ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ



จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อความสะดวก และสวยงาม
(เฉพาะหน้าจอใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์)
กรุณาคลิก จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อให้กรอบ
ค้นข้อความ ปรากฎที่ด้านซ้ายของหน้า

พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑-๔ สุตตันตปิฎกที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

พระสุตตันตปิฎก
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๓. โพชฌังคกถา
คือ สติสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยอาการเท่าไร สติสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วย
อาการเท่าไร
สติสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยอาการ ๘ อย่าง สติสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วย
อาการ ๘ อย่าง
สติสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยอาการ ๘ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยการนึกถึง(นิพพาน)ที่ไม่มีความเกิด
๒. สติสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยการไม่นึกถึงความเกิด
๓. สติสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยการนึกถึง(นิพพาน)ที่ไม่มีความเป็นไป
๔. สติสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยการไม่นึกถึงความเป็นไป
๕. สติสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยการนึกถึง(นิพพาน)ที่ไม่มีนิมิต
๖. สติสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยการไม่นึกถึงนิมิต
๗. สติสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยการนึกถึงนิโรธ
๘. สติสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยการไม่นึกถึงสังขาร
สติสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยอาการ ๘ อย่างนี้
สติสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยอาการ ๘ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยการนึกถึงความเกิด
๒. สติสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยการไม่นึกถึง(นิพพาน)ที่ไม่มีความเกิด
๓. สติสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยการนึกถึงความเป็นไป
๔. สติสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยการไม่นึกถึง(นิพพาน)ที่ไม่มีความเป็นไป
๕. สติสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยการนึกถึงนิมิต
๖. สติสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยการไม่นึกถึง(นิพพาน)ที่ไม่มีนิมิต
๗. สติสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยการนึกถึงสังขาร
๘. สติสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยการไม่นึกถึงนิโรธ
สติสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยอาการ ๘ อย่างนี้ เมื่อผมกำลังเที่ยวไป ย่อมรู้ชัด
สติสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่า “ดำรงอยู่” ถ้าสติสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปก็รู้ชัดว่า
“สติสัมโพชฌงค์ของผมเคลื่อนไปเพราะปัจจัยนี้ อย่างนี้แล” ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๓. โพชฌังคกถา
โพชฌงค์ในข้อว่า “ถ้าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ของผมมีอยู่ ดังนี้” มีอยู่อย่างไร
คือ นิโรธปรากฏเพียงใด โพชฌงค์ในข้อว่า “ถ้าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ของผม
มีอยู่ ดังนี้” ก็มีอยู่เพียงนั้น เหมือนประทีปน้ำมันกำลังสว่างอยู่ ฯลฯ
โพชฌงค์ในข้อว่า “อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของผมก็ชื่อว่าหาประมาณมิได้ ดังนี้”
มีอยู่อย่างไร ฯลฯ
โพชฌงค์ในข้อว่า “อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ชื่อว่าผมปรารภเสมอดีแล้ว ดังนี้”
มีอยู่อย่างไร ฯลฯ
เมื่อผมกำลังเที่ยวไป ย่อมรู้ชัดอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่า “ดำรงอยู่”
ถ้าอุเบกขาสัมโพชฌงค์เคลื่อนไป ก็รู้ชัดว่า “อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของผมเคลื่อนไป
เพราะปัจจัยนี้” เป็นอย่างไร
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยอาการเท่าไร อุเบกขาสัมโพชฌงค์เคลื่อนไป
ด้วยอาการเท่าไร
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยอาการ ๘ อย่าง อุเบกขาสัมโพชฌงค์เคลื่อน
ไปด้วยอาการ ๘ อย่าง
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยอาการ ๘ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยการนึกถึง(นิพพาน)ที่ไม่มีความเกิด
๒. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยการไม่นึกถึงความเกิด
๓. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยการนึกถึง(นิพพาน)ที่ไม่มีความ
เป็นไป
๔. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยการไม่นึกถึงความเป็นไป
๕. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยการนึกถึง(นิพพาน)ที่ไม่มีนิมิต
๖. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยการไม่นึกถึงนิมิต
๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยการนึกถึงนิโรธ
๘. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยการไม่นึกถึงสังขาร
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยอาการ ๘ อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๔. เมตตากถา
อุเบกขาสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยอาการ ๘ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. อุเบกขาสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยการนึกถึงความเกิด
๒. อุเบกขาสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยการไม่นึกถึง(นิพพาน)ที่ไม่มี
ความเกิด
๓. อุเบกขาสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยการนึกถึงความเป็นไป
๔. อุเบกขาสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยการไม่นึกถึง(นิพพาน)ที่ไม่มี
ความเป็นไป
๕. อุเบกขาสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยการนึกถึงนิมิต
๖. อุเบกขาสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยการไม่นึกถึง(นิพพาน)ที่ไม่มีนิมิต
๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยการนึกถึงสังขาร
๘. อุเบกขาสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยการไม่นึกถึงนิโรธ
อุเบกขาสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยอาการ ๘ อย่างนี้ เมื่อผมกำลังเที่ยวไป
ย่อมรู้ชัดอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่า “ดำรงอยู่” ถ้าอุเบกขาสัมโพชฌงค์
เคลื่อนไปก็รู้ชัดว่า “อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของผมเคลื่อนไปเพราะปัจจัยนี้ อย่างนี้แล”
โพชฌังคกถา จบ

๔. เมตตากถา
ว่าด้วยเมตตา
[๒๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุตติอันบุคคลปฏิบัติแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มาก
แล้ว ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนือง ๆ สั่งสมแล้ว ปรารภเสมอดีแล้ว
พึงหวังได้อานิสงส์ ๑๑ ประการ
อานิสงส์ ๑๑ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. หลับเป็นสุข ๒. ตื่นเป็นสุข
๓. ไม่ฝันร้าย ๔. เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๔. เมตตากถา

๕. เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย ๖. เทวดาทั้งหลายรักษา
๗. ไฟ ยาพิษ หรือศัสตรากล้ำกรายไม่ได้ ๘. จิตตั้งมั่นเร็ว
๙. สีหน้าสดใส ๑๐. ไม่หลงลืมสติตาย

๑๑. เมื่อยังไม่แทงตลอดคุณวิเศษอันยอดยิ่งย่อมเข้าถึงพรหมโลก
ภิกษุทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุตติอันบุคคลปฏิบัติแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มาก
แล้ว ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนือง ๆ สั่งสมแล้ว ปรารภเสมอดีแล้ว
พึงหวังได้อานิสงส์ ๑๑ ประการนี้๑
เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงก็มี เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยเจาะจง
ก็มี เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายก็มี เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจง
ด้วยอาการเท่าไร เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการเท่าไร เมตตาเจโต-
วิมุตติแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการเท่าไร
คือ เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วยอาการ ๕ อย่าง เมตตา-
เจโตวิมุตติแผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการ ๗ อย่าง เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปสู่ทิศ
ทั้งหลายด้วยอาการ ๑๐ อย่าง
เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วยอาการ ๕ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ขอสัตว์ทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ มีสุข
รักษาตนเถิด
๒. ขอปาณชาติทั้งปวง ฯลฯ
๓. ขอภูตทั้งปวง ฯลฯ
๔. ขอบุคคลทั้งปวง ฯลฯ
๕. ขอผู้ที่นับเนื่องด้วยอัตภาพทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียน
กัน ไม่มีทุกข์ มีสุข รักษาตนเถิด
เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วยอาการ ๕ อย่างนี้

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ. เอกาทสก. (แปล) ๒๔/๑๕/๔๒๕-๔๒๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๔. เมตตากถา
เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการ ๗ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ขอสตรีทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ มีสุข
รักษาตนเถิด
๒. ขอบุรุษทั้งปวง ฯลฯ
๓. ขออารยชนทั้งปวง ฯลฯ
๔. ขออนารยชนทั้งปวง ฯลฯ
๕. ขอเทวดาทั้งปวง ฯลฯ
๖. ขอมนุษย์ทั้งปวง ฯลฯ
๗. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์
มีสุข รักษาตนเถิด
เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการ ๗ อย่างนี้
เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการ ๑๐ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศบูรพาจงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มี
ทุกข์ มีสุข รักษาตนเถิด
๒. ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศปัจฉิม ฯลฯ
๓. ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศอุดร ฯลฯ
๔. ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศทักษิณ ฯลฯ
๕. ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศอาคเนย์ ฯลฯ
๖. ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศพายัพ ฯลฯ
๗. ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศอีสาน ฯลฯ
๘. ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศหรดี ฯลฯ
๙. ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องล่าง ฯลฯ
๑๐. ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบนจงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่
มีทุกข์ มีสุข รักษาตนเถิด
ขอปาณชาติทั้งปวงในทิศบูรพา ฯลฯ ภูตทั้งปวง ฯลฯ บุคคลทั้งปวง ฯลฯ
ผู้ที่นับเนื่องด้วยอัตภาพทั้งปวง ฯลฯ สตรีทั้งปวง ฯลฯ บุรุษทั้งปวง ฯลฯ อารยชน
ทั้งปวง ฯลฯ อนารยชนทั้งปวง ฯลฯ เทวดาทั้งปวง ฯลฯ มนุษย์ทั้งปวง ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๔. เมตตากถา ๑. อินทริยวาร
๑. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศบูรพา จงเป็นผู้ไม่มีเวรไม่เบียดเบียนกัน
ไม่มีทุกข์ มีสุข รักษาตนเถิด
๒. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศปัจฉิม ฯลฯ
๓. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศอุดร ฯลฯ
๔. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศทักษิณ ฯลฯ
๕. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศอาคเนย์ ฯลฯ
๖. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศพายัพ ฯลฯ
๗. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศอีสาน ฯลฯ
๘. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศหรดี ฯลฯ
๙. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องล่าง ฯลฯ
๑๐. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน
ไม่มีทุกข์ มีสุข รักษาตนเถิด
เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการ ๑๐ อย่างนี้

๑. อินทริยวาร
วาระว่าด้วยอินทรีย์
[๒๓] ผู้เจริญเมตตาแผ่ความรักไปสู่สัตว์ทั้งปวงด้วยอาการ ๘ อย่างนี้ คือ
๑. ด้วยเว้นความบีบคั้น ไม่บีบคั้นสัตว์ทั้งปวง
๒. ด้วยเว้นการฆ่า ไม่ฆ่าสัตว์ทั้งปวง
๓. ด้วยเว้นการทำให้เดือดร้อน ไม่ทำสัตว์ทั้งปวงให้เดือดร้อน
๔. ด้วยเว้นความย่ำยี ไม่ย่ำยีสัตว์ทั้งปวง
๕. ด้วยเว้นการเบียดเบียน ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งปวง
๖. ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร อย่าได้มีเวรกัน
๗. จงเป็นผู้มีสุข อย่ามีทุกข์
๘. จงมีตนเป็นสุข อย่ามีตนเป็นทุกข์
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเมตตา จิตคิดถึงธรรมนั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเจโต
จิตพ้นจากพยาบาทและกิเลสที่กลุ้มรุมจิตทั้งปวง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าวิมุตติ
เมตตาด้วย เป็นเจโตวิมุตติด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเมตตาเจโตวิมุตติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๔. เมตตากถา ๑. อินทริยวาร
ผู้เจริญเมตตาน้อมใจเชื่อด้วยศรัทธาว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มี
ความปลอดโปร่ง มีสุขเถิด” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยสัทธินทรีย์
ผู้เจริญเมตตาประคองความเพียรว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ”
เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยวิริยินทรีย์
ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้มั่นว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ”
เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยสตินทรีย์
ผู้เจริญเมตตาตั้งจิตไว้มั่นว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ”
เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยสมาธินทรีย์
ผู้เจริญเมตตารู้ชัดด้วยปัญญาว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ”
เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยปัญญินทรีย์
อินทรีย์ ๕ ประการนี้เป็นอาเสวนะ (การปฏิบัติ) ของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคล
ย่อมปฏิบัติเมตตาเจโตวิมุตติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการนี้เป็นภาวนา (การเจริญ) ของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคล
ย่อมเจริญเมตตาเจโตวิมุตติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการนี้เป็นพหุลีกรรม (การทำให้มาก) ของเมตตาเจโตวิมุตติ
บุคคลย่อมทำให้มากซึ่งเมตตาเจโตวิมุตติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการนี้เป็นอลังการ (เครื่องประดับ) ของเมตตาเจโตวิมุตติ
บุคคลย่อมประดับเมตตาเจโตวิมุตติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการนี้เป็นบริขารของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมปรุงแต่ง
เมตตาเจโตวิมุตติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการนี้เป็นบริวารของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมห้อมล้อม
เมตตาเจโตวิมุตติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการนี้เป็นอาเสวนะ เป็นภาวนา เป็นพหุลีกรรม เป็นอลังการ
เป็นบริขาร เป็นบริวาร เป็นความเต็มรอบ เป็นสหรคต (ไปร่วมกัน) เป็นสหชาติ
(เกิดร่วมกัน) เป็นความเกี่ยวข้อง เป็นสัมปยุตตะ (ประกอบกัน) เป็นความแล่นไป
เป็นความผ่องใส เป็นความตั้งอยู่ดี เป็นความพ้นวิเศษ เป็นความเห็นว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๔. เมตตากถา ๒. พลวาร
“นี้ละเอียด” ของเมตตาเจโตวิมุตติ เมตตาเจโตวิมุตติที่บุคคลทำให้เป็นดุจยาน ทำ
ให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนือง ๆ สั่งสมแล้ว ปรารภเสมอดีแล้ว เจริญดีแล้ว อธิษฐานดีแล้ว
ดำเนินไปดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมยังเมตตานั้นให้เกิด ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว
อินทริยวาร จบ

๒. พลวาร
วาระว่าด้วยพละ
[๒๔] ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธา ด้วยมนสิการว่า
“ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีสุขเถิด” เมตตาเจโตวิมุตติ
ชื่อว่าอบรมแล้วด้วยสัทธาพละ
ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน ด้วยมนสิการว่า “ขอสัตว์
ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีสุขเถิด” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่า
อบรมแล้วด้วยวิริยพละ
ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวเพราะความประมาท ด้วยมนสิการว่า “ขอสัตว์
ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีสุขเถิด” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่า
อบรมแล้วด้วยสติพละ
ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ ด้วยมนสิการว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจง
เป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีสุขเถิด” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้ว
ด้วยสมาธิพละ
ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา ด้วยมนสิการว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจง
เป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีสุขเถิด” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้ว
ด้วยปัญญาพละ
พละ ๕ ประการนี้เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมปฏิบัติ
เมตตาเจโตวิมุตติด้วยพละ ๕ ประการนี้
พละ ๕ ประการนี้เป็นภาวนาของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมเจริญเมตตา-
เจโตวิมุตติด้วยพละ ๕ ประการนี้

 


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๔. เมตตากถา ๓. โพชฌังควาร
พละ ๕ ประการนี้เป็นพหุลีกรรมของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมทำให้มาก
ซึ่งเมตตาเจโตวิมุตติด้วยพละ ๕ ประการนี้
พละ ๕ ประการนี้เป็นอลังการของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมประดับ
เมตตาเจโตวิมุตติด้วยพละ ๕ ประการนี้
พละ ๕ ประการนี้เป็นบริขารของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมปรุงแต่ง
เมตตาเจโตวิมุตติด้วยพละ ๕ ประการนี้
พละ ๕ ประการนี้เป็นบริวารของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมห้อมล้อม
เมตตาเจโตวิมุตติด้วยพละ ๕ ประการนี้
พละ ๕ ประการนี้เป็นอาเสวนะ เป็นภาวนา เป็นพหุลีกรรม เป็นอลังการ
เป็นบริขาร เป็นบริวาร เป็นความเต็มรอบ เป็นสหรคต เป็นสหชาติ เป็นความ
เกี่ยวข้อง เป็นสัมปยุตตะ เป็นความแล่นไป เป็นความผ่องใส เป็นความตั้งอยู่
ด้วยดี เป็นความพ้นวิเศษ เป็นความเห็นว่า “นี้ละเอียด” ของเมตตาเจโตวิมุตติ
เมตตาเจโตวิมุตติที่บุคคลทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆ สั่งสมแล้ว
ปรารภเสมอดีแล้ว เจริญดีแล้ว อธิษฐานดีแล้ว ดำเนินไปดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว
ย่อมยังเมตตานั้นให้เกิด ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว
พลวาร จบ

๓. โพชฌังควาร
วาระว่าด้วยโพชฌงค์
[๒๕] ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้มั่นว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความ
ปลอดโปร่ง มีสุขเถิด” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยสติสัมโพชฌงค์
ผู้เจริญเมตตาเลือกเฟ้นด้วยปัญญาว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ”
เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
ผู้เจริญเมตตาประคองความเพียรว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ”
เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยวิริยสัมโพชฌงค์
ผู้เจริญเมตตาระงับความเร่าร้อนว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ”
เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยปีติสัมโพชฌงค์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๔. เมตตากถา ๓. โพชฌังควาร
ผู้เจริญเมตตาระงับความคิดชั่วหยาบว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ”
เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
ผู้เจริญเมตตาตั้งจิตไว้มั่นว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ” เมตตา-
เจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยสมาธิสัมโพชฌงค์
ผู้เจริญเมตตาเพ่งเฉยกิเลสทั้งหลายด้วยญาณว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มี
เวร มีความปลอดโปร่ง มีสุขเถิด” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยอุเบกขา-
สัมโพชฌงค์
โพชฌงค์ ๗ ประการนี้เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมปฏิบัติ
เมตตาเจโตวิมุตติด้วยโพชฌงค์ ๗ ประการนี้
โพชฌงค์ ๗ ประการนี้เป็นภาวนาของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมเจริญ
เมตตาเจโตวิมุตติด้วยโพชฌงค์ ๗ ประการนี้
โพชฌงค์ ๗ ประการนี้เป็นพหุลีกรรมของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมทำ
ให้มากซึ่งเมตตาเจโตวิมุตติด้วยโพชฌงค์ ๗ ประการนี้
โพชฌงค์ ๗ ประการนี้เป็นอลังการของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมประดับ
เมตตาเจโตวิมุตติด้วยโพชฌงค์ ๗ ประการนี้
โพชฌงค์ ๗ ประการนี้เป็นบริขารของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมปรุงแต่ง
เมตตาเจโตวิมุตติด้วยโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ โพชฌงค์ ๗ ประการนี้เป็นบริวารของ
เมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมห้อมล้อมเมตตาเจโตวิมุตติด้วยโพชฌงค์ ๗ ประการนี้
โพชฌงค์ ๗ ประการนี้เป็นอาเสวนะ เป็นภาวนา เป็นพหุลีกรรม เป็นอลังการ
เป็นบริขาร เป็นบริวาร เป็นความเต็มรอบ เป็นสหรคต เป็นสหชาติ เป็นความ
เกี่ยวข้อง เป็นสัมปยุตตะ เป็นความแล่นไป เป็นความผ่องใส เป็นความตั้งอยู่ด้วยดี
เป็นความพ้นวิเศษ เป็นความเห็นว่า “นี้ละเอียด” ของเมตตาเจโตวิมุตติ เมตตา-
เจโตวิมุตติที่บุคคลทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆ สั่งสมแล้ว
ปรารภเสมอดีแล้ว เจริญดีแล้ว อธิษฐานดีแล้ว ดำเนินไปดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว
ย่อมยังเมตตานั้นให้เกิด ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว
โพชฌังควาร จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๔. เมตตากถา ๔. มัคคังควาร
๔. มัคคังควาร
วาระว่าด้วยองค์แห่งมรรค
[๒๖] ผู้เจริญเมตตาเห็นโดยชอบว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มี
ความปลอดโปร่ง มีสุขเถิด” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยสัมมาทิฏฐิ
ผู้เจริญเมตตาตรึกตรองโดยชอบว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ”
เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยสัมมาสังกัปปะ
ผู้เจริญเมตตากำหนดโดยชอบว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ”
เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยสัมมาวาจา
ผู้เจริญเมตตาตั้งการงานไว้โดยชอบว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร
ฯลฯ” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยสัมมากัมมันตะ
ผู้เจริญเมตตาชำระอาชีวะให้ผ่องแผ้วโดยชอบว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มี
เวร ฯลฯ” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยสัมมาอาชีวะ
ผู้เจริญเมตตาประคองความเพียรไว้โดยชอบว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร
ฯลฯ” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยสัมมาวายามะ
ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้โดยชอบว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ”
เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยสัมมาสติ
ผู้เจริญเมตตาตั้งจิตไว้โดยชอบว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความ
ปลอดโปร่ง มีสุขเถิด” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยสัมมาสมาธิ
องค์มรรค ๘ ประการนี้เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมปฏิบัติ
เมตตาเจโตวิมุตติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้
องค์มรรค ๘ ประการนี้เป็นภาวนาของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมเจริญ
เมตตาเจโตวิมุตติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้
องค์มรรค ๘ ประการนี้เป็นพหุลีกรรมของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมทำให้
มากซึ่งเมตตาเจโตวิมุตติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๔. เมตตากถา ๔. มัคคังควาร
องค์มรรค ๘ ประการนี้เป็นอลังการของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมประดับ
เมตตาเจโตวิมุตติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้
องค์มรรค ๘ ประการนี้เป็นบริขารของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมปรุงแต่ง
เมตตาเจโตวิมุตติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้
องค์มรรค ๘ ประการนี้เป็นบริวารของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมห้อมล้อม
เมตตาเจโตวิมุตติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้
องค์มรรค ๘ ประการนี้เป็นอาเสวนะ เป็นภาวนา เป็นพหุลีกรรม เป็นอลังการ
เป็นบริขาร เป็นบริวาร เป็นความเต็มรอบ เป็นสหรคต เป็นสหชาติ เป็นความ
เกี่ยวข้อง เป็นสัมปยุตตะ เป็นความแล่นไป เป็นความผ่องใส เป็นความตั้งอยู่
ด้วยดี เป็นความพ้นวิเศษ เป็นความเห็นว่า “นี้ละเอียด” ของเมตตาเจโตวิมุตติ
เมตตาเจโตวิมุตติที่บุคคลทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆ สั่งสมแล้ว
ปรารภเสมอดีแล้ว เจริญดีแล้ว อธิษฐานดีแล้ว ดำเนินไปดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว
ย่อมยังเมตตานั้นให้เกิด ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว
[๒๗] ผู้เจริญเมตตาแผ่ความรักไปสู่ปาณชาติทั้งปวง ฯลฯ สู่ภูตทั้งปวง ฯลฯ
สู่บุคคลทั้งปวง ฯลฯ สู่ผู้ที่นับเนื่องด้วยอัตภาพทั้งปวง ฯลฯ สู่สตรีทั้งปวง ฯลฯ
สู่บุรุษทั้งปวง ฯลฯ สู่อารยชนทั้งปวง ฯลฯ สู่อนารยชนทั้งปวง ฯลฯ สู่เทวดา
ทั้งปวง ฯลฯ สู่มนุษย์ทั้งปวง ฯลฯ
ผู้เจริญเมตตาแผ่ความรักไปสู่วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงด้วยอาการ ๘ อย่างนี้ คือ
๑. ด้วยเว้นความบีบคั้น ไม่บีบคั้นวินิปาติกสัตว์ทั้งปวง
๒. ด้วยเว้นการฆ่า ไม่ฆ่าวินิปาติกสัตว์ทั้งปวง
๓. ด้วยเว้นการทำให้เดือดร้อน ไม่ทำวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงให้เดือดร้อน
๔. ด้วยเว้นความย่ำยี ไม่ย่ำยีวินิปาติกสัตว์ทั้งปวง
๕. ด้วยเว้นการเบียดเบียน ไม่เบียดเบียนวินิปาติกสัตว์ทั้งปวง
๖. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร อย่าได้มีเวรกัน
๗. จงเป็นผู้มีสุข อย่ามีทุกข์
๘. จงมีตนเป็นสุข อย่ามีตนเป็นทุกข์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๔. เมตตากถา ๔. มัคคังควาร
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเมตตา จิตคิดถึงธรรมนั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเจโต
จิตพ้นจากพยาบาทและกิเลสที่กลุ้มรุมจิตทั้งปวง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าวิมุตติ
เมตตาด้วย เป็นเจโตวิมุตติด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเมตตาเจโตวิมุตติ
ผู้เจริญเมตตาน้อมใจเชื่อด้วยศรัทธาว่า “ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มี
เวร มีความปลอดโปร่ง มีสุขเถิด” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยสัทธินทรีย์
ฯลฯ ย่อมให้รุ่งเรือง ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว
ผู้เจริญเมตตาแผ่ความรักไปสู่สัตว์ทั้งปวงในทิศบูรพา ฯลฯ สู่สัตว์ทั้งปวงใน
ทิศปัจฉิม ฯลฯ สู่สัตว์ทั้งปวงในทิศอุดร ฯลฯ สู่สัตว์ทั้งปวงในทิศทักษิณ ฯลฯ
สู่สัตว์ทั้งปวงในทิศอาคเนย์ ฯลฯ สู่สัตว์ทั้งปวงในทิศพายัพ ฯลฯ สู่สัตว์ทั้งปวง
ในทิศอีสาน ฯลฯ สู่สัตว์ทั้งปวงในทิศหรดี ฯลฯ สู่สัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องล่าง ฯลฯ
ผู้เจริญเมตตาแผ่ความรักไปสู่สัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบนด้วยอาการ ๘ อย่างนี้
คือ
๑. ด้วยเว้นความบีบคั้น ไม่บีบคั้นสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน
๒. ด้วยเว้นการฆ่า ไม่ฆ่าสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน
๓. ด้วยเว้นการทำให้เดือดร้อน ไม่ทำสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบนให้
เดือดร้อน
๔. ด้วยเว้นความย่ำยี ไม่ย่ำยีสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน
๕. ด้วยเว้นการเบียดเบียน ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน
๖. ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบนจงเป็นผู้ไม่มีเวร อย่าได้มีเวรกัน
๗. จงเป็นผู้มีสุข อย่ามีทุกข์
๘. จงมีตนเป็นสุข อย่ามีตนเป็นทุกข์
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเมตตา จิตคิดถึงธรรมนั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเจโต
จิตพ้นจากพยาบาทและกิเลสที่กลุ้มรุมจิตทั้งปวง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าวิมุตติ
เมตตาด้วย เป็นเจโตวิมุตติด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเมตตาเจโตวิมุตติ
ผู้เจริญเมตตาน้อมใจเชื่อด้วยศรัทธาว่า “ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มี
เวร มีความปลอดโปร่ง มีสุขเถิด” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยสัทธินทรีย์
ฯลฯ ย่อมให้รุ่งเรือง ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๔. เมตตากถา ๔. มัคคังควาร
ผู้เจริญเมตตาแผ่ความรักไปสู่ปาณชาติทั้งปวงในทิศบูรพา ฯลฯ สู่ภูตทั้งปวง
ในทิศบูรพา ฯลฯ สู่บุคคลทั้งปวงในทิศบูรพา ฯลฯ สู่ผู้นับเนื่องในอัตภาพทั้งปวง
ในทิศบูรพา ฯลฯ สู่สตรีทั้งปวงในทิศบูรพา ฯลฯ สู่บุรุษทั้งปวงในทิศบูรพา ฯลฯ
สู่อารยชนทั้งปวงในทิศบูรพา ฯลฯ สู่อนารยชนทั้งปวงในทิศบูรพา ฯลฯ สู่เทวดา
ทั้งปวงในทิศบูรพา ฯลฯ สู่มนุษย์ทั้งปวงในทิศบูรพา ฯลฯ
ผู้เจริญเมตตาแผ่ความรักไปสู่วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศบูรพา ฯลฯ สู่
วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศปัจฉิม ฯลฯ สู่วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศอุดร ฯลฯ สู่
วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศทักษิณ ฯลฯ สู่วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศอาคเนย์ ฯลฯ
สู่วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศพายัพ ฯลฯ สู่วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศอีสาน ฯลฯ
สู่วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศหรดี ฯลฯ สู่วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องล่าง ฯลฯ
ผู้เจริญเมตตาแผ่ความรักไปสู่วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบนด้วยอาการ ๘
อย่างนี้ คือ
๑. ด้วยเว้นความบีบคั้น ไม่บีบคั้นวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน
๒. ด้วยเว้นการฆ่า ไม่ฆ่าวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน
๓. ด้วยเว้นการทำให้เดือดร้อน ไม่ทำวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศ
เบื้องบนให้เดือดร้อน
๔. ด้วยเว้นความย่ำยี ไม่ย่ำยีวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน
๕. ด้วยเว้นการเบียดเบียน ไม่เบียดเบียนวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศ
เบื้องบน
๖. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบนจงเป็นผู้ไม่มีเวร อย่าได้มีเวรกัน
๗. จงเป็นผู้มีสุข อย่ามีทุกข์
๘. จงมีตนเป็นสุข อย่ามีตนเป็นทุกข์
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเมตตา จิตคิดถึงธรรมนั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเจโต
จิตพ้นจากพยาบาทและกิเลสที่กลุ้มรุมจิตทั้งปวง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าวิมุตติ
เมตตาด้วย เป็นเจโตวิมุตติด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเมตตาเจโตวิมุตติ
ผู้เจริญเมตตาน้อมใจเชื่อด้วยศรัทธาว่า “ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน
จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีสุขเถิด” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้ว
ด้วยสัทธินทรีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๔. เมตตากถา ๔. มัคคังควาร
ผู้เจริญเมตตาประคองความเพียรไว้ว่า “ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน
จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีสุขเถิด” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้ว
ด้วยวิริยินทรีย์
ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้มั่น ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วย
สตินทรีย์
ผู้เจริญเมตตาตั้งจิตไว้มั่น ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วย
สมาธินทรีย์
ผู้เจริญเมตตารู้ชัดด้วยปัญญา ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วย
ปัญญินทรีย์
อินทรีย์ ๕ ประการนี้เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมปฏิบัติ
เมตตาเจโตวิมุตติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ ฯลฯ ย่อมยังเมตตานั้นให้เกิด ให้
โชติช่วง ให้สว่างไสว
ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธา ด้วยมนสิการว่า “ขอ
วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบนจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีสุขเถิด”
เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยสัทธาพละ
ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่า
อบรมแล้วด้วยวิริยพละ
ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวเพราะความประมาท ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่า
อบรมแล้วด้วยสติพละ
ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรม
แล้วด้วยสมาธิพละ
ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรม
แล้วด้วยปัญญาพละ
พละ ๕ ประการนี้เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมปฏิบัติ
เมตตาเจโตวิมุตติด้วยพละ ๕ ประการนี้ ฯลฯ ย่อมยังเมตตานั้นให้เกิด ให้โชติช่วง
ให้สว่างไสว


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๔. เมตตากถา ๔. มัคคังควาร
ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้มั่นว่า “ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบนจงเป็นผู้
ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีสุขเถิด” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยสติ-
สัมโพชฌงค์
ผู้เจริญเมตตาเลือกเฟ้นด้วยปัญญา ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้ว
ด้วยธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
ผู้เจริญเมตตาประคองความเพียร ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้ว
ด้วยวิริยสัมโพชฌงค์
ผู้เจริญเมตตาระงับความเร่าร้อน ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้ว
ด้วยปีติสัมโพชฌงค์
ผู้เจริญเมตตาระงับความคิดชั่วหยาบ ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรม
แล้วด้วยปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
ผู้เจริญเมตตาตั้งจิตไว้มั่น ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยสมาธิ-
สัมโพชฌงค์
ผู้เจริญเมตตาเพ่งเฉยกิเลสทั้งปวงด้วยญาณ ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่า
อบรมแล้วด้วยอุเบกขาสัมโพชฌงค์
โพชฌงค์ ๗ ประการนี้เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมปฏิบัติ
เมตตาเจโตวิมุตติด้วยโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ ฯลฯ ย่อมยังเมตตานั้นให้เกิด ให้
โชติช่วง ให้สว่างไสว
ผู้เจริญเมตตาเห็นโดยชอบว่า “ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จง
เป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีสุขเถิด” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้ว
ด้วยสัมมาทิฏฐิ
ผู้เจริญเมตตาตรึกตรองโดยชอบ ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วย
สัมมาสังกัปปะ
ผู้เจริญเมตตากำหนดโดยชอบ ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วย
สัมมาวาจา
ผู้เจริญเมตตาตั้งการงานไว้โดยชอบ ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรม
แล้วด้วยสัมมากัมมันตะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๕. วิราคกถา
ผู้เจริญเมตตาชำระอาชีวะให้ผ่องแผ้วโดยชอบ ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่า
อบรมแล้วด้วยสัมมาอาชีวะ
ผู้เจริญเมตตาประคองความเพียรไว้โดยชอบ ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่า
อบรมแล้วด้วยสัมมาวายามะ
ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้โดยชอบ ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้ว
ด้วยสัมมาสติ
ผู้เจริญเมตตาตั้งจิตไว้โดยชอบ ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้ว
ด้วยสัมมาสมาธิ
องค์มรรค ๘ ประการนี้เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมปฏิบัติ
เมตตาเจโตวิมุตติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ ฯลฯ
องค์มรรค ๘ ประการนี้เป็นบริวารของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อม
ห้อมล้อมเมตตาเจโตวิมุตติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้
องค์มรรค ๘ ประการนี้เป็นอาเสวนะ เป็นภาวนา เป็นพหุลีกรรม เป็นอลังการ
เป็นบริขาร เป็นบริวาร เป็นความเต็มรอบ เป็นสหรคต เป็นสหชาติ เป็นความ
เกี่ยวข้อง เป็นสัมปยุตตะ เป็นความแล่นไป เป็นความผ่องใส เป็นความดำรงมั่น
เป็นความพ้นวิเศษ เป็นความเห็นว่า “นี้ละเอียด” ของเมตตาเจโตวิมุตติ เมตตา-
เจโตวิมุตติที่บุคคลทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนือง ๆ สั่งสมแล้ว ปรารภ
เสมอดีแล้ว เจริญดีแล้ว อธิษฐานดีแล้ว ดำเนินไปดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมยัง
เมตตานั้นให้เกิด ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว
มัคคังควาร จบ
เมตตากถา จบ

๕. วิราคกถา
ว่าด้วยวิราคะ
[๒๘] วิราคะชื่อว่ามรรค วิมุตติชื่อว่าผล
วิราคะชื่อว่ามรรค เป็นอย่างไร
คือ ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค วิราคะที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น
ย่อมคลายจากมิจฉาทิฏฐิ คลายจากกิเลสอันเป็นไปตามมิจฉาทิฏฐินั้น จากขันธ์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๗๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๕. วิราคกถา
และคลายจากสรรพนิมิตภายนอก วิราคะมีวิราคะ๑เป็นอารมณ์ มีวิราคะเป็นโคจร
รวมลงในวิราคะ ตั้งอยู่ในวิราคะ ประดิษฐานอยู่ในวิราคะ
คำว่า วิราคะ อธิบายว่า วิราคะมี ๒ อย่าง คือ
๑. นิพพานเป็นวิราคะ
๒. ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะมีนิพพานเป็นอารมณ์เป็นวิราคะ
เพราะฉะนั้น มรรคจึงเป็นวิราคะ องค์มรรค ๗ ที่เป็นสหชาติย่อมถึงความ
เป็นวิราคะ เพราะฉะนั้น วิราคะจึงเป็นมรรค พระพุทธเจ้า และสาวกย่อมถึง
นิพพานซึ่งเป็นทิศที่ไม่เคยไปด้วยมรรคนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่ามรรคมีองค์ ๘
อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้นล้ำเลิศ เป็นประธาน สูงสุด และประเสริฐกว่ามรรค
ของสมณพราหมณ์เป็นจำนวนมากผู้ถือลัทธิอื่น เพราะฉะนั้น มรรคมีองค์ ๘ จึง
ประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย วิราคะที่ชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ เพราะมีสภาวะตรึกตรอง
ย่อมคลายจากมิจฉาสังกัปปะ ฯลฯ วิราคะที่ชื่อว่าสัมมาวาจา เพราะมีสภาวะ
กำหนด ย่อมคลายจากมิจฉาวาจา วิราคะที่ชื่อว่าสัมมากัมมันตะ เพราะมีสภาวะ
เป็นสมุฏฐาน ย่อมคลายจากมิจฉากัมมันตะ วิราคะที่ชื่อว่าสัมมาอาชีวะ เพราะมี
สภาวะผ่องแผ้ว ย่อมคลายจากมิจฉาอาชีวะ วิราคะที่ชื่อว่าสัมมาวายามะ เพราะ
มีสภาวะประคองไว้ ย่อมคลายจากมิจฉาวายามะ วิราคะที่ชื่อว่าสัมมาสติ เพราะ
มีสภาวะตั้งมั่น ย่อมคลายจากมิจฉาสติ วิราคะที่ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะมี
สภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมคลายจากมิจฉาสมาธิ คลายจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉา-
สมาธินั้น จากขันธ์ และคลายจากสรรพนิมิตภายนอก วิราคะจึงมีวิราคะเป็นอารมณ์
มีวิราคะเป็นโคจร รวมลงในวิราคะ ตั้งอยู่ในวิราคะ ประดิษฐานอยู่ในวิราคะ
คำว่า วิราคะ อธิบายว่า วิราคะมี ๒ อย่าง คือ
๑. นิพพานเป็นวิราคะ
๒. ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะมีนิพพานเป็นอารมณ์เป็นวิราคะ

เชิงอรรถ :
๑ วิราคะ ในที่นี้หมายถึงนิพพาน (ขุ.ป.อ. ๒/๘/๒๔๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๕. วิราคกถา
เพราะฉะนั้น มรรคจึงเป็นวิราคะ องค์มรรค ๗ ที่เป็นสหชาติ ย่อมถึงความ
เป็นวิราคะ เพราะฉะนั้น วิราคะจึงเป็นมรรค พระพุทธเจ้า และสาวก ย่อมถึง
นิพพานซึ่งเป็นทิศที่ไม่เคยไปด้วยมรรคนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่ามรรคมีองค์ ๘
อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้นล้ำเลิศ เป็นประธาน สูงสุด และประเสริฐกว่ามรรค
ของสมณพรหมณ์เป็นจำนวนมากผู้ถือลัทธิอื่น เพราะฉะนั้น มรรคมีองค์ ๘ จึง
ประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย
ในขณะแห่งสกทาคามิมรรค วิราคะที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น ฯลฯ
วิราคะที่ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมคลายจากกามราค-
สังโยชน์ จากปฏิฆสังโยชน์ ส่วนที่หยาบ ๆ จากกามราคานุสัย จากปฏิฆานุสัย
ส่วนที่หยาบ ๆ คลายจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ และคลาย
จากสรรพนิมิตภายนอก วิราคะจึงมีวิราคะเป็นอารมณ์ มีวิราคะเป็นโคจร รวมลง
ในวิราคะ ตั้งอยู่ในวิราคะ ประดิษฐานอยู่ในวิราคะ
คำว่า วิราคะ อธิบายว่า วิราคะมี ๒ อย่าง คือ
๑. นิพพานเป็นวิราคะ
๒. ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะมีนิพพานเป็นอารมณ์เป็นวิราคะ
ฯลฯ เพราะฉะนั้น มรรคมีองค์ ๘ จึงประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย
ในขณะแห่งอนาคามิมรรค วิราคะที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น ฯลฯ
วิราคะที่ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมคลายจากกามราค-
สังโยชน์ จากปฏิฆสังโยชน์ ส่วนที่ละเอียด ๆ จากกามราคานุสัย จากปฏิฆานุสัย
ส่วนที่ละเอียด ๆ คลายจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ และคลาย
จากสรรพนิมิตภายนอก วิราคะจึงมีวิราคะเป็นอารมณ์ ฯลฯ เพราะฉะนั้น มรรค
มีองค์ ๘ จึงประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย
ในขณะแห่งอรหัตตมรรค วิราคะที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น ฯลฯ
วิราคะที่ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมคลายจากรูปราคะ จาก
อรูปราคะ จากอุทธัจจะ จากอวิชชา จากมานานุสัย จากภวราคานุสัย จาก
อวิชชานุสัย คลายจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ และคลายจาก
สรรพนิมิตภายนอก วิราคะจึงมีวิราคะเป็นอารมณ์ มีวิราคะเป็นโคจร รวมลงใน
วิราคะ ตั้งอยู่ในวิราคะ ประดิษฐานอยู่ในวิราคะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๕. วิราคกถา
คำว่า วิราคะ อธิบายว่า วิราคะมี ๒ อย่าง คือ
๑. นิพพานเป็นวิราคะ
๒. ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะมีนิพพานเป็นอารมณ์เป็นวิราคะ
เพราะฉะนั้น มรรคจึงเป็นวิราคะ องค์มรรค ๗ ที่เป็นสหชาติย่อมถึงความ
เป็นวิราคะ เพราะฉะนั้น วิราคะจึงเป็นมรรค พระพุทธเจ้า และสาวกย่อมถึง
นิพพานซึ่งเป็นทิศที่ไม่เคยไปด้วยมรรคนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่ามรรคมีองค์ ๘
อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้นล้ำเลิศ เป็นประธาน สูงสุด และประเสริฐกว่ามรรค
ของสมณพราหมณ์เป็นจำนวนมากผู้ถือลัทธิอื่น เพราะฉะนั้น มรรคมีองค์ ๘ จึง
ประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย
วิราคะคือความเห็น ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ วิราคะคือความตรึกตรอง ชื่อว่าสัมมา-
สังกัปปะ วิราคะคือความกำหนด ชื่อว่าสัมมาวาจา วิราคะคือสมุฏฐาน ชื่อว่า
สัมมากัมมันตะ วิราคะคือความผ่องแผ้ว ชื่อว่าสัมมาอาชีวะ วิราคะคือการ
ประคองไว้ ชื่อว่าสัมมาวายามะ วิราคะคือความตั้งมั่น ชื่อว่าสัมมาสติ วิราคะคือ
ความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าสัมมาสมาธิ
วิราคะคือความตั้งมั่น ชื่อว่าสติสัมโพชฌงค์ วิราคะคือการเลือกเฟ้น ชื่อว่า
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิราคะคือการประคองไว้ ชื่อว่าวิริยสัมโพชฌงค์ วิราคะคือ
ความแผ่ไป ชื่อว่าปีติสัมโพชฌงค์ วิราคะคือความสงบระงับ ชื่อว่าปัสสัทธิ-
สัมโพชฌงค์ วิราคะคือความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าสมาธิสัมโพชฌงค์ วิราคะคือการ
พิจารณา ชื่อว่าอุเบกขาสัมโพชฌงค์
วิราคะคือความไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธา ชื่อว่าสัทธาพละ วิราคะคือ
ความไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน ชื่อว่าวิริยพละ วิราคะคือความไม่หวั่นไหว
เพราะความประมาท ชื่อว่าสติพละ วิราคะคือความไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ ชื่อว่า
สมาธิพละ วิราคะคือความไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา ชื่อว่าปัญญาพละ
วิราคะคือความน้อมใจเชื่อ ชื่อว่าสัทธินทรีย์ วิราคะคือการประคองไว้ ชื่อว่า
วิริยินทรีย์ วิราคะคือความตั้งมั่น ชื่อว่าสตินทรีย์ วิราคะคือความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่า
สมาธินทรีย์ วิราคะคือความเห็น ชื่อว่าปัญญินทรีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๕. วิราคกถา
วิราคะที่ชื่อว่าอินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ วิราคะที่ชื่อว่าพละ เพราะมี
สภาวะไม่หวั่นไหว วิราคะที่ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะนำออก วิราคะที่ชื่อว่า
มรรค เพราะมีสภาวะเป็นเหตุ วิราคะที่ชื่อว่าสติปัฏฐาน เพราะมีสภาวะตั้งมั่น วิราคะ
ที่ชื่อว่าสัมมัปปธาน เพราะมีสภาวะเริ่มตั้งไว้ วิราคะที่ชื่อว่าอิทธิบาท เพราะมีสภาวะ
ให้สำเร็จ วิราคะที่ชื่อว่าสัจจะ เพราะมีสภาวะเป็นของแท้ วิราคะที่ชื่อว่าสมถะ เพราะ
มีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน วิราคะที่ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น วิราคะที่
ชื่อว่าสมถะและวิปัสสนา เพราะมีสภาวะมีรสเป็นอย่างเดียวกัน วิราคะที่ชื่อว่าธรรม
ที่เป็นคู่กัน เพราะมีสภาวะไม่ล่วงเลยกัน
วิราคะที่ชื่อว่าสีลวิสุทธิ๑ เพราะมีสภาวะสำรวม วิราคะที่ชื่อว่าจิตตวิสุทธิ๒
เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน วิราคะที่ชื่อว่าทิฏฐิวิสุทธิ เพราะมีสภาวะเห็น วิราคะที่
ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะมีสภาวะพ้นวิเศษ วิราคะที่ชื่อว่าวิชชา เพราะมีสภาวะรู้แจ้ง
วิราคะที่ชื่อว่าวิมุตติ๓ เพราะมีสภาวะสละ วิราคะที่ชื่อว่าญาณในความสิ้นไป เพราะ
มีสภาวะตัดขาด วิราคะที่ชื่อว่าฉันทะ เพราะมีสภาวะเป็นมูล วิราคะที่ชื่อว่ามนสิการ
เพราะมีสภาวะเป็นสมุฏฐาน วิราคะที่ชื่อว่าผัสสะ เพราะมีสภาวะเป็นที่รวม
วิราคะที่ชื่อว่าเวทนา เพราะมีสภาวะเป็นที่ประชุม วิราคะที่ชื่อว่าสมาธิ เพราะมี
สภาวะเป็นประธาน วิราคะที่ชื่อว่าสติ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ วิราคะที่ชื่อว่าปัญญา
เพราะมีสภาวะเป็นธรรมที่ยิ่งกว่าธรรมนั้น ๆ วิราคะที่ชื่อว่าวิมุตติ เพราะมีสภาวะ
เป็นแก่นสาร มรรคที่ชื่อว่าธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เพราะมีสภาวะเป็นที่สุด
มรรคคือความเห็น ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ มรรคคือความตรึกตรอง ชื่อว่าสัมมา-
สังกัปปะ ฯลฯ มรรคที่ชื่อว่าธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เพราะมีสภาวะ
เป็นที่สุด
วิราคะชื่อว่ามรรคอย่างนี้

เชิงอรรถ :
๑ สีลวิสุทธิ หมายถึงสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ (ขุ.ป.อ. ๒/๒๘/๒๔๙)
๒ จิตตวิสุทธิ หมายถึงสัมมาสมาธิ (ขุ.ป.อ. ๒/๒๘/๒๔๙)
๓ วิมุตติ หมายถึงสมุจเฉทวิมุตติ (ขุ.ป.อ. ๒/๒๘/๒๔๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๕. วิราคกถา
[๒๙] วิมุตติชื่อว่าผล เป็นอย่างไร
คือ ในขณะแห่งโสดาปัตติผล วิมุตติที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น
ย่อมพ้นจากมิจฉาทิฏฐิ พ้นจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาทิฏฐินั้น จากขันธ์ และ
พ้นจากสรรพนิมิตภายนอก วิมุตติจึงมีวิมุตติเป็นอารมณ์ มีวิมุตติเป็นโคจร รวม
ลงในวิมุตติ ตั้งอยู่ในวิมุตติ ประดิษฐานอยู่ในวิมุตติ
คำว่า วิมุตติ อธิบายว่า วิมุตติมี ๒ อย่าง คือ
๑. นิพพานเป็นวิมุตติ
๒. ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะมีนิพพานเป็นอารมณ์เป็นวิมุตติ
เพราะฉะนั้น วิมุตติจึงชื่อว่าเป็นผล
วิมุตติที่ชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ เพราะมีสภาวะตรึกตรอง ย่อมพ้นจากมิจฉา-
สังกัปปะ ฯลฯ วิมุตติที่ชื่อว่าสัมมาวาจา เพราะมีสภาวะกำหนด ย่อมพ้นจาก
มิจฉาวาจา ฯลฯ วิมุตติที่ชื่อว่าสัมมากัมมันตะ เพราะมีสภาวะเป็นสมุฏฐาน
ย่อมพ้นจากมิจฉากัมมันตะ ฯลฯ วิมุตติที่ชื่อว่าสัมมาอาชีวะ เพราะมีสภาวะ
ผ่องแผ้ว ย่อมพ้นจากมิจฉาอาชีวะ ฯลฯ วิมุตติที่ชื่อว่าสัมมาวายามะ เพราะมี
สภาวะประคองไว้ ย่อมพ้นจากมิจฉาวายามะ ฯลฯ วิมุตติที่ชื่อว่าสัมมาสติ
เพราะมีสภาวะตั้งมั่น ย่อมพ้นจากมิจฉาสติ ฯลฯ วิมุตติที่ชื่อว่าสัมมาสมาธิ
เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมพ้นจากมิจฉาสมาธิ พ้นจากกิเลสที่เป็นไปตาม
มิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ และพ้นจากสรรพนิมิตภายนอก วิมุตติจึงมีวิมุตติเป็น
อารมณ์มีวิมุตติเป็นโคจร รวมลงในวิมุตติ ตั้งอยู่ในวิมุตติ ประดิษฐานอยู่ในวิมุตติ
คำว่า วิมุตติ อธิบายว่า วิมุตติมี ๒ อย่าง คือ
๑. นิพพานเป็นวิมุตติ
๒. ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะมีนิพพานเป็นอารมณ์เป็นวิมุตติ
เพราะฉะนั้น วิมุตติจึงชื่อว่าเป็นผล
ในขณะแห่งสกทาคามิผล วิมุตติที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น ฯลฯ
วิมุตติที่ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมพ้นจากกามราคสังโยชน์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๕. วิราคกถา
จากปฏิฆสังโยชน์ ส่วนที่หยาบ ๆ จากกามราคานุสัย จากปฏิฆานุสัย ส่วนที่
หยาบ ๆ พ้นจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ และพ้นจากสรรพนิมิต
ภายนอก ฯลฯ เพราะฉะนั้น วิมุตติจึงชื่อว่าเป็นผล
ในขณะแห่งอนาคามิผล วิมุตติที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น ฯลฯ
วิมุตติที่ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมพ้นจากกามราคสังโยชน์
จากปฏิฆสังโยชน์ ส่วนที่ละเอียด ๆ จากกามราคานุสัย จากปฏิฆานุสัย ส่วนที่
ละเอียด ๆ พ้นจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ และพ้นจาก
สรรพนิมิตภายนอก ฯลฯ เพราะฉะนั้น วิมุตติจึงชื่อว่าเป็นผล
ในขณะแห่งอรหัตตผล วิมุตติที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น ฯลฯ
วิมุตติที่ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมพ้นจากรูปราคะ จาก
อรูปราคะ จากมานะ จากอุทธัจจะ จากอวิชชา จากมานานุสัย จากภวราคานุสัย
จากอวิชชานุสัย พ้นจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ และพ้น
จากสรรพนิมิตภายนอก วิมุตติจึงมีวิมุตติเป็นอารมณ์ มีวิมุตติเป็นโคจร รวมลงใน
วิมุตติ ตั้งอยู่ในวิมุตติ ประดิษฐานอยู่ในวิมุตติ
คำว่า วิมุตติ อธิบายว่า วิมุตติมี ๒ อย่าง คือ
๑. นิพพานเป็นวิมุตติ
๒. ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะมีนิพพานเป็นอารมณ์เป็นวิมุตติ
เพราะฉะนั้น วิมุตติจึงชื่อว่าเป็นผล
วิมุตติคือความเห็น ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ วิมุตติคือความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่า
สัมมาสมาธิ
วิมุตติคือความตั้งมั่น ชื่อว่าสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ วิมุตติคือการพิจารณา
ชื่อว่าอุเบกขาสัมโพชฌงค์
วิมุตติคือความไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธา ชื่อว่าสัทธาพละ ฯลฯ
วิมุตติคือความไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา ชื่อว่าปัญญาพละ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๕. วิราคกถา
วิมุตติคือความน้อมใจเชื่อ ชื่อว่าสัทธินทรีย์ ฯลฯ วิมุตติคือความเห็น ชื่อว่า
ปัญญินทรีย์
วิมุตติที่ชื่อว่าอินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ วิมุตติที่ชื่อว่าพละ เพราะมี
สภาวะไม่หวั่นไหว วิมุตติที่ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะนำออก วิมุตติที่ชื่อว่า
มรรค เพราะมีสภาวะเป็นเหตุ วิมุตติที่ชื่อว่าสติปัฏฐาน เพราะมีสภาวะตั้งมั่น
วิมุตติที่ชื่อว่าสัมมัปปธาน เพราะมีสภาวะเริ่มตั้งไว้ วิมุตติที่ชื่อว่าอิทธิบาท
เพราะมีสภาวะให้สำเร็จ วิมุตติที่ชื่อว่าสัจจะ เพราะมีสภาวะเป็นของแท้ วิมุตติที่
ชื่อว่าสมถะ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน วิมุตติที่ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะ
พิจารณาเห็น วิมุตติที่ชื่อว่าสมถะและวิปัสสนา เพราะมีสภาวะมีรสเป็นอย่าง
เดียวกัน วิมุตติที่ชื่อว่าธรรมที่เป็นคู่กัน เพราะมีสภาวะไม่ล่วงเลยกัน
วิมุตติที่ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีสภาวะสำรวม วิมุตติที่ชื่อว่าจิตตวิสุทธิ
เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน วิมุตติที่ชื่อว่าทิฏฐิวิสุทธิ เพราะมีสภาวะเห็น วิมุตติที่
ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะมีสภาวะพ้นวิเศษ วิมุตติที่ชื่อว่าวิชชา เพราะมีสภาวะรู้แจ้ง
วิมุตติที่ชื่อว่าวิมุตติ เพราะมีสภาวะสละ วิมุตติที่ชื่อว่าอนุปปาทญาณ เพราะมี
สภาวะสงบระงับ วิมุตติที่ชื่อว่าฉันทะ เพราะมีสภาวะเป็นมูล วิมุตติที่ชื่อว่า
มนสิการ เพราะมีสภาวะเป็นสมุฏฐาน วิมุตติที่ชื่อว่าผัสสะ เพราะมีสภาวะเป็น
ที่รวม วิมุตติที่ชื่อว่าเวทนา เพราะมีสภาวะเป็นที่ประชุม วิมุตติที่ชื่อว่าสมาธิ
เพราะมีสภาวะเป็นประธาน วิมุตติที่ชื่อว่าสติ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ วิมุตติที่ชื่อ
ว่าปัญญา เพราะมีสภาวะเป็นธรรมที่ยิ่งกว่าธรรมนั้น วิมุตติที่ชื่อว่าวิมุตติ เพราะ
มีสภาวะเป็นแก่นสาร วิมุตติที่ชื่อว่าธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เพราะ
มีสภาวะเป็นที่สุด
วิมุตติชื่อว่าผลอย่างนี้ วิราคะชื่อว่ามรรค วิมุตติชื่อว่าผล ด้วยประการฉะนี้

วิราคกถา จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๖. ปฏิสัมภิทากถา ๑. ธัมมจักกัปปวัตตนวาร
๖. ปฏิสัมภิทากถา
ว่าด้วยปฏิสัมภิทา
๑. ธัมมจักกัปปวัตตนวาร๑
วาระว่าด้วยการประกาศธรรมจักร
[๓๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุง
พาราณสี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสแก่ภิกษุปัญจวัคคีย์ว่า
ภิกษุทั้งหลาย ที่สุด ๒ ประการนี้ บรรพชิตไม่ควรเสพ
ที่สุด ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กามสุขัลลิกานุโยค (การหมกมุ่นอยู่ด้วยกามสุขในกามทั้งหลาย)
เป็นธรรมอันเลวทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่
ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
๒. อัตตกิลมถานุโยค (การประกอบความลำบากเดือดร้อนแก่ตน) เป็น
ทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ภิกษุทั้งหลาย มัชฌิมาปฏิปทาไม่เอียงเข้าใกล้ที่สุด ๒ ประการนี้นั้นตถาคต
ตรัสรู้แล้ว ทำให้เห็นประจักษ์ ทำให้รู้ชัด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง
เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
มัชฌิมาปฏิปทาที่ตถาคตตรัสรู้แล้ว ทำให้เห็นประจักษ์ ทำให้รู้ชัด ย่อม
เป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพานนั้น เป็น
อย่างไร

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) ๔/๑๓-๑๗/๒๐-๒๕ สํ.ม. (แปล) ๑๙/๑๐๘๑/๓๖๗-๓๗๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๖. ปฏิสัมภิทากถา ๑. ธัมมจักกัปปวัตตนวาร
คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้๑ ได้แก่

๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ
๓. สัมมาวาจา ๔. สัมมากัมมันตะ
๕. สัมมาอาชีวะ ๖. สัมมาวายามะ
๗. สัมมาสติ ๘. สัมมาสมาธิ

ภิกษุทั้งหลาย มัชฌิมาปฏิปทานี้นั้น ตถาคตตรัสรู้แล้ว ทำให้เห็นประจักษ์
ทำให้รู้ชัด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
ภิกษุทั้งหลาย ทุกขอริยสัจนี้ คือ ชาติเป็นทุกข์ ชราเป็นทุกข์ พยาธิเป็นทุกข์
มรณะเป็นทุกข์ ความประสบกับอารมณ์อันไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ความพลัดพราก
จากอารมณ์อันเป็นที่รักก็เป็นทุกข์ การไม่ได้อารมณ์ที่ปรารถนาก็เป็นทุกข์ โดยย่อ
อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์
ภิกษุทั้งหลาย ทุกขสมุทยอริยสัจนี้ คือ ตัณหาอันทำให้เกิดอีกประกอบด้วย
ความเพลิดเพลิน และความกำหนัด มีปกติให้เพลิดเพลินในอารมณ์นั้น ๆ คือ
กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา

เชิงอรรถ :
๑ องค์มรรคแต่ละข้อมีนัยพิสดาร ดังนี้
๑. สัมมาทิฏฐิ หมายถึงเห็นอริยสัจ ๔ เห็นไตรลักษณ์ หรือเห็นปฏิจจสมุปบาท
๒. สัมมาสังกัปปะ หมายถึงความนึกคิดในทางสละปลอดจากกาม ความนึกคิดปลอดจากพยาบาทและ
ความนึกคิดปลอดจากการเบียดเบียน
๓. สัมมาวาจา หมายถึงพูดคำสัตย์ ไม่พูดส่อเสียด พูดคำอ่อนหวาน พูดสิ่งมีสาระ
๔. สัมมากัมมันตะ หมายถึงไม่เบียดเบียนชีวิตสัตว์ทั้งหลาย ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม
๕. สัมมาอาชีวะ หมายถึงเว้นมิจฉาชีพ ประกอบสัมมาอาชีพ
๖. สัมมาวายามะ หมายถึงเพียรระวังความชั่วไม่ให้เกิดขึ้น เพียรกำจัดความชั่วที่เกิดขึ้นแล้ว เพียรทำ
ความดีให้เกิด เพียรรักษาความดีไว้
๗. สัมมาสติ หมายถึงพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม
๘. สัมมาสมาธิ หมายถึงฌาน ๔
(ที.ม. (แปล) ๑๐/๓๒๙/๒๕๘,๔๐๒/๓๓๕, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๒๐๕/๑๗๑,๔๘๖/๓๗๑,๔๘๘,๔๙๐/๓๗๓,
๔๙๘/๓๗๗,๕๐๔/๓๘๐, ม.อ. ๑๔/๓๒๕/๒๙๗,๓๗๕/๓๑๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๖. ปฏิสัมภิทากถา ๑. ธัมมจักกัปปวัตตนวาร
ภิกษุทั้งหลาย ทุกขนิโรธอริยสัจนี้ คือความดับตัณหานั้นนั่นแลโดยไม่เหลือ
ด้วยวิราคะ ความสละ ความสละคืน ความพ้น ความไม่อาลัยในตัณหา
ภิกษุทั้งหลาย ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้คืออริยมรรคมีองค์ ๘ คือv
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้ทุกข-
อริยสัจ”
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขอริยสัจนี้
ควรกำหนดรู้” จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว
วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อน
ว่า “ทุกขอริยสัจนี้เรากำหนดรู้แล้ว”
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้ทุกขสมุทย-
อริยสัจ”
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขสมุทย-
อริยสัจนี้ควรละ” จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชา
เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า
“ทุกขสมุทยอริยสัจนี้เราละได้แล้ว”
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้ทุกขนิโรธ-
อริยสัจ”
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขนิโรธ-
อริยสัจนี้ควรทำให้แจ้ง” จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว
วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อน
ว่า “ทุกขนิโรธอริยสัจนี้เราทำให้แจ้งแล้ว”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๖. ปฏิสัมภิทากถา ๑. ธัมมจักกัปปวัตตนวาร
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้ทุกขนิโรธ-
คามินีปฏิปทาอริยสัจ”
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขนิโรธ-
คามินีปฏิปทาอริยสัจนี้ควรเจริญ” จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญา
เกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย
ได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้เราได้เจริญแล้ว”
ภิกษุทั้งหลาย ยถาภูตญาณทัสสนะของเราในอริยสัจ ๔ นี้ ๓ รอบ๑ ๑๒
อาการ๒อย่างนี้ ยังไม่หมดจดดีตราบใด เราก็ยังไม่ยืนยันว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมา-
สัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่
สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ตราบนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ยถาภูตญาณทัสสนะของเราในอริยสัจ ๔ นี้ ๓ รอบ
๑๒ อาการอย่างนี้ หมดจดดีแล้ว เมื่อนั้น เราจึงยืนยันได้ว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมา-
สัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่
สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ อนึ่ง ญาณทัสสนะเกิดขึ้นแล้วแก่
เราว่า “ความหลุดพ้นของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเวยยากรณ์๓นี้จบลงแล้ว ภิกษุปัญจวัคคีย์ชื่นชม ยินดี
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค
เมื่อพระผู้มีพระภาคกำลังตรัสเวยยากรณ์นี้อยู่ ธัมมจักขุ๔อันปราศจากธุลี
ปราศจากมลทิน ได้เกิดแก่ท่านพระโกณฑัญญะว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้น
เป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา”

เชิงอรรถ :
๑ ๓ รอบ ได้แก่ (๑) สัจจญาณ (๒) กิจจญาณ (๓) กตญาณ (ขุ.ป.อ. ๒/๓๐/๒๕๓)
๒ ๑๒ อาการ ได้แก่ บรรดาสัจจะ ๔ (ทุกข์,ทุกขสมุทัย, ทุกขนิโรธ, ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา) แต่ละสัจจะมี
อาการอย่างละ ๓ จึงรวมเป็น ๑๒ อาการ (ขุ.ป.อ. ๒/๓๐/๒๕๓)
๓ เวยยากรณ์ ในที่นี้หมายถึงพระสูตรที่ไม่มีคาถา ประกอบด้วยคำถามคำตอบ (สารตฺถ. ฏีกา ๓/๑๖/๒๒๐)
เป็นองค์อันหนึ่งในนวังคสัตถุศาสน์ (วิ.อ. ๑/๒๖)
๔ ธัมมจักขุ หมายถึงดวงตาเห็นธรรม คือ โสดาปัตติมัคคญาณ (วิ.อ. ๓/๕๖/๒๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๖. ปฏิสัมภิทากถา ๑. ธัมมจักกัปปวัตตนวาร
ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมจักรให้เป็นไปแล้ว เทพชั้นภุมมะกระจาย
ข่าวว่า “นั่นธรรมจักรอันยอดเยี่ยม พระผู้มีพระภาคทรงให้เป็นไปแล้ว ณ ป่า
อิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม
หรือใคร ๆ ในโลกให้หมุนกลับไม่ได้”
เทพชั้นจาตุมหาราชได้สดับเสียงประกาศของเทพชั้นภุมมะแล้ว ได้กระจาย
ข่าวต่อไป ฯลฯ
เทพชั้นดาวดึงส์ได้สดับเสียงประกาศของเทพชั้นจาตุมหาราชแล้ว ได้กระจาย
ข่าวต่อไป ฯลฯ
เทพชั้นยามา ฯลฯ
เทพชั้นดุสิต ฯลฯ
เทพชั้นนิมมานรดี ฯลฯ
เทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ฯลฯ
เทพผู้นับเนื่องในหมู่พรหมสดับเสียงของเหล่าเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดีแล้ว
ก็กระจายข่าวว่า “นั่นธรรมจักรอันยอดเยี่ยม พระผู้มีพระภาคทรงให้เป็นไปแล้ว
ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร
พรหม หรือใคร ๆ ในโลกให้หมุนกลับไม่ได้”
โดยขณะ๑ครู่เดียวเท่านั้น เสียงป่าวประกาศได้กระจายขึ้นไปถึงพรหมโลก
ด้วยประการฉะนี้
ทั้งหมื่นโลกธาตุนี้ก็สั่นสะเทือนเลื่อนลั่น ทั้งแสงสว่างอันเจิดจ้าหาประมาณมิได้
ยิ่งกว่าเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย ก็ปรากฏในโลก
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเปล่งพระอุทานว่า “ผู้เจริญทั้งหลาย โกณฑัญญะ
ได้รู้แล้วหนอ ผู้เจริญทั้งหลาย โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ” ดังนั้น คำว่า “อัญญา-
โกณฑัญญะ” นี้ จึงได้เป็นชื่อของท่านโกณฑัญญะนั่นแล

เชิงอรรถ :
๑ ดีดนิ้วมือ ๑๐ ครั้ง เป็น ๑ ขณะ, ๑๐ ขณะ เป็น ๑ ลยะ, ๑๐ ลยะ เป็น ๑ ขณลยะ, ๑๐ ขณลยะ เป็น ๑ ครู่
(อภิธา.ฏี.คาถา ๖๖-๖๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๖. ปฏิสัมภิทากถา ๑. ธัมมจักกัปปวัตตนวาร
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้ทุกขอริยสัจ”
คำว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “ญาณเกิดขึ้นแล้ว”
เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า
“วิชชาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว”
เพราะมีสภาวะอย่างไร
คือ คำว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะเห็น คำว่า “ญาณเกิดขึ้น
แล้ว” เพราะมีสภาวะรู้ คำว่า “ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะรู้ชัด คำว่า
“วิชชาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะรู้แจ้ง คำว่า “แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว”
เพราะมีสภาวะสว่างไสว
จักษุเป็นธรรม ญาณเป็นธรรม ปัญญาเป็นธรรม วิชชาเป็นธรรม แสงสว่าง
เป็นธรรม ธรรม ๕ ประการนี้เป็นอารมณ์และเป็นโคจรของธัมมปฏิสัมภิทา
ธรรมเหล่าใดเป็นอารมณ์ของธัมมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่านั้นเป็นโคจรของธัมม-
ปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่าใดเป็นโคจรของธัมมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่านั้นเป็นอารมณ์
ของธัมมปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในธรรมทั้งหลายว่าธัมมปฏิสัมภิทา
สภาวะที่เห็นเป็นอรรถ สภาวะที่รู้เป็นอรรถ สภาวะที่รู้ชัดเป็นอรรถ สภาวะที่
รู้แจ้งเป็นอรรถ สภาวะที่สว่างไสวเป็นอรรถ อรรถ ๕ ประการนี้เป็นอารมณ์และ
เป็นโคจรของอัตถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่าใดเป็นอารมณ์ของอัตถปฏิสัมภิทา อรรถ
เหล่านั้นเป็นโคจรของอัตถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่าใดเป็นโคจรของอัตถปฏิสัมภิทา
อรรถเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของอัตถปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณใน
อรรถทั้งหลายว่า อัตถปฏิสัมภิทา
นิรุตติ ๑๐ ประการนี้ คือ การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงธรรม ๕
ประการ การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงอรรถ ๕ ประการ เป็นอารมณ์
และเป็นโคจรของนิรุตติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่าใดเป็นอารมณ์ของนิรุตติ-
ปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่านั้นเป็นโคจรของนิรุตติปฏิสัมภิทา ธรรมและ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๖. ปฏิสัมภิทากถา ๑. ธัมมจักกัปปวัตตนวาร
อรรถเหล่าใดเป็นโคจรของนิรุตติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่านั้นเป็นอารมณ์
ของนิรุตติปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในนิรุตติทั้งหลายว่า นิรุตติ-
ปฏิสัมภิทา
ญาณ ๒๐ ประการนี้ คือ ญาณในธรรม ๕ ประการ ญาณในอรรถ ๕ ประการ
ญาณในนิรุตติ ๑๐ ประการ เป็นอารมณ์และเป็นโคจรของปฏิภาณปฏิสัมภิทา
ญาณในธรรมเหล่าใดเป็นอารมณ์ของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่านั้น
เป็นโคจรของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่าใดเป็นโคจรของปฏิภาณ-
ปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของปฏิภาณปฏิสัมภิทา เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในปฏิภาณทั้งหลายว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขอริยสัจนี้
นั้นแลควรกำหนดรู้” ฯลฯ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขอริยสัจ
นี้นั้นเรากำหนดรู้แล้ว”
คำว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “ญาณเกิดขึ้นแล้ว”
เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า
“วิชชาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว”
เพราะมีสภาวะอย่างไร
คือ คำว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะเห็น คำว่า “ญาณเกิดขึ้นแล้ว”
เพราะมีสภาวะรู้ คำว่า “ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะรู้ชัด คำว่า “วิชชา
เกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะรู้แจ้ง คำว่า “แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะ
สว่างไสว
จักษุเป็นธรรม ญาณเป็นธรรม ปัญญาเป็นธรรม วิชชาเป็นธรรม แสงสว่าง
เป็นธรรม ธรรม ๕ ประการนี้เป็นอารมณ์และเป็นโคจรของธัมมปฏิสัมภิทา ธรรม
เหล่าใดเป็นอารมณ์ของธัมมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่านั้นเป็นโคจรของธัมมปฏิสัมภิทา
ธรรมเหล่าใดเป็นโคจรของธัมมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของธัมม-
ปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในธรรมทั้งหลายว่า ธัมมปฏิสัมภิทา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๖. ปฏิสัมภิทากถา ๑. ธัมมจักกัปปวัตตนวาร
สภาวะที่เห็นเป็นอรรถ สภาวะที่รู้เป็นอรรถ สภาวะที่รู้ชัดเป็นอรรถ สภาวะที่
รู้แจ้งเป็นอรรถ สภาวะที่สว่างไสวเป็นอรรถ อรรถ ๕ ประการนี้เป็นอารมณ์และ
เป็นโคจรของอัตถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่าใดเป็นอารมณ์ของอัตถปฏิสัมภิทา อรรถ
เหล่านั้นเป็นโคจรของอัตถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่าใดเป็นโคจรของอัตถปฏิสัมภิทา
อรรถเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของอัตถปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณใน
อรรถทั้งหลายว่า อัตถปฏิสัมภิทา
นิรุตติ ๑๐ ประการนี้ คือ การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงธรรม ๕
ประการ การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงอรรถ ๕ ประการเป็นอารมณ์และ
เป็นโคจรของนิรุตติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่าใดเป็นอารมณ์ของนิรุตติ-
ปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่านั้นเป็นโคจรของนิรุตติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถ
เหล่าใดเป็นโคจรของนิรุตติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของนิรุตติ-
ปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในนิรุตติทั้งหลายว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา
ญาณ ๒๐ ประการนี้ คือ ญาณในธรรม ๕ ประการ ญาณในอรรถ ๕ ประการ
ญาณในนิรุตติ ๑๐ ประการ เป็นอารมณ์และเป็นโคจรของปฏิภาณปฏิสัมภิทา
ญาณในธรรมเหล่าใดเป็นอารมณ์ของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่านั้น
เป็นโคจรของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่าใดเป็นโคจรของปฏิภาณปฏิสัมภิทา
ญาณในธรรมเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของปฏิภาณปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึง
เรียกญาณในปฏิภาณทั้งหลายว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
ในทุกขอริยสัจ มีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕ มีนิรุตติ ๓๐ มีญาณ ๖๐
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย
ได้ฟังมาก่อนว่า “นี้ทุกขสมุทยอริยสัจ” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรม
ทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ก็ทุกขสมุทยอริยสัจนี้นั้นควรละ” ฯลฯ แสงสว่าง
เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ก็ทุกขสมุทยอริยสัจนี้
นั้นเราละได้แล้ว” ฯลฯ
ในทุกขสมุทยอริยสัจ มีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕ มีนิรุตติ ๓๐ มีญาณ ๖๐


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๖. ปฏิสัมภิทากถา ๒. สติปัฏฐานวาร
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย
ได้ฟังมาก่อนว่า “นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรม
ทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ก็ทุกขนิโรธอริยสัจนี้นั้น ควรทำให้แจ้ง” ฯลฯ
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ก็ทุกขนิโรธ-
อริยสัจนี้นั้นเราทำให้แจ้งแล้ว” ฯลฯ
ในทุกขนิโรธอริยสัจ มีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕ มีนิรุตติ ๓๐ มีญาณ ๖๐
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย
ได้ฟังมาก่อนว่า “นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว
แก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้น
ควรเจริญ” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า
“ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้นเราเจริญแล้ว” ฯลฯ
ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ มีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕ มีนิรุตติ ๓๐ มี
ญาณ ๖๐
ในอริยสัจ ๔ มีธรรม ๖๐ มีอรรถ ๖๐ มีนิรุตติ ๑๒๐ มีญาณ ๒๔๐

๒. สติปัฏฐานวาร
วาระว่าด้วยสติปัฏฐาน
[๓๑] ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราใน
ธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้การพิจารณาเห็นกายในกาย” แสงสว่าง
เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “การพิจารณาเห็นกาย
ในกายนี้นั้นควรเจริญ” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย
ได้ฟังมาก่อนว่า “การพิจารณาเห็นกายในกายนี้นั้นเราเจริญแล้ว” ฯลฯ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย
ได้ฟังมาก่อนว่า “นี้การพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย” ฯลฯ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย
ได้ฟังมาก่อนว่า “นี้การพิจารณาเห็นจิตในจิต” ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๖. ปฏิสัมภิทากถา ๒. สติปัฏฐานวาร
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้
ฟังมาก่อนว่า “นี้การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้น
แล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “การพิจารณาเห็นธรรมในธรรม
ทั้งหลายนี้นั้นควรเจริญ” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่
เคยได้ฟังมาก่อนว่า “การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายนี้นั้นเราเจริญแล้ว”
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้
ฟังมาก่อนว่า “นี้การพิจารณาเห็นกายในกาย” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “การพิจารณาเห็นกายในกายนี้นั้นควรเจริญ”
ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “การ
พิจารณาเห็นกายในกายนี้นั้นเราเจริญแล้ว”
คำว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “ญาณเกิดขึ้นแล้ว”
เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า
“วิชชาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว”
เพราะมีสภาวะอย่างไร
คือ คำว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะเห็น คำว่า “ญาณเกิดขึ้นแล้ว”
เพราะมีสภาวะรู้ คำว่า “ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะรู้ชัด คำว่า “วิชชา
เกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะรู้แจ้ง คำว่า “แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะ
สว่างไสว
จักษุเป็นธรรม ญาณเป็นธรรม ปัญญาเป็นธรรม วิชชาเป็นธรรม แสงสว่าง
เป็นธรรม ธรรม ๕ ประการนี้เป็นอารมณ์และเป็นโคจรของธัมมปฏิสัมภิทา ธรรม
เหล่าใดเป็นอารมณ์ของธัมมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่านั้นเป็นโคจรของธัมมปฏิสัมภิทา
ธรรมเหล่าใดเป็นโคจรของธัมมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของธัมม-
ปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในธรรมทั้งหลายว่า ธัมมปฏิสัมภิทา
สภาวะที่เห็นเป็นอรรถ สภาวะที่รู้เป็นอรรถ สภาวะที่รู้ชัดเป็นอรรถ สภาวะที่
รู้แจ้งเป็นอรรถ สภาวะที่สว่างไสวเป็นอรรถ อรรถ ๕ ประการนี้เป็นอารมณ์และเป็น
โคจรของอัตถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่าใดเป็นอารมณ์ของอัตถปฏิสัมภิทา อรรถ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๖. ปฏิสัมภิทากถา ๒. สติปัฏฐานวาร
เหล่านั้นเป็นโคจรของอัตถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่าใดเป็นโคจรของอัตถปฏิสัมภิทา
อรรถเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของอัตถปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณใน
อรรถทั้งหลายว่า อัตถปฏิสัมภิทา
นิรุตติ ๑๐ ประการนี้ คือ การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงธรรม ๕
ประการ การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงอรรถ ๕ ประการเป็นอารมณ์และเป็น
โคจรของนิรุตติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่าใดเป็นอารมณ์ของนิรุตติปฏิสัมภิทา
ธรรมและอรรถเหล่านั้นเป็นโคจรของนิรุตติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่าใดเป็น
โคจรของนิรุตติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของนิรุตติปฏิสัมภิทา
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในนิรุตติทั้งหลายว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา
ญาณ ๒๐ ประการนี้ คือ ญาณในธรรม ๕ ประการ ญาณในอรรถ ๕ ประการ
ญาณในนิรุตติ ๑๐ ประการเป็นอารมณ์และเป็นโคจรของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณ
ในธรรมเหล่าใดเป็นอารมณ์ของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่านั้นเป็นโคจร
ของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่าใดเป็นโคจรของปฏิภาณปฏิสัมภิทา
ญาณในธรรมเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของปฏิภาณปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึง
เรียกญาณในปฏิภาณทั้งหลายว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
ในสติปัฏฐานคือการพิจารณาเห็นกายในกาย มีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕ มี
นิรุตติ ๓๐ มีญาณ ๖๐
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย
ได้ฟังมาก่อนว่า “นี้การพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย” ฯลฯ แสงสว่าง
เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้การพิจารณาเห็นจิต
ในจิต” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า
“นี้การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราใน
ธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายนี้
นั้นควรเจริญ” จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลาย
ที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายนี้นั้นเราเจริญ
แล้ว” ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๖. ปฏิสัมภิทากถา ๓. อิทธิปาทวาร
ในสติปัฏฐานคือการพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย มีธรรม ๑๕ มี
อรรถ ๑๕ มีนิรุตติ ๓๐ มีญาณ ๖๐
ในสติปัฏฐาน ๔ มีธรรม ๖๐ มีอรรถ ๖๐ มีนิรุตติ ๑๒๐ มีญาณ ๒๔๐

๓. อิทธิปาทวาร
วาระว่าด้วยอิทธิบาท
[๓๒] ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราใน
ธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้อิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธาน-
สังขาร” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า
“อิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขารนี้นั้นควรเจริญ” ฯลฯ แสงสว่าง
เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “อิทธิบาทอันประกอบด้วย
ฉันทสมาธิปธานสังขารนี้นั้นเราเจริญแล้ว”
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย
ได้ฟังมาก่อนว่า “นี้อิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร” ฯลฯ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย
ได้ฟังมาก่อนว่า “นี้อิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร” ฯลฯ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย
ได้ฟังมาก่อนว่า “นี้อิทธิบาทอันประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร” ฯลฯ
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “อิทธิบาทอัน
ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขารนี้นั้นควรเจริญ” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว
แก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “อิทธิบาทอันประกอบด้วยวิมังสา-
สมาธิปธานสังขารนี้นั้นเราเจริญแล้ว”
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้
ฟังมาก่อนว่า “นี้อิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร” ฯลฯ แสงสว่าง
เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “อิทธิบาทอันประกอบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๖. ปฏิสัมภิทากถา ๓. อิทธิปาทวาร
ด้วยฉันทสมาธิปธานสังขารนี้นั้นควรเจริญ” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราใน
ธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “อิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธาน-
สังขารนี้นั้น เราเจริญแล้ว”
คำว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “ญาณเกิดขึ้นแล้ว”
เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร
คำว่า “วิชชาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว”
เพราะมีสภาวะอย่างไร
คือ คำว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะเห็น คำว่า “ญาณเกิดขึ้นแล้ว”
เพราะมีสภาวะรู้ คำว่า “ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะรู้ชัด คำว่า “วิชชา
เกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะรู้แจ้ง คำว่า “แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะ
สว่างไสว
จักษุเป็นธรรม ญาณเป็นธรรม ปัญญาเป็นธรรม วิชชาเป็นธรรม แสงสว่าง
เป็นธรรม ธรรม ๕ ประการนี้เป็นอารมณ์และเป็นโคจรของธัมมปฏิสัมภิทา ธรรม
เหล่าใดเป็นอารมณ์ของธัมมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่านั้นเป็นโคจรของธัมมปฏิสัมภิทา
ธรรมเหล่าใดเป็นโคจรของธัมมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของธัมม-
ปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในธรรมทั้งหลายว่า ธัมมปฏิสัมภิทา
สภาวะที่เห็นเป็นอรรถ สภาวะที่รู้เป็นอรรถ สภาวะที่รู้ชัดเป็นอรรถ สภาวะที่
รู้แจ้งเป็นอรรถ สภาวะที่สว่างไสวเป็นอรรถ อรรถ ๕ ประการนี้เป็นอารมณ์และ
เป็นโคจรของอัตถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่าใดเป็นอารมณ์ของอัตถปฏิสัมภิทา อรรถ
เหล่านั้นเป็นโคจรของอัตถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่าใดเป็นโคจรของอัตถปฏิสัมภิทา
อรรถเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของอัตถปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณ
ในอรรถทั้งหลายว่า อัตถปฏิสัมภิทา
นิรุตติ ๑๐ ประการนี้ คือ การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงธรรม ๕
ประการ การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงอรรถ ๕ ประการเป็นอารมณ์และ
เป็นโคจรของนิรุตติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่าใดเป็นอารมณ์ของนิรุตติ-
ปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่านั้นเป็นโคจรของนิรุตติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๖. ปฏิสัมภิทากถา ๓. อิทธิปาทวาร
เหล่าใดเป็นโคจรของนิรุตติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของ
นิรุตติปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในนิรุตติทั้งหลายว่า นิรุตติ-
ปฏิสัมภิทา
ญาณ ๒๐ ประการนี้ คือ ญาณในธรรม ๕ ประการ ญาณในอรรถ ๕ ประการ
ญาณในนิรุตติ ๑๐ ประการเป็นอารมณ์และเป็นโคจรของปฏิภาณปฏิสัมภิทา
ญาณในธรรมเหล่าใดเป็นอารมณ์ของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่านั้น
เป็นโคจรของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่าใดเป็นโคจรของปฏิภาณ-
ปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของปฏิภาณปฏิสัมภิทา เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในปฏิภาณทั้งหลายว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
ในอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร มีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕
มีนิรุตติ ๓๐ มีญาณ ๖๐
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย
ได้ฟังมาก่อนว่า “นี้อิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร” ฯลฯ
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้อิทธิบาท
อันประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรม
ทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้อิทธิบาทอันประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธาน-
สังขาร” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า
“อิทธิบาทอันประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขารนี้นั้นควรเจริญ” ฯลฯ แสงสว่าง
เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “อิทธิบาทอันประกอบ
ด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขารนี้นั้นเราเจริญแล้ว” ฯลฯ
ในอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร มีธรรม ๑๕ มีอรรถ
๑๕ มีนิรุตติ ๓๐ มีญาณ ๖๐
ในอิทธิบาท ๔ มีธรรม ๖๐ มีอรรถ ๖๐ มีนิรุตติ ๑๒๐ มีญาณ ๒๔๐


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๖. ปฏิสัมภิทากถา ๔. สัตตโพธิสัตตวาร
๔. สัตตโพธิสัตตวาร
วาระว่าด้วยพระโพธิสัตว์ ๗ พระองค์
[๓๓] ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่พระ
วิปัสสีโพธิสัตว์ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “สมุทัย สมุทัย” ภิกษุ
ทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่พระวิปัสสีโพธิสัตว์ใน
ธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นิโรธ นิโรธ” ในเวยยากรณ์ของพระวิปัสสี-
โพธิสัตว์ มีธรรม ๑๐ มีอรรถ ๑๐ มีนิรุตติ ๒๐ มีญาณ ๔๐
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่พระสิขีโพธิสัตว์ ฯลฯ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่พระเวสสภูโพธิสัตว์ ฯลฯ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่พระกกุสันธโพธิสัตว์ ฯลฯ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่พระโกนาคมนโพธิสัตว์ ฯลฯ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่พระกัสสปโพธิสัตว์ในธรรม
ทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “สมุทัย สมุทัย” ฯลฯ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่พระกัสสปโพธิสัตว์ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า
“นิโรธ นิโรธ” ฯลฯ ในเวยยากรณ์ของพระกัสสปโพธิสัตว์มีธรรม ๑๐ มีอรรถ ๑๐
มีนิรุตติ ๒๐ มีญาณ ๔๐
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่พระโคดมโพธิสัตว์ในธรรม
ทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “สมุทัย สมุทัย” จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่าง
เกิดขึ้นแล้วแก่พระโคดมโพธิสัตว์ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นิโรธ
นิโรธ” ในเวยยากรณ์ของพระโคดมโพธิสัตว์มีธรรม ๑๐ มีอรรถ ๑๐ มีนิรุตติ ๒๐
มีญาณ ๔๐
ในเวยยากรณ์ ๗ ของพระโพธิสัตว์ ๗ พระองค์ มีธรรม ๗๐ มีอรรถ ๗๐ มี
นิรุตติ ๑๔๐ มีญาณ ๒๘๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๖. ปฏิสัมภิทากถา ๖. ขันธาทิวาร
๕. อภิญญาทิวาร
วาระว่าด้วยอภิญญาเป็นต้น
[๓๔] จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “สภาวะที่ควรรู้ยิ่งแห่งอภิญญา เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบ
แล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา สภาวะที่ควรรู้ยิ่งแห่งอภิญญาที่เราไม่รู้
ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่ทำให้แจ้ง ไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาไม่มี” ในสภาวะที่
ควรรู้ยิ่งแห่งอภิญญาที่ควรรู้ยิ่ง มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุตติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “สภาวะที่ควรกำหนดรู้แห่ง
ปริญญา” ฯลฯ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “สภาวะที่ควรละแห่งปหานะ”
ฯลฯ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “สภาวะที่ควรเจริญแห่ง
ภาวนา” ฯลฯ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “สภาวะที่ควรทำให้แจ้งแห่ง
สัจฉิกิริยา เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา
สภาวะที่ควรทำให้แจ้งแห่งสัจฉิกิริยาที่เราไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่ทำให้แจ้ง ไม่
ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาไม่มี” ในสภาวะที่ควรทำให้แจ้งแห่งสัจฉิกิริยา มีธรรม ๒๕
มีอรรถ ๒๕ มีนิรุตติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐
ในสภาวะที่ควรรู้ยิ่งแห่งอภิญญา ในสภาวะที่ควรกำหนดรู้แห่งปริญญา ใน
สภาวะที่ควรละแห่งปหานะ ในสภาวะที่ควรเจริญแห่งภาวนา ในสภาวะที่ควร
ทำให้แจ้งแห่งสัจฉิกิริยา มีธรรม ๑๒๕ มีอรรถ ๑๒๕ มีนิรุตติ ๒๕๐ มีญาณ ๕๐๐

๖. ขันธาทิวาร
วาระว่าด้วยขันธ์เป็นต้น
[๓๕] จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “สภาวะที่เป็นกองแห่งขันธ์ทั้งหลาย เรารู้แล้ว เห็นแล้ว


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๖. ปฏิสัมภิทากถา ๗. สัจจวาร
ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา สภาวะที่เป็นกองแห่งขันธ์ที่เราไม่รู้
ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่ทำให้แจ้ง ไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาไม่มี” ในสภาวะที่เป็น
กองแห่งขันธ์ทั้งหลาย มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุตติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “สภาวะที่ทรงไว้แห่งธาตุ
ทั้งหลาย” ฯลฯ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “สภาวะที่เป็นบ่อเกิดแห่ง
อายตนะทั้งหลาย” ฯลฯ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “สภาวะที่ปัจจัยปรุงแต่ง
แห่งสังขตธรรมทั้งหลาย” ฯลฯ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “สภาวะที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง
แห่งอสังขตธรรม เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วย
ปัญญา สภาวะที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่งแห่งอสังขตธรรมที่เราไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่
ทำให้แจ้ง ไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาไม่มี” ในสภาวะที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่งแห่ง
อสังขตธรรม มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุตติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐
ในสภาวะที่เป็นกองแห่งขันธ์ทั้งหลาย ในสภาวะที่ทรงไว้แห่งธาตุทั้งหลาย
ในสภาวะที่เป็นบ่อเกิดแห่งอายตนะทั้งหลาย ในสภาวะที่ปัจจัยปรุงแต่งแห่งสังขต-
ธรรมทั้งหลาย ในสภาวะที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่งแห่งอสังขตธรรม มีธรรม ๑๒๕ มี
อรรถ ๑๒๕ มีนิรุตติ ๒๕๐ มีญาณ ๕๐๐

๗. สัจจวาร
วาระว่าด้วยสัจจะ
[๓๖] จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “สภาวะที่ทนได้ยากแห่งทุกข์ เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว
ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา สภาวะที่ทนได้ยากแห่งทุกข์ที่เราไม่รู้ ไม่เห็น
ไม่ทราบ ไม่ทำให้แจ้ง ไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาไม่มี” ในสภาวะที่ทนได้ยาก
แห่งทุกข์ มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุตติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “สภาวะที่เป็นเหตุเกิดแห่ง
สมุทัย” ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๖. ปฏิสัมภิทากถา ๘. ปฏิสัมภิทาวาร
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “สภาวะที่เป็นความดับแห่ง
นิโรธ” ฯลฯ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “สภาวะที่เป็นทางแห่งมรรค
เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา สภาวะ
ที่เป็นทางแห่งมรรคที่เราไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่ทำให้แจ้ง ไม่ถูกต้องแล้วด้วย
ปัญญาไม่มี” ในสภาวะที่เป็นทางแห่งมรรค มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุตติ ๕๐
มีญาณ ๑๐๐
ในอริยสัจ ๔ มีธรรม ๑๐๐ มีอรรถ ๑๐๐ มีนิรุตติ ๒๐๐ มีญาณ ๔๐๐

๘. ปฏิสัมภิทาวาร
วาระว่าด้วยปฏิสัมภิทา
[๓๗] จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “สภาวะที่แตกฉาน
ในอรรถ เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา
สภาวะที่แตกฉานในอรรถที่เราไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่ทำให้แจ้ง ไม่ถูกต้องแล้ว
ด้วยปัญญาไม่มี” ในสภาวะที่แตกฉานในอรรถแห่งอัตถปฏิสัมภิทา มีธรรม ๒๕
มีอรรถ ๒๕ มีนิรุตติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “สภาวะที่แตกฉานในธรรม
แห่งธัมมปฏิสัมภิทา” ฯลฯ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “สภาวะที่แตกฉานในนิรุตติ
แห่งนิรุตติปฏิสัมภิทา” ฯลฯ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “สภาวะที่แตกฉานใน
ปฏิภาณแห่งปฏิภาณปฏิสัมภิทา เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว
ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา สภาวะที่แตกฉานในปฏิภาณแห่งปฏิภาณปฏิสัมภิทาที่เราไม่รู้
ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่ทำให้แจ้ง ไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาไม่มี” ในสภาวะที่
แตกฉานในปฏิภาณแห่งปฏิภาณปฏิสัมภิทา มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุตติ ๕๐
มีญาณ ๑๐๐
ในปฏิสัมภิทา ๔ มีธรรม ๑๐๐ มีอรรถ ๑๐๐ มีนิรุตติ ๒๐๐ มีญาณ ๔๐๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๖. ปฏิสัมภิทากถา ๙. ฉพุทธธัมมวาร
๙. ฉพุทธธัมมวาร
วาระว่าด้วยพุทธธรรม ๖ ประการ
[๓๘] จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “ญาณในความยิ่ง
และความหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลายเรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้
แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ญาณในความยิ่งและความหย่อนแห่งอินทรีย์ของ
สัตว์ทั้งหลายที่เราไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่ทำให้แจ้ง ไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา
ไม่มี” ญาณในความยิ่งและความหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย มีธรรม ๒๕
มีอรรถ ๒๕ มีนิรุตติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “ญาณในอาสยะและอนุสัย
ของสัตว์ทั้งหลาย” ฯลฯ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “ญาณในยมกปาฏิหาริย์” ฯลฯ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “ญาณในมหากรุณาสมาบัติ”
ฯลฯ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “สัพพัญญุตญาณ” ฯลฯ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “อนาวรณญาณเรารู้แล้ว
เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา อนาวรณญาณที่
เราไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่ทำให้แจ้ง ไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาไม่มี” อนาวรณ-
ญาณ มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุตติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐
ในพุทธธรรม ๖ มีธรรม ๑๕๐ มีอรรถ ๑๕๐ มีนิรุตติ ๓๐๐ มีญาณ ๖๐๐
ในปฏิสัมภิทากถานี้ มีธรรม ๘๕๐ มีอรรถ ๘๕๐ มีนิรุตติ ๑,๗๐๐ มีญาณ
๓,๔๐๐
ปฏิสัมภิทากถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๗. ธัมมจักกกถา ๑. สัจจวาร
๗. ธัมมจักกกถา
ว่าด้วยธรรมจักร
๑. สัจจวาร
วาระว่าด้วยสัจจะ
[๓๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุง
พาราณสี ฯลฯ๑ ดังนั้น คำว่า “อัญญาโกณฑัญญะ” นี้ จึงได้เป็นชื่อของท่าน
โกณฑัญญะนั่นแล
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้ทุกขอริยสัจ”
คำว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “ญาณเกิดขึ้นแล้ว”
เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า
“วิชชาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว”
เพราะมีสภาวะอย่างไร
คือ คำว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะเห็น คำว่า “ญาณเกิดขึ้นแล้ว”
เพราะมีสภาวะรู้ คำว่า “ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะรู้ชัด คำว่า “วิชชา
เกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะรู้แจ้ง คำว่า “แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมี
สภาวะสว่างไสว
จักษุเป็นธรรม สภาวะที่เห็นเป็นอรรถ ญาณเป็นธรรม สภาวะที่รู้เป็นอรรถ
ปัญญาเป็นธรรม สภาวะที่รู้ชัดเป็นอรรถ วิชชาเป็นธรรม สภาวะที่รู้แจ้งเป็นอรรถ
แสงสว่างเป็นธรรม สภาวะที่สว่างไสวเป็นอรรถ ธรรม ๕ ประการ อรรถ ๕ ประการ
นี้เป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ เป็นที่ตั้งแห่งสัจจะ มีสัจจะเป็นอารมณ์ มีสัจจะเป็นโคจร
สงเคราะห์เข้าในสัจจะ นับเนื่องในสัจจะ รวมลงในสัจจะ ตั้งอยู่ในสัจจะ ประดิษฐาน
อยู่ในสัจจะ

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มข้อ ๓๐ หน้า ๔๘๓-๔๘๗ ในธัมมจักกัปปวัตตนวาร ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๗. ธัมมจักกกถา ๑. สัจจวาร
[๔๐] คำว่า ธรรมจักร อธิบายว่า ชื่อว่าธรรมจักร เพราะมีความหมายว่า
อย่างไร
คือ ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้ธรรมและจักรเป็นไป ชื่อ
ว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้จักรและธรรมเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร
เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้จักรเป็นไปโดยธรรม ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มี
พระภาคทรงให้จักรเป็นไปด้วยการประพฤติธรรม
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงดำรงอยู่ในธรรมให้จักรเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงประดิษฐานอยู่ในธรรมให้จักรเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้ประชาชนประดิษฐานอยู่ในธรรมให้
จักรเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงบรรลุถึงความชำนาญในธรรมให้
จักรเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้ประชาชนบรรลุถึงความ
ชำนาญในธรรมให้จักรเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงบรรลุถึงความสำเร็จในธรรมให้
จักรเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้ประชาชนบรรลุถึงความ
สำเร็จในธรรมให้จักรเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงบรรลุถึงความแกล้วกล้าในธรรม
ให้จักรเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้ประชาชนบรรลุถึงความ
แกล้วกล้าในธรรมให้จักรเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงสักการะธรรมให้จักรเป็นไป ชื่อว่า
ธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงเคารพธรรมให้จักรเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร
เพราะพระผู้มีพระภาคทรงนับถือธรรมให้จักรเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มี
พระภาคทรงบูชาธรรมให้จักรเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรง
นอบน้อมธรรมให้จักรเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงมีธรรม
เป็นธงให้จักรเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงมีธรรมเป็นยอดให้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๗. ธัมมจักกกถา ๑. สัจจวาร
จักรเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงมีธรรมเป็นใหญ่ให้จักรเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะธรรมจักรนั่นเอง อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม
หรือใคร ๆ ในโลกให้หมุนกลับไม่ได้
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมคือสัทธินทรีย์เป็นไป ฯลฯ ชื่อว่า
ธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมคือปัญญินทรีย์เป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมคือสัทธาพละเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร
เพราะทรงให้ธรรมคือวิริยพละเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมคือสติพละ
เป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมคือสมาธิพละเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร
เพราะทรงให้ธรรมคือปัญญาพละเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมคือสติสัมโพชฌงค์เป็นไป ชื่อว่า
ธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมคือธัมมวิจยสัมโพชฌงค์เป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร
เพราะทรงให้ธรรมคือวิริยสัมโพชฌงค์เป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรม
คือปีติสัมโพชฌงค์เป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมคือสมาธิสัมโพชฌงค์
เป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมคืออุเบกขาสัมโพชฌงค์เป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมคือสัมมาทิฏฐิเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร
เพราะทรงให้ธรรมคือสัมมาสังกัปปะเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมคือ
สัมมาวาจาเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมคือสัมมากัมมันตะเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมคือสัมมาอาชีวะเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะ
ทรงให้ธรรมคือสัมมาสติเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมคือสัมมาสมาธิ
เป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าอินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่
เป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหว
เป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะ
นำออกเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่ามรรค เพราะมีสภาวะ
เป็นเหตุเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าสติปัฏฐาน เพราะมี
สภาวะตั้งมั่นเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าสัมมัปปธาน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๐๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๗. ธัมมจักกกถา ๑. สัจจวาร
เพราะมีสภาวะตั้งไว้เป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าอิทธิบาท
เพราะมีสภาวะให้สำเร็จเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าสัจจะ
เพราะมีสภาวะเป็นของแท้เป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่า
สมถะ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่านเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อ
ว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้
ธรรมที่ชื่อว่าสมถะและวิปัสสนา เพราะมีสภาวะมีรสเป็นอย่างเดียวกันเป็นไป ชื่อว่า
ธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าธรรมที่เป็นคู่กัน เพราะมีสภาวะไม่ล่วงเลยกัน
เป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีสภาวะสำรวม
เป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าจิตตวิสุทธิ เพราะมีสภาวะไม่
ฟุ้งซ่านเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าทิฏฐิวิสุทธิ เพราะมี
สภาวะเห็นเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะมี
สภาวะพ้นวิเศษเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าวิชชา เพราะมี
สภาวะรู้แจ้งเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าวิมุตติ เพราะมี
สภาวะสละเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าญาณในความสิ้นไป
เพราะมีสภาวะตัดขาดเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่า
อนุปปาทญาณ๑ เพราะมีสภาวะสงบระงับเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะ
ทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าฉันทะ เพราะมีสภาวะเป็นมูลเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะ
ทรงให้ธรรมที่ชื่อว่ามนสิการ เพราะมีสภาวะเป็นสมุฏฐานเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร
เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าผัสสะ เพราะมีสภาวะเป็นที่ประชุมเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร
เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าเวทนา เพราะมีสภาวะเป็นที่รวมเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร
เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีสภาวะเป็นประธานเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร
เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าสติ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่เป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร
เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะเป็นธรรมที่ยิ่งกว่าธรรมนั้นเป็นไป

เชิงอรรถ :
๑ อนุปปาทญาณ หมายถึงญาณในอรหัตตผล (ขุ.ป.อ. ๒/๔๐/๒๖๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๗. ธัมมจักกกถา ๑. สัจจวาร
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าวิมุตติ เพราะมีสภาวะเป็นแก่นสารเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เพราะ
มีสภาวะเป็นที่สุดเป็นไป
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย
ได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขอริยสัจนี้นั้นควรกำหนดรู้” ฯลฯ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขอริยสัจ
นี้นั้นเรากำหนดรู้แล้ว”
คำว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร ฯลฯ คำว่า “แสงสว่าง
เกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร
คือ คำว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะเห็น ฯลฯ คำว่า “แสงสว่าง
เกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะสว่างไสว
จักษุเป็นธรรม สภาวะที่เห็นเป็นอรรถ ฯลฯ แสงสว่างเป็นธรรม สภาวะที่
สว่างไสวเป็นอรรถ ธรรม ๕ ประการ อรรถ ๕ ประการนี้เป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ ฯลฯ
ประดิษฐานอยู่ในสัจจะ
คำว่า ธรรมจักร อธิบายว่า ชื่อว่าธรรมจักร เพราะมีความหมายว่าอย่างไร
คือ ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้ธรรมและจักรเป็นไป ชื่อว่า
ธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้จักรและธรรมเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะ
พระผู้มีพระภาคทรงให้จักรเป็นไปโดยธรรม ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาค
ทรงให้จักรเป็นไปด้วยการประพฤติธรรม ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาค
ทรงดำรงอยู่ในธรรมให้จักรเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรง
ประดิษฐานอยู่ในธรรมให้จักรเป็นไป ฯลฯ ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อ
ว่าธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เพราะมีสภาวะเป็นที่สุดเป็นไป
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย
ได้ฟังมาก่อนว่า “นี้ทุกขสมุทยอริยสัจ” ฯลฯ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่าง
เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขสมุทยอริยสัจนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๗. ธัมมจักกกถา ๒. สติปัฏฐานวาร
นั้นควรละ” ฯลฯ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรม
ทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขสมุทยอริยสัจนี้นั้นเราละได้แล้ว”
คำว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร ฯลฯ คำว่า “แสงสว่าง
เกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร
คือ คำว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะเห็น ฯลฯ คำว่า “แสงสว่าง
เกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะสว่างไสว
จักษุเป็นธรรม สภาวะที่เห็นเป็นอรรถ ฯลฯ แสงสว่างเป็นธรรม สภาวะที่
สว่างไสวเป็นอรรถ ธรรม ๕ ประการ อรรถ ๕ ประการนี้เป็นที่ตั้งแห่งสมุทัย
เป็นที่ตั้งแห่งสัจจะ ฯลฯ เป็นที่ตั้งแห่งนิโรธ เป็นที่ตั้งแห่งสัจจะ ฯลฯ เป็นที่ตั้งแห่ง
มรรค เป็นที่ตั้งแห่งสัจจะ มีสัจจะเป็นอารมณ์ มีสัจจะเป็นโคจร สงเคราะห์เข้า
ในสัจจะ นับเนื่องในสัจจะ รวมลงในสัจจะ ตั้งอยู่ในสัจจะ ประดิษฐานอยู่ในสัจจะ
คำว่า ธรรมจักร อธิบายว่า ชื่อว่าธรรมจักร เพราะมีความหมายว่าอย่างไร
คือ ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้ธรรมและจักรเป็นไป ชื่อว่า
ธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้จักรและธรรมเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะ
พระผู้มีพระภาคทรงให้จักรเป็นไปโดยธรรม ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาค
ทรงให้จักรเป็นไปด้วยการประพฤติธรรม ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาค
ทรงดำรงอยู่ในธรรมให้จักรเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรง
ประดิษฐานอยู่ในธรรมให้จักรเป็นไป ฯลฯ ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่
ชื่อว่าธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เพราะมีสภาวะเป็นที่สุดเป็นไป

๒. สติปัฏฐานวาร
วาระว่าด้วยสติปัฏฐาน
[๔๑] ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้การพิจารณาเห็นกายในกาย” จักษุ
เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๗. ธัมมจักกกถา ๒. สติปัฏฐานวาร
“ก็การพิจารณาเห็นกายในกายนี้นั้นควรเจริญ” ฯลฯ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่าง
เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ก็การพิจารณาเห็น
กายในกายนี้นั้นเราเจริญแล้ว”
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย
ได้ฟังมาก่อนว่า “นี้การพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย” ฯลฯ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย
ได้ฟังมาก่อนว่า “นี้การพิจารณาเห็นจิตในจิต” ฯลฯ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย
ได้ฟังมาก่อนว่า “นี้การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย”
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย
ได้ฟังมาก่อนว่า “การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายนี้นั้นควรเจริญ” ฯลฯ
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “การพิจารณา
เห็นธรรมในธรรมทั้งหลายนี้นั้นเราเจริญแล้ว”
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย
ได้ฟังมาก่อนว่า “นี้การพิจารณาเห็นกายในกาย” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่
เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “การพิจารณาเห็นกายในกายนี้นั้น
ควรเจริญ” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า
“การพิจารณาเห็นกายในกายนี้นั้นเราเจริญแล้ว”
คำว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร ฯลฯ คำว่า “แสงสว่าง
เกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร
คือ คำว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะเห็น ฯลฯ คำว่า “แสงสว่าง
เกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะสว่างไสว
จักษุเป็นธรรม สภาวะที่เห็นเป็นอรรถ ฯลฯ แสงสว่างเป็นธรรม สภาวะที่
สว่างไสวเป็นอรรถ ธรรม ๕ ประการ อรรถ ๕ ประการนี้เป็นที่ตั้งแห่งกาย เป็น
ที่ตั้งแห่งสติปัฏฐาน ฯลฯ เป็นที่ตั้งแห่งเวทนา เป็นที่ตั้งแห่งสติปัฏฐาน ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๗. ธัมมจักกกถา ๓. อิทธิปาทวาร
เป็นที่ตั้งแห่งจิต เป็นที่ตั้งแห่งสติปัฏฐาน ฯลฯ เป็นที่ตั้งแห่งธรรม เป็นที่ตั้งแห่ง
สติปัฏฐาน มีสติปัฏฐานเป็นอารมณ์ มีสติปัฏฐานเป็นโคจร สงเคราะห์เข้าใน
สติปัฏฐาน นับเนื่องในสติปัฏฐาน รวมลงในสติปัฏฐาน ตั้งอยู่ในสติปัฏฐาน
ประดิษฐานอยู่ในสติปัฏฐาน
คำว่า ธรรมจักร อธิบายว่า ชื่อว่าธรรมจักร เพราะมีความหมายว่าอย่างไร
คือ ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้ธรรมและจักรเป็นไป ชื่อว่า
ธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้จักรและธรรมเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะ
พระผู้มีพระภาคทรงให้จักรเป็นไปโดยธรรม ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาค
ทรงให้จักรเป็นไปด้วยการประพฤติธรรม ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาค
ทรงดำรงอยู่ในธรรมให้จักรเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรง
ประดิษฐานอยู่ในธรรมให้จักรเป็นไป ฯลฯ ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อ
ว่าธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เพราะมีสภาวะเป็นที่สุดเป็นไป

๓. อิทธิปาทวาร
วาระว่าด้วยอิทธิบาท
[๔๒] ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราใน
ธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้อิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธาน-
สังขาร” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า
“อิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขารนี้นั้นควรเจริญ” ฯลฯ แสงสว่าง
เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “อิทธิบาทอันประกอบ
ด้วยฉันทสมาธิปธานสังขารนี้นั้นเราเจริญแล้ว”
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย
ได้ฟังมาก่อนว่า “นี้อิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร” ฯลฯ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย
ได้ฟังมาก่อนว่า “นี้อิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร” ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๐๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๗. ธัมมจักกกถา ๓. อิทธิปาทวาร
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย
ได้ฟังมาก่อนว่า “นี้อิทธิบาทอันประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร” ฯลฯ
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “อิทธิบาทอัน
ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขารนี้นั้นควรเจริญ” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว
แก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “อิทธิบาทอันประกอบด้วยวิมังสา-
สมาธิปธานสังขารนี้นั้นเราเจริญแล้ว”
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย
ได้ฟังมาก่อนว่า “นี้อิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร” ฯลฯ
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “อิทธิบาท
อันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขารนี้นั้นควรเจริญ” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้น
แล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “อิทธิบาทอันประกอบด้วย
ฉันทสมาธิปธานสังขารนี้นั้นเราเจริญแล้ว”
คำว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “ญาณเกิดขึ้นแล้ว”
เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า
“วิชชาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว”
เพราะมีสภาวะอย่างไร
คือ คำว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะเห็น คำว่า “ญาณเกิดขึ้นแล้ว”
เพราะมีสภาวะรู้ คำว่า “ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะรู้ชัด คำว่า “วิชชา
เกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะรู้แจ้ง คำว่า “แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะ
สว่างไสว
จักษุเป็นธรรม สภาวะที่เห็นเป็นอรรถ ฯลฯ แสงสว่างเป็นธรรม สภาวะที่
สว่างไสวเป็นอรรถ ธรรม ๕ ประการ อรรถ ๕ ประการนี้เป็นที่ตั้งแห่งฉันทะ
เป็นที่ตั้งแห่งอิทธิบาท มีอิทธิบาทเป็นอารมณ์ ฯลฯ ประดิษฐานอยู่ในอิทธิบาท
คำว่า ธรรมจักร อธิบายว่า ชื่อว่าธรรมจักร เพราะมีความหมายว่าอย่างไร
คือ ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้ธรรมและจักรเป็นไป ชื่อว่า
ธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้จักรและธรรมเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๗. ธัมมจักกกถา ๓. อิทธิปาทวาร
พระผู้มีพระภาคทรงให้จักรเป็นไปโดยธรรม ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาค
ทรงให้จักรเป็นไปด้วยการประพฤติธรรม ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาค
ทรงดำรงอยู่ในธรรมให้จักรเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรง
ประดิษฐานอยู่ในธรรมให้จักรเป็นไป ฯลฯ ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่
ชื่อว่าธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เพราะมีสภาวะเป็นที่สุดเป็นไป
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย
ได้ฟังมาก่อนว่า “นี้อิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร” จักษุเกิดขึ้น
แล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า
“อิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขารนี้นั้นควรเจริญ” ฯลฯ จักษุเกิดขึ้น
แล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า
“อิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขารนี้นั้นเราเจริญแล้ว”
คำว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร ฯลฯ คำว่า “แสงสว่าง
เกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร
คือ คำว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะเห็น ฯลฯ คำว่า “แสงสว่าง
เกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะสว่างไสว
จักษุเป็นธรรม สภาวะที่เห็นเป็นอรรถ ฯลฯ แสงสว่างเป็นธรรม สภาวะที่
สว่างไสวเป็นอรรถ ธรรม ๕ ประการ อรรถ ๕ ประการนี้เป็นที่ตั้งแห่งวิริยะ เป็น
ที่ตั้งแห่งอิทธิบาท ฯลฯ เป็นที่ตั้งแห่งจิต เป็นที่ตั้งแห่งอิทธิบาท ฯลฯ เป็นที่ตั้งแห่ง
วิมังสา เป็นที่ตั้งแห่งอิทธิบาท มีอิทธิบาทเป็นอารมณ์ มีอิทธิบาทเป็นโคจร
สงเคราะห์เข้าในอิทธิบาท นับเนื่องในอิทธิบาท รวมลงในอิทธิบาท ตั้งอยู่ใน
อิทธิบาท ประดิษฐานอยู่ในอิทธิบาท
คำว่า ธรรมจักร อธิบายว่า ชื่อว่าธรรมจักร เพราะมีความหมายว่าอย่างไร
คือ ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้ธรรมและจักรเป็นไป ชื่อว่า
ธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้จักรและธรรมเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะ
พระผู้มีพระภาคทรงให้จักรเป็นไปโดยธรรม ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาค
ทรงให้จักรเป็นไปด้วยการประพฤติธรรม ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาค

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๘. โลกุตตรกถา
ทรงดำรงอยู่ในธรรมให้จักรเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรง
ประดิษฐานอยู่ในธรรมให้จักรเป็นไป ฯลฯ ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อ
ว่าธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เพราะมีสภาวะเป็นที่สุดเป็นไป
ธัมมจักกกถา จบ

๘. โลกุตตรกถา
ว่าด้วยโลกุตตรธรรม
[๔๓] ธรรมเหล่าไหนเป็นโลกุตตระ (คือ) สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔
อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ อริยมรรค
๔ สามัญญผล ๔ และนิพพาน ธรรมเหล่านี้เป็นโลกุตตระ
คำว่า โลกุตตระ อธิบายว่า ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะมีความหมายว่าอย่างไร
คือ ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะข้ามพ้นโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะข้ามพ้นแต่โลก
ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะข้ามพ้นจากโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะข้ามไปจากโลก ชื่อว่า
โลกุตตระ เพราะล่วงพ้นโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะล่วงพ้นโลกอยู่ ชื่อว่าโลกุตตระ
เพราะเป็นอดิเรกในโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะข้ามที่สุดโลก
ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะสลัดออกแต่โลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะสลัดออกจาก
โลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะสลัดไปจากโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะสลัดออกแล้ว
จากโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะสลัดออกแล้วแต่โลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะสลัด
ออกไปแล้วจากโลก
ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะไม่ตั้งอยู่ในโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะไม่ดำรงอยู่ในโลก
ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะไม่ติดอยู่ในโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะไม่เปื้อนในโลก ชื่อว่า
โลกุตตระ เพราะไม่เปื้อนแล้วในโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะไม่ถูกโลกทำให้เปื้อนแล้ว
ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะไม่ฉาบแล้วในโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะไม่ถูกโลกฉาบแล้ว
ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะหลุดไปในโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะหลุดไปจากโลก
ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะพ้นจากโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะหลุดพ้นไปแต่โลก ชื่อว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๘. โลกุตตรกถา
โลกุตตระ เพราะหลุดพ้นไปจากโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะไม่เกี่ยวข้องในโลก
ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะไม่เกี่ยวข้องด้วยโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะไม่เกี่ยวข้อง
แต่โลก
ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะพรากออกในโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะพรากออก
แต่โลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะพรากออกจากโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะหมดจด
แต่โลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะหมดจดจากโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะหมดจด
กว่าโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะสะอาดแต่โลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะสะอาดจากโลก
ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะสะอาดกว่าโลก
ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะออกแต่โลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะออกจากโลก ชื่อว่า
โลกุตตระ เพราะออกไปจากโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะกลับแต่โลก ชื่อว่าโลกุตตระ
เพราะกลับจากโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะกลับไปจากโลก ชื่อว่าโลกุตตระ
เพราะไม่ข้องในโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะไม่ยึดในโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะไม่
พัวพันในโลก
ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะตัดโลกขาด ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะตัดโลกขาดแล้ว
ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะให้โลกระงับ ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะให้โลกระงับแล้ว ชื่อว่า
โลกุตตระ เพราะไม่กลับมาสู่โลก
ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะไม่เป็นคติของโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะไม่เป็น
วิสัยของโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะไม่เป็นสาธารณะของโลก ชื่อว่าโลกุตตระ
เพราะปราศจากโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะไม่เวียนมาสู่โลก ชื่อว่าโลกุตตระ
เพราะละโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะไม่ให้โลกเกิด ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะไม่เยื่อใย
โลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะนำโลก ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะกำจัดโลก ชื่อว่า
โลกุตตระ เพราะไม่อบโลกให้งาม ชื่อว่าโลกุตตระ เพราะล่วงโลก ครอบงำโลก
ตั้งอยู่ ฉะนี้แล
โลกุตตรกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๙. พลกถา
๙. พลกถา
ว่าด้วยพละ
[๔๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ ประการนี้
พละ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. สัทธาพละ (พละคือศรัทธา) ๒. วิริยพละ (พละคือวิริยะ)
๓. สติพละ (พละคือสติ) ๔. สมาธิพละ (พละคือสมาธิ)
๕. ปัญญาพละ (พละคือปัญญา)

อีกอย่างหนึ่ง พละ ๖๘ ประการ คือ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ
ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ ปฏิสังขานพละ ภาวนาพละ อนวัชชพละ
สังคหพละ ขันติพละ ปัญญัตติพละ นิชฌัตติพละ อิสสริยพละ อธิษฐานพละ
สมถพละ วิปัสสนาพละ เสกขพละ ๑๐ อเสกขพละ ๑๐ ขีณาสวพละ ๑๐
อิทธิพละ ๑๐ ตถาคตพละ ๑๐
สัทธาพละ เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธา ชื่อว่าสัทธาพละ
เพราะอุปถัมภ์สหชาตธรรม ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะมีสภาวะครอบงำกิเลสทั้งหลาย
ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะมีสภาวะเป็นความหมดจดในเบื้องต้นแห่งปฏิเวธ ชื่อว่า
สัทธาพละ เพราะมีสภาวะตั้งมั่นแห่งจิต ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะมีสภาวะเป็น
ความผ่องแผ้วแห่งจิต ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะมีสภาวะเป็นเครื่องบรรลุธรรมวิเศษ
ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะมีสภาวะรู้แจ้งธรรมที่ยิ่ง ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะมีสภาวะ
ตรัสรู้สัจจะ ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะมีสภาวะให้การกบุคคล (บุคคลผู้กระทำ) ตั้งอยู่
เฉพาะในนิโรธ นี้เป็นสัทธาพละ (๑)
วิริยพละ เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าวิริยพละ เพราะไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน ชื่อว่าวิริยพละ
เพราะมีสภาวะอุปถัมภ์สหชาตธรรม ชื่อว่าวิริยพละ เพราะมีสภาวะครอบงำกิเลส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๙. พลกถา
ทั้งหลาย ชื่อว่าวิริยพละ เพราะมีสภาวะเป็นความหมดจดในเบื้องต้นแห่งปฏิเวธ
ชื่อว่าวิริยพละ เพราะมีสภาวะตั้งมั่นแห่งจิต ชื่อว่าวิริยพละ เพราะมีสภาวะเป็น
ความผ่องแผ้วแห่งจิต ชื่อว่าวิริยพละ เพราะมีสภาวะเป็นเครื่องบรรลุธรรมวิเศษ
ชื่อว่าวิริยพละ เพราะมีสภาวะรู้แจ้งธรรมที่ยิ่ง ชื่อว่าวิริยพละ เพราะมีสภาวะตรัสรู้
สัจจะ ชื่อว่าวิริยพละ เพราะมีสภาวะให้การกบุคคลตั้งอยู่เฉพาะในนิโรธ นี้เป็น
วิริยพละ (๒)
สติพละ เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าสติพละ เพราะไม่หวั่นไหวเพราะความประมาท ชื่อว่าสติพละ เพราะ
มีสภาวะอุปถัมภ์สหชาตธรรม ฯลฯ ชื่อว่าสติพละ เพราะมีสภาวะให้การกบุคคล
ตั้งอยู่เฉพาะในนิโรธ นี้เป็นสติพละ (๓)
สมาธิพละ เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าสมาธิพละ เพราะไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ ชื่อว่าสมาธิพละ
เพราะมีสภาวะอุปถัมภ์สหชาตธรรม ฯลฯ ชื่อว่าสมาธิพละ เพราะมีสภาวะให้การก-
บุคคลตั้งอยู่เฉพาะในนิโรธ นี้เป็นสมาธิพละ (๔)
ปัญญาพละ เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าปัญญาพละ เพราะไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา ชื่อว่าปัญญาพละ
เพราะมีสภาวะอุปถัมภ์สหชาตธรรม ฯลฯ ชื่อว่าปัญญาพละ เพราะมีสภาวะให้
การกบุคคลตั้งอยู่เฉพาะในนิโรธ นี้เป็นปัญญาพละ (๕)
หิริพละ เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าหิริพละ เพราะละอายกามฉันทะด้วยเนกขัมมะ ชื่อว่าหิริพละ
เพราะละอายพยาบาทด้วยอพยาบาท ชื่อว่าหิริพละ เพราะละอายถีนมิทธะด้วย
อาโลกสัญญา ชื่อว่าหิริพละ เพราะละอายอุทธัจจะด้วยอวิกเขปะ ชื่อว่าหิริพละ
เพราะละอายวิจิกิจฉาด้วยธัมมววัตถาน ชื่อว่าหิริพละ เพราะละอายอวิชชา
ด้วยญาณ ชื่อว่าหิริพละ เพราะละอายอรติด้วยปามุชชะ ชื่อว่าหิริพละ เพราะ
ละอายนิวรณ์ด้วยปฐมฌาน ฯลฯ ชื่อว่าหิริพละ เพราะละอายกิเลสทั้งปวงด้วย
อรหัตตมรรค นี้เป็นหิริพละ (๖)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๙. พลกถา
โอตตัปปพละ เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าโอตตัปปพละ เพราะเกรงกลัวกามฉันทะด้วยเนกขัมมะ ชื่อว่า
โอตตัปปพละ เพราะเกรงกลัวพยาบาทด้วยอพยาบาท ชื่อว่าโอตตัปปพละ เพราะ
เกรงกลัวถีนมิทธะด้วยอาโลกสัญญา ชื่อว่าโอตตัปปพละ เพราะเกรงกลัวอุทธัจจะ
ด้วยอวิกเขปะ ชื่อว่าโอตตัปปพละ เพราะเกรงกลัววิจิกิจฉาด้วยธัมมววัตถาน ชื่อว่า
โอตตัปปพละ เพราะเกรงกลัวอวิชชาด้วยญาณ ชื่อว่าโอตตัปปพละ เพราะเกรงกลัว
อรติด้วยปามุชชะ ชื่อว่าโอตตัปปพละ เพราะเกรงกลัวนิวรณ์ด้วยปฐมฌาน ชื่อว่า
โอตตัปปพละ เพราะเกรงกลัวกิเลสทั้งปวงด้วยอรหัตตมรรค นี้เป็นโอตตัปปพละ (๗)
ปฏิสังขานพละ เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าปฏิสังขานพละ เพราะพิจารณากามฉันทะด้วยเนกขัมมะ ชื่อว่า
ปฏิสังขานพละ เพราะพิจารณาพยาบาทด้วยอพยาบาท ชื่อว่าปฏิสังขานพละ
เพราะพิจารณาถีนมิทธะด้วยอาโลกสัญญา ชื่อว่าปฏิสังขานพละ เพราะพิจารณา
อุทธัจจะด้วยอวิกเขปะ ชื่อว่าปฏิสังขานพละ เพราะพิจารณาวิจิกิจฉาด้วยธัมม-
ววัตถาน ชื่อว่าปฏิสังขานพละ เพราะพิจารณาอวิชชาด้วยญาณ ชื่อว่าปฏิสังขาน-
พละเพราะพิจารณาอรติด้วยปามุชชะ ชื่อว่าปฏิสังขานพละ เพราะพิจารณานิวรณ์
ด้วยปฐมฌาน ฯลฯ ชื่อว่าปฏิสังขานพละ เพราะพิจารณากิเลสทั้งปวงด้วย
อรหัตตมรรค นี้เป็นปฏิสังขานพละ (๘)
ภาวนาพละ เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าภาวนาพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละกามฉันทะย่อมเจริญ
เนกขัมมะ ชื่อว่าภาวนาพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละพยาบาทย่อมเจริญ
อพยาบาท ชื่อว่าภาวนาพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละถีนมิทธะย่อมเจริญ
อาโลกสัญญา ชื่อว่าภาวนาพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละอุทธัจจะย่อมเจริญ
อวิกเขปะ ชื่อว่าภาวนาพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละวิจิกิจฉาย่อมเจริญ
ธัมมววัตถาน ชื่อว่าภาวนาพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละอวิชชาย่อมเจริญญาณ
ชื่อว่าภาวนาพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละอรติย่อมเจริญปามุชชะ ชื่อว่า
ภาวนาพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละนิวรณ์ย่อมเจริญปฐมฌาน ฯลฯ ชื่อว่า
ภาวนาพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละกิเลสทั้งปวงย่อมเจริญอรหัตตมรรค นี้เป็น
ภาวนาพละ (๙)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๙. พลกถา
อนวัชชพละ เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าอนวัชชพละ เพราะในเนกขัมมะไม่มีโทษแม้น้อยหนึ่ง เพราะละ
กามฉันทะได้แล้ว ชื่อว่าอนวัชชพละ เพราะในอพยาบาทไม่มีโทษแม้น้อยหนึ่ง เพราะ
ละพยาบาทได้แล้ว ชื่อว่าอนวัชชพละ เพราะในอาโลกสัญญาไม่มีโทษแม้น้อยหนึ่ง
เพราะละถีนมิทธะได้แล้ว ชื่อว่าอนวัชชพละ เพราะในอวิกเขปะไม่มีโทษแม้น้อยหนึ่ง
เพราะละอุทธัจจะได้แล้ว ชื่อว่าอนวัชชพละ เพราะในธัมมววัตถานไม่มีโทษแม้น้อย
หนึ่ง เพราะละวิจิกิจฉาได้แล้ว ชื่อว่าอนวัชชพละ เพราะในญาณไม่มีโทษแม้น้อยหนึ่ง
เพราะละอวิชชาได้แล้ว ชื่อว่าอนวัชชพละ เพราะในปามุชชะไม่มีโทษแม้น้อยหนึ่ง
เพราะละอรติได้แล้ว ชื่อว่าอนวัชชพละ เพราะในปฐมฌานไม่มีโทษแม้น้อยหนึ่ง
เพราะละนิวรณ์ได้แล้ว ฯลฯ ชื่อว่าอนวัชชพละ เพราะในอรหัตตมรรคไม่มีโทษ
แม้น้อยหนึ่ง เพราะละกิเลสทั้งปวงได้แล้ว นี้เป็นอนวัชชพละ (๑๐)
สังคหพละ เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าสังคหพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละกามฉันทะ ย่อมรวมจิตไว้ด้วย
อำนาจเนกขัมมะ ชื่อว่าสังคหพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละพยาบาท ย่อมรวมจิต
ไว้ด้วยอำนาจอพยาบาท ชื่อว่าสังคหพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละถีนมิทธะ ย่อม
รวมจิตไว้ด้วยอำนาจอาโลกสัญญา ฯลฯ ชื่อว่าสังคหพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อ
ละกิเลสทั้งปวง ย่อมรวมจิตไว้ด้วยอำนาจอรหัตตมรรค นี้เป็นสังคหพละ (๑๑)
ขันติพละ เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าขันติพละ เพราะเนกขัมมะย่อมอดทน เพราะละกามฉันทะได้แล้ว
ชื่อว่าขันติพละ เพราะอพยาบาทย่อมอดทน เพราะละพยาบาทได้แล้ว ชื่อว่า
ขันติพละ เพราะอาโลกสัญญาย่อมอดทน เพราะละถีนมิทธะได้แล้ว ชื่อว่าขันติพละ
เพราะอวิกเขปะย่อมอดทน เพราะละอุทธัจจะได้แล้ว ชื่อว่าขันติพละ เพราะ
ธัมมววัตถานย่อมอดทน เพราะละวิจิกิจฉาได้แล้ว ชื่อว่าขันติพละ เพราะญาณ
ย่อมอดทน เพราะละอวิชชาได้แล้ว ชื่อว่าขันติพละ เพราะปามุชชะย่อมอดทน
เพราะละอรติได้แล้ว ชื่อว่าขันติพละ เพราะปฐมฌานย่อมอดทน เพราะละนิวรณ์
ได้แล้ว ฯลฯ ชื่อว่าขันติพละ เพราะอรหัตตมรรคย่อมอดทน เพราะละกิเลสทั้งปวง
ได้แล้ว นี้เป็นขันติพละ (๑๒)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๙. พลกถา
ปัญญัตติพละ เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าปัญญัตติพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละกามฉันทะ ย่อมตั้งจิตไว้
ด้วยอำนาจเนกขัมมะ ชื่อว่าปัญญัตติพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละพยาบาท
ย่อมตั้งจิตไว้ด้วยอำนาจอพยาบาท ชื่อว่าปัญญัตติพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละ
ถีนมิทธะ ย่อมตั้งจิตไว้ด้วยอำนาจอาโลกสัญญา ฯลฯ ชื่อว่าปัญญัตติพละ เพราะ
พระโยคาวจรเมื่อละกิเลสทั้งปวง ย่อมตั้งจิตไว้ด้วยอำนาจอรหัตตมรรค นี้เป็น
ปัญญัตติพละ (๑๓)
นิชฌัตติพละ เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่านิชฌัตติพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละกามฉันทะ ย่อมเพ่งจิต
ด้วยอำนาจเนกขัมมะ ชื่อว่านิชฌัตติพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละพยาบาท
ย่อมเพ่งจิตด้วยอำนาจอพยาบาท ชื่อว่านิชฌัตติพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละ
ถีนมิทธะ ย่อมเพ่งจิตด้วยอำนาจอาโลกสัญญา ฯลฯ ชื่อว่านิชฌัตติพละ เพราะ
พระโยคาวจรเมื่อละกิเลสทั้งปวง ย่อมเพ่งจิตด้วยอำนาจอรหัตตมรรค นี้เป็น
นิชฌัตติพละ (๑๔)
อิสสริยพละ เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าอิสสริยพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละกามฉันทะ ย่อมบังคับจิต
ให้เป็นไปตามอำนาจด้วยอำนาจเนกขัมมะ ชื่อว่าอิสสริยพละ เพราะพระโยคาวจร
เมื่อละพยาบาท ย่อมบังคับจิตให้เป็นไปตามอำนาจด้วยอำนาจอพยาบาท ชื่อว่า
อิสสริยพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละถีนมิทธะ ย่อมบังคับจิตให้เป็นไปตามอำนาจ
ด้วยอำนาจอาโลกสัญญา ฯลฯ ชื่อว่าอิสสริยพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละ
กิเลสทั้งปวง ย่อมบังคับจิตให้เป็นไปตามอำนาจด้วยอำนาจอรหัตตมรรค นี้เป็น
อิสสริยพละ (๑๕)
อธิษฐานพละ เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าอธิษฐานพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละกามฉันทะ ย่อมอธิษฐานจิต
ด้วยอำนาจเนกขัมมะ ชื่อว่าอธิษฐานพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละพยาบาท
ย่อมอธิษฐานจิตด้วยอำนาจอพยาบาท ชื่อว่าอธิษฐานพละ เพราะพระโยคาวจร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๙. พลกถา
เมื่อละถีนมิทธะ ย่อมอธิษฐานจิตด้วยอำนาจอาโลกสัญญา ฯลฯ ชื่อว่าอธิษฐานพละ
เพราะพระโยคาวจรเมื่อละกิเลสทั้งปวง ย่อมอธิษฐานจิตด้วยอำนาจอรหัตตมรรค
นี้เป็นอธิษฐานพละ (๑๖)
สมถพละ เป็นอย่างไร
คือ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจเนกขัมมะ เป็น
สมถพละ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจอพยาบาท เป็น
สมถพละ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจอาโลกสัญญา เป็น
สมถพละ ฯลฯ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจความเป็นผู้พิจารณา
เห็นความสละคืนหายใจเข้า เป็นสมถพละ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่าน
ด้วยอำนาจความเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจออก เป็นสมถพละ
คำว่า สมถพละ อธิบายว่า ชื่อว่าสมถพละ เพราะมีความหมายว่าอย่างไร
คือ ชื่อว่าสมถพละ เพราะจิตไม่หวั่นไหวในนิวรณ์ด้วยปฐมฌาน ชื่อว่าสมถพละ
เพราะจิตไม่หวั่นไหวในวิตกวิจารด้วยทุติยฌาน ชื่อว่าสมถพละ เพราะจิตไม่หวั่นไหว
ในปีติด้วยตติยฌาน ชื่อว่าสมถพละ เพราะจิตไม่หวั่นไหวในสุขและทุกข์ด้วยจตุตถ-
ฌาน ชื่อว่าสมถพละ เพราะจิตไม่หวั่นไหวในรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา
ด้วยอากาสานัญจายตนสมาบัติ ชื่อว่าสมถพละ เพราะจิตไม่หวั่นไหวในอากาสานัญ-
จายตนสัญญาด้วยวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ชื่อว่าสมถพละ เพราะจิตไม่หวั่นไหว
ในวิญญาณัญจายตนสัญญาด้วยอากิญจัญญายตนสมาบัติ ชื่อว่าสมถพละ เพราะ
จิตไม่หวั่นไหวในอากิญจัญญายตนสัญญาด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ชื่อ
ว่าสมถพละ เพราะจิตไม่หวั่นไหว ไม่กวัดแกว่ง ไม่เอนเอียง เพราะอุทธัจจะ
เพราะกิเลสที่ประกอบด้วยอุทธัจจะและเพราะขันธ์ นี้เป็นสมถพละ (๑๗)
วิปัสสนาพละ เป็นอย่างไร
คือ อนิจจานุปัสสนาเป็นวิปัสสนาพละ ทุกขานุปัสสนาเป็นวิปัสสนาพละ ฯลฯ
ปฏินิสสัคคานุปัสสนาเป็นวิปัสสนาพละ อนิจจานุปัสสนาในรูปเป็นวิปัสสนาพละ
ทุกขานุปัสสนาในรูปเป็นวิปัสสนาพละ ฯลฯ ปฏินิสสัคคานุปัสสนาในรูปเป็น
วิปัสสนาพละ อนิจจานุปัสสนาในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา ฯลฯ ในสังขาร ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๙. พลกถา
ในวิญญาณ ฯลฯ ในจักขุ ฯลฯ อนิจจานุปัสสนาในชราและมรณะเป็นวิปัสสนาพละ
ทุกขานุปัสสนาในชราและมรณะเป็นวิปัสสนาพละ ปฏินิสสัคคานุปัสสนาในชราและ
มรณะเป็นวิปัสสนาพละ
คำว่า วิปัสสนาพละ อธิบายว่า ชื่อว่าวิปัสสนาพละ เพราะมีความหมายว่า
อย่างไร
คือ ชื่อว่าวิปัสสนาพละ เพราะจิตไม่หวั่นไหวในนิจจสัญญาด้วยอนิจจานุ-
ปัสสนา ชื่อว่าวิปัสสนาพละ เพราะจิตไม่หวั่นไหวในสุขสัญญาด้วยทุกขานุปัสสนา
ชื่อว่าวิปัสสนาพละ เพราะจิตไม่หวั่นไหวในอัตตสัญญาด้วยอนัตตานุปัสสนา ชื่อว่า
วิปัสสนาพละ เพราะจิตไม่หวั่นไหวในนันทิด้วยนิพพิทานุปัสสนา ชื่อว่าวิปัสสนาพละ
เพราะจิตไม่หวั่นไหวในราคะด้วยวิราคานุปัสสนา ชื่อว่าวิปัสสนาพละ เพราะจิตไม่
หวั่นไหวในสมุทัยด้วยนิโรธานุปัสสนา ชื่อว่าวิปัสสนาพละ เพราะจิตไม่หวั่นไหวใน
อาทานะด้วยปฏินิสสัคคานุปัสสนา ชื่อว่าวิปัสสนาพละ เพราะจิตไม่หวั่นไหว
ไม่กวัดแกว่ง ไม่เอนเอียง เพราะอวิชชา เพราะกิเลสที่ประกอบด้วยอวิชชาและ
เพราะขันธ์ นี้เป็นวิปัสสนาพละ (๑๘)
เสกขพละ ๑๐ อเสกขพละ ๑๐ เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าเสกขพละ เพราะพระเสขะยังต้องศึกษาสัมมาทิฏฐิ ชื่อว่า
อเสกขพละ เพราะพระอเสขะศึกษาในสัมมาทิฏฐินั้นเสร็จแล้ว ชื่อว่าเสกขพละ
เพราะพระเสขะยังต้องศึกษาสัมมาสังกัปปะ ชื่อว่าอเสกขพละ เพราะพระอเสขะ
ศึกษาในสัมมาสังกัปปะนั้นเสร็จแล้ว ชื่อว่าเสกขพละ เพราะพระเสขะยังต้องศึกษา
สัมมาวาจา ฯลฯ สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะ ฯลฯ สัมมาวายามะ ฯลฯ
สัมมาสติ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ฯลฯ สัมมาญาณ๑ ฯลฯ สัมมาวิมุตติ๒ ชื่อว่าอเสกขพละ
เพราะพระอเสขะศึกษาในสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ
สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณ สัมมาวิมุตตินั้นเสร็จแล้ว เสกขพละ ๑๐
อเสกขพละ ๑๐ นี้แล (๑๙-๒๐) (=๓๘)

เชิงอรรถ :
๑ สัมมาญาณ หมายถึงปัจจเวกขณญาณ (ขุ.ป.อ. ๒/๔๔/ ๒๖๗)
๒ สัมมาวิมุตติ หมายถึงธรรมที่ประกอบด้วยผลเว้นมรรคมีองค์ ๘ (ขุ.ป.อ. ๒/๔๔/๒๖๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๙. พลกถา
ขีณาสวพละ ๑๐ เป็นอย่างไร
คือ สังขารทั้งปวงเป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพในพระธรรมวินัยนี้เห็นว่าเป็น
สภาวะไม่เที่ยง ด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริง แม้ข้อที่สังขารทั้งปวงเป็นธรรม
ที่ภิกษุขีณาสพในพระธรรมวินัยนี้เห็นว่าเป็นสภาวะไม่เที่ยงด้วยปัญญาชอบตาม
ความเป็นจริง นี้ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพ ซึ่งภิกษุขีณาสพได้อาศัยแล้วยืนยัน
ความสิ้นอาสวะว่า “อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นแล้ว” (๑)
กามทั้งหลายเป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเห็นว่าเปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิงด้วย
ปัญญาชอบตามความเป็นจริง แม้ข้อที่กามทั้งหลายเป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเห็นว่า
เปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิงด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริง นี้ก็เป็นกำลังของ
ภิกษุขีณาสพ ซึ่งภิกษุขีณาสพได้อาศัยแล้วยืนยันความสิ้นอาสวะว่า “อาสวะ
ทั้งหลายของเราสิ้นแล้ว” (๒)
จิตของภิกษุขีณาสพเป็นธรรมชาติโน้มไป น้อมไป โอนไปในวิเวก ตั้งอยู่ในวิเวก
ยินดีในเนกขัมมะ ว่างจากธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะโดยประการทั้งปวง
แม้ข้อที่จิตของภิกษุขีณาสพเป็นธรรมชาติโน้มไป น้อมไป โอนไปในวิเวก ตั้งอยู่ใน
วิเวก ยินดีในเนกขัมมะ ว่างจากธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะโดยประการ
ทั้งปวง นี้ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพ ซึ่งภิกษุขีณาสพได้อาศัยแล้วยืนยันความ
สิ้นอาสวะว่า “อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นแล้ว” (๓)
สติปัฏฐาน ๔ เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว แม้ข้อที่สติปัฏฐาน
๔ เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว นี้ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพ ซึ่ง
ภิกษุขีณาสพได้อาศัยแล้วยืนยันความสิ้นอาสวะว่า “อาสวะทั้งหลายของเรา
สิ้นแล้ว” (๔)
สัมมัปปธาน ๔ เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว ฯลฯ อิทธิบาท ๔
ฯลฯ อินทรีย์ ๕ ฯลฯ พละ ๕ ฯลฯ โพชฌงค์ ๗ ฯลฯ อริยมรรคมีองค์ ๘
เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว แม้ข้อที่อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นธรรม
ที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว นี้ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพ ซึ่งภิกษุขีณาสพได้
อาศัยแล้วยืนยันความสิ้นอาสวะว่า “อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นแล้ว” นี้ก็เป็นกำลัง
ของภิกษุขีณาสพ ๑๐ (๕-๑๐) (=๔๘)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๙. พลกถา
อิทธิพละ ๑๐ อะไรบ้าง คือ

๑. ฤทธิ์ที่อธิษฐาน ๒. ฤทธิ์ที่แสดงได้ต่าง ๆ
๓. ฤทธิ์ที่สำเร็จด้วยใจ ๔. ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณ
๕. ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ ๖. ฤทธิ์ของพระอริยะ
๗. ฤทธิ์ที่เกิดจากผลกรรม ๘. ฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญ
๙. ฤทธิ์ที่สำเร็จมาจากวิชชา

๑๐. ชื่อว่าฤทธิ์ เพราะมีสภาวะสำเร็จด้วยการประกอบโดยชอบในส่วน
นั้น ๆ เป็นปัจจัย
นี้อิทธิพละ ๑๐ (๑๐) (=๕๘)
ตถาคตพละ ๑๐ อะไรบ้าง
คือ ตถาคตรู้ชัดฐานะโดยความเป็นฐานะและอฐานะ๑โดยความเป็นอฐานะใน
โลกนี้ตามความเป็นจริง การที่ตถาคตรู้ชัดฐานะโดยความเป็นฐานะและอฐานะโดย
ความเป็นอฐานะตามความเป็นจริง นี้เป็นกำลังของตถาคต ที่ตถาคตอาศัยแล้ว
ยืนยันฐานะที่องอาจบันลือสีหนาท๒ประกาศพรหมจักรในบริษัท๓ (๑)
ตถาคตรู้ชัดวิบากแห่งการยึดถือกรรมที่เป็นทั้งอดีต อนาคต และปัจจุบัน
โดยฐานะ โดยเหตุตามความเป็นจริง การที่ตถาคตรู้ชัดวิบากแห่งการยึดถือกรรม
ที่เป็นทั้งอดีต อนาคต และปัจจุบัน โดยฐานะ โดยเหตุตามความเป็นจริง นี้เป็น
กำลังของตถาคต ฯลฯ (๒)

เชิงอรรถ :
๑ ฐานะและอฐานะ ได้แก่ การณะและอการณะ (เหตุและสิ่งมิใช่เหตุ) (ขุ.ป.อ. ๒/๔๔/๒๗๐)
๒ บันลือสีหนาท หมายถึงคำพูดที่ตรัสด้วยท่าทีองอาจดังพญาราชสีห์ ไม่ทรงหวั่นเกรงผู้ใดเพราะทรงมั่น
พระทัยในศีล สมาธิ ปัญญาของพระองค์ (ที.สี.ฏีกา ๑/๔๐๓/๔๓๒)
๓ บริษัท ในที่นี้หมายถึงกลุ่มของบุคคลหลายสถานะที่มาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า เพื่อต้องการจะฟังพระ
ธรรมเทศนามี ๘ กลุ่ม คือขัตติยบริษัท พราหมณบริษัท คหบดีบริษัท สมณบริษัท จาตุมหาราชิกา-
บริษัท ดาวดึงสบริษัท มารบริษัท และพรหมบริษัท (ขุ.ป.อ. ๒/๔๔/๒๗๑, ม.มู. ๑๒/๑๕๑/๑๑๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๙. พลกถา
ตถาคตรู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงภูมิทั้งปวงตามความเป็นจริง การที่ตถาคตรู้ชัด
ปฏิปทาที่ให้ถึงภูมิทั้งปวงตามความเป็นจริง นี้เป็นกำลังของตถาคต ฯลฯ (๓)
ตถาคตรู้ชัดโลกธาตุหลายชนิด มีธาตุที่แตกต่างกันตามความเป็นจริง การที่
ตถาคตรู้ชัดโลกธาตุหลายชนิด มีธาตุที่แตกต่างกันตามความเป็นจริง นี้เป็นกำลัง
ของตถาคต ฯลฯ (๔)
ตถาคตรู้ชัดว่าหมู่สัตว์เป็นผู้มีอัธยาศัยต่างกันตามความเป็นจริง การที่ตถาคต
รู้ชัดว่าหมู่สัตว์เป็นผู้มีอัธยาศัยต่างกันตามความเป็นจริง นี้เป็นกำลังของตถาคต
ฯลฯ (๕)
ตถาคตรู้ชัดว่าสัตว์เหล่าอื่นและบุคคลเหล่าอื่นมีอินทรีย์แก่กล้าและมีอินทรีย์อ่อน
ตามความเป็นจริง การที่ตถาคตรู้ชัดว่าสัตว์เหล่าอื่นและบุคคลเหล่าอื่นมีอินทรีย์แก่
กล้าและมีอินทรีย์อ่อนตามความเป็นจริง นี้เป็นกำลังของตถาคต ฯลฯ (๖)
ตถาคตรู้ชัดความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้วแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และ
สมาบัติ และการออกจากฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ ตามความเป็นจริง
การที่ตถาคตรู้ชัดความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้วแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และ
สมาบัติ และการออกจากฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติตามความเป็นจริง
นี้เป็นกำลังของตถาคต ฯลฯ (๗)
ตถาคตระลึกถึงชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง
ฯลฯ ระลึกถึงชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้
การที่ตถาคตระลึกถึงชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ฯลฯ
นี้เป็นกำลังของตถาคต ฯลฯ (๘)
ตถาคตเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติและกำลังเกิดด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์
การที่ตถาคตเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติและกำลังเกิดด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์
นี้เป็นกำลังของตถาคต ฯลฯ (๙)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๙. พลกถา
ตถาคตทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ๑ปัญญาวิมุตติ๒อันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะทั้งหลาย
สิ้นแล้วด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน๓ การที่ตถาคตทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ
ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นแล้วด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้า
ถึงอยู่ในปัจจุบัน นี้เป็นกำลังของตถาคต ที่ตถาคตอาศัยแล้วยืนยันฐานะที่องอาจ
บันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักรในบริษัท นี้ตถาคตพละ ๑๐ (๑๐) (=๖๘)
[๔๕] ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะมีสภาวะอย่างไร ชื่อว่าวิริยพละ เพราะมี
สภาวะอย่างไร ชื่อว่าสติพละ เพราะมีสภาวะอย่างไร ชื่อว่าสมาธิพละ เพราะมี
สภาวะอย่างไร ชื่อว่าปัญญาพละ เพราะมีสภาวะอย่างไร ชื่อว่าหิริพละ เพราะมี
สภาวะอย่างไร ชื่อว่าโอตตัปปพละ เพราะมีสภาวะอย่างไร ชื่อว่าปฏิสังขานพละ
เพราะมีสภาวะอย่างไร ฯลฯ ชื่อว่าตถาคตพละ เพราะมีสภาวะอย่างไร
คือ ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธา ชื่อว่า
วิริยพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน ชื่อว่าสติพละ เพราะ
มีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะความประมาท ชื่อว่าสมาธิพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่น
ไหวเพราะอุทธัจจะ ชื่อว่าปัญญาพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา ชื่อว่า
หิริพละ เพราะละอายบาปอกุศลธรรม ชื่อว่าโอตตัปปพละ เพราะเกรงกลัวบาป-
อกุศลธรรม ชื่อว่าปฏิสังขานพละ เพราะพิจารณากิเลสทั้งหลายด้วยญาณ ชื่อว่า
ภาวนาพละ เพราะธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นมีรสเป็นอย่างเดียวกัน ชื่อว่า
อนวัชชพละ เพราะในเนกขัมมะนั้นไม่มีโทษแม้น้อยหนึ่ง ชื่อว่าสังคหพละ เพราะ
พระโยคาวจรรวมจิตไว้ด้วยเนกขัมมะเป็นต้นนั้น ชื่อว่าขันติพละ เพราะเนกขัมมะ
เป็นต้นย่อมอดทนต่อนิวรณ์มีกามฉันทะเป็นต้นนั้น ชื่อว่าปัญญัตติพละ เพราะพระ
โยคาวจรตั้งจิตไว้ด้วยเนกขัมมะเป็นต้นนั้น ชื่อว่านิชฌัตติพละ เพราะพระโยคาวจร
ย่อมเพ่งจิตด้วยเนกขัมมะเป็นต้นนั้น ชื่อว่าอิสสริยพละ เพราะพระโยคาวจรย่อม

เชิงอรรถ :
๑ เจโตวิมุตติ หมายถึงผลสมาธิ (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๒/๘๔)
๒ ปัญญาวิมุตติ หมายถึงผลปัญญา (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๒/๘๔)
๓ ในปัจจุบัน หมายถึงในอัตภาพนี้ (ขุ.ป.อ. ๒/๔๔/๒๗๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๑๐. สุญญกถา
บังคับจิตให้เป็นไปตามอำนาจด้วยเนกขัมมะเป็นต้นนั้น ชื่อว่าอธิษฐานพละ เพราะ
พระโยคาวจรย่อมอธิษฐานจิตด้วยเนกขัมมะเป็นต้นนั้น ชื่อว่าสมถพละ เพราะจิต
เป็นเอกัคคตารมณ์ด้วยเนกขัมมะเป็นต้นนั้น ชื่อว่าวิปัสสนาพละ เพราะพระ
โยคาวจรย่อมพิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในภาวนานั้น ชื่อว่าเสกขพละ เพราะพระ
เสขะยังต้องศึกษาในสัมมาทิฏฐิเป็นต้นนั้น ชื่อว่าอเสกขพละ เพราะพระอเสขะ
ศึกษาในสัมมาทิฏฐิเป็นต้นนั้นเสร็จแล้ว ชื่อว่าขีณาสวพละ เพราะอาสวะทั้งหลาย
สิ้นแล้วด้วยความเห็นด้วยดีนั้น๑ ชื่อว่าอิทธิพละ เพราะฤทธิ์ย่อมสำเร็จด้วยการ
อธิษฐานเป็นต้นด้วยการประกอบโดยชอบในส่วนนั้น ๆ เป็นปัจจัย ชื่อว่าตถาคตพละ
เพราะมีสภาวะมีกำลังหาประมาณมิได้ ฉะนี้
พลกถา จบ

๑๐. สุญญกถา
ว่าด้วยความว่าง
[๔๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ที่เขากล่าวกันว่า ‘โลกว่าง โลกว่าง’ ด้วยเหตุเท่าไรหนอ พระองค์จึงตรัสว่า
‘โลกว่าง”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เพราะว่างจากอัตตาและจากสิ่งที่เนื่อง
ด้วยอัตตา ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า ‘โลกว่าง’ อานนท์ อะไรเล่าว่างจากอัตตาและ
จากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา คือ จักขุเป็นธรรมว่างจากอัตตาและจากสิ่งที่เนื่องด้วย
อัตตา รูปว่างจากอัตตาและจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา จักขุวิญญาณเป็นธรรมว่าง

เชิงอรรถ :
๑ ความเห็นด้วยดี ในที่นี้หมายถึงญาณที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระ (ขุ.ป.อ. ๒/๔๕/๒๗๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๑๐. สุญญกถา ๑. บทมาติกา
จากอัตตาและจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา จักขุสัมผัสเป็นธรรมว่างจากอัตตาและจาก
สิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออุเบกขาเวทนาที่เกิดเพราะ
จักขุสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นธรรมว่างจากอัตตาและจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา
โสตะ ฯลฯ สัททะ ฯลฯ ฆานะ ฯลฯ คันธะ ฯลฯ ชิวหา ฯลฯ รส ฯลฯ
กาย ฯลฯ โผฏฐัพพะ ฯลฯ มโนเป็นธรรมว่างจากอัตตาและจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา
ธรรมารมณ์เป็นธรรมว่างจากอัตตาและจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา มโนวิญญาณเป็น
ธรรมว่างจากอัตตาและจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา มโนสัมผัสเป็นธรรมว่างจากอัตตา
และจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออุเบกขาเวทนาที่เกิด
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นธรรมว่างจากอัตตาและจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา
เพราะฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า ‘โลกว่าง”

๑. บทมาติกา

[๔๗] ๑. สุญญสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่ว่าง)
๒. สังขารสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่เป็นสังขาร)
๓. วิปริณามสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่แปรผัน)
๔. อัคคสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่เป็นเลิศ)
๕. ลักขณสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่เป็นลักษณะ)
๖. วิกขัมภนสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่เป็นเหตุข่ม)
๗. ตทังคสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่เป็นคู่ปรับ)
๘. สมุจเฉทสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้ตัดขาด)
๙. ปฏิปัสสัทธิสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้สงบระงับ)
๑๐. นิสสรณสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่เป็นเหตุสลัดออก)
๑๑. อัชฌัตตสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่เป็นภายใน)
๑๒. พหิทธาสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่เป็นภายนอก)
๑๓. ทุภโตสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่เป็นภายในและภายนอก)
๑๔. สภาคสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่เป็นกลุ่มเดียวกัน)
๑๕. วิสภาคสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่ต่างกลุ่มกัน)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๑๐. สุญญกถา ๒. นิทเทส

๑๖. เอสนาสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่แสวงหา)
๑๗. ปริคคหสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่กำหนด)
๑๘. ปฏิลาภสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่ได้)
๑๙. ปฏิเวธสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่รู้แจ้ง)
๒๐. เอกัตตสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่เป็นสภาวะเดียว)
๒๑. นานัตตสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่เป็นสภาวะต่าง ๆ)
๒๒. ขันติสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่พอใจ)
๒๓. อธิษฐานสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่อธิษฐาน)
๒๔. ปริโยคาหนสุญญะ (ความว่างด้วยธรรมที่หยั่งลง)

๒๕. ความว่างขั้นสูงสุดของความว่างทั้งปวง คือ การที่บุคคลผู้มี
สัมปชัญญะทำความเป็นไปแห่งกิเลสให้สิ้นไป

๒. นิทเทส
[๔๘] ๑. สุญญสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ จักขุเป็นธรรมว่างจากอัตตา จากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา จากความเที่ยง
จากความยั่งยืน จากความมั่นคง หรือจากความไม่แปรผันเป็นธรรมดา โสตะ ฯลฯ
ฆานะ ฯลฯ ชิวหา ฯลฯ กาย ฯลฯ มโนเป็นธรรมว่างจากอัตตา จากสิ่งที่เนื่องด้วย
อัตตา จากความเที่ยง จากความยั่งยืน จากความมั่นคง หรือจากความไม่แปรผัน
เป็นธรรมดา นี้ชื่อว่าสุญญสุญญะ
๒. สังขารสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ สังขาร ๓ ประการ ได้แก่
๑. ปุญญาภิสังขาร ๒. อปุญญาภิสังขาร
๓. อาเนญชาภิสังขาร
ปุญญาภิสังขาร เป็นธรรมว่างจากอปุญญาภิสังขารและอาเนญชาภิสังขาร
อปุญญาภิสังขาร เป็นธรรมว่างจากปุญญาภิสังขารและอาเนญชาภิสังขาร
อาเนญชาภิสังขาร เป็นธรรมว่างจากปุญญาภิสังขารและอปุญญาภิสังขาร
นี้สังขาร ๓ ประการ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๑๐. สุญญกถา ๒. นิทเทส
อีกนัยหนึ่ง สังขาร ๓ ประการ ได้แก่
๑. กายสังขาร ๒. วจีสังขาร
๓. จิตตสังขาร
กายสังขาร เป็นธรรมว่างจากวจีสังขารและจิตตสังขาร
วจีสังขาร เป็นธรรมว่างจากกายสังขารและจิตตสังขาร
จิตตสังขาร เป็นธรรมว่างจากกายสังขารและวจีสังขาร
นี้สังขาร ๓ ประการ
อีกนัยหนึ่ง สังขาร ๓ ประการ ได้แก่
๑. สังขารส่วนอดีต ๒. สังขารส่วนอนาคต
๓. สังขารส่วนปัจจุบัน
สังขารส่วนอดีต เป็นธรรมว่างจากสังขารส่วนอนาคตและสังขารส่วนปัจจุบัน
สังขารส่วนอนาคต เป็นธรรมว่างจากสังขารส่วนอดีตและสังขารส่วนปัจจุบัน
สังขารส่วนปัจจุบัน เป็นธรรมว่างจากสังขารส่วนอดีตและสังขารส่วนอนาคต
นี้สังขาร ๓ ประการ
นี้ชื่อว่าสังขารสุญญะ
๓. วิปริณามสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ รูปที่เกิดแล้วเป็นธรรมว่างตามสภาวะ รูปที่ดับไปเป็นธรรมแปรผันและว่าง
เวทนาที่เกิดแล้วเป็นธรรมว่างตามสภาวะ เวทนาที่ดับไปเป็นธรรมแปรผันและว่าง
สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ จักขุ ฯลฯ ภพที่เกิดแล้วเป็น
ธรรมว่างตามสภาวะ ภพที่ดับไปเป็นธรรมแปรผันและว่าง นี้ชื่อว่าวิปริณามสุญญะ
๔. อัคคสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ ทางที่เลิศ ทางที่ประเสริฐ ทางที่วิเศษ คือ ความสงบแห่งสังขารทั้งปวง
ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ
นิพพาน นี้ชื่อว่า อัคคสุญญะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๑๐. สุญญกถา ๒. นิทเทส
๕. ลักขณสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ ลักษณะ ๒ ประการ ได้แก่
๑. พาลลักษณะ๑ (ลักษณะคนพาล)
๒. บัณฑิตลักษณะ๒ (ลักษณะบัณฑิต)
พาลลักษณะ เป็นธรรมว่างจากบัณฑิตลักษณะ
บัณฑิตลักษณะ เป็นธรรมว่างจากพาลลักษณะ
ลักษณะ ๓ ประการ ได้แก่
๑. อุปปาทลักษณะ (ลักษณะความเกิดขึ้น)
๒. วยลักษณะ (ลักษณะความเสื่อม)
๓. ฐิตัญญถัตตลักษณะ (ลักษณะแปรผันเมื่อยังตั้งอยู่)
อุปปาทลักษณะ เป็นธรรมว่างจากวยลักษณะและฐิตัญญถัตตลักษณะ
วยลักษณะ เป็นธรรมว่างจากวยลักษณะและฐิตัญญถัตตลักษณะ
ฐิตัญญถัตตลักษณะ เป็นธรรมว่างจากอุปปาทลักษณะและวยลักษณะ
อุปปาทลักษณะแห่งรูป เป็นธรรมว่างจากวยลักษณะและฐิตัญญถัตตลักษณะ
วยลักษณะแห่งรูป เป็นธรรมว่างจากอุปปาทลักษณะและฐิตัญญถัตตลักษณะ
ฐิตัญญถัตตลักษณะแห่งรูป เป็นธรรมว่างจากอุปปาทลักษณะและวยลักษณะ
อุปปาทลักษณะแห่งเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ
จักขุ ฯลฯ
อุปปาทลักษณะแห่งชราและมรณะ เป็นธรรมว่างจากวยลักษณะและฐิตัญญ-
ถัตตลักษณะ
วยลักษณะแห่งชราและมรณะ เป็นธรรมว่างจากอุปปาทลักษณะและฐิตัญญ-
ถัตตลักษณะ

เชิงอรรถ :
๑ พาลลักษณะ หมายถึงลักษณะคนพาล ๓ ประการ คือ (๑) คิดแต่เรื่องที่ชั่ว (๒) พูดแต่สิ่งที่ชั่ว (๓) ทำแต่
กรรมที่ชั่ว (ขุ.ป.อ. ๒/๔๘/๒๘๓)
๒ บัณฑิตลักษณะ หมายถึงลักษณะบัณฑิต ๓ ประการ คือ (๑) คิดแต่เรื่องที่ดี (๒) พูดแต่สิ่งที่ดี (๓) ทำแต่
กรรมดี (ขุ.ป.อ. ๒/๔๘/๒๘๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๑๐. สุญญกถา ๒. นิทเทส
ฐิตัญญถัตตลักษณะแห่งชราและมรณะ เป็นธรรมว่างจากอุปปาทลักษณะและ
วยลักษณะ
นี้ชื่อว่าลักขณสุญญะ
๖. วิกขัมภนสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ กามฉันทะเป็นธรรมที่บุคคลข่มไว้ด้วยเนกขัมมะ และเป็นธรรมว่างจาก
เนกขัมมะ พยาบาทเป็นธรรมที่บุคคลข่มไว้ด้วยอพยาบาท และเป็นธรรมว่างจาก
อพยาบาท ถีนมิทธะเป็นธรรมที่บุคคลข่มไว้ด้วยอาโลกสัญญา และเป็นธรรมว่าง
จากอาโลกสัญญา อุทธัจจะเป็นธรรมที่บุคคลข่มไว้ด้วยอวิกเขปะ และเป็นธรรม
ว่างจากอวิกเขปะ วิจิกิจฉาเป็นเป็นธรรมที่บุคคลข่มไว้ด้วยธัมมววัตถาน และเป็น
ธรรมว่างจากธัมมววัตถาน อวิชชาเป็นธรรมที่บุคคลข่มไว้ด้วยญาณ และเป็นธรรม
ว่างจากญาณ อรติเป็นธรรมที่บุคคลข่มไว้ด้วยปามุชชะ และเป็นธรรมว่างจาก
ปามุชชะ นิวรณ์เป็นธรรมที่บุคคลข่มไว้ด้วยปฐมฌาน และเป็นธรรมว่างจาก
ปฐมฌาน ฯลฯ๑ กิเลสทั้งปวงเป็นธรรมที่บุคคลข่มไว้ด้วยอรหัตตมรรค และเป็น
ธรรมว่างจากอรหัตตมรรค นี้ชื่อว่าวิกขัมภนสุญญะ
๗. ตทังคสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ กามฉันทะเป็นธรรมที่บุคคลละได้ด้วยเนกขัมมะ และเป็นธรรมว่างจาก
เนกขัมมะ พยาบาทเป็นธรรมที่บุคคลละได้ด้วยอพยาบาท และเป็นธรรมว่างจาก
อพยาบาท ถีนมิทธะเป็นธรรมที่บุคคลละได้ด้วยอาโลกสัญญา และเป็นธรรมว่าง
จากอาโลกสัญญา อุทธัจจะเป็นธรรมที่บุคคลละได้ด้วยอวิกเขปะ และเป็นธรรม
ว่างจากอวิกเขปะ วิจิกิจฉาเป็นธรรมที่บุคคลละได้ด้วยธัมมววัตถาน และเป็นธรรม
ว่างจากธัมมววัตถาน อวิชชาเป็นธรรมที่บุคคลละได้ด้วยญาณ และเป็นธรรมว่าง
จากญาณ อรติเป็นธรรมที่บุคคลละได้ด้วยปามุชชะ และเป็นธรรมว่างจากปามุชชะ
นิวรณ์เป็นธรรมที่บุคคลละได้ด้วยปฐมฌาน และเป็นธรรมว่างจากปฐมฌาน ฯลฯ
กิเลสทั้งปวงเป็นธรรมที่บุคคลละได้ด้วยอรหัตตมรรค และเป็นธรรมว่างจากอรหัตต-
มรรค นี้ชื่อว่าตทังคสุญญะ

เชิงอรรถ :
๑ ดูองค์ธรรมที่เป็นคู่ตรงกันข้าม ๓๗ คู่ ในข้อที่ ๒๘ (สุตมยญาณที่ ๔) หน้า ๔๑-๔๔ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๑๐. สุญญกถา ๒. นิทเทส
๘. สมุจเฉทสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ กามฉันทะเป็นธรรมที่บุคคลตัตขาดด้วยเนกขัมมะ และเป็นธรรมว่างจาก
เนกขัมมะ พยาบาทเป็นธรรมที่บุคคลตัดขาดด้วยอพยาบาท และเป็นธรรมว่าง
จากอพยาบาท ถีนมิทธะเป็นธรรมที่บุคคลตัดขาดด้วยอาโลกสัญญา และเป็น
ธรรมว่างจากอาโลกสัญญา อุทธัจจะเป็นธรรมที่บุคคลตัดขาดด้วยอวิกเขปะ และ
เป็นธรรมว่างจากอวิกเขปะ วิจิกิจฉาเป็นธรรมที่บุคคลตัดขาดด้วยธัมมววัตถาน
และเป็นธรรมว่างจากธัมมววัตถาน อวิชชาเป็นธรรมที่บุคคลตัดขาดด้วยญาณ
และเป็นธรรมว่างจากญาณ อรติเป็นธรรมที่บุคคลตัดขาดด้วยปามุชชะ และเป็น
ธรรมว่างจากปามุชชะ นิวรณ์เป็นธรรมที่บุคคลตัดขาดด้วยปฐมฌาน และเป็น
ธรรมว่างจากปฐมฌาน ฯลฯ กิเลสทั้งปวงเป็นธรรมที่บุคคลตัดขาดด้วยอรหัตต-
มรรค และเป็นธรรมว่างจากอรหัตตมรรค นี้ชื่อว่าสมุจเฉทสุญญะ
๙. ปฏิปัสสัทธิสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ กามฉันทะเป็นธรรมที่บุคคลทำให้สงบระงับด้วยเนกขัมมะ และเป็น
ธรรมว่างจากเนกขัมมะ พยาบาทเป็นธรรมที่บุคคลทำให้สงบระงับด้วยอพยาบาท
และเป็นธรรมว่างจากอพยาบาท ถีนมิทธะเป็นธรรมที่บุคคลทำให้สงบระงับด้วย
อาโลกสัญา และเป็นธรรมว่างจากอาโลกสัญญา อุทธัจจะเป็นธรรมที่บุคคลทำให้
สงบระงับด้วยอวิกเขปะ และเป็นธรรมว่างจากอวิกเขปะ วิจิกิจฉาเป็นธรรมที่
บุคคลทำให้สงบระงับด้วยธัมมววัตถาน และเป็นธรรมว่างจากธัมมววัตถาน
อวิชชาเป็นธรรมที่บุคคลทำให้สงบระงับด้วยญาณ และเป็นธรรมว่างจากญาณ
อรติเป็นธรรมที่บุคคลทำให้สงบระงับด้วยปามุชชะ และเป็นธรรมว่างจากปามุชชะ
นิวรณ์เป็นธรรมที่บุคคลทำให้สงบระงับด้วยปฐมฌาน และเป็นธรรมว่างจาก
ปฐมฌาน ฯลฯ กิเลสทั้งปวงเป็นธรรมที่บุคคลทำให้สงบระงับด้วยอรหัตตมรรค
และเป็นธรรมว่างจากอรหัตตมรรค และเป็นธรรมว่างจากอรหัตตมรรค นี้ชื่อว่า
ปฏิปัสสัทธิสุญญะ
๑๐. นิสสรณสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ กามฉันทะเป็นธรรมที่บุคคลสลัดออกด้วยเนกขัมมะ และเป็นธรรมว่าง
จากเนกขัมมะ พยาบาทเป็นธรรมที่บุคคลสลัดออกด้วยอพยาบาท และเป็นธรรม
ว่างจากอพยาบาท ถีนมิทธะเป็นธรรมที่บุคคลสลัดออกด้วยอาโลกสัญญา และ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๑๐. สุญญกถา ๒. นิทเทส
เป็นธรรมว่างจากอาโลกสัญญา อุทธัจจะเป็นธรรมที่บุคคลสลัดออกด้วยอวิกเขปะ
และเป็นธรรมว่างจากอวิกเขปะ วิจิกิจฉาเป็นธรรมที่บุคคลสลัดออกด้วยธัมมววัตถาน
และเป็นธรรมว่างจากธัมมววัตถาน อวิชชาเป็นธรรมที่บุคคลสลัดออกด้วยญาณ
และเป็นธรรมว่างจากญาณ อรติเป็นธรรมที่บุคคลสลัดออกด้วยปามุชชะ และเป็น
ธรรมว่างจากปามุชชะ นิวรณ์เป็นธรรมที่บุคคลสลัดออกด้วยปฐมฌาน และเป็น
ธรรมว่างจากปฐมฌาน ฯลฯ กิเลสทั้งปวงเป็นธรรมที่บุคคลสลัดออกด้วยอรหัตต-
มรรค และเป็นธรรมว่างจากอรหัตตมรรค นี้ชื่อว่านิสสรณสุญญะ
๑๑. อัชฌัตตสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ จักขุที่เป็นอายตนะภายใน เป็นธรรมว่างจากอัตตา จากสิ่งที่เนื่องด้วย
อัตตา จากความเที่ยง จากความยั่งยืน จากความมั่นคง หรือจากความไม่แปรผัน
เป็นธรรมดา โสตะ ฯลฯ ฆานะ ฯลฯ ชิวหา ฯลฯ กาย ฯลฯ มโนที่เป็นอายตนะ
ภายใน เป็นธรรมว่างจากอัตตา จากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา จากความเที่ยง จาก
ความยั่งยืน จากความมั่นคง หรือจากความไม่แปรผันเป็นธรรมดา นี้ชื่อว่า
อัชฌัตตสุญญะ
๑๒. พหิทธาสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ รูปที่เป็นอายตนะภายนอก เป็นธรรมว่างจากอัตตา จากสิ่งที่เนื่องด้วย
อัตตา จากความเที่ยง จากความยั่งยืน จากความมั่นคง หรือจากความไม่แปรผัน
เป็นธรรมดา เสียง ฯลฯ กลิ่น ฯลฯ รส ฯลฯ โผฏฐัพพะ ฯลฯ ธรรมารมณ์
ที่เป็นอายตนะภายนอก เป็นธรรมว่างจากอัตตา จากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา จาก
ความเที่ยง จากความยั่งยืน จากความมั่นคง หรือจากความไม่แปรผันเป็นธรรมดา
นี้ชื่อว่าพหิทธาสุญญะ
๑๓. ทุภโตสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ จักขุที่เป็นอายตนะภายในและรูปที่เป็นอายตนะภายนอกทั้งสองนั้น เป็น
ธรรมว่างจากอัตตา จากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา จากความเที่ยง จากความยั่งยืน
จากความมั่นคง หรือจากความไม่แปรผันเป็นธรรมดา โสตะที่เป็นอายตนะภายใน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๑๐. สุญญกถา ๒. นิทเทส
และสัททะที่เป็นอายตนะภายนอก ฯลฯ ฆานะที่เป็นอายตนะภายในและคันธะ
ที่เป็นอายตนะภายนอก ฯลฯ ชิวหาที่เป็นอายตนะภายในและรสที่เป็นอายตนะภายนอก
ฯลฯ กายที่เป็นอายตนะภายในและโผฏฐัพพะที่เป็นอายตนะภายนอก ฯลฯ มโน
ที่เป็นอายตนะภายในและธรรมารมณ์ที่เป็นอายตนะภายนอกทั้งสองนั้น เป็นธรรม
ว่างจากอัตตา จากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา จากความเที่ยง จากความยั่งยืน จาก
ความมั่นคง หรือจากความไม่แปรผัน นี้ชื่อว่าทุภโตสุญญะ
๑๔. สภาคสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ อายตนะภายใน ๖ เป็นธรรมกลุ่มเดียวกันและเป็นธรรมว่าง อายตนะ
ภายนอก ๖ เป็นธรรมกลุ่มเดียวกันและเป็นธรรมว่าง หมวดวิญญาณ ๖ เป็น
ธรรมกลุ่มเดียวกันและเป็นธรรมว่าง หมวดผัสสะ ๖ เป็นธรรมกลุ่มเดียวกันและ
เป็นธรรมว่าง หมวดเวทนา ๖ เป็นธรรมกลุ่มเดียวกันและเป็นธรรมว่าง หมวด
สัญญา ๖ เป็นธรรมกลุ่มเดียวกันและเป็นธรรมว่าง หมวดเจตนา ๖ เป็นธรรม
กลุ่มเดียวกันและเป็นธรรมว่าง นี้ชื่อว่าสภาคสุญญะ
๑๕. วิสภาคสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ อายตนะภายใน ๖ เป็นธรรมต่างกลุ่มกับอายตนะภายนอก ๖ และ
เป็นธรรมว่าง อายตนะภายนอก ๖ เป็นธรรมต่างกลุ่มกับหมวดวิญญาณ ๖
และเป็นธรรมว่าง หมวดผัสสะ ๖ เป็นธรรมต่างกลุ่มกับหมวดเวทนา ๖ และ
เป็นธรรมว่าง หมวดเวทนา ๖ เป็นธรรมต่างกลุ่มกับหมวดสัญญา ๖ และเป็น
ธรรมว่าง หมวดสัญญา ๖ เป็นธรรมต่างกลุ่มกับหมวดเจตนา ๖ และเป็นธรรมว่าง
นี้ชื่อว่าวิสภาคสุญญะ
๑๖. เอสนาสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ เนกขัมมะที่บุคคลแสวงหา เป็นธรรมว่างจากกามฉันทะ อพยาบาทที่
บุคคลแสวงหา เป็นธรรมว่างจากพยาบาท อาโลกสัญญาที่บุคคลแสวงหา เป็น
ธรรมว่างจากถีนมิทธะ อวิกเขปะที่บุคคลแสวงหา เป็นธรรมว่างจากอุทธัจจะ
ญาณที่บุคคลแสวงหา เป็นธรรมว่างจากอวิชชา ธัมมววัตถานที่บุคคลแสวงหา
เป็นธรรมว่างจากอรติ ปฐมฌานที่บุคคลแสวงหาเป็นธรรมว่างจากนิวรณ์ ฯลฯ
อรหัตตมรรคที่บุคคลแสวงหา เป็นธรรมว่างจากกิเลสทั้งปวง นี้ชื่อว่าเอสนาสุญญะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๑๐. สุญญกถา ๒. นิทเทส
๑๗. ปริคคหสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ เนกขัมมะที่บุคคลกำหนด เป็นธรรมว่างจากกามฉันทะ อพยาบาทที่
บุคคลกำหนด เป็นธรรมว่างจากพยาบาท อาโลกสัญญาที่บุคคลกำหนด เป็น
ธรรมว่างจากถีนมิทธะ อวิกเขปะที่บุคคลกำหนด เป็นธรรมว่างจากอุทธัจจะ
ญาณที่บุคคลกำหนด เป็นธรรมว่างจากอวิชชา ธัมมววัตถานที่บุคคลกำหนด
เป็นธรรมว่างจากอรติ ปฐมฌานที่บุคคลกำหนด เป็นธรรมว่างจากนิวรณ์ ฯลฯ
อรหัตตมรรคที่บุคคลกำหนด เป็นธรรมว่างจากกิเลสทั้งปวง นี้ชื่อว่าปริคคหสุญญะ
๑๘. ปฏิลาภสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ เนกขัมมะที่บุคคลได้ เป็นธรรมว่างจากกามฉันทะ อพยาบาทที่บุคคลได้
เป็นธรรมว่างจากพยาบาท อาโลกสัญญาที่บุคคลได้ เป็นธรรมว่างจากถีนมิทธะ
อวิกเขปะที่บุคคลได้ เป็นธรรมว่างจากอุทธัจจะ ญาณที่บุคคลได้ เป็นธรรมว่าง
จากอวิชชา ธัมมววัตถานที่บุคคลได้ เป็นธรรมว่างจากอรติ ปฐมฌานที่บุคคลได้
เป็นธรรมว่างจากนิวรณ์ ฯลฯ อรหัตตมรรคที่บุคคลได้ เป็นธรรมว่างจากกิเลส
ทั้งปวง นี้ชื่อว่าปฏิลาภสุญญะ
๑๙. ปฏิเวธสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ เนกขัมมะที่บุคคลรู้แจ้ง เป็นธรรมว่างจากกามฉันทะ อพยาบาทที่บุคคลรู้แจ้ง
เป็นธรรมว่างจากพยาบาท อาโลกสัญญาที่บุคคลรู้แจ้ง เป็นธรรมว่างจากถีนมิทธะ
อวิกเขปะที่บุคคลรู้แจ้ง เป็นธรรมว่างจากอุทธัจจะ ญาณที่บุคคลรู้แจ้ง เป็นธรรม
ว่างจากอวิชชา ธัมมววัตถานที่บุคคลรู้แจ้ง เป็นธรรมว่างจากอรติ ปฐมฌานที่
บุคคลรู้แจ้ง เป็นธรรมว่างจากนิวรณ์ ฯลฯ อรหัตตมรรคที่บุคคลรู้แจ้ง เป็นธรรม
ว่างจากกิเลสทั้งปวง นี้ชื่อว่าปฏิเวธสุญญะ
๒๐-๒๑. เอกัตตสุญญะ นานัตตสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ กามฉันทะเป็นสภาวะต่าง ๆ เนกขัมมะเป็นสภาวะเดียว เนกขัมมะที่
เป็นสภาวะเดียวของบุคคลผู้คิดอยู่ เป็นธรรมว่างจากกามฉันทะ พยาบาทเป็น
สภาวะต่าง ๆ อพยาบาทเป็นสภาวะเดียว อพยาบาทที่เป็นสภาวะเดียวของบุคคล


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๑๐. สุญญกถา ๒. นิทเทส
ผู้คิดอยู่ เป็นธรรมว่างจากพยาบาท ถีนมิทธะเป็นสภาวะต่าง ๆ อาโลกสัญญาเป็น
สภาวะเดียว อาโลกสัญญาที่เป็นสภาวะเดียวของบุคคลผู้คิดอยู่ เป็นธรรมว่างจาก
ถีนมิทธะ อุทธัจจะเป็นสภาวะต่าง ๆ อวิกเขปะเป็นสภาวะเดียว อวิกเขปะที่เป็น
สภาวะเดียวของบุคคลผู้คิดอยู่ เป็นธรรมว่างจากอุทธัจจะ วิจิกิจฉาเป็นสภาวะต่าง ๆ
ธัมมววัตถานเป็นสภาวะเดียว ธัมมววัตถานที่เป็นสภาวะเดียวของบุคคลผู้คิดอยู่
เป็นธรรมว่างจากวิจิกิจฉา อวิชชาเป็นสภาวะต่าง ๆ ญาณเป็นสภาวะเดียว ญาณ
ที่เป็นสภาวะเดียวของบุคคลผู้คิดอยู่ เป็นธรรมว่างจากอวิชชา อรติเป็นสภาวะต่าง ๆ
ปามุชชะเป็นสภาวะเดียว ปามุชชะที่เป็นสภาวะเดียวของบุคคลผู้คิดอยู่ เป็นธรรม
ว่างจากอรติ นิวรณ์เป็นสภาวะต่าง ๆ ปฐมฌานเป็นสภาวะเดียว ปฐมฌานที่เป็น
สภาวะเดียวของบุคคลผู้คิดอยู่ เป็นธรรมว่างจากนิวรณ์ ฯลฯ กิเลสทั้งปวงเป็น
สภาวะต่าง ๆ อรหัตตมรรคเป็นสภาวะเดียว อรหัตตมรรคที่เป็นสภาวะเดียวของ
บุคคลผู้คิดอยู่ เป็นธรรมว่างจากกิเลสทั้งปวง นี้ชื่อว่าเอกัตตสุญญะ นานัตตสุญญะ
๒๒. ขันติสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ เนกขัมมะที่บุคคลพอใจ เป็นธรรมว่างจากกามฉันทะ อพยาบาทที่บุคคลพอใจ
เป็นธรรมว่างจากพยาบาท อาโลกสัญญาที่บุคคลพอใจ เป็นธรรมว่างจากถีนมิทธะ
อวิกเขปะที่บุคคลพอใจ เป็นธรรมว่างจากอุทธัจจะ ญาณที่บุคคลพอใจ เป็นธรรม
ว่างจากอวิชชา ธัมมววัตถานที่บุคคลพอใจ เป็นธรรมว่างจากอรติ ปฐมฌานที่
บุคคลพอใจ เป็นธรรมว่างจากนิวรณ์ ฯลฯ อรหัตตมรรคที่บุคคลพอใจ เป็น
ธรรมว่างจากกิเลสทั้งปวง นี้ชื่อว่าขันติสุญญะ
๒๓. อธิษฐานสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ เนกขัมมะที่บุคคลอธิษฐาน เป็นธรรมว่างจากกามฉันทะ อพยาบาทที่
บุคคลอธิษฐาน เป็นธรรมว่างจากพยาบาท อาโลกสัญญาที่บุคคลอธิษฐาน เป็น
ธรรมว่างจากถีนมิทธะ อวิกเขปะที่บุคคลอธิษฐาน เป็นธรรมว่างจากอุทธัจจะ
ญาณที่บุคคลอธิษฐาน เป็นธรรมว่างจากอวิชชา ธัมมววัตถานที่บุคคลอธิษฐาน
เป็นธรรมว่างจากอรติ ปฐมฌานที่บุคคลอธิษฐาน เป็นธรรมว่างจากนิวรณ์ ฯลฯ
อรหัตตมรรคที่บุคคลอธิษฐาน เป็นธรรมว่างจากกิเลสทั้งปวง นี้ชื่อว่าอธิฏฐานสุญญะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๑๐. สุญญกถา ๒. นิทเทส
๒๔. ปริโยคาหนสุญญะ เป็นอย่างไร
คือ เนกขัมมะที่บุคคลหยั่งลง เป็นธรรมว่างจากกามฉันทะ อพยาบาทที่
บุคคลหยั่งลง เป็นธรรมว่างจากพยาบาท อาโลกสัญญาที่บุคคลหยั่งลง เป็น
ธรรมว่างจากถีนมิทธะ อวิกเขปะที่บุคคลหยั่งลง เป็นธรรมว่างจากอุทธัจจะ
ญาณที่บุคคลหยั่งลง เป็นธรรมว่างจากอวิชชา ธัมมววัตถานที่บุคคลหยั่งลง เป็น
ธรรมว่างจากอรติ ปฐมฌานที่บุคคลหยั่งลง เป็นธรรมว่างจากนิวรณ์ ฯลฯ
อรหัตตมรรคที่บุคคลหยั่งลง เป็นธรรมว่างจากกิเลสทั้งปวง นี้ชื่อว่าปริโยคาหน-
สุญญะ
๒๕. ความว่างขั้นสูงสุดของความว่างทั้งปวง คือ การที่บุคคลผู้มีสัมปชัญญะ
ทำความเป็นไปแห่งกิเลสให้สิ้นไป เป็นอย่างไร
คือ บุคคลผู้มีสัมปชัญญะในโลกนี้ ทำความเป็นไปแห่งกามฉันทะให้สิ้นไป
ด้วยเนกขัมมะ ทำความเป็นไปแห่งพยาบาทให้สิ้นไปด้วยอพยาบาท ทำความเป็น
ไปแห่งถีนมิทธะให้สิ้นไปด้วยอาโลกสัญญา ทำความเป็นไปแห่งอุทธัจจะให้สิ้นไป
ด้วยอวิกเขปะ ทำความเป็นไปแห่งวิจิกิจฉาให้สิ้นไปด้วยธัมมววัตถาน ทำความ
เป็นไปแห่งอวิชชาให้สิ้นไปด้วยญาณ ทำความเป็นไปแห่งอรติให้สิ้นไปด้วยปามุชชะ
ทำความเป็นไปแห่งนิวรณ์ให้สิ้นไปด้วยปฐมฌาน ฯลฯ ทำความเป็นไปแห่งกิเลส
ทั้งปวงให้สิ้นไปด้วยอรหัตตมรรค
อีกนัยหนึ่ง ความเป็นไปแห่งจักขุนี้ของบุคคลผู้มีสัมปชัญญะ ผู้ปรินิพพาน
ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ย่อมสิ้นไป และความเป็นไปแห่งจักขุอื่นก็ไม่เกิดขึ้น
ความเป็นไปแห่งโสตะ ฯลฯ ความเป็นไปแห่งฆานะ ฯลฯ ความเป็นไป
แห่งชิวหา ฯลฯ ความเป็นไปแห่งกาย ฯลฯ
ความเป็นไปแห่งมโนนี้ของบุคคลผู้มีสัมปชัญญะ ผู้ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสส-
นิพพานธาตุ ย่อมสิ้นไป และความเป็นไปแห่งมโนอื่นก็ไม่เกิดขึ้น นี้ชื่อว่าความ
ว่างขั้นสูงสุดของความว่างทั้งปวง คือ การที่บุคคลผู้มีสัมปชัญญะทำความเป็นไป
แห่งกิเลสให้สิ้นไป ฉะนี้

สุญญกถา จบ
ยุคนัทธวรรคที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] รวมกถาที่มีในวรรค
รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ยุคนัทธกถา ๒. สัจจกถา
๓. โพชฌงคกถา ๔. เมตตากถา
๕. วิราคกถา ๖. ปฏิสัมภิทากถา
๗. ธัมมจักกกถา ๘. โลกุตตรกถา
๙. พลกถา ๑๐. สุญญกถา

วรรคที่ ๒ นี้เป็นวรรคอันยอดเยี่ยม ไม่มีวรรคอื่นเสมอ ท่านผู้ทรงนิกาย
ตั้งไว้แล้ว ฉะนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑. มหาปัญญากถา
๓. ปัญญาวรรค
หมวดว่าด้วยปัญญา
๑. มหาปัญญากถา
ว่าด้วยมหาปัญญา
[๑] อนิจจานุปัสสนาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาอย่างไหนให้
เต็มรอบ
ทุกขานุปัสสนาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาอย่างไหนให้เต็มรอบ
อนัตตานุปัสสนาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาอย่างไหนให้
เต็มรอบ
นิพพิทานุปัสสนาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาอย่างไหนให้
เต็มรอบ
วิราคานุปัสสนาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาอย่างไหนให้
เต็มรอบ
นิโรธานุปัสสนาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาอย่างไหนให้
เต็มรอบ
ปฏินิสสัคคานุปัสสนาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาอย่างไหน
ให้เต็มรอบ
คือ อนิจจานุปัสสนาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาที่แล่นไป๑ให้
เต็มรอบ
ทุกขานุปัสสนาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาชำแรกกิเลสให้
เต็มรอบ

เชิงอรรถ :
๑ ปัญญาที่แล่นไป แปลมาจาก ชวนปัญญา จะใช้ว่า ปัญญาฉับไวก็ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑. มหาปัญญากถา
อนัตตานุปัสสนาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญามากให้เต็มรอบ
นิพพิทานุปัสสนาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาเฉียบแหลม
ให้เต็มรอบ
วิราคานุปัสสนาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาไพบูลย์ให้
เต็มรอบ
นิโรธานุปัสสนาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาลึกซึ้งให้เต็มรอบ
ปฏินิสสัคคานุปัสสนาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาไม่ใกล้ให้
เต็มรอบ
ปัญญา ๗ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำความเป็น
บัณฑิตให้เต็มรอบ
ปัญญา ๘ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญากว้างขวางให้
เต็มรอบ
ปัญญา ๙ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาร่าเริงให้
เต็มรอบ
ปัญญาร่าเริงเป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทา อัตถปฏิสัมภิทาเป็นอันบุคคลบรรลุแล้ว
ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาโดยการกำหนดอรรถแห่งปัญญาร่าเริงนั้น
ธัมมปฏิสัมภิทาเป็นอันบุคคลบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาโดย
การกำหนดธรรม(แห่งปัญญาร่าเริงนั้น) นิรุตติปฏิสัมภิทาเป็นอันบุคคลบรรลุแล้ว
ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาโดยการกำหนดนิรุตติ(แห่งปัญญาร่าเริงนั้น)
ปฏิภาณปฏิสัมภิทาเป็นอันบุคคลบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา
โดยการกำหนดปฏิภาณ(แห่งปัญญาร่าเริงนั้น) ปฏิสัมภิทา ๔ ประการนี้เป็นอันบุคคล
บรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาแห่งปัญญาร่าเริงนั้น
อนิจจานุปัสสนาในรูปที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาอย่าง
ไหนให้เต็มรอบ ฯลฯ ปฏินิสสัคคานุปัสสนาในรูปที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมทำปัญญาอย่างไหนให้เต็มรอบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑. มหาปัญญากถา
คือ อนิจจานุปัสสนาในรูปที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาแล่นไป
ให้เต็มรอบ ฯลฯ ปฏินิสสัคคานุปัสสนาในรูปที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อม
ทำปัญญาไม่ใกล้ให้เต็มรอบ
ปัญญา ๗ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำความเป็น
บัณฑิตให้เต็มรอบ
ปัญญา ๘ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญากว้าง
ขวางให้เต็มรอบ
ปัญญา ๙ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาร่าเริงให้
เต็มรอบ
ปัญญาร่าเริงเป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทา อัตถปฏิสัมภิทาเป็นอันบุคคลบรรลุแล้ว
ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาโดยการกำหนดอรรถแห่งปัญญาร่าเริงนั้น
ธัมมปฏิสัมภิทาเป็นอันบุคคลบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาโดย
การกำหนดธรรม(แห่งปัญญาร่าเริงนั้น) นิรุตติปฏิสัมภิทาเป็นอันบุคคลบรรลุแล้ว
ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาโดยการกำหนดนิรุตติ(แห่งปัญญาร่าเริงนั้น)
ปฏิภาณปฏิสัมภิทาเป็นอันบุคคลบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา
โดยการกำหนดปฏิภาณแห่งปัญญาร่าเริงนั้น ปฏิสัมภิทา ๔ ประการนี้เป็นอันบุคคล
บรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาแห่งปัญญาร่าเริงนั้น
อนิจจานุปัสสนาในเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ
จักขุ ฯลฯ
อนิจจานุปัสสนาในชราและมรณะที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำ
ปัญญาอย่างไหนให้เต็มรอบ ฯลฯ ปฏินิสสัคคานุปัสสนาในชราและมรณะที่บุคคล
เจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาอย่างไหนให้เต็มรอบ อนิจจานุปัสสนาใน
ชราและมรณะที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาแล่นไปให้เต็มรอบ ฯลฯ
ปฏินิสสัคคานุปัสสนาในชราและมรณะที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำ
ปัญญาไม่ใกล้ให้เต็มรอบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑. มหาปัญญากถา
ปัญญา ๗ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำความเป็นบัณฑิตให้
เต็มรอบ
ปัญญา ๘ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญากว้างขวางให้
เต็มรอบ
ปัญญา ๙ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาร่าเริงให้
เต็มรอบ
ปัญญาร่าเริงเป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทา อัตถปฏิสัมภิทาเป็นอันบุคคลบรรลุแล้ว
ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา โดยการกำหนดอรรถแห่งปัญญาร่าเริงนั้น
ธัมมปฏิสัมภิทาเป็นอันบุคคลบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา
โดยการกำหนดธรรม(แห่งปัญญาร่าเริงนั้น) นิรุตติปฏิสัมภิทาเป็นอันบุคคลบรรลุแล้ว
ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา โดยการกำหนดนิรุตติ(แห่งปัญญาร่าเริงนั้น)
ปฏิภาณปฏิสัมภิทาเป็นอันบุคคลบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา
โดยการกำหนดปฏิภาณ(แห่งปัญญาร่าเริงนั้น) ปฏิสัมภิทา ๔ ประการนี้เป็นอัน
บุคคลบรรลุแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาแห่งปัญญาร่าเริงนั้น
[๒] อนิจจานุปัสสนาในรูปที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญา
อย่างไหนให้เต็มรอบ อนิจจานุปัสสนาในรูปที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันที่บุคคล
เจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาอย่างไหนให้เต็มรอบ
ทุกขานุปัสสนาในรูปที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาอย่างไหน
ให้เต็มรอบ ทุกขานุปัสสนาในรูปที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันที่บุคคลเจริญ ทำ
ให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาอย่างไหนให้เต็มรอบ
อนัตตานุปัสสนาในรูปที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาอย่าง
ไหนให้เต็มรอบ อนัตตานุปัสสนาในรูปที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันที่บุคคลเจริญ
ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาอย่างไหนให้เต็มรอบ
นิพพิทานุปัสสนาในรูปที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาอย่าง
ไหนให้เต็มรอบ นิพพิทานุปัสสนาในรูปที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันที่บุคคลเจริญ
ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาอย่างไหนให้เต็มรอบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑. มหาปัญญากถา
วิราคานุปัสสนาในรูปที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาอย่างไหน
ให้เต็มรอบ วิราคานุปัสสนาในรูปที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันที่บุคคลเจริญ
ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาอย่างไหนให้เต็มรอบ
นิโรธานุปัสสนาในรูปที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาอย่างไหน
ให้เต็มรอบ นิโรธานุปัสสนาในรูปที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันที่บุคคลเจริญ
ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาอย่างไหนให้เต็มรอบ
ปฏินิสสัคคานุปัสสนาในรูปที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญา
อย่างไหนให้เต็มรอบ ปฏินิสสัคคานุปัสสนาในรูปที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน
ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาอย่างไหนให้เต็มรอบ
คือ อนิจจานุปัสสนาในรูปที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญา
แล่นไปให้เต็มรอบ อนิจจานุปัสสนาในรูปที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันที่บุคคล
เจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาแล่นไปให้เต็มรอบ
ทุกขานุปัสสนาในรูปที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาชำแรกกิเลส
ให้เต็มรอบ ทุกขานุปัสสนาในรูปที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันที่บุคคลเจริญ
ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาแล่นไปให้เต็มรอบ
อนัตตานุปัสสนาในรูปที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญามากให้
เต็มรอบ อนัตตานุปัสสนาในรูปที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันที่บุคคลเจริญ
ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาแล่นไปให้เต็มรอบ
นิพพิทานุปัสสนาในรูปที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาเฉียบ
แหลมให้เต็มรอบ นิพพิทานุปัสสนาในรูปที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันที่บุคคลเจริญ
ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาแล่นไปให้เต็มรอบ
วิราคานุปัสสนาในรูปที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญากว้าง
ขวางให้เต็มรอบ วิราคานุปัสสนาในรูปที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันที่บุคคลเจริญ
ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาแล่นไปให้เต็มรอบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑. มหาปัญญากถา
นิโรธานุปัสสนาในรูปที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาลึกซึ้งให้
เต็มรอบ นิโรธานุปัสสนาในรูปที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันที่บุคคลเจริญ
ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาแล่นไปให้เต็มรอบ
ปฏินิสสัคคานุปัสสนาในรูปที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญา
ไม่ใกล้ให้เต็มรอบ ปฏินิสสัคคานุปัสสนาในรูปที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันที่
บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาแล่นไปให้เต็มรอบ
ปัญญา ๗ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำความเป็น
บัณฑิตให้เต็มรอบ
ปัญญา ๘ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญากว้างขวาง
ให้เต็มรอบ
ปัญญา ๙ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาร่าเริง
ให้เต็มรอบ
ปัญญาร่าเริงเป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทา อัตถปฏิสัมภิทาเป็นอันบุคคลบรรลุแล้ว
ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาโดยการกำหนดอรรถแห่งปัญญาร่าเริงนั้น
ธัมมปฏิสัมภิทาเป็นอันบุคคลบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาโดย
การกำหนดธรรม(แห่งปัญญาร่าเริงนั้น) นิรุตติปฏิสัมภิทาเป็นอันบุคคลบรรลุแล้ว
ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาโดยการกำหนดนิรุตติ(แห่งปัญญาร่าเริงนั้น)
ปฏิภาณปฏิสัมภิทาเป็นอันบุคคลบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา
โดยการกำหนดปฏิภาณ(แห่งปัญญาร่าเริงนั้น) ปฏิสัมภิทา ๔ ประการนี้เป็นอัน
บุคคลบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาแห่งปัญญาร่าเริงนั้น
อนิจจานุปัสสนาในเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ
จักขุ ฯลฯ
อนิจจานุปัสสนาในชราและมรณะที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำ
ปัญญาอย่างไหนให้เต็มรอบ อนิจจานุปัสสนาในชราและมรณะที่เป็นอดีต อนาคต
และปัจจุบันที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาอย่างไหนให้เต็มรอบ ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑. มหาปัญญากถา
ปฏินิสสัคคานุปัสสนาในชราและมรณะที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำ
ปัญญาอย่างไหนให้เต็มรอบ ปฏินิสสัคคานุปัสสนาในชราและมรณะที่เป็นอดีต อนาคต
และปัจจุบันที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาอย่างไหนให้เต็มรอบ
คือ อนิจจานุปัสสนาในชราและมรณะที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำ
ปัญญาแล่นไปให้เต็มรอบ อนิจจานุปัสสนาในชราและมรณะที่เป็นอดีต อนาคต
และปัจจุบันที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำปัญญาแล่นไปให้เต็มรอบ ฯลฯ
ปฏิสัมภิทา ๔ ประการนี้เป็นอันบุคคลบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วย
ปัญญาแห่งปัญญาร่าเริงนั้น
[๓] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อม
เป็นไปเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัปปุริสสังเสวะ (คบสัตบุรุษ)
๒. สัทธัมมัสสวนะ (ฟังพระสัทธรรม)
๓. โยนิโสมนสิการ (การพิจารณาโดยแยบคาย)
๔. ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ (ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม)
ธรรม ๔ ประการนี้แลที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้ง
โสดาปัตติผล
ธรรม ๔ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้ง
สกทาคามิผล ฯลฯ ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ฯลฯ ย่อมเป็นไปเพื่อ
ทำให้แจ้งอรหัตตผล
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัปปุริสสังเสวะ ๒. สัทธัมมัสสวนะ
๓. โยนิโสมนสิการ ๔. ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ
ธรรม ๔ ประการนี้แลที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้ง
อรหัตตผล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑. มหาปัญญากถา ๑. โสฬสปัญญานิทเทส
ธรรม ๔ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อการได้ปัญญา
ฯลฯ ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญแห่งปัญญา ฯลฯ ย่อมเป็นไปเพื่อความไพบูลย์
แห่งปัญญา ฯลฯ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญามาก ฯลฯ ย่อมเป็นไป
เพื่อความเป็นผู้มีปัญญากว้างขวาง ฯลฯ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาไพบูลย์
ฯลฯ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาลึกซึ้ง ฯลฯ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้
มีปัญญาไม่ใกล้ ฯลฯ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาดุจแผ่นดิน ฯลฯ ย่อม
เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มากด้วยปัญญา ฯลฯ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเร็ว
ฯลฯ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาพลัน ฯลฯ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้
มีปัญญาร่าเริง ฯลฯ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาแล่นไป ฯลฯ ย่อมเป็น
ไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเฉียบแหลม ฯลฯ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญา
ชำแรกกิเลส
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัปปุริสสังเสวะ ๒. สัทธัมมัสสวนะ
๓. โยนิโสมนสิการ ๔. ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ
ธรรม ๔ ประการนี้แลที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความ
เป็นผู้มีปัญญาชำแรกกิเลส

๑. โสฬสปัญญานิทเทส
แสดงปัญญา ๑๖ ประการ
[๔] คำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อการได้ปัญญา อธิบายว่า การได้ปัญญา เป็น
อย่างไร
คือ การได้ การได้เฉพาะ การถึง การถึงเฉพาะ การถูกต้อง การทำให้แจ้ง
การเข้าถึงพร้อมซึ่งมัคคญาณ ๔ ผลญาณ ๔ ปฏิสัมภิทาญาณ ๔ อภิญญา-
ญาณ ๖ ญาณ ๗๓ ญาณ ๗๗ นี้ชื่อว่าการได้ปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไป
เพื่อได้ปัญญา (๑)
คำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญแห่งปัญญา อธิบายว่า ความเจริญแห่ง
ปัญญา เป็นอย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑. มหาปัญญากถา ๑. โสฬสปัญญานิทเทส
คือ ปัญญาของพระเสขะ ๗ จำพวก และของกัลยาณปุถุชน ย่อมเจริญ
ปัญญาของพระอรหันต์ ย่อมเจริญ ชื่อว่าความเจริญด้วยปัญญาที่เจริญแล้ว นี้ชื่อ
ว่าความเจริญแห่งปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญแห่งปัญญา (๒)
คำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความไพบูลย์แห่งปัญญา อธิบายว่า ความไพบูลย์
แห่งปัญญา เป็นอย่างไร
คือ ปัญญาของพระเสขะ ๗ จำพวก และของกัลยาณปุถุชน ย่อมถึงความ
ไพบูลย์ ปัญญาของพระอรหันต์ที่ถึงความไพบูลย์แล้ว นี้ชื่อว่าความไพบูลย์แห่งปัญญา
ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความไพบูลย์แห่งปัญญา (๓)
คำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญามาก อธิบายว่า ปัญญามาก
เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าปัญญามาก เพราะกำหนดอรรถได้มาก ชื่อว่าปัญญามาก เพราะ
กำหนดธรรมได้มาก ชื่อว่าปัญญามาก เพราะกำหนดนิรุตติได้มาก ชื่อว่าปัญญา
มาก เพราะกำหนดปฏิภาณได้มาก ชื่อว่าปัญญามาก เพราะกำหนดสีลขันธ์ได้มาก
ชื่อว่าปัญญามาก เพราะกำหนดสมาธิขันธ์ได้มาก ชื่อว่าปัญญามาก เพราะ
กำหนดปัญญาขันธ์ได้มาก ชื่อว่าปัญญามาก เพราะกำหนดวิมุตติขันธ์ได้มาก ชื่อว่า
ปัญญามาก เพราะกำหนดวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ได้มาก ชื่อว่าปัญญามาก เพราะ
กำหนดฐานะและอฐานะได้มาก ชื่อว่าปัญญามาก เพราะกำหนดวิหารสมาบัติได้มาก
ชื่อว่าปัญญามาก เพราะกำหนดอริยสัจได้มาก ชื่อว่าปัญญามาก เพราะกำหนด
สติปัฏฐานได้มาก ชื่อว่าปัญญามาก เพราะกำหนดสัมมัปปธานได้มาก ชื่อว่า
ปัญญามาก เพราะกำหนดอิทธิบาทได้มาก ชื่อว่าปัญญามาก เพราะกำหนด
อินทรีย์ได้มาก ชื่อว่าปัญญามาก เพราะกำหนดพละได้มาก ชื่อว่าปัญญามาก
เพราะกำหนดโพชฌงค์ได้มาก ชื่อว่าปัญญามาก เพราะกำหนดอริยมรรคได้มาก
ชื่อว่าปัญญามาก เพราะกำหนดสามัญญผลได้มาก ชื่อว่าปัญญามาก เพราะ
กำหนดอภิญญาได้มาก ชื่อว่าปัญญามาก เพราะกำหนดนิพพานที่เป็นประโยชน์
อย่างยิ่งได้มาก นี้ชื่อว่าปัญญามาก ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มี
ปัญญามาก (๔)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑. มหาปัญญากถา ๑. โสฬสปัญญานิทเทส
คำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญากว้างขวาง อธิบายว่า ปัญญา
กว้างขวาง เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในขันธ์ต่าง ๆ กว้างขวาง ชื่อว่า
ปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในธาตุต่าง ๆ กว้างขวาง ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง
เพราะญาณเป็นไปในอายตนะต่าง ๆ กว้างขวาง ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะญาณ
เป็นไปในปฏิจจสมุปบาทต่าง ๆ กว้างขวาง ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะญาณ
เป็นไปในความได้เนือง ๆ ซึ่งความว่างต่าง ๆ กว้างขวาง ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง
เพราะญาณเป็นไปในอรรถต่าง ๆ กว้างขวาง ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะญาณ
เป็นไปในธรรมต่าง ๆ กว้างขวาง ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในนิรุตติ
ต่าง ๆ กว้างขวาง ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในปฏิภาณต่าง ๆ
กว้างขวาง ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในสีลขันธ์ต่าง ๆ กว้างขวาง
ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในสมาธิขันธ์ต่าง ๆ กว้างขวาง ชื่อว่า
ปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในปัญญาขันธ์ต่าง ๆ กว้างขวาง ชื่อว่า
ปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในวิมุตติขันธ์ต่าง ๆ กว้างขวาง ชื่อว่าปัญญา
กว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ต่าง ๆ กว้างขวาง ชื่อว่า
ปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในฐานะและอฐานะต่าง ๆ กว้างขวาง ชื่อว่า
ปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในวิหารสมาบัติต่าง ๆ กว้างขวาง ชื่อว่า
ปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในอริยสัจต่าง ๆ กว้างขวาง ชื่อว่าปัญญา
กว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในสติปัฏฐานต่าง ๆ กว้างขวาง ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง
เพราะญาณเป็นไปในสัมมัปปธานต่าง ๆ กว้างขวาง ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง
เพราะญาณเป็นไปในอิทธิบาทต่าง ๆ กว้างขวาง ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะ
ญาณเป็นไปในอินทรีย์ต่าง ๆ กว้างขวาง ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็น
ไปในพละต่าง ๆ กว้างขวาง ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในโพชฌงค์
ต่าง ๆ กว้างขวาง ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในอริยมรรคต่าง ๆ
กว้างขวาง ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในสามัญญผลต่าง ๆ กว้าง
ขวาง ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในอภิญญาต่าง ๆ กว้างขวาง
ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะญาณเป็นไปในนิพพานที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งเหนือ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑. มหาปัญญากถา ๑. โสฬสปัญญานิทเทส
กว่าธรรมที่ทั่วไปแก่ปุถุชน นี้ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อ
ความเป็นผู้มีปัญญากว้างขวาง (๕)
คำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาไพบูลย์ อธิบายว่า ปัญญา
ไพบูลย์ เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าปัญญาไพบูลย์ เพราะกำหนดอรรถไพบูลย์ ชื่อว่าปัญญาไพบูลย์
เพราะกำหนดธรรมไพบูลย์ ชื่อว่าปัญญาไพบูลย์ เพราะกำหนดนิรุตติไพบูลย์ ชื่อว่า
ปัญญาไพบูลย์ เพราะกำหนดปฏิภาณไพบูลย์ ชื่อว่าปัญญาไพบูลย์ เพราะกำหนด
สีลขันธ์ไพบูลย์ ชื่อว่าปัญญาไพบูลย์ เพราะกำหนดสมาธิขันธ์ไพบูลย์ ชื่อว่าปัญญา
ไพบูลย์ เพราะกำหนดปัญญาขันธ์ไพบูลย์ ชื่อว่าปัญญาไพบูลย์ เพราะกำหนด
วิมุตติขันธ์ไพบูลย์ ชื่อว่าปัญญาไพบูลย์ เพราะกำหนดวิมุตติญาณทัสสนขันธ์
ไพบูลย์ ชื่อว่าปัญญาไพบูลย์ เพราะกำหนดฐานะและอฐานะไพบูลย์ ชื่อว่าปัญญา
ไพบูลย์ เพราะกำหนดวิหารสมาบัติไพบูลย์ ชื่อว่าปัญญาไพบูลย์ เพราะกำหนด
อริยสัจไพบูลย์ ชื่อว่าปัญญาไพบูลย์ เพราะกำหนดสติปัฏฐานไพบูลย์ ชื่อว่าปัญญา
ไพบูลย์ เพราะกำหนดสัมมัปปธานไพบูลย์ ชื่อว่าปัญญาไพบูลย์ เพราะกำหนด
อิทธิบาทไพบูลย์ ชื่อว่าปัญญาไพบูลย์ เพราะกำหนดอินทรีย์ไพบูลย์ ชื่อว่าปัญญา
ไพบูลย์ เพราะกำหนดพละไพบูลย์ ชื่อว่าปัญญาไพบูลย์ เพราะกำหนดโพชฌงค์
ไพบูลย์ ชื่อว่าปัญญาไพบูลย์ เพราะกำหนดอริยมรรคไพบูลย์ ชื่อว่าปัญญาไพบูลย์
เพราะกำหนดสามัญญผลไพบูลย์ ชื่อว่าปัญญาไพบูลย์ เพราะกำหนดอภิญญา
ไพบูลย์ ชื่อว่าปัญญาไพบูลย์ เพราะกำหนดอภิญญาไพบูลย์ ชื่อว่าปัญญาไพบูลย์
เพราะกำหนดนิพพานที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งไพบูลย์ นี้ชื่อว่าปัญญาไพบูลย์
ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาไพบูลย์ (๖)
คำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาลึกซึ้ง อธิบายว่า ปัญญาลึกซึ้ง
เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในขันธ์ลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญา
ลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในธาตุลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปใน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑. มหาปัญญากถา ๑. โสฬสปัญญานิทเทส
อายตนะลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในปฏิจจสมุปบาทลึกซึ้ง ชื่อว่า
ปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในความได้เนือง ๆ ซึ่งความว่างต่าง ๆ ลึกซึ้ง ชื่อว่า
ปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในอรรถต่าง ๆ ลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณ
เป็นไปในธรรมต่าง ๆ ลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในนิรุตติต่าง ๆ
ลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในปฏิภาณต่าง ๆ ลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญา
ลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในสีลขันธ์ต่าง ๆ ลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้งเพราะญาณ
เป็นไปในสมาธิขันธ์ต่าง ๆ ลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในปัญญา-
ขันธ์ต่าง ๆ ลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในวิมุตติขันธ์
ต่าง ๆ ลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ต่าง ๆ
ลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในฐานะและอฐานะต่าง ๆ ลึกซึ้ง ชื่อว่า
ปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในวิหารสมาบัติต่าง ๆ ลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง
เพราะญาณเป็นไปในอริยสัจต่าง ๆ ลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปใน
สติปัฏฐานต่าง ๆ ลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในสัมมัปปธานต่าง ๆ
ลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในอิทธิบาทต่าง ๆ ลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญา
ลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในอินทรีย์ต่าง ๆ ลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณ
เป็นไปในพละต่าง ๆ ลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในโพชฌงค์ต่าง ๆ
ลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในอริยมรรคต่าง ๆ ลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญา
ลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในสามัญญผลต่าง ๆ ลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะ
ญาณเป็นไปในอภิญญาลึกซึ้ง ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในนิพพานที่
เป็นประโยชน์ลึกซึ้ง นี้ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มี
ปัญญาลึกซึ้ง (๗)
คำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาไม่ใกล้ อธิบายว่า ปัญญาไม่ใกล้
เป็นอย่างไร
คือ อัตถปฏิสัมภิทาบุคคลใดบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา
โดยการกำหนดอรรถ ธัมมปฏิสัมภิทาบุคคลใดบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้อง
แล้วด้วยปัญญา โดยการกำหนดธรรม นิรุตติปฏิสัมภิทาบุคคลใดบรรลุแล้ว
ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา โดยการกำหนดนิรุตติ ปฏิภาณปฏิสัมภิทา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑. มหาปัญญากถา ๑. โสฬสปัญญานิทเทส
บุคคลใดบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาโดยการกำหนดปฏิภาณ
อรรถ ธรรม นิรุตติ และปฏิภาณของบุคคลนั้นใครอื่นสามารถจะถึงได้ และบุคคล
นั้นก็เป็นผู้หนึ่งที่ปุถุชนอื่น ๆ ไม่สามารถจะเทียมทันได้ เพราะเหตุนั้น ปัญญานั้น
จึงเป็นปัญญาไม่ใกล้
ปัญญาของกัลยาณปุถุชนห่างไกลแสนไกล ไม่ใกล้ ไม่ชิดกับปัญญาของ
บุคคลที่ ๘๑ เมื่อเทียบกับกัลยาณปุถุชน บุคคลที่ ๘ มีปัญญาไม่ใกล้
ปัญญาของบุคคลที่ ๘ ห่างไกลแสนไกล ไม่ใกล้ ไม่ชิดกับปัญญาของพระ
โสดาบัน เมื่อเทียบกับบุคคลที่ ๘ พระโสดาบันมีปัญญาไม่ใกล้
ปัญญาของพระโสดาบันห่างไกลแสนไกล ไม่ใกล้ ไม่ชิดกับปัญญาของพระ
สกทาคามี เมื่อเทียบกับพระโสดาบัน พระสกทาคามีมีปัญญาไม่ใกล้
ปัญญาของพระสกทาคามีห่างไกลแสนไกล ไม่ใกล้ ไม่ชิดกับปัญญาของพระ
อนาคามี เมื่อเทียบกับพระสกทาคามี พระอนาคามีมีปัญญาไม่ใกล้
ปัญญาของพระอนาคามีห่างไกลแสนไกล ไม่ใกล้ ไม่ชิดกับปัญญาของพระ
อรหันต์ เมื่อเทียบกับพระอนาคามี พระอรหันต์มีปัญญาไม่ใกล้
ปัญญาของพระอรหันต์ห่างไกลแสนไกล ไม่ใกล้ ไม่ชิดกับปัญญาของพระ
ปัจเจกพุทธเจ้า เมื่อเทียบกับพระอรหันต์ พระปัจเจกพุทธเจ้ามีปัญญาไม่ใกล้
เมื่อเทียบกับพระปัจเจกพุทธเจ้า และโลกพร้อมทั้งเทวโลก พระตถาคตอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเป็นผู้เลิศ ทรงมีปัญญาไม่ใกล้
[๕] พระผู้มีพระภาคทรงฉลาดในประเภทแห่งปัญญา ทรงมีญาณแตกฉาน
ทรงบรรลุปฏิสัมภิทา ทรงบรรลุเวสารัชชญาณ ๔๒ เป็นผู้ทรงทสพลญาณ ทรงเป็น
บุรุษองอาจ ทรงเป็นบุรุษดุจราชสีห์ ทรงเป็นบุรุษดุจนาค ทรงเป็นบุรุษอาชาไนย

เชิงอรรถ :
๑ บุคคลที่ ๘ ในที่นี้หมายถึงท่านผู้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติมรรค (ขุ.ป.อ. ๒/๕/๒๙๕)
๒ เวสารัชชญาณ ๔ ได้แก่ (๑) สัมมาสัมพุทธปฏิญญา (ท่านปฏิญญาว่าเป็นสัมมาสัมพุทธะ ธรรมเหล่านี้
ท่านยังไม่รู้) (๒) ขีณาสวปฏิญญา (ท่านปฏิญญาว่าเป็นขีณาสพ อาสวะเหล่านี้ของท่านยังไม่สิ้น)
(๓) อันตรายิกธรรมวาทะ (ท่านกล่าวธรรมเหล่าใดว่าเป็นอันตราย ธรรมเหล่านั้นไม่อาจก่ออันตรายแก่
ผู้เสพได้จริง) (๔) นิยยานิกธรรมเทศนา (ท่านแสดงธรรมเพื่อประโยชน์อย่างใด ประโยชน์อย่างนั้นไม่เป็น
ทางนำผู้ทำตามให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยสิ้นเชิง) (ขุ.ป.อ. ๒/๕/๒๙๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑. มหาปัญญากถา ๑. โสฬสปัญญานิทเทส
ทรงเป็นบุรุษผู้เอาธุระ มีพระญาณหาที่สุดมิได้ มีพระเดชหาที่สุดมิได้ มีพระยศ
หาที่สุดมิได้ ทรงมั่งคั่ง ทรงมีทรัพย์มาก มีพระปัญญาเป็นทรัพย์ ทรงเป็นผู้นำ
เป็นผู้นำไปโดยวิเศษ เป็นผู้ตามแนะนำ ทรงให้รู้จักประโยชน์ ให้พินิจพิจารณา
ทรงเพ่งประโยชน์ ทรงทำให้เลื่อมใสได้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงทำมรรค
ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ทรงทำมรรคที่ยังไม่เกิดพร้อมให้เกิดพร้อม ตรัสบอกมรรคที่
ยังมิได้ตรัสบอก ทรงรู้จักมรรค ทรงรู้แจ้งมรรค ทรงฉลาดในมรรค และสาวกของ
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นผู้ดำเนินไปตามมรรคอยู่ในบัดนี้ จะเพียบพร้อมด้วย
ศีลาทิคุณในภายหลัง
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงรู้ธรรมที่ควรรู้ ทรงเห็นธรรมที่ควรเห็น มี
พระจักษุ มีพระญาณ มีพระธรรม เป็นดุจพระพรหม ตรัส บอก นำความ
หมายออกมา ประทานอมตธรรม เป็นพระธรรมสามี เป็นพระตถาคต ไม่มีสิ่งที่
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นยังไม่ทรงทราบ ไม่ทรงเห็น ไม่ทรงรู้แจ้ง ไม่ทรงทำให้
แจ้ง มิได้ทรงถูกต้องด้วยพระปัญญา ธรรมทั้งปวงรวมทั้งอดีต อนาคต และปัจจุบัน
ย่อมมาสู่คลองเฉพาะพระญาณของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าโดยอาการทั้งปวง
ธรรมดาประโยชน์ที่ควรแนะนำอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นธรรมที่ควรรู้มีอยู่ คือ ประโยชน์ตน
ประโยชน์ผู้อื่น หรือประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ประโยชน์ในภพปัจจุบัน หรือประโยชน์
ในภพหน้า ประโยชน์ตื้นหรือประโยชน์ลึก ประโยชน์ลี้ลับหรือประโยชน์ปิดบัง
ประโยชน์ที่ควรแนะนำหรือประโยชน์ที่แนะนำแล้ว ประโยชน์ที่ไม่มีโทษหรือประโยชน์
ที่ไม่มีกิเลส ประโยชน์ที่ผ่องแผ้วหรือประโยชน์อย่างยิ่ง ประโยชน์ทั้งหมดนั้นย่อม
เป็นไปภายในพระพุทธญาณ
กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมทุกอย่างย่อมเป็นไปตามพระญาณของพระผู้มี
พระภาคพุทธเจ้า พระญาณของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าไม่ติดขัดในอดีต อนาคต
ปัจจุบัน บทธรรมที่ควรแนะนำมีอยู่เพียงใด พระญาณก็มีเพียงนั้น พระญาณมีอยู่
เพียงใด บทธรรมที่ควรแนะนำก็ย่อมมีพระญาณเป็นส่วนสุดรอบ พระญาณย่อม
ไม่เป็นไปเกินบทธรรมที่ควรแนะนำ ทางแห่งบทธรรมที่ควรแนะนำก็มีอยู่ไม่เกิน
กว่าพระญาณ ธรรมเหล่านั้นตั้งอยู่ในส่วนสุดรอบของกันและกันเหมือนชั้นแห่งผอบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑. มหาปัญญากถา ๑. โสฬสปัญญานิทเทส
๒ ชั้นทับกันสนิทพอดี ชั้นผอบด้านล่างก็ไม่เกินด้านบน ชั้นผอบด้านบนก็ไม่เกิน
ด้านล่าง ชั้นผอบทั้ง ๒ ย่อมวางประกบกันที่ส่วนสุดโดยรอบของกันและกัน ฉันใด
บทธรรมที่ควรแนะนำและพระญาณของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าก็ตั้งอยู่ในส่วนสุดรอบ
ของกันและกัน ฉันนั้นเหมือนกัน บทธรรมที่ควรแนะนำมีอยู่เพียงใด พระญาณก็
มีอยู่เพียงนั้น พระญาณมีอยู่เพียงใด บทธรรมที่ควรแนะนำก็มีเพียงนั้น พระ
ญาณย่อมมีบทธรรมที่ควรแนะนำเป็นส่วนสุดรอบ บทธรรมที่ควรแนะนำก็ย่อมมี
พระญาณเป็นส่วนสุดรอบ พระญาณย่อมไม่เป็นไปเกินกว่าบทธรรมที่ควรแนะนำ
ทางแห่งบทธรรมที่ควรแนะนำก็มีอยู่ไม่เกินกว่าพระญาณ ธรรมเหล่านั้นย่อมตั้งอยู่
ในส่วนสุดรอบของกันและกัน
พระญาณของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าย่อมเป็นไปในธรรมทั้งปวง ธรรมทั้งปวง
นับเนื่องด้วยความนึก นับเนื่องด้วยความหวัง นับเนื่องด้วยมนสิการ นับเนื่อง
ด้วยจิตตุปบาทของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า พระญาณของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า
ย่อมเป็นไปในสัตว์ทั้งปวง พระผู้มีพระภาคทรงทราบอัธยาศัย อนุสัย จริต
อธิมุตติของเหล่าสัตว์ทุกจำพวก ทรงรู้จักเหล่าสัตว์ผู้มีกิเลสดุจธุลีน้อยในปัญญาจักษุ
มีกิเลสดุจธุลีมากในปัญญาจักษุ มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มี
อาการทราม ที่พระองค์พึงสอนให้รู้แจ้งได้ง่าย พึงสอนให้รู้แจ้งได้ยาก เป็นภัพพสัตว์
(ผู้สมควรบรรลุธรรม) และอภัพพสัตว์ (ผู้ไม่สมควรบรรลุธรรม) โลกพร้อมทั้ง
เทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และ
มนุษย์ย่อมเป็นไปภายในพระพุทธญาณ
ปลาและเต่าชนิดใดชนิดหนึ่ง รวมทั้งปลาติมิ ปลาติมิงคละ และปลาติมิ-
ติมิงคละ๑ย่อมเป็นไปภายในมหาสมุทร ฉันใด โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก
พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ย่อมเป็นไปภายใน
พระพุทธญาณ ฉันนั้นเหมือนกัน นกชนิดใดชนิดหนึ่ง รวมทั้งครุฑนามว่า เวนไตย
ย่อมบินไปในอากาศ ฉันใด พระพุทธสาวกทั้งหลายผู้เสมอกับพระสารีบุตรด้วย

เชิงอรรถ :
๑ ปลาทั้ง ๓ ตัวนี้ เป็นปลาขนาดใหญ่ คือ ปลาติมิงคละสามารถกลืนกินปลาติมิได้ และปลาติมิติมิงคละมี
ขนาดลำตัวใหญ่ถึง ๕๐๐ โยชน์ สามารถกลืนกินปลาติมิงคละได้ (ขุ.ป.อ. ๒/๕/๓๐๐, ขุ.ม.อ. ๖๙/๒๙๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑. มหาปัญญากถา ๑. โสฬสปัญญานิทเทส
ปัญญาก็ย่อมเป็นไปในส่วนแห่งพระพุทธญาณ ฉันนั้นเหมือนกัน พระพุทธญาณ
ย่อมแผ่ครอบคลุมปัญญาของเทวดาและมนุษย์อยู่
เหล่าบัณฑิตผู้เป็นกษัตริย์ เป็นพราหมณ์ เป็นคหบดี เป็นสมณะ ผู้มี
ปัญญาละเอียด รู้วาทะของผู้อื่น เหมือนนายขมังธนูสามารถยิงเนื้อทราย ดุจจะ
เที่ยวทำลายทิฏฐิของผู้อื่นด้วยปัญญาของตน บัณฑิตเหล่านั้นพากันปรุงแต่ง
ปัญหาเข้าไปหาพระตถาคตทูลถามปัญหาทั้งลี้ลับและปิดบัง ปัญหาเหล่านั้นที่พระ
ผู้มีพระภาคทรงซักไซ้และตรัสแก้แล้วเป็นปัญหามีเหตุให้ทรงแสดง ขณะนั้น พระผู้
มีพระภาคทรงรุ่งเรืองยิ่งด้วยพระปัญญาเพราะทรงแก้ปัญหาเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคจึงทรงเป็นผู้เลิศ มีพระปัญญาไม่ใกล้ นี้ชื่อว่าปัญญาไม่ใกล้ ใน
คำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาไม่ใกล้ (๘)
[๖] คำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาดุจแผ่นดิน อธิบายว่า ปัญญา
ดุจแผ่นดิน เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าปัญญาดุจแผ่นดิน เพราะครอบงำราคะ ชื่อว่าปัญญาดุจแผ่นดิน
เพราะครอบงำราคะแล้ว ชื่อว่าปัญญาดุจแผ่นดิน เพราะครอบงำโทสะ ชื่อว่า
ปัญญาดุจแผ่นดิน เพราะครอบงำโทสะแล้ว ชื่อว่าปัญญาดุจแผ่นดิน เพราะ
ครอบงำโมหะ ชื่อว่าปัญญาดุจแผ่นดิน เพราะครอบงำโมหะแล้ว
ชื่อว่าปัญญาดุจแผ่นดิน เพราะครอบงำโกธะ ชื่อว่าปัญญาดุจแผ่นดิน
เพราะครอบงำโกธะแล้ว ฯลฯ ชื่อว่าปัญญาดุจแผ่นดิน เพราะครอบงำอุปนาหะ
ฯลฯ มักขะ ฯลฯ ปฬาสะ ฯลฯ อิสสา ฯลฯ มัจฉริยะ ฯลฯ มายา ฯลฯ สาเถยยะ
ฯลฯ ถัมภะ ฯลฯ สารัมภะ ฯลฯ มานะ ฯลฯ อติมานะ ฯลฯ มทะ ฯลฯ ปมาทะ
ฯลฯ กิเลสทั้งปวง ฯลฯ ทุจริตทั้งปวง ฯลฯ อภิสังขารทั้งปวง ฯลฯ ชื่อว่า
ปัญญาดุจแผ่นดิน เพราะครอบงำกรรมอันเป็นเหตุให้เป็นไปสู่ภพทั้งปวง ชื่อว่า
ปัญญาดุจแผ่นดิน เพราะครอบงำกรรมอันเป็นเหตุให้เป็นไปสู่ภพทั้งปวงแล้ว
ชื่อว่าปัญญาดุจแผ่นดิน เพราะเป็นปัญญาย่ำยีราคะที่เป็นข้าศึก ชื่อว่าปัญญา
ดุจแผ่นดิน เพราะเป็นปัญญาย่ำยีโทสะที่เป็นข้าศึก ชื่อว่าปัญญาดุจแผ่นดิน เพราะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑. มหาปัญญากถา ๑. โสฬสปัญญานิทเทส
เป็นปัญญาย่ำยีโมหะที่เป็นข้าศึก ชื่อว่าปัญญาดุจแผ่นดิน เพราะเป็นปัญญาย่ำยี
โกธะ ฯลฯ อุปนาหะ ฯลฯ มักขะ ฯลฯ ปฬาสะ ฯลฯ อิสสา ฯลฯ มัจฉริยะ
ฯลฯ มายา ฯลฯ สาเถยยะ ฯลฯ ถัมภะ ฯลฯ สารัมภะ ฯลฯ มานะ ฯลฯ อติมานะ
ฯลฯ มทะ ฯลฯ ปมาทะ ฯลฯ กิเลสทั้งปวง ฯลฯ ทุจริตทั้งปวง ฯลฯ
อภิสังขารทั้งปวง ฯลฯ ชื่อว่าปัญญาดุจแผ่นดิน เพราะเป็นปัญญาย่ำยีกรรมที่เป็น
เหตุไปสู่ภพทั้งปวงที่เป็นข้าศึก
แผ่นดินท่านกล่าวว่า ภูริ บุคคลประกอบด้วยปัญญาที่กว้างขวางไพบูลย์
เสมอด้วยแผ่นดินนั้น เพราะเหตุนั้น ปัญญานั้นจึงชื่อว่าปัญญาดุจแผ่นดิน อีก
ประการหนึ่ง คำว่า ภูริ นี้เป็นชื่อของปัญญา ปัญญากว้างขวางดุจแผ่นดิน เป็น
ปัญญาทำลายกิเลส เป็นปัญญาเครื่องแนะนำ เพราะเหตุนั้น ปัญญานั้นจึงชื่อว่า
ปัญญาดุจแผ่นดิน นี้ชื่อว่าปัญญาดุจแผ่นดิน ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้
มีปัญญาดุจแผ่นดิน (๙)
คำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มากด้วยปัญญา อธิบายว่า ความเป็นผู้
มากด้วยปัญญา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้หนักด้วยปัญญา เป็นผู้ประพฤติด้วยปัญญา
มีปัญญาเป็นที่อาศัย น้อมไปด้วยปัญญา มีปัญญาเป็นธงชัย มีปัญญาเป็นยอด
มีปัญญาเป็นใหญ่ มากด้วยการเลือกเฟ้น มากด้วยการค้นคว้า มากด้วยการ
พิจารณา มากด้วยการเพ่งพินิจ มีการเพ่งพิจารณาเป็นธรรมดา ประพฤติอยู่ด้วย
ปัญญาที่แจ่มแจ้ง มีความประพฤติงดเว้นด้วยปัญญาที่แจ่มแจ้ง หนักในปัญญา
มากด้วยปัญญา โน้มไปในปัญญา น้อมไปในปัญญา เงื้อมไปในปัญญา น้อมจิต
ไปในปัญญา หลุดพ้นไปด้วยปัญญา มีปัญญาเป็นใหญ่ เปรียบเหมือนภิกษุผู้หนัก
ในคณะ ท่านเรียกว่า “ผู้มากด้วยคณะ” ผู้หนักในจีวร ท่านเรียกว่า “ผู้มากด้วยจีวร”
ผู้หนักในบาตร ท่านเรียกว่า “ผู้มากด้วยบาตร” ผู้หนักในเสนาสนะ ท่านเรียกว่า
“ผู้มากด้วยเสนาสนะ” นี้ชื่อว่าความเป็นผู้มากด้วยปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไป
เพื่อความเป็นผู้มากด้วยปัญญา (๑๐)
คำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเร็ว อธิบายว่า ปัญญาเร็ว
เป็นอย่างไร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑. มหาปัญญากถา ๑. โสฬสปัญญานิทเทส
คือ ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะบำเพ็ญศีลได้เร็วไว ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะ
บำเพ็ญอินทรียสังวรได้เร็วไว ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะบำเพ็ญโภชเนมัตตัญญุตาได้
เร็วไว ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะบำเพ็ญชาคริยานุโยคได้เร็วไว ชื่อว่าปัญญา
เร็ว เพราะบำเพ็ญสีลขันธ์ได้เร็วไว ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะบำเพ็ญสมาธิขันธ์
ได้เร็วไว ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะบำเพ็ญปัญญาขันธ์ได้เร็วไว ชื่อว่าปัญญาเร็ว
เพราะบำเพ็ญวิมุตติขันธ์ได้เร็วไว ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะบำเพ็ญวิมุตติญาณ-
ทัสสนขันธ์ได้เร็วไว ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะรู้แจ้งฐานะและอฐานะได้เร็วไว ชื่อว่า
ปัญญาเร็ว เพราะบำเพ็ญวิหารสมาบัติได้เร็วไว ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะรู้แจ้ง
อริยสัจได้เร็วไว ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะเจริญสติปัฏฐานได้เร็วไว ชื่อว่าปัญญาเร็ว
เพราะเจริญสัมมัปปธานได้เร็วไว ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะเจริญอิทธิบาทได้เร็วไว
ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะเจริญอินทรีย์ได้เร็วไว ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะเจริญพละได้
เร็วไว ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะเจริญโพชฌงค์ได้เร็วไว ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะ
เจริญอริยมรรคได้เร็วไว ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะทำให้แจ้งสามัญญผลได้เร็วไว
ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะรู้แจ้งอภิญญาได้เร็วไว ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะทำให้แจ้ง
นิพพานที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งได้เร็วไว นี้ชื่อว่าปัญญาเร็ว ในคำว่า ย่อมเป็นไป
เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเร็ว (๑๑)
คำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาพลัน อธิบายว่า ปัญญาพลัน
เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะบำเพ็ญศีลได้เร็วพลัน ชื่อว่าปัญญาพลัน
เพราะบำเพ็ญอินทรียสังวรได้เร็วพลัน ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะบำเพ็ญโภชเน-
มัตตัญญุตาได้เร็วพลัน ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะบำเพ็ญชาคริยานุโยคได้เร็วพลัน
ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะบำเพ็ญสีลขันธ์ ฯลฯ สมาธิขันธ์ ฯลฯ ปัญญาขันธ์
ฯลฯ วิมุตติขันธ์ ฯลฯ ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะบำเพ็ญวิมุตติญาณทัสสนขันธ์
ได้เร็วพลัน
ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะรู้แจ้งฐานะและอฐานะได้เร็วพลัน ชื่อว่าปัญญาพลัน
เพราะบำเพ็ญวิหารสมาบัติได้เร็วพลัน ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะรู้แจ้งอริยสัจได้เร็ว


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑. มหาปัญญากถา ๑. โสฬสปัญญานิทเทส
พลัน ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะเจริญสติปัฏฐานได้เร็วพลัน ชื่อว่าปัญญาพลัน
เพราะเจริญสัมมัปปธานได้เร็วพลัน ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะเจริญอิทธิบาทได้
เร็วพลัน ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะเจริญอินทรีย์ได้เร็วพลัน ชื่อว่าปัญญาพลัน
เพราะเจริญพละได้เร็วพลัน ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะเจริญโพชฌงค์ได้เร็วพลัน
ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะเจริญอริยมรรคได้เร็วพลัน ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะทำ
ให้แจ้งสามัญญผลได้เร็วพลัน ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะรู้แจ้งอภิญญาได้เร็วพลัน
ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะทำให้แจ้งนิพพานที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งได้เร็วพลัน นี้
ชื่อว่าปัญญาพลัน ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาพลัน (๑๒)
คำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาร่าเริง อธิบายว่า ปัญญาร่าเริง
เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้มีความร่าเริงมาก มีความพอใจมาก มีความยินดี
มาก มีความปราโมทย์มาก บำเพ็ญศีล เพราะเหตุนั้น ปัญญานั้นจึงชื่อว่าปัญญา
ร่าเริง บุคคลบางคนในโลกนี้มีความร่าเริงมาก มีความพอใจมาก มีความยินดีมาก
มีความปราโมทย์มาก บำเพ็ญอินทรียสังวร เพราะเหตุนั้น ปัญญานั้นจึงชื่อว่า
ปัญญาร่าเริง บุคคลบางคนในโลกนี้มีความร่าเริงมาก มีความพอใจมาก มีความ
ยินดีมาก มีความปราโมทย์มาก บำเพ็ญโภชเนมัตตัญญุตา เพราะเหตุนั้น ปัญญา
นั้นจึงชื่อว่าปัญญาร่าเริง บุคคลบางคนในโลกนี้มีความร่าเริงมาก มีความพอใจมาก
มีความยินดีมาก มีความปราโมทย์มาก บำเพ็ญชาคริยานุโยค เพราะเหตุนั้น
ปัญญานั้นจึงชื่อว่าปัญญาร่าเริง
บุคคลบางคนในโลกนี้มีความร่าเริงมาก มีความพอใจมาก มีความยินดีมาก
มีความปราโมทย์มาก บำเพ็ญสีลขันธ์ ฯลฯ สมาธิขันธ์ ฯลฯ ปัญญาขันธ์
ฯลฯ วิมุตติขันธ์ ฯลฯ บุคคลบางคนในโลกนี้มีความร่าเริงมาก มีความพอใจมาก
มีความยินดีมาก มีความปราโมทย์มาก บำเพ็ญวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ เพราะ
เหตุนั้น ปัญญานั้นจึงชื่อว่าปัญญาร่าเริง
บุคคลบางคนในโลกนี้ ... รู้แจ้งฐานะและอฐานะ ... บำเพ็ญวิหารสมาบัติให้
เต็มรอบ ... รู้แจ้งอริยสัจ ... เจริญสติปัฏฐาน ... เจริญสัมมัปปธาน ... เจริญอิทธิบาท


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑. มหาปัญญากถา ๑. โสฬสปัญญานิทเทส
... เจริญอินทรีย์ ... เจริญพละ ... เจริญโพชฌงค์ ... เจริญอริยมรรค ... บุคคล
บางคนในโลกนี้ ... ทำให้แจ้งสามัญญผล
บุคคลบางคนในโลกนี้มีความร่าเริงมาก มีความพอใจมาก มีความยินดีมาก
มีความปราโมทย์มาก ทำให้แจ้งอภิญญา เพราะเหตุนั้น ปัญญานั้นจึงชื่อว่าปัญญาร่าเริง
บุคคลบางคนในโลกนี้มีความร่าเริงมาก มีความพอใจมาก มีความยินดีมาก มี
ความปราโมทย์มาก ทำให้แจ้งนิพพานที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ด้วยปัญญานั้น
เพราะเหตุนั้น ปัญญานั้นจึงชื่อว่าปัญญาร่าเริง นี้ชื่อว่าปัญญาร่าเริง ในคำว่า
ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาร่าเริง (๑๓)
[๗] คำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาแล่นไป อธิบายว่า
ปัญญาแล่นไป เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าปัญญาแล่นไป เพราะปัญญาพลันแล่นไปสู่รูปทั้งปวงที่เป็นอดีต อนาคต
และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต มีอยู่
ในที่ไกลหรือมีอยู่ในที่ใกล้ โดยความไม่เที่ยง ชื่อว่าปัญญาแล่นไป เพราะปัญญา
พลันแล่นไปโดยความเป็นทุกข์ ชื่อว่าปัญญาแล่นไป เพราะปัญญาพลันแล่นไปโดย
ความเป็นอนัตตา
ชื่อว่าปัญญาแล่นไป เพราะปัญญาพลันแล่นไปสู่เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ
สังขาร ฯลฯ ชื่อว่าปัญญาแล่นไป เพราะปัญญาพลันแล่นไปสู่วิญญาณทั้งปวงที่
เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลว
หรือประณีต มีอยู่ในที่ไกลหรือมีอยู่ในที่ใกล้โดยความไม่เที่ยง ชื่อว่าปัญญาแล่นไป
เพราะปัญญาพลันแล่นไปโดยความเป็นทุกข์ ชื่อว่าปัญญาแล่นไป เพราะปัญญา
พลันแล่นไปโดยความเป็นอนัตตา
ชื่อว่าปัญญาแล่นไป เพราะปัญญาพลันแล่นไปสู่จักขุ ฯลฯ ชื่อว่าปัญญา
แล่นไป เพราะปัญญาพลันแล่นไปสู่ชราและมรณะที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน
โดยความไม่เที่ยง ชื่อว่าปัญญาแล่นไป เพราะปัญญาพลันแล่นไปโดยความเป็นทุกข์
ชื่อว่าปัญญาแล่นไป เพราะปัญญาพลันแล่นไป โดยความเป็นอนัตตา
ชื่อว่าปัญญาแล่นไป เพราะเทียบเคียง พินิจ พิจารณา ทำให้แจ้งว่ารูปที่เป็น
อดีต อนาคต และปัจจุบัน ชื่อว่าไม่เที่ยง เพราะมีสภาวะสิ้นไป ชื่อว่าเป็นทุกข์
เพราะมีสภาวะเป็นภัย ชื่อว่าเป็นอนัตตา เพราะมีสภาวะไม่มีแก่นสาร พลันแล่น
ไปในนิพพานซึ่งเป็นความดับแห่งรูป


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑. มหาปัญญากถา ๑. โสฬสปัญญานิทเทส
ชื่อว่าปัญญาแล่นไป เพราะเทียบเคียง พินิจ พิจารณา ทำให้แจ้งว่าเวทนา
ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ จักขุ ฯลฯ ชื่อว่าปัญญาแล่นไป
เพราะเทียบเคียง พินิจ พิจารณา ทำให้แจ้งว่าชราและมรณะทั้งที่เป็นอดีต อนาคต
และปัจจุบัน ชื่อว่าไม่เที่ยง เพราะมีสภาวะสิ้นไป ชื่อว่าเป็นทุกข์ เพราะมีสภาวะ
เป็นภัย ชื่อว่าเป็นอนัตตา เพราะมีสภาวะไม่มีแก่นสารแล้วพลันแล่นไปในนิพพาน
ซึ่งเป็นความดับแห่งชราและมรณะ
ชื่อว่าปัญญาแล่นไป เพราะเทียบเคียง พินิจ พิจารณา ทำให้แจ้งว่ารูปทั้งที่เป็น
อดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นสภาวะไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันและกัน
เกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดาแล้วพลันแล่นไปใน
นิพพานซึ่งเป็นความดับแห่งรูป
ชื่อว่าปัญญาแล่นไป เพราะเทียบเคียง พินิจ พิจารณา ทำให้แจ้งว่าเวทนา
ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ จักขุ ฯลฯ ชื่อว่าปัญญาแล่นไป
เพราะเทียบเคียง พินิจ พิจารณา ทำให้แจ้งว่าชราและมรณะทั้งที่เป็นอดีต อนาคต
และปัจจุบัน เป็นสภาวะไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันและกันเกิดขึ้น มี
ความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดาแล้วพลันแล่นไปในนิพพานซึ่ง
เป็นความดับแห่งชราและมรณะ นี้ชื่อว่าปัญญาแล่นไป ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อ
ความเป็นผู้มีปัญญาแล่นไป (๑๔)
คำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเฉียบแหลม อธิบายว่า ปัญญา
เฉียบแหลม เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าปัญญาเฉียบแหลม เพราะทำลายกิเลสได้ฉับพลัน ชื่อว่าปัญญา
เฉียบแหลม เพราะไม่รับกามวิตกที่เกิดขึ้นไว้ ละ บรรเทา ทำกามวิตกที่เกิดขึ้น
ให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีอีกต่อไป
ชื่อว่าปัญญาเฉียบแหลม เพราะไม่รับพยาบาทวิตกที่เกิดขึ้นไว้ ฯลฯ
ชื่อว่าปัญญาเฉียบแหลม เพราะไม่รับวิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้นไว้ ฯลฯ
ชื่อว่าปัญญาเฉียบแหลม เพราะไม่รับบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นไว้ ฯลฯ
ชื่อว่าปัญญาเฉียบแหลม เพราะไม่รับราคะที่เกิดขึ้นไว้ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑. มหาปัญญากถา ๑. โสฬสปัญญานิทเทส
ชื่อว่าปัญญาเฉียบแหลม เพราะไม่รับโทสะไว้ ละ บรรเทา ทำโทสะให้สิ้นสุด
ให้ถึงความไม่มีอีกต่อไป ฯลฯ โมหะ ฯลฯ โกธะ ฯลฯ อุปนาหะ ฯลฯ มักขะ ฯลฯ
ปฬาสะ ฯลฯ อิสสา ฯลฯ มัจฉริยะ ฯลฯ มายา ฯลฯ สาเถยยะ ฯลฯ ถัมภะ
ฯลฯ สารัมภะ ฯลฯ มานะ ฯลฯ อติมานะ ฯลฯ มทะ ฯลฯ ปมาทะ ฯลฯ
กิเลสทั้งปวง ฯลฯ ทุจริตทั้งปวง ฯลฯ อภิสังขารทั้งปวง ฯลฯ
ชื่อว่าปัญญาเฉียบแหลม เพราะไม่รับกรรมอันเป็นเหตุให้ไปสู่ภพทั้งปวงที่เกิดขึ้นไว้
ละ บรรเทา ทำกรรมอันเป็นเหตุให้ไปสู่ภพทั้งปวงที่เกิดขึ้นให้สิ้นสุด ให้ถึงความ
ไม่มีอีกต่อไปแล้ว ชื่อว่าปัญญาเฉียบแหลม เพราะทำให้บรรลุ ทำให้แจ้ง ทำให้
ถูกต้องอริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ อภิญญา ๖ ณ อาสนะเดียว
นี้ชื่อว่าปัญญาเฉียบแหลม ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญา
เฉียบแหลม (๑๕)
คำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาชำแรกกิเลส อธิบายว่า
ปัญญาชำแรกกิเลส เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มากด้วยความสะดุ้ง เป็นผู้มากด้วยความ
หวาดเสียว เป็นผู้มากด้วยความเบื่อหน่าย เป็นผู้มากด้วยความระอา เป็นผู้มาก
ด้วยความไม่พอใจ เบือนหน้าออก ไม่ยินดีในสังขารทั้งปวง ย่อมชำแรก ทำลาย
กองโลภะที่ไม่เคยชำแรก ไม่เคยทำลาย(ด้วยปัญญา) เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
ปัญญาชำแรกกิเลส
บุคคลบางคนในโลกนี้ ... ทำลายกองโทสะที่ไม่เคยชำแรก ไม่เคยทำลาย
(ด้วยปัญญา) เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าปัญญาชำแรกกิเลส
บุคคลบางคนในโลกนี้ ... ทำลายกองโมหะที่ไม่เคยชำแรก ไม่เคยทำลาย
(ด้วยปัญญา) เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าปัญญาชำแรกกิเลส
บุคคลบางคนในโลกนี้ ... ย่อมชำแรก ทำลายโกธะ ฯลฯ อุปนาหะ ฯลฯ
มักขะ ฯลฯ ปฬาสะ ฯลฯ อิสสา ฯลฯ มัจฉริยะ ฯลฯ มายา ฯลฯ สาเถยยะ
ฯลฯ ถัมภะ ฯลฯ สารัมภะ ฯลฯ มานะ ฯลฯ อติมานะ ฯลฯ มทะ ฯลฯ ปมาทะ
ฯลฯ กิเลสทั้งปวง ฯลฯ ทุจริตทั้งปวง ฯลฯ อภิสังขารทั้งปวง ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑. มหาปัญญากถา ๒. ปุคคลวิเสสนิทเทส
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มากด้วยความสะดุ้ง เป็นผู้มากด้วยความหวาด
เสียว เป็นผู้มากด้วยความเบื่อหน่าย เป็นผู้มากด้วยความระอา เป็นผู้มากด้วย
ความไม่พอใจ เบือนหน้าออก ไม่ยินดีในสังขารทั้งปวง ย่อมชำแรก ทำลายกรรม
ซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่ภพทั้งปวงที่ไม่เคยชำแรก ไม่เคยทำลาย(ด้วยปัญญา)
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าปัญญาชำแรกกิเลส นี้ชื่อว่าปัญญาชำแรกกิเลส ในคำว่า
ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาชำแรกกิเลส (๑๖)
ปัญญาเหล่านี้เรียกว่า ปัญญา ๑๖ ประการ บุคคลประกอบด้วยปัญญา ๑๖
ประการนี้ ชื่อว่าผู้บรรลุปฏิสัมภิทา

๒. ปุคคลวิเสสนิทเทส
แสดงบุคคลวิเศษ
[๘] บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่งถึงพร้อมด้วยความ
เพียรมาก่อน พวกหนึ่งไม่ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อน พวกที่ถึงพร้อมด้วย
ความเพียรมาก่อนเป็นผู้ประเสริฐวิเศษยิ่งกว่าพวกที่ไม่ถึงพร้อมด้วยความเพียรมา
ก่อนนั้น และญาณของบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อนย่อมแตกฉาน
บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ จำพวก คือ พวกที่ถึงพร้อมด้วยความเพียร
มาก่อนก็มี ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่งเป็นพหูสูต พวกหนึ่งไม่ได้เป็นพหูสูต พวกที่
เป็นพหูสูตเป็นพวกที่ประเสริฐวิเศษยิ่งกว่าพวกที่ไม่ได้เป็นพหูสูตนั้น และญาณของ
บุคคลผู้เป็นพหูสูตนั้นย่อมแตกฉาน
บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ จำพวก คือ พวกที่บรรลุปฏิสัมภิทา ถึงพร้อม
ด้วยความเพียรมาก่อนก็มี ๒ จำพวก แม้พวกที่เป็นพหูสูตก็มี ๒ จำพวก คือ
พวกหนึ่งมากด้วยเทศนา พวกหนึ่งไม่มากด้วยเทศนา พวกที่มากด้วยเทศนาเป็นผู้
ประเสริฐวิเศษยิ่งกว่าพวกที่ไม่มากด้วยเทศนานั้น และญาณของบุคคลผู้มากด้วย
เทศนานั้นย่อมแตกฉาน
บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ จำพวก คือ พวกที่บรรลุปฏิสัมภิทา ถึงพร้อม
ด้วยความเพียรมาก่อนก็มี ๒ จำพวก แม้พวกที่เป็นพหูสูตก็มี ๒ จำพวก และ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑. มหาปัญญากถา ๒. ปุคคลวิเสสนิทเทส
พวกที่มากด้วยเทศนาก็มี ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่งอาศัยครู พวกหนึ่งไม่อาศัยครู
พวกที่อาศัยครูเป็นผู้ประเสริฐวิเศษยิ่งกว่าพวกที่ไม่อาศัยครูนั้น และญาณของ
บุคคลผู้อาศัยครูนั้นย่อมแตกฉาน
บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ จำพวก คือ พวกที่บรรลุปฏิสัมภิทา ถึงพร้อม
ด้วยความเพียรมาก่อนก็มี ๒ จำพวก แม้พวกที่เป็นพหูสูตก็มี ๒ จำพวก พวก
ที่มากด้วยเทศนาก็มี ๒ จำพวก และพวกที่อาศัยครูก็มี ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่ง
มีวิหารธรรมมาก พวกหนึ่งมีวิหารธรรมไม่มาก พวกที่มีวิหารธรรมมากเป็นผู้ประเสริฐ
วิเศษยิ่งกว่าพวกที่มีวิหารธรรมไม่มากนั้น และญาณของบุคคลผู้มีวิหารธรรมมาก
นั้นย่อมแตกฉาน
บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ จำพวก คือ พวกที่บรรลุปฏิสัมภิทา ถึงพร้อม
ด้วยความเพียรมาก่อนก็มี ๒ จำพวก แม้พวกที่เป็นพหูสูตก็มี ๒ จำพวก พวก
ที่มากด้วยเทศนาก็มี ๒ จำพวก พวกที่อาศัยครูก็มี ๒ จำพวก และพวกที่มี
วิหารธรรมมากก็มี ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่งมีการพิจารณามาก พวกหนึ่งมีการ
พิจารณาไม่มาก พวกที่มีการพิจารณามาก เป็นผู้ประเสริฐวิเศษยิ่งกว่าพวกที่มีการ
พิจารณาไม่มากนั้น และญาณของบุคคลผู้มีการพิจารณามากนั้นย่อมแตกฉาน
บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ จำพวก คือ พวกที่บรรลุปฏิสัมภิทา ถึงพร้อม
ด้วยความเพียรมาก่อนก็มี ๒ จำพวก แม้พวกที่เป็นพหูสูตก็มี ๒ จำพวก พวกที่
มากด้วยเทศนาก็มี ๒ จำพวก พวกที่อาศัยครูก็มี ๒ จำพวก พวกที่มีวิหาร-
ธรรมมากก็มี ๒ จำพวก และพวกที่มีการพิจารณามากก็มี ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่ง
เป็นพระเสขะบรรลุปฏิสัมภิทา พวกหนึ่งเป็นพระอเสขะบรรลุปฏิสัมภิทา พวกที่เป็น
พระอเสขะบรรลุปฏิสัมภิทาเป็นผู้ประเสริฐวิเศษยิ่งกว่าพวกที่เป็นพระเสขะบรรลุ
ปฏิสัมภิทานั้น และญาณของพระอเสขะผู้บรรลุปฏิสัมภิทานั้นย่อมแตกฉาน
บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ จำพวก คือ พวกที่บรรลุปฏิสัมภิทา ถึงพร้อม
ด้วยความเพียรมาก่อนก็มี ๒ จำพวก แม้พวกที่เป็นพหูสูตก็มี ๒ จำพวก พวก
ที่มากด้วยเทศนาก็มี ๒ จำพวก พวกที่มีวิหารธรรมมากก็มี ๒ จำพวก พวกที่


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑. มหาปัญญากถา ๒. ปุคคลวิเสสนิทเทส
มีการพิจารณามากก็มี ๒ จำพวก และพวกที่เป็นพระอเสขะบรรลุปฏิสัมภิทาก็มี ๒
จำพวก คือ พวกหนึ่งบรรลุสาวกบารมี พวกหนึ่งไม่บรรลุสาวกบารมี พวกที่
บรรลุสาวกบารมีเป็นผู้ประเสริฐวิเศษยิ่งกว่าพวกที่ไม่บรรลุสาวกบารมี และญาณ
ของผู้บรรลุสาวกบารมีนั้นย่อมแตกฉาน
บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ จำพวก คือ พวกที่บรรลุปฏิสัมภิทา ถึงพร้อม
ด้วยความเพียรมาก่อนก็มี ๒ จำพวก แม้พวกที่เป็นพหูสูตก็มี ๒ จำพวก พวกที่
มากด้วยเทศนาก็มี ๒ จำพวก พวกที่อาศัยครูก็มี ๒ จำพวก พวกที่มีวิหารธรรม
มากก็มี ๒ จำพวก พวกที่มีการพิจารณามากก็มี ๒ จำพวก และพวกที่เป็น
พระอเสขะบรรลุปฏิสัมภิทาก็มี ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่งบรรลุสาวกบารมี พวกหนึ่ง
เป็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า พวกที่เป็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ประเสริฐวิเศษยิ่ง
กว่าพวกที่บรรลุสาวกบารมีนั้น และญาณของผู้เป็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น
ย่อมแตกฉาน
เมื่อเทียบกับพระปัจเจกพุทธเจ้าและโลกพร้อมทั้งเทวโลก พระตถาคต-
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นผู้เลิศ ทรงบรรลุปฏิสัมภิทา ทรงฉลาดในประเภท
แห่งปัญญา มีพระญาณแตกฉาน ทรงบรรลุถึงปฏิสัมภิทา ทรงบรรลุเวสารัชชญาณ
๔ ทรงเป็นผู้ทรงทสพลญาณ ทรงเป็นบุรุษองอาจ ทรงเป็นบุรุษดุจราชสีห์ ฯลฯ
เหล่าบัณฑิต ผู้เป็นกษัตริย์ เป็นพราหมณ์ เป็นคหบดี เป็นสมณะ ผู้มีปัญญา
ละเอียด รู้วาทะของผู้อื่น เหมือนนายขมังธนูสามารถยิงเนื้อทราย ดุจจะเที่ยว
ทำลายทิฏฐิของผู้อื่นด้วยปัญญาของตน บัณฑิตเหล่านั้นพากันปรุงแต่งปัญหาเข้า
ไปหาพระตถาคตทูลถามปัญหาทั้งลี้ลับและปิดบัง ปัญหาเหล่านั้นที่พระผู้มีพระภาค
ทรงซักไซ้และตรัสแก้แล้ว เป็นปัญหามีเหตุให้ทรงแสดง ขณะนั้นพระผู้มีพระภาค
ทรงรุ่งเรืองยิ่งด้วยพระปัญญา เพราะทรงแก้ปัญหาเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มี
พระภาคจึงทรงเป็นผู้เลิศ ทรงบรรลุปฏิสัมภิทา ดังนี้

มหาปัญญากถา จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๒. อิทธิกถา
๒. อิทธิกถา
ว่าด้วยฤทธิ์
[๙] ฤทธิ์เป็นอย่างไร ฤทธิ์มีเท่าไร ภูมิแห่งฤทธิ์มีเท่าไร บาทแห่งฤทธิ์มีเท่าไร
บทแห่งฤทธิ์มีเท่าไร มูลแห่งฤทธิ์มีเท่าไร
ถาม : ฤทธิ์เป็นอย่างไร
ตอบ : ชื่อว่าฤทธิ์ เพราะมีสภาวะสำเร็จ
ถาม : ฤทธิ์มีเท่าไร
ตอบ : ฤทธิ์มี ๑๐ อย่าง
ถาม : ภูมิแห่งฤทธิ์มีเท่าไร
ตอบ : ภูมิแห่งฤทธิ์มี ๔ อย่าง ... บาทแห่งฤทธิ์มี ๔ อย่าง ... บทแห่งฤทธิ์มี
๘ อย่าง ... มูลแห่งฤทธิ์มี ๑๖ อย่าง
ฤทธิ์ ๑๐ อย่าง อะไรบ้าง คือ

๑. ฤทธิ์ที่อธิษฐาน ๒. ฤทธิ์ที่แสดงได้ต่าง ๆ
๓. ฤทธิ์ที่สำเร็จด้วยใจ ๔. ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณ
๕. ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ ๖. ฤทธิ์ของพระอริยะ
๗. ฤทธิ์ที่เกิดจากผลกรรม ๘. ฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญ
๙. ฤทธิ์ที่สำเร็จมาจากวิชชา

๑๐. ชื่อว่าฤทธิ์ เพราะมีสภาวะสำเร็จด้วยการประกอบโดยชอบในส่วน
นั้น ๆ เป็นปัจจัย
ภูมิแห่งฤทธิ์ ๔ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ปฐมฌานเป็นภูมิเกิดจากวิเวก
๒. ทุติยฌานเป็นภูมิแห่งปีติและสุข
๓. ตติยฌานเป็นภูมิแห่งอุเบกขาและสุข
๔. จตุตถฌานเป็นภูมิแห่งอุเบกขา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๒. อิทธิกถา
ภูมิแห่งฤทธิ์ ๔ อย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความได้ฤทธิ์ เพื่อความได้เฉพาะฤทธิ์
เพื่อแสดงฤทธิ์ได้ต่าง ๆ เพื่อความสำเร็จแห่งฤทธิ์ เพื่อความชำนาญในฤทธิ์ เพื่อ
ความแกล้วกล้าด้วยฤทธิ์
บาทแห่งฤทธิ์ ๔ อย่าง อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
๒. เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร
๓. เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
๔. เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร
บาทแห่งฤทธิ์ ๔ อย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความได้ฤทธิ์ เพื่อความได้เฉพาะฤทธิ์
เพื่อแสดงฤทธิ์ได้ต่าง ๆ เพื่อความสำเร็จแห่งฤทธิ์ เพื่อความชำนาญในฤทธิ์ เพื่อ
ความแกล้วกล้าด้วยฤทธิ์
บทแห่งฤทธิ์ ๘ อย่าง อะไรบ้าง คือ
ถ้าภิกษุอาศัยฉันทะได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต ฉันทะไม่ใช่สมาธิ สมาธิก็ไม่ใช่
ฉันทะ ฉันทะเป็นอย่างหนึ่ง สมาธิก็เป็นอย่างหนึ่ง
ถ้าภิกษุอาศัยวิริยะได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต วิริยะไม่ใช่สมาธิ สมาธิก็ไม่ใช่
วิริยะ วิริยะเป็นอย่างหนึ่ง สมาธิก็เป็นอย่างหนึ่ง
ถ้าภิกษุอาศัยจิตตะได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต จิตตะไม่ใช่สมาธิ สมาธิก็ไม่ใช่
จิตตะ จิตตะเป็นอย่างหนึ่ง สมาธิก็เป็นอย่างหนึ่ง
ถ้าภิกษุอาศัยวิมังสาได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต วิมังสาไม่ใช่สมาธิ สมาธิก็ไม่
ใช่วิมังสา วิมังสาเป็นอย่างหนึ่ง สมาธิก็เป็นอย่างหนึ่ง
บทแห่งฤทธิ์ ๘ อย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความได้ฤทธิ์ เพื่อความได้เฉพาะฤทธิ์
เพื่อแสดงฤทธิ์ได้ต่าง ๆ เพื่อความสำเร็จแห่งฤทธิ์ เพื่อความชำนาญในฤทธิ์ เพื่อ
ความแกล้วกล้าด้วยฤทธิ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๒. อิทธิกถา
มูลแห่งฤทธิ์ ๑๖ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. จิตไม่ฟุบลงย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าอาเนญชา (ไม่หวั่นไหว)
๒. จิตไม่ฟูขึ้นย่อมไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
อาเนญชา
๓. จิตไม่ยินดีย่อมไม่หวั่นไหวเพราะราคะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
อาเนญชา
๔. จิตไม่มุ่งร้ายย่อมไม่หวั่นไหวเพราะพยาบาท เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
อาเนญชา
๕. จิตอันทิฏฐิไม่อาศัยย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฏฐิ เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าอาเนญชา
๖. จิตไม่พัวพันย่อมไม่หวั่นไหวเพราะฉันทราคะ เพราะเหตุนั้น จึง
ชื่อว่าอาเนญชา
๗. จิตหลุดพ้นย่อมไม่หวั่นไหวเพราะกามราคะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
อาเนญชา
๘. จิตไม่เกาะเกี่ยวย่อมไม่หวั่นไหวเพราะกิเลส เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
อาเนญชา
๙. จิตปราศจากเครื่องครอบงำย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความครอบงำ
กิเลส เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอาเนญชา
๑๐. จิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ย่อมไม่หวั่นเพราะกิเลสต่าง ๆ๑ เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าอาเนญชา
๑๑. จิตที่กำหนดด้วยศรัทธาย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธา
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอาเนญชา
๑๒. จิตที่กำหนดด้วยวิริยะย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอาเนญชา

เชิงอรรถ :
๑ กิเลสต่าง ๆ ในที่นี้หมายถึงกิเลสที่เป็นไปในอารมณ์ต่าง ๆ (ขุ.ป.อ. ๒/๙/๓๑๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๒. อิทธิกถา
๑๓. จิตที่กำหนดด้วยสติย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความประมาท เพราะ
เหตุนั้น จึงชื่อว่าอาเนญชา
๑๔. จิตที่กำหนดด้วยสมาธิย่อมไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ เพราะเหตุ
นั้น จึงชื่อว่าอาเนญชา
๑๕. จิตที่กำหนดด้วยปัญญาย่อมไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าอาเนญชา
๑๖. จิตที่ถึงความสว่างไสวย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความมืดคืออวิชชา
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอาเนญชา
มูลแห่งฤทธิ์ ๑๖ อย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความได้ฤทธิ์ เพื่อความได้เฉพาะ
ฤทธิ์ เพื่อแสดงฤทธิ์ได้ต่าง ๆ เพื่อความสำเร็จแห่งฤทธิ์ เพื่อความเป็นผู้ชำนาญ
ในฤทธิ์ เพื่อความแกล้วกล้าด้วยฤทธิ์

ทสอิทธินิทเทส
แสดงฤทธิ์ ๑๐ อย่าง
[๑๐] ฤทธิ์ที่อธิษฐาน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในที่นี้แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้
หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ แสดงให้ปรากฏก็ได้ แสดงให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา
กำแพง ภูเขา ไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลงในแผ่นดินเหมือน
ดำลงในน้ำก็ได้ เดินไปบนน้ำโดยน้ำไม่แยกเหมือนเดินไปบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไป
ในอากาศเหมือนนกบินไปก็ได้ ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มี
อานุภาพมากอย่างนั้นก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้
คำว่า ในที่นี้ อธิบายว่า ในความเห็นนี้ คือ ในความถูกใจนี้ ความพอใจนี้
ความยึดถือนี้ ธรรมนี้ วินัยนี้ ธรรมวินัยนี้ ปาพจน์นี้ พรหมจรรย์นี้ สัตถุศาสน์นี้
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ในที่นี้
คำว่า ภิกษุ อธิบายว่า ภิกษุผู้เป็นกัลยาณปุถุชน เป็นพระเสขะ หรือเป็น
พระอรหันต์ผู้มีธรรมไม่กำเริบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๒. อิทธิกถา
คำว่า แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง อธิบายว่า แสดงฤทธิ์ได้มีประการต่าง ๆ
คำว่า แม้คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ อธิบายว่า ท่านผู้มีฤทธิ์โดย
ปกติเป็นผู้เดียว ย่อมนึกให้เป็นหลายคน คือ นึกให้เป็น ๑๐๐ คน ๑,๐๐๐ คน
๑๐๐,๐๐๐ คน แล้วอธิษฐานด้วยญาณว่า “จงเป็นหลายคน” ก็เป็นหลายคนได้
ท่านผู้มีฤทธิ์ถึงความเป็นผู้ชำนาญแห่งจิต แม้คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้
เปรียบเหมือนท่านพระจุลปันถกรูปเดียวแสดงเป็นหลายรูปก็ได้ ฉะนั้น
คำว่า หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ อธิบายว่า ท่านผู้มีฤทธิ์โดยปกติ
เป็นหลายคน ย่อมนึกให้เป็นคนเดียวแล้วอธิษฐานด้วยญาณว่า “จงเป็นคนเดียว”
ก็เป็นคนเดียวได้ ท่านผู้มีฤทธิ์นั้น ถึงความชำนาญแห่งจิต หลายคนแสดงเป็นคน
เดียวก็ได้ เปรียบเหมือนท่านจุลปันถกหลายรูปแสดงเป็นรูปเดียวก็ได้ ฉะนั้น
[๑๑] คำว่า แสดงให้ปรากฏก็ได้ อธิบายว่า ที่ใคร ๆ ไม่ปิดบังไว้ ทำให้
ไม่มีอะไรปิดบัง ให้เปิดเผยปรากฏก็ได้
คำว่า แสดงให้หายไปก็ได้ อธิบายว่า ที่ใคร ๆ เปิดไว้ ทำให้เป็นที่ปิดบัง
มิดชิดก็ได้
คำว่า ทะลุฝา ทะลุกำแพง ฯลฯ เหมือนไปในอากาศก็ได้ อธิบายว่า
ท่านผู้มีฤทธิ์เป็นผู้ได้อากาสกสิณสมาบัติ โดยปกติย่อมนึกถึงฝา กำแพง ภูเขา แล้ว
อธิษฐานด้วยญาณว่า “จงเป็นที่ว่าง” ก็เป็นที่ว่างได้ ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นย่อมทะลุฝา
กำแพง ภูเขา ไปได้ไม่ติดขัด ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นถึงความชำนาญแห่งจิตย่อมทะลุฝา
กำแพง ภูเขา ไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่แจ้ง เปรียบเหมือนพวกมนุษย์ผู้ไม่มีฤทธิ์
โดยปกติไปในที่ไม่มีอะไรปิดบังกั้นไว้โดยไม่ติดขัด ฉะนั้น
คำว่า ผุดขึ้นดำลงในแผ่นดิน เหมือนเดินไปบนน้ำก็ได้ อธิบายว่า ท่าน
ผู้มีฤทธิ์เป็นผู้ได้อาโปกสิณสมาบัติ โดยปกติย่อมนึกถึงแผ่นดินแล้วอธิษฐานด้วย
ญาณว่า “จงเป็นน้ำ” ก็เป็นน้ำได้ ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นผุดขึ้นดำลงในแผ่นดินก็ได้ ท่าน
ผู้มีฤทธิ์นั้นถึงความชำนาญแห่งจิตผุดขึ้นดำลงในแผ่นดินเหมือนเดินไปบนน้ำก็ได้
เปรียบเหมือนพวกมนุษย์ผู้ไม่มีฤทธิ์โดยปกติผุดขึ้นดำลงในน้ำได้ ฉะนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๒. อิทธิกถา
คำว่า เดินไปบนน้ำ ฯลฯ เหมือนเดินไปบนแผ่นดินก็ได้ อธิบายว่าท่าน
ผู้มีฤทธิ์เป็นผู้ได้ปฐวีกสิณสมาบัติ โดยปกติย่อมนึกถึงน้ำแล้วอธิษฐานด้วยญาณว่า
“จงเป็นแผ่นดิน” ก็เป็นแผ่นดินได้ ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นเดินไปบนน้ำโดยน้ำไม่แยกก็ได้
ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นถึงความชำนาญแห่งจิตเดินไปบนน้ำโดยน้ำไม่แยกเหมือนเดินไป
บนดินก็ได้ เปรียบเหมือนพวกมนุษย์ผู้ไม่มีฤทธิ์โดยปกติเดินไปบนแผ่นดินโดย
แผ่นดินไม่แตก ฉะนั้น
คำว่า เหาะไปในอากาศเหมือนนกบินไปก็ได้ อธิบายว่า ท่านผู้มีฤทธิ์เป็น
ผู้ได้ปฐวีกสิณสมาบัติ โดยปกติย่อมนึกถึงอากาศแล้วอธิษฐานด้วยญาณว่า “จง
เป็นแผ่นดิน” ก็เป็นแผ่นดินได้ ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นเดินบ้าง ยืนบ้าง นั่งบ้าง นอนบ้าง
ในกลางอากาศ ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นถึงความชำนาญแห่งจิต เดินบ้าง ยืนบ้าง นั่งบ้าง
นอนบ้าง ในกลางอากาศเหมือนนกบินไปก็ได้ เปรียบเหมือนพวกมนุษย์ผู้ไม่มีฤทธิ์
โดยปกติเดินบ้าง ยืนบ้าง นั่งบ้าง นอนบ้าง บนแผ่นดิน ฉะนั้น
[๑๒] คำว่า ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพ
มากอย่างนี้ก็ได้ อธิบายว่า ท่านผู้มีฤทธิ์ในศาสนานี้ถึงความชำนาญแห่งจิต นั่งหรือ
นอนก็ตาม นึกถึงดวงจันทร์และดวงอาทิตย์แล้วอธิษฐานด้วยญาณว่า “ดวงจันทร์
และดวงอาทิตย์จงมีในที่ใกล้มือ” ก็มีในที่ใกล้มือได้ ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นนั่งหรือนอน
ก็ตาม ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์และดวงอาทิตย์นี้ ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นถึงความชำนาญ
แห่งจิต นั่งหรือนอนก็ตาม ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์และดวงอาทิตย์นี้ เปรียบ
เหมือนพวกมนุษย์ผู้ไม่มีฤทธิ์โดยปกติย่อมสัมผัสรูปอะไร ๆ ที่ใกล้มือได้ ฉะนั้น
คำว่า ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ อธิบายว่า ท่านผู้มีฤทธิ์
ถึงความชำนาญแห่งจิตนั้น ถ้าประสงค์จะไปยังพรหมโลก ก็อธิษฐานที่ไกลให้เป็นที่
ใกล้ว่า “จงเป็นที่ใกล้” ก็เป็นที่ใกล้ได้ อธิษฐานที่ใกล้ให้เป็นที่ไกลว่า “จงเป็นที่ไกล”
ก็เป็นที่ไกลได้ อธิษฐานของมากให้เป็นของน้อยว่า “จงเป็นของน้อย” ก็เป็นของ
น้อยได้ อธิษฐานของน้อยให้เป็นของมากว่า “จงเป็นของมาก” ก็เป็นของมากได้
ย่อมเห็นรูปพรหมนั้นได้ด้วยทิพพจักขุ ย่อมฟังเสียงพรหมนั้นได้ด้วยทิพพโสตธาตุ
ย่อมรู้จิตของพรหมนั้นได้ด้วยเจโตปริยญาณ ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์ถึงความชำนาญแห่งจิตนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๒. อิทธิกถา
ประสงค์จะไปยังพรหมโลกด้วยกายที่ปรากฏ ก็น้อมจิตอธิษฐานด้วยอำนาจกาย
ครั้นหยั่งลงสู่สุขสัญญาและลหุสัญญาแล้วก็ไปยังพรหมโลกได้ด้วยกายที่ปรากฏอยู่
ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์ถึงความชำนาญแห่งจิตนั้นประสงค์จะไปยังพรหมโลกด้วยกายที่ไม่
ปรากฏ ก็น้อมกายอธิษฐานด้วยอำนาจจิต ครั้นหยั่งลงสู่สุขสัญญาและลหุสัญญา
แล้วก็ไปยังพรหมโลกได้ด้วยกายที่ไม่ปรากฏ ท่านผู้มีฤทธิ์เนรมิตรูปที่สำเร็จด้วยใจ
มีอวัยวะครบทุกส่วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่องไว้ข้างหน้าของพรหมนั้น ถ้าท่านผู้มี
ฤทธิ์เดินอยู่ รูปกายเนรมิตนั้นก็เดินอยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์ยืนอยู่ รูปกาย
เนรมิตก็ยืนอยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์นั่งอยู่ รูปกายเนรมิตก็นั่งอยู่ ณ ที่นั้น
ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์นอนอยู่ รูปกายเนรมิตก็นอนอยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์บังหวน
ควันอยู่ รูปกายเนรมิตก็บังหวนควันอยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์ให้ไฟลุกอยู่ รูป-
กายเนรมิตก็ให้ไฟลุกอยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์กล่าวธรรมอยู่ รูปกายเนรมิต
ก็กล่าวธรรมอยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์ถามปัญหาอยู่ รูปกายเนรมิตก็ถาม
ปัญหาอยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์ถูกรูปกายเนรมิตถามปัญหาก็แก้ปัญหาอยู่ รูป-
กายเนรมิตถูกท่านผู้มีฤทธิ์ถามปัญหาก็แก้ปัญหาอยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์ยืน
สนทนาปราศรัยกับพรหมนั้นอยู่ รูปกายเนรมิตก็ยืนสนทนาปราศรัยกับพรหม
นั้นอยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์ทำกิจใดอยู่ รูปกายเนรมิตก็ทำกิจนั้น ๆ นั่นเอง
นี้ฤทธิที่อธิษฐาน (๑)
[๑๓] ฤทธิ์ที่แสดงได้ต่าง ๆ เป็นอย่างไร
คือ พระเถระชื่ออภิภูเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระนามว่าสิขี สถิตอยู่ในพรหมโลก เปล่งเสียงให้พันโลกธาตุทราบชัด ท่านแสดง
ธรรมด้วยกายที่ปรากฏก็มี ด้วยกายที่ไม่ปรากฏก็มี ด้วยกายครึ่งหนึ่งส่วนล่าง
ปรากฏก็มี ด้วยกายครึ่งหนึ่งส่วนบนไม่ปรากฏก็มี ด้วยกายครึ่งหนึ่งส่วนบนปรากฏ
ก็มี ด้วยกายครึ่งหนึ่งส่วนล่างไม่ปรากฏก็มี ท่านละเพศปกติแล้วแสดงเพศกุมาร
บ้าง แสดงเพศนาคบ้าง แสดงเพศครุฑบ้าง แสดงเพศยักษ์บ้าง แสดงเพศอสูรบ้าง
แสดงเพศพระอินทร์บ้าง แสดงเพศเทวดาบ้าง แสดงเพศพรหมบ้าง แสดงรูปสมุทร
บ้าง แสดงรูปภูเขาบ้าง แสดงรูปป่าบ้าง แสดงรูปราชสีห์บ้าง แสดงรูปเสือโคร่งบ้าง
แสดงรูปเสือเหลืองบ้าง แสดงรูปช้างบ้าง แสดงพลม้าบ้าง แสดงพลรถบ้าง แสดง
พลราบบ้าง แสดงกองทัพตั้งประชิดกันต่าง ๆ บ้าง นี้ฤทธิ์ที่แสดงได้ต่างๆ (๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๒. อิทธิกถา
[๑๔] ฤทธิ์ที่สำเร็จด้วยใจ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในศาสนานี้เนรมิตกายอื่นจากกายนี้มีรูปสำเร็จด้วยใจ มีอวัยวะ
ครบทุกส่วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง เปรียบเหมือนบุรุษชักไส้ออกจากหญ้าปล้อง
เขาพึงมีความหมายรู้อย่างนี้ว่า “นี้หญ้าปล้อง นี้ไส้ หญ้าปล้องเป็นอย่างหนึ่ง ไส้
ก็เป็นอย่างหนึ่ง แต่ไส้ก็ชักออกจากหญ้าปล้องนั่นเอง” อีกประการหนึ่ง บุรุษชัก
ดาบออกจากฝัก เขาพึงมีความหมายรู้อย่างนี้ว่า “นี้ดาบ นี้ฝัก ดาบเป็นอย่างหนึ่ง
ฝักก็เป็นอย่างหนึ่ง แต่ดาบก็ชักออกจากฝักนั่นเอง” อีกประการหนึ่ง บุรุษเอางู
ออกจากกระทอ เขาพึงมีความหมายรู้อย่างนี้ว่า “นี้งู นี้กระทอ งูเป็นอย่างหนึ่ง
กระทอก็เป็นอย่างหนึ่ง แต่งูก็ออกจากกระทอนั่นเอง” ฉันใด ภิกษุนั้นก็ฉันนั้น
เหมือนกัน เนรมิตกายอื่นนอกจากกายนี้มีรูปสำเร็จด้วยใจ มีอวัยวะครบทุกส่วน
มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง นี้ฤทธิ์ที่สำเร็จด้วยใจ (๓)
[๑๕] ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณ เป็นอย่างไร
คือ สภาวะที่ละนิจจสัญญาย่อมสำเร็จได้ด้วยอนิจจานุปัสสนา เพราะเหตุนั้น
จึงเป็นฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณ สภาวะที่ละสุขสัญญาย่อมสำเร็จได้ด้วยทุกขานุปัสสนา
ฯลฯ สภาวะที่ละอัตตสัญญาย่อมสำเร็จได้ด้วยอนัตตานุปัสสนา ฯลฯ สภาวะที่
ละนันทิย่อมสำเร็จได้ด้วยนิพพิทานุปัสสนา ฯลฯ สภาวะที่ละราคะย่อมสำเร็จได้
ด้วยวิราคานุปัสสนา ฯลฯ สภาวะที่ละสมุทัยย่อมสำเร็จได้ด้วยนิโรธานุปัสสนา ฯลฯ
สภาวะที่ละอาทานะย่อมสำเร็จได้ด้วยปฏินิสสัคคานุปัสสนา เพราะเหตุนั้น จึงเป็น
ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณ ท่านพระพากุละ ท่านพระสังกิจจะ ท่านพระภูตปาละมี
ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณ นี้ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณ (๔)
[๑๖] ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ เป็นอย่างไร
คือ สภาวะที่ละนิวรณ์ย่อมสำเร็จได้ด้วยปฐมฌาน เพราะเหตุนั้น จึงเป็น
ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ สภาวะที่ละวิตกวิจารย่อมสำเร็จได้ด้วยทุติยฌาน เพราะ
เหตุนั้น จึงเป็นฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ สภาวะที่ละปีติย่อมสำเร็จได้ด้วยตติยฌาน
ฯลฯ สภาวะที่ละสุขและทุกข์ย่อมสำเร็จได้ด้วยจตุตถฌาน ฯลฯ สภาวะที่ละ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๒. อิทธิกถา
รูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญาย่อมสำเร็จได้ด้วยอากาสานัญจายตน-
สมาบัติ ฯลฯ สภาวะที่ละอากาสานัญจายตนสัญญาย่อมสำเร็จได้ด้วยวิญญาณัญ-
จายตนสมาบัติ ฯลฯ สภาวะที่ละวิญญาณัญจายตนสัญญาย่อมสำเร็จได้ด้วย
อากิญจัญญายตนสมาบัติ ฯลฯ สภาวะที่ละอากิญจัญญายตนสัญญาย่อมสำเร็จได้
ด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ เพราะเหตุนั้น จึงเป็นฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ
ท่านพระสารีบุตรมีฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ ท่านพระสัญชีวะมีฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ
ท่านพระขาณุโกณฑัญญะมีฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ อุตตราอุบาสิกามีฤทธิ์ที่แผ่ไป
ด้วยสมาธิ สามาวดีอุบาสิกามีฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ นี้ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ (๕)
[๑๗] ฤทธิ์ของพระอริยะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในศาสนานี้ ถ้าหวังว่า “เราพึงมีความหมายรู้ในสิ่งที่ปฏิกูลว่า
เป็นสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่” ก็มีความหมายรู้ในสิ่งที่ปฏิกูลนั้นว่าเป็นสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่
ถ้าหวังว่า “เราพึงมีความหมายรู้ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งที่ปฏิกูลอยู่” ก็มีความ
หมายรู้ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลนั้นว่าเป็นสิ่งที่ปฏิกูลอยู่ ถ้าหวังว่า “เราพึงมีความหมายรู้
ในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่” ก็มีความหมายรู้ในสิ่งที่
ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลนั้นว่าเป็นสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่ ถ้าหวังว่า “เราพึงมีความ
หมายรู้ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและในสิ่งที่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งที่ปฏิกูลอยู่” ก็มีความหมายรู้
ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและในสิ่งที่ปฏิกูลนั้นว่าเป็นสิ่งที่ปฏิกูลอยู่ ถ้าหวังว่า “เราพึงเว้น
สิ่งทั้งสองนั้น มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่”
ก็เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลนั้นอยู่
ภิกษุมีความหมายรู้ในสิ่งที่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุแผ่ไปด้วยเมตตา หรือน้อมเข้าไปโดยความเป็นธาตุ ในสิ่งที่ไม่น่า
ปรารถนา ภิกษุมีความหมายรู้ในสิ่งที่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่อย่างนี้
ภิกษุมีความหมายรู้ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งที่ปฏิกูลอยู่ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุแผ่ไปโดยความไม่งาม หรือน้อมไปโดยความไม่เที่ยงในสิ่งที่น่าปรารถนา
ภิกษุมีความหมายรู้ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งที่ปฏิกูลอยู่อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๒. อิทธิกถา ทสอิทธินิทเทส
ภิกษุมีความหมายรู้ในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่
เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุแผ่ไปด้วยเมตตา หรือน้อมเข้าไปโดยความเป็นธาตุในสิ่งที่ไม่น่า
ปรารถนาและน่าปรารถนา ภิกษุมีความหมายรู้ในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลว่า
เป็นสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่อย่างนี้
ภิกษุมีความหมายรู้ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและในสิ่งที่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งที่ปฏิกูลอยู่
เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุแผ่ไปโดยความไม่งาม หรือน้อมเข้าไปโดยความไม่เที่ยง ในสิ่งที่
น่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนา ภิกษุมีความหมายรู้ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและในสิ่งที่
ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งที่ปฏิกูลอยู่อย่างนี้
ภิกษุเว้นสิ่งทั้งสองนั้น มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะในสิ่งที่ปฏิกูลและใน
สิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในศาสนานี้เห็นรูปทางตาแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติ-
สัมปชัญญะ ฟังเสียงทางหู ฯลฯ ดมกลิ่นทางจมูก ฯลฯ ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ
ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ฯลฯ รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้วไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มี
อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ ภิกษุเว้นสิ่งทั้งสองนั้น มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
ในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่อย่างนี้ นี้ฤทธิ์ของพระอริยะ (๖)
[๑๘] ฤทธิ์ที่เกิดจากผลกรรม เป็นอย่างไร
คือ นกทุกชนิด เทวดาทุกจำพวก มนุษย์บางพวก วินิปาติกเปรตบางพวก
มีฤทธิ์เกิดจากผลกรรม นี้ฤทธิ์ที่เกิดจากผลกรรม (๗)
ฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญ เป็นอย่างไร
คือ พระเจ้าจักรพรรดิเสด็จเหาะไปในอากาศพร้อมด้วยจตุรงคินีเสนา๑ ตลอดจน
พวกคนเลี้ยงม้าเป็นที่สุด ฤทธิ์ของโชติยคหบดีผู้มีบุญ ฤทธิ์ของชฏิลคหบดีผู้มีบุญ

เชิงอรรถ :
๑ จตุรงคินีเสนา หมายถึงกองทัพประกอบด้วยองค์ ๔ คือ พลช้าง พลม้า พลรถ และพลเดินเท้า (ขุ.ป.อ.
๒/๑๘/๓๔๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๓. อภิสมยกถา
ฤทธิ์ของเมณฑกคหบดีผู้มีบุญ ฤทธิ์ของโฆสิตคหบดีผู้มีบุญ ฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญ
มาก ๕ คน๑ เป็นฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญ นี้ฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญ (๘)
ฤทธิ์ที่สำเร็จมาจากวิชชา เป็นอย่างไร
คือ พวกวิทยาธรร่ายวิชชาแล้วเหาะไปได้ แสดงพลช้างบ้าง แสดงพลม้าบ้าง
แสดงพลรถบ้าง แสดงพลราบบ้าง แสดงกองทัพตั้งประชิดกันต่าง ๆ บ้าง ใน
กลางอากาศ นี้ฤทธิ์ที่สำเร็จมาจากวิชชา (๙)
ชื่อว่าฤทธิ์เพราะมีสภาวะสำเร็จด้วยการประกอบโดยชอบในส่วนนั้น ๆ
เป็นปัจจัย เป็นอย่างไร
คือ สภาวะที่ละกามฉันทะ ย่อมสำเร็จได้ด้วยเนกขัมมะ เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าฤทธิ์เพราะมีสภาวะสำเร็จด้วยการประกอบโดยชอบในส่วนนั้น ๆ เป็นปัจจัย
สภาวะแห่งการละพยาบาทย่อมสำเร็จได้ด้วยอพยาบาท ฯลฯ สภาวะที่ละ
ถีนมิทธะย่อมสำเร็จได้ด้วยอาโลกสัญญา ฯลฯ สภาวะที่ละกิเลสทั้งปวงย่อม
สำเร็จได้ด้วยอรหัตตมรรค เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฤทธิ์เพราะมีสภาวะสำเร็จด้วย
การประกอบโดยชอบในส่วนนั้น ๆ เป็นปัจจัย ชื่อว่าฤทธิ์เพราะมีสภาวะสำเร็จ
ด้วยการประกอบโดยชอบในส่วนนั้น ๆ เป็นปัจจัยอย่างนี้ (๑๐)
ฤทธิ์ ๑๐ อย่างนี้
ทสอินทธินิทเทส จบ
อิทธิกถา จบ

๓. อภิสมยกถา
ว่าด้วยการตรัสรู้
[๑๙] คำว่า การตรัสรู้ อธิบายว่า ตรัสรู้ด้วยอะไร คือ ตรัสรู้ด้วยจิต
ตรัสรู้ด้วยจิตหรือ ถ้าอย่างนั้น บุคคลผู้ไม่มีญาณ ก็ตรัสรู้ได้ บุคคลผู้ไม่มี
ญาณตรัสรู้ไม่ได้ ตรัสรู้ด้วยญาณ

เชิงอรรถ :
๑ ผู้มีบุญมาก ๕ คน ได้แก่ (๑) เมณฑกเศรษฐี (๒) จันทปทุมาภริยาของเมณฑกเศรษฐี (๓) ธนัญชัยเศรษฐี-
บุตร (๔) สุมนาเทวีลูกสะใภ้ (๕) นายปุณณทาส (ขุ.ป.อ. ๒/๑๘/๓๕๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๓. อภิสมยกถา
ตรัสรู้ด้วยญาณหรือ ถ้าอย่างนั้น บุคคลผู้ไม่มีจิตก็ตรัสรู้ได้ บุคคลผู้ไม่มีจิต
ก็ตรัสรู้ไม่ได้ ตรัสรู้ได้ด้วยจิตและด้วยญาณ
ตรัสรู้ได้ด้วยจิตและญาณหรือ ถ้าอย่างนั้น ก็ตรัสรู้ได้ด้วยกามาวจรจิตและ
ญาณนะซิ ตรัสรู้ด้วยกามาวรจิตและญาณไม่ได้
ถ้าอย่างนั้น ก็ตรัสรู้ได้ด้วยรูปาวจรจิตและญาณนะซิ ตรัสรู้ด้วยรูปาวจรจิต
และญาณไม่ได้
ถ้าอย่างนั้น ก็ตรัสรู้ได้ด้วยอรูปาวจรจิตและญาณนะซิ ตรัสรู้ด้วยอรูปาวจรจิต
และญาณไม่ได้
ถ้าอย่างนั้น ก็ตรัสรู้ได้ด้วยกัมมัสสกตาจิตและญาณนะซิ ตรัสรู้ด้วยกัมมัสส-
กตาจิตและญาณไม่ได้
ถ้าอย่างนั้น ก็ตรัสรู้ได้ด้วยสัจจานุโลมิกจิตและญาณนะซิ ตรัสรู้ด้วยสัจจานุ-
โลมิกจิตและญาณไม่ได้
ถ้าอย่างนั้น ก็ตรัสรู้ได้ด้วยจิตที่เป็นอดีตและญาณนะซิ ตรัสรู้ด้วยจิตที่เป็น
อดีตและญาณไม่ได้
ถ้าอย่างนั้น ก็ตรัสรู้ได้ด้วยจิตที่เป็นอนาคตและญาณนะซิ ตรัสรู้ด้วยจิตที่
เป็นอนาคตและญาณไม่ได้
ถ้าอย่างนั้น ก็ตรัสรู้ได้ด้วยโลกียจิตที่เป็นปัจจุบันและญาณนะซิ ตรัสรู้ด้วย
โลกียจิตที่เป็นปัจจุบันและญาณไม่ได้ (แต่)ตรัสรู้ได้ด้วยจิตที่เป็นปัจจุบันและญาณใน
ขณะแห่งโลกุตตรมรรค
ตรัสรู้ได้ด้วยจิตที่เป็นปัจจุบันและญาณในขณะแห่งโลกุตตรมรรค เป็นอย่างไร
คือ ในขณะแห่งโลกุตตรมรรค จิตเป็นใหญ่ในการให้เกิดขึ้นและเป็นเหตุเป็น
ปัจจัยแห่งญาณ๑ จิตที่สัมปยุตด้วยญาณนั้นมีนิโรธเป็นโคจร๒ ญาณเป็นใหญ่ในการ

เชิงอรรถ :
๑ ญาณ ในที่นี้หมายถึงมัคคญาณ (ขุ.ป.อ. ๒/๑๙/๓๕๓)
๒ มีนิโรธเป็นโคจร หมายถึงมีนิพพานเป็นอารมณ์ (ขุ.ป.อ. ๒/๑๙/๓๕๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๓. อภิสมยกถา
เห็นและเป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งจิต ญาณที่สัมปยุตด้วยจิตนั้นมีนิโรธเป็นโคจร ย่อม
ตรัสรู้ด้วยจิตที่เป็นปัจจุบัน และด้วยญาณในขณะแห่งโลกุตตรมรรคอย่างนี้
[๒๐] ถาม : การตรัสรู้มีเท่านี้หรือ
ตอบ : ไม่ใช่มีเท่านี้ ในขณะแห่งโลกุตตรมรรค การตรัสรู้คือความเห็น
ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ การตรัสรู้คือความตรึกตรอง ชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ การตรัสรู้คือ
การกำหนด ชื่อว่าสัมมาวาจา การตรัสรู้คือสมุฏฐาน ชื่อว่าสัมมากัมมันตะ การ
ตรัสรู้คือความผ่องแผ้ว ชื่อว่าสัมมาอาชีวะ การตรัสรู้คือความตั้งมั่น ชื่อว่าสัมมาสติ
การตรัสรู้คือความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าสัมมาสมาธิ
การตรัสรู้คือความตั้งมั่น ชื่อว่าสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ การตรัสรู้คือ
การพิจารณา ชื่อว่าอุเบกขาสัมโพชฌงค์
การตรัสรู้คือความไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธา ชื่อว่าสัทธาพละ การ
ตรัสรู้คือความไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน ชื่อว่าวิริยพละ การตรัสรู้คือ
ความไม่หวั่นไหวเพราะความประมาท ชื่อว่าสติพละ การตรัสรู้คือความไม่หวั่นไหว
เพราะอุทธัจจะ ชื่อว่าสมาธิพละ การตรัสรู้คือความไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา ชื่อว่า
ปัญญาพละ
การตรัสรู้คือความน้อมใจเชื่อ ชื่อว่าสัทธินทรีย์ การตรัสรู้คือการประคองไว้
ชื่อว่าวิริยินทรีย์ การตรัสรู้คือความตั้งมั่น ชื่อว่าสตินทรีย์ การตรัสรู้คือความ
ไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าสมาธินทรีย์ การตรัสรู้คือความเห็น ชื่อว่าปัญญินทรีย์
การตรัสรู้ที่ชื่อว่าอินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ การตรัสรู้ที่ชื่อว่าพละ
เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหว การตรัสรู้ที่ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะนำออก
การตรัสรู้ที่ชื่อว่ามรรค เพราะมีสภาวะเป็นเหตุ การตรัสรู้ที่ชื่อว่าสติปัฏฐาน
เพราะมีสภาวะตั้งมั่น การตรัสรู้ที่ชื่อว่าสัมมัปปธาน เพราะมีสภาวะดำรงไว้ การ
ตรัสรู้ที่ชื่อว่าอิทธิบาท เพราะมีสภาวะให้สำเร็จ การตรัสรู้ที่ชื่อว่าสัจจะ เพราะมี
สภาวะเป็นของแท้ การตรัสรู้ที่ชื่อว่าสมถะ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน การตรัสรู้ที่
ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น การตรัสรู้ที่ชื่อว่าสมถะและวิปัสสนา
เพราะมีสภาวะมีรสเป็นอย่างเดียวกัน การตรัสรู้ที่ชื่อว่าธรรมที่เป็นคู่กัน เพราะมี
สภาวะไม่ล่วงเลยกัน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๗๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๓. อภิสมยกถา
การตรัสรู้ที่ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีสภาวะสำรวม การตรัสรู้ที่ชื่อว่าจิตต-
วิสุทธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน การตรัสรู้ที่ชื่อว่าทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น การ
ตรัสรู้ที่ชื่อว่าอธิโมกข์ เพราะมีสภาวะหลุดพ้น การตรัสรู้ที่ชื่อว่าวิชชา๑ เพราะมี
สภาวะรู้แจ้ง การตรัสรู้ที่ชื่อว่าวิมุตติ๒ เพราะมีสภาวะสละ การตรัสรู้ที่ชื่อว่าญาณ
ในความสิ้นไป เพราะมีสภาวะตัดขาด การตรัสรู้ที่ชื่อว่าฉันทะ เพราะมีสภาวะเป็น
มูลเหตุ การตรัสรู้ที่ชื่อว่ามนสิการ เพราะมีสภาวะเป็นสมุฏฐาน การตรัสรู้ที่ชื่อว่า
ผัสสะ เพราะมีสภาวะเป็นที่รวม การตรัสรู้ที่ชื่อว่าเวทนา เพราะมีสภาวะเป็นที่
ประชุม การตรัสรู้ที่ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีสภาวะเป็นประธาน การตรัสรู้ที่ชื่อว่าสติ
เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ การตรัสรู้ที่ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะเป็นธรรมที่ยิ่ง
กว่าธรรมนั้น การตรัสรู้ที่ชื่อว่าวิมุตติ เพราะมีสภาวะเป็นแก่นสาร การตรัสรู้ที่ชื่อว่า
ธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เพราะมีสภาวะเป็นที่สุด
[๒๑] ถาม : การตรัสรู้มีเท่านี้หรือ
ตอบ : ไม่ใช่มีเท่านี้ ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค การตรัสรู้คือความเห็น
ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ การตรัสรู้ที่ชื่อว่าธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เพราะ
มีสภาวะเป็นที่สุด
ถาม : การตรัสรู้มีเท่านี้หรือ
ตอบ : ไม่ใช่มีเท่านี้ ในขณะแห่งโสดาปัตติผล การตรัสรู้คือความเห็น ชื่อว่า
สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ การตรัสรู้ที่ชื่อว่าอนุปปาทญาณ เพราะมีสภาวะระงับ การ
ตรัสรู้ที่ชื่อว่าฉันทะ เพราะมีสภาวะเป็นมูล ฯลฯ การตรัสรู้ที่ชื่อว่าธรรมที่หยั่งลงสู่
อมตะคือนิพพาน เพราะมีสภาวะเป็นที่สุด
ถาม : การตรัสรู้มีเท่านี้หรือ
ตอบ : ไม่ใช่มีเท่านี้ ในขณะแห่งสกทาคามิมรรค ฯลฯ ในขณะแห่งสกทา-
คามิผล ฯลฯ ในขณะแห่งอนาคามิมรรค ฯลฯ ในขณะแห่งอนาคามิผล ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ วิชชา ในที่นี้หมายถึงมัคคญาณ (ขุ.ป.อ. ๒/๒๐/๓๕๔)
๒ วิมุตติ ในที่นี้หมายถึงสมุจเฉทวิมุตติ (ขุ.ป.อ. ๒/๒๐/๓๕๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๓. อภิสมยกถา
ในขณะแห่งอรหัตตมรรค ฯลฯ ในขณะแห่งอรหัตตผล การตรัสรู้คือความเห็น
ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ การตรัสรู้คือความตรึกตรอง ชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ ฯลฯ การตรัสรู้
ที่ชื่อว่าอนุปปาทญาณ เพราะมีสภาวะระงับ การตรัสรู้ที่ชื่อว่าฉันทะ เพราะมี
สภาวะเป็นมูล ฯลฯ การตรัสรู้ที่ชื่อว่าธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เพราะมี
สภาวะเป็นที่สุด
บุคคลนี้นั้นย่อมละกิเลสได้ คือ ละกิเลสที่เป็นอดีตได้ ละกิเลสที่เป็น
อนาคตได้ (และ) ละกิเลสที่เป็นปัจจุบันได้
คำว่า ละกิเลสที่เป็นอดีตได้ อธิบายว่า บุคคลละกิเลสที่เป็นอดีตได้หรือ
ถ้าอย่างนั้น บุคคลนั้นก็ทำกิเลสที่สิ้นแล้วให้สิ้นไป ทำกิเลสที่ดับแล้วให้ดับไป ทำ
กิเลสที่ปราศจากแล้วให้ปราศจากไป ทำกิเลสที่หมดแล้วให้หมดไป ละกิเลสที่เป็น
อดีตซึ่งไม่มีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้นชื่อว่าละกิเลสที่เป็นอดีตไม่ได้
คำว่า ละกิเลสที่เป็นอนาคตได้ อธิบายว่า บุคคลละกิเลสที่เป็นอนาคตได้
หรือ ถ้าอย่างนั้น บุคคลนั้นก็ละกิเลสที่ยังไม่เกิด ละกิเลสที่ยังไม่บังเกิด ละกิเลสที่
ยังไม่เกิดขึ้น ละกิเลสที่ยังไม่ปรากฏ ละกิเลสที่เป็นอนาคตซึ่งไม่มีอยู่ เพราะเหตุนั้น
บุคคลนั้นชื่อว่าละกิเลสที่เป็นอนาคตไม่ได้
คำว่า ละกิเลสที่เป็นปัจจุบันได้ อธิบายว่า บุคคลละกิเลสที่เป็นปัจจุบันได้
หรือ ถ้าอย่างนั้น บุคคลผู้กำหนัดก็ละราคะได้ ผู้ขัดเคืองก็ละโทสะได้ ผู้หลงก็ละ
โมหะได้ ผู้มีมานะผูกพันก็ละมานะได้ ผู้ถือทิฏฐิผิดก็ละทิฏฐิได้ ผู้ถึงความฟุ้งซ่าน
ก็ละอุทธัจจะได้ ผู้ลังเลไม่แน่ใจก็ละวิจิกิจฉาได้ ผู้มีเรี่ยวแรงก็ละอนุสัยได้ ธรรมฝ่าย
ดำและธรรมฝ่ายขาว๑เป็นธรรมคู่กันเป็นไปด้วยกัน มัคคภาวนาที่มีความหม่นหมอง
ด้วยกิเลสนั้นจึงมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้นชื่อว่าละกิเลสที่เป็นอดีตไม่ได้ ละ
กิเลสที่เป็นอนาคตไม่ได้ (และ)ละกิเลสที่เป็นปัจจุบันไม่ได้
บุคคลละกิเลสที่เป็นอดีตไม่ได้ ละกิเลสที่เป็นอนาคตไม่ได้ (และ)ละกิเลสที่
เป็นปัจจุบันไม่ได้หรือ ถ้าอย่างนั้น มัคคภาวนาก็ไม่มี การทำผลให้แจ้งก็ไม่มี การ

เชิงอรรถ :
๑ ธรรมฝ่ายดำ หมายถึงอกุศลธรรม ธรรมฝ่ายขาว หมายถึงกุศลธรรม (ขุ.ป.อ. ๒/๒๑/๓๕๔-๓๕๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๔. วิเวกกถา
ละกิเลสก็ไม่มี ธรรมาภิสมัยก็ไม่มี มัคคภาวนามีอยู่ การทำผลให้แจ้งก็มีอยู่ การ
ละกิเลสก็มีอยู่ ธรรมาภิสมัยก็มีอยู่ เหมือนอะไร เหมือนต้นไม้กำลังรุ่นยังไม่เกิดผล
บุรุษพึงตัดต้นไม้นั้นที่ราก ผลที่ยังไม่เกิดของต้นไม้นั้นก็เกิดไม่ได้ ที่ยังไม่บังเกิดก็
บังเกิดไม่ได้ ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้นไม่ได้ ที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏไม่ได้
ความเกิดขึ้นเป็นเหตุ ความเกิดขึ้นเป็นปัจจัยแห่งความบังเกิดของกิเลส
ทั้งหลาย จิตเห็นโทษในความเกิดขึ้นแล้วจึงแล่นไปในนิพพานซึ่งไม่มีความเกิดขึ้น
เพราะจิตแล่นไปในนิพพานซึ่งไม่มีความเกิดขึ้น กิเลสที่พึงบังเกิดเพราะความเกิด
ขึ้นเป็นปัจจัย ที่ยังไม่เกิดก็เกิดไม่ได้ ที่ยังไม่บังเกิดก็บังเกิดไม่ได้ ที่ยังไม่เกิดขึ้น
ก็เกิดขึ้นไม่ได้ ที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏไม่ได้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุดับ
ทุกข์จึงดับด้วยประการฉะนี้
ความเป็นไปเป็นเหตุ ...
นิมิตเป็นเหตุ ...
กรรมเป็นเครื่องประมวลมาเป็นเหตุ กรรมเป็นเครื่องประมวลมาเป็นปัจจัย
แห่งความบังเกิดของกิเลสทั้งหลาย จิตเห็นโทษในกรรมเป็นเครื่องประมวลมาแล้ว
จึงแล่นไปในนิพพานซึ่งไม่มีกรรมเป็นเครื่องประมวลมา เพราะจิตแล่นไปในนิพพาน
ซึ่งไม่มีกรรมเป็นเครื่องประมวลมา กิเลสที่พึงบังเกิดเพราะกรรมเป็นเครื่องประมวล
มาเป็นปัจจัย ที่ยังไม่เกิดก็เกิดไม่ได้ ที่ยังไม่บังเกิดก็บังเกิดไม่ได้ ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็
เกิดขึ้นไม่ได้ ที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏไม่ได้ เพราะเหตุดับ ทุกข์จึงดับด้วยประการฉะนี้
มัคคภาวนาจึงมีอยู่ การทำผลให้แจ้งก็มีอยู่ การละกิเลสก็มีอยู่ ธรรมาภิสมัยก็มี
อยู่ด้วยประการฉะนี้
อภิสมยกถา จบ

๔. วิเวกกถา
ว่าด้วยวิเวก
[๒๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุทั้งหลาย การงานที่ต้องทำด้วยกำลังอย่างใดอย่างหนึ่ง การงานนั้น
ทั้งหมดบุคคลต้องอาศัยแผ่นดิน ดำรงอยู่บนแผ่นดิน จึงทำกันได้ การงานที่ต้อง

 


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๔. วิเวกกถา
ทำด้วยกำลังนี้ บุคคลย่อมทำได้ด้วยอาการอย่างนี้ แม้ฉันใด ภิกษุอาศัยศีล๑
ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญ ทำให้มากซึ่งอริยมรรคมีองค์ ๘ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ภิกษุอาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญ ทำให้มากซึ่งอริยมรรคมีองค์ ๘
เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสัมมาทิฏฐิที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ (ความสละ) เจริญสัมมาสังกัปปะ ฯลฯ เจริญสัมมาวาจา ฯลฯ
เจริญสัมมากัมมันตะ ฯลฯ เจริญสัมมาอาชีวะ ฯลฯ เจริญสัมมาวายามะ ฯลฯ
เจริญสัมมาสติ ฯลฯ เจริญสัมมาสมาธิที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ ภิกษุอาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญ ทำให้มากซึ่งอริย-
มรรคมีองค์ ๘ ได้อย่างนี้
[๒๓] ภิกษุทั้งหลาย พืชคามและภูตคาม๒เหล่าใดเหล่าหนึ่ง พืชคามและ
ภูตคามเหล่านั้นทั้งหมดอาศัยแผ่นดิน ดำรงอยู่บนแผ่นดิน จึงถึงความเจริญ
งอกงามไพบูลย์ได้ พืชคามและภูตคามเหล่านี้ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ด้วย
ประการฉะนี้ แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน อาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญ
ทำให้มากซึ่งอริยมรรคมีองค์ ๘ ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย
ด้วยประการฉะนี้
ภิกษุอาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญ ทำให้มากซึ่งอริยมรรคมีองค์ ๘
ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสัมมาทิฏฐิที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
นิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ เจริญสัมมาสังกัปปะ ฯลฯ เจริญสัมมาวาจา ฯลฯ
เจริญสัมมากัมมันตะ ฯลฯ เจริญสัมมาอาชีวะ ฯลฯ เจริญสัมมาวายามะ ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ศีล ในที่นี้หมายถึงจตุปาริสุทธิศีล ๔ (คือ ปาฏิโมกขสังวรศีล อินทริยสังวรศีล อาชีวปาริสุทธิศีล และ
ปัจจยสันนิสสิตศีล) (ขุ.ป.อ. ๒/๒๒/๓๕๗)
๒ พืชคาม หมายถึงพืช ๕ อย่าง คือ พืชจากราก พืชจากต้น พืชจากยอด พืชจากข้อ และพืชจากพืช
ภูตคาม หมายถึงเริ่มตั้งแต่หน่อเขียวสมบูรณ์ (ขุ.ป.อ. ๒/๒๓/๓๕๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๔. วิเวกกถา ๑. มัคคังคนิทเทส
เจริญสัมมาสติ ฯลฯ เจริญสัมมาสมาธิที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ ภิกษุอาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญ ทำให้มากซึ่งอริยมรรค
มีองค์ ๘ ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลายอย่างนี้แล

๑. มัคคังคนิทเทส
แสดงองค์แห่งมรรค
[๒๔] สัมมาทิฏฐิมีวิเวก ๕ มีวิราคะ ๕ มีนิโรธ ๕ มีโวสสัคคะ ๕ มีนิสสัย ๑๒๑
สัมมาสังกัปปะ ฯลฯ
สัมมาวาจา ฯลฯ
สัมมากัมมันตะ ฯลฯ
สัมมาอาชีวะ ฯลฯ
สัมมาวายามะ ฯลฯ
สัมมาสติ ฯลฯ
สัมมาสมาธิมีวิเวก ๕ มีวิราคะ ๕ มีนิโรธ ๕ มีโวสสัคคะ ๕ มีนิสสัย ๑๒
สัมมาทิฏฐิมีวิเวก ๕ อะไรบ้าง คือ
๑. วิกขัมภนวิเวก (สงัดด้วยข่มไว้)
๒. ตทังควิเวก (สงัดด้วยองค์นั้น ๆ)
๓. สมุจเฉทวิเวก (สงัดด้วยตัดขาด)
๔. ปฏิปัสสัทธิวิเวก (สงัดด้วยสงบระงับ)
๕. นิสสรณวิเวก (สงัดด้วยสลัดออกได้)
วิเวกในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญปฐมฌาน วิเวกในการละทิฏฐิด้วยองค์
นั้น ๆ ของภิกษุผู้เจริญสมาธิที่เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส สมุจเฉทวิเวกของภิกษุ
ผู้เจริญโลกุตตรมรรคที่ให้ถึงความสิ้นไป ปฏิปัสสัทธิวิเวกในขณะแห่งผลและ

เชิงอรรถ :
๑ นิสสัย ๑๒ ได้แก่ ในวิเวกมีนิสสัย ๓ วิราคะมีนิสสัย ๓ นิโรธมินิสสัย ๓ โวสสัคคะมีนิสสัย ๓ (๓ คูณ ๔
เป็น ๑๒) (ขุ.ป.อ. ๒/๒๔/๓๕๘-๓๕๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๔. วิเวกกถา ๑. มัคคังคนิทเทส
นิสสรณวิเวกที่เป็นความดับคือนิพพาน สัมมาทิฏฐิมีวิเวก ๕ นี้ ภิกษุเกิดฉันทะ
น้อมไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่น๑ด้วยดีในวิเวก ๕ นี้
สัมมาทิฏฐิมีวิราคะ ๕ อะไรบ้าง คือ
๑. วิกขัมภนวิราคะ (คลายกำหนัดด้วยข่มไว้)
๒. ตทังควิราคะ (คลายกำหนัดด้วยองค์นั้น ๆ)
๓. สมุจเฉทวิราคะ (คลายกำหนัดด้วยตัดขาด)
๔. ปฏิปัสสัทธิวิราคะ (คลายกำหนัดด้วยสงบระงับ)
๕. นิสสรณวิราคะ (คลายกำหนัดด้วยสลัดออกได้)
วิราคะในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญปฐมฌาน วิราคะในการละทิฏฐิด้วย
องค์นั้น ๆ ของภิกษุผู้เจริญสมาธิที่เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส สมุจเฉทวิราคะ
ของภิกษุผู้เจริญโลกุตตรมรรคที่ให้ถึงความสิ้นไป ปฏิปัสสัทธิวิราคะในขณะแห่งผล
และนิสสรณวิราคะที่เป็นความดับคือนิพพาน สัมมาทิฏฐิมีวิราคะ ๕ นี้ ภิกษุเกิด
ฉันทะ น้อมไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดีในวิราคะ ๕ นี้
สัมมาทิฏฐิมีนิโรธ ๕ อะไรบ้าง คือ
๑. วิกขัมภนนิโรธ (ดับด้วยข่มไว้)
๒. ตทังคนิโรธ (ดับด้วยองค์นั้น ๆ)
๓. สมุจเฉทนิโรธ (ดับด้วยตัดขาด)
๔. ปฏิปัสสัทธินิโรธ (ดับด้วยสงบระงับ)
๕. นิสสรณนิโรธ (ดับด้วยสลัดออกได้)
นิโรธในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญปฐมฌาน นิโรธในการละทิฏฐิด้วยองค์
นั้น ๆ ของภิกษุผู้เจริญสมาธิที่เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส สมุจเฉทนิโรธของภิกษุ
ผู้เจริญโลกุตตรมรรคที่ให้ถึงความสิ้นไป ปฏิปัสสัทธินิโรธในขณะแห่งผลและนิสสรณ-
นิโรธที่เป็นความดับคืออมตธาตุ สัมมาทิฏฐิมีนิโรธ ๕ นี้ ภิกษุเกิดฉันทะ น้อมไป
ด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดีในนิโรธ ๕ นี้

เชิงอรรถ :
๑ ฉันทะ ศรัทธา และจิต ในที่นี้ชื่อว่า นิสสัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๔. วิเวกกถา ๑. มัคคังคนิทเทส
สัมมาทิฏฐิมีโวสสัคคะ ๕ อะไรบ้าง คือ
๑. วิกขัมภนโวสสัคคะ (สละด้วยข่มไว้)
๒. ตทังคโวสสัคคะ (สละด้วยองค์นั้น ๆ)
๓. สมุจเฉทโวสสัคคะ (สละด้วยตัดขาด)
๔. ปฏิปัสสัทธิโวสสัคคะ (สละด้วยสงบระงับ)
๕. นิสสรณโวสสัคคะ (สละด้วยสลัดออกได้)
โวสสัคคะในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญปฐมฌาน โวสสัคคะในการละทิฏฐิ
ด้วยองค์นั้น ๆ ของภิกษุผู้เจริญสมาธิที่เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส สมุจเฉทโวสสัคคะ
ของภิกษุผู้เจริญโลกุตตรมรรคที่ให้ถึงความสิ้นไป ปฏิปัสสัทธิโวสสัคคะในขณะแห่งผล
และนิสสรณโวสสัคคะที่เป็นความดับคือนิพพาน สัมมาทิฏฐิมีโวสสัคคะ ๕ นี้ ภิกษุ
เกิดฉันทะ น้อมไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดีในโวสสัคคะ ๕ นี้
สัมมาทิฏฐิ มีวิเวก ๕ มีวิราคะ ๕ มีนิโรธ ๕ มีโวสสัคคะ ๕ มีนิสสัย
๑๒ นี้
[๒๕] สัมมาสังกัปปะ ฯลฯ สัมมาวาจา ฯลฯ สัมมากัมมันตะ ฯลฯ
สัมมาอาชีวะ ฯลฯ สัมมาวายามะ ฯลฯ สัมมาสติ ฯลฯ
สัมมาสมาธิมีวิเวก ๕ อะไรบ้าง คือ
๑. วิกขัมภนวิเวก ๒. ตทังควิเวก
๓. สมุจเฉทวิเวก ๔. ปฏิปัสสัทธิวิเวก
๕. นิสสรณวิเวก
วิเวกในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญปฐมฌาน วิเวกในการละทิฏฐิด้วยองค์
นั้น ๆ ของภิกษุผู้เจริญสมาธิที่เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส สมุจเฉทวิเวกของ
ภิกษุผู้เจริญโลกุตตรมรรคที่ให้ถึงความสิ้นไป ปฏิปัสสัทธิวิเวกในขณะแห่งผลและ
นิสสรณวิเวกที่เป็นความดับคือนิพพาน สัมมาสมาธิมีวิเวก ๕ นี้ ภิกษุเกิดฉันทะ
น้อมไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดีในวิเวก ๕ นี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๔. วิเวกกถา ๑. มัคคังคนิทเทส
สัมมาสมาธิมีวิราคะ ๕ อะไรบ้าง คือ
๑. วิกขัมภนวิราคะ ๒. ตทังควิราคะ
๓. สมุจเฉทวิราคะ ๔. ปฏิปัสสัทธิวิราคะ
๕. นิสสรณวิราคะ
วิราคะในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญปฐมฌาน วิราคะในการละทิฏฐิด้วย
องค์นั้น ๆ ของภิกษุผู้เจริญสมาธิที่เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส สมุจเฉทวิราคะ
ของภิกษุผู้เจริญโลกุตตรมรรคที่ให้ถึงความสิ้นไป ปฏิปัสสัทธิวิราคะในขณะผลและ
นิสสรณวิราคะที่เป็นความดับคือนิพพาน สัมมาสมาธิมีวิราคะ ๕ นี้ ภิกษุเกิดฉันทะ
น้อมไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดีในวิราคะ ๕ นี้
สัมมาสมาธิมีนิโรธ ๕ อะไรบ้าง คือ
๑. วิกขัมภนนิโรธ ๒. ตทังคนิโรธ
๓. สมุจเฉทนิโรธ ๔. ปฏิปัสสัทธินิโรธ
๕. นิสสรณนิโรธ
นิโรธในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญปฐมฌาน นิโรธในการละทิฏฐิด้วยองค์
นั้น ๆ ของภิกษุผู้เจริญสมาธิที่เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส สมุจเฉทนิโรธของภิกษุ
ผู้เจริญโลกุตตรมรรคที่ให้ถึงความสิ้นไป ปฏิปัสสัทธินิโรธในขณะผลและนิสสรณ-
นิโรธที่เป็นความดับคืออมตธาตุ สัมมาสมาธิมีนิโรธ ๕ นี้ ภิกษุเกิดฉันทะ น้อมไป
ด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดีในนิโรธ ๕ นี้
สัมมาสมาธิมีโวสสัคคะ ๕ อะไรบ้าง คือ
๑. วิกขัมภนโวสสัคคะ ๒. ตทังคโวสสัคคะ
๓. สมุจเฉทโวสสัคคะ ๔. ปฏิปัสสัทธิโวสสัคคะ
๕. นิสสรณโวสสัคคะ
โวสสัคคะในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญปฐมฌาน โวสสัคคะในการละทิฏฐิ
ด้วยองค์นั้น ๆ ของภิกษุผู้เจริญสมาธิที่เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส สมุจเฉท-
โวสสัคคะของภิกษุผู้เจริญโลกุตตรมรรคที่ให้ถึงความสิ้นไป ปฏิปัสสัทธิโวสสัคคะใน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๔. วิเวกกถา ๑. มัคคังคนิทเทส
ขณะผลและนิสสรณโวสสัคคะที่เป็นความดับคือนิพพาน สัมมาสมาธิมีโวสสัคคะ ๕
นี้ ภิกษุเกิดฉันทะ น้อมไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดีในโวสสัคคัคะ ๕ นี้
สัมมาสมาธิมีวิเวก ๕ มีวิราคะ ๕ มีนิโรธ ๕ มีโวสสัคคะ ๕ มีนิสสัย
๑๒ นี้
[๒๖] ภิกษุทั้งหลาย การงานที่ต้องทำด้วยกำลังอย่างใดอย่างหนึ่ง การงาน
นั้นทั้งหมด บุคคลต้องอาศัยแผ่นดิน ดำรงอยู่บนแผ่นดิน จึงทำได้ การงานที่ต้อง
ทำด้วยกำลังนี้บุคคลย่อมทำได้ด้วยประการฉะนี้ แม้ฉันใด ภิกษุอาศัยศีล ดำรงอยู่
ในศีลแล้ว เจริญ ทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ ภิกษุผู้เจริญ
ทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย ฯลฯ
ภิกษุผู้เจริญ ทำให้มากซึ่งพละ ๕ ฯลฯ ภิกษุผู้เจริญ ทำให้มากซึ่งพละ ๕ ย่อม
ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย ฯลฯ ภิกษุผู้เจริญ ทำให้มากซึ่ง
อินทรีย์ ๕ ฯลฯ
พืชคามและภูตคามเหล่าใดเหล่าหนึ่ง พืชคามและภูตคามเหล่านั้นทั้งหมด
อาศัยแผ่นดิน ดำรงอยู่บนแผ่นดิน จึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ได้ พืชคาม
และภูตคามเหล่านั้นย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ด้วยประการฉะนี้ แม้ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน อาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญ ทำให้มากซึ่งอินทรีย์ ๕
ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย
ภิกษุอาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญ ทำให้มากซึ่งอินทรีย์ ๕ ย่อม
ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัย
เจริญสัทธินทรีย์ที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
เจริญวิริยินทรีย์ ฯลฯ
เจริญสตินทรีย์ ฯลฯ
เจริญสมาธินทรีย์ ฯลฯ
เจริญปัญญินทรีย์ที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
ภิกษุอาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญ ทำให้มากซึ่งอินทรีย์ ๕ ย่อมถึง
ความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย อย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๔. วิเวกกถา ๒. อินทริยนิทเทส
๒. อินทริยนิทเทส
แสดงอินทรีย์
[๒๗] สัทธินทรีย์มีวิเวก ๕ มีวิราคะ ๕ มีนิโรธ ๕ มีโวสสัคคะ ๕ มีนิสสัย ๑๒
วิริยินทรีย์ ฯลฯ
สตินทรีย์ ฯลฯ
สมาธินทรีย์ ฯลฯ
ปัญญินทรีย์มีวิเวก ๕ มีวิราคะ ๕ มีนิโรธ ๕ มีโวสสัคคะ ๕ มีนิสสัย ๑๒
สัทธินทรีย์มีวิเวก ๕ อะไรบ้าง คือ
๑. วิกขัมภนวิเวก ๒. ตทังควิเวก
๓. สมุจเฉทวิเวก ๔. ปฏิปัสสัทธิวิเวก
๕. นิสสรณวิเวก
วิเวกในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญปฐมฌาน วิเวกในการละทิฏฐิด้วยองค์
นั้น ๆ ของภิกษุผู้เจริญสมาธิที่เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส สมุจเฉทวิเวกของภิกษุผู้
เจริญโลกุตตรมรรคที่ให้ถึงความสิ้นไป ปฏิปัสสัทธิวิเวกในขณะผลและนิสสรณ-
วิเวกที่เป็นความดับคือนิพพาน สัทธินทรีย์มีวิเวก ๕ นี้ ภิกษุเกิดฉันทะ น้อมไป
ด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดีในวิเวก ๕ นี้ ฯลฯ
สัทธินทรีย์มีวิเวก ๕ มีวิราคะ ๕ มีนิโรธ ๕ มีโวสสัคคะ ๕ มีนิสสัย ๑๒ อย่างนี้แล
วิริยินทรีย์ ฯลฯ
สตินทรีย์ ฯลฯ
สมาธินทรีย์ ฯลฯ
ปัญญินทรีย์มีวิเวก ๕ อะไรบ้าง คือ
๑. วิกขัมภนวิเวก ๒. ตทังควิเวก
๓. สมุจเฉทวิเวก ๔. ปฏิปัสสัทธิวิเวก
๕. นิสสรณวิเวก
วิเวกในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญปฐมฌาน ฯลฯ
ปัญญินทรีย์มีวิเวก ๕ มีวิราคะ ๕ มีนิโรธ ๕ มีโวสสัคคะ ๕ มีนิสสัย ๑๒ อย่างนี้แล
วิเวกกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๕. จริยากถา
๕. จริยากถา
ว่าด้วยความประพฤติ
[๒๘] คำว่า ความประพฤติ อธิบายว่า ความประพฤติ ๘ อย่าง ได้แก่

๑. ความประพฤติในอิริยาบถ ๒. ความประพฤติในอายตนะ
๓. ความประพฤติในสติ ๔. ความประพฤติในสมาธิ
๕. ความประพฤติในญาณ ๖. ความประพฤติในมรรค
๗. ความประพฤติในผล ๘. ความประพฤติเพื่อประโยชน์แก่โลก

คำว่า ความประพฤติในอิริยาบถ ได้แก่ ความประพฤติในอิริยาบถ ๔
คำว่า ความประพฤติในอายตนะ ได้แก่ ความประพฤติในอายตนะภายใน
และอายตนะภายนอกอย่างละ ๖
คำว่า ความประพฤติในสติ ได้แก่ ความประพฤติในสติปัฏฐาน ๔
คำว่า ความประพฤติในสมาธิ ได้แก่ ความประพฤติในฌาน ๔
คำว่า ความประพฤติในญาณ ได้แก่ ความประพฤติในอริยสัจ ๔
คำว่า ความประพฤติในมรรค ได้แก่ ความประพฤติในอริยมรรค ๔
คำว่า ความประพฤติในผล ได้แก่ ความประพฤติในสามัญญผล ๔
คำว่า ความประพฤติเพื่อประโยชน์แก่โลก ได้แก่ ความประพฤติใน
พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ความประพฤติในพระปัจเจกพุทธเจ้าบางส่วน
ความประพฤติในพระสาวกบางส่วน
ความประพฤติในอิริยาบถมีแก่ผู้ตั้งตนไว้ชอบ ความประพฤติในอายตนะมี
แก่ผู้สำรวมอินทรีย์ ความประพฤติในสติมีแก่ผู้ที่อยู่ด้วยความไม่ประมาท ความ
ประพฤติในสมาธิมีแก่ผู้ขวนขวายในอธิจิต ความประพฤติในญาณมีแก่ผู้บรรลุ
ปัญญาเครื่องตรัสรู้ ความประพฤติในมรรคมีแก่ผู้ปฏิบัติชอบ ความประพฤติในผล
มีแก่ผู้ได้บรรลุ และความประพฤติเพื่อประโยชน์แก่โลกมีแก่พระตถาคตอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าบางส่วน พระสาวกบางส่วน
เหล่านี้ชื่อว่าความประพฤติ ๘ อย่าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๕. จริยากถา
อีกนัยหนึ่ง ความประพฤติ ๘ อย่าง คือ
๑. ผู้น้อมใจเชื่อ ชื่อว่าย่อมประพฤติด้วยศรัทธา
๒. ผู้ประคองไว้ ชื่อว่าย่อมประพฤติด้วยวิริยะ
๓. ผู้ตั้งจิตมั่น ชื่อว่าย่อมประพฤติด้วยสติ
๔. ผู้ไม่ทำความฟุ้งซ่าน ชื่อว่าย่อมประพฤติด้วยสมาธิ
๕. ผู้รู้ชัด ชื่อว่าย่อมประพฤติด้วยปัญญา
๖. ผู้รู้แจ้ง ชื่อว่าย่อมประพฤติด้วยญาณ
๗. ผู้มนสิการว่า “กุศลธรรมย่อมดำเนินไปแก่ผู้ปฏิบัติอย่างนี้” ชื่อว่า
ย่อมประพฤติด้วยความประพฤติในอายตนะ
๘. ผู้มนสิการว่า “ผู้ปฏิบัติอย่างนี้” ย่อมบรรลุคุณวิเศษ ชื่อว่าย่อม
ประพฤติในความประพฤติด้วยคุณวิเศษ
เหล่านี้ชื่อว่าความประพฤติ ๘ อย่าง
อีกนัยหนึ่ง ความประพฤติ ๘ อย่าง คือ
๑. ความประพฤติสัมมาทิฏฐิ ชื่อว่าทัสสนจริยา
๒. ความประพฤติสัมมาสังกัปปะ ชื่อว่าอภินิโรปนจริยา
๓. ความประพฤติสัมมาวาจา ชื่อว่าปริคคหจริยา
๔. ความประพฤติสัมมากัมมันตะ ชื่อว่าสมุฏฐานจริยา
๕. ความประพฤติสัมมาอาชีวะ ชื่อว่าโวทานจริยา
๖. ความประพฤติสัมมาวายามะ ชื่อว่าปัคคหจริยา
๗. ความประพฤติสัมมาสติ ชื่อว่าอุปัฏฐานจริยา
๘. ความประพฤติสัมมาสมาธิ ชื่อว่าอวิกเขปจริยา
เหล่านี้ชื่อว่าความประพฤติ ๘ อย่าง
จริยากถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๖. ปาฏิหาริยกถา
๖. ปาฏิหาริยกถา
ว่าด้วยปาฏิหาริย์
[๓๐] ภิกษุทั้งหลาย ปาฏิหาริย์ ๓ ประการ นี้
ปาฏิหาริย์ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อิทธิปาฏิหาริย์ (ปาฏิหาริย์คือฤทธิ์)
๒. อาเทสนาปาฏิหาริย์ (ปาฏิหาริย์คือการทายใจ)
๓. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ (ปาฏิหาริย์คือสอนให้เห็นจริง)
อิทธิปาฏิหาริย์ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียว
แสดงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ แสดงให้ปรากฏก็ได้
แสดงให้หายไปก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้ นี้เราเรียกว่า
อิทธิปาฏิหาริย์ (๑)
อาเทสนาปาฏิหาริย์ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ทายใจตามเหตุที่กำหนดได้ว่า “ใจของท่าน
เป็นอย่างนี้บ้าง ใจของท่านเป็นเช่นนี้บ้าง ใจของท่านเป็นดังนี้บ้าง” ถึงแม้ภิกษุนั้น
จะทายใจได้เป็นอันมาก การทายใจนั้นก็คงเป็นอย่างนั้น ไม่เป็นอย่างอื่น ส่วน
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ไม่ทายใจตามเหตุที่กำหนดเลย แต่เมื่อได้ฟังเสียงของ
มนุษย์ ของอมนุษย์ หรือของเทวดา ก็ทายใจได้ว่า “ใจของท่านเป็นอย่างนี้บ้าง
ใจของท่านเป็นเช่นนี้บ้าง ใจของท่านเป็นดังนี้บ้าง” ถึงแม้ภิกษุนั้นจะทายใจได้เป็น
อันมาก การทายใจนั้นก็คงเป็นอย่างนั้น ไม่เป็นอย่างอื่น ภิกษุบางรูปในธรรมวินัย
นี้ย่อมไม่ทายใจตามเหตุที่กำหนดเลย และหาได้ฟังเสียงของมนุษย์ ของอมนุษย์
หรือของเทวดาแล้วทายใจไม่ แต่เมื่อได้ฟังเสียงตรึกตรองของผู้ที่กำลังตรึกตรองอยู่
ก็ทายใจได้ว่า “ใจของท่านเป็นอย่างนี้บ้าง ใจของท่านเป็นเช่นนี้บ้าง ใจของท่านเป็น
ดังนี้บ้าง” ถึงแม้ภิกษุนั้นจะทายใจได้เป็นอันมาก การทายใจนั้นก็คงเป็นอย่างนั้น
ไม่เป็นอย่างอื่น ส่วนภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ไม่ทายใจตามเหตุที่กำหนดเลย หาได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๖. ปาฏิหาริยกถา
ฟังเสียงของมนุษย์ ของอมนุษย์ หรือของเทวดาแล้วทายใจไม่ หรือหาได้ฟังเสียง
ตรึกตรองของผู้ที่กำลังตรึกตรองอยู่แล้วทายใจไม่ แต่เมื่อกำหนดใจของท่านผู้
เข้าสมาธิซึ่งไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร ด้วยใจของตนแล้ว ก็รู้ได้ว่า “ท่านผู้นี้ตั้งมโน-
สังขารไว้อย่างไร ก็จักตรึกถึงวิตกชื่อโน้นในระหว่างใจนี้อย่างนั้น ถึงแม้ภิกษุนั้น
จะทายใจได้เป็นอันมาก การทายใจนั้นก็คงเป็นอย่างนั้นไม่เป็นอย่างอื่น” นี้เรียกว่า
อาเทสนาปาฏิหาริย์ (๒)
อนุสาสนีปาฏิหาริย์ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ พร่ำสอนอย่างนี้ว่า “จงตรึกตรองอย่างนี้
อย่าตรึกตรองอย่างนั้น จงมนสิการอย่างนี้ อย่ามนสิการอย่างนั้น จงละสิ่งนี้ จง
เข้าถึงสิ่งนี้อยู่เถิด” นี้เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์ (๓)
ภิกษุทั้งหลาย ปาฏิหาริย์ ๓ ประการนี้
[๓๑] เนกขัมมะย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอิทธิ เนกขัมมะย่อมกำจัด
กามฉันทะได้ เพราะฉะนั้น จึงเป็นปาฏิหาริย์ ชนเหล่าใดประกอบด้วยเนกขัมมะ
นั้น ชนเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้มีจิตหมดจด มีความดำริไม่ขุ่นมัว เพราะฉะนั้น
เนกขัมมะจึงเป็นอาเทสนาปาฏิหาริย์ และเนกขัมมะนั้นพึงปฏิบัติอย่างนี้ พึงเจริญ
อย่างนี้ พึงทำให้มากอย่างนี้ พึงตั้งสติที่เป็นธรรมสมควรแก่เนกขัมมะนั้นไว้ให้มั่น
อย่างนี้ เพราะฉะนั้น เนกขัมมะจึงเป็นอนุสาสนีปาฏิหาริย์ (๑)
อพยาบาทย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอิทธิ อพยาบาทย่อมกำจัด
พยาบาทได้ เพราะฉะนั้น จึงเป็นปาฏิหาริย์ ชนเหล่าใดประกอบด้วยอพยาบาท
นั้น ชนเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้มีจิตหมดจด มีความดำริไม่ขุ่นมัว เพราะฉะนั้น
อพยาบาทจึงเป็นอาเทสนาปาฏิหาริย์ และอพยาบาทนั้นพึงปฏิบัติอย่างนี้ พึง
เจริญอย่างนี้ พึงทำให้มากอย่างนี้ พึงตั้งสติที่เป็นธรรมสมควรแก่อพยาบาทนั้นไว้
ให้มั่นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น อพยาบาทจึงเป็นอนุสาสนีปาฏิหาริย์ (๒)
อาโลกสัญญาย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอิทธิ อาโลกสัญญาย่อมกำจัด
ถีนมิทธะได้ เพราะฉะนั้น จึงเป็นปาฏิหาริย์ ชนเหล่าใดประกอบด้วยอาโลกสัญญา
นั้น ชนเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้มีจิตหมดจด มีความดำริไม่ขุ่นมัว เพราะฉะนั้น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๖. ปาฏิหาริยกถา
อาโลกสัญญาจึงเป็นอาเทสนาปาฏิหาริย์ และอาโลกสัญญานั้นพึงปฏิบัติอย่างนี้
พึงเจริญอย่างนี้ พึงทำให้มากอย่างนี้ พึงตั้งสติที่เป็นธรรมสมควรแก่อาโลกสัญญา
นั้นไว้ให้มั่นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น อาโลกสัญญาจึงเป็นอนุสาสนีปาฏิหาริย์ (๓)
อวิกเขปะย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอิทธิ อวิกเขปะย่อมกำจัดอุทธัจจะ
ได้ เพราะฉะนั้น จึงเป็นปาฏิหาริย์ ชนเหล่าใดประกอบด้วยอวิกเขปะนั้น ชน
เหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้มีจิตหมดจด มีความดำริไม่ขุ่นมัว เพราะฉะนั้น อวิกเขปะ
จึงเป็นอาเทสนาปาฏิหาริย์ และอวิกเขปะนั้นพึงปฏิบัติอย่างนี้ พึงเจริญอย่างนี้
พึงทำให้มากอย่างนี้ พึงตั้งสติที่เป็นธรรมสมควรแก่อวิกเขปะนั้นไว้ให้มั่นอย่างนี้
เพราะฉะนั้น อวิกเขปะจึงเป็นอนุสาสนีปาฏิหาริย์ (๔)
ธัมมววัตถานย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอิทธิ ธัมมววัตถานย่อมกำจัด
วิจิกิจฉาได้ เพราะฉะนั้น จึงเป็นปาฏิหาริย์ ฯลฯ (๕)
ญาณย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอิทธิ ญาณย่อมกำจัดอวิชชาได้
เพราะฉะนั้น จึงเป็นปาฏิหาริย์ ฯลฯ (๖)
ปามุชชะย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอิทธิ ปามุชชะย่อมกำจัดอรติได้
เพราะฉะนั้น จึงเป็นปาฏิหาริย์ ฯลฯ (๗)
ปฐมฌานย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอิทธิ ปฐมฌานย่อมกำจัดนิวรณ์
ทั้งหลายได้ เพราะฉะนั้น จึงเป็นปาฏิหาริย์ ฯลฯ (๒๖ + ๗ = ๓๓)
อรหัตตมรรคย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอิทธิ อรหัตตมรรคย่อมกำจัด
กิเลสได้ทั้งหมด เพราะฉะนั้น จึงเป็นปาฏิหาริย์ ชนเหล่าใดประกอบด้วยอรหัตต-
มรรคนั้น ชนเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้มีจิตหมดจด มีความดำริไม่ขุ่นมัว เพราะฉะนั้น
อรหัตตมรรคจึงเป็นอาเทสนาปาฏิหาริย์ และอรหัตตมรรคนั้นพึงปฏิบัติอย่างนี้
พึงเจริญอย่างนี้ พึงทำให้มากอย่างนี้ พึงตั้งสติที่เป็นธรรมสมควรแก่อรหัตตมรรค
นั้นไว้ให้มั่นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น อรหัตตมรรคจึงเป็นอนุสาสนีปาฏิหาริย์ (๔ + ๓๓
=๓๗)
[๓๒] เนกขัมมะย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอิทธิ เนกขัมมะย่อมกำจัด
กามฉันทะได้ เพราะฉะนั้น จึงเป็นปาฏิหาริย์ อิทธิและปาฏิหาริย์นี้เรียกว่า
อิทธิปาฏิหาริย์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๗. สมสีสกถา
อพยาบาทย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอิทธิ อพยาบาทย่อมกำจัด
พยาบาทได้ เพราะฉะนั้น จึงเป็นปาฏิหาริย์ อิทธิและปาฏิหาริย์เรียกว่าอิทธิ-
ปาฏิหาริย์ อาโลกสัญญาย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอิทธิ อาโลกสัญญา
ย่อมกำจัดถีนมิทธะได้ เพราะฉะนั้น จึงเป็นปาฏิหาริย์ ฯลฯ อรหัตตมรรคย่อมสำเร็จ
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอิทธิ อรหัตตมรรคย่อมกำจัดกิเลสได้ทั้งหมด เพราะฉะนั้น
จึงเป็นปาฏิหาริย์ อิทธิและปาฏิหาริย์นี้เรียกว่าอิทธิปาฏิหาริย์ ฉะนี้แล
ปาฏิหาริยกถา จบ

๗. สมสีสกถา
ว่าด้วยธรรมที่สงบและเป็นประธาน
[๓๓] ปัญญาในความไม่ปรากฏแห่งธรรมทั้งปวง เพราะตัดขาดโดย
ชอบและดับไป ชื่อว่าสมสีสัฏฐญาณ เป็นอย่างไร
คือ คำว่า ธรรมทั้งปวง ได้แก่ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ กุศลธรรม
อกุศลธรรม อัพยากตธรรม กามาวจรธรรม รูปาวจรธรรม อรูปาวจรธรรม
อปริยาปันนธรรม
คำว่า เพราะตัดขาดโดยชอบ อธิบายว่า พระโยคาวจรตัดกามฉันทะขาด
โดยชอบด้วยเนกขัมมะ ตัดพยาบาทขาดโดยชอบด้วยอพยาบาท ตัดถีนมิทธะขาด
โดยชอบด้วยอาโลกสัญญา ตัดอุทธัจจะขาดโดยชอบด้วยอวิกเขปะ ตัดวิจิกิจฉาขาด
โดยชอบด้วยธัมมววัตถาน ตัดอวิชชาขาดโดยชอบด้วยญาณ ตัดอรติขาดโดยชอบ
ด้วยปามุชชะ ตัดนิวรณ์ขาดโดยชอบด้วยปฐมฌาน ฯลฯ ตัดกิเลสทั้งปวงขาดโดย
ชอบด้วยอรหัตตมรรค
คำว่า ดับไป อธิบายว่า พระโยคาวจรดับกามฉันทะได้ด้วยเนกขัมมะ ดับ
พยาบาทได้ด้วยอพยาบาท ดับถีนมิทธะได้ด้วยอาโลกสัญญา ดับอุทธัจจะได้ด้วย
อวิกเขปะ ดับวิจิกิจฉาได้ด้วยธัมมววัตถาน ดับอวิชชาได้ด้วยญาณ ดับอรติได้ด้วย
ปามุชชะ ดับนิวรณ์ได้ด้วยปฐมฌาน ฯลฯ ดับกิเลสทั้งปวงได้ด้วยอรหัตตมรรค


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๗. สมสีสกถา
คำว่า ไม่ปรากฏ อธิบายว่า เมื่อพระโยควจรได้เนกขัมมะ กามฉันทะย่อมไม่
ปรากฏ เมื่อได้อพยาบาท พยาบาทย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้อาโลกสัญญา ถีนมิทธะ
ย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้อวิกเขปะ อุทธัจจะย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้ธัมมววัตถาน
วิจิกิจฉาย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้ญาณ อวิชชาย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้ปามุชชะ อรติ
ย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้ปฐมฌาน นิวรณ์ย่อมไม่ปรากฏ ฯลฯ เมื่อได้อรหัตตมรรค
กิเลสทั้งปวงย่อมไม่ปรากฏ
คำว่า สงบ อธิบายว่า เนกขัมมะชื่อว่าสงบ เพราะละกามฉันทะได้แล้ว
อพยาบาทชื่อว่าสงบ เพราะละพยาบาทได้แล้ว อาโลกสัญญาชื่อว่าสงบ เพราะละ
ถีนมิทธะได้แล้ว อวิกเขปะชื่อว่าสงบ เพราะละอุทธัจจะได้แล้ว ธัมมววัตถาน ชื่อว่า
สงบ เพราะละวิจิกิจฉาได้แล้ว ญาณชื่อว่าสงบ เพราะละอวิชชาได้แล้ว ปามุชชะ
ชื่อว่าสงบ เพราะละอรติได้แล้ว ปฐมฌานชื่อว่าสงบ เพราะละนิวรณ์ได้แล้ว ฯลฯ
อรหัตตมรรคชื่อว่าสงบ เพราะละกิเลสทั้งปวงได้แล้ว
คำว่า เป็นประธาน อธิบายว่า ธรรมเป็นประธาน ๑๓ ประการ ได้แก่
๑. ตัณหามีความกังวลเป็นประธาน
๒. มานะมีความพัวพันเป็นประธาน
๓. ทิฏฐิมีความยึดถือเป็นประธาน
๔. อุทธัจจะมีความฟุ้งซ่านเป็นประธาน
๕. อวิชชามีกิเลสเป็นประธาน
๖. ศรัทธามีความน้อมใจเชื่อเป็นประธาน
๗. วิริยะมีความประคองไว้เป็นประธาน
๘. สติมีความเข้าไปตั้งมั่นเป็นประธาน
๙. สมาธิมีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นประธาน
๑๐. ปัญญามีความเห็นเป็นประธาน
๑๑. ชีวิตินทรีย์มีความเป็นไปเป็นประธาน
๑๒. วิโมกข์มีอารมณ์เป็นประธาน
๑๓. นิโรธมีสังขารเป็นประธาน๑
สมสีสกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบข้อ ๘๗/๑๔๖-๑๔๗ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๘. สติปัฏฐานกถา
๘. สติปัฏฐานกถา
ว่าด้วยสติปัฏฐาน
[๓๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก
๒. เป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ ฯลฯ
๓. เป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ
๔. เป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก
ภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้แล
[๓๕] ภิกษุเป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ อย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นกองปฐวีธาตุโดยความไม่เที่ยง
ไม่พิจารณาเห็นโดยความเที่ยง พิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ไม่พิจารณาเห็น
โดยความเป็นสุข พิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ไม่พิจารณาเห็นโดยความ
เป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด ไม่กำหนัด ย่อมทำราคะ
ให้ดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ยึดถือ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความไม่เที่ยง
ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้
เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละอัตตสัญญาได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อม
ละนันทิได้ เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละราคะได้ เมื่อทำราคะให้ดับ ย่อมละสมุทัยได้
เมื่อสละคืน ย่อมละอาทานะได้ ภิกษุพิจารณาเห็นกายด้วยอาการ ๗ อย่างนี้
กายย่อมปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุพิจารณาเห็น
กายนั้นด้วยสตินั้นและด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น จึงเรียกการพิจารณาเห็นกาย
ในกายว่า สติปัฏฐานภาวนา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๘. สติปัฏฐานกถา
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ
๑. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนา
นั้นไม่ล่วงเลยกัน
๒. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็น
อย่างเดียวกัน
๓. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่านำความเพียรที่สมควรแก่
ธรรมนั้นเข้าไป
๔. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นกองอาโปธาตุ ฯลฯ กองเตโชธาตุ
ฯลฯ กองวาโยธาตุ ฯลฯ กองผม ฯลฯ กองขน ฯลฯ กองผิว ฯลฯ กองหนัง
ฯลฯ กองเนื้อ ฯลฯ กองเอ็น ฯลฯ กองกระดูก ฯลฯ พิจารณาเห็นกองไขกระดูก
โดยความไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเที่ยง พิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์
ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นสุข พิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ไม่พิจารณา
เห็นโดยความเป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด ไม่กำหนัด
ย่อมทำราคะให้ดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ยึดถือ เมื่อพิจารณาเห็นโดย
ความไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ย่อมละ
สุขสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละอัตตสัญญาได้ เมื่อ
เบื่อหน่าย ย่อมละนันทิได้ เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละราคะได้ เมื่อทำราคะให้ดับ
ย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืน ย่อมละอาทานะได้ ภิกษุพิจารณาเห็นกายด้วยอาการ
๗ อย่างนี้ กายย่อมปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุ
พิจารณาเห็นกายนั้นด้วยสตินั้นและด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น จึงเรียกการ
พิจารณาเห็นกายในกายว่า สติปัฏฐานภาวนา
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา
เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
ภิกษุเป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างนี้ (๑)
ภิกษุเป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ อย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๘. สติปัฏฐานกถา
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นสุขเวทนาโดยความไม่เที่ยง ไม่
พิจารณาเห็นโดยความเที่ยง ฯลฯ ย่อมสละคืน ไม่ยึดถือ เมื่อพิจารณาเห็นโดย
ความไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ ฯลฯ เมื่อสละคืน ย่อมละอาทานะได้ ภิกษุ
พิจารณาเห็นเวทนาด้วยอาการ ๗ อย่างนี้ เวทนาย่อมปรากฏ ไม่ใช่สติ สติ
ปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนานั้นด้วยสตินั้นและด้วย
ญาณนั้น เพราะเหตุนั้น จึงเรียกการพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายว่า
สติปัฏฐานภาวนา
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา
เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นทุกขเวทนา ฯลฯ อทุกขมสุขเวทนา
ฯลฯ จักขุสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ โสตสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ ภิกษุบางรูปใน
ธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นฆานสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ เมื่อสละคืน ย่อมละ
อาทานะได้ ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาด้วยอาการ ๗ อย่างนี้ เวทนาย่อมปรากฏ
ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนานั้นด้วยสตินั้น
และด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น จึงเรียกการพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา
ทั้งหลายว่า สติปัฏฐานภาวนา
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา
เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
ภิกษุเป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่อย่างนี้ (๒)
ภิกษุเป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ อย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นจิตมีราคะโดยความไม่เที่ยง
ไม่พิจารณาเห็นโดยความเที่ยง ฯลฯ ย่อมสละคืน ไม่ยึดถือ เมื่อพิจารณาเห็น
โดยความไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ ฯลฯ เมื่อสละคืน ย่อมละอาทานะได้
ภิกษุพิจารณาเห็นจิตด้วยอาการ ๗ อย่างนี้ จิตย่อมปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย
เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นจิตนั้นด้วยสตินั้นและด้วยญาณนั้น เพราะ
เหตุนั้น จึงเรียกการพิจารณาเห็นจิตในจิตว่า สติปัฏฐานภาวนา
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา เพราะ
มีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๘. สติปัฏฐานกถา
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นจิตที่ปราศจากราคะ ฯลฯ จิตมีโทสะ
ฯลฯ จิตปราศจากโทสะ ฯลฯ จิตมีโมหะ ฯลฯ จิตปราศจากโมหะ ฯลฯ จิตหดหู่
ฯลฯ จิตฟุ้งซ่าน ฯลฯ จิตเป็นมหัคคตะ ฯลฯ จิตไม่เป็นมหัคคตะ ฯลฯ จิตมี
จิตอื่นยิ่งกว่า ฯลฯ จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ฯลฯ จิตตั้งมั่น ฯลฯ จิตไม่ตั้งมั่น
ฯลฯ จิตหลุดพ้น ฯลฯ จิตไม่หลุดพ้น ฯลฯ จักขุวิญญาณ ฯลฯ โสตวิญญาณ
ฯลฯ ฆานวิญญาณ ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ ฯลฯ กายวิญญาณ ฯลฯ ภิกษุบางรูปใน
ธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นมโนวิญญาณโดยความไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความ
เที่ยง ฯลฯ ย่อมสละคืน ไม่ยึดถือ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความไม่เที่ยง ย่อมละ
นิจจสัญญาได้ ฯลฯ เมื่อสละคืน ย่อมละอาทานะได้ ภิกษุพิจารณาเห็นจิตด้วย
อาการ ๗ อย่างนี้ จิตย่อมปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย
ภิกษุพิจารณาเห็นจิตนั้นด้วยสตินั้นและด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น จึงเรียกการ
พิจารณาเห็นจิตในจิตว่า สติปัฏฐานภาวนา
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา เพราะ
มีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
ภิกษุเป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างนี้ (๓)
ภิกษุเป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ อย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้เว้นกาย เว้นเวทนา เว้นจิตแล้วพิจารณา
เห็นธรรมทั้งหลายที่เหลือจากนั้นโดยความไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเที่ยง
พิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นสุข พิจารณาเห็น
โดยความเป็นอนัตตา ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี
ย่อมคลายกำหนัด ไม่กำหนัด ย่อมทำราคะให้ดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ยึดถือ
เมื่อพิจารณาเห็นโดยความไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดย
ความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ย่อม
ละอัตตสัญญาได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละนันทิได้ เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละราคะได้
เมื่อทำราคะให้ดับ ย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืน ย่อมละอาทานะได้ ภิกษุ
พิจารณาเห็นธรรมทั้งหลายด้วยอาการ ๗ อย่างนี้ ธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏ

 


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๙. วิปัสสนากถา
ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นด้วย
สตินั้นและด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น จึงเรียกการพิจารณาเห็นธรรมในธรรม
ทั้งหลายว่า สติปัฏฐานภาวนา
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ
๑. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนา
นั้นไม่ล่วงเลยกัน
๒. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็น
อย่างเดียวกัน
๓. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่านำความเพียรที่สมควรแก่ธรรม
นั้นเข้าไป
๔. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
ภิกษุเป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่อย่างนี้ ฉะนี้แล (๔)
สติปัฏฐานกถา จบ

๙. วิปัสสนากถา
ว่าด้วยวิปัสสนา
[๓๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้เลย๑ที่ภิกษุผู้พิจารณาเห็นสังขารบางอย่างโดยความ
เที่ยง จักเป็นผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ๒ เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่ประกอบด้วย
อนุโลมขันติจักหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม๓เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่หยั่งลงสู่สัมมัตต-
นิยาม จักทำให้แจ้งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผล (๑)

เชิงอรรถ :
๑ เป็นไปไม่ได้เลย หมายถึงปฏิเสธฐานะ (เหตุ) และปฏิเสธโอกาส (ปัจจัย) ที่เป็นไปได้ (ขุ.ป.อ. ๒/๓๖/๓๖๗,
องฺ.เอกก.อ. ๑/๒๖๘/๔๐๒)
๒ อนุโลมขันติ หมายถึงวิปัสสนาญาณ (ขุ.ป.อ. ๒/๓๖/๓๖๗)
๓ สัมมัตตนิยาม หมายถึงโลกุตตรมรรค โดยวิเศษก็คือโสดาปัตติมรรค (ขุ.ป.อ. ๒/๓๖/๓๖๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๙. วิปัสสนากถา
เป็นไปได้๑ที่ภิกษุผู้พิจารณาเห็นสังขารทั้งปวงโดยความไม่เที่ยง จักเป็นผู้
ประกอบด้วยอนุโลมขันติ เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จักหยั่งลงสู่
สัมมัตตนิยาม เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้แจ้งโสดาปัตติผล
สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผล (๒)
เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้พิจารณาเห็นสังขารบางอย่างโดยความเป็นสุข จักเป็น
ผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่ประกอบด้วยอนุโลมขันติ
จักหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำ
ให้แจ้งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผล (๓)
เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้พิจารณาเห็นสังขารทั้งปวงโดยความเป็นทุกข์ จักเป็นผู้
ประกอบด้วยอนุโลมขันติ เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จักหยั่งลงสู่
สัมมัตตนิยาม เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้แจ้งโสดาปัตติผล
สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผล (๔)
เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้พิจารณาเห็นธรรมบางอย่างโดยความเป็นอัตตา จัก
เป็นผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่ประกอบด้วยอนุโลมขันติ
จักหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำ
ให้แจ้งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผล (๕)
เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้พิจารณาเห็นธรรมบางอย่างโดยความเป็นอนัตตา จักเป็นผู้
ประกอบด้วยอนุโลมขันติ เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จักหยั่งลงสู่
สัมมัตตนิยาม เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้แจ้งโสดาปัตติผล
สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผล (๖)
เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้พิจารณาเห็นนิพพานโดยความเป็นทุกข์ จักเป็นผู้
ประกอบด้วยอนุโลมขันติ เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จัก
หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้
แจ้งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผล (๗)

เชิงอรรถ :
๑ เป็นไปได้ ในที่นี้หมายถึงยอมรับฐานะ (เหตุ) ที่เป็นไปได้ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๒๖๘/๔๐๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๙. วิปัสสนากถา
เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้พิจารณาเห็นนิพพานโดยความเป็นสุข จักเป็นผู้ประกอบ
ด้วยอนุโลมขันติ เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จักหยั่งลงสู่สัมมัตต-
นิยาม เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้แจ้งโสดาปัตติผล สกทา-
คามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผล (๘)
[๓๗] ภิกษุย่อมได้อนุโลมขันติด้วยอาการเท่าไร หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยามด้วย
อาการเท่าไร
ภิกษุย่อมได้อนุโลมขันติด้วยอาการ ๔๐ อย่าง หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยามด้วย
อาการ ๔๐ อย่าง
ภิกษุย่อมได้อนุโลมขันติด้วยอาการ ๔๐ อย่าง หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยามด้วย
อาการ ๔๐ อย่าง เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุเห็นเบญจขันธ์

๑. โดยความไม่เที่ยง ๒. โดยความเป็นทุกข์
๓. โดยความเป็นโรค ๔. โดยความเป็นดังหัวฝี
๕. โดยความเป็นดังลูกศร ๖. โดยเป็นความลำบาก
๗. โดยเป็นอาพาธ ๘. โดยเป็นอย่างอื่น
๙. โดยเป็นของชำรุด ๑๐. โดยเป็นอัปปมงคล
๑๑. โดยเป็นอันตราย ๑๒. โดยเป็นภัย
๑๓. โดยเป็นอุปสรรค ๑๔. โดยเป็นความหวั่นไหว
๑๕. โดยเป็นของผุพัง ๑๖. โดยเป็นของไม่ยั่งยืน
๑๗. โดยเป็นของไม่มีอะไรต้านทาน ๑๘. โดยเป็นของไม่มีอะไรป้องกัน
๑๙. โดยเป็นของไม่มีที่พึ่ง ๒๐. โดยเป็นความว่างเปล่า
๒๑. โดยความเปล่า ๒๒. โดยเป็นสุญญตะ (ความว่าง)
๒๓. โดยเป็นอนัตตา ๒๔. โดยเป็นโทษ

๒๕. โดยเป็นของมีความแปรผันเป็นธรรมดา
๒๖. โดยเป็นของไม่มีแก่นสาร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๙. วิปัสสนากถา

๒๗. โดยเป็นมูลแห่งความลำบาก ๒๘. โดยเป็นดังเพชฌฆาต
๒๙. โดยเป็นความเสื่อมไป ๓๐. โดยเป็นของมีอาสวะ
๓๑. โดยเป็นของถูกปัจจัยปรุงแต่ง ๓๒. โดยเป็นเหยื่อแห่งมาร

๓๓. โดยเป็นของมีความเกิดเป็นธรรมดา
๓๔. โดยเป็นของมีความแก่เป็นธรรมดา
๓๕. โดยเป็นของมีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา
๓๖. โดยเป็นของมีความตายเป็นธรรมดา
๓๗. โดยเป็นของมีความเศร้าโศกเป็นธรรมดา
๓๘. โดยเป็นของมีความรำพันเป็นธรรมดา
๓๙. โดยเป็นของมีความคับแค้นใจเป็นธรรมดา
๔๐. โดยเป็นของมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา
[๓๘] ๑. ภิกษุเมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยความไม่เที่ยง ย่อมได้อนุโลมขันติ
เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานเที่ยง” ย่อม
หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
๒. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นทุกข์ ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อ
เห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานสุข” ย่อมหยั่งสู่
สัมมัตตนิยาม
๓. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นโรค ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อ
เห็นว่า “ความดับเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีโรค” ย่อมหยั่งลงสู่
สัมมัตตนิยาม
๔. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นดังหัวฝี ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อ
เห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่เป็นดังหัวฝี”
ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
๕. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นดังลูกศร ย่อมได้อนุโลมขันติ
เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีลูกศร”
ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๙. วิปัสสนากถา
๖. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นความลำบาก ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อ
เห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความลำบาก”
ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
๗. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นอาพาธ ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า
“ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีอาพาธ” ย่อมหยั่งลงสู่
สัมมัตตนิยาม
๘. เมื่อเห็นเบญจขันธ์ โดยความเป็นอื่น ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อ
เห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีสิ่งอื่นเป็นปัจจัย”
ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
๙. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของชำรุด ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า
“ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพาน ไม่มีความชำรุดเป็นธรรมดา”
ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
๑๐. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นอัปปมงคลย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อ
เห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีเสนียด” ย่อม
หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
๑๑. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นอันตราย ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า
“ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีอันตราย” ย่อมหยั่งลงสู่
สัมมัตตนิยาม
๑๒. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นภัย ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า
“ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีภัย” ย่อมหยั่งลงสู่
สัมมัตตนิยาม
๑๓. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นอุปสรรคย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า
“ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีอุปสรรค” ย่อมหยั่งลง
สู่สัมมัตตนิยาม
๑๔. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นความหวั่นไหว ย่อมได้อนุโลมขันติ
เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความหวั่นไหว”
ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๖๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๙. วิปัสสนากถา
๑๕. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของผุพัง ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า
“ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความผุพัง” ย่อมหยั่งลง
สู่สัมมัตตนิยาม
๑๖. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของไม่ยั่งยืน ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อ
เห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานมีความยั่งยืน”
ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
๑๗. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของไม่มีอะไรต้านทาน ย่อมได้อนุโลมขันติ
เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานมีที่ต้านทาน”
ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
๑๘. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของไม่มีอะไรป้องกัน ย่อมได้อนุโลมขันติ
เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานมีที่ป้องกัน”
ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
๑๙. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของไม่มีที่พึ่ง ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อ
เห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานมีที่พึ่ง” ย่อมหยั่งลง
สู่สัมมัตตนิยาม
๒๐. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยว่างเปล่า ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า
“ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่ว่างเปล่า” ย่อมหยั่งลง
สู่สัมมัตตนิยาม
๒๑. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นความเปล่า ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อ
เห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่เปล่า” ย่อมหยั่งลง
สู่สัมมัตตนิยาม
๒๒. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นสุญญตะ ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อ
เห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานว่างยิ่ง” ย่อมหยั่งลง
สู่สัมมัตตนิยาม
๒๓. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นอนัตตา ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อ
เห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานมีประโยชน์อย่างยิ่ง”
ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๖๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๙. วิปัสสนากถา
๒๔. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นโทษ ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า
“ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีโทษ” ย่อมหยั่งลงสู่
สัมมัตตนิยาม
๒๕. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของมีความแปรผันเป็นธรรมดา ย่อม
ได้อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพาน
มีความไม่แปรผันเป็นธรรมดา” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
๒๖. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของไม่มีแก่นสาร ย่อมได้อนุโลมขันติ
เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานมีแก่นสาร”
ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
๒๗. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นมูลแห่งความลำบาก ย่อมได้อนุโลมขันติ
เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีมูลแห่ง
ความลำบาก” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
๒๘. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นดังเพชฌฆาต ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อ
เห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่เป็นดังเพชฌฆาต”
ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
๒๙. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นความเสื่อมไป ย่อมได้อนุโลมขันติ
เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความเสื่อมไป”
ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
๓๐. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของมีอาสวะ ย่อมได้อนุโลมขันติ
เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีอาสวะ”
ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
๓๑. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของถูกปัจจัยปรุงแต่ง ย่อมได้อนุโลมขันติ
เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่ถูกปัจจัย
ปรุงแต่ง” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
๓๒. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นเหยื่อแห่งมาร ย่อมได้อนุโลมขันติ
เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่เป็นเหยื่อแห่ง
มาร” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๖๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๙. วิปัสสนากถา
๓๓. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของมีความเกิดเป็นธรรมดา ย่อมได้
อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่
มีความเกิด” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
๓๔. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของมีความแก่เป็นธรรมดา ย่อมได้
อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่
มีความแก่” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
๓๕. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของมีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ย่อมได้
อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่
มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
๓๖. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของมีความตายเป็นธรรมดา ย่อมได้
อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่
มีความตาย” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
๓๗. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของมีความเศร้าโศกเป็นธรรมดา ย่อม
ได้อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพาน
ไม่มีความเศร้าโศก” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
๓๘. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของมีความรำพันเป็นธรรมดา ย่อมได้
อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่
มีความรำพัน” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
๓๙. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของมีความคับแค้นใจเป็นธรรมดา
ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็น
นิพพานที่ไม่มีความคับแค้นใจ” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
๔๐. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา
ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็น
นิพพานไม่มีความเศร้าหมอง” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๖๐๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๙. วิปัสสนากถา
[๓๙] คำว่า โดยความไม่เที่ยง ได้แก่ อนิจจานุปัสสนา
คำว่า โดยความเป็นทุกข์ ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยความเป็นโรค ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยความเป็นดังหัวฝี ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยความเป็นดังลูกศร ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นความลำบาก ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นอาพาธ ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นอย่างอื่น ได้แก่ อนัตตานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นของชำรุด ได้แก่ อนิจจานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นอัปปมงคล ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา (๑๐)
คำว่า โดยเป็นอันตราย ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นภัย ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นอุปสรรค ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นความหวั่นไหว ได้แก่ อนิจจานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นของผุพัง ได้แก่ อนิจจานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นของไม่ยั่งยืน ได้แก่ อนิจจานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นของไม่มีอะไรต้านทาน ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นของไม่มีอะไรป้องกัน ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นของไม่มีที่พึ่ง ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นความว่างเปล่า ได้แก่ อนัตตานุปัสสนา (๑๐=๒๐)
คำว่า โดยความเปล่า ได้แก่ อนัตตานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นสุญญตะ ได้แก่ อนัตตานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นอนัตตา ได้แก่ อนัตตานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นโทษ ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๖๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๙. วิปัสสนากถา
คำว่า โดยเป็นของมีความแปรผันเป็นธรรมดา ได้แก่ อนิจจานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นของไม่มีแก่นสาร ได้แก่ อนัตตานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นมูลแห่งความลำบาก ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นดังเพชฌฆาต ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นความเสื่อมไป ได้แก่ อนิจจานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นของมีอาสวะ ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา (๑๐ = ๓๐)
คำว่า โดยเป็นของถูกปัจจัยปรุงแต่ง ได้แก่ อนิจจานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นเหยื่อแห่งมาร ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นของมีความเกิดเป็นธรรมดา ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นของมีความแก่เป็นธรรมดา ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นของมีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นของมีความตายเป็นธรรมดา ได้แก่ อนิจจานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นของมีความเศร้าโศกเป็นธรรมดา ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นของมีความรำพันเป็นธรรมดา ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นของมีความคับแค้นใจเป็นธรรมดา ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
คำว่า โดยเป็นของมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา ได้แก่ ทุกขานุปัสสนา
(๑๐ = ๔๐ )
ภิกษุย่อมได้อนุโลมขันติด้วยอาการ ๔๐ อย่างนี้ หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
ด้วยอาการ ๔๐ อย่างนี้
ภิกษุผู้ได้อนุโลมขันติด้วยอาการ ๔๐ อย่างนี้ ผู้หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยามด้วย
อาการ ๔๐ อย่างนี้มีอนิจจานุปัสสนาเท่าไร มีทุกขานุปัสสนาเท่าไร มีอนัตตา-
นุปัสสนาเท่าไร
ท่านกล่าวว่า มีอนิจจานุปัสสนา ๕๐
มีทุกขานุปัสสนา ๑๒๕ มีอนัตตานุปัสสนา ๒๕ ฉะนี้
วิปัสสนากถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๖๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑๐. มาติกากถา
๑๐. มาติกากถา
ว่าด้วยหัวข้อธรรม
[๔๐] ผู้ไม่มีความหิว โมกข์ วิโมกข์ วิชชาวิมุตติ อธิสีล อธิจิต อธิปัญญา
ปัสสัทธิ ญาณ ทัสสนะ วิสุทธิ เนกขัมมะ เครื่องสลัด ความสงัด ความสละ
ความประพฤติ ฌานวิโมกข์ ภาวนา อธิษฐาน ชีวิต (๑๙)
[๔๑] คำว่า ผู้ไม่มีความหิว อธิบายว่า ผู้ไม่มีความหิว ย่อมหลุดพ้นจาก
กามฉันทะด้วยเนกขัมมะ ผู้ไม่มีความหิว ย่อมหลุดพ้นจากพยาบาทด้วยอพยาบาท
ฯลฯ ผู้ไม่มีความหิวย่อมหลุดพ้นจากนิวรณ์ ด้วยปฐมฌาน ฯลฯ ผู้ไม่มีความหิว
ย่อมหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวงด้วยอรหัตตมรรค (๑)
คำว่า โมกข์ วิโมกข์ อธิบายว่า เนกขัมมะ ชื่อว่าโมกข์ วิโมกข์ เพราะ
เป็นเครื่องพ้นจากกามฉันทะ อพยาบาท ชื่อว่าโมกข์ วิโมกข์ เพราะเป็นเครื่องพ้น
จากพยาบาท ฯลฯ ปฐมฌาน ชื่อว่าโมกข์ วิโมกข์ เพราะเป็นเครื่องพ้นจากนิวรณ์
ฯลฯ อรหัตตมรรค ชื่อว่าโมกข์ วิโมกข์ เพราะเป็นเครื่องพ้นจากกิเลสทั้งปวง (๒)
คำว่า วิชชาวิมุตติ อธิบายว่า เนกขัมมะ ชื่อว่าวิชชาเพราะรู้ ชื่อว่าวิมุตติ
เพราะหลุดพ้นจากกามฉันทะ ชื่อว่าวิชชาวิมุตติเพราะเมื่อรู้จึงหลุดพ้น เมื่อหลุด
พ้นก็ย่อมรู้ อพยาบาท ชื่อว่าวิชชาเพราะรู้ ชื่อว่าวิมุตติเพราะหลุดพ้นจากพยาบาท
ชื่อว่าวิชชาวิมุตติเพราะเมื่อรู้จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นก็ย่อมรู้ ฯลฯ อรหัตตมรรค
ชื่อว่าวิชชาเพราะรู้ ชื่อว่าวิมุตติเพราะหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง ชื่อว่าวิชชาวิมุตติ
เพราะเมื่อรู้จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นก็ย่อมรู้ (๓)
คำว่า อธิสีล อธิจิต อธิปัญญา อธิบายว่า เนกขัมมะ ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะ
มีความหมายว่ากั้นกามฉันทะ ชื่อว่าจิตตวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าไม่ฟุ้งซ่าน
ชื่อว่าทิฏฐิวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเห็น บรรดาความสำรวม ความไม่ฟุ้งซ่าน
และความเห็นนั้น ความสำรวม ชื่อว่าอธิสีลสิกขา ความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าอธิจิตต-
สิกขา ความเห็น ชื่อว่าอธิปัญญาสิกขา อพยาบาท ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมี
ความหมายว่ากั้นพยาบาท ฯลฯ อรหัตตมรรค ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีความ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๖๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑๐. มาติกากถา
หมายว่ากั้นกิเลสทั้งปวง ชื่อว่าจิตตวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่า
ทิฏฐิวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเห็น บรรดาความสำรวม ความไม่ฟุ้งซ่านและ
ความเห็นนั้น ความสำรวม ชื่อว่าอธิสีลสิกขา ความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าอธิจิตตสิกขา
ความเห็น ชื่อว่าอธิปัญญาสิกขา (๔-๖)
คำว่า ปัสสัทธิ อธิบายว่า พระโยคาวจรระงับกามฉันทะด้วยเนกขัมมะ
ระงับพยาบาทด้วยอพยาบาท ฯลฯ ระงับกิเลสทั้งปวงด้วยอรหัตตมรรค (๗)
คำว่า ญาณ อธิบายว่า เนกขัมมะ ชื่อว่าญาณเพราะมีสภาวะรู้ เพราะละ
กามฉันทะ อพยาบาท ชื่อว่าญาณเพราะมีสภาวะรู้ เพราะละพยาบาท ฯลฯ
อรหัตตมรรค ชื่อว่าญาณเพราะมีสภาวะรู้ เพราะละกิเลสทั้งปวง (๘)
คำว่า ทัสสนะ อธิบายว่า เนกขัมมะ ชื่อว่าทัสสนะเพราะเห็น เพราะละ
กามฉันทะ อพยาบาท ชื่อว่าทัสสนะเพราะเห็น เพราะละพยาบาท ฯลฯ อรหัตต-
มรรค ชื่อว่าทัสสนะเพราะเห็น เพราะละกิเลสทั้งปวง (๙)
คำว่า วิสุทธิ อธิบายว่า บุคคลเมื่อละกามฉันทะ ย่อมหมดจดด้วยเนกขัมมะ
เมื่อละพยาบาท ย่อมหมดจดด้วยอพยาบาท ฯลฯ เมื่อละกิเลสทั้งปวง ย่อม
หมดจดด้วยอรหัตตมรรค (๑๐)
คำว่า เนกขัมมะ อธิบายว่า เนกขัมมะเป็นเครื่องสลัดกาม อรูปเป็นเครื่อง
สลัดรูป นิโรธเป็นเนกขัมมะแห่งสิ่งที่มีที่เป็น ที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ที่อาศัยกันเกิดขึ้น
อพยาบาทเป็นเนกขัมมะแห่งพยาบาท อาโลกสัญญาเป็นเนกขัมมะแห่งถีนมิทธะ
ฯลฯ อรหัตตมรรคเป็นเนกขัมมะแห่งกิเลสทั้งปวง (๑๑)
คำว่า เครื่องสลัด อธิบายว่า เนกขัมมะเป็นเครื่องสลัดกาม อรูปเป็น
เครื่องสลัดรูป นิโรธเป็นเครื่องสลัดสิ่งที่มีที่เป็น ที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ที่อาศัยกัน
เกิดขึ้น เนกขัมมะเป็นเครื่องสลัดกามฉันทะ อพยาบาทเป็นเครื่องสลัดพยาบาท
ฯลฯ อรหัตตมรรคเป็นเครื่องสลัดกิเลสทั้งปวง (๑๒)
คำว่า ความสงัด อธิบายว่า เนกขัมมะเป็นความสงัดของกามฉันทะ
อพยาบาทเป็นความสงัดของพยาบาท ฯลฯ อรหัตตมรรคเป็นความสงัดของกิเลส
ทั้งปวง (๑๓)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๖๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑๐. มาติกากถา
คำว่า ความสละ อธิบายว่า พระโยคาวจรสละกามฉันทะด้วยเนกขัมมะ
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าความสละ สละพยาบาทด้วยอพยาบาท เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าความสละ ฯลฯ สละกิเลสทั้งปวงด้วยอรหัตตมรรค เพราะเหตุนั้น จึง
ชื่อว่าความสละ (๑๔)
คำว่า ความประพฤติ อธิบายว่า พระโยคาวจรประพฤติละกามฉันทะด้วย
เนกขัมมะ ประพฤติละพยาบาทด้วยอพยาบาท ฯลฯ ประพฤติละกิเลสทั้งปวงด้วย
อรหัตตมรรค (๑๕)
คำว่า ฌานวิโมกข์ อธิบายว่า เนกขัมมะย่อมเผา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
ฌาน เนกขัมมะย่อมเผากามฉันทะให้ไหม้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌาน บุคคล
เมื่อเผาย่อมหลุดพ้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌานวิโมกข์ เมื่อเผาให้ไหม้
ย่อมหลุดพ้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌานวิโมกข์ กิเลสทั้งหลายย่อมไหม้ไป เพราะ
เหตุนั้น จึงชื่อว่าธรรม เขาย่อมเผากิเลสให้ไหม้ คือรู้จักกิเลสที่ถูกเผาแล้วและ
กิเลสที่ถูกเผาให้ไหม้ไป เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌานวิโมกข์ อพยาบาทย่อม
เผา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌาน อพยาบาทย่อมเผาพยาบาทให้ไหม้ เพราะ
เหตุนั้น จึงชื่อว่าฌาน ฯลฯ อาโลกสัญญาย่อมเผา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
ฌาน อาโลกสัญญาย่อมเผาถีนมิทธะให้ไหม้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌาน ฯลฯ
อรหัตตมรรคย่อมเผา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌาน อรหัตตมรรคย่อมเผากิเลส
ทั้งปวงให้ไหม้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌาน พระอรหันต์เมื่อเผาย่อมหลุดพ้น
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌานวิโมกข์ เมื่อเผาให้ไหม้ย่อมหลุดพ้น เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าฌานวิโมกข์ กิเลสทั้งหลายย่อมไหม้ไป เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าธรรม เขา
ย่อมเผากิเลสให้ไหม้ คือรู้จักกิเลสที่ถูกเผาแล้วและกิเลสที่ถูกเผาให้ไหม้ไป เพราะ
เหตุนั้น จึงชื่อว่าฌานวิโมกข์ (๑๖)
[๔๒] คำว่า ภาวนา อธิษฐาน ชีวิต อธิบายว่า บุคคลผู้ละกามฉันทะย่อม
เจริญเนกขัมมะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยภาวนา ย่อมอธิษฐานจิต
ด้วยอำนาจเนกขัมมะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยอธิษฐาน ผู้ถึงพร้อม
ด้วยภาวนา ถึงพร้อมด้วยอธิษฐานอย่างนี้นั้น ย่อมเป็นอยู่สงบ ไม่ใช่เป็นอยู่ไม่สงบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๖๐๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓. ปัญญาวรรค] ๑๐. มาติกากถา
เป็นอยู่ชอบ เป็นอยู่ไม่ผิด เป็นอยู่หมดจด เป็นอยู่ไม่เศร้าหมอง เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยอาชีวะ ผู้ถึงพร้อมด้วยภาวนา ถึงพร้อมด้วยอธิษฐาน ถึงพร้อม
ด้วยอาชีวะอย่างนี้นั้น เข้าไปสู่บริษัทใด คือ ขัตติยบริษัทก็ตาม พราหมณบริษัท
ก็ตาม คหบดีบริษัทก็ตาม สมณบริษัทก็ตาม ย่อมองอาจไม่เก้อเขินเข้าไป ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้นเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยภาวนา ถึงพร้อมด้วยอธิษฐาน ถึง
พร้อมด้วยอาชีวะอย่างนั้น
บุคคลละพยาบาท เจริญอพยาบาท เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วย
ภาวนา ฯลฯ ละถีนมิทธะ เจริญอาโลกสัญญา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าถึงพร้อม
ด้วยภาวนา ฯลฯ ละอุทธัจจะ เจริญอวิกเขปะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วย
ภาวนา ฯลฯ ละวิจิกิจฉา เจริญธัมมววัตถาน เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าถึงพร้อม
ด้วยภาวนา ฯลฯ ละอวิชชา เจริญวิชชา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วย
ภาวนา ฯลฯ ละอรติ เจริญปามุชชะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยภาวนา
ฯลฯ ละนิวรณ์ เจริญปฐมฌาน เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยภาวนา ฯลฯ
ละกิเลสทั้งปวง เจริญอรหัตตมรรค เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยภาวนา
บุคคลย่อมตั้งจิตมั่นด้วยอำนาจอรหัตตมรรค เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าถึงพร้อม
ด้วยอธิษฐาน ผู้ถึงพร้อมด้วยภาวนา ถึงพร้อมด้วยอธิษฐานอย่างนี้นั้น ย่อมเป็น
อยู่สงบ ไม่ใช่เป็นอยู่ไม่สงบ เป็นอยู่ชอบ ไม่เป็นอยู่ผิด เป็นอยู่หมดจด เป็นอยู่
ไม่เศร้าหมอง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยอาชีวะ ผู้ถึงพร้อมด้วยภาวนา
ถึงพร้อมด้วยอธิษฐาน ถึงพร้อมด้วยอาชีวะอย่างนี้นั้น เข้าไปสู่บริษัทใด คือ ขัตติย-
บริษัทก็ตาม พราหมณบริษัทก็ตาม คหบดีบริษัทก็ตาม สมณบริษัทก็ตาม ย่อม
องอาจ ไม่เก้อเขินเข้าไป ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้นเป็นผู้ถึงพร้อมด้วย
ภาวนา ถึงพร้อมด้วยอธิษฐาน ถึงพร้อมด้วยอาชีวะอย่างนั้น ฉะนี้แล (๓-๑๙)

มาติกากถา จบ
ปัญญาวรรคที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๖๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค รวมกถาที่มีอยู่ในปกรณ์ปฏิสัมภิทามรรค
รวมกถาที่มีอยู่ในปกรณ์ปฏิสัมภิทามรรคนี้ คือ
๑. มหาวรรค

๑. ญาณกถา ๒. ทิฏฐิกถา
๓. อานาปานัสสติกถา ๔. อินทริยกถา
๕. วิโมกขกถา ๖. คติกถา
๗. กัมมกถา ๘. วิปัลลาสกถา
๙. มัคคกถา ๑๐. มัณฑเปยยกถา

๒. ยุคนัทธวรรค

๑. ยุคนัทธกถา ๒. สัจจกถา
๓. โพชฌังคกถา ๔. เมตตากถา
๕. วิราคกถา ๖. ปฏิสัมภิทากถา
๗. ธัมมจักกกถา ๘. โลกุตตรกถา
๙. พลกถา ๑๐. สุญญกถา

๓. ปัญญาวรรค

๑. มหาปัญญากถา ๒. อิทธิกถา
๓. อภิสมยกถา ๔. วิเวกกถา
๕. จริยากถา ๖. ปาฏิหาริยกถา
๗. สมสีสกถา ๘. สติปัฏฐานกถา
๙. วิปัสสนากถา ๑๐. มาติกากถา

ในปกรณ์ปฏิสัมภิทามี ๓ วรรค มีอรรถกว้างลึกในมรรคอันเป็นอนันตนัย
เปรียบด้วยสาคร เหมือนนภากาศที่ดารดาษด้วยดวงดาวและเช่นกับสระใหญ่ ให้
ความสว่างเจิดจ้าแห่งญาณแก่พระโยคีผู้เป็นธรรมกถิกาจารย์อย่างกว้างขวางฉะนี้แล

ปฏิสัมภิทามรรค จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๖๑๐ }


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ สุตตันตปิฎกที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค จบ





eXTReMe Tracker