ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ



จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อความสะดวก และสวยงาม
(เฉพาะหน้าจอใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์)
กรุณาคลิก จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อให้กรอบ
ค้นข้อความ ปรากฎที่ด้านซ้ายของหน้า

พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐-๒ สุตตันตปิฎกที่ ๒๒ ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส

พระสุตตันตปิฎก
ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๕. โธตกมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า ทรงพระกรุณา ได้แก่ ทรงพระกรุณา คือ ทรงเอ็นดู รักษา อนุเคราะห์
เอื้อเฟื้อ รวมความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ขอพระองค์ทรงพระกรุณาตรัสสอน
คำว่า วิเวกธรรม ที่ข้าพระองค์จะพึงรู้แจ้งได้ อธิบายว่า อมตนิพพานตรัส
เรียกว่า วิเวกธรรม ได้แก่ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดทิ้งอุปธิทั้งหมด
เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับกิเลส เป็นที่เย็นสนิท
คำว่า ที่ข้าพระองค์จะพึงรู้แจ้งได้ ได้แก่ ที่ข้าพระองค์พึงรู้ คือ พึงรู้ทั่ว
รู้เฉพาะ แทงตลอด บรรลุ ถูกต้อง ทำให้แจ้ง รวมความว่า วิเวกธรรม ที่
ข้าพระองค์จะพึงรู้แจ้งได้
คำว่า และโดยวิธีที่ข้าพระองค์ไม่ขัดข้องเหมือนอากาศ อธิบายว่า
อากาศไม่ขัดข้อง คือ จับต้องไม่ได้ ไม่ติด ไม่พัวพัน ฉันใด ข้าพระองค์ไม่ขัดข้อง
คือ ไม่ยึดถือ ไม่ติด ไม่พัวพัน ฉันนั้น รวมความว่า ไม่ขัดข้องเหมือนอากาศ
อย่างนี้บ้าง
อากาศย้อมไม่ได้ด้วยน้ำครั่ง น้ำขมิ้น สีเขียว หรือสีน้ำฝาด ฉันใด ข้าพระองค์
ไม่กำหนัด ไม่ขัดเคือง ไม่ลุ่มหลง ไม่เศร้าหมอง ฉันนั้น รวมความว่า ไม่ขัดข้อง
เหมือนอากาศ อย่างนี้บ้าง
อากาศไม่กำเริบ ไม่พยาบาท ไม่หดหู่ ไม่กระทบกระทั่ง ฉันใด ข้าพระ-
องค์ไม่โกรธ ไม่พยาบาท ไม่หดหู่ ไม่กระทบ ไม่กระทั่ง ฉันนั้น รวมความว่า
ไม่ขัดข้องเหมือนอากาศ อย่างนี้บ้าง
คำว่า ข้าพระองค์จะพึงสงบอยู่ในที่นี้แล ในคำว่า ข้าพระองค์จะพึงสงบ
อยู่ในที่นี้แล เป็นผู้ไม่ยึดอาศัย เที่ยวไปอยู่ อธิบายว่า เป็นผู้อยู่ในที่นี้แล คือ
เป็นผู้นั่งอยู่ในที่นี้แล เป็นผู้นั่งอยู่แล้วบนอาสนะนี้แล เป็นผู้นั่งอยู่ในบริษัทนี้แล
รวมความว่า ข้าพระองค์จะพึงสงบอยู่ในที่นี้แล อย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง สงบได้แล้ว คือ เข้าไปสงบได้แล้ว สงบเย็นแล้ว ดับได้แล้ว
สงบระงับได้แล้ว ในที่นี้แล รวมความว่า สงบอยู่ในที่นี้แล อย่างนี้บ้าง
คำว่า เป็นผู้ไม่ยึดอาศัย อธิบายว่า การอาศัย ๒ อย่าง คือ (๑) การ
อาศัยด้วยอำนาจตัณหา (๒) การอาศัยด้วยอำนาจทิฏฐิ ฯลฯ นี้ชื่อว่าการอาศัย
ด้วยอำนาจตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าการอาศัยด้วยอำนาจทิฏฐิ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๕. โธตกมาณวปัญหานิทเทส
ผู้ใดละการอาศัยด้วยอำนาจตัณหา สลัดทิ้งการอาศัยด้วยอำนาจทิฏฐิ ไม่
อาศัยตา ไม่อาศัยหู ไม่อาศัยจมูก ไม่อาศัยลิ้น ไม่อาศัยกาย ไม่อาศัยใจ ไม่ยึดอาศัย
คือ ไม่อาศัย ไม่ติดแล้ว ไม่ติดแน่นแล้ว ไม่ติดใจ ในรูป ฯลฯ เสียง ฯลฯ
กลิ่น ฯลฯ รส ฯลฯ โผฏฐัพพะ ฯลฯ ธรรมารมณ์ ฯลฯ ตระกูล ฯลฯ คณะ
ฯลฯ อาวาส ฯลฯ ลาภ ฯลฯ ยศ ฯลฯ สรรเสริญ ฯลฯ สุข ฯลฯ จีวร ฯลฯ
บิณฑบาต ฯลฯ เสนาสนะ ฯลฯ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ฯลฯ กามธาตุ ฯลฯ
รูปธาตุ ฯลฯ อรูปธาตุ ฯลฯ กามภพ ฯลฯ รูปภพ ฯลฯ อรูปภพ ฯลฯ สัญญาภพ
ฯลฯ อสัญญาภพ ฯลฯ เนวสัญญานาสัญญาภพ ฯลฯ เอกโวการภพ๑ ฯลฯ
จตุโวการภพ๒ ฯลฯ ปัญจโวการภพ๓ ฯลฯ อดีต ฯลฯ อนาคต ฯลฯ ปัจจุบัน
ฯลฯ รูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่ได้รับรู้ และธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้ง
ออกแล้ว สลัดออกแล้ว หลุดพ้นแล้ว ไม่เกี่ยวข้อง มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส)อยู่
คำว่า เที่ยวไปอยู่ ได้แก่ เที่ยวไปอยู่ คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต
ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป รวมความว่า ข้าพระองค์จะพึงสงบอยู่ในที่นี้แล
เป็นผู้ไม่ยึดอาศัย เที่ยวไปอยู่ ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้น จึงกราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ
ขอพระองค์ทรงพระกรุณาตรัสสอนวิเวกธรรม
ที่ข้าพระองค์จะพึงรู้แจ้งได้
และโดยวิธีที่ข้าพระองค์ไม่ขัดข้องเหมือนอากาศ
ข้าพระองค์จะพึงสงบอยู่ในที่นี้แล
เป็นผู้ไม่ยึดอาศัย เที่ยวไปอยู่

เชิงอรรถ :
๑ เอกโวการภพ คือภพที่ประกอบด้วยรูปขันธ์ ๑ หรือภพที่มีขันธ์ ๑ ได้แก่ อสัญญาภพ (ขุ.ม.อ. ๓/๔๒)
๒ จตุโวการภพ คือภพที่ประกอบด้วยอรูปขันธ์ ๔ หรือภพที่มีขันธ์ ๔ ได้แก่ อรูปภพ (ขุ.ม.อ. ๓/๔๒)
๓ ปัญจโวการภพ คือภพที่ประกอบด้วยขันธ์ ๕ หรือภพที่มีขันธ์ ๕ ปัญจโวการภพนี้เป็นกามภพด้วย
เป็นเอกเทศแห่งรูปภพด้วย (ขุ.ม.อ. ๓/๔๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๕. โธตกมาณวปัญหานิทเทส
[๓๕] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า โธตกะ)
บุคคลรู้ชัดความสงบใดแล้ว มีสติ
เที่ยวไปอยู่ พึงข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้
เราจักกล่าวความสงบนั้น ที่รู้ประจักษ์ด้วยตนเอง
ในธรรมที่เราเห็นแล้ว แก่เธอ (๖)
คำว่า เราจักกล่าวความสงบนั้น ... แก่เธอ อธิบายว่า เราจักกล่าว คือ
ชี้แจง บอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศ
ความสงบ คือ ความเข้าไปสงบ ความสงบเย็น ความดับ ความสงบระงับราคะ
ความสงบโทสะ ความสงบโมหะ ฯลฯ
เราจักกล่าว ชี้แจง บอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย
ประกาศความสงบ คือ ความเข้าไปสงบ ความสงบเย็น ความดับ ความสงบ
ระงับโกธะ ฯลฯ อุปนาหะ ฯลฯ มักขะ ฯลฯ ปฬาสะ ฯลฯ อิสสา ฯลฯ มัจฉริยะ
ฯลฯ มายา ฯลฯ สาเถยยะ ฯลฯ ถัมภะ ฯลฯ สารัมภะ ฯลฯ มานะ ฯลฯ อติมานะ
ฯลฯ มทะ ฯลฯ ปมาทะ ฯลฯ
เราจักกล่าว ชี้แจง บอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย
ประกาศความสงบ คือ ความเข้าไปสงบ ความสงบเย็น ความดับ ความสงบ
ระงับกิเลสทุกชนิด ฯลฯ ทุจริตทุกทาง ฯลฯ ความกระวนกระวายทุกอย่าง ฯลฯ
ความเร่าร้อนทุกสถาน ฯลฯ ความเดือดร้อนทุกประการ ฯลฯ อกุสลาภิสังขาร
ทุกประเภท รวมความว่า เราจักกล่าวความสงบนั้น ... แก่เธอ
คำว่า โธตกะ ในคำว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า โธตกะ เป็นคำที่
พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อ
คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ คำว่า พระ
ผู้มีพระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ รวมความว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า โธตกะ
คำว่า ในธรรมที่เราเห็นแล้ว ในคำว่า ที่รู้ประจักษ์ด้วยตนเองในธรรมที่
เราเห็นแล้ว อธิบายว่า ในธรรมที่เราเห็นแล้ว คือ ในธรรมที่เรารู้แล้ว ในธรรมที่
เราเทียบเคียงแล้ว ในธรรมที่เราพิจารณาแล้ว ในธรรมที่เราทำให้แจ้งแล้ว ใน
ธรรมที่เราทำให้กระจ่างแล้ว ได้แก่ ในธรรมที่เราเห็นแล้ว ในธรรมที่เรารู้แล้ว ใน
ธรรมที่เราเทียบเคียงแล้ว ในธรรมที่เราพิจารณาแล้ว ในธรรมที่เราทำให้แจ้งแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๕. โธตกมาณวปัญหานิทเทส
ในธรรมที่เราทำให้กระจ่างแล้วว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง” ฯลฯ ได้แก่ ในธรรม
ที่เราเห็นแล้ว ในธรรมที่เรารู้แล้ว ในธรรมที่เราเทียบเคียงแล้ว ในธรรมที่เรา
พิจารณาแล้ว ในธรรมที่เราทำให้แจ้งแล้ว ในธรรมที่เราทำให้กระจ่างแล้วว่า
“สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมด ล้วนมีความดับไปเป็น
ธรรมดา” รวมความว่า ในธรรมที่เราเห็นแล้ว อย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง เราจักกล่าวถึงทุกข์ ในทุกข์ที่ได้เห็นแล้ว จักกล่าวถึงสมุทัย ใน
สมุทัยที่ได้เห็นแล้ว จักกล่าวถึงมรรค ในมรรคที่ได้เห็นแล้ว จักกล่าวถึงนิโรธใน
นิโรธที่ได้เห็นแล้ว รวมความว่า ในธรรมที่เราเห็นแล้ว อย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง (เราจักกล่าวธรรม) ที่เห็นได้เอง ไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา เชิญมาดูได้
ควรน้อมเข้ามาในตน วิญญูชนพึงรู้ด้วยตนเองในธรรมที่เราเห็นแล้ว รวมความว่า
ในธรรมที่เราเห็นแล้ว อย่างนี้บ้าง
คำว่า ที่รู้ประจักษ์ด้วยตนเอง อธิบายว่า เราจักกล่าวธรรมที่รู้ด้วยตนเอง
ธรรมที่ประจักษ์แก่ตนเอง มิใช่โดยการเชื่อผู้อื่นว่าธรรมนี้เป็นดังนี้ ๆ คือ มิใช่โดย
การเล่าลือ มิใช่โดยการถือสืบ ๆ กันมา มิใช่โดยการอ้างตำรา มิใช่โดยตรรก
มิใช่โดยการอนุมาน มิใช่โดยการคิดตรองตามแนวเหตุผล มิใช่เพราะเข้าได้กับ
ทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว รวมความว่า ที่รู้ประจักษ์ด้วยตนเองในธรรมที่เราเห็นแล้ว
คำว่า บุคคลรู้ชัดความสงบใดแล้ว มีสติ เที่ยวไปอยู่ อธิบายว่า บุคคลรู้
ชัดแล้ว คือ เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว ได้แก่
บุคคลรู้ชัดแล้ว เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้งแล้วว่า
“สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง” ฯลฯ ได้แก่ บุคคลรู้แล้ว เทียบเคียง พิจารณา ทำให้
กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้งแล้วว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา”
คำว่า มีสติ ได้แก่ มีสติด้วยเหตุ ๔ อย่าง คือ (๑) ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญ
สติปัฏฐานพิจารณากายในกาย ฯลฯ ผู้นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า มีสติ
คำว่า เที่ยวไปอยู่ ได้แก่ เที่ยวไปอยู่ คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต
ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป รวมความว่า บุคคลรู้ชัดความสงบใดแล้ว มีสติ
เที่ยวไปอยู่ทุกขณะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๕. โธตกมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า พึงข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้ อธิบายว่า ตัณหาตรัส
เรียกว่า วิสัตติกา คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ อภิชฌา อกุศลมูล
คือโลภะ๑
คำว่า วิสัตติกา อธิบายว่า ตัณหาชื่อว่าวิสัตติกา เพราะมีความหมายอย่างไร
ฯลฯ ซ่านไป ขยายไป๒ ฉะนั้น จึงชื่อว่าวิสัตติกา
คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก ฯลฯ อายตนโลก๓
คำว่า พึงข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้ อธิบายว่า บุคคลผู้มีสติ พึง
ข้าม คือ พึงข้ามไป ข้ามพ้น ก้าวล่วง ล่วงเลยตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้
รวมความว่า พึงข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระ
ภาคจึงตรัสว่า
(พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า โธตกะ)
บุคคลรู้ชัดความสงบใดแล้ว มีสติ
เที่ยวไปอยู่ พึงข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้
เราจักกล่าวความสงบนั้น ที่รู้ประจักษ์ด้วยตนเอง
ในธรรมที่เราเห็นแล้ว แก่เธอ
[๓๖] (ท่านโธตกะทูลถามว่า)
ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
ข้าพระองค์ชอบใจความสงบอันสูงสุดนั้น
ที่บุคคลรู้ชัดแล้ว มีสติเที่ยวไปอยู่
พึงข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้ (๗)
คำว่า นั้น ในคำว่า ข้าพระองค์ชอบใจ...นั้น อธิบายว่า ข้าพระองค์พอใจ
ชอบใจ คือ เบิกบานใจ อนุโมทนา ต้องการ ยินดี ปรารถนา มุ่งหมาย มุ่ง
หวังพระดำรัส คำที่เป็นแนวทาง เทศนา คำสั่งสอน คำพร่ำสอน รวมความว่า
ข้าพระองค์ชอบใจ...นั้น

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๒/๕๐-๕๑
๒ ดูรายละเอียดข้อ ๒๒/๑๓๒
๓ ดูรายละเอียดข้อ ๔/๕๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๕. โธตกมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ในคำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงแสวงหา
คุณอันยิ่งใหญ่ ... ความสงบอันสูงสุด อธิบายว่า
พระผู้มีพระภาค ชื่อว่าทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ อย่างไร
พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา ค้นหา เสาะหาสีลขันธ์ใหญ่ จึงชื่อว่าทรงแสวง
หาคุณอันยิ่งใหญ่ ฯลฯ “พระผู้ทรงองอาจกว่านรชนประทับอยู่ที่ไหน” จึงชื่อว่าผู้
ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่๑
คำว่า ความสงบอันสูงสุด อธิบายว่า อมตนิพพานตรัสเรียกว่า ความสงบ
ได้แก่ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดทิ้งอุปธิทั้งหมด เป็นที่สิ้นตัณหา
เป็นที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับกิเลส เป็นที่เย็นสนิท
คำว่า สูงสุด ได้แก่ เลิศ ประเสริฐ วิเศษสุด ชั้นแนวหน้า สูงสุด ยอดเยี่ยม
รวมความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ... ความสงบอันสูงสุด
คำว่า ที่บุคคลรู้ชัดแล้ว มีสติเที่ยวไปอยู่ อธิบายว่า บุคคลรู้ชัดแล้ว คือ
เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้งแล้วว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง”
ฯลฯ ได้แก่ บุคคลรู้ชัดแล้ว เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้ง
แล้วว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไป
เป็นธรรมดา”
คำว่า มีสติ ได้แก่ มีสติด้วยเหตุ ๔ อย่าง คือ (๑) ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญ
สติปัฏฐานพิจารณากายในกาย ฯลฯ บุคคลนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า มีสติ
คำว่า เที่ยวไปอยู่ ได้แก่ เที่ยวไปอยู่ คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต
ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป รวมความว่า ที่บุคคลรู้ชัดแล้ว มีสติเที่ยวไปอยู่
คำว่า พึงข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้ อธิบายว่า ตัณหาตรัสเรียกว่า
วิสัตติกา คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ๒
คำว่า วิสัตติกา อธิบายว่า ตัณหาชื่อว่าวิสัตติกา เพราะมีความหมายอย่างไร
ฯลฯ ซ่านไป ขยายไป ฉะนั้น จึงชื่อว่าวิสัตติกา

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๒๓/๑๓๓-๑๓๕
๒ ดูรายละเอียดข้อ ๒/๕๐-๕๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๕. โธตกมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก ฯลฯ อายตนโลก
คำว่า พึงข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้ อธิบายว่า ตัณหานี้ที่ชื่อว่า
วิสัตติกาในโลกนี้ บุคคลผู้มีสติพึงข้าม คือ พึงข้ามไป ข้ามพ้น ก้าวล่วง ล่วง
เลยตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้ รวมความว่า พึงข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกา
ในโลกได้ ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
ข้าพระองค์ชอบใจความสงบอันสูงสุดนั้น
ที่บุคคลรู้ชัดแล้ว มีสติเที่ยวไปอยู่
พึงข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้
[๓๗] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า โธตกะ)
เธอรู้ชัดธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง
ซึ่งเป็นธรรมชั้นสูง ชั้นต่ำและชั้นกลาง
เธอรู้ชัดธรรมนั้นว่าเป็นเครื่องข้องในโลกแล้ว
อย่าได้ก่อตัณหาเพื่อภพน้อยและภพใหญ่เลย (๘)
คำว่า เธอรู้ชัดธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง อธิบายว่า เธอรู้ชัด คือ รู้ทั่ว รู้เฉพาะ
แทงตลอดธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง รวมความว่า เธอรู้ชัดธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง
คำว่า โธตกะ ในคำว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า โธตกะ เป็นคำที่พระ
ผู้มีพระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อ
คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ คำว่า
พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ รวมความว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
โธตกะ

ว่าด้วยธรรมชั้นสูงชั้นต่ำและชั้นกลาง
คำว่า ชั้นสูง ชั้นต่ำ และชั้นกลาง อธิบายว่า
อนาคต ตรัสเรียกว่า ชั้นสูง อดีต ตรัสเรียกว่า ชั้นต่ำ ปัจจุบัน ตรัสเรียก
ว่า ชั้นกลาง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๗๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๕. โธตกมาณวปัญหานิทเทส
เทวโลก ตรัสเรียกว่า ชั้นสูง อบายโลก ตรัสเรียกว่า ชั้นต่ำ มนุษยโลก
ตรัสเรียกว่า ชั้นกลาง
อีกนัยหนึ่ง กุศลธรรม ตรัสเรียกว่า ชั้นสูง อกุศลธรรม ตรัสเรียกว่า ชั้นต่ำ
อัพยากตธรรม ตรัสเรียกว่า ชั้นกลาง
อรูปธาตุ ตรัสเรียกว่า ชั้นสูง กามธาตุ ตรัสเรียกว่า ชั้นต่ำ รูปธาตุ ตรัส
เรียกว่า ชั้นกลาง
สุขเวทนา ตรัสเรียกว่า ชั้นสูง ทุกขเวทนา ตรัสเรียกว่า ชั้นต่ำ อทุกขมสุข-
เวทนา ตรัสเรียกว่า ชั้นกลาง
เบื้องสูงจากฝ่าเท้าขึ้นไป ตรัสเรียกว่า ชั้นสูง เบื้องต่ำจากปลายผมลงมา
ตรัสเรียกว่า ชั้นต่ำ ตรงกลาง ตรัสเรียกว่า ชั้นกลาง รวมความว่า ชั้นสูง ชั้นต่ำ
และชั้นกลาง
คำว่า เธอรู้ชัดธรรมนั้นว่าเป็นเครื่องข้องในโลกแล้ว อธิบายว่า เธอรู้แล้ว
คือ ทราบ เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้งแล้วว่า นี้เป็น
เครื่องข้อง นี้เป็นเครื่องติดพัน นี้เป็นเครื่องผูกพัน นี้เป็นเครื่องพัวพัน รวมความว่า
เธอรู้ชัดธรรมนั้นว่าเป็นเครื่องข้องในโลกแล้ว
คำว่า ตัณหา ในคำว่า อย่าได้ก่อตัณหาเพื่อภพน้อยภพใหญ่เลย ได้แก่
รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา
คำว่า เพื่อภพน้อยภพใหญ่เลย อธิบายว่า อย่าก่อ คือ อย่าให้เกิด อย่า
ให้เกิดขึ้น อย่าให้บังเกิด อย่าให้บังเกิดขึ้น ได้แก่ ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป
ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งตัณหา เพื่อภพน้อยภพใหญ่ คือ เพื่อกรรมวัฏและวิปากวัฏ
เพื่อกรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในกามภพ เพื่อวิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดในกามภพ เพื่อ
กรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในรูปภพ เพื่อวิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดในรูปภพ เพื่อกรรมวัฏ
เป็นเครื่องเกิดในอรูปภพ เพื่อวิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดในอรูปภพ เพื่อภพต่อไป
เพื่อคติต่อไป เพื่อการถือกำเนิดต่อไป เพื่อปฏิสนธิต่อไป เพื่อการบังเกิดขึ้นแห่ง
อัตภาพต่อไป รวมความว่า อย่าได้ก่อตัณหาเพื่อภพน้อยภพใหญ่เลย ด้วยเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๕. โธตกมาณวปัญหานิทเทส
(พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า โธตกะ)
เธอรู้ชัดธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง
ซึ่งเป็นธรรมชั้นสูง ชั้นต่ำและชั้นกลาง
เธอรู้ชัดธรรมนั้นว่าเป็นเครื่องข้องในโลกแล้ว
อย่าได้ก่อตัณหาเพื่อภพน้อยภพใหญ่เลย
พร้อมกับการจบคาถา ฯลฯ โธตกมาณพ ... โดยประกาศว่า “ข้าแต่พระ
องค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก”
โธตกมาณวปัญหานิทเทสที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๖. อุปสีวมาณวปัญหานิทเทส
๖. อุปสีวมาณวปัญหานิทเทส๑
ว่าด้วยปัญหาของอุปสีวมาณพ
[๓๘] (ท่านอุปสีวะทูลถาม ดังนี้)
ข้าแต่พระองค์ผู้สักกะ ข้าพระองค์ผู้เดียว
ไม่ได้อาศัย (ใคร ๆ หรือสิ่งใด ๆ)
จึงไม่สามารถข้ามห้วงกิเลสอันยิ่งใหญ่ได้
ข้าแต่พระองค์ผู้มีสมันตจักขุ
ขอพระองค์โปรดตรัสบอกอารมณ์
ที่ข้าพระองค์ได้อาศัยแล้ว พึงข้ามห้วงกิเลสนี้ได้ (๑)
คำว่า ผู้เดียว ในคำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สักกะ ข้าพระองค์ผู้เดียว ... ห้วง
กิเลสอันยิ่งใหญ่ได้ อธิบายว่า ข้าพระองค์อาศัยบุคคลหรือธรรมใดข้าม ข้ามไป
ข้ามพ้น ก้าวล่วง ล่วงเลยห้วงกิเลสใหญ่ คือ กาโมฆะ ภโวฆะ ทิฏโฐฆะ อวิชโชฆะ
ข้าพระองค์ไม่มีบุคคล หรือธรรมนั้นเป็นเพื่อน

ว่าด้วยพระผู้มีพระภาคชื่อว่าสักกะ
คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สักกะ อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคผู้สักกะเสด็จออก
ผนวชจากศากยตระกูล จึงชื่อว่าผู้สักกะ
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงมั่งคั่ง ทรงมีทรัพย์มาก มีทรัพย์ จึงชื่อว่าผู้
สักกะ
พระองค์ทรงมีทรัพย์เหล่านี้ คือ ทรัพย์คือศรัทธา ทรัพย์คือศีล ทรัพย์คือหิริ
ทรัพย์คือโอตตัปปะ ทรัพย์คือสุตะ ทรัพย์คือจาคะ ทรัพย์คือปัญญา ทรัพย์คือ
สติปัฏฐาน ทรัพย์คือสัมมัปปธาน ทรัพย์คืออิทธิบาท ทรัพย์คืออินทรีย์ ทรัพย์คือ

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.สุ. ๒๕/๑๐๗๖-๑๐๘๓/๕๓๘-๕๔๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๖. อุปสีวมาณวปัญหานิทเทส
พละ ทรัพย์คือโพชฌงค์ ทรัพย์คือมรรค ทรัพย์คือผล ทรัพย์คือนิพพาน
พระผู้มีพระภาคทรงมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก ทรงมีทรัพย์ด้วยทรัพย์ที่เป็นรัตนะหลาย
อย่างเหล่านี้ จึงชื่อว่าผู้สักกะ
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงสามารถ คือ ทรงองอาจ อาจหาญ มี
ความสามารถ กล้า กล้าหาญ ก้าวหน้า ไม่ขลาด ไม่หวาดเสียว ไม่สะดุ้ง ไม่หนี
ทรงละภัยและความหวาดกลัวได้แล้ว หมดความขนพองสยองเกล้า จึงชื่อว่าผู้สักกะ
รวมความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สักกะ ข้าพระองค์ผู้เดียว ... ห้วงกิเลสอันยิ่งใหญ่ได้
คำว่า ดังนี้ ในคำว่า ท่านอุปสีวะทูลถาม ดังนี้ เป็นบทสนธิ ฯลฯ
คำว่า ท่าน เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ
คำว่า อุปสีวะ เป็นชื่อของพราหมณ์นั้น ฯลฯ ชื่อเรียกเฉพาะ รวมความว่า
ท่านอุปสีวะทูลถาม ดังนี้
คำว่า ไม่ได้อาศัย ในคำว่า ไม่ได้อาศัย (ใคร ๆ หรือสิ่งใด ๆ) จึงไม่
สามารถข้าม ได้แก่ ไม่ได้อาศัยบุคคล หรือธรรมเลย
คำว่า จึงไม่สามารถ ได้แก่ ไม่กล้า ไม่อาจ เป็นผู้ไม่สามารถ
คำว่า ข้าม ได้แก่ ข้าม คือ ข้ามไป ข้ามพ้น ก้าวล่วง ล่วงเลยห้วงกิเลส
ใหญ่คือกาโมฆะ ภโวฆะ ทิฏโฐฆะ อวิชโชฆะ รวมความว่า ไม่ได้อาศัย (ใคร ๆ
หรือสิ่งใด ๆ) จึงไม่สามารถข้าม
คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้มีสมันตจักขุ ขอพระองค์โปรดตรัสบอก
อารมณ์ อธิบายว่า ขอพระองค์โปรดตรัส คือ โปรดบอก แสดง บัญญัติ
กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศ อารมณ์เครื่องยึดเหนี่ยว ที่อาศัย
ที่เข้าไปอาศัย
คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้มีสมันตจักขุ อธิบายว่า พระสัพพัญญุตญาณ เรียก
ว่า สมันตจักขุ พระผู้มีพระภาคทรงประกอบ ประกอบพร้อม ดำเนินไป ดำเนิน
ไปพร้อม เป็นไป เป็นไปพร้อม เพียบพร้อมด้วยพระสัพพัญญุตญาณนั้น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๖. อุปสีวมาณวปัญหานิทเทส
(สมจริงดังคาถาประพันธ์ว่า)
สิ่งไร ๆ ในไตรโลกธาตุนี้
พระปัญญาจักขุของพระตถาคตนั้นไม่เห็น ไม่มีเลย
อนึ่ง ธรรมชาติอะไร ๆ ที่ควรรู้
พระพุทธญาณไม่รู้แจ้ง ก็ไม่มี
ธรรมชาติที่ควรแนะนำใดมีอยู่
พระตถาคตได้ทรงทราบธรรมชาติที่ควรแนะนำนั้นทั้งหมด
เพราะเหตุนั้น พระตถาคตจึงชื่อว่า ผู้มีสมันตจักขุ๑
รวมความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้มีสมันตจักขุ ขอพระองค์โปรดตรัสบอกอารมณ์
คำว่า ที่ข้าพระองค์ได้อาศัยแล้ว ในคำว่า ที่ข้าพระองค์ได้อาศัยแล้วพึง
ข้ามห้วงกิเลสนี้ได้ ได้แก่ บุคคล หรือธรรม ที่ข้าพระองค์ได้อาศัยแล้ว
คำว่า พึงข้ามห้วงกิเลสนี้ได้ อธิบายว่า พึงข้าม คือ พึงข้ามไป ข้ามพ้น
ก้างล่วง ล่วงเลยห้วงกิเลสใหญ่คือกาโมฆะ ภโวฆะ ทิฏโฐฆะ อวิชโชฆะ รวมความว่า
ที่ข้าพระองค์ได้อาศัยแล้วพึงข้ามห้วงกิเลสนี้ได้ ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกราบ
ทูลว่า
(ท่านอุปสีวะทูลถาม ดังนี้)
ข้าแต่พระองค์ผู้สักกะ ข้าพระองค์ผู้เดียว
ไม่ได้อาศัย (ใคร ๆ หรือสิ่งใด ๆ)
จึงไม่สามารถข้ามห้วงกิเลสอันยิ่งใหญ่ได้
ข้าแต่พระองค์ผู้มีสมันตจักขุ
ขอพระองค์โปรดตรัสบอกอารมณ์
ที่ข้าพระองค์ได้อาศัยแล้ว พึงข้ามห้วงกิเลสนี้ได้

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.ม.(แปล) ๒๙/๑๕๖/๔๓๑, ขุ.ป. ๓๑/๑๒๑/๑๓๖-๑๓๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๖. อุปสีวมาณวปัญหานิทเทส
[๓๙] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อุปสีวะ)
เธอจงมีสติ เพ่งพิจารณาอากิญจัญญายตนสมาบัติ
ยึดเอาเป็นอารมณ์ว่า ไม่มีอะไรดังนี้แล้ว
ก็จะข้ามห้วงกิเลสได้ เธอจงละกามทั้งหลาย
เป็นผู้งดเว้นจากความสงสัยทั้งหลาย
พิจารณาความสิ้นตัณหา ทั้งคืนทั้งวัน (๒)
คำว่า เธอจงมีสติ เพ่งพิจารณาอากิญจัญญายตนสมาบัติ อธิบายว่า
พราหมณ์นั้นได้อากิญจัญญายตนสมาบัติอยู่โดยปกติ ไม่รู้ที่อาศัยว่า “สมาบัตินี้
เป็นที่อาศัยของเรา” พระผู้มีพระภาคจึงตรัสบอกที่อาศัยและทางออกที่สูงขึ้นไปแก่
พราหมณ์นั้น พระองค์ตรัสบอกว่า เธอจงมีสติเข้าอากิญจัญญายตนสมาบัติ
ออกจากอากิญจัญญายตนสมาบัตินั้นแล้ว เพ่งพิจารณา คือ แลเห็น ตรวจดู
เพ่งพินิจ พิจารณาจิตและเจตสิกธรรมที่เกิดในสมาบัตินั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง
ฯลฯ เป็นทุกข์ ฯลฯ เป็นโรค ฯลฯ เป็นดุจหัวฝี ฯลฯ เป็นดุจลูกศร ฯลฯ
เป็นของลำบาก ฯลฯ เป็นอาพาธ ฯลฯ เป็นอย่างอื่น (บังคับไม่ได้) ฯลฯ
เป็นของทรุดโทรม ฯลฯ เป็นเสนียด ฯลฯ เป็นอุปัททวะ ฯลฯ เป็นภัย ฯลฯ
เป็นอุปสรรค ฯลฯ เป็นของหวั่นไหว ฯลฯ เป็นของผุพัง ฯลฯ เป็นของไม่
ยั่งยืน ฯลฯ เป็นของไม่มีที่ต้านทาน ฯลฯ เป็นของไม่มีที่หลีกเร้น ฯลฯ เป็น
ของไม่มีที่พึ่ง ฯลฯ เป็นของไม่มีที่อาศัย ฯลฯ เป็นของว่าง ฯลฯ เป็นของเปล่า
ฯลฯ เป็นของสูญ ฯลฯ เป็นอนัตตา ฯลฯ เป็นของมีโทษ ฯลฯ เป็นของแปร
ผันไปเป็นธรรมดา ฯลฯ เป็นของไม่มีแก่นสาร ฯลฯ เป็นเหตุแห่งความลำบาก
ฯลฯ เป็นความเจริญ ฯลฯ เป็นของปราศจากความเจริญ ฯลฯ เป็นของมีอาสวะ
ฯลฯ เป็นดุจเพชฌฆาต ฯลฯ เป็นของที่ถูกเหตุปัจจัยปรุงแต่ง ฯลฯ เป็นเหยื่อ
แห่งมาร ฯลฯ มีชาติเป็นธรรมดา ฯลฯ มีชราเป็นธรรมดา ฯลฯ มีพยาธิเป็น
ธรรมดา ฯลฯ มีมรณะเป็นธรรมดา ฯลฯ มีโสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาสเป็น
ธรรมดา ฯลฯ เป็นเหตุเกิดทุกข์ ฯลฯ ตั้งอยู่ไม่ได้ ฯลฯ หาความแช่มชื่นไม่ได้
ฯลฯ เป็นโทษ ฯลฯ เป็นของที่ต้องสลัดออกไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๖. อุปสีวมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า มีสติ อธิบายว่า สติ ความตามระลึกถึง ความระลึกได้เฉพาะ ฯลฯ
สัมมาสติ๑ นี้ตรัสเรียกว่า มีสติ
พราหมณ์นั้นผู้ประกอบ ประกอบพร้อม ดำเนินไป ดำเนินไปพร้อม เป็นไป
เป็นไปพร้อม เพียบพร้อมด้วยสตินี้ พราหมณ์นั้นพระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า
มีสติ รวมความว่า เธอจงมีสติ เพ่งพิจารณาอากิญจัญญายตนสมาบัติ
คำว่า อุปสีวะ ในคำว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อุปสีวะ เป็นคำที่
พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อ
คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ คำว่า พระ
ผู้มีพระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ รวมความว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
อุปสีวะ
คำว่า ยึดเอาเป็นอารมณ์ว่า ไม่มีอะไรดังนี้แล้ว ก็จะข้ามห้วงกิเลสได้
อธิบายว่า อากิญจัญญายตนสมาบัติ เพราะอรรถว่า “อะไรน้อยหนึ่งย่อมไม่มี”
อากิญจัญญายตนสมาบัติ เพราะอรรถว่า “อะไรน้อยหนึ่งย่อมไม่มี” เพราะเหตุไร
พราหมณ์นั้น มีสติ เข้าวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ออกจากสมาบัตินั้นแล้ว ไม่
ให้วิญญาณนั้นมี ไม่ให้มีโดยประการต่าง ๆ ให้อันตรธานไป ย่อมเห็นว่า “อะไร
น้อยหนึ่งย่อมไม่มี” เพราะเหตุนั้น เธออาศัย คือ เข้าไปอาศัยอากิญจัญญายตน-
สมาบัติที่มีความหมายว่า “อะไรน้อยหนึ่งย่อมไม่มี” ทำให้เป็นเครื่องเหนี่ยวรั้ง
จงข้าม คือ จงข้ามไป ข้ามพ้น ก้าวล่วง ล่วงเลยห้วงกิเลสคือกาโมฆะ ภโวฆะ
ทิฏโฐฆะ อวิชโชฆะให้ได้ รวมความว่า ยึดเอาเป็นอารมณ์ว่า ไม่มีอะไรดังนี้แล้ว
ก็จะข้ามห้วงกิเลสได้
คำว่า เธอจงละกามทั้งหลาย เป็นผู้งดเว้นจากความสงสัยทั้งหลาย อธิบายว่า
คำว่า กาม ได้แก่ กาม ๒ อย่าง แบ่งตามหมวด คือ (๑) วัตถุกาม (๒)
กิเลสกาม ฯลฯ เหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม ฯลฯ เหล่านี้เรียกว่า กิเลสกาม๒

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๔/๕๔-๕๕
๒ ดูรายละเอียดข้อ ๘/๖๖-๖๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๖. อุปสีวมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า ละกามทั้งหลาย อธิบายว่า กำหนดรู้วัตถุกาม ละ คือ ละทิ้ง บรรเทา
ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งกิเลสกาม รวมความว่า ละกามทั้งหลาย
คำว่า เป็นผู้งดเว้นจากความสงสัยทั้งหลาย อธิบายว่า วิจิกิจฉาตรัสเรียกว่า
ความสงสัย ได้แก่ ความสงสัยในทุกข์ ฯลฯ ความหวาดหวั่นแห่งจิต ความติด
ขัดในใจเห็นปานนี้๑ บุคคลงด งดเว้น คือเว้นขาด ออก สลัดออก หลุดพ้น ไม่
เกี่ยวข้อง มีใจเป็นอิสระจากความสงสัยอยู่ รวมความว่า เป็นผู้งดเว้นจากความ
สงสัยทั้งหลาย อย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง บุคคลงด งดเว้น คือเว้นขาด ออก สลัดออก หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้อง
มีใจเป็นอิสระจากเดรัจฉานกถา๒ ๓๒ ประการอยู่ รวมความว่า เป็นผู้งดเว้น
จากความสงสัยทั้งหลาย อย่างนี้บ้าง รวมความว่า เธอจงละกามทั้งหลาย เป็นผู้
งดเว้นจากความสงสัยทั้งหลาย
คำว่า พิจารณาความสิ้นตัณหา ทั้งคืนทั้งวัน อธิบายว่า
คำว่า ตัณหา ได้แก่ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา
โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา
คำว่า ทั้งคืน ได้แก่ ตลอดคืน
คำว่า ทั้งวัน ได้แก่ ตลอดวัน อธิบายว่า เธอจงเห็น เพ่งพิจารณา คือ
แลเห็น มองเห็น เพ่งพินิจ พิจารณาซึ่งความสิ้นตัณหา คือ ความสิ้นราคะ
สิ้นโทสะ สิ้นโมหะ สิ้นคติ สิ้นการถือกำเนิด สิ้นปฏิสนธิ สิ้นภพ สิ้นสงสาร
สิ้นวัฏฏะ ตลอดกลางคืนและกลางวันเถิด รวมความว่า พิจารณาความสิ้นตัณหา
ทั้งคืนทั้งวัน ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๓๒/๑๖๔
๒ เดรัจฉานกถา คือถ้อยคำอันขวางทางไปสู่สวรรค์ นิพพาน หมายถึงเรื่องราวที่ภิกษุไม่ควรนำมาเป็นข้อ
ถกเถียงสนทนากัน โดยไม่เกี่ยวกับการพิจารณาสั่งสอนแนะนำทางธรรม อันทำให้คิดฟุ้งเฟ้อและพากัน
หลงเพลินเสียเวลา เสียกิจหน้าที่ที่พึงปฏิบัติตามธรรม (ที.สี.(แปล) ๙/๑๗/๗, ขุ.ม.(แปล) ๒๙/๑๕๗/๔๓๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๖. อุปสีวมาณวปัญหานิทเทส
(พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อุปสีวะ)
เธอจงมีสติ เพ่งพิจารณาอากิญจัญญายตนสมาบัติ
ยึดเอาเป็นอารมณ์ว่า ไม่มีอะไรดังนี้แล้ว
ก็จะข้ามห้วงกิเลสได้ เธอจงละกามทั้งหลาย
เป็นผู้งดเว้นจากความสงสัยทั้งหลาย
พิจารณาความสิ้นตัณหา ทั้งคืนทั้งวัน
[๔๐] (ท่านอุปสีวะทูลถาม ดังนี้)
บุคคลใดคลายราคะในกามทั้งปวง
ละสมาบัติอื่น อาศัยแต่อากิญจัญญายตนสมาบัติ
น้อมใจไปในสัญญาวิโมกข์ชั้นสูง
บุคคลนั้นไม่หวั่นไหว ดำรงอยู่ในพรหมโลก
ชั้นอากิญจัญญายตนะนั้นได้หรือ (๓)
คำว่า ทั้งปวง ในคำว่า บุคคลใดคลายราคะในกามทั้งปวง ได้แก่
ทุกสิ่ง โดยอาการทั้งหมด ทุกอย่าง ไม่เหลือ ไม่มีส่วนเหลือโดยประการทั้งปวง
คำว่า ทั้งปวงนี้เป็นคำกล่าวรวม ๆ ไว้ทั้งหมด
คำว่า ในกาม อธิบายว่า
คำว่า กาม ได้แก่ กาม ๒ อย่าง แบ่งตามหมวด คือ (๑) วัตถุกาม (๒)
กิเลสกาม ฯลฯ เหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม ฯลฯ เหล่านี้เรียกว่า กิเลสกาม๑
คำว่า บุคคใดคลายราคะในกามทั้งปวง อธิบายว่า บุคคลใดเป็นผู้คลาย
ราคะแล้ว คือปราศจากราคะแล้ว สละราคะแล้ว คายราคะแล้ว ปล่อยราคะแล้ว
ละราคะแล้ว สลัดทิ้งราคะในกามทั้งหลายแล้ว โดยการข่มไว้ รวมความว่า
บุคคลใดคลายราคะในกามทั้งปวง
คำว่า ดังนี้ ในคำว่า ท่านอุปสีวทูลถาม ดังนี้ เป็นบทสนธิ ฯลฯ
คำว่า ท่าน เป็นคำกล่าวด้วยความรัก ฯลฯ
คำว่า อุปสีวะ เป็นชื่อของพราหมณ์นั้น ฯลฯ ชื่อเรียกเฉพาะ รวมความว่า
ท่านอุปสีวทูลถาม ดังนี้

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๘/๖๖-๖๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๖. อุปสีวมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า ละสมาบัติอื่น อาศัยแต่อากิญจัญญายตนสมาบัติ อธิบายว่า ละ คือ
สละ เสียสละ ก้าวล่วง ก้าวพ้น ล่วงพ้นสมาบัติ ๖ เบื้องต่ำ ได้แก่ อาศัย ติด ติด
แน่น แนบแน่น ติดใจ น้อมใจเชื่ออากิญจัญญายตนสมาบัติ รวมความว่า ละ
สมาบัติอื่น อาศัยแต่อากิญจัญญายตนสมาบัติ
คำว่า น้อมใจไปในสัญญาวิโมกข์ชั้นสูง อธิบายว่า สัญญาสมาบัติ ๗
ตรัสเรียกว่า สัญญาวิโมกข์๑

ว่าด้วยอากิญจัญญายตนสมาบัติเป็นวิโมกข์อันเลิศ
บรรดาสัญญาสมาบัติเหล่านั้น อากิญจัญญายตนสมาบัติ เป็นวิโมกข์อันเลิศ
ประเสริฐ วิเศษสุด ชั้นแนวหน้า สูงสุด และยอดเยี่ยม ผู้น้อมใจไปในสัญญา-
วิโมกข์ชั้นสูง เลิศ คือ ประเสริฐ วิเศษสุด ชั้นแนวหน้า สูงสุด ยอดเยี่ยม
ด้วยอธิมุตติวิโมกข์ ได้แก่ น้อมใจเชื่อในสัญญาวิโมกข์นั้น น้อมใจไปสู่สัญญา-
วิโมกข์นั้น เที่ยวไปด้วยสัญญาวิโมกข์นั้น มากไปด้วยสัญญาวิโมกข์นั้น หนักไปใน
สัญญาวิโมกข์นั้น เอนไปในสัญญาวิโมกข์นั้น โอนไปในสัญญาวิโมกข์นั้น โน้มไป
ในสัญญาวิโมกข์นั้น มีสัญญาวิโมกข์นั้นเป็นใหญ่ รวมความว่า น้อมใจไปใน
สัญญาวิโมกข์ชั้นสูง
คำว่า ดำรงอยู่... ได้หรือ ในคำว่า บุคคลนั้นไม่หวั่นไหว ดำรงอยู่ใน
พรหมโลกชั้นอากิญจัญญายตนะนั้นได้หรือ เป็นคำถามด้วยความสงสัย เป็นคำ
ถามด้วยความข้องใจ เป็นคำถาม ๒ แง่ เป็นคำถามมีแง่มุมหลายหลากว่า
อย่างนี้หรือหนอ มิใช่หรือหนอ เป็นอะไรเล่าหนอ เป็นอย่างไรเล่าหนอ รวมความว่า
ดำรงอยู่... ได้หรือ
คำว่า ในนั้น ได้แก่ ในอากิญจัญญายตนสมาบัติ
คำว่า ไม่หวั่นไหว อธิบายว่า ไม่หวั่นไหว คือ ไม่พรั่นพรึง ไม่หลบหนี
ไม่อันตรธานไป ไม่เสื่อมไป อีกนัยหนึ่ง ไม่กำหนัด ไม่ขัดเคือง ไม่ลุ่มหลง ไม่
เศร้าหมอง รวมความว่า บุคคลนั้นไม่หวั่นไหว ดำรงอยู่ในพรหมโลกชั้น
อากิญจัญญายตนะนั้นได้หรือ ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้น จึงกราบทูลว่า

เชิงอรรถ :
๑ สัญญาวิโมกข์ คือ คุณธรรมชั้นสูงที่บุคคลบรรลุ มี ๗ ได้แก่รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๓ (ยกเว้นเนวสัญญา-
นาสัญญายตนสมาบัติ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๖. อุปสีวมาณวปัญหานิทเทส
(ท่านอุปสีวะทูลถาม ดังนี้)
บุคคลใดคลายราคะในกามทั้งปวง
ละสมาบัติอื่น อาศัยแต่อากิญจัญญายตนสมาบัติ
น้อมใจไปในสัญญาวิโมกข์ชั้นสูง
บุคคลนั้นไม่หวั่นไหว ดำรงอยู่ในพรหมโลก
ชั้นอากิญจัญญายตนะนั้นได้หรือ
[๔๑] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อุปสีวะ)
บุคคลใดคลายราคะในกามทั้งปวง
ละสมาบัติอื่น อาศัยแต่อากิญจัญญายตนสมาบัติ
น้อมใจไปในสัญญาวิโมกข์ชั้นสูง
บุคคลนั้นไม่หวั่นไหว ดำรงอยู่ในพรหมโลก
ชั้นอากิญจัญญายตนะนั้นได้ (๔)
คำว่า ทั้งปวง ในคำว่า บุคคใดคลายราคะในกามทั้งปวง ได้แก่ ทุกสิ่ง
โดยอาการทั้งปวง ทุกอย่างโดยทุกประการ ไม่เหลือ ไม่มีส่วนเหลือโดยประการ
ทั้งปวง คำว่า ทั้งปวงนี้เป็นคำกล่าวรวม ๆ ไว้ทั้งหมด
คำว่า ในกาม อธิบายว่า
คำว่า กาม ได้แก่ กาม ๒ อย่าง แบ่งตามหมวด คือ (๑) วัตถุกาม (๒)
กิเลสกาม ฯลฯ เหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม ฯลฯ เหล่านี้เรียกว่า กิเลสกาม๑
คำว่า บุคคใดคลายราคะในกามทั้งปวง อธิบายว่า บุคคลใดเป็นผู้คายราคะแล้ว
คือปราศจากราคะแล้ว สละราคะแล้ว คลายราคะแล้ว ปล่อยราคะแล้ว ละราคะแล้ว
สลัดทิ้งราคะแล้วในกามทั้งปวง โดยการข่มไว้ รวมความว่า บุคคลใดคลายราคะ
ในกามทั้งปวง
คำว่า อุปสีวะ ในคำว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อุปสีวะ เป็นคำที่
พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อ

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๘/๖๖-๖๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๖. อุปสีวมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ คำว่า พระผู้มี-
พระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ๑ รวมความว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อุปสีวะ
คำว่า ละสมาบัติอื่น อาศัยแต่อากิญจัญญายตนสมาบัติ อธิบายว่า ละ คือ
สละ เสียสละ ก้าวล่วง ก้าวพ้น ล่วงพ้นสมาบัติ ๖ เบื้องต่ำ ได้แก่ อาศัย ติด
ติดแน่น แนบแน่น ติดใจ น้อมใจเชื่ออากิญจัญญายตนสมาบัติ รวมความว่า ละ
สมาบัติอื่น อาศัยแต่อากิญจัญญายตนสมาบัติ
คำว่า น้อมใจไปในสัญญาวิโมกข์ชั้นสูง อธิบายว่า สัญญาสมาบัติ ๗
ตรัสเรียกว่า สัญญาวิโมกข์
บรรดาสัญญาสมาบัติเหล่านั้น อากิญจัญญายตนสมาบัติ เป็นวิโมกข์อันเลิศ
ประเสริฐ วิเศษสุด ชั้นแนวหน้า สูงสุด และยอดเยี่ยม ผู้น้อมใจไปในสัญญาวิโมกข์
ชั้นสูง คือ เลิศ ประเสริฐ วิเศษสุด ชั้นแนวหน้า สูงสุด ยอดเยี่ยม ด้วย
อธิมุตติวิโมกข์ ได้แก่ น้อมใจเชื่อในสัญญาวิโมกข์นั้น น้อมใจไปสู่สัญญาวิโมกข์นั้น
เที่ยวไปด้วยสัญญาวิโมกข์นั้น มากไปด้วยสัญญาวิโมกข์นั้น หนักไปในสัญญาวิโมกข์นั้น
เอนไปในสัญญาวิโมกข์นั้น โอนไปในสัญญาวิโมกข์นั้น โน้มไปในสัญญาวิโมกข์นั้น
มีสัญญาวิโมกข์นั้นเป็นใหญ่ รวมความว่า น้อมใจไปในสัญญาวิโมกข์ชั้นสูง
คำว่า ดำรงอยู่ ในคำว่า บุคคลนั้นไม่หวั่นไหว ดำรงอยู่ในพรหมโลกชั้น
อากิญจัญญายตนะนั้นได้ ได้แก่ พึงดำรงอยู่ได้ ๖๐,๐๐๐ กัป
คำว่า ในนั้น ได้แก่ ในอากิญจัญญายตนสมาบัติ
คำว่า ไม่หวั่นไหว อธิบายว่า ไม่หวั่นไหว คือ ไม่พรั่นพรึง ไม่หลบหนี
ไม่อันตรธานไป ไม่เสื่อมไป
อีกนัยหนึ่ง ไม่กำหนัด ไม่ขัดเคือง ไม่ลุ่มหลง ไม่เสื่อมไป รวมความว่า
บุคคลนั้นไม่หวั่นไหว ดำรงอยู่ในพรหมโลกชั้นอากิญจัญญายตนะนั้นได้ ด้วยเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๒/๔๖-๔๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๖. อุปสีวมาณวปัญหานิทเทส
(พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อุปสีวะ)
บุคคลใดคลายราคะในกามทั้งปวง
ละสมาบัติอื่น อาศัยแต่อากิญจัญญายตนสมาบัติ
น้อมใจไปในสัญญาวิโมกข์ชั้นสูง
บุคคลนั้นไม่หวั่นไหว ดำรงอยู่ในพรหมโลก
ชั้นอากิญจัญญายตนะนั้นได้
[๔๒] (ท่านอุปสีวะทูลถามว่า)
ข้าแต่พระองค์ผู้มีสมันตจักขุ
ถ้าบุคคลนั้นไม่หวั่นไหวดำรงอยู่ในพรหมโลกนั้นนานปีไซร้
บุคคลนั้นเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว
มีความสงบเย็นอยู่ในพรหมโลกนั้นนั่นแลหรือ
หรือว่าวิญญาณของบุคคลนั้นจะพึงจุติอีก (๕)
คำว่า ถ้าบุคคลผู้นั้น... ดำรงอยู่ ในคำว่า ถ้าบุคคนั้นไม่หวั่นไหว ดำรง
อยู่ในพรหมโลกนั้นนานปีไซร้ ได้แก่ ถ้าผู้นั้นพึงดำรงอยู่ได้ถึง ๖๐,๐๐๐ กัปไซร้
คำว่า ในนั้น ได้แก่ ในอากิญจัญญายตนสมาบัติ
คำว่า ไม่หวั่นไหว อธิบายว่า ไม่หวั่นไหว ไม่พรั่นพรึง ไม่หลบหนี ไม่
อันตรธานไป ไม่เสื่อมไป
อีกนัยหนึ่ง ไม่กำหนัด ไม่ขัดเคือง ไม่ลุ่มหลง ไม่เสื่อมไป รวมความว่า
ถ้าบุคคลนั้นไม่หวั่นไหวดำรงอยู่ในพรหมโลกนั้นนานปีไซร้
คำว่า นานปีไซร้ ในคำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้มีสมันตจักขุ ... นานปีไซร้
อธิบายว่า นานนับปีไม่ได้ คือ หลายปี หลายร้อยปี หลายพันปี หลายแสนปี
หลายร้อยกัป หลายพันกัป หลายแสนกัป
คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้มีสมันตจักขุ อธิบายว่า พระสัพพัญญุตญาณ ตรัส
เรียกว่า สมันตจักขุ ฯลฯ พระตถาคต จึงชื่อว่ามีสมันตจักขุ ด้วยจักษุนั้น รวม
ความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้มีสมันตจักขุ ... นานปีไซร้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๖. อุปสีวมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า บุคคลนั้นเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว มีความสงบเย็นในพรหมโลกนั้นนั่นแล
หรือ หรือว่าวิญญาณของบุคคลนั้นจะพึงจุติอีก อธิบายว่า บุคคลนั้นพึงเป็นผู้ถึง
ความเป็นผู้สงบเย็น คือ เที่ยง มั่นคง แน่แท้ มีความไม่แปรผันไปเป็นธรรมดา
ในพรหมโลกนั้นนั่นเอง ได้แก่ พึงดำรงอยู่อย่างนั้นเสมอกับสิ่งที่ยึดถือว่าแน่แท้ใน
พรหมโลกนั้นนั่นเอง
อีกนัยหนึ่ง พราหมณ์นั้นทูลถามถึงความแน่แท้ และความขาดสูญของบุคคล
ผู้เข้าอากิญจัญญายตนสมาบัติว่า วิญญาณของเขาพึงจุติ ขาดสูญ หาย พินาศ
ไม่พึงมีหรือ หรือว่าปฏิสนธิวิญญาณในภพใหม่พึงนิพพานในกามธาตุ รูปธาตุ
หรืออรูปธาตุ หรือว่าทูลถามถึงการปรินิพพาน และปฏิสนธิของบุคคลผู้เข้า
อากิญจัญญายตนสมาบัติว่า เขาพึงปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุใน
อากิญจัญญายตนสมาบัตินั้นนั่นเอง หรือว่าวิญญาณของเขาพึงจุติ ปฏิสนธิวิญญาณ
พึงบังเกิด ในกามธาตุ รูปธาตุหรืออรูปธาตุอีก
คำว่า ของบุคคลนั้น ได้แก่ ของบุคคลนั้น คือ ของบุคคลผู้เช่นนั้น ดำรงอยู่
ดังนั้น มีประการดังนั้น เปรียบเทียบได้ดังนั้น ได้แก่ ผู้เข้าอากิญจัญญายตนสมาบัติ
อยู่แล้ว รวมความว่า บุคคลนั้นเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว มีความสงบเย็นในพรหมโลกนั้น
นั่นแลหรือ หรือว่าวิญญาณของบุคคลนั้นจะพึงจุติอีก ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้น
จึงกราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้มีสมันตจักขุ
ถ้าบุคคลนั้นไม่หวั่นไหวดำรงอยู่ในพรหมโลกนั้นนานปีไซร้
บุคคลนั้นเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว
มีความสงบเย็นอยู่ในพรหมโลกนั้นนั่นแลหรือ
หรือว่าวิญญาณของบุคคลนั้นจะพึงจุติอีก
[๔๓] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อุปสีวะ)
เปลวไฟถูกกำลังลมพัดไป
ย่อมดับ กำหนดไม่ได้ ฉันใด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๖. อุปสีวมาณวปัญหานิทเทส
มุนีพ้นแล้วจากนามกาย ย่อมดับไป
กำหนดไม่ได้ ฉันนั้น (๖)
คำว่า เปลวไฟถูกกำลังลมพัดไป ... ฉันใด อธิบายว่า เปลวแห่งไฟตรัส
เรียกว่า เปลวไฟ

ว่าด้วยลม
คำว่า ลม ได้แก่ ลมตะวันออก ลมตะวันตก ลมเหนือ ลมใต้ ลมมีฝุ่น
ลมไม่มีฝุ่น ลมหนาว ลมร้อน ลมพัดเบา ลมพัดแรง ลมบ้าหมู ลมจากปีกนก
ลมจากปีกครุฑ ลมจากใบตาล ลมจากพัด
คำว่า ถูกกำลังลมพัดไป อธิบายว่า ถูกกำลังลมพัดไป คือ พัดขึ้นไป พาไป
พาไปทั่ว กระโชก กระโชกอย่างแรง รวมความว่า เปลวไฟถูกกำลังลมพัดไป ฉันใด
คำว่า อุปสีวะ ในคำว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อุปสีวะ เป็นคำที่พระผู้-
มีพระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อ
คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ คำว่า พระ
ผู้มีพระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ รวมความว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
อุปสีวะ
คำว่า ย่อมดับ ในคำว่า ย่อมดับ กำหนดไม่ได้ อธิบายว่า ย่อมดับ คือ
ย่อมถึงความไม่มี ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ ได้แก่ ดับ สงบ ระงับไป
คำว่า กำหนดไม่ได้ อธิบายว่า กำหนดไม่ได้ คือ ยกมาอ้างไม่ได้ นับไม่ได้
บัญญัติไม่ได้ว่า “เปลวไฟนั้นไปทิศชื่อโน้นแล้ว คือ ไปทิศตะวันออกแล้ว ไป
ทิศตะวันตกแล้ว ไปทิศเหนือแล้ว ไปทิศใต้แล้ว ไปข้างบนแล้ว ไปข้างล่างแล้ว
ไปทิศขวางแล้ว ไปทิศเฉียงแล้ว” คือ ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ไม่มีสาเหตุที่จะเป็น
เครื่องกำหนดได้ รวมความว่า ย่อมดับ กำหนดไม่ได้
คำว่า ฉันนั้น ในคำว่า มุนีพ้นแล้วจากนามกาย ... ฉันนั้น เป็นคำทำการ
เปรียบเทียบให้สมบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๖. อุปสีวมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า มุนี อธิบายว่า ญาณท่านเรียกว่า โมนะ ฯลฯ มุนีก้าวล่วงกิเลส
เครื่องข้องและตัณหาดุจตาข่ายได้แล้ว ชื่อว่ามุนี๑
คำว่า พ้นแล้วจากนามกาย อธิบายว่า มุนีนั้นพ้นแล้วจากรูปกายมาก่อน
แล้วโดยปกติ คือ ก้าวล่วงรูปกายนั้นแล้วละเสียได้ด้วยวิกขัมภนปหาน๒ มุนีนั้น
มาถึงที่สุดภพ ได้อริยมรรค ๔ ประการแล้ว เพราะเป็นผู้ได้อริยมรรค ๔ ประการ
แล้ว ท่านจึงกำหนดรู้นามกาย และรูปกายได้ เพราะเป็นผู้กำหนดรู้นามกายและ
รูปกายได้แล้ว จึงพ้น คือ หลุดพ้น หลุดพ้นด้วยดีจากนามกาย และรูปกาย
ด้วยความหลุดพ้นโดยไม่ยึดมั่นถือมั่นอย่างสิ้นเชิง รวมความว่า มุนีพ้นแล้วจาก
นามกาย ... ฉันนั้น
คำว่า ย่อมดับไป ในคำว่า ย่อมดับไป กำหนดไม่ได้ ได้แก่ ปรินิพพาน
ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ
คำว่า กำหนดไม่ได้ อธิบายว่า มุนีนั้นปรินิพพานแล้วด้วยอนุปาทิเสส-
นิพพานธาตุ กำหนดไม่ได้ คือ ยกมาอ้างไม่ได้ นับไม่ได้ บัญญัติไม่ได้ว่า “เป็น
กษัตริย์ เป็นพราหมณ์ เป็นแพศย์ เป็นศูทร เป็นคฤหัสถ์ เป็นบรรพชิต เป็นเทวดา
เป็นมนุษย์ เป็นผู้มีรูป เป็นผู้ไม่มีรูป เป็นผู้มีสัญญา เป็นผู้ไม่มีสัญญา เป็นผู้มี
สัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่” ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ไม่มีสาเหตุที่จะเป็นเครื่อง
กำหนด รวมความว่า ย่อมดับไป กำหนดไม่ได้ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มี-
พระภาคจึงตรัสว่า
(พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อุปสีวะ)
เปลวไฟถูกกำลังลมพัดไป
ย่อมดับ กำหนดไม่ได้ ฉันใด
มุนีพ้นแล้วจากนามกาย ย่อมดับไป
กำหนดไม่ได้ ฉันนั้น

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๒๑/๑๒๗-๑๒๙
๒ วิกขัมภนปหาน หมายถึงการดับกิเลสด้วยการข่มไว้ของท่านผู้บำเพ็ญปฐมฌาน ย่อมข่มนิวรณ์ไว้ได้
ตลอดเวลาที่อยู่ในฌานนั้น เป็นข้อแรกของปหาน ๕ ดูรายละเอียดจาก ขุ.ป. ๓๑/๒๔/๒๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๖. อุปสีวมาณวปัญหานิทเทส
[๔๔] (ท่านอุปสีวะทูลถามว่า)
มุนีนั้นถึงความสลายไป หรือว่าไม่มี
หรือว่าไม่แตกทำลายเพราะมีความแน่แท้
พระองค์ผู้เป็นพระมุนี โปรดพยากรณ์ปัญหานั้น
แก่ข้าพระองค์ให้แจ่มแจ้งด้วยเถิด
เพราะธรรมนั้นพระองค์ทรงทราบชัดแล้ว (๗)
คำว่า มุนีนั้นถึงความสลายไป หรือว่าไม่มี อธิบายว่า มุนีนั้นถึงความ
สลายไปแล้ว หรือว่าไม่มี คือ มุนีนั้นดับไปแล้ว สูญไปแล้ว หายไปแล้ว รวมความว่า
มุนีนั้นถึงความสลายไป หรือว่าไม่มี
คำว่า หรือว่าไม่แตกทำลาย เพราะมีความแน่แท้ อธิบายว่า หรือว่า เที่ยง
คือ มั่นคง แน่แท้ มีความไม่แปรผันไปเป็นธรรมดา ได้แก่ พึงดำรงอยู่อย่างนั้น
เสมอกับสิ่งที่ยึดถือว่าแน่แท้ ในพรหมโลกนั้น รวมความว่า หรือว่าไม่แตกทำลาย
เพราะมีความแน่แท้
คำว่า ปัญหานั้น ในคำว่า พระองค์ผู้เป็นพระมุนี โปรดพยากรณ์ปัญหา
นั้นแก่ข้าพระองค์ให้แจ่มแจ้งด้วยเถิด ได้แก่ ปัญหาที่ข้าพระองค์ทูลถาม ปัญหา
ที่ทูลขอ ทูลอัญเชิญ ทูลให้ทรงประกาศ
คำว่า มุนี อธิบายว่า ญาณท่านเรียกว่า โมนะ ฯลฯ มุนีก้าวล่วงกิเลส
เครื่องข้องและตัณหาดุจตาข่ายได้แล้ว ชื่อว่ามุนี๑
คำว่า โปรดพยากรณ์(ปัญหานั้น) ให้แจ่มแจ้งด้วยเถิด ได้แก่ ขอ
พระองค์โปรดตรัสบอก คือ โปรดแสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก
ทำให้ง่าย ประกาศปัญหานั้นให้แจ่มแจ้งด้วยเถิด รวมความว่า พระองค์ผู้เป็น
พระมุนี โปรดพยากรณ์ปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์ให้แจ่มแจ้งด้วยเถิด
คำว่า เพราะธรรมนั้นพระองค์ทรงทราบชัดแล้ว อธิบายว่า เพราะพระองค์
ทรงทราบชัดแล้ว คือ ทรงรู้แล้ว เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๒๑/๑๒๗-๑๒๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๖. อุปสีวมาณวปัญหานิทเทส
แจ่มแจ้งแล้วรวมความว่า เพราะธรรมนั้นพระองค์ทรงทราบชัดแล้ว ด้วยเหตุนั้น
พราหมณ์นั้นจึงกราบทูลว่า
มุนีนั้นถึงความสลายไป หรือว่าไม่มี
หรือว่าไม่แตกทำลายเพราะมีความแน่แท้
พระองค์ผู้เป็นพระมุนี โปรดพยากรณ์ปัญหานั้น
แก่ข้าพระองค์ให้แจ่มแจ้งด้วยเถิด
เพราะธรรมนั้นพระองค์ทรงทราบชัดแล้ว
[๔๕] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อุปสีวะ)
มุนีผู้ถึงความสลายไป ย่อมไม่มี(อะไร)เป็นประมาณ
ชนทั้งหลายพึงว่ากล่าวมุนีนั้นด้วยกิเลสใด
กิเลสนั้นย่อมไม่มีแก่มุนีนั้น
(เพราะ) เมื่อมุนีนั้นถอนธรรมทั้งปวงได้เด็ดขาดแล้ว
แม้ครรลองแห่งวาทะทั้งปวง
ท่านก็ถอนได้เด็ดขาดแล้ว(เหมือนกัน) (๘)
คำว่า มุนีผู้ถึงความสลายไปย่อมไม่มี(อะไร)เป็นประมาณ อธิบายว่า มุนี
ผู้ถึงความสลายไป คือ ปรินิพพานแล้วด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ย่อมไม่มี
ประมาณ แห่งรูป ไม่มีประมาณแห่งเวทนา ไม่มีประมาณแห่งสัญญา ไม่มี
ประมาณแห่งสังขาร ไม่มีประมาณแห่งวิญญาณ คือ ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้
ได้แก่ ท่านละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิด
ขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า มุนีผู้ถึงความสลายไป ย่อม
ไม่มี(อะไร)เป็นประมาณ
คำว่า อุปสีวะ ในคำว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อุปสีวะ เป็นคำที่
พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อ
คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ คำว่า
พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ รวมความว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
อุปสีวะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๖. อุปสีวมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า ชนทั้งหลายพึงว่ากล่าวมุนีนั้นด้วยกิเลสใด กิเลสนั้นย่อมไม่มีแก่
มุนีนั้น อธิบายว่า ชนทั้งหลายที่ว่ากล่าวมุนีนั้นด้วยราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ
อุทธัจจะ วิจิกิจฉา อนุสัยใดว่า “เป็นผู้กำหนัด เป็นผู้ขัดเคือง เป็นผู้หลง เป็นผู้ยึดติด
เป็นผู้ยึดมั่น เป็นผู้ฟุ้งซ่าน เป็นผู้ลังเล หรือเป็นผู้ตกอยู่ในพลังกิเลส” กิเลส
เครื่องปรุงแต่งเหล่านั้นท่านละได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละกิเลสเครื่องปรุงแต่งได้แล้ว
ชนทั้งหลายพึงว่ากล่าวท่านโดยคติด้วยเหตุใดว่า “เป็นผู้เกิดในนรก เป็นผู้เกิดใน
กำเนิดเดรัจฉาน เป็นผู้เกิดในเปตวิสัย เป็นมนุษย์ เป็นเทพ เป็นผู้มีรูป เป็นผู้ไม่มีรูป
เป็นผู้มีสัญญา เป็นผู้ไม่มีสัญญา หรือ เป็นผู้มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่”
ชนทั้งหลายพึงว่ากล่าว คือ พูด บอก แสดง ชี้แจงด้วยกิเลสใด เหตุนั้นไม่มี
ปัจจัยไม่มี สาเหตุไม่มี รวมความว่า ชนทั้งหลายพึงว่ากล่าวมุนีนั้นด้วยกิเลสใด
กิเลสนั้นย่อมไม่มีแก่มุนีนั้น
คำว่า (เพราะ) เมื่อมุนีนั้นถอนธรรมทั้งปวงได้เด็ดขาดแล้ว อธิบายว่า
เมื่อธรรมทั้งปวง คือ ขันธ์ทั้งปวง อายตนะทั้งปวง ธาตุทั้งปวง คติทั้งปวง อุปบัติ
(การถือกำเนิด) ทั้งปวง ปฏิสนธิทั้งปวง ภพทั้งปวง สงสารทั้งปวง วัฏฏะทั้งปวง
มุนีนั้นถอนแล้ว ถอนได้เด็ดขาดแล้ว ดึงขึ้น ดึงขึ้นได้เด็ดขาดแล้ว เพิกขึ้น เพิก
ขึ้นได้เด็ดขาดแล้ว ได้แก่ มุนีนั้นละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว
ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า (เพราะ)
เมื่อมุนีนั้นถอนธรรมทั้งปวงได้เด็ดขาดแล้ว
คำว่า แม้ครรลองแห่งวาทะทั้งปวง ท่านก็ถอนได้เด็ดขาดแล้ว อธิบายว่า
กิเลส ขันธ์ และอภิสังขารตรัสเรียกว่า ครรลองแห่งวาทะ วาทะ ครรลองแห่งวาทะ
ชื่อ ครรลองแห่งชื่อ ภาษา ครรลองแห่งภาษา บัญญัติและครรลองแห่งบัญญัติ
มุนีนั้นถอนแล้ว ถอนได้เด็ดขาดแล้ว คือ ดึงขึ้น ดึงขึ้นได้เด็ดขาดแล้ว เพิกขึ้น
เพิกขึ้นได้เด็ดขาดแล้ว ได้แก่ มุนีนั้นละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว
ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า แม้ครรลอง
แห่งวาทะทั้งปวง ท่านก็ถอนได้ได้เด็ดขาดแล้ว ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึง
ตรัสว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๖. อุปสีวมาณวปัญหานิทเทส
มุนีผู้ถึงความสลายไป ย่อมไม่มี(อะไร)เป็นประมาณ
ชนทั้งหลายพึงว่ากล่าวมุนีนั้นด้วยกิเลสใด
กิเลสนั้นย่อมไม่มีแก่มุนีนั้น
(เพราะ) เมื่อมุนีนั้นถอนธรรมทั้งปวงได้เด็ดขาดแล้ว
แม้ครรลองแห่งวาทะทั้งปวง
ท่านก็ถอนได้ได้เด็ดขาดแล้ว(เหมือนกัน)
พร้อมกับการจบคาถา ฯลฯ อุปสีวมาณพนั่งประคองอัญชลี นมัสการ
พระผู้มีพระภาคโดยประกาศว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเป็น
ศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก”
อุปสีวมาณวปัญหานิทเทสที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๗. นันทมาณวปัญหานิทเทส
๗. นันทมาณวปัญหานิทเทส๑
ว่าด้วยปัญหาของนันทมาณพ
[๔๖] (ท่านนันทะทูลถาม ดังนี้)
ชนทั้งหลายกล่าวว่า มุนีทั้งหลายมีอยู่ในโลก
คำกล่าวนี้นั้นเป็นอย่างไร
ชนทั้งหลายเรียกบุคคลผู้เป็นไปด้วยญาณ
หรือว่าเรียกบุคคลผู้เป็นไปด้วยความเป็นอยู่ว่า เป็นมุนี (๑)
คำว่า มีอยู่ ในคำว่า มุนีทั้งหลายมีอยู่ในโลก อธิบายว่า มีอยู่ คือปรากฏ
มี หาได้
คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก ฯลฯ ในอายตนโลก
คำว่า มุนีทั้งหลาย ได้แก่ อาชีวก นิครนถ์ ชฎิล ดาบส เรียกชื่อว่ามุนี
(ชนทั้งหลายเข้าใจกันว่า มุนีทั้งหลายในโลกเป็นเทพ แต่เทพเหล่านั้นหาใช่มุนีไม่)
รวมความว่า มุนีทั้งหลายมีอยู่ในโลก
คำว่า ดังนี้ ในคำว่า ท่านนันทะทูลถาม ดังนี้ เป็นบทสนธิ ฯลฯ
คำว่า ท่าน เป็นคำกล่าวด้วยความรัก ฯลฯ
คำว่า นันทะ เป็นชื่อของพราหมณ์นั้น ฯลฯ ชื่อเรียกเฉพาะ รวมความว่า
ท่านนันทะทูลถาม ดังนี้
คำว่า ชนทั้งหลาย ในคำว่า ชนทั้งหลายกล่าวว่า ...คำกล่าวนี้นั้นเป็น
อย่างไร ได้แก่ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดาและ
มนุษย์
คำว่า ย่อมกล่าว ได้แก่ ย่อมพูด บอก แสดง ชี้แจง
คำว่า คำกล่าวนี้นั้นเป็นอย่างไร เป็นคำทูลถามด้วยความสงสัย เป็นคำถาม
ด้วยความข้องใจ เป็นคำถาม ๒ แง่ เป็นคำถามมีแง่มุมหลายหลากว่า “อย่างนี้

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.สุ. ๒๕/๑๐๘๔-๑๐๙๐/๕๔๐-๕๔๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๗. นันทมาณวปัญหานิทเทส
หรือหนอ มิใช่หรือหนอ เป็นอะไรเล่าหนอ เป็นอย่างไรเล่าหนอ” รวมความว่า
ชนทั้งหลายกล่าวว่า ... คำกล่าวนี้นั้นเป็นอย่างไร
คำว่า ชนทั้งหลายเรียกบุคคลผู้เป็นไปด้วยญาณว่าเป็นมุนี อธิบายว่า ชน
ทั้งหลายย่อมเรียก คือ ย่อมพูด บอก แสดง ชี้แจงบุคคลผู้ประกอบ คือ
ประกอบพร้อม ดำเนินไป ดำเนินไปพร้อม เป็นไป เป็นไปพร้อม เพียบพร้อม
ด้วยญาณในสมาบัติ ๘ หรือญาณในอภิญญา ๕ ว่าเป็นมุนี รวมความว่า ชน
ทั้งหลายเรียกบุคคลผู้เป็นไปด้วยญาณว่าเป็นมุนี
คำว่า หรือว่าเรียกบุคคลผู้เป็นไปด้วยความเป็นอยู่ว่า เป็นมุนี อธิบายว่า
ชนทั้งหลาย ย่อมเรียก คือ ย่อมพูด บอก แสดง ชี้แจงบุคคลผู้ประกอบ คือ
ประกอบพร้อม ดำเนินไป ดำเนินไปพร้อม เป็นไป เป็นไปพร้อม เพียบพร้อม
ด้วยความเพียรของบุคคลผู้ดำเนินชีวิตเศร้าหมอง ผู้ทำกิจที่ทำได้ยากยิ่งหลายอย่างว่า
เป็นมุนี รวมความว่า หรือว่า เรียกบุคคลผู้เป็นไปด้วยความเป็นอยู่ว่า เป็นมุนี
ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกราบทูลว่า
(ท่านนันทะทูลถาม ดังนี้)
ชนทั้งหลายกล่าวว่า มุนีทั้งหลายมีอยู่ในโลก
คำกล่าวนี้นั้นเป็นอย่างไร
ชนทั้งหลายเรียกบุคคลผู้เป็นไปด้วยญาณ
หรือว่าเรียกบุคคลผู้เป็นไปด้วยความเป็นอยู่ว่า เป็นมุนี
[๔๗] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า)
นันทะ ชนทั้งหลายผู้ฉลาดในโลกนี้
ไม่เรียกบุคคลว่าเป็นมุนี เพราะได้เห็นเพราะได้ฟังและเพราะได้รู้
เราเรียกเหล่าชนผู้กำจัดเสนามารได้แล้ว
ผู้ไม่มีความทุกข์ ไม่มีความหวัง เที่ยวจาริกอยู่ว่า เป็นมุนี (๒)
คำว่า ไม่เรียก... เพราะได้เห็น เพราะได้ฟังและเพราะได้รู้ ได้แก่ ไม่เรียก
เพราะความหมดจดแห่งรูปที่ได้เห็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๗. นันทมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า ไม่เรียก... เพราะได้ฟัง ได้แก่ ไม่เรียก เพราะความหมดจดแห่ง
เสียงที่ได้ยิน
คำว่า ไม่เรียก... เพราะได้รู้ ได้แก่ ไม่เรียกเพราะญาณในสมาบัติ ๘ บ้าง
ไม่เรียกเพราะญาณในอภิญญา ๕ บ้าง ไม่เรียกเพราะมิจฉาญาณบ้าง รวมความว่า
ไม่เรียก... เพราะได้เห็น เพราะได้ฟัง และเพราะได้รู้
คำว่า ชนทั้งหลายผู้ฉลาด ในคำว่า นันทะ ชนทั้งหลายผู้ฉลาดในโลกนี้
ไม่เรียกบุคคลว่าเป็นมุนี อธิบายว่า ชนทั้งหลายผู้ฉลาดในขันธ์ ฉลาดในธาตุ
ฉลาดในอายตนะ ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท ฉลาดในสติปัฏฐาน ฉลาดในสัมมัปปธาน
ฉลาดในอิทธิบาท ฉลาดในอินทรีย์ ฉลาดในพละ ฉลาดในโพชฌงค์ ฉลาดในมรรค
ฉลาดในผล ฉลาดในนิพพาน ย่อมไม่เรียก คือ ย่อมไม่พูด ไม่บอก ไม่แสดง
ไม่ชี้แจงบุคคลผู้ประกอบ คือ ประกอบพร้อม ดำเนินไป ดำเนินไปพร้อม เป็นไป
เป็นไปพร้อม เพียบพร้อมด้วยความสะอาดแห่งรูปที่ได้เห็น ความหมดจดแห่ง
เสียงที่ได้ยิน ญาณในสมาบัติ ๘ ญาณในอภิญญา๑ ๕ มิจฉาญาณ รูปที่ได้เห็น หรือ
เสียงที่ได้ยินว่าเป็นมุนี รวมความว่า นันทะ ชนทั้งหลายผู้ฉลาดในโลกนี้ ไม่เรียก
บุคคลว่าเป็นมุนี
ว่าด้วยเสนามาร
คำว่า เราเรียกเหล่าชนผู้กำจัดเสนามารได้แล้ว ผู้ไม่มีความทุกข์ ไม่มี
ความหวัง เที่ยวจาริกอยู่ว่า เป็นมุนี อธิบายว่า เสนามารตรัสเรียกว่า เสนา
กายทุจริต ชื่อว่าเสนามาร วจีทุจริต ชื่อว่าเสนามาร มโนทุจริต ชื่อว่าเสนามาร ราคะ
ชื่อว่าเสนามาร โทสะ ชื่อว่าเสนามาร โมหะ ชื่อว่าเสนามาร โกธะ ฯลฯ อุปนาหะ
ฯลฯ มักขะ ฯลฯ ปฬาสะ ฯลฯ อิสสา ฯลฯ มัจฉริยะ ฯลฯ มายา ฯลฯ สาเถยยะ
ฯลฯ ถัมภะ ฯลฯ สารัมภะ ฯลฯ มานะ ฯลฯ อติมานะ ฯลฯ มทะ ฯลฯ ปมาทะ
ฯลฯ กิเลสทุกชนิด ฯลฯ ทุจริตทุกทาง ฯลฯ ความกระวนกระวายทุกอย่าง ฯลฯ
ความเร่าร้อนทุกสถาน ฯลฯ ความเดือดร้อนทุกประการ ฯลฯ อกุสลาภิสังขาร
ทุกประเภท ชื่อว่าเสนามาร สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า

เชิงอรรถ :
๑ อภิญญา ๕ ได้แก่ (๑) อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ได้ (๒) ทิพพโสต หูทิพย์ (๓) เจโตปริยญาณ
กำหนดรู้ใจคนอื่นได้ (๔) ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติได้ (๕) ทิพพจักขุ ตาทิพย์ (ที.ปา.
๑๑/๔๓๑/๓๐๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๗. นันทมาณวปัญหานิทเทส
กิเลสกามเราเรียกว่าเสนากองที่ ๑ ของท่าน
ความไม่ยินดีเราเรียกว่าเสนากองที่ ๒ ของท่าน
ความหิวกระหายเราเรียกว่าเสนากองที่ ๓ ของท่าน
ตัณหาเราเรียกว่าเสนากองที่ ๔ ของท่าน
ถีนมิทธะเราเรียกว่าเสนากองที่ ๕ ของท่าน
ความกลัวเราเรียกว่าเสนากองที่ ๖ ของท่าน
วิจิกิจฉาเราเรียกว่าเสนากองที่ ๗ ของท่าน
มักขะและถัมภะเราเรียกว่าเสนากองที่ ๘ ของท่าน
ลาภ ความสรรเสริญ สักการะและยศที่ได้มาผิด ๆ
เราเรียกว่าเสนากองที่ ๙ ของท่าน
การยกตนและข่มผู้อื่นเราเรียกว่าเสนากองที่ ๑๐ ของท่าน
มารเอ๋ย เสนาของท่านนี้ มีปกติประหารผู้มีธรรมดำ
คนขลาดเอาชนะเสนานั้นไม่ได้
แต่คนกล้า ครั้นชนะได้แล้วย่อมได้ความสุข๑
เมื่อใด เสนามารทั้งหมดและกิเลสที่สร้างเสนาฝ่ายตรงข้ามทั้งปวง ถูกชน
เหล่าใดพิชิตและทำให้ปราชัย ถูกทำลาย กำจัด ทำให้ไม่สู้หน้าแล้วด้วยอริยมรรค ๔
เมื่อนั้น ชนเหล่านั้น เรียกว่า ผู้กำจัดเสนามารได้แล้ว
คำว่า ผู้ไม่มีความทุกข์ อธิบายว่า ราคะ โทสะ โมหะ โกธะ อุปนาหะ
เป็นความทุกข์ ฯลฯ อกุสลาภิสังขารทุกประเภท เป็นทุกข์ ความทุกข์เหล่านี้
ชนเหล่าใดละได้แล้ว คือ ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้
เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ชนเหล่านั้นตรัสเรียกว่า ผู้ไม่มีความทุกข์
คำว่า ไม่มีความหวัง อธิบายว่า ตัณหาตรัสเรียกว่า ความหวัง ได้แก่
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ
ความหวังคือตัณหานี้ ชนเหล่าใดละได้แล้ว คือ ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบ
ได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ชนเหล่านั้น
ตรัสเรียกว่า ไม่มีความหวัง ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.สุ. ๒๕ /๔๓๙-๔๔๒ /๔๑๖, ขุ.ม.(แปล) ๒๙/๒๘/๑๑๕-๑๑๖,๖๘/๒๑๐,๑๔๙/๓๙๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๗. นันทมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า เราเรียกเหล่าชนผู้กำจัดเสนามารได้แล้ว ผู้ไม่มีความทุกข์ ไม่มี
ความหวัง เที่ยวจาริกอยู่ว่า เป็นมุนี อธิบายว่า เราเรียก คือ บอก แสดง บัญญัติ
กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศว่า ชนเหล่าใดกำจัดเสนามารได้แล้ว
ไม่มีทุกข์และไม่มีความหวัง เที่ยวจาริกอยู่ คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต
ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป ชนเหล่านั้นจึงเป็นมุนีในโลกได้ รวมความว่า เรา
เรียกเหล่าชนผู้กำจัดเสนามารได้แล้ว ผู้ไม่มีความทุกข์ ไม่มีความหวัง เที่ยวจาริก
อยู่ว่า เป็นมุนี ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
(พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า)
นันทะ ชนทั้งหลายผู้ฉลาดในโลกนี้
ไม่เรียกบุคคลว่าเป็นมุนี เพราะได้เห็นเพราะได้ฟังและเพราะได้รู้
เราเรียกเหล่าชนผู้กำจัดเสนามารได้แล้ว
ผู้ไม่มีความทุกข์ ไม่มีความหวัง เที่ยวจาริกอยู่ว่า เป็นมุนี
[๔๘] (ท่านนันทะทูลถาม ดังนี้)
สมณพราหมณ์บางพวกย่อมกล่าวความหมดจด
เพราะรูปที่ได้เห็นบ้าง เพราะเสียงที่ได้ยินบ้าง
ย่อมกล่าวความหมดจดเพราะศีลวัตรบ้าง
ย่อมกล่าวความหมดจดเพราะพิธีหลากหลายบ้าง
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้นิรทุกข์
สมณพราหมณ์พวกนั้นเป็นผู้ประพฤติตนเคร่งครัด
ในหลักการของตนนั้น ข้ามชาติและชราได้บ้างหรือไม่
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น
ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้น แก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด (๓)
คำว่า บางพวก ในคำว่า สมณพราหมณ์บางพวก ได้แก่ ทุกสิ่ง โดย
อาการทั้งหมด ทุกอย่างไม่เหลือ ไม่มีส่วนเหลือโดยประการทั้งปวง คำว่า บางพวก
นี้ เป็นคำกล่าวรวม ๆ ไว้ทั้งหมด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๑๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๗. นันทมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า สมณะ ได้แก่ นักบวชพวกใดพวกหนึ่ง ซึ่งเข้าถึงการบวชเป็นปริพาชก
ถึงการบวชเป็นปริพาชกภายนอกจากธรรมวินัยนี้
คำว่า พราหมณ์ ได้แก่ คนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ผู้กล่าวอ้างว่าตนเจริญบางพวก
รวมความว่า สมณพราหมณ์บางพวก
คำว่า ดังนี้ ในคำว่า ท่านนันทะทูลถาม ดังนี้ เป็นบทสนธิ ฯลฯ
คำว่า ท่าน เป็นคำกล่าวด้วยความรัก ฯลฯ
คำว่า นันทะ เป็นชื่อของพราหมณ์นั้น ฯลฯ ชื่อเรียกเฉพาะ รวมความว่า
ท่านนันทะทูลถาม ดังนี้
คำว่า ย่อมกล่าวความหมดจดเพราะรูปที่ได้เห็นบ้าง เพราะเสียงที่ได้ยิน
บ้าง อธิบายว่า ย่อมกล่าว คือ ย่อมพูด บอก แสดง ชี้แจงความหมดจด คือ
ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ได้แก่ ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไป
เพราะรูปที่ได้เห็นบ้าง ย่อมกล่าว คือ ย่อมพูด บอก แสดง ชี้แจงความหมดจด คือ
ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไปเพราะ
เสียงที่ได้ยินบ้าง ย่อมกล่าว คือ ย่อมพูด บอก แสดง ชี้แจงความหมดจด คือ
ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไปเพราะ
รูปที่ได้เห็นและเสียงที่ได้ยินบ้าง รวมความว่า ย่อมกล่าวความหมดจดเพราะรูปที่
ได้เห็นบ้าง เพราะเสียงที่ได้ยินบ้าง
คำว่า ย่อมกล่าวความหมดจดเพราะศีลวัตรบ้าง อธิบายว่า ย่อมกล่าว คือ
ย่อมพูด บอก แสดง ชี้แจงความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ได้แก่
ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไปเพราะศีลบ้าง ย่อมกล่าว คือ ย่อมพูด
บอก แสดง ชี้แจงความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป
ความพ้นไป ความหลุดพ้นไปเพราะวัตรบ้าง ย่อมกล่าว คือ ย่อมพูด บอก แสดง
ชี้แจงความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป
ความหลุดพ้นไปเพราะศีลวัตรบ้าง รวมความว่า ย่อมกล่าวความหมดจดเพราะ
ศีลวัตรบ้าง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๗. นันทมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า ย่อมกล่าวความหมดจดเพราะพิธีหลากหลายบ้าง อธิบายว่า ย่อม
กล่าว คือ ย่อมพูด บอก แสดง ชี้แจงความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์
ได้แก่ ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไปเพราะพิธีหลายอย่างบ้าง
คำว่า ได้บ้างหรือไม่ ในคำว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ... สมณพราหมณ์
พวกนั้นเป็นผู้ประพฤติตนเคร่งครัดในหลักการของตนนั้น... ได้บ้างหรือไม่ เป็น
คำถามด้วยความสงสัย เป็นคำถามด้วยความข้องใจ เป็นคำถาม ๒ แง่ เป็นคำถาม
มีแง่มุมหลายหลากว่า “อย่างนี้หรือหนอ มิใช่หรือหนอ เป็นอะไรเล่าหนอ เป็น
อย่างไรเล่าหนอ” รวมความว่า ได้บ้างหรือไม่
คำว่า พวกนั้น ได้แก่ สมณพราหมณ์ผู้ถือทิฏฐิ
คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ คำว่า พระ
ผู้มีพระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ รวมความว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ...
สมณพราหมณ์พวกนั้นเป็นผู้ประพฤติตนเคร่งครัดในหลักการของตนนั้น... ได้บ้าง
หรือไม่
คำว่า ใน ... นั้น ในคำว่า เป็นผู้ประพฤติตนเคร่งครัดในหลักการ
ของตนนั้น อธิบายว่า ในหลักการของตน คือ ในความถูกใจ ความพอใจ ลัทธิ
ของตน
คำว่า เคร่งครัด ได้แก่ ระวัง ระมัดระวัง คุ้มครอง ปกปัก รักษา สังวรแล้ว
คำว่า ประพฤติ ได้แก่ ประพฤติ คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต
ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป รวมความว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ... สมณ-
พราหมณ์พวกนั้นเป็นผู้ประพฤติตนเคร่งครัดในหลักการของตนนั้น ... ได้บ้างหรือไม่
คำว่า ผู้นิรทุกข์...ข้ามชาติและชรา อธิบายว่า ข้าม คือ ข้ามไป ข้ามพ้น
ก้าวล่วง ล่วงเลยชาติชราและมรณะ
คำว่า ผู้นิรทุกข์ เป็นคำกล่าวด้วยความรัก เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ คำ
ว่า ผู้นิรทุกข์ นี้ เป็นคำกล่าวที่มีความเคารพและความยำเกรง รวมความว่า ผู้
นิรทุกข์...ข้ามชาติและชรา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๗. นันทมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น ในคำว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค
ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระ
องค์ด้วยเถิด ได้แก่ ข้าพระองค์ขอทูลถาม คือ ทูลขอ ทูลอัญเชิญ ทูลให้ทรง
ประกาศปัญหานั้นว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอกแก่ข้าพระองค์เถิด รวมความว่า
ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น
คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ คำว่า พระ
ผู้มีพระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ
คำว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด อธิบายว่า
ขอพระองค์โปรดตรัส คือ โปรดบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก
ทำให้ง่าย ประกาศ รวมความว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์
ด้วยเถิด ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกราบทูลว่า
(ท่านนันทะทูลถาม ดังนี้)
สมณพราหมณ์บางพวกย่อมกล่าวความหมดจด
เพราะรูปที่ได้เห็นบ้าง เพราะเสียงที่ได้ยินบ้าง
ย่อมกล่าวความหมดจดเพราะศีลวัตรบ้าง
ย่อมกล่าวความหมดจดเพราะพิธีหลากหลายบ้าง
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้นิรทุกข์
สมณพราหมณ์พวกนั้นเป็นผู้ประพฤติตนเคร่งครัด
ในหลักการของตนนั้น ข้ามชาติและชราได้บ้างหรือไม่
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น
ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด
[๔๙] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า นันทะ)
สมณพราหมณ์บางพวกย่อมกล่าวความหมดจด
เพราะรูปที่ได้เห็นบ้าง เพราะเสียงที่ได้ยินบ้าง
ย่อมกล่าวความหมดจดเพราะศีลวัตรบ้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๗. นันทมาณวปัญหานิทเทส
ย่อมกล่าวความหมดจดเพราะพิธีหลากหลายบ้าง
สมณพราหมณ์พวกนั้น
แม้ประพฤติตนเคร่งครัดอยู่ในหลักการของตนนั้น ก็จริง
แต่เรากล่าวว่า พวกเขายังข้ามชาติและชราไปไม่ได้ (๔)
คำว่า บางพวก ในคำว่า สมณพราหมณ์บางพวก ได้แก่ ทุกสิ่ง โดย
อาการทั้งหมด ทุกอย่าง ไม่เหลือ ไม่มีส่วนเหลือโดยประการทั้งปวง คำว่า บางพวก
นี้ เป็นคำกล่าวรวม ๆ ไว้ทั้งหมด
คำว่า สมณะ ได้แก่ นักบวชพวกใดพวกหนึ่ง ซึ่งเข้าถึงการบวชเป็นปริพาชก
ถึงการบวชเป็นปริพาชกภายนอกจากธรรมวินัยนี้
คำว่า พราหมณ์ ได้แก่ คนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ผู้กล่าวอ้างว่าตนเจริญบางพวก
รวมความว่า สมณพราหมณ์บางพวก
คำว่า นันทะ ในคำว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า นันทะ เป็นคำที่พระ
ผู้มีพระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อ
คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ คำว่า
พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ๑ รวมความว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
นันทะ
คำว่า ย่อมกล่าวความหมดจดเพราะรูปที่ได้เห็นบ้างเพราะเสียงที่ได้ยินบ้าง
อธิบายว่า ย่อมกล่าว คือ ย่อมพูด บอก แสดง ชี้แจงความหมดจด คือ
ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ได้แก่ ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไป
เพราะรูปที่ได้เห็นบ้าง ย่อมกล่าว คือ ย่อมพูด บอก แสดงชี้แจงความหมดจด คือ
ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไปเพราะ
เสียงที่ได้ยินบ้าง ย่อมกล่าว คือ ย่อมพูด บอก แสดง ชี้แจงความหมดจด คือ
ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไปเพราะ
รูปที่ได้เห็นบ้างและเพราะเสียงที่ได้ยินบ้าง รวมความว่า ย่อมกล่าวความหมดจด
เพราะรูปที่ได้เห็นบ้างเพราะเสียงที่ได้ยินบ้าง

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๒/๔๖-๔๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๐๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๗. นันทมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า ย่อมกล่าวความหมดจดเพราะศีลวัตรบ้าง อธิบายว่า ย่อมกล่าว คือ
ย่อมพูด บอก แสดง ชี้แจงความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ได้แก่
ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไป ย่อมกล่าว คือ ย่อมพูด บอก แสดง
ชี้แจง ความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป
ความหลุดพ้นไปเพราะศีลบ้าง ย่อมกล่าว คือ ย่อมพูด บอก แสดง ชี้แจง
ความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป
ความหลุดพ้นไปเพราะวัตรบ้าง ย่อมกล่าว คือ ย่อมพูด บอก แสดง ชี้แจง
ความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป
ความหลุดพ้นไปเพราะศีลวัตรบ้าง รวมความว่า ย่อมกล่าวความหมดจดเพราะ
ศีลวัตรบ้าง
คำว่า ย่อมกล่าวความหมดจดเพราะพิธีหลากหลายบ้าง อธิบายว่า ย่อม
กล่าว คือ ย่อมพูด บอก แสดง ชี้แจงความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์
ได้แก่ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไปเพราะพิธีหลากหลายบ้าง รวม
ความว่า ย่อมกล่าวความหมดจดเพราะพิธีหลากหลายบ้าง
คำว่า แม้...ก็จริง ในคำว่า สมณพราหมณ์พวกนั้นแม้ประพฤติตน
เคร่งครัดอยู่ในหลักการของตนนั้น ก็จริง เป็นบทสนธิ เป็นคำเชื่อมบท ทำบท
ให้บริบูรณ์ เป็นความสัมพันธ์แห่งอักษร เป็นความสละสลวยแห่งพยัญชนะ คำว่า
แม้ ... ก็จริง นี้ เป็นคำเชื่อมบทหน้ากับบทหลังเข้าด้วยกัน
คำว่า พวกนั้น ได้แก่ สมณพราหมณ์ผู้ถือทิฏฐิอยู่
คำว่า ใน... นั้น ได้แก่ ในหลักการของตน คือ ในความถูกใจ ความพอใจ
ในลัทธิของตน
คำว่า เคร่งครัด ได้แก่ ระวัง ระมัดระวัง คุ้มครอง ปกปัก รักษา สังวรแล้ว
คำว่า ประพฤติ ได้แก่ ประพฤติ คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต
ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป รวมความว่า สมณพราหมณ์พวกนั้นแม้ประพฤติ
ตนเคร่งครัดอยู่ในหลักการของตนนั้น ก็จริง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๗. นันทมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า แต่เรากล่าวว่าพวกเขายังข้ามชาติและชราไปไม่ได้ อธิบายว่า เรา
กล่าว คือ บอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศว่า
สมณพราหมณ์พวกนั้นข้ามไม่ได้ คือ ข้ามไปไม่ได้ ข้ามพ้นไม่ได้ ก้าวล่วงไม่ได้
ล่วงเลยชาติชราและมรณะไปไม่ได้ ได้แก่ ออกจากชาติชราและมรณะไม่ได้ คือ
สลัดออกไม่ได้ ก้าวพ้นไม่ได้ ก้าวล่วงไม่ได้ ล่วงเลยจากชาติชราและมรณะไม่ได้
ได้แก่ หมุนเวียนอยู่ภายในชาติ ชราและมรณะ หมุนเวียนอยู่ภายในทางแห่งสงสาร
ไปตามชาติ ถูกชราติดตาม ถูกพยาธิครอบงำ มรณะย่ำยี ไม่มีที่ปกป้อง ไม่มีที่
หลีกเร้น ไม่มีที่พึ่ง ไม่มีที่อาศัย รวมความว่า สมณพราหมณ์พวกนั้นแม้
ประพฤติตนเคร่งครัดอยู่ในหลักการของตนนั้น ก็จริง ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค
จึงตรัสว่า
(พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า นันทะ)
สมณพราหมณ์บางพวกย่อมกล่าวความหมดจด
เพราะรูปที่ได้เห็นบ้าง เพราะเสียงที่ได้ยินบ้าง
ย่อมกล่าวความหมดจดเพราะศีลวัตรบ้าง
ย่อมกล่าวความหมดจดเพราะพิธีหลากหลายบ้าง
สมณพราหมณ์พวกนั้น
แม้ประพฤติตนเคร่งครัดอยู่ในหลักการของตนนั้น ก็จริง
แต่เรากล่าวว่า พวกเขายังข้ามชาติและชราไปไม่ได้
[๕๐] (ท่านนันทะทูลถาม ดังนี้)
สมณพราหมณ์บางพวกย่อมกล่าวความหมดจด
เพราะรูปที่ได้เห็นบ้าง เพราะเสียงที่ได้ยินบ้าง
ย่อมกล่าวความหมดจดเพราะศีลวัตรบ้าง
ย่อมกล่าวความหมดจดเพราะพิธีหลากหลายบ้าง
หากพระองค์ผู้เป็นพระมุนีตรัสว่า
สมณพราหมณ์พวกนั้นยังข้ามห้วงกิเลสไม่ได้
ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ เมื่อเป็นเช่นนั้น
ใครเล่าในเทวโลกและมนุษยโลก ชื่อว่าข้ามชาติและชราไปได้
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น
ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด (๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๗. นันทมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า บางพวก ในคำว่า สมณพราหมณ์บางพวก ได้แก่ ทุกสิ่งโดยอาการ
ทั้งหมด ทุกอย่าง ไม่เหลือ ไม่มีส่วนเหลือโดยประการทั้งปวง คำว่า บางพวก นี้
เป็นคำกล่าวรวม ๆ ไว้ทั้งหมด รวมความว่า สมณพราหมณ์บางพวก
คำว่า ดังนี้ ในคำว่า ท่านนันทะทูลถาม ดังนี้ เป็นบทสนธิ ฯลฯ
คำว่า ท่าน เป็นคำกล่าวด้วยความรัก
คำว่า นันทะ เป็นชื่อของพราหมณ์นั้น ฯลฯ ชื่อเรียกเฉพาะ รวมความว่า
ท่านนันทะทูลถาม ดังนี้
คำว่า ย่อมกล่าวความหมดจดเพราะรูปที่ได้เห็นบ้าง เพราะเสียงที่ได้ยิน
บ้าง อธิบายว่า ย่อมกล่าว คือ ย่อมพูด บอก แสดง ชี้แจงความหมดจด คือ
ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ได้แก่ ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไป
เพราะรูปที่ได้เห็นบ้าง ย่อมกล่าว คือ ย่อมพูด บอก แสดง ชี้แจง ความหมดจด
คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไป
เพราะเสียงที่ได้ยินบ้าง ย่อมกล่าว คือ ย่อมพูด บอก แสดง ชี้แจง ความหมดจด
คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไป
เพราะรูปที่ได้เห็นบ้าง เพราะเสียงที่ได้ยินบ้าง รวมความว่า ย่อมกล่าวความหมด
จดเพราะรูปที่ได้เห็นบ้าง เพราะเสียงที่ได้ยินบ้าง
คำว่า ย่อมกล่าวถึงความหมดจดเพราะศีลวัตรบ้าง อธิบายว่า ย่อมกล่าว
คือ ย่อมพูด บอก แสดง ชี้แจงความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ได้แก่
ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไป เพราะศีลบ้าง เพราะวัตรบ้าง ย่อมกล่าว
ย่อมพูด บอก แสดง ชี้แจงความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์
ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไปเพราะศีลวัตรบ้าง รวมความว่า ย่อม
กล่าวถึงความหมดจดเพราะศีลวัตรบ้าง
คำว่า ย่อมกล่าวความหมดจดเพราะพิธีหลากหลายบ้าง อธิบายว่า ย่อม
กล่าว คือ ย่อมพูด บอก แสดง ชี้แจงความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์
ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไป เพราะพิธีหลากหลายบ้าง รวมความว่า
ย่อมกล่าวความหมดจดเพราะพิธีหลากหลายบ้าง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๗. นันทมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า หาก... สมณพราหมณ์พวกนั้น ในคำว่า หากพระองค์ผู้เป็นพระมุนี
ตรัสว่า สมณพราหมณ์พวกนั้นยังข้ามห้วงกิเลสไม่ได้ ได้แก่ สมณพราหมณ์ผู้
ถือทิฏฐิ
คำว่า พระองค์ผู้เป็นพระมุนี อธิบายว่า ญาณ ท่านเรียกว่า โมนะ ฯลฯ
พระองค์ก้าวล่วงกิเลสเครื่องข้องและตัณหาดุจตาข่ายได้แล้ว ชื่อว่าพระมุนี
คำว่า ตรัสว่าสมณพราหมณ์พวกนั้นว่ายังข้ามห้วงกิเลสไม่ได้ อธิบายว่า
สมณพราหมณ์พวกนั้น ข้ามไม่ได้ คือ ข้ามขึ้นไม่ได้ ข้ามพ้นไม่ได้ ก้าวล่วงไม่ได้
ก้าวพ้นไม่ได้ ล่วงเลยกาโมฆะ ภโวฆะ ทิฏโฐฆะ อวิชโชฆะไม่ได้ ได้แก่ หมุนเวียน
อยู่ภายในชาติ ชรา และมรณะ หมุนเวียนอยู่ภายในทางแห่งสงสาร ไปตามชาติ
ถูกชราติดตาม ถูกพยาธิครอบงำ มรณะย่ำยี ไม่มีที่ปกป้อง ไม่มีที่หลีกเร้น
ไม่มีที่พึ่ง ไม่มีที่อาศัย
คำว่า ตรัส ได้แก่ ตรัส คือ บอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก
ทำให้ง่าย ประกาศ รวมความว่า หาก...พระองค์ผู้เป็นพระมุนีตรัสว่าสมณ-
พราหมณ์พวกนั้นยังข้ามห้วงกิเลสไม่ได้
คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ เมื่อเป็นเช่นนั้น ใครเล่าในเทวโลกและ
มนุษยโลก ชื่อว่าข้ามชาติและชราไปได้ อธิบายว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น ใครกันเล่า
ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์
พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ จึงข้าม คือ ข้ามไป ข้ามพ้น ก้าวล่วง ล่วงเลยชาติ ชรา
และมรณะไปได้
คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ เป็นคำกล่าวด้วยความรัก เป็นคำกล่าวโดย
ความเคารพ คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ นี้ เป็นคำกล่าวที่มีความเคารพและ
ความยำเกรง รวมความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ เมื่อเป็นเช่นนั้น ใครเล่าใน
เทวโลกและมนุษยโลก ชื่อว่าข้ามชาติและชราไปได้
คำว่า ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น ในคำว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค
ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้นแก่
ข้าพระองค์ด้วยเถิด อธิบายว่า ข้าพระองค์ขอทูลถาม คือ ทูลขอ ทูลอัญเชิญ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๗. นันทมาณวปัญหานิทเทส
ทูลให้ทรงประกาศปัญหานั้นว่า “ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์
ด้วยเถิด” รวมความว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น
ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด
คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ คำว่า พระ
ผู้มีพระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ
คำว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด อธิบายว่า
ขอพระองค์โปรดตรัส คือ โปรดบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก
ทำให้ง่าย ประกาศ รวมความว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ขอทูลถาม
ปัญหานั้น ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด ด้วยเหตุนั้น
พราหมณ์นั้นจึงกราบทูลว่า
(ท่านนันทะทูลถาม ดังนี้)
สมณพราหมณ์บางพวกย่อมกล่าวความหมดจด
เพราะรูปที่ได้เห็นบ้าง เพราะเสียงที่ได้ยินบ้าง
ย่อมกล่าวความหมดจดเพราะศีลวัตรบ้าง
ย่อมกล่าวความหมดจดเพราะพิธีหลากหลายบ้าง
หากพระองค์ผู้เป็นพระมุนีตรัสว่า
สมณพราหมณ์พวกนั้นยังข้ามห้วงกิเลสไม่ได้
ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ เมื่อเป็นเช่นนั้น
ใครเล่าในเทวโลกและมนุษยโลก ชื่อว่าข้ามชาติและชราไปได้
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหานั้น
ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด
[๕๑] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า นันทะ)
เราไม่กล่าวว่า สมณพราหมณ์ทั้งหมด
ถูกชาติและชราโอบล้อม นรชนเหล่าใดในโลกนี้
ละรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ได้รับรู้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๐๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๗. นันทมาณวปัญหานิทเทส
หรือศีลวัตรได้ทั้งหมด ทั้งละพิธีหลากหลายทั้งปวง
กำหนดรู้ตัณหาได้แล้ว เป็นผู้หมดอาสวะ
เรากล่าวว่านรชนเหล่านั้นแล
ชื่อว่าเป็นผู้ข้ามห้วงกิเลสได้แล้ว (๖)
คำว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า นันทะ เราไม่กล่าวว่า สมณพราหมณ์
ทั้งหมดถูกชาติและชราโอบล้อม อธิบายว่า นันทะ เราไม่กล่าวว่า สมณพราหมณ์
ทั้งหมดถูกชาติและชราหุ้มห่อไว้ โอบล้อม คือห้อมล้อม ครอบคลุม ปกคลุม
บดบังไว้แล้ว เรากล่าว คือ บอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย
ประกาศว่า สมณพราหมณ์ผู้ละชาติ ชราและมรณะได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคน
เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อ
ไปไม่ได้ รวมความว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า นันทะ เราไม่กล่าวว่า สมณ-
พราหมณ์ทั้งหมดถูกชาติและชราโอบล้อม
คำว่า นรชนเหล่าใดในโลกนี้ ละรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ได้
รับรู้หรือศีลวัตรได้ทั้งหมด อธิบายว่า นรชนเหล่าใด ละ คือ สละ ละทิ้ง บรรเทา
ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งความหมดจดแห่งรูปที่ได้เห็นทุกอย่าง ละ
ความหมดจดแห่งเสียงที่ได้ยินทุกอย่าง ฯลฯ ความหมดจดแห่งอารมณ์ที่ได้รับรู้
ทุกอย่าง ฯลฯ ความหมดจดแห่งรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน และอารมณ์ที่ได้รับรู้
ทุกอย่าง ฯลฯ ความหมดจดแห่งศีลทุกอย่าง ฯลฯ ความหมดจดแห่งวัตรทุกอย่าง
นรชนใด ละ คือ สละ ละทิ้ง บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่ง
ความหมดจดแห่งศีลวัตรทุกอย่าง รวมความว่า นรชนเหล่าใดในโลกนี้ ละรูปที่ได้
เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ได้รับรู้หรือศีลวัตรได้ทั้งหมด
คำว่า ทั้งละพิธีหลากหลายทั้งปวง อธิบายว่า ละ คือ สละ ละทิ้ง บรรเทา
ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์
ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไปเพราะมงคลที่เล่าลือกันหลากหลาย
รูปแบบ รวมความว่า ทั้งละพิธีหลากหลายทั้งปวง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๗. นันทมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า ตัณหา ในคำว่า นรชนเหล่าใด กำหนดรู้ตัณหาได้แล้ว เป็นผู้หมด
อาสวะ เรากล่าวว่า นรชนเหล่านั้นแล ชื่อว่าเป็นผู้ข้ามห้วงกิเลสได้แล้ว ได้แก่
รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา

ว่าด้วยปริญญา ๓
คำว่า กำหนดรู้ตัณหาได้แล้ว อธิบายว่า กำหนดรู้ตัณหาด้วยปริญญา ๓ คือ
๑. ญาตปริญญา (การกำหนดรู้ขั้นรู้จัก)
๒. ตีรณปริญญา (การกำหนดรู้ขั้นพิจารณา)
๓. ปหานปริญญา (การกำหนดรู้ขั้นละ)
ญาตปริญญา เป็นอย่างไร
คือ นักปราชญ์กำหนดรู้ตัณหา คือ รู้ เห็นว่า “นี้รูปตัณหา นี้สัททตัณหา
นี้คันธตัณหา นี้รสตัณหา นี้โผฏฐัพพตัณหา นี้ธัมมตัณหา” นี้ชื่อว่าญาตปริญญา
ตีรณปริญญา เป็นอย่างไร
คือ นักปราชญ์ทำสิ่งที่รู้แล้วให้ปรากฏอย่างนี้แล้ว พิจารณาตัณหา คือ
พิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยง ... เป็นทุกข์ ... เป็นโรค ... เป็นดุจหัวฝี ...
เป็นของที่ต้องสลัดออกไป นี้ชื่อว่าตีรณปริญญา
ปหานปริญญา เป็นอย่างไร
คือ นักปราชญ์ครั้นพิจารณาเห็นอย่างนี้แล้ว ย่อมละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป
ให้ถึงความไม่มีตัณหาอีก สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงละความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในตัณหาเสีย ตัณหานั้นเธอ
ทั้งหลายละได้เด็ดขาดแล้ว จักถูกตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอน
โคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้” นี้ชื่อว่าปหานปริญญา
คำว่า กำหนดรู้ตัณหาได้แล้ว ได้แก่ กำหนดรู้ตัณหาด้วยปริญญา ๓ อย่าง
เหล่านี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๗. นันทมาณวปัญหานิทเทส
ว่าด้วยอาสวะ ๔
คำว่า เป็นผู้หมดอาสวะ ได้แก่ อาสวะ ๔ อย่าง คือ
๑. กามาสวะ (อาสวะคือกาม)
๒. ภวาสวะ (อาสวะคือภพ)
๓. ทิฏฐาสวะ (อาสวะคือทิฏฐิ)
๔. อวิชชาสวะ (อาสวะคืออวิชชา)
อาสวะเหล่านี้นรชนเหล่าใดละได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้น
ตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
นรชนเหล่านั้น ตรัสเรียกว่า เป็นผู้หมดอาสวะ ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ
คำว่า นรชนเหล่าใด... กำหนดรู้ตัณหาได้แล้ว เป็นผู้หมดอาสวะ เรา
กล่าวว่า นรชนเหล่านั้นแล ชื่อว่าเป็นผู้ข้ามห้วงกิเลสได้แล้ว อธิบายว่า
นรชนเหล่าใดกำหนดรู้ตัณหาได้แล้ว เป็นผู้หมดอาสวะ เรากล่าว คือ บอก แสดง
บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศว่า นรชนเหล่านั้นข้าม คือ
ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ก้าวล่วง ก้าวพ้น ล่วงพ้น กาโมฆะ ภโวฆะ ทิฏโฐฆะ อวิชโชฆะ
ทางแห่งสงสารทุกอย่างได้แล้ว รวมความว่า นรชนเหล่าใดกำหนดรู้ตัณหาได้แล้ว
เป็นผู้หมดอาสวะ เรากล่าวว่านรชนเหล่านั้นแล ชื่อว่าเป็นผู้ข้ามห้วงกิเลสได้แล้ว
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
(พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า นันทะ)
เราไม่กล่าวว่า สมณพราหมณ์ทั้งหมด
ถูกชาติและชราโอบล้อม นรชนเหล่าใดในโลกนี้
ละรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ได้รับรู้
หรือศีลวัตรได้ทั้งหมด ทั้งละพิธีหลากหลายทั้งปวง
กำหนดรู้ตัณหาได้แล้ว เป็นผู้หมดอาสวะ
เรากล่าวว่านรชนเหล่านั้นแล
ชื่อว่าเป็นผู้ข้ามห้วงกิเลสได้แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๗. นันทมาณวปัญหานิทเทส
[๕๒] (ท่านนันทะกราบทูลว่า)
ข้าพระองค์ชอบใจพระดำรัสนี้ของพระองค์
ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ข้าแต่พระโคดม
ธรรมที่ปราศจากอุปธิ พระองค์ตรัสไว้ดีแล้ว
นรชนเหล่าใดในโลกนี้ ละรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน
อารมณ์ที่ได้รับรู้หรือศีลวัตรได้ทั้งหมด
ทั้งละพิธีหลากหลายทั้งปวง กำหนดรู้ตัณหาได้แล้ว
เป็นผู้หมดอาสวะ แม้ข้าพระองค์ก็กล่าวว่า
นรชนเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นผู้ข้ามห้วงกิเลสได้แล้ว (๗)
คำว่า นี้ ในคำว่า ... ข้าพระองค์ชอบใจพระดำรัสนี้ ของพระองค์ผู้ทรง
แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ อธิบายว่า ข้าพระองค์พอใจ ชอบใจ คือ เบิกบานใจ
อนุโมทนา ต้องการ ยินดี ทูลขอ ปรารถนา มุ่งหมาย มุ่งหวังพระดำรัส คือ
คำที่เป็นแนวทาง เทศนา คำสั่งสอน คำพร่ำสอนนี้
คำว่า พระองค์ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ อธิบายว่า พระผู้มีพระภาค
ชื่อว่าทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ อย่างไร
พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา ค้นหา เสาะหาสีลขันธ์อันยิ่งใหญ่ จึงชื่อว่า
ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ฯลฯ “พระผู้ทรงเป็นเทพยิ่งกว่าเทพประทับอยู่ที่ไหน
พระผู้ทรงองอาจกว่านรชนประทับอยู่ที่ไหน” จึงชื่อว่าพระองค์ผู้ทรงแสวงหาคุณอัน
ยิ่งใหญ่ รวมความว่า ข้าพระองค์ชอบใจพระดำรัสนี้ของพระองค์ผู้ทรงแสวงหาคุณอัน
ยิ่งใหญ่
คำว่า ตรัสไว้ดีแล้ว ในคำว่า ข้าแต่พระโคดม ธรรมที่ปราศจากอุปธิ
พระองค์ตรัสไว้ดีแล้ว อธิบายว่า ตรัสไว้ดีแล้ว คือ ตรัสบอกไว้ดีแล้ว แสดงไว้ดีแล้ว
บัญญัติไว้ดีแล้ว กำหนดไว้ดีแล้ว เปิดเผยไว้ดีแล้ว จำแนกไว้ดีแล้ว ทำให้ง่ายดีแล้ว
ประกาศไว้ดีแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๗. นันทมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า ข้าแต่พระโคดม ธรรมที่ปราศจากอุปธิ อธิบายว่า กิเลส ขันธ์ และ
อภิสังขาร๑ ตรัสเรียกว่า อุปธิ
การละอุปธิ ความเข้าไปสงบอุปธิ ความสลัดทิ้งอุปธิ ความสงบระงับอุปธิ
ชื่อว่าอมตนิพพาน รวมความว่า ข้าแต่พระโคดม ธรรมที่ปราศจากอุปธิพระองค์
ตรัสไว้ดีแล้ว
คำว่า นรชนเหล่าใดในโลกนี้ละรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ได้รับ
รู้หรือศีลวัตรได้ทั้งหมด อธิบายว่า นรชนเหล่าใด ละ คือ สละ ละทิ้ง บรรเทา
ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีก ซึ่งความหมดจดแห่งรูปที่ได้เห็นทุกอย่าง ได้แก่
ละ คือ สละ ละทิ้ง บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีก ซึ่งความ
หมดจดแห่งเสียงที่ได้ยินทุกอย่าง ฯลฯ ความหมดจดแห่งอารมณ์ที่ได้รับรู้ทุกอย่าง
ฯลฯ ความหมดจดแห่งรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน และอารมณ์ที่ได้รับรู้ ฯลฯ
ความหมดจดแห่งศีลทุกอย่าง ฯลฯ ความหมดแห่งวัตรทุกอย่าง ฯลฯ ละ คือ สละ
ละทิ้ง บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีก ซึ่งความหมดจดแห่งศีลวัตร
ทุกอย่าง รวมความว่า นรชนเหล่าใดในโลกนี้ละรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน
อารมณ์ที่ได้รับรู้หรือศีลวัตรได้ทั้งหมด
คำว่า ทั้งละพิธีหลากหลายทั้งปวง อธิบายว่า ละ คือ สละ ละทิ้ง บรรเทา
ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีก ซึ่งความหมดจด คือ ความสะอาด ความ
บริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไป เพราะมงคลที่เล่าลือกัน
หลากหลายรูปแบบ รวมความว่า ทั้งละพิธีหลากหลายทั้งปวง
คำว่า นรชนเหล่าใด... กำหนดรู้ตัณหาได้แล้ว เป็นผู้หมดอาสวะ แม้ข้า
พระองค์ก็กล่าวว่า นรชนเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นผู้ข้ามห้วงกิเลสได้แล้ว อธิบายว่า

เชิงอรรถ :
๑ อภิสังขาร หมายถึงสภาพที่ปรุงแต่ง ธรรมมีเจตนาเป็นประธานอันปรุงแต่งผลแห่งการกระทำ มี ๓ อย่าง
คือ (๑) ปุญญาภิสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายดี ได้แก่ กุศลเจตนาที่เป็นกามาวจรและรูปาวจร
(๒) อปุญญาภิสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายชั่ว ได้แก่ อกุศลเจตนาทั้งหลาย (๓) อาเนญชาภิสังขาร
สภาพที่ปรุงแต่งภพอันมั่นคงไม่หวั่นไหว ได้แก่ กุศลเจตนาที่เป็นอรูปาวจร ๔ หมายเอาภาวะที่มั่นคง
แน่วแน่ด้วยสมาธิแห่งจตุตถฌาน (ขุ.ป. ๓๑/๑๑๔/๑๒๘, อภิ.วิ.อ. ๒๒๖/๑๕๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๗. นันทมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า ตัณหา ได้แก่ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา
โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา

ว่าด้วยปริญญา ๓
คำว่า กำหนดรู้ตัณหาได้แล้ว ได้แก่ กำหนดรู้ตัณหาด้วยปริญญา ๓ คือ
๑. ญาตปริญญา
๒. ตีรณปริญญา
๓. ปหานปริญญา
ญาตปริญญา เป็นอย่างไร
คือ นักปราชญ์กำหนดรู้ตัณหา คือ รู้ เห็นว่า “นี้รูปตัณหา นี้สัททตัณหา
นี้คันธตัณหา นี้รสตัณหา นี้โผฏฐัพพตัณหา นี้ธัมมตัณหา” นี้ชื่อว่า
ญาตปริญญา
ตีรณปริญญา เป็นอย่างไร
คือ นักปราชญ์ทำสิ่งที่รู้แล้วให้ปรากฏอย่างนี้แล้ว พิจารณาตัณหา คือ
พิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดุจหัวฝี เป็นดุจลูกศร
เป็นของลำบาก เป็นอาพาธ เป็นอย่างอื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นเสนียด เป็น
อุปัททวะ เป็นภัย เป็นอุปสรรค เป็นของหวั่นไหว เป็นของผุพัง เป็นของไม่ยั่งยืน
เป็นของไม่มีที่ต้านทาน เป็นของไม่มีที่หลีกเร้น เป็นของไม่มีที่พึ่ง เป็นของไม่มีที่
อาศัย เป็นของว่าง เป็นของเปล่า เป็นของสูญ เป็นอนัตตา เป็นของมีโทษ
เป็นของแปรผันไปเป็นธรรมดา เป็นของไม่มีแก่นสาร เป็นเหตุแห่งความลำบาก
เป็นดุจเพชฌฆาต เป็นของปราศจากความเจริญ เป็นของมีอาสวะ เป็นของที่ถูก
เหตุปัจจัยปรุงแต่ง เป็นเหยื่อแห่งมาร มีชาติเป็นธรรมดา มีชราเป็นธรรมดา
มีพยาธิเป็นธรรมดา มีมรณะเป็นธรรมดา มีโสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส
อุปายาสเป็นธรรมดา มีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา เป็นเหตุเกิดทุกข์ ตั้งอยู่ไม่ได้
หาความ แช่มชื่นไม่ได้ เป็นโทษ เป็นของที่ต้องสลัดออกไป นี้ชื่อว่าตีรณปริญญา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๗. นันทมาณวปัญหานิทเทส
ปหานปริญญา เป็นอย่างไร
คือ นักปราชญ์ครั้นพิจารณาเห็นอย่างนี้แล้ว ย่อมละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป
ให้ถึงความไม่มีตัณหาอีก นี้ชื่อว่าปหานปริญญา
คำว่า กำหนดรู้ตัณหาได้แล้ว ได้แก่ กำหนดรู้ตัณหานั้น ด้วยปริญญา ๓
อย่างเหล่านี้

ว่าด้วยอาสวะ ๔
คำว่า เป็นผู้หมดอาสวะ ได้แก่ อาสวะ ๔ อย่าง คือ
๑. กามาสวะ
๒. ภวาสวะ
๓. ทิฏฐาสวะ
๔. อวิชชาสวะ
อาสวะเหล่านี้นรชนเหล่าใดละได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้น
ตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
นรชนเหล่านั้น ตรัสเรียกว่า เป็นผู้หมดอาสวะ ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ
คำว่า นรชนเหล่าใด... กำหนดรู้ตัณหาได้แล้ว เป็นผู้หมดอาสวะ แม้
ข้าพระองค์ก็กล่าวว่า นรชนเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นผู้ข้ามห้วงกิเลสได้แล้ว อธิบายว่า
นรชนเหล่าใดกำหนดรู้ตัณหาแล้ว เป็นผู้หมดอาสวะ เรากล่าว คือ บอกว่า
นรชนเหล่านั้นข้าม คือ ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ก้าวล่วง ก้าวพ้น ล่วงพ้นกาโมฆะ
ภโวฆะ ทิฏโฐฆะ อวิชโชฆะ ทางแห่งสงสารทุกอย่างได้แล้ว รวมความว่า นรชน
เหล่าใดกำหนดรู้ตัณหาแล้ว เป็นผู้หมดอาสวะ เรากล่าวว่านรชนเหล่านั้นแล ชื่อ
ว่าเป็นผู้ข้ามห้วงกิเลสได้แล้ว ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกราบทูลว่า
ข้าพระองค์ชอบใจพระดำรัสนี้ของพระองค์
ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ข้าแต่พระโคดม
ธรรมที่ปราศจากอุปธิ พระองค์ตรัสไว้ดีแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๗. นันทมาณวปัญหานิทเทส
นรชนเหล่าใดในโลกนี้ ละรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน
อารมณ์ที่ได้รับรู้หรือศีลวัตรได้ทั้งหมด
ทั้งละพิธีหลากหลายทั้งปวง กำหนดรู้ตัณหาได้แล้ว
เป็นผู้หมดอาสวะ แม้ข้าพระองค์ก็กล่าวว่า
นรชนเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นผู้ข้ามห้วงกิเลสได้แล้ว
พร้อมกับการจบคาถา ฯลฯ นันทมาณพ... โดยประกาศว่า “ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก”
นันทมาณวปัญหานิทเทสที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๘. เหมกมาณวปัญหานิทเทส
๘. เหมกมาณวปัญหานิทเทส๑
ว่าด้วยปัญหาของเหมกมาณพ
[๕๓] (ท่านเหมกะทูลถาม ดังนี้)
ก่อนแต่ศาสนาของพระโคดม
อาจารย์เจ้าลัทธิเหล่าใดเคยพยากรณ์แก่ข้าพระองค์ว่า
เหตุนี้ได้เป็นมาแล้วอย่างนี้ จักเป็นอย่างนี้
คำพยากรณ์ทั้งหมดนั้นเป็นคำที่เชื่อสืบต่อกันมา
คำพยากรณ์ทั้งหมดนั้นมีแต่จะทำให้ตรึกไปต่าง ๆ
ข้าพระองค์จึงไม่ยินดีในคำพยากรณ์นั้น (๑)
คำว่า อาจารย์เจ้าลัทธิเหล่าใด ในคำว่า ก่อน ... อาจารย์เจ้าลัทธิเหล่าใด
เคยพยากรณ์แก่ข้าพระองค์ อธิบายว่า พราหมณ์พาวรี และอาจารย์คนอื่น ๆ
ของพราหมณ์พาวรี เคยพยากรณ์ คือ เคยบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย
จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศหลักการของตน ความถูกใจ ความพอใจ ลัทธิ อัธยาศัย
ความประสงค์ของตน รวมความว่า ก่อน ... อาจารย์เจ้าลัทธิเหล่าใดเคยพยากรณ์
แก่ข้าพระองค์
คำว่า ดังนี้ ในคำว่า ท่านเหมกะทูลถาม ดังนี้ เป็นบทสนธิ ฯลฯ คำว่า ดังนี้
นี้ เป็นคำเชื่อมบทหน้ากับบทหลังเข้าด้วยกัน๒
คำว่า ท่าน เป็นคำกล่าวด้วยความรัก เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ คำว่า
ท่าน นี้ เป็นคำกล่าวที่มีความเคารพและความยำเกรง
คำว่า เหมกะ เป็นชื่อของพราหมณ์นั้น ฯลฯ ชื่อเรียกเฉพาะ๓
คำว่า แต่ศาสนาของพระโคดม อธิบายว่า แต่ศาสนาของพระโคดม คือ
อื่นจากศาสนาของพระโคดม ก่อนศาสนาของพระโคดม ก่อนกว่าศาสนาของพระ
โคดม ได้แก่ ก่อนกว่าศาสนาของพระพุทธเจ้า ศาสนาของพระชินเจ้า ศาสนาของ
พระตถาคต ศาสนาของพระอรหันต์ รวมความว่า แต่ศาสนาของพระโคดม

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.สุ. ๒๕/๑๐๙๑-๑๐๙๔/๕๔๒-๕๔๓
๒ ดูรายละเอียดข้อ ๑/๔๔
๓ ดูรายละเอียดข้อ ๑/๔๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๘. เหมกมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า เหตุนี้ได้เป็นมาแล้วอย่างนี้ จักเป็นอย่างนี้ อธิบายว่า เล่ากันว่า
เหตุนี้ได้เป็นมาแล้วอย่างนี้ เหตุนี้จักเป็นอย่างนี้ รวมความว่า เหตุนี้ได้เป็นมาแล้ว
อย่างนี้ จักเป็นอย่างนี้
คำว่า คำพยากรณ์ทั้งหมดนั้นเป็นคำที่เชื่อสืบต่อกันมา อธิบายว่า คำ
พยากรณ์ทั้งหมดนั้นเป็นคำที่เชื่อสืบต่อกันมา คือ อาจารย์เหล่านั้นกล่าวธรรมที่
ตนไม่รู้ด้วยตนเอง ธรรมที่ไม่ได้ประจักษ์แก่ตนเอง โดยการเชื่อผู้อื่นว่า ธรรมนี้เป็น
ดังนี้ ๆ โดยการเล่าลือ โดยการถือสืบ ๆ กันมา โดยการอ้างตำรา โดยตรรก
โดยการอนุมาน โดยการคิดตรอง ตามแนวเหตุผล โดยเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว
รวมความว่า คำพยากรณ์ทั้งหมดนั้นเป็นคำที่เชื่อสืบต่อกันมา
คำว่า คำพยากรณ์ทั้งหมดนั้นมีแต่จะทำให้ตรึกไปต่าง ๆ อธิบายว่า
คำพยากรณ์ทั้งหมดนั้นมีแต่จะทำให้ตรึกไปต่าง ๆ คือ ทำให้ความวิตกเจริญ ทำให้
ความดำริเจริญ ทำให้กามวิตกเจริญ ทำให้พยาบาทวิตกเจริญ ทำให้วิหิงสาวิตก
เจริญ ทำให้ความวิตกถึงญาติเจริญ ทำให้ความวิตกถึงชนบทเจริญ ทำให้ความ
วิตกถึงความไม่ตายเจริญ ทำให้ความวิตกที่ประกอบด้วยความเอ็นดูเจริญ ทำให้
ความวิตกที่ประกอบด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญเจริญ ทำให้ความวิตกที่
ประกอบด้วยความปรารถนามิให้ใครดูหมิ่นเจริญ รวมความว่า คำพยากรณ์
ทั้งหมดนั้นมีแต่จะทำให้ตรึกไปต่าง ๆ
คำว่า ข้าพระองค์จึงไม่ยินดีในคำพยากรณ์นั้น อธิบายว่า ข้าพระองค์จึง
ไม่ยินดี คือ ไม่พอใจ ไม่ยอมรับ ไม่อยากได้ในคำพยากรณ์นั้น รวมความว่า
ข้าพระองค์จึงไม่ยินดีในคำพยากรณ์นั้น ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกราบทูลว่า
(ท่านเหมกะทูลถาม ดังนี้)
ก่อนแต่ศาสนาของพระโคดม
อาจารย์เจ้าลัทธิเหล่าใดเคยพยากรณ์แก่ข้าพระองค์ว่า
เหตุนี้ได้เป็นมาแล้วอย่างนี้ จักเป็นอย่างนี้
คำพยากรณ์ทั้งหมดนั้นเป็นคำที่เชื่อสืบต่อกันมา
คำพยากรณ์ทั้งหมดนั้นมีแต่จะทำให้ตรึกไปต่าง ๆ
ข้าพระองค์จึงไม่ยินดีในคำพยากรณ์นั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๘. เหมกมาณวปัญหานิทเทส
[๕๔] (ท่านเหมกะทูลถามว่า)
ข้าแต่พระมุนี บุคคลรู้ชัดธรรมใดแล้ว
มีสติ เที่ยวไปอยู่ พึงข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้
ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรม(นั้น)
ที่เป็นเครื่องกำจัดตัณหา แก่ข้าพระองค์เถิด (๒)
คำว่า พระองค์ ในคำว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรม(นั้น) ... แก่ข้า
พระองค์ เป็นคำที่เหมกมาณพเรียกพระผู้มีพระภาค
คำว่า ธรรม ในคำว่า โปรดตรัสบอกธรรม อธิบายว่า ขอพระองค์โปรด
ตรัส คือ โปรดบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย
ประกาศพรหมจรรย์ที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงาม
ในที่สุด พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วน สติปัฏฐาน ๔
สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรค
มีองค์ ๘ นิพพาน และปฏิปทาเครื่องดำเนินไปสู่นิพพาน รวมความว่า ขอ
พระองค์โปรดตรัสบอกธรรม(นั้น) ... แก่ข้าพระองค์
คำว่า ข้าแต่พระมุนี ... ธรรมที่เป็นเครื่องกำจัดตัณหา อธิบายว่า
คำว่า ตัณหา ได้แก่ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา
โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา ธรรมที่เป็นเครื่องกำจัดตัณหา คือ ธรรมเป็นเครื่อง
ละตัณหา เข้าไปสงบตัณหา สลัดทิ้งตัณหา ระงับตัณหา คืออมตนิพพาน
คำว่า ข้าแต่พระมุนี อธิบายว่า ญาณท่านเรียกว่า โมนะ ฯลฯ พระองค์
ก้าวล่วงกิเลสเครื่องข้องและตัณหาดุจตาข่ายได้แล้ว ชื่อว่ามุนี รวมความว่า ข้าแต่
พระมุนี ... ธรรมที่เป็นเครื่องกำจัดตัณหา
คำว่า บุคคลรู้ชัดธรรมใดแล้ว มีสติ เที่ยวไปอยู่ อธิบายว่า บุคคลรู้ชัดแล้ว
คือ เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว ได้แก่ บุคคลรู้ชัดแล้ว
คือ เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้งแล้วว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง
ฯลฯ สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ฯลฯ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา” ฯลฯ บุคคลรู้ชัดแล้ว
คือ เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้งแล้วว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมี
ความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมด ล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๘. เหมกมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า มีสติ ได้แก่ มีสติด้วยเหตุ ๔ อย่าง คือ (๑) ชื่อว่ามีสติ เมื่อ
เจริญสติปัฏฐานพิจารณากายในกาย ฯลฯ บุคคลนั้นพระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า
มีสติ
คำว่า เที่ยวไปอยู่ ได้แก่ เที่ยวไปอยู่ คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต
ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป รวมความว่า บุคคลรู้ชัดธรรมใดแล้ว มีสติ เที่ยวไปอยู่
คำว่า พึงข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้ อธิบายว่า ตัณหาชื่อว่า
วิสัตติกา คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ๑
คำว่า วิสัตติกา อธิบายว่า ตัณหาชื่อว่าวิสัตติกา เพราะมีความหมายว่า
อย่างไร ฯลฯ ซ่านไป ขยายไป ฉะนั้น จึงชื่อว่าวิสัตติกา๒
คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก
อายตนโลก
คำว่า พึงข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้ อธิบายว่า ผู้มีสติพึงข้าม
คือ ข้ามไป ข้ามพ้น ก้าวล่วง ล่วงเลยตัณหานี้ที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกนั่นเอง
รวมความว่า พึงข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้ ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้น
จึงกราบทูลว่า
ข้าแต่พระมุนี บุคคลรู้ชัดธรรมใดแล้ว
มีสติ เที่ยวไปอยู่ พึงข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้
ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรม(นั้น)
ที่เป็นเครื่องกำจัดตัณหา แก่ข้าพระองค์เถิด
[๕๕] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า)
เหมกะ นิพพานบทอันไม่แปรผัน
เป็นเครื่องกำจัดความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ
ในปิยรูปทั้งหลายที่ได้เห็น ได้ยินได้รับรู้และได้รู้ ในโลกนี้ (๓)

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๒/๕๐-๕๑
๒ ดูรายละเอียดข้อ ๒๒/๑๓๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๘. เหมกมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า ที่ได้เห็น ในคำว่า ที่ได้เห็น ได้ยินได้รับรู้และได้รู้ในโลกนี้ ได้แก่
ได้เห็นทางตา
คำว่า ได้ยิน ได้แก่ ได้ยินทางหู
คำว่า ได้รับรู้ ได้แก่ ได้รับรู้ คือ ดมกลิ่นทางจมูก ลิ้มรสทางลิ้น สัมผัส
ทางกาย
คำว่า และได้รู้ ได้แก่ ได้รู้(ธรรมารมณ์)ทางใจ รวมความว่า ที่ได้เห็น ได้ยิน
ได้รับรู้และได้รู้ ในโลกนี้

ว่าด้วยปิยรูปและสาตรูป
คำว่า เหมกะ ... ในปิยรูปทั้งหลาย อธิบายว่า ก็อะไรเป็นปิยรูป๑ เป็น
สาตรูป๒ในโลก จักขุ เป็นปิยรูป เป็นสาตรูปในโลก โสตะ (ประสาทหู) ... ฆานะ
(ประสาทจมูก) ... ชิวหา (ประสาทลิ้น) ... กาย (ประสาทกาย) ... มโน เป็นปิยรูป
เป็นสาตรูปในโลก
รูป เป็นปิยรูป เป็นสาตรูป เสียง ... กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะ ... ธรรมารมณ์
เป็นปิยรูป เป็นสาตรูปในโลก จักขุวิญญาณ เป็นปิยรูป เป็นสาตรูปในโลก โสต-
วิญญาณ ... ฆานวิญญาณ ... ชิวหาวิญญาณ ... กายวิญญาณ ... มโนวิญญาณ
เป็นปิยรูป เป็นสาตรูปในโลก จักขุสัมผัส เป็นปิยรูป เป็นสาตรูปในโลก โสตสัมผัส
... ฆานสัมผัส ... ชิวหาสัมผัส ... กายสัมผัส ... มโนสัมผัส เป็นปิยรูป เป็นสาตรูป
ในโลก
เวทนาที่เกิดจากจักขุสัมผัส เป็นปิยรูป เป็นสาตรูปในโลก เวทนาที่เกิดจาก
โสตสัมผัส ... เวทนาที่เกิดจากฆานสัมผัส ... เวทนาที่เกิดจากชิวหาสัมผัส ...
เวทนาที่เกิดจากกายสัมผัส ... เวทนาที่เกิดจากมโนสัมผัส เป็นปิยรูป เป็นสาตรูป
ในโลก


เชิงอรรถ :
๑ปิยรูป คือรูปที่น่ารัก น่าปรารถนา
๒สาตรูป คือรูปที่น่ายินดี น่าต้องการ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๘. เหมกมาณวปัญหานิทเทส
รูปสัญญา เป็นปิยรูป เป็นสาตรูปในโลก สัททสัญญา ... คันธสัญญา ...
รสสัญญา ... โผฏฐัพพสัญญา ... ธัมมสัญญา เป็นปิยรูป เป็นสาตรูปในโลก
รูปสัญเจตนา เป็นปิยรูป เป็นสาตรูปในโลก สัททสัญเจตนา ... คันธสัญเจตนา
... รสสัญเจตนา ... โผฏฐัพพสัญเจตนา ... ธัมมสัญเจตนา เป็นปิยรูป เป็นสาตรูป
ในโลก
รูปตัณหา เป็นปิยรูป เป็นสาตรูปในโลก สัททตัณหา ... คันธตัณหา ...
รสตัณหา ... โผฏฐัพพตัณหา ... ธัมมตัณหา เป็นปิยรูป เป็นสาตรูปในโลก
รูปวิตก เป็นปิยรูป เป็นสาตรูปในโลก สัททวิตก ... คันธวิตก ... รสวิตก
... โผฏฐัพพวิตก ... ธัมมวิตก เป็นปิยรูป เป็นสาตรูปในโลก รูปวิจารเป็นปิยรูป
เป็นสาตรูปในโลก ... สัททวิจาร ... คันธวิจาร ... รสวิจาร ... โผฏฐัพพวิจาร ...
ธัมมวิจาร เป็นปิยรูป เป็นสาตรูปในโลก รวมความว่า ในปิยรูปทั้งหลาย
คำว่า เหมกะ เป็นคำที่พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อ
คำว่า ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในคำว่า เป็นเครื่องกำจัด
ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ อธิบายว่า ความพอใจด้วยอำนาจความใคร่
ความกำหนัดด้วยอำนาจความใคร่ ความทะยานอยากด้วยอำนาจความใคร่ ความ
เยื่อใยด้วยอำนาจความใคร่ ความเร่าร้อนด้วยอำนาจความใคร่ ความสยบด้วย
อำนาจความใคร่ ความติดใจด้วยอำนาจความใคร่ ห้วงน้ำคือความใคร่ กิเลส
เครื่องประกอบคือความใคร่ กิเลสเครื่องยึดมั่นคือความใคร่ กิเลสเครื่องกั้นจิตคือ
ความพอใจด้วยอำนาจความใคร่ในกามทั้งหลาย
คำว่า เป็นเครื่องกำจัดความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ได้แก่ เป็น
เครื่องละความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ เข้าไปสงบความกำหนัดด้วยอำนาจ
ความพอใจ สลัดทิ้งความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ระงับความกำหนัดด้วย
อำนาจความพอใจ คือ อมตนิพพาน รวมความว่า เป็นเครื่องกำจัดความกำหนัด
ด้วยอำนาจความพอใจ
คำว่า นิพพานบทอันไม่แปรผัน อธิบายว่า นิพพานบท (ทางนิพพาน) คือ
ตาณบท (ทางปกป้อง) เลณบท (ทางหลีกเร้น) ปรายนบท (ทางไปสู่จุดหมาย)
อภยบท (ทางไม่มีภัย)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๘. เหมกมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า อันไม่แปรผัน ได้แก่ เที่ยง มั่นคง แน่แท้ มีความไม่แปรผันไป
เป็นธรรมดา รวมความว่า นิพพานบทอันไม่แปรผัน ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค
จึงตรัสตอบว่า
เหมกะ นิพพานบทอันไม่แปรผัน
เป็นเครื่องกำจัดความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ
ในปิยรูปทั้งหลายที่ได้เห็น ได้ยินได้รับรู้และได้รู้ ในโลกนี้
[๕๖] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า)
ชนเหล่าใดผู้มีสติ รู้นิพพานนั้นแล้ว
เห็นธรรม ดับกิเลสได้แล้ว
ชนเหล่านั้น เป็นผู้สงบทุกเมื่อ
ข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้แล้ว (๔)
คำว่า นั้น ในคำว่า ชนเหล่าใดผู้มีสติ รู้นิพพานนั้นแล้ว ได้แก่ อมตนิพพาน
อันเป็นธรรมระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดทิ้งอุปธิทั้งหมด เป็นที่สิ้นตัณหา เป็น
ที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับกิเลส เป็นที่เย็นสนิท
คำว่า รู้แล้ว ได้แก่ รู้แล้ว คือ ทราบแล้ว เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว
ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว ได้แก่ รู้แล้ว คือ ทราบแล้ว เทียบเคียงแล้ว
พิจารณาแล้ว ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้วว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ฯลฯ
สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ฯลฯ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา” ฯลฯ รู้แล้ว ทราบแล้ว
เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้วว่า “สิ่งใดสิ่ง
หนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา”
คำว่า เหล่าใด ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ
คำว่า ผู้มีสติ ได้แก่ ผู้มีสติด้วยเหตุ ๔ อย่าง คือ (๑) ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญ
สติปัฏฐานพิจารณากายในกาย ฯลฯ พระอรหันตขีณาสพเหล่านั้น พระผู้มีพระภาค
ตรัสเรียกว่า ผู้มีสติ รวมความว่า ชนเหล่าใดผู้มีสติ รู้นิพพานนั้นแล้ว
คำว่า เห็นธรรม ในคำว่า เห็นธรรม ดับกิเลสได้แล้ว อธิบายว่า ผู้เห็นธรรม
คือ ผู้รู้ธรรม ผู้เทียบเคียงธรรม ผู้พิจารณาธรรม ผู้รู้แจ้งธรรม ผู้เห็นแจ้งธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๘. เหมกมาณวปัญหานิทเทส
ได้แก่ ผู้เห็นธรรม คือ ผู้รู้ธรรม ผู้เทียบเคียงธรรม ผู้พิจารณาธรรม ผู้รู้แจ้งธรรม
ผู้เห็นแจ้งธรรมว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็น
ธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา”
คำว่า ดับกิเลสได้แล้ว อธิบายว่า ชื่อว่าดับกิเลสได้แล้ว เพราะเป็นผู้ทำให้
ราคะดับแล้ว ชื่อว่าดับกิเลสได้แล้ว เพราะเป็นผู้ทำให้โทสะดับแล้ว ชื่อว่าดับกิเลส
ได้แล้ว เพราะเป็นผู้ทำให้โมหะดับแล้ว ชื่อว่าดับกิเลสได้แล้ว เพราะเป็นผู้ทำให้โกธะ
ฯลฯ อุปนาหะ ฯลฯ อกุสลาภิสังขารทุกประเภทดับแล้ว รวมความว่า เห็นธรรม
ดับกิเลสได้แล้ว
คำว่า เป็นผู้สงบ ในคำว่า ชนเหล่านั้น เป็นผู้สงบทุกเมื่อ อธิบายว่า
ชื่อว่าเป็นผู้สงบ เพราะสงบราคะ ชื่อว่าเป็นผู้สงบ เพราะสงบโทสะ ชื่อว่าเป็นผู้สงบ
เพราะสงบโมหะ คือ สงบแล้ว เข้าไปสงบแล้ว สงบเย็นแล้ว ดับได้แล้ว ระงับได้แล้ว
เพราะสงบ ระงับ สงบเย็น เผา ดับ ปราศจาก สงบระงับโกธะ อุปนาหะ ฯลฯ
อกุสลาภิสังขารทุกประเภทแล้ว รวมความว่า เป็นผู้สงบ
คำว่า เหล่านั้น ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ
คำว่า ทุกเมื่อ อธิบายว่า ทุกเมื่อ คือ ในกาลทุกเมื่อ ตลอดกาลทั้งปวง
ตลอดกาลเป็นนิจ ตลอดกาลยั่งยืน ตลอดกาลต่อเนื่องกัน ตลอดกาลสืบเนื่องกัน
ตลอดกาลติดต่อกัน ตลอดกาลเป็นลำดับ ตลอดกาลติดต่อกันเหมือนระลอกคลื่น
ตลอดกาลเป็นไปต่อเนื่องไม่ขาดสาย ตลอดกาลสืบต่อกันกระชั้นชิด ตลอดกาลก่อนภัต
หลังภัต ตลอดปฐมยาม มัชฌิมยาม ปัจฉิมยาม ตลอดข้างแรม ข้างขึ้น ตลอดฤดูฝน
ฤดูหนาว ฤดูร้อน ตลอดปฐมวัย มัชฌิมวัย ปัจฉิมวัย รวมความว่า ชนเหล่านั้น
เป็นผู้สงบทุกเมื่อ
คำว่า ข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้แล้ว อธิบายว่า ตัณหา ตรัส
เรียกว่า วิสัตติกา คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ อภิชฌา อกุศลมูล
คือโลภะ
คำว่า วิสัตติกา อธิบายว่า ตัณหาชื่อว่าวิสัตติกา เพราะมีความหมายว่า
อย่างไร ฯลฯ ซ่านไป ขยายไป ฉะนั้น จึงชื่อว่าวิสัตติกา๑

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๒๒/๑๓๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๘. เหมกมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก ฯลฯ อายตนโลก
คำว่า เป็นผู้ข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้แล้ว อธิบายว่า ตัณหาที่
ชื่อว่าวิสัตติกาในโลก พระอรหันตขีณาสพ เป็นผู้ข้าม คือ ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ก้าวล่วง
ก้าวพ้น ล่วงพ้นตัณหาชื่อว่าวิสัตติกาในโลกแล้ว รวมความว่า เป็นผู้ข้ามตัณหาที่
ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้แล้ว ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า
ชนเหล่าใดผู้มีสติ รู้นิพพานนั้นแล้ว
เห็นธรรม ดับกิเลสได้แล้ว
ชนเหล่านั้น เป็นสงบทุกเมื่อ
ข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้แล้ว
พร้อมกับการจบคาถา ฯลฯ เหมกมาณพ... โดยประกาศว่า “ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก”
เหมกมาณวปัญหานิทเทสที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๙. โตเทยยมาณวปัญหานิทเทส
๙. โตเทยยมาณวปัญหานิทเทส๑
ว่าด้วยปัญหาของโตเทยยมาณพ
[๕๗] (ท่านโตเทยยะทูลถาม ดังนี้)
กามทั้งหลายไม่อยู่ในบุคคลใด
ตัณหาไม่มีแก่บุคคลใด
และบุคคลใดข้ามความสงสัยได้แล้ว
วิโมกข์ของบุคคลนั้นเป็นเช่นไร (๑)
คำว่า กามทั้งหลายไม่อยู่ในบุคคลใด อธิบายว่า กามทั้งหลายย่อมไม่อยู่ คือ
ไม่อยู่ร่วม ไม่อยู่อาศัย ไม่อยู่ครอง ในบุคคลใด รวมความว่า กามทั้งหลายไม่
อยู่ในบุคคลใด
คำว่า ดังนี้ ในคำว่า ท่านโตเทยยะทูลถาม ดังนี้ เป็นบทสนธิ ฯลฯ คำว่า
ดังนี้ นี้ เป็นคำเชื่อมบทหน้ากับบทหลังเข้าด้วยกัน
คำว่า ท่าน เป็นคำกล่าวด้วยความรัก เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ คำว่า
ท่าน นี้ เป็นคำกล่าวที่มีความเคารพและความยำเกรง
คำว่า โตเทยยะ เป็นชื่อของพราหมณ์นั้น ฯลฯ ชื่อเรียกเฉพาะ รวมความว่า
ท่านโตเทยยะทูลถาม ดังนี้
คำว่า ตัณหาไม่มีแก่บุคคลใด อธิบายว่า ตัณหาไม่มี คือ ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ
หาไม่ได้แก่บุคคลใด ได้แก่ ตัณหาอันผู้ใดละได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว
ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า ตัณหาไม่มีแก่บุคคลใด
คำว่า และบุคคลใดข้ามความสงสัยได้แล้ว อธิบายว่า ผู้ใดข้าม คือ ข้าม
ขึ้น ข้ามพ้น ก้าวล่วง ก้าวพ้น ล่วงพ้นความสงสัยได้แล้ว รวมความว่า และ
บุคคลใดข้ามความสงสัยได้แล้ว

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.สุ. ๒๕/๑๐๙๕-๑๐๙๘/๕๔๓-๕๔๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๙. โตเทยยมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า วิโมกข์ของบุคคลนั้นเป็นเช่นไร อธิบายว่า พราหมณ์ทูลถามวิโมกข์ว่า
วิโมกข์ของเขาเป็นเช่นไร คือ มีสัณฐานอย่างไร มีประการอย่างไร เปรียบได้กับอะไร
ที่บุคคลพึงปรารถนา รวมความว่า วิโมกข์ของบุคคลนั้นเป็นเช่นไร ด้วยเหตุนั้น
พราหมณ์นั้นจึงกราบทูลว่า
(ท่านโตเทยยะทูลถาม ดังนี้)
กามทั้งหลายไม่อยู่ในบุคคลใด
ตัณหาไม่มีแก่บุคคลใด
และบุคคลใดข้ามความสงสัยได้แล้ว
วิโมกข์ของบุคคลนั้นเป็นเช่นไร
[๕๘] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า โตเทยยะ)
กามทั้งหลายไม่อยู่ในบุคคลใด
ตัณหาไม่มีแก่บุคคลใด
และบุคคลใดข้ามความสงสัยได้แล้ว
วิโมกข์อื่นของบุคคลนั้นย่อมไม่มี (๒)
คำว่า ใด ในคำว่า กามทั้งหลายไม่อยู่ในบุคคลใด ได้แก่ ในบุคคลใด คือ
พระอรหันตขีณาสพ
คำว่า กาม ได้แก่ กาม ๒ อย่าง แบ่งตามหมวด คือ (๑) วัตถุกาม
(๒) กิเลสกาม ฯลฯ เหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม เหล่านี้เรียกว่า กิเลสกาม๑
คำว่า ไม่อยู่ อธิบายว่า กามทั้งหลายย่อมไม่อยู่ คือ ไม่อยู่ร่วม ไม่อยู่อาศัย
ไม่อยู่ครองในบุคคลใด รวมความว่า กามทั้งหลายไม่อยู่ในบุคคลใด
คำว่า โตเทยยะ ในคำว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า โตเทยยะ เป็นคำ
ที่พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อ

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๘/๖๖-๖๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๙. โตเทยยมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ คำว่า
พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ๑ รวมความว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
โตเทยยะ
คำว่า ตัณหา ในคำว่า ตัณหาไม่มีแก่บุคคลใด ได้แก่ รูปตัณหา สัททตัณหา
คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา
คำว่า บุคคลใด ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ
คำว่า ตัณหาไม่มีแก่บุคคลใด อธิบายว่า ตัณหาไม่มี ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ
หาไม่ได้แก่บุคคลใด ได้แก่ ตัณหาอันบุคคลใดละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้
สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า
ตัณหาไม่มีแก่บุคคลใด
คำว่า และบุคคลใดข้ามความสงสัยได้แล้ว อธิบายว่า วิจิกิจฉา ตรัสเรียกว่า
ความสงสัย ได้แก่ ความสงสัยในทุกข์ ฯลฯ ความหวาดหวั่นแห่งจิต ความ
ติดขัดในใจ๒
คำว่า บุคคลใด ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ
คำว่า และบุคคลใดข้ามความสงสัยได้แล้ว อธิบายว่า บุคคลใดข้าม คือ
ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ก้าวล่วง ก้าวพ้น ล่วงพ้นความสงสัยได้แล้ว รวมความว่า
และบุคคลใดข้ามความสงสัยได้แล้ว
คำว่า วิโมกข์อื่นของบุคคลนั้นย่อมไม่มี อธิบายว่า บุคคลผู้หลุดพ้นแล้วนั้น
พึงหลุดพ้นด้วยวิโมกข์ใด วิโมกข์อื่นจากนั้น ของบุคคลนั้นย่อมไม่มี (เพราะ) บุคคล
นั้นได้ทำกิจที่ควรทำด้วยวิโมกข์เสร็จแล้ว รวมความว่า วิโมกข์อื่นของบุคคลนั้น
ย่อมไม่มี ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๒/๔๖-๔๘
๒ ดูรายละเอียดข้อ ๓๒/๑๖๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๙. โตเทยยมาณวปัญหานิทเทส
(พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า โตเทยยะ)
กามทั้งหลายไม่อยู่ในบุคคลใด
ตัณหาไม่มีแก่บุคคลใด
และบุคคลใดข้ามความสงสัยได้แล้ว
วิโมกข์อื่นของบุคคลนั้นย่อมไม่มี
[๕๙] (ท่านโตเทยยะทูลถามว่า)
บุคคลนั้นเป็นผู้ไม่มีความหวัง หรือว่ายังหวังอยู่
บุคคลนั้นเป็นผู้มีปัญญา หรือว่ายังมีความดำริด้วยปัญญา
ข้าแต่พระองค์ผู้สักกะ ข้าพระองค์จะพึงรู้จักพระมุนีได้อย่างไร
ข้าแต่พระองค์ผู้มีสมันตจักขุ
ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้น
แก่ข้าพระองค์ให้แจ่มแจ้งด้วยเถิด (๓)
คำว่า บุคคลนั้นเป็นผู้ไม่มีความหวัง หรือว่ายังหวังอยู่ อธิบายว่า บุคคล
นั้นไม่มีตัณหา หรือว่า ยังมีตัณหาอยู่ คือ หวัง ต้องการ ยินดี ปรารถนา มุ่งหมาย
มุ่งหวังในรูป ฯลฯ เสียง ฯลฯ กลิ่น ฯลฯ รส ฯลฯ โผฏฐัพพะ ฯลฯ ตระกูล
ฯลฯ คณะ ฯลฯ อาวาส ฯลฯ ลาภ ฯลฯ ยศ ฯลฯ สรรเสริญ ฯลฯ สุข ฯลฯ
จีวร ฯลฯ บิณฑบาต ฯลฯ เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ฯลฯ กามธาตุ
ฯลฯ รูปธาตุ ฯลฯ อรูปธาตุ ฯลฯ กามภพ ฯลฯ รูปภพ ฯลฯ อรูปภพ ฯลฯ
สัญญาภพ ฯลฯ อสัญญาภพ ฯลฯ เนวสัญญานาสัญญาภพ ฯลฯ เอกโวการภพ๑
ฯลฯ จตุโวการภพ๒ ฯลฯ ปัญจโวการภพ๓ ฯลฯ อดีต ฯลฯ อนาคต ฯลฯ ปัจจุบัน
ฯลฯ รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่ได้รับรู้ และธรรมารมณ์ที่พึงรู้
แจ้ง รวมความว่า บุคคลนั้นเป็นผู้ไม่มีความหวัง หรือว่ายังหวังอยู่

เชิงอรรถ :
๑ เอกโวการภพ ดูเชิงอรรถข้อ ๓๔/๑๖๙
๒ จตุโวการภพ ดูเชิงอรรถข้อ ๓๔/๑๖๙
๓ ปัญจโวการภพ ดูเชิงอรรถข้อ ๓๔/๑๖๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๙. โตเทยยมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า บุคคลนั้นเป็นผู้มีปัญญา ในคำว่า บุคคลนั้นเป็นผู้มีปัญญา หรือว่า
ยังมีความดำริด้วยปัญญา ได้แก่ บัณฑิต มีปัญญา มีปัญญาเครื่องตรัสรู้ มีญาณ
มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลส
คำว่า หรือว่ายังมีความดำริด้วยปัญญา อธิบายว่า หรือว่ายังดำริถึงตัณหา
หรือทิฏฐิ คือ ให้ความดำริถึงตัณหาหรือทิฏฐิเกิด ให้เกิดขึ้น ให้บังเกิด ให้
บังเกิดขึ้นด้วยญาณในสมาบัติ ๘ ญาณในอภิญญา ๕ หรือมิจฉาญาณ รวมความว่า
บุคคลนั้นเป็นผู้มีปัญญา หรือว่ายังมีความดำริด้วยปัญญา

ว่าด้วยพระผู้มีพระภาคชื่อว่าผู้สักกะ
คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สักกะ ในคำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สักกะ ข้าพระองค์
จะพึงรู้จักพระมุนีได้อย่างไร อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคผู้สักกะเสด็จออกผนวช
จากศากยตระกูล จึงชื่อว่าผู้สักกะ
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงมั่งคั่ง ทรงมีทรัพย์มาก มีทรัพย์ จึงชื่อว่าผู้
สักกะ
พระองค์ทรงมีทรัพย์เหล่านี้ คือ ทรัพย์คือศรัทธา ทรัพย์คือศีล ทรัพย์คือหิริ
ทรัพย์คือโอตตัปปะ ทรัพย์คือสุตะ ทรัพย์คือจาคะ ทรัพย์คือปัญญา ทรัพย์คือ
สติปัฏฐาน ทรัพย์คือสัมมัปปธาน ทรัพย์คืออิทธิบาท ทรัพย์คืออินทรีย์ ทรัพย์
คือพละ ทรัพย์คือโพชฌงค์ ทรัพย์คือมรรค ทรัพย์คือผล ทรัพย์คือนิพพาน
พระผู้มีพระภาคทรงมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีทรัพย์ด้วยทรัพย์ที่เป็นรัตนะหลายอย่าง
เหล่านี้ จึงชื่อว่าผู้สักกะ
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงสามารถ คือ ทรงองอาจ อาจหาญ มี
ความสามารถ กล้า กล้าหาญ ก้าวหน้า ไม่ขลาด ไม่หวาดเสียว ไม่สะดุ้ง ไม่หนี
ทรงละภัยและความหวาดกลัวได้แล้ว หมดความขนพองสยองเกล้า จึงชื่อว่าผู้สักกะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๙. โตเทยยมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สักกะ ข้าพระองค์จะพึงรู้จักพระมุนีได้อย่างไร
อธิบายว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สักกะ ข้าพระองค์พึงรู้ คือ พึงรู้ทั่ว รู้แจ่มแจ้ง
รู้เฉพาะ แทงตลอด พระมุนีได้อย่างไร รวมความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สักกะ
ข้าพระองค์จะพึงรู้จักพระมุนีได้อย่างไร
คำว่า นั้น ในคำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้มีสมันตจักขุ ขอพระองค์โปรดตรัส
บอกปัญหานั้นแก่ข้าพระองค์ให้แจ่มแจ้งด้วยเถิด อธิบายว่า ปัญหาที่ข้าพระองค์
ทูลถาม ที่ข้าพระองค์ทูลขอ ที่ข้าพระองค์ทูลอัญเชิญ ที่ข้าพระองค์ทูลให้ทรงประกาศ
คำว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอก (ปัญหานั้น) ให้แจ่มแจ้ง อธิบายว่า
ขอพระองค์โปรดตรัสบอก คือ แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย
ประกาศ
คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้มีสมันตจักขุ อธิบายว่า พระสัพพัญญุตญาณตรัส
เรียกว่า สมันตจักขุ ฯลฯ เพราะเหตุนั้น พระตถาคต ชื่อว่าผู้มีสมันตจักขุ๑
รวมความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้มีสมันตจักขุ ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้นแก่
ข้าพระองค์ให้แจ่มแจ้งด้วยเถิด ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกราบทูลว่า
บุคคลนั้นเป็นผู้ไม่มีความหวัง หรือว่ายังหวังอยู่
บุคคลนั้นเป็นผู้มีปัญญา หรือว่ายังมีความดำริด้วยปัญญา
ข้าแต่พระองค์ผู้สักกะ ข้าพระองค์จะพึงรู้จักพระมุนีได้อย่างไร
ข้าแต่พระองค์ผู้มีสมันตจักขุ
ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้น
แก่ข้าพระองค์ให้แจ่มแจ้งด้วยเถิด
[๖๐] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า)
บุคคลนั้นเป็นผู้ไม่มีความหวัง ทั้งไม่หวัง
บุคคลนั้นเป็นผู้มีปัญญา แต่ไม่มีความดำริด้วยปัญญา
โตเทยยะ เธอจงรู้จักบุคคลผู้ไม่มีเครื่องกังวล
ผู้ไม่ข้องในกามและภพว่าเป็นมุนี อย่างนี้ (๔)

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๓๘/๑๗๘-๑๗๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๙. โตเทยยมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า บุคคลนั้นเป็นผู้ไม่มีความหวัง ทั้งไม่หวัง อธิบายว่า บุคคลนั้นไม่มี
ตัณหา ทั้งไม่มีตัณหา ไม่หวัง คือ ไม่ต้องการ ไม่ยินดี ไม่ปรารถนา ไม่มุ่งหมาย
ไม่มุ่งหวังในรูป ... ในเสียง ... ในกลิ่น ... ในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน กลิ่น รส
โผฏฐัพพะที่ได้รับรู้ และธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้ง รวมความว่า บุคคลนั้นเป็นผู้ไม่มี
ความหวัง ทั้งไม่หวัง
คำว่า ผู้มีปัญญา ในคำว่า บุคคลนั้นเป็นผู้มีปัญญา แต่ไม่มีความดำริ
ด้วยปัญญา ได้แก่ บัณฑิต มีปัญญา คือ มีปัญญาเครื่องตรัสรู้ มีญาณ มี
ปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลส
คำว่า แต่ไม่มีความดำริด้วยปัญญา อธิบายว่า ไม่ดำริถึงตัณหาหรือทิฏฐิ
ด้วยญาณในสมาบัติ ๘ อภิญญา ๕ หรือมิจฉาญาณ คือ ไม่ให้ความดำริถึง
ตัณหาหรือทิฏฐิเกิด ไม่ให้เกิดขึ้น ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดขึ้น รวมความว่า
บุคคลนั้นเป็นผู้มีปัญญา แต่ไม่มีความดำริด้วยปัญญา
คำว่า โตเทยยะ เธอจงรู้จัก ... ว่าเป็นมุนี อย่างนี้ อธิบายว่า
คำว่า มุนี อธิบายว่า ญาณท่านเรียกว่า โมนะ ฯลฯ บุคคลก้าวล่วงกิเลส
เครื่องข้องและตัณหาดุจตาข่ายได้แล้ว ชื่อว่ามุนี๑
คำว่า โตเทยยะ เธอจงรู้จัก ... ว่าเป็นมุนี อย่างนี้ อธิบายว่า โตเทยยะ
เธอจงรู้ คือ จงรู้เฉพาะ รู้แจ่มแจ้ง แทงตลอด ว่าเป็นมุนี อย่างนี้ รวมความว่า
โตเทยยะ เธอจงรู้จัก ... ว่าเป็นมุนี อย่างนี้
คำว่า เครื่องกังวล ในคำว่า บุคคลผู้ไม่มีเครื่องกังวล ผู้ไม่ข้องในกาม
และภพ ได้แก่ เครื่องกังวลคือราคะ เครื่องกังวลคือโทสะ เครื่องกังวลคือโมหะ
เครื่องกังวลคือมานะ เครื่องกังวลคือทิฏฐิ เครื่องกังวลคือกิเลส เครื่องกังวล
คือทุจริต เครื่องกังวลเหล่านี้ผู้ใดละได้แล้ว คือ ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว
ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ผู้นั้นตรัสเรียกว่า
บุคคลผู้ไม่มีเครื่องกังวล

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๒๑/๑๒๗-๑๒๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๙. โตเทยยมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า ในกามและภพ อธิบายว่า
คำว่า กาม ได้แก่ กาม ๒ อย่าง แบ่งตามหมวด คือ (๑) วัตถุกาม (๒)
กิเลสกาม ฯลฯ เหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม ฯลฯ เหล่านี้เรียกว่า กิเลสกาม๑
คำว่า ภพ ได้แก่ ภพ ๒ คือ (๑) กรรมภพ (๒) ภพใหม่อันมีในปฏิสนธิ
ฯลฯ นี้ชื่อว่าภพใหม่อันมีในปฏิสนธิ๒
คำว่า บุคคลผู้ไม่มีเครื่องกังวล ผู้ไม่ข้องในกามและภพ อธิบายว่า
บุคคลผู้ไม่มีเครื่องกังวล ไม่ข้อง คือ ไม่เกาะติด ไม่เกี่ยวพัน ไม่พัวพัน ออก
สลัดออก หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้องในกามและภพ มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส) อยู่
รวมความว่า บุคคลผู้ไม่มีเครื่องกังวล ผู้ไม่ข้องในกามและภพ ด้วยเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า
บุคคลนั้นเป็นผู้ไม่มีความหวัง ทั้งไม่หวัง
บุคคลนั้นเป็นผู้มีปัญญา แต่ไม่มีความดำริด้วยปัญญา
โตเทยยะ เธอจงรู้จักบุคคลผู้ไม่มีเครื่องกังวล
ผู้ไม่ข้องในกามและภพว่าเป็นมุนี อย่างนี้
พร้อมกับการจบคาถา ฯลฯ โตเทยยมาณพ... โดยประกาศว่า “ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก”
โตเทยยมาณวปัญหานิทเทสที่ ๙ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๘/๖๖-๖๗
๒ ดูรายละเอียดข้อ ๒๔/๑๓๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๐. กัปปมาณวปัญหานิทเทส
๑๐. กัปปมาณวปัญหานิทเทส๑
ว่าด้วยปัญหาของกัปปมาณพ
[๖๑] (ท่านกัปปะทูลถาม ดังนี้)
ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์
ขอพระองค์โปรดตรัสบอกที่พึ่งของเหล่าสัตว์
ผู้ดำรงอยู่ท่ามกลางสระ
ผู้ถูกชราและมัจจุราชครอบงำ
ในขณะเกิดห้วงน้ำอันเป็นมหันตภัย
อนึ่ง ขอพระองค์โปรดตรัสบอกที่พึ่ง
โดยวิธีที่ทุกข์นี้จะไม่พึงมีแก่ข้าพระองค์อีก (๑)

ว่าด้วยสังสารวัฏ
คำว่า เหล่าสัตว์ผู้ดำรงอยู่ท่ามกลางสระ อธิบายว่า สงสาร ตรัสเรียกว่า
สระ คือ การมา๒ การไป๓ การไปและการมา ความตาย คติ๔ ภพน้อยภพใหญ่
จุติ อุปบัติ๕ ความเกิด ความดับ ชาติ ชรา มรณะ ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารไม่
ปรากฏ ที่สุดเบื้องปลายก็ไม่ปรากฏ เหล่าสัตว์ผู้ดำรงอยู่แล้ว คือ ดำรงมั่นแล้ว
ติดแล้ว ติดแน่นแล้ว ติดพันแล้ว ติดใจแล้วในสงสารอันเป็นท่ามกลาง
ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารไม่ปรากฏ อย่างไร
คือ วัฏฏะเป็นไปแล้วสิ้นชาติเท่านี้ พ้นจากนั้นย่อมไม่เป็นไป เพราะเหตุนั้น
ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่มี ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่ปรากฏ อย่างนี้บ้าง

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.สุ. ๒๕/๑๐๙๙-๑๑๐๒/๕๔๔
๒ การมา ในที่นี้หมายถึงการมาจากเบื้องต้นและที่สุด (ขุ.จู.อ. ๖๑/๓๖)
๓ การไป ในที่นี้หมายถึงการไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น (ขุ.จู.อ. ๖๑/๓๖)
๔ คติ ในที่นี้หมายถึงการบังเกิด (ขุ.จู.อ. ๖๑/๓๖)
๕ อุปบัติ ในที่นี้หมายถึงการเกิดขึ้นต่อจากการเคลื่อน (ขุ.จู.อ. ๖๑/๓๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๐. กัปปมาณวปัญหานิทเทส
วัฏฏะเป็นไปแล้วร้อยชาติเท่านี้ พ้นจากนั้นย่อมไม่เป็นไป เพราะเหตุนั้น
ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่มี ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่ปรากฏ อย่างนี้บ้าง
วัฏฏะเป็นไปแล้วพันชาติเท่านี้ พ้นจากนั้นย่อมไม่เป็นไป เพราะเหตุนั้น
ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่มี ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่ปรากฏ อย่างนี้บ้าง
วัฏฏะเป็นไปแล้วแสนชาติเท่านี้ พ้นจากนั้นย่อมไม่เป็นไป เพราะเหตุนั้น
ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่มี ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่ปรากฏ อย่างนี้บ้าง
วัฏฏะเป็นไปแล้วโกฏิชาติเท่านี้ พ้นจากนั้นย่อมไม่เป็นไป เพราะเหตุนั้น
ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่มี ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่ปรากฏ อย่างนี้บ้าง
วัฏฏะเป็นไปแล้วพันโกฏิชาติเท่านี้ พ้นจากนั้นย่อมไม่เป็นไป เพราะเหตุนั้น
ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่มี ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่ปรากฏ อย่างนี้บ้าง
วัฏฏะเป็นไปแล้วแสนโกฏิชาติเท่านี้ พ้นจากนั้นย่อมไม่เป็นไป เพราะเหตุนั้น
ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่มี ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่ปรากฏ อย่างนี้บ้าง
วัฏฏะเป็นไปแล้วสิ้นปีเท่านี้ พ้นจากนั้นย่อมไม่เป็นไป เพราะเหตุนั้น ที่สุด
เบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่มี ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่ปรากฏ อย่างนี้บ้าง
วัฏฏะเป็นไปแล้วสิ้นร้อยปีเท่านี้ พ้นจากนั้นย่อมไม่เป็นไป เพราะเหตุนั้น
ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่มี ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่ปรากฏ อย่างนี้บ้าง
วัฏฏะเป็นไปแล้วพันปีเท่านี้ พ้นจากนั้นย่อมไม่เป็นไป เพราะเหตุนั้น ที่สุด
เบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่มี ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่ปรากฏ อย่างนี้บ้าง
วัฏฏะเป็นไปแล้วแสนปีเท่านี้ พ้นจากนั้นย่อมไม่เป็นไป เพราะเหตุนั้น ที่สุด
เบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่มี ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่ปรากฏ อย่างนี้บ้าง
วัฏฏะเป็นไปแล้วโกฏิปีเท่านี้ พ้นจากนั้นย่อมไม่เป็นไป เพราะเหตุนั้น ที่สุด
เบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่มี ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่ปรากฏ อย่างนี้บ้าง
วัฏฏะเป็นไปแล้วร้อยโกฏิปีเท่านี้ พ้นจากนั้นย่อมไม่เป็นไป เพราะเหตุนั้น
ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่มี ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่ปรากฏ อย่างนี้บ้าง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๐. กัปปมาณวปัญหานิทเทส
วัฏฏะเป็นไปแล้วพันโกฏิปีเท่านี้ พ้นจากนั้นย่อมไม่เป็นไป เพราะเหตุนั้น ที่สุด
เบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่มี ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่ปรากฏ อย่างนี้บ้าง
วัฏฏะเป็นไปแล้วแสนโกฏิปีเท่านี้ พ้นจากนั้นย่อมไม่เป็นไป เพราะเหตุนั้น
ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่มี ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่ปรากฏ อย่างนี้บ้าง
วัฏฏะเป็นไปแล้วสิ้นกัปเท่านี้ พ้นจากนั้นย่อมไม่เป็นไป เพราะเหตุนั้น ที่สุด
เบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่มี ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่ปรากฏ อย่างนี้บ้าง
วัฏฏะเป็นไปแล้วร้อยกัปเท่านี้ พ้นจากนั้นย่อมไม่เป็นไป เพราะเหตุนั้น
ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่มี ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่ปรากฏ อย่างนี้บ้าง
วัฏฏะเป็นไปแล้วพันกัปเท่านี้ พ้นจากนั้นย่อมไม่เป็นไป เพราะเหตุนั้น ที่สุด
เบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่มี ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่ปรากฏ อย่างนี้บ้าง
วัฏฏะเป็นไปแล้วแสนกัปเท่านี้ พ้นจากนั้นย่อมไม่เป็นไป เพราะเหตุนั้น
ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่มี ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่ปรากฏ อย่างนี้บ้าง
วัฏฏะเป็นไปแล้วโกฏิกัปเท่านี้ พ้นจากนั้นย่อมไม่เป็นไป เพราะเหตุนั้น
ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่มี ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่ปรากฏ อย่างนี้บ้าง
วัฏฏะเป็นไปแล้วร้อยโกฏิกัปเท่านี้ พ้นจากนั้นย่อมไม่เป็นไป เพราะเหตุนั้น
ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่มี ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่ปรากฏ อย่างนี้บ้าง
วัฏฏะเป็นไปแล้วพันโกฏิกัปเท่านี้ พ้นจากนั้นย่อมไม่เป็นไป เพราะเหตุนั้น
ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่มี ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่ปรากฏ อย่างนี้บ้าง
วัฏฏะเป็นไปแล้วแสนโกฏิกัปเท่านี้ พ้นจากนั้นย่อมไม่เป็นไป เพราะเหตุนั้น
ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่มี ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่ปรากฏ อย่างนี้บ้าง
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้ มีเบื้องต้น
และเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ที่สุดเบื้องต้น ที่สุดเบื้องปลายไม่ปรากฏแก่เหล่าสัตว์
ผู้ถูกอวิชชากีดขวาง ถูกตัณหาผูกไว้ วนเวียน ท่องเที่ยวไป ภิกษุทั้งหลาย


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๐. กัปปมาณวปัญหานิทเทส
เหล่าสัตว์เสวยทุกข์ เสวยความยากลำบาก เสวยความพินาศ เต็มป่าช้า๑ เป็นเวลา
ยาวนานอย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนี้แหละ จึงควรเบื่อหน่าย ควร
คลายกำหนัด ควรหลุดพ้นจากสังขารทั้งปวง ฉะนั้น๒ ที่สุดเบื้องต้น แห่งสงสาร
จึงไม่ปรากฏ อย่างนี้บ้าง
ที่สุดเบื้องปลายแห่งสงสารไม่ปรากฏ อย่างไร
คือ วัฏฏะจักเป็นไปสิ้นชาติเท่านี้ พ้นจากนั้นจักไม่เป็นไป เพราะเหตุนั้น
ที่สุดเบื้องปลายแห่งสงสารจึงไม่มี ที่สุดเบื้องปลายแห่งสงสารจึงไม่ปรากฏ อย่างนี้
บ้าง
วัฏฏะจักเป็นไปสิ้นร้อยชาติเท่านี้ ฯลฯ พันชาติเท่านี้ ฯลฯ แสนชาติเท่านี้
ฯลฯ โกฏิชาติเท่านี้ ฯลฯ ร้อยโกฏิชาติเท่านี้ ฯลฯ พันโกฏิชาติเท่านี้ ฯลฯ
แสนโกฏิชาติเท่านี้ ฯลฯ ปีเท่านี้ ฯลฯ ร้อยปีเท่านี้ ฯลฯ พันปีเท่านี้ ฯลฯ
แสนปีเท่านี้ ฯลฯ โกฏิปีเท่านี้ ฯลฯ ร้อยโกฏิปีเท่านี้ฯลฯ พันโกฏิปีเท่านี้ ฯลฯ
แสนโกฏิปีเท่านี้ ฯลฯ กัปเท่านี้ ฯลฯ ร้อยกัปเท่านี้ ฯลฯ พันกัปเท่านี้ ฯลฯ
แสนกัปเท่านี้ ฯลฯ โกฏิกัปเท่านี้ ฯลฯ ร้อยโกฏิกัปเท่านี้ ฯลฯ พันโกฏิกัปเท่านี้
ฯลฯ แสนโกฏิกัปเท่านี้ พ้นจากนั้นจักไม่เป็นไป เพราะเหตุนั้น ที่สุดเบื้องปลาย
แห่งสงสารจึงไม่มี ที่สุดเบื้องปลายแห่งสงสารจึงไม่ปรากฏ อย่างนี้บ้าง
ที่สุดทั้งเบื้องต้นทั้งเบื้องปลายแห่งสงสารไม่ปรากฏแม้อย่างนี้ เหล่าสัตว์ผู้
ดำรงอยู่แล้ว คือ ดำรงมั่นแล้ว ติดแล้ว ติดแน่นแล้ว ติดพันแล้ว ติดใจแล้วใน
สงสารอันเป็นท่ามกลาง รวมความว่า เหล่าสัตว์ผู้ดำรงอยู่ท่ามกลางสระ
คำว่า ดังนี้ ในคำว่า ท่านกัปปะทูลถาม ดังนี้ เป็นบทสนธิ ฯลฯ คำว่า ดังนี้
นี้ เป็นคำเชื่อมบทหน้ากับบทหลังเข้าด้วยกัน
คำว่า ท่าน เป็นคำกล่าวด้วยความรัก เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ คำว่า
ท่าน นี้ เป็นคำกล่าวที่มีความเคารพและความยำเกรง

เชิงอรรถ :
๑ เต็มป่าช้า ในที่นี้หมายถึงซากศพของเหล่าสัตว์ที่ตายแล้ว มีมากมาย ทับถมกันอยู่ในป่าช้า หรือเต็ม
แผ่นดิน (สํ.นิ.อ. ๒/๑๒๔/๑๗๖, ขุ.จู.อ. ๖๑/๓๖)
๒ สํ.นิ. ๑๖/๑๒๔/๑๗๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๐. กัปปมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า กัปปะ เป็นชื่อของพราหมณ์นั้น ฯลฯ ชื่อเรียกเฉพาะ๑ รวมความว่า
ท่านกัปปะทูลถาม ดังนี้
คำว่า ในขณะเกิดห้วงน้ำอันเป็นมหันตภัย อธิบายว่า ในขณะห้วงน้ำคือกาม
ห้วงน้ำคือภพ ห้วงน้ำคือทิฏฐิ ห้วงน้ำคืออวิชชา เกิด คือ เกิดขึ้น บังเกิด บังเกิดขึ้น
ปรากฏ
คำว่า อันเป็นมหันตภัย ได้แก่ ชาติภัย (ภัยที่เกิดเพราะอาศัยชาติ) ชราภัย
(ภัยที่เกิดเพราะอาศัยชรา) พยาธิภัย (ภัยที่เกิดเพราะความเจ็บป่วย) มรณภัย
(ภัยที่เกิดเพราะมรณะ) รวมความว่า ในขณะเกิดห้วงน้ำอันเป็นมหันตภัย
คำว่า ผู้ถูกชราและมัจจุราชครอบงำ อธิบายว่า ผู้ถูกชราถูกต้อง ครอบงำ
คือ กลุ้มรุม ห้อมล้อม ผู้ถูกมรณะจับต้อง ครอบงำ กลุ้มรุม ห้อมล้อม ได้แก่
ผู้ไปตามชาติ ชราติดตาม พยาธิครอบงำ มรณะย่ำยี ไม่มีที่ปกป้อง ไม่มีที่หลีกเร้น
ไม่มีที่พึ่ง ไม่มีที่อาศัย รวมความว่า ผู้ถูกชราและมัจจุราชครอบงำ
คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ... ขอพระองค์โปรดตรัสบอกที่พึ่ง อธิบายว่า
ขอพระองค์โปรดตรัส คือ โปรดบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก
ทำให้ง่าย ประกาศที่พึ่ง คือ ที่ปกป้อง ที่หลีกเร้น ที่พึ่ง คติ จุดหมาย
คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ เป็นคำกล่าวด้วยความรัก เป็นคำกล่าวโดย
ความเคารพ คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ นี้ เป็นคำกล่าวที่มีความเคารพและ
ความยำเกรง รวมความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ... ขอพระองค์โปรดตรัสบอก
ที่พึ่ง
คำว่า พระองค์ ในคำว่า อนึ่ง ขอพระองค์โปรดตรัสบอกที่พึ่ง ... แก่
ข้าพระองค์ เป็นคำที่พราหมณ์เรียกพระผู้มีพระภาค
คำว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอกที่พึ่ง อธิบายว่า ขอพระองค์โปรดตรัส คือ
โปรดบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศที่พึ่ง คือ

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๑/๔๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๐. กัปปมาณวปัญหานิทเทส
ที่ปกป้อง ที่หลีกเร้น ที่ระลึก คติ จุดหมาย รวมความว่า อนึ่ง ขอพระองค์
โปรดตรัสบอกที่พึ่ง ... แก่ข้าพระองค์
คำว่า โดยวิธีที่ทุกข์นี้จะไม่พึงมี...อีก อธิบายว่า โดยวิธีที่ทุกข์นี้พึงดับ คือ
พึงเข้าไปสงบ พึงถึงความสิ้นสุด ระงับในชาตินี้เอง คือ ทุกข์อันมีในปฏิสนธิ ไม่พึง
บังเกิดอีก ได้แก่ ไม่เกิด ไม่เกิดขึ้น ไม่บังเกิด ไม่บังเกิดขึ้น ในกามธาตุ รูปธาตุ
อรูปธาตุ กามภพ รูปภพ อรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ
เอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ คติใหม่ อุปบัติ ปฏิสนธิ ภพ สงสาร
หรือวัฏฏะ คือ พึงดับ เข้าไปสงบ ถึงความสิ้นสุด ระงับในชาตินี้แหละ รวมความว่า
โดยวิธีที่ทุกข์นี้จะไม่พึงมี...อีก ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกราบทูลว่า
(ท่านกัปปะทูลถาม ดังนี้)
ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์
ขอพระองค์โปรดตรัสบอกที่พึ่งของเหล่าสัตว์
ผู้ดำรงอยู่ท่ามกลางสระ
ผู้ถูกชราและมัจจุราชครอบงำ
ในขณะเกิดห้วงน้ำอันเป็นมหันตภัย
อนึ่ง ขอพระองค์โปรดตรัสบอกที่พึ่ง
โดยวิธีที่ทุกข์นี้จะไม่พึงมีแก่ข้าพระองค์อีก
[๖๒] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า กัปปะ)
กัปปะ เราจะบอกที่พึ่งของเหล่าสัตว์
ผู้ดำรงอยู่ท่ามกลางสระ
ผู้ถูกชราและมัจจุราชครอบงำ
ในขณะเกิดห้วงน้ำอันเป็นมหันตภัยแก่เธอ (๒)
คำว่า ผู้ดำรงอยู่ท่ามกลางสระ อธิบายว่า สงสาร ตรัสเรียกว่า สระ คือ
การมา การไป การไปและการมา ความตาย คติ ภพน้อยภพใหญ่ จุติ อุปบัติ
ความเกิด ความดับ ชาติ ชรา มรณะ ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารไม่ปรากฏ ที่สุด
เบื้องปลายก็ไม่ปรากฏ เหล่าสัตว์ผู้ดำรงอยู่แล้ว คือ ดำรงมั่นแล้ว ติดแล้ว ติด
แน่นแล้ว ติดพันแล้ว ติดใจแล้วในสงสารอันเป็นท่ามกลาง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๐. กัปปมาณวปัญหานิทเทส
ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารไม่ปรากฏ อย่างไร ฯลฯ
ที่สุดเบื้องต้นแห่งสงสารจึงไม่ปรากฏ อย่างนี้บ้าง
ที่สุดเบื้องปลายแห่งสงสารไม่ปรากฏ อย่างไร ฯลฯ
ที่สุดเบื้องปลายแห่งสงสารจึงไม่ปรากฏ อย่างนี้บ้าง ที่สุดทั้งเบื้องต้นทั้งเบื้อง
ปลายแห่งสงสารไม่ปรากฏ แม้อย่างนี้
เหล่าสัตว์ผู้ดำรงอยู่แล้ว คือ ดำรงมั่นแล้ว ติดแล้ว ติดแน่นแล้ว ติดพันแล้ว
ติดใจแล้วในสงสารอันเป็นท่ามกลาง รวมความว่า เหล่าสัตว์ผู้ดำรงอยู่ท่ามกลางสระ
คำว่า กัปปะ ในคำว่า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า กัปปะ เป็นคำที่พระผู้มี
พระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อ
คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ คำว่า
พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ๑ รวมความว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
กัปปะ
คำว่า ในขณะเกิดห้วงน้ำอันเป็นมหันตภัย อธิบายว่า ในขณะห้วงน้ำคือ
กาม ห้วงน้ำคือภพ ห้วงน้ำคือทิฏฐิ ห้วงน้ำคืออวิชชา เกิด คือ เกิดขึ้น บังเกิด
บังเกิดขึ้น ปรากฏ
คำว่า อันเป็นมหันตภัย ได้แก่ ชาติภัย ชราภัย พยาธิภัย มรณภัย
รวมความว่า ในขณะเกิดห้วงน้ำอันเป็นมหันตภัย
คำว่า ผู้ถูกชราและมัจจุราชครอบงำ อธิบายว่า ผู้ถูกชราถูกต้อง ครอบงำ
คือ กลุ้มรุม ห้อมล้อม ผู้ถูกมรณะจับต้อง ครอบงำ กลุ้มรุม ห้อมล้อม ได้แก่
ผู้ไปตามชาติ ชราติดตาม พยาธิครอบงำ มรณะย่ำยี ไม่มีที่ปกป้อง ไม่มีที่หลีกเร้น
ไม่มีที่พึ่ง ไม่มีที่อาศัย รวมความว่า ผู้ถูกชราและมัจจุราชครอบงำ

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๒/๔๖-๔๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๐. กัปปมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า เราจะบอกที่พึ่ง... แก่เธอ อธิบายว่า เราจะบอก คือ บอก แสดง
บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศที่พึ่ง คือ ที่ปกป้อง ที่หลีกเร้น
ที่พึ่ง คติ จุดหมาย
คำว่า กัปปะ ในคำว่า กัปปะ... แก่เธอ เป็นคำที่พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก
พราหมณ์นั้นโดยชื่อ รวมความว่า เราจะบอกที่พึ่ง... แก่เธอ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มี-
พระภาคจึงตรัสตอบว่า
(พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า กัปปะ)
กัปปะ เราจะบอกที่พึ่งของเหล่าสัตว์
ผู้ดำรงอยู่ท่ามกลางสระ
ผู้ถูกชราและมัจจุราชครอบงำ
ในขณะเกิดห้วงน้ำอันเป็นมหันตภัยแก่เธอ
[๖๓] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า)
เราเรียกนิพพาน ซึ่งไม่มีเครื่องกังวล
ไม่มีเครื่องยึดมั่นนี้นั้น ว่าเป็นที่พึ่งอันไม่มีที่พึ่งอื่นยิ่งกว่า
(เพราะ)นิพพานเป็นที่สิ้นไปแห่งชราและมัจจุราช (๓)
คำว่า ซึ่งไม่มีเครื่องกังวล ในคำว่า ซึ่งไม่มีเครื่องกังวล ไม่มีเครื่องยึดมั่น
ได้แก่ เครื่องกังวลคือราคะ เครื่องกังวลคือโทสะ เครื่องกังวลคือโมหะ เครื่องกังวล
คือมานะ เครื่องกังวลคือทิฏฐิ เครื่องกังวลคือกิเลส เครื่องกังวลคือทุจริต การละ
เครื่องกังวล การเข้าไปสงบเครื่องกังวล การสลัดทิ้งเครื่องกังวล การระงับเครื่อง
กังวลได้ เป็นอมตนิพพาน รวมความว่า ซึ่งไม่มีเครื่องกังวล
คำว่า ไม่มีเครื่องยึดมั่น อธิบายว่า ตัณหา ตรัสเรียกว่า เครื่องยึดมั่น
ได้แก่ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ๑
การละเครื่องยึดมั่น การเข้าไปสงบเครื่องยึดมั่น การสลัดทิ้งเครื่องยึดมั่น
การระงับเครื่องยึดมั่นได้ เป็นอมตนิพพาน รวมความว่า ซึ่งไม่มีเครื่องกังวล ไม่มี
เครื่องยึดมั่น

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๒/๕๐-๕๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๐. กัปปมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า นั้นว่าเป็นที่พึ่งนั้นอันไม่มีที่พึ่งอื่นยิ่งกว่า อธิบายว่า นี้เป็นที่พึ่ง ที่
ปกป้อง ที่หลีกเร้น ที่พึ่ง เป็นคติ เป็นจุดหมาย
คำว่า อันไม่มีที่พึ่งอื่น อธิบายว่า ที่พึ่งอื่น คือ อย่างอื่นจากนิพพานนั้น ไม่มี
โดยที่แท้ ธรรมนั้น เป็นที่พึ่งอันเลิศ ประเสริฐ วิเศษ ชั้นแนวหน้า สูงสุด ยอดเยี่ยม
อย่างนี้ รวมความว่า นั้นว่าเป็นที่พึ่งอันไม่มีที่พึ่งอื่นยิ่งกว่า
คำว่า เราเรียกนิพพาน ... นั้น อธิบายว่า ตัณหา ตรัสเรียกว่า วานะ (เครื่อง
เสียบแทง) ได้แก่ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ
การละวานะ การเข้าไปสงบวานะ การสลัดทิ้งวานะ การระงับวานะได้ เป็น
อมตนิพพาน
คำว่า ว่า เป็นบทสนธิ ฯลฯ คำว่า ว่า นี้ เป็นคำเชื่อมบทหน้ากับบท
หลังเข้าด้วยกัน
คำว่า เรียก ได้แก่ พูด คือ บอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก
ทำให้ง่าย ประกาศ รวมความว่า เราเรียกนิพพาน ... นั้น
คำว่า เป็นที่สิ้นไปแห่งชราและมัจจุราช อธิบายว่า การละ การเข้าไปสงบ
การสลัดทิ้ง การระงับชราและมรณะได้ เป็นอมตนิพพาน รวมความว่า เป็นที่สิ้น
ไปแห่งชราและมรณะ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า
เราเรียกนิพพาน ซึ่งไม่มีเครื่องกังวล
ไม่มีเครื่องยึดมั่นนี้นั้น ว่าเป็นที่พึ่งอันไม่มีที่พึ่งอื่นยิ่งกว่า
(เพราะ)นิพพานเป็นที่สิ้นไปแห่งชราและมัจจุราช
[๖๔] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า)
ชนเหล่าใดมีสติรู้นิพพานนั้นแล้ว
เห็นธรรม ดับกิเลสได้แล้ว
ชนเหล่านั้นจึงไม่ไปตามอำนาจมาร ไม่ไปบำรุงมาร (๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๐. กัปปมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า นั้น ในคำว่า ชนเหล่าใดรู้นิพพานนั้นแล้ว อธิบายว่า อมตนิพพาน
คือ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดทิ้งอุปธิทั้งหมด เป็นที่สิ้นตัณหา
เป็นที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับกิเลส เป็นที่เย็นสนิท
คำว่า รู้แล้ว ได้แก่ รู้แล้ว คือ ทราบแล้ว เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว
ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว ได้แก่ รู้แล้ว คือ ทราบแล้ว เทียบเคียงแล้ว
พิจารณาแล้ว ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้วว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ฯลฯ
สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา”
คำว่า เหล่าใด ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ
คำว่า มีสติ ได้แก่ มีสติด้วยเหตุ ๔ อย่าง คือ (๑) ชื่อว่ามีสติ เมื่อ
เจริญสติปัฏฐานพิจารณากายในกาย ฯลฯ พระอรหันตขีณาสพเหล่านั้น พระผู้มี-
พระภาคตรัสเรียกว่า มีสติ รวมความว่า ชนเหล่าใดมีสติรู้นิพพานนั้นแล้ว
คำว่า เห็นธรรม ในคำว่า เห็นธรรม ดับกิเลสได้แล้ว อธิบายว่า ผู้เห็นธรรม
คือ ผู้รู้ธรรม ผู้เทียบเคียงธรรม ผู้พิจารณาธรรม ผู้รู้แจ้งธรรม ผู้เห็นแจ้งธรรม
คำว่า ดับกิเลสได้แล้ว อธิบายว่า ชื่อว่าดับกิเลสได้แล้ว เพราะเป็นผู้ทำ
ให้ราคะดับแล้ว ชื่อว่าดับกิเลสได้แล้ว เพราะเป็นผู้ทำให้โทสะดับแล้ว ชื่อว่าดับ
กิเลสได้แล้ว เพราะเป็นผู้ทำให้โมหะดับแล้ว ชื่อว่าดับกิเลสได้แล้ว เพราะเป็นผู้
ทำให้โกธะ ฯลฯ อุปนาหะ ฯลฯ อกุสลาภิสังขารทุกประเภทดับแล้ว รวมความว่า
เห็นธรรม ดับกิเลสได้แล้ว
คำว่า ชนเหล่านั้นจึงไม่ไปตามอำนาจมาร อธิบายว่า
คำว่า มาร ได้แก่ มาร ผู้มีกรรมดำ คือ ผู้ยิ่งใหญ่ พาไปสู่ความตาย
ไม่ให้สัตว์หลุดพ้น เป็นเผ่าพันธุ์ของผู้ประมาท
คำว่า ชนเหล่านั้นจึงไม่ไปตามอำนาจมาร อธิบายว่า ชนเหล่านั้นไม่ไป
ตามอำนาจมาร ทั้งมารก็ไม่เป็นไปในอำนาจชนเหล่านั้น ชนเหล่านั้นข่มขี่ ครอบงำ
ท่วมทับ รัดรึง ย่ำยีมาร คือ ฝักฝ่ายแห่งมาร บ่วงมาร เบ็ดมาร เหยื่อมาร วิสัยมาร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๐. กัปปมาณวปัญหานิทเทส
ที่อยู่ของมาร โคจรของมาร เครื่องผูกแห่งมาร เที่ยวไป อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป
เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป รวมความว่า ชนเหล่านั้นจึงไม่ไปตาม
อำนาจมาร
คำว่า ไม่ไปบำรุงมาร อธิบายว่า ชนเหล่านั้น ไม่บำรุง ไม่เที่ยวบำรุง
ไม่บำเรอ ไม่รับใช้มาร ชนเหล่านั้นบำรุง เที่ยวบำรุง บำเรอ รับใช้แต่พระผู้มี-
พระภาคพุทธเจ้า รวมความว่า ไม่ไปบำรุงมาร ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึง
ตรัสตอบว่า
ชนเหล่าใดมีสติรู้นิพพานนั้นแล้ว
เห็นธรรม ดับกิเลสได้แล้ว
ชนเหล่านั้นจึงไม่ไปตามอำนาจมาร ไม่ไปบำรุงมาร
พร้อมกับการจบคาถา ฯลฯ กัปปมาณพ... โดยประกาศว่า “ข้าแต่พระ
องค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก”
กัปปมาณวปัญหานิทเทสที่ ๑๐ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๑. ชตุกัณณิมาณวปัญหานิทเทส
๑๑. ชตุกัณณิมาณวปัญหานิทเทส๑
ว่าด้วยปัญหาของชตุกัณณิมาณพ
[๖๕] (ท่านชตุกัณณิทูลถาม ดังนี้)
ข้าแต่พระวีระ ข้าพระองค์ได้ยินว่า
พระองค์ไม่มีความใคร่กาม ล่วงพ้นห้วงกิเลส
จึงมาเฝ้าเพื่อทูลถามพระองค์ผู้ไม่มีกาม
ข้าแต่พระสหชเนตร ขอพระองค์โปรดตรัสบอกสันติบท
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรม
อันแท้จริงนั้นแก่ข้าพระองค์ (๑)
คำว่า ข้าแต่พระวีระ ข้าพระองค์ได้ยินว่า พระองค์ไม่มีความใคร่กาม
อธิบายว่า ข้าพระองค์ได้ยิน คือ สดับ เรียน ทรงจำ เข้าไปกำหนดไว้ว่า “แม้
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ฯลฯ เป็นพระพุทธเจ้า
เป็นพระผู้มีพระภาค” รวมความว่า ข้าพระองค์ได้ยินว่า

ว่าด้วยพระผู้มีพระภาคชื่อว่าวีระ
คำว่า ข้าแต่พระวีระ อธิบายว่า
พระผู้มีพระภาคผู้วีระ มีพระวิริยะ จึงชื่อว่าวีระ
พระผู้มีพระภาคทรงองอาจ จึงชื่อว่าวีระ
พระผู้มีพระภาคทรงให้ผู้อื่นพากเพียร จึงชื่อว่าวีระ
พระผู้มีพระภาคทรงสามารถ จึงชื่อว่าวีระ
พระผู้มีพระภาคทรงกล้าหาญ จึงชื่อว่าวีระ
คือ ทรงก้าวไปข้างหน้า ไม่ขลาด ไม่หวาดเสียว ไม่สะดุ้ง ไม่หนี ทรงละ
ภัยและความหวาดกลัวได้แล้ว หมดความขนพองสยองเกล้า จึงชื่อว่าพระวีระ

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.สุ. ๒๕/๑๑๐๓-๑๑๐๗/๕๔๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๑. ชตุกัณณิมาณวปัญหานิทเทส
พระผู้มีพระภาคทรงเว้นขาดจากบาปธรรมทั้งปวงในโลกนี้
ก้าวล่วงทุกข์ในนรก ทรงอยู่ด้วยความเพียร
ทรงมีความเพียร มีความมุ่งมั่น แกล้วกล้า มั่นคง
เรียกได้ว่า ทรงเป็นอย่างนั้น
คำว่า ข้าแต่พระวีระ ข้าพระองค์ได้ยินว่าพระองค์ไม่มีความใคร่กาม
อธิบายว่า
คำว่า กาม ได้แก่ กาม ๒ อย่าง แบ่งตามหมวด คือ (๑) วัตถุกาม (๒)
กิเลสกาม ฯลฯ เหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม ฯลฯ เหล่านี้ เรียกว่ากิเลสกาม๑
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงกำหนดรู้วัตถุกาม ทรงละกิเลสกามได้แล้ว เพราะ
เป็นผู้ทรงกำหนดรู้วัตถุกาม เพราะทรงละกิเลสกามได้แล้ว พระผู้มีพระภาคจึงไม่
ทรงใคร่ในกาม คือ ไม่ปรารถนา ไม่มุ่งหมาย ไม่มุ่งหวังในกาม
ชนเหล่าใดใคร่กาม ปรารถนา มุ่งหมาย มุ่งหวังกาม ชนเหล่านั้น ชื่อว่า
ยังใคร่กาม กำหนัดในราคะ มีความสำคัญในสัญญา
พระผู้มีพระภาคไม่ทรงใคร่กาม ไม่ทรงปรารถนา ไม่มุ่งหมาย ไม่มุ่งหวังกาม
ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงชื่อว่าไม่มีกาม คือ ทรงปราศจากกาม สละกามแล้ว
คายกามแล้ว ปล่อยกามแล้ว ละกามแล้ว สลัดทิ้งกามแล้ว คลายราคะแล้ว
ปราศจากราคะแล้ว สละราคะแล้ว คายราคะแล้ว ปล่อยราคะแล้ว ละราคะแล้ว
สลัดทิ้งราคะแล้ว เป็นผู้หมดความอยากแล้ว ดับแล้ว เย็นแล้ว มีตนอันประเสริฐ
เสวยสุขอยู่ รวมความว่า ข้าแต่พระวีระ ข้าพระองค์ได้ยินว่าพระองค์ไม่มีความ
ใคร่กาม
คำว่า ดังนี้ ในคำว่า ท่านชตุกัณณิทูลถาม ดังนี้ เป็นบทสนธิ ฯลฯ คำว่า
ดังนี้ นี้ เป็นคำเชื่อมบทหน้ากับบทหลังเข้าด้วยกัน
คำว่า ท่าน เป็นคำกล่าวด้วยความรัก คำว่า ท่าน นี้ เป็นคำกล่าวที่มี
ความเคารพและความยำเกรง

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๘/๖๖-๖๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๑. ชตุกัณณิมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า ชตุกัณณิ เป็นโคตรของพราหมณ์นั้น ฯลฯ ชื่อเรียกเฉพาะ๑ รวมความ
ว่า ท่านชตุกัณณิทูลถาม ดังนี้
คำว่า ล่วงพ้นห้วงกิเลส ในคำว่า ล่วงพ้นห้วงกิเลส จึงมาเฝ้าเพื่อทูลถาม
พระองค์ผู้ไม่มีกาม อธิบายว่า ล่วงพ้นห้วงกิเลส คือ ก้าวล่วง ก้าวพ้น ล่วง
พ้นห้วงกิเลสแล้ว รวมความว่า ล่วงพ้นห้วงกิเลส
คำว่า เพื่อทูลถาม ได้แก่ เพื่อทูลถาม คือ เพื่อทูลปุจฉา ทูลขอ ทูลอัญเชิญ
ทูลให้ทรงประกาศ
คำว่า จึงมาเฝ้า ... ผู้ไม่มีกาม อธิบายว่า จึงมาเฝ้า คือ เป็นผู้มาเฝ้าแล้ว
มาเข้าเฝ้าแล้ว ถึงพร้อมแล้ว เป็นผู้มาถึงพร้อมกับพระองค์แล้ว เพื่อทูลถามพระ
องค์ผู้ไม่มีกาม คือ ทรงปราศจากกาม สละกามแล้ว คายกามแล้ว ปล่อยกามแล้ว
ละกามแล้ว สลัดทิ้งกามแล้ว ได้แก่ คลายราคะแล้ว ปราศจากราคะแล้ว สละ
ราคะแล้ว คายราคะแล้ว ปล่อยราคะแล้ว ละราคะแล้ว สลัดทิ้งราคะแล้ว รวม
ความว่า ล่วงพ้นห้วงกิเลส จึงมาเฝ้าเพื่อทูลถามพระองค์ผู้ไม่มีกาม
คำว่า ข้าแต่พระสหชเนตร ขอพระองค์โปรดตรัสบอกสันติบท อธิบายว่า
คำว่า สันติ ได้แก่ ทั้งสันติและสันติบท มีความหมายอย่างเดียวกัน สันติบท
นั้นเอง คือ อมตนิพพาน ได้แก่ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดทิ้งอุปธิ
ทั้งหมด เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับกิเลส เป็นที่เย็นสนิท
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บทนี้สงบ บทนี้ประณีต คือ ธรรม
เป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดทิ้งอุปธิทั้งหมด เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่ดับกิเลส
เป็นที่เย็นสนิท”
อีกประการหนึ่ง ธรรมเหล่าใด เป็นไปเพื่อบรรลุความสงบ ถูกต้องความสงบ
ทำให้แจ้งความสงบ คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕
พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ เหล่านี้ก็ตรัสเรียกว่า สันติบท

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๑/๔๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๑. ชตุกัณณิมาณวปัญหานิทเทส
ขอพระองค์โปรดตรัส คือ โปรดบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก
ทำให้ง่าย ประกาศสันติบท คือ ตาณบท เลณบท สรณบท อภยบท อัจจุตบท
อมตบท นิพพานบท
คำว่า ข้าแต่พระสหชเนตร อธิบายว่า พระสัพพัญญุตญาณตรัสเรียกว่า
พระเนตร พระเนตรและความเป็นพระชินเจ้าของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า เกิดขึ้น
ในขณะเดียวกัน ไม่ก่อน ไม่หลังกัน ที่โคนต้นโพธิ์ ฉะนั้น พระพุทธเจ้า จึงมี
พระนามว่าพระสหชเนตร รวมความว่า ข้าแต่พระสหชเนตร ขอพระองค์โปรด
ตรัสบอกสันติบท
คำว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรมอันแท้จริงนั้น
แก่ข้าพระองค์ อธิบายว่า อมตนิพพานตรัสเรียกว่า ธรรมแท้จริง ได้แก่ ธรรม
เป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดทิ้งอุปธิทั้งหมด เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่คลาย
กำหนัด เป็นที่ดับกิเลส เป็นที่เย็นสนิท
คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ คำว่า พระ
ผู้มีพระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ๑
คำว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอก...นั้นแก่ข้าพระองค์ ได้แก่ ขอพระองค์
โปรดตรัส คือ โปรดบอก ฯลฯ ประกาศ รวมความว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค
ขอพระองค์ โปรดตรัสบอกธรรมอันแท้จริงนั้นแก่ข้าพระองค์ ด้วยเหตุนั้น
พราหมณ์นั้นจึงกราบทูลว่า
(ท่านชตุกัณณิทูลถาม ดังนี้)
ข้าแต่พระวีระ ข้าพระองค์ได้ยินว่า
พระองค์ไม่มีความใคร่กาม ล่วงพ้นห้วงกิเลส
จึงมาเฝ้าเพื่อจะทูลถามพระองค์ผู้ไม่มีกาม
ข้าแต่พระสหชเนตร ขอพระองค์โปรดตรัสบอกสันติบท
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรม
อันแท้จริงนั้นแก่ข้าพระองค์

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๒/๔๖-๔๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๑. ชตุกัณณิมาณวปัญหานิทเทส
[๖๖] (ท่านชตุกัณณิทูลถามว่า)
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงครอบงำกามทั้งหลาย
ด้วยพระเดช ทรงเคลื่อนไหว(อิริยาบถ)อยู่
เหมือนดวงอาทิตย์มีแสงสว่าง ส่องแสงปกคลุมทั่วปฐพี
พระองค์ผู้มีพระปัญญาดุจภูริ
ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรมเป็นเครื่องละชาติ
และชราในโลกนี้ ซึ่งข้าพระองค์จะพึงรู้แจ้ง
แก่ข้าพระองค์ผู้มีปัญญาน้อยด้วยเถิด (๒)
คำว่า พระผู้มีพระภาค ในคำว่า อนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงครอบงำกาม
ทั้งหลาย (ด้วยพระเดช) ทรงเคลื่อนไหว (อิริยาบถ) อยู่ เป็นคำกล่าวโดย
ความเคารพ ฯลฯ คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ
คำว่า กาม ได้แก่ กาม ๒ อย่าง แบ่งตามหมวด คือ (๑) วัตถุกาม (๒)
กิเลสกาม ฯลฯ เหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม ฯลฯ เหล่านี้เรียกว่า กิเลสกาม
พระผู้มีพระภาคทรงกำหนดรู้วัตถุกาม ทรงละ ครอบงำ คือ ข่มขี่ ท่วมทับ
ควบคุม ย่ำยีกิเลสกามได้แล้ว เสด็จไป ประทับอยู่ ทรงเคลื่อนไหว ทรงเป็นไป
ทรงเลี้ยงพระชนมชีพ ทรงดำเนินไป ทรงยังพระชนมชีพให้ดำเนินไปอยู่ รวมความว่า
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงครอบงำกามทั้งหลาย (ด้วยพระเดช) ทรงเคลื่อนไหว
(อิริยาบถ)อยู่
คำว่า เหมือนดวงอาทิตย์มีแสงสว่าง ส่องแสงปกคลุมทั่วปฐพี อธิบายว่า
พระสุรียะเรียกว่า ดวงอาทิตย์ พื้นแผ่นดินเรียกว่า ปฐพี
ดวงอาทิตย์มีแสงสว่าง คือ ประกอบด้วยแสงสว่าง ครอบงำ ข่มขี่ ท่วมทับ
ปกคลุม แผดเผาแผ่นดิน ขจัดความมืด คือกำจัดความมืดมิดในอากาศทั้งหมดแล้ว
ส่องแสงสว่างโคจรไปในอากาศบนท้องฟ้าอันโปร่งใส ฉันใด พระผู้มีพระภาคมีพระ
เดชคือญาณ คือ ประกอบด้วยพระเดชคือญาณ ทรงกำจัดอภิสังขารสมุทัยทั้งปวง
ฯลฯ ความมืดคือกิเลส ความมืดคืออวิชชา ทรงส่องแสงสว่างคือพระญาณ ทรง
กำหนดรู้วัตถุกาม ทรงละ ครอบงำ ข่มขี่ ท่วมทับ ควบคุม ย่ำยีกิเลสกามได้แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๑. ชตุกัณณิมาณวปัญหานิทเทส
เสด็จไป ประทับอยู่ ทรงเคลื่อนไหว ทรงเป็นไป ทรงเลี้ยงพระชนมชีพ
ทรงดำเนินไป ทรงยังพระชนมชีพให้ดำเนินไป ฉันนั้น รวมความว่า เหมือน
ดวงอาทิตย์มีแสงสว่าง ส่องแสงปกคลุมทั่วปฐพี
คำว่า พระองค์ผู้มีพระปัญญาดุจภูริ... แก่ข้าพระองค์ผู้มีปัญญาน้อยด้วย
เถิด อธิบายว่า ข้าพระองค์เป็นผู้มีปัญญาน้อย คือ มีปัญญาต่ำทราม มีปัญญา
น่ารังเกียจ มีปัญญาหยาบ ส่วนพระองค์มีพระปัญญามาก คือ มีพระปัญญา
กว้างขวาง มีพระปัญญาอาจหาญ มีพระปัญญาฉับไว มีพระปัญญาเฉียบคม มี
พระปัญญาเพิกถอนกิเลส
แผ่นดินท่านเรียกว่า ภูริ พระผู้มีพระภาคทรงประกอบด้วยปัญญาอันกว้าง
ขวาง แผ่ไป เสมอด้วยแผ่นดินนั้น รวมความว่า พระองค์ผู้มีพระปัญญาดุจภูริ...
แก่ข้าพระองค์ผู้มีปัญญาน้อยด้วยเถิด
คำว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรม ในคำว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอก
ธรรม ... ซึ่งข้าพระองค์จะพึงรู้แจ้ง อธิบายว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอก คือ
แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศธรรม คือ พรหมจรรย์
ที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงามในที่สุด พร้อมทั้ง
อรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน สติปัฏฐาน ๔ ฯลฯ นิพพาน
และปฏิปทาเครื่องดำเนินไปสู่นิพพาน
คำว่า ซึ่งข้าพระองค์จะพึงรู้แจ้ง ได้แก่ ซึ่งข้าพระองค์พึงรู้ คือ พึงรู้ทั่ว
รู้แจ่มแจ้ง รู้เฉพาะ รู้แจ้งเฉพาะ แทงตลอด บรรลุ ถูกต้อง ทำให้แจ้ง รวมความว่า
โปรดตรัสบอกธรรม... ซึ่งข้าพระองค์จะพึงรู้แจ้ง
คำว่า ธรรมเป็นเครื่องละชาติและชราในโลกนี้ อธิบายว่า ธรรมเป็นเครื่อง
ละ คือ ธรรมเป็นเครื่องเข้าไปสงบ เป็นเครื่องสลัดทิ้ง เป็นเครื่องระงับชาติชรา
และมรณะในโลกนี้ คืออมตนิพพาน รวมความว่า ธรรมเป็นเครื่องละชาติและชรา
ในโลกนี้ ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกราบทูลว่า


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๑. ชตุกัณณิมาณวปัญหานิทเทส
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงครอบงำกามทั้งหลาย
ด้วยพระเดช ทรงเคลื่อนไหว(อิริยาบถ)อยู่
เหมือนดวงอาทิตย์มีแสงสว่าง ส่องแสงปกคลุมทั่วปฐพี
พระองค์ผู้มีพระปัญญาดุจภูริ
ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรมเป็นเครื่องละชาติ
และชราในโลกนี้ ซึ่งข้าพระองค์จะพึงรู้แจ้ง
แก่ข้าพระองค์ผู้มีปัญญาน้อยด้วยเถิด
[๖๗] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ชตุกัณณิ)
เธอจงกำจัดความติดใจในกามทั้งหลายเสีย
เธอเห็นเนกขัมมะโดยความเกษมแล้ว
ควรสลัดเครื่องกังวลที่ยึดถือ
หรือว่าเครื่องกังวลอย่าได้มีแก่เธอ (๓)
คำว่า ในกามทั้งหลาย ในคำว่า เธอจงกำจัดความติดใจในกามทั้งหลาย
เสีย ได้แก่ กาม ๒ อย่าง แบ่งตามหมวด คือ (๑) วัตถุกาม (๒) กิเลสกาม ฯลฯ
เหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม ฯลฯ เหล่านี้เรียกว่า กิเลสกาม๑
คำว่า ความติดใจ อธิบายว่า ตัณหาตรัสเรียกว่า ความติดใจ ได้แก่
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ
คำว่า เธอจงกำจัดความติดใจในกามทั้งหลายเสีย อธิบายว่า เธอจงกำจัด
คือ ขจัด ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งความกำหนัดใน
กามทั้งหลาย รวมความว่า เธอจงกำจัดความติดใจในกามทั้งหลายเสีย
คำว่า ชตุกัณณิ เป็นคำที่พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยโคตร
คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ คำว่า
พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ๒ รวมความว่า พระผู้มีพระภาตตรัสตอบว่า
ชตุกัณณิ

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๘/๖๖-๖๗
๒ ดูรายละเอียดข้อ ๒/๔๖-๔๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๑. ชตุกัณณิมาณวปัญหานิทเทส
ว่าด้วยธรรมอันเกษม
คำว่า เนกขัมมะ ในคำว่า เธอเห็นเนกขัมมะโดยความเกษมแล้ว อธิบาย
ว่า เธอเห็นแล้ว คือ แลเห็น เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่ม
แจ้งซึ่งการปฏิบัติชอบ การปฏิบัติเหมาะสม การปฏิบัติที่ไม่เป็นข้าศึก การปฏิบัติ
ที่เอื้อประโยชน์ การปฏิบัติธรรมถูกต้องตามหลักธรรม การรักษาศีลให้บริบูรณ์
ความเป็นผู้สำรวมอินทรีย์ ๖ (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) ความเป็นผู้รู้จัก
ประมาณ ในการบริโภคอาหาร ความเป็นผู้มีความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่เสมอ
สติสัมปชัญญะ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕
โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ นิพพาน และปฏิปทาเครื่องดำเนินไปสู่นิพพาน
โดยความเป็นธรรมเกษม คือ เป็นที่ปกป้อง เป็นที่หลีกเร้น เป็นที่พึ่ง ที่อาศัย ที่
ปลอดภัย ที่ไม่จุติ ที่ไม่ตาย ที่ดับเย็น รวมความว่า เธอเห็นเนกขัมมะโดยความ
เกษมแล้ว
คำว่า เครื่องกังวลที่ยึดถือ ในคำว่า ควรสลัดเครื่องกังวลที่ยึดถือ หรือว่า
อธิบายว่า เครื่องกังวลที่ถือแล้ว ยึดมั่นแล้ว ถือมั่นแล้ว ติดใจแล้ว น้อมใจเชื่อแล้ว
ด้วยอำนาจตัณหา ด้วยอำนาจทิฏฐิ
คำว่า ควรสลัด ... หรือว่า อธิบายว่า ควรสลัด คือ ควรเปลื้อง ละ บรรเทา
ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีก หรือว่า รวมความว่า ควรสลัดเครื่องกังวล
ที่ยึดถือ หรือว่า
คำว่า เครื่องกังวลอย่าได้มีแก่เธอ อธิบายว่า เครื่องกังวลคือราคะ เครื่อง
กังวลคือโทสะ เครื่องกังวลคือโมหะ เครื่องกังวลคือมานะ เครื่องกังวลคือทิฏฐิ
เครื่องกังวลคือกิเลส เครื่องกังวลคือทุจริต เครื่องกังวลนี้อย่าได้มี คือ อย่าได้
ประสบ อย่าได้ปรากฏแก่เธอเลย ได้แก่ เธอจงละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป
ให้ถึงความไม่มีอีก รวมความว่า เครื่องกังวลอย่าได้มีแก่เธอ ด้วยเหตุนั้น พระผู้-
มีพระภาคจึงตรัสว่า


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๑. ชตุกัณณิมาณวปัญหานิทเทส
(พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ชตุกัณณิ)
เธอจงกำจัดความติดใจในกามทั้งหลายเสีย
เธอเห็นเนกขัมมะโดยความเกษมแล้ว
ควรสลัดเครื่องกังวลที่ยึดถือ
หรือว่าเครื่องกังวลอย่าได้มีแก่เธอ
[๖๘] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า)
เธอจงทำกิเลสที่ปรารภสังขารในส่วนเบื้องต้นให้เหือดแห้งไป
เครื่องกังวลที่ปรารภสังขารในส่วนภายหลังอย่าได้มีแก่เธอ
ถ้าเธอจักไม่ถือสังขารในส่วนท่ามกลางไว้
ก็จักเป็นผู้เข้าไปสงบ เที่ยวไป (๔)
คำว่า เธอจงทำกิเลสที่ปรารภสังขารในส่วนเบื้องต้นให้เหือดแห้งไป
อธิบายว่า กิเลสเหล่าใดพึงปรารภสังขารที่เป็นอดีตเกิดขึ้น เธอจงทำกิเลสเหล่านั้น
ให้แห้งไป เหือดแห้งไป คือ แห้งเหือดไป แห้งหายไป ทำให้หมดพืชพันธุ์ จงละ
บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีก รวมความว่า เธอจงทำกิเลสที่
ปรารภสังขารในส่วนเบื้องต้นให้เหือดแห้งไป อย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง กัมมาภิสังขารที่เป็นอดีตซึ่งให้ผลเหล่าใด เธอจงทำกัมมาภิ-
สังขารเหล่านั้นให้แห้งไป เหือดแห้งไป คือ แห้งเหือดไป แห้งหายไป ทำให้
หมดพืชพันธุ์ จงละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีก รวมความว่า
เธอจงทำกิเลสที่ปรารภสังขารในส่วนเบื้องต้นให้เหือดแห้งไป อย่างนี้บ้าง

ว่าด้วยอนาคตตรัสเรียกว่าส่วนภายหลัง
คำว่า เครื่องกังวลที่ปรารภสังขารในส่วนภายหลังอย่าได้มีแก่เธอ อธิบายว่า
เครื่องกังวลส่วนอนาคต ตรัสเรียกว่า ภายหลัง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๑. ชตุกัณณิมาณวปัญหานิทเทส
เครื่องกังวลคือราคะ เครื่องกังวลคือโทสะ เครื่องกังวลคือโมหะ เครื่องกังวล
คือมานะ เครื่องกังวลคือทิฏฐิ เครื่องกังวลคือกิเลส เครื่องกังวลคือทุจริต อัน
ปรารภสังขารที่เป็นส่วนอนาคต เครื่องกังวลนี้อย่าได้มี คือ อย่าได้มีแล้วแก่เธอ
ได้แก่ เธออย่าให้เกิด อย่าให้เกิดขึ้น อย่าให้บังเกิด จงละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป
ให้ถึงความไม่มีอีก รวมความว่า เครื่องกังวลที่ปรารภสังขารในส่วนภายหลังอย่า
ได้มีแก่เธอ
คำว่า ถ้าเธอจักไม่ถือสังขารในส่วนท่ามกลางไว้ อธิบายว่า รูป เวทนา
สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เป็นปัจจุบัน ตรัสเรียกว่า ส่วนท่ามกลาง
เธอจักไม่ถือ คือ ไม่ถือ ไม่ยึดถือ ไม่ใยดี ไม่พูดถึง ไม่ติดใจสังขารที่เป็น
ปัจจุบันด้วยอำนาจตัณหา ด้วยอำนาจทิฏฐิ คือ จักละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป
ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งความยินดี การบ่นถึง ความติดใจ ความถือ ความยึดมั่น
ความถือมั่น รวมความว่า ถ้าเธอจักไม่ถือสังขารในส่วนท่ามกลางไว้
คำว่า ก็จักเป็นผู้เข้าไปสงบ เที่ยวไป อธิบายว่า ชื่อว่าเป็นผู้สงบ เพราะ
สงบราคะ ชื่อว่าเป็นผู้สงบ เพราะสงบโทสะ ฯลฯ ชื่อว่าเป็นผู้สงบ เพราะสงบโมหะ
ฯลฯ ชื่อว่าเป็นผู้สงบ เข้าไปสงบ คือ สงบเย็น ดับ ระงับ เพราะสงบ ระงับ สงบเย็น
เผา ดับ ปราศจาก สงบระงับโกธะ ฯลฯ อุปนาหะ ฯลฯ อกุสลาภิสังขารทุกประเภท
เที่ยวไป คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป
รวมความว่า ก็จักเป็นผู้เข้าไปสงบ เที่ยวไป ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัส
ตอบว่า
เธอจงทำกิเลสที่ปรารภสังขารในส่วนเบื้องต้นให้เหือดแห้งไป
เครื่องกังวลที่ปรารภสังขารในส่วนภายหลังอย่าได้มีแก่เธอ
ถ้าเธอจักไม่ถือสังขารในส่วนท่ามกลางไว้
ก็จักเป็นผู้เข้าไปสงบ เที่ยวไป
[๖๙] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า)
พราหมณ์ อาสวะทั้งหลาย
อันเป็นเหตุให้ถึงอำนาจแห่งมัจจุ ไม่มีแก่บุคคลนั้น
ผู้คลายความติดใจในนามรูป โดยประการทั้งปวง (๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๑. ชตุกัณณิมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า โดยประการทั้งปวง ในคำว่า พราหมณ์... ผู้คลายความติดใจใน
นามรูปโดยประการทั้งปวง ได้แก่ ทุกสิ่งโดยอาการทั้งหมด ทุกอย่าง ไม่เหลือ
ไม่มีส่วนเหลือโดยประการทั้งปวง คำว่า โดยประการทั้งปวง นี้ เป็นคำกล่าวรวม ๆ
ไว้ทั้งหมด
คำว่า นาม ได้แก่ อรูปขันธ์ ๔
คำว่า รูป ได้แก่ มหาภูตรูป ๔๑ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔๒ ตัณหา
ตรัสเรียกว่า ความติดใจ ได้แก่ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ อภิชฌา
อกุศลมูลคือโลภะ
คำว่า พราหมณ์ ... ผู้คลายความติดใจในนามรูป โดยประการทั้งปวง
อธิบายว่า พราหมณ์ พระอรหันตขีณาสพ ผู้คลายความติดใจแล้ว คือ ผู้ปราศจาก
ความติดใจแล้ว สละความติดใจแล้ว คายความติดใจแล้ว ปล่อยความติดใจแล้ว
ละความติดใจแล้ว สลัดทิ้งความติดใจได้แล้ว รวมความว่า พราหมณ์ ... ผู้
คลายความติดใจในนามรูป โดยประการทั้งปวง
คำว่า อาสวะทั้งหลาย ในคำว่า อาสวะทั้งหลาย ... ไม่มีแก่บุคคลนั้น ได้แก่
อาสวะ ๔ อย่าง คือ
๑. กามาสวะ
๒. ภวาสวะ
๓. ทิฏฐาสวะ
๔. อวิชชาสวะ
คำว่า แก่บุคคลนั้น ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ
คำว่า ไม่มี อธิบายว่า อาสวะเหล่านี้ไม่มี คือ ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่
ได้แก่พระอรหันตขีณาสพนั้น ได้แก่ อาสวะทั้งหลายท่านละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว
ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว
รวมความว่า อาสวะทั้งหลาย ... ไม่มีแก่บุคคลนั้น

เชิงอรรถ :
๑ มหาภูตรูป ๔ ดูเชิงอรรถข้อ ๕/๕๘
๒ รูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ ดูเชิงอรรถข้อ ๕/๕๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๑. ชตุกัณณิมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า อันเป็นเหตุให้ถึงอำนาจแห่งมัจจุ อธิบายว่า อาสวะทั้งหลาย ที่
เป็นเหตุให้ไปสู่อำนาจแห่งมรณะ หรือ ไปสู่อำนาจของมรณะ หรือ ไปสู่อำนาจ
ของพรรคพวกมาร ไม่มี คือ ไม่มีอยู่ ไม่มีปรากฏ หาไม่ได้แก่พระอรหันตขีณาสพนั้น
ได้แก่ อาสวะทั้งหลายท่านละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว
ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า อันเป็นเหตุให้ถึง
อำนาจแห่งมัจจุ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า
พราหมณ์ อาสวะทั้งหลาย
อันเป็นเหตุให้ถึงอำนาจแห่งมัจจุ ไม่มีแก่บุคคลนั้น
ผู้คลายความติดใจในนามรูป โดยประการทั้งปวง
พร้อมกับการจบคาถา ฯลฯ ชตุกัณณิมาณพ ... โดยประกาศว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก”
ชตุกัณณิมาณวปัญหานิทเทสที่ ๑๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๒. ภัทราวุธมาณวปัญหานิทเทส
๑๒. ภัทราวุธมาณวปัญหานิทเทส๑
ว่าด้วยปัญหาของภัทราวุธมาณพ
[๗๐] (ท่านภัทราวุธทูลถาม ดังนี้)
ข้าพระองค์ขอทูลอาราธนาพระองค์
ผู้ทรงละห้วงน้ำคืออาลัยได้ ตัดตัณหาได้
ไม่มีตัณหาเหตุให้หวั่นไหว
ทรงละความเพลิดเพลินได้ ข้ามห้วงกิเลสได้
หลุดพ้นแล้ว ละการกำหนด มีพระปัญญาดี
ชนทั้งหลายครั้นได้ฟังพระดำรัสของพระองค์ผู้นาคะแล้ว
จึงจักกลับไปจากที่นี้ (๑)
คำว่า ผู้ทรงละห้วงน้ำคืออาลัยได้ ในคำว่า ผู้ทรงละห้วงน้ำคืออาลัยได้
ตัดตัณหาได้ ไม่มีตัณหาเหตุให้หวั่นไหว อธิบายว่า ความพอใจ ความกำหนัด
ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก อุบาย๒และความยึดมั่นอันเป็นเหตุที่ใจเข้าไป
ตั้งมั่นถือมั่นนอนเนื่องในรูปธาตุ พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงละได้เด็ดขาดแล้ว
ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี
เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงชื่อว่าผู้ละห้วงน้ำคืออาลัยได้ ความพอใจ
ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก อุบายและความยึดมั่นอัน
เป็นเหตุที่ใจเข้าไปตั้งมั่นถือมั่นนอนเนื่องในเวทนาธาตุ ฯลฯ ในสัญญาธาตุ ฯลฯ
ในสังขารธาตุ ฯลฯ ในวิญญาณธาตุ พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงละได้เด็ดขาดแล้ว
ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี
เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงชื่อว่าผู้ทรงละห้วงน้ำคืออาลัยได้
คำว่า ตัดตัณหาได้ อธิบายว่า
คำว่า ตัณหา ได้แก่ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา
โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา ตัณหานั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ทรงตัดแล้ว คือ

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.สุ. ๒๕/๑๑๐๘-๑๑๑๑/๕๔๖
๒ อุบาย ในที่นี้หมายถึงตัณหาและทิฎฐิ (ขุ.จู.อ. ๗๐/๔๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๒. ภัทราวุธมาณวปัญหานิทเทส
ตัดขาดแล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก
เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงชื่อว่าตัดตัณหาได้
คำว่า ไม่มีตัณหาเหตุให้หวั่นไหว อธิบายว่า ตัณหาตรัสเรียกว่า เหตุให้
หวั่นไหว ได้แก่ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ๑
ตัณหาเหตุให้หวั่นไหวนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงละได้เด็ดขาดแล้ว คือ
ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี
เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงชื่อว่าไม่มีตัณหาเหตุให้หวั่นไหว เพราะ
เป็นผู้ละตัณหาเหตุให้หวั่นไหวได้แล้ว จึงชื่อว่าไม่มีตัณหาเหตุให้หวั่นไหว พระผู้มี-
พระภาค ไม่ทรงหวั่นไหว คือ ไม่ทรงสะเทือน ไม่เคลื่อนไหว ไม่สะท้าน ไม่สั่นสะท้าน
เพราะได้ลาภ เพราะเสื่อมลาภบ้าง เพราะได้ยศ เพราะเสื่อมยศบ้าง เพราะสรรเสริญ
เพราะนินทาบ้าง เพราะได้สุข เพราะทุกข์บ้าง ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงชื่อว่าไม่มี
ตัณหาเหตุให้หวั่นไหว รวมความว่า ผู้ทรงละห้วงน้ำคืออาลัยได้ ตัดตัณหาได้ ไม่
มีตัณหาเหตุให้หวั่นไหว
คำว่า ดังนี้ ในคำว่า ท่านภัทราวุธทูลถาม ดังนี้ เป็นบทสนธิ ฯลฯ คำว่า
ดังนี้ นี้ เป็นคำเชื่อมบทหน้ากับบทหลังเข้าด้วยกัน
คำว่า ท่าน เป็นคำกล่าวด้วยความรัก เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ คำว่า
ท่าน นี้ เป็นคำกล่าวที่มีความเคารพและความยำเกรง
คำว่า ภัทราวุธ เป็นชื่อของพราหมณ์นั้น ฯลฯ ชื่อเรียกเฉพาะ๒ รวมความว่า
ท่านภัทราวุธทูลถาม ดังนี้
คำว่า ทรงละความเพลิดเพลินได้ ข้ามห้วงกิเลสได้ หลุดพ้นแล้ว อธิบายว่า
ตัณหาตรัสเรียกว่า ความเพลิดเพลิน ได้แก่ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ
อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ ความเพลิดเพลินคือตัณหานั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า
ทรงละได้เด็ดขาดแล้ว คือ ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไป
แล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงชื่อว่า
ละความเพลิดเพลินได้

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๒/๕๐-๕๑
๒ ดูรายละเอียดข้อ ๑/๔๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๒. ภัทราวุธมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า ข้ามห้วงกิเลสได้ อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคทรงข้าม คือ ข้ามขึ้น
ข้ามพ้น ก้าวล่วง ก้าวพ้น ล่วงพ้นแล้วซึ่งกาโมฆะ ภโวฆะ ทิฏโฐฆะ อวิชโชฆะ
ทางแห่งสงสารทั้งปวง พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงอยู่ใน(อริยวาสธรรม)แล้ว
ประพฤติจรณธรรมแล้ว ฯลฯ พระองค์ไม่มี การเวียนเกิด เวียนแก่ เวียนตาย
และภพใหม่ก็ไม่มีอีก รวมความว่า ทรงละความเพลิดเพลินได้ ข้ามห้วงกิเลสได้
หลุดพ้นแล้ว
คำว่า หลุดพ้นแล้ว อธิบายว่า จิตของพระผู้มีพระภาคพ้นไปแล้ว หลุดพ้นแล้ว
หลุดพ้นไปด้วยดีแล้วจากราคะ จิตของพระผู้พระภาคพ้นไปแล้ว หลุดพ้นแล้ว
หลุดพ้นไปด้วยดีแล้วจากโทสะ จิตของพระผู้มีพระภาคพ้นไปแล้ว หลุดพ้นแล้ว
หลุดพ้นไปด้วยดีแล้วจากโมหะ จิตของพระผู้มีพระภาคพ้นไปแล้ว หลุดพ้นแล้ว
หลุดพ้นไปด้วยดีแล้วจากโกธะ อุปนาหะ ฯลฯ จากอกุสลาภิสังขารทุกประเภท
รวมความว่า ละความเพลิดเพลินได้ ข้ามห้วงกิเลสได้ หลุดพ้นแล้ว
คำว่า ข้าพระองค์ขอทูลอาราธนา ... ละการกำหนด มีพระปัญญาดี
อธิบายว่า
คำว่า การกำหนด ได้แก่ การกำหนด ๒ อย่าง คือ (๑) การกำหนด
ด้วยอำนาจตัณหา (๒) การกำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิ ฯลฯ นี้ชื่อว่าการกำหนด
ด้วยอำนาจตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าการกำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิ
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงละการกำหนดด้วยอำนาจตัณหา สลัดทิ้งการ
กำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิได้แล้ว เพราะเป็นผู้ทรงละการกำหนดด้วยอำนาจตัณหา
สลัดทิ้งการกำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิ พระพุทธเจ้าจึงชื่อว่าละการกำหนด
คำว่า ข้าพระองค์ขอทูลอาราธนา ได้แก่ ทูลขอ ทูลอาราธนา คือ อัญเชิญ
ยินดี ปรารถนา มุ่งหมาย พอใจ มุ่งหวัง
คำว่า มีพระปัญญาดี อธิบายว่า ปัญญาตรัสเรียกว่า เมธา (ปัญญาเครื่อง
ทำลายกิเลส) ได้แก่ ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความ
เลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ๑

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๕/๕๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๒. ภัทราวุธมาณวปัญหานิทเทส
พระผู้มีพระภาคทรงประกอบ ประกอบพร้อม ดำเนินไป ดำเนินไปพร้อม
เป็นไป เป็นไปพร้อม เพียบพร้อมแล้วด้วยปัญญาเครื่องทำลายกิเลสนี้ ฉะนั้น
พระพุทธเจ้าจึงชื่อว่ามีพระปัญญาดี รวมความว่า ข้าพระองค์ขอทูลอาราธนา ...
ละการกำหนด มีพระปัญญญาดี
คำว่า ผู้นาคะ๑ ในคำว่า ชนทั้งหลายครั้นได้ฟังพระดำรัสของพระองค์ผู้
นาคะแล้ว จึงจักกลับไปจากที่นี้ อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคชื่อว่าผู้นาคะ
เพราะไม่ทรงทำความชั่ว พระผู้มีพระภาคชื่อว่าผู้นาคะ เพราะไม่ทรงถึง พระผู้มี
พระภาคชื่อว่าผู้นาคะ เพราะไม่ทรงกลับมาหา ฯลฯ พระผู้มีพระภาคชื่อว่าผู้นาคะ
เพราะไม่ทรงกลับมาหา เป็นอย่างนี้
คำว่า ชนทั้งหลายครั้นได้ฟังพระดำรัสของพระองค์ผู้นาคะแล้วจึงจักกลับ
ไปจากที่นี้๒ อธิบายว่า ชนทั้งหลายครั้นได้ฟัง คือ ครั้นได้สดับ เรียน ทรงจำ
เข้าไปกำหนดแล้วซึ่งพระดำรัส คือ คำที่เป็นแนวทาง เทศนา คำสั่งสอน คำ
พร่ำสอนของพระองค์ จึงจักกลับ คือ ดำเนินไป จากไป ไปสู่ทิศน้อยทิศใหญ่จากที่นี้
รวมความว่า ชนทั้งหลายครั้นได้ฟังพระดำรัสของพระองค์ผู้นาคะแล้วจึงจักกลับไป
จากที่นี้ ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกราบทูลว่า
(ท่านภัทราวุธทูลถาม ดังนี้)
ข้าพระองค์ขอทูลอาราธนาพระองค์
ผู้ทรงละห้วงน้ำคืออาลัยได้ ตัดตัณหาได้
ไม่มีตัณหาเหตุให้หวั่นไหว
ทรงละความเพลิดเพลินได้ข้ามห้วงกิเลสได้
หลุดพ้นแล้ว ละการกำหนด มีพระปัญญาดี
ชนทั้งหลายครั้นได้ฟังพระดำรัสของพระองค์ผู้นาคะแล้ว
จึงจักกลับไปจากที่นี้

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๒๗/๑๔๕-๑๔๖
๒ จากที่นี้ ในที่นี้หมายถึง จากปาสาณกเจดีย์ (ขุ.จู.อ. ๗๐/๔๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๒. ภัทราวุธมาณวปัญหานิทเทส
[๗๑] (ท่านภัทราวุธทูลถามว่า)
ข้าแต่พระวีระ ชนต่าง ๆ จากชนบททั้งหลาย
มาชุมนุมกัน(ในที่นี้) หวังเป็นอย่างยิ่ง(ที่จะได้ฟัง)
พระดำรัสของพระองค์ ขอพระองค์โปรดพยากรณ์(ปัญหา)
แก่ชนเหล่านั้นให้แจ่มแจ้งด้วยเถิด
เพราะว่าธรรมนี้พระองค์ทรงทราบชัดแล้ว (๒)
คำว่า ชนต่าง ๆ ในคำว่า ชนต่าง ๆ จากชนบททั้งหลาย มาชุมนุมกัน
(ในที่นี้) ได้แก่ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดา
และมนุษย์
คำว่า จากชนบททั้งหลาย มาชุมนุมกัน(ในที่นี้) อธิบายว่า จากแคว้นอังคะ
มคธ กลิงคะ กาสี โกศล วัชชี มัลละ วังสะ กุรุ ปัญจาละ มัจฉะ สุรเสนะ อัสสกะ
อวันตี โยนะ(คันธาระ) และกัมโพชะ
คำว่า มาชุมนุมกัน(ในที่นี้) อธิบายว่า มาชุมนุมกัน คือ มาพร้อมกัน
มารวมกัน มาประชุมกัน (ในที่นี้) รวมความว่า ชนต่าง ๆ จากชนบททั้งหลาย
มาชุมนุมกัน (ในที่นี้)

ว่าด้วยพระผู้มีพระภาคชื่อว่าวีระ
คำว่า ข้าแต่พระวีระ ในคำว่า ข้าแต่พระวีระ ... หวังเป็นอย่างยิ่ง(ที่จะ
ได้ฟัง)พระดำรัสของพระองค์ อธิบายว่า
พระผู้มีพระภาคผู้วีระ มีพระวิริยะ จึงชื่อว่าวีระ
พระผู้มีพระภาคทรงองอาจ จึงชื่อว่าวีระ
พระผู้มีภาคทรงให้ผู้อื่นพากเพียร จึงชื่อว่าวีระ
พระผู้มีพระภาคทรงสามารถ จึงชื่อว่าวีระ
พระผู้มีพระภาคทรงหมดความขนพองสยองเกล้า จึงชื่อว่าวีระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๒. ภัทราวุธมาณวปัญหานิทเทส
พระผู้มีพระภาคทรงเว้นขาดจากบาปธรรมทั้งปวงในโลกนี้
ก้าวล่วงทุกข์ในนรก ทรงอยู่ด้วยความเพียร
ทรงมีความเพียร มีความมุ่งมั่น แกล้วกล้า มั่นคง
เรียกได้ว่า ทรงเป็นอย่างนั้น
คำว่า ข้าแต่พระวีระ...หวังเป็นอย่างยิ่ง (ที่จะได้ฟัง) พระดำรัสของ
พระองค์ ได้แก่ พระดำรัส คำที่เป็นแนวทาง เทศนา คำพร่ำสอน
คำว่า หวังเป็นอย่างยิ่ง อธิบายว่า หวังเป็นอย่างยิ่ง(ที่จะได้ฟัง) คือ ต้องการ
ยินดี ปรารถนา มุ่งหมาย มุ่งหวัง รวมความว่า ข้าแต่พระวีระ ... หวังเป็นอย่างยิ่ง
(ที่จะได้ฟัง) พระดำรัสของพระองค์
คำว่า แก่ชนเหล่านั้น ในคำว่า ขอพระองค์โปรดพยากรณ์(ปัญหา)แก่ชน
เหล่านั้นให้แจ่มแจ้งด้วยเถิด อธิบายว่า แก่ชนเหล่านั้น คือ กษัตริย์ พราหมณ์
แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดาและมนุษย์
คำว่า พระองค์ เป็นคำที่พราหมณ์เรียกพระผู้มีพระภาค
คำว่า โปรดพยากรณ์(ปัญหา) ... ให้แจ่มแจ้งด้วยเถิด อธิบายว่า ขอ
พระองค์โปรดตรัสบอก คือ แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย
ประกาศให้แจ่มแจ้งด้วยเถิด รวมความว่า ขอพระองค์โปรดพยากรณ์(ปัญหา)แก่ชน
เหล่านั้นให้แจ่มแจ้งด้วยเถิด
คำว่า เพราะว่าธรรมนี้พระองค์ทรงทราบชัดแล้ว อธิบายว่า เพราะว่า
พระองค์ทรงทราบแล้ว คือ ทรงรู้แล้ว เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว ทำให้
กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว รวมความว่า ขอพระองค์โปรดพยากรณ์(ปัญหา)
แก่ชนเหล่านั้นให้แจ่งแจ้งด้วยเถิด ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกราบทูลว่า
ข้าแต่พระวีระ ชนต่าง ๆ จากชนบททั้งหลาย
มาชุมนุมกัน(ในที่นี้) หวังเป็นอย่างยิ่ง(ที่จะได้ฟัง)
พระดำรัสของพระองค์ ขอพระองค์โปรดพยากรณ์(ปัญหา)
แก่ชนเหล่านั้นให้แจ่มแจ้งด้วยเถิด
เพราะว่าธรรมนี้พระองค์ทรงทราบชัดแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๒. ภัทราวุธมาณวปัญหานิทเทส
[๗๒] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ภัทราวุธ)
นรชนควรทำลายเครื่องยึดมั่นทั้งปวง
ทั้งชั้นสูง ชั้นต่ำและชั้นกลาง
เพราะสัตว์ทั้งหลายเข้าไปยึดถือขันธ์ใด ๆ ในโลก
มารย่อมติดตามสัตว์เพราะสิ่งที่ยึดถือนั้นนั่นแล (๓)
คำว่า นรชนควรทำลายเครื่องยึดมั่นทั้งปวง อธิบายว่า รูปตัณหา ตรัส
เรียกว่า เครื่องยึดมั่น
คำว่า เครื่องยึดมั่น อธิบายว่า รูปตัณหา ท่านเรียกว่าเครื่องยึดมั่น เพราะเหตุไร
เพราะสัตว์ทั้งหลายย่อมยึดถือ เข้าไปยึดถือ คือ ถือ ยึดมั่น ถือมั่นรูปด้วยตัณหานั้น
ฯลฯ ได้แก่ สัตว์ทั้งหลาย ย่อมยึดถือ เข้าไปยึดถือ คือ ถือ ยึดมั่น ถือมั่นเวทนา
ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ คติ ฯลฯ อุปบัติ ฯลฯ ปฏิสนธิ
ฯลฯ ภพ ฯลฯ สงสาร ฯลฯ วัฏฏะ เพราะเหตุนั้น รูปตัณหาเป็นต้นนั้น
ท่านจึงเรียกว่า เครื่องยึดมั่น
คำว่า นรชนควรทำลายเครื่องยึดมั่นทั้งปวง อธิบายว่า นรชนควรทำลาย
คือ พึงขจัด ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งเครื่องยึดมั่นทั้งหมด
รวมความว่า นรชนควรทำลายเครื่องยึดมั่นทั้งปวง
คำว่า ภัทราวุธ ในคำว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ภัทราวุธ เป็นคำที่
พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อ
คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ คำว่า
พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ รวมความว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
ภัทราวุธ
คำว่า ทั้งชั้นสูง ชั้นต่ำ และชั้นกลาง อธิบายว่า
อนาคต ตรัสเรียกว่าชั้นสูง อดีต ตรัสเรียกว่าชั้นต่ำ ปัจจุบัน ตรัสเรียกว่า
ชั้นกลาง
กุศลธรรม ตรัสเรียกว่าชั้นสูง อกุศลธรรม ตรัสเรียกว่าชั้นต่ำ อัพยากตธรรม
ตรัสเรียกว่าชั้นกลาง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๒. ภัทราวุธมาณวปัญหานิทเทส
เทวโลก ตรัสเรียกว่าชั้นสูง อบายโลก ตรัสเรียกว่าชั้นต่ำ มนุษยโลก ตรัส
เรียกว่าชั้นกลาง
สุขเวทนา ตรัสเรียกว่าชั้นสูง ทุกขเวทนา ตรัสเรียกว่าชั้นต่ำ อทุกขมสุขเวทนา
ตรัสเรียกว่าชั้นกลาง
อรูปธาตุ ตรัสเรียกว่าชั้นสูง กามธาตุ ตรัสเรียกว่าชั้นต่ำ รูปธาตุ ตรัส
เรียกว่าชั้นกลาง
เบื้องสูงจากฝ่าเท้าขึ้นไป ตรัสเรียกว่าชั้นสูง เบื้องต่ำจากปลายผมลงมา
ตรัสเรียกว่าชั้นต่ำ ตรงกลาง ตรัสเรียกว่าชั้นกลาง รวมความว่า ทั้งชั้นสูง ชั้นต่ำ
และชั้นกลาง
คำว่า เพราะสัตว์ทั้งหลายเข้าไปยึดถือขันธ์ใด ๆ ในโลก อธิบายว่า เพราะ
สัตว์ทั้งหลายยึดถือ เข้าไปยึดถือ คือ ถือ ยึดมั่น ถือมั่นรูป เวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณใด ๆ
คำว่า ในโลก อธิบายว่า ในอบายโลก ฯลฯ อายตนโลก๑ รวมความว่า
เพราะสัตว์ทั้งหลายเข้าไปยึดถือขันธ์ใด ๆ ในโลก
คำว่า มารย่อมติดตามสัตว์เพราะสิ่งที่ยึดถือนั้นนั่นแล อธิบายว่า ขันธมาร
ธาตุมาร อายตนมาร คติมาร อุปบัติมาร ปฏิสนธิมาร ภวมาร สังสารมาร วัฏฏมาร
อันมีในปฏิสนธิ ย่อมติดตาม คือ ไปตาม เป็นผู้ติดตามไปด้วยอำนาจ
กัมมาภิสังขารนั้นนั่นเอง
คำว่า สัตว์ ได้แก่ ผู้ข้อง ชน นรชน มานพ บุรุษ บุคคล ผู้มีชีวิต ผู้เกิด
สัตว์เกิด ผู้เป็นไปตามกรรม มนุษย์ รวมความว่า มารย่อมติดตามสัตว์เพราะ
สิ่งที่ยึดถือนั้นนั่นแล ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๔/๕๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๒. ภัทราวุธมาณวปัญหานิทเทส
(พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ภัทราวุธ)
นรชนควรทำลายเครื่องยึดมั่นทั้งปวง
ทั้งชั้นสูง ชั้นต่ำและชั้นกลาง
เพราะสัตว์ทั้งหลายเข้าไปยึดถือขันธ์ใด ๆ ในโลก
มารย่อมติดตามสัตว์เพราะสิ่งที่ยึดถือนั้นนั่นแล
[๗๓] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า)
เพราะฉะนั้น ภิกษุเมื่อรู้ชัดเพ่งพิจารณาหมู่สัตว์นี้
ผู้ติดอยู่ในบ่วงแห่งมัจจุราชว่า เป็นผู้ข้องอยู่ในเครื่องยึดมั่น
ควรเป็นผู้มีสติ ไม่พึงเข้าไปยึดถือเครื่องกังวลในโลกทั้งปวง (๔)
คำว่า เพราะฉะนั้น ในคำว่า เพราะฉะนั้น ภิกษุเมื่อรู้ชัด... ไม่พึงเข้าไป
ยึดถือ อธิบายว่า เพราะฉะนั้น คือ เพราะการณ์นั้น เพราะเหตุนั้น เพราะปัจจัยนั้น
เพราะต้นเหตุนั้น ภิกษุเมื่อมองเห็นโทษแห่งตัณหาเครื่องยึดมั่นนี้ รวมความว่า
เพราะฉะนั้น
คำว่า เมื่อรู้ชัด อธิบายว่า รู้อยู่ รู้ชัด รู้ทั่ว รู้แจ่มแจ้ง รู้เฉพาะ แทงตลอดอยู่
ได้แก่ รู้อยู่ รู้ชัด รู้แจ่มแจ้ง รู้เฉพาะ แทงตลอดอยู่ว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ฯลฯ
สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา”
คำว่า ไม่พึงเข้าไปยึดถือ อธิบายว่า ไม่พึงยึดถือ ไม่พึงเข้าไปยึดถือ ไม่พึงถือ
ไม่พึงยึดมั่น ไม่พึงถือมั่นรูป ฯลฯ ไม่พึงยึดถือ ไม่พึงเข้าไปยึดถือ ไม่พึงถือ ไม่
พึงยึดมั่น ไม่พึงถือมั่นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ
คติ ฯลฯ อุปบัติ ฯลฯ ปฏิสนธิ ฯลฯ ภพ ฯลฯ สงสาร ฯลฯ วัฏฏะ รวมความว่า
เพราะฉะนั้น ภิกษุเมื่อรู้ชัด ... ไม่พึงเข้าไปยึดถือ
คำว่า ภิกษุ ในคำว่า ภิกษุ ... ควรเป็นผู้มีสติ ... เครื่องกังวลในโลก
ทั้งปวง ได้แก่ ภิกษุผู้เป็นกัลยาณปุถุชน หรือ ภิกษุผู้เป็นเสขะ
คำว่า ควรเป็นผู้มีสติ อธิบายว่า มีสติด้วยเหตุ ๔ อย่าง คือ (๑) ชื่อว่ามีสติ
เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณากายในกาย ฯลฯ ภิกษุนั้นพระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า
ผู้มีสติ รวมความว่า ภิกษุ ... ควรเป็นผู้มีสติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๒. ภัทราวุธมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า เครื่องกังวล ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นรูป เป็นเวทนา เป็นสัญญา เป็นสังขาร
เป็นวิญญาณไร ๆ
คำว่า ในโลกทั้งปวง ได้แก่ ในอบายโลกทั้งปวง ในมนุษยโลกทั้งปวง
ในเทวโลกทั้งปวง ในขันธโลกทั้งปวง ในธาตุโลกทั้งปวง ในอายตนโลกทั้งปวง
รวมความว่า ภิกษุ ... ควรเป็นผู้มีสติ ... เครื่องกังวล ในโลกทั้งปวง
คำว่า เพ่งพิจารณา ... ว่าเป็นผู้ข้องอยู่ในเครื่องยึดมั่น อธิบายว่า
ชนเหล่าใดยึดถือ เข้าไปยึดถือ ถือ ยึดมั่น ถือมั่นรูป ฯลฯ ได้แก่ ย่อมยึดถือ
เข้าไปยึดถือ ถือ ยึดมั่น ถือมั่นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ
ฯลฯ คติ ฯลฯ อุปบัติ ฯลฯ ปฏิสนธิ ฯลฯ ภพ ฯลฯ สงสาร ฯลฯ วัฏฏะ
ชนเหล่านั้นตรัสเรียกว่า ผู้ข้องอยู่ในเครื่องยึดมั่น
คำว่า ว่า เป็นคำสนธิ ฯลฯ คำว่า ว่า นี้ เป็นคำเชื่อมบทหน้ากับบทหลัง
เข้าด้วยกัน
คำว่า เพ่งพิจารณา ได้แก่ เพ่งพิจารณา แลเห็น มองเห็น เห็น มองดู
เพ่งพินิจ พิจารณา รวมความว่า เพ่งพิจารณา ... ว่าเป็นผู้ข้องอยู่ในเครื่องยึดมั่น
คำว่า หมู่สัตว์ ในคำว่า หมู่สัตว์นี้ผู้ติดอยู่ในบ่วงแห่งมัจจุราช เป็นชื่อของ
สัตว์
คำว่า บ่วงแห่งมัจจุราช อธิบายว่า กิเลส ขันธ์ และอภิสังขาร เรียกว่า
บ่วงแห่งมัจจุราช
หมู่สัตว์ ข้อง คือ ติด เกี่ยว เกาะติด เกี่ยวพัน พัวพันในบ่วงแห่งมัจจุราช
คือ บ่วงแห่งมาร บ่วงแห่งมรณะ อธิบายว่า สิ่งของที่ข้อง คือ ติด เกี่ยว เกาะติด
เกี่ยวพัน ติดตรึงอยู่ที่ตะปูข้างฝา หรือที่เครื่องแขวนทำด้วยงาช้าง ฉันใด หมู่สัตว์
ข้อง คือ ติด เกี่ยว เกาะติด เกี่ยวพัน พัวพันในบ่วงแห่งมัจจุราช คือบ่วงแห่งมาร
บ่วงแห่งมรณะ ฉันนั้น รวมความว่า หมู่สัตว์นี้ผู้ติดอยู่ในบ่วงแห่งมัจจุราช ด้วย
เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๒. ภัทราวุธมาณวปัญหานิทเทส
เพราะฉะนั้น ภิกษุเมื่อรู้ชัดเพ่งพิจารณาหมู่สัตว์นี้
ผู้ติดอยู่ในบ่วงแห่งมัจจุราชว่า เป็นผู้ข้องอยู่ในเครื่องยึดมั่น
ควรเป็นผู้มีสติ ไม่พึงเข้าไปยึดถือเครื่องกังวลในโลกทั้งปวง
พร้อมกับการจบคาถา ฯลฯ ภัทราวุธมาณพ ... โดยประกาศว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก”
ภัทราวุธมาณวปัญหานิทเทสที่ ๑๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๓. อุทยมาณวปัญหานิทเทส
๑๓. อุทยมาณวปัญหานิทเทส๑
ว่าด้วยปัญหาของอุทัยมาณพ
[๗๔] (ท่านอุทัยทูลถาม ดังนี้)
ข้าพระองค์มีปัญหาที่จะทูลถาม
จึงมาเฝ้าพระองค์ผู้ทรงมีฌาน ปราศจากธุลี
ประทับนั่งอยู่ ผู้ทรงทำกิจสำเร็จแล้ว
ไม่มีอาสวะ ทรงถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง
ขอพระองค์โปรดตรัสบอกอัญญาวิโมกข์
อันเป็นเครื่องทำลายอวิชชาด้วยเถิด (๑)
คำว่า ผู้ทรงมีฌาน ในคำว่า ผู้ทรงมีฌาน ปราศจากธุลี ประทับนั่งอยู่
อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคผู้มีฌาน ชื่อว่าทรงมีฌาน ด้วยปฐมฌานบ้าง ด้วย
ทุติยฌานบ้าง ด้วยตติยฌานบ้าง ด้วยจตุตถฌานบ้าง ด้วยฌานที่มีวิตกและวิจาร
เป็นอารมณ์บ้าง ด้วยฌานที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารเป็นอารมณ์บ้าง ด้วยฌานที่ไม่มี
วิตกและวิจารเป็นอารมณ์บ้าง ด้วยฌานที่มีปีติเป็นอารมณ์บ้าง ด้วยฌานที่ไม่มีปีติ
เป็นอารมณ์บ้าง ด้วยฌานที่สหรคตด้วยความแช่มชื่นบ้าง ด้วยฌานที่สหรคตด้วย
อุเบกขาบ้าง ด้วยฌานที่เป็นสุญญตะบ้าง๒ ด้วยฌานที่เป็นอนิมิตตะบ้าง๓ ด้วย
ฌานที่เป็นอัปปณิหิตะบ้าง๔ ด้วยฌานที่เป็นโลกิยะบ้าง ด้วยฌานที่เป็นโลกุตตระบ้าง
คือ ทรงเป็นผู้ยินดีในฌาน ทรงขวนขวายในความเป็นผู้มีจิตมีอารมณ์หนึ่งเดียว
ทรงหนักในประโยชน์ของพระองค์ รวมความว่า ผู้ทรงมีฌาน

ว่าด้วยธุลี
คำว่า ปราศจากธุลี อธิบายว่า ราคะ ชื่อว่าธุลี โทสะ ชื่อว่าธุลี โมหะ ชื่อว่าธุลี
โกธะ ชื่อว่าธุลี อุปนาหะ ฯลฯ อกุสลาภิสังขารทุกประเภท ชื่อว่าธุลี

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.สุ. ๒๕/๑๑๒-๑๑๑๘/๕๔๖-๕๔๗
๒ ฌานที่เป็นสุญญตะ คือฌานที่ประกอบด้วยสุญญตวิโมกข์ (ขุ.จู.อ. ๗๔/๔๗)
๓ ฌานที่เป็นอนิมิตตะ คือฌานที่ถอนนิมิตว่าเที่ยง ยั่งยืน ตัวตนได้ (ขุ.จู.อ. ๗๔/๔๗)
๔ฌานที่เป็นอัปปณิหิตะ คือฌานอันไม่มีที่ตั้งเพราะผลสมาบัติ เพราะชำระถือเอาความปรารถนาด้วยการ
ถึงมรรค (ขุ.จู.อ. ๗๔/๔๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๓. อุทยมาณวปัญหานิทเทส
กิเลสที่เรียกว่าธุลีเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงละได้เด็ดขาดแล้ว
ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่
ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงชื่อว่าไม่มีธุลี ปราศจากธุลี คือ
ไร้ธุลี บำราศธุลี ละธุลีได้ หลุดพ้นธุลีได้ ก้าวล่วงธุลีทั้งปวงเสียแล้ว
ราคะ เราเรียกว่า ธุลี
เราหาเรียกละอองว่า เป็นธุลี ไม่
คำว่า ธุลีนี้ เป็นชื่อของราคะ
ฉะนั้น พระชินเจ้าผู้มีพระจักษุ ทรงละธุลีนั้นแล้ว
จึงเรียกได้ว่า ผู้ปราศจากธุลี
โทสะ เราเรียกว่า ธุลี
เราหาเรียกละอองว่า เป็นธุลี ไม่
คำว่า ธุลีนี้ เป็นชื่อของโทสะ
ฉะนั้น พระชินเจ้าผู้มีพระจักษุ ทรงละธุลีนั้นแล้ว
จึงเรียกได้ว่า ผู้ปราศจากธุลี
โมหะ เราเรียกว่า ธุลี
เราหาเรียกละอองว่า เป็นธุลี ไม่
คำว่า ธุลีนี้ เป็นชื่อของโมหะ
ฉะนั้น พระชินเจ้าผู้มีพระจักษุ ทรงละธุลีนั้นได้แล้ว
จึงเรียกได้ว่า ผู้ปราศจากธุลี๑
รวมความว่า ปราศจากธุลี
คำว่า ประทับนั่งอยู่ อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปาสาณกเจดีย์
รวมความว่า ประทับนั่งอยู่
พระสาวกทั้งหลาย ผู้มีวิชชา ๓ ละมัจจุได้
นั่งห้อมล้อมพระมุนีผู้ถึงฝั่งแห่งทุกข์
ประทับอยู่ข้างภูเขา

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๒๐๙/๖๑๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๓. อุทยมาณวปัญหานิทเทส
พระผู้มีพระภาคชื่อว่าประทับนั่งอยู่ อย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ชื่อว่าประทับนั่งอยู่ เพราะทรงเป็นผู้สงัดจาก
ความขวนขวายทั้งปวงแล้ว ทรงอยู่ใน(อริยวาสธรรม)แล้ว ประพฤติจรณธรรมแล้ว
ฯลฯ พระองค์ไม่มีการเวียนเกิด เวียนแก่ เวียนตาย (และ)ภพใหม่ก็ไม่มีอีก
พระผู้มีพระภาค ชื่อว่าประทับนั่งอยู่ อย่างนี้บ้าง รวมความว่า ผู้ทรงมีฌาน
ปราศจากธุลี ประทับนั่งอยู่
คำว่า ดังนี้ ในคำว่า ท่านอุทัยทูลถาม ดังนี้ เป็นบทสนธิ ฯลฯ
คำว่า ท่าน เป็นคำกล่าวด้วยความรัก เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ
คำว่า อุทัย เป็นชื่อของพราหมณ์นั้น ฯลฯ ชื่อเรียกเฉพาะ๑ รวมความว่า
ท่านอุทัยทูลถาม ดังนี้
คำว่า ผู้ทรงทำกิจสำเร็จแล้ว ไม่มีอาสวะ อธิบายว่า กิจน้อยใหญ่ คือ
กิจที่ควรทำและไม่ควรทำ พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงละได้เด็ดขาดแล้ว ตัดราก
ถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี
เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงชื่อว่าผู้ทรงทำกิจสำเร็จแล้ว
ภิกษุผู้ไม่มีทิฏฐิที่ทำให้ตกไป ตัดกระแสขาดแล้ว
ละกิจน้อยใหญ่ได้แล้ว ย่อมไม่มีความเร่าร้อน๒

ว่าด้วยอาสวะ ๔
คำว่า ทรงทำกิจสำเร็จแล้ว ไม่มีอาสวะ อธิบายว่า
คำว่า อาสวะ ได้แก่ อาสวะ ๔ อย่าง คือ
๑. กามาสวะ
๒. ภวาสวะ
๓. ทิฏฐาสวะ
๔. อวิชชาสวะ

เชิงอรรถ :
๑ เทียบกับความในข้อ ๑/๔๔
๒ ขุ.สุ. ๒๕/๗๒๑/๔๗๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๓. อุทยมาณวปัญหานิทเทส
อาสวะเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงละได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอน
โคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้น
ต่อไปไม่ได้ ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงชื่อว่าไม่มีอาสวะ รวมความว่า ผู้ทรงทำกิจ
สำเร็จแล้ว ไม่มีอาสวะ
คำว่า ทรงถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคทรงถึงฝั่งได้
ด้วยความรู้ยิ่ง ถึงฝั่งได้ด้วยการกำหนดรู้ ถึงฝั่งได้ด้วยการละ ถึงฝั่งได้ด้วยการ
เจริญภาวนา ถึงฝั่งได้ด้วยการทำให้แจ้ง ถึงฝั่งได้ด้วยการเข้าสมาบัติ ถึงฝั่งได้ด้วย
ความรู้ยิ่งธรรมทั้งปวง ถึงฝั่งได้ด้วยการกำหนดรู้ทุกข์ทั้งปวง ถึงฝั่งได้ด้วยการละ
กิเลสทั้งปวง ถึงฝั่งได้ด้วยการเจริญอริยมรรค ๔ ถึงฝั่งได้ด้วยการทำให้แจ้งนิโรธ
ถึงฝั่งได้ด้วยการเข้าถึงสมาบัติ ๘
พระองค์ทรงถึงความชำนาญ บรรลุบารมีในอริยศีล ทรงถึงความชำนาญ
บรรลุบารมีในอริยสมาธิ ทรงถึงความชำนาญ บรรลุบารมีในอริยปัญญา ทรงถึง
ความชำนาญ บรรลุบารมีในอริยวิมุตติ
พระองค์ทรงถึงฝั่ง บรรลุฝั่ง ถึงส่วนสุด บรรลุส่วนสุด ถึงปลายสุด บรรลุ
ปลายสุด ถึงท้ายสุด บรรลุท้ายสุด ถึงความสำเร็จ บรรลุความสำเร็จ ถึงที่ปกป้อง
บรรลุที่ปกป้อง ถึงที่หลีกเร้น บรรลุที่หลีกเร้น ถึงที่พึ่ง บรรลุที่พึ่ง ถึงที่ไม่มีภัย
บรรลุที่ไม่มีภัย ถึงที่ไม่จุติ บรรลุที่ไม่จุติ ถึงที่ไม่ตาย บรรลุที่ไม่ตาย ถึงที่ดับ
บรรลุที่ดับ พระผู้มีพระภาคนั้นทรงอยู่ใน(อริยวาสธรรม)แล้ว ประพฤติจรณธรรม
แล้ว ฯลฯ พระองค์ไม่มีการเวียนเกิด เวียนแก่ เวียนตาย และภพใหม่ก็ไม่มีอีก
รวมความว่า ทรงถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง
คำว่า ข้าพระองค์มีปัญหาที่จะทูลถามจึงมาเฝ้า อธิบายว่า ข้าพระองค์มี
ความต้องการด้วยปัญหาจึงมาเฝ้าแล้ว คือ ปรารถนาจะทูลถามปัญหาจึงมาเฝ้าแล้ว
มีความปรารถนาจะฟังปัญหาจึงมาเฝ้าแล้ว รวมความว่า ข้าพระองค์มีปัญหาที่จะ
ทูลถามจึงมาเฝ้า อย่างนี้บ้าง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๓. อุทยมาณวปัญหานิทเทส
อีกนัยหนึ่ง การมาเฝ้า การก้าวเดินเข้าเฝ้า การเข้าไปเฝ้า การเข้าไปนั่งใกล้
พึงมีแก่ผู้ต้องการปัญหา คือ ผู้ปรารถนาจะถามปัญหา ผู้ปรารถนาจะฟังปัญหา
รวมความว่า ข้าพระองค์มีปัญหาที่จะทูลถามจึงมาเฝ้า อย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง พระองค์ทรงมีอาคม(แหล่งความรู้)แห่งปัญหา ทั้งพระองค์ทรง
องอาจ ทรงสามารถที่จะตรัสบอก คือ วิสัชนาปัญหา ที่ข้าพระองค์ทูลถาม ข้อ
นี้เป็นภาระของพระองค์ รวมความว่า ข้าพระองค์มีปัญหาที่จะทูลถามจึงมาเฝ้า
อย่างนี้บ้าง
คำว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอกอัญญาวิโมกข์ อธิบายว่า ความหลุดพ้น
ด้วยอรหัตตผล ตรัสเรียกว่า อัญญาวิโมกข์ ขอพระองค์โปรดตรัส คือ โปรดบอก
แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศความหลุดพ้นด้วย
อรหัตตผลด้วยเถิด รวมความว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอกอัญญาวิโมกข์
คำว่า อันเป็นเครื่องทำลายอวิชชาด้วยเถิด อธิบายว่า อันเป็นเครื่องสลาย
เป็นเครื่องทำลาย คือ เป็นการละ การเข้าไปสงบ การสลัดทิ้ง การระงับอวิชชาได้
เป็นอมตนิพพาน รวมความว่า อันเป็นเครื่องทำลายอวิชชาด้วยเถิด เหตุนั้น
พราหมณ์นั้นจึงกราบทูลว่า
(ท่านอุทัยทูลถาม ดังนี้)
ข้าพระองค์มีปัญหาที่จะทูลถาม
จึงมาเฝ้าพระองค์ผู้ทรงมีฌาน ปราศจากธุลี
ประทับนั่งอยู่ ผู้ทรงทำกิจสำเร็จแล้ว
ไม่มีอาสวะ ทรงถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง
ขอพระองค์โปรดตรัสบอกอัญญาวิโมกข์
อันเป็นเครื่องทำลายอวิชชาด้วยเถิด
[๗๕] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อุทัย)
เราจะบอกอัญญาวิโมกข์
อันเป็นเครื่องละความพอใจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๓. อุทยมาณวปัญหานิทเทส
ในกามและโทมนัสทั้ง ๒ อย่าง
เป็นเครื่องบรรเทาความย่อท้อ
และเป็นเครื่องกั้นความคะนอง (๒)
คำว่า อันเป็นเครื่องละความพอใจในกาม อธิบายว่า
คำว่า ความพอใจ ได้แก่ ความพอใจด้วยอำนาจความใคร่ ความกำหนัด
ด้วยอำนาจความใคร่ ความเพลิดเพลินด้วยอำนาจความใคร่ ความทะยานอยาก
ด้วยอำนาจความใคร่ ความเยื่อใยด้วยอำนาจความใคร่ ความกระหายด้วยอำนาจ
ความใคร่ ความเร่าร้อนด้วยอำนาจความใคร่ ความสยบด้วยอำนาจความใคร่
ความติดใจด้วยอำนาจความใคร่ในกามทั้งหลาย ห้วงน้ำคือความใคร่ กิเลสเป็น
เครื่องประกอบคือความใคร่ กิเลสเครื่องยึดมั่นคือความใคร่ กิเลสเครื่องกั้นจิตคือ
ความพอใจด้วยอำนาจความใคร่ในกามทั้งหลาย
คำว่า อันเป็นเครื่องละความพอใจในกาม อธิบายว่า อันเป็นเครื่องละ คือ
เป็นเครื่องเข้าไปสงบ สลัดทิ้ง ระงับความพอใจในกามได้ เป็นอมตนิพพาน รวม
ความว่า อันเป็นเครื่องละความพอใจในกาม
คำว่า อุทัย ในคำว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อุทัย เป็นคำที่พระผู้มี
พระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อ
คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ คำว่า พระ
ผู้มีพระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ รวมความว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อุทัย
คำว่า โทมนัส ในคำว่า และโทมนัสทั้ง ๒ อย่าง อธิบายว่า ความไม่
แช่มชื่นทางใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวยอารมณ์เป็นทุกข์อันไม่แช่มชื่นเกิดจาก
สัมผัสทางใจ ทุกขเวทนาอันไม่แช่มชื่นเกิดจากสัมผัสทางใจ
คำว่า และโทมนัสทั้ง ๒ อย่าง อธิบายว่า การละ การเข้าไปสงบ การสลัดทิ้ง
การระงับความพอใจในกามและโทมนัสทั้ง ๒ อย่างได้ เป็นอมตนิพพาน รวมความว่า
และโทมนัสทั้ง ๒ อย่าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๓. อุทยมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า ความย่อท้อ ในคำว่า เป็นเครื่องบรรเทาความย่อท้อ อธิบายว่า
ความที่จิตไม่คล่องแคล่ว ความที่จิตไม่ควรแก่การงาน ความหดหู่ กิริยาที่หดหู่
ความท้อถอย กิริยาที่ท้อถอย ภาวะที่ท้อถอย ความย่อท้อ กิริยาที่ย่อท้อ
ความเป็นผู้มีจิตย่อท้อ
คำว่า เป็นเครื่องบรรเทา ได้แก่ เป็นเครื่องบรรเทา คือ เป็นเครื่องละ
เป็นเครื่องเข้าไปสงบ สลัดทิ้ง ระงับความย่อท้อได้ เป็นอมตนิพพาน รวมความว่า
เป็นเครื่องบรรเทาความย่อท้อ

ว่าด้วยความคะนอง
คำว่า ความคะนอง ในคำว่า และเป็นเครื่องกั้นความคะนอง อธิบายว่า
ความคะนองมือ ชื่อว่าความคะนอง ความคะนองเท้า ชื่อว่าความคะนอง ความ
คะนองมือและเท้า ก็ชื่อว่าความคะนอง ความสำคัญในสิ่งที่ไม่ควรว่าควร ความ
สำคัญในสิ่งที่ควรว่าไม่ควร ฯลฯ ความสำคัญในสิ่งที่มีโทษว่าไม่มีโทษ ความ
สำคัญในสิ่งที่ไม่มีโทษว่ามีโทษ ความคะนอง กิริยาที่คะนอง ภาวะที่คะนอง
ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่านเห็นปานนี้ นี้ตรัสเรียกว่า ความคะนอง
อีกนัยหนึ่ง ความคะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นเพราะเหตุ ๒
อย่าง คือ (๑) เพราะทำ (๒) เพราะไม่ทำ
ความคะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นเพราะทำและเพราะ
ไม่ทำ เป็นอย่างไร
คือ ความคะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นว่า “เราทำแต่กาย
ทุจริต ไม่ทำกายสุจริต” ความคะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นว่า
“เราทำแต่วจีทุจริต ไม่ทำวจีสุจริต เราทำแต่มโนทุจริต ไม่ทำมโนสุจริต เราทำ
แต่ปาณาติปาต ไม่ทำความงดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ เราทำแต่อทินนาทาน
ไม่ทำความงดเว้นจากอทินนาทาน ฯลฯ เราทำแต่กาเมสุมิจฉาจาร ไม่ทำความ
งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร ฯลฯ เราทำแต่มุสาวาท ไม่ทำความงดเว้นจากมุสาวาท


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๗๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๓. อุทยมาณวปัญหานิทเทส
ฯลฯ เราทำแต่ปิสุณาวาจา ไม่ทำความงดเว้นจากปิสุณาวาจา ฯลฯ เราทำแต่
ผรุสวาจาไม่ทำความงดเว้นจากผรุสวาจา ฯลฯ เราทำแต่สัมผัปปลาปะ ไม่ทำ
ความงดเว้นจากสัมผัปปลาปะ ฯลฯ เราทำแต่อภิชฌา ไม่ทำอนภิชฌา ฯลฯ
เราทำแต่พยาบาท ไม่ทำอัพยาบาท ฯลฯ เราทำแต่มิจฉาทิฏฐิ ไม่ทำสัมมาทิฏฐิ”
ความคะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นเพราะทำและเพราะไม่ทำ
เป็นอย่างนี้
อีกนัยหนึ่ง ความคะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นว่า “เรามิ
ได้รักษาศีลให้บริบูรณ์” ความคะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นว่า
“เราไม่สำรวมในอินทรีย์ทั้ง ๖ ฯลฯ ไม่รู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร ฯลฯ
ไม่ประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่เสมอ ฯลฯ ไม่หมั่นประกอบสติสัมปชัญญะ
ฯลฯ ไม่เจริญสติปัฏฐาน ๔ ฯลฯ ไม่เจริญสัมมัปปธาน ๔ ฯลฯ ไม่เจริญอิทธิบาท
๔ ฯลฯ ไม่เจริญอินทรีย์ ๕ ฯลฯ ไม่เจริญพละ ๕ ฯลฯ ไม่เจริญโพชฌงค์ ๗ ฯลฯ
ไม่เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ฯลฯ ไม่กำหนดรู้ทุกข์ ไม่ละสมุทัย ไม่เจริญมรรค
เราไม่ทำนิโรธให้ประจักษ์แจ้ง”
คำว่า และเป็นเครื่องกั้นความคะนอง อธิบายว่า เครื่องปิด เครื่องกั้น คือ
การละ การเข้าไปสงบ การสลัดทิ้ง การระงับความคะนองได้ เป็นอมตนิพพาน
รวมความว่า และเป็นเครื่องกั้นความคะนอง ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึง
ตรัสว่า
(พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อุทัย)
เราจะบอกอัญญาวิโมกข์
อันเป็นเครื่องละความพอใจ
ในกามและโทมนัสทั้ง ๒ อย่าง
เป็นเครื่องบรรเทาความย่อท้อ
และเป็นเครื่องกั้นความคะนอง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๓. อุทยมาณวปัญหานิทเทส
[๗๖] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า)
เราจะบอกอัญญาวิโมกข์ที่บริสุทธิ์
เพราะมีอุเบกขาและสติ ที่มีธรรมตรรกเป็นเบื้องต้น
เป็นเครื่องทำลายอวิชชา (๓)
คำว่า อุเบกขา ในคำว่า ที่บริสุทธิ์เพราะมีอุเบกขาและสติ ได้แก่ อุเบกขา
คือ ความเพิกเฉย ความเพิกเฉยอย่างยิ่ง ความที่จิตสงบ ความที่จิตสงัด ความ
ที่จิตเป็นกลางในจตุตถฌาน
คำว่า สติ ได้แก่ สติ คือ ความระลึกถึง ฯลฯ สัมมาสติ ปรารภอุเบกขา
ในจตุตถฌาน
คำว่า ที่บริสุทธิ์เพราะมีอุเบกขาและสติ อธิบายว่า อุเบกขาและสติใน
จตุตถฌาน สะอาด คือ หมดจด บริสุทธิ์ สะอาดพร้อม ผุดผ่อง ไม่มีกิเลส
เครื่องยั่วยวน ปราศจากอุปกิเลส อ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ถึงความไม่
หวั่นไหว รวมความว่า ที่บริสุทธิ์เพราะมีอุเบกขาและสติ
คำว่า ที่มีธรรมตรรกเป็นเบื้องต้น อธิบายว่า สัมมาสังกัปปะ ตรัสเรียกว่า
ธรรมตรรก สัมมาสังกัปปะนั้น เป็นเบื้องต้น คือ เป็นเบื้องหน้า เป็นหัวหน้าแห่ง
อัญญาวิโมกข์ รวมความว่า ที่มีธรรมตรรกเป็นเบื้องต้น อย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง สัมมาทิฏฐิตรัสเรียกว่า ธรรมตรรก สัมมาทิฏฐินั้น เป็นเบื้องต้น
คือ เป็นเบื้องหน้า เป็นหัวหน้าแห่งอัญญาวิโมกข์ รวมความว่า ที่มีธรรมตรรก
เป็นเบื้องต้น อย่างนี้บ้าง
คำว่า เราจะบอกอัญญาวิโมกข์ อธิบายว่า ความหลุดพ้นด้วยอรหัตตผล
ตรัสเรียกว่า อัญญาวิโมกข์ เราจะบอก คือ บอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย
จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศความหลุดพ้นด้วยอรหัตตผล รวมความว่า เราจะ
บอกอัญญาวิโมกข์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๓. อุทยมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า อวิชชา ในคำว่า เป็นเครื่องลำลายอวิชชา อธิบายว่า ความไม่รู้ในทุกข์
ฯลฯ อวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ๑
คำว่า เป็นเครื่องทำลาย อธิบายว่า เป็นเครื่องสลาย เป็นเครื่องทำลาย คือ
การละ การเข้าไปสงบ การสลัดทิ้ง การระงับอวิชชาได้ เป็นอมตนิพพาน รวม
ความว่า เป็นเครื่องทำลายอวิชชา ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า
เราจะบอกอัญญาวิโมกข์ที่บริสุทธิ์
เพราะมีอุเบกขาและสติ ที่มีธรรมตรรกเป็นเบื้องต้น
เป็นเครื่องทำลายอวิชชา
[๗๗] (ท่านอุทัยทูลถามว่า)
สัตว์โลกมีอะไรเป็นเครื่องประกอบไว้
อะไรเล่าเป็นเหตุเที่ยวไปของสัตว์โลกนั้น
เพราะละอะไรได้เล่า พระองค์จึงตรัสว่า นิพพาน (๔)
คำว่า สัตว์โลกมีอะไรเป็นเครื่องประกอบไว้ อธิบายว่า อะไรเป็นเครื่อง
ประกอบ คือ เครื่องเกี่ยวข้อง เครื่องผูกพัน เครื่องเศร้าหมองของสัตว์โลก โลก
ถูกอะไร ประกอบ ประกอบทั่ว ประกอบทั่วถึง ประกอบพร้อม เกาะติด เกี่ยวข้อง
พัวพันไว้ รวมความว่า สัตว์โลกมีอะไรเป็นเครื่องประกอบไว้
คำว่า อะไรเล่าเป็นเหตุเที่ยวไปของสัตว์โลกนั้น อธิบายว่า อะไรเล่าเป็น
เครื่องสัญจร เที่ยวไป คือ ท่องเที่ยวไปของสัตว์โลกนั้น คือ โลกสัญจรไป เที่ยวไป
ท่องเที่ยวไปด้วยอะไร รวมความว่า อะไรเล่าเป็นเหตุเที่ยวไปของสัตว์โลกนั้น
คำว่า เพราะละอะไรได้เล่า พระองค์จึงตรัสว่า นิพพาน อธิบายว่า เพราะ
ละ คือ เพราะเข้าไปสงบ เพราะสลัดทิ้ง เพราะระงับอะไรได้เล่า พระองค์จึงตรัสเรียก
คือ กล่าว พูด บอก แสดง ชี้แจงว่านิพพาน รวมความว่า เพราะละอะไรได้เล่า
พระองค์จึงตรัสว่า นิพพาน ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกราบทูลว่า

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๒/๔๕-๔๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๓. อุทยมาณวปัญหานิทเทส
สัตว์โลกมีอะไรเป็นเครื่องประกอบไว้
อะไรเล่าเป็นเหตุเที่ยวไปของสัตว์โลกนั้น
เพราะละอะไรได้เล่า พระองค์จึงตรัสว่า นิพพาน
[๗๘] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า)
สัตว์โลกมีความเพลิดเพลินเป็นเครื่องประกอบไว้
ความตรึกเป็นเหตุเที่ยวไปของสัตว์โลกนั้น
เพราะละตัณหาได้ เราจึงเรียกว่า นิพพาน (๕)
คำว่า สัตว์โลกมีความเพลิดเพลินเป็นเครื่องประกอบไว้ อธิบายว่า ตัณหา
ตรัสเรียกว่า ความเพลิดเพลิน ได้แก่ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ อภิชฌา
อกุศลมูลคือโลภะ นี้ตรัสเรียกว่า ความเพลิดเพลิน ได้แก่ ความเพลิดเพลินที่
เป็นเครื่องประกอบ เป็นเครื่องเกี่ยวข้อง เป็นเครื่องผูกพัน เป็นเครื่องเศร้าหมอง
ของสัตว์โลก สัตว์โลกถูกความเพลิดเพลินนี้ประกอบ ประกอบทั่ว ประกอบทั่วถึง
ประกอบพร้อม เกาะติด เกี่ยวข้อง พัวพันไว้ รวมความว่า สัตว์โลกมีความ
เพลิดเพลินเป็นเครื่องประกอบไว้

ว่าด้วยความตรึก ๙ อย่าง
คำว่า ความตรึก ในคำว่า ความตรึกเป็นเหตุเที่ยวไปของสัตว์โลกนั้น ได้แก่
ความตรึก ๙ อย่าง คือ
๑. ความตรึกในกาม
๒. ความตรึกในความพยาบาท
๓. ความตรึกในความเบียดเบียน
๔. ความตรึกถึงญาติ
๕. ความตรึกถึงชนบท
๖. ความตรึกถึงเทพเจ้า
๗. ความตรึกเกี่ยวเนื่องด้วยความเป็นผู้เอ็นดูผู้อื่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๓. อุทยมาณวปัญหานิทเทส
๘. ความตรึกเกี่ยวเนื่องด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญ
๙. ความตรึกเกี่ยวเนื่องด้วยความไม่ถูกดูหมิ่น
เหล่านี้เรียกว่า ความตรึก ๙ อย่าง ความตรึก ๙ อย่างเหล่านี้ เป็นเหตุสัญจร
เที่ยวไป คือ ท่องเที่ยวไปของสัตว์โลก คือ สัตว์โลกสัญจรไป เที่ยวไป ท่องเที่ยวไป
ด้วยความตรึก ๙ อย่างเหล่านี้ รวมความว่า ความตรึกเป็นเหตุเที่ยวไปของสัตว์
โลกนั้น
คำว่า ตัณหา ในคำว่า เพราะละตัณหาได้เราจึงเรียกว่านิพพาน ได้แก่
รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา
คำว่า เพราะละตัณหาได้เราจึงเรียกว่า นิพพาน อธิบายว่า เพราะละ คือ
เพราะเข้าไปสงบ เพราะสลัดทิ้ง เพราะระงับตัณหาได้ เราจึงเรียก คือ กล่าว พูด
บอก แสดง ชี้แจงว่า นิพพาน รวมความว่า เพราะละตัณหาได้เราจึงเรียกว่า นิพพาน
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า
สัตว์โลกมีความเพลิดเพลินเป็นเครื่องประกอบไว้
ความตรึกเป็นเหตุเที่ยวไปของสัตว์โลกนั้น
เพราะละตัณหาได้เราจึงเรียกว่า นิพพาน
[๗๙] (ท่านอุทัยทูลถามว่า)
ข้าพระองค์มาเฝ้าเพื่อทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
สัตว์โลกมีสติเที่ยวไปอยู่อย่างไร วิญญาณจึงดับสนิท
ขอฟังพระดำรัสนั้นของพระองค์ (๖)
คำว่า สัตว์โลกมีสติเที่ยวไปอยู่อย่างไร อธิบายว่า สัตว์โลกมีสติสัมปชัญญะ
เที่ยวไป คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไปอย่างไร
รวมความว่า สัตว์โลกมีสติเที่ยวไปอยู่อย่างไร
คำว่า วิญญาณจึงดับสนิท อธิบายว่า วิญญาณจึงดับ คือ เข้าไปสงบ
ถึงการตั้งอยู่ไม่ได้ ระงับไป รวมความว่า วิญญาณจึงดับสนิท

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๓. อุทยมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า ข้าพระองค์มาเฝ้าเพื่อทูลถามพระผู้มีพระภาค อธิบายว่า พวก
ข้าพระองค์มาเฝ้า คือ เป็นผู้มาเฝ้าแล้ว มาเข้าเฝ้าแล้ว มาถึง ถึงพร้อมแล้ว
เป็นผู้มาถึงพร้อมกับพระองค์แล้ว เพื่อทูลถาม คือ ทูลปุจฉา ทูลขอ ทูลอัญเชิญ
ทูลให้พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประกาศ รวมความว่า ข้าพระองค์มาเฝ้าเพื่อทูล
ถามพระผู้มีพระภาค
คำว่า นั้น ในคำว่า ขอฟังพระดำรัสนั้นของพระองค์ อธิบายว่า พวกข้า
พระองค์ขอฟัง คือ เรียน ทรงจำ เข้าไปกำหนดพระดำรัส คือ คำที่เป็นแนวทาง
เทศนา คำสั่งสอน คำที่พร่ำสอน รวมความว่า ขอฟังพระดำรัสนั้นของพระองค์
ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกราบทูลว่า
ข้าพระองค์มาเฝ้าเพื่อทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
สัตว์โลกมีสติเที่ยวไปอยู่อย่างไร วิญญาณจึงดับสนิท
ขอฟังพระดำรัสนั้นของพระองค์
[๘๐] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า)
สัตว์โลกไม่ยินดีเวทนาภายในและภายนอก
มีสติเที่ยวไปอยู่อย่างนี้ วิญญาณจึงดับสนิท (๗)

ว่าด้วยเวทนา
คำว่า สัตว์โลกไม่ยินดีเวทนาภายในและภายนอก อธิบายว่า สัตว์โลก
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายในอยู่ ไม่ยินดี คือ ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจเวทนา ได้แก่
ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งความยินดี คือ การบ่นถึง
ความติดใจ ความถือ ความยึดมั่น ความถือมั่น
สัตว์โลกพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายนอกอยู่ ไม่ยินดี คือ ไม่บ่นถึง
ไม่ติดใจเวทนา ได้แก่ ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งความยินดี
คือ การบ่นถึง ความติดใจ ความถือ ความยึดมั่น ความถือมั่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๓. อุทยมาณวปัญหานิทเทส
สัตว์โลกพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งภายในและภายนอกอยู่ ไม่ยินดี
คือ ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจเวทนา ได้แก่ ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มี
อีกซึ่งความยินดี การบ่นถึง ความติดใจ ความถือ ความยึดมั่น ความถือมั่น
สัตว์โลกพิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นภายใน พิจารณาเห็นเวทนาใน
เวทนาอยู่ ฯลฯ สัตว์โลกพิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมไปภายใน พิจารณา
เห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯลฯ สัตว์โลกพิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นและ
ความเสื่อมไปภายใน พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯลฯ สัตว์โลกพิจารณา
เห็นธรรมคือความเกิดขึ้นภายนอก พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯลฯ สัตว์
โลกพิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมไปภายนอก พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯลฯ
สัตว์โลกพิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปภายนอก พิจารณา
เห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯลฯ สัตว์โลกพิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นทั้ง
ภายในและภายนอก พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯลฯ สัตว์โลกพิจารณา
เห็นธรรมคือความเสื่อมไปทั้งภายในและภายนอก พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่
ฯลฯ สัตว์โลกพิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปทั้งภายในและ
ภายนอก สัตว์โลกพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ไม่ยินดี คือ ไม่บ่นถึง ไม่ติด
ใจเวทนา ได้แก่ ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งความยินดี คือ
การบ่นถึง ความติดใจ ความถือ ความยึดมั่น ความถือมั่น
สัตว์โลกพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาด้วยอาการ ๔๒ อย่าง เหล่านี้อยู่ ไม่
ยินดี คือ ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจเวทนา ได้แก่ ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งความยินดี คือ
การบ่นถึง ความติดใจ ฯลฯ
อีกนัยหนึ่ง สัตว์โลกเห็นเวทนา โดยความเป็นของไม่เที่ยง ก็ไม่ยินดี คือ
ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจเวทนา ได้แก่ ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่
มีอีกซึ่งความยินดี คือ การบ่นถึง ความติดใจ ความถือ ความยึดมั่น ความถือมั่น
สัตว์โลกเห็นเวทนาโดยความเป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดุจหัวฝี เป็นดุจลูกศร
เป็นของลำบาก เป็นอาพาธ ฯลฯ เป็นของที่ต้องสลัดออกไป ก็ไม่ยินดี คือ ไม่บ่นถึง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๓. อุทยมาณวปัญหานิทเทส
ไม่ติดใจเวทนา ได้แก่ ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งความยินดี
คือ การบ่นถึง ความติดใจ ความถือ ความยึดมั่น ความถือมั่น
สัตว์โลกพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาด้วยอาการ ๔๒ อย่างเหล่านี้ อยู่ ไม่
ยินดี คือ ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจเวทนา ได้แก่ ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้
ถึงความไม่มีอีกซึ่งความยินดี คือ การบ่นถึง ความติดใจ ความถือ ความยึดมั่น
ความถือมั่น รวมความว่า สัตว์โลกไม่ยินดีเวทนาภายในและภายนอก
คำว่า มีสติเที่ยวไปอยู่อย่างนี้ อธิบายว่า มีสติสัมปชัญญะ เที่ยวไป คือ อยู่
เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไปอย่างนี้ รวมความว่า
มีสติเที่ยวไปอยู่อย่างนี้
คำว่า วิญญาณจึงดับสนิท อธิบายว่า วิญญาณที่สหรคตด้วยปุญญาภิสังขาร
วิญญาณที่สหรคตด้วยอปุญญาภิสังขาร วิญญาณที่สหรคตด้วยอาเนญชาภิสังขาร
จึงดับไป คือ เข้าไปสงบ ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ ระงับไป รวมความว่า วิญญาณ
จึงดับสนิท ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า
สัตว์โลกไม่ยินดีเวทนาภายในและภายนอก
มีสติเที่ยวไปอยู่อย่างนี้ วิญญาณจึงดับสนิท
พร้อมกับการจบคาถา ฯลฯ อุทัยมาณพ... โดยประกาศว่า “ข้าแต่พระ
องค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก”
อุทยมาณวปัญหานิทเทสที่ ๑๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๔. โปสาลมาณวปัญหานิทเทส
๑๔. โปสาลมาณวปัญหานิทเทส๑
ว่าด้วยปัญหาของโปสาลมาณพ
[๘๑] (ท่านโปสาละทูลถาม ดังนี้)
พระผู้มีพระภาคพระองค์ใด
ไม่มีตัณหาเหตุให้หวั่นไหว
ตัดความสงสัยได้แล้ว
ทรงแสดงอดีตธรรม
ข้าพระองค์มีปัญหาที่จะทูลถาม
จึงมาเฝ้าพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ผู้ทรงถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง (๑)
คำว่า พระองค์ใด ในคำว่า พระผู้มีพระภาคพระองค์ใด ... ทรงแสดงอดีต
ธรรม อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระสยัมภู คือ ไม่มีครูอาจารย์ ได้ตรัสรู้
สัจจะในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อน ด้วยพระองค์เอง ทรงบรรลุความเป็น
พระสัพพัญญูในสัจจะนั้น และความเป็นผู้ชำนาญในพละทั้งหลาย

ว่าด้วยการแสดงอดีตธรรม
คำว่า ทรงแสดงอดีตธรรม อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอดีตธรรม
อนาคตธรรม ปัจจุบันธรรม ของพระองค์ และชนเหล่าอื่น
พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอดีตธรรมของพระองค์ อย่างไร
คือ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอดีตธรรม คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง
๓ ชาติบ้าง ๔ ชาติบ้าง ๕ ชาติบ้าง ๑๐ ชาติบ้าง ๒๐ ชาติบ้าง ๓๐ ชาติบ้าง
๔๐ ชาติบ้าง ๕๐ ชาติบ้าง ๑๐๐ ชาติบ้าง ฯลฯ ๑,๐๐๐ ชาติบ้าง ฯลฯ
๑๐๐,๐๐๐ ชาติบ้าง ฯลฯ หลายสังวัฏฏกัป๒บ้าง ฯลฯ หลายวิวัฏฏกัป๓บ้าง ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.สุ. ๒๕/๑๑๑๙-๑๑๒๒/๕๔๗-๕๔๘
๒ สังวัฏฏกัป คือกัปที่กำลังเสื่อม เพราะในกาลนั้นสัตว์ทั้งหลายไปรวมกันอยู่ในพรหมโลก (ขุ.จู.อ. ๘๑/๕๐)
๓ วิวัฏฏกัป คือกัปที่กำลังเจริญ เพราะในกาลนั้นสัตว์ทั้งหลายกลับจากพรหมโลก (ขุ.จู.อ. ๘๑/๕๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๔. โปสาลมาณวปัญหานิทเทส
หลายสังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปบ้าง ของพระองค์เองว่า “ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนี้
มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้น
ก็ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร
เสวยสุขทุกข์ มีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้น จึงมาเกิดในภพนี้” ทรงแสดงชาติก่อน
ได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไป และชีวประวัติอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคทรง
แสดงอดีตธรรมของพระองค์อย่างนี้
พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอดีตธรรมของชนเหล่าอื่น อย่างไร
คือ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอดีตธรรม คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ฯลฯ
หลายสังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปบ้าง ของชนเหล่าอื่นว่า “ในภพโน้น เขามีชื่ออย่างนี้
มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นก็ไป
เกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เขาก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร
เสวยสุขทุกข์ มีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นจึงมาเกิดในภพนี้” พระผู้มีพระภาค
ทรงแสดงชาติก่อน ได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไป และชีวประวัติอย่างนี้
พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอดีตธรรมของชนเหล่าอื่นอย่างนี้๑
พระผู้มีพระภาค เมื่อตรัสชาดก ๕๐๐ ชื่อว่าทรงแสดงอดีตธรรมของพระองค์
และชนเหล่าอื่น เมื่อตรัสมหาปทานิยสูตร๒ ชื่อว่าทรงแสดงอดีตธรรมของพระองค์
และชนเหล่าอื่น เมื่อตรัสมหาสุทัสสนิยสูตร๓ ชื่อว่าทรงแสดงอดีตธรรมของพระองค์
และชนเหล่าอื่น เมื่อตรัสมหาโควินทิยสูตร๔ ชื่อว่าทรงแสดงอดีตธรรมของพระองค์
และชนเหล่าอื่น เมื่อตรัสมาฆเทวิยสูตร๕ ก็ชื่อว่าทรงแสดงอดีตธรรมของพระองค์
และชนเหล่าอื่น

เชิงอรรถ :
๑ ที.สี. (แปล) ๙/๓๑/๑๓-๑๕
๒ มหาปทานสูตร พระสูตรที่ว่าด้วยประวัติของมหาบุรุษทั้งหลาย (ที.ม. ๑๐/๑-๙๔/๑-๔๘)
๓ มหาสุทัสสนสูตร พระสูตรที่ว่าด้วยสมบัติของพระเจ้ามหาสุทัสสนะ (ที.ม. ๑๐/๒๔๑-๒๗๒/๑๔๘-๑๗๓)
๔ มหาโควินทสูตร พระสูตรที่ว่าด้วยเรื่องราวของพราหมณ์ชื่อมหาโควินทะ (ที.ม. ๑๐/๒๙๓-๓๓๐/๑๘๙-
๒๑๕)
๕ มาฆเทวสูตร พระสูตรที่ว่าด้วยประวัติของท้าวมฆเทพ (ม.ม. ๑๓/๓๐๘-๓๑๖/๒๘๘-๒๙๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๔. โปสาลมาณวปัญหานิทเทส
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “จุนทะ ตถาคตมีญาณอันตามระลึก
ปรารภอดีตกาลยาวนาน ตถาคตมุ่งอดีตกาลยาวนานเท่าใด ก็ระลึกได้เท่านั้น
ตถาคตมีญาณอันตามระลึก ปรารภอนาคตกาลยาวนาน ฯลฯ จุนทะ ญาณอันเกิดที่
ต้นโพธิ์ของตถาคต ปรารภปัจจุบันกาลยาวนาน เกิดขึ้นว่า ‘ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้
ภพใหม่ต่อไป ไม่มี”๑
พระอินทริยปโรปริยัตตญาณ (ญาณอันกำหนดรู้ความยิ่งและหย่อนแห่ง
อินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย) เป็นกำลังของตถาคต พระอาสยานุสยญาณ (ความรู้จัก
ฉันทะที่มานอนและกิเลสที่นอนเนื่อง) ของเหล่าสัตว์ เป็นกำลังของตถาคต พระยมก-
ปาฏิหาริยญาณ (ญาณเป็นเครื่องนำธรรมชาติคู่ตรงข้ามกันกลับมาแสดง) เป็นกำลัง
ของตถาคต พระมหากรุณาสมาปัตติญาณ (ญาณในพระมหากรุณาสมาบัติ) เป็น
กำลังของตถาคต พระสัพพัญญุตญาณ เป็นกำลังของตถาคต พระอนาวรณญาณ
(ญาณที่หาเครื่องกางกั้นไม่ได้) เป็นกำลังของตถาคต พระอนาวรณญาณอันไม่มีอะไร
ข้อง ไม่มีอะไรขัดได้ในทุกแห่งหน เป็นกำลังของตถาคต พระผู้มีพระภาคทรงแสดง
คือ บอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศอดีตธรรม
บ้าง อนาคตธรรมบ้าง ปัจจุบันธรรมบ้าง ของพระองค์และชนเหล่าอื่นอย่างนี้ รวม
ความว่า พระผู้มีพระภาคพระองค์ใด ... ทรงแสดงอดีตธรรม
คำว่า ดังนี้ ในคำว่า ท่านโปสาละทูลถาม ดังนี้ เป็นบทสนธิ ฯลฯ
คำว่า ท่าน เป็นคำกล่าวด้วยความรัก ฯลฯ
คำว่า โปสาละ เป็นชื่อของพราหมณ์นั้น ฯลฯ ชื่อเรียกเฉพาะ รวมความว่า
ท่านโปสาละทูลถาม ดังนี้
คำว่า ไม่มีตัณหาเหตุให้หวั่นไหว ตัดความสงสัยได้แล้ว อธิบายว่า ตัณหา
ตรัสเรียกว่า เหตุให้หวั่นไหว ได้แก่ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ อภิชฌา
อกุศลมูลคือโลภะ๒

เชิงอรรถ :
๑ ที.ปา. ๑๑/๑๘๗/๑๑๖
๒ ดูรายละเอียดข้อ ๒/๕๐-๕๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๔. โปสาลมาณวปัญหานิทเทส
ตัณหานั้นเหตุให้หวั่นไหว พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงละได้เด็ดขาดแล้ว
ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้
ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ฉะนั้น พระพุทธเจ้า จึงชื่อว่าไม่มีตัณหาเหตุให้หวั่นไหว
เพราะเป็นผู้ละความหวั่นไหวได้แล้ว จึงไม่ทรงหวั่นไหว พระผู้มีพระภาคไม่ทรง
หวั่นไหว คือ ไม่สะเทือน ไม่เคลื่อนไหว ไม่สะท้าน ไม่สั่นสะท้าน เพราะได้ลาภ
เพราะเสื่อมลาภบ้าง เพราะได้ยศ เพราะเสื่อมยศบ้าง เพราะสรรเสริญ เพราะ
นินทาบ้าง เพราะสุข เพราะทุกข์บ้าง รวมความว่า ไม่มีตัณหาเหตุให้หวั่นไหว
คำว่า ตัดความสงสัยได้แล้ว อธิบายว่า ความลังเลตรัสเรียกว่า ความสงสัย
ได้แก่ ความสงสัยในทุกข์ ฯลฯ ความหวาดหวั่นแห่งจิต ความติดขัดในใจ ความ
สงสัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงละ คือ ตัด ตัดขาด ตัดขาดพร้อม ให้เข้าไป
สงบ สลัดทิ้ง ระงับ ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ฉะนั้น พระพุทธเจ้า
จึงชื่อว่าทรงตัดความสงสัยได้แล้ว รวมความว่า ไม่มีตัณหาเหตุให้หวั่นไหว ตัดความ
สงสัยได้แล้ว
คำว่า ผู้ทรงถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคทรงถึงฝั่งได้
ด้วยความรู้ยิ่ง ถึงฝั่งได้ด้วยการกำหนดรู้ ถึงฝั่งได้ด้วยการละ ถึงฝั่งได้ด้วยการเจริญ
ภาวนา ถึงฝั่งได้ด้วยการทำให้แจ้ง ถึงฝั่งได้ด้วยการเข้าสมาบัติ ถึงฝั่งได้ด้วยความรู้
ยิ่งธรรมทั้งปวง ฯลฯ พระองค์ไม่มีการเวียนเกิด เวียนแก่ เวียนตายและภพใหม่ก็
ไม่มีอีก รวมความว่า ผู้ทรงถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง
คำว่า ข้าพระองค์มีปัญหาที่จะทูลถาม จึงมาเฝ้า อธิบายว่า ข้าพระองค์
ต้องการถามปัญหาจึงมาเฝ้า ฯลฯ ข้อนี้จึงเป็นภาระของพระองค์ รวมความว่า
ข้าพระองค์มีปัญหาที่จะทูลถาม จึงมาเฝ้า อย่างนี้บ้าง ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้น
จึงกราบทูลว่า
(ท่านโปสาละทูลถาม ดังนี้)
พระผู้มีพระภาคพระองค์ใด
ไม่มีตัณหาเหตุให้หวั่นไหว
ตัดความสงสัยได้แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๔. โปสาลมาณวปัญหานิทเทส
ทรงแสดงอดีตธรรม
ข้าพระองค์มีปัญหาที่จะทูลถาม
จึงมาเฝ้าพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ผู้ทรงถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง
[๘๒] (ท่านโปสาละทูลถามว่า)
ข้าแต่พระองค์ผู้สักกะ ข้าพระองค์ขอทูลถามถึงญาณ
ของบุคคลผู้ไม่มีรูปสัญญา ผู้ละรูปกายได้ทั้งหมด
ผู้พิจารณาทั้งภายในและภายนอกเห็นว่า ไม่มีอะไร
บุคคลผู้เป็นเช่นนั้น ควรแนะนำอย่างไร (๒)
คำว่า ผู้ไม่มีรูปสัญญา อธิบายว่า
รูปสัญญา เป็นอย่างไร
คือ สัญญา ความจำได้ ความเป็นผู้หมายรู้ของบุคคลผู้เข้ารูปาวจรสมาบัติ
หรือถือกำเนิด(ในรูปาวจรภพ) หรือมีธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน นี้ชื่อว่า
รูปสัญญา
คำว่า ผู้ไม่มีรูปสัญญา อธิบายว่า ผู้ได้อรูปสมาบัติ ๔ ไม่มีรูปสัญญา คือ
ไม่ปรากฏ ก้าวล่วง ก้าวพ้น ล่วงพ้นแล้ว รวมความว่า ผู้ไม่มีรูปสัญญา
คำว่า ผู้ละรูปกายได้ทั้งหมด อธิบายว่า รูปกายซึ่งมีในคราวปฏิสนธิทั้งหมด
บุคลลนั้นละได้แล้ว คือ เขาละรูปกาย เพราะก้าวล่วงด้วยตทังคปหาน๑ (และ)
ด้วยวิกขัมภนปหาน๒ รวมความว่า ผู้ละรูปกายได้ทั้งหมด
คำว่า ไม่มีอะไร ในคำว่า ผู้พิจารณาทั้งภายในและภายนอกเห็นว่า ไม่มี
อะไร อธิบายว่า อากิญจัญญายตนสมาบัติ ชื่อว่าอากิญจัญญายตนสมาบัติ เพราะ
อรรถว่า “อะไรน้อยหนึ่ง ย่อมไม่มี” เพราะเหตุไร

เชิงอรรถ :
๑ ตทังคปหาน หมายถึงการละด้วยองค์นั้น ๆ คือ การละรูปกายด้วยธรรมที่เป็นคู่ปรับกัน (ขุ.จู.อ. ๘๒/๕๖)
๒ วิกขัมภนปหาน หมายถึงการละด้วยข่มไว้ คือ การละรูปกายของท่านผู้ได้อรูปฌาน (ขุ.จู.อ. ๘๒/๕๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๔. โปสาลมาณวปัญหานิทเทส
คือ บุคคลผู้มีสติ เข้าวิญญาณัญจายตนสมาบัติใด ออกจากสมาบัตินั้นแล้ว
ไม่ให้วิญญาณนั้นมี ไม่ให้มีโดยประการต่าง ๆ ให้อันตรธานไป ย่อมเห็นว่า “อะไร
น้อยหนึ่ง ย่อมไม่มี” เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอากิญจัญญายตนสมาบัติ เพราะอรรถ
ว่าอะไร น้อยหนึ่ง ย่อมไม่มี รวมความว่า ผู้พิจารณาทั้งภายในและภายนอกเห็นว่า
ไม่มีอะไร
คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สักกะ ในคำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สักกะ ข้าพระองค์
ขอทูลถามถึงญาณ อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคผู้สักกะ พระผู้มีพระภาคเสด็จออก
ผนวชจากศากยตระกูล จึงชื่อว่าผู้สักกะ ฯลฯ ทรงละภัยและความหวาดกลัวได้แล้ว
หมดความขนพองสยองเกล้า จึงชื่อว่าผู้สักกะ
คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สักกะ ข้าพระองค์ขอทูลถามถึงญาณ อธิบายว่า
ข้าพระองค์ขอทูลถามถึงญาณ คือ ทูลถามถึงปัญญา ทูลถามถึงความรู้ชัดของ
บุคคลนั้นว่า ญาณเป็นอย่างไร มีสัณฐานอย่างไร มีประการอย่างไร เปรียบได้กับ
อะไร บุคคลนั้นพึงปรารถนา รวมความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สักกะ ข้าพระองค์ขอ
ทูลถามถึงญาณ
คำว่า บุคคลผู้เป็นเช่นนั้น ควรแนะนำอย่างไร อธิบายว่า บุคคลนั้นควร
แนะนำ ควรแนะนำไปโดยวิเศษ ตามแนะนำ แนะนำให้รู้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ให้ผู้อื่นรู้จัก
ประโยชน์ ให้เพ่งพินิจ ให้พิจารณา ให้เลื่อมใสอย่างไร ได้แก่ ควรให้เกิดญาณยิ่ง ๆ
ขึ้นไปแก่เขาอย่างไร
คำว่า บุคคลผู้เป็นเช่นนั้น ได้แก่ บุคคลผู้เป็นเช่นนั้น คือ ผู้เป็นอย่างนั้น
ผู้ดำรงอยู่อย่างนั้น ผู้เป็นประการนั้น ผู้มีส่วนอย่างนั้น ได้แก่ ผู้ได้อากิญจัญญา-
ยตนสมาบัติ รวมความว่า บุคคลผู้เป็นเช่นนั้น ควรแนะนำอย่างไร ด้วยเหตุนั้น
พราหมณ์นั้นจึงกราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้สักกะ ข้าพระองค์ขอทูลถามถึงญาณ
ของบุคคลผู้ไม่มีรูปสัญญา ผู้ละรูปกายได้ทั้งหมด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๔. โปสาลมาณวปัญหานิทเทส
ผู้พิจารณาทั้งภายในและภายนอกเห็นว่า ไม่มีอะไร
บุคคลผู้เป็นเช่นนั้น ควรแนะนำอย่างไร
[๘๓] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า โปสาละ)
ตถาคตรู้ยิ่งซึ่งวิญญาณัฏฐิติทั้งหมด
รู้จักบุคคลนั้นผู้ดำรงอยู่ ผู้น้อมไปแล้ว
ผู้มีอากิญจัญญายตนสมาบัตินั้นเป็นที่มุ่งหมาย (๓)

ว่าด้วยวิญญาณัฏฐิติ ๗
คำว่า ซึ่งวิญญาณัฏฐิติทั้งหมด๑ อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคทรงรู้
วิญญาณัฏฐิติ ๔ ด้วยอำนาจอภิสังขาร ทรงรู้วิญญาณัฏฐิติ ๗ ด้วยอำนาจปฏิสนธิ
พระผู้มีพระภาคทรงรู้วิญญาณัฏฐิติ ๔ ด้วยอำนาจอภิสังขารอย่างไร สมจริงดังที่
พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์) ที่เข้าถึงรูป
เมื่อดำรงอยู่ ก็มีรูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็นที่ตั้ง เข้าไปเสพเสวยความเพลิดเพลินตั้งอยู่
ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ได้ ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณที่เข้าถึงเวทนา ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณที่เข้าถึงสัญญา ฯลฯ อีกนัยหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย
วิญญาณที่เข้าถึงสังขาร เมื่อดำรงอยู่ ก็มีสังขารเป็นอารมณ์ มีสังขารเป็นที่ตั้ง
เข้าไปเสพเสวยความเพลิดเพลินตั้งอยู่ ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ได้”๒ พระ
ผู้มีพระภาคทรงรู้จักวิญญาณัฏฐิติ ๔ ด้วยอำนาจอภิสังขารอย่างนี้
พระผู้มีพระภาคทรงรู้วิญญาณัฏฐิติ ๗ ด้วยอำนาจปฏิสนธิอย่างไร สมจริงดัง
ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย มีสัตว์เหล่าหนึ่ง มีกายต่างกัน

เชิงอรรถ :
๑ วิญญาณัฏฐิติ คือภูมิเป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณ ขันธ์ที่มีวิญญาณ(ขุ.จู.อ. ๘๓/๕๗)
๒ สํ.ข. ๑๗/๕๔/๔๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๔. โปสาลมาณวปัญหานิทเทส
มีสัญญาต่างกัน คือ มนุษย์บางพวก เทวดา๑บางพวก วินิปาติกะ๒บางพวก
นี้คือวิญญาณัฏฐิติที่ ๑
สัตว์เหล่าหนึ่ง มีกายต่างกัน แต่มีสัญญาอย่างเดียวกัน คือ พวกเทพชั้น
พรหมกายิกา เกิดในปฐมฌาน นี้คือวิญญาณัฏฐิติที่ ๒
สัตว์เหล่าหนึ่ง มีกายอย่างเดียวกัน แต่มีสัญญาต่างกัน คือ พวกเทพชั้น
อาภัสระ นี้คือวิญญาณัฏฐิติที่ ๓
สัตว์เหล่าหนึ่ง มีกายอย่างเดียวกัน(และ)มีสัญญาอย่างเดียวกัน คือ พวก
เทพชั้นสุภกิณหะ นี้คือวิญญาณัฏฐิติที่ ๔
สัตว์เหล่าหนึ่ง ก้าวล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่มนสิการนานัตตสัญญา
โดยประการทั้งปวง เข้าถึงอากาสานัญจายตนฌาน ด้วยมนสิการว่า “อากาศไม่มี
ที่สุด” นี้คือวิญญาณัฏฐิติที่ ๕
สัตว์เหล่าหนึ่ง ก้าวล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการ ทั้งปวง เข้าถึง
วิญญาณัญจายตนฌาน ด้วยมนสิการว่า “วิญญาณไม่มีที่สุด” นี้คือวิญญาณัฏฐิติ
ที่ ๖
สัตว์เหล่าหนึ่ง ก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนฌานเสียโดยประการทั้งปวง
เข้าถึงอากิญจัญญายตนฌาน ด้วยมนสิการว่า “ไม่มีอะไรเลย” นี้คือ วิญญาณัฏฐิติ
ที่ ๗๓

เชิงอรรถ :
๑ เทวดา ในที่นี้หมายถึง เทวดาที่อยู่ในสวรรค์ชั้นกามาวจรทั้ง ๖ ชั้น (ขุ.จู.อ. ๘๓/๕๗)
๒ วินิปาติกะ ในที่นี้หมายถึง พวกเวมานิกเปรตคือพวกเปรตที่พ้นจากอบาย ๔ มียักษิณีผู้เป็นมารดาของ
ปุนัพพสุ ยักษิณีผู้เป็นมารดาของปิยังกระ ยักษิณีผู้เป็นมิตรของปุสสะ ร่างกายของเปรตเหล่านี้แตกต่างกัน
คือ มีทั้งอ้วน ผอม เตี้ย สูง มีผิวขาว ผิวดำ ผิวสีทอง และสีนิล มีสัญญาต่างกันด้วยติเหตุกะ ทุเหตุกะ
และอเหตุกะเหมือนของมนุษย์ เวมานิกเปรตเหล่านี้ไม่มีศักดิ์มากเหมือนพวกเทพ บางพวกได้รับทุกข์ใน
ข้างแรม ได้รับสุขในข้างขึ้น แต่เวมานิกเปรตที่เป็นติเหตุกะสามารถบรรลุธรรมได้ ดุจการบรรลุธรรมของ
ยักษิณีผู้เป็นมารดาของปิยังกระ เป็นต้น (ขุ.จู.อ. ๘๓/๕๗)
๓ องฺ. สตฺตก. ๒๓/๔๔/๓๕-๓๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๔. โปสาลมาณวปัญหานิทเทส
พระผู้มีพระภาคทรงรู้วิญญาณัฏฐิติ ๗ ด้วยอำนาจปฏิสนธิอย่างนี้ รวมความ
ว่า ซึ่งวิญญาณัฏฐิติทั้งหมด
คำว่า โปสาละ ในคำว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า โปสาละ เป็นคำที่
พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อ
คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ คำว่าพระผู้มี-
พระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ๑รวมความว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า โปสาละ

ว่าด้วยพระตถาคต
คำว่า รู้ยิ่ง ในคำว่า ตถาคตรู้ยิ่ง อธิบายว่า พระตถาคตทรงรู้ยิ่ง คือ ทรงรู้
แจ่มแจ้ง รู้เฉพาะ สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “จุนทะ ถ้าแม้เรื่องอดีต
เป็นเรื่องไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคตก็ไม่พยากรณ์๒เรื่อง
อดีตนั้น ถ้าแม้เรื่องอดีต เป็นเรื่องจริง แท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคต
ก็ไม่พยากรณ์เรื่องอดีตนั้น ถ้าแม้เรื่องอดีต เป็นเรื่องจริง แท้ ทั้งประกอบ
ด้วยประโยชน์ ในเรื่องนั้น ตถาคตก็รู้จักกาลที่จะพยากรณ์ปัญหานั้น จุนทะ ถ้าแม้
เรื่องอนาคต ฯลฯ จุนทะ ถ้าแม้เรื่องปัจจุบัน เป็นเรื่องไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบ
ด้วยประโยชน์ ตถาคตก็ไม่พยากรณ์เรื่องปัจจุบันนั้น ถึงแม้เรื่องปัจจุบัน
เป็นเรื่องจริง แท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคตก็ไม่พยากรณ์เรื่องปัจจุบันนั้น
ถึงแม้เรื่องปัจจุบัน เป็นเรื่องจริง แท้ ทั้งประกอบด้วยประโยชน์ ในเรื่องนั้น
ตถาคตก็รู้จักกาลที่จะพยากรณ์ปัญหานั้น จุนทะ ตถาคตเป็นกาลวาที๓

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๒/๔๖-๔๘
๒ พยากรณ์ ในที่นี้หมายถึงการตอบปัญหา หรือการอธิบายปัญหาให้ชัดเจน
๓ กาลวาที หมายถึงตรัสในเวลาที่เหมาะ (ขุ.จู.อ. ๘๓/๖๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๔. โปสาลมาณวปัญหานิทเทส
ภูตวาที๑ อัตถวาที๒ ธัมมวาที๓ วินยวาที๔ในธรรม ทั้งอดีต อนาคต และปัจจุบัน
ด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า ตถาคต๕
จุนทะ อายตนะใดแล อันโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก อันหมู่สัตว์
พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เห็นแล้ว ได้ยินแล้ว ทราบแล้ว รู้แจ้งแล้ว
ถึงแล้ว เสาะหาแล้ว พิจารณาแล้วด้วยใจ อายตนะทั้งหมดนั้น ตถาคตรู้ยิ่งเองแล้ว
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ตถาคต
ตถาคตย่อมตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในราตรีใด และตถาคตย่อม
ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุในราตรีใด ตถาคตย่อมกล่าว เล่า ชี้แจง
เรื่องใดในระหว่างนั้น เรื่องทั้งหมดนั้นเป็นเรื่องจริงแท้ ไม่เป็นอย่างอื่น เพราะฉะนั้น
จึงเรียกว่า ตถาคต
ตถาคตตรัสอย่างใด ทำอย่างนั้น ทำอย่างใด ตรัสอย่างนั้น ตถาคต
ตรัสอย่างใด ทำอย่างนั้น ทำอย่างใด ตรัสอย่างนั้น ด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้น
จึงเรียกว่า ตถาคต
จุนทะ ตถาคตทรงยิ่งใหญ่ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่
สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ อันใคร ๆ ครอบงำไม่ได้ เป็นผู้เห็น
โดยถ่องแท้ เป็นผู้ให้อำนาจเป็นไป เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ตถาคต๖ รวมความว่า
ตถาคตรู้ยิ่ง

เชิงอรรถ :
๑ ภูตวาที หมายถึงตรัสสภาวะที่เป็นจริง (ขุ.จู.อ. ๘๓/๖๔)
๒ อัตถวาที หมายถึงตรัสถึงปรมัตถนิพพาน (ขุ.จู.อ. ๘๓/๖๔)
๓ ธัมมวาที หมายถึงตรัสถึงมรรคธรรมและผลธรรม (ขุ.จู.อ. ๘๓/๖๔)
๔ วินยวาที หมายถึงตรัสถึงวินัยมีการสำรวมเป็นต้น (ขุ.จู.อ. ๘๓/๖๔)
๕ ที.ปา. ๑๑/๑๘๘/๑๑๗
๖ ที.ปา. ๑๑/๑๘๗-๑๘๘/๑๑๖-๑๑๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๔. โปสาลมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า รู้จักบุคคลนั้นผู้ดำรงอยู่ อธิบายว่า
พระผู้มีพระภาคทรงรู้จักบุคคลผู้กำลังดำรงอยู่ในโลกนี้ ด้วยอำนาจกัมมาภิสังขาร
ว่า “บุคคลนี้ ปฏิบัติอย่างนั้น เป็นไปอย่างนั้น และดำเนินทางนั้นแล้ว หลังจากตาย
จักไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก”
พระผู้มีพระภาคทรงรู้จักบุคคลผู้กำลังดำรงอยู่ในโลกนี้ ด้วยอำนาจกัมมาภิ-
สังขาร๑ ว่า “บุคคลนี้ ปฏิบัติอย่างนั้น เป็นไปอย่างนั้น และดำเนินทางนั้นแล้ว
หลังจากตาย จักไปเกิดในกำเนิดเดรัจฉาน”
พระผู้มีพระภาคทรงรู้จักบุคคลผู้กำลังดำรงอยู่ในโลกนี้ ด้วยอำนาจกัมมาภิ-
สังขารว่า “บุคคลนี้ ปฏิบัติอย่างนั้น เป็นไปอย่างนั้น และดำเนินทางนั้นแล้ว หลัง
จากตาย จักไปเกิดในเปตวิสัย”
พระผู้มีพระภาคทรงรู้จักบุคคลผู้กำลังดำรงอยู่ในโลกนี้ ด้วยอำนาจกัมมาภิ-
สังขารว่า “บุคคลนี้ ปฏิบัติอย่างนั้น เป็นไปอย่างนั้น และดำเนินทางนั้นแล้ว หลัง
จากตาย จักถือกำเนิดในหมู่มนุษย์”
พระผู้มีพระภาคทรงรู้จักบุคคลผู้กำลังดำรงอยู่ในโลกนี้เอง ด้วยอำนาจกัมมาภิ-
สังขาร๒ว่า “บุคคลนี้ ปฏิบัติอย่างนั้น เป็นไปอย่างนั้น และดำเนินทางนั้นแล้ว
หลังจากตาย จักไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์”
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “สารีบุตร เรากำหนดใจของบุคคลบาง
คนในโลกนี้ด้วยใจอย่างนี้ว่า ‘บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น เป็นไปอย่างนั้นและดำเนิน
ทางนั้นแล้ว หลังจากตาย จักไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก’
เรากำหนดใจของบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจอย่างนี้ว่า ‘บุคคลนี้ปฏิบัติอย่าง
นั้น เป็นไปอย่างนั้นและดำเนินทางนั้นแล้ว หลังจากตาย จักไปเกิดในกำเนิดเดรัจฉาน’
เรากำหนดใจของบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจอย่างนี้ว่า ‘บุคคล นี้ปฏิบัติอย่างนั้น
เป็นไปอย่างนั้นและดำเนินทางนั้นแล้ว หลังจากตาย จักไปเกิดในเปตวิสัย’

เชิงอรรถ :
๑ กัมมาภิสังขาร ในที่นี้หมายถึงอภิสังขารที่เป็นปฏิปักษ์ต่อบุญคือเป็นบาป สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายชั่ว
เรียกว่า อปุญญาภิสังขาร (ขุ.จู.อ. ๘๓/๖๗)
๒ กัมมาภิสังขาร ในที่นี้หมายถึง อภิสังขารที่เป็นบุญ สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายดี ได้แก่กุศลเจตนาที่เป็น
กามาวจรและรูปาวจร (ขุ.จู.อ. ๘๓/๖๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๔. โปสาลมาณวปัญหานิทเทส
เรากำหนดใจของบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจอย่างนี้ว่า ‘บุคคลนี้ปฏิบัติอย่าง
นั้นเป็นไปอย่างนั้นและดำเนินทางนั้นแล้ว หลังจากตาย จักถือกำเนิดในหมู่มนุษย์’
เรากำหนดใจของบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจอย่างนี้ว่า ‘บุคคลนี้ปฏิบัติอย่าง
นั้น เป็นไปอย่างนั้นและดำเนินทางนั้นแล้ว หลังจากตาย จักไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์’
เรากำหนดใจของบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจอย่างนี้ว่า ‘บุคคลนี้ปฏิบัติอย่าง
นั้น เป็นไปอย่างนั้นและดำเนินทางนั้นแล้ว จักทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
ไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะหมดสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่ง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”๑ รวม
ความว่า รู้จักบุคคลนั้นผู้ดำรงอยู่
คำว่า ผู้น้อมไปแล้ว ในคำว่า ผู้น้อมไปแล้ว ผู้มีอากิญจัญญายตนสมาบัตินั้น
เป็นที่มุ่งหมาย อธิบายว่า ผู้น้อมไปสู่อากิญจัญญายตนสมาบัติ คือน้อมไปโดย
วิโมกข์ น้อมไปในสมาบัตินั้น น้อมไปสู่สมาบัตินั้น มีสมาบัตินั้นเป็นใหญ่
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า “บุคคลนี้น้อมใจไปในรูป น้อมใจ
ไปในเสียง น้อมใจไปในกลิ่น น้อมใจไปในรส น้อมใจไปในโผฏฐัพพะ
น้อมใจไปในตระกูล น้อมใจไปในหมู่คณะ น้อมใจไปในอาวาส น้อมใจไปในลาภ
น้อมใจไปในยศ น้อมใจไปในสรรเสริญ น้อมใจไปในสุข น้อมใจไปในจีวร น้อม
ใจไปในบิณฑบาต น้อมใจไปในเสนาสนะ น้อมใจไปในคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
น้อมใจไปในพระสูตร น้อมใจไปในพระวินัย น้อมใจไปในพระอภิธรรม
น้อมใจไปในบังสุกูลิกังคธุดงค์ (สมาทานการนุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร)
น้อมใจไปในเตจีวริกังคธุดงค์(สมาทานการทรงไตรจีวรเป็นวัตร) น้อมใจไปใน
ปิณฑปาติกังคธุดงค์(สมาทานการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร) น้อมใจไปใน
สปทานจาริกังคธุดงค์(สมาทานการเที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับเป็นวัตร) น้อมใจ
ไปในเอกาสนิกังคธุดงค์(สมาทานการนั่งฉัน ณ อาสนะเดียวเป็นวัตร) น้อมใจไปใน
ปัตตปิณฑิกังคธุดงค์(สมาทานการฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร) น้อมใจไปใน
ขลุปัจฉาภัตติกังคธุดงค์(สมาทานการงดฉันอาหารมื้อหลังเป็นวัตร) น้อมใจไปใน
อารัญญิกังคธุดงค์(สมาทานการอยู่ป่าเป็นวัตร) น้อมใจไปในรุกขมูลิกังคธุดงค์(สมาทาน
การถืออยู่โคนไม้เป็นวัตร) น้อมใจไปในอัพโภกาสิกังคธุดงค์(สมาทานการถืออยู่
ที่แจ้งเป็นวัตร) น้อมใจไปในโสสานิกังคธุดงค์ (สมาทานการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร)

เชิงอรรถ :
๑ ม.มู. ๑๒/๑๕๔/๑๑๕ - ๑๑๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๔. โปสาลมาณวปัญหานิทเทส
น้อมใจไปในยถาสันถติกังคธุดงค์(สมาทานการอยู่ในเสนาสนะตามที่เขาจัดให้เป็นวัตร)
น้อมใจไปในเนสัชชิกังคธุดงค์(สมาทานการนั่งเป็นวัตร) น้อมใจไปในปฐมฌาน น้อม
ใจไปในทุติยฌาน น้อมใจไปในตติยฌาน น้อมใจไปในจตุตถฌาน น้อมใจไปใน
อากาสานัญจายตนสมาบัติ น้อมใจไปในวิญญาณัญจายตนสมาบัติ น้อมใจไปใน
อากิญจัญญายตนสมาบัติ น้อมใจไปในเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ” รวมความ
ว่า ผู้น้อมไปแล้ว
คำว่า ผู้มีอากิญจัญญายตนสมาบัตินั้นเป็นที่มุ่งหมาย อธิบายว่า สำเร็จมา
จากอากิญจัญญายตนสมาบัติ มีสมาบัตินั้นเป็นที่มุ่งหมาย มีกรรมเป็นที่มุ่งหมาย
มีวิบากเป็นที่มุ่งหมาย หนักในกรรม หนักในปฏิสนธิ
อีกประการหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า “บุคคลนี้ มีรูปเป็นที่มุ่งหมาย
ฯลฯ มีเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติเป็นที่มุ่งหมาย” รวมความว่า ผู้น้อมไปแล้ว
ผู้มีอากิญจัญญายตนสมาบัตินั้นเป็นที่มุ่งหมาย ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึง
ตรัสว่า
(พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า โปสาละ)
ตถาคตรู้ยิ่งซึ่งวิญญาณัฏฐิติทั้งหมด
รู้จักบุคคลนั้นผู้ดำรงอยู่ ผู้น้อมไปแล้ว
ผู้มีอากิญจัญญายตนสมาบัตินั้นเป็นที่มุ่งหมาย
[๘๔] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า)
บุคคลนั้นรู้กัมมาภิสังขารว่าเป็นเหตุเกิด
แห่งอากิญจัญญายตนสมาบัติ
รู้อรูปราคะว่ามีความเพลิดเพลินเป็นเครื่องผูกไว้
ครั้นรู้กรรมนั้นอย่างนี้แล้ว ออกจากสมาบัตินั้น
เห็นแจ้งธรรมที่เกิดในสมาบัตินั้น
ญาณนี้ของพราหมณ์ผู้อยู่จบพรหมจรรย์นั้น
เป็นญาณอันแท้จริง (๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๔. โปสาลมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า บุคคลนั้นรู้กัมมาภิสังขาร๑ว่าเป็นเหตุเกิดแห่งอากิญจัญญายตน-
สมาบัติ อธิบายว่า กัมมาภิสังขาร อันให้เป็นไปในอากิญจัญญายตนภพ ตรัสเรียก
ว่า เหตุเกิดแห่งอากิญจัญญายตนสมาบัติ
บุคคลนั้นรู้กัมมาภิสังขาร อันให้เป็นไปในอากิญจัญญายตนภพ ว่าเป็นเหตุ
เกิดแห่งอากิญจัญญายตนสมาบัติ คือ รู้ ทราบ เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง
ทำให้แจ่มแจ้งว่า เป็นเหตุเกาะติด เป็นเหตุผูกพัน เป็นเหตุพัวพัน รวมความว่า
บุคคลนั้นรู้กัมมาภิสังขารว่าเป็นเหตุเกิดแห่งอากิญจัญญายตนสมาบัติ
คำว่า รู้อรูปราคะว่ามีความเพลิดเพลินเป็นเครื่องผูกไว้ อธิบายว่า อรูป-
ราคะ ตรัสเรียกว่า ความเพลิดเพลินเป็นเครื่องผูกไว้
บุคคลนั้นรู้กรรมนั้นว่า เกาะติด เกี่ยวพัน พัวพันด้วยอรูปราคะ คือ รู้ ทราบ
เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้งอรูปราคะว่ามีความเพลิดเพลิน
เป็นเครื่องผูกไว้ คือ รู้ว่าเป็นเหตุเกาะติด เป็นเหตุผูกพัน เป็นเหตุพัวพัน
คำว่า ว่า เป็นคำสนธิ ฯลฯ คำว่า ว่า นี้เป็นคำเชื่อมบทหน้ากับบทหลังเข้า
ด้วยกัน รวมความว่า รู้อรูปราคะว่ามีความเพลิดเพลินเป็นเครื่องผูกไว้
คำว่า ครั้นรู้กรรมนั้นอย่างนี้แล้ว อธิบายว่า ครั้นรู้ คือ ครั้นทราบ เทียบ
เคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้งกรรมนั้นอย่างนี้แล้ว รวมความว่า
ครั้นรู้กรรมนั้นอย่างนี้แล้ว
คำว่า ออกจากสมาบัตินั้น ในคำว่า ออกจากสมาบัตินั้น เห็นแจ้งธรรมที่
เกิดในสมาบัตินั้น อธิบายว่า บุคคลเข้าอากิญจัญญายตนสมาบัติแล้ว ออกจาก
อากิญจัญญายตนสมาบัตินั้น ก็เห็นแจ้ง คือ แลเห็น มองดู เพ่งพินิจ พิจารณา
เห็นธรรม คือ จิตและเจตสิก ที่เกิดในอากิญจัญญายตนสมาบัตินั้น โดยความ
เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค ฯลฯ เป็นของที่ต้องสลัดออกไป รวมความว่า
ออกจากสมาบัตินั้น เห็นแจ้งธรรมที่เกิดในสมาบัตินั้น

เชิงอรรถ :
๑ กัมมาภิสังขาร ในที่นี้หมายถึงอาเนญชาภิสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งภพอันมั่นคง ไม่หวั่นไหว ได้แก่ กุศล-
เจตนาที่เป็นอรูปาวจร ๔ หมายถึงภาวะจิตที่มั่นคงแน่วแน่ (ขุ.จู.อ. ๘๔/๖๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๔. โปสาลมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า ญาณนี้ ... นั้น เป็นญาณอันแท้จริง อธิบายว่า ญาณนี้ของบุคคลนั้น
จริง แท้ แน่นอน ไม่ผิดเพี้ยน รวมความว่า ญาณนี้ ... นั้น เป็นญาณ
อันแท้จริง
คำว่า ของพราหมณ์ ในคำว่า ของพราหมณ์ ผู้อยู่จบพรหมจรรย์ อธิบายว่า
ที่ชื่อว่าพราหมณ์ เพราะเป็นผู้ลอยธรรม ๗ ประการได้แล้ว ฯลฯ ผู้ไม่มีตัณหาและ
ทิฏฐิอาศัย เป็นผู้มั่นคง บัณฑิตเรียกผู้นั้นว่า เป็นพราหมณ์๑
คำว่า ของพราหมณ์ผู้อยู่จบพรหมจรรย์ อธิบายว่า พระเสขะ ๗ จำพวก
รวมทั้งกัลยาณปุถุชน ย่อมอยู่ อยู่ร่วม อยู่อาศัย อยู่ครอง เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง
เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง พระอรหันต์
อยู่จบแล้ว ทำกิจที่ควรทำแล้ว ปลงภาระ บรรลุถึงประโยชน์ตนแล้วโดยลำดับ
หมดสิ้นสังโยชน์ในภพแล้ว หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้ชอบ พระอรหันต์นั้นอยู่ใน
(อริยวาสธรรม)แล้ว ประพฤติจรณธรรมแล้ว ฯลฯ ท่านไม่มีการเวียนเกิด เวียนแก่
เวียนตาย และภพใหม่ก็ไม่มีอีก รวมความว่า ของพราหมณ์ผู้อยู่จบพรหมจรรย์
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า
บุคคลนั้นรู้กัมมาภิสังขารว่าเป็นเหตุเกิด
แห่งอากิญจัญญายตนสมาบัติ
รู้อรูปราคะว่ามีความเพลิดเพลินเป็นเครื่องผูกไว้
ครั้นรู้กรรมนั้นอย่างนี้แล้ว ออกจากสมาบัตินั้น
เห็นแจ้งธรรมที่เกิดในสมาบัตินั้น
ญาณนี้ของพราหมณ์ผู้อยู่จบพรหมจรรย์นั้น
เป็นญาณอันแท้จริง
พร้อมกับการจบคาถา ฯลฯ โปสาลมาณพ... โดยประกาศว่า “ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก๒”
โปสาลมาณวปัญหานิทเทสที่ ๑๔ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๒๘/๑๔๗
๒ ดูรายละเอียดข้อ ๘/๗๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๕. โมฆราชมาณวปัญหานิทเทส
๑๕. โมฆราชมาณวปัญหานิทเทส๑
ว่าด้วยปัญหาของโมฆราชมาณพ
[๘๕] (ท่านโมฆราชทูลถาม ดังนี้)
ข้าพระองค์ได้ทูลถามพระองค์ผู้สักกะ ๒ ครั้งแล้ว
พระผู้มีพระภาคผู้มีพระจักษุ
มิได้ทรงพยากรณ์แก่ข้าพระองค์
ข้าพระองค์รับทราบมาว่า
พระผู้มีพระภาคผู้ทรงเป็นเทพฤๅษี
(ถ้าผู้ใดถามปัญหา) ถึง ๓ ครั้ง จะทรงพยากรณ์ (๑)
คำว่า ข้าพระองค์ได้ทูลถามพระองค์ผู้สักกะ ๒ ครั้งแล้ว อธิบายว่า
พราหมณ์นั้นได้ทูลถามปัญหากับพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ๒ ครั้งแล้ว พระผู้มี-
พระภาคผู้อันพราหมณ์นั้นทูลถามปัญหาแล้ว ก็มิได้ทรงพยากรณ์ ด้วยพระดำริว่า
“ความแก่รอบแห่งอินทรีย์ของพราหมณ์นี้จักมีในลำดับแห่งจักษุ”
คำว่า ผู้สักกะ อธิบายว่า
พระผู้มีพระภาคผู้สักกะเสด็จออกผนวชจากศากยตระกูล จึงชื่อว่าผู้สักกะ
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงมั่งคั่ง ทรงมีทรัพย์มาก ทรงมีทรัพย์ จึงชื่อว่า
ผู้สักกะ
พระองค์ทรงมีทรัพย์เหล่านี้ คือ ทรัพย์คือศรัทธา ทรัพย์คือศีล ทรัพย์คือ
หิริ ทรัพย์คือโอตตัปปะ ทรัพย์คือสุตะ ทรัพย์คือจาคะ ทรัพย์คือปัญญา ทรัพย์คือ
สติปัฏฐาน ทรัพย์คือสัมมัปปธาน ทรัพย์คืออิทธิบาท ทรัพย์คืออินทรีย์ ทรัพย์
คือพละ ทรัพย์คือโพชฌงค์ ทรัพย์คือมรรค ทรัพย์คือผล ทรัพย์คือนิพพาน พระผู้มี-
พระภาคทรงมั่งคั่ง ทรงมีทรัพย์มาก ทรงมีทรัพย์ด้วยทรัพย์ที่เป็นรัตนะ หลายอย่าง
เหล่านี้ จึงชื่อว่าผู้สักกะ

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.สุ. ๒๕/๑๑๒๓-๑๑๒๖/๕๔๘-๕๔๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๕. โมฆราชมาณวปัญหานิทเทส
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงสามารถ คือ ทรงองอาจ อาจหาญ มีความ
สามารถ กล้า กล้าหาญ ก้าวหน้า ไม่ขลาด ไม่หวาดเสียว ไม่สะดุ้ง ไม่หนี ทรงละ
ภัยและความหวาดกลัวได้แล้ว หมดความขนพองสยองเกล้าแล้ว จึงชื่อว่าผู้สักกะ
คำว่า ข้าพระองค์ได้ทูลถามพระองค์ผู้สักกะ ๒ ครั้งแล้ว อธิบายว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้สักกะ ข้าพระองค์ได้ทูลถาม คือ ได้ทูลขอ ทูลอัญเชิญ ทูลให้ทรงประกาศ
๒ ครั้งแล้ว รวมความว่า ข้าพระองค์ได้ทูลถามพระองค์ผู้สักกะ ๒ ครั้งแล้ว
คำว่า ดังนี้ ในคำว่า ท่านโมฆราชทูลถาม ดังนี้ เป็นบทสนธิ ฯลฯ
คำว่า ท่าน เป็นคำกล่าวด้วยความรัก ฯลฯ
คำว่า โมฆราช เป็นชื่อของพราหมณ์นั้น ฯลฯ ชื่อเรียกเฉพาะ๑ รวมความว่า
ท่านโมฆราชทูลถาม ดังนี้
คำว่า มิได้ทรงพยากรณ์แก่ข้าพระองค์ ในคำว่า พระผู้มีพระภาคผู้มี
พระจักษุ มิได้ทรงพยากรณ์แก่ข้าพระองค์ อธิบายว่า มิได้ทรงพยากรณ์ คือ
มิได้บอก มิได้แสดง มิได้บัญญัติ มิได้กำหนด มิได้เปิดเผย มิได้จำแนก มิได้
ทำให้ง่าย มิได้ทรงประกาศแก่ข้าพระองค์

ว่าด้วยพระจักษุ ๕ ชนิด
คำว่า ผู้มีพระจักษุ อธิบายว่า พระผู้มีพระภาค มีพระจักษุด้วยพระจักษุ
๕ ชนิด คือ
๑. มีพระจักษุด้วยมังสจักขุบ้าง ๒. มีพระจักษุด้วยทิพพจักขุบ้าง
๓. มีพระจักษุด้วยปัญญาจักขุบ้าง ๔. มีพระจักษุด้วยพุทธจักขุบ้าง
๕. มีพระจักษุด้วยสมันตจักขุบ้าง

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๑/๔๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๒๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๕. โมฆราชมาณวปัญหานิทเทส
พระผู้มีพระภาคมีพระจักษุด้วยมังสจักขุ เป็นอย่างไร
คือ ในพระมังสจักขุของพระผู้มีพระภาคมีสีอยู่ ๕ สี คือ (๑) สีเขียว
(๒) สีเหลือง (๓) สีแดง (๔) สีดำ (๕) สีขาว ณ ที่ที่มีขนพระเนตรขึ้น มีสีเขียว
เขียวสนิท น่าชม น่าดู ดุจดอกผักตบ ต่อจากนั้น ก็เป็นสีเหลือง เหลืองสนิท
สีเหมือนทองคำ น่าชม น่าดู ดุจดอกกรรณิการ์ เบ้าพระเนตรทั้งสองข้างของพระ
ผู้มีพระภาคมีสีแดง แดงสนิท น่าชม น่าดู ดุจสีปีกแมลงทับ กลางดวงพระเนตร
มีสีดำ ดำเข้ม ไม่เศร้าหมอง สนิท น่าชม น่าดู ดุจสีสมอดำ ต่อจากนั้น เป็นสีขาว
ขาวสนิท เปล่งปลั่ง ขาวนวล น่าชม น่าดู ดุจสีดาวประกายพฤกษ์ พระผู้มีพระภาค
มีพระมังสจักขุนั้นอยู่โดยปกติ เนื่องในพระอัตภาพ เกิดด้วยสุจริตกรรมที่ทรงสั่งสม
มาในภพก่อน ทรงมองเห็นตลอด ๑ โยชน์โดยรอบ ทั้งกลางวันและกลางคืน แม้ใน
เวลาที่มีความมืดประกอบด้วยองค์ ๔ คือ (๑) ดวงอาทิตย์ตกไปแล้ว (๒) เป็นวัน
อุโบสถข้างแรม (๓) ป่าชัฏรกทึบ (๔) มีเมฆก้อนใหญ่ผุดขึ้นมา ในความมืดที่
ประกอบด้วยองค์ ๔ อย่างนี้ พระองค์ก็ทรงมองเห็นได้ตลอด ๑ โยชน์โดยรอบ
ไม่มีหลุม บานประตู กำแพง ภูเขา กอไม้ หรือเถาวัลย์มาปิดกั้นการเห็นรูป
ทั้งหลายได้ หากบุคคลเอางาเมล็ดเดียวทำเครื่องหมายแล้วใส่ลงในเกวียนบรรทุกงา
พระผู้มีพระภาคก็ทรงสามารถหยิบเอางาเมล็ดนั้นขึ้นมาได้ พระมังสจักขุตามปกติ
ของพระผู้มีพระภาคบริสุทธิ์อย่างนี้ พระผู้มีพระภาคชื่อว่ามีพระจักษุด้วยมังสจักขุ
เป็นอย่างนี้
พระผู้มีพระภาคมีพระจักษุด้วยทิพพจักขุ เป็นอย่างไร
คือ พระผู้มีพระภาคทรงเห็นหมู่สัตว์ ซึ่งกำลังจุติ กำลังอุบัติ เลว ประณีต
ผิวพรรณดี ผิวพรรณทราม ไปดี ตกยาก ด้วยทิพพจักขุอันหมดจดล่วงจักษุมนุษย์
ทรงทราบหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม๑ ฯลฯ และพระผู้มีพระภาคเมื่อทรงประสงค์
พึงทรงเห็นได้ แม้ ๑ โลกธาตุ... แม้ ๒ โลกธาตุ ... แม้ ๓ โลกธาตุ ... แม้ ๔
โลกธาตุ ... แม้ ๕ โลกธาตุ ... แม้ ๑๐ โลกธาตุ ... แม้ ๒๐ โลกธาตุ ... แม้ ๓๐

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มจาก ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๙๑/๕๔๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๓๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๕. โมฆราชมาณวปัญหานิทเทส
โลกธาตุ ... แม้ ๔๐ โลกธาตุ ... แม้ ๕๐ โลกธาตุ ... แม้ ๑๐๐ โลกธาตุ ... แม้โลก
ธาตุขนาดเล็กประกอบด้วย ๑,๐๐๐ จักรวาล... แม้โลกธาตุขนาดกลางประกอบด้วย
๒,๐๐๐ จักรวาล ... แม้โลกธาตุขนาดใหญ่ประกอบด้วย ๓,๐๐๐ จักรวาล ... แม้โลก
ธาตุที่ประกอบด้วยหลายพันจักรวาล พระผู้มีพระภาคทรงประสงค์เพียงใดก็พึงทรง
เห็นได้เพียงนั้น ทิพพจักขุของพระผู้มีพระภาคบริสุทธิ์อย่างนี้ พระผู้มีพระภาคชื่อว่า
มีพระจักษุด้วยทิพพจักขุ เป็นอย่างนี้
พระผู้มีพระภาคมีพระจักษุด้วยปัญญาจักขุ เป็นอย่างไร
คือ พระผู้มีพระภาคผู้มีพระปัญญามาก มีพระปัญญากว้างขวาง มีพระปัญญา
ฉับไว มีพระปัญญาอาจหาญ มีพระปัญญาเฉียบคม มีพระปัญญาเพิกถอนกิเลสได้
ทรงฉลาดในประเภทแห่งปัญญา มีพระญาณแตกฉาน ทรงบรรลุปฏิสัมภิทา ทรง
บรรลุเวสารัชชญาณ ๔ ทรงเป็นผู้ทรงทสพลญาณ ทรงเป็นบุรุษองอาจ ทรงเป็น
บุรุษดุจราชสีห์ ทรงเป็นบุรุษดุจนาค ทรงเป็นบุรุษอาชาไนย ทรงเป็นบุรุษผู้เอาธุระ
มีพระญาณหาที่สุดมิได้ มีพระเดชหาที่สุดมิได้ มีพระยศหาที่สุดมิได้ ทรงมั่งคั่ง
ทรงมีทรัพย์มาก ทรงมีปัญญาเป็นทรัพย์ ทรงเป็นผู้นำ เป็นผู้นำไปโดยวิเศษ เป็นผู้
ตามแนะนำ ทรงให้รู้จักประโยชน์ ให้พินิจพิจารณา ทรงเพ่งประโยชน์ ทรงทำให้
เลื่อมใสได้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงทำมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ทรงทำ
มรรคที่ยังไม่เกิดพร้อมให้เกิดพร้อม ตรัสบอกมรรคที่ยังมิได้ตรัสบอก ทรงรู้จักมรรค
ทรงรู้แจ้งมรรค ทรงฉลาดในมรรค และสาวกของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ผู้ดำเนินไปตามมรรคอยู่ในบัดนี้ จะเพียบพร้อมด้วยศีลาทิคุณในภายหลัง
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงรู้ธรรมที่ควรรู้ ทรงเห็นธรรมที่ควรเห็น
มีพระจักษุ มีพระญาณ มีพระธรรม เป็นดุจพระพรหม ตรัส บอก นำความหมาย
ออกมา ประทานอมตธรรม เป็นพระธรรมสามี เป็นพระตถาคต ไม่มีสิ่งที่พระ
ผู้มีพระภาคพระองค์นั้นยังไม่ทรงทราบ ไม่ทรงเห็น ไม่ทรงรู้แจ้ง ไม่ทรงทำให้แจ้ง
มิได้ทรงถูกต้องด้วยปัญญา ธรรมทั้งปวง รวมทั้งอดีต อนาคตและปัจจุบัน ย่อมมาสู่
คลองเฉพาะพระญาณของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า โดยอาการทั้งปวง ธรรมดา
ประโยชน์ที่ควรแนะนำอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นธรรมที่ควรรู้มีอยู่ คือ ประโยชน์ตน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๓๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๕. โมฆราชมาณวปัญหานิทเทส
ประโยชน์ผู้อื่น หรือประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ประโยชน์ในภพปัจจุบัน หรือประโยชน์ใน
ภพหน้า ประโยชน์ตื้นหรือประโยชน์ลึก ประโยชน์ลี้ลับหรือประโยชน์ปิดบัง
ประโยชน์ที่ควรแนะนำหรือประโยชน์ที่แนะนำแล้ว ประโยชน์ที่ไม่มีโทษหรือประโยชน์
ที่ไม่มีกิเลส ประโยชน์ที่ผ่องแผ้วหรือประโยชน์อย่างยิ่ง ประโยชน์ทั้งหมดนั้นย่อม
เป็นไปภายในพระพุทธญาณ
กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมทุกอย่าง ย่อมเป็นไปตามพระญาณของ
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า พระญาณของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ไม่ติดขัดในอดีต
อนาคต ปัจจุบัน บทธรรมที่ควรแนะนำมีอยู่เพียงใด พระญาณก็มีเพียงนั้น พระ
ญาณมีอยู่เพียงใด บทธรรมที่ควรแนะนำก็มีเพียงนั้น พระญาณย่อมมีบทธรรมที่
ควรแนะนำเป็นส่วนสุดรอบ บทธรรมที่ควรแนะนำก็ย่อมมีพระญาณเป็นส่วนสุดรอบ
พระญาณย่อมไม่เป็นไปเกินบทธรรมที่ควรแนะนำ ทางแห่งบทธรรมที่ควรแนะนำก็มี
อยู่ไม่เกินกว่าพระญาณ ธรรมเหล่านั้นตั้งอยู่ในส่วนสุดรอบของกันและกัน เหมือน
ชั้นแห่งผอบ ๒ ชั้น ทับกันสนิทพอดี ชั้นผอบด้านล่างก็ไม่เกินด้านบน ชั้นผอบ
ด้านบนก็ไม่เกินด้านล่าง ชั้นผอบทั้ง ๒ ย่อมวางประกบกันที่ส่วนสุดโดยรอบของ
กันและกัน ฉันใด บทธรรมที่ควรแนะนำ และพระญาณของพระผู้มีพระภาค
พุทธเจ้าก็ตั้งอยู่ในส่วนสุดรอบของกันและกันฉันนั้นเหมือนกัน บทธรรมที่ควร
แนะนำมีอยู่เพียงใด พระญาณก็มีอยู่เพียงนั้น พระญาณมีอยู่เพียงใด บทธรรมที่
ควรแนะนำก็มีเพียงนั้น พระญาณย่อมมีบทธรรมที่ควรแนะนำเป็นส่วนสุดรอบ
บทธรรมที่ควรแนะนำก็ย่อมมีพระญาณเป็นส่วนสุดรอบ พระญาณย่อมไม่เป็นไปเกิน
กว่าบทธรรมที่ควรแนะนำ ทางแห่งบทธรรมที่ควรแนะนำก็มีอยู่ไม่เกินกว่าพระญาณ
ธรรมเหล่านั้นย่อมตั้งอยู่ในส่วนสุดรอบของกันและกัน
พระญาณของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ย่อมเป็นไปในธรรมทั้งปวง ธรรม
ทั้งปวงนับเนื่องด้วยความนึก นับเนื่องด้วยความหวัง นับเนื่องด้วยมนสิการ
นับเนื่องด้วยจิตตุปบาทของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า พระญาณของพระผู้มีพระภาค
พุทธเจ้าย่อมเป็นไปในสัตว์ทั้งปวง พระผู้มีพระภาคทรงทราบอัธยาศัย อนุสัย จริต
อธิมุตติของเหล่าสัตว์ทุกจำพวก ทรงรู้จักเหล่าสัตว์ ผู้มีกิเลสดุจธุลีน้อยในปัญญา-
จักขุ มีกิเลสดุจธุลีมากในปัญญาจักขุ มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๓๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๕. โมฆราชมาณวปัญหานิทเทส
มีอาการทราม ผู้ที่แนะนำให้รู้ได้ง่าย ผู้ที่แนะนำให้รู้ได้ยาก เป็นภัพพสัตว์(ผู้สมควร
บรรลุธรรม) และอภัพพสัตว์(ผู้ไม่สมควรบรรลุธรรม) โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก
พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ย่อมเป็นไปภายใน
พระพุทธญาณ
ปลาและเต่าชนิดใดชนิดหนึ่ง รวมทั้งปลาติมิ ปลาติมิงคละและปลาติมิติ-
มิงคละ๑ ย่อมเป็นไปภายในมหาสมุทร ฉันใด โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก
หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ย่อมเป็นไปภายในพระญาณ
ของพระพุทธเจ้า ฉันนั้นเหมือนกัน นกชนิดใดชนิดหนึ่ง รวมทั้งครุฑนามว่า
เวนไตย ย่อมบินไปในห้วงแห่งอากาศ ฉันใด พระพุทธสาวกทั้งหลาย ผู้เสมอกับ
พระสารีบุตรด้วยปัญญา ย่อมเป็นไปในส่วนแห่งพระพุทธญาณ ฉันนั้นเหมือนกัน
พระพุทธญาณย่อมแผ่ครอบคลุมปัญญาของเทวดาและมนุษย์อยู่
เหล่าบัณฑิตผู้เป็นกษัตริย์ เป็นพราหมณ์ เป็นคหบดี เป็นสมณะ ผู้มีปัญญา
ละเอียด รู้วาทะของผู้อื่น เหมือนนายขมังธนูสามารถยิงเนื้อทรายได้ ดุจจะเที่ยว
ทำลายทิฏฐิผู้อื่นด้วยปัญญาตน บัณฑิตเหล่านั้นพากันปรุงแต่งปัญหา ย่อมเข้าไป
เฝ้าพระตถาคต ทูลถามปัญหาที่ลี้ลับและปิดบัง ปัญหาเหล่านั้น ที่พระผู้มีพระภาค
ทรงซักไซ้และตรัสแก้แล้ว เป็นปัญหามีเหตุให้ทรงแสดง บัณฑิตเหล่านั้นถูกดึงดูด
ด้วยการวิสัชนาปัญหา จึงเลื่อมใสพระผู้มีพระภาค โดยที่แท้พระผู้มีพระภาคย่อม
ทรงรุ่งเรืองด้วยพระปัญญาในหมู่คนเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคชื่อว่ามีพระจักษุด้วย
ปัญญาจักขุ เป็นอย่างนี้
พระผู้มีพระภาคมีพระจักษุด้วยพุทธจักขุ เป็นอย่างไร
คือ พระผู้มีพระภาคเมื่อทรงตรวจดูสัตว์โลกด้วยพุทธจักขุ ได้ทรงเห็นสัตว์
ทั้งหลายผู้มีกิเลสดุจธุลีน้อยในปัญญาจักขุ ผู้มีกิเลสดุจธุลีมากในปัญญาจักขุ
มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการทราม ผู้ที่แนะนำให้รู้ได้ง่าย

เชิงอรรถ :
๑ ปลาทั้ง ๓ ตัวนี้ เป็นปลาขนาดใหญ่ คือ ปลาติมิงคละสามารถกลืนกินปลาติมิได้และปลาติมิติมิงคละ
มีขนาดลำตัวใหญ่ถึง ๕๐๐ โยชน์ และสมารถกลืนกินปลาติมิงคละได้ (ขุ.ม.อ. ๖๙/๒๙๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๓๐๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๕. โมฆราชมาณวปัญหานิทเทส
ผู้ที่แนะนำให้รู้ได้ยาก บางพวกเป็นผู้เห็นโทษและภัยในปรโลกอยู่ก็มี เหมือนในกอ
บัวเขียว ในกอบัวแดง หรือในกอบัวขาว ดอกบัวเขียว ดอกบัวแดง หรือดอก
บัวขาว บางเหล่าเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ ขึ้นตามน้ำ จมอยู่ในน้ำและน้ำหล่อเลี้ยงไว้
ดอกบัวเขียว ดอกบัวแดง หรือดอกบัวขาว บางเหล่าเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ ตั้งอยู่
เสมอผิวน้ำ ดอกบัวเขียว ดอกบัวแดง หรือดอกบัวขาว บางเหล่าเกิดในน้ำ
เจริญในน้ำ โผล่ขึ้นพ้นระดับน้ำ น้ำไม่ติดเปื้อนอยู่เลย ฉันใด พระผู้มีพระภาค
เมื่อทรงตรวจดูสัตว์โลกด้วยพุทธจักขุ ได้ทรงเห็นสัตว์ทั้งหลายผู้มีกิเลสดุจธุลีน้อย
ในปัญญาจักขุ ผู้มีกิเลสดุจธุลีมากในปัญญาจักขุ มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน
มีอาการดี มีอาการทราม ผู้ที่แนะนำให้รู้ได้ง่าย ผู้ที่แนะนำให้รู้ได้ยาก บางพวกเป็น
ผู้เห็นโทษและภัยในปรโลกอยู่ก็มี ฉันนั้นเหมือนกัน พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า
“บุคคลนี้มีราคจริต บุคคลนี้มีโทสจริต บุคคลนี้มีโมหจริต บุคคลนี้มีวิตกจริต
บุคคลนี้มีสัทธาจริต บุคคลนี้มีญาณจริต” พระผู้มีพระภาคย่อมตรัสอสุภกถาแก่
บุคคลราคจริต ตรัสการเจริญเมตตาแก่บุคคลโทสจริต ย่อมทรงแนะนำบุคคล
โมหจริตให้ดำรงอยู่ในการเล่าเรียน การไต่ถาม การฟังธรรมตามกาล การสนทนา
ธรรมตามกาล การอยู่ร่วมกับครู ย่อมตรัสอานาปานัสสติแก่บุคคลวิตกจริต
ตรัสบอกนิมิตที่น่าเลื่อมใส ความตรัสรู้ชอบของพระพุทธเจ้า ความเป็นธรรมดี
แห่งพระธรรม การปฏิบัติชอบของพระสงฆ์และศีลของตนที่น่าเลื่อมใสแก่บุคคลสัทธา-
จริต ย่อมตรัสธรรมอันเป็นนิมิตแห่งวิปัสสนา มีอาการไม่เที่ยง มีอาการเป็นทุกข์
มีอาการเป็นอนัตตาแก่บุคคลญาณจริต (สมจริงดังคาถาประพันธ์ว่า)
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้มีปัญญาดี มีสมันตจักขุ
บุรุษผู้ยืนอยู่บนยอดภูเขาศิลาล้วน
พึงเห็นหมู่ชนโดยรอบ แม้ฉันใด
พระองค์ผู้หมดความโศกแล้ว
โปรดเสด็จขึ้นสู่ปราสาทคือธรรม
จักได้เห็นหมู่ชนผู้ตกอยู่ในความเศร้าโศก
และถูกชาติชราครอบงำได้ชัดเจน ฉันนั้น๑
พระผู้มีพระภาคชื่อว่ามีพระจักษุด้วยพุทธจักขุ เป็นอย่างนี้

เชิงอรรถ :
๑ วิ.ม. ๔/๘/๙, ที.ม. ๑๐ /๗๐/๓๔, ม.มู. ๑๒/๒๘๒/๒๔๓, ม.ม. ๑๓/๓๓๘/๓๒๐, สํ.ส. ๑๕/๑๗๒/๑๖๕,
ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๙๑/๕๔๕-๕๔๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๓๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๕. โมฆราชมาณวปัญหานิทเทส
พระผู้มีพระภาคมีพระจักษุด้วยสมันตจักขุ เป็นอย่างไร
คือ พระสัพพัญญุตญาณ ตรัสเรียกว่า สมันตจักขุ พระผู้มีพระภาคทรง
ประกอบ ประกอบพร้อม ดำเนินไป ดำเนินไปพร้อม เป็นไป เป็นไปพร้อม
เพียบพร้อมแล้วด้วยพระสัพพัญญุตญาณ (สมจริงดังคาถาประพันธ์ว่า)
สิ่งไร ๆ ในไตรโลกธาตุนี้
พระปัญญาจักขุของพระตถาคตนั้นไม่เห็น ไม่มีเลย
อนึ่ง ธรรมชาติอะไร ๆ ที่ควรรู้
พระพุทธญาณไม่รู้แจ้งก็ไม่มี
ธรรมชาติที่ควรแนะนำใดมีอยู่
พระตถาคตได้ทรงทราบธรรมชาติที่ควรแนะนำนั้นทั้งหมด
เพราะเหตุนั้น พระตถาคตจึงชื่อว่าผู้มีสมันตจักขุ๑
พระผู้มีพระภาคชื่อว่ามีพระจักษุด้วยสมันตจักขุ เป็นอย่างนี้ รวมความว่า
พระผู้มีพระภาค ผู้มีพระจักษุ มิได้ทรงพยากรณ์แก่ข้าพระองค์
คำว่า ข้าพระองค์รับทราบมาว่า พระผู้มีพระภาคผู้ทรงเป็นเทพฤๅษี (ถ้าผู้
ใดถามปัญหา) ถึง ๓ ครั้ง จะทรงพยากรณ์ อธิบายว่า ข้าพระองค์เรียนรู้มา คือ
ทรงจำมา กำหนดมา อย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้า(ถ้า) ผู้ใดทูลถามปัญหาควรแก่เหตุ
ถึง ๓ ครั้ง จะทรงพยากรณ์ จะไม่ทรงปฏิเสธ

ว่าด้วยพระผู้มีพระภาคชื่อว่า เทพฤๅษี
คำว่า ผู้ทรงเป็นเทพฤๅษี อธิบายว่า พระผู้มีพระภาค ทรงเป็นทั้งเทพ
เป็นทั้งฤๅษี จึงชื่อว่าทรงเป็นเทพฤๅษี พระราชาผนวชก็เรียกกันว่า ราชฤๅษี
พราหมณ์บวชก็เรียกกันว่า พราหมณ์ฤๅษี ฉันใด พระผู้มีพระภาคก็ฉันนั้น ทรงเป็น
ทั้งเทพเป็นทั้งฤๅษี

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.ม.(แปล) ๒๙/๑๙๑/๕๔๖,ขุ.ป. ๓๑ /๑๒๑ /๑๓๖-๑๓๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๓๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๕. โมฆราชมาณวปัญหานิทเทส
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ผนวชแล้วจึงชื่อว่าพระฤๅษี ทรงแสวงหา คือ
ค้นหา เสาะหาสีลขันธ์ใหญ่ จึงชื่อว่าพระฤๅษี ทรงแสวงหา คือ ค้นหา เสาะหา
สมาธิขันธ์ใหญ่ ฯลฯ ปัญญาขันธ์ใหญ่ ฯลฯ วิมุตติขันธ์ใหญ่ ฯลฯ วิมุตติญาณ-
ทัสสนขันธ์ใหญ่ จึงชื่อว่าพระฤๅษี
พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา คือ ค้นหา เสาะหาเครื่องทำลายกองความ
มืดใหญ่ จึงชื่อว่าพระฤๅษี
พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา ค้นหา เสาะหาเครื่องทำลายความวิปลาสใหญ่
จึงชื่อว่าพระฤๅษี
พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา ค้นหา เสาะหาเครื่องถอนลูกศรคือตัณหาใหญ่
จึงชื่อว่าพระฤๅษี
พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา ค้นหา เสาะหาเครื่องปลดเปลื้องโครงทิฏฐิใหญ่
จึงชื่อว่าพระฤๅษี
พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา ค้นหา เสาะหาเครื่องกำจัดธงคือมานะใหญ่
จึงชื่อว่าพระฤๅษี
พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา ค้นหา เสาะหาเครื่องเข้าไปสงบอภิสังขารใหญ่
จึงชื่อว่าพระฤๅษี
พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา ค้นหา เสาะหาเครื่องปิดกั้นโอฆะใหญ่ จึงชื่อว่า
พระฤๅษี
พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา ค้นหา เสาะหาเครื่องวางภาระใหญ่ จึงชื่อว่า
พระฤๅษี
พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา ค้นหา เสาะหาเครื่องตัดสังสารวัฏใหญ่ จึงชื่อว่า
พระฤๅษี
พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา ค้นหา เสาะหาเครื่องดับความเดือดร้อนใหญ่
จึงชื่อว่าพระฤๅษี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๓๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๕. โมฆราชมาณวปัญหานิทเทส
พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา ค้นหา เสาะหาเครื่องระงับความเร่าร้อนใหญ่จึง
ชื่อว่าพระฤๅษี
พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา ค้นหา เสาะหาเครื่องยกธงคือธรรมใหญ่ จึงชื่อ
ว่าพระฤๅษี
พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา ค้นหา เสาะหาสติปัฏฐานใหญ่... สัมมัปปธานใหญ่...
อิทธิบาทใหญ่... อินทรีย์ใหญ่... พละใหญ่... โพชฌงค์ใหญ่... อริยมรรคมีองค์ ๘ ใหญ่...
ปรมัตถอมตนิพพานใหญ่ จึงชื่อว่าพระฤๅษี
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้ที่เหล่าสัตว์ผู้มเหศักดิ์แสวงหา ค้นหา
เสาะหาว่า “พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่ไหน พระผู้ทรงเป็นเทพยิ่งกว่าเทพประทับอยู่
ที่ไหน พระผู้ทรงองอาจกว่านรชนประทับอยู่ที่ไหน” จึงชื่อว่าพระฤๅษี รวมความว่า
ข้าพระองค์รับทราบมาว่า พระผู้มีพระภาคผู้ทรงเป็นเทพฤๅษี (ถ้าผู้ใดถามปัญหา)
ถึง ๓ ครั้ง จะทรงพยากรณ์ ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกราบทูลว่า
(ท่านโมฆราชทูลถามดังนี้)
ข้าพระองค์ได้ทูลถามพระองค์ผู้สักกะ ๒ ครั้งแล้ว
พระผู้มีพระภาคผู้มีพระจักษุ
มิได้ทรงพยากรณ์แก่ข้าพระองค์
ข้าพระองค์รับทราบมาว่า
พระผู้มีพระภาคผู้ทรงเป็นเทพฤๅษี
(ถ้าผู้ใดถามปัญหา) ถึง ๓ ครั้งจะทรงพยากรณ์
[๘๖] (ท่านโมฆราชทูลถามว่า)
โลกนี้ โลกอื่น พรหมโลกพร้อมทั้งเทวโลก
ย่อมไม่ทราบชัดความเห็นของพระองค์
ผู้โคตมโคตร ผู้มีพระยศ (๒)
คำว่า โลกนี้ ในคำว่า โลกนี้ โลกอื่น ได้แก่ มนุษยโลก
คำว่า โลกอื่น ได้แก่ โลกอื่นทั้งหมด เว้นมนุษยโลก รวมความว่า โลกนี้
โลกอื่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๓๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๕. โมฆราชมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า พรหมโลกพร้อมทั้งเทวโลก ได้แก่ พรหมโลก พร้อมทั้งเทวโลก
มารโลก หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ รวมความว่า
พรหมโลกพร้อมทั้งเทวโลก
คำว่า ย่อมไม่ทราบชัดความเห็นของพระองค์ อธิบายว่า ชาวโลกไม่ทราบ
ไม่รู้ คือ ไม่เห็น ไม่แลเห็น ไม่ประสบ ไม่พบ ไม่ได้เฉพาะความเห็น คือ ความถูกใจ
ความพอใจ ลัทธิ อัธยาศัย ความประสงค์ของพระองค์ว่า “พระผู้มีพระภาคนี้
ทรงมีความเห็นอย่างนี้ มีความถูกใจอย่างนี้ มีความพอใจอย่างนี้ มีลัทธิอย่างนี้
มีอัธยาศัยอย่างนี้ มีความประสงค์อย่างนี้” รวมความว่า ย่อมไม่ทราบชัดความ
เห็นของพระองค์
คำว่า ผู้โคตมโคตร ผู้มีพระยศ อธิบายว่า พระผู้มีพระภาค ทรงเพียบ
พร้อมด้วยพระยศ จึงชื่อว่าผู้มีพระยศ
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเป็นผู้ที่ชาวโลกสักการะ เคารพ นับถือ บูชา
นอบน้อม ทรงได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร จึงชื่อ
ว่าผู้มีพระยศ รวมความว่า ผู้โคตมโคตร ผู้มีพระยศ ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์จึง
กราบทูลว่า
โลกนี้ โลกอื่น พรหมโลกพร้อมทั้งเทวโลก
ย่อมไม่ทราบชัดความเห็นของพระองค์
ผู้โคตมโคตร ผู้มีพระยศ
[๘๗] (ท่านโมฆราชทูลถามว่า)
ข้าพระองค์มีปัญหาที่จะทูลถามจึงมาเฝ้าพระองค์
ผู้ทรงมีปกติเห็นธรรมอันงามอย่างนี้
บุคคลพิจารณาเห็นโลกอย่างไร มัจจุราชจึงไม่เห็น (๓)
คำว่า ผู้ทรงมีปกติเห็นธรรมอันงามอย่างนี้ อธิบายว่า ผู้ทรงมีปกติเห็น
ธรรมอันงาม คือ เห็นธรรมอันเลิศ เห็นธรรมอันประเสริฐ ธรรมอันวิเศษสุด
เห็นธรรมชั้นแนวหน้า เห็นธรรมสูงสุด เห็นธรรมอันยอดเยี่ยมอย่างนี้ รวมความว่า
ผู้ทรงมีปกติเห็นธรรมอันงามอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๓๐๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๕. โมฆราชมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า ข้าพระองค์มีปัญหาที่จะทูลถามจึงมาเฝ้า อธิบายว่า ข้าพระองค์มี
ความ ต้องการปัญหาจึงมาเฝ้า ฯลฯ ข้อนี้จึงเป็นภาระของพระองค์ รวมความว่า
ข้าพระองค์มีปัญหาที่จะทูลถามจึงมาเฝ้า อย่างนี้บ้าง
คำว่า บุคคลพิจารณาเห็นโลกอย่างไร อธิบายว่า บุคคลผู้พิจารณาเห็น คือ
ประจักษ์แจ้ง เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้งอย่างไร รวม
ความว่า บุคคลพิจารณาเห็นโลกอย่างไร
คำว่า มัจจุราชจึงไม่เห็น อธิบายว่า มัจจุราชจึงไม่เห็น คือ ไม่แลเห็น ไม่
ประสบ ไม่พบ ไม่ได้เฉพาะ รวมความว่า มัจจุราชจึงไม่เห็น ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์
นั้นจึงกราบทูลว่า
ข้าพระองค์มีปัญหาที่จะทูลถามจึงมาเฝ้าพระองค์
ผู้ทรงมีปกติเห็นธรรมอันงามอย่างนี้
บุคคลพิจารณาเห็นโลกอย่างไร มัจจุราชจึงไม่เห็น
[๘๘] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า)
โมฆราช เธอจงพิจารณาเห็นโลกโดยความว่างเปล่า
มีสติทุกเมื่อ พึงถอนอัตตานุทิฏฐิเสีย
เป็นผู้ข้ามมัจจุราชเสียได้ ด้วยอาการอย่างนี้
บุคคลพิจารณาเห็นโลกอยู่อย่างนี้ มัจจุราชจึงไม่เห็น (๔)

ว่าด้วยโลก
คำว่า โลก ในคำว่า เธอจงพิจารณาเห็นโลกโดยความว่างเปล่า ได้แก่ โลกนรก
โลกในกำเนิดเดรัจฉาน โลกในเปตวิสัย มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก
อายตนโลก โลกนี้ โลกหน้า พรหมโลก พร้อมทั้งเทวโลก
ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่พระองค์
ตรัสว่า ‘โลก โลก’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ จึงตรัสว่า โลก พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๓๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๕. โมฆราชมาณวปัญหานิทเทส
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ ที่เราเรียกว่า ‘โลก’ เพราะจะต้องแตกสลาย
ก็อะไรเล่าจะต้องแตกสลาย คือ จักษุแลต้องแตกสลาย รูปต้องแตกสลาย จักขุ
วิญญาณต้องแตกสลาย จักขุสัมผัสต้องแตกสลาย แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ
อทุกขมสุขเวทนา(เป็นทุกข์ก็มิใช่เป็นสุขก็มิใช่) ที่เกิดขึ้นเพราะมีจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย
ต้องแตกสลาย โสตะต้องแตกสลาย เสียงต้องแตกสลาย ฆานะต้องแตกสลาย
กลิ่นต้องแตกสลาย ชิวหาต้องแตกสลาย รสต้องแตกสลาย กายต้องแตกสลาย
โผฏฐัพพะต้องแตกสลาย มโนต้องแตกสลาย ธรรมารมณ์ต้องแตกสลาย มโน-
วิญญาณต้องแตกสลาย มโนสัมผัสต้องแตกสลาย แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา
อทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็ต้องแตกสลาย ภิกษุ
ที่เราเรียกว่า ‘โลก’ เพราะจะต้องแตกสลาย เป็นอย่างนี้”๑
คำว่า เธอจงพิจารณาเห็นโลกโดยความว่างเปล่า อธิบายว่า บุคคลย่อม
พิจารณาเห็นโลกโดยความว่างเปล่าด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ
๑. ด้วยการกำหนดเห็นสังขารไม่เป็นไปตามอำนาจ
๒. ด้วยการพิจารณาเห็นสังขารเป็นของว่างเปล่า
บุคคลพิจารณาเห็นโลกโดยความว่างเปล่า ด้วยการกำหนดเห็นสังขารไม่
เป็นไปตามอำนาจ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลย่อมไม่ได้อำนาจในรูป อำนาจในเวทนา อำนาจในสัญญา
อำนาจในสังขาร อำนาจในวิญญาณ
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา ถ้ารูป
นี้จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ รูปนี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในรูปว่า
“รูปของเราจงเป็นอย่างนี้ รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย” ภิกษุทั้งหลาย ก็
เพราะรูปเป็นอนัตตา ฉะนั้น รูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในรูปว่า
“รูปของเราจงเป็นอย่างนี้ รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้น”

เชิงอรรถ :
๑ สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๘๒/๗๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๓๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๕. โมฆราชมาณวปัญหานิทเทส
ภิกษุทั้งหลาย เวทนาเป็นอนัตตา ถ้าเวทนานี้จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ เวทนานี้ไม่
พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในเวทนาว่า “เวทนาของเราจงเป็นอย่างนี้
เวทนาของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้น” ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเวทนาเป็นอนัตตา
ฉะนั้น เวทนาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในเวทนาว่า “เวทนาของ
เราจงเป็นอย่างนี้ เวทนาของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้น”
ภิกษุทั้งหลาย สัญญาเป็นอนัตตา ถ้าสัญญานี้จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ สัญญา
นี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสัญญาว่า “สัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้
สัญญาของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้น” ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะสัญญาเป็นอนัตตา ฉะนั้น
สัญญาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในสัญญาว่า “สัญญาของเราจง
เป็นอย่างนี้ สัญญาของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้น”
ภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา ถ้าสังขารนี้จักเป็นอัตตาแล้วไซร้
สังขารนี้ ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสังขารว่า “สังขารของเรา
จงเป็นอย่างนี้ สังขารของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้น” ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะสังขาร
เป็นอนัตตา ฉะนั้น สังขารจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในสังขารว่า
“สังขารของเราจงเป็นอย่างนี้ สังขารของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้น”
ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณเป็นอนัตตา ถ้าวิญญาณนี้จักเป็นอัตตาแล้วไซร้
วิญญาณนี้ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในวิญญาณว่า “วิญญาณของ
เราจงเป็นอย่างนี้ วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้น” ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะ
วิญญาณเป็นอนัตตา ฉะนั้น วิญญาณจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้
ในวิญญาณว่า “วิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้ วิญญาณของเราอย่าได้เป็น
อย่างนั้น”๑

เชิงอรรถ :
๑ วิ.ม. ๔/๒๑/๑๗-๑๘, สํ.ข. ๑๗/๕๙/๕๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๓๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๕. โมฆราชมาณวปัญหานิทเทส
ว่าด้วยปฏิจจสมุปบาท
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย กายนี้มิใช่ของพวกเธอ
ทั้งมิใช่ของคนอื่น กายนี้กรรมเก่าควบคุมไว้ จิตประมวลไว้ พึงเห็นว่า เป็นที่ตั้งแห่ง
เวทนา อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมมนสิการปฏิจจสมุปบาทอย่างดีโดยแยบคาย
ในกายนั้นว่า
“เพราะเหตุนี้ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี
เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น
เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี
เพราะสิ่งนี้ดับไป สิ่งนี้จึงดับไป คือ
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
ความเศร้าโศก ความคร่ำครวญ ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจและความ
คับแค้นใจก็มีพร้อม ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
เพราะอวิชชาสำรอก๑ดับไปไม่เหลือ สังขารจึงดับ

เชิงอรรถ :
๑ สำรอก ในที่นี้หมายถึง วิราคะคือนิพพาน แปลว่า เพราะอวิชชาดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะก็ได้
(วิ.ม.(แปล) ๔/๑-๓/๒-๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๓๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๕. โมฆราชมาณวปัญหานิทเทส
เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ
เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ
เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
เพราะชาติดับ ชรามรณะจึงดับ
ความเศร้าโศก ความคร่ำครวญ ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ และความ
คับแค้นใจก็ดับไป ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้มีได้ด้วยประการฉะนี้”๑
บุคคลพิจารณาเห็นโลกโดยความว่างเปล่า ด้วยการพิจารณาเห็นสังขาร
เป็นของว่างเปล่า เป็นอย่างไร
คือ บุคคลย่อมไม่ได้แก่นสารในรูป แก่นสารในเวทนา แก่นสารในสัญญา
แก่นสารในสังขาร แก่นสารในวิญญาณ
รูปไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร โดยสาระแห่งแก่นสารที่
เป็นของเที่ยง โดยสาระแห่งแก่นสารที่เป็นสุข โดยสาระแห่งแก่นสารที่เป็นตัวตน
โดยความเป็นของเที่ยง โดยความเป็นของยั่งยืน โดยความเป็นของมั่นคง หรือโดย
ความเป็นของไม่แปรผันไปเป็นธรรมดา
เวทนาไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร ฯลฯ
สัญญาไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ สํ.นิ. ๑๖/๓๗/๖๒-๖๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๓๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๕. โมฆราชมาณวปัญหานิทเทส
สังขารไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร ฯลฯ
วิญญาณไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร ฯลฯ โดยสาระแห่ง
แก่นสารที่เป็นของเที่ยง โดยสาระแห่งแก่นสารที่เป็นสุข โดยสาระแห่งแก่นสารที่
เป็นตัวตน โดยความเป็นของเที่ยง โดยความเป็นของยั่งยืน โดยความเป็นของมั่นคง
หรือโดยความเป็นของไม่แปรผันไปเป็นธรรมดา
ไม้อ้อไม่มีแก่น ไร้แก่น ปราศจากแก่น ไม้ละหุ่ง ไม่มีแก่น ไร้แก่น ปราศจาก
แก่น ไม้มะเดื่อ ไม่มีแก่น ไร้แก่น ปราศจากแก่น ไม้ทองหลาง ไม่มีแก่น ไร้แก่น
ปราศจากแก่น ต้นหงอนไก่ (ปาลิภทฺทโก) ไม่มีแก่น ไร้แก่น ปราศจากแก่น
ฟองน้ำ ไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร ต่อมน้ำ ไม่มีแก่นสาร
ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร พยับแดด ไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจาก
แก่นสาร ต้นกล้วย ไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร เงา ไม่มี
แก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร ฉันใด
รูปไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร โดยสาระแห่งแก่นสารที่
เป็นของเที่ยง โดยสาระแห่งแก่นสารที่เป็นสุข โดยสาระแห่งแก่นสารที่เป็นตัวตน
โดยความเป็นของเที่ยง โดยความเป็นของยั่งยืน โดยความเป็นของมั่นคง โดยความ
เป็นของไม่แปรผันไปเป็นธรรมดา เวทนาไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจาก
แก่นสาร ฯลฯ สัญญาไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่สาร ฯลฯ สังขาร
ไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร ฯลฯ วิญญาณไม่มีแก่นสาร
ไร้แก่นสาร โดยสาระแห่งแก่นสารที่เป็นของเที่ยง โดยสาระแห่งแก่นสารที่เป็นสุข
โดยสาระแห่งแก่นสารที่เป็นตัวตน โดยความเป็นของเที่ยง โดยความเป็นของยั่งยืน
โดยความเป็นของมั่นคง โดยความเป็นของไม่แปรผันไปเป็นธรรมดา ฉันนั้น
บุคคลพิจารณาเห็นโลกโดยความว่างเปล่า ด้วยการพิจารณาเห็นสังขาร
เป็นของว่างเปล่าอย่างนี้ บุคคลพิจารณาเห็นโลกโดยความว่างเปล่า ด้วยเหตุ ๒
อย่างเหล่านี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๓๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๕. โมฆราชมาณวปัญหานิทเทส
อีกนัยหนึ่ง บุคคลพิจารณาเห็นโลกโดยความว่างเปล่า ด้วยอาการ ๖ อย่าง
คือ พิจารณาเห็นรูป๑
๑. โดยความที่ตนมิได้เป็นใหญ่
๒. โดยความที่ตนจัดการตามชอบใจไม่ได้
๓. โดยไม่เป็นที่ตั้งแห่งความสบาย
๔. โดยไม่เป็นไปในอำนาจ
๕. โดยเป็นไปตามเหตุ
๖. โดยความว่างเปล่า
พิจารณาเห็นเวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... พิจารณาเห็นวิญญาณ
๑. โดยความที่ตนมิได้เป็นใหญ่
๒. โดยความที่ตนจัดการตามชอบใจไม่ได้
๓. โดยไม่เป็นที่ตั้งแห่งความสบาย
๔. โดยไม่เป็นไปในอำนาจ
๕. โดยเป็นไปตามเหตุ
๖. โดยความว่างเปล่า
บุคคลพิจารณาเห็นโลกโดยความว่างเปล่า ด้วยอาการ ๖ อย่าง เป็นอย่างนี้
อีกนัยหนึ่ง บุคคลพิจารณาเห็นโลกโดยความว่างเปล่า ด้วยอาการ ๑๐ อย่าง
คือ พิจารณาเห็นรูป

เชิงอรรถ :
๑ ความตรงนี้ปรากฏในฉบับฉัฏฐสังคายนาของฉบับพม่า ดังนี้ จักขุว่างจากอัตตา หรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา
เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง หรือไม่แปรผันไปเป็นธรรมดา โสตะว่าง ... ฆานะว่าง ... ชิวหาว่าง ... กายว่าง ... ใจ
ว่างจากอัตตา หรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง หรือไม่แปรผันไปเป็นธรรมดา รูปว่าง ... เสียงว่าง
... กลิ่นว่าง ... รสว่าง ... โผฏฐัพพะว่าง ... ธรรมารมณ์ว่างจากอัตตา หรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา เที่ยง ยั่งยืน
มั่นคง หรือไม่แปรผันไปเป็นธรรมดา จักขุวิญญาณว่าง ... มโนวิญญาณว่าง ... จักขุสัมผัสว่าง ... เวทนาที่
เกิดจากจักขุสัมผัสว่าง ... เวทนาที่เกิดจากมโนสัมผัสว่าง ... รูปสัญญาว่าง ... ธัมมสัญญาว่าง ...
รูปสัญเจตนาว่าง ... ธัมมสัญเจตนาว่าง ... รูปตัณหาว่าง ... รูปวิตกว่าง ... รูปวิจารว่าง ... ธัมมวิจาร
ว่างจากอัตตา หรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง หรือไม่แปรผันไปเป็นธรรมดา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๓๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๕. โมฆราชมาณวปัญหานิทเทส

๑. โดยความเป็นของว่าง ๒. โดยความเป็นของเปล่า
๓. โดยความเป็นของสูญ ๔. โดยความเป็นอนัตตา
๕. โดยความไม่มีแก่นสาร ๖. โดยความเป็นดุจเพชฌฆาต
๗. โดยความเป็นของปราศจากความเจริญ
๘. โดยความเป็นเหตุแห่งความลำบาก ๙. โดยความเป็นของมีอาสวะ
๑๐. โดยความเป็นของที่ถูกเหตุปัจจัยปรุงแต่ง

พิจารณาเห็นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ จุติ
(ความเคลื่อนจากภพ) ฯลฯ อุปบัติ (การถือกำเนิด) ฯลฯ ปฏิสนธิ ฯลฯ ภพ ฯลฯ
สังสารวัฏ

๑. โดยความเป็นของว่าง ๒. โดยความเป็นของเปล่า
๓. โดยความเป็นของสูญ ๔. โดยความเป็นอนัตตา
๕. โดยความไม่มีแก่นสาร ๖. โดยความเป็นดุจเพชฌฆาต
๗. โดยความเป็นของปราศจากความเจริญ
๘. โดยความเป็นเหตุแห่งความลำบาก ๙. โดยความเป็นของมีอาสวะ
๑๐. โดยความเป็นของที่ถูกเหตุปัจจัยปรุงแต่ง

บุคคลพิจารณาเห็นโลกโดยความว่างเปล่า ด้วยอาการ ๑๐ อย่าง เป็นอย่างนี้
อีกนัยหนึ่ง บุคคลพิจารณาเห็นโลกโดยความว่างเปล่า ด้วยอาการ ๑๒ อย่าง
คือ พิจารณาเห็นรูป

๑. มิใช่สัตว์ ๒. มิใช่ชีวะ
๓. มิใช่นระ ๔. มิใช่มาณพ
๕. มิใช่หญิง ๖. มิใช่ชาย
๗. มิใช่อัตตา ๘. มิใช่ของเนื่องด้วยอัตตา
๙. มิใช่เรา ๑๐. มิใช่ของเรา
๑๑. มิใช่ใคร ๆ ๑๒. มิใช่ของใคร ๆ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๓๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๕. โมฆราชมาณวปัญหานิทเทส
พิจารณาเห็นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ

๑. มิใช่สัตว์ ๒. มิใช่ชีวะ
๓. มิใช่นระ ๔. มิใช่มาณพ
๕. มิใช่หญิง ๖. มิใช่ชาย
๗. มิใช่อัตตา ๘. มิใช่ของเนื่องด้วยอัตตา
๙. มิใช่เรา ๑๐. มิใช่ของเรา
๑๑. มิใช่ใคร ๆ ๑๒. มิใช่ของใคร ๆ

บุคคลพิจารณาเห็นโลกโดยความว่างเปล่า ด้วยอาการ ๑๒ อย่าง เป็นอย่างนี้
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดมิใช่ของเธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละสิ่งนั้น สิ่งที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้นแล จักมีเพื่อ
ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขตลอดกาลนาน
ภิกษุทั้งหลาย อะไรเล่าที่มิใช่ของเธอทั้งหลาย รูปมิใช่ของเธอทั้งหลาย เธอ
ทั้งหลายจงละรูปนั้น รูปที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้นแล จักมีเพื่อประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อความสุขตลอดกาลนาน
เวทนามิใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละเวทนานั้น เวทนาที่เธอทั้งหลาย
ละได้แล้วนั้น จักมีเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขตลอดกาลนาน
สัญญามิใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละสัญญานั้น สัญญาที่เธอ
ทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักมีเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขตลอดกาลนาน
สังขารทั้งหลายมิใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละสังขารเหล่านั้น สังขาร
ที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักมีเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขตลอด กาลนาน
วิญญาณมิใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละวิญญาณนั้น วิญญาณที่เธอ
ทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักมีเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขตลอดกาลนาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๓๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๕. โมฆราชมาณวปัญหานิทเทส
ภิกษุทั้งหลาย คนพึงเอาหญ้า ไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ที่มีอยู่ในเชตวันวิหารนี้
ไปเผา หรือจัดการไปตามรูปเรื่อง เธอทั้งหลายจะพึงมีความคิดอย่างนี้บ้างไหมว่า
“คนย่อมเอาพวกเราไปเผา หรือจัดการไปตามรูปเรื่อง”
ความดำริเช่นนั้น ไม่มีเลย พระเจ้าข้า
ข้อนั้น เป็นเพราะเหตุไร
เพราะนั่น มิใช่อัตตา หรือของเนื่องด้วยอัตตาของข้าพระองค์ทั้งหลาย
พระเจ้าข้า
อย่างเดียวกันนั่นแล ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดมิใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจง
ละสิ่งนั้น สิ่งที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักมีเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข
ตลอดกาลนาน
ภิกษุทั้งหลาย อะไรเล่ามิใช่ของเธอทั้งหลาย รูปมิใช่ของเธอทั้งหลาย เธอ
ทั้งหลายจงละรูปนั้น รูปที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักมีเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อ
ความสุขตลอดกาลนาน
เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณมิใช่ของเธอทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงละวิญญาณนั้น วิญญาณที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักมีเพื่อ
ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขตลอดกาลนาน”๑ รวมความว่า บุคคลพิจารณาเห็น
โลกโดยความว่างเปล่าเป็นอย่างนี้บ้าง

ว่าด้วยโลกว่าง
ท่านพระอานนท์ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่
พระองค์ตรัสว่า ‘โลกว่าง โลกว่าง’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ จึงตรัสว่า ‘โลกว่าง’

เชิงอรรถ :
๑ ม.มู. ๑๒/๒๔๗/๒๐๘-๒๐๙, สํ.ข. ๑๗/๓๓/๒๘, สํ.สฬา.(แปล) ๑๘/๑๐๒/๑๑๑-๑๑๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๓๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๕. โมฆราชมาณวปัญหานิทเทส
อานนท์ เพราะโลกว่างจากอัตตาหรือจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา ฉะนั้น เราจึง
กล่าวว่า ‘โลกว่าง’ อานนท์ อะไรเล่าที่ว่างจากอัตตา หรือจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา
อานนท์ จักขุแลว่างจากอัตตา หรือจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา รูปว่าง ฯลฯ จักขุวิญญาณ
ว่าง ฯลฯ จักขุสัมผัสว่าง แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขเวทนา เป็นทุกขเวทนา
หรืออทุกขมสุขเวทนา(เป็นทุกข์ก็มิใช่เป็นสุขก็มิใช่) ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัส
เป็นปัจจัย ก็ว่างจากอัตตาหรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา โสตะว่าง ฯลฯ เสียงว่าง ฯลฯ
ฆานะว่าง ฯลฯ กลิ่นว่าง ฯลฯ ชิวหาว่าง ฯลฯ รสว่าง ฯลฯ กายว่าง ฯลฯ
โผฏฐัพพะว่าง ฯลฯ ใจว่าง ฯลฯ ธรรมารมณ์ว่าง ฯลฯ มโนวิญญาณว่าง ฯลฯ
มโนสัมผัสก็ว่าง แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขเวทนา เป็นทุกขเวทนา หรือ
อทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้น เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็ว่างจากอัตตา หรือสิ่งที่
เนื่องด้วยอัตตา อานนท์ เพราะโลกว่างจากอัตตา หรือจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา
ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า “โลกว่าง”๑ บุคคลพิจารณาเห็นโลกโดยความว่างเปล่า เป็น
อย่างนี้บ้าง
คามณี๒ ภัยย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้พิจารณาเห็น
ความเกิดขึ้นแห่งธรรมล้วน ๆ
และความสืบเนื่องแห่งสังขารล้วน ๆ ตามที่เป็นจริง
เมื่อใด บุคคลพิจารณาเห็นโลกว่า
เสมอด้วยหญ้าและท่อนไม้ ด้วยปัญญา
เมื่อนั้น เขาย่อมไม่ปรารถนาอะไรอื่น
นอกจากความไม่ปฏิสนธิ
บุคคลพิจารณาเห็นโลกโดยความว่างเปล่า เป็นอย่างนี้บ้าง
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย อย่างนั้นแล ภิกษุค้น
หารูป ตลอดคติแห่งรูปที่มีอยู่ ค้นหาเวทนา ตลอดคติแห่งเวทนาที่มีอยู่ ค้นหา

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบกับ สํ.สฬา.(แปล) ๑๘/๘๕/๗๘, ขุ.ม.(แปล) ๒๙/๑๘๖/๕๒๘-๕๒๙
๒ คามณี ในที่นี้เป็นชื่อของหัวหน้าโจร ซึ่งพระอธิมุตตเถระใช้เรียกชื่อในขณะแสดงธรรมโปรดหัวหน้าโจร
(ขุ.วิ.(แปล) ๒๖/๑๗๖-๑๗๗/๔๖๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๓๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๕. โมฆราชมาณวปัญหานิทเทส
สัญญา ตลอดคติแห่งสัญญาที่มีอยู่ ค้นหาสังขาร ตลอดคติแห่งสังขารที่มีอยู่
ค้นหาวิญญาณ ตลอดคติแห่งวิญญาณที่มีอยู่ เมื่อภิกษุนั้นค้นหารูป ตลอดคติ
แห่งรูปที่มีอยู่ ค้นหาเวทนา ตลอดคติแห่งเวทนาที่มีอยู่ ค้นหาสัญญา ตลอดคติ
แห่งสัญญาที่มีอยู่ ค้นหาสังขาร ตลอดคติแห่งสังขารที่มีอยู่ ค้นหาวิญญาณ
ตลอดคติแห่งวิญญาณที่มีอยู่ ความถือว่า “เรา” “ของเรา” หรือ “มีเรา” ของ
ภิกษุนั้นไม่มี๑ บุคคลพิจารณาเห็นโลกโดยความว่างเปล่า เป็นอย่างนี้บ้าง
คำว่า เธอจงพิจารณาเห็นโลกโดยความว่างเปล่า อธิบายว่า เธอจงพิจารณา
เห็น คือ ประจักษ์แจ้ง แลเห็น เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้ง
โลกโดยความว่าง รวมความว่า เธอจงพิจารณาเห็นโลกโดยความว่างเปล่า
คำว่า โมฆราช ในคำว่า โมฆราช ...มีสติทุกเมื่อ เป็นคำที่พระผู้มีพระ-
ภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อ
คำว่า ทุกเมื่อ อธิบายว่า ตลอดกาลทั้งปวง ฯลฯ ปัจฉิมวัย๒
คำว่า มีสติ อธิบายว่า มีสติด้วยเหตุ ๔ อย่าง คือ (๑) ชื่อว่ามีสติ
เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณากายในกาย ฯลฯ ผู้นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า
มีสติ๓ รวมความว่า โมฆราช ... มีสติทุกเมื่อ
คำว่า พึงถอนอัตตานุทิฏฐิเสีย อธิบายว่า สักกายทิฏฐิ ๒๐ ตรัสเรียกว่า
อัตตานุทิฏฐิ
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ
ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของ
สัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมมองเห็นรูป โดยความเป็น
อัตตา เห็นอัตตาว่ามีรูป เห็นรูปในอัตตา หรือเห็นอัตตาในรูป

เชิงอรรถ :
๑ สํ.สฬา.(แปล) ๑๘/๒๔๖/๒๖๒
๒ ดูรายละเอียดข้อ ๑๐/๗๗
๓ ดูรายละเอียดข้อ ๘/๗๐-๗๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๓๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๕. โมฆราชมาณวปัญหานิทเทส
ย่อมมองเห็นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ โดยความ
เป็นอัตตา เห็นอัตตาว่ามีวิญญาณ เห็นวิญญาณในอัตตา หรือเห็นอัตตาในวิญญาณ
ทิฏฐิ การตกอยู่ในทิฏฐิ ความรกชัฏคือทิฏฐิ ความกันดารคือทิฏฐิ เสี้ยนหนาม
คือทิฏฐิ ความดิ้นรนคือทิฏฐิ เครื่องผูกพันคือทิฏฐิ ความถือ ความถือมั่น
ความยึดมั่น ความยึดมั่นถือมั่น ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิเดียรถีย์ ความถือ
ขัดแย้ง ความถือวิปริต ความถือวิปลาส ความถือผิด ความถือในสิ่งไม่เป็นความ
จริงว่าเป็นจริงเห็นปานนี้ จนถึงทิฏฐิ ๖๒ นี้ชื่อว่าอัตตานุทิฏฐิ
คำว่า พึงถอนอัตตานุทิฏฐิเสีย อธิบายว่า พึงถอน คือ พึงถอนขึ้น ฉุดขึ้น
ชักขึ้น ลากขึ้น เพิกขึ้น ได้แก่ ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงไม่มีอีก รวม
ความว่า พึงถอนอัตตานุทิฏฐิเสีย
คำว่า เป็นผู้ข้ามมัจจุราชเสียได้ ด้วยอาการอย่างนี้ อธิบายว่า พึงข้าม
มัจจุราช คือ พึงข้าม พึงข้ามไป ข้ามพ้น ก้าวล่วง ล่วงเลยซึ่งชราบ้าง มรณะบ้าง
ด้วยอาการอย่างนี้ รวมความว่า เป็นผู้ข้ามมัจจุราชเสียได้ ด้วยอาการอย่างนี้
คำว่า บุคคลพิจารณาเห็นโลกอยู่อย่างนี้ อธิบายว่า พิจารณาเห็น คือ
ประจักษ์แจ้ง เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้งโลกอย่างนี้ รวม
ความว่า บุคคลพิจารณาเห็นโลกอยู่อย่างนี้
คำว่า มัจจุราชจึงไม่เห็น อธิบายว่า มัจจุชื่อว่าพญามัจจุราช มารชื่อว่า
พญามัจจุราช ความตายชื่อว่าพญามัจจุราช
คำว่า จึงไม่เห็น ได้แก่ ไม่เห็น ไม่แลเห็น ไม่ประสบ ไม่พบ ไม่ได้เฉพาะ
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเนื้อป่า
เมื่อเที่ยวไปตามป่าน้อยป่าใหญ่ ย่อมวางใจเดิน ยืน หมอบ นอน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร
เพราะไม่ได้พบกับนายพรานเนื้อ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น สงัดจากกามและอกุศล-
ธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตกวิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เรา
เรียกภิกษุนี้ว่า ผู้ทำให้มารตาบอด คือ เป็นผู้ที่มารใจบาปมองไม่เห็น เพราะ
ทำลายจักษุของมารอย่างไม่มีร่องรอย


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๓๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๖. ปิงคิยมาณวปัญหานิทเทส
อีกนัยหนึ่ง เพราะวิตกและวิจารสงบไป ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่อง
ใสภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขที่เกิด
จากสมาธิอยู่ ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ภิกษุทั้งหลาย เรา
เรียกภิกษุนี้ว่า ผู้ทำให้มารตาบอด คือ เป็นผู้ที่มารใจบาปมองไม่เห็น เพราะ
ทำลายจักษุของมารอย่างไม่มีร่องรอย
ภิกษุทั้งหลาย เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่มนสิการ
นานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง ภิกษุบรรลุอากาสานัญจายตนฌานอยู่ ด้วย
มนสิการว่า “อากาศไม่มีที่สุด” เราเรียกภิกษุนี้ว่า ผู้ทำให้มารตาบอด คือ เป็นผู้
ที่มารใจบาปมองไม่เห็น เพราะทำลายจักษุของมารอย่างไม่มีร่องรอย
อีกนัยหนึ่ง เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุ
บรรลุวิญญาณัญจายตนฌานอยู่ ด้วยมนสิการว่า “วิญญาณไม่มีที่สุด” ฯลฯ
อีกนัยหนึ่ง เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุบรรลุ
อากิญจัญญายตนฌานอยู่ ด้วยมนสิการว่า “อะไร น้อยหนึ่งย่อมไม่มี” ฯลฯ
อีกนัยหนึ่ง เพราะล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุ
บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง
ภิกษุบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ ฯลฯ เพราะเห็นด้วยปัญญา อาสวะทั้งหลาย
ของเธอย่อมสิ้นไป ภิกษุทั้งหลาย เราเรียกภิกษุนี้ว่า ผู้ทำให้มารตาบอด
คือ เป็นผู้ที่มารใจบาปมองไม่เห็น เพราะทำลายจักษุของมารอย่างไม่มีร่องรอย
เป็นผู้ข้ามตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกาในโลกได้แล้ว ย่อมวางใจเดิน ยืน นั่ง นอน
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะไม่ได้พบมารใจบาป๑ รวมความว่า มัจจุราชจึงไม่เห็น
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า

เชิงอรรถ :
๑ ม.มู. ๑๒/๒๘๗/๒๕๐-๒๕๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๓๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๖. ปิงคิยมาณวปัญหานิทเทส
โมฆราช เธอจงพิจารณาเห็นโลกโดยความว่างเปล่า
มีสติทุกเมื่อ พึงถอนอัตตานุทิฏฐิเสีย
เป็นผู้ข้ามมัจจุราชเสียได้ ด้วยอาการอย่างนี้
บุคคลพิจารณาเห็นโลกอยู่อย่างนี้ มัจจุราชจึงไม่เห็น
พร้อมกับการจบคาถา ฯลฯ โมฆราชมาณพ ... โดยประกาศว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก”๑
โมฆราชมาณวปัญหานิทเทสที่ ๑๕ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๑๑/๘๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๓๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๖. ปิงคิยมาณวปัญหานิทเทส
๑๖. ปิงคิยมาณวปัญหานิทเทส๑
ว่าด้วยปัญหาของปิงคิยมาณพ
[๘๙] (ท่านปิงคิยะทูลถาม ดังนี้)
ข้าพระองค์ชราภาพแล้ว ไม่มีกำลัง
ผิวพรรณไม่ผุดผ่อง นัยน์ตาไม่แจ่มใส หูฟังไม่ชัด
ขอข้าพระองค์อย่าได้เป็นคนหลงเสียหายในระหว่างนี้เลย
ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรมที่เป็นเครื่องละชาติและชรา
ในโลกนี้ซึ่งข้าพระองค์จะพึงรู้แจ้งได้ (๑)
คำว่า ข้าพระองค์ชราภาพแล้ว ในคำว่า ข้าพระองค์ชราภาพแล้ว ไม่มี
กำลัง ผิวพรรณไม่ผุดผ่อง อธิบายว่า ข้าพระองค์ชราภาพแล้ว คือ สูงอายุ เป็น
ผู้เฒ่า ล่วงกาลมามาก ผ่านวัยมามาก มีอายุได้ ๑๒๐ ปี นับแต่เกิด
คำว่า ไม่มีกำลัง ได้แก่ อ่อนกำลัง มีกำลังน้อย มีเรี่ยวแรงน้อย
คำว่า ผิวพรรณไม่ผุดผ่อง ได้แก่ ผิวพรรณหมดงาม คือ ผิวพรรณปราศจาก
ความงาม ผิวพรรณที่เคยงามหมดไปแล้ว รัศมีแห่งผิวพรรณอันงดงามแต่ก่อน
หายไปแล้ว ปรากฏอยู่แต่โทษ รวมความว่า ข้าพระองค์ชราภาพแล้ว ไม่มีกำลัง
ผิวพรรณไม่ผุดผ่อง
คำว่า ดังนี้ ในคำว่า ท่านปิงคิยะทูลถาม ดังนี้ เป็นบทสนธิ ฯลฯ
คำว่า ท่าน เป็นคำกล่าวด้วยความรัก ฯลฯ
คำว่า ปิงคิยะ เป็นชื่อของพราหมณ์นั้น ฯลฯ ชื่อเรียกเฉพาะ รวมความว่า
ท่านปิงคิยะทูลถาม ดังนี้
คำว่า นัยน์ตาไม่แจ่มใส หูฟังไม่ชัด อธิบายว่า นัยน์ตาไม่แจ่มใส คือ มืดมัว
ฝ้าฟาง ไม่สดใส ข้าพระองค์มองเห็นรูปไม่ชัดด้วยตาเช่นนั้น รวมความว่า นัยน์ตา
ไม่แจ่มใส

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.สุ. ๒๕/๑๑๒๗-๑๑๓๐/๕๔๙-๕๕๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๓๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๖. ปิงคิยมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า หูฟังไม่ชัด อธิบายว่า โสตประสาทไม่แจ่มใส คือ หูตึง หูหนัก ไม่สดใส
ข้าพระองค์ฟังเสียงไม่ชัด ด้วยโสตประสาทเช่นนั้น รวมความว่า นัยน์ตาไม่แจ่มใส
หูฟังไม่ชัด
คำว่า ขอข้าพระองค์อย่า... เสียหาย ในคำว่า ขอข้าพระองค์อย่าได้เป็นคน
หลงเสียหายในระหว่างนี้เลย อธิบายว่า ข้าพระองค์อย่าสูญเสีย ข้าพระองค์
อย่าเสื่อมเสีย ข้าพระองค์อย่าเสียหาย
คำว่า เป็นคนหลง ได้แก่ เป็นคนหลง คือ ไปตามอวิชชา ไม่มีความรู้ ไม่มี
ปัญญาแจ่มกระจ่าง มีปัญญาทึบ
คำว่า ในระหว่าง อธิบายว่า ข้าพระองค์ไม่รู้ ไม่บรรลุ ไม่ทราบ ไม่ได้
ไม่ได้สัมผัส ไม่ได้ทำให้แจ้งธรรม ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรค ของพระองค์แล้ว พึงทำ
กาลกิริยาเสียในระหว่าง รวมความว่า ขอข้าพระองค์อย่าได้เป็นคนหลงเสียหายใน
ระหว่างนี้เลย
คำว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรม ในคำว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอก
ธรรม... ซึ่งข้าพระองค์จะพึงรู้แจ้งได้ อธิบายว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอก คือ
แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศพรหมจรรย์ ที่มี
ความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงามในที่สุด พร้อมทั้งอรรถ
และพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิ-
บาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ นิพพาน และ
ปฏิปทาเครื่องดำเนินไปสู่นิพพาน รวมความว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรม
คำว่า ซึ่งข้าพระองค์จะพึงรู้แจ้งได้ ได้แก่ ซึ่งข้าพระองค์พึงรู้ คือ พึงรู้ทั่ว
รู้แจ่มแจ้ง รู้เฉพาะ แทงตลอด บรรลุ ถูกต้อง ทำให้แจ้ง รวมความว่า ขอพระองค์
โปรดตรัสบอกธรรม...ซึ่งข้าพระองค์จะพึงรู้แจ้งได้
คำว่า ที่เป็นเครื่องละชาติและชราในโลกนี้ อธิบายว่า ที่เป็นเครื่องละ คือ
เป็นเครื่องเข้าไปสงบ เป็นเครื่องสลัดทิ้ง เป็นเครื่องระงับชาติชราและมรณะ คือ
อมตนิพพานในโลกนี้เอง รวมความว่า ที่เป็นเครื่องละชาติและชราในโลกนี้ ด้วย
เหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกราบทูลว่า


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๓๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๖. ปิงคิยมาณวปัญหานิทเทส
ข้าพระองค์ชราภาพแล้ว ไม่มีกำลัง
ผิวพรรณไม่ผุดผ่อง นัยน์ตาไม่แจ่มใส หูฟังไม่ชัด
ขอข้าพระองค์อย่าได้เป็นคนหลงเสียหายในระหว่างนี้เลย
ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรมที่เป็นเครื่องละชาติและชรา
ในโลกนี้ซึ่งข้าพระองค์จะพึงรู้แจ้งได้
[๙๐] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ปิงคิยะ)
ชนทั้งหลายเห็นชนอื่น ๆ เดือดร้อนอยู่
เพราะรูปทั้งหลายแล้ว ยังประมาทเจ็บปวดเพราะรูปทั้งหลาย
ปิงคิยะ เพราะฉะนั้น เธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท
ละรูปเสียให้ได้ เพื่อจะไม่เกิดอีกต่อไป (๒)

ว่าด้วยวิธีการลงโทษ
คำว่า เพราะรูปทั้งหลาย ในคำว่า เห็นชนอื่น ๆ เดือดร้อนอยู่เพราะรูป
ทั้งหลาย ได้แก่ มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ อธิบายว่า เหล่าสัตว์
พากันลำบากเดือดร้อน คือ ยากลำบาก ถูกเขาฆ่าฟัน เพราะรูปเป็นเหตุ เพราะรูป
เป็นปัจจัย เพราะรูปเป็นการณ์ พระราชาทรงรับสั่งให้ลงอาญาด้วยประการต่าง ๆ
คือ ให้เฆี่ยนด้วยแส้บ้าง ให้เฆี่ยนด้วยหวายบ้าง ให้ตีด้วยไม้พลองบ้าง ตัดมือบ้าง
ตัดเท้าบ้าง ตัดทั้งมือและเท้าบ้าง ตัดใบหูบ้าง ตัดจมูกบ้าง ตัดทั้งใบหูและจมูกบ้าง
วางก้อนเหล็กแดงบนศีรษะบ้าง ถลกหนังศีรษะแล้วขัดให้ขาวเหมือนสังข์บ้าง เอาไฟ
ยัดปากจนเลือดไหลเหมือนปากราหูบ้าง เอาผ้าพันตัวราดน้ำมันแล้วจุดไฟเผาบ้าง
พันมือแล้วจุดไฟต่างคบบ้าง ถลกหนังตั้งแต่คอถึงข้อเท้าให้ลุกเดินเหยียบหนังจน
ล้มลงบ้าง ถลกหนังตั้งแต่คอถึงบั้นเอว ทำให้มองดูเหมือนนุ่งผ้าคากรองบ้าง
สวมปลอกเหล็กที่ข้อศอกและเข่าแล้วเสียบหลาวทั้งห้าทิศเอาไฟเผาบ้าง ใช้เบ็ด
เกี่ยวหนัง เนื้อ เอ็นออกมาบ้าง เฉือนเนื้อออกเป็นแว่น ๆ เหมือนเหรียญ
กษาปณ์บ้าง เฉือนหนังเนื้อเอ็นออก เหลือไว้แต่กระดูกบ้าง ใช้หลาวแทงช่องหูให้
ทะลุถึงกันบ้าง เสียบให้ติดดินแล้วจับเขาหมุนได้รอบบ้าง ทุบกระดูกให้แหลกแล้ว
ถลกหนังออกเหลือไว้แต่กองเนื้อเหมือนตั่งใบไม้บ้าง รดตัวด้วยน้ำมันที่กำลังเดือดพล่าน
บ้าง ให้สุนัขกัดกินจนเหลือแต่กระดูกบ้าง ให้นอนบนหลาวทั้งเป็นบ้าง เอาดาบตัด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๓๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๖. ปิงคิยมาณวปัญหานิทเทส
ศีรษะบ้าง เหล่าสัตว์พากันลำบากเดือดร้อน คือ ยากลำบาก ถูกเขาฆ่าฟัน เพราะ
รูปเป็นเหตุ เพราะรูปเป็นปัจจัย เพราะรูปเป็นการณ์ อย่างนี้ (ชนทั้งหลาย)เห็น
คือ แลเห็น เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้งเหล่าสัตว์
ผู้ลำบากเดือดร้อน คือ ยากลำบาก ถูกเขาฆ่าฟัน อย่างนี้ รวมความว่า เห็นชน
อื่น ๆ เดือดร้อนอยู่เพราะรูปทั้งหลาย
คำว่า ปิงคิยะ ในคำว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ปิงคิยะ เป็นคำที่
พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อ
คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ คำว่า พระ
ผู้มีพระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ๑ รวมความว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
ปิงคิยะ
คำว่า เจ็บปวด ในคำว่า ชนทั้งหลาย...ยังประมาท เจ็บปวดเพราะรูป
ทั้งหลาย อธิบายว่า ย่อมเจ็บปวด คือ ดิ้นรน กระสับกระส่าย เดือดร้อน
เจ็บป่วย(ทุกข์กาย) ทุกข์ใจ คือ ย่อมเจ็บปวด ดิ้นรน กระสับกระส่าย เดือดร้อน
เจ็บป่วย ทุกข์ใจ ด้วยโรคตา ได้แก่ เจ็บปวด ดิ้นรน กระสับกระส่าย เดือดร้อน
เจ็บป่วย ทุกข์ใจ ด้วยโรคหู ฯลฯ ด้วยโรคกาย ฯลฯ ด้วยสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง
ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน รวมความว่า เจ็บปวดเพราะรูปทั้งหลาย
อีกนัยหนึ่ง ชนทั้งหลาย เจ็บปวด ดิ้นรน กระสับกระส่าย เดือดร้อน เจ็บป่วย
ทุกข์ใจ เพราะจักษุเสื่อมไป เสียไป ละไป แปรผันไป หายไป อันตรธานไป ฯลฯ
เพราะโสตะ ฯลฯ เพราะฆานะ ฯลฯ เพราะชิวหา ฯลฯ เพราะกาย ฯลฯ
เพราะรูป ฯลฯ เพราะเสียง ฯลฯ เพราะกลิ่น ฯลฯ เพราะรส ฯลฯ เพราะโผฏฐัพพะ
ฯลฯ เพราะตระกูล ฯลฯ เพราะคณะ ฯลฯ เพราะอาวาส ฯลฯ เพราะลาภ ฯลฯ
เพราะยศ ฯลฯ เพราะสรรเสริญ ฯลฯ เพราะสุข ฯลฯ เพราะจีวร ฯลฯ
เพราะบิณฑบาต ฯลฯ เพราะเสนาสนะ ฯลฯ เพราะคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
เสื่อมไป เสียไป ละไป แปรผันไป หายไป อันตรธานไป
คำว่า ชนทั้งหลาย ได้แก่ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต
เทวดา และมนุษย์

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๒/๔๖-๔๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๓๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๖. ปิงคิยมาณวปัญหานิทเทส
ว่าด้วยความประมาท
คำว่า ยังประมาท อธิบายว่า ขอกล่าวถึงความประมาท ความปล่อยจิตไป
หรือการเพิ่มพูนความปล่อยจิตไปในกามคุณ ๕ ด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
หรือการทำโดยไม่เคารพ การทำที่ไม่ให้ติดต่อ การทำที่ไม่มั่นคง ความประพฤติย่อ
หย่อน ความทอดทิ้งฉันทะ ความทอดทิ้งธุระ ความไม่เสพ ความไม่เจริญ ความไม่
ทำให้มาก ความตั้งใจไม่จริง ความไม่หมั่นประกอบ ความประมาท ในการเจริญ
กุศลธรรมทั้งหลาย ชื่อว่าความประมาท ความประมาท กิริยาที่ประมาท ภาวะที่
ประมาทมีลักษณะเช่นว่า นี้ตรัสเรียกว่า ความประมาท ชนทั้งหลายผู้ประกอบ
ด้วยความประมาทนี้ ชื่อว่าผู้ประมาท รวมความว่า ชนทั้งหลาย...ยังประมาท
เจ็บปวดเพราะรูปทั้งหลาย
คำว่า เพราะฉะนั้น ในคำว่า ปิงคิยะ เพราะฉะนั้น เธอจงเป็นผู้ไม่
ประมาท อธิบายว่า เพราะฉะนั้น คือ เพราะการณ์นั้น เพราะเหตุนั้น เพราะ
ปัจจัยนั้น เพราะต้นเหตุนั้น เธอเห็นโทษในรูปอย่างนี้อยู่ รวมความว่า ปิงคิยะ
เพราะฉะนั้น เธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท
คำว่า จงเป็นผู้ไม่ประมาท อธิบายว่า เธอจงมีปกติทำโดยเคารพ ทำติดต่อ
ฯลฯ ชื่อว่าไม่ประมาทในกุศลธรรมทั้งหลาย รวมความว่า ปิงคิยะ เพราะฉะนั้น
เธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท
คำว่า รูป ในคำว่า ละรูปเสียให้ได้ เพื่อจะไม่เกิดอีกต่อไป ได้แก่ มหา-
ภูตรูป ๔๑ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔๒
คำว่า ละรูปเสียให้ได้ อธิบายว่า ละรูป คือ ละทิ้งรูป ละรูปให้หมด ทำให้
รูปหมดสิ้นไป ให้รูปถึงความไม่มีอีก
คำว่า เพื่อจะไม่เกิดอีกต่อไป อธิบายว่า รูปของเธอพึงดับเสียในภพนี้แหละ
ฉันใด ปฏิสนธิไม่พึงบังเกิดในกามธาตุ รูปธาตุ หรืออรูปธาตุ กามภพ รูปภพ
หรืออรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ หรือเนวสัญญานาสัญญาภพ เอกโวการภพ
จตุโวการภพ หรือปัญจโวการภพ คติ อุปบัติ ปฏิสนธิ ภพ สงสาร หรือวัฏฏะต่อไป

เชิงอรรถ :
๑ มหาภูตรูป ๔ ดูเชิงอรรถข้อ ๕/๕๘
๒ รูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ ดูเชิงอรรถข้อ ๕/๕๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๓๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๖. ปิงคิยมาณวปัญหานิทเทส
ได้แก่ ไม่พึงเกิด ไม่พึงเกิดขึ้น ไม่พึงบังเกิด ไม่พึงบังเกิดขึ้น คือ พึงดับ
พึงเข้าไปสงบ พึงถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ พึงระงับไปในภพนี้เอง ฉันนั้น รวมความว่า
ละรูปเสียให้ได้ เพื่อจะไม่เกิดอีกต่อไป ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค จึงตรัสว่า
ชนทั้งหลายเห็นชนอื่น ๆ เดือดร้อนอยู่
เพราะรูปทั้งหลายแล้ว ยังประมาทเจ็บปวดเพราะรูปทั้งหลาย
ปิงคิยะ เพราะฉะนั้น เธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท
ละรูปเสียให้ได้ เพื่อจะไม่เกิดอีกต่อไป
[๙๑] (ท่านปิงคิยะทูลถามว่า)
ทิศใหญ่ ๔ ทิศน้อย ๔ ทิศเบื้องบน ๑
ทิศเบื้องล่าง ๑ เหล่านี้รวมเป็น ๑๐
สิ่งใด ๆ ในโลกที่พระองค์ไม่ทรงเห็น ไม่ทรงได้ยิน
ไม่ทรงทราบ หรือไม่ทรงรู้แจ้ง มิได้มีเลย
ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรมที่เป็นเครื่องละชาติและชรา
ในโลกนี้ซึ่งข้าพระองค์จะพึงรู้แจ้งได้ (๓)
คำว่า ทิศใหญ่ ๔ ทิศน้อย ๔ ทิศเบื้องบน ๑ ทิศเบื้องล่าง ๑ เหล่านี้รวม
เป็น ๑๐ ได้แก่ ทิศทั้ง ๑๐
คำว่า สิ่งใด ๆ ในโลกที่พระองค์ไม่ทรงเห็น ไม่ทรงได้ยิน ไม่ทรงทราบ
หรือไม่ทรงรู้แจ้ง มิได้มีเลย อธิบายว่า สิ่งไร ๆ คือ ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น
หรือประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ประโยชน์ในภพปัจจุบัน หรือประโยชน์ในภพหน้า ประโยชน์
ตื้นหรือประโยชน์ลึก ประโยชน์ลี้ลับหรือประโยชน์ปิดบัง ประโยชน์ที่ควรแนะนำ
หรือประโยชน์ที่แนะนำแล้ว ประโยชน์ที่ไม่มีโทษหรือประโยชน์ที่ไม่มีกิเลส ประโยชน์
ที่ผ่องแผ้วหรือประโยชน์อย่างยิ่ง ที่พระองค์ไม่ทรงเห็น ไม่ทรงได้ยิน ไม่ทรงทราบ
หรือไม่ทรงรู้แจ้ง ไม่มี คือ ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้ รวมความว่า สิ่งใด ๆ ในโลก
ที่พระองค์ไม่ทรงเห็น ไม่ทรงได้ยิน ไม่ทรงทราบ หรือไม่ทรงรู้แจ้ง มิได้มีเลย
คำว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรม... ซึ่งข้าพระองค์จะพึงรู้แจ้งได้
อธิบายว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอก คือ แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๓๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๖. ปิงคิยมาณวปัญหานิทเทส
ทำให้ง่าย ประกาศธรรมที่มีความงามในเบื้องต้น ฯลฯ และปฏิปทาเครื่องดำเนินไป
สู่นิพพาน
คำว่า ซึ่งข้าพระองค์จะพึงรู้แจ้งได้ ได้แก่ ซึ่งข้าพระองค์พึงรู้ได้ พึงรู้
แจ่มแจ้ง พึงรู้เฉพาะ พึงแทงตลอด พึงบรรลุ พึงถูกต้อง พึงทำให้แจ้งได้ รวมความว่า
ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรม... ซึ่งข้าพระองค์จะพึงรู้แจ้งได้
คำว่า ที่เป็นเครื่องละชาติและชราในโลกนี้ อธิบายว่า ที่อันเป็นเครื่องละ คือ
เป็นเครื่องเข้าไปสงบ เป็นเครื่องสลัดทิ้ง เป็นเครื่องระงับชาติชราและมรณะ คือ
อมตนิพพานในโลกนี้ รวมความว่า ที่เป็นเครื่องละชาติและชราในโลกนี้ ด้วยเหตุนั้น
พราหมณ์นั้นจึงกราบทูลว่า
ทิศใหญ่ ๔ ทิศน้อย ๔ ทิศเบื้องบน ๑
ทิศเบื้องล่าง ๑ เหล่านี้รวมเป็น ๑๐
สิ่งใด ๆ ในโลกที่พระองค์ไม่ทรงเห็น ไม่ทรงได้ยิน
ไม่ทรงทราบ หรือไม่ทรงรู้แจ้ง มิได้มีเลย
ขอพระองค์โปรดตรัสบอกธรรมที่เป็นเครื่องละชาติและชรา
ในโลกนี้ ซึ่งข้าพระองค์จะพึงรู้แจ้งได้
[๙๒] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ปิงคิยะ)
เธอจงเพ่งพิจารณาหมู่มนุษย์ผู้ถูกตัณหาครอบงำจิต
เกิดความเร่าร้อน ถูกชราครอบงำแล้ว
ปิงคิยะ เพราะฉะนั้น เธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท
ละตัณหาเสียให้ได้ เพื่อจะไม่เกิดอีกต่อไป (๔)
คำว่า เธอจงเพ่งพิจารณาหมู่มนุษย์ผู้ถูกตัณหาครอบงำจิต อธิบายว่า
คำว่า ตัณหา ได้แก่ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพ-
ตัณหา ธัมมตัณหา
คำว่า ผู้ถูกตัณหาครอบงำจิต ได้แก่ ผู้ถูกตัณหาครอบงำจิต คือ ผู้ไปตาม
ตัณหา ผู้ไปตามอำนาจตัณหา ผู้ซ่านไปตามตัณหา ผู้จมอยู่ในตัณหา ผู้ถูกตัณหา
ครอบงำ มีจิตถูกตัณหายึดครอง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๓๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๖. ปิงคิยมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า หมู่มนุษย์ เป็นชื่อเรียกสัตว์
คำว่า เพ่งพิจารณา ได้แก่ พิจารณา คือ แลเห็น มอง ดู เพ่งพินิจ
พิจารณาดู รวมความว่า เธอจงเพ่งพิจารณาหมู่มนุษย์ผู้ถูกตัณหาครอบงำจิต
คำว่า ปิงคิยะ ในคำว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ปิงคิยะ เป็นคำที่
พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อ
คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ คำว่า พระผู้มี-
พระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ๑ รวมความว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ปิงคิยะ
คำว่า เกิดความเร่าร้อน ในคำว่า เกิดความเร่าร้อน ถูกชราครอบงำแล้ว
อธิบายว่า เกิดความเร่าร้อนเพราะชาติ เกิดความเร่าร้อนเพราะชรา เกิดความ
เร่าร้อนเพราะพยาธิ เกิดความเร่าร้อนเพราะมรณะ เกิดความเร่าร้อนเพราะโสกะ
ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส เกิดความเร่าร้อนเพราะทุกข์เนื่องจากการเกิดใน
นรก ฯลฯ เกิดความเร่าร้อนเพราะทุกข์คือทิฏฐิวิบัติ คือ เกิดความจัญไร เกิด
อุปัทวะ(อันตราย) เกิดอุปสรรค รวมความว่า เกิดความเร่าร้อน
คำว่า ถูกชราครอบงำแล้ว ได้แก่ ถูกชราถูกต้อง ครอบงำ คือ กลุ้มรุม
ตามประกอบ ไปตามชาติ ชราติดตาม พยาธิครอบงำ มรณะย่ำยี ไม่มีที่ปกป้อง
ไม่มีที่หลีกเร้น ไม่มีที่พึ่ง ไม่มีที่อาศัย รวมความว่า เกิดความเร่าร้อน ถูกชรา
ครอบงำแล้ว
คำว่า เพราะฉะนั้น ในคำว่า ปิงคิยะ เพราะฉะนั้น เธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท
อธิบายว่า เพราะฉะนั้น คือ เพราะการณ์นั้น เพราะเหตุนั้น เพราะปัจจัยนั้น
เพราะต้นเหตุนั้น เธอมองเห็นโทษแห่งตัณหาอย่างนี้ รวมความว่า ปิงคิยะ เพราะ
ฉะนั้น
คำว่า เธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท อธิบายว่า เธอจงมีปกติทำโดยเคารพ ทำ
ติดต่อ ฯลฯ ชื่อว่าไม่ประมาทในกุศลธรรมทั้งหลาย๒ รวมความว่า ปิงคิยะ เพราะ
ฉะนั้น เธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๒/๔๖-๔๘
๒ ดูรายละเอียดข้อ ๒๕/๑๓๙-๑๔๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๓๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๕. มาณวปัญหานิทเทส ๑๖. ปิงคิยมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า ละตัณหาเสียให้ได้ เพื่อจะไม่เกิดอีกต่อไป อธิบายว่า
คำว่า ตัณหา ได้แก่ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา
โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา
คำว่า ละตัณหาเสียให้ได้ อธิบายว่า ละตัณหา คือ ละทิ้งตัณหา ละตัณหา
ให้หมด ทำตัณหาให้หมดสิ้นไป ทำให้ตัณหาถึงความไม่มีอีก
คำว่า เพื่อจะไม่เกิดอีกต่อไป อธิบายว่า รูปของเธอพึงดับในภพนี้แหละ ฉันใด
ปฏิสนธิภพไม่พึงบังเกิดอีกในกามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ กามภพ รูปภพ อรูปภพ
สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ
ปัญจโวการภพ คติ อุปบัติ ปฏิสนธิ ภพ สงสาร หรือวัฏฏะต่อไป ได้แก่
ไม่พึงเกิด ไม่พึงเกิดขึ้น ไม่พึงบังเกิด ไม่พึงบังเกิดขึ้น คือ ดับ เข้าไปสงบ
ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ ระงับไปในภพนี้เอง รวมความว่า ละตัณหาเสียให้ได้ เพื่อจะ
ไม่เกิดอีกต่อไป ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า
เธอจงเพ่งพิจารณาหมู่มนุษย์ ผู้ถูกตัณหาครอบงำจิต
เกิดความเร่าร้อน ถูกชราครอบงำแล้ว
ปิงคิยะ เพราะฉะนั้น เธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท
ละตัณหาเสียให้ได้ เพื่อจะไม่เกิดอีกต่อไป
พร้อมกับการจบคาถา ธรรมจักษุไร้ธุลี ปราศจากมลทินว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมี
ความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา” ได้เกิดขึ้น
แก่เหล่าเทวดาและมนุษย์หลายพัน ผู้มีฉันทะ ความพยายาม ความประสงค์
การอบรมบุญญาบารมีร่วมกันมากับพราหมณ์และพราหมณ์นั้นก็ได้เกิดธรรมจักษุไร้ธุลี
ปราศจากมลทินว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วน
มีความดับไปเป็นธรรมดา” หนังเสือ ชฎา ผ้าคากรอง ไม้เท้า ลักจั่นน้ำ ผม
และหนวด ของท่านก็หายไป พร้อมกับการได้ธรรมจักษุ ท่านได้เป็นภิกษุมี
ศีรษะโล้น นุ่งห่มผ้ากาสาวะ ทรงสังฆาฏิบาตรและจีวร เพื่อการปฏิบัติเอื้อประโยชน์
จึงประคองอัญชลี นั่งลงนมัสการพระผู้มีพระภาคโดยประกาศว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้
เจริญ พระผู้มีพระภาคเป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก”
ปิงคิยมาณวปัญหานิทเทสที่ ๑๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๓๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๖. ปารายนัตถุติคาถานิทเทส
๖. ปารายนัตถุติคาถานิทเทส๑
ว่าด้วยการสดุดีธรรมเป็นเหตุให้ถึงฝั่ง
[๙๓] (พระธรรมสังคาหกาจารย์เมื่อจะสรรเสริญพระธรรมเทศนานี้ จึงได้
กล่าวไว้ดังนี้ว่า)
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสคาถานี้แล้ว เมื่อประทับอยู่ ณ ปาสาณกเจดีย์
แคว้นมคธ ได้ทรงรับอาราธนากราบทูลหลายครั้งจากพราหมณ์ ๑๖ คน ผู้เป็น
ศิษย์ใกล้ชิด ได้ทรงพยากรณ์ปัญหาแล้ว
คำว่า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสคาถานี้แล้ว ได้แก่ ได้ตรัสปารายนวรรคนี้แล้ว
คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ คำว่า พระ
ผู้มีพระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ รวมความว่า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสคาถา
นี้แล้ว
คำว่า เมื่อประทับอยู่ ... แคว้นมคธ ได้แก่ ในชนบทที่ชื่อว่ามคธ
คำว่า เมื่อประทับอยู่ ได้แก่ เมื่อประทับอยู่ คือ ทรงเคลื่อนไหว ทรงเป็นไป
ทรงเลี้ยงพระชนมชีพ ทรงดำเนินไป ทรงยังพระชนมชีพให้ดำเนินไป
คำว่า ณ ปาสาณกเจดีย์ ได้แก่ พุทธอาสน์ตรัสเรียกว่า ปาสาณกเจดีย์
รวมความว่า เมื่อประทับอยู่ ณ ปาสาณกเจดีย์ แคว้นมคธ
คำว่า จากพราหมณ์ ๑๖ คน ผู้เป็นศิษย์ใกล้ชิด ได้แก่ ปิงคิยพราหมณ์
เป็นที่ปรารถนา ประพฤติถูกใจ เป็นคนรับใช้ของพราหมณ์พาวรี อธิบายว่า พราหมณ์
เหล่านั้นมี ๑๖ คน รวมทั้งปิงคิยมาณพ รวมความว่า จากพราหมณ์ ๑๖ คน
ผู้เป็นศิษย์ใกล้ชิด อย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง พราหมณ์ ๑๖ คนเหล่านั้น พึงเป็นที่ปรารถนา ประพฤติถูก
พระทัย เป็นปริจาริกาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าได้ รวมความว่า จากพราหมณ์
๑๖ คน ผู้เป็นศิษย์ใกล้ชิด อย่างนี้บ้าง

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.สุ. ๒๕/๑๑๓๑-๑๑๓๗/๕๕๐-๕๕๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๓๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] ๖. ปารายนัตถุติคาถานิทเทส
คำว่า ได้ทรงรับอาราธนา ในคำว่า ได้ทรงรับอาราธนากราบทูลหลายครั้ง
...ได้ทรงพยากรณ์ปัญหาแล้ว ได้แก่ ได้ทรงรับอาราธนา คือ รับอัญเชิญแล้ว
คำว่า กราบทูลหลายครั้ง ได้แก่ กราบทูลหลายครั้ง คือ ทูลถามแล้วถามอีก
ทูลขอแล้วขออีก ทูลอัญเชิญแล้วอัญเชิญอีก ทูลให้ทรงประกาศแล้วประกาศอีก
คำว่า ได้ทรงพยากรณ์ปัญหาแล้ว อธิบายว่า ได้ทรงพยากรณ์แล้ว คือ บอก
แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศปัญหาแล้ว รวมความว่า
ได้ทรงรับอาราธนากราบทูลหลายครั้ง...ได้ทรงพยากรณ์ปัญหาแล้ว ด้วยเหตุนั้น
พระธรรมสังคาหกาจารย์จึงกล่าวไว้ดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคได้ตรัสคาถานี้แล้ว
เมื่อประทับอยู่ ณ ปาสาณกเจดีย์ แคว้นมคธ ได้ทรงรับอาราธนากราบทูลหลาย
ครั้งจากพราหมณ์ ๑๖ คน ผู้เป็นศิษย์ใกล้ชิด ได้ทรงพยากรณ์ปัญหาแล้ว”
[๙๔] ถ้าแม้บุคคลรู้ทั่วถึงอรรถ รู้ทั่วถึงธรรมแห่งปัญหาแต่ละปัญหาแล้ว
ปฏิบัติธรรมถูกต้องตามหลักธรรม ก็จะพึงถึงฝั่งแห่งชราและมรณะได้แน่นอน
เพราะธรรมเหล่านี้เป็นเหตุให้ถึงฝั่ง เพราะเหตุดังกล่าวมานี้นั้น ธรรมบรรยายนี้
จึงชื่อว่าปารายนะ
คำว่า ถ้าแม้ ... แห่งปัญหาแต่ละปัญหา อธิบายว่า ถ้าแม้... แห่งปัญหาของ
ท่านอชิตะแต่ละปัญหา ถ้าแม้... แห่งปัญหาของท่านปุณณกะแต่ละปัญหา ถ้าแม้...
แห่งปัญหาของท่านเมตตคูแต่ละปัญหา ถ้าแม้... แห่งปัญหาของท่านโธตกะแต่ละ
ปัญหา ถ้าแม้... แห่งปัญหาของท่านอุปสีวะแต่ละปัญหา ถ้าแม้... แห่งปัญหา
ของท่านนันทกะแต่ละปัญหา ถ้าแม้... แห่งปัญหาของท่านเหมกะแต่ละปัญหา
ถ้าแม้... แห่งปัญหาของท่านโตเทยยะแต่ละปัญหา ถ้าแม้ ... แห่งปัญหาของท่าน
กัปปะแต่ละปัญหา ถ้าแม้... แห่งปัญหาของท่านชตุกัณณิแต่ละปัญหา ถ้าแม้...
แห่งปัญหาของท่านภัทราวุธแต่ละปัญหา ถ้าแม้... แห่งปัญหาของท่านอุทัยแต่ละ
ปัญหา ถ้าแม้... แห่งปัญหาของท่านโปสาละแต่ละปัญหา ถ้าแม้... แห่งปัญหาของ
ท่านโมฆราชแต่ละปัญหา ถ้าแม้... แห่งปัญหาของท่านปิงคิยะแต่ละปัญหา รวม
ความว่า ถ้าแม้ ... แห่งปัญหาแต่ละปัญหา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า :๓๓๔ }


>>>>> หน้าต่อไป >>>>>





eXTReMe Tracker