตติแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการเท่าไร
คือ เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วยอาการ ๕ อย่าง เมตตา-
เจโตวิมุตติแผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการ ๗ อย่าง เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปสู่ทิศ
ทั้งหลายด้วยอาการ ๑๐ อย่าง
เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วยอาการ ๕ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ขอสัตว์ทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ มีสุข
รักษาตนเถิด
๒. ขอปาณชาติทั้งปวง ฯลฯ
๓. ขอภูตทั้งปวง ฯลฯ
๔. ขอบุคคลทั้งปวง ฯลฯ
๕. ขอผู้ที่นับเนื่องด้วยอัตภาพทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียน
กัน ไม่มีทุกข์ มีสุข รักษาตนเถิด
เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วยอาการ ๕ อย่างนี้

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ. เอกาทสก. (แปล) ๒๔/๑๕/๔๒๕-๔๒๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๔. เมตตากถา
เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการ ๗ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ขอสตรีทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ มีสุข
รักษาตนเถิด
๒. ขอบุรุษทั้งปวง ฯลฯ
๓. ขออารยชนทั้งปวง ฯลฯ
๔. ขออนารยชนทั้งปวง ฯลฯ
๕. ขอเทวดาทั้งปวง ฯลฯ
๖. ขอมนุษย์ทั้งปวง ฯลฯ
๗. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์
มีสุข รักษาตนเถิด
เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการ ๗ อย่างนี้
เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการ ๑๐ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศบูรพาจงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มี
ทุกข์ มีสุข รักษาตนเถิด
๒. ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศปัจฉิม ฯลฯ
๓. ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศอุดร ฯลฯ
๔. ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศทักษิณ ฯลฯ
๕. ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศอาคเนย์ ฯลฯ
๖. ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศพายัพ ฯลฯ
๗. ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศอีสาน ฯลฯ
๘. ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศหรดี ฯลฯ
๙. ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องล่าง ฯลฯ
๑๐. ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบนจงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่
มีทุกข์ มีสุข รักษาตนเถิด
ขอปาณชาติทั้งปวงในทิศบูรพา ฯลฯ ภูตทั้งปวง ฯลฯ บุคคลทั้งปวง ฯลฯ
ผู้ที่นับเนื่องด้วยอัตภาพทั้งปวง ฯลฯ สตรีทั้งปวง ฯลฯ บุรุษทั้งปวง ฯลฯ อารยชน
ทั้งปวง ฯลฯ อนารยชนทั้งปวง ฯลฯ เทวดาทั้งปวง ฯลฯ มนุษย์ทั้งปวง ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๔. เมตตากถา ๑. อินทริยวาร
๑. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศบูรพา จงเป็นผู้ไม่มีเวรไม่เบียดเบียนกัน
ไม่มีทุกข์ มีสุข รักษาตนเถิด
๒. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศปัจฉิม ฯลฯ
๓. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศอุดร ฯลฯ
๔. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศทักษิณ ฯลฯ
๕. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศอาคเนย์ ฯลฯ
๖. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศพายัพ ฯลฯ
๗. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศอีสาน ฯลฯ
๘. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศหรดี ฯลฯ
๙. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องล่าง ฯลฯ
๑๐. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน
ไม่มีทุกข์ มีสุข รักษาตนเถิด
เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการ ๑๐ อย่างนี้

๑. อินทริยวาร
วาระว่าด้วยอินทรีย์
[๒๓] ผู้เจริญเมตตาแผ่ความรักไปสู่สัตว์ทั้งปวงด้วยอาการ ๘ อย่างนี้ คือ
๑. ด้วยเว้นความบีบคั้น ไม่บีบคั้นสัตว์ทั้งปวง
๒. ด้วยเว้นการฆ่า ไม่ฆ่าสัตว์ทั้งปวง
๓. ด้วยเว้นการทำให้เดือดร้อน ไม่ทำสัตว์ทั้งปวงให้เดือดร้อน
๔. ด้วยเว้นความย่ำยี ไม่ย่ำยีสัตว์ทั้งปวง
๕. ด้วยเว้นการเบียดเบียน ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งปวง
๖. ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร อย่าได้มีเวรกัน
๗. จงเป็นผู้มีสุข อย่ามีทุกข์
๘. จงมีตนเป็นสุข อย่ามีตนเป็นทุกข์
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเมตตา จิตคิดถึงธรรมนั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเจโต
จิตพ้นจากพยาบาทและกิเลสที่กลุ้มรุมจิตทั้งปวง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าวิมุตติ
เมตตาด้วย เป็นเจโตวิมุตติด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเมตตาเจโตวิมุตติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๔. เมตตากถา ๑. อินทริยวาร
ผู้เจริญเมตตาน้อมใจเชื่อด้วยศรัทธาว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มี
ความปลอดโปร่ง มีสุขเถิด” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยสัทธินทรีย์
ผู้เจริญเมตตาประคองความเพียรว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ”
เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยวิริยินทรีย์
ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้มั่นว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ”
เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยสตินทรีย์
ผู้เจริญเมตตาตั้งจิตไว้มั่นว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ”
เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยสมาธินทรีย์
ผู้เจริญเมตตารู้ชัดด้วยปัญญาว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ”
เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยปัญญินทรีย์
อินทรีย์ ๕ ประการนี้เป็นอาเสวนะ (การปฏิบัติ) ของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคล
ย่อมปฏิบัติเมตตาเจโตวิมุตติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการนี้เป็นภาวนา (การเจริญ) ของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคล
ย่อมเจริญเมตตาเจโตวิมุตติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการนี้เป็นพหุลีกรรม (การทำให้มาก) ของเมตตาเจโตวิมุตติ
บุคคลย่อมทำให้มากซึ่งเมตตาเจโตวิมุตติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการนี้เป็นอลังการ (เครื่องประดับ) ของเมตตาเจโตวิมุตติ
บุคคลย่อมประดับเมตตาเจโตวิมุตติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการนี้เป็นบริขารของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมปรุงแต่ง
เมตตาเจโตวิมุตติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการนี้เป็นบริวารของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมห้อมล้อม
เมตตาเจโตวิมุตติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการนี้เป็นอาเสวนะ เป็นภาวนา เป็นพหุลีกรรม เป็นอลังการ
เป็นบริขาร เป็นบริวาร เป็นความเต็มรอบ เป็นสหรคต (ไปร่วมกัน) เป็นสหชาติ
(เกิดร่วมกัน) เป็นความเกี่ยวข้อง เป็นสัมปยุตตะ (ประกอบกัน) เป็นความแล่นไป
เป็นความผ่องใส เป็นความตั้งอยู่ดี เป็นความพ้นวิเศษ เป็นความเห็นว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๔. เมตตากถา ๒. พลวาร
“นี้ละเอียด” ของเมตตาเจโตวิมุตติ เมตตาเจโตวิมุตติที่บุคคลทำให้เป็นดุจยาน ทำ
ให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนือง ๆ สั่งสมแล้ว ปรารภเสมอดีแล้ว เจริญดีแล้ว อธิษฐานดีแล้ว
ดำเนินไปดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมยังเมตตานั้นให้เกิด ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว
อินทริยวาร จบ

๒. พลวาร
วาระว่าด้วยพละ
[๒๔] ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธา ด้วยมนสิการว่า
“ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีสุขเถิด” เมตตาเจโตวิมุตติ
ชื่อว่าอบรมแล้วด้วยสัทธาพละ
ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน ด้วยมนสิการว่า “ขอสัตว์
ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีสุขเถิด” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่า
อบรมแล้วด้วยวิริยพละ
ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวเพราะความประมาท ด้วยมนสิการว่า “ขอสัตว์
ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีสุขเถิด” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่า
อบรมแล้วด้วยสติพละ
ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ ด้วยมนสิการว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจง
เป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีสุขเถิด” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้ว
ด้วยสมาธิพละ
ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา ด้วยมนสิการว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจง
เป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีสุขเถิด” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้ว
ด้วยปัญญาพละ
พละ ๕ ประการนี้เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมปฏิบัติ
เมตตาเจโตวิมุตติด้วยพละ ๕ ประการนี้
พละ ๕ ประการนี้เป็นภาวนาของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมเจริญเมตตา-
เจโตวิมุตติด้วยพละ ๕ ประการนี้

 


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๔. เมตตากถา ๓. โพชฌังควาร
พละ ๕ ประการนี้เป็นพหุลีกรรมของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมทำให้มาก
ซึ่งเมตตาเจโตวิมุตติด้วยพละ ๕ ประการนี้
พละ ๕ ประการนี้เป็นอลังการของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมประดับ
เมตตาเจโตวิมุตติด้วยพละ ๕ ประการนี้
พละ ๕ ประการนี้เป็นบริขารของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมปรุงแต่ง
เมตตาเจโตวิมุตติด้วยพละ ๕ ประการนี้
พละ ๕ ประการนี้เป็นบริวารของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมห้อมล้อม
เมตตาเจโตวิมุตติด้วยพละ ๕ ประการนี้
พละ ๕ ประการนี้เป็นอาเสวนะ เป็นภาวนา เป็นพหุลีกรรม เป็นอลังการ
เป็นบริขาร เป็นบริวาร เป็นความเต็มรอบ เป็นสหรคต เป็นสหชาติ เป็นความ
เกี่ยวข้อง เป็นสัมปยุตตะ เป็นความแล่นไป เป็นความผ่องใส เป็นความตั้งอยู่
ด้วยดี เป็นความพ้นวิเศษ เป็นความเห็นว่า “นี้ละเอียด” ของเมตตาเจโตวิมุตติ
เมตตาเจโตวิมุตติที่บุคคลทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆ สั่งสมแล้ว
ปรารภเสมอดีแล้ว เจริญดีแล้ว อธิษฐานดีแล้ว ดำเนินไปดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว
ย่อมยังเมตตานั้นให้เกิด ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว
พลวาร จบ

๓. โพชฌังควาร
วาระว่าด้วยโพชฌงค์
[๒๕] ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้มั่นว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความ
ปลอดโปร่ง มีสุขเถิด” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยสติสัมโพชฌงค์
ผู้เจริญเมตตาเลือกเฟ้นด้วยปัญญาว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ”
เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
ผู้เจริญเมตตาประคองความเพียรว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ”
เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยวิริยสัมโพชฌงค์
ผู้เจริญเมตตาระงับความเร่าร้อนว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ”
เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยปีติสัมโพชฌงค์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๔. เมตตากถา ๓. โพชฌังควาร
ผู้เจริญเมตตาระงับความคิดชั่วหยาบว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ”
เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
ผู้เจริญเมตตาตั้งจิตไว้มั่นว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ” เมตตา-
เจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยสมาธิสัมโพชฌงค์
ผู้เจริญเมตตาเพ่งเฉยกิเลสทั้งหลายด้วยญาณว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มี
เวร มีความปลอดโปร่ง มีสุขเถิด” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยอุเบกขา-
สัมโพชฌงค์
โพชฌงค์ ๗ ประการนี้เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมปฏิบัติ
เมตตาเจโตวิมุตติด้วยโพชฌงค์ ๗ ประการนี้
โพชฌงค์ ๗ ประการนี้เป็นภาวนาของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมเจริญ
เมตตาเจโตวิมุตติด้วยโพชฌงค์ ๗ ประการนี้
โพชฌงค์ ๗ ประการนี้เป็นพหุลีกรรมของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมทำ
ให้มากซึ่งเมตตาเจโตวิมุตติด้วยโพชฌงค์ ๗ ประการนี้
โพชฌงค์ ๗ ประการนี้เป็นอลังการของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมประดับ
เมตตาเจโตวิมุตติด้วยโพชฌงค์ ๗ ประการนี้
โพชฌงค์ ๗ ประการนี้เป็นบริขารของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมปรุงแต่ง
เมตตาเจโตวิมุตติด้วยโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ โพชฌงค์ ๗ ประการนี้เป็นบริวารของ
เมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมห้อมล้อมเมตตาเจโตวิมุตติด้วยโพชฌงค์ ๗ ประการนี้
โพชฌงค์ ๗ ประการนี้เป็นอาเสวนะ เป็นภาวนา เป็นพหุลีกรรม เป็นอลังการ
เป็นบริขาร เป็นบริวาร เป็นความเต็มรอบ เป็นสหรคต เป็นสหชาติ เป็นความ
เกี่ยวข้อง เป็นสัมปยุตตะ เป็นความแล่นไป เป็นความผ่องใส เป็นความตั้งอยู่ด้วยดี
เป็นความพ้นวิเศษ เป็นความเห็นว่า “นี้ละเอียด” ของเมตตาเจโตวิมุตติ เมตตา-
เจโตวิมุตติที่บุคคลทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆ สั่งสมแล้ว
ปรารภเสมอดีแล้ว เจริญดีแล้ว อธิษฐานดีแล้ว ดำเนินไปดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว
ย่อมยังเมตตานั้นให้เกิด ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว
โพชฌังควาร จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๔. เมตตากถา ๔. มัคคังควาร
๔. มัคคังควาร
วาระว่าด้วยองค์แห่งมรรค
[๒๖] ผู้เจริญเมตตาเห็นโดยชอบว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มี
ความปลอดโปร่ง มีสุขเถิด” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยสัมมาทิฏฐิ
ผู้เจริญเมตตาตรึกตรองโดยชอบว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ”
เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยสัมมาสังกัปปะ
ผู้เจริญเมตตากำหนดโดยชอบว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ”
เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยสัมมาวาจา
ผู้เจริญเมตตาตั้งการงานไว้โดยชอบว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร
ฯลฯ” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยสัมมากัมมันตะ
ผู้เจริญเมตตาชำระอาชีวะให้ผ่องแผ้วโดยชอบว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มี
เวร ฯลฯ” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยสัมมาอาชีวะ
ผู้เจริญเมตตาประคองความเพียรไว้โดยชอบว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร
ฯลฯ” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยสัมมาวายามะ
ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้โดยชอบว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ”
เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยสัมมาสติ
ผู้เจริญเมตตาตั้งจิตไว้โดยชอบว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความ
ปลอดโปร่ง มีสุขเถิด” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยสัมมาสมาธิ
องค์มรรค ๘ ประการนี้เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมปฏิบัติ
เมตตาเจโตวิมุตติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้
องค์มรรค ๘ ประการนี้เป็นภาวนาของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมเจริญ
เมตตาเจโตวิมุตติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้
องค์มรรค ๘ ประการนี้เป็นพหุลีกรรมของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมทำให้
มากซึ่งเมตตาเจโตวิมุตติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๔. เมตตากถา ๔. มัคคังควาร
องค์มรรค ๘ ประการนี้เป็นอลังการของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมประดับ
เมตตาเจโตวิมุตติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้
องค์มรรค ๘ ประการนี้เป็นบริขารของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมปรุงแต่ง
เมตตาเจโตวิมุตติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้
องค์มรรค ๘ ประการนี้เป็นบริวารของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมห้อมล้อม
เมตตาเจโตวิมุตติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้
องค์มรรค ๘ ประการนี้เป็นอาเสวนะ เป็นภาวนา เป็นพหุลีกรรม เป็นอลังการ
เป็นบริขาร เป็นบริวาร เป็นความเต็มรอบ เป็นสหรคต เป็นสหชาติ เป็นความ
เกี่ยวข้อง เป็นสัมปยุตตะ เป็นความแล่นไป เป็นความผ่องใส เป็นความตั้งอยู่
ด้วยดี เป็นความพ้นวิเศษ เป็นความเห็นว่า “นี้ละเอียด” ของเมตตาเจโตวิมุตติ
เมตตาเจโตวิมุตติที่บุคคลทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆ สั่งสมแล้ว
ปรารภเสมอดีแล้ว เจริญดีแล้ว อธิษฐานดีแล้ว ดำเนินไปดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว
ย่อมยังเมตตานั้นให้เกิด ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว
[๒๗] ผู้เจริญเมตตาแผ่ความรักไปสู่ปาณชาติทั้งปวง ฯลฯ สู่ภูตทั้งปวง ฯลฯ
สู่บุคคลทั้งปวง ฯลฯ สู่ผู้ที่นับเนื่องด้วยอัตภาพทั้งปวง ฯลฯ สู่สตรีทั้งปวง ฯลฯ
สู่บุรุษทั้งปวง ฯลฯ สู่อารยชนทั้งปวง ฯลฯ สู่อนารยชนทั้งปวง ฯลฯ สู่เทวดา
ทั้งปวง ฯลฯ สู่มนุษย์ทั้งปวง ฯลฯ
ผู้เจริญเมตตาแผ่ความรักไปสู่วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงด้วยอาการ ๘ อย่างนี้ คือ
๑. ด้วยเว้นความบีบคั้น ไม่บีบคั้นวินิปาติกสัตว์ทั้งปวง
๒. ด้วยเว้นการฆ่า ไม่ฆ่าวินิปาติกสัตว์ทั้งปวง
๓. ด้วยเว้นการทำให้เดือดร้อน ไม่ทำวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงให้เดือดร้อน
๔. ด้วยเว้นความย่ำยี ไม่ย่ำยีวินิปาติกสัตว์ทั้งปวง
๕. ด้วยเว้นการเบียดเบียน ไม่เบียดเบียนวินิปาติกสัตว์ทั้งปวง
๖. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร อย่าได้มีเวรกัน
๗. จงเป็นผู้มีสุข อย่ามีทุกข์
๘. จงมีตนเป็นสุข อย่ามีตนเป็นทุกข์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๔. เมตตากถา ๔. มัคคังควาร
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเมตตา จิตคิดถึงธรรมนั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเจโต
จิตพ้นจากพยาบาทและกิเลสที่กลุ้มรุมจิตทั้งปวง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าวิมุตติ
เมตตาด้วย เป็นเจโตวิมุตติด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเมตตาเจโตวิมุตติ
ผู้เจริญเมตตาน้อมใจเชื่อด้วยศรัทธาว่า “ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มี
เวร มีความปลอดโปร่ง มีสุขเถิด” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยสัทธินทรีย์
ฯลฯ ย่อมให้รุ่งเรือง ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว
ผู้เจริญเมตตาแผ่ความรักไปสู่สัตว์ทั้งปวงในทิศบูรพา ฯลฯ สู่สัตว์ทั้งปวงใน
ทิศปัจฉิม ฯลฯ สู่สัตว์ทั้งปวงในทิศอุดร ฯลฯ สู่สัตว์ทั้งปวงในทิศทักษิณ ฯลฯ
สู่สัตว์ทั้งปวงในทิศอาคเนย์ ฯลฯ สู่สัตว์ทั้งปวงในทิศพายัพ ฯลฯ สู่สัตว์ทั้งปวง
ในทิศอีสาน ฯลฯ สู่สัตว์ทั้งปวงในทิศหรดี ฯลฯ สู่สัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องล่าง ฯลฯ
ผู้เจริญเมตตาแผ่ความรักไปสู่สัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบนด้วยอาการ ๘ อย่างนี้
คือ
๑. ด้วยเว้นความบีบคั้น ไม่บีบคั้นสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน
๒. ด้วยเว้นการฆ่า ไม่ฆ่าสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน
๓. ด้วยเว้นการทำให้เดือดร้อน ไม่ทำสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบนให้
เดือดร้อน
๔. ด้วยเว้นความย่ำยี ไม่ย่ำยีสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน
๕. ด้วยเว้นการเบียดเบียน ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน
๖. ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบนจงเป็นผู้ไม่มีเวร อย่าได้มีเวรกัน
๗. จงเป็นผู้มีสุข อย่ามีทุกข์
๘. จงมีตนเป็นสุข อย่ามีตนเป็นทุกข์
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเมตตา จิตคิดถึงธรรมนั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเจโต
จิตพ้นจากพยาบาทและกิเลสที่กลุ้มรุมจิตทั้งปวง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าวิมุตติ
เมตตาด้วย เป็นเจโตวิมุตติด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเมตตาเจโตวิมุตติ
ผู้เจริญเมตตาน้อมใจเชื่อด้วยศรัทธาว่า “ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มี
เวร มีความปลอดโปร่ง มีสุขเถิด” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยสัทธินทรีย์
ฯลฯ ย่อมให้รุ่งเรือง ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๔. เมตตากถา ๔. มัคคังควาร
ผู้เจริญเมตตาแผ่ความรักไปสู่ปาณชาติทั้งปวงในทิศบูรพา ฯลฯ สู่ภูตทั้งปวง
ในทิศบูรพา ฯลฯ สู่บุคคลทั้งปวงในทิศบูรพา ฯลฯ สู่ผู้นับเนื่องในอัตภาพทั้งปวง
ในทิศบูรพา ฯลฯ สู่สตรีทั้งปวงในทิศบูรพา ฯลฯ สู่บุรุษทั้งปวงในทิศบูรพา ฯลฯ
สู่อารยชนทั้งปวงในทิศบูรพา ฯลฯ สู่อนารยชนทั้งปวงในทิศบูรพา ฯลฯ สู่เทวดา
ทั้งปวงในทิศบูรพา ฯลฯ สู่มนุษย์ทั้งปวงในทิศบูรพา ฯลฯ
ผู้เจริญเมตตาแผ่ความรักไปสู่วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศบูรพา ฯลฯ สู่
วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศปัจฉิม ฯลฯ สู่วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศอุดร ฯลฯ สู่
วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศทักษิณ ฯลฯ สู่วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศอาคเนย์ ฯลฯ
สู่วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศพายัพ ฯลฯ สู่วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศอีสาน ฯลฯ
สู่วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศหรดี ฯลฯ สู่วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องล่าง ฯลฯ
ผู้เจริญเมตตาแผ่ความรักไปสู่วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบนด้วยอาการ ๘
อย่างนี้ คือ
๑. ด้วยเว้นความบีบคั้น ไม่บีบคั้นวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน
๒. ด้วยเว้นการฆ่า ไม่ฆ่าวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน
๓. ด้วยเว้นการทำให้เดือดร้อน ไม่ทำวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศ
เบื้องบนให้เดือดร้อน
๔. ด้วยเว้นความย่ำยี ไม่ย่ำยีวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน
๕. ด้วยเว้นการเบียดเบียน ไม่เบียดเบียนวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศ
เบื้องบน
๖. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบนจงเป็นผู้ไม่มีเวร อย่าได้มีเวรกัน
๗. จงเป็นผู้มีสุข อย่ามีทุกข์
๘. จงมีตนเป็นสุข อย่ามีตนเป็นทุกข์
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเมตตา จิตคิดถึงธรรมนั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเจโต
จิตพ้นจากพยาบาทและกิเลสที่กลุ้มรุมจิตทั้งปวง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าวิมุตติ
เมตตาด้วย เป็นเจโตวิมุตติด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเมตตาเจโตวิมุตติ
ผู้เจริญเมตตาน้อมใจเชื่อด้วยศรัทธาว่า “ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน
จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีสุขเถิด” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้ว
ด้วยสัทธินทรีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๔. เมตตากถา ๔. มัคคังควาร
ผู้เจริญเมตตาประคองความเพียรไว้ว่า “ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน
จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีสุขเถิด” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้ว
ด้วยวิริยินทรีย์
ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้มั่น ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วย
สตินทรีย์
ผู้เจริญเมตตาตั้งจิตไว้มั่น ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วย
สมาธินทรีย์
ผู้เจริญเมตตารู้ชัดด้วยปัญญา ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วย
ปัญญินทรีย์
อินทรีย์ ๕ ประการนี้เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมปฏิบัติ
เมตตาเจโตวิมุตติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ ฯลฯ ย่อมยังเมตตานั้นให้เกิด ให้
โชติช่วง ให้สว่างไสว
ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธา ด้วยมนสิการว่า “ขอ
วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบนจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีสุขเถิด”
เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยสัทธาพละ
ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่า
อบรมแล้วด้วยวิริยพละ
ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวเพราะความประมาท ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่า
อบรมแล้วด้วยสติพละ
ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรม
แล้วด้วยสมาธิพละ
ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรม
แล้วด้วยปัญญาพละ
พละ ๕ ประการนี้เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมปฏิบัติ
เมตตาเจโตวิมุตติด้วยพละ ๕ ประการนี้ ฯลฯ ย่อมยังเมตตานั้นให้เกิด ให้โชติช่วง
ให้สว่างไสว


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๔. เมตตากถา ๔. มัคคังควาร
ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้มั่นว่า “ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบนจงเป็นผู้
ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีสุขเถิด” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยสติ-
สัมโพชฌงค์
ผู้เจริญเมตตาเลือกเฟ้นด้วยปัญญา ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้ว
ด้วยธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
ผู้เจริญเมตตาประคองความเพียร ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้ว
ด้วยวิริยสัมโพชฌงค์
ผู้เจริญเมตตาระงับความเร่าร้อน ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้ว
ด้วยปีติสัมโพชฌงค์
ผู้เจริญเมตตาระงับความคิดชั่วหยาบ ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรม
แล้วด้วยปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
ผู้เจริญเมตตาตั้งจิตไว้มั่น ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยสมาธิ-
สัมโพชฌงค์
ผู้เจริญเมตตาเพ่งเฉยกิเลสทั้งปวงด้วยญาณ ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่า
อบรมแล้วด้วยอุเบกขาสัมโพชฌงค์
โพชฌงค์ ๗ ประการนี้เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมปฏิบัติ
เมตตาเจโตวิมุตติด้วยโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ ฯลฯ ย่อมยังเมตตานั้นให้เกิด ให้
โชติช่วง ให้สว่างไสว
ผู้เจริญเมตตาเห็นโดยชอบว่า “ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จง
เป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีสุขเถิด” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้ว
ด้วยสัมมาทิฏฐิ
ผู้เจริญเมตตาตรึกตรองโดยชอบ ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วย
สัมมาสังกัปปะ
ผู้เจริญเมตตากำหนดโดยชอบ ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วย
สัมมาวาจา
ผู้เจริญเมตตาตั้งการงานไว้โดยชอบ ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรม
แล้วด้วยสัมมากัมมันตะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๕. วิราคกถา
ผู้เจริญเมตตาชำระอาชีวะให้ผ่องแผ้วโดยชอบ ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่า
อบรมแล้วด้วยสัมมาอาชีวะ
ผู้เจริญเมตตาประคองความเพียรไว้โดยชอบ ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่า
อบรมแล้วด้วยสัมมาวายามะ
ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้โดยชอบ ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้ว
ด้วยสัมมาสติ
ผู้เจริญเมตตาตั้งจิตไว้โดยชอบ ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้ว
ด้วยสัมมาสมาธิ
องค์มรรค ๘ ประการนี้เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมปฏิบัติ
เมตตาเจโตวิมุตติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ ฯลฯ
องค์มรรค ๘ ประการนี้เป็นบริวารของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อม
ห้อมล้อมเมตตาเจโตวิมุตติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้
องค์มรรค ๘ ประการนี้เป็นอาเสวนะ เป็นภาวนา เป็นพหุลีกรรม เป็นอลังการ
เป็นบริขาร เป็นบริวาร เป็นความเต็มรอบ เป็นสหรคต เป็นสหชาติ เป็นความ
เกี่ยวข้อง เป็นสัมปยุตตะ เป็นความแล่นไป เป็นความผ่องใส เป็นความดำรงมั่น
เป็นความพ้นวิเศษ เป็นความเห็นว่า “นี้ละเอียด” ของเมตตาเจโตวิมุตติ เมตตา-
เจโตวิมุตติที่บุคคลทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนือง ๆ สั่งสมแล้ว ปรารภ
เสมอดีแล้ว เจริญดีแล้ว อธิษฐานดีแล้ว ดำเนินไปดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมยัง
เมตตานั้นให้เกิด ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว
มัคคังควาร จบ
เมตตากถา จบ

๕. วิราคกถา
ว่าด้วยวิราคะ
[๒๘] วิราคะชื่อว่ามรรค วิมุตติชื่อว่าผล
วิราคะชื่อว่ามรรค เป็นอย่างไร
คือ ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค วิราคะที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น
ย่อมคลายจากมิจฉาทิฏฐิ คลายจากกิเลสอันเป็นไปตามมิจฉาทิฏฐินั้น จากขันธ์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๗๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๕. วิราคกถา
และคลายจากสรรพนิมิตภายนอก วิราคะมีวิราคะ๑เป็นอารมณ์ มีวิราคะเป็นโคจร
รวมลงในวิราคะ ตั้งอยู่ในวิราคะ ประดิษฐานอยู่ในวิราคะ
คำว่า วิราคะ อธิบายว่า วิราคะมี ๒ อย่าง คือ
๑. นิพพานเป็นวิราคะ
๒. ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะมีนิพพานเป็นอารมณ์เป็นวิราคะ
เพราะฉะนั้น มรรคจึงเป็นวิราคะ องค์มรรค ๗ ที่เป็นสหชาติย่อมถึงความ
เป็นวิราคะ เพราะฉะนั้น วิราคะจึงเป็นมรรค พระพุทธเจ้า และสาวกย่อมถึง
นิพพานซึ่งเป็นทิศที่ไม่เคยไปด้วยมรรคนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่ามรรคมีองค์ ๘
อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้นล้ำเลิศ เป็นประธาน สูงสุด และประเสริฐกว่ามรรค
ของสมณพราหมณ์เป็นจำนวนมากผู้ถือลัทธิอื่น เพราะฉะนั้น มรรคมีองค์ ๘ จึง
ประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย วิราคะที่ชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ เพราะมีสภาวะตรึกตรอง
ย่อมคลายจากมิจฉาสังกัปปะ ฯลฯ วิราคะที่ชื่อว่าสัมมาวาจา เพราะมีสภาวะ
กำหนด ย่อมคลายจากมิจฉาวาจา วิราคะที่ชื่อว่าสัมมากัมมันตะ เพราะมีสภาวะ
เป็นสมุฏฐาน ย่อมคลายจากมิจฉากัมมันตะ วิราคะที่ชื่อว่าสัมมาอาชีวะ เพราะมี
สภาวะผ่องแผ้ว ย่อมคลายจากมิจฉาอาชีวะ วิราคะที่ชื่อว่าสัมมาวายามะ เพราะ
มีสภาวะประคองไว้ ย่อมคลายจากมิจฉาวายามะ วิราคะที่ชื่อว่าสัมมาสติ เพราะ
มีสภาวะตั้งมั่น ย่อมคลายจากมิจฉาสติ วิราคะที่ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะมี
สภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมคลายจากมิจฉาสมาธิ คลายจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉา-
สมาธินั้น จากขันธ์ และคลายจากสรรพนิมิตภายนอก วิราคะจึงมีวิราคะเป็นอารมณ์
มีวิราคะเป็นโคจร รวมลงในวิราคะ ตั้งอยู่ในวิราคะ ประดิษฐานอยู่ในวิราคะ
คำว่า วิราคะ อธิบายว่า วิราคะมี ๒ อย่าง คือ
๑. นิพพานเป็นวิราคะ
๒. ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะมีนิพพานเป็นอารมณ์เป็นวิราคะ

เชิงอรรถ :
๑ วิราคะ ในที่นี้หมายถึงนิพพาน (ขุ.ป.อ. ๒/๘/๒๔๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๕. วิราคกถา
เพราะฉะนั้น มรรคจึงเป็นวิราคะ องค์มรรค ๗ ที่เป็นสหชาติ ย่อมถึงความ
เป็นวิราคะ เพราะฉะนั้น วิราคะจึงเป็นมรรค พระพุทธเจ้า และสาวก ย่อมถึง
นิพพานซึ่งเป็นทิศที่ไม่เคยไปด้วยมรรคนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่ามรรคมีองค์ ๘
อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้นล้ำเลิศ เป็นประธาน สูงสุด และประเสริฐกว่ามรรค
ของสมณพรหมณ์เป็นจำนวนมากผู้ถือลัทธิอื่น เพราะฉะนั้น มรรคมีองค์ ๘ จึง
ประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย
ในขณะแห่งสกทาคามิมรรค วิราคะที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น ฯลฯ
วิราคะที่ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมคลายจากกามราค-
สังโยชน์ จากปฏิฆสังโยชน์ ส่วนที่หยาบ ๆ จากกามราคานุสัย จากปฏิฆานุสัย
ส่วนที่หยาบ ๆ คลายจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ และคลาย
จากสรรพนิมิตภายนอก วิราคะจึงมีวิราคะเป็นอารมณ์ มีวิราคะเป็นโคจร รวมลง
ในวิราคะ ตั้งอยู่ในวิราคะ ประดิษฐานอยู่ในวิราคะ
คำว่า วิราคะ อธิบายว่า วิราคะมี ๒ อย่าง คือ
๑. นิพพานเป็นวิราคะ
๒. ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะมีนิพพานเป็นอารมณ์เป็นวิราคะ
ฯลฯ เพราะฉะนั้น มรรคมีองค์ ๘ จึงประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย
ในขณะแห่งอนาคามิมรรค วิราคะที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น ฯลฯ
วิราคะที่ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมคลายจากกามราค-
สังโยชน์ จากปฏิฆสังโยชน์ ส่วนที่ละเอียด ๆ จากกามราคานุสัย จากปฏิฆานุสัย
ส่วนที่ละเอียด ๆ คลายจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ และคลาย
จากสรรพนิมิตภายนอก วิราคะจึงมีวิราคะเป็นอารมณ์ ฯลฯ เพราะฉะนั้น มรรค
มีองค์ ๘ จึงประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย
ในขณะแห่งอรหัตตมรรค วิราคะที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น ฯลฯ
วิราคะที่ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมคลายจากรูปราคะ จาก
อรูปราคะ จากอุทธัจจะ จากอวิชชา จากมานานุสัย จากภวราคานุสัย จาก
อวิชชานุสัย คลายจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ และคลายจาก
สรรพนิมิตภายนอก วิราคะจึงมีวิราคะเป็นอารมณ์ มีวิราคะเป็นโคจร รวมลงใน
วิราคะ ตั้งอยู่ในวิราคะ ประดิษฐานอยู่ในวิราคะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๕. วิราคกถา
คำว่า วิราคะ อธิบายว่า วิราคะมี ๒ อย่าง คือ
๑. นิพพานเป็นวิราคะ
๒. ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะมีนิพพานเป็นอารมณ์เป็นวิราคะ
เพราะฉะนั้น มรรคจึงเป็นวิราคะ องค์มรรค ๗ ที่เป็นสหชาติย่อมถึงความ
เป็นวิราคะ เพราะฉะนั้น วิราคะจึงเป็นมรรค พระพุทธเจ้า และสาวกย่อมถึง
นิพพานซึ่งเป็นทิศที่ไม่เคยไปด้วยมรรคนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่ามรรคมีองค์ ๘
อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้นล้ำเลิศ เป็นประธาน สูงสุด และประเสริฐกว่ามรรค
ของสมณพราหมณ์เป็นจำนวนมากผู้ถือลัทธิอื่น เพราะฉะนั้น มรรคมีองค์ ๘ จึง
ประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย
วิราคะคือความเห็น ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ วิราคะคือความตรึกตรอง ชื่อว่าสัมมา-
สังกัปปะ วิราคะคือความกำหนด ชื่อว่าสัมมาวาจา วิราคะคือสมุฏฐาน ชื่อว่า
สัมมากัมมันตะ วิราคะคือความผ่องแผ้ว ชื่อว่าสัมมาอาชีวะ วิราคะคือการ
ประคองไว้ ชื่อว่าสัมมาวายามะ วิราคะคือความตั้งมั่น ชื่อว่าสัมมาสติ วิราคะคือ
ความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าสัมมาสมาธิ
วิราคะคือความตั้งมั่น ชื่อว่าสติสัมโพชฌงค์ วิราคะคือการเลือกเฟ้น ชื่อว่า
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิราคะคือการประคองไว้ ชื่อว่าวิริยสัมโพชฌงค์ วิราคะคือ
ความแผ่ไป ชื่อว่าปีติสัมโพชฌงค์ วิราคะคือความสงบระงับ ชื่อว่าปัสสัทธิ-
สัมโพชฌงค์ วิราคะคือความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าสมาธิสัมโพชฌงค์ วิราคะคือการ
พิจารณา ชื่อว่าอุเบกขาสัมโพชฌงค์
วิราคะคือความไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธา ชื่อว่าสัทธาพละ วิราคะคือ
ความไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน ชื่อว่าวิริยพละ วิราคะคือความไม่หวั่นไหว
เพราะความประมาท ชื่อว่าสติพละ วิราคะคือความไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ ชื่อว่า
สมาธิพละ วิราคะคือความไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา ชื่อว่าปัญญาพละ
วิราคะคือความน้อมใจเชื่อ ชื่อว่าสัทธินทรีย์ วิราคะคือการประคองไว้ ชื่อว่า
วิริยินทรีย์ วิราคะคือความตั้งมั่น ชื่อว่าสตินทรีย์ วิราคะคือความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่า
สมาธินทรีย์ วิราคะคือความเห็น ชื่อว่าปัญญินทรีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๕. วิราคกถา
วิราคะที่ชื่อว่าอินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ วิราคะที่ชื่อว่าพละ เพราะมี
สภาวะไม่หวั่นไหว วิราคะที่ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะนำออก วิราคะที่ชื่อว่า
มรรค เพราะมีสภาวะเป็นเหตุ วิราคะที่ชื่อว่าสติปัฏฐาน เพราะมีสภาวะตั้งมั่น วิราคะ
ที่ชื่อว่าสัมมัปปธาน เพราะมีสภาวะเริ่มตั้งไว้ วิราคะที่ชื่อว่าอิทธิบาท เพราะมีสภาวะ
ให้สำเร็จ วิราคะที่ชื่อว่าสัจจะ เพราะมีสภาวะเป็นของแท้ วิราคะที่ชื่อว่าสมถะ เพราะ
มีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน วิราคะที่ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น วิราคะที่
ชื่อว่าสมถะและวิปัสสนา เพราะมีสภาวะมีรสเป็นอย่างเดียวกัน วิราคะที่ชื่อว่าธรรม
ที่เป็นคู่กัน เพราะมีสภาวะไม่ล่วงเลยกัน
วิราคะที่ชื่อว่าสีลวิสุทธิ๑ เพราะมีสภาวะสำรวม วิราคะที่ชื่อว่าจิตตวิสุทธิ๒
เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน วิราคะที่ชื่อว่าทิฏฐิวิสุทธิ เพราะมีสภาวะเห็น วิราคะที่
ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะมีสภาวะพ้นวิเศษ วิราคะที่ชื่อว่าวิชชา เพราะมีสภาวะรู้แจ้ง
วิราคะที่ชื่อว่าวิมุตติ๓ เพราะมีสภาวะสละ วิราคะที่ชื่อว่าญาณในความสิ้นไป เพราะ
มีสภาวะตัดขาด วิราคะที่ชื่อว่าฉันทะ เพราะมีสภาวะเป็นมูล วิราคะที่ชื่อว่ามนสิการ
เพราะมีสภาวะเป็นสมุฏฐาน วิราคะที่ชื่อว่าผัสสะ เพราะมีสภาวะเป็นที่รวม
วิราคะที่ชื่อว่าเวทนา เพราะมีสภาวะเป็นที่ประชุม วิราคะที่ชื่อว่าสมาธิ เพราะมี
สภาวะเป็นประธาน วิราคะที่ชื่อว่าสติ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ วิราคะที่ชื่อว่าปัญญา
เพราะมีสภาวะเป็นธรรมที่ยิ่งกว่าธรรมนั้น ๆ วิราคะที่ชื่อว่าวิมุตติ เพราะมีสภาวะ
เป็นแก่นสาร มรรคที่ชื่อว่าธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เพราะมีสภาวะเป็นที่สุด
มรรคคือความเห็น ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ มรรคคือความตรึกตรอง ชื่อว่าสัมมา-
สังกัปปะ ฯลฯ มรรคที่ชื่อว่าธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เพราะมีสภาวะ
เป็นที่สุด
วิราคะชื่อว่ามรรคอย่างนี้

เชิงอรรถ :
๑ สีลวิสุทธิ หมายถึงสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ (ขุ.ป.อ. ๒/๒๘/๒๔๙)
๒ จิตตวิสุทธิ หมายถึงสัมมาสมาธิ (ขุ.ป.อ. ๒/๒๘/๒๔๙)
๓ วิมุตติ หมายถึงสมุจเฉทวิมุตติ (ขุ.ป.อ. ๒/๒๘/๒๔๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๕. วิราคกถา
[๒๙] วิมุตติชื่อว่าผล เป็นอย่างไร
คือ ในขณะแห่งโสดาปัตติผล วิมุตติที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น
ย่อมพ้นจากมิจฉาทิฏฐิ พ้นจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาทิฏฐินั้น จากขันธ์ และ
พ้นจากสรรพนิมิตภายนอก วิมุตติจึงมีวิมุตติเป็นอารมณ์ มีวิมุตติเป็นโคจร รวม
ลงในวิมุตติ ตั้งอยู่ในวิมุตติ ประดิษฐานอยู่ในวิมุตติ
คำว่า วิมุตติ อธิบายว่า วิมุตติมี ๒ อย่าง คือ
๑. นิพพานเป็นวิมุตติ
๒. ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะมีนิพพานเป็นอารมณ์เป็นวิมุตติ
เพราะฉะนั้น วิมุตติจึงชื่อว่าเป็นผล
วิมุตติที่ชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ เพราะมีสภาวะตรึกตรอง ย่อมพ้นจากมิจฉา-
สังกัปปะ ฯลฯ วิมุตติที่ชื่อว่าสัมมาวาจา เพราะมีสภาวะกำหนด ย่อมพ้นจาก
มิจฉาวาจา ฯลฯ วิมุตติที่ชื่อว่าสัมมากัมมันตะ เพราะมีสภาวะเป็นสมุฏฐาน
ย่อมพ้นจากมิจฉากัมมันตะ ฯลฯ วิมุตติที่ชื่อว่าสัมมาอาชีวะ เพราะมีสภาวะ
ผ่องแผ้ว ย่อมพ้นจากมิจฉาอาชีวะ ฯลฯ วิมุตติที่ชื่อว่าสัมมาวายามะ เพราะมี
สภาวะประคองไว้ ย่อมพ้นจากมิจฉาวายามะ ฯลฯ วิมุตติที่ชื่อว่าสัมมาสติ
เพราะมีสภาวะตั้งมั่น ย่อมพ้นจากมิจฉาสติ ฯลฯ วิมุตติที่ชื่อว่าสัมมาสมาธิ
เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมพ้นจากมิจฉาสมาธิ พ้นจากกิเลสที่เป็นไปตาม
มิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ และพ้นจากสรรพนิมิตภายนอก วิมุตติจึงมีวิมุตติเป็น
อารมณ์มีวิมุตติเป็นโคจร รวมลงในวิมุตติ ตั้งอยู่ในวิมุตติ ประดิษฐานอยู่ในวิมุตติ
คำว่า วิมุตติ อธิบายว่า วิมุตติมี ๒ อย่าง คือ
๑. นิพพานเป็นวิมุตติ
๒. ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะมีนิพพานเป็นอารมณ์เป็นวิมุตติ
เพราะฉะนั้น วิมุตติจึงชื่อว่าเป็นผล
ในขณะแห่งสกทาคามิผล วิมุตติที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น ฯลฯ
วิมุตติที่ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมพ้นจากกามราคสังโยชน์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๕. วิราคกถา
จากปฏิฆสังโยชน์ ส่วนที่หยาบ ๆ จากกามราคานุสัย จากปฏิฆานุสัย ส่วนที่
หยาบ ๆ พ้นจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ และพ้นจากสรรพนิมิต
ภายนอก ฯลฯ เพราะฉะนั้น วิมุตติจึงชื่อว่าเป็นผล
ในขณะแห่งอนาคามิผล วิมุตติที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น ฯลฯ
วิมุตติที่ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมพ้นจากกามราคสังโยชน์
จากปฏิฆสังโยชน์ ส่วนที่ละเอียด ๆ จากกามราคานุสัย จากปฏิฆานุสัย ส่วนที่
ละเอียด ๆ พ้นจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ และพ้นจาก
สรรพนิมิตภายนอก ฯลฯ เพราะฉะนั้น วิมุตติจึงชื่อว่าเป็นผล
ในขณะแห่งอรหัตตผล วิมุตติที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น ฯลฯ
วิมุตติที่ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมพ้นจากรูปราคะ จาก
อรูปราคะ จากมานะ จากอุทธัจจะ จากอวิชชา จากมานานุสัย จากภวราคานุสัย
จากอวิชชานุสัย พ้นจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ และพ้น
จากสรรพนิมิตภายนอก วิมุตติจึงมีวิมุตติเป็นอารมณ์ มีวิมุตติเป็นโคจร รวมลงใน
วิมุตติ ตั้งอยู่ในวิมุตติ ประดิษฐานอยู่ในวิมุตติ
คำว่า วิมุตติ อธิบายว่า วิมุตติมี ๒ อย่าง คือ
๑. นิพพานเป็นวิมุตติ
๒. ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะมีนิพพานเป็นอารมณ์เป็นวิมุตติ
เพราะฉะนั้น วิมุตติจึงชื่อว่าเป็นผล
วิมุตติคือความเห็น ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ วิมุตติคือความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่า
สัมมาสมาธิ
วิมุตติคือความตั้งมั่น ชื่อว่าสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ วิมุตติคือการพิจารณา
ชื่อว่าอุเบกขาสัมโพชฌงค์
วิมุตติคือความไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธา ชื่อว่าสัทธาพละ ฯลฯ
วิมุตติคือความไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา ชื่อว่าปัญญาพละ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๕. วิราคกถา
วิมุตติคือความน้อมใจเชื่อ ชื่อว่าสัทธินทรีย์ ฯลฯ วิมุตติคือความเห็น ชื่อว่า
ปัญญินทรีย์
วิมุตติที่ชื่อว่าอินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ วิมุตติที่ชื่อว่าพละ เพราะมี
สภาวะไม่หวั่นไหว วิมุตติที่ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะนำออก วิมุตติที่ชื่อว่า
มรรค เพราะมีสภาวะเป็นเหตุ วิมุตติที่ชื่อว่าสติปัฏฐาน เพราะมีสภาวะตั้งมั่น
วิมุตติที่ชื่อว่าสัมมัปปธาน เพราะมีสภาวะเริ่มตั้งไว้ วิมุตติที่ชื่อว่าอิทธิบาท
เพราะมีสภาวะให้สำเร็จ วิมุตติที่ชื่อว่าสัจจะ เพราะมีสภาวะเป็นของแท้ วิมุตติที่
ชื่อว่าสมถะ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน วิมุตติที่ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะ
พิจารณาเห็น วิมุตติที่ชื่อว่าสมถะและวิปัสสนา เพราะมีสภาวะมีรสเป็นอย่าง
เดียวกัน วิมุตติที่ชื่อว่าธรรมที่เป็นคู่กัน เพราะมีสภาวะไม่ล่วงเลยกัน
วิมุตติที่ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีสภาวะสำรวม วิมุตติที่ชื่อว่าจิตตวิสุทธิ
เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน วิมุตติที่ชื่อว่าทิฏฐิวิสุทธิ เพราะมีสภาวะเห็น วิมุตติที่
ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะมีสภาวะพ้นวิเศษ วิมุตติที่ชื่อว่าวิชชา เพราะมีสภาวะรู้แจ้ง
วิมุตติที่ชื่อว่าวิมุตติ เพราะมีสภาวะสละ วิมุตติที่ชื่อว่าอนุปปาทญาณ เพราะมี
สภาวะสงบระงับ วิมุตติที่ชื่อว่าฉันทะ เพราะมีสภาวะเป็นมูล วิมุตติที่ชื่อว่า
มนสิการ เพราะมีสภาวะเป็นสมุฏฐาน วิมุตติที่ชื่อว่าผัสสะ เพราะมีสภาวะเป็น
ที่รวม วิมุตติที่ชื่อว่าเวทนา เพราะมีสภาวะเป็นที่ประชุม วิมุตติที่ชื่อว่าสมาธิ
เพราะมีสภาวะเป็นประธาน วิมุตติที่ชื่อว่าสติ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ วิมุตติที่ชื่อ
ว่าปัญญา เพราะมีสภาวะเป็นธรรมที่ยิ่งกว่าธรรมนั้น วิมุตติที่ชื่อว่าวิมุตติ เพราะ
มีสภาวะเป็นแก่นสาร วิมุตติที่ชื่อว่าธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เพราะ
มีสภาวะเป็นที่สุด
วิมุตติชื่อว่าผลอย่างนี้ วิราคะชื่อว่ามรรค วิมุตติชื่อว่าผล ด้วยประการฉะนี้

วิราคกถา จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๖. ปฏิสัมภิทากถา ๑. ธัมมจักกัปปวัตตนวาร
๖. ปฏิสัมภิทากถา
ว่าด้วยปฏิสัมภิทา
๑. ธัมมจักกัปปวัตตนวาร๑
วาระว่าด้วยการประกาศธรรมจักร
[๓๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุง
พาราณสี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสแก่ภิกษุปัญจวัคคีย์ว่า
ภิกษุทั้งหลาย ที่สุด ๒ ประการนี้ บรรพชิตไม่ควรเสพ
ที่สุด ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กามสุขัลลิกานุโยค (การหมกมุ่นอยู่ด้วยกามสุขในกามทั้งหลาย)
เป็นธรรมอันเลวทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่
ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
๒. อัตตกิลมถานุโยค (การประกอบความลำบากเดือดร้อนแก่ตน) เป็น
ทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ภิกษุทั้งหลาย มัชฌิมาปฏิปทาไม่เอียงเข้าใกล้ที่สุด ๒ ประการนี้นั้นตถาคต
ตรัสรู้แล้ว ทำให้เห็นประจักษ์ ทำให้รู้ชัด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง
เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
มัชฌิมาปฏิปทาที่ตถาคตตรัสรู้แล้ว ทำให้เห็นประจักษ์ ทำให้รู้ชัด ย่อม
เป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพานนั้น เป็น
อย่างไร

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) ๔/๑๓-๑๗/๒๐-๒๕ สํ.ม. (แปล) ๑๙/๑๐๘๑/๓๖๗-๓๗๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๖. ปฏิสัมภิทากถา ๑. ธัมมจักกัปปวัตตนวาร
คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้๑ ได้แก่

๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ
๓. สัมมาวาจา ๔. สัมมากัมมันตะ
๕. สัมมาอาชีวะ ๖. สัมมาวายามะ
๗. สัมมาสติ ๘. สัมมาสมาธิ

ภิกษุทั้งหลาย มัชฌิมาปฏิปทานี้นั้น ตถาคตตรัสรู้แล้ว ทำให้เห็นประจักษ์
ทำให้รู้ชัด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
ภิกษุทั้งหลาย ทุกขอริยสัจนี้ คือ ชาติเป็นทุกข์ ชราเป็นทุกข์ พยาธิเป็นทุกข์
มรณะเป็นทุกข์ ความประสบกับอารมณ์อันไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ความพลัดพราก
จากอารมณ์อันเป็นที่รักก็เป็นทุกข์ การไม่ได้อารมณ์ที่ปรารถนาก็เป็นทุกข์ โดยย่อ
อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์
ภิกษุทั้งหลาย ทุกขสมุทยอริยสัจนี้ คือ ตัณหาอันทำให้เกิดอีกประกอบด้วย
ความเพลิดเพลิน และความกำหนัด มีปกติให้เพลิดเพลินในอารมณ์นั้น ๆ คือ
กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา

เชิงอรรถ :
๑ องค์มรรคแต่ละข้อมีนัยพิสดาร ดังนี้
๑. สัมมาทิฏฐิ หมายถึงเห็นอริยสัจ ๔ เห็นไตรลักษณ์ หรือเห็นปฏิจจสมุปบาท
๒. สัมมาสังกัปปะ หมายถึงความนึกคิดในทางสละปลอดจากกาม ความนึกคิดปลอดจากพยาบาทและ
ความนึกคิดปลอดจากการเบียดเบียน
๓. สัมมาวาจา หมายถึงพูดคำสัตย์ ไม่พูดส่อเสียด พูดคำอ่อนหวาน พูดสิ่งมีสาระ
๔. สัมมากัมมันตะ หมายถึงไม่เบียดเบียนชีวิตสัตว์ทั้งหลาย ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม
๕. สัมมาอาชีวะ หมายถึงเว้นมิจฉาชีพ ประกอบสัมมาอาชีพ
๖. สัมมาวายามะ หมายถึงเพียรระวังความชั่วไม่ให้เกิดขึ้น เพียรกำจัดความชั่วที่เกิดขึ้นแล้ว เพียรทำ
ความดีให้เกิด เพียรรักษาความดีไว้
๗. สัมมาสติ หมายถึงพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม
๘. สัมมาสมาธิ หมายถึงฌาน ๔
(ที.ม. (แปล) ๑๐/๓๒๙/๒๕๘,๔๐๒/๓๓๕, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๒๐๕/๑๗๑,๔๘๖/๓๗๑,๔๘๘,๔๙๐/๓๗๓,
๔๙๘/๓๗๗,๕๐๔/๓๘๐, ม.อ. ๑๔/๓๒๕/๒๙๗,๓๗๕/๓๑๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๖. ปฏิสัมภิทากถา ๑. ธัมมจักกัปปวัตตนวาร
ภิกษุทั้งหลาย ทุกขนิโรธอริยสัจนี้ คือความดับตัณหานั้นนั่นแลโดยไม่เหลือ
ด้วยวิราคะ ความสละ ความสละคืน ความพ้น ความไม่อาลัยในตัณหา
ภิกษุทั้งหลาย ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้คืออริยมรรคมีองค์ ๘ คือv
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้ทุกข-
อริยสัจ”
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขอริยสัจนี้
ควรกำหนดรู้” จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว
วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อน
ว่า “ทุกขอริยสัจนี้เรากำหนดรู้แล้ว”
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้ทุกขสมุทย-
อริยสัจ”
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขสมุทย-
อริยสัจนี้ควรละ” จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชา
เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า
“ทุกขสมุทยอริยสัจนี้เราละได้แล้ว”
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้ทุกขนิโรธ-
อริยสัจ”
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขนิโรธ-
อริยสัจนี้ควรทำให้แจ้ง” จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว
วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อน
ว่า “ทุกขนิโรธอริยสัจนี้เราทำให้แจ้งแล้ว”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๖. ปฏิสัมภิทากถา ๑. ธัมมจักกัปปวัตตนวาร
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้ทุกขนิโรธ-
คามินีปฏิปทาอริยสัจ”
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขนิโรธ-
คามินีปฏิปทาอริยสัจนี้ควรเจริญ” จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญา
เกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย
ได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้เราได้เจริญแล้ว”
ภิกษุทั้งหลาย ยถาภูตญาณทัสสนะของเราในอริยสัจ ๔ นี้ ๓ รอบ๑ ๑๒
อาการ๒อย่างนี้ ยังไม่หมดจดดีตราบใด เราก็ยังไม่ยืนยันว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมา-
สัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่
สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ตราบนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ยถาภูตญาณทัสสนะของเราในอริยสัจ ๔ นี้ ๓ รอบ
๑๒ อาการอย่างนี้ หมดจดดีแล้ว เมื่อนั้น เราจึงยืนยันได้ว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมา-
สัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่
สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ อนึ่ง ญาณทัสสนะเกิดขึ้นแล้วแก่
เราว่า “ความหลุดพ้นของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเวยยากรณ์๓นี้จบลงแล้ว ภิกษุปัญจวัคคีย์ชื่นชม ยินดี
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค
เมื่อพระผู้มีพระภาคกำลังตรัสเวยยากรณ์นี้อยู่ ธัมมจักขุ๔อันปราศจากธุลี
ปราศจากมลทิน ได้เกิดแก่ท่านพระโกณฑัญญะว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้น
เป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา”

เชิงอรรถ :
๑ ๓ รอบ ได้แก่ (๑) สัจจญาณ (๒) กิจจญาณ (๓) กตญาณ (ขุ.ป.อ. ๒/๓๐/๒๕๓)
๒ ๑๒ อาการ ได้แก่ บรรดาสัจจะ ๔ (ทุกข์,ทุกขสมุทัย, ทุกขนิโรธ, ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา) แต่ละสัจจะมี
อาการอย่างละ ๓ จึงรวมเป็น ๑๒ อาการ (ขุ.ป.อ. ๒/๓๐/๒๕๓)
๓ เวยยากรณ์ ในที่นี้หมายถึงพระสูตรที่ไม่มีคาถา ประกอบด้วยคำถามคำตอบ (สารตฺถ. ฏีกา ๓/๑๖/๒๒๐)
เป็นองค์อันหนึ่งในนวังคสัตถุศาสน์ (วิ.อ. ๑/๒๖)
๔ ธัมมจักขุ หมายถึงดวงตาเห็นธรรม คือ โสดาปัตติมัคคญาณ (วิ.อ. ๓/๕๖/๒๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๖. ปฏิสัมภิทากถา ๑. ธัมมจักกัปปวัตตนวาร
ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมจักรให้เป็นไปแล้ว เทพชั้นภุมมะกระจาย
ข่าวว่า “นั่นธรรมจักรอันยอดเยี่ยม พระผู้มีพระภาคทรงให้เป็นไปแล้ว ณ ป่า
อิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม
หรือใคร ๆ ในโลกให้หมุนกลับไม่ได้”
เทพชั้นจาตุมหาราชได้สดับเสียงประกาศของเทพชั้นภุมมะแล้ว ได้กระจาย
ข่าวต่อไป ฯลฯ
เทพชั้นดาวดึงส์ได้สดับเสียงประกาศของเทพชั้นจาตุมหาราชแล้ว ได้กระจาย
ข่าวต่อไป ฯลฯ
เทพชั้นยามา ฯลฯ
เทพชั้นดุสิต ฯลฯ
เทพชั้นนิมมานรดี ฯลฯ
เทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ฯลฯ
เทพผู้นับเนื่องในหมู่พรหมสดับเสียงของเหล่าเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดีแล้ว
ก็กระจายข่าวว่า “นั่นธรรมจักรอันยอดเยี่ยม พระผู้มีพระภาคทรงให้เป็นไปแล้ว
ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร
พรหม หรือใคร ๆ ในโลกให้หมุนกลับไม่ได้”
โดยขณะ๑ครู่เดียวเท่านั้น เสียงป่าวประกาศได้กระจายขึ้นไปถึงพรหมโลก
ด้วยประการฉะนี้
ทั้งหมื่นโลกธาตุนี้ก็สั่นสะเทือนเลื่อนลั่น ทั้งแสงสว่างอันเจิดจ้าหาประมาณมิได้
ยิ่งกว่าเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย ก็ปรากฏในโลก
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเปล่งพระอุทานว่า “ผู้เจริญทั้งหลาย โกณฑัญญะ
ได้รู้แล้วหนอ ผู้เจริญทั้งหลาย โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ” ดังนั้น คำว่า “อัญญา-
โกณฑัญญะ” นี้ จึงได้เป็นชื่อของท่านโกณฑัญญะนั่นแล

เชิงอรรถ :
๑ ดีดนิ้วมือ ๑๐ ครั้ง เป็น ๑ ขณะ, ๑๐ ขณะ เป็น ๑ ลยะ, ๑๐ ลยะ เป็น ๑ ขณลยะ, ๑๐ ขณลยะ เป็น ๑ ครู่
(อภิธา.ฏี.คาถา ๖๖-๖๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๖. ปฏิสัมภิทากถา ๑. ธัมมจักกัปปวัตตนวาร
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้ทุกขอริยสัจ”
คำว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “ญาณเกิดขึ้นแล้ว”
เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า
“วิชชาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว”
เพราะมีสภาวะอย่างไร
คือ คำว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะเห็น คำว่า “ญาณเกิดขึ้น
แล้ว” เพราะมีสภาวะรู้ คำว่า “ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะรู้ชัด คำว่า
“วิชชาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะรู้แจ้ง คำว่า “แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว”
เพราะมีสภาวะสว่างไสว
จักษุเป็นธรรม ญาณเป็นธรรม ปัญญาเป็นธรรม วิชชาเป็นธรรม แสงสว่าง
เป็นธรรม ธรรม ๕ ประการนี้เป็นอารมณ์และเป็นโคจรของธัมมปฏิสัมภิทา
ธรรมเหล่าใดเป็นอารมณ์ของธัมมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่านั้นเป็นโคจรของธัมม-
ปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่าใดเป็นโคจรของธัมมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่านั้นเป็นอารมณ์
ของธัมมปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในธรรมทั้งหลายว่าธัมมปฏิสัมภิทา
สภาวะที่เห็นเป็นอรรถ สภาวะที่รู้เป็นอรรถ สภาวะที่รู้ชัดเป็นอรรถ สภาวะที่
รู้แจ้งเป็นอรรถ สภาวะที่สว่างไสวเป็นอรรถ อรรถ ๕ ประการนี้เป็นอารมณ์และ
เป็นโคจรของอัตถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่าใดเป็นอารมณ์ของอัตถปฏิสัมภิทา อรรถ
เหล่านั้นเป็นโคจรของอัตถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่าใดเป็นโคจรของอัตถปฏิสัมภิทา
อรรถเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของอัตถปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณใน
อรรถทั้งหลายว่า อัตถปฏิสัมภิทา
นิรุตติ ๑๐ ประการนี้ คือ การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงธรรม ๕
ประการ การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงอรรถ ๕ ประการ เป็นอารมณ์
และเป็นโคจรของนิรุตติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่าใดเป็นอารมณ์ของนิรุตติ-
ปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่านั้นเป็นโคจรของนิรุตติปฏิสัมภิทา ธรรมและ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๖. ปฏิสัมภิทากถา ๑. ธัมมจักกัปปวัตตนวาร
อรรถเหล่าใดเป็นโคจรของนิรุตติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่านั้นเป็นอารมณ์
ของนิรุตติปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในนิรุตติทั้งหลายว่า นิรุตติ-
ปฏิสัมภิทา
ญาณ ๒๐ ประการนี้ คือ ญาณในธรรม ๕ ประการ ญาณในอรรถ ๕ ประการ
ญาณในนิรุตติ ๑๐ ประการ เป็นอารมณ์และเป็นโคจรของปฏิภาณปฏิสัมภิทา
ญาณในธรรมเหล่าใดเป็นอารมณ์ของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่านั้น
เป็นโคจรของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่าใดเป็นโคจรของปฏิภาณ-
ปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของปฏิภาณปฏิสัมภิทา เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในปฏิภาณทั้งหลายว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขอริยสัจนี้
นั้นแลควรกำหนดรู้” ฯลฯ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขอริยสัจ
นี้นั้นเรากำหนดรู้แล้ว”
คำว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “ญาณเกิดขึ้นแล้ว”
เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า
“วิชชาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว”
เพราะมีสภาวะอย่างไร
คือ คำว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะเห็น คำว่า “ญาณเกิดขึ้นแล้ว”
เพราะมีสภาวะรู้ คำว่า “ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะรู้ชัด คำว่า “วิชชา
เกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะรู้แจ้ง คำว่า “แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะ
สว่างไสว
จักษุเป็นธรรม ญาณเป็นธรรม ปัญญาเป็นธรรม วิชชาเป็นธรรม แสงสว่าง
เป็นธรรม ธรรม ๕ ประการนี้เป็นอารมณ์และเป็นโคจรของธัมมปฏิสัมภิทา ธรรม
เหล่าใดเป็นอารมณ์ของธัมมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่านั้นเป็นโคจรของธัมมปฏิสัมภิทา
ธรรมเหล่าใดเป็นโคจรของธัมมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของธัมม-
ปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในธรรมทั้งหลายว่า ธัมมปฏิสัมภิทา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๖. ปฏิสัมภิทากถา ๑. ธัมมจักกัปปวัตตนวาร
สภาวะที่เห็นเป็นอรรถ สภาวะที่รู้เป็นอรรถ สภาวะที่รู้ชัดเป็นอรรถ สภาวะที่
รู้แจ้งเป็นอรรถ สภาวะที่สว่างไสวเป็นอรรถ อรรถ ๕ ประการนี้เป็นอารมณ์และ
เป็นโคจรของอัตถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่าใดเป็นอารมณ์ของอัตถปฏิสัมภิทา อรรถ
เหล่านั้นเป็นโคจรของอัตถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่าใดเป็นโคจรของอัตถปฏิสัมภิทา
อรรถเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของอัตถปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณใน
อรรถทั้งหลายว่า อัตถปฏิสัมภิทา
นิรุตติ ๑๐ ประการนี้ คือ การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงธรรม ๕
ประการ การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงอรรถ ๕ ประการเป็นอารมณ์และ
เป็นโคจรของนิรุตติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่าใดเป็นอารมณ์ของนิรุตติ-
ปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่านั้นเป็นโคจรของนิรุตติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถ
เหล่าใดเป็นโคจรของนิรุตติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของนิรุตติ-
ปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในนิรุตติทั้งหลายว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา
ญาณ ๒๐ ประการนี้ คือ ญาณในธรรม ๕ ประการ ญาณในอรรถ ๕ ประการ
ญาณในนิรุตติ ๑๐ ประการ เป็นอารมณ์และเป็นโคจรของปฏิภาณปฏิสัมภิทา
ญาณในธรรมเหล่าใดเป็นอารมณ์ของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่านั้น
เป็นโคจรของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่าใดเป็นโคจรของปฏิภาณปฏิสัมภิทา
ญาณในธรรมเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของปฏิภาณปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึง
เรียกญาณในปฏิภาณทั้งหลายว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
ในทุกขอริยสัจ มีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕ มีนิรุตติ ๓๐ มีญาณ ๖๐
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย
ได้ฟังมาก่อนว่า “นี้ทุกขสมุทยอริยสัจ” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรม
ทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ก็ทุกขสมุทยอริยสัจนี้นั้นควรละ” ฯลฯ แสงสว่าง
เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ก็ทุกขสมุทยอริยสัจนี้
นั้นเราละได้แล้ว” ฯลฯ
ในทุกขสมุทยอริยสัจ มีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕ มีนิรุตติ ๓๐ มีญาณ ๖๐


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๖. ปฏิสัมภิทากถา ๒. สติปัฏฐานวาร
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย
ได้ฟังมาก่อนว่า “นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรม
ทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ก็ทุกขนิโรธอริยสัจนี้นั้น ควรทำให้แจ้ง” ฯลฯ
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ก็ทุกขนิโรธ-
อริยสัจนี้นั้นเราทำให้แจ้งแล้ว” ฯลฯ
ในทุกขนิโรธอริยสัจ มีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕ มีนิรุตติ ๓๐ มีญาณ ๖๐
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย
ได้ฟังมาก่อนว่า “นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว
แก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้น
ควรเจริญ” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า
“ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้นเราเจริญแล้ว” ฯลฯ
ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ มีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕ มีนิรุตติ ๓๐ มี
ญาณ ๖๐
ในอริยสัจ ๔ มีธรรม ๖๐ มีอรรถ ๖๐ มีนิรุตติ ๑๒๐ มีญาณ ๒๔๐

๒. สติปัฏฐานวาร
วาระว่าด้วยสติปัฏฐาน
[๓๑] ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราใน
ธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้การพิจารณาเห็นกายในกาย” แสงสว่าง
เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “การพิจารณาเห็นกาย
ในกายนี้นั้นควรเจริญ” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย
ได้ฟังมาก่อนว่า “การพิจารณาเห็นกายในกายนี้นั้นเราเจริญแล้ว” ฯลฯ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย
ได้ฟังมาก่อนว่า “นี้การพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย” ฯลฯ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย
ได้ฟังมาก่อนว่า “นี้การพิจารณาเห็นจิตในจิต” ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๖. ปฏิสัมภิทากถา ๒. สติปัฏฐานวาร
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้
ฟังมาก่อนว่า “นี้การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้น
แล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “การพิจารณาเห็นธรรมในธรรม
ทั้งหลายนี้นั้นควรเจริญ” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่
เคยได้ฟังมาก่อนว่า “การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายนี้นั้นเราเจริญแล้ว”
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้
ฟังมาก่อนว่า “นี้การพิจารณาเห็นกายในกาย” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “การพิจารณาเห็นกายในกายนี้นั้นควรเจริญ”
ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “การ
พิจารณาเห็นกายในกายนี้นั้นเราเจริญแล้ว”
คำว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “ญาณเกิดขึ้นแล้ว”
เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า
“วิชชาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว”
เพราะมีสภาวะอย่างไร
คือ คำว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะเห็น คำว่า “ญาณเกิดขึ้นแล้ว”
เพราะมีสภาวะรู้ คำว่า “ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะรู้ชัด คำว่า “วิชชา
เกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะรู้แจ้ง คำว่า “แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะ
สว่างไสว
จักษุเป็นธรรม ญาณเป็นธรรม ปัญญาเป็นธรรม วิชชาเป็นธรรม แสงสว่าง
เป็นธรรม ธรรม ๕ ประการนี้เป็นอารมณ์และเป็นโคจรของธัมมปฏิสัมภิทา ธรรม
เหล่าใดเป็นอารมณ์ของธัมมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่านั้นเป็นโคจรของธัมมปฏิสัมภิทา
ธรรมเหล่าใดเป็นโคจรของธัมมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของธัมม-
ปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในธรรมทั้งหลายว่า ธัมมปฏิสัมภิทา
สภาวะที่เห็นเป็นอรรถ สภาวะที่รู้เป็นอรรถ สภาวะที่รู้ชัดเป็นอรรถ สภาวะที่
รู้แจ้งเป็นอรรถ สภาวะที่สว่างไสวเป็นอรรถ อรรถ ๕ ประการนี้เป็นอารมณ์และเป็น
โคจรของอัตถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่าใดเป็นอารมณ์ของอัตถปฏิสัมภิทา อรรถ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๖. ปฏิสัมภิทากถา ๒. สติปัฏฐานวาร
เหล่านั้นเป็นโคจรของอัตถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่าใดเป็นโคจรของอัตถปฏิสัมภิทา
อรรถเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของอัตถปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณใน
อรรถทั้งหลายว่า อัตถปฏิสัมภิทา
นิรุตติ ๑๐ ประการนี้ คือ การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงธรรม ๕
ประการ การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงอรรถ ๕ ประการเป็นอารมณ์และเป็น
โคจรของนิรุตติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่าใดเป็นอารมณ์ของนิรุตติปฏิสัมภิทา
ธรรมและอรรถเหล่านั้นเป็นโคจรของนิรุตติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่าใดเป็น
โคจรของนิรุตติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของนิรุตติปฏิสัมภิทา
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในนิรุตติทั้งหลายว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา
ญาณ ๒๐ ประการนี้ คือ ญาณในธรรม ๕ ประการ ญาณในอรรถ ๕ ประการ
ญาณในนิรุตติ ๑๐ ประการเป็นอารมณ์และเป็นโคจรของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณ
ในธรรมเหล่าใดเป็นอารมณ์ของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่านั้นเป็นโคจร
ของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่าใดเป็นโคจรของปฏิภาณปฏิสัมภิทา
ญาณในธรรมเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของปฏิภาณปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึง
เรียกญาณในปฏิภาณทั้งหลายว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
ในสติปัฏฐานคือการพิจารณาเห็นกายในกาย มีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕ มี
นิรุตติ ๓๐ มีญาณ ๖๐
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย
ได้ฟังมาก่อนว่า “นี้การพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย” ฯลฯ แสงสว่าง
เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้การพิจารณาเห็นจิต
ในจิต” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า
“นี้การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราใน
ธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายนี้
นั้นควรเจริญ” จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลาย
ที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายนี้นั้นเราเจริญ
แล้ว” ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๖. ปฏิสัมภิทากถา ๓. อิทธิปาทวาร
ในสติปัฏฐานคือการพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย มีธรรม ๑๕ มี
อรรถ ๑๕ มีนิรุตติ ๓๐ มีญาณ ๖๐
ในสติปัฏฐาน ๔ มีธรรม ๖๐ มีอรรถ ๖๐ มีนิรุตติ ๑๒๐ มีญาณ ๒๔๐

๓. อิทธิปาทวาร
วาระว่าด้วยอิทธิบาท
[๓๒] ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราใน
ธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้อิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธาน-
สังขาร” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า
“อิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขารนี้นั้นควรเจริญ” ฯลฯ แสงสว่าง
เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “อิทธิบาทอันประกอบด้วย
ฉันทสมาธิปธานสังขารนี้นั้นเราเจริญแล้ว”
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย
ได้ฟังมาก่อนว่า “นี้อิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร” ฯลฯ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย
ได้ฟังมาก่อนว่า “นี้อิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร” ฯลฯ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย
ได้ฟังมาก่อนว่า “นี้อิทธิบาทอันประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร” ฯลฯ
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “อิทธิบาทอัน
ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขารนี้นั้นควรเจริญ” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว
แก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “อิทธิบาทอันประกอบด้วยวิมังสา-
สมาธิปธานสังขารนี้นั้นเราเจริญแล้ว”
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้
ฟังมาก่อนว่า “นี้อิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร” ฯลฯ แสงสว่าง
เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “อิทธิบาทอันประกอบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๖. ปฏิสัมภิทากถา ๓. อิทธิปาทวาร
ด้วยฉันทสมาธิปธานสังขารนี้นั้นควรเจริญ” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราใน
ธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “อิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธาน-
สังขารนี้นั้น เราเจริญแล้ว”
คำว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “ญาณเกิดขึ้นแล้ว”
เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร
คำว่า “วิชชาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว”
เพราะมีสภาวะอย่างไร
คือ คำว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะเห็น คำว่า “ญาณเกิดขึ้นแล้ว”
เพราะมีสภาวะรู้ คำว่า “ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะรู้ชัด คำว่า “วิชชา
เกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะรู้แจ้ง คำว่า “แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะ
สว่างไสว
จักษุเป็นธรรม ญาณเป็นธรรม ปัญญาเป็นธรรม วิชชาเป็นธรรม แสงสว่าง
เป็นธรรม ธรรม ๕ ประการนี้เป็นอารมณ์และเป็นโคจรของธัมมปฏิสัมภิทา ธรรม
เหล่าใดเป็นอารมณ์ของธัมมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่านั้นเป็นโคจรของธัมมปฏิสัมภิทา
ธรรมเหล่าใดเป็นโคจรของธัมมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของธัมม-
ปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในธรรมทั้งหลายว่า ธัมมปฏิสัมภิทา
สภาวะที่เห็นเป็นอรรถ สภาวะที่รู้เป็นอรรถ สภาวะที่รู้ชัดเป็นอรรถ สภาวะที่
รู้แจ้งเป็นอรรถ สภาวะที่สว่างไสวเป็นอรรถ อรรถ ๕ ประการนี้เป็นอารมณ์และ
เป็นโคจรของอัตถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่าใดเป็นอารมณ์ของอัตถปฏิสัมภิทา อรรถ
เหล่านั้นเป็นโคจรของอัตถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่าใดเป็นโคจรของอัตถปฏิสัมภิทา
อรรถเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของอัตถปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณ
ในอรรถทั้งหลายว่า อัตถปฏิสัมภิทา
นิรุตติ ๑๐ ประการนี้ คือ การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงธรรม ๕
ประการ การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงอรรถ ๕ ประการเป็นอารมณ์และ
เป็นโคจรของนิรุตติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่าใดเป็นอารมณ์ของนิรุตติ-
ปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่านั้นเป็นโคจรของนิรุตติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๖. ปฏิสัมภิทากถา ๓. อิทธิปาทวาร
เหล่าใดเป็นโคจรของนิรุตติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของ
นิรุตติปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในนิรุตติทั้งหลายว่า นิรุตติ-
ปฏิสัมภิทา
ญาณ ๒๐ ประการนี้ คือ ญาณในธรรม ๕ ประการ ญาณในอรรถ ๕ ประการ
ญาณในนิรุตติ ๑๐ ประการเป็นอารมณ์และเป็นโคจรของปฏิภาณปฏิสัมภิทา
ญาณในธรรมเหล่าใดเป็นอารมณ์ของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่านั้น
เป็นโคจรของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่าใดเป็นโคจรของปฏิภาณ-
ปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของปฏิภาณปฏิสัมภิทา เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในปฏิภาณทั้งหลายว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
ในอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร มีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕
มีนิรุตติ ๓๐ มีญาณ ๖๐
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย
ได้ฟังมาก่อนว่า “นี้อิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร” ฯลฯ
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้อิทธิบาท
อันประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรม
ทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้อิทธิบาทอันประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธาน-
สังขาร” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า
“อิทธิบาทอันประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขารนี้นั้นควรเจริญ” ฯลฯ แสงสว่าง
เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “อิทธิบาทอันประกอบ
ด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขารนี้นั้นเราเจริญแล้ว” ฯลฯ
ในอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร มีธรรม ๑๕ มีอรรถ
๑๕ มีนิรุตติ ๓๐ มีญาณ ๖๐
ในอิทธิบาท ๔ มีธรรม ๖๐ มีอรรถ ๖๐ มีนิรุตติ ๑๒๐ มีญาณ ๒๔๐


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๖. ปฏิสัมภิทากถา ๔. สัตตโพธิสัตตวาร
๔. สัตตโพธิสัตตวาร
วาระว่าด้วยพระโพธิสัตว์ ๗ พระองค์
[๓๓] ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่พระ
วิปัสสีโพธิสัตว์ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “สมุทัย สมุทัย” ภิกษุ
ทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่พระวิปัสสีโพธิสัตว์ใน
ธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นิโรธ นิโรธ” ในเวยยากรณ์ของพระวิปัสสี-
โพธิสัตว์ มีธรรม ๑๐ มีอรรถ ๑๐ มีนิรุตติ ๒๐ มีญาณ ๔๐
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่พระสิขีโพธิสัตว์ ฯลฯ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่พระเวสสภูโพธิสัตว์ ฯลฯ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่พระกกุสันธโพธิสัตว์ ฯลฯ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่พระโกนาคมนโพธิสัตว์ ฯลฯ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่พระกัสสปโพธิสัตว์ในธรรม
ทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “สมุทัย สมุทัย” ฯลฯ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่พระกัสสปโพธิสัตว์ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า
“นิโรธ นิโรธ” ฯลฯ ในเวยยากรณ์ของพระกัสสปโพธิสัตว์มีธรรม ๑๐ มีอรรถ ๑๐
มีนิรุตติ ๒๐ มีญาณ ๔๐
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่พระโคดมโพธิสัตว์ในธรรม
ทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “สมุทัย สมุทัย” จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่าง
เกิดขึ้นแล้วแก่พระโคดมโพธิสัตว์ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นิโรธ
นิโรธ” ในเวยยากรณ์ของพระโคดมโพธิสัตว์มีธรรม ๑๐ มีอรรถ ๑๐ มีนิรุตติ ๒๐
มีญาณ ๔๐
ในเวยยากรณ์ ๗ ของพระโพธิสัตว์ ๗ พระองค์ มีธรรม ๗๐ มีอรรถ ๗๐ มี
นิรุตติ ๑๔๐ มีญาณ ๒๘๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๖. ปฏิสัมภิทากถา ๖. ขันธาทิวาร
๕. อภิญญาทิวาร
วาระว่าด้วยอภิญญาเป็นต้น
[๓๔] จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “สภาวะที่ควรรู้ยิ่งแห่งอภิญญา เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบ
แล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา สภาวะที่ควรรู้ยิ่งแห่งอภิญญาที่เราไม่รู้
ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่ทำให้แจ้ง ไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาไม่มี” ในสภาวะที่
ควรรู้ยิ่งแห่งอภิญญาที่ควรรู้ยิ่ง มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุตติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “สภาวะที่ควรกำหนดรู้แห่ง
ปริญญา” ฯลฯ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “สภาวะที่ควรละแห่งปหานะ”
ฯลฯ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “สภาวะที่ควรเจริญแห่ง
ภาวนา” ฯลฯ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “สภาวะที่ควรทำให้แจ้งแห่ง
สัจฉิกิริยา เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา
สภาวะที่ควรทำให้แจ้งแห่งสัจฉิกิริยาที่เราไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่ทำให้แจ้ง ไม่
ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาไม่มี” ในสภาวะที่ควรทำให้แจ้งแห่งสัจฉิกิริยา มีธรรม ๒๕
มีอรรถ ๒๕ มีนิรุตติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐
ในสภาวะที่ควรรู้ยิ่งแห่งอภิญญา ในสภาวะที่ควรกำหนดรู้แห่งปริญญา ใน
สภาวะที่ควรละแห่งปหานะ ในสภาวะที่ควรเจริญแห่งภาวนา ในสภาวะที่ควร
ทำให้แจ้งแห่งสัจฉิกิริยา มีธรรม ๑๒๕ มีอรรถ ๑๒๕ มีนิรุตติ ๒๕๐ มีญาณ ๕๐๐

๖. ขันธาทิวาร
วาระว่าด้วยขันธ์เป็นต้น
[๓๕] จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “สภาวะที่เป็นกองแห่งขันธ์ทั้งหลาย เรารู้แล้ว เห็นแล้ว


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๖. ปฏิสัมภิทากถา ๗. สัจจวาร
ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา สภาวะที่เป็นกองแห่งขันธ์ที่เราไม่รู้
ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่ทำให้แจ้ง ไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาไม่มี” ในสภาวะที่เป็น
กองแห่งขันธ์ทั้งหลาย มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุตติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “สภาวะที่ทรงไว้แห่งธาตุ
ทั้งหลาย” ฯลฯ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “สภาวะที่เป็นบ่อเกิดแห่ง
อายตนะทั้งหลาย” ฯลฯ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “สภาวะที่ปัจจัยปรุงแต่ง
แห่งสังขตธรรมทั้งหลาย” ฯลฯ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “สภาวะที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง
แห่งอสังขตธรรม เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วย
ปัญญา สภาวะที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่งแห่งอสังขตธรรมที่เราไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่
ทำให้แจ้ง ไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาไม่มี” ในสภาวะที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่งแห่ง
อสังขตธรรม มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุตติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐
ในสภาวะที่เป็นกองแห่งขันธ์ทั้งหลาย ในสภาวะที่ทรงไว้แห่งธาตุทั้งหลาย
ในสภาวะที่เป็นบ่อเกิดแห่งอายตนะทั้งหลาย ในสภาวะที่ปัจจัยปรุงแต่งแห่งสังขต-
ธรรมทั้งหลาย ในสภาวะที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่งแห่งอสังขตธรรม มีธรรม ๑๒๕ มี
อรรถ ๑๒๕ มีนิรุตติ ๒๕๐ มีญาณ ๕๐๐

๗. สัจจวาร
วาระว่าด้วยสัจจะ
[๓๖] จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “สภาวะที่ทนได้ยากแห่งทุกข์ เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว
ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา สภาวะที่ทนได้ยากแห่งทุกข์ที่เราไม่รู้ ไม่เห็น
ไม่ทราบ ไม่ทำให้แจ้ง ไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาไม่มี” ในสภาวะที่ทนได้ยาก
แห่งทุกข์ มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุตติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “สภาวะที่เป็นเหตุเกิดแห่ง
สมุทัย” ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๖. ปฏิสัมภิทากถา ๘. ปฏิสัมภิทาวาร
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “สภาวะที่เป็นความดับแห่ง
นิโรธ” ฯลฯ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “สภาวะที่เป็นทางแห่งมรรค
เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา สภาวะ
ที่เป็นทางแห่งมรรคที่เราไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่ทำให้แจ้ง ไม่ถูกต้องแล้วด้วย
ปัญญาไม่มี” ในสภาวะที่เป็นทางแห่งมรรค มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุตติ ๕๐
มีญาณ ๑๐๐
ในอริยสัจ ๔ มีธรรม ๑๐๐ มีอรรถ ๑๐๐ มีนิรุตติ ๒๐๐ มีญาณ ๔๐๐

๘. ปฏิสัมภิทาวาร
วาระว่าด้วยปฏิสัมภิทา
[๓๗] จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “สภาวะที่แตกฉาน
ในอรรถ เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา
สภาวะที่แตกฉานในอรรถที่เราไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่ทำให้แจ้ง ไม่ถูกต้องแล้ว
ด้วยปัญญาไม่มี” ในสภาวะที่แตกฉานในอรรถแห่งอัตถปฏิสัมภิทา มีธรรม ๒๕
มีอรรถ ๒๕ มีนิรุตติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “สภาวะที่แตกฉานในธรรม
แห่งธัมมปฏิสัมภิทา” ฯลฯ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “สภาวะที่แตกฉานในนิรุตติ
แห่งนิรุตติปฏิสัมภิทา” ฯลฯ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “สภาวะที่แตกฉานใน
ปฏิภาณแห่งปฏิภาณปฏิสัมภิทา เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว
ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา สภาวะที่แตกฉานในปฏิภาณแห่งปฏิภาณปฏิสัมภิทาที่เราไม่รู้
ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่ทำให้แจ้ง ไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาไม่มี” ในสภาวะที่
แตกฉานในปฏิภาณแห่งปฏิภาณปฏิสัมภิทา มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุตติ ๕๐
มีญาณ ๑๐๐
ในปฏิสัมภิทา ๔ มีธรรม ๑๐๐ มีอรรถ ๑๐๐ มีนิรุตติ ๒๐๐ มีญาณ ๔๐๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๖. ปฏิสัมภิทากถา ๙. ฉพุทธธัมมวาร
๙. ฉพุทธธัมมวาร
วาระว่าด้วยพุทธธรรม ๖ ประการ
[๓๘] จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “ญาณในความยิ่ง
และความหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลายเรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้
แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ญาณในความยิ่งและความหย่อนแห่งอินทรีย์ของ
สัตว์ทั้งหลายที่เราไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่ทำให้แจ้ง ไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา
ไม่มี” ญาณในความยิ่งและความหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย มีธรรม ๒๕
มีอรรถ ๒๕ มีนิรุตติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “ญาณในอาสยะและอนุสัย
ของสัตว์ทั้งหลาย” ฯลฯ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “ญาณในยมกปาฏิหาริย์” ฯลฯ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “ญาณในมหากรุณาสมาบัติ”
ฯลฯ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “สัพพัญญุตญาณ” ฯลฯ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “อนาวรณญาณเรารู้แล้ว
เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา อนาวรณญาณที่
เราไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่ทำให้แจ้ง ไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาไม่มี” อนาวรณ-
ญาณ มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุตติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐
ในพุทธธรรม ๖ มีธรรม ๑๕๐ มีอรรถ ๑๕๐ มีนิรุตติ ๓๐๐ มีญาณ ๖๐๐
ในปฏิสัมภิทากถานี้ มีธรรม ๘๕๐ มีอรรถ ๘๕๐ มีนิรุตติ ๑,๗๐๐ มีญาณ
๓,๔๐๐
ปฏิสัมภิทากถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๗. ธัมมจักกกถา ๑. สัจจวาร
๗. ธัมมจักกกถา
ว่าด้วยธรรมจักร
๑. สัจจวาร
วาระว่าด้วยสัจจะ
[๓๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุง
พาราณสี ฯลฯ๑ ดังนั้น คำว่า “อัญญาโกณฑัญญะ” นี้ จึงได้เป็นชื่อของท่าน
โกณฑัญญะนั่นแล
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้ทุกขอริยสัจ”
คำว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “ญาณเกิดขึ้นแล้ว”
เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า
“วิชชาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว”
เพราะมีสภาวะอย่างไร
คือ คำว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะเห็น คำว่า “ญาณเกิดขึ้นแล้ว”
เพราะมีสภาวะรู้ คำว่า “ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะรู้ชัด คำว่า “วิชชา
เกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะรู้แจ้ง คำว่า “แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมี
สภาวะสว่างไสว
จักษุเป็นธรรม สภาวะที่เห็นเป็นอรรถ ญาณเป็นธรรม สภาวะที่รู้เป็นอรรถ
ปัญญาเป็นธรรม สภาวะที่รู้ชัดเป็นอรรถ วิชชาเป็นธรรม สภาวะที่รู้แจ้งเป็นอรรถ
แสงสว่างเป็นธรรม สภาวะที่สว่างไสวเป็นอรรถ ธรรม ๕ ประการ อรรถ ๕ ประการ
นี้เป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ เป็นที่ตั้งแห่งสัจจะ มีสัจจะเป็นอารมณ์ มีสัจจะเป็นโคจร
สงเคราะห์เข้าในสัจจะ นับเนื่องในสัจจะ รวมลงในสัจจะ ตั้งอยู่ในสัจจะ ประดิษฐาน
อยู่ในสัจจะ

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มข้อ ๓๐ หน้า ๔๘๓-๔๘๗ ในธัมมจักกัปปวัตตนวาร ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๗. ธัมมจักกกถา ๑. สัจจวาร
[๔๐] คำว่า ธรรมจักร อธิบายว่า ชื่อว่าธรรมจักร เพราะมีความหมายว่า
อย่างไร
คือ ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้ธรรมและจักรเป็นไป ชื่อ
ว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้จักรและธรรมเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร
เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้จักรเป็นไปโดยธรรม ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มี
พระภาคทรงให้จักรเป็นไปด้วยการประพฤติธรรม
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงดำรงอยู่ในธรรมให้จักรเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงประดิษฐานอยู่ในธรรมให้จักรเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้ประชาชนประดิษฐานอยู่ในธรรมให้
จักรเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงบรรลุถึงความชำนาญในธรรมให้
จักรเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้ประชาชนบรรลุถึงความ
ชำนาญในธรรมให้จักรเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงบรรลุถึงความสำเร็จในธรรมให้
จักรเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้ประชาชนบรรลุถึงความ
สำเร็จในธรรมให้จักรเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงบรรลุถึงความแกล้วกล้าในธรรม
ให้จักรเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้ประชาชนบรรลุถึงความ
แกล้วกล้าในธรรมให้จักรเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงสักการะธรรมให้จักรเป็นไป ชื่อว่า
ธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงเคารพธรรมให้จักรเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร
เพราะพระผู้มีพระภาคทรงนับถือธรรมให้จักรเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มี
พระภาคทรงบูชาธรรมให้จักรเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรง
นอบน้อมธรรมให้จักรเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงมีธรรม
เป็นธงให้จักรเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงมีธรรมเป็นยอดให้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๗. ธัมมจักกกถา ๑. สัจจวาร
จักรเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงมีธรรมเป็นใหญ่ให้จักรเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะธรรมจักรนั่นเอง อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม
หรือใคร ๆ ในโลกให้หมุนกลับไม่ได้
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมคือสัทธินทรีย์เป็นไป ฯลฯ ชื่อว่า
ธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมคือปัญญินทรีย์เป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมคือสัทธาพละเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร
เพราะทรงให้ธรรมคือวิริยพละเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมคือสติพละ
เป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมคือสมาธิพละเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร
เพราะทรงให้ธรรมคือปัญญาพละเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมคือสติสัมโพชฌงค์เป็นไป ชื่อว่า
ธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมคือธัมมวิจยสัมโพชฌงค์เป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร
เพราะทรงให้ธรรมคือวิริยสัมโพชฌงค์เป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรม
คือปีติสัมโพชฌงค์เป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมคือสมาธิสัมโพชฌงค์
เป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมคืออุเบกขาสัมโพชฌงค์เป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมคือสัมมาทิฏฐิเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร
เพราะทรงให้ธรรมคือสัมมาสังกัปปะเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมคือ
สัมมาวาจาเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมคือสัมมากัมมันตะเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมคือสัมมาอาชีวะเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะ
ทรงให้ธรรมคือสัมมาสติเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมคือสัมมาสมาธิ
เป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าอินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่
เป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหว
เป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะ
นำออกเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่ามรรค เพราะมีสภาวะ
เป็นเหตุเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าสติปัฏฐาน เพราะมี
สภาวะตั้งมั่นเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าสัมมัปปธาน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๐๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๗. ธัมมจักกกถา ๑. สัจจวาร
เพราะมีสภาวะตั้งไว้เป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าอิทธิบาท
เพราะมีสภาวะให้สำเร็จเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าสัจจะ
เพราะมีสภาวะเป็นของแท้เป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่า
สมถะ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่านเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อ
ว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้
ธรรมที่ชื่อว่าสมถะและวิปัสสนา เพราะมีสภาวะมีรสเป็นอย่างเดียวกันเป็นไป ชื่อว่า
ธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าธรรมที่เป็นคู่กัน เพราะมีสภาวะไม่ล่วงเลยกัน
เป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีสภาวะสำรวม
เป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าจิตตวิสุทธิ เพราะมีสภาวะไม่
ฟุ้งซ่านเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าทิฏฐิวิสุทธิ เพราะมี
สภาวะเห็นเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะมี
สภาวะพ้นวิเศษเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าวิชชา เพราะมี
สภาวะรู้แจ้งเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าวิมุตติ เพราะมี
สภาวะสละเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าญาณในความสิ้นไป
เพราะมีสภาวะตัดขาดเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่า
อนุปปาทญาณ๑ เพราะมีสภาวะสงบระงับเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะ
ทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าฉันทะ เพราะมีสภาวะเป็นมูลเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะ
ทรงให้ธรรมที่ชื่อว่ามนสิการ เพราะมีสภาวะเป็นสมุฏฐานเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร
เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าผัสสะ เพราะมีสภาวะเป็นที่ประชุมเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร
เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าเวทนา เพราะมีสภาวะเป็นที่รวมเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร
เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีสภาวะเป็นประธานเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร
เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าสติ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่เป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร
เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะเป็นธรรมที่ยิ่งกว่าธรรมนั้นเป็นไป

เชิงอรรถ :
๑ อนุปปาทญาณ หมายถึงญาณในอรหัตตผล (ขุ.ป.อ. ๒/๔๐/๒๖๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๗. ธัมมจักกกถา ๑. สัจจวาร
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าวิมุตติ เพราะมีสภาวะเป็นแก่นสารเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เพราะ
มีสภาวะเป็นที่สุดเป็นไป
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย
ได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขอริยสัจนี้นั้นควรกำหนดรู้” ฯลฯ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขอริยสัจ
นี้นั้นเรากำหนดรู้แล้ว”
คำว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร ฯลฯ คำว่า “แสงสว่าง
เกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร
คือ คำว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะเห็น ฯลฯ คำว่า “แสงสว่าง
เกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะสว่างไสว
จักษุเป็นธรรม สภาวะที่เห็นเป็นอรรถ ฯลฯ แสงสว่างเป็นธรรม สภาวะที่
สว่างไสวเป็นอรรถ ธรรม ๕ ประการ อรรถ ๕ ประการนี้เป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ ฯลฯ
ประดิษฐานอยู่ในสัจจะ
คำว่า ธรรมจักร อธิบายว่า ชื่อว่าธรรมจักร เพราะมีความหมายว่าอย่างไร
คือ ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้ธรรมและจักรเป็นไป ชื่อว่า
ธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้จักรและธรรมเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะ
พระผู้มีพระภาคทรงให้จักรเป็นไปโดยธรรม ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาค
ทรงให้จักรเป็นไปด้วยการประพฤติธรรม ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาค
ทรงดำรงอยู่ในธรรมให้จักรเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรง
ประดิษฐานอยู่ในธรรมให้จักรเป็นไป ฯลฯ ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อ
ว่าธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เพราะมีสภาวะเป็นที่สุดเป็นไป
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย
ได้ฟังมาก่อนว่า “นี้ทุกขสมุทยอริยสัจ” ฯลฯ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่าง
เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขสมุทยอริยสัจนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๗. ธัมมจักกกถา ๒. สติปัฏฐานวาร
นั้นควรละ” ฯลฯ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรม
ทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขสมุทยอริยสัจนี้นั้นเราละได้แล้ว”
คำว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร ฯลฯ คำว่า “แสงสว่าง
เกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร
คือ คำว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะเห็น ฯลฯ คำว่า “แสงสว่าง
เกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะสว่างไสว
จักษุเป็นธรรม สภาวะที่เห็นเป็นอรรถ ฯลฯ แสงสว่างเป็นธรรม สภาวะที่
สว่างไสวเป็นอรรถ ธรรม ๕ ประการ อรรถ ๕ ประการนี้เป็นที่ตั้งแห่งสมุทัย
เป็นที่ตั้งแห่งสัจจะ ฯลฯ เป็นที่ตั้งแห่งนิโรธ เป็นที่ตั้งแห่งสัจจะ ฯลฯ เป็นที่ตั้งแห่ง
มรรค เป็นที่ตั้งแห่งสัจจะ มีสัจจะเป็นอารมณ์ มีสัจจะเป็นโคจร สงเคราะห์เข้า
ในสัจจะ นับเนื่องในสัจจะ รวมลงในสัจจะ ตั้งอยู่ในสัจจะ ประดิษฐานอยู่ในสัจจะ
คำว่า ธรรมจักร อธิบายว่า ชื่อว่าธรรมจักร เพราะมีความหมายว่าอย่างไร
คือ ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้ธรรมและจักรเป็นไป ชื่อว่า
ธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้จักรและธรรมเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะ
พระผู้มีพระภาคทรงให้จักรเป็นไปโดยธรรม ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาค
ทรงให้จักรเป็นไปด้วยการประพฤติธรรม ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาค
ทรงดำรงอยู่ในธรรมให้จักรเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรง
ประดิษฐานอยู่ในธรรมให้จักรเป็นไป ฯลฯ ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่
ชื่อว่าธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เพราะมีสภาวะเป็นที่สุดเป็นไป

๒. สติปัฏฐานวาร
วาระว่าด้วยสติปัฏฐาน
[๔๑] ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้การพิจารณาเห็นกายในกาย” จักษุ
เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๗. ธัมมจักกกถา ๒. สติปัฏฐานวาร
“ก็การพิจารณาเห็นกายในกายนี้นั้นควรเจริญ” ฯลฯ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่าง
เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ก็การพิจารณาเห็น
กายในกายนี้นั้นเราเจริญแล้ว”
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย
ได้ฟังมาก่อนว่า “นี้การพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย” ฯลฯ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย
ได้ฟังมาก่อนว่า “นี้การพิจารณาเห็นจิตในจิต” ฯลฯ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย
ได้ฟังมาก่อนว่า “นี้การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย”
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย
ได้ฟังมาก่อนว่า “การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายนี้นั้นควรเจริญ” ฯลฯ
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “การพิจารณา
เห็นธรรมในธรรมทั้งหลายนี้นั้นเราเจริญแล้ว”
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย
ได้ฟังมาก่อนว่า “นี้การพิจารณาเห็นกายในกาย” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่
เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “การพิจารณาเห็นกายในกายนี้นั้น
ควรเจริญ” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า
“การพิจารณาเห็นกายในกายนี้นั้นเราเจริญแล้ว”
คำว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร ฯลฯ คำว่า “แสงสว่าง
เกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร
คือ คำว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะเห็น ฯลฯ คำว่า “แสงสว่าง
เกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะสว่างไสว
จักษุเป็นธรรม สภาวะที่เห็นเป็นอรรถ ฯลฯ แสงสว่างเป็นธรรม สภาวะที่
สว่างไสวเป็นอรรถ ธรรม ๕ ประการ อรรถ ๕ ประการนี้เป็นที่ตั้งแห่งกาย เป็น
ที่ตั้งแห่งสติปัฏฐาน ฯลฯ เป็นที่ตั้งแห่งเวทนา เป็นที่ตั้งแห่งสติปัฏฐาน ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๗. ธัมมจักกกถา ๓. อิทธิปาทวาร
เป็นที่ตั้งแห่งจิต เป็นที่ตั้งแห่งสติปัฏฐาน ฯลฯ เป็นที่ตั้งแห่งธรรม เป็นที่ตั้งแห่ง
สติปัฏฐาน มีสติปัฏฐานเป็นอารมณ์ มีสติปัฏฐานเป็นโคจร สงเคราะห์เข้าใน
สติปัฏฐาน นับเนื่องในสติปัฏฐาน รวมลงในสติปัฏฐาน ตั้งอยู่ในสติปัฏฐาน
ประดิษฐานอยู่ในสติปัฏฐาน
คำว่า ธรรมจักร อธิบายว่า ชื่อว่าธรรมจักร เพราะมีความหมายว่าอย่างไร
คือ ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้ธรรมและจักรเป็นไป ชื่อว่า
ธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้จักรและธรรมเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะ
พระผู้มีพระภาคทรงให้จักรเป็นไปโดยธรรม ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาค
ทรงให้จักรเป็นไปด้วยการประพฤติธรรม ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาค
ทรงดำรงอยู่ในธรรมให้จักรเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรง
ประดิษฐานอยู่ในธรรมให้จักรเป็นไป ฯลฯ ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อ
ว่าธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เพราะมีสภาวะเป็นที่สุดเป็นไป

๓. อิทธิปาทวาร
วาระว่าด้วยอิทธิบาท
[๔๒] ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราใน
ธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้อิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธาน-
สังขาร” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า
“อิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขารนี้นั้นควรเจริญ” ฯลฯ แสงสว่าง
เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “อิทธิบาทอันประกอบ
ด้วยฉันทสมาธิปธานสังขารนี้นั้นเราเจริญแล้ว”
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย
ได้ฟังมาก่อนว่า “นี้อิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร” ฯลฯ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย
ได้ฟังมาก่อนว่า “นี้อิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร” ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๐๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๗. ธัมมจักกกถา ๓. อิทธิปาทวาร
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย
ได้ฟังมาก่อนว่า “นี้อิทธิบาทอันประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร” ฯลฯ
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “อิทธิบาทอัน
ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขารนี้นั้นควรเจริญ” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว
แก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “อิทธิบาทอันประกอบด้วยวิมังสา-
สมาธิปธานสังขารนี้นั้นเราเจริญแล้ว”
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย
ได้ฟังมาก่อนว่า “นี้อิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร” ฯลฯ
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “อิทธิบาท
อันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขารนี้นั้นควรเจริญ” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้น
แล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “อิทธิบาทอันประกอบด้วย
ฉันทสมาธิปธานสังขารนี้นั้นเราเจริญแล้ว”
คำว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “ญาณเกิดขึ้นแล้ว”
เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า
“วิชชาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว”
เพราะมีสภาวะอย่างไร
คือ คำว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะเห็น คำว่า “ญาณเกิดขึ้นแล้ว”
เพราะมีสภาวะรู้ คำว่า “ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะรู้ชัด คำว่า “วิชชา
เกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะรู้แจ้ง คำว่า “แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะ
สว่างไสว
จักษุเป็นธรรม สภาวะที่เห็นเป็นอรรถ ฯลฯ แสงสว่างเป็นธรรม สภาวะที่
สว่างไสวเป็นอรรถ ธรรม ๕ ประการ อรรถ ๕ ประการนี้เป็นที่ตั้งแห่งฉันทะ
เป็นที่ตั้งแห่งอิทธิบาท มีอิทธิบาทเป็นอารมณ์ ฯลฯ ประดิษฐานอยู่ในอิทธิบาท
คำว่า ธรรมจักร อธิบายว่า ชื่อว่าธรรมจักร เพราะมีความหมายว่าอย่างไร
คือ ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้ธรรมและจักรเป็นไป ชื่อว่า
ธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้จักรและธรรมเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๗. ธัมมจักกกถา ๓. อิทธิปาทวาร
พระผู้มีพระภาคทรงให้จักรเป็นไปโดยธรรม ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาค
ทรงให้จักรเป็นไปด้วยการประพฤติธรรม ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาค
ทรงดำรงอยู่ในธรรมให้จักรเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรง
ประดิษฐานอยู่ในธรรมให้จักรเป็นไป ฯลฯ ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่
ชื่อว่าธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เพราะมีสภาวะเป็นที่สุดเป็นไป
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย
ได้ฟังมาก่อนว่า “นี้อิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร” จักษุเกิดขึ้น
แล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า
“อิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขารนี้นั้นควรเจริญ” ฯลฯ จักษุเกิดขึ้น
แล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า
“อิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขารนี้นั้นเราเจริญแล้ว”
คำว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร ฯลฯ คำว่า “แสงสว่าง
เกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร
คือ คำว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะเห็น ฯลฯ คำว่า “แสงสว่าง
เกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะสว่างไสว
จักษุเป็นธรรม สภาวะที่เห็นเป็นอรรถ ฯลฯ แสงสว่างเป็นธรรม สภาวะที่
สว่างไสวเป็นอรรถ ธรรม ๕ ประการ อรรถ ๕ ประการนี้เป็นที่ตั้งแห่งวิริยะ เป็น
ที่ตั้งแห่งอิทธิบาท ฯลฯ เป็นที่ตั้งแห่งจิต เป็นที่ตั้งแห่งอิทธิบาท ฯลฯ เป็นที่ตั้งแห่ง
วิมังสา เป็นที่ตั้งแห่งอิทธิบาท มีอิทธิบาทเป็นอารมณ์ มีอิทธิบาทเป็นโคจร
สงเคราะห์เข้าในอิทธิบาท นับเนื่องในอิทธิบาท รวมลงในอิทธิบาท ตั้งอยู่ใน
อิทธิบาท ประดิษฐานอยู่ในอิทธิบาท
คำว่า ธรรมจักร อธิบายว่า ชื่อว่าธรรมจักร เพราะมีความหมายว่าอย่างไร
คือ ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้ธรรมและจักรเป็นไป ชื่อว่า
ธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้จักรและธรรมเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะ
พระผู้มีพระภาคทรงให้จักรเป็นไปโดยธรรม ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาค
ทรงให้จักรเป็นไปด้วยการประพฤติธรรม ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาค

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๘. โลกุตตรกถา
ทรงดำรงอยู่ในธรรมให้จักรเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรง
ประดิษฐานอยู่ในธรรมให้จักรเป็นไป ฯลฯ ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อ
ว่าธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เพราะมีสภาวะเป็นที่สุดเป็นไป
ธัมมจักกกถา จบ

๘. โลกุตตรกถา
ว่าด้วยโลกุตตรธรรม
[๔๓] ธรรมเหล่าไหนเป็นโลกุตตระ (คือ) สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔
อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ อริยมรรค
๔ สามัญญผล ๔ และนิพพาน ธรรมเหล่านี้เป็นโลกุตตระ
คำว่า โลกุตตระ อธิบายว่า ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะมีความหมายว่าอย่างไร
คือ ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะข้ามพ้นโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะข้ามพ้นแต่โลก
ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะข้ามพ้นจากโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะข้ามไปจากโลก ชื่อว่า
โลกุตตระ เพราะล่วงพ้นโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะล่วงพ้นโลกอยู่ ชื่อว่าโลกุตตระ
เพราะเป็นอดิเรกในโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะข้ามที่สุดโลก
ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะสลัดออกแต่โลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะสลัดออกจาก
โลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะสลัดไปจากโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะสลัดออกแล้ว
จากโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะสลัดออกแล้วแต่โลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะสลัด
ออกไปแล้วจากโลก
ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะไม่ตั้งอยู่ในโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะไม่ดำรงอยู่ในโลก
ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะไม่ติดอยู่ในโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะไม่เปื้อนในโลก ชื่อว่า
โลกุตตระ เพราะไม่เปื้อนแล้วในโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะไม่ถูกโลกทำให้เปื้อนแล้ว
ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะไม่ฉาบแล้วในโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะไม่ถูกโลกฉาบแล้ว
ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะหลุดไปในโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะหลุดไปจากโลก
ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะพ้นจากโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะหลุดพ้นไปแต่โลก ชื่อว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๘. โลกุตตรกถา
โลกุตตระ เพราะหลุดพ้นไปจากโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะไม่เกี่ยวข้องในโลก
ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะไม่เกี่ยวข้องด้วยโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะไม่เกี่ยวข้อง
แต่โลก
ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะพรากออกในโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะพรากออก
แต่โลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะพรากออกจากโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะหมดจด
แต่โลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะหมดจดจากโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะหมดจด
กว่าโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะสะอาดแต่โลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะสะอาดจากโลก
ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะสะอาดกว่าโลก
ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะออกแต่โลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะออกจากโลก ชื่อว่า
โลกุตตระ เพราะออกไปจากโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะกลับแต่โลก ชื่อว่าโลกุตตระ
เพราะกลับจากโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะกลับไปจากโลก ชื่อว่าโลกุตตระ
เพราะไม่ข้องในโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะไม่ยึดในโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะไม่
พัวพันในโลก
ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะตัดโลกขาด ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะตัดโลกขาดแล้ว
ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะให้โลกระงับ ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะให้โลกระงับแล้ว ชื่อว่า
โลกุตตระ เพราะไม่กลับมาสู่โลก
ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะไม่เป็นคติของโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะไม่เป็น
วิสัยของโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะไม่เป็นสาธารณะของโลก ชื่อว่าโลกุตตระ
เพราะปราศจากโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะไม่เวียนมาสู่โลก ชื่อว่าโลกุตตระ
เพราะละโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะไม่ให้โลกเกิด ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะไม่เยื่อใย
โลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะนำโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะกำจัดโลก ชื่อว่า
โลกุตตระ เพราะไม่อบโลกให้งาม ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะล่วงโลก ครอบงำโลก
ตั้งอยู่ ฉะนี้แล
โลกุตตรกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๙. พลกถา
๙. พลกถา
ว่าด้วยพละ
[๔๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ ประการนี้
พละ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. สัทธาพละ (พละคือศรัทธา) ๒. วิริยพละ (พละคือวิริยะ)
๓. สติพละ (พละคือสติ) ๔. สมาธิพละ (พละคือสมาธิ)
๕. ปัญญาพละ (พละคือปัญญา)

อีกอย่างหนึ่ง พละ ๖๘ ประการ คือ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ
ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ ปฏิสังขานพละ ภาวนาพละ อนวัชชพละ
สังคหพละ ขันติพละ ปัญญัตติพละ นิชฌัตติพละ อิสสริยพละ อธิษฐานพละ
สมถพละ วิปัสสนาพละ เสกขพละ ๑๐ อเสกขพละ ๑๐ ขีณาสวพละ ๑๐
อิทธิพละ ๑๐ ตถาคตพละ ๑๐
สัทธาพละ เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธา ชื่อว่าสัทธาพละ
เพราะอุปถัมภ์สหชาตธรรม ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะมีสภาวะครอบงำกิเลสทั้งหลาย
ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะมีสภาวะเป็นความหมดจดในเบื้องต้นแห่งปฏิเวธ ชื่อว่า
สัทธาพละ เพราะมีสภาวะตั้งมั่นแห่งจิต ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะมีสภาวะเป็น
ความผ่องแผ้วแห่งจิต ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะมีสภาวะเป็นเครื่องบรรลุธรรมวิเศษ
ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะมีสภาวะรู้แจ้งธรรมที่ยิ่ง ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะมีสภาวะ
ตรัสรู้สัจจะ ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะมีสภาวะให้การกบุคคล (บุคคลผู้กระทำ) ตั้งอยู่
เฉพาะในนิโรธ นี้เป็นสัทธาพละ (๑)
วิริยพละ เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าวิริยพละ เพราะไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน ชื่อว่าวิริยพละ
เพราะมีสภาวะอุปถัมภ์สหชาตธรรม ชื่อว่าวิริยพละ เพราะมีสภาวะครอบงำกิเลส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๙. พลกถา
ทั้งหลาย ชื่อว่าวิริยพละ เพราะมีสภาวะเป็นความหมดจดในเบื้องต้นแห่งปฏิเวธ
ชื่อว่าวิริยพละ เพราะมีสภาวะตั้งมั่นแห่งจิต ชื่อว่าวิริยพละ เพราะมีสภาวะเป็น
ความผ่องแผ้วแห่งจิต ชื่อว่าวิริยพละ เพราะมีสภาวะเป็นเครื่องบรรลุธรรมวิเศษ
ชื่อว่าวิริยพละ เพราะมีสภาวะรู้แจ้งธรรมที่ยิ่ง ชื่อว่าวิริยพละ เพราะมีสภาวะตรัสรู้
สัจจะ ชื่อว่าวิริยพละ เพราะมีสภาวะให้การกบุคคลตั้งอยู่เฉพาะในนิโรธ นี้เป็น
วิริยพละ (๒)
สติพละ เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าสติพละ เพราะไม่หวั่นไหวเพราะความประมาท ชื่อว่าสติพละ เพราะ
มีสภาวะอุปถัมภ์สหชาตธรรม ฯลฯ ชื่อว่าสติพละ เพราะมีสภาวะให้การกบุคคล
ตั้งอยู่เฉพาะในนิโรธ นี้เป็นสติพละ (๓)
สมาธิพละ เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าสมาธิพละ เพราะไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ ชื่อว่าสมาธิพละ
เพราะมีสภาวะอุปถัมภ์สหชาตธรรม ฯลฯ ชื่อว่าสมาธิพละ เพราะมีสภาวะให้การก-
บุคคลตั้งอยู่เฉพาะในนิโรธ นี้เป็นสมาธิพละ (๔)
ปัญญาพละ เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าปัญญาพละ เพราะไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา ชื่อว่าปัญญาพละ
เพราะมีสภาวะอุปถัมภ์สหชาตธรรม ฯลฯ ชื่อว่าปัญญาพละ เพราะมีสภาวะให้
การกบุคคลตั้งอยู่เฉพาะในนิโรธ นี้เป็นปัญญาพละ (๕)
หิริพละ เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าหิริพละ เพราะละอายกามฉันทะด้วยเนกขัมมะ ชื่อว่าหิริพละ
เพราะละอายพยาบาทด้วยอพยาบาท ชื่อว่าหิริพละ เพราะละอายถีนมิทธะด้วย
อาโลกสัญญา ชื่อว่าหิริพละ เพราะละอายอุทธัจจะด้วยอวิกเขปะ ชื่อว่าหิริพละ
เพราะละอายวิจิกิจฉาด้วยธัมมววัตถาน ชื่อว่าหิริพละ เพราะละอายอวิชชา
ด้วยญาณ ชื่อว่าหิริพละ เพราะละอายอรติด้วยปามุชชะ ชื่อว่าหิริพละ เพราะ
ละอายนิวรณ์ด้วยปฐมฌาน ฯลฯ ชื่อว่าหิริพละ เพราะละอายกิเลสทั้งปวงด้วย
อรหัตตมรรค นี้เป็นหิริพละ (๖)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๙. พลกถา
โอตตัปปพละ เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าโอตตัปปพละ เพราะเกรงกลัวกามฉันทะด้วยเนกขัมมะ ชื่อว่า
โอตตัปปพละ เพราะเกรงกลัวพยาบาทด้วยอพยาบาท ชื่อว่าโอตตัปปพละ เพราะ
เกรงกลัวถีนมิทธะด้วยอาโลกสัญญา ชื่อว่าโอตตัปปพละ เพราะเกรงกลัวอุทธัจจะ
ด้วยอวิกเขปะ ชื่อว่าโอตตัปปพละ เพราะเกรงกลัววิจิกิจฉาด้วยธัมมววัตถาน ชื่อว่า
โอตตัปปพละ เพราะเกรงกลัวอวิชชาด้วยญาณ ชื่อว่าโอตตัปปพละ เพราะเกรงกลัว
อรติด้วยปามุชชะ ชื่อว่าโอตตัปปพละ เพราะเกรงกลัวนิวรณ์ด้วยปฐมฌาน ชื่อว่า
โอตตัปปพละ เพราะเกรงกลัวกิเลสทั้งปวงด้วยอรหัตตมรรค นี้เป็นโอตตัปปพละ (๗)
ปฏิสังขานพละ เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าปฏิสังขานพละ เพราะพิจารณากามฉันทะด้วยเนกขัมมะ ชื่อว่า
ปฏิสังขานพละ เพราะพิจารณาพยาบาทด้วยอพยาบาท ชื่อว่าปฏิสังขานพละ
เพราะพิจารณาถีนมิทธะด้วยอาโลกสัญญา ชื่อว่าปฏิสังขานพละ เพราะพิจารณา
อุทธัจจะด้วยอวิกเขปะ ชื่อว่าปฏิสังขานพละ เพราะพิจารณาวิจิกิจฉาด้วยธัมม-
ววัตถาน ชื่อว่าปฏิสังขานพละ เพราะพิจารณาอวิชชาด้วยญาณ ชื่อว่าปฏิสังขาน-
พละเพราะพิจารณาอรติด้วยปามุชชะ ชื่อว่าปฏิสังขานพละ เพราะพิจารณานิวรณ์
ด้วยปฐมฌาน ฯลฯ ชื่อว่าปฏิสังขานพละ เพราะพิจารณากิเลสทั้งปวงด้วย
อรหัตตมรรค นี้เป็นปฏิสังขานพละ (๘)
ภาวนาพละ เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าภาวนาพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละกามฉันทะย่อมเจริญ
เนกขัมมะ ชื่อว่าภาวนาพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละพยาบาทย่อมเจริญ
อพยาบาท ชื่อว่าภาวนาพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละถีนมิทธะย่อมเจริญ
อาโลกสัญญา ชื่อว่าภาวนาพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละอุทธัจจะย่อมเจริญ
อวิกเขปะ ชื่อว่าภาวนาพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละวิจิกิจฉาย่อมเจริญ
ธัมมววัตถาน ชื่อว่าภาวนาพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละอวิชชาย่อมเจริญญาณ
ชื่อว่าภาวนาพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละอรติย่อมเจริญปามุชชะ ชื่อว่า
ภาวนาพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละนิวรณ์ย่อมเจริญปฐมฌาน ฯลฯ ชื่อว่า
ภาวนาพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละกิเลสทั้งปวงย่อมเจริญอรหัตตมรรค นี้เป็น
ภาวนาพละ (๙)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๙. พลกถา
อนวัชชพละ เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าอนวัชชพละ เพราะในเนกขัมมะไม่มีโทษแม้น้อยหนึ่ง เพราะละ
กามฉันทะได้แล้ว ชื่อว่าอนวัชชพละ เพราะในอพยาบาทไม่มีโทษแม้น้อยหนึ่ง เพราะ
ละพยาบาทได้แล้ว ชื่อว่าอนวัชชพละ เพราะในอาโลกสัญญาไม่มีโทษแม้น้อยหนึ่ง
เพราะละถีนมิทธะได้แล้ว ชื่อว่าอนวัชชพละ เพราะในอวิกเขปะไม่มีโทษแม้น้อยหนึ่ง
เพราะละอุทธัจจะได้แล้ว ชื่อว่าอนวัชชพละ เพราะในธัมมววัตถานไม่มีโทษแม้น้อย
หนึ่ง เพราะละวิจิกิจฉาได้แล้ว ชื่อว่าอนวัชชพละ เพราะในญาณไม่มีโทษแม้น้อยหนึ่ง
เพราะละอวิชชาได้แล้ว ชื่อว่าอนวัชชพละ เพราะในปามุชชะไม่มีโทษแม้น้อยหนึ่ง
เพราะละอรติได้แล้ว ชื่อว่าอนวัชชพละ เพราะในปฐมฌานไม่มีโทษแม้น้อยหนึ่ง
เพราะละนิวรณ์ได้แล้ว ฯลฯ ชื่อว่าอนวัชชพละ เพราะในอรหัตตมรรคไม่มีโทษ
แม้น้อยหนึ่ง เพราะละกิเลสทั้งปวงได้แล้ว นี้เป็นอนวัชชพละ (๑๐)
สังคหพละ เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าสังคหพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละกามฉันทะ ย่อมรวมจิตไว้ด้วย
อำนาจเนกขัมมะ ชื่อว่าสังคหพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละพยาบาท ย่อมรวมจิต
ไว้ด้วยอำนาจอพยาบาท ชื่อว่าสังคหพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละถีนมิทธะ ย่อม
รวมจิตไว้ด้วยอำนาจอาโลกสัญญา ฯลฯ ชื่อว่าสังคหพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อ
ละกิเลสทั้งปวง ย่อมรวมจิตไว้ด้วยอำนาจอรหัตตมรรค นี้เป็นสังคหพละ (๑๑)
ขันติพละ เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าขันติพละ เพราะเนกขัมมะย่อมอดทน เพราะละกามฉันทะได้แล้ว
ชื่อว่าขันติพละ เพราะอพยาบาทย่อมอดทน เพราะละพยาบาทได้แล้ว ชื่อว่า
ขันติพละ เพราะอาโลกสัญญาย่อมอดทน เพราะละถีนมิทธะได้แล้ว ชื่อว่าขันติพละ
เพราะอวิกเขปะย่อมอดทน เพราะละอุทธัจจะได้แล้ว ชื่อว่าขันติพละ เพราะ
ธัมมววัตถานย่อมอดทน เพราะละวิจิกิจฉาได้แล้ว ชื่อว่าขันติพละ เพราะญาณ
ย่อมอดทน เพราะละอวิชชาได้แล้ว ชื่อว่าขันติพละ เพราะปามุชชะย่อมอดทน
เพราะละอรติได้แล้ว ชื่อว่าขันติพละ เพราะปฐมฌานย่อมอดทน เพราะละนิวรณ์
ได้แล้ว ฯลฯ ชื่อว่าขันติพละ เพราะอรหัตตมรรคย่อมอดทน เพราะละกิเลสทั้งปวง
ได้แล้ว นี้เป็นขันติพละ (๑๒)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๙. พลกถา
ปัญญัตติพละ เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าปัญญัตติพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละกามฉันทะ ย่อมตั้งจิตไว้
ด้วยอำนาจเนกขัมมะ ชื่อว่าปัญญัตติพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละพยาบาท
ย่อมตั้งจิตไว้ด้วยอำนาจอพยาบาท ชื่อว่าปัญญัตติพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละ
ถีนมิทธะ ย่อมตั้งจิตไว้ด้วยอำนาจอาโลกสัญญา ฯลฯ ชื่อว่าปัญญัตติพละ เพราะ
พระโยคาวจรเมื่อละกิเลสทั้งปวง ย่อมตั้งจิตไว้ด้วยอำนาจอรหัตตมรรค นี้เป็น
ปัญญัตติพละ (๑๓)
นิชฌัตติพละ เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่านิชฌัตติพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละกามฉันทะ ย่อมเพ่งจิต
ด้วยอำนาจเนกขัมมะ ชื่อว่านิชฌัตติพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละพยาบาท
ย่อมเพ่งจิตด้วยอำนาจอพยาบาท ชื่อว่านิชฌัตติพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละ
ถีนมิทธะ ย่อมเพ่งจิตด้วยอำนาจอาโลกสัญญา ฯลฯ ชื่อว่านิชฌัตติพละ เพราะ
พระโยคาวจรเมื่อละกิเลสทั้งปวง ย่อมเพ่งจิตด้วยอำนาจอรหัตตมรรค นี้เป็น
นิชฌัตติพละ (๑๔)
อิสสริยพละ เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าอิสสริยพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละกามฉันทะ ย่อมบังคับจิต
ให้เป็นไปตามอำนาจด้วยอำนาจเนกขัมมะ ชื่อว่าอิสสริยพละ เพราะพระโยคาวจร
เมื่อละพยาบาท ย่อมบังคับจิตให้เป็นไปตามอำนาจด้วยอำนาจอพยาบาท ชื่อว่า
อิสสริยพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละถีนมิทธะ ย่อมบังคับจิตให้เป็นไปตามอำนาจ
ด้วยอำนาจอาโลกสัญญา ฯลฯ ชื่อว่าอิสสริยพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละ
กิเลสทั้งปวง ย่อมบังคับจิตให้เป็นไปตามอำนาจด้วยอำนาจอรหัตตมรรค นี้เป็น
อิสสริยพละ (๑๕)
อธิษฐานพละ เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าอธิษฐานพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละกามฉันทะ ย่อมอธิษฐานจิต
ด้วยอำนาจเนกขัมมะ ชื่อว่าอธิษฐานพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละพยาบาท
ย่อมอธิษฐานจิตด้วยอำนาจอพยาบาท ชื่อว่าอธิษฐานพละ เพราะพระโยคาวจร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๙. พลกถา
เมื่อละถีนมิทธะ ย่อมอธิษฐานจิตด้วยอำนาจอาโลกสัญญา ฯลฯ ชื่อว่าอธิษฐานพละ
เพราะพระโยคาวจรเมื่อละกิเลสทั้งปวง ย่อมอธิษฐานจิตด้วยอำนาจอรหัตตมรรค
นี้เป็นอธิษฐานพละ (๑๖)
สมถพละ เป็นอย่างไร
คือ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจเนกขัมมะ เป็น
สมถพละ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจอพยาบาท เป็น
สมถพละ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจอาโลกสัญญา เป็น
สมถพละ ฯลฯ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจความเป็นผู้พิจารณา
เห็นความสละคืนหายใจเข้า เป็นสมถพละ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่าน
ด้วยอำนาจความเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจออก เป็นสมถพละ
คำว่า สมถพละ อธิบายว่า ชื่อว่าสมถพละ เพราะมีความหมายว่าอย่างไร
คือ ชื่อว่าสมถพละ เพราะจิตไม่หวั่นไหวในนิวรณ์ด้วยปฐมฌาน ชื่อว่าสมถพละ
เพราะจิตไม่หวั่นไหวในวิตกวิจารด้วยทุติยฌาน ชื่อว่าสมถพละ เพราะจิตไม่หวั่นไหว
ในปีติด้วยตติยฌาน ชื่อว่าสมถพละ เพราะจิตไม่หวั่นไหวในสุขและทุกข์ด้วยจตุตถ-
ฌาน ชื่อว่าสมถพละ เพราะจิตไม่หวั่นไหวในรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา
ด้วยอากาสานัญจายตนสมาบัติ ชื่อว่าสมถพละ เพราะจิตไม่หวั่นไหวในอากาสานัญ-
จายตนสัญญาด้วยวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ชื่อว่าสมถพละ เพราะจิตไม่หวั่นไหว
ในวิญญาณัญจายตนสัญญาด้วยอากิญจัญญายตนสมาบัติ ชื่อว่าสมถพละ เพราะ
จิตไม่หวั่นไหวในอากิญจัญญายตนสัญญาด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ชื่อ
ว่าสมถพละ เพราะจิตไม่หวั่นไหว ไม่กวัดแกว่ง ไม่เอนเอียง เพราะอุทธัจจะ
เพราะกิเลสที่ประกอบด้วยอุทธัจจะและเพราะขันธ์ นี้เป็นสมถพละ (๑๗)
วิปัสสนาพละ เป็นอย่างไร
คือ อนิจจานุปัสสนาเป็นวิปัสสนาพละ ทุกขานุปัสสนาเป็นวิปัสสนาพละ ฯลฯ
ปฏินิสสัคคานุปัสสนาเป็นวิปัสสนาพละ อนิจจานุปัสสนาในรูปเป็นวิปัสสนาพละ
ทุกขานุปัสสนาในรูปเป็นวิปัสสนาพละ ฯลฯ ปฏินิสสัคคานุปัสสนาในรูปเป็น
วิปัสสนาพละ อนิจจานุปัสสนาในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา ฯลฯ ในสังขาร ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๙. พลกถา
ในวิญญาณ ฯลฯ ในจักขุ ฯลฯ อนิจจานุปัสสนาในชราและมรณะเป็นวิปัสสนาพละ
ทุกขานุปัสสนาในชราและมรณะเป็นวิปัสสนาพละ ปฏินิสสัคคานุปัสสนาในชราและ
มรณะเป็นวิปัสสนาพละ
คำว่า วิปัสสนาพละ อธิบายว่า ชื่อว่าวิปัสสนาพละ เพราะมีความหมายว่า
อย่างไร
คือ ชื่อว่าวิปัสสนาพละ เพราะจิตไม่หวั่นไหวในนิจจสัญญาด้วยอนิจจานุ-
ปัสสนา ชื่อว่าวิปัสสนาพละ เพราะจิตไม่หวั่นไหวในสุขสัญญาด้วยทุกขานุปัสสนา
ชื่อว่าวิปัสสนาพละ เพราะจิตไม่หวั่นไหวในอัตตสัญญาด้วยอนัตตานุปัสสนา ชื่อว่า
วิปัสสนาพละ เพราะจิตไม่หวั่นไหวในนันทิด้วยนิพพิทานุปัสสนา ชื่อว่าวิปัสสนาพละ
เพราะจิตไม่หวั่นไหวในราคะด้วยวิราคานุปัสสนา ชื่อว่าวิปัสสนาพละ เพราะจิตไม่
หวั่นไหวในสมุทัยด้วยนิโรธานุปัสสนา ชื่อว่าวิปัสสนาพละ เพราะจิตไม่หวั่นไหวใน
อาทานะด้วยปฏินิสสัคคานุปัสสนา ชื่อว่าวิปัสสนาพละ เพราะจิตไม่หวั่นไหว
ไม่กวัดแกว่ง ไม่เอนเอียง เพราะอวิชชา เพราะกิเลสที่ประกอบด้วยอวิชชาและ
เพราะขันธ์ นี้เป็นวิปัสสนาพละ (๑๘)
เสกขพละ ๑๐ อเสกขพละ ๑๐ เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าเสกขพละ เพราะพระเสขะยังต้องศึกษาสัมมาทิฏฐิ ชื่อว่า
อเสกขพละ เพราะพระอเสขะศึกษาในสัมมาทิฏฐินั้นเสร็จแล้ว ชื่อว่าเสกขพละ
เพราะพระเสขะยังต้องศึกษาสัมมาสังกัปปะ ชื่อว่าอเสกขพละ เพราะพระอเสขะ
ศึกษาในสัมมาสังกัปปะนั้นเสร็จแล้ว ชื่อว่าเสกขพละ เพราะพระเสขะยังต้องศึกษา
สัมมาวาจา ฯลฯ สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะ ฯลฯ สัมมาวายามะ ฯลฯ
สัมมาสติ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ฯลฯ สัมมาญาณ๑ ฯลฯ สัมมาวิมุตติ๒ ชื่อว่าอเสกขพละ
เพราะพระอเสขะศึกษาในสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ
สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณ สัมมาวิมุตตินั้นเสร็จแล้ว เสกขพละ ๑๐
อเสกขพละ ๑๐ นี้แล (๑๙-๒๐) (=๓๘)

เชิงอรรถ :
๑ สัมมาญาณ หมายถึงปัจจเวกขณญาณ (ขุ.ป.อ. ๒/๔๔/ ๒๖๗)
๒ สัมมาวิมุตติ หมายถึงธรรมที่ประกอบด้วยผลเว้นมรรคมีองค์ ๘ (ขุ.ป.อ. ๒/๔๔/๒๖๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๙. พลกถา
ขีณาสวพละ ๑๐ เป็นอย่างไร
คือ สังขารทั้งปวงเป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพในพระธรรมวินัยนี้เห็นว่าเป็น
สภาวะไม่เที่ยง ด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริง แม้ข้อที่สังขารทั้งปวงเป็นธรรม
ที่ภิกษุขีณาสพในพระธรรมวินัยนี้เห็นว่าเป็นสภาวะไม่เที่ยงด้วยปัญญาชอบตาม
ความเป็นจริง นี้ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพ ซึ่งภิกษุขีณาสพได้อาศัยแล้วยืนยัน
ความสิ้นอาสวะว่า “อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นแล้ว” (๑)
กามทั้งหลายเป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเห็นว่าเปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิงด้วย
ปัญญาชอบตามความเป็นจริง แม้ข้อที่กามทั้งหลายเป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเห็นว่า
เปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิงด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริง นี้ก็เป็นกำลังของ
ภิกษุขีณาสพ ซึ่งภิกษุขีณาสพได้อาศัยแล้วยืนยันความสิ้นอาสวะว่า “อาสวะ
ทั้งหลายของเราสิ้นแล้ว” (๒)
จิตของภิกษุขีณาสพเป็นธรรมชาติโน้มไป น้อมไป โอนไปในวิเวก ตั้งอยู่ในวิเวก
ยินดีในเนกขัมมะ ว่างจากธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะโดยประการทั้งปวง
แม้ข้อที่จิตของภิกษุขีณาสพเป็นธรรมชาติโน้มไป น้อมไป โอนไปในวิเวก ตั้งอยู่ใน
วิเวก ยินดีในเนกขัมมะ ว่างจากธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะโดยประการ
ทั้งปวง นี้ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพ ซึ่งภิกษุขีณาสพได้อาศัยแล้วยืนยันความ
สิ้นอาสวะว่า “อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นแล้ว” (๓)
สติปัฏฐาน ๔ เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว แม้ข้อที่สติปัฏฐาน
๔ เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว นี้ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพ ซึ่ง
ภิกษุขีณาสพได้อาศัยแล้วยืนยันความสิ้นอาสวะว่า “อาสวะทั้งหลายของเรา
สิ้นแล้ว” (๔)
สัมมัปปธาน ๔ เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว ฯลฯ อิทธิบาท ๔
ฯลฯ อินทรีย์ ๕ ฯลฯ พละ ๕ ฯลฯ โพชฌงค์ ๗ ฯลฯ อริยมรรคมีองค์ ๘
เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว แม้ข้อที่อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นธรรม
ที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว นี้ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพ ซึ่งภิกษุขีณาสพได้
อาศัยแล้วยืนยันความสิ้นอาสวะว่า “อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นแล้ว” นี้ก็เป็นกำลัง
ของภิกษุขีณาสพ ๑๐ (๕-๑๐) (=๔๘)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๙. พลกถา
อิทธิพละ ๑๐ อะไรบ้าง คือ

๑. ฤทธิ์ที่อธิษฐาน ๒. ฤทธิ์ที่แสดงได้ต่าง ๆ
๓. ฤทธิ์ที่สำเร็จด้วยใจ ๔. ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณ
๕. ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ ๖. ฤทธิ์ของพระอริยะ
๗. ฤทธิ์ที่เกิดจากผลกรรม ๘. ฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญ
๙. ฤทธิ์ที่สำเร็จมาจากวิชชา

๑๐. ชื่อว่าฤทธิ์ เพราะมีสภาวะสำเร็จด้วยการประกอบโดยชอบในส่วน
นั้น ๆ เป็นปัจจัย
นี้อิทธิพละ ๑๐ (๑๐) (=๕๘)
ตถาคตพละ ๑๐ อะไรบ้าง
คือ ตถาคตรู้ชัดฐานะโดยความเป็นฐานะและอฐานะ๑โดยความเป็นอฐานะใน
โลกนี้ตามความเป็นจริง การที่ตถาคตรู้ชัดฐานะโดยความเป็นฐานะและอฐานะโดย
ความเป็นอฐานะตามความเป็นจริง นี้เป็นกำลังของตถาคต ที่ตถาคตอาศัยแล้ว
ยืนยันฐานะที่องอาจบันลือสีหนาท๒ประกาศพรหมจักรในบริษัท๓ (๑)
ตถาคตรู้ชัดวิบากแห่งการยึดถือกรรมที่เป็นทั้งอดีต อนาคต และปัจจุบัน
โดยฐานะ โดยเหตุตามความเป็นจริง การที่ตถาคตรู้ชัดวิบากแห่งการยึดถือกรรม
ที่เป็นทั้งอดีต อนาคต และปัจจุบัน โดยฐานะ โดยเหตุตามความเป็นจริง นี้เป็น
กำลังของตถาคต ฯลฯ (๒)

เชิงอรรถ :
๑ ฐานะและอฐานะ ได้แก่ การณะและอการณะ (เหตุและสิ่งมิใช่เหตุ) (ขุ.ป.อ. ๒/๔๔/๒๗๐)
๒ บันลือสีหนาท หมายถึงคำพูดที่ตรัสด้วยท่าทีองอาจดังพญาราชสีห์ ไม่ทรงหวั่นเกรงผู้ใดเพราะทรงมั่น
พระทัยในศีล สมาธิ ปัญญาของพระองค์ (ที.สี.ฏีกา ๑/๔๐๓/๔๓๒)
๓ บริษัท ในที่นี้หมายถึงกลุ่มของบุคคลหลายสถานะที่มาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า เพื่อต้องการจะฟังพระ
ธรรมเทศนามี ๘ กลุ่ม คือขัตติยบริษัท พราหมณบริษัท คหบดีบริษัท สมณบริษัท จาตุมหาราชิกา-
บริษัท ดาวดึงสบริษัท มารบริษัท และพรหมบริษัท (ขุ.ป.อ. ๒/๔๔/๒๗๑, ม.มู. ๑๒/๑๕๑/๑๑๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๙. พลกถา
ตถาคตรู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงภูมิทั้งปวงตามความเป็นจริง การที่ตถาคตรู้ชัด
ปฏิปทาที่ให้ถึงภูมิทั้งปวงตามความเป็นจริง นี้เป็นกำลังของตถาคต ฯลฯ (๓)
ตถาคตรู้ชัดโลกธาตุหลายชนิด มีธาตุที่แตกต่างกันตามความเป็นจริง การที่
ตถาคตรู้ชัดโลกธาตุหลายชนิด มีธาตุที่แตกต่างกันตามความเป็นจริง นี้เป็นกำลัง
ของตถาคต ฯลฯ (๔)
ตถาคตรู้ชัดว่าหมู่สัตว์เป็นผู้มีอัธยาศัยต่างกันตามความเป็นจริง การที่ตถาคต
รู้ชัดว่าหมู่สัตว์เป็นผู้มีอัธยาศัยต่างกันตามความเป็นจริง นี้เป็นกำลังของตถาคต
ฯลฯ (๕)
ตถาคตรู้ชัดว่าสัตว์เหล่าอื่นและบุคคลเหล่าอื่นมีอินทรีย์แก่กล้าและมีอินทรีย์อ่อน
ตามความเป็นจริง การที่ตถาคตรู้ชัดว่าสัตว์เหล่าอื่นและบุคคลเหล่าอื่นมีอินทรีย์แก่
กล้าและมีอินทรีย์อ่อนตามความเป็นจริง นี้เป็นกำลังของตถาคต ฯลฯ (๖)
ตถาคตรู้ชัดความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้วแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และ
สมาบัติ และการออกจากฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ ตามความเป็นจริง
การที่ตถาคตรู้ชัดความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้วแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และ
สมาบัติ และการออกจากฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติตามความเป็นจริง
นี้เป็นกำลังของตถาคต ฯลฯ (๗)
ตถาคตระลึกถึงชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง
ฯลฯ ระลึกถึงชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้
การที่ตถาคตระลึกถึงชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ฯลฯ
นี้เป็นกำลังของตถาคต ฯลฯ (๘)
ตถาคตเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติและกำลังเกิดด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์
การที่ตถาคตเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติและกำลังเกิดด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์
นี้เป็นกำลังของตถาคต ฯลฯ (๙)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๙. พลกถา
ตถาคตทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ๑ปัญญาวิมุตติ๒อันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะทั้งหลาย
สิ้นแล้วด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน๓ การที่ตถาคตทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ
ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นแล้วด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้า
ถึงอยู่ในปัจจุบัน นี้เป็นกำลังของตถาคต ที่ตถาคตอาศัยแล้วยืนยันฐานะที่องอาจ
บันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักรในบริษัท นี้ตถาคตพละ ๑๐ (๑๐) (=๖๘)
[๔๕] ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะมีสภาวะอย่างไร ชื่อว่าวิริยพละ เพราะมี
สภาวะอย่างไร ชื่อว่าสติพละ เพราะมีสภาวะอย่างไร ชื่อว่าสมาธิพละ เพราะมี
สภาวะอย่างไร ชื่อว่าปัญญาพละ เพราะมีสภาวะอย่างไร ชื่อว่าหิริพละ เพราะมี
สภาวะอย่างไร ชื่อว่าโอตตัปปพละ เพราะมีสภาวะอย่างไร ชื่อว่าปฏิสังขานพละ
เพราะมีสภาวะอย่างไร ฯลฯ ชื่อว่าตถาคตพละ เพราะมีสภาวะอย่างไร
คือ ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธา ชื่อว่า
วิริยพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน ชื่อว่าสติพละ เพราะ
มีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะความประมาท ชื่อว่าสมาธิพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่น
ไหวเพราะอุทธัจจะ ชื่อว่าปัญญาพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา ชื่อว่า
หิริพละ เพราะละอายบาปอกุศลธรรม ชื่อว่าโอตตัปปพละ เพราะเกรงกลัวบาป-
อกุศลธรรม ชื่อว่าปฏิสังขานพละ เพราะพิจารณากิเลสทั้งหลายด้วยญาณ ชื่อว่า
ภาวนาพละ เพราะธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นมีรสเป็นอย่างเดียวกัน ชื่อว่า
อนวัชชพละ เพราะในเนกขัมมะนั้นไม่มีโทษแม้น้อยหนึ่ง ชื่อว่าสังคหพละ เพราะ
พระโยคาวจรรวมจิตไว้ด้วยเนกขัมมะเป็นต้นนั้น ชื่อว่าขันติพละ เพราะเนกขัมมะ
เป็นต้นย่อมอดทนต่อนิวรณ์มีกามฉันทะเป็นต้นนั้น ชื่อว่าปัญญัตติพละ เพราะพระ
โยคาวจรตั้งจิตไว้ด้วยเนกขัมมะเป็นต้นนั้น ชื่อว่านิชฌัตติพละ เพราะพระโยคาวจร
ย่อมเพ่งจิตด้วยเนกขัมมะเป็นต้นนั้น ชื่อว่าอิสสริยพละ เพราะพระโยคาวจรย่อม

เชิงอรรถ :
๑ เจโตวิมุตติ หมายถึงผลสมาธิ (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๒/๘๔)
๒ ปัญญาวิมุตติ หมายถึงผลปัญญา (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๒/๘๔)
๓ ในปัจจุบัน หมายถึงในอัตภาพนี้ (ขุ.ป.อ. ๒/๔๔/๒๗๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๑๐. สุญญกถา
บังคับจิตให้เป็นไปตามอำนาจด้วยเนกขัมมะเป็นต้นนั้น ชื่อว่าอธิษฐานพละ เพราะ
พระโยคาวจรย่อมอธิษฐานจิตด้วยเนกขัมมะเป็นต้นนั้น ชื่อว่าสมถพละ เพราะจิต
เป็นเอกัคคตารมณ์ด้วยเนกขัมมะเป็นต้นนั้น ชื่อว่าวิปัสสนาพละ เพราะพระ
โยคาวจรย่อมพิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในภาวนานั้น ชื่อว่าเสกขพละ เพราะพระ
เสขะยังต้องศึกษาในสัมมาทิฏฐิเป็นต้นนั้น ชื่อว่าอเสกขพละ เพราะพระอเสขะ
ศึกษาในสัมมาทิฏฐิเป็นต้นนั้นเสร็จแล้ว ชื่อว่าขีณาสวพละ เพราะอาสวะทั้งหลาย
สิ้นแล้วด้วยความเห็นด้วยดีนั้น๑ ชื่อว่าอิทธิพละ เพราะฤทธิ์ย่อมสำเร็จด้วยการ
อธิษฐานเป็นต้นด้วยการประกอบโดยชอบในส่วนนั้น ๆ เป็นปัจจัย ชื่อว่าตถาคตพละ
เพราะมีสภาวะมีกำลังหาประมาณมิได้ ฉะนี้
พลกถา จบ

๑๐. สุญญกถา
ว่าด้วยความว่าง
[๔๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ที่เขากล่าวกันว่า ‘โลกว่าง โลกว่าง’ ด้วยเหตุเท่าไรหนอ พระองค์จึงตรัสว่า
‘โลกว่าง”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เพราะว่างจากอัตตาและจากสิ่งที่เนื่อง
ด้วยอัตตา ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า ‘โลกว่าง’ อานนท์ อะไรเล่าว่างจากอัตตาและ
จากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา คือ จักขุเป็นธรรมว่างจากอัตตาและจากสิ่งที่เนื่องด้วย
อัตตา รูปว่างจากอัตตาและจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา จักขุวิญญาณเป็นธรรมว่าง

เชิงอรรถ :
๑ ความเห็นด้วยดี ในที่นี้หมายถึงญาณที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระ (ขุ.ป.อ. ๒/๔๕/๒๗๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๑๐. สุญญกถา ๑. บทมาติกา
จากอัตตาและจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา จักขุสัมผัสเป็นธรรมว่างจากอัตตาและจาก
สิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออุเบกขาเวทนาที่เกิดเพราะ
จักขุสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นธรรมว่างจากอัตตาและจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา
โสตะ ฯลฯ สัททะ ฯลฯ ฆานะ ฯลฯ คันธะ ฯลฯ ชิวหา ฯลฯ รส ฯลฯ
กาย ฯลฯ โผฏฐัพพะ ฯลฯ มโนเป็นธรรมว่างจากอัตตาและจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา
ธรรมารมณ์เป็นธรรมว่างจากอัตตาและจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา มโนวิญญาณเป็น
ธรรมว่างจากอัตตาและจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา มโนสัมผัสเป็นธรรมว่างจากอัตตา
และจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออุเบกขาเวทนาที่เกิด
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นธรรมว่างจากอัตตาและจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา
เพราะฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า ‘โลกว่าง”

๑. บทมาติกา

[๔๗] ๑. สุญญสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่ว่าง)
๒. สังขารสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่เป็นสังขาร)
๓. วิปริณามสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่แปรผัน)
๔. อัคคสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่เป็นเลิศ)
๕. ลักขณสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่เป็นลักษณะ)
๖. วิกขัมภนสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่เป็นเหตุข่ม)
๗. ตทังคสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่เป็นคู่ปรับ)
๘. สมุจเฉทสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้ตัดขาด)
๙. ปฏิปัสสัทธิสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้สงบระงับ)
๑๐. นิสสรณสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่เป็นเหตุสลัดออก)
๑๑. อัชฌัตตสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่เป็นภายใน)
๑๒. พหิทธาสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่เป็นภายนอก)
๑๓. ทุภโตสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่เป็นภายในและภายนอก)
๑๔. สภาคสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่เป็นกลุ่มเดียวกัน)
๑๕. วิสภาคสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่ต่างกลุ่มกัน)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๑๐. สุญญกถา ๒. นิทเทส

๑๖. เอสนาสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่แสวงหา)
๑๗. ปริคคหสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่กำหนด)
๑๘. ปฏิลาภสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่ได้)
๑๙. ปฏิเวธสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่รู้แจ้ง)
๒๐. เอกัตตสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่เป็นสภาวะเดียว)
๒๑. นานัตตสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่เป็นสภาวะต่าง ๆ)
๒๒. ขันติสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่พอใจ)
๒๓. อธิษฐานสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่อธิษฐาน)
๒๔. ปริโยคาหนสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่หยั่งลง)

๒๕. ความว่างขั้นสูงสุดของความว่างทั้งปวง คือ การที่บุคคลผู้มี
สัมปชัญญะทำความเป็นไปแห่งกิเลสให้สิ้นไป

๒. นิทเทส
[๔๘] ๑. สุญญสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ จักขุเป็นธรรมว่างจากอัตตา จากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา จากความเที่ยง
จากความยั่งยืน จากความมั่นคง หรือจากความไม่แปรผันเป็นธรรมดา โสตะ ฯลฯ
ฆานะ ฯลฯ ชิวหา ฯลฯ กาย ฯลฯ มโนเป็นธรรมว่างจากอัตตา จากสิ่งที่เนื่องด้วย
อัตตา จากความเที่ยง จากความยั่งยืน จากความมั่นคง หรือจากความไม่แปรผัน
เป็นธรรมดา นี้ชื่อว่าสุญญสุญญะ
๒. สังขารสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ สังขาร ๓ ประการ ได้แก่
๑. ปุญญาภิสังขาร ๒. อปุญญาภิสังขาร
๓. อาเนญชาภิสังขาร
ปุญญาภิสังขาร เป็นธรรมว่างจากอปุญญาภิสังขารและอาเนญชาภิสังขาร
อปุญญาภิสังขาร เป็นธรรมว่างจากปุญญาภิสังขารและอาเนญชาภิสังขาร
อาเนญชาภิสังขาร เป็นธรรมว่างจากปุญญาภิสังขารและอปุญญาภิสังขาร
นี้สังขาร ๓ ประการ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๑๐. สุญญกถา ๒. นิทเทส
อีกนัยหนึ่ง สังขาร ๓ ประการ ได้แก่
๑. กายสังขาร ๒. วจีสังขาร
๓. จิตตสังขาร
กายสังขาร เป็นธรรมว่างจากวจีสังขารและจิตตสังขาร
วจีสังขาร เป็นธรรมว่างจากกายสังขารและจิตตสังขาร
จิตตสังขาร เป็นธรรมว่างจากกายสังขารและวจีสังขาร
นี้สังขาร ๓ ประการ
อีกนัยหนึ่ง สังขาร ๓ ประการ ได้แก่
๑. สังขารส่วนอดีต ๒. สังขารส่วนอนาคต
๓. สังขารส่วนปัจจุบัน
สังขารส่วนอดีต เป็นธรรมว่างจากสังขารส่วนอนาคตและสังขารส่วนปัจจุบัน
สังขารส่วนอนาคต เป็นธรรมว่างจากสังขารส่วนอดีตและสังขารส่วนปัจจุบัน
สังขารส่วนปัจจุบัน เป็นธรรมว่างจากสังขารส่วนอดีตและสังขารส่วนอนาคต
นี้สังขาร ๓ ประการ
นี้ชื่อว่าสังขารสุญญะ
๓. วิปริณามสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ รูปที่เกิดแล้วเป็นธรรมว่างตามสภาวะ รูปที่ดับไปเป็นธรรมแปรผันและว่าง
เวทนาที่เกิดแล้วเป็นธรรมว่างตามสภาวะ เวทนาที่ดับไปเป็นธรรมแปรผันและว่าง
สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ จักขุ ฯลฯ ภพที่เกิดแล้วเป็น
ธรรมว่างตามสภาวะ ภพที่ดับไปเป็นธรรมแปรผันและว่าง นี้ชื่อว่าวิปริณามสุญญะ
๔. อัคคสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ ทางที่เลิศ ทางที่ประเสริฐ ทางที่วิเศษ คือ ความสงบแห่งสังขารทั้งปวง
ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ
นิพพาน นี้ชื่อว่า อัคคสุญญะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๑๐. สุญญกถา ๒. นิทเทส
๕. ลักขณสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ ลักษณะ ๒ ประการ ได้แก่
๑. พาลลักษณะ๑ (ลักษณะคนพาล)
๒. บัณฑิตลักษณะ๒ (ลักษณะบัณฑิต)
พาลลักษณะ เป็นธรรมว่างจากบัณฑิตลักษณะ
บัณฑิตลักษณะ เป็นธรรมว่างจากพาลลักษณะ
ลักษณะ ๓ ประการ ได้แก่
๑. อุปปาทลักษณะ (ลักษณะความเกิดขึ้น)
๒. วยลักษณะ (ลักษณะความเสื่อม)
๓. ฐิตัญญถัตตลักษณะ (ลักษณะแปรผันเมื่อยังตั้งอยู่)
อุปปาทลักษณะ เป็นธรรมว่างจากวยลักษณะและฐิตัญญถัตตลักษณะ
วยลักษณะ เป็นธรรมว่างจากวยลักษณะและฐิตัญญถัตตลักษณะ
ฐิตัญญถัตตลักษณะ เป็นธรรมว่างจากอุปปาทลักษณะและวยลักษณะ
อุปปาทลักษณะแห่งรูป เป็นธรรมว่างจากวยลักษณะและฐิตัญญถัตตลักษณะ
วยลักษณะแห่งรูป เป็นธรรมว่างจากอุปปาทลักษณะและฐิตัญญถัตตลักษณะ
ฐิตัญญถัตตลักษณะแห่งรูป เป็นธรรมว่างจากอุปปาทลักษณะและวยลักษณะ
อุปปาทลักษณะแห่งเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ
จักขุ ฯลฯ
อุปปาทลักษณะแห่งชราและมรณะ เป็นธรรมว่างจากวยลักษณะและฐิตัญญ-
ถัตตลักษณะ
วยลักษณะแห่งชราและมรณะ เป็นธรรมว่างจากอุปปาทลักษณะและฐิตัญญ-
ถัตตลักษณะ

เชิงอรรถ :
๑ พาลลักษณะ หมายถึงลักษณะคนพาล ๓ ประการ คือ (๑) คิดแต่เรื่องที่ชั่ว (๒) พูดแต่สิ่งที่ชั่ว (๓) ทำแต่
กรรมที่ชั่ว (ขุ.ป.อ. ๒/๔๘/๒๘๓)
๒ บัณฑิตลักษณะ หมายถึงลักษณะบัณฑิต ๓ ประการ คือ (๑) คิดแต่เรื่องที่ดี (๒) พูดแต่สิ่งที่ดี (๓) ทำแต่
กรรมดี (ขุ.ป.อ. ๒/๔๘/๒๘๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๑๐. สุญญกถา ๒. นิทเทส
ฐิตัญญถัตตลักษณะแห่งชราและมรณะ เป็นธรรมว่างจากอุปปาทลักษณะและ
วยลักษณะ
นี้ชื่อว่าลักขณสุญญะ
๖. วิกขัมภนสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ กามฉันทะเป็นธรรมที่บุคคลข่มไว้ด้วยเนกขัมมะ และเป็นธรรมว่างจาก
เนกขัมมะ พยาบาทเป็นธรรมที่บุคคลข่มไว้ด้วยอพยาบาท และเป็นธรรมว่างจาก
อพยาบาท ถีนมิทธะเป็นธรรมที่บุคคลข่มไว้ด้วยอาโลกสัญญา และเป็นธรรมว่าง
จากอาโลกสัญญา อุทธัจจะเป็นธรรมที่บุคคลข่มไว้ด้วยอวิกเขปะ และเป็นธรรม
ว่างจากอวิกเขปะ วิจิกิจฉาเป็นเป็นธรรมที่บุคคลข่มไว้ด้วยธัมมววัตถาน และเป็น
ธรรมว่างจากธัมมววัตถาน อวิชชาเป็นธรรมที่บุคคลข่มไว้ด้วยญาณ และเป็นธรรม
ว่างจากญาณ อรติเป็นธรรมที่บุคคลข่มไว้ด้วยปามุชชะ และเป็นธรรมว่างจาก
ปามุชชะ นิวรณ์เป็นธรรมที่บุคคลข่มไว้ด้วยปฐมฌาน และเป็นธรรมว่างจาก
ปฐมฌาน ฯลฯ๑ กิเลสทั้งปวงเป็นธรรมที่บุคคลข่มไว้ด้วยอรหัตตมรรค และเป็น
ธรรมว่างจากอรหัตตมรรค นี้ชื่อว่าวิกขัมภนสุญญะ
๗. ตทังคสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ กามฉันทะเป็นธรรมที่บุคคลละได้ด้วยเนกขัมมะ และเป็นธรรมว่างจาก
เนกขัมมะ พยาบาทเป็นธรรมที่บุคคลละได้ด้วยอพยาบาท และเป็นธรรมว่างจาก
อพยาบาท ถีนมิทธะเป็นธรรมที่บุคคลละได้ด้วยอาโลกสัญญา และเป็นธรรมว่าง
จากอาโลกสัญญา อุทธัจจะเป็นธรรมที่บุคคลละได้ด้วยอวิกเขปะ และเป็นธรรม
ว่างจากอวิกเขปะ วิจิกิจฉาเป็นธรรมที่บุคคลละได้ด้วยธัมมววัตถาน และเป็นธรรม
ว่างจากธัมมววัตถาน อวิชชาเป็นธรรมที่บุคคลละได้ด้วยญาณ และเป็นธรรมว่าง
จากญาณ อรติเป็นธรรมที่บุคคลละได้ด้วยปามุชชะ และเป็นธรรมว่างจากปามุชชะ
นิวรณ์เป็นธรรมที่บุคคลละได้ด้วยปฐมฌาน และเป็นธรรมว่างจากปฐมฌาน ฯลฯ
กิเลสทั้งปวงเป็นธรรมที่บุคคลละได้ด้วยอรหัตตมรรค และเป็นธรรมว่างจากอรหัตต-
มรรค นี้ชื่อว่าตทังคสุญญะ

เชิงอรรถ :
๑ ดูองค์ธรรมที่เป็นคู่ตรงกันข้าม ๓๗ คู่ ในข้อที่ ๒๘ (สุตมยญาณที่ ๔) หน้า ๔๑-๔๔ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๑๐. สุญญกถา ๒. นิทเทส
๘. สมุจเฉทสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ กามฉันทะเป็นธรรมที่บุคคลตัตขาดด้วยเนกขัมมะ และเป็นธรรมว่างจาก
เนกขัมมะ พยาบาทเป็นธรรมที่บุคคลตัดขาดด้วยอพยาบาท และเป็นธรรมว่าง
จากอพยาบาท ถีนมิทธะเป็นธรรมที่บุคคลตัดขาดด้วยอาโลกสัญญา และเป็น
ธรรมว่างจากอาโลกสัญญา อุทธัจจะเป็นธรรมที่บุคคลตัดขาดด้วยอวิกเขปะ และ
เป็นธรรมว่างจากอวิกเขปะ วิจิกิจฉาเป็นธรรมที่บุคคลตัดขาดด้วยธัมมววัตถาน
และเป็นธรรมว่างจากธัมมววัตถาน อวิชชาเป็นธรรมที่บุคคลตัดขาดด้วยญาณ
และเป็นธรรมว่างจากญาณ อรติเป็นธรรมที่บุคคลตัดขาดด้วยปามุชชะ และเป็น
ธรรมว่างจากปามุชชะ นิวรณ์เป็นธรรมที่บุคคลตัดขาดด้วยปฐมฌาน และเป็น
ธรรมว่างจากปฐมฌาน ฯลฯ กิเลสทั้งปวงเป็นธรรมที่บุคคลตัดขาดด้วยอรหัตต-
มรรค และเป็นธรรมว่างจากอรหัตตมรรค นี้ชื่อว่าสมุจเฉทสุญญะ
๙. ปฏิปัสสัทธิสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ กามฉันทะเป็นธรรมที่บุคคลทำให้สงบระงับด้วยเนกขัมมะ และเป็น
ธรรมว่างจากเนกขัมมะ พยาบาทเป็นธรรมที่บุคคลทำให้สงบระงับด้วยอพยาบาท
และเป็นธรรมว่างจากอพยาบาท ถีนมิทธะเป็นธรรมที่บุคคลทำให้สงบระงับด้วย
อาโลกสัญา และเป็นธรรมว่างจากอาโลกสัญญา อุทธัจจะเป็นธรรมที่บุคคลทำให้
สงบระงับด้วยอวิกเขปะ และเป็นธรรมว่างจากอวิกเขปะ วิจิกิจฉาเป็นธรรมที่
บุคคลทำให้สงบระงับด้วยธัมมววัตถาน และเป็นธรรมว่างจากธัมมววัตถาน
อวิชชาเป็นธรรมที่บุคคลทำให้สงบระงับด้วยญาณ และเป็นธรรมว่างจากญาณ
อรติเป็นธรรมที่บุคคลทำให้สงบระงับด้วยปามุชชะ และเป็นธรรมว่างจากปามุชชะ
นิวรณ์เป็นธรรมที่บุคคลทำให้สงบระงับด้วยปฐมฌาน และเป็นธรรมว่างจาก
ปฐมฌาน ฯลฯ กิเลสทั้งปวงเป็นธรรมที่บุคคลทำให้สงบระงับด้วยอรหัตตมรรค
และเป็นธรรมว่างจากอรหัตตมรรค และเป็นธรรมว่างจากอรหัตตมรรค นี้ชื่อว่า
ปฏิปัสสัทธิสุญญะ
๑๐. นิสสรณสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ กามฉันทะเป็นธรรมที่บุคคลสลัดออกด้วยเนกขัมมะ และเป็นธรรมว่าง
จากเนกขัมมะ พยาบาทเป็นธรรมที่บุคคลสลัดออกด้วยอพยาบาท และเป็นธรรม
ว่างจากอพยาบาท ถีนมิทธะเป็นธรรมที่บุคคลสลัดออกด้วยอาโลกสัญญา และ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๑๐. สุญญกถา ๒. นิทเทส
เป็นธรรมว่างจากอาโลกสัญญา อุทธัจจะเป็นธรรมที่บุคคลสลัดออกด้วยอวิกเขปะ
และเป็นธรรมว่างจากอวิกเขปะ วิจิกิจฉาเป็นธรรมที่บุคคลสลัดออกด้วยธัมมววัตถาน
และเป็นธรรมว่างจากธัมมววัตถาน อวิชชาเป็นธรรมที่บุคคลสลัดออกด้วยญาณ
และเป็นธรรมว่างจากญาณ อรติเป็นธรรมที่บุคคลสลัดออกด้วยปามุชชะ และเป็น
ธรรมว่างจากปามุชชะ นิวรณ์เป็นธรรมที่บุคคลสลัดออกด้วยปฐมฌาน และเป็น
ธรรมว่างจากปฐมฌาน ฯลฯ กิเลสทั้งปวงเป็นธรรมที่บุคคลสลัดออกด้วยอรหัตต-
มรรค และเป็นธรรมว่างจากอรหัตตมรรค นี้ชื่อว่านิสสรณสุญญะ
๑๑. อัชฌัตตสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ จักขุที่เป็นอายตนะภายใน เป็นธรรมว่างจากอัตตา จากสิ่งที่เนื่องด้วย
อัตตา จากความเที่ยง จากความยั่งยืน จากความมั่นคง หรือจากความไม่แปรผัน
เป็นธรรมดา โสตะ ฯลฯ ฆานะ ฯลฯ ชิวหา ฯลฯ กาย ฯลฯ มโนที่เป็นอายตนะ
ภายใน เป็นธรรมว่างจากอัตตา จากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา จากความเที่ยง จาก
ความยั่งยืน จากความมั่นคง หรือจากความไม่แปรผันเป็นธรรมดา นี้ชื่อว่า
อัชฌัตตสุญญะ
๑๒. พหิทธาสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ รูปที่เป็นอายตนะภายนอก เป็นธรรมว่างจากอัตตา จากสิ่งที่เนื่องด้วย
อัตตา จากความเที่ยง จากความยั่งยืน จากความมั่นคง หรือจากความไม่แปรผัน
เป็นธรรมดา เสียง ฯลฯ กลิ่น ฯลฯ รส ฯลฯ โผฏฐัพพะ ฯลฯ ธรรมารมณ์
ที่เป็นอายตนะภายนอก เป็นธรรมว่างจากอัตตา จากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา จาก
ความเที่ยง จากความยั่งยืน จากความมั่นคง หรือจากความไม่แปรผันเป็นธรรมดา
นี้ชื่อว่าพหิทธาสุญญะ
๑๓. ทุภโตสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ จักขุที่เป็นอายตนะภายในและรูปที่เป็นอายตนะภายนอกทั้งสองนั้น เป็น
ธรรมว่างจากอัตตา จากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา จากความเที่ยง จากความยั่งยืน
จากความมั่นคง หรือจากความไม่แปรผันเป็นธรรมดา โสตะที่เป็นอายตนะภายใน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๑๐. สุญญกถา ๒. นิทเทส
และสัททะที่เป็นอายตนะภายนอก ฯลฯ ฆานะที่เป็นอายตนะภายในและคันธะ
ที่เป็นอายตนะภายนอก ฯลฯ ชิวหาที่เป็นอายตนะภายในและรสที่เป็นอายตนะภายนอก
ฯลฯ กายที่เป็นอายตนะภายในและโผฏฐัพพะที่เป็นอายตนะภายนอก ฯลฯ มโน
ที่เป็นอายตนะภายในและธรรมารมณ์ที่เป็นอายตนะภายนอกทั้งสองนั้น เป็นธรรม
ว่างจากอัตตา จากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา จากความเที่ยง จากความยั่งยืน จาก
ความมั่นคง หรือจากความไม่แปรผัน นี้ชื่อว่าทุภโตสุญญะ
๑๔. สภาคสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ อายตนะภายใน ๖ เป็นธรรมกลุ่มเดียวกันและเป็นธรรมว่าง อายตนะ
ภายนอก ๖ เป็นธรรมกลุ่มเดียวกันและเป็นธรรมว่าง หมวดวิญญาณ ๖ เป็น
ธรรมกลุ่มเดียวกันและเป็นธรรมว่าง หมวดผัสสะ ๖ เป็นธรรมกลุ่มเดียวกันและ
เป็นธรรมว่าง หมวดเวทนา ๖ เป็นธรรมกลุ่มเดียวกันและเป็นธรรมว่าง หมวด
สัญญา ๖ เป็นธรรมกลุ่มเดียวกันและเป็นธรรมว่าง หมวดเจตนา ๖ เป็นธรรม
กลุ่มเดียวกันและเป็นธรรมว่าง นี้ชื่อว่าสภาคสุญญะ
๑๕. วิสภาคสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ อายตนะภายใน ๖ เป็นธรรมต่างกลุ่มกับอายตนะภายนอก ๖ และ
เป็นธรรมว่าง อายตนะภายนอก ๖ เป็นธรรมต่างกลุ่มกับหมวดวิญญาณ ๖
และเป็นธรรมว่าง หมวดผัสสะ ๖ เป็นธรรมต่างกลุ่มกับหมวดเวทนา ๖ และ
เป็นธรรมว่าง หมวดเวทนา ๖ เป็นธรรมต่างกลุ่มกับหมวดสัญญา ๖ และเป็น
ธรรมว่าง หมวดสัญญา ๖ เป็นธรรมต่างกลุ่มกับหมวดเจตนา ๖ และเป็นธรรมว่าง
นี้ชื่อว่าวิสภาคสุญญะ
๑๖. เอสนาสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ เนกขัมมะที่บุคคลแสวงหา เป็นธรรมว่างจากกามฉันทะ อพยาบาทที่
บุคคลแสวงหา เป็นธรรมว่างจากพยาบาท อาโลกสัญญาที่บุคคลแสวงหา เป็น
ธรรมว่างจากถีนมิทธะ อวิกเขปะที่บุคคลแสวงหา เป็นธรรมว่างจากอุทธัจจะ
ญาณที่บุคคลแสวงหา เป็นธรรมว่างจากอวิชชา ธัมมววัตถานที่บุคคลแสวงหา
เป็นธรรมว่างจากอรติ ปฐมฌานที่บุคคลแสวงหาเป็นธรรมว่างจากนิวรณ์ ฯลฯ
อรหัตตมรรคที่บุคคลแสวงหา เป็นธรรมว่างจากกิเลสทั้งปวง นี้ชื่อว่าเอสนาสุญญะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๑๐. สุญญกถา ๒. นิทเทส
๑๗. ปริคคหสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ เนกขัมมะที่บุคคลกำหนด เป็นธรรมว่างจากกามฉันทะ อพยาบาทที่
บุคคลกำหนด เป็นธรรมว่างจากพยาบาท อาโลกสัญญาที่บุคคลกำหนด เป็น
ธรรมว่างจากถีนมิทธะ อวิกเขปะที่บุคคลกำหนด เป็นธรรมว่างจากอุทธัจจะ
ญาณที่บุคคลกำหนด เป็นธรรมว่างจากอวิชชา ธัมมววัตถานที่บุคคลกำหนด
เป็นธรรมว่างจากอรติ ปฐมฌานที่บุคคลกำหนด เป็นธรรมว่างจากนิวรณ์ ฯลฯ
อรหัตตมรรคที่บุคคลกำหนด เป็นธรรมว่างจากกิเลสทั้งปวง นี้ชื่อว่าปริคคหสุญญะ
๑๘. ปฏิลาภสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ เนกขัมมะที่บุคคลได้ เป็นธรรมว่างจากกามฉันทะ อพยาบาทที่บุคคลได้
เป็นธรรมว่างจากพยาบาท อาโลกสัญญาที่บุคคลได้ เป็นธรรมว่างจากถีนมิทธะ
อวิกเขปะที่บุคคลได้ เป็นธรรมว่างจากอุทธัจจะ ญาณที่บุคคลได้ เป็นธรรมว่าง
จากอวิชชา ธัมมววัตถานที่บุคคลได้ เป็นธรรมว่างจากอรติ ปฐมฌานที่บุคคลได้
เป็นธรรมว่างจากนิวรณ์ ฯลฯ อรหัตตมรรคที่บุคคลได้ เป็นธรรมว่างจากกิเลส
ทั้งปวง นี้ชื่อว่าปฏิลาภสุญญะ
๑๙. ปฏิเวธสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ เนกขัมมะที่บุคคลรู้แจ้ง เป็นธรรมว่างจากกามฉันทะ อพยาบาทที่บุคคลรู้แจ้ง
เป็นธรรมว่างจากพยาบาท อาโลกสัญญาที่บุคคลรู้แจ้ง เป็นธรรมว่างจากถีนมิทธะ
อวิกเขปะที่บุคคลรู้แจ้ง เป็นธรรมว่างจากอุทธัจจะ ญาณที่บุคคลรู้แจ้ง เป็นธรรม
ว่างจากอวิชชา ธัมมววัตถานที่บุคคลรู้แจ้ง เป็นธรรมว่างจากอรติ ปฐมฌานที่
บุคคลรู้แจ้ง เป็นธรรมว่างจากนิวรณ์ ฯลฯ อรหัตตมรรคที่บุคคลรู้แจ้ง เป็นธรรม
ว่างจากกิเลสทั้งปวง นี้ชื่อว่าปฏิเวธสุญญะ
๒๐-๒๑. เอกัตตสุญญะ นานัตตสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ กามฉันทะเป็นสภาวะต่าง ๆ เนกขัมมะเป็นสภาวะเดียว เนกขัมมะที่
เป็นสภาวะเดียวของบุคคลผู้คิดอยู่ เป็นธรรมว่างจากกามฉันทะ พยาบาทเป็น
สภาวะต่าง ๆ อพยาบาทเป็นสภาวะเดียว อพยาบาทที่เป็นสภาวะเดียวของบุคคล


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๑๐. สุญญกถา ๒. นิทเทส
ผู้คิดอยู่ เป็นธรรมว่างจากพยาบาท ถีนมิทธะเป็นสภาวะต่าง ๆ อาโลกสัญญาเป็น
สภาวะเดียว อาโลกสัญญาที่เป็นสภาวะเดียวของบุคคลผู้คิดอยู่ เป็นธรรมว่างจาก
ถีนมิทธะ อุทธัจจะเป็นสภาวะต่าง ๆ อวิกเขปะเป็นสภาวะเดียว อวิกเขปะที่เป็น
สภาวะเดียวของบุคคลผู้คิดอยู่ เป็นธรรมว่างจากอุทธัจจะ วิจิกิจฉาเป็นสภาวะต่าง ๆ
ธัมมววัตถานเป็นสภาวะเดียว ธัมมววัตถานที่เป็นสภาวะเดียวของบุคคลผู้คิดอยู่
เป็นธรรมว่างจากวิจิกิจฉา อวิชชาเป็นสภาวะต่าง ๆ ญาณเป็นสภาวะเดียว ญาณ
ที่เป็นสภาวะเดียวของบุคคลผู้คิดอยู่ เป็นธรรมว่างจากอวิชชา อรติเป็นสภาวะต่าง ๆ
ปามุชชะเป็นสภาวะเดียว ปามุชชะที่เป็นสภาวะเดียวของบุคคลผู้คิดอยู่ เป็นธรรม
ว่างจากอรติ นิวรณ์เป็นสภาวะต่าง ๆ ปฐมฌานเป็นสภาวะเดียว ปฐมฌานที่เป็น
สภาวะเดียวของบุคคลผู้คิดอยู่ เป็นธรรมว่างจากนิวรณ์ ฯลฯ กิเลสทั้งปวงเป็น
สภาวะต่าง ๆ อรหัตตมรรคเป็นสภาวะเดียว อรหัตตมรรคที่เป็นสภาวะเดียวของ
บุคคลผู้คิดอยู่ เป็นธรรมว่างจากกิเลสทั้งปวง นี้ชื่อว่าเอกัตตสุญญะ นานัตตสุญญะ
๒๒. ขันติสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ เนกขัมมะที่บุคคลพอใจ เป็นธรรมว่างจากกามฉันทะ อพยาบาทที่บุคคลพอใจ
เป็นธรรมว่างจากพยาบาท อาโลกสัญญาที่บุคคลพอใจ เป็นธรรมว่างจากถีนมิทธะ
อวิกเขปะที่บุคคลพอใจ เป็นธรรมว่างจากอุทธัจจะ ญาณที่บุคคลพอใจ เป็นธรรม
ว่างจากอวิชชา ธัมมววัตถานที่บุคคลพอใจ เป็นธรรมว่างจากอรติ ปฐมฌานที่
บุคคลพอใจ เป็นธรรมว่างจากนิวรณ์ ฯลฯ อรหัตตมรรคที่บุคคลพอใจ เป็น
ธรรมว่างจากกิเลสทั้งปวง นี้ชื่อว่าขันติสุญญะ
๒๓. อธิษฐานสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ เนกขัมมะที่บุคคลอธิษฐาน เป็นธรรมว่างจากกามฉันทะ อพยาบาทที่
บุคคลอธิษฐาน เป็นธรรมว่างจากพยาบาท อาโลกสัญญาที่บุคคลอธิษฐาน เป็น
ธรรมว่างจากถีนมิทธะ อวิกเขปะที่บุคคลอธิษฐาน เป็นธรรมว่างจากอุทธัจจะ
ญาณที่บุคคลอธิษฐาน เป็นธรรมว่างจากอวิชชา ธัมมววัตถานที่บุคคลอธิษฐาน
เป็นธรรมว่างจากอรติ ปฐมฌานที่บุคคลอธิษฐาน เป็นธรรมว่างจากนิวรณ์ ฯลฯ
อรหัตตมรรคที่บุคคลอธิษฐาน เป็นธรรมว่างจากกิเลสทั้งปวง นี้ชื่อว่าอธิฏฐานสุญญะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๑๐. สุญญกถา ๒. นิทเทส
๒๔. ปริโยคาหนสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ เนกขัมมะที่บุคคลหยั่งลง เป็นธรรมว่างจากกามฉันทะ อพยาบาทที่
บุคคลหยั่งลง เป็นธรรมว่างจากพยาบาท อาโลกสัญญาที่บุคคลหยั่งลง เป็น
ธรรมว่างจากถีนมิทธะ อวิกเขปะที่บุคคลหยั่งลง เป็นธรรมว่างจากอุทธัจจะ
ญาณที่บุคคลหยั่งลง เป็นธรรมว่างจากอวิชชา ธัมมววัตถานที่บุคคลหยั่งลง เป็น
ธรรมว่างจากอรติ ปฐมฌานที่บุคคลหยั่งลง เป็นธรรมว่างจากนิวรณ์ ฯลฯ
อรหัตตมรรคที่บุคคลหยั่งลง เป็นธรรมว่างจากกิเลสทั้งปวง นี้ชื่อว่าปริโยคาหน-
สุญญะ
๒๕. ความว่างขั้นสูงสุดของความว่างทั้งปวง คือ การที่บุคคลผู้มีสัมปชัญญะ
ทำความเป็นไปแห่งกิเลสให้สิ้นไป เป็นอย่างไร
คือ บุคคลผู้มีสัมปชัญญะในโลกนี้ ทำความเป็นไปแห่งกามฉันทะให้สิ้นไป
ด้วยเนกขัมมะ ทำความเป็นไปแห่งพยาบาทให้สิ้นไปด้วยอพยาบาท ทำความเป็น
ไปแห่งถีนมิทธะให้สิ้นไปด้วยอาโลกสัญญา ทำความเป็นไปแห่งอุทธัจจะให้สิ้นไป
ด้วยอวิกเขปะ ทำความเป็นไปแห่งวิจิกิจฉาให้สิ้นไปด้วยธัมมววัตถาน ทำความ
เป็นไปแห่งอวิชชาให้สิ้นไปด้วยญาณ ทำความเป็นไปแห่งอรติให้สิ้นไปด้วยปามุชชะ
ทำความเป็นไปแห่งนิวรณ์ให้สิ้นไปด้วยปฐมฌาน ฯลฯ ทำความเป็นไปแห่งกิเลส
ทั้งปวงให้สิ้นไปด้วยอรหัตตมรรค
อีกนัยหนึ่ง ความเป็นไปแห่งจักขุนี้ของบุคคลผู้มีสัมปชัญญะ ผู้ปรินิพพาน
ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ย่อมสิ้นไป และความเป็นไปแห่งจักขุอื่นก็ไม่เกิดขึ้น
ความเป็นไปแห่งโสตะ ฯลฯ ความเป็นไปแห่งฆานะ ฯลฯ ความเป็นไป
แห่งชิวหา ฯลฯ ความเป็นไปแห่งกาย ฯลฯ
ความเป็นไปแห่งมโนนี้ของบุคคลผู้มีสัมปชัญญะ ผู้ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสส-
นิพพานธาตุ ย่อมสิ้นไป และความเป็นไปแห่งมโนอื่นก็ไม่เกิดขึ้น นี้ชื่อว่าความ
ว่างขั้นสูงสุดของความว่างทั้งปวง คือ การที่บุคคลผู้มีสัมปชัญญะทำความเป็นไป
แห่งกิเลสให้สิ้นไป ฉะนี้

สุญญกถา จบ
ยุคนัทธวรรคที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] รวมกถาที่มีในวรรค
รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ยุคนัทธกถา ๒. สัจจกถา
๓. โพชฌงคกถา ๔. เมตตากถา
๕. วิราคกถา ๖. ปฏิสัมภิทากถา
๗. ธัมมจักกกถา ๘. โลกุตตรกถา
๙. พลกถา ๑๐. สุญญกถา

วรรคที่ ๒ นี้เป็นวรรคอันยอดเยี่ยม ไม่มีวรรคอื่นเสมอ ท่านผู้ทรงนิกาย
ตั้งไว้แล้ว ฉะนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑. มหาปัญญากถา
๓. ปัญญาวรรค
หมวดว่าด้วยปัญญา
๑. มหาปัญญากถา
ว่าด้วยมหาปัญญา
[๑] อนิจจานุปัสสนาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาอย่างไหนให้
เต็มรอบ
ทุกขานุปัสสนาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาอย่างไหนให้เต็มรอบ
อนัตตานุปัสสนาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาอย่างไหนให้
เต็มรอบ
นิพพิทานุปัสสนาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาอย่างไหนให้
เต็มรอบ
วิราคานุปัสสนาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาอย่างไหนให้
เต็มรอบ
นิโรธานุปัสสนาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาอย่างไหนให้
เต็มรอบ
ปฏินิสสัคคานุปัสสนาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาอย่างไหน
ให้เต็มรอบ
คือ อนิจจานุปัสสนาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาที่แล่นไป๑ให้
เต็มรอบ
ทุกขานุปัสสนาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาชำแรกกิเลสให้
เต็มรอบ

เชิงอรรถ :
๑ ปัญญาที่แล่นไป แปลมาจาก ชวนปัญญา จะใช้ว่า ปัญญาฉับไวก็ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑. มหาปัญญากถา
อนัตตานุปัสสนาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญามากให้เต็มรอบ
นิพพิทานุปัสสนาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาเฉียบแหลม
ให้เต็มรอบ
วิราคานุปัสสนาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาไพบูลย์ให้
เต็มรอบ
นิโรธานุปัสสนาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาลึกซึ้งให้เต็มรอบ
ปฏินิสสัคคานุปัสสนาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาไม่ใกล้ให้
เต็มรอบ
ปัญญา ๗ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำความเป็น
บัณฑิตให้เต็มรอบ
ปัญญา ๘ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญากว้างขวางให้
เต็มรอบ
ปัญญา ๙ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาร่าเริงให้
เต็มรอบ
ปัญญาร่าเริงเป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทา อัตถปฏิสัมภิทาเป็นอันบุคคลบรรลุแล้ว
ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาโดยการกำหนดอรรถแห่งปัญญาร่าเริงนั้น
ธัมมปฏิสัมภิทาเป็นอันบุคคลบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาโดย
การกำหนดธรรม(แห่งปัญญาร่าเริงนั้น) นิรุตติปฏิสัมภิทาเป็นอันบุคคลบรรลุแล้ว
ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาโดยการกำหนดนิรุตติ(แห่งปัญญาร่าเริงนั้น)
ปฏิภาณปฏิสัมภิทาเป็นอันบุคคลบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา
โดยการกำหนดปฏิภาณ(แห่งปัญญาร่าเริงนั้น) ปฏิสัมภิทา ๔ ประการนี้เป็นอันบุคคล
บรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาแห่งปัญญาร่าเริงนั้น
อนิจจานุปัสสนาในรูปที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาอย่าง
ไหนให้เต็มรอบ ฯลฯ ปฏินิสสัคคานุปัสสนาในรูปที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมทำปัญญาอย่างไหนให้เต็มรอบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑. มหาปัญญากถา
คือ อนิจจานุปัสสนาในรูปที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาแล่นไป
ให้เต็มรอบ ฯลฯ ปฏินิสสัคคานุปัสสนาในรูปที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อม
ทำปัญญาไม่ใกล้ให้เต็มรอบ
ปัญญา ๗ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำความเป็น
บัณฑิตให้เต็มรอบ
ปัญญา ๘ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญากว้าง
ขวางให้เต็มรอบ
ปัญญา ๙ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาร่าเริงให้
เต็มรอบ
ปัญญาร่าเริงเป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทา อัตถปฏิสัมภิทาเป็นอันบุคคลบรรลุแล้ว
ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาโดยการกำหนดอรรถแห่งปัญญาร่าเริงนั้น
ธัมมปฏิสัมภิทาเป็นอันบุคคลบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาโดย
การกำหนดธรรม(แห่งปัญญาร่าเริงนั้น) นิรุตติปฏิสัมภิทาเป็นอันบุคคลบรรลุแล้ว
ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาโดยการกำหนดนิรุตติ(แห่งปัญญาร่าเริงนั้น)
ปฏิภาณปฏิสัมภิทาเป็นอันบุคคลบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา
โดยการกำหนดปฏิภาณแห่งปัญญาร่าเริงนั้น ปฏิสัมภิทา ๔ ประการนี้เป็นอันบุคคล
บรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาแห่งปัญญาร่าเริงนั้น
อนิจจานุปัสสนาในเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ
จักขุ ฯลฯ
อนิจจานุปัสสนาในชราและมรณะที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำ
ปัญญาอย่างไหนให้เต็มรอบ ฯลฯ ปฏินิสสัคคานุปัสสนาในชราและมรณะที่บุคคล
เจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาอย่างไหนให้เต็มรอบ อนิจจานุปัสสนาใน
ชราและมรณะที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาแล่นไปให้เต็มรอบ ฯลฯ
ปฏินิสสัคคานุปัสสนาในชราและมรณะที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำ
ปัญญาไม่ใกล้ให้เต็มรอบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑. มหาปัญญากถา
ปัญญา ๗ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำความเป็นบัณฑิตให้
เต็มรอบ
ปัญญา ๘ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญากว้างขวางให้
เต็มรอบ
ปัญญา ๙ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาร่าเริงให้
เต็มรอบ
ปัญญาร่าเริงเป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทา อัตถปฏิสัมภิทาเป็นอันบุคคลบรรลุแล้ว
ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา โดยการกำหนดอรรถแห่งปัญญาร่าเริงนั้น
ธัมมปฏิสัมภิทาเป็นอันบุคคลบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา
โดยการกำหนดธรรม(แห่งปัญญาร่าเริงนั้น) นิรุตติปฏิสัมภิทาเป็นอันบุคคลบรรลุแล้ว
ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา โดยการกำหนดนิรุตติ(แห่งปัญญาร่าเริงนั้น)
ปฏิภาณปฏิสัมภิทาเป็นอันบุคคลบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา
โดยการกำหนดปฏิภาณ(แห่งปัญญาร่าเริงนั้น) ปฏิสัมภิทา ๔ ประการนี้เป็นอัน
บุคคลบรรลุแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาแห่งปัญญาร่าเริงนั้น
[๒] อนิจจานุปัสสนาในรูปที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญา
อย่างไหนให้เต็มรอบ อนิจจานุปัสสนาในรูปที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันที่บุคคล
เจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาอย่างไหนให้เต็มรอบ
ทุกขานุปัสสนาในรูปที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาอย่างไหน
ให้เต็มรอบ ทุกขานุปัสสนาในรูปที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันที่บุคคลเจริญ ทำ
ให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาอย่างไหนให้เต็มรอบ
อนัตตานุปัสสนาในรูปที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาอย่าง
ไหนให้เต็มรอบ อนัตตานุปัสสนาในรูปที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันที่บุคคลเจริญ
ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาอย่างไหนให้เต็มรอบ
นิพพิทานุปัสสนาในรูปที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาอย่าง
ไหนให้เต็มรอบ นิพพิทานุปัสสนาในรูปที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันที่บุคคลเจริญ
ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาอย่างไหนให้เต็มรอบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑. มหาปัญญากถา
วิราคานุปัสสนาในรูปที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาอย่างไหน
ให้เต็มรอบ วิราคานุปัสสนาในรูปที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันที่บุคคลเจริญ
ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาอย่างไหนให้เต็มรอบ
นิโรธานุปัสสนาในรูปที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาอย่างไหน
ให้เต็มรอบ นิโรธานุปัสสนาในรูปที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันที่บุคคลเจริญ
ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาอย่างไหนให้เต็มรอบ
ปฏินิสสัคคานุปัสสนาในรูปที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญา
อย่างไหนให้เต็มรอบ ปฏินิสสัคคานุปัสสนาในรูปที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน
ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาอย่างไหนให้เต็มรอบ
คือ อนิจจานุปัสสนาในรูปที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญา
แล่นไปให้เต็มรอบ อนิจจานุปัสสนาในรูปที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันที่บุคคล
เจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาแล่นไปให้เต็มรอบ
ทุกขานุปัสสนาในรูปที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาชำแรกกิเลส
ให้เต็มรอบ ทุกขานุปัสสนาในรูปที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันที่บุคคลเจริญ
ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาแล่นไปให้เต็มรอบ
อนัตตานุปัสสนาในรูปที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญามากให้
เต็มรอบ อนัตตานุปัสสนาในรูปที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันที่บุคคลเจริญ
ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาแล่นไปให้เต็มรอบ
นิพพิทานุปัสสนาในรูปที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาเฉียบ
แหลมให้เต็มรอบ นิพพิทานุปัสสนาในรูปที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันที่บุคคลเจริญ
ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาแล่นไปให้เต็มรอบ
วิราคานุปัสสนาในรูปที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญากว้าง
ขวางให้เต็มรอบ วิราคานุปัสสนาในรูปที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันที่บุคคลเจริญ
ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาแล่นไปให้เต็มรอบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑. มหาปัญญากถา
นิโรธานุปัสสนาในรูปที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาลึกซึ้งให้
เต็มรอบ นิโรธานุปัสสนาในรูปที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันที่บุคคลเจริญ
ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาแล่นไปให้เต็มรอบ
ปฏินิสสัคคานุปัสสนาในรูปที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญา
ไม่ใกล้ให้เต็มรอบ ปฏินิสสัคคานุปัสสนาในรูปที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันที่
บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาแล่นไปให้เต็มรอบ
ปัญญา ๗ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำความเป็น
บัณฑิตให้เต็มรอบ
ปัญญา ๘ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญากว้างขวาง
ให้เต็มรอบ
ปัญญา ๙ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาร่าเริง
ให้เต็มรอบ
ปัญญาร่าเริงเป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทา อัตถปฏิสัมภิทาเป็นอันบุคคลบรรลุแล้ว
ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาโดยการกำหนดอรรถแห่งปัญญาร่าเริงนั้น
ธัมมปฏิสัมภิทาเป็นอันบุคคลบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาโดย
การกำหนดธรรม(แห่งปัญญาร่าเริงนั้น) นิรุตติปฏิสัมภิทาเป็นอันบุคคลบรรลุแล้ว
ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาโดยการกำหนดนิรุตติ(แห่งปัญญาร่าเริงนั้น)
ปฏิภาณปฏิสัมภิทาเป็นอันบุคคลบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา
โดยการกำหนดปฏิภาณ(แห่งปัญญาร่าเริงนั้น) ปฏิสัมภิทา ๔ ประการนี้เป็นอัน
บุคคลบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาแห่งปัญญาร่าเริงนั้น
อนิจจานุปัสสนาในเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ
จักขุ ฯลฯ
อนิจจานุปัสสนาในชราและมรณะที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำ
ปัญญาอย่างไหนให้เต็มรอบ อนิจจานุปัสสนาในชราและมรณะที่เป็นอดีต อนาคต
และปัจจุบันที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาอย่างไหนให้เต็มรอบ ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑. มหาปัญญากถา
ปฏินิสสัคคานุปัสสนาในชราและมรณะที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำ
ปัญญาอย่างไหนให้เต็มรอบ ปฏินิสสัคคานุปัสสนาในชราและมรณะที่เป็นอดีต อนาคต
และปัจจุบันที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาอย่างไหนให้เต็มรอบ
คือ อนิจจานุปัสสนาในชราและมรณะที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำ
ปัญญาแล่นไปให้เต็มรอบ อนิจจานุปัสสนาในชราและมรณะที่เป็นอดีต อนาคต
และปัจจุบันที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาแล่นไปให้เต็มรอบ ฯลฯ
ปฏิสัมภิทา ๔ ประการนี้เป็นอันบุคคลบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วย
ปัญญาแห่งปัญญาร่าเริงนั้น
[๓] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อม
เป็นไปเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัปปุริสสังเสวะ (คบสัตบุรุษ)
๒. สัทธัมมัสสวนะ (ฟังพระสัทธรรม)
๓. โยนิโสมนสิการ (การพิจารณาโดยแยบคาย)
๔. ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ (ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม)
ธรรม ๔ ประการนี้แลที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้ง
โสดาปัตติผล
ธรรม ๔ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้ง
สกทาคามิผล ฯลฯ ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ฯลฯ ย่อมเป็นไปเพื่อ
ทำให้แจ้งอรหัตตผล
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัปปุริสสังเสวะ ๒. สัทธัมมัสสวนะ
๓. โยนิโสมนสิการ ๔. ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ
ธรรม ๔ ประการนี้แลที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้ง
อรหัตตผล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑. มหาปัญญากถา ๑. โสฬสปัญญานิทเทส
ธรรม ๔ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อการได้ปัญญา
ฯลฯ ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญแห่งปัญญา ฯลฯ ย่อมเป็นไปเพื่อความไพบูลย์
แห่งปัญญา ฯลฯ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญามาก ฯลฯ ย่อมเป็นไป
เพื่อความเป็นผู้มีปัญญากว้างขวาง ฯลฯ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาไพบูลย์
ฯลฯ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาลึกซึ้ง ฯลฯ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้
มีปัญญาไม่ใกล้ ฯลฯ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาดุจแผ่นดิน ฯลฯ ย่อม
เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มากด้วยปัญญา ฯลฯ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเร็ว
ฯลฯ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาพลัน ฯลฯ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้
มีปัญญาร่าเริง ฯลฯ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาแล่นไป ฯลฯ ย่อมเป็น
ไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเฉียบแหลม ฯลฯ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญา
ชำแรกกิเลส
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัปปุริสสังเสวะ ๒. สัทธัมมัสสวนะ
๓. โยนิโสมนสิการ ๔. ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ
ธรรม ๔ ประการนี้แลที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความ
เป็นผู้มีปัญญาชำแรกกิเลส

๑. โสฬสปัญญานิทเทส
แสดงปัญญา ๑๖ ประการ
[๔] คำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อการได้ปัญญา อธิบายว่า การได้ปัญญา เป็น
อย่างไร
คือ การได้ การได้เฉพาะ การถึง การถึงเฉพาะ การถูกต้อง การทำให้แจ้ง
การเข้าถึงพร้อมซึ่งมัคคญาณ ๔ ผลญาณ ๔ ปฏิสัมภิทาญาณ ๔ อภิญญา-
ญาณ ๖ ญาณ ๗๓ ญาณ ๗๗ นี้ชื่อว่าการได้ปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไป
เพื่อได้ปัญญา (๑)
คำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญแห่งปัญญา อธิบายว่า ความเจริญแห่ง
ปัญญา เป็นอย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑. มหาปัญญากถา ๑. โสฬสปัญญานิทเทส
คือ ปัญญาของพระเสขะ ๗ จำพวก และของกัลยาณปุถุชน ย่อมเจริญ
ปัญญาของพระอรหันต์ ย่อมเจริญ ชื่อว่าความเจริญด้วยปัญญาที่เจริญแล้ว นี้ชื่อ
ว่าความเจริญแห่งปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญแห่งปัญญา (๒)
คำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความไพบูลย์แห่งปัญญา อธิบายว่า ความไพบูลย์
แห่งปัญญา เป็นอย่างไร
คือ ปัญญาของพระเสขะ ๗ จำพวก และของกัลยาณปุถุชน ย่อมถึงความ
ไพบูลย์ ปัญญาของพระอรหันต์ที่ถึงความไพบูลย์แล้ว นี้ชื่อว่าความไพบูลย์แห่งปัญญา
ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความไพบูลย์แห่งปัญญา (๓)
คำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญามาก อธิบายว่า ปัญญามาก
เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าปัญญามาก เพราะกำหนดอรรถได้มาก ชื่อว่าปัญญามาก เพราะ
กำหนดธรรมได้มาก ชื่อว่าปัญญามาก เพราะกำหนดนิรุตติได้มาก ชื่อว่าปัญญา
มาก เพราะกำหนดปฏิภาณได้มาก ชื่อว่าปัญญามาก เพราะกำหนดสีลขันธ์ได้มาก
ชื่อว่าปัญญามาก เพราะกำหนดสมาธิขันธ์ได้มาก ชื่อว่าปัญญามาก เพราะ
กำหนดปัญญาขันธ์ได้มาก ชื่อว่าปัญญามาก เพราะกำหนดวิมุตติขันธ์ได้มาก ชื่อว่า
ปัญญามาก เพราะกำหนดวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ได้มาก ชื่อว่าปัญญามาก เพราะ
กำหนดฐานะและอฐานะได้มาก ชื่อว่าปัญญามาก เพราะกำหนดวิหารสมาบัติได้มาก
ชื่อว่าปัญญามาก เพราะกำหนดอริยสัจได้มาก ชื่อว่าปัญญามาก เพราะกำหนด
สติปัฏฐานได้มาก ชื่อว่าปัญญามาก เพราะกำหนดสัมมัปปธานได้มาก ชื่อว่า
ปัญญามาก เพราะกำหนดอิทธิบาทได้มาก ชื่อว่าปัญญามาก เพราะกำหนด
อินทรีย์ได้มาก ชื่อว่าปัญญามาก เพราะกำหนดพละได้มาก ชื่อว่าปัญญามาก
เพราะกำหนดโพชฌงค์ได้มาก ชื่อว่าปัญญามาก เพราะกำหนดอริยมรรคได้มาก
ชื่อว่าปัญญามาก เพราะกำหนดสามัญญผลได้มาก ชื่อว่าปัญญามาก เพราะ
กำหนดอภิญญาได้มาก ชื่อว่าปัญญามาก เพราะกำหนดนิพพานที่เป็นประโยชน์
อย่างยิ่งได้มาก นี้ชื่อว่าปัญญามาก ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มี
ปัญญามาก (๔)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑. มหาปัญญากถา ๑. โสฬสปัญญานิทเทส
คำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญากว้างขวาง อธิบายว่า ปัญญา
กว้างขวาง เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในขันธ์ต่าง ๆ กว้างขวาง ชื่อว่า
ปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในธาตุต่าง ๆ กว้างขวาง ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง
เพราะญาณเป็นไปในอายตนะต่าง ๆ กว้างขวาง ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะญาณ
เป็นไปในปฏิจจสมุปบาทต่าง ๆ กว้างขวาง ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะญาณ
เป็นไปในความได้เนือง ๆ ซึ่งความว่างต่าง ๆ กว้างขวาง ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง
เพราะญาณเป็นไปในอรรถต่าง ๆ กว้างขวาง ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะญาณ
เป็นไปในธรรมต่าง ๆ กว้างขวาง ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในนิรุตติ
ต่าง ๆ กว้างขวาง ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในปฏิภาณต่าง ๆ
กว้างขวาง ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในสีลขันธ์ต่าง ๆ กว้างขวาง
ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในสมาธิขันธ์ต่าง ๆ กว้างขวาง ชื่อว่า
ปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในปัญญาขันธ์ต่าง ๆ กว้างขวาง ชื่อว่า
ปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในวิมุตติขันธ์ต่าง ๆ กว้างขวาง ชื่อว่าปัญญา
กว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ต่าง ๆ กว้างขวาง ชื่อว่า
ปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในฐานะและอฐานะต่าง ๆ กว้างขวาง ชื่อว่า
ปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในวิหารสมาบัติต่าง ๆ กว้างขวาง ชื่อว่า
ปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในอริยสัจต่าง ๆ กว้างขวาง ชื่อว่าปัญญา
กว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในสติปัฏฐานต่าง ๆ กว้างขวาง ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง
เพราะญาณเป็นไปในสัมมัปปธานต่าง ๆ กว้างขวาง ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง
เพราะญาณเป็นไปในอิทธิบาทต่าง ๆ กว้างขวาง ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะ
ญาณเป็นไปในอินทรีย์ต่าง ๆ กว้างขวาง ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็น
ไปในพละต่าง ๆ กว้างขวาง ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในโพชฌงค์
ต่าง ๆ กว้างขวาง ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในอริยมรรคต่าง ๆ
กว้างขวาง ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในสามัญญผลต่าง ๆ กว้าง
ขวาง ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในอภิญญาต่าง ๆ กว้างขวาง
ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในนิพพานที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งเหนือ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑. มหาปัญญากถา ๑. โสฬสปัญญานิทเทส
กว่าธรรมที่ทั่วไปแก่ปุถุชน นี้ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อ
ความเป็นผู้มีปัญญากว้างขวาง (๕)
คำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาไพบูลย์ อธิบายว่า ปัญญา
ไพบูลย์ เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าปัญญาไพบูลย์ เพราะกำหนดอรรถไพบูลย์ ชื่อว่าปัญญาไพบูลย์
เพราะกำหนดธรรมไพบูลย์ ชื่อว่าปัญญาไพบูลย์ เพราะกำหนดนิรุตติไพบูลย์ ชื่อว่า
ปัญญาไพบูลย์ เพราะกำหนดปฏิภาณไพบูลย์ ชื่อว่าปัญญาไพบูลย์ เพราะกำหนด
สีลขันธ์ไพบูลย์ ชื่อว่าปัญญาไพบูลย์ เพราะกำหนดสมาธิขันธ์ไพบูลย์ ชื่อว่าปัญญา
ไพบูลย์ เพราะกำหนดปัญญาขันธ์ไพบูลย์ ชื่อว่าปัญญาไพบูลย์ เพราะกำหนด
วิมุตติขันธ์ไพบูลย์ ชื่อว่าปัญญาไพบูลย์ เพราะกำหนดวิมุตติญาณทัสสนขันธ์
ไพบูลย์ ชื่อว่าปัญญาไพบูลย์ เพราะกำหนดฐานะและอฐานะไพบูลย์ ชื่อว่าปัญญา
ไพบูลย์ เพราะกำหนดวิหารสมาบัติไพบูลย์ ชื่อว่าปัญญาไพบูลย์ เพราะกำหนด
อริยสัจไพบูลย์ ชื่อว่าปัญญาไพบูลย์ เพราะกำหนดสติปัฏฐานไพบูลย์ ชื่อว่าปัญญา
ไพบูลย์ เพราะกำหนดสัมมัปปธานไพบูลย์ ชื่อว่าปัญญาไพบูลย์ เพราะกำหนด
อิทธิบาทไพบูลย์ ชื่อว่าปัญญาไพบูลย์ เพราะกำหนดอินทรีย์ไพบูลย์ ชื่อว่าปัญญา
ไพบูลย์ เพราะกำหนดพละไพบูลย์ ชื่อว่าปัญญาไพบูลย์ เพราะกำหนดโพชฌงค์
ไพบูลย์ ชื่อว่าปัญญาไพบูลย์ เพราะกำหนดอริยมรรคไพบูลย์ ชื่อว่าปัญญาไพบูลย์
เพราะกำหนดสามัญญผลไพบูลย์ ชื่อว่าปัญญาไพบูลย์ เพราะกำหนดอภิญญา
ไพบูลย์ ชื่อว่าปัญญาไพบูลย์ เพราะกำหนดอภิญญาไพบูลย์ ชื่อว่าปัญญาไพบูลย์
เพราะกำหนดนิพพานที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งไพบูลย์ นี้ชื่อว่าปัญญาไพบูลย์
ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาไพบูลย์ (๖)
คำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาลึกซึ้ง อธิบายว่า ปัญญาลึกซึ้ง
เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในขันธ์ลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญา
ลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในธาตุลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปใน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑. มหาปัญญากถา ๑. โสฬสปัญญานิทเทส
อายตนะลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในปฏิจจสมุปบาทลึกซึ้ง ชื่อว่า
ปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในความได้เนือง ๆ ซึ่งความว่างต่าง ๆ ลึกซึ้ง ชื่อว่า
ปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในอรรถต่าง ๆ ลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณ
เป็นไปในธรรมต่าง ๆ ลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในนิรุตติต่าง ๆ
ลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในปฏิภาณต่าง ๆ ลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญา
ลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในสีลขันธ์ต่าง ๆ ลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้งเพราะญาณ
เป็นไปในสมาธิขันธ์ต่าง ๆ ลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในปัญญา-
ขันธ์ต่าง ๆ ลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในวิมุตติขันธ์
ต่าง ๆ ลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ต่าง ๆ
ลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในฐานะและอฐานะต่าง ๆ ลึกซึ้ง ชื่อว่า
ปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในวิหารสมาบัติต่าง ๆ ลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง
เพราะญาณเป็นไปในอริยสัจต่าง ๆ ลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปใน
สติปัฏฐานต่าง ๆ ลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในสัมมัปปธานต่าง ๆ
ลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในอิทธิบาทต่าง ๆ ลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญา
ลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในอินทรีย์ต่าง ๆ ลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณ
เป็นไปในพละต่าง ๆ ลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในโพชฌงค์ต่าง ๆ
ลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในอริยมรรคต่าง ๆ ลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญา
ลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในสามัญญผลต่าง ๆ ลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะ
ญาณเป็นไปในอภิญญาลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในนิพพานที่
เป็นประโยชน์ลึกซึ้ง นี้ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มี
ปัญญาลึกซึ้ง (๗)
คำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาไม่ใกล้ อธิบายว่า ปัญญาไม่ใกล้
เป็นอย่างไร
คือ อัตถปฏิสัมภิทาบุคคลใดบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา
โดยการกำหนดอรรถ ธัมมปฏิสัมภิทาบุคคลใดบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้อง
แล้วด้วยปัญญา โดยการกำหนดธรรม นิรุตติปฏิสัมภิทาบุคคลใดบรรลุแล้ว
ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา โดยการกำหนดนิรุตติ ปฏิภาณปฏิสัมภิทา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑. มหาปัญญากถา ๑. โสฬสปัญญานิทเทส
บุคคลใดบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาโดยการกำหนดปฏิภาณ
อรรถ ธรรม นิรุตติ และปฏิภาณของบุคคลนั้นใครอื่นสามารถจะถึงได้ และบุคคล
นั้นก็เป็นผู้หนึ่งที่ปุถุชนอื่น ๆ ไม่สามารถจะเทียมทันได้ เพราะเหตุนั้น ปัญญานั้น
จึงเป็นปัญญาไม่ใกล้
ปัญญาของกัลยาณปุถุชนห่างไกลแสนไกล ไม่ใกล้ ไม่ชิดกับปัญญาของ
บุคคลที่ ๘๑ เมื่อเทียบกับกัลยาณปุถุชน บุคคลที่ ๘ มีปัญญาไม่ใกล้
ปัญญาของบุคคลที่ ๘ ห่างไกลแสนไกล ไม่ใกล้ ไม่ชิดกับปัญญาของพระ
โสดาบัน เมื่อเทียบกับบุคคลที่ ๘ พระโสดาบันมีปัญญาไม่ใกล้
ปัญญาของพระโสดาบันห่างไกลแสนไกล ไม่ใกล้ ไม่ชิดกับปัญญาของพระ
สกทาคามี เมื่อเทียบกับพระโสดาบัน พระสกทาคามีมีปัญญาไม่ใกล้
ปัญญาของพระสกทาคามีห่างไกลแสนไกล ไม่ใกล้ ไม่ชิดกับปัญญาของพระ
อนาคามี เมื่อเทียบกับพระสกทาคามี พระอนาคามีมีปัญญาไม่ใกล้
ปัญญาของพระอนาคามีห่างไกลแสนไกล ไม่ใกล้ ไม่ชิดกับปัญญาของพระ
อรหันต์ เมื่อเทียบกับพระอนาคามี พระอรหันต์มีปัญญาไม่ใกล้
ปัญญาของพระอรหันต์ห่างไกลแสนไกล ไม่ใกล้ ไม่ชิดกับปัญญาของพระ
ปัจเจกพุทธเจ้า เมื่อเทียบกับพระอรหันต์ พระปัจเจกพุทธเจ้ามีปัญญาไม่ใกล้
เมื่อเทียบกับพระปัจเจกพุทธเจ้า และโลกพร้อมทั้งเทวโลก พระตถาคตอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเป็นผู้เลิศ ทรงมีปัญญาไม่ใกล้
[๕] พระผู้มีพระภาคทรงฉลาดในประเภทแห่งปัญญา ทรงมีญาณแตกฉาน
ทรงบรรลุปฏิสัมภิทา ทรงบรรลุเวสารัชชญาณ ๔๒ เป็นผู้ทรงทสพลญาณ ทรงเป็น
บุรุษองอาจ ทรงเป็นบุรุษดุจราชสีห์ ทรงเป็นบุรุษดุจนาค ทรงเป็นบุรุษอาชาไนย

เชิงอรรถ :
๑ บุคคลที่ ๘ ในที่นี้หมายถึงท่านผู้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติมรรค (ขุ.ป.อ. ๒/๕/๒๙๕)
๒ เวสารัชชญาณ ๔ ได้แก่ (๑) สัมมาสัมพุทธปฏิญญา (ท่านปฏิญญาว่าเป็นสัมมาสัมพุทธะ ธรรมเหล่านี้
ท่านยังไม่รู้) (๒) ขีณาสวปฏิญญา (ท่านปฏิญญาว่าเป็นขีณาสพ อาสวะเหล่านี้ของท่านยังไม่สิ้น)
(๓) อันตรายิกธรรมวาทะ (ท่านกล่าวธรรมเหล่าใดว่าเป็นอันตราย ธรรมเหล่านั้นไม่อาจก่ออันตรายแก่
ผู้เสพได้จริง) (๔) นิยยานิกธรรมเทศนา (ท่านแสดงธรรมเพื่อประโยชน์อย่างใด ประโยชน์อย่างนั้นไม่เป็น
ทางนำผู้ทำตามให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยสิ้นเชิง) (ขุ.ป.อ. ๒/๕/๒๙๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑. มหาปัญญากถา ๑. โสฬสปัญญานิทเทส
ทรงเป็นบุรุษผู้เอาธุระ มีพระญาณหาที่สุดมิได้ มีพระเดชหาที่สุดมิได้ มีพระยศ
หาที่สุดมิได้ ทรงมั่งคั่ง ทรงมีทรัพย์มาก มีพระปัญญาเป็นทรัพย์ ทรงเป็นผู้นำ
เป็นผู้นำไปโดยวิเศษ เป็นผู้ตามแนะนำ ทรงให้รู้จักประโยชน์ ให้พินิจพิจารณา
ทรงเพ่งประโยชน์ ทรงทำให้เลื่อมใสได้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงทำมรรค
ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ทรงทำมรรคที่ยังไม่เกิดพร้อมให้เกิดพร้อม ตรัสบอกมรรคที่
ยังมิได้ตรัสบอก ทรงรู้จักมรรค ทรงรู้แจ้งมรรค ทรงฉลาดในมรรค และสาวกของ
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นผู้ดำเนินไปตามมรรคอยู่ในบัดนี้ จะเพียบพร้อมด้วย
ศีลาทิคุณในภายหลัง
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงรู้ธรรมที่ควรรู้ ทรงเห็นธรรมที่ควรเห็น มี
พระจักษุ มีพระญาณ มีพระธรรม เป็นดุจพระพรหม ตรัส บอก นำความ
หมายออกมา ประทานอมตธรรม เป็นพระธรรมสามี เป็นพระตถาคต ไม่มีสิ่งที่
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นยังไม่ทรงทราบ ไม่ทรงเห็น ไม่ทรงรู้แจ้ง ไม่ทรงทำให้
แจ้ง มิได้ทรงถูกต้องด้วยพระปัญญา ธรรมทั้งปวงรวมทั้งอดีต อนาคต และปัจจุบัน
ย่อมมาสู่คลองเฉพาะพระญาณของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าโดยอาการทั้งปวง
ธรรมดาประโยชน์ที่ควรแนะนำอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นธรรมที่ควรรู้มีอยู่ คือ ประโยชน์ตน
ประโยชน์ผู้อื่น หรือประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ประโยชน์ในภพปัจจุบัน หรือประโยชน์
ในภพหน้า ประโยชน์ตื้นหรือประโยชน์ลึก ประโยชน์ลี้ลับหรือประโยชน์ปิดบัง
ประโยชน์ที่ควรแนะนำหรือประโยชน์ที่แนะนำแล้ว ประโยชน์ที่ไม่มีโทษหรือประโยชน์
ที่ไม่มีกิเลส ประโยชน์ที่ผ่องแผ้วหรือประโยชน์อย่างยิ่ง ประโยชน์ทั้งหมดนั้นย่อม
เป็นไปภายในพระพุทธญาณ
กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมทุกอย่างย่อมเป็นไปตามพระญาณของพระผู้มี
พระภาคพุทธเจ้า พระญาณของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าไม่ติดขัดในอดีต อนาคต
ปัจจุบัน บทธรรมที่ควรแนะนำมีอยู่เพียงใด พระญาณก็มีเพียงนั้น พระญาณมีอยู่
เพียงใด บทธรรมที่ควรแนะนำก็ย่อมมีพระญาณเป็นส่วนสุดรอบ พระญาณย่อม
ไม่เป็นไปเกินบทธรรมที่ควรแนะนำ ทางแห่งบทธรรมที่ควรแนะนำก็มีอยู่ไม่เกิน
กว่าพระญาณ ธรรมเหล่านั้นตั้งอยู่ในส่วนสุดรอบของกันและกันเหมือนชั้นแห่งผอบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑. มหาปัญญากถา ๑. โสฬสปัญญานิทเทส
๒ ชั้นทับกันสนิทพอดี ชั้นผอบด้านล่างก็ไม่เกินด้านบน ชั้นผอบด้านบนก็ไม่เกิน
ด้านล่าง ชั้นผอบทั้ง ๒ ย่อมวางประกบกันที่ส่วนสุดโดยรอบของกันและกัน ฉันใด
บทธรรมที่ควรแนะนำและพระญาณของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าก็ตั้งอยู่ในส่วนสุดรอบ
ของกันและกัน ฉันนั้นเหมือนกัน บทธรรมที่ควรแนะนำมีอยู่เพียงใด พระญาณก็
มีอยู่เพียงนั้น พระญาณมีอยู่เพียงใด บทธรรมที่ควรแนะนำก็มีเพียงนั้น พระ
ญาณย่อมมีบทธรรมที่ควรแนะนำเป็นส่วนสุดรอบ บทธรรมที่ควรแนะนำก็ย่อมมี
พระญาณเป็นส่วนสุดรอบ พระญาณย่อมไม่เป็นไปเกินกว่าบทธรรมที่ควรแนะนำ
ทางแห่งบทธรรมที่ควรแนะนำก็มีอยู่ไม่เกินกว่าพระญาณ ธรรมเหล่านั้นย่อมตั้งอยู่
ในส่วนสุดรอบของกันและกัน
พระญาณของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าย่อมเป็นไปในธรรมทั้งปวง ธรรมทั้งปวง
นับเนื่องด้วยความนึก นับเนื่องด้วยความหวัง นับเนื่องด้วยมนสิการ นับเนื่อง
ด้วยจิตตุปบาทของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า พระญาณของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า
ย่อมเป็นไปในสัตว์ทั้งปวง พระผู้มีพระภาคทรงทราบอัธยาศัย อนุสัย จริต
อธิมุตติของเหล่าสัตว์ทุกจำพวก ทรงรู้จักเหล่าสัตว์ผู้มีกิเลสดุจธุลีน้อยในปัญญาจักษุ
มีกิเลสดุจธุลีมากในปัญญาจักษุ มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มี
อาการทราม ที่พระองค์พึงสอนให้รู้แจ้งได้ง่าย พึงสอนให้รู้แจ้งได้ยาก เป็นภัพพสัตว์
(ผู้สมควรบรรลุธรรม) และอภัพพสัตว์ (ผู้ไม่สมควรบรรลุธรรม) โลกพร้อมทั้ง
เทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และ
มนุษย์ย่อมเป็นไปภายในพระพุทธญาณ
ปลาและเต่าชนิดใดชนิดหนึ่ง รวมทั้งปลาติมิ ปลาติมิงคละ และปลาติมิ-
ติมิงคละ๑ย่อมเป็นไปภายในมหาสมุทร ฉันใด โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก
พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ย่อมเป็นไปภายใน
พระพุทธญาณ ฉันนั้นเหมือนกัน นกชนิดใดชนิดหนึ่ง รวมทั้งครุฑนามว่า เวนไตย
ย่อมบินไปในอากาศ ฉันใด พระพุทธสาวกทั้งหลายผู้เสมอกับพระสารีบุตรด้วย

เชิงอรรถ :
๑ ปลาทั้ง ๓ ตัวนี้ เป็นปลาขนาดใหญ่ คือ ปลาติมิงคละสามารถกลืนกินปลาติมิได้ และปลาติมิติมิงคละมี
ขนาดลำตัวใหญ่ถึง ๕๐๐ โยชน์ สามารถกลืนกินปลาติมิงคละได้ (ขุ.ป.อ. ๒/๕/๓๐๐, ขุ.ม.อ. ๖๙/๒๙๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑. มหาปัญญากถา ๑. โสฬสปัญญานิทเทส
ปัญญาก็ย่อมเป็นไปในส่วนแห่งพระพุทธญาณ ฉันนั้นเหมือนกัน พระพุทธญาณ
ย่อมแผ่ครอบคลุมปัญญาของเทวดาและมนุษย์อยู่
เหล่าบัณฑิตผู้เป็นกษัตริย์ เป็นพราหมณ์ เป็นคหบดี เป็นสมณะ ผู้มี
ปัญญาละเอียด รู้วาทะของผู้อื่น เหมือนนายขมังธนูสามารถยิงเนื้อทราย ดุจจะ
เที่ยวทำลายทิฏฐิของผู้อื่นด้วยปัญญาของตน บัณฑิตเหล่านั้นพากันปรุงแต่ง
ปัญหาเข้าไปหาพระตถาคตทูลถามปัญหาทั้งลี้ลับและปิดบัง ปัญหาเหล่านั้นที่พระ
ผู้มีพระภาคทรงซักไซ้และตรัสแก้แล้วเป็นปัญหามีเหตุให้ทรงแสดง ขณะนั้น พระผู้
มีพระภาคทรงรุ่งเรืองยิ่งด้วยพระปัญญาเพราะทรงแก้ปัญหาเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคจึงทรงเป็นผู้เลิศ มีพระปัญญาไม่ใกล้ นี้ชื่อว่าปัญญาไม่ใกล้ ใน
คำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาไม่ใกล้ (๘)
[๖] คำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาดุจแผ่นดิน อธิบายว่า ปัญญา
ดุจแผ่นดิน เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าปัญญาดุจแผ่นดิน เพราะครอบงำราคะ ชื่อว่าปัญญาดุจแผ่นดิน
เพราะครอบงำราคะแล้ว ชื่อว่าปัญญาดุจแผ่นดิน เพราะครอบงำโทสะ ชื่อว่า
ปัญญาดุจแผ่นดิน เพราะครอบงำโทสะแล้ว ชื่อว่าปัญญาดุจแผ่นดิน เพราะ
ครอบงำโมหะ ชื่อว่าปัญญาดุจแผ่นดิน เพราะครอบงำโมหะแล้ว
ชื่อว่าปัญญาดุจแผ่นดิน เพราะครอบงำโกธะ ชื่อว่าปัญญาดุจแผ่นดิน
เพราะครอบงำโกธะแล้ว ฯลฯ ชื่อว่าปัญญาดุจแผ่นดิน เพราะครอบงำอุปนาหะ
ฯลฯ มักขะ ฯลฯ ปฬาสะ ฯลฯ อิสสา ฯลฯ มัจฉริยะ ฯลฯ มายา ฯลฯ สาเถยยะ
ฯลฯ ถัมภะ ฯลฯ สารัมภะ ฯลฯ มานะ ฯลฯ อติมานะ ฯลฯ มทะ ฯลฯ ปมาทะ
ฯลฯ กิเลสทั้งปวง ฯลฯ ทุจริตทั้งปวง ฯลฯ อภิสังขารทั้งปวง ฯลฯ ชื่อว่า
ปัญญาดุจแผ่นดิน เพราะครอบงำกรรมอันเป็นเหตุให้เป็นไปสู่ภพทั้งปวง ชื่อว่า
ปัญญาดุจแผ่นดิน เพราะครอบงำกรรมอันเป็นเหตุให้เป็นไปสู่ภพทั้งปวงแล้ว
ชื่อว่าปัญญาดุจแผ่นดิน เพราะเป็นปัญญาย่ำยีราคะที่เป็นข้าศึก ชื่อว่าปัญญา
ดุจแผ่นดิน เพราะเป็นปัญญาย่ำยีโทสะที่เป็นข้าศึก ชื่อว่าปัญญาดุจแผ่นดิน เพราะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑. มหาปัญญากถา ๑. โสฬสปัญญานิทเทส
เป็นปัญญาย่ำยีโมหะที่เป็นข้าศึก ชื่อว่าปัญญาดุจแผ่นดิน เพราะเป็นปัญญาย่ำยี
โกธะ ฯลฯ อุปนาหะ ฯลฯ มักขะ ฯลฯ ปฬาสะ ฯลฯ อิสสา ฯลฯ มัจฉริยะ
ฯลฯ มายา ฯลฯ สาเถยยะ ฯลฯ ถัมภะ ฯลฯ สารัมภะ ฯลฯ มานะ ฯลฯ อติมานะ
ฯลฯ มทะ ฯลฯ ปมาทะ ฯลฯ กิเลสทั้งปวง ฯลฯ ทุจริตทั้งปวง ฯลฯ
อภิสังขารทั้งปวง ฯลฯ ชื่อว่าปัญญาดุจแผ่นดิน เพราะเป็นปัญญาย่ำยีกรรมที่เป็น
เหตุไปสู่ภพทั้งปวงที่เป็นข้าศึก
แผ่นดินท่านกล่าวว่า ภูริ บุคคลประกอบด้วยปัญญาที่กว้างขวางไพบูลย์
เสมอด้วยแผ่นดินนั้น เพราะเหตุนั้น ปัญญานั้นจึงชื่อว่าปัญญาดุจแผ่นดิน อีก
ประการหนึ่ง คำว่า ภูริ นี้เป็นชื่อของปัญญา ปัญญากว้างขวางดุจแผ่นดิน เป็น
ปัญญาทำลายกิเลส เป็นปัญญาเครื่องแนะนำ เพราะเหตุนั้น ปัญญานั้นจึงชื่อว่า
ปัญญาดุจแผ่นดิน นี้ชื่อว่าปัญญาดุจแผ่นดิน ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้
มีปัญญาดุจแผ่นดิน (๙)
คำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มากด้วยปัญญา อธิบายว่า ความเป็นผู้
มากด้วยปัญญา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้หนักด้วยปัญญา เป็นผู้ประพฤติด้วยปัญญา
มีปัญญาเป็นที่อาศัย น้อมไปด้วยปัญญา มีปัญญาเป็นธงชัย มีปัญญาเป็นยอด
มีปัญญาเป็นใหญ่ มากด้วยการเลือกเฟ้น มากด้วยการค้นคว้า มากด้วยการ
พิจารณา มากด้วยการเพ่งพินิจ มีการเพ่งพิจารณาเป็นธรรมดา ประพฤติอยู่ด้วย
ปัญญาที่แจ่มแจ้ง มีความประพฤติงดเว้นด้วยปัญญาที่แจ่มแจ้ง หนักในปัญญา
มากด้วยปัญญา โน้มไปในปัญญา น้อมไปในปัญญา เงื้อมไปในปัญญา น้อมจิต
ไปในปัญญา หลุดพ้นไปด้วยปัญญา มีปัญญาเป็นใหญ่ เปรียบเหมือนภิกษุผู้หนัก
ในคณะ ท่านเรียกว่า “ผู้มากด้วยคณะ” ผู้หนักในจีวร ท่านเรียกว่า “ผู้มากด้วยจีวร”
ผู้หนักในบาตร ท่านเรียกว่า “ผู้มากด้วยบาตร” ผู้หนักในเสนาสนะ ท่านเรียกว่า
“ผู้มากด้วยเสนาสนะ” นี้ชื่อว่าความเป็นผู้มากด้วยปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไป
เพื่อความเป็นผู้มากด้วยปัญญา (๑๐)
คำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเร็ว อธิบายว่า ปัญญาเร็ว
เป็นอย่างไร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑. มหาปัญญากถา ๑. โสฬสปัญญานิทเทส
คือ ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะบำเพ็ญศีลได้เร็วไว ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะ
บำเพ็ญอินทรียสังวรได้เร็วไว ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะบำเพ็ญโภชเนมัตตัญญุตาได้
เร็วไว ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะบำเพ็ญชาคริยานุโยคได้เร็วไว ชื่อว่าปัญญา
เร็ว เพราะบำเพ็ญสีลขันธ์ได้เร็วไว ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะบำเพ็ญสมาธิขันธ์
ได้เร็วไว ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะบำเพ็ญปัญญาขันธ์ได้เร็วไว ชื่อว่าปัญญาเร็ว
เพราะบำเพ็ญวิมุตติขันธ์ได้เร็วไว ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะบำเพ็ญวิมุตติญาณ-
ทัสสนขันธ์ได้เร็วไว ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะรู้แจ้งฐานะและอฐานะได้เร็วไว ชื่อว่า
ปัญญาเร็ว เพราะบำเพ็ญวิหารสมาบัติได้เร็วไว ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะรู้แจ้ง
อริยสัจได้เร็วไว ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะเจริญสติปัฏฐานได้เร็วไว ชื่อว่าปัญญาเร็ว
เพราะเจริญสัมมัปปธานได้เร็วไว ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะเจริญอิทธิบาทได้เร็วไว
ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะเจริญอินทรีย์ได้เร็วไว ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะเจริญพละได้
เร็วไว ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะเจริญโพชฌงค์ได้เร็วไว ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะ
เจริญอริยมรรคได้เร็วไว ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะทำให้แจ้งสามัญญผลได้เร็วไว
ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะรู้แจ้งอภิญญาได้เร็วไว ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะทำให้แจ้ง
นิพพานที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งได้เร็วไว นี้ชื่อว่าปัญญาเร็ว ในคำว่า ย่อมเป็นไป
เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเร็ว (๑๑)
คำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาพลัน อธิบายว่า ปัญญาพลัน
เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะบำเพ็ญศีลได้เร็วพลัน ชื่อว่าปัญญาพลัน
เพราะบำเพ็ญอินทรียสังวรได้เร็วพลัน ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะบำเพ็ญโภชเน-
มัตตัญญุตาได้เร็วพลัน ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะบำเพ็ญชาคริยานุโยคได้เร็วพลัน
ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะบำเพ็ญสีลขันธ์ ฯลฯ สมาธิขันธ์ ฯลฯ ปัญญาขันธ์
ฯลฯ วิมุตติขันธ์ ฯลฯ ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะบำเพ็ญวิมุตติญาณทัสสนขันธ์
ได้เร็วพลัน
ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะรู้แจ้งฐานะและอฐานะได้เร็วพลัน ชื่อว่าปัญญาพลัน
เพราะบำเพ็ญวิหารสมาบัติได้เร็วพลัน ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะรู้แจ้งอริยสัจได้เร็ว


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑. มหาปัญญากถา ๑. โสฬสปัญญานิทเทส
พลัน ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะเจริญสติปัฏฐานได้เร็วพลัน ชื่อว่าปัญญาพลัน
เพราะเจริญสัมมัปปธานได้เร็วพลัน ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะเจริญอิทธิบาทได้
เร็วพลัน ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะเจริญอินทรีย์ได้เร็วพลัน ชื่อว่าปัญญาพลัน
เพราะเจริญพละได้เร็วพลัน ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะเจริญโพชฌงค์ได้เร็วพลัน
ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะเจริญอริยมรรคได้เร็วพลัน ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะทำ
ให้แจ้งสามัญญผลได้เร็วพลัน ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะรู้แจ้งอภิญญาได้เร็วพลัน
ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะทำให้แจ้งนิพพานที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งได้เร็วพลัน นี้
ชื่อว่าปัญญาพลัน ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาพลัน (๑๒)
คำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาร่าเริง อธิบายว่า ปัญญาร่าเริง
เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้มีความร่าเริงมาก มีความพอใจมาก มีความยินดี
มาก มีความปราโมทย์มาก บำเพ็ญศีล เพราะเหตุนั้น ปัญญานั้นจึงชื่อว่าปัญญา
ร่าเริง บุคคลบางคนในโลกนี้มีความร่าเริงมาก มีความพอใจมาก มีความยินดีมาก
มีความปราโมทย์มาก บำเพ็ญอินทรียสังวร เพราะเหตุนั้น ปัญญานั้นจึงชื่อว่า
ปัญญาร่าเริง บุคคลบางคนในโลกนี้มีความร่าเริงมาก มีความพอใจมาก มีความ
ยินดีมาก มีความปราโมทย์มาก บำเพ็ญโภชเนมัตตัญญุตา เพราะเหตุนั้น ปัญญา
นั้นจึงชื่อว่าปัญญาร่าเริง บุคคลบางคนในโลกนี้มีความร่าเริงมาก มีความพอใจมาก
มีความยินดีมาก มีความปราโมทย์มาก บำเพ็ญชาคริยานุโยค เพราะเหตุนั้น
ปัญญานั้นจึงชื่อว่าปัญญาร่าเริง
บุคคลบางคนในโลกนี้มีความร่าเริงมาก มีความพอใจมาก มีความยินดีมาก
มีความปราโมทย์มาก บำเพ็ญสีลขันธ์ ฯลฯ สมาธิขันธ์ ฯลฯ ปัญญาขันธ์
ฯลฯ วิมุตติขันธ์ ฯลฯ บุคคลบางคนในโลกนี้มีความร่าเริงมาก มีความพอใจมาก
มีความยินดีมาก มีความปราโมทย์มาก บำเพ็ญวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ เพราะ
เหตุนั้น ปัญญานั้นจึงชื่อว่าปัญญาร่าเริง
บุคคลบางคนในโลกนี้ ... รู้แจ้งฐานะและอฐานะ ... บำเพ็ญวิหารสมาบัติให้
เต็มรอบ ... รู้แจ้งอริยสัจ ... เจริญสติปัฏฐาน ... เจริญสัมมัปปธาน ... เจริญอิทธิบาท


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑. มหาปัญญากถา ๑. โสฬสปัญญานิทเทส
... เจริญอินทรีย์ ... เจริญพละ ... เจริญโพชฌงค์ ... เจริญอริยมรรค ... บุคคล
บางคนในโลกนี้ ... ทำให้แจ้งสามัญญผล
บุคคลบางคนในโลกนี้มีความร่าเริงมาก มีความพอใจมาก มีความยินดีมาก
มีความปราโมทย์มาก ทำให้แจ้งอภิญญา เพราะเหตุนั้น ปัญญานั้นจึงชื่อว่าปัญญาร่าเริง
บุคคลบางคนในโลกนี้มีความร่าเริงมาก มีความพอใจมาก มีความยินดีมาก มี
ความปราโมทย์มาก ทำให้แจ้งนิพพานที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ด้วยปัญญานั้น
เพราะเหตุนั้น ปัญญานั้นจึงชื่อว่าปัญญาร่าเริง นี้ชื่อว่าปัญญาร่าเริง ในคำว่า
ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาร่าเริง (๑๓)
[๗] คำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาแล่นไป อธิบายว่า
ปัญญาแล่นไป เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าปัญญาแล่นไป เพราะปัญญาพลันแล่นไปสู่รูปทั้งปวงที่เป็นอดีต อนาคต
และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต มีอยู่
ในที่ไกลหรือมีอยู่ในที่ใกล้ โดยความไม่เที่ยง ชื่อว่าปัญญาแล่นไป เพราะปัญญา
พลันแล่นไปโดยความเป็นทุกข์ ชื่อว่าปัญญาแล่นไป เพราะปัญญาพลันแล่นไปโดย
ความเป็นอนัตตา
ชื่อว่าปัญญาแล่นไป เพราะปัญญาพลันแล่นไปสู่เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ
สังขาร ฯลฯ ชื่อว่าปัญญาแล่นไป เพราะปัญญาพลันแล่นไปสู่วิญญาณทั้งปวงที่
เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลว
หรือประณีต มีอยู่ในที่ไกลหรือมีอยู่ในที่ใกล้โดยความไม่เที่ยง ชื่อว่าปัญญาแล่นไป
เพราะปัญญาพลันแล่นไปโดยความเป็นทุกข์ ชื่อว่าปัญญาแล่นไป เพราะปัญญา
พลันแล่นไปโดยความเป็นอนัตตา
ชื่อว่าปัญญาแล่นไป เพราะปัญญาพลันแล่นไปสู่จักขุ ฯลฯ ชื่อว่าปัญญา
แล่นไป เพราะปัญญาพลันแล่นไปสู่ชราและมรณะที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน
โดยความไม่เที่ยง ชื่อว่าปัญญาแล่นไป เพราะปัญญาพลันแล่นไปโดยความเป็นทุกข์
ชื่อว่าปัญญาแล่นไป เพราะปัญญาพลันแล่นไป โดยความเป็นอนัตตา
ชื่อว่าปัญญาแล่นไป เพราะเทียบเคียง พินิจ พิจารณา ทำให้แจ้งว่ารูปที่เป็น
อดีต อนาคต และปัจจุบัน ชื่อว่าไม่เที่ยง เพราะมีสภาวะสิ้นไป ชื่อว่าเป็นทุกข์
เพราะมีสภาวะเป็นภัย ชื่อว่าเป็นอนัตตา เพราะมีสภาวะไม่มีแก่นสาร พลันแล่น
ไปในนิพพานซึ่งเป็นความดับแห่งรูป


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑. มหาปัญญากถา ๑. โสฬสปัญญานิทเทส
ชื่อว่าปัญญาแล่นไป เพราะเทียบเคียง พินิจ พิจารณา ทำให้แจ้งว่าเวทนา
ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ จักขุ ฯลฯ ชื่อว่าปัญญาแล่นไป
เพราะเทียบเคียง พินิจ พิจารณา ทำให้แจ้งว่าชราและมรณะทั้งที่เป็นอดีต อนาคต
และปัจจุบัน ชื่อว่าไม่เที่ยง เพราะมีสภาวะสิ้นไป ชื่อว่าเป็นทุกข์ เพราะมีสภาวะ
เป็นภัย ชื่อว่าเป็นอนัตตา เพราะมีสภาวะไม่มีแก่นสารแล้วพลันแล่นไปในนิพพาน
ซึ่งเป็นความดับแห่งชราและมรณะ
ชื่อว่าปัญญาแล่นไป เพราะเทียบเคียง พินิจ พิจารณา ทำให้แจ้งว่ารูปทั้งที่เป็น
อดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นสภาวะไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันและกัน
เกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดาแล้วพลันแล่นไปใน
นิพพานซึ่งเป็นความดับแห่งรูป
ชื่อว่าปัญญาแล่นไป เพราะเทียบเคียง พินิจ พิจารณา ทำให้แจ้งว่าเวทนา
ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ จักขุ ฯลฯ ชื่อว่าปัญญาแล่นไป
เพราะเทียบเคียง พินิจ พิจารณา ทำให้แจ้งว่าชราและมรณะทั้งที่เป็นอดีต อนาคต
และปัจจุบัน เป็นสภาวะไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันและกันเกิดขึ้น มี
ความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดาแล้วพลันแล่นไปในนิพพานซึ่ง
เป็นความดับแห่งชราและมรณะ นี้ชื่อว่าปัญญาแล่นไป ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อ
ความเป็นผู้มีปัญญาแล่นไป (๑๔)
คำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเฉียบแหลม อธิบายว่า ปัญญา
เฉียบแหลม เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าปัญญาเฉียบแหลม เพราะทำลายกิเลสได้ฉับพลัน ชื่อว่าปัญญา
เฉียบแหลม เพราะไม่รับกามวิตกที่เกิดขึ้นไว้ ละ บรรเทา ทำกามวิตกที่เกิดขึ้น
ให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีอีกต่อไป
ชื่อว่าปัญญาเฉียบแหลม เพราะไม่รับพยาบาทวิตกที่เกิดขึ้นไว้ ฯลฯ
ชื่อว่าปัญญาเฉียบแหลม เพราะไม่รับวิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้นไว้ ฯลฯ
ชื่อว่าปัญญาเฉียบแหลม เพราะไม่รับบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นไว้ ฯลฯ
ชื่อว่าปัญญาเฉียบแหลม เพราะไม่รับราคะที่เกิดขึ้นไว้ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑. มหาปัญญากถา ๑. โสฬสปัญญานิทเทส
ชื่อว่าปัญญาเฉียบแหลม เพราะไม่รับโทสะไว้ ละ บรรเทา ทำโทสะให้สิ้นสุด
ให้ถึงความไม่มีอีกต่อไป ฯลฯ โมหะ ฯลฯ โกธะ ฯลฯ อุปนาหะ ฯลฯ มักขะ ฯลฯ
ปฬาสะ ฯลฯ อิสสา ฯลฯ มัจฉริยะ ฯลฯ มายา ฯลฯ สาเถยยะ ฯลฯ ถัมภะ
ฯลฯ สารัมภะ ฯลฯ มานะ ฯลฯ อติมานะ ฯลฯ มทะ ฯลฯ ปมาทะ ฯลฯ
กิเลสทั้งปวง ฯลฯ ทุจริตทั้งปวง ฯลฯ อภิสังขารทั้งปวง ฯลฯ
ชื่อว่าปัญญาเฉียบแหลม เพราะไม่รับกรรมอันเป็นเหตุให้ไปสู่ภพทั้งปวงที่เกิดขึ้นไว้
ละ บรรเทา ทำกรรมอันเป็นเหตุให้ไปสู่ภพทั้งปวงที่เกิดขึ้นให้สิ้นสุด ให้ถึงความ
ไม่มีอีกต่อไปแล้ว ชื่อว่าปัญญาเฉียบแหลม เพราะทำให้บรรลุ ทำให้แจ้ง ทำให้
ถูกต้องอริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ อภิญญา ๖ ณ อาสนะเดียว
นี้ชื่อว่าปัญญาเฉียบแหลม ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญา
เฉียบแหลม (๑๕)
คำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาชำแรกกิเลส อธิบายว่า
ปัญญาชำแรกกิเลส เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มากด้วยความสะดุ้ง เป็นผู้มากด้วยความ
หวาดเสียว เป็นผู้มากด้วยความเบื่อหน่าย เป็นผู้มากด้วยความระอา เป็นผู้มาก
ด้วยความไม่พอใจ เบือนหน้าออก ไม่ยินดีในสังขารทั้งปวง ย่อมชำแรก ทำลาย
กองโลภะที่ไม่เคยชำแรก ไม่เคยทำลาย(ด้วยปัญญา) เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
ปัญญาชำแรกกิเลส
บุคคลบางคนในโลกนี้ ... ทำลายกองโทสะที่ไม่เคยชำแรก ไม่เคยทำลาย
(ด้วยปัญญา) เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าปัญญาชำแรกกิเลส
บุคคลบางคนในโลกนี้ ... ทำลายกองโมหะที่ไม่เคยชำแรก ไม่เคยทำลาย
(ด้วยปัญญา) เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าปัญญาชำแรกกิเลส
บุคคลบางคนในโลกนี้ ... ย่อมชำแรก ทำลายโกธะ ฯลฯ อุปนาหะ ฯลฯ
มักขะ ฯลฯ ปฬาสะ ฯลฯ อิสสา ฯลฯ มัจฉริยะ ฯลฯ มายา ฯลฯ สาเถยยะ
ฯลฯ ถัมภะ ฯลฯ สารัมภะ ฯลฯ มานะ ฯลฯ อติมานะ ฯลฯ มทะ ฯลฯ ปมาทะ
ฯลฯ กิเลสทั้งปวง ฯลฯ ทุจริตทั้งปวง ฯลฯ อภิสังขารทั้งปวง ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑. มหาปัญญากถา ๒. ปุคคลวิเสสนิทเทส
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มากด้วยความสะดุ้ง เป็นผู้มากด้วยความหวาด
เสียว เป็นผู้มากด้วยความเบื่อหน่าย เป็นผู้มากด้วยความระอา เป็นผู้มากด้วย
ความไม่พอใจ เบือนหน้าออก ไม่ยินดีในสังขารทั้งปวง ย่อมชำแรก ทำลายกรรม
ซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่ภพทั้งปวงที่ไม่เคยชำแรก ไม่เคยทำลาย(ด้วยปัญญา)
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าปัญญาชำแรกกิเลส นี้ชื่อว่าปัญญาชำแรกกิเลส ในคำว่า
ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาชำแรกกิเลส (๑๖)
ปัญญาเหล่านี้เรียกว่า ปัญญา ๑๖ ประการ บุคคลประกอบด้วยปัญญา ๑๖
ประการนี้ ชื่อว่าผู้บรรลุปฏิสัมภิทา

๒. ปุคคลวิเสสนิทเทส
แสดงบุคคลวิเศษ
[๘] บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่งถึงพร้อมด้วยความ
เพียรมาก่อน พวกหนึ่งไม่ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อน พวกที่ถึงพร้อมด้วย
ความเพียรมาก่อนเป็นผู้ประเสริฐวิเศษยิ่งกว่าพวกที่ไม่ถึงพร้อมด้วยความเพียรมา
ก่อนนั้น และญาณของบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อนย่อมแตกฉาน
บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ จำพวก คือ พวกที่ถึงพร้อมด้วยความเพียร
มาก่อนก็มี ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่งเป็นพหูสูต พวกหนึ่งไม่ได้เป็นพหูสูต พวกที่
เป็นพหูสูตเป็นพวกที่ประเสริฐวิเศษยิ่งกว่าพวกที่ไม่ได้เป็นพหูสูตนั้น และญาณของ
บุคคลผู้เป็นพหูสูตนั้นย่อมแตกฉาน
บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ จำพวก คือ พวกที่บรรลุปฏิสัมภิทา ถึงพร้อม
ด้วยความเพียรมาก่อนก็มี ๒ จำพวก แม้พวกที่เป็นพหูสูตก็มี ๒ จำพวก คือ
พวกหนึ่งมากด้วยเทศนา พวกหนึ่งไม่มากด้วยเทศนา พวกที่มากด้วยเทศนาเป็นผู้
ประเสริฐวิเศษยิ่งกว่าพวกที่ไม่มากด้วยเทศนานั้น และญาณของบุคคลผู้มากด้วย
เทศนานั้นย่อมแตกฉาน
บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ จำพวก คือ พวกที่บรรลุปฏิสัมภิทา ถึงพร้อม
ด้วยความเพียรมาก่อนก็มี ๒ จำพวก แม้พวกที่เป็นพหูสูตก็มี ๒ จำพวก และ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑. มหาปัญญากถา ๒. ปุคคลวิเสสนิทเทส
พวกที่มากด้วยเทศนาก็มี ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่งอาศัยครู พวกหนึ่งไม่อาศัยครู
พวกที่อาศัยครูเป็นผู้ประเสริฐวิเศษยิ่งกว่าพวกที่ไม่อาศัยครูนั้น และญาณของ
บุคคลผู้อาศัยครูนั้นย่อมแตกฉาน
บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ จำพวก คือ พวกที่บรรลุปฏิสัมภิทา ถึงพร้อม
ด้วยความเพียรมาก่อนก็มี ๒ จำพวก แม้พวกที่เป็นพหูสูตก็มี ๒ จำพวก พวก
ที่มากด้วยเทศนาก็มี ๒ จำพวก และพวกที่อาศัยครูก็มี ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่ง
มีวิหารธรรมมาก พวกหนึ่งมีวิหารธรรมไม่มาก พวกที่มีวิหารธรรมมากเป็นผู้ประเสริฐ
วิเศษยิ่งกว่าพวกที่มีวิหารธรรมไม่มากนั้น และญาณของบุคคลผู้มีวิหารธรรมมาก
นั้นย่อมแตกฉาน
บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ จำพวก คือ พวกที่บรรลุปฏิสัมภิทา ถึงพร้อม
ด้วยความเพียรมาก่อนก็มี ๒ จำพวก แม้พวกที่เป็นพหูสูตก็มี ๒ จำพวก พวก
ที่มากด้วยเทศนาก็มี ๒ จำพวก พวกที่อาศัยครูก็มี ๒ จำพวก และพวกที่มี
วิหารธรรมมากก็มี ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่งมีการพิจารณามาก พวกหนึ่งมีการ
พิจารณาไม่มาก พวกที่มีการพิจารณามาก เป็นผู้ประเสริฐวิเศษยิ่งกว่าพวกที่มีการ
พิจารณาไม่มากนั้น และญาณของบุคคลผู้มีการพิจารณามากนั้นย่อมแตกฉาน
บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ จำพวก คือ พวกที่บรรลุปฏิสัมภิทา ถึงพร้อม
ด้วยความเพียรมาก่อนก็มี ๒ จำพวก แม้พวกที่เป็นพหูสูตก็มี ๒ จำพวก พวกที่
มากด้วยเทศนาก็มี ๒ จำพวก พวกที่อาศัยครูก็มี ๒ จำพวก พวกที่มีวิหาร-
ธรรมมากก็มี ๒ จำพวก และพวกที่มีการพิจารณามากก็มี ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่ง
เป็นพระเสขะบรรลุปฏิสัมภิทา พวกหนึ่งเป็นพระอเสขะบรรลุปฏิสัมภิทา พวกที่เป็น
พระอเสขะบรรลุปฏิสัมภิทาเป็นผู้ประเสริฐวิเศษยิ่งกว่าพวกที่เป็นพระเสขะบรรลุ
ปฏิสัมภิทานั้น และญาณของพระอเสขะผู้บรรลุปฏิสัมภิทานั้นย่อมแตกฉาน
บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ จำพวก คือ พวกที่บรรลุปฏิสัมภิทา ถึงพร้อม
ด้วยความเพียรมาก่อนก็มี ๒ จำพวก แม้พวกที่เป็นพหูสูตก็มี ๒ จำพวก พวก
ที่มากด้วยเทศนาก็มี ๒ จำพวก พวกที่มีวิหารธรรมมากก็มี ๒ จำพวก พวกที่


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑. มหาปัญญากถา ๒. ปุคคลวิเสสนิทเทส
มีการพิจารณามากก็มี ๒ จำพวก และพวกที่เป็นพระอเสขะบรรลุปฏิสัมภิทาก็มี ๒
จำพวก คือ พวกหนึ่งบรรลุสาวกบารมี พวกหนึ่งไม่บรรลุสาวกบารมี พวกที่
บรรลุสาวกบารมีเป็นผู้ประเสริฐวิเศษยิ่งกว่าพวกที่ไม่บรรลุสาวกบารมี และญาณ
ของผู้บรรลุสาวกบารมีนั้นย่อมแตกฉาน
บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ จำพวก คือ พวกที่บรรลุปฏิสัมภิทา ถึงพร้อม
ด้วยความเพียรมาก่อนก็มี ๒ จำพวก แม้พวกที่เป็นพหูสูตก็มี ๒ จำพวก พวกที่
มากด้วยเทศนาก็มี ๒ จำพวก พวกที่อาศัยครูก็มี ๒ จำพวก พวกที่มีวิหารธรรม
มากก็มี ๒ จำพวก พวกที่มีการพิจารณามากก็มี ๒ จำพวก และพวกที่เป็น
พระอเสขะบรรลุปฏิสัมภิทาก็มี ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่งบรรลุสาวกบารมี พวกหนึ่ง
เป็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า พวกที่เป็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ประเสริฐวิเศษยิ่ง
กว่าพวกที่บรรลุสาวกบารมีนั้น และญาณของผู้เป็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น
ย่อมแตกฉาน
เมื่อเทียบกับพระปัจเจกพุทธเจ้าและโลกพร้อมทั้งเทวโลก พระตถาคต-
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นผู้เลิศ ทรงบรรลุปฏิสัมภิทา ทรงฉลาดในประเภท
แห่งปัญญา มีพระญาณแตกฉาน ทรงบรรลุถึงปฏิสัมภิทา ทรงบรรลุเวสารัชชญาณ
๔ ทรงเป็นผู้ทรงทสพลญาณ ทรงเป็นบุรุษองอาจ ทรงเป็นบุรุษดุจราชสีห์ ฯลฯ
เหล่าบัณฑิต ผู้เป็นกษัตริย์ เป็นพราหมณ์ เป็นคหบดี เป็นสมณะ ผู้มีปัญญา
ละเอียด รู้วาทะของผู้อื่น เหมือนนายขมังธนูสามารถยิงเนื้อทราย ดุจจะเที่ยว
ทำลายทิฏฐิของผู้อื่นด้วยปัญญาของตน บัณฑิตเหล่านั้นพากันปรุงแต่งปัญหาเข้า
ไปหาพระตถาคตทูลถามปัญหาทั้งลี้ลับและปิดบัง ปัญหาเหล่านั้นที่พระผู้มีพระภาค
ทรงซักไซ้และตรัสแก้แล้ว เป็นปัญหามีเหตุให้ทรงแสดง ขณะนั้นพระผู้มีพระภาค
ทรงรุ่งเรืองยิ่งด้วยพระปัญญา เพราะทรงแก้ปัญหาเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มี
พระภาคจึงทรงเป็นผู้เลิศ ทรงบรรลุปฏิสัมภิทา ดังนี้

มหาปัญญากถา จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๒. อิทธิกถา
๒. อิทธิกถา
ว่าด้วยฤทธิ์
[๙] ฤทธิ์เป็นอย่างไร ฤทธิ์มีเท่าไร ภูมิแห่งฤทธิ์มีเท่าไร บาทแห่งฤทธิ์มีเท่าไร
บทแห่งฤทธิ์มีเท่าไร มูลแห่งฤทธิ์มีเท่าไร
ถาม : ฤทธิ์เป็นอย่างไร
ตอบ : ชื่อว่าฤทธิ์ เพราะมีสภาวะสำเร็จ
ถาม : ฤทธิ์มีเท่าไร
ตอบ : ฤทธิ์มี ๑๐ อย่าง
ถาม : ภูมิแห่งฤทธิ์มีเท่าไร
ตอบ : ภูมิแห่งฤทธิ์มี ๔ อย่าง ... บาทแห่งฤทธิ์มี ๔ อย่าง ... บทแห่งฤทธิ์มี
๘ อย่าง ... มูลแห่งฤทธิ์มี ๑๖ อย่าง
ฤทธิ์ ๑๐ อย่าง อะไรบ้าง คือ

๑. ฤทธิ์ที่อธิษฐาน ๒. ฤทธิ์ที่แสดงได้ต่าง ๆ
๓. ฤทธิ์ที่สำเร็จด้วยใจ ๔. ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณ
๕. ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ ๖. ฤทธิ์ของพระอริยะ
๗. ฤทธิ์ที่เกิดจากผลกรรม ๘. ฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญ
๙. ฤทธิ์ที่สำเร็จมาจากวิชชา

๑๐. ชื่อว่าฤทธิ์ เพราะมีสภาวะสำเร็จด้วยการประกอบโดยชอบในส่วน
นั้น ๆ เป็นปัจจัย
ภูมิแห่งฤทธิ์ ๔ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ปฐมฌานเป็นภูมิเกิดจากวิเวก
๒. ทุติยฌานเป็นภูมิแห่งปีติและสุข
๓. ตติยฌานเป็นภูมิแห่งอุเบกขาและสุข
๔. จตุตถฌานเป็นภูมิแห่งอุเบกขา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๒. อิทธิกถา
ภูมิแห่งฤทธิ์ ๔ อย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความได้ฤทธิ์ เพื่อความได้เฉพาะฤทธิ์
เพื่อแสดงฤทธิ์ได้ต่าง ๆ เพื่อความสำเร็จแห่งฤทธิ์ เพื่อความชำนาญในฤทธิ์ เพื่อ
ความแกล้วกล้าด้วยฤทธิ์
บาทแห่งฤทธิ์ ๔ อย่าง อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
๒. เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร
๓. เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
๔. เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร
บาทแห่งฤทธิ์ ๔ อย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความได้ฤทธิ์ เพื่อความได้เฉพาะฤทธิ์
เพื่อแสดงฤทธิ์ได้ต่าง ๆ เพื่อความสำเร็จแห่งฤทธิ์ เพื่อความชำนาญในฤทธิ์ เพื่อ
ความแกล้วกล้าด้วยฤทธิ์
บทแห่งฤทธิ์ ๘ อย่าง อะไรบ้าง คือ
ถ้าภิกษุอาศัยฉันทะได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต ฉันทะไม่ใช่สมาธิ สมาธิก็ไม่ใช่
ฉันทะ ฉันทะเป็นอย่างหนึ่ง สมาธิก็เป็นอย่างหนึ่ง
ถ้าภิกษุอาศัยวิริยะได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต วิริยะไม่ใช่สมาธิ สมาธิก็ไม่ใช่
วิริยะ วิริยะเป็นอย่างหนึ่ง สมาธิก็เป็นอย่างหนึ่ง
ถ้าภิกษุอาศัยจิตตะได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต จิตตะไม่ใช่สมาธิ สมาธิก็ไม่ใช่
จิตตะ จิตตะเป็นอย่างหนึ่ง สมาธิก็เป็นอย่างหนึ่ง
ถ้าภิกษุอาศัยวิมังสาได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต วิมังสาไม่ใช่สมาธิ สมาธิก็ไม่
ใช่วิมังสา วิมังสาเป็นอย่างหนึ่ง สมาธิก็เป็นอย่างหนึ่ง
บทแห่งฤทธิ์ ๘ อย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความได้ฤทธิ์ เพื่อความได้เฉพาะฤทธิ์
เพื่อแสดงฤทธิ์ได้ต่าง ๆ เพื่อความสำเร็จแห่งฤทธิ์ เพื่อความชำนาญในฤทธิ์ เพื่อ
ความแกล้วกล้าด้วยฤทธิ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๒. อิทธิกถา
มูลแห่งฤทธิ์ ๑๖ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. จิตไม่ฟุบลงย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าอาเนญชา (ไม่หวั่นไหว)
๒. จิตไม่ฟูขึ้นย่อมไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
อาเนญชา
๓. จิตไม่ยินดีย่อมไม่หวั่นไหวเพราะราคะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
อาเนญชา
๔. จิตไม่มุ่งร้ายย่อมไม่หวั่นไหวเพราะพยาบาท เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
อาเนญชา
๕. จิตอันทิฏฐิไม่อาศัยย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฏฐิ เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าอาเนญชา
๖. จิตไม่พัวพันย่อมไม่หวั่นไหวเพราะฉันทราคะ เพราะเหตุนั้น จึง
ชื่อว่าอาเนญชา
๗. จิตหลุดพ้นย่อมไม่หวั่นไหวเพราะกามราคะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
อาเนญชา
๘. จิตไม่เกาะเกี่ยวย่อมไม่หวั่นไหวเพราะกิเลส เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
อาเนญชา
๙. จิตปราศจากเครื่องครอบงำย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความครอบงำ
กิเลส เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอาเนญชา
๑๐. จิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ย่อมไม่หวั่นเพราะกิเลสต่าง ๆ๑ เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าอาเนญชา
๑๑. จิตที่กำหนดด้วยศรัทธาย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธา
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอาเนญชา
๑๒. จิตที่กำหนดด้วยวิริยะย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอาเนญชา

เชิงอรรถ :
๑ กิเลสต่าง ๆ ในที่นี้หมายถึงกิเลสที่เป็นไปในอารมณ์ต่าง ๆ (ขุ.ป.อ. ๒/๙/๓๑๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๒. อิทธิกถา
๑๓. จิตที่กำหนดด้วยสติย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความประมาท เพราะ
เหตุนั้น จึงชื่อว่าอาเนญชา
๑๔. จิตที่กำหนดด้วยสมาธิย่อมไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ เพราะเหตุ
นั้น จึงชื่อว่าอาเนญชา
๑๕. จิตที่กำหนดด้วยปัญญาย่อมไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าอาเนญชา
๑๖. จิตที่ถึงความสว่างไสวย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความมืดคืออวิชชา
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอาเนญชา
มูลแห่งฤทธิ์ ๑๖ อย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความได้ฤทธิ์ เพื่อความได้เฉพาะ
ฤทธิ์ เพื่อแสดงฤทธิ์ได้ต่าง ๆ เพื่อความสำเร็จแห่งฤทธิ์ เพื่อความเป็นผู้ชำนาญ
ในฤทธิ์ เพื่อความแกล้วกล้าด้วยฤทธิ์

ทสอิทธินิทเทส
แสดงฤทธิ์ ๑๐ อย่าง
[๑๐] ฤทธิ์ที่อธิษฐาน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในที่นี้แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้
หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ แสดงให้ปรากฏก็ได้ แสดงให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา
กำแพง ภูเขา ไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลงในแผ่นดินเหมือน
ดำลงในน้ำก็ได้ เดินไปบนน้ำโดยน้ำไม่แยกเหมือนเดินไปบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไป
ในอากาศเหมือนนกบินไปก็ได้ ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มี
อานุภาพมากอย่างนั้นก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้
คำว่า ในที่นี้ อธิบายว่า ในความเห็นนี้ คือ ในความถูกใจนี้ ความพอใจนี้
ความยึดถือนี้ ธรรมนี้ วินัยนี้ ธรรมวินัยนี้ ปาพจน์นี้ พรหมจรรย์นี้ สัตถุศาสน์นี้
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ในที่นี้
คำว่า ภิกษุ อธิบายว่า ภิกษุผู้เป็นกัลยาณปุถุชน เป็นพระเสขะ หรือเป็น
พระอรหันต์ผู้มีธรรมไม่กำเริบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๒. อิทธิกถา
คำว่า แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง อธิบายว่า แสดงฤทธิ์ได้มีประการต่าง ๆ
คำว่า แม้คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ อธิบายว่า ท่านผู้มีฤทธิ์โดย
ปกติเป็นผู้เดียว ย่อมนึกให้เป็นหลายคน คือ นึกให้เป็น ๑๐๐ คน ๑,๐๐๐ คน
๑๐๐,๐๐๐ คน แล้วอธิษฐานด้วยญาณว่า “จงเป็นหลายคน” ก็เป็นหลายคนได้
ท่านผู้มีฤทธิ์ถึงความเป็นผู้ชำนาญแห่งจิต แม้คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้
เปรียบเหมือนท่านพระจุลปันถกรูปเดียวแสดงเป็นหลายรูปก็ได้ ฉะนั้น
คำว่า หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ อธิบายว่า ท่านผู้มีฤทธิ์โดยปกติ
เป็นหลายคน ย่อมนึกให้เป็นคนเดียวแล้วอธิษฐานด้วยญาณว่า “จงเป็นคนเดียว”
ก็เป็นคนเดียวได้ ท่านผู้มีฤทธิ์นั้น ถึงความชำนาญแห่งจิต หลายคนแสดงเป็นคน
เดียวก็ได้ เปรียบเหมือนท่านจุลปันถกหลายรูปแสดงเป็นรูปเดียวก็ได้ ฉะนั้น
[๑๑] คำว่า แสดงให้ปรากฏก็ได้ อธิบายว่า ที่ใคร ๆ ไม่ปิดบังไว้ ทำให้
ไม่มีอะไรปิดบัง ให้เปิดเผยปรากฏก็ได้
คำว่า แสดงให้หายไปก็ได้ อธิบายว่า ที่ใคร ๆ เปิดไว้ ทำให้เป็นที่ปิดบัง
มิดชิดก็ได้
คำว่า ทะลุฝา ทะลุกำแพง ฯลฯ เหมือนไปในอากาศก็ได้ อธิบายว่า
ท่านผู้มีฤทธิ์เป็นผู้ได้อากาสกสิณสมาบัติ โดยปกติย่อมนึกถึงฝา กำแพง ภูเขา แล้ว
อธิษฐานด้วยญาณว่า “จงเป็นที่ว่าง” ก็เป็นที่ว่างได้ ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นย่อมทะลุฝา
กำแพง ภูเขา ไปได้ไม่ติดขัด ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นถึงความชำนาญแห่งจิตย่อมทะลุฝา
กำแพง ภูเขา ไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่แจ้ง เปรียบเหมือนพวกมนุษย์ผู้ไม่มีฤทธิ์
โดยปกติไปในที่ไม่มีอะไรปิดบังกั้นไว้โดยไม่ติดขัด ฉะนั้น
คำว่า ผุดขึ้นดำลงในแผ่นดิน เหมือนเดินไปบนน้ำก็ได้ อธิบายว่า ท่าน
ผู้มีฤทธิ์เป็นผู้ได้อาโปกสิณสมาบัติ โดยปกติย่อมนึกถึงแผ่นดินแล้วอธิษฐานด้วย
ญาณว่า “จงเป็นน้ำ” ก็เป็นน้ำได้ ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นผุดขึ้นดำลงในแผ่นดินก็ได้ ท่าน
ผู้มีฤทธิ์นั้นถึงความชำนาญแห่งจิตผุดขึ้นดำลงในแผ่นดินเหมือนเดินไปบนน้ำก็ได้
เปรียบเหมือนพวกมนุษย์ผู้ไม่มีฤทธิ์โดยปกติผุดขึ้นดำลงในน้ำได้ ฉะนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๒. อิทธิกถา
คำว่า เดินไปบนน้ำ ฯลฯ เหมือนเดินไปบนแผ่นดินก็ได้ อธิบายว่าท่าน
ผู้มีฤทธิ์เป็นผู้ได้ปฐวีกสิณสมาบัติ โดยปกติย่อมนึกถึงน้ำแล้วอธิษฐานด้วยญาณว่า
“จงเป็นแผ่นดิน” ก็เป็นแผ่นดินได้ ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นเดินไปบนน้ำโดยน้ำไม่แยกก็ได้
ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นถึงความชำนาญแห่งจิตเดินไปบนน้ำโดยน้ำไม่แยกเหมือนเดินไป
บนดินก็ได้ เปรียบเหมือนพวกมนุษย์ผู้ไม่มีฤทธิ์โดยปกติเดินไปบนแผ่นดินโดย
แผ่นดินไม่แตก ฉะนั้น
คำว่า เหาะไปในอากาศเหมือนนกบินไปก็ได้ อธิบายว่า ท่านผู้มีฤทธิ์เป็น
ผู้ได้ปฐวีกสิณสมาบัติ โดยปกติย่อมนึกถึงอากาศแล้วอธิษฐานด้วยญาณว่า “จง
เป็นแผ่นดิน” ก็เป็นแผ่นดินได้ ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นเดินบ้าง ยืนบ้าง นั่งบ้าง นอนบ้าง
ในกลางอากาศ ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นถึงความชำนาญแห่งจิต เดินบ้าง ยืนบ้าง นั่งบ้าง
นอนบ้าง ในกลางอากาศเหมือนนกบินไปก็ได้ เปรียบเหมือนพวกมนุษย์ผู้ไม่มีฤทธิ์
โดยปกติเดินบ้าง ยืนบ้าง นั่งบ้าง นอนบ้าง บนแผ่นดิน ฉะนั้น
[๑๒] คำว่า ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพ
มากอย่างนี้ก็ได้ อธิบายว่า ท่านผู้มีฤทธิ์ในศาสนานี้ถึงความชำนาญแห่งจิต นั่งหรือ
นอนก็ตาม นึกถึงดวงจันทร์และดวงอาทิตย์แล้วอธิษฐานด้วยญาณว่า “ดวงจันทร์
และดวงอาทิตย์จงมีในที่ใกล้มือ” ก็มีในที่ใกล้มือได้ ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นนั่งหรือนอน
ก็ตาม ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์และดวงอาทิตย์นี้ ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นถึงความชำนาญ
แห่งจิต นั่งหรือนอนก็ตาม ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์และดวงอาทิตย์นี้ เปรียบ
เหมือนพวกมนุษย์ผู้ไม่มีฤทธิ์โดยปกติย่อมสัมผัสรูปอะไร ๆ ที่ใกล้มือได้ ฉะนั้น
คำว่า ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ อธิบายว่า ท่านผู้มีฤทธิ์
ถึงความชำนาญแห่งจิตนั้น ถ้าประสงค์จะไปยังพรหมโลก ก็อธิษฐานที่ไกลให้เป็นที่
ใกล้ว่า “จงเป็นที่ใกล้” ก็เป็นที่ใกล้ได้ อธิษฐานที่ใกล้ให้เป็นที่ไกลว่า “จงเป็นที่ไกล”
ก็เป็นที่ไกลได้ อธิษฐานของมากให้เป็นของน้อยว่า “จงเป็นของน้อย” ก็เป็นของ
น้อยได้ อธิษฐานของน้อยให้เป็นของมากว่า “จงเป็นของมาก” ก็เป็นของมากได้
ย่อมเห็นรูปพรหมนั้นได้ด้วยทิพพจักขุ ย่อมฟังเสียงพรหมนั้นได้ด้วยทิพพโสตธาตุ
ย่อมรู้จิตของพรหมนั้นได้ด้วยเจโตปริยญาณ ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์ถึงความชำนาญแห่งจิตนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๒. อิทธิกถา
ประสงค์จะไปยังพรหมโลกด้วยกายที่ปรากฏ ก็น้อมจิตอธิษฐานด้วยอำนาจกาย
ครั้นหยั่งลงสู่สุขสัญญาและลหุสัญญาแล้วก็ไปยังพรหมโลกได้ด้วยกายที่ปรากฏอยู่
ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์ถึงความชำนาญแห่งจิตนั้นประสงค์จะไปยังพรหมโลกด้วยกายที่ไม่
ปรากฏ ก็น้อมกายอธิษฐานด้วยอำนาจจิต ครั้นหยั่งลงสู่สุขสัญญาและลหุสัญญา
แล้วก็ไปยังพรหมโลกได้ด้วยกายที่ไม่ปรากฏ ท่านผู้มีฤทธิ์เนรมิตรูปที่สำเร็จด้วยใจ
มีอวัยวะครบทุกส่วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่องไว้ข้างหน้าของพรหมนั้น ถ้าท่านผู้มี
ฤทธิ์เดินอยู่ รูปกายเนรมิตนั้นก็เดินอยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์ยืนอยู่ รูปกาย
เนรมิตก็ยืนอยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์นั่งอยู่ รูปกายเนรมิตก็นั่งอยู่ ณ ที่นั้น
ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์นอนอยู่ รูปกายเนรมิตก็นอนอยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์บังหวน
ควันอยู่ รูปกายเนรมิตก็บังหวนควันอยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์ให้ไฟลุกอยู่ รูป-
กายเนรมิตก็ให้ไฟลุกอยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์กล่าวธรรมอยู่ รูปกายเนรมิต
ก็กล่าวธรรมอยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์ถามปัญหาอยู่ รูปกายเนรมิตก็ถาม
ปัญหาอยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์ถูกรูปกายเนรมิตถามปัญหาก็แก้ปัญหาอยู่ รูป-
กายเนรมิตถูกท่านผู้มีฤทธิ์ถามปัญหาก็แก้ปัญหาอยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์ยืน
สนทนาปราศรัยกับพรหมนั้นอยู่ รูปกายเนรมิตก็ยืนสนทนาปราศรัยกับพรหม
นั้นอยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์ทำกิจใดอยู่ รูปกายเนรมิตก็ทำกิจนั้น ๆ นั่นเอง
นี้ฤทธิที่อธิษฐาน (๑)
[๑๓] ฤทธิ์ที่แสดงได้ต่าง ๆ เป็นอย่างไร
คือ พระเถระชื่ออภิภูเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระนามว่าสิขี สถิตอยู่ในพรหมโลก เปล่งเสียงให้พันโลกธาตุทราบชัด ท่านแสดง
ธรรมด้วยกายที่ปรากฏก็มี ด้วยกายที่ไม่ปรากฏก็มี ด้วยกายครึ่งหนึ่งส่วนล่าง
ปรากฏก็มี ด้วยกายครึ่งหนึ่งส่วนบนไม่ปรากฏก็มี ด้วยกายครึ่งหนึ่งส่วนบนปรากฏ
ก็มี ด้วยกายครึ่งหนึ่งส่วนล่างไม่ปรากฏก็มี ท่านละเพศปกติแล้วแสดงเพศกุมาร
บ้าง แสดงเพศนาคบ้าง แสดงเพศครุฑบ้าง แสดงเพศยักษ์บ้าง แสดงเพศอสูรบ้าง
แสดงเพศพระอินทร์บ้าง แสดงเพศเทวดาบ้าง แสดงเพศพรหมบ้าง แสดงรูปสมุทร
บ้าง แสดงรูปภูเขาบ้าง แสดงรูปป่าบ้าง แสดงรูปราชสีห์บ้าง แสดงรูปเสือโคร่งบ้าง
แสดงรูปเสือเหลืองบ้าง แสดงรูปช้างบ้าง แสดงพลม้าบ้าง แสดงพลรถบ้าง แสดง
พลราบบ้าง แสดงกองทัพตั้งประชิดกันต่าง ๆ บ้าง นี้ฤทธิ์ที่แสดงได้ต่างๆ (๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๒. อิทธิกถา
[๑๔] ฤทธิ์ที่สำเร็จด้วยใจ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในศาสนานี้เนรมิตกายอื่นจากกายนี้มีรูปสำเร็จด้วยใจ มีอวัยวะ
ครบทุกส่วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง เปรียบเหมือนบุรุษชักไส้ออกจากหญ้าปล้อง
เขาพึงมีความหมายรู้อย่างนี้ว่า “นี้หญ้าปล้อง นี้ไส้ หญ้าปล้องเป็นอย่างหนึ่ง ไส้
ก็เป็นอย่างหนึ่ง แต่ไส้ก็ชักออกจากหญ้าปล้องนั่นเอง” อีกประการหนึ่ง บุรุษชัก
ดาบออกจากฝัก เขาพึงมีความหมายรู้อย่างนี้ว่า “นี้ดาบ นี้ฝัก ดาบเป็นอย่างหนึ่ง
ฝักก็เป็นอย่างหนึ่ง แต่ดาบก็ชักออกจากฝักนั่นเอง” อีกประการหนึ่ง บุรุษเอางู
ออกจากกระทอ เขาพึงมีความหมายรู้อย่างนี้ว่า “นี้งู นี้กระทอ งูเป็นอย่างหนึ่ง
กระทอก็เป็นอย่างหนึ่ง แต่งูก็ออกจากกระทอนั่นเอง” ฉันใด ภิกษุนั้นก็ฉันนั้น
เหมือนกัน เนรมิตกายอื่นนอกจากกายนี้มีรูปสำเร็จด้วยใจ มีอวัยวะครบทุกส่วน
มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง นี้ฤทธิ์ที่สำเร็จด้วยใจ (๓)
[๑๕] ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณ เป็นอย่างไร
คือ สภาวะที่ละนิจจสัญญาย่อมสำเร็จได้ด้วยอนิจจานุปัสสนา เพราะเหตุนั้น
จึงเป็นฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณ สภาวะที่ละสุขสัญญาย่อมสำเร็จได้ด้วยทุกขานุปัสสนา
ฯลฯ สภาวะที่ละอัตตสัญญาย่อมสำเร็จได้ด้วยอนัตตานุปัสสนา ฯลฯ สภาวะที่
ละนันทิย่อมสำเร็จได้ด้วยนิพพิทานุปัสสนา ฯลฯ สภาวะที่ละราคะย่อมสำเร็จได้
ด้วยวิราคานุปัสสนา ฯลฯ สภาวะที่ละสมุทัยย่อมสำเร็จได้ด้วยนิโรธานุปัสสนา ฯลฯ
สภาวะที่ละอาทานะย่อมสำเร็จได้ด้วยปฏินิสสัคคานุปัสสนา เพราะเหตุนั้น จึงเป็น
ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณ ท่านพระพากุละ ท่านพระสังกิจจะ ท่านพระภูตปาละมี
ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณ นี้ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณ (๔)
[๑๖] ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ เป็นอย่างไร
คือ สภาวะที่ละนิวรณ์ย่อมสำเร็จได้ด้วยปฐมฌาน เพราะเหตุนั้น จึงเป็น
ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ สภาวะที่ละวิตกวิจารย่อมสำเร็จได้ด้วยทุติยฌาน เพราะ
เหตุนั้น จึงเป็นฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ สภาวะที่ละปีติย่อมสำเร็จได้ด้วยตติยฌาน
ฯลฯ สภาวะที่ละสุขและทุกข์ย่อมสำเร็จได้ด้วยจตุตถฌาน ฯลฯ สภาวะที่ละ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๒. อิทธิกถา
รูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญาย่อมสำเร็จได้ด้วยอากาสานัญจายตน-
สมาบัติ ฯลฯ สภาวะที่ละอากาสานัญจายตนสัญญาย่อมสำเร็จได้ด้วยวิญญาณัญ-
จายตนสมาบัติ ฯลฯ สภาวะที่ละวิญญาณัญจายตนสัญญาย่อมสำเร็จได้ด้วย
อากิญจัญญายตนสมาบัติ ฯลฯ สภาวะที่ละอากิญจัญญายตนสัญญาย่อมสำเร็จได้
ด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ เพราะเหตุนั้น จึงเป็นฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ
ท่านพระสารีบุตรมีฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ ท่านพระสัญชีวะมีฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ
ท่านพระขาณุโกณฑัญญะมีฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ อุตตราอุบาสิกามีฤทธิ์ที่แผ่ไป
ด้วยสมาธิ สามาวดีอุบาสิกามีฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ นี้ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ (๕)
[๑๗] ฤทธิ์ของพระอริยะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในศาสนานี้ ถ้าหวังว่า “เราพึงมีความหมายรู้ในสิ่งที่ปฏิกูลว่า
เป็นสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่” ก็มีความหมายรู้ในสิ่งที่ปฏิกูลนั้นว่าเป็นสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่
ถ้าหวังว่า “เราพึงมีความหมายรู้ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งที่ปฏิกูลอยู่” ก็มีความ
หมายรู้ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลนั้นว่าเป็นสิ่งที่ปฏิกูลอยู่ ถ้าหวังว่า “เราพึงมีความหมายรู้
ในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่” ก็มีความหมายรู้ในสิ่งที่
ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลนั้นว่าเป็นสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่ ถ้าหวังว่า “เราพึงมีความ
หมายรู้ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและในสิ่งที่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งที่ปฏิกูลอยู่” ก็มีความหมายรู้
ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและในสิ่งที่ปฏิกูลนั้นว่าเป็นสิ่งที่ปฏิกูลอยู่ ถ้าหวังว่า “เราพึงเว้น
สิ่งทั้งสองนั้น มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่”
ก็เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลนั้นอยู่
ภิกษุมีความหมายรู้ในสิ่งที่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุแผ่ไปด้วยเมตตา หรือน้อมเข้าไปโดยความเป็นธาตุ ในสิ่งที่ไม่น่า
ปรารถนา ภิกษุมีความหมายรู้ในสิ่งที่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่อย่างนี้
ภิกษุมีความหมายรู้ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งที่ปฏิกูลอยู่ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุแผ่ไปโดยความไม่งาม หรือน้อมไปโดยความไม่เที่ยงในสิ่งที่น่าปรารถนา
ภิกษุมีความหมายรู้ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งที่ปฏิกูลอยู่อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๒. อิทธิกถา ทสอิทธินิทเทส
ภิกษุมีความหมายรู้ในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่
เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุแผ่ไปด้วยเมตตา หรือน้อมเข้าไปโดยความเป็นธาตุในสิ่งที่ไม่น่า
ปรารถนาและน่าปรารถนา ภิกษุมีความหมายรู้ในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลว่า
เป็นสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่อย่างนี้
ภิกษุมีความหมายรู้ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและในสิ่งที่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งที่ปฏิกูลอยู่
เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุแผ่ไปโดยความไม่งาม หรือน้อมเข้าไปโดยความไม่เที่ยง ในสิ่งที่
น่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนา ภิกษุมีความหมายรู้ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและในสิ่งที่
ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งที่ปฏิกูลอยู่อย่างนี้
ภิกษุเว้นสิ่งทั้งสองนั้น มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะในสิ่งที่ปฏิกูลและใน
สิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในศาสนานี้เห็นรูปทางตาแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติ-
สัมปชัญญะ ฟังเสียงทางหู ฯลฯ ดมกลิ่นทางจมูก ฯลฯ ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ
ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ฯลฯ รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้วไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มี
อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ ภิกษุเว้นสิ่งทั้งสองนั้น มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
ในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่อย่างนี้ นี้ฤทธิ์ของพระอริยะ (๖)
[๑๘] ฤทธิ์ที่เกิดจากผลกรรม เป็นอย่างไร
คือ นกทุกชนิด เทวดาทุกจำพวก มนุษย์บางพวก วินิปาติกเปรตบางพวก
มีฤทธิ์เกิดจากผลกรรม นี้ฤทธิ์ที่เกิดจากผลกรรม (๗)
ฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญ เป็นอย่างไร
คือ พระเจ้าจักรพรรดิเสด็จเหาะไปในอากาศพร้อมด้วยจตุรงคินีเสนา๑ ตลอดจน
พวกคนเลี้ยงม้าเป็นที่สุด ฤทธิ์ของโชติยคหบดีผู้มีบุญ ฤทธิ์ของชฏิลคหบดีผู้มีบุญ

เชิงอรรถ :
๑ จตุรงคินีเสนา หมายถึงกองทัพประกอบด้วยองค์ ๔ คือ พลช้าง พลม้า พลรถ และพลเดินเท้า (ขุ.ป.อ.
๒/๑๘/๓๔๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๓. อภิสมยกถา
ฤทธิ์ของเมณฑกคหบดีผู้มีบุญ ฤทธิ์ของโฆสิตคหบดีผู้มีบุญ ฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญ
มาก ๕ คน๑ เป็นฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญ นี้ฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญ (๘)
ฤทธิ์ที่สำเร็จมาจากวิชชา เป็นอย่างไร
คือ พวกวิทยาธรร่ายวิชชาแล้วเหาะไปได้ แสดงพลช้างบ้าง แสดงพลม้าบ้าง
แสดงพลรถบ้าง แสดงพลราบบ้าง แสดงกองทัพตั้งประชิดกันต่าง ๆ บ้าง ใน
กลางอากาศ นี้ฤทธิ์ที่สำเร็จมาจากวิชชา (๙)
ชื่อว่าฤทธิ์เพราะมีสภาวะสำเร็จด้วยการประกอบโดยชอบในส่วนนั้น ๆ
เป็นปัจจัย เป็นอย่างไร
คือ สภาวะที่ละกามฉันทะ ย่อมสำเร็จได้ด้วยเนกขัมมะ เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าฤทธิ์เพราะมีสภาวะสำเร็จด้วยการประกอบโดยชอบในส่วนนั้น ๆ เป็นปัจจัย
สภาวะแห่งการละพยาบาทย่อมสำเร็จได้ด้วยอพยาบาท ฯลฯ สภาวะที่ละ
ถีนมิทธะย่อมสำเร็จได้ด้วยอาโลกสัญญา ฯลฯ สภาวะที่ละกิเลสทั้งปวงย่อม
สำเร็จได้ด้วยอรหัตตมรรค เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฤทธิ์เพราะมีสภาวะสำเร็จด้วย
การประกอบโดยชอบในส่วนนั้น ๆ เป็นปัจจัย ชื่อว่าฤทธิ์เพราะมีสภาวะสำเร็จ
ด้วยการประกอบโดยชอบในส่วนนั้น ๆ เป็นปัจจัยอย่างนี้ (๑๐)
ฤทธิ์ ๑๐ อย่างนี้
ทสอินทธินิทเทส จบ
อิทธิกถา จบ

๓. อภิสมยกถา
ว่าด้วยการตรัสรู้
[๑๙] คำว่า การตรัสรู้ อธิบายว่า ตรัสรู้ด้วยอะไร คือ ตรัสรู้ด้วยจิต
ตรัสรู้ด้วยจิตหรือ ถ้าอย่างนั้น บุคคลผู้ไม่มีญาณ ก็ตรัสรู้ได้ บุคคลผู้ไม่มี
ญาณตรัสรู้ไม่ได้ ตรัสรู้ด้วยญาณ

เชิงอรรถ :
๑ ผู้มีบุญมาก ๕ คน ได้แก่ (๑) เมณฑกเศรษฐี (๒) จันทปทุมาภริยาของเมณฑกเศรษฐี (๓) ธนัญชัยเศรษฐี-
บุตร (๔) สุมนาเทวีลูกสะใภ้ (๕) นายปุณณทาส (ขุ.ป.อ. ๒/๑๘/๓๕๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๓. อภิสมยกถา
ตรัสรู้ด้วยญาณหรือ ถ้าอย่างนั้น บุคคลผู้ไม่มีจิตก็ตรัสรู้ได้ บุคคลผู้ไม่มีจิต
ก็ตรัสรู้ไม่ได้ ตรัสรู้ได้ด้วยจิตและด้วยญาณ
ตรัสรู้ได้ด้วยจิตและญาณหรือ ถ้าอย่างนั้น ก็ตรัสรู้ได้ด้วยกามาวจรจิตและ
ญาณนะซิ ตรัสรู้ด้วยกามาวรจิตและญาณไม่ได้
ถ้าอย่างนั้น ก็ตรัสรู้ได้ด้วยรูปาวจรจิตและญาณนะซิ ตรัสรู้ด้วยรูปาวจรจิต
และญาณไม่ได้
ถ้าอย่างนั้น ก็ตรัสรู้ได้ด้วยอรูปาวจรจิตและญาณนะซิ ตรัสรู้ด้วยอรูปาวจรจิต
และญาณไม่ได้
ถ้าอย่างนั้น ก็ตรัสรู้ได้ด้วยกัมมัสสกตาจิตและญาณนะซิ ตรัสรู้ด้วยกัมมัสส-
กตาจิตและญาณไม่ได้
ถ้าอย่างนั้น ก็ตรัสรู้ได้ด้วยสัจจานุโลมิกจิตและญาณนะซิ ตรัสรู้ด้วยสัจจานุ-
โลมิกจิตและญาณไม่ได้
ถ้าอย่างนั้น ก็ตรัสรู้ได้ด้วยจิตที่เป็นอดีตและญาณนะซิ ตรัสรู้ด้วยจิตที่เป็น
อดีตและญาณไม่ได้
ถ้าอย่างนั้น ก็ตรัสรู้ได้ด้วยจิตที่เป็นอนาคตและญาณนะซิ ตรัสรู้ด้วยจิตที่
เป็นอนาคตและญาณไม่ได้
ถ้าอย่างนั้น ก็ตรัสรู้ได้ด้วยโลกียจิตที่เป็นปัจจุบันและญาณนะซิ ตรัสรู้ด้วย
โลกียจิตที่เป็นปัจจุบันและญาณไม่ได้ (แต่)ตรัสรู้ได้ด้วยจิตที่เป็นปัจจุบันและญาณใน
ขณะแห่งโลกุตตรมรรค
ตรัสรู้ได้ด้วยจิตที่เป็นปัจจุบันและญาณในขณะแห่งโลกุตตรมรรค เป็นอย่างไร
คือ ในขณะแห่งโลกุตตรมรรค จิตเป็นใหญ่ในการให้เกิดขึ้นและเป็นเหตุเป็น
ปัจจัยแห่งญาณ๑ จิตที่สัมปยุตด้วยญาณนั้นมีนิโรธเป็นโคจร๒ ญาณเป็นใหญ่ในการ

เชิงอรรถ :
๑ ญาณ ในที่นี้หมายถึงมัคคญาณ (ขุ.ป.อ. ๒/๑๙/๓๕๓)
๒ มีนิโรธเป็นโคจร หมายถึงมีนิพพานเป็นอารมณ์ (ขุ.ป.อ. ๒/๑๙/๓๕๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๓. อภิสมยกถา
เห็นและเป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งจิต ญาณที่สัมปยุตด้วยจิตนั้นมีนิโรธเป็นโคจร ย่อม
ตรัสรู้ด้วยจิตที่เป็นปัจจุบัน และด้วยญาณในขณะแห่งโลกุตตรมรรคอย่างนี้
[๒๐] ถาม : การตรัสรู้มีเท่านี้หรือ
ตอบ : ไม่ใช่มีเท่านี้ ในขณะแห่งโลกุตตรมรรค การตรัสรู้คือความเห็น
ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ การตรัสรู้คือความตรึกตรอง ชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ การตรัสรู้คือ
การกำหนด ชื่อว่าสัมมาวาจา การตรัสรู้คือสมุฏฐาน ชื่อว่าสัมมากัมมันตะ การ
ตรัสรู้คือความผ่องแผ้ว ชื่อว่าสัมมาอาชีวะ การตรัสรู้คือความตั้งมั่น ชื่อว่าสัมมาสติ
การตรัสรู้คือความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าสัมมาสมาธิ
การตรัสรู้คือความตั้งมั่น ชื่อว่าสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ การตรัสรู้คือ
การพิจารณา ชื่อว่าอุเบกขาสัมโพชฌงค์
การตรัสรู้คือความไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธา ชื่อว่าสัทธาพละ การ
ตรัสรู้คือความไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน ชื่อว่าวิริยพละ การตรัสรู้คือ
ความไม่หวั่นไหวเพราะความประมาท ชื่อว่าสติพละ การตรัสรู้คือความไม่หวั่นไหว
เพราะอุทธัจจะ ชื่อว่าสมาธิพละ การตรัสรู้คือความไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา ชื่อว่า
ปัญญาพละ
การตรัสรู้คือความน้อมใจเชื่อ ชื่อว่าสัทธินทรีย์ การตรัสรู้คือการประคองไว้
ชื่อว่าวิริยินทรีย์ การตรัสรู้คือความตั้งมั่น ชื่อว่าสตินทรีย์ การตรัสรู้คือความ
ไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าสมาธินทรีย์ การตรัสรู้คือความเห็น ชื่อว่าปัญญินทรีย์
การตรัสรู้ที่ชื่อว่าอินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ การตรัสรู้ที่ชื่อว่าพละ
เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหว การตรัสรู้ที่ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะนำออก
การตรัสรู้ที่ชื่อว่ามรรค เพราะมีสภาวะเป็นเหตุ การตรัสรู้ที่ชื่อว่าสติปัฏฐาน
เพราะมีสภาวะตั้งมั่น การตรัสรู้ที่ชื่อว่าสัมมัปปธาน เพราะมีสภาวะดำรงไว้ การ
ตรัสรู้ที่ชื่อว่าอิทธิบาท เพราะมีสภาวะให้สำเร็จ การตรัสรู้ที่ชื่อว่าสัจจะ เพราะมี
สภาวะเป็นของแท้ การตรัสรู้ที่ชื่อว่าสมถะ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน การตรัสรู้ที่
ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น การตรัสรู้ที่ชื่อว่าสมถะและวิปัสสนา
เพราะมีสภาวะมีรสเป็นอย่างเดียวกัน การตรัสรู้ที่ชื่อว่าธรรมที่เป็นคู่กัน เพราะมี
สภาวะไม่ล่วงเลยกัน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๗๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๓. อภิสมยกถา
การตรัสรู้ที่ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีสภาวะสำรวม การตรัสรู้ที่ชื่อว่าจิตต-
วิสุทธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน การตรัสรู้ที่ชื่อว่าทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น การ
ตรัสรู้ที่ชื่อว่าอธิโมกข์ เพราะมีสภาวะหลุดพ้น การตรัสรู้ที่ชื่อว่าวิชชา๑ เพราะมี
สภาวะรู้แจ้ง การตรัสรู้ที่ชื่อว่าวิมุตติ๒ เพราะมีสภาวะสละ การตรัสรู้ที่ชื่อว่าญาณ
ในความสิ้นไป เพราะมีสภาวะตัดขาด การตรัสรู้ที่ชื่อว่าฉันทะ เพราะมีสภาวะเป็น
มูลเหตุ การตรัสรู้ที่ชื่อว่ามนสิการ เพราะมีสภาวะเป็นสมุฏฐาน การตรัสรู้ที่ชื่อว่า
ผัสสะ เพราะมีสภาวะเป็นที่รวม การตรัสรู้ที่ชื่อว่าเวทนา เพราะมีสภาวะเป็นที่
ประชุม การตรัสรู้ที่ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีสภาวะเป็นประธาน การตรัสรู้ที่ชื่อว่าสติ
เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ การตรัสรู้ที่ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะเป็นธรรมที่ยิ่ง
กว่าธรรมนั้น การตรัสรู้ที่ชื่อว่าวิมุตติ เพราะมีสภาวะเป็นแก่นสาร การตรัสรู้ที่ชื่อว่า
ธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เพราะมีสภาวะเป็นที่สุด
[๒๑] ถาม : การตรัสรู้มีเท่านี้หรือ
ตอบ : ไม่ใช่มีเท่านี้ ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค การตรัสรู้คือความเห็น
ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ การตรัสรู้ที่ชื่อว่าธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เพราะ
มีสภาวะเป็นที่สุด
ถาม : การตรัสรู้มีเท่านี้หรือ
ตอบ : ไม่ใช่มีเท่านี้ ในขณะแห่งโสดาปัตติผล การตรัสรู้คือความเห็น ชื่อว่า
สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ การตรัสรู้ที่ชื่อว่าอนุปปาทญาณ เพราะมีสภาวะระงับ การ
ตรัสรู้ที่ชื่อว่าฉันทะ เพราะมีสภาวะเป็นมูล ฯลฯ การตรัสรู้ที่ชื่อว่าธรรมที่หยั่งลงสู่
อมตะคือนิพพาน เพราะมีสภาวะเป็นที่สุด
ถาม : การตรัสรู้มีเท่านี้หรือ
ตอบ : ไม่ใช่มีเท่านี้ ในขณะแห่งสกทาคามิมรรค ฯลฯ ในขณะแห่งสกทา-
คามิผล ฯลฯ ในขณะแห่งอนาคามิมรรค ฯลฯ ในขณะแห่งอนาคามิผล ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ วิชชา ในที่นี้หมายถึงมัคคญาณ (ขุ.ป.อ. ๒/๒๐/๓๕๔)
๒ วิมุตติ ในที่นี้หมายถึงสมุจเฉทวิมุตติ (ขุ.ป.อ. ๒/๒๐/๓๕๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๓. อภิสมยกถา
ในขณะแห่งอรหัตตมรรค ฯลฯ ในขณะแห่งอรหัตตผล การตรัสรู้คือความเห็น
ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ การตรัสรู้คือความตรึกตรอง ชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ ฯลฯ การตรัสรู้
ที่ชื่อว่าอนุปปาทญาณ เพราะมีสภาวะระงับ การตรัสรู้ที่ชื่อว่าฉันทะ เพราะมี
สภาวะเป็นมูล ฯลฯ การตรัสรู้ที่ชื่อว่าธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เพราะมี
สภาวะเป็นที่สุด
บุคคลนี้นั้นย่อมละกิเลสได้ คือ ละกิเลสที่เป็นอดีตได้ ละกิเลสที่เป็น
อนาคตได้ (และ) ละกิเลสที่เป็นปัจจุบันได้
คำว่า ละกิเลสที่เป็นอดีตได้ อธิบายว่า บุคคลละกิเลสที่เป็นอดีตได้หรือ
ถ้าอย่างนั้น บุคคลนั้นก็ทำกิเลสที่สิ้นแล้วให้สิ้นไป ทำกิเลสที่ดับแล้วให้ดับไป ทำ
กิเลสที่ปราศจากแล้วให้ปราศจากไป ทำกิเลสที่หมดแล้วให้หมดไป ละกิเลสที่เป็น
อดีตซึ่งไม่มีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้นชื่อว่าละกิเลสที่เป็นอดีตไม่ได้
คำว่า ละกิเลสที่เป็นอนาคตได้ อธิบายว่า บุคคลละกิเลสที่เป็นอนาคตได้
หรือ ถ้าอย่างนั้น บุคคลนั้นก็ละกิเลสที่ยังไม่เกิด ละกิเลสที่ยังไม่บังเกิด ละกิเลสที่
ยังไม่เกิดขึ้น ละกิเลสที่ยังไม่ปรากฏ ละกิเลสที่เป็นอนาคตซึ่งไม่มีอยู่ เพราะเหตุนั้น
บุคคลนั้นชื่อว่าละกิเลสที่เป็นอนาคตไม่ได้
คำว่า ละกิเลสที่เป็นปัจจุบันได้ อธิบายว่า บุคคลละกิเลสที่เป็นปัจจุบันได้
หรือ ถ้าอย่างนั้น บุคคลผู้กำหนัดก็ละราคะได้ ผู้ขัดเคืองก็ละโทสะได้ ผู้หลงก็ละ
โมหะได้ ผู้มีมานะผูกพันก็ละมานะได้ ผู้ถือทิฏฐิผิดก็ละทิฏฐิได้ ผู้ถึงความฟุ้งซ่าน
ก็ละอุทธัจจะได้ ผู้ลังเลไม่แน่ใจก็ละวิจิกิจฉาได้ ผู้มีเรี่ยวแรงก็ละอนุสัยได้ ธรรมฝ่าย
ดำและธรรมฝ่ายขาว๑เป็นธรรมคู่กันเป็นไปด้วยกัน มัคคภาวนาที่มีความหม่นหมอง
ด้วยกิเลสนั้นจึงมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้นชื่อว่าละกิเลสที่เป็นอดีตไม่ได้ ละ
กิเลสที่เป็นอนาคตไม่ได้ (และ)ละกิเลสที่เป็นปัจจุบันไม่ได้
บุคคลละกิเลสที่เป็นอดีตไม่ได้ ละกิเลสที่เป็นอนาคตไม่ได้ (และ)ละกิเลสที่
เป็นปัจจุบันไม่ได้หรือ ถ้าอย่างนั้น มัคคภาวนาก็ไม่มี การทำผลให้แจ้งก็ไม่มี การ

เชิงอรรถ :
๑ ธรรมฝ่ายดำ หมายถึงอกุศลธรรม ธรรมฝ่ายขาว หมายถึงกุศลธรรม (ขุ.ป.อ. ๒/๒๑/๓๕๔-๓๕๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๔. วิเวกกถา
ละกิเลสก็ไม่มี ธรรมาภิสมัยก็ไม่มี มัคคภาวนามีอยู่ การทำผลให้แจ้งก็มีอยู่ การ
ละกิเลสก็มีอยู่ ธรรมาภิสมัยก็มีอยู่ เหมือนอะไร เหมือนต้นไม้กำลังรุ่นยังไม่เกิดผล
บุรุษพึงตัดต้นไม้นั้นที่ราก ผลที่ยังไม่เกิดของต้นไม้นั้นก็เกิดไม่ได้ ที่ยังไม่บังเกิดก็
บังเกิดไม่ได้ ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้นไม่ได้ ที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏไม่ได้
ความเกิดขึ้นเป็นเหตุ ความเกิดขึ้นเป็นปัจจัยแห่งความบังเกิดของกิเลส
ทั้งหลาย จิตเห็นโทษในความเกิดขึ้นแล้วจึงแล่นไปในนิพพานซึ่งไม่มีความเกิดขึ้น
เพราะจิตแล่นไปในนิพพานซึ่งไม่มีความเกิดขึ้น กิเลสที่พึงบังเกิดเพราะความเกิด
ขึ้นเป็นปัจจัย ที่ยังไม่เกิดก็เกิดไม่ได้ ที่ยังไม่บังเกิดก็บังเกิดไม่ได้ ที่ยังไม่เกิดขึ้น
ก็เกิดขึ้นไม่ได้ ที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏไม่ได้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุดับ
ทุกข์จึงดับด้วยประการฉะนี้
ความเป็นไปเป็นเหตุ ...
นิมิตเป็นเหตุ ...
กรรมเป็นเครื่องประมวลมาเป็นเหตุ กรรมเป็นเครื่องประมวลมาเป็นปัจจัย
แห่งความบังเกิดของกิเลสทั้งหลาย จิตเห็นโทษในกรรมเป็นเครื่องประมวลมาแล้ว
จึงแล่นไปในนิพพานซึ่งไม่มีกรรมเป็นเครื่องประมวลมา เพราะจิตแล่นไปในนิพพาน
ซึ่งไม่มีกรรมเป็นเครื่องประมวลมา กิเลสที่พึงบังเกิดเพราะกรรมเป็นเครื่องประมวล
มาเป็นปัจจัย ที่ยังไม่เกิดก็เกิดไม่ได้ ที่ยังไม่บังเกิดก็บังเกิดไม่ได้ ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็
เกิดขึ้นไม่ได้ ที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏไม่ได้ เพราะเหตุดับ ทุกข์จึงดับด้วยประการฉะนี้
มัคคภาวนาจึงมีอยู่ การทำผลให้แจ้งก็มีอยู่ การละกิเลสก็มีอยู่ ธรรมาภิสมัยก็มี
อยู่ด้วยประการฉะนี้
อภิสมยกถา จบ

๔. วิเวกกถา
ว่าด้วยวิเวก
[๒๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุทั้งหลาย การงานที่ต้องทำด้วยกำลังอย่างใดอย่างหนึ่ง การงานนั้น
ทั้งหมดบุคคลต้องอาศัยแผ่นดิน ดำรงอยู่บนแผ่นดิน จึงทำกันได้ การงานที่ต้อง

 


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๔. วิเวกกถา
ทำด้วยกำลังนี้ บุคคลย่อมทำได้ด้วยอาการอย่างนี้ แม้ฉันใด ภิกษุอาศัยศีล๑
ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญ ทำให้มากซึ่งอริยมรรคมีองค์ ๘ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ภิกษุอาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญ ทำให้มากซึ่งอริยมรรคมีองค์ ๘
เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสัมมาทิฏฐิที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ (ความสละ) เจริญสัมมาสังกัปปะ ฯลฯ เจริญสัมมาวาจา ฯลฯ
เจริญสัมมากัมมันตะ ฯลฯ เจริญสัมมาอาชีวะ ฯลฯ เจริญสัมมาวายามะ ฯลฯ
เจริญสัมมาสติ ฯลฯ เจริญสัมมาสมาธิที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ ภิกษุอาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญ ทำให้มากซึ่งอริย-
มรรคมีองค์ ๘ ได้อย่างนี้
[๒๓] ภิกษุทั้งหลาย พืชคามและภูตคาม๒เหล่าใดเหล่าหนึ่ง พืชคามและ
ภูตคามเหล่านั้นทั้งหมดอาศัยแผ่นดิน ดำรงอยู่บนแผ่นดิน จึงถึงความเจริญ
งอกงามไพบูลย์ได้ พืชคามและภูตคามเหล่านี้ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ด้วย
ประการฉะนี้ แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน อาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญ
ทำให้มากซึ่งอริยมรรคมีองค์ ๘ ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย
ด้วยประการฉะนี้
ภิกษุอาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญ ทำให้มากซึ่งอริยมรรคมีองค์ ๘
ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสัมมาทิฏฐิที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
นิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ เจริญสัมมาสังกัปปะ ฯลฯ เจริญสัมมาวาจา ฯลฯ
เจริญสัมมากัมมันตะ ฯลฯ เจริญสัมมาอาชีวะ ฯลฯ เจริญสัมมาวายามะ ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ศีล ในที่นี้หมายถึงจตุปาริสุทธิศีล ๔ (คือ ปาฏิโมกขสังวรศีล อินทริยสังวรศีล อาชีวปาริสุทธิศีล และ
ปัจจยสันนิสสิตศีล) (ขุ.ป.อ. ๒/๒๒/๓๕๗)
๒ พืชคาม หมายถึงพืช ๕ อย่าง คือ พืชจากราก พืชจากต้น พืชจากยอด พืชจากข้อ และพืชจากพืช
ภูตคาม หมายถึงเริ่มตั้งแต่หน่อเขียวสมบูรณ์ (ขุ.ป.อ. ๒/๒๓/๓๕๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๔. วิเวกกถา ๑. มัคคังคนิทเทส
เจริญสัมมาสติ ฯลฯ เจริญสัมมาสมาธิที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ ภิกษุอาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญ ทำให้มากซึ่งอริยมรรค
มีองค์ ๘ ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลายอย่างนี้แล

๑. มัคคังคนิทเทส
แสดงองค์แห่งมรรค
[๒๔] สัมมาทิฏฐิมีวิเวก ๕ มีวิราคะ ๕ มีนิโรธ ๕ มีโวสสัคคะ ๕ มีนิสสัย ๑๒๑
สัมมาสังกัปปะ ฯลฯ
สัมมาวาจา ฯลฯ
สัมมากัมมันตะ ฯลฯ
สัมมาอาชีวะ ฯลฯ
สัมมาวายามะ ฯลฯ
สัมมาสติ ฯลฯ
สัมมาสมาธิมีวิเวก ๕ มีวิราคะ ๕ มีนิโรธ ๕ มีโวสสัคคะ ๕ มีนิสสัย ๑๒
สัมมาทิฏฐิมีวิเวก ๕ อะไรบ้าง คือ
๑. วิกขัมภนวิเวก (สงัดด้วยข่มไว้)
๒. ตทังควิเวก (สงัดด้วยองค์นั้น ๆ)
๓. สมุจเฉทวิเวก (สงัดด้วยตัดขาด)
๔. ปฏิปัสสัทธิวิเวก (สงัดด้วยสงบระงับ)
๕. นิสสรณวิเวก (สงัดด้วยสลัดออกได้)
วิเวกในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญปฐมฌาน วิเวกในการละทิฏฐิด้วยองค์
นั้น ๆ ของภิกษุผู้เจริญสมาธิที่เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส สมุจเฉทวิเวกของภิกษุ
ผู้เจริญโลกุตตรมรรคที่ให้ถึงความสิ้นไป ปฏิปัสสัทธิวิเวกในขณะแห่งผลและ

เชิงอรรถ :
๑ นิสสัย ๑๒ ได้แก่ ในวิเวกมีนิสสัย ๓ วิราคะมีนิสสัย ๓ นิโรธมินิสสัย ๓ โวสสัคคะมีนิสสัย ๓ (๓ คูณ ๔
เป็น ๑๒) (ขุ.ป.อ. ๒/๒๔/๓๕๘-๓๕๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๔. วิเวกกถา ๑. มัคคังคนิทเทส
นิสสรณวิเวกที่เป็นความดับคือนิพพาน สัมมาทิฏฐิมีวิเวก ๕ นี้ ภิกษุเกิดฉันทะ
น้อมไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่น๑ด้วยดีในวิเวก ๕ นี้
สัมมาทิฏฐิมีวิราคะ ๕ อะไรบ้าง คือ
๑. วิกขัมภนวิราคะ (คลายกำหนัดด้วยข่มไว้)
๒. ตทังควิราคะ (คลายกำหนัดด้วยองค์นั้น ๆ)
๓. สมุจเฉทวิราคะ (คลายกำหนัดด้วยตัดขาด)
๔. ปฏิปัสสัทธิวิราคะ (คลายกำหนัดด้วยสงบระงับ)
๕. นิสสรณวิราคะ (คลายกำหนัดด้วยสลัดออกได้)
วิราคะในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญปฐมฌาน วิราคะในการละทิฏฐิด้วย
องค์นั้น ๆ ของภิกษุผู้เจริญสมาธิที่เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส สมุจเฉทวิราคะ
ของภิกษุผู้เจริญโลกุตตรมรรคที่ให้ถึงความสิ้นไป ปฏิปัสสัทธิวิราคะในขณะแห่งผล
และนิสสรณวิราคะที่เป็นความดับคือนิพพาน สัมมาทิฏฐิมีวิราคะ ๕ นี้ ภิกษุเกิด
ฉันทะ น้อมไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดีในวิราคะ ๕ นี้
สัมมาทิฏฐิมีนิโรธ ๕ อะไรบ้าง คือ
๑. วิกขัมภนนิโรธ (ดับด้วยข่มไว้)
๒. ตทังคนิโรธ (ดับด้วยองค์นั้น ๆ)
๓. สมุจเฉทนิโรธ (ดับด้วยตัดขาด)
๔. ปฏิปัสสัทธินิโรธ (ดับด้วยสงบระงับ)
๕. นิสสรณนิโรธ (ดับด้วยสลัดออกได้)
นิโรธในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญปฐมฌาน นิโรธในการละทิฏฐิด้วยองค์
นั้น ๆ ของภิกษุผู้เจริญสมาธิที่เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส สมุจเฉทนิโรธของภิกษุ
ผู้เจริญโลกุตตรมรรคที่ให้ถึงความสิ้นไป ปฏิปัสสัทธินิโรธในขณะแห่งผลและนิสสรณ-
นิโรธที่เป็นความดับคืออมตธาตุ สัมมาทิฏฐิมีนิโรธ ๕ นี้ ภิกษุเกิดฉันทะ น้อมไป
ด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดีในนิโรธ ๕ นี้

เชิงอรรถ :
๑ ฉันทะ ศรัทธา และจิต ในที่นี้ชื่อว่า นิสสัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๔. วิเวกกถา ๑. มัคคังคนิทเทส
สัมมาทิฏฐิมีโวสสัคคะ ๕ อะไรบ้าง คือ
๑. วิกขัมภนโวสสัคคะ (สละด้วยข่มไว้)
๒. ตทังคโวสสัคคะ (สละด้วยองค์นั้น ๆ)
๓. สมุจเฉทโวสสัคคะ (สละด้วยตัดขาด)
๔. ปฏิปัสสัทธิโวสสัคคะ (สละด้วยสงบระงับ)
๕. นิสสรณโวสสัคคะ (สละด้วยสลัดออกได้)
โวสสัคคะในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญปฐมฌาน โวสสัคคะในการละทิฏฐิ
ด้วยองค์นั้น ๆ ของภิกษุผู้เจริญสมาธิที่เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส สมุจเฉทโวสสัคคะ
ของภิกษุผู้เจริญโลกุตตรมรรคที่ให้ถึงความสิ้นไป ปฏิปัสสัทธิโวสสัคคะในขณะแห่งผล
และนิสสรณโวสสัคคะที่เป็นความดับคือนิพพาน สัมมาทิฏฐิมีโวสสัคคะ ๕ นี้ ภิกษุ
เกิดฉันทะ น้อมไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดีในโวสสัคคะ ๕ นี้
สัมมาทิฏฐิ มีวิเวก ๕ มีวิราคะ ๕ มีนิโรธ ๕ มีโวสสัคคะ ๕ มีนิสสัย
๑๒ นี้
[๒๕] สัมมาสังกัปปะ ฯลฯ สัมมาวาจา ฯลฯ สัมมากัมมันตะ ฯลฯ
สัมมาอาชีวะ ฯลฯ สัมมาวายามะ ฯลฯ สัมมาสติ ฯลฯ
สัมมาสมาธิมีวิเวก ๕ อะไรบ้าง คือ
๑. วิกขัมภนวิเวก ๒. ตทังควิเวก
๓. สมุจเฉทวิเวก ๔. ปฏิปัสสัทธิวิเวก
๕. นิสสรณวิเวก
วิเวกในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญปฐมฌาน วิเวกในการละทิฏฐิด้วยองค์
นั้น ๆ ของภิกษุผู้เจริญสมาธิที่เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส สมุจเฉทวิเวกของ
ภิกษุผู้เจริญโลกุตตรมรรคที่ให้ถึงความสิ้นไป ปฏิปัสสัทธิวิเวกในขณะแห่งผลและ
นิสสรณวิเวกที่เป็นความดับคือนิพพาน สัมมาสมาธิมีวิเวก ๕ นี้ ภิกษุเกิดฉันทะ
น้อมไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดีในวิเวก ๕ นี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๔. วิเวกกถา ๑. มัคคังคนิทเทส
สัมมาสมาธิมีวิราคะ ๕ อะไรบ้าง คือ
๑. วิกขัมภนวิราคะ ๒. ตทังควิราคะ
๓. สมุจเฉทวิราคะ ๔. ปฏิปัสสัทธิวิราคะ
๕. นิสสรณวิราคะ
วิราคะในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญปฐมฌาน วิราคะในการละทิฏฐิด้วย
องค์นั้น ๆ ของภิกษุผู้เจริญสมาธิที่เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส สมุจเฉทวิราคะ
ของภิกษุผู้เจริญโลกุตตรมรรคที่ให้ถึงความสิ้นไป ปฏิปัสสัทธิวิราคะในขณะผลและ
นิสสรณวิราคะที่เป็นความดับคือนิพพาน สัมมาสมาธิมีวิราคะ ๕ นี้ ภิกษุเกิดฉันทะ
น้อมไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดีในวิราคะ ๕ นี้
สัมมาสมาธิมีนิโรธ ๕ อะไรบ้าง คือ
๑. วิกขัมภนนิโรธ ๒. ตทังคนิโรธ
๓. สมุจเฉทนิโรธ ๔. ปฏิปัสสัทธินิโรธ
๕. นิสสรณนิโรธ
นิโรธในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญปฐมฌาน นิโรธในการละทิฏฐิด้วยองค์
นั้น ๆ ของภิกษุผู้เจริญสมาธิที่เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส สมุจเฉทนิโรธของภิกษุ
ผู้เจริญโลกุตตรมรรคที่ให้ถึงความสิ้นไป ปฏิปัสสัทธินิโรธในขณะผลและนิสสรณ-
นิโรธที่เป็นความดับคืออมตธาตุ สัมมาสมาธิมีนิโรธ ๕ นี้ ภิกษุเกิดฉันทะ น้อมไป
ด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดีในนิโรธ ๕ นี้
สัมมาสมาธิมีโวสสัคคะ ๕ อะไรบ้าง คือ
๑. วิกขัมภนโวสสัคคะ ๒. ตทังคโวสสัคคะ
๓. สมุจเฉทโวสสัคคะ ๔. ปฏิปัสสัทธิโวสสัคคะ
๕. นิสสรณโวสสัคคะ
โวสสัคคะในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญปฐมฌาน โวสสัคคะในการละทิฏฐิ
ด้วยองค์นั้น ๆ ของภิกษุผู้เจริญสมาธิที่เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส สมุจเฉท-
โวสสัคคะของภิกษุผู้เจริญโลกุตตรมรรคที่ให้ถึงความสิ้นไป ปฏิปัสสัทธิโวสสัคคะใน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๔. วิเวกกถา ๑. มัคคังคนิทเทส
ขณะผลและนิสสรณโวสสัคคะที่เป็นความดับคือนิพพาน สัมมาสมาธิมีโวสสัคคะ ๕
นี้ ภิกษุเกิดฉันทะ น้อมไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดีในโวสสัคคัคะ ๕ นี้
สัมมาสมาธิมีวิเวก ๕ มีวิราคะ ๕ มีนิโรธ ๕ มีโวสสัคคะ ๕ มีนิสสัย
๑๒ นี้
[๒๖] ภิกษุทั้งหลาย การงานที่ต้องทำด้วยกำลังอย่างใดอย่างหนึ่ง การงาน
นั้นทั้งหมด บุคคลต้องอาศัยแผ่นดิน ดำรงอยู่บนแผ่นดิน จึงทำได้ การงานที่ต้อง
ทำด้วยกำลังนี้บุคคลย่อมทำได้ด้วยประการฉะนี้ แม้ฉันใด ภิกษุอาศัยศีล ดำรงอยู่
ในศีลแล้ว เจริญ ทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ ภิกษุผู้เจริญ
ทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย ฯลฯ
ภิกษุผู้เจริญ ทำให้มากซึ่งพละ ๕ ฯลฯ ภิกษุผู้เจริญ ทำให้มากซึ่งพละ ๕ ย่อม
ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย ฯลฯ ภิกษุผู้เจริญ ทำให้มากซึ่ง
อินทรีย์ ๕ ฯลฯ
พืชคามและภูตคามเหล่าใดเหล่าหนึ่ง พืชคามและภูตคามเหล่านั้นทั้งหมด
อาศัยแผ่นดิน ดำรงอยู่บนแผ่นดิน จึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ได้ พืชคาม
และภูตคามเหล่านั้นย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ด้วยประการฉะนี้ แม้ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน อาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญ ทำให้มากซึ่งอินทรีย์ ๕
ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย
ภิกษุอาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญ ทำให้มากซึ่งอินทรีย์ ๕ ย่อม
ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัย
เจริญสัทธินทรีย์ที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
เจริญวิริยินทรีย์ ฯลฯ
เจริญสตินทรีย์ ฯลฯ
เจริญสมาธินทรีย์ ฯลฯ
เจริญปัญญินทรีย์ที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
ภิกษุอาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญ ทำให้มากซึ่งอินทรีย์ ๕ ย่อมถึง
ความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย อย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๔. วิเวกกถา ๒. อินทริยนิทเทส
๒. อินทริยนิทเทส
แสดงอินทรีย์
[๒๗] สัทธินทรีย์มีวิเวก ๕ มีวิราคะ ๕ มีนิโรธ ๕ มีโวสสัคคะ ๕ มีนิสสัย ๑๒
วิริยินทรีย์ ฯลฯ
สตินทรีย์ ฯลฯ
สมาธินทรีย์ ฯลฯ
ปัญญินทรีย์มีวิเวก ๕ มีวิราคะ ๕ มีนิโรธ ๕ มีโวสสัคคะ ๕ มีนิสสัย ๑๒
สัทธินทรีย์มีวิเวก ๕ อะไรบ้าง คือ
๑. วิกขัมภนวิเวก ๒. ตทังควิเวก
๓. สมุจเฉทวิเวก ๔. ปฏิปัสสัทธิวิเวก
๕. นิสสรณวิเวก
วิเวกในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญปฐมฌาน วิเวกในการละทิฏฐิด้วยองค์
นั้น ๆ ของภิกษุผู้เจริญสมาธิที่เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส สมุจเฉทวิเวกของภิกษุผู้
เจริญโลกุตตรมรรคที่ให้ถึงความสิ้นไป ปฏิปัสสัทธิวิเวกในขณะผลและนิสสรณ-
วิเวกที่เป็นความดับคือนิพพาน สัทธินทรีย์มีวิเวก ๕ นี้ ภิกษุเกิดฉันทะ น้อมไป
ด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดีในวิเวก ๕ นี้ ฯลฯ
สัทธินทรีย์มีวิเวก ๕ มีวิราคะ ๕ มีนิโรธ ๕ มีโวสสัคคะ ๕ มีนิสสัย ๑๒ อย่างนี้แล
วิริยินทรีย์ ฯลฯ
สตินทรีย์ ฯลฯ
สมาธินทรีย์ ฯลฯ
ปัญญินทรีย์มีวิเวก ๕ อะไรบ้าง คือ
๑. วิกขัมภนวิเวก ๒. ตทังควิเวก
๓. สมุจเฉทวิเวก ๔. ปฏิปัสสัทธิวิเวก
๕. นิสสรณวิเวก
วิเวกในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญปฐมฌาน ฯลฯ
ปัญญินทรีย์มีวิเวก ๕ มีวิราคะ ๕ มีนิโรธ ๕ มีโวสสัคคะ ๕ มีนิสสัย ๑๒ อย่างนี้แล
วิเวกกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๕. จริยากถา
๕. จริยากถา
ว่าด้วยความประพฤติ
[๒๘] คำว่า ความประพฤติ อธิบายว่า ความประพฤติ ๘ อย่าง ได้แก่

๑. ความประพฤติในอิริยาบถ ๒. ความประพฤติในอายตนะ
๓. ความประพฤติในสติ ๔. ความประพฤติในสมาธิ
๕. ความประพฤติในญาณ ๖. ความประพฤติในมรรค
๗. ความประพฤติในผล ๘. ความประพฤติเพื่อประโยชน์แก่โลก

คำว่า ความประพฤติในอิริยาบถ ได้แก่ ความประพฤติในอิริยาบถ ๔
คำว่า ความประพฤติในอายตนะ ได้แก่ ความประพฤติในอายตนะภายใน
และอายตนะภายนอกอย่างละ ๖
คำว่า ความประพฤติในสติ ได้แก่ ความประพฤติในสติปัฏฐาน ๔
คำว่า ความประพฤติในสมาธิ ได้แก่ ความประพฤติในฌาน ๔
คำว่า ความประพฤติในญาณ ได้แก่ ความประพฤติในอริยสัจ ๔
คำว่า ความประพฤติในมรรค ได้แก่ ความประพฤติในอริยมรรค ๔
คำว่า ความประพฤติในผล ได้แก่ ความประพฤติในสามัญญผล ๔
คำว่า ความประพฤติเพื่อประโยชน์แก่โลก ได้แก่ ความประพฤติใน
พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ความประพฤติในพระปัจเจกพุทธเจ้าบางส่วน
ความประพฤติในพระสาวกบางส่วน
ความประพฤติในอิริยาบถมีแก่ผู้ตั้งตนไว้ชอบ ความประพฤติในอายตนะมี
แก่ผู้สำรวมอินทรีย์ ความประพฤติในสติมีแก่ผู้ที่อยู่ด้วยความไม่ประมาท ความ
ประพฤติในสมาธิมีแก่ผู้ขวนขวายในอธิจิต ความประพฤติในญาณมีแก่ผู้บรรลุ
ปัญญาเครื่องตรัสรู้ ความประพฤติในมรรคมีแก่ผู้ปฏิบัติชอบ ความประพฤติในผล
มีแก่ผู้ได้บรรลุ และความประพฤติเพื่อประโยชน์แก่โลกมีแก่พระตถาคตอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าบางส่วน พระสาวกบางส่วน
เหล่านี้ชื่อว่าความประพฤติ ๘ อย่าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๕. จริยากถา
อีกนัยหนึ่ง ความประพฤติ ๘ อย่าง คือ
๑. ผู้น้อมใจเชื่อ ชื่อว่าย่อมประพฤติด้วยศรัทธา
๒. ผู้ประคองไว้ ชื่อว่าย่อมประพฤติด้วยวิริยะ
๓. ผู้ตั้งจิตมั่น ชื่อว่าย่อมประพฤติด้วยสติ
๔. ผู้ไม่ทำความฟุ้งซ่าน ชื่อว่าย่อมประพฤติด้วยสมาธิ
๕. ผู้รู้ชัด ชื่อว่าย่อมประพฤติด้วยปัญญา
๖. ผู้รู้แจ้ง ชื่อว่าย่อมประพฤติด้วยญาณ
๗. ผู้มนสิการว่า “กุศลธรรมย่อมดำเนินไปแก่ผู้ปฏิบัติอย่างนี้” ชื่อว่า
ย่อมประพฤติด้วยความประพฤติในอายตนะ
๘. ผู้มนสิการว่า “ผู้ปฏิบัติอย่างนี้” ย่อมบรรลุคุณวิเศษ ชื่อว่าย่อม
ประพฤติในความประพฤติด้วยคุณวิเศษ
เหล่านี้ชื่อว่าความประพฤติ ๘ อย่าง
อีกนัยหนึ่ง ความประพฤติ ๘ อย่าง คือ
๑. ความประพฤติสัมมาทิฏฐิ ชื่อว่าทัสสนจริยา
๒. ความประพฤติสัมมาสังกัปปะ ชื่อว่าอภินิโรปนจริยา
๓. ความประพฤติสัมมาวาจา ชื่อว่าปริคคหจริยา
๔. ความประพฤติสัมมากัมมันตะ ชื่อว่าสมุฏฐานจริยา
๕. ความประพฤติสัมมาอาชีวะ ชื่อว่าโวทานจริยา
๖. ความประพฤติสัมมาวายามะ ชื่อว่าปัคคหจริยา
๗. ความประพฤติสัมมาสติ ชื่อว่าอุปัฏฐานจริยา
๘. ความประพฤติสัมมาสมาธิ ชื่อว่าอวิกเขปจริยา
เหล่านี้ชื่อว่าความประพฤติ ๘ อย่าง
จริยากถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๖. ปาฏิหาริยกถา
๖. ปาฏิหาริยกถา
ว่าด้วยปาฏิหาริย์
[๓๐] ภิกษุทั้งหลาย ปาฏิหาริย์ ๓ ประการ นี้
ปาฏิหาริย์ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อิทธิปาฏิหาริย์ (ปาฏิหาริย์คือฤทธิ์)
๒. อาเทสนาปาฏิหาริย์ (ปาฏิหาริย์คือการทายใจ)
๓. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ (ปาฏิหาริย์คือสอนให้เห็นจริง)
อิทธิปาฏิหาริย์ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียว
แสดงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ แสดงให้ปรากฏก็ได้
แสดงให้หายไปก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้ นี้เราเรียกว่า
อิทธิปาฏิหาริย์ (๑)
อาเทสนาปาฏิหาริย์ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ทายใจตามเหตุที่กำหนดได้ว่า “ใจของท่าน
เป็นอย่างนี้บ้าง ใจของท่านเป็นเช่นนี้บ้าง ใจของท่านเป็นดังนี้บ้าง” ถึงแม้ภิกษุนั้น
จะทายใจได้เป็นอันมาก การทายใจนั้นก็คงเป็นอย่างนั้น ไม่เป็นอย่างอื่น ส่วน
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ไม่ทายใจตามเหตุที่กำหนดเลย แต่เมื่อได้ฟังเสียงของ
มนุษย์ ของอมนุษย์ หรือของเทวดา ก็ทายใจได้ว่า “ใจของท่านเป็นอย่างนี้บ้าง
ใจของท่านเป็นเช่นนี้บ้าง ใจของท่านเป็นดังนี้บ้าง” ถึงแม้ภิกษุนั้นจะทายใจได้เป็น
อันมาก การทายใจนั้นก็คงเป็นอย่างนั้น ไม่เป็นอย่างอื่น ภิกษุบางรูปในธรรมวินัย
นี้ย่อมไม่ทายใจตามเหตุที่กำหนดเลย และหาได้ฟังเสียงของมนุษย์ ของอมนุษย์
หรือของเทวดาแล้วทายใจไม่ แต่เมื่อได้ฟังเสียงตรึกตรองของผู้ที่กำลังตรึกตรองอยู่
ก็ทายใจได้ว่า “ใจของท่านเป็นอย่างนี้บ้าง ใจของท่านเป็นเช่นนี้บ้าง ใจของท่านเป็น
ดังนี้บ้าง” ถึงแม้ภิกษุนั้นจะทายใจได้เป็นอันมาก การทายใจนั้นก็คงเป็นอย่างนั้น
ไม่เป็นอย่างอื่น ส่วนภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ไม่ทายใจตามเหตุที่กำหนดเลย หาได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๖. ปาฏิหาริยกถา
ฟังเสียงของมนุษย์ ของอมนุษย์ หรือของเทวดาแล้วทายใจไม่ หรือหาได้ฟังเสียง
ตรึกตรองของผู้ที่กำลังตรึกตรองอยู่แล้วทายใจไม่ แต่เมื่อกำหนดใจของท่านผู้
เข้าสมาธิซึ่งไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร ด้วยใจของตนแล้ว ก็รู้ได้ว่า “ท่านผู้นี้ตั้งมโน-
สังขารไว้อย่างไร ก็จักตรึกถึงวิตกชื่อโน้นในระหว่างใจนี้อย่างนั้น ถึงแม้ภิกษุนั้น
จะทายใจได้เป็นอันมาก การทายใจนั้นก็คงเป็นอย่างนั้นไม่เป็นอย่างอื่น” นี้เรียกว่า
อาเทสนาปาฏิหาริย์ (๒)
อนุสาสนีปาฏิหาริย์ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ พร่ำสอนอย่างนี้ว่า “จงตรึกตรองอย่างนี้
อย่าตรึกตรองอย่างนั้น จงมนสิการอย่างนี้ อย่ามนสิการอย่างนั้น จงละสิ่งนี้ จง
เข้าถึงสิ่งนี้อยู่เถิด” นี้เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์ (๓)
ภิกษุทั้งหลาย ปาฏิหาริย์ ๓ ประการนี้
[๓๑] เนกขัมมะย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอิทธิ เนกขัมมะย่อมกำจัด
กามฉันทะได้ เพราะฉะนั้น จึงเป็นปาฏิหาริย์ ชนเหล่าใดประกอบด้วยเนกขัมมะ
นั้น ชนเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้มีจิตหมดจด มีความดำริไม่ขุ่นมัว เพราะฉะนั้น
เนกขัมมะจึงเป็นอาเทสนาปาฏิหาริย์ และเนกขัมมะนั้นพึงปฏิบัติอย่างนี้ พึงเจริญ
อย่างนี้ พึงทำให้มากอย่างนี้ พึงตั้งสติที่เป็นธรรมสมควรแก่เนกขัมมะนั้นไว้ให้มั่น
อย่างนี้ เพราะฉะนั้น เนกขัมมะจึงเป็นอนุสาสนีปาฏิหาริย์ (๑)
อพยาบาทย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอิทธิ อพยาบาทย่อมกำจัด
พยาบาทได้ เพราะฉะนั้น จึงเป็นปาฏิหาริย์ ชนเหล่าใดประกอบด้วยอพยาบาท
นั้น ชนเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้มีจิตหมดจด มีความดำริไม่ขุ่นมัว เพราะฉะนั้น
อพยาบาทจึงเป็นอาเทสนาปาฏิหาริย์ และอพยาบาทนั้นพึงปฏิบัติอย่างนี้ พึง
เจริญอย่างนี้ พึงทำให้มากอย่างนี้ พึงตั้งสติที่เป็นธรรมสมควรแก่อพยาบาทนั้นไว้
ให้มั่นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น อพยาบาทจึงเป็นอนุสาสนีปาฏิหาริย์ (๒)
อาโลกสัญญาย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอิทธิ อาโลกสัญญาย่อมกำจัด
ถีนมิทธะได้ เพราะฉะนั้น จึงเป็นปาฏิหาริย์ ชนเหล่าใดประกอบด้วยอาโลกสัญญา
นั้น ชนเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้มีจิตหมดจด มีความดำริไม่ขุ่นมัว เพราะฉะนั้น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๖. ปาฏิหาริยกถา
อาโลกสัญญาจึงเป็นอาเทสนาปาฏิหาริย์ และอาโลกสัญญานั้นพึงปฏิบัติอย่างนี้
พึงเจริญอย่างนี้ พึงทำให้มากอย่างนี้ พึงตั้งสติที่เป็นธรรมสมควรแก่อาโลกสัญญา
นั้นไว้ให้มั่นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น อาโลกสัญญาจึงเป็นอนุสาสนีปาฏิหาริย์ (๓)
อวิกเขปะย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอิทธิ อวิกเขปะย่อมกำจัดอุทธัจจะ
ได้ เพราะฉะนั้น จึงเป็นปาฏิหาริย์ ชนเหล่าใดประกอบด้วยอวิกเขปะนั้น ชน
เหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้มีจิตหมดจด มีความดำริไม่ขุ่นมัว เพราะฉะนั้น อวิกเขปะ
จึงเป็นอาเทสนาปาฏิหาริย์ และอวิกเขปะนั้นพึงปฏิบัติอย่างนี้ พึงเจริญอย่างนี้
พึงทำให้มากอย่างนี้ พึงตั้งสติที่เป็นธรรมสมควรแก่อวิกเขปะนั้นไว้ให้มั่นอย่างนี้
เพราะฉะนั้น อวิกเขปะจึงเป็นอนุสาสนีปาฏิหาริย์ (๔)
ธัมมววัตถานย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอิทธิ ธัมมววัตถานย่อมกำจัด
วิจิกิจฉาได้ เพราะฉะนั้น จึงเป็นปาฏิหาริย์ ฯลฯ (๕)
ญาณย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอิทธิ ญาณย่อมกำจัดอวิชชาได้
เพราะฉะนั้น จึงเป็นปาฏิหาริย์ ฯลฯ (๖)
ปามุชชะย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอิทธิ ปามุชชะย่อมกำจัดอรติได้
เพราะฉะนั้น จึงเป็นปาฏิหาริย์ ฯลฯ (๗)
ปฐมฌานย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอิทธิ ปฐมฌานย่อมกำจัดนิวรณ์
ทั้งหลายได้ เพราะฉะนั้น จึงเป็นปาฏิหาริย์ ฯลฯ (๒๖ + ๗ = ๓๓)
อรหัตตมรรคย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอิทธิ อรหัตตมรรคย่อมกำจัด
กิเลสได้ทั้งหมด เพราะฉะนั้น จึงเป็นปาฏิหาริย์ ชนเหล่าใดประกอบด้วยอรหัตต-
มรรคนั้น ชนเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้มีจิตหมดจด มีความดำริไม่ขุ่นมัว เพราะฉะนั้น
อรหัตตมรรคจึงเป็นอาเทสนาปาฏิหาริย์ และอรหัตตมรรคนั้นพึงปฏิบัติอย่างนี้
พึงเจริญอย่างนี้ พึงทำให้มากอย่างนี้ พึงตั้งสติที่เป็นธรรมสมควรแก่อรหัตตมรรค
นั้นไว้ให้มั่นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น อรหัตตมรรคจึงเป็นอนุสาสนีปาฏิหาริย์ (๔ + ๓๓
=๓๗)
[๓๒] เนกขัมมะย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอิทธิ เนกขัมมะย่อมกำจัด
กามฉันทะได้ เพราะฉะนั้น จึงเป็นปาฏิหาริย์ อิทธิและปาฏิหาริย์นี้เรียกว่า
อิทธิปาฏิหาริย์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๗. สมสีสกถา
อพยาบาทย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอิทธิ อพยาบาทย่อมกำจัด
พยาบาทได้ เพราะฉะนั้น จึงเป็นปาฏิหาริย์ อิทธิและปาฏิหาริย์เรียกว่าอิทธิ-
ปาฏิหาริย์ อาโลกสัญญาย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอิทธิ อาโลกสัญญา
ย่อมกำจัดถีนมิทธะได้ เพราะฉะนั้น จึงเป็นปาฏิหาริย์ ฯลฯ อรหัตตมรรคย่อมสำเร็จ
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอิทธิ อรหัตตมรรคย่อมกำจัดกิเลสได้ทั้งหมด เพราะฉะนั้น
จึงเป็นปาฏิหาริย์ อิทธิและปาฏิหาริย์นี้เรียกว่าอิทธิปาฏิหาริย์ ฉะนี้แล
ปาฏิหาริยกถา จบ

๗. สมสีสกถา
ว่าด้วยธรรมที่สงบและเป็นประธาน
[๓๓] ปัญญาในความไม่ปรากฏแห่งธรรมทั้งปวง เพราะตัดขาดโดย
ชอบและดับไป ชื่อว่าสมสีสัฏฐญาณ เป็นอย่างไร
คือ คำว่า ธรรมทั้งปวง ได้แก่ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ กุศลธรรม
อกุศลธรรม อัพยากตธรรม กามาวจรธรรม รูปาวจรธรรม อรูปาวจรธรรม
อปริยาปันนธรรม
คำว่า เพราะตัดขาดโดยชอบ อธิบายว่า พระโยคาวจรตัดกามฉันทะขาด
โดยชอบด้วยเนกขัมมะ ตัดพยาบาทขาดโดยชอบด้วยอพยาบาท ตัดถีนมิทธะขาด
โดยชอบด้วยอาโลกสัญญา ตัดอุทธัจจะขาดโดยชอบด้วยอวิกเขปะ ตัดวิจิกิจฉาขาด
โดยชอบด้วยธัมมววัตถาน ตัดอวิชชาขาดโดยชอบด้วยญาณ ตัดอรติขาดโดยชอบ
ด้วยปามุชชะ ตัดนิวรณ์ขาดโดยชอบด้วยปฐมฌาน ฯลฯ ตัดกิเลสทั้งปวงขาดโดย
ชอบด้วยอรหัตตมรรค
คำว่า ดับไป อธิบายว่า พระโยคาวจรดับกามฉันทะได้ด้วยเนกขัมมะ ดับ
พยาบาทได้ด้วยอพยาบาท ดับถีนมิทธะได้ด้วยอาโลกสัญญา ดับอุทธัจจะได้ด้วย
อวิกเขปะ ดับวิจิกิจฉาได้ด้วยธัมมววัตถาน ดับอวิชชาได้ด้วยญาณ ดับอรติได้ด้วย
ปามุชชะ ดับนิวรณ์ได้ด้วยปฐมฌาน ฯลฯ ดับกิเลสทั้งปวงได้ด้วยอรหัตตมรรค


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๗. สมสีสกถา
คำว่า ไม่ปรากฏ อธิบายว่า เมื่อพระโยควจรได้เนกขัมมะ กามฉันทะย่อมไม่
ปรากฏ เมื่อได้อพยาบาท พยาบาทย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้อาโลกสัญญา ถีนมิทธะ
ย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้อวิกเขปะ อุทธัจจะย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้ธัมมววัตถาน
วิจิกิจฉาย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้ญาณ อวิชชาย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้ปามุชชะ อรติ
ย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้ปฐมฌาน นิวรณ์ย่อมไม่ปรากฏ ฯลฯ เมื่อได้อรหัตตมรรค
กิเลสทั้งปวงย่อมไม่ปรากฏ
คำว่า สงบ อธิบายว่า เนกขัมมะชื่อว่าสงบ เพราะละกามฉันทะได้แล้ว
อพยาบาทชื่อว่าสงบ เพราะละพยาบาทได้แล้ว อาโลกสัญญาชื่อว่าสงบ เพราะละ
ถีนมิทธะได้แล้ว อวิกเขปะชื่อว่าสงบ เพราะละอุทธัจจะได้แล้ว ธัมมววัตถาน ชื่อว่า
สงบ เพราะละวิจิกิจฉาได้แล้ว ญาณชื่อว่าสงบ เพราะละอวิชชาได้แล้ว ปามุชชะ
ชื่อว่าสงบ เพราะละอรติได้แล้ว ปฐมฌานชื่อว่าสงบ เพราะละนิวรณ์ได้แล้ว ฯลฯ
อรหัตตมรรคชื่อว่าสงบ เพราะละกิเลสทั้งปวงได้แล้ว
คำว่า เป็นประธาน อธิบายว่า ธรรมเป็นประธาน ๑๓ ประการ ได้แก่
๑. ตัณหามีความกังวลเป็นประธาน
๒. มานะมีความพัวพันเป็นประธาน
๓. ทิฏฐิมีความยึดถือเป็นประธาน
๔. อุทธัจจะมีความฟุ้งซ่านเป็นประธาน
๕. อวิชชามีกิเลสเป็นประธาน
๖. ศรัทธามีความน้อมใจเชื่อเป็นประธาน
๗. วิริยะมีความประคองไว้เป็นประธาน
๘. สติมีความเข้าไปตั้งมั่นเป็นประธาน
๙. สมาธิมีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นประธาน
๑๐. ปัญญามีความเห็นเป็นประธาน
๑๑. ชีวิตินทรีย์มีความเป็นไปเป็นประธาน
๑๒. วิโมกข์มีอารมณ์เป็นประธาน
๑๓. นิโรธมีสังขารเป็นประธาน๑
สมสีสกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบข้อ ๘๗/๑๔๖-๑๔๗ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๘. สติปัฏฐานกถา
๘. สติปัฏฐานกถา
ว่าด้วยสติปัฏฐาน
[๓๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก
๒. เป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ ฯลฯ
๓. เป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ
๔. เป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก
ภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้แล
[๓๕] ภิกษุเป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ อย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นกองปฐวีธาตุโดยความไม่เที่ยง
ไม่พิจารณาเห็นโดยความเที่ยง พิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ไม่พิจารณาเห็น
โดยความเป็นสุข พิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ไม่พิจารณาเห็นโดยความ
เป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด ไม่กำหนัด ย่อมทำราคะ
ให้ดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ยึดถือ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความไม่เที่ยง
ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้
เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละอัตตสัญญาได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อม
ละนันทิได้ เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละราคะได้ เมื่อทำราคะให้ดับ ย่อมละสมุทัยได้
เมื่อสละคืน ย่อมละอาทานะได้ ภิกษุพิจารณาเห็นกายด้วยอาการ ๗ อย่างนี้
กายย่อมปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุพิจารณาเห็น
กายนั้นด้วยสตินั้นและด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น จึงเรียกการพิจารณาเห็นกาย
ในกายว่า สติปัฏฐานภาวนา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๘. สติปัฏฐานกถา
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ
๑. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนา
นั้นไม่ล่วงเลยกัน
๒. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็น
อย่างเดียวกัน
๓. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่านำความเพียรที่สมควรแก่
ธรรมนั้นเข้าไป
๔. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นกองอาโปธาตุ ฯลฯ กองเตโชธาตุ
ฯลฯ กองวาโยธาตุ ฯลฯ กองผม ฯลฯ กองขน ฯลฯ กองผิว ฯลฯ กองหนัง
ฯลฯ กองเนื้อ ฯลฯ กองเอ็น ฯลฯ กองกระดูก ฯลฯ พิจารณาเห็นกองไขกระดูก
โดยความไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเที่ยง พิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์
ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นสุข พิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ไม่พิจารณา
เห็นโดยความเป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด ไม่กำหนัด
ย่อมทำราคะให้ดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ยึดถือ เมื่อพิจารณาเห็นโดย
ความไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ย่อมละ
สุขสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละอัตตสัญญาได้ เมื่อ
เบื่อหน่าย ย่อมละนันทิได้ เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละราคะได้ เมื่อทำราคะให้ดับ
ย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืน ย่อมละอาทานะได้ ภิกษุพิจารณาเห็นกายด้วยอาการ
๗ อย่างนี้ กายย่อมปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุ
พิจารณาเห็นกายนั้นด้วยสตินั้นและด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น จึงเรียกการ
พิจารณาเห็นกายในกายว่า สติปัฏฐานภาวนา
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา
เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
ภิกษุเป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างนี้ (๑)
ภิกษุเป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ อย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๘. สติปัฏฐานกถา
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นสุขเวทนาโดยความไม่เที่ยง ไม่
พิจารณาเห็นโดยความเที่ยง ฯลฯ ย่อมสละคืน ไม่ยึดถือ เมื่อพิจารณาเห็นโดย
ความไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ ฯลฯ เมื่อสละคืน ย่อมละอาทานะได้ ภิกษุ
พิจารณาเห็นเวทนาด้วยอาการ ๗ อย่างนี้ เวทนาย่อมปรากฏ ไม่ใช่สติ สติ
ปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนานั้นด้วยสตินั้นและด้วย
ญาณนั้น เพราะเหตุนั้น จึงเรียกการพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายว่า
สติปัฏฐานภาวนา
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา
เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นทุกขเวทนา ฯลฯ อทุกขมสุขเวทนา
ฯลฯ จักขุสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ โสตสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ ภิกษุบางรูปใน
ธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นฆานสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ เมื่อสละคืน ย่อมละ
อาทานะได้ ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาด้วยอาการ ๗ อย่างนี้ เวทนาย่อมปรากฏ
ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนานั้นด้วยสตินั้น
และด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น จึงเรียกการพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา
ทั้งหลายว่า สติปัฏฐานภาวนา
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา
เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
ภิกษุเป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่อย่างนี้ (๒)
ภิกษุเป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ อย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นจิตมีราคะโดยความไม่เที่ยง
ไม่พิจารณาเห็นโดยความเที่ยง ฯลฯ ย่อมสละคืน ไม่ยึดถือ เมื่อพิจารณาเห็น
โดยความไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ ฯลฯ เมื่อสละคืน ย่อมละอาทานะได้
ภิกษุพิจารณาเห็นจิตด้วยอาการ ๗ อย่างนี้ จิตย่อมปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย
เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นจิตนั้นด้วยสตินั้นและด้วยญาณนั้น เพราะ
เหตุนั้น จึงเรียกการพิจารณาเห็นจิตในจิตว่า สติปัฏฐานภาวนา
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา เพราะ
มีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๘. สติปัฏฐานกถา
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นจิตที่ปราศจากราคะ ฯลฯ จิตมีโทสะ
ฯลฯ จิตปราศจากโทสะ ฯลฯ จิตมีโมหะ ฯลฯ จิตปราศจากโมหะ ฯลฯ จิตหดหู่
ฯลฯ จิตฟุ้งซ่าน ฯลฯ จิตเป็นมหัคคตะ ฯลฯ จิตไม่เป็นมหัคคตะ ฯลฯ จิตมี
จิตอื่นยิ่งกว่า ฯลฯ จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ฯลฯ จิตตั้งมั่น ฯลฯ จิตไม่ตั้งมั่น
ฯลฯ จิตหลุดพ้น ฯลฯ จิตไม่หลุดพ้น ฯลฯ จักขุวิญญาณ ฯลฯ โสตวิญญาณ
ฯลฯ ฆานวิญญาณ ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ ฯลฯ กายวิญญาณ ฯลฯ ภิกษุบางรูปใน
ธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นมโนวิญญาณโดยความไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความ
เที่ยง ฯลฯ ย่อมสละคืน ไม่ยึดถือ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความไม่เที่ยง ย่อมละ
นิจจสัญญาได้ ฯลฯ เมื่อสละคืน ย่อมละอาทานะได้ ภิกษุพิจารณาเห็นจิตด้วย
อาการ ๗ อย่างนี้ จิตย่อมปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย
ภิกษุพิจารณาเห็นจิตนั้นด้วยสตินั้นและด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น จึงเรียกการ
พิจารณาเห็นจิตในจิตว่า สติปัฏฐานภาวนา
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา เพราะ
มีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
ภิกษุเป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างนี้ (๓)
ภิกษุเป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ อย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้เว้นกาย เว้นเวทนา เว้นจิตแล้วพิจารณา
เห็นธรรมทั้งหลายที่เหลือจากนั้นโดยความไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเที่ยง
พิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นสุข พิจารณาเห็น
โดยความเป็นอนัตตา ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี
ย่อมคลายกำหนัด ไม่กำหนัด ย่อมทำราคะให้ดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ยึดถือ
เมื่อพิจารณาเห็นโดยความไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดย
ความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ย่อม
ละอัตตสัญญาได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละนันทิได้ เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละราคะได้
เมื่อทำราคะให้ดับ ย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืน ย่อมละอาทานะได้ ภิกษุ
พิจารณาเห็นธรรมทั้งหลายด้วยอาการ ๗ อย่างนี้ ธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏ

 


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๙. วิปัสสนากถา
ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นด้วย
สตินั้นและด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น จึงเรียกการพิจารณาเห็นธรรมในธรรม
ทั้งหลายว่า สติปัฏฐานภาวนา
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ
๑. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนา
นั้นไม่ล่วงเลยกัน
๒. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็น
อย่างเดียวกัน
๓. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่านำความเพียรที่สมควรแก่ธรรม
นั้นเข้าไป
๔. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
ภิกษุเป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่อย่างนี้ ฉะนี้แล (๔)
สติปัฏฐานกถา จบ

๙. วิปัสสนากถา
ว่าด้วยวิปัสสนา
[๓๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้เลย๑ที่ภิกษุผู้พิจารณาเห็นสังขารบางอย่างโดยความ
เที่ยง จักเป็นผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ๒ เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่ประกอบด้วย
อนุโลมขันติจักหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม๓เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่หยั่งลงสู่สัมมัตต-
นิยาม จักทำให้แจ้งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผล (๑)

เชิงอรรถ :
๑ เป็นไปไม่ได้เลย หมายถึงปฏิเสธฐานะ (เหตุ) และปฏิเสธโอกาส (ปัจจัย) ที่เป็นไปได้ (ขุ.ป.อ. ๒/๓๖/๓๖๗,
องฺ.เอกก.อ. ๑/๒๖๘/๔๐๒)
๒ อนุโลมขันติ หมายถึงวิปัสสนาญาณ (ขุ.ป.อ. ๒/๓๖/๓๖๗)
๓ สัมมัตตนิยาม หมายถึงโลกุตตรมรรค โดยวิเศษก็คือโสดาปัตติมรรค (ขุ.ป.อ. ๒/๓๖/๓๖๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๙. วิปัสสนากถา
เป็นไปได้๑ที่ภิกษุผู้พิจารณาเห็นสังขารทั้งปวงโดยความไม่เที่ยง จักเป็นผู้
ประกอบด้วยอนุโลมขันติ เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จักหยั่งลงสู่
สัมมัตตนิยาม เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้แจ้งโสดาปัตติผล
สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผล (๒)
เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้พิจารณาเห็นสังขารบางอย่างโดยความเป็นสุข จักเป็น
ผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่ประกอบด้วยอนุโลมขันติ
จักหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำ
ให้แจ้งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผล (๓)
เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้พิจารณาเห็นสังขารทั้งปวงโดยความเป็นทุกข์ จักเป็นผู้
ประกอบด้วยอนุโลมขันติ เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จักหยั่งลงสู่
สัมมัตตนิยาม เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้แจ้งโสดาปัตติผล
สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผล (๔)
เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้พิจารณาเห็นธรรมบางอย่างโดยความเป็นอัตตา จัก
เป็นผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่ประกอบด้วยอนุโลมขันติ
จักหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำ
ให้แจ้งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผล (๕)
เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้พิจารณาเห็นธรรมบางอย่างโดยความเป็นอนัตตา จักเป็นผู้
ประกอบด้วยอนุโลมขันติ เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จักหยั่งลงสู่
สัมมัตตนิยาม เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้แจ้งโสดาปัตติผล
สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผล (๖)
เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้พิจารณาเห็นนิพพานโดยความเป็นทุกข์ จักเป็นผู้
ประกอบด้วยอนุโลมขันติ เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จัก
หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้
แจ้งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผล (๗)

เชิงอรรถ :
๑ เป็นไปได้ ในที่นี้หมายถึงยอมรับฐานะ (เหตุ) ที่เป็นไปได้ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๒๖๘/๔๐๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๙. วิปัสสนากถา
เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้พิจารณาเห็นนิพพานโดยความเป็นสุข จักเป็นผู้ประกอบ
ด้วยอนุโลมขันติ เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จักหยั่งลงสู่สัมมัตต-
นิยาม เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้แจ้งโสดาปัตติผล สกทา-
คามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผล (๘)
[๓๗] ภิกษุย่อมได้อนุโลมขันติด้วยอาการเท่าไร หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยามด้วย
อาการเท่าไร
ภิกษุย่อมได้อนุโลมขันติด้วยอาการ ๔๐ อย่าง หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยามด้วย
อาการ ๔๐ อย่าง
ภิกษุย่อมได้อนุโลมขันติด้วยอาการ ๔๐ อย่าง หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยามด้วย
อาการ ๔๐ อย่าง เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุเห็นเบญจขันธ์

๑. โดยความไม่เที่ยง ๒. โดยความเป็นทุกข์
๓. โดยความเป็นโรค ๔. โดยความเป็นดังหัวฝี
๕. โดยความเป็นดังลูกศร ๖. โดยเป็นความลำบาก
๗. โดยเป็นอาพาธ ๘. โดยเป็นอย่างอื่น
๙. โดยเป็นของชำรุด ๑๐. โดยเป็นอัปปมงคล
๑๑. โดยเป็นอันตราย ๑๒. โดยเป็นภัย
๑๓. โดยเป็นอุปสรรค ๑๔. โดยเป็นความหวั่นไหว
๑๕. โดยเป็นของผุพัง ๑๖. โดยเป็นของไม่ยั่งยืน
๑๗. โดยเป็นของไม่มีอะไรต้านทาน ๑๘. โดยเป็นของไม่มีอะไรป้องกัน
๑๙. โดยเป็นของไม่มีที่พึ่ง ๒๐. โดยเป็นความว่างเปล่า
๒๑. โดยความเปล่า ๒๒. โดยเป็นสุญญตะ (ความว่าง)
๒๓. โดยเป็นอนัตตา ๒๔. โดยเป็นโทษ

๒๕. โดยเป็นของมีความแปรผันเป็นธรรมดา
๒๖. โดยเป็นของไม่มีแก่นสาร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๙. วิปัสสนากถา

๒๗. โดยเป็นมูลแห่งความลำบาก ๒๘. โดยเป็นดังเพชฌฆาต
๒๙. โดยเป็นความเสื่อมไป ๓๐. โดยเป็นของมีอาสวะ
๓๑. โดยเป็นของถูกปัจจัยปรุงแต่ง ๓๒. โดยเป็นเหยื่อแห่งมาร

๓๓. โดยเป็นของมีความเกิดเป็นธรรมดา
๓๔. โดยเป็นของมีความแก่เป็นธรรมดา
๓๕. โดยเป็นของมีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา
๓๖. โดยเป็นของมีความตายเป็นธรรมดา
๓๗. โดยเป็นของมีความเศร้าโศกเป็นธรรมดา
๓๘. โดยเป็นของมีความรำพันเป็นธรรมดา
๓๙. โดยเป็นของมีความคับแค้นใจเป็นธรรมดา
๔๐. โดยเป็นของมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา
[๓๘] ๑. ภิกษุเมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยความไม่เที่ยง ย่อมได้อนุโลมขันติ
เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานเที่ยง” ย่อม
หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
๒. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นทุกข์ ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อ
เห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานสุข” ย่อมหยั่งสู่
สัมมัตตนิยาม
๓. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นโรค ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อ
เห็นว่า “ความดับเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีโรค” ย่อมหยั่งลงสู่
สัมมัตตนิยาม
๔. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นดังหัวฝี ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อ
เห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่เป็นดังหัวฝี”
ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
๕. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นดังลูกศร ย่อมได้อนุโลมขันติ
เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีลูกศร”
ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๙. วิปัสสนากถา
๖. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นความลำบาก ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อ
เห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความลำบาก”
ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
๗. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นอาพาธ ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า
“ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีอาพาธ” ย่อมหยั่งลงสู่
สัมมัตตนิยาม
๘. เมื่อเห็นเบญจขันธ์ โดยความเป็นอื่น ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อ
เห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีสิ่งอื่นเป็นปัจจัย”
ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
๙. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของชำรุด ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า
“ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพาน ไม่มีความชำรุดเป็นธรรมดา”
ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
๑๐. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นอัปปมงคลย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อ
เห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีเสนียด” ย่อม
หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
๑๑. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นอันตราย ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า
“ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีอันตราย” ย่อมหยั่งลงสู่
สัมมัตตนิยาม
๑๒. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นภัย ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า
“ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีภัย” ย่อมหยั่งลงสู่
สัมมัตตนิยาม
๑๓. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นอุปสรรคย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า
“ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีอุปสรรค” ย่อมหยั่งลง
สู่สัมมัตตนิยาม
๑๔. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นความหวั่นไหว ย่อมได้อนุโลมขันติ
เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความหวั่นไหว”
ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๖๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๙. วิปัสสนากถา
๑๕. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของผุพัง ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า
“ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความผุพัง” ย่อมหยั่งลง
สู่สัมมัตตนิยาม
๑๖. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของไม่ยั่งยืน ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อ
เห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานมีความยั่งยืน”
ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
๑๗. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของไม่มีอะไรต้านทาน ย่อมได้อนุโลมขันติ
เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานมีที่ต้านทาน”
ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
๑๘. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของไม่มีอะไรป้องกัน ย่อมได้อนุโลมขันติ
เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานมีที่ป้องกัน”
ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
๑๙. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของไม่มีที่พึ่ง ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อ
เห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานมีที่พึ่ง” ย่อมหยั่งลง
สู่สัมมัตตนิยาม
๒๐. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยว่างเปล่า ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า
“ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่ว่างเปล่า” ย่อมหยั่งลง
สู่สัมมัตตนิยาม
๒๑. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นความเปล่า ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อ
เห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่เปล่า” ย่อมหยั่งลง
สู่สัมมัตตนิยาม
๒๒. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นสุญญตะ ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อ
เห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานว่างยิ่ง” ย่อมหยั่งลง
สู่สัมมัตตนิยาม
๒๓. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นอนัตตา ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อ
เห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานมีประโยชน์อย่างยิ่ง”
ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๖๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๙. วิปัสสนากถา
๒๔. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นโทษ ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า
“ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีโทษ” ย่อมหยั่งลงสู่
สัมมัตตนิยาม
๒๕. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของมีความแปรผันเป็นธรรมดา ย่อม
ได้อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพาน
มีความไม่แปรผันเป็นธรรมดา” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
๒๖. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของไม่มีแก่นสาร ย่อมได้อนุโลมขันติ
เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานมีแก่นสาร”
ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
๒๗. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นมูลแห่งความลำบาก ย่อมได้อนุโลมขันติ
เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีมูลแห่ง
ความลำบาก” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
๒๘. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นดังเพชฌฆาต ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อ
เห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่เป็นดังเพชฌฆาต”
ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
๒๙. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นความเสื่อมไป ย่อมได้อนุโลมขันติ
เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความเสื่อมไป”
ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
๓๐. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของมีอาสวะ ย่อมได้อนุโลมขันติ
เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีอาสวะ”
ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
๓๑. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของถูกปัจจัยปรุงแต่ง ย่อมได้อนุโลมขันติ
เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่ถูกปัจจัย
ปรุงแต่ง” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
๓๒. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นเหยื่อแห่งมาร ย่อมได้อนุโลมขันติ
เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่เป็นเหยื่อแห่ง
มาร” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๖๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๙. วิปัสสนากถา
๓๓. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของมีความเกิดเป็นธรรมดา ย่อมได้
อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่
มีความเกิด” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
๓๔. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของมีความแก่เป็นธรรมดา ย่อมได้
อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่
มีความแก่” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
๓๕. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของมีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ย่อมได้
อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่
มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
๓๖. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของมีความตายเป็นธรรมดา ย่อมได้
อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่
มีความตาย” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
๓๗. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของมีความเศร้าโศกเป็นธรรมดา ย่อม
ได้อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพาน
ไม่มีความเศร้าโศก” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
๓๘. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของมีความรำพันเป็นธรรมดา ย่อมได้
อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่
มีความรำพัน” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
๓๙. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของมีความคับแค้นใจเป็นธรรมดา
ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็น
นิพพานที่ไม่มีความคับแค้นใจ” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
๔๐. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา
ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็น
นิพพานไม่มีความเศร้าหมอง” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๖๐๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๙. วิปัสสนากถา
[๓๙] คำว่า โดยความไม่เที่ยง ได้แก่ อนิจจานุปัสสนา
คำว่า โดยความเป็นทุกข์ ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยความเป็นโรค ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยความเป็นดังหัวฝี ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยความเป็นดังลูกศร ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นความลำบาก ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นอาพาธ ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นอย่างอื่น ได้แก่ อนัตตานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นของชำรุด ได้แก่ อนิจจานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นอัปปมงคล ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา (๑๐)
คำว่า โดยเป็นอันตราย ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นภัย ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นอุปสรรค ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นความหวั่นไหว ได้แก่ อนิจจานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นของผุพัง ได้แก่ อนิจจานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นของไม่ยั่งยืน ได้แก่ อนิจจานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นของไม่มีอะไรต้านทาน ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นของไม่มีอะไรป้องกัน ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นของไม่มีที่พึ่ง ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นความว่างเปล่า ได้แก่ อนัตตานุปัสสนา (๑๐=๒๐)
คำว่า โดยความเปล่า ได้แก่ อนัตตานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นสุญญตะ ได้แก่ อนัตตานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นอนัตตา ได้แก่ อนัตตานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นโทษ ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๖๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๙. วิปัสสนากถา
คำว่า โดยเป็นของมีความแปรผันเป็นธรรมดา ได้แก่ อนิจจานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นของไม่มีแก่นสาร ได้แก่ อนัตตานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นมูลแห่งความลำบาก ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นดังเพชฌฆาต ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นความเสื่อมไป ได้แก่ อนิจจานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นของมีอาสวะ ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา (๑๐ = ๓๐)
คำว่า โดยเป็นของถูกปัจจัยปรุงแต่ง ได้แก่ อนิจจานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นเหยื่อแห่งมาร ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นของมีความเกิดเป็นธรรมดา ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นของมีความแก่เป็นธรรมดา ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นของมีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นของมีความตายเป็นธรรมดา ได้แก่ อนิจจานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นของมีความเศร้าโศกเป็นธรรมดา ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นของมีความรำพันเป็นธรรมดา ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นของมีความคับแค้นใจเป็นธรรมดา ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นของมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
(๑๐ = ๔๐ )
ภิกษุย่อมได้อนุโลมขันติด้วยอาการ ๔๐ อย่างนี้ หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
ด้วยอาการ ๔๐ อย่างนี้
ภิกษุผู้ได้อนุโลมขันติด้วยอาการ ๔๐ อย่างนี้ ผู้หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยามด้วย
อาการ ๔๐ อย่างนี้มีอนิจจานุปัสสนาเท่าไร มีทุกขานุปัสสนาเท่าไร มีอนัตตา-
นุปัสสนาเท่าไร
ท่านกล่าวว่า มีอนิจจานุปัสสนา ๕๐
มีทุกขานุปัสสนา ๑๒๕ มีอนัตตานุปัสสนา ๒๕ ฉะนี้
วิปัสสนากถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๖๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑๐. มาติกากถา
๑๐. มาติกากถา
ว่าด้วยหัวข้อธรรม
[๔๐] ผู้ไม่มีความหิว โมกข์ วิโมกข์ วิชชาวิมุตติ อธิสีล อธิจิต อธิปัญญา
ปัสสัทธิ ญาณ ทัสสนะ วิสุทธิ เนกขัมมะ เครื่องสลัด ความสงัด ความสละ
ความประพฤติ ฌานวิโมกข์ ภาวนา อธิษฐาน ชีวิต (๑๙)
[๔๑] คำว่า ผู้ไม่มีความหิว อธิบายว่า ผู้ไม่มีความหิว ย่อมหลุดพ้นจาก
กามฉันทะด้วยเนกขัมมะ ผู้ไม่มีความหิว ย่อมหลุดพ้นจากพยาบาทด้วยอพยาบาท
ฯลฯ ผู้ไม่มีความหิวย่อมหลุดพ้นจากนิวรณ์ ด้วยปฐมฌาน ฯลฯ ผู้ไม่มีความหิว
ย่อมหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวงด้วยอรหัตตมรรค (๑)
คำว่า โมกข์ วิโมกข์ อธิบายว่า เนกขัมมะ ชื่อว่าโมกข์ วิโมกข์ เพราะ
เป็นเครื่องพ้นจากกามฉันทะ อพยาบาท ชื่อว่าโมกข์ วิโมกข์ เพราะเป็นเครื่องพ้น
จากพยาบาท ฯลฯ ปฐมฌาน ชื่อว่าโมกข์ วิโมกข์ เพราะเป็นเครื่องพ้นจากนิวรณ์
ฯลฯ อรหัตตมรรค ชื่อว่าโมกข์ วิโมกข์ เพราะเป็นเครื่องพ้นจากกิเลสทั้งปวง (๒)
คำว่า วิชชาวิมุตติ อธิบายว่า เนกขัมมะ ชื่อว่าวิชชาเพราะรู้ ชื่อว่าวิมุตติ
เพราะหลุดพ้นจากกามฉันทะ ชื่อว่าวิชชาวิมุตติเพราะเมื่อรู้จึงหลุดพ้น เมื่อหลุด
พ้นก็ย่อมรู้ อพยาบาท ชื่อว่าวิชชาเพราะรู้ ชื่อว่าวิมุตติเพราะหลุดพ้นจากพยาบาท
ชื่อว่าวิชชาวิมุตติเพราะเมื่อรู้จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นก็ย่อมรู้ ฯลฯ อรหัตตมรรค
ชื่อว่าวิชชาเพราะรู้ ชื่อว่าวิมุตติเพราะหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง ชื่อว่าวิชชาวิมุตติ
เพราะเมื่อรู้จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นก็ย่อมรู้ (๓)
คำว่า อธิสีล อธิจิต อธิปัญญา อธิบายว่า เนกขัมมะ ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะ
มีความหมายว่ากั้นกามฉันทะ ชื่อว่าจิตตวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าไม่ฟุ้งซ่าน
ชื่อว่าทิฏฐิวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเห็น บรรดาความสำรวม ความไม่ฟุ้งซ่าน
และความเห็นนั้น ความสำรวม ชื่อว่าอธิสีลสิกขา ความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าอธิจิตต-
สิกขา ความเห็น ชื่อว่าอธิปัญญาสิกขา อพยาบาท ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมี
ความหมายว่ากั้นพยาบาท ฯลฯ อรหัตตมรรค ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีความ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๖๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑๐. มาติกากถา
หมายว่ากั้นกิเลสทั้งปวง ชื่อว่าจิตตวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่า
ทิฏฐิวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเห็น บรรดาความสำรวม ความไม่ฟุ้งซ่านและ
ความเห็นนั้น ความสำรวม ชื่อว่าอธิสีลสิกขา ความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าอธิจิตตสิกขา
ความเห็น ชื่อว่าอธิปัญญาสิกขา (๔-๖)
คำว่า ปัสสัทธิ อธิบายว่า พระโยคาวจรระงับกามฉันทะด้วยเนกขัมมะ
ระงับพยาบาทด้วยอพยาบาท ฯลฯ ระงับกิเลสทั้งปวงด้วยอรหัตตมรรค (๗)
คำว่า ญาณ อธิบายว่า เนกขัมมะ ชื่อว่าญาณเพราะมีสภาวะรู้ เพราะละ
กามฉันทะ อพยาบาท ชื่อว่าญาณเพราะมีสภาวะรู้ เพราะละพยาบาท ฯลฯ
อรหัตตมรรค ชื่อว่าญาณเพราะมีสภาวะรู้ เพราะละกิเลสทั้งปวง (๘)
คำว่า ทัสสนะ อธิบายว่า เนกขัมมะ ชื่อว่าทัสสนะเพราะเห็น เพราะละ
กามฉันทะ อพยาบาท ชื่อว่าทัสสนะเพราะเห็น เพราะละพยาบาท ฯลฯ อรหัตต-
มรรค ชื่อว่าทัสสนะเพราะเห็น เพราะละกิเลสทั้งปวง (๙)
คำว่า วิสุทธิ อธิบายว่า บุคคลเมื่อละกามฉันทะ ย่อมหมดจดด้วยเนกขัมมะ
เมื่อละพยาบาท ย่อมหมดจดด้วยอพยาบาท ฯลฯ เมื่อละกิเลสทั้งปวง ย่อม
หมดจดด้วยอรหัตตมรรค (๑๐)
คำว่า เนกขัมมะ อธิบายว่า เนกขัมมะเป็นเครื่องสลัดกาม อรูปเป็นเครื่อง
สลัดรูป นิโรธเป็นเนกขัมมะแห่งสิ่งที่มีที่เป็น ที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ที่อาศัยกันเกิดขึ้น
อพยาบาทเป็นเนกขัมมะแห่งพยาบาท อาโลกสัญญาเป็นเนกขัมมะแห่งถีนมิทธะ
ฯลฯ อรหัตตมรรคเป็นเนกขัมมะแห่งกิเลสทั้งปวง (๑๑)
คำว่า เครื่องสลัด อธิบายว่า เนกขัมมะเป็นเครื่องสลัดกาม อรูปเป็น
เครื่องสลัดรูป นิโรธเป็นเครื่องสลัดสิ่งที่มีที่เป็น ที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ที่อาศัยกัน
เกิดขึ้น เนกขัมมะเป็นเครื่องสลัดกามฉันทะ อพยาบาทเป็นเครื่องสลัดพยาบาท
ฯลฯ อรหัตตมรรคเป็นเครื่องสลัดกิเลสทั้งปวง (๑๒)
คำว่า ความสงัด อธิบายว่า เนกขัมมะเป็นความสงัดของกามฉันทะ
อพยาบาทเป็นความสงัดของพยาบาท ฯลฯ อรหัตตมรรคเป็นความสงัดของกิเลส
ทั้งปวง (๑๓)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๖๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑๐. มาติกากถา
คำว่า ความสละ อธิบายว่า พระโยคาวจรสละกามฉันทะด้วยเนกขัมมะ
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าความสละ สละพยาบาทด้วยอพยาบาท เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าความสละ ฯลฯ สละกิเลสทั้งปวงด้วยอรหัตตมรรค เพราะเหตุนั้น จึง
ชื่อว่าความสละ (๑๔)
คำว่า ความประพฤติ อธิบายว่า พระโยคาวจรประพฤติละกามฉันทะด้วย
เนกขัมมะ ประพฤติละพยาบาทด้วยอพยาบาท ฯลฯ ประพฤติละกิเลสทั้งปวงด้วย
อรหัตตมรรค (๑๕)
คำว่า ฌานวิโมกข์ อธิบายว่า เนกขัมมะย่อมเผา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
ฌาน เนกขัมมะย่อมเผากามฉันทะให้ไหม้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌาน บุคคล
เมื่อเผาย่อมหลุดพ้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌานวิโมกข์ เมื่อเผาให้ไหม้
ย่อมหลุดพ้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌานวิโมกข์ กิเลสทั้งหลายย่อมไหม้ไป เพราะ
เหตุนั้น จึงชื่อว่าธรรม เขาย่อมเผากิเลสให้ไหม้ คือรู้จักกิเลสที่ถูกเผาแล้วและ
กิเลสที่ถูกเผาให้ไหม้ไป เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌานวิโมกข์ อพยาบาทย่อม
เผา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌาน อพยาบาทย่อมเผาพยาบาทให้ไหม้ เพราะ
เหตุนั้น จึงชื่อว่าฌาน ฯลฯ อาโลกสัญญาย่อมเผา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
ฌาน อาโลกสัญญาย่อมเผาถีนมิทธะให้ไหม้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌาน ฯลฯ
อรหัตตมรรคย่อมเผา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌาน อรหัตตมรรคย่อมเผากิเลส
ทั้งปวงให้ไหม้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌาน พระอรหันต์เมื่อเผาย่อมหลุดพ้น
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌานวิโมกข์ เมื่อเผาให้ไหม้ย่อมหลุดพ้น เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าฌานวิโมกข์ กิเลสทั้งหลายย่อมไหม้ไป เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าธรรม เขา
ย่อมเผากิเลสให้ไหม้ คือรู้จักกิเลสที่ถูกเผาแล้วและกิเลสที่ถูกเผาให้ไหม้ไป เพราะ
เหตุนั้น จึงชื่อว่าฌานวิโมกข์ (๑๖)
[๔๒] คำว่า ภาวนา อธิษฐาน ชีวิต อธิบายว่า บุคคลผู้ละกามฉันทะย่อม
เจริญเนกขัมมะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยภาวนา ย่อมอธิษฐานจิต
ด้วยอำนาจเนกขัมมะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยอธิษฐาน ผู้ถึงพร้อม
ด้วยภาวนา ถึงพร้อมด้วยอธิษฐานอย่างนี้นั้น ย่อมเป็นอยู่สงบ ไม่ใช่เป็นอยู่ไม่สงบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๖๐๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑๐. มาติกากถา
เป็นอยู่ชอบ เป็นอยู่ไม่ผิด เป็นอยู่หมดจด เป็นอยู่ไม่เศร้าหมอง เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยอาชีวะ ผู้ถึงพร้อมด้วยภาวนา ถึงพร้อมด้วยอธิษฐาน ถึงพร้อม
ด้วยอาชีวะอย่างนี้นั้น เข้าไปสู่บริษัทใด คือ ขัตติยบริษัทก็ตาม พราหมณบริษัท
ก็ตาม คหบดีบริษัทก็ตาม สมณบริษัทก็ตาม ย่อมองอาจไม่เก้อเขินเข้าไป ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้นเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยภาวนา ถึงพร้อมด้วยอธิษฐาน ถึง
พร้อมด้วยอาชีวะอย่างนั้น
บุคคลละพยาบาท เจริญอพยาบาท เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วย
ภาวนา ฯลฯ ละถีนมิทธะ เจริญอาโลกสัญญา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าถึงพร้อม
ด้วยภาวนา ฯลฯ ละอุทธัจจะ เจริญอวิกเขปะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วย
ภาวนา ฯลฯ ละวิจิกิจฉา เจริญธัมมววัตถาน เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าถึงพร้อม
ด้วยภาวนา ฯลฯ ละอวิชชา เจริญวิชชา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วย
ภาวนา ฯลฯ ละอรติ เจริญปามุชชะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยภาวนา
ฯลฯ ละนิวรณ์ เจริญปฐมฌาน เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยภาวนา ฯลฯ
ละกิเลสทั้งปวง เจริญอรหัตตมรรค เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยภาวนา
บุคคลย่อมตั้งจิตมั่นด้วยอำนาจอรหัตตมรรค เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าถึงพร้อม
ด้วยอธิษฐาน ผู้ถึงพร้อมด้วยภาวนา ถึงพร้อมด้วยอธิษฐานอย่างนี้นั้น ย่อมเป็น
อยู่สงบ ไม่ใช่เป็นอยู่ไม่สงบ เป็นอยู่ชอบ ไม่เป็นอยู่ผิด เป็นอยู่หมดจด เป็นอยู่
ไม่เศร้าหมอง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยอาชีวะ ผู้ถึงพร้อมด้วยภาวนา
ถึงพร้อมด้วยอธิษฐาน ถึงพร้อมด้วยอาชีวะอย่างนี้นั้น เข้าไปสู่บริษัทใด คือ ขัตติย-
บริษัทก็ตาม พราหมณบริษัทก็ตาม คหบดีบริษัทก็ตาม สมณบริษัทก็ตาม ย่อม
องอาจ ไม่เก้อเขินเข้าไป ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้นเป็นผู้ถึงพร้อมด้วย
ภาวนา ถึงพร้อมด้วยอธิษฐาน ถึงพร้อมด้วยอาชีวะอย่างนั้น ฉะนี้แล (๓-๑๙)

มาติกากถา จบ
ปัญญาวรรคที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๖๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค รวมกถาที่มีอยู่ในปกรณ์ปฏิสัมภิทามรรค
รวมกถาที่มีอยู่ในปกรณ์ปฏิสัมภิทามรรคนี้ คือ
๑. มหาวรรค

๑. ญาณกถา ๒. ทิฏฐิกถา
๓. อานาปานัสสติกถา ๔. อินทริยกถา
๕. วิโมกขกถา ๖. คติกถา
๗. กัมมกถา ๘. วิปัลลาสกถา
๙. มัคคกถา ๑๐. มัณฑเปยยกถา

๒. ยุคนัทธวรรค

๑. ยุคนัทธกถา ๒. สัจจกถา
๓. โพชฌังคกถา ๔. เมตตากถา
๕. วิราคกถา ๖. ปฏิสัมภิทากถา
๗. ธัมมจักกกถา ๘. โลกุตตรกถา
๙. พลกถา ๑๐. สุญญกถา

๓. ปัญญาวรรค

๑. มหาปัญญากถา ๒. อิทธิกถา
๓. อภิสมยกถา ๔. วิเวกกถา
๕. จริยากถา ๖. ปาฏิหาริยกถา
๗. สมสีสกถา ๘. สติปัฏฐานกถา
๙. วิปัสสนากถา ๑๐. มาติกากถา

ในปกรณ์ปฏิสัมภิทามี ๓ วรรค มีอรรถกว้างลึกในมรรคอันเป็นอนันตนัย
เปรียบด้วยสาคร เหมือนนภากาศที่ดารดาษด้วยดวงดาวและเช่นกับสระใหญ่ ให้
ความสว่างเจิดจ้าแห่งญาณแก่พระโยคีผู้เป็นธรรมกถิกาจารย์อย่างกว้างขวางฉะนี้แล

ปฏิสัมภิทามรรค จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๖๑๐ }


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ สุตตันตปิฎกที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค จบ





eXTReMe Tracker