ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ



จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อความสะดวก และสวยงาม
(เฉพาะหน้าจอใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์)
กรุณาคลิก จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อให้กรอบ
ค้นข้อความ ปรากฎที่ด้านซ้ายของหน้า

พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙-๓ สุตตันตปิฎกที่ ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส

พระสุตตันตปิฎก
ขุททกนิกาย มหานิทเทส
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส
คำว่า พระสมณะตรัสไว้แล้ว ได้แก่ พระสมณะ คือ ผู้มีบาปสงบแล้ว เป็น
พราหมณ์ ผู้ลอยบาปธรรมแล้ว เป็นภิกษุผู้ตัดมูลแห่งกิเลสแล้ว ผู้พ้นแล้วจาก
เครื่องผูกคืออกุศลมูลทุกอย่าง ตรัสไว้แล้ว คือ ทรงพูด บอก แสดง บัญญัติ กำหนด
เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศไว้แล้ว รวมความว่า และธรรมเหล่าใดพระสมณะ
ตรัสไว้แล้ว ด้วยเหตุนั้น พระพุทธเนรมิตจึงทูลถามว่า
ฉันทะในโลกมีต้นเหตุมาจากไหน
และการตัดสินใจมีมาจากไหน
อนึ่ง ความโกรธ ความเป็นคนพูดเท็จ
และความสงสัยมีมาจากอะไร
และธรรมเหล่าใดพระสมณะตรัสไว้แล้ว
ธรรมเหล่านั้นมีมาจากอะไร
[๑๐๒] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า)
ชนทั้งหลายในโลกพูดถึงสิ่งใดว่า น่าดีใจ น่าเสียใจ
ฉันทะก็จะมีขึ้นเพราะอาศัยสิ่งนั้น
ชนในโลกมองเห็นความเสื่อม
และความเจริญในรูปทั้งหลายแล้ว ย่อมทำการตัดสินใจ
คำว่า น่าดีใจ ในคำว่า ชนทั้งหลายในโลกพูดถึงสิ่งใดว่า น่าดีใจ น่าเสียใจ
ได้แก่ สุขเวทนา และสิ่งที่น่าปรารถนา
คำว่า น่าเสียใจ ได้แก่ ทุกขเวทนา และสิ่งที่ไม่น่าปรารถนา
คำว่า ชนทั้งหลายในโลกพูดถึงสิ่งใด ได้แก่ พูดถึงสิ่งใด คือ กล่าวถึง
บอกถึง แสดงถึง ชี้แจงถึงสิ่งใด รวมความว่า ชนทั้งหลายในโลกพูดถึงสิ่งใดว่า
น่าดีใจ น่าเสียใจ
คำว่า ฉันทะก็จะมีขึ้นเพราะอาศัยสิ่งนั้น อธิบายว่า ฉันทะ ย่อมมี มีขึ้น คือ
เกิด เกิดขึ้น บังเกิด บังเกิดขึ้น เพราะอาศัยความน่าดีใจและน่าเสียใจ คือ อาศัยสุข
และทุกข์ โสมนัสและโทมนัส สิ่งที่น่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนา ความยินดีและ
ความยินร้าย รวมความว่า ฉันทะก็จะมีขึ้นเพราะอาศัยสิ่งนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๑๑ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส
ว่าด้วยความเกิดแห่งรูป
คำว่า ในรูปทั้งหลาย ในคำว่า มองเห็นความเสื่อมและความเจริญในรูป
ทั้งหลายแล้ว ได้แก่ มหาภูตรูป๑ ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป๒ ๔
ความเจริญแห่งรูปทั้งหลาย เป็นอย่างไร
คือ ความเจริญ ความเกิด ความเกิดขึ้น ความบังเกิด ความบังเกิดขึ้น
ความปรากฏแห่งรูปทั้งหลาย นี้ชื่อว่าความเจริญแห่งรูปทั้งหลาย
ความเสื่อมแห่งรูปทั้งหลาย เป็นอย่างไร
คือ ความสิ้นไป ความเสื่อมไป ความแตกไป ความทำลายไป ความเป็น
ธรรมชาติไม่เที่ยง ความสูญหายไปแห่งรูปทั้งหลาย นี้ชื่อว่า ความเสื่อมแห่งรูปทั้งหลาย
คำว่า มองเห็นความเสื่อมและความเจริญในรูปทั้งหลายแล้ว ได้แก่ เห็นแล้ว
คือ แลเห็นแล้ว เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว
ซึ่งความเจริญและความเสื่อมในรูปทั้งหลาย รวมความว่า มองเห็นความเสื่อมและ
ความเจริญในรูปทั้งหลายแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ มหาภูตรูป ๔ ดูเชิงอรรถข้อ ๑๐/๕๒
๒ รูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ หรือทับศัพท์บาลีว่า อุปาทายรูป มี ๒๔ คือ
ก. ปสาทรูป ๕ รูปที่เป็นประสาทสำหรับรับอารมณ์ (๑) ตา (๒) หู (๓) จมูก (๔) ลิ้น (๕) กาย
ข. โคจรรูป หรือวิสัยรูป ๕ รูปที่เป็นอารมณ์หรือแดนรับรู้ของอินทรีย์ (๖) รูป (๗) เสียง (๘) กลิ่น
(๙) รส (๐) โผฏฐัพพะ (ข้อนี้ไม่นับเพราะเป็นอันเดียวกับมหาภูตรูป ๓ คือ ปฐวี เตโช วาโย)
ค. ภาวรูป ๒ รูปที่เป็นภาวะแห่งเพศ (๑๐) อิตถิตตะ อิตถินทรีย์ ความเป็นหญิง (๑๑) ปุริสัตตะ ปุริสินทรีย์
ความเป็นชาย
ง. หทัยรูป รูปคือหทัย (๑๒) หทัยวัตถุ ที่ตั้งแห่งใจ หัวใจ
จ. ชีวิตรูป ๑ รูปที่เป็นชีวิต (๑๓) ชีวิตินทรีย์ อินทรีย์คือชีวิต
ฉ. อาหารรูป ๑ รูปคืออาหาร (๑๔) กวฬิงการาหาร อาหารคือคำข้าว
ช. ปริจเฉทรูป ๑ รูปที่กำหนดเทศะ (๑๕) อากาสธาตุ สภาวะคือช่องว่าง
ญ. วิญญัติรูป ๒ รูปคือการเคลื่อนไหวให้รู้ความหมาย (๑๖) กายวิญญัติ การเคลื่อนไหวให้รู้ความหมาย
ด้วยกาย (๑๗) วจีวิญญัติ การเคลื่อนไหวให้รู้ความหมายด้วยวาจา
ฎ. วิการรูป ๕ รูปคืออาการที่ดัดแปลงทำให้แปลกให้พิเศษได้ (๑๘) (รูปัสส) ลหุตา ความเบา (๑๙) (รูปัสส)
มุทุตา ความอ่อนสลวย (๒๐) (รูปัสส) กัมมัญญตา ความควรแก่การงาน ใช้การได้ (และวิญญัติรูป ๒
แต่ท่านไม่นับเพราะซ้ำกับข้อ ญ)
ฏ. ลักขณรูป ๔ รูปคือลักษณะหรืออาการเป็นเครื่องกำหนด (๒๑) (รูปัสส) อุปจย ความก่อตัวหรือเติบโตขึ้น
(๒๒) (รูปัสส) สันตติ ความสืบต่อ (๒๓) (รูปัสส) ชรตา ความทรุดโทรม (๒๔) (รูปัสส) อนิจจตา
ความปรวนแปรแตกสลาย (อภิ.สํ. (แปล) ๓๔/๕๘๔-๙๘๔/๑๖๙-๒๕๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๑๒ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส
ว่าด้วยการตัดสินใจ
คำว่า ชนในโลก ... ย่อมทำการตัดสินใจ อธิบายว่า
คำว่า การตัดสินใจ ได้แก่ การตัดสินใจ ๒ อย่าง คือ (๑) การตัดสินใจด้วย
อำนาจตัณหา (๒) การตัดสินใจด้วยอำนาจทิฏฐิ
ชนย่อมทำการตัดสินใจด้วยอำนาจตัณหา เป็นอย่างไร
คือ สำหรับคนบางคนในโลกนี้ โภคทรัพย์ที่ยังไม่เกิดย่อมไม่เกิดขึ้น และ
โภคทรัพย์ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมถึงความหมดสิ้นไป เขามีความคิดอย่างนี้ว่า “เพราะ
อุบายอะไรหนอ โภคทรัพย์ที่ยังไม่เกิดขึ้นแก่เรา จึงไม่เกิดขึ้น และโภคทรัพย์ที่เกิดขึ้น
แล้ว จึงถึงความสิ้นไป” เขาก็มีความคิดต่อไปอย่างนี้ว่า “เมื่อเรามัวแต่ดื่มน้ำเมาคือ
สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท โภคทรัพย์ที่ยังไม่เกิด ก็ไม่เกิดขึ้น และ
โภคทรัพย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็ถึงความหมดสิ้นไป เมื่อเรามัวแต่เที่ยวกลางคืน... เมื่อเรา
มัวแต่เที่ยวดูมหรสพ... เมื่อเรามัวแต่อยู่ในความประมาทด้วยการเล่นการพนัน...
เมื่อเรามัวแต่คบคนชั่วเป็นมิตร... เมื่อเรามัวแต่เกียจคร้าน โภคทรัพย์ที่ยังไม่เกิดก็
ไม่เกิดขึ้น โภคทรัพย์ที่เกิดขึ้นแล้วก็ถึงความหมดสิ้นไป” ครั้นรู้อย่างนี้แล้ว จึงไม่
ประพฤติสิ่งที่เป็นทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์ ๖ ประการ ประพฤติแต่สิ่งที่เป็นทาง
เจริญแห่งโภคทรัพย์๑ ๖ ประการ ชนย่อมทำการตัดสินใจด้วยอำนาจตัณหาเป็น
อย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง บุคคลย่อมดำเนินชีวิตด้วยกสิกรรม พาณิชยกรรม โครักขกรรม
(เลี้ยงปศุสัตว์) ศาสตร์แห่งการยิงธนู การรับราชการ หรือด้วยศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง
ชนย่อมทำการตัดสินใจด้วยอำนาจตัณหา เป็นอย่างนี้บ้าง
ชนย่อมทำการตัดสินใจด้วยอำนาจทิฏฐิ เป็นอย่างไร
คือ เมื่อตาเกิดขึ้น ก็เข้าใจว่า “ตัวของเราเกิดขึ้นแล้ว”

เชิงอรรถ :
๑ ทางเจริญแห่งโภคทรัพย์ ๖ ประการ (๑) ไม่เป็นนักเลงหญิง (๒) ไม่เป็นนักเลงสุรา (๓) ไม่เป็นนักเลง
การพนัน (๔) มีมิตรดี (๕) มีสหายดี (๖) ใฝ่ใจในกัลยาณมิตร (องฺ.อฏฺฐก. ๒๓/๕๕/๒๓๗-๒๓๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๑๓ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส
เมื่อตาหายไปก็เข้าใจว่า “ตัวของเราหายไปแล้ว ตัวของเราไม่มีเสียแล้ว”
ชนย่อมทำการตัดสินใจด้วยอำนาจทิฏฐิเป็นอย่างนี้บ้าง
เมื่อหู... จมูก... ลิ้น... กาย... รูป... เสียง... กลิ่น... รส... เมื่อโผฏฐัพพะเกิดขึ้น
ก็เข้าใจว่า “ตัวของเราเกิดขึ้นแล้ว”
เมื่อโผฏฐัพพะหายไปก็เข้าใจว่า “ตัวของเราหายไปแล้ว ตัวของเราไม่มีเสียแล้ว”
ชนย่อมทำ คือให้เกิด ให้เกิดขึ้น ให้บังเกิด ให้บังเกิดขึ้นซึ่งการตัดสินใจด้วย
อำนาจทิฏฐิเป็นอย่างนี้บ้าง
คำว่า ชน ได้แก่ สัตว์ นรชน มานพ... มนุษย์
คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก ... ในอายตนโลก รวมความว่า ชนในโลก
ย่อมทำการตัดสินใจ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า
ชนทั้งหลายในโลกพูดถึงสิ่งใดว่า น่าดีใจ น่าเสียใจ
ฉันทะก็จะมีขึ้นเพราะอาศัยสิ่งนั้น
ชนในโลกมองเห็นความเสื่อม
และความเจริญในรูปทั้งหลายแล้ว ย่อมทำการตัดสินใจ
[๑๐๓] (พระผู้มีพระภาคตรัสต่อไปว่า)
ธรรมแม้เหล่านี้ คือ ความโกรธ ความเป็นคนพูดเท็จ
และความสงสัย เมื่อความดีใจและความเสียใจทั้งสองมีอยู่ ก็มี
บุคคลผู้มีความสงสัย พึงศึกษาเพื่อทางแห่งญาณ
และธรรมเหล่าใดพระสมณะทรงทราบแล้วตรัสไว้
ธรรมเหล่านั้น เมื่อความดีใจและความเสียใจทั้งสองมีอยู่ ก็มี
คำว่า ความโกรธ ในคำว่า ความโกรธ ความเป็นคนพูดเท็จและความสงสัย
ได้แก่ ใจปองร้าย มุ่งร้าย ... เห็นปานนี้
มุสาวาท ตรัสเรียกว่า ความเป็นคนพูดเท็จ
ความลังเล ตรัสเรียกว่า ความสงสัย
ความโกรธย่อมเกิด เพราะอาศัยสิ่งที่น่าปรารถนาบ้าง เพราะอาศัยสิ่งที่ไม่น่า
ปรารถนาบ้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๑๔ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส
มุสาวาทย่อมเกิด เพราะอาศัยสิ่งที่น่าปรารถนาบ้าง เพราะอาศัยสิ่งที่ไม่น่า
ปรารถนาบ้าง
ความสงสัยย่อมเกิด เพราะอาศัยสิ่งที่น่าปรารถนาบ้าง เพราะอาศัยสิ่งที่ไม่น่า
ปรารถนาบ้าง

ว่าด้วยเหตุให้เกิดความโกรธ
ความโกรธย่อมเกิด เพราะอาศัยสิ่งที่ไม่น่าปรารถนา เป็นอย่างไร
คือ ความโกรธย่อมเกิดเพราะสำคัญว่า “ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา”
ความโกรธย่อมเกิดเพราะสำคัญว่า “ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา” ความ
โกรธย่อมเกิดเพราะสำคัญว่า “ผู้นี้จักทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา” ความโกรธ
ย่อมเกิดเพราะสำคัญว่า “ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ กำลังทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
จักทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา” ความโกรธย่อมเกิด
เพราะสำคัญว่า “ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ กำลังทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ จักทำสิ่งที่
เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา” ความโกรธย่อมเกิด เพราะอาศัย
สิ่งที่ไม่น่าปรารถนา เป็นอย่างนี้
ความโกรธย่อมเกิด เพราะอาศัยสิ่งที่น่าปรารถนา เป็นอย่างไร
คือ เมื่อบุคคลหวาดระแวงว่าสิ่งที่น่าปรารถนาจะถูกแย่งชิงไป ก็เกิดความโกรธ
เมื่อสิ่งที่น่าปรารถนากำลังถูกแย่งชิงไปก็เกิดความโกรธ เมื่อสิ่งที่น่าปรารถนาถูก
แย่งชิงไปแล้ว ก็เกิดความโกรธ เมื่อบุคคลหวาดระแวงว่า สิ่งที่น่าปรารถนาจะแปรผันไป
ก็เกิดความโกรธ เมื่อสิ่งที่น่าปรารถนากำลังแปรผันไป ก็เกิดความโกรธ เมื่อสิ่งที่น่า
ปรารถนาแปรผันไปแล้ว ก็เกิดความโกรธ ความโกรธย่อมเกิด เพราะอาศัยสิ่งที่น่า
ปรารถนา เป็นอย่างนี้

ว่าด้วยเหตุให้เกิดการกล่าวเท็จ
มุสาวาทย่อมเกิด เพราะอาศัยสิ่งที่ไม่น่าปรารถนา เป็นอย่างไร
คือ คนบางคนในโลกนี้ ถูกจองจำด้วยเครื่องจองจำคือขื่อคา ก็พูดเท็จทั้งที่รู้
เพื่อให้พ้นการจองจำนั้น ถูกมัดด้วยเครื่องจองจำคือเชือก... ถูกจองจำด้วยเครื่อง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๑๕ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส
จองจำคือโซ่ตรวน... ถูกมัดด้วยเครื่องจองจำคือหวาย... ถูกมัดด้วยเครื่องจองจำคือ
เถาวัลย์ ... ถูกจองจำด้วยเครื่องจองจำคือคุก ... ถูกจองจำด้วยเครื่องจองจำคือ
การล้อมรั้ว... ถูกจองจำไว้ภายในบ้าน นิคม เมือง หรือรัฐ... หรือถูกจองจำไว้ภายใน
ชนบท ก็พูดเท็จทั้งที่รู้ เพื่อให้พ้นการจองจำนั้น มุสาวาทย่อมเกิด เพราะอาศัยสิ่ง
ที่ไม่น่าปรารถนา เป็นอย่างนี้
มุสาวาทย่อมเกิด เพราะอาศัยสิ่งที่น่าปรารถนา เป็นอย่างไร
คือ คนบางคนในโลกนี้ พูดเท็จทั้งที่รู้ เพราะเหตุแห่งรูปที่น่าพอใจ พูดเท็จทั้งที่รู้
เพราะเหตุแห่งเสียง ... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะที่พอใจ... เพราะเหตุแห่งจีวร...
เพราะเหุตแห่งบิณฑบาต ... เพราะเหตุแห่งเสนาสนะ พูดเท็จทั้งที่รู้ เพราะเหตุ
แห่งคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร มุสาวาทย่อมเกิด เพราะอาศัยสิ่งที่น่าปรารถนา
เป็นอย่างนี้

ว่าด้วยเหตุให้เกิดความสงสัย
ความสงสัยย่อมเกิด เพราะอาศัยสิ่งที่ไม่น่าปรารถนา เป็นอย่างไร
คือ ความสงสัยย่อมเกิดเพราะอาศัยสิ่งที่ไม่น่าปรารถนา ด้วยคิดว่า “เราจัก
พ้นจากโรคตา หรือไม่พ้นจากโรคตาหนอ เราจักพ้นจากโรคหู... จากโรคจมูก... จาก
โรคลิ้น... จากโรคกาย... จากโรคเกี่ยวกับศีรษะ... จากโรคเกี่ยวกับหู... จากโรคเกี่ยว
กับปาก... จากโรคเกี่ยวกับฟัน หรือไม่พ้นจากโรคเกี่ยวกับฟันหนอ” ความสงสัยย่อม
เกิด เพราะอาศัยสิ่งที่ไม่น่าปรารถนา เป็นอย่างนี้
ความสงสัยย่อมเกิด เพราะอาศัยสิ่งที่น่าปรารถนา เป็นอย่างไร
คือ ความสงสัยย่อมเกิด เพราะอาศัยสิ่งที่น่าปรารถนาด้วยคิดว่า “เราจักได้
รูปที่น่าพอใจ หรือไม่ได้รูปที่น่าพอใจหนอ เราจักได้เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ...
ตระกูล... หมู่คณะ... อาวาส... ลาภ... ยศ... สรรเสริญ... สุข... จีวร... บิณฑบาต...
เสนาสนะ...คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร หรือไม่ได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารหนอ” ความ
สงสัยย่อมเกิด เพราะอาศัยสิ่งที่น่าปรารถนา เป็นอย่างนี้ รวมความว่า ความโกรธ
ความเป็นคนพูดเท็จและความสงสัย


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๑๖ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส
คำว่า ธรรมแม้เหล่านี้... เมื่อความดีใจและความเสียใจทั้งสองมีอยู่ก็มี
อธิบายว่า เมื่อความดีใจและความเสียใจมีอยู่ คือเมื่อความสุขและความทุกข์ โสมนัส
และโทมนัส อารมณ์ที่น่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนา ความยินดีและความยินร้าย
มีอยู่ คือ ปรากฏอยู่ อันตนเข้าไปได้อยู่ ธรรมเหล่านี้ก็มีได้ รวมความว่า ธรรมแม้
เหล่านี้... เมื่อความดีใจและความเสียใจทั้งสองมีอยู่ก็มี
คำว่า บุคคลผู้มีความสงสัย พึงศึกษาเพื่อทางแห่งญาณ อธิบายว่า ญาณ๑
ชื่อว่า ทางแห่งญาณ อารมณ์แห่งญาณ ชื่อว่าทางแห่งญาณ ธรรมที่เกิดมีพร้อมกับญาณ

เชิงอรรถ :
๑ ญาณ ในที่นี้ หมายถึง ญาณ ๑๖ หรือ โสฬสญาณ ความหยั่งรู้ที่เกิดขึ้นแก่ผู้เจริญวิปัสสนาตามลำดับ ตั้ง
แต่ต้นจนถึงที่สุด
๑. นามรูปปริจเฉทญาณ ญาณกำหนดรู้นามและรูป
๒. ปัจจยปริคคหญาณ ญาณกำหนดรู้ปัจจัยของนามและรูป
๓. สัมมสนญาณ ญาณกำหนดรู้ด้วยพิจารณาเห็นนามและรูปโดยไตรลักษณ์
๔. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ญาณอันตามเห็นความเกิดและความดับ
๕. ภังคานุปัสสนาญาณ ญาณอันตามเห็นความสลายเห็นว่าสังขารทั้งปวงล้วนจะต้องสลายไปหมด
๖. ภยตูปัฏฐานญาณ ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว เพราะล้วนแต่จะต้องสลายไป
ไม่ปลอดภัยทั้งสิ้น
๗. อาทีนวานุปัสสนาญาณ ญาณอันคำนึงเห็นสังขารทั้งปวงนั้นว่าเป็นโทษ
๘. นิพพิทานุปัสสนาญาณ ญาณอันคำนึงเห็นด้วยความหน่าย
๙. มุญจิตุกัมยตาญาณ ญาณอันคำนึงด้วยใคร่จะพ้นไปเสีย เมื่อหน่ายสังขารทั้งหลายแล้ว ย่อมปรารถนา
ที่จะพ้นไปเสียจากสังขารเหล่านั้น
๑๐. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ญาณอันคำนึงพิจารณาหาทาง เพื่อมองหาอุบายที่จะปลดเปลื้องออก
๑๑. สังขารุเปกขาญาณ ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร ไม่ยินดียินร้ายในสังขารทั้งหลาย
๑๒. สัจจานุโลมิกญาณ หรืออนุโลมญาณ ญาณอันเป็นไปโดยอนุโลม ได้แก่ การหยั่งรู้อริยสัจจ์
๑๓. โคตรภูญาณ ญาณหยั่งรู้ที่เป็นหัวต่อแห่งการข้ามพ้นจากภาวะปุถุชนเข้าสู่ภาวะอริยบุคคล
๑๔. มัคคญาณ ญาณในอริยมรรค ความหยั่งรู้ที่ให้สำเร็จภาวะอริยบุคคลแต่ละขั้น
๑๕. ผลญาณ ญาณในอริยผล ความหยั่งรู้ที่เป็นผลสำเร็จของพระอริยบุคคลชั้นนั้น ๆ
๑๖. ปัจจเวกขณญาณ ญาณหยั่งรู้ด้วยการพิจารณาทบทวน สำรวจรู้มรรค ผล กิเลสที่ละแล้ว กิเลสที่
เหลืออยู่ และนิพพาน (ขุ.ป. ๓๑/๑-๖๕/๕-๗๘, วิสุทฺธิ. ๒/๖๖๒-๘๐๔/๒๕๐-๓๕๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๑๗ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส
ก็ชื่อว่าทางแห่งญาณ เปรียบเหมือนอริยมรรค๑ ชื่อว่าทางแห่งอริยะ เทว-
มรรค๒ ชื่อว่าทางแห่งเทวะ พรหมมรรค๓ ชื่อว่าทางแห่งพรหม ฉันใด ญาณ ชื่อว่า
ทางแห่งญาณ อารมณ์แห่งญาณ ชื่อว่าทางแห่งญาณ ธรรมที่เกิดมีพร้อมกับญาณ
ก็ชื่อว่าทางแห่งญาณ ฉันนั้นเหมือนกัน

ว่าด้วยสิกขา ๓
คำว่า พึงศึกษา ได้แก่ สิกขา ๓ อย่าง คือ
๑. อธิสีลสิกขา ๒. อธิจิตตสิกขา
๓. อธิปัญญาสิกขา
อธิสีลสิกขา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ สมบูรณ์
ด้วยอาจาระและโคจร เห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบทอยู่
คือ สีลขันธ์เล็ก สีลขันธ์ใหญ่ ศีลเป็นที่พึ่ง เป็นเบื้องต้น เป็นความประพฤติ เป็น
ความสำรวม เป็นความระวัง เป็นหัวหน้า เป็นประธานเพื่อความถึงพร้อมแห่งธรรม
ที่เป็นกุศล นี้ชื่อว่าอธิสีลสิกขา
อธิจิตตสิกขา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม... บรรลุจตุตถฌานอยู่ นี้ชื่อว่าอธิจิตต-
สิกขา

เชิงอรรถ :
๑ มรรคมีองค์ ๘ ดูเชิงอรรถข้อ ๕/๑๘
๒ เทวมรรค คือเทวธรรมนั่นเอง หมายถึงธรรมของเทวดา ได้แก่ (๑) หิริ (๒) โอตตัปปะ (๓) สุกกธรรม
แปลว่าธรรมฝ่ายขาว เป็นชื่อแห่ง หิริ และโอตัปปะ สุกกธรรมได้แก่ สุจริตในไตรทวาร (๑. กายสุจริต ๓
ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม ๒. วจีสุจริต ๔ ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ
ไม่พูดเพ้อเจ้อ ๓. มโนสุจริต ๓ ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของผู้อื่น ไม่มีจิตคิดพยาบาท มีความเห็นชอบ) (ม.มู. ๑๒/
๔๔๑/๓๙๐-๓๙๑, องฺ.ทุก. ๒๐/๘-๙/๕๑-๕๒, องฺ.ทสก. ๒๔/๑๗๖/๒๑๖-๒๒๑)
๓ พรหมมรรค คือพรหมจรรย์นั่นเอง พรหมจรรย์คือจริยธรรมที่ประเสริฐ หรืออริยมรรคมีองค์ ๘ ดูเชิงอรรถ
ข้อ ๕/๑๘ และ ขุ.จู. ๓๐/๑๐/๔๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๑๘ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส
อธิปัญญาสิกขา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาอันประเสริฐ
หยั่งถึงความเกิดและความดับ เพิกถอนกิเลส ให้บรรลุถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
เธอรู้ตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ ... นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ... เหล่านี้อาสวะ”
เธอรู้ตามความเป็นจริงว่า “นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา” นี้ชื่อว่าอธิปัญญา-
สิกขา
คำว่า บุคคลผู้มีความสงสัย พึงศึกษาเพื่อทางแห่งญาณ อธิบายว่า บุคคล
ผู้มีความสงสัย คือ เคลือบแคลง ลังเล มีความเข้าใจ ๒ ทิศ ๒ ทาง ไม่แน่ใจ
พึงศึกษาอธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา เพื่อบรรลุถึงญาณ เพื่อถูกต้อง
ญาณ เพื่อทำญาณให้แจ้ง คือ
สิกขา ๓ เหล่านี้ เมื่อบุคคลนึกถึง ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อทราบ ชื่อว่าพึงศึกษา
เมื่อเห็น ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อพิจารณา ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่ออธิษฐานจิต ชื่อว่าพึง
ศึกษา เมื่อน้อมใจเชื่อด้วยศรัทธา ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อประคองความเพียร ชื่อว่าพึง
ศึกษา เมื่อตั้งสติ ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อตั้งใจมั่น ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อรู้ชัดด้วยปัญญา
ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อรู้ชัดธรรมที่ควรรู้ชัด ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อกำหนดรู้ธรรมที่ควร
กำหนดรู้ ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อละธรรมที่ควรละ ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อเจริญธรรมที่ควร
เจริญ ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ก็ชื่อว่าพึงศึกษา คือพึง
ประพฤติเอื้อเฟื้อ ประพฤติเอื้อเฟื้อโดยชอบ สมาทานประพฤติ รวมความว่า บุคคล
ผู้มีความสงสัย พึงศึกษาเพื่อทางแห่งญาณ

ว่าด้วยธรรมที่พระสมณะทรงทราบ
คำว่า ทรงทราบแล้ว ในคำว่า และธรรมเหล่าใดพระสมณะทรงทราบแล้ว
ตรัสไว้ ได้แก่ รู้แล้ว เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้ง
แล้ว ตรัสสอน ตรัสไว้ คือ ทรงบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย
ประกาศไว้แล้วว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง... สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์... ธรรมทั้งปวง
เป็นอนัตตา... เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี... เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ
จึงมี... เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ... เพราะชาติดับ ชรามรณะจึงดับ ... นี้ทุกข์...


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๑๙ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส
นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ... เหล่านี้อาสวะ ... นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา... ธรรม
เหล่านี้ควรรู้ยิ่ง... ธรรมเหล่านี้ควรกำหนดรู้... ธรรมเหล่านี้ควรละ... ธรรมเหล่านี้
ควรเจริญ... ธรรมเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง เหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษ และการสลัด
ออกแห่งผัสสายตนะ๑ ๖ ... แห่งอุปาทานขันธ์๒ ๕ ... แห่งมหาภูตรูป ๔
รู้แล้ว เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว
ตรัสสอน ตรัสไว้ คือ ทรงบอก ทรงแสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก
ทำให้ง่าย ประกาศไว้แล้วว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้น
ทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา”
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เราแสดงธรรมเพื่อความ
รู้ยิ่ง มิใช่แสดงเพื่อความไม่รู้ยิ่ง แสดงธรรมมีเหตุผล มิใช่แสดงธรรมไม่มีเหตุผล
แสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ มิใช่แสดงธรรมไม่มีปาฏิหาริย์ พวกเธอควรทำตามโอวาท
ทำตามคำสั่งสอนของเรานั้น ผู้แสดงธรรมเพื่อความรู้ยิ่ง มิใช่แสดงเพื่อความไม่รู้ยิ่ง
ผู้แสดงธรรมมีเหตุผล มิใช่แสดงธรรมไม่มีเหตุผล ผู้แสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ มิใช่
แสดงธรรมไม่มีปาฏิหาริย์ ก็เป็นการเพียงพอเพื่อความยินดี เพื่อความปราโมทย์
เพื่อโสมนัสว่า “พระผู้มีพระภาคตรัสรู้โดยชอบด้วยพระองค์เอง พระธรรมอันพระ
องค์ตรัสไว้ดีแล้ว พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว”... ก็แล เมื่อตรัสเวยยากรณภาษิตนี้
ทั้ง ๑๐,๐๐๐ โลกธาตุ ก็ได้สั่นไหวแล้ว๓ รวมความว่า และธรรมเหล่าใดพระสมณะ
ทรงทราบแล้วตรัสไว้ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
ธรรมแม้เหล่านี้ คือ ความโกรธ ความเป็นคนพูดเท็จ
และความสงสัย เมื่อความดีใจและความเสียใจทั้งสองมีอยู่ ก็มี
บุคคลผู้มีความสงสัย พึงศึกษาเพื่อทางแห่งญาณ
และธรรมเหล่าใดพระสมณะทรงทราบแล้วตรัสไว้
ธรรมเหล่านั้น เมื่อความดีใจและความเสียใจทั้งสองมีอยู่ ก็มี

เชิงอรรถ :
๑ ผัสสายตนะ ๖ หมายถึงแดนเกิดผัสสะ ได้แก่ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๗๓/๓๙๖)
๒ อุปาทานขันธ์ ๕ คือความเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ ได้แก่รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ (สํ.ข. ๑๗/
๔๘/๓๙)
๓ องฺ.ติก. ๒๐/๑๒๖/๒๖๙-๒๗๐, อภิ.ก. ๓๗/๘๐๖/๔๖๕-๔๖๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๒๐ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส
[๑๐๔] (พระพุทธเนรมิตทูลถามว่า)
ความดีใจและความเสียใจมีต้นเหตุมาจากไหน
เมื่ออะไรไม่มี ความดีใจและความเสียใจเหล่านี้จึงไม่มี
ขอพระองค์โปรดตรัสบอกเรื่องความไม่มีและความมีว่า
มีต้นเหตุมาจากสิ่งใดแก่ข้าพระองค์

ว่าด้วยต้นเหตุความดีใจและความเสียใจ
คำว่า ความดีใจและความเสียใจมีต้นเหตุมาจากไหน อธิบายว่า พระพุทธ
เนรมิตทูลถาม ทูลสอบถาม ทูลขอ ทูลอัญเชิญ ทูลให้ทรงประกาศถึงมูล...เหตุเกิด
แห่งความดีใจและความเสียใจว่า ความดีใจและความเสียใจมีต้นเหตุมาจากไหน
เกิดจากไหน เกิดขึ้นจากไหน บังเกิดจากไหน บังเกิดขึ้นจากไหน ปรากฏขึ้นจากไหน
มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด รวม
ความว่า ความดีใจและความเสียใจมีต้นเหตุมาจากไหน
คำว่า เมื่ออะไรไม่มี ความดีใจและความเสียใจเหล่านี้จึงไม่มี อธิบายว่า
เมื่ออะไรไม่มี คือ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้ ความดีใจและความเสียใจจึงไม่มี คือ ไม่มีอยู่
ไม่เกิด ไม่เกิดขึ้น ไม่บังเกิด ไม่บังเกิดขึ้น รวมความว่า เมื่ออะไรไม่มี ความดีใจและ
ความเสียใจเหล่านี้จึงไม่มี
คำว่า ... เรื่องความไม่มีและความมีว่า มีต้นเหตุมาจากสิ่งใด อธิบายว่า
ความมีแห่งความดีใจและความเสียใจ เป็นอย่างไร
คือ ความมี ความเป็น ความเกิด ความเกิดขึ้น ความบังเกิด ความบังเกิดขึ้น
ความปรากฏแห่งความดีใจและความเสียใจ นี้ชื่อว่าความมีแห่งความดีใจและความ
เสียใจ
ความไม่มีแห่งความดีใจและความเสียใจ เป็นอย่างไร
คือ ความสิ้นไป ความเสื่อมไป ความแตกไป ความทำลายไป ความเป็นของ
ไม่เที่ยง ความอันตรธานไปแห่งความดีใจและความเสียใจ นี้ชื่อว่า ความไม่มีแห่ง
ความดีใจและความเสียใจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๒๑ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส
คำว่า เรื่อง ได้แก่ เรื่องสำคัญยิ่ง รวมความว่า เรื่องความไม่มีและความมี
คำว่า นี้ ในคำว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอก...นี้ว่า มีต้นเหตุมาจากสิ่งใด
แก่ข้าพระองค์ ได้แก่ ข้อที่ข้าพระองค์ทูลถาม ทูลขอ ทูลอัญเชิญ ทูลให้ทรงประกาศ
คำว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอก... ว่า มีต้นเหตุมาจากสิ่งใด ได้แก่ สิ่งที่
เป็นต้นเหตุ สิ่งที่เป็นเหตุเกิด สิ่งที่เป็นกำเนิด สิ่งที่เป็นแดนเกิด รวมความว่า
ขอพระองค์โปรดตรัสบอก...ว่ามีต้นเหตุมาจากสิ่งใด แก่ข้าพระองค์ ด้วยเหตุนั้น
พระพุทธเนรมิต จึงทูลถามว่า
ความดีใจและความเสียใจมีต้นเหตุมาจากไหน
เมื่ออะไรไม่มี ความดีใจและความเสียใจเหล่านี้จึงไม่มี
ขอพระองค์โปรดตรัสบอกเรื่องความไม่มีและความมีว่า
มีต้นเหตุมาจากสิ่งใดแก่ข้าพระองค์
[๑๐๕] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า)
ความดีใจและความเสียใจมีต้นเหตุมาจากผัสสะ
เมื่อผัสสะไม่มี ความดีใจและความเสียใจเหล่านี้จึงไม่มี
เราขอบอกเรื่องความไม่มีและความมีนี้ว่า
มีต้นเหตุมาจากผัสสะนี้แก่เธอ
คำว่า ความดีใจและความเสียใจมีต้นเหตุมาจากผัสสะ อธิบายว่า
สุขเวทนา(ความรู้สึกสบาย) เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา
เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นนั่นแหละดับไป สุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะ
อาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ที่เสวยอยู่ อันเกิดจากผัสสะนั้น ก็ดับไป คือ
สงบไป
ทุกขเวทนา(ความรู้สึกไม่สบาย) เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่ง
ทุกขเวทนา เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนานั้นนั่นแหละดับไป ทุกขเวทนาที่
เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ที่เสวยอยู่ อันเกิดจากผัสสะนั้น
ก็ดับไป คือ สงบไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๒๒ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส
อทุกขมสุขเวทนา(ความรู้สึกไม่ทุกข์ไม่สุข) เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่
ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้นนั่นแหละ
ดับไป อทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา
ที่กำลังเสวยอยู่ อันเกิดจากผัสสะนั้น ก็ดับไป คือ สงบไป
คำว่า ความดีใจและความเสียใจมีต้นเหตุมาจากผัสสะ อธิบายว่า ความดี
ใจและความเสียใจ มีต้นเหตุมาจากผัสสะ คือ มีผัสสะเป็นเหตุเกิด มีผัสสะเป็นกำเนิด
มีผัสสะเป็นแดนเกิด รวมความว่า ความดีใจและความเสียใจมีต้นเหตุมาจากผัสสะ
คำว่า เมื่อผัสสะไม่มี ความดีใจและความเสียใจเหล่านี้จึงไม่มี อธิบายว่า
เมื่อผัสสะไม่มี คือ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้ ความดีใจและความเสียใจ ย่อมไม่มี คือ ไม่มีอยู่
ไม่เกิด ไม่เกิดขึ้น ไม่บังเกิด ไม่บังเกิดขึ้น ไม่ปรากฏ รวมความว่า เมื่อผัสสะไม่มี
ความดีใจและความเสียใจเหล่านี้จึงไม่มี
คำว่า ...เรื่องความไม่มีและความมี อธิบายว่า ภวทิฏฐิ (ความเห็นว่ามี) ก็ดี
วิภวทิฏฐิ (ความเห็นว่าไม่มี) ก็ดี มีต้นเหตุมาจากผัสสะ
คำว่า เรื่อง ได้แก่ เรื่องสำคัญยิ่ง รวมความว่า เรื่องความไม่มีและความมี
คำว่า นี้ ในคำว่า เราขอบอก ... นี้ว่า มีต้นเหตุมาจากผัสสะนี้แก่เธอ
อธิบายว่า ข้อที่เธอทูลถาม ทูลขอ ทูลอัญเชิญ ทูลให้ประกาศ
คำว่า เราขอบอก ได้แก่ เราขอบอก คือ ขอกล่าว แสดง บัญญัติ กำหนด
เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศ รวมความว่า เราขอบอก... นี้แก่เธอ
คำว่า มีต้นเหตุมาจากผัสสะนี้ ได้แก่ มีต้นเหตุมาจากผัสสะนี้ คือ มีผัสสะ
เป็นเหตุเกิด มีผัสสะเป็นกำเนิด มีผัสสะเป็นแดนเกิด รวมความว่า เราขอบอก... นี้ว่า
มีต้นเหตุมาจากผัสสะนี้แก่เธอ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า
ความดีใจและความเสียใจมีต้นเหตุมาจากผัสสะ
เมื่อผัสสะไม่มี ความดีใจและความเสียใจเหล่านี้จึงไม่มี
เราขอบอกเรื่องความไม่มีและความมีนี้ว่า
มีต้นเหตุมาจากผัสสะนี้แก่เธอ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๒๓ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส
[๑๐๖] (พระพุทธเนรมิตทูลถามว่า)
ผัสสะในโลกมีต้นเหตุมาจากไหน
และความยึดถือมีมาจากไหน
เมื่ออะไรไม่มี ความยึดถือว่าเป็นของเราจึงไม่มี
เมื่ออะไรไม่มี ผัสสะจึงไม่ถูกต้อง

ว่าด้วยต้นเหตุแห่งผัสสะ
คำว่า ผัสสะในโลกมีต้นเหตุมาจากไหน อธิบายว่า พระพุทธเนรมิตทูลถาม
ทูลสอบถาม ทูลขอ ทูลอัญเชิญ ทูลให้ทรงประกาศถึงมูล...เหตุเกิดแห่งผัสสะว่า
ผัสสะมีต้นเหตุมาจากไหน เกิดจากไหน เกิดขึ้นจากไหน บังเกิดจากไหน บังเกิดขึ้น
จากไหน ปรากฏจากไหน มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด
มีอะไรเป็นแดนเกิด รวมความว่า ผัสสะในโลกมีต้นเหตุมาจากไหน
คำว่า และความยึดถือมีมาจากไหน อธิบายว่า พระพุทธเนรมิตทูลถาม
ทูลสอบถาม ทูลขอ ทูลอัญเชิญ ทูลให้ทรงประกาศถึงมูล...เหตุเกิดแห่งความ
ยึดถือว่า ความยึดถือมีมาจากไหน เกิดจากไหน เกิดขึ้นจากไหน บังเกิดจากไหน
บังเกิดขึ้นจากไหน ปรากฏจากไหน มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไร
เป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด รวมความว่า และความยึดถือมีมาจากไหน
คำว่า เมื่ออะไรไม่มี ความยึดถือว่าเป็นของเราจึงไม่มี อธิบายว่า เมื่ออะไร
ไม่มี คือ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้ ความยึดถือว่าเป็นของเราจึงไม่มี คือ ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ
หาไม่ได้ ได้แก่ ความยึดถือว่าเป็นของเรา บุคคลนั้นละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้
สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า
เมื่ออะไรไม่มี ความยึดถือว่าเป็นของเราจึงไม่มี
คำว่า เมื่ออะไรไม่มี ผัสสะจึงไม่ถูกต้อง อธิบายว่า เมื่ออะไรไม่มี คือ ไม่เป็น
ก้าวล่วง ก้าวพ้น ล่วงพ้นแล้ว ผัสสะจึงไม่ถูกต้อง รวมความว่า เมื่ออะไรไม่มี ผัสสะ
จึงไม่ถูกต้อง ด้วยเหตุนั้น พระพุทธเนรมิตจึงทูลถามว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๒๔ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส
ผัสสะในโลกมีต้นเหตุมาจากไหน
และความยึดถือมีมาจากไหน
เมื่ออะไรไม่มี ความยึดถือว่าเป็นของเราจึงไม่มี
เมื่ออะไรไม่มี ผัสสะจึงไม่ถูกต้อง
[๑๐๗] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า)
เพราะอาศัยนามและรูป ผัสสะจึงเกิด
ความยึดถือมีต้นเหตุมาจากความปรารถนา
เมื่อความปรารถนาไม่มี ความยึดถือว่าเป็นของเราจึงไม่มี
เมื่อรูปไม่มี ผัสสะจึงไม่ถูกต้อง
คำว่า เพราะอาศัยนามและรูป ผัสสะจึงเกิด อธิบายว่า
จักขุวิญญาณ เกิดขึ้นเพราะอาศัยตาและรูป ประชุมแห่งธรรม ๓ ประการ คือ
(๑) ตา (๒) รูป (๓) จักขุวิญญาณ ผัสสะจึงเกิด ตาและรูปอยู่ในส่วนรูป สัมปยุตธรรม
ทั้งหลายเว้นจักขุสัมผัสอยู่ในส่วนนาม ผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยนามและรูป ด้วย
ประการอย่างนี้
โสตวิญญาณ เกิดขึ้นเพราะอาศัยหูและเสียง ประชุมแห่งธรรม ๓ ประการ
คือ (๑) หู (๒) เสียง (๓) โสตวิญญาณ ผัสสะจึงเกิด หูและเสียงอยู่ในส่วนรูป
สัมปยุตธรรมทั้งหลายเว้นโสตสัมผัสอยู่ในส่วนนาม ผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยนาม
และรูป ด้วยประการอย่างนี้
ฆานวิญญาณ เกิดขึ้นเพราะอาศัยจมูกและกลิ่น ประชุมแห่งธรรม ๓ ประการ คือ
(๑) จมูก (๒) กลิ่น (๓) ฆานวิญญาณ ผัสสะจึงเกิด จมูกและกลิ่นอยู่ในส่วนรูป
สัมปยุตธรรมทั้งหลายเว้นฆานสัมผัสอยู่ในส่วนนาม ผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยนาม
และรูป ด้วยประการอย่างนี้
ชิวหาวิญญาณ เกิดขึ้นเพราะอาศัยลิ้นและรส ประชุมแห่งธรรม ๓ ประการ
คือ (๑) ลิ้น (๒) รส (๓) ชิวหาวิญญาณ ผัสสะจึงเกิด ลิ้นและรสอยู่ในส่วนรูป
สัมปยุตธรรมทั้งหลายเว้นชิวหาสัมผัสอยู่ในส่วนนาม ผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยนาม
และรูป ด้วยประการอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๒๕ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส
กายวิญญาณ เกิดขึ้นเพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะ ประชุมแห่งธรรม ๓ ประการ
คือ (๑) กาย (๒) โผฏฐัพพะ (๓) กายวิญญาณ ผัสสะจึงเกิด กายและโผฏฐัพพะอยู่ใน
ส่วนรูป สัมปยุตธรรมทั้งหลายเว้นกายสัมผัสอยู่ในส่วนนาม ผัสสะเกิดขึ้นเพราะ
อาศัยนามและรูป ด้วยประการอย่างนี้
มโนวิญญาณ เกิดขึ้นเพราะอาศัยใจและธรรมารมณ์ทั้งหลาย ประชุมแห่งธรรม
๓ ประการ คือ (๑) หทัยวัตถุ (๒) ธรรมารมณ์ (๓) มโนวิญญาณ ผัสสะจึงเกิด
หทัยวัตถุและธรรมารมณ์ที่มีรูปทั้งหลายอยู่ในส่วนรูป สัมปยุตธรรมทั้งหลายเว้น
มโนสัมผัสอยู่ในส่วนนาม ผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยนามและรูป ด้วยประการอย่างนี้

ว่าด้วยความยึดถือมีต้นเหตุมาจากความปรารถนา
คำว่า ความยึดถือมีต้นเหตุมาจากความปรารถนา อธิบายว่า ตัณหาตรัส
เรียกว่า ความปรารถนา คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก... อภิชฌา อกุศลมูล
คือโลภะ๑
คำว่า ความยึดถือ ได้แก่ ความยึดถือ ๒ อย่าง คือ (๑) ความยึดถือด้วย
อำนาจตัณหา (๒) ความยึดถือด้วยอำนาจทิฏฐิ...นี้ชื่อว่าความยึดถือด้วยอำนาจ
ตัณหา... นี้ชื่อว่าความยึดถือด้วยอำนาจทิฏฐิ๒
คำว่า ความยึดถือมีต้นเหตุมาจากความปรารถนา อธิบายว่า ความยึดถือ
มีต้นเหตุมาจากความปรารถนา คือ มีความปรารถนาเป็นต้นเหตุ มีความปรารถนา
เป็นปัจจัย มีความปรารถนาเป็นสาเหตุ มีความปรารถนาเป็นแดนเกิด รวมความว่า
ความยึดถือมีต้นเหตุมาจากความปรารถนา
คำว่า เมื่อความปรารถนาไม่มี ความยึดถือว่าเป็นของเราจึงไม่มี อธิบายว่า
ตัณหาตรัสเรียกว่า ความปรารถนา คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ... อภิชฌา
อกุศลมูลคือโลภะ

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๓/๑๐-๑๑
๒ ดูรายละเอียดข้อ ๑๒/๕๘-๕๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๒๖ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส
คำว่า ความยึดถือว่าเป็นของเรา ได้แก่ ความยึดถือว่าเป็นของเรา ๒ อย่าง
คือ (๑) ความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจตัณหา (๒) ความยึดถือว่าเป็นของเรา
ด้วยอำนาจทิฏฐิ... นี้ชื่อว่าความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจตัณหา... นี้ชื่อว่า
ความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจทิฏฐิ
คำว่า เมื่อความปรารถนาไม่มี ความยึดถือว่าเป็นของเราจึงไม่มี อธิบายว่า
เมื่อความปรารถนาไม่มี คือ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้ ความยึดถือว่าเป็นของเราจึงไม่มี คือ
ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้ ได้แก่ ความปรารถนา บุคคลนั้นละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว
ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า
เมื่อความปรารถนาไม่มี ความยึดถือว่าเป็นของเราจึงไม่มี

ว่าด้วยมหาภูตรูป ๔
คำว่า รูป ในคำว่า เมื่อรูปไม่มี ผัสสะจึงไม่ถูกต้อง ได้แก่ มหาภูตรูป ๔ และ
รูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔
คำว่า เมื่อรูปไม่มี ได้แก่ รูปไม่มีเพราะเหตุ ๔ อย่าง คือ
๑. เพราะการรู้ ๒. เพราะการพิจารณา
๓. เพราะการละ ๔. เพราะการก้าวพ้น
รูปไม่มีเพราะการรู้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุรู้รูป คือ รู้จัก มองเห็นว่า “รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง รูปทั้งหมด คือ
มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔” รูปไม่มีเพราะการรู้ เป็นอย่างนี้
รูปไม่มีเพราะการพิจารณา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุทำรูปที่รู้แล้วให้ปรากฏอย่างนี้ พิจารณารูป คือ พิจารณาโดยความ
เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดุจหัวฝี เป็นดุจลูกศร เป็นของลำบาก เป็น
อาพาธ เป็นอย่างอื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นเสนียด เป็นอุปัททวะ เป็นภัย เป็น
อุปสรรค เป็นของหวั่นไหว เป็นของผุพัง เป็นของไม่ยั่งยืน เป็นของไม่มีที่ต้านทาน
เป็นของไม่มีที่ซ่อนเร้น เป็นของไม่มีที่พึ่ง เป็นของว่าง เป็นของเปล่า เป็นของสูญ
เป็นอนัตตา เป็นของมีโทษ เป็นของแปรผันไปเป็นธรรมดา เป็นของไม่มีแก่นสาร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๒๗ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส
เป็นเหตุแห่งความลำบาก เป็นดุจเพชฌฆาต เป็นของปราศจากความเจริญ เป็นของมี
อาสวะ เป็นของที่ถูกเหตุปัจจัยปรุงแต่ง เป็นเหยื่อแห่งมาร มีชาติเป็นธรรมดา
มีชราเป็นธรรมดา มีพยาธิเป็นธรรมดา มีมรณะเป็นธรรมดา มีโสกะ ปริเทวะ ทุกขะ
โทมนัส อุปายาสเป็นธรรมดา มีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา เป็นเหตุเกิดทุกข์
ตั้งอยู่ไม่ได้ หาความแช่มชื่นไม่ได้ เป็นโทษ เป็นของที่ต้องสลัดออกไป รูปไม่มีเพราะ
การพิจารณา เป็นอย่างนี้
รูปไม่มีเพราะการละ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุครั้นพิจารณาเห็นอย่างนี้แล้ว ก็ย่อมละ คือ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป
ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งความกำหนัดเพราะความพอใจในรูป
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงละความ
กำหนัด เพราะความพอใจในรูป เธอละรูปนั้นได้เด็ดขาดแล้วอย่างนี้ ตัดรากถอน
โคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อ
ไปไม่ได้ รูปไม่มีเพราะการละ เป็นอย่างนี้
รูปไม่มีเพราะการก้าวพ้น เป็นอย่างไร
คือ ผู้ได้อรูปสมาบัติ๑ ๔ คือ ไม่มีรูป คือ ไม่ปรากฏ ก้าวล่วง ก้าวพ้น
ล่วงพ้นแล้ว รูปไม่มีเพราะการก้าวพ้น เป็นอย่างนี้
รูปชื่อว่าไม่มีเพราะเหตุ ๔ อย่างเหล่านี้
คำว่า เมื่อรูปไม่มี ผัสสะจึงไม่ถูกต้อง อธิบายว่า เมื่อรูปไม่มี คือ ไม่เป็น
ก้าวล่วง ก้าวพ้น ล่วงพ้น ผัสสะ ๕ อย่าง คือ
๑. จักขุสัมผัส ๒. โสตสัมผัส
๓. ฆานสัมผัส ๔. ชิวหาสัมผัส
๕. กายสัมผัส ย่อมไม่ถูกต้อง รวมความว่า เมื่อรูปไม่มี ผัสสะจึงไม่ถูกต้อง
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า

เชิงอรรถ :
๑ อรูปสมาบัติ ๔ ดูเชิงอรรถข้อ ๖/๒๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๒๘ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส
เพราะอาศัยนามและรูป ผัสสะจึงเกิด
ความยึดถือมีต้นเหตุมาจากความปรารถนา
เมื่อความปรารถนาไม่มี ความยึดถือว่าเป็นของเราจึงไม่มี
เมื่อรูปไม่มี ผัสสะจึงไม่ถูกต้อง
[๑๐๘] (พระพุทธเนรมิตทูลถามว่า)
เมื่อบุคคลดำเนินอย่างไร รูปจึงไม่มี
สุขและทุกข์จะไม่มีได้อย่างไร
สุขและทุกข์ย่อมไม่มีโดยวิธีการใด
ขอพระองค์โปรดตรัสบอกวิธีการนั้นแก่ข้าพระองค์
ข้าพระองค์มีความตั้งใจว่า จะรู้วิธีการนั้น
คำว่า ดำเนินอย่างไร ในคำว่า เมื่อบุคคลดำเนินอย่างไร รูปจึงไม่มี อธิบาย
ว่า ดำเนินอย่างไร คือ ปฏิบัติอย่างไร เคลื่อนไหวอย่างไร เป็นไปอย่างไร เลี้ยงชีวิต
อย่างไร ดำเนินไปอย่างไร ยังชีวิตให้ดำเนินไปอย่างไร รูปจึงไม่มี คือ ไม่เป็น ก้าวล่วง
ก้าวพ้น ล่วงพ้น รวมความว่า เมื่อบุคคลดำเนินอย่างไร รูปจึงไม่มี
คำว่า สุขและทุกข์จะไม่มีได้อย่างไร อธิบายว่า สุขและทุกข์จะไม่มี คือ
ไม่เป็น ก้าวล่วง ก้าวพ้น ล่วงพ้นได้อย่างไร รวมความว่า สุขและทุกข์จะไม่มีได้
อย่างไร
คำว่า วิธีการนั้น ในคำว่า สุขและทุกข์ย่อมไม่มีโดยวิธีการใด ขอพระองค์
โปรดตรัสบอกวิธีการนั้นแก่ข้าพระองค์ ได้แก่ วิธีการที่ข้าพระองค์ทูลถาม ทูลขอ
ทูลอัญเชิญ ทูลให้ทรงประกาศ รวมความว่า วิธีการนั้น
คำว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอก... นั้นแก่ข้าพระองค์ ได้แก่ ขอพระองค์
โปรดตรัส คือ โปรดบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย
ประกาศ รวมความว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอก... นั้นแก่ข้าพระองค์
คำว่า สุขและทุกข์ย่อมไม่มีโดยวิธีการใด ได้แก่ สุขและทุกข์ย่อมไม่มี คือ
ไม่เป็น ก้าวล่วง ก้าวพ้น ล่วงพ้น โดยวิธีการใด รวมความว่า สุขและทุกข์ย่อม
ไม่มีโดยวิธีการใด ขอพระองค์โปรดตรัสบอกวิธีการนั้นแก่ข้าพระองค์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๒๙ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส
คำว่า จะรู้วิธีการนั้น ในคำว่า ข้าพระองค์มีความตั้งใจว่า จะรู้วิธีการนั้น
ได้แก่ พวกข้าพระองค์พึงรู้ คือ พึงรู้ทั่วถึง รู้แจ่มแจ้ง รู้เฉพาะ แทงตลอดวิธีการนั้น
รวมความว่า จะรู้วิธีการนั้น
คำว่า ข้าพระองค์มีความตั้งใจว่า ได้แก่ ข้าพระองค์มีความตั้งใจ คือ
ข้าพระองค์มีความคิด ข้าพระองค์มีความดำริ ข้าพระองค์มีความรู้แจ้ง ดังนี้ รวม
ความว่า ข้าพระองค์มีความตั้งใจว่า จะรู้วิธีการนั้น ด้วยเหตุนั้น พระพุทธเนรมิต
จึงทูลถามว่า
เมื่อบุคคลดำเนินอย่างไร รูปจึงไม่มี
สุขและทุกข์จะไม่มีได้อย่างไร
สุขและทุกข์ย่อมไม่มีโดยวิธีการใด
ขอพระองค์โปรดตรัสบอกวิธีการนั้นแก่ข้าพระองค์
ข้าพระองค์มีความตั้งใจว่า จะรู้วิธีการนั้น
[๑๐๙] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า)
บุคคลไม่เป็นผู้มีสัญญาโดยสัญญาปกติ
ไม่เป็นผู้มีสัญญาโดยสัญญาผิดปกติ
เป็นผู้ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ปราศจากสัญญาก็มิใช่
เมื่อบุคคลดำเนินอย่างนี้ รูปจึงไม่มี
เพราะว่าส่วนแห่งธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้ามีต้นเหตุมาจากสัญญา
คำว่า บุคคลไม่เป็นผู้มีสัญญาโดยสัญญาปกติ ไม่เป็นผู้มีสัญญาโดยสัญญา
ผิดปกติ อธิบายว่า คนเหล่าใด ดำรงอยู่ในสัญญาปกติ คนเหล่านั้น ตรัสเรียกว่า
ผู้มีสัญญาโดยสัญญาปกติ บุคคลนั้นมิได้ดำรงอยู่ในสัญญาปกติ
คนเหล่าใด เป็นบ้าและมีจิตฟุ้งซ่าน คนเหล่านั้น ตรัสเรียกว่า ผู้มีสัญญาโดย
สัญญาผิดปกติ บุคคลนั้น มิได้เป็นบ้า มิได้มีจิตฟุ้งซ่าน รวมความว่า บุคคลไม่เป็นผู้
มีสัญญาโดยสัญญาปกติ ไม่เป็นผู้มีสัญญาโดยสัญญาผิดปกติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๓๐ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส
คำว่า เป็นผู้ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ปราศจากสัญญาก็มิใช่ อธิบายว่า คนเหล่าใด
เข้านิโรธสมาบัติได้แล้ว และเป็นอสัญญีสัตว์ คนเหล่านั้น ตรัสเรียกว่า ผู้ไม่มีสัญญา
บุคคลนั้นมิใช่ผู้เข้านิโรธสมาบัติได้แล้ว มิได้เป็นอสัญญีสัตว์
คนเหล่าใด ได้อรูปสมาบัติ ๔ คนเหล่านั้น ตรัสเรียกว่า ผู้ปราศจากสัญญา
บุคคลนั้นมิใช่ผู้ได้อรูปสมาบัติ ๔ รวมความว่า เป็นผู้ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ปราศจาก
สัญญาก็มิใช่
คำว่า เมื่อบุคคลดำเนินอย่างนี้ รูปจึงไม่มี อธิบายว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เพราะละสุขได้...บรรลุจตุตถฌานอยู่ เธอเมื่อจิตตั้งมั่น บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่มีกิเลส
เพียงดังเนิน ปราศจากอุปกิเลส อ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ถึงความไม่หวั่น
ไหวอย่างนี้ ย่อมโน้ม น้อมจิตไปเพื่อให้ได้อากาสานัญจายตนสมาบัติ เป็นผู้พร้อม
เพรียงด้วยธรรมเป็นทางแห่งอรูปสมาบัติ เมื่อบุคคลดำเนินอย่างนี้ คือ ปฏิบัติอย่างนี้
เคลื่อนไหวอย่างนี้ เป็นไปอย่างนี้ เลี้ยงชีวิตอย่างนี้ ดำเนินไปอย่างนี้ ยังชีวิตให้
ดำเนินไปอย่างนี้ รูปก็ย่อมไม่มี คือ ไม่เป็น ก้าวล่วง ก้าวพ้น ล่วงพ้น รวมความว่า
เมื่อบุคคลดำเนินอย่างนี้ รูปจึงไม่มี

ว่าด้วยธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า
คำว่า เพราะว่าส่วนแห่งธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้ามีต้นเหตุมาจากสัญญา
อธิบายว่า ธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้านั่นเอง คือ ส่วนแห่งธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้าคือ
ตัณหา ส่วนแห่งธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้าคือทิฏฐิ ส่วนแห่งธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้าคือ
มานะ มีต้นเหตุมาจากสัญญา คือ มีสัญญาเป็นเหตุเกิด มีสัญญาเป็นกำเนิด มี
สัญญาเป็นแดนเกิด รวมความว่า เพราะว่าส่วนแห่งธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้ามีต้นเหตุ
มาจากสัญญา ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า
บุคคลไม่เป็นผู้มีสัญญาโดยสัญญาปกติ
ไม่เป็นผู้มีสัญญาโดยสัญญาผิดปกติ
เป็นผู้ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ปราศจากสัญญาก็มิใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๓๑ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส
เมื่อบุคคลดำเนินอย่างนี้ รูปจึงไม่มี
เพราะว่าส่วนแห่งธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้ามีต้นเหตุมาจากสัญญา
[๑๑๐] (พระพุทธเนรมิตทูลถามว่า)
ข้าพระองค์ได้ทูลถามธรรมใดแล้ว
พระองค์ก็ได้ตรัสตอบธรรมนั้นแก่พวกข้าพระองค์แล้ว
ข้าพระองค์ขอทูลถามธรรมอื่นอีก
ขอเชิญพระองค์โปรดตรัสบอกธรรมนั้นด้วยเถิด
สมณพราหมณ์บางพวกอ้างตนว่า เป็นบัณฑิตในโลกนี้
พากันกล่าวความหมดจดของยักษ์ด้วยอรูปสมาบัติ
เท่านั้นหรือหนอว่า เป็นธรรมอันเลิศ
หรือว่า สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวถึงความหมดจด
อย่างอื่นว่า เยี่ยมกว่าอรูปสมาบัตินี้
คำว่า ข้าพระองค์ได้ทูลถามธรรมใดแล้ว พระองค์ก็ได้ตรัสตอบธรรมนั้น
แก่พวกข้าพระองค์แล้ว ได้แก่ ข้าพระองค์ได้ทูลถาม คือ ได้ทูลขอ ได้ทูลอัญเชิญ
ได้ทูลให้ประกาศธรรมใดแล้ว
คำว่า พระองค์ก็ได้ตรัสตอบธรรมนั้นแก่พวกข้าพระองค์แล้ว ได้แก่ ได้ตรัส
ตอบ คือ ได้ทรงชี้แจงแล้ว ตรัสบอกแล้ว ทรงแสดงแล้ว บัญญัติแล้ว กำหนดแล้ว
เปิดเผยแล้ว จำแนกแล้ว ทำให้ง่ายแล้ว ประกาศแล้ว รวมความว่า ข้าพระองค์ได้
ทูลถามธรรมใดแล้ว พระองค์ก็ได้ตรัสตอบธรรมนั้นแก่พวกข้าพระองค์แล้ว
คำว่า ข้าพระองค์ขอทูลถามธรรมอื่นอีก ขอเชิญพระองค์โปรดตรัสบอก
ธรรมนั้นด้วยเถิด ได้แก่ ข้าพระองค์ขอทูลถาม คือ ทูลขอ ทูลอัญเชิญ ทูลให้
ประกาศธรรมอื่นอีก ได้แก่ ขอทูลถามพระองค์ถึงธรรมที่ยิ่งขึ้นไป
คำว่า ขอเชิญพระองค์โปรดตรัสบอกธรรมนั้นด้วยเถิด ได้แก่ ขอเชิญ
พระองค์โปรดตรัส คือ โปรดบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก
ทำให้ง่าย ประกาศ รวมความว่า ข้าพระองค์ขอทูลถามธรรมอื่นอีก ขอเชิญพระองค์
โปรดตรัสบอกธรรมนั้นด้วยเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๓๒ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส
ว่าด้วยความหมดจดแห่งอรูปสมาบัติ
คำว่า สมณพราหมณ์บางพวกอ้างตนว่า เป็นบัณฑิตในโลกนี้ พากันกล่าว
ความหมดจดของยักษ์ด้วยอรูปสมาบัติเท่านั้นหรือหนอว่า เป็นธรรมอันเลิศ
อธิบายว่า สมณพราหมณ์บางพวก ย่อมกล่าว คือ พูด บอก แสดง ชี้แจง
อรูปสมาบัติเหล่านี้ว่า เป็นธรรมอันเลิศ คือ ประเสริฐ วิเศษ นำหน้า สูงสุด
ประเสริฐสุด
คำว่า ของยักษ์ ได้แก่ ของสัตว์ นรชน มานพ บุรุษ บุคคล ผู้มีชีวิต ผู้เกิด
สัตว์เกิด ผู้เป็นไปตามกรรม มนุษย์
คำว่า ความหมดจด ได้แก่ ความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์
ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไป
คำว่า อ้างตนว่า เป็นบัณฑิตในโลกนี้ ได้แก่ กล่าวอ้างตนว่า เป็นบัณฑิตใน
โลกนี้ คือ อ้างว่าเป็นนักปราชญ์ อ้างว่ามีญาณ อ้างว่ามีเหตุผล อ้างว่ามีคุณลักษณะ
อ้างว่าเหมาะแก่เหตุ อ้างว่าสมฐานะ ตามลัทธิของตน รวมความว่า สมณพราหมณ์
บางพวกอ้างตนว่า เป็นบัณฑิตในโลกนี้ พากันกล่าวความหมดจดของยักษ์ด้วย
อรูปสมาบัติเท่านั้นว่า เป็นธรรมอันเลิศ
คำว่า หรือว่า สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวถึงความหมดจดอย่างอื่นว่า
เยี่ยมกว่าอรูปสมาบัตินี้ อธิบายว่า หรือว่า สมณพราหมณ์บางพวก ก้าวล่วง
ก้าวพ้น ล่วงพ้นอรูปสมาบัติเหล่านี้ ย่อมกล่าว คือ พูด บอก แสดง ชี้แจง ความ
หมดจด ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไป
ของยักษ์อย่างอื่น คือ ยอดเยี่ยมกว่าอรูปสมาบัตินี้ รวมความว่า หรือว่า
สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวถึงความหมดจดอย่างอื่นว่าเยี่ยมกว่าอรูปสมาบัตินี้
ด้วยเหตุนั้น พระพุทธเนรมิตจึงทูลถามว่า
ข้าพระองค์ได้ทูลถามธรรมใดแล้ว
พระองค์ก็ได้ตรัสตอบธรรมนั้นแก่พวกข้าพระองค์แล้ว
ข้าพระองค์ขอทูลถามธรรมอื่นอีก
ขอเชิญพระองค์โปรดตรัสบอกธรรมนั้นด้วยเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๓๓ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส
สมณพราหมณ์บางพวกอ้างตนว่า เป็นบัณฑิตในโลกนี้
พากันกล่าวความหมดจดของยักษ์ด้วยอรูปสมาบัติ
เท่านั้นหรือหนอว่า เป็นธรรมอันเลิศ
หรือว่า สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวถึงความหมดจด
อย่างอื่นว่า เยี่ยมกว่าอรูปสมาบัตินี้
[๑๑๑] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า)
สมณพราหมณ์บางพวกอ้างตนว่า เป็นบัณฑิตในโลกนี้
พากันกล่าวความหมดจดของยักษ์ด้วยอรูปสมาบัติ
เท่านั้นว่า เป็นธรรมอันเลิศ บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น
สมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่งก็อ้างตนว่าเป็นผู้ฉลาด
พากันกล่าวความสงบในความไม่มีอะไรเหลือ
คำว่า สมณพราหมณ์บางพวกอ้างตนว่า เป็นบัณฑิตในโลกนี้ พากันกล่าว
ความหมดจดของยักษ์ด้วยอรูปสมาบัติเท่านั้นว่า เป็นธรรมอันเลิศ อธิบายว่า
มีสมณพราหมณ์บางพวก ผู้มีวาทะว่าเที่ยง พากันกล่าว คือ พูด บอก แสดง
ชี้แจงอรูปสมาบัติเหล่านี้ว่า เป็นธรรมอันเลิศ คือ ประเสริฐ วิเศษ นำหน้า สูงสุด
ประเสริฐสุด
คำว่า ยักษ์ ได้แก่ สัตว์ นรชน มานพ บุรุษ บุคคล ผู้มีชีวิต ผู้เกิด สัตว์เกิด
ผู้เป็นไปตามกรรม มนุษย์
คำว่า ความหมดจด ได้แก่ ความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์
ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไป
คำว่า อ้างตนว่าเป็นบัณฑิตในโลกนี้ ได้แก่ กล่าวอ้างตนว่าเป็นบัณฑิต
ในโลกนี้ คือ อ้างว่าเป็นนักปราชญ์ อ้างว่ามีญาณ อ้างว่ามีเหตุผล อ้างว่ามี
คุณลักษณะ อ้างว่าเหมาะแก่เหตุ อ้างว่าสมฐานะ ตามลัทธิของตน รวมความว่า
สมณพราหมณ์บางพวกอ้างตนว่าเป็นบัณฑิตในโลกนี้ พากันกล่าวความหมดจดของ
ยักษ์ด้วยอรูปสมาบัติเท่านั้นว่า เป็นธรรมอันเลิศ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๓๔ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส
คำว่า บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่งก็อ้าง
ตนว่าเป็นผู้ฉลาด พากันกล่าวความสงบในความไม่มีอะไรเหลือ อธิบายว่า
บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่งผู้มีวาทะว่าขาดสูญ
ขยาดต่อภพ ชื่นชอบความปราศจากภพ สมณพราหมณ์พวกนั้นกล่าวความสงบ
คือ ความเข้าไปสงบ ความสงบเย็น ความดับ ความสงัดแห่งสัตว์ว่า ท่านผู้เจริญ
หลังจากตายแล้ว อัตตานี้ ย่อมขาดสูญ พินาศ ไม่มีอยู่ โดยเหตุใด ความไม่มี
อะไรเหลือ ก็มีโดยเหตุเท่านั้น
คำว่า อ้างตนว่าเป็นผู้ฉลาด ได้แก่ กล่าวอ้างตนว่าเป็นผู้ฉลาด คือ อ้างว่า
เป็นบัณฑิต อ้างว่าเป็นนักปราชญ์ อ้างว่ามีญาณ อ้างว่ามีเหตุผล อ้างว่ามี
คุณลักษณะ อ้างว่าเหมาะแก่เหตุ อ้างว่าสมฐานะ ตามลัทธิของตน รวมความว่า
บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่งก็อ้างตนว่าเป็นผู้ฉลาด
พากันกล่าวความสงบในความไม่มีอะไรเหลือ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัส
ตอบว่า
สมณพราหมณ์บางพวกอ้างตนว่า เป็นบัณฑิตในโลกนี้
พากันกล่าวความหมดจดของยักษ์ด้วยอรูปสมาบัติ
เท่านั้นว่า เป็นธรรมอันเลิศ บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น
สมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่งก็อ้างตนว่าเป็นผู้ฉลาด
พากันกล่าวความสงบในความไม่มีอะไรเหลือ
[๑๑๒] (พระผู้มีพระภาคตรัสต่อไปว่า)
มุนีผู้มีปัญญาเครื่องพิจารณานั้น รู้จักสมณพราหมณ์
ผู้เป็นเจ้าลัทธิเหล่านี้ว่า เป็นผู้เข้าไปอาศัยทิฏฐิ
และรู้จักทิฏฐิเป็นที่อาศัย นักปราชญ์ครั้นรู้จักแล้วก็หลุดพ้น
ไม่ถึงการวิวาท ไม่กลับมาในภพน้อยภพใหญ่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๓๕ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส
ว่าด้วยปัญญาเครื่องพิจารณา
คำว่า เหล่านี้ ในคำว่า รู้จักสมณพราหมณ์ผู้เป็นเจ้าลัทธิเหล่านี้ว่า เป็นผู้
เข้าไปอาศัยทิฏฐิ ได้แก่ ผู้เป็นเจ้าลัทธิ
คำว่า เข้าไปอาศัยทิฏฐิ ได้แก่ รู้จัก คือ ทราบแล้ว เทียบเคียงแล้ว พิจารณา
แล้ว ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้วว่า “เป็นผู้อาศัยสัสสตทิฏฐิ(ความเห็นว่า
เที่ยง) เป็นผู้อาศัยอุจเฉททิฏฐิ(ความเห็นว่าขาดสูญ) เป็นผู้อาศัยทั้งสัสสตทิฏฐิและ
อุจเฉททิฏฐิ” รวมความว่า รู้จักสมณพราหมณ์ผู้เป็นเจ้าลัทธิเหล่านี้ว่า เป็นผู้เข้าไป
อาศัยทิฏฐิ
คำว่า มุนี ในคำว่า มุนีผู้มีปัญญาเครื่องพิจารณานั้น... และรู้จักทิฏฐิเป็น
ที่อาศัย อธิบายว่า ญาณ ท่านเรียกว่า โมนะ...ผู้ก้าวล่วงกิเลสเครื่องข้องและตัณหา
ดุจตาข่ายได้แล้ว ชื่อว่ามุนี๑
มุนี รู้จัก คือ ทราบแล้ว เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว ทำให้กระจ่างแล้ว
ทำให้แจ่มแจ้งแล้วว่า “เป็นผู้อาศัยสัสสตทิฏฐิ เป็นผู้อาศัยอุจเฉททิฏฐิ เป็นผู้อาศัย
ทั้งสัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิ”
คำว่า ... ผู้มีปัญญาเครื่องพิจารณานั้น ได้แก่ ผู้เป็นบัณฑิต มีปัญญา
มีปัญญาเครื่องตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลส
รวมความว่า มุนีผู้มีปัญญาเครื่องพิจารณานั้น ... และรู้จักทิฏฐิเป็นที่อาศัย
คำว่า ครั้นรู้จักแล้วก็หลุดพ้นไม่ถึงการวิวาท ได้แก่ ครั้นรู้จักแล้ว คือ ทราบแล้ว
เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว
คำว่า หลุดพ้น ได้แก่ หลุดไปแล้ว พ้นไปแล้ว หลุดพ้นไปแล้ว หลุดพ้นไปด้วย
ดีแล้ว โดยความหลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่นโดยส่วนเดียว คือ ครั้นรู้จักแล้ว ทราบแล้ว
เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้วว่า “สังขาร
ทั้งปวงไม่เที่ยง ... สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์... ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา”...คือ

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๑๔/๖๘-๗๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๓๖ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๑. กลหวิวาทสุตตนิทเทส
ครั้นรู้จักแล้ว ทราบแล้ว เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว ทำให้กระจ่างแล้ว
ทำให้แจ่มแจ้งแล้วว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมี
ความดับไปเป็นธรรมดา” ก็หลุดไปแล้ว พ้นไปแล้ว หลุดพ้นไปแล้ว หลุดพ้นไปด้วย
ดีแล้ว โดยความหลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่นโดยส่วนเดียว รวมความว่า ครั้นรู้จักแล้วก็
หลุดพ้น
คำว่า ไม่ถึงการวิวาท ได้แก่ ไม่ก่อการทะเลาะ ไม่ก่อการบาดหมาง ไม่ก่อการ
แก่งแย่ง ไม่ก่อการวิวาท ไม่ก่อการมุ่งร้าย
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า อัคคิเวสสนะ ภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้ว
อย่างนี้แล ย่อมไม่โต้เถียงกับใคร ไม่วิวาทกับใคร เรื่องใดที่พูดกันในโลก เธอก็ไม่
ยึดมั่น ชี้แจงด้วยเรื่องนั้น๑ รวมความว่า ครั้นรู้จักแล้วก็หลุดพ้น ไม่ถึงการวิวาท
คำว่า ในภพน้อยภพใหญ่ ในคำว่า นักปราชญ์... ไม่กลับมาในภพน้อยภพ
ใหญ่ อธิบายว่า ไม่กลับมา คือ ไม่มาถึง ไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น ในภพน้อยภพใหญ่
คือ ในกรรมวัฏและวิปากวัฏ ในกรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในกามภพ ในวิปากวัฏเป็น
เครื่องเกิดในกามภพ ในกรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในรูปภพ ในวิปากวัฏเป็นเครื่อง
เกิดในรูปภพ ในกรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในอรูปภพ ในวิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดใน
อรูปภพ ในภพต่อไป ในคติต่อไป ในการถือกำเนิดต่อไป ในปฏิสนธิต่อไป ในอัตภาพ
ต่อไป ในการบังเกิดของอัตภาพต่อไป
คำว่า นักปราชญ์ ได้แก่ นักปราชญ์ คือ บัณฑิต มีปัญญา มีปัญญาเครื่องตรัสรู้
มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลส รวมความว่า นักปราชญ์...
ไม่กลับมาในภพน้อยภพใหญ่ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
มุนีผู้มีปัญญาเครื่องพิจารณานั้น รู้จักสมณพราหมณ์
ผู้เป็นเจัาลัทธิเหล่านี้ว่า เป็นผู้เข้าไปอาศัยทิฏฐิ
และรู้จักทิฏฐิเป็นที่อาศัย นักปราชญ์ครั้นรู้จักแล้วก็หลุดพ้น
ไม่ถึงการวิวาท ไม่กลับมาในภพน้อยภพใหญ่
กลหวิวาทสุตตนิทเทสที่ ๑๑ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ม.ม. ๑๓/๒๐๕/๑๘๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๓๗ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๒. จูฬวิยูหสุตตนิทเทส
๑๒. จูฬวิยูหสุตตนิทเทส๑
อธิบายจูฬวิยูหสูตร
ว่าด้วยการวิวาทกันเพราะทิฏฐิสูตรเล็ก
พระสารีบุตรเถระจะกล่าวอธิบายจูฬวิยูหสูตร ดังต่อไปนี้
[๑๑๓] (พระพุทธเนรมิตทูลถามว่า)
สมณพราหมณ์เจ้าลัทธิบางพวก
ยึดถืออยู่เฉพาะทิฏฐิของตน ๆ
ถือแล้วก็อ้างตัวว่าเป็นคนฉลาด พูดกันไปต่าง ๆ ว่า
บุคคลใดรู้อย่างนี้ บุคคลนั้นชื่อว่ารู้ธรรมแล้ว
บุคคลใดคัดค้านธรรมนี้ บุคคลนั้นชื่อว่ายังไม่สำเร็จกิจ
คำว่า ยึดถืออยู่เฉพาะทิฏฐิของตน ๆ อธิบายว่า สมณพราหมณ์เจ้าลัทธิ
บางพวก สมณพราหมณ์เหล่านั้น ยึด ยึดถือ ถือ ยึดมั่น ถือมั่น ทิฏฐิอย่างใด
อย่างหนึ่ง บรรดาทิฏฐิ๒ ๖๒ แล้ว อยู่ อยู่ร่วม อยู่อาศัย อยู่ครองในทิฏฐิของตน ๆ
เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้ครองเรือนก็อยู่ในเรือน หมู่ภิกษุผู้มีอาบัติก็อยู่ในอาบัติ หรือ
พวกปุถุชนผู้มีกิเลสก็อยู่ในกิเลส ฉันใด มีสมณพราหมณ์เจ้าลัทธิบางพวก
สมณพราหมณ์เหล่านั้น ยึด ยึดถือ ถือ ยึดมั่น ถือมั่นทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่งบรรดา
ทิฏฐิ ๖๒ แล้ว อยู่ อยู่ร่วม อยู่อาศัย อยู่ครองในทิฏฐิของตน ๆ ฉันนั้นเหมือนกัน
รวมความว่า ยึดถืออยู่เฉพาะทิฏฐิของตน ๆ
คำว่า ถือแล้ว ในคำว่า ถือแล้วก็อ้างตัวว่าเป็นคนฉลาด พูดกันไปต่าง ๆ
ได้แก่ ยึด ยึดถือ ถือ ยึดมั่น ถือมั่น

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.สุ. ๒๕/๘๘๕-๙๐๑/๕๐๖-๕๑๐
๒ ดูเชิงอรรถข้อ ๗/๒๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๓๘ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๒. จูฬวิยูหสุตตนิทเทส
คำว่า พูดกันไปต่าง ๆ ได้แก่ พูดกันไปต่าง ๆ คือ พูดมากอย่าง พูดอย่างโน้น
อย่างนี้ พูดไปมากมาย คือ ไม่กล่าว ไม่พูด ไม่บอก ไม่แสดง ไม่ชี้แจงเป็นอย่าง
เดียวกัน
คำว่า อ้างตัวว่าเป็นคนฉลาด ได้แก่ อ้างตัวว่าเป็นคนฉลาด คือ อ้างว่าเป็น
บัณฑิต อ้างว่าเป็นนักปราชญ์ อ้างว่ามีความรู้ อ้างว่ามีเหตุผล อ้างว่ามีคุณลักษณะ
อ้างว่าเหมาะแก่เหตุ อ้างว่าสมฐานะ ตามลัทธิของตน รวมความว่า ถือแล้วก็อ้างตัว
ว่าเป็นคนฉลาด พูดกันไปต่าง ๆ
คำว่า บุคคลใดรู้อย่างนี้ บุคคลนั้นก็ชื่อว่า รู้ธรรมแล้ว อธิบายว่า บุคคลใด
รู้ธรรม คือ ทิฏฐิ๑ ปฏิปทา๒ มรรค๓ นี้ บุคคลนั้นชื่อว่ารู้ คือ ได้รู้ ได้เห็น ได้แทง
ตลอดธรรมแล้ว รวมความว่า บุคคลใดรู้อย่างนี้ บุคคลนั้นชื่อว่ารู้ธรรมแล้ว
คำว่า บุคคลใดคัดค้านธรรมนี้ บุคคลนั้นชื่อว่ายังไม่สำเร็จกิจ อธิบายว่า บุคคลใด
คัดค้านธรรม คือ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรค นี้ บุคคลนั้น ชื่อว่ายังไม่สำเร็จกิจ
คือ ไม่สมบูรณ์ ไม่บริบูรณ์ ได้แก่ บุคคลนั้นเป็นคนเลว ทราม ต่ำทราม น่ารังเกียจ
หยาบช้า ต่ำต้อย รวมความว่า บุคคลใดคัดค้านธรรมนี้ บุคคลนั้นชื่อว่ายังไม่
สำเร็จกิจ ด้วยเหตุนั้น พระพุทธเนรมิตจึงทูลถามว่า
สมณพราหมณ์เจ้าลัทธิบางพวก
ยึดถืออยู่เฉพาะทิฏฐิของตน ๆ
ถือแล้วก็อ้างตัวว่าเป็นคนฉลาด พูดกันไปต่าง ๆ ว่า
บุคคลใดรู้อย่างนี้ บุคคลนั้นชื่อว่ารู้ธรรมแล้ว
บุคคลใดคัดค้านธรรมนี้ บุคคลนั้นชื่อว่ายังไม่สำเร็จกิจ

เชิงอรรถ :
๑ ทิฏฐิ ดูเชิงอรรถข้อ ๗/๒๙
๒ ปฏิปทา แนวปฏิบัติที่เป็นทางดำเนินให้ถึงจุดมุ่งหมาย คือความหลุดพ้นหรือสิ้นอาสวะ (องฺ.จตุกฺก. ๒๑/
๑๖๗-๑๖๘/๑๗๖-๑๗๗)
๓ มรรค ดูรายละเอียดข้อ ๑๑๙/๓๔๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๓๙ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๒. จูฬวิยูหสุตตนิทเทส
[๑๑๔] (พระพุทธเนรมิตทูลถามอีกว่า)
สมณพราหมณ์เหล่านั้น ถืออย่างนี้แล้วก็พากันวิวาท
และกล่าวว่า คนอื่นเป็นคนพาล ไม่ฉลาด
วาทะของสมณพราหมณ์เหล่านี้
วาทะไหนเป็นเรื่องจริงกันหนอ
เพราะสมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมด
ต่างก็อ้างตัวว่าเป็นคนฉลาด

ว่าด้วยวิวาทกันเพราะถือทิฏฐิ
คำว่า ถืออย่างนี้แล้วก็พากันวิวาท อธิบายว่า ยึด ยึดถือ ถือ ยึดมั่น ถือมั่น
อย่างนี้แล้วก็พากันวิวาท คือ ก่อการทะเลาะ ก่อการบาดหมาง ก่อการแก่งแย่ง
ก่อการวิวาท ก่อการมุ่งร้ายว่า “ท่านไม่รู้ธรรมวินัยนี้... หรือ หากท่านสามารถ
ก็จงแก้ไขเถิด” รวมความว่า ถืออย่างนี้แล้วก็พากันวิวาท
คำว่า และกล่าวว่า คนอื่นเป็นคนพาล ไม่ฉลาด อธิบายว่า กล่าวอย่างนี้
คือ พูด บอก แสดง ชี้แจงอย่างนี้ว่า คนอื่น เป็นคนพาล คือ เป็นคนเลว ทราม
ต่ำทราม น่ารังเกียจ หยาบช้า ต่ำต้อย ไม่ฉลาด คือ ไม่มีความรู้ ไปตามอวิชชา
ไม่มีญาณ ไม่มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาทึบ รวมความว่า และกล่าวว่า คนอื่นเป็น
คนพาล ไม่ฉลาด
คำว่า วาทะของสมณพราหมณ์เหล่านี้ วาทะไหนเป็นเรื่องจริงกันหนอ
อธิบายว่า วาทะของสมณพราหมณ์เหล่านี้ วาทะไหนเป็นเรื่องจริง คือ แท้ แน่
เป็นจริง แน่นอน ไม่วิปริต รวมความว่า วาทะของสมณพราหมณ์เหล่านี้ วาทะไหน
เป็นเรื่องจริงกันหนอ
คำว่า เพราะสมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมดต่างก็อ้างตัวว่าเป็นคนฉลาด
อธิบายว่า สมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมดต่างก็อ้างตัวว่าเป็นคนฉลาด คือ อ้างว่า
เป็นบัณฑิต อ้างว่าเป็นนักปราชญ์ อ้างว่ามีความรู้ อ้างว่ามีเหตุผล อ้างว่ามี
คุณลักษณะ อ้างว่าเหมาะแก่เหตุ อ้างว่าสมฐานะ ตามลัทธิของตน รวมความว่า
เพราะสมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมดต่างก็อ้างตัวว่าเป็นคนฉลาด ด้วยเหตุนั้น พระ-
พุทธเนรมิตจึงทูลถามว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๔๐ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๒. จูฬวิยูหสุตตนิทเทส
สมณพราหมณ์เหล่านั้น ถืออย่างนี้แล้วก็พากันวิวาท
และกล่าวว่า คนอื่นเป็นคนพาล ไม่ฉลาด
วาทะของสมณพราหมณ์เหล่านี้
วาทะไหนเป็นเรื่องจริงกันหนอ
เพราะสมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมด
ต่างก็อ้างตัวว่าเป็นคนฉลาด
[๑๑๕] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า)
คนพาลไม่ยอมรับธรรมของผู้อื่นเลย
เป็นคนต่ำทราม มีปัญญาทราม
สมณพราหมณ์ทั้งหมดนั่นแหละเป็นคนพาล มีปัญญาทราม
สมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมดนั่นแหละ ยึดถือทิฏฐิอยู่
คำว่า ไม่ยอมรับธรรมของผู้อื่นเลย อธิบายว่า ไม่ยอมรับ คือ ไม่เห็นตาม
ไม่คล้อยตาม ไม่ยินดีตามธรรม คือ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรค ของผู้อื่น รวมความว่า
ไม่ยอมรับธรรมของผู้อื่นเลย
คำว่า คนพาล... เป็นคนต่ำทราม มีปัญญาทราม อธิบายว่า คนอื่นเป็นพาล
เป็นคนเลว ทราม ต่ำทราม น่ารังเกียจ หยาบช้า ต่ำต้อย มีปัญญาเลว มีปัญญา
ทราม มีปัญญาต่ำทราม มีปัญญาน่ารังเกียจ มีปัญญาหยาบช้า มีปัญญาต่ำต้อย
รวมความว่า คนพาล... เป็นคนต่ำทราม มีปัญญาทราม
คำว่า สมณพราหมณ์ทั้งหมดนั่นแหละ เป็นคนพาล มีปัญญาทราม อธิบาย
ว่า สมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมดนั่นแหละ เป็นคนพาล คือ เป็นคนเลว ทราม
ต่ำทราม น่ารังเกียจ หยาบช้า ต่ำต้อย สมณพราหมณ์ทั้งหมดนั่นแหละ มีปัญญา
เลว คือ มีปัญญาทราม มีปัญญาต่ำทราม มีปัญญาน่ารังเกียจ มีปัญญาหยาบช้า
มีปัญญาต่ำต้อย รวมความว่า สมณพราหมณ์ทั้งหมดนั่นแหละ เป็นคนพาล
มีปัญญาทราม
คำว่า สมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมดนั่นแหละ ยึดถือทิฏฐิอยู่ อธิบายว่า
สมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมดนั่นแหละ เป็นเจ้าลัทธิ สมณพราหมณ์เหล่านั้น ยึด
ยึดถือ ถือ ยึดมั่น ถือมั่นทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่งบรรดาทิฏฐิ ๖๒ แล้ว อยู่ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๔๑ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๒. จูฬวิยูหสุตตนิทเทส
อยู่ร่วม อยู่อาศัย อยู่ครองตามทิฏฐิของตน ๆ เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้ครองเรือนก็อยู่
ในเรือน หมู่ภิกษุผู้มีอาบัติก็อยู่ในอาบัติ หรือพวกปุถุชนผู้มีกิเลสก็อยู่ในกิเลส ฉันใด
สมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมดนั่นแหละ เป็นเจ้าลัทธิ สมณพราหมณ์เหล่านั้น ยึด
ยึดถือ ถือ ยึดมั่น ถือมั่น ทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดาทิฏฐิ ๖๒ แล้ว อยู่ คือ
อยู่ร่วม อยู่อาศัย อยู่ครองตามทิฏฐิของตน ๆ ฉันนั้นเหมือนกัน รวมความว่า
สมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมดนั่นแหละ ยึดถือทิฏฐิอยู่ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค
จึงตรัสตอบว่า
คนพาลไม่ยอมรับธรรมของผู้อื่นเลย
เป็นคนต่ำทราม มีปัญญาทราม
สมณพราหมณ์ทั้งหมดนั่นแหละเป็นคนพาล มีปัญญาทราม
สมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมดนั่นแหละ ยึดถือทิฏฐิอยู่
[๑๑๖] (พระผู้มีพระภาคตรัสต่อไปว่า)
ถ้าพวกสมณพราหมณ์ ไม่ผ่องแผ้วเพราะทิฏฐิของตน
เป็นผู้มีปัญญาหมดจดดี ฉลาด มีความรู้แล้วไซร้
บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น ก็ไม่มีใครเสื่อมปัญญา
เพราะทิฏฐิของสมณพราหมณ์แม้เหล่านั้น ถือกันมาอย่างนั้น
คำว่า ถ้าพวกสมณพราหมณ์ ไม่ผ่องแผ้วเพราะทิฏฐิของตน อธิบายว่า
พวกสมณพราหมณ์ไม่ผ่องแผ้ว คือ ไม่ผ่องใส ไม่แจ่มใส เศร้าหมอง หม่นหมอง
เพราะทิฏฐิของตน คือ เพราะความถูกใจของตน ความพอใจของตน ลัทธิของตน
รวมความว่า ถ้าพวกสมณพราหมณ์ ไม่ผ่องแผ้วเพราะทิฏฐิของตน
คำว่า เป็นผู้มีปัญญาหมดจดดี ฉลาด มีความรู้แล้วไซร้ อธิบายว่า เป็นผู้มี
ปัญญาหมดจด คือ มีปัญญาสะอาด มีปัญญาบริสุทธิ์ มีปัญญาผ่องใส มีปัญญา
แจ่มใส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๔๒ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๒. จูฬวิยูหสุตตนิทเทส
อีกนัยหนึ่ง เป็นผู้มีความเห็นหมดจด มีความเห็นสะอาด มีความเห็นบริสุทธิ์
มีความเห็นผ่องใส มีความเห็นแจ่มใส รวมความว่า เป็นผู้มีปัญญาหมดจดดี
คำว่า ฉลาด ได้แก่ ฉลาด คือ เป็นบัณฑิต มีปัญญา มีปัญญาเครื่องตรัสรู้
มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลส รวมความว่า เป็นผู้มีปัญญา
หมดจดดี ฉลาด
คำว่า มีความรู้ ได้แก่ มีความรู้ คือ เป็นบัณฑิต มีปัญญา มีปัญญาเครื่อง
ตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลส รวมความว่า เป็น
ผู้มีปัญญาหมดจดดี ฉลาด มีความรู้แล้วไซร้
คำว่า บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น ก็ไม่มีใครเสื่อมปัญญา อธิบายว่า
บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น ก็ไม่มีใครมีปัญญาเลว มีปัญญาทราม มีปัญญาต่ำ
ทราม มีปัญญาน่ารังเกียจ มีปัญญาหยาบช้า มีปัญญาต่ำต้อย
อีกนัยหนึ่ง สมณพราหมณ์ทั้งหมดนั่นแหละ เป็นผู้มีปัญญาเลิศ มีปัญญา
ประเสริฐ มีปัญญาวิเศษ มีปัญญานำหน้า มีปัญญาสูงสุด มีปัญญาประเสริฐสุด
รวมความว่า บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น ก็ไม่มีใครเสื่อมปัญญา
คำว่า เพราะทิฏฐิของสมณพราหมณ์แม้เหล่านั้น ถือกันมาอย่างนั้น อธิบายว่า
ทิฏฐิของสมณพราหมณ์เหล่านั้น ถือกันมา คือ สมาทาน ถือ ยึดมั่น ถือมั่น
ติดใจ น้อมใจเชื่อกันมาอย่างนั้น รวมความว่า เพราะทิฏฐิของสมณพราหมณ์แม้
เหล่านั้น ถือกันมาอย่างนั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
ถ้าพวกสมณพราหมณ์ ไม่ผ่องแผ้วเพราะทิฏฐิของตน
เป็นผู้มีปัญญาหมดจดดี ฉลาด มีความรู้แล้วไซร้
บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น ก็ไม่มีใครเสื่อมปัญญา
เพราะทิฏฐิของสมณพราหมณ์แม้เหล่านั้น ถือกันมาอย่างนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๔๓ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๒. จูฬวิยูหสุตตนิทเทส
[๑๑๗] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
คน ๒ พวกกล่าวทิฏฐิใดกะกันและกันว่า เป็นคนพาล
เราไม่กล่าวทิฏฐินั้นว่าจริง
พวกสมณพราหมณ์พากันประกาศทิฏฐิของตน ๆ ว่าจริง
เพราะฉะนั้น จึงพากันใส่ไฟผู้อื่นว่า เป็นคนพาล
คำว่า ไม่ ในคำว่า เราไม่กล่าวทิฏฐินั้นว่าจริง เป็นคำปฏิเสธ
คำว่า นั้น ได้แก่ ทิฏฐิ ๖๒ อธิบายว่า เราไม่กล่าว คือ ไม่บอก ไม่แสดง
ไม่บัญญัติ ไม่กำหนด ไม่เปิดเผย ไม่จำแนก ไม่ทำให้ง่าย ไม่ประกาศทิฏฐินั้น
ว่าจริง คือ แท้ เป็นจริง แน่นอน ไม่วิปริต รวมความว่า เราไม่กล่าวทิฏฐินั้นว่าจริง
คำว่า คน ๒ พวก ในคำว่า คน ๒ พวกกล่าวทิฏฐิใดกะกันและกันว่า
เป็นคนพาล อธิบายว่า คน ๒ พวก คือ คนก่อการทะเลาะกัน ๒ พวก คนก่อ
การบาดหมางกัน ๒ พวก คนก่อการอื้อฉาวกัน ๒ พวก คนก่อการวิวาทกัน
๒ พวก คนก่ออธิกรณ์กัน ๒ พวก คนว่าร้ายกัน ๒ พวก คนโต้เถียงกัน ๒ พวก
คนเหล่านั้นกล่าวหากันและกันอย่างนี้ คือ พูด บอก แสดง ชี้แจงอย่างนี้ว่า
“เป็นคนพาล คือ เป็นคนเลว ทราม ต่ำทราม น่ารังเกียจ หยาบช้า ต่ำต้อย”
รวมความว่า คน ๒ พวกกล่าวทิฏฐิใดกะกันและกันว่า เป็นคนพาล
คำว่า พวกสมณพราหมณ์พากันประกาศทิฏฐิของตน ๆ ว่าจริง อธิบายว่า
พากันประกาศทิฏฐิของตน ๆ ว่า จริงว่า “โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็น
โมฆะ... โลกไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ” พากันประกาศทิฏฐิ
ของตน ๆ ว่าจริง ว่า “หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีก
ก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ” รวมความว่า พวกสมณพราหมณ์พากัน
ประกาศทิฏฐิของตน ๆ ว่าจริง
คำว่า เพราะฉะนั้น ในคำว่า เพราะฉะนั้น จึงพากันใส่ไฟผู้อื่นว่า เป็น
คนพาล ได้แก่ เพราะฉะนั้น คือ เพราะการณ์นั้น เพราะเหตุนั้น เพราะปัจจัยนั้น
เพราะต้นเหตุนั้น จึงพากันใส่ไฟผู้อื่น คือ เห็น มองเห็น ตรวจดู เพ่งพินิจ พิจารณา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๔๔ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๒. จูฬวิยูหสุตตนิทเทส
ดูว่า “เป็นคนพาล คือ เป็นคนเลว ทราม ต่ำทราม น่ารังเกียจ หยาบช้า ต่ำต้อย”
รวมความว่า เพราะฉะนั้น จึงพากันใส่ไฟผู้อื่นว่า เป็นคนพาล ด้วยเหตุนั้น พระผู้มี-
พระภาคจึงตรัสว่า
คน ๒ พวกกล่าวทิฏฐิใดกะกันและกันว่า เป็นคนพาล
เราไม่กล่าวทิฏฐินั้นว่าจริง
พวกสมณพราหมณ์พากันประกาศทิฏฐิของตน ๆ ว่าจริง
เพราะฉะนั้น จึงพากันใส่ไฟผู้อื่นว่า เป็นคนพาล
[๑๑๘] (พระพุทธเนรมิตทูลถามว่า)
สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวธรรมใดว่าจริง ว่าแท้
สมณพราหมณ์พวกอื่นก็พากันกล่าวธรรมนั้นว่าเปล่า ว่าเท็จ
สมณพราหมณ์เหล่านั้นต่างพากันถือมั่นแม้อย่างนี้แล้ววิวาทกัน
เพราะเหตุไร พวกสมณพราหมณ์จึงไม่พูดอย่างเดียวกัน
คำว่า สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวธรรมใดว่าจริง ว่าแท้ อธิบายว่า
สมณพราหมณ์บางพวก กล่าวอย่างนี้ คือ พูด บอก แสดง ชี้แจง ซึ่งธรรม คือ
ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรคใดอย่างนี้ว่า “ธรรมนี้ จริง แท้ เป็นจริง แน่นอน ไม่วิปริต”
รวมความว่า สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวธรรมใดว่าจริง ว่าแท้
คำว่า สมณพราหมณ์พวกอื่นก็พากันกล่าวธรรมนั้นว่าเปล่า ว่าเท็จ อธิบาย
ว่า สมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่ง ก็พากันกล่าวอย่างนี้ คือ พูด บอก แสดง ชี้แจงซึ่ง
ธรรม คือ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรคนั้นนั่นแหละอย่างนี้ว่า “ธรรมนั่นเปล่า ธรรมนั่นเท็จ
ธรรมนั่นไม่เป็นจริง ธรรมนั่นเหลาะแหละ ธรรมนั่นไม่แน่นอน” รวมความว่า
สมณพราหมณ์พวกอื่นก็พากันกล่าวธรรมนั้นว่าเปล่า ว่าเท็จ
คำว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นต่างพากันถือมั่นแม้อย่างนี้แล้ววิวาทกัน
อธิบายว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นต่างพากันยึด ยึดถือ ถือ ยึดมั่น ถือมั่นอย่างนี้
แล้ววิวาทกัน คือ ก่อการทะเลาะ ก่อการบาดหมาง ก่อการแก่งแย่ง ก่อการวิวาท
ก่อการมุ่งร้ายกันว่า “ท่านไม่รู้ธรรมวินัยนี้... หรือหากท่านสามารถ ก็จงแก้ไขเถิด”
รวมความว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นต่างพากันถือมั่นแม้อย่างนี้แล้ววิวาทกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๔๕ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๒. จูฬวิยูหสุตตนิทเทส
คำว่า เพราะเหตุไร ในคำว่า เพราะเหตุไร พวกสมณพราหมณ์ จึงไม่พูด
อย่างเดียวกัน อธิบายว่า เพราะเหตุไร คือ เพราะการณ์ไร เพราะอะไรเป็นเหตุ
เพราะอะไรเป็นปัจจัย เพราะอะไรเป็นต้นเหตุ เพราะอะไรเป็นเหตุเกิด เพราะอะไร
เป็นกำเนิด เพราะอะไรเป็นแดนเกิด สมณพราหมณ์จึงไม่พูดอย่างเดียวกัน คือ
พูดไปต่าง ๆ หลายอย่าง พูดอย่างโน้นอย่างนี้ คือ กล่าว พูด บอก แสดง ชี้แจง
หลายอย่าง รวมความว่า เพราะเหตุไร พวกสมณพราหมณ์ จึงไม่พูดอย่างเดียวกัน
ด้วยเหตุนั้น พระพุทธเนรมิตจึงทูลถามว่า
สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวธรรมใดว่าจริง ว่าแท้
สมณพราหมณ์พวกอื่นก็พากันกล่าวธรรมนั้นว่าเปล่า ว่าเท็จ
สมณพราหมณ์เหล่านั้นต่างพากันถือมั่นแม้อย่างนี้แล้ววิวาทกัน
เพราะเหตุไร พวกสมณพราหมณ์จึงไม่พูดอย่างเดียวกัน
[๑๑๙] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า)
หมู่ชนรู้ชัดสัจจะใดไม่พึงวิวาทกัน
สัจจะนั้นมีอย่างเดียวเท่านั้น ไม่มีอย่างที่ ๒
สมณพราหมณ์เหล่านั้นพากันอวดสัจจะต่าง ๆ กันไปเอง
เพราะฉะนั้น พวกสมณพราหมณ์จึงไม่พูดอย่างเดียวกัน

ว่าด้วยสัจจะมีอย่างเดียว
คำว่า สัจจะนั้นมีอย่างเดียวเท่านั้น ไม่มีอย่างที่ ๒ อธิบายว่า นิพพาน
คือ ความดับทุกข์ ได้แก่ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสลัดทิ้งอุปธิทั้งหมด
ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับกิเลส ความเย็นสนิท ตรัสเรียกว่า
สัจจะอย่างเดียว
อีกนัยหนึ่ง มรรคสัจจะ เป็นสัจจะที่เป็นเหตุนำสัตว์ออกจากทุกข์ คือ ทุกข-
นิโรธคามินีปฏิปทา ได้แก่ อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๔๖ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๒. จูฬวิยูหสุตตนิทเทส

๑. สัมมาทิฏฐิ(เห็นชอบ) ๒. สัมมาสังกัปปะ(ดำริชอบ)
๓. สัมมาวาจา(เจรจาชอบ) ๔. สัมมากัมมันตะ(กระทำชอบ)
๕. สัมมาอาชีวะ(เลี้ยงชีพชอบ) ๖. สัมมาวายามะ(พยายามชอบ)
๗. สัมมาสติ(ระลึกชอบ) ๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ)

ตรัสเรียกว่า สัจจะอย่างเดียว รวมความว่า
เพราะสัจจะนั้นมีอย่างเดียวเท่านั้น ไม่มีอย่างที่ ๒
คำว่า ใด ในคำว่า หมู่ชนรู้ชัดสัจจะใดไม่พึงวิวาทกัน ได้แก่ ในสัจจะใด
คำว่า หมู่สัตว์ เป็นชื่อเรียกสัตว์
คำว่า รู้ชัด อธิบายว่า รู้ชัด คือ รู้ทั่ว รู้แจ่มแจ้ง รู้เฉพาะ แทงตลอดสัจจะใด
ไม่พึงก่อการทะเลาะ ไม่พึงก่อการบาดหมาง ไม่พึงก่อการแก่งแย่ง ไม่พึงก่อการ
วิวาท ไม่พึงก่อการมุ่งร้าย ได้แก่ พึงละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มี
อีกซึ่งการทะเลาะ การบาดหมาง การแก่งแย่ง การวิวาท การมุ่งร้าย รวม
ความว่า หมู่ชนรู้ชัดสัจจะใดไม่พึงวิวาทกัน
คำว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นพากันอวดสัจจะต่าง ๆ กันไปเอง อธิบายว่า
สมณพราหมณ์เหล่านั้น พากันอวด คือ กล่าว พูด บอก แสดง ชี้แจงสัจจะต่าง ๆ
กันไปเองว่า “โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ”
สมณพราหมณ์เหล่านั้น พากันอวด คือ กล่าว พูด บอก แสดง ชี้แจงสัจจะ
ต่าง ๆ กันไปเองว่า “โลกไม่เที่ยง ... หลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่า
ไม่เกิดอีกก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ” รวมความว่า สมณพราหมณ์
เหล่านั้นพากันอวดสัจจะต่าง ๆ กันไปเอง
คำว่า เพราะฉะนั้น ในคำว่า เพราะฉะนั้น พวกสมณพราหมณ์จึงไม่พูด
อย่างเดียวกัน อธิบายว่า เพราะฉะนั้น คือ เพราะการณ์นั้น เพราะเหตุนั้น เพราะ
ปัจจัยนั้น เพราะต้นเหตุนั้น พวกสมณพราหมณ์จึงไม่พูดอย่างเดียวกัน คือ พูดไป
ต่าง ๆ พูดหลายอย่าง พูดอย่างโน้นอย่างนี้ พูด คือ กล่าว บอก แสดง ชี้แจง
มากมาย รวมความว่า เพราะฉะนั้น พวกสมณพราหมณ์จึงไม่พูดอย่างเดียวกัน
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๔๗ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๒. จูฬวิยูหสุตตนิทเทส
หมู่ชนรู้ชัดสัจจะใดไม่พึงวิวาทกัน
สัจจะนั้นมีอย่างเดียวเท่านั้น ไม่มีอย่างที่ ๒
สมณพราหมณ์เหล่านั้นพากันอวดสัจจะต่าง ๆ กันไปเอง
เพราะฉะนั้น พวกสมณพราหมณ์จึงไม่พูดอย่างเดียวกัน
[๑๒๐] (พระพุทธเนรมิตทูลถามว่า)
เพราะเหตุไรหนอ พวกสมณพราหมณ์จึงพูดสัจจะไปต่าง ๆ
อ้างตนว่าเป็นคนฉลาด พูดพร่ำกันไป
สัจจะที่สมณพราหมณ์เหล่านั้นเล่าเรียนมา
มีหลายอย่างต่าง ๆ กันหรือ
หรือว่าสมณพราหมณ์เหล่านั้นพากันนึกตรึกเอาเอง
คำว่า เพราะเหตุไร ในคำว่า เพราะเหตุไรหนอ พวกสมณพราหมณ์
จึงพูดสัจจะไปต่าง ๆ อธิบายว่า เพราะเหตุไร คือ เพราะการณ์ไร เพราะอะไร
เป็นเหตุ เพราะอะไรเป็นปัจจัย เพราะอะไรเป็นต้นเหตุ พวกสมณพราหมณ์จึงพูด
สัจจะไปต่าง ๆ คือ พูดหลายอย่าง พูดอย่างโน้นอย่างนี้ พูด คือ กล่าว บอก แสดง
ชี้แจงมากมาย รวมความว่า เพราะเหตุไรหนอ พวกสมณพราหมณ์จึงพูดสัจจะ
ไปต่าง ๆ
คำว่า พูดพร่ำกันไป ในคำว่า อ้างตนว่าเป็นคนฉลาด พูดพร่ำกันไป อธิบาย
ว่า เพราะพูดพร่ำเพ้อไป จึงชื่อว่าพูดพร่ำกันไป
อีกนัยหนึ่ง พวกสมณพราหมณ์พูดพร่ำ คือ กล่าว บอก แสดง ชี้แจงทิฏฐิ
ของตน ๆ ว่า “โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ” พวกสมณพราหมณ์
พูดพร่ำ คือ กล่าว บอก แสดง ชี้แจงทิฏฐิของตน ๆ ว่า “โลกไม่เที่ยง... หลังจาก
ตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น
เป็นโมฆะ”
คำว่า อ้างตนว่าเป็นคนฉลาด ได้แก่ อ้างตนว่าเป็นคนฉลาด คือ กล่าวอ้างว่า
เป็นบัณฑิต อ้างว่าเป็นนักปราชญ์ อ้างว่ามีความรู้ อ้างว่ามีเหตุผล อ้างว่ามีคุณลักษณะ
อ้างว่าเหมาะแก่เหตุ อ้างว่าสมฐานะ ตามลัทธิของตน รวมความว่า อ้างตนว่าเป็น
คนฉลาด พูดพร่ำกันไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๔๘ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๒. จูฬวิยูหสุตตนิทเทส
คำว่า สัจจะที่สมณพราหมณ์เหล่านั้นเล่าเรียนมา มีหลายอย่างต่าง ๆ กัน
หรือ อธิบายว่า สัจจะที่สมณพราหมณ์เหล่านั้นเล่าเรียนมา มีหลายอย่างต่าง ๆ กัน
คือ มีหลายอย่าง เป็นอย่างโน้นอย่างนี้ มากมาย รวมความว่า สัจจะที่
สมณพราหมณ์เหล่านั้นเล่าเรียนมา มีหลายอย่างต่าง ๆ กันหรือ
คำว่า หรือว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นพากันนึกตรึกเอาเอง อธิบายว่า
หรือว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น ดำเนินไป ออกไป ถูกพาไป ถูกนำไป ด้วยความตรึก
คือ ด้วยความวิตก ความดำริ รวมความว่า หรือว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นพากัน
นึกตรึกเอาเอง อย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง สมณพราหมณ์เหล่านั้นพากันกล่าว พูด บอก แสดง ชี้แจงสัจจะที่
ตนประมวลมาด้วยความตรึก ที่ตนประพฤติตามด้วยการพิจารณาใคร่ครวญ ที่รู้เอง
รวมความว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นพากันนึกตรึกเอาเอง อย่างนี้บ้าง ด้วยเหตุนั้น
พระพุทธเนรมิตจึงทูลถามว่า
เพราะเหตุไรหนอ พวกสมณพราหมณ์จึงพูดสัจจะไปต่าง ๆ
อ้างตนว่าเป็นคนฉลาด พูดพร่ำกันไป
สัจจะที่สมณพราหมณ์เหล่านั้นเล่าเรียนมา
มีหลายอย่างต่าง ๆ กันหรือ
หรือว่าสมณพราหมณ์เหล่านั้นพากันนึกตรึกเอาเอง
[๑๒๑] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า)
มิได้มีสัจจะหลายอย่างต่าง ๆ กันเลย
เว้นแต่สัจจะที่แน่นอนด้วยสัญญาในโลก
แต่สมณพราหมณ์ทั้งหลาย
พากันกำหนดความตรึกในทิฏฐิทั้งหลายไปเอง
แล้วกล่าวธรรมเป็น ๒ อย่างว่า
คำของเราจริง คำของท่านเท็จ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๔๙ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๒. จูฬวิยูหสุตตนิทเทส
ว่าด้วยความจริงไม่ต่างกัน
คำว่า มิได้มีสัจจะหลายอย่างต่าง ๆ กันเลย อธิบายว่า มิได้มีสัจจะ
หลายอย่างต่าง ๆ กัน คือ มิได้มีหลายอย่าง เป็นอย่างโน้นอย่างนี้มากมายเลย
รวมความว่า มิได้มีสัจจะหลายอย่างต่าง ๆ กันเลย
คำว่า เว้นแต่สัจจะที่แน่นอนด้วยสัญญาในโลก อธิบายว่า เว้นแต่สัจจะที่ถือ
ว่าแน่นอนด้วยสัญญา สัจจะอย่างเดียวเท่านั้นที่บัณฑิตกล่าว บอก แสดง ชี้แจงไว้ใน
โลก ได้แก่ นิพพาน คือ ความดับทุกข์ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสลัดทิ้ง
อุปธิทั้งหมด ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับกิเลส ความเย็นสนิท
อีกนัยหนึ่ง มรรคสัจจะ คือ สัจจะที่เป็นเหตุนำสัตว์ออกจากทุกข์ ทุกขนิโรธ-
คามินีปฏิปทา อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ... ๘. สัมมาสมาธิ
ตรัสเรียกว่า สัจจะอย่างเดียว รวมความว่า เว้นแต่สัจจะที่แน่นอนด้วย
สัญญาในโลก
คำว่า แต่สมณพราหมณ์ทั้งหลายพากันกำหนดความตรึกในทิฏฐิทั้งหลาย
ไปเองแล้วกล่าวธรรมเป็น ๒ อย่างว่า คำของเราจริง คำของท่านเท็จ อธิบายว่า
พวกสมณพราหมณ์พากันตรึก ตรอง ดำริ แล้วทำทิฏฐิให้เกิด ให้เกิดขึ้น ให้บังเกิด
ให้บังเกิดขึ้น ครั้นทำทิฏฐิให้เกิด ให้เกิดขึ้น ให้บังเกิด ให้บังเกิดขึ้นแล้วก็กล่าวอย่างนี้
คือ พูด บอก แสดง ชี้แจงอย่างนี้ว่า “คำของเราจริง คำของท่านเท็จ” รวมความว่า
แต่สมณพราหมณ์ทั้งหลายพากันกำหนดความตรึกในทิฏฐิทั้งหลายไปเอง แล้วกล่าว
ธรรมเป็น ๒ อย่างว่า คำของเราจริง คำของท่านเท็จ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค
จึงตรัสตอบว่า
มิได้มีสัจจะหลายอย่างต่าง ๆ กันเลย
เว้นแต่สัจจะที่แน่นอนด้วยสัญญาในโลก
แต่สมณพราหมณ์ทั้งหลาย
พากันกำหนดความตรึกในทิฏฐิทั้งหลายไปเอง
แล้วกล่าวธรรมเป็น ๒ อย่างว่า
คำของเราจริง คำของท่านเท็จ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๕๐ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๒. จูฬวิยูหสุตตนิทเทส
[๑๒๒] (พระผู้มีพระภาคตรัสต่อไปว่า)
เจ้าลัทธิอาศัยธรรมเหล่านี้ คือ รูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน
ศีล วัตร หรืออารมณ์ที่รับรู้แล้ว แสดงอาการดูหมิ่น
และดำรงอยู่ในทิฏฐิที่ตกลงใจแล้วก็ร่าเริง
กล่าวว่า คนอื่นเป็นคนพาล ไม่ฉลาด

เจ้าลัทธิแสดงความดูหมิ่นผู้อื่น
คำว่า เจ้าลัทธิอาศัยธรรมเหล่านี้ คือ รูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน ศีล วัตร
หรืออารมณ์ที่รับรู้แล้ว แสดงอาการดูหมิ่น อธิบายว่า เจ้าลัทธิอาศัย คือ เข้าไป
อาศัย ถือ ยึดมั่น ถือมั่นรูปที่เห็น หรือความหมดจดเพราะรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน
หรือความหมดจดเพราะเสียงที่ได้ยิน ศีล หรือความหมดจดเพราะศีล วัตร หรือ
ความหมดจดเพราะวัตร อารมณ์ที่รับรู้ หรือความหมดจดเพราะอารมณ์ที่รับรู้ รวม
ความว่า เจ้าลัทธิอาศัยธรรมเหล่านี้ คือ รูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน ศีล วัตร หรือ
อารมณ์ที่รับรู้แล้ว
คำว่า เจ้าลัทธิอาศัยธรรมเหล่านี้... แล้ว แสดงอาการดูหมิ่น อธิบายว่า
เจ้าลัทธิไม่นับถือ จึงชื่อว่าแสดงอาการดูหมิ่นบ้าง อีกนัยหนึ่ง เจ้าลัทธิทำโทมนัส
ให้เกิด ก็ชื่อว่าแสดงอาการดูหมิ่นบ้าง รวมความว่า เจ้าลัทธิอาศัยธรรมเหล่านี้
คือ รูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน ศีล วัตร หรืออารมณ์ที่รับรู้แล้ว แสดงอาการดูหมิ่น
คำว่า และดำรงอยู่ในทิฏฐิที่ตกลงใจแล้วก็ร่าเริง อธิบายว่า ทิฏฐิ ๖๒
ตรัสเรียกว่า ทิฏฐิที่ตกลงใจแล้ว
เจ้าลัทธิ ดำรงอยู่ คือ ยืนยันอยู่ ถือ ยึดมั่น ถือมั่นอยู่ในทิฏฐิที่ตกลงใจแล้ว
รวมความว่า ดำรงอยู่ในทิฏฐิที่ตกลงใจแล้ว
คำว่า ก็ร่าเริง ได้แก่ ยินดี หัวเราะ ร่าเริง ชอบใจ มีความดำริบริบูรณ์แล้ว
อีกนัยหนึ่ง หัวเราะจนมองเห็นฟัน รวมความว่า และดำรงอยู่ในทิฏฐิที่ตกลงใจแล้ว
ก็ร่าเริง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๕๑ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๒. จูฬวิยูหสุตตนิทเทส
คำว่า กล่าวว่า คนอื่นเป็นคนพาล ไม่ฉลาด อธิบายว่า กล่าว คือ พูด บอก
แสดง ชี้แจงอย่างนี้ว่า “คนอื่นเป็นคนพาล คือ เลว ทราม ต่ำทราม น่ารังเกียจ
หยาบช้า ต่ำต้อย ไม่ฉลาด ไม่มีความรู้ ตกอยู่ในอวิชชา ไม่มีญาณ ไม่มีปัญญา
แจ่มแจ้ง ไม่มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลส มีปัญญาทึบ” รวมความว่า กล่าวว่า
คนอื่นเป็นคนพาล ไม่ฉลาด ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
เจ้าลัทธิอาศัยธรรมเหล่านี้ คือ รูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน
ศีล วัตร หรืออารมณ์ที่รับรู้แล้ว แสดงอาการดูหมิ่น
และดำรงอยู่ในทิฏฐิที่ตกลงใจแล้วก็ร่าเริง
กล่าวว่า คนอื่นเป็นคนพาล ไม่ฉลาด
[๑๒๓] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
เจ้าลัทธิใส่ไฟบุคคลอื่นว่า เป็นคนพาล เพราะเหตุใด
ก็กล่าวถึงตนเองว่า เป็นคนฉลาด เพราะเหตุนั้น
เจ้าลัทธินั้นอวดอ้างตนเองว่าเป็นคนฉลาด
ย่อมดูหมิ่นบุคคลอื่นและกล่าวเช่นนั้นเหมือนกัน

เจ้าลัทธิเห็นคนอื่นเป็นพาล
คำว่า เจ้าลัทธิใส่ไฟบุคคลอื่นว่า เป็นคนพาล เพราะเหตุใด อธิบายว่า
เจ้าลัทธิใส่ไฟ คือ เห็น มองเห็น แลเห็น ตรวจดู เพ่งพินิจ พิจารณาดูบุคคลอื่น
โดยความเป็นคนพาล คือ เป็นคนเลว ทราม ต่ำทราม น่ารังเกียจ หยาบช้า ต่ำต้อย
เพราะเหตุใด คือ เพราะปัจจัยใด เพราะการณ์ใด เพราะแดนเกิดใด รวมความว่า
เจ้าลัทธิใส่ไฟบุคคลอื่นว่า เป็นคนพาล เพราะเหตุใด
คำว่า ก็กล่าวถึงตนเองว่า เป็นคนฉลาด เพราะเหตุนั้น อธิบายว่า ตน
ตรัสเรียกว่า ตนเอง
เจ้าลัทธิแม้นั้นกล่าวถึงตนเองว่า “เราเป็นคนฉลาด คือ เป็นบัณฑิต มีปัญญา
มีปัญญาเครื่องตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลส”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๕๒ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๒. จูฬวิยูหสุตตนิทเทส
เพราะเหตุนั้น คือ เพราะปัจจัยนั้น เพราะการณ์นั้น เพราะแดนเกิดนั้น รวมความว่า
ก็กล่าวถึงตนเองว่า เป็นคนฉลาด เพราะเหตุนั้น
คำว่า เจ้าลัทธินั้นอวดอ้างตนเองว่าเป็นคนฉลาด อธิบายว่า เจ้าลัทธินั้น
อวดอ้างตนเองว่า เป็นคนฉลาด คือ กล่าวอ้างว่าเป็นบัณฑิต อ้างว่าเป็นนักปราชญ์
อ้างว่ามีความรู้ อ้างว่ามีเหตุผล อ้างว่ามีคุณลักษณะ อ้างว่าเหมาะแก่เหตุ อ้างว่า
สมฐานะ ตามลัทธิของตน รวมความว่า เจ้าลัทธินั้นอวดอ้างตนเองว่าเป็นคนฉลาด
คำว่า ย่อมดูหมิ่นบุคคลอื่นและกล่าวเช่นนั้นเหมือนกัน อธิบายว่า เจ้าลัทธิไม่นับถือ
จึงชื่อว่า ดูหมิ่นผู้อื่นบ้าง อีกนัยหนึ่ง เจ้าลัทธิทำโทมนัสให้เกิดจึงชื่อว่า
ดูหมิ่นผู้อื่นบ้าง
คำว่า และกล่าวเช่นนั้นเหมือนกัน ได้แก่ กล่าวเช่นนั้นเหมือนกัน คือ
ทิฏฐินั้นว่า “บุคคลนี้ มีความเห็นผิด มีความเห็นวิปริต แม้ด้วยประการอย่างนี้”
รวมความว่า ย่อมดูหมิ่นบุคคลอื่นและกล่าวเช่นนั้นเหมือนกัน ด้วยเหตุนั้น พระผู้มี
พระภาคจึงตรัสว่า
เจ้าลัทธิใส่ไฟบุคคลอื่นว่า เป็นคนพาล เพราะเหตุใด
ก็กล่าวถึงตนเองว่า เป็นคนฉลาด เพราะเหตุนั้น
เจ้าลัทธินั้นอวดอ้างตนเองว่าเป็นคนฉลาด
ย่อมดูหมิ่นบุคคลอื่นและกล่าวเช่นนั้นเหมือนกัน
[๑๒๔] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
เจ้าลัทธินั้นเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยอติสารทิฏฐิ
เมาด้วยความถือตัว มีความถือตัวจัด อภิเษกตนเองด้วยใจ
เพราะทิฏฐินั้นเจ้าลัทธิถือกันมาอย่างนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๕๓ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๒. จูฬวิยูหสุตตนิทเทส
ทิฏฐิ ๖๒ ตรัสเรียกว่าอติสารทิฏฐิ
คำว่า เจ้าลัทธินั้นเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยอติสารทิฏฐิ อธิบายว่า ทิฏฐิ ๖๒
ตรัสเรียกว่า อติสารทิฏฐิ
เพราะเหตุไร ทิฏฐิ ๖๒ จึงตรัสเรียกว่า อติสารทิฏฐิ เพราะทิฏฐิเหล่านั้นทั้งหมด
ก้าวล่วงเหตุ ก้าวล่วงลักษณะ ก้าวล่วงฐานะ เพราะเหตุนั้น ทิฏฐิ ๖๒ จึงตรัสเรียกว่า
อติสารทิฏฐิ เดียรถีย์ทุกจำพวก เป็นผู้มีอติสารทิฏฐิ
เพราะเหตุไร เดียรถีย์ทุกจำพวก จึงชื่อว่าเป็นผู้มีอติสารทิฏฐิ เพราะเดียรถีย์
เหล่านั้น ก้าวล่วง คือ ก้าวพ้น ล่วงพ้นกันและกัน ทำทิฏฐิทั้งหลายให้เกิด ให้เกิดขึ้น
ให้บังเกิด ให้บังเกิดขึ้น เพราะเหตุนั้น เดียรถีย์ทุกจำพวก จึงชื่อว่าเป็นผู้มีอติสารทิฏฐิ
คำว่า เจ้าลัทธินั้นเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยอติสารทิฏฐิ อธิบายว่า เจ้าลัทธิ
เป็นผู้เพียบพร้อม คือ บริบูรณ์ ไม่บกพร่องด้วยอติสารทิฏฐิ รวมความว่า เจ้าลัทธิ
นั้นเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยอติสารทิฏฐิ
คำว่า เมาด้วยความถือตัว มีความถือตัวจัด อธิบายว่า เมา คือ ประมาท
คลั่ง คลั่งไคล้ด้วยทิฏฐิของตน คือ ด้วยความถือตัวเพราะทิฏฐิ รวมความว่า
เมาด้วยความถือตัว
คำว่า มีความถือตัวจัด ได้แก่ มีความถือตัวจัด คือ มีความถือตัวมาก
มีความถือตัวไม่บกพร่อง รวมความว่า เมาด้วยความถือตัว มีความถือตัวจัด
คำว่า อภิเษกตนเองด้วยใจ อธิบายว่า อภิเษกตนเองนั่นแหละด้วยความ
คิดว่า “เราเป็นผู้ฉลาด เป็นบัณฑิต มีปัญญา มีปัญญาเครื่องตรัสรู้ มีญาณ
มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลส” รวมความว่า อภิเษกตนเองด้วยใจ
คำว่า เพราะทิฏฐินั้นเจ้าลัทธิถือกันมาอย่างนั้น อธิบายว่า ทิฏฐินั้นเจ้าลัทธิ
ถือกันมาแล้ว คือ สมาทานแล้ว ถือแล้ว ยึดมั่นแล้ว ถือมั่นแล้ว ติดใจแล้ว
น้อมใจเชื่อแล้วอย่างนั้น รวมความว่า เพราะทิฏฐินั้นเจ้าลัทธิถือกันมาอย่างนั้น
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๕๔ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๒. จูฬวิยูหสุตตนิทเทส
เจ้าลัทธินั้นเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยอติสารทิฏฐิ
เมาด้วยความถือตัว มีความถือตัวจัด อภิเษกตนเองด้วยใจ
เพราะทิฏฐินั้นเจ้าลัทธิถือกันมาอย่างนั้น
[๑๒๕] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
อนึ่ง หากบุคคลเป็นผู้เลวทรามเพราะวาจาของผู้อื่นไซร้
เขาก็เป็นผู้มีปัญญาทรามพร้อมกับผู้นั้น
และถ้าผู้เรียนจบพระเวท๑เองเป็นนักปราชญ์ได้ไซร้
บรรดาสมณะก็ไม่มีใครเป็นคนพาล
คำว่า อนึ่ง หากบุคคลเป็นผู้เลวทรามเพราะวาจาของผู้อื่นไซร้ อธิบายว่า
หากบุคคลอื่นเป็นคนพาล เลว เลวทราม คือ ต่ำทราม น่ารังเกียจ หยาบช้า ต่ำต้อย
เพราะวาจา คือ เพราะถ้อยคำของผู้อื่น เพราะเหตุที่ถูกนินทา เพราะเหตุที่ถูกติเตียน
เพราะเหตุที่ถูกว่าร้ายไซร้ รวมความว่า อนึ่งหากบุคคลเป็นผู้เลวทรามเพราะวาจา
ของผู้อื่นไซร้
คำว่า เขาก็เป็นผู้มีปัญญาทรามพร้อมกับผู้นั้น อธิบายว่า แม้เขาก็เป็นผู้มี
ปัญญาเลว คือ เป็นผู้มีปัญญาทราม มีปัญญาต่ำทราม มีปัญญาน่ารังเกียจ
มีปัญญาหยาบช้า มีปัญญาต่ำต้อย พร้อมกับผู้นั้นนั่นเอง รวมความว่า เขาก็เป็น
ผู้มีปัญญาทรามพร้อมกับผู้นั้น
คำว่า และถ้าผู้เรียนจบพระเวทเองเป็นนักปราชญ์ได้ไซร้ อธิบายว่า และ
ถ้าผู้เรียนจบพระเวทเอง เป็นนักปราชญ์ คือ เป็นบัณฑิต มีปัญญา มีปัญญาเครื่อง
ตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลสไซร้ รวมความว่า
และถ้าผู้เรียนจบพระเวทเองเป็นนักปราชญ์ได้ไซร้

เชิงอรรถ :
๑ จบพระเวท หมายถึงจบไตรเพท อันเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์สูงสุดของศาสนาพราหมณ์ มี ๓ คือ (๑) ฤคเวท
(อิรุเวท) ประมวลบทสวดสรรเสริญเทพเจ้า (๒) ยชุรเวท บทสวดอ้อนวอนในพิธีบูชายัญต่าง ๆ (๓) สามเวท
ประมวลบทเพลงขับสำหรับสวดหรือร้องเป็นทำนองในพิธีบูชายัญ ต่อมาเพิ่ม (๔) อถรรพเวทหรืออาถรรพณเวท
ว่าด้วยคาถาอาคมทางไสยศาสตร์ (องฺ.ติก.อ. ๒/๕๙/๑๖๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๕๕ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๒. จูฬวิยูหสุตตนิทเทส
คำว่า บรรดาสมณะก็ไม่มีใครเป็นคนพาล อธิบายว่า บรรดาสมณะก็ไม่มีใคร
เป็นคนพาล คือ เป็นคนเลว เลวทราม ต่ำทราม น่ารังเกียจ หยาบช้า ต่ำต้อยเลย
ทุกคนก็มีปัญญาเลิศ มีปัญญาประเสริฐ มีปัญญาวิเศษ มีปัญญานำหน้า มีปัญญา
สูงสุด มีปัญญาประเสริฐสุดไปหมด รวมความว่า บรรดาสมณะก็ไม่มีใครเป็นคนพาล
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
อนึ่ง หากบุคคลเป็นผู้เลวทรามเพราะวาจาของผู้อื่นไซร้
เขาก็เป็นผู้มีปัญญาทรามพร้อมกับผู้นั้น
และถ้าผู้เรียนจบพระเวทเองเป็นนักปราชญ์ได้ไซร้
บรรดาสมณะก็ไม่มีใครเป็นคนพาล
[๑๒๖] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
ชนเหล่าใดกล่าวสรรเสริญธรรมอื่นนอกจากธรรมนี้
ชนเหล่านั้นก็พลาดทางแห่งความหมดจด เป็นผู้ไม่บริบูรณ์
เดียรถีย์พากันกล่าวทิฏฐิมากแม้อย่างนี้
เพราะพวกเขาเป็นผู้ยินดียิ่ง ด้วยความยินดีในทิฏฐิของตน
คำว่า ชนเหล่าใดกล่าวสรรเสริญธรรมอื่นนอกจากธรรมนี้ ชนเหล่านั้นก็
พลาดทางแห่งความหมดจด เป็นผู้ไม่บริบูรณ์ อธิบายว่า ชนเหล่าใด กล่าว
สรรเสริญธรรม คือ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรค อื่นนอกจากธรรมนี้ ชนเหล่านั้นก็พลาด
คือ ผิด พลั้ง คลาดทางแห่งความหมดจด คือ ทางแห่งความสะอาด ทางแห่งความ
บริสุทธิ์ ทางแห่งความผุดผ่อง ทางแห่งความผ่องแผ้ว คือ พลาดจากอรหัตตผล
เป็นผู้ไม่บริบูรณ์ คือ ชนเหล่านั้นไม่เพียบพร้อม ไม่บริบูรณ์ ได้แก่ เป็นคนเลว
ทราม ต่ำทราม น่ารังเกียจ หยาบช้า ต่ำต้อย รวมความว่า ชนเหล่าใดกล่าว
สรรเสริญธรรมอื่นนอกจากธรรมนี้ ชนเหล่านั้นก็พลาดทางแห่งความหมดจด เป็นผู้
ไม่บริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๕๖ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๒. จูฬวิยูหสุตตนิทเทส
ทิฏฐิเรียกว่าติตถะ
คำว่า เดียรถีย์พากันกล่าวทิฏฐิมากแม้อย่างนี้ อธิบายว่า ทิฏฐิ ตรัสเรียกว่า
ติตถะ(ท่า) เจ้าทิฏฐิ ตรัสเรียกว่า เดียรถีย์ พวกเดียรถีย์พากันกล่าว คือ พูด บอก
แสดง ชี้แจง ทิฏฐิมากมาย รวมความว่า เดียรถีย์พากันกล่าวทิฏฐิมากแม้อย่างนี้
คำว่า เพราะพวกเขาเป็นผู้ยินดียิ่ง ด้วยความยินดีในทิฏฐิของตน อธิบาย
ว่า เพราะพวกเขายินดี ยินดียิ่ง ด้วยความยินดีในทิฏฐิของตน รวมความว่า เพราะ
พวกเขาเป็นผู้ยินดียิ่ง ด้วยความยินดีในทิฏฐิของตน ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค
จึงตรัสว่า
ชนเหล่าใดกล่าวสรรเสริญธรรมอื่นนอกจากธรรมนี้
ชนเหล่านั้นก็พลาดทางแห่งความหมดจด เป็นผู้ไม่บริบูรณ์
เดียรถีย์พากันกล่าวทิฏฐิมากแม้อย่างนี้
เพราะพวกเขาเป็นผู้ยินดียิ่ง ด้วยความยินดีในทิฏฐิของตน
[๑๒๗] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
พวกเดียรถีย์พากันกล่าวความหมดจดว่า
มีอยู่ในธรรมนี้เท่านั้น ไม่กล่าวความหมดจดในธรรมเหล่าอื่น
พวกเดียรถีย์ตั้งอยู่ในทิฏฐิมากแม้อย่างนี้
ต่างกล่าวยืนยันในธรรมอันเป็นแนวทางของตนนั้น

ว่าด้วยทิฏฐิของพวกเดียรถีย์
คำว่า พวกเดียรถีย์พากันกล่าวความหมดจดว่ามีอยู่ในธรรมนี้เท่านั้น
อธิบายว่า พวกเดียรถีย์พากันกล่าว คือ พูด บอก แสดง ชี้แจงความหมดจด คือ
ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไปในธรรมนี้ว่า
“โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ”
พวกเดียรถีย์พากันกล่าว คือ พูด บอก แสดง ชี้แจงความหมดจด คือ ความ
สะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไปในธรรมนี้ว่า “โลก
ไม่เที่ยง... หลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๕๗ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๒. จูฬวิยูหสุตตนิทเทส
นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ” รวมความว่า พวกเดียรถีย์พากันกล่าวความ
หมดจดว่ามีอยู่ในธรรมนี้เท่านั้น
คำว่า ไม่กล่าวความหมดจดในธรรมเหล่าอื่น อธิบายว่า พวกเดียรถีย์
เหล่านั้น ย่อมทิ้ง ละทิ้ง ทอดทิ้งวาทะอื่นทุกอย่าง นอกจากศาสดา ธรรมที่ศาสดา
กล่าวสอน หมู่คณะ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรคของตน กล่าว คือ พูด บอก แสดง ชี้แจง
อย่างนี้ว่า ศาสดานั้นมิใช่สัพพัญญู ธรรมมิใช่ศาสดากล่าวสอนไว้ดีแล้ว หมู่คณะ
มิใช่ผู้ปฏิบัติดีแล้ว ทิฏฐิมิใช่สิ่งที่เจริญ ปฏิปทามิใช่ศาสดาบัญญัติไว้ดีแล้ว มรรคมิใช่
ทางนำสัตว์ออกจากทุกข์ ในธรรมนั้นไม่มีความหมดจด ความสะอาด ความบริสุทธิ์
ความหลุดไป ความพ้นไป หรือความหลุดพ้นไป คือ ในธรรมนั้น สัตว์ทั้งหลายย่อม
หมดจด สะอาด บริสุทธิ์ หลุดไป พ้นไป หรือหลุดพ้นไปไม่ได้ สัตว์ทั้งหลายเป็น
ผู้เลว คือ ทราม ต่ำทราม น่ารังเกียจ หยาบช้า ต่ำต้อย รวมความว่า ไม่กล่าว
ความหมดจดในธรรมเหล่าอื่น
คำว่า พวกเดียรถีย์ตั้งอยู่ในทิฏฐิมากแม้อย่างนี้ อธิบายว่า ทิฏฐิตรัส
เรียกว่า ติตถะ เจ้าทิฏฐิตรัสเรียกว่า เดียรถีย์ พวกเดียรถีย์ตั้งอยู่ คือ ตั้งมั่น ติด
ติดแน่น ติดใจ น้อมใจเชื่อในทิฏฐิมาก ด้วยทิฏฐิมาก รวมความว่า พวกเดียรถีย์
ตั้งอยู่ในทิฏฐิมากแม้อย่างนี้
คำว่า ต่างกล่าวยืนยันในธรรมอันเป็นแนวทางของตนนั้น อธิบายว่า ธรรม
ชื่อว่าแนวทางของตน ทิฏฐิ ชื่อว่าแนวทางของตน ปฏิปทา ชื่อว่าแนวทางของตน
มรรคก็ชื่อว่าแนวทางของตน พวกเดียรถีย์กล่าวยืนยัน คือ กล่าวมั่นคง กล่าวแข็งขัน
กล่าวหนักแน่นในแนวทางของตน รวมความว่า ต่างกล่าวยืนยันในธรรมอันเป็นแนว
ทางของตนนั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
พวกเดียรถีย์พากันกล่าวความหมดจดว่า
มีอยู่ในธรรมนี้เท่านั้น ไม่กล่าวความหมดจดในธรรมเหล่าอื่น
พวกเดียรถีย์ตั้งอยู่ในทิฏฐิมากแม้อย่างนี้
ต่างกล่าวยืนยันในธรรมอันเป็นแนวทางของตนนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๕๘ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๒. จูฬวิยูหสุตตนิทเทส
[๑๒๘] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
อนึ่ง เจ้าลัทธิกล่าวยืนยันในแนวทางของตน
ใส่ไฟใครอื่นว่า เป็นคนพาล ในเพราะทิฏฐินี้
เจ้าลัทธินั้นกล่าวถึงผู้อื่นว่า เป็นคนพาล
มีความไม่หมดจดเป็นธรรมดา
พึงนำความมุ่งร้ายมาเองทีเดียว
คำว่า อนึ่ง เจ้าลัทธิกล่าวยืนยันในแนวทางของตน อธิบายว่า ธรรม ชื่อว่า
แนวทางของตน ทิฏฐิ ชื่อว่าแนวทางของตน ปฏิปทา ชื่อว่าแนวทางของตน มรรค
ก็ชื่อว่าแนวทางของตน เจ้าลัทธิ กล่าวยืนยัน คือ กล่าวมั่นคง กล่าวแข็งขัน
กล่าวหนักแน่นในแนวทางของตน รวมความว่า อนึ่ง เจ้าลัทธิกล่าวยืนยันในแนวทาง
ของตน
คำว่า ในเพราะทิฏฐินี้ ในคำว่า ใส่ไฟใครอื่นว่า เป็นคนพาล ในเพราะทิฏฐิ
นี้ อธิบายว่า พึงใส่ไฟ คือ เห็น แลเห็น ตรวจดู เพ่งพินิจ พิจารณาดูบุคคลอื่น
โดยความเป็นคนพาล คือ เป็นคนเลว ทราม ต่ำทราม น่ารังเกียจ หยาบช้า ต่ำต้อย
ในเพราะทิฏฐิของตน คือ ความถูกใจของตน ความพอใจของตน ลัทธิของตน
รวมความว่า ใส่ไฟใครอื่นว่า เป็นคนพาล ในเพราะทิฏฐินี้
คำว่า เจ้าลัทธินั้นกล่าวถึงผู้อื่นว่า เป็นคนพาล มีความไม่หมดจดเป็นธรรมดา
พึงนำความมุ่งร้ายมาเองทีเดียว อธิบายว่า เจ้าลัทธินั้น กล่าว คือ พูด บอก แสดง
ชี้แจง อย่างนี้ว่า ผู้อื่น เป็นคนพาล คือ เป็นคนเลว ทราม ต่ำทราม น่ารังเกียจ หยาบช้า
ต่ำต้อย มีความไม่หมดจดเป็นธรรมดา คือ มีความไม่สะอาดเป็นธรรมดา มีความไม่
บริสุทธิ์เป็นธรรมดา มีความไม่ผ่องแผ้วเป็นธรรมดา พึงนำ คือ นำมาพร้อม ถือมา
ถือมาพร้อม ชักมา ชักมาพร้อม ถือ ยึดมั่น ถือมั่นการทะเลาะ การบาดหมาง
การแก่งแย่ง การวิวาท การมุ่งร้ายมาเองทีเดียว รวมความว่า เจ้าลัทธินั้นกล่าว
ถึงผู้อื่นว่า เป็นคนพาล มีความไม่หมดจดเป็นธรรมดา พึงนำความมุ่งร้ายมาเอง
ทีเดียว ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๕๙ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๒. จูฬวิยูหสุตตนิทเทส
อนึ่ง เจ้าลัทธิกล่าวยืนยันในแนวทางของตน
ใส่ไฟใครอื่นว่า เป็นคนพาล ในเพราะทิฏฐินี้
เจ้าลัทธินั้นกล่าวถึงผู้อื่นว่า เป็นคนพาล
มีความไม่หมดจดเป็นธรรมดา
พึงนำความมุ่งร้ายมาเองทีเดียว
[๑๒๙] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
เจ้าลัทธินั้นตั้งอยู่ในทิฏฐิที่ตกลงใจและนับถือเองแล้ว
ก็ถึงการวิวาทในกาลข้างหน้าในโลก
คนที่เกิดมาละทิฏฐิที่ตกลงใจทั้งมวลได้
ย่อมไม่ก่อการมุ่งร้ายในโลก
คำว่า เจ้าลัทธินั้นตั้งอยู่ในทิฏฐิที่ตกลงใจและนับถือเองแล้ว อธิบายว่า
ทิฏฐิ ๖๒ ตรัสเรียกว่า ทิฏฐิที่ตกลงใจ เจ้าลัทธิตั้งอยู่ คือ ตั้งมั่น ถือ ยึดมั่น
ถือมั่นในทิฏฐิที่ตกลงใจ รวมความว่า เจ้าลัทธินั้นตั้งอยู่ในทิฏฐิที่ตกลงใจ
คำว่า นับถือเอง อธิบายว่า นับถือ คือ นอบน้อมเองว่า “ศาสดานี้ เป็น
สัพพัญญู” ได้แก่ นับถือ คือ นอบน้อมเองว่า “ธรรมนี้ศาสดากล่าวสอนไว้ดีแล้ว...
หมู่คณะนี้เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว... ทิฏฐินี้เป็นสิ่งที่เจริญ... ปฏิปทานี้ศาสดาบัญญัติไว้ดีแล้ว...
มรรคนี้เป็นทางนำสัตว์ออกจากทุกข์” รวมความว่า เจ้าลัทธินั้นดำรงอยู่ในทิฏฐิที่
ตกลงใจและนับถือเองแล้ว
คำว่า ก็ถึงการวิวาทในกาลข้างหน้าในโลก อธิบายว่า อนาคต ตรัสเรียกว่า
กาลข้างหน้า เจ้าลัทธินั้นวางวาทะของตนไว้ข้างหน้า ก็ถึง คือ เข้าถึง เข้าไปถึงถือ
ยึดมั่น ถือมั่นการทะเลาะ การบาดหมาง การแก่งแย่ง การวิวาท การมุ่งร้าย
เองทีเดียว รวมความว่า ก็ถึงการวิวาทในกาลข้างหน้าในโลก อย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง เจ้าลัทธินั้นย่อมก่อการทะเลาะ ก่อการบาดหมาง ก่อการแก่งแย่ง
ก่อการวิวาท ก่อการมุ่งร้ายกับวาทะอื่นข้างหน้าว่า “ท่านไม่รู้ธรรมวินัยนี้... หรือ
หากท่านสามารถ ก็จงแก้ไขเถิด” รวมความว่า ก็ถึงการวิวาทในกาลข้างหน้าในโลก
อย่างนี้บ้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๖๐ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๒. จูฬวิยูหสุตตนิทเทส
คำว่า ละทิฏฐิที่ตกลงใจทั้งมวลได้ อธิบายว่า ทิฏฐิ ๖๒ ตรัสเรียกว่า
ทิฏฐิที่ตกลงใจ เจ้าลัทธิ ละ คือ สละ สละขาด เว้น ละเว้น บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป
ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งทิฏฐิที่ตกลงใจทุกอย่าง จากความตกลงใจด้วยอำนาจทิฏฐิ
รวมความว่า ละทิฏฐิที่ตกลงใจทั้งมวลได้
คำว่า คนที่เกิดมา... ย่อมไม่ก่อการมุ่งร้ายในโลก อธิบายว่า ไม่ก่อการ
ทะเลาะ ไม่ก่อการบาดหมาง ไม่ก่อการแก่งแย่ง ไม่ก่อการวิวาท ไม่ก่อการมุ่งร้าย
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า อัคคิเวสสนะ ภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้ว
อย่างนี้แล ย่อมไม่โต้เถียงกับใคร ไม่วิวาทกับใคร ย่อมชี้แจง ไม่ถือมั่นสิ่งที่กล่าวกัน
ในโลก เรื่องใด ที่พูดกันในโลก เธอก็ไม่ยึดมั่นชี้แจงด้วยเรื่องนั้น๑
คำว่า คนที่เกิดมา ได้แก่สัตว์ นรชน มานพ บุรุษ บุคคล ผู้มีชีวิต ผู้เกิด
สัตว์เกิด ผู้เป็นไปตามกรรม มนุษย์
คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก
อายตนโลก รวมความว่า คนที่เกิดมา... ย่อมไม่ก่อการมุ่งร้ายในโลก ด้วยเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
เจ้าลัทธินั้นตั้งอยู่ในทิฏฐิที่ตกลงใจและนับถือเองแล้ว
ก็ถึงการวิวาทในกาลข้างหน้าในโลก
คนที่เกิดมาละทิฏฐิที่ตกลงใจทั้งมวลได้
ย่อมไม่ก่อการมุ่งร้ายในโลก
จูฬวิยูหสุตตนิทเทสที่ ๑๒ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ม.ม. ๑๓/๒๐๕/๑๘๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๖๑ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส
๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส๑
อธิบายมหาวิยูหสูตร
ว่าด้วยการวิวาทกันเพราะทิฏฐิสูตรใหญ่
พระสารีบุตรเถระจะกล่าวอธิบายมหาวิยูหสูตร ดังต่อไปนี้
[๑๓๐] (พระพุทธเนรมิตทูลถามว่า)
สมณพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่งเหล่านี้
ยึดถือทิฏฐิอยู่ พากันกล่าวอ้างว่า นี้เท่านั้นจริง
สมณพราหมณ์เหล่านั้นทุกพวกนั่นแหละจะถูกนินทา
หรือว่า จะได้ความสรรเสริญในเพราะทิฏฐินั้น
คำว่า พวกใดพวกหนึ่ง ในคำว่า สมณพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่งเหล่านี้
ยึดถือทิฏฐิอยู่ ได้แก่ ทุกพวกโดยอาการทั้งหมด ทุกพวกไม่เหลือ ไม่มีส่วนเหลือ
โดยประการทั้งปวง คำว่า พวกใดพวกหนึ่ง นี้ เป็นคำกล่าวรวมไว้ทั้งหมด
คำว่า ยึดถือทิฏฐิอยู่ อธิบายว่า สมณพราหมณ์เจ้าลัทธิบางพวก สมณ-
พราหมณ์เหล่านั้น ยึด ยึดถือ ถือ ยึดมั่น ถือมั่นทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่งบรรดา
ทิฏฐิ ๖๒ แล้ว อยู่ อยู่ร่วม อยู่อาศัย อยู่ครองในทิฏฐิของตน ๆ เหมือนพวก
คฤหัสถ์ผู้ครองเรือนก็อยู่ในเรือน หมู่ภิกษุผู้มีอาบัติก็อยู่ในอาบัติ หรือพวกปุถุชนผู้มี
กิเลสก็อยู่ในกิเลส ฉันใด สมณพราหมณ์เจ้าลัทธิบางพวก สมณพราหมณ์เจ้าลัทธิ
เหล่านั้น ยึด ยึดถือ ถือ ยึดมั่น ถือมั่นทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่งบรรดาทิฏฐิ๒ ๖๒ แล้ว
อยู่ อยู่ร่วม อยู่อาศัย อยู่ครองในทิฏฐิของตน ๆ ฉันนั้นเหมือนกัน รวมความว่า
สมณพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่งเหล่านี้ ยึดถือทิฏฐิอยู่
คำว่า พากันกล่าวอ้างว่า นี้เท่านั้นจริง อธิบายว่า กล่าว คือ พูด บอก แสดง
ชี้แจงว่า “โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ”

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.สุ. ๒๕/๙๐๒-๙๒๑/๕๑๐-๕๑๔
๒ ทิฏฐิ ๖๒ ดูเชิงอรรถข้อ ๑๒/๕๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๖๒ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส
กล่าว คือ พูด บอก แสดง ชี้แจงว่า “โลกไม่เที่ยง... หลังจากตายแล้วตถาคต
จะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ” รวมความ
ว่า พากันกล่าวอ้างว่า นี้เท่านั้นจริง
คำว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นทุกพวกนั่นแหละจะถูกนินทา อธิบายว่า
สมณพราหมณ์เหล่านั้นทุกพวกนั่นแหละจะได้รับการนินทา คือ ได้รับการติเตียน
ได้รับความเสื่อมเกียรติ ได้แก่ ทุกพวกจะถูกนินทา จะถูกติเตียน จะถูกทำให้เสื่อม
เกียรติ รวมความว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นทุกพวกนั่นแหละจะถูกนินทา
คำว่า หรือว่า จะได้ความสรรเสริญในเพราะทิฏฐินั้น อธิบายว่า จะได้ คือ
จะได้รับ สมหวัง ประสบความสรรเสริญ คือ ความชื่นชม เกียรติคุณ ความยกย่อง
ในเพราะทิฏฐิของตน คือ ในความถูกใจของตน ความพอใจของตน ลัทธิของตนนั้น
รวมความว่า หรือว่า จะได้ความสรรเสริญในเพราะทิฏฐินั้น ด้วยเหตุนั้น พระพุทธ
เนรมิตจึงทูลถามว่า
สมณพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่งเหล่านี้
ยึดถือทิฏฐิอยู่ พากันกล่าวอ้างว่า นี้เท่านั้นจริง
สมณพราหมณ์เหล่านั้นทุกพวกนั่นแหละจะถูกนินทา
หรือว่า จะได้ความสรรเสริญในเพราะทิฏฐินั้น
[๑๓๑] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า)
ผลแห่งวาทะนี้น้อยนัก ไม่พอเพื่อความสงบ
เรากล่าวผลแห่งการวิวาทเป็น ๒ อย่าง
บุคคลเห็นโทษแม้นี้แล้ว
มองเห็นภูมิ(เหตุ)แห่งการไม่วิวาทว่า เกษม ไม่พึงวิวาทกัน
คำว่า ผลแห่งวาทะนี้น้อยนัก ในคำว่า ผลแห่งวาทะนี้น้อยนัก ไม่พอเพื่อ
ความสงบ ได้แก่ ผลนี้น้อย คือ ผลนี้ต่ำทราม หน่อยเดียว น่ารังเกียจ หยาบช้า
ต่ำต้อย รวมความว่า ผลแห่งวาทะนี้น้อยนัก
คำว่า ไม่พอเพื่อความสงบ อธิบายว่า ไม่พอเพื่อความสงบราคะ เพื่อความ
สงบโทสะ เพื่อความสงบโมหะ ไม่พอเพื่อความสงบ คือเพื่อเข้าไปสงบ เพื่อสงบเย็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๖๓ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส
เพื่อความดับ เพื่อความสลัดทิ้ง เพื่อความสงบระงับโกธะ ... อุปาหนะ ... มักขะ ...
ปฬาสะ ... อิสสา ... มัจฉริยะ ... มายา ... สาเถยยะ ... ถัมภะ ... สารัมภะ ... มานะ
... อติมานะ ... มทะ ... ปมาทะ ... กิเลสทุกชนิด ... ทุจริตทุกทาง... ความ
กระวนกระวายทุกอย่าง ... ความเร่าร้อนทุกสถาน... ความเดือดร้อนทุกประการ
ไม่พอเพื่อความสงบ คือ เพื่อเข้าไปสงบ เพื่อสงบเย็น เพื่อความดับ เพื่อความ
สลัดทิ้ง เพื่อความสงบระงับอกุสลาภิสังขารทุกประเภท๑ รวมความว่า ผลแห่ง
วาทะนี้น้อยนัก ไม่พอเพื่อความสงบ

ว่าด้วยผลแห่งการวิวาท ๒ อย่าง
คำว่า เรากล่าวผลแห่งการวิวาทเป็น ๒ อย่าง อธิบายว่า ผลแห่งการ
ทะเลาะเพราะทิฏฐิ การบาดหมางเพราะทิฏฐิ การแก่งแย่งเพราะทิฏฐิ การวิวาท
เพราะทิฏฐิ การมุ่งร้ายเพราะทิฏฐิ มี ๒ อย่าง คือ ชนะกับพ่ายแพ้ มีลาภกับ
เสื่อมลาภ มียศกับเสื่อมยศ นินทากับสรรเสริญ สุขกับทุกข์ โสมนัสกับโทมนัส
อารมณ์ที่พึงปรารถนากับไม่พึงปรารถนา ความชอบกับความชัง ความเฟื่องฟูกับ
ความแฟบฟุบ ความยินดีกับความยินร้าย
อีกนัยหนึ่ง เรากล่าว คือ พูด บอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก
ทำให้ง่าย ประกาศว่า กรรมนั้นเป็นไปเพื่อนรก เป็นไปเพื่อกำเนิดเดรัจฉาน เป็นไป
เพื่อเปตวิสัย รวมความว่า เรากล่าวผลแห่งการวิวาทเป็น ๒ อย่าง
คำว่า เห็นโทษแม้นี้แล้ว ในคำว่า บุคคลเห็นโทษแม้นี้แล้ว... ไม่พึงวิวาทกัน
อธิบายว่า เห็นแล้ว คือ แลเห็น เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้ง
แล้วซึ่งโทษนี้ ในเพราะเหตุแห่งการทะเลาะกันด้วยอำนาจทิฏฐิ การบาดหมางกัน
ด้วยอำนาจทิฏฐิ การแก่งแย่งกันด้วยอำนาจทิฏฐิ การวิวาทกันด้วยอำนาจทิฏฐิ
การมุ่งร้ายกันด้วยอำนาจทิฏฐิ รวมความว่า เห็นโทษแม้นี้แล้ว

เชิงอรรถ :
๑ ดูคำแปลจากข้อ ๕/๑๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๖๔ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส
คำว่า ไม่พึงวิวาทกัน อธิบายว่า ไม่พึงก่อการทะเลาะ ไม่พึงก่อการบาดหมาง
ไม่พึงก่อการแก่งแย่ง ไม่พึงก่อการวิวาท ไม่พึงก่อการมุ่งร้าย คือ พึงละ บรรเทา
ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งการทะเลาะ การบาดหมาง การแก่งแย่ง
การวิวาท การมุ่งร้าย ได้แก่ พึงเป็นผู้งด งดเว้น เว้นขาด ออก สลัดออก
หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้องกับการทะเลาะ การบาดหมาง การแก่งแย่ง การวิวาท
และการมุ่งร้าย มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส) อยู่ รวมความว่า บุคคลเห็นโทษแม้นี้แล้ว
... ไม่พึงวิวาทกัน
คำว่า มองเห็นภูมิ(เหตุ)แห่งการไม่วิวาทว่า เกษม อธิบายว่า อมตนิพพาน
ตรัสเรียกว่า ภูมิแห่งการไม่วิวาท ได้แก่ ธรรมเป็นที่สงบสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดทิ้ง
อุปธิทั้งหมด เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับกิเลส เป็นที่เย็นสนิท
บุคคลมองเห็น คือ แลเห็น ตรวจดู เพ่งพินิจ พิจารณาเห็นภูมิแห่งการ
ไม่วิวาทนี้ โดยความเป็นธรรมอันเกษม คือ โดยความเป็นธรรมเครื่องป้องกัน
เป็นที่หลีกเร้น เป็นที่พึ่ง เป็นที่ไม่มีภัย เป็นที่ไม่จุติ เป็นอมตธรรม เป็นนิพพาน
รวมความว่า มองเห็นภูมิ(เหตุ)แห่งการไม่วิวาทว่า เกษม ด้วยเหตุนั้น พระผู้มี-
พระภาคจึงตรัสตอบว่า
ผลแห่งวาทะนี้น้อยนัก ไม่พอเพื่อความสงบ
เรากล่าวผลแห่งการวิวาทเป็น ๒ อย่าง
บุคคลเห็นโทษแม้นี้แล้ว
มองเห็นภูมิ(เหตุ)แห่งการไม่วิวาทว่า เกษม ไม่พึงวิวาทกัน
[๑๓๒] (พระผู้มีพระภาคตรัสต่อไปว่า)
ทิฏฐิสมมติเหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดจากปุถุชน
บุคคลผู้มีความรู้ย่อมไม่เข้าถึงทิฏฐิสมมติเหล่านี้ทุกอย่าง
บุคคลผู้ไม่มีกิเลสเป็นเหตุเข้าถึงนั้น ไม่ทำความพอใจในรูปที่เห็น
เสียงที่ได้ยิน พึงถึงสิ่งที่ควรเข้าถึงอะไรเล่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๖๕ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส
คำว่า อย่างใดอย่างหนึ่ง ในคำว่า ทิฏฐิสมมติเหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่งเกิด
จากปุถุชน ได้แก่ ทุกอย่างโดยอาการทั้งหมด ทุกอย่าง ไม่เหลือ ไม่มีส่วนเหลือ
โดยประการทั้งปวง คำว่า อย่างใดอย่างหนึ่ง นี้เป็นคำกล่าวรวมไว้ทั้งหมด
คำว่า ทิฏฐิสมมติ อธิบายว่า ทิฏฐิ ๖๒ ตรัสเรียกว่า สมมติ จึงชื่อว่า
ทิฏฐิสมมติ
คำว่า เกิดจากปุถุชน อธิบายว่า ทิฏฐิสมมติเหล่านั้น เกิดจากปุถุชน จึงชื่อว่า
เกิดจากปุถุชน หรือ ทิฏฐิสมมติเหล่านี้เกิดจากชนต่าง ๆ มากมาย จึงชื่อว่าเกิดจาก
ปุถุชน รวมความว่า ทิฏฐิสมมติเหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดจากปุถุชน
คำว่า บุคคลผู้มีความรู้ ย่อมไม่เข้าถึงทิฏฐิสมมติเหล่านี้ทุกอย่าง อธิบายว่า
บุคคลผู้มีความรู้ คือ มีวิชชา มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลส
ย่อมไม่ถึง ไม่เข้าถึง คือ ไม่เข้าไปถึง ไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น ทิฏฐิสมมติเหล่านี้
ทุกอย่าง รวมความว่า บุคคลผู้มีความรู้ ย่อมไม่เข้าถึงทิฏฐิสมมติเหล่านี้ทุกอย่าง

ว่าด้วยกิเลสเป็นเหตุเข้าถึง ๒ อย่าง
คำว่า กิเลสเป็นเหตุเข้าถึง ในคำว่า บุคคลผู้ไม่มีกิเลสเป็นเหตุเข้าถึงนั้น...
พึงถึงสิ่งที่ควรเข้าถึงอะไรเล่า อธิบายว่า กิเลสเป็นเหตุเข้าถึง ๒ อย่าง คือ
(๑) กิเลสเป็นเหตุเข้าถึงด้วยอำนาจตัณหา (๒) กิเลสเป็นเหตุเข้าถึงด้วยอำนาจทิฏฐิ
... นี้ชื่อว่ากิเลสเป็นเหตุเข้าถึงด้วยอำนาจตัณหา ... นี้ชื่อว่ากิเลสเป็นเหตุเข้าถึง
ด้วยอำนาจทิฏฐิ
บุคคลนั้นละกิเลสเป็นเหตุเข้าถึงด้วยอำนาจตัณหาได้แล้ว สลัดทิ้งกิเลสเป็น
เหตุเข้าถึงด้วยอำนาจทิฏฐิได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละกิเลสเป็นเหตุเข้าถึงด้วยอำนาจ
ตัณหา สลัดทิ้งกิเลสเป็นเหตุเข้าถึงด้วยอำนาจทิฏฐิได้แล้ว บุคคลจึงชื่อว่าไม่มีกิเลส
เป็นเหตุเข้าถึง พึงเข้าถึง คือ เข้าไปถึง ถือ ยึดมั่น ถือมั่น รูปอะไรเล่าว่า “อัตตา
ของเรา”... เวทนาอะไรเล่า... สัญญาอะไรเล่า... สังขารอะไรเล่า... คติอะไรเล่า...
การเข้าถึงกำเนิดอะไรเล่า... ปฏิสนธิอะไรเล่า... ภพอะไรเล่า... สงสารอะไรเล่า” พึง
เข้าถึง คือ เข้าไปถึง ถือ ยึดมั่น ถือมั่น วัฏฏะอะไรเล่าว่า “วัฏฏะของเรา”
รวมความว่า ผู้ไม่มีกิเลสเป็นเหตุเข้าถึงนั้น... พึงถึงสิ่งที่ควรเข้าถึงอะไรเล่า


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๖๖ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส
คำว่า ไม่ทำความพอใจในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน อธิบายว่า ไม่ทำความ
พอใจ คือ ไม่ทำฉันทะ ไม่ทำความรัก ไม่ทำความกำหนัด ได้แก่ ไม่ให้ความ
พอใจเกิด ไม่ให้เกิดขึ้น ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดขึ้นในรูปที่เห็น หรือความหมดจด
เพราะรูปที่เห็น ในเสียงที่ได้ยิน หรือความหมดจดเพราะเสียงที่ได้ยิน ในอารมณ์
ที่รับรู้ หรือความหมดจดเพราะอารมณ์ที่รับรู้ รวมความว่า ไม่ทำความพอใจในรูป
ที่เห็น เสียงที่ได้ยิน ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
ทิฏฐิสมมติเหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดจากปุถุชน
บุคคลผู้มีความรู้ย่อมไม่เข้าถึงทิฏฐิสมมติเหล่านี้ทุกอย่าง
บุคคลผู้ไม่มีกิเลสเป็นเหตุเข้าถึงนั้น ไม่ทำความพอใจในรูปที่เห็น
เสียงที่ได้ยิน พึงถึงสิ่งที่ควรเข้าถึงอะไรเล่า
[๑๓๓] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
สมณพราหมณ์ผู้กล่าวอ้างศีลว่าสูงสุด
สมาทานวัตรแล้ว ดำรงอยู่
ได้กล่าวความหมดจดด้วยความสำรวมว่า
พวกเราศึกษาในทิฏฐินี้แหละและศึกษาความหมดจดแห่งวัตรนั้น
สมณพราหมณ์เหล่านั้นกล่าวอ้างตนว่าเป็นคนฉลาด
ย่อมเป็นผู้ถูกนำเข้าสู่ภพ

ว่าด้วยผู้มีกุศลถึงพร้อมประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ
คำว่า สมณพราหมณ์ผู้กล่าวอ้างศีลว่าสูงสุด... ได้กล่าวความหมดจดด้วย
ความสำรวม อธิบายว่า สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวอ้างศีลว่าสูงสุด สมณ-
พราหมณ์เหล่านั้นได้กล่าว คือ ย่อมกล่าว พูด บอก แสดง ชี้แจงความหมดจด คือ
ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไป เพียงด้วยศีล
เพียงด้วยความสำรวม เพียงด้วยความสังวร เพียงด้วยความไม่ล่วงละเมิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๖๗ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส
เปรียบเหมือนปริพาชกผู้เป็นบุตรแห่งนางปริพาชิกาชื่อสมณมุณฑิกา กล่าวไว้
อย่างนี้ว่า “ช่างไม้เอ๋ย เราบัญญัติบุรุษบุคคล ผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการว่า
เป็นผู้มีกุศลเพียบพร้อม มีกุศลยอดเยี่ยม บรรลุถึงอรหัตตผลอันอุดมที่ควรบรรลุ
เป็นสมณะไม่มีใครสู้ได้ ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
ช่างไม้เอ๋ย บุคคลเช่นนั้นในโลกนี้
๑. ย่อมไม่ทำกรรมชั่วช้าทางกาย
๒. ไม่กล่าววาจาชั่วช้า
๓. ไม่ดำริความดำริชั่วช้า
๔. ไม่ประกอบอาชีพชั่วช้า
ช่างไม้เอ๋ย เราบัญญัติบุรุษบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเหล่านี้แลว่า
เป็นผู้มีกุศลเพียบพร้อม มีกุศลยอดเยี่ยม บรรลุถึงอรหัตตผลอันอุดมที่ควรบรรลุ
เป็นสมณะไม่มีใครสู้ได้๑ ฉันใด มีสมณพราหมณ์บางพวกกล่าวอ้างศีลว่าสูงสุด
สมณพราหมณ์เหล่านั้นได้กล่าว คือ ย่อมกล่าว พูด บอก แสดง ชี้แจงความหมดจด
คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไป ด้วยเหตุ
เพียงศีล ด้วยเหตุเพียงความสำรวม ด้วยเหตุเพียงความสังวร ด้วยเหตุเพียงความ
ไม่ล่วงละเมิด ฉันนั้นเหมือนกัน รวมความว่า สมณพราหมณ์ผู้กล่าวอ้างศีลว่า
สูงสุด ... ได้กล่าวความหมดจดด้วยความสำรวม

ว่าด้วยการสมาทานวัตรต่าง ๆ
คำว่า วัตร ในคำว่า สมาทานวัตรแล้วดำรงอยู่ อธิบายว่า ถือเอา สมาทาน
คือ ยึดถือ รับเอา ถือ ยึดมั่น ถือมั่น วัตรเยี่ยงช้างบ้าง วัตรเยี่ยงม้าบ้าง วัตร
เยี่ยงโคบ้าง วัตรเยี่ยงแพะบ้าง วัตรเยี่ยงสุนัขบ้าง วัตรเยี่ยงกาบ้าง วัตรเยี่ยง
ท้าววาสุเทพบ้าง วัตรเยี่ยงท้าวปุณณภัทรบ้าง วัตรเยี่ยงท้าวมณีภัทรบ้าง วัตรคือ
การบูชาไฟบ้าง วัตรเยี่ยงนาคบ้าง วัตรเยี่ยงครุฑบ้าง วัตรเยี่ยงยักษ์บ้าง วัตรเยี่ยง
อสูรบ้าง วัตรเยี่ยงคนธรรพ์บ้าง วัตรเยี่ยงท้าวมหาราชบ้าง วัตรเยี่ยงพระจันทร์บ้าง

เชิงอรรถ :
๑ ม.ม. ๑๓/๒๖๐/๒๓๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๖๘ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส
วัตรเยี่ยงพระอาทิตย์บ้าง วัตรเยี่ยงพระอินทร์บ้าง วัตรเยี่ยงพระพรหมบ้าง วัตรเยี่ยง
เทวดาบ้าง วัตรคือการไหว้ทิศบ้างแล้วดำรงอยู่ คือ ดำรงมั่น ติด ติดแน่น ติดใจ
น้อมใจเชื่อ รวมความว่า สมาทานวัตรแล้วดำรงอยู่
คำว่า ในทิฏฐินี้ ในคำว่า พวกเราศึกษาในทิฏฐินี้แหละและศึกษาความ
หมดจดแห่งวัตรนั้น ได้แก่ ในทิฏฐิของตน คือ ในความถูกใจของตน ความพอใจ
ของตน ลัทธิของตน
คำว่า ศึกษา ได้แก่ ศึกษา คือ ประพฤติเอื้อเฟื้อ ประพฤติเอื้อเฟื้อโดยชอบ
สมาทานประพฤติ รวมความว่า พวกเราศึกษาในทิฏฐินี้แหละ
คำว่า และศึกษาความหมดจดแห่งวัตรนั้น อธิบายว่า และศึกษาความ
หมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้น
ไปแห่งวัตรนั้น รวมความว่า พวกเราศึกษาในทิฏฐินี้แหละและศึกษาความหมดจด
แห่งวัตรนั้น
คำว่า ย่อมเป็นผู้ถูกนำเข้าสู่ภพ ในคำว่า กล่าวอ้างตนว่าเป็นคนฉลาด
ย่อมเป็นผู้ถูกนำเข้าสู่ภพ ได้แก่ ย่อมเป็นผู้ถูกนำเข้าสู่ภพ คือ ย่อมเป็นผู้เข้าถึงภพ
ติดใจในภพ น้อมใจเชื่อในภพ รวมความว่า ย่อมเป็นผู้ถูกนำเข้าสู่ภพ
คำว่า กล่าวอ้างตนว่าเป็นคนฉลาด ได้แก่ กล่าวอ้างตนว่าเป็นคนฉลาด คือ
กล่าวอ้างว่าเป็นบัณฑิต อ้างว่าเป็นนักปราชญ์ อ้างว่ามีญาณ อ้างว่ามีเหตุผล
อ้างว่ามีคุณลักษณะ อ้างว่าเหมาะแก่เหตุ อ้างว่าสมฐานะ ตามลัทธิของตน
รวมความว่า กล่าวอ้างตนว่าเป็นคนฉลาด ย่อมเป็นผู้ถูกนำเข้าสู่ภพ ด้วยเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
สมณพราหมณ์ผู้กล่าวอ้างศีลว่าสูงสุด
สมาทานวัตรแล้ว ดำรงอยู่
ได้กล่าวความหมดจดด้วยความสำรวมว่า
พวกเราศึกษาในทิฏฐินี้แหละและศึกษาความหมดจดแห่งวัตรนั้น
สมณพราหมณ์เหล่านั้นกล่าวอ้างตนว่าเป็นคนฉลาด
ย่อมเป็นผู้ถูกนำเข้าสู่ภพ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๖๙ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส
[๑๓๔] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
ถ้าบุคคลเคลื่อนจากศีลวัตร พลาดกรรมแล้วก็หวั่นไหว
เขาย่อมเฝ้าแต่พร่ำเพ้อ และปรารถนาความหมดจด
เหมือนคนออกจากเรือน อยู่ร่วมกับพวกเดินทาง
พลัดจากพวกฉะนั้น

ว่าด้วยเหตุให้เคลื่อนจากศีลวัตร
คำว่า ถ้าบุคคลเคลื่อนจากศีลวัตร อธิบายว่า บุคคลเคลื่อนจากศีลวัตร
ด้วยเหตุ ๒ อย่าง คือ (๑) เคลื่อนเพราะผู้อื่นชี้ขาด (๒) เคลื่อนเพราะไม่บรรลุ
บุคคลเคลื่อนเพราะผู้อื่นชี้ขาด เป็นอย่างไร
คือ ผู้อื่นชี้ขาดว่า “ศาสดานั้นมิใช่สัพพัญญู ธรรมมิใช่ศาสดากล่าวสอนไว้
ดีแล้ว หมู่คณะมิใช่ผู้ปฏิบัติดีแล้ว ทิฏฐิมิใช่สิ่งที่เจริญ ปฏิปทามิใช่ศาสดาบัญญัติ
ไว้ดีแล้ว มรรคมิใช่ทางนำสัตว์ออกจากทุกข์ ในลัทธินั้นไม่มีความหมดจด ความ
สะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป หรือความหลุดพ้นไป คือ
ในลัทธินั้น สัตว์ทั้งหลาย ย่อมหมดจด สะอาด บริสุทธิ์ หลุดไป พ้นไป หรือ
หลุดพ้นไปไม่ได้
สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้เลว คือ ทราม ต่ำทราม น่ารังเกียจ หยาบช้า ต่ำต้อย
ชื่อว่าผู้อื่นชี้ขาด ด้วยอาการอย่างนี้ ผู้ที่ถูกชี้ขาดอย่างนี้ ย่อมเคลื่อนจากศาสดา
เคลื่อนจากธรรมที่ศาสดากล่าวสอน เคลื่อนจากหมู่คณะ เคลื่อนจากทิฏฐิ เคลื่อน
จากปฏิปทา เคลื่อนจากมรรค บุคคลชื่อว่าเคลื่อนเพราะผู้อื่นชี้ขาดเป็นอย่างนี้
บุคคลเคลื่อนเพราะไม่บรรลุ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลไม่บรรลุศีล จึงเคลื่อนจากศีล ไม่บรรลุวัตร จึงเคลื่อนจากวัตร ไม่
บรรลุศีลวัตร จึงเคลื่อนจากศีลวัตร บุคคลชื่อว่าเคลื่อนเพราะไม่บรรลุ เป็นอย่างนี้
รวมความว่า ถ้าบุคคลเคลื่อนจากศีลวัตร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๗๐ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส
คำว่า หวั่นไหว ในคำว่า พลาดกรรมแล้วก็หวั่นไหว อธิบายว่า หวั่น
หวั่นไหว คือ หวาดหวั่นเรื่องศีล วัตร หรือ ศีลวัตรว่า เราผิด พลั้ง พลาด
คลาดไปเสียแล้ว เราผิดพลาดจากอรหัตตผลเสียแล้ว รวมความว่า หวั่นไหว
คำว่า พลาดกรรมแล้ว อธิบายว่า หวั่น หวั่นไหว คือ หวาดหวั่นเรื่อง
ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร หรืออาเนญชาภิสังขารว่า “เราผิด พลั้ง พลาด
คลาดไปเสียแล้ว เราผิดพลาดจากอรหัตตผลเสียแล้ว” รวมความว่า พลาดกรรม
แล้วก็หวั่นไหว
คำว่า พร่ำเพ้อ ในคำว่า เขาย่อมเฝ้าแต่พร่ำเพ้อและปรารถนาความ
หมดจด ได้แก่ เพ้อ พร่ำเพ้อ คือ เพ้อพกเรื่องศีล วัตร หรือศีลวัตร รวมความว่า
พร่ำเพ้อ
คำว่า และปรารถนาความหมดจด ได้แก่ ปรารถนา คือ ชอบใจ ใฝ่ฝัน
ความหมดจดเพราะศีล ความหมดจดเพราะวัตร หรือความหมดจดเพราะศีลวัตร
รวมความว่า เขาย่อมเฝ้าแต่พร่ำเพ้อและปรารถนาความหมดจด
คำว่า เหมือนคนออกจากเรือน อยู่ร่วมกับพวกเดินทาง พลัดจากพวก
ฉะนั้น อธิบายว่า บุรุษออกจากเรือน อยู่ร่วม คือ เป็นอยู่กับพวกเดินทาง
พลัดจากพวก คือ ติดตามพวกเดินทางไป หรือกลับมาสู่เรือนของตนเอง ฉันใด
เจ้าลัทธินั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถือ คือ ยึดมั่น ถือมั่นศาสดานั้นหรือศาสดาอื่น
ธรรมที่ศาสดากล่าวสอนนั้น หรือธรรมที่ศาสดากล่าวสอนอื่น หมู่คณะนั้นหรือหมู่
คณะอื่น ทิฏฐินั้นหรือทิฏฐิอื่น ปฏิปทานั้นหรือปฏิปทาอื่น มรรคนั้นหรือมรรคอื่น
รวมความว่า เหมือนคนออกจากเรือน อยู่ร่วมกับพวกเดินทาง พลัดจากพวก
ฉะนั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
ถ้าบุคคลเคลื่อนจากศีลวัตร พลาดกรรมแล้วก็หวั่นไหว
เขาย่อมเฝ้าแต่พร่ำเพ้อ และปรารถนาความหมดจด
เหมือนคนออกจากเรือน อยู่ร่วมกับพวกเดินทาง
พลัดจากพวกฉะนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๗๑ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส
[๑๓๕] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
อริยสาวกละศีลวัตรได้ทั้งหมด
ละกรรมที่มีโทษและกรรมที่ไม่มีโทษนั้นเสียได้
ไม่ปรารถนาความหมดจดและความไม่หมดจด
งดเว้นแล้ว ไม่ยึดมั่นทิฏฐิที่มีอยู่เที่ยวไป
คำว่า ละศีลวัตรได้ทั้งหมด อธิบายว่า ละ คือ ละทิ้ง บรรเทา ทำให้หมด
สิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งความหมดจดเพราะศีลได้ทั้งหมด... ความหมดจดเพราะ
วัตรได้ทั้งหมด... ละ คือ ละทิ้ง บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่ง
ความหมดจดเพราะศีลวัตรได้ทั้งหมด รวมความว่า ละศีลวัตรได้ทั้งหมด

ว่าด้วยกรรมมีโทษและกรรมไม่มีโทษ
คำว่า ละกรรมที่มีโทษและกรรมที่ไม่มีโทษนั้นเสียได้ อธิบายว่า กรรมดำ๑
มีวิบากดำ ตรัสเรียกว่า กรรมที่มีโทษ กรรมขาว๒ มีวิบากขาว ตรัสเรียกว่า กรรม
ที่ไม่มีโทษ พระอริยสาวก ละ คือ ละทิ้ง บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มี
อีกซึ่งกรรมที่มีโทษและกรรมที่ไม่มีโทษได้แล้ว รวมความว่า ละกรรมที่มีโทษและ
กรรมที่ไม่มีโทษนั้นเสียได้
คำว่า ความไม่หมดจด ในคำว่า ไม่ปรารถนาความหมดจดและความไม่
หมดจด ได้แก่ พวกปุถุชนปรารถนาความไม่หมดจด คือ ปรารถนาอกุศลธรรม
คำว่า ความหมดจด อธิบายว่า พวกปุถุชนปรารถนาความหมดจด คือ
ปรารถนากามคุณ ๕ ปรารถนาความไม่หมดจด คือ ปรารถนาอกุศลธรรมและกาม-
คุณ ๕ ปรารถนาความหมดจด คือ ปรารถนาทิฏฐิ ๖๒ ปรารถนาความไม่หมดจด

เชิงอรรถ :
๑ กรรมดำ มีวิบากดำ หมายถึงอกุศลกรรมบถ ๑๐ ย่อมมีผลให้บุคคลผู้ทำเกิดในอบาย
๒ กรรมขาว มีวิบากขาว หมายถึงกุศลกรรมบถ ๑๐ ย่อมมีผลให้บุคคลผู้ทำเกิดในสวรรค์ (ที.ปา.อ. ๓/๓๑๒/
๒๒๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๗๒ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส
คือ ปรารถนาอกุศลธรรม กามคุณ ๕ และทิฏฐิ ๖๒ ปรารถนาความหมดจด คือ
ปรารถนากุศลธรรมอันมีในไตรธาตุ ปรารถนาความไม่หมดจด คือ ปรารถนา
อกุศลธรรม กามคุณ ๕ ทิฏฐิ ๖๒ และกุศลธรรมอันมีในไตรธาตุ พวกกัลยาณ-
ปุถุชน ปรารถนาความสะอาด คือ ปรารถนาความก้าวย่างสู่อริยมรรค พระเสขะ
ปรารถนาอรหัตตผล ซึ่งเป็นธรรมอันเลิศ เมื่อบรรลุอรหัตตผล พระอรหันต์ไม่
ปรารถนาอกุศลธรรม ไม่ปรารถนากามคุณ ๕ ไม่ปรารถนาทิฏฐิ ๖๒ ไม่ปรารถนา
กุศลธรรมอันมีในไตรธาตุ๑ ไม่ปรารถนาความก้าวย่างสู่อริยมรรค ไม่ปรารถนา
อรหัตตผลซึ่งเป็นธรรมอันเลิศ พระอรหันต์ก้าวล่วงความปรารถนา ล่วงพ้นความ
เจริญและความเสื่อมเสียแล้ว พระอรหันต์นั้นอยู่ใน(อริยวาสธรรม)แล้ว ประพฤติ
จรณธรรมแล้ว... และภพใหม่ก็ไม่มีอีก รวมความว่า ไม่ปรารถนาความหมดจดและ
ความไม่หมดจด
คำว่า งดเว้นแล้ว ในคำว่า งดเว้นแล้ว ไม่ยึดมั่นทิฏฐิที่มีอยู่เที่ยวไป
อธิบายว่า งด งดเว้น คือ เว้นขาด ออก สลัดออก หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้องกับ
ความหมดจดและความไม่หมดจด มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส) อยู่ รวมความว่า
งดเว้นแล้ว
คำว่า เที่ยวไป ได้แก่ เที่ยวไป คือ ท่องเที่ยวไป อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป
เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป รวมความว่า งดเว้นแล้ว เที่ยวไป

เชิงอรรถ :
๑ ไตรธาตุ คือ (๑) กามธาตุ(กามภพ) (๒) รูปธาตุ(รูปภพ) (๓) อรูปธาตุ(อรูปภพ)
๑. ธาตุอย่างหยาบ ชื่อกามธาตุ ๒. ธาตุอย่างกลาง ชื่อรูปธาตุ ๓. ธาตุอย่างประณีต ชื่ออรูปธาตุ
กรรมอำนวยผลให้ในกามธาตุ กามภพจึงปรากฏมีขึ้น กรรมจึงเป็นไร่นา วิญญาณเป็นพืช ตัณหาเป็น
ยางเหนียว วิญญาณดำรงมั่นอยู่ได้เพราะธาตุอย่างหยาบ ธาตุอย่างหยาบ(กามธาตุ)ของสัตว์มีอวิชชาเป็น
เครื่องปิดกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกใจ การเกิดในภพใหม่จึงมีต่อไป
กรรมอำนวยผลให้ในรูปธาตุ รูปภพจึงปรากฏมีขึ้น กรรมจึงเป็นไร่นา วิญญาณเป็นพืช ตัณหาเป็นยาง
เหนียว วิญญาณดำรงมั่นอยู่ได้เพราะธาตุอย่างกลาง ธาตุอย่างกลาง(รูปธาตุ)ของสัตว์มีอวิชชาเป็นเครื่อง
ปิดกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกใจ การเกิดในภพใหม่จึงมีต่อไป
กรรมอำนวยผลให้ในอรูปธาตุ อรูปภพจึงปรากฏมีขึ้น กรรมจึงเป็นไร่นา วิญญาณเป็นพืช ตัณหาเป็น
ยางเหนียว วิญญาณดำรงมั่นอยู่ได้เพราะธาตุอย่างประณีต ธาตุอย่างประณีต(อรูปธาตุ)ของสัตว์มีอวิชชา
เป็นเครื่องปิดกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกใจ การเกิดในภพใหม่จึงมีต่อไป (องฺ.ติก.(แปล) ๒๐/๗๗/๒๑๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๗๓ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส
คำว่า ไม่ยึดมั่นทิฏฐิที่มีอยู่ อธิบายว่า ทิฏฐิ ๖๒ ตรัสเรียกว่า ทิฏฐิที่มีอยู่
พระอรหันต์ไม่ยึด คือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่นทิฏฐิที่มีอยู่ รวมความว่า งดเว้นแล้ว
ไม่ยึดมั่นทิฏฐิที่มีอยู่เที่ยวไป ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
อริยสาวกละศีลวัตรได้ทั้งหมด
ละกรรมที่มีโทษและกรรมที่ไม่มีโทษนั้นเสียได้
ไม่ปรารถนาความหมดจดและความไม่หมดจด
งดเว้นแล้ว ไม่ยึดมั่นทิฏฐิที่มีอยู่เที่ยวไป
[๑๓๖] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
สมณพราหมณ์เข้าไปอาศัยตบะที่ตนเกลียดชังนั้น
เข้าไปอาศัยรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยินหรืออารมณ์ที่รับรู้
เป็นผู้กล่าวความหมดจดในสงสารข้างหน้า
ยังไม่คลายตัณหาในภพน้อยภพใหญ่
จึงยังพร่ำพูดถึงความหมดจดอยู่
คำว่า สมณพราหมณ์เข้าไปอาศัยตบะที่ตนเกลียดชังนั้น อธิบายว่า
สมณพราหมณ์บางพวก มีวาทะเกลียดชังตบะ ถือการเกลียดชังตบะเป็นสรณะ
อาศัย คือ อิงอาศัย ติด ติดแน่น ติดใจ น้อมใจเชื่อความเกลียดชังตบะ รวมความว่า
สมณพราหมณ์เข้าไปอาศัยตบะที่ตนเกลียดชังนั้น
คำว่า เข้าไปอาศัยรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยินหรืออารมณ์ที่รับรู้ อธิบายว่า
อาศัย เข้าไปอาศัย คือ ถือ ยึดมั่น ถือมั่นรูปที่เห็น หรือความหมดจดเพราะรูป
ที่เห็น เสียงที่ได้ยิน หรือความหมดจดเพราะเสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่รับรู้ หรือความ
หมดจดเพราะอารมณ์ที่รับรู้ รวมความว่า เข้าไปอาศัยรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยินหรือ
อารมณ์ที่รับรู้
คำว่า เป็นผู้กล่าวความหมดจดในสงสารข้างหน้า... จึงยังพร่ำพูดถึงความ
หมดจดอยู่ อธิบายว่า สมณพราหมณ์บางพวก เป็นผู้กล่าวความหมดจดในสงสาร
ข้างหน้า สมณพราหมณ์พวกไหน เป็นผู้กล่าวความหมดจดในสงสารข้างหน้า สมณ-
พราหมณ์เหล่าใด เป็นผู้ถือความหมดจดโดยส่วนเดียว ถือความหมดจดโดยการ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๗๔ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส
เวียนว่ายตายเกิด ผู้มีความเห็นว่าทำแล้วไม่เป็นอันทำ๑ มีวาทะว่าเที่ยง๒
สมณพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าเป็นผู้กล่าวความหมดจดในสงสารข้างหน้า สมณ-
พราหมณ์เหล่านั้นก็พร่ำพูด คือ กล่าว พูด บอก แสดง ชี้แจงความหมดจด คือ
ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไป โดยสงสาร
รวมความว่า เป็นผู้กล่าวความหมดจดในสงสารข้างหน้า ... จึงยังพร่ำพูดถึงความ
หมดจดอยู่
คำว่า ตัณหา ในคำว่า ยังไม่คลายตัณหาในภพน้อยภพใหญ่ ได้แก่
รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา
คำว่า ในภพน้อยภพใหญ่ อธิบายว่า ผู้ยังไม่คลายตัณหา คือ ไม่ปราศจาก
ตัณหา ไม่สละตัณหา ไม่คายตัณหา ไม่เปลื้องตัณหา ไม่ละตัณหา ไม่สลัดทิ้งตัณหา
ในภพน้อยภพใหญ่ คือ ในกรรมวัฏและวิปากวัฏ ในกรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในกามภพ
ในวิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดในกามภพ ในกรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในรูปภพ ในวิปาก-
วัฏเป็นเครื่องเกิดในรูปภพ ในกรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในอรูปภพ ในวิปากวัฏเป็น
เครื่องเกิดในอรูปภพ ในภพต่อไป ในคติต่อไป ในการถือกำเนิดต่อไป ในปฏิสนธิ
ต่อไป ในการบังเกิดของอัตภาพต่อไป รวมความว่า ยังไม่คลายตัณหาในภพน้อย
ภพใหญ่ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
สมณพราหมณ์เข้าไปอาศัยตบะที่ตนเกลียดชังนั้น
เข้าไปอาศัยรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยินหรืออารมณ์ที่รับรู้
เป็นผู้กล่าวความหมดจดในสงสารข้างหน้า
ยังไม่คลายตัณหาในภพน้อยภพใหญ่
จึงยังพร่ำพูดถึงความหมดจดอยู่
[๑๓๗] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
ความชอบใจวัตถุย่อมมีแก่ผู้กำลังปรารถนา
อนึ่ง ความหวั่นไหวย่อมมีในเพราะวัตถุที่กำหนดแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ ทำแล้วไม่เป็นอันทำ หมายถึง อกิริยทิฏฐิ คือลัทธิที่ถือว่าการกระทำทุกอย่างไม่มีผล ทำดีก็ไม่ได้ดี ทำชั่ว
ก็ไม่ได้ชั่ว เป็นความเห็นที่ปฏิเสธกฎแห่งกรรม (ที.สี.อ. ๑๖๖/๑๔๕)
๒ มีวาทะว่าเที่ยง หมายถึง สัสสตทิฏฐิ คือลัทธิที่ถือว่า โลกและอัตตาเที่ยง (ที.สี. (แปล) ๙/๓๐-๓๗/๑๑-๑๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๗๕ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส
ความตายและความเกิดมิได้มีแก่ภิกษุใดในธรรมวินัยนี้
ภิกษุนั้นพึงหวั่นไหวด้วยเหตุอะไร หรือพึงชอบใจในอะไร
คำว่า ความชอบใจวัตถุย่อมมีแก่ผู้กำลังปรารถนา อธิบายว่า ตัณหา
ตรัสเรียกว่า ความปรารถนา คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ... อภิชฌา
อกุศลมูลคือโลภะ
คำว่า ผู้กำลังปรารถนา ได้แก่ ผู้กำลังปรารถนา คือ ผู้กำลังต้องการ ยินดี
มุ่งหมาย มุ่งหวัง รวมความว่า ผู้กำลังปรารถนา
คำว่า ชอบใจ อธิบายว่า ตัณหา ตรัสเรียกว่า ความชอบใจ คือ ความ
กำหนัด ความกำหนัดนัก ... อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ รวมความว่า
ความชอบใจวัตถุย่อมมีแก่ผู้กำลังปรารถนา
คำว่า ความกำหนด ในคำว่า อนึ่ง ความหวั่นไหวย่อมมีในเพราะวัตถุที่
กำหนดแล้ว ได้แก่ ความกำหนด ๒ อย่าง คือ (๑) ความกำหนดด้วยอำนาจตัณหา
(๒) ความกำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิ ... นี้ชื่อว่าความกำหนดด้วยอำนาจตัณหา ...
นี้ชื่อว่าความกำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิ
คำว่า อนึ่ง ความหวั่นไหวย่อมมีในเพราะวัตถุที่กำหนดแล้ว อธิบายว่า
ผู้หวาดระแวงว่า วัตถุที่กำหนดไว้แล้วจะถูกแย่งชิงไป ย่อมหวั่นไหวบ้าง เมื่อวัตถุนั้น
กำลังถูกแย่งชิงไป ย่อมหวั่นไหวบ้าง เมื่อวัตถุนั้นถูกแย่งชิงไปแล้ว ย่อมหวั่นไหวบ้าง
ผู้หวาดระแวงว่า วัตถุที่กำหนดไว้แล้วจะแปรผันไป ย่อมหวั่นไหวบ้าง เมื่อวัตถุนั้น
กำลังแปรผันไป ย่อมหวั่นไหวบ้าง เมื่อวัตถุนั้นแปรผันไปแล้ว ย่อมหวั่นไหว คือ
สั่นเทา กระสับกระส่ายอยู่บ้าง รวมความว่า อนึ่ง ความหวั่นไหวย่อมมีในเพราะ
วัตถุที่กำหนดแล้ว
คำว่า ภิกษุใด ในคำว่า ความตายและความเกิดมิได้มีแก่ภิกษุใดใน
ธรรมวินัยนี้ ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ อธิบายว่า การไป การมา การไปและ
การมา ความตาย คติ ภพน้อยภพใหญ่ จุติ การถือกำเนิด ความเกิด ความดับ
ชาติ ชรา มรณะ ไม่มี คือ ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้ แก่พระอรหันตขีณาสพใด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๗๖ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส
ได้แก่ ความตายและความเกิดนั้น พระอรหันตขีณาสพ ละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว
ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว
รวมความว่า ความตายและความเกิดมิได้มีแก่ภิกษุใดในธรรมวินัยนี้
คำว่า ภิกษุนั้นพึงหวั่นไหวด้วยเหตุอะไร หรือพึงชอบใจในอะไร อธิบายว่า
ภิกษุนั้นพึงหวั่นไหวด้วยราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ อุทธัจจะ วิจิกิจฉา อนุสัย
อะไรว่า “เป็นผู้กำหนัด เป็นผู้ขัดเคือง เป็นผู้หลง เป็นผู้ยึดติด เป็นผู้ยึดมั่น
เป็นผู้ฟุ้งซ่าน เป็นผู้ลังเล หรือว่า เป็นผู้ตกอยู่ในพลังกิเลส”
ภิกษุนั้นละอภิสังขารเหล่านั้นได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละอภิสังขารได้แล้ว ภิกษุพึง
หวั่นไหวด้วยเหตุอะไรตามคติเล่าว่า “เป็นผู้เกิดในนรก เป็นผู้เกิดในกำเนิดเดรัจฉาน
เป็นผู้เกิดในเปตวิสัย เป็นมนุษย์ เป็นเทพ เป็นผู้มีรูป เป็นผู้ไม่มีรูป เป็นผู้มีสัญญา
เป็นผู้ไม่มีสัญญา หรือว่าเป็นผู้มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่” ภิกษุนั้นพึงหวั่นไหว
คือ สั่นเทา กระสับกระส่ายด้วยเหตุ ปัจจัย และการณ์ใด เหตุ ปัจจัย และการณ์นั้น
ไม่มี รวมความว่า ภิกษุนั้นพึงหวั่นไหวด้วยเหตุอะไร
คำว่า หรือพึงชอบใจในอะไร อธิบายว่า หรือว่า พึงชอบใจในอะไร คือ
พึงชอบใจในวัตถุอะไร ได้แก่ พึงชอบใจ รักใคร่ พอใจในวัตถุนั้นอย่างไร รวมความว่า
ภิกษุนั้นพึงหวั่นไหวด้วยเหตุอะไร หรือพึงชอบใจในอะไร ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระ-
ภาคจึงตรัสว่า
ความชอบใจวัตถุย่อมมีแก่ผู้กำลังปรารถนา
อนึ่ง ความหวั่นไหวย่อมมีในเพราะวัตถุที่กำหนดแล้ว
ความตายและความเกิดมิได้มีแก่ภิกษุใดในธรรมวินัยนี้
ภิกษุนั้นพึงหวั่นไหวด้วยเหตุอะไร หรือพึงชอบใจในอะไร
[๑๓๘] (พระพุทธเนรมิตทูลถามว่า)
สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวธรรมใดว่า เยี่ยม
แต่สมณพราหมณ์พวกอื่นกลับกล่าวธรรมนั้นนั่นเองว่า เลว
วาทะของสมณพราหมณ์เหล่านี้ วาทะไหนจริงกันหนอ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๗๗ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส
เพราะสมณะพราหมณ์เหล่านี้ทุกพวก
ต่างกล่าวอ้างตนว่า เป็นคนฉลาด
คำว่า สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวธรรมใดว่า เยี่ยม อธิบายว่า สมณ-
พราหมณ์บางพวก กล่าว คือ พูด บอก แสดง ชี้แจงธรรม คือ ทิฏฐิ ปฏิปทา
มรรคใด อย่างนี้ว่า “ธรรมนี้ เยี่ยม คือ ยอด ประเสริฐ วิเศษ นำหน้า สูงสุด
ประเสริฐสุด” รวมความว่า สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวธรรมใดว่า เยี่ยม
คำว่า แต่สมณพราหมณ์พวกอื่นกลับกล่าวธรรมนั้นนั่นเองว่า เลว อธิบาย
ว่า สมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่งกลับกล่าว คือ พูด บอก แสดง ชี้แจงธรรม คือ ทิฏฐิ
ปฏิปทา มรรคนั้นนั่นเอง อย่างนี้ว่า “ธรรมนี้เลว คือ ทราม ต่ำทราม น่ารังเกียจ
หยาบช้า ต่ำต้อย” รวมความว่า แต่สมณพราหมณ์พวกอื่นกลับกล่าวธรรมนั้น
นั่นเองว่า เลว
คำว่า วาทะของสมณพราหมณ์เหล่านี้ วาทะไหนจริงกันหนอ อธิบายว่า
วาทะของสมณพราหมณ์เหล่านี้ วาทะไหน จริง คือ แท้ แท้จริง เป็นจริง แน่นอน
ไม่วิปริต รวมความว่า วาทะของสมณพราหมณ์เหล่านี้ วาทะไหนจริงกันหนอ
คำว่า เพราะสมณพราหมณ์เหล่านี้ทุกพวกต่างกล่าวอ้างตนว่า เป็นคน
ฉลาด อธิบายว่า สมณพราหมณ์เหล่านี้ทุกพวก ต่างกล่าวอ้างตนว่า เป็นคนฉลาด
คือ กล่าวอ้างว่าเป็นบัณฑิต อ้างว่าเป็นนักปราชญ์ อ้างว่ามีญาณ อ้างว่ามีเหตุผล
อ้างว่ามีคุณลักษณะ อ้างว่าเหมาะแก่เหตุ อ้างว่าสมฐานะ ตามลัทธิของตน รวม
ความว่า เพราะสมณพราหมณ์เหล่านี้ทุกพวกต่างกล่าวอ้างตนว่า เป็นคนฉลาด
ด้วยเหตุนั้น พระพุทธเนรมิตจึงทูลถามว่า
สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวธรรมใดว่า เยี่ยม
แต่สมณพราหมณ์พวกอื่นกลับกล่าวธรรมนั้นนั่นเองว่า เลว
วาทะของสมณพราหมณ์เหล่านี้ วาทะไหนจริงกันหนอ
เพราะสมณพราหมณ์เหล่านี้ทุกพวก
ต่างกล่าวอ้างตนว่า เป็นคนฉลาด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๗๘ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส
[๑๓๙] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า)
อนึ่ง สมณพราหมณ์บางพวก
กล่าวธรรมของตนว่า บริบูรณ์ แต่กล่าวธรรมของผู้อื่นว่า เลว
พวกสมณพราหมณ์ถือมั่นแม้อย่างนี้แล้วย่อมวิวาทกัน
เพราะต่างกล่าวทิฏฐิสมมติของตน ๆ ว่า จริง
คำว่า อนึ่ง สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวธรรมของตนว่า บริบูรณ์
อธิบายว่า อนึ่ง สมณพราหมณ์บางพวกกล่าว คือ พูด บอก แสดง ชี้แจงธรรม คือ
ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรคของตน อย่างนี้ว่า “ธรรมนี้เพียบพร้อม บริบูรณ์ ไม่บกพร่อง”
รวมความว่า อนึ่ง สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวธรรมของตนว่า บริบูรณ์
คำว่า แต่กล่าวธรรมของผู้อื่นว่า เลว อธิบายว่า สมณพราหมณ์พวก
เดียวกันนั้น กล่าว คือ พูด บอก แสดง ชี้แจงธรรม คือ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรค
ของผู้อื่น อย่างนี้ว่า “ธรรมนี้เลว คือ ทราม ต่ำทราม น่ารังเกียจ หยาบช้า ต่ำต้อย”
รวมความว่า แต่กล่าวธรรมของผู้อื่นว่า เลว
คำว่า พวกสมณพราหมณ์ถือมั่นแม้อย่างนี้แล้วย่อมวิวาทกัน อธิบายว่า
พวกสมณพราหมณ์ จับ ยึด ถือ ยึดมั่น ถือมั่นอย่างนี้ ย่อมวิวาทกัน คือ ย่อมก่อ
การทะเลาะ ก่อการบาดหมาง ก่อการแก่งแย่ง ก่อการวิวาท ก่อการมุ่งร้ายกันโดย
พูดว่า “ท่านไม่รู้ธรรมวินัยนี้... หรือหากท่านสามารถ ก็จงแก้ไขเถิด” รวมความว่า
พวกสมณพราหมณ์ถือมั่นแม้อย่างนี้แล้วย่อมวิวาทกัน
คำว่า เพราะต่างกล่าวทิฏฐิสมมติของตน ๆ ว่า จริง อธิบายว่า ต่างกล่าวว่า
“โลกเที่ยง... หลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่
นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ” รวมความว่า เพราะต่างกล่าวทิฏฐิสมมติ
ของตน ๆ ว่า จริง ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า
อนึ่ง สมณพราหมณ์บางพวก
กล่าวธรรมของตนว่า บริบูรณ์ แต่กล่าวธรรมของผู้อื่นว่า เลว
พวกสมณพราหมณ์ถือมั่นแม้อย่างนี้แล้วย่อมวิวาทกัน
เพราะต่างกล่าวทิฏฐิสมมติของตน ๆ ว่า จริง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๗๙ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส
[๑๔๐] (พระผู้มีพระภาคตรัสต่อไปว่า)
หากบุคคลเป็นคนเลวเพราะเหตุที่ผู้อื่นพูดติเตียนไซร้
ก็จะไม่พึงมีใครวิเศษในธรรมทั้งหลายได้เลย
เพราะคนส่วนมากต่างกล่าวยืนยันในแนวทางของตน
พากันกล่าวธรรมของผู้อื่นโดยความเป็นสิ่งเลวทราม
คำว่า หากบุคคลเป็นคนเลวเพราะเหตุที่ผู้อื่นพูดติเตียนไซร้ อธิบายว่า
หากบุคคลอื่นเป็นคนพาล เลว คือ ทราม ต่ำทราม น่ารังเกียจ หยาบช้า ต่ำต้อย
เพราะเหตุที่ผู้อื่นติเตียน คือ เพราะเหตุที่ผู้อื่นนินทา ตำหนิ ว่าร้ายไซร้ รวมความว่า
หากบุคคลเป็นคนเลวเพราะเหตุที่ผู้อื่นพูดติเตียนไซร้
คำว่า ก็จะไม่พึงมีใครวิเศษในธรรมทั้งหลายได้เลย อธิบายว่า ก็จะไม่พึงมี
ใครเลิศ ประเสริฐ วิเศษ นำหน้า สูงสุด ประเสริฐสุดในธรรมทั้งหลายได้เลย
รวมความว่า ก็จะไม่พึงมีใครวิเศษในธรรมทั้งหลายได้เลย
คำว่า เพราะคนส่วนมาก... พากันกล่าวธรรมของผู้อื่นโดยความเป็นสิ่งเลว
ทราม อธิบายว่า คนส่วนมากพากันกล่าว คือ ว่าร้าย นินทา ติเตียนธรรมของคน
ส่วนมาก โดยความเป็นสิ่งเลว ทราม คือ ต่ำทราม น่ารังเกียจ หยาบช้า ต่ำต้อยบ้าง
คนส่วนมากพากันกล่าว คือ ว่าร้าย นินทา ติเตียนธรรมของคนผู้หนึ่ง โดยความ
เป็นสิ่งเลว ทราม คือ ต่ำทราม น่ารังเกียจ หยาบช้า ต่ำต้อยบ้าง คนผู้หนึ่ง
กล่าว คือ ว่าร้าย นินทา ติเตียนธรรมของคนส่วนมาก โดยความเป็นสิ่งเลว ทราม
คือ ต่ำทราม น่ารังเกียจ หยาบช้า ต่ำต้อยบ้าง คนผู้หนึ่งกล่าว คือ ว่าร้าย นินทา
ติเตียนธรรมของคนผู้หนึ่ง โดยความเป็นสิ่งเลว ทราม คือ ต่ำทราม น่ารังเกียจ
หยาบช้า ต่ำต้อยบ้าง รวมความว่า เพราะคนส่วนมาก... พากันกล่าวธรรมของผู้อื่น
โดยความเป็นสิ่งเลวทราม
คำว่า ต่างกล่าวยืนยันในแนวทางของตน... โดยความเป็นสิ่งเลวทราม
อธิบายว่า ธรรม ชื่อว่าแนวทางของตน ทิฏฐิ ชื่อว่าแนวทางของตน ปฏิปทา ชื่อว่า
แนวทางของตน มรรค ก็ชื่อว่าแนวทางของตน คนส่วนมากต่างกล่าวยืนยัน คือ
กล่าวมั่นคง กล่าวแข็งขัน กล่าวหนักแน่นในแนวทางของตน รวมความว่า ต่างกล่าว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๘๐ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส
ยืนยันในแนวทางของตน... โดยความเป็นสิ่งเลวทราม ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค
จึงตรัสว่า
หากบุคคลเป็นคนเลวเพราะเหตุที่ผู้อื่นพูดติเตียนไซร้
ก็จะไม่พึงมีใครวิเศษในธรรมทั้งหลายได้เลย
เพราะคนส่วนมากต่างกล่าวยืนยันในแนวทางของตน
พากันกล่าวธรรมของผู้อื่นโดยความเป็นสิ่งเลวทราม
[๑๔๑] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
การบูชาหลักการของตน เป็นเรื่องแท้จริง
เหมือนพวกสมณพราหมณ์พากันสรรเสริญแนวทางของตน ฉะนั้น
การว่าร้ายทุกอย่างก็พึงมีอยู่แท้จริง
เพราะความหมดจดของสมณพราหมณ์เหล่านั้น
เป็นเรื่องเฉพาะตนเท่านั้น
คำว่า การบูชาหลักการของตน เป็นเรื่องแท้จริง อธิบายว่า
การบูชาหลักการของตน เป็นอย่างไร
คือ บุคคลสักการะ เคารพ นับถือ บูชาศาสดาของตนว่า “ศาสดานี้ เป็น
สัพพัญญู” นี้ชื่อว่าการบูชาหลักการของตน บุคคลย่อมสักการะ เคารพ นับถือ
บูชาธรรมที่ศาสดากล่าวสอน หมู่คณะ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรคของตนว่า “มรรคนี้
เป็นทางนำสัตว์ออกจากทุกข์” นี้ชื่อว่าการบูชาหลักการของตน
คำว่า การบูชาหลักการของตน เป็นเรื่องแท้จริง อธิบายว่า การบูชาหลัก
การของตน เป็นเรื่องแท้จริง คือ แท้ เป็นจริง แน่นอน ไม่วิปริต รวมความว่า
การบูชาหลักการของตน เป็นเรื่องแท้จริง
คำว่า เหมือนพวกสมณพราหมณ์พากันสรรเสริญแนวทางของตน ฉะนั้น
อธิบายว่า ธรรม ชื่อว่าแนวทางของตน ทิฏฐิ ชื่อว่าแนวทางของตน ปฏิปทา ชื่อว่า
แนวทางของตน มรรค ก็ชื่อว่าแนวทางของตน พวกสมณพราหมณ์พากันสรรเสริญ
คือ ชมเชย ยกย่อง พรรณนาแนวทางของตน รวมความว่า เหมือนพวกสมณ-
พราหมณ์พากันสรรเสริญแนวทางของตน ฉะนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๘๑ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส
คำว่า การว่าร้ายทุกอย่างก็พึงมีอยู่แท้จริง อธิบายว่า การว่าร้ายทุกอย่างก็
พึงมีอยู่แท้จริง คือ แท้ เป็นจริง แน่นอน ไม่วิปริต รวมความว่า การว่าร้ายทุกอย่าง
ก็พึงมีอยู่แท้จริง
คำว่า เพราะความหมดจดของสมณพราหมณ์เหล่านั้น เป็นเรื่องเฉพาะตน
เท่านั้น อธิบายว่า ความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป
ความพ้นไป ความหลุดพ้นไป ของสมณพราหมณ์เหล่านั้น เป็นเรื่องเฉพาะตนเท่านั้น
รวมความว่า เพราะความหมดจดของสมณพราหมณ์เหล่านั้น เป็นเรื่องเฉพาะตน
เท่านั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
การบูชาหลักการของตน เป็นเรื่องแท้จริง
เหมือนพวกสมณพราหมณ์พากันสรรเสริญแนวทางของตน ฉะนั้น
การว่าร้ายทุกอย่างก็พึงมีอยู่แท้จริง
เพราะความหมดจดของสมณพราหมณ์เหล่านั้น
เป็นเรื่องเฉพาะตนเท่านั้น
[๑๔๒] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
ญาณที่ผู้อื่นพึงแนะนำไม่มีแก่พราหมณ์
ความตกลงใจแล้วยึดมั่นในธรรมทั้งหลายก็ไม่มี
เพราะฉะนั้น พราหมณ์จึงล่วงเลยการวิวาททั้งหลายได้แล้ว
แท้จริง พราหมณ์ย่อมไม่เห็นธรรมอื่นโดยความเป็นของประเสริฐ
คำว่า ไม่ ในคำว่า ญาณที่ผู้อื่นพึงแนะนำไม่มีแก่พราหมณ์ เป็นคำปฏิเสธ
คำว่า พราหมณ์ อธิบายว่า ชื่อว่าพราหมณ์ เพราะลอยธรรม ๗ ประการ
ได้แล้ว ... ไม่มีตัณหาและทิฏฐิอาศัย เป็นผู้มั่นคง บัณฑิตเรียกผู้นั้นว่า เป็น
พราหมณ์๑
คำว่า ญาณที่ผู้อื่นพึงแนะนำไม่มีแก่พราหมณ์ อธิบายว่า ความเป็นผู้มี
ญาณอันบุคคลอื่นพึงแนะนำ ไม่มีแก่พราหมณ์ คือ พราหมณ์ ไม่เป็นผู้ที่ผู้อื่นพึง

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๒๕/๑๐๔-๑๐๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๘๒ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส
แนะนำ ไม่ดำเนินตามผู้อื่น ไม่มีผู้อื่นเป็นปัจจัย ไม่ถึงความเกี่ยวเนื่องกับผู้อื่น รู้ เห็น
ไม่หลง รู้ตัว มีสติ ย่อมรู้ ย่อมเห็น คือ ความเป็นผู้มีญาณอันบุคคลอื่นพึงแนะนำ
ไม่มีแก่พราหมณ์ คือ พราหมณ์ ไม่เป็นผู้ที่ผู้อื่นพึงแนะนำ ไม่ดำเนินตามผู้อื่น ไม่มีผู้
อื่นเป็นปัจจัย ไม่ถึงความเกี่ยวเนื่องกับผู้อื่น รู้ เห็น ไม่หลง รู้ตัว มีสติ ย่อมรู้ ย่อม
เห็นว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง... สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์”...
ความเป็นผู้มีญาณอันบุคคลอื่นพึงแนะนำ ไม่มีแก่พราหมณ์ คือ พราหมณ์
ไม่เป็นผู้ที่ผู้อื่นพึงแนะนำ ไม่ดำเนินตามผู้อื่น ไม่มีผู้อื่นเป็นปัจจัย ไม่ถึงความเกี่ยว
เนื่องกับผู้อื่น รู้ เห็น ไม่หลง รู้ตัว มีสติ ย่อมรู้ ย่อมเห็นว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความ
เกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา” รวมความว่า
ญาณที่ผู้อื่นพึงแนะนำไม่มีแก่พราหมณ์
คำว่า ในธรรมทั้งหลาย ในคำว่า ความตกลงใจแล้วยึดมั่นในธรรมทั้งหลาย
ก็ไม่มี ได้แก่ ทิฏฐิ ๖๒
คำว่า ตกลงใจ ได้แก่ ตกลงใจ คือ วินิจฉัย ตัดสิน ชี้ขาด เทียบเคียง
พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้ง
คำว่า ยึดมั่น ได้แก่ จับมั่น ยึดมั่น ถือมั่น รวบถือ รวมถือ รวบรวมถือ คือ
ความถือ ความยึดมั่น ความถือมั่น ความติดใจ ความน้อมใจเชื่อว่า “สิ่งนี้ จริง
แท้จริง แท้ เป็นจริง แน่นอน ไม่วิปริต” ไม่มี ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้ ได้แก่
ความตกลงใจแล้วยึดมั่น พราหมณ์นั้น ละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว
ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า ความตกลง
ใจแล้วยึดมั่นในธรรมทั้งหลายก็ไม่มี
คำว่า เพราะฉะนั้น ในคำว่า เพราะฉะนั้น พราหมณ์จึงล่วงเลยการวิวาท
ทั้งหลายได้แล้ว อธิบายว่า เพราะฉะนั้น คือ เพราะการณ์นั้น เพราะเหตุนั้น เพราะ
ปัจจัยนั้น เพราะต้นเหตุนั้น พราหมณ์จึงล่วงเลย คือ ก้าวล่วง ก้าวพ้น ล่วงพ้นการ
ทะเลาะเพราะทิฏฐิ การบาดหมางเพราะทิฏฐิ การแก่งแย่งเพราะทิฏฐิ การวิวาท
เพราะทิฏฐิ การมุ่งร้ายเพราะทิฏฐิ รวมความว่า เพราะฉะนั้น พราหมณ์จึงล่วงเลย
การวิวาททั้งหลายได้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๘๓ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส
คำว่า แท้จริง พราหมณ์ย่อมไม่เห็นธรรมอื่นโดยความเป็นของประเสริฐ
อธิบายว่า พราหมณ์ย่อมไม่เห็น คือ ไม่แลเห็น ไม่ตรวจดู ไม่เพ่งพินิจ ไม่พิจารณา
เห็นศาสดา ธรรมที่ศาสดากล่าวสอน หมู่คณะ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรคอื่น คือ
อื่นจากสติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ อริยมรรค
มีองค์ ๘ ว่า เป็นธรรมเลิศ ประเสริฐ คือ วิเศษ นำหน้า สูงสุด ประเสริฐสุด
รวมความว่า แท้จริง พราหมณ์ย่อมไม่เห็นธรรมอื่นโดยความเป็นของประเสริฐ
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
ญาณที่ผู้อื่นพึงแนะนำไม่มีแก่พราหมณ์
ความตกลงใจแล้วยึดมั่นในธรรมทั้งหลายก็ไม่มี
เพราะฉะนั้น พราหมณ์จึงล่วงเลยการวิวาททั้งหลายได้แล้ว
แท้จริง พราหมณ์ย่อมไม่เห็นธรรมอื่นโดยความเป็นของประเสริฐ
[๑๔๓] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
สมณพราหมณ์บางพวกเชื่อความหมดจด
เพราะทิฏฐิว่า เรารู้ เราเห็นความหมดจดนี้ว่ามีจริง
ถ้าสมณพราหมณ์ผู้หนึ่งได้เห็นแล้ว จะมีประโยชน์อะไร
ด้วยการเห็นนั้นแก่สมณพราหมณ์นั้นเล่า
พวกสมณพราหมณ์แล่นเลย(ทางแห่งความหมดจด)แล้ว
ย่อมกล่าวความหมดจดด้วยการเห็นอื่น
คำว่า เรารู้ ในคำว่า เรารู้ เราเห็นความหมดจดนี้ว่ามีจริง ได้แก่ เรารู้ด้วย
ปรจิตตญาณ(ญาณเป็นเครื่องรู้ใจผู้อื่น)บ้าง รู้ด้วยปุพเพนิวาสานุสสติญาณ(ญาณ
เป็นเครื่องระลึกถึงขันธ์ที่อยู่อาศัยในกาลก่อน)บ้าง
คำว่า เราเห็น ได้แก่ เราเห็นด้วยมังสจักขุบ้าง ด้วยทิพพจักขุบ้าง
คำว่า ความหมดจดนี้ว่ามีจริง ได้แก่ ความหมดจดนี้มีแท้จริง แท้ เป็นจริง
แน่นอน ไม่วิปริต รวมความว่า เรารู้ เราเห็นความหมดจดนี้ว่ามีจริง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๘๔ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส
คำว่า สมณพราหมณ์บางพวกเชื่อความหมดจดเพราะทิฏฐิ อธิบายว่า
สมณพราหมณ์บางพวกเชื่อความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความ
หลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไป เพราะทิฏฐิ คือ สมณพราหมณ์บางพวก
เชื่อความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป
ความหลุดพ้นไป เพราะทิฏฐิว่า “โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ”
สมณพราหมณ์บางพวก เชื่อความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธ์
ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไป เพราะทิฏฐิว่า “โลกไม่เที่ยง... หลังจาก
ตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็น
โมฆะ” รวมความว่า สมณพราหมณ์บางพวกเชื่อความหมดจดเพราะทิฏฐิ
คำว่า ได้เห็นแล้ว ในคำว่า ถ้าสมณพราหมณ์ผู้หนึ่งได้เห็นแล้ว จะมี
ประโยชน์อะไรด้วยการเห็นนั้นแก่สมณพราหมณ์นั้นเล่า อธิบายว่า ได้เห็นแล้ว
ด้วยปรจิตตญาณบ้าง ได้เห็นแล้วด้วยปุพเพนิวาสานุสสติญาณบ้าง ได้เห็นแล้วด้วย
มังสจักขุบ้าง ได้เห็นแล้วด้วยทิพพจักขุบ้าง รวมความว่า ถ้าสมณพราหมณ์ผู้หนึ่งได้
เห็นแล้ว
คำว่า จะมีประโยชน์อะไรด้วยการเห็นนั้นแก่สมณพราหมณ์นั้นเล่า อธิบาย
ว่า สมณพราหมณ์นั้นทำอะไรได้เพราะการเห็นนั้น คือ ไม่มีการกำหนดรู้ทุกข์
ไม่มีการละสมุทัย ไม่มีการเจริญมรรค ไม่มีการทำให้แจ้งผล ไม่มีการละราคะได้
โดยตัดขาด ไม่มีการละโทสะได้โดยตัดขาด ไม่มีการละโมหะได้โดยตัดขาด ไม่มีการ
ละกิเลสทั้งหลายได้โดยตัดขาด ไม่มีการตัดขาดสังสารวัฏเลย รวมความว่า ถ้า
สมณพราหมณ์ผู้หนึ่งได้เห็นแล้ว จะมีประโยชน์อะไรด้วยการเห็นนั้นแก่สมณพราหมณ์
นั้นเล่า
คำว่า พวกสมณพราหมณ์แล่นเลย(ทางแห่งความหมดจด)แล้ว ย่อมกล่าว
ความหมดจดด้วยการเห็นอื่น อธิบายว่า เดียรถีย์เหล่านั้นก้าวล่วง ก้าวพ้น ล่วง
พ้นทางแห่งความหมดจด ทางแห่งความสะอาด ทางแห่งความบริสุทธิ์ ทางแห่ง
ความผ่องแผ้ว ทางแห่งความผ่องใส ย่อมกล่าว คือ พูด บอก แสดง ชี้แจง ความ
หมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไป


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๘๕ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส
นอกจากสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗
อริยมรรคมีองค์ ๘ รวมความว่า พวกสมณพราหมณ์แล่นเลย(ทางแห่งความหมด
จด)แล้ว ย่อมกล่าวความหมดจดด้วยการเห็นอื่น
อีกนัยหนึ่ง พระพุทธเจ้า พระพุทธสาวกและพระปัจเจกพุทธเจ้า ก้าวล่วง
ก้าวพ้น ล่วงพ้นทางแห่งความไม่หมดจด ทางแห่งความไม่สะอาด ทางแห่งความไม่
บริสุทธิ์ ทางแห่งความไม่ผ่องแผ้ว ทางแห่งความไม่ผ่องใสของเดียรถีย์เหล่านั้นย่อม
กล่าว คือ พูด บอก แสดง ชี้แจงความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์
ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไป ด้วยสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔
อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ รวมความว่า
พวกสมณพราหมณ์แล่นเลย(ทางแห่งความหมดจด)แล้ว ย่อมกล่าวความหมดจด
ด้วยการเห็นอื่น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
สมณพราหมณ์บางพวกเชื่อความหมดจด
เพราะทิฏฐิว่า เรารู้ เราเห็นความหมดจดนี้ว่ามีจริง
ถ้าสมณพราหมณ์ผู้หนึ่งได้เห็นแล้ว จะมีประโยชน์อะไร
ด้วยการเห็นนั้นแก่สมณพราหมณ์นั้นเล่า
พวกสมณพราหมณ์แล่นเลย (ทางแห่งความหมดจด)แล้ว
ย่อมกล่าวความหมดจดด้วยการเห็นอื่น
[๑๔๔] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
นรชนเมื่อเห็นย่อมเห็นนามรูป
หรือครั้นเห็นแล้ว ก็รู้จักเฉพาะนามรูปเหล่านั้นเท่านั้น
นรชนเห็นนามรูปมากบ้างน้อยบ้างโดยแท้
ถึงอย่างนั้น ผู้ฉลาดทั้งหลายก็ไม่กล่าวความหมดจด
เพราะการเห็นนามรูปนั้น
คำว่า นรชนเมื่อเห็น ในคำว่า นรชนเมื่อเห็นย่อมเห็นนามรูป อธิบายว่า
นรชนเมื่อเห็นด้วยปรจิตตญาณบ้าง เมื่อเห็นด้วยปุพเพนิวาสานุสสติญาณบ้าง เมื่อ
เห็นด้วยมังสจักขุบ้าง เมื่อเห็นด้วยทิพพจักขุบ้าง ก็เห็นนามรูปนั่นเอง โดยความเป็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๘๖ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส
ของเที่ยง โดยความเป็นสุข โดยความเป็นตัวตน มิได้เห็นความเกิด ความดับ คุณ
โทษ หรือการสลัดออกแห่งธรรมเหล่านั้นเลย รวมความว่า นรชนเมื่อเห็นย่อมเห็น
นามรูป
คำว่า ครั้นเห็นแล้ว ในคำว่า หรือครั้นเห็นแล้ว ก็รู้จักเฉพาะนามรูป
เหล่านั้นเท่านั้น อธิบายว่า ครั้นเห็นแล้วด้วยปรจิตตญาณบ้าง เห็นแล้วด้วย
ปุพเพนิวาสานุสสติญาณบ้าง เห็นแล้วด้วยมังสจักขุบ้าง เห็นแล้วด้วยทิพพจักขุบ้าง
ครั้นเห็นเพียงนามรูปนั่นเองแล้ว ก็รู้จักโดยความเป็นของเที่ยง โดยความเป็นสุข
โดยความเป็นตัวตน มิได้รู้จักความเกิด ความดับ คุณ โทษ หรือการสลัดออกแห่ง
ธรรมเหล่านั้นเลย รวมความว่า หรือครั้นเห็นแล้ว ก็รู้จักเฉพาะนามรูปเหล่านั้น
เท่านั้น
คำว่า นรชนเห็นนามรูปมากบ้างน้อยบ้างโดยแท้ ได้แก่ เห็นนามรูปมาก
บ้างน้อยบ้าง โดยความเป็นของเที่ยง โดยความเป็นสุข โดยความเป็นตัวตนโดยแท้
รวมความว่า นรชนเห็นนามรูปมากบ้างน้อยบ้างโดยแท้
คำว่า ผู้ฉลาดทั้งหลาย ในคำว่า ถึงอย่างนั้น ผู้ฉลาดทั้งหลายก็ไม่กล่าว
ความหมดจดเพราะการเห็นนามรูปนั้น อธิบายว่า ผู้ฉลาดในขันธ์ ผู้ฉลาดในธาตุ
ผู้ฉลาดในอายตนะ ผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท ผู้ฉลาดในสติปัฏฐาน ผู้ฉลาดใน
สัมมัปปธาน ผู้ฉลาดในอิทธิบาท ผู้ฉลาดในอินทรีย์ ผู้ฉลาดในพละ ผู้ฉลาดในโพชฌงค์
ผู้ฉลาดในมรรค ผู้ฉลาดในผล ผู้ฉลาดในนิพพาน ผู้ฉลาดเหล่านั้น ไม่กล่าว ไม่พูด
ไม่บอก ไม่แสดง ไม่ชี้แจงความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป
ความพ้นไป ความหลุดพ้นไป เพราะการเห็นนามรูป ด้วยปรจิตตญาณบ้าง ด้วย
ปุพเพนิวาสานุสสติญาณบ้าง ด้วยมังสจักขุบ้าง ด้วยทิพพจักขุบ้าง รวมความว่า
ถึงอย่างนั้น ผู้ฉลาดทั้งหลายก็ไม่กล่าวความหมดจดเพราะการเห็นนามรูปนั้น
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
นรชนเมื่อเห็นย่อมเห็นนามรูป
หรือครั้นเห็นแล้ว ก็รู้จักเฉพาะนามรูปเหล่านั้นเท่านั้น
นรชนเห็นนามรูปมากบ้างน้อยบ้างโดยแท้
ถึงอย่างนั้น ผู้ฉลาดทั้งหลายก็ไม่กล่าวความหมดจด
เพราะการเห็นนามรูปนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๘๗ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส
[๑๔๕] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
นรชนผู้มีปกติกล่าวด้วยความเชื่อมั่น
ไม่ใช่คนที่ใครพึงแนะนำได้ง่าย เป็นผู้เชิดชูทิฏฐิที่กำหนดไว้แล้ว
อาศัยศาสดาใด ก็กล่าวศาสดานั้นว่าดีงามในเพราะทิฏฐินั้น
นรชนนั้นผู้กล่าวความหมดจดได้เห็นว่าแท้จริงในทิฏฐินั้น
คำว่า นรชนผู้มีปกติกล่าวด้วยความเชื่อมั่น ไม่ใช่คนที่ใครพึงแนะนำ
ได้ง่าย อธิบายว่า นรชนผู้มีปกติกล่าวด้วยความเชื่อมั่นว่า “โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง
อย่างอื่นเป็นโมฆะ” มีปกติกล่าวด้วยความเชื่อมั่นว่า “โลกไม่เที่ยง ... หลังจากตาย
แล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ”
คำว่า ไม่ใช่คนที่ใครพึงแนะนำได้ง่าย อธิบายว่า นรชนผู้มีปกติกล่าวด้วย
ความเชื่อมั่น เป็นคนที่พึงแนะนำได้ยาก ทำให้เข้าใจได้ยาก ทำให้เพ่งพินิจได้ยาก
ทำให้พิจารณาได้ยาก ทำให้เลื่อมใสได้ยาก รวมความว่า นรชนผู้มีปกติกล่าวด้วย
ความเชื่อมั่น ไม่ใช่คนที่ใครพึงแนะนำได้ง่าย
คำว่า เป็นผู้เชิดชูทิฏฐิที่กำหนดไว้แล้ว อธิบายว่า เป็นผู้เชิดชู คือ เที่ยว
ยกย่องทิฏฐิที่กำหนดแล้ว กำหนดไว้แล้ว คือ ปรุงแต่งไว้แล้ว ตั้งไว้ดีแล้ว มีทิฏฐิ
เป็นธงชัย มีทิฏฐิเป็นยอดธง มีทิฏฐิเป็นใหญ่ ถูกทิฏฐิครอบงำเที่ยวไป รวมความว่า
เป็นผู้เชิดชูทิฏฐิที่กำหนดไว้แล้ว
คำว่า อาศัยศาสดาใด ในคำว่า อาศัยศาสดาใด ก็กล่าวศาสดานั้นว่าดีงาม
ในเพราะทิฏฐินั้น อธิบายว่า อาศัย คือ อิงอาศัย ติด ติดแน่น ติดใจ น้อมใจเชื่อ
ศาสดา ธรรมที่ศาสดากล่าวสอน หมู่คณะ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรคใด รวมความว่า
อาศัยศาสดาใด
คำว่า ในเพราะทิฏฐินั้น ได้แก่ ในเพราะทิฏฐิของตน คือ ความถูกใจของตน
ความพอใจของตน ลัทธิของตน
คำว่า ก็กล่าวศาสดานั้นว่าดีงาม ได้แก่ กล่าวศาสดานั้นว่าดีงาม คือ
กล่าวว่าดี กล่าวว่าเป็นบัณฑิต กล่าวว่าเป็นนักปราชญ์ กล่าวว่ามีญาณ กล่าวว่า
มีเหตุผล กล่าวว่ามีคุณลักษณะ กล่าวว่าเหมาะแก่เหตุ กล่าวว่าสมฐานะ ตามลัทธิ
ของตน รวมความว่า อาศัยศาสดาใด ก็กล่าวศาสดานั้นว่าดีงามในเพราะทิฏฐินั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๘๘ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส
คำว่า ผู้กล่าวความหมดจด ในคำว่า นรชนนั้นผู้กล่าวความหมดจดได้เห็น
ว่าแท้จริงในทิฏฐินั้น อธิบายว่า กล่าวความหมดจด คือ กล่าวความสะอาด กล่าว
ความบริสุทธิ์ กล่าวความผ่องแผ้ว กล่าวความผ่องใส อีกนัยหนึ่ง เป็นผู้มีความเห็น
หมดจด คือ เป็นผู้มีความเห็นสะอาด เป็นผู้มีความเห็นบริสุทธิ์ เป็นผู้มีความเห็น
ผ่องแผ้ว เป็นผู้มีความเห็นผ่องใส รวมความว่า ผู้กล่าวความหมดจด
คำว่า ในทิฏฐินั้น ได้แก่ ในทิฏฐิของตน คือ ความถูกใจของตน ความพอใจ
ของตน ลัทธิของตน
คำว่า นรชนนั้น... ได้เห็นว่าแท้จริง อธิบายว่า ได้เห็น คือ ได้แลเห็น
มองเห็น แทงตลอดแล้วว่า แท้จริง คือแท้ เป็นจริง แน่นอน ไม่วิปริต รวมความว่า
นรชนนั้นผู้กล่าวความหมดจดได้เห็นว่าแท้จริงในทิฏฐินั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มี-
พระภาคจึงตรัสว่า
นรชนผู้มีปกติกล่าวด้วยความเชื่อมั่น
ไม่ใช่คนที่ใครพึงแนะนำได้ง่าย เป็นผู้เชิดชูทิฏฐิที่กำหนดไว้แล้ว
อาศัยศาสดาใด ก็กล่าวศาสดานั้นว่าดีงามในเพราะทิฏฐินั้น
นรชนนั้นผู้กล่าวความหมดจดได้เห็นว่าแท้จริงในทิฏฐินั้น
[๑๔๖] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
พราหมณ์พิจารณาแล้วย่อมไม่เข้าถึงความกำหนด
ไม่แล่นไปด้วยทิฏฐิ ทั้งไม่ผูกพันด้วยตัณหาหรือทิฏฐิเพราะญาณ
พราหมณ์นั้นครั้นรู้แล้วก็วางเฉยทิฏฐิสมมติที่เกิดจากปุถุชน
แต่สมณพราหมณ์เหล่าอื่นพากันถือมั่น
คำว่า ไม่ ในคำว่า พราหมณ์ทราบแล้วย่อมไม่เข้าถึงความกำหนด เป็น
คำปฏิเสธ
คำว่า พราหมณ์ อธิบายว่า ชื่อว่าพราหมณ์ เพราะลอยธรรม ๗ ประการ
ได้แล้ว... ไม่มีตัณหาและทิฏฐิอาศัย เป็นผู้มั่นคง บัณฑิตเรียกผู้นั้นว่า เป็นพราหมณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๘๙ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส
คำว่า ความกำหนด ได้แก่ ความกำหนด ๒ อย่าง คือ (๑) ความกำหนด
ด้วยอำนาจตัณหา (๒) ความกำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิ... นี้ชื่อว่าความกำหนดด้วย
อำนาจตัณหา... นี้ชื่อว่าความกำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิ
ญาณ ตรัสเรียกว่า เครื่องพิจารณา คือ ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ชัด... ความไม่หลง
งมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ๑
คำว่า พราหมณ์พิจารณาแล้วย่อมไม่เข้าถึงความกำหนด อธิบายว่า
พราหมณ์พิจารณาแล้ว คือ รู้แล้ว เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว ทำให้กระจ่างแล้ว
ทำให้แจ่มแจ้งแล้วว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง”
พราหมณ์พิจารณาแล้ว คือ รู้แล้ว เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว ทำให้กระจ่าง
แล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้วว่า “สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์... สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้น
เป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา” ย่อมไม่ถึง ไม่เข้าถึง คือ
ไม่สนใจ ไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่นความกำหนดด้วยอำนาจตัณหา หรือความ
กำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิ รวมความว่า พราหมณ์พิจารณาแล้วย่อมไม่เข้าถึงความ
กำหนด
คำว่า ไม่แล่นไปด้วยทิฏฐิ ทั้งไม่ผูกพันด้วยตัณหาหรือทิฏฐิเพราะญาณ
อธิบายว่า ทิฏฐิ ๖๒ พราหมณ์นั้นละได้แล้ว คือ ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว
ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว พราหมณ์นั้น ไม่ไป ไม่
ออกไป ไม่ถูกพาไป ไม่ถูกนำไปด้วยทิฏฐิ ทั้งไม่กลับไป ไม่หวนกลับไปหาทิฏฐินั้น
โดยความเป็นสาระ รวมความว่า ไม่แล่นไปด้วยทิฏฐิ
คำว่า ทั้งไม่ผูกพันด้วยตัณหาหรือทิฏฐิเพราะญาณ อธิบายว่า ไม่ก่อ คือ ไม่
ให้เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดขึ้นซึ่งความผูกพันด้วยอำนาจตัณหา
หรือ ความผูกพันด้วยอำนาจทิฏฐิ เพราะญาณในสมาบัติ ๘ ญาณในอภิญญา ๕
หรือมิจฉาญาณ รวมความว่า ไม่แล่นไปด้วยทิฏฐิ ทั้งไม่ผูกพันด้วยตัณหาหรือทิฏฐิ
เพราะญาณ

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๒๑/๙๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๙๐ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส
คำว่า ครั้นรู้แล้ว ในคำว่า พราหมณ์นั้นครั้นรู้แล้ว... ทิฏฐิสมมติที่เกิดจาก
ปุถุชน อธิบายว่า ครั้นรู้แล้ว คือ ครั้นทราบแล้ว เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว
ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้วว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง” ครั้นรู้แล้ว คือ
ครั้นทราบแล้ว เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้วว่า
“สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์... สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมด
ล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา” รวมความว่า พราหมณ์นั้นครั้นรู้แล้ว
ทิฏฐิ ๖๒ ตรัสเรียกว่า ทิฏฐิสมมติ
คำว่า ที่เกิดจากปุถุชน อธิบายว่า ทิฏฐิสมมติเหล่านั้น เกิดจากปุถุชน
จึงชื่อว่า ที่เกิดจากปุถุชน หรือทิฏฐิสมมติเหล่านั้น เกิดจากชนต่าง ๆ มากมาย
จึงชื่อว่า ที่เกิดจากปุถุชน รวมความว่า พราหมณ์นั้นครั้นรู้แล้ว... ทิฏฐิสมมติที่เกิด
จากปุถุชน
คำว่า ก็วางเฉย... แต่สมณพราหมณ์เหล่าอื่นพากันถือมั่น อธิบายว่า
สมณพราหมณ์เหล่าอื่น ถือ ยึดมั่น ถือมั่นด้วยอำนาจตัณหา ด้วยอำนาจทิฏฐิ
ส่วนพระอรหันต์วางเฉย ไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น รวมความว่า ก็วางเฉย...
แต่สมณพราหมณ์เหล่าอื่นพากันถือมั่น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
พราหมณ์พิจารณาแล้วย่อมไม่เข้าถึงความกำหนด
ไม่แล่นไปด้วยทิฏฐิ ทั้งไม่ผูกพันด้วยตัณหาหรือทิฏฐิเพราะญาณ
พราหมณ์นั้นครั้นรู้แล้วก็วางเฉยทิฏฐิสมมติที่เกิดจากปุถุชน
แต่สมณพราหมณ์เหล่าอื่นพากันถือมั่น
[๑๔๗] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
มุนีสลัดกิเลสเครื่องร้อยรัดในโลกนี้แล้ว
เมื่อคนเกิดวิวาทกันแล้ว ก็ไม่เข้าไปเป็นฝักเป็นฝ่าย
เมื่อคนทั้งหลายไม่สงบ มุนีนั้นเป็นผู้สงบ วางเฉย ไม่ถือมั่น
แต่สมณพราหมณ์เหล่าอื่นพากันถือมั่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๙๑ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส
คำว่า กิเลสเครื่องร้อยรัด ในคำว่า มุนีสลัดกิเลสเครื่องร้อยรัดในโลกนี้แล้ว
ได้แก่ กิเลสเครื่องร้อยรัด ๔ อย่าง คือ
๑. กิเลสเครื่องร้อยรัดกายคืออภิชฌา
๒. กิเลสเครื่องร้อยรัดกายคือพยาบาท
๓. กิเลสเครื่องร้อยรัดกายคือสีลัพพตปรามาส
๔. กิเลสเครื่องร้อยรัดกายคือความถือมั่นว่านี้เท่านั้นจริง
ความกำหนัดในทิฏฐิของตน ชื่อว่ากิเลสเครื่องร้อยรัดกายคืออภิชฌา
ความอาฆาต ความไม่พอใจในวาทะของผู้อื่น ชื่อว่ากิเลสเครื่องร้อยรัดกายคือ
พยาบาท
ความยึดมั่นศีล วัตร หรือศีลวัตรของตน ชื่อว่ากิเลสเครื่องร้อยรัดกายคือ
สีลัพพตปรามาส
ทิฏฐิของตน ชื่อว่ากิเลสเครื่องร้อยรัดกายคืออิทังสัจจาภินิเวส
คำว่า สลัด ได้แก่ สละ หรือสลัดกิเลสเครื่องร้อยรัด อีกนัยหนึ่ง มุนีแก้ หรือ
สลัดกิเลสเครื่องร้อยรัด คือ กิเลสเครื่องผูกพัน ที่ร้อยรัด รัดรึง ข้อง ติด เกี่ยว เกี่ยวพัน
เกาะติด ติดแน่นแล้ว อธิบายว่า มุนีสละ หรือ สลัดกิเลสเครื่องร้อยรัด เหมือนคน
ทำการปลด ปล่อยวอ รถ เกวียน หรือรถมีเครื่องประดับ คือ ให้เคลื่อนที่ไปได้ ฉะนั้น
อีกนัยหนึ่ง มุนีแก้ หรือสลัดกิเลสเครื่องร้อยรัด คือ กิเลสเครื่องผูกพัน
ที่ร้อยรัด รัดรึง ข้อง ติด เกี่ยว เกี่ยวพัน เกาะติด ติดแน่นแล้ว
คำว่า มุนี อธิบายว่า ญาณ ท่านเรียกว่า โมนะ คือ ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ชัด...
ผู้ก้าวล่วงกิเลสเครื่องข้องและตัณหาดุจตาข่ายได้แล้ว ชื่อว่ามุนี๑
คำว่า ในโลกนี้ ได้แก่ ในทิฏฐินี้... มนุษยโลกนี้ รวมความว่า มุนีสลัดกิเลส
เครื่องร้อยรัดในโลกนี้แล้ว
คำว่า เมื่อคนเกิดวิวาทกันแล้ว ก็ไม่เข้าไปเป็นฝักเป็นฝ่าย อธิบายว่า
เมื่อคนเกิดวิวาทกันแล้ว คือ เกิดขึ้นแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดขึ้นแล้ว ปรากฏแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๑๔/๖๘-๗๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๙๒ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส
ได้แก่ เมื่อคนทั้งหลาย ถึงฉันทาคติ ถึงโทสาคติ ถึงโมหาคติ ถึงภยาคติ มุนีนั้น
ย่อมไม่ถึงฉันทาคติ ไม่ถึงโทสาคติ ไม่ถึงโมหาคติ ไม่ถึงภยาคติ คือ ไม่ดำเนินไป
ตามอำนาจราคะ ไม่ดำเนินไปตามอำนาจโทสะ ไม่ดำเนินไปตามอำนาจโมหะ
ไม่ดำเนินไปตามอำนาจมานะ ไม่ดำเนินไปตามอำนาจทิฏฐิ ไม่ดำเนินไปตามอำนาจ
อุทธัจจะ ไม่ดำเนินไปตามอำนาจวิจิกิจฉา ไม่ดำเนินไปตามอำนาจอนุสัย ได้แก่
ไม่ไป คือ ไม่ออกไป ไม่ถูกพาไป ไม่ถูกนำไป ด้วยธรรมที่ก่อความเป็นฝักเป็นฝ่าย
รวมความว่า เมื่อคนเกิดวิวาทกันแล้วก็ไม่เข้าไปเป็นฝักเป็นฝ่าย
คำว่า เป็นผู้สงบ ในคำว่า เมื่อคนทั้งหลายไม่สงบ มุนีนั้น เป็นผู้สงบ
วางเฉย อธิบายว่า ชื่อว่าเป็นผู้สงบ เพราะสงบราคะ ชื่อว่าเป็นผู้สงบ เพราะ
สงบโทสะ ชื่อว่าเป็นผู้สงบ เพราะสงบโมหะ... ชื่อว่าเป็นผู้สงบ คือ เข้าไปสงบ
สงบเย็น ดับ ระงับได้แล้ว เพราะสงบ ระงับ สงบเย็น เผา ดับ ปราศจาก สงบระงับ
อกุสลาภิสังขารทุกประเภทได้แล้ว รวมความว่า เป็นผู้สงบ
คำว่า เมื่อคนทั้งหลายไม่สงบ อธิบายว่า เมื่อคนทั้งหลาย ไม่สงบ คือ ไม่
เข้าไปสงบ ไม่สงบเย็น ไม่ดับ ไม่ระงับ รวมความว่า เมื่อคนทั้งหลายไม่สงบ มุนีนั้น
เป็นผู้สงบ
คำว่า มุนีนั้น... วางเฉย อธิบายว่า มุนีผู้เป็นพระอรหันต์ประกอบด้วยอุเบกขา
มีองค์๑ ๖ เห็นรูปทางตาแล้ว ก็ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่
ฟังเสียงทางหู... เป็นผู้อบรมแล้ว เป็นผู้สงบ รอคอยอยู่แต่เวลาเท่านั้น รวมความว่า
เมื่อคนทั้งหลายไม่สงบ มุนีนั้น เป็นผู้สงบ... วางเฉย

เชิงอรรถ :
๑ อุเบกขามีองค์ ๖ คือภิกษุผู้เป็นพระอรหันต์ในพระธรรมวินัยนี้
(๑) เห็นรูปทางตาแล้ว (๒) ฟังเสียงทางหูแล้ว (๓) ดมกลิ่นทางจมูกแล้ว (๔) ลิ้มรสทางลิ้นแล้ว
(๕) ถูกต้องสัมผัสทางกายแล้ว (๖) รับรู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ก็ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ เป็นผู้วางเฉย มี
สติสัมปชัญญะอยู่
อุเบกขาองค์มี ๑๐ คือ
(๑) ฉฬงฺคุเปกฺขา อุเบกขาประกอบด้วยองค์ ๖ (๒) พฺรหฺมวิหารุเปกฺขา อุเบกขาในพรหมวิหาร (๓)
โพชฺฌงฺคุเปกฺขา อุเบกขาในโพชฌงค์ (๔) วิริยุเปกฺขา อุเบกขาคือวิริยะ (๕) สงฺขารุเปกฺขา อุเบกขา
ในสังขาร (๖) เวทนูเปกฺขา อุเบกขาในเวทนา (๗) วิปสฺสนูเปกฺขา อุเบกขาในวิปัสสนา
(๘) ตตฺรมชฺฌตฺตุเปกฺขา อุเบกขาในเจตสิก หรือ อุเบกขาที่ยังธรรมทั้งหลายที่เกิดพร้อมกันให้เป็นไปเสมอกัน
(๙) ฌานุเปกฺขา อุเบกขาในฌาน (๑๐) ปาริสุทฺธุเปกฺขา อุเบกขาบริสุทธิ์จากข้าศึก (วิสุทฺธิ. ๑/๘๔-๘๙/
๑๗๓-๑๗๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๙๓ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส
คำว่า ไม่ถือมั่น แต่สมณพราหมณ์เหล่าอื่นพากันถือมั่น อธิบายว่า
สมณพราหมณ์เหล่าอื่น ถือ ยึดมั่น ถือมั่นด้วยอำนาจตัณหา ด้วยอำนาจทิฏฐิ
มุนีผู้เป็นพระอรหันต์วางเฉย ไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น รวมความว่า ไม่ถือมั่น
แต่สมณพราหมณ์เหล่าอื่นพากันถือมั่น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
มุนีสลัดกิเลสเครื่องร้อยรัดในโลกนี้แล้ว
เมื่อคนเกิดวิวาทกันแล้ว ก็ไม่เข้าไปเป็นฝักเป็นฝ่าย
เมื่อคนทั้งหลายไม่สงบ มุนีนั้นเป็นผู้สงบ วางเฉย ไม่ถือมั่น
แต่สมณพราหมณ์เหล่าอื่นพากันถือมั่น
[๑๔๘] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
มุนีละอาสวะเก่า ไม่ก่ออาสวะใหม่
ไม่ดำเนินไปตามความพอใจ
ทั้งไม่มีปกติกล่าวด้วยความเชื่อมั่น
มุนีนั้นเป็นนักปราชญ์ พ้นขาดแล้วจากทิฏฐิทั้งหลาย
ติเตียนตนเองไม่ได้ ไม่ติดอยู่ในโลก
คำว่า มุนีละอาสวะเก่า ไม่ก่ออาสวะใหม่ อธิบายว่า รูป เวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณ ที่เป็นอดีต ตรัสเรียกว่า อาสวะเก่า กิเลสเหล่าใด พึงเกิดขึ้นเพราะ
ปรารภสังขารที่เป็นอดีต มุนีละ คือ สละ สลัด ละทิ้ง บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป
ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งกิเลสเหล่านั้นแล้ว รวมความว่า ละอาสวะเก่า
คำว่า ไม่ก่ออาสวะใหม่ อธิบายว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่
เป็นปัจจุบัน ตรัสเรียกว่า อาสวะใหม่ มุนีไม่ก่อความพอใจ ไม่ก่อความรัก ไม่ก่อ
ความกำหนัด เพราะปรารภสังขารที่เป็นปัจจุบัน คือ ไม่ให้เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น ไม่ให้
บังเกิด ไม่ให้บังเกิดขึ้น รวมความว่า มุนีละอาสวะเก่า ไม่ก่ออาสวะใหม่
คำว่า ไม่ดำเนินไปตามความพอใจ ในคำว่า ไม่ดำเนินไปตามความพอใจ
ทั้งไม่มีปกติกล่าวด้วยความเชื่อมั่น อธิบายว่า ไม่ถึงฉันทาคติ ไม่ถึงโทสาคติ ไม่ถึง
โมหาคติ ไม่ถึงภยาคติ คือ ไม่ดำเนินไปตามอำนาจราคะ ไม่ดำเนินไปตามอำนาจ
โทสะ ไม่ดำเนินไปตามอำนาจโมหะ ไม่ดำเนินไปตามอำนาจมานะ ไม่ดำเนินไปตาม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๙๔ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส
อำนาจทิฏฐิ ไม่ดำเนินไปตามอำนาจอุทธัจจะ ไม่ดำเนินไปตามอำนาจวิจิกิจฉา ไม่
ดำเนินไปตามอำนาจอนุสัย ได้แก่ ไม่ไป คือ ไม่ออกไป ไม่ถูกพาไป ไม่ถูกนำไป
ด้วยธรรมที่ก่อความเป็นฝักเป็นฝ่าย รวมความว่า ไม่ดำเนินไปตามความพอใจ
คำว่า ทั้งไม่มีปกติกล่าวด้วยความเชื่อมั่น อธิบายว่า ไม่มีปกติกล่าวด้วย
ความเชื่อมั่นว่า “โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ” ไม่มีปกติกล่าวด้วย
ความเชื่อมั่นว่า “โลกไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ... หลังจากตายแล้ว
ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ”
รวมความว่า ไม่ดำเนินไปตามความพอใจ ทั้งไม่มีปกติกล่าวด้วยความเชื่อมั่น
คำว่า มุนีนั้นเป็นนักปราชญ์ พ้นขาดแล้วจากทิฏฐิทั้งหลาย อธิบายว่า
ทิฏฐิ ๖๒ มุนีนั้นละได้แล้ว คือ ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้
เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว มุนีนั้นพ้นขาดแล้ว คือ ไม่เกี่ยวข้องกับทิฏฐิ
ทั้งหลาย มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส) อยู่
คำว่า เป็นนักปราชญ์ ได้แก่ เป็นนักปราชญ์ คือ เป็นบัณฑิต มีปัญญา
มีปัญญาเครื่องตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลส
รวมความว่า มุนีนั้นเป็นนักปราชญ์ พ้นขาดแล้วจากทิฏฐิทั้งหลาย

ว่าด้วยเหตุที่ติเตียนมี ๒ อย่าง
คำว่า ติเตียนตนเองไม่ได้ ไม่ติดอยู่ในโลก อธิบายว่า
คำว่า ความติด ได้แก่ ความติด ๒ อย่าง คือ (๑) ความติดด้วยอำนาจตัณหา
(๒) ความติดด้วยอำนาจทิฏฐิ... นี้ชื่อว่าความติดด้วยอำนาจตัณหา... นี้ชื่อว่าความ
ติดด้วยอำนาจทิฏฐิ
มุนีนั้นละความติดด้วยอำนาจตัณหาได้แล้ว สลัดทิ้งความติดด้วยอำนาจทิฏฐิ
ได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละความติดด้วยอำนาจตัณหา สลัดทิ้งความติดด้วยอำนาจทิฏฐิ
ได้แล้ว เป็นผู้ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิเข้าไปติด จึงไม่ติด ไม่ติดพัน ไม่เข้าไปติด ใน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๙๕ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส
อบายโลก ... มนุษยโลก ... เทวโลก ... ขันธโลก ... ธาตุโลก ... อายตนโลก คือ
เป็นผู้ไม่ติดแล้ว ไม่ติดพันแล้ว ไม่เข้าไปติดแล้ว ออกแล้ว สลัดออกแล้ว หลุดพ้นแล้ว
ไม่เกี่ยวข้องแล้ว มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส) อยู่ รวมความว่า ไม่ติดอยู่ในโลก
คำว่า ติเตียนตนเองไม่ได้ อธิบายว่า มุนีย่อมติเตียนตนเพราะเหตุ ๒ อย่าง
คือ (๑) เพราะทำ (๒) เพราะไม่ทำ
มุนีย่อมติเตียนตนเพราะทำและเพราะไม่ทำ เป็นอย่างไร
คือ มุนีย่อมติเตียนตนว่า “เราทำกายทุจริต ไม่ทำกายสุจริต... เราทำวจีทุจริต...
เราทำมโนทุจริต... เราทำปาณาติบาต... เราทำมิจฉาทิฏฐิ ไม่ทำสัมมาทิฏฐิ” มุนีชื่อว่า
ย่อมติเตียนตนเพราะทำและเพราะไม่ทำ เป็นอย่างนี้
อีกนัยหนึ่ง มุนีย่อมติเตียนตนว่า “เราไม่รักษาศีลให้บริบูรณ์ ไม่สำรวมในอินทรีย์
ทั้ง ๖ ไม่รู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร ไม่ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เสมอ
ไม่หมั่นประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ ไม่เจริญสติปัฏฐาน ๔ ไม่เจริญสัมมัปปธาน ๔
ไม่เจริญอิทธิบาท ๔ ไม่เจริญอินทรีย์ ๕ ไม่เจริญพละ ๕ ไม่เจริญโพชฌงค์ ๗ ไม่
เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ไม่กำหนดรู้ทุกข์ ไม่ละทุกขสมุทัย ไม่เจริญมรรค ไม่ทำให้
แจ้งนิโรธ” มุนีชื่อว่าย่อมติเตียนตนเพราะทำและเพราะไม่ทำ เป็นอย่างนี้
มุนีไม่ทำ คือ ไม่ให้เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดขึ้นซึ่งกรรมที่
ติเตียนตน จึงชื่อว่าติเตียนตนเองไม่ได้ ด้วยอาการอย่างนี้ รวมความว่า ติเตียนตน
เองไม่ได้ ไม่ติดอยู่ในโลก ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
มุนีละอาสวะเก่า ไม่ก่ออาสวะใหม่
ไม่ดำเนินไปตามความพอใจ
ทั้งไม่มีปกติกล่าวด้วยความเชื่อมั่น
มุนีนั้นเป็นนักปราชญ์ พ้นขาดแล้วจากทิฏฐิทั้งหลาย
ติเตียนตนเองไม่ได้ ไม่ติดอยู่ในโลก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๙๖ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส
[๑๔๙] (พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า)
มุนีนั้น เป็นผู้กำจัดเสนาในธรรมทั้งปวง
คือรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน หรืออารมณ์ที่รับรู้อย่างใดอย่างหนึ่ง
มุนีนั้นเป็นผู้ปลงภาระลงแล้ว พ้นขาดแล้ว
ไม่มีความกำหนด ไม่เข้าไปยินดี ไม่มีความปรารถนา
คำว่า มุนีนั้น เป็นผู้กำจัดเสนาในธรรมทั้งปวง คือ รูปที่เห็น เสียงที่
ได้ยิน หรืออารมณ์ที่รับรู้อย่างใดอย่างหนึ่ง อธิบายว่า เสนามาร ตรัสเรียกว่า
เสนา กายทุจริต ชื่อว่าเสนามาร วจีทุจริต ชื่อว่าเสนามาร มโนทุจริต ชื่อว่า
เสนามาร ราคะ... โทสะ... โมหะ... โกธะ... อุปนาหะ... มักขะ... ปฬาสะ... อิสสา...
มัจฉริยะ... มายา... สาเถยยะ... ถัมภะ... สารัมภะ... มานะ... อติมานะ... มทะ...
ปมาทะ... กิเลสทุกชนิด... ทุจริตทุกทาง... ความกระวนกระวายทุกอย่าง... ความ
เร่าร้อนทุกสถาน... ความเดือดร้อนทุกประการ... อกุสลาภิสังขารทุกประเภท ชื่อว่า
เสนามาร สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
กิเลสกามเราเรียกว่าเสนากองที่ ๑ ของท่าน
ความไม่ยินดีเราเรียกว่าเสนากองที่ ๒ ของท่าน
ความหิวกระหายเราเรียกว่าเสนากองที่ ๓ ของท่าน
ตัณหาเราเรียกว่าเสนากองที่ ๔ ของท่าน
ถีนมิทธะเราเรียกว่าเสนากองที่ ๕ ของท่าน
ความกลัวเราเรียกว่าเสนากองที่ ๖ ของท่าน
วิจิกิจฉาเราเรียกว่าเสนากองที่ ๗ ของท่าน
มักขะและถัมภะเราเรียกว่าเสนากองที่ ๘ ของท่าน
ลาภ ความสรรเสริญ สักการะและยศที่ได้มาผิด ๆ
เราเรียกว่าเสนากองที่ ๙ ของท่าน
การยกตนและข่มผู้อื่นเราเรียกว่าเสนากองที่ ๑๐ ของท่าน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๙๗ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส
มารเอ๋ย เสนาของท่านนี้ มีปกติประหารผู้มีธรรมดำ
คนขลาดเอาชนะเสนานั้นไม่ได้
แต่คนกล้า ครั้นชนะได้แล้วย่อมได้ความสุข๑
เมื่อใด เสนามารทั้งหมด และกิเลสที่สร้างเสนาฝ่ายตรงข้ามทั้งปวง ถูกมุนี
พิชิตและทำให้ปราชัย ถูกทำลาย กำจัด ทำให้ไม่สู้หน้าแล้วด้วยอริยมรรค ๔
เมื่อนั้น มุนีนั้นตรัสเรียกว่า เป็นผู้กำจัดเสนา คือ เป็นผู้กำจัดเสนาในรูปที่เห็น
กำจัดเสนาในเสียงที่ได้ยิน กำจัดเสนาในอารมณ์ที่รับรู้ และกำจัดเสนาในธรรมารมณ์
ที่รู้แจ้งแล้ว รวมความว่า มุนีนั้น เป็นผู้กำจัดเสนาในธรรมทั้งปวง คือ รูปที่เห็น
เสียงที่ได้ยิน หรืออารมณ์ที่รับรู้อย่างใดอย่างหนึ่ง

ว่าด้วยภาระ ๓ อย่าง
คำว่า มุนีนั้น เป็นผู้ปลงภาระลงแล้ว พ้นขาดแล้ว อธิบายว่า
คำว่า ภาระ ได้แก่ ภาระ ๓ อย่าง คือ (๑) ขันธภาระ (๒) กิเลสภาระ
(๓) อภิสังขารภาระ
ขันธภาระ เป็นอย่างไร
คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ในปฏิสนธิ นี้ชื่อว่าขันธภาระ
กิเลสภาระ เป็นอย่างไร
คือ ราคะ โทสะ โมหะ... อกุสลาภิสังขารทุกประเภท นี้ชื่อว่ากิเลสภาระ
อภิสังขารภาระ เป็นอย่างไร
คือ ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร นี้ชื่อว่าอภิสังขารภาระ
เมื่อใดขันธภาระ กิเลสภาระ และอภิสังขารภาระ มุนีละได้เด็ดขาดแล้ว ตัดราก
ถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี
เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ เมื่อนั้น มุนีนั้นตรัสเรียกว่า เป็นผู้ปลงภาระลงแล้ว คือ ผู้มีภาระ
ตกไปแล้ว มีภาระอันปลดแล้ว มีภาระอันปล่อยแล้ว มีภาระอันวางแล้ว มีภาระ
อันระงับแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.สุ. ๒๕/๔๓๙-๔๔๒/๔๑๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๙๘ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส
ว่าด้วยโมเนยยธรรม ๓ ประการ
คำว่า มุนี อธิบายว่า ญาณ ท่านเรียกว่า โมนะ คือ ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ชัด
ความวิจัย ความเลือกเฟ้น ความสอดส่องธรรม ความกำหนดหมาย ความเข้าไป
กำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้
อย่างแจ่มแจ้ง ความคิดค้น ความใคร่ครวญ ปัญญาดุจแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลาย
กิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ปัญญาเครื่องเห็นแจ้ง ความรู้ดี ปัญญาดุจปฏัก ปัญญา
ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาดุจศัสตรา ปัญญาดุจปราสาท ความสว่างคือปัญญา
แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาดุจดวงประทีป ปัญญาดุจดวงแก้ว ความไม่หลงงมงาย
ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ผู้ที่ประกอบด้วยญาณนั้น ชื่อว่ามุนี คือ ผู้บรรลุ
โมนญาณแล้ว โมเนยยธรรม ๓ ประการ คือ (๑) โมเนยยธรรมทางกาย (๒) โมเนยย
ธรรมทางวาจา (๓) โมเนยยธรรมทางใจ
โมเนยยธรรมทางกาย เป็นอย่างไร
คือ การละกายทุจริต ๓ อย่าง ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางกาย กายสุจริต ๓ อย่าง
ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางกาย ญาณมีกายเป็นอารมณ์ ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางกาย
กายปริญญา(การกำหนดรู้กาย) ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางกาย มรรคที่สหรคตด้วย
ปริญญา ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางกาย การละความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ
ในกาย ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางกาย ความดับแห่งกายสังขาร การบรรลุจตุตถฌาน
ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางกาย นี้ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางกาย
โมเนยยธรรมทางวาจา เป็นอย่างไร
คือ การละวจีทุจริต ๔ อย่าง ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางวาจา วจีสุจริต ๔ อย่าง
ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางวาจา ญาณมีวาจาเป็นอารมณ์ ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางวาจา
วาจาปริญญา(การกำหนดรู้วาจา) ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางวาจา มรรคที่สหรคตด้วย
ปริญญา ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางวาจา การละความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ
ในวาจา ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางวาจา ความดับแห่งวจีสังขาร การบรรลุทุติยฌาน
ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางวาจา นี้ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางวาจา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๙๙ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส
โมเนยยธรรมทางใจ เป็นอย่างไร
คือ การละมโนทุจริต ๓ อย่าง ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางใจ มโนสุจริต ๓ อย่าง
ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางใจ ญาณมีใจเป็นอารมณ์ ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางใจ จิตต-
ปริญญา(การกำหนดรู้จิต) ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางใจ มรรคที่สหรคตด้วยปริญญา
ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางใจ การละความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในจิต ชื่อว่า
โมเนยยธรรมทางใจ ความดับแห่งจิตตสังขาร การบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ
ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางใจ นี้ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางใจ
(สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า)
บัณฑิตทั้งหลาย เรียกบุคคลผู้เป็นมุนีทางกาย
เป็นมุนีทางวาจา เป็นมุนีทางใจ ผู้ไม่มีอาสวะ
ว่าเป็นมุนีผู้สมบูรณ์ด้วยโมเนยยธรรม ละกิเลสทั้งปวงได้
บัณฑิตทั้งหลาย เรียกบุคคลผู้เป็นมุนีทางกาย
เป็นมุนีทางวาจา เป็นมุนีทางใจ ผู้ไม่มีอาสวะ
ว่าเป็นมุนีผู้สมบูรณ์ด้วยโมเนยยธรรม ล้างบาปได้แล้ว๑
มุนีผู้ประกอบด้วยโมเนยยธรรม ๓ ประการเหล่านี้ มี ๖ จำพวก คือ

๑. อาคารมุนี ๒. อนาคารมุนี
๓. เสขมุนี ๔. อเสขมุนี
๕. ปัจเจกมุนี ๖. มุนิมุนี

อาคารมุนี เป็นอย่างไร
คือ บุคคลผู้ครองเรือน เห็นทาง(นิพพาน)แล้ว รู้แจ้งหลักคำสอนแล้ว เหล่านี้
ชื่อว่าอาคารมุนี
อนาคารมุนี เป็นอย่างไร
คือ บุคคลผู้เป็นบรรพชิต เห็นทาง(นิพพาน)แล้ว รู้แจ้งหลักคำสอนแล้ว เหล่านี้
ชื่อว่าอนาคารมุนี

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.อิติ. ๒๕/๖๗/๒๘๒, ขุ.จู. ๓๐/๒๑/๗๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๔๐๐ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส
พระเสขะ ๗ จำพวก ชื่อว่าเสขมุนี
พระอรหันต์ทั้งหลาย ชื่อว่าอเสขมุนี
พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ชื่อว่าปัจเจกมุนี
พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ชื่อว่ามุนิมุนี
(สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า)
บุคคลโง่เขลาไม่รู้อะไร เพียงแต่นั่งนิ่ง ๆ หาชื่อว่าเป็นมุนีไม่
ส่วนบุคคลผู้ฉลาด เลือกชั่งเอาแต่สิ่งที่ดี ละทิ้งสิ่งที่ชั่ว
เหมือนบุคคลชั่งสิ่งของ จึงจะชื่อว่า เป็นมุนีแท้
ผู้ที่รู้โลกทั้ง ๒ ก็เรียกว่า เป็นมุนี๑(เช่นกัน)
ผู้รู้ธรรมทั้งของอสัตบุรุษและสัตบุรุษ
ทั้งภายในและภายนอก ในโลกทั้งปวง
เทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว ก้าวล่วงกิเลสเครื่องข้อง
และตัณหาดุจตาข่ายได้แล้ว ชื่อว่ามุนี๒
คำว่า พ้นขาดแล้ว อธิบายว่า จิตของมุนีหลุด พ้น หลุดพ้นดีแล้วจากราคะ...
จิตของมุนีหลุด พ้น หลุดพ้นดีแล้วจากโทสะ... จากโมหะ... จากอกุสลาภิสังขาร
ทุกประเภท รวมความว่า มุนีนั้นเป็นผู้ปลงภาระลงแล้ว พ้นขาดแล้ว
คำว่า ความกำหนด ในคำว่า ไม่มีความกำหนด ไม่เข้าไปยินดี ไม่มีความ
ปรารถนา ได้แก่ ความกำหนด ๒ อย่าง คือ (๑) ความกำหนดด้วยอำนาจตัณหา
(๒) ความกำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิ... นี้ชื่อว่าความกำหนดด้วยอำนาจตัณหา... นี้ชื่อ
ว่าความกำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิ๓

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.ธ. ๒๕/๒๖๘-๒๖๙/๖๓
๒ ขุ.สุ. ๒๕/๕๓๓/๔๓๘
๓ เทียบกับความในข้อ ๑๒/๕๘-๕๙, ขุ.จู. ๓๐/๒๑/๗๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๔๐๑ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส
มุนีนั้นละความกำหนดด้วยอำนาจตัณหาได้แล้ว สลัดทิ้งความกำหนดด้วย
อำนาจทิฏฐิได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละความกำหนดด้วยอำนาจตัณหา สลัดทิ้งความ
กำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิได้แล้ว มุนีจึงไม่กำหนด คือ ไม่ให้เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น ไม่ให้
บังเกิด ไม่ให้บังเกิดขึ้นซึ่งความกำหนดด้วยอำนาจตัณหา หรือความกำหนดด้วย
อำนาจทิฏฐิ รวมความว่า ไม่มีความกำหนด
คำว่า ไม่เข้าไปยินดี อธิบายว่า พาลปุถุชนทุกจำพวกย่อมกำหนัด
พระเสขะ ๗ จำพวก รวมทั้งกัลยาณปุถุชนย่อมยินดี ยินดียิ่ง ยินดีเฉพาะเพื่อถึง
ธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง
พระอรหันต์เป็นผู้งด งดเว้น เว้นขาด ออก สลัดออก หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้อง พึงมีใจ
เป็นอิสระ (จากกิเลส) อยู่ รวมความว่า ไม่มีความกำหนด ไม่เข้าไปยินดี
คำว่า ไม่มีความปรารถนา อธิบายว่า ตัณหา ตรัสเรียกว่า ความปรารถนา
คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก... อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ๑
ตัณหาที่เรียกว่าความปรารถนานี้ มุนีใดละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้
สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว มุนีนั้น
ตรัสเรียกว่า ไม่มีความปรารถนา

อธิบายคำว่า ภควา
คำว่า พระผู้มีพระภาค เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ
อีกนัยหนึ่ง ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายราคะได้แล้ว
ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายโทสะได้แล้ว
ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายโมหะได้แล้ว
ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายมานะได้แล้ว
ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายทิฏฐิได้แล้ว

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๓/๑๐-๑๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๔๐๒ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส
ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายเสี้ยนหนามได้แล้ว
ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายกิเลสได้แล้ว
ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงจำแนก แยกแยะ แจกแจงธรรมรัตนะ
ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำที่สุดแห่งภพได้
ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงอบรมพระวรกายแล้ว
ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงอบรมศีล อบรมจิต อบรมปัญญาแล้ว
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงใช้สอยเสนาสนะที่เป็นป่าละเมาะและป่าทึบ
อันสงัด มีเสียงน้อย มีเสียงอึกทึกน้อย ปราศจากการสัญจรไปมาของผู้คน ควรเป็น
สถานที่ทำการลับของมนุษย์ สมควรเป็นที่หลีกเร้น จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงมีส่วนแห่งจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ
คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีส่วนแห่งอรรถรส ธรรมรส วิมุตติรส
อธิสีล อธิจิต อธิปัญญา จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีส่วนแห่งฌาน ๔ อัปปมัญญา๑ ๔
อรูปสมาบัติ๒ ๔ จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีส่วนแห่งวิโมกข์๓ ๘ อภิภายตนะ ๘
อนุปุพพวิหารสมาบัติ๔ ๙ จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค

เชิงอรรถ :
๑ อัปปมัญญา ๔ คือธรรมเครื่องอยู่อย่างประเสริฐและปฏิบัติต่อมนุษย์สัตว์ทั้งหลายโดยชอบไม่มีขอบเขต
ได้แก่ (๑) เมตตา (๒) กรุณา (๓) มุทิตา (๔) อุเบกขา (ที.ปา. ๑๑/๓๐๘/๒๐๐)
๒ อรูปสมาบัติ ๔ ดูเชิงอรรถข้อ ๖/๒๖
๓ วิโมกข์ ๘ ได้แก่ภาวะที่จิตปลอดพ้นจากสิ่งรบกวนและน้อมดิ่งเข้าไปในอารมณ์นั้น ๆ อย่างปล่อยตัวเต็มที่
ซึ่งเป็นไปในขั้นตอนต่าง ๆ เช่น ผู้มีรูป มองเห็นรูปทั้งหลาย (ได้แก่ รูปฌาน ๔ ของผู้ได้ฌานโดยเจริญ
กสิณที่กำหนดวัตถุในกายของตน เช่น สีผม) เป็นต้น (ที.ปา. ๑๑/๓๓๙/๒๓๑)
๔ อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ คือธรรมเครื่องอยู่ที่ประณีตต่อกันขึ้นไปโดยลำดับ ได้แก่ รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔
และสัญญาเวทยิตนิโรธ ๑ (ที.ปา. ๑๑/๓๔๓/๒๓๔-๒๓๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๔๐๓ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๓. มหาวิยูหสุตตนิเทส
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีส่วนแห่งสัญญาภาวนา๑ ๑๐
กสิณสมาบัติ ๑๐ อานาปานสติสมาธิ อสุภสมาบัติ จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีส่วนแห่งสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔
อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ จึงชื่อว่า
พระผู้มีพระภาค
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีส่วนแห่งตถาคตพลญาณ ๑๐
เวสารัชชญาณ ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ อภิญญา ๖ พุทธธรรม ๖ จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค
พระนามว่า พระผู้มีพระภาค นี้ มิใช่พระชนนีทรงตั้ง มิใช่พระชนกทรงตั้ง
มิใช่พระภาดาทรงตั้ง มิใช่พระภคินีทรงตั้ง มิใช่มิตรและอำมาตย์ตั้ง มิใช่พระญาติ
และผู้ร่วมสายโลหิตทรงตั้ง มิใช่สมณพราหมณ์ตั้ง มิใช่เทวดาตั้ง
คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นวิโมกขันติกนาม(พระนามในลำดับการบรรลุ
อรหัตตผล) เป็นสัจฉิกาบัญญัติ(บัญญัติที่เกิดเพราะทรงรู้แจ้งอรหัตตผล) ของพระ
ผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย พร้อมกับการบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ที่โคนต้นโพธิ์
รวมความว่า ไม่มีความกำหนด ไม่เข้าไปยินดี ไม่มีความปรารถนา ด้วยเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
มุนีนั้น เป็นผู้กำจัดเสนาในธรรมทั้งปวง
คือรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน หรืออารมณ์ที่รับรู้อย่างใดอย่างหนึ่ง
มุนีนั้นเป็นผู้ปลงภาระลงแล้ว พ้นขาดแล้ว
ไม่มีความกำหนด ไม่เข้าไปยินดี ไม่มีความปรารถนา
มหาวิยูหสุตตนิทเทสที่ ๑๓ จบ

เชิงอรรถ :
๑ สัญญาภาวนา ๑๐ แนวความคิดความเข้าใจ สำหรับใช้กำหนดพิจารณาในการเจริญกัมมัฏฐาน ได้แก่
(๑) อนิจจสัญญา (๒) อนัตตสัญญา (๓) อสุภสัญญา
(๔) อาทีนวสัญญา (๕) ปหานสัญญา (๖) วิราคสัญญา
(๗) นิโรธสัญญา (๘) สัพพโลเก อนภิรตสัญญา
(๙) สัพพสังขาเรสุ อนิจจสัญญา (๑๐) อานาปานสติ (องฺ.ทสก. ๒๔/๖๐/๘๖-๘๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๔๐๔ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส
๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส๑
อธิบายตุวฏกสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้กำจัดบาปธรรมอย่างเร็วพลัน
พระสารีบุตรเถระจะกล่าวอธิบายตุวฏกสูตร ดังต่อไปนี้
[๑๕๐] (พระพุทธเนรมิตทูลถามว่า)
ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์
ผู้ทรงเป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ ผู้มีวิเวก มีสันติบท
ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ว่า ภิกษุเห็นอย่างไร
จึงไม่ถือมั่นอะไร ๆ ในโลก ดับไป

ว่าด้วยการถาม ๓ อย่าง
คำว่า ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์ ผู้ทรงเป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์
อธิบายว่า
คำว่า ทูลถาม ได้แก่ การถาม ๓ อย่าง คือ
๑. การถามเพื่อทำให้ชัดเจนในสิ่งที่ยังไม่เคยเห็น
๒. การถามเพื่อเทียบเคียงในสิ่งที่เคยเห็นแล้ว
๓. การถามเพื่อตัดความสงสัย
การถามเพื่อทำให้ชัดเจนในสิ่งที่ยังไม่เคยเห็น เป็นอย่างไร
คือ โดยปกติลักษณะใด ตนยังไม่รู้ ยังไม่เห็น ยังมิได้เทียบเคียง ยังมิได้
พิจารณา ยังมิได้ทำให้กระจ่าง ยังมิได้ทำให้แจ่มแจ้ง ก็ถามปัญหาเพื่อรู้ เพื่อเห็น
เพื่อเทียบเคียง เพื่อพิจารณา เพื่อทำให้ลักษณะนั้นแจ่มแจ้ง นี้ชื่อว่าการถามเพื่อ
ทำให้ชัดเจนในสิ่งที่ยังไม่เคยเห็น

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.สุ. ๒๕/๙๒๒-๙๔๑/๕๑๔-๕๑๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๔๐๕ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส
การถามเพื่อเทียบเคียงในสิ่งที่เคยเห็นแล้ว เป็นอย่างไร
คือ โดยปกติลักษณะใด ตนรู้ เห็น เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง
ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว ก็ถามปัญหา เพื่อเทียบเคียงลักษณะนั้นกับบัณฑิตอื่น นี้ชื่อว่า
การถามเพื่อเทียบเคียงในสิ่งที่เคยเห็นแล้ว
การถามเพื่อตัดความสงสัย เป็นอย่างไร
คือ โดยปกติบุคคลเป็นผู้แล่นไปสู่ความสงสัย แล่นไปสู่ความเคลือบแคลง
เกิดความคิดเป็น ๒ แง่ว่า “เป็นอย่างนี้หรือไม่หนอ เป็นอะไรหรือ เป็นอย่างไรหนอ”
เขาก็ถามปัญหา เพื่อตัดความสงสัย นี้ชื่อว่าการถามเพื่อตัดความสงสัย เหล่านี้
ชื่อว่าการถาม ๓ อย่าง
การถามอีก ๓ อย่าง คือ
๑. การถามของมนุษย์ ๒. การถามของอมนุษย์
๓. การถามของรูปเนรมิต
การถามของมนุษย์ เป็นอย่างไร
คือ พวกมนุษย์เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าแล้ว ทูลถามปัญหา คือ พวก
ภิกษุก็ทูลถาม ภิกษุณีก็ทูลถาม อุบาสกก็ทูลถาม อุบาสิกาก็ทูลถาม พระราชาก็ทูล
ถาม กษัตริย์ก็ทูลถาม พราหมณ์ก็ทูลถาม แพศย์ก็ทูลถาม ศูทรก็ทูลถาม คฤหัสถ์ก็
ทูลถาม บรรพชิตก็ทูลถาม นี้ชื่อว่าการถามของมนุษย์
การถามของอมนุษย์ เป็นอย่างไร
คือ พวกอมนุษย์เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าแล้ว ทูลถามปัญหา คือ พวก
นาคก็ทูลถาม ครุฑก็ทูลถาม ยักษ์ก็ทูลถาม อสูรก็ทูลถาม คนธรรพ์ก็ทูลถาม
ท้าวมหาราชก็ทูลถาม พระอินทร์ก็ทูลถาม พระพรหมก็ทูลถาม เทวดาก็ทูลถาม
นี้ชื่อว่าการถามของอมนุษย์
การถามของรูปเนรมิต เป็นอย่างไร
คือ พระผู้มีพระภาคทรงเนรมิตพระรูปใด ซึ่งสำเร็จด้วยพระทัย มีอวัยวะน้อย
ใหญ่ครบทุกอย่าง มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง พระรูปเนรมิตนั้น เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค
พุทธเจ้าแล้ว ก็ทูลถามปัญหา พระผู้มีพระภาคทรงวิสัชนา นี้ชื่อว่าการถามของรูป
เนรมิต เหล่านี้ชื่อว่าการถามอีก ๓ อย่าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๔๐๖ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส
การถามอีก ๓ อย่าง คือ
๑. การถามเพื่อประโยชน์ตน
๒. การถามเพื่อประโยชน์ผู้อื่น
๓. การถามเพื่อประโยชน์ตนและผู้อื่น
การถามอีก ๓ อย่าง คือ
๑. การถามเพื่อประโยชน์ในภพปัจจุบัน
๒. การถามเพื่อประโยชน์ในภพหน้า
๓. การถามเพื่อประโยชน์อย่างยิ่ง
การถามอีก ๓ อย่าง คือ
๑. การถามเพื่อประโยชน์ที่ไม่มีโทษ
๒. การถามเพื่อประโยชน์ที่ปราศจากกิเลส
๓. การถามเพื่อประโยชน์ที่ผุดผ่อง
การถามอีก ๓ อย่าง คือ
๑. การถามถึงอดีต ๒. การถามถึงอนาคต
๓. การถามถึงปัจจุบัน
การถามอีก ๓ อย่าง คือ
๑. การถามถึงเรื่องภายใน ๒. การถามถึงเรื่องภายนอก
๓. การถามถึงเรื่องทั้งภายในและภายนอก
การถามอีก ๓ อย่าง คือ
๑. การถามถึงกุศลธรรม ๒. การถามถึงอกุศลธรรม
๓. การถามถึงอัพยากตธรรม
การถามอีก ๓ อย่าง คือ
๑. การถามถึงขันธ์ ๒. การถามถึงธาตุ
๓. การถามถึงอายตนะ
การถามอีก ๓ อย่าง คือ
๑. การถามถึงสติปัฏฐาน ๒. การถามถึงสัมมัปปธาน
๓. การถามถึงอิทธิบาท

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๔๐๗ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส
การถามอีก ๓ อย่าง คือ
๑. การถามถึงอินทรีย์ ๒. การถามถึงพละ
๓. การถามถึงโพชฌงค์
การถามอีก ๓ อย่าง คือ
๑. การถามถึงมรรค ๒. การถามถึงผล
๓. การถามถึงนิพพาน
คำว่า ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์ อธิบายว่า ข้าพระองค์ขอทูลถาม
พระองค์ คือ ทูลขอ ทูลอัญเชิญ ทูลให้ประกาศว่า “ขอโปรดตรัสบอกข้อนั้นแก่
ข้าพระองค์เถิด” รวมความว่า ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์
คำว่า ผู้ทรงเป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ อธิบายว่า พระสุริยะ ตรัสเรียกว่า
พระอาทิตย์ พระสุริยะชื่อว่าเป็นพระโคดมโดยพระโคตร แม้พระผู้มีพระภาคก็ทรง
เป็นพระโคดมโดยพระโคตร พระผู้มีพระภาคจึงทรงปรากฏโดยโคตรพระอาทิตย์ คือ
ทรงเป็นเผ่าพันธุ์โดยโคตรพระอาทิตย์ เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้า จึงชื่อว่าผู้ทรงเป็น
เผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ รวมความว่า ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์ ผู้ทรงเป็นเผ่าพันธุ์
พระอาทิตย์

ว่าด้วยวิเวก ๓ อย่าง
คำว่า ผู้มีวิเวก มีสันติบท ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ อธิบายว่า
คำว่า วิเวก ได้แก่ วิเวก ๓ อย่าง คือ
๑. กายวิเวก ๒. จิตตวิเวก
๓. อุปธิวิเวก
กายวิเวก เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมใช้สอยเสนาสนะที่สงัด คือ ป่า โคนต้นไม้ ภูเขา
ซอกเขา ช่องเขา สุสาน ป่าดงดิบ กลางแจ้ง ลอมฟาง และมีกายสงัดอยู่ คือ เดิน
รูปเดียว ยืนรูปเดียว นั่งรูปเดียว นอนรูปเดียว เข้าหมู่บ้านบิณฑบาตรูปเดียว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๔๐๘ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส
กลับรูปเดียว นั่งในที่ลับรูปเดียว อธิษฐานจงกรมรูปเดียว เที่ยวไป อยู่ เคลื่อนไหว
เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไปรูปเดียว นี้ชื่อว่ากายวิเวก
จิตตวิเวก เป็นอย่างไร
คือ ผู้บรรลุปฐมฌานย่อมมีจิตสงัดจากนิวรณ์ ผู้บรรลุทุติยฌานย่อมมีจิตสงัด
จากวิตกและวิจาร ผู้บรรลุตติยฌานย่อมมีจิตสงัดจากปีติ ผู้บรรลุจตุตถฌานย่อมมี
จิตสงัดจากสุขและทุกข์ ผู้บรรลุอากาสานัญจายตนสมาบัติ ย่อมมีจิตสงัดจาก
รูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา ผู้บรรลุวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ย่อมมีจิต
สงัดจากอากาสานัญจายตนสัญญา ผู้บรรลุอากิญจัญญายตนสมาบัติ ย่อมมีจิตสงัด
จากวิญญาณัญจายตนสัญญา ผู้บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ย่อมมีจิต
สงัดจากอากิญจัญญายตนสัญญา
ผู้เป็นพระโสดาบัน ย่อมมีจิตสงัดจากสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส
ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย และเหล่ากิเลสที่อยู่ในพวกเดียวกับสักกายทิฏฐิเป็นต้นนั้น
ผู้เป็นพระสกทาคามี ย่อมมีจิตสงัดจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ อย่าง
หยาบ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อย่างหยาบ และเหล่ากิเลสที่อยู่ในพวกเดียวกับ
กามราคสังโยชน์เป็นต้นนั้น
ผู้เป็นพระอนาคามี ย่อมมีจิตสงัดจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ อย่าง
ละเอียด กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อย่างละเอียด และเหล่ากิเลสที่อยู่ในพวกเดียว
กับกามราคสังโยชน์เป็นต้นนั้น
ผู้เป็นพระอรหันต์ ย่อมมีจิตสงัดจากรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ
อวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย เหล่ากิเลสที่อยู่ในพวกเดียวกับ
รูปราคะเป็นต้นนั้น และสังขารนิมิตทั้งปวงในภายนอก นี้ชื่อว่าจิตตวิเวก
อุปธิวิเวก เป็นอย่างไร
คือ กิเลสก็ดี ขันธ์ก็ดี อภิสังขารก็ดี ตรัสเรียกว่า อุปธิ อมตนิพพาน ตรัส
เรียกว่า อุปธิวิเวก คือ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดทิ้งอุปธิทั้งหมด
เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับกิเลส เป็นที่เย็นสนิท นี้ชื่อว่า
อุปธิวิเวก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๔๐๙ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส
กายวิเวก ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีกายหลีกออกแล้ว ยินดีในเนกขัมมะ จิตตวิเวก
ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีจิตบริสุทธิ์ ถึงความเป็นผู้ผ่องแผ้วยิ่ง และอุปธิวิเวก ย่อมมีแก่
บุคคลผู้ปราศจากอุปธิ บรรลุนิพพานอันปราศจากปัจจัยปรุงแต่งแล้ว
คำว่า สันติ อธิบายว่า ทั้งสันติ และสันติบท มีความหมายอย่างเดียวกัน
สันติบทนั้นนั่นเองคือ อมตนิพพาน ได้แก่ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัด
ทิ้งอุปธิทั้งหมด เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับกิเลส เป็นที่เย็นสนิท
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่
สลัดทิ้งอุปธิทั้งหมด เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับกิเลส เป็นที่เย็น
สนิท นี้เป็นบทสงบ เป็นบทประณีต
อีกนัยหนึ่ง โดยความหมายต่างกัน ธรรมเหล่าใด เป็นไปเพื่อบรรลุความสงบ
ถูกต้องความสงบ ทำให้แจ้งความสงบ คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔
อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ ธรรมเหล่านี้
ตรัสเรียกว่า สันติบท(ทางสงบ) ตาณบท(ทางปกป้อง) เลณบท(ทางหลีกเร้น)
สรณบท(ทางเป็นที่พึ่ง) อภยบท(ทางไม่มีภัย) อัจจุตบท(ทางที่ไม่จุติ) อมตบท(ทาง
อมตธรรม) นิพพานบท(ทางนิพพาน)
คำว่า ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ได้แก่ พระผู้มีพระภาคผู้ทรงแสวงหาคุณ
อันยิ่งใหญ่ อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา คือ ค้นหา เสาะหา สีลขันธ์ใหญ่
จึงชื่อว่าผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา คือ ค้นหา เสาะหา สมาธิขันธ์ใหญ่... ปัญญา-
ขันธ์ใหญ่... วิมุตติขันธ์ใหญ่... วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ใหญ่ จึงชื่อว่าผู้ทรงแสวงหา
คุณอันยิ่งใหญ่
พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา คือ ค้นหา เสาะหาเครื่องทำลายกองความ
มืดใหญ่ เครื่องทำลายความวิปลาสใหญ่ เครื่องถอนลูกศรคือตัณหาใหญ่ เครื่อง
ปลดเปลื้องโครงทิฏฐิใหญ่ เครื่องกำจัดธงคือมานะใหญ่ เครื่องเข้าไปสงบอภิสังขาร
ใหญ่ เครื่องปิดกั้นโอฆะใหญ่ เครื่องวางภาระใหญ่ เครื่องตัดสังสารวัฏใหญ่ เครื่อง
ดับความเดือดร้อนใหญ่ เครื่องระงับความเร่าร้อนใหญ่ เครื่องยกธงคือธรรมใหญ่
จึงชื่อว่าผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๔๑๐ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส
พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา คือ ค้นหา เสาะหาสติปัฏฐานใหญ่ สัมมัปปธาน
ใหญ่ อิทธิบาทใหญ่ อินทรีย์ใหญ่ พละใหญ่ โพชฌงค์ใหญ่ อริยมรรคมีองค์ ๘ ใหญ่
ปรมัตถอมตนิพพานใหญ่ จึงชื่อว่าผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้ที่เหล่าสัตว์มเหศักดิ์แสวงหา คือ ค้นหา
เสาะหาว่า พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่ไหน พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ไหน พระผู้
ทรงเป็นเทพยิ่งกว่าเทพประทับอยู่ที่ไหน พระผู้ทรงองอาจกว่านรชนประทับอยู่ที่ไหน
จึงชื่อว่าผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ รวมความว่า ผู้มีวิเวก มีสันติบท ทรงแสวงหา
คุณอันยิ่งใหญ่
คำว่า ภิกษุเห็นอย่างไร... ดับไป อธิบายว่า ภิกษุเห็น คือ แลเห็น เทียบเคียง
พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้ง อย่างไร จึงทำให้ราคะของตนดับไป ทำให้
โทสะของตนดับไป ทำให้โมหะของตนดับไป ทำให้โกธะ... อุปนาหะ... มักขะ... ปฬาสะ...
อิสสา... มัจฉริยะ... มายา... สาเถยยะ... ถัมภะ... สารัมภะ... มานะ... อติมานะ...
มทะ... ปมาทะ... กิเลสทุกชนิด... ทุจริตทุกทาง... ความกระวนกระวายทุกอย่าง...
ความเร่าร้อนทุกสถาน... ความเดือดร้อนทุกประการ... อกุสลาภิสังขารทุกประเภท
ดับไป คือ ทำให้สงบ ให้เข้าไปสงบ ให้สงบเย็น ระงับเสียได้
คำว่า ภิกษุ ได้แก่ ภิกษุผู้เป็นกัลยาณปุถุชน หรือ ภิกษุผู้เป็นพระเสขะ รวม
ความว่า ภิกษุเห็นอย่างไร... ดับไป
คำว่า จึงไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ได้แก่ ไม่ถือมั่น คือ ไม่ถือ ไม่ยึดมั่น
ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน ๔
คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก
อายตนโลก
คำว่า อะไร ๆ ได้แก่ อะไร ๆ ที่เป็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
รวมความว่า จึงไม่ถือมั่นอะไร ๆ ในโลก ด้วยเหตุนั้น พระพุทธเนรมิตจึงทูลถามว่า
ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์
ผู้ทรงเป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ ผู้มีวิเวก มีสันติบท
ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ว่า ภิกษุเห็นอย่างไร
จึงไม่ถือมั่นอะไร ๆ ในโลก ดับไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๔๑๑ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส
[๑๕๑] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบ ดังนี้)
ภิกษุพึงขจัดบาปธรรมทั้งปวง ที่เป็นรากเหง้า
ของส่วนแห่งธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้าและอัสมิมานะด้วยมันตา
ตัณหาอย่างใดอย่างหนึ่งที่เกิดในภายใน
ภิกษุมีสติทุกเมื่อ พึงศึกษาเพื่อกำจัดตัณหาเหล่านั้น

ว่าด้วยธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า
คำว่า ภิกษุพึงขจัดบาปธรรมทั้งปวง ที่เป็นรากเหง้าของส่วนแห่งธรรมเป็น
เครื่องเนิ่นช้าและอัสมิมานะด้วยมันตา อธิบายว่า ธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า
นั่นแหละ ชื่อว่าส่วนแห่งธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า คือ ส่วนแห่งธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า
คือตัณหา ส่วนแห่งธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้าคือทิฏฐิ
รากเหง้าแห่งธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้าคือตัณหา คืออะไร
คือ อวิชชา(ความไม่รู้) อโยนิโสมนสิการ(ความไม่ทำไว้ในใจโดยแยบคาย)
อัสมิมานะ(ความถือตัว) อหิริกะ(ความไม่ละอาย) อโนตตัปปะ(ความไม่เกรงกลัว)
อุทธัจจะ(ความฟุ้งซ่าน) นี้ชื่อว่ารากเหง้าแห่งธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้าคือตัณหา
รากเหง้าแห่งธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้าคือทิฏฐิ คืออะไร
คือ อวิชชา อโยนิโสมนสิการ อัสมิมานะ อหิริกะ อโนตตัปปะ อุทธัจจะ
นี้ชื่อว่ารากเหง้าแห่งธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้าคือทิฏฐิ
คำว่า พระผู้มีพระภาค เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ
อีกนัยหนึ่ง ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายราคะได้แล้ว
ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายโทสะได้แล้ว
ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายโมหะได้แล้ว
ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายมานะได้แล้ว
ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายทิฏฐิได้แล้ว
ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายเสี้ยนหนามได้แล้ว
ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายกิเลสได้แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๔๑๒ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส
ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงจำแนก แยกแยะ แจกแจงธรรมรัตนะ
ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำที่สุดแห่งภพได้
ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงอบรมพระวรกายแล้ว
ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงอบรมศีล อบรมจิต อบรมปัญญาแล้ว
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงใช้สอยเสนาสนะ ที่เป็นป่าละเมาะและป่าทึบ
อันสงัด มีเสียงน้อย มีเสียงอึกทึกน้อย ปราศจากการสัญจรไปมาของผู้คน ควรเป็น
สถานที่ทำการลับของมนุษย์ สมควรเป็นที่หลีกเร้น จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงมีส่วนแห่งจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ
คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีส่วนแห่งอรรถรส ธรรมรส วิมุตติรส
อธิสีล อธิจิต อธิปัญญา จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีส่วนแห่งฌาน ๔ อัปปมัญญา ๔
อรูปสมาบัติ ๔ จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีส่วนแห่งวิโมกข์ ๘ อภิภายตนะ ๘
อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีส่วนแห่งสัญญาภาวนา ๑๐
กสิณสมาบัติ ๑๐ อานาปานสติสมาธิ อสุภสมาบัติ จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีส่วนแห่งสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔
อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ จึงชื่อว่า
พระผู้มีพระภาค
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีส่วนแห่งตถาคตพลญาณ ๑๐
เวสารัชชญาณ ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ อภิญญา ๖ พุทธธรรม ๖ จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค
พระนามว่า พระผู้มีพระภาคนี้ มิใช่พระชนนีทรงตั้ง มิใช่พระชนกทรงตั้ง มิใช่
พระภาดาทรงตั้ง มิใช่พระภคินีทรงตั้ง มิใช่มิตรและอำมาตย์ตั้ง มิใช่พระญาติและ
ผู้ร่วมสายโลหิตทรงตั้ง มิใช่สมณพราหมณ์ตั้ง มิใช่เทวดาตั้ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๔๑๓ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส
คำว่า พระผู้มีพระภาคนี้ เป็นวิโมกขันติกนาม เป็นสัจฉิกาบัญญัติ ของพระ-
ผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย พร้อมกับการบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ที่โคนต้นโพธิ์
รวมความว่า ภิกษุพึงขจัดบาปธรรมทั้งปวง ที่เป็นรากเหง้าของส่วนแห่งธรรมเป็นเครื่อง
เนิ่นช้า
คำว่า พึงขจัดบาปธรรมทั้งปวง... อัสมิมานะด้วยมันตา อธิบายว่า ปัญญา
ตรัสเรียกว่า มันตา คือ ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ชัด... ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้น
ธรรม สัมมาทิฏฐิ
คำว่า อัสมิมานะ ได้แก่ มานะว่า “มีเรา” ฉันทะว่า “มีเรา” อนุสัยว่า “มีเรา”
ในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
คำว่า ภิกษุพึงขจัดบาปธรรมทั้งปวง ที่เป็นรากเหง้าของส่วนแห่งธรรม
เป็นเครื่องเนิ่นช้าและอัสมิมานะด้วยมันตา อธิบายว่า ภิกษุพึงขจัด คือ เข้าไป
ขจัด ให้ดับ ให้เข้าไปสงบ ให้ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ ระงับบาปธรรมทั้งปวง ที่เป็นราก
เหง้าของส่วนแห่งธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า และอัสมิมานะ ด้วยมันตา รวมความว่า
ภิกษุพึงขจัดบาปธรรมทั้งปวง ที่เป็นรากเหง้าของส่วนแห่งธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า
และอัสมิมานะด้วยมันตา
คำว่า อย่างใดอย่างหนึ่ง ในคำว่า ตัณหาอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เกิดใน
ภายใน ได้แก่ ทุกสิ่งโดยอาการทั้งหมด ทุกอย่าง ไม่เหลือ ไม่มีส่วนเหลือโดย
ประการทั้งปวง คำว่า อย่างใดอย่างหนึ่ง นี้เป็นคำกล่าวรวมไว้ทั้งหมด
คำว่า ตัณหา ได้แก่ รูปตัณหา... ธัมมตัณหา
คำว่า ที่เกิดในภายใน ได้แก่ ตัณหาที่เกิดในภายใน จึงชื่อว่าที่เกิดในภายใน
อีกนัยหนึ่ง จิต ตรัสเรียกว่า ที่เกิดในภายใน คือ จิต มโน มานัส หทัย
ปัณฑระ มนะ มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุ ที่เกิด
จากผัสสะเป็นต้นนั้น ตัณหานั้นไปพร้อมกัน คือ เกิดร่วมกัน ระคนกัน เกี่ยวเนื่องกัน
เกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน มีวัตถุอย่างเดียวกัน มีอารมณ์อย่างเดียวกันกับจิต
จึงชื่อว่าที่เกิดในภายใน รวมความว่า ตัณหาอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เกิดในภายใน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๔๑๔ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส
ว่าด้วยผู้มีสติด้วยเหตุ ๔
คำว่า ทุกเมื่อ ในคำว่า ภิกษุมีสติทุกเมื่อ พึงศึกษาเพื่อกำจัดตัณหาเหล่านั้น
ได้แก่ ทุกเมื่อ คือ ในกาลทั้งปวง ตลอดกาลทั้งปวง ตลอดกาลเป็นนิจ ตลอดกาล
ยั่งยืน ตลอดกาลต่อเนื่องกัน ตลอดกาลสืบเนื่องกัน ตลอดกาลติดต่อกัน ตลอดกาล
เป็นลำดับ ตลอดกาลติดต่อกันเหมือนระลอกคลื่น ตลอดกาลเป็นไปต่อเนื่องไม่
ขาดสาย ตลอดกาลสืบต่อกันกระชั้นชิด ตลอดกาลก่อนภัต หลังภัต ตลอดปฐมยาม
มัชฌิมยาม ปัจฉิมยาม ตลอดข้างแรม ข้างขึ้น ตลอดฤดูฝน ฤดูหนาว ฤดูร้อน
ตลอดปฐมวัย มัชฌิมวัย ปัจฉิมวัย
คำว่า มีสติ อธิบายว่า มีสติด้วยเหตุ ๔ อย่าง คือ
๑. ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณากายในกาย
๒. ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณาเวทนาในเวทนาทั้งหลาย
๓. ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณาจิตในจิต
๔. ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณาธรรมในธรรมทั้งหลาย
มีสติด้วยเหตุอีก ๔ อย่าง คือ
๑. ชื่อว่ามีสติ เพราะเว้นจากความเป็นผู้ไม่มีสติ
๒. ชื่อว่ามีสติ เพราะเป็นผู้กระทำสิ่งทั้งหลายที่ควรทำด้วยสติ
๓. ชื่อว่ามีสติ เพราะเป็นผู้กำจัดสิ่งทั้งหลายที่เป็นฝ่ายตรงข้ามกับสติ
๔. ชื่อว่ามีสติ เพราะเป็นผู้ไม่หลงลืมธรรมทั้งหลายที่เป็นมูลเหตุแห่งสติ
มีสติด้วยเหตุอีก ๔ อย่าง คือ
๑. ชื่อว่ามีสติ เพราะเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยสติ
๒. ชื่อว่ามีสติ เพราะเป็นผู้ชำนาญในสติ
๓. ชื่อว่ามีสติ เพราะเป็นผู้คล่องแคล่วในสติ
๔. ชื่อว่ามีสติ เพราะเป็นผู้ไม่หวนกลับจากสติ
มีสติด้วยเหตุอีก ๔ อย่าง คือ
๑. ชื่อว่ามีสติ เพราะมีอยู่ตามปกติ
๒. ชื่อว่ามีสติ เพราะเป็นผู้สงบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๔๑๕ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส
๓. ชื่อว่ามีสติ เพราะเป็นผู้ระงับ
๔. ชื่อว่ามีสติ เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของสัตบุรุษ
มีสติด้วยเหตุอีก ๑๐ อย่าง คือ
๑. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงพุทธคุณ
๒. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงธรรมคุณ
๓. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงสังฆคุณ
๔. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงศีลที่ตนรักษา
๕. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงทานที่ตนบริจาคแล้ว
๖. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงคุณธรรมที่ทำคนให้เป็นเทวดา
๗. ชื่อว่ามีสติ เพราะตั้งสติกำหนดลมหายใจเข้าออก
๘. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงความตายที่จะต้องมีเป็นธรรมดา
๙. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกทั่วไปในกาย(ให้เห็นว่าไม่งาม)
๑๐. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงธรรมที่สงบระงับ(กิเลสและความทุกข์)คือนิพพาน
สติ คือ ความตามระลึกถึง ความระลึกได้เฉพาะหน้า สติ คือ ความระลึกได้
ความจำได้ ความไม่เลื่อนลอย ความไม่หลงลืม สติ คือ สตินทรีย์(สติที่เป็นใหญ่)
สติพละ(สติที่เป็นกำลัง) สัมมาสติ(ระลึกชอบ) สติสัมโพชฌงค์(สติเป็นองค์แห่งการ
ตรัสรู้ธรรม) เอกายนมรรค(สติที่เป็นทางเอก) นี้แหละ ตรัสเรียกว่าสติ บุคคลนั้น
ผู้ประกอบ ประกอบพร้อม ดำเนินไป ดำเนินไปพร้อม เป็นไป เป็นไปพร้อม
เพียบพร้อมแล้วด้วยสตินี้ ภิกษุนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า ผู้มีสติ
คำว่า พึงศึกษา อธิบายว่า สิกขา ๓ คือ
๑. อธิสีลสิกขา ๒. อธิจิตตสิกขา
๓. อธิปัญญาสิกขา
อธิสีลสิกขา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์๑
สมบูรณ์ด้วยอาจาระและโคจร เห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาในสิกขา

เชิงอรรถ :-
๑ ปาติโมกข์ ดูเชิงอรรถข้อ ๑๐/๔๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๔๑๖ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส
บททั้งหลายอยู่ คือ สีลขันธ์เล็ก สีลขันธ์ใหญ่ ศีลเป็นที่พึ่ง เป็นเบื้องต้น เป็นความ
ประพฤติ เป็นความสำรวม เป็นความระวัง เป็นหัวหน้า เป็นประธานเพื่อความ
ถึงพร้อมแห่งธรรมที่เป็นกุศล นี้ชื่อว่าอธิสีลสิกขา
อธิจิตตสิกขา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน
ที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุข อันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจาร สงบระงับไปแล้ว
บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มี
วิจาร มีแต่ปีติและสุขที่เกิดจากสมาธิอยู่ เพราะปีติจางคลายไปมีอุเบกขา มีสติ-
สัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า
“ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข” เพราะละสุขและทุกข์ได้แล้ว เพราะโสมนัสและโทมนัส
ดับไปก่อนแล้ว บรรลุจตุตถฌาน ที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่
นี้ชื่อว่าอธิจิตตสิกขา
อธิปัญญาสิกขา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาอันประเสริฐ
หยั่งถึงความเกิดและความดับ เพิกถอนกิเลส ให้บรรลุถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
เธอรู้ตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์”
เธอรู้ตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกขสมุทัย”
เธอรู้ตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกขนิโรธ”
เธอรู้ตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”
เธอรู้ตามความเป็นจริงว่า “เหล่านี้อาสวะ”
เธอรู้ตามความเป็นจริงว่า “นี้อาสวสมุทัย”
เธอรู้ตามความเป็นจริงว่า “นี้อาสวนิโรธ”
เธอรู้ตามความเป็นจริงว่า “นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา”
นี้ชื่อว่าอธิปัญญาสิกขา
คำว่า ภิกษุมีสติทุกเมื่อ พึงศึกษาเพื่อกำจัดตัณหาเหล่านั้น อธิบายว่า
ภิกษุพึงศึกษาทั้งอธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา คือ สิกขา ๓ เหล่านี้
เมื่อภิกษุนึกถึง ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อทราบ ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อเห็น ชื่อว่าพึงศึกษา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๔๑๗ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส
เมื่อพิจารณา ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่ออธิษฐานจิต ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อน้อมใจเชื่อด้วย
ศรัทธา ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อประคองความเพียร ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อตั้งสติ ชื่อว่า
พึงศึกษา เมื่อตั้งใจมั่น ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อรู้ชัดด้วยปัญญา ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อรู้ชัด
ธรรมที่ควรรู้ชัด ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ชื่อว่าพึงศึกษา
เมื่อละธรรมที่ควรละ ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อเจริญธรรมที่ควรเจริญ ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อ
ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ก็ชื่อว่าพึงศึกษา คือ พึงประพฤติเอื้อเฟื้อ ประพฤติ
เอื้อเฟื้อโดยชอบ สมาทานประพฤติ เพื่อกำจัด คือ บรรเทา ละ สงบ สลัดทิ้ง ระงับ
ตัณหาเหล่านั้น รวมความว่า ภิกษุมีสติทุกเมื่อ พึงศึกษาเพื่อกำจัดตัณหาเหล่านั้น
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า
ภิกษุพึงขจัดบาปธรรมทั้งปวง ที่เป็นรากเหง้า
ของส่วนแห่งธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้าและอัสมิมานะด้วยมันตา
ตัณหาอย่างใดอย่างหนึ่งที่เกิดในภายใน
ภิกษุมีสติทุกเมื่อ พึงศึกษาเพื่อกำจัดตัณหาเหล่านั้น
[๑๕๒] (พระผู้มีพระภาคตรัสต่อไปว่า)
ภิกษุพึงรู้คุณธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งในภายใน
หรือในภายนอก แต่ไม่ควรทำความดื้อรั้นเพราะคุณธรรมนั้น
เพราะการทำความดื้อรั้นนั้น
ผู้สงบทั้งหลายไม่กล่าวว่า เป็นความดับกิเลส
คำว่า ภิกษุพึงรู้คุณธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งในภายใน อธิบายว่า ภิกษุพึง
รู้คุณธรรมของตนอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ คุณธรรมฝ่ายกุศล หรือคุณธรรมฝ่าย
อัพยากฤต๑
คุณธรรมของตน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุเป็นผู้มีความเห็นว่า เราเป็นผู้ออกบวชจากตระกูลสูง ออกบวชจาก
ตระกูลใหญ่ ออกบวชจากตระกูลมีโภคทรัพย์มาก หรือออกบวชจากตระกูลมี

เชิงอรรถ :
๑ อัพยากฤต หมายถึงธรรมที่เป็นกลาง ๆ ไม่ดีไม่ชั่ว พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ หรือไม่ชี้ชัดลงไปว่า
ดีหรือชั่ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๔๑๘ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส
โภคทรัพย์ยิ่งใหญ่ เป็นผู้มีชื่อเสียงปรากฏ มียศกว่าคฤหัสถ์และบรรพชิต เป็นผู้มี
ปกติได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เป็นผู้ทรงจำ
พระสูตร เป็นผู้ทรงจำพระวินัย เป็นพระธรรมกถึก เป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้เที่ยว
บิณฑบาตเป็นวัตร เป็นผู้นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตตามลำดับ
ตรอกเป็นวัตร เป็นผู้งดฉันอาหารมื้อหลังเป็นวัตร เป็นผู้ถือการนั่งเป็นวัตร เป็นผู้
ถือการอยู่ในเสนาสนะตามที่เขาจัดให้เป็นวัตร เป็นผู้ได้ปฐมฌาน ได้ทุติยฌาน
ได้ตติยฌาน ได้จตุตถฌาน ได้อากาสานัญจายตนสมาบัติ ... ได้วิญญานัญจายตน-
สมาบัติ... ได้อากิญจัญญายตนสมาบัติ ... หรือ เป็นผู้ได้เนวสัญญานาสัญญายตน-
สมาบัติ เหล่านี้ ตรัสเรียกว่า คุณธรรมของตน ภิกษุพึงรู้ คือ รู้ทั่ว รู้แจ่มแจ้ง
รู้เฉพาะ แทงตลอดคุณธรรมของตนอย่างใดอย่างหนึ่ง รวมความว่า ภิกษุพึงรู้คุณ
ธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งในภายใน
คำว่า หรือในภายนอก อธิบายว่า คุณธรรมเหล่านั้น เป็นของอุปัชฌาย์ หรือ
อาจารย์ รวมความว่า ในภายในหรือในภายนอก
คำว่า แต่ไม่ควรทำความดื้อรั้นเพราะคุณธรรมนั้น อธิบายว่า ภิกษุไม่ควรทำ
ความดื้อรั้น คือ ไม่พึงทำความดื้อดึง ไม่พึงทำความถือตัว ไม่พึงทำความเย่อหยิ่ง
ไม่พึงทำความจองหอง เพราะคุณธรรมของตน หรือคุณธรรมของผู้อื่น ได้แก่ ไม่พึง
ให้มานะเกิด เพราะคุณธรรมนั้น ไม่พึงเป็นคนกระด้าง จองหอง หัวสูง เพราะคุณ
ธรรมนั้น รวมความว่า แต่ไม่ควรทำความดื้อรั้นเพราะคุณธรรมนั้น
คำว่า เพราะการทำความดื้อรั้นนั้น ผู้สงบทั้งหลายไม่กล่าวว่า เป็นความดับ
กิเลส อธิบายว่า การทำความดื้อรั้นนั้น ผู้สงบทั้งหลาย คือ ผู้สงบเย็น สัตบุรุษ
พระพุทธเจ้า สาวกของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า ไม่กล่าว คือ ไม่พูด ไม่บอก
ไม่แสดง ไม่บัญญัติ ไม่กำหนด ไม่เปิดเผย ไม่จำแนก ไม่ทำให้ง่าย ไม่ประกาศว่า
เป็นความดับกิเลส รวมความว่า เพราะการทำความดื้อรั้นนั้น ผู้สงบทั้งหลายไม่กล่าวว่า
เป็นความดับกิเลส ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
ภิกษุพึงรู้คุณธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งในภายใน
หรือในภายนอก แต่ไม่ควรทำความดื้อรั้นเพราะคุณธรรมนั้น
เพราะการทำความดื้อรั้นนั้น
ผู้สงบทั้งหลายไม่กล่าวว่า เป็นความดับกิเลส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๔๑๙ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส
[๑๕๓] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
ภิกษุไม่พึงสำคัญตนว่าเราเลิศกว่าเขา
เราด้อยกว่าเขา หรือว่าเราเสมอเขาเพราะคุณธรรมนั้น
เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยคุณธรรมเป็นอเนกแล้ว
ไม่พึงกำหนดตน ดำรงอยู่

ว่าด้วยมานะ
คำว่า ภิกษุไม่พึงสำคัญตนว่าเราเลิศกว่าเขา... เพราะคุณธรรมนั้น อธิบาย
ว่า ภิกษุไม่พึงให้ความดูหมิ่นเกิด เพราะชาติ โคตร ความเป็นบุตรของผู้มีตระกูล
ความเป็นผู้มีรูปงาม ทรัพย์ การศึกษา หน้าที่การงาน หลักแห่งศิลปวิทยา วิทยฐานะ
ความคงแก่เรียน ปฏิภาณ หรือสิ่งอื่นนอกจากที่กล่าวแล้วว่า เราเลิศกว่าเขา รวม
ความว่า ภิกษุไม่พึงสำคัญตนว่าเราเลิศกว่าเขา ... เพราะคุณธรรมนั้น
คำว่า เราด้อยกว่าเขา หรือว่าเราเสมอเขา อธิบายว่า ภิกษุไม่พึงให้ความถือ
ตัวต่ำเกิดเพราะชาติ โคตร... หรือสิ่งอื่นนอกจากที่กล่าวแล้วว่า “เราด้อยกว่าเขา”
ไม่พึงให้ความถือตัวเกิดเพราะชาติ โคตร ความเป็นบุตรของผู้มีตระกูล ความเป็น
ผู้มีรูปงาม ทรัพย์ การศึกษา หน้าที่การงาน หลักแห่งศิลปวิทยา วิทยฐานะ
ความคงแก่เรียน ปฏิภาณ หรือสิ่งอื่นนอกจากที่กล่าวแล้วว่า “เราเสมอเขา”
รวมความว่า เราด้อยกว่าเขา หรือว่าเราเสมอเขา
คำว่า เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยคุณธรรมเป็นอเนกแล้ว อธิบายว่า เป็นผู้
เพียบพร้อม คือ ห้อมล้อม พรั่งพร้อม ประกอบพร้อมแล้วด้วยอาการหลายอย่าง
รวมความว่า เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยคุณธรรมเป็นอเนกแล้ว
คำว่า ไม่พึงกำหนดตน ดำรงอยู่ อธิบายว่า อัตตา ตรัสเรียกว่า ตน ไม่พึง
กำหนด คือ กำหนดวิเศษ ถึงความกำหนดตน ดำรงอยู่ รวมความว่า ก็ไม่พึง
กำหนดตน ดำรงอยู่ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๔๒๐ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส
ภิกษุไม่พึงสำคัญตนว่าเราเลิศกว่าเขา
เราด้อยกว่าเขา หรือว่าเราเสมอเขาเพราะคุณธรรมนั้น
เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยคุณธรรมเป็นอเนกแล้ว
ไม่พึงกำหนดตน ดำรงอยู่
[๑๕๔] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
ภิกษุพึงสงบกิเลสภายในนั่นเอง
ไม่พึงแสวงหาความสงบโดยทางอื่น
เมื่อภิกษุสงบกิเลสภายในได้แล้ว
ความเห็นว่ามีตน หรือความเห็นว่าไม่มีตน ก็ไม่มีแต่ที่ไหน ๆ
คำว่า พึงสงบกิเลสภายในนั่นเอง อธิบายว่า ภิกษุพึงสงบราคะ พึงสงบโทสะ
พึงสงบโมหะภายใน... พึงสงบ คือ เข้าไปสงบ สงบเย็น ดับ ระงับโกธะ... อุปนาหะ...
มักขะ... ปฬาสะ... อิสสา... มัจฉริยะ... มายา... สาเถยยะ... ถัมภะ... สารัมภะ..
มานะ... อติมานะ... มทะ... ปมาทะ... กิเลสทุกชนิด... ทุจริตทุกทาง... ความ
กระวนกระวายทุกอย่าง... ความเร่าร้อนทุกสถาน... ความเดือนร้อนทุกประการ...
อกุสลาภิสังขารทุกประเภทภายใน รวมความว่า พึงสงบกิเลสภายในนั่นเอง
คำว่า ภิกษุ... ไม่พึงแสวงหาความสงบโดยทางอื่น อธิบายว่า ไม่พึง
แสวงหา คือ ไม่พึงค้นหา ไม่พึงเสาะหาความสงบ คือ ความเข้าไปสงบ ความ
สงบเย็น ความดับ ความระงับไปโดยทางอื่น คือ โดยมรรคที่ไม่หมดจด ปฏิปทา
ที่ผิด หนทางที่มิใช่ทางออกจากทุกข์ นอกจากสติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท
อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ อริยมรรคมีองค์ ๘ รวมความว่า ภิกษุ...ไม่พึงแสวงหา
ความสงบโดยทางอื่น
คำว่า เมื่อภิกษุสงบกิเลสภายในได้แล้ว อธิบายว่า เมื่อภิกษุสงบราคะ
สงบโทสะ สงบโมหะภายใน... เมื่อภิกษุสงบ คือ เข้าไปสงบ สงบเย็น ดับ ระงับ
อกุสลาภิสังขารทุกประเภทภายในได้แล้ว รวมความว่า เมื่อภิกษุสงบกิเลสภายใน
ได้แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๔๒๑ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส
คำว่า ไม่มี ในคำว่า ความเห็นว่ามีตน หรือความเห็นว่าไม่มีตน ก็ไม่มี
แต่ที่ไหน ๆ เป็นคำปฏิเสธ
คำว่า ความเห็นว่ามีตน (ไม่มี) ได้แก่ ความเห็นว่าเที่ยงไม่มี
คำว่า ความเห็นว่าไม่มีตน (ไม่มี) ได้แก่ ความเห็นว่าขาดสูญไม่มี
คำว่า ความเห็นว่ามีตน (ไม่มี) ได้แก่ สิ่งที่ถือไม่มี
คำว่า ความเห็นว่าไม่มีตน (ไม่มี) ได้แก่ สิ่งที่ควรปล่อยไม่มี
ผู้ใด ไม่มีสิ่งที่ถือไว้ ผู้นั้นก็ไม่มีสิ่งที่ควรปล่อย ผู้ใดมีสิ่งที่ควรปล่อย ผู้นั้นก็
มีสิ่งที่ถือไว้ พระอรหันต์ก้าวพ้นการถือและการปล่อย ล่วงพ้นความเจริญและความ
เสื่อมได้แล้ว พระอรหันต์นั้น อยู่ใน(อริยวาสธรรม)แล้ว ประพฤติจรณธรรมแล้ว๑ ...
และภพใหม่ก็ไม่มีอีก รวมความว่า ความเห็นว่ามีตน หรือความเห็นว่าไม่มีตน ก็ไม่
มีแต่ที่ไหน ๆ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
ภิกษุพึงสงบกิเลสภายในนั่นเอง
ไม่พึงแสวงหาความสงบโดยทางอื่น
เมื่อภิกษุสงบกิเลสภายในได้แล้ว
ความเห็นว่ามีตน หรือความเห็นว่าไม่มีตน ก็ไม่มีแต่ที่ไหน ๆ
[๑๕๕] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
คลื่นไม่เกิดในส่วนกลางทะเล ทะเลเรียบอยู่ ฉันใด
ภิกษุพึงเป็นผู้มั่นคง ไม่หวั่นไหว ฉันนั้น
ภิกษุไม่พึงก่อกิเลสเครื่องฟูใจในที่ไหน ๆ
คำว่า คลื่นไม่เกิดในส่วนกลางทะเล ทะเลเรียบอยู่ ฉันใด อธิบายว่า โดย
ส่วนลึก ทะเลลึก ๘๔,๐๐๐ โยชน์ น้ำส่วนล่าง ๔๐,๐๐๐ โยชน์ ย่อมกระเพื่อม
ด้วยฝูงปลาและเต่า น้ำส่วนบน ๔๐,๐๐๐ โยชน์ ก็กระเพื่อมด้วยลม น้ำส่วนกลาง
๔๐,๐๐๐ โยชน์ ไม่กระเพื่อม ไม่สั่นสะเทือน ไม่เคลื่อนไหว ไม่หวั่นไหว ไม่สั่นไหว
ไม่ปั่นป่วนเลย คือ เป็นทะเล ไม่หวั่นไหว ไม่กระฉอก ไม่เคลื่อนไหว ไม่กระเพื่อม
ไม่หมุนวน สงบ คลื่นไม่เกิดกลางทะเลนั้น ทะเลก็เรียบอยู่ รวมความว่า คลื่นไม่เกิด
ในส่วนกลางทะเล ทะเลเรียบอยู่ ฉันใด อย่างนี้บ้าง

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๖/๒๖-๒๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๔๒๒ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส
อีกนัยหนึ่ง ทะเลสีทันดรอยู่ระหว่างภูเขา ๗ ลูก น้ำในทะเลสีทันดรนั้น ไม่
กระเพื่อม ไม่สั่นสะเทือน ไม่เคลื่อนไหว ไม่หวั่นไหว ไม่สั่นไหว ไม่ปั่นป่วนเลย คือ
เป็นทะเล ไม่หวั่นไหว ไม่กระฉอก ไม่เคลื่อนไหว ไม่กระเพื่อม ไม่หมุนวน สงบ
คลื่นไม่เกิดในทะเลสีทันดรนั้น ทะเลก็เรียบอยู่ รวมความว่า คลื่นไม่เกิดในส่วนกลางทะเล
ทะเลเรียบอยู่ ฉันใด อย่างนี้บ้าง
คำว่า ฉันนั้น ในคำว่า ภิกษุพึงเป็นผู้มั่นคง ไม่หวั่นไหว ฉันนั้น เป็น
คำอุปไมยทำอุปมาให้สมบูรณ์
คำว่า พึงเป็นผู้มั่นคง อธิบายว่า ภิกษุนั้นไม่หวั่นไหว คือ ไม่สะเทือน ไม่
เคลื่อนไหว ไม่สะท้าน ไม่สั่นสะท้าน ไม่สะทกสะท้าน เพราะได้ลาภ เพราะเสื่อมลาภ
บ้าง เพราะได้ยศ เพราะเสื่อมยศบ้าง เพราะสรรเสริญ เพราะนินทาบ้าง เพราะสุข
เพราะทุกข์บ้าง รวมความว่า พึงเป็นผู้มั่นคง... ฉันนั้น
คำว่า ไม่หวั่นไหว อธิบายว่า ตัณหาตรัสเรียกว่า ความหวั่นไหว คือ ความ
กำหนัด ความกำหนัดนัก... อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ
ตัณหาที่ตรัสเรียกว่า ความหวั่นไหวนี้ ภิกษุใดละได้แล้ว คือ ตัดขาดได้แล้ว
ถอนได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณ
แล้ว ภิกษุนั้น ตรัสเรียกว่า ผู้ไม่มีตัณหาเป็นเหตุหวั่นไหว
เพราะเป็นผู้ละความหวั่นไหวได้แล้ว จึงชื่อว่าไม่หวั่นไหว ภิกษุนั้นย่อมไม่
หวั่นไหว คือ ไม่สะเทือน ไม่เคลื่อนไหว ไม่สะท้าน ไม่สั่นสะท้าน ไม่สะทกสะท้าน
เพราะได้ลาภ เพราะเสื่อมลาภบ้าง เพราะได้ยศ เพราะเสื่อมยศบ้าง เพราะสรรเสริญ
เพราะนินทาบ้าง เพราะสุข เพราะทุกข์บ้าง รวมความว่า ภิกษุพึงเป็นผู้มั่นคง ไม่
หวั่นไหว ฉันนั้น

ว่าด้วยกิเลสเครื่องฟูใจ ๗ อย่าง
คำว่า กิเลสเครื่องฟูใจ ในคำว่า ภิกษุไม่พึงก่อกิเลสเครื่องฟูใจ ในที่
ไหน ๆ ได้แก่ กิเลสเครื่องฟูใจ ๗ อย่าง คือ
๑. กิเลสเครื่องฟูใจคือราคะ ๒. กิเลสเครื่องฟูใจคือโทสะ
๓. กิเลสเครื่องฟูใจคือโมหะ ๔. กิเลสเครื่องฟูใจคือมานะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๔๒๓ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส
๕. กิเลสเครื่องฟูใจคือทิฏฐิ ๖. กิเลสเครื่องฟูใจคือกิเลส
๗. กิเลสเครื่องฟูใจคือกรรม
ภิกษุไม่พึงก่อกิเลสเครื่องฟูใจนั้น คือ ไม่พึงให้เกิด ไม่พึงให้เกิดขึ้น ไม่พึงให้
บังเกิด ไม่พึงให้บังเกิดขึ้น
คำว่า ในที่ไหน ๆ ได้แก่ ในที่ไหน คือ ที่ไหน ๆ ที่ไร ๆ ภายใน ภายนอก
หรือทั้งภายในและภายนอก รวมความว่า ภิกษุไม่พึงก่อกิเลสเครื่องฟูใจ ในที่ไหน ๆ
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
คลื่นไม่เกิดในส่วนกลางทะเล ทะเลเรียบอยู่ ฉันใด
ภิกษุพึงเป็นผู้มั่นคง ไม่หวั่นไหว ฉันนั้น
ภิกษุไม่พึงก่อกิเลสเครื่องฟูใจในที่ไหน ๆ
[๑๕๖] (พระพุทธเนรมิตทูลถามว่า)
พระผู้มีพระภาค ผู้มีพระจักษุแจ่มแจ้ง
ได้ทรงแสดงธรรมที่เป็นพยาน อันเป็นเครื่องกำจัดอันตราย
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปฏิปทา
คือปาติโมกข์ หรือแม้สมาธิ
คำว่า ได้ทรงแสดง ในคำว่า พระผู้มีพระภาค ผู้มีพระจักษุแจ่มแจ้ง
ได้ทรงแสดง ได้แก่ ได้ทรงแสดง คือ ได้ทรงชี้แจง ตรัสบอก แสดง บัญญัติ
กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศ รวมความว่า ได้ทรงแสดง

ว่าด้วยพระจักษุ ๕ ชนิด
คำว่า ผู้มีพระจักษุแจ่มแจ้ง อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคมีพระจักษุแจ่มแจ้ง
ด้วยพระจักษุ ๕ ชนิด คือ
๑. มีพระจักษุแจ่มแจ้งด้วยมังสจักขุบ้าง
๒. มีพระจักษุแจ่มแจ้งด้วยทิพพจักขุบ้าง
๓. มีพระจักษุแจ่มแจ้งด้วยปัญญาจักขุบ้าง
๔. มีพระจักษุแจ่มแจ้งด้วยพุทธจักขุบ้าง
๕. มีพระจักษุแจ่มแจ้งด้วยสมันตจักขุบ้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๔๒๔ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส
พระผู้มีพระภาคมีพระจักษุแจ่มแจ้งด้วยมังสจักขุ เป็นอย่างไร
คือ ในพระมังสจักขุของพระผู้มีพระภาค มีสีอยู่ ๕ สี คือ (๑) สีเขียว
(๒) สีเหลือง (๓) สีแดง (๔) สีดำ (๕) สีขาว ณ ที่ที่มีขนพระเนตรขึ้น มีสีเขียว
เขียวสนิท น่าชม น่าดู ดุจดอกผักตบ ต่อจากนั้น ก็เป็นสีเหลือง เหลืองสนิท
สีเหมือนทองคำ น่าชม น่าดู ดุจดอกกรรณิการ์ เบ้าพระเนตรทั้งสองข้างของ
พระผู้มีพระภาคมีสีแดง แดงสนิท น่าชม น่าดู ดุจสีปีกแมลงทับ กลางดวงพระเนตร
มีสีดำ ดำเข้ม ไม่เศร้าหมอง สนิท น่าชม น่าดู ดุจสีสมอดำ ต่อจากนั้น เป็นสีขาว
ขาวสนิท เปล่งปลั่ง ขาวนวล น่าชม น่าดู ดุจสีดาวประกายพฤกษ์ พระผู้มีพระภาค
มีพระมังสจักขุนั้นอยู่โดยปกติ เนื่องในพระอัตภาพ เกิดด้วยสุจริตกรรมที่ทรง
สั่งสมมาในภพก่อน ทรงมองเห็นตลอด ๑ โยชน์โดยรอบ ทั้งกลางวันและกลางคืน
แม้ในเวลาที่มีความมืดประกอบด้วยองค์ ๔ คือ (๑) ดวงอาทิตย์ตกไปแล้ว (๒) เป็น
วันอุโบสถข้างแรม (๓) ป่าชัฏรกทึบ (๔) มีเมฆก้อนใหญ่ผุดขึ้นมา ในความมืดที่
ประกอบด้วยองค์ ๔ อย่างนี้ พระองค์ก็ทรงมองเห็นได้ตลอด ๑ โยชน์โดยรอบ ไม่
มีหลุม บานประตู กำแพง ภูเขา กอไม้ หรือเถาวัลย์มาปิดกั้นการเห็นรูปทั้งหลายได้
หากบุคคลเอางาเมล็ดเดียวทำเครื่องหมาย แล้วใส่ลงในเกวียนบรรทุกงา พระผู้มี-
พระภาคก็ทรงสามารถหยิบเอาเมล็ดงานั้นขึ้นมาได้ พระมังสจักขุตามปกติของพระผู้
มีพระภาค บริสุทธิ์อย่างนี้ พระผู้มีพระภาค ชื่อว่ามีพระจักษุแจ่มแจ้งด้วยมังสจักขุ
เป็นอย่างนี้
พระผู้มีพระภาคมีพระจักษุแจ่มแจ้งด้วยทิพพจักขุ เป็นอย่างไร
คือ พระผู้มีพระภาคทรงเห็นหมู่สัตว์ ซึ่งกำลังจุติ กำลังอุบัติ เลว ประณีต
ผิวพรรณดี ผิวพรรณทราม ไปดี ตกยาก ด้วยทิพพจักขุอันหมดจดล่วงจักษุมนุษย์
ทรงทราบหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า “สัตว์เหล่านี้แหละหนอ ประกอบด้วยกาย-
ทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยะ เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วย
อำนาจมิจฉาทิฏฐิ หลังจากตายแล้ว สัตว์เหล่านั้นก็เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
แต่สัตว์เหล่านี้ประกอบกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยะ เป็น
สัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ หลังจากตายแล้ว สัตว์เหล่านั้น
ก็เข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์” พระผู้มีพระภาคทรงเห็นหมู่สัตว์ ซึ่งกำลังจุติ กำลังอุบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๔๒๕ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส
เลว ประณีต ผิวพรรณดี ผิวพรรณทราม ไปดี ตกยาก ด้วยทิพพจักขุ อันหมดจด
ล่วงจักษุมนุษย์ ทรงทราบหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม และพระผู้มีพระภาคเมื่อทรง
ประสงค์ พึงทรงเห็นได้แม้ ๑ โลกธาตุ... แม้ ๒ โลกธาตุ... แม้ ๓ โลกธาตุ... แม้ ๔
โลกธาตุ... แม้ ๕ โลกธาตุ... แม้ ๑๐ โลกธาตุ... แม้ ๒๐ โลกธาตุ... แม้ ๓๐ โลกธาตุ...
แม้ ๔๐ โลกธาตุ... แม้ ๕๐ โลกธาตุ... แม้ ๑๐๐ โลกธาตุ... โลกธาตุขนาดเล็ก
ประกอบด้วย ๑,๐๐๐ จักรวาล... โลกธาตุขนาดกลางประกอบด้วย ๒,๐๐๐ จักรวาล...
โลกธาตุขนาดใหญ่ประกอบด้วย ๓,๐๐๐ จักรวาล... แม้โลกธาตุที่ประกอบด้วยหลาย
พันจักรวาล พระผู้มีพระภาคทรงประสงค์เพียงใด ก็พึงทรงเห็นได้เพียงนั้น ทิพพจักขุ
ของพระผู้มีพระภาคบริสุทธิ์อย่างนี้ พระผู้มีพระภาค ชื่อว่ามีพระจักษุแจ่มแจ้งด้วย
ทิพพจักขุ เป็นอย่างนี้
พระผู้มีพระภาคมีพระจักษุแจ่มแจ้งด้วยปัญญาจักขุ เป็นอย่างไร
คือ พระผู้มีพระภาคผู้มีพระปัญญามาก มีพระปัญญากว้างขวาง มีพระ
ปัญญาอาจหาญ มีพระปัญญาฉับไว มีพระปัญญาเฉียบคม มีพระปัญญาเพิกถอน
กิเลสได้ ทรงฉลาดในประเภทแห่งปัญญา มีพระญาณแตกฉาน ทรงบรรลุปฏิสัมภิทา
ทรงบรรลุเวสารัชชญาณ ๔ เป็นผู้ทรงทสพลญาณ ทรงเป็นบุรุษองอาจ ทรงเป็น
บุรุษดุจราชสีห์ ทรงเป็นบุรุษดุจนาค ทรงเป็นบุรุษอาชาไนย ทรงเป็นบุรุษผู้เอาธุระ
มีพระญาณหาที่สุดมิได้ มีพระเดชหาที่สุดมิได้ มีพระยศหาที่สุดมิได้ ทรงมั่งคั่ง
มีทรัพย์มาก ทรงมีปัญญาเป็นทรัพย์ ทรงเป็นผู้นำ เป็นผู้นำไปโดยวิเศษ เป็นผู้ตาม
แนะนำ ทรงให้รู้จักประโยชน์ ให้พินิจพิจารณา ทรงเพ่งประโยชน์ ทรงทำให้เลื่อมใสได้
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงทำมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ทรงทำมรรคที่ยังไม่
เกิดพร้อมให้เกิดพร้อม ตรัสบอกมรรคที่ยังมิได้ตรัสบอก ทรงรู้จักมรรค ทรงรู้แจ้ง
มรรค ทรงฉลาดในมรรค และสาวกของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ดำเนินไปตาม
มรรคอยู่ในบัดนี้ จะเพียบพร้อมด้วยศีลาทิคุณในภายหลัง
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงรู้ธรรมที่ควรรู้ ทรงเห็นธรรมที่ควรเห็น
มีพระจักษุ มีพระธรรม มีพระญาณ เป็นดุจพระพรหม ตรัส บอก นำความหมาย
ออกมา ประทานอมตธรรม เป็นพระธรรมสามี เป็นพระตถาคต ไม่มีสิ่งที่พระผู้มี-
พระภาคพระองค์นั้นยังไม่ทรงทราบ ไม่ทรงเห็น ไม่ทรงรู้แจ้ง ไม่ทรงทำให้แจ้ง มิได้
ทรงถูกต้องด้วยปัญญา ธรรมทั้งปวงรวมทั้งอดีต อนาคต และปัจจุบัน ย่อมมาสู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๔๒๖ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส
คลองเฉพาะพระญาณของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า โดยอาการทั้งปวง ธรรมดา
ประโยชน์ที่ควรแนะนำอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นธรรมที่ควรรู้มีอยู่ คือ ประโยชน์ตน
ประโยชน์ผู้อื่น หรือประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ประโยชน์ในภพปัจจุบันหรือประโยชน์
ในภพหน้า ประโยชน์ตื้นหรือประโยชน์ลึก ประโยชน์ลี้ลับหรือประโยชน์ปิดบัง
ประโยชน์ที่ควรแนะนำหรือประโยชน์ที่แนะนำแล้ว ประโยชน์ที่ไม่มีโทษหรือประโยชน์
ที่ไม่มีกิเลส ประโยชน์ที่ผ่องแผ้วหรือประโยชน์อย่างยิ่ง ประโยชน์ทั้งหมดนั้นย่อม
เป็นไปภายในพระพุทธญาณ
พระญาณของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ไม่ติดขัดในอดีต อนาคต ปัจจุบัน
กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมทุกอย่าง ย่อมเป็นไปตามพระญาณของพระ
ผู้มีพระภาคพุทธเจ้า บทธรรมที่ควรแนะนำมีอยู่เพียงใด พระญาณก็มีเพียงนั้น
พระญาณมีอยู่เพียงใด บทธรรมที่ควรแนะนำก็มีเพียงนั้น พระญาณย่อมมีบทธรรม
ที่ควรแนะนำเป็นส่วนสุดรอบ บทธรรมที่ควรแนะนำก็ย่อมมีพระญาณเป็นส่วน
สุดรอบ พระญาณย่อมไม่เป็นไปเกินบทธรรมที่ควรแนะนำ ทางแห่งบทธรรมที่ควร
แนะนำก็มีอยู่ไม่เกินกว่าพระญาณ ธรรมเหล่านั้น ตั้งอยู่ในส่วนสุดรอบของกัน
และกัน เหมือนชั้นแห่งผอบ ๒ ชั้นทับกันสนิทพอดี ชั้นผอบด้านล่างก็ไม่เกิน
ด้านบน ชั้นผอบด้านบนก็ไม่เกินด้านล่าง ชั้นผอบทั้ง ๒ ชั้นย่อมวางประกบกันที่
ส่วนสุดโดยรอบของกันและกันฉันใด บทธรรมที่ควรแนะนำ และพระญาณของพระ
ผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ก็ตั้งอยู่ในส่วนสุดรอบของกันและกันฉันนั้นเหมือนกัน บท
ธรรมที่ควรแนะนำมีอยู่เพียงใด พระญาณก็มีเพียงนั้น พระญาณมีอยู่เพียงใด
บทธรรมที่ควรแนะนำก็มีเพียงนั้น พระญาณย่อมมีบทธรรมที่ควรแนะนำเป็นส่วน
สุดรอบ บทธรรมที่ควรแนะนำก็ย่อมมีพระญาณเป็นส่วนสุดรอบ พระญาณย่อมไม่
เป็นไปเกินกว่าบทธรรมที่ควรแนะนำ ทางแห่งบทธรรมที่ควรแนะนำก็มีอยู่ไม่เกิน
กว่าพระญาณ ธรรมเหล่านั้น ย่อมตั้งอยู่ในส่วนสุดรอบของกันและกัน พระญาณ
ของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ย่อมเป็นไปในธรรมทั้งปวง
ธรรมทั้งปวงนับเนื่องด้วยความนึก นับเนื่องด้วยความหวัง นับเนื่องด้วย
มนสิการ นับเนื่องด้วยจิตตุปบาทของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า พระญาณของ
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าย่อมเป็นไปในสัตว์ทั้งปวง พระผู้มีพระภาคทรงทราบอัธยาศัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๔๒๗ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส
อนุสัย จริต อธิมุตติของเหล่าสัตว์ทุกจำพวก ทรงรู้จักเหล่าสัตว์ผู้มีกิเลสดุจธุลีน้อย
ในปัญญาจักขุ มีกิเลสดุจธุลีมากในปัญญาจักขุ มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน
มีอาการดี มีอาการทราม ผู้ที่แนะนำให้รู้ได้ง่าย ผู้ที่แนะนำให้รู้ได้ยาก เป็นภัพพสัตว์
(ผู้สมควรบรรลุธรรม) เป็นอภัพพสัตว์ (ผู้ไม่สมควรบรรลุธรรม) โลกพร้อมทั้ง
เทวโลก๑ มารโลก๒ พรหมโลก๓ หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์
ย่อมเป็นไปภายในพระพุทธญาณ

เชิงอรรถ :
๑ เทวโลก ดูเชิงอรรถข้อ ๗/๓๖
๒ มารโลก โลกคือมาร สิ่งที่ฆ่าบุคคลให้ตายจากความดีหรือจากที่หมายอันประเสริฐ สิ่งที่ล้างผลาญ
คุณความดีในโลกมี ๕ ได้แก่
(๑) กิเลสมาร มารคือกิเลส กิเลสเป็นมาร เพราะเป็นตัวกำจัดขัดขวางความดี ทำให้สัตว์ประสบความ
พินาศทั้งในปัจจุบันและอนาคต
(๒) ขันธมาร มารคือเบญจขันธ์ หรือขันธ์ ๕ เป็นมาร เพราะเป็นสภาพอันปัจจัยปรุงแต่ง มีความขัดแย้ง
กันเองอยู่ภายใน ไม่มั่นคง เป็นภาระในการบริหาร ทั้งแปรปรวนเสื่อมโทรมไปเพราะชราพยาธิเป็นต้น
(๓) อภิสังขารมาร มารคืออภิสังขาร อภิสังขารเป็นมาร เพราะเป็นตัวปรุงแต่งกรรม นำให้เกิดชาติ ชรา
เป็นต้น ขัดขวางมิให้หลุดพ้นไปจากสังสารทุกข์
(๔) เทวปุตตมาร มารคือเทพบุตร เทพยิ่งใหญ่ระดับสูงสุดชั้นกามาวจรตนหนึ่ง คอยขัดขวางเหนี่ยวรั้ง
บุคคลไว้มิให้ล่วงพ้นจากอำนาจครอบงำของตน โดยชักให้พะวงในกามสุขไม่หาญเสียสละออกไป
(๕) มัจจุมาร มารคือความตาย ความตายเป็นมาร เพราะเป็นตัวตัดโอกาสที่จะก้าวหน้าต่อไปในคุณ
ความดีทั้งหลาย (วิสุทธิ.มหาฏีกา ๑/๑๔๔/๓๐๒)
๓ พรหมโลก โลกคือหมู่พรหม สวรรค์ชั้นพรหม ชั้นรูปพรหม ๑๖ ชั้น
ก. ปฐมฌานภูมิ ๓ (ระดับปฐมฌาน) ได้แก่ (๑) พรหมปาริสัชชา พวกบริษัทบริวารมหาพรหม
(๒) พรหมปุโรหิตา พวกปุโรหิตมหาพรหม (๓) มหาพรหมา พวกท้าวมหาพรหม
ข. ทุติยฌานภูมิ ๓ (ระดับทุติยฌาน) (๔) ปริตตาภา พวกมีรัศมีน้อย (๕) อัปปมาณาภา พวกมีรัศมี
ประมาณไม่ได้ (๖) อาภัสสรา พวกมีรัศมีสุกปลั่งซ่านไป
ค. ตติยฌานภูมิ ๓ (ระดับตติยฌาน) (๗) ปริตตสุภา พวกมีลำรัศมีงามน้อย (๘) อัปปมาณสุภา พวกมี
ลำรัศมีงามประมาณมิได้ (๙) สุภกิณหา พวกมีลำรัศมีงามกระจ่างจ้า
ง. จตุตถฌานภูมิ ๓-๗ (ระดับจตุตถฌาน) (๑๐) เวหัปผลา พวกมีผลไพบูลย์ (๑๑) อสัญญีสัตว์
พวกสัตว์ไม่มีสัญญา
สุทธาวาส ๕ (พวกมีที่อยู่อันบริสุทธิ์ หรือ ที่อยู่ของท่านผู้บริสุทธิ์ คือที่เกิดของพระอนาคามี)
(๑๒) อวิหา เหล่าท่านผู้ไม่เสื่อมจากสมบัติของตน ผู้คงอยู่นาน
(๑๓) อตัปปา เหล่าท่านผู้ไม่ทำความเดือดร้อนแก่ใคร หรือผู้ไม่เดือดร้อนกับใคร
(๑๔) สุทัสสา เหล่าท่านผู้งดงามน่าทัศนา
(๑๕) สุทัสสี เหล่าท่านผู้มองเห็นชัดเจนดี หรือผู้มีทัศนาแจ่มชัด
(๑๖) อกนิฏฐา เหล่าท่านผู้ไม่มีความด้อยหรือเล็กน้อยกว่าใคร ผู้สูงสุด (อภิ.วิ.(แปล) ๓๕/๑๐๒๔-๑๐๒๖/
๖๗๑-๖๗๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๔๒๘ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส
ปลาและเต่าชนิดใดชนิดหนึ่ง รวมทั้งปลาติมิ ปลาติมิงคละและปลาติมิติ-
มิงคละ๑ ย่อมเป็นไปอยู่ภายในมหาสมุทร ฉันใด โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก
พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ย่อมเป็นไปภายใน
พระญาณของพระพุทธเจ้า ฉันนั้นเหมือนกัน นกชนิดใดชนิดหนึ่ง รวมทั้งครุฑนาม
ว่าเวนไตย ย่อมบินไปในห้วงแห่งอากาศ ฉันใด พระพุทธสาวกทั้งหลาย ผู้เสมอกับ
พระสารีบุตรด้วยปัญญา ย่อมเป็นไปในส่วนแห่งพระพุทธญาณ ฉันนั้นเหมือนกัน
พระพุทธญาณย่อมแผ่ครอบคลุมปัญญาของเทวดาและมนุษย์อยู่
เหล่าบัณฑิตผู้เป็นกษัตริย์ เป็นพราหมณ์ เป็นคหบดี เป็นสมณะ ผู้มีปัญญา
ละเอียด รู้วาทะของผู้อื่น เหมือนนายขมังธนูสามารถยิงเนื้อทรายได้ ดุจจะเที่ยวทำ
ลายทิฏฐิของผู้อื่นด้วยปัญญาตน บัณฑิตเหล่านั้นพากันปรุงแต่งปัญหา ย่อมเข้าไป
เฝ้าพระตถาคต ทูลถามปัญหาที่ลี้ลับและปิดบัง ปัญหาเหล่านั้น ที่พระผู้มีพระภาค
ทรงซักไซ้และตรัสแก้แล้ว เป็นปัญหามีเหตุให้ทรงแสดง บัณฑิตเหล่านั้นถูกดึงดูด
ด้วยการวิสัชนาปัญหา จึงเลื่อมใสพระผู้มีพระภาค โดยที่แท้พระผู้มีพระภาคย่อม
ทรงรุ่งเรืองยิ่งด้วยพระปัญญาในหมู่คนเหล่านั้น พระผู้มีพระภาค ชื่อว่ามีพระจักษุ
แจ่มแจ้งด้วยปัญญาจักขุ เป็นอย่างนี้
พระผู้มีพระภาคมีพระจักษุแจ่มแจ้งด้วยพุทธจักขุ เป็นอย่างไร
คือ พระผู้มีพระภาคเมื่อทรงตรวจดูสัตว์โลกด้วยพุทธจักขุ ได้ทรงเห็นสัตว์
ทั้งหลาย ผู้มีกิเลสดุจธุลีน้อยในปัญญาจักขุ ผู้มีกิเลสดุจธุลีมากในปัญญาจักขุ
มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการทราม ผู้ที่แนะนำให้รู้ได้ง่าย
ผู้ที่แนะนำให้รู้ได้ยาก บางพวกเป็นผู้เห็นโทษและภัยในปรโลกอยู่ก็มี บางพวกเป็น
ผู้ไม่เห็นโทษและภัยในปรโลกอยู่ก็มี เหมือนในกอบัวเขียว ในกอบัวแดง หรือในกอ
บัวขาว ดอกบัวเขียว ดอกบัวแดง หรือดอกบัวขาว บางเหล่าเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ
ขึ้นตามน้ำ จมอยู่ในน้ำและน้ำหล่อเลี้ยงไว้ ดอกบัวเขียว ดอกบัวแดง หรือดอก
บัวขาว บางเหล่าเกิดในน้ำ เจริญในน้ำตั้งอยู่เสมอผิวน้ำ ดอกบัวเขียว ดอกบัวแดง
หรือดอกบัวขาว บางเหล่าเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ โผล่ขึ้นพ้นระดับน้ำ น้ำไม่ติดเปื้อน

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถข้อ ๖๙/๒๑๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๔๒๙ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส
อยู่เลย ฉันใด พระผู้มีพระภาค เมื่อทรงตรวจดูสัตว์โลกด้วยพุทธจักขุ ได้ทรงเห็นสัตว์
ทั้งหลายผู้มีกิเลสดุจธุลีน้อยในปัญญาจักขุ ผู้มีกิเลสดุจธุลีมากในปัญญาจักขุ
มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการทราม ผู้ที่แนะนำให้รู้ได้ง่าย
ผู้ที่แนะนำให้รู้ได้ยาก บางพวกเป็นผู้เห็นโทษและภัยในปรโลกอยู่ก็มี บางพวกเป็นผู้
ไม่เห็นโทษและภัยในปรโลกอยู่ก็มี ฉันนั้นเหมือนกัน พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า
“บุคคลนี้มีราคจริต บุคคลนี้มีโทสจริต บุคคลนี้มีโมหจริต บุคคลนี้มีวิตกจริต
บุคคลนี้มีสัทธาจริต บุคคลนี้มีญาณจริต” พระผู้มีพระภาคย่อมตรัสอสุภกถาแก่
บุคคลราคจริต ตรัสการเจริญเมตตาแก่บุคคลโทสจริต ย่อมทรงแนะนำบุคคล
โมหจริตให้ดำรงอยู่ในการเล่าเรียน การไต่ถาม การฟังธรรมตามกาล การสนทนา
ธรรมตามกาล การอยู่ร่วมกับครู ย่อมตรัสอานาปานสติแก่บุคคลวิตกจริต ตรัสบอก
นิมิตที่น่าเลื่อมใส ความตรัสรู้ชอบของพระพุทธเจ้า ความเป็นธรรมดีแห่งพระธรรม
การปฏิบัติชอบของพระสงฆ์ และศีลของตนแก่บุคคลสัทธาจริต ย่อมตรัสนิมิตแห่ง
วิปัสสนา มีอาการไม่เที่ยง มีอาการเป็นทุกข์ มีอาการเป็นอนัตตาแก่บุคคลญาณจริต
(สมจริงดังคาถาประพันธ์ว่า)
ข้าแต่พระองค์ผู้มีปัญญาดี มีสมันตจักขุ
บุรุษผู้ยืนอยู่บนยอดภูเขาศิลาล้วน
พึงเห็นหมู่ชนได้โดยรอบ แม้ฉันใด
พระองค์ผู้หมดความโศกแล้ว
โปรดเสด็จขึ้นสู่ปราสาทคือธรรม
จักได้เห็นหมู่ชนผู้ตกอยู่ในความเศร้าโศก
และถูกชาติชราครอบงำได้ชัดเจน ฉันนั้น๑
พระผู้มีพระภาค ชื่อว่ามีพระจักษุแจ่มแจ้งด้วยพุทธจักขุ เป็นอย่างนี้
พระผู้มีพระภาคมีพระจักษุแจ่มแจ้งด้วยสมันตจักขุ เป็นอย่างไร
คือ พระสัพพัญญุตญาณ ตรัสเรียกว่า สมันตจักขุ พระผู้มีพระภาคทรงประกอบ
ประกอบพร้อม ดำเนินไป ดำเนินไปพร้อม เป็นไป เป็นไปพร้อม เพียบพร้อมแล้ว
ด้วยพระสัพพัญญุตญาณ (สมจริงดังคาถาประพันธ์ว่า)

เชิงอรรถ :
๑ วิ.ม. ๔/๘/๘, ที.ม. ๑๐/๗๐/๓๔, ม.มู. ๑๒/๒๘๒/๒๔๓, ม.ม. ๑๓/๓๓๘/๓๒๐, สํ.ส. ๑๕/๑๗๒/๑๖๕-๑๖๖,
ขุ.จู. ๓๐/๘๕/๑๘๒-๑๘๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๔๓๐ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส
สิ่งไร ๆ ในไตรโลกธาตุนี้
พระปัญญาจักขุของพระตถาคตนั้น ไม่เห็น ไม่มีเลย
อนึ่ง ธรรมชาติอะไร ๆ ที่ควรรู้
พระพุทธญาณไม่รู้แจ้งก็ไม่มี
ธรรมชาติที่ควรแนะนำใดมีอยู่
พระตถาคตได้ทรงทราบธรรมชาติที่ควรแนะนำนั้นทั้งหมด
เพราะเหตุนั้น พระตถาคตจึงชื่อว่ามีสมันตจักขุ๑
พระผู้มีพระภาค ชื่อว่ามีพระจักษุแจ่มแจ้งด้วยสมันตจักขุ เป็นอย่างนี้ รวมความว่า
พระผู้มีพระภาคผู้มีพระจักษุแจ่มแจ้ง ได้ทรงแสดง
คำว่า ธรรมที่เป็นพยาน ในคำว่า ธรรมที่เป็นพยาน อันเป็นเครื่องกำจัด
อันตราย อธิบายว่า ธรรมที่พระองค์ทรงทราบเอง ธรรมที่ประจักษ์แก่พระองค์เอง
มิใช่โดยการเชื่อผู้อื่นว่า ธรรมนี้เป็นดังนี้ ธรรมนี้เป็นดังนี้ มิใช่โดยการเล่าลือ มิใช่
โดยการถือสืบ ๆ กันมา มิใช่โดยการอ้างตำรา มิใช่โดยตรรก มิใช่โดยการอนุมาน
มิใช่โดยการคิดตรองตามแนวเหตุผล มิใช่เพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว
รวมความว่า ธรรมที่เป็นพยาน

ว่าด้วยอันตราย ๒ อย่าง
คำว่า อันตราย ในคำว่า อันเป็นเครื่องกำจัดอันตราย ได้แก่ อันตราย
๒ อย่าง คือ (๑) อันตรายที่ปรากฏ (๒) อันตรายที่ไม่ปรากฏ
อันตรายที่ปรากฏ คืออะไร
คือ ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี เสือดาว สุนัขป่า โค กระบือ ช้าง งู
แมงป่อง ตะขาบ โจร คนที่ได้ก่อกรรมไว้ หรือยังมิได้ก่อกรรมไว้ โรคทางตา
โรคทางหู โรคทางจมูก โรคทางลิ้น โรคทางกาย โรคศรีษะ โรคหู โรคปาก โรคฟัน
โรคไอ โรคหืด ไข้หวัด ไข้พิษ ไข้เชื่อมซึม โรคท้อง เป็นลมสลบ ลงแดง จุกเสียด

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.จู. ๓๐/๘๕/๑๙๖, ขุ.ป. ๓๑/๑๒๑/๑๓๖-๑๓๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๔๓๑ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส
อหิวาตกโรค โรคเรื้อน ฝี กลาก มองคร่อ ลมบ้าหมู หิดเปื่อย หิดด้าน หิด หูด
โรคละลอก โรคดีซ่าน โรคเบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง โรคริดสีดวงทวาร ความเจ็บ
ป่วยที่เกิดจากดี ความเจ็บป่วยที่เกิดจากเสมหะ ความเจ็บป่วยที่เกิดจากลม
ไข้สันนิบาต ความเจ็บป่วยที่เกิดจากการเปลี่ยนฤดูกาล ความเจ็บป่วยที่เกิดจากการ
ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถไม่ได้ส่วนกัน ความเจ็บป่วยที่เกิดจากความพากเพียรเกินกำลัง
ความเจ็บป่วยที่เกิดจากผลกรรม ความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย
ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ ความเจ็บป่วยที่เกิดจากสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด
และสัตว์เลื้อยคลาน เหล่านี้เรียกว่า อันตรายที่ปรากฏ
อันตรายที่ไม่ปรากฏ คืออะไร
คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต กามฉันทนิวรณ์ พยาบาทนิวรณ์
ถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ วิจิกิจฉานิวรณ์ ราคะ โทสะ โมหะ โกธะ
อุปนาหะ มักขะ ปฬาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาเถยยะ ถัมภะ สารัมภะ มานะ
อติมานะ มทะ ปมาทะ๑ กิเลสทุกชนิด ทุจริตทุกทาง ความกระวนกระวายทุกอย่าง
ความเร่าร้อนทุกสถาน ความเดือดร้อนทุกประการ อกุสลาภิสังขารทุกประเภท
เหล่านี้เรียกว่า อันตรายที่ไม่ปรากฏ
คำว่า อันตรายทั้งหลาย อธิบายว่า ชื่อว่าอันตราย เพราะมีความหมาย
อย่างไร
ชื่อว่าอันตราย เพราะครอบงำ
ชื่อว่าอันตราย เพราะเป็นไปเพื่อความเสื่อม
ชื่อว่าอันตราย เพราะเป็นอกุศลธรรมที่อาศัยอยู่ในอัตภาพ
ที่ชื่อว่าอันตราย เพราะครอบงำ เป็นอย่างไร
คือ อันตรายเหล่านั้นย่อมเข้าครอบครอง ยึดครอง ครอบงำ ท่วมทับ รัดรึง
ย่ำยีบุคคลนั้น ที่ชื่อว่าอันตราย เพราะครอบงำ เป็นอย่างนี้
ที่ชื่อว่าอันตราย เพราะเป็นไปเพื่อความเสื่อม เป็นอย่างไร
คือ อันตรายเหล่านั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม คือ ความสูญไปแห่งกุศล-
ธรรมทั้งหลาย กุศลธรรมอะไรบ้าง อันตรายเหล่านั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม คือ

เชิงอรรถ :
๑ ดูคำแปลในข้อ ๕/๑๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๔๓๒ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส
เพื่อความสูญไปแห่งกุศลธรรมเหล่านี้ คือ การปฏิบัติชอบ การปฏิบัติเหมาะสม การ
ปฏิบัติที่ไม่เป็นข้าศึก การปฏิบัติไม่คลาดเคลื่อน การปฏิบัติที่เอื้อประโยชน์
การปฏิบัติธรรมถูกต้องตามหลักธรรม การรักษาศีลให้บริบูรณ์ ความเป็นผู้สำรวม
อินทรีย์ทั้ง ๖ (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร
ความเป็นผู้มีความเพียรเครื่องตื่นอยู่เสมอ สติสัมปชัญญะ ความหมั่นเจริญ
สติปัฏฐาน ๔ ความหมั่นเจริญสัมมัปปธาน ๔ ความหมั่นเจริญอิทธิบาท ๔ ความ
หมั่นเจริญอินทรีย์ ๕ ความหมั่นเจริญพละ ๕ ความหมั่นเจริญโพชฌงค์ ๗ ความ
หมั่นเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ที่ชื่อว่าอันตราย เพราะเป็นไปเพื่อความเสื่อม เป็น
อย่างนี้
ที่ชื่อว่าอันตราย เพราะเป็นอกุศลธรรมที่อาศัยอยู่ในอัตภาพ เป็นอย่างไร
คือ บาปอกุศลธรรมเหล่านี้ ย่อมเกิดขึ้นในอัตภาพนั้น มีอัตภาพเป็นที่อาศัย
เปรียบเหมือนสัตว์ที่อาศัยรูย่อมอยู่ในรู สัตว์ที่อาศัยน้ำย่อมอยู่ในน้ำ สัตว์ที่อาศัยป่า
ย่อมอยู่ในป่า สัตว์ที่อาศัยต้นไม้ย่อมอยู่บนต้นไม้ ฉันใด บาปอกุศลธรรมเหล่านี้
ย่อมเกิดในอัตภาพนั้น มีอัตภาพเป็นที่อาศัย ฉันนั้นเหมือนกัน ที่ชื่อว่าอันตราย
เพราะเป็นอกุศลธรรมที่อาศัยอยู่ในอัตภาพ เป็นอย่างนี้บ้าง
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่กับกิเลสที่
นอนเนื่องอยู่ภายใน ผู้อยู่กับกิเลสที่ฟุ้งขึ้น ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ไม่สบาย ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุผู้อยู่กับกิเลสที่นอนเนื่องอยู่ภายใน ผู้อยู่กับกิเลสที่ฟุ้งขึ้น ย่อมอยู่เป็นทุกข์
ไม่สบาย เป็นอย่างไร ภิกษุทั้งหลาย บาปอกุศลธรรมทั้งหลาย มีความดำริซ่านไป
เกื้อกูลแก่สังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะตาเห็นรูป บาปอกุศล-
ธรรมทั้งหลาย ย่อมอยู่ ย่อมซ่านไปภายในของภิกษุนั้น เพราะฉะนั้น จึงตรัสเรียก
ภิกษุนั้นว่า ‘ผู้อยู่กับกิเลสที่นอนเนื่องอยู่ภายใน’ บาปอกุศลธรรมเหล่านั้น ย่อมฟุ้ง
ขึ้นท่วมภิกษุนั้น เพราะฉะนั้น จึงตรัสเรียกภิกษุนั้นว่า ‘ผู้อยู่กับกิเลสที่ฟุ้งขึ้น’
ภิกษุทั้งหลาย อีกนัยหนึ่ง บาปอกุศลธรรมทั้งหลาย มีความดำริซ่านไป
เกื้อกูลแก่สังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุ เพราะหูได้ยินเสียง... เพราะจมูกได้กลิ่น...
เพราะลิ้นได้ลิ้มรส... เพราะกายได้รับสัมผัส... เพราะใจรู้ธรรมารมณ์ บาปอกุศล-
ธรรมทั้งหลาย ย่อมอยู่ ย่อมซ่านไปภายในของภิกษุนั้น เพราะฉะนั้น จึงตรัสเรียก
ภิกษุนั้นว่า ‘ผู้อยู่กับกิเลสที่นอนเนื่องอยู่ภายใน’ บาปอกุศลธรรมเหล่านั้น ย่อม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๔๓๓ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส
ฟุ้งขึ้นท่วมภิกษุนั้น๑ เพราะฉะนั้น จึงตรัสเรียกภิกษุนั้นว่า ‘ผู้อยู่กับกิเลสที่ฟุ้งขึ้น’
ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุผู้อยู่กับกิเลสที่นอนเนื่องอยู่ภายใน ผู้อยู่กับกิเลส
ที่ฟุ้งขึ้น ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ไม่สบาย”๒ ที่ชื่อว่าอันตราย เพราะเป็นอกุศลธรรมที่
อาศัยอยู่ในอัตภาพ เป็นอย่างนี้บ้าง

ว่าด้วยธรรม ๓ ประการ เป็นมลทินภายใน
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการเหล่านี้
เป็นมลทินภายใน เป็นอมิตรภายใน เป็นศัตรูภายใน เป็นเพชฌฆาตภายใน เป็น
ข้าศึกภายใน ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. โลภะ เป็นมลทินภายใน เป็นอมิตรภายใน เป็นศัตรูภายใน เป็นเพชฌฆาต
ภายใน เป็นข้าศึกภายใน
๒. โทสะ เป็นมลทินภายใน เป็นอมิตรภายใน เป็นศัตรูภายใน เป็นเพชฌฆาต
ภายใน เป็นข้าศึกภายใน
๓. โมหะ เป็นมลทินภายใน เป็นอมิตรภายใน เป็นศัตรูภายใน เป็น
เพชฌฆาตภายใน เป็นข้าศึกภายใน
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการเหล่านี้แล ชื่อว่าเป็นมลทินภายใน เป็นอมิตร
ภายใน เป็นศัตรูภายใน เป็นเพชฆาตภายใน เป็นข้าศึกภายใน”
(พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณ์ภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัส
คาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า)
โลภะก่อให้เกิดสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
โลภะทำให้จิตกำเริบ โลภะเป็นภัยที่เกิดภายใน
คน(ส่วนมาก)ไม่รู้จักภัยนั้น
คนโลภไม่รู้จักผล คนโลภไม่รู้จักเหตุ
ความโลภครอบงำนรชนเมื่อใด
ความมืดบอดย่อมมีเมื่อนั้น

เชิงอรรถ :
๑ สํ. สฬา. ๑๘/๑๕๑/๑๒๗
๒ สํ.สฬา. ๑๘/๑๕๑/๑๒๖-๑๒๗, ขุ.จู. ๓๐/๑๒๘/๒๖๒-๒๖๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๔๓๔ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส
โทสะก่อให้เกิดสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
โทสะทำให้จิตกำเริบ โทสะเป็นภัยที่เกิดภายใน
คน (ส่วนมาก)ไม่รู้จักภัยนั้น
คนโกรธไม่รู้จักผล คนโกรธไม่รู้จักเหตุ
ความโกรธครอบงำนรชนเมื่อใด
ความมืดบอดย่อมมีเมื่อนั้น
โมหะก่อให้เกิดสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
โมหะทำให้จิตกำเริบ โมหะเป็นภัยที่เกิดภายใน
คน (ส่วนมาก)ไม่รู้จักภัยนั้น
คนหลงไม่รู้จักผล คนหลงไม่รู้จักเหตุ
ความหลงครอบงำนรชนเมื่อใด
ความมืดบอดย่อมมีเมื่อนั้น๑
ที่ชื่อว่าอันตราย เพราะเป็นอกุศลธรรมที่นอนเนื่องอยู่ในอัตภาพ เป็นอย่างนี้บ้าง
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “มหาบพิตร ธรรม ๓ ประการ เมื่อเกิดขึ้น
ภายใน(จิต)ของบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อความไม่เป็นประโยชน์ เพื่อความทุกข์ เพื่อ
ความอยู่ไม่ผาสุก
ธรรม ๓ ประการอะไรบ้าง คือ
๑. โลภธรรมเมื่อเกิดขึ้นภายใน(จิต)ของบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อความไม่เป็น
ประโยชน์ เพื่อความทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่ผาสุก
๒. โทสธรรมเมื่อเกิดขึ้นภายใน(จิต)ของบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อความไม่เป็น
ประโยชน์ เพื่อความทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่ผาสุก
๓. โมหธรรมเมื่อเกิดขึ้นภายใน(จิต)ของบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อความไม่เป็น
ประโยชน์ เพื่อความทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่ผาสุก
มหาบพิตร ธรรม ๓ ประการเหล่านี้แล เมื่อเกิดขึ้นภายใน(จิต)ของบุรุษ ย่อม
เกิดขึ้นเพื่อความไม่เป็นประโยชน์ เพื่อความทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่ผาสุก”

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.อิติ. ๒๕/๘๘/๓๐๕, ขุ.จู. ๓๐/๑๒๘/๒๖๓-๒๖๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๔๓๕ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส
(พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณ์ภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัส
คาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า)
โลภะ โทสะ และโมหะ เกิดขึ้นในตน
ย่อมทำร้ายบุรุษผู้มีจิตเลวทราม
เหมือนขุยไผ่กำจัดต้นไผ่ ฉะนั้น๑
ที่ชื่อว่าอันตราย เพราะเป็นอกุศลธรรมที่นอนเนื่องอยู่ในอัตภาพ เป็นอย่างนี้บ้าง
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
ราคะและโทสะ มีอัตภาพนี้เป็นต้นเหตุ
ความไม่ยินดีกุศลธรรม
ความยินดีกามคุณซึ่งทำให้ขนลุก เกิดจากอัตภาพนี้
บาปวิตกในใจ เกิดขึ้นจากอัตภาพนี้
ย่อมผูกใจคนไว้ เหมือนพวกเด็กผูกตีนกาไว้ ฉะนั้น๒
ที่ชื่อว่าอันตราย เพราะเป็นอกุศลธรรมที่นอนเนื่องอยู่ในอัตภาพ เป็นอย่างนี้บ้าง
คำว่า อันเป็นเครื่องกำจัดอันตราย ได้แก่ เป็นเครื่องกำจัดอันตราย คือ
เป็นเครื่องละอันตราย สงบอันตราย สลัดทิ้งอันตราย ระงับอันตราย เป็นอมต-
นิพพาน รวมความว่า ธรรมที่เป็นพยาน อันเป็นเครื่องกำจัดอันตราย
คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปฏิปทา อธิบายว่า
ขอพระองค์โปรดตรัส คือ โปรดบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก
ทำให้ง่าย ประกาศปฏิปทา ได้แก่ การปฏิบัติชอบ การปฏิบัติเหมาะสม การปฏิบัติ
ที่ไม่เป็นข้าศึก การปฏิบัติที่เอื้อประโยชน์ การปฏิบัติธรรมถูกต้องตามหลักธรรม
การรักษาศีลให้บริบูรณ์ ความเป็นผู้สำรวมอินทรีย์ทั้ง ๖ ความเป็นผู้รู้จักประมาณ
ในการบริโภคอาหาร ความเป็นผู้มีความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่เสมอ สติสัมปชัญญะ
สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗

เชิงอรรถ :
๑ สํ.ส. ๑๕/๑๑๓/๘๕, ขุ.อิติ. ๒๕/๕๐/๒๗๒, ขุ.จู. ๓๐/๑๒๘/๒๖๔
๒ สํ.ส. ๑๕/๒๓๗/๒๕๐, ขุ.สุ. ๒๕/๒๗๔/๓๘๗, ขุ.จู. ๓๐/๑๒๘/๒๖๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๔๓๖ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส
อริยมรรคมีองค์ ๘ นิพพาน และปฏิปทาเครื่องดำเนินไปสู่นิพพาน รวมความว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปฏิปทา
คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เป็นคำที่พระพุทธเนรมิตตรัสเรียกพระผู้มี-
พระภาคพุทธเจ้า อีกนัยหนึ่ง พระองค์ตรัสบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย
จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศธรรมใด ธรรมนั้นทั้งหมด เป็นธรรมดี เจริญ งาม
ไม่มีโทษ ควรซ่องเสพ รวมความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์โปรดตรัส
บอกปฏิปทา
คำว่า ปาติโมกข์๑ ในคำว่า คือปาติโมกข์ หรือแม้สมาธิ ได้แก่ ศีลอันเป็น
ที่พึ่ง เป็นเบื้องต้น เป็นความประพฤติ เป็นความสำรวม เป็นความระวัง เป็นหัวหน้า
เป็นประธานเพื่อความถึงพร้อมแห่งธรรมที่เป็นกุศล
คำว่า หรือแม้สมาธิ ได้แก่ ความตั้งมั่น ความดำรงมั่น ความไม่คลอนแคลน
ความไม่กวัดแกว่ง ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ความที่จิตไม่ซัดส่าย สมถะ สมาธินทรีย์
สมาธิพละ สัมมาสมาธิ รวมความว่า คือปาติโมกข์ หรือแม้สมาธิ ด้วยเหตุนั้น
พระพุทธเนรมิตจึงทูลถามว่า
พระผู้มีพระภาค ผู้มีพระจักษุแจ่มแจ้ง
ได้ทรงแสดงธรรมที่เป็นพยาน อันเป็นเครื่องกำจัดอันตราย
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปฏิปทา
คือปาติโมกข์ หรือแม้สมาธิ
[๑๕๗] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า)
ภิกษุไม่พึงเป็นผู้มีตาลอกแลก
พึงป้องกันหู มิให้ได้ยินคามกถา ไม่พึงติดใจในรส
และไม่พึงยึดถืออะไร ๆ ในโลกว่าเป็นของเรา

เชิงอรรถ :
๑ ปาติโมกข์ ดูเชิงอรรถข้อ ๑๐/๔๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๔๓๗ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส
ว่าด้วยเรื่องผู้มีตาลอกแลก
คำว่า ภิกษุไม่พึงเป็นผู้มีตาลอกแลก อธิบายว่า ภิกษุเป็นผู้มีตาลอกแลก
เป็นอย่างไร ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีตาลอกแลก คือ เป็นผู้ประกอบด้วย
ความเป็นคนมีตาลอกแลกด้วยคิดว่า “รูปที่ยังไม่เคยดู เราควรดู รูปที่เราเคยดูแล้ว
ควรผ่านไปเลย” จึงเป็นผู้ขวนขวายการเที่ยวนาน และการเที่ยวไปไม่แน่นอน จาก
อารามหนึ่งไปสู่อีกอารามหนึ่ง จากอุทยานหนึ่งไปสู่อีกอุทยานหนึ่ง จากบ้านหนึ่งไป
สู่อีกบ้านหนึ่ง จากนิคมหนึ่งไปสู่อีกนิคมหนึ่ง จากนครหนึ่งไปสู่อีกนครหนึ่ง จากรัฐ
หนึ่งไปสู่อีกรัฐหนึ่ง จากชนบท(ประเทศ)หนึ่งไปสู่อีกประเทศหนึ่ง เพื่อดูรูป ภิกษุชื่อ
ว่าเป็นผู้มีตาลอกแลก เป็นอย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง ภิกษุเข้าสู่ละแวกบ้าน เดินไปตามถนนไม่สำรวม เดินมองช้าง มองม้า
มองรถ มองพลเดินเท้า มองสตรี มองบุรุษ มองเด็กชาย มองเด็กหญิง มองร้านตลาด
มองหน้ามุขเรือน มองข้างบน มองข้างล่าง มองทิศน้อยทิศใหญ่ ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มี
ตาลอกแลก เป็นอย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง ภิกษุเห็นรูปทางตาแล้ว เป็นผู้รวบถือ เป็นผู้แยกถือ(อวัยวะส่วน
ต่าง ๆ) ย่อมไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วจะเป็นเหตุให้บาป
อกุศลธรรม คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ย่อมไม่รักษาจักขุนทรีย์ ย่อมไม่ถึง
ความสำรวมในจักขุนทรีย์ ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีตาลอกแลก เป็นอย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ขวนขวายดูการละเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศลเห็นปานนี้
เหมือนสมณพราหมณ์ผู้เจริญบางพวกบริโภคอาหารที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยัง
ขวนขวายดูการละเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศลเห็นปานนี้อยู่ คือ การฟ้อน การขับร้อง
การประโคมดนตรี การดูมหรสพ การเล่านิทาน การเล่นปรบมือ การเล่นปลุกผี
การเล่นตีกลอง การสร้างฉากบ้านเมืองให้สวยงาม การละเล่นของคนจัณฑาล การ
เล่นกระดานหก การละเล่นหน้าศพ การแข่งชนช้าง การแข่งม้า การแข่งชนกระบือ
การแข่งชนโค การแข่งชนแพะ การแข่งชนแกะ การแข่งชนไก่ การแข่งชนนกกระทา
การรำกระบี่กระบอง การชกมวย มวยปล้ำ การรบ การตรวจพลสวนสนาม การจัด
กระบวนทัพ ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีตาลอกแลก เป็นอย่างนี้บ้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๔๓๘ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส
ภิกษุไม่เป็นผู้มีตาลอกแลก เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าสู่ละแวกบ้าน เดินทางไปตามถนน ก็เดินอย่าง
สำรวม ไม่มองช้าง ไม่มองม้า ไม่มองรถ ไม่มองพลเดินเท้า ไม่มองสตรี ไม่มอง
บุรุษ ไม่มองเด็กชาย ไม่มองเด็กหญิง ไม่มองร้านตลาด ไม่มองหน้ามุขเรือน
ไม่มองสูง ไม่มองต่ำ ไม่มองทิศน้อยทิศใหญ่ ภิกษุชื่อว่าไม่เป็นผู้มีตาลอกแลก
เป็นอย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง ภิกษุเห็นรูปทางตาแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อมปฏิบัติเพื่อ
สำรวมจักขุนทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วจะเป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและ
โทมนัสครอบงำได้ ย่อมรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ภิกษุชื่อว่า
ไม่เป็นผู้มีตาลอกแลก เป็นอย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้งดเว้นจากความขวนขวายในการดูการละเล่นอันเป็น
ข้าศึกแก่กุศลเห็นปานนี้ เหมือนอย่างสมณพราหมณ์ผู้เจริญบางพวกบริโภคอาหาร
ที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ก็ไม่พากันขวนขวายดูการละเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล
เห็นปานนี้อยู่ คือ การฟ้อน การขับร้อง การประโคมดนตรี การดูมหรสพ การเล่า
นิทาน... ภิกษุชื่อว่าไม่เป็นผู้มีตาลอกแลก เป็นอย่างนี้บ้าง
คำว่า ภิกษุไม่พึงเป็นผู้มีตาลอกแลก อธิบายว่า พึงละ บรรเทา ทำให้หมด
สิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งความเป็นผู้มีตาลอกแลก คือ พึงเป็นผู้งด งดเว้น
เว้นขาด ออก สลัดออก หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้องกับความเป็นผู้มีตาลอกแลก มีใจเป็น
อิสระ(จากกิเลส) อยู่ รวมความว่า ภิกษุไม่พึงเป็นผู้มีตาลอกแลก
คำว่า พึงป้องกันหูมิให้ได้ยินคามกถา อธิบายว่า เดรัจฉานกถา๑ ๓๒ อย่าง
ตรัสเรียกว่า คามกถา คือ เรื่องพระราชา เรื่องโจร เรื่องมหาอำมาตย์ เรื่องกองทัพ
เรื่องภัย เรื่องการรบ เรื่องข้าว เรื่องน้ำ เรื่องผ้า เรื่องยาน เรื่องที่นอน เรื่องระเบียบ
ดอกไม้ เรื่องของหอม เรื่องญาติ เรื่องบ้าน เรื่องนิคม เรื่องเมือง เรื่องชนบท เรื่อง

เชิงอรรถ :
๑ เดรัจฉานกถา คือถ้อยคำอันขวางทางไปสู่สวรรค์ นิพพาน หมายถึงเรื่องราวที่ภิกษุไม่ควรนำมาเป็นข้อ
ถกเถียงสนทนากัน โดยไม่เกี่ยวกับการพิจารณาสั่งสอนแนะนำทางธรรม อันทำให้คิดฟุ้งเฟ้อและพากัน
หลงเพลินเสียเวลา เสียกิจหน้าที่ที่พึงปฏิบัติตามธรรม (ที.สี.อ. ๑๗/๘๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๔๓๙ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส
สตรี เรื่องบุรุษ เรื่องคนกล้าหาญ เรื่องตรอก เรื่องท่าน้ำ เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว
เรื่องเบ็ดเตล็ด เรื่องโลก เรื่องทะเล เรื่องความเจริญและความเสื่อม
คำว่า พึงป้องกันหูมิให้ได้ยินคามกถา อธิบายว่า พึงป้องกัน คือ ห้าม กั้น
รักษา คุ้มครอง ปิด ตัดขาดหูมิให้ได้ยินคามกถา รวมความว่า พึงป้องกันหูมิให้ได้
ยินคามกถา
คำว่า รส ในคำว่า ไม่พึงติดใจในรส ได้แก่ รสจากราก รสจากลำต้น รสจาก
เปลือก รสจากใบ รสจากดอก รสจากผล รสเปรี้ยว รสหวาน รสขม รสเผ็ด รสเค็ม
รสปร่า รสเฝื่อน รสฝาด รสอร่อย รสไม่อร่อย รสเย็น รสร้อน สมณพราหมณ์
บางพวก ยินดีในรส สมณพราหมณ์เหล่านั้นเที่ยวแสวงหารสเลิศด้วยปลายลิ้น ได้
รสเปรี้ยวแล้วก็แสวงหารสไม่เปรี้ยว ได้รสไม่เปรี้ยวแล้วก็แสวงหารสเปรี้ยว... ได้ของ
เย็นแล้วก็แสวงหาของร้อน ได้ของร้อนแล้วก็แสวงหาของเย็น สมณพราหมณ์เหล่า
นั้นได้รสใด ๆ แล้วก็ไม่ยินดีด้วยรสนั้น ๆ ยังแสวงหารสอื่น ๆ ต่อไปอีก เป็นผู้กำหนัด
ยินดี ติดใจ สยบ หมกหมุ่น เกาะติด เกี่ยวพัน พัวพันในรสที่ชอบใจ ตัณหาในรสนี้
ภิกษุใดละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว... เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ภิกษุนั้นพิจารณาแล้ว
โดยแยบคาย จึงฉันอาหาร มิใช่เพื่อเล่น มิใช่เพื่อมัวเมา มิใช่เพื่อตบแต่ง มิใช่เพื่อ
ประดับ แต่ฉันเพียงเพื่อให้ร่างกายนี้ดำรงอยู่ เพื่อให้ร่างกายนี้ดำเนินไปได้ เพื่อขจัด
ความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์แก่พรหมจรรย์อย่างเดียวเท่านั้น ด้วยตั้งใจว่า... และ
อยู่สบายได้ด้วยวิธีการอย่างนี้
คนทาแผลเพียงเพื่อปลูกเนื้อเยื่อ หยอดเพลาเพียงเพื่อจะขนภาระไป หรือ
กินอาหารที่ปรุงจากเนื้อบุตรเพียงเพื่อจะเดินทางออกจากทางกันดารให้พ้นเท่านั้น
ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาโดยแยบคายแล้ว ฉันอาหาร มิใช่เพื่อเล่น...
ความไม่มีโทษ และอยู่สบายได้ด้วยวิธีการอย่างนี้ ย่อมละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป
ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งตัณหาในรส เป็นผู้งดแล้ว งดเว้นแล้ว เว้นขาดแล้ว ออกแล้ว
สลัดออกแล้ว หลุดพ้นแล้ว ไม่เกี่ยวข้องแล้วกับตัณหาในรส มีใจเป็นอิสระ(จาก
กิเลส) อยู่ รวมความว่า ไม่พึงติดใจในรส
คำว่า และไม่พึงยึดถืออะไร ๆ ในโลกว่าเป็นของเรา อธิบายว่า
คำว่า ความยึดถือว่าเป็นของเรา ได้แก่ ความยึดถือว่าเป็นของเรา ๒ อย่าง
คือ (๑) ความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจตัณหา (๒) ความยึดถือว่าเป็นของเรา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๔๔๐ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส
ด้วยอำนาจทิฏฐิ... นี้ชื่อว่าความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจตัณหา... นี้ชื่อว่า
ความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจทิฏฐิ
ภิกษุละความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจตัณหาได้แล้ว สลัดทิ้งความยึดถือ
ว่าเป็นของเราด้วยอำนาจทิฎฐิได้แล้ว ไม่พึงยึดถือ คือ ไม่ยึด ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น
ตาว่าเป็นของเรา... ไม่ถือมั่นหู... จมูก... ลิ้น... กาย... รูป... เสียง... กลิ่น... รส...
โผฏฐัพพะ... ตระกูล... หมู่คณะ... อาวาส... ลาภ... ยศ... สรรเสริญ... สุข... จีวร...
บิณฑบาต... เสนาสนะ... คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร... กามธาตุ... รูปธาตุ... อรูปธาตุ...
กามภพ... รูปภพ... อรูปภพ... สัญญาภพ... อสัญญาภพ... เนวสัญญานาสัญญาภพ...
เอกโวการภพ๑... จตุโวการภพ๒... ปัญจโวการภพ๓... อดีต... อนาคต... ปัจจุบันว่า
เป็นของเรา ไม่พึงยึดถือ คือ ไม่ยึด ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น รูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน กลิ่น รส
โผฏฐัพพะที่รับรู้ ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งว่าเป็นของเรา
คำว่า อะไร ๆ ได้แก่ อะไรที่เป็นรูป เป็นเวทนา เป็นสัญญา เป็นสังขาร
เป็นวิญญาณ
คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก... อายตนโลก รวมความว่า และไม่พึงยึดถือ
อะไร ๆ ในโลกว่า เป็นของเรา ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า
ภิกษุไม่พึงเป็นผู้มีตาลอกแลก
พึงป้องกันหูมิให้ได้ยินคามกถา ไม่พึงติดใจในรส
และไม่พึงยึดถืออะไร ๆ ในโลกว่าเป็นของเรา
[๑๕๘] (พระผู้มีพระภาคตรัสต่อไปว่า)
เมื่อใด ภิกษุถูกผัสสะกระทบ
เมื่อนั้นเธอก็ไม่พึงทำความคร่ำครวญในที่ไหน ๆ
ไม่พึงคาดหวังภพ และไม่พึงกระสับกระส่าย
ในเพราะอารมณ์ที่น่ากลัว

เชิงอรรถ :
๑ เอกโวการภพ ดูเชิงอรรถข้อ ๓/๑๒
๒ จตุโวการภพ ดูเชิงอรรถข้อ ๓/๑๒
๓ ปัญจโวการภพ ดูเชิงอรรถข้อ ๓/๑๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๔๔๑ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส
ว่าด้วยโรคต่าง ๆ
คำว่า เมื่อใด ภิกษุถูกผัสสะกระทบ อธิบายว่า ภิกษุถูกผัสสะกระทบ คือถูก
โรคกระทบ ครอบงำ กลุ้มรุม ประกอบเข้า ได้แก่ ถูกโรคทางตากระทบ ครอบงำ
กลุ้มรุม ประกอบเข้า โรคทางหู... โรคทางจมูก... โรคทางลิ้น... โรคทางกาย...
โรคศีรษะ... โรคหู... โรคปาก... โรคฟัน... โรคไอ... โรคหืด... ไข้หวัด... ไข้พิษ...
ไข้เชื่อมซึม... โรคท้อง... เป็นลมสลบ... ลงแดง... จุกเสียด... อหิวาตกโรค...
โรคเรื้อน... ฝี... กลาก... มองคร่อ... ลมบ้าหมู... หิดเปื่อย... หิดด้าน... หิด... หูด...
โรคละลอก... โรคดีซ่าน... โรคเบาหวาน... โรคเริม... โรคพุพอง... โรคริดสีดวงทวาร...
ความเจ็บป่วยที่เกิดจากดี... ความเจ็บป่วยที่เกิดจากเสมหะ... ความเจ็บป่วยที่เกิด
จากลม... ไข้สันนิบาต... ความเจ็บป่วยที่เกิดจากการเปลี่ยนฤดู... ความเจ็บป่วยที่
เกิดจากการผลัดเปลี่ยนอิริยาบถไม่ได้ส่วนกัน... ความเจ็บป่วยที่เกิดจากความ
พากเพียรเกินกำลัง... ความเจ็บป่วยที่เกิดจากผลกรรม... ความหนาว... ความร้อน...
ความหิว... ความกระหาย... ปวดอุจจาระ... ปวดปัสสาวะ... ความเจ็บป่วยที่เกิดจาก
สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน กระทบ ครอบงำ กลุ้มรุม
ประกอบเข้า รวมความว่า เมื่อใด ภิกษุถูกผัสสะกระทบ
คำว่า เมื่อนั้นเธอก็ไม่พึงทำความคร่ำครวญในที่ไหน ๆ อธิบายว่า
ไม่พึงทำ คือ ไม่ให้เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดขึ้นซึ่งความบ่นเพ้อ
ความคร่ำครวญ คือ กิริยาที่บ่นเพ้อ กิริยาที่คร่ำครวญ ภาวะที่บ่นเพ้อ ภาวะที่
คร่ำครวญ การพูดพล่าม การพูดเพ้อ การพูดเพ้อเจ้อ ความพร่ำเพ้อ กิริยาที่
พร่ำเพ้อ ภาวะที่พร่ำเพ้อ
คำว่า ในที่ไหน ๆ ได้แก่ ในที่ไหน คือ ที่ไหน ๆ ที่ไร ๆ ภายใน ภายนอก
หรือทั้งภายในและภายนอก รวมความว่า เมื่อนั้นเธอก็ไม่พึงทำความคร่ำครวญ
ในที่ไหน ๆ
คำว่า ไม่พึงคาดหวังภพ ได้แก่ ไม่พึงหวัง ไม่พึงมุ่งหวัง ไม่พึงคาดหวัง
กามภพ รูปภพ อรูปภพ รวมความว่า ไม่พึงคาดหวังภพ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๔๔๒ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส
ว่าด้วยภัยและความขลาดกลัว
คำว่า และไม่พึงกระสับกระส่ายในเพราะอารมณ์ที่น่ากลัว อธิบายว่า
คำว่า ความน่ากลัว ได้แก่ ทั้งภัยและความขลาดกลัว มีความหมายอย่าง
เดียวกันนั่นเอง
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ภัย ความขลาดกลัวนั้น คือ สิ่งนี้เป็นแน่
บุคคลไม่พึงละเสีย มันก็จะมาหา ภัยนั้นเรียกว่า มีวัตถุภายนอกเป็นอารมณ์ คือ
ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี เสือดาว สุนัขป่า โค กระบือ ม้า ช้าง งู แมงป่อง
ตะขาบ โจร หรือ คนที่ได้ก่อกรรมไว้ หรือยังมิได้ก่อกรรมไว้
อีกนัยหนึ่ง โดยความหมายต่างกัน ความกลัว อาการกลัว ความหวาดหวั่น
ขนพองสยองเกล้า ความหวาดเสียว ความสะดุ้งแห่งจิต ที่เกิดขึ้นภายใน มีจิตเป็น
สมุฏฐาน เรียกว่า ภัย คือ ชาติภัย ชราภัย พยาธิภัย มรณภัย ราชภัย โจรภัย อัคคีภัย
อุทกภัย อัตตานุวาทภัย(ภัยเกิดจากการติเตียนตน) ปรานุวาทภัย(ภัยเกิดจากการ
ติเตียนของผู้อื่น) ทัณฑภัย(ภัยจากอาญา) ทุคติภัย(ภัยในทุคติ) อูมิภัย(ภัยจากคลื่น)
กุมภีลภัย(ภัยจากจระเข้) อาวัฏฏภัย(ภัยจากน้ำวน) สุงสุการภัย(ภัยจากปลาร้าย)
อาชีวิกภัย(ภัยจากการหาเลี้ยงชีพ) อสิโลกภัย(ภัยคือความเสื่อมเสียชื่อเสียง)
ปริสสายสารัชชภัย(ภัยจากความครั่นคร้ามในชุมชน) ทุคติภัย เหตุที่น่ากลัว ความ
หวาดเสียว ขนพองสยองเกล้า ใจหวาดเสียว ความสะดุ้ง
คำว่า และไม่พึงกระสับกระส่ายในเพราะอารมณ์ที่น่ากลัว อธิบายว่า ภิกษุ
เห็น หรือได้ยินสิ่งที่น่าสะพรึงกลัว ก็ไม่พึงหวั่นไหว ไม่พึงสั่นเทา ไม่พึงกระสับกระส่าย
คือ ไม่หวาดเสียว ไม่ครั่นคร้าม ไม่เกรงกลัว ไม่หวาดกลัว ไม่ถึงความสะดุ้ง ได้แก่
พึงเป็นผู้ไม่ขลาด ไม่หวาดเสียว ไม่สะดุ้ง ไม่หนี พึงเป็นผู้ละภัยและความขลาดกลัว
ได้แล้ว หมดความขนพองสยองเกล้า ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
เมื่อใด ภิกษุถูกผัสสะกระทบ
เมื่อนั้นเธอก็ไม่พึงทำความคร่ำครวญในที่ไหน ๆ
ไม่พึงคาดหวังภพ และไม่พึงกระสับกระส่าย
ในเพราะอารมณ์ที่น่ากลัว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๔๔๓ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส
[๑๕๙] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
ภิกษุได้ข้าวก็ดี น้ำก็ดี ของขบเคี้ยวก็ดี ผ้าก็ดีแล้ว
ไม่ควรทำการสะสม เมื่อไม่ได้ข้าวเป็นต้นเหล่านั้นก็ไม่พึงสะดุ้ง

ว่าด้วยข้าวน้ำและของขบเคี้ยว
คำว่า ข้าว ในคำว่า... ข้าวก็ดี น้ำก็ดี ของขบเคี้ยวก็ดี ผ้าก็ดี ได้แก่ ข้าวสุก
ขนมกุมมาส (ขนมสด) ข้าวผง (สัตตุ) ปลา เนื้อ
คำว่า น้ำ ได้แก่ น้ำปานะ ๘ อย่าง คือ

๑. น้ำมะม่วง ๒. น้ำหว้า
๓. น้ำกล้วยมีเมล็ด ๔. น้ำกล้วยไม่มีเมล็ด
๕. น้ำมะซาง ๖. น้ำลูกจันทน์หรือน้ำองุ่น
๗. น้ำเหง้าบัว ๘. น้ำมะปรางหรือน้ำลิ้นจี่

น้ำปานะอีก ๘ อย่าง คือ

๑. น้ำสะคร้อ ๒. น้ำผลเล็บเหยี่ยว
๓. น้ำพุทรา ๔. น้ำเปรียง
๕. น้ำผสมน้ำมัน ๖. น้ำข้าวยาคู
๗. น้ำนม ๘. น้ำรส

คำว่า ของขบเคี้ยว ได้แก่ ของขบเคี้ยวทำด้วยแป้ง ของขบเคี้ยวทำเป็นขนม
ของขบเคี้ยวทำด้วยหัว (ราก) ของขบเคี้ยวทำด้วยเปลือกไม้ ของขบเคี้ยวทำด้วยใบไม้
ของขบเคี้ยวทำด้วยดอกไม้ ของขบเคี้ยวทำด้วยผลไม้
คำว่า ผ้า ได้แก่ จีวร ๖ ชนิด คือ

๑. โขมะ (ผ้าเปลือกไม้) ๒. กัปปาสิกะ (ผ้าฝ้าย)
๓. โกเสยยะ (ผ้าไหม) ๔. กัมพละ (ผ้าขนสัตว์)
๕. สาณะ (ผ้าป่าน) ๖. ภังคะ (ผ้าที่ทำด้วยวัสดุผสมกัน)

รวมความว่า ... ข้าวก็ดี น้ำก็ดี ของขบเคี้ยวก็ดี ผ้าก็ดี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๔๔๔ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส
คำว่า ได้แล้ว ในคำว่า ได้... แล้ว ไม่ควรทำการสะสม ได้แก่ ได้แล้ว คือ
ได้รับแล้ว สมหวังแล้ว ประสบแล้ว ได้เฉพาะแล้ว มิใช่ด้วยการโกหก มิใช่ด้วยการ
พูดเลียบเคียง มิใช่ด้วยการทำนิมิต มิใช่ด้วยการกำจัดคุณเขา มิใช่ด้วยการต่อลาภ
ด้วยลาภ มิใช่ด้วยการให้ไม้ มิใช่ด้วยการให้ไม้ไผ่ มิใช่ด้วยการให้ใบไม้ มิใช่ด้วยการ
ให้ดอกไม้ มิใช่ด้วยการให้ผลไม้ มิใช่ด้วยการให้น้ำอาบ มิใช่ด้วยการให้แป้งจุรณ์
มิใช่ด้วยการให้ดินสอพอง มิใช่ด้วยการให้ไม้สีฟัน มิใช่ด้วยการให้น้ำบ้วนปาก มิใช่
ด้วยคำพูดมุ่งให้เขารู้จักตน มิใช่ด้วยคำพูดเหลาะแหละเหมือนแกงถั่ว มิใช่ด้วยกิริยา
ประจบ มิใช่ด้วยการขัดตั่งตีสนิทเขา มิใช่ด้วยวิชาดูพื้นที่ มิใช่ด้วยเดรัจฉานวิชา
มิใช่ด้วยวิชาทำนายลักษณะอวัยวะ มิใช่ด้วยวิชาดูฤกษ์ยาม มิใช่ด้วยการเดินทำ
หน้าที่ทูต มิใช่ด้วยการเดินเป็นคนรับใช้ มิใช่ด้วยการเดินสื่อสาร มิใช่ด้วยเวชกรรม
มิใช่ด้วยนวกรรม มิใช่ด้วยการใช้ก้อนข้าวตอบแทนก้อนข้าว มิใช่ด้วยการให้และ
การเพิ่มให้ แต่ได้แล้ว คือ ได้รับแล้ว สมหวังแล้ว ประสบแล้ว ได้เฉพาะแล้ว โดย
ชอบธรรม โดยยุติธรรม รวมความว่า ได้แล้ว
คำว่า ไม่ควรทำการสะสม ได้แก่ ไม่ควรทำ คือ ไม่ควรให้เกิด ไม่ควรให้
เกิดขึ้น ไม่ควรให้บังเกิด ไม่ควรให้บังเกิดขึ้น ซึ่งการสะสมข้าวสุก การสะสมน้ำดื่ม
การสะสมผ้า การสะสมยาน การสะสมที่นอน การสะสมของหอม การสะสมอามิส
รวมความว่า ได้...แล้ว ไม่ควรทำการสะสม
คำว่า เมื่อไม่ได้ข้าวเป็นต้นเหล่านั้นก็ไม่พึงสะดุ้ง อธิบายว่า ภิกษุไม่พึง
หวาดเสียว ไม่พึงครั่นคร้าม ไม่พึงเกรงกลัว ไม่พึงหวาดกลัว ไม่พึงถึงความสะดุ้ง
กลัวว่า เราไม่ได้ข้าวสุก ไม่ได้น้ำดื่ม ไม่ได้ผ้า ไม่ได้ตระกูล ไม่ได้หมู่คณะ ไม่ได้อาวาส
ไม่ได้ลาภ ไม่ได้ยศ ไม่ได้สรรเสริญ ไม่ได้สุข ไม่ได้จีวร ไม่ได้บิณฑบาต ไม่ได้เสนาสนะ
ไม่ได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ไม่ได้ผู้พยาบาลเวลาเจ็บป่วย ไม่เป็นผู้มีชื่อเสียง
ปรากฏ คือ พึงเป็นผู้ไม่ขลาด ไม่หวาดเสียว ไม่สะดุ้ง ไม่หนี พึงเป็นผู้ละภัยและ
ความขลาดกลัวได้แล้ว หมดความขนพองสยองเกล้าอยู่ รวมความว่า เมื่อไม่ได้ข้าว
เป็นต้นเหล่านั้นก็ไม่พึงสะดุ้ง ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๔๔๕ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส
ภิกษุได้ข้าวก็ดี น้ำก็ดี ของขบเคี้ยวก็ดี ผ้าก็ดีแล้ว
ไม่ควรทำการสะสม เมื่อไม่ได้ข้าวเป็นต้นเหล่านั้นก็ไม่พึงสะดุ้ง
[๑๖๐] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
ภิกษุพึงเป็นผู้มีฌาน ไม่พึงเป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข
พึงเว้นจากความคะนอง ไม่พึงประมาท
และพึงอยู่ในที่นั่งที่นอนที่มีเสียงน้อย

ว่าด้วยผู้มีฌาน
คำว่า พึงเป็นผู้มีฌาน ในคำว่า ภิกษุพึงเป็นผู้มีฌาน ไม่พึงเป็นผู้มีเท้าอยู่
ไม่สุข อธิบายว่า เป็นผู้มีฌาน ด้วยปฐมฌานบ้าง ด้วยทุติยฌานบ้าง ด้วยตติยฌาน
บ้าง ด้วยจตุตถฌานบ้าง ด้วยฌานที่มีวิตกและวิจารเป็นอารมณ์บ้าง ด้วยฌานที่ไม่มี
วิตกมีเพียงวิจารเป็นอารมณ์บ้าง ด้วยฌานที่ไม่มีวิตกและวิจารเป็นอารมณ์บ้าง
ด้วยฌานที่มีปีติเป็นอารมณ์บ้าง ด้วยฌานที่ไม่มีปีติเป็นอารมณ์บ้าง ด้วยฌานที่
สหรคตด้วยปีติบ้าง ด้วยฌานที่สหรคตด้วยความแช่มชื่นบ้าง ด้วยฌานที่สหรคต
ด้วยสุขบ้าง ด้วยฌานที่สหรคตด้วยอุเบกขาบ้าง ด้วยฌานที่เป็นสุญญตะบ้าง ด้วย
ฌานที่เป็นอนิมิตตะบ้าง ด้วยฌานที่เป็นอัปปณิหิตะบ้าง ด้วยฌานที่เป็นโลกิยะบ้าง
ด้วยฌานที่เป็นโลกุตตระบ้าง คือ เป็นผู้ยินดีในฌาน ขวนขวายในความเป็นผู้มีจิตมี
อารมณ์หนึ่งเดียว หนักในประโยชน์ของตน รวมความว่า พึงเป็นผู้มีฌาน
คำว่า ไม่พึงเป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข อธิบายว่า
ภิกษุเป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข คือ ประกอบด้วยความ
เป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข จึงเป็นผู้ขวนขวายในการเที่ยวไปนาน การเที่ยวไปไม่มีจุดหมาย
แน่นอน จากอารามหนึ่งไปสู่อีกอารามหนึ่ง จากอุทยานหนึ่งไปสู่อีกอุทยานหนึ่ง
จากบ้านหนึ่งไปสู่อีกบ้านหนึ่ง จากนิคมหนึ่งไปสู่อีกนิคมหนึ่ง จากนครหนึ่งไปสู่อีก
นครหนึ่ง จากรัฐหนึ่งไปสู่อีกรัฐหนึ่ง จากชนบทหนึ่งไปสู่อีกชนบทหนึ่ง ภิกษุชื่อว่า
เป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข เป็นอย่างนี้บ้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๔๔๖ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส
อีกนัยหนึ่ง ภิกษุประกอบด้วยความเป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุขภายในสังฆาราม มิใช่
เพราะเหตุแห่งประโยชน์ มิใช่เพราะเหตุแห่งการกระทำ แต่เป็นผู้ฟุ้งซ่าน มีจิตใจ
ไม่สงบ เดินจากบริเวณหนึ่งไปสู่อีกบริเวณหนึ่ง จากวิหารหนึ่งไปสู่อีกวิหารหนึ่ง จาก
เรือนหลังคาด้านเดียวไปสู่เรือนหลังคาด้านเดียวอีกแห่งหนึ่ง จากปราสาทหนึ่งไปสู่อีก
ปราสาทหนึ่ง จากเรือนโล้นหลังหนึ่งไปสู่เรือนโล้นอีกหลังหนึ่ง จากถ้ำหนึ่งไปสู่อีกถ้ำ
หนึ่ง จากที่หลีกเร้นแห่งหนึ่งไปสู่ที่หลีกเร้นอีกแห่งหนึ่ง จากกุฎีหนึ่งไปสู่อีกกุฎีหนึ่ง
จากเรือนยอดแห่งหนึ่งไปสู่เรือนยอดอีกแห่งหนึ่ง จากป้อมหนึ่งไปสู่อีกป้อมหนึ่ง
จากปะรำหนึ่งไปสู่อีกปะรำหนึ่ง จากเรือนที่พักแห่งหนึ่งไปสู่เรือนที่พักอีกแห่งหนึ่ง
จากโรงเก็บของแห่งหนึ่งไปสู่โรงเก็บของอีกแห่งหนึ่ง จากโรงฉันแห่งหนึ่งไปสู่โรงฉัน
อีกแห่งหนึ่ง จากมณฑลแห่งหนึ่งไปสู่มณฑลอีกแห่งหนึ่ง จากโคนต้นไม้แห่งหนึ่งไป
สู่โคนต้นไม้อีกแห่งหนึ่ง เดินไปที่ที่พวกภิกษุนั่งกันอยู่ เป็นที่ ๒ ของภิกษุ ๑ รูป เป็นที่
๓ ของภิกษุ ๒ รูป หรือเป็นที่ ๔ ของภิกษุ ๓ รูป ในที่นั้น ๆ พูดเรื่องเพ้อเจ้อมาก
มายในที่นั้น คือ เรื่องพระราชา เรื่องโจร เรื่องมหาอำมาตย์ เรื่องกองทัพ เรื่องภัย
เรื่องการรบ เรื่องข้าว เรื่องน้ำ เรื่องผ้า เรื่องยาน เรื่องที่นอน เรื่องระเบียบดอกไม้
เรื่องของหอม เรื่องญาติ เรื่องบ้าน เรื่องนิคม เรื่องเมือง เรื่องชนบท เรื่องสตรี เรื่อง
บุรุษ เรื่องคนกล้าหาญ เรื่องตรอก เรื่องท่าน้ำ เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว เรื่องเบ็ดเตล็ด
เรื่องโลก เรื่องทะเล เรื่องความเจริญและความเสื่อม ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข
เป็นอย่างนี้บ้าง

ว่าด้วยเรื่องผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข
คำว่า ไม่พึงเป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข อธิบายว่า พึงละ บรรเทา ทำให้หมด
สิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งความเป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข คือ พึงเป็นผู้งด งดเว้น เว้นขาด
ออก สลัดออก หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้องกับความเป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข มีใจเป็น
อิสระ(จากกิเลส) อยู่ คือ ประพฤติ ประพฤติโดยเอื้อเฟื้อ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต
ดำเนินไป ยังมีชีวิตให้ดำเนินไป พึงเป็นผู้พอใจในความหลีกเร้น ยินดีในความหลีกเร้น
หมั่นประกอบความสงบแห่งจิตภายใน ไม่ห่างจากฌาน ประกอบด้วยวิปัสสนา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๔๔๗ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส
เพิ่มพูนการอยู่ในเรือนว่าง๑ มีฌาน เป็นผู้ยินดีในฌาน ขวนขวายในความเป็นผู้มีจิต
มีอารมณ์หนึ่งเดียว หนักในประโยชน์ของตน รวมความว่า ภิกษุพึงเป็นผู้มีฌาน
ไม่พึงเป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข
คำว่า ความคะนอง ในคำว่า พึงเว้นจากความคะนอง ไม่พึงประมาท
อธิบายว่า ความคะนองมือ ชื่อว่าความคะนอง ความคะนองเท้า ชื่อว่าความคะนอง
ความคะนองมือและเท้า ก็ชื่อว่าความคะนอง ความสำคัญในสิ่งที่ควรว่าไม่ควร
ความสำคัญในสิ่งที่ไม่ควรว่าควร ความสำคัญในสิ่งที่ไม่มีโทษว่ามีโทษ ความสำคัญ
ในสิ่งที่มีโทษว่าไม่มีโทษ ความคะนอง กิริยาที่คะนอง ภาวะที่คะนอง ความ
เดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่านเห็นปานนี้ นี้ตรัสเรียกว่า ความคะนอง
อีกนัยหนึ่ง ความคะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นเพราะเหตุ ๒
อย่าง คือ (๑) เพราะทำ (๒) เพราะไม่ทำ
ความคะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นเพราะทำและเพราะ
ไม่ทำ เป็นอย่างไร
คือ ความคะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นว่า “เราทำแต่กาย
ทุจริต ไม่ทำกายสุจริต... เราทำแต่วจีทุจริต ไม่ทำวจีสุจริต... เราทำแต่มโนทุจริต ไม่
ทำมโนสุจริต... เราทำแต่ปาณาติบาต ไม่ทำความงดเว้นจากปาณาติบาต... เราทำ
แต่อทินนาทาน ไม่ทำความงดเว้นจากอทินนาทาน... เราทำแต่กาเมสุมิจฉาจาร ไม่
ทำความงดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร... เราทำแต่มุสาวาท ไม่ทำความงดเว้นจาก
มุสาวาท... เราทำแต่ปิสุณาวาจา ไม่ทำความงดเว้นจากปิสุณาวาจา... เราทำแต่
ผรุสวาจา ไม่ทำความงดเว้นจากผรุสวาจา... เราทำแต่สัมผัปปลาปะ ไม่ทำความงด
เว้นจากสัมผัปปลาปะ... เราทำแต่อภิชฌา ไม่ทำอนภิชฌา ... เราทำแต่พยาบาท
ไม่ทำอัพยาบาท... เราทำแต่มิจฉาทิฏฐิ ไม่ทำสัมมาทิฏฐิ” ความคะนอง ความเดือด
ร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นเพราะทำและเพราะไม่ทำ เป็นอย่างนี้

เชิงอรรถ :
๑ เพิ่มพูนการอยู่ในเรือนว่าง ในที่นี้หมายถึง ภิกษุเรียนสมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน แล้วเข้าไป
ยังเรือนว่าง นั่งอยู่ตลอดคืนและวัน (ขุ.ม.อ. ๑๖๐/๔๑๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๔๔๘ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส
อีกนัยหนึ่ง ความคะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นว่า “เรามิได้
รักษาศีลให้บริบูรณ์... ไม่สำรวมในอินทรีย์ทั้ง ๖... ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค
อาหาร... ไม่ประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่เสมอ... ไม่หมั่นประกอบ
สติสัมปชัญญะ... ไม่เจริญสติปัฏฐาน ๔... ไม่เจริญสัมมัปปธาน ๔... ไม่เจริญ
อิทธิบาท ๔... ไม่เจริญอินทรีย์ ๕... ไม่เจริญพละ ๕... ไม่เจริญโพชฌงค์ ๗... ไม่
เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘... ไม่กำหนดรู้ทุกข์... ไม่ละสมุทัย... ไม่เจริญมรรค” ความ
คะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นว่า “เราไม่ทำนิโรธให้ประจักษ์แจ้ง”
คำว่า พึงเว้นจากความคะนอง อธิบายว่า พึงงดเว้น เว้นขาดจากความ
คะนอง คือ พึงละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งความคะนอง ได้แก่
พึงเป็นผู้งด งดเว้น เว้นขาด ออก สลัดออก หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้องกับความคะนอง
มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส) อยู่ รวมความว่า พึงเว้นจากความคะนอง

ว่าด้วยความไม่ประมาท
คำว่า ไม่พึงประมาท อธิบายว่า พึงเป็นผู้ทำโดยเอื้อเฟื้อ ทำติดต่อ
ทำไม่หยุด ประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ละความพอใจ ไม่ทอดธุระ ชื่อว่าไม่ประมาทใน
กุศลธรรมทั้งหลาย คือ ความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขยัน
ความมีเรี่ยวแรง ความไม่ถอยกลับ สติสัมปชัญญะ ความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส
ความเพียรแรงกล้า ความตั้งใจ ความประกอบเนือง ๆ ด้วยคิดว่า “เราพึงทำ
สีลขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์โดยอุบายอย่างไร หรือพึงใช้ปัญญาตามรักษาสีลขันธ์
ที่บริบูรณ์ในข้อนั้น ๆ โดยอุบายอย่างไร” ดังนี้ ชื่อว่าไม่ประมาทในกุศลธรรม
ทั้งหลาย... ว่า “เราพึงทำสมาธิขันธ์... ปัญญาขันธ์... วิมุตติขันธ์... วิมุตติ-
ญาณทัสสนขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ โดยอุบายอย่างไร”... คือ ความพอใจ
ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขยัน ความมีเรี่ยวแรง ความไม่ถอยกลับ
สติสัมปชัญญะ ความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส ความเพียรแรงกล้า ความตั้งใจ
ความประกอบเนือง ๆ ด้วยคิดว่า “เราพึงกำหนดรู้ทุกข์ที่ยังมิได้กำหนดรู้ พึงละ
กิเลสที่ยังมิได้ละ พึงเจริญมรรคที่ยังมิได้เจริญ หรือพึงทำให้แจ้งนิโรธที่ยังมิได้ทำ
ให้แจ้ง โดยอุบายอย่างไร” ดังนี้ ชื่อว่าไม่ประมาทในกุศลธรรมทั้งหลาย รวมความ
ว่า พึงเว้นจากความคะนอง ไม่พึงประมาท

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๔๔๙ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส
คำว่า และ ในคำว่า และ...พึงอยู่ในที่นั่ง ที่นอนที่มีเสียงน้อย เป็นคำ
เชื่อมบท... ที่เป็นที่นั่งของภิกษุ ตรัสเรียกว่า ที่นั่ง ได้แก่ เตียง ตั่ง เบาะ เสื่อ
แผ่นหนัง เครื่องปูลาดทำด้วยหญ้า เครื่องปูลาดทำด้วยใบไม้ เครื่องปูลาดทำด้วยฟาง
เสนาสนะ ตรัสเรียกว่า ที่นอน ได้แก่ วิหาร เรือนหลังคาด้านเดียว ปราสาท
เรือนโล้น ถ้ำ รวมความว่า ในที่นั่ง ที่นอน
คำว่า ภิกษุ... พึงอยู่... ที่มีเสียงน้อย อธิบายว่า ภิกษุพึงเที่ยวไป พึงอยู่ คือ
เคลื่อนไหว เป็นไป รักษาชีวิต เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไปในเสนาสนะ
ที่มีเสียงน้อย คือ มีเสียงอึกทึกน้อย ปราศจากการสัญจรไปมาของผู้คน ควรเป็น
สถานที่ทำการลับของมนุษย์ สมควรเป็นที่หลีกเร้น รวมความว่า ภิกษุ... และพึงอยู่
ในที่นั่ง ที่นอนที่มีเสียงน้อย ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
ภิกษุพึงเป็นผู้มีฌาน ไม่พึงเป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข
พึงเว้นจากความคะนอง ไม่พึงประมาท
และพึงอยู่ในที่นั่งที่นอนที่มีเสียงน้อย
[๑๖๑] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
ภิกษุไม่พึงหลับมาก มีความเพียรเครื่องเผากิเลส
พึงประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่
พึงละเว้นความเกียจคร้าน ความหลอกลวง เรื่องชวนหัว
การเล่น เมถุนธรรม พร้อมทั้งการประดับตกแต่ง

ว่าด้วยเรื่องการแบ่งเวลา
คำว่า ภิกษุไม่พึงหลับมาก อธิบายว่า พึงแบ่งกลางคืนและกลางวันออก
เป็น ๖ ส่วน ตื่นเสีย ๕ ส่วน นอนหลับเสีย ๑ ส่วน รวมความว่า ภิกษุไม่พึง
หลับมาก
คำว่า มีความเพียรเครื่องเผากิเลส พึงประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่
อธิบายว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกางกั้นด้วย
การเดินจงกรมและการนั่งตลอดวัน คือ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกางกั้น
ด้วยการจงกรมและการนั่งตลอดปฐมยามแห่งราตรี สำเร็จการนอนอย่างราชสีห์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๔๕๐ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส
(สีหไสยาสน์) โดยตะแคงด้านขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ กำหนด
เวลาตื่นไว้ในใจ ตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี ลุกขึ้นแล้วชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรม
เครื่องกางกั้นด้วยการเดินจงกรมและการนั่งตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี
คำว่า พึงประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่ ได้แก่ พึงประกอบ คือ ประกอบ
ด้วยดี เสพ เสพเป็นนิจ ซ่องเสพ เสพเฉพาะความเพียรเครื่องตื่นอยู่ รวมความว่า
พึงประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่
คำว่า มีความเพียรเครื่องเผากิเลส อธิบายว่า ความเพียร ตรัสเรียกว่า
ความเพียรเครื่องเผากิเลส คือ การปรารภความเพียร การก้าวออก การก้าวไป
ข้างหน้า การย่างขึ้นไป ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขยัน ความมั่นคง
ความทรงไว้ ความบากบั่นไม่ย่อหย่อน ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ
ความประคองธุระไว้ วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ สัมมาวายามะ อันเป็นไปทางใจ
ภิกษุผู้ประกอบ ประกอบพร้อม ดำเนินไป ดำเนินไปพร้อม เป็นไป เป็นไปพร้อม
เพียบพร้อมด้วยความเพียรเครื่องเผากิเลส นี้ตรัสเรียกว่า ผู้มีความเพียรเครื่อง
เผากิเลส รวมความว่า มีความเพียรเครื่องเผากิเลส พึงประกอบความเพียรเครื่อง
ตื่นอยู่

ว่าด้วยความเกียจคร้าน
คำว่า ความเกียจคร้าน ในคำว่า พึงละเว้นความเกียจคร้าน ความ
หลอกลวง เรื่องชวนหัว การเล่น เมถุนธรรม พร้อมทั้งการประดับตกแต่ง ได้แก่
ความเกียจคร้าน กิริยาที่เกียจคร้าน ภาวะที่เกียจคร้าน ความเป็นผู้มีใจเกียจคร้าน
ความขี้เกียจ กิริยาที่ขี้เกียจ ภาวะที่ขี้เกียจ นี้ตรัสเรียกว่า ความเกียจคร้าน
คำว่า ความหลอกลวง อธิบายว่า ความประพฤติหลอกลวง ตรัสเรียกว่า
ความหลอกลวง
คนบางคนในโลกนี้ ประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ แล้วตั้งความปรารถนา
ชั่วทราม เพราะการปกปิดทุจริตนั้นเป็นเหตุ คือปรารถนาว่า “ใครอย่ารู้ทันเราเลย”
ดำริว่า “ใครอย่ารู้ทันเราเลย” กล่าววาจาด้วยคิดว่า “ใครอย่ารู้ทันเราเลย”
พยายามทางกายด้วยคิดว่า “ใครอย่ารู้ทันเราเลย”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๔๕๑ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส
ความหลอกลวง ความเป็นผู้มีความหลอกลวง ความเสแสร้ง ความลวง
ความล่อลวง การปิดบัง การหลบเลี่ยง การหลีกเลี่ยง การซ่อน การซ่อนเร้น
การปิด การปกปิด การไม่เปิดเผย การไม่ทำให้แจ่มแจ้ง การปิดสนิท การทำ
ความชั่วเห็นปานนี้ นี้ตรัสเรียกว่า ความหลอกลวง
คำว่า เรื่องชวนหัว อธิบายว่า บุคคลบางคนในโลกนี้ หัวเราะเกินประมาณ
หัวเราะจนเห็นฟัน สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ในวินัยของพระอริยะ การ
หัวเราะเกินประมาณ หัวเราะจนเห็นฟัน นี้เป็นกิริยาของเด็ก”

ว่าด้วยการเล่น ๒ อย่าง
คำว่า การเล่น ได้แก่ การเล่น ๒ อย่าง คือ
๑. การเล่นทางกาย ๒. การเล่นทางวาจา
การเล่นทางกาย เป็นอย่างไร
คือ คนย่อมเล่นกีฬาบังคับช้างบ้าง เล่นกีฬาบังคับม้าบ้าง เล่นรถ เล่นธนู เล่น
หมากรุกแถวละ ๘ ตา หรือเล่นหมากแถวละ ๑๐ ตา เล่นหมากเก็บ เล่นดวด เล่น
หมากไหว เล่นโยนบ่วง เล่นไม้หึ่ง เล่นฟาดให้เป็นรูปต่าง ๆ เล่นสะกา เล่นเป่าใบไม้
เล่นไถเล็ก ๆ เล่นหกคะเมน เล่นกังหัน เล่นตวงทราย เล่นรถเล็ก ๆ เล่นธนูเล็ก ๆ
เล่นเขียนทราย เล่นทายใจ เล่นล้อเลียนคนพิการ นี้ชื่อว่าการเล่นทางกาย
การเล่นทางวาจา เป็นอย่างไร
คือ การทำเสียงกลองด้วยปาก ทำเสียงพิณพาทย์ด้วยปาก เล่นรัวกลองด้วย
ปาก ผิวปาก กะเดาะปาก เป่าปาก ซ้อมเพลง โห่ร้อง ขับร้อง เล่นตลก นี้ชื่อว่าการ
เล่นทางวาจา
ธรรมเนียมของอสัตบุรุษ คือ ธรรมเนียมของชาวบ้าน ธรรมเนียมชั้นต่ำ
ธรรมเนียมที่เลวทราม ธรรมเนียมที่มีน้ำเป็นที่สุด ธรรมเนียมที่ปฏิบัติกันในที่ลับ
ธรรมเนียมที่ต้องปฏิบัติกันเป็นคู่ ๆ ชื่อว่าเมถุนธรรม เพราะเหตุไร จึงตรัสเรียกว่า
เมถุนธรรม เพราะธรรมนั้นเป็นธรรมเนียมของคนคู่ ผู้กำหนัด กำหนัดนัก เปียกชุ่ม
กลัดกลุ้มด้วยราคะ ถูกราคะครอบงำจิตเสมอกันทั้ง ๒ คน เพราะเหตุนั้น จึงตรัส
เรียกว่า เมถุนธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๔๕๒ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส
คน ๒ คนก่อการทะเลาะกัน... คน ๒ คนก่อการบาดหมางกัน... คน ๒ คนก่อ
เรื่องอื้อฉาวกัน... คน ๒ คนก่อการวิวาทกัน... คน ๒ คนก่ออธิกรณ์กัน... คน ๒
คนสนทนากัน... คน ๒ คนเจรจากัน เรียกว่า คู่เจรจา ฉันใด ธรรมนั้นเป็น
ธรรมเนียมของคนคู่ ผู้กำหนัด กำหนัดนัก เปียกชุ่ม กลัดกลุ้มด้วยราคะ
ถูกราคะครอบงำจิตเสมอกันทั้ง ๒ คน ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า
เมถุนธรรม

ว่าด้วยการประดับตกแต่ง ๒ อย่าง
คำว่า การประดับตกแต่ง ได้แก่ การประดับตกแต่ง ๒ อย่าง คือ
๑. การประดับตกแต่งของคฤหัสถ์ ๒. การประดับตกแต่งของบรรพชิต
การประดับตกแต่งของคฤหัสถ์ เป็นอย่างไร
คือ การแต่งผม การแต่งหนวด การทัดดอกไม้ การประพรมเครื่องหอม การย้อมผิว การ
ใช้เครื่องประดับ การใช้เครื่องแต่งตัว การนุ่งผ้าสวยงาม การประดับข้อมือ
การโพกผ้าโพกศีรษะ การอบตัว การนวดตัว การอาบน้ำ การดัดตัว การส่องกระจก
การทาเปลือกตา การสวมพวงดอกไม้ การทาปาก การเจิมหน้า การผูกข้อมือ การ
เกล้าผม การใช้ไม้เท้า การใช้ทะนาน การใช้พระขรรค์ การใช้ร่ม การสวมรองเท้า
สวยงาม การติดกรอบหน้า การปักปิ่น การใช้พัด การนุ่งผ้าขาว การนุ่งผ้าชายยาว
นี้ชื่อว่าการประดับตกแต่งของคฤหัสถ์
การประดับตกแต่งของบรรพชิต เป็นอย่างไร
คือ การตกแต่งจีวร การตกแต่งบาตร การตกแต่งเสนาสนะ การตกแต่ง การ
ประดับประดา การเล่นสนุกในการประดับ ความเพลิดเพลินในการประดับ ความ
ปรารถนาการประดับ ความเป็นผู้ปรารถนาการประดับ กิริยาที่ประดับ ความเป็น
กิริยาที่ประดับร่างกายอันเน่าเปื่อยนี้ หรือบริขารอันเป็นภายนอก นี้ชื่อว่าการ
ประดับตกแต่งของบรรพชิต
คำว่า พึงละเว้นความเกียจคร้าน ความหลอกลวง เรื่องชวนหัว การเล่น
เมถุนธรรม พร้อมทั้งการประดับตกแต่ง อธิบายว่า พึงละเว้น คือ บรรเทา ทำให้
หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งความเกียจคร้าน ความหลอกลวง เรื่องชวนหัว
การเล่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๔๕๓ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส
และเมถุนธรรม พร้อมทั้งการประดับตกแต่ง คือ พร้อมทั้งบริวาร
พร้อมทั้งบริภัณฑ์ พร้อมทั้งบริขาร รวมความว่า พึงละเว้นความเกียจคร้าน ความ
หลอกลวง เรื่องชวนหัว การเล่น เมถุนธรรม พร้อมทั้งการประดับตกแต่ง
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
ภิกษุไม่พึงหลับมาก มีความเพียรเครื่องเผากิเลส
พึงประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่
พึงละเว้นความเกียจคร้าน ความหลอกลวง เรื่องชวนหัว
การเล่น เมถุนธรรม พร้อมทั้งการประดับตกแต่ง
[๑๖๒] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
ผู้นับถือพระรัตนตรัย ไม่พึงประกอบการทำอาถรรพณ์
การทำนายฝัน การทำนายลักษณะ หรือแม้การดูฤกษ์ยาม
ไม่พึงเรียนการทำนายเสียงสัตว์ร้อง
การปรุงยาให้ตั้งครรภ์ และการบำบัดรักษาโรค

ว่าด้วยการทำอาถรรพณ์
คำว่า ไม่พึงประกอบการทำอาถรรพณ์๑ การทำนายฝัน การทำนายลักษณะ
หรือแม้การดูฤกษ์ยาม อธิบายว่า นักทำอาถรรพณ์ย่อมพากันประกอบอาถรรพณ์
เมื่อนครถูกล้อม หรือเมื่อสงครามตั้งประชิดกัน ก็ทำให้เสนียดจัญไรเกิดขึ้น ทำให้
อันตรายเกิดขึ้น ทำให้โรคเกิดขึ้น ทำให้มีอาการจุกเสียด ทำให้มีอาการลงราก
ทำให้มีอาการเซื่องซึม ทำให้เกิดโรคบิดในหมู่คนที่เป็นข้าศึก เป็นศัตรูกัน นักทำ
อาถรรพณ์พากันประกอบอาถรรพณ์อย่างนี้

ว่าด้วยการทำนายฝัน
พวกนักทำนายฝัน ย่อมทำนายฝันว่า “คนฝันเวลาเช้าจะมีผลอย่างนี้ คนฝัน
เวลาเที่ยงจะมีผลอย่างนี้ คนฝันเวลาเย็นจะมีผลอย่างนี้ คนฝันเวลาปฐมยาม... ฝัน
เวลามัชฌิมยาม... ฝันเวลาปัจฉิมยาม... คนนอนตะแคงขวาฝัน... คนนอนตะแคง

เชิงอรรถ :
๑ อาถรรพณ์ หมายถึงคาถาอาคมทางไสยศาสตร์ หรือเวทมนตร์ที่ใช้เพื่อให้ดีหรือร้าย เป็นคัมภีร์อีกเล่ม
หนึ่งในคัมภีร์พระเวท (ขุ.ม.อ. ๑๒๖/๔๑๗) ดูเชิงอรรถข้อ ๑๒๕/๓๕๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๔๕๔ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส
ซ้ายฝัน... คนนอนหงายฝัน... คนนอนคว่ำฝัน... คนฝันเห็นดวงจันทร์... คนฝันเห็น
ดวงอาทิตย์... คนฝันเห็นมหาสมุทร... คนฝันเห็นขุนเขาสิเนรุ... คนฝันเห็นช้าง...
คนฝันเห็นม้า... คนฝันเห็นรถ... คนฝันเห็นพลเดินเท้า... คนฝันเห็นกระบวนทัพ...
คนฝันเห็นสวนที่น่ารื่นรมย์... คนฝันเห็นป่าที่น่ารื่นรมย์... คนฝันเห็นพื้นที่ที่น่ารื่นรมย์...
คนฝันเห็นสระน้ำที่น่ารื่นรมย์ จะมีผลอย่างนี้” พวกนักทำนายฝันย่อมทำนายฝัน
อย่างนี้

ว่าด้วยการทำนายลักษณะ
พวกนักทำนายลักษณะ ย่อมทำนายลักษณะ คือ ลักษณะแก้วมณี ลักษณะ
ไม้พลอง ลักษณะผ้า ลักษณะดาบ ลักษณะศร ลักษณะธนู ลักษณะอาวุธ ลักษณะ
สตรี ลักษณะบุรุษ ลักษณะเด็กหญิง ลักษณะเด็กชาย ลักษณะทาสหญิง ลักษณะ
ทาสชาย ลักษณะช้าง ลักษณะม้า ลักษณะกระบือ ลักษณะโคอุสภะ ลักษณะโคสามัญ
ลักษณะแพะ ลักษณะแกะ ลักษณะไก่ ลักษณะนกกระทา ลักษณะเหี้ย ลักษณะตุ้มหู
ลักษณะเต่า ลักษณะมฤค พวกนักทำนายลักษณะย่อมทำนายลักษณะอย่างนี้

ว่าด้วยการดูฤกษ์ยาม
พวกนักทำนายฤกษ์ยาม ย่อมทำนายฤกษ์ยามว่า ฤกษ์มี ๒๘ ฤกษ์๑ ควรทำ
งานมงคลขึ้นบ้านใหม่โดยฤกษ์นี้ ควรทำงานมงคลผูกเครื่องประดับโดยฤกษ์นี้ ควร
ทำงานมงคลแต่งงานโดยฤกษ์นี้ ควรทำงานมงคลปลูกพืชโดยฤกษ์นี้ ควรทำงาน
มงคลครองเรือนโดยฤกษ์นี้ พวกนักทำนายฤกษ์ยาม ย่อมทำนายฤกษ์ยามอย่างนี้

เชิงอรรถ :
๑ ฤกษ์ ๒๘ เป็นชื่อฤกษ์ตามตำราโหราศาสตร์ ซึ่งเป็นความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ จะประกอบอะไรก็ตาม
จะต้องมีเรื่องฤกษ์ยามเข้ามาเกี่ยวข้องตั้งแต่เกิดจนถึงตาย ทุกอย่างจะขาดเรื่องฤกษ์ยามไปมิได้ แม้ฤกษ์
ยามตามที่ปรากฏนี้ ก็เกี่ยวข้องกับฤกษ์ยามการเกิดจนถึงตาย และพิธีกรรมทุกอย่าง อันเป็นความเชื่อ
ในทางศาสนาพราหมณ์ เช่น หญิงชายใดเกิดมาในขณะพระจันทร์เสวยอัสวนีฤกษ์ จะเป็นคนมีปัญญารู้
ศิลปศาสตร์มาก เป็นต้น ฤกษ์ ๒๘ ได้แก่
(๑) อัสวนี ดาวม้า มี ๗ ดวง รูปเหมือนม้า
(๒) ภรณี ดาวแม่ไก่ รูปสามเส้า
(๓) กัตติกา ดาวลูกไก่ มี ๘ ดวง มีรูปเหมือนฝูงไก่
(๔) โรหิณี ดาวจมูกม้า มี ๗ ดวง รูปเหมือนไม้ค้ำเกวียน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๔๕๕ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส
คำว่า ไม่พึงประกอบการทำอาถรรพณ์ การทำนายฝัน การทำนายลักษณะ
หรือแม้การดูฤกษ์ยาม อธิบายว่า ไม่พึงประกอบ คือ ไม่พึงประพฤติ ไม่พึง
ประพฤติโดยเอื้อเฟื้อ ไม่พึงสมาทานประพฤติ การทำอาถรรพณ์ การทำนายฝัน
การทำนายลักษณะ หรือแม้การดูฤกษ์ยาม
อีกนัยหนึ่ง ไม่ควรเรียน ไม่ควรท่อง ไม่ควรทรงจำ ไม่ควรเข้าไปทรงจำ
ไม่ควรเข้าไปกำหนด ไม่ควรประกอบการทำอาถรรพณ์ เป็นต้น รวมความว่า
ไม่พึงประกอบการทำอาถรรพณ์ การทำนายฝัน การทำนายลักษณะ หรือแม้การดู
ฤกษ์ยาม

เชิงอรรถ :
(๕) มิคสิระ ดาวหัวเนื้อ มี ๓ ดวง รูปเหมือนหัวเนื้อ
(๖) อัททา ดาวฉัตร รูปเหมือนแก้วปัทมราช
(๗) ปุนัพสุ ดาวสำเภา มี ๓ ดวง รูปเหมือนสำเภา
(๘) ปุสยะ ดาวปุยฝ้าย มี ๕ ดวง รูปเหมือนรูปหีบ
(๙) อิสิเลสะ ดาวพ้อม มี ๕ ดวง รูปเหมือนคู้ข้อศอก
(๑๐) มาฆะ ดาววานร-ไถ มีรูปเหมือนงอนไถ
(๑๑) ปุพพผัคคุณี ดาวเพดานหน้า มีรูปเหมือนเพดาน
(๑๒) อุตตผัคคุณี ดาวเพดานหลัง มีรูปเหมือนดาวเพดานเรียงกัน
(๑๓) หัตถะ ดาวฝ่ามือ มี ๕ ดวง มีรูปเหมือนเหนียงสัตว์และฝ่ามือ
(๑๔) จิตตะ ดาวตาจระเข้ มีรูป มีวรรณเหมือนแก้วไพฑูรย์
(๑๕) สาติ ดาวช้างพัง มีรูปเหมือนเหนียงผูกคอสุนัข
(๑๖) วิสาขา ดาวเขากระบือ-แขนนาง มีรูปเหมือนแขนนาง
(๑๗) อนุราธะ ดาวหมี-หน้าไม้ มี ๔ ดวง มีรูปเป็นเหมือนหน้าไม้
(๑๘) เชฏฐา ดาวแพะ-ช้างใหญ่ มีรูปคด ๆ
(๑๙) มูละ ดาวช้างน้อย มี ๙ ดวง มีรูปเหมือนช้างน้อย
(๒๐) ปุพพาสาฬหะ ดาวแรดตัวผู้ มี ๓ ดวง เป็นเหมือนปากนก
(๒๑) อุตตราสาฬหะ ดาวแรดตัวเมีย มี ๕ ดวง เป็นเหมือนรูปครุฑ
(๒๒) สาวนะ ดาวคนจำศีล มี ๓ ดวง เป็นเหมือนหลักชัย
(๒๓) ธนิฏฐะ ดาวกา มี ๔ ดวง เป็นเหมือนรูปไซ
(๒๔) สตภิสกะ ดาวมังกร มี ๔ ดวง เป็นเหมือนรูปหางพิมพ์ทอง
(๒๕) ปุพพาภัททะ ดาวราชสีห์ตัวผู้ มี ๒ ดวง มีรูปเหมือนเพดาน
(๒๖) อุตตราภัททะ ดาวราชสีห์ตัวเมีย มี ๒ ดวง มีรูปเหมือนเพดาน
(๒๗) เรวตี ดาวปลาตะเพียน มี ๓๖ ดวง มีรูปเหมือนรูปไซและปลาตะเพียน
(๒๘) ฤกษ์พานาที ระยะเวลาที่เป็นฤกษ์ (เทพ สาริกบุตร. พระคัมภีร์ฤกษ์, โรงพิมพ์ศิลปาบรรณาคาร,
กรุงเทพฯ, พ.ศ.๒๐๕๓, พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๒๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๔๕๖ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส
คำว่า ผู้นับถือพระรัตนตรัย... ไม่พึงเรียนการทำนายเสียงสัตว์ร้อง การ
ปรุงยาให้ตั้งครรภ์ และการบำบัดรักษาโรค อธิบายว่า เสียงเนื้อ(มฤค) และเสียง
นกร้อง ตรัสเรียกว่า เสียงสัตว์ร้อง พวกนักทำนายเสียงเนื้อและเสียงนกร้องย่อม
ทำนายเสียงเนื้อและเสียงนกร้อง คือ รู้จักเสียงร้อง เสียงเจรจากันของพวกนก หรือ
พวกสัตว์ ๔ เท้า พวกนักทำนายเสียงเนื้อและเสียงนกร้องย่อมทำนายเสียงเนื้อและ
เสียงนกร้องอย่างนี้ พวกคนปรุงยาให้ตั้งครรภ์ได้ ก็ทำให้ตั้งครรภ์ขึ้น ครรภ์ย่อมตั้ง
อยู่ไม่ได้ เพราะเหตุ ๒ อย่าง คือ (๑) เพราะเชื้อโรค (๒) เพราะลมกำเริบ พวกคน
ปรุงยาให้ตั้งครรภ์ย่อมให้ยาเพื่อกำจัดเชื้อโรค หรือบำบัดลมกำเริบ พวกคนปรุงยา
ให้ตั้งครรภ์ได้ ก็ทำให้ตั้งครรภ์ขึ้นอย่างนี้

ว่าด้วยการบำบัดรักษาโรค
คำว่า การบำบัดรักษาโรค ได้แก่ การบำบัดรักษาโรค ๕ อย่าง คือ
๑. การรักษาด้วยการเสกเป่า ๒. การรักษาด้วยการผ่าตัด
๓. การรักษาทางยา ๔. การรักษาทางภูติผี
๕. การรักษาโรคเด็ก (กุมารเวช)
คำว่า ผู้นับถือพระรัตนตรัย ได้แก่ ผู้นับถือพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์
ผู้นั้นนับถือพระผู้มีพระภาคว่าของเรา พระผู้มีพระภาคก็ทรงรับรองบุคคลนั้น
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้คดโกง
แข็งกระด้าง พูดพล่อย กรีดกราย มีมานะจัด มีจิตไม่มั่นคง ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
เหล่านั้น มิใช่ผู้นับถือเรา เป็นผู้ไปจากธรรมวินัยนี้แล้ว และภิกษุเหล่านั้นจะไม่ถึง
ความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้ ส่วนภิกษุเหล่าใด ไม่คดโกง ไม่พูด
พล่อย เป็นนักปราชญ์ ไม่แข็งกระด้าง มีจิตมั่นคง ภิกษุเหล่านั้น เป็นผู้นับถือเรา
เป็นผู้ไม่ไปจากธรรมวินัยนี้ และภิกษุเหล่านั้นจะถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์
ในธรรมวินัยนี้”
(พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณ์ภาษิตนี้แล้ว จึงตรัสคาถา
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๔๕๗ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส
ภิกษุทั้งหลาย ผู้คดโกง แข็งกระด้าง
พูดพล่อย กรีดกราย มีมานะจัด มีจิตไม่มั่นคง
ย่อมไม่งอกงามในธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงแล้ว
(ส่วน)ภิกษุทั้งหลาย ผู้ไม่คดโกง ไม่พูดพล่อย
เป็นนักปราชญ์ ไม่แข็งกระด้าง มีจิตมั่นคง
ย่อมงอกงามในธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงแล้ว๑
คำว่า ผู้นับถือพระรัตนตรัย... ไม่พึงเรียนการทำนายเสียงสัตว์ร้อง การ
ปรุงยาให้ตั้งครรภ์ และการบำบัดรักษาโรค อธิบายว่า ผู้นับถือพระรัตนตรัย ไม่พึง
เรียน คือ ไม่พึงเล่าเรียน ไม่พึงเสพพร้อม ไม่พึงเสพเฉพาะ ไม่พึงประพฤติ ไม่พึง
ประพฤติเอื้อเฟื้อ ไม่พึงสมาทานประพฤติการทำนายเสียงสัตว์ร้อง การปรุงยาให้ตั้ง
ครรภ์ และการบำบัดรักษาโรค
อีกนัยหนึ่ง ไม่ควรเรียน ไม่ควรท่อง ไม่ควรทรงจำ ไม่ควรเข้าไปทรงจำ ไม่ควร
เข้าไปกำหนด ไม่ควรประกอบการทำนายเสียงสัตว์ร้องเป็นต้น รวมความว่า
ผู้นับถือพระรัตนตรัย... ไม่พึงเรียนการทำนายเสียงสัตว์ร้อง การปรุงยาให้ตั้งครรภ์
และการบำบัดรักษาโรค ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
ผู้นับถือพระรัตนตรัย ไม่พึงประกอบการทำอาถรรพณ์
การทำนายฝัน การทำนายลักษณะ หรือแม้การดูฤกษ์ยาม
ไม่พึงเรียนการทำนายเสียงสัตว์ร้อง
การปรุงยาให้ตั้งครรภ์ และการบำบัดรักษาโรค
[๑๖๓] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
ภิกษุไม่พึงหวั่นไหวเพราะการนินทา
ได้รับการสรรเสริญแล้วก็ไม่พึงลำพองตน
พึงบรรเทาความโลภพร้อมทั้งความตระหนี่
ความโกรธและวาจาส่อเสียด

เชิงอรรถ :
๑ องฺ.จตุกฺก. ๒๑/๒๖/๓๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๔๕๘ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส
ว่าด้วยไม่หวั่นไหวเพราะนินทาและสรรเสริญ
คำว่า ไม่พึงหวั่นไหวเพราะการนินทา อธิบายว่า คนบางพวกในโลกนี้
พากันนินทา คือ ติเตียน ว่าร้ายภิกษุ ด้วยชาติบ้าง ด้วยโคตรบ้าง ด้วยความเป็น
บุตรของผู้มีตระกูลบ้าง ด้วยความเป็นคนมีรูปงามบ้าง ด้วยทรัพย์บ้าง ด้วยการ
ศึกษาบ้าง ด้วยหน้าที่การงานบ้าง ด้วยหลักแห่งศิลปวิทยาบ้าง ด้วยวิทยฐานะบ้าง
ด้วยความคงแก่เรียนบ้าง ด้วยปฏิภาณบ้าง ด้วยสิ่งอื่นนอกจากที่กล่าวแล้วบ้าง
ภิกษุผู้ถูกนินทา ติเตียน ว่าร้ายแล้ว ก็ไม่พึงหวั่นไหว ไม่พึงสั่นเทา ไม่พึงกระสับ
กระส่าย ไม่พึงหวาดเสียว ไม่พึงครั่นคร้าม ไม่พึงเกรงกลัว ไม่พึงหวาดกลัว ไม่พึง
ถึงความสะดุ้งกลัว คือ ไม่พึงขลาด ไม่พึงหวาดเสียว ไม่พึงสะดุ้ง ไม่พึงหนีไป
เพราะการนินทา เพราะการติเตียน เพราะการว่าร้าย เพราะความเสื่อมเสียเกียรติ
เพราะถูกกล่าวโทษ พึงเป็นผู้ละภัยและความหวาดกลัวได้แล้ว หมดความขนพอง
สยองเกล้าอยู่ รวมความว่า ไม่พึงหวั่นไหวเพราะการนินทา
คำว่า ภิกษุ... ได้รับการสรรเสริญแล้วก็ไม่พึงลำพองตน อธิบายว่า คนบาง
พวกในโลกนี้พากันสรรเสริญ คือ ชมเชย ยกย่อง พรรณนาคุณภิกษุ ด้วยชาติบ้าง...
ด้วยสิ่งอื่นนอกจากที่กล่าวแล้วบ้าง
ภิกษุได้รับการสรรเสริญ คือ ชมเชย ยกย่อง พรรณนาคุณแล้วก็ไม่พึงทำความ
ลำพองตน คือ ไม่พึงทำความเย่อหยิ่ง ไม่พึงทำความถือตัว ไม่พึงทำความหัวดื้อ ไม่
พึงให้เกิดความถือตัว ไม่พึงเป็นคนจองหอง ปั้นปึ่ง หัวสูง เพราะการสรรเสริญ การ
ชมเชย การยกย่อง การพรรณนาคุณนั้น รวมความว่า ภิกษุ... ได้รับการสรรเสริญ
แล้วก็ไม่พึงลำพองตน
คำว่า ความโลภ ในคำว่า พึงบรรเทาความโลภพร้อมทั้งความตระหนี่
ความโกรธและวาจาส่อเสียด ได้แก่ ความโลภ กิริยาที่โลภ ภาวะที่โลภ ความ
กำหนัดนัก กิริยาที่กำหนัดนัก ภาวะที่กำหนัดนัก อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ
คำว่า ความตระหนี่ ได้แก่ มัจฉริยะ ๕ อย่าง คือ (๑) อาวาสมัจฉริยะ...
ความยึดถือ ตรัสเรียกว่า ความตระหนี่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๔๕๙ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส
คำว่า ความโกรธ ได้แก่ ใจปองร้าย มุ่งร้าย ขัดเคือง ขุ่นเคือง เคือง เคืองมาก
เคืองตลอด ชัง ชิงชัง เกลียดชัง ใจพยาบาท ใจแค้นเคือง ความโกรธ กิริยาที่โกรธ
ภาวะที่โกรธ ความคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย ภาวะที่คิดประทุษร้าย
ความคิดปองร้าย กิริยาที่คิดปองร้าย ภาวะที่คิดปองร้าย ความโกรธ ความแค้น
ความดุร้าย ความเกรี้ยวกราด ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต
คำว่า วาจาส่อเสียด ได้แก่ คนบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีวาจาส่อเสียด ฟังจาก
ข้างนี้แล้วไปบอกข้างโน้นเพื่อทำลายคนหมู่นี้ หรือฟังจากข้างโน้นแล้วไปบอกข้างนี้
เพื่อทำลายคนหมู่โน้น ด้วยวิธีนี้ ก็ทำคนที่สามัคคีให้แตกแยก หรือ สนับสนุนผู้ที่
แตกแยกกันแล้ว ชอบการแบ่งพวกแบ่งเหล่า ยินดีการแบ่งพวกแบ่งเหล่า สนุกกับ
การแบ่งพวกแบ่งเหล่า พูดแต่เรื่องก่อให้เกิดการแบ่งพวกแบ่งเหล่า นี้ตรัสเรียกว่า
วาจาส่อเสียด
อีกนัยหนึ่ง บุคคลย่อมนำวาจาส่อเสียดเข้าไปด้วยเหตุ ๒ อย่าง คือ (๑) ด้วย
ประสงค์ให้ตนเป็นที่รัก (๒) ด้วยประสงค์ให้เขาแตกกัน
บุคคลย่อมนำวาจาส่อเสียดเข้าไปด้วยประสงค์ให้ตนเป็นที่รัก เป็นอย่างไร
คือ บุคคลย่อมนำวาจาส่อเสียดเข้าไปด้วยประสงค์ให้ตนเป็นที่รักด้วยคิดว่า
“เราจักเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่คุ้นเคย เป็นที่สนิทสนม เป็นที่ดีใจของผู้นี้”
บุคคลย่อมนำวาจาส่อเสียดเข้าไปด้วยประสงค์ให้ตนเป็นที่รัก เป็นอย่างนี้
บุคคลย่อมนำวาจาส่อเสียดเข้าไปด้วยประสงค์ให้เขาแตกกัน เป็นอย่างไร
คือ บุคคลย่อมนำวาจาส่อเสียดเข้าไปด้วยคิดว่า “ทำอย่างไร ชนเหล่านี้ พึง
เป็นคนแปลกแยก แตกต่าง เป็นพรรคเป็นเหล่า เป็น ๒ พวก เป็น ๒ ฝัก ๒ ฝ่าย
แตกแยก ไม่ปรองดองกัน อยู่ลำบาก ไม่สบาย” บุคคลย่อมนำวาจาส่อเสียดเข้าไป
ด้วยประสงค์ให้เขาแตกกัน เป็นอย่างนี้
คำว่า พึงบรรเทาความโลภพร้อมทั้งความตระหนี่ ความโกรธและวาจา
ส่อเสียด อธิบายว่า พึงทุเลา พึงบรรเทา คือ ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึง
ความไม่มีอีกซึ่งความโลภ ความตระหนี่ ความโกรธ และวาจาส่อเสียด รวมความว่า
พึงบรรเทาความโลภพร้อมทั้งความตระหนี่ ความโกรธและวาจาส่อเสียด ด้วยเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๔๖๐ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส
ภิกษุไม่พึงหวั่นไหวเพราะการนินทา
ได้รับการสรรเสริญแล้วก็ไม่พึงลำพองตน
พึงบรรเทาความโลภพร้อมทั้งความตระหนี่
ความโกรธและวาจาส่อเสียด
[๑๖๔] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
ภิกษุไม่พึงดำรงชีวิตในการซื้อขาย
ไม่พึงก่อกิเลสเป็นเหตุว่าร้ายในที่ไหน ๆ
ไม่พึงเกี่ยวข้องในบ้าน และไม่พึงพูดเลียบเคียงกับคน
เพราะอยากได้ลาภ
คำว่า ไม่พึงดำรงชีวิตในการซื้อขาย อธิบายว่า การซื้อขายที่ทรงห้ามไว้
ในวินัย ไม่ทรงประสงค์เอาในเนื้อความนี้
ภิกษุดำรงชีวิตในการซื้อขาย เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุเมื่อทำความล่อลวง หรือปรารถนากำไร แลกเปลี่ยนบาตร จีวร
หรือบริขารอื่นอย่างใดอย่างหนึ่งกับสหธรรมิก ๑ จำพวก ภิกษุชื่อว่าดำรงชีวิตในการ
ซื้อขาย เป็นอย่างนี้
ภิกษุไม่ดำรงชีวิตในการซื้อขาย เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุเมื่อไม่ทำความล่อลวง หรือ ไม่ปรารถนากำไร ไม่แลกเปลี่ยนบาตร จีวร
หรือบริขารอื่นอย่างใดอย่างหนึ่งกับสหธรรมิก ๕ จำพวก๑ ภิกษุชื่อว่าไม่ดำรงชีวิตใน
การซื้อขาย เป็นอย่างนี้
คำว่า ไม่พึงดำรงชีวิตในการซื้อขาย อธิบายว่า ไม่พึงดำรงชีวิต คือ ไม่พึง
ดำรงตนในการซื้อขาย ได้แก่ พึงละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีก
ซึ่งการซื้อขาย พึงเป็นผู้งด งดเว้น เว้นขาด ออก สลัดออก หลุดพ้นไม่เกี่ยวข้อง
กับการซื้อขาย มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส)อยู่ รวมความว่า ไม่พึงดำรงชีวิตในการ
ซื้อขาย

เชิงอรรถ :
๑ สหธรรมิก ๕ ได้แก่ภิกษุ ภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี (ขุ.ม.อ. ๑๖๔/๔๒๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๔๖๑ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส
ว่าด้วยกิเลส
คำว่า ภิกษุ... ไม่พึงก่อกิเลสเป็นเหตุว่าร้ายในที่ไหน ๆ อธิบายว่า กิเลส
เป็นเหตุก่อการว่าร้าย เป็นอย่างไร
สมณพราหมณ์บางพวก มีฤทธิ์ มีทิพพจักขุ รู้ใจคนอื่น สมณพราหมณ์เหล่านั้น
เห็น (รูป) ได้แต่ไกลบ้าง อยู่ใกล้ก็ไม่ปรากฏ (แก่ผู้อื่น) บ้าง รู้ใจ(ผู้อื่น) ด้วยใจ(ตน) บ้าง
เทวดา ผู้มีฤทธิ์ มีทิพพจักขุ รู้ใจคนอื่น เทวดาเหล่านั้น เห็น (รูป) ได้แต่ไกลบ้าง
อยู่ใกล้ก็ไม่ปรากฏ(แก่ผู้อื่น)บ้าง รู้ใจ(ผู้อื่น)ด้วยใจ(ตน)บ้าง ชนทั้งหลาย พึงว่าร้าย
สมณพราหมณ์ และเทวดาทั้งหลายนั้นด้วยกิเลสอย่างหยาบบ้าง ด้วยกิเลสอย่าง
กลางบ้าง ด้วยกิเลสอย่างละเอียดบ้าง
กิเลสอย่างหยาบ เป็นอย่างไร
คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เหล่านี้เรียกว่า กิเลสอย่างหยาบ
กิเลสอย่างกลาง เป็นอย่างไร
คือ กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก เหล่านี้เรียกว่า กิเลสอย่างกลาง
กิเลสอย่างละเอียด เป็นอย่างไร
คือ ความตรึกถึงญาติ ความตรึกถึงชนบท ความตรึกเพื่อความเป็นผู้ไม่ตาย
ความตรึกที่ประกอบด้วยความเอ็นดูผู้อื่น ความตรึกที่ประกอบด้วยลาภ สักการะ
และความสรรเสริญ ความตรึกที่ประกอบด้วยความไม่ดูหมิ่น เหล่านี้ เรียกว่า
กิเลสอย่างละเอียด
ภิกษุ ไม่พึงว่าร้ายสมณพราหมณ์และเทวดาเหล่านั้นด้วยกิเลสอย่างหยาบบ้าง
ด้วยกิเลสอย่างกลางบ้าง ด้วยกิเลสอย่างละเอียดบ้าง ไม่พึงก่อกิเลสเป็นเหตุว่าร้าย
คือ ไม่พึงก่อ ไม่พึงให้เกิด ไม่พึงให้เกิดขึ้น ไม่พึงให้บังเกิด ไม่พึงให้บังเกิดขึ้น ซึ่งกิเลส
เป็นเหตุว่าร้าย ได้แก่ พึงละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งกิเลส
เป็นเหตุว่าร้าย พึงเป็นผู้งด งดเว้น เว้นขาด ออก สลัดออก หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้อง
กับกิเลสเป็นเหตุว่าร้าย มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส) อยู่
คำว่า ในที่ไหนๆ ได้แก่ ในที่ไหน คือ ที่ไหน ๆ ที่ไร ๆ ภายใน ภายนอก
หรือทั้งภายในและภายนอก รวมความว่า ภิกษุ... ไม่พึงก่อกิเลสเป็นเหตุว่าร้ายในที่
ไหน ๆ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๔๖๒ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส
คำว่า ไม่พึงเกี่ยวข้องในบ้าน อธิบายว่า
ภิกษุเกี่ยวข้องในบ้าน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เกี่ยวข้องอยู่กับพวกคฤหัสถ์ในบ้าน เพลิดเพลิน
ร่วมกัน เศร้าโศกร่วมกัน เมื่อพวกเขาสุขก็สุขด้วย เมื่อพวกเขาทุกข์ก็ทุกข์ด้วย เมื่อ
พวกเขามีกิจที่ควรทำเกิดขึ้น ก็ลงมือช่วยเหลือด้วยตนเอง ภิกษุชื่อว่าเกี่ยวข้อง
ในบ้าน เป็นอย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง เวลาเช้า ภิกษุนุ่งห่มแล้วถือบาตรจีวรเข้าหมู่บ้าน หรือนิคมเพื่อ
บิณฑบาต ไม่รักษากาย ไม่รักษาวาจา ไม่รักษาจิต ไม่ตั้งสติ ไม่สำรวมอินทรีย์
เธอเกี่ยวข้องในที่นั้น ๆ รับในที่นั้น ๆ ติดอยู่ในที่นั้น ๆ ถึงความเสื่อมเสียในที่นั้น ๆ ภิกษุ
ชื่อว่าเกี่ยวข้องในบ้าน เป็นอย่างนี้บ้าง
ภิกษุไม่เกี่ยวข้องในบ้าน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่เกี่ยวข้องอยู่กับพวกคฤหัสถ์ในบ้าน ไม่เพลิดเพลิน
ร่วมกัน ไม่เศร้าโศกร่วมกัน เมื่อพวกเขาสุข ก็มิได้สุขด้วย เมื่อพวกเขาทุกข์ ก็มิได้
ทุกข์ด้วย เมื่อพวกเขามีกิจที่ควรทำเกิดขึ้น ก็มิได้ลงมือช่วยเหลือด้วยตนเอง ภิกษุ
ชื่อว่าไม่เกี่ยวข้องในบ้าน เป็นอย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง เวลาเช้า ภิกษุนุ่งห่มแล้วถือบาตรจีวรเข้าหมู่บ้าน หรือนิคมเพื่อ
บิณฑบาต รักษากาย รักษาวาจา รักษาจิต ตั้งสติ สำรวมอินทรีย์ เธอไม่เกี่ยวข้อง
ในที่นั้น ๆ ไม่รับในที่นั้น ๆ ไม่ติดอยู่ในที่นั้น ๆ ไม่ถึงความเสื่อมเสียในที่นั้น ๆ ภิกษุ
ชื่อว่าไม่เกี่ยวข้องในบ้าน เป็นอย่างนี้บ้าง
คำว่า ไม่พึงเกี่ยวข้องในบ้าน อธิบายว่า ไม่พึงเกี่ยวข้อง คือ ไม่พึงรับ ไม่พึง
ติดอยู่ ไม่พึงพัวพันในบ้าน ได้แก่ พึงเป็นผู้ไม่ยินดี ไม่ติดใจ ไม่สยบ ไม่หมกมุ่น
พึงเป็นผู้คลายความยินดี ปราศจากความยินดี สลัดทิ้งความยินดีในบ้านเสียได้...
มีตนอันประเสริฐเสวยสุขอยู่ รวมความว่า ไม่พึงเกี่ยวข้องในบ้าน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๔๖๓ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส
ว่าด้วยการพูดเลียบเคียง
คำว่า ไม่พึงพูดเลียบเคียงกับคนเพราะอยากได้ลาภ อธิบายว่า
การพูดเลียบเคียง เป็นอย่างไร
คือ การพูดหว่านล้อม พูดเลียบเคียง พูดเลียบเคียงอย่างดี การพูดยกย่อง
พูดยกย่องอย่างดี การพูดผูกพัน พูดผูกพันอย่างดี การพูดอวดอ้าง พูดอวดอ้าง
อย่างดี การพูดคำเป็นที่รัก ความเป็นผู้พูดมุ่งให้คนรัก ความเป็นผู้พูดเหลวไหล
ความเป็นผู้พูดประจบ ความเป็นผู้พูดแคะไค้ (กัดกินเนื้อหลังของผู้อื่น) ความเป็นผู้
พูดอ่อนหวาน พูดไพเราะ พูดปลูกไมตรี เป็นผู้ไม่พูดคำหยาบแก่คนอื่น ของภิกษุ
ผู้มั่นหมายลาภ สักการะ และความสรรเสริญ มีความปรารถนาชั่ว ถูกความอยาก
ครอบงำ เห็นแก่อามิส หนักในโลกธรรม นี้ตรัสเรียกว่า การพูดเลียบเคียง
อีกนัยหนึ่ง ภิกษุพูดเลียบเคียงกับคนด้วยเหตุ ๒ อย่าง คือ (๑) เมื่อวางตนต่ำ
ยกผู้อื่นสูง พูดเลียบเคียงกับคน (๒) เมื่อยกตนสูง วางผู้อื่นต่ำ พูดเลียบเคียงกับคน
ภิกษุเมื่อวางตนต่ำยกผู้อื่นสูง พูดเลียบเคียงกับคน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุกล่าวว่า พวกท่านมีอุปการะมากแก่ฉัน ฉันอาศัยพวกท่านแล้ว ได้จีวร
บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เพราะอาศัยพวกท่าน เห็น
แก่ท่าน คนเหล่าอื่นจึงสำคัญเพื่อให้ หรือเพื่อทำแก่ฉัน ชื่อเก่า ที่บิดามารดาตั้งให้
ฉันก็เลือนหายไปแล้ว ฉันมีคนรู้จักก็เพราะพวกท่านว่า เป็นพระประจำตระกูล
ของอุบาสกโน้น เป็นพระประจำตระกูลของอุบาสิกาโน้น ภิกษุชื่อว่าวางตนต่ำ
ยกผู้อื่นสูง พูดเลียบเคียงกับคน เป็นอย่างนี้บ้าง
ภิกษุเมื่อยกตนสูงวางผู้อื่นต่ำ พูดเลียบเคียงกับคน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุกล่าวว่า ฉันมีอุปการะมากแก่พวกท่าน พวกท่านอาศัยฉันแล้วก็ถึง
พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ เว้นขาดจากปาณาติบาต เว้นขาด
จากอทินนาทาน เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร เว้นขาดจากมุสาวาท เว้นขาดจาก
สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน ฉันให้อุทเทส ให้ปริปุจฉาแก่พวกท่าน บอกอุโบสถ
อำนวยการนวกรรมแก่พวกท่าน ก็แต่พวกท่านทอดทิ้งฉันแล้วไปสักการะ ทำความ
เคารพ นับถือ บูชาผู้อื่น ภิกษุชื่อว่ายกตนสูงวางผู้อื่นต่ำ พูดเลียบเคียงกับคน เป็น
อย่างนี้บ้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๔๖๔ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส
คำว่า ไม่พึงพูดเลียบเคียงกับคนเพราะอยากได้ลาภ อธิบายว่า ภิกษุมุ่ง
หวังลาภ ไม่พึงพูดเลียบเคียงกับคน เพราะลาภเป็นเหตุ เพราะลาภเป็นปัจจัย
เพราะลาภเป็นต้นเหตุ เพราะมุ่งการเกิดแห่งลาภโดยเฉพาะ คือ พึงละ บรรเทา
ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งการพูดเลียบเคียง ได้แก่ พึงเป็นผู้งด งดเว้น
เว้นขาด ออก สลัดออก หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้องกับการพูดเลียบเคียง มีใจเป็น
อิสระ(จากกิเลส)อยู่ รวมความว่า ไม่พึงพูดเลียบเคียงกับคนเพราะอยากได้ลาภ
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
ภิกษุไม่พึงดำรงชีวิตในการซื้อขาย
ไม่พึงก่อกิเลสเป็นเหตุว่าร้ายในที่ไหน ๆ
ไม่พึงเกี่ยวข้องในบ้าน และไม่พึงพูดเลียบเคียงกับคน
เพราะอยากได้ลาภ
[๑๖๕] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
ภิกษุไม่พึงเป็นคนมักอวด ไม่พึงกล่าววาจามุ่งได้
ไม่พึงศึกษาความเป็นผู้คะนอง ไม่พึงกล่าวถ้อยคำแก่งแย่ง

ว่าด้วยผู้ไม่โอ้อวด
คำว่า ภิกษุไม่พึงเป็นคนมักอวด อธิบายว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้อวด
เป็นผู้โอ้อวด เธอย่อมอวด โอ้อวดว่า “เราเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีลบ้าง สมบูรณ์ด้วยวัตร
บ้าง สมบูรณ์ด้วยศีลพรตบ้าง สมบูรณ์ด้วยชาติบ้าง สมบูรณ์ด้วยโคตรบ้าง สมบูรณ์
ด้วยความเป็นบุตรของผู้มีตระกูลบ้าง สมบูรณ์ด้วยความเป็นผู้มีรูปงามบ้าง สมบูรณ์
ด้วยทรัพย์บ้าง สมบูรณ์ด้วยการศึกษาบ้าง สมบูรณ์ด้วยหน้าที่การงานบ้าง สมบูรณ์
ด้วยหลักแห่งศิลปวิทยาบ้าง สมบูรณ์ด้วยวิทยฐานะบ้าง สมบูรณ์ด้วยความเป็นผู้คง
แก่เรียนบ้าง สมบูรณ์ด้วยปฏิภาณบ้าง สมบูรณ์ด้วยสิ่งอื่นนอกจากที่กล่าวแล้วบ้าง
ออกบวชจากตระกูลสูงบ้าง ออกบวชจากตระกูลมีทรัพย์มากบ้าง ออกบวช
จากตระกูลมีโภคสมบัติมากบ้าง เป็นผู้ทรงจำพระสูตรบ้าง เป็นผู้ทรงจำพระวินัยบ้าง
เป็นพระธรรมกถึกบ้าง เป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตรบ้าง... เป็นผู้ได้เนวสัญญานาสัญญายตน-
สมาบัติบ้าง”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๔๖๕ }


>>>>> หน้าต่อไป >>>>>





eXTReMe Tracker