ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ



จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อความสะดวก และสวยงาม
(เฉพาะหน้าจอใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์)
กรุณาคลิก จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อให้กรอบ
ค้นข้อความ ปรากฎที่ด้านซ้ายของหน้า

พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙-๑ สุตตันตปิฎกที่ ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑. กามสุตตนิทเทส

พระสุตตันตปิฎก
ขุททกนิกาย มหานิทเทส
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

อัฏฐกวรรค
๑. กามสุตตนิทเทส๑
อธิบายกามสูตร
ว่าด้วยกาม ๒ อย่าง

พระสารีบุตรเถระจะกล่าวอธิบายกามสูตร ดังต่อไปนี้
[๑] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
ถ้ากามนั้นสำเร็จด้วยดีแก่สัตว์นั้น ผู้อยากได้กามอยู่
สัตว์นั้นได้กามตามที่ต้องการแล้ว ย่อมเป็นผู้อิ่มใจแน่แท้
คำว่า ผู้อยากได้กามอยู่ อธิบายว่า
คำว่า กาม ได้แก่ กาม ๒ อย่าง แบ่งตามหมวด คือ (๑) วัตถุกาม
(๒) กิเลสกาม
วัตถุกาม คืออะไร
คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่าพอใจ เครื่องปูลาด เครื่องนุ่งห่ม
ทาสหญิงชาย แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา ที่นา ที่สวน เงิน ทอง หมู่บ้าน
นิคม ราชธานี แคว้น ชนบท๒ กองพลรบ๓ คลังหลวง๔ และวัตถุที่น่ายินดีอย่างใด
อย่างหนึ่ง (เหล่านี้) ชื่อว่าวัตถุกาม

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.สุ. ๒๕/๗๗๓-๗๗๘/๔๘๖
๒ ชนบท หมายถึง รัฐหลาย ๆ รัฐมารวมกัน มีกาสีชนบทและโกศลชนบท เป็นต้น (ขุ.ม.อ. ๑/๑๔)
๓ กองพลรบ มี ๔ เหล่า คือ (๑) กองพลช้าง (๒) กองพลม้า (๓) กองพลรถ (๔) กองพลทหารราบ (ขุ.ม.อ.
๑/๑๔)
๔ คลังหลวง มี ๓ อย่าง คือ (๑) คลังทรัพย์สิน (๒) คลังพืชพันธุ์ธัญญาหาร (๓) คลังผ้า (ขุ.ม.อ. ๑/๑๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑. กามสุตตนิทเทส
อีกนัยหนึ่ง กามที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบัน กามที่เป็นภายใน
ที่เป็นภายนอก ที่เป็นทั้งภายในและภายนอก กามอย่างหยาบ อย่างกลาง อย่าง
ประณีต กามที่เป็นของสัตว์ในอบาย ที่เป็นของมนุษย์ ที่เป็นของทิพย์ กามที่ปรากฏ
เฉพาะหน้า ที่เนรมิตขึ้นเอง ที่ไม่ได้เนรมิตขึ้นเอง ที่ผู้อื่นเนรมิตให้ กามที่มีผู้
ครอบครอง ที่ไม่มีผู้ครอบครอง ที่ยึดถือว่าเป็นของเรา ที่ไม่ยึดถือว่าเป็นของเรา
สภาวธรรมที่เป็นกามาวจร๑ ที่เป็นรูปาวจร๒ ที่เป็นอรูปาวจร๓แม้ทั้งปวง กามที่เป็นเหตุ
เกิดแห่งตัณหา เป็นอารมณ์แห่งตัณหา ที่ชื่อว่ากาม เพราะมีความหมายว่า
น่าปรารถนา น่ายินดี น่าลุ่มหลง เหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม
กิเลสกาม คืออะไร
คือ ความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ความดำริ
ความกำหนัด ความกำหนัดด้วยอำนาจความดำริชื่อว่ากาม ได้แก่ ความพอใจด้วย
อำนาจความใคร่ ความกำหนัดด้วยอำนาจความใคร่ ความเพลิดเพลินด้วยอำนาจ
ความใคร่ ความทะยานอยากด้วยอำนาจความใคร่ ความเยื่อใยด้วยอำนาจความใคร่
ความเร่าร้อนด้วยอำนาจความใคร่ ความสยบด้วยอำนาจความใคร่ ความติดใจด้วย
อำนาจความใคร่ ห้วงน้ำคือความใคร่ กิเลสเครื่องประกอบคือความใคร่ กิเลสเครื่อง
ยึดมั่นคือความใคร่ กิเลสเครื่องกั้นจิตคือความพอใจด้วยอำนาจความใคร่ในกาม
ทั้งหลาย
(สมจริงดังที่พระเจ้าอัฑฒมาสกเปล่งอุทานว่า)
เจ้ากามเอ๋ย เราเห็นรากเหง้าของเจ้าแล้ว
เจ้าเกิดเพราะความดำริ เราจักไม่ดำริถึงเจ้าอีก
เจ้าจักไม่เกิดมาเป็นอย่างนี้ได้อีกละเจ้ากามเอ๋ย๔
เหล่านี้เรียกว่า กิเลสกาม

เชิงอรรถ :
๑ กามาวจร คือระดับจิตของผู้ที่ยังปรารภกามเป็นอารมณ์ ได้แก่ จิตของสัตว์ในกามภพทั้ง ๑๑ ชั้น คือ
(๑) อบายภูมิ ๔ (๒) มนุษยโลก (๓) สวรรค์ ๖ ชั้น (ขุ.ม.อ. ๑/๑๖)
๒ รูปาวจร คือระดับจิตของผู้ได้รูปฌาน ได้แก่ สัตว์ผู้เกิดในพรหมโลก ๑๖ ชั้น ตั้งแต่ชั้นพรหมปาริสัชชา
จนถึงชั้นอกนิฏฐา (ขุ.ม.อ. ๑/๑๖)
๓ อรูปาวจร คือ ระดับจิตของผู้ได้อรูปฌาน ได้แก่ สัตว์ผู้เกิดในอรูปพรหม ๔ ชั้น (ขุ.ม.อ. ๑/๑๖)
๔ ขุ.ชา. ๒๗/๓๙/๑๘๘, ขุ.จู. ๓๐/๘/๓๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑. กามสุตตนิทเทส
คำว่า ผู้อยากได้กามอยู่ ได้แก่ ผู้อยากได้กาม คือ ผู้ต้องการ ยินดี
ปรารถนา มุ่งหมาย มุ่งหวังกามอยู่ รวมความว่า ผู้อยากได้กามอยู่
คำว่า ถ้า...แก่สัตว์นั้น ในคำว่า ถ้ากามนั้นสำเร็จด้วยดีแก่สัตว์นั้น
อธิบายว่า สัตว์นั้น คือ ผู้เป็นกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต
เทวดา หรือมนุษย์
คำว่า กามนั้น ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่าพอใจ เรียกว่า
วัตถุกาม
คำว่า สำเร็จด้วยดี ได้แก่ สำเร็จผล สำเร็จด้วยดี ได้ ได้รับ สมหวัง ประสบ
รวมความว่า ถ้ากามนั้นสำเร็จด้วยดีแก่สัตว์นั้น
คำว่า แน่แท้ ในคำว่า ย่อมเป็นผู้อิ่มใจแน่แท้ เป็นคำกล่าวโดยนัยเดียว
เป็นคำกล่าวโดยไม่สงสัย เป็นคำกล่าวโดยไม่เคลือบแคลง เป็นคำกล่าวโดยไม่เป็น
๒ นัย เป็นคำกล่าวโดยไม่เป็น ๒ อย่าง เป็นคำกล่าวโดยรัดกุม เป็นคำกล่าวโดย
ไม่ผิด คำว่า แน่แท้ นี้ เป็นคำกล่าวที่กำหนดไว้แน่แล้ว
คำว่า อิ่ม ได้แก่ ความอิ่มเอิบ ความปราโมทย์ ความบันเทิง ความเบิกบาน
ความร่าเริง ความรื่นเริง ความปลื้มใจ ความยินดี ความมีใจสูง ความมีใจแช่มชื่น
ความเต็มใจ ที่ประกอบด้วยกามคุณ ๕
คำว่า ใจ ได้แก่ จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มนะ มนายตนะ มนินทรีย์
วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุ๑ ที่เกิดจากผัสสะเป็นต้นนั้น นี้เรียกว่า
ใจ ใจนี้ ไปพร้อมกัน คือ เกิดร่วมกัน ระคนกัน เกี่ยวเนื่องกัน เกิดพร้อมกัน
ดับพร้อมกัน มีวัตถุอย่างเดียวกัน มีอารมณ์อย่างเดียวกันกับความอิ่มเอิบนี้

เชิงอรรถ :
๑ ชื่อว่า จิต เพราะเป็นสภาวะวิจิตร ชื่อว่า มโน เพราะรับรู้อารมณ์
ชื่อว่า มานัส เพราะมีธรรมที่สัมปยุตกับมโน หรือมานัสก็คือใจนั่นเอง
ชื่อว่า หทัย เพราะอยู่ภายใน ชื่อว่า ปัณฑระ เพราะเป็นธรรมชาติผ่องใส
ชื่อว่า มนายตนะ เพราะเป็นที่อยู่อาศัย, เป็นบ่อเกิด, เป็นที่ประชุม, เป็นแดนเกิดแห่งใจ
ชื่อว่า มนินทรีย์ เพราะเป็นใหญ่ในการรับรู้อารมณ์
ชื่อว่า วิญญาณ เพราะรับรู้อารมณ์ต่าง ๆ ชื่อว่า วิญญาณขันธ์ เพราะเป็นกองแห่งวิญญาณ
ชื่อว่า มโนวิญญาณธาตุ เพราะเป็นสภาวะที่รับรู้และรับทราบอันสมควรแก่ธรรมทั้งหลายมีผัสสะเป็นต้น
(ขุ.ม.อ. ๑/๒๒-๒๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑. กามสุตตนิทเทส
คำว่า ย่อมเป็นผู้อิ่มใจ ได้แก่ เป็นผู้อิ่มใจ คือ เป็นผู้มีใจยินดี มีใจร่าเริง
มีใจเบิกบาน มีใจแช่มชื่น มีใจสูง บันเทิงใจ ปลาบปลื้มใจ รวมความว่า ย่อมเป็นผู้
อิ่มใจแน่แท้
คำว่า ได้ ในคำว่า สัตว์นั้นได้กามตามที่ต้องการแล้ว ได้แก่ ได้ คือ ได้แล้ว
ได้รับแล้ว สมหวังแล้ว ประสบแล้ว
คำว่า สัตว์ ได้แก่ สัตว์(ผู้ข้องอยู่) นรชน มานพ๑ บุรุษ บุคคล ผู้มีชีวิต ผู้เกิด
สัตว์เกิด ผู้เป็นไปตามกรรม มนุษย์
คำว่า กามตามที่ต้องการ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ตามที่ต้องการ
ยินดี ปรารถนา มุ่งหมาย มุ่งหวัง รวมความว่า สัตว์นั้นได้กามตามที่ต้องการแล้ว
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
ถ้ากามนั้นสำเร็จด้วยดีแก่สัตว์นั้น ผู้อยากได้กามอยู่
สัตว์นั้นได้กามตามที่ต้องการแล้ว ย่อมเป็นผู้อิ่มใจแน่แท้
[๒] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
ถ้าเมื่อสัตว์นั้นอยากได้กามอยู่ เกิดความพอใจแล้ว
กามเหล่านั้นเสื่อมไป สัตว์นั้นย่อมเจ็บปวด
เหมือนถูกลูกศรแทง
คำว่า ถ้าเมื่อสัตว์นั้น ในคำว่า ถ้าเมื่อสัตว์นั้นอยากได้กามอยู่ ได้แก่ เมื่อ
สัตว์นั้น คือ ผู้เป็นกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดา หรือ
มนุษย์
คำว่า อยากได้กามอยู่ ได้แก่ ต้องการ ยินดี ปรารถนา มุ่งหมาย มุ่งหวัง
กามอยู่
อีกนัยหนึ่ง สัตว์ย่อมไป ออกไป ถูกพาไป ถูกนำไป เพราะกามตัณหา
อธิบายว่า เหมือนมนุษย์ย่อมไป ออกไป ถูกพาไป ถูกนำไป ด้วยยานพาหนะ คือ
ช้าง ม้า โค แพะ แกะ อูฐ หรือลา ฉันใด สัตว์ย่อมไป ออกไป ถูกพาไป ถูกนำไป
เพราะกามตัณหา ฉันนั้นเหมือนกัน รวมความว่า ถ้าเมื่อสัตว์นั้นอยากได้กามอยู่

เชิงอรรถ :
๑ มานพ มาจากคำว่า มนุ หมายถึง บุตรของพระมนู (ขุ.ม.อ. ๑/๒๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๔ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑. กามสุตตนิทเทส
คำว่า เมื่อสัตว์...เกิดความพอใจแล้ว อธิบายว่า
คำว่า ความพอใจ ได้แก่ ความพอใจด้วยอำนาจความใคร่ ความกำหนัด
ด้วยอำนาจความใคร่ ความเพลิดเพลินด้วยอำนาจความใคร่ ความทะยานอยาก
ด้วยอำนาจความใคร่ ความเยื่อใยด้วยอำนาจความใคร่ ความเร่าร้อนด้วยอำนาจ
ความใคร่ ความสยบด้วยอำนาจความใคร่ ความติดใจด้วยอำนาจความใคร่ ห้วงน้ำ
คือความใคร่ กิเลสเครื่องประกอบคือความใคร่ กิเลสเครื่องยึดมั่นคือความใคร่
กิเลสเครื่องกั้นจิตคือความพอใจด้วยอำนาจความใคร่ในกามทั้งหลาย ความพอใจ
ด้วยอำนาจความใคร่เกิดแล้ว เกิดขึ้นแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดขึ้นแล้ว ปรากฏแล้ว
แก่สัตว์นั้น
คำว่า สัตว์ ได้แก่ สัตว์ นรชน มานพ บุรุษ บุคคล ผู้มีชีวิต ผู้เกิด สัตว์เกิด
ผู้เป็นไปตามกรรม มนุษย์ รวมความว่า เมื่อสัตว์...เกิดความพอใจแล้ว
คำว่า กามเหล่านั้นเสื่อมไป ได้แก่ กามเหล่านั้นเสื่อมไป หรือสัตว์นั้นเสื่อม
จากกามทั้งหลาย
กามเหล่านั้นเสื่อมไปได้อย่างไร
คือ เมื่อสัตว์นั้นดำรงชีพอยู่นั่นเอง โภคทรัพย์พินาศเพราะเหตุ ๘ ประการ คือ
๑. ถูกพระราชาริบ
๒. ถูกโจรปล้น
๓. ถูกไฟไหม้
๔. ถูกน้ำท่วมพัดพาไป
๕. ถูกทายาทผู้ไม่เป็นที่รักลักขโมยไป
๖. โภคทรัพย์ที่ฝังไว้แล้วหาไม่พบ
๗. กิจการล้มเหลวเพราะจัดการไม่ดี
๘. มีคนล้างผลาญตระกูล ล้างผลาญ รุกราน ทำลายโภคทรัพย์เหล่านั้น
ให้พินาศเกิดขึ้นในตระกูล
กามเหล่านั้น เสียไป เสื่อมไป คือ สิ้นไป หมดไป สูญหายไป สลายไปด้วยอาการ
อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๕ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑. กามสุตตนิทเทส
สัตว์นั้นเสื่อมจากกามทั้งหลายได้อย่างไร
คือ เมื่อโภคทรัพย์เหล่านั้นยังคงอยู่อย่างเดิมนั่นแหละ สัตว์นั้นเคลื่อน ตาย
สูญหายไป สลายไป สัตว์นั้นย่อมเสียไป เสื่อมไป คือ สิ้นไป หมดไป สูญหายไป
สลายไปจากกามทั้งหลาย ด้วยอาการอย่างนี้
(สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า)
โภคทรัพย์ถูกโจรปล้น พระราชาริบเอาไป ไฟไหม้ เสียหาย
อนึ่ง บุคคลผู้เป็นเจ้าของย่อมทอดทิ้งสรีระ
พร้อมทั้งทรัพย์สินไปเพราะความตาย
นักปราชญ์ทราบดังนี้แล้วพึงใช้สอยและให้ทาน
ครั้นให้ทานและใช้สอยตามสมควรแล้ว
จึงไม่ถูกนินทา ย่อมเข้าถึงสวรรค์๑
รวมความว่า กามเหล่านั้นเสื่อมไป
คำว่า สัตว์นั้นย่อมเจ็บปวดเหมือนถูกลูกศรแทง อธิบายว่า สัตว์ผู้ถูกลูกศร
เหล็กแทงก็ตาม ถูกลูกศรกระดูก ลูกศรงา ลูกศรเขา หรือลูกศรไม้แทงก็ตาม ย่อม
เจ็บปวด ดิ้นรน กระสับกระส่าย เดือดร้อน เจ็บกาย เจ็บใจ ฉันใด เพราะวัตถุกาม
แปรเป็นอื่นไป ความเศร้าโศก ความคร่ำครวญ ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความ
คับแค้นใจย่อมเกิดขึ้น ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์นั้นถูกลูกศรคือกาม และลูกศรคือ
ความเศร้าโศกแทงแล้ว ย่อมเจ็บปวด ดิ้นรน กระสับกระส่าย เดือดร้อน เจ็บกาย
เจ็บใจ รวมความว่า สัตว์นั้นย่อมเจ็บปวดเหมือนถูกลูกศรแทง ด้วยเหตุนั้น พระผู้มี-
พระภาคจึงตรัสว่า
ถ้าเมื่อสัตว์นั้นอยากได้กามอยู่ เกิดความพอใจแล้ว
กามเหล่านั้นเสื่อมไป สัตว์นั้นย่อมเจ็บปวด
เหมือนถูกลูกศรแทง

เชิงอรรถ :
๑ สํ.ส. ๑๕/๔๑/๓๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๖ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑. กามสุตตนิทเทส
[๓] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
ผู้ใดละกามได้ เหมือนคนเดินเลี่ยงหัวงู
ผู้นั้นมีสติ ล่วงพ้นตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกานี้ในโลก

ว่าด้วยการละกามโดยเหตุ ๒ อย่าง
คำว่า ผู้ใด ในคำว่า ผู้ใดละกามได้ ได้แก่ ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ผู้ขวนขวาย
อย่างใด ผู้ตั้งใจอย่างใด ผู้มีประการอย่างใด ผู้ถึงฐานะใด ผู้ประกอบด้วยธรรมใด
จะเป็นกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดา หรือมนุษย์ก็ตาม
คำว่า ละกามได้ อธิบายว่า
คำว่า กาม ได้เเก่ กาม ๒ อย่าง แบ่งตามหมวด คือ (๑) วัตถุกาม
(๒) กิเลสกาม ... เหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม ... เหล่านี้เรียกว่า กิเลสกาม๑
คำว่า ละกามได้ ได้แก่ ละกามได้โดยเหตุ ๒ อย่าง คือ (๑) โดยการข่มไว้
(๒) โดยการตัดขาด
บุคคลละกามได้โดยการข่มไว้ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลเมื่อพิจารณาเห็นว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนร่างโครงกระดูก
เพราะให้ความยินดีเล็กน้อย จึงละกามได้โดยการข่มไว้
เมื่อพิจารณาเห็นว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนชิ้นเนื้อ เพราะเป็นของทั่วไป
แก่คนส่วนมาก จึงละกามได้โดยการข่มไว้
เมื่อพิจารณาเห็นว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนคบเพลิงหญ้า เพราะไหม้
ลุกลาม จึงละกามได้โดยการข่มไว้
เมื่อพิจารณาเห็นว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง เพราะมีความ
ร้อนมาก จึงละกามได้โดยการข่มไว้
เมื่อพิจารณาเห็นว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนความฝัน เพราะปรากฏชั่ว
เวลาอันสั้น จึงละกามได้โดยการข่มไว้

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๑/๑-๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๗ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑. กามสุตตนิทเทส
เมื่อพิจารณาเห็นว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนของที่ยืมมา เพราะเป็นของ
ครอบครองชั่วคราวตามกำหนด จึงละกามได้โดยการข่มไว้
เมื่อพิจารณาเห็นว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนผลไม้คาต้น เพราะเป็นเหตุ
ให้หักและให้ล้ม จึงละกามได้โดยการข่มไว้
เมื่อพิจารณาเห็นว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนเขียงหั่นเนื้อ เพราะเป็นเครื่อง
รองรับการตัดฟัน จึงละกามได้โดยการข่มไว้
เมื่อพิจารณาเห็นว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนหอกหลาว เพราะเป็นเครื่อง
ทิ่มแทง จึงละกามได้โดยการข่มไว้
เมื่อพิจารณาเห็นว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนหัวงู เพราะเป็นสิ่งมีภัย
เฉพาะหน้า จึงละกามได้โดยการข่มไว้
เมื่อพิจารณาเห็นว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนกองไฟ เพราะเผาผลาญ จึง
ละกามได้โดยการข่มไว้
ว่าด้วยบุคคลที่ละกามได้โดยการข่มไว้ ๑๐ จำพวก
๑. บุคคลกำลังเจริญพุทธานุสสติ ย่อมละกามได้โดยการข่มไว้
๒. บุคคลกำลังเจริญธัมมานุสสติ ย่อมละกามได้โดยการข่มไว้
๓. บุคคลกำลังเจริญสังฆานุสสติ ย่อมละกามได้โดยการข่มไว้
๔. บุคคลกำลังเจริญสีลานุสสติ ย่อมละกามได้โดยการข่มไว้
๕. บุคคลกำลังเจริญจาคานุสสติ ย่อมละกามได้โดยการข่มไว้
๖. บุคคลกำลังเจริญเทวตานุสสติ ย่อมละกามได้โดยการข่มไว้
๗. บุคคลกำลังเจริญอานาปานัสสติ ย่อมละกามได้โดยการข่มไว้
๘. บุคคลกำลังเจริญมรณานุสสติ ย่อมละกามได้โดยการข่มไว้
๙. บุคคลกำลังเจริญกายคตาสติ ย่อมละกามได้โดยการข่มไว้
๑๐. บุคคลกำลังเจริญอุปสมานุสสติ ย่อมละกามได้โดยการข่มไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๘ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑. กามสุตตนิทเทส
ว่าด้วยบุคคลที่ละกามได้โดยการข่มไว้ ๘ จำพวก
๑. บุคคลกำลังเจริญปฐมฌาน ย่อมละกามได้โดยการข่มไว้
๒. บุคคลกำลังเจริญทุติยฌาน ย่อมละกามได้โดยการข่มไว้
๓. บุคคลกำลังเจริญตติยฌาน ย่อมละกามได้โดยการข่มไว้
๔. บุคคลกำลังเจริญจตุตถฌาน ย่อมละกามได้โดยการข่มไว้
๕. บุคคลกำลังเจริญอากาสานัญจายตนสมาบัติ ย่อมละกามได้โดยการ
ข่มไว้
๖. บุคคลกำลังเจริญวิญญานัญจายตนสมาบัติ ย่อมละกามได้โดยการ
ข่มไว้
๗. บุคคลกำลังเจริญอากิญจัญญายตนสมาบัติ ย่อมละกามได้โดยการ
ข่มไว้
๘. บุคคลกำลังเจริญเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ย่อมละกามได้
โดยการข่มไว้
บุคคลชื่อว่าละกามได้โดยการข่มไว้ เป็นอย่างนี้
ว่าด้วยบุคคลที่ละกามได้โดยการตัดขาด ๔ จำพวก
บุคคลละกามได้โดยการตัดขาด เป็นอย่างไร คือ
๑. บุคคลกำลังเจริญโสดาปัตติมรรค ย่อมละกามอันเป็นเหตุไปสู่อบาย
ได้โดยการตัดขาด
๒. บุคคลกำลังเจริญสกทาคามิมรรค ย่อมละกามอย่างหยาบได้โดยการ
ตัดขาด
๓. บุคคลกำลังเจริญอนาคามิมรรค ย่อมละกามอย่างละเอียดได้โดยการ
ตัดขาด
๔. บุคคลกำลังเจริญอรหัตตมรรค ย่อมละกามได้หมดสิ้น ไม่เหลือทุกสิ่ง
ทุกประการ โดยการตัดขาด
บุคคลชื่อว่าละกามได้โดยการตัดขาด เป็นอย่างนี้ รวมความว่า ผู้ใดละกามได้
คำว่า เหมือนคนเดินเลี่ยงหัวงู อธิบายว่า งู เรียกว่า สัปปะ งูชื่อว่าสัปปะ
เพราะมีความหมายอย่างไร งูชื่อว่าสัปปะ เพราะเลื้อยไป ชื่อว่าภุชคะ เพราะเลื้อยไป
ด้วยขนด ชื่อว่าอุรคะ เพราะไปด้วยอก ชื่อว่าปันนคะ เพราะมุดหัวไป ชื่อว่าสิรีสปะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๙ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑. กามสุตตนิทเทส
เพราะนอนพาดหัวบนขนด ชื่อว่าพิลาสยะ เพราะนอนในรู ชื่อว่าคุหาสยะ เพราะ
นอนในถ้ำ ชื่อว่าทาฐาวุธะ เพราะมีเขี้ยวเป็นอาวุธ ชื่อว่าโฆรวิสะ เพราะมีพิษร้ายแรง
ชื่อว่าทุชิวหา เพราะมีลิ้น ๒ แฉก ชื่อว่าทิรสัญญู เพราะลิ้มรสด้วยลิ้น ๒ แฉก บุรุษ
ผู้ปรารถนาจะมีชีวิตอยู่ ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์ พึงเดินหลบ หลีก
เลี่ยง เบี่ยงหนีหัวงู ฉันใด บุคคลผู้รักสุข เกลียดทุกข์ พึงหลบ หลีก เลี่ยง เบี่ยงหนี
กามทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน รวมความว่า เหมือนคนเดินเลี่ยงหัวงู
คำว่า ผู้นั้น ในคำว่า ผู้นั้นมีสติ ล่วงพ้นตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกานี้ในโลก ได้แก่
ผู้ละกามได้ ตัณหาตรัสเรียกว่า วิสัตติกา
คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความคล้อยตามอารมณ์ ความยินดี
ความเพลิดเพลิน ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน ความกำหนัดนักแห่งจิต
ความอยาก ความสยบ ความหมกมุ่น ความหื่น ความหื่นกระหาย ความข้องอยู่
ความจมอยู่ ธรรมชาติที่ทำให้พลุกพล่าน ธรรมชาติที่หลอกลวง ธรรมชาติที่ยังสัตว์
ให้เกิด ธรรมชาติที่ยังสัตว์ให้เกิดพร้อม ธรรมชาติที่ร้อยรัด ธรรมชาติที่มีข่าย
ธรรมชาติที่กำซาบใจ ธรรมชาติที่ซ่านไป ธรรมชาติดุจเส้นด้าย ธรรมชาติที่แผ่ไป
ธรรมชาติที่ประมวลมา ธรรมชาติที่เป็นเพื่อน ความคนึงหา ตัณหาที่นำพาไปสู่ภพ
ตัณหาดุจป่า ตัณหาดุจป่าทึบ ความเชยชิด ความเยื่อใย ความห่วงใย ความผูกพัน
ความหวัง กิริยาที่หวัง ภาวะที่หวัง ความหวังในรูป ความหวังในเสียง ความหวังในกลิ่น
ความหวังในรส ความหวังในโผฏฐัพพะ ความหวังในลาภ ความหวังในทรัพย์ ความ
หวังในบุตร ความหวังในชีวิต ธรรมชาติที่กระซิบ ธรรมชาติที่กระซิบบ่อย ๆ
ธรรมชาติที่กระซิบยิ่ง ความกระซิบ กิริยาที่กระซิบ ภาวะที่กระซิบ ความละโมบ
กิริยาที่ละโมบ ภาวะที่ละโมบ ธรรมชาติที่ทำให้หวั่นไหว ภาวะที่ใคร่แต่อารมณ์ดี ๆ
ความกำหนัดในฐานะอันไม่ควร ความโลภเกินพอดี ความติดใจ กิริยาที่ติดใจ
ความปรารถนา ความใฝ่หา ความหมายปอง กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา
ตัณหาในรูปภพ ตัณหาในอรูปภพ ตัณหาในนิโรธ๑ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา

เชิงอรรถ :
๑ ตัณหาในนิโรธ คือตัณหาที่ประกอบด้วยอุจเฉททิฏฐิ (ขุ.ม.อ. ๓/๓๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๐ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑. กามสุตตนิทเทส
รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา โอฆะ๑ โยคะ๒ คันถะ๓ อุปาทาน๔ อาวรณ์๕
นิวรณ์๖ เครื่องปิดบัง เครื่องผูก อุปกิเลส๗ อนุสัย๘ ปริยุฏฐาน(กิเลสที่กลุ้มรุมจิต)
ตัณหาดุจเถาวัลย์ ความปรารถนาวัตถุอย่างต่าง ๆ รากเหง้าแห่งทุกข์ เหตุแห่งทุกข์
แดนเกิดแห่งทุกข์ บ่วงแห่งมาร เบ็ดแห่งมาร วิสัยแห่งมาร ตัณหาดุจแม่น้ำ ตัณหา
ดุจตาข่าย ตัณหาดุจโซ่ตรวน ตัณหาดุจสมุทร อภิชฌา(ความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา)
อกุศลมูลคือโลภะ
คำว่า วิสัตติกา อธิบายว่า ตัณหาชื่อว่าวิสัตติกา เพราะมีความหมาย
อย่างไร ตัณหาชื่อว่าวิสัตติกา เพราะแผ่ไป ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะซ่านไป ชื่อว่า
วิสัตติกา เพราะขยายไป ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะครอบงำ ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะ
สะท้อนไป ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะเป็นตัวการให้พูดผิด ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะมีราก
เป็นพิษ ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะมีผลเป็นพิษ ชื่อว่าวิสัตติกา เพราะเป็นตัวการให้
บริโภคสิ่งมีพิษ
อีกนัยหนึ่ง ตัณหานั้นแผ่ไป คือ ซ่านไป ขยายไปในรูป เสียง กลิ่น รส
โผฏฐัพพะ ตระกูล หมู่คณะ อาวาส ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จีวร บิณฑบาต

เชิงอรรถ :
๑ โอฆะ คือสภาวะอันเป็นดุจกระแสน้ำหลากท่วมใจสัตว์ ได้แก่ กาม ภพ ทิฏฐิ อวิชชา (ที.ปา. ๑๑/๓๑๒/๒๐๕)
๒ โยคะ คือสภาวะอันประกอบสัตว์ไว้ในภพ ได้แก่ กาม ภพ ทิฏฐิ อวิชชา (ที.ปา. ๑๑/๓๑๒/๒๐๕)
๓ คันถะ ดูรายละเอียดข้อ ๙๒/๒๘๖
๔ อุปาทาน คือ ความยึดมั่นด้วยอำนาจกิเลส มี ๔ คือ (๑) กามุปาทาน ความยึดมั่นในกาม (๒) ทิฏฐุปาทาน
ความยึดมั่นในทิฏฐิ (๓) สีลัพพตุปาทาน ความยึดมั่นในศีลและพรต (๔) อัตตวาทุปาทาน ความยึดมั่น
วาทะของตน (ที.ปา. ๑๑/๓๑๒/๒๐๕)
๕ อาวรณ์ คือสภาวะที่ขัดขวางจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณธรรม (ขุ.ม.อ. ๓/๓๙)
๖ นิวรณ์ คือสภาวะที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี มี ๕ อย่าง (ดูความหมายข้อ ๕/๑๗)
๗ อุปกิเลส คือสภาวะที่ทำให้จิตเศร้าหมองขุ่นมัว มี ๑๖ อย่าง (ดูรายละเอียดข้อ ๕/๑๗)
๘ อนุสัย คือกิเลสที่แฝงตัวนอนเนื่องอยู่ในสันดานของสัตว์ มี ๗ คือ (๑) กามราคะ ความกำหนัดในกาม
(๒) ปฏิฆะ ความหงุดหงิดขัดเคือง (๓) ทิฏฐิ ความเห็นผิด (๔) วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย (๕) มานะ
ความถือตัว (๖) ภวราคะ ความกำหนัดในภพ (๗) อวิชชา ความไม่รู้จริง (ที.ปา. ๑๑/๓๓๒/๒๒๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๑ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑. กามสุตตนิทเทส
เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร กามธาตุ๑ รูปธาตุ๒ อรูปธาตุ๓ กามภพ รูปภพ
อรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ เอกโวการภพ๔
จตุโวการภพ๕ ปัญจโวการภพ๖ อดีต อนาคต ปัจจุบัน รูปที่เห็นแล้ว เสียงที่ได้ยินแล้ว
กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่รับรู้แล้ว และธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้ง ฉะนั้น จึงชื่อว่าวิสัตติกา
คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก(โลกคือ
ขันธ์ ๕) ธาตุโลก(โลกคือธาตุ ๑๘) อายตนโลก(โลกคืออายตนะ ๑๒)
คำว่า มีสติ อธิบายว่า มีสติด้วยเหตุ ๔ อย่าง คือ
๑. ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณากายในกาย
๒. ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณาเวทนาในเวทนาทั้งหลาย
๓. ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณาจิตในจิต
๔. ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณาธรรมในธรรมทั้งหลาย
มีสติด้วยเหตุอีก ๔ อย่าง คือ
๑. ชื่อว่ามีสติ เพราะเว้นจากความเป็นผู้ไม่มีสติ
๒. ชื่อว่ามีสติ เพราะเป็นผู้กระทำสิ่งทั้งหลายที่ควรทำด้วยสติ
๓. ชื่อว่ามีสติ เพราะเป็นผู้กำจัดสิ่งทั้งหลายที่เป็นฝ่ายตรง ข้ามกับสติ
๔. ชื่อว่ามีสติ เพราะเป็นผู้ไม่หลงลืมธรรมทั้งหลายที่เป็นมูลเหตุแห่งสติ
มีสติด้วยเหตุอีก ๔ อย่าง คือ
๑. ชื่อว่ามีสติ เพราะเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยสติ
๒. ชื่อว่ามีสติ เพราะเป็นผู้ชำนาญในสติ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถข้อ ๑/๒
๒ ดูเชิงอรรถข้อ ๑/๒
๓ ดูเชิงอรรถข้อ ๑/๒
๔ เอกโวการภพ คือภพที่ประกอบด้วยรูปขันธ์ ๑ หรือภพที่มีขันธ์ ๑ ได้แก่ อสัญญาภพ
๕ จตุโวการภพ คือภพที่ประกอบด้วยอรูปขันธ์ ๔ หรือภพที่มีขันธ์ ๔ ได้แก่ อรูปภพ
๖ ปัญจโวการภพ คือภพที่ประกอบด้วยขันธ์ ๕ หรือภพที่มีขันธ์ ๕ ปัญจโวการภพนี้เป็นกามภพด้วย
เป็นเอกเทศแห่งรูปภพด้วย (ขุ.ม.อ. ๓/๔๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๒ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑. กามสุตตนิทเทส
๓. ชื่อว่ามีสติ เพราะเป็นผู้คล่องแคล่วในสติ
๔. ชื่อว่ามีสติ เพราะเป็นผู้ไม่หวนกลับจากสติ
มีสติด้วยเหตุอีก ๔ อย่าง คือ
๑. ชื่อว่ามีสติ เพราะมีอยู่ตามปกติ
๒. ชื่อว่ามีสติ เพราะเป็นผู้สงบ
๓. ชื่อว่ามีสติ เพราะเป็นผู้ระงับ
๔. ชื่อว่ามีสติ เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของสัตบุรุษ
(มีสติด้วยเหตุอีก ๑๐ อย่าง คือ)
๑. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงพุทธคุณ
๒. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงธรรมคุณ
๓. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงสังฆคุณ
๔. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงศีลที่ตนรักษา
๕. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงทานที่ตนบริจาคแล้ว
๖. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงคุณที่ทำคนให้เป็นเทวดา
๗. ชื่อว่ามีสติ เพราะตั้งสติกำหนดลมหายใจเข้าออก
๘. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงความตายที่จะต้องมีเป็นธรรมดา
๙. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกทั่วไปในกาย(ให้เห็นว่าไม่งาม)
๑๐. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงธรรมเป็นที่สงบระงับ(กิเลสและความทุกข์)
คือนิพพาน
สติ คือ ความตามระลึกถึง ความระลึกได้เฉพาะหน้า สติ คือ ความระลึกได้
ความจำได้ ความไม่เลื่อนลอย ความไม่หลงลืม สติ คือ สตินทรีย์(สติที่เป็นใหญ่)
สติพละ(สติที่เป็นกำลัง) สัมมาสติ(ระลึกชอบ) สติสัมโพชฌงค์(สติที่เป็นองค์แห่งการ
ตรัสรู้ธรรม) เอกายนมรรค(สติที่เป็นทางเอก) นี้แหละ ตรัสเรียกว่าสติ บุคคลผู้ประกอบ
ประกอบพร้อม ดำเนินไป ดำเนินไปพร้อม เป็นไป เป็นไปพร้อม เพียบพร้อมแล้ว
ด้วยสตินี้ ผู้นั้นพระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่าผู้มีสติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๓ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑. กามสุตตนิทเทส
คำว่า ผู้นั้นมีสติ ล่วงพ้นตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกานี้ในโลก อธิบายว่า ผู้มีสติ
ย่อมข้าม ข้ามไป ข้ามพ้น ก้าวล่วง ล่วงเลยตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกานี้ในโลก รวม
ความว่า ผู้นั้นมีสติ ล่วงพ้นตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกานี้ในโลก ด้วยเหตุนั้น พระผู้มี-
พระภาคจึงตรัสว่า
ผู้ใดละกามได้ เหมือนคนเดินเลี่ยงหัวงู
ผู้นั้นมีสติ ล่วงพ้นตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกานี้ในโลก
[๔] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
นรชนใดปรารถนาเนือง ๆ ซึ่งไร่นา ที่ดิน เงิน
โค ม้า ทาส บุรุษ สตรี พวกพ้อง หรือกามเป็นอันมาก
คำว่า ไร่นา ในคำว่า ไร่นา ที่ดิน เงิน ได้แก่ นาข้าวสาลี นาข้าว ไร่ถั่วเขียว
ไร่ถั่วราชมาส นาข้าวเหนียว นาข้าวละมาน ไร่งา
คำว่า ที่ดิน ได้แก่ ที่ปลูกเรือน ที่สร้างยุ้งฉาง ที่หน้าเรือน ที่หลังเรือน ที่สวน
ที่อยู่
คำว่า เงิน ได้แก่ เหรียญกษาปณ์ ตรัสเรียกว่า เงิน รวมความว่า ไร่นา ที่ดิน
เงิน
คำว่า โค ม้า ทาส บุรุษ มีอธิบายดังนี้ โคทั้งหลายตรัสเรียกว่า โค
สัตว์ทั้งหลายมีปศุสัตว์เป็นต้นตรัสเรียกว่า ม้า
คำว่า ทาส ได้แก่ ทาส ๔ จำพวก คือ
๑. ทาสที่เกิดภายใน(ทาสในเรือนเบี้ย)
๒. ทาสที่ซื้อมาด้วยทรัพย์(ทาสสินไถ่)
๓. ผู้สมัครเป็นทาสเอง
๔. เชลยที่ตกเป็นทาส
(สมจริงดังที่วิธูรบัณฑิตโพธิสัตว์กล่าวไว้ว่า)
คนบางพวกเป็นทาสโดยกำเนิด
บางพวกเป็นทาสที่เขาซื้อมาด้วยทรัพย์
บางพวกสมัครเข้าเป็นทาสเอง
บางพวกตกเป็นเชลยจึงยอมเป็นทาส๑

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.ชา. ๒๘/๑๔๔๕/๒๗๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๔ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑. กามสุตตนิทเทส
คำว่า บุรุษ ได้แก่ บุรุษ ๓ จำพวก คือ
๑. ลูกจ้าง
๒. กรรมกร
๓. พวกอยู่อาศัย รวมความว่า โค ม้า ทาส บุรุษ
คำว่า สตรี พวกพ้อง หรือกามเป็นอันมาก มีอธิบายดังนี้ หญิงที่มีผู้คุ้มครอง
ตรัสเรียกว่า สตรี
คำว่า พวกพ้อง ได้แก่ พวกพ้อง ๔ จำพวก คือ
๑. พวกพ้องโดยความเป็นญาติ
๒. พวกพ้องโดยสืบตระกูล
๓. พวกพ้องโดยการร่วมเรียนมนต์
๔. พวกพ้องโดยการร่วมเรียนศิลปวิทยา
คำว่า กามเป็นอันมาก อธิบายว่า กามหลายอย่าง กามหลายอย่างเหล่านี้
คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่น่าชอบใจ รวมความว่า สตรี พวกพ้อง หรือ
กามเป็นอันมาก
คำว่า ใด ในคำว่า นรชนใดปรารถนาเนือง ๆ อธิบายว่า ผู้ใด ผู้เช่นใด
ผู้ขวนขวายอย่างใด ผู้ตั้งใจอย่างใด ผู้มีประการอย่างใด ผู้เข้าถึงฐานะอย่างใด
ผู้ประกอบด้วยธรรมใด จะเป็นกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต
เทวดา หรือมนุษย์ก็ตาม
คำว่า นรชน ได้แก่ สัตว์ นรชน มานพ บุรุษ บุคคล ผู้มีชีวิต ผู้เกิด สัตว์เกิด
ผู้เป็นไปตามกรรม มนุษย์
คำว่า ปรารถนาเนือง ๆ ได้แก่ ปรารถนา ปรารถนาเสมอ ๆ ปรารถนาทั่วไป
ปรารถนายิ่ง ๆ ขึ้นไป ในวัตถุกามเพราะกิเลสกาม รวมความว่า นรชนใดปรารถนา
เนือง ๆ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
นรชนใดปรารถนาเนือง ๆ ซึ่งไร่นา ที่ดิน เงิน
โค ม้า ทาส บุรุษ สตรี พวกพ้อง หรือกามเป็นอันมาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๕ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑. กามสุตตนิทเทส
[๕] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
กิเลสทั้งหลายอันไม่มีกำลังครอบงำนรชนนั้น
อันตรายทั้งหลายย่ำยีนรชนนั้น
เพราะอันตรายนั้น ทุกข์จึงติดตามนรชนนั้นไป
เหมือนน้ำไหลเข้าเรือรั่ว ฉะนั้น
คำว่า อันไม่มีกำลัง ในคำว่า กิเลสทั้งหลายอันไม่มีกำลังครอบงำนรชนนั้น
อธิบายว่า กิเลสอันไม่มีกำลัง คือ อ่อนกำลัง มีกำลังน้อย มีเรี่ยวแรงน้อย เลว
ทราม เสื่อม ต่ำ น่ารังเกียจ หยาบช้า เล็กน้อย กิเลสเหล่านั้นย่อมเข้าครอบครอง
ยึดครอง ครอบงำ ท่วมทับ รัดรึง ย่ำยีบุคคลนั้น รวมความว่า กิเลสทั้งหลายอัน
ไม่มีกำลังครอบงำนรชนนั้น อย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ
โอตตัปปพละ ย่อมไม่มีแก่บุคคลใด กิเลสเหล่านั้นย่อมเข้าครอบครอง ยึดครอง
ครอบงำ ท่วมทับ รัดรึง ย่ำยีบุคคลนั้นผู้ไม่มีกำลัง อ่อนกำลัง มีกำลังน้อย มี
เรี่ยวแรงน้อย เลว ทราม เสื่อม ต่ำ น่ารังเกียจ หยาบช้า เล็กน้อย รวมความว่า
กิเลสทั้งหลายอันไม่มีกำลังครอบงำนรชนนั้น อย่างนี้บ้าง

ว่าด้วยอันตราย ๒ อย่าง
คำว่า อันตรายทั้งหลาย ในคำว่า อันตรายทั้งหลายย่ำยีนรชนนั้น ได้แก่
อันตราย ๒ อย่าง คือ (๑) อันตรายที่ปรากฏ (๒) อันตรายที่ไม่ปรากฏ
อันตรายที่ปรากฏ คืออะไร
คือ ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี เสือดาว สุนัขป่า โค กระบือ ช้าง งู
แมงป่อง ตะขาบ โจร คนที่ได้ก่อกรรมไว้ หรือยังมิได้ก่อกรรมไว้ โรคทางตา
โรคทางหู โรคทางจมูก โรคทางลิ้น โรคทางกาย โรคศีรษะ โรคหู โรคปาก โรคฟัน
โรคไอ โรคหืด ไข้หวัด ไข้พิษ ไข้เชื่อมซึม โรคท้อง เป็นลมสลบ ลงแดง จุกเสียด
อหิวาตกโรค โรคเรื้อน ฝี กลาก มองคร่อ๑ ลมบ้าหมู หิดเปื่อย หิดด้าน หิด
หูด โรคละลอก โรคดีซ่าน โรคเบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง โรคริดสีดวงทวาร

เชิงอรรถ :
๑ มองคร่อ คือโรคหลอดลมโป่งพองทำให้ผอมแห้ง (ขุ.ม.อ. ๕/๕๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๖ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑. กามสุตตนิทเทส
ความเจ็บป่วยที่เกิดจากดี ความเจ็บป่วยที่เกิดจากเสมหะ ความเจ็บป่วยที่เกิด
จากลม ไข้สันนิบาต ความเจ็บป่วยที่เกิดจากการเปลี่ยนฤดูกาล ความเจ็บป่วยที่
เกิดจากการผลัดเปลี่ยนอิริยาบถไม่ได้ส่วนกัน ความเจ็บป่วยที่เกิดจากความ
พากเพียรเกินกำลัง ความเจ็บป่วยที่เกิดจากผลกรรม ความหนาว ความร้อน
ความหิว ความกระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ ความเจ็บป่วยที่เกิดจากสัมผัส
แห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน เหล่านี้เรียกว่า อันตรายที่ปรากฏ
อันตรายที่ไม่ปรากฏ คืออะไร
คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต กามฉันทนิวรณ์(สิ่งกั้นจิตไม่ให้ก้าวหน้า
ในคุณธรรม คือความพอใจในกาม) พยาบาทนิวรณ์ (สิ่งกั้นจิตไม่ให้ก้าวหน้าใน
คุณธรรม คือความคิดปองร้าย) ถีนมิทธนิวรณ์(สิ่งกั้นจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณธรรม
คือความหดหู่และเซื่องซึม) อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์(สิ่งกั้นจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณธรรม
คือความฟุ้งซ่านและร้อนใจ) วิจิกิจฉานิวรณ์(สิ่งกั้นจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณธรรม
คือความลังเลสงสัย) ราคะ โทสะ โมหะ โกธะ(ความโกรธ) อุปนาหะ(ความผูกโกรธ)
มักขะ (ความลบหลู่คุณท่าน) ปฬาสะ(ความตีเสมอ) อิสสา(ความริษยา) มัจฉริยะ
(ความตระหนี่) มายา(ความหลอกลวง) สาเถยยะ(ความโอ้อ้วด) ถัมภะ(ความหัวดื้อ)
สารัมภะ(ความแข่งดี) มานะ(ความถือตัว) อติมานะ(ความดูหมิ่น) มทะ(ความ
มัวเมา) ปมาทะ(ความประมาท) กิเลสทุกชนิด ทุจริตทุกทาง ความกระวนกระวาย
ทุกอย่าง ความเร่าร้อนทุกสถาน ความเดือดร้อนทุกประการ อกุสลาภิสังขาร๑
ทุกประเภท เหล่านี้เรียกว่า อันตรายที่ไม่ปรากฏ
คำว่า อันตรายทั้งหลาย อธิบายว่า ชื่อว่าอันตราย เพราะมีความหมาย
อย่างไร ชื่อว่าอันตราย เพราะครอบงำ ชื่อว่าอันตราย เพราะเป็นไปเพื่อความเสื่อม
ชื่อว่าอันตราย เพราะเป็นอกุศลธรรมที่อาศัยอยู่ในอัตภาพ

เชิงอรรถ :
๑ อกุสลาภิสังขาร คือสภาพที่ปรุงแต่งผลแห่งการกระทำของบุคคลในกรรมที่ชั่ว เป็นอกุศลกรรม ได้แก่
อกุศลเจตนา (ขุ.ม.อ. ๕/๖๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๗ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑. กามสุตตนิทเทส
ที่ชื่อว่าอันตราย เพราะครอบงำ เป็นอย่างไร
คือ อันตรายเหล่านั้นย่อมเข้าครอบครอง ยึดครอง ครอบงำ ท่วมทับ รัดรึง
ย่ำยีบุคคลนั้น ที่ชื่อว่าอันตราย เพราะครอบงำ เป็นอย่างนี้
ที่ชื่อว่าอันตราย เพราะเป็นไปเพื่อความเสื่อม เป็นอย่างไร
คือ อันตรายเหล่านั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความสูญ เพื่อความเสื่อมไปแห่งกุศล
ธรรมทั้งหลาย กุศลธรรมอะไรบ้าง อันตรายเหล่านั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความสูญ
เพื่อความเสื่อมไปแห่งกุศลธรรมเหล่านี้ คือ การปฏิบัติชอบ การปฏิบัติเหมาะสม
การปฏิบัติที่ไม่เป็นข้าศึก การปฏิบัติไม่คลาดเคลื่อน การปฏิบัติที่เอื้อประโยชน์
การปฏิบัติธรรมถูกต้องตามหลักธรรม การรักษาศีลให้บริบูรณ์ ความเป็นผู้สำรวม
อินทรีย์ทั้ง ๖ (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภค
อาหาร ความเป็นผู้มีความเพียรเครื่องตื่นอยู่เสมอ สติสัมปชัญญะ ความหมั่นเจริญ
สติปัฏฐาน ๔ ความหมั่นเจริญสัมมัปปธาน ๔ ความหมั่นเจริญอิทธิบาท ๔
ความหมั่นเจริญอินทรีย์ ๕ ความหมั่นเจริญพละ ๕ ความหมั่นเจริญโพชฌงค์ ๗
ความหมั่นเจริญอริยมรรคมีองค์๑ ๘ ที่ชื่อว่าอันตราย เพราะเป็นไปเพื่อความเสื่อม
เป็นอย่างนี้
ที่ชื่อว่าอันตราย เพราะเป็นอกุศลธรรมที่อาศัยอยู่ในอัตภาพ เป็นอย่างไร
คือ บาปอกุศลธรรมเหล่านี้ ย่อมเกิดขึ้นในอัตภาพนั้น มีอัตภาพเป็นที่อาศัย
เปรียบเหมือนสัตว์ที่อาศัยรูย่อมอยู่ในรู สัตว์ที่อาศัยน้ำย่อมอยู่ในน้ำ สัตว์ที่อาศัยป่า
ย่อมอยู่ในป่า สัตว์ที่อาศัยต้นไม้ย่อมอยู่บนต้นไม้ ฉันใด บาปอกุศลธรรมเหล่านี้
ย่อมเกิดในอัตภาพนั้น มีอัตภาพเป็นที่อาศัย ฉันนั้นเหมือนกัน ที่ชื่อว่าอันตราย
เพราะเป็นอกุศลธรรมที่อาศัยอยู่ในอัตภาพ เป็นอย่างนี้บ้าง
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่กับกิเลสที่
นอนเนื่องอยู่ภายใน ผู้อยู่กับกิเลสที่ฟุ้งขึ้น ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ไม่สบาย ภิกษุทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
๑ อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ (๑) สัมมาทิฏฐิ(เห็นชอบ) (๒) สัมมาสังกัปปะ(ดำริชอบ) (๓) สัมมาวาจา(เจรจา
ชอบ) (๔) สัมมากัมมันตะ(กระทำชอบ) (๕) สัมมาอาชีวะ(เลี้ยงชีพชอบ) (๖) สัมมาวายามะ(พยายามชอบ)
(๗) สัมมาสติ(ระลึกชอบ) (๘) สัมมาสมาธิ(ตั้งสติมั่นชอบ) (ม.มู. ๑๒/๑๓๕/๙๔-๙๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๘ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑. กามสุตตนิทเทส
ภิกษุผู้อยู่กับกิเลสที่นอนเนื่องอยู่ภายใน ผู้อยู่กับกิเลสที่ฟุ้งขึ้น ย่อมอยู่เป็นทุกข์
ไม่สบาย เป็นอย่างไร ภิกษุทั้งหลาย บาปอกุศลธรรมทั้งหลาย มีความดำริซ่านไป
เกื้อกูลแก่สังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะตาเห็นรูป บาปอกุศล
ธรรมทั้งหลาย ย่อมอยู่ ย่อมซ่านไปภายในของภิกษุนั้น เพราะฉะนั้น จึงตรัสเรียก
ภิกษุนั้นว่า ‘ผู้อยู่กับกิเลสที่นอนเนื่องอยู่ภายใน’ บาปอกุศลธรรมเหล่านั้น ย่อม
ฟุ้งขึ้นท่วมภิกษุนั้น เพราะฉะนั้น พระองค์จึงตรัสเรียกภิกษุนั้นว่า ‘ผู้อยู่กับกิเลส
ที่ฟุ้งขึ้น’
ภิกษุทั้งหลาย อีกนัยหนึ่ง บาปอกุศลธรรมทั้งหลาย มีความดำริซ่านไป
เกื้อกูลแก่สังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุ เพราะหูได้ยินเสียง ... เพราะจมูกได้กลิ่น ...
เพราะลิ้นลิ้มรส ... เพราะกายได้รับสัมผัส ... เพราะใจรู้ธรรมารมณ์ บาปอกุศล
ธรรมทั้งหลาย ย่อมอยู่ ย่อมซ่านไปภายในของภิกษุนั้น เพราะฉะนั้น จึงตรัสเรียกภิกษุ
นั้นว่า ‘ผู้อยู่กับกิเลสที่นอนเนื่องอยู่ภายใน’ บาปอกุศลธรรมเหล่านั้น ย่อมฟุ้งขึ้น
ท่วมภิกษุนั้น เพราะฉะนั้น จึงตรัสเรียกภิกษุนั้นว่า ‘ผู้อยู่กับกิเลสที่ฟุ้งขึ้น’ ภิกษุ
ทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุผู้อยู่กับกิเลสที่นอนเนื่องอยู่ภายใน ผู้อยู่กับกิเลสที่ฟุ้งขึ้น
ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ไม่สบาย”๑ ที่ชื่อว่าอันตราย เพราะเป็นอกุศลธรรมที่อาศัยอยู่ใน
อัตภาพ เป็นอย่างนี้บ้าง

ว่าด้วยธรรม ๓ ประการ เป็นมลทินภายใน
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการเหล่านี้
เป็นมลทินภายใน เป็นอมิตรภายใน เป็นศัตรูภายใน เป็นเพชฌฆาตภายใน เป็น
ข้าศึกภายใน ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. โลภะ เป็นมลทินภายใน เป็นอมิตรภายใน เป็นศัตรูภายใน เป็น
เพชฌฆาตภายใน เป็นข้าศึกภายใน
๒. โทสะ เป็นมลทินภายใน เป็นอมิตรภายใน เป็นศัตรูภายใน เป็น
เพชฌฆาตภายใน เป็นข้าศึกภายใน
๓. โมหะ เป็นมลทินภายใน เป็นอมิตรภายใน เป็นศัตรูภายใน เป็น
เพชฌฆาตภายใน เป็นข้าศึกภายใน

เชิงอรรถ :
๑ สํ.สฬา. ๑๘/๑๕๑/๑๒๖-๑๒๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๙ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑. กามสุตตนิทเทส
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการเหล่านี้แล ชื่อว่าเป็นมลทินภายใน เป็นอมิตร
ภายใน เป็นศัตรูภายใน เป็นเพชฌฆาตภายใน เป็นข้าศึกภายใน”๑
(พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณ์ภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัส
คาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า)
โลภะก่อให้เกิดสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
โลภะทำให้จิตกำเริบ โลภะเป็นภัยที่เกิดภายใน
คน (ส่วนมาก)ไม่รู้จักภัยนั้น
คนโลภไม่รู้จักผล คนโลภไม่รู้จักเหตุ
ความโลภครอบงำนรชนเมื่อใด
ความมืดบอดย่อมมีเมื่อนั้น
โทสะก่อให้เกิดสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
โทสะทำให้จิตกำเริบ โทสะเป็นภัยที่เกิดภายใน
คน (ส่วนมาก)ไม่รู้จักภัยนั้น
คนโกรธไม่รู้จักผล คนโกรธไม่รู้จักเหตุ
ความโกรธครอบงำนรชนเมื่อใด
ความมืดบอดย่อมมีเมื่อนั้น
โมหะก่อให้เกิดสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
โมหะทำให้จิตกำเริบ โมหะเป็นภัยที่เกิดภายใน
คน (ส่วนมาก)ไม่รู้จักภัยนั้น
คนหลงไม่รู้จักผล คนหลงไม่รู้จักเหตุ
ความหลงครอบงำนรชนเมื่อใด
ความมืดบอดย่อมมีเมื่อนั้น๒
ที่ชื่อว่าอันตราย เพราะเป็นอกุศลธรรมที่นอนเนื่องอยู่ในอัตภาพ เป็นอย่างนี้บ้าง

เชิงอรรถ :
๑ สํ.ส. ๑๕/๑๑๓/๘๔-๘๕
๒ ขุ.อิติ. ๒๕/๘๘/๓๐๕, ขุ.จู. ๓๐/๑๒๘/๒๖๓-๒๖๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๐ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑. กามสุตตนิทเทส
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “มหาบพิตร ธรรม ๓ ประการ
เมื่อเกิดขึ้นภายใน(จิต)ของบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อความไม่เป็นประโยชน์ เพื่อความ
ทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่ผาสุก
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. โลภธรรมเมื่อเกิดขึ้นภายใน(จิต)ของบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อความไม่
เป็นประโยชน์ เพื่อความทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่ผาสุก
๒. โทสธรรมเมื่อเกิดขึ้นภายใน(จิต)ของบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อความไม่
เป็นประโยชน์ เพื่อความทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่ผาสุก
๓. โมหธรรมเมื่อเกิดขึ้นภายใน(จิต)ของบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อความไม่
เป็นประโยชน์ เพื่อความทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่ผาสุก
มหาบพิตร ธรรม ๓ ประการเหล่านี้แล เมื่อเกิดขึ้นภายใน(จิต)ของบุรุษ ย่อม
เกิดขึ้นเพื่อความไม่เป็นประโยชน์ เพื่อความทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่ผาสุก”
(พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณ์ภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัส
คาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า)
โลภะ โทสะ และโมหะ เกิดขึ้นในตน
ย่อมทำร้ายบุรุษผู้มีจิตเลวทราม
เหมือนขุยไผ่กำจัดต้นไผ่ ฉะนั้น๑
ที่ชื่อว่าอันตราย เพราะเป็นอกุศลธรรมที่นอนเนื่องอยู่ในอัตภาพ เป็นอย่างนี้บ้าง
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
ราคะ และโทสะ มีอัตภาพนี้เป็นต้นเหตุ
ความไม่ยินดีกุศลธรรม
ความยินดีกามคุณซึ่งทำให้ขนลุก เกิดจากอัตภาพนี้
บาปวิตก๒ ในใจ เกิดขึ้นจากอัตภาพนี้
ย่อมผูกใจคนไว้ เหมือนพวกเด็กผูกตีนกาไว้ ฉะนั้น๓
ที่ชื่อว่าอันตราย เพราะเป็นอกุศลธรรมที่นอนเนื่องอยู่ในอัตภาพ เป็นอย่างนี้บ้าง

เชิงอรรถ :
๑ สํ.ส. ๑๕/๑๑๓/๘๕, ขุ.อิติ. ๒๕/๕๐/๒๗๒, ขุ.จู. ๓๐/๑๒๘/๒๖๔
๒ บาปวิตก คือความตรึกเกี่ยวกับเรื่องบาป ความคิดในเรื่องบาป
๓ สํ.ส. ๑๕/๒๓๗/๒๕๐, ขุ.สุ. ๒๕/๒๗๔/๓๘๗, ขุ.จู. ๓๐/๑๒๘/๒๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๑ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑. กามสุตตนิทเทส
คำว่า อันตรายทั้งหลายย่ำยีนรชนนั้น ได้แก่ อันตรายเหล่านั้นย่อมเข้า
ครอบครอง ยึดครอง ครอบงำ ท่วมทับ รัดรึง ย่ำยีบุคคลนั้น รวมความว่า อันตราย
ทั้งหลายย่ำยีนรชนนั้น
คำว่า นั้น ในคำว่า เพราะอันตรายนั้น ทุกข์จึงติดตามนรชนนั้นไป อธิบายว่า
เพราะอันตรายนั้น ๆ ทุกข์จึงติดตาม ไปตาม ไล่ตามบุคคลนั้น คือ ชาติทุกข์
จึงติดตาม ไปตาม ไล่ตาม ชราทุกข์... พยาธิทุกข์... มรณทุกข์... ทุกข์คือความเศร้าโศก
ความคร่ำครวญ ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ... ทุกข์เนื่องจากการ
เกิดในนรก... ทุกข์เนื่องจากการเกิดในกำเนิดเดรัจฉาน... ทุกข์เนื่องจากการเกิดใน
เปตวิสัย... ทุกข์เนื่องจากการเกิดในโลกมนุษย์... ทุกข์เนื่องจากการถือกำเนิดในครรภ์...
ทุกข์เนื่องจากการอยู่ในครรภ์... ทุกข์เนื่องจากการคลอดจากครรภ์... ทุกข์ที่สืบเนื่อง
มาจากผู้เกิด... ทุกข์ของผู้เกิดที่เนื่องมาจากผู้อื่น... ทุกข์ที่เกิดจากความพยายาม
ของตนเอง... ทุกข์ที่เกิดจากความพยายามของผู้อื่น... ความทุกข์กาย ทุกข์ใจ...
ทุกข์ที่เกิดจากสังขาร... ทุกข์ที่เกิดจากความแปรผัน... โรคทางตา โรคทางหู โรค
ทางจมูก โรคทางลิ้น โรคทางกาย โรคศีรษะ โรคหู โรคปาก โรคฟัน โรคไอ โรคหืด
ไข้หวัด ไข้พิษ ไข้เชื่อมซึม โรคท้อง เป็นลมสลบ ลงแดง จุกเสียด อหิวาตกโรค โรค
เรื้อน ฝี กลาก มองคร่อ ลมบ้าหมู หิดเปื่อย หิดด้าน หิด หูด โรคละลอก โรคดีซ่าน
โรคเบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง โรคริดสีดวงทวาร ความเจ็บป่วยที่เกิดจากดี
ความเจ็บป่วยที่เกิดจากเสมหะ ความเจ็บป่วยที่เกิดจากลม ไข้สันนิบาต ความเจ็บ
ป่วยที่เกิดจากการเปลี่ยนฤดูกาล ความเจ็บป่วยที่เกิดจากการผลัดเปลี่ยนอิริยาบถ
ไม่ได้ส่วนกัน ความเจ็บป่วยที่เกิดจากความพากเพียรเกินกำลัง ความเจ็บป่วยที่เกิด
จากผลกรรม ความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย ปวดอุจจาระ ปวด
ปัสสาวะ ทุกข์ที่เกิดจากสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน ทุกข์
เพราะมารดาตาย ทุกข์เพราะบิดาตาย ทุกข์เพราะพี่ชายน้องชายตาย ทุกข์เพราะ
พี่สาวน้องสาวตาย ทุกข์เพราะบุตรตาย ทุกข์เพราะธิดาตาย ทุกข์เพราะความพินาศ
ของญาติ ทุกข์เพราะโภคทรัพย์พินาศ ทุกข์เพราะความเสียหายที่เกิดจากโรค ทุกข์
เพราะสีลวิบัติ ทุกข์เพราะทิฏฐิวิบัติจึงติดตาม ไปตาม ไล่ตามบุคคลนั้น รวมความว่า
เพราะอันตรายนั้น ทุกข์จึงติดตามนรชนนั้นไป


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๒ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑. กามสุตตนิทเทส
คำว่า เหมือนน้ำไหลเข้าเรือรั่ว อธิบายว่า เปรียบเหมือนน้ำไหลเข้าเรือรั่ว
คือ น้ำไหลเข้า พุ่งเข้า ทะลักเข้าตามรอยรั่วนั้น ๆ ได้แก่ น้ำไหลเข้า พุ่งเข้า ทะลักเข้า
ด้านหัวเรือบ้าง ด้านท้ายเรือบ้าง ด้านท้องเรือบ้าง ด้านข้างเรือบ้าง ฉันใด เพราะ
อันตรายนั้นๆ ทุกข์จึงติดตาม ไปตาม ไล่ตามบุคคลนั้น คือ ชาติทุกข์... ทุกข์เพราะ
ทิฏฐิวิบัติจึงติดตาม ไปตาม ไล่ตามบุคคลนั้น เหมือนกันฉันนั้น รวมความว่า
เหมือนน้ำไหลเข้าเรือรั่ว ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
กิเลสทั้งหลายอันไม่มีกำลังครอบงำนรชนนั้น
อันตรายทั้งหลายย่ำยีนรชนนั้น
เพราะอันตรายนั้น ทุกข์จึงติดตามนรชนนั้นไป
เหมือนน้ำไหลเข้าเรือรั่ว ฉะนั้น
[๖] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
เพราะฉะนั้น สัตว์เกิดพึงมีสติทุกเมื่อ ละกามทั้งหลายได้
ครั้นละกามเหล่านั้นได้แล้ว พึงข้ามโอฆะ๑ ได้
เหมือนคนวิดน้ำเรือแล้วไปถึงฝั่งได้ ฉะนั้น
คำว่า เพราะฉะนั้น ในคำว่า เพราะฉะนั้น สัตว์เกิดพึงมีสติทุกเมื่อ ได้แก่
เพราะฉะนั้น คือ เพราะการณ์นั้น เพราะเหตุนั้น เพราะปัจจัยนั้น เพราะต้นเหตุนั้น
สัตว์เกิดเมื่อเห็นโทษนั้นในกามทั้งหลาย รวมความว่า เพราะฉะนั้น
คำว่า สัตว์เกิด ได้แก่ สัตว์ คือ นรชน มานพ บุรุษ บุคคล ผู้มีชีวิต ผู้เกิด
สัตว์เกิด ผู้เป็นไปตามกรรม มนุษย์
คำว่า ทุกเมื่อ อธิบายว่า ทุกเมื่อ คือ ในกาลทั้งปวง ตลอดกาลทั้งปวง
ตลอดกาลเป็นนิจ ตลอดกาลยั่งยืน ตลอดกาลต่อเนื่องกัน ตลอดกาลสืบเนื่องกัน
ตลอดกาลติดต่อกัน ตลอดกาลเป็นลำดับ ตลอดกาลติดต่อกันเหมือนระลอกคลื่น
ตลอดกาลเป็นไปต่อเนื่องไม่ขาดสาย ตลอดกาลสืบต่อกันกระชั้นชิด ตลอดกาล
ก่อนภัต หลังภัต ตลอดปฐมยาม มัชฌิมยาม ปัจฉิมยาม ตลอดข้างแรม ข้างขึ้น
ตลอดฤดูฝน ฤดูหนาว ฤดูร้อน ตลอดปฐมวัย มัชฌิมวัย ปัจฉิมวัย

เชิงอรรถ :
๑ โอฆะ ดูเชิงอรรถข้อ ๓/๑๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๓ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑. กามสุตตนิทเทส
ว่าด้วยผู้มีสติทุกเมื่อ
คำว่า มีสติ อธิบายว่า มีสติด้วยเหตุ ๔ อย่าง คือ
๑. ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณากายในกาย
๒. ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณาเวทนาในเวทนาทั้งหลาย
๓. ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณาจิตในจิต
๔. ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณาธรรมในธรรมทั้งหลาย
ชื่อว่ามีสติด้วยเหตุอีก ๔ อย่าง ... สัตว์เกิดนั้นพระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า ผู้มีสติ๑
รวมความว่า เพราะฉะนั้น สัตว์เกิดพึงมีสติทุกเมื่อ
คำว่า ละกามทั้งหลายได้ อธิบายว่า
คำว่า กาม ได้แก่ กาม ๒ อย่าง แบ่งตามหมวด คือ (๑) วัตถุกาม
(๒) กิเลสกาม ... เหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม ... เหล่านี้เรียกว่า กิเลสกาม
คำว่า ละกามทั้งหลายได้ อธิบายว่า พึงละกามได้โดยเหตุ ๒ อย่าง คือ
(๑) โดยการข่มไว้ (๒) โดยการตัดขาด
บุคคลพึงละกามได้โดยการข่มไว้ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลเมื่อพิจารณาเห็นว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนร่างโครงกระดูก
เพราะให้ความยินดีเล็กน้อย จึงละกามได้โดยการข่มไว้
เมื่อพิจารณาเห็นว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนชิ้นเนื้อ เพราะเป็นของทั่วไป
แก่คนส่วนมาก จึงละกามได้โดยการข่มไว้
เมื่อพิจารณาเห็นว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนคบเพลิงหญ้า เพราะไหม้
ลุกลาม จึงละกามได้โดยการข่มไว้ ... บุคคลกำลังเจริญเนวสัญญานาสัญญายตน-
สมาบัติ จึงละกามได้โดยการข่มไว้ บุคคลชื่อว่าพึงละกามได้โดยการข่มไว้
เป็นอย่างนี้๒... บุคคลชื่อว่าพึงละกามได้โดยการตัดขาด เป็นอย่างนี้ รวมความว่า
ละกามทั้งหลายได้

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๓/๑๒-๑๓
๒ ดูรายละเอียดข้อ ๓/๗-๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๔ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑. กามสุตตนิทเทส
คำว่า เหล่านั้น ในคำว่า ครั้นละกามเหล่านั้นได้แล้ว พึงข้ามโอฆะได้
อธิบายว่า สัตว์เกิดกำหนดรู้วัตถุกามแล้ว ละ ละเว้น บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป
ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งกิเลสกาม ละ ละเว้น บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความ
ไม่มีอีกซึ่งกามฉันทนิวรณ์ ละ ละเว้น บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีก
ซึ่งพยาบาทนิวรณ์ ... ถีนมิทธนิวรณ์ ... อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ ... วิจิกิจฉานิวรณ์
พึงข้าม ข้ามไป ข้ามพ้น ก้าวล่วง ล่วงเลยกาโมฆะ(ห้วงน้ำคือกาม) ภโวฆะ(ห้วงน้ำ
คือภพ) ทิฏโฐฆะ(ห้วงน้ำคือทิฏฐิ) อวิชโชฆะ(ห้วงน้ำคืออวิชชา)ได้ รวมความว่า
ครั้นละกามเหล่านั้นได้แล้ว พึงข้ามโอฆะได้
คำว่า เหมือนคนวิดน้ำเรือแล้วไปถึงฝั่งได้ ฉะนั้น อธิบายว่า เปรียบเหมือน
บุคคลวิด ตัก ทิ้งน้ำในเรือที่ทำให้เรือบรรทุกหนัก แล้วพึงไปถึงฝั่งได้รวดเร็วด้วยเรือ
ที่เบา โดยไม่ยากนัก ฉันใด สัตว์เกิดกำหนดรู้วัตถุกามแล้ว ละ ละเว้น บรรเทา
ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งกิเลสกาม ละ ละเว้น บรรเทา ทำให้หมด
สิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งกามฉันทนิวรณ์ ... พยาบาทนิวรณ์ ... ถีนมิทธนิวรณ์ ...
อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ ... วิจิกิจฉานิวรณ์ ก็จะพึงไปถึงฝั่งได้รวดเร็ว โดยไม่ยากนัก
ฉันนั้นเหมือนกัน อมตนิพพาน ตรัสเรียกว่า ฝั่ง คือ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง
เป็นที่สลัดทิ้งอุปธิทั้งหมด เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับกิเลส
เป็นที่เย็นสนิท
คำว่า พึงไปถึงฝั่ง ได้แก่ พึงถึงฝั่ง พึงถูกต้องฝั่ง พึงทำให้แจ้งฝั่งได้
คำว่า ถึงฝั่งได้ อธิบายว่า ผู้ใดประสงค์จะไปสู่ฝั่ง ผู้นั้นก็ชื่อว่า ผู้ถึงฝั่งได้ ผู้ใด
กำลังไปสู่ฝั่ง ผู้นั้นก็ชื่อว่า ผู้ถึงฝั่งได้ ผู้ใดไปถึงฝั่งแล้ว ผู้นั้นก็ชื่อว่า ผู้ถึงฝั่งได้
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย คำว่า พราหมณ์ ผู้ข้าม
ได้แล้ว ถึงฝั่งแล้ว ยืนอยู่บนบก นี้เป็นชื่อของพระอรหันต์ พระอรหันต์นั้นถึงฝั่งได้
ด้วยความรู้ยิ่ง ถึงฝั่งได้ด้วยการกำหนดรู้ ถึงฝั่งได้ด้วยการละ ถึงฝั่งได้ด้วยการเจริญ
ภาวนา ถึงฝั่งได้ด้วยการทำให้แจ้ง ถึงฝั่งได้ด้วยการเข้าสมาบัติ ถึงฝั่งได้ด้วยความ
รู้ยิ่งธรรมทั้งปวง ถึงฝั่งได้ด้วยการกำหนดรู้ทุกข์ทั้งปวง ถึงฝั่งได้ด้วยการละกิเลส
ทั้งปวง ถึงฝั่งได้ด้วยการเจริญอริยมรรค ๔ ถึงฝั่งได้ด้วยการทำให้แจ้งนิโรธ ถึงฝั่งได้
ด้วยการเข้าสมาบัติ๑ ๘

เชิงอรรถ :
๑ สมาบัติ ๘ ประกอบด้วย รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๕ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑. กามสุตตนิทเทส
พระอรหันต์นั้นถึงความชำนาญ บรรลุบารมีในอริยศีล ถึงความชำนาญ บรรลุ
บารมีในอริยสมาธิ ถึงความชำนาญ บรรลุบารมีในอริยปัญญา ถึงความชำนาญ
บรรลุบารมีในอริยวิมุตติ
พระอรหันต์นั้นถึงฝั่ง บรรลุฝั่ง ถึงส่วนสุด บรรลุส่วนสุด ถึงปลายสุด บรรลุ
ปลายสุด ถึงท้ายสุด บรรลุท้ายสุด ถึงความสำเร็จ บรรลุความสำเร็จ ถึงที่ปกป้อง
บรรลุที่ปกป้อง ถึงหลีกที่เร้น บรรลุที่หลีกเร้น ถึงที่พึ่ง บรรลุที่พึ่ง ถึงที่ไม่มีภัย
บรรลุที่ไม่มีภัย ถึงที่ไม่จุติ บรรลุที่ไม่จุติ ถึงที่ไม่ตาย บรรลุที่ไม่ตาย ถึงที่ดับ บรรลุ
ที่ดับ
พระอรหันต์นั้นอยู่ใน(อริยวาสธรรม)แล้ว ประพฤติจรณธรรมแล้ว ผ่านทางไกล
ได้แล้ว ถึงทิศ(นิพพาน)แล้ว ถึงจุดจบ(นิพพาน)แล้ว รักษาพรหมจรรย์ได้แล้ว ถึง
ทิฏฐิอันสูงสุด๑แล้ว เจริญมรรคได้แล้ว ละกิเลสได้แล้ว รู้แจ้งธรรมที่ไม่กำเริบแล้ว
ทำนิโรธให้แจ้งได้แล้ว ท่านกำหนดรู้ทุกข์ได้แล้ว ละสมุทัยได้แล้ว เจริญมรรคได้แล้ว
ทำนิโรธให้แจ้งแล้ว รู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่งแล้ว กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ได้แล้ว ละ
ธรรมที่ควรละได้แล้ว เจริญธรรมที่ควรเจริญได้แล้ว ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งได้แล้ว
พระอรหันต์นั้นถอนลิ่มสลักคืออวิชชาได้แล้ว ถมคูคือกรรมได้แล้ว ถอนเสา
ระเนียดคือตัณหาได้แล้ว ไม่มีบานประตูคือสังโยชน์ เป็นผู้ไกลจากข้าศึกคือกิเลส
ปลดธงคือมานะลงเสียแล้ว ปลงภาระได้แล้ว ไม่เกี่ยวข้องกับโยคกิเลสแล้ว ละองค์ ๕
(แห่งนิวรณ์)ได้แล้ว ประกอบด้วยองค์ ๖ มีธรรมเครื่องรักษาอย่างเอก(คือสติ) มี
อปัสเสนธรรม๒ ๔ อย่าง มีปัจเจกสัจจะ๓อันบรรเทาได้แล้ว มีการแสวงหาอันสละได้
โดยชอบ ไม่บกพร่อง มีความดำริไม่ขุ่นมัว มีกายสังขารอันระงับได้แล้ว มีจิตหลุด
พ้นดีแล้ว มีปัญญาหลุดพ้นได้ดี เป็นผู้บริสุทธิ์บริบูรณ์ อยู่จบพรหมจรรย์ เป็นอุดม

เชิงอรรถ :
๑ ทิฏฐิอันสูงสุด หมายถึงสัมมาทิฏฐิ (ขุ.ม.อ. ๖/๘๒)
๒ อปัสเสนธรรม คือธรรมดุจพนักพิง หรือธรรมที่พึ่งอาศัย มี ๔ อย่าง คือ (๑) สงฺขาเยกํ ปฏิเสวติ ของ
อย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วเสพ เช่น ปัจจัย ๔ (๒) สงฺขาเยกํ ปริวชฺเชติ ของอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วเว้น เช่น
คนพาลหรือสัตว์ร้าย (๓) สงฺขาเยกํ วิโนเทติ ของอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วบรรเทา เช่น กามวิตก
(๔) สงฺขาเยกํ ปชหติ ของอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วละเสีย (ที.ปา. ๑๑/๓๐๘/๒๐๐, ที.ปา.อ. ๓๐๘/๒๐๔,
ขุ.ม.อ. ๖/๘๖)
๓ ปัจเจกสัจจะ หมายถึงทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่งที่ยังยึดถือ เช่น ถือว่าทรรศนะนี้เท่านั้นจริง ทรรศนะนี้
เท่านั้นจริง (ขุ.ม.อ. ๖/๘๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๖ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๑. กามสุตตนิทเทส
บุรุษ เป็นบรมบุรุษ ถึงการบรรลุปรมัตถธรรมแล้ว พระอรหันต์นั้น มิต้องก่อผลกรรม
มิต้องกำจัด กำจัดได้แล้วดำรงตนอยู่ มิต้องละกิเลส มิต้องถือมั่น ละได้แล้วดำรง
ตนอยู่ มิต้องเย็บ(ด้วยตัณหา) มิต้องยก(ตนด้วยมานะ) เย็บเรียบร้อยแล้วดำรงตนอยู่
มิต้องดับ(ไฟคือกิเลส) มิต้องก่อ ดับได้แล้วดำรงตนอยู่ ชื่อว่าดำรงตนอยู่ได้เพราะ
ประกอบด้วยสีลขันธ์อันเป็นอเสขะ ... ด้วยสมาธิขันธ์ ... ด้วยปัญญาขันธ์ ...
ด้วยวิมุตติขันธ์ ... ดำรงตนอยู่ด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์อันเป็นอเสขะ ดำรงตนอยู่
แทงตลอดสัจจะแล้ว ดำรงตนอยู่โดยการก้าวล่วงตัณหาอันเป็นเหตุให้หวั่นไหว ดำรงตน
อยู่โดยการดับไฟคือกิเลส ดำรงตนอยู่โดยไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิด ดำรงตนอยู่โดย
การสมาทานธรรมขั้นสุดยอด ดำรงตนอยู่โดยการเสพวิมุตติ ดำรงตนอยู่ด้วยเมตตา
อันบริสุทธิ์ ... ด้วยกรุณา ... ด้วยมุทิตาอันบริสุทธิ์ ... ดำรงตนอยู่ด้วยอุเบกขา
อันบริสุทธิ์ ดำรงตนอยู่ด้วยความบริสุทธิ์อย่างยิ่ง ดำรงตนอยู่ด้วยความบริสุทธิ์
เพราะไม่มีตัณหาทิฏฐิและมานะ ดำรงตนอยู่โดยความเป็นผู้หลุดพ้น ดำรงตนอยู่โดย
ความเป็นผู้สันโดษ ดำรงตนอยู่ในขันธ์สุดท้าย ดำรงตนอยู่ในธาตุสุดท้าย ดำรงตน
อยู่ในอายตนะสุดท้าย ดำรงตนอยู่ในคติสุดท้าย ดำรงตนอยู่ในการถือกำเนิดสุดท้าย
ดำรงตนอยู่ในปฏิสนธิสุดท้าย ดำรงตนอยู่ในภพสุดท้าย ดำรงตนอยู่ในสงสาร
สุดท้าย ดำรงตนอยู่ในวัฏฏะสุดท้าย ดำรงตนอยู่ในภพสุดท้าย ดำรงตนอยู่ในประชุม
แห่งขันธ์ขั้นสุดท้าย ทรงไว้ซึ่งร่างกายขั้นสุดท้าย เป็นผู้ไกลจากข้าศึก
(สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า)
พระขีณาสพนั้น มีภพนี้เป็นภพสุดท้าย
มีประชุมแห่งขันธ์นี้เป็นครั้งสุดท้าย
ไม่มีการเวียนเกิด เวียนตาย และภพใหม่ก็ไม่มีอีก๑
รวมความว่า เหมือนคนวิดน้ำเรือแล้วไปถึงฝั่งได้ ฉะนั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มี-
พระภาคจึงตรัสว่า
เพราะฉะนั้น สัตว์เกิดพึงมีสติทุกเมื่อ ละกามทั้งหลายได้
ครั้นละกามเหล่านั้นได้แล้ว พึงข้ามโอฆะได้
เหมือนคนวิดน้ำเรือแล้วไปถึงฝั่งได้ ฉะนั้น
กามสุตตนิทเทสที่ ๑ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.จู. ๓๐/๒๘/๙๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๗ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส
๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส๑
อธิบายคุหัฏฐกสูตร
ว่าด้วยนรชนผู้ข้องอยู่ในถ้ำคือกาย
พระสารีบุตรเถระจะกล่าวอธิบายคุหัฏฐกสูตร ดังต่อไปนี้
[๗] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
นรชนผู้ข้องอยู่ในถ้ำ ถูกกิเลสมากหลายปิดบังไว้
เมื่อดำรงตนอยู่(อย่างนี้) ก็จมลงในเหตุให้ลุ่มหลง
ผู้เป็นเช่นนั้นแล ย่อมอยู่ไกลจากวิเวก
เพราะกามทั้งหลายในโลกไม่เป็นของที่นรชนละได้ง่ายเลย
คำว่า ผู้ข้องอยู่ ในคำว่า ผู้ข้องอยู่ในถ้ำ ถูกกิเลสมากหลายปิดบังไว้
กล่าวไว้แล้วข้างต้น อนึ่ง คำว่า ถ้ำ ควรกล่าวถึงก่อน กาย ตรัสเรียกว่า ถ้ำ
คำว่า กาย ถ้ำ ร่างกาย ร่างกายตน เรือ รถ ธง จอมปลวก รัง นคร กระท่อม
ฝี หม้อ หรือนาค นี้เป็นชื่อของกาย
คำว่า ผู้ข้องอยู่ในถ้ำ ได้แก่ ผู้ข้อง คือ ติด เกี่ยว เกาะติด เกี่ยวพัน พัวพัน
อยู่ในถ้ำ อธิบายว่า นรชน ข้อง คือ ติด เกี่ยว เกาะติด เกี่ยวพัน พัวพันอยู่ในถ้ำ
เหมือนสิ่งของที่ข้อง ติด เกี่ยว แขวน เกี่ยวพัน ติดตรึงอยู่ที่ตะปูข้างฝา หรือที่
ไม้แขวน ฉะนั้น
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ราธะ๒ ผู้ข้อง ติดอยู่ในความพอใจ
ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก อุบายและความยึดมั่นอันเป็น
เหตุที่ใจเข้าไปตั้งมั่น ถือมั่น นอนเนื่องในรูป เพราะฉะนั้น เราจึงเรียกว่า ผู้ข้อง ...
ราธะ ผู้ข้อง ติดอยู่ ในความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก
อุบายและความยึดมั่นอันเป็นเหตุที่ใจเข้าไปตั้งมั่น ถือมั่น นอนเนื่องในเวทนา ... ใน

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.สุ. ๒๕/๗๗๙-๗๘๖/๔๘๖-๔๘๘
๒ ราธะ เป็นชื่อของภิกษุผู้เป็นสัทธิวิหาริกของพระสารีบุตรซึ่งบวชเมื่อแก่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๘ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส
สัญญา ...ในสังขาร ... ในวิญญาณ เพราะฉะนั้น เราจึงเรียกว่า ผู้ข้อง”๑ คำว่า
ผู้ข้อง เป็นชื่อของความเกี่ยวข้อง รวมความว่า ผู้ข้องอยู่ในถ้ำ
คำว่า ถูกกิเลสมากหลายปิดบังไว้ อธิบายว่า ถูกกิเลสเป็นอันมากปิดบังไว้
คือ ถูกราคะปิดบังไว้ ถูกโทสะปิดบังไว้ ถูกโมหะปิดบังไว้ ถูกโกธะปิดบังไว้ ถูก
อุปนาหะปิดบังไว้ ถูกมักขะปิดบังไว้ ถูกปฬาสะปิดบังไว้ ถูกอิสสาปิดบังไว้ ถูก
มัจฉริยะปิดบังไว้ ถูกมายาปิดบังไว้ ถูกสาเถยยะปิดบังไว้ ถูกถัมภะปิดบังไว้ ถูก
สารัมภะปิดบังไว้ ถูกมานะปิดบังไว้ ถูกอติมานะปิดบังไว้ ถูกมทะปิดบังไว้ ถูก
ปมาทะปิดบังไว้ ได้แก่ ถูกกิเลสทุกชนิด ... ทุจริตทุกทาง ...ความกระวนกระวาย
ทุกอย่าง ... ความเร่าร้อนทุกสถาน... ความเดือดร้อนทุกประการ ... อกุสลาภิสังขาร
ทุกประเภท ปิดบัง ปกปิด ปิดล้อม หุ้มห่อ โอบล้อม ห้อมล้อม ครอบคลุม ปกคลุม
บดบังไว้ รวมความว่า ผู้ข้องอยู่ในถ้ำ ถูกกิเลสมากหลายปิดบังไว้
คำว่า นรชน ... เมื่อดำรงตนอยู่ ในคำว่า นรชน ... เมื่อดำรงตนอยู่
ก็จมลงในเหตุให้ลุ่มหลง อธิบายว่า นรชนเมื่อดำรงตนอยู่ คือ ผู้กำหนัดก็ดำรงตนอยู่
ตามอำนาจราคะ ผู้ขัดเคืองก็ดำรงตนอยู่ตามอำนาจโทสะ ผู้หลงก็ดำรงตนอยู่ตาม
อำนาจโมหะ ผู้ยึดติดก็ดำรงตนอยู่ตามอำนาจมานะ ผู้ยึดถือก็ดำรงตนอยู่ตาม
อำนาจทิฏฐิ๒ ผู้ฟุ้งซ่านก็ดำรงตนอยู่ตามอำนาจอุทธัจจะ(ความฟุ้งซ่าน) ผู้ลังเล

เชิงอรรถ :
๑ สํ.ข. ๑๗/๑๖๑/๑๕๓
๒ ทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึง ทิฏฐิ ๖๒ แบ่งออกเป็น ๒ ฝ่าย คือ
๑. ปุพพันตกัปปิกวาทะ ความเห็นกำหนดขันธ์ส่วนอดีตมี ๑๘ คือ
(๑) สัสสตวาทะ เห็นว่าอัตตาและโลกเที่ยงมี ๔ อย่าง (๒) เอกัจจสัสสตวาทะ เห็นว่าอัตตาและโลกเที่ยง
เป็นบางอย่างมี ๔ อย่าง (๓) อันตานันติกวาทะ เห็นว่าโลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุดมี ๔ อย่าง (๔) อมรา-
วิกเขปวาทะ ความเห็นหลบเลี่ยง ไม่แน่นอนมี ๔ อย่าง (๕) อธิจจสมุปปันนวาทะ เห็นว่าอัตตาและโลก
เกิดขึ้นเองไม่มีเหตุปัจจัยมี ๒ อย่าง
๒. อปรันตกัปปิกวาทะ ความเห็นกำหนดขันธ์ส่วนอนาคตมี ๔๔ คือ
(๑) สัญญีวาทะ เห็นว่าอัตตาหลังจากตายแล้วมีสัญญามี ๑๖ อย่าง (๒) อสัญญีวาทะ เห็นว่าอัตตาหลัง
จากตายแล้วไม่มีสัญญามี ๘ อย่าง (๓) เนวสัญญีนาสัญญีวาทะ เห็นว่าอัตตาหลังจากตายแล้วมีสัญญาก็
มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่มี ๘ อย่าง (๔) อุจเฉทวาทะ เห็นว่าหลังจากตายแล้วอัตตาขาดสูญมี ๗ อย่าง
(๕) ทิฏฐธัมมนิพพานวาทะ เห็นว่ามีสภาพบางอย่างเป็นนิพพานในปัจจุบันมี ๕ อย่าง (ที.สี.(แปล)
๙/๒๘-๑๐๔/๑๑-๓๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๒๙ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส
ก็ดำรงตนอยู่ตามอำนาจวิจิกิจฉา(ความลังเลสงสัย) ผู้ตกอยู่ในพลังกิเลสก็ดำรงตน
อยู่ตามอำนาจอนุสัย(กิเลสที่นอนเนื่อง) รวมความว่า นรชน ... เมื่อดำรงตนอยู่
ย่อมเป็นอย่างนี้
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปที่รู้ได้ทางตา ที่น่า
ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด ก็มีอยู่ ถ้าภิกษุ
เพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดรูปนั้นอยู่ ภิกษุทั้งหลาย เสียงที่รู้ได้ทางหู ... มีอยู่ ...
กลิ่นที่รู้ได้ทางจมูก ... มีอยู่ ... รสที่รู้ได้ทางลิ้น ... มีอยู่ ... โผฏฐัพพะที่รู้ได้ทางกาย ...
มีอยู่ ... ธรรมารมณ์ที่รู้ได้ทางใจ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด ก็มีอยู่ ถ้าภิกษุเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดธรรมารมณ์นั้น
อยู่”๑ รวมความว่า นรชน ... เมื่อดำรงตนอยู่ ย่อมเป็นอย่างนี้
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณ(ความรู้แจ้ง
อารมณ์) ที่เข้าถึงรูป เมื่อดำรงอยู่ ก็มีรูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็นที่ตั้ง เข้าไปเสพเสวย
ความเพลิดเพลิน ตั้งอยู่ ถึงความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ได้ ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณ
ที่เข้าถึงเวทนา ... วิญญาณ ที่เข้าถึงสัญญา ... วิญญาณ ที่เข้าถึงสังขาร เมื่อดำรงอยู่
ก็มีสังขารเป็นอารมณ์ มีสังขารเป็นที่ตั้ง เข้าไปเสพเสวยความเพลิดเพลิน ตั้งอยู่
ถึงความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ได้”๒ รวมความว่า นรชน ... เมื่อดำรงตนอยู่ ย่อม
เป็นอย่างนี้
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าความกำหนัด ความ
เพลิดเพลิน ความทะยานอยาก มีอยู่ในกวฬิงการาหาร(อาหารคือคำข้าว) วิญญาณ
ก็ตั้งอยู่ งอกงามในกวฬิงการาหารนั้นได้ วิญญาณ ตั้งอยู่ งอกงามได้ในที่ใด การ
ก้าวลงแห่งนามรูปก็มีได้ในที่นั้น ความก้าวลงแห่งนามรูปมีอยู่ในที่ใด ความเจริญ
แห่งสังขารก็มีได้ในที่นั้น ความเจริญแห่งสังขารมีอยู่ในที่ใด ความเกิดในภพใหม่ก็มี
ได้ในที่นั้น ความเกิดในภพใหม่มีอยู่ในที่ใด ชาติ ชรา มรณะ ต่อไปก็มีได้ในที่นั้น
ชาติ ชรา มรณะ ต่อไป มีอยู่ในที่ใด เราก็กล่าวว่า ที่นั้นมีความเศร้าโศก มีความ
หม่นหมอง มีความคับแค้นใจ” รวมความว่า นรชน ... เมื่อดำรงตนอยู่ ย่อมเป็น
อย่างนี้

เชิงอรรถ :
๑ สํ.สฬา. ๑๘/๑๑๔/๘๖
๒ สํ.ข. ๑๗/๕๓/๔๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๐ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยากมีอยู่ใน
ผัสสาหาร(อาหารคือผัสสะ) ... ภิกษุทั้งหลาย ถ้าความกำหนัด ความเพลิดเพลิน
ความทะยานอยากมีอยู่ในมโนสัญเจตนาหาร(อาหารคือมโนสัญเจตนา) ... ภิกษุทั้งหลาย
ถ้าความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยากมีอยู่ในวิญญาณาหาร
(อาหารคือวิญญาณ) วิญญาณก็ตั้งอยู่ งอกงามในวิญญาณาหารนั้นได้ วิญญาณ
ตั้งอยู่งอกงามได้ในที่ใด การก้าวลงแห่งนามรูปก็มีได้ในที่นั้น ความก้าวลงแห่ง
นามรูปมีอยู่ในที่ใด ความเจริญแห่งสังขารก็มีได้ในที่นั้น ความเจริญแห่งสังขารมีอยู่
ในที่ใด ความเกิดในภพใหม่ก็มีได้ในที่นั้น ความเกิดในภพใหม่มีอยู่ในที่ใด ชาติ ชรา
มรณะ ต่อไปก็มีได้ในที่นั้น ชาติ ชรา มรณะ ต่อไป มีอยู่ในที่ใด เราก็กล่าวว่า ที่นั้น
มีความเศร้าโศก มีความหม่นหมอง มีความคับแค้นใจ๑” รวมความว่า นรชน ...
เมื่อดำรงตนอยู่ ย่อมเป็นอย่างนี้
คำว่า จมลงในเหตุให้ลุ่มหลง อธิบายว่า กามคุณ ๕ ตรัสเรียกว่า เหตุ
ให้ลุ่มหลง
คือ รูปที่รู้ได้ทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่
พาใจให้กำหนัด เสียงที่รู้ได้ทางหู ... กลิ่นที่รู้ได้ทางจมูก ... รสที่รู้ได้ทางลิ้น ...
โผฏฐัพพะที่รู้ได้ทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่
พาใจให้กำหนัด เพราะเหตุไร กามคุณ ๕ จึงตรัสเรียกว่า เหตุให้ลุ่มหลง เพราะโดย
มากเทวดาและมนุษย์ ย่อมหลง ลุ่มหลง หลงงมงายในกามคุณ ๕ เทวดาและมนุษย์
เหล่านั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้หลง ลุ่มหลง หลงงมงาย คือ ถูกอวิชชาทำให้มืดบอด หุ้มห่อ
โอบล้อม ห้อมล้อม ครอบคลุม ปกคลุม บดบังไว้ เพราะเหตุนั้น กามคุณ ๕ จึงตรัส
เรียกว่า เป็นเหตุให้ลุ่มหลง
คำว่า จมลงในเหตุให้ลุ่มหลง ได้แก่ จมลง หมกมุ่น หยั่งลง ดิ่งลง ในเหตุ
ให้ลุ่มหลง รวมความว่า นรชน ... เมื่อดำรงตนอยู่ ก็จมลงในเหตุให้ลุ่มหลง

เชิงอรรถ :
๑ สํ.นิ. ๑๖/๖๔/๙๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๑ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส
ว่าด้วยวิเวก ๓ อย่าง
คำว่า วิเวก ในคำว่า ผู้เป็นเช่นนั้นแล ย่อมอยู่ไกลจากวิเวก ได้แก่ วิเวก
๓ อย่าง คือ (๑) กายวิเวก(ความสงัดกาย) (๒) จิตตวิเวก(ความสงัดใจ)
(๓) อุปธิวิเวก(ความสงัดอุปธิ)
กายวิเวก เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมใช้สอยเสนาสนะที่สงัด คือ ป่า โคนต้นไม้ ภูเขา
ซอกเขา ช่องเขา สุสาน ป่าดงดิบ กลางแจ้ง ลอมฟาง และมีกายสงัดอยู่ คือ
เดินรูปเดียว ยืนรูปเดียว นั่งรูปเดียว นอนรูปเดียว เข้าหมู่บ้านบิณฑบาตรูปเดียว
กลับรูปเดียว นั่งในที่ลับรูปเดียว อธิษฐานจงกรมรูปเดียว เที่ยวไป อยู่ เคลื่อนไหว
เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไปลำพังรูปเดียว นี้ชื่อว่ากายวิเวก
จิตตวิเวก เป็นอย่างไร
คือ ผู้บรรลุปฐมฌานย่อมมีจิตสงัดจากนิวรณ์๑ ผู้บรรลุทุติยฌานย่อมมีจิตสงัด
จากวิตกและวิจาร ผู้บรรลุตติยฌานย่อมมีจิตสงัดจากปีติ ผู้บรรลุจตุตถฌานย่อมมี
จิตสงัดจากสุขและทุกข์ ผู้บรรลุอากาสานัญจายตนสมาบัติ๒ ย่อมมีจิตสงัดจาก
รูปสัญญา๓ ปฏิฆสัญญา๔ นานัตตสัญญา๕ ผู้บรรลุวิญญาณัญจายตนสมาบัติ๖ย่อมมี
จิตสงัดจากอากาสานัญจายตนสัญญา ผู้บรรลุอากิญจัญญายตนสมาบัติ๗ย่อมมีจิต
สงัดจากวิญญาณัญจายตนสัญญา ผู้บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ๘ ย่อมมี
จิตสงัดจากอากิญจัญญายตนสัญญา

เชิงอรรถ :
๑ นิวรณ์ ดูรายละเอียดข้อ ๕/๑๗
๒ อากาสานัญจายตนสมาบัติ คือสมาบัติที่กำหนดอากาศ คือความว่างอันหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์ เป็น
ขั้นที่ ๑ ของอรูปฌาน (ขุ.ม.อ. ๗/๙๖)
๓ รูปสัญญา คือความจำได้หมายรู้เรื่องรูป หมายถึงสัญญาในรูปฌาน ๑๕ ด้วยสามารถกุศลวิบากและกิริยา
(ขุ.ม.อ. ๗/๙๖)
๔ ปฏิฆสัญญา คือความจำได้หมายรู้ ความกระทบกระทั่งในใจ ที่เกิดจากการกระทบกันแห่งตากับรูป เป็นต้น
(ขุ.ม.อ. ๗/๙๖)
๕ นานัตตสัญญา คือความหมายรู้ไม่ใช่ตนก็มิใช่ หมายถึงกามาวจรสัญญา ๔๔ (ขุ.ม.อ. ๗/๙๗)
๖ วิญญาณัญจายตนสมาบัติ คือสมาบัติที่กำหนดวิญญาณเป็นอารมณ์ (ขุ.ม.อ. ๗/๙๗)
๗ อากิญจัญญายตนสมาบัติ คือสมาบัติที่กำหนดความไม่มีอะไรเหลือเป็นอารมณ์ (ขุ.ม.อ. ๗/๙๗)
๘ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติคือสมาบัติที่เข้าถึงภาวะมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ (ขุ.ม.อ. ๗/๙๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๒ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส
ผู้เป็นพระโสดาบันย่อมมีจิตสงัดจากสักกายทิฏฐิ๑ วิจิกิจฉา๒ สีลัพพตปรามาส๓
ทิฏฐานุสัย๔ วิจิกิจฉานุสัย๕ และเหล่ากิเลสที่อยู่ในพวกเดียวกับสักกายทิฏฐิ
เป็นต้นนั้น
ผู้เป็นพระสกทาคามี ย่อมมีจิตสงัดจากกามราคสังโยชน์๖ ปฏิฆสังโยชน์อย่าง
หยาบ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อย่างหยาบ และเหล่ากิเลสที่อยู่ในพวกเดียวกับ
กามราคสังโยชน์เป็นต้นนั้น
ผู้เป็นพระอนาคามี ย่อมมีจิตสงัดจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์อย่าง
ละเอียด กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อย่างละเอียด และเหล่ากิเลสที่อยู่ในพวกเดียว
กับกามราคสังโยชน์เป็นต้นนั้น
ผู้เป็นพระอรหันต์ ย่อมมีจิตสงัดจากรูปราคะ๗ อรูปราคะ๘ มานะ อุทธัจจะ
อวิชชา มานานุสัย๙ ภวราคานุสัย๑๐ อวิชชานุสัย๑๑ เหล่ากิเลสที่อยู่ในพวกเดียวกับ
รูปราคะเป็นต้นนั้น และสังขารนิมิตทั้งปวงในภายนอก นี้ชื่อว่าจิตตวิเวก

เชิงอรรถ :
๑ สักกายทิฏฐิ ดูเชิงอรรถข้อ ๑๒/๕๙
๒ วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยในฐานะ ๘ อย่าง คือ (๑) ความสงสัยในทุกข์ (๒) ความสงสัยในทุกขสมุทัย
(๓) ความสงสัยในทุกขนิโรธ (๔) ความสงสัยในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (๕) ความสงสัยในส่วนเบื้องต้น
(๖) ความสงสัยในส่วนเบื้องปลาย (๗) ความสงสัยทั้งในส่วนเบื้องต้นและส่วนเบื้องปลาย (๘) ความสงสัย
ในธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้น คือ ความที่ปฏิจจสมุปบาทมีอวิชชานี้เป็นปัจจัย ดูรายละเอียด ข้อ ๑๗๔/๔๙๔
๓ สีลัพพตปรามาส คือความถือมั่นศีลพรต โดยสักว่าทำตาม ๆ กันไปอย่างงมงาย เห็นว่าจะบริสุทธิ์ หลุดพ้น
ได้ด้วยศีลพรต (ขุ.ม.อ. ๗/๙๘)
๔ ทิฏฐานุสัย ดูเชิงอรรถข้อ ๓/๑๑
๕ วิจิกิจฉานุสัย ดูเชิงอรรถข้อ ๓/๑๑
๖ กามราคสังโยชน์ กิเลสอันผูกใจสัตว์ ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์หรือผูกกรรมไว้กับผล คือความกำหนัด
ในกาม ความติดใจในกาม (อภิ.วิ.(แปล) ๓๕/๙๖๙/๖๒๐)
๗ รูปราคะ คือความกำหนัดด้วยอำนาจความพอในรูปภพ (ขุ.ม.อ. ๗/๑๐๐)
๘ อรูปราคะ คือความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในอรูปภพ (ขุ.ม.อ. ๗/๑๐๐)
๙ มานานุสัย ดูเชิงอรรถข้อ ๓/๑๑
๑๐ ภวราคานุสัย ดูเชิงอรรถข้อ ๓/๑๑
๑๑ อวิชชานุสัย ดูเชิงอรรถข้อ ๓/๑๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๓ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส
อุปธิวิเวก เป็นอย่างไร
คือ กิเลสก็ดี ขันธ์ก็ดี อภิสังขารก็ดี ตรัสเรียกว่า อุปธิ อมตนิพพาน ตรัส
เรียกว่า อุปธิวิเวก คือธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดทิ้งอุปธิทั้งหมด เป็น
ที่สิ้นตัณหา เป็นที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับกิเลส เป็นที่เย็นสนิท นี้ชื่อว่าอุปธิวิเวก
กายวิเวกย่อมมีแก่บุคคลผู้มีกายหลีกออกแล้ว ยินดีในเนกขัมมะ จิตตวิเวก
ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีจิตบริสุทธิ์ ถึงความเป็นผู้ผ่องแผ้วยิ่ง และอุปธิวิเวกย่อมมีแก่
บุคคลผู้ปราศจากอุปธิ บรรลุนิพพานอันปราศจากปัจจัยปรุงแต่งแล้ว
คำว่า ไกลจากวิเวก อธิบายว่า ผู้ข้องอยู่ในถ้ำอย่างนี้ ถูกกิเลสมากหลาย
ปิดบังไว้อย่างนี้ จมลงในเหตุให้ลุ่มหลงอย่างนี้ ย่อมอยู่ไกลจากกายวิเวกบ้าง ไกลจาก
จิตตวิเวกบ้าง ไกลจากอุปธิวิเวกบ้าง คือ ไกล ห่างไกล แสนไกล ไม่ใกล้ ไม่ใกล้เคียง
ไม่ชิด ไม่ใกล้ชิด
คำว่า ผู้เป็นเช่นนั้น ได้แก่ ผู้เป็นเช่นนั้น คือ ผู้เป็นอย่างนั้น ผู้ดำรงอยู่
อย่างนั้น ผู้เป็นประการนั้น ผู้มีส่วนอย่างนั้น จมลงในเหตุให้ลุ่มหลง รวมความว่า
ผู้เป็นเช่นนั้นย่อมอยู่ไกลจากวิเวก

ว่าด้วยกาม ๒ อย่าง
คำว่า กาม ในคำว่า เพราะกามทั้งหลายในโลกไม่เป็นของที่นรชนละ
ได้ง่ายเลย ได้แก่ กาม ๒ อย่าง แบ่งตามหมวด คือ (๑) วัตถุกาม (๒) กิเลสกาม
วัตถุกาม คืออะไร
คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่าพอใจ เครื่องปูลาด เครื่องนุ่งห่ม ทาส
หญิงชาย แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา ที่นา ที่สวน เงิน ทอง หมู่บ้าน นิคม
ราชธานี แคว้น ชนบท กองพลรบ คลังหลวง และวัตถุที่น่ายินดีอย่างใดอย่างหนึ่ง
(เหล่านี้)ชื่อว่าวัตถุกาม


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๔ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส
อีกนัยหนึ่ง กามที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบัน กามที่เป็นภายใน
ที่เป็นภายนอก ที่เป็นทั้งภายในและภายนอก กามอย่างหยาบ อย่างกลาง อย่าง
ประณีต กามที่เป็นของสัตว์ในอบาย ที่เป็นของมนุษย์ ที่เป็นของทิพย์ กามที่ปรากฏ
เฉพาะหน้า ที่เนรมิตขึ้นเอง ที่ไม่ได้เนรมิตขึ้นเอง ที่ผู้อื่นเนรมิตให้ กามที่มีผู้
ครอบครอง ที่ไม่มีผู้ครอบครอง ที่ยึดถือว่าเป็นของเรา ที่ไม่ยึดถือว่าเป็นของเรา
สภาวธรรมที่เป็นกามาวจร ที่เป็นรูปาวจร ที่เป็นอรูปาวจรแม้ทั้งปวง กามที่
เป็นเหตุเกิดแห่งตัณหา เป็นอารมณ์แห่งตัณหา ชื่อว่ากาม เพราะมีความหมายว่า
น่าปรารถนา น่ายินดี น่าลุ่มหลง เหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม
กิเลสกาม คืออะไร
คือ ความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ความดำริ
ความกำหนัด ความกำหนัดด้วยอำนาจความดำริ ชื่อว่ากาม ได้แก่ ความพอใจ
ด้วยอำนาจความใคร่ ความกำหนัดด้วยอำนาจความใคร่ ความเพลิดเพลินด้วย
อำนาจความใคร่ ความทะยานอยากด้วยอำนาจความใคร่ ความเยื่อใยด้วยอำนาจ
ความใคร่ ความเร่าร้อนด้วยอำนาจความใคร่ ความสยบด้วยอำนาจความใคร่
ความติดใจด้วยอำนาจความใคร่ ห้วงน้ำคือความใคร่ กิเลสเครื่องประกอบคือ
ความใคร่ กิเลสเครื่องยึดมั่นคือความใคร่ กิเลสเครื่องกั้นจิตคือความพอใจด้วย
อำนาจความใคร่ในกามทั้งหลาย
(สมจริงดังที่พระเจ้าอัฑฒมาสกเปล่งอุทานว่า)
เจ้ากามเอ๋ย เราเห็นรากเหง้าของเจ้าแล้ว
เจ้าเกิดเพราะความดำริ เราจักไม่ดำริถึงเจ้าอีก
เจ้าจักไม่เกิดมาเป็นอย่างนี้ได้อีกละเจ้ากามเอ๋ย๑
เหล่านี้เรียกว่า กิเลสกาม

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.ชา. ๒๗/๓๙/๑๘๘, ขุ.จู. ๓๐/๘/๓๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๕ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส
คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก๑ มนุษยโลก เทวโลก๒ ขันธโลก ธาตุโลก๓
อายตนโลก๔
คำว่า เพราะกามทั้งหลายในโลกไม่เป็นของที่นรชนละได้ง่ายเลย อธิบาย
ว่า เพราะกามทั้งหลายในโลกเป็นของที่นรชนละได้ยาก คือ สละได้ยาก สละออก
ได้ยาก ย่ำยีได้ยาก แก้ออกได้ยาก แหวกออกได้ยาก ข้ามได้ยาก ข้ามพ้นได้ยาก
ก้าวพ้นได้ยาก กลับตัวหลีกได้ยาก รวมความว่า เพราะกามทั้งหลายในโลกไม่เป็น
ของที่นรชนละได้ง่ายเลย ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า

เชิงอรรถ :
๑ อบายโลก คือโลกที่ปราศจากความเจริญ ได้แก่ (๑) นิรย นรก (๒) ติรัจฉานโยนิ กำเนิดสัตว์เดรัจฉาน
(๓) ปิตติวิสัย แดนเปรต (๔) อสุรกาย พวกหวาดหวั่นไร้ความเจริญ (ขุ.อิติ. ๒๕/๙๓/๓๑๒)
๒ เทวโลก คือโลกของหมู่เทพในสวรรค์ชั้นกามาวจรทั้ง ๖ เป็นภพที่มีอารมณ์เลิศ โลกที่มีแต่ความสุข แต่ยัง
เกี่ยวข้องกับกามอยู่ ได้แก่ (๑) จาตุมหาราชิกา สวรรค์ที่ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ปกครองอยู่ (ท้าวธตรฐ จอม-
คนธรรพ์ครองทิศตะวันออก, ท้าววิรุฬหกจอมกุมภัณฑ์ครองทิศใต้, ท้าววิรูปักษ์จอมนาคครองทิศตะวันตก,
ท้าวกุเวรหรือเวสวัณจอมยักษ์ครองทิศเหนือ) (๒) ดาวดึงส์ แดนที่อยู่แห่งเทพ ๓๓ มีท้าวสักกะ เป็น
จอมเทพ (๓) ยามา แดนที่อยู่แห่งเทพผู้ปราศจากทุกข์ มีท้าวสุยามาเป็นจอมเทพ (๔) ดุสิต แดนที่อยู่
แห่งเทพผู้เอิบอิ่มด้วยสิริสมบัติของตน มีท้าวสันดุสิตเป็นจอมเทพ (๕) นิมมานรดี แดนแห่งเทพผู้มี
ความยินดีในการเนรมิต มีท้าวสุนิมมิตเป็นจอมเทพ (๖) ปรนิมมิตวสวัตดี แดนที่อยู่แห่งเทพผู้ยังอำนาจ
ให้เป็นไปในสมบัติที่ผู้อื่นนิรมิต คือเสวยสมบัติที่เทพพวกอื่นนิรมิตให้ มีท้าววสวัตดีเป็นจอมเทพ (สํ.ม.
๑๙/๑๐๘๑/๓๖๙)
๓ ธาตุโลก หมายถึงธาตุ ๑๘ คือสิ่งที่ทรงสภาวะของตนเองอยู่ ตามที่เหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้นเป็นไปตาม
ธรรมนิยาม คือ กำหนดแห่งธรรมดา ไม่มีผู้สร้าง ผู้บันดาล และมีรูปลักษณะ กิจ อาการเป็นแบบจำเพาะตัว
อันพึงกำหนดเอาเป็นหลักได้แต่ละอย่าง ๆ ได้แก่ (๑) จักขุธาตุ ธาตุคือจักขุปสาท (๒) รูปธาตุ ธาตุคือ
รูปารมณ์ (๓) จักขุวิญญาณธาตุ ธาตุคือจักขุวิญญาณ (๔) โสตธาตุ ธาตุคือโสตปสาท (๕) สัททธาตุ
ธาตุคือสัททารมณ์ (๖) โสตวิญญาณธาตุ ธาตุคือโสตวิญญาณ (๗) ฆานธาตุ ธาตุคือฆานปสาท (๘) คันธธาตุ
ธาตุคือคันธารมณ์ (๙) ฆานวิญญาณธาตุ ธาตุคือฆานวิญญาณ (๑๐) ชิวหาธาตุ ธาตุคือชิวหาปสาท
(๑๑) รสธาตุ ธาตุคือรสารมณ์ (๑๒) ชิวหาวิญญาณธาตุ ธาตุคือชิวหาวิญญาณ (๑๓) กายธาตุ ธาตุคือ
กายปสาท (๑๔) โผฏฐัพพธาตุ ธาตุคือโผฏฐัพพารมณ์ (๑๕) กายวิญญาณธาตุ ธาตุคือกายวิญญาณ
(๑๖) มโนธาตุ ธาตุคือมโน (๑๗) ธรรมธาตุ ธาตุคือธรรมารมณ์ (๑๘) มโนวิญญาณธาตุ ธาตุคือ
มโนวิญญาณ (อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๑๘๓-๑๘๔/๑๔๒-๑๔๖)
๔ อายตนโลก หมายถึงอายตนะ ๑๒ คือ (สิ่งที่เชื่อมต่อกันให้เกิดความรู้ แดนต่อหรือแดนเกิดแห่งความรู้)
อายตนะภายใน ๖ ได้แก่ (๑) ตา (๒) หู (๓) จมูก (๔) ลิ้น (๕) กาย (๖) ใจ อายตนะภายนอก ๖ ได้แก่
(๑) รูป (๒) เสียง (๓) กลิ่น (๔) รส (๕) โผฏฐัพพะ (๖) ธรรมารมณ์ ทั้ง ๖ นี้ เรียกทั่วไปว่า อารมณ์ ๖ คือ
เป็นสิ่งสำหรับให้จิตยึดหน่วง (อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๑๕๔-๑๖๗/๑๑๒-๑๑๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๖ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส
นรชนผู้ข้องอยู่ในถ้ำ ถูกกิเลสมากหลายปิดบังไว้
เมื่อดำรงตนอยู่(อย่างนี้) ก็จมลงในเหตุให้ลุ่มหลง
ผู้เป็นเช่นนั้นแล ย่อมอยู่ไกลจากวิเวก
เพราะกามทั้งหลายในโลกไม่เป็นของที่นรชนละได้ง่ายเลย
[๘] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
สัตว์เหล่านั้น มีความปรารถนาเป็นต้นเหตุ
ติดพันอยู่กับความพอใจในภพ
มุ่งหวัง(กาม)ในกาลภายหลัง หรือในกาลก่อน
ปรารถนากามเหล่านี้และกามที่มีอยู่ก่อน
ย่อมเป็นผู้หลุดพ้นได้ยาก (และ)ทำให้ผู้อื่นหลุดพ้นไม่ได้เลย
คำว่า มีความปรารถนาเป็นต้นเหตุ ติดพันอยู่กับความพอใจในภพ
อธิบายว่า ตัณหา ตรัสเรียกว่า ความปรารถนา
คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความคล้อยตามอารมณ์ ความยินดี
ความเพลิดเพลิน ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน ความกำหนัดนัก
แห่งจิต ความอยาก ความสยบ ความหมกมุ่น ความหื่น ความหื่นกระหาย ความ
ข้องอยู่ ความจมอยู่ ธรรมชาติที่ทำให้พลุกพล่าน ธรรมชาติที่หลอกลวง ธรรมชาติ
ที่ยังสัตว์ให้เกิด ธรรมชาติที่ยังสัตว์ให้เกิดพร้อม ธรรมชาติที่ร้อยรัด ธรรมชาติที่
มีข่าย ธรรมชาติที่กำซาบใจ ธรรมชาติที่ซ่านไป ธรรมชาติดุจเส้นด้าย ธรรมชาติที่
แผ่ไป ธรรมชาติที่ประมวลมา ธรรมชาติที่เป็นเพื่อน ความคนึงหา ตัณหาที่นำ
พาไปสู่ภพ ตัณหาดุจป่า ตัณหาดุจป่าทึบ ความเชยชิด ความเยื่อใย ความห่วงใย
ความผูกพัน ความหวัง กิริยาที่หวัง ภาวะที่หวัง ความหวังในรูป ความหวังในเสียง
ความหวังในกลิ่น ความหวังในรส ความหวังในโผฏฐัพพะ ความหวังในลาภ ความ
หวังในทรัพย์ ความหวังในบุตร ความหวังในชีวิต ธรรมชาติที่กระซิบ ธรรมชาติที่
กระซิบบ่อยๆ ธรรมชาติที่กระซิบยิ่ง ความกระซิบ กิริยาที่กระซิบ ภาวะที่กระซิบ
ความละโมบ กิริยาที่ละโมบ ภาวะที่ละโมบ ธรรมชาติที่ทำให้หวั่นไหว ภาวะที่ใคร่แต่
อารมณ์ดี ๆ ความกำหนัดในฐานะอันไม่ควร ความโลภเกินพอดี ความติดใจ กิริยา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๗ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส
ที่ติดใจ ความปรารถนา ความใฝ่หา ความหมายปอง กามตัณหา ภวตัณหา
วิภวตัณหา ตัณหาในรูปภพ ตัณหาในอรูปภพ ตัณหาในนิโรธ รูปตัณหา สัททตัณหา
คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา โอฆะ โยคะ คันถะ อุปาทาน
อาวรณ์ นิวรณ์ เครื่องปิดบัง เครื่องผูก อุปกิเลส อนุสัย ปริยุฏฐาน ตัณหาดุจเถาวัลย์
ความปรารถนาวัตถุอย่างต่าง ๆ รากเหง้าแห่งทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ แดนเกิดแห่งทุกข์
บ่วงแห่งมาร เบ็ดแห่งมาร วิสัยแห่งมาร ตัณหาดุจแม่น้ำ ตัณหาดุจตาข่าย ตัณหา
ดุจโซ่ตรวน ตัณหาดุจสมุทร อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ
คำว่า มีความปรารถนาเป็นต้นเหตุ ได้แก่ มีความปรารถนาเป็นต้นเหตุ คือ
มีความปรารถนาเป็นสาเหตุ มีความปรารถนาเป็นปัจจัย มีความปรารถนาเป็นเหตุ
มีความปรารถนาเป็นแดนเกิด รวมความว่า มีความปรารถนาเป็นต้นเหตุ
คำว่า ติดพันอยู่กับความพอใจในภพ อธิบายว่า ความพอใจในภพอย่างเดียว
คือ สุขเวทนา
ความพอใจในภพ ๒ อย่าง คือ
๑. สุขเวทนา ๒. วัตถุที่น่าปรารถนา
ความพอใจในภพ ๓ อย่าง คือ
๑. ความเป็นหนุ่มสาว ๒. ความไม่มีโรค
๓. ชีวิต
ความพอใจในภพ ๔ อย่าง คือ
๑. ลาภ ๒. ยศ
๓. สรรเสริญ ๔. สุข
ความพอใจในภพ ๕ อย่าง คือ
๑. รูปที่น่าพอใจ ๒. เสียงที่น่าพอใจ
๓. กลิ่นที่น่าพอใจ ๔. รสที่น่าพอใจ
๕. โผฏฐัพพะที่น่าพอใจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๘ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส
ความพอใจในภพ ๖ อย่าง คือ
๑. ความสมบูรณ์แห่งตา ๒. ความสมบูรณ์แห่งหู
๓. ความสมบูรณ์แห่งจมูก ๔. ความสมบูรณ์แห่งลิ้น
๕. ความสมบูรณ์แห่งกาย ๖. ความสมบูรณ์แห่งใจ
ผู้ติดพันอยู่กับความพอใจในภพ ได้แก่ ข้อง คือ ติด เกี่ยว เกาะติด เกี่ยวพัน
พัวพันในสุขเวทนา ... ในวัตถุที่น่าปรารถนา ... ในความเป็นหนุ่มสาว ... ในความ
ไม่มีโรค ... ในชีวิต ... ในลาภ ... ในยศ ... ในสรรเสริญ ... ในสุข ... ในรูป ... เสียง ...
กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะ ที่น่าพอใจ ... ในความสมบูรณ์แห่งตา ... หู ... จมูก ... ลิ้น
... กาย ข้อง คือ ติด เกี่ยว เกาะติด เกี่ยวพัน พัวพันในความสมบูรณ์แห่งใจ
รวมความว่า มีความปรารถนาเป็นต้นเหตุ ติดพันอยู่กับความพอใจในภพ
คำว่า สัตว์เหล่านั้น ... ย่อมเป็นผู้หลุดพ้นได้ยาก (และ)ทำให้ผู้อื่นหลุดพ้น
ไม่ได้เลย อธิบายว่า ธรรมที่เป็นที่ตั้งแห่งความพอใจในภพเหล่านั้น อันสัตว์หลุด
พ้นได้ยาก หรือสัตว์ทั้งหลายปลดเปลื้อง(ตน)ได้ยาก จากธรรมที่เป็นที่ตั้งแห่งความ
พอใจในภพนั้น
ธรรมที่เป็นที่ตั้งแห่งความพอใจในภพเหล่านั้น อันสัตว์หลุดพ้นได้ยาก
เป็นอย่างไร
คือ สุขเวทนา อันสัตว์หลุดพ้นได้ยาก คือ ปลดเปลื้องได้ยาก ทรงตัวได้ยาก
แก้ออกได้ยาก แหวกออกได้ยาก ข้ามได้ยาก ข้ามพ้นได้ยาก ก้าวพ้นได้ยาก กลับ
ตัวหลีกได้ยาก วัตถุที่น่าปรารถนา ... ความเป็นหนุ่มสาว ... ความไม่มีโรค ... ชีวิต ...
ลาภ ... ยศ ... สรรเสริญ ... สุข ... รูปที่น่าพอใจ ... เสียงที่น่าพอใจ ... กลิ่นที่น่าพอใจ
... รสที่น่าพอใจ ... โผฏฐัพพะที่น่าพอใจ ... ความสมบูรณ์แห่งตา ... ความสมบูรณ์
แห่งหู ... ความสมบูรณ์แห่งจมูก ... ความสมบูรณ์แห่งลิ้น ... ความสมบูรณ์แห่งกาย
... ความสมบูรณ์แห่งใจ อันสัตว์หลุดพ้นได้ยาก คือ ปลดเปลื้องได้ยาก ทรงตัว
ได้ยาก แก้ออกได้ยาก แหวกออกได้ยาก ข้ามได้ยาก ข้ามพ้นได้ยาก ก้าวพ้น
ได้ยาก กลับตัวหลีกได้ยาก ธรรมที่เป็นที่ตั้งแห่งความพอใจในภพเหล่านั้น อันสัตว์
หลุดพ้นได้ยากเป็นอย่างนี้
สัตว์ทั้งหลายปลดเปลื้อง(ตน)ได้ยาก จากธรรมที่เป็นที่ตั้งแห่งความ
พอใจในภพนั้น เป็นอย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๓๙ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส
คือ สัตว์ทั้งหลายปลดเปลื้อง(ตน)ได้ยาก คือ ปลดเปลื้องขึ้นได้ยาก ทรงตัวได้
ยาก ทรงตัวขึ้นได้ยาก ยกตัวขึ้นได้ยาก ยกตัวขึ้นได้ยากอย่างยิ่ง แก้ออกได้ยาก
แหวกออกได้ยาก ข้ามได้ยาก ข้ามพ้นได้ยาก ก้าวพ้นได้ยาก กลับตัวหลีกได้ยาก
จากสุขเวทนา ... จากวัตถุที่น่าปรารถนา ... จากความเป็นหนุ่มสาว ... จากความ
ไม่มีโรค ... จากชีวิต ... จากลาภ ... จากยศ ... จากสรรเสริญ ... จากสุข ... จากรูป
ที่น่าพอใจ ... จากเสียงที่น่าพอใจ ... จากกลิ่นที่น่าพอใจ ... จากรสที่น่าพอใจ ... จาก
โผฏฐัพพะที่น่าพอใจ ... จากความสมบูรณ์แห่งตา ... จากความสมบูรณ์แห่งหู ... จาก
ความสมบูรณ์แห่งจมูก ... จากความสมบูรณ์แห่งลิ้น ... จากความสมบูรณ์แห่งกาย
ปลดเปลื้อง(ตน)ได้ยาก คือ ปลดเปลื้องขึ้นได้ยาก ทรงตัวได้ยาก ทรงตัวขึ้นได้ยาก
ยกตัวขึ้นได้ยาก ยกตัวขึ้นได้ยากอย่างยิ่ง แก้ออกได้ยาก แหวกออกได้ยาก ข้าม
ได้ยาก ข้ามพ้นได้ยาก ก้าวพ้นได้ยาก กลับตัวหลีกได้ยาก จากความสมบูรณ์แห่งใจ
สัตว์ทั้งหลายปลดเปลื้อง(ตน)ได้ยาก จากธรรมที่เป็นที่ตั้งแห่งความพอใจในภพนั้น
เป็นอย่างนี้ รวมความว่า สัตว์เหล่านั้น ... ย่อมเป็นผู้หลุดพ้นได้ยาก
คำว่า ทำให้ผู้อื่นหลุดพ้นไม่ได้เลย อธิบายว่า สัตว์เหล่านั้น ตนเองก็จมดิ่งอยู่
จึงไม่สามารถฉุดรั้งคนอื่นที่จมดิ่งอยู่แล้วขึ้นมาได้ สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัส
ไว้ว่า “จุนทะ ข้อที่บุคคลซึ่งตนเองก็จมดิ่งอยู่จักฉุดรั้งผู้อื่นที่จมดิ่งอยู่แล้วขึ้นมาได้
เป็นไปไม่ได้เลย จุนทะ ข้อที่บุคคลผู้มิได้ฝึกฝน มิได้อบรม ยังมิได้ดับกิเลสด้วย
ตนเอง จักฝึกฝนอบรมผู้อื่น ทำผู้อื่นให้ดับกิเลส เป็นไปไม่ได้เลย”๑ (สัตว์เหล่านั้น) จึง
ชื่อว่าทำให้ผู้อื่นหลุดพ้นไม่ได้เลย เป็นอย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง ไม่มีใครอื่นที่จะทำให้สัตว์เหล่านั้นหลุดพ้นได้ ถ้าสัตว์เหล่านั้นจะ
พึงหลุดพ้นได้ สัตว์เหล่านั้นเมื่อปฏิบัติชอบ ปฏิบัติเหมาะสม ปฏิบัติไม่เป็นข้าศึก
ปฏิบัติเอื้อประโยชน์ ปฏิบัติธรรมถูกต้องตามหลักธรรมด้วยตนเอง ก็จะพึงหลุดพ้น
ได้ด้วยเรี่ยวแรง ด้วยกำลัง ด้วยความพากเพียร ด้วยความบากบั่น ด้วยเรี่ยวแรง
ของบุรุษ ด้วยกำลังของบุรุษ ด้วยความพากเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของ
บุรุษของตนเองเท่านั้น (สัตว์เหล่านั้น) จึงชื่อว่าทำให้ผู้อื่นหลุดพ้นไม่ได้เลย เป็น
อย่างนี้บ้าง

เชิงอรรถ :
๑ ม.มู. ๑๒/๘๗/๖๐, ขุ.จู. ๓๐/๓๓/๙๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๔๐ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
โธตกะ๑ เราไม่สามารถปลดเปลื้องใคร ๆ
ที่มีความสงสัยในโลกได้
แต่เธอเมื่อรู้แจ้งธรรมอันประเสริฐ
ก็จะข้ามโอฆะนี้ได้เอง ด้วยประการฉะนี้๒
(สัตว์เหล่านั้น)จึงชื่อว่า ทำให้ผู้อื่นหลุดพ้นไม่ได้เลย เป็นอย่างนี้บ้าง
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
ตนทำชั่วเอง ก็เศร้าหมองเอง ไม่ทำชั่ว ก็บริสุทธิ์เอง
ความบริสุทธิ์และไม่บริสุทธิ์เป็นของเฉพาะตน
คนอื่นจะทำคนอื่นให้บริสุทธิ์ไม่ได้๓
สัตว์เหล่านั้นจึงชื่อว่า ทำให้ผู้อื่นหลุดพ้นไม่ได้เลย เป็นอย่างนี้บ้าง
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ฉันนั้นเหมือนกันแหละพราหมณ์
นิพพานมีอยู่ ทางไปนิพพานมีอยู่ เรา(ตถาคต)ผู้ชักชวนก็มีอยู่ ก็เมื่อเป็นเช่นนี้
สาวกที่เราสั่งสอนอยู่อย่างนี้ พร่ำสอนอยู่อย่างนี้ บางพวกสำเร็จนิพพานอันถึงที่สุด
โดยส่วนเดียว บางพวกก็ไม่สำเร็จ ในเรื่องนี้ เราจะทำอย่างไรได้ ตถาคตก็เป็นแต่ผู้
บอกทาง พระพุทธเจ้าก็เพียงบอกทางให้ ผู้ที่ปฏิบัติด้วยตนเองเท่านั้น จึงจะพึง
หลุดพ้นได้”๔ สัตว์เหล่านั้นจึงชื่อว่า ทำให้ผู้อื่นหลุดพ้นไม่ได้เลย อย่างนี้บ้าง รวม
ความว่า สัตว์เหล่านั้น ย่อมเป็นผู้หลุดพ้นได้ยาก (และ)ทำให้ผู้อื่นหลุดพ้นไม่ได้เลย
คำว่า มุ่งหวัง(กาม)ในกาลภายหลัง หรือในกาลก่อน อธิบายว่า อนาคต
ตรัสเรียกว่า ในกาลภายหลัง อดีต ตรัสเรียกว่า ในกาลก่อน อีกนัยหนึ่ง อนาคตใกล้
อดีตก็ดี ปัจจุบันใกล้อดีตก็ดี ตรัสเรียกว่า ในกาลภายหลัง อดีตใกล้อนาคตก็ดี
ปัจจุบันใกล้อนาคตก็ดี ตรัสเรียกว่า ในกาลก่อน

เชิงอรรถ :
๑ โธตกะ เป็นชื่อของมาณพซึ่งเป็นศิษย์ของพราหมณ์พาวรี (ขุ.จู. ๓๐/๓๓/๙๘)
๒ ขุ.สุ. ๒๕/๑๐๗๑/๕๓๘, ขุ.จู. ๓๐/๓๓/๙๘, อภิ.ก. ๓๗/๓๒๕/๑๖๘
๓ ขุ.ธ. ๒๕/๑๖๕/๔๖, ขุ.จู. ๓๐/๓๓/๙๙
๔ ม.อุ. ๑๔/๗๗/๕๗-๕๘, ขุ.จู. ๓๐/๓๓/๙๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๔๑ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส
บุคคลทำความมุ่งหวัง(กาม)ในกาลก่อนอย่างไร
คือ บุคคลย่อมหวนระลึกถึงความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นว่า ในอดีตอันยาวนาน
เราได้มีรูปอย่างนี้มาแล้ว ... ได้มีเวทนาอย่างนี้มาแล้ว ... ได้มีสัญญาอย่างนี้มาแล้ว ...
ได้มีสังขารอย่างนี้มาแล้ว บุคคลย่อมหวนระลึกถึงความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นว่า
ในอดีตอันยาวนาน เราได้มีวิญญาณอย่างนี้มาแล้ว บุคคลจึงชื่อว่า ทำความมุ่ง
หวัง(กาม)ในกาลก่อน เป็นอย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง บุคคลมีวิญญาณเกี่ยวเนื่องด้วยฉันทราคะในอารมณ์นั้นว่า ในอดีต
อันยาวนาน เราได้มีตาอย่างนี้ ได้เห็นรูปอย่างนี้ เพราะมีวิญญาณเกี่ยวเนื่องด้วย
ฉันทราคะ เขาจึงเพลิดเพลินกับอารมณ์นั้น เมื่อเพลิดเพลินกับอารมณ์นั้น บุคคลจึง
ชื่อว่า ทำความมุ่งหวัง(กาม)ในกาลก่อน อย่างนี้บ้าง ... ได้มีหูอย่างนี้ ได้ยินเสียง
อย่างนี้ ... ได้มีจมูกอย่างนี้ ได้กลิ่นอย่างนี้ ... ได้มีลิ้นอย่างนี้ ได้รู้รสอย่างนี้ ... ได้มี
กายอย่างนี้ รู้สึกผัสสะอย่างนี้ ... มีวิญญาณเกี่ยวเนื่องด้วยฉันทราคะในอารมณ์นั้นว่า
ในอดีตอันยาวนาน เราได้มีใจอย่างนี้ รู้ธรรมารมณ์อย่างนี้ เพราะมีวิญญาณเกี่ยว
เนื่องด้วยฉันทราคะ เขาจึงเพลิดเพลินกับอารมณ์นั้น เมื่อเพลิดเพลินกับอารมณ์นั้น
บุคคลจึงชื่อว่า ทำความมุ่งหวัง(กาม)ในกาลก่อน เป็นอย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง บุคคลยินดี มุ่งหวัง ถึงความปลื้มใจ ด้วยการหัวเราะ พูดจา
เล่นหัว กับมาตุคามในกาลก่อน บุคคลจึงชื่อว่า ทำความมุ่งหวัง(กาม)ในกาลก่อน
เป็นอย่างนี้บ้าง
บุคคลทำความมุ่งหวัง(กาม)ในกาลภายหลังอย่างไร
คือ บุคคลตามระลึกถึงความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นว่า ในอนาคตอันยาว
นาน เราพึงมีรูปอย่างนี้ ... พึงมีเวทนาอย่างนี้ ... พึงมีสัญญาอย่างนี้ ... พึงมีสังขาร
อย่างนี้ บุคคลตามระลึกถึงความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นว่า ในอนาคตอันยาวนาน
เราพึงมีวิญญาณอย่างนี้ บุคคลจึงชื่อว่า ทำความมุ่งหวัง(กาม)ในกาลภายหลัง
เป็นอย่างนี้บ้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๔๒ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส
อีกนัยหนึ่ง บุคคลตั้งจิตเพื่อให้ได้อารมณ์ที่ยังไม่ได้ว่า ในอนาคตอันยาวนาน
ขอเราพึงมีตาอย่างนี้ เห็นรูปอย่างนี้ เพราะมีการตั้งจิตเป็นปัจจัย เขาจึงเพลิดเพลิน
กับอารมณ์นั้น เมื่อเพลิดเพลินกับอารมณ์นั้น บุคคลจึงชื่อว่า ทำความมุ่งหวัง
(กาม)ในกาลภายหลัง อย่างนี้บ้าง ... พึงมีหูอย่างนี้ ได้ยินเสียงอย่างนี้ ... พึงมีจมูก
อย่างนี้ ได้กลิ่นอย่างนี้ ... พึงมีลิ้นอย่างนี้ รู้รสอย่างนี้ ... พึงมีกายอย่างนี้ รู้สึก
ผัสสะอย่างนี้ ... บุคคลตั้งจิตเพื่อให้ได้อารมณ์ที่ยังไม่ได้ว่า ในอนาคตอันยาวนาน
ขอเราพึงมีใจอย่างนี้ รู้ธรรมารมณ์อย่างนี้ เพราะมีการตั้งจิตเป็นปัจจัย เขาจึง
เพลิดเพลินกับอารมณ์นั้น เมื่อเพลิดเพลินกับอารมณ์นั้น บุคคลจึงชื่อว่า ทำความ
มุ่งหวัง(กาม)ในกาลภายหลัง เป็นอย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง บุคคลตั้งจิตเพื่อให้ได้อารมณ์ที่ยังไม่ได้ว่า ด้วยศีล พรต ตบะ หรือ
พรหมจรรย์นี้ เราจักเป็นเทวดา หรือเทพองค์ใดองค์หนึ่ง เพราะการตั้งจิตเป็นปัจจัย
เขาจึงเพลิดเพลินกับอารมณ์นั้น เมื่อเพลิดเพลินกับอารมณ์นั้น บุคคลจึงชื่อว่าทำ
ความมุ่งหวัง(กาม)ในกาลภายหลัง เป็นอย่างนี้บ้าง รวมความว่า มุ่งหวัง(กาม)ในกาล
ภายหลัง หรือในกาลก่อน
คำว่า (ปรารถนา)กามเหล่านี้ ในคำว่า ปรารถนากามเหล่านี้และกามที่มี
อยู่ก่อน ได้แก่ ต้องการ ยินดี ปรารถนา มุ่งหมาย มุ่งหวัง กามคุณ ๕ ที่เป็น
ปัจจุบัน
คำว่า ปรารถนากามที่มีอยู่ก่อน ได้แก่ ปรารถนา คือ ครวญหา พร่ำหา
กามคุณ ๕ ที่เป็นอดีต รวมความว่า ปรารถนากามเหล่านี้และกามที่มีอยู่ก่อน
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
สัตว์เหล่านั้น มีความปรารถนาเป็นต้นเหตุ
ติดพันอยู่กับความพอใจในภพ
มุ่งหวัง(กาม)ในกาลภายหลัง หรือในกาลก่อน
ปรารถนากามเหล่านี้และกามที่มีอยู่ก่อน
ย่อมเป็นผู้หลุดพ้นได้ยาก (และ)ทำให้ผู้อื่นหลุดพ้นไม่ได้เลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๔๓ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส
[๙] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
สัตว์เหล่านั้น ยินดี ขวนขวาย ลุ่มหลงในกามทั้งหลาย
เป็นผู้ตกต่ำ ตั้งอยู่ในกรรมที่ผิด ประสบทุกข์แล้ว
จึงคร่ำครวญอยู่ว่า เราจุติจากภพนี้ จักเป็นอะไรหนอ

ว่าด้วยกาม ๒ อย่าง
คำว่า ยินดี ขวนขวาย ลุ่มหลงในกามทั้งหลาย อธิบายว่า
คำว่า กาม ได้แก่ กาม ๒ อย่าง แบ่งตามหมวด คือ (๑) วัตถุกาม
(๒) กิเลสกาม ... เหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม ... เหล่านี้เรียกว่า กิเลสกาม๑
ตัณหาตรัสเรียกว่า ความยินดี คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ... อภิชฌา
อกุศลมูลคือโลภะ๒ สัตว์ทั้งหลาย กำหนัด ยินดี คือ ติดใจ สยบ หมกมุ่น เกาะติด
เกี่ยวพัน พัวพันในวัตถุกามด้วยกิเลสกาม รวมความว่า ยินดีในกามทั้งหลาย
คำว่า ขวนขวาย อธิบายว่า แม้สัตว์ผู้แสวงหา เสาะหา ค้นหากามทั้งหลาย
เที่ยวไปเพื่อกามนั้น มากไปด้วยกามนั้น หนักในกามนั้น เอนไปในกามนั้น โอนไป
ในกามนั้น โน้มไปในกามนั้น น้อมใจไปในกามนั้น มุ่งกามนั้นเป็นใหญ่ ชื่อว่าผู้
ขวนขวายในกาม
แม้สัตว์ผู้แสวงหา เสาะหา ค้นหารูปด้วยอำนาจตัณหา ... เสียง ... กลิ่น ... รส
... ผู้แสวงหา เสาะหา ค้นหาโผฏฐัพพะด้วยอำนาจตัณหา เที่ยวไปเพื่อกามนั้น
มากไปด้วยกามนั้น หนักในกามนั้น เอนไปในกามนั้น โอนไปในกามนั้น โน้มไปใน
กามนั้น น้อมใจไปในกามนั้น มุ่งกามนั้นเป็นใหญ่ ชื่อว่าผู้ขวนขวายในกาม
แม้สัตว์ผู้ได้เฉพาะรูปด้วยอำนาจตัณหา ... เสียง ... กลิ่น ... รส ... ผู้ได้เฉพาะ
โผฏฐัพพะด้วยอำนาจตัณหา เที่ยวไปเพื่อกามนั้น มากไปด้วยกามนั้น หนักใน
กามนั้น เอนไปในกามนั้น โอนไปในกามนั้น โน้มไปในกามนั้น น้อมใจไปในกามนั้น
มุ่งกามนั้นเป็นใหญ่ ชื่อว่าผู้ขวนขวายในกาม

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๑/๑-๒
๒ ดูรายละเอียดข้อ ๓/๑๐-๑๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๔๔ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส
แม้สัตว์ผู้บริโภครูปด้วยอำนาจตัณหา ... เสียง ... กลิ่น ... รส ... ผู้บริโภค
โผฏฐัพพะด้วยอำนาจตัณหา เที่ยวไปเพื่อกามนั้น มากไปด้วยกามนั้น หนักใน
กามนั้น เอนไปในกามนั้น โอนไปในกามนั้น โน้มไปในกามนั้น น้อมใจไปในกามนั้น
มุ่งกามนั้นเป็นใหญ่ ชื่อว่าผู้ขวนขวายในกาม
เปรียบเหมือนสัตว์ผู้ก่อการทะเลาะ ชื่อว่าผู้ขวนขวายในการทะเลาะ ผู้ทำการ
งาน ชื่อว่าผู้ขวนขวายในการทำงาน ผู้เที่ยวไปในโคจร ชื่อว่าผู้ขวนขวายในโคจร๑
ผู้เจริญฌาน ชื่อว่าผู้ขวนขวายในฌาน ฉันใด แม้สัตว์ผู้แสวงหา เสาะหา ค้นหากาม
ทั้งหลาย เที่ยวไปเพื่อกามนั้น มากไปด้วยกามนั้น หนักในกามนั้น เอนไปในกามนั้น
โอนไปในกามนั้น โน้มไปในกามนั้น น้อมใจไปในกามนั้น มุ่งกามนั้นเป็นใหญ่ ชื่อว่า
ผู้ขวนขวายในกาม
แม้สัตว์ผู้บริโภครูปด้วยอำนาจตัณหา ... เสียง ... กลิ่น ... รส ... ผู้บริโภค
โผฏฐัพพะด้วยอำนาจตัณหา เที่ยวไปเพื่อกามนั้น มากไปด้วยกามนั้น หนักในกามนั้น
เอนไปในกามนั้น โอนไปในกามนั้น โน้มไปในกามนั้น น้อมใจไปในกามนั้น มุ่งกาม
นั้นเป็นใหญ่ ชื่อว่าผู้ขวนขวายในกาม ฉันนั้นเหมือนกัน
คำว่า ลุ่มหลง อธิบายว่า โดยมากเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมหลง
ลุ่มหลง หลงงมงายในกามคุณ ๕ เทวดาและมนุษย์เหล่านั้น จึงชื่อว่าเป็นผู้หลง
ลุ่มหลง หลงงมงาย คือถูกอวิชชาทำให้มืดบอด หุ้มห่อ โอบล้อม ห้อมล้อม
ครอบคลุม ปกคลุม บดบังไว้ รวมความว่า ยินดี ขวนขวาย ลุ่มหลงในกาม
ทั้งหลาย
คำว่า ผู้ตกต่ำ ในคำว่า เป็นผู้ตกต่ำ ตั้งอยู่ในกรรมที่ผิด อธิบายว่า แม้ผู้
ไปต่ำ ก็ชื่อว่าผู้ตกต่ำ แม้ผู้ตระหนี่ก็ตรัสเรียกว่า ผู้ตกต่ำ ผู้ไม่เอื้อเฟื้อคำ คำที่
เป็นแนวทาง เทศนา คำพร่ำสอน ของพระพุทธเจ้าและสาวกของพระพุทธเจ้า
ก็ชื่อว่าผู้ตกต่ำ
ผู้ไปต่ำอย่างไร จึงชื่อว่าผู้ตกต่ำ ผู้ไปต่ำ อธิบายว่า ไปสู่นรก ไปสู่กำเนิด
เดรัจฉาน ไปสู่เปตวิสัย รวมความว่า ผู้ไปต่ำอย่างนี้ ชื่อว่าผู้ตกต่ำ

เชิงอรรถ :
๑ โคจร หมายถึงที่ควรเที่ยวไป อารมณ์หรือหน้าที่ที่จำเป็น มีสติปัฏฐานเป็นต้น (ขุ.ม.อ. ๙/๑๐๗) ดู
รายละเอียดข้อ ๑๙๖/๕๗๖-๕๗๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๔๕ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส
ว่าด้วยความตระหนี่ ๕ อย่าง
ผู้ตระหนี่อย่างไร จึงตรัสเรียกว่าผู้ตกต่ำ มัจฉริยะ มี ๕ อย่าง คือ
๑. อาวาสมัจฉริยะ(ความตระหนี่ที่อยู่)
๒. กุลมัจฉริยะ(ความตระหนี่ตระกูล)
๓. ลาภมัจฉริยะ(ความตระหนี่ลาภ)
๔. วัณณมัจฉริยะ(ความตระหนี่วรรณะ)
๕. ธัมมมัจฉริยะ(ความตระหนี่ธรรม)
ความตระหนี่ กิริยาที่ตระหนี่ ภาวะที่ตระหนี่ ความเห็นแก่ได้ ความถี่เหนียว
ความที่จิตเจ็บร้อน(ในการให้) ความมีจิตหวงแหนเห็นปานนี้ นี้ตรัสเรียกว่า
ความตระหนี่
อีกนัยหนึ่ง ความตระหนี่ขันธ์ก็ดี ความตระหนี่ธาตุก็ดี ความตระหนี่อายตนะ
ก็ดี ความมุ่งแต่จะได้ก็ดี เรียกว่า ความตระหนี่ ชนทั้งหลายผู้ประกอบด้วยความ
ตระหนี่นี้ คือ ความเป็นผู้ไม่รู้จักถ้อยคำของยาจก เป็นผู้ประมาท ผู้ตระหนี่อย่างนี้
ตรัสเรียกว่า ผู้ตกต่ำ
ผู้ไม่เอื้อเฟื้อพระดำรัส คำที่เป็นแนวทาง เทศนา คำพร่ำสอนของพระพุทธเจ้า
และสาวกของพระพุทธเจ้าอย่างไร จึงชื่อว่าผู้ตกต่ำ ผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ไม่ยอมฟัง
ไม่เงี่ยโสต สดับ ไม่ตั้งใจเพื่อให้รู้พระดำรัส คำที่เป็นแนวทาง เทศนา คำพร่ำสอน
ของพระพุทธเจ้า และสาวกของพระพุทธเจ้า เป็นผู้ไม่เชื่อฟัง ไม่ทำตามคำ ประพฤติ
ฝ่าฝืน เบือนหน้าไปทางอื่น ผู้ไม่เอื้อเฟื้อพระดำรัส คำที่เป็นแนวทาง เทศนา
คำพร่ำสอนของพระพุทธเจ้า และสาวกของพระพุทธเจ้า อย่างนี้ชื่อว่าผู้ตกต่ำ รวม
ความว่า เป็นผู้ตกต่ำ
คำว่า สัตว์เหล่านั้น ... ตั้งอยู่ในกรรมที่ผิด อธิบายว่า ตั้งอยู่ คือตั้งมั่น
ตั้งเฉพาะ ติด ติดแน่น ติดใจ น้อมใจเชื่อ เกาะติด เกี่ยวพัน พัวพันในกายกรรม
วจีกรรม มโนกรรมที่ผิด ปาณาติบาต(การฆ่าสัตว์) อทินนาทาน(การลักทรัพย์)
กาเมสุมิจฉาจาร(การประพฤติผิดในกาม) มุสาวาท(การพูดเท็จ) ปิสุณาวาจา(วาจา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๔๖ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส
ส่อเสียด) ผรุสวาจา(วาจาหยาบ) สัมผัปปลาปะ(คำพูดเพ้อเจ้อ) อภิชฌา(ความเพ่งเล็ง
อยากได้ของเขา) พยาบาท(ความคิดปองร้าย) มิจฉาทิฏฐิ(ความเห็นผิดจาก
ทำนองคลองธรรม) สังขารทั้งหลาย กามคุณ ๕ นิวรณ์ ๕ (... ในเจตนา ... ในความ
ปรารถนา ... ในความตั้งใจที่ผิด) รวมความว่า สัตว์เหล่านั้น ... เป็นผู้ตกต่ำ ตั้งอยู่
ในกรรมที่ผิด
คำว่า ประสบทุกข์แล้ว ในคำว่า ประสบทุกข์แล้ว จึงคร่ำครวญอยู่ ได้แก่
ประสบทุกข์แล้ว คือ ถึงทุกข์ ประจวบกับทุกข์ เข้าถึงทุกข์แล้ว ถึงมาร ประจวบกับ
มาร เข้าถึงมารแล้ว ถึงมรณะ ประจวบกับมรณะ เข้าถึงมรณะแล้ว รวมความว่า
ประสบทุกข์แล้ว
คำว่า คร่ำครวญอยู่ ได้แก่ ร่ำไร รำพัน เศร้าโศก ลำบากใจ คร่ำครวญ
ตีอกพร่ำเพ้อ ถึงความหลงใหล รวมความว่า ประสบทุกข์แล้ว จึงคร่ำครวญอยู่
คำว่า เราจุติจากภพนี้ จักเป็นอะไรหนอ อธิบายว่า เราจุติจากภพนี้แล้ว
จักเป็นอะไรหนอ คือ จักเป็นสัตว์นรก เกิดในกำเนิดสัตว์เดรัจฉาน เกิดในเปตวิสัย
เป็นมนุษย์ เป็นเทวดา มีรูป ไม่มีรูป มีสัญญา ไม่มีสัญญา มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มี
สัญญาก็มิใช่ แล่นไปสู่ความสงสัย แล่นไปหาความเคลือบแคลง เกิดความไม่แน่ใจ
ย่อมร่ำไร รำพัน เศร้าโศก ลำบากใจ คร่ำครวญ ตีอกพร่ำเพ้อ ถึงความหลงใหลว่า
ในอนาคตอันยาวนาน เราจักมีหรือจักไม่มี ในอนาคตอันยาวนาน เราจักเป็นอะไร
หรือจักเป็นอย่างไร หรือในอนาคตอันยาวนาน เราเป็นอะไรแล้ว จักเป็นอะไรอีก
รวมความว่า เราจุติจากภพนี้จักเป็นอะไรหนอ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึง
ตรัสว่า
สัตว์เหล่านั้น ยินดี ขวนขวาย ลุ่มหลงในกามทั้งหลาย
เป็นผู้ตกต่ำ ตั้งอยู่ในกรรมที่ผิด ประสบทุกข์แล้ว
จึงคร่ำครวญอยู่ว่า เราจุติจากภพนี้ จักเป็นอะไรหนอ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๔๗ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส
[๑๐] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
เพราะฉะนั้น สัตว์เกิดพึงศึกษาในที่นี้
พึงรู้จักกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งในโลกว่า เป็นกรรมที่ผิด
ไม่พึงประพฤติผิด เพราะเหตุแห่งกรรมที่ผิดนั้น
นักปราชญ์กล่าวว่า ชีวิตนี้เป็นของน้อย

ว่าด้วยสิกขา ๓
คำว่า เพราะฉะนั้น ในคำว่า เพราะฉะนั้น สัตว์เกิดพึงศึกษาในที่นี้ ได้แก่
เพราะฉะนั้น คือ เพราะการณ์นั้น เพราะเหตุนั้น เพราะปัจจัยนั้น เพราะต้นเหตุนั้น
เมื่อเห็นโทษนั้นในกามทั้งหลาย รวมความว่า เพราะฉะนั้น
คำว่า พึงศึกษา ได้แก่ สิกขา ๓ คือ
๑. อธิสีลสิกขา ๒. อธิจิตตสิกขา
๓. อธิปัญญาสิกขา
อธิสีลสิกขา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์๑
สมบูรณ์ด้วยอาจาระ๒และโคจร เห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาใน
สิกขาบททั้งหลายอยู่ คือ สีลขันธ์เล็ก๓ สีลขันธ์ใหญ่๔ ศีลเป็นที่พึ่ง เป็นเบื้องต้น
เป็นความประพฤติ เป็นความสำรวม เป็นความระวัง เป็นหัวหน้า เป็นประธานเพื่อ
ความถึงพร้อมแห่งธรรมที่เป็นกุศล นี้ชื่อว่าอธิสีลสิกขา

เชิงอรรถ :
๑ สังวรในปาติโมกข์ มีอรรถาธิบายแต่ละคำ ดังนี้ คือ สังวร หมายถึงการไม่ล่วงละเมิดทางกายวาจา
ปาติโมกข์ หมายถึงศีลสิกขาบท ที่เป็นเหตุให้ผู้รักษาหลุดพ้นจากทุกข์ (ปาติ = รักษา + โมกขะ = ความ
หลุดพ้น) (วิสุทฺธิ. ๑/๑๔/๑๗)
๒ อาจาระ หมายถึงการไม่ล่วงละเมิดทางกาย การไม่ล่วงละเมิดทางวาจา การไม่ล่วงละเมิดทางกายและ
วาจา หรือการสำรวมศีลทั้งหมด คือการไม่เลี้ยงชีพด้วยอาชีพที่ผิด ที่พระพุทธเจ้ารังเกียจ เช่น ไม่
เลี้ยงชีพด้วยการให้ไม้ไผ่ ให้ใบไม้ ดอกไม้ ผลไม้ เครื่องสนาน ไม้สีฟัน ไม่เลี้ยงชีพด้วยการทำตนต่ำกว่า
คฤหัสถ์ ด้วยการพูดเล่นเป็นแกงถั่ว(จริงบ้างไม่จริงบ้าง) ไม่เลี้ยงชีพด้วยการเลี้ยงเด็ก และการรับส่งข่าว
(วิสุทฺธิ. ๑/๑๔/๑๘)
๓ สีลขันธ์เล็ก หมายถึงอาบัติที่แก้ไขได้ คืออาบัติตั้งแต่สังฆาทิเสสลงมา (ขุ.ม.อ. ๑๐/๑๒๐)
๔ สีลขันธ์ใหญ่ หมายถึงอาบัติที่แก้ไขไม่ได้ คือ อาบัติปาราชิกอย่างเดียว (ขุ.ม.อ. ๑๐/๑๒๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๔๘ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส
อธิจิตตสิกขา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน
ที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุข อันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจาร สงบระงับไปแล้ว
บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มี
วิจาร มีแต่ปีติและสุขที่เกิดจากสมาธิอยู่ เพราะปีติจางคลายไปมีอุเบกขา มีสติ-
สัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า
ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้แล้ว เพราะโสมนัสและโทมนัส
ดับไปก่อนแล้ว บรรลุจตุตถฌาน ที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่
นี้ชื่อว่าอธิจิตตสิกขา
อธิปัญญาสิกขา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาอันประเสริฐ
หยั่งถึงความเกิดและความดับ เพิกถอนกิเลส ให้บรรลุถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ เธอ
รู้ตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์” เธอรู้ตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกขสมุทัย (เหตุเกิด
ทุกข์)” เธอรู้ตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกขนิโรธ (ความดับทุกข์)” เธอรู้ตามความ
เป็นจริงว่า “นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา(ข้อปฏิบัติเครื่องดำเนินไปสู่ความดับทุกข์)”
เธอรู้ตามความเป็นจริงว่า “เหล่านี้อาสวะ” เธอรู้ตามความเป็นจริงว่า “นี้อาสว-
สมุทัย” เธอรู้ตามความเป็นจริงว่า “นี้อาสวนิโรธ” เธอรู้ตามความเป็นจริงว่า
“นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา” นี้ชื่อว่าอธิปัญญาสิกขา
สิกขา ๓ เหล่านี้ เมื่อสัตว์เกิดนึกถึง ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อทราบ ชื่อว่าพึงศึกษา
เมื่อเห็น ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อพิจารณา ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่ออธิษฐานจิต ชื่อว่า
พึงศึกษา เมื่อน้อมใจเชื่อด้วยศรัทธา ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อประคองความเพียร ชื่อว่า
พึงศึกษา เมื่อตั้งสติ ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อตั้งใจมั่น ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อรู้ชัดด้วยปัญญา
ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อรู้ชัดธรรมที่ควรรู้ชัด ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อกำหนดรู้ธรรมที่ควร
กำหนดรู้ ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อละธรรมที่ควรละ ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อเจริญธรรม
ที่ควรเจริญ ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าพึงศึกษา คือ
พึงประพฤติเอื้อเฟื้อ ประพฤติเอื้อเฟื้อโดยชอบ สมาทานประพฤติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๔๙ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส
คำว่า ในที่นี้ ได้แก่ ในความเห็นนี้ ความถูกใจนี้ ความพอใจนี้ ความ
ยึดถือนี้ ธรรมนี้ วินัยนี้ ธรรมวินัยนี้ ปาพจน์นี้ พรหมจรรย์นี้ สัตถุศาสน์นี้
อัตภาพนี้ มนุษยโลกนี้ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ในที่นี้
คำว่า สัตว์เกิด ได้แก่ สัตว์ คือ นรชน ... มนุษย์๑ รวมความว่า เพราะฉะนั้น
สัตว์เกิดพึงศึกษาในที่นี้
คำว่า อย่างใดอย่างหนึ่ง ในคำว่า พึงรู้จักกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งในโลกว่า
เป็นกรรมที่ผิด ได้แก่ ทุกสิ่งโดยอาการทั้งหมด ทุกอย่าง ไม่เหลือ ไม่มีส่วนเหลือ
โดยประการทั้งปวง คำว่า อย่างใดอย่างหนึ่ง นี้ เป็นคำกล่าวรวม ๆ ไว้ทั้งหมด
คำว่า พึงรู้จัก ... ว่า เป็นกรรมที่ผิด อธิบายว่า พึงรู้ คือ พึงรู้ทั่ว รู้แจ่มแจ้ง
รู้เฉพาะ แทงตลอดกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมที่ผิด ปาณาติบาต อทินนาทาน
กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท ปิสุณาวาจา ผรุสวาจา สัมผัปปลาปะ อภิชฌา
พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ สังขารทั้งหลาย กามคุณ ๕ นิวรณ์ ๕ เจตนา ความ
ปรารถนา ความตั้งใจที่ผิดว่าเป็นกรรมที่ผิด
คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก ... อายตนโลก รวมความว่า พึงรู้จักกรรม
อย่างใดอย่างหนึ่งในโลกว่า เป็นกรรมที่ผิด
คำว่า ไม่พึงประพฤติผิด เพราะเหตุแห่งกรรมที่ผิดนั้น อธิบายว่า ไม่พึง
ประพฤติ คือ ไม่พึงประพฤติเอื้อเฟื้อ ไม่พึงประพฤติเอื้อเฟื้อโดยชอบ ไม่พึง
สมาทานประพฤติผิด เพราะเหตุแห่งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ปาณาติบาต
อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท ปิสุณาวาจา ผรุสวาจา สัมผัปปลาปะ
อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ สังขารทั้งหลาย กามคุณ ๕ นิวรณ์ ๕ เจตนา
ความปรารถนา ความตั้งใจที่ผิด รวมความว่า ไม่พึงประพฤติผิด เพราะเหตุแห่ง
กรรมที่ผิดนั้น

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๑/๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๕๐ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส
ว่าด้วยชีวิตเป็นของน้อยด้วยเหตุ ๒ ประการ
คำว่า ชีวิต ในคำว่า นักปราชญ์กล่าวว่า ชีวิตนี้เป็นของน้อย ได้แก่ อายุ
ความดำรงอยู่ ความดำเนินไป ความให้ชีวิตดำเนินไป ความเคลื่อนไหว ความเป็นไป
ความรักษา ความเป็นอยู่ ชีวิตินทรีย์ อนึ่ง ชีวิตเป็นของน้อย ด้วยเหตุ ๒ ประการ
คือ (๑) ชีวิตเป็นของน้อยเพราะดำรงอยู่ชั่วเวลาเพียงเล็กน้อย (๒) ชีวิตเป็นของน้อย
เพราะมีคุณค่าเพียงเล็กน้อย
ชีวิตเป็นของน้อย เพราะดำรงอยู่ชั่วเวลาเพียงเล็กน้อย เป็นอย่างไร
คือ ในขณะจิตที่เป็นอดีต ชีวิตเป็นอยู่แล้ว ไม่ใช่กำลังเป็นอยู่ ไม่ใช่จักเป็นอยู่
ในขณะจิตที่เป็นอนาคต ชีวิตจักเป็นอยู่ ไม่ใช่กำลังเป็นอยู่ ไม่ใช่เป็นอยู่แล้ว ในขณะ
จิตที่เป็นปัจจุบัน ชีวิตกำลังเป็นอยู่ ไม่ใช่เป็นอยู่แล้ว ไม่ใช่จักเป็นอยู่
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
ชีวิต อัตภาพ สุขและทุกข์ทั้งปวง
เป็นธรรมที่ประกอบกันขึ้นชั่วขณะจิตเดียว
ขณะย่อมหมุนไปอย่างรวดเร็ว
เทวดาผู้ดำรงอยู่ได้ตั้ง ๘๔,๐๐๐ กัป
ก็มิได้ประกอบด้วยจิต ๒ ดวง(ในขณะจิตเดียว) เป็นอยู่ได้
ขันธ์เหล่าใดของสัตว์ที่ตายไป หรือยังดำรงอยู่ในโลกนี้ ดับไปแล้ว
ขันธ์เหล่านั้นทั้งหมด เป็นอย่างเดียวกัน ดับไปแล้วก็มิได้สืบต่อกัน
ขันธ์ที่แตกไปในอดีตอันหาลำดับมิได้
และขันธ์ที่จะแตกไปในอนาคต มีลักษณะไม่ต่างกับขันธ์ที่ดับในปัจจุบัน
สัตว์ไม่เกิดด้วยอนาคตขันธ์ ย่อมดำรงอยู่ด้วยปัจจุบันขันธ์
เพราะจิตแตกดับไป สัตว์โลกชื่อว่า ตายแล้ว
นี้เป็นปรมัตถบัญญัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๕๑ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส
เพราะมีอายตนะ ๖ เป็นปัจจัย
ขันธ์ทั้งหลายที่แปรไปตามฉันทะ ย่อมเป็นไปไม่ขาดสาย
เหมือนน้ำไหลไปตามที่ลุ่ม ฉะนั้น
ขันธ์ทั้งหลายถึงการทรงตัวอยู่ไม่ได้แตกไปแล้ว
กองขันธ์ในอนาคตก็ไม่มี ส่วนขันธ์ที่เกิดแล้วในปัจจุบันก็ดำรงอยู่
เหมือนเมล็ดผักกาดบนปลายเหล็กแหลม ฉะนั้น
ความแตกทำลายแห่งขันธ์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นเหล่านั้น
ปรากฏอยู่ข้างหน้า ขันธ์ทั้งหลายที่มีการแตกเป็นธรรมดา
ดำรงอยู่ มิได้รวมกับขันธ์เก่า
ขันธ์ทั้งหลายมาโดยสภาวะที่ไม่ปรากฏ แตกทำลายไปแล้ว
ก็ไปสู่สภาวะที่ไม่ปรากฏ ย่อมเกิดขึ้นและดับไป
เหมือนสายฟ้าแลบในอากาศ ฉะนั้น
ชีวิตชื่อว่าเป็นของน้อย เพราะดำรงอยู่ชั่วเวลาเพียงเล็กน้อย เป็นอย่างนี้
ชีวิตเป็นของน้อยเพราะมีคุณค่าเพียงเล็กน้อย เป็นอย่างไร
คือ ชีวิตเกี่ยวเนื่องด้วยลมหายใจเข้า ชีวิตเกี่ยวเนื่องด้วยลมหายใจออก ชีวิต
เกี่ยวเนื่องด้วยลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ชีวิตเกี่ยวเนื่องด้วยมหาภูตรูป๑ ชีวิต
เกี่ยวเนื่องด้วยอาหารที่กลืนกิน ชีวิตเกี่ยวเนื่องด้วยไฟธาตุ ชีวิตเกี่ยวเนื่องด้วย
วิญญาณ มูลเหตุ(กรัชกาย) ของสภาวธรรมเหล่านี้มีกำลังน้อย บุพพเหตุ๒ ของ
สภาวธรรมเหล่านี้มีกำลังน้อย ปัจจัยทั้งหลายมีอารมณ์เป็นต้นมีกำลังน้อย แดน
เกิด(ตัณหา) มีกำลังน้อย ธรรมที่เกิดร่วมกัน ของสภาวธรรมเหล่านี้มีกำลังน้อย
ธรรมที่ประกอบกัน (อรูปธรรม) ของสภาวธรรมเหล่านี้มีกำลังน้อย ธรรมที่เกิดพร้อม

เชิงอรรถ :
๑ มหาภูตรูป ๔ (๑) ปฐวีธาตุ (สภาวะที่แผ่ไปหรือกินเนื้อที่ สภาพอันเป็นหลักที่ตั้ง ที่อาศัยแห่งสหชาตรูป
เรียกสามัญว่า ธาตุแข้นแข็งหรือธาตุดิน) (๒) อาโปธาตุ (สภาวะที่เอิบอาบหรือดูดซึม ซ่านไป ขยายขนาด
ผนึก พูนเข้าด้วยกัน เรียกสามัญว่า ธาตุเหลว หรือธาตุน้ำ) (๓) เตโชธาตุ (สภาวะที่ทำให้ร้อน เรียกสามัญ
ว่า ธาตุไฟ) (๔) วาโยธาตุ (สภาวะที่ทำให้สั่นไหว เคลื่อนที่ ค้ำจุน เรียกสามัญว่า ธาตุลม) (ที.สี.(แปล)
๙/๔๘๗-๔๙๙/๒๑๖-๒๒๐)
๒ บุพพเหตุ ในที่นี้หมายถึง อวิชชา สังขาร ตัณหา อุปาทาน และภพ (ขุ.ม.อ. ๑๐/๑๕๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๕๒ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส
กันของสภาวธรรมเหล่านี้มีกำลังน้อย กิเลสเครื่องประกอบ(ตัณหา)มีกำลังน้อย
สภาวธรรมเหล่านี้แต่ละอย่างมีกำลังน้อยตลอดเวลา สภาวธรรมเหล่านี้แต่ละอย่าง
ไม่มั่นคง สภาวธรรมเหล่านี้ต่างก็ทำให้สภาวธรรมอื่นตกล่วงลงไป เพราะสภาวธรรม
เหล่านี้ต่างก็ไม่มีความต้านทาน สภาวธรรมเหล่านี้ต่างก็ไม่ดำรงกันและกันอยู่ได้
แม้สภาวธรรมที่ทำให้ธรรมเหล่านี้เกิดก็ไม่มี
อนึ่ง ธรรมไรๆ ก็มิได้เสื่อมไปเพราะธรรมไรๆ
เพราะขันธ์เหล่านี้ พึงถึงความแตกดับไปโดยประการทั้งปวง
ขันธ์เหล่านี้ที่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยก่อน
แม้เหตุปัจจัยที่เกิดก่อนก็แตกดับไปแล้วในกาลก่อน
ในกาลไหนๆ ขันธ์ที่เกิดก่อนและที่เกิดในภายหลัง
จึงไม่ได้เห็นกันและกัน
ชีวิตชื่อว่าเป็นของน้อย เพราะมีคุณค่าเพียงเล็กน้อย เป็นอย่างนี้
อนึ่ง เพราะเทียบกับชีวิตของเทวดาชั้นจาตุมหาราช ชีวิตของมนุษย์จึงน้อย
คือ เล็กน้อย นิดหน่อย ชั่วขณะ เร็วพลัน ประเดี๋ยวเดียว ตั้งอยู่ไม่นาน ดำรงอยู่
ไม่นาน เพราะเทียบกับชีวิตของเทวดาชั้นดาวดึงส์ ... เทวดาชั้นยามา ... เทวดาชั้น
ดุสิต ... เทวดาชั้นนิมมานรดี ... เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ... เพราะเทียบเคียงกับ
ชีวิตของเทวดาชั้นพรหมกายิกา ชีวิตของมนุษย์จึงน้อย คือ เล็กน้อย นิดหน่อย
ชั่วขณะ เร็วพลัน ประเดี๋ยวเดียว ตั้งอยู่ไม่นาน ดำรงอยู่ไม่นาน สมจริงดังที่พระผู้มี
พระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย อายุของมนุษย์น้อย จำต้องไปสู่ปรโลก ต้อง
ประสบกับความตายที่เข้าใจกันอยู่ ควรทำกุศล ประพฤติพรหมจรรย์ ผู้ที่เกิดมาแล้ว
ไม่ตายไม่มี ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดมีชีวิตยืนนาน ผู้นั้นก็อยู่ได้เพียง ๑๐๐ ปี หรืออยู่ได้
เกินกว่านั้นก็มีน้อย”
(พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณ์ภาษิตนี้แล้ว จึงตรัสคาถา
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๕๓ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส
มนุษย์มีอายุน้อย บุคคลผู้ฉลาดพึงดูหมิ่นชีวิตที่น้อยนั้น
พึงเร่งประพฤติธรรมเหมือนคนถูกไฟไหม้ศีรษะ ฉะนั้น
เพราะความตายจะไม่มาถึงไม่มี๑
วันคืนล่วงเลยไป ชีวิตก็ใกล้หมดสิ้นไป
อายุของสัตว์ทั้งหลายก็หมดสิ้นไป
เหมือนน้ำในแม่น้ำน้อยจะแห้งไป ฉะนั้น๒

ว่าด้วยปัญญาที่เรียกว่า ธี
คำว่า นักปราชญ์กล่าวว่า ชีวิตนี้เป็นของน้อย อธิบายว่า ชื่อว่านักปราชญ์
เพราะมีปัญญา ชื่อว่านักปราชญ์เพราะมีปัญญาเครื่องทรงจำ ชื่อว่านักปราชญ์เพราะ
สมบูรณ์ด้วยปัญญาเครื่องทรงจำ ชื่อว่านักปราชญ์เพราะติเตียนบาป
ปัญญาตรัสเรียกว่า ธี ได้แก่ ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความ
เลือกเฟ้น ความสอดส่องธรรม ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความ
เข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้อย่างแจ่มแจ้ง
ความคิดค้น ความใคร่ครวญ ปัญญาดุจแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญา
เครื่องนำทาง ปัญญาเครื่องเห็นแจ้ง ความรู้ดี ปัญญาดุจปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์
ปัญญาพละ ปัญญาดุจศัสตรา ปัญญาดุจปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่าง
คือปัญญา ปัญญาดุจดวงประทีป ปัญญาดุจดวงแก้ว ความไม่หลงงมงาย ความ
เลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ชื่อว่านักปราชญ์ เพราะประกอบด้วยปัญญานั้น
อีกนัยหนึ่ง เป็นปราชญ์ในขันธ์ ปราชญ์ในธาตุ ปราชญ์ในอายตนะ ปราชญ์ใน
ปฏิจจสมุปบาท ปราชญ์ในสติปัฏฐาน ปราชญ์ในสัมมัปปธาน ปราชญ์ในอิทธิบาท
ปราชญ์ในอินทรีย์ ปราชญ์ในพละ ปราชญ์ในโพชฌงค์ ปราชญ์ในมรรค ปราชญ์ในผล
ปราชญ์ในนิพพาน นักปราชญ์เหล่านั้น กล่าว คือ พูด แสดง ชี้แจง อย่างนี้ว่า
ชีวิตของมนุษย์จึงน้อย เล็กน้อย นิดหน่อย ชั่วขณะ เร็วพลัน ประเดี๋ยวเดียว ตั้งอยู่
ไม่นาน ดำรงอยู่ไม่นาน รวมความว่า นักปราชญ์กล่าวว่า ชีวิตนี้เป็นของน้อย ด้วย
เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า

เชิงอรรถ :
๑ สํ.ส. ๑๕/๑๔๕/๑๓๐
๒ สํ.ส. ๑๕/๑๔๖/๑๓๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๕๔ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส
เพราะฉะนั้น สัตว์เกิดพึงศึกษาในที่นี้
พึงรู้จักกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งในโลกว่า เป็นกรรมที่ผิด
ไม่พึงประพฤติผิด เพราะเหตุแห่งกรรมที่ผิดนั้น
นักปราชญ์กล่าวว่า ชีวิตนี้เป็นของน้อย
[๑๑] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
เราเห็นหมู่สัตว์นี้ ผู้ตกไปในอำนาจตัณหาในภพทั้งหลาย
กำลังดิ้นรนอยู่ในโลก
นรชนที่เลว ผู้ยังไม่คลายตัณหาในภพน้อยภพใหญ่
ร่ำไรอยู่ใกล้ปากมัจจุราช

ว่าด้วยหมู่สัตว์ดิ้นรนอยู่ในโลกเพราะตัณหา
คำว่า เราเห็น ในคำว่า เราเห็น ... กำลังดิ้นรนอยู่ในโลก ได้แก่ เราเห็น
แลเห็น ตรวจดู เพ่งพินิจ พิจารณาดู ด้วยมังสจักขุบ้าง ด้วยทิพพจักขุบ้าง
ด้วยปัญญาจักขุบ้าง ด้วยพุทธจักขุบ้าง ด้วยสมันตจักขุบ้าง
คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก
อายตนโลก
คำว่า กำลังดิ้นรนอยู่ อธิบายว่า เราเห็น แลเห็น ตรวจดู เพ่งพินิจ
พิจารณาดูหมู่สัตว์นี้ ผู้กำลังดิ้นรน กระเสือกกระสน ทุรนทุราย หวั่นไหว สั่นเทา
กระสับกระส่าย ด้วยความดิ้นรนเพราะตัณหา ดิ้นรนเพราะทิฏฐิ ดิ้นรนเพราะกิเลส
ดิ้นรนเพราะการประกอบ ดิ้นรนเพราะวิบาก ดิ้นรนเพราะทุจริต คือ
ผู้กำหนัดก็ดิ้นรนตามอำนาจราคะ
ผู้ขัดเคืองก็ดิ้นรนตามอำนาจโทสะ
ผู้หลงก็ดิ้นรนตามอำนาจโมหะ
ผู้ยึดติดก็ดิ้นรนตามอำนาจมานะ
ผู้ยึดถือก็ดิ้นรนตามอำนาจทิฏฐิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๕๕ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส
ผู้ฟุ้งซ่านก็ดิ้นรนตามอำนาจอุทธัจจะ
ผู้ลังเลก็ดิ้นรนตามอำนาจวิจิกิจฉา
ผู้ตกอยู่ในพลังกิเลสก็ดิ้นรนตามอำนาจอนุสัย
ดิ้นรนเพราะลาภ เพราะเสื่อมลาภ เพราะยศ เพราะเสื่อมยศ เพราะสรรเสริญ
เพราะนินทา เพราะสุข เพราะทุกข์
ดิ้นรนเพราะชาติ เพราะชรา เพราะพยาธิ เพราะมรณะ เพราะโสกะ(ความ
เศร้าโศก) ปริเทวะ(ความคร่ำครวญ) ทุกขะ(ความทุกข์กาย) โทมนัส(ความทุกข์ใจ)
และอุปายาส(ความคับแค้นใจ)
ดิ้นรนเพราะทุกข์เนื่องจากการเกิดในนรก เพราะทุกข์เนื่องจากการเกิดใน
กำเนิดเดรัจฉาน เพราะทุกข์เนื่องจากการเกิดในเปตวิสัย เพราะทุกข์เนื่องจากการ
เกิดในโลกมนุษย์ เพราะทุกข์เนื่องจากการถือกำเนิดในครรภ์ เพราะทุกข์เนื่องจาก
การอยู่ในครรภ์ เพราะทุกข์เนื่องจากการคลอดจากครรภ์ เพราะทุกข์ที่สืบเนื่องจาก
ผู้เกิด เพราะทุกข์ของผู้เกิดที่เนื่องมาจากผู้อื่น เพราะทุกข์ที่เกิดจากความพยายาม
ของตนเอง เพราะทุกข์ที่เกิดจากความพยายามของผู้อื่น เพราะทุกข์ที่เกิดจากความ
ทุกข์กายทุกข์ใจ เพราะทุกข์ที่เกิดจากสังขาร เพราะทุกข์ที่เกิดจากความแปรผัน
ดิ้นรนเพราะทุกข์ที่เกิดจากโรคทางตา เพราะทุกข์ที่เกิดจากโรคทางหู เพราะ
ทุกข์ที่เกิดจากโรคทางจมูก เพราะทุกข์ที่เกิดจากโรคทางลิ้น เพราะทุกข์ที่เกิดจาก
โรคทางกาย เพราะทุกข์ที่เกิดจากโรคศีรษะ ... โรคหู ... โรคปาก ... โรคฟัน ... โรคไอ
... โรคหืด ... ไข้หวัด ... ไข้พิษ ... ไข้เชื่อมซึม ... โรคท้อง ... เป็นลมสลบ ... ลงแดง ...
จุกเสียด ... อหิวาตกโรค ... โรคเรื้อน ... ฝี ... กลาก ... มองคร่อ ... ลมบ้าหมู ...
หิดเปื่อย ... หิดด้าน ... หิด ... หูด ... โรคละลอก ... โรคดีซ่าน ... โรคเบาหวาน ...
โรคเริม ... โรคพุพอง ... โรคริดสีดวงทวาร ... ความเจ็บป่วยที่เกิดจากดี ... ความ
เจ็บป่วยที่เกิดจากเสมหะ ... ความเจ็บป่วยที่เกิดจากลม ... ไข้สันนิบาต ... ความ
เจ็บป่วยที่เกิดจากการเปลี่ยนฤดูกาล .... ความเจ็บป่วยที่เกิดจากการผลัดเปลี่ยน
อิริยาบถไม่ได้ส่วนกัน ... ความเจ็บป่วยที่เกิดจากความพากเพียรเกินกำลัง ....
ความเจ็บป่วยที่เกิดจากผลกรรม ... ความหนาว ... ความร้อน ... ความหิว ...
ความกระหาย ... ปวดอุจจาระ ... ปวดปัสสาวะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๕๖ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส
ดิ้นรนเพราะทุกข์ที่เกิดจากสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน
ทุกข์เพราะมารดาตาย ...ทุกข์เพราะบิดาตาย ... ทุกข์เพราะพี่ชายน้องชายตาย ...
ทุกข์เพราะพี่สาวน้องสาวตาย ... ทุกข์เพราะบุตรตาย ... ทุกข์เพราะธิดาตาย ...
ความพินาศของญาติ ... โภคทรัพย์พินาศ ... ความเสียหายที่เกิดจากโรค ... สีลวิบัติ
... ทิฏฐิวิบัติ รวมความว่า เราเห็น ... กำลังดิ้นรนอยู่ในโลก
คำว่า หมู่สัตว์ ในคำว่า หมู่สัตว์นี้ ผู้ตกไปในอำนาจตัณหาในภพทั้งหลาย
เป็นชื่อเรียกสัตว์
คำว่า ตัณหา ได้แก่ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา
โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา
คำว่า ผู้ตกไปในอำนาจตัณหา อธิบายว่า ผู้ตกไปในอำนาจตัณหา คือ
ไปตามอำนาจตัณหา ซ่านไปตามตัณหา จมลงในตัณหา ถูกตัณหาผลักให้ตกไป ถูก
ตัณหาครอบงำ มีจิตถูกตัณหายึดครอง
คำว่า ในภพทั้งหลาย ได้แก่ ในกามภพ รูปภพ อรูปภพ รวมความว่า หมู่
สัตว์นี้ผู้ตกไปในอำนาจตัณหาในภพทั้งหลาย
คำว่า นรชนที่เลว ในคำว่า นรชนที่เลว ... ร่ำไรอยู่ใกล้ปากมัจจุราช
อธิบายว่า นรชน ที่เลว คือ ทราม ต่ำทราม น่ารังเกียจ หยาบช้า ต่ำต้อย เพราะ
ประกอบด้วยกายกรรม ... วจีกรรม ... มโนกรรมที่เลว ... ปาณาติบาต ... อทินนาทาน
... กาเมสุมิจฉาจาร ... มุสาวาท ... ปิสุณาวาจา ... ผรุสวาจา ... สัมผัปปลาปะ ...
อภิชฌา ... พยาบาท ... มิจฉาทิฏฐิ ... สังขารทั้งหลาย .. กามคุณ ๕ ... นิวรณ์ ๕ ...
เจตนา ... ความปรารถนา ... ที่เลว คือ ทราม ต่ำทราม น่ารังเกียจ หยาบช้า
ต่ำต้อย เพราะประกอบด้วยความตั้งใจที่เลว รวมความว่า นรชนที่เลว
คำว่า ใกล้ปากมัจจุราช ในคำว่า ร่ำไรอยู่ใกล้ปากมัจจุราช อธิบายว่า
นรชนผู้ถึงมัจจุราช ประจวบกับมัจจุราช เข้าถึงมัจจุราช ถึงมาร ประจวบกับมาร
เข้าถึงมาร ถึงมรณะ ประจวบกับมรณะ เข้าถึงมรณะ ร่ำไร คือ รำพัน เศร้าโศก
ลำบากใจ คร่ำครวญ ตีอกพร่ำเพ้อ ถึงความหลงใหล ใกล้ปากมาร ใกล้ปากมรณะ
รวมความว่า นรชนที่เลว... ร่ำไรอยู่ใกล้ปากมัจจุราช


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๕๗ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส
คำว่า ผู้ยังไม่คลายจากตัณหาในภพน้อยภพใหญ่ อธิบายว่า
คำว่า ตัณหา ได้แก่ รูปตัณหา ... ธัมมตัณหา
คำว่า ในภพน้อยภพใหญ่ อธิบายว่า ในภพน้อยภพใหญ่ คือ ในกรรมวัฏ
และวิปากวัฏ ในกรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในกามภพ ในวิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดใน
กามภพ ในกรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในรูปภพ ในวิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดในรูปภพ ใน
กรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในอรูปภพ ในวิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดในอรูปภพ ในภพต่อไป
ในคติต่อไป ในการถือกำเนิดต่อไป ในปฏิสนธิต่อไป ในการบังเกิดของอัตภาพต่อไป
คำว่า ผู้ยังไม่คลายตัณหา ได้แก่ ผู้ยังไม่คลายตัณหา คือ ไม่ปราศจาก
ตัณหา ไม่สละตัณหา ไม่คายตัณหา ไม่เปลื้องตัณหา ไม่ละตัณหา ไม่สลัดทิ้งตัณหา
รวมความว่า ผู้ยังไม่คลายตัณหาในภพน้อยภพใหญ่ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค
จึงตรัสว่า
เราเห็นหมู่สัตว์นี้ ผู้ตกไปในอำนาจตัณหาในภพทั้งหลาย
กำลังดิ้นรนอยู่ในโลก
นรชนที่เลว ผู้ยังไม่คลายตัณหาในภพน้อยภพใหญ่
ร่ำไรอยู่ใกล้ปากมัจจุราช
[๑๒] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
พวกเธอจงดูหมู่สัตว์ผู้กำลังดิ้นรนอยู่
เพราะวัตถุที่ยึดถือว่าเป็นของเรา
เหมือนฝูงปลาในน้ำน้อยสิ้นกระแสแล้ว
นรชนเห็นโทษนี้แล้วก็อย่าก่อตัณหาเครื่องเกี่ยวข้องในภพทั้งหลาย
พึงประพฤติไม่ยึดถือว่าเป็นของเรา
ว่าด้วยความยึดถือ ๒ อย่าง
คำว่า พวกเธอจงดูหมู่สัตว์ผู้กำลังดิ้นรนอยู่ เพราะวัตถุที่ยึดถือว่าเป็น
ของเรา อธิบายว่า
คำว่า ความยึดถือว่าเป็นของเรา ได้แก่ ความยึดถือว่าเป็นของเรา ๒ อย่าง
คือ (๑) ความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจตัณหา (๒) ความยึดถือว่าเป็นของเรา
ด้วยอำนาจทิฏฐิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๕๘ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส
ความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจตัณหา เป็นอย่างไร
คือ วัตถุที่ทำให้เป็นเขต เป็นแดน เป็นส่วน เป็นแผนก กำหนดถือเอา ยึดถือ
ว่าเป็นของเรา ด้วยส่วนแห่งตัณหามีประมาณเท่าใด ย่อมยึดถือว่าเป็นของเราซึ่ง
วัตถุมีประมาณเท่านี้ว่า นี้ของเรา นั่นของเรา เท่านี้ของเรา ของเรามีปริมาณเท่านี้
รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เครื่องปูลาด เครื่องนุ่งห่ม ทาสหญิงชาย แพะ แกะ
ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา ที่นา ที่สวน เงิน ทอง บ้าน นิคม ราชธานี แคว้น
ชนบท กองพลรบ คลังหลวง แม้มหาปฐพีทั้งสิ้นย่อมยึดถือว่าเป็นของเราด้วย
อำนาจตัณหา ซึ่งจำแนกได้ ๑๐๘ นี้ชื่อว่าความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจ
ตัณหา
ความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจทิฏฐิ เป็นอย่างไร
คือ สักกายทิฏฐิมีวัตถุ๑ ๒๐ มิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ๒ ๑๐ อันตคาหิกทิฏฐิมีวัตถุ๓ ๑๐
ทิฏฐิ การตกอยู่ในทิฏฐิ ความรกชัฏคือทิฏฐิ ความกันดารคือทิฏฐิ เสี้ยนหนามคือ
ทิฏฐิ ความดิ้นรนคือทิฏฐิ เครื่องผูกพันคือทิฏฐิ ความถือ ความถือมั่น ความยึดมั่น
ความยึดมั่นถือมั่น ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิเดียรถีย์ ความถือขัดแย้ง ความ
ถือวิปริต ความถือวิปลาส ความถือผิด ความถือในสิ่งที่ไม่เป็นความจริงว่าเป็นจริง
เห็นปานนี้จนถึงทิฏฐิ ๖๒ นี้ชื่อว่าความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจทิฏฐิ

เชิงอรรถ :
๑ สักกายทิฏฐิมีวัตถุ ๒๐ คือปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ -
(๑) ย่อมตามเห็นรูปเป็นอัตตา (๒) เห็นอัตตามีรูป (๓) เห็นรูปในอัตตา (๔) เห็นอัตตาในรูป (๕) ย่อมตาม
เห็นเวทนาเป็นอัตตา (๖) เห็นอัตตามีเวทนา (๗) เห็นเวทนาในอัตตา (๘) เห็นอัตตาในเวทนา (๙) ย่อม
ตามเห็นสัญญาเป็นอัตตา (๑๐) เห็นอัตตามีสัญญา (๑๑) เห็นสัญญาในอัตตา (๑๒) เห็นอัตตาในสัญญา
(๑๓) ย่อมตามเห็นสังขารเป็นอัตตา (๑๔) เห็นอัตตามีสังขาร (๑๕) เห็นสังขารในอัตตา (๑๖) เห็นอัตตาใน
สังขาร (๑๗) ย่อมตามเห็นวิญญาณเป็นอัตตา (๑๘) เห็นอัตตามีวิญญาณ (๑๙) เห็นวิญญาณในอัตตา
(๒๐) เห็นอัตตาในวิญญาณ (สํ.ข. ๑๗/๑๕๕/๑๔๙, ขุ.ม.อ. ๑๒/๑๕๘)
๒ มิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ คือ (๑) ทานที่ให้แล้วไม่มีผล (๒) การบูชาไม่มีผล (๓) การบวงสรวงไม่มีผล
(๔) กรรมที่ทำไว้ดีและทำไว้ไม่ดีไม่มีผล (๕) โลกนี้ไม่มี (๖) โลกหน้าไม่มี (๗) มารดาไม่มี (๘) บิดาไม่มี
(๙) สัตว์ที่เป็นโอปปาติกะไม่มี (๑๐) สมณพราหมณ์ที่ดำเนินตนชอบ ปฏิบัติชอบ ผู้ทำให้แจ้งในโลกนี้และ
โลกหน้าด้วยตนเอง แล้วประกาศให้(ผู้อื่น)ทราบ ไม่มี (ขุ.จู. ๓๐/๑๔๓/๒๘๘)
๓ อันตคาหิกทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ หมายถึงความเห็นผิดแล่นไปสุดโต่งข้างใดข้างหนึ่ง มี ๑๐ ประการ คือเห็นว่า
(๑) โลกเที่ยง (๒) โลกไม่เที่ยง (๓) โลกมีที่สุด (๔) โลกไม่มีที่สุด (๕) ชีวะกับสรีระ เป็นอย่างเดียวกัน (๖)
ชีวะกับสรีระ เป็นคนละอย่าง (๗) หลังจากตายไปตถาคตเกิดอีก (๘) หลังจากตายไปตถาคตไม่เกิดอีก (๙)
หลังจากตายไปตถาคตเกิดอีกก็ใช่ ไม่เกิดอีกก็ใช่ (๑๐) หลังจากตายไป ตถาคตเกิดอีกก็มิใช่ ไม่เกิดอีก
ก็มิใช่ (องฺ.ทสก. ๒๔/๙๓/๑๔๙-๑๕๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๕๙ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส
คำว่า พวกเธอจงดูหมู่สัตว์ผู้กำลังดิ้นรนอยู่ เพราะวัตถุที่ยึดถือว่าเป็น
ของเรา อธิบายว่า หมู่สัตว์ผู้หวาดระแวงว่าจะมีผู้แย่งชิงวัตถุที่ยึดถือว่าเป็นของเรา
ย่อมดิ้นรนบ้าง เมื่อวัตถุนั้นกำลังถูกแย่งชิงไป ย่อมดิ้นรนบ้าง เมื่อวัตถุนั้นถูก
แย่งชิงไปแล้ว ย่อมดิ้นรนบ้าง หมู่สัตว์ผู้หวาดระแวงว่า จะมีความแปรผันไปแห่ง
วัตถุที่ตนยึดถือว่าเป็นของเรา ย่อมดิ้นรนบ้าง เมื่อวัตถุนั้นกำลังแปรผันไป ย่อมดิ้นรน
บ้าง เมื่อวัตถุนั้นแปรผันไปแล้ว ย่อมดิ้นรนบ้าง คือ กระวนกระวาย กระเสือกกระสน
ทุรนทุราย หวั่นไหว สั่นเทา กระสับกระส่ายอยู่ พวกเธอจงดู คือ แลดู มองดู
เพ่งพินิจ พิจารณาดูหมู่สัตว์ ผู้กำลังดิ้นรนอยู่ คือ กระวนกระวาย กระเสือกกระสน
ทุรนทุราย หวั่นไหว สั่นเทา กระสับกระส่ายอยู่อย่างนี้ รวมความว่า พวกเธอจงดู
หมู่สัตว์ผู้กำลังดิ้นรนอยู่ เพราะวัตถุที่ยึดถือว่าเป็นของเรา
คำว่า เหมือนฝูงปลาในน้ำน้อยสิ้นกระแสแล้ว อธิบายว่า หมู่สัตว์ผู้หวาด
ระแวงว่าจะมีผู้แย่งชิงวัตถุที่ยึดถือว่าเป็นของเรา ย่อมดิ้นรนบ้าง เมื่อวัตถุนั้นกำลัง
ถูกแย่งชิงไป ย่อมดิ้นรนบ้าง เมื่อวัตถุนั้นถูกแย่งชิงไปแล้ว ย่อมดิ้นรนบ้าง
หมู่สัตว์ผู้หวาดระแวงว่าจะมีความแปรผันไปแห่งวัตถุที่ยึดถือว่าเป็นของเรา
ย่อมดิ้นรนบ้าง เมื่อวัตถุนั้นกำลังแปรผันไป ย่อมดิ้นรนบ้าง เมื่อวัตถุนั้นแปรผันไป
แล้ว ย่อมดิ้นรนบ้าง คือกระวนกระวาย กระเสือกกระสน ทุรนทุราย หวั่นไหว
สั่นเทา กระสับกระส่ายอยู่ เหมือนฝูงปลาในน้ำน้อย คือ น้ำนิดหน่อย น้ำแห้ง
ไป ถูกกา เหยี่ยว หรือนกยางโฉบลากขึ้นมาแทะกินก็ดิ้นรน กระวนกระวาย
กระเสือกกระสน ทุรนทุราย หวั่นไหว สั่นเทา กระสับกระส่ายอยู่ ฉะนั้น รวม
ความว่า เหมือนฝูงปลาในน้ำน้อยสิ้นกระแสแล้ว
คำว่า นรชนเห็นโทษนี้แล้ว ... พึงประพฤติไม่ยึดถือว่าเป็นของเรา อธิบาย
ว่า นรชนเห็นแล้ว คือ แลเห็นแล้ว เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว ทำให้กระจ่างแล้ว
ทำให้แจ่มแจ้งแล้วซึ่งโทษนี้เพราะวัตถุที่ยึดถือว่าเป็นของเรา รวมความว่า นรชนเห็น
โทษนี้แล้ว
คำว่า พึงประพฤติไม่ยึดถือว่าเป็นของเรา อธิบายว่า
คำว่า ความยึดถือว่าเป็นของเรา ได้แก่ ความยึดถือว่าเป็นของเรา ๒ อย่าง
คือ (๑) ความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจตัณหา (๒) ความยึดถือว่าเป็นของเรา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๖๐ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส
ด้วยอำนาจทิฏฐิ ... นี้ชื่อว่าความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจตัณหา ... นี้ชื่อว่า
ความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจทิฏฐิ
นรชนละความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจตัณหาได้แล้ว สลัดทิ้งความยึด
ถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจทิฏฐิได้แล้ว ไม่ยึดถือตาว่าเป็นของเรา ไม่ยึดถือหูว่าเป็น
ของเรา ไม่ยึดถือจมูกว่าเป็นของเรา ไม่ยึดถือลิ้นว่าเป็นของเรา ไม่ยึดถือกายว่าเป็น
ของเรา ไม่ยึดถือใจว่าเป็นของเรา ไม่ยึดถือ ไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น รูป ... เสียง ...
กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะ ... ธรรมารมณ์ ... ตระกูล ... หมู่คณะ ... อาวาส ... ลาภ ...
ยศ ... สรรเสริญ ... สุข ... จีวร ... บิณฑบาต ... เสนาสนะ ... คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
... กามธาตุ ... รูปธาตุ ... อรูปธาตุ ... กามภพ ... รูปภพ ... อรูปภพ ... สัญญาภพ
... อสัญญาภพ ... เนวสัญญานาสัญญาภพ ... เอกโวการภพ๑ ... จตุโวการภพ๒ ...
ปัญจโวการภพ๓ ... อดีต ... อนาคต ... ปัจจุบัน ... รูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน กลิ่น
รส โผฏฐัพพะที่รับรู้ และธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งว่าเป็นของเรา พึงประพฤติ คือ
อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป รวมความว่า นรชน
เห็นโทษนี้แล้ว ... พึงประพฤติไม่ยึดถือว่าเป็นของเรา
คำว่า ในภพทั้งหลาย ในคำว่า อย่าก่อตัณหาเครื่องเกี่ยวข้องในภพ
ทั้งหลาย ได้แก่ ในกามภพ รูปภพ อรูปภพ ตัณหาตรัสเรียกว่า เครื่องเกี่ยวข้อง
คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ... อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ๔
คำว่า อย่าก่อตัณหาเครื่องเกี่ยวข้องในภพทั้งหลาย อธิบายว่า อย่าก่อ
ตัณหาเครื่องเกี่ยวข้องในภพทั้งหลาย คือ อย่าก่อ อย่าให้เกิด อย่าให้เกิดขึ้น
อย่าให้บังเกิด อย่าให้บังเกิดขึ้นซึ่งความพอใจ ความรัก ความใคร่ ความชอบใจ
รวมความว่า อย่าก่อตัณหาเครื่องเกี่ยวข้องในภพทั้งหลาย ด้วยเหตุนั้น พระผู้มี

เชิงอรรถ :-
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๓/๑๒
๒ ดูรายละเอียดข้อ ๓/๑๒
๓ ดูรายละเอียดข้อ ๓/๑๒
๔ ดูรายละเอียดข้อ ๓/๑๐-๑๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๖๑ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส
พวกเธอจงดูหมู่สัตว์ผู้กำลังดิ้นรนอยู่
เพราะวัตถุที่ยึดถือว่าเป็นของเรา
เหมือนฝูงปลาในน้ำน้อยสิ้นกระแสแล้ว
นรชนเห็นโทษนี้แล้ว ก็อย่าก่อตัณหาเครื่องเกี่ยวข้องในภพทั้งหลาย
พึงประพฤติไม่ยึดถือว่าเป็นของเรา
[๑๓] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
นักปราชญ์ พึงกำจัดความพอใจในส่วนสุดทั้ง ๒ ด้าน
กำหนดรู้ผัสสะแล้ว ก็ไม่ติดใจ
ติเตียนกรรมใดด้วยตน ก็ไม่ทำกรรมนั้น
ไม่ติดในสิ่งที่ได้เห็นและได้ยินแล้ว
คำว่า พึงกำจัดความพอใจในส่วนสุดทั้ง ๒ ด้าน อธิบายว่า
คำว่า ส่วนสุด ได้แก่ ผัสสะ เป็นส่วนสุดด้านหนึ่ง เหตุเกิดแห่งผัสสะเป็นส่วน
สุดอีกด้านหนึ่ง อดีตเป็นส่วนสุดด้านหนึ่ง อนาคตเป็นส่วนสุดอีกด้านหนึ่ง สุขเวทนา
เป็นส่วนสุดด้านหนึ่ง ทุกขเวทนาเป็นส่วนสุดอีกด้านหนึ่ง นามเป็นส่วนสุดด้านหนึ่ง
รูปเป็นส่วนสุดอีกด้านหนึ่ง อายตนะภายใน ๖ เป็นส่วนสุดด้านหนึ่ง อายตนะภายนอก
๖ เป็นส่วนสุดอีกด้านหนึ่ง ความถือตัวเป็นส่วนสุดด้านหนึ่ง เหตุเกิดแห่งความถือ
ตัวเป็นส่วนสุดอีกด้านหนึ่ง
คำว่า ความพอใจ ได้แก่ ความพอใจด้วยอำนาจความใคร่ ความกำหนัด
ด้วยอำนาจความใคร่ ความเพลิดเพลินด้วยอำนาจความใคร่ ความทะยานอยาก
ด้วยอำนาจความใคร่ ความเยื่อใยด้วยอำนาจความใคร่ ความเร่าร้อนด้วยอำนาจ
ความใคร่ ความสยบด้วยอำนาจความใคร่ ความติดใจด้วยอำนาจความใคร่ ห้วงน้ำ
คือความใคร่ กิเลสเครื่องประกอบคือความใคร่ ความยึดถือด้วยอำนาจความใคร่
กิเลสเครื่องกั้นจิตคือความพอใจด้วยอำนาจความใคร่ในกามทั้งหลาย
คำว่า พึงกำจัดความพอใจในส่วนสุดทั้ง ๒ ด้าน ได้แก่ พึงกำจัด คือ ขจัด
ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งความพอใจในส่วนสุดทั้ง ๒ ด้าน
รวมความว่า พึงกำจัดความพอใจในส่วนสุดทั้ง ๒ ด้าน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๖๒ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส
ว่าด้วยผัสสะต่าง ๆ
คำว่า กำหนดรู้ผัสสะแล้ว ก็ไม่ติดใจ อธิบายว่า
คำว่า ผัสสะ๑ ได้แก่ จักขุสัมผัส(สัมผัสทางตา) โสตสัมผัส(สัมผัสทางหู)
ฆานสัมผัส(สัมผัสทางจมูก) ชิวหาสัมผัส(สัมผัสทางลิ้น) กายสัมผัส(สัมผัสทางกาย)
มโนสัมผัส(สัมผัสทางใจ) อธิวจนสัมผัส(สัมผัสที่เกิดทางมโนทวาร) ปฏิฆสัมผัส
(สัมผัสแห่งการกระทบใจ) สุขเวทนียผัสสะ(ผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา) ทุกข-
เวทนียผัสสะ(ผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา) อทุกขมสุขเวทนียผัสสะ(ผัสสะเป็นที่ตั้ง
แห่งอทุกขมสุขเวทนา) ผัสสะที่เป็นกุศล ผัสสะที่เป็นอกุศล ผัสสะที่เป็นอัพยากฤต
ผัสสะที่เป็นกามาวจร ผัสสะที่เป็นรูปาวจร ผัสสะที่เป็นอรูปาวจร สุญญตผัสสะ
อนิมิตตผัสสะ อัปปณิหิตผัสสะ ผัสสะที่เป็นโลกิยะ ผัสสะที่เป็นโลกุตตระ ผัสสะที่
เป็นอดีต ผัสสะที่เป็นอนาคต ผัสสะที่เป็นปัจจุบัน ผัสสะ ความถูกต้อง กิริยาที่
ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้องเห็นปานนี้ นี้ตรัสเรียกว่า ผัสสะ

ว่าด้วยปริญญา ๓
คำว่า กำหนดรู้ผัสสะแล้ว อธิบายว่า กำหนดรู้ผัสสะด้วยปริญญา ๓ คือ
(๑) ญาตปริญญา(การกำหนดรู้ขั้นรู้จัก) (๒) ตีรณปริญญา(การกำหนดรู้ขั้นพิจารณา)
(๓) ปหานปริญญา(การกำหนดรู้ขั้นละ)
ญาตปริญญา เป็นอย่างไร
คือ นักปราชญ์รู้จักผัสสะ คือ รู้ เห็นว่า “นี้จักขุสัมผัส นี้โสตสัมผัส นี้ฆานสัมผัส
นี้ชิวหาสัมผัส นี้กายสัมผัส นี้มโนสัมผัส นี้อธิวจนสัมผัส นี้ปฏิฆสัมผัส นี้ผัสสะเป็น
ที่ตั้งแห่งสุขเวทนา นี้ผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา นี้ผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุข-
เวทนา นี้ผัสสะที่เป็นกุศล นี้ผัสสะที่เป็นอกุศล นี้ผัสสะที่เป็นอัพยากฤต นี้ผัสสะที่

เชิงอรรถ :
๑ ผัสสะ หมายถึงความสัมผัสอารมณ์ที่มากระทบ เช่น ตากระทบกับรูป หรือตาเห็นรูป เรียกว่า จักขุสัมผัส
เป็นต้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๖๓ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส
เป็นกามาวจร นี้ผัสสะที่เป็นรูปาวจร นี้ผัสสะที่เป็นอรูปาวจร นี้สุญญตผัสสะ
นี้อนิมิตตผัสสะ นี้อัปปณิหิตผัสสะ นี้ผัสสะที่เป็นโลกิยะ นี้ผัสสะที่เป็นโลกุตตระ
นี้ผัสสะที่เป็นอดีต นี้ผัสสะที่เป็นอนาคต นี้ผัสสะที่เป็นปัจจุบัน” นี้ชื่อว่าญาตปริญญา
ตีรณปริญญา เป็นอย่างไร
คือ นักปราชญ์ทำสิ่งที่รู้แล้วให้ปรากฏอย่างนี้แล้ว พิจารณาผัสสะ คือ
พิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดุจหัวฝี เป็นดุจลูกศร
เป็นของลำบาก เป็นอาพาธ เป็นอย่างอื่น(บังคับไม่ได้) เป็นของทรุดโทรม เป็นเสนียด
เป็นอุปัททวะ เป็นภัย เป็นอุปสรรค เป็นของหวั่นไหว เป็นของผุพัง เป็นของไม่ยั่งยืน
เป็นของไม่มีที่ต้านทาน เป็นของไม่มีที่ซ่อนเร้น เป็นของไม่มีที่พึ่ง เป็นของว่าง
เป็นของเปล่า เป็นของสูญ เป็นอนัตตา เป็นของมีโทษ เป็นของแปรผันไปเป็น
ธรรมดา เป็นของไม่มีแก่นสาร เป็นเหตุแห่งความลำบาก เป็นดุจเพชฌฆาต เป็น
ของปราศจากความเจริญ เป็นของมีอาสวะ เป็นของที่ถูกเหตุปัจจัยปรุงแต่ง เป็น
เหยื่อแห่งมาร มีชาติ(ความเกิด)เป็นธรรมดา มีชรา(ความแก่)เป็นธรรมดา
มีพยาธิ(ความเจ็บป่วย)เป็นธรรมดา มีมรณะเป็นธรรมดา มีโสกะ(ความเศร้าโศก)
ปริเทวะ(ความคร่ำครวญ) ทุกขะ(ความทุกข์กาย) โทมนัส (ความทุกข์ใจ) อุปายาส
(ความคับแค้นใจ)เป็นธรรมดา มีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา เป็นเหตุเกิดทุกข์
ตั้งอยู่ไม่ได้ หาความแช่มชื่นไม่ได้ เป็นโทษ เป็นของที่ต้องสลัดออกไป นี้ชื่อว่า
ตีรณปริญญา
ปหานปริญญา เป็นอย่างไร
คือ นักปราชญ์ครั้นพิจารณาเห็นอย่างนี้แล้ว ย่อมละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป
ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในผัสสะ สมจริงดังที่พระ
ผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละความกำหนัดด้วยอำนาจ
ความพอใจในผัสสะทั้งหลายเสีย ผัสสะนั้น เธอทั้งหลายละได้เด็ดขาดแล้วอย่างนี้
ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้
ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้” นี้ชื่อว่าปหานปริญญา
คำว่า กำหนดรู้ผัสสะแล้ว ได้แก่ กำหนดรู้ผัสสะด้วยปริญญา ๓ อย่าง
เหล่านี้แล้ว


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๖๔ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส
คำว่า ไม่ติดใจ อธิบายว่า ตัณหาตรัสเรียกว่า ความติดใจ ได้แก่ ความ
กำหนัด ความกำหนัดนัก ... อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ๑
ความติดใจนี้ ผู้ใดละได้แล้ว คือ ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว
ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ผู้นั้นเรียกว่า ผู้ไม่ติดใจ ผู้นั้นไม่ติดใจ
คือ ไม่ยินดี ไม่สยบ ไม่หมกมุ่นในรูป...เสียง ... กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะ ... ตระกูล ...
หมู่คณะ ... อาวาส ... ลาภ ... ยศ ... สรรเสริญ ... สุข ... จีวร ... บิณฑบาต ... เสนาสนะ
... คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ... กามธาตุ ... รูปธาตุ ... อรูปธาตุ ... กามภพ ... รูปภพ
... อรูปภพ ... สัญญาภพ ... อสัญญาภพ ... เนวสัญญานาสัญญาภพ ... เอกโวการภพ
... จตุโวการภพ ... ปัญจโวการภพ ...อดีต ... อนาคต ... ปัจจุบัน ... รูปที่ได้เห็น
เสียงที่ได้ยิน กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่รับรู้ และธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้ง ได้แก่ เป็นผู้
คลายความติดใจแล้ว ปราศจากความติดใจแล้ว สละความติดใจแล้ว คายความติดใจ
แล้ว ปล่อยความติดใจแล้ว ละความติดใจแล้ว สลัดทิ้งความติดใจแล้ว คือเป็นผู้
คลายความกำหนัดแล้ว ปราศจากราคะแล้ว สละราคะแล้ว คายราคะแล้ว ปล่อย
ราคะแล้ว ละราคะแล้ว สลัดทิ้งราคะแล้ว เป็นผู้หมดความอยากแล้ว ดับแล้ว
เย็นแล้ว มีตนอันประเสริฐเสวยสุขอยู่ รวมความว่า กำหนดรู้ผัสสะแล้วก็ไม่ติดใจ
คำว่า ใด ในคำว่า ติเตียนกรรมใดด้วยตนก็ไม่ทำกรรมนั้น ได้แก่ กรรมใด
คำว่า ติเตียน (กรรม)ใดด้วยตน อธิบายว่า นักปราชญ์ติเตียนตนเพราะเหตุ
๒ อย่าง คือ (๑) เพราะทำ (๒) เพราะไม่ทำ
นักปราชญ์ติเตียนตนเพราะทำและเพราะไม่ทำ เป็นอย่างไร
คือ นักปราชญ์ย่อมติเตียนตนว่า เราทำกายทุจริต ไม่ทำกายสุจริต เราทำวจี
ทุจริต ไม่ทำวจีสุจริต เราทำมโนทุจริต ไม่ทำมโนสุจริต คือ นักปราชญ์ย่อมติเตียน
ตนว่า เราทำปาณาติบาต(การฆ่าสัตว์) ไม่ทำความงดเว้นจากปาณาติบาต เราทำ
อทินนาทาน (การลักทรัพย์) ไม่ทำความงดเว้นจากอทินนาทาน เราทำกาเมสุมิจฉา-
จาร(ประพฤติผิดในกาม) ไม่ทำความงดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร เราทำมุสาวาท


เชิงอรรถ :
๑ดูรายละเอียดข้อ ๓/๑๐-๑๑


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๖๕ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส
(การพูดเท็จ) ไม่ทำความงดเว้นจากมุสาวาท เราทำปิสุณาวาจา(การพูดส่อเสียด)
ไม่ทำความงดเว้น จากปิสุณาวาจา เราทำผรุสวาจา (การพูดหยาบคาย) ไม่ทำ
ความงดเว้นจากผรุสวาจา เราทำสัมผัปปลาปะ(การพูดเพ้อเจ้อ) ไม่ทำความงดเว้น
จากสัมผัปปลาปะ เราทำอภิชฌา(ความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา) ไม่ทำอนภิชฌา เรา
ทำพยาบาท(ความคิดปองร้าย) ไม่ทำอัพยาบาท เราทำมิจฉาทิฏฐิ(ความเห็นผิด)
ไม่ทำสัมมาทิฏฐิ นักปราชญ์ชื่อว่าติเตียนตนเพราะทำและเพราะไม่ทำ เป็นอย่างนี้
อีกนัยหนึ่ง นักปราชญ์ย่อมติเตียนตนว่า เราไม่รักษาศีลให้บริบูรณ์ ไม่สำรวม
ในอินทรีย์ทั้ง ๖ ไม่รู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร ไม่ประกอบความเพียรเครื่อง
ตื่นอยู่เสมอ ไม่หมั่นประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ ไม่เจริญสติปัฏฐาน ๔ ไม่เจริญ
สัมมัปปธาน ๔ ไม่เจริญอิทธิบาท ๔ ไม่เจริญอินทรีย์ ๕ ไม่เจริญพละ ๕ ไม่เจริญ
โพชฌงค์ ๗ ไม่เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ไม่กำหนดรู้ทุกข์ ไม่ละสมุทัย ไม่เจริญ
มรรค ไม่ทำให้แจ้งนิโรธ นักปราชญ์ชื่อว่าติเตียนตนเพราะทำและเพราะไม่ทำ เป็นอย่างนี้
นักปราชญ์ไม่ทำ คือ ไม่ให้เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดขึ้นซึ่ง
กรรมที่ติเตียนตน ด้วยอาการอย่างนี้ รวมความว่า นักปราชญ์ติเตียนกรรมใดด้วย
ตนก็ไม่ทำกรรมนั้น
คำว่า นักปราชญ์ ... ไม่ติดในสิ่งที่ได้เห็นและได้ยินแล้ว อธิบายว่า
คำว่า ความติด ได้แก่ ความติด ๒ อย่าง คือ (๑) ความติดด้วยอำนาจตัณหา
(๒) ความติดด้วยอำนาจทิฏฐิ ... นี้ชื่อว่าความติดด้วยอำนาจตัณหา ... นี้ชื่อว่าความ
ติดด้วยอำนาจทิฏฐิ๑
คำว่า นักปราชญ์ ได้แก่ นักปราชญ์ คือ ผู้เป็นบัณฑิต ผู้มีปัญญา ผู้มีปัญญา
เครื่องตรัสรู้ ผู้มีญาณ ผู้มีปัญญาแจ่มแจ้ง ผู้มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลส
นักปราชญ์ละความติดด้วยอำนาจตัณหาได้แล้ว สลัดทิ้งความติดด้วยอำนาจทิฏฐิ
ได้แล้ว ไม่ติด คือ ไม่ติดพัน ไม่เข้าไปติดในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน กลิ่น รส
โผฏฐัพพะที่รับรู้และธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้ง คือ เป็นผู้ไม่ติดแล้ว ไม่ติดพันแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ เทียบกับความในข้อ ๑๒/๕๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๖๖ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส
ไม่เข้าไปติดแล้ว ออกแล้ว สลัดออกแล้ว หลุดพ้นแล้ว ไม่เกี่ยวข้องแล้ว มีใจเป็น
อิสระ(จากความติด)อยู่ รวมความว่า นักปราชญ์ ... ไม่ติดในสิ่งที่ได้เห็นและ
ได้ยินแล้ว ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
นักปราชญ์ พึงกำจัดความพอใจในส่วนสุดทั้ง ๒ ด้าน
กำหนดรู้ผัสสะแล้ว ก็ไม่ติดใจ
ติเตียนกรรมใดด้วยตน ก็ไม่ทำกรรมนั้น
ไม่ติดในสิ่งที่ได้เห็นและได้ยินแล้ว
[๑๔] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
มุนีกำหนดรู้สัญญาแล้ว ไม่เข้าไปติดในความยึดถือทั้งหลาย
พึงข้ามโอฆะได้ ถอนลูกศรได้แล้ว ไม่ประมาท
ประพฤติอยู่ ย่อมไม่หวังโลกนี้และโลกหน้า
คำว่า กำหนดรู้สัญญาแล้ว ... พึงข้ามโอฆะได้ อธิบายว่า
คำว่า สัญญา ได้แก่ กามสัญญา พยาบาทสัญญา วิหิงสาสัญญา เนกขัมม-
สัญญา อัพยาบาทสัญญา อวิหิงสาสัญญา รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา
รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธัมมสัญญา ความจำได้ กิริยาที่จำได้ ภาวะที่จำได้
เห็นปานนี้ นี้ตรัสเรียกว่าสัญญา
คำว่า กำหนดรู้สัญญาแล้ว ได้แก่ กำหนดรู้สัญญา ด้วยปริญญา ๓ อย่าง
คือ (๑) ญาตปริญญา (๒) ตีรณปริญญา (๓) ปหานปริญญา
ญาตปริญญา เป็นอย่างไร
คือ มุนีรู้จักสัญญา คือรู้ เห็นว่า “นี้กามสัญญา นี้พยาบาทสัญญา นี้วิหิงสา-
สัญญา นี้เนกขัมมสัญญา นี้อัพยาบาทสัญญา นี้อวิหิงสาสัญญา นี้รูปสัญญา
นี้สัททสัญญา นี้คันธสัญญา นี้รสสัญญา นี้โผฏฐัพพสัญญา นี้ธัมมสัญญา”
นี้ชื่อว่าญาตปริญญา
ตีรณปริญญา เป็นอย่างไร
คือ มุนีทำสิ่งที่รู้แล้วให้ปรากฏอย่างนี้แล้ว พิจารณาสัญญา คือ พิจารณาโดย
ความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดุจหัวฝี เป็นดุจลูกศร เป็นของลำบาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๖๗ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส
เป็นอาพาธ เป็นอย่างอื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นเสนียด เป็นอุปัททวะ เป็นภัย
เป็นอุปสรรค เป็นของหวั่นไหว เป็นของผุพัง ... เป็นเหตุเกิดทุกข์ ตั้งอยู่ไม่ได้ หาความ
แช่มชื่นไม่ได้ เป็นโทษ เป็นของที่ต้องสลัดออกไป นี้ชื่อว่าตีรณปริญญา
ปหานปริญญา เป็นอย่างไร
คือ มุนีครั้นพิจารณาเห็นอย่างนี้ ก็ย่อมละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึง
ความไม่มีอีก ซึ่งความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในสัญญา สมจริงดังที่พระ
ผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละความกำหนัดด้วยอำนาจ
ความพอใจในสัญญา สัญญานั้น เธอทั้งหลายละได้เด็ดขาดแล้วอย่างนี้ ตัดราก
ถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี
เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ นี้ชื่อว่าปหานปริญญา
คำว่า กำหนดรู้สัญญาแล้ว ได้แก่ กำหนดรู้สัญญาด้วยปริญญา ๓ อย่าง
เหล่านี้แล้ว
คำว่า พึงข้ามโอฆะได้ อธิบายว่า พึงข้าม คือ ข้ามไป ข้ามพ้น ก้าวล่วง
ล่วงเลย กาโมฆะ(ห้วงน้ำคือกาม) ภโวฆะ(ห้วงน้ำคือภพ) ทิฏโฐฆะ(ห้วงน้ำคือทิฏฐิ)
อวิชโชฆะ(ห้วงน้ำคืออวิชชา) รวมความว่า กำหนดรู้สัญญาแล้ว ... พึงข้ามโอฆะได้
คำว่า มุนี ... ไม่เข้าไปติดในความยึดถือทั้งหลาย อธิบายว่า
คำว่า ความยึดถือ ได้แก่ ความยึดถือ ๒ อย่าง คือ (๑) ความยึดถือด้วย
อำนาจตัณหา (๒) ความยึดถือด้วยอำนาจทิฏฐิ ... นี้ชื่อว่าความยึดถือด้วยอำนาจ
ตัณหา ... นี้ชื่อว่าความยึดถือด้วยอำนาจทิฏฐิ๑
คำว่า มุนี อธิบายว่า ญาณ ท่านเรียกว่า โมนะ คือ ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ชัด ...
ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ผู้ที่ประกอบด้วยญาณนั้น
ชื่อว่า มุนี คือ ผู้บรรลุโมนญาณแล้ว โมเนยยธรรม (ธรรมที่ทำให้เป็นมุนี) ๓ ประการ
คือ (๑) โมเนยยธรรมทางกาย (๒) โมเนยยธรรมทางวาจา (๓) โมเนยยธรรมทางใจ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบกับความในข้อ ๑๒/๕๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๖๘ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส
โมเนยยธรรมทางกาย เป็นอย่างไร
คือ การละกายทุจริต ๓ อย่าง ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางกาย กายสุจริต ๓ อย่าง
ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางกาย ญาณมีกายเป็นอารมณ์ ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางกาย
กายปริญญา(การกำหนดรู้กาย) ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางกาย มรรคที่สหรคตด้วย
ปริญญา ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางกาย การละความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ
ในกาย ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางกาย ความดับแห่งกายสังขาร การบรรลุจตุตถฌาน
ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางกาย นี้ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางกาย
โมเนยยธรรมทางวาจา เป็นอย่างไร
คือ การละวจีทุจริต ๔ อย่าง ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางวาจา วจีสุจริต ๔ อย่าง
ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางวาจา ญาณมีวาจาเป็นอารมณ์ ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางวาจา
วาจาปริญญา(การกำหนดรู้วาจา) ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางวาจา มรรคที่สหรคตด้วย
ปริญญา ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางวาจา การละความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจใน
วาจา ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางวาจา ความดับแห่งวจีสังขาร การบรรลุทุติยฌาน
ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางวาจา นี้ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางวาจา
โมเนยยธรรมทางใจ เป็นอย่างไร
คือ การละมโนทุจริต ๓ อย่าง ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางใจ มโนสุจริต ๓ อย่าง
ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางใจ ญาณมีใจเป็นอารมณ์ ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางใจ จิตต-
ปริญญา(การกำหนดรู้จิต) ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางใจ มรรคที่สหรคตด้วยปริญญา
ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางใจ การละความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในจิต ชื่อว่า
โมเนยยธรรมทางใจ ความดับแห่งจิตตสังขาร การบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ ชื่อว่า
โมเนยยธรรมทางใจ นี้ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางใจ
(สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า)
บัณฑิตทั้งหลาย เรียกบุคคลผู้เป็นมุนีทางกาย
เป็นมุนีทางวาจา เป็นมุนีทางใจ ผู้ไม่มีอาสวะ
ว่าเป็นมุนีผู้สมบูรณ์ด้วยโมเนยยธรรม ละกิเลสทั้งปวงได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๖๙ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส
บัณฑิตทั้งหลาย เรียกบุคคลผู้เป็นมุนีทางกาย
เป็นมุนีทางวาจา เป็นมุนีทางใจ ผู้ไม่มีอาสวะ
ว่าเป็นมุนีผู้สมบูรณ์ด้วยโมเนยยธรรม ล้างบาป๑ ได้แล้ว๒
มุนีผู้ประกอบด้วยโมเนยยธรรม ๓ ประการเหล่านี้ มี ๖ จำพวก คือ (๑) อาคาร
มุนี (๒) อนาคารมุนี (๓) เสขมุนี (๔) อเสขมุนี (๕) ปัจเจกมุนี (๖) มุนิมุนี๓
อาคารมุนี เป็นอย่างไร
คือ บุคคลผู้ครองเรือน เห็นทาง(นิพพาน)แล้ว รู้แจ้งหลักคำสอนแล้ว เหล่านี้
ชื่อว่าอาคารมุนี
อนาคารมุนี เป็นอย่างไร
คือ บุคคลผู้เป็นบรรพชิต เห็นทาง(นิพพาน)แล้ว รู้แจ้งหลักคำสอนแล้ว
เหล่านี้ชื่อว่าอนาคารมุนี
พระเสขะ ๗ จำพวก ชื่อว่าเสขมุนี
พระอรหันต์ทั้งหลาย ชื่อว่าอเสขมุนี
พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ชื่อว่าปัจเจกมุนี

เชิงอรรถ :
๑ ล้างบาป หมายถึงล้างบาปด้วยมัคคญาณ (ขุ.ม.อ. ๑๔/๑๗๓)
๒ ขุ.อิติ. ๒๕/๖๗/๒๘๒, ขุ.จู. ๓๐/๒๑/๗๗
๓ มุนิมุนี พระอรรถกถาจารย์แก้ว่า มุนิมุนโย วุจฺจนฺติ ตถาคตาติ พระตถาคตท่านเรียกว่า มุนิมุนี
เพราะมีความหมาย ๘ อย่าง คือ
(๑) พระผู้เสด็จมาแล้วอย่างนั้น คือเสด็จมาทรงบำเพ็ญพุทธจริยา
(๒) พระผู้เสด็จไปแล้วอย่างนั้น คือทรงทำลายอวิชชา สละปวงกิเลสเสด็จไปเหมือนอย่างพระพุทธเจ้าองค์
ก่อน ๆ
(๓) พระผู้เสด็จมาถึงตถลักษณะ คือทรงมีญาณหยั่งรู้เข้าถึงลักษณะที่แท้จริงของสิ่งทั้งหลาย
(๔) พระผู้ตรัสรู้ตถธรรมตามที่มันเป็น คือ ตรัสรู้อริยสัจ ๔ หรือปฏิจจสมุปบาท
(๕) พระผู้ทรงเห็นอย่างนั้น คือทรงรู้เท่าทันสรรพอารมณ์ที่ปรากฏแก่หมู่สัตว์ทั้งเทพและมนุษย์ ทั้งสัตว์โลก
เทพและพรหมได้ประสบและพากันแสวงหา
(๖) พระผู้ตรัสอย่างนั้น หรือมีพระวาจาแท้จริงถูกต้องไม่เป็นอย่างอื่น
(๗) พระผู้ทำอย่างนั้น คือตรัสอย่างใด ทำอย่างนั้น ทำอย่างใด ตรัสอย่างนั้น
(๘) พระผู้เป็นยิ่ง คือทรงเป็นผู้ใหญ่ยิ่งเหนือกว่าสรรพสัตว์ตลอดถึงพระพรหมที่สูงสูด เป็นผู้เห็นถ่องแท้
ทรงอำนาจเป็นราชาที่พระราชาทรงบูชา เป็นเทพแห่งเทพ เป็นอินทร์เหนือพระอินทร์ เป็นพรหมเหนือ
พรหม ไม่มีใครอาจจะวัดหรือจะทัดเทียมพระองค์ด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสนะ
(ขุ.ม.อ. ๑๔/๑๗๓-๑๘๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๗๐ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส
พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ตรัสเรียกว่ามุนิมุนี
(สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า)
บุคคลโง่เขลาไม่รู้อะไร เพียงแต่นั่งนิ่ง ๆ หาชื่อว่าเป็นมุนีไม่
ส่วนบุคคลผู้ฉลาด เลือกชั่งเอาแต่สิ่งที่ดี ละทิ้งสิ่งที่ชั่ว
เหมือนบุคคลชั่งสิ่งของ จึงจะชื่อว่าเป็นมุนีแท้
ผู้ที่รู้โลกทั้ง ๒ ก็เรียกว่า เป็นมุนี (เช่นกัน)๑
ผู้รู้ธรรมทั้งของอสัตบุรุษและสัตบุรุษ
ทั้งภายในและภายนอก ในโลกทั้งปวง
เทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว ก้าวล่วงกิเลสเครื่องข้อง๒
และตัณหาดุจตาข่าย๓ได้แล้ว ชื่อว่ามุนี๔
คำว่า ความติด ได้แก่ ความติด ๒ อย่าง คือ (๑) ความติดด้วยอำนาจตัณหา
(๒) ความติดด้วยอำนาจทิฏฐิ ... นี้ชื่อว่าความติดด้วยอำนาจตัณหา ... นี้ชื่อว่าความ
ติดด้วยอำนาจทิฏฐิ
มุนีละความติดด้วยอำนาจตัณหาได้แล้ว สลัดทิ้งความติดด้วยอำนาจทิฏฐิ
ได้แล้ว ไม่ติด คือ ไม่ติดพัน ไม่เข้าไปติดในความยึดถือทั้งหลาย คือ เป็นผู้ไม่ติดแล้ว
ไม่ติดพันแล้ว ไม่เข้าไปติดแล้ว ออกแล้ว สลัดออกแล้ว หลุดพ้นแล้ว ไม่เกี่ยวข้อง
แล้ว มีใจเป็นอิสระ(จากความติด)อยู่ รวมความว่า มุนีไม่เข้าไปติดในความยึดถือ
ทั้งหลาย
คำว่า ถอนลูกศรได้แล้ว ไม่ประมาท ประพฤติอยู่ อธิบายว่า

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.ธ. ๒๕/๒๖๘-๒๖๙/๖๓, ขุ.จู. ๓๐/๒๑/๗๘
๒ เครื่องข้อง ๗ อย่าง คือโลภะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ กิเลส และทุจริต
๓ ตาข่าย มี ๒ อย่างคือตัณหาและทิฏฐิ
๔ ขุ.สุ. ๒๕/๕๓๓/๔๓๘, ขุ.จู. ๓๐/๒๑/๗๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๗๑ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส
คำว่า ลูกศร ได้แก่ ลูกศร ๗ ชนิด คือ (๑) ลูกศรคือราคะ (๒) ลูกศรคือโทสะ
(๓) ลูกศรคือโมหะ (๔) ลูกศรคือมานะ (๕) ลูกศรคือทิฏฐิ (๖) ลูกศรคือโสกะ
(๗) ลูกศรคือความสงสัย
ลูกศรเหล่านั้นผู้ใดละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว
ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ผู้นั้นพระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า
ผู้ถอนลูกศรได้แล้ว คือ ถอนลูกศรออกแล้ว ดึงลูกศรขึ้นแล้ว ดึงลูกศรออกแล้ว
ฉุดลูกศรออกแล้ว กระชากลูกศรออกแล้ว สละลูกศรแล้ว คายลูกศรแล้ว ปล่อย
ลูกศรแล้ว ละลูกศรแล้ว สลัดทิ้งลูกศรแล้ว เป็นผู้หมดความอยาก ดับแล้ว เย็นแล้ว
มีตนอันประเสริฐเสวยสุขอยู่ รวมความว่า ถอนลูกศรได้แล้ว
คำว่า ประพฤติอยู่ ได้แก่ ประพฤติอยู่ คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต
ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป

ว่าด้วยความไม่ประมาท
คำว่า ไม่ประมาท อธิบายว่า ผู้ทำด้วยความเอื้อเฟื้อ ทำติดต่อ ทำไม่หยุด
ประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ละความพอใจ ไม่ทอดธุระ ชื่อว่าไม่ประมาทในกุศลธรรม
ทั้งหลาย
คือ ความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขยัน ความไม่
ถอยกลับ สติสัมปชัญญะ ความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส ความเพียรแรงกล้า ความ
ตั้งใจ ความประกอบเนือง ๆ ด้วยคิดว่า “เราพึงทำสีลขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์
โดยอุบายอย่างไร หรือพึงใช้ปัญญาตามรักษาสีลขันธ์ที่บริบูรณ์ในข้อนั้น ๆ โดย
อุบายอย่างไร” ดังนี้ ชื่อว่าไม่ประมาทในกุศลธรรมทั้งหลาย ... ว่าเราพึงทำสมาธิขันธ์
ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์โดยอุบายอย่างไร หรือพึงใช้ปัญญาตามรักษาสมาธิขันธ์ที่
บริบูรณ์ในข้อนั้นๆ โดยอุบายอย่างไรดังนี้ ... ว่าเราพึงทำปัญญาขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์
ให้บริบูรณ์โดยอุบายอย่างไร หรือพึงใช้ปัญญาตามรักษาปัญญาขันธ์ที่บริบูรณ์ในข้อ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๗๒ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส
นั้น ๆ โดยอุบายอย่างไร ดังนี้ ... ว่าเราพึงทำวิมุตติขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์
โดยอุบายอย่างไร หรือพึงใช้ปัญญาตามรักษาวิมุตติขันธ์ในข้อนั้น ๆ โดยอุบาย
อย่างไร ดังนี้ ... คือ ความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขยัน
ความไม่ถอยกลับ สติสัมปชัญญะ ความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส ความเพียร
แรงกล้า ความตั้งใจ ความประกอบเนือง ๆ ด้วยคิดว่า เราพึงทำวิมุตติญาณทัสสน-
ขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ ให้บริบูรณ์โดยอุบายอย่างไร หรือพึงใช้ปัญญาตามรักษาวิมุตติ-
ญาณทัสสนขันธ์ที่บริบูรณ์ในข้อนั้น ๆ โดยอุบายอย่างไร ดังนี้ ชื่อว่าไม่ประมาทใน
กุศลธรรมทั้งหลาย คือ ความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขยัน
ความไม่ถอยกลับ สติสัมปชัญญะ ความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส ความเพียร
แรงกล้า ความตั้งใจ ความประกอบเนือง ๆ ด้วยคิดว่า “เราพึงกำหนดรู้ทุกข์ที่ยังมิได้
กำหนดรู้ พึงละกิเลสที่ยังมิได้ละ พึงเจริญมรรคที่ยังมิได้เจริญ หรือพึงทำให้แจ้ง
นิโรธที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง โดยอุบายอย่างไร”ดังนี้ ชื่อว่าไม่ประมาทในกุศลธรรม
ทั้งหลาย รวมความว่า ถอนลูกศรได้แล้ว ไม่ประมาท ประพฤติอยู่
คำว่า ย่อมไม่หวังโลกนี้และโลกหน้า อธิบายว่า ไม่หวังโลกนี้ คืออัตภาพ
ของตน ไม่หวังโลกหน้า คืออัตภาพของผู้อื่น ไม่หวังโลกนี้ คือรูป เวทนา สัญญา
สังขาร และวิญญาณของตน ไม่หวังโลกหน้า คือรูป เวทนา สัญญา สังขาร และ
วิญญาณของผู้อื่น ไม่หวังโลกนี้ คืออายตนะภายใน ๖ ไม่หวังโลกหน้า คืออายตนะ
ภายนอก ๖ ไม่หวังโลกนี้ คือมนุษยโลก ไม่หวังโลกหน้า คือเทวโลก ไม่หวังโลกนี้
คือ กามธาตุ ไม่หวังโลกหน้า คือรูปธาตุ อรูปธาตุ ไม่หวังโลกนี้ คือกามธาตุ
รูปธาตุ ไม่หวังโลกหน้า คืออรูปธาตุ ไม่หวัง คือ ไม่ต้องการ ไม่ยินดี ไม่ปรารถนา
ไม่มุ่งหมาย ไม่มุ่งหวังคติ การถือกำเนิด ปฏิสนธิ ภพ สงสาร หรือ วัฏฏะต่อไป
รวมความว่า ย่อมไม่หวังโลกนี้และโลกหน้า ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
มุนีกำหนดรู้สัญญาแล้ว ไม่เข้าไปติดในความยึดถือทั้งหลาย
พึงข้ามโอฆะได้ ถอนลูกศรได้แล้ว ไม่ประมาท
ประพฤติอยู่ ย่อมไม่หวังโลกนี้และโลกหน้า
คุหัฏฐกสุตตนิทเทสที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๗๓ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๓. ทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทส
๓. ทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทส๑
อธิบายทุฏฐัฏฐกสูตร
ว่าด้วยเดียรถีย์ประทุษร้ายมุนี
พระสารีบุตรเถระจะกล่าวอธิบายทุฏฐัฏฐกสูตร ดังต่อไปนี้
[๑๕] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
เดียรถีย์บางพวกมีใจชั่วกล่าวร้าย
บุคคลเหล่าอื่นเข้าใจว่าจริง ก็กล่าวร้ายด้วย
แต่มุนีไม่ใส่ใจคำกล่าวร้ายที่เกิดขึ้น
เพราะฉะนั้น มุนีจึงไม่มีกิเลสเครื่องตรึงจิตในที่ไหนๆ
คำว่า เดียรถีย์บางพวกมีใจชั่วกล่าวร้าย อธิบายว่า เดียรถีย์เหล่านั้น
มีใจชั่ว คือมีใจร้าย มีใจเห็นผิด มีใจหลงผิด มีใจขุ่น มีใจขุ่นเคือง มีใจอาฆาต
มีใจอาฆาตแค้น กล่าวร้าย คือ กล่าวติเตียนพระผู้มีพระภาค และภิกษุสงฆ์ด้วย
เรื่องไม่จริง รวมความว่า เดียรถีย์บางพวกมีใจชั่วกล่าวร้าย
คำว่า บุคคลเหล่าอื่นเข้าใจว่าจริง ก็กล่าวร้ายด้วย อธิบายว่า พวกคนที่
เชื่อถือเดียรถีย์เหล่านั้น กำหนด น้อมใจเชื่อ เข้าใจว่าจริง สำคัญว่าจริง เข้าใจว่า
เป็นจริง สำคัญว่าเป็นจริง เข้าใจว่าเป็นเช่นนั้น สำคัญว่าเป็นเช่นนั้น เข้าใจว่า
จริงแท้ สำคัญว่าจริงแท้ เข้าใจว่าไม่ผิด สำคัญว่าไม่ผิด จึงกล่าวร้าย คือ กล่าว
ติเตียนพระผู้มีพระภาคและภิกษุสงฆ์ด้วยเรื่องไม่จริง รวมความว่า บุคคลเหล่าอื่น
เข้าใจว่าจริง ก็กล่าวร้ายด้วย
คำว่า แต่มุนีไม่ใส่ใจคำกล่าวร้ายที่เกิดขึ้น อธิบายว่า คำกล่าวร้ายนั้น
เกิดแล้ว คือ เกิดขึ้นแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดขึ้นแล้ว ปรากฏแล้ว ได้แก่ เสียง
ประกาศจากบุคคลอื่น คำด่า คำติเตียนพระผู้มีพระภาคและภิกษุสงฆ์ด้วยเรื่อง
ไม่จริง รวมความว่า คำกล่าวร้ายที่เกิดขึ้น

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.สุ. ๒๕/๗๘๗-๗๙๔/๔๘๘-๔๙๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๗๔ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๓. ทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทส
คำว่า มุนี ในคำว่า มุนีไม่ใส่ใจ อธิบายว่า ญาณท่านเรียกว่า โมนะ คือ
ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ชัด ... ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ
ผู้ที่ประกอบด้วยญาณนั้น ชื่อว่ามุนี คือ ผู้บรรลุโมนญาณ ... ก้าวล่วงกิเลสเครื่อง
ข้องและตัณหาดุจตาข่ายแล้ว ผู้นั้นชื่อว่ามุนี๑ ผู้ใดใส่ใจคำกล่าวร้าย ผู้นั้นก็ใส่ใจคำ
กล่าวร้าย ด้วยเหตุ ๒ อย่าง คือ
๑. ผู้กล่าวร้าย ย่อมใส่ใจคำกล่าวร้าย เพราะตนเองเป็นผู้กล่าวร้าย
๒. ผู้ถูกเขากล่าวร้าย ถูกเขากล่าวติเตียน ย่อมโกรธ พยาบาท ตอบโต้
ทำความโกรธ ความเคือง ความชิงชังให้ปรากฏว่า เราไม่ใช่ผู้พูด ผู้ใด
ใส่ใจคำกล่าวร้าย ผู้นั้นก็ย่อมใส่ใจคำกล่าวร้าย ด้วยเหตุ ๒ อย่างเหล่านี้
มุนีไม่ใส่ใจคำกล่าวร้าย ด้วยเหตุ ๒ อย่าง คือ
๑. มุนีผู้ไม่กล่าวร้าย ย่อมไม่ใส่ใจคำกล่าวร้าย เพราะตนเองมิใช่เป็นผู้กล่าว
ร้าย
๒. มุนีผู้ถูกเขากล่าวร้าย ถูกเขาติเตียน ก็ย่อมไม่โกรธ ไม่พยาบาท
ไม่ตอบโต้ ไม่ทำความโกรธ ความเคือง ความชิงชังให้ปรากฏว่า เราไม่
ใช่ผู้พูด มุนีไม่ใส่ใจ คือ ไม่สนใจ ไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่นคำกล่าวร้าย
ด้วยเหตุ ๒ อย่างเหล่านี้
รวมความว่า แต่มุนีไม่ใส่ใจคำกล่าวร้ายที่เกิดขึ้น

ว่าด้วยกิเลสเครื่องตรึงจิต ๓ ประการ
คำว่า เพราะฉะนั้น ในคำว่า เพราะฉะนั้น มุนีจึงไม่มีกิเลสเครื่องตรึงจิตใน
ที่ไหน ๆ ได้แก่ เพราะฉะนั้น คือ เพราะการณ์นั้น เพราะเหตุนั้น เพราะปัจจัยนั้น
เพราะต้นเหตุนั้น ภาวะที่มีจิตถูกโทสะกระทบก็ดี มีกิเลสเครื่องตรึงจิตเกิดขึ้นก็ดี
ไม่มีแก่มุนี กิเลสเครื่องตรึงจิต ๕ อย่างก็ดี กิเลสเครื่องตรึงจิต ๓ อย่าง คือ (๑) ราคะ
(๒) โทสะ (๓) โมหะ ก็ดี จึงไม่มี ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้ คือ กิเลสเครื่อง
ตรึงจิตนั้น มุนีละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้น
ไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ มุนี ดูรายละเอียดข้อ ๑๔/๖๘-๗๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๗๕ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๓. ทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทส
คำว่า ในที่ไหน ๆ ได้แก่ ในที่ไหน คือ ที่ไหน ๆ ที่ไร ๆ ภายใน ภายนอก
หรือทั้งภายในและภายนอก รวมความว่า เพราะฉะนั้น มุนีจึงไม่มีกิเลสเครื่องตรึงจิต
ในที่ไหน ๆ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีภาคจึงตรัสว่า
เดียรถีย์บางจำพวกมีใจชั่วกล่าวร้าย
บุคคลเหล่าอื่นเข้าใจว่าจริง ก็กล่าวร้ายด้วย
แต่มุนีไม่ใส่ใจคำกล่าวร้ายที่เกิดขึ้น
เพราะฉะนั้น มุนีจึงไม่มีกิเลสเครื่องตรึงจิตในที่ไหน ๆ
[๑๖] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
ผู้ไปตามความพอใจ ตั้งอยู่ในความชอบใจ
พึงก้าวล่วงทิฏฐิของตนได้อย่างไรเล่า
แต่เมื่อทำตนให้เพียบพร้อม รู้อย่างไรก็พึงพูดอย่างนั้น

ว่าด้วยทิฏฐิ
คำว่า พึงก้าวล่วงทิฏฐิของตนได้อย่างไรเล่า อธิบายว่า เดียรถีย์ มีทิฏฐิ
อย่างนี้ มีความพอใจ มีความชอบใจ มีลัทธิ มีอัธยาศัย มีความประสงค์อย่างนี้ว่า
“พวกเราฆ่านางสุนทรีปริพาชิกาแล้ว ประกาศโทษพวกสมณศากยบุตร ก็จักเอา
ลาภ ยศ สักการะและสัมมานะกลับคืนมาได้ด้วยวิธีการอย่างนี้” พวกเดียรถีย์
เหล่านั้นไม่สามารถก้าวล่วงทิฏฐิ ความถูกใจ ความพอใจ ลัทธิ อัธยาศัย ความ
ประสงค์ของตนได้ โดยที่แท้ความเสื่อมยศนั้นนั่นแหละก็กลับย้อนมาถึงเดียรถีย์
เหล่านั้น รวมความว่า พึงก้าวล่วงทิฏฐิของตนได้อย่างไรเล่า อย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง ผู้ที่มีวาทะอย่างนี้ว่า “โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ”
พึงล่วง ก้าวล่วง ก้าวพ้น ล่วงพ้นทิฏฐิ ความถูกใจ ความพอใจ ลัทธิ อัธยาศัย
ความประสงค์ของตนได้อย่างไร ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะเขาสมาทาน ถือ ยึดมั่น
ถือมั่น ติดใจ น้อมใจเชื่อทิฏฐินั้น ให้เพียบพร้อมอย่างนั้น รวมความว่า พึงก้าวล่วง
ทิฏฐิของตนได้อย่างไรเล่า อย่างนี้บ้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๗๖ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๓. ทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทส
อีกนัยหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ว่า “โลกไม่เที่ยง ... โลกมีที่สุด ... โลกไม่มีที่สุด ...
ชีวะ๑กับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน ... ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน ... หลังจากตาย
แล้วตถาคต๒เกิดอีก ... หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก ... หลังจากตายแล้ว
ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก ... หลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่จะว่าไม่
เกิดอีกก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ”๓ พึงล่วง ก้าวล่วง ก้าวพ้น ล่วงพ้น
ทิฏฐิ ความถูกใจ ความพอใจ ลัทธิ อัธยาศัย ความประสงค์ของตนได้อย่างไรเล่า
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเขาสมาทาน ถือ ยึดมั่น ถือมั่น ติดใจ น้อมใจเชื่อทิฏฐินั้น
ให้เพียบพร้อมอย่างนั้น รวมความว่า พึงก้าวล่วงทิฏฐิของตนได้อย่างไรเล่า
อย่างนี้บ้าง
คำว่า ผู้ไปตามความพอใจ ในคำว่า ผู้ไปตามความพอใจ ตั้งอยู่ในความ
ชอบใจ อธิบายว่า ผู้นั้นย่อมไป ออกไป ถูกพาไป ถูกนำไป ด้วยทิฏฐิของตน ความ
ถูกใจของตน ความพอใจของตน ลัทธิของตน ได้แก่ ผู้นั้นย่อมไป ออกไป ถูกพาไป
ถูกนำไปด้วยทิฏฐิของตน ความถูกใจของตน ความพอใจของตน ลัทธิของตน
เหมือนมนุษย์ย่อมไป ออกไป ถูกพาไป ถูกนำไป ด้วยยานพาหนะ คือ ช้าง รถ ม้า
โค แพะ แกะ อูฐ หรือลา ฉะนั้น รวมความว่า ผู้ไปตามความพอใจ
คำว่า ตั้งอยู่ในความชอบใจ ได้แก่ ตั้งอยู่ คือ ตั้งมั่น ติด ติดแน่น ติดใจ
น้อมใจเชื่อในทิฏฐิของตน ความถูกใจของตน ความพอใจของตน ลัทธิของตน
รวมความว่า ผู้ไปตามความพอใจ ตั้งอยู่ในความชอบใจ
คำว่า เมื่อทำตนให้เพียบพร้อม ได้แก่ ทำตนให้เพียบพร้อม คือ ทำให้บริบูรณ์
ไม่ให้พร่อง ให้เลิศ ประเสริฐ วิเศษ นำหน้า สูงสุด ประเสริฐสุด อธิบายว่า
ทำตนให้เพียบพร้อม บริบูรณ์ ไม่ให้พร่อง ให้เลิศ ประเสริฐ วิเศษ นำหน้า สูงสุด
ประเสริฐสุด คือ ทำทัศนะนั้นให้เกิด ให้เกิดขึ้น ให้บังเกิด ให้บังเกิดขึ้นว่า
พระศาสดาพระองค์นี้เป็นสัพพัญญู พระธรรมนี้พระผู้มีพระภาคตรัสสอนไว้ดีแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ ชีวะ ในที่นี้หมายถึงวิญญาณอมตะหรืออาตมัน (The Soul) (ตามนัย อภิ. ปญฺจ.อ. ๑/๑/๑๒๙)
๒ ตถาคต ในที่นี้ เป็นคำที่ลัทธิอื่น ๆ ใช้กันมาก่อนพุทธกาล หมายถึง อัตตา ไม่ได้หมายถึงพระพุทธเจ้า
อนึ่ง อรรถกถาหมายถึง สัตตะ (Being) (ที.สี.อ. ๖๕/๑๐๘, ขุ.ม.อ. ๑๖/๑๙๐)
๓ ดูรายละเอียดจาก ที.สี. (แปล) ๙/๔๒๐/๑๘๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๗๗ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๓. ทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทส
หมู่คณะ(สงฆ์)นี้ปฏิบัติดีแล้ว ทิฏฐินี้เป็นสิ่งที่เจริญ ปฏิปทานี้ทรงบัญญัติไว้ดีแล้ว มรรค
นี้เป็นทางนำออกจากทุกข์ รวมความว่า เมื่อทำตนให้เพียบพร้อม
คำว่า รู้อย่างไรก็พึงพูดอย่างนั้น อธิบายว่า รู้อย่างไรก็พึงพูด คือ กล่าว
บอก แสดง ชี้แจงอย่างนั้นว่า “โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ ... โลกไม่
เที่ยง” ... รู้อย่างไรก็พึงพูด คือ กล่าว บอก แสดง ชี้แจงอย่างนั้นว่า “หลังจากตาย
แล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น
เป็นโมฆะ” รวมความว่า รู้อย่างไรก็พึงพูดอย่างนั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค
จึงตรัสว่า
ผู้ไปตามความพอใจ ตั้งอยู่ในความชอบใจ
พึงก้าวล่วงทิฏฐิของตนได้อย่างไรเล่า
แต่เมื่อทำตนให้เพียบพร้อม รู้อย่างไรก็พึงพูดอย่างนั้น
[๑๗] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
สัตว์เกิดใดไม่มีใครถาม
ก็บอกศีลวัตรของตนแก่บุคคลเหล่าอื่น
สัตว์เกิดใดกล่าวถึงตัวเองเท่านั้น
ผู้ฉลาดทั้งหลายเรียกสัตว์เกิดนั้นว่า ผู้ไม่มีอริยธรรม
คำว่า ใด ในคำว่า สัตว์เกิดใด ... ศีลวัตรของตน ได้แก่ ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด
ผู้ขวนขวายอย่างใด ผู้ตั้งใจอย่างใด ผู้มีประการอย่างใด ผู้ถึงฐานะใด ผู้ประกอบด้วย
ธรรมใด จะเป็นกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดา หรือ
มนุษย์ก็ตาม
ว่าด้วยศีลและวัตร
คำว่า ศีลวัตร ได้แก่ ศีลและวัตรก็มี วัตรไม่ใช่ศีลก็มี
ศีลและวัตร เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์
เพียบพร้อมด้วยอาจาระและโคจร เห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ใน
สิกขาบททั้งหลาย ความสำรวม ความสังวร การไม่ล่วงละเมิดในสิกขาบทเหล่านั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๗๘ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๓. ทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทส
ชื่อว่าศีล การสมาทาน ชื่อว่าวัตร ชื่อว่าศีลเพราะมีความหมายว่า สังวร ชื่อว่าวัตร
เพราะมีความหมายว่าสมาทาน นี้ตรัสเรียกว่าศีลและวัตร
วัตร ไม่ใช่ศีล เป็นอย่างไร
คือ ธุดงค์ ๘ ข้อ ได้แก่
๑. อารัญญิกังคธุดงค์(สมาทานการอยู่ป่าเป็นวัตร)
๒. ปิณฑปาติกังคธุดงค์(สมาทานการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร)
๓. ปังสุกูลิกังคธุดงค์(สมาทานการนุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร)
๔. เตจีวริกังคธุดงค์(สมาทานการทรงไตรจีวรเป็นวัตร)
๕. สปทานจาริกังคธุดงค์(สมาทานการเที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอกเป็น
วัตร)
๖. ขลุปัจฉาภัตติกังคธุดงค์(สมาทานการงดฉันอาหารมื้อหลังเป็นวัตร)
๗. เนสัชชิกังคธุดงค์(สมาทานการนั่งเป็นวัตร)
๘. ยถาสันถติกังคธุดงค์(สมาทานการอยู่ในเสนาสนะตามที่เขาจัดให้เป็นวัตร)
นี้เรียกว่าวัตร ไม่ใช่ศีล แม้การสมาทานความเพียรก็เรียกว่า วัตร ไม่ใช่ศีล
ภิกษุประคองจิตมุ่งมั่นว่า เนื้อและเลือดในร่างกายจงเหือดแห้งไป จะเหลือ
อยู่แต่หนัง เอ็น และกระดูกก็ตามทีเถิด ผลใดพึงบรรลุได้ด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ
ด้วยกำลังของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษ (ถ้า)ไม่
บรรลุผลนั้นแล้วก็จักไม่หยุดความเพียร แม้การสมาทานความเพียรอย่างนี้ก็เรียกว่า
วัตร ไม่ใช่ศีล
ภิกษุประคองจิตมุ่งมั่นว่า
เมื่อเรายังถอนลูกศรคือตัณหาขึ้นไม่ได้
เราจะไม่กิน ไม่ดื่ม ไม่ออกไปจากวิหาร
ทั้งจะไม่เอนกายนอน๑
การสมาทานความเพียรอย่างนี้ก็เรียกว่า วัตร ไม่ใช่ศีล

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.เถร.(แปล) ๒๖/๒๒๓/๓๗๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๗๙ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๓. ทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทส
ภิกษุประคองจิตมุ่งมั่นว่า ตราบใดที่จิตของเรายังไม่หลุดพ้นจากอาสวะ ทั้งหลาย
เพราะไม่ยึดมั่น ตราบนั้นเราก็จักไม่ทำลายบัลลังก์นี้เลย แม้การสมาทานความเพียร
อย่างนี้ก็เรียกว่า วัตร ไม่ใช่ศีล
ภิกษุประคองจิตมุ่งมั่นว่า ตราบใดที่จิตของเรายังไม่หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย
เพราะไม่ยึดมั่น ตราบนั้นเราก็จักไม่ลุกจากที่นั่งนี้ ไม่ลงจากลานจงกรม ไม่ออกจาก
วิหาร ไม่ออกจากเรือนหลังคาด้านเดียว ไม่ออกจากปราสาท ไม่ออกจากเรือนโล้น
ไม่ออกจากถ้ำ ไม่ออกจากที่หลีกเร้น ไม่ออกจากกุฎี ไม่ออกจากเรือนยอด ไม่ออก
จากป้อม ไม่ออกจากโรงกลม ไม่ออกจากเรือนที่มีเครื่องกั้น ไม่ออกจากศาลาที่บำรุง
ไม่ออกจากมณฑป ไม่ออกจากโคนไม้เลย แม้การสมาทานความเพียรอย่างนี้ก็
เรียกว่า วัตร ไม่ใช่ศีล
ภิกษุประคองจิตมุ่งมั่นว่า เราจักนำมา นำมาด้วยดี บรรลุ สัมผัส ทำให้แจ้ง
ซึ่งอริยธรรมเช้าวันนี้เอง แม้การสมาทานความเพียรอย่างนี้ก็เรียกว่า วัตร ไม่ใช่ศีล
ภิกษุประคองจิตมุ่งมั่นว่า เราจักนำมา นำมาด้วยดี บรรลุ สัมผัส ทำให้แจ้งซึ่ง
อริยธรรม ในเที่ยงนี้ ... เย็นนี้ ... ก่อนภัต ... หลังภัต ... ปฐมยาม... มัชฌิมยาม ...
ปัจฉิมยาม ... ข้างแรม ... ข้างขึ้น ... ฤดูฝน ... ฤดูหนาว ... ฤดูร้อน ... ปฐมวัย ...
มัชฌิมวัย ... ปัจฉิมวัย แม้การสมาทานความเพียรอย่างนี้ก็เรียกว่า วัตร ไม่ใช่ศีล
คำว่า สัตว์เกิด ได้แก่ สัตว์ นรชน มานพ บุรุษ บุคคล ผู้มีชีวิต ผู้เกิด
สัตว์เกิด ผู้เป็นไปตามกรรม มนุษย์ รวมความว่า สัตว์เกิดใด ... ศีลวัตรของตน
คำว่า แก่บุคคลเหล่าอื่น ในคำว่า ไม่มีใครถาม ก็บอก ... แก่บุคคลเหล่าอื่น
ได้แก่ บุคคลเหล่าอื่น คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต
เทวดา มนุษย์
คำว่า ไม่มีใครถาม ได้แก่ ไม่มีใครถาม คือ ไม่มีใครไต่ถาม ไม่มีใครขอร้อง
ไม่มีใครเชื้อเชิญ ไม่มีใครเลื่อมใส
คำว่า บอก ได้แก่ บอก ศีล วัตร หรือศีลวัตรของตน อธิบายว่า ย่อมบอก คือ
พูด กล่าว แสดง ชี้แจง ศีล วัตร หรือศีลวัตรของตนว่า เราเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีลบ้าง
สมบูรณ์ด้วยวัตรบ้าง สมบูรณ์ด้วยศีลวัตรบ้าง สมบูรณ์ด้วยชาติบ้าง สมบูรณ์ด้วย
โคตรบ้าง สมบูรณ์ด้วยความเป็นบุตรของผู้มีตระกูลบ้าง สมบูรณ์ด้วยความเป็นผู้มี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๘๐ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๓. ทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทส
รูปงามบ้าง สมบูรณ์ด้วยทรัพย์บ้าง สมบูรณ์ด้วยการศึกษาบ้าง สมบูรณ์ด้วยหน้าที่
การงานบ้าง สมบูรณ์ด้วยหลักแห่งศิลปวิทยาบ้าง สมบูรณ์ด้วยวิทยฐานะบ้าง
สมบูรณ์ด้วยความคงแก่เรียนบ้าง สมบูรณ์ด้วยปฏิภาณบ้าง สมบูรณ์ด้วยสิ่งอื่น
นอกจากที่กล่าวแล้วบ้าง ออกบวชจากตระกูลสูงบ้าง ออกบวชจากตระกูลใหญ่บ้าง
ออกบวชจากตระกูลมีทรัพย์มากบ้าง ออกบวชจากตระกูลมีโภคะมากบ้าง เป็น
ผู้มีชื่อเสียงมียศกว่าคฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งหลายบ้าง เป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารบ้าง เป็นผู้ทรงจำพระสูตรบ้าง เป็นผู้ทรงจำ
พระวินัยบ้าง เป็นพระธรรมกถึกบ้าง เป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือบิณฑบาต
เป็นวัตรบ้าง เป็นผู้นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตรบ้าง เป็น
ผู้เที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอกเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้งดอาหารมื้อหลังเป็นวัตรบ้าง
เป็นผู้ถือการนั่งเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือการอยู่ในเสนาสนะตามที่เขาจัดให้เป็นวัตรบ้าง
เป็นผู้ได้ปฐมฌานบ้าง เป็นผู้ได้ทุติยฌานบ้าง เป็นผู้ได้ตติยฌานบ้าง เป็นผู้ได้
จตุตถฌานบ้าง เป็นผู้ได้อากาสานัญจายตนสมาบัติบ้าง เป็นผู้ได้วิญญาณัญจายตน-
สมาบัติบ้าง เป็นผู้ได้อากิญจัญญายตนสมาบัติบ้าง เป็นผู้ได้เนวสัญญานา-
สัญญายตนสมาบัติบ้าง รวมความว่า ไม่มีใครถาม ก็บอก ... แก่บุคคลเหล่าอื่น
คำว่า ผู้ฉลาดทั้งหลาย ในคำว่า ผู้ฉลาดทั้งหลายเรียกสัตว์เกิดนั้นว่า ผู้ไม่มี
อริยธรรม อธิบายว่า ผู้ฉลาดในขันธ์๑ ผู้ฉลาดในธาตุ๒ ผู้ฉลาดในอายตนะ๓
ผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท๔ ผู้ฉลาดในสติปัฏฐาน๕ ผู้ฉลาดในสัมมัปปธาน๖ ผู้ฉลาด

เชิงอรรถ :
๑ ขันธ์ หมายถึงขันธ์ ๕ คือ (๑) รูปขันธ์ (๒) เวทนาขันธ์ (๓) สัญญาขันธ์ (๔) สังขารขันธ์ (๕) วิญญาณขันธ์
(ขุ.ม.อ. ๑๗/๑๙๖)
๒ ธาตุ หมายถึงธาตุ ๔ คือ (๑) ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) (๒) อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ) (๓) เตโชธาตุ (ธาตุไฟ)
(๔) วาโยธาตุ (ธาตุลม) (ขุ.ม.อ. ๑๗/๑๙๖)
๓ อายตนะ หมายถึงอายตนะ ๑๒ ดูเชิงอรรถข้อ ๗/๓๖
๔ ปฏิจจสมุปบาท ดูรายละเอียดข้อ ๒๗/๑๑๓
๕ สติปัฏฐาน หมายถึงสติปัฏฐาน ๔ ดูรายละเอียดข้อ ๓/๑๒ และ ที.ม. ๑๐/๒๘๙/๑๘๕-๑๘๖
๖ สัมมัปปธาน หมายถึงสัมมัปปธาน ๔ คือ (๑) สังวรปธาน เพียรระวังบาปอกุศลธรรมไม่ให้เกิดขึ้น
(๒) ปหานปธาน เพียรกำจัดบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว (๓) ภาวนาปธาน เพียรทำกุศลธรรมที่ยังไม่
เกิดให้เกิดขึ้น (๔) อนุรักขนาปธาน เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้ตั้งมั่น และเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป (ที.ปา.
๑๑/๓๐๖/๑๙๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๘๑ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๓. ทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทส
ในอิทธิบาท๑ ผู้ฉลาดในอินทรีย์๒ ผู้ฉลาดในพละ๓ ผู้ฉลาดในโพชฌงค์๔ ผู้ฉลาด
ในมรรค๕ ผู้ฉลาดในผล๖ ผู้ฉลาดในนิพพาน๗ ผู้ฉลาดเหล่านั้นเรียกอย่างนี้ คือ พูด
บอก แสดง ชี้แจงอย่างนี้ว่า นี้เป็นธรรมของผู้มิใช่อริยะ นี้มิใช่ธรรมของผู้เป็นอริยะ
นี้เป็นธรรมของพวกคนพาล นี้มิใช่ธรรมของบัณฑิต นี้เป็นธรรมของอสัตบุรุษ นี้มิใช่
ธรรมของสัตบุรุษ รวมความว่า ผู้ฉลาดทั้งหลายเรียกสัตว์เกิดนั้นว่า ผู้ไม่มีอริยธรรม
คำว่า สัตว์เกิดใดกล่าวถึงตัวเองเท่านั้น อธิบายว่า ตนเอง ตรัสเรียกว่า
ตัวเอง
คำว่า กล่าวถึงตัวเองเท่านั้น อธิบายว่า ย่อมกล่าวถึง คือ พูด บอก แสดง
ชี้แจงถึงตนเองเท่านั้นว่า เราเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีลบ้าง สมบูรณ์ด้วยวัตรบ้าง
สมบูรณ์ด้วยศีลวัตรบ้าง สมบูรณ์ด้วยชาติบ้าง สมบูรณ์ด้วยโคตรบ้าง สมบูรณ์ด้วย
ความเป็นบุตรของผู้มีตระกูลบ้าง สมบูรณ์ด้วยความเป็นผู้มีรูปงามบ้าง สมบูรณ์ด้วย
ทรัพย์บ้าง สมบูรณ์ด้วยการศึกษาบ้าง สมบูรณ์ด้วยหน้าที่การงานบ้าง สมบูรณ์ด้วย
หลักแห่งศิลปวิทยาบ้าง สมบูรณ์ด้วยวิทยฐานะบ้าง สมบูรณ์ด้วยความคงแก่เรียนบ้าง

เชิงอรรถ :
๑ อิทธิบาท หมายถึงอิทธิบาท ๔ คือ (๑) ฉันทะ (๒) วิริยะ (๓) จิตตะ (๔) วิมังสา (ที.ปา. ๑๑/๓๐๖/๑๙๘)
๒ อินทรีย์ หมายถึงอินทรีย์ ๕ คือ (๑) สัทธินทรีย์ อินทรีย์คือความเชื่อ (๒) วิริยินทรีย์ อินทรีย์คือความเพียร
(๓) สตินทรีย์ อินทรีย์คือความระลึกได้ (๔) สมาธินทรีย์ อินทรีย์คือความตั้งจิตมั่น (๕) ปัญญินทรีย์
อินทรีย์คือความรู้ทั่วชัด (ที.ปา. ๑๑/๓๒๐/๒๑๒)
๓ พละ หมายถึงพละ ๕ (ธรรมอันเป็นกำลัง) คือ (๑) สัทธา (๒) วิริยะ (๓) สติ (๔) สมาธิ (๕) ปัญญา
(องฺ.ปญฺจก. ๒๒/๑๓/๙)
๔ โพชฌงค์ หมายถึงโพชฌงค์ ๗ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้) คือ (๑) สติ ความระลึกได้ (๒) ธัมมวิจยะ
ความเลือกเฟ้น (๓) วิริยะ ความเพียร (๔) ปีติ ความอิ่มใจ (๕) ปัสสัทธิ ความสงบกายสงบใจ (๖) สมาธิ
ความตั้งจิตมั่น (๗) อุเบกขา ความมีใจเป็นกลางเพราะเห็นตามเป็นจริง (ที.ปา. ๑๑/๓๓๐/๒๒๑)
๕ มรรค หมายถึงมรรค ๔ (ทางเข้าถึงความเป็นอริยบุคคล) คือ (๑) โสตาปัตติมรรค (๒) สกทาคามิมรรค
(๓) อนาคามิมรรค (๔) อรหัตตมรรค (อภิ.วิ.(แปล) ๓๕/๘๐๗/๕๑๙)
๖ ผล หมายถึงผล ๔ (ผลที่เกิดสืบเนื่องจากการละกิเลสได้ด้วยมรรค) คือ (๑) โสตาปัตติผล (๒) สกทาคามิ-
ผล (๓) อนาคามิผล (๔) อรหัตตผล (อภิ.วิ.(แปล) ๓๕/๘๐๗/๕๑๙)
๗ นิพพาน หมายถึงสภาวะที่ดับกิเลสและกองทุกข์แล้ว ดูเทียบนิพพานในข้อ ๑๙/๘๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๘๒ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๓. ทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทส
สมบูรณ์ด้วยปฏิภาณบ้าง สมบูรณ์ด้วยสิ่งอื่นนอกจากที่กล่าวแล้วบ้าง ออกบวชจาก
ตระกูลสูงบ้าง ออกบวชจากตระกูลใหญ่บ้าง ออกบวชจากตระกูลมีทรัพย์มากบ้าง
ออกบวชจากตระกูลมีโภคะมากบ้าง เป็นผู้มีชื่อเสียงมียศกว่าคฤหัสถ์และบรรพชิต
ทั้งหลายบ้าง เป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารบ้าง
เป็นผู้ทรงจำพระสูตรบ้าง เป็นผู้ทรงจำพระวินัยบ้าง เป็นพระธรรมกถึกบ้าง เป็นผู้
อยู่ป่าเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร
บ้าง เป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอกเป็นวัตร
บ้าง เป็นผู้งดอาหารมื้อหลังเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือการนั่งเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือการ
อยู่ในเสนาสนะตามที่เขาจัดให้เป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ได้ปฐมฌานบ้าง เป็นผู้ได้ทุติยฌาน
บ้าง เป็นผู้ได้ตติยฌานบ้าง เป็นผู้ได้จตุตถฌานบ้าง เป็นผู้ได้อากาสานัญจายตน-
สมาบัติบ้าง เป็นผู้ได้วิญญาณัญจายตนสมาบัติบ้าง เป็นผู้ได้อากิญจัญญายตน-
สมาบัติบ้าง เป็นผู้ได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติบ้าง รวมความว่า สัตว์เกิดใด
กล่าวถึงตัวเองเท่านั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
สัตว์เกิดใดไม่มีใครถาม
ก็บอกศีลวัตรของตนแก่บุคคลเหล่าอื่น
สัตว์เกิดใดกล่าวถึงตัวเองเท่านั้น
ผู้ฉลาดทั้งหลายเรียกผู้นั้นว่า ผู้ไม่มีอริยธรรม
[๑๘] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
ส่วนภิกษุผู้สงบ ดับกิเลสแล้ว
ไม่โอ้อวดในศีลทั้งหลายว่า เราเป็นดังนี้
อนึ่ง ภิกษุใดไม่มีกิเลสเครื่องฟูในที่ไหน ๆ ในโลก
ผู้ฉลาดทั้งหลายเรียกภิกษุนั้นว่า ผู้มีอริยธรรม

ว่าด้วยผู้ได้ชื่อว่าภิกษุ
คำว่า ผู้สงบ ในคำว่า ส่วนภิกษุผู้สงบ ดับกิเลสแล้ว อธิบายว่า ชื่อว่าผู้สงบ
เพราะสงบราคะ ชื่อว่าผู้สงบ เพราะสงบโทสะ ชื่อว่าผู้สงบ เพราะสงบโมหะ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๘๓ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๓. ทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทส
ชื่อว่าผู้สงบ สงบเย็น ดับ ระงับได้แล้ว เพราะสงบ ระงับ สงบเย็น เผา ดับ
ปราศจาก สงบระงับโกธะ ... อุปนาหะ ... มักขะ ... ปฬาสะ ... อิสสา ... มัจฉริยะ ...
มายา ... สาเถยยะ ... ถัมภะ ... สารัมภะ ... มานะ ... อติมานะ ... มทะ ... ปมาทะ ...
กิเลสทุกชนิด ... ทุจริตทุกทาง ... ความกระวนกระวายทุกอย่าง ... ความเร่าร้อน
ทุกสถาน ... ความเดือดร้อนทุกประการ ... อกุสลาภิสังขารทุกประเภท รวมความว่า
ผู้สงบ
คำว่า ภิกษุ อธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะทำลายธรรม ๗ ประการได้แล้ว คือ
๑. ทำลายสักกายทิฏฐิ(ความเห็นว่าเป็นตัวของตน)ได้แล้ว
๒. ทำลายวิจิกิจฉา(ความลังเลสงสัย)ได้แล้ว
๓. ทำลายสีลัพพตปรามาส(ความยึดมั่นในศีลพรต)ได้แล้ว
๔. ทำลายราคะ(ความกำหนัด)ได้แล้ว
๕. ทำลายโทสะ(ความคิดประทุษร้าย)ได้แล้ว
๖. ทำลายโมหะ(ความลุ่มหลง)ได้แล้ว
๗. ทำลายมานะ(ความถือตัว)ได้แล้ว
ภิกษุนั้นทำลายบาปอกุศลธรรม ซึ่งเป็นเหตุแห่งความเศร้าหมอง ก่อภพใหม่
มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชรา มรณะ ต่อไปได้แล้ว
(สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า สภิยะ)
ผู้ใดควรแก่คำชมเชยว่า เป็นผู้ถึงนิพพานด้วยทางที่ตนทำแล้ว
ข้ามพ้นความสงสัยได้แล้ว ละความเสื่อมและความเจริญแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์ สิ้นภพใหม่แล้ว ผู้นั้นชื่อว่า ภิกษุ๑
คำว่า ส่วนภิกษุผู้สงบ ดับกิเลสแล้ว อธิบายว่า
ชื่อว่าดับกิเลสแล้ว เพราะทำให้ราคะดับแล้ว
ชื่อว่าดับกิเลสแล้ว เพราะทำให้โทสะดับแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.สุ. ๒๕/๕๒๐/๔๓๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๘๔ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๓. ทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทส
ชื่อว่าดับกิเลสแล้ว เพราะทำให้โมหะดับแล้ว
ชื่อว่าดับกิเลสแล้ว เพราะทำให้โกธะ ... อุปนาหะ ... มักขะ ... ปฬาสะ... อิสสา
... มัจฉริยะ ... มายา ... สาเถยยะ ... ถัมภะ ... สารัมภะ ... มานะ ... อติมานะ ... มทะ
... ปมาทะ ... กิเลสทุกชนิด ... ทุจริตทุกทาง ... ความกระวนกระวายทุกอย่าง ...
ความเร่าร้อนทุกสถาน ... ความเดือดร้อนทุกประการ ... อกุสลาภิสังขารทุกประเภท
ดับแล้ว รวมความว่า ส่วนภิกษุผู้สงบ ดับกิเลสแล้ว
คำว่า เราเป็นดังนี้ ในคำว่า ไม่โอ้อวดในศีลทั้งหลายว่า เราเป็นดังนี้
เป็นบทสนธิ เป็นคำเชื่อมบท เป็นคำที่ทำบทให้บริบูรณ์ เป็นความสัมพันธ์แห่งอักษร
เป็นความสละสลวยแห่งพยัญชนะ คำว่า เราเป็นดังนี้ นี้ เป็นคำเชื่อมบทหน้ากับ
บทหลังเข้าด้วยกัน
คำว่า ไม่โอ้อวดในศีลทั้งหลาย อธิบายว่า ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้เป็น
ผู้อวด เป็นผู้โอ้อวด คือ ย่อมอวด ย่อมโอ้อวดว่า เราเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีลบ้าง
สมบูรณ์ด้วยวัตรบ้าง สมบูรณ์ด้วยศีลวัตรบ้าง สมบูรณ์ด้วยชาติบ้าง สมบูรณ์ด้วย
โคตรบ้าง สมบูรณ์ด้วยความเป็นบุตรของผู้มีตระกูลบ้าง สมบูรณ์ด้วยความเป็นผู้มี
รูปงามบ้าง ... เป็นผู้ได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติบ้าง ภิกษุนี้ย่อมไม่อวด ไม่
โอ้อวด คือ เป็นผู้งด งดเว้น เว้นขาด ออก สลัดออก หลุดพ้นแล้ว ไม่เกี่ยวข้องแล้ว
กับความโอ้อวด มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส)อยู่ รวมความว่า ไม่โอ้อวดในศีลทั้งหลายว่า
เราเป็นดังนี้
ว่าด้วยผู้มีอริยธรรม
คำว่า ผู้ฉลาดทั้งหลาย ในคำว่า ผู้ฉลาดทั้งหลายเรียกภิกษุนั้นว่า ผู้มี
อริยธรรม อธิบายว่า ผู้ฉลาดในขันธ์ ฉลาดในธาตุ ฉลาดในอายตนะ ฉลาดใน
ปฏิจจสมุปบาท ฉลาดในสติปัฏฐาน ฉลาดในสัมมัปปธาน ฉลาดในอิทธิบาท ฉลาด
ในอินทรีย์ ฉลาดในพละ ฉลาดในโพชฌงค์ ฉลาดในมรรค ฉลาดในผล ฉลาดใน
นิพพาน ผู้ฉลาดเหล่านั้น ย่อมเรียก คือ กล่าว บอก แสดง ชี้แจง อย่างนี้ว่า
“นี้เป็นธรรมของอริยชน นี้มิใช่ธรรมของอนริยชน นี้เป็นธรรมของบัณฑิต นี้มิใช่
ธรรมของคนพาล นี้เป็นธรรมของสัตบุรุษ นี้มิใช่ธรรมของอสัตบุรุษ” รวมความว่า
ผู้ฉลาดทั้งหลายเรียกภิกษุนั้นว่า ผู้มีอริยธรรม


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๘๕ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๓. ทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทส
คำว่า ภิกษุใด ในคำว่า อนึ่งภิกษุใดไม่มีกิเลสเครื่องฟูในที่ไหนๆ ในโลก
ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ
คำว่า กิเลสเครื่องฟู อธิบายว่า กิเลสเครื่องฟู ๗ อย่าง คือ

๑. กิเลสเครื่องฟูคือราคะ ๒. กิเลสเครื่องฟูคือโทสะ
๓. กิเลสเครื่องฟูคือโมหะ ๔. กิเลสเครื่องฟูคือมานะ
๕. กิเลสเครื่องฟูคือทิฏฐิ ๖. กิเลสเครื่องฟูคือกิเลส
๗. กิเลสเครื่องฟูคือกรรม

ภิกษุใดไม่มีกิเลสเครื่องฟู คือ ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้ คือ กิเลสเครื่องฟู
ภิกษุนั้นละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก
เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว
คำว่า ในที่ไหนๆ ได้แก่ ในที่ไหน คือ ที่ไหน ๆ ที่ไร ๆ ภายใน ภายนอก หรือ
ทั้งภายในและภายนอก
คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก
อายตนโลก รวมความว่า อนึ่งภิกษุใดไม่มีกิเลสเครื่องฟูในที่ไหน ๆ ในโลก ด้วย
เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
ส่วนภิกษุผู้สงบ ดับกิเลสแล้ว
ไม่โอ้อวดในศีลทั้งหลายว่า เราเป็นดังนี้
อนึ่ง ภิกษุใดไม่มีกิเลสเครื่องฟูในที่ไหน ๆ ในโลก
ผู้ฉลาดทั้งหลายเรียกภิกษุนั้นว่า ผู้มีอริยธรรม
[๑๙] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
เจ้าลัทธิใด มีธรรมที่กำหนดไว้ อันปัจจัยปรุงแต่ง เชิดชูไว้
(แต่)ไม่ขาวสะอาด เจ้าลัทธินั้นเห็นอานิสงส์ใดในตน
อาศัยอานิสงส์นั้น และสันติที่กำเริบซึ่งอาศัยกันเกิดขึ้น
คำว่า เจ้าลัทธิใด มีธรรมที่กำหนดไว้ อันปัจจัยปรุงแต่ง อธิบายว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๘๖ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๓. ทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทส
คำว่า กำหนด ได้แก่ การกำหนด ๒ อย่าง คือ (๑) การกำหนดด้วยอำนาจ
ตัณหา (๒) การกำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิ ... นี้ชื่อว่าการกำหนดด้วยอำนาจตัณหา ...
นี้ชื่อว่าการกำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิ๑
คำว่า อันปัจจัยปรุงแต่ง ได้แก่ อันปัจจัยปรุงแต่ง คือ ปรุงแต่งขึ้น ปรุงแต่ง
เฉพาะ ตั้งไว้ดีแล้ว รวมความว่า อันปัจจัยปรุงแต่ง
อีกนัยหนึ่ง ธรรมทั้งหลาย ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น
มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา
มีความดับไปเป็นธรรมดา รวมความว่า อันปัจจัยปรุงแต่ง
คำว่า เจ้าลัทธิใด ได้แก่ เจ้าลัทธิผู้เป็นเจ้าของทิฏฐิ ทิฏฐิ ๖๒ ตรัสเรียกว่า
ธรรม รวมความว่า เจ้าลัทธิใด มีธรรมที่กำหนดไว้ อันปัจจัยปรุงแต่ง

ว่าด้วยการเชิดชู ๒ อย่าง
คำว่า เชิดชูไว้ ในคำว่า มี ... เชิดชูไว้ (แต่) ไม่ขาวสะอาด ได้แก่ การเชิดชู
๒ อย่าง คือ (๑) การเชิดชูด้วยอำนาจตัณหา (๒) การเชิดชูด้วยอำนาจทิฏฐิ ... นี้ชื่อว่า
การเชิดชูด้วยอำนาจตัณหา ... นี้ชื่อว่าการเชิดชูด้วยอำนาจทิฏฐิ
เจ้าลัทธินั้นยังไม่ละการเชิดชูด้วยอำนาจตัณหา ยังไม่สลัดทิ้งการเชิดชูด้วย
อำนาจทิฏฐิ เพราะเป็นผู้ยังไม่สลัดทิ้งการเชิดชูด้วยอำนาจตัณหา ยังไม่สลัดทิ้งการ
เชิดชูด้วยอำนาจทิฏฐิ เจ้าลัทธินั้นเที่ยวเชิดชูตัณหาหรือทิฏฐิไว้ คือ มีตัณหาเป็น
ธงชัย มีตัณหาเป็นยอดธง มีตัณหาเป็นใหญ่ มีทิฏฐิเป็นธงชัย มีทิฏฐิเป็นยอดธง
มีทิฏฐิเป็นใหญ่ คือ ถูกตัณหาหรือทิฏฐิครอบงำเที่ยวไป รวมความว่า เชิดชูไว้
คำว่า มี ได้แก่ มี คือ ปรากฏ หาได้
คำว่า ไม่ขาวสะอาด ได้แก่ ไม่ขาวสะอาด คือ ไม่ขาว ไม่บริสุทธิ์ เศร้าหมอง
แปดเปื้อน รวมความว่า มี ... เชิดชูไว้(แต่)ไม่ขาวสะอาด

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบความในข้อ ๑๒/๕๘-๕๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๘๗ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๓. ทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทส
คำว่า (อานิสงส์) ใดในตน ในคำว่า เห็นอานิสงส์ใดในตน ได้แก่ อานิสงส์ใด
ในตน ทิฏฐิ ตรัสเรียกว่า ตน เจ้าลัทธินั้นเห็นอานิสงส์ ๒ อย่างแห่งทิฏฐิของตน
คือ (๑) อานิสงส์ที่มีในชาตินี้ (๒) อานิสงส์ที่มีในชาติหน้า
อานิสงส์แห่งทิฏฐิที่มีในชาตินี้ เป็นอย่างไร
คือ ศาสดามีทิฏฐิอย่างใด สาวกก็มีทิฏฐิอย่างนั้น คือ สาวก ย่อมสักการะ
เคารพ นับถือ บูชา ทำความยำเกรงศาสดาผู้มีทิฏฐิอย่างนั้น และได้จีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขารซึ่งมีศาสดานั้นเป็นต้นเหตุ นี้ชื่อว่าอานิสงส์แห่ง
ทิฏฐิที่มีในชาตินี้
อานิสงส์แห่งทิฏฐิที่มีในชาติหน้า เป็นอย่างไร
คือ บุคคลย่อมหวังผลต่อไปว่า ทิฏฐินี้ ควรเพื่อความเป็นนาค เป็นครุฑ
เป็นยักษ์ เป็นอสูร เป็นคนธรรพ์ เป็นท้าวมหาราช เป็นพระอินทร์ เป็นพระพรหม
หรือเป็นเทวดา ทิฏฐินี้ ควรเพื่อความหมดจด ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความ
หลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไป สัตว์ทั้งหลายย่อมหมดจด สะอาด บริสุทธิ์
หลุดไป พ้นไป หลุดพ้นไปด้วยทิฏฐินี้ เราจักหมดจด สะอาด บริสุทธิ์ หลุดไป
พ้นไป หลุดพ้นไปด้วยทิฏฐินี้ นี้ชื่อว่าอานิสงส์แห่งทิฏฐิที่มีในชาติหน้า เจ้าลัทธิ
นั้นเห็น คือ แลเห็น ตรวจดู เพ่งพินิจ พิจารณาดูอานิสงส์ ๒ อย่างนี้แห่งทิฏฐิ
ของตน รวมความว่า เห็นอานิสงส์ใดในตน

ว่าด้วยสันติ ๓ อย่าง
คำว่า อาศัยอานิสงส์นั้น และสันติที่กำเริบซึ่งอาศัยกันเกิดขึ้น อธิบายว่า
สันติ ๓ อย่าง คือ (๑) อัจจันตสันติ(ความสงบโดยส่วนเดียว) (๒) ตทังคสันติ(ความ
สงบด้วยองค์นั้น ๆ) (๓) สมมติสันติ(ความสงบโดยสมมติ)
อัจจันตสันติ เป็นอย่างไร
คือ อมตนิพพาน เรียกว่า อัจจันตสันติ คือ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง
เป็นที่สลัดทิ้งอุปธิทั้งหมด เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับกิเลส เป็น
ที่เย็นสนิท นี้ชื่อว่าอัจจันตสันติ
ตทังคสันติ เป็นอย่างไร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๘๘ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๓. ทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทส
คือ ผู้บรรลุปฐมฌานก็มีนิวรณ์สงบไป ผู้บรรลุทุติยฌานก็มีวิตกวิจารสงบไป
ผู้บรรลุตติยฌานก็มีปีติสงบไป ผู้บรรลุจตุตถฌานก็มีสุขและทุกข์สงบไป ผู้บรรลุ
อากาสานัญจายตนสมาบัติก็มีรูปสัญญา๑ ปฏิฆสัญญา๒ นานัตตสัญญา๓สงบไป
ผู้บรรลุวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ก็มีอากาสานัญจายตนสัญญาสงบไป ผู้บรรลุ
อากิญจัญญายตนสมาบัติ ก็มีวิญญาณัญจายตนสัญญาสงบไป ผู้บรรลุเนวสัญญานา-
สัญญายตนสมาบัติ ก็มีอากิญจัญญายตนสัญญาสงบไป นี้ชื่อว่าตทังคสันติ
สมมติสันติ เป็นอย่างไร
คือ ความสงบแห่งทิฏฐิ ๖๒ เรียกว่า สมมติสันติ อนึ่ง สมมติสันติพระผู้มี-
พระภาคทรงประสงค์ว่า สันติ ในคาถานี้
คำว่า อาศัยอานิสงส์นั้น และสันติที่กำเริบซึ่งอาศัยกันเกิดขึ้น อธิบายว่า
อาศัย คือ อิงอาศัย ติด ติดแน่น ติดใจ น้อมใจเชื่อสันติที่กำเริบ คือ สันติที่
กำเริบทั่ว สะเทือน สั่นไหว หวั่นไหว กระทบกระทั่ง กำหนดแล้ว กำหนดทั่วแล้ว
ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อม
ไปเป็นธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา รวมความว่า
อาศัยอานิสงส์นั้น และสันติที่กำเริบซึ่งอาศัยกันเกิดขึ้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค
จึงตรัสว่า
เจ้าลัทธิใด มีธรรมที่กำหนดไว้ อันปัจจัยปรุงแต่ง เชิดชูไว้
(แต่)ไม่ขาวสะอาด เจ้าลัทธินั้นเห็นอานิสงส์ใดในตน
อาศัยอานิสงส์นั้น และสันติที่กำเริบซึ่งอาศัยกันเกิดขึ้น
[๒๐] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
ความถือมั่นด้วยอำนาจทิฏฐิ มิใช่ก้าวล่วงได้ง่าย ๆ
การปลงใจในธรรมทั้งหลายแล้วถือมั่น
ก็มิใช่ก้าวล่วงได้ง่าย เพราะฉะนั้น ในความถือมั่นเหล่านั้น
นรชนย่อมสลัดทิ้งธรรมบ้าง ยึดถือธรรมไว้บ้าง

เชิงอรรถ :
๑ รูปสัญญา ดูเชิงอรรถข้อ ๗/๓๒
๒ ปฏิฆสัญญา ดูเชิงอรรถข้อ ๗/๓๒
๓ นานัตตสัญญา ดูเชิงอรรถข้อ ๗/๓๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๘๙ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๓. ทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทส
ว่าด้วยความถือมั่น
คำว่า ความถือมั่นด้วยอำนาจทิฏฐิ ในคำว่า ความถือมั่นด้วยอำนาจทิฏฐิ
มิใช่ก้าวล่วงได้ง่าย ๆ อธิบายว่า ความยึดมั่นถือมั่นว่า “โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง
อย่างอื่นเป็นโมฆะ” ชื่อว่าความถือมั่นด้วยอำนาจทิฏฐิ ความยึดมั่นถือมั่นว่า
“โลกไม่เที่ยง ... โลกมีที่สุด ... โลกไม่มีที่สุด ... ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน ... ชีวะ
กับสรีระ เป็นคนละอย่างกัน ... หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก ... หลังจากตายแล้ว
ตถาคตไม่เกิดอีก ... หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก และไม่เกิดอีก ... หลังจากตาย
แล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็น
โมฆะ๑” ชื่อว่าความถือมั่นด้วยอำนาจทิฏฐิ
คำว่า ความถือมั่นด้วยอำนาจทิฏฐิ มิใช่ก้าวล่วงได้ง่าย ๆ อธิบายว่า
ความถือมั่นด้วยอำนาจทิฏฐิ ไม่ใช่ก้าวล่วงได้โดยง่าย คือ ก้าวล่วงได้โดยยาก
ข้ามได้ยาก ข้ามพ้นได้ยาก ก้าวล่วงพ้นได้ยาก กลับตัวหลีกได้ยาก รวมความว่า
ความถือมั่นด้วยอำนาจทิฏฐิ มิใช่ก้าวล่วงได้ง่าย ๆ
คำว่า ในธรรมทั้งหลาย ในคำว่า การปลงใจในธรรมทั้งหลายแล้วถือมั่น
ได้แก่ ในทิฏฐิ ๖๒
คำว่า ปลงใจแล้ว ได้แก่ ตกลงใจแล้ว วินิจฉัยแล้ว ตัดสินแล้ว ชี้ขาดแล้ว
เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว
คำว่า ถือมั่น ได้แก่ จับมั่น ยึดมั่น ถือมั่น รวบถือ รวมถือ รวบรวมถือ
ในความยึดมั่นทั้งหลาย คือความถือ ความยึดมั่น ความถือมั่น ความติดใจ ความ
น้อมใจเชื่อว่า ข้อนี้จริง แท้ แน่ แท้จริง ตามเป็นจริง ไม่วิปริต รวมความว่า
การปลงใจในธรรมทั้งหลายแล้วถือมั่น
คำว่า เพราะฉะนั้น ในคำว่า เพราะฉะนั้น ในความถือมั่นเหล่านั้น
นรชน ได้แก่ เพราะฉะนั้น คือ เพราะการณ์นั้น เพราะเหตุนั้น เพราะปัจจัยนั้น
เพราะต้นเหตุนั้น

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถข้อ ๑๖/๗๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๙๐ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๓. ทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทส
คำว่า นรชน ได้แก่ สัตว์ นรชน มานพ บุรุษ บุคคล ผู้มีชีวิต ผู้เกิด
สัตว์เกิด ผู้เป็นไปตามกรรม มนุษย์
คำว่า ในความถือมั่นเหล่านั้น ได้แก่ ในความถือมั่นด้วยอำนาจทิฏฐิเหล่านั้น
รวมความว่า เพราะฉะนั้น ในความถือมั่นเหล่านั้น นรชน

ว่าด้วยการสลัดทิ้ง ๒ อย่าง
คำว่า ย่อมสลัดทิ้ง ในคำว่า ย่อมสลัดทิ้งธรรมบ้าง ยึดถือธรรมไว้บ้าง
ได้แก่ ย่อมสลัดทิ้ง เพราะเหตุ ๒ อย่าง คือ (๑) สลัดทิ้งด้วยการตัดสินของผู้อื่น
(๒) เมื่อไม่สำเร็จประโยชน์เองก็สลัดทิ้งเสีย
นรชนสลัดทิ้งด้วยการตัดสินของผู้อื่น เป็นอย่างไร
คือ ผู้อื่นตัดสินว่า ศาสดานั้น ไม่ใช่สัพพัญญู ธรรมมิใช่ธรรมที่ศาสดากล่าว
สอนไว้ดีแล้ว หมู่คณะมิใช่ผู้ปฏิบัติดีแล้ว ทิฏฐิมิใช่สิ่งที่เจริญ ปฏิปทามิใช่ศาสดา
บัญญัติไว้ดีแล้ว มรรคมิใช่ทางนำออกไปจากทุกข์ ความหมดจด ความสะอาด
ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไป ในทิฏฐินี้ไม่มี ในทิฏฐินี้
สัตว์ทั้งหลายย่อมหมดจด สะอาด บริสุทธิ์ หลุดไป พ้นไป หรือหลุดพ้นไป ไม่มี
ทิฏฐินี้ เลว ทราม ต่ำทราม น่ารังเกียจ หยาบช้า เล็กน้อย ผู้อื่นย่อมตัดสินอย่างนี้
นรชนที่ถูกตัดสินอย่างนี้ ก็สลัดทิ้งศาสดา สลัดทิ้งธรรมที่ศาสดากล่าวสอน สลัด
ทิ้งหมู่คณะ สลัดทิ้งทิฏฐิ สลัดทิ้งปฏิปทา สลัดทิ้งมรรค นรชนชื่อว่าสลัดทิ้งด้วย
การตัดสินของผู้อื่นเป็นอย่างนี้
นรชนเมื่อไม่สำเร็จประโยชน์เองก็สลัดทิ้ง เป็นอย่างไร
คือ นรชนเมื่อไม่ทำศีลให้สำเร็จประโยชน์ก็สลัดทิ้งศีล เมื่อไม่ทำวัตรให้สำเร็จ
ประโยชน์ก็สลัดทิ้งวัตร เมื่อไม่ทำศีลวัตรให้สำเร็จประโยชน์ก็สลัดทิ้งศีลวัตร นรชน
ชื่อว่า เมื่อไม่สำเร็จประโยชน์เองก็สลัดทิ้ง เป็นอย่างนี้
คำว่า ยึดถือธรรมไว้บ้าง อธิบายว่า นรชนถือ ยึดมั่น ถือมั่น
ศาสดา ธรรมที่ศาสดากล่าวสอน หมู่คณะ ทิฏฐิ ปฏิปทา และมรรคไว้บ้าง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๙๑ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๓. ทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทส
รวมความว่า นรชนย่อมสลัดทิ้งธรรมบ้าง ยึดถือธรรมไว้บ้าง ด้วยเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
ความถือมั่นด้วยอำนาจทิฏฐิ มิใช่ก้าวล่วงได้ง่ายๆ
การปลงใจในธรรมทั้งหลายแล้วถือมั่น
ก็มิใช่ก้าวล่วงได้ง่าย เพราะฉะนั้น ในความถือมั่นเหล่านั้น
นรชนย่อมสลัดทิ้งธรรมบ้าง ยึดถือธรรมไว้บ้าง
[๒๑] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
ทิฏฐิที่กำหนด(เพื่อเกิด)ในภพน้อยภพใหญ่
ของผู้มีปัญญาเครื่องกำจัด ไม่มีในที่ไหน ๆ ในโลก
เพราะผู้มีปัญญาเครื่องกำจัดนั้น ละความหลอกลวง
และความถือตัวได้แล้ว ไม่มีความถือมั่น
จะพึงไปด้วยเหตุอะไรเล่า

ว่าด้วยปัญญาเครื่องกำจัด
คำว่า ผู้มีปัญญาเครื่องกำจัด ในคำว่า ทิฏฐิที่กำหนด(เพื่อเกิด)ในภพน้อย
ภพใหญ่ ของผู้มีปัญญาเครื่องกำจัด ไม่มีในที่ไหน ๆ ในโลก อธิบายว่า ปัญญา
ตรัสเรียกว่า เครื่องกำจัด คือ ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกเฟ้น
ความสอดส่องธรรม ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนด
เฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้อย่างแจ่มแจ้ง ความค้นคิด
ความใคร่ครวญ ปัญญาดุจแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง
ปัญญาเครื่องเห็นแจ้ง ความรู้ดี ปัญญาดุจปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ
ปัญญาดุจศัสตรา ปัญญาดุจปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา
ปัญญาดุจดวงประทีป ปัญญาดุจดวงแก้ว ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ
เพราะเหตุไร ปัญญาจึงตรัสเรียกว่า เครื่องกำจัด เพราะปัญญานั้นเป็นเครื่อง
กำจัด ชำระ ล้าง และซักฟอกกายทุจริต ... วจีทุจริต ... มโนทุจริต ... เพราะ
ปัญญานั้นเป็นเครื่องกำจัด ชำระ ล้างและซักฟอกราคะ ... โทสะ ... โมหะ ... โกธะ ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๙๒ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๓. ทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทส
อุปนาหะ ... มักขะ ... ปฬาสะ ... อิสสา ... มัจฉริยะ ... มายา ... สาเถยยะ ... ถัมภะ
... สารัมภะ ... มานะ ... อติมานะ ... มทะ ... ปมาทะ ... กิเลสทุกชนิด ... ทุจริตทุกทาง
... ความกระวนกระวายทุกอย่าง ... ความเร่าร้อนทุกสถาน ... ความเดือดร้อนทุก
ประการ... อกุสลาภิสังขารทุกประเภท เพราะเหตุนั้น ปัญญาจึงตรัสเรียกว่า
เครื่องกำจัด
อีกนัยหนึ่ง สัมมาทิฏฐิเป็นเครื่องกำจัด ชำระ ล้าง และซักฟอกมิจฉาทิฏฐิได้
สัมมาสังกัปปะเป็นเครื่องกำจัด ชำระ ล้าง และซักฟอกมิจฉาสังกัปปะได้ สัมมาวาจา
เป็นเครื่องกำจัด... มิจฉาวาจาได้ สัมมากัมมันตะเป็นเครื่องกำจัด... มิจฉากัมมันตะ
ได้ สัมมาอาชีวะ เป็นเครื่องกำจัด... มิจฉาอาชีวะได้ สัมมาวายามะ เป็นเครื่องกำจัด...
มิจฉาวายามะได้ สัมมาสติเป็นเครื่องกำจัด... มิจฉาสติได้ สัมมาสมาธิ เป็นเครื่อง
กำจัด... มิจฉาสมาธิได้ สัมมาญาณเป็นเครื่องกำจัด... มิจฉาญาณได้ สัมมาวิมุตติ
เป็นเครื่องกำจัด ชำระ ล้าง และซักฟอกมิจฉาวิมุตติได้
อีกนัยหนึ่ง อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นเครื่องกำจัด ชำระ ล้าง และซักฟอกกิเลส
ทุกชนิด ... ทุจริตทุกทาง ... ความกระวนกระวายทุกอย่าง ... ความเร่าร้อนทุกสถาน
... ความเดือดร้อนทุกประการ อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นเครื่องกำจัด ชำระ ล้าง และ
ซักฟอกอกุสลาภิสังขารทุกประเภท
พระอรหันต์ ประกอบ ประกอบพร้อม ดำเนินไป ดำเนินไปพร้อม เป็นไป เป็น
ไปพร้อม เพียบพร้อมด้วยธรรมเป็นเครื่องชำระล้างเหล่านี้ เพราะฉะนั้น พระอรหันต์
จึงชื่อว่า ผู้มีปัญญาเครื่องกำจัด พระอรหันต์นั้น เป็นผู้กำจัดความกำหนัดได้แล้ว
กำจัดบาปได้แล้ว กำจัดกิเลสได้แล้ว กำจัดความเร่าร้อนได้แล้ว รวมความว่า ผู้มี
ปัญญาเครื่องกำจัด
คำว่า ในที่ไหน ๆ ได้แก่ ในที่ไหน คือ ที่ไหน ๆ ที่ไร ๆ ภายใน ภายนอก
หรือทั้งภายในและภายนอก
คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก ... อายตนโลก๑

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๓/๑๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๙๓ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๓. ทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทส
คำว่า ที่กำหนด ได้แก่ การกำหนด ๒ อย่าง คือ (๑) การกำหนดด้วย
อำนาจตัณหา (๒) การกำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิ ... นี้ชื่อว่าการกำหนดด้วยอำนาจ
ตัณหา... นี้ชื่อว่าการกำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิ๑
คำว่า ในภพน้อยภพใหญ่ อธิบายว่า ในภพน้อยภพใหญ่ คือในกรรมวัฏและ
วิปากวัฏ ในกรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในกามภพ ในวิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดในกามภพ
ในกรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในรูปภพ ในวิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดในรูปภพ ในกรรมวัฏ
เป็นเครื่องเกิดในอรูปภพ ในวิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดในอรูปภพ ในภพต่อไป ในคติ
ต่อไป ในการถือกำเนิดต่อไป ในปฏิสนธิต่อไป ในการบังเกิดของอัตภาพต่อไป
คำว่า ทิฏฐิที่กำหนด(เพื่อเกิด)ในภพน้อยภพใหญ่ ของผู้มีปัญญาเครื่อง
กำจัด ไม่มีในที่ไหน ๆ ในโลก อธิบายว่า ทิฏฐิที่กำหนด คือ กำหนดทั่ว ปรุงแต่ง
เฉพาะ ตั้งมั่นไว้ดีแล้ว(เพื่อเกิด)ในภพน้อยภพใหญ่ของผู้มีปัญญาเครื่องกำจัด ไม่มี
คือ ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้ในที่ไหน ๆ ในโลก ได้แก่ ทิฏฐิที่กำหนดนั้นผู้มี
ปัญญาเครื่องกำจัดละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้
เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า ทิฏฐิที่กำหนด(เพื่อเกิด)ในภพ
น้อยภพใหญ่ ของผู้มีปัญญาเครื่องกำจัด ไม่มีในที่ไหน ๆ ในโลก

ว่าด้วยความหลอกลวงและความถือตัว
คำว่า ผู้มีปัญญาเครื่องกำจัด ละความหลอกลวงและความถือตัวได้แล้ว
อธิบายว่า ความประพฤติหลอกลวง ตรัสเรียกว่า ความหลอกลวง คนบางคนใน
โลกนี้ ประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ แล้วตั้งความปรารถนาชั่วทราม เพราะ
การปกปิดทุจริตนั้นเป็นเหตุ คือปรารถนาว่า “ใครอย่ารู้ทันเราเลย” ดำริว่า “ใคร
อย่ารู้ทันเราเลย” กล่าววาจาด้วยคิดว่า “ใครอย่ารู้ทันเราเลย” พยายามทางกาย
ด้วยคิดว่า “ใครอย่ารู้ทันเราเลย”

เชิงอรรถ :
๑ เทียบกับความในข้อ ๑๒/๕๘-๕๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๙๔ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๓. ทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทส
ความหลอกลวง ความเป็นผู้มีความหลอกลวง ความเสแสร้ง ความล่อลวง
การปิดบัง การหลบเลี่ยง การหลีกเลี่ยง การซ่อน การซ่อนเร้น การปิด การปกปิด
การไม่เปิดเผย การไม่ทำให้แจ่มแจ้ง การปิดสนิท การทำความชั่วเห็นปานนี้ นี้ตรัส
เรียกว่า ความหลอกลวง
คำว่า ความถือตัว อธิบายว่า ความถือตัวนัยเดียว คือ ความที่จิตใฝ่สูง
ความถือตัว ๒ นัย คือ
๑. การยกตน ๒. การข่มผู้อื่น
ความถือตัว ๓ นัย คือ
๑. ความถือตัวว่าเราเลิศกว่าเขา ๒. ความถือตัวว่าเราเสมอเขา
๓. ความถือตัวว่าเราด้อยกว่าเขา
ความถือตัว ๔ นัย คือ
๑. เกิดความถือตัวเพราะลาภ
๒. เกิดความถือตัวเพราะยศ
๓. เกิดความถือตัวเพราะความสรรเสริญ
๔. เกิดความถือตัวเพราะความสุข
ความถือตัว ๕ นัย คือ
๑. เกิดความถือตัวว่าเราได้รูปที่ถูกใจ
๒. เกิดความถือตัวว่าเราได้เสียงที่ถูกใจ
๓. เกิดความถือตัวว่าเราได้กลิ่นที่ถูกใจ
๔. เกิดความถือตัวว่าเราได้รสที่ถูกใจ
๕. เกิดความถือตัวว่าเราได้โผฏฐัพพะที่ถูกใจ
ความถือตัว ๖ นัย คือ
๑. เกิดความถือตัวเพราะมีตาสมบูรณ์
๒. เกิดความถือตัวเพราะมีหูสมบูรณ์
๓. เกิดความถือตัวเพราะมีจมูกสมบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๙๕ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๓. ทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทส
๔. เกิดความถือตัวเพราะมีลิ้นสมบูรณ์
๕. เกิดความถือตัวเพราะมีกายสมบูรณ์
๖. เกิดความถือตัวเพราะมีใจสมบูรณ์
ความถือตัว ๗ นัย คือ
๑. ความถือตัว
๒. ความดูหมิ่น
๓. ความดูหมิ่นด้วยอำนาจความถือตัว
๔. ความถือตัวว่าด้อยกว่าเขา
๕. ความถือตัวว่าเลิศกว่าเขา
๖. ความถือเราถือเขา
๗. ความถือตัวผิด ๆ
ความถือตัว ๘ นัย คือ
๑. เกิดความถือตัวเพราะได้ลาภ
๒. เกิดความถือตัวว่าตกต่ำเพราะเสื่อมลาภ
๓. เกิดความถือตัวเพราะมียศ
๔. เกิดความถือตัวว่าตกต่ำเพราะเสื่อมยศ
๕. เกิดความถือตัวเพราะความสรรเสริญ
๖. เกิดความถือตัวว่าตกต่ำเพราะถูกนินทา
๗. เกิดความถือตัวเพราะความสุข
๘. เกิดความถือตัวว่าตกต่ำเพราะความทุกข์
ความถือตัว ๙ นัย คือ
๑. เป็นผู้เลิศกว่าเขาถือตัวว่าเลิศกว่าเขา
๒. เป็นผู้เลิศกว่าเขาถือตัวว่าเสมอเขา
๓. เป็นผู้เลิศกว่าเขาถือตัวว่าด้อยกว่าเขา
๔. เป็นผู้เสมอเขาถือตัวว่าเลิศกว่าเขา
๕. เป็นผู้เสมอเขาถือตัวว่าเสมอเขา
๖. เป็นผู้เสมอเขาถือตัวว่าด้อยกว่าเขา
๗. เป็นผู้ด้อยกว่าเขาถือตัวว่าเลิศกว่าเขา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๙๖ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๓. ทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทส
๘. เป็นผู้ด้อยกว่าเขาถือตัวว่าเสมอเขา
๙. เป็นผู้ด้อยกว่าเขาถือตัวว่าด้อยกว่าเขา
ความถือตัว ๑๐ นัย คือ คนบางคนในโลกนี้
๑. เกิดความถือตัวเพราะชาติ
๒. เกิดความถือตัวเพราะโคตร
๓. เกิดความถือตัวเพราะเป็นบุตรของผู้มีตระกูล
๔. เกิดความถือตัวเพราะเป็นผู้มีรูปงาม
๕. เกิดความถือตัวเพราะมีทรัพย์
๖. เกิดความถือตัวเพราะการศึกษา
๗. เกิดความถือตัวเพราะหน้าที่การงาน
๘. เกิดความถือตัวเพราะมีหลักแห่งศิลปวิทยา
๙. เกิดความถือตัวเพราะวิทยฐานะ
๑๐. เกิดความถือตัวเพราะความคงแก่เรียน เกิดความถือตัวเพราะปฏิภาณ
หรือเกิดความถือตัว เพราะสิ่งอื่นนอกจากที่กล่าวแล้ว
ความถือตัว กริยาที่ถือตัว ภาวะที่ถือตัว ความลำพองตน ความทะนงตน
ความเชิดชูตนเป็นดุจธง ความเห่อเหิม ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเห็น
ปานนี้ นี้ตรัสเรียกว่า ความถือตัว
คำว่า ผู้มีปัญญาเครื่องกำจัด ละความหลอกลวงและความถือตัวได้แล้ว
อธิบายว่า ผู้มีปัญญาเครื่องกำจัด ละ คือ ละทิ้ง บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึง
ความไม่มีอีกซึ่งความหลอกลวงและความถือตัว รวมความว่า ผู้มีปัญญาเครื่องกำจัด
ละความหลอกลวงและความถือตัวได้แล้ว

ว่าด้วยความถือมั่น ๒ อย่าง
คำว่า ความถือมั่น ในคำว่า ผู้มีปัญญาเครื่องกำจัดนั้น ... ไม่มีความถือมั่น
จะพึงไปด้วยเหตุอะไรเล่า ได้แก่ ความถือมั่น ๒ อย่าง คือ (๑) ความถือมั่นด้วย
อำนาจตัณหา (๒) ความถือมั่นด้วยอำนาจทิฏฐิ ... นี้ชื่อว่าความถือมั่นด้วยอำนาจ
ตัณหา ... นี้ชื่อว่าความถือมั่นด้วยอำนาจทิฏฐิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๙๗ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๓. ทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทส
ผู้มีปัญญาเครื่องกำจัดนั้นละความถือมั่นด้วยอำนาจตัณหาได้แล้ว สลัดทิ้ง
ความถือมั่นด้วยอำนาจทิฏฐิได้แล้ว ผู้มีปัญญาเครื่องกำจัดนั้น ชื่อว่าผู้ไม่มีความ
ถือมั่น เพราะเป็นผู้ละความถือมั่นด้วยอำนาจตัณหา สลัดทิ้งความถือมั่นด้วย
อำนาจทิฏฐิได้แล้ว จะพึงไปด้วยอำนาจราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ อุทธัจจะ
วิจิกิจฉา อนุสัย อะไรเล่าว่า “เป็นผู้กำหนัด ขัดเคือง หลง ยึดติด ยึดถือ ฟุ้งซ่าน
ลังเล หรือตกอยู่ในพลังกิเลส”
ผู้มีปัญญาเครื่องกำจัดนั้นละอภิสังขารได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละอภิสังขารได้แล้ว
จะพึงไปสู่คติด้วยเหตุอะไรเล่าว่า “เป็นผู้เกิดในนรก เกิดในกำเนิดเดรัจฉาน เกิดใน
เปตวิสัย เป็นมนุษย์ เป็นเทพ เป็นผู้มีรูป เป็นผู้ไม่มีรูป เป็นผู้มีสัญญา เป็นผู้ไม่มี
สัญญา หรือเป็นผู้มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่” ผู้มีปัญญาเครื่องกำจัดนั้นจะพึง
ไปด้วยเหตุ ปัจจัยและการณ์ใด เหตุ ปัจจัยและการณ์นั้นไม่มี รวมความว่า ผู้มี
ปัญญาเครื่องกำจัดนั้น ... ไม่มีความถือมั่น จะพึงไปด้วยเหตุอะไรเล่า ด้วยเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
ทิฏฐิที่กำหนด(เพื่อเกิด)ในภพน้อยภพใหญ่
ของผู้มีปัญญาเครื่องกำจัด ไม่มีในที่ไหน ๆ ในโลก
เพราะผู้มีปัญญาเครื่องกำจัดนั้น ละความหลอกลวง
และความถือตัวได้แล้ว ไม่มีความถือมั่น
จะพึงไปด้วยเหตุอะไรเล่า
[๒๒] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
เพราะว่าผู้มีความถือมั่นย่อมเข้าถึงวาทะในธรรมทั้งหลาย
จะพึงกล่าวคำติเตียนผู้ไม่มีความถือมั่นด้วยเหตุอะไรเล่า
เพราะความเห็นว่ามีตน ความเห็นว่าไม่มีตน
ไม่มีแก่ผู้ไม่มีความถือมั่นนั้น
ผู้ไม่มีความถือมั่นนั้น สลัดแล้วซึ่งทิฏฐิทั้งปวงในอัตภาพนี้แหละ
คำว่า ผู้มีความถือมั่น ในคำว่า เพราะว่าผู้มีความถือมั่นย่อมเข้าถึงวาทะ
ในธรรมทั้งหลาย ได้แก่ ความถือมั่น ๒ อย่าง คือ (๑) ความถือมั่นด้วย
อำนาจตัณหา (๒) ความถือมั่นด้วยอำนาจทิฏฐิ ... นี้ชื่อว่าความถือมั่นด้วยอำนาจ
ตัณหา ... นี้ชื่อว่าความถือมั่นด้วยอำนาจทิฏฐิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๙๘ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๓. ทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทส
ผู้มีความถือมั่นนั้น ยังละความถือมั่นด้วยอำนาจตัณหาไม่ได้ ยังสลัดทิ้งความ
ถือมั่นด้วยอำนาจทิฏฐิไม่ได้ เพราะเป็นผู้ละความถือมั่นด้วยอำนาจตัณหา สลัดทิ้ง
ความถือมั่นด้วยอำนาจทิฏฐิไม่ได้ ผู้มีความถือมั่นจึงเข้าถึงวาทะในธรรมทั้งหลายว่า
“เป็นผู้กำหนัด ขัดเคือง หลง ยึดติด ยึดถือ ฟุ้งซ่าน ลังเล หรือตกอยู่ในพลังกิเลส”
ผู้มีความถือมั่นยังละอภิสังขารเหล่านั้นไม่ได้ เพราะยังเป็นผู้ละอภิสังขาร
ทั้งหลายไม่ได้ ย่อมเข้าถึง คือ เข้าไปถึง ถือ ยึดมั่น ถือมั่นวาทะด้วยคติว่า “เป็น
ผู้เกิดในนรก เกิดในกำเนิดเดรัจฉาน เกิดในเปตวิสัย เป็นมนุษย์ เป็นเทพ เป็น
ผู้มีรูป เป็นผู้ไม่มีรูป เป็นผู้มีสัญญา เป็นผู้ไม่มีสัญญา หรือเป็นผู้มีสัญญาก็มิใช่
ไม่มีสัญญาก็มิใช่” รวมความว่า เพราะว่าผู้มีความถือมั่นย่อมเข้าถึงวาทะในธรรม
ทั้งหลาย
คำว่า จะพึงกล่าวคำติเตียนผู้ไม่มีความถือมั่นด้วยเหตุอะไรเล่า อธิบายว่า
คำว่า ความถือมั่น ได้แก่ ความถือมั่น ๒ อย่าง คือ (๑) ความถือมั่น
ด้วยอำนาจตัณหา (๒) ความถือมั่นด้วยอำนาจทิฏฐิ ... นี้ชื่อว่าความถือมั่นด้วย
อำนาจตัณหา ... นี้ชื่อว่าความถือมั่นด้วยอำนาจทิฏฐิ
ผู้ไม่มีความถือมั่นนั้น ละความถือมั่นด้วยอำนาจตัณหาได้แล้ว สลัดทิ้งความ
ถือมั่นด้วยอำนาจทิฏฐิได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละความถือมั่นด้วยอำนาจตัณหา สลัดทิ้ง
ความถือมั่นด้วยอำนาจทิฏฐิได้แล้ว จะพึงกล่าวคำติเตียนผู้ไม่มีความถือมั่น ด้วย
อำนาจราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ อุทธัจจะ วิจิกิจฉา อนุสัย อะไรเล่าว่า “เป็น
ผู้กำหนัด ขัดเคือง หลง ยึดติด ยึดมั่น ฟุ้งซ่าน ลังเล หรือตกอยู่ในพลังกิเลส”
ผู้ไม่มีความถือมั่นละอภิสังขารเหล่านั้นได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละอภิสังขาร
ทั้งหลายได้แล้ว จะพึงกล่าวถึงคติด้วยเหตุอะไรเล่าว่า “เป็นผู้เกิดในนรก ... เป็นผู้มี
สัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่” ผู้มีความถือมั่นนั้นจะพึงกล่าว คือ พูด บอก
แสดง ชี้แจงด้วยเหตุ ปัจจัยและการณ์ใด เหตุ ปัจจัย และการณ์นั้นไม่มี รวมความว่า
จะพึงกล่าวคำติเตียนผู้ไม่มีความถือมั่นด้วยเหตุอะไรเล่า


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๙๙ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๓. ทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทส
ว่าด้วยความเห็นว่ามีตนและไม่มีตน
คำว่า ความเห็นว่ามีตน ในคำว่า เพราะความเห็นว่ามีตน ความเห็นว่า
ไม่มีตน ไม่มีแก่ผู้ไม่มีความถือมั่นนั้น ได้แก่ ความตามเห็นว่ามีตัวตน ไม่มี
คำว่า ความเห็นว่าไม่มีตน ได้แก่ ความเห็นว่าขาดสูญ ไม่มี
คำว่า ความเห็นว่ามีตน ได้แก่ สิ่งที่ถือไม่มี
คำว่า ความเห็นว่าไม่มีตน อธิบายว่า สิ่งที่ควรปล่อย ไม่มี ผู้ใดมีสิ่งที่ถือไว้
ผู้นั้นก็มีสิ่งที่ควรปล่อย ผู้ใดมีสิ่งที่ควรปล่อย ผู้นั้นก็มีสิ่งที่ถือไว้ พระอรหันต์ก้าวพ้น
การถือ และการปล่อย ล่วงพ้นความเจริญและความเสื่อมได้แล้ว พระอรหันต์นั้นอยู่
ใน(อริยวาสธรรม)แล้ว ประพฤติจรณธรรมแล้ว ผ่านทางไกลได้แล้ว ถึงทิศ(นิพพาน)แล้ว
ไม่มีการเวียนเกิด เวียนตาย และภพใหม่ก็ไม่มีอีก รวมความว่า เพราะความเห็นว่ามีตน
ความเห็นว่าไม่มีตน ไม่มีแก่ผู้ไม่มีความถือมั่นนั้น
คำว่า ผู้ไม่มีความถือมั่นนั้น สลัดแล้วซึ่งทิฏฐิทั้งปวงในอัตภาพนี้แหละ
อธิบายว่า ทิฏฐิ ๖๒ ผู้ไม่มีความถือมั่นนั้นละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบ
ได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ผู้ไม่มีความถือ
มั่นนั้นชื่อว่า สลัด คือ กำจัด ขจัด ขจัดออก ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึง
ความไม่มีอีกซึ่งทิฏฐิทั้งปวงในอัตภาพนี้ รวมความว่า ผู้ไม่มีความถือมั่นนั้น สลัด
แล้วซึ่งทิฏฐิทั้งปวงในอัตภาพนี้แหละ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
เพราะว่าผู้มีความถือมั่นย่อมเข้าถึงวาทะในธรรมทั้งหลาย
จะพึงกล่าวคำติเตียนผู้ไม่มีความถือมั่น ด้วยเหตุอะไรเล่า
เพราะความเห็นว่ามีตน ความเห็นว่าไม่มีตน
ไม่มีแก่ผู้ไม่มีความถือมั่นนั้น
ผู้ไม่มีความถือมั่นนั้น สลัดแล้วซึ่งทิฏฐิทั้งปวงในอัตภาพนี้แหละ
ทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทสที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๐๐ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๔. สุทธัฏฐกสุตตนิทเทส
๔. สุทธัฏฐกสุตตนิทเทส๑
อธิบายสุทธัฏฐกสูตร
ว่าด้วยผู้พิจารณาเห็นความหมดจด
พระสารีบุตรเถระจะกล่าวอธิบายสุทธัฏฐกสูตร ดังต่อไปนี้
[๒๓] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
เราเห็นนรชนผู้หมดจดว่า เป็นผู้ไม่มีโรคอย่างยิ่ง
ความหมดจดย่อมมีแก่นรชนเพราะความเห็น
บุคคลเมื่อรู้จริงอย่างนี้ ก็รู้แล้วว่าความเห็นนี้ยอดเยี่ยม
จึงเป็นผู้ตามพิจารณาเห็นความหมดจด
เพราะฉะนั้น ย่อมเชื่อว่าความเห็นนั้นเป็นญาณ
คำว่า เราเห็นนรชนผู้หมดจด ในคำว่า เราเห็นนรชนผู้หมดจดว่า เป็นผู้
ไม่มีโรคอย่างยิ่ง อธิบายว่า เราเห็น คือ แลเห็น ตรวจดู เพ่งพินิจ พิจารณาดู
นรชนผู้หมดจด
คำว่า เป็นผู้ไม่มีโรคอย่างยิ่ง ได้แก่ ถึงความปลอดโรค ถึงธรรมอันเกษม
ถึงธรรมเครื่องป้องกัน ถึงธรรมเป็นที่ปกป้อง ถึงธรรมเป็นที่พึ่ง ถึงธรรมเป็นที่ไปใน
เบื้องหน้า ถึงความปลอดภัย ถึงธรรมที่ไม่จุติ ถึงธรรมที่ไม่ตาย ถึงธรรมเป็นที่ดับ
เย็นอันยอดเยี่ยม รวมความว่า เราเห็นนรชนผู้หมดจดว่า เป็นผู้ไม่มีโรคอย่างยิ่ง
คำว่า ความหมดจดย่อมมีแก่นรชนเพราะความเห็น อธิบายว่า ความ
หมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไป
ย่อมมีแก่นรชนเพราะการเห็นรูปด้วยจักขุวิญญาณ นรชนย่อมหมดจด คือ สะอาด
บริสุทธิ์ หลุดไป พ้นไป หลุดพ้นไป เพราะการเห็นรูปด้วยจักขุวิญญาณ รวมความว่า
ความหมดจดย่อมมีแก่นรชนเพราะความเห็น

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.สุ. ๒๕/๗๙๕-๘๐๒/๔๙๐-๔๙๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๐๑ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๔. สุทธัฏฐกสุตตนิทเทส
คำว่า เมื่อรู้จริงอย่างนี้ ก็รู้แล้วว่าความเห็นนี้ยอดเยี่ยม อธิบายว่า เมื่อ
รู้จริง คือ รู้ทั่ว รู้แจ่มแจ้ง รู้เฉพาะ แทงตลอดอย่างนี้ ก็รู้แล้ว คือ ทราบแล้ว เทียบ
เคียงแล้ว พิจารณาแล้ว ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้วว่า “ความเห็นนี้ เยี่ยม
คือ ยอด ประเสริฐ วิเศษ นำหน้า สูงสุด ประเสริฐสุด” รวมความว่า เมื่อรู้จริงอย่างนี้
ก็รู้แล้วว่า ความเห็นนี้ยอดเยี่ยม
คำว่า จึงเป็นผู้ตามพิจารณาเห็นความหมดจด เพราะฉะนั้น ย่อมเชื่อว่า
ความเห็นนั้นเป็นญาณ อธิบายว่า ผู้ใดเห็นนรชนผู้หมดจด ผู้นั้น ชื่อว่าเป็นผู้ตาม
พิจารณาเห็นความหมดจด
คำว่า ย่อมเชื่อว่า ความเห็นนั้นเป็นญาณ อธิบายว่า ย่อมเชื่อการเห็นรูปด้วย
จักขุวิญญาณว่า เป็นญาณ เป็นมรรค เป็นทาง เป็นทางนำออกจากทุกข์ รวมความว่า
จึงเป็นผู้ตามพิจารณาเห็นความหมดจด เพราะฉะนั้น ย่อมเชื่อว่า ความเห็นนั้นเป็น
ญาณ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
เราเห็นนรชนผู้หมดจดว่า เป็นผู้ไม่มีโรคอย่างยิ่ง
ความหมดจดย่อมมีแก่นรชนเพราะความเห็น
บุคคลเมื่อรู้จริงอย่างนี้ ก็รู้แล้วว่าความเห็นนี้ยอดเยี่ยม
จึงเป็นผู้ตามพิจารณาเห็นความหมดจด
เพราะฉะนั้น ย่อมเชื่อว่าความเห็นนั้นเป็นญาณ
[๒๔] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
ถ้าความหมดจดย่อมมีแก่นรชนเพราะความเห็น
หรือถ้านรชนนั้นละทุกข์ได้เพราะญาณ
นรชนผู้ยังมีอุปธินั้น ย่อมหมดจดเพราะมรรคอื่น(ก็ได้)
เพราะว่าทิฏฐิย่อมบ่งบอกถึงนรชนนั้นผู้พูดอย่างนั้น

ว่าด้วยความหมดจดเป็นต้น
คำว่า ถ้าความหมดจดย่อมมีแก่นรชนเพราะความเห็น อธิบายว่า ถ้า
ความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป ความ
หลุดพ้นไป ย่อมมีแก่นรชนเพราะการเห็นรูปด้วยจักขุวิญญาณ นรชนย่อมหมดจด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๐๒ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๔. สุทธัฏฐกสุตตนิทเทส
คือ สะอาด บริสุทธิ์ หลุดไป พ้นไป หลุดพ้นไปเพราะการเห็นรูปด้วยจักขุวิญญาณ
รวมความว่า ถ้าความหมดจดย่อมมีแก่นรชนเพราะความเห็น
คำว่า หรือถ้านรชนนั้นละทุกข์ได้เพราะญาณ อธิบายว่า ถ้านรชนนั้น
ละชาติทุกข์(ทุกข์เพราะความเกิด) ชราทุกข์(ทุกข์เพราะความแก่) พยาธิทุกข์(ทุกข์
เพราะความเจ็บป่วย) มรณทุกข์(ทุกข์เพราะความตาย) ทุกข์คือโสกะ(ความเศร้าโศก)
ปริเทวะ(ความคร่ำครวญ) ทุกขะ(ความทุกข์กาย) โทมนัส(ความทุกข์ใจ) อุปายาส
(ความคับแค้นใจ) เพราะการเห็นรูปด้วยจักขุวิญญาณ รวมความว่า หรือถ้านรชน
นั้นละทุกข์ได้เพราะญาณ
คำว่า นรชนผู้ยังมีอุปธินั้น ย่อมหมดจดเพราะมรรคอื่น(ก็ได้) อธิบายว่า
นรชนย่อมหมดจด คือ สะอาด บริสุทธิ์ หลุดไป พ้นไป หลุดพ้นไปเพราะมรรคอื่น
คือมรรคที่ไม่หมดจด ปฏิปทาที่ผิด ทางที่มิใช่นำออกจากทุกข์ นอกจากสติปัฏฐาน
สัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ อริยมรรคมีองค์ ๘
คำว่า ผู้ยังมีอุปธิ ได้แก่ ผู้ยังมีราคะ ยังมีโทสะ ยังมีโมหะ ยังมีมานะ ยังมี
ตัณหา ยังมีทิฏฐิ ยังมีกิเลส ยังมีอุปาทาน รวมความว่า นรชนผู้ยังมีอุปธินั้น ย่อม
หมดจดเพราะมรรคอื่น(ก็ได้)
คำว่า เพราะว่าทิฏฐิย่อมบ่งบอกถึงนรชนนั้นผู้พูดอย่างนั้น อธิบายว่า
ทิฏฐินั้นแหละบ่งบอกถึงบุคคลนั้นว่า บุคคลนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นวิปริตด้วย
ประการอย่างนี้
คำว่า ผู้พูดอย่างนั้น ได้แก่ ผู้พูด คือ กล่าว บอก แสดง ชี้แจงอย่างนั้นว่า
“โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ” ... ผู้พูด คือ กล่าว บอก แสดง
ชี้แจงอย่างนั้นว่า “โลกไม่เที่ยง ... โลกมีที่สุด ... โลกไม่มีที่สุด ... ชีวะ๑กับสรีระเป็น
อย่างเดียวกัน ... ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน ... หลังจากตายแล้วตถาคต๒
เกิดอีก ... หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก ... หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก
และไม่เกิดอีก ... หลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่
นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ” รวมความว่า เพราะว่าทิฏฐิย่อมบ่งบอกถึงนรชนนั้น

เชิงอรรถ :
๑ ชีวะ ดูเชิงอรรถข้อ ๑๖/๗๗
๒ ตถาคต ดูเชิงอรรถข้อ ๑๖/๗๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๐๓ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๔. สุทธัฏฐกสุตตนิทเทส
ผู้พูดอย่างนั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
ถ้าความหมดจดย่อมมีแก่นรชนเพราะความเห็น
หรือถ้านรชนนั้นละทุกข์ได้เพราะญาณ
นรชนผู้ยังมีอุปธินั้น ย่อมหมดจดเพราะมรรคอื่น(ก็ได้)
เพราะว่าทิฏฐิย่อมบ่งบอกถึงนรชนนั้นผู้พูดอย่างนั้น
[๒๕] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
พราหมณ์ไม่กล่าวความหมดจดในรูปที่เห็น
เสียงที่ได้ยิน ศีลวัตร หรืออารมณ์ที่รับรู้โดยมรรคอื่น
พราหมณ์นั้นผู้ไม่เข้าไปติดในบุญและบาป ละตนได้
เรียกว่า ผู้ไม่ทำเพิ่มเติมในโลกนี้
คำว่า ไม่ ในคำว่า พราหมณ์ไม่กล่าวความหมดจดในรูปที่เห็น เสียงที่
ได้ยิน ศีล วัตร หรืออารมณ์ที่รับรู้โดยมรรคอื่น เป็นคำปฏิเสธ
คำว่า พราหมณ์ อธิบายว่า ที่ชื่อว่าพราหมณ์ เพราะลอยธรรม ๗ ประการ
ได้แล้ว คือ
๑. ลอยสักกายทิฏฐิได้แล้ว
๒. ลอยวิจิกิจฉาได้แล้ว
๓. ลอยสีลัพพตปรามาสได้แล้ว
๔. ลอยราคะได้แล้ว
๕. ลอยโทสะได้แล้ว
๖. ลอยโมหะได้แล้ว
๗. ลอยมานะได้แล้ว
คือ พราหมณ์ลอยบาปอกุศลธรรมซึ่งเป็นเหตุแห่งความเศร้าหมอง ก่อภพใหม่
มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชรา มรณะ ต่อไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๐๔ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๔. สุทธัฏฐกสุตตนิทเทส
(สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า สภิยะ)
บุคคลผู้ลอยบาปทั้งปวงได้แล้ว
เป็นผู้ปราศจากมลทิน เป็นผู้ประเสริฐ
มีจิตตั้งมั่นด้วยสมาธิ ดำรงตนมั่นคง
ข้ามพ้นสังสารวัฏ เป็นผู้บริสุทธิ์บริบูรณ์
ไม่มีตัณหาและทิฏฐิอาศัย เป็นผู้มั่นคง
บัณฑิตเรียกผู้นั้นว่าเป็นพราหมณ์๑

ว่าด้วยความเชื่อถือว่า เป็นมงคล ไม่เป็นมงคล
คำว่า พราหมณ์ไม่กล่าวความหมดจด ... โดยมรรคอื่น อธิบายว่า
พราหมณ์ไม่กล่าว คือ ไม่พูด ไม่บอก ไม่แสดง ไม่ชี้แจงความหมดจด คือ ความ
สะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไป โดยมรรคอื่น
คือ มรรคที่ไม่หมดจด ปฏิปทาที่ผิด ทางที่มิใช่นำออกจากทุกข์ นอกจากสติปัฏฐาน
สัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ อริยมรรคมีองค์ ๘ รวมความว่า
พราหมณ์ไม่กล่าวความหมดจด ... โดยมรรคอื่น
คำว่า ในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน ศีล วัตร หรืออารมณ์ที่รับรู้ อธิบายว่า
มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งถือความหมดจดด้วยการเห็น สมณพราหมณ์เหล่านั้นถือ
การเห็นรูปบางอย่างว่า เป็นมงคล ถือการเห็นรูปบางอย่างว่า ไม่เป็นมงคล
สมณพราหมณ์เหล่านั้นถือการเห็นรูปชนิดไหนว่า เป็นมงคล
สมณพราหมณ์เหล่านั้นลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ เห็นรูปที่สมมติว่า เป็นมงคลยิ่ง คือ
เห็นนกแอ่นลม ผลมะตูมอ่อนเกิดในบุษยฤกษ์๒ หญิงมีครรภ์ เด็กเล็กที่ขี่คอคนไป
หม้อมีน้ำเต็ม ปลาตะเพียนแดง ม้าอาชาไนย รถเทียมม้าอาชาไนย โคผู้ โคแดง
ก็พากันถือการเห็นรูปเห็นปานนี้ว่า เป็นมงคล

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.สุ. ๒๕/๕๒๕/๔๓๖
๒ บุษยฤกษ์ คือชื่อของดาวฤกษ์บุษยะ มี ๕ ดวง (๑) ดาวปุยฝ้าย (๒) ดาวพวงดอกไม้ (๓) ดาวดอกบัว
(๔) ดาวโลง (๕) ดาวสมอสำเภา หรือดาวสิธยะ (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ๒๕๒๕, หน้า ๔๘๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๐๕ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๔. สุทธัฏฐกสุตตนิทเทส
สมณพราหมณ์เหล่านั้น ถือการเห็นรูปชนิดไหนว่า ไม่เป็นมงคล
สมณพราหมณ์เหล่านั้น เห็นลอมฟาง หม้อเปรียง หม้อเปล่า นักฟ้อน
สมณะเปลือย ลา ยานเทียมด้วยลา ยานเทียมด้วยสัตว์พาหนะตัวเดียว คนตาบอด
คนง่อย คนแคระ คนเปลี้ย คนแก่ คนเจ็บ คนตาย ก็พากันถือการเห็นรูปเห็นปานนี้ว่า
ไม่เป็นมงคล
สมณพราหมณ์เหล่านี้นั้น ชื่อว่าถือความหมดจดด้วยการเห็น สมณพราหมณ์
เหล่านั้นถือความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป
ความหลุดพ้นไป ด้วยรูปที่เห็นแล้ว
มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ถือความหมดจดด้วยเสียงที่ได้ยิน สมณพราหมณ์
เหล่านั้น ถือการได้ยินเสียงบางอย่างว่า เป็นมงคล ถือการได้ยินเสียงบางอย่างว่า
ไม่เป็นมงคล
สมณพราหมณ์เหล่านั้น ถือการได้ยินเสียงอย่างไหนว่า เป็นมงคล
สมณพราหมณ์เหล่านั้นลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ ได้ยินเสียงที่สมมติว่าเป็นมงคลยิ่งว่า
เจริญแล้ว กำลังเจริญ เต็ม ขาว ไม่เศร้าโศก ใจดี ฤกษ์ดี มงคลดี มีสิริ หรือว่าเจริญศรี
ก็พากันถือการได้ยินเสียงเห็นปานนี้ว่า เป็นมงคล
สมณพราหมณ์เหล่านั้น ถือการได้ยินเสียงอย่างไหนว่า ไม่เป็นมงคล
สมณพราหมณ์เหล่านั้นลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ ได้ยินเสียงว่าคนตาบอด คนง่อย
คนแคระ คนเปลี้ย คนแก่ คนเจ็บ คนตาย ถูกตัด ถูกทุบ ถูกไฟไหม้ ของหาย หรือ
ว่าไม่มี ก็พากันถือการได้ยินเสียงเห็นปานนั้นว่า ไม่เป็นมงคล สมณพราหมณ์เหล่า
นี้นั้น ชื่อว่าถือความหมดจดด้วยการได้ยินเสียง สมณพราหมณ์เหล่านั้นถือความ
หมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไป
ด้วยการได้ยินเสียง
ว่าด้วยความหมดจดด้วยศีลและวัตร
มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ถือความหมดจดด้วยศีล สมณพราหมณ์เหล่านั้น
ถือความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป ความ
หลุดพ้นไป ด้วยเหตุเพียงศีล คือ ด้วยเหตุเพียงความสำรวม ด้วยเหตุเพียงความ
สังวร ด้วยเหตุเพียงความไม่ละเมิด


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๐๖ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๔. สุทธัฏฐกสุตตนิทเทส
ปริพาชกผู้เป็นบุตรแห่งนางปริพาชิกาชื่อสมณมุณฑิกา กล่าวอย่างนี้ว่า
“ช่างไม้เอ๋ย เราบัญญัติบุรุษบุคคล ผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการว่า เป็นผู้มีกุศล
เพียบพร้อม มีกุศลยอดเยี่ยม บรรลุถึงอรหัตตผลอันอุดมที่ควรบรรลุ เป็นสมณะ
ไม่มีใครสู้ได้ ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
ช่างไม้เอ๋ย บุคคลเช่นนั้นในโลกนี้
๑. ย่อมไม่ทำกรรมชั่วช้าทางกาย ๒. ไม่กล่าววาจาชั่วช้า
๓. ไม่ดำริความดำริชั่วช้า ๔. ไม่ประกอบอาชีพชั่วช้า
ช่างไม้เอ๋ย เราบัญญัติบุรุษบุคคล ผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเหล่านี้แลว่า
เป็นผู้มีกุศลเพียบพร้อม มีกุศลยอดเยี่ยม ผู้บรรลุถึงอรหัตตผลอันอุดมที่ควรบรรลุ
เป็นสมณะ ไม่มีใครสู้ได้๑
มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ถือความหมดจดด้วยศีลอย่างนี้แหละ สมณพราหมณ์
เหล่านั้นถือความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป
ความหลุดพ้นไปด้วยเหตุเพียงศีล ด้วยเหตุเพียงความสำรวม ด้วยเหตุเพียงความ
สังวร ด้วยเหตุเพียงความไม่ล่วงละเมิด
มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ถือความหมดจดด้วยวัตร สมณพราหมณ์เหล่านั้น
เป็นผู้ประพฤติวัตรเยี่ยงช้างบ้าง ประพฤติวัตรเยี่ยงม้าบ้าง ประพฤติวัตรเยี่ยงโคบ้าง
ประพฤติวัตรเยี่ยงสุนัขบ้าง ประพฤติวัตรเยี่ยงกาบ้าง ประพฤติวัตรเยี่ยงท้าววาสุเทพ
บ้าง ประพฤติวัตรเยี่ยงพลเทพบ้าง ประพฤติวัตรเยี่ยงปุณณภัทรบ้าง ประพฤติวัตร
เยี่ยงมณีภัทรบ้าง ประพฤติวัตรคือการบูชาไฟบ้าง ประพฤติวัตรเยี่ยงนาคบ้าง
ประพฤติวัตรเยี่ยงครุฑบ้าง ประพฤติวัตรเยี่ยงยักษ์บ้าง ประพฤติวัตรเยี่ยงอสูรบ้าง
ประพฤติวัตรเยี่ยงคนธรรพ์บ้าง ประพฤติวัตรเยี่ยงท้าวมหาราชบ้าง ประพฤติวัตร
เยี่ยงพระจันทร์บ้าง ประพฤติวัตรเยี่ยงพระอาทิตย์บ้าง ประพฤติวัตรเยี่ยงพระอินทร์
บ้าง ประพฤติวัตรเยี่ยงพระพรหมบ้าง ประพฤติวัตรเยี่ยงเทพบ้าง ประพฤติวัตรคือ
การไหว้ทิศบ้าง สมณพราหมณ์เหล่านี้นั้น ชื่อว่าผู้ถือความหมดจดด้วยวัตร สมณ-
พราหมณ์เหล่านั้นถือความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป
ความพ้นไป ความหลุดพ้นไปด้วยวัตร

เชิงอรรถ :
๑ ม.ม. ๑๓/๒๖๑/๒๓๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๐๗ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๔. สุทธัฏฐกสุตตนิทเทส
มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ถือความหมดจดด้วยอารมณ์ที่รับรู้ สมณพราหมณ์
เหล่านั้นลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ จับต้องแผ่นดิน จับต้องพืชสีเขียว จับต้องมูลโค จับต้องเต่า
เหยียบผาล จับต้องเกวียนบรรทุกงา เคี้ยวกินงาขาว ทาน้ำมันสีขาว เคี้ยวไม้สีฟัน
ขาว อาบน้ำชะโลมด้วยดินสอพอง นุ่งผ้าขาว โพกผ้าขาว สมณพราหมณ์เหล่านี้นั้น
ชื่อว่าถือความหมดจดด้วยอารมณ์ที่รับรู้ สมณพราหมณ์เหล่านั้นถือความหมดจด
คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไปด้วย
อารมณ์ที่รับรู้แล้ว รวมความว่า พราหมณ์ไม่กล่าวความหมดจด ... โดยมรรคอื่น
คำว่า ในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน ศีลวัตร หรืออารมณ์ที่รับรู้ อธิบายว่า
พราหมณ์ไม่กล่าว คือ ไม่พูด ไม่บอก ไม่แสดง ไม่ชี้แจงความหมดจด โดยถือความ
หมดจดด้วยรูปที่เห็นบ้าง โดยถือความหมดจดด้วยเสียงที่ได้ยินบ้าง โดยถือความ
หมดจดด้วยศีลบ้าง โดยถือความหมดจดด้วยวัตรบ้าง โดยถือความหมดจดด้วย
อารมณ์ที่รับรู้บ้าง รวมความว่า พราหมณ์ไม่กล่าวความหมดจดในรูปที่เห็น เสียง
ที่ได้ยิน ศีลวัตร หรืออารมณ์ที่รับรู้ โดยมรรคอื่น

ว่าด้วยการละบุญและบาป
คำว่า ผู้ไม่เข้าไปติดในบุญและบาป อธิบายว่า กุสลาภิสังขาร เป็นเหตุให้
เกิดในโลกธาตุ๑ ๓ อย่างใดอย่างหนึ่ง ตรัสเรียกว่าบุญ อกุศลทุกชนิด ตรัสเรียกว่า
สิ่งที่ไม่ใช่บุญ
ปุญญาภิสังขาร๒ อปุญญาภิสังขาร๓ และอาเนญชาภิสังขาร๔ เป็นสิ่งที่พราหมณ์
นั้นละได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ โลกธาตุ ๓ ได้แก่กามธาตุ รูปธาตุ และอรูปธาตุ
๒ ปุญญาภิสังขาร คืออภิสังขารที่เป็นบุญ สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายดี ได้แก่ กุศลเจตนาที่เป็นกามาวจร
และรูปาวจร (ขุ.ม.อ. ๒๕/๒๑๖)
๓ อปุญญาภิสังขาร คืออภิสังขารที่เป็นปฏิปักษ์ต่อบุญคือเป็นบาป สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายชั่ว ได้แก่
อกุศลเจตนาทั้งหลาย (ขุ.ม.อ. ๒๕/๒๑๖)
๔ อาเนญชาภิสังขาร คืออภิสังขารที่เป็นอาเนญชา สภาพที่ปรุงแต่งภพอันมั่นคง ไม่หวั่นไหว ได้แก่
กุศลเจตนาที่เป็นอรูปาวจร ๔ หมายเอาภาวะจิตที่มั่นคงแน่วแน่ด้วยสมาธิแห่งจตุตถฌาน (ขุ.ม.อ. ๒๕/
๒๑๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๐๘ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๔. สุทธัฏฐกสุตตนิทเทส
เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ในกาลใด ในกาลนั้น พราหมณ์นั้น
ย่อมไม่ติด ไม่ติดพัน ไม่เข้าไปติดในบุญและบาป ได้แก่ เป็นผู้ไม่ติดแล้ว ไม่ติดพัน
แล้ว ไม่เข้าไปติดแล้ว ออกแล้ว สลัดออกแล้ว หลุดพ้นแล้ว ไม่เกี่ยวข้องแล้ว
มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส)อยู่ รวมความว่า ผู้ไม่เข้าไปติดในบุญและบาป

ว่าด้วยการละตน
คำว่า ละตนได้ ในคำว่า ละตนได้ เรียกว่า ผู้ไม่ทำเพิ่มเติมในโลกนี้ ได้แก่
ละความเห็นว่า เป็นตน
คำว่า ละตนได้ ได้แก่ ละความยึดมั่นถือมั่น
อีกนัยหนึ่ง คำว่า ละตนได้ อธิบายว่า ความถือ ความยึดมั่น ความถือมั่น
ความติดใจ ความน้อมใจเชื่อ ด้วยอำนาจตัณหา ด้วยอำนาจทิฏฐิทั้งปวง เป็นสิ่งที่
พราหมณ์นั้นสละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละแล้ว สลัดทิ้งแล้ว
คำว่า เรียกว่า ผู้ไม่ทำเพิ่มเติมในโลกนี้ อธิบายว่า เรียกว่า ผู้ไม่ทำเพิ่มเติม
คือ ไม่ให้เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดขึ้น ซึ่งปุญญาภิสังขาร
อปุญญาภิสังขาร หรืออาเนญชาภิสังขาร รวมความว่า ละตนได้ เรียกว่าผู้ไม่ทำ
เพิ่มเติมในโลกนี้ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
พราหมณ์ไม่กล่าวความหมดจดในรูปที่เห็น
เสียงที่ได้ยิน ศีลวัตร หรืออารมณ์ที่รับรู้โดยมรรคอื่น
พราหมณ์นั้นผู้ไม่เข้าไปติดในบุญและบาป ละตนได้
เรียกว่า ผู้ไม่ทำเพิ่มเติมในโลกนี้
[๒๖] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
สมณพราหมณ์เหล่านั้นละสิ่งแรก อาศัยสิ่งหลัง
ไปตามความพลุ่งพล่าน ย่อมข้ามกิเลสเครื่องข้องไม่ได้
สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมยึดถือ ย่อมสลัดทิ้ง
เหมือนลิงจับกิ่งไม้แล้วก็ปล่อยฉะนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๐๙ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๔. สุทธัฏฐกสุตตนิทเทส
ว่าด้วยการจับๆ ปล่อย ๆ พ้นกิเลสไม่ได้
คำว่า ละสิ่งแรก อาศัยสิ่งหลัง อธิบายว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นละ
ศาสดาองค์ก่อน อาศัย คือ อิงอาศัย ติด ติดแน่น ติดใจ น้อมใจเชื่อศาสดาองค์
ต่อมา ละธรรมที่ศาสดากล่าวสอนครั้งแรก อาศัย... ธรรมที่ศาสดากล่าวสอนครั้ง
ต่อมา ละหมู่คณะแรก อาศัย... หมู่คณะต่อมา ละทิฏฐิแรก อาศัย... ทิฏฐิต่อมา
ละปฏิปทาแรก อาศัย... ปฏิปทาต่อมา ละมรรคแรก อาศัย คือ อิงอาศัย ติด
ติดแน่น ติดใจ น้อมใจเชื่อมรรคต่อมา รวมความว่า ละสิ่งแรก อาศัยสิ่งหลัง
คำว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น ... ไปตามความพลุ่งพล่าน ย่อมข้ามกิเลส
เครื่องข้องไม่ได้ อธิบายว่า ตัณหา ตรัสเรียกว่า ความพลุ่งพล่าน คือ ความ
กำหนัด ความกำหนัดนัก ... อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ๑
คำว่า ไปตามความพลุ่งพล่าน อธิบายว่า ไปตามความพลุ่งพล่าน คือ
ตกไปตามความพลุ่งพล่าน ซ่านไปตามความพลุ่งพล่าน จมลงในความพลุ่งพล่าน
ได้แก่ ถูกความพลุ่งพล่านผลักให้ตกไป ถูกความพลุ่งพล่านครอบงำ มีจิตถูกความ
พลุ่งพล่านยึดครอง
คำว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น ... ย่อมข้ามกิเลสเครื่องข้องไม่ได้ ได้แก่
ย่อมข้ามไม่ได้ คือ ข้ามไปไม่ได้ ข้ามพ้นไม่ได้ ก้าวล่วงไม่ได้ ล่วงเลยไม่ได้ ซึ่งกิเลส
เครื่องข้องคือราคะ กิเลสเครื่องข้องคือโทสะ กิเลสเครื่องข้องคือโมหะ กิเลสเครื่อง
ข้องคือมานะ กิเลสเครื่องข้องคือทิฏฐิ กิเลสอันเป็นเครื่องเกี่ยวข้อง กิเลสเครื่องข้อง
คือทุจริต รวมความว่า สมณพรหมณ์เหล่านั้น ... ไปตามความพลุ่งพล่าน ย่อมข้าม
กิเลสเครื่องข้องไม่ได้
คำว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมยึดถือ ย่อมสลัดทิ้ง อธิบายว่า
สมณพราหมณ์เหล่านั้น ถือศาสดา ปล่อยศาสดานั้นแล้วก็ถือศาสดาองค์อื่น
ถือธรรมที่ศาสดากล่าวสอน ปล่อยธรรมนั้นแล้วก็ถือธรรมที่ศาสดากล่าวสอน
อื่น ถือหมู่คณะ ปล่อยหมู่คณะนั้นแล้วก็ถือหมู่คณะอื่น ถือทิฏฐิ ปล่อยทิฏฐินั้น

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๓/๑๐-๑๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๑๐ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๔. สุทธัฏฐกสุตตนิทเทส
แล้วก็ถือทิฏฐิอื่น ถือปฏิปทา ปล่อยปฏิปทานั้นแล้วก็ถือปฏิปทาอื่น ถือมรรค
ปล่อยมรรคนั้นแล้วก็ถือมรรคอื่น คือ ย่อมถือและย่อมปล่อย ชื่อว่าย่อมยึดถือ
และย่อมสลัดทิ้ง รวมความว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมยึดถือ ย่อมสลัดทิ้ง
คำว่า เหมือนลิงจับกิ่งไม้แล้วก็ปล่อยฉะนั้น อธิบายว่า ลิงเที่ยวไปใน
ป่าดงใหญ่ จับกิ่งไม้แล้ว ปล่อยกิ่งนั้นก็จับกิ่งอื่น ปล่อยกิ่งนั้นแล้วก็จับกิ่งอื่น ฉันใด
สมณพราหมณ์เป็นอันมากย่อมถือ และย่อมปล่อยทิฏฐิมากมาย ชื่อว่าย่อมยึดถือ
และย่อมสลัดทิ้งทิฏฐิมากมาย ฉันนั้นเหมือนกัน รวมความว่า เหมือนลิงจับกิ่งไม้
แล้วก็ปล่อยฉะนั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
สมณพราหมณ์เหล่านั้นละสิ่งแรก อาศัยสิ่งหลัง
ไปตามความพลุ่งพล่าน ย่อมข้ามกิเลสเครื่องข้องไม่ได้
สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมยึดถือ ย่อมสลัดทิ้ง
เหมือนลิงจับกิ่งไม้แล้วก็ปล่อยฉะนั้น
[๒๗] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
สัตว์เกิดสมาทานวัตรทั้งหลายเอง
ข้องอยู่ในสัญญา ย่อมดำเนินไปลุ่ม ๆ ดอน ๆ
ส่วนผู้มีความรู้ รู้ธรรมด้วยเวททั้งหลายแล้ว
เป็นผู้มีปัญญากว้างขวางดุจภูริ (แผ่นดิน)
ย่อมไม่ดำเนินไปลุ่ม ๆ ดอน ๆ

ว่าด้วยการดำเนินไปลุ่มๆ ดอน ๆ
คำว่า สมาทาน...เอง ในคำว่า สัตว์เกิดสมาทานวัตรทั้งหลายเอง ได้แก่
สมาทานด้วยตนเอง
คำว่า วัตรทั้งหลาย อธิบายว่า ถือเอา สมาทาน คือ ยึดถือ รับเอา ถือ
ยึดมั่น ถือมั่นวัตรเยี่ยงช้างบ้าง วัตรเยี่ยงม้าบ้าง วัตรเยี่ยงโคบ้างวัตรเยี่ยงสุนัขบ้าง
วัตรเยี่ยงกาบ้าง วัตรเยี่ยงท้าววาสุเทพบ้าง วัตรเยี่ยงพลเทพบ้าง วัตรเยี่ยง
ปุณณภัทรบ้าง วัตรเยี่ยงมณีภัทรบ้างวัตรคือการบูชาไฟบ้าง วัตรเยี่ยงนาคบ้าง
วัตรเยี่ยงครุฑบ้าง วัตรเยี่ยงยักษ์บ้าง วัตรเยี่ยงอสูรบ้าง ... วัตรคือการไหว้ทิศบ้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๑๑ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๔. สุทธัฏฐกสุตตนิทเทส
คำว่า สัตว์เกิด ได้แก่ สัตว์ นรชน ... มนุษย์๑ รวมความว่า สัตว์เกิดสมาทาน
วัตรทั้งหลายเอง
คำว่า ข้องอยู่ในสัญญา ย่อมดำเนินไปลุ่ม ๆ ดอน ๆ ได้แก่ จากศาสดา(แรก)
ไปหาศาสดา(ต่อมา) จากธรรมที่ศาสดากล่าวสอน(ครั้งแรก) ไปหาธรรมที่ศาสดา
กล่าวสอน(ครั้งต่อมา) จากหมู่คณะ(แรก) ไปหาหมู่คณะ(ต่อมา) จากทิฏฐิ(แรก) ไป
หาทิฏฐิ(ต่อมา) จากปฏิปทา(แรก) ไปหาปฏิปทา(ต่อมา) จากมรรค(แรก) ไปหา
มรรค(ต่อมา)
คำว่า ผู้ข้องอยู่ในสัญญา อธิบายว่า ผู้ข้อง คือ ติด เกี่ยว เกาะติด เกี่ยวพัน
พัวพันในกามสัญญา พยาบาทสัญญา วิหิงสาสัญญา ทิฏฐิสัญญา เปรียบเหมือน
สิ่งของ ข้อง คือ ติด เกี่ยว แขวน เกี่ยวพัน ติดตรึงอยู่ที่ตะปูข้างฝา หรือ ที่ไม้แขวน
ฉันใด สัตว์เกิดนั้นก็ข้อง คือ ติด เกี่ยว เกาะติด เกี่ยวพัน พัวพันในกามสัญญา
พยาบาทสัญญา วิหิงสาสัญญา ทิฏฐิสัญญา ฉันนั้นเหมือนกัน รวมความว่า
ผู้ข้องอยู่ในสัญญา ย่อมดำเนินไปลุ่ม ๆ ดอน ๆ

ว่าด้วยผู้รู้ธรรม ๗ ประการ
คำว่า ผู้มีความรู้ ในคำว่า ส่วนผู้มีความรู้ รู้ธรรมด้วยเวททั้งหลายแล้ว
ได้แก่ ผู้มีความรู้ คือ มีวิชชา มีญาณ มีปัญญาเครื่องตรัสรู้ มีปัญญาแจ่มแจ้ง
มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลส
คำว่า ด้วยเวททั้งหลาย ได้แก่ ญาณในมรรค ๔ ตรัสเรียกว่า เวท คือ ปัญญา
ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ปัญญาเครื่องพิจารณา ปัญญา
เครื่องเห็นแจ้ง สัมมาทิฏฐิ
ผู้มีความรู้นั้น ถึงที่สุด บรรลุที่สุด ถึงส่วนสุด บรรลุส่วนสุด ถึงปลายสุด
บรรลุปลายสุด ถึงความสำเร็จ บรรลุความสำเร็จ ถึงที่ปกป้อง บรรลุที่ปกป้อง ถึงที่
หลีกเร้น บรรลุที่หลีกเร้น ถึงที่พึ่ง บรรลุที่พึ่ง ถึงที่ไม่มีภัย บรรลุที่ไม่มีภัย ถึงที่

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๑/๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๑๒ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๔. สุทธัฏฐกสุตตนิทเทส
ไม่จุติ บรรลุที่ไม่จุติ ถึงที่ไม่ตาย บรรลุที่ไม่ตาย ถึงที่ดับ บรรลุที่ดับแห่งชาติ ชรา
มรณะ ด้วยเวทเหล่านั้น
อีกนัยหนึ่ง ชื่อว่าเวทคู เพราะถึงที่สุดแห่งความรู้ทั้งหลาย ชื่อว่าเวทคู เพราะ
ถึงที่สุดด้วยความรู้ทั้งหลาย ชื่อว่าเวทคู เพราะรู้แจ้งธรรม ๗ ประการ คือ

๑. เป็นผู้รู้แจ้งสักกายทิฏฐิ ๒. เป็นผู้รู้แจ้งวิจิกิจฉา
๓. เป็นผู้รู้แจ้งสีลัพพตปรามาส ๔. เป็นผู้รู้แจ้งราคะ
๕. เป็นผู้รู้แจ้งโทสะ ๖. เป็นผู้รู้แจ้งโมหะ
๗. เป็นผู้รู้แจ้งมานะ

ผู้มีความรู้นั้นเป็นผู้รู้แจ้งบาปอกุศลธรรม ซึ่งเป็นเหตุแห่งความเศร้าหมอง
ก่อภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชรา มรณะ
ต่อไป
(สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สภิยะ)
บุคคลเลือกเฟ้นเวททั้งสิ้น ของพวกสมณพราหมณ์ที่มีอยู่
เป็นผู้ปราศจากราคะในเวทนาทั้งปวง
ก้าวล่วงเวททั้งปวงแล้ว ชื่อว่าเวทคู๑
คำว่า ส่วนผู้มีความรู้ รู้ธรรมด้วยความรู้ทั้งหลายแล้ว อธิบายว่า รู้ คือ
รู้ยิ่งธรรมว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ... สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ... ธรรมทั้งปวงเป็น
อนัตตา ... เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี ... เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
... เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี ... เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี ...
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี ... เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี ...
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี ... เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี ...
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี ... เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี ... เพราะชาติ
เป็นปัจจัย ชรา มรณะจึงมี”
รู้ คือ รู้ยิ่งธรรมว่า “เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ ... เพราะสังขารดับ
วิญญาณจึงดับ ... เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ... เพราะนามรูปดับ สฬายตนะ

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.สุ. ๒๕/๕๓๕/๔๓๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๑๓ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๔. สุทธัฏฐกสุตตนิทเทส
จึงดับ ... เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ ... เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ ...
เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ ... เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ ... เพราะอุปาทาน
ดับ ภพจึงดับ ... เพราะภพดับ ชาติจึงดับ ... เพราะชาติดับ ชรา มรณะ จึงดับ”
รู้ คือ รู้ยิ่งธรรมว่า “นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินี-
ปฏิปทา”
รู้ คือ รู้ยิ่งธรรมว่า “เหล่านี้อาสวะ ... นี้อาสวสมุทัย ... นี้อาสวนิโรธ ...
นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา”
รู้ คือ รู้ยิ่งธรรมว่า “เหล่านี้ธรรมที่ควรรู้ยิ่ง ... เหล่านี้ธรรมที่ควรกำหนดรู้
... เหล่านี้ธรรมที่ควรละ ... เหล่านี้ธรรมที่ควรเจริญ ... เหล่านี้ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง”
รู้ คือ รู้ยิ่งธรรมคือเหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษ และการสลัดออกแห่ง
ผัสสายตนะ ๖
รู้ คือ รู้ยิ่งธรรมคือเหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษ และการสลัดออกแห่ง
อุปาทานขันธ์ ๕
รู้ คือ รู้ยิ่งธรรมคือเหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษ และการสลัดออกแห่ง
มหาภูตรูป ๔
รู้ คือ รู้ยิ่งธรรมว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมด
ล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา” รวมความว่า ส่วนผู้มีความรู้ รู้ธรรมด้วยเวท
ทั้งหลายแล้ว
คำว่า เป็นผู้มีปัญญากว้างขวางดุจภูริ(แผ่นดิน) ย่อมไม่ดำเนินไปลุ่ม ๆ
ดอน ๆ ได้แก่ ไม่จากศาสดา(แรก)ไปหาศาสดา(ต่อมา) ไม่จากธรรมที่ศาสดากล่าว
สอน(แรก)ไปหาธรรมที่ศาสดากล่าวสอน(ต่อมา) ไม่จากหมู่คณะ(แรก)ไปหาหมู่
คณะ(ต่อมา) ไม่จากทิฏฐิ(แรก)ไปหาทิฏฐิ(ต่อมา) ไม่จากปฏิปทา(แรก)ไปหา
ปฏิปทา(ต่อมา) ไม่จากมรรค(แรก)ไปหามรรค(ต่อมา)
คำว่า เป็นผู้มีปัญญากว้างขวางดุจภูริ(แผ่นดิน) ได้แก่ เป็นผู้มีปัญญาดุจ
ภูริ คือมีปัญญายิ่งใหญ่ มีปัญญามาก มีปัญญาอาจหาญ มีปัญญาฉับไว มีปัญญา
เฉียบคม มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลส แผ่นดิน ตรัสเรียกว่า ภูริ บุคคลนั้นประกอบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๑๔ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๔. สุทธัฏฐกสุตตนิทเทส
ด้วยปัญญา อันกว้างขวาง แผ่ไป เสมอด้วยแผ่นดินนั้น รวมความว่า เป็นผู้มีปัญญา
กว้างขวางดุจภูริ(แผ่นดิน) ย่อมไม่ดำเนินไปลุ่ม ๆ ดอน ๆ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มี-
พระภาคจึงตรัสว่า
สัตว์เกิดสมาทานวัตรทั้งหลายเอง
ข้องอยู่ในสัญญา ย่อมดำเนินไปลุ่ม ๆ ดอน ๆ
ส่วนผู้มีความรู้ รู้ธรรมด้วยเวททั้งหลายแล้ว
เป็นผู้มีปัญญากว้างขวางดุจภูริ(แผ่นดิน)
ย่อมไม่ดำเนินไปลุ่ม ๆ ดอน ๆ
[๒๘] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
ผู้มีปัญญานั้น เป็นผู้กำจัดเสนาในธรรมทั้งปวง
คือ รูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน หรืออารมณ์ที่รับรู้อย่างใดอย่างหนึ่ง
ใคร ๆ ในโลกนี้จะพึงกำหนดผู้มีปัญญานั้น
ผู้เห็น ผู้ประพฤติเปิดเผย ด้วยเหตุอะไรเล่า

ว่าด้วยเสนามาร
คำว่า ผู้มีปัญญานั้น เป็นผู้กำจัดเสนาในธรรมทั้งปวง คือรูปที่เห็น เสียง
ที่ได้ยิน หรืออารมณ์ที่รับรู้อย่างใดอย่างหนึ่ง อธิบายว่า เสนามาร ตรัสเรียกว่า
เสนา กายทุจริต ชื่อว่าเสนามาร วจีทุจริต ชื่อว่าเสนามาร มโนทุจริต ชื่อว่า
เสนามาร ราคะ ชื่อว่าเสนามาร โทสะ ชื่อว่าเสนามาร โมหะ ชื่อว่าเสนามาร
โกธะ ... อุปนาหะ ... อกุสลาภิสังขารทุกประเภท ชื่อว่าเสนามาร สมจริงดังที่พระผู้มี-
พระภาคตรัสไว้ว่า
กิเลสกามเราเรียกว่าเสนากองที่ ๑ ของท่าน
ความไม่ยินดีเราเรียกว่าเสนากองที่ ๒ ของท่าน
ความหิวกระหายเราเรียกว่าเสนากองที่ ๓ ของท่าน
ตัณหาเราเรียกว่าเสนากองที่ ๔ ของท่าน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๑๕ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๔. สุทธัฏฐกสุตตนิทเทส
ถีนมิทธะเราเรียกว่าเสนากองที่ ๕ ของท่าน
ความกลัวเราเรียกว่าเสนากองที่ ๖ ของท่าน
วิจิกิจฉาเราเรียกว่าเสนากองที่ ๗ ของท่าน
มักขะและถัมภะเราเรียกว่าเสนากองที่ ๘ ของท่าน
ลาภ ความสรรเสริญ สักการะและยศที่ได้มาผิด ๆ
เราเรียกว่าเสนากองที่ ๙ ของท่าน
การยกตนและข่มผู้อื่นเราเรียกว่าเสนากองที่ ๑๐ ของท่าน
มารเอ๋ย เสนาของท่านนี้ มีปกติประหารผู้มีธรรมดำ
คนขลาดเอาชนะเสนานั้นไม่ได้
แต่คนกล้า ครั้นชนะได้แล้วย่อมได้ความสุข๑
เมื่อใด เสนามารทั้งหมดและกิเลสที่สร้างเสนาฝ่ายตรงข้ามทั้งปวง ถูกผู้มี
ปัญญาพิชิต และทำให้ปราชัย ถูกทำลาย กำจัด ทำให้ไม่สู้หน้าแล้วด้วยอริยมรรค ๔
เมื่อนั้น ผู้มีปัญญานั้นตรัสเรียกว่า เป็นผู้กำจัดเสนา คือ เป็นผู้กำจัดเสนาในรูป
ที่เห็น กำจัดเสนาในเสียงที่ได้ยิน กำจัดเสนาในอารมณ์ที่รับรู้ และกำจัดเสนาใน
ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้งแล้ว รวมความว่า ผู้มีปัญญานั้น เป็นผู้กำจัดเสนาในธรรมทั้งปวง
คือรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน หรืออารมณ์ที่รับรู้อย่างใดอย่างหนึ่ง
คำว่า ผู้มีปัญญานั้น ผู้เห็น ผู้ประพฤติเปิดเผย อธิบายว่า ผู้มีปัญญานั้น
ผู้เห็นธรรมหมดจด เห็นธรรมสะอาด เห็นธรรมบริสุทธิ์ เห็นธรรมผ่องแผ้ว เห็น
ธรรมผ่องใส อีกนัยหนึ่ง ความเห็นหมดจด ความเห็นสะอาด ความเห็นบริสุทธิ์
ความเห็นผ่องแผ้ว ความเห็นผ่องใส
คำว่า เปิดเผย อธิบายว่า เครื่องปิดบังคือตัณหา เครื่องปิดบังคือทิฏฐิ เครื่อง
ปิดบังคือกิเลส เครื่องปิดบังคือทุจริต เครื่องปิดบังคืออวิชชา เครื่องปิดบังเหล่านั้น
ถูกเปิดเผยแล้ว คือ รื้อออกแล้ว เพิกขึ้นแล้ว เพิกถอนแล้ว ละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว
ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.สุ. ๒๕/๔๓๙-๔๔๒/๔๑๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๑๖ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๔. สุทธัฏฐกสุตตนิทเทส
คำว่า ผู้ประพฤติ ได้แก่ ผู้ประพฤติ คือ เที่ยวไป อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป
เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป รวมความว่า ผู้มีปัญญานั้น ผู้เห็น
ผู้ประพฤติเปิดเผย
คำว่า ใคร ๆ ในโลกนี้จะพึงกำหนด ... ด้วยเหตุอะไรเล่า อธิบายว่า
คำว่า กำหนด ได้แก่ การกำหนด ๒ อย่าง คือ (๑) การกำหนดด้วยอำนาจ
ตัณหา (๒) การกำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิ ... นี้ชื่อว่าการกำหนดด้วยอำนาจตัณหา ...
นี้ชื่อว่าการกำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิ
ผู้มีปัญญานั้นละการกำหนดด้วยอำนาจตัณหาได้แล้ว สลัดทิ้งการกำหนดด้วย
อำนาจทิฏฐิได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละการกำหนดด้วยอำนาจตัณหา สลัดทิ้งการกำหนด
ด้วยอำนาจทิฏฐิได้แล้ว ใคร ๆ จะพึงกำหนดผู้มีปัญญานั้นด้วยราคะ โทสะ โมหะ
มานะ ทิฏฐิ อุทธัจจะ วิจิกิจฉา อนุสัย อะไรเล่าว่า “เป็นผู้กำหนัด เป็นผู้ขัดเคือง
เป็นผู้หลง เป็นผู้ยึดติด เป็นผู้ยึดมั่น เป็นผู้ฟุ้งซ่าน เป็นผู้ลังเล หรือเป็นผู้ตกอยู่ใน
พลังกิเลส”
ผู้มีปัญญานั้นละอภิสังขารเหล่านั้นได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละอภิสังขารได้แล้ว
ใคร ๆ จะพึงกำหนดคติด้วยเหตุอะไรเล่าว่า “เป็นผู้เกิดในนรก เป็นผู้เกิดในกำเนิด
เดรัจฉาน เป็นผู้เกิดในเปตวิสัย เป็นมนุษย์ เป็นเทพ เป็นผู้มีรูป เป็นผู้ไม่มีรูป
เป็นผู้มีสัญญา เป็นผู้ไม่มีสัญญา หรือว่าเป็นผู้มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่”
ใคร ๆ จะพึงกำหนด คือ กำหนดรู้ ถึงการกำหนดรู้ด้วยเหตุ ปัจจัย และการณ์ใด
เหตุ ปัจจัย และการณ์นั้นไม่มี
คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก
อายตนโลก รวมความว่า ใคร ๆ ในโลกนี้จะพึงกำหนด ... ด้วยเหตุอะไรได้เล่า ด้วย
เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
ผู้มีปัญญานั้น เป็นผู้กำจัดเสนาในธรรมทั้งปวง
คือ รูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน หรืออารมณ์ที่รับรู้อย่างใดอย่างหนึ่ง
ใคร ๆ ในโลกนี้จะพึงกำหนดผู้มีปัญญานั้น
ผู้เห็น ผู้ประพฤติเปิดเผย ด้วยเหตุอะไรเล่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๑๗ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๔. สุทธัฏฐกสุตตนิทเทส
[๒๙] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
สัตบุรุษทั้งหลายย่อมไม่กำหนด ไม่เชิดชู
สัตบุรุษเหล่านั้น ไม่กล่าวว่า เป็นความหมดจดสุดโต่ง
สลัดกิเลสเครื่องร้อยรัดอันเป็นเหตุยึดมั่น ที่ร้อยรัดไว้แล้ว
ไม่ก่อความหวังในที่ไหน ๆ ในโลก

ว่าด้วยคุณลักษณะของสัตบุรุษ
คำว่า ย่อมไม่กำหนด ไม่เชิดชู อธิบายว่า
คำว่า กำหนด ได้แก่ การกำหนด ๒ อย่าง คือ (๑) การกำหนดด้วยอำนาจ
ตัณหา (๒) การกำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิ ... นี้ชื่อว่าการกำหนดด้วยอำนาจตัณหา ...
นี้ชื่อว่าการกำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิ
สัตบุรุษเหล่านั้นละการกำหนดด้วยอำนาจตัณหาได้แล้ว สลัดทิ้งการกำหนด
ด้วยอำนาจทิฏฐิได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละการกำหนดด้วยอำนาจตัณหา สลัดทิ้งการ
กำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิได้แล้ว สัตบุรุษ จึงไม่กำหนด คือ ไม่ให้เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น
ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดขึ้น ซึ่งการกำหนดด้วยอำนาจตัณหา หรือการกำหนดด้วย
อำนาจทิฏฐิ รวมความว่า ย่อมไม่กำหนด
คำว่า ไม่เชิดชู อธิบายว่า
คำว่า เชิดชู ได้แก่ การเชิดชู ๒ อย่าง คือ (๑) การเชิดชูด้วยอำนาจตัณหา
(๒) การเชิดชูด้วยอำนาจทิฏฐิ ... นี้ชื่อว่าการเชิดชูด้วยอำนาจตัณหา ... นี้ชื่อว่าการ
เชิดชูด้วยอำนาจทิฏฐิ
สัตบุรุษเหล่านั้นละการเชิดชูด้วยอำนาจตัณหาได้แล้ว สลัดทิ้งการเชิดชูด้วย
อำนาจทิฏฐิได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละการเชิดชูด้วยอำนาจตัณหา สลัดทิ้งการเชิดชูด้วย
อำนาจทิฏฐิได้แล้ว สัตบุรุษก็ไม่เที่ยวเชิดชูตัณหาหรือทิฏฐิไว้ คือ ไม่มีตัณหาเป็น
ธงชัย ไม่มีตัณหาเป็นยอดธง ไม่มีตัณหาเป็นใหญ่ ไม่มีทิฏฐิเป็นธงชัย ไม่มีทิฏฐิเป็น
ยอดธง ไม่มีทิฏฐิเป็นใหญ่ คือไม่ได้ถูกตัณหาหรือทิฏฐิครอบงำเที่ยวไปอยู่ รวม
ความว่า ย่อมไม่กำหนด ไม่เชิดชู

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๑๘ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๔. สุทธัฏฐกสุตตนิทเทส
คำว่า สัตบุรุษเหล่านั้นไม่กล่าวว่า เป็นความหมดจดสุดโต่ง อธิบายว่า
สัตบุรุษ ไม่กล่าว คือ ไม่พูด ไม่บอก ไม่แสดง ไม่ชี้แจง ความหมดจดสุดโต่ง คือ
ความหมดจดโดยการเวียนว่าย ความเห็นว่าการกระทำไม่มีผล มีวาทะว่าเที่ยง
รวมความว่า สัตบุรุษเหล่านั้นไม่กล่าวว่า เป็นความหมดจดสุดโต่ง
คำว่า สลัดกิเลสเครื่องร้อยรัดอันเป็นเหตุยึดมั่น ที่ร้อยรัดไว้แล้ว อธิบายว่า
คำว่า กิเลสเครื่องร้อยรัด ได้แก่ กิเลสเครื่องร้อยรัด ๔ อย่าง คือ
๑. กิเลสเครื่องร้อยรัดกายคืออภิชฌา
๒. กิเลสเครื่องร้อยรัดกายคือพยาบาท
๓. กิเลสเครื่องร้อยรัดกายคือสีลัพพตปรามาส
๔. กิเลสเครื่องร้อยรัดกายคือความถือมั่นว่านี้เท่านั้นจริง
ความกำหนัดในทิฏฐิของตน ชื่อว่ากิเลสเครื่องร้อยรัดกายคืออภิชฌา
ความอาฆาต ความไม่พอใจในวาทะของผู้อื่น ชื่อว่ากิเลสเครื่องร้อยรัดกายคือ
พยาบาท
ความยึดมั่นศีล วัตรหรือศีลวัตรของตน ชื่อว่ากิเลสเครื่องร้อยรัดกายคือ
สีลัพพตปรามาส
ทิฏฐิของตน ชื่อว่ากิเลสเครื่องร้อยรัดกายคืออิทังสัจจาภินิเวส
เพราะเหตุไร จึงเรียกว่า กิเลสเครื่องร้อยรัดอันเป็นเหตุยึดมั่น เพราะสัตว์
ทั้งหลาย ย่อมยึดถือ เข้าไปยึดถือ ถือ ยึดมั่น ถือมั่นรูป ... เวทนา ... สัญญา ... สังขาร
... วิญญาณ ... คติ ... การถือกำเนิด ... ปฏิสนธิ ... ภพ เพราะสัตว์ทั้งหลาย ย่อมยึดถือ
เข้าไปยึดถือ ถือ ยึดมั่น ถือมั่น สังสารวัฏ ด้วยกิเลสเครื่องร้อยรัดเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น
จึงเรียกว่า กิเลสเครื่องร้อยรัดอันเป็นเหตุยึดมั่น
คำว่า สลัด ได้แก่ สละ หรือสลัดกิเลสเครื่องร้อยรัด อีกนัยหนึ่ง สัตบุรุษแก้
หรือ สลัดกิเลสเครื่องร้อยรัด คือกิเลสเครื่องผูกพัน ที่ร้อยรัด รัดรึง ข้อง ติด
เกี่ยว เกี่ยวพัน เกาะติด ติดแน่นแล้ว อธิบายว่า สัตบุรุษ สละ หรือสลัดกิเลส
เครื่องร้อยรัด เหมือนคนทำการปลดปล่อยวอ รถ เกวียน หรือ รถมีเครื่องประดับ
ให้เคลื่อนที่ไปได้ ฉะนั้น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๑๙ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๔. สุทธัฏฐกสุตตนิทเทส
อีกนัยหนึ่ง สัตบุรุษ แก้ หรือสลัดกิเลสเครื่องรัอยรัด คือกิเลสเครื่องผูกพัน
ที่ร้อยรัด รัดรึง ข้อง ติด เกี่ยว เกี่ยวพัน เกาะติด ติดแน่นแล้ว รวมความว่า สลัด
กิเลสเครื่องร้อยรัดอันเป็นเหตุยึดมั่น ที่ร้อยรัดไว้แล้ว
คำว่า ไม่ก่อความหวังในที่ไหน ๆ ในโลก อธิบายว่า ตัณหาตรัสเรียกว่า
ความหวัง คือ ความกำหนัด กำหนัดนัก ... อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ๑
คำว่า ไม่ก่อความหวัง ได้แก่ ไม่ก่อ คือ ไม่ให้เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น ไม่ให้บังเกิด
ไม่ให้บังเกิดขึ้นซึ่งความหวัง
คำว่า ในที่ไหน ๆ ได้แก่ ในที่ไหน คือ ที่ไหน ๆ ที่ไร ๆ ภายใน ภายนอก
หรือทั้งภายในและภายนอก
คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก ... อายตนโลก รวมความว่า ไม่ก่อ
ความหวังในที่ไหน ๆ ในโลก ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
สัตบุรุษทั้งหลายย่อมไม่กำหนด ไม่เชิดชู
สัตบุรุษเหล่านั้น ไม่กล่าวว่า เป็นความหมดจดสุดโต่ง
สลัดกิเลสเครื่องร้อยรัดอันเป็นเหตุยึดมั่น ที่ร้อยรัดไว้แล้ว
ไม่ก่อความหวังในที่ไหน ๆ ในโลก
[๓๐] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
พระอรหันต์เป็นผู้ไปพ้นเขตแดนแล้ว เป็นพราหมณ์
เพราะรู้และเห็น พระอรหันต์นั้น จึงไม่มีความถือมั่น
พระอรหันต์ไม่มีความกำหนัดในกามคุณเป็นที่กำหนัด
ไม่กำหนัดในสมาบัติเป็นที่คลายกำหนัด
พระอรหันต์นั้น จึงไม่มีความถือมั่นว่า ยอดเยี่ยมในโลกนี้

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๓/๑๐-๑๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๒๐ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๔. สุทธัฏฐกสุตตนิทเทส
ว่าด้วยพระอรหันต์
คำว่า พระอรหันต์เป็นผู้ไปพ้นเขตแดนแล้ว เป็นพราหมณ์ เพราะรู้และ
เห็น พระอรหันต์นั้น จึงไม่มีความถือมั่น อธิบายว่า
คำว่า เขตแดน ได้แก่ เขตแดน ๔ อย่าง คือ
๑. สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย และ
เหล่ากิเลสที่อยู่ในพวกเดียวกันนั้น นี้เป็นเขตแดนที่ ๑
๒. กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์อย่างหยาบ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย
อย่างหยาบ และเหล่ากิเลสที่อยู่ในพวกเดียวกันนั้น นี้เป็นเขตแดนที่ ๒
๓. กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์อย่างละเอียด กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย
อย่างละเอียด และเหล่ากิเลสที่อยู่ในพวกเดียวกันนั้น นี้เป็นเขตแดนที่ ๓
๔. รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย
อวิชชานุสัย และเหล่ากิเลสที่อยู่ในพวกเดียวกันนั้น นี้เป็นเขตแดนที่ ๔
เพราะพระอรหันต์ เป็นผู้ก้าวล่วง คือ ก้าวพ้น ล่วงพ้น เขตแดนทั้ง ๔ เหล่านี้
ด้วยอริยมรรค ๔ พระอรหันต์นั้น จึงตรัสเรียกว่า ผู้ไปพ้นเขตแดนแล้ว
คำว่า เป็นพราหมณ์ อธิบายว่า ที่ชื่อว่าพราหมณ์ เพราะลอยธรรม ๗ ประการ
ได้แล้ว คือ
๑. ลอยสักกายทิฏฐิได้แล้ว
๒. ลอยวิจิกิจฉาได้แล้ว
๓. ลอยสีลัพพตปรามาสได้แล้ว ... ไม่มีตัณหาและทิฏฐิอาศัย เป็นผู้มั่นคง
บัณฑิตเรียกผู้นั้นว่าเป็นพราหมณ์๑
คำว่า นั้น ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ
คำว่า เพราะรู้ ได้แก่ เพราะรู้ด้วยปรจิตตญาณ(ญาณเป็นเครื่องรู้จิตของผู้อื่น)
หรือ รู้ด้วยปุพเพนิวาสานุสสติญาณ(ญาณเป็นเครื่องระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ก่อน)
คำว่า เพราะเห็น ได้แก่ เพราะเห็นด้วยมังสจักขุ หรือ เห็นด้วยทิพพจักขุ
คำว่า พระอรหันต์เป็นผู้ไปพ้นเขตแดนแล้ว เป็นพราหมณ์ เพราะรู้และ
เห็น พระอรหันต์นั้น จึงไม่มีความถือมั่น อธิบายว่า พระอรหันต์นั้น ไม่มี คือ

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๒๕/๑๐๔-๑๐๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๒๑ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๔. สุทธัฏฐกสุตตนิทเทส
ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้ ซึ่งความถือ ความยึดมั่น ความถือมั่น ความติดใจ
ความน้อมใจเชื่อว่า สิ่งนี้ เยี่ยม ยอด ประเสริฐ วิเศษ นำหน้า สูงสุด ประเสริฐสุด
คือ ความถือมั่นนั้นพระอรหันต์ละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับ
ได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า พระอรหันต์
เป็นผู้ไปพ้นเขตแดนแล้ว เป็นพราหมณ์ เพราะรู้และเห็น พระอรหันต์นั้น จึงไม่มี
ความถือมั่น
คำว่า ไม่เป็นผู้กำหนัดในกามคุณเป็นที่กำหนัด ไม่กำหนัดในสมาบัติเป็น
ที่คลายกำหนัด อธิบายว่า ชนเหล่าใดกำหนัด คือ ยินดี ติดใจ สยบ หมกมุ่น
เกาะติด เกี่ยวพัน พัวพันในกามคุณ ๕ ชนเหล่านั้น ตรัสเรียกว่า ผู้กำหนัดใน
กามคุณเป็นที่กำหนัด ชนเหล่าใดกำหนัด คือ ยินดี ติดใจ สยบ หมกมุ่น เกาะติด
เกี่ยวพัน พัวพันในรูปาวจรสมาบัติ และอรูปาวจรสมาบัติ ชนเหล่านั้นตรัสเรียกว่า
ผู้กำหนัดในสมาบัติเป็นที่คลายกำหนัด
คำว่า ไม่เป็นผู้กำหนัดในกามคุณเป็นที่กำหนัด ไม่กำหนัดในสมาบัติเป็นที่
คลายกำหนัด อธิบายว่า เมื่อใด พระอรหันต์ละกามราคะ รูปราคะ และอรูปราคะ
ได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่
พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ เมื่อนั้น พระอรหันต์ จึงชื่อว่าเป็นผู้ไม่
กำหนัดในกามคุณเป็นที่กำหนัด ไม่กำหนัดในสมาบัติเป็นที่คลายกำหนัด
คำว่า นั้น ในคำว่า พระอรหันต์นั้น ไม่มีความถือมั่นว่ายอดเยี่ยมในโลกนี้
ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ พระอรหันต์นั้นไม่มีความถือ ความยึดมั่น ความ
ถือมั่น ความติดใจ ความน้อมใจเชื่อว่า สิ่งนี้ เยี่ยม ยอด ประเสริฐ วิเศษ
นำหน้า สูงสุด ประเสริฐสุด
คำว่า ไม่มี ได้แก่ ไม่มี คือ ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้ ได้แก่ ความถือมั่นนั้น
พระอรหันต์ละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่
ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า พระอรหันต์นั้น จึงไม่มีความถือมั่น
ว่ายอดเยี่ยมในโลกนี้ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๒๒ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๕. ปรมัฏฐกสุตตนิทเทส
พระอรหันต์เป็นผู้ไปพ้นเขตแดนแล้ว เป็นพราหมณ์
เพราะรู้และเห็น พระอรหันต์นั้น จึงไม่มีความถือมั่น
พระอรหันต์ไม่มีความกำหนัดในกามคุณเป็นที่กำหนัด
ไม่กำหนัดในสมาบัติเป็นที่คลายกำหนัด
พระอรหันต์นั้น จึงไม่มีความถือมั่นว่า ยอดเยี่ยมในโลกนี้
สุทธัฏฐกสุตตนิทเทสที่ ๔ จบ

๕. ปรมัฏฐกสุตตนิทเทส๑
อธิบายปรมัฏฐกสูตร
ว่าด้วยผู้ยึดถืออยู่ในทิฏฐิ
พระสารีบุตรเถระจะกล่าวอธิบายปรมัฏฐกสูตร ดังต่อไปนี้
[๓๑] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
สัตว์เกิดผู้ยึดถือในทิฏฐิทั้งหลายว่า ยอดเยี่ยม
ย่อมทำทิฏฐิใดให้ยิ่งใหญ่ในโลก
กล่าวทิฏฐิอื่นทุกอย่าง นอกจากทิฏฐินั้นว่า เลว
เพราะฉะนั้น สัตว์เกิดนั้นจึงไม่ล่วงพ้นการวิวาทไปได้
คำว่า ยึดถือในทิฏฐิทั้งหลายว่า ยอดเยี่ยม อธิบายว่า มีสมณพราหมณ์
พวกหนึ่ง เป็นเจ้าลัทธิ สมณพราหมณ์เหล่านั้น จับ ยึด ถือ ยึดมั่น ถือมั่นทิฏฐิ
อย่างใดอย่างหนึ่งในทิฏฐิ ๖๒ ว่า “ทิฏฐินี้ เยี่ยม ยอด ประเสริฐ วิเศษ นำหน้า
สูงสุด ประเสริฐสุด” ย่อมอยู่ อยู่ร่วม อยู่อาศัย อยู่ครองด้วยทิฏฐิของตน ๆ อธิบาย
ว่า พวกคนครองเรือนก็อยู่ในเรือน บรรพชิตที่มีอาบัติก็อยู่ในอาบัติ ผู้มีกิเลสก็อยู่ใน
กิเลสทั้งหลาย ฉันใด มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งเป็นเจ้าลัทธิ สมณพราหมณ์เหล่านั้น

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.สุ. ๒๕/๘๐๓-๘๑๐/๔๙๒-๔๙๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๒๓ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๕. ปรมัฏฐกสุตตนิทเทส
จับ ยึด ถือ ยึดมั่น ถือมั่นทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่งในทิฏฐิ ๖๒ ว่า “ทิฏฐินี้เยี่ยม
ยอด ประเสริฐ วิเศษ นำหน้า สูงสุด ประเสริฐสุด” ย่อมอยู่ อยู่ร่วม อยู่อาศัย
อยู่ครองด้วยทิฏฐิของตน ๆ ฉันนั้นเหมือนกัน รวมความว่า ผู้ยึดถือในทิฏฐิทั้งหลายว่า
ยอดเยี่ยม
คำว่า ทิฏฐิใด ในคำว่า สัตว์เกิด ...ย่อมทำทิฏฐิใดให้ยิ่งใหญ่ในโลก ได้แก่
ลัทธิใด
คำว่า ย่อมทำให้ยิ่งใหญ่ ได้แก่ ย่อมทำให้ยิ่งใหญ่ คือ ย่อมทำให้ยอดเยี่ยม
ประเสริฐ วิเศษ นำหน้า สูงสุด ประเสริฐสุด อธิบายว่า ย่อมทำให้ยิ่งใหญ่ คือ ทำให้
ยอดเยี่ยม ประเสริฐ วิเศษ นำหน้า สูงสุด ประเสริฐสุด คือให้บังเกิด ให้บังเกิดขึ้นว่า
“ศาสดานี้เป็นสัพพัญญู ธรรมนี้ศาสดากล่าวสอนไว้ดีแล้ว หมู่คณะนี้ปฏิบัติดีแล้ว
ทิฏฐินี้เป็นสิ่งที่เจริญ ปฏิปทานี้ศาสดาบัญญัติไว้ดีแล้ว มรรคนี้เป็นทางนำออก
จากทุกข์”
คำว่า สัตว์เกิด ได้แก่ สัตว์ นรชน ... มนุษย์๑
คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก ... อายตนโลก๒ รวมความว่า สัตว์เกิด ...
ย่อมทำทิฏฐิใดให้ยิ่งใหญ่ในโลก
คำว่า กล่าวทิฏฐิอื่นทุกอย่างนอกจากทิฏฐินั้นว่า เลว อธิบายว่า สัตว์เกิดนั้น
ย่อมทิ้ง ละทิ้ง ทอดทิ้งลัทธิอื่นทุกอย่าง นอกจากศาสดา ธรรมที่ศาสดากล่าวสอน
หมู่คณะ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรค ของตน กล่าวคือ พูด บอก แสดง ชี้แจงอย่างนี้ว่า
“ศาสดานั้น มิใช่สัพพัญญู ธรรมมิใช่ศาสดากล่าวสอนไว้ดีแล้ว หมู่คณะมิใช่ผู้ปฏิบัติ
ดีแล้ว ทิฏฐิมิใช่สิ่งที่เจริญ ปฏิปทามิใช่ศาสดาบัญญัติไว้ดีแล้ว มรรคมิใช่ทางนำออก
จากทุกข์ ในลัทธินั้นไม่มีความหมดจด ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป
ความพ้นไป หรือความหลุดพ้นไป คือ ในลัทธินั้น สัตว์ทั้งหลายย่อมหมดจด
สะอาด บริสุทธิ์ หลุดไป พ้นไป หรือหลุดพ้นไปไม่ได้ สัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้เลว คือ

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๑/๔
๒ ดูรายละเอียดข้อ ๓/๑๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๒๔ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๕. ปรมัฏฐกสุตตนิทเทส
ทราม ต่ำทราม น่ารังเกียจ หยาบช้า ต่ำต้อย” รวมความว่า กล่าวทิฏฐิอื่น
ทุกอย่างนอกจาก ทิฏฐินั้นว่าเลว
คำว่า เพราะฉะนั้น ในคำว่า เพราะฉะนั้น สัตว์เกิดนั้นจึงไม่ล่วงพ้นการ
วิวาทไปได้ ได้แก่ เพราะการณ์นั้น เพราะเหตุนั้น เพราะปัจจัยนั้น เพราะ
ต้นเหตุนั้น
คำว่า การวิวาท ได้แก่ การทะเลาะเพราะทิฏฐิ การบาดหมางเพราะทิฏฐิ การ
แก่งแย่งเพราะทิฏฐิ การวิวาทเพราะทิฏฐิ การมุ่งร้ายกันเพราะทิฏฐิ
คำว่า ไม่ล่วงพ้นไปได้ ได้แก่ ไม่ก้าวล่วง ไม่ก้าวพ้น ไม่ล่วงพ้น รวมความว่า
เพราะฉะนั้น จึงไม่ล่วงพ้นการวิวาทไปได้ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
สัตว์เกิดผู้ยึดถือในทิฏฐิทั้งหลายว่า ยอดเยี่ยม
ย่อมทำทิฏฐิใดให้ยิ่งใหญ่ในโลก
กล่าวทิฏฐิอื่นทุกอย่าง นอกจากทิฏฐินั้นว่า เลว
เพราะฉะนั้น สัตว์เกิดนั้น จึงไม่ล่วงพ้นการวิวาทไปได้
[๓๒] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
เจ้าลัทธิเห็นอานิสงส์ใดในตน ในรูปที่เห็น
ในเสียงที่ได้ยิน ในศีลวัตร หรือในอารมณ์ที่รับรู้
เจ้าลัทธินั้นยึดมั่นทิฏฐินั้นในลัทธิของตนนั้น
เห็นทิฏฐิอื่นทั้งปวงโดยความเป็นของเลว

ว่าด้วยอานิสงส์ในทิฏฐิ
คำว่า (อานิสงส์)ใดในตน ในคำว่า เห็นอานิสงส์ใดในตน ในรูปที่เห็น
ในเสียงที่ได้ยิน ในศีลวัตร หรือในอารมณ์ที่รับรู้ ได้แก่ อานิสงส์ใดในตน
ทิฏฐิ ตรัสเรียกว่า ตน เจ้าลัทธินั้นเห็นอานิสงส์ ๒ อย่าง แห่งทิฏฐิของตน คือ
(๑) อานิสงส์ที่มีในชาตินี้ (๒) อานิสงส์ที่มีในชาติหน้า
อานิสงส์แห่งทิฏฐิที่มีในชาตินี้ เป็นอย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๒๕ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๕. ปรมัฏฐกสุตตนิทเทส
คือ ศาสดามีทิฏฐิอย่างใด สาวกก็มีทิฏฐิอย่างนั้น คือ สาวกย่อมสักการะ
เคารพ นับถือ บูชา ทำความยำเกรงศาสดาผู้มีทิฏฐิอย่างนั้น และได้จีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขารซึ่งมีศาสดานั้นเป็นต้นเหตุ นี้ชื่อว่าอานิสงส์แห่ง
ทิฏฐิที่มีในชาตินี้
อานิสงส์แห่งทิฏฐิที่มีในชาติหน้า เป็นอย่างไร
คือ บุคคลย่อมหวังผลต่อไปว่า ทิฏฐินี้ ควรเพื่อความเป็นนาค เป็นครุฑ
เป็นยักษ์ เป็นอสูร เป็นคนธรรพ์ เป็นท้าวมหาราช เป็นพระอินทร์ เป็นพระพรหม
หรือเป็นเทวดา ทิฏฐินี้ ควรเพื่อความหมดจด ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความ
หลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไป สัตวทั้งหลายย่อมหมดจด สะอาด บริสุทธิ์
หลุดไป พ้นไป หลุดพ้นไปด้วยทิฏฐินี้ เราจักหมดจด สะอาด บริสุทธิ์ หลุดไป พ้นไป
หลุดพ้นไปด้วยทิฏฐินี้ นี้ชื่อว่าอานิสงส์แห่งทิฏฐิที่มีในชาติหน้า
เจ้าลัทธิเห็นอานิสงส์ ๒ อย่างแห่งทิฏฐิของตน คือ เห็นอานิสงส์ ๒ อย่าง
เพราะความหมดจดแห่งรูปที่เห็น เห็นอานิสงส์ ๒ อย่าง เพราะความหมดจดแห่ง
เสียงที่ได้ยิน เห็นอานิสงส์ ๒ อย่าง เพราะความหมดจดแห่งศีล เห็นอานิสงส์
๒ อย่าง เพราะความหมดจดแห่งวัตร เห็นอานิสงส์ ๒ อย่าง เพราะความหมดจด
แห่งอารมณ์ที่รับรู้ คือ (๑) อานิสงส์ที่มีในชาตินี้ (๒) อานิสงส์ที่มีในชาติหน้า
อานิสงส์เพราะความหมดจดแห่งอารมณ์ที่รับรู้ในชาตินี้ เป็นอย่างไร
คือ ศาสดามีทิฏฐิอย่างใด สาวกก็มีทิฏฐิอย่างนั้น ... นี้ชื่อว่าอานิสงส์เพราะ
ความหมดจดแห่งอารมณ์ที่รับรู้ ในชาตินี้
อานิสงส์เพราะความหมดจดแห่งอารมณ์ที่รับรู้ในชาติหน้า เป็นอย่างไร
คือ ทิฏฐินี้ควรเพื่อความเป็นนาค ... นี้ชื่อว่าอานิสงส์เพราะความหมดจดแห่ง
อารมณ์ที่รับรู้ ในชาติหน้า
เจ้าลัทธิเห็น คือ แลเห็น ตรวจดู เพ่งพินิจ พิจารณาดูอานิสงส์เพราะความ
หมดจดด้วยอารมณ์ที่รู้แล้ว ๒ อย่าง เหล่านี้ รวมความว่า มองเห็นอานิสงส์ใดในตน
ในรูปที่เห็น ในเสียงที่ได้ยิน ในศีลวัตร หรือในอารมณ์ที่รับรู้
คำว่า นั้น ในคำว่า เจ้าลัทธินั้นยึดมั่นทิฏฐิของตนนั้น ได้แก่ ทิฏฐินั้น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๒๖ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๕. ปรมัฏฐกสุตตนิทเทส
คำว่า ในลัทธิของตนนั้น ได้แก่ ในทิฏฐิของตน คือ ในความถูกใจของตน
ความพอใจของตน ลัทธิของตน
คำว่า ยึดมั่น ได้แก่ จับ ยึด ถือ ยึดมั่น ถือมั่นว่า ทิฏฐินี้ เยี่ยม ยอด ประเสริฐ
วิเศษ นำหน้า สูงสุด ประเสริฐสุด รวมความว่า เจ้าลัทธินั้นยึดมั่นทิฏฐินั้นในลัทธิ
ของตนนั้น
คำว่า เห็นทิฏฐิอื่นทั้งปวง โดยความเป็นของเลว อธิบายว่า เห็น คือ แลเห็น
ตรวจดู เพ่งพินิจ พิจารณาดู ศาสดา ธรรมที่ศาสดากล่าวสอน หมู่คณะ ทิฏฐิ
ปฏิปทา มรรคอื่น โดยความเป็นของเลว คือ ทราม ต่ำทราม น่ารังเกียจ หยาบช้า
ต่ำต้อย รวมความว่า เห็นทิฏฐิอื่นทั้งปวงโดยความเป็นของเลว ด้วยเหตุนั้น พระผู้มี-
พระภาคจึงตรัสว่า
เจ้าลัทธิเห็นอานิสงส์ใดในตน ในรูปที่เห็น
ในเสียงที่ได้ยิน ในศีลวัตร หรือในอารมณ์ที่รับรู้
เจ้าลัทธินั้นยึดมั่นทิฏฐินั้นในลัทธิของตนนั้น
เห็นทิฏฐิอื่นทั้งปวงโดยความเป็นของเลว
[๓๓] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
บุคคลอาศัยศาสดาใด เห็นศาสดาอื่นว่าเลว
ผู้ฉลาดทั้งหลายเรียกศาสดานั้นว่า เป็นเครื่องร้อยรัด
เพราะฉะนั้นแล ภิกษุจึงไม่ควรอาศัยรูปที่เห็น
เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่รับรู้ หรือศีลวัตร

ว่าด้วยความเห็นของผู้ฉลาด
คำว่า ผู้ฉลาดทั้งหลาย ในคำว่า ผู้ฉลาดทั้งหลายเรียกศาสดานั้นว่า เป็น
เครื่องร้อยรัด อธิบายว่า ผู้ฉลาดในขันธ์ ผู้ฉลาดในธาตุ ผู้ฉลาดในอายตนะ ผู้ฉลาด
ในปฏิจจสมุปบาท ผู้ฉลาดในสติปัฏฐาน ผู้ฉลาดในสัมมัปปธาน ผู้ฉลาดในอิทธิบาท
ผู้ฉลาดในอินทรีย์ ผู้ฉลาดในพละ ผู้ฉลาดในโพชฌงค์ ผู้ฉลาดในมรรค ผู้ฉลาดในผล
ผู้ฉลาดในนิพพาน ผู้ฉลาดเหล่านั้นเรียกอย่างนี้ คือ พูด บอก แสดง ชี้แจง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๒๗ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๕. ปรมัฏฐกสุตตนิทเทส
อย่างนี้ว่า “นี้เป็นเครื่องร้อยรัด นี้เป็นเครื่องข้อง นี้เป็นเครื่องผูกพัน นี้เป็นเครื่อง
กังวล” รวมความว่า ผู้ฉลาดทั้งหลายเรียกศาสดานั้นว่า เป็นเครื่องร้อยรัด
คำว่า บุคคลอาศัยศาสดาใด ในคำว่า บุคคลอาศัยศาสดาใด เห็นศาสดา
อื่นว่าเลว อธิบายว่า อาศัย คือ อิงอาศัย ติด ติดแน่น ติดใจ น้อมใจเชื่อศาสดา
ธรรมที่ศาสดากล่าวสอน หมู่คณะ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรคใด
คำว่า เห็นศาสดาอื่นว่าเลว อธิบายว่า เห็น คือ แลเห็น ตรวจดู เพ่งพินิจ
พิจารณาดูศาสดา ธรรมที่ศาสดากล่าวสอน หมู่คณะ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรคอื่น โดย
ความเป็นของเลว คือ ทราม ต่ำทราม น่ารังเกียจ หยาบช้า ต่ำต้อย รวมความว่า
บุคคลอาศัยศาสดาใดเห็นศาสดาอื่นว่าเลว
คำว่า เพราะฉะนั้น ในคำว่า เพราะฉะนั้นแล ภิกษุจึงไม่ควรอาศัยรูปที่
เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่รับรู้ หรือศีลวัตร อธิบายว่า เพราะฉะนั้น คือ เพราะ
การณ์นั้น เพราะเหตุนั้น เพราะปัจจัยนั้น เพราะต้นเหตุนั้น ภิกษุจึงไม่พึงอาศัย คือ
ไม่พึงถือ ไม่พึงยึดมั่น ไม่พึงถือมั่นรูปที่เห็น หรือความหมดจดแห่งรูปที่เห็น
เสียงที่ได้ยิน หรือความหมดจดแห่งเสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่รับรู้ หรือความหมดจด
แห่งอารมณ์ที่รับรู้ ศีล หรือความหมดจดแห่งศีล วัตร หรือความหมดจดแห่งวัตร
รวมความว่า เพราะฉะนั้นแล ภิกษุจึงไม่ควรอาศัยรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์
ที่รับรู้ หรือศีลวัตร ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
บุคคลอาศัยศาสดาใด เห็นศาสดาอื่นว่าเลว
ผู้ฉลาดทั้งหลายเรียกศาสดานั้นว่า เป็นเครื่องร้อยรัด๑
เพราะฉะนั้นแล ภิกษุจึงไม่ควรอาศัยรูปที่เห็น
เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่รับรู้ หรือศีลวัตร

เชิงอรรถ :
๑ เครื่องร้อยรัด คือทรรศนะที่อาศัยศาสดาของตนผู้เห็นอยู่เป็นต้น และทรรศนะอื่นมีศาสดาอื่นเป็นต้น โดย
ความเป็นของเลว นี้เป็นกิเลสเครื่องร้อยรัด คือผูกพัน (ขุ.ม.อ. ๓๓/๒๓๘) และดูประกอบในข้อ ๙๒/๒๘๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๒๘ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๕. ปรมัฏฐกสุตตนิทเทส
[๓๔] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
ภิกษุไม่พึงกำหนดทิฏฐิในโลกด้วยญาณ หรือแม้ด้วยศีลวัตร
ไม่พึงเอาตนเข้าไปเทียบว่าเสมอเขา
ไม่พึงสำคัญตนว่า ด้อยกว่าเขา หรือแม้เลิศกว่าเขา

ว่าด้วยภิกษุไม่พึงมีทิฏฐิมานะ
คำว่า ไม่พึงกำหนดทิฏฐิในโลกด้วยญาณ หรือแม้ด้วยศีลวัตร อธิบายว่า
ไม่พึงกำหนด คือ ไม่พึงให้เกิด ไม่พึงให้เกิดขึ้น ไม่พึงให้บังเกิด ไม่พึงให้บังเกิดขึ้น
ซึ่งทิฏฐิด้วยญาณในสมาบัติ๑ ๘ ญาณในอภิญญา๒ ๕ มิจฉาญาณ ศีล วัตร หรือ
ทั้งศีลและวัตร
คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก
อายตนโลก รวมความว่า ไม่พึงกำหนดทิฏฐิในโลกด้วยญาณ หรือแม้ด้วยศีลวัตร
คำว่า ไม่พึงเอาตนเข้าไปเทียบว่า เสมอเขา อธิบายว่า ไม่พึงเอาตนเข้าไป
เทียบว่า “เราเป็นเช่นเดียวกับเขา” ด้วยชาติ โคตร ความเป็นบุตรของตระกูล ความ
เป็นผู้มีรูปงาม ทรัพย์ การศึกษา หน้าที่การงาน หลักแห่งศิลปวิทยา วิทยฐานะ
ความคงแก่เรียน ปฏิภาณ หรือสิ่งอื่นนอกจากที่กล่าวแล้ว รวมความว่า ไม่พึงเอา
ตนเข้าไปเทียบว่า เสมอเขา
คำว่า ไม่พึงสำคัญตนว่าด้อยกว่าเขา หรือแม้เลิศกว่าเขา อธิบายว่า ไม่พึง
เอาตนเข้าไปเทียบว่า “เราด้อยกว่าเขา” ด้วยชาติ โคตร ... หรือสิ่งอื่นนอกจากที่
กล่าวแล้ว ไม่พึงเอาตนเข้าไปเทียบว่า “เราเลิศกว่าเขา” ด้วยชาติ โคตร ... หรือ
สิ่งอื่นนอกจากที่กล่าวแล้ว รวมความว่า ไม่พึงสำคัญตนว่าด้อยกว่าเขา หรือ
แม้เลิศกว่าเขา ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถข้อ ๖/๒๕
๒ ดูเชิงอรรถข้อ ๓๘/๑๔๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๒๙ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๕. ปรมัฏฐกสุตตนิทเทส
ภิกษุไม่พึงกำหนดทิฏฐิในโลกด้วยญาณ หรือแม้ด้วยศีลวัตร
ไม่พึงเอาตนเข้าไปเทียบว่าเสมอเขา
ไม่พึงสำคัญตนว่า ด้อยกว่าเขา หรือแม้เลิศกว่าเขา
[๓๕] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
ภิกษุนั้นละตนแล้วไม่ยึดถือ ไม่สร้างนิสัยแม้ด้วยญาณ
เมื่อชนทั้งหลายแตกกัน ภิกษุนั้นก็ไม่เข้าเป็นฝักเป็นฝ่าย
ภิกษุนั้นไม่ถือแม้ทิฏฐิอะไร ๆ
คำว่า ละตนแล้ว ในคำว่า ละตนแล้วไม่ยึดถือ ได้แก่ ละความเห็นว่าเป็นตน
อีกนัยหนึ่ง คำว่า ละตนแล้ว ได้แก่ ละความถือ
อีกนัยหนึ่ง คำว่า ละตนแล้ว ได้แก่ ละ คือ ละเว้น บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป
ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งความถือ ความยึดมั่น ความถือมั่น ความติดใจ ความน้อมใจ
เชื่อ ด้วยอำนาจตัณหา ด้วยอำนาจทิฏฐิ ชื่อว่าละตนแล้ว
คำว่า ไม่ยึดถือ ได้แก่ ไม่ยึดถือ คือ ไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น ด้วย
อุปาทาน ๔ รวมความว่า ละตนแล้วไม่ยึดถือ
คำว่า ภิกษุนั้น ... ไม่สร้างนิสัยด้วยญาณ อธิบายว่า ไม่สร้าง คือ ไม่ให้เกิด
ไม่ให้เกิดขึ้น ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดขึ้น ซึ่งนิสัยด้วยอำนาจตัณหา หรือนิสัยด้วย
อำนาจทิฏฐิ ด้วยญาณในสมาบัติ ๘ ด้วยญาณในอภิญญา ๕ หรือด้วยมิจฉาญาณ
รวมความว่า ภิกษุนั้น ... ไม่สร้างนิสัยแม้ด้วยญาณ
คำว่า เมื่อชนทั้งหลายแตกกัน ภิกษุนั้นก็ไม่เข้าเป็นฝักเป็นฝ่าย อธิบายว่า
เมื่อชนทั้งหลายแตกกัน คือแยกกัน ถึงความเป็น ๒ ฝ่าย กลายเป็นคน ๒ พวก มี
ความเห็นต่างกัน มีความพอใจต่างกัน มีความชอบใจต่างกัน มีลัทธิต่างกัน อาศัย
นิสัยด้วยอำนาจทิฏฐิต่างกัน ถึงฉันทาคติ(ลำเอียงเพราะชอบ) ถึงโทสาคติ(ลำเอียง
เพราะชัง) ถึงโมหาคติ(ลำเอียงเพราะหลง) ถึงภยาคติ(ลำเอียงเพราะกลัว) ภิกษุนั้นก็
ไม่ถึงฉันทาคติ ไม่ถึงโทสาคติ ไม่ถึงโมหาคติ ไม่ถึงภยาคติ คือ ไม่ดำเนินไปด้วย
อำนาจราคะ ไม่ดำเนินไปด้วยอำนาจโทสะ ไม่ดำเนินไปด้วยอำนาจโมหะ ไม่ดำเนิน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๓๐ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๕. ปรมัฏฐกสุตตนิทเทส
ไปด้วยอำนาจมานะ ไม่ดำเนินไปด้วยอำนาจทิฏฐิ ไม่ดำเนินไปด้วยอำนาจอุทธัจจะ ไม่
ดำเนินไปด้วยอำนาจวิจิกิจฉา ไม่ดำเนินไปด้วยอำนาจอนุสัย ได้แก่ ไม่ไป คือ ไม่
ออกไป ไม่ถูกพาไป ไม่ถูกนำไปด้วยธรรมที่ก่อความเป็นฝักเป็นฝ่าย รวมความว่า
เมื่อชนทั้งหลายแตกกัน ภิกษุนั้นก็ไม่เข้าเป็นฝักเป็นฝ่าย
คำว่า ภิกษุนั้นไม่ถือแม้ทิฏฐิอะไร ๆ อธิบายว่า ทิฏฐิทั้ง ๖๒ ภิกษุนั้นละ
ได้แล้ว คือ ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผา
ด้วยไฟคือญาณแล้ว ภิกษุนั้นจึงไม่ถือ คือไม่หวนกลับมาหาทิฏฐิอะไร ๆ อีก รวม
ความว่า ภิกษุนั้นไม่ถือแม้ทิฏฐิอะไร ๆ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
ภิกษุนั้นละตนแล้วไม่ยึดถือ ไม่สร้างนิสัยแม้ด้วยญาณ
เมื่อชนทั้งหลายแตกกัน ภิกษุนั้นก็ไม่เข้าเป็นฝักเป็นฝ่าย
ภิกษุนั้นไม่ถือแม้ทิฏฐิอะไร ๆ
[๓๖] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
พระอรหันต์ใด ผู้ไม่มีความคนึงหาในส่วนสุดทั้ง ๒ ด้าน
ในโลกนี้ ในภพน้อยภพใหญ่ ในโลกนี้หรือในโลกหน้า
พระอรหันต์นั้นจึงไม่มีเครื่องอยู่อะไร ๆ
ความตกลงใจในธรรมทั้งหลายแล้วถือมั่นก็ไม่มี

ว่าด้วยภูมิธรรมของพระอรหันต์
คำว่า ใด ในคำว่า พระอรหันต์ใด ผู้ไม่มีความคนึงหาในส่วนสุดทั้ง ๒ ด้าน
ในโลกนี้ ในภพน้อยภพใหญ่ ในโลกนี้หรือในโลกหน้า ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ
คำว่า ส่วนสุด อธิบายว่า
ผัสสะเป็นส่วนสุดด้านหนึ่ง เหตุเกิดแห่งผัสสะเป็นส่วนสุดอีกด้านหนึ่ง
อดีตเป็นส่วนสุดด้านหนึ่ง อนาคตเป็นส่วนสุดอีกด้านหนึ่ง
สุขเวทนาเป็นส่วนสุดด้านหนึ่ง ทุกขเวทนาเป็นส่วนสุดอีกด้านหนึ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๓๑ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๕. ปรมัฏฐกสุตตนิทเทส
นามเป็นส่วนสุดด้านหนึ่ง รูปเป็นส่วนสุดอีกด้านหนึ่ง
อายตนะภายใน ๖ เป็นส่วนสุดด้านหนึ่ง อายตนะภายนอก ๖ เป็นส่วนสุด
อีกด้านหนึ่ง
ความถือตัวเป็นส่วนสุดด้านหนึ่ง เหตุเกิดแห่งความถือตัวเป็นส่วนสุดอีกด้านหนึ่ง
ตัณหาตรัสเรียกว่า ความคนึงหา ได้แก่ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ...
อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ๑
คำว่า ในภพน้อยภพใหญ่ อธิบายว่า ในภพน้อยภพใหญ่ คือ ในกรรมวัฏและ
วิปากวัฏ ในกรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในกามภพ ในวิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดในกามภพ
ในกรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในรูปภพ ในวิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดในรูปภพ ในกรรมวัฏ
เป็นเครื่องเกิดในอรูปภพ ในวิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดในอรูปภพ ในภพต่อไป ในคติ
ต่อไป ในการถือกำเนิดต่อไป ในปฏิสนธิต่อไป ในความบังเกิดแห่งอัตภาพต่อไป
คำว่า โลกนี้ ได้แก่ อัตภาพของตน
คำว่า โลกหน้า ได้แก่ อัตภาพของผู้อื่น
อีกนัยหนึ่ง คำว่า โลกนี้ ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ของตน
คำว่า โลกหน้า ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ของผู้อื่น
อีกนัยหนึ่ง คำว่า โลกนี้ ได้แก่ อายตนะภายใน ๖
คำว่า โลกหน้า ได้แก่ อายตนะภายนอก ๖
คำว่า โลกนี้ ได้แก่ มนุษยโลก
คำว่า โลกหน้า ได้แก่ เทวโลก
คำว่า โลกนี้ ได้แก่ กามธาตุ
คำว่า โลกหน้า ได้แก่ รูปธาตุ อรูปธาตุ
คำว่า โลกนี้ ได้แก่ กามธาตุ รูปธาตุ
คำว่า โลกหน้า ได้แก่ อรูปธาตุ
คำว่า พระอรหันต์ใด ผู้ไม่มีความคนึงหาในส่วนสุดทั้ง ๒ ด้าน ในโลกนี้
ในภพน้อยภพใหญ่ ในโลกนี้หรือในโลกหน้า อธิบายว่า พระอรหันต์ใด ย่อมไม่มี
คือ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้ซึ่งตัณหา เป็นที่คนึงหาในส่วนสุดทั้ง ๒ ด้านในภพน้อยภพใหญ่

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๓/๑๐-๑๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๓๒ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๕. ปรมัฏฐกสุตตนิทเทส
ในโลกนี้ หรือในโลกหน้า คือ ตัณหา พระอรหันต์ใดละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้
สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า
พระอรหันต์ใด ผู้ไม่มีความคนึงหาในส่วนสุดทั้ง ๒ ด้าน ในโลกนี้ ในภพน้อยภพใหญ่
ในโลกนี้หรือในโลกหน้า
คำว่า เครื่องอยู่ ในคำว่า พระอรหันต์นั้น จึงไม่มีเครื่องอยู่อะไร ๆ ได้แก่
เครื่องอยู่ ๒ อย่าง คือ (๑) เครื่องอยู่ด้วยอำนาจตัณหา (๒) เครื่องอยู่ด้วยอำนาจทิฏฐิ
... นี้ชื่อว่าเครื่องอยู่ด้วยอำนาจตัณหา ... นี้ชื่อว่าเครื่องอยู่ด้วยอำนาจทิฏฐิ๑
คำว่า นั้น ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ
คำว่า พระอรหันต์นั้นจึงไม่มีเครื่องอยู่อะไร ๆ อธิบายว่า พระอรหันต์นั้นไม่มี
คือ ย่อมไม่มี ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้ซึ่งเครื่องอยู่อะไรๆ ได้แก่ เครื่องอยู่
อะไร ๆ พระอรหันต์นั้นละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว
ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า พระอรหันต์นั้น จึงไม่มี
เครื่องอยู่อะไร ๆ
คำว่า ในธรรมทั้งหลาย ในคำว่า ความตกลงใจในธรรมทั้งหลายแล้วถือมั่น
ได้แก่ ในทิฏฐิ ๖๒
คำว่า ตกลงใจแล้ว ได้แก่ ตกลงใจแล้ว คือ วินิจฉัยแล้ว ตัดสินแล้ว
ชี้ขาดแล้ว เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว
คำว่า ถือมั่น ได้แก่ จับมั่น ยึดมั่น ถือมั่น รวบถือ รวมถือ รวบรวมถือ คือ
ความถือ ความยึดมั่น ความถือมั่น ความติดใจ ความน้อมใจเชื่อว่า สิ่งนี้จริง แท้
แน่ แท้จริง ตามเป็นจริง ไม่วิปริต ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้แก่พระอรหันต์นั้น
ได้แก่ ความตกลงใจแล้วถือมั่นนั้น พระอรหันต์นั้นละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้
สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า
ความตกลงใจในธรรมทั้งหลายแล้วถือมั่น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า

เชิงอรรถ :
๑ เทียบกับความในข้อ ๑๒/๕๘-๕๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๓๓ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๕. ปรมัฏฐกสุตตนิทเทส
พระอรหันต์ใด ผู้ไม่มีความคนึงหาในส่วนสุดทั้ง ๒ ด้าน
ในโลกนี้ ในภพน้อยภพใหญ่ ในโลกนี้หรือในโลกหน้า
พระอรหันต์นั้นจึงไม่มีเครื่องอยู่อะไร ๆ
ความตกลงใจในธรรมทั้งหลายแล้วถือมั่นก็ไม่มี
[๓๗] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
พระอรหันต์นั้น ไม่มีทิฏฐิอันสัญญากำหนดไว้แม้นิดเดียว
ในรูปที่เห็น ในเสียงที่ได้ยิน หรือในอารมณ์ที่รับรู้ในโลกนี้
ใคร ๆ ในโลกนี้จะพึงกำหนดพระอรหันต์นั้น
ผู้เป็นพราหมณ์ ไม่ยึดถือทิฏฐิอยู่ ด้วยเหตุอะไรเล่า

ว่าด้วยพระอรหันต์ได้ชื่อว่าพราหมณ์
คำว่า นั้น ในคำว่า พระอรหันต์นั้น ไม่มีทิฏฐิอันสัญญากำหนดไว้แม้
นิดเดียว ในรูปที่เห็น ในเสียงที่ได้ยิน หรือในอารมณ์ที่รับรู้ในโลกนี้ อธิบายว่า
พระอรหันตขีณาสพนั้นไม่มี คือ ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้ซึ่งทิฏฐิ อันสัญญาให้เกิด
ให้เกิดขึ้น กำหนด กำหนดไว้ ปรุงแต่ง ปรุงแต่งขึ้น ตั้งไว้ดีแล้ว เพราะมีสัญญาเป็น
หัวหน้า มีสัญญากำหนดไว้ และเพราะการแยกสัญญาในรูปที่เห็น หรือในความ
หมดจดเพราะรูปที่เห็น ในเสียงที่ได้ยิน หรือในความหมดจดเพราะเสียงที่ได้ยิน ใน
อารมณ์ที่รับรู้ หรือในความหมดจดเพราะอารมณ์ที่รับรู้ คือ ทิฏฐินั้นพระอรหันต์ละ
ได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วย
ไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า พระอรหันต์นั้น ไม่มีทิฏฐิอันสัญญากำหนดไว้แม้นิด
เดียวในรูปที่เห็น ในเสียงที่ได้ยิน หรือในอารมณ์ที่รับรู้ในโลกนี้
คำว่า พราหมณ์ ในคำว่า พระอรหันต์นั้น ผู้เป็นพราหมณ์ ไม่ยึดถือทิฏฐิอยู่
อธิบายว่า ที่ชื่อว่าพราหมณ์ เพราะลอยธรรม ๗ ประการได้แล้ว คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๓๔ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๕. ปรมัฏฐกสุตตนิทเทส
๑. ลอยสักกายทิฏฐิได้แล้ว ... ไม่มีตัณหาและทิฏฐิอาศัย เป็นผู้มั่นคง
บัณฑิตเรียกผู้นั้นว่าเป็นพราหมณ์๑
คำว่า พระอรหันต์นั้น ผู้เป็นพราหมณ์ ไม่ยึดถือทิฏฐิอยู่ อธิบายว่า พระ
อรหันต์นั้นผู้เป็นพราหมณ์ ไม่ยึดถือ คือ ไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่นทิฏฐิอยู่ รวม
ความว่า พระอรหันต์นั้น ผู้เป็นพราหมณ์ ไม่ยึดถือทิฏฐิอยู่
คำว่า ใคร ๆ ในโลกนี้จะพึงกำหนด ... ด้วยเหตุอะไรเล่า อธิบายว่า
คำว่า การกำหนด ได้แก่ การกำหนด ๒ อย่าง คือ
๑. การกำหนดด้วยอำนาจตัณหา
๒. การกำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิ ... นี้ชื่อว่าการกำหนดด้วยอำนาจตัณหา ...
นี้ชื่อว่าการกำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิ๒
พระอรหันต์นั้นละการกำหนดด้วยอำนาจตัณหาได้แล้ว สลัดทิ้งการกำหนด
ด้วยอำนาจทิฏฐิได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละการกำหนดด้วยอำนาจตัณหา สลัดทิ้งการ
กำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิได้แล้ว ใคร ๆ จะพึงกำหนดพระอรหันต์นั้นด้วยราคะ โทสะ
โมหะ มานะ ทิฏฐิ อุทธัจจะ วิจิกิจฉา อนุสัย อะไรเล่าว่า “เป็นผู้กำหนัด เป็นผู้
ขัดเคือง เป็นผู้หลง เป็นผู้ยึดติด เป็นผู้ยึดมั่น เป็นผู้ฟุ้งซ่าน เป็นผู้ลังเล หรือเป็น
ผู้ตกอยู่ในพลังกิเลส”
พระอรหันต์ละอภิสังขารเหล่านั้นได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละอภิสังขารได้แล้ว ใคร ๆ
จะพึงกำหนดคติด้วยเหตุอะไรเล่าว่า “เป็นผู้เกิดในนรก เป็นผู้เกิดในกำเนิดเดรัจฉาน
เป็นผู้เกิดในเปตวิสัย เป็นมนุษย์ เป็นเทพ เป็นผู้มีรูป เป็นผู้ไม่มีรูป เป็นผู้มีสัญญา
เป็นผู้ไม่มีสัญญา หรือว่าเป็นผู้มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่” ใคร ๆ จะพึงกำหนด
คือ กำหนดรู้ ถึงการกำหนดรู้ด้วยเหตุ ปัจจัย และการณ์ใด เหตุ ปัจจัย และการณ์
นั้นไม่มี

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๒๕/๑๐๔-๑๐๕
๑ เทียบกับความในข้อ ๒๘/๑๑๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๓๕ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๕. ปรมัฏฐกสุตตนิทเทส
คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก
อายตนโลก รวมความว่า ใคร ๆ ในโลกนี้จะพึงกำหนด... ด้วยเหตุอะไรเล่า ด้วย
เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
พระอรหันต์นั้น ไม่มีทิฏฐิอันสัญญากำหนดไว้แม้นิดเดียว
ในรูปที่เห็น ในเสียงที่ได้ยิน หรือในอารมณ์ที่รับรู้ในโลกนี้
ใคร ๆ ในโลกนี้จะพึงกำหนดพระอรหันต์นั้น
ผู้เป็นพราหมณ์ ไม่ยึดถือทิฏฐิอยู่ ด้วยเหตุอะไรเล่า
[๓๘] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
พระอรหันตขีณาสพทั้งหลาย
ย่อมไม่กำหนด ไม่เชิดชู
แม้ธรรมทั้งหลาย พระอรหันต์เหล่านั้นก็ไม่ปรารถนาแล้ว
พระอรหันต์ผู้เป็นพราหมณ์นั้น ใคร ๆ จึงนำไปด้วยศีลวัตรไม่ได้
เป็นผู้ถึงฝั่งแล้ว ไม่กลับมา เป็นผู้มั่นคง

ว่าด้วยการกำหนด ๒
คำว่า ย่อมไม่กำหนด ไม่เชิดชู อธิบายว่า
คำว่า กำหนด ได้แก่ การกำหนด ๒ อย่าง คือ (๑) การกำหนดด้วยอำนาจ
ตัณหา (๒) การกำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิ ...นี้ชื่อว่าการกำหนดด้วยอำนาจตัณหา ...
นี้ชื่อว่าการกำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิ๑
การกำหนดด้วยอำนาจตัณหา เป็นอย่างไร
คือ วัตถุที่ทำให้เป็นเขต เป็นแดน เป็นส่วน เป็นแผนก กำหนดถือเอา ยึดถือ
ว่าเป็นของเรา ด้วยส่วนแห่งตัณหามีประมาณเท่าใด ย่อมยึดถือว่าเป็นของเรา ซึ่ง
วัตถุมีประมาณเท่านั้นว่า นี้ของเรา นั่นของเรา เท่านี้ของเรา ของเรามีประมาณเท่านี้

เชิงอรรถ :
๑ เทียบกับความในข้อ ๑๒/๕๘-๕๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๓๖ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๕. ปรมัฏฐกสุตตนิทเทส
รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เครื่องปูลาด เครื่องนุ่งห่ม ทาสชายหญิง แพะ แกะ
ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา ที่นา ที่สวน เงินทอง หมู่บ้าน นิคม ราชธานี แคว้น ชนบท
กองพลรบ คลังหลวง แม้มหาปฐพีทั้งสิ้นย่อมยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจตัณหา
ซึ่งจำแนกได้ ๑๐๘ นี้ชื่อว่าการกำหนดด้วยอำนาจตัณหา
การกำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิ เป็นอย่างไร
คือ สักกายทิฏฐิมีวัตถุ ๒๐ มิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ อันตคาหิกทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐
ทิฏฐิ การตกอยู่ในทิฏฐิ ความรกชัฏคือทิฏฐิ ความกันดารคือทิฏฐิ เสี้ยนหนาม
คือทิฏฐิ ความดิ้นรนคือทิฏฐิ เครื่องผูกพันคือทิฏฐิ ความถือ ความถือมั่น ความ
ยึดมั่น ความยึดมั่นถือมั่น ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิเดียรถีย์ ความถือ
ขัดแย้ง ความถือวิปริต ความถือวิปลาส ความถือผิด ความถือในสิ่งที่ไม่เป็น
ความจริงว่าเป็นจริงเห็นปานนี้ จนถึงทิฏฐิ ๖๒ นี้ชื่อว่าการกำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิ
พระอรหันต์เหล่านั้น ละการกำหนดด้วยตัณหาได้แล้ว สลัดทิ้งการกำหนด
ด้วยอำนาจทิฏฐิได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละการกำหนดด้วยอำนาจตัณหา สลัดทิ้งการ
กำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิได้แล้ว พระอรหันต์จึงไม่กำหนด คือ ไม่ให้เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น
ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดขึ้น ซึ่งการกำหนดด้วยอำนาจตัณหา หรือการกำหนดด้วย
อำนาจทิฏฐิ รวมความว่า ย่อมไม่กำหนด
คำว่า ไม่เชิดชู อธิบายว่า
คำว่า เชิดชู ได้แก่ การเชิดชู ๒ อย่าง คือ (๑) การเชิดชูด้วยอำนาจตัณหา
(๒) การเชิดชูด้วยอำนาจทิฏฐิ ... นี้ชื่อว่าการเชิดชูด้วยอำนาจตัณหา ... นี้ชื่อว่าการ
เชิดชูด้วยอำนาจทิฏฐิ
พระอรหันต์เหล่านั้นละการเชิดชูด้วยอำนาจตัณหาได้แล้ว สลัดทิ้งการเชิดชู
ด้วยอำนาจทิฏฐิได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละการเชิดชูด้วยอำนาจตัณหา สลัดทิ้งการเชิดชู
ด้วยอำนาจทิฏฐิได้แล้ว พระอรหันต์ก็ไม่เที่ยวเชิดชูตัณหาหรือทิฏฐิไว้ คือ ไม่มี
ตัณหาเป็นธงชัย ไม่มีตัณหาเป็นยอดธง ไม่มีตัณหาเป็นใหญ่ ไม่มีทิฏฐิเป็นธงชัย
ไม่มีทิฏฐิเป็นยอดธง ไม่มีทิฏฐิเป็นใหญ่ คือไม่ได้ถูกตัณหาหรือทิฏฐิครอบงำเที่ยวไป
อยู่ รวมความว่า ย่อมไม่กำหนด ไม่เชิดชู

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๓๗ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๕. ปรมัฏฐกสุตตนิทเทส
คำว่า แม้ธรรมทั้งหลายพระอรหันต์เหล่านั้น ก็ไม่ปรารถนาแล้ว อธิบายว่า
ทิฏฐิ ๖๒ ตรัสเรียกว่า ธรรม
คำว่า เหล่านั้น ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพเหล่านั้น
คำว่า ไม่ปรารถนาแล้ว อธิบายว่า ไม่ปรารถนาแล้วว่า “โลกเที่ยง นี้เท่านั้น
จริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ” ไม่ปรารถนาแล้วว่า “โลกไม่เที่ยง ... หลังจากตายแล้ว
ตถาคต๑ จะว่าเกิดอีกก็มิใช่ ไม่เกิดอีกก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ” รวม
ความว่า แม้ธรรมทั้งหลายพระอรหันตขีณาสพเหล่านั้น ก็ไม่ปรารถนาแล้ว
คำว่า ไม่ ในคำว่า พระอรหันต์ผู้เป็นพราหมณ์ ใคร ๆ จึงนำไปด้วยศีลวัตร
ไม่ได้ เป็นคำปฏิเสธ
คำว่า ผู้เป็นพราหมณ์ อธิบายว่า ที่ชื่อว่าพราหมณ์เพราะลอยธรรม ๗
ประการได้แล้ว คือ
๑. ลอยสักกายทิฏฐิได้แล้ว ... ไม่มีตัณหาและทิฏฐิอาศัย เป็นผู้มั่นคง
บัณฑิตเรียกผู้นั้นว่า เป็นพราหมณ์๒
คำว่า ผู้เป็นพราหมณ์ ใคร ๆ ก็นำไปด้วยศีลวัตรไม่ได้ อธิบายว่า ผู้เป็น
พราหมณ์ ย่อมไม่ดำเนินไป ไม่ออกไป ไม่ถูกพาไป ไม่ถูกนำไปด้วยศีล วัตรหรือศีลวัตร
รวมความว่า ผู้เป็นพราหมณ์ ใคร ๆ จึงนำไปด้วยศีลวัตรไม่ได้
คำว่า เป็นผู้ถึงฝั่งแล้ว ไม่กลับมา เป็นผู้มั่นคง อธิบายว่า อมตนิพพาน
ตรัสเรียกว่า ฝั่ง คือ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดทิ้งอุปธิทั้งหมด เป็นที่
สิ้นตัณหา เป็นที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับกิเลส เป็นที่เย็นสนิท พระอรหันต์นั้น ถึงฝั่ง
บรรลุฝั่ง ถึงส่วนสุด บรรลุส่วนสุด ถึงปลายสุด บรรลุปลายสุด พระอรหันต์นั้นไม่มี
การเวียนเกิด เวียนตาย และภพใหม่ก็ไม่มีอีก รวมความว่า เป็นผู้ถึงฝั่งแล้ว
คำว่า ไม่กลับมา อธิบายว่า กิเลสเหล่าใดอริยบุคคลละได้แล้วด้วย
โสดาปัตติมรรค อริยบุคคลก็ไม่มา ไม่กลับมา คือ ไม่หวนกลับมาสู่กิเลสเหล่านั้นอีก
กิเลสเหล่าใด อริยบุคคลละได้แล้วด้วยสกทาคามิมรรค อริยบุคคลก็ไม่มา ไม่กลับมา

เชิงอรรถ :
๑ ตถาคต ดูเชิงอรรถข้อ ๑๖/๗๗
๒ ดูรายละเอียดข้อ ๒๕/๑๐๔-๑๐๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๓๘ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๕. ปรมัฏฐกสุตตนิทเทส
คือ ไม่หวนกลับมาสู่กิเลสเหล่านั้นอีก กิเลสเหล่าใด อริยบุคคลละได้แล้วด้วย
อนาคามิมรรค อริยบุคคลก็ไม่มา ไม่กลับมา คือ ไม่หวนกลับมาสู่กิเลสเหล่านั้นอีก
กิเลสเหล่าใด อริยบุคคลละได้แล้วด้วยอรหัตตมรรค อริยบุคคลก็ไม่มา ไม่กลับมา
คือ ไม่หวนกลับมาสู่กิเลสเหล่านั้นอีก รวมความว่า เป็นผู้ถึงฝั่ง ไม่กลับมา

ว่าด้วยพระอรหันต์ชื่อว่าเป็นผู้มั่นคง
คำว่า เป็นผู้มั่นคง อธิบายว่า พระอรหันต์ เป็นผู้มั่นคงด้วยอาการ ๕ อย่าง
คือ
๑. เป็นผู้มั่นคงในอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์
๒. เป็นผู้มั่นคง เพราะเป็นผู้สละแล้ว
๓. เป็นผู้มั่นคง เพราะเป็นผู้ข้ามได้แล้ว
๔. เป็นผู้มั่งคง เพราะเป็นผู้พ้นแล้ว
๕. เป็นผู้มั่นคง เพราะแสดงออกซึ่งธรรมนั้น ๆ
พระอรหันต์เป็นผู้มั่นคงในอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ เป็นอย่างไร
คือ พระอรหันต์เป็นผู้มั่นคงทั้งในลาภและในความเสื่อมลาภ เป็นผู้มั่นคงทั้ง
ในยศและในความเสื่อมยศ เป็นผู้มั่งคงทั้งในสรรเสริญและนินทา เป็นผู้มั่นคงทั้งใน
สุขและทุกข์ คนบางพวกเอาของหอมชะโลมแขนข้างหนึ่ง อีกพวกหนึ่งใช้มีดถากแขน
อีกข้างหนึ่ง พระอรหันต์ก็ไม่มีความยินดีในการชะโลมด้วยของหอมโน้น ไม่มีความ
ยินร้ายในการถากแขนโน้น พระอรหันต์ละความยินดีและความยินร้ายได้แล้ว ล่วง
พ้นความดีใจและความเสียใจได้แล้ว ก้าวล่วงความยินดีและความยินร้ายได้แล้ว
พระอรหันต์ชื่อว่าเป็นผู้มั่นคงในอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ เป็นอย่างนี้
พระอรหันต์เป็นผู้มั่นคง เพราะเป็นผู้สละแล้ว เป็นอย่างไร
คือ พระอรหันต์สละ คลาย ปล่อย ละ สลัดทิ้ง ราคะ ... โทสะ ... โมหะ ...
โกธะ ... อุปนาหะ ... มักขะ ... ปฬาสะ ... อิสสา ... มัจฉริยะ ... มายา ... สาเถยยะ
... ถัมภะ ... สารัมภะ ... มานะ ... อติมานะ ... มทะ ... ปมาทะ ... กิเลสทุกชนิด ...
ทุจริตทุกทาง ... ความกระวนกระวายทุกอย่าง ... ความเร่าร้อนทุกสถาน ... ความ
เดือดร้อนทุกประการ พระอรหันต์สละ คลาย ปล่อย ละ สลัดทิ้งอกุสลาภิสังขารทุก
ประเภทได้แล้ว พระอรหันต์ชื่อว่าเป็นผู้มั่นคง เพราะเป็นผู้สละแล้ว เป็นอย่างนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๓๙ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๕. ปรมัฏฐกสุตตนิทเทส
พระอรหันต์เป็นผู้มั่นคง เพราะเป็นผู้ข้ามได้แล้ว เป็นอย่างไร
คือ พระอรหันต์ข้าม ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ก้าวล่วง ก้าวพ้น ล่วงพ้นกาโมฆะ
ภโวฆะ ทิฏโฐฆะ อวิชโชฆะ ทางแห่งสงสารทั้งปวงได้แล้ว พระอรหันต์นั้นอยู่(ใน
อริยวาสธรรม)แล้ว ประพฤติจรณธรรมแล้ว พระอรหันต์นั้นไม่มีการเวียนเกิด เวียน
ตาย และภพใหม่ก็ไม่มีอีก พระอรหันต์ชื่อว่าเป็นผู้มั่นคง เพราะเป็นผู้ข้ามได้แล้ว
เป็นอย่างนี้
พระอรหันต์เป็นผู้มั่นคง เพราะเป็นผู้พ้นแล้ว เป็นอย่างไร
คือ พระอรหันต์มีจิตพ้น หลุดพ้น หลุดพ้นดีแล้วจากราคะ ... โทสะ ...
โมหะ ... โกธะ ...อุปนาหะ ... มักขะ ... ปฬาสะ ... อิสสา ... มัจฉริยะ ... มายา ...
สาเถยยะ ... ถัมภะ ... สารัมภะ ... มานะ ... อติมานะ ... มทะ ... ปมาทะ ... กิเลส
ทุกชนิด ... ทุจริตทุกทาง ... ความกระวนกระวายทุกอย่าง ... ความเร่าร้อนทุกสถาน
... ความเดือดร้อนทุกประการ ... พระอรหันต์มีจิตพ้น หลุดพ้น หลุดพ้นดีแล้ว
จากอกุสลาภิสังขารทุกประเภท พระอรหันต์ชื่อว่าเป็นผู้มั่นคง เพราะเป็นผู้พ้นแล้ว
เป็นอย่างนี้
พระอรหันต์เป็นผู้มั่นคง เพราะแสดงออกซึ่งธรรมนั้น ๆ เป็นอย่างไร
คือ เมื่อศีลมีอยู่ พระอรหันต์ชื่อว่าเป็นผู้มั่นคง เพราะแสดงออกว่า เป็นผู้มีศีล
เมื่อศรัทธามีอยู่ พระอรหันต์ชื่อว่าเป็นผู้มั่นคง เพราะแสดงออกว่า เป็นผู้มี
ศรัทธา
เมื่อความเพียรมีอยู่ พระอรหันต์ชื่อว่าเป็นผู้มั่นคงเพราะแสดงออกว่า เป็นผู้มี
ความเพียร
เมื่อสติมีอยู่ พระอรหันต์ชื่อว่าเป็นผู้มั่นคง เพราะแสดงออกว่า เป็นผู้มีสติ
เมื่อสมาธิมีอยู่ พระอรหันต์ชื่อว่าเป็นผู้มั่นคง เพราะแสดงออกว่า เป็นผู้ตั้งมั่น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๔๐ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๕. ปรมัฏฐกสุตตนิทเทส
เมื่อปัญญามีอยู่ พระอรหันต์ชื่อว่าเป็นผู้มั่นคง เพราะแสดงออกว่า เป็นผู้มี
ปัญญา
เมื่อวิชชามีอยู่ พระอรหันต์ชื่อว่าเป็นผู้มั่นคง เพราะแสดงออกว่า เป็นผู้มี
วิชชา ๓๑
เมื่ออภิญญามีอยู่ พระอรหันต์ชื่อว่าเป็นผู้มั่นคง เพราะแสดงออกว่า เป็นผู้มี
อภิญญา ๖๒
พระอรหันต์ชื่อว่าเป็นผู้มั่นคง เพราะแสดงออกซึ่งธรรมนั้น ๆ เป็นอย่างนี้
รวมความว่า เป็นผู้ถึงฝั่ง ไม่กลับมา เป็นผู้มั่นคง ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค
จึงตรัสว่า
พระอรหันตขีณาสพทั้งหลาย
ย่อมไม่กำหนด ไม่เชิดชู
แม้ธรรมทั้งหลายพระอรหันต์เหล่านั้นก็ไม่ปรารถนาแล้ว
พระอรหันต์ผู้เป็นพราหมณ์นั้น ใคร ๆ จึงนำไปด้วยศีลวัตรไม่ได้
เป็นผู้ถึงฝั่งแล้ว ไม่กลับมา เป็นผู้มั่นคง
ปรมัฏฐกสุตตนิทเทสที่ ๕ จบ

เชิงอรรถ :
๑ วิชชา ๓ คือ ความรู้แจ้ง ความรู้แจ้งวิเศษ (๑) ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (ญาณเป็นเหตุระลึกขันธ์ที่อาศัย
อยู่ในก่อน ระลึกชาติได้) (๒) จุตูปปาตญาณ (ญาณกำหนดรู้จุติและอุบัติแห่งสัตว์ทั้งหลายอันเป็นไปตาม
กรรม เห็นการเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์ทั้งหลาย) (๓) อาสวักขยญาณ (ญาณหยั่งรู้ในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่ง
อาสวะทั้งหลาย ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ ความตรัสรู้) (ที.ปา. ๑๑/๓๐๕/๑๙๗)
๒ อภิญญา ๖ คือความรู้ยิ่งยวด (๑) อิทธิวิธี ความรู้ทำให้แสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ได้ (๒) ทิพพโสต ญาณที่
ทำให้มีหูทิพย์ (๓) เจโตปริยญาณ ญาณที่ทำให้กำหนดใจคนอื่นได้ (๔) ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ญาณ
ที่ทำให้ระลึกชาติได้ (๕) ทิพพจักขุ ญาณที่ทำให้มีตาทิพย์ (๖) อาสวักขยญาณ ญาณที่ทำให้อาสวะสิ้นไป ๕
ข้อแรกเป็นโลกียะ (โลกียอภิญญา) ข้อท้ายเป็นโลกุตตระ (ที.สี.(แปล) ๙/๒๓๔-๒๔๘/๗๗-๘๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๔๑ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๖. ชราสุตตนิทเทส
๖. ชราสุตตนิทเทส๑
อธิบายชราสูตร
ว่าด้วยชรา
พระสารีบุตรเถระจะกล่าวอธิบายชราสูตร ดังต่อไปนี้
[๓๙] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
ชีวิตนี้น้อยนัก มนุษย์ย่อมตายภายใน ๑๐๐ ปี
แม้หากผู้ใดจะมีชีวิตอยู่เกินไปกว่านั้น
ผู้นั้นก็จะตายเพราะชราแน่แท้

ว่าด้วยชีวิตเป็นของน้อยด้วยเหตุ ๒ ประการ
คำว่า ชีวิต ในคำว่า ชีวิตนี้น้อยนัก อธิบายว่า อายุ ความดำรงอยู่ ความ
ดำเนินไป ความให้ชีวิตดำเนินไป ความเคลื่อนไหว ความเป็นไป ความรักษา ความ
เป็นอยู่ ชีวิตินทรีย์
อนึ่ง ชีวิตเป็นของน้อยด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ
๑. ชีวิตเป็นของน้อย เพราะดำรงอยู่ชั่วเวลาเพียงเล็กน้อย
๒. ชีวิตเป็นของน้อย เพราะมีคุณค่าเพียงเล็กน้อย
ชีวิตเป็นของน้อย เพราะดำรงอยู่ชั่วเวลาเพียงเล็กน้อย เป็นอย่างไร
คือ ในขณะจิตที่เป็นอดีต ชีวิตเป็นอยู่แล้ว ไม่ใช่กำลังเป็นอยู่ ไม่ใช่จักเป็นอยู่
ในขณะจิตที่เป็นอนาคต ชีวิตจักเป็นอยู่ ไม่ใช่กำลังเป็นอยู่ ไม่ใช่เป็นอยู่แล้วในขณะ
จิตที่เป็นปัจจุบัน ชีวิตกำลังเป็นอยู่ ไม่ใช่เป็นอยู่แล้ว ไม่ใช่จักเป็นอยู่
(สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า)

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.สุ. ๒๕/๘๑๑-๘๒๐/๔๙๓-๔๙๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๔๒ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๖. ชราสุตตนิทเทส
ชีวิต อัตภาพ สุขและทุกข์ทั้งปวง
เป็นธรรมที่ประกอบกันขึ้นชั่วขณะจิตเดียว
ขณะย่อมหมุนไปอย่างรวดเร็ว
เทวดาผู้ดำรงอยู่ได้ตั้ง ๘๔,๐๐๐ กัป
ก็มิได้ประกอบด้วยจิต ๒ ดวง(ในขณะจิตเดียว) เป็นอยู่ได้
ขันธ์เหล่าใดของสัตว์ที่ตายไป หรือยังดำรงอยู่ในโลกนี้ดับไปแล้ว
ขันธ์เหล่านั้นทั้งหมด เป็นอย่างเดียวกัน ดับไปแล้วก็มิได้สืบต่อกัน
ขันธ์ที่แตกไปในอดีตอันหาลำดับมิได้
และขันธ์ที่จะแตกไปในอนาคต มีลักษณะไม่ต่างกับขันธ์ที่ดับในปัจจุบัน
สัตว์ไม่เกิดด้วยอนาคตขันธ์ ย่อมดำรงอยู่ด้วยปัจจุบันขันธ์
เพราะจิตแตกดับไป สัตว์โลกชื่อว่า ตายแล้ว
นี้เป็นปรมัตถบัญญัติ
เพราะมีอายตนะ ๖ เป็นปัจจัย
ขันธ์ทั้งหลายที่แปรไปตามฉันทะ ย่อมเป็นไปไม่ขาดสาย
เหมือนน้ำไหลไปตามที่ลุ่ม ฉะนั้น
ขันธ์ทั้งหลายถึงการทรงตัวอยู่ไม่ได้แตกไปแล้ว
กองขันธ์ในอนาคตก็ไม่มี ส่วนขันธ์ที่เกิดแล้วในปัจจุบันก็ดำรงอยู่
เหมือนเมล็ดผักกาดบนปลายเหล็กแหลม ฉะนั้น
ความแตกทำลายแห่งขันธ์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นเหล่านั้น
ปรากฏอยู่ข้างหน้า ขันธ์ทั้งหลายที่มีการแตกเป็นธรรมดา
ดำรงอยู่ มิได้รวมกับขันธ์เก่า
ขันธ์ทั้งหลายมาโดยสภาวะที่ไม่ปรากฏ แตกทำลายไปแล้ว
ก็ไปสู่สภาวะที่ไม่ปรากฏ ย่อมเกิดขึ้นและดับไป
เหมือนสายฟ้าแลบในอากาศ ฉะนั้น
ชีวิตชื่อว่าเป็นของน้อย เพราะดำรงอยู่ชั่วเวลาเพียงเล็กน้อย เป็นอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๔๓ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๖. ชราสุตตนิทเทส
ชีวิตเป็นของน้อย เพราะมีคุณค่าเพียงเล็กน้อย เป็นอย่างไร
คือ ชีวิตเกี่ยวเนื่องด้วยลมหายใจเข้า ชีวิตเกี่ยวเนื่องด้วยลมหายใจออก ชีวิต
เกี่ยวเนื่องด้วยลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ชีวิตเกี่ยวเนื่องด้วยมหาภูตรูป ชีวิต
เกี่ยวเนื่องด้วยอาหารที่กลืนกิน ชีวิตเกี่ยวเนื่องด้วยไฟธาตุ ชีวิตเกี่ยวเนื่องด้วย
วิญญาณ มูลเหตุ(กรัชกาย) ของสภาวธรรมเหล่านี้มีกำลังน้อย บุพพเหตุของ
สภาวธรรมเหล่านี้มีกำลังน้อย ปัจจัยทั้งหลายมีอารมณ์เป็นต้นมีกำลังน้อย
แดนเกิด(ตัณหา) มีกำลังน้อย ธรรมที่เกิดร่วมกันของสภาวธรรมเหล่านี้มีกำลังน้อย
ธรรมที่ประกอบกัน (อรูปธรรม)ของสภาวธรรมเหล่านี้มีกำลังน้อย ธรรมที่เกิด
พร้อมกันของสภาวธรรมเหล่านี้มีกำลังน้อย กิเลสเครื่องประกอบ(ตัณหา) มีกำลังน้อย
สภาวธรรมเหล่านี้แต่ละอย่างมีกำลังน้อยตลอดเวลา สภาวธรรมเหล่านี้แต่ละอย่าง
ไม่มั่นคง สภาวธรรมเหล่านี้ต่างก็ทำให้สภาวธรรมอื่นตกล่วงลงไป เพราะสภาว
ธรรมเหล่านี้ต่างก็ไม่มีความต้านทาน สภาวธรรมเหล่านี้ต่างก็ไม่ดำรงกันและกันอยู่ได้
แม้สภาวธรรมที่ทำให้ธรรมเหล่านี้เกิดก็ไม่มี
อนึ่ง ธรรมไร ๆ ก็มิได้เสื่อมไปเพราะธรรมไร ๆ
เพราะขันธ์เหล่านี้ พึงถึงความแตกดับไปโดยประการทั้งปวง
ขันธ์เหล่านี้ที่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยก่อน
แม้เหตุปัจจัยที่เกิดก่อนก็แตกดับไปแล้วในก่อน
ในกาลไหน ๆ ขันธ์ที่เกิดก่อนและที่เกิดภายหลัง
จึงไม่ได้เห็นกันและกัน
ชีวิตชื่อว่าเป็นของน้อย เพราะมีคุณค่าเพียงเล็กน้อย เป็นอย่างนี้
อนึ่ง เพราะเทียบกับชีวิตของเทวดาชั้นจาตุมหาราช ชีวิตของมนุษย์จึงน้อย คือ
เล็กน้อย นิดหน่อย ชั่วขณะ เร็วพลัน ประเดี๋ยวเดียว ตั้งอยู่ไม่นาน ดำรงอยู่ไม่นาน
เพราะเทียบกับชีวิตของเทวดาชั้นดาวดึงส์ ... เทวดาชั้นยามา ... เทวดาชั้นดุสิต ...
เทวดาชั้นนิมมานรดี ... เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ... เพราะเทียบเคียงกับชีวิตของ
เทวดาชั้นพรหมกายิกา(ผู้นับเนื่องอยู่ในหมู่พรหม) ชีวิตของมนุษย์จึงน้อย คือ เล็ก
น้อย นิดหน่อย ชั่วขณะ เร็วพลัน ประเดี๋ยวเดียว ตั้งอยู่ไม่นาน ดำรงอยู่ไม่นาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๔๔ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๖. ชราสุตตนิทเทส
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย อายุของมนุษย์น้อย
จำต้องไปสู่ปรโลก ต้องประสบกับความตายที่เข้าใจกันอยู่ ควรทำกุศล ประพฤติ
พรหมจรรย์ ผู้ที่เกิดมาแล้วไม่ตายไม่มี ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดมีชีวิตยืนนาน ผู้นั้นก็อยู่
ได้เพียง ๑๐๐ ปี หรืออยู่ได้เกินกว่านั้นก็มีน้อย”
(พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณ์ภาษิตนี้แล้ว จึงตรัสคาถา
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า)
มนุษย์มีอายุน้อย บุคคลผู้ฉลาดพึงดูหมิ่นชีวิตที่น้อยนั้น
พึงเร่งประพฤติธรรมเหมือนคนถูกไฟไหม้ศีรษะ ฉะนั้น
เพราะความตายจะไม่มาถึงไม่มี๑
วันคืนล่วงเลยไป ชีวิตก็ใกล้หมดสิ้นไป
อายุของสัตว์ทั้งหลายก็หมดสิ้นไป
เหมือนน้ำในแม่น้ำน้อยจะแห้งไป ฉะนั้น๒
รวมความว่า ชีวิตนี้น้อยนัก
คำว่า มนุษย์ย่อมตายภายใน ๑๐๐ ปี อธิบายว่า มนุษย์ย่อมเคลื่อน ตาย
สูญหาย สลายไป ในขณะที่เป็นกลละ(น้ำใส)บ้าง ... ในขณะที่เป็นอัพพุทะ(น้ำล้าง
เนื้อ)บ้าง ... ในขณะที่เป็นเปสิ(ชิ้นเนื้อ)บ้าง ... ในขณะที่เป็นฆนะ(ก้อนเนื้อ)บ้าง ...
ในขณะที่เป็นปัญจสาขา(๕ ปุ่ม คือมือ ๒ เท้า ๒ ศีรษะ ๑)บ้าง ขณะคลอด
ย่อมเคลื่อน ตาย สูญหาย สลายไปบ้าง ย่อมเคลื่อน ตาย สูญหาย สลายไป
ในเรือนคลอดบ้าง มีอายุเพียงครึ่งเดือน ย่อมเคลื่อน ตาย สูญหาย สลายไปบ้าง
มีอายุ ๑ เดือน ... มีอายุ ๒ เดือน ... มีอายุ ๓ เดือน ... มีอายุ ๔ เดือน ...
มีอายุ ๕ เดือน ... มีอายุ ๖ เดือน ... มีอายุ ๗ เดือน ... มีอายุ ๘ เดือน ...
มีอายุ ๙ เดือน ... มีอายุ ๑๐ เดือน ... มีอายุ ๑ ปี ... มีอายุ ๒ ปี ... มีอายุ ๓ ปี ...
มีอายุ ๔ ปี ... มีอายุ ๕ ปี ... มีอายุ ๖ ปี ... มีอายุ ๗ ปี ... มีอายุ ๘ ปี ... มีอายุ ๙
ปี ... มีอายุ ๑๐ ปี ... มีอายุ ๒๐ ปี ... มีอายุ ๓๐ ปี ... มีอายุ ๔๐ ปี ... มีอายุ ๕๐ ปี
... มีอายุ ๖๐ ปี ... มีอายุ ๗๐ ปี ... มีอายุ ๘๐ ปี ... มีอายุ ๙๐ ปี ย่อมเคลื่อน
ตาย สูญหาย สลายไปบ้าง รวมความว่า มนุษย์ย่อมตายภายใน ๑๐๐ ปี

เชิงอรรถ :
๑ สํ.ส. ๑๕/๑๔๕/๑๓๐
๒ สํ.ส. ๑๕/๑๔๖/๑๓๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๔๕ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๖. ชราสุตตนิทเทส
คำว่า แม้หากผู้ใดจะมีชีวิตอยู่เกินไปกว่านั้น อธิบายว่า ผู้ใดอยู่ได้เกิน
๑๐๐ ปี ผู้นั้นก็อยู่ได้อีก ๑ ปีบ้าง ... ๒ ปีบ้าง ... ๓ ปีบ้าง ... ๔ ปีบ้าง ... ๕ ปีบ้าง ...
๒๐ ปีบ้าง ... ๓๐ ปีบ้าง ... ผู้นั้นก็อยู่ได้อีก ๔๐ ปีบ้าง รวมความว่า แม้หากผู้ใด
จะมีชีวิตอยู่เกินไปกว่านั้น
คำว่า ผู้นั้นก็จะตายเพราะชราแน่แท้ อธิบายว่า เมื่อผู้ใดชรา คือ สูงอายุ
เป็นผู้เฒ่า ล่วงกาลมามาก ผ่านวัยมามาก มีฟันหัก ผมหงอก ผมบาง ศีรษะล้าน
หนังย่น ตัวตกกระ หลังโกง หลังค่อม ถือไม้เท้ายันกาย ผู้นั้นก็ย่อมเคลื่อน ตาย
สูญหาย สลายไปเพราะชรา ไม่มีความหลุดพ้นจากความตายไปได้
(สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า)
สัตว์ที่เกิดมาแล้ว มีภัยจากความตายเป็นนิจ
เหมือนผลไม้สุกแล้ว มีภัยจากการหล่นไปในเวลาเช้า ฉะนั้น
ภาชนะดินที่ช่างหม้อทำไว้ทั้งหมดมีความแตกเป็นที่สุด ฉันใด
ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายก็เป็นฉันนั้น
มนุษย์ทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ โง่ และฉลาดทั้งหมด
ย่อมไปสู่อำนาจของความตาย มีความตายรออยู่ข้างหน้า
เมื่อมนุษย์เหล่านั้นผู้ถูกความตายครอบงำอยู่
กำลังจะไปจากโลกนี้สู่ปรโลก บิดาก็ปกป้องบุตรไม่ได้
หรือหมู่ญาติก็ปกป้องหมู่ญาติไม่ได้
เมื่อพวกญาติกำลังเพ่งมองดูอยู่
รำพันกันเป็นอันมากอยู่นั่นแหละว่า จงดูสัตว์แต่ละตน ๆ
ถูกความตายนำไป เหมือนโคถูกนำไปฆ่าฉะนั้น
สัตว์โลกถูกความแก่และความตายครอบงำอยู่อย่างนี้๑

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.สุ. ๒๕/๕๘๒-๕๘๗/๔๕๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๔๖ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๖. ชราสุตตนิทเทส
รวมความว่า ผู้นั้นก็จะตายเพราะชราแน่แท้ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึง
ตรัสว่า
ชีวิตนี้น้อยนัก มนุษย์ย่อมตายภายใน ๑๐๐ ปี
แม้หากผู้ใดจะมีชีวิตอยู่เกินไปกว่านั้น
ผู้นั้นก็จะตายเพราะชราแน่แท้
[๔๐] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
ชนทั้งหลาย ย่อมเศร้าโศกเพราะวัตถุที่ยึดถือว่าเป็นของเรา
เพราะความยึดถือที่เที่ยงแท้ไม่มีอยู่
ความพลัดพรากจากกันนี้ เป็นสิ่งที่มีอยู่จริง
กุลบุตรเห็นดังนี้แล้ว ก็ไม่พึงครองเรือน

ว่าด้วยคนเศร้าโศกเพราะการยึดถือ
คำว่า ชนทั้งหลาย ในคำว่า ชนทั้งหลาย ย่อมเศร้าโศกเพราะวัตถุที่ยึดถือ
ว่าเป็นของเรา ได้แก่ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร บรรพชิต เทวดา และมนุษย์
ทั้งหลาย
คำว่า ความยึดถือว่าเป็นของเรา ได้แก่ ความยึดถือว่าเป็นของเรา ๒ อย่าง
คือ (๑) ความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจตัณหา (๒) ความยึดถือว่าเป็นของเรา
ด้วยอำนาจทิฏฐิ ... นี้ชื่อว่าความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจตัณหา ... นี้ชื่อว่า
ความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจทิฏฐิ๑
ชนทั้งหลายผู้หวาดระแวงว่าวัตถุที่ยึดถือว่าเป็นของเรา จักถูกแย่งชิงไป ย่อม
เศร้าโศกบ้าง เมื่อวัตถุนั้นกำลังถูกแย่งชิงไป ย่อมเศร้าโศกบ้าง เมื่อวัตถุนั้นถูก
แย่งชิงไปแล้ว ย่อมเศร้าโศกบ้าง ชนทั้งหลายผู้หวาดระแวงว่า วัตถุที่ตนยึดถือว่า
เป็นของเราจักแปรผันไป ย่อมเศร้าโศกบ้าง เมื่อวัตถุนั้นกำลังแปรผันไป ย่อมเศร้าโศก
บ้าง เมื่อวัตถุนั้นแปรผันไปแล้ว ย่อมเศร้าโศกบ้าง คือ ลำบากใจ คร่ำครวญ
ตีอกพร่ำเพ้อ ถึงความหลงใหล รวมความว่า ชนทั้งหลาย ย่อมเศร้าโศกเพราะวัตถุ
ที่ยึดถือว่าเป็นของเรา

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๑๒/๕๘-๕๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๔๗ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๖. ชราสุตตนิทเทส
คำว่า ความยึดถือ ในคำว่า เพราะความยึดถือที่เที่ยงแท้ไม่มีอยู่ ได้แก่
ความยึดถือ ๒ อย่าง คือ (๑) ความยึดถือด้วยอำนาจตัณหา (๒) ความยึดถือด้วย
อำนาจทิฏฐิ ... นี้ชื่อว่าความยึดถือด้วยอำนาจตัณหา ... นี้ชื่อว่าความยึดถือด้วยอำนาจ
ทิฏฐิ๑
ความยึดถือด้วยอำนาจตัณหา เป็นภาวะไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น อาศัย
กันและกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความ
คลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา มีความแปรผันไปเป็นธรรมดา
แม้ความยึดถือด้วยอำนาจทิฏฐิ ก็เป็นภาวะไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น
อาศัยกันและกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา
มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา มีความแปรผันไปเป็น
ธรรมดา สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเห็นความยึดถือ ที่เป็นของเที่ยง มั่นคง แน่แท้ มีความ
ไม่แปรผันไปเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่อย่างนั้นเสมอกับสิ่งที่ยึดถือว่าแน่แท้หรือไม่
ไม่เห็น พระพุทธเจ้าข้า
ดีละภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็มิได้พิจารณาเห็นความยึดถือ ที่เป็นของเที่ยง มั่นคง
แน่แท้ มีความไม่แปรผันไปเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่อย่างนั้นเสมอกับสิ่งที่ยึดถือว่า
แน่แท้”๒
ความยึดถือ ที่เป็นของเที่ยง มั่นคง แน่แท้ มีความไม่แปรผันไปเป็นธรรมดา
ย่อมไม่มี ไม่มีอยู่ คือ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้ รวมความว่า เพราะความยึดถือที่
เที่ยงแท้ไม่มีอยู่
คำว่า ความพลัดพรากจากกันนี้ เป็นสิ่งที่มีอยู่จริง อธิบายว่า ความเป็น
ต่าง ๆ ความพลัดพราก ความเป็นอย่างอื่น มีอยู่ ปรากฏ หาได้ สมจริงดังที่
พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“พอเถอะอานนท์ เธออย่าเศร้าโศก อย่าคร่ำครวญเลย เราพูดไว้ก่อนแล้วมิใช่
หรือว่า ความเป็นต่าง ๆ ความพลัดพราก ความเป็นอย่างอื่นจากสิ่งที่รักใคร่ พอใจ
ทั้งหมด มีอยู่ อานนท์ สิ่งที่เกิดแล้ว อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้นแล้ว จะต้องแตกสลายไป

เชิงอรรถ :
๑ เทียบกับความในข้อ ๑๒/๕๘-๕๙
๒ ม.มู. ๑๒/๒๔๓/๒๐๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๔๘ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๖. ชราสุตตนิทเทส
เป็นธรรมดา ขออย่าได้แตกสลายไปเลย จะพึงหาได้จากที่ไหนในโลกนี้เล่า ข้อนั้น
ไม่ใช่ฐานะจะมีได้ ขันธ์ ธาตุ อายตนะก่อน ๆ แปรผันเป็นอื่นไป ขันธ์ ธาตุ
อายตนะที่เกิดหลัง ๆ ก็ย่อมเป็นไป๑]” รวมความว่า ความพลัดพรากจากกันนี้
เป็นสิ่งที่มีอยู่จริง
คำว่า ดังนี้ ในคำว่า กุลบุตรเห็นดังนี้แล้วก็ไม่พึงครองเรือน เป็นบทสนธิ
เป็นคำเชื่อมบท เป็นคำที่ทำบทให้บริบูรณ์ เป็นความสัมพันธ์แห่งอักษร เป็นความ
สละสลวยแห่งพยัญชนะ คำว่า ดังนี้ นี้เป็นคำเชื่อมบทหน้ากับบทหลังเข้าด้วยกัน
คำว่า เห็นดังนี้แล้ว ได้แก่ เห็นแล้ว คือ มองเห็นแล้ว เทียบเคียงแล้ว
พิจารณาแล้ว ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว เพราะวัตถุที่ยึดถือว่าเป็น
ของเรา ดังนี้ รวมความว่า เห็นดังนี้แล้ว
คำว่า ก็ไม่พึงครองเรือน อธิบายว่า พึงตัดความกังวลเรื่องการครองเรือน
ตัดความกังวลเรื่องบุตรภรรยา ตัดความกังวลเรื่องญาติ ตัดความกังวลเรื่องมิตร
อำมาตย์ ตัดความกังวลเรื่องการสะสมทั้งหมด โกนผมและหนวดแล้ว นุ่งห่มผ้า
กาสาวะ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เข้าถึงความไม่กังวลแล้ว เที่ยวไป อยู่
เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไปผู้เดียว รวมความว่า
กุลบุตรเห็นดังนี้แล้ว ก็ไม่พึงครองเรือน ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
ชนทั้งหลาย ย่อมเศร้าโศกเพราะวัตถุที่ยึดถือว่าเป็นของเรา
เพราะความยึดถือที่เที่ยงแท้ไม่มีอยู่
ความพลัดพรากจากกันนี้ เป็นสิ่งที่มีอยู่จริง
กุลบุตรเห็นดังนี้แล้ว ก็ไม่พึงครองเรือน
[๔๑] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
บุรุษย่อมสำคัญเบญจขันธ์ใดว่า นี้ของเรา
เบญจขันธ์นั้นบุรุษนั้นย่อมละไปเพราะความตาย
บัณฑิตผู้เป็นพุทธมามกะ รู้ชัดโทษนี้แล้ว
ไม่พึงน้อมไปเพื่อความยึดถือว่าเป็นของเรา

เชิงอรรถ :
๑ ที.ม. ๑๐/๒๐๗/๑๒๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๔๙ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๖. ชราสุตตนิทเทส
ว่าด้วยการยึดถือเบญจขันธ์
คำว่า เบญจขันธ์นั้นบุรุษนั้นย่อมละไปเพราะความตาย อธิบายว่า
คำว่า ความตาย ได้แก่ การจุติ การเคลื่อนจากหมู่สัตว์นั้น ๆ ของเหล่า
สัตว์นั้น ๆ ความทำลาย ความหายไป มัจจุ ความตาย กาลกิริยา การทำลายขันธ์
การทอดทิ้งซากศพไว้ การตัดขาดชีวิตินทรีย์
คำว่า เบญจขันธ์นั้น ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
คำว่า ย่อมละไป ได้แก่ เบญจขันธ์นั้นบุรุษนั้นย่อมละไป คือ ละทิ้ง ละขาด
สูญหาย สลายไป สมจริงดังภาษิตนี้ว่า
โภคทรัพย์ย่อมละบุคคลไปก่อนบ้าง
บุคคลย่อมละโภคทรัพย์ไปก่อนบ้าง
โจรราชผู้ใคร่กาม๑ หมู่ชนผู้มีโภคทรัพย์ เป็นผู้ไม่เที่ยง
เพราะฉะนั้น เราจึงไม่เศร้าโศกในเวลาเศร้าโศก
ดวงจันทร์ขึ้นเต็มดวงแล้วก็ลับไป
ดวงอาทิตย์กำจัดความมืดแล้วก็ลับไป
ศัตรูเอ๋ย เรารู้จักโลกธรรมแล้ว
เพราะฉะนั้น เราจึงไม่เศร้าโศกในเวลาเศร้าโศก๒
คำว่า เบญจขันธ์ใด ในคำว่า บุรุษย่อมสำคัญเบญจขันธ์ใดว่า นี้ของเรา
เบญจขันธ์นั้น บุรุษนั้นย่อมละไปเพราะความตาย ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณ
คำว่า บุรุษ ได้แก่ การกล่าวถึง การขนานนาม การบัญญัติ ชื่อที่เรียกกัน
ชื่อ การตั้งชื่อ ชื่อที่ตั้งให้ ภาษา พยัญชนะ ชื่อเรียกเฉพาะ
คำว่า ย่อมสำคัญเบญจขันธ์ใดว่า นี้ของเรา อธิบายว่า ย่อมสำคัญเพราะ
ความสำคัญด้วยอำนาจตัณหา ย่อมสำคัญเพราะความสำคัญด้วยอำนาจทิฏฐิ ย่อม

เชิงอรรถ :
๑ โจรราชผู้ใคร่กาม เป็นชื่อของพระราชาองค์หนึ่ง ในมณิกุณฑลชาดก (ขุ.ชา.อ. ๔/๒-๓/๓๖๖-๓๖๗,
ขุ.ม.อ. ๔๑/๒๔๙)
๒ ขุ.ชา. ๒๗/๒-๓/๑๒๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๕๐ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๖. ชราสุตตนิทเทส
สำคัญเพราะความสำคัญด้วยอำนาจมานะ ย่อมสำคัญเพราะความสำคัญด้วยอำนาจ
กิเลส ย่อมสำคัญเพราะความสำคัญด้วยอำนาจทุจริต ย่อมสำคัญเพราะความสำคัญ
ด้วยอำนาจกิเลสเครื่องประกอบ ย่อมสำคัญเพราะความสำคัญด้วยอำนาจวิบาก
รวมความว่า บุรุษย่อมสำคัญเบญจขันธ์ใดว่า นี้ของเรา
คำว่า บัณฑิต ... รู้ชัดโทษนี้แล้ว ได้แก่ รู้แล้ว คือ ทราบแล้ว เทียบเคียงแล้ว
พิจารณาแล้ว ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้วซึ่งโทษนี้ ในเบญจขันธ์ที่ยึดถือ
ว่าเป็นของเรา รวมความว่า รู้ชัดโทษนี้แล้ว
คำว่า บัณฑิต ได้แก่ นักปราชญ์ บัณฑิต ผู้มีปัญญา มีปัญญาเครื่องตรัสรู้
มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลส รวมความว่า บัณฑิต ...
รู้ชัดโทษนี้แล้ว
คำว่า ผู้เป็นพุทธมามกะ ... ไม่พึงน้อมไปเพื่อความยึดถือว่าเป็นของเรา
อธิบายว่า
คำว่า ความยึดถือว่าเป็นของเรา ได้แก่ ความยึดถือว่าเป็นของเรา ๒ อย่าง
คือ (๑) ความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจตัณหา (๒) ความยึดถือว่าเป็นของเรา
ด้วยอำนาจทิฏฐิ ... นี้ชื่อว่าความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจตัณหา ... นี้ชื่อว่า
ความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจทิฏฐิ๑
คำว่า ผู้เป็นพุทธมามกะ ได้แก่ ผู้นับถือพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์
ผู้นั้นย่อมนับถือพระผู้มีพระภาคว่าเป็นของเรา พระผู้มีพระภาคก็ทรงรับรอง
บุคคลนั้น
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใดเป็นคน
คดโกง แข็งกระด้าง พูดพล่อย กรีดกราย มีมานะจัด มีจิตไม่มั่นคง ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุเหล่านั้น มิใช่ผู้นับถือเรา เป็นผู้ไปจากธรรมวินัยนี้แล้ว และภิกษุเหล่านั้นจะไม่
ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้ ส่วนภิกษุเหล่าใด ไม่คดโกง ไม่พูด
พล่อย เป็นนักปราชญ์ ไม่แข็งกระด้าง มีจิตมั่นคง ภิกษุเหล่านั้น เป็นผู้นับถือเรา
เป็นผู้ไม่ไปจากธรรมวินัยนี้ และภิกษุเหล่านั้นจะถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ใน
ธรรมวินัยนี้”๒

เชิงอรรถ :
๑ ดูรายละเอียดข้อ ๑๒/๕๘-๕๙
๒ องฺ.จตุกฺก. ๒๑/๒๖/๓๑, ขุ.อิติ. ๒๕/๑๐๘/๓๒๖-๓๒๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๕๑ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๖. ชราสุตตนิทเทส
(พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณ์ภาษิตนี้แล้ว จึงตรัสคาถา
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า)
ภิกษุทั้งหลาย ผู้คดโกง แข็งกระด้าง
พูดพล่อย กรีดกราย มีมานะจัด มีจิตไม่มั่นคง
ย่อมไม่งอกงามในธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงแล้ว
(ส่วน)ภิกษุทั้งหลาย ผู้ไม่คดโกง ไม่พูดพล่อย
เป็นนักปราชญ์ ไม่แข็งกระด้าง มีจิตมั่นคง
ย่อมงอกงามในธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงแล้ว๑
คำว่า ผู้เป็นพุทธมามกะ ... ไม่พึงน้อมไปเพื่อความยึดถือว่าเป็นของเรา
อธิบายว่า ผู้เป็นพุทธมามกะละความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจตัณหาได้แล้ว
สลัดทิ้งความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจทิฏฐิได้แล้ว ไม่พึงน้อมไป คือ ไม่พึง
โน้มไปเพื่อความยึดถือว่าเป็นของเรา ได้แก่ ไม่พึงเป็นผู้เอนไปในความยึดถือว่าเป็น
ของเรานั้น ไม่พึงเป็นผู้โอนไปในความยึดถือว่าเป็นของเรานั้น ไม่พึงเป็นผู้โน้ม
ไปในความยึดถือว่าเป็นของเรานั้น ไม่พึงเป็นผู้น้อมใจไปในความยึดถือว่าเป็นของ
เรานั้น ไม่พึงเป็นผู้มีความยึดถือว่าเป็นของเรานั้นเป็นใหญ่ รวมความว่า ผู้เป็น
พุทธมามกะ ... ไม่พึงน้อมไปเพื่อความยึดถือว่าเป็นของเรา ด้วยเหตุนั้น พระผู้มี-
พระภาคจึงตรัสว่า
บุรุษย่อมสำคัญเบญจขันธ์ใดว่า นี้ของเรา
เบญจขันธ์นั้นบุรุษนั้นย่อมละไปเพราะความตาย
บัณฑิตผู้เป็นพุทธมามกะ รู้ชัดโทษนี้แล้ว
ไม่พึงน้อมไปเพื่อความยึดถือว่าเป็นของเรา
[๔๒] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
บุรุษผู้ตื่นขึ้นแล้ว ย่อมไม่เห็นสิ่งที่เกี่ยวข้องด้วยความฝัน ฉันใด
ใคร ๆ ย่อมไม่เห็นชนผู้เป็นที่รัก ซึ่งตายจากไปแล้ว ฉันนั้น

เชิงอรรถ :
๑ องฺ.จตุกฺก. ๒๑/๒๖/๓๑, ขุ.อิติ. ๒๕/๑๐๘/๓๒๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๕๒ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๖. ชราสุตตนิทเทส
ว่าด้วยสิ่งที่เกี่ยวข้องอุปมาเหมือนความฝัน
คำว่า สิ่งที่เกี่ยวข้องด้วยความฝัน ฉันใด ได้แก่ ที่เกี่ยวข้อง คือ ที่มาปรากฏ
ที่มารวมกัน ที่มาประชุมกัน รวมความว่า สิ่งที่เกี่ยวข้องด้วยความฝัน ฉันใด
คำว่า บุรุษผู้ตื่นขึ้นแล้ว ย่อมไม่เห็น อธิบายว่า บุรุษผู้ฝันเห็นดวงจันทร์
เห็นดวงอาทิตย์ เห็นมหาสมุทร เห็นขุนเขาสุเมรุ เห็นช้าง เห็นม้า เห็นรถ เห็น
ทหารราบ เห็นขบวนทัพ เห็นสวนที่น่ารื่นรมย์ เห็นป่าที่น่ารื่นรมย์ เห็นภูมิภาค
ที่น่ารื่นรมย์ เห็นสระที่น่ารื่นรมย์ เมื่อตื่นขึ้นแล้วก็ย่อมไม่เห็นอะไรเลย ฉันใด รวม
ความว่า บุรุษผู้ตื่นขึ้นแล้ว ย่อมไม่เห็น
คำว่า ฉันนั้น ในคำว่า ชนผู้เป็นที่รัก ... ฉันนั้น เป็นคำอุปไมยทำอุปมาให้
สมบูรณ์
คำว่า ชนผู้เป็นที่รัก ได้แก่ ชนผู้เป็นที่รัก คือ ผู้นับถือว่าเป็นของเรา ได้แก่ มารดา
บิดา พี่ชายน้องชาย พี่สาวน้องสาว บุตร ธิดา มิตร อำมาตย์ หรือญาติสายโลหิต
รวมความว่า ชนผู้เป็นที่รัก ... ฉันนั้น
คำว่า ย่อมไม่เห็น ... ซึ่งตายจากไปแล้ว อธิบายว่า ผู้ที่ตายไปแล้ว ตรัส
เรียกว่า ผู้จากไปแล้ว ใคร ๆ ย่อมไม่เห็น คือ ย่อมไม่แลเห็น ไม่ประสบ ไม่พบ
ไม่ได้คืน ชนผู้เป็นที่รักซึ่งตายไปแล้ว รวมความว่า ย่อมไม่เห็น ... ซึ่งตายจากไปแล้ว
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
บุรุษผู้ตื่นขึ้นแล้ว ย่อมไม่เห็นสิ่งที่เกี่ยวข้องด้วยความฝัน ฉันใด
ใคร ๆ ย่อมไม่เห็นชนผู้เป็นที่รัก ซึ่งตายจากไปแล้ว ฉันนั้น
[๔๓] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
ชื่อของชนเหล่าใดที่กล่าวกันอยู่นี้
ชนเหล่านั้นยังเห็นกันอยู่บ้าง ยังได้ยินกันอยู่บ้าง
สัตว์เกิดจากไปแล้วเหลือไว้แต่ชื่อเท่านั้น เพื่อกล่าวขานกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๕๓ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๖. ชราสุตตนิทเทส
ว่าด้วยสิ่งต่าง ๆ สลายไปเหลือแต่ชื่อ
คำว่า ยังเห็นกันอยู่ ในคำว่า ชนเหล่านั้นยังเห็นกันอยู่บ้าง ยังได้ยินกันอยู่
บ้าง ได้แก่ ผู้มีรูปที่รู้กันได้ด้วยจักขุวิญญาณ
คำว่า ยังได้ยินกันอยู่ ได้แก่ ผู้มีชื่อเสียงที่รู้กันได้ด้วยโสตวิญญาณ
คำว่า ชนเหล่านั้น ได้แก่ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต
เทวดา และมนุษย์ รวมความว่า ชนเหล่านั้นยังเห็นกันอยู่บ้าง ยังได้ยินกันอยู่บ้าง
คำว่า ของชนเหล่าใด ในคำว่า ชื่อของชนเหล่าใดที่กล่าวกันอยู่นี้ ได้แก่
ของกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดาและมนุษย์เหล่าใด
คำว่า ชื่อ ได้แก่ การกล่าวถึง การขนานนาม การบัญญัติ ชื่อที่เรียกกัน
ชื่อ การตั้งชื่อ ชื่อที่ตั้งให้ ภาษา พยัญชนะ ชื่อเรียกเฉพาะ
คำว่า ที่กล่าวกันอยู่ ได้แก่ ที่เรียก ที่กล่าวกันอยู่ คือ ที่พูด ที่บอก ที่แสดง
ที่ชี้แจงกันอยู่ รวมความว่า ชื่อของชนเหล่าใดที่กล่าวกันอยู่นี้
คำว่า เหลือไว้แต่ชื่อเท่านั้น เพื่อกล่าวขานกัน อธิบายว่า ขันธ์ที่เป็นรูป
เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ บุคคลย่อมละ ละเว้น ละขาด สูญหาย สลายไป
ก็ยังเหลือไว้แต่ชื่อเท่านั้น
คำว่า เพื่อกล่าวขานกัน ได้แก่ เพื่อกล่าวขานกัน คือ เพื่อพูด บอก แสดง
ชี้แจง รวมความว่า เหลือไว้แต่ชื่อเท่านั้น เพื่อกล่าวขานกัน
คำว่า จากไปแล้ว ในคำว่า สัตว์เกิดจากไปแล้ว ได้แก่ ตายแล้ว ทำกาละแล้ว
คำว่า สัตว์เกิด ได้แก่ สัตว์ นรชน มานพ บุรุษ บุคคล ผู้มีชีวิต ผู้เกิด สัตว์เกิด
ผู้เป็นไปตามกรรม มนุษย์ รวมความว่า สัตว์เกิดจากไปแล้ว ด้วยเหตุนั้น พระผู้มี-
พระภาคจึงตรัสว่า
ชื่อของชนเหล่าใดที่กล่าวกันอยู่นี้
ชนเหล่านั้นยังเห็นกันอยู่บ้าง ยังได้ยินกันอยู่บ้าง
สัตว์เกิดจากไปแล้วเหลือไว้แต่ชื่อเท่านั้น เพื่อกล่าวขานกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๕๔ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] ๖. ชราสุตตนิทเทส
[๔๔] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
ชนทั้งหลาย ผู้ติดใจในวัตถุที่ยึดถือว่าเป็นของเรา
ย่อมละทิ้งความเศร้าโศก ความคร่ำครวญและความตระหนี่ไม่ได้
เพราะฉะนั้น มุนีผู้เห็นแดนเกษม ละความยึดถือได้แล้ว เที่ยวไป
คำว่า ชนทั้งหลาย ผู้ติดใจในวัตถุที่ยึดถือว่าเป็นของเรา ย่อมละทิ้งความ
เศร้าโศก ความคร่ำครวญและความตระหนี่ไม่ได้ อธิบายว่า
คำว่า ความเศร้าโศก ได้แก่ ความเศร้าโศก กิริยาที่เศร้าโศก ภาวะที่เศร้าโศก
ความเศร้าโศกภายใน ความเศร้าโศกมากภายใน ความหม่นไหม้ภายใน ความเร่า
ร้อนภายใน ความหม่นไหม้แห่งจิต ความทุกข์ใจ ลูกศรคือความเศร้าโศกของผู้ถูก
ความเสียหายของญาติกระทบบ้าง ถูกความเสียหายแห่งโภคทรัพย์กระทบบ้าง ถูก
ความเสียหายเพราะโรคกระทบบ้าง ถูกสีลวิบัติกระทบบ้าง ถูกทิฏฐิวิบัติกระทบบ้าง
ประจวบกับความเสียหายอื่นนอกจากที่กล่าวแล้วกระทบบ้าง ถูกเหตุแห่งทุกข์อื่น
นอกจากที่กล่าวแล้วกระทบบ้าง
คำว่า ความคร่ำครวญ ได้แก่ ความบ่นเพ้อ ความคร่ำครวญ กิริยาที่
บ่นเพ้อ กิริยาที่คร่ำครวญ ภาวะที่บ่นเพ้อ ภาวะที่คร่ำครวญ การพูดพล่าม
การพูดเพ้อ การพูดเพ้อเจ้อ ความพร่ำเพ้อ กิริยาที่พร่ำเพ้อ ภาวะที่พร่ำเพ้อ
ของผู้ถูกความเสียหายของญาติกระทบบ้าง ... ถูกทิฏฐิวิบัติกระทบบ้าง ประจวบ
กับความเสียหายอื่นนอกจากที่กล่าวแล้วกระทบบ้าง ถูกเหตุแห่งทุกข์อื่นนอกจากที่
กล่าวแล้วกระทบบ้าง

ว่าด้วยความตระหนี่ ๕ อย่าง
คำว่า ความตระหนี่ ได้แก่ มัจฉริยะ ๕ อย่าง คือ
๑. อาวาสมัจฉริยะ ๒. กุลมัจฉริยะ
๓. ลาภมัจฉริยะ ๔. วัณณมัจฉริยะ
๕. ธัมมมัจฉริยะ
ความตระหนี่ กิริยาที่ตระหนี่ ภาวะที่ตระหนี่ ความเห็นแก่ได้ ความถี่เหนียว
ความที่จิตเจ็บร้อน(ในการให้) ความที่จิตหวงแหนเห็นปานนี้ นี้ตรัสเรียกว่า ความ
ตระหนี่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า :๑๕๕ }


>>>>> หน้าต่อไป >>>>>





eXTReMe Tracker