ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ



จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อความสะดวก และสวยงาม
(เฉพาะหน้าจอใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์)
กรุณาคลิก จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อให้กรอบ
ค้นข้อความ ปรากฎที่ด้านซ้ายของหน้า

พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ สุตตันตปิฎกที่ ๑๙ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๑. อปัณณกวรรค

พระสุตตันตปิฎก
ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๑. เอกกนิบาต
๑. อปัณณกวรรค
หมวดว่าด้วยการปฏิบัติไม่ผิด
๑. อปัณณกชาดก (๑)
ว่าด้วยการปฏิบัติไม่ผิด

(พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงปรารภพ่อค้าเกวียนสองคน คนหนึ่งปฏิบัติผิด
คนหนึ่งปฏิบัติถูก ตรัสพระคาถาว่า)
[๑] คนฉลาดพวกหนึ่งกล่าวฐานะที่ไม่ผิด๑
นักคาดคะเนทั้งหลายกล่าวฐานะที่ ๒ (ที่ผิด)
ผู้มีปัญญารู้จักฐานะที่ไม่ผิดและฐานะที่ผิดนั้นแล้ว
ควรถือฐานะที่ไม่ผิดไว้เถิด
อปัณณกชาดกที่ ๑ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ฐานะที่ไม่ผิด ในที่นี้หมายถึงฐานะหรือเหตุที่เป็นจริงโดยส่วนเดียว ไม่ผิดพลาด นำออกจากทุกข์ภัยได้
ได้แก่ ไตรสรณคมน์ ศีล ๕ ศีล ๑๐ ความสำรวมในปาติโมกข์ ความสำรวมอินทรีย์ ความสำรวมใน
การเลี้ยงชีพ การใช้สอยปัจจัยโดยอุบายที่ชอบ จตุปาริสุทธิศีลแม้ทั้งหมด ความเป็นผู้คุ้มครองทวารใน
อินทรีย์ทั้งหลาย ความเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ ความเพียรของผู้ตื่นอยู่ ฌาน วิปัสสนา อภิญญา
สมาบัติ อริยมรรค อริยผล ทั้งหมดนี้เรียกว่า ฐานะที่ไม่ผิด ทางดำเนินที่ไม่ผิด หรือทางดำเนินที่นำ
ออกจากทุกข์ (ขุ.ชา.อ. ๑/๑/๑๕๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๑. อปัณณกวรรค ๔. จูฬเสฏฐิชาดก (๔)
๒. วัณณุปถชาดก (๒)
ว่าด้วยการบำเพ็ญความเพียรเหมือนขุดหาน้ำกลางทะเลทราย
(พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงปรารภพ่อค้าเดินทางกลางทะเลทรายขุดหาน้ำได้ด้วย
ความเพียร เปรียบเทียบกับมุนีผู้ทำความเพียรย่อมได้ความสงบใจ ตรัสพระคาถาว่า)
[๒] ชนทั้งหลายผู้ไม่เกียจคร้าน
ขุดภาคพื้นที่หนทางกลางทะเลทราย
ได้พบน้ำที่กลางทะเลทรายอันราบเรียบ ฉันใด
มุนีผู้ประกอบด้วยความเพียรและกำลัง ไม่เกียจคร้าน
พึงประสบความสงบใจ ฉันนั้น
วัณณุปถชาดกที่ ๒ จบ

๓. เสริววาณิชชาดก (๓)
ว่าด้วยพ่อค้าชื่อเสริวะ
(พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงปรารภภิกษุผู้ละความเพียร ตรัสพระคาถาว่า)
[๓] ถ้าเธอพลาดจากสภาวะอันแน่นอนแห่งพระสัทธรรม
ในศาสนานี้แล้ว เธอจะต้องเดือดร้อนตลอดกาลนาน
เหมือนพ่อค้าชื่อว่าเสริวะนี้
เสริววาณิชชาดกที่ ๓ จบ

๔. จูฬเสฏฐิชาดก (๔)
ว่าด้วยจูฬเศรษฐี
(พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงปรารภการตั้งตัวได้ด้วยทรัพย์เพียงเล็กน้อย ตรัส
พระคาถาว่า)
[๔] ผู้มีปัญญาพิจารณาเห็นโดยประจักษ์
ย่อมตั้งตัวได้ด้วยสิ่งของอันมีมูลค่าน้อย
เหมือนคนก่อไฟกองเล็ก ๆ ทำให้เป็นกองใหญ่ได้
จูฬเสฏฐิชาดกที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๑. อปัณณกวรรค ๗. กัฏฐหาริชาดก (๗)
๕. ตัณฑุลนาฬิชาดก (๕)
ว่าด้วยมูลค่าข้าวสารทะนานหนึ่ง
(อำมาตย์ทูลถามพระราชาว่า)
[๕] ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พระองค์ตรัสว่า ข้าวสาร ๑ ทะนาน
มีราคาเท่ามูลค่าม้า ๕๐๐ ตัวหรือ
และข้าวสาร ๑ ทะนานนี้มีค่าเท่ากับกรุงพาราณสี
ทั้งภายในภายนอกเชียวหรือ
ตัณฑุลนาฬิชาดกที่ ๕ จบ

๖. เทวธัมมชาดก (๖)
ว่าด้วยธรรมของเทวดา
(พระโพธิสัตว์กล่าวว่า)
[๖] บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยหิริและโอตตัปปะ
ตั้งมั่นอยู่ในสุกกธรรม (กุศลธรรม)
เป็นผู้สงบระงับ เป็นคนดีงาม
ท่านเรียกว่า ผู้มีเทวธรรมในโลก
เทวธัมมชาดกที่ ๖ จบ

๗. กัฏฐหาริชาดก (๗)
ว่าด้วยหญิงหาฟืน
(พระโพธิสัตว์กล่าวธรรมแก่พระราชบิดาว่า)
[๗] ข้าแต่พระมหาราชเจ้า หม่อมฉันเป็นโอรสของพระองค์
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นอธิบดีของหมู่ชน
ขอพระองค์ทรงเลี้ยงหม่อมฉัน
แม้คนเหล่าอื่นพระองค์ยังทรงเลี้ยงได้
ทำไมจะไม่ทรงเลี้ยงโอรสของพระองค์เล่า
กัฏฐหาริชาดกที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๑. อปัณณกวรรค ๑๐. สุขวิหาริชาดก (๑๐)
๘. คามณิชาดก (๘)
ว่าด้วยคามณิกุมาร
(คามณิกุมารเปล่งอุทานว่า)
[๘] เออก็ ผลที่หวังจะสำเร็จแก่ผู้ไม่ใจเร็วด่วนได้
เรามีพรหมจรรย์แก่กล้าแล้ว
ท่านจงเข้าใจดังนี้เถิด พ่อคามณิ
คามณิชาดกที่ ๘ จบ

๙. มฆเทวชาดก (๙)
ว่าด้วยพระเจ้ามฆเทวะ
(พระราชาทรงจับพระเกสาหงอกแล้ว ตรัสแก่อำมาตย์ทั้งหลายว่า)
[๙] เมื่อวัยล่วงเลยไป ผมบนศีรษะของเราก็หงอก
เทวทูตก็ปรากฏชัด บัดนี้เป็นเวลาที่เราควรจะบวช
มฆเทวชาดกที่ ๙ จบ

๑๐. สุขวิหาริชาดก (๑๐)
ว่าด้วยการอยู่เป็นสุข
(ฤๅษีโพธิสัตว์แสดงธรรมถวายพระราชาว่า)
[๑๐] บุคคลเหล่าอื่นไม่ต้องรักษาคุ้มครองผู้ใด
และผู้ใดก็ไม่ต้องรักษาคุ้มครองบุคคลเหล่าอื่น
มหาบพิตร ผู้นั้นแหละไม่เยื่อใยในกามทั้งหลาย
ย่อมอยู่เป็นสุข
สุขวิหาริชาดกที่ ๑๐ จบ
อปัณณกวรรคที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๒. สีลวรรค ๒. นิโครธมิคชาดก (๑๒)
รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อปัณณกชาดก ๒. วัณณุปถชาดก
๓. เสริววาณิชชาดก ๔. จูฬเสฏฐิชาดก
๕. ตัณฑุลนาฬิชาดก ๖. เทวธัมมชาดก
๗. กัฏฐหาริชาดก ๘. คามณิชาดก
๙. มฆเทวชาดก ๑๐. สุขวิหาริชาดก

๒. สีลวรรค
หมวดว่าด้วยศีล
๑. ลักขณชาดก (๑๑)
ว่าด้วยเนื้อชื่อลักขณะ
(พญาเนื้อโพธิสัตว์เห็นลูกทั้ง ๒ กำลังมา จึงกล่าวกับหมู่ญาติว่า)
[๑๑] ประโยชน์๑ย่อมมีแก่ผู้มีศีล ผู้กระทำการต้อนรับเป็นปกติ
เธอจงดูลูกเนื้อชื่อลักขณะ ที่หมู่ญาติแวดล้อมกลับมา
และจงดูลูกเนื้อชื่อกาฬะนี้ที่เสื่อมจากหมู่ญาติ
ลักขณชาดกที่ ๑ จบ

๒. นิโครธมิคชาดก (๑๒)
ว่าด้วยพญาเนื้อชื่อนิโครธ
(แม่เนื้อเห็นลูกกำลังจะไปยังที่อยู่ของเนื้อสาขะ จึงกล่าวสอนว่า)

เชิงอรรถ :
๑ ประโยชน์ ในที่นี้หมายถึงความเจริญ (ขุ.ชา.อ. ๑/๑๑/๒๐๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๒. สีลวรรค ๕.ขราทิยชาดก (๑๕)
[๑๒] ลูกหรือผู้อื่นควรคบหาเนื้อชื่อนิโครธเท่านั้น
ไม่ควรเข้าไปคบหาเนื้อชื่อสาขะ
การตายในสำนักของเนื้อชื่อนิโครธยังประเสริฐกว่า
การมีชีวิตในสำนักของเนื้อชื่อสาขะจะประเสริฐอะไร
นิโครธมิคชาดกที่ ๒ จบ

๓. กัณฑิชาดก (๑๓)
ว่าด้วยเรื่องที่น่าตำหนิคนมีลูกศรเป็นอาวุธเป็นต้น
(เทวดาโพธิสัตว์ตำหนิเรื่องที่ควรตำหนิ ๓ อย่าง จึงกล่าวว่า)
[๑๓] น่าตำหนิ คนที่มีลูกศรเป็นอาวุธ ยิงไปเต็มกำลัง
น่าตำหนิ ชนบทที่มีสตรีเป็นผู้นำ
อนึ่ง แม้ชายผู้ตกอยู่ในอำนาจของหญิง ก็น่าตำหนิ
กัณฑิชาดกที่ ๓ จบ

๔. วาตมิคชาดก (๑๔)
ว่าด้วยเนื้อสมัน
(พระราชาทรงดำริว่า สภาวะที่เลวกว่าความอยากในรสไม่มี จึงตรัสว่า)
[๑๔] ได้ยินว่า สภาวะอย่างอื่นที่จะเลวยิ่งกว่ารสทั้งหลายไม่มี
รสเป็นสภาวะที่เลวกว่าที่อยู่อาศัย กว่าความสนิทสนม
คนเฝ้าสวนชื่อสัญชัยนำเนื้อสมันที่อาศัยอยู่ในป่าทึบ
มาสู่อำนาจได้ก็เพราะรส
วาตมิคชาดกที่ ๔ จบ

๕. ขราทิยชาดก (๑๕)
ว่าด้วยลูกของแม่เนื้อที่ชื่อขราทิยา
(พญาเนื้อโพธิสัตว์ไม่ปรารถนาจะสอนลูกของน้องสาว จึงกล่าวว่า)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๒. สีลวรรค ๗. มาลุตชาดก (๑๗)
[๑๕] แม่ขราทิยา เราไม่สามารถจะสั่งสอนเนื้อ
ที่มีกีบเท้า ๘ กีบ มีเขาคดตั้งแต่โคนจรดปลาย
ที่ละเลยโอวาทตลอด ๗ วันตัวนั้นได้
ขราทิยชาดกที่ ๕ จบ

๖. ติปัลลัตถมิคชาดก (๑๖)
ว่าด้วยเนื้อลวงนายพรานด้วยการนอน ๓ ท่า
(พญาเนื้อโพธิสัตว์กล่าวแก่น้องสาวว่า)
[๑๖] น้องหญิง พี่ให้เนื้อ(หลานชาย)ที่มีกีบเท้า ๘ กีบ
เรียนท่านอน ๓ ท่า เรียนเล่ห์กลมายาหลายอย่าง
และการดื่มน้ำในเวลาเที่ยงคืน
เนื้อนั้น เมื่อหายใจทางจมูกข้างที่แนบติดอยู่กับพื้นดิน
ก็จะลวงนายพรานได้ด้วยอุบาย ๖ ประการ๑
ติปัลลัตถมิคชาดกที่ ๖ จบ

๗. มาลุตชาดก (๑๗)
ว่าด้วยความหนาวเกิดแต่ลม
(ฤาษีโพธิสัตว์ถูกเสือและราชสีห์ถาม จึงกล่าวว่า)
[๑๗] สมัยใดลมพัดมา สมัยนั้นจะเป็นข้างแรมก็ตาม
ข้างขึ้นก็ตาม ย่อมมีความหนาวอันเกิดแต่ลม
ในปัญหาข้อนี้ เธอทั้ง ๒ จึงไม่มีใครเป็นผู้แพ้
มาลุตชาดกที่ ๗ จบ

เชิงอรรถ :
๑ อุบาย ๖ ประการ คือ (๑) นอนตะแคงข้างเหยียดเท้าทั้ง ๔ (๒) ใช้กีบเท้าคุ้ยหญ้าและฝุ่น (๓) แลบลิ้น
ออกให้น้อยลง (๔) ทำให้ท้องพองนูน (๕) ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ (๖) กลั้นลมหายใจเข้าออกไว้
เมื่อนายพรานเห็นเข้าใจว่าตายแล้วจะแก้บ่วงออก เนื้อก็จะรีบหนีไป (ขุ.ชา.อ. ๑/๑๖/๒๒๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๒. สีลวรรค ๑๐.นฬปานชาดก (๒๐)
๘. มตกภัตตชาดก (๑๘)
ว่าด้วยการฆ่าสัตว์ทำบุญอุทิศให้ผู้ตาย
(รุกขเทวดาโพธิสัตว์แสดงธรรมแก่มหาชนว่า)
[๑๘] ถ้าเหล่าสัตว์พึงรู้อย่างนี้ว่า
การเกิดและสมภพ๑นี้เป็นทุกข์
สัตว์ไม่ควรฆ่าสัตว์ เพราะผู้ฆ่าสัตว์ย่อมเศร้าโศก
มตกภัตตชาดกที่ ๘ จบ

๙. อายาจิตภัตตชาดก (๑๙)
ว่าด้วยการฆ่าสัตว์ทำพลีกรรม
(รุกขเทวดาอยู่ที่ค่าคบต้นไม้กล่าวกับกุฎุมพีผู้ฆ่าสัตว์แก้บนว่า)
[๑๙] ถ้าท่านต้องการจะเปลื้องตนให้หลุดพ้น
จงเปลื้องตนให้หลุดพ้นโดยวิธีที่จะไม่ติดแน่นเถิด
เมื่อท่านเปลื้องตนอย่างนี้ ชื่อว่ายังติดแน่นอยู่
เพราะนักปราชญ์ไม่เปลื้องตนให้หลุดพ้นด้วยวิธีอย่างนี้
การเปลื้องตนให้หลุดพ้นอย่างนี้ กลับเป็นการผูกมัดคนพาล
อายาจิตภัตตชาดกที่ ๙ จบ

๑๐. นฬปานชาดก (๒๐)
ว่าด้วยอุบายดื่มน้ำด้วยไม้อ้อ
(พระศาสดาทรงทราบความที่พระโพธิสัตว์กับรากษสโต้ตอบกัน จึงได้ตรัสพระ
คาถานี้ว่า)

เชิงอรรถ :
๑ สมภพ ในที่นี้หมายถึงความเจริญโดยลำดับแห่งสัตว์ผู้บังเกิดแล้ว (ขุ.ชา.อ. ๑/๑๘/๒๓๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๓. กุรุงควรรค ๑. กุรุงคมิคชาดก (๒๑)
[๒๐] พญาวานรไม่เห็นรอยเท้าที่ขึ้นมา
เห็นแต่รอยเท้าที่ลงไป จึงกล่าวว่า
พวกเราจักดื่มน้ำด้วยหลอดไม้อ้อ
ท่านจักฆ่าเราไม่ได้
นฬปานชาดกที่ ๑๐ จบ
สีลวรรคที่ ๒ จบ

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ
๑.ลักขณชาดก ๒. นิโครธมิคชาดก
๓.กัณฑิชาดก ๔. วาตมิคชาดก/l
๕.ขราทิยชาดก ๖. ติปัลลัตถมิคชาดก/r
๗.มาลุตชาดก ๘. มตกภัตตชาดก
๙.อายาจิตภัตตชาดก ๑๐ นฬปานชาดก

๓. กุรุงควรรค
หมวดว่าด้วยกวาง
๑. กุรุงคมิคชาดก (๒๑)
ว่าด้วยกวาง
(กวางโพธิสัตว์แสร้งกล่าวกับต้นไม้กระทบนายพรานว่า)
[๒๑] นี่ไม้มะรื่น การที่ท่านปล่อยผลมะรื่นให้หล่นกลิ้งมานั้น
กวางรู้แล้ว เราจะไปยังไม้มะรื่นต้นอื่น
เราไม่ชอบใจผลของท่าน
กุรุงคมิคชาดกที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๓. กุรุงควรรค ๔. อาชัญญชาดก (๒๔)
๒. กุกกุรชาดก (๒๒)
ว่าด้วยสุนัขที่ถูกฆ่า
(สุนัขโพธิสัตว์แสดงธรรมถวายพระราชาผู้ทำสิ่งที่ไม่เป็นธรรมว่า)
[๒๒] พวกลูกสุนัขที่เขาเลี้ยงจนเจริญเติบโตแล้วในราชตระกูล
เป็นสัตว์มีตระกูล สมบูรณ์ด้วยสีสันและกำลัง กลับไม่ถูกฆ่า
พวกเราซิกลับถูกฆ่า นี้ชื่อว่าการฆ่าที่แปลก
ชื่อว่าเป็นการฆ่าผู้ที่มีกำลังอ่อนแอ
กุกกุรชาดกที่ ๒ จบ

๓. โภชาชานียชาดก (๒๓)
ว่าด้วยม้าสินธพชาติอาชาไนย
(ม้าสินธพชาติอาชาไนยโพธิสัตว์ กล่าวกับหมู่ญาติว่า)
[๒๓] ม้าสินธพชาติอาชาไนยที่ถูกยิงด้วยลูกศร
แม้นอนตะแคงอยู่ ก็ยังประเสริฐกว่าม้ากระจอก
พ่อสารถี ท่านจงตระเตรียมเราออกรบอีกเถิด
โภชาชานียชาดกที่ ๓ จบ

๔. อาชัญญชาดก (๒๔)
ว่าด้วยม้าอาชาไนยกับม้ากระจอก
(ม้าอาชาไนยโพธิสัตว์ถูกฟันหมอบอยู่ กล่าวกับพลรถว่า)
[๒๔] ไม่ว่าในกาลใด สถานที่ใด ขณะใด
สนามรบใด หรือเวลาใด
ม้าอาชาไนยก็เร่งความเร็ว
ส่วนม้ากระจอกย่อมล้าหลัง
อาชัญญชาดกที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๓. กุรุงควรรค ๗. อภิณหชาดก (๒๗)
๕. ติตถชาดก (๒๕)
ว่าด้วยการรังเกียจท่าน้ำ
(อำมาตย์โพธิสัตว์กล่าวกับคนเลี้ยงม้าว่า)
[๒๕] นายสารถี ท่านจงให้ม้าดื่มน้ำที่ท่าอื่น ๆ บ้าง
แม้ข้าวปายาสที่รับประทานบ่อย ๆ คนก็ยังเบื่อได้
ติตถชาดกที่ ๕ จบ

๖. มหิฬามุขชาดก (๒๖)
ว่าด้วยพญาช้างมหิฬามุข
(อำมาตย์โพธิสัตว์กราบทูลพระราชาว่า)
[๒๖] พญาช้างต้นชื่อมหิฬามุขได้เที่ยวทำร้ายคน
เพราะสำเหนียกคำของพวกโจรมาก่อน
พญามงคลหัตถีได้ตั้งอยู่ในคุณธรรมทั้งปวง
เพราะสำเหนียกคำของนักบวชผู้สำรวมดี
มหิฬามุขชาดกที่ ๖ จบ

๗. อภิณหชาดก (๒๗)
ว่าด้วยการได้เห็นกันเนือง ๆ
(อำมาตย์โพธิสัตว์กราบทูลพระราชาว่า)
[๒๗] พญาช้างต้นไม่สามารถจะรับคำข้าว ไม่สามารถจะรับก้อนข้าว
ไม่สามารถจะรับหญ้า และไม่สามารถจะขัดสีร่างกายได้
ข้าพระพุทธเจ้าสำคัญว่าพญาช้างตัวประเสริฐ
มีความเยื่อใยในลูกสุนัข เพราะได้เห็นกันเนือง ๆ พระเจ้าข้า
อภิณหชาดกที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๓. กุรุงควรรค ๑๐. มุนิกชาดก (๓๐)
๘. นันทิวิสาลชาดก (๒๘)
ว่าด้วยโคนันทิวิสาล
(พระศาสดาทรงติเตียนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ผู้พูดคำหยาบคาย ตรัสนันทิวิสาล-
ชาดกนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า)
[๒๘] บุคคลควรพูดแต่คำที่น่าพอใจเท่านั้น
ไม่ควรพูดคำที่ไม่น่าพอใจในเวลาไหน ๆ
เมื่อพราหมณ์พูดคำที่น่าพอใจ
โคนันทิวิสาลจึงลากสัมภาระอันหนักไปได้
ทั้งยังทำให้พราหมณ์ได้ทรัพย์อีกด้วย
ส่วนตนเองก็ปลื้มใจ เพราะการช่วยเหลือนั้น
นันทิวิสาลชาดกที่ ๘ จบ

๙. กัณหชาดก (๒๙)
ว่าด้วยโคกัณหะ
(พระศาสดาทรงแสดงพระธรรมเทศนาว่า พระตถาคตหาผู้เสมอเหมือนมิได้ทั้งใน
อดีตทั้งในปัจจุบัน จึงตรัสพระคาถานี้ว่า)
[๒๙] ในที่ใด ๆ มีธุระหนัก ในที่ใดหนทางเป็นร่องลึก ขรุขระ
ในเวลานั้นแหละ ชนทั้งหลายจะเทียมโคกัณหะ
โคกัณหะนั้นแหละจะนำธุระอันนั้นไปได้
กัณหชาดกที่ ๙ จบ

๑๐. มุนิกชาดก (๓๐)
ว่าด้วยหมูชื่อมุนิกะ
(โคโพธิสัตว์พูดกับน้องซึ่งมีความน้อยใจว่า เขาเลี้ยงด้วยหญ้าและฟาง เลี้ยง
สุกรด้วยข้าวต้มและข้าวสวย จึงกล่าวคาถานี้ว่า)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๔. กุลาวกวรรค ๑. กุลาวกชาดก (๓๑)
[๓๐] เธออย่าปรารถนาเป็นอย่างหมูมุนิกะเลย
หมูมุนิกะกินอาหารอันเป็นเหตุให้เดือดร้อน
เธอจงเป็นผู้ขวนขวายน้อย กินข้าวลีบเถิด
การกินข้าวลีบนี้เป็นเหตุให้มีอายุยืน
มุนิกชาดกที่ ๑๐ จบ
กุรุงควรรคที่ ๓ จบ

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้คือ
๑. กุรุงคมิคชาดก ๒. กุกกุรชาดก/r
๓. โภชาชานียชาดก ๔. อาชัญญชาดก/r
๕. ติตถชาดก ๖. มหิฬามุขชาดก/r
๗. อภิณหชาดก ๘. นันทิวิสาลชาดก/r
๙. กัณหชาดก ๑๐. มุนิกชาดก/r

๔. กุลาวกวรรค
หมวดว่าด้วยลูกนกครุฑ
๑. กุลาวกชาดก (๓๑)
ว่าด้วยลูกนกครุฑ
(ท้าวสักกะโพธิสัตว์ยอมสละชีวิตให้พวกอสูร ตรัสสั่งให้มาตลีเทพสารถีหันรถ
กลับเพราะกลัวลูกนกจะตายว่า)
[๓๑] มาตลีเทพบุตร ที่ต้นงิ้วมีลูกนกครุฑอยู่
เธอจงหันงอนรถกลับ เราประสงค์จะสละชีวิตให้พวกอสูร
ลูกนกพวกนี้อย่าได้แหลกลาญเลย
กุลาวกชาดกที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๔. กุลาวกวรรค ๔. มัจฉชาดก (๓๔)
๒. นัจจชาดก (๓๒)
ว่าด้วยนกยูงรำแพน
(พญาหงส์ทองไม่ยอมยกลูกสาวให้นกยูงที่ขาดหิริและโอตตัปปะ จึงกล่าวคาถา
นี้ในท่ามกลางฝูงนกว่า)
[๓๒] เสียงของเธอช่างไพเราะจับใจ แผ่นหลังก็สวยงาม
สร้อยคอก็เปรียบประดุจดังสีแก้วไพฑูรย์ และกำหางก็ยาวตั้งวา
เราจะไม่ให้ลูกสาวแก่เธอ เพราะการรำแพนหางร่ายรำ
นัจจชาดกที่ ๒ จบ

๓. สัมโมทมานชาดก (๓๓)
ว่าด้วยความร่าเริงบันเทิงใจ
(นายพรานนกจับนกกระจาบไม่ได้ถูกภรรยาต่อว่า จึงกล่าวว่า)
[๓๓] นกกระจาบทั้งหลายร่าเริงบันเทิงใจ
ช่วยกันบินพาเอาข่ายไปได้
เมื่อใดพวกมันทะเลาะกัน
เมื่อนั้นพวกมันจักมาสู่เงื้อมมือของเรา
สัมโมทมานชาดกที่ ๓ จบ

๔. มัจฉชาดก (๓๔)
ว่าด้วยพญาปลา
(พญาปลาติดข่ายกลัวภรรยาจะเข้าใจผิดและเบียดเบียนเอาจึงคร่ำครวญอยู่ จึง
กล่าวว่า)
[๓๔] ความเย็น ความร้อน และการติดอยู่ในข่าย
ไม่ได้เบียดเบียนให้เราได้รับทุกข์
เหมือนเรื่องที่นางปลาเข้าใจเราว่า ไปยินดีนางปลาตัวอื่นเลย
มัจฉชาดกที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๔. กุลาวกวรรค ๗. ติตติรชาดก (๓๑)
๕. วัฏฏกชาดก (๓๕)
ว่าด้วยนกคุ่มโพธิสัตว์
(นกคุ่มโพธิสัตว์เมื่อจะห้ามไฟป่า ระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้าในอดีต
ปรารภสัจจะที่มีอยู่ในตน เมื่อจะทำสัจจกิริยา จึงกล่าวว่า)
[๓๕] ปีกของเรามีอยู่แต่ยังบินไม่ได้
เท้าทั้ง ๒ ข้างของเรามีอยู่ก็ยังเดินไม่ได้
และมารดาบิดาของเราก็หนีภัยออกไปแล้ว
นี่ไฟป่า เจ้าจงถอยกลับไปเถิด
วัฏฏกชาดกที่ ๕ จบ

๖. สกุณชาดก (๓๖)
ว่าด้วยนกโพธิสัตว์
(นกโพธิสัตว์เห็นกิ่งไม้เสียดสีกันเกิดไฟป่า จึงกล่าวแก่นกยูงว่า)
[๓๖] นกทั้งหลายอาศัยต้นไม้ใด
ต้นไม้นั้นปล่อยไฟออกมา
นี่นกทั้งหลาย พวกเธอจงหนีไปยังทิศทั้งหลายเถิด
ภัยได้เกิดมีแต่ต้นไม้อันเป็นที่พึ่งของพวกเรา
สกุณชาดกที่ ๖ จบ

๗. ติตติรชาดก (๓๗)
ว่าด้วยนกกระทา
(พระศาสดาทรงติเตียนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ผู้ไม่มีความเคารพยำเกรงต่อภิกษุผู้
แก่กว่า จึงตรัสว่า)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๔. กุลาวกวรรค ๙. นันทชาดก (๓๙)
[๓๗] นรชนเหล่าใดฉลาดในธรรม๑
ประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนต่อบุคคลผู้เจริญ๒ทั้งหลาย
นรชนเหล่านั้นเป็นผู้ได้รับการสรรเสริญในปัจจุบัน
และมีสุคติภพในเบื้องหน้า
ติตติรชาดกที่ ๗ จบ

๘. พกชาดก (๓๘)
ว่าด้วยนกยาง
(รุกขเทวดาโพธิสัตว์สถิตอยู่ที่ต้นกุ่ม ได้เห็นเหตุอัศจรรย์ที่นกยางถูกปูหนีบ
คอจมน้ำตาย เมื่อจะให้สาธุการ จึงกล่าวว่า)
[๓๘] ผู้ใช้เล่ห์เหลี่ยมหลอกลวงผู้อื่น
จะพบความสุขอยู่ได้ไม่นาน
ผู้ใช้เล่ห์เหลี่ยมหลอกลวงผู้อื่นนั้น
ต้องประสบบาปกรรมที่ตนทำไว้
เหมือนนกยางที่ถูกปูหนีบตาย
พกชาดกที่ ๘ จบ

๙. นันทชาดก (๓๙)
ว่าด้วยนายนันททาส
(กุฎุมพีโพธิสัตว์เมื่อจะบอกขุมทรัพย์แก่กุมารผู้เป็นลูกของเพื่อน จึงกล่าวว่า)
[๓๙] ทาสชื่อนันทะ เกิดจากนางทาสี ยืนพูดคำหยาบอยู่ที่ใด
เรารู้ว่ามีกองรัตนะและมาลัยทองอยู่ที่นั้น
นันทชาดกที่ ๙ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ธรรม ในที่นี้หมายถึงความประพฤติยำเกรงต่อบุคคลผู้เจริญ (ขุ.ชา.อ. ๑/๓๗/๓๐๑)
๒ ผู้เจริญมี ๓ ประเภท คือ ( ๑) เจริญโดยชาติ (๒) เจริญโดยวัย (๓) เจริญโดยคุณ (ขุ.ชา.อ. ๑/๓๗/๓๐๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๕. อัตถกามวรรค ๑. โลสกชาดก (๔๑)
๑๐. ขทิรังคารชาดก (๔๐)
ว่าด้วยหลุมถ่านเพลิงไม้ตะเคียน
(เศรษฐีโพธิสัตว์เมื่อจะให้มารผู้ประสงค์จะทำลายชีวิตพระปัจเจกพุทธเจ้า และ
ทำลายโรงทานทราบว่า ตัวท่านหรือมารมีกำลังมีอานุภาพมากกว่ากัน จึงกล่าว
คาถานี้กับพระปัจเจกพุทธเจ้าว่า)
[๔๐] ข้าพเจ้าจะตกหลุมถ่านเพลิงมีเท้าชี้ขึ้น มีศีรษะปักลงก็ตามที
ข้าพเจ้าจะไม่ทำความชั่วอันเป็นกรรมไม่ประเสริฐอีก
ขอนิมนต์พระคุณเจ้ารับบิณฑบาตนี้เถิด
ขทิรังคารชาดกที่ ๑๐ จบ
กุลาวกวรรคที่ ๔ จบ

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. กุลาวกชาดก ๒. นัจจชาดก
๓. สัมโมทมานชาดก ๔. มัจฉชาดก
๕. วัฏฏกชาดก ๖. สกุณชาดก
๗. ติตติรชาดก ๘. พกชาดก
๙. นันทชาดก ๑๐. ขทิรังคารชาดก
๕. อัตถกามวรรค
หมวดว่าด้วยผู้ใคร่ประโยชน์
๑. โลสกชาดก (๔๑)
ว่าด้วยคนโลเลต้องเศร้าโศก
(พระโพธิสัตว์เล่าเรื่องนายมิตตวินทุกะที่ไม่ทำตามคำสอนของผู้หวังความเจริญ
จึงได้รับทุกข์แล้ว ได้กล่าวว่า)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๕. อัตถกามวรรค ๓. เวฬุกชาดก (๔๓)
[๔๑] ผู้ใดที่คนอื่นผู้มีจิตเกื้อกูล อ่อนโยน กล่าวสอนอยู่
ไม่กระทำตามคำสอนของบุคคลผู้หวังความเจริญ
ผู้อนุเคราะห์ด้วยเหตุอันเป็นประโยชน์
ผู้นั้นย่อมเศร้าโศก เหมือนมิตตวินทุกะจับขาแพะแล้วเศร้าโศกอยู่
โลสกชาดกที่ ๑ จบ

๒. กโปตกชาดก (๔๒)
ว่าด้วยนกพิราบเตือนกา
(นกพิราบโพธิสัตว์เห็นกาประสบความพินาศ จึงกล่าวว่า)
[๔๒] ผู้ใดอันบุคคลผู้หวังความเจริญ
อนุเคราะห์ด้วยประโยชน์เกื้อกูล
กล่าวสอนอยู่ ก็ไม่ทำตามคำสั่งสอน
ผู้นั้นย่อมเศร้าโศกอยู่ร่ำไป
เหมือนกาไม่ทำตามคำของนกพิราบตกอยู่ในเงื้อมมือของศัตรู
กโปตกชาดกที่ ๒ จบ

๓. เวฬุกชาดก (๔๓)
ว่าด้วยงูเวฬุกะ
(ดาบสโพธิสัตว์สั่งให้ทำการเผาดาบสที่ถูกงูกัดตายแล้ว จึงกล่าวสอนหมู่ฤๅษีว่า)
[๔๓] ผู้ใดที่คนอื่นผู้มีจิตเกื้อกูล อ่อนโยน กล่าวสอนอยู่
ไม่กระทำตามคำสอนของบุคคลผู้หวังความเจริญ
ผู้อนุเคราะห์ด้วยเหตุอันเป็นประโยชน์
ผู้นั้นย่อมถูกกำจัดนอนตายอยู่ เหมือนฤๅษีผู้เป็นบิดาของงูเวฬุกะ๑
เวฬุกชาดกที่ ๓ จบ

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า เวฬุก เป็นชื่อของไม้ไผ่ งูที่ได้ชื่อว่า เวฬุกะ เพราะนอนอยู่ในปล้องไม้ไผ่ (ขุ.ชา.อ. ๒/๔๓/๑๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๕. อัตถกามวรรค ๖. อารามทูสกชาดก (๔๖)
๔. มกสชาดก (๔๔)
ว่าด้วยลูกชายโง่ฆ่ายุง
(พ่อค้าโพธิสัตว์เห็นการกระทำของช่างไม้ผู้โง่เขลา จึงกล่าวว่า)
[๔๔] มีศัตรูผู้มีความรู้ยังประเสริฐกว่า
ส่วนมิตรผู้ไร้ปัญญาไม่ประเสริฐเลย
เพราะว่าลูกชายผู้โง่เขลาคิดว่า เราจักฆ่ายุง
ได้ทุบหัวของพ่อเสียแล้ว
มกสชาดกที่ ๔ จบ

๕. โรหิณีชาดก (๔๕)
ว่าด้วยนางโรหิณี
(พระโพธิสัตว์ทราบเรื่องที่สาวใช้ซี่งมารดาใช้ให้ไล่แมลงวันกลับใช้สากตีมารดา
จนสิ้นชีวิต จึงกล่าวว่า)
[๔๕] มีศัตรูผู้มีปัญญายังดีกว่ามีคนอนุเคราะห์ที่โง่
เธอจงดูนางโรหิณีชาติชั่ว ฆ่าแม่แล้วเศร้าโศกอยู่
โรหิณีชาดกที่ ๕ จบ

๖. อารามทูสกชาดก (๔๖)
ว่าด้วยลิงทำลายสวน
(บุรุษผู้เป็นบัณฑิตได้ฟังคำของลิง จึงกล่าวว่า)
[๔๖] ผู้ไม่ฉลาดในสิ่งที่เป็นประโยชน์ ถึงจะบำเพ็ญประโยชน์
ก็ไม่สามารถจะนำความสุขมาได้เลย
คนมีปัญญาทรามทำประโยชน์ให้เสียหาย เหมือนลิงเฝ้าสวน
อารามทูสกชาดกที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๕. อัตถกามวรรค ๙. นักขัตตชาดก (๔๙)
๗. วารุณิทูสกชาดก (๔๗)
ว่าด้วยผู้มีปัญญาทรามทำสุราให้เสีย
(พระโพธิสัตว์เล่าเรื่องคนโง่ไม่ฉลาดในสิ่งที่เป็นประโยชน์ จึงกล่าวว่า)
[๔๗] ผู้ไม่ฉลาดในสิ่งที่เป็นประโยชน์ ถึงจะบำเพ็ญประโยชน์
ก็ไม่สามารถจะนำความสุขมาได้เลย
คนมีปัญญาทรามย่อมทำประโยชน์ให้เสียหาย
เหมือนนายโกณฑัญญะทำสุราให้เสีย
วารุณิทูสกชาดกที่ ๗ จบ

๘. เวทัพพชาดก (๔๘)
ว่าด้วยพราหมณ์ชื่อเวทัพพะ
(พระโพธิสัตว์คิดถึงเรื่องคนที่ปรารถนาความเจริญโดยวิธีที่ไม่สมควร ได้ประสบ
ความพินาศใหญ่หลวง จึงกล่าวว่า)
[๔๘] ผู้ใดปรารถนาประโยชน์โดยอุบายอันไม่แยบยล
ผู้นั้นย่อมเดือดร้อน เหมือนโจรชาวแคว้นเจตะ
ฆ่าเวทัพพพราหมณ์แล้วถึงความพินาศทั้งหมด
เวทัพพชาดกที่ ๘ จบ

๙. นักขัตตชาดก (๔๙)
ว่าด้วยการถือฤกษ์ถือยาม
(บุรุษผู้เป็นบัณฑิตเห็นชาวพระนครทะเลาะกันเรื่องฤกษ์ จึงกล่าวว่า)
[๔๙] ประโยชน์ได้ล่วงเลยคนโง่เขลาที่มัวรอคอยฤกษ์ยามอยู่
ประโยชน์นั่นแหละเป็นฤกษ์ของประโยชน์
ดวงดาวทั้งหลายจักทำอะไรได้
นักขัตตชาดกที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๕. อัตถกามวรรค รวมชาดกที่มีในวรรค
๑๐. ทุมเมธชาดก (๕๐)
ว่าด้วยคนโง่
(พรหมทัตตกุมารโพธิสัตว์เมื่อจะประกาศเรื่องให้ควักหัวใจคนโง่ทำการบวงสรวง
เทวดา จึงกล่าวว่า)
[๕๐] การบูชายัญข้าพเจ้าได้บนไว้แล้วด้วยคนโง่ ๑,๐๐๐ คน
บัดนี้ คนที่ไม่ประพฤติธรรมมีอยู่เป็นจำนวนมาก
เราจักบูชายัญ
ทุมเมธชาดกที่ ๑๐ จบ
อัตถกามวรรคที่ ๕ จบ

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. โลสกชาดก ๒. กโปตกชาดก
๓. เวฬุกชาดก ๔. มกสชาดก
๕. โรหิณีชาดก ๖. อารามทูสกชาดก
๗. วารุณิทูสกชาดก ๘. เวทัพพชาดก
๙. นักขัตตชาดก ๑๐. ทุมเมธชาดก

ปฐมปัณณาสก์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๖. อาสิงสวรรค ๓. ปุณณปาติชาดก (๕๓)
๖. อาสิงสวรรค
หมวดว่าด้วยความหวัง
๑. มหาสีลวชาดก (๕๑)
ว่าด้วยพระเจ้ามหาสีลวะ
(พระเจ้าสีลวมหาราชทรงดำริถึงผลของความเพียร จึงกล่าวคาถานี้ว่า)
[๕๑] เป็นคนต้องหวังร่ำไป คนฉลาดไม่ควรท้อแท้
เราเห็นตัวเองเป็นตัวอย่าง
ปรารถนาอย่างใดก็ได้อย่างนั้น
มหาสีลวชาดกที่ ๑ จบ

๒. จูฬชนกชาดก (๕๒)
ว่าด้วยพระจูฬชนก
(พระมหาชนกทรงดำริถึงผลของความเพียร จึงกล่าวคาถานี้ว่า)
[๕๒] เป็นคนต้องพยายามร่ำไป คนฉลาดไม่ควรท้อแท้
เราเห็นตัวเองเป็นตัวอย่าง
ถูกเขาช่วยให้ขึ้นจากน้ำมาบนบกได้
จูฬชนกชาดกที่ ๒ จบ

๓. ปุณณปาติชาดก (๕๓)
ว่าด้วยการลวงด้วยสุราเต็มไห
(เศรษฐีโพธิสัตว์เมื่อจะทำลายความพอใจของพวกนักเลง จึงกล่าวคาถานี้ว่า)
[๕๓] ไหเหล้ายังคงเต็มอยู่เช่นเดิม
การกล่าวยกย่องคงเป็นคำไม่จริง
เพราะอาการอย่างนี้ เราจึงรู้ว่า เหล้านี้ไม่ดีจริง
ปุณณปาติชาดกที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๖. อาสิงสวรรค ๕. ปัญจาวุธชาดก (๕๕)
๔. ผลชาดก (๕๔)
ว่าด้วยการรู้จักผลไม้
(พ่อค้าเกวียนโพธิสัตว์เล่าเรื่องที่ตนทราบว่าต้นไม้นั้นไม่ใช่ต้นมะม่วงด้วยเหตุ ๒
ประการ จึงกล่าวว่า)
[๕๔] ต้นไม้นี้คนขึ้นได้ไม่ยาก ทั้งอยู่ไม่ไกลจากหมู่บ้าน
เพราะเหตุ ๒ ประการนี้ เราจึงรู้ได้ว่า ต้นไม้นี้มีผลไม่ดี
ผลชาดกที่ ๔ จบ

๕. ปัญจาวุธชาดก (๕๕)
ว่าด้วยพระกุมารผู้มีอาวุธ ๕ อย่าง
(พระศาสดาทรงประมวลพระธรรมเทศนา๑มาตรัสพระคาถานี้ว่า)
[๕๕] นรชนใดมีจิตไม่ย่อท้อ มีใจไม่หดหู่
บำเพ็ญกุศลธรรมเพื่อบรรลุความเกษมจากโยคะ๒
นรชนนั้นพึงบรรลุความสิ้นไปแห่งสังโยชน์๓ทั้งปวงได้โดยลำดับ
ปัญจาวุธชาดกที่ ๕ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ธรรม ในที่นี้หมายถึงโพธิปักขิยธรรม คือธรรมที่เป็นฝักฝ่ายแห่งการตรัสรู้ มี ๓๗ ประการ คือ สติปัฏฐาน ๔
สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ มรรคมีองค์ ๘ (ขุ.ชา.อ. ๒/๕๕/๕๒)
๒ โยคะ หมายถึงสภาวะที่ประกอบสัตว์ไว้ในภพ มี ๔ ประการ คือ
(๑) กามโยคะ โยคะคือกาม (๒) ภวโยคะ โยคะคือภพ
(๓) ทิฏฐิโยคะ โยคะคือทิฏฐิ (๔) อวิชชาโยคะ โยคะคืออวิชชา
(ที.ปา. ๑๑/๓๕๔/๒๔๖, องฺ.จตุกฺก.(แปล) ๒๑/๑๐/๑๖)
๓ สังโยชน์ หมายถึงกิเลสที่ผูกใจสัตว์ มี ๑๐ ประการ คือ
(๑) สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวของตน (๒) วิจิกิจฉา ความสงสัย
(๓) สีลัพพตปรามาส ความถือมั่นศีลและพรต (๔) กามฉันทะ ความพอใจในกาม
(๕) พยาบาท ความคิดร้าย (๖) รูปราคะ ความติดใจในอารมณ์แห่งรูปฌาน
(๗) อรูปราคะ ความติดใจในอารมณ์แห่งอรูปฌาน (๘) มานะ ความถือตน
(๙) อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน (๑๐) อวิชชา ความไม่รู้จริง
(สํ.ม. ๑๙/๑๘๐-๑๘๑/๕๖-๕๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๖. อาสิงสวรรค ๘. ตโยธัมมชาดก (๕๘)
๖. กัญจนักขันธชาดก (๕๖)
ว่าด้วยพระโพธิสัตว์แบ่งแท่งทอง
(พระผู้มีพระภาคทรงประมวลธรรมเทศนามาตรัสพระคาถานี้ว่า)
[๕๖] นรชนใดมีจิตร่าเริง มีใจเบิกบาน
บำเพ็ญกุศลธรรมเพื่อบรรลุความเกษมจากโยคะ
นรชนนั้นพึงบรรลุความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ทั้งปวงได้โดยลำดับ
กัญจนักขันธชาดกที่ ๖ จบ

๗. วานรินทชาดก (๕๗)
ว่าด้วยพญาวานรพ้นศัตรู
(จระเข้กล่าวถึงบุคคลที่ประกอบด้วยคุณธรรม ๔ ประการ จึงปราบศัตรูได้ว่า)
[๕๗] พญาวานร ผู้ใดมีธรรม ๔ ประการนี้ คือ
(๑) สัจจะ (๒) ธรรมะ (๓) ธิติ (๔) จาคะ๑ เช่นกับท่าน
ผู้นั้นย่อมครอบงำศัตรูที่ตนพบเห็นได้
วานรินทชาดกที่ ๗ จบ

๘. ตโยธัมมชาดก (๕๘)
ว่าด้วยธรรม ๓ ประการของพญาวานร
(รากษสชมเชยพระโพธิสัตว์ว่า)
[๕๘] พญาวานร ผู้ใดมีธรรม ๓ ประการเหล่านี้ คือ
(๑) ความขยัน (๒) ความแกล้วกล้า (๓) ปัญญา
เช่นกับท่าน ผู้นั้นย่อมครอบงำศัตรูที่ตนพบเห็นได้
ตโยธัมมชาดกที่ ๘ จบ

เชิงอรรถ :
๑ สัจจะ หมายถึงวจีสัจจะ (พูดจริง) ธรรมะ หมายถึงปัญญาที่ใช้พิจารณาเหตุผล ธิติ หมายถึงความเพียร
ไม่ย่อหย่อน ไม่ขาดตอน จาคะ หมายถึงสละตน (ขุ.ชา.อ. ๒/๕๗/๕๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๖. อาสิงสวรรค รวมชาดกที่มีในวรรค
๙. เภริวาทกชาดก (๕๙)
ว่าด้วยการตีกลองเกินประมาณทำให้เสียทรัพย์
(ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์เกิดในสกุลคนตีกลองได้กล่าวถึงวิธีตีกลองว่า)
[๕๙] เมื่อจะตีกลองก็ตีเถิด แต่อย่าตีให้เกินไป
เพราะการตีเกินไปเป็นความเสียหาย
ทรัพย์ตั้งร้อยที่เราได้มาเพราะการตีกลอง
ได้สูญเสียไปเพราะเจ้าตีเกินไป
เภริวาทกชาดกที่ ๙ จบ

๑๐. สังขธมชาดก (๖๐)
ว่าด้วยการเป่าสังข์เกินประมาณทำให้เสียทรัพย์
(พระโพธิสัตว์เกิดในสกุลคนเป่าสังข์ เมื่อจะห้ามบิดาผู้เป่าสังข์ไม่หยุด จึงกล่าวว่า)
[๖๐] เมื่อจะเป่าสังข์ก็เป่าเถิด แต่อย่าเป่าให้เกินไป
เพราะการเป่ามากเกินไปเป็นความเสียหาย
พ่อเมื่อเป่าเกินไปจักทำสมบัติที่ได้มาเพราะการเป่าสังข์ให้พินาศไป
สังขธมชาดกที่ ๑๐ จบ
อาสิงสวรรคที่ ๖ จบ

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. มหาสีลวชาดก ๒. จูฬชนกชาดก
๓. ปุณณปาติชาดก ๔. ผลชาดก
๕. ปัญจาวุธชาดก ๖. กัญจนักขันธชาดก
๗. วานรินทชาดก ๘. ตโยธัมมชาดก
๙. เภริวาทกชาดก ๑๐. สังขธมชาดก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๗. อิตถีวรรค ๓. ตักกปัณฑิตชาดก (๖๓)
๗. อิตถีวรรค
หมวดว่าด้วยหญิง
๑. อสาตมันตชาดก (๖๑)
ว่าด้วยอสาตมนต์
(มาณพผู้เป็นศิษย์ของพระโพธิสัตว์เห็นโทษของหญิง จึงประกาศความประสงค์
ของตนที่จะออกบวชว่า)
[๖๑] ขึ้นชื่อว่าหญิงในโลกนี้ไม่น่ายินดี
เพราะหญิงเหล่านั้นไม่มีขอบเขต มีแต่ความกำหนัด คะนอง
เหมือนเปลวไฟไหม้ทุกสิ่งทุกอย่าง
ข้าพเจ้าจักละทิ้งหญิงทั้งหลายเหล่านั้นไปบวชเพิ่มพูนวิเวก
อสาตมันตชาดกที่ ๑ จบ

๒. อัณฑภูตชาดก (๖๒)
ว่าด้วยการไว้ใจภรรยาที่เลี้ยงมาตั้งแต่เกิด
(พระราชาโพธิสัตว์ตรัสกับพราหมณ์ปุโรหิตถึงหญิงผู้ปรารถนาชายคนเดียวไม่
มีว่า)
[๖๒] พราหมณ์ไม่รู้อุบายที่ภรรยาใช้ผ้าผูกหน้าแล้วใช้ให้ดีดพิณอยู่
ภรรยาที่เลี้ยงมาตั้งแต่อยู่ในครรภ์(ยังทำได้เช่นนี้)
ใครจะพึงไว้ใจในภรรยาเหล่านั้นได้
อัณฑภูตชาดกที่ ๒ จบ

๓. ตักกปัณฑิตชาดก (๖๓)
ว่าด้วยตักกบัณฑิต
(พระศาสดาครั้นตรัสเล่าอดีตนิทานแล้วจึงตรัสพระคาถานี้ว่า)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๗. อิตถีวรรค ๖. มุทุลักขณชาดก (๖๖)
[๖๓] ธรรมดาหญิงมีนิสัยมักโกรธ อกตัญญู
มักพูดส่อเสียด ชอบทำลายมิตร
ภิกษุ เธอจงประพฤติพรหมจรรย์ จักไม่เสื่อมจากสุข
ตักกปัณฑิตชาดกที่ ๓ จบ

๔. ทุราชานชาดก (๖๔)
ว่าด้วยภาวะของหญิงรู้ได้ยาก
(อาจารย์ทิศาปาโมกข์โพธิสัตว์หวังจะสอนพราหมณ์มาณพผู้เป็นศิษย์ จึงกล่าวว่า)
[๖๔] อย่าดีใจเลยว่าหญิงนี้ต้องการเรา
อย่าเสียใจไปเลยว่าหญิงนี้ไม่ต้องการเรา
ภาวะของหญิงรู้ได้ยาก เหมือนปลาแหวกว่ายอยู่ในน้ำ
ทุราชานชาดกที่ ๔ จบ

๕. อนภิรติชาดก (๖๕)
ว่าด้วยบุรุษไม่ควรถือโกรธหญิง
(อาจารย์ทิศาปาโมกข์โพธิสัตว์หวังจะสอนศิษย์ จึงกล่าวว่า)
[๖๕] แม่น้ำ หนทาง โรงสุรา สภา
และบ่อน้ำดื่มเป็นฉันใด
ธรรมดาหญิงในโลกก็ฉันนั้น
บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่ถือโกรธเธอ
อนภิรติชาดกที่ ๕ จบ

๖. มุทุลักขณชาดก (๖๖)
ว่าด้วยพระโพธิสัตว์ปรารถนานางมุทุลักขณา
(ดาบสโพธิสัตว์เสื่อมจากฌานเข้าไปเฝ้าพระราชากราบทูลแล้ว จึงกล่าวว่า)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๗. อิตถีวรรค ๘. สาเกตชาดก (๖๘)
[๖๖] ครั้งก่อน เรายังไม่ได้พระนางมุทุลักขณา
ความปรารถนามีอยู่อย่างเดียว
เมื่อได้พระนางมุทุลักขณาผู้มีพระเนตรโตงดงาม
ความปรารถนาช่วยให้เกิดความต้องการขึ้นหลายอย่าง
มุทุลักขณชาดกที่ ๖ จบ

๗. อุจฉังคชาดก (๖๗)
ว่าด้วยหญิงหาบุตรหาสามีได้ง่ายเหมือนหาของที่ชายพก
(หญิงที่สามี บุตร และพี่ชายถูกราชบุรุษจับไปถวายพระราชา ทูลขอพี่ชาย
กลับคืน ถูกพระราชาตรัสถาม กราบทูลถึงเหตุที่บุตรและสามีหาได้ง่าย ส่วนพี่ชาย
หาได้ยากว่า)
[๖๗] ขอเดชะพระองค์ผู้สมมติเทพ
บุตรหม่อมฉันหาได้ง่ายเหมือนเมี่ยงที่ชายพก
เมื่อหม่อมฉันเดินไปตามทาง สามีก็ยังหาได้ง่าย
แต่หม่อมฉันยังไม่เห็นสถานที่ที่จะนำพี่ชายผู้ร่วมอุทรมาได้เลย
อุจฉังคชาดกที่ ๗ จบ

๘. สาเกตชาดก (๖๘)
ว่าด้วยพระพุทธเจ้าครั้งเสวยพระชาติเป็นบุตรพราหมณ์ชาวเมืองสาเกต
(พระศาสดาทรงเล่าเรื่องที่พระองค์ทรงเติบโตในมือของพราหมณ์และพราหมณี
๓,๐๐๐ ชาติ ตรัสพระคาถานี้ว่า)
[๖๘] บุคคลมีจิตเลื่อมใสและมีใจฝังแน่นอยู่ในบุคคลใด
บุคคลพึงสนิทสนมคุ้นเคยในบุคคลนั้น
แม้ทั้ง ๆ ที่ไม่เคยพบเห็นกันเลย
สาเกตชาดกที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๗. อิตถีวรรค รวมชาดกที่มีในวรรคนี้
๙. วิสวันตชาดก (๖๙)
ว่าด้วยตายเสียดีกว่าดูดพิษกลับคืนเข้าไป
(งูถูกหมองูบังคับ ตอบหมองูแล้ว จึงกล่าวว่า)
[๖๙] พิษที่คายออกแล้วนั้น น่าขยะแขยงเหลือเกิน
เราตายเสียยังดีกว่าการที่เราจะต้องดูดพิษ
ที่คายออกแล้วกลับคืนมาเพราะเหตุมีชีวิต
วิสวันตชาดกที่ ๙ จบ

๑๐. กุททาลชาดก (๗๐)
ว่าด้วยกุททาลบัณฑิต
(ฤๅษีโพธิสัตว์ชื่อกุททาลบัณฑิตแสดงธรรมโปรดพระราชาว่า)
[๗๐] ความชนะใดที่บุคคลชนะแล้วกลับแพ้อีก
ความชนะนั้นไม่เป็นการชนะที่ดีเลย
ส่วนความชนะใดที่บุคคลชนะแล้วไม่กลับแพ้อีก
ความชนะนั้นเป็นการชนะที่ดี
กุททาลชาดกที่ ๑๐ จบ
อิตถีวรรคที่ ๗ จบ

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อสาตมันตชาดก ๒. อัณฑภูตชาดก
๓. ตักกปัณฑิตชาดก ๔. ทุราชานชาดก
๕. อนภิรติชาดก ๖. มุทุลักขณชาดก
๗. อุจฉังคชาดก ๘. สาเกตชาดก
๙. วิสวันตชาดก ๑๐. กุททาลชาดก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๘. วรุณวรรค ๓. สัจจังกิรชาดก (๗๓)
๘. วรุณวรรค
หมวดว่าด้วยไม้กุ่ม
๑. วรุณชาดก (๗๑)
ว่าด้วยมาณพหักไม้กุ่ม
(พระโพธิสัตว์เป็นอาจารย์ทิศาปาโมกข์ได้ฟังการงานที่มาณพกระทำ จึงบอก
ถึงเหตุแห่งความเสื่อมว่า)
[๗๑] งานซึ่งควรทำก่อนเขาทำทีหลัง
เขาจะเดือดร้อนในภายหลัง เหมือนมาณพหักไม้กุ่ม
วรุณชาดกที่ ๑ จบ

๒. สีลวนาคชาดก (๗๒)
ว่าด้วยพญาช้างสีลวะ
(รุกขเทวดาสถิตอยู่ในไพรสณฑ์นั้นในเวลาที่คนชั่วถูกแผ่นดินสูบจึงกล่าวว่า)
[๗๒] คนอกตัญญูคอยจับผิดอยู่เป็นนิตย์
ถึงจะให้แผ่นดินทั้งหมด ก็ทำให้เขาพึงพอใจไม่ได้
สีลวนาคชาดกที่ ๒ จบ

๓. สัจจังกิรชาดก (๗๓)
ว่าด้วยความจริงที่ได้ยินมา
(พระฤๅษีโพธิสัตว์ไม่คร่ำครวญไม่สะทกสะท้านในที่ตนถูกตีจึงกล่าวว่า)
[๗๓] ได้ยินว่า คนบางพวกในโลกนี้
ได้กล่าวความจริงไว้อย่างนี้ว่า ไม้ลอยน้ำยังดีกว่า
ส่วนคนบางคนที่ประทุษร้ายมิตรไม่ดีเลย
สัจจังกิรชาดกที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๘. วรุณวรรค ๖. อสังกิยชาดก (๗๖)
๔. รุกขธัมมชาดก (๗๔)
ว่าด้วยธรรมสำหรับต้นไม้
(พระโพธิสัตว์แสดงธรรมแก่เหล่าเทวดาว่า)
[๗๔] ญาติยิ่งมีมากยิ่งดี
แม้ต้นไม้ที่เกิดในป่ายิ่งมีมากก็ยิ่งดี
ต้นไม้ที่ยืนต้นอยู่โดดเดี่ยว
ถึงจะใหญ่โต ลมย่อมพัดให้หักโค่นได้
รุกขธัมมชาดกที่ ๔ จบ

๕. มัจฉชาดก (๗๕)
ว่าด้วยปลาอ้อนวอนขอฝน
(ปลาโพธิสัตว์เรียกพระเจ้าปัชชุนนเทพว่า)
[๗๕] ปัชชุนนเทพ ท่านจงร้องคำรามให้ฝนตกมา
ทำลายขุมทรัพย์ของฝูงกา ทำฝูงกาให้ได้รับความเศร้าโศก
และช่วยปลดเปลื้องข้าพเจ้าและหมู่ญาติ
ให้พ้นจากความเศร้าโศกเถิด
มัจฉชาดกที่ ๕ จบ

๖. อสังกิยชาดก (๗๖)
ว่าด้วยความไม่หวาดระแวง
(ฤๅษีโพธิสัตว์แสดงธรรมแก่พวกพ่อค้าเกวียนว่า)
[๗๖] เราไม่มีความหวาดระแวงในหมู่บ้าน
ทั้งไม่มีความกลัวในป่า
เรามุ่งขึ้นสู่ทางตรงด้วยเมตตาและกรุณา
อสังกิยชาดกที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๘. วรุณวรรค ๙. ขรัสสรชาดก (๗๙)
๗. มหาสุปินชาดก (๗๗)
ว่าด้วยมหาสุบิน
(พระเจ้าพรหมทัตตรัสเล่าพระสุบินให้ดาบสโพธิสัตว์ฟังตามที่ได้ทรงสุบินว่า)
[๗๗] พญาโคอุสภะ หมู่ไม้ แม่โค โคผู้
ม้า ถาดทองคำ สุนัขจิ้งจอก หม้อน้ำ
สระโบกขรณี ข้าวไม่สุก แก่นจันทน์
น้ำเต้าจมน้ำ หินลอยน้ำ กบกลืนกินงูเห่า
หงส์ทองทั้งหลายแวดล้อมกา
เสือเหลืองกลัวแพะ
ความฝันเป็นไปโดยวิปริต
แต่ความฝันนั้นยังไม่เป็นจริงในยุคนี้
มหาสุปินชาดกที่ ๗ จบ

๘. อิลลิสชาดก (๗๘)
ว่าด้วยอิลลีสเศรษฐี
(ช่างตัดผมโพธิสัตว์ถูกพระราชาตรัสสั่งให้หาอิลลีสเศรษฐี เมื่อไม่สามารถจะ
นำอิลลีสเศรษฐีมาได้ จึงกราบทูลว่า)
[๗๘] คนทั้ง ๒ เป็นคนกระจอก เป็นคนง่อยเปลี้ย
เป็นคนตาเหล่ มีปมงอกที่ศีรษะ
ข้าพระพุทธเจ้าไม่รู้จักว่า คนไหนคืออิลลีสเศรษฐี
อิลลิสชาดกที่ ๘ จบ

๙. ขรัสสรชาดก (๗๙)
ว่าด้วยเสียงดังอึกทึกครึกโครม
(พระโพธิสัตว์กล่าวคาถานี้ตำหนิกำนันผู้ร่วมมือกับพวกโจรปล้นชาวบ้านว่า)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๘. วรุณวรรค รวมชาดกที่มีในวรรค
[๗๙] คราวใด ชาวบ้านถูกปล้น ฝูงโคถูกเชือด
บ้านเรือนถูกเผาวอดวาย ผู้คนถูกเกณฑ์ไป
คราวนั้น ลูกที่ถูกแม่ทอดทิ้ง๑
จึงมาตีกลองจนอึกทึกครึกโครม
ขรัสสรชาดกที่ ๙ จบ

๑๐. ภีมเสนชาดก (๘๐)
ว่าด้วยท่านภีมเสนชอบคุยโวโอ้อวด
(จูฬธนุคคหบัณฑิตโพธิสัตว์กล่าวตำหนิภีมเสนผู้คุยโวโอ้อวดว่า)
[๘๐] ภีมเสน คำที่ท่านข่มขู่คุยโวไว้ในตอนแรก
แต่ภายหลังท่านถึงกับปัสสาวะราด
คำคุยโวถึงการรบและความกระสับกระส่ายของท่าน
ทั้ง ๒ อย่างนี้ช่างไม่สมกันเลย
ภีมเสนชาดกที่ ๑๐ จบ
วรุณวรรคที่ ๘ จบ

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. วรุณชาดก ๒. สีลวนาคชาดก
๓. สัจจังกิรชาดก ๔. รุกขธัมมชาดก
๕. มัจฉชาดก ๖. อสังกิยชาดก
๗. มหาสุปินชาดก ๘. อิลลิสชาดก
๙. ขรัสสรชาดก ๑๐. ภีมเสนชาดก

เชิงอรรถ :
๑ ลูกที่ถูกแม่ทอดทิ้ง หมายถึงลูกที่ทำชั่ว เป็นคนหน้าด้าน เพราะขาดหิริโอตตัปปะ ชื่อว่าไม่มีแม่ ถึงแม่
ยังมีชีวิตอยู่ เขาก็ไม่ตั้งอยู่ในฐานะเป็นลูก(ถูกตัดแม่ตัดลูก) (ขุ.ชา.อ. ๒/๗๙/๑๕๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๙. อปายิมหวรรค ๓. กาฬกัณณิชาดก (๘๓)
๙. อปายิมหวรรค
หมวดว่าด้วยการดื่มสุรา
๑. สุราปานชาดก (๘๑)
ว่าด้วยโทษของการดื่มสุรา
(เหล่าดาบสถูกพระโพธิสัตว์ซึ่งเป็นอาจารย์ถาม จึงบอกเรื่องที่พวกตนดื่มสุรา
เมาแล้วพากันฟ้อนรำขับร้องว่า)
[๘๑] พวกกระผมได้พากันดื่ม พากันฟ้อนรำ พากันขับร้องแล้ว
ก็พากันร้องไห้ เพราะดื่มสุราที่ทำให้สัญญาวิปริต๑
แต่ยังดีที่ไม่ได้กลายเป็นลิงให้เห็น
สุราปานชาดกที่ ๑ จบ

๒. มิตตวินทชาดก (๘๒)
ว่าด้วยนายมิตตวินทะถูกจักรหินบดขยี้
(เทพบุตรโพธิสัตว์เห็นนายมิตตวินทะตกนรกจึงกล่าวว่า)
[๘๒] ท่านล่วงเลยปราสาทแก้วผลึก
ปราสาทเงิน และปราสาทแก้วมณีไปแล้ว
มาถูกจักรหินบดขยี้อยู่
ท่านจักไม่พ้นจากจักรหินตราบเท่าที่ยังมีชีวิตอยู่
มิตตวินทชาดกที่ ๒ จบ

๓. กาฬกัณณิชาดก (๘๓)
ว่าด้วยมิตรชื่อกาฬกัณณี
(เศรษฐีโพธิสัตว์พูดทัดทานพวกคนที่ให้ไล่มิตรออกจากเรือนว่า)

เชิงอรรถ :
๑ สัญญาวิปริต หมายถึงความจำแปรปรวนจนลืมนึกถึงกิริยาอาการของตน (ขุ.ชา.อ. ๒/๘๑/๑๖๕-๑๖๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๙. อปายิมหวรรค ๕. กิมปักกชาดก (๘๕)
[๘๓] บุคคลชื่อว่าเป็นมิตรเพราะเดินร่วมกัน ๗ ก้าวเท่านั้น
ชื่อว่าเป็นสหายเพราะเดินร่วมกัน ๑๒ ก้าว
ชื่อว่าเป็นญาติเพราะอยู่ร่วมกัน ๑ เดือนหรือครึ่งเดือน
ชื่อว่าเสมอกับตนก็เพราะอยู่ร่วมกันยิ่งกว่านั้น
ข้าพเจ้านั้นจะพึงละทิ้งมิตรที่ชื่อกาฬกัณณีซึ่งสนิทสนมกันมานาน
เพราะเหตุแห่งความสุขส่วนตัวได้อย่างไร
กาฬกัณณิชาดกที่ ๓ จบ

๔. อัตถัสสทวารชาดก (๘๔)
ว่าด้วยช่องทางแห่งประโยชน์
(เศรษฐีโพธิสัตว์แก้ปัญหาของบุตรชายถามถึงช่องทางแห่งประโยชน์ว่า)
[๘๔] บุคคลควรปรารถนาลาภอย่างยิ่ง คือ
(๑) ความไม่มีโรค (๒) ศีล
(๓) การคล้อยตามความรู้ของท่านผู้ฉลาด (๔) การสดับตรับฟัง
(๕) การประพฤติสมควรแก่ธรรม (๖) ความที่จิตไม่หดหู่
คุณธรรม ๖ ประการนี้เป็นช่องทางหลักแห่งประโยชน์
อัตถัสสทวารชาดกที่ ๔ จบ

๕. กิมปักกชาดก (๘๕)
ว่าด้วยกามเปรียบเหมือนผลไม้มีพิษชื่อกิมปักกะ
(พระศาสดาตรัสเปรียบการบริโภคกามคุณเหมือนการบริโภคผลไม้มีพิษแก่
กุลบุตรผู้บวชถวายชีวิตว่า)
[๘๕] บุคคลใดไม่รู้จักโทษในอนาคตแล้วมัวแต่เสพกามอยู่
ในที่สุด กามทั้งหลายในคราวให้ผลย่อมขจัดบุคคลนั้น
เช่นเดียวกับผลไม้มีพิษชื่อกิมปักกะ๑ขจัดผู้บริโภค
กิมปักกชาดกที่ ๕ จบ

เชิงอรรถ :
๑ กิมปักกะ คือ ผลไม้มีพิษชนิดหนึ่งมีสีกลิ่นและรสน่ารับประทาน (ขุ.ชา.อ. ๒/๘๕/๑๗๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๙. อปายิมหวรรค ๗. มังคลชาดก (๘๗)
๖. สีลวีมังสกชาดก (๘๖)
ว่าด้วยการพิจารณาอานิสงส์ของศีล
(พระโพธิสัตว์ครั้งเสวยพระชาติเป็นปุโรหิตของพระเจ้าพรหมทัต สรรเสริญศีล
ว่า)
[๘๖] ได้ยินว่า ศีลเป็นสิ่งที่ดีงาม
ศีลเป็นสิ่งที่ยอดเยี่ยมในโลก
ดูเถิด นาคที่มีพิษร้ายแรงยังไม่เบียดเบียนใคร ๆ
เพราะสำนึกอยู่ว่า ตนมีศีล
สีลวีมังสกชาดกที่ ๖ จบ

๗. มังคลชาดก (๘๗)
ว่าด้วยการถอนมงคล
(พระศาสดาทรงแสดงธรรมแก่พราหมณ์ว่า)
[๘๗] ผู้ใดถอนทิฏฐิเรื่องมงคล
อุบาต๑ ความฝันและลักษณะได้แล้ว
ผู้นั้นล่วงพ้น
สิ่งอันเป็นมงคลและโทษทั้งปวง
ครอบงำกิเลสเป็นคู่ ๆ๒ และโยคะทั้ง ๒ ประการได้แล้ว
ไม่กลับมาเกิดอีก
มังคลชาดกที่ ๗ จบ

เชิงอรรถ :
๑ อุบาต ในที่นี้ หมายถึงมหาอุบาต ๕ ประการ คือ (๑) จันทคราส (ราหูอมพระจันทร์) (๒) สุริยคราส
(ราหูอมพระอาทิตย์) (๓) นักษัตรคราส (ราหูอมกลุ่มดาวหรือดวงชะตา) (๔) อุกกาบาต (๕) ราหู
จับลำขาว(ทางช้างเผือก)ในท้องฟ้า (ขุ.ชา.อ. ๒/๘๗/๑๘๑)
๒ กิเลสเป็นคู่ ๆ เช่น ความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ ความตีเสมอเป็นต้น (ขุ.ชา.อ. ๒/๘๗/๑๘๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๙. อปายิมหวรรค ๑๐. อกตัญญุชาดก (๙๐)
๘. สารัมภชาดก (๘๘)
ว่าด้วยโคชื่อสารัมภะ
(พระศาสดาตรัสสารัมภชาดกแล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า)
[๘๘] บุคคลควรพูดคำที่ดีงามเท่านั้น
ไม่ควรพูดคำที่ชั่วหยาบเลย
การพูดคำที่ดีงามเป็นการดี
บุคคลย่อมเดือดร้อนเพราะพูดคำชั่วหยาบ
สารัมภชาดกที่ ๘ จบ

๙. กุหกชาดก (๘๙)
ว่าด้วยดาบสโกหก
(พระโพธิสัตว์ติเตียนดาบสโกหกว่า)
[๘๙] ถ้อยคำของท่านช่างไพเราะอ่อนหวานเสียนี่กระไร
ท่านรังเกียจกระทั่งหญ้าเส้นเดียว
แต่เมื่อขโมยทองคำไปตั้ง ๑๐๐ แท่ง กลับไม่รังเกียจเลย
กุหกชาดกที่ ๙ จบ

๑๐. อกตัญุชาดก (๙๐)
ว่าด้วยคนอกตัญู
(เศรษฐีโพธิสัตว์แสดงธรรมแก่บริษัทว่า)
[๙๐] ผู้ใดไม่รู้จักคุณความดีและประโยชน์ที่ผู้อื่นกระทำไว้ก่อน
ผู้นั้นเมื่อกิจการงานเกิดขึ้นในภายหลังย่อมหาผู้ช่วยเหลือไม่ได้
อกตัญุชาดกที่ ๑๐ จบ
อปายิมหวรรคที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๑๐. ลิตตวรรค ๒. มหาสารชาดก (๙๒)
รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สุราปานชาดก ๒. มิตตวินทชาดก
๓. กาฬกัณณิชาดก ๔. อัตถัสสทวารชาดก
๕. กิมปักกชาดก ๖. สีลวีมังสกชาดก
๗. มังคลชาดก ๘. สารัมภชาดก
๙. กุหกชาดก ๑๐. อกตัญุชาดก

๑๐. ลิตตวรรค
หมวดว่าด้วยลูกสกาเคลือบยาพิษ
๑. ลิตตชาดก (๙๑)
ว่าด้วยลูกสกาเคลือบยาพิษ
(นักสกาโพธิสัตว์เตือนนักเลงสกาโกงว่า)
[๙๑] บุรุษกลืนลูกสกาที่เคลือบยาพิษอย่างแรงกล้าก็ยังไม่รู้ตัว
เฮ้ย เจ้านักเลงชั่ว เจ้าจงกลืนเข้าไป
พิษร้ายแรงจักออกฤทธิ์แก่เจ้าในภายหลัง
ลิตตชาดกที่ ๑ จบ

๒. มหาสารชาดก (๙๒)
ว่าด้วยต้องการคนที่เหมาะสมกับเหตุการณ์
(พระราชาทรงชมเชยพระโพธิสัตว์ผู้เป็นอำมาตย์ว่า)
[๙๒] เมื่อถึงยามคับขันประชาชนต้องการผู้กล้าหาญ
เมื่อถึงคราวปรึกษางานต้องการผู้ที่ไม่พูดพล่าม
ยามมีข้าวน้ำต้องการผู้เป็นที่รัก
ยามเกิดปัญหาต้องการบัณฑิต
มหาสารชาดกที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๑๐. ลิตตวรรค ๕. มหาสุทัสสนชาดก (๙๕)
๓. วิสสาสโภชนชาดก (๙๓)
ว่าด้วยภัยเกิดจากคนผู้คุ้นเคยกัน
(เศรษฐีโพธิสัตว์แสดงธรรมแก่บริษัทว่า)
[๙๓] บุคคลไม่ควรไว้วางใจในบุคคลที่ไม่คุ้นเคยกัน
แม้ในบุคคลที่คุ้นเคยกันก็ไม่พึงไว้วางใจ
ภัยย่อมมีมาจากบุคคลผู้คุ้นเคยกัน
เหมือนภัยจากแม่เนื้อมาถึงสีหะ
วิสสาสโภชนชาดกที่ ๓ จบ

๔. โลมหังสชาดก (๙๔)
ว่าด้วยการอยู่ในป่าที่น่าสะพรึงกลัว
(คาถานี้ได้ปรากฏแจ่มแจ้งแก่นักบวชชีเปลือยโพธิสัตว์ว่า)
[๙๔] เราเร่าร้อนแล้วเปียกชุ่มอยู่ในป่าอันน่าสะพรึงกลัวผู้เดียว
เปลือยกายไม่ได้ผิงไฟ เป็นมุนีขวนขวายในการแสวงหาพรหมจรรย์
โลมหังสชาดกที่ ๔ จบ

๕. มหาสุทัสสนชาดก (๙๕)
ว่าด้วยพระเจ้ามหาสุทัศนะ
(พระราชาโพธิสัตว์ทรงพระนามว่ามหาสุทัศนะเมื่อจะสอนสุภัททาเทวี จึงตรัส
คาถานี้ว่า)
[๙๕] สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ
มีความเกิดขึ้นและเสื่อมไปเป็นธรรมดา
ครั้นเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป
การเข้าไปสงบระงับสังขารเหล่านั้นเป็นความสุข
มหาสุทัสสนชาดกที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๑๐. ลิตตวรรค ๘. กูฏวาณิชชาดก (๙๘)
๖. เตลปัตตชาดก (๙๖)
ว่าด้วยการรักษาจิตเหมือนการรักษาภาชนะน้ำมัน
(พระศาสดาทรงประมวลเรื่องในอดีตมาสาธก ตรัสพระคาถานี้ว่า)
[๙๖] บุคคลเมื่อปรารถนาจะไปสู่ทิศทางที่ยังไม่เคยไป
พึงตามรักษาจิตของตนด้วยสติ
เหมือนบุคคลประคับประคองภาชนะ
ที่มีน้ำมันเต็มเปี่ยมไม่ให้หก
เตลปัตตชาดกที่ ๖ จบ

๗. นามสิทธิชาดก (๙๗)
ว่าด้วยชื่อไม่เป็นของสำคัญ
(อาจารย์ทิศาปาโมกข์โพธิสัตว์เปรียบเทียบเรื่องที่นายปาปกะผู้เป็นศิษย์ต้องการ
เปลี่ยนชื่อเพราะเป็นอัปปมงคลที่เขาเห็นมาและกรรมที่เขาทำ จึงกล่าวคาถานี้ว่า)
[๙๗] เพราะเห็นคนชื่อเป็นได้ตายไป หญิงชื่อมีทรัพย์กลับตกยาก
และคนชื่อว่านักเดินทางแต่กลับหลงทางอยู่ในป่า
นายปาปกะจึงได้กลับมา
นามสิทธิชาดกที่ ๗ จบ

๘. กูฏวาณิชชาดก (๙๘)
ว่าด้วยพ่อค้าโกงถูกไฟคลอก
(บิดาของอติบัณฑิตถูกไฟเผาจึงทะลึ่งขึ้นข้างบน คว้ากิ่งไม้โหนแล้วกระโจนลง
ดิน พลางกล่าวว่า)
[๙๘] ธรรมดาบัณฑิต(คนฉลาด)เป็นคนดี
ส่วนคนชื่ออติบัณฑิต(แสนฉลาด)ไม่ดีเลย
เราถูกไฟคลอกหน่อยหนึ่ง เพราะบุตรของเราที่ชื่ออติบัณฑิต
กูฏวาณิชชาดกที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๑๐. ลิตตวรรค รวมชาดกที่มีในวรรค
๙. ปโรสหัสสชาดก (๙๙)
ว่าด้วยคนมีปัญญาคนเดียวประเสริฐกว่าคนโง่ตั้ง ๑,๐๐๐
(ฤๅษีโพธิสัตว์ทราบเหตุที่พวกอันธพาลไม่เชื่อศิษย์หัวหน้า จึงกล่าวบรรยาย
อานุภาพของตนว่า)
[๙๙] บรรดาพวกที่มาประชุมกัน ๑,๐๐๐ กว่าคน
พวกเขาเป็นคนไม่มีปัญญา พึงคร่ำครวญตลอด ๑๐๐ ปี
คนมีปัญญารู้แจ้งเนื้อความที่เรากล่าวแล้ว
เพียงคนเดียวเท่านั้นยังประเสริฐกว่า
ปโรสหัสสชาดกที่ ๙ จบ

๑๐. อสาตรูปชาดก (๑๐๐)
ว่าด้วยสิ่งที่ครอบงำคนขาดสติ
(พระศาสดาทรงประมวลเรื่องในอดีตมา ตรัสพระคาถานี้ว่า)
[๑๐๐] สิ่งที่ไม่น่ายินดีย่อมครอบงำคนประมาทด้วยอาการที่น่ายินดี
สิ่งที่ไม่น่ารักย่อมครอบงำคนประมาทด้วยอาการที่น่ารัก
สิ่งที่เป็นทุกข์ย่อมครอบงำคนที่ประมาทด้วยอาการแห่งความสุข
อสาตรูปชาดกที่ ๑๐ จบ
ลิตตวรรคที่ ๑๐ จบ

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ลิตตชาดก ๒. มหาสารชาดก
๓. วิสสาสโภชนชาดก ๔. โลมหังสชาดก
๕. มหาสุทัสสนชาดก ๖. เตลปัตตชาดก
๗. นามสิทธิชาดก ๘. กูฏวาณิชชาดก
๙. ปโรสหัสสชาดก ๑๐. อสาตรูปชาดก
มัชฌิมปัณณาสก์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๑๑. ปโรสตวรรค ๓. เวริชาดก (๑๐๓)
๑๑. ปโรสตวรรค
หมวดว่าด้วยคนเกินร้อย
๑. ปโรสตชาดก (๑๐๑)
ว่าด้วยคนมีปัญญาคนเดียวประเสริฐกว่าคนไม่มีปัญญา ๑๐๐ กว่าคน
(พระศาสดาทรงประมวลเรื่องในอดีตมา ตรัสพระคาถานี้ว่า)
[๑๐๑] บรรดาพวกที่มาประชุมกัน ๑๐๐ กว่าคน
พวกเขาเป็นคนไม่มีปัญญา ถึงจะเพ่งพินิจอยู่ตลอด ๑๐๐ ปี
คนมีปัญญารู้แจ้งเนื้อความที่เรากล่าวแล้ว
เพียงคนเดียวเท่านั้นประเสริฐกว่า
ปโรสตชาดกที่ ๑ จบ

๒. ปัณณิกชาดก (๑๐๒)
ว่าด้วยอุบาสกชื่อปัณณิกะ
(ลูกสาวของอุบาสกชาวกรุงพาราณสีพอถูกบิดาจับมือเพื่อลองใจก็ร่ำไห้ พลาง
กล่าวว่า)
[๑๐๒] ยามเมื่อฉันมีความทุกข์
คนที่เป็นที่พึ่งคือบิดาของฉันเอง แต่กลับประทุษร้ายฉันในป่า
ฉันจะคร่ำครวญหาใครเล่าในท่ามกลางป่า
คนที่จะช่วยเหลือฉันได้กลับทำกรรมที่น่าบัดสีเสียเอง
ปัณณิกชาดกที่ ๒ จบ

๓. เวริชาดก (๑๐๓)
ว่าด้วยการอยู่ร่วมกับคนเป็นคู่เวรกันเป็นทุกข์
(มหาเศรษฐีโพธิสัตว์หนีพวกโจรได้อย่างปลอดภัย จึงกล่าวอุทานว่า)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๑๑. ปโรสตวรรค ๕. ทุพพลกัฏฐชาดก (๑๐๕)
[๑๐๓] บัณฑิตไม่ควรอยู่ในสถานที่ที่คนคู่เวรกันอยู่
เพราะบุคคลเมื่ออยู่ในระหว่างคนเป็นคู่เวรกัน
คืนหนึ่งหรือสองคืนก็ตามย่อมอยู่เป็นทุกข์
เวริชาดกที่ ๓ จบ

๔. มิตตวินทชาดก (๑๐๔)
ว่าด้วยนายมิตตวินทะตกนรกเพราะความโลภ
(พระโพธิสัตว์เห็นนายมิตตวินทะตกนรก จึงกล่าวพระคาถานี้ว่า)
[๑๐๔] ท่านเมื่อมีความปรารถนามากเกินไป
ได้ครอบครองนารี ๔ นาง ไม่พอใจนางทั้ง ๔
ได้ครอบครองนารี ๘ นาง ไม่พอใจนางทั้ง ๘
ได้ครอบครองนารี ๑๖ นาง ไม่พอใจนางทั้ง ๑๖
ได้ครอบครองนารี ๓๒ นาง ไม่พอใจนางทั้ง ๓๒
จึงได้ประสบจักร
จักรจึงพัดผันอยู่ที่ศีรษะของท่าน
ผู้ถูกความปรารถนามากเกินไปขจัดแล้ว
มิตตวินทชาดกที่ ๔ จบ

๕. ทุพพลกัฏฐชาดก (๑๐๕)
ว่าด้วยช้างกลัวต้นไม้แห้ง
(รุกขเทวดาโพธิสัตว์เห็นช้างกลัวตายได้ยินเสียงลมพัดใบไม้แห้งก็วิ่งหนี จึง
กล่าวว่า)
[๑๐๕] ลมพัดต้นไม้แห้งที่ผุกร่อนในป่าให้หักลงเป็นจำนวนมาก
นี่ช้าง ถ้าเธอยังมัวแต่กลัวต้นไม้แห้งนั้น
ก็จักซูบผอมเป็นแน่
ทุพพลกัฏฐชาดกที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๑๑. ปโรสตวรรค ๘. พาหิยชาดก (๑๐๘)
๖. อุทัญจนีชาดก (๑๐๖)
ว่าด้วยนางอุทัญจนี
(ดาบสผู้เป็นบุตรของพระโพธิสัตว์อดทนต่อการเคี่ยวเข็ญของนางอุทัญจนีไม่
ไหวหนีไปหาบิดาแล้ว จึงกล่าวว่า)
[๑๐๖] นางโจรชื่ออุทัญจนีเบียดเบียนข้าพเจ้า
ผู้อยู่อย่างสบายให้เดือดร้อน
เพราะเรียกตนเองว่าเป็นภรรยาจึงร้องขอน้ำมันและเกลือ
อุทัญจนีชาดกที่ ๖ จบ

๗. สาลิตตกชาดก (๑๐๗)
ว่าด้วยศิลปะในการดีดก้อนกรวด
(อำมาตย์โพธิสัตว์เข้าไปเฝ้าพระราชากราบทูลลาไปเรียนศิลปะว่า)
[๑๐๗] ขึ้นชื่อว่าศิลปะแม้ชนิดใดชนิดหนึ่ง
ก็สามารถให้สำเร็จประโยชน์ได้โดยแท้
ขอพระองค์ทรงทอดพระเนตรหมู่บ้านในทิศทั้ง ๔
ที่คนง่อยได้แล้วเพราะการดีดมูลแพะ
สาลิตตกชาดกที่ ๗ จบ

๘. พาหิยชาดก (๑๐๘)
ว่าด้วยศิลปะของหญิงสาวบ้านนอก
(พระโพธิสัตว์กราบทูลคุณค่าแห่งศิลปะที่ควรศึกษาว่า)
[๑๐๘] บุคคลควรศึกษาศิลปะทั้งหลายที่ควรศึกษา
ชนทั้งหลายที่พอใจในศิลปะเหล่านั้นยังมีอยู่
เพราะว่าหญิงสาวบ้านนอกก็ยังทำพระราชาให้พอพระทัย
ด้วยความเอียงอายของเธอ
พาหิยชาดกที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๑๑. ปโรสตวรรค รวมชาดกที่มีในวรรค
๙. กุณฑปูวชาดก (๑๐๙)
ว่าด้วยเทวดากินพลีกรรมที่ทำจากรำข้าว
(เทวดาโพธิสัตว์สถิตเหนือค่าคบไม้พูดกับคนยากจนคนหนึ่งผู้มาทำพลีกรรมว่า)
[๑๐๙] คนบริโภคอย่างไร เทวดาของเขาก็บริโภคอย่างนั้น
ท่านจงนำขนมที่ทำด้วยรำข้าวมา
อย่าให้ส่วนของข้าพเจ้าเสียหายเลย
กุณฑปูวชาดกที่ ๙ จบ

๑๐. สัพพสังหารกปัญหชาดก (๑๑๐)
ว่าด้วยการพูดของหญิง ๒ ประเภท
(พระโพธิสัตว์ขัดสีเครื่องประดับอยู่เมื่อรู้ว่าดอกประยงค์บานแล้ว จึงกล่าวว่า)
[๑๑๐] กลิ่นเครื่องอบทั้งปวงไม่มี
มีแต่กลิ่นดอกประยงค์ล้วน ๆ ฟุ้งไป
หญิงนักเลงคนนี้พูดแต่คำเหลาะแหละ
ส่วนหญิงผู้ใหญ่พูดแต่คำสัตย์
สัพพสังหารกปัญหชาดกที่ ๑๐ จบ
ปโรสตวรรคที่ ๑๑ จบ

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ปโรสตชาดก ๒. ปัณณิกชาดก
๓. เวริชาดก ๔. มิตตวินทชาดก
๕. ทุพพลกัฏฐชาดก ๖. อุทัญจนีชาดก
๗. สาลิตตกชาดก ๘. พาหิยชาดก
๙. กุณฑปูวชาดก ๑๐. สัพพสังหารกปัญหชาดก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๑๒. หังสิวรรค ๕. อนุสาสิกชาดก (๑๑๕)
๑๒. หังสิวรรค
หมวดว่าด้วยการเยาะเย้ย
๑. คัทรภปัญหชาดก (๑๑๑)
ว่าด้วยปัญหาเรื่องลากับม้าอัสดร
(พระโพธิสัตว์มโหสธบัณฑิตกราบทูลพระราชาว่า)
[๑๑๑] ขอเดชะ พระมหาราชผู้ประเสริฐ
ถ้าพระองค์ทรงสำคัญว่าบิดาประเสริฐกว่าบุตร
ลาตัวนี้ก็ประเสริฐกว่าม้าอัสดร
เพราะว่า ลาเป็นพ่อม้าอัสดรของพระองค์
คัทรภปัญหชาดกที่ ๑ จบ

๒. อมราเทวีปัญหชาดก (๑๑๒)
ว่าด้วยพระนางอมราเทวี
(พระนางอมราเทวีบอกใบ้ทางไปบ้านแก่พระโพธิสัตว์มโหสธบัณฑิตว่า)
[๑๑๒] ร้านขายข้าวสัตตุ ร้านขายน้ำส้มสายชู
และต้นทองหลางใบซ้อนที่มีดอกบานสะพรั่งมีอยู่ ณ ที่ใด
ท่านจงไป ณ ที่นั้น
ดิฉันถือภาชนะข้าวยาคูด้วยมือใด ดิฉันบอกทางด้วยมือนั้น
ไม่ได้ถือภาชนะข้าวยาคูด้วยมือใด ไม่ได้บอกทางด้วยมือนั้น
หนทางนั้นเป็นหนทางไปสู่บ้านของดิฉัน
ซึ่งตั้งอยู่ในบ้านอุตตรยวมัชฌคาม
ขอท่านจงทราบหนทางที่ดิฉันกล่าวเป็นปริศนานั้นเองเถิด
อมราเทวีปัญหชาดกที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๑๒. หังสิวรรค ๕. อนุสาสิกชาดก (๑๑๕)
๓. สิงคาลชาดก (๑๑๓)
ว่าด้วยพราหมณ์เชื่อสุนัขจิ้งจอก
(รุกขเทวดาโพธิสัตว์ยืนอยู่ที่ค่าคบต้นไม้แล้วกล่าวว่า)
[๑๑๓] นี่พ่อพราหมณ์ ท่านเชื่อสุนัขจิ้งจอกที่ดื่มสุราหรือ
คนมีศิลปะหาสัก ๑๐๐ กหาปณะยังไม่มี
สุนัขจิ้งจอกที่ไหนจะมีถึง ๒๐๐ กหาปณะเล่า
สิงคาลชาดกที่ ๓ จบ

๔. มิตจินติชาดก (๑๑๔)
ว่าด้วยปลามิตจินตีช่วยปลาให้พ้นข่าย
(พระศาสดาทรงประมวลเรื่องอดีตมา ตรัสพระคาถานี้ว่า)
[๑๑๔] ปลาชื่อพหุจินตีและปลาชื่ออัปปจินตี
ทั้ง ๒ ตัวติดอยู่ในข่าย
ปลาชื่อมิตจินตีได้ช่วยให้หลุดพ้นจากข่าย
ปลาทั้ง ๒ ตัวจึงได้มาพร้อมกันกับปลามิตจินตีในน่านน้ำนั้น
มิตจินติชาดกที่ ๔ จบ

๕. อนุสาสิกชาดก (๑๑๕)
ว่าด้วยดีแต่สอนคนอื่น
(หัวหน้านกโพธิสัตว์กล่าวตำหนินางนกป่าว่า)
[๑๑๕] นางนกป่าชื่ออนุสาสิกา
พร่ำสอนนกเหล่าอื่นอยู่เนืองนิตย์
แต่ตนเองกลับโลภจัด
จึงถูกล้อรถบดขยี้ขาดเป็น ๒ ท่อนนอนอยู่ที่หนทางใหญ่
อนุสาสิกชาดกที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๑๒. หังสิวรรค ๘. วัฏฏกชาดก (๑๑๘)
๖. ทุพพจชาดก (๑๑๖)
ว่าด้วยคนที่ว่ากล่าวได้ยาก
(นักระบำโพธิสัตว์กล่าวกับอาจารย์ผู้ไม่เชื่อคำของบัณฑิตว่า)
[๑๑๖] ท่านอาจารย์ ท่านทำการเกินกว่าที่จะทำได้
การกระทำนั้นไม่เป็นที่พอใจผมเลย
ท่านกระโดดข้ามพ้นหอกเล่มที่ ๔ ได้แล้ว
ถูกหอกเล่มที่ ๕ ทิ่มแทง
ทุพพจชาดกที่ ๖ จบ

๗. ติตติรชาดก (๑๑๗)
ว่าด้วยนกกระทา
(ดาบสโพธิสัตว์ชี้เหตุ ๒ ประการที่ทำให้นกกระทาถูกฆ่าว่า)
[๑๑๗] คำพูดที่ดังเกินไป รุนแรงเกินไป และพูดเกินเวลา
ย่อมฆ่าคนมีปัญญาทราม
เหมือนเสียงฆ่านกกระทาที่ขันดังเกินไป
ติตติรชาดกที่ ๗ จบ

๘. วัฏฏกชาดก (๑๑๘)
ว่าด้วยนกกระจาบ
(นกกระจาบโพธิสัตว์บอกอุบายที่รอดชีวิตมาได้ว่า)
[๑๑๘] คนเมื่อไม่คิดก็ไม่ได้บรรลุคุณธรรมวิเศษ
ท่านจงดูผลกรรมที่เราคิดแล้ว
เราพ้นแล้วจากการถูกฆ่า
และการจองจำด้วยอุบายนั้น
วัฏฏกชาดกที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๑๒. หังสิวรรค ๑๐. พันธนโมกขชาดก (๑๒๐)
๙. อกาลราวิชาดก (๑๑๙)
ว่าด้วยไก่ที่ขันไม่ถูกเวลา
(ปุโรหิตโพธิสัตว์กราบทูลพระราชาว่า)
[๑๑๙] ไก่ตัวนี้มิได้เจริญเติบโตอยู่กับพ่อแม่
มิได้อยู่ศึกษาในสำนักของอาจารย์
จึงไม่รู้เวลาที่ควรขันและไม่ควรขัน
อกาลราวิชาดกที่ ๙ จบ

๑๐. พันธนโมกขชาดก (๑๒๐)
ว่าด้วยการหลุดพ้นจากเครื่องจองจำ
(ปุโรหิตโพธิสัตว์กราบทูลพระราชาว่า)
[๑๒๐] สถานที่ที่คนพาลเอ่ยปากขึ้น
คนที่ไม่ควรถูกจองจำก็ถูกจองจำ
สถานที่ที่นักปราชญ์เอ่ยปากขึ้น
แม้คนที่ถูกจองจำก็รอดพ้น
พันธนโมกขชาดกที่ ๑๐ จบ
หังสิวรรคที่ ๑๒ จบ

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. คัทรภปัญหชาดก ๒. อมราเทวีปัญหชาดก
๓. สิงคาลชาดก ๔. มิตจินติชาดก
๕. อนุสาสิกชาดก ๖. ทุพพจชาดก
๗. ติตติรชาดก ๘. วัฏฏกชาดก
๙. อกาลราวิชาดก ๑๐. พันธนโมกขชาดก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๑๓. กุสนาฬิวรรค ๓. นังคลีสชาดก (๑๒๓)
๑๓. กุสนาฬิวรรค
หมวดว่าด้วยกอหญ้า
๑. กุสนาฬิชาดก (๑๒๑)
ว่าด้วยเทวดาที่ต้นรุจาผูกมิตรกับเทวดาที่กอหญ้า
(รุกขเทวดาสรรเสริญมิตตธรรมของพระโพธิสัตว์ว่า)
[๑๒๑] บุคคลเสมอกัน ประเสริฐกว่ากัน
หรือเลวกว่ากันก็ตาม ก็ควรทำมิตรไมตรีกันไว้
เพราะว่า มิตรเหล่านั้นเมื่อความเสื่อมเกิดขึ้น
ก็พึงทำประโยชน์อันอุดมให้ได้
เหมือนเราผู้เป็นเทวดาสถิตอยู่ที่ต้นรุจา
กับเทวดาผู้สถิตอยู่ที่กอหญ้าทำมิตรไมตรีกัน
กุสนาฬิชาดกที่ ๑ จบ

๒. ทุมเมธชาดก (๑๒๒)
ว่าด้วยคนมีปัญญาทราม
(นายควาญช้างกราบทูลพระราชาว่า)
[๑๒๒] คนมีปัญญาทรามได้ยศแล้ว
ประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ตนเอง
ปฏิบัติเพื่อเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
ทุมเมธชาดกที่ ๒ จบ

๓. นังคลีสชาดก (๑๒๓)
ว่าด้วยคนโง่สำคัญนมส้มว่าเหมือนงอนไถ
(อาจารย์ทิศาปาโมกข์คิดถึงเหตุที่ไม่อาจให้คนมีปัญญาอ่อนศึกษาได้ จึงกล่าวว่า)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๑๓. กุสนาฬิวรรค ๕. กฏาหกชาดก (๑๒๕)
[๑๒๓] คนโง่กล่าวคำที่ไม่ควรกล่าว
ในเหตุการณ์ทุกอย่าง ในที่ทุกสถาน
เขาไม่รู้จักนมส้มและงอนไถ
สำคัญนมส้มและนมสดว่าเหมือนงอนไถ
นังคลีสชาดกที่ ๓ จบ

๔. อัมพชาดก (๑๒๔)
ว่าด้วยดาบสฉันมะม่วง
(ฤๅษีโพธิสัตว์ได้เห็นเหตุที่ดาบส ๕๐๐ อาศัยดาบสผู้สมบูรณ์ด้วยวัตรเป็นอยู่
จึงกล่าวว่า)
[๑๒๔] คนฉลาดควรพยายามร่ำไป
ไม่ควรเบื่อหน่าย
ท่านจงดูผลแห่งความพยายาม
ผลไม้มีมะม่วงเป็นต้นที่พวกฤาษีได้ฉัน
โดยมิได้ออกปากเนือง ๆ
อัมพชาดกที่ ๔ จบ

๕. กฏาหกชาดก (๑๒๕)
ว่าด้วยทาสชื่อกฏาหกะ
(ธิดาเศรษฐีกล่าวคาถานี้โดยทำนองที่เรียนมาในสำนักพระโพธิสัตว์ว่า)
[๑๒๕] บุคคลไปยังชนบทอื่นแล้ว
กล่าวข่มขู่โอ้อวดไว้มากมาย
เจ้ากฏาหกะ นายของเจ้าจะติดตามมาประทุษร้าย
เจ้าจงใช้สอยสมบัติเถิด
กฏาหกชาดกที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๑๓. กุสนาฬิวรรค ๘. พิฬารวตชาดก (๑๒๘)
๖. อสิลักขณชาดก (๑๒๖)
ว่าด้วยผู้รู้ลักษณะดาบ
(พระราชาทรงพระสรวลต่อพราหมณ์ ได้ตรัสบอกเหตุที่พระองค์ทรงจามแล้ว
ได้พระราชธิดาและได้ราชสมบัติว่า)
[๑๒๖] เหตุการณ์อย่างเดียวกันนั้นนั่นแหละเป็นผลดีแก่คนหนึ่ง
แต่กลับเป็นผลร้ายแก่อีกคนหนึ่ง
เพราะฉะนั้น เหตุการณ์อย่างเดียวกันนั้นนั่นแหละ
มิใช่จะเป็นผลดีไปทั้งหมด หรือมิใช่จะเป็นผลร้ายไปทั้งหมด
อสิลักขณชาดกที่ ๖ จบ

๗. กลัณฑุกชาดก (๑๒๗)
ว่าด้วยชาติกำเนิดของนายกลัณฑุกะ
(ลูกนกแขกเต้าโพธิสัตว์กล่าวเตือนทาสกลัณฑุกะว่า)
[๑๒๗] เราเที่ยวอยู่ในป่ายังรู้ชาติกำเนิดของเจ้าได้
นายของเจ้าทราบแน่ชัดแล้วต้องจับเจ้าไป
เจ้ากลัณฑุกะ เจ้าจงดื่มนมสดเสียเถิด
กลัณฑุกชาดกที่ ๗ จบ

๘. พิฬารวตชาดก (๑๒๘)
ว่าด้วยวัตรของแมว
(พญาหนูโพธิสัตว์กล่าวตำหนิสุนัขจิ้งจอกว่า)
[๑๒๘] ผู้ใดกล่าวเชิดชูธรรมให้เป็นธงชัย
ล่อลวงให้เหล่าสัตว์ตายใจแล้วซ่อนตนประพฤติชั่ว
ความประพฤติของผู้นั้นชื่อว่าเป็นความประพฤติของแมว
พิฬารวตชาดกที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๑๓. กุสนาฬิวรรค ๑๐. โกสิยชาดก (๑๓๐)
๙. อัคคิกชาดก (๑๒๙)
ว่าด้วยสุนัขจิ้งจอกชื่ออัคคิกะ
(พญาหนูโพธิสัตว์กล่าวติเตียนสุนัขจิ้งจอกว่า)
[๑๒๙] ปอยผมนี้มิได้มีไว้เพราะเหตุแห่งบุญ
มีไว้เพราะเป็นเลสอ้างเพื่อการหากิน
หมู่หนูมีไม่ครบตามจำนวนหาง
อัคคิกะ พอกันทีเถิดสำหรับท่าน
อัคคิกชาดกที่ ๙ จบ

๑๐. โกสิยชาดก (๑๓๐)
ว่าด้วยนางพราหมณีชื่อโกสิยา
(มาณพกล่าวเตือนนางพราหมณีว่า)
[๑๓๐] นี่นางโกสิยา เธอจงกินยาให้สมกับที่อ้างว่าป่วย
และจงพูดให้สมกับอาหารที่กินเข้าไป
คำพูดกับอาหารที่เธอกินทั้ง ๒ อย่างไม่สมกันเลย
โกสิยชาดกที่ ๑๐ จบ
กุสนาฬิวรรคที่ ๑๓ จบ

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. กุสนาฬิชาดก ๒. ทุมเมธชาดก
๓. นังคลีสชาดก ๔. อัมพชาดก
๕. กฏาหกชาดก ๖. อสิลักขณชาดก
๗. กลัณฑุกชาดก ๘. พิฬารวตชาดก
๙. อัคคิกชาดก ๑๐. โกสิยชาดก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๑๔. อสัมปทานวรรค ๓. ฆตาสนชาดก (๑๓๓)
๑๔. อสัมปทานวรรค
หมวดว่าด้วยการไม่รับสิ่งของ
๑. อสัมปทานชาดก (๑๓๑)
ว่าด้วยการไม่รับสิ่งของทำให้เกิดการแตกร้าว
(สังขเศรษฐีโพธิสัตว์กล่าวกับภรรยาผู้ร้องไห้อยู่ว่า)
[๑๓๑] มิตรไมตรีของผู้ใดผู้หนึ่งซึ่งเป็นคนพาล
ย่อมเป็นโทษเพราะการไม่รับสิ่งของ
เพราะฉะนั้น พี่จึงนำข้าวลีบครึ่งมานะ๑มาด้วยคิดว่า
มิตรไมตรีของเราอย่าได้แตกร้าวเลย
ขอมิตรไมตรีของเรานี้จงยั่งยืนต่อไป
อสัมปทานชาดกที่ ๑ จบ

๒. ปัญจภีรุกชาดก (๑๓๒)
ว่าด้วยความไม่หวาดสะดุ้งกลัว
(พระโพธิสัตว์คิดถึงเหตุการณ์ที่ตนรอดพ้นจากนางยักษิณี จึงเปล่งอุทานว่า)
[๑๓๒] เราไม่ตกอยู่ในอำนาจของพวกรากษส
เพราะความเพียรอันมั่นคงในคำแนะนำของท่านผู้ฉลาด
และเพราะความไม่หวาดหวั่นต่อภัยและความสะดุ้งกลัว
ความสวัสดีจากภัยอันใหญ่หลวงนั้นจึงมีแก่เรา
ปัญจภีรุกชาดกที่ ๒ จบ

๓. ฆตาสนชาดก (๑๓๓)
ว่าด้วยภัยเกิดจากที่พึ่ง
(พญานกโพธิสัตว์เห็นเปลวเพลิงลุกโพลงจากน้ำ จึงชวนพวกนกไปอยู่ที่อื่นว่า)

เชิงอรรถ :
๑ มานะ คือมาตราตวงสมัยโบราณ ได้แก่ ๑ มานะ เท่ากับ ๘ ทะนาน ฉะนั้นครึ่งมานะจึงเท่ากับ ๔ ทะนาน
(ขุ.ชา.อ. ๒/๑๓๑/๓๐๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๑๔. อสัมปทานวรรค ๕. จันทาภชาดก (๑๓๕)
[๑๓๓] ความเกษมสำราญมีอยู่บนหลังผิวน้ำใด
บนหลังผิวน้ำนั้นมีศัตรูเกิดขึ้น ไฟลุกโพลงอยู่ท่ามกลางน้ำ
วันนี้ จะอยู่บนต้นไม้ซึ่งเกิดที่พื้นดินไม่ได้อีก
พวกเจ้าจงพากันบินไปยังทิศต่าง ๆ เถิด
วันนี้ ที่พึ่งของพวกเรามีภัยเกิดขึ้นแล้ว
ฆตาสนชาดกที่ ๓ จบ

๔. ฌานโสธนชาดก (๑๓๔)
ว่าด้วยสุขเกิดแต่ฌาน
(พระโพธิสัตว์มาจากพรหมโลกชั้นอาภัสสรพรหมอยู่ในอากาศแล้วกล่าวว่า)
[๑๓๔] สัตว์เหล่าใดมีสัญญา แม้สัตว์เหล่านั้นก็ชื่อว่าเป็นทุคคตสัตว์๑
สัตว์เหล่าใดไม่มีสัญญา แม้สัตว์เหล่านั้นก็ชื่อว่าเป็นทุคคตสัตว์
พวกท่านจงละเว้นสัญญีภพและอสัญญีภพทั้ง ๒ อย่างนั้นเสีย
ความสุขอันเกิดจากสมาบัตินั้น
เป็นความสุขที่ไม่มีกิเลสเครื่องยวนใจ
ฌานโสธนชาดกที่ ๔ จบ

๕. จันทาภชาดก (๑๓๕)
ว่าด้วยผู้เจริญแสงจันทร์เป็นอารมณ์
(พระโพธิสัตว์มาจากพรหมโลกชั้นอาภัสสรพรหมอยู่ในอากาศแล้วกล่าวว่า)
[๑๓๕] บุคคลใดในโลกนี้หยั่งถึงกสิณมีแสงจันทร์
และแสงอาทิตย์เป็นอารมณ์ด้วยปัญญา
บุคคลนั้นย่อมเข้าถึงอาภัสสรพรหมได้ด้วยฌานอันไม่มีวิตก
จันทาภชาดกที่ ๕ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ทุคคตสัตว์ หมายถึงหมู่สัตว์ที่มีจิตทั้งหมด เว้นท่านผู้ได้เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน (ฌานที่มีสัญญาก็
มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่) เพราะยังไม่ได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ (ขุ.ชา.อ. ๒/๑๓๔/๓๐๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๑๔. อสัมปทานวรรค ๘. โคธชาดก (๑๓๘
๖. สุวัณณหังสชาดก (๑๓๖)
ว่าด้วยพญาหงส์ทองถูกถอนขน
(พระศาสดาทรงประมวลเรื่องในอดีตมาตรัสสอนถุลลนันทาภิกษุณีผู้มักมากแล้ว
ตรัสพระคาถานี้ว่า)
[๑๓๖] บุคคลได้สิ่งใด ควรยินดีสิ่งนั้น
เพราะความโลภเกินไปเป็นความชั่วแท้
นางพราหมณีจับเอาพญาหงส์ทองแล้วจึงเสื่อมจากทองคำ
สุวัณณหังสชาดกที่ ๖ จบ

๗. พัพพุชาดก (๑๓๗)
ว่าด้วยวิธีทำให้แมวตาย
(พระศาสดาทรงประมวลเรื่องในอดีตมา ตรัสพระคาถานี้ว่า)
[๑๓๗] แมวตัวหนึ่งได้หนูหรือเนื้อในที่ใด
แมวตัวที่ ๒ ตัวที่ ๓ และตัวที่ ๔ ก็เกิดในที่นั้น
แมวเหล่านั้นเอาอกกระแทกปล่องแก้วผลึกนี้แล้วสิ้นชีวิต
พัพพุชาดกที่ ๗ จบ

๘. โคธชาดก (๑๓๘)
ว่าด้วยพญาเหี้ย
(พญาเหี้ยโพธิสัตว์ติเตียนดาบสว่า)
[๑๓๘] นี่เจ้าผู้โง่เขลา จะมีประโยชน์อะไรแก่เจ้า
ด้วยชฎาและการนุ่งห่มหนังเสือเหลือง
ภายในของเจ้าแสนจะรกรุงรัง
เจ้าดีแต่ขัดสีภายนอกเท่านั้น
โคธชาดกที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๑๔. อสัมปทานวรรค ๑๐. กากชาดก (๑๔๐)
๙. อุภโตภัฏฐชาดก (๑๓๙)
ว่าด้วยผู้เสื่อมประโยชน์ทั้ง ๒ ด้าน
(รุกขเทวดาโพธิสัตว์กล่าวติเตียนนายพรานเบ็ดว่า)
[๑๓๙] ตาของเจ้าก็แตกทั้ง ๒ ข้าง ผ้านุ่งก็หาย
ภรรยาของเจ้าก็ทะเลาะกับเพื่อนบ้านแล้ว
การงานทั้งทางน้ำและทางบกก็เสียหายทั้ง ๒ ด้าน
อุภโตภัฏฐชาดกที่ ๙ จบ

๑๐. กากชาดก (๑๔๐)
ว่าด้วยกาไม่มีมันเหลว
(กาโพธิสัตว์แสดงธรรมว่า)
[๑๔๐] กาทั้งหลายมีใจหวาดผวาอยู่เป็นนิตย์
มีปกติเบียดเบียนชาวโลกทั้งมวล
เพราะฉะนั้น มันเหลวของกาทั้งหลาย
ผู้เป็นญาติของข้าพเจ้าจึงไม่มี
กากชาดกที่ ๑๐ จบ
อสัมปทานวรรคที่ ๑๔ จบ

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อสัมปทานชาดก ๒. ปัญจภีรุกชาดก
๓. ฆตาสนชาดก ๔. ฌานโสธนชาดก
๕. จันทาภชาดก ๖. สุวัณณหังสชาดก
๗. พัพพุชาดก ๘. โคธชาดก
๙. อุภโตภัฏฐชาดก ๑๐. กากชาดก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๑๕. กกัณฏกวรรค ๓. วิโรจนชาดก (๑๔๓)
๑๕. กกัณฏกวรรค
หมวดว่าด้วยกิ้งก่า
๑. โคธชาดก (๑๔๑)
ว่าด้วยตระกูลเหี้ยประสบความพินาศ
(พญาเหี้ยโพธิสัตว์เมื่อจะหนีไปทางปล่องลม จึงกล่าวว่า)
[๑๔๑] บุคคลคบหาคนชั่วย่อมไม่ประสบความสุขเลย
เหมือนตระกูลเหี้ยทำตนเองให้ประสบความวอดวายเพราะกิ้งก่า
โคธชาดกที่ ๑ จบ

๒. สิงคาลชาดก (๑๔๒)
ว่าด้วยสุนัขจิ้งจอกโพธิสัตว์
(สุนัขจิ้งจอกโพธิสัตว์กล่าวติเตียนนักเลงว่า)
[๑๔๒] เหตุที่ท่านนอนลวงเหมือนคนตายนั้นรู้ได้ยาก
ไม้พลองของท่านเมื่อข้าพเจ้าคาบที่ปลายลากมาก็ไม่หลุดจากมือ
สิงคาลชาดกที่ ๒ จบ

๓. วิโรจนชาดก (๑๔๓)
ว่าด้วยคนถูกเยาะเย้ยว่ารุ่งเรือง
(พญาไกรสรราชสีห์โพธิสัตว์กล่าวกะสุนัขจิ้งจอกว่า)
[๑๔๓] มันสมองของเจ้าทะลักออกมา
กระหม่อมของเจ้าก็ถูกทำลาย
ซี่โครงของเจ้าก็หักหมด
วันนี้ เจ้าช่างรุ่งโรจน์เหลือเกิน
วิโรจนชาดกที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๑๕. กกัณฏกวรรค ๖. กากชาดก (๑๔๖)
๔. นังคุฏฐชาดก (๑๔๔)
ว่าด้วยการบูชาไฟด้วยหางวัว
(พราหมณ์บำเรอไฟผู้เป็นโพธิสัตว์เข้าใจว่าการบูชาไฟไม่มีประโยชน์ จึงกล่าวว่า)
[๑๔๔] ไฟอสัตบุรุษ การที่เราบูชาเจ้าด้วยหางนั้นก็มากพอแล้ว
วันนี้ เนื้อไม่มีสำหรับเจ้าผู้ชอบเนื้อ
ขอท่านผู้เจริญจงรับเอาเพียงหางเถิด
นังคุฏฐชาดกที่ ๔ จบ

๕. ราธชาดก (๑๔๕)
ว่าด้วยลูกนกแขกเต้าราธะ
(นกแขกเต้าโพธิสัตว์ได้กล่าวเตือนน้องราธะว่า)
[๑๔๕] พ่อราธะ เจ้ายังไม่รู้ว่า
คนที่ยังไม่มาในปฐมยามมีประมาณเท่าไร
เจ้าพูดเพ้อเจ้ออย่างโง่ ๆ ไปเอง
ในเมื่อแม่โกสิยายนีหมดความเยื่อใยในบิดาของเราแล้ว
ราธชาดกที่ ๕ จบ

๖. กากชาดก (๑๔๖)
ว่าด้วยกาวิดน้ำด้วยจะงอยปาก
(ฝูงกาปรึกษากันแล้วพูดว่าไม่สามารถจะทำทะเลให้แห้งได้ จึงกล่าวว่า)
[๑๔๖] คางของพวกเราล้าแล้วหนอ ปากก็ซีดเซียว
พวกเราพากันวิดอยู่ก็ไม่อาจทำให้น้ำแห้งได้
ห้วงน้ำใหญ่ก็ยังคงเต็มอยู่เช่นเดิม
กากชาดกที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๑๕. กกัณฏกวรรค ๙. เอกปัณณชาดก (๑๔๙)
๗. ปุปผรัตตชาดก (๑๔๗)
ว่าด้วยผ้าที่ย้อมด้วยดอกคำ
(คนเข็ญใจไม่ใส่ใจถึงความทุกข์ของตน นึกถึงแต่หญิงคนรักนั้นอย่างเดียว
จึงรำพึงถึงโอกาสที่พลาดไปว่า)
[๑๔๗] การที่ถูกเสียบแทงด้วยหลาว
และการที่กาจิกข้าพเจ้านี้หาเป็นทุกข์แก่ข้าพเจ้าไม่
การที่นางเนื้อทองจักไม่ได้นุ่งห่มผ้าที่ย้อมด้วยดอกคำ
เที่ยวงานตลอดคืนกลางเดือน ๑๒ โน้นซิเป็นทุกข์ของข้าพเจ้า
ปุปผรัตตชาดกที่ ๗ จบ

๘. สิงคาลชาดก (๑๔๘)
ว่าด้วยสุนัขจิ้งจอกเข้าไปในซากช้าง
(สุนัขจิ้งจอกโพธิสัตว์ติดอยู่ในท้องช้างตายเกิดความสังเวช จึงกล่าวว่า)
[๑๔๘] ไม่เอาอีกแล้ว ไม่เอาอีกแล้ว
เราจะไม่เข้าไปในซากช้างอีก
เพราะในเวลาที่เข้าไปอยู่ในซากช้างนี้ เรากลัวแทบตาย
สิงคาลชาดกที่ ๘ จบ

๙. เอกปัณณชาดก (๑๔๙)
ว่าด้วยต้นไม้มีด้านละใบ
(ทุฏฐราชกุมารเข้าใจต้นสะเดาว่าจะฆ่ามนุษย์ได้ จึงถอนหน่อสะเดาขยี้จน
แหลกแล้ว ตรัสว่า)
[๑๔๙] ต้นไม้นี้มีใบด้านละใบ จากพื้นดินสูงยังไม่ถึง ๔ องคุลี
ผลมีรสเช่นกับยาพิษ เมื่อโตขึ้นจะเป็นเช่นไรหนอ
เอกปัณณชาดกที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑. เอกกนิบาต] ๑๕. กกัณฏกวรรค รวมชาดกที่มีในวรรค
๑๐. สัญชีวชาดก (๑๕๐)
ว่าด้วยสัญชีวมาณพตาย
(อาจารย์ทิศาปาโมกข์โพธิสัตว์เรียกมาณพมาเตือนว่า)
[๑๕๐] ผู้ใดยกย่องและคบหาคนชั่ว
คนชั่วย่อมกระทำผู้นั้นให้เป็นเหยื่อ
เหมือนเสือโคร่งที่สัญชีวมาณพทำให้ฟื้นขึ้น
แล้วทำสัญชีวมาณพให้เป็นเหยื่อ
สัญชีวชาดกที่ ๑๐ จบ กกัณฏกวรรคที่ ๑๕ จบ

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. โคธชาดก ๒. สิงคาลชาดก
๓. วิโรจนชาดก ๔. นังคุฏฐชาดก
๕. ราธชาดก ๖. กากชาดก
๗. ปุปผรัตตชาดก ๘. สิงคาลชาดก
๙. เอกปัณณชาดก ๑๐. สัญชีวชาดก
อุปริปัณณาสก์ จบ

รวมวรรคที่มีในนิบาตนี้ คือ
๑. อปัณณกวรรค ๒. สีลวรรค
๓. กุรุงควรรค ๔. กุลาวกวรรค
๕. อัตถกามวรรค ๖. อาสิงสวรรค
๗. อิตถีวรรค ๘. วรุณวรรค
๙. อปายิมหวรรค ๑๐. ลิตตวรรค
๑๑. ปโรสตวรรค ๑๒. หังสิวรรค
๑๓. กุสนาฬิวรรค ๑๔. อสัมปทานวรรค
๑๕. กกัณฏกวรรค
ชาดกที่ประดับเอกกนิบาต จบ
เอกกนิบาต จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒. ทุกนิบาต] ๑. ทัฬหวรรค ๒. สิงคาลชาดก (๑๕๒)
๒. ทุกนิบาต
๑. ทัฬหวรรค
หมวดว่าด้วยความกระด้าง
๑. ราโชวาทชาดก (๑๕๑)
ว่าด้วยพระราโชวาท
(นายสารถีของพระเจ้าพัลลิกะกล่าวอวดพระเกียรติคุณพระราชาของตนว่า)
[๑] พระเจ้าพัลลิกะทรงขจัดคนกระด้างด้วยความกระด้าง
ทรงชนะคนอ่อนโยนด้วยความอ่อนโยน
ทรงชนะคนดีด้วยความดี ทรงชนะคนไม่ดีด้วยความไม่ดี
พระราชาองค์นี้เป็นเช่นนี้ นายสารถี
ท่านจงหลีกทางถวายพระราชาของเราเถิด
(นายสารถีของพระเจ้าพาราณสีกล่าวพระเกียรติคุณพระราชาของตนว่า)
[๒] พระเจ้ากรุงพาราณสีทรงชนะคนโกรธด้วยความไม่โกรธ
ทรงชนะคนไม่ดีด้วยความดี ทรงชนะคนตระหนี่ด้วยการให้
ทรงชนะคนพูดเหลาะแหละด้วยคำสัตย์
พระราชาองค์นี้เป็นเช่นนี้ นายสารถี
ท่านจงหลีกทางถวายพระราชาของเราเถิด
ราโชวาทชาดกที่ ๑ จบ

๒. สิงคาลชาดก (๑๕๒)
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้สุนัขจิ้งจอกตาย
(ราชสีห์โพธิสัตว์เห็นพี่ชายทั้ง ๖ ตาย จึงกล่าวว่า)
[๓] การงานเหล่านั้นย่อมทำบุคคลผู้มิได้พิจารณา
ทำด้วยความรีบร้อนให้เดือดร้อนเหมือนกลืนของร้อนเข้าไปในปาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒. ทุกนิบาต] ๑. ทัฬหวรรค ๑. ทัฬหวรรค ๔. อุรคชาดก (๑๕๔)
(พระศาสดาตรัสเหตุที่สุนัขจิ้งจอกตายว่า)
[๔] ราชสีห์ได้บันลือสีหนาทไปทั่วภูเขาเงิน
สุนัขจิ้งจอกที่อาศัยอยู่ในภูเขาเงิน
ได้ยินเสียงกึกก้องของราชสีห์
เกิดความกลัวความสะดุ้งจนหัวใจแตกตาย
สิงคาลชาดกที่ ๒ จบ

๓. สูกรชาดก (๑๕๓)
ว่าด้วยสุกรท้าราชสีห์
(สุกรเมื่อจะท้าราชสีห์โพธิสัตว์ให้ต่อสู้กัน จึงกล่าวว่า)
[๕] นี่สหาย เราก็มี ๔ เท้า ถึงท่านก็มี ๔ เท้า
จงกลับมาก่อนสหาย ท่านกลัวหรือ จึงได้หนีไป
(ราชสีห์โพธิสัตว์กล่าวตอบว่า)
[๖] นี่เจ้าสุกรผู้สหาย เจ้ามีเนื้อตัวไม่สะอาด
ขนก็เหม็นเน่า มีกลิ่นเหม็นคลุ้งกระจายไป
ถ้าเจ้าต้องการจะสู้รบกับเรา เราขอยกชัยชนะให้เจ้า
สูกรชาดกที่ ๓ จบ

๔. อุรคชาดก (๑๕๔)
ว่าด้วยงูมีคุณธรรมสูง
(พญาครุฑเรียกพระโพธิสัตว์มาประกาศให้ทราบว่า จักจับพญานาควักกละกิน
จึงกล่าวว่า)
[๗] พญานาคผู้ประเสริฐกว่างูทั้งหลายต้องการจะพ้นจากข้าพเจ้า
จึงได้แปลงกายเป็นแก้วมณี เข้าไปอยู่ในผ้าเปลือกไม้นี้
ก็ข้าพเจ้าเป็นผู้มีความเคารพยำเกรงเพศอันประเสริฐของท่าน
ถึงจะหิวก็ไม่สามารถที่จะจับพญานาคตัวนั้นกินได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒. ทุกนิบาต] ๑. ทัฬหวรรค ๖. อลีนจิตตชาดก (๑๕๖)
(พระโพธิสัตว์ดาบสกล่าวชมเชยพญาครุฑว่า)
[๘] เธอนั้นเป็นผู้เคารพยำเกรงเพศอันประเสริฐ
ถึงจะหิวก็ไม่อาจที่จะคร่าพญานาคตัวนั้นมากินได้
ขอเธอนั้นจงเป็นผู้อันพรหมรักษาคุ้มครองแล้ว
จงดำรงชีวิตอยู่สิ้นกาลนาน
อนึ่ง ภักษาทิพย์จงปรากฏมีแก่เธอ
อุรคชาดกที่ ๔ จบ

๕. ภัคคชาดก (๑๕๕)
ว่าด้วยบิดาพระโพธิสัตว์ชื่อภัคคะ
(พราหมณ์โพธิสัตว์เห็นยักษ์ลงมา จึงกล่าวปรารภกับบิดาว่า)
[๙] พ่อภัคคะ ขอพ่อจงมีชีวิตอยู่ถึง ๑๒๐ ปี
ขอพวกปีศาจจงอย่าได้กินผมเลย
ขอพ่อจงมีชีวิตอยู่ถึง ๑๒๐ ปีเถิด
(พระโพธิสัตว์เห็นยักษ์ลงมาหาบุตร จึงกล่าวปรารภกับบุตรว่า)
[๑๐] แม้เจ้าก็จงมีชีวิตอยู่ถึง ๑๒๐ ปี
ขอพวกปีศาจจงกินยาพิษ
ขอเจ้าจงมีชีวิตอยู่ถึง ๑๒๐ ปีเถิด
ภัคคชาดกที่ ๕ จบ

๖. อลีนจิตตชาดก (๑๕๖)
ว่าด้วยพระเจ้าอลีนจิต
(พระศาสดาทรงนำเรื่องอดีตนี้มาได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า)
[๑๑] เสนาหมู่ใหญ่อาศัยพระเจ้าอลีนจิต มีใจร่าเริง
ได้จับเป็นพระเจ้าโกศลผู้ไม่ทรงอิ่มราชสมบัติของตน ฉันใด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒. ทุกนิบาต] ๑. ทัฬหวรรค ๗. คุณชาดก (๑๕๗)
[๑๒] ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยนิสัย๑ ปรารภความเพียร
เจริญกุศลธรรมเพื่อบรรลุนิพพานอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ
พึงบรรลุธรรมอันเป็นที่สิ้นไปแห่งสังโยชน์ทั้งปวงโดยลำดับ ฉันนั้น
อลีนจิตตชาดกที่ ๖ จบ

๗. คุณชาดก (๑๕๗)
ว่าด้วยมิตรธรรม
(สุนัขจิ้งจอกฟังคำของนางสุนัขจิ้งจอกแล้วจึงเข้าไปหาราชสีห์โพธิสัตว์ บอกเหตุ
ที่ภรรยาและบุตรของราชสีห์รบกวนแล้วว่า)
[๑๓] ผู้มีอำนาจย่อมขับไล่ผู้น้อยตามความพอใจของตน
นี้เป็นธรรมดาของผู้มีกำลัง
นางมฤคีผู้มีเขี้ยวแหลมคมบันลือสีหนาท
คุกคามบุตรและภรรยาของข้าพเจ้า
ขอท่านจงทราบอย่างนี้
ที่พึ่งของพวกเรามีภัยเกิดขึ้นแล้ว
(ราชสีห์โพธิสัตว์กล่าวเตือนนางราชสีห์ว่า)
[๑๔] ถึงแม้ว่ามิตรจะมีกำลังด้อยกว่า
แต่ดำรงอยู่ในมิตรธรรม
เขาชื่อว่าเป็นญาติ เป็นเผ่าพันธุ์
เป็นมิตร และเป็นเพื่อนของเรา
นี่นางผู้มีเขี้ยวแหลมคม
เจ้าอย่าได้ดูหมิ่นสุนัขจิ้งจอกผู้ให้ชีวิตแก่เราอีกเลย
คุณชาดกที่ ๗ จบ

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า ถึงพร้อมด้วยนิสัย หมายถึงการได้พระพุทธเจ้า สาวกของพระพุทธเจ้า หรือพระปัจเจกพุทธเจ้า
เป็นที่อาศัย (ขุ.ชา.อ. ๓/๑๒/๒๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒. ทุกนิบาต] ๑. ทัฬหวรรค ๙. โมรชาดก (๑๕๙)
๘. สุหนุชาดก (๑๕๘)
ว่าด้วยพฤติกรรมของม้าสุหนุ
(อำมาตย์สำเร็จราชกิจโพธิสัตว์ได้กราบทูลพระราชาถึงพฤติกรรมของม้าว่า)
[๑๕] การที่ม้าพยศสุหนุกับม้าพยศโสณะ
กระทำความสนิทสนมกันไม่ใช่เรื่องผิดปกติ
ม้าโสณะเป็นเช่นใด แม้ม้าสุหนุก็เป็นเช่นนั้น
ม้าโสณะมีอารมณ์ฉุนเฉียวเช่นใด
ม้าสุหนุก็มีอารมณ์ฉุนเฉียวเช่นนั้น
[๑๖] ม้าทั้ง ๒ ตัวมีปกติวิ่งพล่านไปด้วยอารมณ์
คึกคะนองชอบกัดเชือกล่ามตัวเองเป็นนิตย์พอ ๆ กัน
ความชั่วเข้ากันได้กับความชั่ว
ความไม่สงบเข้ากันได้กับความไม่สงบ
สุหนุชาดกที่ ๘ จบ

๙. โมรชาดก (๑๕๙)
ว่าด้วยนกยูง
(นกยูงทองโพธิสัตว์เมื่อจะผูกมนต์เพื่อรักษาป้องกันตัวก่อนออกหากิน ได้
กล่าวคาถานี้ว่า)
[๑๗] ดวงตาของโลก
เป็นเจ้าแห่งแสงสว่างอย่างเอก
กำลังอุทัยทอแสงเรืองรองสว่างไปทั่วปฐพี
เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าขอน้อมไหว้พระอาทิตย์นั้น
ซึ่งทอแสงเรืองรองสว่างไปทั่วปฐพี
วันนี้ ข้าพเจ้าได้ท่านคุ้มครองแล้ว
พึงอยู่เป็นสุขตลอดวัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒. ทุกนิบาต] ๑. ทัฬหวรรค ๙. โมรชาดก (๑๕๙)
พราหมณ์เหล่าใดถึงฝั่งแห่งพระเวทในธรรมทั้งมวล
ขอพราหมณ์เหล่านั้นจงรับความนอบน้อมของข้าพเจ้า
และขอจงคุ้มครองข้าพเจ้า
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
พระโพธิญาณของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น
พระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้หลุดพ้นแล้ว
และวิมุตติธรรมของพระพุทธเจ้าผู้หลุดพ้นแล้วเหล่านั้น
นกยูงนั้นเจริญพระปริตรนี้แล้วจึงเที่ยวแสวงหาอาหาร
(นกยูงทองนั้น เมื่อกลับที่พักในเวลาเย็น ได้กล่าวคาถานี้ว่า)
[๑๘] ดวงตาของโลกนี้
เป็นเจ้าแห่งแสงสว่างอย่างเอก
ทอแสงเรืองรองสว่างไปทั่วปฐพี อัสดงคตแล้ว
เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าขอน้อมไหว้พระอาทิตย์นั้น
ซึ่งทอแสงเรืองรองสว่างไปทั่วปฐพี
วันนี้ ข้าพเจ้าได้ท่านคุ้มครองแล้ว
พึงอยู่เป็นสุขตลอดคืน
พราหมณ์เหล่าใดถึงฝั่งแห่งพระเวทในธรรมทั้งมวล
ขอพราหมณ์เหล่านั้นจงรับความนอบน้อมของข้าพเจ้า
และขอจงคุ้มครองข้าพเจ้า
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
พระโพธิญาณของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น
พระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้หลุดพ้นแล้ว
และวิมุตติธรรมแห่งพระพุทธเจ้าผู้หลุดพ้นแล้วเหล่านั้น
นกยูงนั้นเจริญพระปริตรนี้แล้วจึงอยู่ในที่อยู่ของตน
โมรชาดกที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒. ทุกนิบาต] ๑. ทัฬหวรรค รวมชาดกที่มีในวรรค
๑๐. วินีลกชาดก (๑๖๐)
ว่าด้วยกาวินีลกะ
(กาวินีลกะกำลังไปทางอากาศเห็นพระเจ้ากรุงวิเทหะประทับบนรถซึ่งเทียมด้วย
ม้าสินธพ ๔ ตัว จึงกล่าวว่า)
[๑๙] ม้าอาชาไนยกำลังพาพระเจ้าวิเทหะ
ผู้ครองกรุงมิถิลาเสด็จไป
เหมือนหงส์ ๒ ตัวกำลังพาเราผู้ชื่อวินีลกะไป
(พ่อพญาหงส์ได้ฟังเรื่องที่ลูกทั้ง ๒ เล่าให้ฟัง ก็โกรธตวาดลูกกาวินีลกะว่า)
[๒๐] นี่เจ้าวินีลกะ เจ้ามาอยู่อาศัยซอกเขา
อันมิใช่พื้นเพเดิมของเจ้า
เจ้าจงไปอยู่อาศัยชายหมู่บ้านเถิด
ที่นั่นเป็นที่อยู่อาศัยของแม่เจ้า
วินีลกชาดกที่ ๑๐ จบ
ทัฬหวรรคที่ ๑ จบ

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ราโชวาทชาดก ๒. สิงคาลชาดก
๓. สูกรชาดก ๔. อุรคชาดก
๕. ภัคคชาดก ๖. อลีนจิตตชาดก
๗. คุณชาดก ๘. สุหนุชาดก
๙. โมรชาดก ๑๐. วินีลกชาดก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒. ทุกนิบาต] ๒. สันถววรรค ๒. สันถวชาดก (๑๖๒)
๒. สันถววรรค
หมวดว่าด้วยความสนิทสนม
๑. อินทสมานโคตตชาดก (๑๖๑)
ว่าด้วยอินทสมานโคตรดาบส
(ดาบสโพธิสัตว์บอกดาบสที่ไม่ควรทำความคลุกคลีกับคนชั่วว่า)
[๒๑] บุคคลไม่ควรทำความสนิทสนมกับคนชั่ว
บุคคลผู้ประเสริฐรู้ประโยชน์ชัดอยู่
ก็ไม่ควรทำความสนิทสนมกับบุคคลผู้ไม่ประเสริฐ
เพราะว่า บุคคลผู้ไม่ประเสริฐถึงแม้จะอยู่ร่วมกันเป็นเวลานาน
ก็ยังทำความชั่วเหมือนช้างได้ฆ่าอินทสมานโคตรดาบส
[๒๒] บุคคลรู้บุคคลใดว่า ผู้นี้เช่นเดียวกับเราด้วยศีล ปัญญา และสุตะ
พึงกระทำไมตรีกับบุคคลเช่นนั้นแหละ
เพราะการสมาคมกับสัตบุรุษเป็นความสุขโดยแท้
อินทสมานโคตตชาดกที่ ๑ จบ

๒. สันถวชาดก (๑๖๒)
ว่าด้วยการสนิทสนม
(พราหมณ์โพธิสัตว์ตกใจกลัวที่บรรณศาลาถูกไฟไหม้กล่าวว่า)
[๒๓] สิ่งอื่นที่จะชั่วช้าไปกว่าความสนิทสนมกับคนชั่วไม่มี
เพราะไฟนี้อันเราให้อิ่มหนำด้วยเนยใสและข้าวปายาสแล้ว
ก็ยังเผาบรรณศาลาที่เรากระทำได้แสนยาก
(พระโพธิสัตว์ดำริว่าความสนิทสนมกับสัตบุรุษเป็นสิ่งประเสริฐ จึงกล่าวว่า)
[๒๔] สิ่งอื่นที่จะประเสริฐไปกว่าความสนิทสนมกับสัตบุรุษไม่มี
แม่เนื้อสามายังเลียปากราชสีห์ เสือโคร่ง
และเสือเหลืองได้เพราะความสนิทสนม
สันถวชาดกที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒. ทุกนิบาต] ๒. สันถววรรค ๔. คิชฌชาดก (๑๖๔)
๓. สุสีมชาดก (๑๖๓)
ว่าด้วยพระเจ้าสุสีมะ
(พราหมณ์ปุโรหิตโพธิสัตว์ของพระเจ้าสุสีมะ กราบทูลเรื่องที่ได้ทราบข่าวมาว่า)
[๒๕] ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงพระนามว่าสุสีมะ ช้างดำมีงาขาว
ของพระองค์เหล่านี้ ๑๐๐ กว่าเชือก ประดับด้วยข่ายทองคำ
พระเจ้าสุสีมะ พระองค์ยังทรงระลึกถึงการกระทำของพระชนก
และพระอัยยกาของพระองค์หรือ จึงตรัสว่า
เราจะให้ช้างเหล่านั้นแก่พราหมณ์เหล่าอื่น พระเจ้าข้า
(พระเจ้าสุสีมะทรงสดับคำของพระโพธิสัตว์แล้วตรัสว่า)
[๒๖] นี่พ่อมาณพ ช้างดำมีงาขาวของเราเหล่านี้
๑๐๐ กว่าเชือก ประดับด้วยข่ายทองคำ
เรายังระลึกถึงการกระทำของพระบิดาและพระอัยยกา
จึงพูดว่า เราจะให้ช้างเหล่านั้นแก่พราหมณ์เหล่าอื่น
สุสีมชาดกที่ ๓ จบ

๔. คิชฌชาดก (๑๖๔)
ว่าด้วยสายตานกแร้ง
(พระเจ้าพรหมทัตตรัสถามพญาแร้งโพธิสัตว์ว่า)
[๒๗] ธรรมดานกแร้งย่อมเห็นซากศพได้ไกลถึงร้อยโยชน์มิใช่หรือ
เพราะเหตุไร เจ้าแม้มาใกล้ข่ายและบ่วงแล้วก็ไม่รู้
(พญาแร้งโพธิสัตว์กราบทูลว่า)
[๒๘] เมื่อใดสัตว์มีความเสื่อมในขณะจะสิ้นชีวิต
เมื่อนั้นถึงจะมาใกล้ข่ายและบ่วงก็ไม่รู้
คิชฌชาดกที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒. ทุกนิบาต] ๒. สันถววรรค ๖. อุปสาฬหกชาดก (๑๖๖)
๕. นกุลชาดก (๑๖๕)
ว่าด้วยพังพอน
(ฤๅษีโพธิสัตว์เห็นพังพอนกลับมา จึงกล่าวว่า)
[๒๙] นี่เจ้าพังพอนผู้เกิดในครรภ์
ท่านเชื่อมสัมพันธ์กับงูที่เป็นศัตรู
ยังจะนอนแยกเขี้ยวอยู่ ภัยนั้นมีมาแต่ไหนหนอ
(พังพอนตอบว่า)
[๓๐] ในศัตรูบุคคลพึงระแวงไว้ก่อน แม้ในมิตรก็ไม่พึงวางใจ
ภัยที่เกิดขึ้นจากคนไม่มีภัยย่อมกัดกร่อนจนถึงโคนราก
นกุลชาดกที่ ๕ จบ

๖. อุปสาฬหกชาดก (๑๖๖)
ว่าด้วยพราหมณ์อุปสาฬหกะ
(พราหมณ์โพธิสัตว์ตอบปัญหาของมาณพ กำหนดด้วยปุพเพนิวาสญาณแล้ว
จึงกล่าวว่า)
[๓๑] พราหมณ์ชื่ออุปสาฬหกะ จำนวน ๑๔,๐๐๐ คน
ได้ถูกพวกญาติเผาในสถานที่นี้
สถานที่ไม่เคยมีคนตายไม่มีในโลก
[๓๒] สัจจะ ธรรมะ อหิงสา
สัญญมะ และทมะมีอยู่ในผู้ใด
พระอริยะเจ้าทั้งหลายย่อมคบหาบุคคลเช่นนั้น
(เพราะ)คุณธรรมชื่อว่าไม่ตายในโลก
อุปสาฬหกชาดกที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒. ทุกนิบาต] ๒. สันถววรรค ๘. สกุณัคฆิชาดก (๑๖๘)
๗. สมิทธิชาดก (๑๖๗)
ว่าด้วยเทพธิดาหลงรักพระสมิทธิโพธิสัตว์
(เทพธิดาประเล้าประโลมพราหมณ์โพธิสัตว์ว่า)
[๓๓] ภิกษุ ท่านยังมิได้บริโภคกามคุณเลย
กลับมาเที่ยวภิกขาจารเสียนี่
ก็ท่านบริโภคกามคุณเสียก่อนแล้ว
จึงเที่ยวภิกขาจารจะไม่ดีหรือ
ภิกษุ ท่านจงบริโภคกามคุณเสียก่อนเถิด
แล้วจึงเที่ยวภิกขาจาร
ขอเวลาบริโภคกามคุณอย่าได้ล่วงเลยท่านไปเสียเลย
(พราหมณ์โพธิสัตว์กล่าวคาถาที่ ๒ ว่า)
[๓๔] เราไม่รู้เวลาตายของตนเลย
เวลาตายปิดบังอยู่ยังไม่ปรากฏ
เพราะฉะนั้น เราจึงไม่บริโภคกามมาเที่ยวภิกขาจารอยู่
ขอเวลาบำเพ็ญสมณธรรมอย่าได้ล่วงเลยเราไปเลย
สมิทธิชาดกที่ ๗ จบ

๘. สกุณัคฆิชาดก (๑๖๘)
ว่าด้วยเหยี่ยวนกเขาหลงกลนกมูลไถ
(พระศาสดาทรงแสดงเรื่องเหยี่ยวนกเขากับนกมูลไถในอดีตแล้วตรัสเรื่องโคจร
ของภิกษุว่า)
[๓๕] เหยี่ยวนกเขาโฉบลงเต็มแรงด้วยหมายใจว่า
จะจับเอานกมูลไถที่อยู่ในที่หากิน
โฉบลงอย่างฉับพลัน
เพราะเหตุนั้น จึงถึงความตาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒. ทุกนิบาต] ๒. สันถววรรค ๑๐. กกัณฏกชาดก (๑๗๐)
(เมื่อเหยี่ยวนกเขาตายแล้ว นกมูลไถจึงออกมายืนบนอกของเหยี่ยวนกเขา
เปล่งอุทานว่า)
[๓๖] เรานั้นเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอุบาย
ยินดีแล้วในที่หากินอันเป็นเขตแห่งบิดา
เห็นประโยชน์ของตนอยู่
เป็นผู้ปราศจากศัตรู ย่อมเบิกบานใจ
สกุณัคฆิชาดกที่ ๘ จบ

๙. อรกชาดก (๑๖๙)
ว่าด้วยศาสดาอรกะสอนการแผ่เมตตา
(พราหมณ์โพธิสัตว์บวชเป็นฤๅษี เมื่อจะสอนหมู่ฤๅษี จึงได้ประกาศอานิสงส์
ของเมตตาว่า)
[๓๗] ผู้ใดอนุเคราะห์ชาวโลกทั้งมวลด้วยเมตตาจิตหาประมาณมิได้
ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ และเบื้องขวาง๑โดยประการทั้งปวง
[๓๘] จิตเกื้อกูลหาประมาณมิได้ เป็นจิตบริบูรณ์อันผู้นั้นอบรมดีแล้ว
กรรมใดที่เขาบำเพ็ญแล้วพอประมาณ
กรรมนั้นจักไม่เหลืออยู่ในจิตของเขานั้น
อรกชาดกที่ ๙ จบ

๑๐. กกัณฏกชาดก (๑๗๐)
ว่าด้วยกิ้งก่าได้ทรัพย์
(พระราชาทรงทอดพระเนตรกิริยาของกิ้งก่านั้นซึ่งไม่นอบน้อมเหมือนก่อน จึง
ตรัสถามว่า)

เชิงอรรถ :
๑ เบื้องบน คือแต่พื้นดินจนถึงพรหมโลกชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนะ เบื้องต่ำ คือแต่พื้นดินถึงอุสสทนรก
ใต้พื้นดิน เบื้องขวาง คือในโลกมนุษย์อันหาประมาณมิได้ (ขุ.ชา.อ. ๓/๓๗/๖๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒. ทุกนิบาต] ๓. กัลยาณวรรค ๓. มักกฏชาดก (๑๗๓)
[๓๙] กิ้งก่าบนยอดเสาค่ายตัวนี้ไม่ลงมาอ่อนน้อมเหมือนวันก่อน
ท่านมโหสธบัณฑิต ท่านรู้ไหมว่า
กิ้งก่ากลายเป็นสัตว์กระด้างกระเดื่องไปเพราะเหตุไร
[๔๐] กิ้งก่าได้ทรัพย์กึ่งมาสกซึ่งตนไม่เคยได้มาก่อน
จึงดูหมิ่นพระเจ้าวิเทหะผู้ครองกรุงมิถิลา
กกัณฏกชาดกที่ ๑๐ จบ
สันถววรรคที่ ๒ จบ

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อินทสมานโคตตชาดก ๒. สันถวชาดก
๓. สุสีมชาดก ๔. คิชฌชาดก
๕. นกุลชาดก ๖. อุปสาฬหกชาดก
๗. สมิทธิชาดก ๘. สกุณัคฆิชาดก
๙. อรกชาดก ๑๐. กกัณฏกชาดก

๓. กัลยาณวรรค
หมวดว่าด้วยกัลยาณธรรม
๑. กัลยาณธัมมชาดก (๑๗๑)
ว่าด้วยผู้มีกัลยาณธรรม
(เศรษฐีโพธิสัตว์ทูลขอพระบรมราชานุญาตบวชว่า)
[๔๑] ข้าแต่พระองค์ผู้จอมชน ในกาลใด
บุคคลได้รับสมญาว่า ผู้มีกัลยาณธรรมในโลก
ในกาลนั้นนรชนผู้มีปัญญาไม่ควรให้ตนเสื่อมจากสมญานั้น
ธรรมดาสัตบุรุษถือเอาสมญานั้นเป็นธุระสำคัญแม้ด้วยหิริ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๗๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒. ทุกนิบาต] ๓. กัลยาณวรรค ๓. มักกฏชาดก (๑๗๓)
[๔๒] ข้าแต่พระองค์ผู้จอมชน สมญาว่าผู้มีกัลยาณธรรมในโลก
ข้าพระองค์ได้รับแล้วในวันนี้
ข้าพระองค์พิจารณาถึงสมญานั้นอยู่จักขอบวชในวันนี้
เพราะข้าพระองค์ไม่มีความพอใจในการบริโภคกามคุณในโลกนี้
กัลยาณธรรมชาดกที่ ๑ จบ

๒. ทัททรชาดก (๑๗๒)
ว่าด้วยราชสีห์กับสุนัขจิ้งจอกที่ภูเขาเงิน
(ลูกราชสีห์โพธิสัตว์ได้ยินเสียงสุนัขจิ้งจอก จึงถามบิดาว่า)
[๔๓] ข้าแต่พ่อผู้เป็นใหญ่กว่ามฤคชาติทั้งหลาย
ใครหนอส่งเสียงดัง บันลือลั่นตลอดทั่วภูเขาเงิน
สีหะทั้งหลายก็ไม่บันลือโต้ตอบมัน
มันเป็นสัตว์อะไร
(พ่อราชสีห์โพธิสัตว์ฟังคำของลูกแล้ว จึงกล่าวว่า)
[๔๔] ลูกเอ๋ย มันคือสุนัขจิ้งจอก
เป็นสัตว์ต่ำทรามกว่ามฤคชาติทั้งหลายที่กำลังหอนอยู่
สีหะทั้งหลายรังเกียจชาติของมันจึงนั่งนิ่งเฉยอยู่
ทัททรชาดกที่ ๒ จบ

๓. มักกฏชาดก (๑๗๓)
ว่าด้วยลิงปลอมเป็นดาบส
(ดาบสกุมารเห็นลิงปลอมเป็นดาบสแก่หนาวสั่นอยู่ไม่รู้ว่าเป็นลิง คิดจะให้เข้า
ไปผิงไฟในบรรณศาลา จึงพูดกับบิดาว่า)
[๔๕] ข้าแต่พ่อ พระดาบสรูปนั้นยืนพิงต้นตาลอยู่
อาศรมของเรานี้ก็มีอยู่ เราให้อาศรมเพื่อให้เขาอยู่เถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒. ทุกนิบาต] ๓. กัลยาณวรรค ๗. ตินทุกชาดก (๑๗๗)
(ดาบสบิดาโพธิสัตว์ฟังคำของลูกแล้ว จึงกล่าวว่า)
[๔๖] ลูกเอ๋ย เจ้าอย่าเรียกมันมาเลย
มันเข้ามาแล้วพึงทำลายอาศรมของเรา
หน้าตาของพราหมณ์ผู้มีศีลไม่ได้เป็นเช่นนั้นหรอก
มักกฏชาดกที่ ๓ จบ

๔. ทุพภิยมักกฏชาดก (๑๗๔)
ว่าด้วยลิงผู้มักประทุษร้ายมิตร
(พราหมณ์โพธิสัตว์เห็นกิริยาของลิง จึงกล่าวติเตียนว่า)
[๔๗] ข้าได้ให้น้ำอันเพียงพอแก่เจ้าผู้ถูกความร้อน
ในฤดูร้อนแผดเผา กระหายอยู่
บัดนี้ เจ้าดื่มแล้วยังกระทำเสียงเจี๊ยก ๆ อยู่อีก
การคบหากับคนชั่วไม่ประเสริฐเลย
(ลิงผู้มักประทุษร้ายมิตรได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวผูกอาฆาตว่า)
[๔๘] ท่านเคยได้ยินหรือเคยได้เห็นมาบ้างไหมว่า
ลิงตัวไหนที่ชื่อว่าเป็นสัตว์มีศีล
บัดนี้ เราจะถ่ายอุจจาระรดศีรษะท่าน
นี้เป็นธรรมดาของเรา
ทุพภิยมักกฏชาดกที่ ๔ จบ

๕. อาทิจจุปัฏฐานชาดก (๑๗๕)
ว่าด้วยลิงไหว้พระอาทิตย์
(พวกมนุษย์เห็นกิริยาของลิงผู้ทำเป็นเหมือนบำเพ็ญตบะและเหมือนจำศีล จึง
กล่าวสรรเสริญว่า)
[๔๙] เล่ากันมาว่า บรรดาสัตว์ทั้งมวล สัตว์ที่ตั้งมั่นอยู่ในศีลมีอยู่
ท่านจงดูลิงสาขะผู้ต่ำทราม มันยืนไหว้พระอาทิตย์อยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒. ทุกนิบาต] ๓. กัลยาณวรรค ๗. ตินทุกชาดก (๑๗๗)
(ฤๅษีโพธิสัตว์เห็นพวกมนุษย์พากันสรรเสริญลิง จึงกล่าวเตือนว่า)
[๕๐] ท่านทั้งหลายไม่รู้ปกติของมัน
เพราะไม่รู้จึงพากันสรรเสริญ
โรงไฟก็ถูกมันเผา
และคนโทน้ำ ๒ ลูกก็ถูกมันทำลาย
อาทิจจุปัฏฐานชาดกที่ ๕ จบ

๖. กฬายมุฏฐิชาดก (๑๗๖)
ว่าด้วยลิงซัดลูกเดือยทิ้งทั้งกำมือ
(อำมาตย์โพธิสัตว์ผู้สำเร็จราชกิจกราบทูลถึงความประพฤติของลิงว่า)
[๕๑] ข้าแต่พระองค์ผู้จอมชน ลิงที่เที่ยวไปตามกิ่งไม้นี้
เป็นลิงโง่แท้ ๆ ลิงตัวนี้ไม่มีปัญญา
มันซัดลูกเดือยทั้งกำจนหมด
แล้วเที่ยวหาลูกเดือยที่ตกลงไปยังพื้นดินกินทีละเม็ด
(ครั้นพระโพธิสัตว์กราบทูลอย่างนี้แล้ว จึงกราบทูลว่า)
[๕๒] ข้าแต่มหาราช พวกเราก็ดี ชนเหล่าอื่นก็ดี
ที่มีความโลภจัด จะเสื่อมจากประโยชน์ส่วนมาก
เพราะประโยชน์ส่วนน้อยเหมือนลิงเสื่อมจากลูกเดือย
กฬายมุฏฐิชาดกที่ ๖ จบ

๗. ตินทุกชาดก (๑๗๗)
ว่าด้วยอุบายกินผลมะพลับ
(ฝูงลิง ๘๐,๐๐๐ ตัวเห็นพวกมนุษย์ ตกใจกลัวตาย จึงไปบอกพญาวานร-
โพธิสัตว์ว่า)
[๕๓] พวกมนุษย์ถือคันธนูและกำลูกธนู ถือดาบอันคมกริบ
พากันล้อมพวกเราไว้ เราจักพ้นได้อย่างไรหนอ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒. ทุกนิบาต] ๓. กัลยาณวรรค ๑๐. ทุทททชาดก (๑๘๐)
(พญาวานรโพธิสัตว์ได้ฟังคำของพวกลิงแล้วได้ปลอบว่า)
[๕๔] พวกมนุษย์มีกิจการงานมาก
ประโยชน์บางอย่างจะพึงเกิดขึ้นอย่างแน่นอน
เวลาที่จะช่วงชิงเอาผลไม้ยังมีอยู่
พวกท่านจงเคี้ยวกินผลมะพลับนั้นเถิด
ตินทุกชาดกที่ ๗ จบ

๘. กัจฉปชาดก (๑๗๘)
ว่าด้วยเต่าสอนธรรม
(เต่าถูกช่างหม้อโพธิสัตว์ใช้จอบขุดทิ้งไว้บนบกได้รับเวทนา จึงได้พูดคร่ำครวญว่า)
[๕๕] เปือกตมนี้เป็นที่เกิดเป็นที่เติบโตของเรา
เพราะเหตุนั้น เราจึงได้อาศัยอยู่ในเปือกตม
เปือกตมจึงได้ทับถมเรานั้นให้ทุพพลภาพ
ท่านภัคคะ เพราะเหตุนั้น ท่านจงฟังคำของเรา
เราจะกล่าวกับท่าน
[๕๖] ในบ้านก็ตาม ในป่าก็ตาม
สถานที่ใดบุคคลได้รับความสุข
สถานที่นั้นเป็นที่เกิดเป็นที่เจริญเติบโต
ของคนที่รู้จักเหตุอันควรและไม่ควร
บุคคลมีชีวิตอยู่ได้ในสถานที่ใด พึงไป ณ สถานที่นั้น
ไม่พึงให้ที่อยู่ทำลายตนเสียเลย
กัจฉปชาดกที่ ๘ จบ

๙. สตธัมมชาดก (๑๗๙)
ว่าด้วยสตธรรมมาณพ
(มาณพผู้ถือชาติสกุลบริโภคอาหารที่เป็นเดนแล้วคร่ำครวญว่า)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒. ทุกนิบาต] ๓. กัลยาณวรรค ๑๐. ทุทททชาดก (๑๘๐)
[๕๗] อาหารที่เราบริโภคแล้วนั้นเป็นของน้อยด้วย เป็นเดนด้วย
และเขาได้ให้อาหารนั้นแก่เราโดยยากแสนยากด้วย
เรานั้นเกิดเป็นพราหมณ์ เพราะเหตุนั้น
อาหารที่เราบริโภคเข้าไปแล้วจึงได้อาเจียนออกมา
(พระศาสดาทรงแสดงเรื่องอดีตนี้แล้ว ตรัสเตือนภิกษุทั้งหลายว่า)
[๕๘] ผู้ใดละทิ้งธรรม มีชีวิตอยู่โดยอธรรม
ผู้นั้นย่อมไม่เพลิดเพลินยินดีลาภแม้ที่ตนได้มาแล้ว
เหมือนสตธรรมพราหมณ์
สตธัมมชาดกที่ ๙ จบ

๑๐. ทุทททชาดก (๑๘๐)
ว่าด้วยสัตบุรุษให้ทานที่ให้ได้ยาก
(ฤๅษีโพธิสัตว์กล่าวสรรเสริญทานที่ทายกถวายด้วยจิตเลื่อมใสมีผลมากแล้ว
จึงอนุโมทนาว่า)
[๕๙] อสัตบุรุษทั้งหลายเมื่อจะให้ทานชื่อว่าให้ได้ยาก
เมื่อจะกระทำกรรมก็ชื่อว่าทำได้ยาก
ธรรมของสัตบุรุษทั้งหลายพวกอสัตบุรุษรู้ได้ยาก
และพวกอสัตบุรุษก็ทำตามได้ยาก
[๖๐] เพราะฉะนั้น สัตบุรุษและอสัตบุรุษ
จึงมีคติที่ไปจากโลกนี้ต่างกัน คือ
พวกอสัตบุรุษย่อมไปสู่นรก พวกสัตบุรุษย่อมไปสู่สวรรค์๑
ทุทททชาดกที่ ๑๐ จบ
กัลยาณวรรคที่ ๓ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดู ขุ.ชา. (แปล) ๒๘/๒๒๘๖-๒๒๘๗/๕๓๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒. ทุกนิบาต] ๔. อสทิสวรรค ๔. คิริทัตตชาดก (๑๘๔)
รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. กัลยาณธรรมชาดก ๒. ทัททรชาดก
๓. มักกฏชาดก ๔. ทุพภิยมักกฏชาดก
๕. อาทิจจุปัฏฐานชาดก ๖. กฬายมุฏฐิชาดก
๗. ตินทุกชาดก ๘. กัจฉปชาดก
๙. สตธัมมชาดก ๑๐. ทุทททชาดก

๔. อสทิสวรรค
หมวดว่าด้วยอสทิสกุมาร
๑. อสทิสชาดก (๑๘๑)
ว่าด้วยอสทิสกุมาร
(พระศาสดาตรัสเล่าเรื่องอสทิสราชกุมารโพธิสัตว์ทรงขับพระราชาเจ็ดพระนคร
ให้หนีไป ได้ชัยชนะแล้ว ผนวชเป็นฤๅษีกับภิกษุทั้งหลาย จึงตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า)
[๖๑] อสทิสราชบุตรทรงเป็นนักแม่นธนู
มีพลังมาก ยิงได้ไกล ยิงได้อย่างรวดเร็ว
และแม่นยำ ทำลายเป้าใหญ่ ๆ ได้
[๖๒] พระองค์ทรงทำการรบให้ข้าศึกทั้งหมดหนีไป
แต่ไม่เบียดเบียนใคร ๆ
ช่วยพระอนุชาให้ถึงความสวัสดีแล้ว
ทรงเข้าถึงความสำรวม๑
อสทิสชาดกที่ ๑ จบ

๒. สังคามาวจรชาดก (๑๘๒)
ว่าด้วยช้างเข้าสู่สงคราม
(พระโพธิสัตว์ผู้เป็นคนฝึกช้างของพระราชาสอนช้างว่า)

เชิงอรรถ :
๑ ความสำรวม หมายถึงออกผนวช (ขุ.ชา.อ. ๓/๖๒/๙๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒. ทุกนิบาต] ๔. อสทิสวรรค ๔. คิริทัตตชาดก (๑๘๔)
[๖๓] พญากุญชร ท่านได้ชื่อว่าเจนสงคราม กล้าหาญ มีกำลังมาก
ทำไมหนอ มาใกล้เขื่อนประตูแล้วจึงถอยกลับเสียเล่า
[๖๔] พญากุญชร ท่านจงหักลิ่มกลอน จงถอนเสาระเนียด
จงเหยียบทำลายซุ้มประตู และจงเข้าไปในเมืองโดยเร็ว
สังคามาวจรชาดกที่ ๒ จบ

๓. วาโลทกชาดก (๑๘๓)
ว่าด้วยลากินน้ำหาง
(พระราชาตรัสเรียกอำมาตย์โพธิสัตว์ผู้อยู่ใกล้มา ตรัสถามกิริยาของพวกลาว่า)
[๖๕] เพราะดื่มน้ำหางอันมีรสน้อย อันเป็นน้ำเลว
ความเมาจึงเกิดแก่พวกลา
แต่ความเมาก็ไม่เกิดขึ้นแก่ม้าสินธพ
เพราะดื่มน้ำมีรสอันประณีตนี้
(พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า)
[๖๖] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมชน ลานั้นมีชาติเลวทราม
ดื่มน้ำมีรสน้อย อันรสนั้นถูกต้องแล้วย่อมเมา
ส่วนม้าสินธพเกิดในตระกูล มีปกตินำพาธุระ
ดื่มน้ำมีรสอันเลิศแล้ว ก็ไม่เมา
วาโลทกชาดกที่ ๓ จบ

๔. คิริทัตตชาดก (๑๘๔)
ว่าด้วยม้าเลียนแบบนายคิริทัตต์
(อำมาตย์โพธิสัตว์ตรวจดูอาการของม้าพิการแล้ว กราบทูลพระราชาว่า)
[๖๗] ม้ามงคลชื่อปัณฑวะของพระเจ้าสาม
ถูกนายคิริทัตต์ประทุษร้ายแล้ว
จึงละปกติเดิมของตน เลียนแบบนายคิริทัตต์นั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒. ทุกนิบาต] ๔. อสทิสวรรค ๗. จตุมัฏฐชาดก (๑๘๗)
(พระโพธิสัตว์กราบทูลให้หาคนเลี้ยงม้าที่ดีมาว่า)
[๖๘] ถ้าคนประกอบด้วยอาการอันงดงามที่สมควรแก่ม้านั้น
พึงจับม้านั้นที่บังเหียน แล้วจูงไปรอบ ๆ สนามม้าไซร้
ม้านั้นจะละอาการเขยกแล้วเลียนแบบคนเลี้ยงม้านั้นโดยพลัน
คิริทัตตชาดกที่ ๔ จบ

๕. อนภิรติชาดก (๑๘๕)
ว่าด้วยจิตขุ่นมัวและไม่ขุ่นมัว
(อาจารย์ทิศาปาโมกข์โพธิสัตว์ถามมาณพผู้เป็นศิษย์ถึงสาเหตุที่มนต์เสื่อม
หายไปแล้ว จึงกล่าวว่า)
[๖๙] เมื่อน้ำขุ่น ไม่ใส บุคคลย่อมไม่เห็นหอยโข่ง หอยกาบ
ก้อนกรวด เม็ดทราย และฝูงปลา ฉันใด
เมื่อจิตขุ่นมัว บุคคลก็ย่อมไม่เห็นประโยชน์ตน
และประโยชน์ผู้อื่น ฉันนั้น
[๗๐] เมื่อน้ำใสสะอาด บุคคลย่อมเห็นหอยโข่ง หอยกาบ
ก้อนกรวด เม็ดทราย และฝูงปลา ฉันใด
เมื่อจิตไม่ขุ่นมัว บุคคลก็ย่อมเห็นประโยชน์ตน
และประโยชน์ผู้อื่น ฉันนั้น
อนภิรติชาดกที่ ๕ จบ

๖. ทธิวาหนชาดก (๑๘๖)
ว่าด้วยพระเจ้าทธิวาหนะ
(พระเจ้าทธิวาหนะตรัสถามพระโพธิสัตว์ว่า)
[๗๑] ในกาลก่อน มะม่วงนี้มีผิวสวย กลิ่นหอม
รสอร่อย ได้รับการบำรุงเหมือนเดิม
เพราะเหตุไร จึงกลับกลายเป็นมะม่วงที่มีรสขมไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒. ทุกนิบาต] ๔. อสทิสวรรค ๗. จตุมัฏฐชาดก (๑๘๗)
(อำมาตย์โพธิสัตว์กราบทูลแจ้งเหตุของมะม่วงนั้นว่า)
[๗๒] ข้าแต่พระเจ้าทธิวาหนะ
มะม่วงของพระองค์มีต้นสะเดาล้อมรอบ
รากกับรากเกี่ยวพันกัน กิ่งกับกิ่งประสานกัน
เพราะการเกี่ยวข้องกับต้นไม้ที่มีรสขมไม่น่าพอใจนั้น
มะม่วงต้นนี้จึงกลายเป็นไม้ที่มีรสขมไป
ทธิวาหนชาดกที่ ๖ จบ

๗. จตุมัฏฐชาดก (๑๘๗)
ว่าด้วยสุนัขจิ้งจอกมีเหตุชั่วช้า ๔ ประการ
(รุกขเทวดาโพธิสัตว์สนทนากับพญาหงส์ว่า)
[๗๓] ท่านทั้ง ๒ พากันขึ้นไปยังค่าคบไม้
อยู่ในที่ลับแล้วปรึกษากันบนต้นไม้สูง
เชิญท่านลงมาปรึกษากันข้างล่างเถิด
พญาเนื้อจะได้ฟังบ้าง
(ในเวลาที่ลูกหงส์ ๒ ตัวรังเกียจสุนัขจิ้งจอกแล้วพากันบินกลับไป พระโพธิสัตว์
จึงกล่าวว่า)
[๗๔] ครุฑกับครุฑพึงปรึกษากัน
เทวดากับเทวดาพึงปรึกษากัน
เรื่องนั้นจะมีประโยชน์อะไรแก่สุนัขจิ้งจอกชั่วช้า ๔ ประการ๑
นี่สุนัขจิ้งจอกชั่วช้า เจ้าจงเข้าโพรงไปเถิด
จตุมัฏฐชาดกที่ ๗ จบ

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า ชั่วช้า ๔ ประการ ได้แก่ (๑) รูปไม่งาม (๒) ชาติกำเนิดต่ำ (๓) เสียงไม่ไพเราะ (๔) ด้อยคุณธรรม
(ขุ.ชา.อ. ๓/๗๔/๑๐๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒. ทุกนิบาต] ๕. รุหกวรรค ๑. รุหกชาดก (๑๙๑)
๘. สีหโกตถุชาดก (๑๘๘)
ว่าด้วยตัวเหมือนราชสีห์แต่เสียงไม่เหมือน
(ลูกราชสีห์โพธิสัตว์ตัวหนึ่งได้ยินเสียงลูกของสุนัขจิ้งจอก จึงถามพ่อว่า)
[๗๕] ราชสีห์ตัวนั้นมีนิ้วอย่างราชสีห์ มีเล็บอย่างราชสีห์
ยืนอยู่ด้วยเท้าราชสีห์เพียงตัวเดียวเท่านั้นในหมู่ราชสีห์
บันลือเสียงเพี้ยนไปเป็นอย่างอื่น
(ราชสีห์โพธิสัตว์บอกให้ลูก ๆ รู้ว่าเป็นพี่น้องกัน จึงสอนลูกสุนัขจิ้งจอกว่า)
[๗๖] นี่เจ้าลูกราชสีห์ เจ้าอย่าบันลืออีกเลย
จงเงียบเสียงอยู่ในป่าเถิด
พวกเขาจะพึงรู้จักเจ้าด้วยเสียงนั่นแหละ
เพราะเสียงของเจ้าไม่เหมือนกับเสียงของพ่อเจ้า
สีหโกตถุชาดกที่ ๘ จบ

๙. สีหจัมมชาดก (๑๘๙)
ว่าด้วยลาปลอมตัวเป็นราชสีห์
(พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นชาวนาได้ยินเสียงลาปลอมร้อง ก็รู้ว่าเป็นลา
จึงกล่าวคาถาว่า)
[๗๗] นั่นไม่ใช่เสียงบันลือของราชสีห์
ไม่ใช่เสียงของเสือโคร่ง ไม่ใช่เสียงของเสือเหลือง
ลาชั่วช้าคลุมตัวด้วยหนังราชสีห์ร้องอยู่
(พ่อค้ามาเห็นลาถึงความบอบช้ำ จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า)
[๗๘] ลาเอาหนังราชสีห์คลุมตัว
เคี้ยวกินข้าวเหนียวอันเขียวสดเป็นเวลานาน
มันร้องออกมานั้นแหละ จึงทำร้ายตัวเอง
สีหจัมมชาดกที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒. ทุกนิบาต] ๕. รุหกวรรค ๑. รุหกชาดก (๑๙๑)
๑๐. สีลานิสังสชาดก (๑๙๐)
ว่าด้วยอานิสงส์ของศีล
(เทวดาประจำสมุทรกล่าวถึงคุณของการสังสรรค์กับบัณฑิตว่า)
[๗๙] ดูเถิด นี้แหละผลของศรัทธา ศีล และจาคะ
พญานาคแปลงตนเป็นเรือนำอุบาสกผู้มีศรัทธาไป
[๘๐] พึงคบหาสัตบุรุษเท่านั้น พึงทำความสนิทสนมกับสัตบุรุษ
เพราะการอยู่ร่วมกับสัตบุรุษ นายช่างกัลบกจึงถึงความสวัสดี
สีลานิสังสชาดกที่ ๑๐ จบ
อสทิสวรรคที่ ๔ จบ

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อสทิสชาดก ๒. สังคามาวจรชาดก
๓. วาโลทกชาดก ๔. คิริทัตตชาดก
๕. อนภิรติชาดก ๖. ทธิวาหนชาดก
๗. จตุมัฏฐชาดก ๘. สีหโกตถุชาดก
๙. สีหจัมมชาดก ๑๐. สีลานิสังสชาดก

๕. รุหกวรรค
หมวดว่าด้วยรุหกปุโรหิต
๑. รุหกชาดก (๑๙๑)
ว่าด้วยรุหกปุโรหิต
(พระราชาโพธิสัตว์ทรงหวังจะให้รุหกปุโรหิตยกโทษให้นางพราหมณี จึงตรัสว่า)
[๘๑] พ่อมหาจำเริญรุหกะ สายธนูที่ขาดไปแล้วก็ยังต่อให้ติดอีกได้
ท่านจงคืนดีกับภรรยาเก่าเถิด อย่าลุอำนาจแห่งความโกรธเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒. ทุกนิบาต] ๕. รุหกวรรค ๔. มณิโจรชาดก (๑๙๔)
(รุหกปุโรหิตได้ฟังพระดำรัสนั้น จึงกราบทูลว่า)
[๘๒] เมื่อสายป่านยังมีอยู่ นายช่างผู้กระทำสายธนูก็มีอยู่
ข้าพระองค์จักกระทำสายธนูใหม่
พอกันทีสำหรับสายธนูเก่า
รุหกชาดกที่ ๑ จบ

๒. สิริกาฬกัณณิชาดก (๑๙๒)
ว่าด้วยสิริกับกาฬกัณณี
(พระราชาตรัสถามเสนกบัณฑิตว่า)
[๘๓] หญิงที่มีรูปงาม มีกิริยามารยาท
และความประพฤติเรียบร้อย ชายไม่พึงปรารถนาเธอ
ท่านเชื่อไหมล่ะ พ่อมโหสธบัณฑิต
(เสนกบัณฑิตฟังพระดำรัสนั้นแล้ว จึงกราบทูลว่า)
[๘๔] ข้าแต่มหาราช ข้าพระองค์เชื่อ พระเจ้าข้า
ชายนั้นคงเป็นคนต่ำต้อย
เพราะสิริกับกาฬกัณณีเข้ากันไม่ได้เลยไม่ว่าในกาลไหน ๆ
สิริกาฬกัณณิชาดกที่ ๒ จบ

๓. จูฬปทุมชาดก (๑๙๓)
ว่าด้วยพระเจ้าจูฬปทุม
(ปทุมกุมารโพธิสัตว์ได้สดับคำของชายาผู้ชั่วช้าแล้ว จึงตรัสว่า)
[๘๕] หญิงคนนี้แหละคือหญิงคนนั้น
แม้เราก็คือชายคนนั้น หาใช่คนอื่นไม่
ชายคนที่หญิงนี้อ้างว่าเป็นสามีของนางตั้งแต่ยังเป็นกุมารี
ก็คือชายที่ถูกตัดมือตัดเท้าคนนี้แหละ หาใช่คนอื่นไม่
ขึ้นชื่อว่าหญิงควรฆ่าทั้งนั้น สัจจะไม่มีในหญิงทั้งหลาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒. ทุกนิบาต] ๕. รุหกวรรค ๔. มณิโจรชาดก (๑๙๔)
[๘๖] พวกท่านจงตีชายชั่วช้า หยาบคาย คล้ายซากศพ
มักเป็นชู้กับภรรยาคนอื่นคนนี้เสียด้วยสาก
จงตัดใบหูและจมูกของหญิงผู้ปรนนิบัติสามี
ที่ชั่วช้านั้นคนนี้เสียยังเป็น ๆ เถิด
จูฬปทุมชาดกที่ ๓ จบ

๔. มณิโจรชาดก (๑๙๔)
ว่าด้วยพระเจ้าอธรรมิกราชลงโทษโจรลักแก้วมณี
(นางสุชาดาเห็นคหบดีโพธิสัตว์ถูกเฆี่ยน รำลึกถึงคุณแห่งศีลของตนแล้ว จึง
กล่าวว่า)
[๘๗] เทวดาทั้งหลาย๑ไม่มีหรือไม่อยู่เป็นแน่
เมื่อมีกิจเห็นปานนี้เกิดขึ้น
เทวดาทั้งหลายก็พากันไปค้างแรมเสียแน่
อนึ่ง ท่านผู้รักษาโลกก็ไม่มีอยู่ในโลกนี้แน่นอน
เมื่อคนทุศีลทั้งหลายกระทำกรรมอันหยาบช้าอยู่
คนทั้งหลายผู้ห้ามปรามก็ไม่มีแน่นอน
(ท้าวสักกะถวายโอวาทแก่พระราชาว่า)
[๘๘] ในรัชสมัยของพระราชาผู้ไม่ทรงธรรม
ในกาลไม่สมควรตก ฝนก็ตก
ในกาลสมควรจะตก ฝนก็ไม่ตก
พระราชาผู้ไม่ทรงธรรม จุติจากโลกสวรรค์
พระราชาพระองค์นั้นถูกทำลายแล้ว
เพราะเหตุแห่งความชั่วมีประมาณเท่านี้แน่นอน
มณิโจรชาดกที่ ๔ จบ

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า เทวดาทั้งหลาย ในที่นี้ หมายถึงเทวดาผู้คอยดูแลคนมีศีล และห้ามปรามคนทำชั่ว (ขุ.ชา.อ.
๓/๘๗/๑๒๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒. ทุกนิบาต] ๕. รุหกวรรค ๙. คหปติชาดก (๑๙๙)
๕. ปัพพตูปัตถรชาดก (๑๙๕)
ว่าด้วยสระโบกขรณีที่เชิงเขา
(พระราชาตรัสถามปัญหากับอำมาตย์โพธิสัตว์ว่า)
[๘๙] สระโบกขรณีมีน้ำเย็น รสอร่อย
เกิดอยู่ที่เนินหินเชิงภูเขาหิมพานต์ น่ารื่นรมย์
สุนัขจิ้งจอกรู้อยู่ว่า ราชสีห์รักษาสระโบกขรณีนั้นไว้
ก็ยังลงไปดื่มกิน
(อำมาตย์โพธิสัตว์ทราบว่า อำมาตย์คนหนึ่งจะก่อเหตุร้ายภายในพระราชวัง
จึงกราบทูลว่า)
[๙๐] ข้าแต่มหาราช ถ้าสัตว์มีเท้าทั้งหลายพากันดื่มน้ำในมหานที
แม่น้ำจะไม่ชื่อว่าเป็นแม่น้ำเพราะเหตุนั้นก็หาไม่
หากว่าชน ๒ คนนั้นเป็นที่รัก
ขอพระองค์ทรงงดโทษเสียเถิด
ปัพพตูปัตถรชาดกที่ ๕ จบ

๖. วลาหกัสสชาดก (๑๙๖)
ว่าด้วยความปลอดภัยเกิดจากม้าวลาหก
(พระศาสดาทรงนำอดีตนิทานมาแสดงแล้ว จึงได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า)
[๙๑] คนเหล่าใดไม่ทำตามโอวาทที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้
คนเหล่านั้นจักถึงความพินาศ
เหมือนพวกพ่อค้าที่ถูกพวกนางรากษสประเล้าประโลม
[๙๒] ส่วนคนเหล่าใดทำตามโอวาทที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้
คนเหล่านั้นจักปลอดภัย
เหมือนพวกพ่อค้าที่เชื่อฟังคำของพญาม้าวลาหก
วลาหกัสสชาดกที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒. ทุกนิบาต] ๕. รุหกวรรค ๙. คหปติชาดก (๑๙๙)
๗. มิตตามิตตชาดก (๑๙๗)
ว่าด้วยอาการของผู้เป็นมิตรและมิใช่มิตร
(ฤๅษีโพธิสัตว์บอกเหตุแก่ดาบสทั้งหลายว่า)
[๙๓] บุคคลเห็นคนผู้เป็นศัตรูกันแล้วย่อมไม่ยิ้มแย้ม
ไม่ชื่นชมศัตรูนั้น เมื่อสบตากันก็เบือนหน้าไปทางอื่น
และประพฤติตรงกันข้าม
[๙๔] อาการทั้งหลายปรากฏที่ศัตรู
บัณฑิตเห็นแล้ว ฟังแล้วซึ่งอาการเหล่านั้น
พึงรู้ได้ว่า ผู้นี้เป็นศัตรูของเรา
มิตตามิตตชาดกที่ ๗ จบ

๘. ราธชาดก (๑๙๘)
ว่าด้วยนกราธโพธิสัตว์
(พราหมณ์ถามนกราธโพธิสัตว์ว่า)
[๙๕] ลูกเอ๋ย พ่อเพิ่งกลับมาจากที่ค้างแรม มาถึงเดี๋ยวนี้เอง
ยังไม่นานนักลูกเอ๋ย แม่ของเจ้าไม่ไปคบหาชายอื่นหรือ
(นกราธโพธิสัตว์แจ้งให้พราหมณ์ทราบว่า)
[๙๖] ธรรมดาบัณฑิตเมื่อกล่าวคำจริง
แต่คำนั้นเป็นการกล่าวถึงความไม่ดีจะพึงหมกไหม้
เหมือนนกแขกเต้าชื่อโปฏฐปาทะหมกไหม้อยู่ที่เถ้าไฟในเตา
ราธชาดกที่ ๘ จบ

๙. คหปติชาดก (๑๙๙)
ว่าด้วยคหบดีโพธิสัตว์
(คหบดีโพธิสัตว์เห็นกิริยาของภรรยาและชายชู้ เมื่อจะประกาศเนื้อความนั้น
จึงกล่าวว่า)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒. ทุกนิบาต] ๖. นตังทัฬหวรรค ๒. เกฬิสีลชาดก (๒๐๒)
[๙๗] เหตุทั้ง ๒ ประการไม่ควรแก่เรา เราไม่ชอบใจเลย
ก็หญิงนี้ลงไปในฉางข้าวแล้ว ยังพูดว่า ฉันยังใช้คืนท่านไม่ได้
[๙๘] นี่ท่านผู้ใหญ่บ้าน เพราะเหตุนั้น ฉันจึงพูดกับท่าน
ในคราวเมื่อเรามีชีวิตฝืดเคือง ยากเข็ญ
ท่านได้ทำสัญญากำหนดไว้ ๒ เดือน
แล้วมาทวงเนื้อโคผอมแก่เมื่อยังไม่ถึงกำหนดเวลาสัญญา
เหตุทั้ง ๒ ประการนั้นฉันไม่ชอบใจเลย
คหปติชาดกที่ ๙ จบ

๑๐. สาธุสีลชาดก (๒๐๐)
ว่าด้วยเลือกเอาผู้มีศีล
(พราหมณ์ถามพระโพธิสัตว์ผู้เป็นอาจารย์ว่า)
[๙๙] ข้าพเจ้าขอถามท่านพราหมณ์ว่า บรรดาคน ๔ คน คือ
(๑) คนมีรูปงาม (๒) คนมีอายุ (๓) คนมีชาติสูง
(๔) คนมีศีลธรรม ท่านจะเลือกใครหนอ
(อาจารย์ฟังคำของพราหมณ์นั้นแล้วกล่าวว่า)
[๑๐๐] ร่างกายก็มีประโยชน์ ข้าพเจ้าขอทำความนอบน้อมต่อท่าน
ผู้เจริญวัย ชาติสูงก็มีประโยชน์ แต่ข้าพเจ้าชอบใจศีล
สาธุสีลชาดกที่ ๑๐ จบ
รุหกวรรคที่ ๕ จบ

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. รุหกชาดก ๒. สิริกาฬกัณณิชาดก
๓. จูฬปทุมชาดก ๔. มณิโจรชาดก
๕. ปัพพตูปัตถรชาดก ๖. วลาหกัสสชาดก
๗. มิตตามิตตชาดก ๘. ราธชาดก
๙. คหปติชาดก ๑๐. สาธุสีลชาดก


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒. ทุกนิบาต] ๖. นตังทัฬหวรรค ๒. เกฬิสีลชาดก (๒๐๒)
๖. นตังทัฬหวรรค
หมวดว่าด้วยเครื่องผูกที่มั่นคง
๑. พันธนาคารชาดก (๒๐๑)
ว่าด้วยเครื่องผูก
(ฤๅษีโพธิสัตว์เปล่งอุทานว่า)
[๑๐๑] นักปราชญ์ไม่กล่าวเครื่องผูกที่ทำด้วยเหล็ก ทำด้วยไม้
และทำด้วยหญ้าปล้องว่า เป็นเครื่องผูกที่มั่นคง
ส่วนความกำหนัดยินดีในแก้วมณีและต่างหูก็ดี
ความเยื่อใยในบุตรและภรรยาก็ดี
[๑๐๒] นักปราชญ์กล่าวเครื่องผูกที่ประกอบด้วยกิเลสนั่นว่า
เป็นเครื่องผูกที่มั่นคง คร่าสัตว์ให้ตกต่ำ ย่อหย่อน แก้ได้ยาก
นักปราชญ์ทั้งหลายตัดเครื่องผูกนั้นได้ขาด
หมดความเยื่อใย ละความสุขในกามเสียแล้วหลีกไป
พันธนาคารชาดกที่ ๑ จบ

๒. เกฬิสีลชาดก (๒๐๒)
ว่าด้วยผู้มีปกติมัวเมาในการเล่น
(พระศาสดาทรงนำอดีตนิทานมาแสดงแล้ว จึงได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า)
[๑๐๓] พวกหงส์ก็ดี นกกระเรียนก็ดี นกยูงก็ดี
ช้างก็ดี เนื้อฟานก็ดี กลัวราชสีห์ด้วยกันทั้งนั้น
ร่างกายไม่ถือเป็นประมาณ
[๑๐๔] ในหมู่มนุษย์ก็เหมือนกัน
แม้เด็กถ้ามีปัญญาก็เป็นผู้ใหญ่ได้
ส่วนคนพาลถึงจะมีร่างกายใหญ่โตก็เป็นผู้ใหญ่ไม่ได้
เกฬิสีลชาดกที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒. ทุกนิบาต] ๖. นตังทัฬหวรรค ๕. คังเคยยชาดก (๒๐๕)
๓. ขันธชาดก (๒๐๓)
ว่าด้วยขันธปริตรป้องกันสัตว์ร้ายต่าง ๆ ได้
(ฤๅษีโพธิสัตว์สอนดาบสทั้งหลายให้เจริญเมตตาในพญางูทั้ง ๔ ว่า)
[๑๐๕] เราขอมีเมตตากับตระกูลพญางูวิรูปักษ์
เราขอมีเมตตากับตระกูลพญางูเอราปถะ
เราขอมีเมตตากับตระกูลพญางูฉัพยาบุตร
เราขอมีเมตตากับตระกูลพญางูกัณหาโคตมกะ
เราขอมีเมตตากับสัตว์ไม่มีเท้า เราขอมีเมตตากับสัตว์สองเท้า
เราขอมีเมตตากับสัตว์สี่เท้า เราขอมีเมตตากับสัตว์มีหลายเท้า
สัตว์ไม่มีเท้าอย่าได้เบียดเบียนเรา
สัตว์สองเท้าอย่าได้เบียดเบียนเรา สัตว์สี่เท้าอย่าได้เบียดเบียนเรา
สัตว์มีหลายเท้าอย่าได้เบียดเบียนเรา
ขอสรรพสัตว์ที่มีลมหายใจ
ขอสรรพสัตว์ที่ยังมีชีวิตทั้งมวลจงพบกับความเจริญ
ความชั่วช้าอย่าได้มาแผ้วพานสัตว์ตนใดตนหนึ่งเลย๑
[๑๐๖] พระพุทธเจ้ามีพระคุณหาประมาณมิได้
พระธรรมมีพระคุณหาประมาณมิได้
พระสงฆ์มีพระคุณหาประมาณมิได้
สัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย คือ งู แมงป่อง
ตะขาบ แมงมุม ตุ๊กแก หนู มีคุณพอประมาณได้
เราทำการรักษา ทำการป้องกันไว้แล้ว
ขอหมู่สัตว์ผู้มีชีวิตทั้งหลายจงหลีกไป
เรานั้นขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาค
ขอนอบน้อมพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้ง ๗ พระองค์
ขันธชาดกที่ ๓ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ. จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๖๗/๑๑๑-๑๑๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒. ทุกนิบาต] ๖. นตังทัฬหวรรค ๕. คังเคยยชาดก (๒๐๕)
๔. วีรกชาดก (๒๐๔)
ว่าด้วยกาวีรกโพธิสัตว์
(นางกาเมียของกาสวิฏฐกะไม่เห็นกาสวิฏฐกะกลับมา จึงถามกาวีรกโพธิสัตว์
ว่า)
[๑๐๗] ท่านวีรกะ ท่านเห็นนกชื่อสวิฏฐกะ
ผัวข้าพเจ้าที่ร้องด้วยเสียงอันไพเราะ
มีสร้อยคอสีคล้ายสร้อยคอนกยูงบ้างไหม
(กาวีรกโพธิสัตว์กล่าวว่า)
[๑๐๘] กาสวิฏฐกะเมื่อทำตามปักษีที่มีปกติเที่ยวหากิน
ทั้งทางน้ำและทางบก กินปลาดิบอยู่เป็นนิตย์
ถูกสาหร่ายพันคอตายแล้ว
วีรกชาดกที่ ๔ จบ

๕. คังเคยยชาดก (๒๐๕)
ว่าด้วยเต่างามกว่าปลาในแม่น้ำคงคา
(เต่ากล่าวกับปลาว่า)
[๑๐๙] ปลาที่อยู่ในแม่น้ำคงคาก็งาม
ถึงปลาที่อยู่ในแม่น้ำยมุนาก็งาม
แต่สัตว์สี่เท้ามีสัณฐานกลมคล้ายต้นไทร
มีคอยื่นออกมานิดหน่อยตัวนี้สง่างามกว่าใครทั้งหมด
(ปลากล่าวว่า)
[๑๑๐] ท่านไม่ตอบเหตุที่เราถาม
ท่านถูกถามอย่างหนึ่ง กลับตอบไปเสียอีกอย่างหนึ่ง
คนที่ยกย่องตนเอง พวกเราไม่ชอบใจเลย
คังเคยยชาดกที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒. ทุกนิบาต] ๖. นตังทัฬหวรรค ๙. กุกกุฏชาดก (๒๐๙)
๖. กุรุงคมิคชาดก (๒๐๖)
ว่าด้วยนกและเต่าช่วยกวาง
(นกสตปัตตะช่วยกวางให้พ้นจากบ่วงแล้ว จึงกล่าวว่า)
[๑๑๑] เอาเถิดเต่าเอ๋ย เจ้าจงใช้ฟันกัดบ่วงหนัง
ส่วนเราจักกระทำโดยวิธีที่นายพรานจะมาไม่ถึง
(พระศาสดาตรัสพระคาถาที่ ๒ ว่า)
[๑๑๒] เต่าก็ลงน้ำ กวางก็เข้าป่า
ส่วนนกสตปัตตะกลับมาถึงต้นไม้แล้ว
ได้พาลูก ๆ หนีไปอยู่แสนไกล
กุรุงคมิคชาดกที่ ๖ จบ

๗. อัสสกชาดก (๒๐๗)
ว่าด้วยพระนางอุพพรีเทวีของพระเจ้าอัสสกะ
(พระนางอุพพรีเทวีของพระเจ้าอัสสกะสวรรคตไปเกิดเป็นหนอน ได้กล่าว
คาถาภาษามนุษย์ในท่ามกลางบริษัทว่า)
[๑๑๓] สถานที่นี้ข้าพเจ้าได้เที่ยวเล่น
กับพระเจ้าอัสสกะพระสวามีสุดที่รัก
ผู้มีพระประสงค์ตามความใคร่
[๑๑๔] ความสุขและความทุกข์เก่า ๆ
ถูกความสุขและความทุกข์ใหม่ ๆ ปิดบังไว้
เพราะฉะนั้น แมลงจึงเป็นที่รักของข้าพเจ้า
ยิ่งกว่าพระเจ้าอัสสกะเสียอีก
อัสสกชาดกที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒. ทุกนิบาต] ๖. นตังทัฬหวรรค ๙. กุกกุฏชาดก (๒๐๙)
๘. สุงสุมารชาดก (๒๐๘)
ว่าด้วยปัญญาของจระเข้
(พญาวานรโพธิสัตว์ได้กล่าวกับจระเข้ว่า)
[๑๑๕] อย่าเลยสำหรับมะม่วง ผลหว้า
และผลขนุนที่ท่านเห็นที่สมุทรฝั่งโน้น
ผลมะเดื่อของเราประเสริฐกว่า
[๑๑๖] ร่างกายของท่านใหญ่โตเสียเปล่า
แต่ปัญญาไม่สมกับร่างกายเลย
นี่จระเข้ เจ้าถูกเราลวงแล้ว
บัดนี้เจ้าจงไปตามสบายเถิด
สุงสุมารชาดกที่ ๘ จบ

๙. กุกกุฏชาดก (๒๐๙)
ว่าด้วยไก่
(ไก่ต้องการจะให้นายพรานละอายใจ จึงพูดเป็นภาษามนุษย์ว่า)
[๑๑๗] ต้นหูกวาง ต้นสมอพิเภกในป่า
ข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว
ต้นไม้เหล่านั้นไม่สามารถจะเคลื่อนที่ได้เหมือนกับท่าน
(นายพรานกล่าวว่า)
[๑๑๘] ไก่ตัวนี้คือไก่ตัวเก่าที่แหกกรงหนีมา
เป็นไก่ที่ฉลาด หลบหนีจากบ่วงหางสัตว์มาได้
และยังขันเยาะเย้ยเสียอีก
กุกกุฏชาดกที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒. ทุกนิบาต] ๗. พีรณถัมภกวรรค ๒. อุจฉิฏฐภัตตชาดก (๒๑๒)
๑๐. กันทคลกชาดก (๒๑๐)
ว่าด้วยนกหัวขวานตายเพราะไม้แก่น
(นกหัวขวานกันทคลกะตกลงที่พื้นดินแล้ว กล่าวกับนกหัวขวานขทิรวนิย-
โพธิสัตว์ว่า)
[๑๑๙] ท่านขทิรวนิยะผู้เจริญ ต้นไม้ต้นนี้
มีใบเกลี้ยง มีหนาม ชื่อต้นอะไร
กระหม่อมของข้าพเจ้าแตก
เพราะการเจาะต้นไม้นี้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น
(นกหัวขวานขทิรวนิยโพธิสัตว์ฟังคำรำพันของนกหัวขวานกันทคลกะแล้ว จึง
กล่าวว่า)
[๑๒๐] นกหัวขวานตัวนี้ชื่อกันทคลกะ เมื่อจะเจาะหมู่ไม้ในป่า
ได้บินท่องเที่ยวไปในหมู่ไม้แห้งที่ไม่มีแก่น
ต่อมาภายหลัง ได้มาพบไม้ตะเคียนซึ่งมีแก่นโดยธรรมชาติ
ได้ทำลายกระหม่อมที่ต้นตะเคียนนั้นแล้ว
กันทคลกชาดกที่ ๑๐ จบ
นตังทัฬหวรรคที่ ๖ จบ

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. พันธนาคารชาดก ๒. เกฬิสีลชาดก
๓. ขันธชาดก ๔. วีรกชาดก
๕. คังเคยยชาดก ๖. กุรุงคมิคชาดก
๗. อัสสกชาดก ๘. สุงสุมารชาดก
๙. กุกกุฏชาดก ๑๐. กันทคลกชาดก


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒. ทุกนิบาต] ๗. พีรณถัมภกวรรค ๒. อุจฉิฏฐภัตตชาดก (๒๑๒)
๗. พีรณถัมภกวรรค
หมวดว่าด้วยป่าช้าพีรณถัมภกะ
๑. โสมทัตตชาดก (๒๑๑)
ว่าด้วยพราหมณ์ชื่อโสมทัตต์
(พราหมณ์โสมทัตตโพธิสัตว์กล่าวกับพ่อว่า)
[๑๒๑] พ่อเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่เป็นนิตย์
ได้กระทำความเพียรอยู่ในป่าช้าที่ชื่อพีรณถัมภกะตลอดทั้งปี
ครั้นเข้าสู่ที่ประชุมบริษัทกลับพูดอีกอย่างหนึ่ง
ความเพียรป้องกันผู้ปราศจากปัญญาไม่ได้
(พราหมณ์ผู้เป็นบิดากล่าวว่า)
[๑๒๒] พ่อโสมทัตต์ ขึ้นชื่อว่าผู้ขอย่อมได้ผล ๒ อย่าง คือ
(๑) ไม่ได้ทรัพย์ (๒) ได้ทรัพย์
เพราะว่าการขอมีสภาพเช่นนี้เป็นธรรมดา
โสมทัตตชาดกที่ ๑ จบ

๒. อุจฉิฏฐภัตตชาดก (๒๑๒)
ว่าด้วยพราหมณ์บริโภคอาหารที่เป็นเดน
(พราหมณ์ถามนางพราหมณีว่า)
[๑๒๓] ข้าวข้างบนมีอุณหภูมิอย่างหนึ่ง
ข้าวข้างล่างมีอุณหภูมิอย่างหนึ่ง
แม่พราหมณี ฉันขอถามเธอหน่อยเถิด
ทำไมข้าวข้างล่างจึงเย็น ส่วนข้าวข้างบนจึงร้อน
(บุตรนักฟ้อนโพธิสัตว์ได้บอกพฤติกรรมทั้งหมดกับพราหมณ์ว่า)
[๑๒๔] ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเป็นนักฟ้อนรำเที่ยวขอมาจนถึงที่นี่
ส่วนชายชู้ของนางพราหมณีนี้ลงไปซ่อนตัวอยู่ในฉางข้าว
คนที่ท่านเสาะแสวงหานั้นก็คือชายชู้นี้แหละ
อุจฉิฏฐภัตตชาดกที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒. ทุกนิบาต] ๗. พีรณถัมภกวรรค ๖. มัจฉชาดก (๒๑๖)
๓. ภรุราชชาดก (๒๑๓)
ว่าด้วยพระราชาแคว้นภรุ
(พระศาสดาทรงนำเรื่องอดีตมาแล้ว ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า)
[๑๒๕] ตถาคตได้สดับมาว่า พระราชาแห่งแคว้นภรุ
ทรงกระทำช่องว่างระหว่างฤๅษีทั้งหลายเพราะความชอบ
พระองค์ทรงประสบความวิบัติ พร้อมทั้งถูกตัดขาดจากแคว้น
[๑๒๖] เพราะฉะนั้น บัณฑิตทั้งหลายจึงไม่สรรเสริญ
การลุอำนาจความพอใจ
บุคคลผู้มีจิตอันกิเลสไม่ประทุษร้าย
จะกล่าวแต่ถ้อยคำที่ประกอบด้วยสัจจะเท่านั้น
ภรุราชชาดกที่ ๓ จบ

๔. ปุณณนทีชาดก (๒๑๔)
ว่าด้วยการอุปมาด้วยแม่น้ำที่เต็มฝั่ง
(พระราชาทรงระลึกถึงคุณของปุโรหิตโพธิสัตว์แล้ว ทรงเขียนคาถาลงในใบลานว่า)
[๑๒๗] ชนทั้งหลายกล่าวถึงแม่น้ำที่เต็มฝั่งว่ากาตัวใดกินได้ก็ดี
กล่าวถึงข้าวกล้าที่เกิดแล้วว่ากาตัวใดหลบซ่อนอยู่ได้ก็ดี
กล่าวถึงคนรักที่จากไปอยู่เสียไกลกลับมาว่ากาตัวใดบอกข่าวให้ก็ดี
กาตัวนั้นเรานำมาให้ท่านแล้ว เชิญเถิดท่านพราหมณ์
ท่านจงบริโภคเนื้อกานั้นเถิด
(ปุโรหิตโพธิสัตว์อ่านหนังสือแล้วทราบว่าพระราชาทรงคิดถึง จึงกล่าวว่า)
[๑๒๘] เมื่อใด พระราชาทรงระลึกถึงเราเพื่อจะส่งเนื้อกามาให้
เนื้อหงส์ก็ดี เนื้อนกกระเรียนก็ดี เนื้อนกยูงก็ดี
ที่เรานำไปถวายแล้ว เมื่อนั้นทำไมจะไม่ระลึกถึงเรา
การไม่ระลึกถึงเราเสียเลยจะเป็นความเลวทราม
ปุณณนทีชาดกที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒. ทุกนิบาต] ๗. พีรณถัมภกวรรค ๖. มัจฉชาดก (๒๑๖)
๕. กัจฉปชาดก (๒๑๕)
ว่าด้วยเต่า
(อำมาตย์โพธิสัตว์ผู้อนุศาสน์อรรถและธรรมแก่พระราชาได้กราบทูลว่า)
[๑๒๙] เต่าพออ้าปากจะพูด ได้ฆ่าตนแล้วหนอ
เมื่อคาบท่อนไม้อยู่ดีแล้ว
กลับฆ่าตนเองเสียด้วยคำพูดของตนนั่นแหละ
[๑๓๐] ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐที่สุดในหมู่วีรชน
นรชนผู้เป็นบัณฑิตเห็นเหตุนี้แล้ว
ควรพูดให้ดี ไม่ควรพูดให้เกินเวลา
ทรงทอดพระเนตรเถิด พระเจ้าข้า
เต่าถึงความพินาศเพราะการพูดมาก
กัจฉปชาดกที่ ๕ จบ

๖. มัจฉชาดก (๒๑๖)
ว่าด้วยปลา
(ปลาตัวผู้ร้องรำพันถึงปลาตัวเมียว่า)
[๑๓๑] ไฟนี้ก็เผาเราให้เร่าร้อนไม่ได้
หลาวที่เสี้ยมดีแล้วก็ทำความทุกข์ทรมานให้เกิดแก่เราไม่ได้
เหมือนเรื่องที่นางปลาเข้าใจเราว่าไปยินดีนางปลาตัวอื่นเลย
[๑๓๒] ไฟคือราคะนั้นเผาเราให้เร่าร้อน
จิตของเราเองเบียดเบียนเราให้ลำบาก
พรานแหทั้งหลาย ขอพวกท่านจงปล่อยเราไปเถิด
สัตว์ผู้ตกอยู่ในอำนาจแห่งกามคุณ
พวกท่านไม่ควรฆ่าไม่ว่าในกาลไหน ๆ
มัจฉชาดกที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒. ทุกนิบาต] ๗. พีรณถัมภกวรรค ๑๐. ธัมมัทธชชาดก (๒๒๐)
๗. เสคคุชาดก (๒๑๗)
ว่าด้วยนางเสคคุ
(อุบาสกได้กล่าวกับลูกสาวผู้กำลังคร่ำครวญอยู่ว่า)
[๑๓๓] สัตวโลกทั้งหมดมีความพอใจในการเสพกาม
แม่เสคคุเอ๋ย เจ้าไม่รู้เรื่องของชาวบ้าน
แม่เด็กน้อย การที่เจ้าถูกพ่อจับมือในป่าใหญ่
แล้วร้องไห้คร่ำครวญนั้น มันเป็นอย่างไรสำหรับเจ้าในวันนี้
(กุมารีฟังคำนั้นแล้วคร่ำครวญกล่าวว่า)
[๑๓๔] ยามเมื่อฉันมีความทุกข์ คนที่เป็นที่พึ่งคือบิดาของฉันเอง
แต่กลับประทุษร้ายฉันในป่า
ฉันจะคร่ำครวญหาใครเล่าในท่ามกลางป่า
คนที่จะช่วยเหลือฉันได้กลับทำกรรมที่น่าบัดสีเสียเอง
เสคคุชาดกที่ ๗ จบ

๘. กูฏวาณิชชาดก (๒๑๘)
ว่าด้วยพ่อค้าโกง
(อำมาตย์โพธิสัตว์ผู้พิพากษาทราบว่าพ่อค้าบ้านนอกคิดโกง เมื่อจะแก้เอาชนะ
คนโกง จึงกล่าวว่า)
[๑๓๕] การที่ท่านคิดฉ้อฉลตอบบุคคลผู้ฉ้อฉลเป็นการคิดที่ดีแล้ว
การโกงตอบบุคคลผู้โกงท่านกระทำตอบแล้ว
ถ้าหนูทั้งหลายพึงเคี้ยวกินผาลได้
ทำไมนกเหยี่ยวทั้งหลายจะพึงเฉี่ยวเด็กไปไม่ได้
[๑๓๖] ด้วยว่า คนโกงโกงตอบคนโกงมีอยู่มากในโลก
คนอื่นผู้ล่อลวงตอบคนล่อล่วง ก็มีอยู่เหมือนกัน
ท่านผู้มีบุตรหาย ท่านจงให้ผาลแก่คนที่มีผาลหายเถิด
ขอคนผู้มีผาลหายอย่าได้ลักพาบุตรของท่านไปเลย
กูฏวาณิชชาดกที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒. ทุกนิบาต] ๗. พีรณถัมภกวรรค ๑๐. ธัมมัทธชชาดก (๒๒๐)
๙. ครหิตชาดก (๒๑๙)
ว่าด้วยผู้ครองเรือนถูกพญาวานรติเตียน
(พญาวานรโพธิสัตว์ได้กล่าวกับพวกวานรว่า)
[๑๓๗] มนุษย์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม ไม่เห็นอริยธรรม๑
กล่าวกันอย่างนี้ว่า เงินของฉัน ทองของฉัน ทั้งคืนทั้งวัน
[๑๓๘] ในเรือนหลังหนึ่งมีเจ้าของเรือนอยู่ ๒ คน
ใน ๒ คนนั้น คนหนึ่งไม่มีหนวด นมยาน
เกล้าผมมวย และเจาะหู ถูกซื้อมาด้วยทรัพย์เป็นจำนวนมาก
ชายเจ้าของเรือนนั้นพูดเสียดแทงชนนั้นตั้งแต่วันที่มาถึง
ครหิตชาดกที่ ๙ จบ

๑๐. ธัมมัทธชชาดก (๒๒๐)
ว่าด้วยผู้มีธรรมเป็นธงชัย
(ท้าวสักกะตรัสถามปุโรหิตโพธิสัตว์ว่า)
[๑๓๙] ท่านดูเหมือนอยู่เป็นสุข ท่านจากบ้านเมืองมาสู่ป่าแห้งแล้ง
นั่งเพ่งพินิจคิดอะไรอยู่ผู้เดียวที่โคนไม้ เหมือนคนกำพร้า
(ปุโรหิตโพธิสัตว์กล่าวว่า)
[๑๔๐] ข้าพเจ้ามีชีวิตอยู่อย่างเป็นสุข
ข้าพเจ้าจากบ้านเมืองมาสู่ป่าแห้งแล้ง
หวนระลึกถึงธรรมของสัตบุรุษ
นั่งพินิจคิดอยู่แต่ผู้เดียวที่โคนไม้ เหมือนคนกำพร้า
ธัมมัทธชชาดกที่ ๑๐ จบ
พีรณถัมภกวรรคที่ ๗ จบ

เชิงอรรถ :
๑ อริยธรรม หมายถึงธรรมของพระอริยะทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ได้แก่ โลกุตตรธรรม ๙ (คือ มรรค
๔ ผล ๔ นิพพาน ๑) อันประเสริฐ ปราศจากโทษ (ขุ.ชา.อ. ๓/๑๓๗/๑๘๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒. ทุกนิบาต] ๘. กาสาววรรค ๓. ปุฏภัตตชาดก (๒๒๓)
รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. โสมทัตตชาดก ๒. อุจฉิฏฐภัตตชาดก
๓. ภรุราชชาดก ๔. ปุณณนทีชาดก
๕. กัจฉปชาดก ๖. มัจฉชาดก
๗. เสคคุชาดก ๘. กูฏวาณิชชาดก
๙. ครหิตชาดก ๑๐. ธัมมัทธชชาดก

๘. กาสาววรรค
หมวดว่าด้วยผ้ากาสาวพัสตร์
๑. กาสาวชาดก (๒๒๑)
ว่าด้วยผ้ากาสาวพัสตร์
(พญาช้างโพธิสัตว์ได้ติเตียนมนุษย์เข็ญใจที่นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ว่า)
[๑๔๑] ผู้ใดมีกิเลสดุจน้ำฝาด๑ยังไม่หมดไป
ปราศจากทมะและสัจจะ จักนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์
ผู้นั้นไม่สมควรจะนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์เลย
[๑๔๒] ส่วนผู้ใดคลายกิเลสดุจน้ำฝาดได้แล้ว
ตั้งมั่นด้วยดีในศีลทั้งหลาย ประกอบด้วยทมะและสัจจะ
ผู้นั้นแลสมควรจะนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์
กาสาวชาดกที่ ๑ จบ

เชิงอรรถ :
๑ กิเลสดุจน้ำฝาด ได้แก่ ราคะ (ความกำหนัด) โทสะ (ความคิดประทุษร้าย) โมหะ (ความหลง)
มักขะ (ความลบหลู่บุญคุณท่าน) ปลาสะ (การตีเสมอ) อิสสา (ความริษยา) มัจฉริยะ (ความตะหนี่)
มายา (ความเป็นคนเจ้าเล่ห์) สาเถยยะ (ความโอ้อวด) ถัมภะ (หัวดื้อ) สารัมภะ (แข่งดี) มานะ (ความ
ถือตัว) อติมานะ (ความดูหมิ่น) มทะ (ความมัวเมา) ปมาทะ (ความประมาท) อกุศลทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง
กรรมที่นำไปเกิดในภพทั้งปวง กิเลสพันห้า นี้เรียกว่า กิเลสดุจน้ำฝาด (น้ำย้อม) (ขุ.ชา.อ. ๓/๑๔๑/๑๙๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒. ทุกนิบาต] ๘. กาสาววรรค ๓. ปุฏภัตตชาดก (๒๒๓)
๒. จูฬนันทิยชาดก (๒๒๒)
ว่าด้วยพญาวานรจูฬนันทิยะ
(บุรุษชั่วถูกแผ่นดินสูบระลึกถึงโอวาทของอาจารย์ได้ จึงกล่าวรำพันว่า)
[๑๔๓] ท่านอาจารย์ปาราสริยะได้กล่าวคำใดไว้ว่า
ท่านอย่าได้ทำความชั่วที่ทำแล้วจะทำตนให้เดือดร้อนในภายหลัง
คำนี้เป็นคำของอาจารย์
[๑๔๔] คนทำกรรมใดไว้ย่อมเห็นกรรมนั้นในตน
คนทำกรรมดีย่อมได้รับผลดี
คนทำกรรมชั่วย่อมได้รับผลชั่ว
คนหว่านพืชเช่นใดย่อมได้รับผลเช่นนั้น
จูฬนันทิยชาดกที่ ๒ จบ

๓. ปุฏภัตตชาดก (๒๒๓)
ว่าด้วยห่อข้าวเปล่า
(อำมาตย์โพธิสัตว์ผู้อนุศาสน์อรรถธรรมแก่พระราชาได้กราบทูลพระเทวีว่า)
[๑๔๕] บุคคลควรนอบน้อมแก่ผู้ที่นอบน้อม
ควรคบผู้ที่คบด้วย ควรทำกิจแก่ผู้ที่ช่วยทำกิจ
ไม่ควรทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ให้แก่
ผู้ปรารถนาสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
และไม่ควรคบแม้ผู้ที่ไม่ประสงค์จะคบด้วย
[๑๔๖] ควรละทิ้งผู้ที่ละทิ้ง และไม่ควรทำความเยื่อใย
ไม่ควรคบกับผู้มีจิตใจเหินห่าง
ควรมองหาผู้อื่น(ที่มีความเยื่อใย)
เหมือนนกรู้ว่า ต้นไม้นี้หมดผลแล้วไปยังต้นไม้อื่น
เพราะว่าโลกกว้างใหญ่
ปุฏภัตตชาดกที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๐๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒. ทุกนิบาต] ๘. กาสาววรรค ๗. คูถปาณกชาดก (๒๒๗)
๔. กุมภีลชาดก (๒๒๔)
ว่าด้วยจระเข้สรรเสริญพญาวานร
(พระโพธิสัตว์ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า)
[๑๔๗] พญาวานร ผู้ใดมีธรรม ๔ ประการนี้ คือ
(๑) สัจจะ (๒) ธรรมะ (๓) ธิติ (๔) จาคะ เช่นกับท่าน
ผู้นั้นย่อมครอบงำศัตรูที่ตนพบเห็นได้
[๑๔๘] ส่วนผู้ใดไม่มีคุณธรรมอันเป็นเครื่องให้เจริญอย่างยิ่ง
๔ ประการนี้ คือ (๑) สัจจะ (๒) ธรรมะ (๓) ธิติ (๔) จาคะ
ผู้นั้นย่อมครอบงำศัตรูที่ตนพบเห็นไม่ได้
กุมภีลชาดกที่ ๔ จบ

๕. ขันติวัณณนชาดก (๒๒๕)
ว่าด้วยการพรรณนาขันติ
(อำมาตย์คนหนึ่งไม่อาจอดกลั้นความผิดของตนได้ จึงทูลถามพระราชาว่า)
[๑๔๙] ข้าแต่สมมติเทพ ข้าพระพุทธเจ้ามีคนที่ขวนขวาย
ในกิจการทุกอย่างอยู่คนหนึ่ง
แต่เขามีความผิดอยู่เรื่องหนึ่ง
พระองค์จะทรงดำริเป็นประการใด
ในความผิดนั้น พระเจ้าข้า
(พระราชาตรัสว่า)
[๑๕๐] เราก็มีคนเช่นนี้อยู่คนหนึ่ง และเขาก็ปรากฏอยู่ที่นี้
ขึ้นชื่อว่าคนที่พร้อมด้วยองค์คุณทุกอย่างหาได้ยาก
เราจึงชอบใจขันติ
ขันติวัณณนชาดกที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒. ทุกนิบาต] ๘. กาสาววรรค ๗. คูถปาณกชาดก (๒๒๗)
๖. โกสิยชาดก (๒๒๖)
ว่าด้วยผู้รู้กาลควรไม่ควรเหมือนนกเค้า
(บัณฑิตโพธิสัตว์กราบทูลข้อความนี้แก่พระราชาว่า)
[๑๕๑] ขึ้นชื่อว่าการออกไปจากที่อยู่อาศัยในกาลอันสมควรเป็นการดี
ส่วนการออกไปในกาลอันไม่สมควรไม่เป็นการดี
เพราะว่าชนจำนวนมากที่เป็นศัตรูทำคนเพียงคนเดียว
ที่ออกจากที่อยู่อาศัยโดยกาลอันไม่สมควร
แล้วไม่ยังประโยชน์อะไร ๆ ให้เกิดขึ้น ให้ถึงความพินาศ
เหมือนหมู่นกกาทำลายนกเค้าตัวเดียวให้พินาศ
[๑๕๒] นักปราชญ์รู้ซึ้งถึงวิธีการต่าง ๆ
เข้าใจถึงช่องทางของคนเหล่าอื่น
ทำพวกศัตรูทั้งหมดให้อยู่ในอำนาจแล้ว
พึงอยู่เป็นสุขเหมือนนกเค้าผู้ฉลาด
โกสิยชาดกที่ ๖ จบ

๗. คูถปาณกชาดก (๒๒๗)
ว่าด้วยหนอนท้าช้างสู้
(หนอนร้องเรียกช้างว่า)
[๑๕๓] ท่านก็เป็นผู้กล้าหาญมาพบกับเราผู้กล้าหาญ
ผู้สามารถที่จะประหารได้โดยไม่ย่นย่อ
พญาช้าง ท่านจงกลับมาก่อน ท่านกลัวหรือจึงหนีไป
ขอชนชาวแคว้นอังคะและมคธ
จงเห็นความกล้าหาญของเราและท่านเถิด
(ช้างเมื่อจะรุกรบกับหนอนนั้น จึงได้กล่าวว่า)
[๑๕๔] เราจักไม่ใช้เท้า งา และงวงฆ่าเจ้า เราจักใช้คูถฆ่าเจ้า
เจ้าหนอนในคูถเน่าจงถูกของเน่าฆ่าเถิด
คูถปาณกชาดกที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒. ทุกนิบาต] ๘. กาสาววรรค ๑๐. ทุติยปลายิตชาดก (๒๓๐)
๘. กามนีตชาดก (๒๒๘)
ว่าด้วยคนที่ถูกความอยากครอบงำ
(พระราชาตรัสกับท้าวสักกเทวราชโพธิสัตว์ว่า)
[๑๕๕] เราอยากได้พระนครทั้ง ๓ และรัฐทั้ง ๓
คือ (๑) ปัญจาละ (๒) กุรุยะ (๓) เกกกะ
ในระหว่างพระนครเหล่านั้น พ่อพราหมณ์เอ๋ย
เราอยากได้ยิ่งกว่าราชสมบัติที่เราได้แล้วเสียอีก
เจ้าจงเยียวยาข้าพเจ้าผู้ถูกความอยากทำลายแล้วเถิด
(ท้าวสักกเทวราชโพธิสัตว์ตรัสกับพระราชาว่า)
[๑๕๖] จริงอยู่ คนถูกงูเห่ากัด หมอบางคนก็รักษาหาย
คนถูกผีสิง หมอผีที่เก่งบางคนก็ขับออกได้
แต่คนถูกความอยากทำลาย ใคร ๆ ก็เยียวยาไม่ได้
เพราะว่า คนที่ล่วงเลยกุศลธรรมแล้วจะเยียวยาได้อย่างไร
กามนีตชาดกที่ ๘ จบ

๙. ปลายิตชาดก (๒๒๙)
ว่าด้วยการขับไล่ศัตรูแบบสายฟ้าแลบ
(พระเจ้าพรหมทัตโพธิสัตว์ทรงดำริจะยึดเอาเมืองตักกศิลา จึงตรัสว่า)
[๑๕๗] ตักกสิลาถูกกองทัพช้างอันเกรียงไกร
ถูกกองทัพม้าสินธพอันเกรียงไกร
ถูกกองทัพรถประดุจเกลียวคลื่นในมหาสมุทร
อันยังห่าฝนคือลูกศรให้ตกลงประดุจเมฆฝนอันหนาทึบ
ถูกกองทัพทหารราบซึ่งถือดาบกวัดแกว่งประหารได้อย่างแม่นยำ
ล้อมรอบด้าน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒. ทุกนิบาต] ๘. กาสาววรรค ๑๐. ทุติยปลายิตชาดก (๒๓๐)
[๑๕๘] ท่านทั้งหลายจงรีบรุกเข้าไป จงรีบบุกเข้าไป
จงโห่ร้องให้อึกทึกกึกก้องพร้อมกับพญาช้างที่ประเสริฐ
ในวันนี้ ประดุจสายอสนิบาตอันแผ่ซ่าน
ออกจากเมฆคำรามกึกก้องอยู่
ปลายิตชาดกที่ ๙ จบ

๑๐. ทุติยปลายิตชาดก (๒๓๐)
ว่าด้วยการขับไล่ศัตรูแบบสายฟ้าแลบเรื่องที่ ๒
(พระเจ้าคันธาระได้ตรัสสรรเสริญกองทัพของพระองค์ว่า)
[๑๕๙] ธงสำหรับรถของเรามากมายมีจำนวนมิใช่น้อย
ถึงพลพาหนะก็กำหนดนับไม่ได้
ยากที่ศัตรูใด ๆ จะครอบงำย่ำยีได้
ดุจสมุทรสาครยากที่ฝูงกาจะบินข้ามพ้นได้
อนึ่ง กองทัพของเรานี้ก็ยากที่กองทัพอื่นจะครอบงำย่ำยีได้
ดุจภูเขาอันลมไม่สามารถจะพัดให้หวั่นไหวได้
วันนี้ เรานั้นมีกำลังเห็นปานนี้
ยากที่พระราชาเช่นท่านจะครอบงำย่ำยีได้
(พระราชากรุงพาราณสีโพธิสัตว์ทรงขู่ขวัญพระเจ้าคันธาระว่า)
[๑๖๐] ท่านอย่าพูดพร่ำเพ้อถึงความที่ตนเป็นคนพาลไปเลย
เพราะว่าพระราชาเช่นท่านไม่สามารถจะยึดเอาราชสมบัติได้
เพราะท่านถูกความเร่าร้อน แผดเผาอยู่เสมอ
ดังนั้น จึงข่มขี่ครอบงำพระราชาเช่นเราไม่ได้
ท่านนั้นประดุจเข้าไปใกล้คชสารตกมันที่เที่ยวพล่านไปเพียงตัวเดียว
ซึ่งจักบดขยี้ท่านให้แหลกลานเหมือนเหยียบย่ำพงอ้อให้เป็นจุรณไป
ทุติยปลายิตชาดกที่ ๑๐ จบ
กาสาววรรคที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒. ทุกนิบาต] ๙. อุปาหนวรรค ๓. วิกัณณกชาดก (๒๓๓)
รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. กาสาวชาดก ๒. จูฬนันทิยชาดก
๓. ปุฏภัตตชาดก ๔. กุมภีลชาดก
๕. ขันติวัณณนชาดก ๖. โกสิยชาดก
๗. คูถปาณกชาดก ๘. กามนีตชาดก
๙. ปลายิตชาดก ๑๐. ทุติยปลายิตชาดก

๙. อุปาหนวรรค
หมวดว่าด้วยอุปมาด้วยรองเท้า
๑. อุปาหนชาดก (๒๓๑)
ว่าด้วยการใช้ศิลปะในทางที่ผิดก่อให้เกิดโทษเหมือนรองเท้ากัด
(นายควาญช้างโพธิสัตว์กราบทูลพระราชาว่า)
[๑๖๑] รองเท้าที่คนซื้อมาเพื่อต้องการความสบายเท้า
กลับนำทุกข์มาให้
รองเท้านั้นถูกความร้อนแผดเผา
ถูกพื้นครูดสี ย่อมกัดเท้าคนผู้นั้นนั่นแหละ ฉันใด
[๑๖๒] ผู้ใดเกิดในตระกูลต่ำ ไม่ใช่อารยชน
เรียนศิลปวิทยาในสำนักของอาจารย์แล้ว
ผู้นั้นย่อมฆ่าตนเองด้วยศิลปวิทยาที่เรียนมา
ในสำนักของอาจารย์นั้น ฉันนั้น
บุคคลนั้นบัณฑิตเรียกว่า อนารยชน
เปรียบด้วยรองเท้าที่ทำไม่ดี
อุปาหนชาดกที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๐๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒. ทุกนิบาต] ๙. อุปาหนวรรค ๓. วิกัณณกชาดก (๒๓๓)
๒. วีณาถูณชาดก (๒๓๒)
ว่าด้วยชายค่อมนอนขดเหมือนคันพิณ
(เศรษฐีโพธิสัตว์สนทนากับธิดาเศรษฐีว่า)
[๑๖๓] เจ้าคนเดียวเท่านั้นที่คิดอย่างนี้
ชายค่อมผู้โง่เขลาคนนี้ไม่อาจจะเป็นผู้นำได้
นางผู้เจริญ เจ้าไม่ควรจะร่วมทางกับคนค่อมคนนี้เลย
(ธิดาเศรษฐีฟังคำของพระโพธิสัตว์แล้วว่า)
[๑๖๔] ดิฉันเข้าใจว่าชายค่อมเป็นคนองอาจ จึงได้รักใคร่เขา
เขานอนขดอยู่อย่างนี้ ดุจคันพิณที่สายขาด
วีณาถูณชาดกที่ ๒ จบ

๓. วิกัณณกชาดก (๒๓๓)
ว่าด้วยกามคุณเช่นกับชนัก
(เจ้าหน้าที่จัดอาหารพูดกับจระเข้ว่า)
[๑๖๕] เจ้าจงไปในสถานที่ที่เจ้าปรารถนาเถิด
เจ้าถูกชนักแทงในที่อันสำคัญ
อนึ่ง เจ้าเบื่อ ๆ อยาก ๆ ในอาหาร
เฝ้าติดตามฝูงปลาอยู่ ถูกอาหารเคล้าเสียงกลองขจัดเสียแล้ว
(พระศาสดาครั้นทรงแสดงชาดกนี้แล้ว จึงตรัสว่า)
[๑๖๖] บุคคลผู้คล้อยตามโลกามิส๑อย่างนี้
อนุวัตตามอำนาจจิตย่อมเดือดร้อน
บุคคลนั้นย่อมเดือดร้อนท่ามกลางหมู่ญาติมิตรสหาย
เหมือนจระเข้ตัวติดตามฝูงปลาถูกชนักแทง
วิกัณณกชาดกที่ ๓ จบ

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า โลกามิส ได้แก่ กามคุณ ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่เรียกว่าโลกามิส (เหยื่อสำหรับโลก)
นั้น เพราะกามคุณทั้ง ๕ นี้ถือว่าเป็นของน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ (ขุ.ชา.อ. ๓/๑๖๖/๒๓๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒. ทุกนิบาต] ๙. อุปาหนวรรค ๗. สาเกตชาดก (๒๓๗)
๔. อสิตาภูชาดก (๒๓๔)
ว่าด้วยพระนางอสิตาภู
(พระนางอสิตาภูตรัสกับพรหมทัตตกุมารว่า)
[๑๖๗] พระองค์นั่นแหละได้ทรงกระทำเหตุนี้ในกาลนี้
หม่อมฉันปราศจากความรักใคร่ในพระองค์เสียแล้ว
บัดนี้ ความรักใคร่นี้นั้นไม่อาจจะเชื่อมประสานได้อีก
เหมือนกับงาช้างที่ถูกเลื่อยตัดขาดไม่อาจจะเชื่อมต่อได้ดังเดิม
(ครั้นพระนางเสด็จจากไปแล้ว พรหมทัตตกุมารจึงคร่ำครวญว่า)
[๑๖๘] บุคคลผู้ปรารถนาเกินประมาณเพราะความโลภเกินไป
และเพราะความเมาในความโลภเกินไปจึงเสื่อมจากประโยชน์อย่างนี้
เหมือนตัวเราเสื่อมจากพระนางอสิตาภู
อสิตาภูชาดกที่ ๔ จบ

๕. วัจฉนขชาดก (๒๓๕)
ว่าด้วยวัจฉนขดาบส
(เศรษฐีกรุงพาราณสีชวนวัจฉนขดาบสโพธิสัตว์บริโภคกามว่า)
[๑๖๙] พระคุณเจ้าวัจฉนขะ เรือนทั้งหลายที่มีเงินทองบริบูรณ์
มีโภชนาหารมากมาย เป็นเรือนที่มีความสุข
ซึ่งพระคุณเจ้าไม่ต้องขวนขวายก็ฉัน ดื่ม และนอนได้เลย
(วัจฉนขดาบสโพธิสัตว์ฟังเศรษฐีแล้ว ได้กล่าวว่า)
[๑๗๐] คนไม่พยายามทำงานก็อยู่ครองเรือนไม่ได้
คนไม่พูดมุสาก็อยู่ครองเรือนไม่ได้
คนปล่อยวางอาชญาไม่ลงอาชญาบุคคลอื่นก็อยู่ครองเรือนไม่ได้
เมื่อเป็นเช่นนี้ ใคร่เล่าจะครองเรือน
ที่ให้เกิดความยินดีได้แสนยาก ที่บกพร่องได้
วัจฉนขชาดกที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒. ทุกนิบาต] ๙. อุปาหนวรรค ๗. สาเกตชาดก (๒๓๗)
๖. พกชาดก (๒๓๖)
ว่าด้วยนกยางเจ้าเล่ห์
(ฝูงปลาเห็นนกยางจึงกล่าวว่า)
[๑๗๑] นกตัวนี้ดีจริงหนอ มีปีกเหมือนดอกโกมุท
หุบปีกทั้ง ๒ จับเจ่าซบเซาอยู่
(ปลาโพธิสัตว์มองดูนกยางนั้นแล้ว จึงกล่าวว่า)
[๑๗๒] พวกเจ้าไม่รู้ปกติของมัน เพราะไม่รู้จึงพากันสรรเสริญ
นกยางตัวนี้ไม่ได้คุ้มครองพวกเราหรอก
เพราะเหตุนั้น มันจึงไม่ขยับปีก
พกชาดกที่ ๖ จบ

๗. สาเกตชาดก (๒๓๗)
ว่าด้วยทรงปรารภพราหมณ์ชื่อสาเกต
(ภิกษุทั้งหลายทูลถามพระศาสดาว่า)
[๑๗๓] ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เหตุใดหนอ
เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้
พอพบกันเข้า จิตใจก็เมินเฉย
แต่บางคนพอพบกันเข้าเท่านั้น จิตก็เลื่อมใส
(พระศาสดาทรงแสดงเหตุแห่งความรักแก่ภิกษุเหล่านั้นว่า)
[๑๗๔] ความรักนั้นเกิดด้วยสาเหตุ ๒ ประการ คือ
(๑) ด้วยการอยู่ร่วมกันในชาติปางก่อน
(๒) ด้วยการเกื้อกูลกันและกันในปัจจุบัน
เหมือนดอกอุบลเกิดในน้ำ๑
สาเกตชาดกที่ ๗ จบ

เชิงอรรถ :
๑ เหมือนดอกอุบลเกิดในน้ำ หมายถึงดอกอุบลและดอกไม้ชนิดอื่น ๆ ที่เกิดในน้ำ ต้องอาศัยเหตุ ๒ ประการ
คือน้ำและเปลือกตม (ขุ.ชา.อ. ๓/๑๗๔/๒๓๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒. ทุกนิบาต] ๙. อุปาหนวรรค ๑๐. มหาปิงคลชาดก (๒๔๐)
๘. เอกปทชาดก (๒๓๘)
ว่าด้วยเหตุอย่างเดียวทำให้บรรลุประโยชน์ได้หลายอย่าง
(กุมารน้อยผู้เป็นบุตรของเศรษฐีโพธิสัตว์ถามบิดาว่า)
[๑๗๕] คุณพ่อครับ
เหตุอย่างเดียวทำให้ได้บรรลุประโยชน์หลายอย่างมีอยู่หรือ
พวกเราจะทำประโยชน์หลายอย่างให้สำเร็จได้ด้วยเหตุอันใด
ขอคุณพ่อจงบอกเหตุนั้นสักอย่างหนึ่งซึ่งรวบรวมเหตุไว้มากมาย
(บิดาบอกแก่กุมารน้อยนั้นว่า)
[๑๗๖] ลูกเอ๋ย เหตุอันเดียวคือความขยัน
ที่ให้ได้บรรลุประโยชน์หลายอย่าง
เพราะความขยันอันประกอบด้วยศีล เข้าถึงขันติ
อาจทำให้มิตรสหายมีความสุข
หรืออาจทำให้ศัตรูทั้งหลายได้รับความทุกข์
เอกปทชาดกที่ ๘ จบ

๙. หริตมาตชาดก (๒๓๙)
ว่าด้วยกบเขียว
(งูจะถามกบเขียวโพธิสัตว์ว่า)
[๑๗๗] พ่อกบเขียว ฝูงปลารุมกัดเราผู้มีพิษ
ซึ่งเข้าไปยังปากลอบ ท่านพอใจหรือ
(กบเขียวโพธิสัตว์ได้กล่าวกับงูว่า)
[๑๗๘] คนกดขี่ข่มเหงผู้อื่นตลอดเวลาที่ตนเป็นใหญ่
เมื่อเขาถูกคนอื่นซึ่งเป็นใหญ่กว่ากดขี่ข่มเหงบ้างก็ตอบโต้
หริตมาตชาดกที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒. ทุกนิบาต] ๙. อุปาหนวรรค ๑๐. มหาปิงคลชาดก (๒๔๐)
๑๐. มหาปิงคลชาดก (๒๔๐)
ว่าด้วยพระเจ้าปิงคละ
(พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพระโอรสของพระเจ้าปิงคละ ตรัสถามยาม
รักษาประตูว่า)
[๑๗๙] ชนทั้งมวลถูกพระเจ้าปิงคละเบียดเบียน
เมื่อพระองค์สวรรคตแล้ว ประชาชนพากันยินดี
นายทวารบาล พระเจ้าปิงคละผู้มีพระเนตรไม่ดำ
เป็นที่รักของท่านหรือ ทำไมท่านจึงร้องไห้
(ยามรักษาประตูกล่าวทูลตอบว่า)
[๑๘๐] พระเจ้าปิงคละผู้มีพระเนตรไม่ดำ
เป็นที่รักของข้าพเจ้าก็หาไม่
แต่ข้าพเจ้ากลัวการเสด็จกลับมาของพระองค์
พระองค์เสด็จไปจากที่นี้แล้ว
จะต้องเบียดเบียนพญามัจจุราช
เขาถูกพระองค์เบียดเบียนแล้ว
พึงนำพระองค์กลับมา ณ ที่นี้อีก
(พระโพธิสัตว์ตรัสปลอบยามรักษาประตูว่า)
[๑๘๑] พระเจ้าปิงคละนั้นถูกถวายพระเพลิง
ด้วยฟืน ๑,๐๐๐ เล่มเกวียน
พระอัฐิก็สรงด้วยน้ำตั้ง ๑๐๐ หม้อ
สถานที่ถวายพระเพลิงนั่นเล่าก็ล้อมไว้แล้ว
ไม่ต้องกลัว เสด็จมาไม่ได้หรอก
มหาปิงคลชาดกที่ ๑๐ จบ
อุปาหนวรรคที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒. ทุกนิบาต] ๑๐. สิงคาลวรรค ๔. วิคติจฉชาดก (๒๔๔)
รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อุปาหนชาดก ๒. วีณาถูณชาดก
๓. วิกัณณกชาดก ๔. อสิภูตาชาดก
๕. วัจฉนขชาดก ๖. พกชาดก
๗. สาเกตชาดก ๘. เอกปทชาดก
๙. หริตมาตชาดก ๑๐. มหาปิงคลชาดก

๑๐. สิงคาลวรรค
หมวดว่าด้วยสุนัขจิ้งจอก
๑. สัพพทาฐิชาดก (๒๔๑)
ว่าด้วยสุนัขจิ้งจอกได้เป็นใหญ่กว่าสัตว์มีเขี้ยวงาทั้งปวง
(พระศาสดาทรงแสดงพระธรรมเทศนา ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า)
[๑๘๒] สุนัขจิ้งจอกมีนิสัยกระด้าง มีความต้องการบริวาร
บรรลุถึงสมบัติอันยิ่งใหญ่
เป็นราชาแห่งสัตว์มีเขี้ยวงาทั้งปวง ฉันใด
[๑๘๓] บรรดามนุษย์ทั้งหลาย บุคคลใดมีบริวาร
บุคคลนั้นก็ชื่อว่าเป็นใหญ่ในบริวารเหล่านั้น
เหมือนสุนัขจิ้งจอกเป็นใหญ่กว่าสัตว์มีเขี้ยวงาทั้งหลาย ฉันนั้น
สัพพทาฐิชาดกที่ ๑ จบ

๒. สุนขชาดก (๒๔๒)
ว่าด้วยสุนัขฉลาดเอาตัวรอดได้
(พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลมีโภคสมบัติมากได้เดินผ่านดงไปทำธุระบางอย่าง
เห็นสุนัขถูกล่ามไว้ จึงกล่าวว่า)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒. ทุกนิบาต] ๑๐. สิงคาลวรรค ๔. วิคติจฉชาดก (๒๔๔)
[๑๘๔] สุนัขที่ไม่กัดกินเชือกหนังนี้โง่จริง
ธรรมดาบุคคลควรจะเปลื้องตนจากเครื่องผูก
กินแล้วกลับบ้าน
(สุนัขได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวว่า)
[๑๘๕] คำที่ท่านกล่าวนั้นยังฝังใจข้าพเจ้า
และข้าพเจ้าตั้งใจว่าจะรอจนกว่าคนจะนอนหลับ
สุนขชาดกที่ ๒ จบ

๓. คุตติลชาดก (๒๔๓)
ว่าด้วยคุตติลโพธิสัตว์
(นักขับร้องโพธิสัตว์กล่าวกับท้าวสักกะว่า)
[๑๘๖] ข้าพระองค์ได้สอนศิษย์ให้เรียนการดีดพิณ ๗ สาย
มีเสียงอันไพเราะ น่าจับจิตจับใจ
เขากลับมาท้าทายข้าพระองค์แข่งขันดีดพิณสู้กันบนเวที
ท้าวโกสีย์ ขอพระองค์จงเป็นที่พึ่งของข้าพระองค์เถิด
(ท้าวสักกะสดับคำของพระโพธิสัตว์แล้ว จึงตรัสว่า)
[๑๘๗] เพื่อนเอ๋ย เราจะเป็นที่พึ่ง
เราเป็นคนบูชาอาจารย์
ศิษย์จักชนะท่านไม่ได้ ส่วนท่านจะชนะศิษย์ นะอาจารย์
คุตติลชาดกที่ ๓ จบ

๔. วิคติจฉชาดก (๒๔๔)
ว่าด้วยการนอบน้อมท่านผู้หมดความต้องการ
(ฤๅษีโพธิสัตว์เมื่อปริพาชกหนีไปแล้ว จึงแสดงธรรมแก่บริษัทซึ่งนั่งประชุมกัน
อยู่ว่า)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒. ทุกนิบาต] ๑๐. สิงคาลวรรค ๗. ปาทัญชลิชาดก (๒๔๗)
[๑๘๘] ได้ยินมาว่า คนที่ไม่ปรารถนาสิ่งที่ตนเห็นก็ดี
ปรารถนาสิ่งที่ตนไม่เห็นก็ดี
ข้าพเจ้าเข้าใจว่า ถึงเขาจะเที่ยวแสวงหาไปนานแสนนาน
ก็จะไม่ได้สิ่งที่ตนปรารถนาเลย
[๑๘๙] คนย่อมไม่พอใจสิ่งที่ตนได้มา
และดูหมิ่นสิ่งที่ตนปรารถนาได้มาแล้ว
เพราะความปรารถนาซึ่งมีอารมณ์ไม่มีที่สิ้นสุด
ข้าพเจ้าขอกระทำการนอบน้อมท่านผู้ปราศจากความปรารถนา
วิคติจฉชาดกที่ ๔ จบ

๕. มูลปริยายชาดก (๒๔๕)
ว่าด้วยทรงปราบภิกษุผู้ทะนงด้วยมูลปริยายสูตร
(อาจารย์ทิศาปาโมกข์โพธิสัตว์ถามปัญหากับพวกศิษย์แล้ว จึงกล่าวว่า)
[๑๙๐] กาลเวลาย่อมกินเหล่าสัตว์ทั้งปวงพร้อมกับตัวเอง
ส่วนผู้ใดกินกาลเวลาได้๑
ผู้นั้นชื่อว่าเผาตัณหาที่เผาเหล่าสัตว์ได้แล้ว
(พระโพธิสัตว์ติเตียนมาณพเหล่านั้นว่า)
[๑๙๑] ศีรษะของนรชนปรากฏมีเป็นจำนวนมาก
และมีผมหนาปกคลุมจนถึงคอ
บรรดาคนเหล่านี้ ใครบ้างเล่าที่มีปัญญา
มูลปริยายชาดกที่ ๕ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ผู้กินกาลเวลาได้ หมายถึงพระขีณาสพ เพราะทำกาลปฏิสนธิในคราวต่อไปให้สิ้น คือกลืนกินกาลเวลา
ด้วยอริยมรรค (ไม่ต้องกลับมาเกิดอีก) (ขุ.ชา.อ. ๓/๑๙๐/๒๖๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒. ทุกนิบาต] ๑๐. สิงคาลวรรค ๗. ปาทัญชลิชาดก (๒๔๗)
๖. พาโลวาทชาดก (๒๔๖)
ว่าด้วยการโอวาทคนพาล
(กุฎุมพีผู้หนึ่งแกล้งฤๅษีโพธิสัตว์ จึงกล่าวกับพระโพธิสัตว์ว่า)
[๑๙๒] บุคคลผู้ไม่สำรวมประหารสัตว์ก็ดี
เบียดเบียนสัตว์ก็ดี ฆ่าสัตว์ก็ดี แล้วให้ทาน
สมณะใดบริโภคอาหารเช่นนี้
สมณะนั้นย่อมแปดเปื้อนบาปด้วย
(พระโพธิสัตว์ฟังแล้ว จึงกล่าวว่า)
[๑๙๓] บุคคลผู้ไม่สำรวมถึงจะฆ่าบุตรภรรยาแล้วให้ทานก็ตามที
ผู้มีปัญญาบริโภคอาหารนั้นก็ไม่แปดเปื้อนบาปเลย
พาโลวาทชาดกที่ ๖ จบ

๗. ปาทัญชลิชาดก (๒๔๗)
ว่าด้วยปาทัญชลีราชกุมาร
(อำมาตย์โพธิสัตว์เข้าใจว่า พระราชกุมารเฉลียวฉลาด จึงกล่าวว่า)
[๑๙๔] ปาทัญชลีราชกุมารมีพระปรีชา
ทรงรุ่งเรืองกว่าพวกเราทั้งหมดแน่นอน
พระองค์ทรงเห็นเหตุอื่นที่ยิ่งกว่านี้เป็นแน่
เพราะฉะนั้นจึงทรงเม้มพระโอษฐ์
(พระกุมารโง่เขลา กล่าวว่า)
[๑๙๕] ปาทัญชลีราชกุมารพระองค์นี้
จะทรงทราบสิ่งที่เป็นธรรมหรือไม่เป็นธรรม
สิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ก็หาไม่
พระองค์ไม่ทรงทราบอะไรเลย
นอกจากการเม้มพระโอษฐ์เท่านั้น
ปาทัญชลิชาดกที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒. ทุกนิบาต] ๑๐. สิงคาลวรรค ๑๐. กปิชาดก (๒๕๐)
๘. กิงสุโกปมชาดก (๒๔๘)
ว่าด้วยคนไม่รู้ธรรมด้วยญาณย่อมสงสัยในธรรม
(พระเจ้าพรหมทัตตรัสกับพระราชโอรสทั้ง ๔ พระองค์ว่า)
[๑๙๖] เจ้าทั้งหมดได้เห็นต้นทองกวาวมาแล้ว
เพราะเหตุไรจึงสงสัยในต้นทองกวาวนั้นเล่า
เพราะพวกเจ้ามิได้สอบถามนายสารถี
ให้รอบคอบทุกสถานะใช่ไหม
(พระศาสดาทรงแสดงเหตุนี้กับภิกษุทั้งหลายแล้ว จึงตรัสว่า)
[๑๙๗] บุคคลเหล่าใดยังไม่รู้ธรรมทั้งหลายด้วยญาณทั้งปวง
บุคคลเหล่านั้นยังสงสัยในธรรมทั้งหลาย
เหมือนพระราชภาดา ๔ พระองค์สงสัยในต้นทองกวาว
กิงสุโกปมชาดกที่ ๘ จบ

๙. สาลกชาดก (๒๔๙)
ว่าด้วยสาลกวานร
(หมองูคิดจะจับลิง จึงเกลี้ยกล่อมลิงว่า)
[๑๙๘] พ่อสาลกวานร เจ้าเป็นลูกคนเดียวของพ่อ
และเจ้าจักได้เป็นใหญ่ในโภคะในตระกูลของพ่อ
ลงมาจากต้นไม้เถิด มาเถิดลูกพ่อ
เราจะพากันกลับบ้านเดี๋ยวนี้
(ลิงได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวว่า)
[๑๙๙] ท่านเข้าใจว่าเราเป็นสัตว์ใจดีมิใช่หรือ
ไฉนจึงเฆี่ยนตีเราด้วยเรียวไผ่
เราพอใจอยู่ในป่ามะม่วงที่มีผลสุก
ท่านจงกลับไปบ้านตามสบายเถิด
สาลกชาดกที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๒. ทุกนิบาต] ๑๐. สิงคาลวรรค ๑๐. กปิชาดก (๒๕๐)
๑๐. กปิชาดก (๒๕๐)
ว่าด้วยการเข้าใจผิดว่าลิงเป็นฤๅษี
(ดาบสกุมารเห็นลิงปลอมมีความสงสารจึงกล่าวกับดาบสโพธิสัตว์ผู้เป็นบิดาว่า)
[๒๐๐] ฤๅษีผู้นี้ยินดีในความสงบและความสำรวม
ท่านถูกภัยคือความหนาวเบียดเบียนยืนอยู่
เชิญท่านฤๅษีเข้ามายังบรรณศาลานี้
เพื่อบรรเทาความหนาว ความกระวนกระวายทั้งสิ้นเถิด
(พระโพธิสัตว์ฟังคำของบุตรแล้วจึงลุกขึ้นมองดูก็รู้ว่าเป็นลิง จึงกล่าวว่า)
[๒๐๑] ผู้นี้มิใช่ฤๅษีผู้ยินดีในความสงบและความสำรวมหรอก
แต่เป็นลิงที่ห้อยโหนไปตามกิ่งมะเดื่อ
มันมักประทุษร้าย มักโกรธ และมีสันดานเลวทราม
ถ้ามันเข้ามา มันก็จะพึงทำลายบรรณศาลานี้
กปิชาดกที่ ๑๐ จบ
สิงคาลวรรคที่ ๑๐ จบ

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สัพพทาฐิชาดก ๒. สุนขชาดก
๓. คุตติลชาดก ๔. วิคติจฉชาดก
๕. มูลปริยายชาดก ๖. พาโลวาทชาดก
๗. ปาทัญชลิชาดก ๘. กิงสุโกปมชาดก
๙. สาลกชาดก ๑๐. กปิชาดก

รวมวรรคที่มีในนิบาตนี้ คือ

๑. ทัฬหวรรค ๒. สันถววรรค
๓. กัลยาณวรรค ๔. อสทิสวรรค
๕. รุหกวรรค ๖. นตังทัฬหวรรค
๗. พีรณถัมภกวรรค ๘. กาสาววรรค
๙. อุปาหนวรรค ๑๐. สิงคาลวรรค

ทุกนิบาต จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๑๙ }


๓. ติกนิบาต
๑. สังกัปปวรรค
หมวดว่าด้วยความดำริ
๑. สังกัปปราคชาดก (๒๕๑)
ว่าด้วยราคะเกิดเพราะความดำริ
(พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลพราหมณ์มหาศาลถูกลูกศรคือกิเลสแทง จึงกราบ
ทูลพระราชาว่า)
[๑] อาตมาถูกลูกศรคือกิเลสอาบยาพิษคือราคะ
ซึ่งเกิดจากความดำริถึงกาม ลับที่หินคือวิตก
อันนายช่างศรยังมิได้ขัดถูให้เกลี้ยงเกลา
[๒] ยังมิได้ดึงสายธนูให้พ้นหมวกหูข้างขวาของคันธนู
ยังมิทันได้ติดขนปีกนกยูงเป็นต้น
แทงเข้าที่หัวใจทำความเร่าร้อนไปทั่วสรรพางค์กาย
[๓] อาตมามิได้เห็นบาดแผลที่ถูกแทง
และเลือดที่ไหลออกจากบาดแผลเลย
ตลอดเวลาที่ไม่ได้อบรมจิตด้วยอุบายอันแยบคาย
อาตมาได้นำทุกข์มาให้แก่ตนเสียเอง
สังกัปปราคชาดกที่ ๑ จบ

๒. ติลมุฏฐิชาดก (๒๕๒)
ว่าด้วยการผูกโกรธเพราะเมล็ดงาเพียงกำมือเดียว
(พรหมทัตตกุมารทรงผูกโกรธอาจารย์ไม่หาย จึงตรัสกับอาจารย์ว่า)
[๔] การที่ท่านอาจารย์จับแขนข้าพเจ้าแล้วเฆี่ยนข้าพเจ้าด้วยไม้เรียว
เพราะงากำมือเดียวนั้นยังฝังใจข้าพเจ้าอยู่จนทุกวันนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๒๐ }


๑. สังกัปปวรรค ๓. มณิกัณฐชาดก (๒๕๓)
[๕] ท่านพราหมณ์ ชะรอยท่านจะไม่ใยดีในชีวิตของตนละซิ
จึงมาที่นี้ เพราะท่านเคยจับแขนข้าพเจ้าเฆี่ยนถึง ๓ ครั้ง
(อาจารย์ได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวกราบทูลว่า)
[๖] อารยชนบางคนย่อมกีดกันคนกระทำความชั่วด้วยอาชญา
การกระทำนั้นเป็นการสอนหาใช่เป็นเวรไม่
บัณฑิตทั้งหลายรู้เหตุนั้นอย่างนี้
ติลมุฏฐิชาดกที่ ๒ จบ

๓. มณิกัณฐชาดก (๒๕๓)
ว่าด้วยการขอแก้วมณี
(พญานาคเมื่อจะห้ามดาบสมิให้ขอ จึงได้กล่าวว่า)
[๗] เพราะแก้วมณีดวงนี้เป็นเหตุทำให้ข้าวน้ำเกิดขึ้น
แก่ข้าพเจ้ามากมาย
ข้าพเจ้าให้แก้วมณีท่านไม่ได้ ท่านเป็นคนขอเกินไป
ข้าพเจ้าจะไม่มาอาศรมของท่านอีกแล้ว
[๘] เมื่อท่านขอแก้วมณีจนทำให้ข้าพเจ้าหวาดกลัว
เหมือนชายหนุ่มถือดาบคมที่ลับด้วยหินทำให้ผู้อื่นสะดุ้งกลัว
ข้าพเจ้าให้แก้วมณีท่านไม่ได้ ท่านเป็นคนขอเกินไป
ข้าพเจ้าจะไม่มาอาศรมของท่านอีกแล้ว
(ดาบสโพธิสัตว์ผู้พี่ได้กล่าวกับดาบสผู้น้องว่า)
[๙] บุคคลไม่ควรขอสิ่งที่รู้ว่าเป็นที่รักของเขา
อนึ่ง เพราะขอเกินไปย่อมเป็นที่เกลียดชัง
นาคราชถูกฤาษีขอแก้วมณี
จึงไม่หวนกลับมาให้ฤาษีเห็นอีกเลย๑
มณิกัณฐชาดกที่ ๓ จบ

เชิงอรรถ :
๑ วิ.มหา. (แปล) ๑/๓๔๔/๓๗๙-๓๘๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๓. ติกนิบาต] ๑. สังกัปปวรรค ๖. ชรูทปานชาดก (๒๕๖)
๔. กุณฑกกุจฉิสินธวชาดก (๒๕๔)
ว่าด้วยม้าสินธพกินรำข้าว
(พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลพ่อค้าเมื่อจะทดลองลูกม้าสินธพ จึงกล่าวว่า)
[๑๐] หญ้าอันเป็นเดน ข้าวตัง
และรำข้าวเจ้าเคยกินมาแล้ว
นั่นเป็นอาหารของเจ้า
เพราะเหตุใดบัดนี้เจ้าจึงไม่กิน
(ลูกม้าสินธพได้กล่าวว่า)
[๑๑] มหาพราหมณ์ สถานที่ใดประชาชนไม่รู้จัก
สัตว์เลี้ยงโดยชาติ โดยวินัย๑
สถานที่นั้นมีข้าวตังและรำข้าวอยู่เป็นจำนวนมาก
[๑๒] ส่วนท่านรู้จักข้าพเจ้าดีว่า ม้านี้เป็นม้าชั้นยอดชนิดใด
ข้าพเจ้ารู้อยู่ เพราะอาศัยท่านผู้รู้ จึงไม่กินรำข้าวของท่าน
กุณฑกกุจฉิสินธวชาดกที่ ๔ จบ

๕. สุกชาดก (๒๕๕)
ว่าด้วยลูกนกแขกเต้า
(พระศาสดาครั้นทรงนำเรื่องในอดีตมาแล้ว จึงได้ตรัสว่า)
[๑๓] นกแขกเต้าตัวนั้นรู้ประมาณในการกินอาหารเพียงใด
จะมีอายุยืนและเลี้ยงดูมารดาบิดาได้นานเพียงนั้น
[๑๔] แต่เมื่อกลืนกินอาหารมากเกินไป
มันจึงจมลงแล้วในสมุทรนั้น
เพราะว่ามันไม่รู้จักประมาณ

เชิงอรรถ :
๑ วินัย ในที่นี้หมายถึงความประพฤติ (ขุ.ชา.อ. ๔/๑๑/๒๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๓. ติกนิบาต] ๑. สังกัปปวรรค ๖. ชรูทปานชาดก (๒๕๖)
[๑๕] เพราะฉะนั้น การรู้จักประมาณ
คือการไม่ติดอยู่ในรสอาหารเป็นการดี
บุคคลผู้ไม่รู้จักประมาณจะจมลง๑
ผู้รู้จักประมาณจะไม่จมลง
สุกชาดกที่ ๕ จบ

๖. ชรูทปานชาดก (๒๕๖)
ว่าด้วยขุดบ่อน้ำเก่า
(พระศาสดาครั้นทรงแสดงพระธรรมเทศนาแล้ว จึงได้ตรัสว่า)
[๑๖] พ่อค้าทั้งหลายที่มีความต้องการน้ำ
พากันขุดบ่อน้ำเก่าอยู่ ได้แร่เหล็ก แร่ทองแดง
แร่ดีบุก แร่ตะกั่ว แร่เงิน แร่ทอง แก้วมุกดา
แก้วไพฑูรย์เป็นจำนวนมาก
[๑๗] แต่พ่อค้าเหล่านั้นไม่ยินดีด้วยทรัพย์นั้น
ได้พากันขุดลึกยิ่งขึ้นไปอีก
พญานาคตัวมีพิษร้ายแรงมีเดชกล้าในบ่อน้ำนั้น
ได้ฆ่าพวกเขาด้วยเดชแห่งพิษ
[๑๘] เพราะฉะนั้น บุคคลเมื่อจะขุดอย่าขุดลึกเกินไป
เพราะว่าบ่อน้ำที่ขุดลึกเกินไปไม่เป็นการดี
ทรัพย์ที่พวกพ่อค้าขุดได้มาและชีวิตของพวกพ่อค้า
ถูกพญานาคให้พินาศไปเพราะการขุดลึกเกินไป
ชรูทปานชาดกที่ ๖ จบ

เชิงอรรถ :
๑ จมลง ในที่นี้ หมายถึงจมลงในอบายภูมิทั้ง ๔ อันเป็นสภาวะหรือที่อันปราศจากความเจริญ คือ (๑) นิรยะ
นรก สภาวะหรือที่อันปราศจากความสุข มีแต่ความเร่าร้อน (๒) ติรัจฉานโยนิ กำเนิดดิรัจฉาน พวก
มืดบอดโง่เขลา (๓) ปิตติวิสัย แดนเปรตผู้มีแต่ความหิวโหย (๔) อสุรกาย พวกอสูร พวกหวาดหวั่น
ไร้ความรื่นเริง (ขุ.ชา.อ. ๔/๑๕/๒๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๓. ติกนิบาต] ๑. สังกัปปวรรค ๙. ติรีฏวัจฉชาดก (๒๕๙)
๗. คามณิจันทชาดก (๒๕๗)
ว่าด้วยคามณิจันทพราหมณ์
(อาทาสมุขกุมารโพธิสัตว์เห็นกิริยาของพวกลิงแล้ว จึงได้กล่าวกับอำมาตย์
คามณิจันทพราหมณ์ว่า)
[๑๙] สัตว์นี้ไม่ฉลาด(ที่จะกะหรือสร้าง)บ้านเรือน
เป็นสัตว์มีปกติหลุกหลิกหน้าย่น
มักทำลายสิ่งที่เขาทำไว้แล้วสร้างไว้แล้ว
สัตว์ตระกูลนี้มีธรรมชาติอย่างนี้
[๒๐] ขนอย่างนี้มิใช่ขนของผู้มีจิตประกอบด้วยปัญญา
ลิงนี้เป็นสัตว์ที่ไม่น่าไว้วางใจ
พระเจ้าชนสันธะผู้เป็นพระชนกของข้าพเจ้า
ได้ตรัสสอนไว้อย่างนี้ว่า
ธรรมดาลิงไม่รู้เหตุที่ควรหรือไม่ควรอะไรเลย
[๒๑] สัตว์เช่นนั้นจะเลี้ยงดูมารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย
หรือพี่สาว น้องสาวของตนไม่ได้เลย
พระเจ้าทศรถผู้เป็นพระชนกของข้าพเจ้าได้ตรัสสอนไว้อย่างนี้
คามณิจันทชาดกที่ ๗ จบ

๘. มันธาตุราชชาดก (๒๕๘)
ว่าด้วยพระเจ้ามันธาตุ
(พระศาสดาครั้นทรงแสดงพระธรรมเทศนาแล้ว จึงได้ตรัสว่า)
[๒๒] ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์โคจรรอบภูเขาสิเนรุ
ส่องแสงสว่างไสวไปทั่วทิศมีกำหนดประมาณเท่าไร
สัตว์ทั้งหลายที่อาศัยแผ่นดินอยู่ในที่มีกำหนดประมาณเท่านั้น
ล้วนเป็นทาสของพระเจ้ามันธาตุหมดทั้งนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๓. ติกนิบาต] ๑. สังกัปปวรรค ๙. ติรีฏวัจฉชาดก (๒๕๙)
[๒๓] ขึ้นชื่อว่าความอิ่มในกามทั้งหลายไม่มีแม้ด้วยฝนกหาปณะ
กามทั้งหลายมีความยินดีน้อยแต่มีทุกข์มาก
บัณฑิตรู้ชัดแล้วอย่างนี้
[๒๔] สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ไม่ยินดีในกามทั้งหลายแม้ที่เป็นทิพย์
แต่ยินดีในความสิ้นตัณหา
มันธาตุราชชาดกที่ ๘ จบ

๙. ติรีฏวัจฉชาดก (๒๕๙)
ว่าด้วยติรีฏวัจฉดาบส
(อุปราชเข้าไปเฝ้าพระราชาถวายบังคมแล้ว กราบทูลว่า)
[๒๕] กรรมอะไร ๆ ที่สำเร็จด้วยวิชาของดาบสนี้ไม่มีเลย
อนึ่ง ดาบสนี้เป็นพระญาติ เป็นพระสหายของพระองค์ก็หามิได้
เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร
ติรีฏวัจฉดาบสผู้มีปกติถือไม้ ๓ ท่อน๑เที่ยวไป
จึงบริโภคโภชนะมีรสเลิศเล่า
(พระราชาทรงสรรเสริญคุณของติรีฏวัจฉดาบสโพธิสัตว์ว่า)
[๒๖] เมื่อพ่อแพ้ในการรบ
ตกอยู่ในอันตรายแต่ผู้เดียว
ดาบสนั้นได้ทำการอนุเคราะห์ ยื่นมือช่วยเหลือ
พ่อผู้ตกยากอยู่ในป่าใหญ่อันทารุณ
เพราะการช่วยเหลือนั้น
พ่อผู้กำลังเผชิญทุกข์อยู่ก็ขึ้นจากบ่อน้ำได้

เชิงอรรถ :
๑ ไม้ ๓ ท่อน ในที่นี้หมายถึงไม้ที่จะนำไปทำขาตั้งหม้อน้ำหรือคนโทน้ำ (ขุ.ชา.อ. ๔/๒๕/๔๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๓. ติกนิบาต] ๒. ปทุมวรรค ๑. ปทุมชาดก (๒๖๑)
[๒๗] พ่อผู้ดำรงอยู่ในมนุษยโลกนี้
กำลังตกอยู่ในวิสัยของพญามัจจุราช มาถึงสถานที่นี้ได้
เพราะการช่วยเหลืออันแสนยากของดาบสนั้น
ลูกเอ๋ย ติรีฏวัจฉดาบสเป็นผู้สมควรแก่ลาภ๑
พวกเจ้าจงถวายปัจจัยที่ควรบริโภค
จงบูชาด้วยปัจจัยที่ควรบูชาแก่ท่านเถิด
ติรีฏวัจฉชาดกที่ ๙ จบ

๑๐. ทูตชาดก (๒๖๐)
ว่าด้วยทุกชีวิตเป็นทูตของท้อง
(บุรุษโลเลคนหนึ่งได้เห็นวิธีเสวยพระกระยาหารของพระเจ้าโภชนสุทธิกโพธิสัตว์
ตกอยู่ในอำนาจของความอยาก จึงกล่าว ๒ คาถาทูลว่า)
[๒๘] สัตว์ทั้งหลายที่ตกอยู่ในอำนาจของตัณหาไปยังสถานที่ไกล
เพื่อจะขอแม้กับคนที่เป็นศัตรูเพื่อประโยชน์แก่ท้องใด
ข้าพระองค์เป็นทูตของท้องนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมทัพ
ขอพระองค์อย่าทรงพิโรธข้าพระองค์เลย
[๒๙] มนุษย์ทั้งหลายตกอยู่ในอำนาจของท้องใดทั้งกลางวันกลางคืน
ข้าพระองค์เป็นทูตของท้องนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมทัพรถ
ขอพระองค์อย่าทรงพิโรธข้าพระองค์เลย
(พระราชาได้สดับคำของบุรุษนั้นแล้ว จึงตรัสว่า)
[๓๐] พ่อพราหมณ์ เราจะให้โคแดงสัก ๑,๐๐๐ ตัว
พร้อมกับโคจ่าฝูงแก่ท่าน เพราะทูตจะไม่ให้แก่ทูตได้อย่างไร
แม้เราก็เป็นทูตของท้องนั้นเหมือนกัน
ทูตชาดกที่ ๑๐ จบ
สังกัปปวรรคที่ ๑ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ลาภ ในที่นี้หมายถึงการได้ปัจจัย ๔ (ขุ.ชา.อ. ๔/๒๗/๔๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๓. ติกนิบาต] ๒. ปทุมวรรค ๑. ปทุมชาดก (๒๖๑)
รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สังกัปปราคชาดก ๒. ติลมุฏฐิชาดก
๓. มณิกัณฐชาดก ๔. กุณฑกกุจฉิสินธวชาดก
๕. สุกชาดก ๖. ชรูทปานชาดก
๗. คามณิจันทชาดก ๘. มันธาตุราชชาดก
๙. ติรีฏวัจฉชาดก ๑๐. ทูตชาดก

๒. ปทุมวรรค
หมวดว่าด้วยดอกบัว
๑. ปทุมชาดก (๒๖๑)
ว่าด้วยลูกชายเศรษฐีขอดอกบัว
(ลูกชายเศรษฐีคนหนึ่งเรียกชายจมูกแหว่งมาแล้ว กล่าวขอดอกบัวว่า)
[๓๑] ผมและหนวดที่ขาดไปแล้ว ๆ ยังงอกขึ้นอีกฉันใด
ขอจมูกของท่านจงงอกขึ้นฉันนั้น
เราขอดอกบัวท่านแล้ว ขอท่านจงให้แก่เรา
(ลูกชายเศรษฐีคนที่ ๒ กล่าวขอว่า)
[๓๒] พืชที่เก็บไว้ในฤดูใบไม้ร่วง เขาหว่านลงในนาแล้วงอกขึ้นฉันใด
ขอจมูกของท่านจงงอกขึ้นฉันนั้น
เราขอดอกบัวท่านแล้ว ขอท่านจงให้แก่เรา
(พระโพธิสัตว์ลูกชายเศรษฐีคนที่ ๓ กล่าวขอว่า)
[๓๓] คนทั้ง ๒ คนนี้เพ้อเจ้ออยู่ด้วยคิดว่า
ผู้นี้จะให้ดอกบัวแก่เราบ้าง พวกเขาจะพูดหรือไม่พูดก็ตาม
จมูกของท่านไม่มีทางจะงอกขึ้นได้
เราเพียงแต่ขอท่านเท่านั้น ท่านจงให้ดอกบัวแก่เรานะสหาย
ปทุมชาดกที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๓. ติกนิบาต] ๒. ปทุมวรรค ๕. ขุรัปปชาดก (๒๖๕)
๒. มุทุปาณิชาดก (๒๖๒)
ว่าด้วยพระราชาถูกหลอกด้วยคนฝ่ามืออันอ่อนนุ่ม
(พระราชธิดาให้แม่นมเรียนคาถาไปทูลพระราชกุมารว่า)
[๓๔] เมื่อใด มีคนใช้ที่มีฝ่ามืออ่อนนุ่ม
ช้างที่ฝึกไว้ดีแล้ว เวลามืด และฝนตก
เมื่อนั้น พระองค์พึงสมประสงค์แน่นอน
(พระราชาโพธิสัตว์ไม่อาจจะรักษาพระราชธิดาไว้ได้ จึงได้ตรัสว่า)
[๓๕] หญิงเหล่านั้นพูดจาอ่อนหวาน ไม่รู้จักพอ
ให้เต็มได้ยากเหมือนกับแม่น้ำ ย่อมจมลง(ในนรก)
บุคคลรู้ชัดเนื้อความข้อนั้นแล้ว พึงเว้นให้ห่างไกล
[๓๖] หญิงเหล่านั้นคบหาชายใด
ด้วยความพอใจหรือด้วยทรัพย์ก็ตาม
ย่อมตามเผาผลาญชายนั้นทันที
เหมือนไฟป่าเผาผลาญพื้นที่ของตน
มุทุปาณิชาดกที่ ๒ จบ

๓. จูฬปโลภนชาดก (๒๖๓)
ว่าด้วยการประเล้าประโลมของหญิงเพียงครู่เดียว
(อนิตถิกุมารโพธิสัตว์ดำริจะช่วยเหลือดาบสผู้เสื่อมจากฌาน จึงได้ตรัสว่า)
[๓๗] ตัวท่านเองเดินมาได้บนผิวน้ำที่ไม่แตกแยกด้วยฤทธิ์
ครั้นถึงความคลุกคลีกับหญิง จึงจมลงในห้วงน้ำใหญ่
[๓๘] ธรรมดาหญิงทั้งหลายมีความหมุนเวียนเปลี่ยนอยู่เสมอ
มีมายามาก ทำพรหมจรรย์ให้กำเริบ
ย่อมจมลง(ในนรก)
บุคคลรู้ชัดเนื้อความข้อนั้นแล้ว พึงเว้นให้ห่างไกล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๓. ติกนิบาต] ๒. ปทุมวรรค ๕. ขุรัปปชาดก (๒๖๕)
[๓๙] หญิงเหล่านั้นคบหาชายใด
ด้วยความพอใจหรือด้วยทรัพย์ก็ตาม
ย่อมตามเผาผลาญชายนั้นทันที
เหมือนไฟป่าเผาผลาญพื้นที่ของตน
จูฬปโลภนชาดกที่ ๓ จบ

๔. มหาปนาทชาดก (๒๖๔)
ว่าด้วยปราสาทของพระเจ้ามหาปนาทะ
(พระศาสดาทรงแสดงพระธรรมเทศนา จึงได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า)
[๔๐] พระราชาทรงพระนามว่าปนาทะ ทรงมีปราสาททองคำ
กว้าง ๑๖ ชั่วลูกธนูตก สูง ๑,๐๐๐ ชั่วลูกธนู
[๔๑] ปราสาทสูง ๑,๐๐๐ ชั่วลูกธนู มีพื้น ๑๐๐ ชั้น
ประดับประดาด้วยธงแก้วมณีสีเขียว มีนักฟ้อนอยู่ ๖,๐๐๐ คน
โดยแบ่งออกเป็น ๗ พวก ฟ้อนรำอยู่ในปราสาทนั้น
[๔๒] ภัททชิ เธอพูดถึงปราสาทตามที่มีแล้วในกาลนั้น
ในกาลนั้นตถาคตเป็นท้าวสักกเทวราช
เป็นผู้ขวนขวายช่วยเหลือการงานของเธอ
มหาปนาทชาดกที่ ๔ จบ

๕. ขุรัปปชาดก (๒๖๕)
ว่าด้วยคนกล้าไม่กลัวลูกศรที่คม
(บุตรพ่อค้าถามพระโพธิสัตว์ผู้เป็นหัวหน้าทำหน้าที่อารักขาว่า)
[๔๓] เมื่อมรณภัยนั้นปรากฏเฉพาะหน้า
เพราะเห็นพวกโจรยิงลูกธนูอันแหลมคมด้วยความว่องไว
และถือดาบที่ทาน้ำมันอันคมกริบ
เพราะเหตุไรหนอ ท่านจึงไม่สะดุ้งกลัว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๓. ติกนิบาต] ๒. ปทุมวรรค ๘. อารามทูสกชาดก (๒๖๘)
(พระโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้น จึงกล่าว ๒ คาถาว่า)
[๔๔] เมื่อมรณภัยนั้นปรากฏเฉพาะหน้า
เพราะเห็นพวกโจรยิงลูกธนูแหลมคมด้วยความว่องไว
และถือดาบที่ทาน้ำมันอันคมกริบ
ข้าพเจ้ากลับยินดีและพอใจมากที่สุด
[๔๕] ข้าพเจ้านั้นมีความยินดีจึงย่ำยีศัตรูได้
ข้าพเจ้าได้สละชีวิตไว้ก่อนแล้ว เพราะเมื่อยังอาลัยในชีวิต
บุคคลกล้าหาญจะกระทำกิจของผู้กล้าหาญในกาลใด ๆ ไม่ได้เลย
ขุรัปปชาดกที่ ๕ จบ

๖. วาตัคคสินธวชาดก (๒๖๖)
ว่าด้วยม้าสินธพชื่อวาตัคคะ
(ลูกลาได้เข้าไปหาแม่ลาแล้วถามว่า)
[๔๖] แม่เป็นโรคผอมเหลืองไม่ใยดีอาหารเพราะม้าตัวใด
ม้านั้นคือตัวนี้มาภักดีแล้ว
บัดนี้ เพราะเหตุไร แม่จึงให้ม้านั้นหนีไปเสียเล่า
(แม่ลาได้ฟังคำของลูก จึงกล่าวว่า)
[๔๗] ก็ถ้าความเชยชิดเกิดมีแต่แรกพบ
ชื่อเสียงของสตรีจะเสียหาย
เพราะเหตุนั้น ลูกเอ๋ย แม่จึงทำให้ม้านั้นหนีไป
(พระศาสดาได้ตรัสพระคาถาว่า)
[๔๘] หญิงใดไม่ปรารถนาชายมียศศักดิ์
เกิดในตระกูลสูงที่เขาชักนำมาแล้ว จะเสียใจไปนานแสนนาน
เหมือนภัททลีแม่ลาเสียใจเพราะคิดถึงม้าสินธพที่ชื่อวาตัคคะ
วาตัคคสินธวชาดกที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๓. ติกนิบาต] ๒. ปทุมวรรค ๘. อารามทูสกชาดก (๒๖๘)
๗. สุวัณณกักกฏกชาดก (๒๖๗)
ว่าด้วยนางช้างพังอ้อนวอนปูทอง
(ช้างโพธิสัตว์ให้ช้างพังทราบว่าตนถูกปูหนีบเพื่อจะไม่ให้นางหนีไป จึงกล่าวว่า)
[๔๙] เราถูกปูทองซึ่งมีตาโปนออกมา
มีกระดูกเป็นหนังอาศัยอยู่ในน้ำ ไม่มีขน หนีบแล้ว
ร้องขอความกรุณาอยู่
เจ้าอย่าทิ้งเราผู้เป็นสามีคู่ชีวิตไปเลย
(ช้างพังหันกลับไปปลอบโยนพระโพธิสัตว์ว่า)
[๕๐] ข้าแต่ลูกเจ้า ดิฉันจะไม่ทิ้งท่าน
ผู้เป็นช้างมีอายุ ๖๐ ปี เสื่อมกำลัง
ท่านเป็นสามีสุดที่รักของดิฉัน
ยิ่งกว่าแผ่นดินอันมีมหาสมุทรทั้ง ๔ เป็นขอบเขต
(ช้างพังอ้อนวอนปูทองว่า)
[๕๑] ท่านเป็นสัตว์น้ำที่ประเสริฐกว่าปูทั้งหลายในสมุทร
ในแม่น้ำคงคา และในแม่น้ำยมุนา
ขอท่านจงปล่อยสามีของข้าพเจ้าผู้ร้องไห้อยู่เถิด
สุวัณณกักกฏกชาดกที่ ๗ จบ

๘. อารามทูสกชาดก (๒๖๘)
ว่าด้วยลิงทำลายสวน
(พระโพธิสัตว์เห็นกิริยาของลิง จึงกล่าวว่า)
[๕๒] ลิงตัวที่ได้รับสมมติว่าประเสริฐที่สุด
กว่าลิงทั้งปวงที่มีชาติเสมอกัน ยังมีปัญญาเพียงแค่นี้
ส่วนลิงนอกจากนี้จะมีปัญญาเช่นไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๓. ติกนิบาต] ๒. ปทุมวรรค ๑๐. อุลูกชาดก
(พวกลิงได้ฟังคำของพระโพธิสัตว์แล้ว จึงกล่าวว่า)
[๕๓] ท่านผู้ประเสริฐ ท่านยังไม่รู้จึงได้ติเตียนอย่างนี้
พวกเราไม่เห็นรากแล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า
ต้นไม้หยั่งรากลงลึกแค่ไหน
(พระโพธิสัตว์กล่าวว่า)
[๕๔] เราไม่ติเตียนพวกเจ้าที่เป็นลิงป่าหรอก
แต่ผู้ที่ควรถูกตำหนิคือพระเจ้าวิสสเสนะ
ที่พวกเจ้าปลูกต้นไม้ให้
อารามทูสกชาดกที่ ๘ จบ

๙. สุชาตาชาดก (๒๖๙)
ว่าด้วยทรงปรารภนางสุชาดา
(พระโพธิสัตว์เป็นโอรสของพระเจ้าพรหมทัตได้ตรัสกับพระมารดาว่า)
[๕๕] ธรรมดาสัตว์ทั้งหลายที่สมบูรณ์ด้วยวรรณะ
มีเสียงอันไพเราะ น่ารักน่าชม แต่พูดจาหยาบกระด้าง
ย่อมไม่เป็นที่รักของใคร ๆ ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
[๕๖] พระองค์ทรงทอดพระเนตรแล้วมิใช่หรือ
นกดุเหว่าสีดำตัวนี้มีสีไม่สวย ลายพร้อยไปทั้งตัว
แต่เป็นที่รักของสัตว์ทั้งหลายจำนวนมาก
เพราะร้องด้วยเสียงอันไพเราะ
[๕๗] เพราะฉะนั้นบุคคลควรพูดคำอันสละสลวย
คิดก่อนพูด พูดพอประมาณไม่ฟุ้งซ่าน
ถ้อยคำของผู้ที่แสดงเป็นอรรถเป็นธรรม
เป็นถ้อยคำอันไพเราะ เป็นถ้อยคำที่เป็นภาษิต
สุชาตาชาดกที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๓. ติกนิบาต] ๒. ปทุมวรรค ๑๐. อุลูกชาดก
๑๐. อุลูกชาดก (๒๗๐)
ว่าด้วยนกเค้า
(กาตัวหนึ่งไม่พอใจการตั้งนกเค้าให้เป็นราชา จึงกล่าวกับนกทั้งหลายว่า)
[๕๘] ได้ข่าวว่า พวกญาติทั้งหมดจะแต่งตั้งนกเค้าให้เป็นใหญ่
ถ้าพวกญาติอนุญาต ข้าพเจ้าจะขอพูดสักคำหนึ่ง
(นกทั้งหลายอนุญาตว่า)
[๕๙] เอาเถิดเพื่อน พวกเราทั้งหมดอนุญาต
แต่เจ้าจงพูดแต่ถ้อยคำที่เป็นอรรถเป็นธรรมเท่านั้น
เพราะว่าพวกนกหนุ่ม ๆ ที่มีปัญญา
และทรงไว้ซึ่งญาณอันรุ่งเรืองยังมีอยู่
(กาได้รับอนุญาตแล้ว จึงกล่าวว่า)
[๖๐] ขอความเจริญรุ่งเรืองจงมีแก่ท่านทั้งหลาย
การที่แต่งตั้งนกเค้าให้เป็นใหญ่นั้น ข้าพเจ้ายังไม่ชอบใจ
ท่านจงมองดูหน้านกเค้าที่ยังไม่โกรธดูซิ
ถ้านกเค้าโกรธจะทำหน้าอย่างไร
อุลูกชาดกที่ ๑๐ จบ
ปทุมวรรคที่ ๒ จบ

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปทุมชาดก ๒. มุทุปาณิชาดก
๓. จูฬปโลภนชาดก ๔. มหาปนาทชาดก
๕. ขุรัปปชาดก ๖. วาตัคคสินธวชาดก
๗. สุวัณณกักกฏกชาดก ๘. อารามทูสกชาดก
๙. สุชาตาชาดก ๑๐. อุลูกชาดก


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๓. ติกนิบาต] ๓. อุทปานวรรค ๓. กัจฉปชาดก (๒๗๓)
๓. อุทปานวรรค
หมวดว่าด้วยบ่อน้ำ
๑. อุทปานทูสกชาดก (๒๗๑)
ว่าด้วยสุนัขจิ้งจอกทำลายบ่อน้ำ
(ฤๅษีโพธิสัตว์กล่าวกับสุนัขจิ้งจอกว่า)
[๖๑] นี่เพื่อน ทำไมเจ้าจึงได้ถ่ายรดบ่อน้ำดื่มที่ขุดได้ยาก
ของพวกฤาษีชีไพรผู้บำเพ็ญตบะอยู่ตลอดกาลนานเล่า
(สุนัขจิ้งจอกได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวว่า)
[๖๒] พวกเราดื่มน้ำที่ใดแล้วย่อมถ่ายลงที่นั้น
นั้นเป็นธรรมของพวกสุนัขจิ้งจอก
และเป็นธรรมของพวกเรามาตั้งแต่ครั้งบิดาและปู่
ท่านไม่ควรจะกล่าวโทษธรรมนั้น
(ต่อแต่นั้นพระโพธิสัตว์จึงกล่าวว่า)
[๖๓] ธรรมของพวกเจ้ายังเป็นเช่นนี้
ก็สภาพที่มิใช่ธรรมของพวกเจ้าจะเป็นเช่นไร
ขอพวกเราอย่าได้เห็นธรรม
หรือสภาพที่มิใช่ธรรมของพวกเจ้าในกาลไหน ๆ เลย
อุทปานทูสกชาดกที่ ๑ จบ

๒. พยัคฆชาดก (๒๗๒)
ว่าด้วยรุกขเทวดาอ้อนวอนราชสีห์และเสือ
(รุกขเทวดาโพธิสัตว์ได้กล่าวกับรุกขเทวดานอกนี้ว่า)
[๖๔] เพราะการคบหามิตรใด ความปลอดภัยจะหมดไป
บัณฑิตควรรักษาลาภยศและชีวิตของตน
ที่มิตรนั้นเคยครอบครองมาก่อนเอาไว้ประดุจบุคคลรักษาดวงตา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๓. ติกนิบาต] ๓. อุทปานวรรค ๓. กัจฉปชาดก (๒๗๓)
[๖๕] เพราะการคบหากับมิตรใด ความปลอดภัยเพิ่มพูนมากขึ้น
บัณฑิตควรทำการช่วยเหลือในกิจทุกอย่างของมิตรนั้น
ให้เหมือนกับทำให้กับตนเอง
(พระโพธิสัตว์กล่าวว่า)
[๖๖] มาเถิดราชสีห์และเสือ พวกเจ้าจงกลับไปยังป่าใหญ่
ขอมนุษย์อย่าโค่นป่าที่ปราศจากราชสีห์และเสือ
ขอพวกราชสีห์และเสือก็อย่าปราศจากป่าเลย
พยัคฆชาดกที่ ๒ จบ

๓. กัจฉปชาดก (๒๗๓)
ว่าด้วยฤาษีขอร้องเต่า
(พระโพธิสัตว์บวชเป็นฤๅษีเมื่อจะล้อเล่นกับลิงทุศีล จึงกล่าวว่า)
[๖๗] ใครหนอเดินมาเหมือนคนถือภัตตาหารมาเต็มถาด
เหมือนพราหมณ์ได้ลาภเต็มมือ
เจ้าไปเที่ยวภิกขาจารที่ไหนหนอ เข้าไปหาผู้มีศรัทธาคนใดมา
(ลิงทุศีลได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวว่า)
[๖๘] ข้าพเจ้าเป็นลิงโง่เขลาจับต้องสิ่งที่ไม่ควรจับต้อง
ขอความเจริญจงมีแก่ท่าน ขอท่านจงช่วยปล่อยข้าพเจ้า
ข้าพเจ้าหลุดพ้นแล้วจะไปยังภูเขา
(พระโพธิสัตว์เจรจากับเต่าว่า)
[๖๙] ธรรมดาเต่าเป็นต้นตระกูลกัสสปโคตร
ลิงเป็นต้นตระกูลโกณฑัญญโคตร
กัสสปะ ท่านจงปล่อยโกณฑัญญะเสียเถิด
ท่านได้เคยร่วมเมถุน๑กันมาแล้ว
กัจฉปชาดกที่ ๓ จบ

เชิงอรรถ :
๑ เคยร่วมเมถุน ในที่นี้หมายถึงเต่าเคยเสพสังวาสกับลิง (ขุ.ชา.อ. ๔/๑๖๙/๙๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๓. ติกนิบาต] ๓. อุทปานวรรค ๖. กุรุธัมมชาดก (๒๗๖)
๔. โลลชาดก (๒๗๔)
ว่าด้วยโทษของความโลเล
(นกพิราบโพธิสัตว์เห็นกานั้นทอดถอนใจอยู่ เมื่อจะล้อเล่น จึงกล่าวว่า)
[๗๐] นกยางอะไรนี่มีหงอน เป็นโจร มีเมฆเป็นปู่๑
แม่นกยาง เจ้าจงลงมาข้างล่างนี้เถิด
กาสหายของเราเป็นสัตว์ดุร้าย
(กาได้ฟังดังนั้น จึงตอบว่า)
[๗๑] เรามิใช่นกยางมีหงอนหรอก
เราเป็นกาโลเล ไม่เชื่อฟังคำของท่าน
ท่านจงมาดูเถิด เรากลายเป็นกามีขนเกรียนไปแล้ว
(พระโพธิสัตว์กล่าวว่า)
[๗๒] เพื่อนเอ๋ย เจ้าจักประสบความชั่วร้ายเช่นนี้อีก
เพราะปกติของเจ้าเป็นเช่นนั้น
อาหารของมนุษย์เป็นของที่นกไม่ควรกิน
โลลชาดกที่ ๔ จบ

๕. รุจิรชาดก (๒๗๕)
ว่าด้วยเรื่องนกกาที่น่ารัก
(พระโพธิสัตว์กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า)
[๗๓] นกยางตัวนี้ช่างน่ารักเสียนี่กระไร
มาอาศัยอยู่ในรังกา
นั่นเป็นรังของกาดุร้ายสหายของเรา

เชิงอรรถ :
๑ มีก้อนเมฆเป็นปู่ ในที่นี้หมายถึงนกยางทั้งหลายจะตั้งครรภ์ (มีไข่) ได้ ต้องได้ยินเสียงเมฆครางกระหึ่ม
เสียก่อน จึงตั้งครรภ์ได้ (ดู อธิบาย วิ.อ. ๑/๒๒๒-๒๒๓) นี้เป็นธรรมดาของนกยาง (ขุ.ชา.อ. ๔/๗๐/๙๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๓. ติกนิบาต] ๓. อุทปานวรรค ๖. กุรุธัมมชาดก (๒๗๖)
(กากล่าวว่า)
[๗๔] ท่านรู้จักเราดีมิใช่หรือ พิราบเพื่อนรัก
ผู้มีข้าวฟ่างและลูกเดือยเป็นอาหาร
เราไม่เชื่อฟังคำของท่าน ท่านจงมาดูเถิด
เรากลายเป็นกาขนเกรียนไปแล้ว
(พระโพธิสัตว์กล่าวว่า)
[๗๕] เพื่อนเอ๋ย เจ้าจักประสบความชั่วร้ายเช่นนี้อีก
เพราะปกติของเจ้าเป็นเช่นนั้น
อาหารของมนุษย์เป็นของที่นกไม่ควรกิน
รุจิรชาดกที่ ๕ จบ

๖. กุรุธัมมชาดก (๒๗๖)
ว่าด้วยธรรมของชาวกุรุ
(พราหมณ์ทั้งหลายสรรเสริญคุณของพระอุปราชโพธิสัตว์ว่า)
[๗๖] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นใหญ่กว่าเหล่าชน
ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ทราบศรัทธาและศีลของพระองค์แล้ว
จะขอรับพระราชทานแลกเปลี่ยนทองคำกับพญาช้างอัญชนวรรณ
นำไปไว้ในแคว้นกาลิงคะ พระเจ้าข้า
(พระอุปราชโพธิสัตว์ตอบว่า)
[๗๗] สัตว์ทั้งหมดนั้นที่พึงเลี้ยงด้วยข้าวก็ดี
ไม่พึงเลี้ยงด้วยข้าวก็ดี ในมนุษยโลกนี้ ตัวใดเจาะจงไปหา
เราไม่ควรปฏิเสธ นี้เป็นคำของบูรพาจารย์
[๗๘] พราหมณ์ทั้งหลาย เราจะให้พญาช้างนี้ที่สมควรแก่พระราชา
เหมาะที่พระราชาจะทรงใช้สอย มียศ ประดับตกแต่งอย่างสวยงาม
ปกคลุมกระพองด้วยข่ายทองคำแก่พวกท่านพร้อมทั้งนายควาญ
พวกท่านจงไปตามปรารถนาเถิด
กุรุธัมมชาดกที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๓. ติกนิบาต] ๓. อุทปานวรรค ๙. สตปัตตชาดก (๒๗๙)
๗. โรมชาดก (๒๗๗)
ว่าด้วยดาบสลวงนกพิราบโรมะ
(ดาบสโกงคิดจะลวงจับนกพิราบกิน จึงได้กล่าว ๒ คาถาว่า)
[๗๙] โรมกะ เราอยู่ในถ้ำศิลามา ๕๐ กว่าปี
เมื่อก่อนนกทั้งหลายไม่หวาดระแวง
ไว้ใจจึงบินมาเกาะที่มือเรา
[๘๐] วักกังคะ คราวนี้ทำไม
นกเหล่านั้นจึงพยายามหนีไปอยู่ซอกเขาแห่งอื่น
นกทั้งหลายไม่นับถือเราเหมือนเมื่อก่อนกระมัง
หรือจากไปเสียนาน จึงจำเราไม่ได้
หรือนกพวกนี้มิใช่นกพวกนั้น
(นกพิราบโพธิสัตว์ได้ยินดังนั้น จึงกล่าวว่า)
[๘๑] พวกเราจำท่านได้ดี ไม่ลืมหรอก
ท่านก็คือดาบสรูปนั้นแหละ พวกเราก็ไม่ใช่นกพวกอื่น
แต่จิตของท่านประทุษร้ายในสัตว์เหล่านี้
ท่านอาชีวก เพราะเหตุนั้น พวกเราจึงกลัวท่าน
โรมชาดกที่ ๗ จบ

๘. มหิสชาดก (๒๗๘)
ว่าด้วยลิงกับกระบือ
(รุกขเทวดาได้กล่าวกับกระบือโพธิสัตว์ว่า)
[๘๒] เพราะมุ่งหมายประโยชน์อะไรต่อลิงผู้มีจิตกลับกลอก
มีปกติประทุษร้ายมิตร ท่านจึงอดกลั้นทุกข์นี้ไว้
เหมือนคนอดกลั้นต่อเจ้านาย
ผู้ให้สิ่งที่ต้องการได้ทุกอย่าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๓. ติกนิบาต] ๓. อุทปานวรรค ๙. สตปัตตชาดก (๒๗๙)
[๘๓] ท่านจงขวิดมัน จงเหยียบมัน
ถ้าไม่ปรามมันไว้บ้าง
พวกสัตว์โง่ก็จะพึงเบียดเบียนหนักข้อขึ้น
(กระบือโพธิสัตว์กล่าวว่า)
[๘๔] ก็เมื่อเจ้าลิงตัวนี้เข้าใจว่ากระบือตัวอื่นเหมือนข้าพเจ้า
จักกระทำอนาจารอย่างนี้
กระบือเหล่านั้นก็จักฆ่ามันเสียในที่นั้น
ข้าพเจ้าจักพ้นจากปาณาติบาต
มหิสชาดกที่ ๘ จบ

๙. สตปัตตชาดก (๒๗๙)
ว่าด้วยมาณพเข้าใจผิดนกกระไน
(พระศาสดาทรงนำอดีตนิทานมาแสดงแล้ว ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า)
[๘๕] นางสุนัขจิ้งจอกซึ่งเที่ยวไปในป่าปรารถนาดี
ประกาศให้รู้ในหนทาง
มาณพเข้าใจว่าเป็นผู้ไม่ปรารถนาดี
แต่เข้าใจนกกระไนผู้ไม่ปรารถนาดีว่า
เป็นผู้ปรารถนาดี ฉันใด
[๘๖] บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เมื่อผู้หวังดีกล่าวสอน ก็ไม่รับคำสอน
[๘๗] อนึ่ง ชนเหล่าใดสรรเสริญบุคคลนั้น
หรือยกย่องบุคคลนั้น เพราะความกลัว
เขาย่อมเข้าใจบุคคลนั้นว่าเป็นมิตร
เหมือนมาณพเข้าใจนกกระไน
สตปัตตชาดกที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๓. ติกนิบาต] ๔. อัพภันตรวรรค ๒. เสยยชาดก (๒๘๒)
๑๐. ปุฏทูสกชาดก (๒๘๐)
ว่าด้วยลิงผู้ชอบทำลายพวงดอกไม้
(พราหมณ์โพธิสัตว์เรียกลิงจ่าฝูงมาว่ากล่าวว่า)
[๘๘] พญาเนื้อ ท่านเห็นจะเป็นผู้ฉลาดในการทำห่อใบไม้เป็นแน่แท้
เพราะฉะนั้นจึงได้รื้อมันเสีย
คงจะกระทำพวงอื่นให้ดีกว่าเป็นแน่
(ลิงได้ฟังดังนั้น จึงได้กล่าวว่า)
[๘๙] มารดาบิดาของข้าพเจ้าเป็นผู้ฉลาดในการทำพวงใบไม้ก็หาไม่
พวกเราได้แต่รื้อสิ่งของที่เขาทำไว้แล้ว ๆ เท่านั้น
ตระกูลของพวกเรานี้มีธรรมอย่างนี้
(พราหมณ์โพธิสัตว์กล่าวว่า)
[๙๐] ธรรมของพวกเจ้ายังเป็นเช่นนี้
ก็สภาพที่มิใช่ธรรมของพวกเจ้าจะเป็นเช่นไร
ขอพวกเราอย่าได้เห็นธรรม
หรือสภาพที่มิใช่ธรรมของพวกเจ้าในกาลไหน ๆ เลย
ปุฏทูสกชาดกที่ ๑๐ จบ
อุทปานวรรคที่ ๓ จบ

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อุทปานทูสกชาดก ๒. พยัคฆชาดก
๓. กัจฉปชาดก ๔. โลลชาดก
๕. รุจิรชาดก ๖. กุรุธัมมชาดก
๗. โรมชาดก ๘. มหิสชาดก
๙. สตปัตตชาดก ๑๐. ปุฏทูสกชาดก


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๓. ติกนิบาต] ๔. อัพภันตรวรรค ๒. เสยยชาดก (๒๘๒)
๔. อัพภันตรวรรค
หมวดว่าด้วยผลไม้ทิพย์ชื่ออัพภันตระ
๑. อัพภันตรชาดก (๒๘๑)
ว่าด้วยผลไม้ทิพย์ชื่ออัพภันตระ
(ท้าวสักกะทรงเจรจากับพระมเหสีของพระราชาว่า)
[๙๑] ผลของต้นมะม่วงที่ชื่ออัพภันตระ เป็นผลไม้ทิพย์
หญิงแพ้ท้องบริโภคแล้ว จะประสูติโอรสเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
[๙๒] พระนางผู้เจริญ แม้พระนางก็จะได้เป็นพระมเหสี
ทั้งจะได้เป็นที่โปรดปรานของพระสวามี
พระราชาจักทรงนำผลมะม่วงชื่ออัพภันตระนี้
มาพระราชทานแก่พระนาง
(นกแขกเต้าสุวโปตกะได้กล่าวกับพวกรากษสว่า)
[๙๓] บุคคลผู้กล้าหาญยอมเสียสละชีวิตร่างกาย
พยายามทำประโยชน์แก่ผู้ที่เลี้ยงดูตนมา
ย่อมประสบฐานะอันใด ข้าพเจ้าก็จะประสบฐานะอันนั้นเช่นกัน
อัพภันตรชาดกที่ ๑ จบ

๒. เสยยชาดก (๒๘๒)
ว่าด้วยคบคนดีผู้คบก็เป็นคนดี
(พระราชาโพธิสัตว์สนทนากับเหล่าอำมาตย์ว่า)
[๙๔] ผู้ใดคบหาบุคคลผู้ประเสริฐ
ผู้นั้นชื่อว่ามีส่วนอันประเสริฐ เป็นผู้ประเสริฐ
เรากระทำไมตรีกับพระราชาโจรองค์เดียวแล้ว
ได้ปลดปล่อยพวกท่านตั้ง ๑๐๐ คนให้พ้นการถูกประหารชีวิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๓. ติกนิบาต] ๔. อัพภันตรวรรค ๕. มณิสูกรชาดก (๒๘๕)
[๙๕] เพราะฉะนั้น บุคคลเพียงผู้เดียว
กระทำไมตรีกับชาวโลกทั้งปวง
ละโลกนี้ไปแล้วพึงไปสู่สวรรค์
พวกท่านผู้เป็นชาวกาสีจงฟังคำของเรานี้เถิด
(พระศาสดาตรัสพระคาถาว่า)
[๙๖] พระเจ้ากังสมหาราชผู้ทรงปกครองกรุงพาราณสี
ครั้นทรงมีพระดำรัสนี้แล้ว ทรงสละธนูและลูกศร
ทรงสำรวมออกผนวชแล้ว
เสยยชาดกที่ ๒ จบ

๓. วัฑฒกีสูกรชาดก (๒๘๓)
ว่าด้วยสุกรชื่อวัฑฒกี
(ชฎิลโกงเห็นเสือโคร่งกลับมาตัวเปล่า จึงกล่าวกับเสือโคร่งว่า)
[๙๗] เจ้าเสือโคร่ง ในวันก่อนเจ้าเที่ยวย่ำยีเหล่าสุกรที่นี้
แต่บัดนี้ เจ้าซบเซามาแต่ผู้เดียว
วันนี้ เจ้าไม่มีแรงหรือ เสือโคร่ง
(เสือโคร่งได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวว่า)
[๙๘] ได้ยินว่า ในวันก่อนสุกรเหล่านี้เห็นข้าพเจ้าแล้วเกิดความกลัว
แยกย้ายกันวิ่งหนีไปหาที่ซุกซ่อนตัวละทิศละทาง
แต่วันนี้สุกรเหล่านั้นมาอยู่รวมกันในชัยภูมิที่ข้าพเจ้าจะย่ำยีได้ยาก
(เทวดาที่สิงสถิตอยู่ในไพรสณฑ์นั้นได้กล่าวว่า)
[๙๙] ข้าพเจ้าขอนอบน้อมฝูงสุกรที่มาประชุมพร้อมกัน
ข้าพเจ้าเห็นด้วยตัวเองซึ่งมิตรภาพอันไม่เคยปรากฏมาก่อน
จึงกล่าวสรรเสริญฝูงสูกรที่มีเขี้ยวเป็นกำลังจึงชนะเสือโคร่งได้
และพ้นมรณภัยได้ด้วยความสามัคคี
วัฑฒกีสูกรชาดกที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๓. ติกนิบาต] ๔. อัพภันตรวรรค ๕. มณิสูกรชาดก (๒๘๕)
๔. สิริชาดก (๒๘๔)
ว่าด้วยสมบัติเกิดขึ้นแก่ผู้มีบุญ
(พระศาสดาทรงนำอดีตนิทานมาแสดงแล้ว ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า)
[๑๐๐] ผู้ไม่มีบุญจะมีศิลปะหรือไม่มีศีลปะก็ตามที
ขวนขวายรวบรวมทรัพย์ใดไว้เป็นจำนวนมาก
ทรัพย์นั้นผู้มีบุญย่อมได้ใช้สอย
[๑๐๑] สมบัติจำนวนมากล่วงเลยคนเหล่าอื่นไปเสีย
ย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้กระทำบุญไว้ในที่ทั้งปวงเท่านั้น
แม้รัตนะทั้งหลายก็เกิดขึ้นในที่มิใช่บ่อเกิดแห่งรัตนะ
(พระศาสดาเมื่อจะทรงแสดงรัตนะเหล่านั้น จึงตรัสว่า)
[๑๐๒] ไก่ แก้วมณี ไม้เท้า และหญิงชื่อปุญญลักขณาเทวี
เกิดขึ้นแก่อนาถบิณฑิกเศรษฐีผู้ไม่ทำบาปทำแต่บุญไว้แล้ว
สิริชาดกที่ ๔ จบ

๕. มณิสูกรชาดก (๒๘๕)
ว่าด้วยสุกรพยายามทำลายแก้วมณี
(สุกรทั้งหลายไม่เห็นอุบายจึงเข้าไปหาดาบสโพธิสัตว์ไหว้แล้ว จึงกล่าวว่า)
[๑๐๓] พวกข้าพเจ้าประมาณ ๓๐ ตัว
ได้อาศัยอยู่ในถ้ำแก้วมณีถึง ๗ ปี
ได้ปรึกษากันว่า พวกเราจะทำลายประกายของแก้วมณี
[๑๐๔] แก้วมณีกลับผ่องใสยิ่งขึ้น
ตลอดเวลาที่พวกข้าพเจ้าเสียดสีมันอยู่
บัดนี้ พวกข้าพเจ้าขอถามถึงกิจนี้
ท่านเข้าใจกิจนี้อย่างไรในเรื่องนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๓. ติกนิบาต] ๔. อัพภันตรวรรค ๘. มัจฉุททานชาดก (๒๘๘)
(ดาบสโพธิสัตว์บอกแก่สุกรเหล่านั้นว่า)
[๑๐๕] แก้วไพฑูรย์นี้บริสุทธิ์งามผ่องใส
ไม่มีใครสามารถจะทำลายรัศมีของแก้วไพฑูรย์นั้นให้เสียหายได้
สุกรทั้งหลาย พวกท่านจงพากันหนีไปเถิด
มณิสูกรชาดกที่ ๕ จบ

๖. สาลูกชาดก (๒๘๖)
ว่าด้วยสุกรสาลูกะถูกเลี้ยงไว้ฆ่า
(โคมหาโลหิตโพธิสัตว์ได้กล่าวกับโคจูฬโลหิตผู้น้องว่า)
[๑๐๖] เจ้าอย่าปรารถนาเป็นเช่นสุกรสาลูกะเลย
เพราะสุกรสาลูกะนี้กินอาหารที่ทำให้เดือดร้อน
เจ้าอย่าทะเยอทะยานไปนัก จงกินต้นข้าวลีบเถิด
นั่นเป็นเหตุแห่งความเป็นผู้มีอายุยืน
[๑๐๗] อีกไม่นานนัก ข้าราชสำนักพร้อมกับบริวารนั้นจะเป็นแขกมาที่นี้
ตอนนั้นเจ้าจะเห็นสุกรสาลูกะถูกตีด้วยสากนอนตายอยู่
(พระศาสดาตรัสพระคาถานี้ว่า)
[๑๐๘] ครั้นเห็นสุกรสาลูกะถูกฆ่าด้วยสากนอนตายถูกชำแหละอยู่
โคแก่ทั้ง ๒ ได้คิดว่า ต้นข้าวลีบของพวกเราเท่านั้นประเสริฐที่สุด
สาลูกชาดกที่ ๖ จบ

๗. ลาภครหชาดก (๒๘๗)
ว่าด้วยวิธีการหลอกลวงเพื่อแสวงหาลาภ
(อาจารย์ทิศาปาโมกข์โพธิสัตว์ได้ตรัสกับมาณพผู้เป็นศิษย์ว่า)
[๑๐๙] ไม่บ้าก็ทำเป็นเหมือนคนบ้า
ไม่ใช่คนส่อเสียดก็ทำเป็นเหมือนคนส่อเสียด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๓. ติกนิบาต] ๔. อัพภันตรวรรค ๘. มัจฉุททานชาดก (๒๘๘)
ไม่ใช่นักฟ้อนรำก็ทำเป็นเหมือนนักฟ้อนรำ
ไม่ตื่นข่าวก็ทำเป็นเหมือนตื่นข่าว
ย่อมได้ลาภในบุคคลที่ลุ่มหลงงมงาย
นี้เป็นคำสอนสำหรับเธอ
(ลูกศิษย์ได้ฟังคำของอาจารย์แล้ว จึงติเตียนลาภว่า)
[๑๑๐] พราหมณ์ น่าติเตียนการได้ยศ
และการได้ทรัพย์สำหรับเลี้ยงชีวิต
ซึ่งเป็นเหตุให้ประสบความพินาศ
หรือประพฤติไม่เป็นธรรม
[๑๑๑] ถึงแม้เราจะเป็นนักบวชถือบาตรเลี้ยงชีพ
การเลี้ยงชีพเช่นนั้นแหละยังดีกว่าการแสวงหาโดยไม่ชอบธรรม
ลาภครหชาดกที่ ๗ จบ

๘. มัจฉุททานชาดก (๒๘๘)
ว่าด้วยบุญที่ให้ทานแก่ปลา
(กุฎุมพีโพธิสัตว์ตรวจดูห่อทรัพย์แล้วจำตราของตนได้ จึงกล่าวว่า)
[๑๑๒] ปลาทั้งหลายมีราคาเกินกว่า ๑,๐๐๐ กหาปณะ
กับ ๗ มาสก ไม่มีคนที่จะเชื่อเรื่องนี้
แต่สำหรับข้าพเจ้ามีเงินอยู่ ๗ มาสก
ก็ซื้อปลาพวงนั้นได้
(เทวดาประจำแม่น้ำปรากฏกายอยู่ในอากาศ กล่าวว่า)
[๑๑๓] ท่านได้ให้อาหารแก่ฝูงปลาแล้วอุทิศส่วนกุศลให้แก่ข้าพเจ้า
เมื่อระลึกถึงส่วนกุศลนั้นและความอ่อนน้อมที่ท่านได้กระทำแล้ว
จึงรักษาทรัพย์ของท่านไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๓. ติกนิบาต] ๔. อัพภันตรวรรค ๑๐. สีลวีมังสกชาดก (๒๙๐)
(เทวดาบอกการโกงที่น้องชายกระทำแก่พระโพธิสัตว์ว่า)
[๑๑๔] ผู้ใดทำกรรมชั่ว
ล่อลวงเอาทรัพย์สมบัติของพี่น้องชายของพ่อแม่
ผู้นั้นจัดว่าเป็นผู้มีจิตชั่วร้าย
ย่อมไม่มีความเจริญ
แม้เทวดาก็ไม่นับถือเขา
มัจฉุททานชาดกที่ ๘ จบ

๙. นานาฉันทชาดก (๒๘๙)
ว่าด้วยความต้องการที่ต่างกัน
(พราหมณ์กล่าวกับพระโพธิสัตว์ว่า)
[๑๑๕] ข้าแต่มหาราชเจ้า ข้าพระองค์ทั้งหลายอยู่ในเรือนหลังเดียวกัน
แต่มีความต้องการต่างกัน คือ ข้าพระองค์ต้องการบ้านส่วย
ส่วนนางพราหมณีต้องการแม่โคนม ๑๐๐ ตัว
[๑๑๖] บุตรของข้าพระองค์ต้องการรถเทียมด้วยม้าอาชาไนย
หญิงสะใภ้ต้องการต่างหูแก้วมณี
ส่วนนางปุณณิกาทาสีผู้ต่ำต้อยต้องการครก
กระด้ง และสาก พระเจ้าข้า
(พระโพธิสัตว์ตรัสว่า)
[๑๑๗] ท่านทั้งหลายจงให้บ้านส่วยแก่พราหมณ์
แม่โคนม ๑๐๐ ตัวแก่นางพราหมณี
รถเทียมม้าอาชาไนยแก่บุตรของพราหมณ์
ต่างหูแก้วมณีแก่หญิงสะใภ้
และครก กระด้ง สากแก่นางปุณณิกาทาสีผู้ต่ำต้อย
นานาฉันทชาดกที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๓. ติกนิบาต] ๔. อัพภันตรวรรค ๑๐. สีลวีมังสกชาดก (๒๙๐)
๑๐. สีลวีมังสกชาดก (๒๙๐)
ว่าด้วยการพิจารณาอานิสงส์ของศีล
(พราหมณ์ได้กราบทูลพระราชาถึงการกระทำของตนเพราะต้องการจะทดลอง
ศีลว่า)
[๑๑๘] ได้ยินว่า ศีลเป็นสิ่งที่ดีงาม
ศีลเป็นสิ่งที่ยอดเยี่ยมในโลก
ดูเถิด นาคที่พิษร้ายแรงยังไม่เบียดเบียนใคร ๆ
เพราะสำนึกอยู่ว่าตนมีศีล
[๑๑๙] เราจักสมาทานศีลที่บัณฑิตรับรองว่า
เป็นสิ่งที่ปลอดภัยในโลก
ซึ่งเป็นเหตุให้ผู้มีศีลได้รับการขนานนามว่า
เป็นผู้ประพฤติข้อปฏิบัติของพระอริยะ
[๑๒๐] ผู้มีศีลเป็นที่รักของหมู่ญาติ
และรุ่งเรืองในหมู่มิตร
หลังจากตายแล้วจะไปสู่สุคติ
สีลวีมังสกชาดกที่ ๑๐ จบ
อัพภันตรวรรคที่ ๔ จบ

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อัพภันตรชาดก ๒. เสยยชาดก
๓. วัฑฒกีสูกรชาดก ๔. สิริชาดก
๕. มณิสูกรชาดก ๖. สาลูกชาดก
๗. ลาภครหชาดก ๘. มัจฉุททานชาดก
๙. นานาฉันทชาดก ๑๐. สีลวีมังสกชาดก


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๓. ติกนิบาต] ๕. กุมภวรรค ๔. ชัมพุขาทกชาดก (๒๙๔)
๕. กุมภวรรค
หมวดว่าด้วยหม้อสมบัติ
๑. ภัทรฆฏเภทกชาดก (๒๙๑)
ว่าด้วยคนเขลาย่อมเดือดร้อนเพราะทำลายหม้อสมบัติ
(พระศาสดาทรงแสดงพระธรรมเทศนาประมวลชาดก ตรัสพระคาถาว่า)
[๑๒๑] นักเลงได้หม้อที่สามารถจะบันดาลสิ่งที่ปรารถนาได้ทุกอย่าง
เขาย่อมประสบความสุขตลอดเวลาที่ยังรักษาหม้อนั้นไว้ได้
[๑๒๒] เมื่อใด เขาเมาสุรา คะนอง
ทำลายหม้อเสียเพราะความเมา
เมื่อนั้น เขาจะเป็นคนเปลือยนุ่งห่มผ้าเก่า
กลายเป็นคนโง่เง่าเดือดร้อนในภายหลัง
[๑๒๓] ผู้ใดโง่เขลา ประมาท ได้ทรัพย์แล้วใช้สอยไปทำนองนี้
ผู้นั้นย่อมเดือดร้อนในภายหลัง
เหมือนนักเลงทำลายหม้อขุมทรัพย์
ภัทรฆฏเภทกชาดกที่ ๑ จบ

๒. สุปัตตชาดก (๒๙๒)
ว่าด้วยเมียพญากาสุปัตตะแพ้ท้อง
(กากราบทูลพระราชาถึงเหตุที่ตนกระทำความชั่วว่า)
[๑๒๔] ข้าแต่มหาราช พญากาชื่อสุปัตตะ
มีบริวาร ๘๐,๐๐๐ ตัวแวดล้อม อาศัยอยู่ที่กรุงพาราณสี
[๑๒๕] เมียพญากานั้นชื่อนางสุปัสสาแพ้ท้อง
ต้องการจะกินพระกระยาหารของพระราชาอันมีค่ามาก
ที่พวกพ่อครัวปรุงแล้วในห้องเครื่อง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๓. ติกนิบาต] ๕. กุมภวรรค ๔. ชัมพุขาทกชาดก (๒๙๔)
[๑๒๖] ข้าพระองค์เป็นทูตของกาเหล่านั้น
ถูกพญากาส่งมา จึงได้มา ณ ที่นี้
ข้าพระองค์จะกระทำความจงรักภักดีต่อเจ้านาย
จึงได้จิกจมูกคนเชิญเครื่องเสวยให้เป็นแผล
สุปัตตชาดกที่ ๒ จบ

๓. กายนิพพินทชาดก (๒๙๓)
ว่าด้วยความเบื่อหน่ายร่างกาย
(ฤๅษีโพธิสัตว์เมื่อจะเปล่งอุทาน จึงกล่าวว่า)
[๑๒๗] เมื่อเราถูกโรคภัยอย่างใดอย่างหนึ่งเบียดเบียนอยู่
ได้รับทุกข์อย่างแรงกล้า
ร่างกายนี้จักซูบซีดโดยฉับพลัน
เหมือนดอกไม้ตกอยู่ที่ทรายกลางแดด
[๑๒๘] ร่างกายอันไม่น่าพอใจกลับเป็นสิ่งที่น่าพอใจ
ไม่สะอาดกลับเข้าใจว่าเป็นสิ่งที่สะอาด
เต็มไปด้วยซากศพนานาชนิด
ปรากฏเป็นที่น่าพอใจแก่ผู้ไม่เห็นความจริง
[๑๒๙] น่าติเตียนนัก ร่างกายอันเปื่อยเน่า กระสับกระส่าย
น่าเกลียด ไม่สะอาด มีความเจ็บป่วยเป็นธรรมดา
ที่หมู่สัตว์พากันมัวเมาหมกมุ่นอยู่
แล้วทำทางที่จะเข้าถึงสุคติให้เสื่อม
กายนิพพินทชาดกที่ ๓ จบ

๔. ชัมพุขาทกชาดก (๒๙๔)
ว่าด้วยสุนัขจิ้งจอกอยากกินลูกหว้า
(สุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่งต้องการจะลวงกากินลูกหว้าแสร้งสรรเสริญกาว่า)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๓. ติกนิบาต] ๕. กุมภวรรค ๖. สมุททชาดก (๒๙๖)
[๑๓๐] ใครนั่นมีเสียงหยดย้อยยอดเยี่ยม
กว่าสัตว์ที่มีเสียงไพเราะทั้งหลาย จับอยู่ที่กิ่งต้นหว้า
เจรจาด้วยสำเนียงอันน่าพอใจ คล้ายลูกนกยูง
(กาสรรเสริญตอบสุนัขจิ้งจอกว่า)
[๑๓๑] กุลบุตรรู้จักสรรเสริญกุลบุตรด้วยกัน
นี่ท่านผู้มีผิวพรรณเช่นกับลูกเสือโคร่ง
เชิญท่านบริโภคเถิดเพื่อน
เราจะให้ลูกหว้าสุกแก่ท่าน
(เทวดาโพธิสัตว์เห็นกากับสุนัขจิ้งจอกกล่าวยกย่องกันตามที่ไม่เป็นจริง จึง
กล่าวว่า)
[๑๓๒] เราเห็นมานานแล้ว
คนที่มาประชุมกันพูดเท็จ สรรเสริญกันเอง
คือ กากินอาหารที่เขาคายแล้วและสุนัขจิ้งจอกกินซากศพ
ชัมพุขาทกชาดกที่ ๔ จบ

๕. อันตชาดก (๒๙๕)
ว่าด้วยที่สุด ๓ อย่าง
(กาตัวหนึ่งต้องการจะลวงสุนัขจิ้งจอกกินเนื้อ จึงกล่าวว่า)
[๑๓๓] พญาเนื้อ ลำตัวของท่านเหมือนพญาโคอุสภะ
การเยื้องกรายของท่านดุจพญาราชสีห์
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมท่าน ข้าพเจ้าจะได้อะไรบ้างเล่า
(สุนัขจิ้งจอกได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวว่า)
[๑๓๔] กุลบุตรรู้จักสรรเสริญกุลบุตรด้วยกัน
นี่พ่อกาผู้มีสร้อยคองามเหมือนนกยูง
เชิญท่านลงจากต้นละหุ่งเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๓. ติกนิบาต] ๕. กุมภวรรค ๖. สมุททชาดก (๒๙๖)
(รุกขเทวดาโพธิสัตว์เห็นกิริยาของกากับสุนัขจิ้งจอก จึงกล่าวว่า)
[๑๓๕] บรรดามฤคชาติทั้งหลาย สุนัขจิ้งจอกเป็นสัตว์ที่เลวที่สุด
บรรดาปักษีทั้งหลาย กาเป็นสัตว์ที่เลวที่สุด
และบรรดารุกขชาติทั้งหลาย ต้นละหุ่งเป็นต้นไม้ที่เลวที่สุด
ที่สุด ๓ อย่าง มาประจวบกันเข้าแล้ว
อันตชาดกที่ ๕ จบ

๖. สมุททชาดก (๒๙๖)
ว่าด้วยสมุทร
(เทวดาโพธิสัตว์ประจำสมุทรเห็นกิริยาของกา จึงกล่าวว่า)
[๑๓๖] นี่ใครหนอ เที่ยวบินเวียนวนอยู่รอบทะเลน้ำเค็ม
คอยห้ามหมู่ปลาและหมู่มังกรอยู่
จึงเดือดร้อนอยู่ในเกลียวคลื่น
(กาน้ำได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวว่า)
[๑๓๗] ข้าพเจ้าเป็นนกชื่ออนันตปายี
ปรากฏไปทั่วทุกทิศว่า เป็นผู้ไม่รู้จักอิ่ม
ต้องการจะดื่มสมุทรสาคร อันเป็นเจ้าแห่งแม่น้ำลำธาร
(เทวดาประจำสมุทรได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวว่า)
[๑๓๘] ห้วงน้ำใหญ่นี้นั้นจะลดลงหรือเต็มอยู่ก็ตามที
ที่สุดของน้ำแห่งห้วงน้ำใหญ่นั้นที่บุคคลดื่มแล้ว
ใคร ๆ ก็รู้ไม่ได้
ได้ยินว่า สาครอันใคร ๆ ไม่อาจดื่มให้หมดสิ้นไปได้
สมุททชาดกที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๓. ติกนิบาต] ๕. กุมภวรรค ๙. โกมาริยปุตตชาดก (๒๙๙)
๗. กามวิลาปชาดก (๒๙๗)
ว่าด้วยผู้เพ้อถึงกาม
(บุรุษผู้ที่ถูกเสียบอยู่บนปลายหลาวเห็นกาบินมาทางอากาศ เรียกกามาเพื่อ
จะส่งข่าวถึงภรรยาสุดที่รัก จึงกล่าวว่า)
[๑๓๙] นกผู้มีปีกเป็นยานพาหนะบินได้สูง
ขอท่านช่วยบอกภรรยาของข้าพเจ้า
ผู้มีขาอ่อนประดุจลำต้นกล้วยให้ทราบด้วย
เมื่อนางไม่รู้จักรอคอยข้าพเจ้าเป็นเวลานาน
[๑๔๐] นางเองเป็นคนโหดร้าย ยังไม่รู้ว่าหลาวนี้เขาปักไว้
เพื่อเสียบประจานข้าพเจ้า ก็จะโกรธ
ความโกรธของนางย่อมทำให้ข้าพเจ้าเดือดร้อน
แต่หลาวในที่นี้ไม่ทำให้ข้าพเจ้าเดือดร้อนเลย
[๑๔๑] หอก เกราะ และแหวนวงเล็ก ๆ ที่ทำด้วยทองเนื้อห้า
อนึ่ง ผ้าแคว้นกาสีอันมีเนื้อละเอียด
ข้าพเจ้าได้เก็บไว้ที่หัวนอน
ขอนางผู้มีความต้องการด้วยทรัพย์
จงยินดีด้วยทรัพย์ที่มีประมาณเท่านี้เถิด
กามวิลาปชาดกที่ ๗ จบ

๘. อุทุมพรชาดก (๒๙๘)
ว่าด้วยลิงหลอกลิงด้วยผลมะเดื่อ
(ลิงใหญ่หน้าดำตัวหนึ่งคิดจะลวงลิงเล็กเพื่อยึดที่อยู่ จึงกล่าวกับลิงเล็กว่า)
[๑๔๒] ต้นมะเดื่อ ต้นไทร และต้นมะขวิดเหล่านี้มีผลสุก
เจ้าจงออกมากินเถิด
จะยอมตายเพราะความหิวทำไม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๓. ติกนิบาต] ๕. กุมภวรรค ๙. โกมาริยปุตตชาดก (๒๙๙)
(ลิงเล็ก ๆ เชื่อแล้วไป แต่ไม่ได้อะไร จึงกลับมาพบลิงใหญ่แล้วคิดจะลวงลิง
ใหญ่นั้นบ้าง จึงกล่าวว่า)
[๑๔๓] ผู้ใดอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่
ผู้นั้นย่อมเป็นผู้อิ่มหนำสำราญ
เหมือนข้าพเจ้าได้กินผลไม้สุกจนอิ่มหนำสำราญในวันนี้
(ลิงใหญ่ได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวว่า)
[๑๔๔] ลิงลวงลิงป่าเพราะเหตุใด
เหตุนั้นลิงหนุ่มก็ไม่ควรเชื่อ ถึงลิงแก่เฒ่าก็ไม่ควรเชื่อ
อุทุมพรชาดกที่ ๘ จบ

๙. โกมาริยปุตตชาดก (๒๙๙)
ว่าด้วยลิงอ้างโกมาริยบุตรเป็นอาจารย์
(ดาบสเหล่านั้นเมื่อจะถามลิง ได้กล่าวว่า)
[๑๔๕] เมื่อก่อน เจ้าได้โลดเต้นเล่นคะนอง
ในสำนักของพวกเราผู้มีปกติเล่นคะนอง
ลิงเอ๋ย เจ้ามาทำกิริยาของลิงในอาศรมของพวกเราอีก
พวกเราไม่พอใจปกติของเจ้านั้นเลย
(ลิงได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวว่า)
[๑๔๖] เพราะฌานอันบริสุทธิ์อย่างยิ่ง ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้ว
จากสำนักอาจารย์ชื่อโกมาริยบุตรผู้เป็นพหูสูต๑
บัดนี้ ท่านอย่าได้สำคัญข้าพเจ้าเหมือนเมื่อก่อนเลย
ผู้มีอายุ ข้าพเจ้าบำเพ็ญฌานอยู่

เชิงอรรถ :
๑ ผู้เป็นพหูสูต ในที่นี้หมายถึงผู้ได้ยินได้ฟังและแทงตลอดกสิณบริกรรมเป็นอันมาก และสมาบัติ ๘ (ขุ.ชา.อ.
๔/๑๔๖/๑๙๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๓. ติกนิบาต] รวมวรรคที่มีในนิบาตนี้
(ดาบสเหล่านั้นกล่าวว่า)
[๑๔๗] แม้ถ้าบุคคลจะพึงหว่านพืชลงบนแผ่นหิน
และฝนจะพึงตกลงมาก็ตามที
พืชนั้นจะพึงงอกขึ้นมาหาได้ไม่
เจ้าลิงเอ๋ย จริงอยู่ ฌานอันบริสุทธิ์อย่างยิ่ง
ถึงเจ้าจะได้สดับมาแล้ว
เจ้าก็ยังอยู่ห่างไกลภูมิฌานนั่นอยู่ดี
โกมาริยปุตตชาดกที่ ๙ จบ

๑๐. วกชาดก (๓๐๐)
ว่าด้วยหมาใน
(พระศาสดาตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า)
[๑๔๘] หมาในมีเนื้อและเลือดเป็นอาหาร
มีชีวิตอยู่ได้เพราะฆ่าสัตว์อื่น
สมาทานวัตรแล้วเข้าจำอุโบสถ
[๑๔๙] ท้าวสักกะทรงทราบถึงข้อปฏิบัติของหมาในนั้นแล้ว
ทรงจำแลงเพศเป็นแพะเข้าไปหา
หมาในนั้นต้องการจะดื่มเลือดจึงตบะแตก
โผเข้าไปหาแพะนั้น
ทำลายตบะที่ตนได้สมาทานแล้ว
[๑๕๐] บุคคลบางคนในโลกนี้ก็เหมือนกัน
สมาทานข้อปฏิบัติอย่างเพลา ทำตนกลับกลอก
เหมือนหมาในกลับกลอกเพราะแพะเป็นเหตุ
วกชาดกที่ ๑๐ จบ
กุมภวรรคที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๓. ติกนิบาต] รวมวรรคที่มีในนิบาตนี้
รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ภัทรฆฏเภทกชาดก ๒. สุปัตตชาดก
๓. กายนิพพินทชาดก ๔. ชัมพุขาทกชาดก
๕. อันตชาดก ๖. สมุททชาดก
๗. กามวิลาปชาดก ๘. อุทุมพรชาดก
๙. โกมาริยปุตตชาดก ๑๐. วกชาดก

รวมวรรคที่มีในนิบาตนี้ คือ

๑. สังกัปปวรรค ๒. ปทุมวรรค
๓. อุทปานวรรค ๔. อัพภันตรวรรค
๕. กุมภวรรค

ติกนิบาต จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๕๕ }


๔. จตุกกนิบาต
๑. กาลิงควรรค
หมวดว่าด้วยพระเจ้ากาลิงคะ
๑. จูฬกาลิงคชาดก (๓๐๑)
ว่าด้วยพระเจ้าจูฬกาลิงคะ
(นันทิเสนอำมาตย์เรียกคนรักษาประตูพระนคร ให้เขาเปิดประตูรับพระราชธิดา
ของพระเจ้าอัสสกะว่า)
[๑] ท่านทั้งหลายจงเปิดประตูถวายพระราชธิดาเหล่านี้
ขอพระราชธิดาเหล่านี้จงเสด็จเข้าพระนคร
ซึ่งข้าพเจ้าผู้มีนามว่านันทิเสนผู้เป็นดุจสีหะ
ได้รับการสั่งสอนมาดี ผู้เป็นอำมาตย์ของพระเจ้าอรุณ
ได้จัดการรักษาไว้ดีแล้ว
(พระเจ้ากาลิงคะทรงกลัวต่อมรณภัย จึงด่าดาบสว่า)
[๒] ท่านผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ท่านได้กล่าวว่า
ชัยชนะจะมีแก่พระเจ้ากาลิงคะ
ผู้สามารถย่ำยีบุคคลที่ใครย่ำยีไม่ได้
ส่วนความปราชัย ความหายนะจะมีแก่พระเจ้าอัสสกะ
คนซื่อย่อมไม่พูดเท็จ
(ดาบสทูลถามท้าวสักกะว่า)
[๓] ข้าแต่ท้าวสักกะ พวกเทวดายังกล่าวเท็จอยู่อีกหรือ
บรรดาคำเหล่านั้น คำสัตย์เป็นทรัพย์อย่างยิ่ง
ข้าแต่ท้าวมัฆวานเทวราชผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน
พระองค์ทรงอาศัยเหตุอะไรจึงตรัสคำเท็จ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๕๖ }


๑. กาลิงควรรค ๒. มหาอัสสาโรหชาดก (๓๐๒)
(ท้าวสักกะทรงสดับดังนั้น จึงตรัสว่า)
[๔] พราหมณ์ ท่านเคยฟังมาแล้วมิใช่หรือ เขากล่าวกันว่า
เทวดาทั้งหลายกีดกันความบากบั่นของคนไว้ไม่ได้
การฝึกตนก็ดี ความตั้งใจไว้อย่างมั่นคงก็ดี
ความมีใจไม่แตกแยกก็ดี ความไม่ท้อถอยก็ดี
การรุกในเวลาที่ควรรุกก็ดี ความเพียรอันมั่นคงก็ดี
ความบากบั่นของคนก็ดี ได้มีแก่พระเจ้าอัสสกะ
เพราะเหตุนั้นแหละ ชัยชนะจึงได้มีแก่พระเจ้าอัสสกะ
จูฬกาลิงคชาดกที่ ๑ จบ

๒. มหาอัสสาโรหชาดก (๓๐๒)
ว่าด้วยพระเจ้ามหาอัสสาโรหะ
(พระราชาโพธิสัตว์แสดงธรรมแก่พระโอรสว่า)
[๕] ผู้ใดเมื่อให้ทานในบุคคลที่ไม่ควรจะให้
ไม่ให้ในบุคคลที่ควรจะให้
ผู้นั้นแม้ประสบทุกข์ในคราวมีอันตราย
ก็หาเพื่อนช่วยเหลือไม่ได้
[๖] ผู้ใดเมื่อไม่ให้ทานในบุคคลที่ไม่ควรจะให้
ให้ทานในบุคคลที่ควรจะให้
ผู้นั้นแม้ประสบทุกข์ในคราวมีอันตราย
ก็ได้เพื่อนที่จะช่วยเหลือ
[๗] การแสดงคุณวิเศษแห่งการเกี่ยวข้องผูกพันกันฉันมิตร
ในชนทั้งหลายผู้ไม่เป็นพระอริยะ โอ้อวด ย่อมจะไร้ผล
ส่วนการแสดงคุณวิเศษแห่งการเกี่ยวข้องเป็นต้นนั้นแม้เล็กน้อย
ซึ่งบุคคลกระทำแล้วในชนทั้งหลาย ผู้เป็นพระอริยะ
ซื่อตรงและคงที่ ย่อมมีผลมาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๔. จตุกกนิบาต] ๑. กาลิงควรรค ๕. สีลวีมังสชาดก (๓๐๕)
[๘] ผู้ใดได้ทำคุณงามความดีไว้ก่อน
ผู้นั้นชื่อว่าได้ทำสิ่งที่ทำได้ยากยิ่งในโลก
ภายหลังเขาจะทำหรือไม่ทำก็ตามที
ชื่อว่าเป็นผู้ควรแก่การบูชาอย่างยิ่ง
มหาอัสสาโรหชาดกที่ ๒ จบ

๓. เอกราชชาดก (๓๐๓)
ว่าด้วยพระเจ้าเอกราช
(พระเจ้าทุพภิเสนทรงขอโทษพระเจ้าเอกราชแล้ว ตรัสว่า)
[๙] ข้าแต่พระเจ้าเอกราช เมื่อก่อนพระองค์เสวยกามคุณ
ที่สมบูรณ์ยอดเยี่ยม มาบัดนี้พระองค์ถูกโยนลงในหลุมอันขรุขระ
ก็ยังไม่ทรงละพระฉวีวรรณและพระกำลังอันมีอยู่แต่ก่อน
(พระเจ้าเอกราชผู้เป็นพระโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้น จึงตรัสว่า)
[๑๐] พระเจ้าทุพภิเสน เมื่อก่อนหม่อมฉันมีขันติ
และตบะสมปรารถนามาแล้ว
หม่อมฉันได้ขันติและตบะนั้นแล้ว
จะพึงละฉวีวรรณและกำลังอันมีอยู่แต่ก่อนทำไมเล่า
[๑๑] พระองค์ผู้เรืองยศ ปรากฏพระปรีชาญาณ
ทรงทนทานเป็นพิเศษ ทราบว่า กรณียกิจทุกอย่าง
หม่อมฉันได้ทำสำเร็จเรียบร้อยแล้ว
ทั้งยังได้ยศที่สูงส่งที่ไม่เคยได้มาก่อน
เพราะเหตุไรจะพึงละฉวีวรรณและกำลังอันมีอยู่แต่ก่อนเสียเล่า
[๑๒] พระองค์ผู้จอมชน หม่อมฉันบรรเทาความสุข
ด้วยความทุกข์ และข่มความทุกข์ด้วยความสุข
สัตบุรุษเช่นหม่อมฉันวางตนเป็นกลางในความสุขและความทุกข์
เพราะมีความเยือกเย็นในภาวะทั้ง ๒ นั้น
เอกราชชาดกที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๔. จตุกกนิบาต] ๑. กาลิงควรรค ๕. สีลวีมังสชาดก (๓๐๕)
๔. ทัททรชาดก (๓๐๔)
ว่าด้วยนาคทัททระ
(นาคจูฬทัททระอดทนความดูหมิ่นไม่ได้ จึงพูดกับนาคผู้เป็นพี่ชายว่า)
[๑๓] เจ้าพี่ทัททระ วาจาอันหยาบคายในมนุษยโลกเหล่านี้
ทำให้หม่อมฉันเดือดร้อน
พวกเด็กชาวบ้านไม่มีพิษนี้ ด่าหม่อมฉันผู้มีพิษร้ายว่า
พวกสัตว์กินกบกินเขียด พวกสัตว์น้ำ
(นาคมหาทัททรโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวว่า)
[๑๔] บุคคลผู้ถูกขับไล่จากบ้านเมืองของตนไปอยู่ถิ่นอื่น
พึงสร้างฉางใหญ่ไว้เก็บคำพูดที่หยาบคาย
[๑๕] สถานที่ใด ประชาชนไม่รู้จักสัตว์โดยชาติ หรือโดยวินัย
สถานที่นั้น เขาเมื่ออยู่ในกลุ่มชนที่ไม่มีใครรู้จักเลย ไม่ควรมีมานะ
[๑๖] ผู้มีปัญญาแม้จะเปรียบด้วยไฟป่า เมื่ออยู่ยังต่างถิ่น
ก็ควรอดทนถ้อยคำคุกคามแม้ของผู้เป็นทาส
ทัททรชาดกที่ ๔ จบ

๕. สีลวีมังสชาดก (๓๐๕)
ว่าด้วยการทดลองศีล
(พราหมณ์โพธิสัตว์กล่าวกับอาจารย์ว่า)
[๑๗] ขึ้นชื่อว่าสถานที่ลับสำหรับกระทำกรรมชั่วไม่มีอยู่ในโลก
ต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ในป่าก็ยังมีคนเห็น
คนพาลสำคัญอยู่ว่า กรรมชั่วนั้นเราได้ทำในสถานที่ลับ
[๑๘] ข้าพเจ้าไม่พบสถานที่ลับ แม้สถานที่ว่างก็ไม่มี
ในสถานที่ใด ข้าพเจ้ายังไม่รู้ว่าว่าง
แม้สถานที่นั้น ก็ไม่ว่างจากข้าพเจ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๔. จตุกกนิบาต] ๑. กาลิงควรรค ๗. ปลาสชาดก (๓๐๗)
(พระศาสดาได้ตรัส ๒ พระคาถานี้ว่า)
[๑๙] ทุชัจจมาณพ สุชัจจมาณพ นันทมาณพ
สุขวัจฉนมาณพ วัชฌมาณพ และอัทธุวสีลมาณพนั้น
มีความต้องการหญิงสาว จึงพากันละธรรมเสีย
[๒๐] ส่วนพราหมณ์ผู้ถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง มีปัญญา
มีความก้าวหน้าในสัจจธรรม ตามรักษาธรรมอยู่
ละทิ้งอิตถีลาภเพราะเหตุอะไรเล่า
สีลวีมังสชาดกที่ ๕ จบ

๖. สุชาตาชาดก (๓๐๖)
ว่าด้วยพระนางสุชาดา
(พระนางสุชาดาเทวีทูลถามพระราชาว่า)
[๒๑] ฝ่าพระบาท ผลไม้สีแดงเกลี้ยงเกลาเหล่านี้
ที่เก็บไว้ในถาดทองคำ มีชื่อว่าผลอะไร
หม่อมฉันทูลถามแล้ว
ขอพระองค์จงตรัสบอกหม่อมฉัน
(พระราชาทรงกริ้ว จึงตรัสว่า)
[๒๒] พระเทวี เมื่อก่อนเธอเป็นคนหัวโล้น
นุ่งผ้าเก่าเหน็บชายพก
เที่ยวเลือกเก็บผลไม้เหล่าใด
นี้เป็นผลไม้ประจำตระกูลของเธอ
[๒๓] หญิงต่ำทรามผู้นี้อยู่ในราชตระกูล
ย่อมเดือดร้อนไม่รื่นรมย์
โภคะทั้งหลายย่อมละผู้ไม่มีบุญไป
พวกท่านจงนำหญิงนี้กลับไปในสถานที่ที่หล่อนเก็บพุทราขาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๔. จตุกกนิบาต] ๑. กาลิงควรรค ๗. ปลาสชาดก (๓๐๗)
(อำมาตย์โพธิสัตว์คิดช่วยเหลือพระนางสุชาดาเทวี จึงกราบทูลว่า)
[๒๔] ข้าแต่มหาราช โทษคือความประมาทเลินเล่อเหล่านี้
ย่อมมีแก่หญิงผู้ได้ยศ
ขอพระองค์โปรดทรงละเว้นแก่พระนางสุชาดา
ข้าแต่สมมติเทพ ขอพระองค์อย่าทรงพิโรธ
ต่อพระนางสุชาดานั้นเลย
สุชาตาชาดกที่ ๖ จบ

๗. ปลาสชาดก (๓๐๗)
ว่าด้วยพราหมณ์ขยันกวาดใบไม้
(รุกขเทวดาโพธิสัตว์ถามพราหมณ์ผู้มากวาดโคนต้นไม้ว่า)
[๒๕] พราหมณ์ ท่านก็รู้อยู่ว่า
ไม้ใบต้นนี้ไม่มีจิตใจ ไม่ได้ยินเสียง และไม่มีความรู้สึก
เพราะเหตุไร ท่านจึงไม่ลืม
เพียรพยายามถามอยู่เป็นนิตย์ถึงการนอนเป็นสุข
(พราหมณ์ได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวตอบว่า)
[๒๖] ต้นไม้ใหญ่ปรากฏได้ในที่ไกล
ตั้งอยู่ในภูมิประเทศที่ราบเรียบ เป็นที่สถิตของเทพยดา
เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงนอบน้อมไม้ใบต้นนี้
และเทพยดาผู้สถิตอยู่ในไม้ใบต้นนี้ เพราะเหตุแห่งทรัพย์
(รุกขเทวดาโพธิสัตว์เลื่อมใสต่อพราหมณ์ จึงกล่าวว่า)
[๒๗] พราหมณ์ ข้าพเจ้านั้นเพ่งถึง
ความเป็นผู้รู้อุปการคุณที่ท่านทำแล้ว
จักตอบแทนท่านตามอานุภาพของตน
ก็การที่ท่านมาในสำนักของสัตบุรุษทั้งหลาย
แล้วทำการขวนขวายจะพึงไร้ผลได้อย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๔. จตุกกนิบาต] ๑. กาลิงควรรค ๙. ฉวชาดก (๓๐๙)
[๒๘] ไม้เลียบต้นใดขึ้นอยู่เบื้องหน้าต้นมะพลับ
เขาล้อมรั้วไว้แล้ว เป็นที่บูชากันมาก่อน เป็นต้นไม้ใหญ่
ขุมทรัพย์ฝังไว้ที่โคนต้นไม้เลียบนั้นไม่มีเจ้าของมีอยู่
ท่านจงไปขุดเอาขุมทรัพย์นั้นเถิด
ปลาสชาดกที่ ๗ จบ

๘. ชวสกุณชาดก (๓๐๘)
ว่าด้วยราชสีห์ไม่รู้คุณนกหัวขวาน
(นกหัวขวานโพธิสัตว์กล่าวกับราชสีห์ว่า)
[๒๙] พญาเนื้อ ข้าพเจ้าขอนอบน้อมท่าน
ข้าพเจ้าได้กระทำกิจอย่างหนึ่งแก่ท่านตามกำลังที่ตนมีอยู่
ข้าพเจ้าจะได้อะไรเป็นเครื่องตอบแทนบ้าง
(ราชสีห์กล่าวว่า)
[๓๐] เจ้าอยู่ในระหว่างฟันของเราผู้มีเลือดเป็นอาหาร
ผู้กระทำกรรมโหดร้ายอยู่เป็นนิตย์
การรอดชีวิตไปได้ก็นับว่าเป็นบุญอย่างใหญ่หลวง
(นกหัวขวานโพธิสัตว์กล่าวว่า)
[๓๑] ผู้ไม่รู้อุปการคุณที่ผู้อื่นทำแล้ว
ผู้ที่ไม่เคยทำความดีอย่างใดอย่างหนึ่งแก่ใคร
ผู้ที่ไม่ตอบแทนอุปการคุณที่ผู้อื่นทำให้แล้ว
น่าตำหนิ ความกตัญญูไม่มีในผู้ใด
การคบหาผู้นั้นก็ไร้ประโยชน์
[๓๒] แม้ด้วยอุปการคุณที่กระทำต่อหน้า
มิตรธรรมยังหาไม่ได้ในบุคคลใด
บัณฑิตไม่ริษยา ไม่ด่าว่าบุคคลนั้น
พึงค่อย ๆ หลีกห่างจากเขาไปเสีย
ชวสกุณชาดกที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๔. จตุกกนิบาต] ๑. กาลิงควรรค ๙. ฉวชาดก (๓๐๙)
๙. ฉวชาดก (๓๐๙)
ว่าด้วยการนั่งเรียนมนต์ไม่เหมาะสมเหมือนเรียนกับศพ
(คนจัณฑาลโพธิสัตว์ไปลักมะม่วงในพระราชอุทยาน เห็นพระราชานั่งในที่สูง
เรียนมนต์ ปุโรหิตนั่งในที่ต่ำสอนมนต์ จึงลงจากต้นมะม่วงมาตำหนิ ถูกพระราชา
ตรัสถามแล้ว จึงกราบทูลว่า)
[๓๓] กิจที่เราทั้ง ๓ กระทำขึ้นนี้ทั้งหมดไม่ชอบธรรม
เพราะคนทั้ง ๒ ไม่เห็นธรรมเนียม
จึงเคลื่อนคลาดจากธรรมเนียมเดิม
อาจารย์ผู้สอนมนต์นั่งต่ำ
และศิษย์ผู้เรียนมนต์นั่งสูง
(ปุโรหิตกล่าวว่า)
[๓๔] เราบริโภคข้าวสาลีสุก สะอาด ปรุงด้วยเนื้อ
เพราะฉะนั้น เราจึงไม่ประพฤติธรรม
ที่ฤๅษีทั้งหลายประพฤติกัน
(พระโพธิสัตว์กล่าวว่า)
[๓๕] ท่านจงหลีกไป โลกนี้ยังกว้างใหญ่
แม้คนอื่นในชมพูทวีปก็ยังหุงข้าวกินกันอยู่
เพราะเหตุนั้น ขออธรรมที่ท่านได้ประพฤติมาแล้ว
อย่าได้ทำลายท่านเหมือนหินทำลายหม้อเลย
[๓๖] พราหมณ์ น่าติเตียนการได้ยศ
และการได้ทรัพย์สำหรับเลี้ยงชีวิต
ซึ่งเป็นเหตุให้ประสบความพินาศ
และประพฤติผิดธรรม
ฉวชาดกที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๔. จตุกกนิบาต] ๒. ปุจิมันทวรรค ๑. ปุจิมันทชาดก (๓๑๑)
๑๐. สัยหชาดก (๓๑๐)
ว่าด้วยสัยหอำมาตย์
(ฤๅษีโพธิสัตว์ได้กล่าวกับสัยหอำมาตย์ว่า)
[๓๗] เราไม่ปรารถนาแผ่นดินอันมีสมุทรเป็นขอบเขต
มีสาครล้อมรอบประดุจต่างหู พร้อมกับคำนินทา
ท่านจงทราบอย่างนี้เถิด สัยหอำมาตย์
[๓๘] พราหมณ์ น่าติเตียนการได้ยศ
และการได้ทรัพย์สำหรับเลี้ยงชีวิต
ซึ่งเป็นเหตุให้ประสบความพินาศ
หรือประพฤติไม่เป็นธรรม
[๓๙] ถึงแม้เราจะเป็นนักบวชถือบาตรเลี้ยงชีพ
การเลี้ยงชีพเช่นนั้นแหละยังดีกว่าการแสวงหาโดยไม่ชอบธรรม
[๔๐] ถึงแม้เราจะเป็นนักบวชถือบาตรเลี้ยงชีพ
ไม่เบียดเบียนผู้อื่นในโลก
การเลี้ยงชีพเช่นนั้นแหละยังดีกว่าการครองราชสมบัติ
สัยหชาดกที่ ๑๐ จบ
กาลิงควรรคที่ ๑ จบ

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. จูฬกาลิงคชาดก ๒. มหาอัสสาโรหชาดก
๓. เอกราชชาดก ๔. ทัททรชาดก
๕. สีลวีมังสชาดก ๖. สุชาตาชาดก
๗. ปลาสชาดก ๘. ชวสกุณชาดก
๙. ฉวชาดก ๑๐. สัยหชาดก


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๔. จตุกกนิบาต] ๒. ปุจิมันทวรรค ๑. ปุจิมันทชาดก (๓๑๑)
๒. ปุจิมันทวรรค
หมวดว่าด้วยไม้สะเดา
๑. ปุจิมันทชาดก (๓๑๑)
ว่าด้วยเทวดาประจำต้นสะเดา
(รุกขเทวดาโพธิสัตว์กล่าวกับโจรว่า)
[๔๑] จงลุกขึ้นเจ้าโจร มัวนอนอยู่ทำไม
การนอนของเจ้ามีประโยชน์อะไร
พระราชาทั้งหลายอย่าได้จับเจ้า
ผู้กระทำผิดอย่างร้ายแรงในหมู่บ้านเลย
(เทวดาประจำต้นโพธิ์กล่าวว่า)
[๔๒] เจ้าหน้าที่บ้านเมืองจักจับโจร
ผู้กระทำความผิดอย่างร้ายแรงในหมู่บ้านมิใช่หรือ
ธุระอะไรของปุจิมันทเทวดาในเรื่องนั้นเล่า
(เทวดาประจำต้นสะเดาตอบว่า)
[๔๓] อัสสัตถเทวดา ท่านไม่ทราบเรื่องระหว่างข้าพเจ้ากับโจร
พระราชาทั้งหลายจับโจรผู้กระทำผิดอย่างร้ายแรง
ในบ้านได้แล้วเสียบที่หลาวไม้สะเดา
ข้าพเจ้ามีใจระแวงในเรื่องนั้น
(เทวดาประจำต้นโพธิ์กล่าวว่า)
[๔๔] บุคคลพึงระแวงภัยที่ควรระแวง
พึงป้องกันภัยที่ยังมาไม่ถึง
เพราะภัยที่ยังมาไม่ถึง
นักปราชญ์จึงได้พิจารณาเห็นโลกทั้ง ๒
ปุจิมันทชาดกที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๔. จตุกกนิบาต] ๒. ปุจิมันทวรรค ๔. โลหกุมภิชาดก (๓๑๔)
๒. กัสสปมันทิยชาดก (๓๑๒)
ว่าด้วยฤาษีกัสสปมันทิยะ
(ฤๅษีโพธิสัตว์สอนบิดาว่า)
[๔๕] ท่านพ่อกัสสปะ แม้เด็กหนุ่มจะด่าว่าบ้าง
ทุบตีบ้าง เพราะยังเป็นวัยรุ่น
บัณฑิตผู้ฉลาดย่อมอดทน อดกลั้น
ความผิดทั้งหมดนั้นที่เด็กวัยรุ่นทำ
[๔๖] แม้ถ้าบัณฑิตทั้งหลายวิวาทกันก็ประสานกันได้โดยเร็ว
ส่วนคนพาลแตกกันเหมือนภาชนะดิน
พวกเขาระงับเวรกันไม่ได้เลย
[๔๗] คนที่รู้โทษที่ตนล่วงเกินแล้ว และคนที่รู้จักการให้อภัย
ทั้ง ๒ คนนั้นจะสมัครสมานกันยิ่งขึ้น
ความสนิทสนมของพวกเขาย่อมไม่เสื่อมคลาย
[๔๘] ผู้ใดเมื่อชนเหล่าอื่นล่วงเกินกัน
เขาสามารถประสานชนเหล่านั้นได้ด้วยตัวเอง
ผู้นั้นแหละเป็นผู้ยอดเยี่ยม
เป็นผู้นำภาระไป เป็นผู้ทรงธุระไว้ได้
กัสสปมันทิยชาดกที่ ๒ จบ

๓. ขันติวาทิชาดก (๓๑๓)
ว่าด้วยขันติวาทีดาบส
(เสนาบดีขอร้องดาบสโพธิสัตว์ไม่ให้โกรธว่า)
[๔๙] ท่านมหาวีระ ผู้ใดสั่งให้ตัดมือ เท้า ใบหู และจมูกของท่าน
ท่านจงโกรธผู้นั้นเถิด อย่าให้แว่นแคว้นนี้พินาศเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๔. จตุกกนิบาต] ๒. ปุจิมันทวรรค ๔. โลหกุมภิชาดก (๓๑๔)
(ดาบสโพธิสัตว์กล่าวว่า)
[๕๐] พระราชาพระองค์ใดรับสั่งให้ตัดมือ
เท้า ใบหู และจมูกของข้าพเจ้า
ขอให้พระราชาพระองค์นั้นจงมีพระชนมายุยิ่งยืนนาน
บัณฑิตทั้งหลายเช่นอาตมาไม่โกรธเคืองเลย
(พระศาสดาได้ตรัส ๒ พระคาถานี้ว่า)
[๕๑] สมณะผู้ถึงสรรเสริญขันติมีในอดีตกาลนานมาแล้ว
พระเจ้ากาสีได้รับสั่งให้ประหารดาบสผู้ดำรงมั่นในขันติธรรมองค์นั้น
[๕๒] พระเจ้ากาสีเบียดเสียดอยู่ในนรก
เสวยวิบากอันเผ็ดร้อนแห่งกรรมอันหยาบช้านั้น
ขันติวาทิชาดกที่ ๓ จบ

๔. โลหกุมภิชาดก (๓๑๔)
ว่าด้วยสัตว์ในโลหกุมภีนรก
(สัตว์นรกที่กล่าวว่า ทุ แล้วจมลง ประสงค์จะกล่าวอย่างนี้ว่า)
[๕๓] พวกเราเมื่อโภคะทั้งหลายมีอยู่ ไม่ได้ให้ทาน
ไม่ได้กระทำที่พึ่งให้แก่ตน
จึงชื่อว่ามีชีวิตอยู่อย่างชั่วช้า
(สัตว์นรกที่กล่าวว่า ส ประสงค์จะกล่าวอย่างนี้ว่า)
[๕๔] พวกเราไหม้อยู่ในนรกทั้งหมด ๖๐,๐๐๐ ปีบริบูรณ์
เมื่อไรหนอที่สุดจะปรากฏ
(สัตว์นรกที่กล่าวว่า น ประสงค์จะกล่าวอย่างนี้ว่า)
[๕๕] เพื่อนยาก ที่สุดไม่มี ที่สุดจะมีแต่ที่ไหน
ที่สุดจักไม่ปรากฏ เพราะว่าในกาลนั้น
เราและท่านได้ทำกรรมชั่วไว้มาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๔. จตุกกนิบาต] ๒. ปุจิมันทวรรค ๗. มตโรทนชาดก (๓๑๗)
(สัตว์นรกที่กล่าวว่า โส ประสงค์จะกล่าวอย่างนี้ว่า)
[๕๖] เราไปจากที่นี้แล้วได้เกิดเป็นมนุษย์
จะรู้ถ้อยคำของผู้ขอ ถึงพร้อมด้วยศีล กระทำกุศลให้มาก
โลหกุมภิชาดกที่ ๔ จบ

๕. มังสชาดก (๓๑๕)
ว่าด้วยบุตรเศรษฐีขอเนื้อนายพราน
(นายพรานกล่าวกับบุตรเศรษฐีคนที่ ๑ ว่า)
[๕๗] ท่านเป็นผู้ขอเนื้อ
คำพูดของท่านหยาบจริง ๆ เช่นกับเนื้อพังผืด
นี่เพื่อน ข้าพเจ้าให้เนื้อพังผืดแก่ท่าน
(นายพรานกล่าวกับบุตรเศรษฐีคนที่ ๒ ว่า)
[๕๘] คำว่า พี่ชาย น้องชาย พี่สาว น้องสาว
เป็นเช่นกับอวัยวะของมนุษย์ที่เขาพูดกันอยู่ในโลก
คำพูดของท่านเช่นกับอวัยวะ
นี่เพื่อน ข้าพเจ้าให้เนื้อล้วน ๆ แก่ท่าน
(นายพรานกล่าวกับบุตรเศรษฐีคนที่ ๓ ว่า)
[๕๙] เมื่อลูกเรียกว่าพ่อ ใจพ่อก็หวั่นไหว
คำพูดของท่านเช่นกับเนื้อหัวใจ
นี่เพื่อน ข้าพเจ้าให้เนื้อหัวใจแก่ท่าน
(นายพรานกล่าวกับบุตรเศรษฐีคนที่ ๔ ว่า)
[๖๐] ในบ้านของผู้ใดไม่มีเพื่อน บ้านนั้นเป็นเช่นกับป่า
คำพูดของท่านเช่นกับสมบัติทั้งหมด
นี่เพื่อน ข้าพเจ้าให้เนื้อทั้งหมดแก่ท่าน
มังสชาดกที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๔. จตุกกนิบาต] ๒. ปุจิมันทวรรค ๗. มตโรทนชาดก (๓๑๗)
๖. สสปัณฑิตชาดก (๓๑๖)
ว่าด้วยกระต่ายบัณฑิตโพธิสัตว์
(นากกล่าวกับท้าวสักกะผู้แปลงกายเป็นพราหมณ์มาขออาหารว่า)
[๖๑] ข้าพเจ้ามีปลาตะเพียนแดงอยู่ ๗ ตัว
ซึ่งพรานเบ็ดตกขึ้นมาได้จากน้ำวางไว้บนบก
พราหมณ์ ขอท่านจงบริโภคอาหารที่ข้าพเจ้ามีอยู่อย่างนี้
แล้วบำเพ็ญสมณธรรมอยู่ในป่าเถิด
(สุนัขจิ้งจอกกล่าวว่า)
[๖๒] ในเวลากลางคืน ข้าพเจ้าได้นำอาหารของคนเฝ้านาคนโน้นมา
คือ เนื้อย่าง ๒ ไม้ เหี้ย ๒ ตัว นมส้ม ๑ หม้อ
ท่านพราหมณ์ ขอท่านจงบริโภคอาหารที่ข้าพเจ้ามีอยู่นี้
แล้วบำเพ็ญสมณธรรมอยู่ในป่าเถิด
(ลิงกล่าวว่า)
[๖๓] มะม่วงสุก น้ำเย็น ร่มเงาที่เย็นน่ารื่นรมย์
ท่านพราหมณ์ ขอท่านจงบริโภคอาหารที่ข้าพเจ้ามีอยู่นี้
แล้วบำเพ็ญสมณธรรมอยู่ในป่าเถิด
(กระต่ายโพธิสัตว์ไม่มีอาหาร เมื่อจะสละชีวิตของตน จึงกล่าวว่า)
[๖๔] งา ถั่ว และข้าวสารของกระต่ายไม่มี
ขอท่านจงบริโภคข้าพเจ้าที่สุกด้วยไฟนี้
แล้วบำเพ็ญสมณธรรมอยู่ในป่าเถิด
สสปัณฑิตชาดกที่ ๖ จบ

๗. มตโรทนชาดก (๓๑๗)
ว่าด้วยการร้องไห้ถึงคนที่ตายแล้ว
(เศรษฐีโพธิสัตว์กล่าวกับพวกลิงว่า)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๔. จตุกกนิบาต] ๒. ปุจิมันทวรรค ๙. ติตติรชาดก (๓๑๙)
[๖๕] พวกท่านร้องไห้ถึงคนที่ตายไปแล้วเท่านั้น
แต่หาได้ร้องไห้ถึงคนที่จักตายไม่
สัตว์ทั้งหลายที่ยังมีร่างกายอยู่ย่อมละชีวิตไปโดยลำดับ
[๖๖] เทวดา มนุษย์ สัตว์ ๔ เท้า หมู่ปักษี สัตว์เลื้อยคลาน
และสัตว์ที่มีร่างกายใหญ่ ไม่เป็นใหญ่ในร่างกายของตน
ถึงจะรื่นรมย์อยู่ในร่างกายนั้นก็ย่อมละชีวิตของตนไป
[๖๗] สุขและทุกข์ที่เพ่งเล็งกันอยู่ในหมู่มนุษย์
มีความแปรผันไม่ยั่งยืนอย่างนี้
ความร่ำไห้คร่ำครวญเป็นสิ่งไร้ประโยชน์
ทำไมท่านจึงยังเศร้าโศกอยู่เล่า
[๖๘] นักเลงก็ดี นักดื่มก็ดี คนไม่ได้รับการศึกษาก็ดี
คนโง่ก็ดี คนมุทะลุก็ดี คนไม่มีความเพียรก็ดี
คนไม่ฉลาดในธรรมก็ดี ย่อมเข้าใจนักปราชญ์ว่าเป็นคนโง่
มตโรทนชาดกที่ ๗ จบ

๘. กณเวรชาดก (๓๑๘)
ว่าด้วยหญิงหลายใจระลึกถึงความหลังใต้ต้นยี่โถแดง
(พวกนักฟ้อนได้ฟ้อนรำได้ขับเพลงขับนี้ว่า)
[๖๙] นางสามา ที่ท่านสวมกอดในเวลาที่อยู่ใต้กอต้นยี่โถแดง
ฝากข่าวมาบอกท่านถึงความที่ตนสบายดี
(โจรโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวกับนักฟ้อนว่า)
[๗๐] ผู้เจริญ ข่าวที่ว่า ลมพัดพาภูเขาไปได้ ข่าวนี้ไม่น่าเชื่อถือ
ถ้าลมจะพัดพาภูเขาไปได้ ก็พึงพัดพาแผ่นดินแม้ทั้งหมดไปได้
ก็นางสามาตายแล้วจะฝากข่าวมาบอกพวกเรา
ถึงความที่ตนสบายดีได้อย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๔. จตุกกนิบาต] ๒. ปุจิมันทวรรค ๙. ติตติรชาดก (๓๑๙)
(นักฟ้อนกล่าวว่า)
[๗๑] นางสามายังไม่ตายเลย และไม่ต้องการชายอื่น ได้ข่าวว่า
นางสามากินอาหารมื้อเดียว ยังต้องการแต่ท่านเท่านั้น
(โจรโพธิสัตว์กล่าวว่า)
[๗๒] นางสามาได้เปลี่ยนเอาเราผู้ไม่เคยเชยชิด
กับชายผู้เคยเชยชิดกันมานาน
นางสามาคงจะเปลี่ยนเอาชายอื่นผู้ไม่ใช่ขาประจำ
กับเราผู้เป็นขาประจำแน่นอน เราจะไปจากที่นี้ให้ไกลแสนไกล
กณเวรชาดกที่ ๘ จบ

๙. ติตติรชาดก (๓๑๙)
ว่าด้วยนกกระทา
(นกกระทาถามดาบสโพธิสัตว์ว่า)
[๗๓] พระคุณเจ้าผู้เจริญ ข้าพเจ้าอยู่สบายดี
และได้บริโภคอาหารตามชอบใจ ข้าพเจ้ากำลังอยู่ในอันตราย
คติของข้าพเจ้าจะเป็นอย่างไรหนอ
(ดาบสโพธิสัตว์ตอบปัญหาของนกกระทาว่า)
[๗๔] ปักษี ถ้าใจของเธอไม่น้อมไปเพื่อกรรมชั่ว
บาปก็ไม่แปดเปื้อนเธอผู้เป็นคนดี
ไม่ขวนขวายในการกระทำกรรมชั่ว
(นกกระทาได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวว่า)
[๗๕] นกกระทาจำนวนมากมาด้วยเข้าใจว่า
ญาติของพวกเราจับอยู่ที่นี้
ย่อมประสบเคราะห์กรรมเพราะอาศัยข้าพเจ้า
ใจข้าพเจ้ารังเกียจในกรรมชั่วนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๔. จตุกกนิบาต] ๓. กุฏิทูสกวรรค ๑. กุฏิทูสกชาดก (๓๒๑)
(ดาบสโพธิสัตว์จึงกล่าวว่า)
[๗๖] ถ้าใจของเธอไม่ถูกกรรมชั่วประทุษร้าย
กรรมชั่วที่นายพรานทำเพราะอาศัยเธอ ก็ไม่ถูกต้องเธอ
บาปก็ไม่แปดเปื้อนเธอผู้เป็นคนดี ผู้ขวนขวายน้อย
ติตติรชาดกที่ ๙ จบ

๑๐. สุจจชชาดก (๓๒๐)
ว่าด้วยพระราชาไม่ทรงสละสิ่งที่สละได้ง่าย
(พระราชเทวีตรัสกับอำมาตย์ว่า)
[๗๗] พระราชาเมื่อไม่พระราชทานภูเขาด้วยเพียงพระวาจา
ชื่อว่าไม่ทรงสละสิ่งที่ควรสละได้ง่ายหนอ
ก็เมื่อพระองค์ไม่ทรงสละสิ่งนั้น ฉันจะพึงให้อะไร
พระราชาไม่พระราชทานภูเขาด้วยพระวาจา
(พระราชาตรัสว่า)
[๗๘] งานใดควรทำ พึงพูดถึงแต่งานนั้นเถิด
งานใดไม่ควรทำ ก็อย่าพูดถึงงานนั้นเลย
คนไม่ทำ เอาแต่พูด บัณฑิตย่อมรู้ทัน
(พระราชเทวีกราบทูลว่า)
[๗๙] ข้าแต่ราชบุตร ขอความนอบน้อมจงมีแด่พระองค์
พระองค์ดำรงอยู่ในสัจจธรรม
ถึงแม้จะถูกเนรเทศ
ก็ยังมีพระหฤทัยยินดีในสัจจธรรม
(อำมาตย์โพธิสัตว์ได้ฟังพระเสาวนีย์ของพระเทวีผู้ตรัสคุณความดีของพระราชา
อยู่อย่างนั้น จึงประกาศคุณความดีของพระราชเทวีว่า)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๔. จตุกกนิบาต] ๓. กุฏิทูสกวรรค ๑. กุฏิทูสกชาดก (๓๒๑)
[๘๐] หญิงใดเป็นภรรยาของสามีที่ยากจนก็พลอยยากจนด้วย
เมื่อสามีร่ำรวยก็พลอยร่ำรวยมีชื่อเสียงด้วย
หญิงนั้นนับว่าเป็นภรรยาสุดประเสริฐของเขา
ส่วนหญิงที่เป็นภรรยาของชายผู้ที่มีเงินทองอยู่แล้ว
ไม่น่าอัศจรรย์เลย
สุจจชชาดกที่ ๑๐ จบ
ปุจิมันทวรรคที่ ๒ จบ

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปุจิมันทชาดก ๒. กัสสปมันทิยชาดก
๓. ขันติวาทิชาดก ๔. โลหกุมภิชาดก
๕. มังสชาดก ๖. สสปัณฑิตชาดก
๗. มตโรทนชาดก ๘. กณเวรชาดก
๙. ติตติรชาดก ๑๐. สุจจชชาดก

๓. กุฏิทูสกวรรค
หมวดว่าด้วยการประทุษร้ายรัง
๑. กุฏิทูสกชาดก (๓๒๑)
ว่าด้วยลิงประทุษร้ายรัง
(นกขมิ้นโพธิสัตว์กล่าวกับลิงว่า)
[๘๑] วานร ศีรษะ มือ และเท้าของท่านเหมือนของมนุษย์
เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไรหนอ เรือนของท่านจึงไม่มี
(ลิงได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวว่า)
[๘๒] นกขมิ้น ศีรษะ มือ และเท้าของเราเหมือนของมนุษย์ก็จริง
แต่ปัญญาที่บัณฑิตสรรเสริญว่าประเสริฐที่สุดในหมู่มนุษย์เราไม่มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๔. จตุกกนิบาต] ๓. กุฏิทูสกวรรค ๔. จัมมสาฏกชาดก (๓๒๔)
(นกขมิ้นโพธิสัตว์กล่าวว่า)
[๘๓] บุคคลผู้มีจิตไม่มั่นคง กลับกลอก ประทุษร้ายมิตร
มีปกติไม่ยั่งยืนอยู่เป็นนิจ ย่อมไม่มีความสุข
[๘๔] นี่ลิง ท่านจงสร้างอานุภาพปัญญา
จงกลับตัวให้มีความเป็นปกติเสีย
จงสร้างกระท่อมป้องกันลมและความหนาวเถิด
กุฏิทูสกชาดกที่ ๑ จบ

๒. ทุททุภายชาดก (๓๒๒)
ว่าด้วยกระต่ายตื่นตูม
(กระต่ายกล่าวกับราชสีห์โพธิสัตว์ว่า)
[๘๕] ขอความเจริญจงมีแก่ท่าน
ข้าพเจ้าอยู่ที่ใด ที่นั้นมีเสียงดังสนั่น
แม้ข้าพเจ้าก็ไม่ทราบว่า เสียงดังสนั่นนั้นเป็นเสียงอะไร
(พระศาสดาตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า)
[๘๖] กระต่ายได้ยินเสียงผลมะตูมหล่นเสียงดังสนั่นก็วิ่งหนีไป
ฝูงสัตว์ฟังคำของกระต่ายก็กลัวตัวสั่น
[๘๗] พวกคนโง่เขลายังไม่ทันรู้เรื่องแจ่มแจ้ง
ฟังคนอื่นโจษขาน ก็พากันตื่นตระหนก
พวกเขาเชื่อคนอื่นง่าย
[๘๘] ส่วนคนเหล่าใดเป็นนักปราชญ์
เพียบพร้อมด้วยศีลและปัญญา
ยินดีในความสงบ และเว้นไกลจากการกระทำชั่ว
คนเหล่านั้นหาเชื่อคนอื่นง่ายไม่
ทุททุภายชาดกที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๗๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๔. จตุกกนิบาต] ๓. กุฏิทูสกวรรค ๔. จัมมสาฏกชาดก (๓๒๔)
๓. พรหมทัตตชาดก (๓๒๓)
ว่าด้วยพระเจ้าพรหมทัต
(ดาบสโพธิสัตว์ได้กล่าวคาถากับพระราชาว่า)
[๘๙] ขอถวายพระพรมหาบพิตร ขึ้นชื่อว่าผู้ขอ
ย่อมได้ผล ๒ อย่าง คือ (๑) ไม่ได้ทรัพย์ (๒) ได้ทรัพย์
เพราะการขอมีสภาพเช่นนี้เป็นธรรมดา
[๙๐] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นใหญ่แห่งแคว้นปัญจาละ
บัณฑิตทั้งหลายเรียกการขอว่า เป็นการร้องไห้
เรียกการปฏิเสธว่า เป็นการร้องไห้ตอบ
[๙๑] ชาวแคว้นปัญจาละผู้มาประชุมพร้อมเพรียงกัน
ขออย่าได้เห็นอาตมภาพร้องไห้หรือเห็นพระองค์ทรงกันแสงตอบเลย
เพราะเหตุนั้น อาตมภาพจึงปรารถนาสถานที่ลับ
(พระราชาตรัสพระราชทานพรแก่ดาบสโพธิสัตว์ว่า)
[๙๒] ท่านพราหมณ์ โยมขอถวายโคแดง ๑,๐๐๐ ตัว
พร้อมกับโคจ่าฝูงแก่ท่าน
เพราะพระอริยะได้ฟังคาถาอันประกอบด้วยธรรม
ของพระคุณเจ้าแล้วจะไม่พึงถวายแก่พระอริยะได้อย่างไร
พรหมทัตตชาดกที่ ๓ จบ

๔. จัมมสาฏกชาดก (๓๒๔)
ว่าด้วยปริพาชกชื่อจัมมสาฏกะ
(ปริพาชกยืนประนมมือต่อแพะแล้วกล่าวว่า)
[๙๓] สัตว์ ๔ เท้างดงามจริงหนอ ท่าทางสง่า และน่ารักน่าเอ็นดู
ย่อมอ่อนน้อมต่อพราหมณ์ผู้เพียบพร้อมด้วยชาติและมนต์
จักเป็นแพะประเสริฐ มียศศักดิ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๔. จตุกกนิบาต] ๓. กุฏิทูสกวรรค ๖. กักการุชาดก (๓๒๖)
(พ่อค้าบัณฑิตโพธิสัตว์ห้ามปริพาชกนั้นว่า)
[๙๔] นี่พราหมณ์ อย่าได้วางใจสัตว์ ๔ เท้าตัวนี้
ด้วยการเห็นมันเพียงครู่เดียวเลย
มันต้องการจะขวิดให้เต็มที่ จึงย่อตัวลงแสดงท่าขวิดให้เหมาะ
(พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเหตุนั้น จึงตรัสว่า)
[๙๕] กระดูกขาอ่อนของปริพาชกก็หัก
บริขารที่หาบก็พลัดตกและสัมภาระทั้งหมดของพราหมณ์ก็แตก
ปริพาชกประคองแขนทั้ง ๒ ข้างคร่ำครวญอยู่ว่า
ช่วยด้วย แพะฆ่าคนประพฤติพรหมจรรย์
(ปริพาชกกล่าวว่า)
[๙๖] ผู้ที่สรรเสริญคนซึ่งไม่ควรบูชาจะถูกขวิดนอนอยู่
เหมือนเราผู้โง่เขลาถูกแพะขวิดในวันนี้
จัมมสาฏกชาดกที่ ๔ จบ

๕. โคธชาดก (๓๒๕)
ว่าด้วยฤๅษีจะกินเหี้ย
(พญาเหี้ยโพธิสัตว์เมื่อสนทนากับดาบส จึงได้กล่าวว่า)
[๙๗] ข้าพเจ้าเข้าใจท่านว่าเป็นสมณะ จึงเข้าไปหาท่านผู้ไม่สำรวม
ท่านเอาท่อนไม้ขว้างปาข้าพเจ้า ทำเหมือนมิใช่สมณะ
[๙๘] นี่เจ้าผู้โง่เขลา จะมีประโยชน์อะไรแก่เจ้า
ด้วยชฎาและการนุ่งห่มหนังเสือเหลือง
ภายในของเจ้าแสนจะรกรุงรัง
เจ้าขัดสีแต่ภายนอกเท่านั้น
(ดาบสได้ฟังดังนั้น จึงได้กล่าวว่า)
[๙๙] มาเถิดเหี้ย เจ้าจงกลับมากินข้าวสาลีสุก
น้ำมัน เกลือ และดีปลีของเรายังมีอยู่เพียงพอ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๔. จตุกกนิบาต] ๓. กุฏิทูสกวรรค ๖. กักการุชาดก (๓๒๖)
(พญาเหี้ยโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้น จึงได้กล่าวว่า)
[๑๐๐] ข้าพเจ้านั้นจะเข้าไปยังจอมปลวกที่ลึกถึง ๑๐๐ ชั่วคน
น้ำมัน เกลือ และดีปลีของท่านจะมีประโยชน์อะไร
สิ่งเหล่านั้นไม่มีประโยชน์สำหรับข้าพเจ้า
โคธชาดกที่ ๕ จบ

๖. กักการุชาดก (๓๒๖)
ว่าด้วยผู้สมควรได้ดอกกักการุทิพย์
(หัวหน้าเทพบุตรองค์ที่ ๑ กล่าวกับพระราชาผู้ขอดอกไม้ทิพย์ว่า)
[๑๐๑] ผู้ใดไม่ลักทรัพย์ด้วยกาย ไม่พูดเท็จ
ได้ยศแล้วก็ไม่มัวเมา ผู้นั้นแหละสมควรได้ดอกกักการุทิพย์
(เทพบุตรองค์ที่ ๒ กล่าวกับปุโรหิตว่า)
[๑๐๒] ผู้ใดแสวงหาทรัพย์อันน่าปลื้มใจโดยชอบธรรม
ไม่หลอกลวงเอาทรัพย์เขามา ได้โภคะทั้งหลายแล้วไม่มัวเมา
ผู้นั้นแหละสมควรได้ดอกกักการุทิพย์
(เทพบุตรองค์ที่ ๓ กล่าวกับปุโรหิตว่า)
[๑๐๓] ผู้ใดมีจิตไม่หน่ายเร็ว มีศรัทธาไม่คลายง่าย
ไม่บริโภคโภชนะอร่อยเพียงคนเดียว
ผู้นั้นแหละสมควรได้ดอกกักการุทิพย์
(เทพบุตรองค์ที่ ๔ กล่าวกับปุโรหิตว่า)
[๑๐๔] ผู้ใดไม่ด่าว่าสัตบุรุษต่อหน้าหรือลับหลัง
พูดอย่างไรทำอย่างนั้น
ผู้นั้นแหละสมควรได้ดอกกักการุทิพย์
กักการุชาดกที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๔. จตุกกนิบาต] ๓. กุฏิทูสกวรรค ๙. กาฬพาหุชาดก (๓๒๙)
๗. กากวตีชาดก (๓๒๗)
ว่าด้วยนางกากวดี
(นฏกุเวรคนธรรพ์ยืนอยู่ในราชสำนัก ได้ขับร้องเพลงว่า)
[๑๐๕] นางผู้เป็นที่รักของข้าพเจ้าอยู่ที่ใด
กลิ่นกายนางก็ยังหอมฟุ้งมาจากที่นั้น
ข้าพเจ้ามีใจกำหนัดยินดีในนางใด
นางนั้นชื่อว่ากากวดี อยู่ไกลจากนี้
(พญาครุฑได้ฟังดังนั้น จึงถามว่า)
[๑๐๖] ท่านข้ามสมุทรไปได้อย่างไร
ข้ามแม่น้ำเกปุกะไปได้อย่างไร
ข้ามสมุทรทั้ง ๗ ไปได้อย่างไร
และขึ้นไปยังวิมานฉิมพลีได้อย่างไร
(นฏกุเวรคนธรรพ์ตอบว่า)
[๑๐๗] ข้าพเจ้าข้ามสมุทรไปได้เพราะท่าน
ข้ามแม่น้ำเกปุกะไปได้เพราะท่าน
ข้ามสมุทรทั้ง ๗ ไปได้เพราะท่าน
และขึ้นไปยังวิมานฉิมพลีได้ก็เพราะท่าน
(พญาครุฑได้กล่าวว่า)
[๑๐๘] น่าติเตียนจริง เราตัวใหญ่เสียเปล่า
แต่หามีความคิดไม่
เพราะเราได้นำชายชู้ของเมียตัวเองทั้งไปทั้งกลับ
กากวตีชาดกที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๔. จตุกกนิบาต] ๓. กุฏิทูสกวรรค ๙. กาฬพาหุชาดก (๓๒๙)
๘. อนนุโสจิยชาดก (๓๒๘)
ว่าด้วยทุกคนไม่ควรเศร้าโศก
(พระโพธิสัตว์แสดงธรรมแก่มหาชนว่า)
[๑๐๙] ตาปสินีผู้เจริญไปอยู่ในหมู่ชนเป็นจำนวนมากที่ตายแล้ว
นางผู้อยู่ร่วมกับพวกคนตายเหล่านั้นจะมีประโยชน์อะไรแก่เรา
เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่เศร้าโศกถึง
นางสัมมิลลหาสินีตาปสินีผู้เป็นที่รัก
[๑๑๐] ถ้าบุคคลจะพึงเศร้าโศกถึงความตายที่ไม่มีแก่สัตว์ผู้เศร้าโศก
ควรเศร้าโศกถึงตนผู้ตกอยู่ในอำนาจของมัจจุทุกเมื่อเถิด
[๑๑๑] อายุสังขารจะติดตามสัตว์ผู้ยืน นั่ง นอน
และเดินไปมาเท่านั้นก็หาไม่
วัยย่อมติดตามเหล่าสัตว์แม้กระทั่งลืมตาและหลับตา
[๑๑๒] เมื่อความพลัดพรากมีอยู่อย่างไม่ต้องสงสัย
ในอัตภาพที่เต็มไปด้วยอันตรายนี้อย่างนี้
บุคคลควรเอ็นดูสัตว์ที่ยังเป็นอยู่ยังเหลืออยู่
ไม่ควรเศร้าโศกถึงสัตว์ที่ตายไปแล้ว
อนนุโสจิยชาดกที่ ๘ จบ

๙. กาฬพาหุชาดก (๓๒๙)
ว่าด้วยลิงชื่อกาฬพาหุ
(นกแขกเต้าโปฏฐปาทะกล่าวกับนกแขกเต้าราธโพธิสัตว์ผู้เป็นพี่ชายว่า)
[๑๑๓] เมื่อก่อน เราได้ข้าวและน้ำใดจากราชสำนัก
บัดนี้ ข้าวและน้ำนั้นไปหาลิง๑เท่านั้น พี่ราธะ
เรากลับไปป่ากันเถิด เพราะพระเจ้าธนัญชัยไม่สักการะเราแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ แปลถอดความจากคำบาลีว่า สาขมิค แปลว่า เนื้อที่อยู่บนกิ่งไม้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๔. จตุกกนิบาต] ๔. โกกิลวรรค ๑. โกกิลชาดก (๓๓๑)
(นกราธโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวว่า)
[๑๑๔] น้องโปฏฐปาทะเอ๋ย โลกธรรมในหมู่มนุษย์เหล่านี้
คือ ความมีลาภ ไม่มีลาภ มียศ ไม่มียศ
นินทา สรรเสริญ สุข และทุกข์ เป็นของไม่เที่ยง
เจ้าอย่าเศร้าโศกไปเลย จะเศร้าโศกไปทำไม
(นกโปฏฐปาทะกล่าวว่า)
[๑๑๕] พี่ราธะ พี่เป็นบัณฑิตแแท้ ๆ ย่อมรู้ประโยชน์ที่ยังไม่มาถึง
ทำอย่างไร เราจะเห็นลิงชั่วถูกไล่ออกจากราชตระกูล
(นกราธโพธิสัตว์กล่าวว่า)
[๑๑๖] ลิงกาฬพาหุกระดิกหู กลอกหน้ากลอกตา
ทำให้พระราชกุมารหวาดกลัวอยู่บ่อย ๆ
มันจะทำตนเองให้อดข้าวและน้ำ๑
กาฬพาหุชาดกที่ ๙ จบ

๑๐. สีลวีมังสชาดก (๓๓๐)
ว่าด้วยการพิจารณาอานิสงส์ของศีล
(ปุโรหิตโพธิสัตว์ยืนอยู่ในที่ใกล้พระราชา ได้พรรณนาศีลด้วยคาถานี้ว่า)
[๑๑๗] ได้ยินว่า ศีลเป็นสิ่งดีงาม ศีลเป็นสิ่งที่ยอดเยี่ยมในโลก
ดูเถิด นาคที่มีพิษร้ายแรงยังไม่เบียดเบียนใคร ๆ
เพราะสำนึกอยู่ว่าตนมีศีล
(พระโพธิสัตว์เห็นโทษของกามแล้ว จึงกล่าวว่า)
[๑๑๘] ตราบใด เหยี่ยวนั้นยังคาบชิ้นเนื้อใด ๆ อยู่
ตราบนั้น เหยี่ยวทั้งหลายในโลกก็พากันรุมจิกตีกัน
แต่พวกมันจะไม่เบียดเบียนเหยี่ยวที่ไม่มีความกังวล

เชิงอรรถ :
๑ แปลถอดความจากคำบาลีว่า เยนารกา ฐสฺสติ อนฺนปานา แปลว่า อยู่ห่างไกลจากข้าวและน้ำ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๔. จตุกกนิบาต] ๔. โกกิลวรรค ๑. โกกิลชาดก (๓๓๑)
[๑๑๙] คนที่ไม่มีความหวังย่อมหลับสบาย
ความหวังที่ได้ผลสมหวังเป็นความสุข
นางปิงคลาทำความหวังให้สิ้นแล้วย่อมหลับสบาย
[๑๒๐] ความสุขอื่นยิ่งกว่าสมาธิไม่มีทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
คนผู้มีจิตเป็นสมาธิย่อมไม่เบียดเบียนทั้งผู้อื่นและตนเอง
สีลวีมังสชาดกที่ ๑๐ จบ
กุฏิทูสกวรรคที่ ๓ จบ

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. กุฏิทูสกชาดก ๒. ทุททุภายชาดก
๓. พรหมทัตตชาดก ๔. จัมมสาฏกชาดก
๕. โคธชาดก ๖. กักการุชาดก
๗. กากวตีชาดก ๘. อนนุโสจิยชาดก
๙. กาฬพาหุชาดก ๑๐. สีลวีมังสชาดก

๔. โกกิลวรรค
หมวดว่าด้วยลูกนกดุเหว่า
๑. โกกิลชาดก (๓๓๑)
ว่าด้วยลูกนกดุเหว่า
(อำมาตย์แก้วโพธิสัตว์ ได้กราบทูลพระราชาว่า)
[๑๒๑] ผู้ใดพูดเมื่อยังไม่ถึงเวลาพูด ก็พูดเกินเวลา
ผู้นั้นจะถูกกำจัดนอนตายอยู่ เหมือนลูกนกดุเหว่า
[๑๒๒] ธรรมดาศัสตราที่ลับจนคมดีแล้ว
เหมือนยาพิษที่มีพิษร้ายแรงจะให้ตกไปในทันทีหาได้ไม่
เหมือนวาจาที่เป็นทุพภาษิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๔. จตุกกนิบาต] ๔. โกกิลวรรค ๓. โคธชาดก (๓๓๓)
[๑๒๓] เพราะฉะนั้น บัณฑิตควรรักษาวาจาไว้
ทั้งในเวลาที่ควรพูดและไม่ควรพูด
ไม่ควรพูดให้เกินเวลาแม้ในบุคคลผู้เสมอกับตน
[๑๒๔] ส่วนผู้ใดมีความคิดเป็นเบื้องหน้า มีปัญญาเครื่องพิจารณา
เห็นประจักษ์ พูดพอเหมาะกับกาลเวลา
ผู้นั้นย่อมจับศัตรูทั้งหมดไว้ได้ดุจนกครุฑจับนาคได้
โกกิลชาดกที่ ๑ จบ

๒. รถลัฏฐิชาดก (๓๓๒)
ว่าด้วยปุโรหิตโกรธประหารผู้อื่นด้วยปะฏัก
(อำมาตย์ผู้พิพากษาโพธิสัตว์ กราบทูลพระราชาว่า)
[๑๒๕] ข้าแต่มหาราช คนบางคนทำร้ายตนเอง
กลับพูดว่า ถูกทำร้าย
ตนเองชนะ กลับพูดว่า ตนแพ้
ดังนั้น ไม่ควรเชื่อคนที่เป็นโจทก์ฝ่ายเดียว
[๑๒๖] เพราะฉะนั้น บุคคลผู้เป็นชาติบัณฑิตควรฟังฝ่ายจำเลยบ้าง
เมื่อฟังคำของทั้ง ๒ ฝ่ายแล้วควรตัดสินโดยธรรม
[๑๒๗] คฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเกียจคร้านไม่ดี
บรรพชิตไม่สำรวมไม่ดี
พระราชาไม่ทรงใคร่ครวญก่อนแล้วทำไม่ดี
การที่บัณฑิตโกรธไม่ดี
[๑๒๘] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นเจ้าแห่งทิศ
กษัตริย์ทรงใคร่ครวญก่อนแล้วจึงควรทำ
ไม่ทรงใคร่ครวญก่อนแล้วไม่ควรตัดสิน
ยศและเกียรติย่อมเจริญแด่พระราชาผู้ทรงใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำ
รถลัฏฐิชาดกที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๔. จตุกกนิบาต] ๔. โกกิลวรรค ๓. โคธชาดก (๓๓๓)
๓. โคธชาดก (๓๓๓)
ว่าด้วยพระราชาหลอกกินเหี้ยย่าง
(พระเทวีตรัสกับพระโพธิสัตว์ว่า)
[๑๒๙] ข้าแต่พระองค์ผู้จอมทัพ เมื่อพระองค์ทรงเหน็บพระขรรค์
สวมเกราะ ทรงภูษาผ้าเปลือกไม้อยู่ ณ ท่ามกลางป่า
ในกาลนั้นแล หม่อมฉันได้รู้จักพระองค์อย่างชัดเจน
เหี้ยย่างที่กิ่งต้นอัสสัตถะได้หนีไปแล้ว
(พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า)
[๑๓๐] บุคคลควรนอบน้อมแก่ผู้ที่นอบน้อม
ควรคบผู้ที่คบด้วย ควรทำกิจแก่ผู้ที่ช่วยทำกิจ
ไม่ควรทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ให้แก่
ผู้ปรารถนาสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
และไม่ควรคบแม้ผู้ที่ไม่ประสงค์จะคบด้วย
[๑๓๑] ควรละทิ้งผู้ที่ละทิ้ง และไม่ควรทำความเยื่อใย
ไม่ควรคบกับผู้มีจิตใจเหินห่าง
ควรมองหาผู้อื่น(ที่มีความเยื่อใย)
เหมือนนกรู้ว่า ต้นไม้นี้หมดผลแล้วก็ไปยังต้นไม้อื่น
เพราะว่าโลกกว้างใหญ่
(พระราชาทรงระลึกถึงคุณความดีของพระเทวีได้ จึงตรัสกับพระเทวีว่า)
[๑๓๒] เรานั้นเป็นกษัตริย์มุ่งความกตัญญู (อุปการคุณที่เธอกระทำแล้ว)
จะกระทำการตอบแทนเธอตามความสามารถ
อนึ่ง เราจะมอบความเป็นใหญ่ให้แก่เธอทั้งหมด
เธอประสงค์สิ่งใด เราจะให้สิ่งนั้น
โคธชาดกที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๔. จตุกกนิบาต] ๔. โกกิลวรรค ๖. พรหาฉัตตชาดก (๓๓๖)
๔. ราโชวาทชาดก (๓๓๔)
ว่าด้วยดาบสถวายโอวาทแด่พระราชา
(ดาบสโพธิสัตว์กราบทูลพระราชาว่า)
[๑๓๓] เมื่อฝูงโคข้ามน้ำไป
ถ้าโคจ่าฝูงไปคดเคี้ยว
โคทั้งฝูงก็ไปคดเคี้ยวตามกัน
ในเมื่อโคจ่าฝูงไปคดเคี้ยว
[๑๓๔] ในหมู่มนุษย์ ก็เหมือนกัน
ผู้ใดได้รับแต่งตั้งให้เป็นใหญ่
ถ้าผู้นั้นประพฤติไม่เป็นธรรม
ประชาชนชาวเมืองนั้นก็จะประพฤติไม่เป็นธรรมตามไปด้วย
หากพระราชาไม่ตั้งอยู่ในธรรม
ชาวเมืองนั้นก็อยู่เป็นทุกข์
[๑๓๕] เมื่อฝูงโคข้ามน้ำไป
ถ้าโคจ่าฝูงไปตรง
โคทั้งฝูงก็ไปตรงตามกัน
ในเมื่อโคจ่าฝูงไปตรง
[๑๓๖] ในหมู่มนุษย์ก็เหมือนกัน
ผู้ใดได้รับแต่งตั้งให้เป็นใหญ่
ถ้าผู้นั้นประพฤติชอบธรรม
ประชาชนชาวเมืองนั้นก็จะประพฤติชอบธรรมตามไปด้วย
หากพระราชาตั้งอยู่ในธรรม
ชาวเมืองนั้นก็อยู่เป็นสุข๑
ราโชวาทชาดกที่ ๔ จบ

เชิงอรรถ :
๑ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๗๐/๑๑๕-๑๑๖, ขุ.ชา. (แปล) ๒๘/๑๐๔-๑๐๗/๒๑, ๑๖๘-๑๗๑/๓๑-๓๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๔. จตุกกนิบาต] ๔. โกกิลวรรค ๖. พรหาฉัตตชาดก (๓๓๖)
๕. ชัมพุกชาดก (๓๓๕)
ว่าด้วยสุนัขจิ้งจอกชัมพุกะอวดเก่ง
(ราชสีห์โพธิสัตว์สอนสุนัขจิ้งจอกว่า)
[๑๓๗] ชัมพุกะ ช้างนั้นมีร่างกายสูงใหญ่และมีงายาว
เจ้าไม่ได้เกิดในตระกูลของราชสีห์ที่สามารถจับช้างได้
(ราชสีห์โพธิสัตว์ยืนอยู่บนยอดภูเขา เห็นสุนัขจิ้งจอกถึงความพินาศ จึงกล่าวว่า)
[๑๓๘] สัตว์ใดมิใช่ราชสีห์ ทำท่าทางเหมือนราชสีห์
สัตว์นั้นจะเป็นเหมือนสุนัขจิ้งจอกถูกช้างเหยียบแล้ว
นอนทอดอาลัยอยู่บนแผ่นดิน
[๑๓๙] ผู้ใดไม่รู้กำลังกาย กำลังปัญญา
และกำเนิดของบุคคลผู้มียศ ผู้สูงสุด
มีร่างกายใหญ่และมั่นคง มีกำลังมาก
ผู้นั้นก็เหมือนชัมพุกะที่ถูกช้างฆ่านอนตายอยู่
[๑๔๐] ส่วนผู้ใดในโลกนี้รู้กำลังกายและกำลังปัญญาในตน
พิจารณาด้วยความรู้ที่ได้เล่าเรียนศึกษามา
และด้วยคำสุภาษิต ประมาณตนแล้วจึงทำการงาน
ผู้นั้นย่อมมีชัยอย่างไพบูลย์
ชัมพุกชาดกที่ ๕ จบ

๖. พรหาฉัตตชาดก (๓๓๖)
ว่าด้วยพระกุมารชื่อพรหาฉัตต์
(พระโพธิสัตว์กราบทูลพระราชาในเวลาที่ทรงบ่นเพ้อว่า)
[๑๔๑] พระองค์ทรงบ่นอยู่ว่า หญ้า หญ้า
ใครหนอนำหญ้ามาถวายพระองค์
พระองค์มีกิจที่จะพึงทำด้วยหญ้าหรือหนอ
จึงตรัสแต่คำว่า หญ้า หญ้า เท่านั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๔. จตุกกนิบาต] ๔. โกกิลวรรค ๘. ถุสชาดก (๓๓๘)
(พระราชาทรงสดับดังนั้น จึงตรัสว่า)
[๑๔๒] ฉัตตฤๅษีนั้นมีร่างกายสูง เป็นพรหมจารี เป็นพหูสูต
มาแล้วที่นี้ ลักเอาทรัพย์ทั้งหมดของเราไป
ใส่หญ้าไว้ในตุ่มแทนแล้วหนีไป
(พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า)
[๑๔๓] ผู้ต้องการใช้หญ้ามีค่าน้อยแลกทรัพย์จำนวนมาก
ย่อมต้องกระทำอย่างนี้ คือ ถือเอาทรัพย์ของตน
แต่ไม่ถือเอาหญ้าซึ่งไม่ควรถือเอา
การพิไรรำพันในเรื่องนั้นจะมีประโยชน์อะไร
(พระราชาทรงสดับดังนั้น จึงตรัสว่า)
[๑๔๔] คนมีศีลไม่กระทำเช่นนั้น
คนพาลทำเช่นนั้นเป็นปกติ
ทำไมหนอจะทำคนที่มีศีลไม่มั่นคง
ซึ่งเป็นคนทุศีลให้เป็นบัณฑิตได้
พรหมฉัตตชาดกที่ ๖ จบ

๗. ปีฐชาดก (๓๓๗)
ว่าด้วยเศรษฐีถวายตั่งตามตระกูล
(เศรษฐีกรุงพาราณสีได้กล่าวกับดาบสโพธิสัตว์ว่า)
[๑๔๕] ข้าพเจ้ามิได้ถวายตั่ง น้ำดื่ม
และโภชนาหารแด่พระคุณเจ้า
ท่านผู้ประพฤติพรหมจรรย์
ขอพระคุณเจ้าจงยกโทษให้ข้าพเจ้า
ข้าพเจ้าเห็นโทษนั้นอยู่
(พระดาบสโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวว่า)
[๑๔๖] อาตมามิได้ติดใจ มิได้โกรธเคือง
และมิได้มีความไม่พอใจแม้แต่น้อย
อนึ่ง แม้อาตมาก็ยังคิดคำนึงในใจอยู่ว่า
หน้าที่ในตระกูลเป็นเช่นนี้แน่นอน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๔. จตุกกนิบาต] ๔. โกกิลวรรค ๘. ถุสชาดก (๓๓๘)
(เศรษฐีได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวว่า)
[๑๔๗] พวกข้าพเจ้าถวายอาสนะ น้ำดื่ม
และน้ำมันทาเท้า ทุกสิ่งทุกเมื่อ
นี้เป็นหน้าที่ในตระกูลครั้งปู่ย่าตายายของข้าพเจ้า
[๑๔๘] พวกข้าพเจ้าบำรุงสมณะและพราหมณ์โดยเคารพ
ในกาลทุกเมื่อเหมือนญาติผู้ใหญ่
นี้เป็นธรรมในตระกูลครั้งบิดาและปู่ของข้าพเจ้า
ปีฐชาดกที่ ๗ จบ

๘. ถุสชาดก (๓๓๘)
ว่าด้วยหนูไม่กินแกลบ
(ในเวลาที่พระโอรสมีพระชนมายุ ๑๖ พรรษา ขณะที่กำลังเสวยพระกระยาหารเย็น
พระราชาแห่งกรุงพาราณสีตรัสกับพระโอรสว่า)
[๑๔๙] แกลบก็ปรากฏโดยความเป็นแกลบ
และข้าวสารก็ปรากฏโดยความเป็นข้าวสารแก่หนูทั้งหลาย
แต่พวกหนูเว้นแกลบเสียแล้วเคี้ยวกินเฉพาะข้าวสารเท่านั้น
(ในเวลามีการเข้าเฝ้าเป็นการใหญ่ พระราชาตรัสว่า)
[๑๕๐] การปรึกษากันในป่าก็ดี การกระซิบกันในบ้านก็ดี
การวางแผนฆ่าเราก็ดี ทั้งหมดนั้นเรารู้แล้ว
(ครั้นพระราชาประทับยืนอยู่ที่หัวบันได ก็ตรัสว่า)
[๑๕๑] ได้ยินว่า พ่อของลิงกัดผล(ลูกอัณฑะ)ของลูกลิง
ที่เกิดตามธรรมชาติเสียตั้งแต่ยังเล็กอยู่
(พระราชาประทับยืนที่ธรณีประตู ตรัสอีกว่า)
[๑๕๒] การที่เจ้ากระสับกระส่ายอยู่เหมือนแพะตาบอดในไร่ผักกาด
และเจ้านอนอยู่ใต้แท่นบรรทม ทั้งหมดนั้นเรารู้แล้ว
ถุสชาดกที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๔. จตุกกนิบาต] ๕. จูฬกุณาลวรรค ๑. กุณฑลิกชาดก (๓๔๑)
๙. พาเวรุชาดก (๓๓๙)
ว่าด้วยความเสื่อมลาภของกาในแคว้นพาเวรุ
(พระศาสดาทรงประมวลอดีตนิทานมาแล้ว ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า)
[๑๕๓] เพราะยังไม่เห็นนกยูงที่มีหงอน มีเสียงอันไพเราะ
ประชาชนในแคว้นพาเวรุนั้นได้พากันบูชากาด้วยเนื้อและผลไม้
[๑๕๔] แต่เมื่อใดนกยูงที่มีเสียงไพเราะมายังแคว้นพาเวรุ
เมื่อนั้นลาภและสักการะของกาก็เสื่อมถอยไป
[๑๕๕] ตราบใดพระพุทธเจ้าผู้เป็นพระธรรมราชา
ผู้ทำโลกให้สว่างไสวยังมิได้อุบัติขึ้น ตราบนั้น
ประชาชนก็พากันบูชาสมณะและพราหมณ์เหล่าอื่นจำนวนมาก
[๑๕๖] แต่เมื่อใดพระพุทธเจ้าผู้มีพระสุรเสียงไพเราะทรงแสดงธรรม
เมื่อนั้นลาภสักการะของพวกเดียรถีย์ก็เสื่อมไป
พาเวรุชาดกที่ ๙ จบ

๑๐. วิสัยหชาดก (๓๔๐)
ว่าด้วยวิสัยหเศรษฐี
(ท้าวสักกะเสด็จมายืนอยู่ในอากาศ ได้ตรัสกับวิสัยหเศรษฐีโพธิสัตว์ว่า)
[๑๕๗] ท่านวิสัยหเศรษฐี เมื่อก่อนท่านได้ให้ทาน
ก็เมื่อท่านให้ทานอยู่อย่างนั้น โภคะทั้งหลายของท่าน
ก็สิ้นไปเป็นธรรมดา ตั้งแต่นี้ไป ถ้าท่านจะไม่พึงให้ทาน
โภคะทั้งหลายของท่านผู้งดให้ทานก็จะพึงดำรงอยู่
(วิสัยหเศรษฐีโพธิสัตว์ได้ฟังแล้ว จึงกล่าวว่า)
[๑๕๘] ท้าวสหัสสเนตร พระอริยะทั้งหลายกล่าวอนารยธรรมว่า
เป็นกิจที่อริยชนหรือแม้คนยากจนไม่ควรทำ
ท่านจอมชน เราพึงสละศรัทธาเพราะเหตุแห่งการบริโภคทรัพย์ใด
ขอทรัพย์นั้นอย่าพึงเกิดแก่เราเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๔. จตุกกนิบาต] ๕. จูฬกุณาลวรรค ๑. กุณฑลิกชาดก (๓๔๑)
[๑๕๙] รถคันหนึ่งแล่นไปทางใด รถคันอื่นก็จะแล่นไปทางนั้น
ท้าววาสวะ ธรรมเนียมที่ได้ประพฤติปฏิบัติมาแต่ก่อน
ขอจงดำเนินต่อไปเถิด
[๑๖๐] ถ้ายังมียังเป็นอยู่ก็จะให้เรื่อยไป
เมื่อไม่มีชีวิตจะให้อย่างไร
ข้าพเจ้าแม้มีสภาพอย่างนี้ ก็ยังจะให้
ข้าพเจ้าจะไม่ลืมการให้เลย
วิสัยหชาดกที่ ๑๐ จบ
โกกิลวรรคที่ ๔ จบ

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. โกกิลชาดก ๒. รถลัฏฐิชาดก
๓. โคธชาดก ๔. ราโชวาทชาดก
๕. ชัมพุกชาดก ๖. พรหมฉัตตชาดก
๗. ปีฐชาดก ๘. ถุสชาดก
๙. พาเวรุชาดก ๑๐. วิสัยหชาดก

๕. จูฬกุณาลวรรค
หมวดว่าด้วยนกกุณาละหมวดสั้น
๑. กุณฑลิกชาดก (๓๔๑)
ว่าด้วยกุณฑลิกราชา
(ในเรื่องที่พญานกกุณาละพูดกับนกปุณณมุขะนี้มีคาถาประพันธ์ไว้อีกส่วนหนึ่งว่า)
[๑๖๑] บรรดาพวกผู้หญิงที่ทำความรื่นรมย์ให้แก่พวกผู้ชาย
เป็นคนหลายใจ ไม่มีใครจะบังคับได้
แม้ถ้าว่าพวกนางจะพึงทำให้เกิดความพอใจในที่ทั้งปวง
ก็ไม่ควรไว้ใจ เพราะว่าพวกผู้หญิงเปรียบเสมือนท่าน้ำ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๔. จตุกกนิบาต] ๕. จูฬกุณาลวรรค ๓. กุนตินีชาดก (๓๔๓)
(พญานกกุณาละเกิดเป็นปัญจาลจัณฑปุโรหิต นำเหตุที่ตนได้เห็นมาแสดงว่า)
[๑๖๒] บัณฑิตเห็นเหตุคลายความกำหนัดของพญากินนร
และพญากินนรีแล้ว พึงทราบเถิดว่า
ผู้หญิงทั้งปวงไม่ยินดีในเรือนของสามี
เหมือนภรรยาได้ทอดทิ้งสามีคู่ชีวิตเช่นนั้นไป
เพราะพบชายอื่นแม้เป็นคนง่อยเปลี้ย
(พญานกกุณฑลิกะเกิดเป็นพระเจ้าพรหมทัต เมื่อจะแสดงเรื่องที่ตนได้ทราบ
มาแล้ว จึงกล่าวว่า)
[๑๖๓] พระมเหสีของพระเจ้าพกะและพระเจ้าพาวรี
ผู้หมกมุ่นอยู่ในกามมากเกินไป
ได้เป็นชู้กับมหาดเล็กคนสนิทของพระนาง
มีหรือผู้หญิงทั้งหลายจะไม่พึงเป็นชู้กับชายอื่น
(พญานกกุณฑลิกะเกิดเป็นพระเจ้าพรหมทัต เมื่อจะแสดงเรื่องที่ตนเห็นมาเอง
จึงกล่าวว่า)
[๑๖๔] พระนางปิงคิยานี อัครมเหสีผู้เป็นที่รัก
ของพระเจ้าพรหมทัตผู้เป็นใหญ่แห่งโลกทั้งมวล
ได้เป็นชู้กับคนเลี้ยงม้าผู้ใกล้ชิดพระนาง
พระนางเป็นผู้มักมากในกาม มิได้ประสบผลแม้ทั้ง ๒ อย่าง๑
กุณฑลิกชาดกที่ ๑ จบ

๒. วานรชาดก (๓๔๒)
ว่าด้วยวานรโพธิสัตว์
(วานรโพธิสัตว์ได้กล่าวกับจระเข้ว่า)
[๑๖๕] ข้าพเจ้าสามารถขึ้นจากน้ำมาบนบกได้
จระเข้ บัดนี้ข้าพเจ้าไม่ตกอยู่ในอำนาจของท่านอีกต่อไป

เชิงอรรถ :
๑ คือ ไม่ได้พบคนเลี้ยงม้าและไม่ได้ครองตำแหน่งอัครมเหสี (ขุ.ชา.อ. ๘/๓๑๓/๓๕๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๔. จตุกกนิบาต] ๕. จูฬกุณาลวรรค ๓. กุนตินีชาดก (๓๔๓)
[๑๖๖] พอกันทีสำหรับผลมะม่วง ลูกหว้า และขนุน
ที่ต้องข้ามฝั่งสมุทรไปกิน ผลมะเดื่อของเราดีกว่า
[๑๖๗] อนึ่ง ผู้ใดไม่รู้เท่าทันเหตุที่เกิดขึ้นโดยฉับพลัน
ผู้นั้นจะตกอยู่ในอำนาจของศัตรูและจะเดือดร้อนในภายหลัง
[๑๖๘] ส่วนผู้ใดรู้เท่าทันเหตุที่เกิดขึ้นโดยฉับพลัน
ผู้นั้นย่อมพ้นจากความคับขันอันเกิดจากศัตรู
และจะไม่เดือดร้อนในภายหลัง
วานรชาดกที่ ๒ จบ

๓. กุนตินีชาดก (๓๔๓)
ว่าด้วยนางนกกระเรียน
(นางนกกระเรียนกราบทูลพระราชาโพธิสัตว์ว่า)
[๑๖๙] ข้าพระองค์ได้อาศัยอยู่ในพระราชนิเวศน์ของพระองค์
ได้รับสักการะอยู่เนืองนิตย์
บัดนี้ พระองค์ได้ทรงก่อเหตุแห่งความเสียใจให้แก่ข้าพระองค์
ข้าแต่มหาราช เอาเถิด ข้าพระองค์จะลาไปยังป่าหิมพานต์
(พระราชาโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้น จึงตรัสว่า)
[๑๗๐] ผู้ใดรู้กรรมชั่วร้ายที่คนอื่นทำแก่ตน
และรู้กรรมชั่วร้ายที่ตนทำตอบแก่เขา
เวรของผู้นั้นย่อมระงับไปด้วยเหตุเพียงเท่านี้
แม่นกกระเรียน เพราะฉะนั้น เธอจงอยู่เถิด อย่าไปเลย
(นางนกระเรียนได้ฟังดังนั้น จึงกราบทูลว่า)
[๑๗๑] มิตรภาพของผู้ประทุษร้ายและของผู้ถูกประทุษร้าย
ย่อมสมานกันไม่ได้อีก ใจไม่อนุญาตให้อยู่
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมทัพ ข้าพระองค์จักไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๔. จตุกกนิบาต] ๕. จูฬกุณาลวรรค ๖. เกสวชาดก (๓๔๖)
(พระราชาโพธิสัตว์ตรัสว่า)
[๑๗๒] มิตรภาพของผู้ประทุษร้ายและของผู้ถูกประทุษร้าย
พวกที่เป็นนักปราชญ์ย่อมสมานกันได้อีก
แต่พวกที่โง่เขลาย่อมสมานกันไม่ได้
แม่นกกระเรียน เธอจงอยู่เถิด อย่าไปเลย
กุนตินีชาดกที่ ๓ จบ

๔. อัมพชาดก (๓๔๔)
ว่าด้วยพระขรัวตาเฝ้าสวนมะม่วง
(ลูกสาวเศรษฐีคนที่ ๑ กล่าวคำสาบานแก่ชฏิลโกงว่า)
[๑๗๓] หญิงใดได้ลักผลมะม่วงทั้งหลายของท่านไป
ขอหญิงนั้นจงตกอยู่ในอำนาจของชายที่ย้อมผมให้ดำ
และลำบากด้วยการใช้แหนบ(ถอนผมหงอกที่งอกแซมขึ้นมา)
(ลูกสาวเศรษฐีคนที่ ๒ กล่าวคำสาบานแก่ชฏิลโกงว่า)
[๑๗๔] หญิงใดได้ลักผลมะม่วงทั้งหลายของท่านไป
หญิงนั้นถึงจะมีอายุตั้ง ๒๐ ปี ๒๕ ปี
หรือยังไม่ถึง ๓๐ ปี ก็ขออย่าหาผัวได้เลย
(ต่อจากนั้น ลูกสาวเศรษฐีคนที่ ๓ กล่าวคำสาบานว่า)
[๑๗๕] หญิงใดได้ลักผลมะม่วงทั้งหลายของท่านไป
ขอหญิงนั้นถึงจะกระเสือกกระสนเดินทางอันยาวไกลเพียงคนเดียว
ก็อย่าได้พบผัวแม้ในสถานที่ที่ได้นัดหมายกันไว้เลย
(ต่อจากนั้น ลูกสาวเศรษฐีคนที่ ๔ จึงกล่าวคำสาบานบ้างว่า)
[๑๗๖] หญิงใดได้ลักผลมะม่วงทั้งหลายของท่านไป
ขอหญิงนั้นถึงจะมีที่อยู่อันสะอาด ตกแต่งร่างกายสวยงาม
ประดับประดาด้วยระเบียบดอกไม้ ลูบไล้ด้วยกระแจะจันทน์
ก็จงนอนอยู่บนที่นอนเพียงคนเดียวเถิด
อัมพชาดกที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๔. จตุกกนิบาต] ๕. จูฬกุณาลวรรค ๖. เกสวชาดก (๓๔๖)
๕. คชกุมภชาดก (๓๔๕)
ว่าด้วยสัตว์เลื้อยคลานชื่อคชกุมภะ
(อำมาตย์แก้วโพธิสัตว์กล่าวกับตัวคชกุมภะว่า)
[๑๗๗] เจ้าตัวโยกเยก๑ เจ้ามีความเชื่องช้าอย่างนี้
คราวเมื่อไฟป่าไหม้ป่า เจ้าจะทำอย่างไร
(ตัวคชกุมภะได้ฟังดังนั้น จึงตอบว่า)
[๑๗๘] โพรงไม้และรอยแตกระแหงของแผ่นดินมีอยู่เป็นจำนวนมาก
ถ้าพวกข้าพเจ้าหนีเข้าไปไม่ทัน พวกข้าพเจ้าก็ตาย
(อำมาตย์โพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวว่า)
[๑๗๙] ผู้ใดในคราวที่ควรทำช้า ๆ กลับทำงานอย่างเร็วพลัน
ในคราวที่ควรทำอย่างรีบด่วน กลับทำอย่างเชื่องช้า
ผู้นั้นย่อมหักราญประโยชน์ของตนเอง
เหมือนคนแข็งแรงเหยียบใบตาลแห้ง
[๑๘๐] ผู้ใดในคราวที่ควรทำช้า ๆ ก็ค่อย ๆ ทำงานอย่างช้า ๆ
ในคราวที่ควรทำรีบด่วน ก็รีบทำอย่างเร็วพลัน
ประโยชน์ของผู้นั้นก็บริบูรณ์
เหมือนดวงจันทร์กำจัดความมืด ยังราตรีให้สว่างอยู่
คชกุมภชาดกที่ ๕ จบ

๖. เกสวชาดก (๓๔๖)
ว่าด้วยเกสวดาบส
(นารทอำมาตย์กล่าวกับเกสวดาบสว่า)

เชิงอรรถ :
๑ เป็นสัตว์ชนิดหนึ่ง รูปร่างคล้ายกระพองช้าง เมื่อจะเดินต้องโยกตัวก่อน หรือโยกตัวอยู่บ่อย ๆ จึงเรียก
ตัวโยกเยก (ขุ.ชา.อ. ๔/๑๗๗/๓๕๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๔. จตุกกนิบาต] ๕. จูฬกุณาลวรรค ๘. อรัญญชาดก (๓๔๘)
[๑๘๑] ทำไมหนอ เกสวดาบสผู้มีโชคจึงได้ละพระเจ้ากรุงพาราณสี
ผู้เป็นจอมมนุษย์ ผู้ยังความประสงค์ทั้งปวงให้สำเร็จได้
กลับมายินดีอยู่ในอาศรมของกัปปดาบส
(เกสวดาบสกล่าวว่า)
[๑๘๒] ท่านนารทอำมาตย์ สถานที่อันน่ารื่นรมย์
ซึ่งให้สำเร็จประโยชน์ได้มีอยู่ หมู่ไม้อันน่ารื่นรมย์ใจก็มีอยู่
แต่ถ้อยคำอันเป็นสุภาษิตของกัปปดาบส
ย่อมทำให้เรารื่นรมย์ยินดี
(นารทอำมาตย์กล่าวว่า)
[๑๘๓] พระคุณเจ้าบริโภคข้าวสาลีสุก สะอาด ปรุงด้วยเนื้อ
เหตุไฉนข้าวฟ่างและลูกเดือยอันหารสชาติมิได้
จึงทำให้พระคุณเจ้าพอใจ
(เกสวดาบสกล่าวว่า)
[๑๘๔] โภชนะจะดีหรือไม่ดี จะน้อยหรือมากก็ตาม
บุคคลผู้มีความคุ้นเคยกันบริโภคในที่ใด
โภชนะที่บริโภคแล้วในที่นั้น เป็นของดีทั้งนั้น
เพราะรสทั้งหลายมีความคุ้นเคยเป็นอย่างยิ่ง
เกสวชาดกที่ ๖ จบ

๗. อยกูฏชาดก (๓๔๗)
ว่าด้วยยักษ์ถือพะเนินเหล็กใหญ่
(พระราชาโพธิสัตว์ตรัสกับยักษ์ว่า)
[๑๘๕] วันนี้ท่านที่ถือพะเนินเหล็กล้วน ๆ ใหญ่เหลือประมาณ
ยืนอยู่กลางอากาศ ถูกเขาแต่งตั้งมาเพื่อคุ้มครองรักษาข้าพเจ้า
หรือว่าพยายามจะฆ่าข้าพเจ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๔. จตุกกนิบาต] ๕. จูฬกุณาลวรรค ๘. อรัญญชาดก (๓๔๘)
(ยักษ์ฟังคำของพระราชาโพธิสัตว์แล้ว จึงกราบทูลว่า)
[๑๘๖] ข้าแต่มหาราช ข้าพระองค์เป็นทูตถูกพวกรากษสส่งมาที่นี้
เพื่อปลงพระชนม์พระองค์
แต่ว่าพระอินทเทวราชคุ้มครองพระองค์อยู่
เพราะเหตุนั้น ข้าพระองค์จึงผ่าพระเศียรของพระองค์ไม่ได้
(พระราชาโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้น จึงตรัส ๒ คาถาว่า)
[๑๘๗] ก็ถ้าท้าวมัฆวานเทวราชผู้เป็นจอมแห่งเทพ
พระสวามีของพระนางสุชาดาคุ้มครองรักษาข้าพเจ้าอยู่
พวกปีศาจทั้งปวงจงแผดเสียงคำรามไปเถิด
ข้าพเจ้าไม่สะดุ้งกลัวพวกรากษส๑เลย
[๑๘๘] พวกกุมภัณฑ์และพวกปีศาจในกองหยากเยื่อทั้งปวง
จงคร่ำครวญไปเถิด
ปีศาจทั้งหลายไม่สามารถจะรบกับข้าพเจ้าได้
ท่าทางที่ทำให้น่ากลัวนั้นมีอยู่เป็นอันมาก
อยกูฏชาดกที่ ๗ จบ

๘. อรัญญชาดก (๓๔๘)
ว่าด้วยวัตรของผู้ออกจากป่า
(ดาบสหนุ่มกล่าวกับดาบสผู้เป็นบิดาว่า)
[๑๘๙] คุณพ่อ ลูกออกจากป่าไปสู่บ้านแล้ว
ควรจะคบคนมีศีลอย่างไร มีข้อปฏิบัติอย่างไร
ลูกถามแล้ว ขอพ่อจงบอกข้อนั้น

เชิงอรรถ :
๑ รากษส ในที่นี้หมายถึงยักษ์ร้าย ผีเสื้อน้ำ (ขุ.ชา.อ. ๔/๑๘๗/๓๕๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๔. จตุกกนิบาต] ๕. จูฬกุณาลวรรค ๑๐. เทวตาปัญหชาดก (๓๕๐)
(ดาบสผู้เป็นบิดาตอบว่า)
[๑๙๐] ลูกรัก ผู้ใดพึงทำให้ลูกเบาใจ
อดทนความคุ้นเคยของลูกได้
เชื่อฟังและอดกลั้นถ้อยคำของลูกได้
ลูกไปจากที่นี้แล้ว จงคบผู้นั้น
[๑๙๑] ผู้ใดไม่กระทำความชั่วทางกาย วาจา ใจ
ลูกไปจากที่นี้แล้ว จงดำรงตนอยู่เหมือนลูกในไส้คบผู้นั้นเถิด
[๑๙๒] คนที่มีจิตกลับกลอกเหมือนลิง
รักง่ายหน่ายเร็วดุจผ้าที่ย้อมด้วยขมิ้น
ลูกรัก ถึงแม้ว่าพื้นชมพูทวีปทั้งสิ้นจะไร้มนุษย์
ลูกก็อย่าคบคนเช่นนั้นเลย
อรัญญชาดกที่ ๘ จบ

๙. สันธิเภทชาดก (๓๔๙)
ว่าด้วยการทำลายมิตรไมตรี
(พระราชาโพธิสัตว์ตรัสกับนายสารถีว่า)
[๑๙๓] นายสารถี สัตว์ตัวเมียทั้ง ๒ ตัวไม่เหมือนกัน
และอาหารก็ไม่เหมือนกัน
ต่อมาภายหลัง เจ้าสุนัขจิ้งจอกชั่วนี้ยุให้แตกสามัคคีกัน
ดูเถิด เรื่องที่เราคิดถูกต้องพียงใด
[๑๙๔] ฝูงสุนัขจิ้งจอกพากันกินโคอุสภะ
และราชสีห์ เพราะคำส่อเสียดใด
คำส่อเสียดนั้น จึงเป็นไปถึงตัดมิตรไมตรี
เพราะเนื้อเป็นเหตุ เหมือนดาบอันคมกริบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๔. จตุกกนิบาต] ๕. จูฬกุณาลวรรค ๑๐. เทวตาปัญหชาดก (๓๕๐)
[๑๙๕] นายสารถี เจ้าเห็นการนอนตายของสัตว์ทั้ง ๒ ตัวนี้ไหม
ผู้ใดเชื่อถือถ้อยคำของผู้ส่อเสียด มุ่งทำลายมิตรไมตรี
ผู้นั้นจะต้องนอนตายอย่างนี้
[๑๙๖] นายสารถี ชนเหล่าใดไม่เชื่อถ้อยคำของผู้มุ่งทำลายมิตรไมตรี
ชนเหล่านั้นย่อมประสบความสุข เหมือนคนไปสวรรค์
สันธิเภทชาดกที่ ๙ จบ

๑๐. เทวตาปัญหชาดก (๓๕๐)
ว่าด้วยปัญหาของเทวดา
(พระราชาตรัสบอกปัญหาที่เทวดาถามแก่พระโพธิสัตว์มโหสธบัณฑิตว่า)
[๑๙๗] บุคคลใช้มือทั้ง ๒ เท้าทั้ง ๒ ทุบตีและตบปากผู้อื่น
ข้าแต่มหาราช เขากลับเป็นที่รักเพราะเหตุแห่งการทุบตีนั้น
พระองค์ทรงเห็นว่าเป็นใคร
(พระราชาตรัสบอกปัญหาข้อที่ ๒ ตามที่เทวดาถามว่า)
[๑๙๘] บุคคลด่าผู้อื่นตามใจชอบ
แต่ปรารถนาการกลับมาของเขา
ข้าแต่มหาราช เขากลับเป็นที่รักเพราะเหตุแห่งการด่านั้น
พระองค์ทรงเห็นว่าเป็นใคร
(พระราชาตรัสบอกปัญหาข้อที่ ๓ ตามที่เทวดาถามว่า)
[๑๙๙] บุคคลกล่าวตู่กันด้วยถ้อยคำอันไม่เป็นจริง
พากันโจทกันด้วยถ้อยคำไม่จริง
ข้าแต่มหาราช เขากลับเป็นที่รักของกันและกัน
เพราะเหตุแห่งการกล่าวตู่และโจทกันนั้น
พระองค์ทรงเห็นว่าเป็นใคร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก
(พระราชาตรัสบอกปัญหาข้อที่ ๔ ตามที่เทวดาถามว่า)
[๒๐๐] บุคคลนำข้าว น้ำ ผ้า และเสนาสนะไป
พวกเขาผู้นำไปกลับเป็นที่รักโดยแท้
พวกเขากลับเป็นที่รักเพราะเหตุแห่งการนำสิ่งของไป
พระองค์ทรงเห็นว่าเป็นใคร๑
เทวตาปัญหชาดกที่ ๑๐ จบ
จูฬกุณาลวรรคที่ ๕ จบ

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. กุณฑลิกชาดก ๒. วานรชาดก
๓. กุนตินีชาดก ๔. อัมพชาดก
๕. คชกุมภชาดก ๖. เกสวชาดก
๗. อยกูฏชาดก ๘. อรัญญชาดก
๙. สันธิเภทชาดก ๑๐. เทวตาปัญหชาดก

รวมวรรคที่มีในนิบาตนี้ คือ

๑. กาลิงควรรค ๒. ปุจิมันทวรรค
๓. กุฏิทูสกวรรค ๔. โกกิลวรรค
๕. จูฬกุณาลวรรค

จตุกกนิบาต จบ

เชิงอรรถ :
๑ มโหสธบัณฑิตโพธิสัตว์เฉลยปัญหาว่า ผู้ใช้มือเท้าทุบตีผู้อื่น คือเด็กเล็ก ๆ ผู้ถูกทุบตี คือมารดา ผู้ด่าผู้
อื่นตามชอบใจ คือมารดา ผู้ถูกด่า คือบุตร ผู้กล่าวตู่กันและกันด้วยคำไม่จริง คือคู่รักกัน ผู้ที่นำสิ่งของ
ไป คือสมณพราหมณ์ ผู้ที่พอใจให้นำไป คือทายก (ขุ.ชา.อ. ๙/๒๐๐/๒๘๔-๒๘๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๙๘ }


๕. ปัญจกนิบาต
๑. มณิกุณฑลวรรค
หมวดว่าด้วยต่างหูแก้วมณี
๑. มณิกุณฑลชาดก (๓๕๑)
ว่าด้วยต่างหูแก้วมณี
(พระราชาโจรเข้าไปหาพระราชาโพธิสัตว์แห่งกรุงพาราณสีแล้วตรัสว่า)
[๑] พระองค์หมดสิ้น รถ ม้า และต่างหูแก้วมณี
อนึ่ง พระองค์หมดสิ้นพระโอรสและนางสนม
เมื่อโภคะทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีเหลืออยู่เลย
เพราะเหตุใด พระองค์ไม่ทรงเดือดร้อนในคราวที่ควรเศร้าโศก
(พระราชาโพธิสัตว์ตรัสตอบว่า)
[๒] โภคะทั้งหลายละทิ้งสัตวโลกไปก่อนก็มี
สัตวโลกละทิ้งโภคะเหล่านั้นไปก่อนก็มี
ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงใคร่อยู่ในกาม
โภคะทั้งหลายที่สัตว์ใช้สอยอยู่เป็นของไม่แน่นอน
เพราะเหตุนั้น ข้าพระองค์จึงไม่เศร้าโศกในคราวที่ควรเศร้าโศก
[๓] ดวงจันทร์ขึ้นเต็มดวงแล้วก็แหว่งเว้าไป
ดวงอาทิตย์ทำโลกส่วนใหญ่ให้อบอุ่นแล้วลับขอบฟ้าไป
ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเป็นศัตรู โลกธรรมทั้งหลายข้าพระองค์ทราบดีแล้ว
เพราะเหตุนั้น ข้าพระองค์จึงไม่เศร้าโศกในคราวที่ควรเศร้าโศก
(พระราชาโพธิสัตว์ทรงแสดงธรรมแก่พระราชาโจรแล้วทรงติเตียนว่า)
[๔] คฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเกียจคร้านไม่ดี
บรรพชิตไม่สำรวมไม่ดี
พระราชาไม่ทรงใคร่ครวญก่อนแล้วทำไม่ดี
การที่บัณฑิตโกรธไม่ดี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๑๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๕. ปัญจกนิบาต] ๑. มณิกุณฑลวรรค ๓. เวนสาขชาดก (๓๕๓)
[๕] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นเจ้าแห่งทิศ
กษัตริย์ทรงใคร่ครวญก่อนแล้วจึงควรทำ
ไม่ทรงใคร่ครวญก่อนแล้วไม่ควรตัดสิน
ยศและเกียรติย่อมเจริญแด่พระราชาผู้ทรงใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำ
มณิกุณฑลชาดกที่ ๑ จบ

๒. สุชาตชาดก (๓๕๒)
ว่าด้วยสุชาตกุมารโพธิสัตว์
(บิดาของสุชาตกุมารโพธิสัตว์กล่าวว่า)
[๖] ทำไมหนอ ลูกดูเหมือนรีบเร่งเกี่ยวหญ้าสดเขียวขจี
แล้วกล่าวบ่นเพ้อกับโคแก่ที่ตายไปแล้วว่า
เจ้าจงกิน เจ้าจงกิน
[๗] โคที่ตายไปแล้วลุกขึ้นมาไม่ได้เพราะข้าวเพราะน้ำ
ลูกบ่นเพ้อไปเปล่า ๆ เหมือนคนไร้ความคิด
(สุชาตกุมารโพธิสัตว์กล่าวตอบว่า)
[๘] หัวของโคก็ยังมีอยู่เหมือนเดิม
สองเท้าหน้า สองเท้าหลัง หาง
และหูของโคก็ยังมีอยู่เหมือนเดิม
ผมสำคัญว่า โคตัวนี้จะพึงลุกขึ้นได้
[๙] ส่วนศีรษะ มือทั้ง ๒ และเท้าทั้ง ๒ ของคุณปู่ไม่ปรากฏเลย
คุณพ่อนั่นแหละร้องไห้อยู่ที่สถูปดิน เป็นคนไร้ความคิดมิใช่หรือ
(บิดาชมเชยบุตรว่า)
[๑๐] ลูกช่วยระงับพ่อผู้เร่าร้อนให้สงบ
ดับความกระวนกระวายทั้งหมดได้
เหมือนคนใช้น้ำราดดับไฟที่ติดเปรียง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๕. ปัญจกนิบาต] ๑. มณิกุณฑลวรรค ๓. เวนสาขชาดก (๓๕๓)
[๑๑] ลูกนั้นได้บรรเทาความเศร้าโศกของพ่อผู้กำลังเศร้าโศกถึงปู่
ชื่อว่าได้ช่วยถอนลูกศรคือความเศร้าโศก
ซึ่งเสียบที่หัวใจของพ่อขึ้นได้แล้วหนอ
[๑๒] พ่อผู้อันลูกได้ช่วยถอนลูกศรคือความเศร้าโศกขึ้นได้แล้ว
เป็นผู้ปราศจากความเศร้าโศก ไม่มีความขุ่นมัว
จะไม่เศร้าโศก ไม่ร้องไห้ เพราะได้ฟังคำของลูก ลูกเอ๋ย
[๑๓] นรชนทั้งหลายผู้มีปัญญา จะเป็นผู้อนุเคราะห์
ย่อมกระทำให้ผู้อื่นปราศจากความเศร้าโศก
เหมือนสุชาตกุมารทำให้บิดาปราศจากความเศร้าโศก
สุชาตชาดกที่ ๒ จบ

๓. เวนสาขชาดก (๓๕๓)
ว่าด้วยต้นไม้ป้องกันภัยไม่ได้
(พระโพธิสัตว์เป็นอาจารย์ทิศาปาโมกข์กล่าวสอนพรหมทัตตกุมารว่า)
[๑๔] พรหมทัตตกุมาร ความเกษมสำราญ ภิกษาที่หาได้ง่าย
ความสุขสำราญกาย ทั้งหมดนี้ไม่มีตลอดกาลเป็นนิตย์
เมื่อประโยชน์สิ้นไป ท่านอย่าได้หลงลืม
เหมือนคนเรือแตกท่ามกลางสาครเลย
[๑๕] คนทำกรรมใดไว้ย่อมเห็นกรรมนั้นในตน
คนทำกรรมดีย่อมได้รับผลดี
คนทำกรรมชั่วย่อมได้รับผลชั่ว
คนหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้รับผลเช่นนั้น
(พรหมทัตตกุมารนั้นกำหนดคำของพระโพธิสัตว์ได้แล้ว บ่นเพ้ออยู่ว่า)
[๑๖] ท่านอาจารย์ปาราสริยะได้กล่าวคำใดไว้ว่า
ท่านอย่าได้ทำความชั่วที่ทำแล้วจะทำตนให้เดือดร้อนในภายหลัง
คำนี้เป็นคำของอาจารย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๕. ปัญจกนิบาต] ๑. มณิกุณฑลวรรค ๔. อรุคชาดก (๓๕๔)
[๑๗] ปิงคิยะ เราได้สำเร็จโทษกษัตริย์ ๑,๐๐๐ พระองค์
ผู้ประดับพระวรกาย ลูบไล้ด้วยจุรณแก่นจันทน์ที่ต้นไม้ใด
ต้นไม้นั้นมีกิ่งก้านสาขาแผ่ไพศาลคือต้นนี้เอง
ทุกข์นั้นนั่นแหละก็กลับมาสนองเรา
(ต่อมาพรหมทัตตกุมารทรงคร่ำครวญอยู่อย่างนั้น หวนระลึกถึงพระอัครมเหสี
จึงกล่าวว่า)
[๑๘] พระนางสามาผู้มีพระวรกายลูบไล้ด้วยจุรณแก่นจันทน์
งามระหงดั่งกิ่งไผ่ที่แกว่งไกวไปมา
เราไม่เห็นพระมเหสีจักตาย
การไม่ได้เห็นพระมเหสีของเรานั้น
จักเป็นทุกข์ยิ่งกว่าทุกข์คือความตายนี้
เวนสาขชาดกที่ ๓ จบ

๔. อุรคชาดก (๓๕๔)
ว่าด้วยคนตายเหมือนงูลอกคราบ
(พราหมณ์โพธิสัตว์บอกเหตุแห่งการไม่ร้องไห้แก่ท้าวสักกะว่า)
[๑๙] บุตรของข้าพเจ้าละทิ้งร่างกายของตนไป เหมือนงูลอกคราบเก่า
เมื่อร่างกายใช้การไม่ได้ จึงละไปตายไปอย่างนี้
[๒๐] เขาถูกเผาก็ไม่รู้ถึงความคร่ำครวญของหมู่ญาติ
เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่เศร้าโศกถึงเขา
เขาไปแล้วตามคติของเขา
(นางพราหมณีบอกเหตุที่ไม่ร้องไห้แก่ท้าวสักกะว่า)
[๒๑] บุตรของข้าพเจ้านี้ ข้าพเจ้าไม่ได้เชิญมาจากโลกอื่น เขาก็มา
ข้าพเจ้ามิได้อนุญาต ก็ไปจากโลกนี้
เขามาอย่างใด เขาก็ไปอย่างนั้น
จะคร่ำครวญไปทำไมเพราะการไปของเขานั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๕. ปัญจกนิบาต] ๑. มณิกุณฑลวรรค ๔. อรุคชาดก (๓๕๔)
[๒๒] เขากำลังถูกเผา ก็ไม่รู้ถึงความคร่ำครวญของพวกญาติ
เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่เศร้าโศกถึงเขา
เขาไปแล้วตามคติของเขา
(น้องสาวบอกเหตุที่ไม่ร้องไห้แก่ท้าวสักกะว่า)
[๒๓] ถ้าข้าพเจ้าร้องไห้ ก็จะพึงมีร่างกายผ่ายผอม
จะมีผลอะไรแก่ข้าพเจ้าเล่า
ญาติ มิตร สหายของข้าพเจ้าจะไม่มีความพอใจอย่างยิ่ง
[๒๔] พี่ชายของข้าพเจ้ากำลังถูกเผา
ก็ไม่รู้ถึงความคร่ำครวญของพวกญาติ
เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่เศร้าโศกถึงเขา
เขาไปแล้วตามคติของเขา
(ภรรยาบอกเหตุที่ไม่ร้องไห้แก่ท้าวสักกะว่า)
[๒๕] คนที่ร้องไห้ถึงคนที่ตายแล้ว เปรียบเสมือนทารกที่ร้องไห้
ต้องการดวงจันทร์ที่โคจรไปในอากาศ
[๒๖] สามีของข้าพเจ้ากำลังถูกเผา
ก็ไม่รู้ถึงความคร่ำครวญของพวกญาติ
เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่เศร้าโศกถึงเขา
เขาไปแล้วตามคติของเขา
(สาวใช้บอกเหตุที่ไม่ร้องไห้แก่ท้าวสักกะว่า)
[๒๗] คนที่ร้องไห้ถึงคนที่ตายแล้ว เป็นสิ่งไร้ประโยชน์
เปรียบเสมือนหม้อน้ำที่แตกแล้วจะประสานให้สนิทเหมือนเดิมไม่ได้
[๒๘] นายของข้าพเจ้ากำลังถูกเผา
ก็ไม่รู้ถึงความคร่ำครวญของพวกญาติ
เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่เศร้าโศกถึงเขา
เขาไปแล้วตามคติของเขา
อุรคชาดกที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๐๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๕. ปัญจกนิบาต] ๑. มณิกุณฑลวรรค ๖. การันทิยชาดก (๓๕๖)
๕. ฆฏชาดก (๓๕๕)
ว่าด้วยพระเจ้าฆฏะ
(พระเจ้าธังกะตรัสถามพระราชาโพธิสัตว์ว่า)
[๒๙] ชนเหล่าอื่นเศร้าโศก ร้องไห้ มีน้ำตานองหน้า
ส่วนพระองค์มีพระพักตร์ผ่องใส
พระเจ้าฆฏะ เพราะเหตุไร พระองค์จึงไม่เศร้าโศก
(พระโพธิสัตว์กราบทูลถึงเหตุที่ไม่เศร้าโศกแก่พระเจ้าธังกะว่า)
[๓๐] ความโศกนำสิ่งที่ล่วงไปแล้วคืนมาไม่ได้
นำความสุขที่ยังไม่มาถึงมาให้ไม่ได้
พระเจ้าธังกะ เพราะเหตุนั้น หม่อมฉันจึงไม่เศร้าโศก
เพราะความเป็นสหายในความเศร้าโศกไม่มี
[๓๑] ผู้เศร้าโศกย่อมมีร่างกายผอมเหลืองและเบื่ออาหาร
เมื่อเขาถูกลูกศรคือความเศร้าโศกเสียบแทงจนซูบซีด
พวกศัตรูก็พากันดีใจ
[๓๒] เราจะอยู่บ้านหรืออยู่ป่า
อยู่ที่ลุ่มหรืออยู่ที่ดอนก็ตาม
ความพินาศจะไม่มาถึงเราเลย
เพราะเราได้พบทางแล้วอย่างนี้
[๓๓] ตนเองผู้เดียวเท่านั้นก็ไม่สามารถจะนำ
รสอันน่าใคร่ทั้งปวง๑ มาถวายแก่พระราชาพระองค์ใดได้
แม้แผ่นดินทั้งปวงก็จักนำความสุขมาถวาย
แด่พระราชาพระองค์นั้นไม่ได้
ฆฏชาดกที่ ๕ จบ

เชิงอรรถ :
๑ รสอันน่าใคร่ทั้งปวง ในที่นี้หมายถึงสุขในฌาน (ขุ.ชา.อ. ๔/๓๓/๓๘๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๕. ปัญจกนิบาต] ๑. มณิกุณฑลวรรค ๖. การันทิยชาดก (๓๕๖)
๖. การันทิยชาดก (๓๕๖)
ว่าด้วยการันทิยพราหมณ์
(อาจารย์เจรจากับการันทิยโพธิสัตว์ว่า)
[๓๔] เจ้าคนเดียวรีบเกินไป ยกหินก้อนใหญ่ทิ้งลงไปที่ซอกเขาในป่า
นี่เจ้าการันทิยะ จะมีประโยชน์อะไรแก่เจ้า
ด้วยการทิ้งก้อนหินลงที่ซอกเขานี้
(การันทิยโพธิสัตว์ฟังคำของท่านแล้ว ประสงค์จะปลุกอาจารย์ให้รู้สึก จึงกล่าวว่า)
[๓๕] กระผมเกลี่ยก้อนดินและก้อนหินลงไป
จะกระทำแผ่นดินใหญ่นี้ซึ่งมีสาครเป็นขอบเขต
ให้เรียบเสมอดังฝ่ามือ
เพราะฉะนั้น กระผมจึงทิ้งก้อนหินลงไปที่ซอกเขา
(พราหมณ์ได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวว่า)
[๓๖] มนุษย์คนเดียวไม่สามารถทำแผ่นดินนี้ให้สม่ำเสมอดังฝ่ามือได้
นี่เจ้าการันทิยะ เราสำคัญว่า
เจ้าเมื่อปรารถนาจะทำซอกเขานี้ให้เต็ม
จะต้องละชีวโลกไปเสียก่อน
(การันทิยโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวว่า)
[๓๗] ถ้ามนุษย์คนเดียวไม่สามารถจะทำแผ่นดินใหญ่ให้เสมอได้
ท่านพราหมณ์ ท่านก็เหมือนกัน จักนำมนุษย์เหล่านี้
ซึ่งมีความเห็นต่าง ๆ กันมาสู่อำนาจของตนไม่ได้
(อาจารย์ได้ฟังดังนั้นรู้ว่าตัวพลาดไปแล้ว จึงกล่าวว่า)
[๓๘] เจ้าการันทิยะ เจ้าได้บอกข้อความที่เป็นจริงแก่เราโดยย่อ
ข้อนี้เป็นเช่นนั้น แผ่นดินนี้มนุษย์ไม่สามารถจะทำให้เสมอได้ฉันใด
มนุษย์ทั้งหลายก็ฉันนั้น
การันทิยชาดกที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๕. ปัญจกนิบาต] ๑. มณิกุณฑลวรรค ๘. จูฬธัมมปาลชาดก (๓๕๘)
๗. ลฏุกิกชาดก (๓๕๗)
ว่าด้วยนางนกไส้
(นางนกไส้ประคองปีกยืนข้างหน้าพญาช้างโพธิสัตว์แล้วกล่าวว่า)
[๓๙] พญาช้าง ข้าพเจ้าขอไหว้ท่าน
ผู้มีกำลังเสื่อมถอยโดยกาลที่มีอายุ ๖๐ ปี
ผู้อยู่ในป่า เป็นจ่าโขลง เพียบพร้อมด้วยยศ๑
ข้าพเจ้าขอไหว้ท่านด้วยปีกทั้ง ๒ ข้าง
ขอท่านอย่าได้ฆ่าลูกน้อยผู้ด้อยกำลังของข้าพเจ้า
(นางนกไส้นั้นกล่าวต้อนรับพญาช้างนั้นผู้เที่ยวไปตามลำพังเชือกเดียวว่า)
[๔๐] พญาช้าง๒ ข้าพเจ้าขอไหว้ท่านผู้เที่ยวไปผู้เดียว
อยู่ในป่า หากินตามเชิงเขา
ข้าพเจ้าขอไหว้ท่านด้วยปีกทั้ง ๒ ข้าง
ขอท่านอย่าได้ฆ่าลูกน้อยผู้ด้อยกำลังของข้าพเจ้า
(พญาช้างไดัฟังคำของนางนกไส้นั้น จึงกล่าวว่า)
[๔๑] นี่นางนกไส้ เราจะฆ่าลูกน้อยของเจ้า
เจ้ามีกำลังน้อยจะทำอะไรได้
เราจะใช้เท้าซ้ายบดขยี้นกไส้เช่นเจ้า
แม้ตั้ง ๑๐๐,๐๐๐ ตัวให้แหลกราญ
(นางนกไส้แอบอยู่ที่กิ่งไม้กล่าวคุกคามพญาช้างนั้นว่า)
[๔๒] กำลังไม่ใช่ว่าจะทำกิจให้สำเร็จทุกอย่าง
เพราะว่า คนโง่เขลามีกำลังไว้เพื่อฆ่าผู้อื่นและตนเอง
พญาช้าง ข้าพเจ้าจะทำความหายนะให้แก่ท่าน
ที่ฆ่าลูกน้อยผู้ด้อยกำลังของเรา

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า ยศ หมายถึงบริวาร (ขุ.ชา.อ. ๔/๓๙/๓๘๙)
๒ พญาช้าง ในที่นี้ชาติต่อมาคือพระเทวทัต (ขุ.ชา.อ. ๔/๔๓/๓๙๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๕. ปัญจกนิบาต] ๑. มณิกุณฑลวรรค ๘. จูฬธัมมปาลชาดก (๓๕๘)
(พระศาสดาทรงประมวลชาดก ตรัสพระคาถานี้ว่า)
[๔๓] ท่านจงดูกา นางนกไส้ กบ และแมลงวันหัวเขียว
สัตว์เหล่านี้ได้ฆ่าช้างแล้ว จงดูการจองเวรของคนคู่เวรทั้งหลาย
เพราะฉะนั้น พวกเธออย่าก่อเวรกับใคร ๆ แม้กับคนไม่เป็นที่รักเลย
ลฏุกิกชาดกที่ ๗ จบ

๘. จูฬธัมมปาลชาดก (๓๕๘)
ว่าด้วยจูฬธรรมปาลกุมาร
(พระนางจันทาเทวีกราบทูลพระราชาว่า)
[๔๔] หม่อมฉันเท่านั้นที่ตัดความเจริญ
กระทำความผิดต่อพระเจ้ามหาปตาปะ
ฝ่าพระบาท ขอพระองค์โปรดทรงปล่อยธรรมปาลกุมาร
และโปรดทรงตัดมือทั้ง ๒ ของหม่อมฉันเถิด
[๔๕] หม่อมฉันเท่านั้นที่ตัดความเจริญ
กระทำความผิดต่อพระเจ้ามหาปตาปะ
ฝ่าพระบาท ขอพระองค์โปรดทรงปล่อยธรรมปาลกุมาร
และโปรดทรงตัดเท้าทั้ง ๒ ของหม่อมฉันเถิด
[๔๖] หม่อมฉันเท่านั้นที่ตัดความเจริญ
กระทำความผิดต่อพระเจ้ามหาปตาปะ
ฝ่าพระบาท ขอพระองค์โปรดทรงปล่อยธรรมปาลกุมาร
และโปรดทรงตัดศีรษะของหม่อมฉันเถิด
[๔๗] มิตรหรืออำมาตย์บางคนที่มีจิตใจงดงาม
อ่อนโยนของพระราชาพระองค์นี้คงไม่มีแน่
คนที่จะทูลทัดทานพระราชาว่า
ขอพระองค์โปรดอย่าสำเร็จโทษพระราชบุตร
ผู้ที่พระองค์ให้กำเนิดก็ไม่มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๕. ปัญจกนิบาต] ๑. มณิกุณฑลวรรค ๑๐. สุสันธีชาดก (๓๖๐)
[๔๘] พระญาติหรือพระสหายบางคนที่มีจิตใจงดงาม
อ่อนโยนของพระราชาพระองค์นี้คงไม่มีแน่
คนที่จะทูลทัดทานพระราชาว่า ขอพระองค์โปรดอย่าสำเร็จโทษ
พระโอรสผู้ที่พระองค์ให้กำเนิดก็ไม่มี
[๔๙] พระพาหาทั้ง ๒ ที่ลูบไล้ด้วยจุรณแก่นจันทน์
ของธรรมปาลกุมารผู้เป็นทายาทแห่งแผ่นดินมาขาดสิ้นไป
ฝ่าพระบาท ลมปราณของหม่อมฉันก็จะดับสิ้นไป
จูฬธัมมปาลชาดกที่ ๘ จบ

๙. สุวัณณมิคชาดก (๓๕๙)
ว่าด้วยพญากวางทอง
(ภรรยาของพญาเนื้อโพธิสัตว์เมื่อจะให้พญาเนื้อเกิดอุตสาหะจึงกล่าวว่า)
[๕๐] พญาเนื้อผู้มีเท้าดุจทองคำ ท่านจงพยายามดึงเถิด
จงกัดบ่วงหนังให้ขาด ฉันจะรื่นรมย์อยู่ในป่าผู้เดียวไม่ได้
(พญาเนื้อโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวว่า)
[๕๑] ฉันพยายามดึงอยู่ก็ไม่สำเร็จ ฉันตะกุยพื้นดินอย่างแรง
บ่วงหนังอันเหนียวก็ยิ่งบาดเท้าของฉัน
(นางเนื้อกล่าวแก่นายพรานว่า)
[๕๒] นายพราน ท่านจงปูลาดใบไม้
ชักดาบออกมาฆ่าข้าพเจ้าก่อน
แล้วจงฆ่าพญาเนื้อในภายหลัง
(นายพรานได้ฟังดังนั้นมีจิตเลื่อมใส จึงกล่าวว่า)
[๕๓] เราไม่เคยได้ยินหรือได้เห็นมาก่อนว่า
แม่เนื้อพูดภาษามนุษย์ได้
นี่แม่เนื้อผู้เจริญ ตัวเจ้าและพญาเนื้อตัวนี้จงเป็นสุขเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๐๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๕. ปัญจกนิบาต] ๑. มณิกุณฑลวรรค ๑๐. สุสันธีชาดก (๓๖๐)
(นางพญาเนื้อกล่าวว่า)
[๕๔] นายพราน วันนี้ข้าพเจ้าเห็นพญาเนื้อ
พ้นจากอันตรายแล้วย่อมร่าเริงฉันใด
ขอท่านพร้อมกับญาติทั้งหมดจงร่าเริงฉันนั้นเถิด
สุวัณณมิคชาดกที่ ๙ จบ

๑๐. สุสันธีชาดก (๓๖๐)
ว่าด้วยพระนางสุสันธี
(คนธรรพ์ชื่ออัคคะ ครั้นในเวลาพญาครุฑโพธิสัตว์มาเล่นสกา จึงถือพิณ
ขับร้องถวายพระราชาว่า)
[๕๕] กลิ่นดอกติมิระหอมตลบอบอวล
คลื่นสมุทรกระทบฝั่งดังกึกก้อง
พระนางสุสันธีประทับอยู่ไกลจากพระนครนี้มาก
พระเจ้าตัมพะ กามทั้งหลายย่อมเสียดแทงข้าพระองค์
(พญาครุฑได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวว่า)
[๕๖] ท่านข้ามสมุทรไปได้อย่างไร
เห็นเกาะเสรุมะได้อย่างไร
ท่านอัคคะ พระนางกับท่านพบกันได้อย่างไร
(ลำดับนั้น คนธรรพ์ชื่ออัคคะได้กล่าวว่า)
[๕๗] เมื่อเรือพวกพ่อค้าผู้แสวงหาทรัพย์ออกไปจากท่าภรุกัจฉา
ถูกปลามังกรตีแตก ข้าพเจ้าเกาะแผ่นกระดานลอยไป
[๕๘] พระนางสุสันธีมีพระวรกายหอมเพราะกลิ่นจันทน์อยู่เป็นนิตย์
ทรงปลอบโยนข้าพระองค์ด้วยพระสุรเสียงอันไพเราะนุ่มนวล
แล้วทรงอุ้มข้าพระองค์เหมือนมารดาอุ้มลูกในไส้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๕. ปัญจกนิบาต] ๒. วัณณาโรหวรรค ๒. สีลวีมังสชาดก (๓๖๒)
[๕๙] พระนางสุสันธีมีดวงพระเนตรอ่อนโยน
ทรงบำรุงข้าพระองค์ด้วยข้าว น้ำ ผ้า
และที่นอนด้วยพระองค์เอง
ข้าแต่พระเจ้าตัมพะ ขอพระองค์ทรงทราบอย่างนี้
สุสันธีชาดกที่ ๑๐ จบ
มณิกุณฑลวรรคที่ ๑ จบ

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. มณิกุณฑลชาดก ๒. สุชาตชาดก
๓. เวนสาขชาดก ๔. อุรคชาดก
๕. ฆฏชาดก ๖. การันทิยชาดก
๗. ลฏุกิกชาดก ๘. จูฬธัมมปาลชาดก
๙. สุวัณณมิคชาดก ๑๐. สุสันธีชาดก

๒. วัณณาโรหวรรค
หมวดว่าด้วยมีผิวพรรณต่างกัน
๑. วัณณาโรหชาดก (๓๖๑)
ว่าด้วยผู้มีผิวพรรณและทรวดทรงต่างกัน
(เสือโคร่งเข้าไปหาพญาราชสีห์แล้วถามว่า)
[๖๐] ท่านผู้มีเขี้ยวงาม ท่านได้กล่าวว่า
เสือโคร่งชื่อสุพาหุไม่ประเสริฐไปกว่าเรา
ด้วยผิวพรรณ ทรวดทรง ชาติ กำลังกาย
และกำลังความเพียรหรือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๕. ปัญจกนิบาต] ๒. วัณณาโรหวรรค ๒. สีลวีมังสชาดก (๓๖๒)
(ราชสีห์กล่าวตอบว่า)
[๖๑] สุพาหุ ท่านได้กล่าวว่า
ราชสีห์ตัวมีเขี้ยวงามไม่ประเสริฐไปกว่าเรา
ด้วยผิวพรรณ ทรวดทรง ชาติ กำลังกาย
และกำลังความเพียรหรือ
[๖๒] สุพาหุเพื่อนรัก ถ้าท่านประทุษร้ายเรา
ผู้อยู่ร่วมกับท่านอย่างนี้
บัดนี้ เราไม่พอใจที่จะอยู่ร่วมกับท่านต่อไป
[๖๓] ผู้ใดเชื่อฟังถ้อยคำของบุคคลเหล่าอื่นอย่างจริงจัง
ผู้นั้นพึงแตกจากมิตรโดยเร็วพลัน
และพึงประสบเวรเป็นอันมาก
[๖๔] ผู้ใดไม่ประมาท ระแวงการทำลายมิตร
คอยจับผิดอยู่เสมอ ผู้นั้นหาใช่มิตรไม่
ส่วนผู้ใด ผู้อื่นยุให้แตกกันมิได้ ไม่มีความระแวงในมิตรคนใด
อยู่อย่างปลอดภัยเหมือนบุตรที่นอนแนบอกมารดา
ผู้นั้นแหละนับว่าเป็นมิตรแท้
วัณณาโรหชาดกที่ ๑ จบ

๒. สีลวีมังสชาดก (๓๖๒)
ว่าด้วยการทดลองศีล
(พราหมณ์โพธิสัตว์รู้ว่า ศีลสำคัญกว่าสุตะ จึงได้กราบทูลพระราชาว่า)
[๖๕] ข้าพระองค์มีความสงสัยว่า
ศีลประเสริฐกว่า หรือสุตะประเสริฐกว่า
บัดนี้ ข้าพระองค์หมดความสงสัยแล้วว่า
ศีลนั่นแลประเสริฐกว่าสุตะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๕. ปัญจกนิบาต] ๒. วัณณาโรหวรรค ๔. ขัขโชปนกชาดก (๓๖๔)
[๖๖] ชาติและผิวพรรณเป็นของเปล่าประโยชน์
ทราบมาว่า ศีลเท่านั้นประเสริฐสุด
บุคคลไม่มีศีล มีเพียงสุตะเท่านั้น
ย่อมไม่มีความเจริญ
[๖๗] กษัตริย์ไม่ดำรงอยู่ในธรรม แพศย์ไม่อิงอาศัยธรรม
ชนทั้ง ๒ นั้นละโลกทั้ง ๒ ไปแล้วย่อมเข้าถึงทุคติ
[๖๘] กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร จัณฑาล และคนเทขยะ
ประพฤติธรรมในโลกนี้แล้วย่อมเป็นผู้เสมอกันในเทวโลก
[๖๙] พระเวทก็ตาม ชาติก็ตาม พวกพ้องก็ตาม
ไม่สามารถจะให้ยศและความสุขในสัมปรายภพได้
แต่ศีลของตนที่บริสุทธิ์แล้วเท่านั้น
นำความสุขมาให้ในสัมปรายภพ
สีลวีมังสชาดกที่ ๒ จบ

๓. หิริชาดก (๓๖๓)
ว่าด้วยความละอาย
(เศรษฐีชาวกรุงพาราณสีพูดกับคนทั้งหลายว่า)
[๗๐] บัณฑิตพึงรู้จักบุคคลผู้ไม่มีความละอาย
เกลียดชังความเป็นมิตร
กล่าวอยู่ว่า เราเป็นมิตรของท่าน
แต่ไม่เอื้อเฟื้อการงานที่เหมาะสมกับคำพูดว่า
บุคคลผู้นี้มิใช่มิตรของเรา
[๗๑] งานใดควรทำ พึงพูดถึงแต่งานนั้นเถิด
งานใดไม่ควรทำ ก็อย่าพูดถึงงานนั้นเลย
คนไม่ทำ เอาแต่พูด บัณฑิตย่อมรู้ทัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๕. ปัญจกนิบาต] ๒. วัณณาโรหวรรค ๔. ขัขโชปนกชาดก (๓๖๔)
[๗๒] ผู้ใดไม่ประมาท ระแวงการทำลายมิตร
คอยจับผิดอยู่เสมอ ผู้นั้นหาใช่มิตรไม่
ส่วนผู้ใดผู้อื่นยุให้แตกกันมิได้ ไม่มีความระแวงในมิตรคนใด
อยู่อย่างปลอดภัยเหมือนบุตรที่นอนแนบอกมารดา
ผู้นั้นแหละนับว่าเป็นมิตรแท้
[๗๓] กุลบุตรเมื่อเห็นผลและอานิสงส์
เมื่อนำธุระ๑อันเป็นของบุรุษไปอยู่
ชื่อว่าย่อมบำเพ็ญฐานะที่ทำความปราโมทย์
และความสุขอันนำความสรรเสริญมาให้
[๗๔] บุคคลดื่มรสอันเกิดเพราะความสงัด
และรสแห่งความสงบชื่อว่าดื่มรสคือปีติในธรรม
ย่อมไม่มีความกระวนกระวาย ไม่มีบาป
หิริชาดกที่ ๓ จบ

๔. ขัชโชปนกชาดก (๓๖๔)
ว่าด้วยหิ่งห้อย
(เทวดาคุกคามพระราชาแล้วกล่าวสอนด้วยการยกขัชโชปนปัญหาดังนี้ว่า)
[๗๕] ใครหนอ เมื่อไฟลุกโพลงอยู่ ยังเที่ยวแสวงหาไฟ
ได้เห็นหิ่งห้อยในยามราตรี กลับสำคัญว่าไฟ
[๗๖] เขาขยี้โคมัยและหญ้าให้เป็นจุรณ
แล้วเกลี่ยลงบนหิ่งห้อยนั้น
ก็ไม่อาจจะให้ไฟลุกโพลงได้
[๗๗] คนโง่เป็นดุจคนใบ้ แม้โดยอุบายไม่ถูกวิธีอย่างนี้ก็ไม่ได้ผล
เหมือนคนรีดนมจากเขาโคย่อมไม่ได้น้ำนม

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า ธุระ ในที่นี้ ได้แก่ ธุระ ๔ คือ ทาน ศีล ภาวนา มิตรภาพ ( ขุ.ชา.อ. ๔/๗๓/๔๑๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๕. ปัญจกนิบาต] ๒. วัณณาโรหวรรค ๖. คุมพิยชาดก (๓๖๖)
[๗๘] ชนทั้งหลายบรรลุประโยชน์ที่ต้องการด้วยอุบายวิธีต่าง ๆ
คือ การข่มศัตรูและยกย่องมิตร
[๗๙] พระเจ้าแผ่นดินทั้งหลายทรงครอบครองแผ่นดิน
อันมีทรัพย์สมบัติอยู่ได้ก็ด้วยการได้หมู่อำมาตย์มีแม่ทัพเป็นประมุข
และด้วยการถวายคำแนะนำของหมู่อำมาตย์ราชวัลลภ
ขัชโชปนกชาดกที่ ๔ จบ

๕. อหิตุณฑิกชาดก (๓๖๕)
ว่าด้วยหมองู
(หมองูกล่าวกับลิงว่า)
[๘๐] นี่เพื่อนผู้มีใบหน้างาม
เราเป็นนักเลงแพ้การพนันสะกา
เจ้าจงโยนมะม่วงสุกมาให้บ้าง
เราจะได้กินมะม่วงเพราะความพยายามของเจ้า
(ลิงได้ฟังดังนั้น จึงได้กล่าวว่า)
[๘๑] นี่เพื่อน ท่านสรรเสริญข้าพเจ้า
ผู้มีปกติหลุกหลิกด้วยคำไม่จริงเลย
ท่านได้ยินหรือได้เห็นลิงตัวไหนบ้างที่มีใบหน้างาม
[๘๒] นี่หมองู การที่ท่านเข้าไปยังร้านขายข้าวเปลือกเมาแล้ว
เฆี่ยนตีข้าพเจ้าผู้หิวโหย ยังฝังใจข้าพเจ้าอยู่จนทุกวันนี้
[๘๓] ข้าพเจ้าเมื่อระลึกถึงการนอนอันเป็นทุกข์นั้นอยู่
ถึงแม้ท่านจะให้ครองราชสมบัติ แล้วขอมะม่วงก็ไม่ยอมให้
เพราะข้าพเจ้าถูกท่านคุกคามอย่างน่ากลัวเช่นนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๕. ปัญจกนิบาต] ๒. วัณณาโรหวรรค ๖. คุมพิยชาดก (๓๖๖)
[๘๔] นักปราชญ์ควรผูกความเป็นเพื่อนมิตรไมตรีกับคนผู้ที่ตนรู้ว่า
มีชาติตระกูล มีความอิ่มในครรภ์๑ ไม่ตระหนี่
อหิตุณฑิกชาดกที่ ๕ จบ

๖. คุมพิยชาดก (๓๖๖)
ว่าด้วยยักษ์คุมพิยะ
(พระศาสดาทรงนำอดีตนิทานมาแล้วตรัสว่า)
[๘๕] ยักษ์คุมพิยะ เมื่อแสวงหาเหยื่อได้วางยาพิษ
อันมีสี รส และกลิ่นเหมือนน้ำผึ้งไว้ในป่า
[๘๖] เหล่าชนผู้เข้าใจว่า เป็นน้ำผึ้ง ได้ลิ้มยาพิษเข้าไป
ยาพิษนั้นออกฤทธิ์แรงกล้าแก่พวกเขา
พวกเขาจึงถึงความตายเพราะยาพิษนั้น
[๘๗] ส่วนเหล่าชนที่พิจารณาเห็นว่า นั่นคือยาพิษ
แล้วงดเว้นเสียก็อยู่เป็นสุข ปราศจากทุกข์
ขณะที่พวกอื่นทุรนทุราย ถูกยาพิษเผาผลาญ
[๘๘] กามทั้งหลายที่ฝังอยู่ในหมู่มนุษย์
บัณฑิตพึงทราบอย่างนี้ว่า เป็นพิษ
กามนั้นเป็นทั้งเหยื่อเป็นทั้งเครื่องผูก
ถ้ำที่อาศัยคือร่างกายตกอยู่ในอำนาจของมัจจุราช
[๘๙] บัณฑิตทั้งหลายผู้กระสับกระส่ายย่อมงดเว้น
กามทั้งหลายอันเป็นเครื่องบำเรอกิเลสเหล่านี้ได้ทุกเมื่ออย่างนี้
ย่อมล่วงพ้นเครื่องข้องในโลกได้
คุมพิยชาดกที่ ๖ จบ

เชิงอรรถ :
๑ มีความอิ่มในครรภ์ หมายถึงบุคคลผู้อิ่มด้วยโภชนะรสดีในครรภ์แห่งมารดาก็ตาม (อยู่ในครรภ์ก็ได้รับ
การบำรุงดี) หรือในห้องนอนที่ประดับตกแต่งไว้แล้วก็ตาม (คลอดแล้วก็ได้รับการบำรุงดี) เป็นคนไม่กำพร้า
ด้วยหวังใช้สอยโภคสมบัติ ควรผูกมิตรกับคนเช่นนี้ (ขุ.ชา.อ. ๔/๘๔/๔๑๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๕. ปัญจกนิบาต] ๒. วัณณาโรหวรรค ๙. มิตตวินทุกชาดก (๓๖๙)
๗. สาลิยชาดก (๓๖๗)
ว่าด้วยลูกนกสาลิกา
(พระโพธิสัตว์แสดงธรรมแก่บริษัทผู้ประชุมกันอยู่ว่า)
[๙๐] ผู้ใดลวงเราให้จับงูเห่าด้วยคำว่า นี่ลูกนกสาลิกา
ผู้นี้พร่ำสอนแต่สิ่งที่ชั่ว ถูกงูนั้นกัดตาย
[๙๑] นรชนใดต้องการจะฆ่าคนที่มิได้ทุบตีตน
และคนที่มิได้ใช้ให้ผู้อื่นทุบตีตน
นรชนนั้นย่อมถูกฆ่าให้นอนตายเหมือนชายคนนี้ที่ถูกงูกัดตาย
[๙๒] นรชนใดต้องการจะฆ่าคนที่มิได้ฆ่าตน
และคนที่มิได้ใช้ให้ผู้อื่นฆ่าตน
นรชนนั้นย่อมถูกฆ่าให้นอนตายเหมือนชายคนนี้ที่ถูกงูกัดตาย
[๙๓] คนซัดฝุ่นเต็มกำมือทวนลม
ฝุ่นนั้นย่อมกลับมากระทบเขานั่นเอง
เหมือนชายคนนี้ที่ถูกงูกัดตาย
[๙๔] ผู้ใดประทุษร้ายนรชนผู้ไม่ประทุษร้าย
ผู้บริสุทธิ์ ผู้ไม่มีความผิด
บาปย่อมกลับมาถึงคนผู้โง่เขลานั้นเองเหมือนผงธุลีที่คนซัดทวนลม
สาลิยชาดกที่ ๗ จบ

๘. ตจสารชาดก (๓๖๘)
ว่าด้วยขื่อคาไม้ไผ่
(พระราชาทรงเห็นเด็กเหล่านั้นไม่กลัวทั้งยังมีใจร่าเริง จึงตรัสถามว่า)
[๙๕] พวกเจ้าตกอยู่ในเงื้อมมือของศัตรู
ถูกจองจำด้วยขื่อคาที่ทำด้วยลำไม้ไผ่ ยังมีหน้าผ่องใส
เพราะเหตุไร พวกเจ้าจึงไม่เศร้าโศก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๕. ปัญจกนิบาต] ๒. วัณณาโรหวรรค ๙. มิตตวินทุกชาดก (๓๖๙)
(พระโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้น จึงได้กล่าวว่า)
[๙๖] ความเศร้าโศกและความพิไรรำพัน
ไม่ได้ประโยชน์เลยแม้แต่น้อยนิด
คนที่เศร้าโศกเป็นทุกข์ ศัตรูรู้เข้าแล้วย่อมพอใจ
[๙๗] ส่วนคนผู้เป็นบัณฑิตรู้หลักในการวินิจฉัยอรรถคดี
ย่อมไม่สะทกสะท้านในเพราะอันตรายในกาลใด ๆ
เขามีใบหน้าไม่เปลี่ยนแปลง ยังเหมือนเดิม
ศัตรูเห็นเข้าแล้วย่อมเป็นทุกข์
[๙๘] บุคคลพึงได้ประโยชน์ในที่ใดด้วยประการใด ๆ
คือ ด้วยการร่ายมนต์ ด้วยการปรึกษากับบัณฑิต
ด้วยคำอันเป็นสุภาษิต ด้วยการให้สินจ้างรางวัล
หรือด้วยประเพณี๑ พึงพากเพียรพยายาม
ทำประโยชน์ในที่นั้นด้วยประการนั้น ๆ
[๙๙] อนึ่ง ในกาลใดบัณฑิตรู้ว่า
ประโยชน์นี้เราหรือบุคคลอื่นไม่พึงได้รับ
แม้ในกาลนั้นบัณฑิตก็ไม่ควรเศร้าโศก พึงอดกลั้น
ด้วยคิดเสียว่า กรรมเป็นของมั่นคง บัดนี้ เราจะทำอะไรได้
ตจสารชาดกที่ ๘ จบ

๙. มิตตวินทุกชาดก (๓๖๙)
ว่าด้วยนายมิตตวินทุกะ
(นายมิตตวินทุกะเห็นเทพบุตรโพธิสัตว์นั้น จึงถามว่า)
[๑๐๐] ข้าพเจ้าได้กระทำอะไรไว้แก่เหล่าเทวดา
ข้าพเจ้าได้กระทำความชั่วอะไรไว้
จักรนี้จึงได้จรดที่ศีรษะแล้วพัดผันอยู่บนกระหม่อมของข้าพเจ้า

เชิงอรรถ :
๑ ในอรรถกถาแปลว่า ด้วยวงศ์ตระกูล (ขุ.ชา.อ. ๔/๙๘/๔๒๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๕. ปัญจกนิบาต] ๒. วัณณาโรหวรรค ๑๐. ปลาสชาดก (๓๗๐)
(เทพบุตรโพธิสัตว์กล่าวว่า)
[๑๐๑] เพราะเหตุอะไรเล่า
ท่านล่วงเลยปราสาทแก้วผลึก
ปราสาทเงิน ปราสาทแก้วมณี
และปราสาททอง แล้วมา ณ ที่นี้
(นายมิตตวินทุกะกล่าวว่า)
[๑๐๒] ขอท่านจงดูข้าพเจ้าผู้ถึงความหายนะ
เพราะความสำคัญนี้ว่า
ในที่นี้โภคะทั้งหลายเห็นจะ
มีมากกว่าปราสาททั้ง ๔ หลังนี้
(เทพบุตรโพธิสัตว์กล่าวว่า)
[๑๐๓] ท่านเมื่อมีความปรารถนามากเกินไป
ได้ครอบครองนารี ๔ นาง ไม่พอใจนางทั้ง ๔
ได้ครอบครองนารี ๘ นาง ไม่พอใจนางทั้ง ๘
ได้ครอบครองนารี ๑๖ นาง ไม่พอใจนางทั้ง ๑๖
ได้ครอบครองนารี ๓๒ นาง ไม่พอใจนางทั้ง ๓๒
จึงได้ประสบจักร
จึงพัดผันอยู่ที่ศีรษะของท่าน
ผู้ถูกความปรารถนามากเกินไปขจัดแล้ว
[๑๐๔] ขึ้นชื่อว่าความอยาก
มีสภาพแผ่ไปยิ่งใหญ่ไพศาล
ทำให้เต็มได้ยาก
ก็ชนเหล่าใดกำหนัดตามความอยาก
ชนเหล่านั้นจึงต้องเทินจักรไว้
มิตตวินทุกชาดกที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๕. ปัญจกนิบาต] ๒. วัณณาโรหวรรค ๑๐. ปลาสชาดก (๓๗๐)
๑๐. ปลาสชาดก (๓๗๐)
ว่าด้วยปลาสเทวดา
(พญาหงส์ปรึกษากับปลาสเทวดาว่า)
[๑๐๕] พญาหงส์ได้กล่าวกับปลาสเทวดาว่า
นี่เพื่อน ต้นไทรงอกติดอยู่ที่ค่าคบของท่าน
มันงอกขึ้นเพื่อจะตัดสิ่งอันเป็นที่รักของท่าน
(ปลาสเทวดาไม่เชื่อคำของพญาหงส์ จึงกล่าวว่า )
[๑๐๖] ต้นไทรจงเจริญเติบโตขึ้นเถิด
ข้าพเจ้าจะเป็นที่พึ่งของต้นไทรนั้นเหมือนบิดาและมารดา
และต้นไทรนั้นจะเป็นที่พึ่งของข้าพเจ้าเหมือนกัน
(พญาหงส์กล่าวว่า)
[๑๐๗] เพราะเหตุใด ท่านจึงปล่อยให้ต้นไม้ที่น่ากลัวดุจข้าศึก
เจริญเติบโตที่ค่าคบ เหตุนั้น ข้าพเจ้าจะขอเตือนท่านแล้วจะไป
การเจริญเติบโตของต้นไทรนั้น ข้าพเจ้าไม่เห็นด้วย
(ต่อมารุกขเทวดานั้นคร่ำครวญอยู่ว่า)
[๑๐๘] บัดนี้ ไทรต้นนี้แหละ ทำให้เราหวาดกลัว
เพราะไม่เชื่อฟังคำของพญาหงส์
ซึ่งเป็นถ้อยคำอันสำคัญปานประหนึ่งว่าขุนเขาสิเนรุราช
ภัยอันใหญ่หลวงจึงมาถึงเราแล้ว
(พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสพระคาถาว่า)
[๑๐๙] ผู้ใดเมื่อเจริญขึ้นกลับกัดกินที่พึ่งอาศัยของตน
ความเจริญของผู้นั้นผู้ฉลาดไม่สรรเสริญ
นักปราชญ์รังเกียจความพินาศ
จึงพยายามกำจัดรากเหง้าของอันตรายนั้น
ปลาสชาดกที่ ๑๐ จบ
วัณณาโรหวรรคที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๕. ปัญจกนิบาต] ๓. อัฑฒวรรค ๒. มิคโปตกชาดก (๓๗๒)
๓. อัฑฒวรรค
หมวดว่าด้วยชาดกมีครึ่งวรรค
๑. ทีฆีติโกสลชาดก (๓๗๑)
ว่าด้วยพระเจ้าทีฆีติโกศล
(ทีฆาวุกุมารทรงระลึกถึงโอวาทที่พระราชมารดาและพระราชบิดาประทานไว้แล้ว
จึงกราบทูลพระเจ้าพรหมทัตว่า)
[๑๑๐] ข้าแต่มหาราช เมื่อพระองค์ตกอยู่ในอำนาจของข้าพระองค์
อย่างนี้ เหตุที่เปลื้องทุกข์พระองค์ได้มีอยู่หรือ พระเจ้าข้า
(พระราชาตรัสคาถาว่า)
[๑๑๑] พ่อเอ๋ย เมื่อฉันตกอยู่ในอำนาจของเธออย่างนี้
เหตุบางอย่างที่จะเปลื้องทุกข์ฉันได้ไม่มี
(พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า)
[๑๑๒] ข้าแต่มหาราช เว้นความสุจริต
และถ้อยคำอันเป็นสุภาษิตเสียแล้ว
เหตุอื่นที่จะต้านทานในเวลาที่จะตาย ข้าพระองค์ไม่เห็นเลย
ทรัพย์สมบัตินอกนี้ก็เช่นกัน
[๑๑๓] ชนเหล่าใดเข้าไปผูกเวรว่า คนนี้ได้ด่าเรา
ได้ฆ่าเรา ได้ชนะเรา และได้ลักสิ่งของของเราไป
เวรของชนเหล่านั้นย่อมไม่สงบระงับ
[๑๑๔] ส่วนชนเหล่าใดไม่เข้าไปผูกเวรว่า คนนี้ได้ด่าเรา
ได้ฆ่าเรา ได้ชนะเรา และได้ลักสิ่งของของเราไป
เวรของชนเหล่านั้นย่อมสงบระงับ
[๑๑๕] เพราะว่าในกาลไหน ๆ เวรทั้งหลายในโลกนี้
ย่อมไม่สงบระงับด้วยเวร แต่เวรทั้งหลาย
ย่อมสงบระงับด้วยการไม่จองเวร นี้เป็นธรรมเก่า
ทีฆีติโกสลชาดกที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๕. ปัญจกนิบาต] ๓. อัฑฒวรรค ๒. มิคโปตกชาดก (๓๗๒)
๒. มิคโปตกชาดก (๓๗๒)
ว่าด้วยลูกเนื้อ
(ท้าวสักกเทวราชทอดพระเนตรดาบสร้องไห้คร่ำครวญ จึงเสด็จมายืนอยู่ใน
อากาศตรัสว่า)
[๑๑๖] การที่ท่านผู้ละการครองเรือนบวชเป็นสมณะ
เศร้าโศกถึงลูกเนื้อที่ตายไปแล้วนั้น
เป็นการไม่สมควร
(ดาบสได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวว่า)
[๑๑๗] ท้าวสักกะ เพราะการอยู่ร่วมกันแล
ความรักจึงเกิดในหทัยของมนุษย์หรือของเนื้อ
อาตมาจึงไม่สามารถที่จะไม่เศร้าโศกถึงลูกเนื้อนั้นได้
(ท้าวสักกะตรัสว่า)
[๑๑๘] ชนเหล่าใดร้องไห้ บ่นเพ้อ รำพัน
ถึงคนที่ตายแล้วและคนที่จะตาย
สัตบุรุษทั้งหลายกล่าวการร้องไห้ว่าเปล่าประโยชน์
ท่านฤๅษี เพราะฉะนั้น ท่านอย่าร้องไห้ไปเลย
[๑๑๙] พราหมณ์ สัตว์ที่ตายละโลกนี้ไปแล้ว
จะพึงลุกขึ้นได้เพราะการร้องไห้
เราทุกคนก็คงมาประชุมกัน ร้องไห้ถึงหมู่ญาติของกันและกัน
(ดาบสกล่าวสดุดีท้าวสักกะว่า)
[๑๒๐] พระองค์ช่วยระงับอาตมาผู้เร่าร้อนให้สงบ
ดับความกระวนกระวายทั้งหมดได้
เหมือนคนเอาน้ำราดดับไฟที่ติดเปรียง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๕. ปัญจกนิบาต] ๓. อัฑฒวรรค ๔. จูฬธนุคคหชาดก (๓๗๔)
[๑๒๑] พระองค์ได้บรรเทาความเศร้าโศกถึงบุตรของอาตมา
ผู้กำลังเศร้าโศก ชื่อว่าได้ช่วยถอนลูกศรคือความเศร้าโศก
ซึ่งเสียบหัวใจของอาตมาขึ้นได้แล้วหนอ
[๑๒๒] ท้าววาสวะ อาตมาซึ่งพระองค์ได้ช่วยถอนลูกศร
คือความเศร้าโศกขึ้นได้แล้วเป็นผู้ปราศจากความเศร้าโศก
ไม่มีความขุ่นมัว จึงไม่เศร้าโศก ไม่ร้องไห้
เพราะได้ฟังคำของพระองค์
มิคโปตกชาดก ที่ ๒ จบ

๓. มูสิกชาดก (๓๗๓)
ว่าด้วยหนูถูกฆ่าตาย
(เวลาจะไปสระโบกขรณีเพื่อสรงสนาน พระราชาตรัสว่า)
[๑๒๓] คนบ่นเพ้ออยู่ว่า นางหนูไปไหน ไปที่ไหน
เราคนเดียวเท่านั้นรู้ว่า นางหนูถูกฆ่าอยู่ในบ่อน้ำ
(เวลาเสด็จเข้าไปยังปราสาท พระราชาเสด็จดำเนินสาธยายไปว่า)
[๑๒๔] เหตุที่เจ้าเที่ยวมองข้างโน้นข้างนี้ไปมาเสมือนหนึ่งลา
ทำให้เรารู้ว่า เจ้าฆ่านางหนูที่บ่อน้ำแล้ว
ยังปรารถนาจะกินพระเจ้ายวะอีก
(พระราชาเสด็จดำเนินท่องบ่นจนถึงหัวบันไดว่า)
[๑๒๕] นี่เจ้าโง่ เจ้ายังเป็นเด็กเล็กนัก ยังเป็นวัยรุ่น
มายืนถือท่อนไม้ยาว เราจักไม่ยอมให้ชีวิตแก่เจ้า
(พระราชารอดพ้นจากความตาย ทรงร่าเริงยินดี ทรงเปล่งอุทานว่า)
[๑๒๖] เราผู้ถูกบุตรปองฆ่า รอดพ้นจากความตาย
เพราะอยู่บนวิมานในอากาศก็หาไม่
เพราะบุตรสุดที่รักเสมอด้วยอวัยวะก็หาไม่
แต่เราพ้นจากความตายเพราะคาถาที่อาจารย์ผูกให้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๕. ปัญจกนิบาต] ๓. อัฑฒวรรค ๔. จูฬธนุคคหชาดก (๓๗๔)
[๑๒๗] บุคคลควรเรียนสูตร๑ทุกอย่าง
ไม่ว่าจะเป็นชั้นต่ำ ชั้นสูง หรือปานกลาง
และควรรู้จุดมุ่งหมายของวิชาทุกอย่าง
แต่ว่าไม่ควรใช้วิชาทุกอย่าง
เวลาที่สูตรซึ่งได้ศึกษามาแล้วนำประโยชน์มาให้ก็ยังมีอยู่
มูสิกชาดกที่ ๓ จบ

๔. จูฬธนุคคหชาดก (๓๗๔)
ว่าด้วยจูฬธนุคคหบัณฑิต
(ภรรยาของจูฬธนุคคหบัณฑิตกล่าวกับนายโจรว่า)
[๑๒๘] พราหมณ์ ท่านถือเอาห่อเครื่องประดับทั้งหมดข้ามฝั่งไปแล้ว
จงรีบกลับมารับฉันข้ามไปจากฝั่งนี้โดยเร็ว ณ บัดนี้
(นายโจรได้ฟังดังนั้นยืนอยู่ที่ฝั่งโน้นกล่าวว่า)
[๑๒๙] นางผู้เจริญได้เปลี่ยนเอาเราผู้ไม่เคยเชยชิด
กับชายผู้เคยเชยชิดกันมานาน
นางผู้เจริญคงจะเปลี่ยนเอาชายอื่นผู้ไม่ใช่ขาประจำ
กับเราผู้เป็นขาประจำแน่นอน เราจะไปจากที่นี้ให้ไกลแสนไกล
(สุนัขจิ้งจอกได้ฟังดังนั้น จึงได้กล่าวว่า)
[๑๓๐] นี่ใครหัวเราะดังลั่นอยู่ที่พุ่มตะไคร่น้ำ
ที่นี้ไม่มีการฟ้อนรำ ขับร้อง ปรบมือ ประโคมดนตรี
นางผู้มีตะโพกอันผึ่งผาย งดงาม
เหตุไรหนอ ในเวลาที่ควรร้องไห้ เจ้ากลับหัวเราะ
(ภรรยาของจูฬธนุคคหบัณฑิตกล่าวว่า)
[๑๓๑] นี่สุนัขจิ้งจอกผู้ต่ำทราม โง่เขลา เจ้ามีปัญญาน้อย
เสื่อมสิ้นทั้งปลาทั้งชิ้นเนื้อแล้วซบเซาอยู่เหมือนคนกำพร้า

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า สูตร ในที่นี้ได้แก่ปริยัติ (ขุ.ชา.อ. ๔/๑๒๗/๔๔๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๕. ปัญจกนิบาต] ๓. อัฑฒวรรค ๕. กโปตกชาดก (๓๗๕)
(สุนัขจิ้งจอกกล่าวว่า)
[๑๓๒] โทษของผู้อื่นเห็นได้ง่าย
ส่วนโทษของตนเห็นได้ยาก
เจ้านั่นแหละเสื่อมสิ้นทั้งผัวทั้งชายชู้
ย่อมซบเซายิ่งกว่าเราเสียอีก
(ภรรยาของจูฬธนุคคหบัณฑิตกล่าวว่า)
[๑๓๓] พญาเนื้อผู้ต่ำทราม เรื่องนี้จริงดังที่ท่านพูด
เรานั้นไปจากที่นี้แล้ว จักอยู่ในอำนาจของผัวอย่างเดียว
(ท้าวสักกเทวราชสดับคำของนางผู้ทุศีลไร้อาจาระ จึงตรัสว่า)
[๑๓๔] ผู้ใดลักถาดดินไปได้ ถึงถาดสำริดผู้นั้นก็ลักไปได้
บาปที่เจ้าได้กระทำแล้วนั่นแหละ
เจ้าก็จักต้องกระทำมันอีก
จูฬธนุคคหชาดกที่ ๔ จบ

๕. กโปตกชาดก (๓๗๕)
ว่าด้วยนกพิราบโพธิสัตว์
(กาคิดจะกินปลา จึงกล่าวว่า)
[๑๓๕] บัดนี้แหละเราสบายแล้ว ไม่มีโรค
หมดเสี้ยนหนาม นกพิราบก็บินออกไปแล้ว
บัดนี้ เราจะทำตามความพอใจ
เพราะว่าเนื้อและผักที่เหลือจะทำให้เรามีกำลัง
(นกพิราบกลับมาเห็นกาถูกถอนขนทาด้วยน้ำเปรียงเน่า จึงเยาะเย้ยว่า)
[๑๓๖] นกยางอะไรนี่ มีหงอน เป็นโจร มีเมฆเป็นปู่
แม่นกยาง เจ้าจงลงมาข้างล่างนี้เถิด
กาสหายของเราเป็นสัตว์ดุร้าย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๕. ปัญจกนิบาต] ๓. อัฑฒวรรค ๕. กโปตกชาดก (๓๗๕)
(กาได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวว่า)
[๑๓๗] ท่านอย่าหัวเราะเยาะ
เพราะเห็นข้าพเจ้าถูกลูกชายพ่อครัวถอนขน
แล้วทาด้วยผงเมล็ดผักกาด
ผสมกากเปรียงเช่นนี้เลย
(นกพิราบเย้ยหยันอยู่ว่า)
[๑๓๘] ท่านอาบน้ำชำระกายดีแล้ว
ลูบไล้ด้วยของหอมดีแล้ว
อิ่มหนำสำราญด้วยข้าวและน้ำ
และที่คอของท่านก็ประดับด้วยแก้วไพฑูรย์
ท่านได้ไปถิ่นกชังคละมาหรือ
(กาได้กล่าวว่า)
[๑๓๙] มิตรก็ตาม ศัตรูก็ตามของท่าน
อย่าได้ไปถิ่นกชังคละเลย
เพราะคนในถิ่นกชังคละนั้น
ถอนขนแล้วผูกกระเบื้องไว้ที่คอของเรา
(นกพิราบกล่าวว่า)
[๑๔๐] เพื่อนเอ๋ย เจ้าจักประสบความชั่วร้ายเช่นนี้อีก
เพราะปกติของเจ้าเป็นเช่นนั้น
อาหารของมนุษย์เป็นของที่นกไม่ควรกิน
กโปตกชาดกที่ ๕ จบ
อัฑฒวรรคที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก
รวมชาดกที่มีในวัณณาโรหวรรคและอัฑฒวรรค คือ

๑. วัณณาโรหชาดก ๒. สีลวีมังสชาดก
๓. หิริชาดก ๔. ขัขโชปนกชาดก
๕. อหิตุณฑิกชาดก ๖. คุมพิยชาดก
๗. สาลิยชาดก ๘. ตจสารชาดก
๙. มิตตวินทุกชาดก ๑๐. ปลาสชาดก
๑๑. ทีฆีติโกสลชาดก ๑๒. มิคโปตกชาดก
๑๓. มูสิกชาดก ๑๔. จูฬธนุคคหชาดก
๑๕. กโปตกชาดก

รวมวรรคที่มีในนิบาตนี้ คือ

๑. มณิกุณฑลวรรค ๒. วัณณาโรหวรรค
๓. อัฑฒวรรค

ปัญจกนิบาต จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๒๖ }


๖. ฉักกนิบาต
๑. อวาริยวรรค
หมวดว่าด้วยบิดาของนางอวาริยา
๑. อวาริยชาดก (๓๗๖)
ว่าด้วยบิดาของนางอวาริยา
(ฤๅษีโพธิสัตว์กล่าวสอนพระราชาอยู่ทุก ๆ วันว่า)
[๑] ขอถวายพระพรมหาบพิตรผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน
ขอพระองค์อย่าทรงพิโรธเลย
มหาบพิตรผู้เป็นจอมทัพ ขอพระองค์อย่าทรงพิโรธเลย
พระราชาผู้ไม่ทรงพิโรธตอบผู้ที่โกรธ
ย่อมเป็นที่บูชาของชาวแว่นแคว้น
[๒] อาตมภาพพร่ำสอนในที่ทุกสถาน
คือ ทั้งในหมู่บ้าน ในป่า ในที่ลุ่ม หรือในที่ดอน
ขอถวายพระพรมหาบพิตรผู้จอมทัพ
ขอพระองค์อย่าทรงพิโรธเลย
(พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงนายเรือผู้โง่เขลาว่า)
[๓] ที่แม่น้ำคงคาได้มีคนแจวเรือจ้างชื่ออวาริยปิตา๑
เขารับส่งคนข้ามฟากก่อนแล้วจึงขอค่าโดยสารภายหลัง
เพราะเหตุนั้น เขาจึงมีการทะเลาะวิวาทกับคนโดยสาร
จึงไม่เจริญด้วยโภคะทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
๑ อวาริยปิตา แปลว่า เป็นบิดาของนางอวาริยา (ขุ.ชา.อ. ๕/๓/๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๖. ฉักกนิบาต] ๑. อวาริยวรรค ๒. เสตเกตุชาดก (๓๗๗)
(ฤๅษีโพธิสัตว์บอกถึงเหตุที่จะให้โภคะเจริญแก่นายเรือนั้นว่า)
[๔] พ่อเรือจ้าง ท่านจงขอค่าโดยสาร
กับคนที่ยังไม่ได้ข้ามไปฝั่งโน้นก่อนซิ
เพราะว่า ใจของคนที่ข้ามฟากไปแล้วเป็นอย่างหนึ่ง
ใจของคนที่ต้องการจะข้ามฟากเป็นอีกอย่างหนึ่ง
(ฤๅษีโพธิสัตว์สอนนายเรือนั้นอีกว่า)
[๕] อาตมภาพพร่ำสอนในที่ทุกสถาน
คือ ทั้งในหมู่บ้าน ในป่า ในที่ลุ่ม หรือในที่ดอน
พ่อเรือจ้าง ขอท่านอย่าโกรธเลย
(พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายว่า)
[๖] พระราชาได้พระราชทานบ้านส่วยเพราะอนุสาสนีบทใด
เพราะอนุสาสนีบทนั้นแหละ คนแจวเรือจ้างจึงได้ตบปาก๑
(พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสข้อความสุดท้ายว่า)
[๗] ถาดใส่อาหารก็ตกแตกแล้ว ภรรยาก็ถูกทำร้าย
และเด็กที่เกิดในครรภ์ก็แท้งตกลงมาที่ภาคพื้น
เขาไม่อาจจะให้ประโยชน์เกิดขึ้นจากโอวาทนั้นได้
เหมือนเนื้อไม่อาจจะให้ประโยชน์เกิดขึ้นจากทองคำ๒
อวาริยชาดกที่ ๑ จบ

๒. เสตเกตุชาดก (๓๗๗)
ว่าด้วยเสตเกตุดาบส
(พระโพธิสัตว์เป็นอาจารย์ทิศาปาโมกข์สอนมาณพเสตเกตุผู้เป็นหัวหน้าศิษย์ว่า)

เชิงอรรถ :
๑ ตบปาก ในที่นี้หมายถึงตบปากของฤาษีโพธิสัตว์ (ขุ.ชา.อ. ๕/๖/๕)
๒ ไม่อาจจะให้ประโยชน์เกิดขึ้นจากทองคำ คือ ไม่อาจทำทองคำให้เกิดเป็นประโยชน์ได้ (ขุ.ชา.อ. ๕/๗/๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๖. ฉักกนิบาต] ๑. อวาริยวรรค ๒. เสตเกตุชาดก (๓๗๗)
[๘] พ่อเอ๋ย เจ้าอย่าโกรธ เพราะความโกรธไม่ดีเลย
ทิศที่เจ้ายังไม่ได้เห็น ยังไม่ได้ยินมีอีกมาก
พ่อเสตเกตุ มารดาบิดาเป็นทิศเบื้องหน้า
พระอริยะทั้งหลายกล่าวสรรเสริญอาจารย์ว่าเป็นทิศเบื้องขวา
[๙] คฤหัสถ์ถวายข้าว น้ำ และผ้า กล่าวนิมนต์ผู้ใด
แม้ผู้นั้นพระอริยะทั้งหลายย่อมเรียกว่า เป็นทิศเบื้องบน
เสตเกตุ ทิศนี้เป็นทิศที่ยอดเยี่ยม
เพราะสัตว์ทั้งหลายผู้มีทุกข์ถึงแล้วย่อมเป็นสุข
(พระราชาทรงเห็นดาบสทั้งหลายบำเพ็ญตบะผิด จึงตรัสสนทนากับปุโรหิตว่า)
[๑๐] ชฎิลเหล่าใดนุ่งห่มหนังสัตว์ที่ขรุขระ
มีขี้ฟันเขรอะ ร่างกายสกปรก สาธยายมนต์อยู่
ชฎิลเหล่านั้นประกอบหน้าที่การงานของมนุษย์
จะรู้แจ้งโลกนี้แล้วพ้นจากอบายได้หรือ
(ปุโรหิตกราบทูลว่า)
[๑๑] ขอเดชะพระราชา หากบุคคลถึงจะเป็นพหูสูต
กระทำแต่กรรมชั่ว ก็ชื่อว่าไม่ประพฤติธรรม
เขาแม้จะมีพระเวทตั้งพัน อาศัยความเป็นพหูสูตนั้น
แต่ไม่บรรลุจรณธรรม๑ ก็พ้นจากทุกข์ไม่ได้
(เสตเกตุดาบสกล่าวกับปุโรหิตนั้นว่า)
[๑๒] บุคคลแม้จะมีพระเวทตั้งพัน อาศัยความเป็นพหูสูตนั้น
แต่ไม่บรรลุจรณธรรม ก็พ้นจากทุกข์ไม่ได้
อาตมาเข้าใจว่า พระเวททั้งหลายเป็นสิ่งที่ไร้ผล
จรณธรรมพร้อมทั้งความสำรวม๒เท่านั้นเป็นสัจจะ

เชิงอรรถ :
๑ จรณธรรม ในที่นี้หมายถึงศีลและสมาบัติ ๘ (ขุ.ชา.อ. ๕/๑๑/๑๑)
๒ ความสำรวม ในที่นี้เป็นชื่อของศีล (ขุ.ชา.อ. ๕/๑๒/๑๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๖. ฉักกนิบาต] ๑. อวาริยวรรค ๓. ทรีมุขชาดก (๓๗๙)
(ปุโรหิตได้กล่าวว่า)
[๑๓] พระเวททั้งหลายจะไร้ผลก็หาไม่
จรณธรรมพร้อมทั้งความสำรวมเท่านั้นเป็นสัจจะ
เพราะบุคคลบรรลุพระเวททั้งหลายแล้วย่อมได้เกียรติ
บุคคลผู้ฝึกตนดีแล้วด้วยจรณธรรมย่อมบรรลุความสงบ๑
เสตเกตุชาดกที่ ๒ จบ

๓. ทรีมุขชาดก (๓๗๘)
ว่าด้วยพระทรีมุขปัจเจกพุทธเจ้า
(พระปัจเจกพุทธเจ้าแสดงธรรมโปรดพระเจ้าพรหมทัตว่า)
[๑๔] กามทั้งหลายเสมือนเปือกตม เสมือนหล่ม
ก็ภัยนี้บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า เป็นมูลเหตุแห่งภัย ๓ ประการ
กามทั้งหลายคือธุลีและควัน อาตมภาพก็ได้ประกาศไว้แล้ว
ขอถวายพระพร พระเจ้าพรหมทัต
ขอมหาบพิตรทรงละกามเหล่านี้ออกผนวชเถิด
(พระราชาครั้นทรงสดับดังนั้นแล้ว ตรัสบอกความที่พระองค์พัวพันด้วย
กิเลสว่า)
[๑๕] ท่านพราหมณ์ โยมกำหนัดยินดี
และหมกมุ่นอยู่ในกามทั้งหลาย
ประสงค์จะมีชีวิตอยู่อย่างนี้
จึงไม่อาจจะละกามอันน่าสะพรึงกลัวนั้นได้
แต่โยมจะทำบุญทั้งหลายให้มาก

เชิงอรรถ :
๑ ความสงบ ในที่นี้หมายถึงนิพพาน (ขุ.ชา.อ. ๕/๑๓/๑๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๖. ฉักกนิบาต] ๑. อวาริยวรรค ๓. ทรีมุขชาดก (๓๗๙)
(พระทรีมุขปัจเจกพุทธเจ้าตรัสสอนให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไปว่า)
[๑๖] ผู้ใดอันบุคคลผู้หวังความเจริญ
อนุเคราะห์ด้วยประโยชน์เกื้อกูล
กล่าวสอนอยู่ ก็ไม่กระทำตามคำสอน
ผู้นั้นสำคัญแต่สิ่งที่ตนยึดถือว่า นี้เท่านั้นประเสริฐ
เป็นคนโง่ ย่อมเกิดในครรภ์บ่อย ๆ
[๑๗] เขาย่อมเข้าถึงนรกอันน่ากลัว
เต็มไปด้วยอุจจาระและปัสสาวะที่ไม่งามสำหรับผู้งาม
สัตว์เหล่าใดยังไม่ปราศจากราคะ
ยังมีความกำหนัดในกามทั้งหลาย
สัตว์เหล่านั้นก็ยังละความเกิดในครรภ์ไปไม่ได้
(พระทรีมุขปัจเจกพุทธเจ้าทรงหวังจะแสดงเหตุที่พ้นจากครรภ์ จึงตรัสหนึ่ง
คาถาครึ่ง และพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสครึ่งพระคาถาสุดท้ายว่า)
[๑๘] สัตว์เหล่านี้คลอดออกมามีกายแปดเปื้อนด้วยอุจจาระ
ด้วยเลือดและเสมหะในขณะที่คลอด
สัตว์เหล่านี้มีร่างกายสัมผัสส่วนใด ๆ
ส่วนนั้น ๆ ทั้งหมด ล้วนไม่น่าชื่นใจ
เป็นทุกข์อย่างเดียว
[๑๙] อาตมาเห็นแล้วจึงถวายพระพร
มิใช่ได้ยินมาจากคนอื่นแล้วจึงถวายพระพร
อาตมายังระลึกอดีตชาติได้มากอีกด้วย
พระทรีมุขปัจเจกพุทธเจ้าได้ให้พระราชาผู้ทรงปรีชาญาณ
ยอมรับด้วยคาถาสุภาษิตอันวิจิตร
ทรีมุขชาดกที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๖. ฉักกนิบาต] ๑. อวาริยวรรค ๕. อาสังกชาดก (๓๘๐)
๔. เนรุชาดก (๓๗๙)
ว่าด้วยอานุภาพของภูเขาเนรุ
(หงส์น้องชายของพญาหงส์โพธิสัตว์สนทนากับพี่ชายว่า)
[๒๐] กาป่าก็ดี ฝูงกาธรรมดาก็ดี
พวกเราผู้ประเสริฐกว่านกทั้งหลายก็ดี
พอมาถึงภูเขานี้แล้ว เป็นเหมือนกันหมด
[๒๑] ราชสีห์ก็ดี เสือโคร่งก็ดี สุนัขจิ้งจอกก็ดี หมู่เนื้อก็ดี
พอมาถึงที่นี้แล้วก็เป็นเหมือนกันหมด
ภูเขานี้ชื่ออะไร
(พญาหงส์โพธิสัตว์กล่าวว่า)
[๒๒] มนุษย์ทั้งหลายรู้จักภูเขาที่ยอดเยี่ยมลูกนี้ว่าเนรุ
เพราะสัตว์ทุกชนิดอยู่ที่ภูเขาลูกนี้
จะกลายเป็นสีทองเหมือนกันหมด
(หงส์น้องชายได้ฟังดังนั้น จึงได้กล่าวว่า)
[๒๓] สถานที่ใดคนดีไม่ได้รับการยกย่อง
ซ้ำถูกดูหมิ่น แต่กลับยกย่องคนเลว
สถานที่นั้นไม่ควรอาศัยอยู่เลย
[๒๔] สถานที่ใดคนเกียจคร้าน คนขยัน
คนกล้าหาญ และคนขลาดได้รับการบูชา
สถานที่นั้นคนดีไม่อยู่ เหมือนภูเขาที่ไม่ทำความแตกต่างกัน
[๒๕] ภูเขาเนรุนี้ไม่แยกคนเลว คนดี คนปานกลาง
คือ ไม่กระทำให้แปลกกัน
อย่ากระนั้นเลย เราสละภูเขาเนรุนี้ไปเถิด
เนรุชาดกที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๖. ฉักกนิบาต] ๑. อวาริยวรรค ๕. อาสังกชาดก (๓๘๐)
๕. อาสังกชาดก (๓๘๐)
ว่าด้วยอาสังกากุมาริกา
(นางอาสังกากุมาริกากราบทูลพระราชาว่า)
[๒๖] เถาวัลย์ชื่ออาสาวดีเกิดแล้วในอุทยานจิตรลดาวัน
เถาวัลย์นั้น ๑,๐๐๐ ปี จึงจะออกผลหนึ่ง
[๒๗] แม้นานถึงเพียงนั้นจึงจะมีผล
ทวยเทพก็ยังพากันไปเยือนอุทยานนั้นเนือง ๆ
ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์ทรงหวังไว้เถิด
เพราะว่าความหวังที่ยังมีผลเป็นความสุข
[๒๘] ปักษาทิชาชาติยังมีความหวังอยู่ร่ำไป
ความหวังของมันที่มีอยู่ห่างไกลถึงเพียงนั้นก็ยังสำเร็จได้
ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์ทรงหวังไว้เถิด
เพราะว่าความหวังที่มีผลเป็นความสุข
(พระราชาตรัสบอกเหตุที่จะไปกับนางอาสังกากุมาริกาว่า)
[๒๙] หล่อนให้ฉันเอิบอิ่มด้วยคำพูดเท่านั้น
หาให้ฉันเอิบอิ่มด้วยการกระทำไม่
เหมือนดอกหงอนไก่มีสีสวย แต่ไม่มีกลิ่น
[๓๐] ผู้ใดเมื่อไม่ให้ ไม่เสียสละโภคทรัพย์
ดีแต่พูดคำอ่อนหวานซึ่งไม่มีผลในมิตรทั้งหลาย
ความสัมพันธ์ของผู้นั้นกับมิตรย่อมจืดจาง
[๓๑] ควรพูดถึงแต่สิ่งที่ควรทำ
ไม่ควรพูดถึงสิ่งที่ไม่ควรทำ
คนไม่ทำ ดีแต่พูด บัณฑิตย่อมรู้ทัน
[๓๒] กำลังของเราหมดสิ้นแล้วหนอ เสบียงก็ไม่มี
สงสัยจะตายเป็นแน่ อย่ากระนั้นเลย เราจะไปกันเดี๋ยวนี้แหละ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๖. ฉักกนิบาต] ๑. อวาริยวรรค ๗. สิริกาฬกัณณิชาดก (๓๘๒)
(พระนางอาสังกากุมาริกาเทวีได้สดับพระราชดำรัสนั้น จึงกราบทูลว่า)
[๓๓] คำว่า อาสังกา นั่นแหละเป็นชื่อของหม่อมฉัน
ข้าแต่มหาราชผู้จอมทัพ ขอพระองค์ทรงคอยก่อน
หม่อมฉันขอบอกลาบิดาก่อน
อาสังกชาดกที่ ๕ จบ

๖. มิคาโลปชาดก (๓๘๑)
ว่าด้วยนกแร้งมิคาโลปะ
(พญาแร้งโพธิสัตว์เรียกลูกมาอบรมว่า)
[๓๔] มิคาโลปะ พ่อไม่พอใจเลยที่เจ้าบินไปเช่นนั้น
ลูกเอ๋ย เจ้าบินสูงเกินไป เลยขอบเขตของพวกแร้งไปแล้ว
[๓๕] เมื่อใด แผ่นดินปรากฏแก่เจ้าเสมือนแปลงนา ๔ เหลี่ยม
ลูกเอ๋ย เมื่อนั้น เจ้าจงกลับจากที่นั้น อย่าบินเลยที่นั้นไป
[๓๖] แม้นกเหล่าอื่นที่มีปีกเป็นยานพาหนะ บินไปในอากาศ
สำคัญตนว่ายั่งยืน ถูกแรงลมพัดพินาศแล้วก็มีอยู่
(พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า)
[๓๗] นกแร้งมิคาโลปะไม่เชื่อฟังคำสอนของแร้งอปรัณณะพ่อผู้เฒ่า
บินผ่านลมกาละไป ตกอยู่ในอำนาจลมเวรัมภา (ลมกรด)
[๓๘] ลูกเมียของมัน และนกแร้งเหล่าอื่นที่อาศัยมันเป็นอยู่
ทั้งหมดก็ถึงความพินาศ เพราะนกที่ไม่ทำตามโอวาทตัวเดียว
[๓๙] ผู้ใดในโลกนี้ไม่เชื่อฟังคำของผู้ใหญ่ทั้งหลาย
ประพฤติเกินขอบเขตย่อมเดือดร้อน
เหมือนนกแร้งที่ละเมิดคำสอน
ชนทั้งหลายย่อมถึงความพินาศทุกคน
เพราะไม่กระทำตามคำสอนของท่านผู้รู้
มิคาโลปชาดกที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๖. ฉักกนิบาต] ๑. อวาริยวรรค ๗. สิริกาฬกัณณิชาดก (๓๘๒)
๗. สิริกาฬกัณณิชาดก (๓๘๒)
ว่าด้วยสิริกับกาฬกัณณี
(เศรษฐีโพธิสัตว์สนทนากับกาฬกัณณีเทพธิดาว่า)
[๔๐] ใครหนอมีผิวพรรณดำ ทั้งไม่น่ารัก ไม่น่าดู
เธอเป็นใคร เป็นลูกสาวของใคร ฉันจะรู้จักเธอได้อย่างไร
(กาฬกัณณีเทพธิดากล่าวว่า)
[๔๑] ดิฉันเป็นลูกสาวของท้าววิรูปักขมหาราช
เป็นคนโหดร้าย มีผิวดำ ไร้ปัญญา
เทพทั้งหลายรู้จักดิฉันว่ากาฬกัณณี
ดิฉันขอท่านจงให้โอกาส
ดิฉันขออาศัยอยู่ในสำนักของท่าน
(เศรษฐีโพธิสัตว์กล่าวว่า)
[๔๒] เธอตกลงปลงใจในชายผู้มีปกติเช่นไร
มีความประพฤติเช่นไร
แม่กาฬี ฉันถามแล้ว เธอจงตอบ
ฉันจะรู้จักเธอได้อย่างไร
(กาฬกัณณีเทพธิดาได้บอกคุณของตนว่า)
[๔๓] ชายใดมักลบหลู่คุณท่าน ตีเสมอ
แข่งดี ริษยา ตระหนี่ และโอ้อวด
ทำทรัพย์ที่ได้มาแล้วให้พินาศไป ดิฉันรักใคร่ชายนั้น
(กาฬกัณณีเทพธิดากล่าวต่อไปว่า)
[๔๔] ชายใดมักโกรธ ผูกโกรธ พูดส่อเสียด
มักทำลายมิตรภาพ มีวาจาเสียดแทง พูดวาจาหยาบคาย
ดิฉันรักใคร่ชายนั้นยิ่งกว่าชายคนแรก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๖. ฉักกนิบาต] ๑. อวาริยวรรค ๗. สิริกาฬกัณณิชาดก (๓๘๒)
[๔๕] ชายที่ไม่รู้จักประโยชน์ของตนว่า
งานนี้ควรทำวันนี้ งานนี้ควรทำพรุ่งนี้
ถูกสั่งสอนก็พาลโกรธ ซ้ำยังดูหมิ่นคนที่ดีกว่าตัว
[๔๖] ชายใดมัวเมาด้วยการเล่นเป็นประจำ
ทั้งยังกำจัดมิตรทั้งหมดไปเสีย
ดิฉันรักใคร่ชายนั้น จะมีความสุขกับเขา
(พระโพธิสัตว์ติเตียนกาฬกัณณีเทพธิดานั้นว่า)
[๔๗] แม่กาฬี เธอจงไปจากที่นี้เสียเถิด
เรื่องเช่นนี้ไม่มีในพวกเรา
เธอจงไปยังชนบท นิคม และราชธานีอื่น ๆ เถิด
(กาฬกัณณีเทพธิดาได้ฟังดังนั้นไม่พอใจ จึงกล่าวว่า)
[๔๘] เรื่องนั้นแม้ดิฉันก็ทราบดีว่า เรื่องเช่นนี้ไม่มีอยู่ในพวกท่าน
แต่คนโง่ทั้งหลายที่รวบรวมทรัพย์ไว้เป็นจำนวนมาก
ก็ยังมีอยู่ในโลก
ส่วนดิฉันและเทพพี่ชายของดิฉันทั้ง ๒ คน
ช่วยกันผลาญทรัพย์นั้นจนหมดสิ้น
(พระโพธิสัตว์เห็นสิริเทพธิดา จึงกล่าวว่า)
[๔๙] ใครหนอมีผิวพรรณทิพย์ ยืนเรียบร้อยอยู่บนแผ่นดิน
เธอเป็นใคร เป็นลูกสาวของใคร ฉันจะรู้จักเธอได้อย่างไร
(สิริเทพธิดาได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า)
[๕๐] ดิฉันเป็นลูกสาวของท้าวธตรัฏฐมหาราชผู้มีสิริ
ดิฉันชื่อสิริลักษมี เทพทั้งหลายรู้จักดิฉันว่า
เป็นผู้มีปัญญาดังแผ่นดิน
ดิฉันขอท่านจงให้โอกาส
ดิฉันขออาศัยอยู่ในสำนักของท่าน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๖. ฉักกนิบาต] ๑. อวาริยวรรค ๗. สิริกาฬกัณณิชาดก (๓๘๒)
(เศรษฐีโพธิสัตว์กล่าวว่า)
[๕๑] เธอตกลงปลงใจในชายผู้มีปกติวิเช่นไร
มีความประพฤติเช่นไร
แม่ลักษมี ฉันถามแล้ว เธอจงตอบ
ฉันจะรู้จักเธอได้อย่างไร
(สิริเทพธิดากล่าวว่า)
[๕๒] ชายใดชนะอันตรายทั้งปวงได้
คือ ความหนาว ความร้อน
ลม แดด เหลือบ ยุง สัตว์เลื้อยคลาน
ความหิว และความกระหายได้
ทำการงานทุกอย่างติดต่อตลอดวันตลอดคืน
ไม่ทำประโยชน์ที่เป็นไปตามกาลให้เสื่อมเสียไปด้วย
ดิฉันพอใจชายนั้นและจะตกลงปลงใจกับเขา
[๕๓] ชายใดไม่มักโกรธ เป็นกัลยาณมิตร เสียสละ
สมบูรณ์ด้วยศีล ไม่โอ้อวด ซื่อตรง
สงเคราะห์ มีวาจาไพเราะอ่อนหวาน
ถึงจะเป็นใหญ่ก็ถ่อมตน
ดิฉันจะเป็นหญิงมีสิริอันไพบูลย์ในชายนั้น
เหมือนคลื่นที่ปรากฏแก่ผู้มองดูท้องทะเล
[๕๔] อีกอย่างหนึ่ง ชายใดสงเคราะห์บุคคล
ทั้งที่เป็นมิตรหรือศัตรู ทั้งชั้นสูง เสมอกัน หรือต่ำกว่า
ทั้งที่ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์หรือไม่เป็นประโยชน์
ทั้งในที่แจ้งหรือที่ลับ
ชายใดไม่พูดจาหยาบคายไม่ว่าในกาลไหน ๆ
ดิฉันจะเป็นของชายนั้นถึงแม้จะตายแล้วหรือยังมีชีวิตอยู่ก็ตาม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๖. ฉักกนิบาต] ๑. อวาริยวรรค ๙. ธัมมัทธชชาดก (๓๘๔)
[๕๕] บุคคลใดไร้ปัญญา ได้สิริที่น่าใคร่แล้ว
ลืมคุณความดีอย่างใดอย่างหนึ่ง
บรรดาคุณความดีที่ได้กล่าวแล้วเหล่านั้น
ดิฉันเว้นบุคคลนั้นซึ่งมีสภาพร้อนรน
ประพฤติไม่เสมอต้นเสมอปลาย
เหมือนคนที่มีนิสัยรักความสะอาดเว้นห่างไกลหลุมคูถ
[๕๖] บุคคลย่อมสร้างความมีโชคด้วยตนเอง
ย่อมสร้างความไม่มีโชคด้วยตนเอง
คนอื่นจะทำความมีโชคและความไม่มีโชคให้คนอื่นหาได้ไม่
สิริกาฬกัณณิชาดกที่ ๗ จบ

๘. กุกกุฏชาดก (๓๘๓)
ว่าด้วยไก่โพธิสัตว์
(นางแมวไปยังโคนต้นไม้ที่ไก่เกาะอยู่แล้วอ้อนวอนว่า)
[๕๗] พ่อไก่หงอนแดงผู้มีขนปีกงดงาม ท่านจงลงมาจากกิ่งไม้เถิด
ฉันจะยอมเป็นภรรยาของท่านโดยไม่คิดมูลค่า
(ไก่โพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวว่า)
[๕๘] แม่นางแมวรูปงาม เธอเป็นสัตว์สี่เท้า
ส่วนฉันเป็นสัตว์สองเท้า
แมวตัวเมียกับไก่ตัวผู้ไม่ควรจะรื่นรมย์ยินดีกันฉันสามีภรรยา
เธอจงหาสามีอื่นเถิด
(แมวได้ฟังดังนั้นคิดหาอุบายใหม่กล่าวว่า)
[๕๙] ฉันจะเป็นภรรยาสาวของท่านที่พูดจาอ่อนหวาน น่ารัก
ขอท่านจงรับฉันผู้เลอโฉม ผู้เป็นสาวพรหมจารีไว้
ด้วยการรับอันดีงามเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๖. ฉักกนิบาต] ๑. อวาริยวรรค ๙. ธัมมัทธชชาดก (๓๘๔)
(ไก่โพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้นแล้วคิดจะขู่ไล่แมวให้หนีไป จึงกล่าวว่า)
[๖๐] นางโจรผู้กินซากศพ ดื่มเลือด เจ้าเบียดเบียนไก่
ต้องการเราเป็นผัว ไม่ใช่ด้วยการได้อันดีงามหรอก
(พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า)
[๖๑] หญิงผู้มีวาจาประกอบด้วยองค์ ๔ เห็นชายมีทรัพย์
ก็ล่อลวงนำไปด้วยการพูดจาอ่อนหวาน
เหมือนนางแมวล่อลวงไก่
[๖๒] อนึ่ง ผู้ใดไม่รู้เท่าทันเหตุที่เกิดขึ้นโดยฉับพลัน
ผู้นั้นจะตกอยู่ในอำนาจของศัตรู
และจะเดือดร้อนในภายหลัง
[๖๓] ส่วนผู้ใดรู้เท่าทันเหตุที่เกิดขึ้นโดยฉับพลัน
ผู้นั้นย่อมพ้นจากความคับขันอันเกิดจากศัตรู
เหมือนไก่พ้นจากนางแมว
กุกกุฏชาดกที่ ๘ จบ

๙. ธัมมัทธชชาดก (๓๘๔)
ว่าด้วยการมีธรรมเป็นธงชัย
(กาเรียกนกทั้งหลายมากล่าวว่า)
[๖๔] พี่น้องทั้งหลาย พวกท่านจงประพฤติธรรมเถิด
จงประพฤติธรรมเถิด พวกท่านจะมีแต่ความเจริญ
เพราะว่าผู้ประพฤติธรรมย่อมอยู่เป็นสุข
ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
(นกทั้งหลายเมื่อไม่รู้จึงพากันสรรเสริญกาทุศีลนั้นว่า)
[๖๕] กานี้เจริญจริงหนอ ประพฤติธรรมได้ยอดเยี่ยม
ยืนด้วยขาข้างเดียวสอนธรรมอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๖. ฉักกนิบาต] ๑. อวาริยวรรค ๑๐. นันทิยมิคราชชาดก (๓๘๕)
(พญานกโพธิสัตว์เรียกฝูงนกมาสั่งให้คอยจับกาว่า)
[๖๖] พวกเจ้าไม่รู้ปกติของมัน
เพราะไม่รู้ จึงพากันสรรเสริญมัน
มันกินทั้งไข่และลูกอ่อนแล้วพูดว่า ธรรมะ ธรรมะ
[๖๗] มันพูดอย่างหนึ่งแต่ทำอย่างหนึ่ง
มันประพฤติธรรมแต่ปาก แต่กายไม่ประพฤติธรรม
เพราะฉะนั้น มันจึงชื่อว่าไม่ทรงธรรม
[๖๘] มันปากหวาน รู้ใจได้ยาก
แสร้งทำตัวว่ามีธรรมเป็นธงชัย
เหมือนงูเห่าซ่อนตัวอยู่ในรู
ให้เขายกย่องว่าเป็นผู้ดีทุกบ้านทุกตำบล
คนทุศีลประเภทนี้คนโง่รู้ได้ยาก
[๖๙] พวกท่านจงใช้จะงอยปาก ปีก
และเท้าจิกตีกาตัวนี้
ทำให้กาเลวทรามพินาศไป
กาตัวนี้ไม่สมควรอยู่ร่วมกับพวกเรา
ธัมมัทธชชาดกที่ ๙ จบ

๑๐. นันทิยมิคราชชาดก (๓๘๕)
ว่าด้วยพญาเนื้อนันทิยะ
(พ่อแม่ของเนื้อนันทิยโพธิสัตว์ต้องการจะเห็นลูก จึงส่งข่าวถึงลูกว่า)
[๗๐] พ่อพราหมณ์ ถ้าท่านไปป่าอัญชันเมืองสาเกตุ
ช่วยบอกเนื้อลูกชายในไส้ของข้าพเจ้าที่ชื่อนันทิยะด้วยว่า
พ่อแม่ของเจ้าแก่เฒ่าปรารถนาจะพบเจ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๖. ฉักกนิบาต] ๑. อวาริยวรรค ๑๐. นันทิยมิคราชชาดก (๓๘๕)
(เนื้อนันทิยโพธิสัตว์ประกาศข้อความนี้ว่า)
[๗๑] ท่านพราหมณ์ ข้าพเจ้าได้กินหญ้า น้ำ
และข้าวของพระราชา
ก้อนข้าวของพระราชานั้น
ข้าพเจ้าจะไม่พยายามกินให้เสียเปล่า
[๗๒] ข้าพเจ้าจะหันข้างให้พระราชาผู้ทรงถือธนู
เมื่อนั้นข้าพเจ้าจะพึงพ้นความตาย
ได้รับความสุข พบเห็นพ่อแม่ได้บ้าง
(พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสว่า)
[๗๓] เมื่อก่อนเราได้เป็นพญาเนื้อ ๔ เท้า
มีรูปงามชื่อว่านันทิยะ อยู่ ณ ที่ประทับของพระเจ้าโกศล
[๗๔] พระเจ้าโกศลได้เสด็จมาที่อัญชนามฤคทายวัน
ทรงโก่งธนู สอดลูกศรเพื่อจะฆ่าเรา
[๗๕] เราได้หันข้างให้พระราชาผู้ทรงเหนี่ยวธนูพระองค์นั้น
เมื่อนั้นเราจึงพ้นความตาย ได้รับความสุข มาพบพ่อแม่
นันทิยมิคราชชาดกที่ ๑๐ จบ
อวาริยวรรคที่ ๑ จบ

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อวาริยชาดก ๒. เสตเกตุชาดก
๓. ทรีมุขชาดก ๔. เนรุชาดก
๕. อาสังกชาดก ๖. มิคาโลปชาดก
๗. สิริกาฬกัณณิชาดก ๘. กุกกุฏชาดก
๙. ธัมมัทธชชาดก ๑๐. นันทิยมิคราชชาดก


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๖. ฉักกนิบาต] ๒. ขรปุตตวรรค ๒. สูจิชาดก (๓๘๗)
๒. ขรปุตตวรรค
หมวดว่าด้วยม้าเกิดแต่ลา
๑. ขรปุตตชาดก (๓๘๖)
ว่าด้วยม้าสินธพลูกลา
(ม้าสินธพกล่าวกับแพะท้าวสักกะจำแลงว่า)
[๗๖] ได้ยินว่า เป็นความจริงที่บัณฑิตทั้งหลาย
กล่าวถึงแพะว่าเป็นสัตว์โง่
ดูเอาเถิด สัตว์โง่ไม่รู้จักกรรมที่ควรทำในที่ลับหรือที่แจ้ง
(แพะท้าวสักกะจำแลงกล่าวว่า)
[๗๗] เจ้าม้าเพื่อนยาก เจ้าจงรู้เถิดว่า เจ้าช่างเป็นสัตว์โง่จริง ๆ
เพราะเจ้าถูกสนตะพายจนปากคดหน้าคว่ำ
[๗๘] เพื่อน ความโง่ของเจ้าอีกอย่างหนึ่ง
คือถูกเขาปล่อยแล้วไม่หนีไป เพื่อนเอ๋ย
แต่พระเจ้าเสนกะที่เพื่อนลากไปโง่กว่าเจ้าเสียอีก
(ม้าสินธพฟังคำของแพะจำแลงแล้วจึงกล่าวว่า)
[๗๙] พญาแพะเพื่อนยาก ท่านรู้เหตุที่เราโง่
แต่พระเจ้าเสนกะโง่เพราะเหตุอะไร
เราถามแล้ว เจ้าจงบอกเหตุนั้น
(แพะท้าวสักกะจำแลงบอกว่า)
[๘๐] ผู้ใดได้ประโยชน์สูงสุด๑แล้วจะยกให้ภรรยา
ด้วยการยกให้นั้น เขาจักต้องสละตน
ส่วนภรรยานั้นจักไม่เป็นภรรยาของเขาอีก

เชิงอรรถ :
๑ ประโยชน์สูงสุด ในที่นี้หมายถึงมนต์วิเศษชื่อสัพพรุตชานนมนต์ คือมนต์รู้เสียงร้องของสรรพสัตว์ (ขุ.ชา.อ.
๕/๘๐/๖๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๖. ฉักกนิบาต] ๒. ขรปุตตวรรค ๒. สูจิชาดก (๓๘๗)
(แพะท้าวสักกะจำแลงกล่าวอีกว่า)
[๘๑] พระองค์ผู้เป็นจอมแห่งชน บุคคลผู้เช่นกับพระองค์
มาทอดทิ้งตัวเองด้วยคิดว่า เรามีสิ่งอันเป็นที่รัก
ย่อมไม่ประสบสิ่งอันเป็นที่รักทั้งหลาย
เพราะตนแลประเสริฐกว่า
และยังประเสริฐกว่าสิ่งอันเป็นที่รักชั้นเยี่ยม
บุรุษสั่งสมประโยชน์แล้วก็จะพึงได้ภรรยาอันเป็นที่รักในภายหลัง
ขรปุตตชาดกที่ ๑ จบ

๒. สูจิชาดก (๓๘๗)
ว่าด้วยเข็ม
(ช่างทองโพธิสัตว์ยืนใกล้ประตูเรือนของหัวหน้าช่างทอง อธิบายเรื่องเข็มว่า)
[๘๒] ใครต้องการจะซื้อเข็มที่ไม่ขรุขระ ไม่หยาบ ขัดด้วยหินแข็ง
มีรูร้อยด้ายเรียบร้อย เล่มเล็ก และปลายคมบ้าง
(ช่างทองโพธิสัตว์อธิบายเรื่องเข็มนั้นอีกว่า)
[๘๓] ใครต้องการจะซื้อเข็มที่เกลี้ยงเกลา มีรูร้อยด้ายเรียบร้อย
กลมกลึงตลอดเล่ม เจาะทะลุทั่งได้ และแข็งแกร่งบ้าง
(นางกุมาริกาพูดกับช่างทองโพธิสัตว์ว่า)
[๘๔] เดี๋ยวนี้ เข็มและเบ็ดถูกนำออกไปจากหมู่บ้านนี้
นี่ใครกันต้องการจะขายเข็มในหมู่บ้านช่างทอง
[๘๕] ศัสตราก็ออกไปจากหมู่บ้านนี้
การงานชนิดต่าง ๆ จำนวนมาก
ย่อมเป็นไปด้วยอุปกรณ์จากหมู่บ้านนี้
นี่ใครกันต้องการจะขายเข็มในหมู่บ้านช่างทอง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๖. ฉักกนิบาต] ๒. ขรปุตตวรรค ๔. สุวัณณกักกฏกชาดก (๓๘๙)
(ช่างทองโพธิสัตว์ฟังคำของนางกุมาริกานั้น จึงกล่าวว่า)
[๘๖] คนที่ฉลาดรู้อยู่พึงมาขายเข็มในหมู่บ้านช่างเหล็ก
อาจารย์เท่านั้นจึงจะรู้ได้ว่า งานนั้นทำดีหรือไม่ดี
[๘๗] นางผู้เจริญ ถ้าบิดาของเธอรู้เรื่องเข็มเล่มนี้ที่ฉันทำแล้ว
จะต้องเชื้อเชิญฉันด้วยตัวเธอและทรัพย์สินอื่น ๆ ที่มีอยู่ในเรือนนี้
สูจิชาดกที่ ๒ จบ

๓. ตุณฑิลชาดก (๓๘๘)
ว่าด้วยตุณฑิลสุกรโพธิสัตว์
(จูฬตุณฑิลสุกรบอกเหตุที่ตนเห็นมาว่า)
[๘๘] วันนี้ นายแม่ของเราเปลี่ยนอาหารให้ใหม่
รางข้าวมีอาหารเต็มบริบูรณ์
นายแม่ก็ยืนอยู่ใกล้ ๆ
คนจำนวนมากก็ยืนถือบ่วงอยู่
ฉันไม่อยากกินเลย
(มหาตุณฑิลสุกรโพธิสัตว์ได้กล่าวว่า)
[๘๙] เจ้าสะดุ้งกลัว หัวหมุน มองหาที่พึ่งไปไย
เจ้าไม่มีที่พึ่งหรอก จะหนีไปไหนกัน
พ่อตุณฑิละ อย่าดิ้นรนไปเลย กินเสียเถิด
พวกเราถูกเขาขุนเพื่อต้องการเนื้อ
[๙๐] เจ้าจงลงสู่ห้วงน้ำที่ไม่มีโคลนตม
ชำระเหงื่อและมลทินทั้งปวงให้สิ้นไป
แล้วถือเอาเครื่องลูบไล้ชนิดใหม่
ที่มีกลิ่นหอมไม่จางหายไปในกาลไหน ๆ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๖. ฉักกนิบาต] ๒. ขรปุตตวรรค ๔. สุวัณณกักกฏกชาดก (๓๘๙)
(จูฬตุณฑิลสุกรถามว่า)
[๙๑] อะไรหนอคือห้วงน้ำที่ไม่มีโคลนตม
อะไรเล่าที่เรียกว่าเหงื่อและมลทิน
และอะไรเล่าคือเครื่องลูบไล้ชนิดใหม่
ที่มีกลิ่นหอมไม่จางหายไปในกาลไหน ๆ
(มหาตุณฑิลสุกรโพธิสัตว์กล่าวว่า)
[๙๒] ธรรมะคือห้วงน้ำที่ไม่มีโคลนตม
บาปเรียกว่าเหงื่อและมลทิน
อนึ่ง ศีลคือเครื่องลูบไล้ชนิดใหม่
ที่มีกลิ่นหอมไม่จางหายไปในกาลไหน ๆ
[๙๓] คนที่ฆ่าสัตว์ย่อมพอใจ ส่วนสัตว์ที่ถูกฆ่าย่อมไม่พอใจ
ในคืนเดือนเพ็ญแห่งวันอุโบสถ สัตว์ทั้งหลายเช่นเรายินดีสละชีพ
ตุณฑิลชาดกที่ ๓ จบ

๔. สุวัณณกักกฏกชาดก (๓๘๙)
ว่าด้วยปูทองที่ฉลาด
(กาด่างูว่า)
[๙๔] เราถูกปูทองซึ่งมีตาโปนออกมา
มีกระดูกเป็นหนัง๑ อาศัยอยู่ในน้ำ ไม่มีขน หนีบแล้ว
ร้องขอความกรุณาอยู่
เพื่อนเอ๋ย เพราะเหตุใดหนอ ท่านจึงละทิ้งเราไป
(พระศาสดาทรงแสดงข้อความนี้ว่า)
[๙๕] งูผู้เป็นเพื่อนนั้น เมื่อจะป้องกันกาผู้เป็นเพื่อน
จึงพ่นพิษพร้อมกับแผ่พังพานใหญ่ไปจนถึงตัวปู
ปูจึงได้หนีบงูไว้อีก

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า มีกระดูกเป็นหนัง ได้แก่ กระดองปู

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๖. ฉักกนิบาต] ๒. ขรปุตตวรรค ๕. มัยหกสกุณชาดก (๓๙๐)
(งูถามปูว่า)
[๙๖] ก็ธรรมดาปูไม่ต้องการจะจับกากิน
และไม่ต้องการจะจับงูเห่ากิน
ท่านผู้มีตาโปน เราขอถามท่าน
เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไรท่านจึงหนีบเราทั้ง ๒ ไว้
(ปูจึงบอกเหตุผลที่หนีบกาไว้ว่า)
[๙๗] ชายนี้เป็นผู้หวังความเจริญแก่ข้าพเจ้า
จับข้าพเจ้าแล้วนำไปที่แอ่งน้ำ
เมื่อเขาตาย ข้าพเจ้าจะมีทุกข์มิใช่น้อย
ข้าพเจ้าและชายนี้ก็จะไม่มีทั้ง ๒ คน
[๙๘] อนึ่ง ชนทั้งมวลเห็นข้าพเจ้ามีร่างกายเจริญเติบโต
มีเนื้ออร่อย มีเนื้อมาก และมีเนื้อนุ่ม ก็ต้องการจะเบียดเบียน
แม้กาทั้งหลายเห็นข้าพเจ้าแล้วก็พึงเบียดเบียน
(งูต้องการลวงปู จึงกล่าวว่า)
[๙๙] ถ้าเราทั้ง ๒ ถูกหนีบเพราะเหตุแห่งชายนี้
ขอชายนี้จงลุกขึ้น ข้าพเจ้าจะดูดพิษให้
ขอท่านจงปล่อยข้าพเจ้าและกาโดยเร็ว
ก่อนที่พิษอันร้ายแรงจะเข้าสู่ชายนี้
(ปูได้ฟังดังนั้นคิดอุบายได้แล้ว จึงกล่าวว่า)
[๑๐๐] ข้าพเจ้าจะปล่อยงูแต่จะยังไม่ปล่อยกา
กาจักเป็นตัวประกันก่อนจนกว่าข้าพเจ้าจะเห็น
ชายนี้มีความสุข ปราศจากโรคแล้ว
จึงจะปล่อยกาเหมือนปล่อยงู

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๖. ฉักกนิบาต] ๒. ขรปุตตวรรค ๕. มัยหกสกุณชาดก (๓๙๐)
(พระศาสดาตรัสพระคาถาสุดท้ายประชุมชาดกว่า)
[๑๐๑] กาในกาลนั้นคือพระเทวทัต ส่วนงูเห่าคือมาร
ปูคือพระอานนท์ ส่วนพราหมณ์โชคดีคือเราผู้เป็นศาสดา
สุวัณณกักกฏกชาดกที่ ๔ จบ

๕. มัยหกสกุณชาดก (๓๙๐)
ว่าด้วยนกมัยหกะ
(ฤๅษีโพธิสัตว์แสดงธรรมแก่น้องชายว่า)
[๑๐๒] นกมัยหกะ๑บินไปตามเนินเขาและซอกเขา
จับที่ต้นเลียบซึ่งมีผลสุกแล้วร่ำร้องว่า ของกู ของกู
[๑๐๓] เมื่อมันบ่นเพ้ออยู่อย่างนี้ ฝูงนกที่บินรวมกันมา
ก็พากันจิกกินผลเลียบแล้วก็บินจากไป
มันก็ยังคงบ่นเพ้ออยู่นั่นเอง ฉันใด
[๑๐๔] คนบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เก็บหอมรอมริบทรัพย์ไว้เป็นจำนวนมาก
ตนเองก็ไม่ได้ใช้สอย บางส่วนก็ไม่ได้แบ่งให้หมู่ญาติเลย
[๑๐๕] เขามิได้ใช้สอยหรือบริโภคสมบัติอื่น ๆ
ที่ตนมีอยู่แม้สักคราวเดียว
ไม่ว่าจะเป็นเครื่องนุ่งห่ม อาหาร มาลัย หรือเครื่องลูบไล้ก็ตาม
อนึ่ง พวกญาติ ๆ เขาก็ไม่สงเคราะห์
[๑๐๖] เมื่อเขาบ่นเพ้อว่า ของกู ของกู อยู่อย่างนี้ หวงแหนอยู่
พระราชาบ้าง พวกโจรบ้าง
พวกทายาทไม่เป็นที่รักบ้าง ก็ฉกฉวยเอาทรัพย์ไป
คนผู้นั้นก็ยังคงบ่นเพ้ออยู่นั่นแหละ

เชิงอรรถ :
๑ นกมัยหกะ หมายถึงนกเขา เพราะชอบร้อง(ขัน)ว่า ของกู ของกู อยู่ตลอดเวลา (ขุ.ชา.อ. ๕/๑๐๒/๘๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๖. ฉักกนิบาต] ๒. ขรปุตตวรรค ๗. อุปสิงฆปุปผชาดก (๓๙๒)
[๑๐๗] ส่วนนักปราชญ์ได้โภคะทั้งหลายแล้วย่อมสงเคราะห์พวกญาติ
เพราะการสงเคราะห์นั้นเขาย่อมได้รับเกียรติยศชื่อเสียง
เขาจากโลกนี้ไปแล้วก็บันเทิงในสวรรค์
มัยหกสกุณชาดกที่ ๕ จบ

๖. ปัพพชิตวิเหฐกชาดก (๓๙๑)
ว่าด้วยผู้เบียดเบียนนักบวช
(พระราชาทรงเจรจากับวิทยาธรว่า)
[๑๐๘] ท่านผู้มีรูปงามประนมมือนมัสการสมณะรูปทรามที่อยู่ข้างหน้า
สมณะนั้นประเสริฐกว่าท่านหรือเสมอท่าน
ขอท่านจงบอกชื่อของตนเองและชื่อของสมณะรูปนั้น
(ท้าวสักกโพธิสัตว์กราบทูลพระราชาว่า)
[๑๐๙] ข้าแต่มหาราช ทวยเทพทั้งหลายจะไม่เอ่ยชื่อ
และโคตรของวิสุทธิเทพผู้ดำเนินไป
แต่ข้าพระองค์จะบอกชื่อของตนแด่พระองค์
ข้าพระองค์คือท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทพชั้นไตรทศ
(พระราชาตรัสถามถึงประโยชน์ในการนอบน้อมภิกษุว่า)
[๑๑๐] ผู้ใดเห็นภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยจรณะแล้ว
ให้ท่านอยู่ข้างหน้าประนมมือนมัสการอยู่
ข้าแต่เทวราช ข้าพระองค์ขอถามเนื้อความนั้นกับพระองค์
ผู้นั้นจากโลกนี้ไปแล้วจะได้ความสุขหรือ
(ท้าวสักกโพธิสัตว์ตรัสบอกว่า)
[๑๑๑] ผู้ใดเห็นภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยจรณะแล้ว
ให้ท่านอยู่ข้างหน้าประนมมือนมัสการอยู่
ผู้นั้นจะได้รับการสรรเสริญในปัจจุบัน
และหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสวรรค์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๖. ฉักกนิบาต] ๒. ขรปุตตวรรค ๗. อุปสิงฆปุปผชาดก (๓๙๒)
(พระราชาทำลายความยึดถือผิดของตนได้แล้วทรงดีพระทัย จึงตรัสว่า)
[๑๑๒] วันนี้ มิ่งขวัญได้เกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์แล้วหนอ
ที่ข้าพระองค์ได้เห็นท้าววาสวะผู้เป็นจอมเทพ
ข้าแต่ท้าวสักกะ ข้าพระองค์เห็นภิกษุและพระองค์แล้ว
จะทำบุญให้มาก ๆ
(ท้าวสักกโพธิสัตว์ตรัสชมเชยบัณฑิตว่า)
[๑๑๓] ชนเหล่าใดมีปัญญา เป็นพหูสูต
คิดเหตุการณ์ได้เป็นอันมาก
ชนเหล่านั้นควรคบโดยแท้
ขอเดชะพระราชา พระองค์ทรงเห็นภิกษุและข้าพระองค์แล้ว
ขอจงทำบุญให้มากเถิด
(พระราชาตรัสว่า)
[๑๑๔] ข้าแต่พระองค์ผู้จอมเทพ
เพราะได้ฟังคำอันเป็นสุภาษิตของพระองค์
ข้าพระองค์จักไม่เป็นคนมักโกรธ มีจิตผ่องใสอยู่เป็นนิตย์
เป็นผู้ควรแก่การขอของแขกทุกคน
จักกำจัดมานะแล้วกราบไหว้ท่านผู้ควรกราบไหว้
ปัพพชิตวิเหฐกชาดกที่ ๖ จบ

๗. อุปสิงฆปุปผชาดก (๓๙๒)
ว่าด้วยฤาษีลักดมดอกไม้
(เทพธิดาองค์หนึ่งสถิตอยู่ที่ค่าคบต้นไม้ ต้องการให้ฤๅษีโพธิสัตว์สลดใจ จึง
กล่าวว่า)
[๑๑๕] ท่านผู้นิรทุกข์ การที่ท่าน ลักดมดอกบัวที่เขายังไม่ได้ให้
นั่นเป็นองค์แห่งการขโมยอย่างหนึ่ง
ท่านชื่อว่าเป็นผู้ขโมยกลิ่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๖. ฉักกนิบาต] ๒. ขรปุตตวรรค ๘. วิฆาสาทชาดก (๓๙๓)
(ฤๅษีโพธิสัตว์กล่าวว่า)
[๑๑๖] ดอกบัวอาตมาก็ไม่ได้ลักและไม่ได้หัก ดมอยู่ห่าง ๆ๑
เมื่อเป็นเช่นนั้น ทำไมจึงถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ขโมยกลิ่น
(ฤๅษีโพธิสัตว์เห็นบุรุษขุดเหง้าบัวเก็บดอกบัว จึงกล่าวกับเทพธิดานั้นว่า)
[๑๑๗] ชายใดขุดเอาเหง้าบัว หักเอาดอกบัวขาวไป
ชายนั้นหยาบช้าอย่างนี้ ทำไมไม่ถูกกล่าวหา
(เทพธิดาบอกสาเหตุที่ไม่ว่ากล่าวบุรุษนั้นว่า)
[๑๑๘] คนที่ทำงานหยาบช้ามากเป็นคนแปดเปื้อน
เหมือนผ้านุ่งของหญิงเลี้ยงเด็ก
สำหรับชายคนนั้นเราไม่ว่าอะไร
แต่ท่านเราสมควรจะว่ากล่าว
[๑๑๙] บุคคลผู้บริสุทธิ์แสวงหาแต่กรรมอันสะอาดอยู่เสมอ
ความชั่วเท่าปลายขนทรายย่อมปรากฏเหมือนเท่าหมอกเมฆ
(ฤๅษีโพธิสัตว์ซึ่งเทพธิดานั้นให้สลดใจกล่าวว่า)
[๑๒๐] นี่เทพผู้ควรบูชา ท่านรู้จักอาตมาดี
ซ้ำยังได้อนุเคราะห์อาตมาด้วย
ขอท่านโปรดเตือนซ้ำอีก เมื่อเห็นความบกพร่องเช่นนี้
(เทพธิดากล่าวว่า)
[๑๒๑] ข้าพเจ้าไม่ได้อาศัยท่านเลี้ยงชีพ
และไม่ได้เป็นลูกจ้างของท่าน
ท่านผู้เห็นภัย ท่านเองนั่นแหละ
ควรจะรู้จักกรรมอันเป็นเหตุให้ไปสู่สุคติ
อุปสิงฆปุปผชาดกที่ ๗ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดมอยู่ห่าง ๆ หมายถึงยืนดมอยู่ในที่ไกล (ขุ.ชา.อ. ๕/๑๑๖/๙๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๖. ฉักกนิบาต] ๒. ขรปุตตวรรค ๘. วิฆาสาทชาดก (๓๙๓)
๘. วิฆาสาทชาดก (๓๙๓)
ว่าด้วยผู้บริโภคอาหารที่เป็นเดน
(ท้าวสักกเทวราชโพธิสัตว์จำแลงเป็นนกแขกเต้ามายังที่อยู่ของเหล่าดาบส เมื่อ
จะทำให้ดาบสเหล่านั้นสลดใจ ได้กล่าวว่า)
[๑๒๒] พวกคนกินเดนพากันอยู่สบายจริงหนอ
ซ้ำได้รับการสรรเสริญในปัจจุบันและจะมีสุคติในโลกหน้า
(ดาบสรูปหนึ่งเรียกดาบสที่เหลือมากล่าวว่า)
[๑๒๓] ท่านบัณฑิตผู้ร่วมอุทรทั้งหลาย
พวกท่านไม่สนใจที่จะฟังนกแขกเต้าพูด
พวกท่านจงฟังคำของนกแขกเต้า
นกแขกเต้าตัวนี้กำลังสรรเสริญพวกเราเป็นแน่
(นกแขกเต้ากล่าวกับดาบสเหล่านั้นว่า)
[๑๒๔] ข้าพเจ้าไม่ได้สรรเสริญพวกท่าน
ท่านผู้กินซากศพทั้งหลาย พวกท่านจงฟังข้าพเจ้า
พวกท่านเป็นผู้บริโภคอาหารที่เหลือทิ้ง
แต่มิใช่ผู้บริโภคอาหารที่เป็นเดน
(ดาบสทั้งหมดฟังคำของนกแขกเต้าแล้ว ได้กล่าวว่า)
[๑๒๕] พวกเราบวชมาแล้ว ๗ พรรษา เกล้ามวยผม
เลี้ยงชีพด้วยอาหารที่เป็นเดนอยู่ท่ามกลางป่า
ถ้าหากพวกเราเป็นผู้สมควรที่ท่านจะติเตียน
แล้วพวกไหนเล่าเป็นผู้สมควรที่ท่านจะสรรเสริญ
(ท้าวสักกเทวราชโพธิสัตว์ต้องการจะให้ดาบสเหล่านั้นเกิดความละอาย
จึงกล่าวว่า)
[๑๒๖] พวกท่านเลี้ยงชีพด้วยอาหารอันเหลือทิ้งของราชสีห์
เสือโคร่ง และเนื้อร้าย ยังสำคัญตนว่า เป็นคนกินเดน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๖. ฉักกนิบาต] ๒. ขรปุตตวรรค ๑๐. มณิชาดก (๓๙๕)
(ท้าวเธอเมื่อจะบอกข้อความนั้นแก่ดาบสเหล่านั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๖ ว่า)
[๑๒๗] ชนเหล่าใดให้อาหารแก่สมณะ พราหมณ์
และวณิพกอื่น ๆ แล้วบริโภคอาหารที่เหลือ
ชนเหล่านั้นชื่อว่าเป็นคนกินเดน
วิฆาสาทชาดกที่ ๘ จบ

๙. วัฏฏกชาดก (๓๙๔)
ว่าด้วยนกคุ่มโพธิสัตว์
(นกคุ่มโพธิสัตว์กล่าวต้อนรับกาโลเลว่า)
[๑๒๘] คุณลุงกา ท่านกินอาหารอย่างดี ทั้งเนยใสและน้ำมัน
แต่ทำไมท่านจึงซูบผอมเล่า
(กาฟังคำของนกคุ่มนั้นแล้ว ได้กล่าวว่า)
[๑๒๙] เมื่อกาอยู่ในท่ามกลางศัตรู
แสวงหาเหยื่ออยู่ในหมู่ศัตรูนั้น
มีใจหวาดกลัวอยู่เป็นนิตย์
จะหาความมั่นใจได้ที่ไหน
[๑๓๐] พวกกามีใจหวาดกลัวอยู่เป็นนิตย์
ได้ก้อนข้าวมาด้วยกรรมอันชั่วช้า จึงไม่อิ่มหนำ
พ่อนกคุ่ม เพราะเหตุนั้น เราจึงซูบผอม
[๑๓๑] พ่อนกคุ่ม เจ้ากินหญ้าและพืชอย่างเลว
มีโอชาน้อย แต่ทำไมท่านจึงอ้วนพีเล่า
(นกคุ่มโพธิสัตว์บอกเหตุที่ตัวเองอ้วนว่า)
[๑๓๒] พวกนกคุ่มมักน้อยเพราะไม่คิดเรื่องอาหาร
และไม่ต้องไปหากินไกล เลี้ยงชีพด้วยอาหารตามมีตามได้
กาเอ๋ย เพราะเหตุนั้น เราจึงอ้วนพี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๖. ฉักกนิบาต] ๒. ขรปุตตวรรค ๑๐. มณิชาดก (๓๙๕)
[๑๓๓] เพราะคนมีความมักน้อย มีความสุข
ไม่ต้องพะวงเรื่องอาหาร
กินอาหารที่เหมาะสมพอประมาณ
ก็จะดำเนินชีวิตให้เกิดความสุขได้
วัฏฏกชาดกที่ ๙ จบ

๑๐. มณิชาดก (๓๙๕)
ว่าด้วยกาถูกกระเบื้องแขวนคอแทนแก้วมณี
(นกพิราบโพธิสัตว์เห็นกาแล้วเมื่อจะเยาะเย้ย จึงกล่าวว่า)
[๑๓๔] นานแล้วหนอ เราเพิ่งจะได้เห็นเพื่อนประดับแก้วมณี
เพื่อนของเราให้ช่างตกแต่งขนปากงามจริงหนอ
(กาได้ฟังดังนั้น จึงได้กล่าวว่า)
[๑๓๕] เรามัวยุ่งอยู่กับงานราชการ
เล็บและขนปีกจึงงอกยาวรุงรัง
เป็นเวลานานจึงได้ช่างกัลบก
ถอนออกเสียจนหมดในวันนี้
(นกพิราบโพธิสัตว์กล่าวว่า)
[๑๓๖] เจ้าได้ช่างกัลบกที่หาได้ยากแล้วให้ถอนขนออกไป
เพื่อนเอ๋ย เมื่อเป็นเช่นนั้น
อะไรเล่า ส่งเสียงดังกริ่ง ๆ อยู่ที่คอของท่าน
(กาได้กล่าวว่า)
[๑๓๗] ผู้ดีทั้งหลายห้อยแก้วมณีไว้ที่คอ
เราเลียนแบบพวกเขา
เจ้าอย่าเข้าใจว่า เราทำเล่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก
[๑๓๘] แม้หากเจ้าพอใจการตกแต่งขนปาก
ที่นายช่างตกแต่งได้อย่างสวยงามอย่างนี้
เพื่อนเอ๋ย เราจะให้เขาช่วยตกแต่งให้ท่าน
และแก้วมณีเราก็จะมอบให้ท่าน
(นกพิราบโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวว่า)
[๑๓๙] ท่านเท่านั้นสมควรแก่แก้วมณี
และการตกแต่งขนปากอย่างสวยงาม
การไม่เห็นท่านเป็นที่พอใจของเรา
เราขอลาท่านไปก่อน
มณิชาดกที่ ๑๐ จบ
ขรปุตตวรรคที่ ๒ จบ

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ขรปุตตชาดก ๒. สูจิชาดก
๓. ตุณฑิลชาดก ๔. สุวัณณกักกฏกชาดก
๕. มัยหกสกุณชาดก ๖. ปัพพชิตวิเหฐกชาดก
๗. อุปสิงฆปุปผชาดก ๘. วิฆาสาทชาดก
๙. วัฏฏกชาดก ๑๐. มณิชาดก

รวมวรรคที่มีในนิบาตนี้ คือ
๑. อวาริยวรรค ๒. ขรปุตตวรรค

ฉักกนิบาต จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๕๔ }


๗. สัตตกนิบาต
๑. กุกกุวรรค
หมวดว่าด้วยมาตราวัดศอก
๑. กุกกุชาดก (๓๙๖)
ว่าด้วยมาตราวัดศอก
(พระราชาตรัสถามพระโพธิสัตว์ว่า)
[๑] ช่อฟ้าสูงศอกครึ่ง โดยรอบกว้างประมาณ ๘ คืบ
ช่อฟ้านั้นทำด้วยแก่นไม้สีเสียด ไม่มีกระพี้
ตั้งอยู่บนอะไร จึงไม่ตกลงมาจากข้างบน
(พระโพธิสัตว์ทูลตอบว่า)
[๒] ช่อฟ้าที่จันทัน ๓๐ ตัว ซึ่งทำด้วยไม้แก่น ไม่ตรง
วางเรียงรายไว้เสมอกัน ค้ำยันไว้ และติดแน่นอย่างแข็งแรง
ตั้งอยู่เสมอกัน จึงไม่ตกลงมาจากข้างบน
[๓] แม้พระราชาผู้ทรงพระปรีชาก็เช่นกัน มีมิตรไมตรีที่สนิท
เป็นคนสะอาดไม่แตกแยก สงเคราะห์ด้วยดี
ย่อมไม่คลาดไปจากสิริเหมือนช่อฟ้าที่จันทันช่วยยึดไว้
[๔] คนมีมีด เมื่อไม่ปอกผลมะงั่วที่มีเปลือกแข็งออก
ก็ย่อมทำให้มีรสขม เมื่อปอกเปลือกออกก็จะทำให้มีรสดีขึ้น
ขอเดชะ แต่เมื่อปอกเปลือกบางออกก็จะทำให้รสไม่ดี ข้อนี้ฉันใด
[๕] แม้พระราชาผู้ทรงพระปรีชาก็ฉันนั้น
ไม่ทรงบีบคั้นชาวบ้าน ทรงรวบรวมพระราชทรัพย์
ปฏิบัติพระราชภารกิจตามทำนองคลองธรรม
ทรงทำแต่ความเจริญ ไม่ทรงเบียดเบียนผู้อื่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๗. สัตตกนิบาต] ๑. กุกกุวรรค ๓. สุตนชาดก (๓๙๘)
[๖] บัวมีรากขาวเกิดแต่น้ำสะอาดในสระโบกขรณี
เปลือกตม ฝุ่นละออง และน้ำ
ย่อมไม่ติดดอกบัวที่บานเพราะดวงอาทิตย์ ฉันใด
[๗] พระราชาผู้มีความสะอาดในการวินิจฉัยคดี ไม่ทรงหุนหัน
มีการงานบริสุทธิ์ ปราศจากบาปก็ฉันนั้นเหมือนกัน
กรรมกิเลสย่อมไม่แปดเปื้อน
เพราะพระราชาเช่นนั้นเปรียบเหมือนบัวที่เกิดแล้วในสระโบกขรณี
กุกกุชาดกที่ ๑ จบ

๒. มโนชชาดก (๓๙๗)
ว่าด้วยราชสีห์มโนชะ
(สุนัขจิ้งจอกปรารภกับตนเองว่า)
[๘] เพราะคันธนูโก่งและสายธนูส่งเสียงดัง
พญาเนื้อมโนชะสหายของเราจึงถูกฆ่า
[๙] ทางที่ดี เราจะหนีเข้าป่าไปตามสบายเสียแต่เดี๋ยวนี้แหละ
ผู้ที่ตายแล้วเช่นนี้เป็นเพื่อนกันไม่ได้
เราเมื่อยังมีชีวิตอยู่ต้องได้เพื่อนใหม่
(พ่อราชสีห์มโนชะกล่าวว่า)
[๑๐] ผู้ที่คบคนชั่ว ย่อมไม่ได้รับความสุขอย่างแท้จริง
ดูเถิด เจ้ามโนชะนอนตายเพราะคำสั่งสอนของสุนัขจิ้งจอกคิริยะ
(แม่ราชสีห์มโนชะกล่าวว่า)
[๑๑] แม่ไม่ยินดีเลย ลูกคบคนชั่ว
จงดูเถิดเจ้ามโนชะนอนตายจมกองเลือดของตนเอง
(น้องสาวราชสีห์มโนชะกล่าวว่า)
[๑๒] บุคคลผู้ไม่กระทำตามถ้อยคำของผู้เกื้อกูลแนะประโยชน์
ต้องเป็นเช่นนี้ และประสบแต่ความเลว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๗. สัตตกนิบาต] ๑. กุกกุวรรค ๓. สุตนชาดก (๓๙๘)
(เมียราชสีห์มโนชะกล่าวว่า)
[๑๓] ผู้ที่เป็นคนชั้นสูงแต่มาคบคนชั้นต่ำ
ย่อมเป็นคนเลวกว่าคนชั้นต่ำนั้นเสียอีก
จงดูเถิด พญาเนื้อชั้นสูงมาคบสุนัขจิ้งจอกชั้นต่ำ
ถูกกำลังลูกศรกำจัดแล้วด้วยประการฉะนี้
(พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
[๑๔] คนคบคนเลวก็เลวตาม
คนคบคนเสมอกันย่อมไม่เสื่อมในกาลไหน ๆ
การคบคนที่ดีกว่าย่อมเจริญเร็วพลัน
เพราะเหตุนั้น จงคบคนที่ดีกว่าตนเถิด
มโนชชาดกที่ ๒ จบ

๓. สุตนชาดก (๓๙๘)
ว่าด้วยสุตนโพธิสัตว์
(พระโพธิสัตว์กล่าวว่า)
[๑๕] ท่านมฆเทพผู้สถิตอยู่ที่ต้นไทรนี้
พระราชาทรงส่งภัตตาหารที่ปรุงด้วยเนื้อที่สะอาดมาให้ท่าน
ท่านจงออกมาบริโภคเถิด
(ยักษ์กล่าวว่า)
[๑๖] มาเถิดมาณพ จงวางภักษาหารที่เพียบพร้อมด้วยกับข้าวลง
มาณพ เจ้าก็จะเป็นภักษาหาร จัดเป็นภักษาหารทั้ง ๒ อย่าง
(พระโพธิสัตว์กล่าวว่า)
[๑๗] ยักษ์ ท่านจะละทิ้งประโยชน์อันยิ่งใหญ่เพราะเหตุเพียงเล็กน้อย
ชนทั้งหลายที่หวาดระแวงความตายจักไม่นำภักษาหารมาให้ท่าน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๗. สัตตกนิบาต] ๑. กุกกุวรรค ๔. มาตุโปสกคิชฌชาดก (๓๙๙)
[๑๘] นี่ยักษ์ ท่านจักได้ภักษาหารที่สะอาด ประณีต
มีรสอร่อยเป็นประจำทุกวัน
ก็เมื่อท่านกินเราเสียแล้ว
คนที่จะนำภักษาหารมาให้ท่านในที่นี้จักหาได้ยากอย่างยิ่ง
(ยักษ์กล่าวว่า)
[๑๙] พ่อสุตนะ เนื้อความตามที่ท่านพูด
เป็นประโยชน์แก่เราทีเดียว
เราอนุญาตท่าน
ขอให้ท่านจงกลับไปพบมารดาโดยความสวัสดีเถิด
[๒๐] พ่อมาณพ ท่านจงนำพระขรรค์ ฉัตร และถาดไปด้วย
ขอมารดาของท่านจงพบความสวัสดี
และขอให้ท่านจงพบมารดา
(พระโพธิสัตว์กล่าวว่า)
[๒๑] นี่ยักษ์ ขอท่านพร้อมกับหมู่ญาติทั้งหมด
จงเป็นสุขเช่นกันเถิด เราก็ได้ทรัพย์แล้ว
และเราก็กระทำตามพระราชโองการแล้ว
สุตนชาดกที่ ๓ จบ

๔. มาตุโปสกคิชฌชาดก (๓๙๙)
ว่าด้วยพญาแร้งโพธิสัตว์เลี้ยงมารดา
(แร้งรำพึงรำพันว่า)
[๒๒] พ่อแม่ของเราแก่เฒ่าอาศัยอยู่ที่ซอกเขา
จักกระทำอย่างไรหนอ
เราก็ติดบ่วง ตกอยู่ในอำนาจของนายพรานนิลียะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๗. สัตตกนิบาต] ๑. กุกกุวรรค ๔. มาตุโปสกคิชฌชาดก (๓๙๙)
(ลูกนายพรานถามว่า)
[๒๓] นี่นกแร้ง เจ้ากำลังคร่ำครวญหรือ
คร่ำครวญไปทำไม เราไม่เคยได้ยิน
ไม่เคยเห็นนกที่พูดภาษามนุษย์ได้
(แร้งตอบว่า)
[๒๔] เราเลี้ยงพ่อแม่ผู้แก่เฒ่าซึ่งอาศัยอยู่ที่ซอกเขา
ท่านทั้ง ๒ นั้นจักทำอย่างไรหนอ
เพราะเราตกอยู่ในอำนาจของท่านเสียแล้ว
(ลูกนายพรานกล่าวว่า)
[๒๕] ธรรมดานกแร้งย่อมเห็นซากศพได้
ไกลถึงร้อยโยชน์มิใช่หรือ
เพราะเหตุไร เจ้าแม้มาใกล้ข่ายและบ่วงแล้วก็ไม่รู้
(แร้งกล่าวว่า)
[๒๖] เมื่อใดสัตว์มีความเสื่อมในขณะจะสิ้นชีวิต
เมื่อนั้นถึงจะมาใกล้ข่ายและบ่วงก็ไม่รู้
(ลูกนายพรานกล่าวว่า)
[๒๗] เจ้าจงเลี้ยงพ่อแม่ผู้แก่เฒ่าซึ่งอาศัยอยู่ที่ซอกเขาเถิด
เราอนุญาต เจ้าจงไปพบพวกญาติโดยความสวัสดีเถิด
(แร้งกล่าวว่า)
[๒๘] เมื่อเป็นเช่นนั้น นายพราน
ขอท่านจงบันเทิงใจพร้อมกับหมู่ญาติทั้งหมดเถิด
เราจักเลี้ยงพ่อแม่ผู้แก่เฒ่าซึ่งอาศัยอยู่ที่ซอกเขา
มาตุโปสกคิชฌชาดกที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๗. สัตตกนิบาต] ๑. กุกกุวรรค ๖. ทสัณณกชาดก (๔๐๑)
๕. ทัพภปุปผชาดก (๔๐๐)
ว่าด้วยสุนัขจิ้งจอกชื่อทัพภปุปผะ
(นากที่เที่ยวไปในน้ำลึกพูดกับนากที่เที่ยวไปตามริมฝั่งว่า)
[๒๙] เพื่อนผู้เจริญ เพื่อนผู้เที่ยวไปตามริมฝั่ง
จงวิ่งตามเรามาเถิด เราจับปลาใหญ่ได้แล้ว
มันพาเราไปอย่างรวดเร็ว
(นากที่เที่ยวไปตามริมฝั่งพูดว่า)
[๓๐] เพื่อนผู้เจริญ เพื่อนผู้เที่ยวไปในน้ำลึก
จงจับมันไว้ให้มั่นคงด้วยกำลัง
เราจะยกมันขึ้นมาเหมือนนกครุฑโฉบงูขึ้น
(นากทั้ง ๒ พูดกับสุนัขจิ้งจอกว่า)
[๓๑] พวกเราเกิดวิวาทกันขึ้น พ่อทัพภปุปผะจงฟังเรา
เพื่อนจงระงับความทะเลาะกัน ขอความวิวาทจงสงบไป
(สุนัขจิ้งจอกกล่าวว่า)
[๓๒] เมื่อก่อนเราเป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม พิจารณาคดีมาแล้วมากมาย
เพื่อน เราจะระงับความทะเลาะกัน ความวิวาทจงสงบไป
[๓๓] นากตัวที่เที่ยวไปตามริมฝั่งจงเอาหางไป
ตัวที่เที่ยวไปในน้ำลึกจงเอาหัวไป
ส่วนท่อนกลางนี้ตกเป็นของเราผู้ตั้งอยู่ในธรรม
(นากทั้ง ๒ พูดกันว่า)
[๓๔] ถ้าเราไม่ทะเลาะกัน จักมีอาหารไปนานวัน
สุนัขจิ้งจอกคาบเอาปลาตะเพียนที่ไม่ใช่ท่อนหัวท่อนหางไปเสียแล้ว
(เมียสุนัขจิ้งจอกถามว่า)
[๓๕] วันนี้เรายินดีเพราะเห็นผัวมีหน้าเบิกบาน
เหมือนขัตติยราชทรงยินดีเพราะได้ราชสมบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๗. สัตตกนิบาต] ๑. กุกกุวรรค ๖. ทสัณณกชาดก (๔๐๑)
[๓๖] ทำไมหนอ ท่านเกิดอยู่บนบกจึงจับปลาในน้ำได้
นี่ท่านผู้ร่วมชีวิต ฉันถามแล้วโปรดบอก ท่านได้มาอย่างไร
(สุนัขจิ้งจอกตอบว่า)
[๓๗] เพราะการทะเลาะกัน สัตว์จึงผ่ายผอม ทรัพย์จึงสิ้นไป
พวกนากเสื่อมเพราะการทะเลาะกัน
แม่มายาวี เธอจงกินปลาตะเพียนเถิด
[๓๘] ในหมู่มนุษย์ก็เช่นเดียวกัน เกิดการทะเลาะในที่ใด
ก็จะพากันไปหาผู้ตั้งอยู่ในธรรมในที่นั้น
ผู้วินิจฉัยคดีนั้นเป็นผู้ตัดสินให้พวกเขา
ในการทะเลาะนั้นก็จะพากันหมดสิ้นทรัพย์ไป
พระคลังหลวงก็จะเพิ่มพูน
ทัพภปุปผชาดกที่ ๕ จบ

๖. ทสัณณกชาดก (๔๐๑)
ว่าด้วยดาบแคว้นทสัณณกะ
(พระราชาตรัสถามอายุรบัณฑิตว่า)
[๓๙] ดาบแคว้นทสัณณกะคมกริบดื่มเลือดของคนที่ถูกต้อง
ชายผู้นี้กลืนเข้าไปได้ท่ามกลางชุมชน
เหตุอื่นใดที่ทำได้ยากกว่านั้นมีอยู่หรือ
เราถามแล้ว จงบอกเหตุนั้น
(อายุรบัณฑิตทูลตอบว่า)
[๔๐] ชายผู้นี้กลืนดาบคมกริบที่ดื่มเลือดของคนที่ถูกต้องเข้าไปได้
เพราะความโลภ แต่ผู้ใดพูดว่าจะให้
คำพูดของเขาทำได้ยากกว่าการกลืนดาบนั้น
เหตุอย่างอื่นทั้งหมดทำได้ง่าย
ขอเดชะพระเจ้ามัททวะผู้สมมติเทพ
ขอพระองค์ทรงทราบอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๗. สัตตกนิบาต] ๑. กุกกุวรรค ๗. เสนกชาดก (๔๐๒)
(พระราชาตรัสถามปุกกุสบัณฑิตว่า)
[๔๑] อายุรบัณฑิตผู้ฉลาดในธรรมได้แก้เนื้อความแห่งปัญหาแล้ว
บัดนี้เราจะถามท่านปุกกุสบัณฑิตบ้าง
เหตุอื่นใดที่ทำได้ยากกว่านั้นมีอยู่หรือ
เราถามแล้ว ท่านจงบอกเหตุนั้น
(ปุกกุสบัณฑิตทูลตอบว่า)
[๔๒] วาจาที่เปล่งออกมาคนอาศัยไม่ได้ ไม่มีผล
แต่ผู้ใดให้แล้วไม่ติดใจ การกระทำของผู้นั้นทำได้ยากกว่านั้น
เหตุอื่นทั้งหมดทำได้ง่าย ขอเดชะพระเจ้ามัททวะผู้สมมติเทพ
ขอพระองค์ทรงทราบอย่างนี้
(พระราชาตรัสถามเสนกบัณฑิตว่า)
[๔๓] ปุกกุสบัณฑิตผู้ฉลาดในธรรมได้แก้เนื้อความแห่งปัญหาแล้ว
บัดนี้เราจะถามท่านเสนกบัณฑิตบ้าง
เหตุอื่นใดที่ทำได้ยากกว่านั้นมีอยู่หรือ
เราถามแล้ว ท่านจงบอกเหตุนั้น
(เสนกบัณฑิตทูลตอบว่า)
[๔๔] ทานจะน้อยหรือมากก็ตาม คนก็ควรจะให้
แต่ว่าผู้ใดเมื่อให้แล้ว ภายหลังไม่เดือดร้อน
การให้ของผู้นั้นทำได้ยากกว่า
เหตุอื่นทั้งหมดทำได้ง่าย ขอเดชะพระเจ้ามัททวะผู้สมมติเทพ
ขอพระองค์ทรงทราบอย่างนี้
(พระราชาตรัสสดุดีพระโพธิสัตว์ว่า)
[๔๕] ตามที่เสนกบัณฑิตกล่าวมาย่อมครอบคลุมปัญหาทุกข้อ
อายุรบัณฑิตและปุกกุสบัณฑิตได้กล่าวแก้แล้ว
ทสัณณกชาดกที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๗. สัตตกนิบาต] ๑. กุกกุวรรค ๗. เสนกชาดก (๔๐๒)
๗. เสนกชาดก (๔๐๒)
ว่าด้วยเสนกบัณฑิต
(เสนกบัณฑิตกล่าวว่า)
[๔๖] ท่านมีจิตฟุ้งซ่าน มีดวงตาบอบช้ำ
หยาดน้ำตาก็ไหลออกมาจากนัยน์ตาทั้ง ๒ ของท่าน
อะไรของท่านหาย หรือท่านต้องการอะไรจึงมาที่นี้
พ่อพราหมณ์ เชิญพูดมาเถิด
(พราหมณ์กล่าวว่า)
[๔๗] วันนี้ เมื่อข้าพเจ้าไปถึงบ้าน ภรรยาต้องตาย
เมื่อไปไม่ถึงบ้าน ข้าพเจ้าต้องตาย เทวดาบอกไว้
เพราะทุกข์นี้ ข้าพเจ้าจึงหวาดกลัว
ท่านเสนกบัณฑิต โปรดบอกเหตุนี้แก่ข้าพเจ้า
(เสนกบัณฑิตกล่าวว่า)
[๔๘] ข้าพเจ้าพิจารณาเหตุหลายประการแล้ว
กล่าวเหตุใดในเหตุนี้ เหตุนั้นแน่นอนจักเป็นเรื่องจริง
พ่อพราหมณ์ ข้าพเจ้าเข้าใจว่า งูเห่าได้เลื้อยเข้าไป
ในถุงย่ามข้าวสัตตุของท่าน โดยท่านไม่รู้ตัว
[๔๙] ท่านจงเอาท่อนไม้เคาะถุงย่ามดูเถิด
จะเห็นงูมีลิ้นสองแฉก มีน้ำลายฟูมปาก
ท่านจะตัดความเคลือบแคลงสงสัยเสียได้วันนี้
ท่านจะได้เห็นงู จงแก้ถุงย่ามเถิด
(พระศาสดาตรัสว่า)
[๕๐] พราหมณ์นั้นมีท่าทางสยดสยอง
ได้แก้ถุงย่ามข้าวสัตตุออกท่ามกลางชุมชน
ขณะนั้น งูร้ายมีพิษร้ายแรงเลื้อยออกมาแผ่พังพาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๗. สัตตกนิบาต] ๑. กุกกุวรรค ๘. อัฏฐิเสนชาดก (๔๐๓)
(พราหมณ์กล่าวสดุดีพระราชาว่า)
[๕๑] พระเจ้าชนกทรงได้ลาภดีแล้วที่ได้ทรงพบเสนกะผู้มีปัญญาดี
พราหมณ์ ท่านเปิดเผยข้อที่ปกปิดได้หนอ
เห็นทุกสิ่งทุกอย่าง ญาณของท่านมีกำลังยิ่งนัก
(พราหมณ์ต้องการจะสดุดีเสนกบัณฑิต จึงกล่าวว่า)
[๕๒] ข้าพเจ้ามีทรัพย์อยู่ ๗๐๐ กหาปณะนี้
เชิญรับไปทั้งหมดเถิด ข้าพเจ้าให้ท่าน
เพราะข้าพเจ้าได้ชีวิตในวันนี้ก็เพราะท่าน
ซ้ำท่านยังได้ทำความสวัสดีแก่ภรรยาของข้าพเจ้าด้วย
(เสนกบัณฑิตกล่าวว่า)
[๕๓] บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่รับค่าจ้าง
เพราะคาถาอันวิจิตรที่กล่าวดีแล้ว พ่อพราหมณ์
แต่นี้ไป ขอให้คนทั้งหลายจงช่วยกันให้ทรัพย์แก่ท่าน
ท่านจงนำไปยังที่อยู่ของตนเถิด
เสนกชาดกที่ ๗ จบ

๘. อัฏฐิเสนชาดก (๔๐๓)
ว่าด้วยอัฏฐิเสนฤาษี
(พระราชาตรัสถามฤๅษีอัฏฐิเสนะว่า)
[๕๔] พระคุณเจ้าอัฏฐิเสนะ โยมไม่รู้จักวณิพกพวกนี้เลย
แต่พวกเขาได้พร้อมใจกันมาขอกับโยม
ทำไมพระคุณเจ้าจึงไม่ขอโยมบ้าง
(ฤๅษีอัฏฐิเสนะทูลตอบว่า)
[๕๕] ผู้ขอย่อมไม่เป็นที่รัก ผู้ไม่ให้ของที่ขอก็ไม่เป็นที่รัก
เพราะเหตุนั้น อาตมภาพจึงไม่ขอมหาบพิตร
ขอความหมางใจอย่าได้มีแก่อาตมภาพเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๗. สัตตกนิบาต] ๑. กุกกุวรรค ๘. อัฏฐิเสนชาดก (๔๐๓)
(พระราชาตรัสว่า)
[๕๖] ผู้ใดเลี้ยงชีพอยู่ได้ด้วยการขอ
ไม่ขอสิ่งที่ควรขอในกาลอันควร
ผู้นั้นทำลายผู้อื่นเสียจากบุญ
ทั้งตนเองก็เลี้ยงชีพอยู่ไม่ได้
[๕๗] ส่วนผู้ใดเลี้ยงชีพอยู่ได้ด้วยการขอ
ขอสิ่งที่ควรขอในกาลอันควร
ผู้นั้นทำผู้อื่นให้ได้บุญ
ทั้งตนเองก็เลี้ยงชีพอยู่ได้
[๕๘] ผู้มีปัญญาทั้งหลายเห็นยาจกมาแล้วไม่รังเกียจ
ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้ประพฤติพรหมจรรย์
พระคุณเจ้าเป็นที่รักของโยม
นิมนต์พระคุณเจ้ากล่าวขอสิ่งที่ต้องการเถิด
(ฤๅษีอัฏฐิเสนะทูลว่า)
[๕๙] ผู้มีปัญญาทั้งหลายย่อมไม่ขอเลย
ส่วนนักปราชญ์ควรจะรู้เอง
พระอริยะเพียงเจาะจงยืนเท่านั้น
นี้เป็นการขอของพระอริยะ
(พระราชาตรัสว่า)
[๖๐] ท่านพราหมณ์ โยมขอถวายโคแดง ๑,๐๐๐ ตัว
พร้อมกับโคจ่าฝูงแก่ท่าน
เพราะพระอริยะได้ฟังคาถา
อันประกอบด้วยธรรมของพระคุณเจ้าแล้ว
จะไม่พึงถวายแก่พระอริยะได้อย่างไร
อัฏฐิเสนชาดกที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๗. สัตตกนิบาต] ๑. กุกกุวรรค ๑๐. พกพรหมชาดก (๔๐๕)
๙. กปิชาดก (๔๐๔)
ว่าด้วยคุณสมบัติของผู้บริหารหมู่คณะ
(พระโพธิสัตว์กล่าวให้โอวาทแก่ฝูงลิงว่า)
[๖๑] บัณฑิตไม่ควรอยู่ในสถานที่ที่คนคู่เวรกันอยู่
เพราะบุคคลเมื่ออยู่ในระหว่างคนเป็นคู่เวรกัน
คืนหนึ่งหรือสองคืนก็ตาม ย่อมอยู่เป็นทุกข์
[๖๒] ลิงตัวหัวหน้ามีจิตเรรวน เพราะทำตามลิงที่มีจิตเรรวน
มันได้ทำความพินาศให้แก่ฝูง เพราะลิงตัวเดียวเป็นเหตุ
[๖๓] สัตว์โง่แต่สำคัญตนว่าฉลาด เป็นผู้นำฝูง
ลุอำนาจใจของตนเอง
ก็จะต้องนอนตายเหมือนอย่างลิงตัวนี้
[๖๔] สัตว์โง่แต่มีกำลัง เป็นผู้นำฝูง ไม่ดี
เพราะไม่เกื้อกูลแก่หมู่ญาติ
เหมือนนกต่อไม่เกื้อกูลแก่นกทั้งหลาย
[๖๕] ส่วนสัตว์ฉลาดมีกำลัง เป็นผู้นำฝูง ดี
เพราะเกื้อกูลแก่หมู่ญาติ
เหมือนท้าววาสวะเกื้อกูลแก่หมู่เทพชั้นดาวดึงส์
[๖๖] ส่วนผู้ใดตรวจดูศีล ปัญญา และสุตะในตน
ผู้นั้นย่อมประพฤติประโยชน์ทั้ง ๒ ฝ่าย
คือ ทั้งตนและผู้อื่น
[๖๗] เพราะเหตุนั้น นักปราชญ์พึงตรวจดูตน
เหมือนตรวจดูศีล ปัญญา และสุตะ
แล้วบริหารหมู่คณะบ้าง ปฏิบัติอยู่ลำพังผู้เดียวบ้าง
กปิชาดกที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๗. สัตตกนิบาต] ๑. กุกกุวรรค ๑๐. พกพรหมชาดก (๔๐๕)
๑๐. พกพรหมชาดก (๔๐๕)
ว่าด้วยพรตและศีลของพกพรหม
(พกพรหมกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า)
[๖๘] ข้าแต่พระโคดม พวกข้าพระองค์ทั้ง ๗๒ คน
ได้กระทำบุญไว้ มีอำนาจ พ้นชาติและชรา
การถึงความเป็นพรหมนี้เป็นชาติสุดท้าย สำเร็จด้วยพระเวท
ชนทั้งหลายมิใช่น้อยกล่าวนมัสการพวกข้าพระองค์
(พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
[๖๙] ท้าวพกพรหม ท่านสำคัญอายุใดว่ายืนยาว
ความจริงอายุนั้นน้อย ไม่ยืนยาวเลย
เราตถาคตทราบอย่างชัดแจ้ง
ถึงอายุ ๑๐๐,๐๐๐ นิรัพพุทะของท่าน
(พกพรหมกราบทูลว่า)
[๗๐] ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พระองค์ตรัสว่า
เราตถาคตเป็นผู้เห็นไม่มีที่สิ้นสุด
พ้นชาติ ชรา และความโศกเสียได้
พรตและศีลครั้งก่อนของข้าพระองค์เป็นเช่นไร
ขอพระองค์จงตรัสบอกพรตและศีล
ที่ข้าพระองค์ควรจะรู้แก่ข้าพระองค์
(พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
[๗๑] ท่านได้ช่วยให้มนุษย์เป็นจำนวนมากที่มีความกระหาย
ถูกความร้อนแผดเผาให้ได้ดื่มน้ำ
นั่นเป็นพรตและศีลครั้งก่อนของท่าน
เราตถาคตระลึกได้เหมือนหลับแล้วตื่นขึ้นมา๑

เชิงอรรถ :
๑ เหมือนหลับแล้วตื่นขึ้นมา หมายถึงจำความฝันได้ (ขุ.ชา.อ. ๕/๗๑/๑๕๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๗. สัตตกนิบาต] ๒. คันธารวรรค ๑. คันธารชาดก (๔๐๖)
[๗๒] การที่ท่านได้ปล่อยหมู่ชนซึ่งถูกจับที่ฝั่งแม่น้ำเอณินำไปเป็นเชลย
นั่นเป็นพรตและศีลครั้งก่อนของท่าน
เราตถาคตระลึกได้เหมือนหลับแล้วตื่นขึ้นมา
[๗๓] ท่านใช้กำลังเข้าข่ม ได้ปลดปล่อยเรือที่พญานาคดุร้าย
ยึดไว้ที่กระแสแม่น้ำคงคาเพราะต้องการจะทำลายมนุษย์
นั่นเป็นพรตและศีลครั้งก่อนของท่าน
เราตถาคตระลึกได้เหมือนหลับแล้วตื่นขึ้นมา
[๗๔] อนึ่ง เราตถาคตได้เคยเป็นศิษย์ของท่านชื่อว่ากัปปะ
สำคัญท่านว่ามีปัญญา ประกอบด้วยวัตรปฏิบัติ
นั่นเป็นพรตและศีลครั้งก่อนของท่าน
เราตถาคตระลึกได้เหมือนหลับแล้วตื่นขึ้นมา
(พกพรหมกล่าวสดุดีพระผู้มีพระภาคว่า)
[๗๕] อายุของข้าพระองค์นี่ พระองค์ทรงทราบชัดแน่นอน
ทั้งอย่างอื่นก็ยังทรงทราบด้วย
เพราะพระองค์ทรงเป็นพุทธะอย่างแท้จริง
เพราะพระองค์ทรงเป็นพุทธะนั่นแหละจึงทรงมีอานุภาพ
รุ่งเรืองอย่างนี้ ทรงทำพรหมโลกให้สว่างไสวอยู่
พกพรหมชาดกที่ ๑๐ จบ
กุกกุวรรคที่ ๑ จบ

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้

๑. กุกกุชาดก ๒. มโนชชาดก
๓. สุตนชาดก ๔. มาตุโปสกคิชฌชาดก
๕. ทัพภปุปผชาดก ๖. ทสัณณกชาดก
๗. เสนกชาดก ๘. อัฏฐิเสนชาดก
๙. กปิชาดก ๑๐. พกพรหมชาดก


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๗. สัตตกนิบาต] ๒. คันธารวรรค ๑. คันธารชาดก (๔๐๖)
๒. คันธารวรรค
หมวดว่าด้วยคันธารดาบส
๑. คันธารชาดก (๔๐๖)
ว่าด้วยคันธารดาบสโพธิสัตว์
(พระโพธิสัตว์ต่อว่าวิเทหดาบสว่า)
[๗๖] ท่านละทิ้งหมู่บ้านจำนวนถึง ๑๖,๐๐๐ หมู่บ้าน
และเรือนคลังที่บริบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติ
บัดนี้ ยังทำการสะสมอยู่อีก
(วิเทหดาบสแย้งว่า)
[๗๗] ท่านละแคว้นคันธาระซึ่งมีทรัพย์และน้ำดื่มสมบูรณ์
เลิกจากการสั่งสอน
ทำไม เดี๋ยวนี้จึงยังสั่งสอนอยู่ในที่นี้อีกเล่า
(พระโพธิสัตว์กล่าวว่า)
[๗๘] ท่านเวเทหดาบส ข้าพเจ้ากล่าวธรรม๑
ข้าพเจ้าไม่พอใจอธรรมเลย
บาปย่อมไม่แปดเปื้อนข้าพเจ้าผู้กล่าวธรรม
(วิเทหดาบสกล่าวว่า)
[๗๙] แม้หากวาจาจะมีประโยชน์มาก
แต่ผู้อื่นได้รับความขัดเคืองใจ
เพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง
วาจานั้นบัณฑิตก็ไม่ควรจะกล่าว

เชิงอรรถ :
๑ กล่าวธรรม ในที่นี้หมายถึงกล่าวความเป็นจริง (ขุ.ชา.อ. ๕/๗๘/๑๖๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๗. สัตตกนิบาต] ๒. คันธารวรรค ๓. กุมภการชาดก (๔๐๘)
(พระโพธิสัตว์กล่าวว่า)
[๘๐] บุคคลเมื่อถูกตักเตือนจะโกรธหรือไม่โกรธก็ตาม
หรือจะโปรยความโกรธเช่นกับโปรยแกลบทิ้งก็ตาม
แต่บาปก็ไม่แปดเปื้อนข้าพเจ้าผู้กล่าวธรรม
(พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
[๘๑] หากชนจำนวนมากไม่มีความรู้เป็นของตน
หรือไม่ได้ศึกษาวินัยอย่างดี
ก็จะพึงเที่ยวไปเหมือนกระบือบอดเที่ยวไปในป่า
[๘๒] ก็แหละเพราะบุคคลบางพวกในโลกนี้
ได้ศึกษาดีแล้วในสำนักของอาจารย์
ฉะนั้น จึงเป็นผู้มีวินัยได้รับการแนะนำแล้ว
มีจิตตั้งมั่นดีแล้วเที่ยวไป
คันธารชาดกที่ ๑ จบ

๒. มหากปิชาดก (๔๐๗)
ว่าด้วยพญาลิงโพธิสัตว์
(พระราชาตรัสถามพญาลิงว่า)
[๘๓] พญาลิง เจ้าทอดตัวเป็นสะพาน
ให้ลิงเหล่านี้ข้ามไปโดยสวัสดี
เจ้าเป็นอะไรกับลิงเหล่านั้น
ลิงเหล่านั้นเป็นอะไรกับเจ้า
(พญาลิงกราบทูลว่า)
[๘๔] ขอเดชะพระองค์ผู้ปราบข้าศึก
ข้าพระองค์เป็นพญาลิงผู้เป็นใหญ่ปกครองฝูงลิงเหล่านั้น
ผู้มีทั้งความเศร้าโศกและความกลัวต่อพระองค์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๗. สัตตกนิบาต] ๒. คันธารวรรค ๓. กุมภการชาดก (๔๐๘)
[๘๕] ข้าพระองค์ได้พุ่งตัวซึ่งมีเถาวัลย์ผูกติดที่ ๒ เท้าหลังอย่างมั่นคง
ไปจากต้นไม้นั้นประมาณชั่วร้อยคันธนูที่ปลดสายแล้ว
[๘๖] ข้าพระองค์นั้นพุ่งออกไปตามลมเข้าหาต้นมะม่วงนี้
ดุจเมฆถูกลมพัดขาด เมื่อไปไม่ถึง
จึงใช้เท้าหน้าทั้ง ๒ จับกิ่งมะม่วงกลางอากาศนั้น
[๘๗] ข้าพเจ้านั้น ถูกกิ่งไม้และเถาวัลย์ขึงอยู่เหมือนสายพิณ
พวกลิงใช้เท้าเหยียบข้ามไปโดยสวัสดี
[๘๘] การผูกด้วยเถาวัลย์นั้นไม่ทำให้ข้าพเจ้าเดือดร้อน
ถึงตายก็ไม่เดือดร้อน ขอข้าพเจ้าได้นำความสุข
มาให้แก่ฝูงลิงที่ข้าพเจ้าปกครองอยู่(เท่านั้น)
[๘๙] ขอเดชะพระราชาผู้ปราบข้าศึก
นี้เป็นอุปมาสำหรับพระองค์
ขอพระองค์ทรงสดับข้ออุปมานั้นเถิด
ก็พระราชามหากษัตริย์ผู้ทรงทราบชัด
ควรจะแสวงหาความสุขมาให้แก่ชนทั้งปวง
คือ ทั้งชาวแคว้น พาหนะ พลนิกาย และชาวบ้าน
มหากปิชาดกที่ ๒ จบ

๓. กุมภการชาดก (๔๐๘)
ว่าด้วยนายช่างหม้อ
(พระปัจเจกพุทธเจ้า ๔ องค์กล่าวกับพระโพธิสัตว์องค์ละคาถาว่า)
[๙๐] อาตมาได้เห็นต้นมะม่วงกลางป่า เขียวชะอุ่ม
งอกงาม ผลิดอกออกผลสะพรั่ง
อาตมาได้เห็นมะม่วงต้นนั้นถูกทำลาย เพราะผลเป็นเหตุ
ครั้นเห็นเช่นนั้นจึงเที่ยวภิกขาจาร (ออกบวช)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๗. สัตตกนิบาต] ๒. คันธารวรรค ๔. ทัฬหธัมมชาดก (๔๐๙)
[๙๑] กำไลแก้วคู่หนึ่งที่นายช่างผู้ชาญฉลาดเจียรไนแล้ว
เป็นของเกลี้ยงเกลา ที่สตรีสวมใส่ย่อมไม่เกิดเสียงดัง๑
แต่เพราะสวมใส่วงที่ ๒ เข้าจึงได้มีเสียงดัง
อาตมาเห็นเช่นนั้นแล้วจึงเที่ยวภิกขาจาร
[๙๒] นกจำนวนมากพากันรุมจิกตีนกตัวหนึ่ง
ซึ่งกำลังคาบชิ้นเนื้อมาอยู่เพราะอาหารเป็นเหตุ
อาตมาได้เห็นเช่นนั้นแล้วจึงเที่ยวภิกขาจาร
[๙๓] อาตมาได้เห็นโคผู้มีหนอกกระเพื่อม
มีสีสันและมีกำลังอยู่ท่ามกลางฝูงโค
อาตมาได้เห็นมันขวิดโคผู้ตัวหนึ่งเพราะกามเป็นเหตุ
ครั้นเห็นเช่นนั้นแล้วจึงเที่ยวภิกขาจาร
(พระโพธิสัตว์กล่าวกับภรรยาว่า)
[๙๔] พระเจ้ากรัณฑกะ ราชาแห่งแคว้นกาลิงคะ
พระเจ้านัคคชิ ราชาแห่งแคว้นคันธาระ
พระเจ้านิมิราช ราชาแห่งแคว้นวิเทหะ
และพระเจ้าทุมมุขะ ราชาแห่งแคว้นปัญจาละ
ทรงละทิ้งแคว้นเหล่านั้นแล้ว
หมดความกังวล ทรงผนวชแล้ว
[๙๕] แม้พระราชาทุกพระองค์เสมอด้วยเทพเจ้า
เสด็จมาประชุมกัน ย่อมรุ่งเรืองเหมือนไฟที่ลุกโชน
นี่น้องหญิงผู้มีโชค ถึงพี่ก็จะเป็นเหมือนพระราชาเหล่านี้
จักละกามซึ่งมีประการต่าง ๆ แล้วเที่ยวไปผู้เดียว

เชิงอรรถ :
๑ สวมใส่ย่อมไม่เกิดเสียงดัง หมายถึงสวมข้างละวง (ขุ.ชา.อ. ๕/๙๑/๑๗๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๗. สัตตกนิบาต] ๒. คันธารวรรค ๔. ทัฬหธัมมชาดก (๔๐๙)
(ภรรยากล่าวว่า)
[๙๖] เวลานี้เท่านั้นเหมาะที่จะบวช เวลาอื่นไม่เหมาะ
ภายหลังคงจะไม่มีผู้ที่จะพร่ำสอนดิฉัน
ท่านผู้มีโชค ถึงดิฉันก็จักเที่ยวไปผู้เดียว
เหมือนสกุณีที่รอดพ้นจากมือคน
(พระโพธิสัตว์กล่าวว่า)
[๙๗] พวกเด็ก ๆ รู้จักของดิบ ของสุก ของเค็ม และของจืด
อาตมาเห็นเช่นนั้นแล้วจึงบวช
น้องหญิงจงเที่ยวภิกขาจารไปเถิด
อาตมาก็จะเที่ยวภิกขาจารไป
กุมภการชาดกที่ ๓ จบ

๔. ทัฬหธัมมชาดก (๔๐๙)
ว่าด้วยพระเจ้าทัฬหธรรม
(ช้างกล่าวกับพระโพธิสัตว์ว่า)
[๙๘] ถึงหากข้าพเจ้าจะขนลูกศรผูกติดที่อก
ไปเผชิญหน้ากับศัตรูในสนามรบ
ก็หาได้ทำให้พระเจ้าทัฬหธรรมโปรดปรานไม่
[๙๙] หน้าที่ทหารอันเกรียงไกรและการรับใช้สื่อสาร
ที่ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติเป็นอย่างดีในสงคราม
พระราชามิได้ทรงทราบแน่
[๑๐๐] ข้าพเจ้านั้นคงจะต้องตายอย่างขาดพวกพ้อง
ไร้ที่พึ่งอาศัยแน่ จะเห็นได้
ดังที่พระราชทานข้าพเจ้าแก่นายช่างหม้อ
ให้ทำหน้าที่ขนอุจจาระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๗. สัตตกนิบาต] ๒. คันธารวรรค ๕. โสมทัตตชาดก (๔๑๐)
(พระโพธิสัตว์กราบทูลพระราชาว่า)
[๑๐๑] บุคคลบางคนยังหวังประโยชน์อยู่ตราบใด
ก็ยังคบหากันอยู่ตราบนั้น
เมื่อไร้ประโยชน์ พวกคนโง่ก็ทอดทิ้งเขาไป
เหมือนกษัตริย์ทรงทอดทิ้งช้างพังชื่อโอฏฐีพยาธิ
[๑๐๒] ผู้ใดเขาทำความดี ทำประโยชน์ให้ก่อน ก็ไม่รู้จักคุณ
ประโยชน์ทั้งหลายที่เขาปรารถนาก็ย่อมฉิบหายไป
[๑๐๓] ผู้ใดเขาทำความดี ทำประโยชน์ให้ก่อน ก็รู้จักคุณอยู่เสมอ
ประโยชน์ทั้งหลายที่เขาปรารถนาก็ย่อมเจริญยิ่งขึ้น
[๑๐๔] เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าขอกราบทูลพระองค์
ขอพระองค์จงทรงพระเจริญ
ตลอดทั้งประชาชนที่มาประชุมกัน ณ ที่นี้
ขอท่านทุกคนจงเป็นผู้กตัญญู
จงดำรงอยู่ในสวรรค์สิ้นกาลนาน
ทัฬหธัมมชาดกที่ ๔ จบ

๕. โสมทัตตชาดก (๔๑๐)
ว่าด้วยลูกช้างชื่อโสมทัต
(ดาบสคร่ำครวญหาช้างน้อยว่า)
[๑๐๕] เมื่อก่อน โสมทัตพ่อช้างน้อยมีอัธยาศัยกว้างขวาง
มาต้อนรับเราแต่ไกลในป่า
วันนี้หายไปไหน จึงไม่เห็น
[๑๐๖] ช้างเชือกที่นอนตายเหมือนยอดเถาย่านทราย
ที่ถูกเด็ดทิ้งคือเจ้าโสมทัตนี้เอง
เจ้ากุญชรล้มลงนอนที่พื้นดินตายเสียแล้วหนอ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๗๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๗. สัตตกนิบาต] ๒. คันธารวรรค ๕. โสมทัตตชาดก (๔๑๐)
(ท้าวสักกะตรัสกับดาบสว่า)
[๑๐๗] การที่ท่านบวชเป็นสมณะพ้นจากการครองเรือนไปแล้ว
ยังมัวเศร้าโศกถึงผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ไม่เป็นการดีเลย
(ดาบสกล่าวกับท้าวสักกะว่า)
[๑๐๘] ท้าวสักกะ เพราะการอยู่ร่วมกันแล
ความรักจึงเกิดในหทัยของมนุษย์หรือของเนื้อ
อาตมาจึงไม่สามารถที่จะไม่เศร้าโศกถึงลูกเนื้อนั้นได้
(ท้าวสักกะตรัสว่า)
[๑๐๙] ชนเหล่าใดร้องไห้ บ่นเพ้อ รำพัน
ถึงคนที่ตายแล้วและคนที่จะตาย
สัตบุรุษทั้งหลายกล่าวการร้องไห้ว่าเปล่าประโยชน์
ท่านฤๅษี เพราะฉะนั้น ท่านอย่าร้องไห้ไปเลย
[๑๑๐] พราหมณ์ สัตว์ที่ตายละโลกนี้ไปแล้ว
จะพึงลุกขึ้นได้เพราะการร้องไห้
เราทุกคนก็คงมาประชุมกันร้องไห้ถึงหมู่ญาติของกันและกัน
(ดาบสกล่าวสดุดีท้าวสักกะว่า)
[๑๑๑] พระองค์ช่วยระงับอาตมาผู้เร่าร้อนให้สงบ
ดับความกระวนกระวายทั้งหมดได้
เหมือนคนเอาน้ำราดดับไฟที่ติดเปรียง
[๑๑๒] พระองค์ได้บรรเทาความเศร้าโศกถึงบุตรของอาตมา
ผู้กำลังเศร้าโศก ชื่อว่าได้ช่วยถอนลูกศรคือความเศร้าโศก
ซึ่งเสียบหัวใจของอาตมาขึ้นได้แล้วหนอ
[๑๑๓] ท้าววาสวะ อาตมาซึ่งพระองค์ช่วยถอนลูกศร
คือความเศร้าโศกขึ้นได้แล้วเป็นผู้ปราศจากความเศร้าโศก
ไม่มีความขุ่นมัว จึงไม่เศร้าโศก ไม่ร้องไห้
เพราะได้ฟังคำของพระองค์
โสมทัตตชาดกที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๗. สัตตกนิบาต] ๒. คันธารวรรค ๗. โกฏสิมพลิชาดก (๔๑๒)
๖. สุสีมชาดก (๔๑๑)
ว่าด้วยพระเจ้าสุสีมะออกผนวช
(พระโพธิสัตว์โอวาทตนเองว่า)
[๑๑๔] เมื่อก่อนผมสีดำได้งอกบริเวณศีรษะ วันนี้ผมเหล่านั้นมีสีขาว
สุสีมะ เจ้าเห็นแล้วจงประพฤติธรรมเถิด
เวลานี้เป็นเวลาสมควรที่จะประพฤติพรหมจรรย์
(พระราชเทวีทูลพระราชาว่า)
[๑๑๕] ขอเดชะพระองค์ผู้สมมติเทพ
ผมหงอกของหม่อมฉันมิใช่ของพระองค์
ผมหงอกงอกบนศีรษะของหม่อมฉัน
หม่อมฉันได้ทูลคำเท็จเพราะหวังทำประโยชน์แก่ตนเอง
ขอเดชะพระราชาผู้ประเสริฐ
ขอพระองค์พระราชทานอภัยแก่หม่อมฉันสักครั้งหนึ่งเถิด
[๑๑๖] ขอเดชะพระมหาราช พระองค์ยังทรงหนุ่ม น่าทัศนา
ทรงดำรงอยู่ในปฐมวัย งามประดุจยอดไม้
ขอพระองค์ทรงครอบครองราชสมบัติ
และทรงสนพระทัยหม่อมฉัน
ขอพระองค์อย่าด่วนประพฤติพรหมจรรย์ที่ให้ผลตามกาลเลย
(พระราชาตรัสกับพระราชเทวีว่า)
[๑๑๗] เราเห็นสาววัยรุ่น มีผิวพรรณเกลี้ยงเกลา
ร่างกายงดงาม ทรวดทรงเฉิดฉาย
เจ้าหล่อนมีกิริยาละมุนละไม ประดุจดังเถาย่านาง
ประหนึ่งว่าประเล้าประโลมกิเลสกามยามไปใกล้บุรุษเพศ
[๑๑๘] ต่อมาเราเห็นหญิงนั้นมีอายุถึง ๘๐ ปี หรือ ๙๐ ปีนับแต่เกิด
ถือไม้เท้าตัวสั่นงันงก มีกายค่อมลงเหมือนกลอนเรือนเที่ยวไปอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๗. สัตตกนิบาต] ๒. คันธารวรรค ๗. โกฏสิมพลิชาดก (๔๑๒)
[๑๑๙] เรานั้น เมื่อพิจารณาใคร่ครวญถึงเหตุอันนั้นแหละ
จึงนอนอยู่ท่ามกลางที่นอนคนเดียว และพิจารณาเห็นว่า
ถึงเราก็จะต้องเป็นอย่างนั้น จึงไม่ยินดีในการครองเรือน
เวลานี้เป็นเวลาสมควรที่จะประพฤติพรหมจรรย์
[๑๒๐] ความยินดีของผู้ครองเรือนเปรียบเหมือนเชือกที่ผูกยึดเหนี่ยวไว้
นักปราชญ์ทั้งหลายตัดเชือกนั้นแล้ว
ไม่มีความอาลัย ละกามสุขไป
สุสีมชาดกที่ ๖ จบ

๗. โกฏสิมพลิชาดก (๔๑๒)
ว่าด้วยเทวดาผู้สถิตอยู่ที่ต้นงิ้วใหญ่
(พญาครุฑกล่าวกับรุกขเทวดาว่า)
[๑๒๑] ข้าพเจ้าจับพญานาคตัวยาวตั้ง ๑,๐๐๐ วามาไว้
พญานาคและข้าพเจ้านั้นมีร่างกายใหญ่โต
ท่านยังรองรับไว้ได้ ไม่สะทกสะท้าน
[๑๒๒] โกฏสิมพลิเทพบุตร เพราะเหตุไร
เมื่อท่านรองรับนางนกน้อยตัวนี้ซึ่งมีเนื้อน้อยกว่าข้าพเจ้า
จึงมีความกลัวจนตัวสั่น
(รุกขเทวดากล่าวกับพญาครุฑว่า)
[๑๒๓] พญาครุฑ ตัวท่านกินเนื้อเป็นอาหาร
ส่วนนกนี้กินผลไม้เป็นอาหาร
นกตัวนี้กินเมล็ดไทร เมล็ดดีปลี เมล็ดมะเดื่อ
และเมล็ดโพธิ์แล้ว จักถ่ายรดลำต้นข้าพเจ้า
[๑๒๔] ต้นไม้เหล่านั้นจะเจริญงอกงามอยู่ระหว่างกิ่งของข้าพเจ้า
ต้นไม้เหล่านั้นจะรึงรัดปกคลุมข้าพเจ้า
จักทำให้ข้าพเจ้าไม่เป็นต้นไม้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๗. สัตตกนิบาต] ๒. คันธารวรรค ๙. ชาครชาดก (๔๑๔)
[๑๒๕] แม้ต้นไม้เหล่าอื่นมีรากและลำต้นมั่นคง
ที่ถูกนกตัวนี้นำพืชมาทำลายก็มีอยู่
[๑๒๖] ต้นไม้ทั้งหลายที่งอกขึ้นมา
จะเติบโตเกินต้นไม้เจ้าป่าแม้ที่มีลำต้นใหญ่โต
พญาครุฑ เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าเมื่อเห็นภัยในอนาคต
จึงสะทกสะท้าน
(พญาครุฑกล่าวว่า)
[๑๒๗] บุคคลพึงระแวงภัยที่ควรระแวง
พึงป้องกันภัยที่ยังมาไม่ถึง
เพราะภัยที่ยังมาไม่ถึง
นักปราชญ์จึงได้พิจารณาเห็นโลกทั้ง ๒
โกฏสิมพลิชาดกที่ ๗ จบ

๘. ธูมการิชาดก (๔๑๓)
ว่าด้วยพราหมณ์ผู้ก่อไฟรมควัน
(พระศาสดาตรัสขยายอาการถามของพระธนญชัยในอดีตว่า)
[๑๒๘] พระเจ้ายุธิฏฐิละผู้ใคร่ธรรม ได้ตรัสถามวิธุรบัณฑิตว่า
พราหมณ์ เจ้าทราบบ้างไหม มีใครคนหนึ่งเศร้าโศกมาก
(พระโพธิสัตว์กราบทูลพระราชาว่า)
[๑๒๙] มีพราหมณ์วาเสฏฐโคตร บูชาไฟอยู่ในป่ากับฝูงแพะ
ไม่เกียจคร้าน ก่อไฟรมควันทั้งกลางวันและกลางคืน
[๑๓๐] ด้วยกลิ่นควันไฟนั้นของเขา พวกละมั่งถูกยุงรบกวน
จึงได้เข้าไปอยู่ใกล้พราหมณ์ผู้ก่อไฟรมควันตลอดฤดูฝน
[๑๓๑] เขาพอใจพวกละมั่ง เลยไม่เอาใจใส่พวกแพะ
มันจะมาหรือจะไปก็ไม่รับรู้
แพะเหล่านั้นของเขาจึงพินาศไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๗. สัตตกนิบาต] ๒. คันธารวรรค ๙. ชาครชาดก (๔๑๔)
[๑๓๒] เมื่อป่าไร้ยุงในฤดูใบไม้ร่วง
พวกละมั่งก็พากันเข้าไปยังซอกเขาและต้นน้ำลำธาร
[๑๓๓] พราหมณ์เห็นพวกละมั่งจากไปแล้ว
และพวกแพะก็ถึงความพินาศ จึงซูบผอม
มีผิวพรรณหม่นหมองและเป็นโรคผอมเหลือง
[๑๓๔] ด้วยประการเช่นนี้ ผู้ใดไม่สนใจคนเก่าของตน
รักแต่คนมาใหม่ ผู้นั้นก็จะโดดเดี่ยว
เศร้าโศกมากเหมือนดังพราหมณ์ผู้ก่อไฟรมควัน
ธูมการิชาดกที่ ๘ จบ

๙. ชาครชาดก (๔๑๔)
ว่าด้วยผู้หลับและตื่น
(รุกขเทวดาถามพระโพธิสัตว์ว่า)
[๑๓๕] ในโลกนี้ เมื่อเขาตื่น ใครหลับ เมื่อเขาหลับ ใครตื่น
ใครจะเข้าใจปัญหานี้ของเราหนอ
ใครจะตอบปัญหานี้แก่เราได้
(พระโพธิสัตว์ตอบว่า)
[๑๓๖] เมื่อพวกเขาตื่นอยู่ ข้าพเจ้าหลับ
เมื่อพวกเขาหลับ ข้าพเจ้าตื่นอยู่
ข้าพเจ้าเข้าใจปัญหานี้ ข้าพเจ้าขอตอบท่าน
(รุกขเทวดาถามว่า)
[๑๓๗] เมื่อพวกเขาตื่น ท่านหลับอย่างไร
เมื่อพวกเขาหลับ ท่านตื่นอย่างไร
ท่านเข้าใจปัญหานี้อย่างไร
ท่านตอบข้าพเจ้าได้อย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๗. สัตตกนิบาต] ๒. คันธารวรรค ๑๐. กุมมาสปิณฑิชาดก (๔๑๕)
(พระโพธิสัตว์ตอบว่า)
[๑๓๘] คนเหล่าใดไม่รู้จักธรรมว่า
นี้เป็นสัญญมะ และว่านี้เป็นทมะ
เมื่อคนเหล่านั้นหลับอยู่ ข้าพเจ้าก็ตื่นอยู่น่ะซิเทวดา
[๑๓๙] ชนเหล่าใดคลายราคะ โทสะ และอวิชชาได้แล้ว
เมื่อชนเหล่านั้นตื่นอยู่ ข้าพเจ้าก็หลับนะซิเทวดา
[๑๔๐] เมื่อท่านเหล่านั้นตื่นอยู่อย่างนี้ ข้าพเจ้าก็หลับ
เมื่อท่านเหล่านั้นหลับแล้วอย่างนี้ ข้าพเจ้าก็ตื่น
ข้าพเจ้าเข้าใจปัญหานี้อย่างนี้ จึงตอบท่านอย่างนี้
(รุกขเทวดากล่าวสดุดีพระโพธิสัตว์ว่า)
[๑๔๑] ถูกแล้ว เมื่อเขาตื่นท่านหลับ เมื่อเขาหลับท่านตื่น
ท่านเข้าใจปัญหานี้ถูกต้องแล้ว จึงตอบเราได้ถูกต้อง
ชาครชาดกที่ ๙ จบ

๑๐. กุมมาสปิณฑิชาดก (๔๑๕)
ว่าด้วยอานิสงส์ถวายขนมกุมมาส
(พระราชาทรงอุทานบทเพลงท่ามกลางพสกนิกรว่า)
[๑๔๒] ได้ยินว่า การบำรุงพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ผู้เห็นธรรมอันไม่ต่ำทราม
มีผลานิสงส์ไม่น้อยเลย
เชิญดูผลานิสงส์แห่งก้อนขนมกุมมาสทั้งแห้งทั้งจืด
[๑๔๓] ดูเถิด ช้าง โค ม้า จำนวนมากเหล่านี้
รวมทั้งทรัพย์ ธัญชาติ ผืนปฐพีทั้งสิ้น
ทั้งเหล่านารีผู้มีรูปงามเทียบด้วยนางอัปสรเหล่านี้
เป็นผลานิสงส์ของก้อนขนมกุมมาส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๗. สัตตกนิบาต] ๒. คันธารวรรค ๑๐. กุมมาสปิณฑิชาดก (๔๑๕)
(พระราชเทวีกราบทูลพระราชาว่า)
[๑๔๔] ขอเดชะพระองค์ผู้องอาจประดุจพญากุญชร
ผู้เป็นใหญ่ในกุศลธรรม
พระองค์ตรัสพระคาถาอยู่เนือง ๆ
ขอเดชะพระองค์ผู้ผดุงแคว้นให้เจริญ
หม่อมฉันขอทูลถามพระองค์
ขอพระองค์ผู้มีพระหทัยเบิกบานอย่างยิ่งตรัสบอกเถิด
(พระราชาตรัสกับพระราชเทวีว่า)
[๑๔๕] เราได้เกิดในตระกูลหนึ่งในเมืองนี้เอง
เป็นคนรับจ้าง ทำงานให้คนอื่น เป็นผู้สำรวมศีล
[๑๔๖] เราออกไปทำงานได้เห็นสมณะ ๔ รูป
สมบูรณ์ด้วยอาจาระและศีล เยือกเย็น ไม่มีอาสวะ
[๑๔๗] เรายังจิตให้เลื่อมใสในสมณะเหล่านั้น
นิมนต์ให้นั่งบนเครื่องลาดที่ทำด้วยใบไม้ เลื่อมใสแล้ว
ได้ถวายขนมกุมมาสแด่พุทธเจ้าทั้งหลายด้วยมือทั้ง ๒ ของตน
[๑๔๘] กุศลกรรมนั้นได้มีผลแก่เราเช่นนี้
เราได้เสวยราชสมบัตินี้
คือแผ่นดินที่ประเสริฐมั่งคั่งสมบูรณ์
(พระราชเทวีตรัสสดุดีพระราชาว่า)
[๑๔๙] พระองค์เมื่อพระราชทานให้ ก็จงเสวยเถิด
อย่าได้ทรงประมาท
ขอเดชะพระองค์ผู้เป็นใหญ่ในกุศลธรรม
ขอพระองค์ทรงประกาศธรรมจักรให้เป็นไป
ขอเดชะพระราชาผู้เป็นใหญ่ในกุศลธรรม
ขอพระองค์อย่าประพฤติอธรรม จงทรงรักษาธรรมเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๗. สัตตกนิบาต] ๒. คันธารวรรค ๑๑. ปรันตปชาดก (๔๑๖)
(พระราชาตรัสกับพระราชเทวีว่า)
[๑๕๐] พระธิดาของพระเจ้าโกศลผู้งดงาม
เรานั้นได้ประพฤติตามทางที่พระอริยะ
ได้ประพฤติมาแล้วนั้นอย่างสม่ำเสมอ
เพราะพระอรหันต์ทั้งหลายเป็นที่ชอบใจของเรา
เราต้องการพบท่าน
[๑๕๑] นี่พระราชธิดาผู้แสนดีของพระเจ้าโกศล
พระนางงดงามท่ามกลางหมู่นารี เหมือนเทพอัปสร
พระนางได้กระทำกรรมดีอะไรไว้
เพราะเหตุไรเล่า พระนางจึงมีพระฉวีวรรณงดงามยิ่งนัก
(พระราชเทวีทูลว่า)
[๑๕๒] ขอเดชะจอมกษัตริย์ หม่อมฉันได้เกิดเป็นทาสี
รับใช้ผู้อื่นแห่งตระกูลเศรษฐีอัมพัฏฐโคตร
สำรวมแล้ว เลี้ยงชีพโดยชอบธรรม มีศีล ไม่เหลียวดูความชั่ว
[๑๕๓] ในกาลครั้งนั้น หม่อมฉันได้ถวายข้าว
ที่คดมาเพื่อตนแก่ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต
หม่อมฉันเองปลื้มใจ ดีใจ
กรรมของหม่อมฉันนั้นมีผลเช่นนี้
กุมมาสปิณฑิชาดกที่ ๑๐ จบ

๑๑. ปรันตปชาดก (๔๑๖)
ว่าด้วยปรันตปะมหาดเล็ก
(มหาดเล็กชื่อปรันตปะกราบทูลพระราชเทวีว่า)
[๑๕๔] บาปคงจะมาถึงข้าพระองค์ ภัยคงจะมาถึงข้าพระองค์
เพราะในคราวนั้น คนหรือสัตว์ได้ทำกิ่งไม้ให้ไหว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๗. สัตตกนิบาต] ๒. คันธารวรรค ๑๑. ปรันตปชาดก (๔๑๖)
(ปุโรหิตคิดถึงภรรยา จึงบ่นเพ้อว่า)
[๑๕๕] ความกระสันของข้าพเจ้ากับหญิงผู้หวาดกลัวซึ่งอยู่ไม่ไกล
จักทำให้ข้าพเจ้าผอมเหลืองแน่
เหมือนกิ่งไม้ทำให้เจ้าปรันตปะผอมเหลือง
[๑๕๖] แม่กานดาผู้มีความงามหาที่ติมิได้
อยู่ในบ้านก็ยังจักทำให้ข้าพเจ้าเศร้าโศก
จักกระทำให้ข้าพเจ้าผอมเหลือง
เหมือนกิ่งไม้ทำให้เจ้าปรันตปะผอมเหลือง
[๑๕๗] หางตาที่หยาดเยิ้มซึ่งเจ้าหล่อนชำเลืองมา
การยิ้มและการเจรจา
จักกระทำให้ข้าพเจ้าผอมเหลือง
เหมือนกิ่งไม้ทำให้เจ้าปรันตปะผอมเหลือง
(ปรันตปะกล่าวกับพระกุมารว่า)
[๑๕๘] เสียงนั้นได้มาแน่แล้ว
เสียงนั้นได้บอกแก่ท่านแน่แล้ว
ผู้ที่สั่นกิ่งไม้นั้นได้บอกเหตุนั้นแน่
[๑๕๙] สิ่งที่เราผู้เป็นคนโง่คิดแล้วว่า
ก็ในคราวนั้น คนหรือสัตว์ได้ทำกิ่งไม้ให้ไหว
สิ่งนี้แลได้มาถึงแล้ว
(พระกุมารตรัสว่า)
[๑๖๐] เจ้าได้สำนึกแล้วซิว่า ตามที่เจ้าได้ฆ่าพ่อของเรา
เอากิ่งไม้ปิดไว้คอยระแวงอยู่ว่า ภัยจักมาถึงตัวเรา
ปรันตปชาดกที่ ๑๑ จบ
คันธารวรรคที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก
รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. คันธารชาดก ๒. มหากปิชาดก
๓. กุมภการชาดก ๔. ทัฬหธัมมชาดก
๕. โสมทัตตชาดก ๖. สุสีมชาดก
๗. โกฏสิมพลิชาดก ๘. ธูมการิชาดก
๙. ชาครชาดก ๑๐. กุมมาสปิณฑิชาดก
๑๑. ปรันตปชาดก

รวมวรรคที่มีในนิบาตนี้ คือ

๑. กุกกุวรรค ๒. คันธารวรรค

สัตตกนิบาต จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๘๔ }


๘. อัฏฐกนิบาต
กัจจานิวรรค
หมวดว่าด้วยนางกัจจานี
๑. กัจจานิชาดก (๔๑๗)
ว่าด้วยนางกัจจานี
(ท้าวสักกะตรัสถามนางกัจจานีว่า)
[๑] แม่กัจจานี เจ้านุ่งห่มผ้าขาวสะอาด มีผมเปียกชุ่ม
ยกหม้อขึ้นตั้งบนเตา ซาวข้าวสารและงาป่น
ข้าวสุกคลุกงาจักมีไว้เพื่อเหตุอะไร
(นางกัจจานีตอบว่า)
[๒] พราหมณ์ ข้าวสุกคลุกงาที่สุกดีแล้ว
จักมีไว้เพื่อเป็นอาหารสำหรับตนเองหามิได้เลย
ธรรมะได้ตายแล้ว
วันนี้ ข้าพเจ้าจักทำบุญอุทิศให้ธรรมะกลางป่าช้า
(ท้าวสักกะตรัสว่า)
[๓] แม่กัจจานี เจ้าจงใคร่ครวญแล้วจึงทำ
ใครหนอบอกเจ้าว่า ธรรมะได้ตายแล้ว
ท้าวสหัสสนัยน์ผู้มีอานุภาพล้นบอกไว้ว่า
ธรรมะอันประเสริฐย่อมไม่ตายในกาลไหน ๆ
(นางกัจจานีกล่าวว่า)
[๔] พราหมณ์ ข้าพเจ้ามั่นใจในข้อนี้ว่า
ธรรมะได้ตายแล้ว ข้าพเจ้าไม่มีความสงสัย
เพราะเดี๋ยวนี้ คนชั่วกลับเป็นอยู่สบาย
[๕] เหมือนอย่างลูกสะใภ้ของข้าพเจ้าเป็นหมัน
หล่อนทุบตี ขับไล่ข้าพเจ้าแล้วคลอดบุตร
เดี๋ยวนี้หล่อนเป็นใหญ่ในตระกูลทั้งหมด
ส่วนข้าพเจ้ากลับถูกทอดทิ้งอยู่อย่างเดียวดาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๘. อัฏฐกนิบาต] กัจจานิวรรค ๒. อัฏฐสัททชาดก (๔๑๘)
(ท้าวสักกะตรัสว่า)
[๖] เรายังมีชีวิตอยู่ ยังไม่ตาย
เรามาที่นี้เพื่อประโยชน์แก่เจ้าโดยเฉพาะ
ลูกสะใภ้คนใดทุบตีขับไล่เจ้าแล้วคลอดบุตร
เราจะทำหล่อนพร้อมกับบุตรให้เป็นเถ้าธุลีทีเดียว
(นางกัจจานีกล่าวว่า)
[๗] ข้าแต่เทวราช หากพระองค์ทรงพอพระทัยเสด็จมาที่นี้
เพื่อประโยชน์แก่หม่อมฉันโดยเฉพาะอย่างนี้
ขอหม่อมฉัน ลูกชาย ลูกสะใภ้ และหลาน
จงอยู่ร่วมเรือนกันด้วยความบันเทิงใจเถิด
(ท้าวสักกะตรัสว่า)
[๘] แม่กาติยานี หากเจ้าพอใจเช่นนั้น
แม้จะถูกทุบตีขับไล่ก็อย่าละธรรม
ขอให้เจ้า ลูกชาย ลูกสะใภ้ และหลาน
จงอยู่ร่วมเรือนกันด้วยความบันเทิงใจเถิด
[๙] นางกาติยานีนั้นกับลูกสะใภ้ได้มีใจบันเทิงอยู่ร่วมกัน
ลูกชายและหลานก็ได้ช่วยกันปฏิบัติบำรุง
เพราะท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทพได้ทรงอนุเคราะห์
กัจจานิชาดกที่ ๑ จบ

๒. อัฏฐสัททชาดก (๔๑๘)
ว่าด้วยเสียงของบุคคลทั้ง ๘
(พระดาบสกราบทูลชี้แจงเสียงทั้ง ๘ คือเสียงนกยางว่า)
[๑๐] สระนี้ เมื่อก่อนลุ่มลึก มีปลามาก มีน้ำมาก
เป็นที่อยู่อาศัยของพญานกยาง ซึ่งเป็นที่อยู่แห่งบิดาของเรา
ทุกวันนี้ พวกเรามีชีวิตอยู่ได้ด้วยกบ จึงละทิ้งน้ำไปไม่ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๘. อัฏฐกนิบาต] กัจจานิวรรค ๒. อัฏฐสัททชาดก (๔๑๘)
(เสียงกาว่า)
[๑๑] ใครหนอจะทำลายนัยน์ตาดวงที่ ๒
ของควาญช้างชื่อพันธุระผู้ไม่มีศีล
ใครหนอจักช่วยลูก ๆ ของเรา รังของเรา และตัวเราให้ปลอดภัย
(เสียงแมลงภู่ว่า)
[๑๒] กระพี้เท่าที่มีอยู่ถูกเจาะไปหมด
ขอถวายพระพรมหาบพิตร แมลงภู่หมดอาหารไม่ยินดีในแก่น
(เสียงนกดุเหว่า)
[๑๓] เรานั้นคงจักพ้นจากพระราชนิเวศน์ไปจากที่นี้แล้ว
ทำตนให้ยินดี อาศัยอยู่ตามต้นไม้กิ่งไม้แน่นอน
(เสียงเนื้อว่า)
[๑๔] เรานั้นคงจักพ้นจากพระราชนิเวศน์ไปจากที่นี้แล้ว
เดินนำหน้าฝูง ดื่มน้ำที่ดีเลิศแน่นอน
(เสียงลิงว่า)
[๑๕] นายพรานชื่อภรตะชาวแคว้นพาหิกะได้นำเรา
ผู้มัวเมาด้วยกาม กำหนัดหมกมุ่นอยู่ในกามนั้นมา
ขอความเจริญจงมีแก่ท่าน
(เสียงกินนรว่า)
[๑๖] นางกินนรีได้กล่าวกับเราที่ยอดเขาแหลมในเวลามืดมิด
ด้วยถ้อยคำอันอ่อนหวานว่า โปรดระวังเท้า
อย่าเหยียบพลาดไปถูกแง่หิน
(เสียงพระปัจเจกพุทธเจ้าว่า)
[๑๗] เราได้เห็นพระนิพพานอันเป็นที่สิ้นชาติ
จักไม่กลับมานอนในครรภ์อีกอย่างไม่ต้องสงสัย
ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย การนอนในครรภ์ก็เป็นครั้งสุดท้าย
สังสารวัฏเพื่อภพต่อไปของเราสิ้นแล้ว
อัฏฐสัททชาดกที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๘. อัฏฐกนิบาต] กัจจานิวรรค ๔. สุมังคลชาดก (๔๒๐)
๓. สุลสาชาดก (๔๑๙)
ว่าด้วยนางสุลสาหญิงงามเมือง
(นางสุลสากล่าวกับสามีว่า)
[๑๘] นี้สร้อยทองคำ แก้วมุกดา แก้วไพฑูรย์
เป็นจำนวนมาก ขอเชิญพี่ขนไปทั้งหมด
ขอพี่จงมีความเจริญ และจงประกาศดิฉันว่าเป็นนางทาสี
(สามีกล่าวว่า)
[๑๙] แม่โฉมงาม เธอจงเปลื้องออกมาเถิด
อย่าคร่ำครวญไปนักเลย
เราจะไม่รับรู้อะไรทั้งนั้น ฆ่าเจ้าแล้วจึงนำทรัพย์ไป
(นางสุลสากล่าวว่า)
[๒๐] ตั้งแต่ดิฉันรู้เดียงสา ดิฉันจำตัวเองได้ว่า
ยังไม่เคยรู้จักรักชายอื่นยิ่งกว่าพี่เลย
[๒๑] มานี้เถิด ดิฉันจักสวมกอดพี่
และจักกระทำประทักษิณ
เพราะตั้งแต่นี้ต่อไป ดิฉันและพี่จะไม่พบกันอีก
(เทวดาผู้สถิตอยู่ที่ยอดเขากล่าวว่า)
[๒๒] ใช่ว่าชายจะเป็นบัณฑิตในที่ทุกสถานก็หาไม่
แม้หญิงมีปัญญาเห็นประจักษ์ในเรื่องนั้น ๆ ก็เป็นบัณฑิตได้
[๒๓] ใช่ว่าชายจะเป็นบัณฑิตในที่ทุกสถานก็หาไม่
แม้หญิงมีปัญญาคิดเนื้อความได้ฉับพลันก็เป็นบัณฑิตได้
[๒๔] นางสุลสาเผชิญหน้าโจร คิดอุบายได้อย่างเร็วพลันหนอ
ได้ฆ่าโจรสัตตุกะเหมือนนายพรานเนื้อผู้ฉลาด
เมื่อธนูมีลูกศรพร้อมย่อมฆ่าเนื้อได้เร็วพลัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๘. อัฏฐกนิบาต] กัจจานิวรรค ๔. สุมังคลชาดก (๔๒๐)
[๒๕] อนึ่ง ผู้ใดไม่รู้เท่าทันเหตุที่เกิดขึ้นโดยฉับพลัน
ผู้นั้นเป็นคนมีปัญญาน้อย
ย่อมถูกฆ่าเหมือนโจรที่ถูกฆ่าทิ้งที่ซอกเขา
[๒๖] ส่วนผู้ใดรู้เท่าทันเหตุที่เกิดขึ้นโดยฉับพลัน
ผู้นั้นย่อมพ้นจากความคับขันอันเกิดจากศัตรู
เหมือนนางสุลสาพ้นจากโจรสัตตุกะ
สุลสาชาดกที่ ๓ จบ

๔. สุมังคลชาดก (๔๒๐)
ว่าด้วยนายสุมังคละ
(พระราชาตรัสกับอำมาตย์ว่า)
[๒๗] ผู้เป็นใหญ่รู้ตัวว่าเรากำลังโกรธจัดก็อย่าเพิ่งลงโทษ
เพราะผู้ลงโทษอันไม่เหมาะสมแก่ตนโดยขาดเหตุผลแล้ว
จะพึงก่อทุกข์ให้เกิดขึ้นแก่บุคคลอื่นอย่างมากมาย
[๒๘] เมื่อใดผู้เป็นใหญ่รู้สึกว่าตนมีจิตผ่องใส
พึงพิจารณาคดีที่คนอื่นทำผิด
เมื่อพิจารณาด้วยตนเองว่า คดีเป็นอย่างนี้ ๆ
เมื่อนั้นพึงลงโทษตามความเหมาะสมแก่เขา
[๒๙] ส่วนผู้ใดไม่ลำเอียง พิจารณาความเหมาะสมและไม่เหมาะสม
ผู้นั้นชื่อว่าไม่เบียดเบียนผู้อื่นและตนเอง
ผู้เป็นใหญ่คนใดในโลกนี้ลงโทษตามสมควร
ผู้นั้นย่อมมีคุณงามความดีคุ้มครอง ไม่เสื่อมจากสิริ
[๓๐] กษัตริย์เหล่าใดทรงลำเอียง ไม่ทรงพิจารณาก่อนกระทำ
ทรงรีบลงพระอาชญา
กษัตริย์เหล่านั้นมีโทษอันน่าติเตียน
สวรรคตพ้นจากโลกนี้ไปแล้วย่อมไปสู่ทุคติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๘. อัฏฐกนิบาต] กัจจานิวรรค ๕. คังคมาลชาดก (๔๒๑)
[๓๑] กษัตริย์เหล่าใดทรงยินดีในธรรมที่อริยชนประกาศไว้แล้ว
กษัตริย์เหล่านั้นนับว่าทรงยอดเยี่ยม
ด้วยกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม
กษัตริย์เหล่านั้นทรงดำรงมั่นอยู่ในธรรม
คือ ขันติ โสรัจจะ และสมาธิ
ทรงไปสู่โลกทั้ง ๒ โดยวิธีเช่นนั้น
[๓๒] เราเป็นพระราชาผู้เป็นใหญ่กว่าชายและหญิง
ถึงแม้เราจะโกรธก็จะหักห้ามความโกรธได้
ดำรงตนไว้อย่างนั้นต่อชุมชน
จะอนุเคราะห์ลงอาชญาโดยธรรม
(นายสุมังคละกล่าวสดุดีพระราชาว่า)
[๓๓] ขอเดชะพระบรมกษัตริย์ผู้เป็นใหญ่แห่งหมู่ชน
ขอพระสิริสมบัติอย่าได้ละพระองค์ในกาลไหน ๆ เลย
ขอพระองค์อย่าทรงกริ้ว มีพระราชหฤทัยผ่องใสอยู่เป็นนิตย์
ปราศจากความทุกข์ รักษาพระองค์อยู่ตลอด ๑๐๐ ปีเถิด
[๓๔] ขอเดชะพระบรมกษัตริย์
ขอพระองค์จงทรงประกอบด้วยคุณธรรมเหล่านี้ คือ
ทรงมีพระอริยวัตรอันมั่นคง ทรงรับอนุสาสนีโดยง่าย
ไม่ทรงกริ้ว ทรงพระสำราญ
ปกครองแผ่นดินโดยปราศจากการเบียดเบียน
อนึ่ง พระองค์แม้เสด็จพ้นจากโลกนี้ไปแล้ว ขอจงเสด็จสู่สุคติเถิด
[๓๕] พระธรรมิกราชาธิราชเมื่อทรงปกครองโดยกุศโลบาย
อันชอบธรรม ด้วยเหตุที่เหมาะสม ด้วยคำอันเป็นสุภาษิต
พึงทำมหาชนผู้มีความกระวนกระวายให้เย็นใจ
ดุจมหาเมฆยังเมทนีดลให้ชุ่มฉ่ำด้วยน้ำ
สุมังคลชาดกที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๘. อัฏฐกนิบาต] กัจจานิวรรค ๕. คังคมาลชาดก (๔๒๑)
๕. คังคมาลชาดก (๔๒๑)
ว่าด้วยพระปัจเจกพุทธเจ้านามว่าคังคมาละ
(พระเจ้าอุทัยตรัสถามชายคนหนึ่งว่า)
[๓๖] แผ่นดินร้อนเหมือนถ่านเพลิง
ระอุด้วยทรายที่ร้อนราวกับเถ้าถ่าน ถึงอย่างนั้น
เจ้าก็ยังพากเพียรร้องเพลงอยู่ แดดไม่แผดเผาเจ้าหรือ
[๓๗] เบื้องบนดวงอาทิตย์ก็ร้อน เบื้องล่างทรายก็ร้อน
ถึงอย่างนั้น เจ้าก็ยังพากเพียรร้องเพลงอยู่
แดดไม่แผดเผาเจ้าหรือ
(ชายคนนั้นกราบทูลว่า)
[๓๘] แดดหาแผดเผาข้าพระองค์ไม่
แต่แดดคือกามทั้งหลายย่อมแผดเผาข้าพระองค์
ขอเดชะพระมหาราชเจ้า เพราะว่าความต้องการมีหลายอย่าง
ความต้องการเหล่านั้นย่อมแผดเผาข้าพระองค์ หาใช่แดดไม่
(พระเจ้าอัฑฒมาสกทรงเปล่งอุทานว่า)
[๓๙] นี่กาม เราได้เห็นรากเหง้าของเจ้าแล้ว
เจ้าเกิดได้เพราะความดำริ เราจะไม่ดำริถึงเจ้าอีก
เจ้าจะไม่มีอย่างนี้อีกต่อไป
(พระเจ้าอัฑฒมาสกทรงแสดงธรรมแก่พสกนิกรว่า)
[๔๐] กามแม้เพียงเล็กน้อยก็ไม่เพียงพอ แม้มากก็ไม่อิ่ม
โอหนอ กามทั้งหลายคนพาลเพ้อรำพันถึง
กุลบุตรนักปฏิบัติพึงเว้นได้ขาด
(พระเจ้าอุทัยทรงเปล่งอุทานว่า)
[๔๑] การที่เราเป็นพระอุทัยราชาได้บรรลุถึงความเป็นใหญ่
นี้เป็นผลแห่งกรรมอันเล็กน้อยของเรา
การที่มาณพละกามราคะบวชนั้นชื่อว่าได้ลาภดีแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๘. อัฏฐกนิบาต] กัจจานิวรรค ๖. เจติยราชชาดก (๔๒๒)
(พระราชชนนีของพระเจ้าพรหมทัตตรัสว่า)
[๔๒] สัตว์ทั้งหลายละกรรมชั่วได้ด้วยตบะ
แต่จะละภาวะแห่งช่างกัลบกและช่างหม้อด้วยตบะได้หรือ
คังคมาละ วันนี้เจ้าใช้ตบะข่มขี่
ร้องเรียกพระเจ้าพรหมทัตโดยพระนาม
จะสมควรแลหรือ
(พระเจ้าพรหมทัตทรงห้ามพระราชชนนีว่า)
[๔๓] ขอเดชะเสด็จแม่ จงทอดพระเนตรผลในปัจจุบันเถิด
นี้เป็นผลแห่งขันติและโสรัจจะ
พวกหม่อมฉันพร้อมทั้งพระราชวงศ์และเสนาอำมาตย์
ไหว้ท่านผู้ที่ชนทั้งปวงไหว้แล้ว
(พระเจ้าพรหมทัตทรงชี้แจงแก่พสกนิกรว่า)
[๔๔] ท่านทั้งหลายอย่าได้ว่าอะไร ๆ ท่านคังคมาลมุนี
ผู้ศึกษาอยู่ในข้อปฏิบัติของมุนี
เพราะพระคุณเจ้ารูปนี้ได้ข้ามมหาสมุทรคือสังสารวัฏ
ซึ่งผู้ที่ข้ามได้แล้วปราศจากความเศร้าโศกเที่ยวไป
คังคมาลชาดกที่ ๕ จบ

๖. เจติยราชชาดก (๔๒๒)
ว่าด้วยพระเจ้าเจติยราช
(ดาบสถวายโอวาทแด่พระราชาว่า)
[๔๕] ธรรมย่อมฆ่าผู้ทำลายธรรม
ย่อมไม่ฆ่าใคร ๆ ที่ไม่ทำลายธรรม
เพราะเหตุนั้นแล บุคคลไม่ควรทำลายธรรม
ขอธรรมที่พระองค์ทรงทำลายแล้วอย่าได้ฆ่าพระองค์เลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๘. อัฏฐกนิบาต] กัจจานิวรรค ๖. เจติยราชชาดก (๔๒๒)
[๔๖] บุคคลเมื่อกล่าวคำเหลาะแหละ เทวดาทั้งหลายก็หลีกหนีไป
ผู้ใดถูกถามปัญหา ทั้งที่รู้อยู่ก็ตอบเป็นอย่างอื่นไป
ผู้นั้นปากจะเน่ากลิ่นฟุ้งไปและจะพลัดตกจากฐานะของตน
[๔๗] ขอถวายพระพรพระเจ้าเจติยะ
ก็ถ้าพระองค์ตรัสวาจาสัตย์ พระองค์จะดำรงอยู่เช่นเดิม
ถ้าพระองค์ยังตรัสวาจาเท็จอยู่ พระองค์จะประทับอยู่ที่แผ่นดิน
[๔๘] พระราชาพระองค์ใดถูกถามปัญหา
ทั้งที่ทรงทราบอยู่ก็ทรงตอบเป็นอย่างอื่นไป
ในแคว้นของพระราชาพระองค์นั้น
ฝนย่อมตกในเวลาไม่ใช่ฤดูกาล ย่อมไม่ตกในฤดูกาล
[๔๙] ขอถวายพระพรพระเจ้าเจติยะ
ก็ถ้าพระองค์ตรัสวาจาสัตย์ พระองค์จะดำรงอยู่เช่นเดิม
ถ้าพระองค์ยังตรัสวาจาเท็จอยู่ พระองค์จะถูกธรณีสูบ
[๕๐] ขอถวายพระพร พระองค์ผู้เป็นใหญ่ทั่วทุกทิศ
ผู้ใดถูกถามปัญหา ทั้งที่ทราบอยู่ก็ตอบเป็นอย่างอื่นไป
ผู้นั้นจะมีชิวหาเป็น ๒ แฉกเหมือนลิ้นงู
[๕๑] ขอถวายพระพรพระเจ้าเจติยะ
ก็ถ้าพระองค์ตรัสวาจาสัตย์ พระองค์จะดำรงอยู่เช่นเดิม
ถ้าพระองค์ยังตรัสวาจาเท็จอยู่ พระองค์จะถูกธรณีสูบลึกลงไป
[๕๒] ขอถวายพระพร พระองค์ผู้เป็นใหญ่ทั่วทุกทิศ
ผู้ใดถูกถามปัญหา ทั้งที่ทราบอยู่ก็ตอบเป็นอย่างอื่นไป
ผู้นั้นจะไม่มีชิวหาเหมือนปลา
[๕๓] ขอถวายพระพรพระเจ้าเจติยะ
ก็ถ้าพระองค์ตรัสวาจาสัตย์ พระองค์จะดำรงอยู่เช่นเดิม
แต่ถ้าพระองค์ยังตรัสวาจาเท็จอยู่ พระองค์จะถูกธรณีสูบลึกลงไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๘. อัฏฐกนิบาต] กัจจานิวรรค ๗. อินทริยชาดก (๔๒๓)
[๕๔] ผู้ใดถูกถามปัญหา ทั้งที่รู้อยู่ก็ตอบเป็นอย่างอื่น
ผู้นั้นจะมีแต่ลูกผู้หญิงมาเกิด ไม่มีลูกผู้ชายมาเกิดในตระกูล
[๕๕] ขอถวายพระพรพระเจ้าเจติยะ
ก็ถ้าพระองค์ตรัสวาจาสัตย์ พระองค์จะดำรงอยู่เช่นเดิม
แต่ถ้าพระองค์ยังตรัสวาจาเท็จอยู่ พระองค์จะถูกธรณีสูบลึกลงไป
[๕๖] ผู้ใดถูกถามปัญหา ทั้งที่รู้อยู่ก็ตอบเป็นอย่างอื่นไป
ผู้นั้นจะไม่มีบุตร ที่มีก็จะหลีกหนีไปคนละทิศละทาง
[๕๗] ขอถวายพระพรพระเจ้าเจติยะ
ก็ถ้าพระองค์ตรัสวาจาสัตย์ พระองค์จะดำรงอยู่เช่นเดิม
ถ้าพระองค์ยังตรัสวาจาเท็จอยู่ พระองค์จะถูกธรณีสูบลึกลงไป
(พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
[๕๘] พระเจ้าเจติยะพระองค์นั้นเมื่อก่อนเหาะเหินเดินอากาศได้
ถูกฤๅษีสาป เสื่อมจากสภาวธรรม
ถูกธรณีสูบจนตาย
[๕๙] เพราะฉะนั้น บัณฑิตทั้งหลายจึงไม่สรรเสริญ
การลุอำนาจความพอใจ
บุคคลผู้มีจิตอันกิเลสไม่ประทุษร้าย
จะกล่าวแต่ถ้อยคำที่ประกอบด้วยสัจจะเท่านั้น
เจติยราชชาดกที่ ๖ จบ

๗. อินทริยชาดก (๔๒๓)
ว่าด้วยอำนาจของอินทรีย์
(สรภังคดาบสกล่าวกับนารทดาบสว่า)
[๖๐] นารทะ ผู้ใดตกอยู่ในอำนาจของอินทรีย์เพราะความใคร่
ผู้นั้นละโลกทั้ง ๒ แล้วย่อมไปเกิดในอบาย
แม้มีชีวิตอยู่ ร่างกายก็ซูบซีด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๘. อัฏฐกนิบาต] กัจจานิวรรค ๗. อินทริยชาดก (๔๒๓)
[๖๑] ต่อจากสุขก็เป็นทุกข์ ต่อจากทุกข์ก็เป็นสุข
เธอจะเป็นผู้ได้รับทุกข์มากกว่าสุข
ดังนั้น เธอพึงหวังสุขอันประเสริฐเถิด
[๖๒] ผู้ใดในยามลำบาก ทนต่อความลำบากได้
ไม่คำนึงถึงความลำบาก ผู้นั้นเป็นนักปราชญ์
ย่อมเสวยโยคสุขอันเป็นที่สุดแห่งความลำบากนั้น
[๖๓] เธอไม่ควรเคลื่อนจากธรรม
เพราะความปรารถนากามทั้งหลาย
อันเป็นเหตุมิใช่ประโยชน์จากประโยชน์ต่าง ๆ
และเพราะทอดทิ้งฌานที่ได้บำเพ็ญแล้ว
(กาฬเทวิลดาบสกล่าวกับนารทดาบสว่า)
[๖๔] ผู้ครองเรือนมีความขยัน แบ่งปันกันกิน เป็นการดี
เมื่อได้สิ่งที่ต้องการก็ไม่ระเริง
และเมื่อเสื่อมจากสิ่งที่ต้องการก็ไม่เดือดร้อน
(พระศาสดาตรัสว่า)
[๖๕] กาฬเทวิลดาบสผู้สงบได้กล่าวความเป็นบัณฑิตนั้นเพียงเท่านี้ว่า
ไม่มีสิ่งอื่นใดที่จะเลวไปกว่าผู้ตกอยู่ในอำนาจ
แห่งอินทรีย์ทั้งหลายนี้เลย
(มนุษย์เปรตกราบทูลพระเจ้าสีพีว่า)
[๖๖] ขอเดชะพระเจ้าสีพี
บุคคลเช่นข้าพระองค์ถึงความพินาศ
เหมือนความพินาศในเงื้อมมือของพวกศัตรู
ทำเหตุที่ให้เกิดยศเหล่านี้ คือ การงาน วิชชา
ความขยัน การวิวาห์ ศีล และความอ่อนโยนให้เสื่อมไป
บังเกิดเป็นมนุษย์เปรตด้วยกรรมของตน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๘. อัฏฐกนิบาต] กัจจานิวรรค ๙. อัฏฐานชาดก (๔๒๕)
[๖๗] ข้าพระองค์นั้นไม่มีพวกพ้อง ไร้ที่พึ่ง
เหมือนคนเสื่อมจากทรัพย์นับพัน
เหินห่างจากธรรมอันประเสริฐเหมือนคนตายแล้ว
[๖๘] ข้าพระองค์ทำคนผู้ต้องการความสุขให้ได้รับความทุกข์
จึงตกอยู่ในสภาพเช่นนี้
ข้าพระองค์นั้นไม่ได้ประสบความสุขเลย
เหมือนอยู่ในกองถ่านเพลิง
อินทริยชาดกที่ ๗ จบ

๘. อาทิตตชาดก (๔๒๔)
ว่าด้วยสิ่งของในเรือนที่ถูกไฟไหม้
(พระปัจเจกพุทธเจ้ากล่าวอนุโมทนาแด่พระราชาและพระเทวีว่า)
[๖๙] เมื่อเรือนถูกไฟไหม้ ภาชนะใดที่นำออกได้
ภาชนะนั้นก็เป็นประโยชน์แก่เขา
ส่วนภาชนะที่ถูกไฟไหม้ในเรือนนั้นก็ไม่เป็นประโยชน์เลย
[๗๐] สัตวโลกถูกชราและมรณะแผดเผาอยู่อย่างนี้
ทรัพย์ที่มหาบพิตรทรงนำออกให้ทานเป็นอันทรงนำออกดีแล้ว
(พระปัจเจกพุทธเจ้าที่เหลืออีก ๖ องค์ กล่าวอนุโมทนาว่า)
[๗๑] ชนใดให้ทานแก่ท่านผู้ได้ธรรม
บรรลุธรรมด้วยความขยันหมั่นเพียร
ชนนั้นย่อมพ้นจากนรกเวตรณีของพญายม
แล้วเข้าถึงทิพยสถาน
[๗๒] ทานและการรบ นักปราชญ์กล่าวว่า เสมอกัน
คือ คนแม้มีจำนวนน้อยก็ย่อมชนะคนจำนวนมากได้
ถึงทรัพย์มีจำนวนน้อย หากมีศรัทธาก็ให้ทานได้
เพราะทรัพย์มีจำนวนน้อยนั่นแหละ เขาย่อมมีความสุขในโลกหน้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๘. อัฏฐกนิบาต] กัจจานิวรรค ๙. อัฏฐานชาดก (๔๒๕)
[๗๓] พระสุคตทรงสรรเสริญการเลือกให้
ท่านเหล่าใดควรแก่ทักษิณามีอยู่ในมนุษยโลกนี้
ทานที่บุคคลถวายในท่านเหล่านี้ย่อมมีผลมาก
เหมือนพืชที่หว่านลงในนาที่ดี
[๗๔] ผู้ใดไม่เที่ยวเบียดเบียนหมู่สัตว์
ไม่ทำความชั่ว เพราะกลัวคนอื่นติเตียน
บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญผู้นั้นซึ่งกลัวการถูกติเตียน
ไม่สรรเสริญผู้กล้าในการถูกติเตียน
เพราะกลัวต่อการถูกติเตียน สัตบุรุษทั้งหลายจึงไม่ทำความชั่ว
[๗๕] บุคคลเกิดเป็นกษัตริย์ด้วยพรหมจรรย์ชั้นต่ำ
เกิดเป็นเทวดาด้วยพรหมจรรย์ชั้นกลาง
และย่อมบริสุทธิ์ด้วยพรหมจรรย์ชั้นสูงสุด
[๗๖] ทานท่านสรรเสริญไว้หลายประการก็จริง
แต่ธรรมเท่านั้นประเสริฐกว่าทาน
เพราะแต่ก่อนมา สัตบุรุษทั้งหลายผู้มีปัญญาเท่านั้น
ได้บรรลุนิพพาน
อาทิตตชาดกที่ ๘ จบ

๙. อัฏฐานชาดก (๔๒๕)
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
(มหาธนฤๅษีกล่าวกับหญิงโสเภณีว่า)
[๗๗] เมื่อใดแม่น้ำคงคาดารดาษด้วยดอกโกมุทสงบนิ่ง
นกดุเหว่ามีขนสีขาวเหมือนสังข์และต้นหว้าออกผลเป็นผลตาล
เมื่อนั้นเราพึงไปด้วยกันได้แน่
[๗๘] เมื่อใดผ้าห่มผืนใหญ่ ๓ ชนิดทอด้วยขนเต่า ใช้ห่มกันหนาวได้
เมื่อนั้นเรากับเธอพึงเกี่ยวข้องกันได้แน่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๘. อัฏฐกนิบาต] กัจจานิวรรค ๑๐. ทีปิชาดก (๔๒๖)
[๗๙] เมื่อใดป้อมถูกสร้างขึ้นอย่างดีด้วยขายุง มั่นคงและไม่หวั่นไหว
เมื่อนั้นเรากับเธอพึงเกี่ยวข้องกันได้แน่
[๘๐] เมื่อใดบันไดถูกสร้างขึ้นอย่างดีด้วยเขากระต่าย
เพื่อประโยชน์แก่การขึ้นสวรรค์ได้
เมื่อนั้นเรากับเธอพึงอยู่ร่วมกันได้แน่
[๘๑] เมื่อใดหนูทั้งหลายไต่บันไดไปกัดกินดวงจันทร์
และขับไล่ราหูไปได้
เมื่อนั้นเรากับเธอพึงเกี่ยวข้องกันได้แน่
[๘๒] เมื่อใดแมลงวันทั้งหลายพากันบินเที่ยวไปเป็นฝูง
ดื่มเหล้าหมดไหแล้ว อยู่ในถ่านเพลิงได้
เมื่อนั้นเรากับเธอพึงเกี่ยวข้องกันได้แน่
[๘๓] เมื่อใดลามีริมฝีปากเหมือนผลตำลึงสุก
มีใบหน้างาม ฉลาดในการฟ้อนรำขับร้อง
เมื่อนั้นเรากับเธอพึงเกี่ยวข้องกันได้แน่
[๘๔] เมื่อใดกาและนกเค้าอยู่ในที่ลับปรึกษาปรองดองกันได้
เมื่อนั้นเรากับเธอพึงเกี่ยวข้องกันได้แน่
[๘๕] เมื่อใดเอาใบบัวอ่อนที่แตกจากเหง้า
มาทำร่มให้แข็งแรงเพื่อกันฝน
เมื่อนั้นเรากับเธอพึงเกี่ยวข้องกันได้แน่
[๘๖] เมื่อใดนกน้อยใช้จะงอยปากคาบภูเขาคันธมาทน์บินไปได้
เมื่อนั้นเรากับเธอพึงเกี่ยวข้องกันได้แน่
[๘๗] เมื่อใดเด็กน้อยยกเรือเดินทะเล
พร้อมทั้งเครื่องยนต์และใบเรือไปได้
เมื่อนั้นเรากับเธอพึงเกี่ยวข้องกันได้แน่
อัฏฐานชาดกที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๘. อัฏฐกนิบาต] กัจจานิวรรค ๑๐. ทีปิชาดก (๔๒๖)
๑๐. ทีปิชาดก (๔๒๖)
ว่าด้วยเสือเหลือง
(แพะกล่าวกับเสือเหลืองว่า)
[๘๘] ท่านลุงลำบากไหม พอหากินได้สะดวกไหม สบายดีไหม
แม่ของข้าพเจ้าได้ถามถึงความสุขของลุง
พวกเราต้องการให้ลุงมีความสุข
(เสือเหลืองกล่าวกับแพะว่า)
[๘๙] นี่เจ้าแพะน้อย เจ้าเหยียบหางเบียดเบียนเรา
วันนี้ เจ้านั้นคงคิดซิว่า จะรอดพ้นด้วยการกล่าวคำว่า ลุง
(แพะกล่าวว่า)
[๙๐] ลุงนั่งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก
ข้าพเจ้าเดินมาข้างหน้าของลุง
หางของลุงอยู่ข้างหลัง ข้าพเจ้าเหยียบหางของลุงได้อย่างไรเล่า
(เสือเหลืองกล่าวว่า)
[๙๑] ทวีปทั้ง ๔ พร้อมทั้งสมุทรและภูเขามีประมาณเท่าใด
หางของเราก็ครอบคลุมไปประมาณเท่านั้น
เจ้าจะหลบหางของเรานั้นได้อย่างไร
(แพะกล่าวว่า)
[๙๒] เมื่อก่อน พ่อแม่และพี่ชายของข้าพเจ้า
ได้บอกเรื่องนี้แก่ข้าพเจ้าเหมือนกันว่า หางของสัตว์ดุร้ายยาว
ข้าพเจ้านั้นจึงได้เลี่ยงมาทางอากาศ
(เสือเหลืองกล่าวว่า)
[๙๓] เจ้าแพะน้อย ก็ฝูงเนื้อเห็นเจ้าเหาะมาจึงได้หนีไป
ภักษาของเราเจ้าได้ทำให้พินาศไปแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๒๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก
(พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า)
[๙๔] เมื่อแม่แพะคร่ำครวญอยู่อย่างนี้
เจ้าเสือเหลืองสัตว์กินเนื้อเลือดก็ปราดเข้าขย้ำคอ
ถ้อยคำเป็นสุภาษิตย่อมไม่มีในคนโหดร้าย
[๙๕] ในคนโหดร้ายไม่มีเหตุ ไม่มีผล
ไม่มีถ้อยคำเป็นสุภาษิตในคนโหดร้าย
บุคคลพึงทำการหลบหลีกไป
เพราะคำของคนดีมันก็ไม่ชอบ
ทีปิชาดกที่ ๑๐ จบ
กัจจานิวรรค จบ

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. กัจจานิชาดก ๒. อัฏฐสัททชาดก
๓. สุลสาชาดก ๔. สุมังคลชาดก
๕. คังคมาลชาดก ๖. เจติยราชชาดก
๗. อินทริยชาดก ๘. อาทิตตชาดก
๙. อัฏฐานชาดก ๑๐. ทีปิชาดก

อัฏฐกนิบาต จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๐๐ }


๙. นวกนิบาต
๑. คิชฌชาดก (๔๒๗)
ว่าด้วยนกแร้ง
(พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
[๑] หนทางที่คิชฌบรรพตชื่อปริสังกุปถะมีมาแต่โบราณ
ณ หนทางนั้นมีนกแร้งเลี้ยงพ่อแม่ที่แก่อยู่
มันได้นำเอามันข้นของงูเหลือมมาให้พ่อแม่กินโดยมาก
[๒] ก็พ่อของแร้งรู้อยู่ว่า ลูกบินสูงเกินไปจะตก
จึงได้สอนลูกแร้งชื่อสุปัตตะตัวแข็งแรง
กล้าหาญ บินไปได้ไกลว่า
[๓] ลูก เมื่อใดเจ้ารู้ว่า แผ่นดินที่ทะเลล้อมรอบ
กลมเหมือนวงล้อลอยอยู่ในน้ำ
เจ้าจงกลับแค่นั้นนะ ลูกอย่าบินไปเกินกว่านั้น
[๔] ปักษีตัวมีกำลัง เป็นพญานก โผขึ้นด้วยกำลัง
เอี้ยวคอมองดูภูเขาและป่าไม้
[๕] นกแร้งได้เห็นแผ่นดินที่มีทะเลล้อมรอบ กลมเหมือนวงล้อ
เหมือนอย่างที่ได้ฟังจากพ่อของมัน
[๖] มันก็ยังบินเลยสถานที่ที่บิดาบอกนั้นไป
สายลมอันแรงกล้า ก็ได้พัดกระหน่ำนกแร้งตัวแข็งแรงนั้น
[๗] สัตว์ที่บินเลยไป ไม่อาจจะบินกลับได้อีกเลย
นกแร้งตกอยู่ในอำนาจของลมเวรัมภา ได้ถึงความพินาศแล้ว
[๘] ลูกเมียของมันและนกแร้งเหล่าอื่นที่อาศัยมันเป็นอยู่
ทั้งหมดถึงความพินาศ เพราะนกที่ไม่ทำตามโอวาทตัวเดียว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๙. นวกนิบาต] ๓. มหาสุวราชชาดก (๔๒๙)
[๙] ผู้ใดในโลกนี้ไม่เชื่อฟังคำของผู้ใหญ่ทั้งหลาย
ประพฤติเกินขอบเขตย่อมเดือดร้อน
เหมือนนกแร้งที่ละเมิดคำสอน
ผู้นั้นแลย่อมถึงความพินาศ
เพราะไม่กระทำตามคำสอนของผู้ใหญ่
คิชฌชาดกที่ ๑ จบ

๒. โกสัมพิยชาดก (๔๒๘)
ว่าด้วยการทะเลาะกันในเมืองโกสัมพี
(พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
[๑๐] คนทะเลาะกันมีเสียงดังเหมือนกันไปหมด
ไม่มีใครเลยจะรู้สึกตัวว่าเป็นคนพาล
ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อสงฆ์แตกกัน ก็ไม่ยอมรับรู้เหตุอย่างอื่น
[๑๑] คนฟั่นเฟือนยกตนว่าเป็นบัณฑิต เอาแต่พูด
ยื่นปากพูดตามที่ตัวปรารถนา
แต่ไม่ยอมรับรู้เรื่องที่ทะเลาะกันอย่างไร้ยางอาย
[๑๒] ชนเหล่าใดเข้าไปผูกเวรว่า คนนี้ได้ด่าเรา
ได้ฆ่าเรา ได้ชนะเรา และได้ลักสิ่งของของเราไป
เวรของชนเหล่านั้นย่อมไม่สงบระงับ
[๑๓] ส่วนชนเหล่าใดไม่เข้าไปผูกเวรว่า คนนี้ได้ด่าเรา
ได้ฆ่าเรา ได้ชนะเรา และได้ลักสิ่งของของเราไป
เวรของชนเหล่านั้นย่อมสงบระงับ
[๑๔] เพราะว่าในกาลไหน ๆ เวรทั้งหลายในโลกนี้
ย่อมไม่สงบระงับด้วยเวร แต่เวรทั้งหลาย
ย่อมสงบระงับด้วยการไม่จองเวร นี้เป็นธรรมเก่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๙. นวกนิบาต] ๓. มหาสุวราชชาดก (๔๒๙)
[๑๕] ชนพวกอื่นไม่รู้สึกว่าพวกเราย่อมย่อยยับในท่ามกลางสงฆ์นี้
ส่วนชนเหล่าใดในท่ามกลางสงฆ์นั้นย่อมรู้สึก
ต่อจากนั้น ความทะเลาะของชนเหล่านั้นย่อมสงบระงับ
[๑๖] คนสมัยก่อนตัดกระดูกกัน ปลิดชีวิต ปล้นโค
ม้า ทรัพย์ ซ้ำยังชิงเอาบ้านเมืองกัน
แม้คนเหล่านั้นก็ยังคบกันได้ ทำไมพวกเธอจึงคบกันไม่ได้
[๑๗] หากบุคคลจะพึงได้สหายผู้มีปัญญารักษาตน
เป็นนักปราชญ์ มีปกติอยู่ด้วยกรรมอันดีงาม
เที่ยวไปด้วยกัน ครอบงำอันตรายทั้งปวงแล้ว
มีสติ พอใจ พึงเที่ยวไปกับสหายนั้นเถิด
[๑๘] หากบุคคลไม่ได้สหายผู้มีปัญญารักษาตน
เป็นนักปราชญ์ มีปกติอยู่ด้วยกรรมอันดีงาม
เที่ยวไปด้วยกัน พึงเที่ยวไปผู้เดียว
เหมือนพระราชาทรงละแคว้นที่ทรงชนะแล้วเสด็จไปพระองค์เดียว
และเหมือนช้างมาตังคะเที่ยวไปตัวเดียวในป่า
[๑๙] การเที่ยวไปของบุคคลผู้เดียวเป็นความประเสริฐ
เพราะความเป็นสหายไม่มีในคนพาล
อนึ่ง บุคคลควรมีความขวนขวายน้อย
เที่ยวไปผู้เดียว ไม่พึงทำความชั่ว
เหมือนช้างมาตังคะเที่ยวไปตัวเดียวในป่า
โกสัมพิยชาดกที่ ๒ จบ

๓. มหาสุวราชชาดก (๔๒๙)
ว่าด้วยพญานกแขกเต้า
(ท้าวสักกะตรัสกับพญานกแขกเต้าว่า)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๐๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๙. นวกนิบาต] ๔. จูฬสุวกราชชาดก (๔๓๐)
[๒๐] เมื่อใดต้นไม้มีผลบริบูรณ์
เมื่อนั้นเหล่าวิหคก็พากันมาจิกกินผลไม้นั้น
ครั้นรู้ว่า เมื่อผลวาย ต้นไม้สิ้นไปแล้ว
ก็พากันจากต้นไม้นั้นไปตัวละทิศละทาง
[๒๑] พ่อนกแขกเต้าผู้มีจะงอยปากแดง
เจ้าจงเที่ยวไปเถิด อย่าเพิ่งตายเลย
เจ้ามาซบเซาอยู่บนตอไม้แห้งทำไม
เจ้านกแขกเต้าผู้มีสีเขียวเหมือนไพรสณฑ์ในวสันตฤดู
เจ้าบอกเราเถิด เหตุไร เจ้าจึงไม่ละทิ้งต้นไม้แห้ง
(พญานกแขกเต้ากล่าวว่า)
[๒๒] พญาหงส์ ชนเหล่าใดเป็นเพื่อนร่วมสุขร่วมทุกข์จนตลอดชีวิต
แม้เพื่อนนั้นจะสิ้นทรัพย์หรือไม่สิ้นทรัพย์ก็ตาม ก็ไม่ยอมละทิ้ง
ชนเหล่านั้นนับว่าเป็นสัตบุรุษระลึกถึงธรรมของสัตบุรุษอยู่เสมอ
[๒๓] พญาหงส์ ข้าพเจ้าก็เป็นหนึ่งในหมู่สัตบุรุษ
ต้นไม้เป็นทั้งญาติเป็นทั้งสหายของข้าพเจ้า
ข้าพเจ้าต้องการมีชีวิตอยู่ ทั้งที่รู้ว่าต้นไม้หมดสิ้นแล้ว
ก็ไม่อาจทอดทิ้งไปได้
เพราะการทอดทิ้งไปนั้นไม่ใช่ธรรม
(ท้าวสักกะตรัสว่า)
[๒๔] เป็นการดีเจ้าปักษีที่เจ้าได้กระทำความเป็นเพื่อน
ไมตรีและความสนิทสนมในหมู่พวก
ถ้าคุณธรรมข้อนี้เจ้าพอใจ
เจ้าก็เป็นที่สรรเสริญของผู้รู้ทั้งหลาย
[๒๕] นี่เจ้านกแขกเต้าผู้มีปีกบินไปในอากาศ
เรานั้นจะให้พรแก่เจ้า
เจ้าจงเลือกพรสักอย่างหนึ่งตามที่เจ้าพอใจเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๙. นวกนิบาต] ๔. จูฬสุวกราชชาดก (๔๓๐)
(พญานกแขกเต้ากล่าวว่า)
[๒๖] พญาหงส์ หากท่านจะให้พรแก่ข้าพเจ้า
ก็ขอให้ต้นไม้ต้นนี้มีอายุต่อไป
ขอต้นไม้นั้นจงงอกงามมีกิ่งและผลสมบูรณ์
ผลิผลมีรสอร่อย ยืนต้นสง่างามเถิด
(ท้าวสักกะตรัสว่า)
[๒๗] เพื่อน เจ้าจงเห็นต้นไม้นั้นมีผลดก
ขอเจ้าจงอยู่ร่วมกันกับต้นมะเดื่อเถิด
ขอต้นไม้นั้นจงงอกงามมีกิ่งและผลสมบูรณ์
ผลิผลมีรสอร่อย ยืนต้นสง่างามเถิด
(พญานกแขกเต้ากล่าวว่า)
[๒๘] ท้าวสักกะ วันนี้ข้าพระองค์มีความสุขเพราะเห็นต้นไม้มีผลฉันใด
ขอพระองค์พร้อมทั้งพระประยูรญาติทั้งปวงจงมีความสุขฉันนั้นเถิด
(พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
[๒๙] ท้าวสักกะครั้นประทานพร
บันดาลให้ต้นไม้มีผลแก่นกแขกเต้าแล้ว
พร้อมด้วยพระมเหสี ก็เสด็จหลีกไปยังสวนเทพนันทวัน
มหาสุวราชชาดกที่ ๓ จบ

๔. จูฬสุวกราชชาดก (๔๓๐)
ว่าด้วยพญานกแขกเต้า
(ท้าวสักกะตรัสถามพญานกแขกเต้าว่า)
[๓๐] หมู่ต้นไม้มีใบเขียวชอุ่ม มีผลดาษดื่น มีอยู่เป็นจำนวนมาก
ทำไมหนอ ใจของนกแขกเต้า
จึงยินดีต้นไม้แห้งเป็นโพรงไม่สร่างซา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๙. นวกนิบาต] ๕. หริตจชาดก (๔๓๑)
(พญานกแขกเต้าตอบว่า)
[๓๑] ผลของต้นไม้นี้ ข้าพเจ้าอาศัยกินอยู่หลายปี
แม้ไม่มีผล ข้าพเจ้ารู้แล้ว แต่ก็ยังรักษาไมตรีนั้นไว้เหมือนเดิม
(ท้าวสักกะตรัสถามว่า)
[๓๒] ต้นไม้แห้ง ต้นไม้เป็นโพรง และต้นไม้ปราศจากใบและผล
ฝูงนกก็พากันละทิ้งไป นี่นกน้อย เจ้าเห็นโทษอะไร
(พญานกแขกเต้าตอบว่า)
[๓๓] นกเหล่าใดต้องการผลไม้จึงคบหา
รู้ว่าไม่มีผลก็ละทิ้งต้นไม้นั้นไป
นกเหล่านั้นเป็นพวกเห็นแต่ประโยชน์ส่วนตน
โง่เขลา เป็นผู้ทำลายพวกพ้อง
(ท้าวสักกะตรัสว่า)
[๓๔] เป็นการดี เจ้าปักษี ที่เจ้าได้กระทำความเป็นเพื่อน ไมตรี
และความสนิทสนมในหมู่พวก ถ้าคุณธรรมข้อนี้เจ้าพอใจ
เจ้าก็เป็นที่สรรรเสริญของผู้รู้ทั้งหลาย
[๓๕] นี่เจ้านกแขกเต้าผู้มีปีกบินไปในอากาศ
เรานั้นจะให้พรแก่เจ้า
เจ้าจงเลือกพรสักอย่างหนึ่งตามที่เจ้าพอใจเถิด
(พญานกแขกเต้ากล่าวว่า)
[๓๖] ทำไมหนอ ข้าพเจ้าจะพึงเห็นต้นไม้นี้กลับมีใบมีผลได้อีก
ข้าพเจ้าจะพึงยินดีอย่างยิ่งเหมือนคนจนได้ขุมทรัพย์
(พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
[๓๗] ลำดับนั้น ท้าวสักกะทรงถือเอาน้ำอมฤตรดต้นไม้
กิ่งของต้นไม้นั้นก็แตกออกมา มีเงาร่มเย็น น่ารื่นรมย์ใจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๙. นวกนิบาต] ๕. หริตจชาดก (๔๓๑)
(พญานกแขกเต้ากล่าวว่า)
[๓๘] ท้าวสักกะ วันนี้ข้าพระองค์มีความสุขเพราะเห็นต้นไม้มีผลฉันใด
ขอพระองค์พร้อมทั้งพระประยูรญาติทั้งปวงจงมีความสุขฉันนั้นเถิด
(พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
[๓๙] ท้าวสักกะครั้นประทานพร
บันดาลให้ต้นไม้มีผลแก่นกแขกเต้าแล้ว
พร้อมด้วยพระมเหสี ก็เสด็จหลีกไปยังสวนเทพนันทวัน
จูฬสุวกราชชาดกที่ ๔ จบ

๕. หริตจชาดก (๔๓๑)
ว่าด้วยหริตจดาบสโพธิสัตว์
(พระราชาตรัสถามหริตจดาบสว่า)
[๔๐] ท่านมหาพรหม โยมทราบข่าวมาว่า
หริตจดาบสบริโภคกาม คำกล่าวนั้นคงเป็นเท็จใช่ไหม
พระคุณเจ้ายังบริสุทธิ์อยู่ใช่ไหม
(หริตจดาบสกราบทูลว่า)
[๔๑] ขอถวายพระพรมหาบพิตร
ข้อนี้เป็นจริงตามที่พระองค์ได้ทรงสดับมา
อาตมภาพหมกมุ่นอยู่ในกามคุณอันทำให้ลุ่มหลง
ได้เดินทางผิดไปแล้ว
(พระราชาตรัสว่า)
[๔๒] ใจบรรเทาราคะที่เกิดขึ้นไม่ได้ด้วยปัญญาใด
ปัญญานั้นเป็นธรรมชาติละเอียด
คิดแต่สิ่งที่ดี ๆ จะมีประโยชน์อะไร
ท่านไม่อาจบรรเทาจิตได้หรือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๙. นวกนิบาต] ๖. ปทกุสลมาณชาดก (๔๓๒)
(หริตจดาบสกราบทูลว่า)
[๔๓] ขอถวายพระพรมหาบพิตร ในโลกนี้มีสิ่งที่หยาบ
มีกำลังอย่างยิ่งที่ปัญญาหยั่งไม่ถึง ๔ ประการ คือ
๑. ราคะ (ความกำหนัด) ๒. โทสะ (ความโกรธ)
๓. มทะ (ความเมา) ๔. โมหะ (ความหลง)
(พระราชาตรัสว่า)
[๔๔] โยมได้ยกย่องพระคุณเจ้าไว้ว่า
ท่านหริตจดาบสเป็นพระอรหันต์ ถึงพร้อมด้วยศีล
ประพฤติบริสุทธิ์ เป็นนักปราชญ์ เป็นบัณฑิต
(หริตจดาบสกราบทูลว่า)
[๔๕] ขอถวายพระพรมหาบพิตร ฤๅษีแม้มีปัญญา
ยินดีแล้วในคุณธรรม ยังถูกความคิดลามกประกอบด้วยราคะ
ที่ยึดถือว่างาม เบียดเบียนเอาได้
(พระราชาตรัสว่า)
[๔๖] ราคะที่เกิดขึ้นในสรีระนี้เกิดขึ้นแล้วเป็นเหตุประทุษร้ายผิวพรรณ
พระคุณเจ้าจงละราคะนั้นเสีย ขอความนอบน้อมจงมีแด่พระคุณเจ้า
พระคุณเจ้าได้รับยกย่องว่า เป็นนักปราชญ์ของคนหมู่มาก
(หริตจดาบสกราบทูลว่า)
[๔๗] อาตมภาพจักค้นหารากเหง้าของกามเหล่านั้น
ที่ทำให้มืดบอด มีทุกข์มาก มีพิษร้ายแรง
จักตัดราคะพร้อมทั้งเครื่องผูก
(พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
[๔๘] ครั้นกล่าวแล้วอย่างนี้ หริตจฤๅษีผู้ยึดมั่นสัจจะ
คลายกามราคะแล้ว เป็นผู้เข้าถึงพรหมโลก
หริตจชาดกที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๐๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๙. นวกนิบาต] ๖. ปทกุสลมาณชาดก (๔๓๒)
๖. ปทกุสลมาณวชาดก (๔๓๒)
ว่าด้วยมาณพผู้ฉลาดในการสะกดรอย
(ภรรยากล่าวกับนายปาฏลีผู้เป็นสามีว่า)
[๔๙] แม่น้ำคงคาย่อมพัดพาพี่ปาฏลีผู้คงแก่เรียน ขับเพลงได้ไพเราะ
แน่ะพี่ผู้กำลังถูกน้ำพัดไป ขอความเจริญจงมีแก่พี่
ขอพี่จงให้บทเพลงแก่น้องสักบทหนึ่งเถิด
(สามีกล่าวว่า)
[๕๐] น้ำใดที่เขาใช้รดคนประสบทุกข์หรือคนกระสับกระส่าย
เรากำลังจะตายในท่ามกลางน้ำนั้น ภัยเกิดแล้วแต่ที่พึ่ง
(ช่างหม้อกล่าวว่า)
[๕๑] แผ่นดินใดที่พืชทั้งหลายงอกขึ้นได้หรือที่สัตว์ทั้งหลายดำรงอยู่
แผ่นดินนั้นกำลังบีบศีรษะของข้าพเจ้า ภัยเกิดแล้วแต่ที่พึ่ง
(ชายคนหนึ่งกล่าวว่า)
[๕๒] ไฟใดที่เขาใช้หุงข้าว หรือที่เขาใช้บำบัดความหนาว
ไฟนั้นกำลังไหม้ตัวข้าพเจ้า ภัยเกิดแล้วแต่ที่พึ่ง
(ชายคนหนึ่งกล่าวว่า)
[๕๓] ข้าวใดที่พวกพราหมณ์และกษัตริย์จำนวนมากใช้ยังชีพ
ข้าวนั้นข้าพเจ้าบริโภคแล้วกำลังจะฆ่าข้าพเจ้า ภัยเกิดแล้วแต่ที่พึ่ง
(ชายคนหนึ่งกล่าวว่า)
[๕๔] ลมใดในเดือนท้ายของฤดูร้อนที่พวกบัณฑิตปรารถนา
ลมนั้นกำลังทำลายตัวข้าพเจ้า ภัยเกิดแล้วแต่ที่พึ่ง
(พญานาคกล่าวว่า)
[๕๕] ต้นไม้ใดที่นกพากันมาอาศัย ต้นไม้นั้นกำลังพ่นไฟ
นกทั้งหลายพากันหลบหนีไปยังทิศทั้งหลาย ภัยเกิดแล้วแต่ที่พึ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๙. นวกนิบาต] ๗. โลมสกัสสปชาดก (๔๓๓)
(หญิงชรากล่าวกับลูกชายว่า)
[๕๖] หญิงสะใภ้ใดผู้มีความพอใจ ประดับประดาด้วยพวงดอกไม้
ลูบไล้ด้วยจันทน์หอมที่เรานำมา
หญิงสะใภ้นั้นกำลังไล่เราออกจากเรือน ภัยเกิดแล้วแต่ที่พึ่ง
(ชายชราคร่ำครวญว่า)
[๕๗] ลูกคนใดที่เกิดมาแล้วเป็นเหตุให้เรายินดี
และปรารถนาความเจริญ
ลูกคนนั้นกำลังไล่เราออกจากเรือน ภัยเกิดแล้วแต่ที่พึ่ง
(พระโพธิสัตว์กล่าวว่า)
[๕๘] ขอชาวชนบทและชาวนิคมที่มาประชุมพร้อมกันจงฟังข้าพเจ้า
ที่ใดมีน้ำ ที่นั้นกลับร้อน
ที่ใดปลอดภัย ที่นั้นกลับมีภัย
[๕๙] พระราชาและพราหมณ์ปุโรหิตปล้นแว่นแคว้น
ท่านทั้งหลายจงพากันรักษาตัวอยู่เถิด
ภัยเกิดแล้วแต่ที่พึ่ง
ปทกุสลมาณวชาดกที่ ๖ จบ

๗. โลมสกัสสปชาดก (๔๓๓)
ว่าด้วยโลมสกัสสปฤาษี
(ท้าวสักกะตรัสกับพระราชาว่า)
[๖๐] ข้าแต่มหาราช หากพระองค์ให้ฤๅษีโลมสกัสสปะบูชายัญได้
พระองค์จะเป็นเหมือนพระอินทร์ ไม่แก่ ไม่ตายเลย
(ฤๅษีโลมสกัสสปะกล่าวกับสัยหอำมาตย์ว่า)
[๖๑] อาตมาไม่ปรารถนาแผ่นดินอันมีสมุทรเป็นขอบเขต
มีสาครล้อมรอบประดุจต่างหู พร้อมกับคำนินทา
ท่านจงทราบอย่างนี้เถิด สัยหอำมาตย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๙. นวกนิบาต] ๗. โลมสกัสสปชาดก (๔๓๓)
[๖๒] พราหมณ์ น่าติเตียนการได้ยศ
และการได้ทรัพย์สำหรับเลี้ยงชีวิต
ซึ่งเป็นเหตุให้ประสบความพินาศ
หรือประพฤติไม่เป็นธรรม
[๖๓] ถึงแม้เราจะเป็นนักบวชถือบาตรเลี้ยงชีพ
การเลี้ยงชีพเช่นนั้นแหละยังดีกว่าการแสวงหาโดยไม่ชอบธรรม
[๖๔] ถึงแม้เราจะเป็นนักบวชถือบาตรเลี้ยงชีพ
ไม่เบียดเบียนผู้อื่นในโลก
การเลี้ยงชีพเช่นนั้นแหละยังดีกว่าการครองราชสมบัติ
(ประชาชนที่มาประชุมกันกล่าวว่า)
[๖๕] ดวงจันทร์ก็มีกำลัง ดวงอาทิตย์ก็มีกำลัง
สมณะและพราหมณ์ทั้งหลายก็มีกำลัง ฝั่งสมุทรก็มีกำลัง
แต่หญิงทั้งหลายมีกำลังเหนือกว่ากำลังทั้งหมด
[๖๖] เพราะพระนางจันทวดีได้ใช้ฤๅษีชื่อโลมสกัสสปะ
ซึ่งมีตบะสูงบูชายัญชื่อ วาชเปยยะ เพื่อประโยชน์แก่พระบิดาได้
(ฤๅษีโลมสกัสสปะสลดใจ จึงกล่าวว่า)
[๖๗] กรรมที่กระทำด้วยความโลภมีกามเป็นเหตุนั้น
เป็นกรรมเผ็ดร้อน
เราจักค้นหารากเหง้าของกรรมนั้น
จักตัดราคะพร้อมทั้งเครื่องผูก
[๖๘] น่าติเตียน กามทั้งหลายแม้มากมายในโลก
ขอถวายพระพรมหาบพิตร
ตบะเท่านั้นประเสริฐกว่ากามคุณทั้งหลาย
อาตมาจะละกาม บำเพ็ญตบะ
ส่วนแว่นแคว้นและพระนางจันทวดี ขอถวายคืนมหาบพิตร
โลมสกัสสปชาดกที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๙. นวกนิบาต] ๙. หลิททราคชาดก (๔๓๕)
๘. จักกวากชาดก (๔๓๔)
ว่าด้วยนกจักรพาก
(กาถามนกจักรพากว่า)
[๖๙] เราขอถามนกทั้งหลายที่มีสีเหมือนผ้าที่ย้อมด้วยน้ำฝาด
มีใจร่าเริง เที่ยวไปเป็นคู่ ๆ ว่า
นกทั้งหลายสรรเสริญพวกเจ้าในหมู่มนุษย์ว่า เป็นนกชนิดไร
เชิญพวกเจ้าบอกนกชนิดนั้นแก่เราเถิด
(นกจักรพากตอบว่า)
[๗๐] นี่เจ้าผู้เบียดเบียนมนุษย์ ในหมู่มนุษย์
เขาเรียกพวกเราซึ่งบินตามกันไปว่า นกจักรพาก
ในหมู่นก พวกเราได้รับการยกย่องว่า มีความดี มีรูปงาม
เที่ยวไปตามห้วงน้ำ (ทั้งไม่ทำชั่วแม้เพราะเหตุแห่งอาหาร)
(กาถามว่า)
[๗๑] นี่นกจักรพาก พวกท่านกินผลไม้อะไรในห้วงน้ำ
หรือกินเนื้อแต่ที่ไหน กินอาหารอะไร
กำลังและผิวพรรณจึงไม่เสื่อมทราม ไม่ผิดรูปเลย
(นกจักรพากตอบว่า)
[๗๒] ในห้วงน้ำไม่มีผลไม้หรอก กา
เนื้อสำหรับนกจักรพากกินจะมีแต่ที่ไหน
พวกเรามีสาหร่ายเป็นภักษา ไม่กินเนื้อสัตว์
ทั้งไม่ทำชั่วแม้เพราะเหตุแห่งอาหาร
(พวกเราจึงมีรูปงาม ท่องเที่ยวไปตามห้วงน้ำ)
(กากล่าวว่า)
[๗๓] นกจักรพาก อาหารที่เจ้ากินนี้ เราไม่ชอบเลย
เมื่อเจ้าเป็นนกจักรพาก เจ้าก็มีอาหารที่เหมาะสม
เมื่อก่อนนี้เราได้มีความคิดเป็นอย่างอื่น
เพราะเหตุนั้นแล เราจึงเกิดความสงสัยในผิวพรรณของเจ้านี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๙. นวกนิบาต] ๙. หลิททราคชาดก (๔๓๕)
[๗๔] ถึงเราก็กินเนื้อ ผลไม้ และข้าวที่ปรุงด้วยเกลือและน้ำนม
เรากินอาหารอันมีรสเลิศในหมู่มนุษย์
เหมือนผู้กล้าหาญ มีชัยชนะในสงคราม
ไฉนผิวพรรณของเราจึงไม่เป็นเช่นกับเจ้าเล่า นกจักรพากเอ๋ย
(นกจักรพากกล่าวว่า)
[๗๕] เจ้ากินของที่ไม่บริสุทธิ์ โฉบเอาเมื่อเขาเผลอ
ชื่อว่าได้ข้าวและน้ำด้วยความลำบาก
กา เจ้าไม่ชอบผลไม้หรือเนื้อกลางป่าช้า
[๗๖] นี่กา ผู้ใดได้ของกิน มาด้วยกรรมอันหยาบช้า
เมื่อเขาเผลอก็โฉบเอามากิน
ในภายหลัง ผู้นั้น ตนเองก็ติเตียน
และเขาถูกตนและผู้อื่นติเตียนแล้ว ย่อมละผิวพรรณและกำลัง
[๗๗] หากว่าผู้ใดบริโภคของแม้น้อย แต่เป็นของเย็น
ไม่เบียดเบียนผู้อื่นด้วยกรรมที่ไม่หยาบช้า
ผู้นั้นย่อมมีทั้งกำลังและผิวพรรณในกาลนั้น
เพราะผิวพรรณทั้งปวงหามีเพราะอาหารเพียงอย่างเดียวไม่๑
จักกวากชาดกที่ ๘ จบ

๙. หลิททราคชาดก (๔๓๕)
ว่าด้วยจิตกลับกลอกเหมือนผ้าย้อมด้วยขมิ้น
(นางกุมาริกากล่าวกับดาบสหนุ่มว่า)
[๗๘] พวกที่บำเพ็ญตบะอดกลั้นอยู่ในบ้านยังประเสริฐกว่าท่าน
ผู้อดกลั้นบำเพ็ญตบะอยู่ในเสนาสนะอันสงัดในป่า

เชิงอรรถ :
๑ ผิวพรรณงามเพราะเหตุ ๔ ประการ คือ (๑) อาหาร (๒) อากาศ (๓) ความคิด (๔) การงานที่ทำ
(ขุ.ชา.อ. ๕/๗๗/๓๔๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๙. นวกนิบาต] ๑๐. สมุคคชาดก (๔๓๖)
(ดาบสหนุ่มถามดาบสผู้เป็นบิดาว่า)
[๗๙] คุณพ่อ ลูกออกจากป่าไปสู่บ้านแล้ว
ควรจะคบหาคนมีศีลอย่างไร มีข้อปฏิบัติอย่างไร
ลูกถามแล้ว ขอพ่อจงบอกข้อนั้น
(ดาบสผู้เป็นบิดาตอบว่า)
[๘๐] ลูกรัก ผู้ใดพึงทำให้ลูกเบาใจ
อดทนความคุ้นเคยของลูกได้
เชื่อฟังและอดกลั้นถ้อยคำของลูกได้
ลูกไปจากที่นี้แล้ว จงคบผู้นั้นเถิด
[๘๑] ผู้ใดไม่ทำความชั่วทางกาย วาจา ใจ
ลูกไปจากที่นี้แล้ว จงดำรงตนอยู่เหมือนลูกในใส้ คบผู้นั้นเถิด
[๘๒] อนึ่ง ผู้ใดประพฤติธรรม
แม้ประพฤติธรรมอยู่ก็ไม่ถือตัว
ลูกไปจากที่นี้แล้วจงคบผู้นั้น
ซึ่งมีปัญญาทำแต่กรรมอันบริสุทธิ์เถิด
[๘๓] คนที่มีจิตกลับกลอกเหมือนลิง
รักง่ายหน่ายเร็วดุจผ้าที่ย้อมด้วยขมิ้น
ลูกรัก ถึงแม้ว่าพื้นชมพูทวีปทั้งสิ้นจะไร้มนุษย์
ลูกก็อย่าคบคนเช่นนั้นเลย
[๘๔] คนที่มีจิตโกรธเหมือนอสรพิษ
ลูกจงเว้นให้ห่างไกล เหมือนคนเว้นหนทางใหญ่ที่เปื้อนคูถ
และเหมือนคนขับขี่ยานพาหนะเว้นหนทางที่ไม่เรียบ
[๘๕] ลูกรัก เมื่อเข้าไปคบหาคนพาลอย่างสนิท
ก็จะเพิ่มพูนแต่ความฉิบหาย ลูกอย่าสมาคมกับคนพาลเลย
ขึ้นชื่อว่าการอยู่ร่วมกับคนพาลเป็นเหมือนการอยู่ร่วมกับศัตรูทุกเมื่อ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๙. นวกนิบาต] ๑๐. สมุคคชาดก (๔๓๖)
[๘๖] ลูกรัก ดังนั้นพ่อจึงขอร้องลูก
ลูกจงทำตามคำของพ่อ
ลูกอย่าสมาคมกับคนพาลเลย
เพราะการสมาคมกับคนพาลทั้งหลายเป็นทุกข์
หลิททราคชาดกที่ ๙ จบ

๑๐. สมุคคชาดก (๔๓๖)
ว่าด้วยหญิงในผอบแก้ว
(พระโพธิสัตว์กล่าวกับยักษ์ทานพว่า)
[๘๗] ท่านผู้เจริญทั้งหลาย พวกท่านทั้ง ๓ คนมาจากที่ไหนหนอ
พวกท่านพากันมาดีแล้ว เชิญนั่งที่อาสนะเถิด
ท่านผู้เจริญทั้งหลาย
พวกท่านสุขสบายไม่มีโรคภัยเบียดเบียนหรือ
นานมาแล้วพวกท่านเพิ่งจะมาที่นี้ในวันนี้
(ยักษ์ทานพกล่าวว่า)
[๘๘] วันนี้ ข้าพเจ้ามาถึงที่นี้เพียงคนเดียว
ข้าพเจ้าไม่มีใครเป็นเพื่อนเลย
ท่านฤๅษี ท่านกล่าวว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย
พวกท่านทั้ง ๓ คนมาจากที่ไหนหนอ
นั่นหมายถึงใครเล่า
(พระโพธิสัตว์กล่าวว่า)
[๘๙] ท่านก็คนหนึ่งละ และภรรยาสุดที่รัก
ซึ่งท่านซ่อนไว้ในผอบแก้วข้างใน
ท่านรักษาหล่อนไว้ในท้องในกาลทุกเมื่อ
หล่อนกำลังอภิรมย์อยู่กับวิทยาธรชื่อวายุบุตรในท้องนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๙. นวกนิบาต] ๑๑. ปูติมังสชาดก (๔๓๗)
(พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
[๙๐] ทานพนั้น ฤๅษีบอกแล้วก็สลดใจ
ได้คายผอบแก้วออกมา ณ ที่นั้น
ได้เห็นภรรยาทัดทรงดอกไม้สวยงาม
กำลังอภิรมย์อยู่กับวิทยาธรชื่อวายุบุตรในผอบนั้น
(ยักษ์ทานพกล่าวว่า)
[๙๑] เหตุการณ์นี้ ท่านผู้บำเพ็ญตบะชั้นสูงได้เห็นแจ่มแจ้งแล้วว่า
นรชนผู้ตกอยู่ในอำนาจของสตรี
เหมือนนางที่เรารักษาไว้ภายในท้องนี้ดังชีวิตของตน
ยังกลับประทุษร้ายเรา ชมเชยกับชายอื่น นับว่าเป็นคนเลว
[๙๒] แม่นางผู้ที่เราบำรุงแล้วทั้งกลางวันและกลางคืน
เหมือนไฟที่ท่านผู้บำเพ็ญตบะอยู่ในป่าบำเรออยู่
หล่อนละเมิดธรรม กลับประพฤติอธรรม
เราไม่ควรทำความเชยชิดกับหญิงทั้งหลายเลย
[๙๓] เราเข้าใจหญิงเลวผู้ไม่สำรวมอยู่กลางตัวเราว่า
หญิงนี้เป็นของเรา มันละเมิดธรรม กลับประพฤติอธรรม
เราไม่ควรทำความเชยชิดกับหญิงทั้งหลายเลย
[๙๔] จะไว้ใจได้อย่างไรว่า เราคุ้มครองไว้ได้ดี
เพราะพวกหญิงหลายใจ ไม่มีการรักษาไว้ได้เลย
หญิงเหล่านี้เหมือนกับเหวเมืองบาดาล
ชายที่มัวเมาในหญิงเหล่านี้ย่อมถึงความพินาศ
[๙๕] เพราะเหตุนั้นแหละ ชายเหล่าใดสลัดมาตุคามเที่ยวไป
ชายเหล่านั้นมีความสุข ปราศจากความเศร้าโศก
ผู้ปรารถนาความเกษมอันสูงสุด
ไม่พึงทำความเชยชิดกับมาตุคามเลย

สมุคคชาดกที่ ๑๐ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๙. นวกนิบาต] ๑๑. ปูติมังสชาดก (๔๓๗)
๑๑. ปูติมังสชาดก (๔๓๗)
ว่าด้วยสุนัขจิ้งจอกชื่อปูติมังสะ
(สุนัขจิ้งจอกตัวเมียกล่าวกับแม่แพะว่า)
[๙๖] นี่เพื่อนหญิง การมองดูของสุนัขจิ้งจอกปูติมังสะ
ฉันไม่พอใจเลย ควรละเว้นให้ห่างไกลจากสหายเช่นนี้
(สุนัขจิ้งจอกตัวผู้กล่าวว่า)
[๙๗] แม่เวณีนี้บ้า ยกย่องเพื่อนหญิงต่อหน้าผัว
ย่อมซบเซาถึงแม่แพะตัวที่มาแล้วกลับไป
(สุนัขจิ้งจอกตัวเมียกล่าวว่า)
[๙๘] นี่สหาย ท่านซิบ้า โง่เขลาขาดปัญญาพิจารณา
ทำลวงว่าตาย แต่กลับชะเง้อมอง โดยกาลอันไม่สมควร
(พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
[๙๙] บัณฑิตไม่ควรจะเพ่งมองในกาลอันไม่สมควร
ควรจะเพ่งมองในกาลอันสมควร
ผู้ที่เพ่งมองในกาลอันไม่สมควรย่อมซบเซา
เหมือนสุนัขจิ้งจอกชื่อปูติมังสะ
(สุนัขจิ้งจอกตัวเมียกล่าวกับแม่แพะว่า)
[๑๐๐] เพื่อนหญิง ขอให้รักของเราจงมีเหมือนเดิมเถิด
ขอเธอจงให้ความชื่นใจแก่ฉัน
ผัวของฉันกลับฟื้นคืนชีพขึ้นมาแล้ว
เธอควรไปเยี่ยมเยียนถามทุกข์สุขเถิด
(แม่แพะกล่าวว่า)
[๑๐๑] เพื่อนหญิง ขอความรักของเธอจงมีเหมือนเดิมเถิด
ฉันจะให้ความชื่นใจแก่เธอ ฉันจะไปพร้อมกับบริวารจำนวนมาก
ขอเธอจงทำอาหารไว้เถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๙. นวกนิบาต] ๑๒. ทัททรชาดก (๔๓๘)
(สุนัขจิ้งจอกตัวเมียกล่าวว่า)
[๑๐๒] บริวารของเธอที่ฉันจะทำอาหารให้กิน
เป็นสัตว์ชนิดไหน ทั้งหมดมีชื่อว่าอย่างไร
ฉันถามถึงสัตว์เหล่านั้นแล้ว
ขอเธอจงบอก
(แม่แพะกล่าวว่า)
[๑๐๓] บริวารของฉันเป็นเช่นนี้ คือ
สุนัขชื่อมาลิยะ จตุรักขะ ปิงคิยะ และชัมพุกะ
เธอจงทำอาหารเพื่อพวกเขา
(สุนัขจิ้งจอกตัวเมียกล่าวว่า)
[๑๐๔] เมื่อเธอออกจากถ้ำไป
แม้สิ่งของก็จะสูญหาย
ฉันจะแจ้งข่าวความสุขสบายแก่เพื่อนเอง
เธออยู่ที่นี้แหละ อย่าไปเลย
ปูติมังสชาดกที่ ๑๑ จบ

๑๒. ทัททรชาดก (๔๓๘)
ว่าด้วยนกกระทา
(รุกขเทวดากล่าวกับเหี้ยว่า)
[๑๐๕] คนที่เจ้าให้ข้าวหุงกินนั้นแหละ
ได้กินลูกน้อยทั้งหลายของเจ้าซึ่งไม่มีความผิด
เจ้าจงกัดมันให้จมเขี้ยว อย่าปล่อยให้มันมีชีวิตอยู่
(แม่เหี้ยกล่าวว่า)
[๑๐๖] คนที่ทำงานหยาบช้ามากเป็นคนแปดเปื้อน
เหมือนผ้านุ่งของหญิงเลี้ยงเด็ก
ข้าพเจ้ายังมองไม่เห็นส่วนที่จะกัดมันให้จมเขี้ยวเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๙. นวกนิบาต] ๑๒. ทัททรชาดก (๔๓๘)
[๑๐๗] คนอกตัญญู คอยจับผิดอยู่เป็นนิตย์
ถึงจะให้แผ่นดินทั้งหมด ก็ทำให้เขาพึงพอใจไม่ได้
(พญาราชสีห์ถามพญาเสือโคร่งว่า)
[๑๐๘] นี่พ่อสุพาหุ ทำไมหนอ ท่านจึงด่วนกลับมาพร้อมกับมาณพ
ท่านมีกิจสำคัญในที่นี้หรือ
เราถามแล้ว ท่านจงบอกเรื่องนั้น
(พญาเสือโคร่งตอบว่า)
[๑๐๙] วันนี้ เราสงสัยการฆ่านกกระทา๑
เพื่อนของท่านซึ่งเป็นสัตว์ดี
เราได้ฟังหน้าที่การงานของชายผู้นี้
จึงไม่แน่ใจว่านกกระทาจะมีความสุขในวันนี้
(พญาราชสีห์ถามว่า)
[๑๑๐] โดยการประมวลความประพฤติของชายคนนี้
ชายคนนี้มีหน้าที่การงานอะไร
หรือการยอมรับอะไรของชายคนนี้ที่ท่านฟังมา
จึงสงสัยว่า นกกระทาถูกชายคนนี้ฆ่า
(พญาเสือโคร่งตอบว่า)
[๑๑๑] การค้าขายตามแบบแผนของชาวเมืองกาลิงคะ
ชายคนนี้ก็ได้ดำเนินมาแล้ว
หนทางที่ใช้ตอกทอยสัญจรด้วยหวาย คนผู้นี้ก็ผ่านมาแล้ว
แม้การรบด้วยกระบองพร้อมทั้งบ่วงบาศกลางโรงมหรสพ
ชายคนนี้ก็ได้แสดงมาแล้วกับนักฟ้อนทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
๑ ทัททระ แปลว่า นกกระทา (ขุ.ชา.อ. ๕/๑๐๙/๓๖๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก
[๑๑๒] นกทั้งหลายเขาก็จับมาแล้ว
งานตวงข้าวเขาก็ทำมาแล้ว
การพนันเขาก็ชนะมาแล้ว
เขาละเมิดการสำรวมศีล
เลือดที่ออกตั้งครึ่งคืนเขาก็คัดให้หยุดได้
มือถูกไฟไหม้เพราะการรับก้อนข้าวที่ร้อน
[๑๑๓] โดยประมวลความประพฤติของชายคนนี้แล้ว
หน้าที่การงานเหล่านั้นเป็นของเขา ที่เราฟังมา
ดังจะเห็นได้ ขนนกกระทากระจุกนี้ยังปรากฏอยู่
โคทั้งหลายเขายังฆ่าได้
ทำไมนกกระทาเขาจะฆ่าไม่ได้เล่า
ทัททรชาดกที่ ๑๒ จบ

รวมชาดกที่มีในนิบาตนี้ คือ

๑. คิชฌชาดก ๒. โกสัมพิยชาดก
๓. มหาสุวราชชาดก ๔. จูฬสุวกราชชาดก
๕. หริตจชาดก ๖. ปทกุสลมาณวชาดก
๗. โลมสกัสสปชาดก ๘. จักกวากชาดก
๙. หลิททราคชาดก ๑๐. สมุคคชาดก
๑๑. ปูติมังสชาดก ๑๒. ทัททรชาดก

นวกนิบาต จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๐. ทสกนิบาต] ๒. กัณหชาดก (๔๔๐)
๑๐. ทสกนิบาต
๑. จตุทวารชาดก (๔๓๙)
ว่าด้วยเมืองมี ๔ ประตู
(นายมิตตวินทกะถามรุกขเทวดาโพธิสัตว์ว่า)
[๑] เมืองนี้มี ๔ ประตู มีกำแพงเหล็กมั่นคง
ข้าพเจ้าได้ทำกรรมชั่วอะไร จึงถูกกักขังไว้
[๒] ประตูทุกบานได้ถูกปิดไว้ ข้าพเจ้าถูกขังเหมือนกับนก
เทพผู้ควรบูชา เหตุอะไรหนอ ข้าพเจ้าจึงถูกจักรบดขยี้
(รุกขเทวดาตอบว่า)
[๓] นี่สหาย ท่านได้ทรัพย์ถึง ๑๒๐,๐๐๐ แล้ว
ก็ไม่กระทำตามคำของพวกญาติผู้อนุเคราะห์
[๔] ท่านได้แล่นเรือออกไปสู่สมุทรสาคร
ซึ่งทำให้เรือโลดเต้นได้ อันมีความสำเร็จน้อย
ท่านเมื่อมีความปรารถนามากเกินไป
ได้ครอบครองนารี ๔ นาง ไม่พอใจนางทั้ง ๔
ได้ครอบครองนารี ๘ นาง ไม่พอใจนางทั้ง ๘
[๕] ได้ครอบครองนารี ๑๖ นาง ไม่พอใจนางทั้ง ๑๖
ได้ครอบครองนารี ๓๒ นาง ไม่พอใจนางทั้ง ๓๒
จึงได้ประสบจักร
จักรจึงพัดผันอยู่ที่ศีรษะของท่าน
ผู้ถูกความปรารถนามากเกินไปขจัดแล้ว
[๖] อันความอยากที่แผ่ซ่านไป กว้างขวางยิ่งนัก ให้เต็มได้ยาก
คนเหล่าใดย่อมกำหนัดตามความอยากนั้น
คนเหล่านั้นต้องเป็นผู้ทูนจักรไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๐. ทสกนิบาต] ๒. กัณหชาดก (๔๔๐)
[๗] คนเหล่าใดละทิ้งทรัพย์เป็นจำนวนมาก
ไม่พิจารณาหนทางที่ยังมิได้ใคร่ครวญ
คนเหล่านั้นต้องเป็นผู้ทูนจักรไว้
[๘] บัณฑิตพึงพิจารณาการงานและโภคะอันไพบูลย์
เมื่ออยากได้ก็อย่าพึงส้องเสพสิ่งที่ประกอบด้วยความฉิบหาย
พึงทำตามคำบอกกล่าวของผู้อนุเคราะห์ทั้งหลาย
บุคคลเช่นนั้นจักรก็จะไม่พึงกล้ำกราย
(นายมิตตวินทกะถามว่า)
[๙] เทพผู้ควรบูชา จักรบนศีรษะของข้าพเจ้า
จะอยู่นานสักเท่าไรเล่าหนอ กี่พันปี
ข้าพเจ้าถามแล้ว ขอท่านจงบอกเรื่องนั้นแก่ข้าพเจ้า
(รุกขเทวดาตอบว่า)
[๑๐] มิตตวินทกะ ท่านจงฟังข้าพเจ้า
เจ้าต้องระลึกถึงให้มาก ตระหนักไว้โดยยิ่ง
จักรยังคงพัดผันอยู่บนศีรษะของเจ้า
เมื่อเจ้ามีชีวิตอยู่ ก็จะไม่พ้นมันหรอก
จตุทวารชาดกที่ ๑ จบ

๒. กัณหชาดก (๔๔๐)
ว่าด้วยกัณหฤาษี
(ท้าวสักกะตรัสกับฤๅษีกัณหะว่า)
[๑๑] ชายคนนี้ผิวดำหนอ บริโภคอาหารสีดำ
อยู่ในภูมิประเทศสีดำ เราไม่ชอบใจเลย
(ฤๅษีกัณหะกล่าวว่า)
[๑๒] ท้าวสุชัมบดีสักกเทวราช เพราะผิวไม่นับว่าเป็นคนดำ
เพราะพราหมณ์มีความดีเป็นแก่นในภายใน
ผู้ที่มีกรรมชั่วนั่นแหละ นับว่าเป็นคนดำ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๒๒ }


(ท้าวสักกะตรัสว่า)
[๑๓] ท่านพราหมณ์ เพราะถ้อยคำที่ท่านเจรจานั้น
ไพเราะ เหมาะสม เป็นสุภาษิต
ข้าพเจ้าจะให้พรแก่ท่านตามที่ใจของท่านปรารถนา
(ฤๅษีกัณหะกล่าวว่า)
[๑๔] ท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่แห่งภูตทั้งปวง
หากพระองค์จะประทานพรแก่อาตมา
อาตมาหวังเฉพาะความประพฤติของตน คือ อย่ามีความโกรธ
อย่ามีโทสะ อย่ามีความโลภ และอย่ามีความเสน่หา
ขอพระองค์ทรงประทานพรทั้ง ๔ ประการเหล่านี้แก่อาตมาเถิด
(ท้าวสักกะตรัสว่า)
[๑๕] พราหมณ์ ท่านเห็นโทษอะไรในความโกรธ
ในโทสะ ในความโลภ หรือในความเสน่หา
ข้าพเจ้าถามแล้วขอท่านจงบอกแก่ข้าพเจ้า
(ฤๅษีกัณหะกล่าวว่า)
[๑๖] ความโกรธนั้นเกิดจากความไม่อดทน
ถึงจะน้อย ก็จะมากได้
ต่อไปก็จะเพิ่มพูนยิ่งขึ้น เป็นความขัดข้องใจ
มีความคับแค้นใจเป็นอันมาก
เพราะฉะนั้น อาตมาจึงไม่ชอบความโกรธ
[๑๗] คนถูกโทสะครอบงำมีวาจาหยาบคาย
ต่อไปก็ประหมัดตบตีกัน ใช้ท่อนไม้ประหารกัน
ที่สุดก็จะใช้ศัสตราประหัตประหารกัน
โทสะมีความโกรธเป็นสมุฏฐาน
เพราะฉะนั้น อาตมาจึงไม่ชอบโทสะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๐. ทสกนิบาต] ๓. จตุโปสถิยชาดก (๔๔๑)
[๑๘] การปล้นฆ่าชาวบ้าน การจี้ข่มขู่เอาทรัพย์ การคดโกง
และการหลอกลวงย่อมปรากฏมีอยู่ในบุคคลผู้มีความโลภ
เพราะฉะนั้น อาตมาจึงไม่ชอบความโลภ
[๑๙] ความผูกพันที่ถูกความเสน่หาร้อยรัดไว้อันเกิดแต่ใจ
นอนเนื่องอยู่เป็นอันมาก ย่อมทำให้เดือดร้อนมากมาย
เพราะฉะนั้น อาตมาจึงไม่ชอบความเสน่หา
(ท้าวสักกะตรัสว่า)
[๒๐] พราหมณ์ เพราะถ้อยคำที่ท่านเจรจานั้น
ไพเราะ เหมาะสม เป็นสุภาษิต
ข้าพเจ้าจะให้พรแก่ท่านตามที่ใจของท่านปรารถนา
(ฤๅษีกัณหะกล่าวว่า)
[๒๑] ท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่แห่งภูตทั้งปวง
หากพระองค์จะประทานพรแก่อาตมา
อาตมาเมื่ออยู่ในป่า ก็อยู่เพียงผู้เดียวเป็นนิตย์
อาพาธทั้งหลายที่ร้ายกาจซึ่งกระทำอันตรายได้ขออย่าได้เกิดขึ้นเลย
(ท้าวสักกะตรัสว่า)
[๒๒] พราหมณ์ เพราะถ้อยคำที่ท่านเจรจานั้น
ไพเราะ เหมาะสม เป็นสุภาษิต
ข้าพเจ้าจะให้พรแก่ท่านตามที่ใจของท่านปรารถนา
(ฤๅษีกัณหะกล่าวว่า)
[๒๓] ท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่แห่งภูตทั้งปวง
หากพระองค์จะประทานพรแก่อาตมา
ใจก็ตาม กายก็ตาม
ขออย่าได้เข้าไปกระทบกระทั่งใคร ๆ ในกาลไหน ๆ
เพราะการกระทำของอาตมาเลย อาตมาปรารถนาพรดังนี้
กัณหชาดกที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๐. ทสกนิบาต] ๓. จตุโปสถิยชาดก (๔๔๑)
๓. จตุโปสถิยชาดก (๔๔๑)
ว่าด้วยบุคคลทั้ง ๔ รักษาอุโบสถ
(วรุณนาคราชกล่าวว่า)
[๒๔] นรชนใดไม่ทำความโกรธในบุคคลที่ควรโกรธ
และไม่โกรธในกาลไหน ๆ
นรชนนั้นเป็นสัตบุรุษ
สัตบุรุษนั้นแม้จะโกรธก็ไม่เปิดเผยความโกรธ
นรชนนั้นบัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า เป็นสมณะในโลก
(พญาครุฑกล่าวว่า)
[๒๕] นรชนใดมีท้องพร่องอยู่ ยังอดทนต่อความหิวได้
ฝึกตนได้ มีตบะ ดื่มน้ำและบริโภคอาหารพอประมาณ
ไม่ทำความชั่วเพราะเหตุแห่งอาหาร
นรชนนั้นบัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า เป็นสมณะในโลก
(ท้าวสักกะตรัสว่า)
[๒๖] นรชนใดละการเล่นและความยินดีในกามทั้งปวงเสียได้
ไม่พูดเหลาะแหละอะไร ๆ ในโลก
งดเว้นจากการประดับตบแต่งร่างกายและจากเมถุนธรรม
นรชนนั้นบัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า เป็นสมณะในโลก
(พระเจ้าธนัญชัยได้สดับดังนั้น จึงตรัสว่า)
[๒๗] อนึ่ง นรชนใดสละความหวงแหนและโลภธรรมทั้งปวงได้
ด้วยปัญญาเครื่องกำหนดรู้
นรชนนั้นแลผู้ฝึกตน มีความมั่นคง
ไม่ยึดถือสิ่งหนึ่งสิ่งใดว่าเป็นของเรา หมดความหวัง
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า เป็นสมณะในโลก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๐. ทสกนิบาต] ๓. จตุโปสถิยชาดก (๔๔๑)
(พระราชาเหล่านั้นทั้งหมดพากันถามวิธุรบัณฑิตโพธิสัตว์ว่า)
[๒๘] พวกข้าพเจ้าขอถามท่านผู้มีปัญญาไม่ทราม รู้สิ่งที่ควรทำ
พวกข้าพเจ้าเกิดมีการโต้แย้งกันในถ้อยคำทั้งหลาย
ในวันนี้ ขอท่านจงตัดความสงสัยลังเลใจให้ด้วย
จงช่วยข้าพเจ้าทั้งหมดให้ข้ามพ้นความสงสัยลังเลใจนั้นเสีย
(วิธุรบัณฑิตโพธิสัตว์กราบทูลว่า)
[๒๙] บัณฑิตเหล่าใดได้เห็นเนื้อความ
บัณฑิตเหล่านั้นจึงจะกล่าวได้อย่างแยบคายในกาลนั้น
ขอเดชะพระองค์ผู้จอมชน ท่านผู้ฉลาดทั้งหลาย
จะแนะนำเนื้อความแห่งถ้อยคำที่ยังมิได้บอกกล่าวได้อย่างไรหนอ
[๓๐] ก็พญานาคราชกล่าวสรรเสริญเรื่องอะไร
พญาครุฑบุตรของนางวินตากล่าวสรรเสริญเรื่องอะไร
ราชาแห่งคนธรรพ์กล่าวสรรเสริญเรื่องอะไร
ราชาแห่งชาวแคว้นกุรุผู้ประเสริฐกล่าวสรรเสริญเรื่องอะไร
(พระราชาทั้ง ๔ พระองค์ตรัสกับวิธุรบัณฑิตโพธิสัตว์ว่า)
[๓๑] พญานาคกล่าวสรรเสริญขันติ
พญาครุฑบุตรของนางวินตากล่าวสรรเสริญความเป็นผู้มีอาหารน้อย
ราชาแห่งคนธรรพ์กล่าวสรรเสริญการละความอภิรมย์
พระราชาแห่งชาวแคว้นกุรุผู้ประเสริฐกล่าวสรรเสริญความไม่กังวล
(วิธุรบัณฑิตโพธิสัตว์กราบทูลว่า)
[๓๒] คำเหล่านี้ทั้งหมดเป็นสุภาษิต
ก็ในคำเหล่านี้ หาคำที่เป็นทุพภาษิตไม่ได้สักข้อเดียว
และคุณธรรมทั้ง ๔ ประการนี้มีอยู่ในนรชนใดอย่างมั่นคง
เหมือนอย่างซี่กำที่สอดใส่ไว้ในดุมเกวียน
นรชนนั้นแลผู้พรั่งพร้อมด้วยธรรมทั้ง ๔ ประการ
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า เป็นสมณะในโลก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๐. ทสกนิบาต] ๓. จตุโปสถิยชาดก (๔๔๑)
(พระราชาทั้ง ๔ พระองค์ตรัสว่า)
[๓๓] ท่านประเสริฐจริงหนอ ยอดเยี่ยม เป็นผู้ถึงธรรม
รู้ธรรม มีปัญญาดี สางปัญหาได้ด้วยปัญญา
เป็นนักปราชญ์ ขจัดความสงสัยลังเลใจเสียได้
เหมือนนายช่างงาตัดงาช้างด้วยเลื่อยอันคม
[๓๔] ท่านผู้เป็นนักปราชญ์ ข้าพเจ้าพอใจการแก้ปัญหาของท่าน
นี้เป็นผ้าสีดอกอุบล ผุดผ่อง เนื้อละเอียดเสมือนควันไฟ
หาค่ามิได้ ข้าพเจ้าขอมอบให้ท่านเพื่อบูชาธรรม
[๓๕] ท่านผู้เป็นนักปราชญ์ ข้าพเจ้าพอใจการแก้ปัญหาของท่าน
นี้เป็นพวงมาลาทองคำ แย้มบาน มีกลีบถึง ๑๐๐ กลีบ
มีเกษรที่ประดับประดาด้วยรัตนะถึง ๑,๐๐๐
ข้าพเจ้าขอมอบให้ท่านเพื่อบูชาธรรม
[๓๖] ท่านผู้เป็นนักปราชญ์ ข้าพเจ้าพอใจการแก้ปัญหาของท่าน
แก้วมณีหาค่ามิได้ สวยงาม ผุดผ่อง เป็นเครื่องประดับคล้องคอ
ของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าขอมอบให้ท่านเพื่อบูชาธรรม
[๓๗] ข้าพเจ้าพอใจการแก้ปัญหาของท่าน ขอมอบโคนม โคผู้
และช้าง อย่างละ ๑,๐๐๐ ตัว รถเทียมม้าอาชาไนย ๑๐ คัน
และบ้านส่วย ๑๖ ตำบลเหล่านี้ให้แก่ท่านเพื่อบูชาธรรม
(พระบรมศาสดาทรงประมวลชาดกมาตรัสพระคาถาสุดท้ายว่า)
[๓๘] พญานาคในครั้งนั้น คือ พระสารีบุตร
ส่วนพญาครุฑ คือ โกลิตะ๑ ราชาแห่งคนธรรพ์ คือ พระอนุรุทธะ
พระราชา คือ พระอานนท์ผู้เป็นบัณฑิต
ส่วนวิธุรบัณฑิต คือ พระโพธิสัตว์
เธอทั้งหลายจงทรงจำชาดกไว้อย่างนี้แล
จตุโปสถิยชาดกที่ ๓ จบ

เชิงอรรถ :
๑ โกลิตะ คือ พระมหาโมคคัลลานเถระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๐. ทสกนิบาต] ๔. สังขชาดก (๔๔๒)
๔. สังขชาดก (๔๔๒)
ว่าด้วยสังขพราหมณ์
(อุปัฏฐากกล่าวกับสังขพราหมณ์ว่า)
[๓๙] ท่านสังขพราหมณ์ ท่านเป็นพหูสูต
ธรรมก็ได้ฟังมาแล้ว สมณพราหมณ์ท่านก็ได้พบมาแล้ว
เมื่อเป็นเช่นนั้น
ท่านมาแสดงอาการพร่ำเพ้อในขณะอันไม่สมควรเลย
คนอื่นนอกจากข้าพเจ้าจะมีใครเป็นที่ปรึกษาของท่านเล่า
(สังขพราหมณ์กล่าวว่า)
[๔๐] เทพธิดาผู้มีใบหน้างาม รูปงาม
สวมใส่เครื่องประดับทองคำ
เชิญถาดอาหารทองคำ มีศรัทธาและยินดีบอกเราว่า
ขอเชิญท่านบริโภคอาหารเถิด
เราตอบปฏิเสธเทพธิดาตนนั้น
(อุปัฏฐากกล่าวว่า)
[๔๑] ท่านพราหมณ์ คนพบเห็นเทพผู้ควรบูชาเช่นนี้
เมื่อหวังความสุข ก็ควรจะไต่ถาม
ท่านจงลุกขึ้นประนมมือถามเทพผู้นั้นตรง ๆ ว่า
ท่านเป็นเทพธิดาหรือหญิงมนุษย์กันหนอ
(สังขพราหมณ์ถามเทพธิดาว่า)
[๔๒] เพราะท่านมองดูข้าพเจ้าด้วยเมตตา
และยังบอกเชิญข้าพเจ้าว่าบริโภคภัตตาหารเถิด
แม่นางผู้มีอานุภาพมาก
เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าขอถามท่านว่า
ท่านเป็นเทพธิดาหรือหญิงมนุษย์กันหนอ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๐. ทสกนิบาต] ๔. สังขชาดก (๔๔๒)
(เทพธิดาตอบว่า)
[๔๓] ท่านสังขพราหมณ์ ข้าพเจ้าเป็นเทพธิดา มีอานุภาพ
มาท่ามกลางสมุทรวารนี้ มีความเอ็นดู จะมีจิตประทุษร้ายก็หาไม่
ข้าพเจ้ามาที่นี้ก็เพื่อประโยชน์แก่ท่านนั่นเอง
[๔๔] ท่านสังขพราหมณ์ ในมหาสมุทรนี้ มีข้าว น้ำ
ที่นอน ที่นั่ง และยานนานาชนิด
ข้าพเจ้าจะมอบให้ท่านทุกอย่างตามที่ใจของท่านปรารถนา
(สังขพราหมณ์กล่าวว่า)
[๔๕] ข้าพเจ้าได้บูชาและบวงสรวงมาแล้วทุกสิ่งทุกอย่าง
แม่เทพธิดาผู้มีเรือนร่างงดงาม มีสะโพกผึ่งผาย มีคิ้วงาม
เอวบางร่างน้อย ท่านเป็นใหญ่แห่งบุญกรรมทุกอย่างของข้าพเจ้า
นี้เป็นผลแห่งกรรมอะไรของข้าพเจ้าเล่า
(เทพธิดาตอบว่า)
[๔๖] ท่านสังขพราหมณ์ ท่านให้ภิกษุรูปหนึ่งผู้เดินกระโหย่งเท้า
กระหาย ลำบาก ในหนทางที่ร้อนสวมรองเท้าถวาย
ทักษิณานั้นให้สมบัติที่น่าปรารถนาแก่ท่านในวันนี้
(สังขพราหมณ์กล่าวว่า)
[๔๗] ขอจงเนรมิตเรือที่ทำด้วยไม้กระดาน
ไม่รั่ว ใช้ใบตะไคร่น้ำเป็นใบเรือ
เพราะในกลางทะเลนี้ไม่ใช่ภาคพื้นแห่งยานอื่น
ช่วยส่งข้าพเจ้าให้ถึงเมืองโมฬินีในวันนี้เถิด
(พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
[๔๘] เทพธิดานั้นปลื้มใจ ยินดีปรีดา
ได้เนรมิตเรืออันงดงาม ณ ที่นั้น พาสังขพราหมณ์
พร้อมทั้งอุปัฏฐากชายนำไปส่งถึงเมืองอันน่ารื่นรมย์
สังขชาดกที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๐. ทสกนิบาต] ๕. จูฬโพธิชาดก (๔๔๓)
๕. จูฬโพธิชาดก (๔๔๓)
ว่าด้วยจูฬโพธิกุมาร
(พระราชาตรัสถามพระโพธิสัตว์ว่า)
[๔๙] พราหมณ์ ถ้าจะพึงมีคนมาพานางปริพาชิกาของท่าน
ผู้มีดวงตางาม ยิ้มแย้มร่าเริงน่ารักนี้ไปโดยพลการ
ท่านจะทำอย่างไรเล่า
(พระโพธิสัตว์ตอบว่า)
[๕๐] ถ้าอาตมาเกิดความโกรธขึ้น
ความโกรธก็จะไม่พึงเสื่อมคลาย
จะไม่เสื่อมคลายตลอดชีวิตของอาตมา
อาตมาจะห้ามความโกรธเสียโดยพลัน
เหมือนฝนห่าใหญ่ระงับฝุ่นละออง
(พระราชาตรัสว่า)
[๕๑] วันก่อน ท่านนั้นกล่าวอวดอ้างอย่างไรหนอ
วันนี้ดูเหมือนมีกำลัง จึงทำเป็นนั่งนิ่งเย็บผ้าห่มอยู่ ณ บัดนี้
(พระโพธิสัตว์ทูลตอบว่า)
[๕๒] อาตมาเกิดความโกรธขึ้นแล้ว
ความโกรธไม่เสื่อมคลาย
จะไม่เสื่อมคลายตลอดชีวิตของอาตมา
อาตมาได้ห้ามความโกรธเสียแล้วโดยพลัน
เหมือนฝนห่าใหญ่ระงับฝุ่นละออง
(พระราชาตรัสว่า)
[๕๓] ทำไม ความโกรธที่เกิดขึ้นแล้วแก่ท่านจึงไม่เสื่อมคลาย
ทำไม ความโกรธจึงไม่เสื่อมคลายตลอดชีวิตของท่าน
ไฉน ท่านจึงห้ามความโกรธได้เหมือนฝนห่าใหญ่ระงับฝุ่นละออง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๐. ทสกนิบาต] ๕. จูฬโพธิชาดก (๔๔๓)
(พระโพธิสัตว์ทูลว่า)
[๕๔] เมื่อความโกรธเกิดขึ้นย่อมมองไม่เห็น
เมื่อไม่เกิดย่อมมองเห็นได้ดี
ความโกรธนั้นเกิดขึ้นแล้วแก่อาตมา จึงไม่เสื่อมคลาย
เพราะความโกรธเป็นอารมณ์ของคนโง่
[๕๕] ความโกรธที่เกิดขึ้น เป็นเหตุให้ศัตรูผู้มุ่งความทุกข์พอใจ
ได้เกิดขึ้นแก่อาตมา ยังไม่เสื่อมคลายเลย
เพราะความโกรธเป็นอารมณ์ของคนโง่
[๕๖] อนึ่ง เมื่อเกิดความโกรธขึ้น
บุคคลย่อมไม่หยั่งรู้ประโยชน์ของตัวเอง
ความโกรธนั้นเกิดขึ้นแล้วแก่อาตมา ยังไม่เสื่อมคลายเลย
เพราะความโกรธเป็นอารมณ์ของคนโง่
[๕๗] คนถูกความโกรธใดครอบงำ ย่อมละทิ้งกุศลธรรม
ทำประโยชน์แม้อันไพบูลย์ให้เสียไป
ความโกรธนั้นมีเสนาน่าสะพรึงกลัว มีกำลังย่ำยี
ความโกรธของอาตมายังไม่เสื่อมคลายไปเลย มหาบพิตร
[๕๘] เมื่อไม้แห้งเสียดสีกันอยู่ก็เกิดไฟป่า
ไฟนั้นเกิดจากไม้แห้งอันใดก็ไหม้ไม้แห้งนั้นเอง
[๕๙] ความโกรธย่อมเกิดขึ้นเพราะความแข่งดีของคนพาลผู้โง่เขลา
ไม่มีความรู้ แม้เขาก็ถูกความโกรธนั้นแหละเผาผลาญ
[๖๐] ความโกรธย่อมเพิ่มพูนแก่ผู้ใดเหมือนดังไฟที่กองหญ้าและไม้แห้ง
ผู้นั้นย่อมเสื่อมยศเหมือนดวงจันทร์ข้างแรม
[๖๑] ผู้ใดระงับความโกรธเสียได้เหมือนไฟที่ปราศจากเชื้อ
ผู้นั้นยศย่อมบริบูรณ์เหมือนดวงจันทร์ข้างขึ้น
จูฬโพธิชาดกที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๐. ทสกนิบาต] ๖. มัณฑัพยชาดก (๔๔๔)
๖. มัณฑัพยชาดก (๔๔๔)
ว่าด้วยมัณฑัพยคหบดี
(ดาบสกระทำสัจจวาจาว่า)
[๖๒] อาตมาต้องการบุญ มีจิตเลื่อมใส
ประพฤติพรหมจรรย์อยู่ได้เพียง ๗ วันเท่านั้น
ต่อแต่นั้น แม้จะไม่พอใจประพฤติพรหมจรรย์
ก็ยังประพฤติมาเกิน ๕๐ ปี
ด้วยสัจจวาจานี้ ขอจงมีความสวัสดี
ขอพิษจงคลาย ขอยัญญทัตต์กุมารจงรอดชีวิต
(บิดากระทำสัจจวาจาว่า)
[๖๓] เพราะแต่ไหนแต่ไรมา ข้าพเจ้าเห็นแขกในเวลามาพัก
ก็ไม่ยินดีให้พัก
อนึ่ง สมณะและพราหมณ์ทั้งหลายแม้ผู้เป็นพหูสูต
ก็ไม่ทราบความที่ข้าพเจ้าไม่พอใจ
ข้าพเจ้าแม้จะไม่พอใจก็ตาม ก็ยังให้ทาน
ด้วยสัจจวาจานี้ ขอจงมีความสวัสดี
ขอพิษจงคลาย ขอยัญญทัตต์ลูกพ่อจงรอดชีวิต
(มารดากระทำสัจจวาจาว่า)
[๖๔] ลูกรัก อสรพิษที่มีพิษร้ายแรงตัวใด
ได้โผล่ขึ้นจากปล่องมากัดเจ้า
วันนี้ อสรพิษตัวนั้น และบิดาของเจ้า
ไม่มีความแตกต่างกันเลย
เพราะไม่ได้เป็นที่รักของแม่
ด้วยสัจจวาจานี้ ขอจงมีความสวัสดี
ขอพิษจงคลาย ขอยัญญทัตต์ลูกชายจงรอดชีวิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๐. ทสกนิบาต] ๖. มัณฑัพยชาดก (๔๔๔)
(นายมัณฑัพยะถามทีปายนดาบสว่า)
[๖๕] ชนบางพวกผู้สงบระงับ ฝึกตนแล้ว บวชเป็นดาบส
มีรูปร่างไม่น่าใคร่ไม่มีเลย นอกเสียจากกัณหดาบส
ท่านทีปายนดาบส ท่านรังเกียจอะไร
จึงไม่พอใจประพฤติพรหมจรรย์
(ทีปายนดาบสตอบว่า)
[๖๖] กัณหดาบสนั้นเป็นคนโง่จริงหนอ เหมือนกับเด็กใบ้น้ำลาย
ออกบวชด้วยศรัทธาแล้วยังกลับไปหาสิ่งนั้นอีก
อาตมารังเกียจวาทะเช่นนี้
ถึงไม่พอใจก็ยังประพฤติพรหมจรรย์
ซึ่งเป็นฐานะที่วิญญูชนสรรเสริญและเป็นฐานะของสัตบุรุษ
อาตมาจึงบำเพ็ญบุญแม้อย่างนี้
(ทีปายนดาบสย้อนถามว่า)
[๖๗] ท่านเลี้ยงดูสมณะ พราหมณ์ และคนเดินทาง
ให้อิ่มหน่ำด้วยข้าวและน้ำ
เรือนของท่านนี้เพียบพร้อมด้วยข้าวและน้ำ
มีภักษาหารเปรียบดังอู่ข้าวอู่น้ำ
เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านรังเกียจวาทะอะไร
ถึงไม่พอใจก็ยังให้ทานนี้
(นายมัณฑัพยะตอบว่า)
[๖๘] บิดาและปู่ของข้าพเจ้าเป็นคนมีศรัทธา
เป็นทานบดี เป็นผู้รู้ความประสงค์ของผู้ขอ
ข้าพเจ้าผู้ประพฤติตามประเพณีของตระกูลนั้น
อย่าได้ชื่อว่า เป็นคนทำลายตระกูลคนสุดท้ายเลย
ข้าพเจ้ารังเกียจวาทะเช่นนั้น
ถึงไม่พอใจก็ยังคงให้ทานนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๐. ทสกนิบาต] ๗. นิโครธชาดก (๔๔๕)
(นายมัณฑัพยะถามภรรยาว่า)
[๖๙] นี่นางผู้มีทรวดทรงงาม เราได้นำเจ้าผู้ยังเป็นหญิงวัยรุ่น
ยังไม่มีปัญญาสามารถจัดแจงทรัพย์ได้มาจากตระกูลญาติ
และเจ้าก็มิได้บอกให้รู้ถึงความที่เจ้าไม่รักเรา
ยังบำเรอเราโดยปราศจากความรัก เมื่อเป็นเช่นนั้น
เพราะเหตุไร เจ้าจึงยังอยู่ร่วมกับเราอย่างนี้ แม่นางผู้เจริญ
(ภรรยาตอบว่า)
[๗๐] ตั้งแต่ไหนแต่ไรเนิ่นนานมาแล้ว
หญิงสาวคนหนึ่งทิ้งสามีแล้วได้ชายอื่นเป็นสามีไม่มีในตระกูลนี้
ขอดิฉันผู้ประพฤติตามประเพณีของตระกูลนั้น
อย่าชื่อว่า เป็นคนทำลายตระกูลคนสุดท้ายเลย
ดิฉันรังเกียจวาทะเช่นนั้น ถึงไม่พอใจก็ยังบำเรอท่านอยู่
(ภรรยากล่าวขอโทษนายมัณฑัพยะผู้เป็นสามีว่า)
[๗๑] ท่านมัณฑัพยะ วันนี้ดิฉันพูดคำที่ไม่ควรพูด
เพื่อเห็นแก่ลูก ขอท่านจงอดโทษถ้อยคำที่ดิฉันพูดนั้นเถิด
ไม่มีสิ่งอื่นใดในโลกนี้ จะยิ่งไปกว่าความรักลูก
ขอยัญญทัตต์ลูกของเรานั้นจงรอดชีวิตเถิด
มัณฑัพยชาดกที่ ๖ จบ

๗. นิโครธชาดก (๔๔๕)
ว่าด้วยพระเจ้านิโครธ
(นายโปตติกะกราบทูลพระเจ้านิโครธว่า)
[๗๒] ขอเดชะพระเจ้านิโครธ พระองค์ทรงเข้าพระทัยอย่างไร
ตามที่สาขเสนาบดีกล่าวว่า เราไม่รู้จักมันเลยว่า
มันผู้นี้เป็นใคร หรือเป็นคนสอดแนมของใคร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๐. ทสกนิบาต] ๗. นิโครธชาดก (๔๔๕)
[๗๓] ต่อแต่นั้น คนผู้กระทำตามคำสั่งของสาขเสนาบดี
ได้ตบหน้าข้าพระองค์แล้วลากคอนำข้าพระองค์ออกไป
[๗๔] ขอเดชะพระองค์ผู้เป็นใหญ่แห่งหมู่ชน
สาขเสนาบดีเพื่อนของพระองค์เป็นคนมีความคิดต่ำทราม
อกตัญญู ประทุษร้ายมิตร กระทำกรรมอันไม่ประเสริฐเช่นนี้
(พระเจ้านิโครธตรัสว่า)
[๗๕] เพื่อน เรื่องนี้เรายังไม่ทราบ ทั้งใคร ๆ ก็มิได้บอกเรา
ถึงเรื่องที่สาขะได้กระทำการฉุดคร่าท่าน มีแต่ท่านได้บอกเรา
[๗๖] ท่านส่งเสริมเพื่อนทั้งสอง คือ เราและสาขะให้มีอาชีพดีขึ้น
คือ ท่านได้ให้อิสริยยศแก่พวกเราเป็นใหญ่ในหมู่มนุษย์
สมบัติเหล่านี้พวกเราได้มาก็เพราะท่าน
ในเรื่องนี้เราไม่สงสัยเลย
[๗๗] เมล็ดพืชที่ถูกเผาในกองไฟย่อมไม่งอกขึ้น ฉันใด
ความดีที่ทำในคนชั่วก็ย่อมพินาศไปไม่งอกงาม ฉันนั้น
[๗๘] ส่วนความดีที่ทำในคนผู้มีความกตัญญู มีศีล
มีความประพฤติอันประเสริฐ ย่อมไม่เสียหาย
เหมือนเมล็ดพืชในนาที่ดี
(พระราชารับสั่งว่า)
[๗๙] ก็เจ้าสาขะผู้นี้เป็นคนชั่วช้า คดโกง มีความคิดเยี่ยงคนชั่ว
จงเอาหอกแทงมัน เราไม่ต้องการให้มันมีชีวิตอยู่
(นายโปตติกะกราบทูลว่า)
[๘๐] ขอเดชะพระมหาราช ขอพระองค์ทรงโปรดงดโทษแก่เขาเถิด
ชีวิตนำกลับคืนมาไม่ได้ ขอเดชะพระองค์ผู้สมมติเทพ
ขอพระองค์ทรงโปรดงดโทษแก่คนชั่วเถิด
ข้าพระองค์ไม่ต้องการฆ่าเขา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๐. ทสกนิบาต] ๘. ตักกลชาดก (๔๔๖)
(นายโปตติกะกล่าวสอนลูกสาวลูกชายว่า)
[๘๑] ควรคบแต่พระเจ้านิโครธเท่านั้น
อย่าเข้าไปคบหาเจ้าสาขเสนาบดีเลย
การตายในสำนักของพระเจ้านิโครธประเสริฐกว่า
การมีชีวิตอยู่ในสำนักของเจ้าสาขเสนาบดีจะประเสริฐอะไร
นิโครธชาดกที่ ๗ จบ

๘. ตักกลชาดก (๔๔๖)
ว่าด้วยตักกลบัณฑิต
(ลูกชายวัย ๗ ขวบถามพ่อว่า)
[๘๒] คุณพ่อ หัวหอม หัวกระเทียมก็ไม่มี มันเทศก็ไม่มี
มันมือเสือก็ไม่มี เหง้าตาลก็ไม่มีเลย
คุณพ่อต้องการอะไร
จึงขุดหลุมอยู่คนเดียวกลางป่าช้าในป่า
(พ่อตอบว่า)
[๘๓] ลูกรัก ปู่ของเจ้าทุพพลภาพมากแล้ว
ถูกความลำบากเพราะความเจ็บป่วยหลายอย่างเบียดเบียน
วันนี้ พ่อจะขุดหลุมฝังปู่เจ้า
เพราะพ่อไม่ชอบใจชีวิตอย่างนั้นของปู่เจ้า
(ลูกชายกล่าวว่า)
[๘๔] คุณพ่อได้รับความคิดอันชั่วช้านี้มา
แล้วกระทำกรรมอันหยาบช้าไร้ประโยชน์
คุณพ่อ เมื่อคุณพ่อแก่ชราก็จักได้รับการกระทำเช่นนี้แม้จากลูก
ถึงลูกก็จะประพฤติตามประเพณีของตระกูลนั้น
จะขุดหลุมฝังคุณพ่อเหมือนกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๐. ทสกนิบาต] ๘. ตักกลชาดก (๔๔๖)
(พ่อกล่าวว่า)
[๘๕] นี่เจ้าเด็กน้อย เจ้าพูดกระทบข่มขู่พ่อด้วยวาจาที่หยาบ
ลูกรัก เจ้าเป็นลูกแท้ ๆ ของพ่อ กลับไม่อนุเคราะห์เกื้อกูลพ่อ
(ลูกชายกล่าวโต้ตอบว่า)
[๘๖] คุณพ่อ ลูกจะไม่อนุเคราะห์เกื้อกูลคุณพ่อก็หาไม่
แม้ลูกก็อนุเคราะห์เกื้อกูลคุณพ่อ
แต่ไม่อาจจะห้ามคุณพ่อผู้กำลังทำกรรมชั่วช้านั้น
จากการกระทำนั้นได้
(พ่อกล่าวว่า)
[๘๗] พ่อสวิฏฐะ ผู้ใดมีความชั่วช้า
เบียดเบียนพ่อแม่ผู้ไม่ประทุษร้ายตน
เมื่อตายไปชาติหน้า ผู้นั้นจะตกนรกอย่างไม่ต้องสงสัย
[๘๘] พ่อสวิฏฐะ ส่วนผู้ใดบำรุงพ่อแม่ด้วยข้าวและน้ำ
เมื่อตายไปชาติหน้า ผู้นั้นจะขึ้นสวรรค์อย่างไม่ต้องสงสัย
[๘๙] ลูกรัก เจ้าไม่อนุเคราะห์เกื้อกูลพ่อก็หามิได้
เจ้าอนุเคราะห์เกื้อกูลพ่อแท้ ๆ
แต่พ่อถูกแม่ของเจ้าสั่งมา จึงกระทำกรรมหยาบช้าเช่นนี้
(ลูกชายกล่าวว่า)
[๙๐] ภรรยาของพ่อไม่ใช่คนดี เป็นแม่บังเกิดเกล้าของลูกนั่นเอง
พ่อควรขับแม่ออกจากเรือนไป
แม่นั้นควรจะได้รับทุกข์อย่างอื่นบ้าง
[๙๑] ภรรยาของพ่อไม่ใช่คนดี เป็นแม่บังเกิดเกล้าของลูกนั่นเอง
แม่นั้นมีความคิดชั่วช้า ได้รับการฝึกแล้วหมดพยศ
เหมือนช้างพัง จงให้กลับมาอยู่ต่อไป
ตักกลชาดกที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๐. ทสกนิบาต] ๙. มหาธัมมปาลชาดก (๔๔๗)
๙. มหาธัมมปาลชาดก (๔๔๗)
ว่าด้วยมหาธรรมปาลกุมาร
(อาจารย์ทิศาปาโมกข์ถามพราหมณ์ว่า)
[๙๒] วัตรของท่านเป็นอย่างไร
อนึ่ง พรหมจรรย์ของท่านเป็นอย่างไร
นี้เป็นผลแห่งวัตรและพรหมจรรย์ที่ท่านประพฤติดีแล้วอย่างไร
พราหมณ์ ขอท่านโปรดบอกเนื้อความนั้นแก่ข้าพเจ้าว่า
เพราะเหตุไรหนอ พวกท่านจึงไม่ตายแต่หนุ่ม ๆ
(พราหมณ์ตอบว่า)
[๙๓] พวกเราประพฤติธรรม๑ ไม่กล่าวเท็จ
งดเว้นกรรมชั่ว ละเว้นกรรมอันไม่ประเสริฐทั้งหมด
เพราะเหตุนั้นแล พวกเราจึงไม่ตายแต่หนุ่ม ๆ
[๙๔] พวกเราฟังธรรมทั้งของอสัตบุรุษและสัตบุรุษ
แต่พวกเราไม่ชอบใจธรรมของอสัตบุรุษเลย
จึงละเว้นอสัตบุรุษ ไม่ละเว้นสัตบุรุษ
เพราะเหตุนั้น พวกเราจึงไม่ตายแต่หนุ่ม ๆ
[๙๕] ก่อนจะให้ทาน พวกเราก็ดีใจ แม้ขณะให้ก็พอใจ
แม้ให้ไปแล้วก็ไม่เดือดร้อนในภายหลัง
เพราะฉะนั้น พวกเราจึงไม่ตายแต่หนุ่ม ๆ
[๙๖] พวกเราเลี้ยงดูสมณะ พราหมณ์ คนเดินทาง
วณิพก ยาจก และคนจนให้อิ่มหนำด้วยข้าวและน้ำ
เพราะเหตุนั้น พวกเราจึงไม่ตายแต่หนุ่ม ๆ

เชิงอรรถ :
๑ ประพฤติธรรม ในที่นี้หมายถึงประพฤติกุศลกรรมบถ (ทางแห่งความดี ๑๐) คือ ทางกาย ๓ ได้แก่
(๑) ละการฆ่าสัตว์ (๒) ละการลักทรัพย์ (๓) ละการประพฤติผิดในกาม ทางวาจา ๔ ได้แก่ (๑) ละการ
พูดเท็จ (๒) ละการพูดส่อเสียด (๓) ละการพูดคำหยาบ (๔) ละการพูดเพ้อเจ้อ ทางใจ ๓ ได้แก่ (๑) ไม่
เพ่งเล็งอยากได้ของผู้อื่น (๒) ไม่มีจิตคิดร้ายต่อผู้อื่น (๓) มีความเห็นชอบ (ขุ.ชา.อ. ๕/๙๓/๔๓๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๐. ทสกนิบาต] ๙. มหาธัมมปาลชาดก (๔๔๗)
[๙๗] อนึ่ง พวกเราไม่นอกใจภรรยา
ถึงพวกภรรยาก็ไม่นอกใจพวกเรา
นอกจากภรรยาเหล่านั้นแล้ว พวกเราประพฤติพรหมจรรย์
เพราะเหตุนั้น พวกเราจึงไม่ตายแต่หนุ่ม ๆ
[๙๘] พวกเรางดเว้นการฆ่าสัตว์ทั้งปวง
ละเว้นสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ในโลก ไม่ดื่มน้ำเมา ไม่พูดเท็จเลย
เพราะเหตุนั้น พวกเราจึงไม่ตายแต่หนุ่ม ๆ
[๙๙] บุตรทั้งหลายที่เกิดในหญิงชั้นสูงมีมารยาทอันดีงามเหล่านั้น
เป็นคนฉลาด มีปัญญามาก เป็นพหูสูต จบไตรเพท
เพราะเหตุนั้น พวกเราจึงไม่ตายแต่หนุ่ม ๆ
[๑๐๐] พ่อแม่ พี่น้องหญิงชาย ลูกเมีย
และเราทั้งหมดก็ประพฤติธรรมเพราะเหตุโลกหน้า
เพราะเหตุนั้น พวกเราจึงไม่ตายแต่หนุ่มๆ
[๑๐๑] ทาสชายหญิง บุคคลรอบข้างที่อาศัยเลี้ยงชีพ
และคนงานทั้งหมดก็ประพฤติธรรมเพราะเหตุโลกหน้า
เพราะเหตุนั้น พวกเราจึงไม่ตายแต่หนุ่ม ๆ
(พราหมณ์แสดงคุณของผู้ประพฤติธรรมว่า)
[๑๐๒] ธรรมแลย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม
ธรรมที่ตนประพฤติดีแล้วย่อมนำสุขมาให้
นี้เป็นอานิสงส์ในธรรมที่ตนประพฤติดีแล้ว
ผู้ประพฤติธรรมย่อมไม่ถึงทุคติ
[๑๐๓] ธรรมแลย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม
เหมือนร่มคันใหญ่ในฤดูฝน
ธรรมปาลกุมารของเรามีธรรมคุ้มครอง ยังอยู่เป็นสุข
กระดูกที่ท่านนำมาเป็นกระดูกคนอื่น
มหาธัมมปาลชาดกที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๐. ทสกนิบาต] ๑๑. มัฏฐกุณฑลีชาดก (๔๔๙)
๑๐. กุกกุฏชาดก (๔๔๘)
ว่าด้วยพญาไก่
(พญาไก่กล่าวว่า)
[๑๐๔] ไม่ควรวางใจในคนทำความชั่ว
คนพูดเหลาะแหละ คนเห็นแก่ตัว
แม้คนที่สงบเกินไปก็ไม่ควรวางใจ
[๑๐๕] เพราะว่ามีคนพวกหนึ่งเป็นเช่นกับโคกระหายน้ำ
เพียงแต่พูดเสียดสีมิตร แต่ไม่กระทำตามที่พูด
[๑๐๖] ผู้ใดดีแต่ประณมมือไหว้ พูดวกวน เป็นมนุษย์กระพี้
ไม่มีความกตัญญู ผู้นั้นก็ไม่ควรนั่งใกล้
[๑๐๗] อนึ่ง ไม่พึงวางใจสตรีหรือบุรุษผู้มีจิตแปรปรวน
แม้คนเปิดเผยความสัมพันธ์มีประการต่าง ๆ เช่นนั้น
ก็ไม่ควรวางใจ
[๑๐๘] คนผู้ตกอยู่ในกรรมชั่ว มีวาจาไม่มั่นคง ฆ่าได้ทุกคน
เหมือนดาบที่ลับแล้วซ่อนไว้ แม้คนเช่นนั้นก็ไม่ควรวางใจ
[๑๐๙] คนบางพวกในโลกนี้ เป็นคนเทียมมิตร
มีวาจาคมคาย แต่ไร้น้ำใจ เข้าไปหาด้วยอุบายต่าง ๆ
แม้คนเช่นนั้นก็ไม่ควรวางใจ
[๑๑๐] คนใดเห็นอามิสหรือทรัพย์ในที่ใดยังละทิ้งเพื่อนนั้นไปเสียได้
คนเช่นนั้นเป็นคนโง่ ทำลายมิตร
(พระราชาตรัสว่า)
[๑๑๑] สัตว์จำนวนมากปกปิดตนไว้ เป็นคนเทียมมิตร
คอยคบหาอยู่ คนเหล่านี้เป็นคนชั่ว
ควรละเว้นเสีย เหมือนไก่ละเว้นเหยี่ยว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๐. ทสกนิบาต] ๑๑. มัฏฐกุณฑลีชาดก (๔๔๙)
[๑๑๒] อนึ่ง ผู้ใดไม่รู้เท่าทันเหตุที่เกิดขึ้นโดยฉับพลัน
ผู้นั้นจะตกอยู่ในอำนาจของศัตรูและจะเดือดร้อนในภายหลัง
[๑๑๓] ส่วนผู้ใดรู้เท่าทันเหตุที่เกิดขึ้นโดยฉับพลัน
ผู้นั้นย่อมพ้นจากความคับขันอันเกิดจากศัตรู
เหมือนไก่พ้นจากเหยี่ยว
[๑๑๔] คนผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม มีปกติกำจัดอยู่เป็นนิตย์
เหมือนบ่วงที่เขาดักไว้ในป่าฉะนั้น
นรชนผู้มีปัญญาพิจารณาควรเว้นให้ห่างไกล
เหมือนไก่ในป่าไผ่จะเว้นเหยี่ยว
กุกกุฏชาดกที่ ๑๐ จบ

๑๑. มัฏฐกุณฑลีชาดก (๔๔๙)
ว่าด้วยมัฏฐกุณฑลีเทพบุตร๑
(พราหมณ์จะถามมาณพว่า)
[๑๑๕] เจ้าประดับตกแต่งร่างกาย ใส่ต่างหูเกลี้ยง
ทัดทรงดอกไม้ มีกายลูบไล้ด้วยจุรณแก่นจันทน์แดง
ประคองแขนคร่ำครวญอยู่กลางป่า
เจ้ามีทุกข์เรื่องอะไร
(มาณพตอบว่า)
[๑๑๖] เรือนรถที่ทำด้วยทองคำ งามผุดผ่องเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้า
ข้าพเจ้ายังหาล้อรถทั้งคู่นั้นไม่ได้
เพราะความทุกข์นั้น ข้าพเจ้าจักยอมสละชีวิต
(พราหมณ์รับรองว่า)
[๑๑๗] พ่อมาณพผู้เจริญ ล้อทองคำ ล้อแก้วมณี ล้อทองแดง
หรือล้อเงิน จงบอกข้ามา ข้าจะจัดล้อทั้งคู่ให้เจ้า

เชิงอรรถ :
๑ ดู ขุ.วิ.(แปล) ๒๖/๑๒๐๗-๑๒๑๖/๑๕๑-๑๕๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๐. ทสกนิบาต] ๑๒. พิลารโกสิยชาดก (๔๕๐)
[๑๑๘] มาณพได้กล่าวแก่พราหมณ์นั้นว่า
ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ทั้ง ๒ ย่อมปรากฏในท้องฟ้านั้น
รถทองของข้าพเจ้าย่อมงามด้วยล้อทั้งคู่นั้น
(พราหมณ์กล่าวว่า)
[๑๑๙] พ่อมาณพ เจ้าโง่นัก ที่มาปรารถนาสิ่งที่ไม่ควรปรารถนา
ข้าเข้าใจว่า เจ้าจักตายเสียเปล่า
เพราะเจ้าไม่มีทางจะได้ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์เลย
(มาณพกล่าวว่า)
[๑๒๐] แม้การโคจรไปมาของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ก็ยังปรากฏ
รัศมียังปรากฏในวิถีทั้ง ๒
ส่วนคนที่ตายไปแล้วย่อมไม่ปรากฏ
เราทั้ง ๒ ผู้ร้องไห้คร่ำครวญอยู่ในที่นี้ ใครหนอโง่กว่ากัน
(พราหมณ์กล่าวว่า)
[๑๒๑] พ่อมาณพ เจ้าพูดจริงแท้ เราทั้ง ๒ ผู้ร้องไห้คร่ำครวญอยู่
ข้านี่แหละโง่กว่า ที่มาปรารถนาคนที่ตายไปแล้ว
เหมือนทารกร้องไห้อยากได้ดวงจันทร์
[๑๒๒] เจ้าช่วยระงับข้าผู้เร่าร้อนให้สงบ
ดับความกระวนกระวายทั้งหมดได้
เหมือนคนใช้น้ำราดดับไฟที่ติดเปรียง
[๑๒๓] เจ้าได้บรรเทาความเศร้าโศกของข้าผู้กำลังเศร้าโศกถึงบุตร
ชื่อว่าได้ช่วยถอนลูกศรคือความโศก
ซึ่งเสียบที่หัวใจของข้าขึ้นได้แล้วหนอ
[๑๒๔] พ่อมาณพ ข้าซึ่งเจ้าช่วยถอนลูกศรคือความโศกขึ้นให้แล้ว
เป็นผู้ปราศจากความเศร้าโศก ไม่ขุ่นมัว ไม่ร้องไห้
เพราะได้ฟังคำของเจ้า
มัฏฐกุณฑลีชาดกที่ ๑๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๐. ทสกนิบาต] ๑๒. พิลารโกสิยชาดก (๔๕๐)
๑๒. พิลารโกสิยชาดก (๔๕๐)
ว่าด้วยท้าวสักกะทรมานเศรษฐีตีนแมว
(ท้าวสักกะตรัสว่า)
[๑๒๕] สัตบุรุษทั้งหลายถึงจะไม่หุงต้มกินเอง
ได้โภชนะมาก็ปรารถนาที่จะให้
ส่วนท่านหุงต้มกินเอง ไฉนเล่าจึงไม่ให้
การไม่ให้นั้นไม่สมควรเลย
[๑๒๖] คนไม่ให้ทานเพราะเหตุ ๒ อย่างนี้
คือ เพราะตระหนี่ ๑ เพราะประมาท ๑
ผู้รู้เมื่อหวังบุญ ควรให้ทาน
[๑๒๗] คนตระหนี่กลัวต่อความหิวความกระหายอันใดจึงไม่ให้ทาน
ภัยคือความหิวและความกระหายนั่นแหละย่อมมีแก่เขาผู้ไม่ให้
คนตระหนี่กลัวต่อความหิวและความกระหายอันใด
ความหิวและความกระหายนั่นแหละย่อมเบียดเบียนเขาผู้เป็นคนพาล
ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
[๑๒๘] เพราะเหตุนั้น บัณฑิตพึงครอบงำมลทิน
กำจัดความตระหนี่แล้วพึงให้ทาน
เพราะบุญเป็นที่พึ่งของเหล่าสัตว์ในโลกหน้า
(สุริยเทพบุตรเสด็จลงมาแล้ว ขออาหารว่า)
[๑๒๙] อสัตบุรุษทั้งหลายเมื่อจะให้ทานชื่อว่าให้ได้ยาก
เมื่อจะกระทำกรรมก็ชื่อว่าทำได้ยาก
ธรรมของสัตบุรุษทั้งหลายพวกอสัตบุรุษรู้ได้ยาก
และพวกอสัตบุรุษก็ทำตามได้ยาก
[๑๓๐] เพราะฉะนั้น สัตบุรุษและอสัตบุรุษ
จึงมีคติที่ไปจากโลกนี้ต่างกัน คือ
พวกอสัตบุรุษย่อมไปสู่นรก พวกสัตบุรุษย่อมไปสู่สวรรค์๑

เชิงอรรถ :
๑ ดูเล่มนี้ หน้า ๗๙, ดู ขุ.ชา. (แปล) ๒๘/๒๒๘๖-๒๒๘๗/๕๓๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๐. ทสกนิบาต] ๑๓. จักกวากชาดก (๔๕๑)
(มาตลีเทพบุตรเสด็จมาแสดงธรรมว่า)
[๑๓๑] แม้มีไทยธรรมเพียงเล็กน้อย คนพวกหนึ่งก็ให้
คนพวกหนึ่งมีไทยธรรมมาก แต่ไม่ให้
ทักษิณาจากไทยธรรมส่วนน้อยที่บุคคลให้แล้ว
นับได้เสมอกับการให้ตั้งพัน
(ปัญจสิขเทพบุตรเสด็จมาแสดงธรรมว่า)
[๑๓๒] แม้ผู้ใดเที่ยวแสวงหาอาหารเลี้ยงลูกเมีย
เมื่อมีรายได้น้อยก็ยังให้ทาน ผู้นั้นชื่อว่าผู้ประพฤติธรรม
การบูชาของคนที่บูชายัญด้วยทรัพย์จำนวนพันนับแสนคนเหล่านั้น
ยังไม่ถึงแม้เพียงเสี้ยวหนึ่งของคนจนผู้ประพฤติธรรมเช่นนั้นเลย
(เศรษฐีได้ฟังดังนั้นแล้ว ได้กล่าวว่า)
[๑๓๓] ยัญอันไพบูลย์เพราะมีค่ามากนี้
เหตุใดจึงไม่มีค่าเท่าเทียมทานที่บุคคลให้แล้วโดยสม่ำเสมอเล่า
อนึ่ง การบูชาของคนที่บูชายัญด้วยทรัพย์ จำนวนพันนับแสนคน
เหล่านั้นย่อมไม่ถึงแม้เพียงเสี้ยวหนึ่งของคนจน
ผู้ประพฤติธรรมเช่นนั้นเป็นอย่างไร
(ปัญจสิขเทพบุตรกล่าวว่า)
[๑๓๔] เพราะว่าคนพวกหนึ่งตั้งอยู่ในกายกรรมเป็นต้นอันไม่สม่ำเสมอ
ทรมานสัตว์บ้าง ฆ่าสัตว์บ้าง ทำให้สัตว์เศร้าโศกบ้าง แล้วจึงให้ทาน
ทักษิณานั้นมีหน้าชุ่มไปด้วยน้ำตา ประกอบไปด้วยอาชญา
จึงไม่เท่าราคาของทานที่เขาให้อย่างสม่ำเสมอ
การบูชาของคนที่บูชายัญด้วยทรัพย์จำนวนพันนับแสนคนเหล่านั้น
ยังไม่ถึงแม้เพียงเสี้ยวหนึ่งของคนจน
ที่ประพฤติธรรมเช่นนั้นด้วยอาการอย่างนี้
พิลารโกสิยชาดกที่ ๑๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๐. ทสกนิบาต] ๑๓. จักกวากชาดก (๔๕๑)
๑๓. จักกวากชาดก (๔๕๑)
ว่าด้วยนกจักรพาก
(กาถามนกจักรพากว่า)
[๑๓๕] นกจักรพากท่านมีสีสวยรูปงามล่ำสัน
เลือดฝาดดี ทรวดทรงงาม ใบหน้าผ่องใส
[๑๓๖] ท่านจับอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคา คงกินอาหารอย่างนี้
คือ ปลากา ปลากระบอก ปลาหมอ
ปลาค้าว และปลาตะเพียน นะซิ
(นกจักรพากปฏิเสธคำพูดของกานั้นว่า)
[๑๓๗] ข้าพเจ้ามิได้กินอาหารชนิดนี้ หรือสัตว์บกสัตว์น้ำเลย
นอกเสียจากสาหร่ายและจอกแหน
เพื่อน สาหร่ายและจอกแหนนี้เป็นอาหารของข้าพเจ้า
(กาได้กล่าวว่า)
[๑๓๘] ข้าพเจ้าไม่เชื่อว่า สาหร่ายและจอกแหนนี้
เป็นอาหารของนกจักรพาก
เพื่อน แม้ตัวข้าพเจ้าก็ยังกินอาหารที่มีรสเค็ม
และคลุกเคล้าด้วยน้ำมันในบ้าน
[๑๓๙] ซึ่งเป็นอาหารที่เขาปรุงกันในหมู่มนุษย์
เป็นของสะอาดเจือด้วยเนื้อ
นกจักรพาก แต่สีสันของข้าพเจ้าไม่เหมือนท่าน
(นกจักรพรากได้กล่าวว่า)
[๑๔๐] ท่านเบียดเบียนหมู่มนุษย์
ต้องคอยมองดูผู้ที่ผูกเวรในตน
กินอย่างหวาดสดุ้ง ตกใจกลัว
เพราะเหตุนั้น สีสันของท่านจึงเป็นเช่นนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๐. ทสกนิบาต] ๑๔. ภูริปัญญชาดก (๔๕๒)
[๑๔๑] กา ท่านเป็นศัตรูกับชาวโลกทั้งปวง
ได้ก้อนข้าวมาด้วยความชั่ว ไม่ทำให้ผู้อื่นอิ่มหนำ
เพราะเหตุนั้น สีสันของท่านจึงเป็นเช่นนี้
[๑๔๒] เพื่อน ข้าพเจ้าไม่เบียดเบียนเหล่าสัตว์ทั้งปวง
มีความขวนขวายน้อย ไม่หวาดระแวง
ไม่มีความเศร้าโศก ไม่มีภัยแต่ที่ไหนกินอยู่
[๑๔๓] ท่านนั้นจงสร้างอานุภาพขึ้น
จงเลิกประพฤติแบบเดิมเสีย เที่ยวไปในโลกโดยไม่เบียดเบียน
จักเป็นที่รักของชาวโลกเหมือนอย่างข้าพเจ้า
[๑๔๔] ผู้ใดไม่ฆ่าเอง ไม่ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ไม่ทำทรัพย์ให้เสื่อมไป
ไม่ใช้ผู้อื่นทำทรัพย์ให้เสื่อมไป มีจิตเมตตาในสัตว์ทุกจำพวก
ผู้นั้นไม่ก่อเวรกับใคร ๆ
จักกวากชาดกที่ ๑๓ จบ

๑๔. ภูริปัญญชาดก (๔๕๒)
ว่าด้วยผู้มีปัญญากว้างขวาง
(พระราชาตรัสว่า)
[๑๔๕] ท่านผู้มีปัญญากว้างขวาง ได้ยินว่า
คำที่ท่านอาจารย์เสนกกล่าวเป็นความจริง
เพราะสิริ ความเพียร และปัญญาคุ้มครองท่าน
ผู้ตกอยู่ในอำนาจของความเสื่อมไม่ได้
ท่านจึงต้องบริโภคก้อนข้าวเหนียวที่มีแกงน้อย
(พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า)
[๑๔๖] เราเมื่อเพิ่มพูนความสุขด้วยความลำบาก
พิจารณาดูกาลอันควรไม่ควร จึงหลบซ่อนตามความพอใจ
แต่ไม่ปิดช่องทางแห่งประโยชน์
ด้วยเหตุนั้น จึงพอใจกินข้าวเหนียว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๐. ทสกนิบาต] ๑๔. ภูริปัญญชาดก (๔๕๒)
[๑๔๗] อนึ่ง เรารู้เวลาที่จะทำความเพียร
และเพิ่มพูนประโยชน์ด้วยปัญญาทั้งหลาย
เยื้องย่างอย่างการเยื้องกรายแห่งราชสีห์
แม้ต่อไปท่านก็จะเห็นเราด้วยความสำเร็จอันนั้น
(พระราชาเมื่อจะทรงทดลองบัณฑิต จึงตรัสว่า)
[๑๔๘] ก็คนพวกหนึ่งแม้มีความสุขก็ไม่ทำความชั่ว
คนอีกพวกหนึ่งเพราะกลัวการเกี่ยวข้อง
กับการถูกติเตียนจึงไม่ทำความชั่ว
ส่วนท่านเป็นผู้มีความคิดกว้างขวางมาก
เพราะเหตุไร จึงไม่ก่อทุกข์ให้แก่เรา
(พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า)
[๑๔๙] ธรรมดาบัณฑิตไม่ประพฤติกรรมชั่วเพราะเหตุความสุขแห่งตน
แม้ถูกความทุกข์กระทบถูกต้องพลั้งพลาดไป ก็สงบอยู่ได้
ไม่ละทิ้งธรรม เพราะความรักและความชัง
(พระราชาตรัสมายากษัตริย์ว่า)
[๑๕๐] บุคคลพึงยกตนที่ต่ำช้าขึ้นด้วยเหตุเล็กน้อยหรือรุนแรง
อย่างใดอย่างหนึ่งก่อน ภายหลังพึงประพฤติธรรม
(พระโพธิสัตว์แสดงอุปมาด้วยต้นไม้ว่า)
[๑๕๑] บุคคลนั่งก็ตาม นอนก็ตามที่ร่มเงาต้นไม้ใด
ไม่ควรหักรานกิ่งต้นไม้นั้น
เพราะว่าคนประทุษร้ายมิตรเป็นคนเลวทราม
[๑๕๒] คนผู้รู้แจ้งธรรมแต่สำนักอาจารย์ใด
อนึ่ง การที่สัตบุรุษทั้งหลายกำจัดความสงสัยของคนผู้นั้นได้
นั่นแหละนับว่าเป็นที่พึ่ง ที่พำนักของเขา
คนผู้มีปัญญาไม่พึงทำลายไมตรีกับอาจารย์นั้นเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๐. ทสกนิบาต] ๑๕. มหามังคลชาดก (๔๕๓)
(พระโพธิสัตว์อนุศาสน์พระราชาว่า)
[๑๕๓] คฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเกียจคร้านไม่ดี
บรรพชิตไม่สำรวมไม่ดี
พระราชาไม่ทรงใคร่ครวญก่อนแล้วทำไม่ดี
การที่บัณฑิตโกรธไม่ดี
[๑๕๔] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นเจ้าแห่งทิศ
กษัตริย์ทรงใคร่ครวญก่อนแล้วจึงควรทำ
ไม่ทรงใคร่ครวญก่อนแล้วไม่ควรตัดสิน
ยศและเกียรติย่อมเจริญแด่พระราชาผู้ทรงใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำ
ภูริปัญญชาดกที่ ๑๔ จบ

๑๕. มหามังคลชาดก (๔๕๓)
ว่าด้วยมหามงคล
(ศิษย์ผู้เป็นหัวหน้าถามอาจารย์ว่า)
[๑๕๕] ในเวลาต้องการความเป็นมงคล นรชนร่ายพระเวทอะไร
นรชนนั้นเรียนพระเวทอะไร
หรือบรรดาสุตะ เรียนสุตะบทไหน
และกระทำอย่างไร จึงได้รับความคุ้มครองโดยสวัสดิภาพ
ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
(พระโพธิสัตว์บอกมงคลว่า)
[๑๕๖] เทวดาและเทพบิดรทั้งปวง
สัตว์เลื้อยคลานและสรรพสัตว์ทั้งปวง
อันผู้ใดแผ่เมตตาอยู่เป็นนิตย์
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวการแผ่เมตตานั้นในสัตว์ทั้งหลายว่า
เป็นความสวัสดีของผู้นั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๐. ทสกนิบาต] ๑๕. มหามังคลชาดก (๔๕๓)
(พระโพธิสัตว์กล่าวมงคลต่อไปอีกว่า)
[๑๕๗] ผู้ใดมีความประพฤติถ่อมตนต่อชาวโลกทั้งปวง
คือ ต่อหญิงชายทั้งหลาย พร้อมทั้งพวกเด็ก
เป็นผู้อดทนต่อถ้อยคำที่หยาบคาย
ไม่กล่าววาจาที่ขัดแย้ง
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวความอดกลั้นนั้นว่า
เป็นความสวัสดีของผู้นั้น
[๑๕๘] ผู้ใดมีปัญญา มีความรู้ ในเมื่อเหตุเกิดขึ้น
ไม่ดูหมิ่นมิตรสหายโดยศิลปะ สกุล ทรัพย์ และโดยชาติ
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวความไม่ดูหมิ่นนั้นในสหายทั้งหลายว่า
เป็นความสวัสดีของผู้นั้น
[๑๕๙] ผู้ใดพูดจาไม่โกหก คบเพื่อนดี
และไม่ประทุษร้ายมิตร แบ่งปันทรัพย์ของตนให้
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวการกระทำนั้นในมิตรทั้งหลายว่า
เป็นความสวัสดีของผู้นั้น
[๑๖๐] ผู้ใดมีภรรยาซึ่งมีวัยเท่า ๆ กัน สามัคคีกัน
คล้อยตามกัน เป็นผู้ใคร่ธรรม ให้กำเนิดลูกได้
เป็นหญิงมีสกุล มีศีล มีความซื่อสัตย์ จงรักภักดีต่อสามี
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวการประพฤตินั้นในภรรยาทั้งหลายว่า
เป็นความสวัสดีของผู้นั้น
[๑๖๑] ผู้ใดมีพระราชาผู้เป็นใหญ่กว่าหมู่ชน ทรงมีพระเกียรติยศ
หยั่งรู้ความเป็นผู้บริสุทธิ์ และความพากเพียร
โดยปราศจากความคลางแคลงพระทัยว่า
ผู้นี้เป็นเพื่อนร่วมใจของเรา
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวความไม่คลางแคลงพระทัยนั้นว่า
เป็นความสวัสดีของผู้นั้นในพระราชาทั้งหลาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๐. ทสกนิบาต] ๑๖. ฆตปัณฑิตชาดก (๔๕๔)
[๑๖๒] ผู้ใดมีศรัทธา มีจิตเลื่อมใส พลอยอนุโมทนา ให้ข้าวน้ำ
ดอกไม้ของหอม และเครื่องลูบไล้เป็นทาน
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวการให้ทานนั้นว่า
เป็นความสวัสดีของผู้นั้นในสวรรค์
[๑๖๓] ผู้ใดเป็นผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย
ผู้สำเร็จด้วยการประพฤติชอบ เป็นสัตบุรุษ
ได้ยินได้ฟังมามาก เป็นผู้แสวงหาคุณความดี
มีศีล ชำระล้างด้วยธรรมของพระอริยะ
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวการชำระล้างด้วยธรรมของพระอริยะนั้นว่า
เป็นความสวัสดีในท่ามกลางพระอรหันต์ของผู้นั้น
(พระโพธิสัตว์รวมยอดเทศนาด้วยพระอรหันต์ ตรัสมหามงคล ๘ ประการว่า)
[๑๖๔] มงคลทั้ง ๘ ประการเหล่านี้เป็นความสวัสดีในโลก
ที่ท่านผู้รู้สรรเสริญ มีความสุขเป็นกำไร
ขอเชิญนรชนคนมีปัญญาในโลกประพฤติปฏิบัติมงคลเหล่านั้นเถิด
เพราะในมงคลทางโลก ไม่มีอะไรจริงสักอย่างเดียว
มหามังคลชาดกที่ ๑๕ จบ

๑๖. ฆตปัณฑิตชาดก (๔๕๔)
ว่าด้วยฆตบัณฑิต
(โรหิเณยยอำมาตย์สนทนากับพระเจ้าวาสุเทพว่า)
[๑๖๕] ขอเดชะพระเจ้ากัณหะ โปรดเสด็จลุกขึ้นเถิด
ทรงบรรทมอยู่ทำไม
พระองค์มัวทรงพระสุบินจะมีประโยชน์อะไร
พระเจ้าน้องยาเธอผู้เป็นดังดวงพระหฤทัย
และนัยน์เนตรเบื้องขวาของพระองค์มีลมกำเริบ
ข้าแต่พระเจ้าเกสวะ พระเจ้าฆตบัณฑิตพร่ำเพ้ออยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๐. ทสกนิบาต] ๑๖. ฆตปัณฑิตชาดก (๔๕๔)
(พระศาสดาตรัสว่า)
[๑๖๖] พระเจ้าเกสวะครั้นได้ทรงสดับวาจาของโรหิเณยยอำมาตย์นั้น
รีบเสด็จลุกขึ้น ทรงกระวนกระวาย
เพราะความโศกถึงพระเจ้าน้องยาเธอ
(พระราชาตรัสกับฆตบัณฑิตว่า)
[๑๖๗] เจ้าบ่นเพ้อว่า กระต่าย กระต่าย
ไปทั่วพระนครทวาราวดีนี้เหมือนคนบ้าเพราะเหตุไร
ใครลักกระต่ายของเจ้าไป
(พระราชาได้ตรัสอีกว่า)
[๑๖๘] จะเป็นกระต่ายที่ทำด้วยทองคำ ด้วยแก้วมณี ด้วยโลหะ
หรือจะเป็นกระต่ายที่ทำด้วยเงิน ด้วยสังข์
ด้วยศิลา ด้วยแก้วประพาฬก็ตามที
พี่จะให้เขาทำมอบให้เจ้าทุกอย่าง
[๑๖๙] แม้กระต่ายอื่น ๆ ที่มีอยู่ในป่า หากินอยู่ในป่า
พี่จะนำกระต่ายแม้เหล่านั้นมาให้เจ้า
กระต่ายชนิดไหนเล่าที่เจ้าปรารถนา
(ฆตบัณฑิตกราบทูลว่า)
[๑๗๐] กระต่ายทั้งหลายบรรดาที่อาศัยอยู่บนแผ่นดิน
หม่อมฉันไม่ต้องการ หม่อมฉันต้องการกระต่ายจากดวงจันทร์
ขอเดชะพระเจ้าเกสวะ ขอพระองค์จงนำกระต่ายนั้นลงมา
ประทานแก่หม่อมฉัน
(พระราชาตรัสว่า)
[๑๗๑] น้องเอ๋ย เจ้าปรารถนาสิ่งที่ไม่ควรปรารถนา
มาต้องการกระต่ายจากดวงจันทร์
จักต้องละทิ้งชีวิตอันเป็นที่รักไปอย่างแน่นอน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๐. ทสกนิบาต] ๑๖. ฆตปัณฑิตชาดก (๔๕๔)
(ฆตบัณฑิตกราบทูลว่า)
[๑๗๒] ขอเดชะพระเจ้ากัณหะ พระเจ้าพี่ก็ทรงทราบ
อย่างที่ทรงสอนคนอื่นเขา
แต่ทำไม พระโอรสที่สิ้นพระชนม์ไปก่อนแล้ว
พระเจ้าพี่จึงยังทรงเศร้าโศกถึงจนทุกวันนี้เล่า
(ฆตบัณฑิตได้กราบทูลต่อไปอีกว่า)
[๑๗๓] ฐานะอันใดที่มนุษย์หรืออมนุษย์ไม่ควรได้
คือ ลูกของเราที่เกิดมาแล้วขออย่าได้ตายเลย
ฐานะอันเป็นสิ่งที่หาไม่ได้
จะได้มาจากไหนเล่า
[๑๗๔] ขอเดชะพระเจ้ากัณหะ จะใช้เวทมนต์ เภสัชรากไม้
โอสถต่าง ๆ หรือพระราชทรัพย์
ก็ไม่สามารถจะพาพระราชโอรสที่ล่วงลับไปแล้ว
ที่พระองค์ทรงเศร้าโศกถึงอยู่กลับคืนมาได้
(พระราชาทรงสรรเสริญฆตบัณฑิตว่า)
[๑๗๕] พระราชาผู้มีพวกอำมาตย์
ที่เป็นคนเฉลียวฉลาดเหมือนฆตบัณฑิต
ทำเราให้สร่างเศร้าโศกได้ในวันนี้
จะมีความเศร้าโศกมาจากไหนเล่า
[๑๗๖] เจ้าช่วยระงับพี่ผู้เร่าร้อนให้สงบ
ดับความกระวนกระวายทั้งหมดได้
เหมือนคนใช้น้ำราดดับไฟที่ติดเปรียง
[๑๗๗] เจ้าได้บรรเทาความเศร้าโศกของพี่ผู้กำลังเศร้าโศกถึงบุตร
ชื่อว่าได้ช่วยถอนลูกศรคือความเศร้าโศก
ซึ่งเสียบที่หทัยของพี่ขึ้นได้แล้วหนอ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๐. ทสกนิบาต] ๑๖. ฆตปัณฑิตชาดก (๔๕๔)
[๑๗๘] พ่อฆตบัณฑิต พี่ซึ่งเจ้าได้ช่วยถอนลูกศร
คือความเศร้าโศกขึ้นได้แล้วเป็นผู้ปราศจากความเศร้าโศก
ไม่มีความขุ่นมัว จะไม่เศร้าโศก ไม่ร้องไห้
เพราะได้ฟังคำของเจ้า
(พระศาสดาตรัสคาถาสุดท้ายว่า)
[๑๗๙] นรชนทั้งหลายผู้มีปัญญาจะเป็นผู้อนุเคราะห์
ย่อมกระทำให้ผู้อื่นปราศจากความเศร้าโศก
เหมือนฆตบัณฑิตทำให้เชฏฐภาดาปราศจากความเศร้าโศก
ฆตปัณฑิตชาดกที่ ๑๖ จบ

รวมชาดกที่มีในนิบาตนี้ คือ

๑. จตุทวารชาดก ๒. กัณหชาดก
๓. จตุโปสถิยชาดก ๔. สังขชาดก
๕. จูฬโพธิชาดก ๖. มัณฑัพยชาดก
๗. นิโครธชาดก ๘. ตักกลชาดก
๙. มหาธัมมปาลชาดก ๑๐. กุกกุฏชาดก
๑๑. มัฏฐกุณฑลีชาดก ๑๒. พิลารโกสิยชาดก
๑๓. จักกวากชาดก ๑๔. ภูริปัญญชาดก
๑๕. มหามังคลชาดก ๑๖. ฆตปัณฑิตชาดก

ทสกนิบาต จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๕๓ }


๑๑. เอกาทสกนิบาต
๑. มาตุโปสกชาดก (๔๕๕)
ว่าด้วยพญาช้างเลี้ยงมารดา
(มารดาพระโพธิสัตว์ได้กล่าวคร่ำครวญว่า)
[๑] เพราะพญาช้างเผือกนั้นจากไป
ไม้อ้อยช้าง ไม้โมกมัน ไม้ช้างน้าว หญ้างวงช้าง
ข้าวฟ่างและลูกเดือยก็เจริญงอกงาม
อนึ่ง ต้นกรรณิการ์ทั้งหลายที่เชิงเขาก็ออกดอกบานสะพรั่ง
[๒] ไม่ว่าจะเป็นบ้าน หรือเมืองไหนก็ตาม
พระราชา หรือราชมหาอำมาตย์ผู้มีเครื่องประดับทองคำ
ย่อมจะบำรุงเลี้ยงซึ่งพญาช้าง
ที่พระเจ้าแผ่นดิน หรือพระราชโอรสทรงใช้ประทับทรง
ไม่ครั่นคร้ามอาจสังหารศัตรูได้ด้วยอาหาร
(พระราชาทรงขอร้องพญาช้างนั้นว่า)
[๓] พญาช้างจงรับเอาอาหารเถิด อย่าได้ผ่ายผอมเลย
งานหลวงนั้นยังมีอยู่เป็นอันมาก ที่ท่านจะกระทำต่อไป
(พระโพธิสัตว์ฟังพระดำรัสนั้นแล้วจึงกราบทูลว่า)
[๔] นางช้างนี้นั้นน่าสงสารจริง ตาบอด ไม่มีผู้นำทาง
เท้าคงจะสะดุดตอดิ้นรนไปจนถึงภูเขาจัณโฑรณะแน่นอน
(พระราชาตรัสถามว่า)
[๕] พญาช้าง นางช้างตาบอดไม่มีผู้นำทาง
เท้าสะดุดตอดิ้นรนไปจนถึงภูเขาจัณโฑรณะ
นางช้างเชือกนั้นเป็นอะไรกับเจ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๕๔ }


๑. มาตุโปสกชาดก (๔๕๕)
(พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า)
[๖] ขอเดชะพระมหาราช นางช้างตาบอดไม่มีผู้นำทาง
เท้าสะดุดตอดิ้นรนไปจนถึงภูเขาจัณโฑรณะ
นางช้างเผือกนั้นเป็นมารดาของข้าพระพุทธเจ้าเอง
(พระราชาสดับเหตุผลนั้นแล้วจึงได้ตรัสว่า)
[๗] ท่านทั้งหลายจงปล่อยพญาช้างที่เลี้ยงมารดานี้ไป
ขอพญาช้างจงอยู่ร่วมกับมารดาและพวกญาติทั้งปวงเถิด
(พระศาสดาตรัสคาถาต่อไปว่า)
[๘] พญาช้างพอพ้นจากเครื่องผูก
ซึ่งพระเจ้ากาสีทรงสั่งกลับ
พักอยู่ครู่หนึ่ง แล้วได้ไปยังภูเขา
[๙] ต่อแต่นั้นมา พญาช้างได้ไปยังสระบัวที่มีน้ำเยือกเย็น
ซึ่งพวกช้างอาศัยอยู่ ใช้งวงนำน้ำมาพ่นรดมารดา
(มารดาพระโพธิสัตว์เมื่อจะด่าจึงกล่าวว่า)
[๑๐] ฝนอะไรนี้ไม่ดีเลย ไม่ตกต้องตามฤดูกาล
ลูกรักของเราที่คอยดูแลปรนนิบัติเราก็พลอยหายไปด้วย
(พระโพธิสัตว์เมื่อจะปลอบโยนมารดาจึงกล่าวว่า)
[๑๑] ลุกขึ้นเถิดแม่ มัวนอนอยู่ทำไม ลูกรักของแม่มาแล้ว
พระเจ้ากาสีผู้ปรีชาญาณ มีบริวารยศทรงปล่อยลูกมาแล้ว
(มารดาพระโพธิสัตว์เมื่อจะอนุโมทนาจึงกล่าวว่า)
[๑๒] ขอพระราชาผู้ทรงทนุบำรุงแคว้นกาสีให้เจริญรุ่งเรือง
ซึ่งทรงปล่อยลูกของเราผู้ประพฤติอ่อนน้อม
ต่อผู้หลักผู้ใหญ่ทุกเมื่อ ขอจงทรงมีพระชนมายุยืนนาน
มาตุโปสกชาดกที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๑. เอกาทสกนิบาต] ๒. ชุณหชาดก (๔๕๗)
๒. ชุณหชาดก (๔๕๖)
ว่าด้วยพระเจ้าชุณหะ
(พราหมณ์เมื่อจะสนทนาจึงกล่าวกราบทูลว่า)
[๑๓] ขอเดชะพระองค์ผู้เป็นจอมชน
ขอพระองค์ทรงสดับวาจาของข้าพระองค์
ข้าพระองค์มาถึงที่นี้เพราะความประสงค์อย่างหนึ่งในพระเจ้าชุณหะ
ขอเดชะพระองค์ผู้ประเสริฐกว่ามนุษย์ทั้งหลาย
บัณฑิตทั้งหลายไม่พูดกับพราหมณ์
ผู้เดินทางมายืนคอยขออยู่ว่า พึงไปข้างหน้าเถิด
(พระราชาทรงสดับคำของพราหมณ์จึงตรัสว่า)
[๑๔] พราหมณ์ เราฟังอยู่ เราคอยอยู่ เชิญพูดเถิด
ท่านมาถึงที่นี้เพราะประสงค์อะไร
หรือท่านประสงค์ประโยชน์อะไรในเราจึงมาถึงที่นี้
เชิญพูดมาเถิดพราหมณ์
(พราหมณ์และพระราชากล่าวโต้ตอบกันว่า)
[๑๕] ขอพระองค์ทรงพระราชทานบ้านส่วย ๕ ตำบล
สาวใช้ ๑๐๐ คน โค ๗๐๐ ตัว ทองคำเกิน ๑,๐๐๐ แท่ง
ภรรยา ๒ คนที่มีชาติสกุลเหมาะสมแก่ข้าพระองค์
[๑๖] พราหมณ์ ตบะอันน่าสะพรึงกลัวของท่านมีอยู่หรือ
มนต์อันวิจิตรของท่านมีอยู่หรือ
ยักษ์บางพวกที่เชื่อฟังท่านมีอยู่หรือ
อีกอย่างหนึ่ง ประโยชน์ที่เราได้ทำไว้แล้วท่านรู้ชัดหรือ
[๑๗] ตบะของข้าพระองค์ก็ไม่มี แม้มนต์ก็ไม่มี
แม้พวกยักษ์บางเหล่าที่เชื่อฟังข้าพระองค์ก็ไม่มี
ถึงประโยชน์ที่พระองค์ได้ทรงกระทำไว้แล้วข้าพระองค์ก็ไม่ทราบชัด
เพียงแต่ข้าพระองค์ได้พบกับฝ่าพระบาทมาก่อนเท่านั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๑. เอกาทสกนิบาต] ๒. ชุณหชาดก (๔๕๗)
[๑๘] เรารู้ว่า ครั้งนี้เป็นการพบครั้งแรก
ก่อนหน้านี้เราไม่รู้จักท่าน
เราถามแล้ว ท่านจงบอกความข้อนี้แก่เราว่า
เราได้พบกันเมื่อไรหรือที่ไหน
[๑๙] ขอเดชะพระองค์ผู้สมมติเทพ
เราทั้งหลายได้พักอยู่ที่ตักกศิลา
ในเมืองของพระเจ้าคันธารราชอันน่ารื่นรมย์
ณ สถานที่นั้น ในเวลากลางคืนที่มืดมิดเราได้กระทบไหล่กัน
[๒๐] ขอเดชะพระองค์ผู้เป็นจอมชน
เราทั้ง ๒ นั้นยืนอยู่ตรงนั้น ได้สนทนาชวนให้ระลึกถึงกัน ณ ที่นั้น
อันนั้นเป็นการพบกันของเราเท่านั้นเอง
ต่อจากนั้น ไม่ว่าภายหลังหรือเมื่อก่อน
ไม่มีการเจอะเจอกันเลย
[๒๑] พราหมณ์ การสมาคมกับคนดี
ย่อมมีในมนุษย์ทั้งหลายเป็นบางครั้ง
ในกาลบางคราวบัณฑิตทั้งหลายไม่ทำการสมาคมหรือสันถวไมตรี
หรือแม้คุณความดีที่เขาทำไว้ในกาลก่อนให้เสื่อมสูญไป
[๒๒] ส่วนคนพาลทั้งหลายย่อมทำการสมาคมหรือสันถวไมตรี
หรือคุณความดีที่ทำไว้ในกาลก่อนให้เสื่อมสูญไปบ้าง
คุณเป็นอันมากที่ทำไว้ในคนพาลทั้งหลายก็เสื่อมสูญไปเองบ้าง
เป็นความจริง คนพาลทั้งหลายเป็นคนอกตัญญู
[๒๓] ส่วนนักปราชญ์ทั้งหลายไม่ทำการสมาคมหรือสันถวไมตรี
หรือแม้คุณความดีที่ทำไว้ในกาลก่อนให้เสื่อมสูญไป
คุณความดีที่ทำไว้ในนักปราชญ์ทั้งหลายแม้เล็กน้อย
ก็ไม่เสื่อมสลายไป
เป็นความจริง นักปราชญ์ทั้งหลายเป็นคนมีความกตัญญูด้วยดี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๑. เอกาทสกนิบาต] ๓. ธัมมเทวปุตตชาดก (๔๕๗)
[๒๔] เราจะให้บ้านส่วยแก่ท่าน ๕ หมู่บ้าน
สาวใช้ ๑๐๐ คน โค ๗๐๐ ตัว ทองคำเกิน ๑,๐๐๐ แท่ง
ภรรยา ๒ คนที่มีชาติสกุลเหมาะสมแก่ท่าน
[๒๕] ขอเดชะพระมหาราช การสมาคมของสัตบุรุษเป็นอย่างนี้
ขอเดชะ พระองค์ผู้เป็นใหญ่แห่งแคว้นกาสี
ข้าพระองค์เป็นเสมือนดวงจันทร์ที่รายล้อมด้วยหมู่ดาว
เพราะข้าพระองค์ได้สมาคมกับพระองค์ในวันนี้
ชุณหชาดกที่ ๒ จบ

๓. ธัมมเทวปุตตชาดก (๔๕๗)
ว่าด้วยธรรมเทพบุตร
(ธรรมเทพบุตรเชิญอธรรมเทพบุตรมาแล้วกล่าวว่า)
[๒๖] ข้าพเจ้าเป็นผู้สร้างยศ เป็นผู้สร้างบุญ
จนเป็นที่ชมเชยของสมณะและพราหมณ์ทั้งหลายทุกเมื่อ
อธรรมเทพบุตร ข้าพเจ้าเป็นฝ่ายธรรม
เป็นผู้ที่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายบูชาแล้ว
จึงเป็นผู้ควรแก่หนทาง ขอท่านจงให้หนทางเถิด
(อธรรมเทพบุตรกล่าวว่า)
[๒๗] ข้าพเจ้าขึ้นยานฝ่ายอธรรมอย่างมั่นคง
มิได้หวาดหวั่น เป็นผู้ทรงพลัง
เพราะเหตุไร ข้าพเจ้านั้นจะต้องให้หนทาง
ที่ไม่เคยให้แก่ท่านในวันนี้เล่า
(ธรรมเทพบุตรกล่าวว่า)
[๒๘] ธรรมแลปรากฏขึ้นก่อน ภายหลังอธรรมจึงเกิดขึ้นในโลก
ข้าพเจ้าเป็นผู้เจริญที่สุด ประเสริฐที่สุด และเก่าแก่กว่า
เพราะเหตุนั้น จงหลีกทางให้พี่ไปเถิด น้องชาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๑. เอกาทสกนิบาต] ๓. ธัมมเทวปุตตชาดก (๔๕๗)
(อธรรมเทพบุตรกล่าวว่า)
[๒๙] ข้าพเจ้าก็จะไม่ให้หนทางแก่ท่านเพราะการขอร้อง
เพราะการเจรจาได้ถูกต้อง หรือเพราะเป็นผู้ควรแก่หนทาง
วันนี้เราทั้ง ๒ จงรบกันเถิด
ผู้ใดชนะในการรบ หนทางเป็นของผู้นั้น
(ธรรมเทพบุตรกล่าวว่า)
[๓๐] ข้าพเจ้าเป็นผู้ขึ้นชื่อลือชาไปทั่วทิศ
มีพลังมหาศาล มียศหาประมาณมิได้ ไม่มีผู้เทียมเท่า
ประกอบด้วยคุณทั้งปวง เป็นฝ่ายธรรม
อธรรมเทพบุตร ท่านจะชนะได้อย่างไร
[๓๑] คนเขาใช้เหล็กเท่านั้นตีทอง หาใช้ทองตีเหล็กไม่
วันนี้ถ้าอธรรมกำจัดธรรมได้
เหล็กก็จะพึงน่าดูเหมือนทองคำ
[๓๒] อธรรมเทพบุตร ถ้าท่านมีกำลังในการรบ
ผู้หลักผู้ใหญ่และครูของท่านก็จะไม่มี
จะด้วยความพอใจหรือไม่พอใจก็ตาม
ข้าพเจ้าก็จะยอมให้หนทางแก่ท่าน
แม้คำหยาบคายของท่าน ข้าพเจ้าก็ยกโทษให้
(พระผู้มีพระภาคครั้นทรงทราบข้อความนี้จึงได้ตรัสว่า)
[๓๓] ก็อธรรมเทพบุตรครั้นได้สดับคำนี้แล้ว
ก็ล้มศีรษะปักลง เท้าชี้ขึ้น รำพึงรำพันอยู่ว่า
เราต้องการจะต่อสู้ ยังไม่ทันได้ต่อสู้
อธรรมเทพบุตรได้ถูกกำจัดแล้วด้วยเหตุเพียงเท่านี้
[๓๔] ธรรมเทพบุตรผู้มีขันติเป็นพลังชนะแล้ว
ฆ่าอธรรมเทพบุตรผู้มีพลังในการรบได้แล้ว
ให้ตกไป ณ ภาคพื้น มีจิตใจปลาบปลื้ม มีพลังกล้าแข็ง
มีความบากบั่นอย่างแท้จริง ขึ้นรถขับไปตามทางนั่นแล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๑. เอกาทสกนิบาต] ๔. อุทยชาดก (๔๕๘)
[๓๕] ผู้ใดไม่ยกย่องนับถือมารดาบิดา
สมณะและพราหมณ์ในเรือนของตน
ผู้เช่นนั้นหลังจากตายไป ทอดทิ้งร่างกายไว้ในโลกนี้แล้ว
ย่อมตกนรกเหมือนอธรรมเทพบุตรล้มศีรษะปักลงแล้ว
[๓๖] ส่วนผู้ใดยกย่องนับถือมารดาบิดา
สมณะและพราหมณ์ในเรือนของตน
ผู้เช่นนั้นหลังจากตายไป ทอดทิ้งร่างกายไว้ในโลกนี้แล้ว
ย่อมไปสู่สุคติเหมือนธรรมเทพบุตรขึ้นรถขับไป
ธัมมเทวปุตตชาดกที่ ๓ จบ

๔. อุทยชาดก (๔๕๘)
ว่าด้วยพระเจ้าอุทัย
(ท้าวสักกะเมื่อทรงเจรจากับพระราชธิดา จึงตรัสว่า)
[๓๗] พระนางผู้ทรงพระภูษาสะอาด มีพระเพลาแนบสนิท
มีพระวรกายงามหาที่ตำหนิมิได้
เสด็จขึ้นสู่ปราสาท ประทับนั่งอยู่พระองค์เดียว
พระนางผู้มีพระเนตรงามเพียงดังเนตรกินนรี
หม่อมฉันขออนุญาตพระนาง
ขอให้เราได้อยู่ร่วมกันสองคนสักคืนหนึ่งนี้
(ลำดับนั้น พระราชธิดาได้ตรัสว่า)
[๓๘] เมืองนี้มีคูในระหว่างอยู่รายรอบ
มีป้อมปราการและซุ้มประตูอันมั่นคง
มีทหารถือดาบเฝ้าระวังรักษา
ยากที่ใคร ๆ จะเข้ามาได้
[๓๙] อนึ่ง แม้ทหารหนุ่ม ๆ ก็ไม่มีมา เมื่อเป็นเช่นนั้น
เพราะเหตุไรหนอ ท่านจึงต้องการพบข้าพเจ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๑. เอกาทสกนิบาต] ๔. อุทยชาดก (๔๕๘)
(ท้าวสักกะจึงตรัสว่า)
[๔๐] พระนางผู้เลอโฉม หม่อมฉันเป็นเทพบุตรได้มา
ณ ตำหนักของพระนาง ขอพระนางพึงพอพระทัยหม่อมฉันเถิด
หม่อมฉันขอถวายถาดทองคำซึ่งมีเหรียญทองคำเต็มถาดแด่พระนาง
(พระราชธิดาสดับพระดำรัสนั้นแล้วจึงตรัสว่า)
[๔๑] จะเป็นเทวดา ยักษ์ หรือมนุษย์ก็ตาม
คนอื่นหม่อมฉันไม่ปรารถนา นอกจากพระเจ้าอุทัย
เทพบุตรผู้มีอานุภาพมาก ขอพระองค์เสด็จไปเสียเถิด
และเสด็จไปแล้ว อย่าได้เสด็จกลับมาอีกเลย
(ท้าวสักกะตรัสว่า)
[๔๒] พระนางผู้ประกอบด้วยความหมดจด
พระนางอย่าให้ความยินดีในเมถุน
ที่บรรดาสัตว์ผู้บริโภคกามถือว่าเป็นความยินดีชั้นเยี่ยม
ซึ่งเป็นเหตุให้เหล่าสัตว์ประพฤติลุ่ม ๆ ดอน ๆ ไปเลย
หม่อมฉันขอถวายถาดเงินซึ่งเต็มไปด้วยทองคำแด่พระนาง
(พระราชธิดาตรัสว่า)
[๔๓] ธรรมดาชาย เมื่อจะให้หญิงยินยอม
ย่อมเอาทรัพย์มาประมูลหญิงที่ตนพอใจ
แต่สำหรับพระองค์ตรงกันข้าม
มีสภาพเหนือกว่าเห็นได้ชัด มีทรัพย์น้อยกว่ามาหา
(ท้าวสักกะได้ตรัสว่า)
[๔๔] พระนางผู้มีพระวรกายงดงาม
ธรรมดาอายุและผิวพรรณของหมู่มนุษย์
ในมนุษยโลกย่อมทรุดโทรมไป
เพราะเหตุนั้น แม้ทรัพย์ก็ลดลงตามฉวีวรรณของพระนาง
เพราะวันนี้พระนางทรงชรากว่าเมื่อวาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๑. เอกาทสกนิบาต] ๔. อุทยชาดก (๔๕๘)
[๔๕] พระราชบุตรีผู้ทรงยศ หม่อมฉันพิเคราะห์เห็นอย่างนี้ว่า
เมื่อวันคืนล่วงไป ฉวีวรรณของพระนางก็ทรุดโทรมไป
[๔๖] พระราชบุตรีผู้มีปรีชา ด้วยวัยนี้แหละ
พระองค์ควรประพฤติพรหมจรรย์
พระองค์จะมีพระฉวีวรรณงดงามยิ่งขึ้น
(พระราชธิดาตรัสว่า)
[๔๗] พวกเทพไม่แก่ชราเหมือนมนุษย์หรือ
ในร่างกายของพวกเทพไม่มีรอยเหี่ยวย่นหรือ
เทพบุตรผู้ทรงอานุภาพมาก หม่อมฉันขอทูลถามพระองค์
ร่างกายของหมู่เทพเป็นอย่างไรหนอ
(ท้าวสักกะตรัสว่า)
[๔๘] พวกเทพไม่แก่ชราเหมือนมนุษย์
ในร่างกายของพวกเทพก็ไม่มีรอยเหี่ยวย่น
พวกเทพเหล่านั้นมีวรรณะอันเป็นทิพย์
และโภคะอันไพบูลย์ยิ่งขึ้นไปทุกวัน
(พระราชธิดาตรัสว่า)
[๔๙] หมู่ชนมิใช่น้อยในโลกนี้กลัวอะไรหนอ
ทางอะไรที่ท่านกล่าวไว้โดยลัทธิมิใช่น้อย
เทพบุตรผู้ทรงอานุภาพมาก หม่อมฉันขอทูลถามพระองค์
บุคคลดำรงอยู่ในทางไหนจึงไม่ต้องกลัวปรโลก
(ท้าวสักกะตรัสว่า)
[๕๐] บุคคลตั้งวาจาและใจไว้โดยชอบ ไม่กระทำบาปด้วยกาย
เมื่อครอบครองเรือนก็มีข้าวและน้ำมาก เป็นผู้มีศรัทธา
อ่อนโยน รู้จักแบ่งปันกันกิน รู้ความประสงค์ของผู้ขอ
เป็นผู้สงเคราะห์ พูดผูกใจเพื่อน มีวาจาอ่อนหวาน
ดำรงอยู่ในทางนี้ ย่อมไม่กลัวปรโลก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๑. เอกาทสกนิบาต] ๔. อุทยชาดก (๔๕๘)
(พระราชธิดาตรัสว่า)
[๕๑] เทพบุตร พระองค์ย่อมพร่ำสอนหม่อมฉันเหมือนแม่เหมือนพ่อ
หม่อมฉัน ขอทูลถามพระองค์ผู้มีวรรณงดงาม
พระองค์ผู้มีพระวรกายงดงามเป็นใครกันหนอ
(ท้าวสักกะตรัสว่า)
[๕๒] พระนางผู้เลอโฉม หม่อมฉันคือพระเจ้าอุทัย
มาที่นี้เพราะมีสัญญากันไว้ หม่อมฉันบอกพระองค์แล้วก็จะไปละ
หม่อมฉันพ้นสัญญากับพระองค์แล้ว
(พระราชธิดาตรัสว่า)
[๕๓] ถ้าพระองค์เป็นพระเจ้าอุทัยจริง
เสด็จมาที่นี้เพราะมีสัญญากันไว้
ขอเดชะพระราชบุตร ขอพระองค์จงพร่ำสอนหม่อมฉัน
ตราบเท่าที่จะได้มาพบกันอีกครั้งหนึ่ง
(พระโพธิสัตว์เมื่อจะทรงสอน จึงตรัสว่า)
[๕๔] วัยย่อมผ่านไปอย่างรวดเร็ว ขณะเวลาก็เหมือนกัน
ไม่หยุดอยู่กับที่ สัตว์ทั้งหลายย่อมตายแน่นอน
สรีระร่างกายไม่ยั่งยืน ย่อมจะทรุดโทรมไป
แม่อุทัยภัทรา เธอจงอย่าประมาท ประพฤติธรรมเถิด
[๕๕] แผ่นดินทั้งสิ้นเต็มไปด้วยทรัพย์
พึงเป็นของพระราชาผู้เดียวเท่านั้น ไม่พึงตกอยู่ในอำนาจของผู้อื่น
บุคคลผู้ยังไม่ปราศจากราคะ ก็ย่อมจะละทิ้งทรัพย์แม้นั้นไป
แม่อุทัยภัทรา เธอจงอย่าประมาท ประพฤติธรรมเถิด
[๕๖] มารดา บิดา พี่น้องทั้งหลาย แม้ภรรยาสินไถ่ก็ดี
แม้ชนเหล่านั้นก็จะต้องพลัดพรากจากกันและกันไป
แม่อุทัยภัทรา เธอจงอย่าประมาท ประพฤติธรรมเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๑. เอกาทสกนิบาต] ๕. ปานียชาดก (๔๕๙)
[๕๗] แม่อุทัยภัทรา เธอรู้ว่าร่างกายเป็นอาหารของสัตว์อื่น
รู้ว่าสุคติและทุคติในสังสารวัฏเป็นสภาพที่อยู่อันต่ำต้อยแล้ว
จงอย่าประมาท ประพฤติธรรมเถิด
(พระราชธิดาเลื่อมใสแล้วเมื่อจะทรงชมเชย จึงตรัสคาถาสุดท้ายว่า)
[๕๘] เทพบุตรนี้ตรัสดีแล้ว ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายน้อย
และชีวิตนั้นลำบาก อยู่ได้นิดหน่อย ประกอบไปด้วยทุกข์
หม่อมฉันนั้นจะละทิ้งเมืองสุรุนธนะแคว้นกาสีไปบวชคนเดียว
อุทยชาดกที่ ๔ จบ

๕. ปานียชาดก (๔๕๙)
ว่าด้วยการรังเกียจบาปเพราะเผลอไปดื่มน้ำ
(พระปัจเจกพุทธเจ้าเมื่อจะถวายพระพรแก่พระราชา จึงได้ตรัสว่า)
[๕๙] อาตมาเป็นมิตรของชายคนหนึ่งได้ดื่มน้ำของมิตรที่เขามิได้ให้
เหตุนั้น ภายหลังจึงรังเกียจว่า นั้นเป็นความชั่วเราได้ทำแล้ว
เราอย่าได้ทำความชั่วอีกเลย
เพราะเหตุนั้น อาตมาจึงบวช (๑)
[๖๐] ก็อาตมาเห็นภรรยาของคนอื่นแล้วเกิดความรัก
เหตุนั้น ภายหลังจึงรังเกียจว่า นั้นเป็นความชั่วเราได้ทำแล้ว
เราอย่าได้ทำความชั่วอีกเลย
เพราะเหตุนั้น อาตมาจึงบวช (๒)
[๖๑] ขอถวายพระพรมหาบพิตร พวกโจรในป่าได้จับบิดากับอาตมา
อาตมารู้อยู่ถูกพวกโจรเหล่านั้นถาม
ก็ได้ตอบเรื่องนั้นเป็นอย่างอื่นไป
[๖๒] เหตุนั้น ภายหลังจึงรังเกียจว่า นั้นเป็นความชั่วเราได้ทำแล้ว
เราอย่าได้ทำความชั่วอีกเลย
เพราะเหตุนั้น อาตมาจึงบวช (๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๑. เอกาทสกนิบาต] ๕. ปานียชาดก (๔๕๙)
[๖๓] เมื่อเขาตั้งพิธีบูชายัญชื่อโสมยาคะ๑
พวกมนุษย์ได้กระทำปาณาติบาต
อาตมาได้ยินยอมอนุญาตให้แก่พวกเขา
[๖๔] เหตุนั้น ภายหลังจึงรังเกียจว่า นั้นเป็นความชั่วเราได้ทำแล้ว
เราอย่าได้ทำความชั่วอีกเลย
เพราะเหตุนั้น อาตมาจึงบวช (๔)
[๖๕] เมื่อก่อน ชนทั้งหลายในบ้านของอาตมา
ได้สำคัญสุราและเมรัยเหมือนน้ำหวาน
ได้ปรุงน้ำเมาเพื่อความหายนะแก่ชนจำนวนมาก
อาตมาได้ยินยอมอนุญาตให้แก่พวกเขา
[๖๖] เหตุนั้น ภายหลังจึงรังเกียจว่า นั้นเป็นความชั่วเราได้ทำแล้ว
เราอย่าได้ทำความชั่วอีกเลย
เพราะเหตุนั้น อาตมาจึงบวช (๕)
(พระราชาทรงติเตียนกามว่า)
[๖๗] น่าติเตียนจริง ๆ กามเป็นอันมากมีกลิ่นเหม็น
มีขวากหนามมาก เราซ่องเสพอยู่ ไม่ได้ความสุขเช่นนั้นเลย
(พระอัครมเหสีทรงสรรเสริญความสุขในกามว่า)
[๖๘] กามทั้งหลายน่าพอใจมาก มีความสุข
สุขที่ยิ่งกว่ากามไม่มี คนผู้ซ่องเสพกามย่อมขึ้นสวรรค์
(พระโพธิสัตว์ติเตียนกามว่า)
[๖๙] กามทั้งหลายน่ายินดีน้อย มีทุกข์มาก
ทุกข์ที่ยิ่งกว่ากามไม่มี คนผู้ซ่องเสพกามย่อมตกนรก

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า โสมยาคะ หมายความว่า เมื่อมีงานมหรสพใหม่เกิดขึ้น พวกมนุษย์พากันทำพลีกรรมแก่ยักษ์
ฉะนั้นจึงได้ชื่อว่า พิธีโสมยาคะ (ขุ.ชา.อ. ๖/๖๓/๓๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๑. เอกาทสกนิบาต] ๖. ยุธัญชยชาดก (๔๖๐)
[๗๐] กามทั้งหลายมีทุกข์มากกว่าการใช้ดาบที่ลับดีแล้วฟัน
ใช้กริชที่ชุ่มด้วยน้ำมันแทง และใช้หอกพุ่งปักที่อก
[๗๑] กามทั้งหลายมีทุกข์มากกว่าการถูกฝังในหลุมถ่านเพลิง
ที่ลุกโพลงลึกเกินชั่วคนแล้วใช้ผาลที่เผาร้อนไถไปทั้งวัน
[๗๒] กามทั้งหลายมีทุกข์มากกว่าการดื่มยาพิษที่ร้ายแรง
กว่าการใช้น้ำมันที่เดือดพล่านรด
กว่าการตกกระทะทองแดงที่กำลังละลายคว้าง
ปานียชาดกที่ ๕ จบ

๖. ยุธัญชยชาดก (๔๖๐)
ว่าด้วยพระราชกุมารยุธัญชัย
(พระโพธิสัตว์ทูลขอบรรพชาว่า)
[๗๓] ขอเดชะพระมหาราช ข้าพระองค์ขอถวายบังคมพระองค์
ผู้ทรงเป็นจอมทัพ ซึ่งแวดล้อมไปด้วยมิตรและอำมาตย์
ข้าพระองค์จักบวช ขอพระองค์ผู้สมมติเทพ
โปรดพระราชทานการบวชนั้นเถิด
(พระราชาตรัสห้ามว่า)
[๗๔] ถ้าเจ้ายังมีความพร่องด้วยกามทั้งหลาย
พ่อจะเพิ่มเติมให้แก่เจ้า
พ่อจะห้ามคนที่เบียดเบียนเจ้า
ลูกยุธัญชัยอย่าบวชเลย
(พระโพธิสัตว์กุมารกราบทูลว่า)
[๗๕] ข้าพระองค์ไม่มีความพร่องด้วยกามทั้งหลาย
คนที่เบียดเบียนข้าพระองค์ก็ไม่มี
แต่ข้าพระองค์ปรารถนาจะกระทำที่พึ่งซึ่งชรากำจัดไม่ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๑. เอกาทสกนิบาต] ๖. ยุธัญชยชาดก (๔๖๐)
(พระศาสดาประกาศข้อความนั้นว่า)
[๗๖] พระราชบุตรทูลวิงวอนพระราชบิดา
และพระราชบิดาก็ทรงวิงวอนพระราชบุตร
ชาวนิคมก็ทูลวิงวอนว่า พ่อยุธัญชัยกุมาร
อย่าผนวชเลย พ่อเอ๋ย
(พระโพธิสัตว์กุมารกราบทูลว่า)
[๗๗] ข้าแต่ทูลกระหม่อมผู้ทรงเป็นจอมทัพ
พระองค์โปรดอย่าทรงห้ามข้าพระองค์ผู้จะบวชเลย
ขอข้าพระองค์อย่าได้ชื่อว่า เป็นผู้ประมาทเพราะกามทั้งหลาย
อย่าตกอยู่ในอำนาจของชราเลย
(พระมารดาตรัสว่า)
[๗๘] ลูกเอ๋ย แม่ขอร้องลูก ขอห้ามลูก
แม่ต้องการเห็นลูกนาน ๆ ลูกยุธัญชัย อย่าบวชเลย
(พระโพธิสัตว์กุมารกราบทูลว่า)
[๗๙] อายุของมนุษย์ทั้งหลายเหมือนน้ำค้างที่ยอดหญ้า
พอพระอาทิตย์ขึ้นก็แห้งไป
หม่อมแม่ พระองค์อย่าทรงห้ามหม่อมฉันเลย
(พระโพธิสัตว์ทูลเชิญพระราชบิดามาแล้วกราบทูลว่า)
[๘๐] ขอเดชะพระองค์ผู้ทรงเป็นจอมทัพ
ขอทรงให้ราชบุรุษรีบเชิญเสด็จพระราชมารดานี้ขึ้นพระราชยานเถิด
ขอพระราชมารดาอย่าทรงทำอันตรายแก่ข้าพระองค์
ผู้กำลังจะข้ามทางกันดารเลย
(พระเทวีทรงคร่ำครวญอยู่ว่า)
[๘๑] รีบไปกราบทูลว่า ขอพระองค์ทรงพระเจริญ
รัมมนครจะเป็นเมืองร้าง ถ้าพระเจ้าสัพพทัตทรงอนุญาต
ให้ยุธัญชัยราชบุตรทรงผนวชแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๑. เอกาทสกนิบาต] ๗. ทสรถชาดก (๔๖๑)
[๘๒] พระราชกุมารพระองค์ใดประเสริฐกว่าพระราชบุตรพันพระองค์
ยังทรงพระเยาว์ มีพระฉวีวรรณประดุจทองคำ
พระราชกุมารพระองค์นี้นั้นยังทรงมีพระกำลังแข็งแรง
ทรงนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ผนวชแล้ว
(พระโพธิสัตว์กุมารกราบทูลว่า)
[๘๓] พระราชกุมารทั้ง ๒ พระองค์ คือ ยุธัญชัยกุมาร
และยุธิฏฐิลกุมารทรงละพระราชมารดาและพระราชบิดา
ตัดเครื่องข้องของมฤตยูผนวชแล้ว
ยุธัญชัยชาดกที่ ๖ จบ

๗. ทสรถชาดก (๔๖๑)
ว่าด้วยพระเจ้าทศรถ
(พระรามบัณฑิตกล่าวว่า)
[๘๔] มานี่ พ่อลักษณ์และแม่สีดา เจ้าทั้ง ๒ จงลงน้ำ
น้องภรตนี้กล่าวอย่างนี้ว่า พระเจ้าทศรถสวรรคตแล้ว
(ภรตกุมารถามรามบัณฑิตว่า)
[๘๕] เจ้าพี่ราม เพราะอานุภาพอะไร
เจ้าพี่จึงไม่ทรงเศร้าโศกถึงเหตุที่ควรเศร้าโศก
ความทุกข์จึงไม่ครอบงำเจ้าพี่
เพราะทรงสดับว่า ทูลกระหม่อมพ่อสวรรคตแล้ว
(พระรามบัณฑิตประกาศความไม่เที่ยงว่า)
[๘๖] บรรดาคนทั้งหลายผู้พร่ำเพ้อถึงอยู่เป็นอันมาก
ไม่มีสักคนหนึ่งที่สามารถจะรักษาชีวิตไว้ได้
วิญญูชนคนมีปัญญาจะพึงยังตนให้เดือดร้อนเพื่ออะไรเล่า
[๘๗] เพราะว่าคนหนุ่ม คนแก่ คนโง่ คนฉลาด
คนมั่งคั่งร่ำรวย คนจนก็ตาม ล้วนจะต้องตายทั้งนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๑. เอกาทสกนิบาต] ๗. ทสรถชาดก (๔๖๑)
[๘๘] สัตว์ทั้งหลายที่เกิดมามีภัยต้องตายแน่นอน
เหมือนผลไม้สุกมีอันตรายต้องหล่นแน่นอน
[๘๙] ชนเป็นจำนวนมาก บางพวกเห็นกันเมื่อตอนเช้า
ในตอนเย็นกลับไม่ปรากฏ
บางพวกเห็นกันในตอนเย็น พอรุ่งเช้ากลับไม่ปรากฏ
[๙๐] หากผู้ที่หลงคร่ำครวญเบียดเบียนตนอยู่
จะพึงนำประโยชน์อะไรมาได้บ้าง
บัณฑิตผู้มีปัญญาเห็นประจักษ์ก็จะพึงกระทำเช่นนั้นบ้าง
[๙๑] ผู้ที่เบียดเบียนตนเองย่อมจะซูบผอม
ไม่ผ่องใสเพราะการคร่ำครวญนั้น
สัตว์ทั้งหลายผู้ละไปสู่ปรโลกก็คุ้มครองตนไม่ได้
การคร่ำครวญเป็นสิ่งที่ไร้ประโยชน์
[๙๒] ที่พำนักอาศัยที่ร้อน บุคคลพึงใช้น้ำดับได้ฉันใด
ข้ออุปไมยก็ฉันนั้น ความเศร้าโศกที่เกิดขึ้นแล้ว
นรชนคนผู้เป็นปราชญ์มีการสดับฟัง มีปัญญา เป็นบัณฑิต
พึงกำจัดเสียโดยพลันเหมือนลมพัดนุ่น
[๙๓] สัตว์ย่อมตายคนเดียว เกิดก็คนเดียวในสกุล
ส่วนการคบหากันของสรรพสัตว์มีความเกี่ยวข้องกันเป็นอย่างยิ่ง
[๙๔] เพราะเหตุนั้นแหละ นักปราชญ์ผู้เป็นพหูสูต
พิจารณาโลกนี้และโลกหน้า เพราะรู้ทั่วถึงธรรม
แม้ความเศร้าโศกใหญ่หลวงก็แผดเผาจิตใจไม่ได้
[๙๕] เรานั้นจักให้ จักบริโภค จักเลี้ยงดูญาติทั้งหลาย
และจักคุ้มครองมหาชนที่เหลือ นั่นเป็นหน้าที่ของท่านผู้รู้
[๙๖] พระรามบัณฑิตผู้มีพระศองามดุจทองคำ มีพระพาหาใหญ่
ทรงครอบครองราชสมบัติอยู่ ๑๖,๐๐๐ ปี
ทสรถชาดกที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๑. เอกาทสกนิบาต] ๙. สุปปารกชาดก (๔๖๓)
๘. สังวรชาดก (๔๖๒)
ว่าด้วยพระเจ้าสังวร
(พระอุโบสถกุมารตรัสกับสังวรกุมารว่า)
[๙๗] ขอเดชะพระมหาราช พระราชบิดาผู้เป็นพระมหากษัตริย์
ทรงทราบอยู่ถึงสีลวัตรของพระองค์ ทรงยกย่องพระกุมารเหล่านี้
แต่หายกย่องพระองค์ด้วยชนบทใดชนบทหนึ่งไม่
[๙๘] เมื่อพระมหาราชผู้สมมติเทพทรงพระชนม์อยู่
หรือทิวงคตแล้วก็ตาม
พระญาติทั้งหลายเมื่อเห็นประโยชน์ของตน
จึงพากันยอมรับพระองค์
[๙๙] ขอเดชะพระเจ้าสังวร ด้วยพระจริยาวัตรอะไร
พระองค์จึงทรงดำรงอยู่เหนือพระเจ้าพี่ผู้มีพระชาติเสมอกัน
เพราะเหตุไร บรรดาพระญาติที่มาประชุมกันแล้ว
จึงไม่ล่วงเกินพระองค์
(พระเจ้าสังวรมหาราชตรัสคุณของพระองค์ว่า)
[๑๐๐] พระราชบุตร หม่อนฉันไม่ริษยาสมณะทั้งหลาย
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ย่อมนอบน้อมสมณะเหล่านั้นโดยเคารพ
ย่อมกราบเท้าสมณะผู้คงที่ทั้งหลาย
[๑๐๑] สมณะเหล่านั้นย่อมพร่ำสอนหม่อมฉัน
ผู้ประกอบแล้วในพระธรรมคุณ เชื่อฟัง
ไม่ริษยาสมณะผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ทั้งหลาย
ยินดีแล้วในพระธรรมคุณ
[๑๐๒] หม่อมฉันได้สดับคำของสมณะ
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่เหล่านั้นแล้ว ไม่ดูหมิ่นอะไร ๆ
ใจของหม่อมฉันยินดีในธรรมเป็นนิตย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๑. เอกาทสกนิบาต] ๙. สุปปารกชาดก (๔๖๓)
[๑๐๓] พลช้าง ราชองครักษ์ พลรถ พลราบ
พลเหล่านั้นหม่อมฉันก็ไม่ตัดเบี้ยเลี้ยง
และรายได้ประจำที่ได้ตั้งไว้
[๑๐๔] อนึ่ง หม่อมฉันมีมหาอำมาตย์และมนตรีผู้คอยรับใช้ช่วยจัดการ
กรุงพาราณสีให้มีมังสาหาร สุรา และข้าวน้ำจำนวนมาก
[๑๐๕] อนึ่ง แม้พ่อค้าทั้งหลายที่มาจากแคว้นต่าง ๆ ก็พากันร่ำรวย
หม่อมฉันก็จัดการคุ้มครองพ่อค้าเหล่านั้น
ข้าแต่พระเจ้าพี่อุโบสถ ขอพระองค์ทรงทราบอย่างนี้เถิด
(พระอุโบสถกุมารได้สดับดังนั้นแล้ว จึงตรัสว่า)
[๑๐๖] ขอเดชะพระเจ้าสังวร นัยว่า
ขอพระองค์จงครองราชสมบัติโดยธรรม
แทนพระญาติทั้งหลาย
อนึ่ง ขอพระองค์ผู้มีพระปัญญาและทรงเป็นบัณฑิต
เกื้อกูลแก่พระญาติทั้งหลายเถิด
[๑๐๗] พระองค์ผู้อันพระญาติแวดล้อมแล้วอย่างนี้
ทั้งได้สะสมรัตนะต่าง ๆ ไว้มากมาย
ศัตรูทั้งหลายย่อมข่มเหงไม่ได้
เหมือนกับพระอินทร์ที่จอมอสูรราวีไม่ได้
สังวรชาดกที่ ๘ จบ

๙. สุปปารกชาดก (๔๖๓)
ว่าด้วยพ่อค้าสุปปารกะ
(พวกพ่อค้ากล่าวว่า)
[๑๐๘] มนุษย์ทั้งหลายมีจมูกแหลม ย่อมโผล่ขึ้น ดำลง
ท่านสุปปารกะ พวกเราขอถาม ทะเลนี้ชื่ออะไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๑. เอกาทสกนิบาต] ๙. สุปปารกชาดก (๔๖๓)
(พระโพธิสัตว์กล่าวว่า)
[๑๐๙] เมื่อเรือของพวกท่านผู้เป็นพ่อค้าแสวงหาทรัพย์
ออกไปจากท่าภรุกัจฉา แล่นไปผิดทิศทาง
ทะเลนี้เขาเรียกว่า ขุรมาลี
(พวกพ่อค้าถามพระโพธิสัตว์ว่า)
[๑๑๐] ทะเลปรากฏเหมือนกองไฟและดวงอาทิตย์
ท่านสุปปารกะ พวกเราขอถาม ทะเลนี้ชื่ออะไร
(พระโพธิสัตว์กล่าวแก่พวกพ่อค้านั้นว่า)
[๑๑๑] เมื่อเรือของพวกท่านผู้เป็นพ่อค้าแสวงหาทรัพย์
ออกไปจากท่าภรุกัจฉา แล่นไปผิดทิศทาง
ทะเลนี้เขาเรียกว่า อัคคิมาลี
(พวกพ่อค้าถามว่า)
[๑๑๒] ทะเลปรากฏเหมือนนมส้มและนมสด
ท่านสุปปารกะ พวกเราขอถาม ทะเลนี้ชื่ออะไร
(พระโพธิสัตว์ตอบว่า)
[๑๑๓] เมื่อเรือของพวกท่านผู้เป็นพ่อค้าแสวงหาทรัพย์
ออกไปจากท่าภรุกัจฉา แล่นไปผิดทิศทาง
ทะเลนี้เขาเรียกว่า ทธิมาลี
(พวกพ่อค้าถามว่า)
[๑๑๔] ทะเลปรากฏเหมือนหญ้าคาและข้าวกล้า
ท่านสุปปารกะ พวกเราขอถาม ทะเลนี้ชื่ออะไร
(พระโพธิสัตว์ตอบว่า)
[๑๑๕] เมื่อเรือของพวกท่านผู้เป็นพ่อค้าแสวงหาทรัพย์
ออกไปจากท่าภรุกัจฉา แล่นไปผิดทิศทาง
ทะเลนี้เขาเรียกว่า กุสมาลี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๑. เอกาทสกนิบาต] ๙. สุปปารกชาดก (๔๖๓)
(พวกพ่อค้าถามว่า)
[๑๑๖] ทะเลปรากฏเหมือนต้นอ้อและต้นไผ่
ท่านสุปปารกะ พวกเราขอถาม ทะเลนี้ชื่ออะไร
(พระโพธิสัตว์ตอบว่า)
[๑๑๗] เมื่อเรือของพวกท่านผู้เป็นพ่อค้าแสวงหาทรัพย์
ออกไปจากท่าภรุคัจฉะ แล่นไปผิดทิศทาง
ทะเลนี้เขาเรียกว่า นฬมาลี
(พวกพ่อค้าถามว่า)
[๑๑๘] เสียงน่ากลัวมาก น่าสยดสยอง ฟังคล้ายเสียงของอมนุษย์
ทะเลปรากฏเหมือนเป็นหลุมเป็นบ่อ
ท่านสุปปารกะ พวกเราขอถาม ทะเลนี้ชื่ออะไร
(พระโพธิสัตว์ตอบว่า)
[๑๑๙] เมื่อเรือของพวกท่านผู้เป็นพ่อค้าแสวงหาทรัพย์
ออกไปจากท่าภรุคัจฉะ แล่นไปผิดทิศทาง
ทะเลนี้เขาเรียกว่า พลวามุขี
[๑๒๐] ตั้งแต่ข้าพเจ้ารู้เดียงสา ข้าพเจ้าจำตัวเองได้ว่า
ข้าพเจ้ายังไม่ได้รู้สึกว่าแกล้งเบียดเบียนสัตว์แม้สักตัวหนึ่งเลย
ด้วยสัจจวาจานี้ ขอเรือจงกลับโดยความสวัสดีเถิด
สุปปารกชาดกที่ ๙ จบ

รวมชาดกที่มีในนิบาตนี้ คือ

๑. มาตุโปสกชาดก ๒. ชุณหชาดก
๓. ธัมมเทวปุตตชาดก ๔. อุทยชาดก
๕. ปานียชาดก ๖. ยุธัญชยชาดก
๗. ทสรถชาดก ๘. สังวรชาดก
๙. สุปปารกชาดก

เอกาทสกนิบาต จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๗๓ }


๑๒. ทวาทสกนิบาต
๑. จูฬกุณาลชาดก (๔๖๔)
ว่าด้วยนกดุเหว่าจูฬกุณาละ
(พระโพธิสัตว์ได้กล่าวว่า)
[๑] บุรุษผู้ไม่ถูกผีสิงไม่ควรเชื่อหญิงที่เป็นคนโลภ
มีจิตกลับกลอก ไม่รู้คุณคน เป็นคนประทุษร้ายมิตร
[๒] หญิงเหล่านั้นไม่รู้กิจที่ทำแล้วและยังไม่ทำ
ไม่รู้จักมารดาบิดาหรือพี่น้อง
ไม่ใช่อารยชน ก้าวล่วงธรรมทั้งหลาย
ตกไปสู่อำนาจจิตของตนเท่านั้น
[๓] เมื่อมีอันตรายและกิจเกิดขึ้น
หญิงเหล่านั้นย่อมละทิ้งสามีนั้น
แม้อยู่ร่วมกันมานาน เป็นที่รักที่พอใจ
เป็นผู้อนุเคราะห์เสมอด้วยชีวิต
เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่วางใจหญิงทั้งหลาย
[๔] แท้จริง จิตของหญิงเหมือนจิตของวานร
ขึ้น ๆ ลง ๆ เหมือนเงาต้นไม้
หัวใจของหญิงหวั่นไหวไม่หยุดนิ่ง
กลับกลอกเหมือนล้อเกวียนที่กำลังหมุนไป
[๕] คราวใด หญิงเหล่านั้นมองเห็นทรัพย์ของชายที่พอจะถือเอาได้
ก็ใช้วาจาอ่อนหวานนำเขาไปสู่อำนาจ
เหมือนกับชาวกัมโพชะใช้สาหร่ายลวงม้า
[๖] คราวใด มองไม่เห็นทรัพย์ของชายที่พอจะถือเอาได้
ก็ละทิ้งเขาไปเสียโดยง่ายเหมือนคนข้ามฟาก
พอถึงฝั่งก็ทิ้งแพไปเสีย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๗๔ }


๑. จูฬกุณาลชาดก (๔๖๔)
[๗] หญิงเปรียบเหมือนยางเหนียว
กินทุกสิ่งทุกอย่างเหมือนเปลวไฟ
มีมายาแรงกล้าเหมือนแม่น้ำที่มีกระแสเชี่ยว
เพราะว่า หญิงเหล่านั้นคบได้ทั้งชายคนรักและมิใช่คนรัก
เหมือนเรือจอดได้ทั้งฝั่งนี้และฝั่งโน้น
[๘] หญิงเหล่านั้นมิใช่เป็นของชายคนเดียวหรือสองคน
เหมือนร้านตลาดที่แผ่กว้างแก่คนทั่วไป
ชายใดสำคัญหญิงเหล่านั้นว่าเป็นของเรา
ชายนั้นเท่ากับใช้ตาข่ายดักลม
[๙] แม่น้ำ หนทาง โรงสุรา สภา
และบ่อน้ำดื่มเป็นฉันใด
ธรรมดาหญิงในโลกก็ฉันนั้น
ขอบเขตของหญิงเหล่านั้นไม่มีเลย
[๑๐] หญิงเหล่านั้นเสมอด้วยไฟกินเปรียง (น้ำมัน)
อุปมาด้วยหัวงูเห่า เลือกกินแต่ของที่ดีเลิศ
เหมือนโคเลือกเล็มแต่หญ้าอ่อน ๆ ในภายนอก
[๑๑] ไฟกินเปรียง ๑ ช้างสาร ๑ งูเห่า ๑
กษัตริย์ผู้ได้รับมุรธาภิเษกแล้ว ๑ หญิงทั้งปวง ๑
ทั้ง ๕ อย่างนี้ นรชนพึงคบหาโดยความระมัดระวังเป็นนิตย์
เพราะว่า อัธยาศัยของทั้ง ๕ นั้นแลรู้ได้ยาก
[๑๒] หญิงที่มีรูปงามยิ่งนัก ๑
หญิงที่ชายจำนวนมากพอใจ ๑
หญิงผู้ชำนาญในการฟ้อนรำขับร้อง ๑
หญิงผู้เป็นภรรยาของชายอื่น ๑
หญิงที่เห็นแก่ทรัพย์ ๑
หญิงทั้ง ๕ จำพวกเหล่านี้ ชายไม่ควรคบหาเลย
จูฬกุณาลชาดกที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๒. ทวาทสกนิบาต] ๒. ภัททสาลชาดก (๔๖๕)
๒. ภัททสาลชาดก (๔๖๕)
ว่าด้วยเทวดาประจำต้นรังหนุ่ม
(พระราชาตรัสกับเทวดาว่า)
[๑๓] ท่านเป็นใคร มีเสื้อผ้าสะอาดหมดจด
ยืนอยู่ท่ามกลางนภากาศ
เพราะเหตุไร น้ำตาของท่านจึงหลั่งไหล
ภัยนั้นเกิดจากอะไร
(ภัททสาละจอมเทพตรัสว่า)
[๑๔] ขอเดชะพระองค์ผู้สมมติเทพ เมื่อข้าพระองค์
เป็นผู้ที่ประชาชนในแคว้นของพระองค์บูชาอยู่ตลอด ๖๐,๐๐๐ ปี
ประชาชนเหล่านั้นรู้จักข้าพระองค์ว่า
ภัททสาลรุกขเทพ
[๑๕] ขอเดชะพระองค์ผู้เป็นใหญ่แห่งทิศ
พระราชาพระองค์ก่อน ๆ เมื่อจะทรงสร้างพระนครก็ดี
อาคารและปราสาทชนิดต่าง ๆ ก็ดี
ก็มิได้ทรงหมิ่นข้าพระองค์เลย
พระราชาเหล่านั้นบูชาข้าพระองค์แล้วฉันใด
แม้พระองค์ก็จงบูชาข้าพระองค์ฉันนั้นเถิด
(พระราชาตรัสว่า)
[๑๖] ข้าพเจ้ายังมิได้เห็นต้นไม้
ที่มีลำต้นใหญ่เท่ากับลำต้นของท่านเลย
ท่านเป็นต้นไม้ที่มีลำต้นงาม
มีสัณฐานสมส่วนและตรงโดยกำเนิด
[๑๗] ข้าพเจ้าจะสร้างปราสาทที่มีเสาเดียว อันน่ารื่นรมย์
จักนำท่านเข้าไปอยู่ในปราสาทหลังนั้น
ท่านผู้ควรบูชา ชีวิตของท่านจักยั่งยืน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๒. ทวาทสกนิบาต] ๒. ภัททสาลชาดก (๔๖๕)
(ภัททสาละจอมเทพตรัสว่า)
[๑๘] หากพระองค์เกิดความดำริเช่นนี้
หากพระองค์ทรงปรารถนาจะแยกร่างกายของข้าพระองค์
ขอพระองค์จงรานกิ่งก้านข้าพระองค์ให้มากแล้วบั่นให้เป็นท่อน ๆ
[๑๙] พระองค์จงตัดยอดก่อน ต่อมาจงตัดกลางลำต้น
และจงตัดโคนต้นในภายหลัง
เมื่อข้าพระองค์ถูกตัดอย่างนี้ จะพึงตายไม่เป็นทุกข์
(พระราชาตรัสว่า)
[๒๐] เหมือนราชบุรุษตัดมือ ตัดเท้า ตัดหู และตัดจมูกก่อน
ต่อมาภายหลังจึงตัดศีรษะของโจรที่ยังเป็นอยู่
การตายนั้นพึงเป็นทุกข์
[๒๑] ภัททสาละผู้เจ้าป่า การถูกตัดเป็นท่อน ๆ เป็นสุขหรือ
เพราะเหตุไร เพราะอาศัยอะไร
ท่านจึงปรารถนาการถูกตัดเป็นท่อน ๆ
(ภัททสาละจอมเทพตรัสว่า)
[๒๒] ก็ข้าพระองค์อาศัยเหตุอันใดซึ่งเป็นเหตุอันประกอบด้วยธรรม
จึงปรารถนาการถูกตัดเป็นท่อน ๆ ขอเดชะพระมหาราช
ขอพระองค์ทรงสดับเหตุอันนั้นของข้าพระองค์
[๒๓] พวกญาติของข้าพระองค์เจริญเติบโตอย่างมีความสุข
เกิดในที่อับลมข้าง ๆ ข้าพระองค์
ข้าพระองค์พึงเบียดเบียนพวกญาติแม้เหล่านั้น
ชื่อว่าได้ก่อความไม่สุขสบายให้แก่ผู้อื่น
(พระราชาทรงสดับคำนั้นแล้ว จึงตรัสว่า)
[๒๔] ภัททสาละผู้เจ้าป่า ท่านได้คิดสิ่งที่ควรคิด
ปรารถนาประโยชน์เกื้อกูลแก่หมู่ญาติ
สหายเอ๋ย เราให้อภัยแก่ท่าน
ภัททสาลชาดกที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๒. ทวาทสกนิบาต] ๓. สมุททวาณิชชาดก (๔๖๖)
๓. สมุททวาณิชชาดก (๔๖๖)
ว่าด้วยพ่อค้าทางเรือเดินทะเล
(พระศาสดาตรัสว่า)
[๒๕] มนุษย์เหล่านั้นพากันไถ พากันหว่าน
อาศัยผลแห่งการงานเลี้ยงชีพอยู่ ก็ยังไม่ถึงส่วนแห่งเกาะนี้
เกาะของเรานี้ประเสริฐกว่าชมพูทวีป
(เทพบุตรกล่าวว่า)
[๒๖] ในคืนพระจันทร์เพ็ญ ๑๕ ค่ำ
ทะเลจักมีคลื่นแรงมาก จักท่วมเกาะใหญ่แห่งนี้
ขอกำลังคลื่นน้ำทะเลอย่าได้ฆ่าพวกท่านเลย
พวกท่านจงไปยังเกาะอื่นเถิด
(เทพบุตรผู้ร้ายกาจอีกตนหนึ่งได้กล่าวว่า)
[๒๗] กำลังคลื่นน้ำทะเลจะไม่เกิด
จักไม่ท่วมเกาะใหญ่แห่งนี้
ข้าพเจ้าเห็นเหตุนั้นด้วยนิมิตมากมาย
พวกท่านอย่ากลัวไปเลย จะเศร้าโศกทำไม จงรื่นเริงกันเถิด
[๒๘] เกาะใหญ่นี้มีอาหารเพียงพอ มีข้าวและน้ำมากมาย
พวกท่านจงยึดครองเป็นที่อยู่อาศัยเถิด
ข้าพเจ้ายังไม่เห็นภัยอะไรสำหรับพวกท่านเลย
ท่านทั้งหลายจงรื่นเริงบันเทิงใจไปตลอดชั่วลูกชั่วหลานเถิด
(นายช่างผู้โง่เขลากล่าวว่า)
[๒๙] เทพบุตรองค์ใดในทิศทักษิณนี้ย่อมกล่าวคัดค้านว่า
ปลอดภัย คำของเทพบุตรองค์นั้นเป็นความจริง
ส่วนเทพบุตรทิศอุดรไม่รู้ถึงภัยหรือไม่มีภัย
พวกท่านอย่ากลัวไปเลย จะเศร้าโศกทำไม จงรื่นเริงกันเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๒. ทวาทสกนิบาต] ๓. สมุททวาณิชชาดก (๔๖๖)
(ฝ่ายนายช่างผู้เป็นบัณฑิตได้กล่าวว่า)
[๓๐] เทพบุตรเหล่านี้กล่าวขัดแย้งกัน
ตนหนึ่งกล่าวว่าจะมีภัย ตนหนึ่งกล่าวว่าจะปลอดภัย
อย่างไรก็ตาม เอาเถิดพวกท่านจงฟังคำของเรา
พวกเราทั้งหมดอย่าพากันพินาศเสียเร็วพลันเลย
[๓๑] พวกเราทั้งหมดจงมาพร้อมกันสร้างเรือโกลน
ประกอบเครื่องยนต์ทุกอย่างให้มั่นคง
ถ้าเทพบุตรทิศทักษิณนี้กล่าวจริง
เทพบุตรองค์ทิศอุดรนี้ก็กล่าวคัดค้านเปล่า ๆ
อนึ่ง เมื่อเกิดอันตรายขึ้น เรือของพวกเรานั้นจักมีประโยชน์
และพวกเราจะไม่ละทิ้งเกาะนี้ไป
[๓๒] แต่ถ้าเทพบุตรทิศอุดรกล่าวจริง
เทพบุตรทิศทักษิณนี้ก็กล่าวคัดค้านเปล่า ๆ
พวกเราทั้งหมดก็จะพากันขึ้นเรือลำนั้นแหละ
เมื่อเป็นเช่นนี้ พวกเราก็จะมีความสวัสดีข้ามไปจนถึงฝั่ง
[๓๓] คำที่เทพองค์แรกกล่าวกับคำหลัง
อย่าไปเชื่อเอาง่าย ๆ ว่าถูกต้อง
ส่วนคำที่ผ่านหูมา นรชนใดในโลกนี้เก็บเอามาพิจารณา
เลือกเอาแต่คำที่ถูกต้อง
นรชนนั้นย่อมเข้าถึงฐานะอันประเสริฐ
(พระศาสดาตรัส ๓ พระคาถาว่า)
[๓๔] กุลบุตรผู้มีปัญญาดุจแผ่นดิน
รู้แจ้งชัดถึงประโยชน์ในอนาคตแล้ว
ย่อมไม่ให้ประโยชน์แม้น้อยล่วงเลยไป
เหมือนพวกพ่อค้าเหล่านั้นได้ไปโดยความสวัสดีกลางน้ำทะเล
ตามการกระทำของตน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๒. ทวาทสกนิบาต] ๔. กามชาดก (๔๖๗)
[๓๕] ส่วนพวกคนพาลผู้ที่ติดอยู่ในรสเพราะโมหะ
ไม่รู้แจ้งชัดถึงประโยชน์ในอนาคต
หมกหมุ่นอยู่ในประโยชน์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ย่อมถึงความพินาศ
เหมือนพวกมนุษย์ที่พินาศกลางทะเลเหล่านั้น
[๓๖] คนผู้เป็นบัณฑิตพึงรีบทำกิจที่ควรทำในอนาคตด้วยหวังว่า
ในเวลาที่ทำกิจ ขอกิจที่ควรทำอย่าได้เบียดเบียนเรา
กิจนั้นย่อมไม่เบียดเบียนเขาผู้รีบทำกิจที่ควรทำเช่นนั้น
สมุททวาณิชชาดกที่ ๓ จบ

๔. กามชาดก (๔๖๗)
ว่าด้วยกามและโทษของกาม
(พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า)
[๓๗] หากสิ่งที่สัตวโลกต้องการนั้นสำเร็จแก่เขาผู้ต้องการกาม
เขาได้แล้วย่อมจะอิ่มใจแน่นอน
[๓๘] หากสิ่งที่ต้องการนั้นสำเร็จแก่เขาผู้ต้องการกาม
เมื่อความปรารถนาสำเร็จแล้ว เขายังปรารถนาต่อไปอีก
ย่อมประสบความอยากยิ่ง ๆ ขึ้นไป
เหมือนคนตรากตรำลมและแดดในฤดูร้อน
ประสบความกระหายยิ่ง ๆ ขึ้นไป
[๓๙] ความอยากและความกระหายย่อมพอกพูนโดยยิ่ง
แก่คนผู้โง่เขลาเบาปัญญา ไม่รู้พระสัทธรรม
ผู้มีร่างกายกำลังเจริญเติบโต
เหมือนเขาเจริญแก่โคตัวที่กำลังมีเขาเจริญเติบโต
[๔๐] แม้จะให้นาข้าวสาลี นาข้าวเหนียว โค ม้า
และทาสชายหญิงทั้งแผ่นดิน ก็ไม่เพียงพอสำหรับคนคนเดียว
บุคคลรู้อย่างนี้แล้วพึงประพฤติธรรมให้สม่ำเสมอ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๒. ทวาทสกนิบาต] ๔. กามชาดก (๔๖๗)
[๔๑] พระราชาทรงปราบปรามข้าศึก ชนะทั่วทั้งแผ่นดิน
ทรงปกครองแผ่นดินอันมีสมุทรสาครเป็นที่สุด
ยังมิทรงอิ่มพระทัยมหาสมุทรฝั่งนี้
ทรงปรารถนาแม้มหาสมุทรฝั่งโน้นอีก
[๔๒] บุคคลไม่ประสบความอิ่มใจ
ตลอดเวลาที่ยังหวนระลึกถึงกามทั้งหลายอยู่
บุคคลเหล่าใดกลับใจ มีกายหลีกออกจากกามนั้น
เห็นโทษในกามทั้งหลาย เป็นผู้อิ่มแล้วด้วยปัญญา
บุคคลเหล่านั้นแลชื่อว่าเป็นผู้อิ่ม
[๔๓] บรรดาความอิ่มทั้งหลาย ความอิ่มด้วยปัญญาประเสริฐที่สุด
เพราะบุคคลผู้อิ่มด้วยปัญญานั้นไม่เดือดร้อนเพราะกามทั้งหลาย
คนที่อิ่มด้วยปัญญา ตัณหาทำให้อยู่ในอำนาจไม่ได้
[๔๔] บุคคลไม่พึงสั่งสมกาม
ควรเป็นคนปรารถนาน้อย ไม่โลเลเหลาะแหละ
คนผู้มีปัญญาเพียงดังมหาสมุทรไม่เร่าร้อนเพราะกามทั้งหลาย
[๔๕] ส่วนใด ๆ ของกามทั้งหลายที่ละได้
ส่วนนั้น ๆ ก็บันดาลให้เป็นสุขได้
ถ้าปรารถนาสุขทุกส่วนก็ควรละกามให้หมด
เหมือนช่างหนังตัดเอาหนังมาทำรองเท้า
(พระราชาตรัสว่า)
[๔๖] ท่านมหาพราหมณ์ คาถาทั้งหมดที่ท่านกล่าวแล้ว ๘ คาถา
มีค่านับเป็นพัน ๆ กหาปณะ
ท่านจงรับทรัพย์ไปเถิด ภาษิตของท่านนี้ดีนักแล
(พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า)
[๔๗] ข้าพระองค์ไม่ต้องการทรัพย์เป็นร้อย เป็นพัน หรือเป็นหมื่น
เพราะเมื่อข้าพระองค์กล่าวคาถาสุดท้าย ใจไม่ยินดีในกามเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๒. ทวาทสกนิบาต] ๖. มหากัณหชาดก (๔๖๙)
(พระราชาทรงสรรเสริญพระโพธิสัตว์ว่า)
[๔๘] มาณพคนนี้เป็นผู้เจริญหนอ
เป็นนักปราชญ์ รู้แจ้งโลกทั้งปวง
เป็นบัณฑิต กำหนดรู้ตัณหาอันให้เกิดทุกข์ได้
กามชาดกที่ ๔ จบ

๕. ชนสันธชาดก (๔๖๘)
ว่าด้วยพระเจ้าชนสันธะ
(พระศาสดาตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า)
[๔๙] ได้ยินมาว่า พระเจ้าชนสันธะตรัสไว้อย่างนี้ว่า
เหตุ ๑๐ ประการที่บุคคลไม่ได้ทำไว้ก่อน
เขาย่อมเดือดร้อนในภายหลัง
[๕๐] บุคคลไม่ได้ทรัพย์ซึ่งตนมิได้สะสมไว้ย่อมเดือดร้อน
เขาย่อมเดือดร้อนในภายหลังอย่างนี้ว่า
เรามิได้แสวงหาทรัพย์ไว้ก่อน
[๕๑] บุคคลย่อมเดือดร้อนในภายหลังอย่างนี้ว่า
เพราะเราไม่ได้ศึกษาศิลปะที่มีอยู่ก่อน ซึ่งอาจจะศึกษาได้
คนที่ไม่มีศิลปะก็หากินลำบาก
[๕๒] บุคคลย่อมเดือดร้อนในภายหลังอย่างนี้ว่า
เมื่อก่อนเราเป็นคนโกง เป็นคนชอบส่อเสียด
ปลิ้นปล้อน ดุร้าย และหยาบคาย
[๕๓] บุคคลย่อมเดือดร้อนในภายหลังอย่างนี้ว่า
เมื่อก่อนเราเป็นคนชอบฆ่าสัตว์ โหดร้าย ป่าเถื่อน
ไม่ยอมนอบน้อมต่อคนทั้งหลาย
[๕๔] บุคคลย่อมเดือดร้อนในภายหลังอย่างนี้ว่า
เมื่อหญิงทั้งหลายที่ไม่มีคู่ครองมีอยู่เป็นจำนวนมาก
เราก็ชอบเป็นชู้กับเมียคนอื่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๒. ทวาทสกนิบาต] ๖. มหากัณหชาดก (๔๖๙)
[๕๕] บุคคลย่อมเดือดร้อนในภายหลังอย่างนี้ว่า
เมื่อข้าวและน้ำปรากฏมีอยู่เป็นอันมาก
แต่เราก็ไม่ได้ให้ทานมาก่อน
[๕๖] บุคคลย่อมเดือดร้อนในภายหลังอย่างนี้ว่า
พ่อและแม่ผู้แก่เฒ่าชราพ้นวัยหนุ่มสาวไปแล้ว
เราสามารถจะเลี้ยงดูได้ แต่ก็หาได้เลี้ยงดูไม่
[๕๗] บุคคลย่อมเดือดร้อนในภายหลังอย่างนี้ว่า
บิดาผู้เป็นอาจารย์ตามพร่ำสอน
นำรสที่ต้องการทุกอย่างมาเลี้ยงดู
เราก็ดูหมิ่นเสีย
[๕๘] บุคคลย่อมเดือดร้อนในภายหลังอย่างนี้ว่า
สมณะและพราหมณ์ผู้มีศีล ผู้เป็นพหูสูต
เราก็มิได้เคยคบหามาก่อน
[๕๙] บุคคลย่อมเดือดร้อนในภายหลังอย่างนี้ว่า
ตบะที่บำเพ็ญแล้ว สัตบุรุษที่คนเข้าไปคบหาแล้วย่อมเป็นความดี
แต่เราหาได้บำเพ็ญตบะและคบหาสัตบุรุษมาก่อนไม่
[๖๐] ก็เหตุ ๑๐ ประการเหล่านี้ผู้ใดได้ปฏิบัติโดยถูกต้อง
ผู้นั้นชื่อว่าทำหน้าที่ของคน ย่อมไม่เดือดร้อนในภายหลัง
ชนสันธชาดกที่ ๕ จบ

๖. มหากัณหชาดก (๔๖๙)
ว่าด้วยคราวที่สุนัขดำกินคน
(พระราชาตรัสถามท้าวสักกะว่า)
[๖๑] สุนัขของท่านทั้งดำทั้งดุ แยกเขี้ยวขาววาววาม
ล่ามด้วยเชือก ๕ เส้น มันร้องทำไม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๒. ทวาทสกนิบาต] ๗. โกสิยชาดก (๔๗๐)
(ท้าวสักกะตรัสว่า)
[๖๒] พระเจ้าอุสินนระ สุนัขดำตัวนี้ไม่ต้องการเนื้อสัตว์
มันจะหลุดออกไปในคราวที่มันจะทำพวกมนุษย์ให้พินาศ
(ท้าวสักกะได้ตรัสอีกว่า)
[๖๓] เมื่อใดพวกสมณะศีรษะโล้นครองผ้าสังฆาฏิ
อุ้มบาตร ทำไร่ทำนาเลี้ยงชีพ
เมื่อนั้นสุนัขดำก็จะหลุดออกไปกินเนื้อสมณะโล้นนั้น
[๖๔] เมื่อใดนักบวชหญิงมีศีรษะโล้นครองผ้าสังฆาฏิ
ปฏิญาณตนว่า บำเพ็ญตบะ
แต่ซ่องเสพกามคุณ เที่ยวไปในโลก
เมื่อนั้นสุนัขดำก็จะหลุดออกไป(กินเนื้อนักบวชหญิงนั้น)
[๖๕] เมื่อใดพวกชฎิลมีเครายาว มีขี้ฟันเขรอะ
มีธุลีบนศีรษะเที่ยวทวงหนี้อยู่
เมื่อนั้นสุนัขดำก็จะหลุดออกไป(กินเนื้อชฎิลนั้น)
[๖๖] เมื่อใดพราหมณ์ทั้งหลายเรียนพระเวท เรียนสาวิตติฉันท์
และเรียนยัญวิธีแล้วเที่ยวรับจ้างทำการบูชายัญ
เมื่อนั้นสุนัขดำก็จะหลุดออกไป(กินเนื้อพราหมณ์เหล่านั้น)
[๖๗] เมื่อใดพ่อและแม่ผู้แก่เฒ่าชราผ่านวัยหนุ่มสาวไปแล้ว
บุตรธิดามีความสามารถพอแต่ไม่เลี้ยงดู
เมื่อนั้นสุนัขดำก็จะหลุดออกไป(กินเนื้อบุตรธิดาเหล่านั้น)
[๖๘] เมื่อใดพ่อและแม่ผู้แก่เฒ่าชราผ่านวัยหนุ่มสาวไปแล้ว
บุตรธิดากล่าวหาว่า ท่านทั้งหลายเป็นคนพาล
เมื่อนั้นสุนัขดำก็จะหลุดออกไป(กินเนื้อบุตรธิดาเหล่านั้น)
[๖๙] เมื่อใดชายทั้งหลายในโลกเที่ยวประพฤติอสัทธรรม (คบชู้)
กับภรรยาของอาจารย์ก็ดี ภรรยาของเพื่อนก็ดี
ป้า น้าสาว อาสาวก็ดี
เมื่อนั้นสุนัขดำก็จะหลุดออกไป(กินเนื้อชายเหล่านั้น)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๒. ทวาทสกนิบาต] ๗. โกสิยชาดก (๔๗๐)
[๗๐] เมื่อใดพราหมณ์ทั้งหลายถือดาบและโล่หนัง
เหน็บกริชทำการปล้น ฆ่าคนเดินทาง
เมื่อนั้นสุนัขดำก็จะหลุดออกไป(กินเนื้อพราหมณ์เหล่านั้น)
[๗๑] เมื่อใดชายทั้งหลายผู้ขัดสีฉวีวรรณ มีลำแขนล่ำสัน
ไม่ปรากฏหลักฐาน ก่อเวรให้หญิงหม้าย ทำลายมิตรภาพ
เมื่อนั้นสุนัขดำก็จะหลุดออกไป(กินเนื้อชายเหล่านั้น)
[๗๒] เมื่อใดคนมีมายา ผิดกฎกติกา
มีความคิดอย่างคนชั่วจักมีอยู่ในโลก
เมื่อนั้นสุนัขดำก็จะหลุดออกไป(กินเนื้อคนมีมายานั้น)
มหากัณหชาดกที่ ๖ จบ

๗. โกสิยชาดก (๔๗๐)
ว่าด้วยโกสิยเศรษฐี
(โกสิยเศรษฐีกล่าวว่า)
[๗๓] ของนี้มีอยู่เพียงนิดหน่อย ได้มาแสนยาก
ข้าพเจ้าไม่ได้ซื้อ ไม่ได้ขาย ทั้งไม่ได้สะสมไว้ในที่นี้
ข้าวสุกแล่งหนึ่งนี้ไม่เพียงพอสำหรับคน ๒ คน
(ท้าวสักกะตรัสว่า)
[๗๔] บุคคลควรให้แต่น้อยจากของที่น้อย
ควรให้พอปานกลางจากของที่มีพอปานกลาง
ควรให้มากจากของที่มีมาก
ชื่อว่าการไม่ให้ไม่ควร
[๗๕] ท่านโกสิยะ เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าขอบอกท่านว่า
ท่านจงให้ทานและจงบริโภค จงขึ้นสู่ทางของพระอริยะ
ผู้กินคนเดียวย่อมไม่ได้รับความสุข

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๒. ทวาทสกนิบาต] ๗. โกสิยชาดก (๔๗๐)
(จันทเทพบุตรเข้าไปหาแล้วกล่าวว่า)
[๗๖] ผู้ใด เมื่อแขกนั่งแล้วบริโภคอาหารแต่ผู้เดียว
การบูชาของผู้นั้นเป็นโมฆะ
แม้ความเพียรที่ตั้งไว้ชอบ๑ของผู้นั้นก็เป็นโมฆะ
[๗๗] ท่านโกสิยะ เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าขอบอกท่านว่า
ท่านจงให้ทานและจงบริโภค จงขึ้นสู่ทางของพระอริยะ
ผู้กินคนเดียวย่อมไม่ได้รับความสุข
(สุริยเทพเข้าไปหาแล้วกล่าวว่า)
[๗๘] ผู้ใด เมื่อแขกนั่งแล้วไม่บริโภคอาหารแต่ผู้เดียว
การบูชาของผู้นั้นย่อมมีผลจริง
แม้ความเพียรที่ตั้งไว้ชอบของผู้นั้นก็มีผลจริง
[๗๙] ท่านโกสิยะ เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงบอกท่านว่า
ท่านจงให้ทานและจงบริโภค จงขึ้นสู่ทางของพระอริยะ
ผู้กินคนเดียวย่อมไม่ได้รับความสุข
(มาตลิเทพบุตรเข้าไปหาแล้วกล่าวว่า)
[๘๐] ก็บุคคลเข้าไปยังแหล่งน้ำบางแห่งแล้วบูชาที่แม่น้ำหลายสายบ้าง
ที่สระโบกขรณีชื่อคยาบ้าง ที่ท่าน้ำชื่อโทณะ
และท่าน้ำชื่อติมพรุบ้าง ที่ห้วงน้ำใหญ่ซึ่งมีกระแสเชี่ยวบ้าง
[๘๑] ผู้ใด เมื่อแขกนั่งแล้วไม่บริโภคอาหารแต่ผู้เดียว
การบูชาของผู้นั้นในที่นั้น
และความเพียรที่ตั้งไว้ชอบของเขาในที่นั้นย่อมมีผล
[๘๒] ท่านโกสิยะ เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงบอกท่านว่า
ท่านจงให้ทานและจงบริโภค จงขึ้นสู่ทางของพระอริยะ
ผู้กินคนเดียวย่อมไม่ได้รับความสุข

เชิงอรรถ :
๑ ความเพียรที่ตั้งไว้ชอบ ในที่นี้หมายถึงความเพียรที่บำเพ็ญเพื่อให้เกิดทรัพย์ (ขุ.ชา.อ. ๒/๗๖/๑๗๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๒. ทวาทสกนิบาต] ๗. โกสิยชาดก (๔๗๐)
(ปัญจสิขเทพบุตรเข้าไปหาแล้วกล่าวว่า)
[๘๓] ผู้ใด เมื่อแขกนั่งแล้วบริโภคอาหารแต่ผู้เดียว
ผู้นั้นชื่อว่ากลืนเบ็ดพร้อมทั้งเครื่องผูกที่มีสายยาว
[๘๔] ท่านโกสิยะ เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงบอกท่านว่า
ท่านจงให้ทานและจงบริโภค จงขึ้นสู่ทางของพระอริยะ
ผู้กินคนเดียวย่อมไม่ได้รับความสุข
(โกสิยเศรษฐีเห็นฤทธิ์ของเทพบุตรเหล่านั้นแล้วจึงกล่าวว่า)
[๘๕] พราหมณ์เหล่านี้มีผิวพรรณงามจริงหนอ
แต่สุนัขของพวกท่านตัวนี้ เพราะเหตุไร
จึงเปลี่ยนแปลงรัศมีสีสันได้ต่าง ๆ นานา
ข้าแต่ท่านพราหมณ์ทั้งหลาย ขอท่านจงบอกข้าพเจ้าว่า
พวกท่านเป็นใครกันหนอ
(ท้าวสักกเทวราชตรัสว่า)
[๘๖] เทพทั้งหลายที่มา ณ ที่นี้ คือ
จันทเทพบุตรและสุริยเทพบุตรทั้ง ๒ มาตลีเทพสารถี
เราคือท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเทพชั้นไตรทศ
ส่วนผู้นี้แลชื่อว่าปัญจสิขเทพบุตร
(ท้าวสักกะสรรเสริญยศของปัญจสิขเทพบุตรว่า)
[๘๗] เสียงปรบมือ ๑ ตะโพน ๑ กลอง ๑ เปิงมาง ๑
ย่อมปลุกเทพบุตรผู้หลับแล้วให้ตื่นขึ้น
เทพบุตรผู้ตื่นขึ้นแล้วย่อมร่าเริงยินดี
(ท้าวสักกะตรัสอีกว่า)
[๘๘] คนผู้ตระหนี่เห็นแก่ตัวเหล่านี้
บางพวกมักว่าสมณะและพราหมณ์
เมื่อทอดทิ้งร่างกายไว้ในโลกนี้ตายไปก็ตกนรก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๒. ทวาทสกนิบาต] ๘. เมณฑกปัญหชาดก (๔๗๑)
(เพื่อจะแสดงว่าบุคคลผู้ดำรงอยู่ในธรรมได้บังเกิดในเทวโลก จึงตรัสว่า)
[๘๙] คนผู้หวังสุคติเหล่านี้ บางพวกดำรงอยู่ในธรรม
คือความสำรวมและการจำแนกแจกทาน
เมื่อทอดทิ้งร่างกายไว้ในโลกนี้ตายไปก็ไปสุคติ
[๙๐] ท่านเป็นญาติของพวกเราเมื่อชาติก่อน
แต่ท่านนั้นเป็นคนตระหนี่ ขี้โกรธ มีธรรมเลวทราม
พวกเรามาที่นี้ก็เพื่อประโยชน์แก่ท่านนั่นเอง
ท่านอย่ามีธรรมเลวทรามไปตกนรกเลย
(โกสิยเศรษฐีมีจิตยินดีกล่าวว่า)
[๙๑] พวกท่านหวังเกื้อกูลข้าพเจ้าอย่างแน่แท้จึงได้พร่ำสอนข้าพเจ้า
ข้าพเจ้าจะทำตามคำที่พวกท่านผู้หวังเกื้อกูลกล่าวทุกประการ
[๙๒] ตั้งแต่วันนี้ไป ข้าพเจ้านั้นจะของดเว้น
จากความตระหนี่ จะไม่ทำบาปอะไร ๆ อีก
อนึ่ง วัตถุอะไร ๆ ที่ไม่พึงให้จะไม่มีแก่ข้าพเจ้า
แม้แต่น้ำข้าพเจ้ายังไม่ได้ให้แล้วก็จะไม่ยอมดื่ม
[๙๓] ข้าแต่ท้าวสักกะ ก็เมื่อข้าพเจ้าให้อยู่ตลอดกาลทั้งปวงอย่างนี้
แม้โภคะของข้าพเจ้าจักหมดสิ้นไป ข้าแต่ท้าวสักกะ
ต่อแต่นี้ข้าพเจ้าจะละกามทั้งหลายตามที่มีอยู่แล้วบวช
โกสิยชาดกที่ ๗ จบ

๘. เมณฑกปัญหชาดก (๔๗๑)
ว่าด้วยปัญหาเรื่องแพะเป็นเพื่อนกับสุนัข
(พระราชาตรัสถามปัญหาว่า)
[๙๔] แต่ไหนแต่ไรมา ความเป็นเพื่อนกันแม้เพียงการย่างก้าวเดินไป
๗ ก้าวของสัตว์เหล่าใดไม่เคยมีมาแล้วในโลกนี้
สัตว์เหล่านั้น ๒ ตัว ซึ่งเป็นศัตรูกันกลับเป็นสหายกัน
ประพฤติเกี่ยวเนื่องกันเพราะเหตุไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๒. ทวาทสกนิบาต] ๘. เมณฑกปัญหชาดก (๔๗๑)
(และตรัสต่อไปว่า)
[๙๕] ถ้าว่าในเวลาอาหารเช้าของเราในวันนี้
พวกท่านไม่สามารถจะกล่าวแก้ปัญหาข้อนี้ได้
เราจะเนรเทศพวกท่านทั้งหมดออกจากแคว้น
เพราะเราไม่ต้องการพวกคนมีปัญญาทราม
(เสนกบัณฑิตกราบทูลว่า)
[๙๖] เมื่อมหาชนมาประชุมกันอึกทึกครึกโครม
เมื่อคนมาร่วมกันเป็นโกลาหล
พวกข้าพระองค์ก็มีใจฟุ้งซ่าน มีจิตไม่แน่วแน่
จึงไม่สามารถจะกล่าวแก้ปัญหาข้อนี้ได้
[๙๗] ขอเดชะพระองค์ผู้จอมชน
นักปราชญ์ทั้งหลายมีจิตแน่วแน่ไปในที่ลับตามลำพัง
คิดพิจารณาถึงเนื้อความในที่สงัดแล้ว
ภายหลังจึงจะกล่าวตอบเนื้อความข้อนี้ได้
(เสนกบัณฑิตนั้นกล่าวคาถาตามแนวที่ตนเรียนมาว่า)
[๙๘] พวกบุตรของคนชั้นสูงและพวกราชบุตรโปรดปรานพอใจเนื้อแพะ
พวกเขาไม่บริโภคเนื้อสุนัข
เมื่อเป็นเช่นนั้น แพะกับสุนัขจึงเป็นเพื่อนกัน
(ปุกกุสบัณฑิตกล่าวคาถาตามแนวที่ตนเรียนมาว่า)
[๙๙] ชนทั้งหลายถลกหนังแพะทำเป็นเครื่องลาดหลังม้า
เพราะนั่งสบาย แต่พวกเขาไม่ลาดด้วยหนังสุนัข
เมื่อเป็นเช่นนั้น แพะกับสุนัขจึงเป็นเพื่อนกัน
(กามินทบัณฑิตกล่าวคาถาตามแนวที่ตนเรียนมาว่า)
[๑๐๐] ก็แพะมีเขาโค้งและมีหญ้าเป็นภักษา
ส่วนสุนัขไม่มีเขาและกินเนื้อ
เมื่อเป็นเช่นนั้น แพะกับสุนัขจึงเป็นเพื่อนกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๒. ทวาทสกนิบาต] ๙. มหาปทุมชาดก (๔๗๒)
(เวทินทบัณฑิตกล่าวคาถาตามแนวที่ตนเรียนมาว่า)
[๑๐๑] แพะกินหญ้ากินใบไม้
แต่สุนัขไม่กินหญ้าไม่กินใบไม้
สุนัขจับกระต่ายและแมวกิน
เมื่อเป็นเช่นนั้น แพะกับสุนัขจึงเป็นเพื่อนกัน
(มโหสธบัณฑิตเฉลยปัญหาที่ปรากฏแจ่มแจ้งแก่ตนว่า)
[๑๐๒] แพะมี ๔ เท้า ๘ กีบ ๘ เล็บ
สุนัขนี้แฝงกายนำหญ้ามาเพื่อแพะตัวนี้
ส่วนแพะนี้แฝงกายนำเนื้อมาเพื่อสุนัขตัวโน้น
[๑๐๓] นัยว่า พระองค์ผู้จอมเทพประเสริฐกว่าชาววิเทหะ
ประทับอยู่ ณ ปราสาทอันประเสริฐ
ได้ทอดพระเนตรการแลกเปลี่ยนอาหารของกันและกันโดยประจักษ์
และนั่นเสียงเห่าของสุนัขต่อหน้าแพะ
(พระราชาตรัสว่า)
[๑๐๔] เป็นลาภของเรามิใช่น้อยหนอ
ที่มีบัณฑิตเช่นนี้อยู่ในราชสกุล
ปราชญ์ทั้งหลายรู้แจ้งเนื้อความแห่งปัญหา
อันละเอียดลึกซึ้งได้โดยตลอด
และกล่าวด้วยถ้อยคำอันเป็นสุภาษิต
(และตรัสอีกว่า)
[๑๐๕] เรามีความพอใจอย่างยิ่งด้วยถ้อยคำอันเป็นสุภาษิต
เราให้รถเทียมม้าอัสดรคนละคัน
บ้านส่วยที่มั่งคั่งคนละ ๑ ตำบล
แก่ท่านผู้เป็นบัณฑิตทุกคน
เมณฑกปัญหชาดกที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๒. ทวาทสกนิบาต] ๙. มหาปทุมชาดก (๔๗๒)
๙. มหาปทุมชาดก (๔๗๒)
ว่าด้วยมหาปทุมกุมาร
(พวกผู้ใหญ่มีกษัตริย์มหาศาลเป็นต้นตลอดจนอำมาตย์ราชเสวกได้กราบทูลว่า)
[๑๐๖] โทษน้อยใหญ่ของผู้อื่นทั้งหมดที่ยังมิได้เห็น
มิได้พิจารณาด้วยตนเอง ผู้ใหญ่ไม่ควรลงทัณฑ์
[๑๐๗] ส่วนผู้ใดเป็นกษัตริย์ยังมิได้ทรงพิจารณาแล้วทรงลงอาชญา
ผู้นั้นชื่อว่ากลืนโภชนาหารพร้อมทั้งหนาม
เหมือนคนตาบอดแต่กำเนิด กลืนกินอาหารที่มีแมลงวัน
[๑๐๘] พระราชาพระองค์ใดลงอาชญาบุคคลผู้ไม่ควรจะลงอาชญา
ไม่ลงอาชญาบุคคลผู้ควรลงอาชญา
พระราชาพระองค์นั้นไม่รู้สิ่งสมควรหรือไม่สมควร
เหมือนคนตาบอดเดินทางที่ขรุขระ
[๑๐๙] อนึ่ง ฐานะน้อยใหญ่ทั้งหมดเหล่านี้
พระราชาพระองค์ใดเห็นชัดเจนดีแล้วสั่งการลงไป
พระราชาพระองค์นั้นสมควรจะปกครองราชสมบัติได้
[๑๑๐] พระราชาผู้อ่อนโยนอย่างเดียวหรือผู้แข็งกร้าวอย่างเดียว
ไม่สามารถจะดำรงตนอยู่ในฐานะอันยิ่งใหญ่ได้
เพราะเหตุนั้น พึงประพฤติทั้ง ๒ ประการ
[๑๑๑] พระราชาผู้อ่อนโยนก็อาจจะถูกดูหมิ่น
ผู้แข็งกร้าวก็อาจจะมีศัตรู
ครั้นทราบเหตุทั้ง ๒ อย่างนี้แล้ว
พึงประพฤติพอสมควรเป็นกลาง ๆ ไว้
[๑๑๒] คนมีความกำหนัดพึงพูดมาก ถึงคนมีความโกรธก็พูดมาก
ขอเดชะมหาราช พระองค์ไม่ควรให้ปลงพระชนม์พระราชโอรส
เพราะเหตุแห่งหญิงเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๒. ทวาทสกนิบาต] ๑๐. มิตตามิตตชาดก (๔๗๓)
(ฝ่ายพระราชาผู้โง่เขลาทรงสั่งลงอาชญาว่า)
[๑๑๓] ประชาชนเป็นฝ่ายเดียวกันทั้งหมด
ฝ่ายหญิงนี้มีเพียงคนเดียว
เพราะเหตุนั้น เราจะปฏิบัติตามคำของหญิงนี้
พวกท่านจงไป จงโยนปทุมกุมารนั้นลงเหวไปเถิด
(ต่อมาพระราชาตรัสถามพระโพธิสัตว์ว่า)
[๑๑๔] ที่ซอกเขาอันเป็นเหวลึกหลายชั่วลำตาล ยากที่จะขึ้นมาได้
เจ้าถูกผลักตกลงไปในเหวนั้นทำไมจึงไม่ตาย
(พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า)
[๑๑๕] พญานาคเกิดอยู่ที่ซอกเขานั้น
แผ่พังพาน มีกำลัง ใช้ขนดรองรับอาตมภาพ
เพราะเหตุนั้น อาตมภาพจึงไม่ตายในเหวนั้น
(พระราชาตรัสว่า)
[๑๑๖] พ่อราชบุตร มาเถิด พ่อจักนำเจ้ากลับพระราชวังของตน
ขอความเจริญจงมีแก่เจ้า เจ้าจงครอบครองราชสมบัติเถิด
จักทำอะไรอยู่ในป่าเล่า
(พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า)
[๑๑๗] อาตมภาพมองเห็นตนเหมือนคนที่กลืนเบ็ด
แล้วดึงเบ็ดที่เปื้อนโลหิตขึ้นมา ครั้นดึงขึ้นมาแล้วพึงเป็นสุข
(พระราชาตรัสว่า)
[๑๑๘] อะไรหนอ เจ้ากล่าวว่า เป็นเบ็ด
อะไรหนอ เจ้ากล่าวว่า เบ็ดเปื้อนโลหิต
อะไรหนอ เจ้ากล่าวว่า ดึงออกมาแล้ว
เราถามแล้ว ขอเจ้าจงบอกความข้อนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๒. ทวาทสกนิบาต] ๑๐. มิตตามิตตชาดก (๔๗๓)
(พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า)
[๑๑๙] กาม อาตมากล่าวว่า เป็นเบ็ด
ช้างและม้า อาตมากล่าวว่า เป็นเบ็ดที่เปื้อนโลหิต
การสละได้แล้ว อาตมากล่าวว่า ดึงออกมาแล้ว
ขอพระองค์ทรงทราบอย่างนี้เถิด จอมกษัตริย์
(พระศาสดาทรงประมวลชาดกด้วยคาถาสุดท้ายว่า)
[๑๒๐] พระราชมารดา (เลี้ยง) เป็นนางจิญจมาณวิกา
พระราชบิดาของอาตมาเป็นพระเทวทัต
พญานาคเป็นอานนท์ผู้เป็นบัณฑิต
เทวดาเป็นพระสารีบุตร
พระราชบุตรคือตถาคต
ขอเธอทั้งหลายทรงจำชาดกไว้อย่างนี้
มหาปทุมชาดกที่ ๙ จบ

๑๐. มิตตามิตตชาดก (๔๗๓)
ว่าด้วยลักษณะมิตรและผู้มิใช่มิตร
(พระราชาตรัสถามพระโพธิสัตว์ว่า)
[๑๒๑] วิญญูชนผู้เป็นนักปราชญ์ เป็นบัณฑิต
เห็นหรือได้ยินผู้ทำการงานอะไรบ้าง
หรือพึงพยายามอย่างไร จึงจะรู้ว่า ผู้นี้ไม่ใช่มิตร
(พระโพธิสัตว์กราบทูลลักษณะผู้มิใช่มิตรว่า)
[๑๒๒] คนผู้มิใช่มิตร คือ เห็นเพื่อนแล้วไม่ยิ้มแย้ม ๑
ไม่ยินดีจะสนทนากับเพื่อน ๑ ไม่สบตาเพื่อน ๑ พูดต่อต้าน ๑
[๑๒๓] คบศัตรูของเพื่อน ๑ ไม่คบเพื่อนของเพื่อน ๑
ห้ามปรามคนที่สรรเสริญเพื่อน ๑ สรรเสริญคนที่ด่าเพื่อน ๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๒. ทวาทสกนิบาต] ๑๐. มิตตามิตตชาดก (๔๗๓)
[๑๒๔] ไม่บอกความลับแก่เพื่อน ๑
ไม่ช่วยปกปิดความลับของเพื่อน ๑
ไม่ยกย่องการกระทำของเพื่อน ๑
ไม่สรรเสริญปัญญาของเพื่อน ๑
[๑๒๕] เมื่อเพื่อนฉิบหายกลับพอใจ ๑ เมื่อเพื่อนเจริญกลับไม่พอใจ ๑
ได้อาหารที่มีรสแปลกมาก็ไม่นึกถึงเพื่อน ๑
แต่นั้น ย่อมจะไม่อนุเคราะห์เพื่อนว่า
อย่างไรหนอ เพื่อนเราพึงได้ลาภจากที่นี้บ้าง ๑
[๑๒๖] อาการ ๑๖ ข้อดังกล่าวมานี้มีอยู่แล้วในคนที่มิใช่มิตร
พึงเป็นเหตุให้บัณฑิตได้เห็นและได้ยินแล้วรู้ได้ว่ามิใช่มิตร
(พระโพธิสัตว์กราบทูลลักษณะของมิตรว่า)
[๑๒๗] วิญญูชนผู้เป็นนักปราชญ์ เป็นบัณฑิต
เห็นหรือได้ยินผู้ทำการงานอะไรบ้าง
หรือชนพึงพยายามอย่างไรจึงรู้ว่า ผู้นั้นเป็นมิตร
(ได้กล่าวคาถาที่เหลือว่า)
[๑๒๘] คนผู้เป็นมิตร คือ เพื่อนจากไปก็คิดถึง ๑
เพื่อนกลับมาก็ยินดี ๑ หยอกล้อยิ้มย่องต่อเพื่อน ๑
ยินดีตอบสนองด้วยวาจาที่ไพเราะ ๑
[๑๒๙] คบเพื่อนของเพื่อนฝ่ายเดียว ๑ ไม่คบศัตรูของเพื่อน ๑
ห้ามปรามคนที่ด่าเพื่อน ๑ สรรเสริญคนที่ยกย่องเพื่อน ๑
[๑๓๐] บอกความลับแก่เพื่อน ๑ ช่วยปกปิดความลับของเพื่อน ๑
ยกย่องการกระทำของเพื่อน ๑ สรรเสริญปัญญาของเพื่อน ๑
[๑๓๑] เมื่อเพื่อนเจริญก็ยินดี ๑ เมื่อเพื่อนฉิบหายก็ไม่ยินดี ๑
ได้อาหารที่มีรสแปลกมาก็นึกถึงเพื่อน ๑
แต่นั้น ย่อมจะอนุเคราะห์เพื่อนว่า
อย่างไรหนอ เพื่อนจะได้ลาภจากที่นี้บ้าง ๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๒. ทวาทสกนิบาต] ๑๐. มิตตามิตตชาดก (๔๗๓)
[๑๓๒] อาการ ๑๖ ข้อดังกล่าวมานี้มีอยู่แล้วในคนที่เป็นมิตร
พึงเป็นเหตุให้บัณฑิตได้เห็นและได้ยินแล้วรู้ได้ว่าเป็นมิตร
มิตตามิตตชาดกที่ ๑๐ จบ

รวมชาดกที่มีในนิบาตนี้ คือ

๑. จูฬกุณาลชาดก ๒. ภัททสาลชาดก
๓. สมุททวาณิชชาดก ๔. กามชาดก
๕. ชนสันธชาดก ๖. มหากัณหชาดก
๗. โกสิยชาดก ๘. เมณฑกปัญหชาดก
๙. มหาปทุมชาดก ๑๐. มิตตามิตตชาดก

ทวาทสกนิบาต จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๙๕ }


๑๓. เตรสกนิบาต
๑. อัมพชาดก (๔๗๔)
ว่าด้วยมนต์เสกมะม่วง
(พระราชาตรัสถามคนเฝ้าสวนมะม่วงว่า)
[๑] ท่านพรหมจารี๑ เมื่อก่อน
ท่านได้นำผลมะม่วงน้อยใหญ่มาให้เรา
บัดนี้ ผลไม้ทั้งหลายไม่ปรากฏด้วยมนต์เหล่านั้น
ของท่านเลยหรือ ท่านพราหมณ์
(มาณพกราบทูลว่า)
[๒] ข้าพระองค์กำลังคำนวณการโคจรของดาวฤกษ์
ยังไม่เห็นฤกษ์ยามปรากฏในมนต์เลย
ครั้นได้การโคจรของดาวฤกษ์และฤกษ์ยามแล้ว
ข้าพระองค์จักนำผลมะม่วงมากมายมาถวายได้อย่างแน่นอน
(พระราชาตรัสถามว่า)
[๓] เมื่อก่อน ท่านไม่พูดถึงการโคจรของดาวฤกษ์เลย
ไม่ได้อ้างถึงฤกษ์ยามเลย
ได้นำผลมะม่วงที่มีสีงาม กลิ่นหอม รสอร่อย
จำนวนมากมายมาให้เราด้วยตนเอง
[๔] แม้เมื่อก่อน ด้วยการร่ายมนต์ของท่าน
ผลไม้ทั้งหลายก็ปรากฏมี ท่านพราหมณ์
แต่วันนี้ ท่านนั้นแม้จะร่ายมนต์อยู่ ก็ไม่สามารถจะให้สำเร็จได้
สภาพของท่านนั้น มันเกิดอะไรขึ้นวันนี้

เชิงอรรถ :
๑ ท่านพรหมจารี หมายถึงท่านผู้เรียนพระเวท

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๙๖ }


๑. อัมพชาดก (๔๗๔)
(มาณพกราบทูลว่า)
[๕] บุตรคนจัณฑาลได้มอบมนต์ให้แก่ข้าพระองค์โดยถูกต้อง
และบอกสาเหตุที่ทำให้มนต์เสื่อมไว้ว่า
ถ้ามีใครมาถามถึงชื่อและโคตรของเราแล้วเจ้าอย่าปกปิด
ถ้าปกปิดความจริง มนต์ก็จะเสื่อมไป
[๖] ข้าพระองค์นั้นถูกพระองค์ผู้เป็นจอมชนตรัสถามขึ้นในหมู่ชน
เกิดความลบหลู่ครอบงำแล้วจึงได้กราบทูลความพลั้งพลาดไปว่า
มนต์เหล่านี้เป็นของพราหมณ์ ดังนั้น
ข้าพระองค์มีมนต์เสื่อมเสียแล้ว จึงเป็นคนน่าสงสารร้องไห้อยู่
(พระราชาทรงติเตียนมาณพนั้นว่า)
[๗] คนผู้ต้องการน้ำหวานพึงได้น้ำหวานจากต้นไม้ใด
จะเป็นต้นละหุ่งก็ตาม ต้นสะเดาก็ตาม หรือต้นทองกวาวก็ตาม
ต้นไม้นั้นแลเป็นต้นไม้ดีที่สุดของเขา
[๘] บุคคลพึงรู้แจ้งธรรมจากผู้ใด จะเป็นกษัตริย์
พราหมณ์ แพศย์ ศูทร จัณฑาล หรือคนเทขยะก็ตาม
ผู้นั้นแลเป็นคนสูงสุดของเขา
[๙] ท่านทั้งหลายจงทำโทษ เฆี่ยนตี แล้วจงจับคอเจ้าคนชั่ว
ผู้ที่ยังประโยชน์อันสูงสุดซึ่งตนได้มาแสนยากให้พินาศไป
เพราะความเย่อหยิ่งและดูหมิ่นคน ไสหัวออกไป
(มาณพกล่าวขอเรียนมนต์ใหม่กับอาจารย์ว่า)
[๑๐] บุรุษสำคัญพื้นที่ว่าเรียบ พึงตกบ่อ ตกถ้ำ ตกเหว
ตกหลุมรากไม้ผุ หรือว่าคนตาบอดสำคัญว่าเชือก
พึงเหยียบงูเห่า เหยียบไฟฉันใด ท่านผู้มีปัญญาพึงรับทราบว่า
ข้าพเจ้าพลั้งพลาดไปแล้วฉันนั้นเหมือนกัน ท่านอาจารย์ทราบแล้ว
จงมอบมนต์ให้แก่ข้าพเจ้าผู้มีมนต์เสื่อมแล้วอีกเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๓. เตรสกนิบาต] ๒. ผันทนชาดก (๔๗๕)
(ต่อจากนั้น อาจารย์กล่าวว่า)
[๑๑] เราได้มอบมนต์ให้แก่เจ้าโดยธรรม
ถึงเจ้าก็เรียนเอาโดยธรรม
แม้สาเหตุที่ทำให้มนต์เสื่อม เราก็เต็มใจบอกแก่เจ้า
ถ้าเจ้าตั้งอยู่ในธรรมแล้ว มนต์จะไม่เสื่อม
[๑๒] เจ้าคนโง่ คนที่มีปัญญาน้อย
ถึงจะเลี้ยงชีวิตอยู่ได้ในมนุษยโลกทุกวันนี้
ด้วยมนต์ที่ตนได้มาโดยยาก ได้มาด้วยความลำบากก็จริง
แต่เมื่อพูดเหลาะแหละก็ทำมนต์บทนั้นให้เสื่อมไปได้
[๑๓] สำหรับเจ้าผู้เป็นคนโง่ หลงงมงาย
อกตัญญู พูดเท็จ ไม่ระมัดระวัง
เราจะไม่ให้มนต์ทั้งหลายเช่นนั้นอีก
มนต์ที่ไหนกัน ไปเสียเถิดเจ้า เราไม่พอใจเจ้าเลย
อัมพชาดกที่ ๑ จบ

๒. ผันทนชาดก (๔๗๕)
ว่าด้วยการผูกเวรของหมีและไม้สะคร้อ
(หมีได้บอกช่างไม้ว่า)
[๑๔] ท่านผู้เดียวถือขวานเข้ามาถึงป่ายืนอยู่
เพื่อน เราถามแล้วท่านจงบอก
ท่านต้องการจะตัดไม้หรือ
(ช่างไม้ได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวว่า)
[๑๕] เพื่อน เจ้าเป็นหมีเที่ยวไปยังป่าน้อยใหญ่
ทั้งป่าทึบและป่าโปร่ง เราถามแล้ว เจ้าจงบอก
ไม้อะไรถึงจะแข็งแกร่งสำหรับกงรถ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๓. เตรสกนิบาต] ๒. ผันทนชาดก (๔๗๕)
(หมีกล่าวว่า)
[๑๖] ต้นรังก็ดี ต้นตะเคียนก็ดี ต้นหูกวางก็ดี ต้นสีเสียดก็ดี
ที่ไหนจะแข็งแกร่ง แต่ต้นไม้ที่มีนามว่าสะคร้อนั่นซิ
เป็นไม้ที่แข็งแกร่งสำหรับกงรถ
(ช่างไม้ถามว่า)
[๑๗] ก็ต้นสะคร้อนั้น ใบก็ตาม ลำต้นก็ตามเป็นเช่นไร
เพื่อน เราถามแล้ว ท่านจงตอบ
เราจะรู้จักต้นสะคร้อได้อย่างไร
(หมีบอกว่า)
[๑๘] ต้นไม้ใดที่กิ่งห้อยน้อมลงมาแต่ไม่หัก
ข้าพเจ้ายืนอยู่ที่โคนต้นไม้ใด ต้นไม้นั้นมีนามว่าสะคร้อ
[๑๙] ต้นสะคร้อนี้จักเป็นไม้ที่สมควร
แก่กิจการของท่านทุกอย่าง
คือ ทำกำก็ได้ ล้อก็ได้ ดุมก็ได้
งอนไถก็ได้ กงก็ได้ ตัวรถก็ได้
(พระศาสดาทรงประกาศเรื่องนั้นว่า)
[๒๐] ทันใดนั้น รุกขเทวดาผู้สิงสถิตอยู่ที่ต้นสะคร้อ
ก็ได้กล่าวอย่างนี้ว่า ถึงข้าพเจ้าก็มีคำที่จะพูด
ภารทวาชะ โปรดฟังคำของข้าพเจ้า
[๒๑] ท่านจงถลกหนังจากคอหมี ๔ องคุลีแล้วใช้หุ้มกงรถ
เมื่อทำเช่นนี้ กงรถจะพึงมั่นคงยิ่งขึ้น
[๒๒] ถึงรุกขเทวดาผู้สิงสถิตอยู่ที่ต้นสะคร้อ
ได้จองเวรแล้วเพียงนั้น
ได้นำความทุกข์มาให้แก่พวกหมี
ทั้งที่เกิดแล้วและยังไม่เกิด ด้วยประการฉะนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๓๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๓. เตรสกนิบาต] ๓. ชวนหังสชาดก (๔๗๖)
[๒๓] ด้วยประการดังกล่าวมาฉะนี้ ไม้สะคร้อยุให้คนฆ่าหมี
ส่วนหมียุให้คนโค่นต้นสะคร้อ
เพราะการวิวาทกันและกัน ต่างคนต่างยุให้ฆ่ากันและกัน คือ
[๒๔] พวกมนุษย์เกิดการทะเลาะกันขึ้นที่ใด
ที่นั้นมนุษย์ทั้งหลายก็เปิดเผยความลับเหมือนนกยูงรำแพน
และเหมือนหมีกับไม้สะคร้อเหล่านั้น
[๒๕] เพราะเหตุนั้น ตถาคตขอถวายพระพรมหาบพิตรทั้งหลาย
ขอมหาบพิตรทั้งหลายทรงพระเจริญ
ตราบเท่าที่ทรงสมาคมกัน ณ สถานที่นี้
ขอทรงรื่นเริงบันเทิงพระทัย อย่าทรงวิวาทกัน
อย่าทรงเป็นเหมือนหมีกับไม้สะคร้อเลย
[๒๖] ขอมหาบพิตรทั้งหลายทรงสำเหนียกถึงความสามัคคีนั้น
ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงสรรเสริญแล้ว
บุคคลผู้ยินดีแล้วในความสามัคคี ดำรงอยู่ในธรรม
ย่อมไม่เสื่อมจากนิพพานอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ
ผันทนชาดกที่ ๒ จบ

๓. ชวนหังสชาดก (๔๗๖)
ว่าด้วยพญาชวนหงส์
(พระราชาทรงเชื้อเชิญชวนพญาหงส์โพธิสัตว์ว่า)
[๒๗] เจ้าจับอยู่ที่ตั่งทองนี้แหละพญาหงส์
ข้าพเจ้ารักที่จะเห็นท่าน
ท่านมาเป็นเจ้าของสถานที่นี้แล้ว
สิ่งที่มีอยู่ในพระราชนิเวศน์นี้
ท่านไม่รังเกียจ จงบอกมาให้เราทราบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๓. เตรสกนิบาต] ๓. ชวนหังสชาดก (๔๗๖)
(และทรงขอร้องว่า)
[๒๘] เพราะการฟัง คนบางหมู่จึงเป็นที่รักของคนบางคน
เพราะได้เห็น ความพอใจของคนบางคนจึงเสื่อมคลาย
เพราะได้เห็นและเพราะได้ฟัง คนบางหมู่จึงเป็นที่รัก
เพราะการเห็น ท่านรักใคร่ข้าพเจ้าบ้างไหม
[๒๙] เพราะการฟัง ท่านจึงเป็นที่รักของข้าพเจ้า
และเป็นที่รักยิ่ง เพราะได้มาพบกัน
พญาหงส์ ท่านเป็นที่น่ารักน่าดูอย่างนี้สำหรับข้าพเจ้า
ขอท่านจงอยู่ใกล้ ๆ ข้าพเจ้าเถิด
(พระโพธิสัตว์กล่าวว่า)
[๓๐] ข้าพเจ้าได้รับสักการบูชาอยู่เป็นนิตย์
พึงอยู่ในพระราชนิเวศน์ของพระองค์
แต่บางคราวพระองค์ทรงมึนเมา
จะพึงตรัสว่า จงย่างพญาหงส์ให้เรา
(พระราชาตรัสให้ปฏิญาณว่า)
[๓๑] น่าติเตียนจริง การดื่มน้ำเมา
ซึ่งเป็นที่พอใจของข้าพเจ้ายิ่งกว่าท่าน
เอาเถิด ข้าพเจ้าจะไม่ดื่มน้ำเมา
ตลอดเวลาที่ท่านอยู่ในนิเวศน์ของข้าพเจ้า
(พระโพธิสัตว์กล่าวว่า)
[๓๒] ขอเดชะพระราชา เสียงเหล่าสุนัขจิ้งจอกเห่าหอนก็ดี
เสียงเหล่านกร้องขันก็ดี รู้ได้ง่าย
ส่วนถ้อยคำที่พวกมนุษย์เปล่งออกมา รู้ได้ยากกว่านั้น
[๓๓] คนบางคนเบื้องต้นเป็นคนใจดี ย่อมนับถือกันว่า
เป็นญาติ เป็นมิตร หรือเป็นเพื่อนอย่างนี้บ้าง
ภายหลังกลายเป็นศัตรูไปก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๓. เตรสกนิบาต] ๔. จูฬนารทกัสสปชาดก (๔๗๗)
[๓๔] ใจจดจ่ออยู่ในผู้ใด ผู้นั้นแม้จะอยู่ไกลกันก็เหมือนอยู่ใกล้
ใจเหินห่างจากผู้ใด ผู้นั้นแม้จะอยู่ใกล้ก็เหมือนอยู่ไกล
[๓๕] สหายผู้มีจิตเลื่อมใส ถึงจะอยู่ยังฟากฝั่งสมุทร
ถ้ามีจิตเลื่อมใสต่อกัน ก็ชื่อว่าอยู่ใกล้กัน
ส่วนสหายผู้มีจิตคิดประทุษร้ายถึงจะอยู่ใกล้
ถ้ามีจิตคิดประทุษร้ายต่อกัน
ก็ชื่อว่าอยู่ยังฟากฝั่งสมุทร
[๓๖] ขอเดชะพระองค์ผู้จอมทัพ ผู้ผดุงรัฐให้เจริญ
ศัตรูถึงจะอยู่ร่วมกัน ก็ชื่อว่าอยู่ห่างไกลกัน
ส่วนบัณฑิตถึงจะอยู่ไกลกัน
ก็ชื่อว่าอยู่ใกล้ เพราะมีใจนึกถึงกัน
[๓๗] เพราะการอยู่ร่วมกันนานเกินไป
คนที่รักกันก็จะกลายเป็นไม่รักกัน
เพราะเหตุนั้น ข้าพระองค์ขอทูลลาไป
ก่อนที่จะไม่เป็นที่รักของพระองค์
(พระราชาตรัสกับพระโพธิสัตว์ว่า)
[๓๘] หากการประคองอัญชลีของข้าพเจ้าผู้วิงวอนอยู่อย่างนี้
ท่านไม่ทราบและไม่ทำตามคำของข้าพเจ้าผู้ปรนนิบัติอยู่อย่างนี้
เมื่อเป็นเช่นนั้น ข้าพเจ้าขอร้องท่านว่า โปรดแวะเวียนมาอีก
(ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์กล่าวว่า)
[๓๙] ขอเดชะพระมหาราช ผู้ผดุงรัฐให้เจริญ
หากเราทั้งหลายยังอยู่ปกติอย่างนี้
แม้พระองค์และข้าพระองค์ก็จักไม่มีอันตราย
วันคืนต่อ ๆ ไป เราคงจะได้พบกันบ้างหรอก
ชวนหังสชาดกที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๓. เตรสกนิบาต] ๔. จูฬนารทกัสสปชาดก (๔๗๗)
๔. จูฬนารทกัสสปชาดก (๔๗๗)
ว่าด้วยกัสสปดาบสสอนจูฬนารทดาบส
(พระโพธิสัตว์ถามลูกชายว่า)
[๔๐] ฟืนลูกก็มิได้ผ่า น้ำลูกก็มิได้ตัก
แม้ไฟลูกก็มิได้ก่อให้โพลงขึ้น
ทำไมหนอ ลูกจึงซบเซาเหมือนคนปัญญาอ่อน
(ดาบสกุมารตอบว่า)
[๔๑] พ่อกัสสปะ ลูกหมดความพยายามที่จะอยู่ป่าต่อไป
ขอกราบลาพ่อ การอยู่ในป่าลำบาก
ลูกต้องการจะไปยังเมือง
[๔๒] พ่อพราหมณ์ ลูกไปจากที่นี้แล้ว
ไปอยู่ชนบทใดชนบทหนึ่ง
พึงศึกษาอาจาระอันเป็นประเพณีที่ควรศึกษา๑
ขอพ่อกรุณาสอนธรรม๒นั้นให้ลูกด้วย
(พระโพธิสัตว์กล่าวว่า)
[๔๓] ถ้าลูกทิ้งป่าและมูลผลาหารในป่า
พอใจการอยู่ในเมือง
ลูกจงตั้งใจฟังธรรมนั้นจากพ่อ
[๔๔] อย่าเสพของมีพิษ ๑ จงเว้นเหวให้ห่างไกล ๑
อย่าจมลงในเปือกตม ๑ พึงระมัดระวังเมื่ออยู่ใกล้อสรพิษ ๑
(ดาบสกุมารเมื่อไม่รู้ความหมายของคำที่พ่อกล่าวโดยย่อ จึงถามว่า)
[๔๕] อะไรหนอคือของมีพิษ เหว
หรือเปือกตม สำหรับผู้ประพฤติพรหมจรรย์
อะไรที่พ่อกล่าวว่า เป็นอสรพิษ
ลูกถามแล้ว ขอพ่อจงบอกเรื่องนั้น

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงมารยาทซึ่งเป็นจารีตประเพณีที่ควรศึกษาของสถานที่นั้น (ขุ.ชา.อ. ๖/๔๒/๑๖๑)
๒ ธรรม หมายถึงจารีตประเพณีของชาวชนบทนั้น (ขุ.ชา.อ. ๖/๔๓/๑๖๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๐๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๓. เตรสกนิบาต] ๕. ทูตชาดก (๔๗๘)
(ฝ่ายพระโพธิสัตว์ตอบว่า)
[๔๖] พ่อนารทะ ของหมักดองในโลกที่เขาเรียกชื่อว่าสุรา
ทำใจให้ฮึกเหิม มีกลิ่นหอม น่าพอใจ มีรสอร่อยเหมือนน้ำผึ้ง
สุรานั้น พระอริยะทั้งหลายกล่าวว่า
เป็นของมีพิษสำหรับพรหมจรรย์
[๔๗] พ่อนารทะ หญิงทั้งหลายในโลกย่อมย่ำยีชายผู้ประมาทแล้ว
พวกหล่อนย่อมชักจูงจิตของชายหนุ่มไป
เหมือนลมพัดปุยนุ่นที่พลัดตกจากต้น
สภาพนั้นบัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า
เป็นเหวสำหรับพรหมจรรย์
[๔๘] ลาภ ๑ ความมีชื่อเสียง ๑ สักการะ ๑
การบูชาในสกุลอื่น ๆ ๑
พ่อนารทะ นี้แหละบัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า
เป็นเปือกตมของพรหมจรรย์
[๔๙] พ่อนารทะ พระราชาทั้งหลายทรงมีศัสตราวุธ
ทรงปกครองแผ่นดินนี้
พระราชาผู้จอมมนุษย์ ผู้ยิ่งใหญ่เช่นนั้น
เจ้าควรระวัง
[๕๐] พ่อนารทะ พระราชาผู้เป็นอิสระ เป็นอธิบดีเหล่านั้น
เจ้าอย่าอยู่ใกล้ชิดเลย
พระราชานี้แหละบัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า
เป็นอสรพิษสำหรับพรหมจรรย์
[๕๑] อนึ่ง คนผู้ต้องการอาหารในเวลาอาหาร
พึงเข้าไปยังเรือนหลังใดหลังหนึ่ง
บรรดาเรือนเหล่านี้ เจ้าพึงเที่ยวแสวงหาอาหาร
ในเรือนหลังที่ตนทราบว่าดีงาม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๓. เตรสกนิบาต] ๕. ทูตชาดก (๔๗๘)
[๕๒] ครั้นเข้าไปยังสกุลอื่นเพื่อประโยชน์แก่น้ำหรือโภชนาหาร
ควรขบเคี้ยวบริโภคแต่พอประมาณ ไม่ควรใฝ่ใจในรูป
[๕๓] คอกโค ๑ โรงสุรา ๑ นักเลง ๑ หอประชุม ๑
สถานที่เก็บเงินทอง ๑ เจ้าจงเว้นให้ห่างไกล
เหมือนคนขับยานพาหนะเว้นหนทางที่ขรุขระ
จูฬนารทกัสสปชาดกที่ ๔ จบ

๕. ทูตชาดก (๔๗๘)
ว่าด้วยบุคคลผู้เป็นทูต
(พระราชาตรัสถามพระโพธิสัตว์ว่า)
[๕๔] ท่านพราหมณ์ ข้าพเจ้าส่งทูตไปหาท่าน
ซึ่งกำลังเข้าฌานอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำคงคา
พวกเขาถามแล้วท่านก็ไม่ตอบ
ทุกข์ของท่านนั้นเป็นความลับหรือ
(พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า)
[๕๕] พระองค์ผู้ผดุงรัฐให้เจริญของชาวแคว้นกาสี
ถ้าความทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่พระองค์
พระองค์อย่าตรัสบอกความทุกข์นั้นแก่คน
ที่ช่วยปลดเปลื้องพระองค์ให้พ้นจากความทุกข์ไม่ได้
[๕๖] ผู้ใดพึงช่วยปลดเปลื้องให้พ้นส่วนแห่งความทุกข์
ที่เกิดแล้วนั้นได้ แม้เสี้ยวหนึ่งโดยธรรม
ผู้นั้นควรบอกให้ทราบโดยแท้
[๕๗] ขอเดชะพระราชา เสียงเหล่าสุนัขจิ้งจอกเห่าหอนก็ดี
เสียงเหล่านกร้องขันก็ดี รู้ได้ง่าย
ส่วนถ้อยคำที่พวกมนุษย์เปล่งออกมา รู้ได้ยากกว่านั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๓. เตรสกนิบาต] ๖. กาลิงคโพธิชาดก (๔๗๙)
[๕๘] คนบางคนเบื้องต้นเป็นคนใจดี ย่อมนับถือกันว่า
เป็นญาติ เป็นมิตร หรือเป็นเพื่อนอย่างนี้บ้าง
ภายหลังกลายเป็นศัตรูไปก็มี
[๕๙] คนใดถูกเขาถามถึงความทุกข์ของตนอยู่บ่อย ๆ
พึงบอกให้ทราบในเวลาอันไม่สมควร
พวกศัตรูของคนนั้นย่อมพอใจ
ส่วนคนที่หวังประโยชน์ต่อเขาย่อมเป็นทุกข์
[๖๐] ส่วนนักปราชญ์รู้กาลอันสมควร
ทราบความมีใจของพวกมีปัญญาเป็นอันเดียวกับตนแล้ว
พึงบอกความทุกข์อันแรงกล้าแก่คนอื่นชนิดนั้น
พึงเปล่งถ้อยคำอันอ่อนหวาน มีประโยชน์
[๖๑] อนึ่ง ถ้านักปราชญ์พึงรู้ถึงทุกข์ที่ทนไม่ได้ของตนว่า
โลกธรรมเหล่านั้นเกิดขึ้นเพื่อไม่ให้ถึงความสุขเฉพาะเราเท่านั้นหามิได้
พึงเพ่งถึงสัจจะ หิริ และโอตตัปปะเท่านั้น
อดกลั้นความทุกข์อันแรงกล้าเพียงผู้เดียว
(พระโพธิสัตว์กราบทูลอีกว่า)
[๖๒] ขอเดชะพระมหาราช ข้าพระองค์ต้องการทรัพย์เพื่อให้อาจารย์
จึงท่องเที่ยวไปขอยังแว่นแคว้น นิคม และราชธานีต่าง ๆ
[๖๓] ขอเดชะพระมหาราช ผู้ทรงเป็นใหญ่แห่งหมู่ชน
ข้าพระองค์ได้ขอกับพวกคหบดี ราชบุรุษ
และพราหมณ์มหาศาล จึงได้ทองคำมา ๗ แท่ง
ทองคำเหล่านั้นของข้าพระองค์สูญหายเสียแล้ว
เพราะเหตุนั้น ข้าพระองค์จึงเศร้าโศกมาก
[๖๔] ขอเดชะพระมหาราช คนเหล่านั้นข้าพระองค์คิดไตร่ตรองดู
แล้วว่า ไม่สามารถจะช่วยปลดเปลื้องทุกข์ได้
เพราะเหตุนั้น ข้าพระองค์จึงไม่บอกแก่เขาเหล่านั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๓. เตรสกนิบาต] ๖. กาลิงคโพธิชาดก (๔๗๙)
[๖๕] ขอเดชะพระมหาราช ส่วนพระองค์ข้าพระองค์คิดไตร่ตรองดู
แล้วว่า สามารถจะช่วยปลดเปลื้องทุกข์ได้
เพราะเหตุนั้น ข้าพระองค์จึงกราบทูลให้พระองค์ทรงทราบ
(พระศาสดาตรัสพระคาถาสุดท้ายว่า)
[๖๖] พระราชาผู้ผดุงรัฐให้เจริญของชาวแคว้นกาสี
มีพระหฤทัยเลื่อมใสได้พระราชทานทองคำแท้ ๆ แก่เขา ๑๔ แท่ง
ทูตชาดกที่ ๕ จบ

๖. กาลิงคโพธิชาดก (๔๗๙)
ว่าด้วยพระเจ้ากาลิงคะทรงบูชาโพธิมณฑล
(พระศาสดาทรงประกาศเรื่องนี้ว่า)
[๖๗] พระเจ้าจักรพรรดิพระนามว่ากาลิงคะ
ทรงปกครองแผ่นดินโดยธรรม
ทรงพญาช้างแก้วซึ่งมีอานุภาพมาก ได้เสด็จไปใกล้โพธิพฤกษ์
[๖๘] พราหมณ์ปุโรหิตภารทวาชะ ชาวกาลิงคะพิจารณาดูภูมิภาค
แล้วประคองอัญชลี ได้กราบทูลพระราชา
พระนามว่ากาลิงคะ ผู้เป็นโอรสของพระดาบสว่า
[๖๙] ขอเดชะพระมหาราช ขอพระองค์เสด็จลงมาเถิด
สถานที่นี้เป็นภูมิภาคที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงยกย่องแล้ว
เพราะสถานที่นี้ พระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้ล้ำเลิศ
ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง ทรงรุ่งเรืองอยู่
[๗๐] ภูมิภาคนี้ ต้นหญ้าลดาวัลย์เวียนเป็นทักษิณาวัฏ
ภูมิภาคนี้เป็นจุดศูนย์กลางแห่งแผ่นดิน
ขอเดชะพระมหาราช ข้าพระองค์ได้สดับมาดังนี้
[๗๑] ภูมิภาคแห่งนี้เป็นจุดศูนย์กลางแห่งแผ่นดิน
ซึ่งเป็นที่รองรับสรรพสัตว์ เป็นแผ่นดินที่มีสาครล้อมรอบ
ขอพระองค์เสด็จลงมานมัสการเถิด พระเจ้าข้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๓. เตรสกนิบาต] ๗. อกิตติชาดก (๔๘๐)
[๗๒] พญาช้างเหล่าใดถึงจะเป็นช้างแก้วและเกิดในตระกูลสูง
พญาช้างเหล่านั้นก็เข้าไปใกล้สถานที่มีประมาณเพียงนั้นไม่ได้
[๗๓] พญาช้างถึงจะเกิดในตระกูลสูงก็จริง
ขอพระองค์ทรงไสพญาช้างตัวที่ฝึกแล้วไปเถิด
สถานที่มีประมาณเพียงนี้ พญาช้างก็ไม่สามารถจะเข้าไปได้
[๗๔] พระเจ้ากาลิงคะครั้นทรงสดับถ้อยคำนั้นแล้ว
ทรงใคร่ครวญวาจาของปุโรหิตผู้พยากรณ์
แล้วทรงไสพญาช้างไปด้วยพระดำริว่า
เราจักรู้ตามคำที่พราหมณ์นี้พูดจริงหรือ
[๗๕] ส่วนพญาช้างที่พระราชาทรงไสไป
ได้เปล่งเสียงโกญจนาทอันกึกก้อง ได้ถอยหลังคุกเข่าลง
เหมือนไม่สามารถจะนำภาระอันหนักไปได้
[๗๖] พราหมณ์ปุโรหิตภารทวาชะชาวกาลิงคะรู้ว่า
พระคชาธารสิ้นชีพเสียแล้วจึงได้รีบกราบทูลพระเจ้ากาลิงคะว่า
ขอพระองค์เสด็จประทับพระคชาธารเชือกอื่นเถิด
พระคชาธารเชือกนี้สิ้นชีพแล้ว พระเจ้าข้า
[๗๗] พระเจ้ากาลิงคะครั้นได้สดับคำนั้นแล้ว
รีบประทับพระคชาธารเชือกอื่น
เมื่อพระราชาเสด็จประทับแล้ว
พระคชาธารก็ล้มลงบนแผ่นดิน ณ ที่นั้นเอง
เป็นอันว่า คำของปุโรหิตผู้ถวายพยากรณ์
ได้เป็นจริงตามที่ช้างปรากฏแล้ว
[๗๘] พระเจ้ากาลิงคะได้ตรัส
กับพราหมณ์ปุโรหิตกาลิงคะดังนี้ว่า
ท่านนั่นแหละเป็นสัมพุทธะ สัพพัญญูรู้เห็นเหตุทั้งปวง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๐๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๓. เตรสกนิบาต] ๗. อกิตติชาดก (๔๘๐)
[๗๙] กาลิงคพราหมณ์ผู้ไม่ยอมรับคำชมเชยนั้นได้กราบทูลอย่างนี้ว่า
ความจริง ข้าพระองค์ทั้งหลายเป็นนักพยากรณ์
ส่วนพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นสัพพัญญู พระพุทธเจ้าข้า
[๘๐] ก็พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงเป็นสัพพัญญู
และทรงรู้ทุกอย่าง หาทรงทราบด้วยสูตรไม่
ส่วนข้าพระองค์ทั้งหลายรู้ได้ด้วยกำลังวิชาอาคม
พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงรู้ชัดทุกสิ่งทุกอย่าง
[๘๑] ลำดับนั้น พระราชาทรงนำระเบียบดอกไม้
และเครื่องลูบไล้ไปบูชา ฉลองต้นโพธิ
ด้วยดนตรีต่าง ๆ ที่รับสั่งให้ประโคมแล้วเสด็จกลับ
[๘๒] พระเจ้ากาลิงคะทรงรับสั่งให้เก็บดอกไม้หกหมื่นเล่มเกวียน
บูชาโพธิมณฑลสถานอันยอดเยี่ยมทุกวัน ดังนี้แล
กาลิงคโพธิชาดกที่ ๖ จบ

๗. อกิตติชาดก (๔๘๐)
ว่าด้วยอกิตติดาบส
(พระศาสดาทรงประกาศเรื่องนี้ว่า)
[๘๓] ท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่แห่งภูตทอดพระเนตรเห็น
อกิตติดาบสเข้าฌานอยู่ จึงตรัสถามว่า
ท่านมหาพราหมณ์ พระคุณเจ้าปรารถนาอะไรหรือ
จึงเข้าฌานอยู่องค์เดียวในเวลาอากาศอบอ้าว
(พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า)
[๘๔] ขอถวายพระพรท้าวสักกะ การเกิดอีก ๑
การที่สรีระแตกทำลาย ๑ การหลงลืมสติตาย ๑ เป็นทุกข์
เพราะเหตุนั้น ท้าววาสวะ อาตมาจึงเข้าฌาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๓. เตรสกนิบาต] ๗. อกิตติชาดก (๔๘๐)
(ท้าวสักกะถวายพรว่า)
[๘๕] พระคุณเจ้ากัสสปะ เพราะถ้อยคำที่พระคุณเจ้าเจรจานั้น
ไพเราะ เหมาะสม เป็นสุภาษิต
โยมขอถวายพรแก่พระคุณเจ้าตามที่ใจของท่านปรารถนา
(พระโพธิสัตว์เมื่อจะรับพร จึงกราบทูลว่า)
[๘๖] ขอถวายพระพรท้าวสักกะ ผู้เป็นใหญ่แห่งภูตทั้งปวง
หากมหาบพิตรจะประทานพรแก่อาตมา
นรชนทั้งหลายได้บุตร ภรรยา ทรัพย์ ข้าวเปลือก
และสิ่งของอันเป็นที่รักแล้วยังไม่อิ่ม เพราะความโลภอันใด
ความโลภอันนั้นขออย่าได้มีอยู่ในอาตมาเลย
(ท้าวสักกะประทานพรให้ยิ่งขึ้นไปว่า)
[๘๗] พระคุณเจ้ากัสสปะ เพราะถ้อยคำที่พระคุณเจ้าเจรจานั้น
ไพเราะ เหมาะสม เป็นสุภาษิต
โยมขอถวายพรแก่พระคุณเจ้าตามที่ใจของท่านปรารถนา
(พระโพธิสัตว์เมื่อจะรับพร จึงกราบทูลว่า)
[๘๘] ขอถวายพระพรท้าวสักกะ ผู้เป็นใหญ่แห่งภูตทั้งปวง
หากมหาบพิตรจะประทานพรแก่อาตมา
นา สวน เงิน โค ม้า และคนผู้เป็นทาสย่อมเสื่อมสิ้นไป
เพราะโทสะที่เกิดแล้วอันใด
โทสะอันนั้นขออย่าได้มีอยู่ในอาตมาเลย
(ท้าวสักกะตรัสว่า)
[๘๙] พระคุณเจ้ากัสสปะ เพราะถ้อยคำที่พระคุณเจ้าเจรจานั้น
ไพเราะ เหมาะสม เป็นสุภาษิต
โยมขอถวายพรแก่พระคุณเจ้าตามที่ใจของท่านปรารถนา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๓. เตรสกนิบาต] ๗. อกิตติชาดก (๔๘๐)
(พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า)
[๙๐] ขอถวายพระพรท้าวสักกะ ผู้เป็นใหญ่แห่งภูตทั้งปวง
หากมหาบพิตรจะประทานพรแก่อาตมา
ขอให้อาตมาไม่พึงพบเห็นคนพาล ไม่พึงได้ยิน
ไม่พึงอยู่ร่วมกับคนพาล ไม่พึงทำการเจรจาปราศรัย
และไม่พึงพอใจการเจรจาปราศรัยกับคนพาลเลย
(ท้าวสักกะตรัสว่า)
[๙๑] พระคุณเจ้ากัสสปะ คนพาลได้ทำอะไรแก่พระคุณเจ้าหรือ
ขอจงบอกเหตุ เพราะเหตุไร
พระคุณเจ้าจึงไม่ต้องการพบเห็นคนพาล
(พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า)
[๙๒] คนพาลมีปัญญาทราม ย่อมแนะนำสิ่งที่ไม่ควรแนะนำ
ชักชวนในสิ่งที่ไม่ใช่ธุระ
การแนะนำชั่วเป็นสิ่งที่ประเสริฐสำหรับเขา
เขาถูกว่ากล่าวโดยชอบก็โกรธ คนพาลนั้นไม่รู้วินัย
การไม่พบเห็นเขาเสียได้เป็นการดี
(ท้าวสักกะตรัสว่า)
[๙๓] พระคุณเจ้ากัสสปะ เพราะถ้อยคำที่พระคุณเจ้าเจรจานั้น
ไพเราะ เหมาะสม เป็นสุภาษิต
โยมขอถวายพรแก่พระคุณเจ้าตามที่ใจของท่านปรารถนา
(พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า)
[๙๔] ขอถวายพระพรท้าวสักกะ ผู้เป็นใหญ่แห่งภูตทั้งปวง
หากมหาบพิตรจะประทานพรแก่อาตมา
ขอให้อาตมาพึงได้พบ พึงได้ยิน พึงได้อยู่ร่วมกับนักปราชญ์
พึงได้เจรจาปราศรัยและพอใจการเจรจาปราศรัยกับนักปราชญ์เถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๓. เตรสกนิบาต] ๘. ตักการิยชาดก (๔๘๑)
(ท้าวสักกะตรัสว่า)
[๙๕] พระคุณเจ้ากัสสปะ นักปราชญ์ได้ทำอะไรแก่พระคุณเจ้าหรือ
ขอจงบอกเหตุ เพราะเหตุไร
พระคุณเจ้าจึงต้องการพบเห็นนักปราชญ์
(พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า)
[๙๖] นักปราชญ์ผู้มีปัญญาย่อมแนะนำสิ่งที่ควรแนะนำ
ไม่ชักชวนในสิ่งที่ไม่ใช่ธุระ การแนะนำดีเป็นสิ่งประเสริฐของเขา
เขาถูกว่ากล่าวโดยชอบก็ไม่โกรธ
นักปราชญ์นั้นรู้วินัย การสมาคมกับท่านเป็นการดี
(ท้าวสักกะตรัสว่า)
[๙๗] พระคุณเจ้ากัสสปะ เพราะถ้อยคำที่พระคุณเจ้าเจรจานั้น
ไพเราะ เหมาะสม เป็นสุภาษิต
โยมขอถวายพรแก่พระคุณเจ้าตามที่ใจของท่านปรารถนา
(พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า)
[๙๘] ขอถวายพระพรท้าวสักกะ ผู้เป็นใหญ่แห่งภูตทั้งปวง
หากมหาบพิตรจะประทานพรแก่อาตมา
เมื่อราตรีนั้นสิ้นไป ในเวลาดวงอาทิตย์ขึ้น
ขอภักษาอันเป็นทิพย์และยาจกผู้มีศีลพึงปรากฏ
[๙๙] ขอถวายพระพร เมื่ออาตมาให้อยู่ ขอภักษาอย่าพึงหมดสิ้นไป
ครั้นให้แล้ว ขออาตมาอย่าพึงเดือดร้อนในภายหลัง
ขณะกำลังให้ ก็พึงทำจิตให้เลื่อมใส
(ท้าวสักกะตรัสว่า)
[๑๐๐] พระคุณเจ้ากัสสปะ เพราะถ้อยคำที่พระคุณเจ้าเจรจานั้น
ไพเราะ เหมาะสม เป็นสุภาษิต
โยมขอถวายพรแก่พระคุณเจ้าตามที่ใจของท่านปรารถนา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๓. เตรสกนิบาต] ๘. ตักการิยชาดก (๔๘๑)
(พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า)
[๑๐๑] ขอถวายพระพรท้าวสักกะ ผู้เป็นใหญ่แห่งภูตทั้งปวง
หากมหาบพิตรจะประทานพรแก่อาตมา
ขอมหาบพิตรอย่าเสด็จมาหาอาตมาอีกเลย
(ท้าวสักกะตรัสว่า)
[๑๐๒] นรชนชายหญิงทั้งหลายหวังอย่างยิ่งที่จะพบโยม
ด้วยการบำเพ็ญจริยาวัตรเป็นอันมาก
ในการเห็นโยมน่ากลัวนักหรือ
(พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า)
[๑๐๓] มหาบพิตรผู้มีวรรณะเหมือนวรรณะแห่งเทพ
บันดาลความใคร่ทั้งปวงให้สำเร็จได้เช่นนั้น
อาตมาพบเห็นแล้ว พึงประมาทการบำเพ็ญตบะ
สิ่งนั้นจึงเป็นภัยแก่อาตมาเพราะการพบเห็นมหาบพิตร
อกิตติชาดกที่ ๗ จบ

๘. ตักการิยชาดก (๔๘๑)
ว่าด้วยตักการิยมาณพเตือนอาจารย์
(ปุโรหิตผู้เป็นอาจารย์สนทนากับพระโพธิสัตว์ผู้เป็นศิษย์ว่า)
[๑๐๔] พ่อตักการิยะ ฉันนั่นแหละเป็นคนโง่ พูดคำชั่ว
เหมือนกบที่อยู่ในป่าเรียกหางูมากินตัวเอง
จะต้องตกไปยังหลุมนี้ การพูดเกินขอบเขตไม่ดีเลย
(พระโพธิสัตว์กล่าวว่า)
[๑๐๕] คนผู้พูดเกินขอบเขตย่อมประสบการจองจำ
การถูกฆ่า และความโศกเศร้า คร่ำครวญ
ท่านอาจารย์ ท่านควรตำหนิตนเอง
ตามเหตุที่คนทั้งหลายจะฝังท่านลงในหลุม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๓. เตรสกนิบาต] ๘. ตักการิยชาดก (๔๘๑)
(ลูกชายเศรษฐีกล่าวว่า)
[๑๐๖] เราไปถามตุณฑิละทำไม
นางกาฬีนี้ซิ ควรทำกับน้องชายหล่อนเอง
เราถูกแย่งเสื้อผ้า และกลายเป็นชีเปลือยไป
แม้เรื่องนี้ก็เหมือนเรื่องของท่านอาจารย์มาก
(พระโพธิสัตว์แสดงเหตุอื่นอีกว่า)
[๑๐๗] นกกุลิงคะตัวเองไม่ได้ต่อสู้กับใครเลย
แต่ไปบินอยู่ระหว่างแกะที่กำลังขวิดกัน
จึงถูกหัวแกะทั้ง ๒ บดขยี้ท่ามกลางอากาศนั้น
แม้เรื่องนี้ก็เหมือนเรื่องของท่านอาจารย์มาก
[๑๐๘] คน ๔ คนเมื่อจะช่วยเหลือคนเพียงคนเดียวจึงพากันจับชายผ้า
พวกเขาทั้งหมด ๔ คนจึงพากันศีรษะแตกนอนตายไป
แม้เรื่องนี้ก็เหมือนเรื่องของท่านอาจารย์มาก
[๑๐๙] อุปมาเหมือนแม่แพะที่เขาผูกมัดไว้ที่พุ่มกอไผ่
คึกคะนอง ดีดเท้าไปกระทบมีดดาบ
จึงถูกเขาใช้มีดดาบเล่มนั้นเชือดคอของมัน
แม้เรื่องนี้ก็เหมือนเรื่องของท่านอาจารย์มาก
(พระราชาทรงกริ้วต่อนายพราน จึงตรัสว่า)
[๑๑๐] กินนรเหล่านี้มิใช่เทวดา มิใช่คนธรรพ์เทพบุตร
เป็นสัตว์พวกเนื้อ ตกอยู่ในอำนาจของเรา
พวกเจ้าจงย่างมันตัวหนึ่งในเวลาอาหารมื้อเย็น
อีกตัวหนึ่งจงย่างมันในเวลาอาหารมื้อเช้าต่อไป
(กินนรีรู้ว่าพระราชาทรงกริ้ว จึงกราบทูลว่า)
[๑๑๑] คำทุพภาษิตนับแสนคำก็ไม่ถึงแม้เสี้ยวหนึ่งแห่งคำสุภาษิต
กินนรรังเกียจคำทุพภาษิตจึงเศร้าหมอง
เพราะเหตุนั้น พวกกินนรจึงนิ่งเฉย มิใช่เพราะความโง่เขลา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๓. เตรสกนิบาต] ๘. ตักการิยชาดก (๔๘๑)
(พระราชาทรงยินดีแล้วตรัสว่า)
[๑๑๒] กินนรตัวนี้พูดกับเราแล้ว พวกเจ้าจงปล่อยมันไป
และจงนำมันไปยังภูเขาหิมพานต์
ส่วนตัวนี้ เจ้าจงให้ไว้ที่ห้องครัวใหญ่
และย่างมันในเวลาอาหารมื้อเช้าแต่เช้าตรู่
(กินนรได้ฟังพระดำรัสนั้นแล้วจึงกราบทูลว่า)
[๑๑๓] ปศุสัตว์ทั้งหลายมีเมฆฝนเป็นที่พึ่ง
ประชาชนนี้มีปศุสัตว์เป็นที่พึ่ง
ข้าแต่พระมหาราช พระองค์เป็นที่พึ่งของข้าพระองค์
ข้าพระองค์เป็นที่พึ่งของภรรยาของข้าพระองค์
ระหว่างข้าพระองค์ทั้ง ๒ ตัวหนึ่งรู้ว่าอีกตัวหนึ่งตายแล้ว
ตนพ้นความตายแล้วจึงจะบินไปสู่ภูเขา
[๑๑๔] ขอเดชะพระองค์ผู้จอมชน
คนจะพึงหลีกเว้นจากการนินทาได้โดยง่ายก็หาไม่
คนที่ควรคบหาก็มีฉันทะต่าง ๆ กัน
คนหนึ่งได้รับการยกย่องด้วยคุณธรรมข้อใด
คุณธรรมข้อนั้นแหละ คนอื่นกลับได้รับการนินทา
[๑๑๕] สัตวโลกทั้งหลายมีจิตทรามบ้าง ประณีตบ้าง
สัตวโลกทั้งปวงชื่อว่ามีความคิดก็เพราะจิตของตน
สัตว์ทุกตัวตนในโลกนี้ล้วนมีจิตเป็นของตนเอง
จึงไม่ควรยอมอยู่ในอำนาจแห่งจิตของใคร ๆ
(พระราชาทรงโสมนัสแล้วจึงตรัสว่า)
[๑๑๖] กินนรพร้อมทั้งภรรยาได้นิ่งอยู่
บัดนี้ กินนรตนใดกลัวภัยจึงพูด
กินนรตนนั้นพ้นภัยแล้ว มีความสุข ไม่มีโรค
นับว่า การพูดมีประโยชน์แก่สัตว์ทั้งหลายโดยแท้
ตักการิยชาดกที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๓. เตรสกนิบาต] ๙. รุรุมิคราชชาดก (๔๘๒)
๙. รุรุมิคราชชาดก (๔๘๒)
ว่าด้วยน้ำใจของพญาเนื้อรุรุ
(พระราชาตรัสว่า)
[๑๑๗] เราจะให้บ้านส่วยและเหล่านารีที่ประดับตบแต่งแล้วแก่คน
ผู้บอกกล่าวถึงพญาเนื้อตัวประเสริฐกว่าเนื้อทั้งหลายแก่เรา
(บุตรเศรษฐีกราบทูลว่า)
[๑๑๘] ขอพระองค์ประทานบ้านส่วยและเหล่านารี
ที่ประดับตบแต่งแล้วแก่ข้าพระองค์
ข้าพระองค์จักกราบทูลถึงพญาเนื้อ
ตัวประเสริฐกว่าเนื้อทั้งหลายต่อพระองค์
(เมื่อจะบอกที่อยู่ของพญาเนื้อ จึงกราบทูลว่า)
[๑๑๙] ณ ไพรสณฑ์แห่งนั้น ต้นมะม่วงและต้นสาละผลิดอกบานสะพรั่ง
ภูมิภาคปกคลุมไปด้วยติณชาติมีสีแดงเหมือนปีกแมลงค่อมทอง
พญาเนื้อตัวนั้นอยู่ ณ ไพรสณฑ์แห่งนี้
(พระศาสดาทรงประกาศเรื่องนั้นว่า)
[๑๒๐] พระราชาทรงโก่งธนูสอดใส่ลูกศร เสด็จเข้าไปใกล้
ส่วนพญาเนื้อเห็นพระราชาแล้วจึงร้องกราบทูลแต่ไกลว่า
[๑๒๑] ทรงหยุดก่อน พระมหาราชผู้จอมทัพ
อย่าเพิ่งทรงยิงข้าพระองค์
ใครหนอกราบทูลเรื่องนี้แก่พระองค์ว่า
พญาเนื้อตัวนั้นอยู่ ณ ไพรสณฑ์แห่งนี้
(พระราชาตรัสว่า)
[๑๒๒] เจ้าคนที่ประพฤติเลวทรามยืนอยู่ห่าง ๆ
นั่นเพื่อน ก็เขานั่นแหละได้บอกเรื่องนี้แก่เราว่า
เนื้อตัวนั้นอยู่ ณ ไพรสณฑ์แห่งนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๓. เตรสกนิบาต] ๙. รุรุมิคราชชาดก (๔๘๒)
(พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า)
[๑๒๓] ได้ยินว่า คนบางพวกในโลกนี้
ได้กล่าวความจริงไว้อย่างนี้ว่า ไม้ลอยน้ำยังดีกว่า
ส่วนคนบางคนที่ประทุษร้ายมิตรไม่ดีเลย
(พระราชาทรงสดับดังนั้น จึงตรัสว่า)
[๑๒๔] นี่พญาเนื้อรุรุ เจ้าติเตียนหมู่เนื้อ
หรือหมู่นก ก็หรือติเตียนหมู่มนุษย์
เพราะภัยอันใหญ่หลวงจะมาต้องเรา
เพราะได้ฟังเจ้าพูดภาษามนุษย์
(พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า)
[๑๒๕] ขอเดชะพระมหาราช ข้าพระองค์ได้ช่วยผู้ใด
ซึ่งถูกน้ำพัดมาในห้วงน้ำที่มีน้ำมาก มีกระแสเชี่ยวกรากขึ้นมา
ภัยมาถึงข้าพระองค์เพราะผู้นั้นเป็นเหตุ
การสมาคมกับคนชั่วเป็นทุกข์
(พระราชาทรงกริ้วบุตรเศรษฐี จึงตรัสว่า)
[๑๒๖] เรานั้นจะปล่อยลูกศร ๔ ปีกดอกนี้
แหวกอากาศไปเจาะร่างเสียบตรงหัวใจ
เราจะฆ่ามันผู้ประทุษร้ายมิตร ทำกิจที่ไม่ควรทำ
ซึ่งไม่รู้จักคนผู้ทำคุณไว้เช่นนั้น
(ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า)
[๑๒๗] ขอเดชะพระองค์ผู้จอมชน ผู้ทรงพระปรีชา
การฆ่าคนชั่วนั้น สัตบุรุษทั้งหลายไม่สรรเสริญ
ขอคนผู้มีธรรมชั่วช้าจงกลับไปบ้านได้ตามความปรารถนา
และขอพระองค์ทรงพระราชทาน
สิ่งที่พระองค์ตรัสพระราชทานไว้แก่เขาเถิด
และข้าพระองค์จะกระทำสิ่งที่พระองค์ทรงปรารถนา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๓. เตรสกนิบาต] ๑๐. สรภมิคชาดก (๔๘๓)
(พระราชาทรงชมเชยพระโพธิสัตว์แล้วตรัสว่า)
[๑๒๘] พญาเนื้อรุรุ เจ้าไม่ประทุษร้ายต่อคนผู้ประทุษร้าย
แถมยังปล่อยให้คนชั่วช้ากลับไปบ้านได้ตามสบาย
นับว่าเป็นผู้หนึ่งในบรรดาสัตบุรุษทั้งหลายแน่นอน
เราจะให้สิ่งที่ได้พูดว่าจะให้แก่เขา
และจะให้เจ้าเที่ยวไปตามความพอใจด้วย
(ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์เมื่อจะลองหยั่งพระทัยพระราชา จึงได้กราบทูลว่า)
[๑๒๙] ขอเดชะพระราชา เสียงเหล่าสุนัขจิ้งจอกเห่าหอนก็ดี
เสียงเหล่านกร้องขันก็ดี รู้ได้ง่าย
ส่วนถ้อยคำที่พวกมนุษย์เปล่งออกมา รู้ได้ยากกว่านั้น
[๑๓๐] คนบางคนเบื้องต้นเป็นคนใจดี ย่อมนับถือกันว่า
เป็นญาติ เป็นมิตร หรือเป็นเพื่อนอย่างนี้บ้าง
ภายหลังกลายเป็นศัตรูไปก็มี
(พระศาสดาทรงประกาศความข้อนั้นว่า)
[๑๓๑] พวกชาวชนบทและชาวนิคมมาประชุมพร้อมกัน
ร้องทุกข์ว่า พวกเนื้อพากันมากินข้าวกล้า
ขอพระองค์ผู้สมมติเทพจงทรงห้ามหมู่เนื้อนั้น
(พระราชาทรงสดับดังนั้นแล้ว จึงตรัสว่า)
[๑๓๒] ชนบทจงอย่ามีและแม้แว่นแคว้นจงพินาศไปก็ตามที
ส่วนเราให้อภัยทานแล้ว
จะไม่ประทุษร้ายพญาเนื้อรุรุอย่างเด็ดขาด
[๑๓๓] ชนบทของเราจงอย่ามีและแว่นแคว้นของเราจงพินาศไป
ส่วนเราให้พรแก่พญาเนื้อแล้วจะไม่พูดมุสาเด็ดขาด
รุรุมิคราชชาดกที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๓. เตรสกนิบาต] ๑๐. สรภมิคชาดก (๔๘๓)
๑๐. สรภมิคชาดก (๔๘๓)
ว่าด้วยละมั่งทำคุณแก่พระราชา
(พระเจ้าพรหมทัตมีพระทัยเปี่ยมด้วยปีติ ทรงเปล่งอุทานว่า)
[๑๓๔] เป็นคนต้องหวังร่ำไป คนฉลาดไม่ควรท้อแท้
เราเห็นตัวเองเป็นตัวอย่าง
ปรารถนาอย่างใดก็ได้อย่างนั้น
[๑๓๕] เป็นคนต้องหวังร่ำไป คนฉลาดไม่ควรท้อแท้
เราเห็นตัวเองเป็นตัวอย่าง
ถูกเขาช่วยให้ขึ้นจากน้ำมาบนบกได้
[๑๓๖] เป็นคนต้องพยายามร่ำไป คนฉลาดไม่ควรท้อแท้
เราเห็นตัวเองเป็นตัวอย่าง
ปรารถนาอย่างไรก็ได้อย่างนั้น
[๑๓๗] เป็นคนต้องพยายามร่ำไป คนฉลาดไม่ควรท้อแท้
เราเห็นตัวเองเป็นตัวอย่าง
ถูกเขาช่วยให้ขึ้นจากน้ำมาบนบกได้
[๑๓๘] คนมีปัญญาแม้จะตกอยู่ในความทุกข์
ก็ไม่ควรสิ้นความหวัง เพื่อจะบรรลุถึงความสุข
เพราะว่าสัมผัส๑มีอยู่มากมาย ทั้งที่ไม่มีประโยชน์และมีประโยชน์
ถึงจะไม่นึกคิดก็ต้องถึงความตาย
[๑๓๙] สิ่งที่ไม่ได้คิดแล้วเป็นไปได้ก็มี
สิ่งที่คิดแล้วพินาศไปก็มี ไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชาย
โภคะทั้งหลายสำเร็จได้เพราะความคิดไม่มีเลย

เชิงอรรถ :
๑ สัมผัส คือ สิ่งที่กระทบถูกต้อง ผัสสะที่เป็นทุกข์ ถูกเข้าแล้วถึงตายก็มี ผัสสะที่เป็นสุข ถูกเข้าแล้ว
ทำให้มีชีวิตก็มี (ขุ.ชา.อ. ๘/๑๓๘/๒๑๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๓. เตรสกนิบาต] ๑๐. สรภมิคชาดก (๔๘๓)
(พราหมณ์ปุโรหิตถวายพระพรชัยแล้ว ได้กราบทูลว่า)
[๑๔๐] ละมั่งตัวใด พระองค์ติดตามไปจนถึงซอกเขา ในตอนแรก
เพราะอาศัยความบากบั่นของละมั่งตัวนั้นซึ่งมีจิตไม่ย่อท้อ
พระองค์จึงยังทรงพระชนม์อยู่ได้
[๑๔๑] ละมั่งตัวใด พยายามใช้ก้อนหินถม
ช่วยพระองค์ขึ้นมาจากเหวที่ขึ้นได้แสนยาก
และปลดเปลื้องพระองค์ผู้ทรงระทมทุกข์จากปากพญามัจจุราช
พระองค์คงจะทรงรับสั่งถึงละมั่งตัวมีจิตไม่ย่อท้อตัวนั้นแหละ
(พระราชาตรัสว่า)
[๑๔๒] เวลานั้น ท่านได้อยู่ ณ ที่นั้นเหมือนกันหรือ
หรือว่าใครบอกเรื่องนั้นแก่ท่าน
ท่านเห็นทุกอย่างหรือ จึงเปิดเผยเรื่องนั้นได้
ญาณของท่านมีกำลังมากจริงนะพราหมณ์
(พราหมณ์ปุโรหิตเมื่อจะชี้แจง จึงกราบทูลว่า)
[๑๔๓] เวลานั้น ข้าพระองค์ได้อยู่ที่นั้นด้วยก็หาไม่
และแม้ใครจะบอกเรื่องนั้น ๆ แก่ข้าพระองค์ก็หาไม่
ขอเดชะพระองค์ผู้จอมชน ปราชญ์ทั้งหลาย
ประมวลเนื้อความแห่งบทคาถาสุภาษิตนั้นมา
(ต่อมาท้าวสักกะทรงสิงในสรีระของพราหมณ์ปุโรหิตแล้วได้ตรัสกับพระราชาว่า)
[๑๔๔] พระองค์ทรงสอดลูกศรมีปีก
ซึ่งจะฆ่าได้ด้วยความเพียรของผู้อื่นไว้ที่แล่งแล้ว
ทำไมยังทรงลังเลอยู่เล่า
ขอเดชะพระองค์ผู้ทรงพระปัญญาอันประเสริฐ
ขอลูกศรที่แล่นออกจากแล่งไปจงฆ่าละมั่งโดยเร็วเถิด
เพราะว่าเนื้อละมั่งนั่นเป็นภักษาของพระราชา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๓. เตรสกนิบาต] ๑๐. สรภมิคชาดก (๔๘๓)
(ลำดับนั้น พระราชาตรัสว่า)
[๑๔๕] ข้อนั้น ถึงเราจะรู้อย่างชัดแจ้งว่า
เนื้อเป็นพระกระยาหารของกษัตริย์ก็จริง
พราหมณ์ แต่เราเมื่อจะอ่อนน้อมบูชาคุณ
ที่ละมั่งตัวนี้ได้ทำไว้แก่เราในกาลก่อน
เพราะเหตุนั้น จึงไม่ฆ่าเนื้อละมั่ง
(ท้าวสักกะตรัสว่า)
[๑๔๖] พระมหาราชผู้เป็นใหญ่ในทิศ นั่นไม่ใช่เนื้อ
นั่นคือท้าวสักกะผู้ยิ่งใหญ่กว่าอสูร
พระองค์ผู้จอมมนุษย์
ขอพระองค์ทรงประหารท้าวสักกะนั่น
แล้วเป็นจอมเทพเสียเอง
[๑๔๗] ขอเดชะพระมหาราช ผู้ประเสริฐกว่าคนผู้กล้าหาญ
ถ้าพระองค์ยังทรงลังเลที่จะฆ่าเนื้อละมั่งผู้สหายอยู่
พระองค์พร้อมทั้งพระโอรส พระธิดา และพระมเหสี
จะต้องตกเวตตรณีนรกของพญายม
(พระราชาตรัสว่า)
[๑๔๘] เราและชาวชนบทก็ดี
ลูกเมียและหมู่สหายก็ดี
จะต้องตกเวตตรณีนรกของพญายมก็ตามที
เราไม่ควรจะฆ่าผู้ที่ให้ชีวิตแก่เราเลย
[๑๔๙] เนื้อตัวนี้ทำคุณแก่เราผู้กำลังตกยากอยู่คนเดียว
ในป่าเปลี่ยวอันแสนทารุณ
เราเมื่อระลึกถึงบุพการีที่เนื้อตัวนี้ได้กระทำไว้เช่นนั้น
ทั้งที่รู้อยู่จะพึงฆ่าลงได้อย่างไร ท่านมหาพราหมณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก
(ลำดับนั้น ท้าวสักกะทรงประกาศคุณของพระราชาว่า)
[๑๕๐] พระองค์ทรงโปรดปรานผู้เป็นมิตร
ขอทรงมีพระชนม์ชีพยืนนานเถิด
ขอทรงดำรงอยู่ในคุณธรรมปกครองรัฐสีมานี้เถิด
พระองค์ผู้มีหมู่นารีบำเรออยู่
จงบันเทิงพระหฤทัยในแว่นแคว้น
ดังเช่นท้าววาสวะบันเทิงอยู่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๑๕๑] ขอพระองค์อย่าทรงพิโรธ
มีพระหฤทัยผ่องใสอยู่เป็นนิตย์
ทรงต้อนรับแขกผู้มาเยือนทั้งปวง
จงบำเพ็ญทานบ้าง เสวยเองบ้างตามอานุภาพ
จงอย่าทรงถูกชาวโลกนินทา เสด็จสู่แดนสวรรค์เถิด
สรภมิคชาดกที่ ๑๐ จบ

รวมชาดกที่มีในนิบาตนี้ คือ

๑. อัมพชาดก ๒. ผันทนชาดก
๓. ชวนหังสชาดก ๔. จูฬนารทกัสสปชาดก
๕. ทูตชาดก ๖. กาลิงคโพธิชาดก
๗. อกิตติชาดก ๘. ตักการิยชาดก
๙. รุรุมิคราชชาดก ๑๐. สรภมิคชาดก

เตรสกนิบาต จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๒๒ }


๑๔. ปกิณณกนิบาต
๑. สาลิเกทารชาดก (๔๘๔)
ว่าด้วยนกแแขกเต้าเลี้ยงพ่อแม่
(คนเฝ้านาถูกโกสิยพราหมณ์ถามแล้ว จึงได้กล่าวว่า)
[๑] ท่านโกสิยะ นาข้าวสาลีบริบูรณ์ดี
แต่พวกนกแขกเต้าพากันมาจิกกิน
ข้าพเจ้าขอบอกคืนนานะท่านพราหมณ์
เพราะไม่สามารถจะห้ามพวกมันได้
[๒] แต่บรรดานกแขกเต้าเหล่านั้น
มีนกตัวหนึ่งสวยงามกว่านกเหล่านั้นทั้งหมด
กินข้าวสาลีตามความพอใจแล้วยังคาบบินไปอีก
(พราหมณ์ได้กล่าวกับคนเฝ้านาว่า)
[๓] เจ้าจงดักบ่วงหางสัตว์โดยวิธีที่นกนั้นจะติดบ่วง
จับเป็นแล้วนำมาให้เรา
(พญานกแขกเต้ารำพันอยู่ว่า)
[๔] นกทั้งหลายเหล่านั้นกิน ดื่มแล้วก็บินไป
ส่วนเราตัวเดียวติดบ่วงอยู่ เราได้ทำความชั่วอะไรไว้หนอ
(พราหมณ์กล่าวกับพญานกแขกเต้านั้นว่า)
[๕] นกตัวอื่นกินเฉพาะท้องเท่านั้น แต่เจ้ากินเกินท้อง
เจ้ากินข้าวสาลีตามความพอใจแล้วยังคาบบินไปอีก
[๖] ฉางที่ป่าไม้งิ้วนั้นเจ้าบรรจุไว้จนเต็มหรือ
หรือเจ้ามีเวรกับเรา เราถามแล้ว จงบอกเถิด
เพื่อน เจ้าเก็บข้าวสาลีไว้ที่ไหน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๔. ปกิณณกนิบาต] ๒. จันทกินนรีชาดก (๔๘๕)
(พญานกแขกเต้ากล่าวว่า)
[๗] ข้าพเจ้ามิได้มีเวรกับท่าน ฉางของข้าพเจ้าก็ไม่มี
ข้าพเจ้าไปถึงยอดไม้งิ้วก็ชำระหนี้ และให้กู้ยืมหนี้
ทั้งยังฝังแม้ขุมทรัพย์ไว้ที่ยอดไม้งิ้วนั้นด้วย
ขอท่านจงทราบอย่างนี้เถิด ท่านโกสิยะ
(พราหมณ์ถามพญานกแขกเต้าว่า)
[๘] การให้กู้ยืมหนี้และการชำระหนี้ของเจ้าเป็นเช่นไร
เจ้าจงบอกถึงการฝังขุมทรัพย์มาซิ
เมื่อเจ้าทำดังนั้น เจ้าก็จะพ้นจากบ่วง
(พญานกแขกเต้าเมื่อตอบว่า)
[๙] ท่านโกสิยะ ข้าพเจ้ามีลูกอ่อนตัวเล็ก ๆ ขนปีกยังไม่งอก
ลูกนกเล็ก ๆ เหล่านั้น ข้าพเจ้าได้เลี้ยงแล้ว จักเลี้ยงข้าพเจ้า
เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงให้พวกเขากู้ยืมหนี้
[๑๐] พ่อแม่ของข้าพเจ้าแก่เฒ่า ผ่านวัยหนุ่มสาวไปแล้ว
ข้าพเจ้าคาบรวงข้าวสาลีไปเพื่อท่านทั้ง ๒ นั้น
เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงชำระหนี้ที่ท่านได้ให้กู้ยืมไว้ในกาลก่อน
[๑๑] ที่ป่าไม้งิ้วนั้น ยังมีนกอื่น ๆ อีก
ที่ทุพพลภาพ มีขนปีกหมดสิ้นแล้ว
ข้าพเจ้าต้องการบุญ จึงให้รวงข้าวสาลีแก่นกเหล่านั้น
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวการทำบุญนั้นว่า เป็นขุมทรัพย์
[๑๒] การให้กู้ยืมหนี้และการชำระหนี้ของข้าพเจ้าเป็นเช่นนี้
ข้าพเจ้าบอกการฝังขุมทรัพย์แก่ท่าน
ขอท่านจงทราบอย่างนี้เถิด ท่านโกสิยะ
(พราหมณ์ฟังแล้วมีจิตเลื่อมใส จึงได้กล่าวว่า)
[๑๓] ปักษีนี้ดีหนอ เป็นนกแต่มีธรรมอย่างยอดเยี่ยม
ในพวกมนุษย์บางเหล่าไม่มีธรรมนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๔. ปกิณณกนิบาต] ๒. จันทกินนรีชาดก (๔๘๕)
[๑๔] เจ้าพร้อมกับพวกญาติทั้งหมด
จงกินข้าวสาลีตามความพอใจเถิด
เจ้านกแขกเต้า เราคงได้พบกันอีก เรายินดีที่จะพบเจ้า
(พญานกแขกเต้าให้โอวาทว่า)
[๑๕] ข้าพเจ้าได้กินและดื่มในที่อยู่ของท่าน
แต่ในเพื่อนบ้านของท่านไม่น่ายินดีนัก
ท่านโกสิยะ ขอท่านจงให้อภัยทานในเหล่าสัตว์ผู้วางอาชญาแล้ว
และจงเลี้ยงดูบิดามารดาผู้แก่เฒ่าเถิด
(พราหมณ์มีใจยินดีเปล่งอุทานว่า)
[๑๖] วันนี้ โชคได้เกิดขึ้นแก่เราแล้ว
ที่เห็นนกตัวประเสริฐกว่านกทั้งหลาย
เราได้ฟังวาจาสุภาษิตของนกแขกเต้าแล้ว จักทำบุญให้มาก
(พระศาสดาเมื่อทรงประกาศความนั้นจึงตรัสว่า)
[๑๗] โกสิยพราหมณ์นั้นมีความยินดีเบิกบานใจ
จัดแจงข้าวและน้ำ มีจิตผ่องใส
เลี้ยงดูสมณะและพราหมณ์ทั้งหลายให้อิ่มหนำด้วยข้าวและน้ำ
สาลิเกทารชาดกที่ ๑ จบ

๒. จันทกินนรีชาดก (๔๘๕)
ว่าด้วยนางจันทกินนรี
(กินนรประสบเวทนาคร่ำครวญอยู่ ได้กล่าวว่า)
[๑๘] น้องจันทา ชีวิตของพี่นี้เห็นจวนจะดับเสียแล้ว
เพราะเสียเลือดไปมาก วันนี้ พี่คงจะสละชีวิตเป็นแน่
น้องจันทา ลมปราณของพี่กำลังจะดับ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๔. ปกิณณกนิบาต] ๒. จันทกินนรีชาดก (๔๘๕)
[๑๙] ชีวิตของพี่มีแต่จะจมลง ทุกข์เผาผลาญดวงใจพี่
พี่แสนลำบาก นี้เป็นทุกข์ของพี่
เพราะเศร้าโศกถึงเจ้าจันทาผู้กำลังเศร้าโศก
มิใช่เพราะความเศร้าโศกอย่างอื่น
[๒๐] พี่เหี่ยวแห้งเหมือนต้นหญ้าที่ถูกทิ้งไว้บนแผ่นหินที่ร้อนจัด
เหมือนป่าไม้ที่ถูกตัดราก ทั้งยังซูบซีดเหมือนแม่น้ำที่เหือดแห้ง
นี้เป็นทุกข์ของเรา เพราะเศร้าโศกถึงเจ้าจันทาผู้กำลังเศร้าโศก
มิใช่เพราะความเศร้าโศกอย่างอื่น
[๒๑] น้ำตาเหล่านี้ของพี่หลั่งไหลไปเหมือนฝนตกที่เชิงเขาหลั่งไหลไป
นี้เป็นทุกข์ของพี่ เพราะเศร้าโศกถึงเจ้าจันทาผู้กำลังเศร้าโศก
มิใช่เพราะความเศร้าโศกอย่างอื่น
(นางจันทกินนรีบริภาษพระราชาว่า)
[๒๒] ท่านราชบุตร พระองค์ชั่วจริง ๆ
ที่ทรงยิงสามีที่รักของหม่อนฉันผู้น่าสงสารที่โคนไม้ในป่า
สามีของหม่อมฉันนั้นถูกยิงนอนอยู่บนแผ่นดิน
[๒๓] ท่านราชบุตร ขอพระมารดาของพระองค์
จงได้รับความเหือดแห้งพระหฤทัย
เหมือนหม่อมฉันผู้รอคอยสามีกินนร
[๒๔] ท่านราชบุตร ขอพระชายาของพระองค์
จงได้รับความเหือดแห้งพระหฤทัย
เหมือนหม่อมฉันผู้รอคอยสามีกินนร
[๒๕] ท่านราชบุตร ขอพระมารดาของพระองค์
ผู้ทรงสังหารกินนรผู้ไม่ประทุษร้าย เพราะต้องการหม่อมฉัน
จงอย่าทรงพบเห็นพระราชโอรสและพระราชสวามีเลย
[๒๖] ท่านราชบุตร ขอพระชายาของพระองค์
ผู้ทรงสังหารกินนรผู้ไม่ประทุษร้าย เพราะต้องการหม่อมฉัน
จงอย่าทรงพบเห็นพระราชโอรสและพระราชสวามีเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๔. ปกิณณกนิบาต] ๒. จันทกินนรีชาดก (๔๘๕)
(พระราชาทรงปลอบโยนนางจันทกินนรีนั้นว่า)
[๒๗] แม่จันทา ผู้มีนัยน์ตาเหมือนดอกราตรีในป่า
เจ้าอย่าร้องไห้เศร้าโศกไปเลย
เจ้าจักได้เป็นพระมเหสีของเราที่เหล่านารีบูชาในราชสกุล
(นางจันทกินนรีกราบทูลว่า)
[๒๘] ท่านราชบุตร หม่อมฉันขอยอมตาย
ไม่ขอเป็นพระมเหสีของพระองค์ผู้ทรงสังหารกินนรผู้ไม่ประทุษร้าย
เพราะต้องการหม่อมฉันแน่นอน
(พระราชาหมดความรักใคร่ จึงตรัสว่า)
[๒๙] แม่กินนรีขี้ขลาด ผู้ปรารถนาจะมีชีวิตอยู่
เจ้าจงไปยังป่าหิมพานต์ หากฤษณาและกะลำพักบริโภคเถิด
มฤคชาติเหล่าอื่นจะอภิรมย์กับเจ้า
(นางจันทกินนรีคร่ำครวญอย่างหนักว่า)
[๓๐] ภูเขา ซอกเขา และถ้ำแห่งภูเขาเหล่านั้นยังตั้งอยู่เหมือนเดิม
พ่อกินนร เราเมื่อไม่เห็นท่านที่ภูเขาเหล่านั้นจะทำอย่างไร
เราได้ร่วมอภิรมย์กันที่ภูเขาเหล่าใด
พ่อกินนร เราเมื่อไม่เห็นท่านที่ภูเขาเหล่านั้นจะทำอย่างไร
[๓๑] ภูเขาเหล่านั้นเกลื่อนกลาดไปด้วยใบไม้
น่ารื่นรมย์ มีเนื้อร้ายสัญจรไปมา
พ่อกินนร เราเมื่อไม่เห็นท่านที่ภูเขาเหล่านั้นจะทำอย่างไร
[๓๒] ภูเขาเหล่านั้นดารดาษไปด้วยดอกไม้
น่ารื่นรมย์ มีเนื้อร้ายสัญจรไปมา
พ่อกินนร เราเมื่อไม่เห็นท่านที่ภูเขาเหล่านั้นจะทำอย่างไร
[๓๓] แม่น้ำแห่งป่าเขามีกระแสน้ำเกลื่อนกล่นไปด้วยดอกไม้
มีสายธารอันใสไหลเอื่อยอยู่
พ่อกินนร เราเมื่อไม่เห็นท่านที่แม่น้ำนั้นจะทำอย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๔. ปกิณณกนิบาต] ๓. มหาอุกกุสชาดก (๔๘๖)
[๓๔] ยอดภูเขาหิมพานต์ทั้งหลายมีสีเขียวชอุ่ม น่าทัศนา
พ่อกินนร เราเมื่อไม่เห็นท่านที่ยอดภูเขาเหล่านั้นจะทำอย่างไร
[๓๕] ยอดภูเขาหิมพานต์ทั้งหลายมีสีเหลืองอร่าม น่าทัศนา
พ่อกินนร เราเมื่อไม่เห็นท่านที่ยอดภูเขาเหล่านั้นจะทำอย่างไร
[๓๖] ยอดภูเขาหิมพานต์ทั้งหลายมีสีแดง น่าทัศนา
พ่อกินนร เราเมื่อไม่เห็นท่านที่ยอดภูเขาเหล่านั้นจะทำอย่างไร
[๓๗] ภูเขาหิมพานต์ สูงตระหง่าน น่าทัศนา
พ่อกินนร เราเมื่อไม่เห็นท่านที่ยอดภูเขาเหล่านั้นจะทำอย่างไร
[๓๘] ยอดภูเขาหิมพานต์ทั้งหลาย มีสีขาวโพลน น่าทัศนา
พ่อกินนร เราเมื่อไม่เห็นท่านที่ยอดภูเขาเหล่านั้นจะทำอย่างไร
[๓๙] ยอดภูเขาหิมพานต์ งามวิจิตร น่าทัศนา
พ่อกินนร เราเมื่อไม่เห็นท่านที่ยอดภูเขาเหล่านั้นจะทำอย่างไร
[๔๐] ที่ภูเขาคันธมาทน์ เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยแห่งหมู่เทพเจ้า
ปกคลุมไปด้วยโอสถนานาชนิด
พ่อกินนร เราเมื่อไม่เห็นท่านที่ภูเขานั้นจะทำอย่างไร
[๔๑] ที่ภูเขาคันธมาทน์ เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยแห่งหมู่กินนรกินนรี
ปกคลุมไปด้วยโอสถนานาชนิด
พ่อกินนร เราเมื่อไม่เห็นท่านที่ภูเขานั้นจะทำอย่างไร
(นางจันทกินนรีเห็นสามีที่รักหายโรคก็ดีใจ ไหว้ท้าวสักกะแล้วกล่าวว่า)
[๔๒] ข้าแต่เจ้าปู่ผู้ประเสริฐ ดิฉันได้อยู่ร่วมกับสามีผู้เป็นที่รักยิ่ง
จึงขอกราบเท้าทั้ง ๒ ของท่าน
ผู้ซึ่งได้ใช้น้ำอมฤตรดสามีดิฉันผู้น่ารักน่าปรารถนา
[๔๓] บัดนี้ ข้าพเจ้าทั้ง ๒ จะเที่ยวไปยังแม้น้ำแห่งป่าเขา
อันมีกระแสน้ำเกลื่อนกล่นไปด้วยดอกไม้ อาศัยอยู่ตามต้นไม้ต่าง ๆ
เจรจาแต่คำอันเป็นที่รักต่อกันและกัน
จันทกินนรีชาดกที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๔. ปกิณณกนิบาต] ๓. มหาอุกกุสชาดก (๔๘๖)
๓. มหาอุกกุสชาดก (๔๘๖)
ว่าด้วยพญานกออกช่วยเพื่อน
(แม่เหยี่ยวพูดกับพญาเหยี่ยวว่า)
[๔๔] พวกชาวชนบทพากันมัดคบเพลิงอยู่บนเกาะ
ประสงค์จะกินลูกน้อย ๆ ของเรา
พี่พญาเหยี่ยว ขอท่านจงไปบอกมิตรสหาย
เล่าถึงความพินาศแห่งหมู่ญาติของนกทั้งหลาย
(เหยี่ยวนั้นถูกถามจึงแสดงเหตุที่ต้องมาว่า)
[๔๕] ข้าแต่พญานกออก๑ ราชปักษี
ท่านนะเป็นนกที่ประเสริฐกว่านกทั้งหลาย
ข้าพเจ้าขอยึดท่านเป็นที่พึ่ง
พวกนายพรานชาวชนบทประสงค์จะกินลูกน้อย ๆ ของข้าพเจ้า
เพื่อความสุขของข้าพเจ้า ขอท่านจงเป็นที่พึ่งด้วยเถิด
(พญานกออกตอบเหยี่ยวว่า)
[๔๖] บัณฑิตทั้งหลายผู้แสวงหาความสุขอยู่
ย่อมคบมิตรสหายทั้งในกาลและมิใช่กาล
เจ้าเหยี่ยว เราจะทำตามความประสงค์ของเจ้านั้น
เพราะว่าคนดีจะต้องช่วยเหลือคนดี
(เหยี่ยวฟังดังนั้นแล้วเข้าไปหาพญานกออกพลางเชื้อเชิญว่า)
[๔๗] กิจอันใดเป็นกิจที่คนดีจะพึงกระทำให้คนดี
ด้วยความอนุเคราะห์กิจอันนี้ท่านก็ได้ทำแล้ว
ท่านจงถนอมตัวไว้เถิด อย่าได้เดือดร้อนไปเลย
เมื่อท่านยังมีชีวิตอยู่ ข้าพเจ้าก็จะได้ลูกต่อไป

เชิงอรรถ :
๑ พญานกออก หมายถึงชื่อนกเหยี่ยวขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ชอบหากินปลาในทะเล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๔. ปกิณณกนิบาต] ๓. มหาอุกกุสชาดก (๔๘๖)
(พญานกออกบันลือสีหนาทว่า)
[๔๘] เราเมื่อจะกระทำการรักษาป้องกันท่านนั้น
แม้ตัวจะตายก็ไม่หวาดหวั่น
เพราะเพื่อนทั้งหลายเหล่านั้นจะต้องสละชีวิต
กระทำเพื่อเพื่อนทั้งหลาย
นี้เป็นธรรมของสัตบุรุษ
(พระศาสดาทรงสรรเสริญคุณของพญานกออกนั้นว่า)
[๔๙] พญานกออกตัวนี้เกิดจากฟองไข่ ได้ทำกรรมที่ทำได้ยาก
เพื่อต้องการจะช่วยลูกนกทั้งหลายเกือบเที่ยงคืน
(ฝ่ายเหยี่ยวไปหาเต่าแล้วกล่าวว่า)
[๕๐] จริงอยู่ คนบางพวกแม้จะเคลื่อนคลาดพลาดพลั้ง
จากการงานของตน ก็ยังดำรงตนอยู่ได้
เพราะความช่วยเหลือของมิตรทั้งหลาย
ลูก ๆ ของข้าพเจ้ามีความเดือดร้อน
ข้าพเจ้าจึงมาหาท่านให้เป็นที่พึ่ง ท่านพญาเต่า
ขอท่านบำเพ็ญสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด
(เต่าฟังแล้วกล่าวว่า)
[๕๑] บัณฑิตทั้งหลายย่อมทำการผูกมิตรผูกสหาย
ด้วยทรัพย์บ้าง ด้วยข้าวเปลือกบ้าง ด้วยตนบ้าง
พญาเหยี่ยว เราจะทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ท่าน
เพราะว่าคนดีจะต้องช่วยเหลือคนดี
(ลูกเต่านอนอยู่ไม่ไกลได้ยินบิดาพูด จึงกล่าวว่า)
[๕๒] คุณพ่อ ขอพ่อจงขวนขวายน้อยนั่งอยู่เฉย ๆ เถิด
ลูกจะช่วยบำเพ็ญประโยชน์แทนพ่อ
ลูกจะป้องกันลูกน้อย ๆ ของพญาเหยี่ยว
บำเพ็ญประโยชน์นั้นแทนพ่อเอง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๔. ปกิณณกนิบาต] ๓. มหาอุกกุสชาดก (๔๘๖)
(พ่อเต่ากล่าวกับลูกว่า)
[๕๓] ลูกรัก จริงอยู่ การที่ลูกพึงช่วยเหลือ
บำเพ็ญประโยชน์แทนพ่อนั้น
เป็นธรรมของสัตบุรุษโดยแท้
บางทีพวกนายพรานเห็นพ่อซึ่งมีร่างกายใหญ่โต
ก็จะไม่พึงเบียดเบียนลูกนกน้อย ๆ ของพญาเหยี่ยว
(เหยี่ยวไปหาราชสีห์เมื่อถูกถาม จึงกล่าวว่า)
[๕๔] ท่านผู้ประเสริฐกว่าเนื้อผู้กล้าหาญ
สัตว์ดิรัจฉานและมนุษย์เดือดร้อน
เพราะภยันตรายย่อมเข้าไปหาท่านผู้ประเสริฐ
ลูกน้อย ๆ ของข้าพเจ้ามีความเดือดร้อน
ข้าพเจ้าจึงมาหาท่านให้เป็นที่พึ่ง ท่านเป็นราชาของข้าพเจ้า
เพื่อความสุขของข้าพเจ้า ขอท่านจงเป็นที่พึ่งด้วยเถิด
(ราชสีห์ฟังแล้วกล่าวว่า)
[๕๕] เหยี่ยว เราจะทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ท่าน
เรามาก็เพื่อจะฆ่าหมู่ศัตรูของท่าน
ธรรมดาวิญญูชนผู้มีความสามารถรู้อยู่
จะไม่พยายามคุ้มครองมิตรผู้เสมอด้วยตนได้อย่างไร
(แม่เหยี่ยวประกาศมิตตธรรมว่า)
[๕๖] เพื่อบรรลุถึงความสุข บุคคลควรคบมิตรสหายผู้มีใจดี
และบุคคลผู้เป็นเจ้านาย
เราทั้งหลายเป็นผู้พร้อมเพรียงกับลูก ๆ บันเทิงใจอยู่
เหมือนคนสวมเกราะป้องกันลูกศร
[๕๗] ลูกนกน้อย ๆ ส่งเสียงคูขันอยู่อย่างไพเราะจับใจ
ต้อนรับเราและท่านผู้กำลังคูขัน
เพราะการกระทำของมิตรสหายผู้ไม่หนีไปของตน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๔. ปกิณณกนิบาต] ๔. อุททาลกชาดก (๔๘๗)
[๕๘] บัณฑิตนั้นได้มิตรสหายแล้วย่อมป้องกันลูก
ปศุสัตว์ หรือทรัพย์ไว้ได้
ข้าพเจ้า ลูก ๆ และสามีของข้าพเจ้อยู่พร้อมหน้ากัน
เพราะความช่วยเหลือของมิตรทั้งหลาย
[๕๙] อันบุคคลผู้มีเจ้านายและเพื่อนผู้กล้าหาญอาจจะได้รับประโยชน์
สำหรับผู้ที่มีเพื่อนพรั่งพร้อมก็จะมีเพื่อนร่วมงานเช่นนี้
เขาก็จะมีมิตร มียศ มีความรุ่งเรือง บันเทิงใจอยู่ในโลกนี้ นะพี่ที่รัก
[๖๐] พี่เสนกะ ควรจะผูกมิตรแม้กับคนยากจน ดูเถิด
พวกเรามาพร้อมเพรียงกับหมู่ญาติได้เพราะความช่วยเหลือของมิตร
[๖๑] นกตัวใดผูกมิตรไว้กับมิตรผู้กล้าหาญและมิตรผู้มีกำลัง
นกตัวนั้นย่อมมีความสุขเหมือนอย่างฉันและท่าน นะพี่เสนกะ
มหาอุกกุสชาดกที่ ๓ จบ

๔. อุททาลกชาดก (๔๘๗)
ว่าด้วยอุททาลกดาบส
(พระราชาทรงสนทนากับปุโรหิตว่า)
[๖๒] ชฎิลเหล่าใดนุ่งห่มหนังสัตว์ที่ขรุขระ
มีขี้ฟันเขรอะ ร่างกายสกปรก สาธยายมนต์อยู่
ชฎิลเหล่านั้นประกอบหน้าที่การงานของมนุษย์
จะรู้แจ้งโลกนี้แล้วพ้นจากอบายได้หรือ
(ปุโรหิตกราบทูลว่า)
[๖๓] ขอเดชะพระราชา หากบุคคลถึงจะเป็นพหูสูต
กระทำแต่กรรมชั่ว ก็ชื่อว่าไม่ประพฤติธรรม
เขาแม้จะมีพระเวทตั้งพัน อาศัยความเป็นพหูสูตนั้น
แต่ไม่บรรลุจรณธรรม๑ ก็พ้นจากทุกข์ไม่ได้

เชิงอรรถ :
๑ จรณธรรม ในที่นี้ ได้แก่ สมาบัติ ๘ (ขุ.ชา.อ. ๖/๖๓/๒๕๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๔. ปกิณณกนิบาต] ๔. อุททาลกชาดก (๔๘๗)
(อุททาลกดาบสกล่าวกับปุโรหิตว่า)
[๖๔] บุคคลแม้จะมีพระเวทตั้งพัน อาศัยความเป็นพหูสูตนั้น
แต่ไม่บรรลุจรณธรรม ก็พ้นจากทุกข์ไม่ได้
อาตมาเข้าใจว่า พระเวททั้งหลายเป็นสิ่งที่ไร้ผล
จรณธรรมพร้อมทั้งความสำรวมเท่านั้นเป็นสัจจะ
(ปุโรหิตกล่าวว่า)
[๖๕] พระเวททั้งหลายจะไร้ผลก็หาไม่
จรณธรรมพร้อมทั้งความสำรวมเท่านั้นเป็นสัจจะ
เพราะบุคคลบรรลุพระเวททั้งหลายแล้วย่อมได้เกียรติ
บุคคลผู้ฝึกตนดีแล้วด้วยจรณธรรมย่อมบรรลุความสงบ
(อุททาลกดาบสได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวว่า)
[๖๖] มารดาบิดาและเผ่าพันธุ์ทั้งหลายที่บุคคลจะต้องเลี้ยงดู
บุตรเกิดแต่ผู้ใด เขาก็คือผู้นั้นนั่นเอง
อาตมาชื่อว่าอุททาลกะ เป็นวงศ์แห่งโสตถิยสกุลของท่าน
(พราหมณ์ถามถึงธรรมเนียมของพราหมณ์ว่า)
[๖๗] ท่านผู้เจริญ คนจะเป็นพราหมณ์ได้อย่างไร
จะเป็นพราหมณ์เต็มตัวได้อย่างไร
ปรินิพพานจะมีได้อย่างไร
และคนผู้ทรงธรรม บัณฑิตกล่าวเรียกว่าอย่างไร
(อุททาลกดาบสตอบว่า)
[๖๘] เพราะก่อไฟบูชาอยู่เนือง ๆ บุคคลจึงชื่อว่าเป็นพราหมณ์
บุคคลเมื่อรดน้ำบูชายัญและให้ยกเสาบูชายัญ
จึงชื่อว่าเป็นพราหมณ์เต็มตัว
พราหมณ์ผู้บำเพ็ญอย่างนี้ชื่อว่าเป็นผู้เกษม
เพราะเหตุนั้น บัณฑิตทั้งหลายย่อมเรียกว่าผู้ดำรงอยู่ในธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๔. ปกิณณกนิบาต] ๕. ภิสชาดก (๔๘๘)
(ปุโรหิตตำหนิธรรมเนียมของพราหมณ์ว่า)
[๖๙] ความบริสุทธิ์ย่อมมีเพราะการรดน้ำก็หาไม่
แม้จะเป็นพราหมณ์เต็มตัวก็หาไม่
ขันติและโสรัจจะก็ไม่มีแก่บุคคลนั้น
แม้เขาชื่อว่าได้ปรินิพพานเพราะดับกิเลสก็หาไม่
(อุททาลกดาบสถามว่า)
[๗๐] บุคคลจะเป็นพราหมณ์ได้อย่างไร
จะเป็นพราหมณ์เต็มตัวได้อย่างไร ปรินิพพานจะมีได้อย่างไร
และบุคคลผู้ตั้งอยู่ในธรรม บัณฑิตกล่าวเรียกว่าอย่างไร
(ปุโรหิตบอกว่า)
[๗๑] บุคคลผู้ไม่มีไร่นา ไม่มีเผ่าพันธุ์ ไม่ยึดถือว่าเป็นของเรา
ไม่มีความหวัง หมดความโลภอันเป็นบาป
มีความโลภในภพหมดสิ้นแล้ว
ผู้บำเพ็ญอย่างนี้ชื่อว่าเป็นพราหมณ์ ชื่อว่าผู้มีความเกษม
เพราะเหตุนั้น บัณฑิตทั้งหลายเรียกว่า ผู้ตั้งอยู่ในธรรม
(อุททาลกดาบสกล่าวว่า)
[๗๒] กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คนจัณฑาล
และคนเทขยะทั้งหลาย ล้วนแต่เป็นผู้สงบเสงี่ยม
ฝึกตนแล้ว ล้วนแต่ได้ปรินิพพานแล้ว
เมื่อทุกคนมีความสงบเยือกเย็น
ยังจะมีคนดีและคนชั่วอีกไหมหนอ
(พราหมณ์กล่าวว่า)
[๗๓] กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คนจัณฑาล
และคนเทขยะทั้งหลายล้วนแต่เป็นผู้สงบเสงี่ยม
ฝึกตนแล้ว ล้วนแต่ได้ปรินิพพานแล้ว
เมื่อทุกคนมีความสงบเยือกเย็นย่อมไม่มีทั้งคนดีและคนชั่ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๔. ปกิณณกนิบาต] ๕. ภิสชาดก (๔๘๘)
(อุททาลกดาบสติเตียนพราหมณ์ว่า)
[๗๔] กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คนจัณฑาล
และคนเทขยะทั้งหลายล้วนแต่เป็นผู้สงบเสงี่ยม
ฝึกตนแล้ว ล้วนแต่ได้ปรินิพพานแล้ว
[๗๕] เมื่อทุกคนมีความสงบเยือกเย็น ย่อมไม่มีทั้งคนดีและคนชั่ว
เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านจะประพฤติให้เสียความเป็นพราหมณ์
วงศ์แห่งโสตถิยสกุลทำไม
(ปุโรหิตเปรียบเทียบให้เข้าใจว่า)
[๗๖] วิมานที่คลุมด้วยผ้าซึ่งย้อมด้วยสีต่าง ๆ
ผ้าเหล่านั้นมีแต่เงา สีที่ย้อมนั้นหาปรากฏไม่
[๗๗] ในหมู่มนุษย์ก็เหมือนกัน เมื่อใดคนทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์
เป็นผู้มีวัตรดีเพราะรู้ทั่วถึงธรรม
เมื่อนั้นพวกเขาย่อมปล่อยวางชาติของตนเสียได้
อุททาลกชาดกที่ ๔ จบ

๕. ภิสชาดก (๔๘๘)
ว่าด้วยท้าวสักกะลักเหง้าบัวเพื่อลองใจฤๅษี
(อุปกัญจนดาบสสาบานว่า)
[๗๘] ท่านพราหมณ์ ผู้ใดได้ลักเหง้าบัวของท่านไป
ขอผู้นั้นจงได้ม้า โค เงิน ทอง และภรรยาที่น่าพอใจในโลกนี้
และจงเป็นผู้พรั่งพร้อมไปด้วยบุตรภรรยามากหลาย
(ดาบสผู้น้องชายคนที่ ๒ เมื่อจะชำระตนให้หมดจด จึงสาบานว่า)
[๗๙] ท่านพราหมณ์ ผู้ใดได้ลักเหง้าบัวของท่านไป
ขอผู้นั้นจงทัดทรงระเบียบดอกไม้ นุ่งห่มผ้าแคว้นกาสี
ลูบไล้จุรณแก่นจันทน์ และเขาจงมีบุตรมาก ๆ
อนึ่ง จงทำความเยื่อใยอย่างแรงกล้าในกามทั้งหลาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๔. ปกิณณกนิบาต] ๕. ภิสชาดก (๔๘๘)
(ดาบสน้องชายที่เหลือต่างกล่าวสาบานว่า)
[๘๐] ท่านพราหมณ์ ผู้ใดได้ลักเหง้าบัวของท่านไป
ผู้นั้นเป็นกสิกร จงมีข้าวเปลือกมากมาย
เป็นคฤหัสถ์ จงมียศ มีบุตรมากหลาย
มีทรัพย์ มีวัตถุที่น่าใคร่ทั้งปวง
อย่าได้เห็นความเสื่อม อยู่ครองเรือนเถิด
[๘๑] ท่านพราหมณ์ ผู้ใดได้ลักเหง้าบัวของท่านไป
ขอผู้นั้นจงปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์
เป็นพระราชายิ่งใหญ่กว่าพระราชาทั้งหลาย
ทรงมีพลัง ประกอบด้วยพระอิสริยยศ
ทรงครอบครองแผ่นดินมีมหาสมุทรทั้ง ๔ เป็นขอบเขตเถิด
[๘๒] ท่านพราหมณ์ ผู้ใดได้ลักเหง้าบัวของท่านไป
ผู้นั้นเป็นพราหมณ์ จงอย่าได้คลายความยินดี(ในตำแหน่ง)
เชี่ยวชาญในคลองแห่งฤกษ์ยามและนักษัตร
เจ้าผู้ครองแคว้นผู้ทรงยศ จงบูชาเขาเถิด
[๘๓] ท่านพราหมณ์ ผู้ใดได้ลักเหง้าบัวของท่านไป
ขอชาวโลกทั้งปวงจงสำคัญผู้นั้นว่า
เป็นครูสอนเวทมนต์ทุกชนิด มีตบะ
ขอชาวชนบทจงมุ่งไปบูชาเขาพร้อม ๆ กัน
[๘๔] ท่านพราหมณ์ ผู้ใดได้ลักเหง้าบัวของท่านไป
ขอผู้นั้นจงเก็บกินบ้านส่วยที่มั่งคั่งสมบูรณ์ด้วยเหตุ ๔ ประการ๑
เหมือนท้าววาสวะประทานให้
จงอย่าได้คลายความกำหนัดจนกระทั่งตาย

เชิงอรรถ :
๑ สมบูรณ์ด้วยเหตุ ๔ ประการ คือ (๑) ด้วยผู้คน เพราะมีผู้คนคับคั่ง (๒) ด้วยข้าวเปลือก เพราะมี
ข้าวเปลือกมากมาย (๓) ด้วยฟืนที่หาได้ง่าย (๔) ด้วยน้ำ เพราะมีน้ำสมบูรณ์ (ขุ.ชา.อ. ๖/๘๔/๒๖๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๔. ปกิณณกนิบาต] ๕. ภิสชาดก (๔๘๘)
[๘๕] ท่านพราหมณ์ ผู้ใดได้ลักเหง้าบัวของท่านไป
ขอผู้นั้นจงเป็นผู้ใหญ่บ้าน
บันเทิงใจอยู่ด้วยการฟ้อนรำขับร้องในท่ามกลางหมู่สหาย
จงอย่าได้รับความพินาศอะไร ๆ จากพระราชาเลย
[๘๖] ท่านพราหมณ์ หญิงใดได้ลักเหง้าบัวของท่านไป
ขอองค์เอกอัครราชาทรงปราบปรามศัตรูทั่วพื้นปฐพี
จงสถาปนาหญิงนั้นในตำแหน่งที่ยอดกว่าหญิงพัน ๆ คน
และประเสริฐกว่าหญิงภายในขอบขัณฑสีมา
[๘๗] ท่านพราหมณ์ หญิงใดได้ลักเหง้าบัวของท่านไป
ขอหญิงนั้นอย่าได้หวาดหวั่นท่ามกลางนางทาสีทั้งหลาย
ที่มาประชุมพร้อมกัน พึงบริโภคของอร่อย
จงประพฤติโอ้อวดเพราะลาภอยู่เถิด
[๘๘] ท่านพราหมณ์ ผู้ใดได้ลักเหง้าบัวของท่านไป
ขอผู้นั้นจงเป็นผู้ปฏิบัติที่อยู่ในมหาวิหาร
จงเป็นนักก่อสร้างในกชังคลนคร จงกระทำหน้าต่างตลอดวัน๑
[๘๙] ท่านพราหมณ์ ช้างเชือกใดได้ลักเหง้าบัวของท่านไป
ขอช้างเชือกนั้นจงถูกคล้องด้วยบ่วงบาศตั้งร้อยที่อวัยวะ ๖ แห่ง๒
จงถูกนำออกจากป่าอันน่ารื่นรมย์ไปยังราชธานี
จงถูกขอสับ ถูกปฏักแทง
[๙๐] ท่านพราหมณ์ ลิงตัวใดได้ลักเหง้าบัวของท่านไป
ขอลิงตัวนั้นจงสวมใส่พวงดอกรักขาว
ถูกเจาะหู ห้อยดีบุก ถูกเฆี่ยนด้วยเรียวไม้ เข้าไปใกล้ปากงู
จงถูกล่ามโซ่ตระเวนเที่ยวไปตามตรอกเถิด

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า ทำตลอดวัน ในที่นี้หมายถึงทำให้เสร็จภายในวันเดียวเท่านั้น (ขุ.ชา.อ. ๖/๘๘/๒๖๘)
๒ อวัยวะ ๖ แห่ง คือ เท้าทั้ง ๔ คอ และสะเอว (ขุ.ชา.อ. ๖/๘๙/๒๖๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๔. ปกิณณกนิบาต] ๕. ภิสชาดก (๔๘๘)
(พระโพธิสัตว์สาบานว่า)
[๙๑] ผู้ใดแลกล่าวถึงสิ่งที่ไม่หายว่าหาย
หรือว่าผู้ใดสงสัยใคร ๆ ก็ตาม
ขอผู้นั้นจงได้ประสบและซ่องเสพกามทั้งหลาย
ท่ามกลางเรือนจนกระทั่งตาย
(ท้าวสักกะถามพระโพธิสัตว์ว่า)
[๙๒] กามเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่ารัก และน่าพอใจ
ของเทวดาและมนุษย์เป็นจำนวนมากในชีวโลกนี้
ที่สัตว์ทั้งหลายเที่ยวแสวงหาอยู่ในโลก
ทำไมฤๅษีทั้งหลายจึงไม่สรรเสริญกามทั้งหลาย
(พระโพธิสัตว์แก้ปัญหาของท้าวสักกะว่า)
[๙๓] เพราะกามทั้งหลายแล สัตว์ทั้งหลายย่อมฆ่ากัน
และย่อมจองจำกัน
เพราะกามทั้งหลายจึงเกิดทุกข์ เกิดภัย
ท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทพ เพราะกามทั้งหลาย
สัตว์ทั้งหลายจึงประมาท ทำกรรมชั่วเพราะโมหะ
[๙๔] สัตว์เหล่านั้นผู้มีธรรมชั่วก็ประสบสิ่งที่ชั่ว
เมื่อตายไปก็ตกนรก
เพราะฉะนั้น ฤๅษีทั้งหลายเห็นโทษในกามคุณทั้งหลาย
จึงไม่สรรเสริญกามทั้งหลาย
(ท้าวสักกะตรัสว่า)
[๙๕] โยมเมื่อจะทดลองฤๅษีทั้งหลาย
จึงหยิบเอาเหง้าบัวซึ่งวางไว้ที่ริมฝั่งแล้วไปฝังไว้บนบก
พระคุณเจ้าผู้ประพฤติพรหมจรรย์ทั้งหลาย
ฤๅษีทั้งหลายอยู่อย่างบริสุทธื์ ไม่มีผู้ชั่วช้า นี้เหง้าบัวของท่าน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๔. ปกิณณกนิบาต] ๕. ภิสชาดก (๔๘๘)
(พระโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาว่า)
[๙๖] ฤๅษีทั้งหลายไม่ใช่นักฟ้อนสำหรับพระองค์
และไม่ใช่บุคคลที่จะพึงล้อเล่น
ไม่ใช่ญาติ และไม่ใช่สหายของพระองค์
ขอถวายพระพร ท้าวสหัสสนัยน์เทวราช
อาศัยเหตุอะไร พระองค์จึงได้ล้อเล่นกับฤๅษีทั้งหลาย
(ท้าวสักกะขอขมาพระโพธิสัตว์ว่า)
[๙๗] ท่านพราหมณ์ ขอพระคุณเจ้าจงเป็นทั้งอาจารย์
และบิดาของโยม
ข้อนี้ขอจงเป็นที่พึ่งแก่โยมผู้พลั้งพลาดไปแล้ว
ท่านผู้มีปัญญาเพียงดังแผ่นดิน ขอท่านจงงดโทษสักครั้งหนึ่งเถิด
บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่ถือโกรธ
(พระโพธิสัตว์งดโทษต่อท้าวสักกะแล้วให้หมู่ฤๅษียกโทษให้ว่า)
[๙๘] คืนเดียวที่พวกฤๅษีอยู่ในป่าก็นับว่าอยู่ดีแล้ว
เพราะพวกเราได้เห็นท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทพ
ขอพระคุณเจ้าทั้งปวงจงพอใจ เพราะพราหมณ์ได้เหง้าบัวคืนมา
(พระศาสดาได้ตรัสคาถาประมวลชาดกว่า)
[๙๙] ในกาลนั้น ตถาคต สารีบุตร โมคคัลลานะ
กัสสปะ อนุรุทธะ ปุณณะ และอานนท์ ทั้ง ๗ เป็นพี่น้องกัน
[๑๐๐] ในกาลนั้น อุบลวรรณาเป็นน้องสาว ขุชชุตตราเป็นทาสี
จิตตคหบดีเป็นทาส สาตาคิระเป็นยักษ์
[๑๐๑] ในกาลนั้น ปาลิเลยยะได้เป็นช้าง
วานรที่ถวายน้ำผึ้งได้เป็นวานรตัวประเสริฐ
กาฬุทายีได้เป็นท้าวสักกะ พวกเธอจงทรงจำชาดกไว้อย่างนี้
ภิสชาดกที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๔. ปกิณณกนิบาต] ๖. สุรุจิชาดก (๔๘๙)
๖. สุรุจิชาดก (๔๘๙)
ว่าด้วยพระมเหสีของพระเจ้าสุรุจิ
(พระนางสุเมธาสดับพระดำรัสของท้าวสักกะแล้วได้บอกคุณคือศีลของตนว่า)
[๑๐๒] ดิฉันเป็นหญิงที่สามีพึงเลี้ยงดู
ซึ่งถูกเชิญมาเป็นมเหสีของพระเจ้าสุรุจิเป็นคนแรก
พระเจ้าสุรุจิได้นำดิฉันมา ๑๐,๐๐๐ ปีแล้ว
[๑๐๓] ท่านพราหมณ์ ดิฉันนั้นยังไม่รู้สึกเลยว่า
ได้ล่วงเกินพระเจ้าสุรุจิผู้ครอบครองมิถิลานคร แคว้นวิเทหะ
ด้วยกาย วาจา และใจ ไม่ว่าในที่แจ้งหรือในที่ลับเลย
[๑๐๔] ฤๅษี ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอบุตรจงเกิดเถิด
เมื่อดิฉันกล่าวเท็จ ขอศีรษะจงแตก ๗ เสี่ยง
[๑๐๕] ดิฉันเป็นที่รักที่พอพระทัยของพระภัสดา
พระมารดาผู้เป็นแม่ผัว พระราชบิดาผู้เป็นพ่อผัว
เป็นที่รักของดิฉัน ท่านพราหมณ์
ท่านทั้ง ๒ นั้นทรงแนะนำดิฉันอยู่จนตลอดพระชนมชีพ
[๑๐๖] ดิฉันนั้นยินดีในการไม่เบียดเบียน
มีปกติประพฤติธรรมโดยส่วนเดียว
ตั้งใจมาบำรุงท่านเหล่านั้นโดยเคารพ
มิได้เกียจคร้านทั้งกลางคืนและกลางวัน
[๑๐๗] ฤๅษี ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอบุตรจงเกิดเถิด
เมื่อดิฉันกล่าวเท็จ ขอศีรษะจงแตก ๗ เสี่ยง
[๑๐๘] ท่านพราหมณ์ ดิฉันมิได้มีความริษยา
หรือความโกรธในหญิง ๑๖,๐๐๐ นาง
ผู้เป็นภรรยาร่วมกันเหล่านั้นในกาลไหน ๆ เลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๔. ปกิณณกนิบาต] ๖. สุรุจิชาดก (๔๘๙)
[๑๐๙] ดิฉันยินดีที่จะเกื้อกูลพวกนาง
ไม่มีสักนางหนึ่งเลยซึ่งเป็นที่เกลียดชังของดิฉัน
ดิฉันช่วยเหลือพวกนางผู้ร่วมสามีกันทุกคนเป็นประจำ
เหมือนช่วยเหลือตนเอง
[๑๑๐] ฤๅษี ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอบุตรจงเกิดเถิด
เมื่อดิฉันกล่าวเท็จ ขอศีรษะจงแตก ๗ เสี่ยง
[๑๑๑] พวกทาส กรรมกร คนรับใช้ และคนที่อาศัยเลี้ยงชีพเหล่าอื่น
ดิฉันมีความแช่มชื่นเบิกบาน ใช้สอยด้วยเหตุที่เหมาะสมเสมอ
[๑๑๒] ฤๅษี ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอบุตรจงเกิดเถิด
เมื่อดิฉันกล่าวเท็จ ขอศีรษะจงแตก ๗ เสี่ยง
[๑๑๓] แม้สมณะและพราหมณ์ทั้งหลาย และแม้พวกวณิพกเหล่าอื่น
ดิฉันมีฝ่ามืออันชุ่ม เลี้ยงดูให้อิ่มหนำสำราญ
ด้วยข้าวและน้ำเป็นประจำ
[๑๑๔] ฤๅษี ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอบุตรจงเกิดเถิด
เมื่อดิฉันกล่าวเท็จ ขอศีรษะจงแตก ๗ เสี่ยง
[๑๑๕] ดิฉันเข้าจำอุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘
ทุกวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำแห่งปักษ์
พร้อมทั้งวันปาฏิหาริยปักษ์
สำรวมแล้วในศีลทั้งหลายในกาลทุกเมื่อ
[๑๑๖] ฤๅษี ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอบุตรจงเกิดเถิด
เมื่อดิฉันกล่าวเท็จ ขอศีรษะจงแตก ๗ เสี่ยง
(ท้าวสักกะทรงสรรเสริญพระนางสุเมธาว่า)
[๑๑๗] พระราชบุตรีผู้เจริญ ผู้เพียบพร้อมด้วยยศ
คุณธรรมทั้งหลายที่พระนางระบุถึงในพระองค์
มีอยู่ในพระนางทั้งหมด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๔. ปกิณณกนิบาต] ๗. ปัญจุโปสถิกชาดก (๔๙๐)
[๑๑๘] กษัตริย์ผู้สมบูรณ์ด้วยพระชาติ
เป็นอภิชาตบุตรผู้เรืองยศ เป็นพระธรรมราชาแห่งชาววิเทหะ
จะอุบัติแด่พระนาง
(พระนางสุเมธาทรงโสมนัส จึงตรัสถามว่า)
[๑๑๙] พระดาบสผู้มีดวงตาแจ่มใส ครองผ้าเปื้อนฝุ่น
ยืนอยู่ในอากาศที่ไม่มีสิ่งกีดขวาง
กล่าววาจาเป็นที่น่าชื่นใจ จับใจดิฉันยิ่งนัก
[๑๒๐] ท่านเป็นเทวดามาจากสวรรค์หรือหนอ
หรือว่าเป็นฤๅษีผู้มีฤทธิ์มาก
ท่านเป็นใครกันแน่มาถึงที่นี้ จงประกาศตนให้ดิฉันทราบ
(ท้าวสักกะตรัสว่า)
[๑๒๑] หมู่เทพมาประชุมพร้อมกันที่สภาชื่อสุธรรมาถวายบังคมท่านผู้ใด
ท่านผู้นั้นคือข้าพเจ้าท้าวสักกสหัสสนัยน์ได้มายังสำนักของพระนาง
[๑๒๒] หญิงคนใดในมนุษยโลก ประพฤติธรรมสม่ำเสมอ
มีปัญญา มีศีล มีความเคารพสามี นับถือแม่ผัวประดุจเทวดา
[๑๒๓] เทวดาทั้งหลายซึ่งมิใช่มนุษย์ย่อมมาเยือนหญิงมนุษย์
ผู้มีปัญญาดี มีการงานอันสะอาดเช่นนั้น
[๑๒๔] พระนางผู้เจริญ ก็พระนางมีกรรมอันสั่งสมไว้ดีแล้ว
และมีการประพฤติที่ดีงามไว้ในปางก่อน ทรงเกิดในราชสกุลนี้
เป็นหญิงที่มีความสำเร็จตามความปรารถนาทุกสิ่งทุกอย่าง
[๑๒๕] พระราชบุตรี ก็พระนางทรงกำชัยชนะนี้ไว้ได้ในโลกทั้ง ๒
คือทรงเข้าถึงเทวโลก ๑ มีเกียรติยศชื่อเสียงในชีวิตนี้ ๑
[๑๒๖] พระนางสุเมธา ขอพระองค์ทรงสุขสำราญ
รักษาธรรมไว้ในพระองค์ตลอดกาลนานเถิด
เรานี้ขอลากลับไปสู่สวรรค์ชั้นไตรทศ การพบพระนางเป็นที่พอใจของเรา
สุรุจิชาดกที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๔. ปกิณณกนิบาต] ๗. ปัญจุโปสถิกชาดก (๔๙๐)
๗. ปัญจุโปสถิกชาดก (๔๙๐)
ว่าด้วยการรักษาอุโบสถของสัตว์ ๕ ชนิด
(พระโพธิสัตว์ถามนกพิราบว่า)
[๑๒๗] เจ้านกพิราบ บัดนี้เจ้าดูขวนขวายน้อยไป
เจ้าไม่ต้องการอาหารหรือ
ทำไมจึงอดกลั้นความหิวกระหาย
รักษาอุโบสถอยู่เล่า เจ้านกพิราบ
(นกพิราบกล่าวว่า)
[๑๒๘] เมื่อก่อนข้าพเจ้าตกอยู่ในความกำหนัดต่อนางนกพิราบ
เราทั้ง ๒ รื่นรมย์กันที่ภูมิประเทศนั้น ๆ
ต่อมานกเหยี่ยวได้บินโฉบเอานางนกพิราบไป
ข้าพเจ้ามิได้ประสงค์จะพลัดพรากจากนางนกนั้นเลย
[๑๒๙] เพราะความพลัดพรากแยกออกจากนาง
ข้าพเจ้าจึงได้เสวยเวทนาทางใจ
เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงรักษาอุโบสถด้วยคิดว่า
ราคะอย่าได้มารบกวนข้าพเจ้าอีกต่อไป
(พระโพธิสัตว์ถามสัตว์ทีละตัว ฝ่ายสัตว์เหล่านั้นก็ตอบตามความเป็นจริงว่า)
[๑๓๐] เจ้างูผู้เป็นสัตว์เลื้อยคลาน ผู้มีลิ้นสองแฉก เจ้าเลื้อยไม่ตรง
เลื้อยไปด้วยอก มีเขี้ยวเป็นอาวุธ มีพิษร้ายแรง
ทำไมเจ้าจึงอดกลั้นความหิวกระหายรักษาอุโบสถอยู่เล่า
[๑๓๑] โคเปลี่ยวมีกำลังของนายบ้าน
มีหนอกกระเพื่อม มีสีสันสวยงาม
มีกำลังวังชาสมบูรณ์ มันเหยียบข้าพเจ้า
ข้าพเจ้าโกรธจึงได้กัดมัน
มันทุรนทุรายเพราะความทุกข์จนถึงตาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๔. ปกิณณกนิบาต] ๘. มหาโมรชาดก (๔๙๑)
[๑๓๒] ชนทั้งหลายออกจากหมู่บ้านนั้น
พากันคร่ำครวญร้องไห้แล้วได้หลีกไป
เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงรักษาอุโบสถด้วยคิดว่า
ความโกรธอย่าได้มารบกวนข้าพเจ้าอีกต่อไป
[๑๓๓] เจ้าสุนัขจิ้งจอก เนื้อของพวกสัตว์ที่ตายแล้ว
มีอยู่ในป่าช้าเป็นอันมาก
เนื้อนั้นเป็นอาหารที่พอใจของเจ้า
ทำไมเจ้าจึงอดกลั้นความหิวกระหายรักษาอุโบสถอยู่เล่า
[๑๓๔] ข้าพเจ้ายินดีในซากศพ ติดใจในเนื้อช้าง
จึงได้เข้าไปยังท้องช้างใหญ่
ลมร้อนและแสงแดดอันแรงกล้าได้แผดเผา
จนกระทั่งทวารหนักของช้างเชือกนั้นแห้งยุบลง
[๑๓๕] พระคุณเจ้าผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งผอมทั้งเหลือง ทั้งไม่มีทางออก
ต่อมาเมฆฝนกลุ่มใหญ่ได้ตกมาโดยพลัน
ทำให้ทวารหนักของช้างเชือกนั้นเปียกชุ่ม
[๑๓๖] พระคุณเจ้าผู้เจริญ ข้าพเจ้าออกจากท้องช้างนั้นมาได้
เหมือนดั่งดวงจันทร์พ้นจากปากราหู
เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงรักษาอุโบสถด้วยคิดว่า
ความโลภอย่าได้มารบกวนข้าพเจ้าอีกต่อไป
[๑๓๗] เจ้าหมี เมื่อก่อนเจ้าเที่ยวเคี้ยวกินปลวกทั้งหลาย
ที่จอมปลวกอยู่ ทำไมเจ้าจึงอดกลั้นความหิวกระหาย
รักษาอุโบสถอยู่เล่า
[๑๓๘] ข้าพเจ้าดูหมิ่นที่อยู่ของตน ได้ไปยังหมู่บ้านมลรัฐ
เพราะความอยากเกินไป ชนทั้งหลายออกจากหมู่บ้านนั้น
ทุบตีข้าพเจ้าด้วยคันธนูและไม้ค้อน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๔. ปกิณณกนิบาต] ๘. มหาโมรชาดก (๔๙๑)
[๑๓๙] ข้าพเจ้านั้นหัวแตก ตัวเปื้อนเลือด จึงได้กลับมายังที่อยู่ของตน
เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงรักษาอุโบสถด้วยคิดว่า
ความอยากเกินไปอย่าได้มารบกวนข้าพเจ้าอีกต่อไป
(สัตว์ทั้ง ๔ ถามพระโพธิสัตว์ว่า)
[๑๔๐] พระคุณเจ้าผู้เจริญ ข้อความอันใดท่านได้ถามพวกข้าพเจ้า
ข้อความอันนั้น ข้าพเจ้าทั้งหมดก็ได้ตอบตามที่รู้มา
พวกข้าพเจ้าจะขอถามท่านบ้าง
ท่านพราหมณ์ผู้เจริญ ทำไมท่านจึงรักษาอุโบสถอยู่เล่า
(พระโพธิสัตว์ได้ตอบว่า)
[๑๔๑] พระปัจเจกพุทธเจ้าผู้ไม่ถูกกิเลสทั้งปวงแปดเปื้อน
นั่งที่อาศรมของเราครู่หนึ่ง
ท่านได้ประกาศให้เราทราบถึงที่ไปที่มา
ชื่อ โคตร และความประพฤติทุกอย่าง
[๑๔๒] แม้ถึงอย่างนั้น เราก็มิได้ไหว้เท้าทั้ง ๒ ของท่าน
และมิได้ถามท่าน เพราะมีมานะ
เพราะเหตุนั้น เราจึงรักษาอุโบสถด้วยคิดว่า
มานะอย่าได้มารบกวนเราอีกต่อไป
ปัญจุโปสถิกชาดกที่ ๗ จบ

๘. มหาโมรชาดก (๔๙๑)
ว่าด้วยพญานกยูง
(พญานกยูงร้องขอชีวิตว่า)
[๑๔๓] ถ้าหากท่านจับข้าพเจ้าเพราะเหตุแห่งทรัพย์
ท่านอย่าได้ฆ่าข้าพเจ้าเลย
จงจับเป็นแล้วนำข้าพเจ้าไปยังสำนักพระราชาเถิดเพื่อน
ท่านคงจะได้ทรัพย์มิใช่น้อย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๔. ปกิณณกนิบาต] ๘. มหาโมรชาดก (๔๙๑)
(บุตรนายพรานปลอบว่า)
[๑๔๔] ลูกธนูที่สอดอยู่ในแล่งนี้
ข้าพเจ้าตั้งใจจะฆ่าท่านในวันนี้ก็หาไม่
แต่จะตัดบ่วงให้แก่ท่าน ด้วยมีความประสงค์ว่า
ขอพญายูงทองจงบินไปตามสบายเถิด
(พญานกยูงกล่าวว่า)
[๑๔๕] ข้าพเจ้าขอถามท่าน เพราะเหตุที่ท่าน
สู้อดกลั้นความหิวกระหายตลอดทั้งคืนทั้งวัน
เฝ้าติดตามข้าพเจ้าอยู่ตลอด ๗ ปี
เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุอะไร ท่านจึงประสงค์จะปล่อยข้าพเจ้า
ผู้ติดบ่วงให้พ้นเสียจากเครื่องผูกเล่า
[๑๔๖] วันนี้ ท่านงดเว้นจากปาณาติบาตแล้วหรือหนอ
หรือว่าท่านให้อภัยแก่สัตว์ทั้งปวงแล้ว
เพราะเหตุใด ท่านจึงประสงค์จะปล่อยข้าพเจ้าผู้ติดบ่วง
ให้พ้นเสียจากเครื่องผูกเล่า
(บุตรนายพรานถามว่า)
[๑๔๗] พญานกยูง ขอท่านจงบอกถึงผล
ของบุคคลผู้งดเว้นจากปาณาติบาตและให้อภัยหมู่สัตว์ทั้งปวง
ความข้อนี้ที่ข้าพเจ้าถามท่าน
เขาจุติจากโลกนี้ไปแล้วจะได้รับความสุขอย่างไร
(พญานกยูงตอบว่า)
[๑๔๘] ข้าพเจ้าขอบอกผลของบุคคลผู้งดเว้นจากปาณาติบาต
และผู้ให้อภัยหมู่สัตว์ทั้งปวงว่า
เขาย่อมได้รับการสรรเสริญในปัจจุบัน
และเมื่อตายย่อมไปสู่สวรรค์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๔. ปกิณณกนิบาต] ๘. มหาโมรชาดก (๔๙๑)
(บุตรนายพรานกล่าวว่า)
[๑๔๙] สมณะและพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวว่า เทวดาไม่มี
ชีวะย่อมถึงความขาดสูญในภพนี้เท่านั้น
ผลของกรรมดีกรรมชั่วก็เหมือนกัน ย่อมขาดสูญ
และกล่าวสอนว่า ทานคนโง่บัญญัติไว้
ข้าพเจ้าเชื่อวาจาของพระอรหันต์เหล่านั้น
เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงเบียดเบียนนกทั้งหลาย
(พระโพธิสัตว์กล่าวว่า)
[๑๕๐] ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ทั้ง ๒ เห็นได้ชัดเจน
ส่องโลกให้สว่างไสว โคจรไปในอากาศ
ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ทั้ง ๒ นั้นมีอยู่ในโลกนี้หรือโลกอื่น
ในมนุษยโลก พวกเขากล่าวถึงดวงจันทร์
และดวงอาทิตย์ทั้ง ๒ นั้นอย่างไรหนอ
(บุตรนายพรานกล่าวว่า)
[๑๕๑] ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ทั้ง ๒ เห็นได้ชัดเจน
ส่องโลกให้สว่างไสว โคจรไปในอากาศ
ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ทั้ง ๒ นั้นมีอยู่ในโลกอื่น ไม่ใช่โลกนี้
ในมนุษยโลก พวกเขากล่าวถึงดวงจันทร์และดวงอาทิตย์
ทั้ง ๒ นั้นว่า เทวดา
(ต่อมาพระโพธิสัตว์ได้กล่าวกับเขาว่า)
[๑๕๒] สมณะและพราหมณ์เหล่าใดเป็นอเหตุกทิฏฐิ๑ ไม่พูดถึงกรรม
ไม่พูดถึงผลของกรรมดีกรรมชั่วด้วยเหมือนกัน
แต่สอนว่า ทานคนโง่บัญญัติไว้
สมณะและพราหมณ์เหล่านั้นผู้มีทิฏฐิเลวทราม
ถูกกำจัดแล้วในเพราะการพยากรณ์เพียงเท่านี้

เชิงอรรถ :
๑ อเหตุกทิฏฐิ คือพวกมีความเห็นผิดกล่าวอย่างนี้ว่า กรรมที่เป็นเหตุแห่งความบริสุทธิ์และความเศร้าหมอง
ไม่มี (ขุ.ชา.อ. ๘/๑๕๒/๓๐๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๔. ปกิณณกนิบาต] ๙. ตัจฉสูกรชาดก (๔๙๒)
(บุตรนายพรานกำหนดได้แล้วจึงกล่าวว่า)
[๑๕๓] คำของท่านนั้นเป็นคำสัตย์อย่างแท้จริง
ทานจะไม่พึงมีผลได้อย่างไร
กรรมดีกรรมชั่วก็เหมือนกัน จะไม่พึงมีผลได้อย่างไร
และทานคนโง่จะพึงบัญญัติขึ้นได้อย่างไร
[๑๕๔] พญานกยูง ข้าพเจ้ากระทำกรรมอย่างไร กระทำเพราะอะไร
ประพฤติอย่างไร จะคบใคร ผู้มีตบะคุณอย่างไร
ขอท่านจงบอกเนื้อความนั้นแก่ข้าพเจ้าโดยที่ข้าพเจ้าจะไม่ต้องตกนรก
(พระโพธิสัตว์กล่าวว่า)
[๑๕๕] บนพื้นแผ่นดินยังมีสมณะพวกใดพวกหนึ่งอยู่
สมณะเหล่านั้นนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ เป็นบรรพชิต
เที่ยวบิณฑบาตเฉพาะเวลาเช้า
งดเว้นการบริโภคในเวลาวิกาล เป็นสัตบุรุษ
[๑๕๖] ท่านจงเข้าไปหาสมณะเหล่านั้นตามกาลอันสมควร
แล้วจงถามข้อความตามที่ท่านพอใจ
สมณะเหล่านั้นจะชี้แจงข้อความอันเป็นประโยชน์
ทั้งในโลกนี้และโลกหน้าแก่ท่านตามที่รู้มา
(พระปัจเจกพุทธเจ้าเปล่งอุทานว่า)
[๑๕๗] ความเป็นพรานนี้ข้าพเจ้าละได้แล้ว
เหมือนงูลอกคราบเก่าแก่ทิ้งไป
เหมือนต้นไม้สลัดใบเหลืองทิ้ง เขียวชะอุ่มอยู่
ข้าพเจ้าละทิ้งความเป็นพรานได้ในวันนี้
(ท่านทำสัจจกิริยาว่า)
[๑๕๘] นกเหล่าใดที่ข้าพเจ้ากักขังไว้หลายร้อยตัวในเรือนของข้าพเจ้า
วันนี้ ข้าพเจ้าให้ทานชีวิตแก่นกเหล่านั้น
ขอให้นกเหล่านั้นจงหลุดพ้น กลับไปยังที่อยู่ของตนเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๔. ปกิณณกนิบาต] ๙. ตัจฉสูกรชาดก (๔๙๒)
(พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศว่า นกเหล่านั้นพ้นจากทุกข์ได้เพราะอาศัย
พญานกยูง จึงตรัสพระคาถาสุดท้ายว่า)
[๑๕๙] นายพรานถือบ่วงเที่ยวไปในป่า
เพื่อจะจับพญานกยูงทองผู้เรืองยศ
ครั้นจับพญานกยูงทองผู้เรืองยศได้แล้ว
เขาได้พ้นจากทุกข์เหมือนเราตถาคตได้พ้นแล้ว
มหาโมรชาดกที่ ๘ จบ

๙. ตัจฉสูกรชาดก (๔๙๒)
ว่าด้วยสุกรชื่อตัจฉะ
(สุกรตัจฉะเที่ยวเสาะหาฝูงสุกรในป่าพบสุกรจำนวนมากแล้วดีใจ จึงกล่าวว่า)
[๑๖๐] เราเมื่อเสาะหาหมู่ญาติใด เที่ยวไปตามเทือกเขาลำเนาไพร
เราเที่ยวตามหาอยู่ช้านาน ญาติทั้งหลายนี้นั้นเราก็ได้พบแล้ว
[๑๖๑] มูลผลาหารนี้ก็มีอยู่มาก และภักษาหารนี้ก็มีอยู่ไม่น้อย
ส่วนแม่น้ำ ภูเขานี้ก็น่ารื่นรมย์ คงจะอยู่ได้สบาย
[๑๖๒] เราจักอยู่พร้อมกับหมู่ญาติทั้งปวงในที่นี้แหละ
จักเป็นผู้ขวนขวายน้อย หมดความระแวงภัย
ไม่มีความเศร้าโศก ไม่มีภัยแต่ที่ไหน
(สุกรทั้งหลายกล่าวว่า)
[๑๖๓] ตัจฉะ ท่านจงเสาะหาถ้ำในที่อื่นอยู่เถิด
ในที่นี้พวกเรามีศัตรู
มันมาที่นี้ฆ่าสุกรแล้วกัดกินเนื้อล่ำ ๆ เป็นประจำ
(สุกรตัจฉะถามว่า)
[๑๖๔] ใครหนอเป็นศัตรูของพวกเราในที่นี้
ใครกันรังควานหมู่ญาติผู้พร้อมเพรียงซึ่งรังควานได้ยาก
เราถามแล้ว ขอพวกท่านจงบอกผู้นั้นแก่เรา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๔. ปกิณณกนิบาต] ๙. ตัจฉสูกรชาดก (๔๙๒)
(สุกรเหล่านั้นตอบว่า)
[๑๖๕] ท่านตัจฉะ พญาเนื้อ
เป็นสัตว์มีพลัง มีเขี้ยวเป็นอาวุธ
มันมาที่นี่ฆ่าสุกรแล้วกัดกินเนื้อล่ำ ๆ เป็นประจำ
(สุกรตัจฉะกล่าวว่า)
[๑๖๖] พวกเราไม่มีเขี้ยวก็หาไม่ พลังกายก็พร้อมมูล
พวกเราทั้งหมดจงพร้อมเพรียงกัน สร้างอำนาจร่วมกัน
(สุกรเหล่านั้นกล่าวว่า)
[๑๖๗] ท่านตัจฉะ ท่านนะพูดได้จับใจ สบายหู
แม้ตัวใดหนีไปในขณะต่อสู้ พวกเราจะฆ่าตัวนั้นในภายหลัง
(ชฎิลโกงเห็นเสือโคร่งกลับมามือเปล่า จึงกล่าวว่า)
[๑๖๘] วันนี้ท่านงดเว้นจากปาณาติบาตหรือหนอ
หรือว่าท่านให้อภัยแก่หมู่สัตว์ทั้งปวง
ท่านไม่มีเขี้ยวที่จะฆ่าเนื้อหรือหนอ
ถึงอยู่ในฝูงสุกรก็ยังซบเซาเหมือนคนกำพร้า
(พญาเสือโคร่งได้กล่าวว่า)
[๑๖๙] ข้าพเจ้าจะไม่มีเขี้ยวก็หาไม่ พลังกายก็พร้อมมูล
แต่เพราะเห็นญาติ ๆ พร้อมเพรียงเป็นอันเดียวกัน
เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงซบเซาอยู่ผู้เดียวในป่า
[๑๗๐] เมื่อก่อนสุกรเหล่านี้กลัวภัย
แยกกันหนีไปคนละทิศละทาง แสวงหาที่พึ่ง
แต่บัดนี้พวกมันกลับรวมหมู่กันตั้งท่าสู้
ยากที่ข้าพเจ้าจะข่มพวกมันได้
[๑๗๑] พวกมันได้ผู้นำดี มีความพร้อมเพรียงกัน
มีความเห็นอย่างเดียวกัน พร้อมกันที่จะทำลายข้าพเจ้าได้
เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่ปรารถนาสุกรเหล่านั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๔. ปกิณณกนิบาต] ๙. ตัจฉสูกรชาดก (๔๙๒)
(ชฎิลโกงเมื่อจะให้เสือโคร่งเกิดความอุตสาหะ จึงกล่าวว่า)
[๑๗๒] พระอินทร์องค์เดียวยังเอาชัยชนะพวกอสูรได้
นกเหยี่ยวตัวเดียวยังข่มขี่ฆ่านกทั้งหลายได้
เสือโคร่งตัวเดียวเข้าไปอยู่ในฝูงเนื้อ
ก็ยังฆ่าเนื้อตัวล่ำ ๆ ซึ่งมีกำลังเหมือนเช่นนั้นได้
(เสือโคร่งกล่าวว่า)
[๑๗๓] หมู่ญาติผู้พร้อมเพรียงร่วมใจกัน มีกิริยาเช่นเสือโคร่ง
ไม่ว่าพระอินทร์หรือนกเหยี่ยว หรือเสือโคร่ง ซึ่งเป็นพญาสัตว์
ก็ไม่อาจให้อยู่ในอำนาจได้
(ชฎิลโกงปลุกใจเสือโคร่งว่า)
[๑๗๔] ฝูงนกกุมภีลกาตัวเล็ก ๆ เที่ยวไปเป็นฝูง เป็นหมู่
รื่นเริง จับกลุ่มกันโผผิน บินร่อนไปมา
[๑๗๕] ก็เมื่อนกเหล่านั้นโผผินอยู่ เหยี่ยวย่อมโฉบเอานกตัวหนึ่ง
บรรดานกเหล่านั้นที่แตกฝูงออกมา
นั้นเป็นคติของเหล่าพยัคฆ์ทั่วไป
(พระศาสดาทรงประกาศข้อความนั้นว่า)
[๑๗๖] เสือโคร่งมีเขี้ยวเป็นอาวุธ ถูกชฎิลชั่วผู้เห็นแก่อามิสปลุกใจ
มีความสำคัญเหมือนครั้งก่อน
จึงได้เผ่นเข้าไปในฝูงของสุกรผู้ที่มีเขี้ยว
(รุกขเทวดาเห็นเหตุอัศจรรย์นั้น จึงกล่าวคาถาว่า)
[๑๗๗] ญาติทั้งหลายมีมากด้วยกันเป็นการดี
ถึงแม้จะเป็นต้นไม้ที่เกิดในป่าก็ตาม
เสือโคร่งถูกสุกรทั้งหลายที่สามัคคีกันฆ่าตาย
ในหนทางที่เดินได้คนเดียว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๔. ปกิณณกนิบาต] ๑๐. มหาวาณิชชาดก (๔๙๓)
(พระศาสดาตรัสว่า)
[๑๗๘] สุกรทั้งหลายได้ฆ่าเสียทั้ง ๒ คน คือ
พราหมณ์ ๑ เสือโคร่ง ๑
จึงได้รื่นเริงบันเทิงใจ ส่งเสียงบันลือลั่น
[๑๗๙] สุกรเหล่านั้นมาประชุมพร้อมกันที่โคนต้นมะเดื่อ
ได้อภิเษกสุกรตัจฉะว่า
ท่านจงเป็นราชา เป็นใหญ่แห่งเราทั้งหลายเถิด
ตัจฉสูกรชาดกที่ ๙ จบ

๑๐. มหาวาณิชชาดก (๔๙๓)
ว่าด้วยพ่อค้าใหญ่
(พระศาสดาทรงนำอดีตนิทานมาตรัสว่า)
[๑๘๐] พ่อค้าทั้งหลายจากแคว้นต่าง ๆ มาประชุมกันที่กรุงพาราณสี
ตั้งพ่อค้าที่มีปัญญาดีกว่าคนหนึ่งให้เป็นหัวหน้า
พากันนำทรัพย์กลับ
[๑๘๑] พ่อค้าเหล่านั้นมาถึงถิ่นกันดารที่มีภักษาน้อย ไม่มีน้ำ
ได้พบต้นไทรใหญ่ มีร่มเงาเย็นสบาย น่ารื่นรมย์
[๑๘๒] ก็พ่อค้าเหล่านั้นพากันนั่งที่ร่มเงาต้นไทรนั้นนั่นเอง
พวกที่เป็นคนโง่ถูกโมหะครอบงำ คิดเห็นพ้องกันว่า
[๑๘๓] ต้นไม้ต้นนี้สดชื่น ราวกับมีน้ำซับซึมอยู่
ขอเชิญพวกเราเหล่าพ่อค้าพากันตัดกิ่งด้านตะวันออกเถิด
[๑๘๔] ก็กิ่งไม้นั้นพอถูกตัดแล้วก็หลั่งน้ำใส ไม่ขุ่น
พ่อค้าเหล่านั้นพากันอาบและดื่มกินตามที่ต้องการ ณ กิ่งไม้นั้น
[๑๘๕] ครั้งที่ ๒ พวกที่เป็นคนโง่ถูกโมหะครอบงำ คิดเห็นพ้องกันว่า
ขอเชิญพวกเราเหล่าพ่อค้าพากันตัดกิ่งด้านทิศใต้เถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๔. ปกิณณกนิบาต] ๑๐. มหาวาณิชชาดก (๔๙๓)
[๑๘๖] ก็กิ่งไม้นั้นพอถูกตัดแล้วก็หลั่งข้าวสาลี เนื้อ ข้าวสุก
ขนมกุมมาสซึ่งมีสีเหมือนข้าวปายาสที่มีน้ำน้อย
แกงอ่อม และกับมีแกงถั่วเป็นต้นออกมามากมาย
[๑๘๗] พวกพ่อค้าเหล่านั้นพากันบริโภค
เคี้ยวกินตามที่ต้องการ ณ กิ่งไม้นั้น
ครั้งที่ ๓ พวกที่เป็นคนโง่ถูกโมหะครอบงำ
คิดเห็นพ้องกันว่า ขอเชิญพวกเราเหล่าพ่อค้า
พากันตัดกิ่งด้านทิศตะวันตกเถิด
[๑๘๘] ก็กิ่งไม้นั้นพอถูกตัดแล้ว
ก็หลั่งเหล่านารีมีเครื่องประดับพร้อมมูล
เสื้อผ้าอาภรณ์งามวิจิตร ใส่ต่างหูแก้วมณี
[๑๘๙] ก็พ่อค้าแต่ละคนมีนารีนางหนึ่ง
ส่วนหัวหน้ากองเกวียนมีนารี ๒๕ นาง
แวดล้อมอยู่รอบข้างที่ร่มเงาต้นไทรนั้น
[๑๙๐] พวกพ่อค้าเหล่านั้นมีเหล่านารีแวดล้อมตามที่ต้องการ
ครั้งที่ ๔ พวกที่เป็นคนโง่ถูกโมหะครอบงำ คิดเห็นพ้องกันว่า
ขอเชิญพวกเราเหล่าพ่อค้าพากันตัดกิ่งด้านทิศเหนือเถิด
[๑๙๑] ก็กิ่งไม้นั้นพอถูกตัดแล้ว ก็หลั่งแก้วมุกดา แก้วไพฑูรย์
เงิน ทอง เครื่องลาดหลังช้าง และเครื่องปูลาดที่ทำด้วยขนแกะ
[๑๙๒] ผ้าแคว้นกาสีและผ้ากัมพลชื่ออุททิยะออกมาเป็นจำนวนมาก
พวกพ่อค้าเหล่านั้นพากันขนบรรทุกเกวียนเหล่านั้นตามที่ต้องการ
[๑๙๓] ครั้งที่ ๕ พวกที่เป็นคนโง่ถูกโมหะครอบงำ คิดเห็นพ้องกันว่า
ขอเชิญพวกเราช่วยกันตัดโคนต้นไทรนั้นเถิด บางทีจะได้ยิ่งกว่านี้
[๑๙๔] ทันใดนั้น หัวหน้ากองเกวียนได้ลุกขึ้นประคองอัญชลี
ขอร้องว่า พ่อค้าวาณิชทั้งหลาย ต้นไทรมีความผิดอะไรหรือ
ขอความเจริญจงมีแก่พวกท่านเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๔. ปกิณณกนิบาต] ๑๑. สาธินราชชาดก (๔๙๔)
[๑๙๕] กิ่งด้านทิศตะวันออกให้น้ำอาบ
กิ่งด้านทิศใต้ให้ข้าวและน้ำดื่ม
กิ่งด้านทิศตะวันตกให้เหล่านารี
ส่วนกิ่งด้านทิศเหนือให้ทรัพย์ที่น่าปลื้มใจทุกอย่าง
พ่อค้าวาณิชทั้งหลาย ต้นไทรมีความผิดอะไรหรือ
ขอความเจริญจงมีแก่พวกท่านเถิด
[๑๙๖] บุคคลนั่งก็ตาม นอนก็ตามที่ร่มเงาต้นไม้ใด
ไม่ควรหักรานกิ่งต้นไม้นั้น
เพราะว่าคนประทุษร้ายมิตรเป็นคนเลวทราม
[๑๙๗] แต่พวกพ่อค้าเหล่านั้นจำนวนมาก
ไม่เชื่อฟังคำของนายกองเกวียนผู้เดียวนั้น
ใช้ขวานอันคมกริบตัดต้นไทรนั้นตั้งแต่โคนต้น
[๑๙๘] พวกนาคก็ออกมาจากต้นไทรนั้นสวมเกราะ ๒๕ ตน
ถือธนู ๓๐๐ ตน และถือโล่หนัง ๖,๐๐๐ ตน
(พญานาคกล่าวสั่งว่า)
[๑๙๙] พวกเจ้าจงฆ่า จงมัดพวกพ่อค้าเหล่านี้
อย่าได้ไว้ชีวิตแม้แต่คนเดียว
พวกเจ้าจงทำพวกพ่อค้าเหล่านั้นทั้งหมดให้เป็นผงธุลี
เว้นไว้แต่นายกองเกวียนเท่านั้น
(พระศาสดาทรงทราบแล้วตรัส ๒ คาถาโอวาทว่า)
[๒๐๐] เพราะเหตุนั้นแล คนฉลาดพิจารณาเห็นประโยชน์ของตน
ไม่พึงตกไปสู่อำนาจแห่งความโลภ
พึงกำจัดใจที่เป็นศัตรูภายในเสีย
[๒๐๑] ผู้เห็นภัยรู้โทษอย่างนี้ว่า ตัณหาเป็นเหตุให้เกิดทุกข์
เป็นผู้ปราศจากตัณหา ไม่ยึดมั่น มีสติ ดำเนินชีวิตอยู่
มหาวาณิชชาดกที่ ๑๐ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๔. ปกิณณกนิบาต] ๑๑. สาธินราชชาดก (๔๙๔)
๑๑. สาธินราชชาดก (๔๙๔)
ว่าด้วยพระเจ้าสาธินะ
(พวกมนุษย์ดีใจยืนประคองอัญชลี ได้กล่าวว่า)
[๒๐๒] น่าอัศจรรย์จริงหนอ
รถทิพย์ได้ปรากฏแก่พระเจ้าวิเทหะ ผู้เรืองยศ
พระองค์ทรงอุบัติขึ้นมาในโลก ทำให้เกิดขนพองสยองเกล้า
(พระศาสดาทรงประกาศข้อความนั้นว่า)
[๒๐๓] มาตลีเทพบุตร เทพสารถีผู้มีฤทธิ์มาก
ทูลเชิญเสด็จพระเจ้าวิเทหะผู้ครอบครองมิถิลานครว่า
[๒๐๔] พระราชาผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ เป็นใหญ่ทั่วทิศ
ขอเชิญพระองค์เสด็จทรงรถทิพย์นี้เถิด
เทพชั้นดาวดึงส์ทั้งหลาย
พร้อมทั้งองค์อมรินทร์ใคร่จะทรงทัศนาพระองค์
ก็เทพเหล่านั้นระลึกถึงพระองค์
ประชุมพร้อมกันอยู่ที่สภาชื่อสุธรรมา
[๒๐๕] ก็ลำดับนั้น พระเจ้าวิเทหะทรงพระนามสาธินะ
ผู้ครอบครองมิถิลานคร เสด็จประทับรถทิพย์
ซึ่งเทียมด้วยม้าอัสดร ๑,๐๐๐ ตัว
ได้เสด็จไปในสำนักแห่งเทพ
(พระมหาราชาประทับยืนบนทิพยยาน
ซึ่งเทียมด้วยม้าอัสดร ๑,๐๐๐ ตัวนำไป
เสด็จไปอยู่ ได้ทอดพระเนตรเห็นเทวสภานี้)
เทพครั้นเห็นพระราชาเสด็จมาก็ยินดีต้อนรับพระองค์
[๒๐๖] ขอเดชะพระมหาราช พระองค์เสด็จมาดีแล้ว
มิใช่เสด็จมาร้าย พระราชาผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
บัดนี้ ขอเชิญประทับ ณ สำนักท้าวสักกเทวราชเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๔. ปกิณณกนิบาต] ๑๑. สาธินราชชาดก (๔๙๔)
[๒๐๗] แม้ท้าวสักกะก็ทรงยินดีต้อนรับ
พระเจ้าวิเทหะผู้ครอบครองมิถิลานคร
ท้าววาสวะทรงเชื้อเชิญด้วยกามทั้งหลายพร้อมทั้งอาสนะ
[๒๐๘] พระราชาผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ เป็นการดีแท้
ที่พระองค์เสด็จมาถึงสถานที่อยู่แห่งเหล่าเทพผู้ครองอำนาจ
ขอเชิญประทับอยู่ในหมู่ทวยเทพผู้มั่งคั่งด้วยกามทุกอย่าง
ขอพระองค์เสวยกามซึ่งมิใช่ของมนุษย์
ในหมู่เทพชั้นดาวดึงส์เถิด
(พระเจ้าสาธินะตรัสกับท้าวสักกะว่า)
[๒๐๙] เมื่อก่อน หม่อมฉันอยู่ในสวรรค์
ย่อมยินดีการฟ้อนรำขับร้องและประโคมดนตรี
แต่บัดนี้ วันนี้หม่อมฉันนั้นหายินดีในสวรรค์ไม่
พระองค์ผู้ประเสริฐกว่าจอมเทพ
อายุของหม่อมฉันสิ้นแล้วหรือ หม่อมฉันใกล้ตายหรือ
หรือว่าหม่อมฉันหลงไป
(ท้าวสักกะตรัสว่า)
[๒๑๐] พระองค์ผู้กล้าหาญ ผู้ประเสริฐกว่านรชน
พระชนมายุของพระองค์ยังไม่สิ้นไป
ความตายก็ยังอยู่ห่างไกล และแม้พระองค์ก็ยังไม่หลง
แต่บุญที่พระองค์เสวยวิบากอยู่ในเทวโลกนี้ของพระองค์เหลืออยู่น้อย
[๒๑๑] พระราชาผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ เป็นใหญ่ทั่วทิศ
ขอเชิญพระองค์ประทับอยู่ด้วยเทวานุภาพ
เสวยกามซึ่งมิใช่ของมนุษย์ในหมู่เทพชั้นดาวดึงส์เถิด
(พระโพธิสัตว์ทรงห้ามท้าวสักกะว่า)
[๒๑๒] สิ่งใดที่ได้มาเพราะเหตุที่ผู้อื่นให้ สิ่งนั้นเปรียบกันได้
เหมือนยานพาหนะที่ยืมเขามา เหมือนทรัพย์ที่ยืมเขามา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๔. ปกิณณกนิบาต] ๑๑. สาธินราชชาดก (๔๙๔)
[๒๑๓] ก็สมบัติที่ได้มาเพราะเหตุที่ผู้อื่นให้นั้น หม่อมฉันไม่ปรารถนา
บุญทั้งหลายที่หม่อมฉันทำเอง
บุญนั้นจะเป็นทรัพย์เฉพาะตนของหม่อมฉัน
[๒๑๔] หม่อมฉันนั้นไปอยู่ในหมู่มนุษย์แล้วจะทำกุศลให้มาก
ด้วยการให้ทาน การประพฤติธรรมให้สม่ำเสมอ
การสำรวมและด้วยการฝึกฝนอินทรีย์
ซึ่งเป็นกรรมที่บุคคลทำแล้วมีความสุข
และไม่ทำให้เดือดร้อนในภายหลัง
(พระโพธิสัตว์จูงพระหัตถ์พระเจ้านารทะเที่ยวไปในอุทยานได้ตรัสว่า)
[๒๑๕] ภูมิภาคตรงนี้คืออุทยานนั้น
ตรงนี้คือลำรางไขน้ำพร้อมทั้งอ่างรองรับน้ำที่ไหลเข้ามา
ตรงนี้คือภูมิภาคทั้ง ๒ ข้างแห่งลำรางไขน้ำ
ซึ่งปกคลุมด้วยหญ้าเขียวขจี
ตรงนี้คือแม่น้ำที่มีกระแสไหลอยู่ไม่ขาดสาย
[๒๑๖] ตรงนี้คือสระโบกขรณีอันน่ารื่นรมย์
มีนกจักรพากขันขานเสียงระงม
ดารดาษไปด้วยดอกมณฑาลก ดอกปทุม และดอกอุบล
ที่เหล่าชนพากันหลงใหลยึดถือว่าเป็นของเรา
เขาไปไหนหนอ
[๒๑๗] ตรงนี้พื้นที่นั้นมีแต่พื้นดินที่รกเท่านั้น
มีแต่สวนและแนวป่าเท่านั้นเอง
นารทะ เมื่อเรามองไม่เห็นหมู่ชนนั้น
ทิศทั้งหลายปรากฏแก่เราเหมือนกับว่างเปล่า
(พระเจ้าสาธินะตรัสว่า)
[๒๑๘] ข้าพเจ้าได้เห็นวิมานส่องแสงไปทั้ง ๔ ทิศ
ต่อพระพักตร์ท้าวเทวราชและต่อหน้าเทวดาชั้นไตรทศ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๔. ปกิณณกนิบาต] ๑๒. ทสพราหมณชาดก (๔๙๕)
[๒๑๙] เราได้อยู่ในทิพยวิมาน บริโภคกามซึ่งมิใช่ของมนุษย์
ในหมู่เทพชั้นดาวดึงส์ที่มั่งคั่งด้วยกามทุกอย่าง
[๒๒๐] เรานั้นละกามเช่นนี้ มาในโลกนี้เพื่อต้องการทำบุญ
จะประพฤติธรรมอย่างเดียว ไม่ต้องการราชสมบัติ
[๒๒๑] เราจะดำเนินไปตามทางที่ไม่ต้องใช้อาชญา
ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้แล้ว
เป็นทางที่ท่านผู้ปฏิบัติดีดำเนินไปอยู่
สาธินราชชาดกที่ ๑๑ จบ

๑๒. ทสพราหมณชาดก (๔๙๕)
ว่าด้วยการจำแนกตระกูลพราหมณ์ ๑๐ ตระกูล
(พระศาสดาทรงประกาศข้อความนี้ว่า)
[๒๒๒] พระเจ้ายุธิฏฐิละ ผู้ทรงฝักใฝ่ในธรรม
ได้ตรัสกับวิธุรอำมาตย์ว่า
วิธุระ เธอจงแสวงหาพราหมณ์ผู้มีศีล ผู้เป็นพหูสูต
[๒๒๓] ผู้เว้นจากเมถุนธรรม ซึ่งสมควรจะบริโภคโภชนะของเรา
สหาย เราจะถวายทักษิณาในเขตที่เราถวายทานแล้วมีผลมาก
(วิธุรอำมาตย์กราบทูลว่า)
[๒๒๔] ขอเดชะพระองค์ผู้สมมติเทพ พราหมณ์ทั้งหลายผู้มีศีล
เป็นพหูสูต ผู้เว้นจากเมถุนธรรม
ซึ่งสมควรจะบริโภคโภชนะของพระองค์หาได้ยาก พระเจ้าข้า
[๒๒๕] ขอเดชะพระมหาราช ได้ยินว่า
พราหมณ์มีอยู่ ๑๐ ตระกูลด้วยกัน
ขอพระองค์โปรดสดับการจำแนกแจกแจง
พราหมณ์ทั้ง ๑๐ ตระกูลนั้นโดยพิสดารจากข้าพระองค์เถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๔. ปกิณณกนิบาต] ๑๒. ทสพราหมณชาดก (๔๙๕)
[๒๒๖] พราหมณ์บางพวกถือถุงย่ามที่เต็มด้วยรากไม้ปากปิด
ติดสลากยาบ้าง รดน้ำมนต์บ้าง เป่าเสกคาถาอาคมบ้าง
[๒๒๗] แม้พราหมณ์เหล่านั้นเป็นเสมือนหมอ
เขาก็เรียกกันว่า พราหมณ์ ขอเดชะพระมหาราช
ข้าพระองค์ได้กราบทูลพราหมณ์ผู้เป็นเสมือนหมอเหล่านั้น
แด่พระองค์ เราจะเชื้อเชิญพราหมณ์เช่นนั้นหรือ พระเจ้าข้า
(พระเจ้าโกรัพยะตรัสว่า)
[๒๒๘] ก็พราหมณ์เหล่านั้นปราศจากคุณเครื่องความเป็นพราหมณ์
จะเรียกพวกเขาว่าเป็นพราหมณ์ไม่ได้
วิธุระ เธอจงแสวงหาพราหมณ์เหล่าอื่นผู้มีศีล ผู้เป็นพหูสูต
[๒๒๙] ผู้เว้นจากเมถุนธรรม ซึ่งสมควรจะบริโภคโภชนะของเรา
สหาย เราจะถวายทักษิณาในเขตที่เราถวายทานแล้วมีผลมาก
(วิธุรอำมาตย์กราบทูลว่า)
[๒๓๐] พราหมณ์อีกพวกหนึ่งถือกังสดาลป่าวประกาศไปข้างหน้าบ้าง
ไปรับใช้บ้าง ศึกษาวิชาการเกี่ยวกับรถบ้าง
[๒๓๑] แม้พราหมณ์เหล่านั้นเป็นเสมือนคนรับใช้
เขาก็เรียกกันว่า พราหมณ์ ขอเดชะพระมหาราช
ข้าพระองค์ได้กราบทูลพราหมณ์ผู้เป็นเสมือนคนรับใช้เหล่านั้น
แด่พระองค์ เราจะเชื้อเชิญพราหมณ์เช่นนั้นหรือ พระเจ้าข้า
(พระเจ้าโกรัพยะตรัสว่า)
[๒๓๒] ก็พราหมณ์เหล่านั้นปราศจากคุณเครื่องความเป็นพราหมณ์
จะเรียกพวกเขาว่าเป็นพราหมณ์ไม่ได้
วิธุระ เธอจงแสวงหาพราหมณ์เหล่าอื่นผู้มีศีล ผู้เป็นพหูสูต
[๒๓๓] ผู้เว้นจากเมถุนธรรม ซึ่งสมควรจะบริโภคโภชนะของเรา
สหาย เราจะถวายทักษิณาในเขตที่เราถวายทานแล้วมีผลมาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๔. ปกิณณกนิบาต] ๑๒. ทสพราหมณชาดก (๔๙๕)
(วิธุรอำมาตย์กราบทูลว่า)
[๒๓๔] พราหมณ์อีกพวกหนึ่งถือคนโทน้ำและไม้เท้าคด
เข้าไปพึ่งพาพระราชาในคามและนิคมด้วยตั้งใจว่า
เมื่อชาวบ้านหรือชาวนิคมไม่ให้ เราจะไม่ออกไป
[๒๓๕] แม้พราหมณ์เหล่านั้นเป็นเสมือนผู้กดขี่
เขาก็เรียกกันว่า พราหมณ์ ขอเดชะพระมหาราช
ข้าพระองค์ได้กราบทูลพราหมณ์ผู้เป็นเสมือนผู้กดขี่เหล่านั้น
แด่พระองค์ เราจะเชื้อเชิญพราหมณ์เช่นนั้นหรือ พระเจ้าข้า
(พระเจ้าโกรัพยะตรัสว่า)
[๒๓๖] ก็พราหมณ์เหล่านั้นปราศจากคุณเครื่องความเป็นพราหมณ์
จะเรียกพวกเขาว่าเป็นพราหมณ์ไม่ได้
วิธุระ เธอจงแสวงหาพราหมณ์เหล่าอื่นผู้มีศีล ผู้เป็นพหูสูต
[๒๓๗] ผู้เว้นจากเมถุนธรรม ซึ่งสมควรจะบริโภคโภชนะของเรา
สหาย เราจะถวายทักษิณาในเขตที่เราถวายทานแล้วมีผลมาก
(วิธุรอำมาตย์กราบทูลว่า)
[๒๓๘] พราหมณ์อีกพวกหนึ่ง มีขนรักแร้ เล็บ และขนงอกขึ้นยาว
มีฟันเขลอะ มีธุลีบนศีรษะ เกรอะกรังไปด้วยฝุ่นละออง
เป็นพวกยาจกเที่ยวไปอยู่
[๒๓๙] แม้พราหมณ์เหล่านั้นเป็นเสมือนคนขุดตอไม้ที่ถูกไฟไหม้
เขาก็เรียกกันว่า พราหมณ์ ขอเดชะพระมหาราช
ข้าพระองค์ได้กราบทูลพราหมณ์ผู้เป็นเสมือนคนขุดตอไม้
ที่ถูกไฟไหม้เหล่านั้นแด่พระองค์
เราจะเชื้อเชิญพราหมณ์เช่นนั้นหรือ พระเจ้าข้า
(พระเจ้าโกรัพยะตรัสว่า)
[๒๔๐] ก็พราหมณ์เหล่านั้นปราศจากคุณเครื่องความเป็นพราหมณ์
จะเรียกพวกเขาว่าเป็นพราหมณ์ไม่ได้
วิธุระ เธอจงแสวงหาพราหมณ์เหล่าอื่นผู้มีศีล ผู้เป็นพหูสูต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๔. ปกิณณกนิบาต] ๑๒. ทสพราหมณชาดก (๔๙๕)
[๒๔๑] ผู้เว้นจากเมถุนธรรม ซึ่งสมควรจะบริโภคโภชนะของเรา
สหาย เราจะถวายทักษิณาในเขตที่เราถวายทานแล้วมีผลมาก
(วิธุรอำมาตย์กราบทูลว่า)
[๒๔๒] ขอเดชะพระองค์ผู้เป็นใหญ่แห่งเหล่าชน
พราหมณ์อีกพวกหนึ่งย่อมค้าขายผลสมอ มะขามป้อม
ผลมะม่วง ผลหว้า สมอพิเภก ขนุนสำปะลอ
ไม้ชำระฟัน ผลมะตูม และพุทรา
[๒๔๓] ลูกเกด อ้อยลำ น้ำอ้อยงบ กล้องสูบยาเส้น น้ำผึ้ง
และยาหยอดตา และย่อมค้าขายสิ่งของที่มีค่ามากและมีค่าน้อย
[๒๔๔] แม้พราหมณ์เหล่านั้นเป็นเสมือนพ่อค้า
เขาก็เรียกกันว่า พราหมณ์ ขอเดชะพระมหาราช
ข้าพระองค์ได้กราบทูลพราหมณ์ผู้เป็นเสมือนพ่อค้าเหล่านั้น
แด่พระองค์ เราจะเชื้อเชิญพราหมณ์เช่นนั้นหรือ พระเจ้าข้า
(พระเจ้าโกรัพยะตรัสว่า)
[๒๔๕] ก็พราหมณ์เหล่านั้นปราศจากคุณเครื่องความเป็นพราหมณ์
จะเรียกพวกเขาว่าเป็นพราหมณ์ไม่ได้
วิธุระ เธอจงแสวงหาพราหมณ์เหล่าอื่นผู้มีศีล ผู้เป็นพหูสูต
[๒๔๖] ผู้เว้นจากเมถุนธรรม ซึ่งสมควรจะบริโภคโภชนะของเรา
สหาย เราจะถวายทักษิณาในเขตที่เราถวายทานแล้วมีผลมาก
(วิธุรอำมาตย์กราบทูลว่า)
[๒๔๗] พราหมณ์อีกพวกหนึ่งให้กระทำกสิกรรมและพาณิชกรรม
เลี้ยงแพะ เลี้ยงแกะ ตกแต่งหญิงสาว
ทำวิวาหมงคลและอาวาหมงคล
[๒๔๘] แม้พราหมณ์เหล่านั้นเป็นเสมือนพ่อค้าคหบดี
เขาก็เรียกกันว่า พราหมณ์ ขอเดชะพระมหาราช
ข้าพระองค์ได้กราบทูลพราหมณ์ผู้เป็นเสมือนพ่อค้าคหบดีเหล่านั้น
แด่พระองค์ เราจะเชื้อเชิญพราหมณ์เช่นนั้นหรือ พระเจ้าข้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๔. ปกิณณกนิบาต] ๑๒. ทสพราหมณชาดก (๔๙๕)
(พระเจ้าโกรัพยะตรัสว่า)
[๒๔๙] ก็พราหมณ์เหล่านั้นปราศจากคุณเครื่องความเป็นพราหมณ์
จะเรียกพวกเขาว่าเป็นพราหมณ์ไม่ได้
วิธุระ เธอจงแสวงหาพราหมณ์เหล่าอื่นผู้มีศีล ผู้เป็นพหูสูต
[๒๕๐] ผู้เว้นจากเมถุนธรรม ซึ่งสมควรจะบริโภคโภชนะของเรา
สหาย เราจะถวายทักษิณาในเขตที่เราถวายทานแล้วมีผลมาก
(วิธุรอำมาตย์กราบทูลว่า)
[๒๕๑] พราหมณ์อีกพวกหนึ่งเป็นปุโรหิตประจำบ้าน
บริโภคภิกษาที่เขาเก็บไว้เพื่อตน
ชนจำนวนมากย่อมสอบถามพราหมณ์เหล่านั้น
พราหมณ์เหล่านั้นเป็นนักตอนสัตว์และตีตราสัตว์
[๒๕๒] แม้สัตว์เลี้ยงทั้งหลาย เช่น กระบือ สุกร และแพะ
ในบ้านเหล่านั้น ก็ถูกพราหมณ์เหล่านั้นฆ่า
แม้พวกพราหมณ์เหล่านั้นเป็นเสมือนนายโคฆาต
เขาก็เรียกกันว่า พราหมณ์ ขอเดชะพระมหาราช
ข้าพระองค์ได้กราบทูลพราหมณ์ผู้เป็นเสมือนนายโคฆาตเหล่านั้น
แด่พระองค์ เราจะเชื้อเชิญพราหมณ์เช่นนั้นหรือ พระเจ้าข้า
(พระเจ้าโกรัพยะตรัสว่า)
[๒๕๓] ก็พราหมณ์เหล่านั้นปราศจากคุณเครื่องความเป็นพราหมณ์
จะเรียกพวกเขาว่าเป็นพราหมณ์ไม่ได้
วิธุระ เธอจงแสวงหาพราหมณ์เหล่าอื่นผู้มีศีล ผู้เป็นพหูสูต
[๒๕๔] ผู้งดเว้นจากเมถุนธรรม ซึ่งสมควรจะบริโภคโภชนะของเรา
สหาย เราจะถวายทักษิณาในเขตที่เราถวายทานแล้วมีผลมาก
(วิธุรอำมาตย์กราบทูลว่า)
[๒๕๕] พราหมณ์ทั้งหลายถือดาบและโล่หนัง เหน็บกริช
ยืนดักอยู่ที่ทางเดินของพวกพ่อค้าบ้าง
คอยคุ้มครองกองเกวียนบ้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๔. ปกิณณกนิบาต] ๑๒. ทสพราหมณชาดก (๔๙๕)
[๒๕๖] แม้พราหมณ์เหล่านั้นเป็นเสมือนคนเลี้ยงโค
และโจรปล้นฆ่าชาวบ้านเขาก็เรียกกันว่าพราหมณ์
ขอเดชะพระมหาราช ข้าพระองค์ได้กราบทูลพราหมณ์
ผู้เป็นเสมือนคนเลี้ยงโคและโจรปล้นฆ่าชาวบ้านเหล่านั้น
แด่พระองค์ เราจะเชื้อเชิญพราหมณ์เช่นนั้นหรือ พระเจ้าข้า
(พระเจ้าโกรัพยะตรัสว่า)
[๒๕๗] ก็พวกพราหมณ์เหล่านั้นปราศจากคุณเครื่องความเป็นพราหมณ์
จะเรียกพวกเขาว่าเป็นพราหมณ์ไม่ได้
วิธุระ เธอจงแสวงหาพราหมณ์เหล่าอื่นผู้มีศีล ผู้เป็นพหูสูต
[๒๕๘] ผู้งดเว้นจากเมถุนธรรม ซึ่งสมควรจะบริโภคโภชนะของเรา
สหาย เราจะถวายทักษิณาในเขตที่เราถวายทานแล้วมีผลมาก
(วิธุรอำมาตย์กราบทูลว่า)
[๒๕๙] พราหมณ์อีกพวกหนึ่งสร้างกระท่อมอยู่ในป่า
ทำเครื่องดักสัตว์ เบียดเบียนกระต่าย
เสือปลา ปลา และเต่า ตลอดจนถึงเหี้ย
[๒๖๐] แม้พราหมณ์เหล่านั้นเป็นเสมือนนายพราน
เขาก็เรียกกันว่า พราหมณ์ ขอเดชะพระมหาราช
ข้าพระองค์ได้กราบทูลพราหมณ์
ผู้เป็นเสมือนนายพรานเหล่านั้นแด่พระองค์
เราจะเชื้อเชิญพราหมณ์เช่นนั้นหรือ พระเจ้าข้า
(พระเจ้าโกรัพยะตรัสว่า)
[๒๖๑] ก็พราหมณ์เหล่านั้นปราศจากคุณเครื่องความเป็นพราหมณ์
จะเรียกพวกเขาว่าเป็นพราหมณ์ไม่ได้
วิธุระ เธอจงแสวงหาพราหมณ์เหล่าอื่นผู้มีศีล ผู้เป็นพหูสูต
[๒๖๒] ผู้เว้นจากเมถุนธรรม ซึ่งสมควรจะบริโภคโภชนะของเรา
สหาย เราจะถวายทักษิณาในเขตที่เราถวายทานแล้วมีผลมาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๔. ปกิณณกนิบาต] ๑๓. ภิกขาปรัมปรชาดก (๔๙๖)
(วิธุรอำมาตย์กราบทูลว่า)
[๒๖๓] พราหมณ์อีกพวกหนึ่งปรารถนาทรัพย์ก็ลงนอนอยู่ใต้เตียง
เมื่อเริ่มทำพิธีโสมยาคะ ก็ให้พระราชาทั้งหลายสรงสนาน ณ เบื้องบน
[๒๖๔] แม้พราหมณ์เหล่านั้นเป็นเสมือนคนขัดสนิม
เขาก็เรียกกันว่า พราหมณ์ ขอเดชะพระมหาราช
ข้าพระองค์ได้กราบทูลพราหมณ์ผู้เป็นเสมือนคนขัดสนิมเหล่านั้น
แด่พระองค์ เราจะเชื้อเชิญพราหมณ์เช่นนั้นหรือ พระเจ้าข้า
(พระเจ้าโกรัพยะตรัสว่า)
[๒๖๕] ก็พวกพราหมณ์เหล่านั้นปราศจากคุณเครื่องความเป็นพราหมณ์
จะเรียกพวกเขาว่าเป็นพราหมณ์ไม่ได้
วิธุระ เธอจงแสวงหาพราหมณ์เหล่าอื่นผู้มีศีล ผู้เป็นพหูสูต
[๒๖๖] ผู้งดเว้นจากเมถุนธรรม ซึ่งสมควรจะบริโภคโภชนะของเรา
เราจะถวายทักษิณาในเขตที่เราถวายทานแล้วมีผลมาก
(วิธุรอำมาตย์ครั้นแสดงผู้เป็นพราหมณ์เพียงแค่ชื่อ บัดนี้เพื่อจะแสดงผู้เป็น
พราหมณ์โดยปรมัตถ์ จึงได้กล่าว ๒ คาถาว่า)
[๒๖๗] ขอเดชะพระองค์ผู้สมมติเทพ พราหมณ์ทั้งหลาย
ผู้มีศีล ผู้เป็นพหูสูต ผู้งดเว้นจากเมถุนธรรม
ซึ่งสมควรจะบริโภคโภชนะของพระองค์ยังมีอยู่ พระเจ้าข้า
[๒๖๘] พราหมณ์เหล่านั้นบริโภคภัตตาหารมื้อเดียว
และไม่ดื่มน้ำเมา ขอเดชะพระมหาราช
ข้าพระองค์ได้กราบทูลพราหมณ์เหล่านั้นแด่พระองค์
เราจะเชื้อเชิญพราหมณ์เช่นนั้นหรือ พระเจ้าข้า
(พระเจ้าโกรัพยะทรงสดับดังนั้นแล้วดีพระทัย จึงตรัสว่า)
[๒๖๙] วิธุระ พราหมณ์เหล่านั้นเป็นผู้มีศีล เป็นพหูสูต
เธอจงแสวงหาพราหมณ์เหล่านั้นแหละ
วิธุระ จงรีบนิมนต์พวกท่านมาเร็ว ๆ
ทสพราหมณชาดกที่ ๑๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๔. ปกิณณกนิบาต] ๑๓. ภิกขาปรัมปรชาดก (๔๙๖)
๑๓. ภิกขาปรัมปรชาดก (๔๙๖)
ว่าด้วยเขตที่ถวายทานแล้วมีผลมาก
(กุฎุมพีทูลถามพระราชาว่า)
[๒๗๐] ข้าพระองค์ได้เห็นพระองค์ผู้ทรงเป็นสุขุมาลชาติ
ประทับอยู่ในปรางค์ปราสาทอันประเสริฐ
เสด็จบรรทมบนพระยี่ภู่อันสูงใหญ่
เสด็จจากแคว้นมายังปัจจันตชนบทเช่นกับที่ป่าปราศจากน้ำ
[๒๗๑] จึงได้ทูลถวายภัตตาหารอันวิจิตร
คือข้าวสุกแห่งข้าวสาลีอันดีเลิศ
ซึ่งมีกับที่ปรุงด้วยเนื้ออันสะอาด
ด้วยความเคารพรักต่อพระองค์
[๒๗๒] พระองค์ผู้ทรงรับภัตนั้นแล้วได้พระราชทานให้พราหมณ์
ไม่เสวยด้วยพระองค์เอง
ข้อนี้เป็นธรรมอะไรของพระองค์หรือ
ข้าพระพุทธเจ้า ขอถวายบังคมพระองค์
(พระราชาตรัสตอบว่า)
[๒๗๓] พราหมณ์เป็นอาจารย์ของเรา
เป็นผู้ขวนขวายในกิจใหญ่น้อย
เป็นครู และเป็นผู้ที่ควรจะเชื้อเชิญ
เราจึงควรให้โภชนะแก่เขา
(กุฎุมพีกล่าวกับพราหมณ์ว่า)
[๒๗๔] บัดนี้ ข้าพเจ้าขอถามท่านพราหมณ์ผู้โคตมโคตร
ที่พระราชาทรงบูชา
พระราชาได้พระราชทานภัตแก่ท่าน
ซึ่งมีกับที่ปรุงด้วยเนื้อสะอาดแก่ท่าน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๔. ปกิณณกนิบาต] ๑๓. ภิกขาปรัมปรชาดก (๔๙๖)
[๒๗๕] ท่านได้รับพระราชทานภัตตาหารนั้นแล้ว
กลับถวายโภชนะแก่ฤๅษี
ท่านคงจะรู้ตัวซิว่า ไม่ใช่เนื้อนาบุญแห่งทาน
ข้อนี้เป็นธรรมอะไรของท่านหรือ
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมท่าน
(พราหมณ์ตอบว่า)
[๒๗๖] ข้าพเจ้ายังต้องเลี้ยงบุตรและภรรยา
เป็นผู้ติดในครอบครัว
ถึงจะถวายอนุศาสน์แก่พระราชา
ก็ยังบริโภคกามซึ่งเป็นของมนุษย์
[๒๗๗] ข้าพเจ้าควรจะถวายโภชนะแก่ฤๅษีผู้อยู่ป่า
บำเพ็ญตบะมาช้านาน ผู้เจริญด้วยคุณ อบรมตนแล้ว
(กุฎุมพีกล่าวกับฤๅษีว่า)
[๒๗๘] บัดนี้ ข้าพเจ้าขอถามฤๅษีผู้ผอม
มีร่างกายสะพรั่งด้วยเส้นเอ็น
มีขนรักแร้ เล็บ และขนงอกขึ้นยาว
มีขี้ฟันเขรอะ มีธุลีบนศีรษะ
[๒๗๙] ท่านอยู่ผู้เดียวในป่า ไม่คำนึงถึงชีวิต
เพราะเหตุไร ภิกษุจึงดีกว่าท่าน
ถึงกับท่านยอมถวายโภชนะ
(ฤๅษีตอบว่า)
[๒๘๐] อาตมายังขุดมันเทศและเหง้าตาล
มันมือเสือ และหัวหอม หัวกระเทียมอยู่
นวดข้าวฟ่างและลูกเดือย รวบรวมตากให้แห้ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๔. ปกิณณกนิบาต] ๑๓. ภิกขาปรัมปรชาดก (๔๙๖)
[๒๘๑] อาตมายังแสวงหาผัก เหง้าบัว น้ำผึ้ง เนื้อ
พุทรา และมะขามป้อมเหล่านั้นมาบริโภคอยู่
อาตมายังมีการยึดถือนั้นอยู่
[๒๘๒] เมื่ออาตมายังหุงโภชนะ ยังมีความกังวล
ยังมีความยึดมั่นถือมั่นอยู่
ควรถวายโภชนะแก่ท่านผู้ไม่หุง
ผู้ละเว้นความยึดถือว่าเป็นของเรา
ไม่มีความยึดมั่นถือมั่น
(กุฎุมพีกล่าวกับพระปัจเจกพุทธเจ้าว่า)
[๒๘๓] บัดนี้ ข้าพเจ้าขอถามภิกษุผู้นั่งนิ่ง มีวัตรอันดีงาม
ฤาษีได้ถวายภัตตาหารซึ่งมีกับที่ปรุงด้วยเนื้อสะอาดแก่ท่าน
[๒๘๔] ท่านรับภัตตาหารนั้นแล้ว นั่งนิ่งฉันแต่ผู้เดียว
ไม่เชื้อเชิญใครอื่น
ข้อนี้เป็นธรรมอะไรของท่านหรือ
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมท่าน
(พระปัจเจกพุทธเจ้าตอบว่า)
[๒๘๕] อาตมาไม่ได้หุงเอง มิได้ใช้ให้ใครหุง
ไม่ได้ตัดเอง มิได้ใช้ให้ใครตัด
เพราะรู้ว่า อาตมานั้นไม่มีความกังวล
งดเว้นจากบาปทั้งปวง
[๒๘๖] ฤๅษีจึงถือเอาภิกษาด้วยมือซ้าย ถือคนโทน้ำด้วยมือขวา
ได้ถวายภัตตาหารซึ่งมีกับที่ปรุงด้วยเนื้อสะอาดแก่อาตมา
[๒๘๗] เพราะชนทั้งหลายเหล่านี้ยังมีความยึดมั่นว่าเป็นของเรา
ยังมีความยึดมั่นถือมั่นจึงควรให้ทาน
ส่วนอาตมาสำคัญว่า ผู้เชื้อเชิญ ผู้ถวาย เป็นปฏิปทาที่ผิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก
(กุฎุมพีฟังคำของพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้วดีใจ จึงกล่าวว่า)
[๒๘๘] วันนี้ พระราชาผู้เป็นจอมทัพ
เสด็จมาที่นี่เพื่อประโยชน์แก่เราแท้ ๆ
ข้าพระองค์รู้ชัดในวันนี้ถึงเขตที่ถวายทานแล้วมีผลมาก
[๒๘๙] พระราชาทั้งหลายทรงพอพระทัยในแคว้น
พราหมณ์ทั้งหลายพอใจในกิจน้อยใหญ่
ฤๅษีทั้งหลายพอใจในมูลผลาหาร
ส่วนภิกษุทั้งหลายหลุดพ้นแล้ว
ภิกขาปรัมปรชาดกที่ ๑๓ จบ

รวมชาดกที่มีในนิบาตนี้ คือ

๑. สาลิเกทารชาดก ๒. จันทกินนรีชาดก
๓. มหาอุกกุสชาดก ๔. อุททาลกชาดก
๕. ภิสชาดก ๖. สุรุจิชาดก
๗. ปัญจุโปสถิกชาดก ๘. มหาโมรชาดก
๙. ตัจฉสูกรชาดก ๑๐. มหาวาณิชชาดก
๑๑. สาธินราชชาดก ๑๒. ทสพราหมณชาดก
๑๓. ภิกขาปรัมปรชาดก

ปกิณณกนิบาต จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๖๘ }


๑๕. วีสตินิบาต
๑. มาตังคชาดก (๔๙๗)
ว่าด้วยอานุภาพของฤๅษีมาตังคะ
(มัณฑัพยกุมารตรัสกับมาตังคดาบสว่า)
[๑] ท่านมาจากไหนหนอ
นุ่งผ้าเก่าขาดกะรุ่งกะริ่งเหมือนปีศาจคลุกฝุ่น
สวมใส่เศษผ้าจากกองขยะไว้จนถึงคอ
ท่านไม่ใช่ทักขิไณยบุคคล เป็นใครกันแน่
(พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า)
[๒] ขอถวายพระพรพระองค์ผู้เพียบพร้อมด้วยยศ
พราหมณ์ทั้งหลายย่อมขบฉันและดื่มกินอาหาร
ที่พระองค์ทรงตระเตรียมไว้
พระองค์ก็ทรงรู้ว่า อาตมาอาศัยอาหารที่ผู้อื่นให้เลี้ยงชีวิต
ขอคนจัณฑาลจงได้ก้อนข้าวที่ต้องการลุกขึ้นยืนรับเถิด
(มัณฑัพยกุมารตรัสว่า)
[๓] อาหารนี้เราตระเตรียมไว้สำหรับพราหมณ์ทั้งหลาย
อาหารนี้ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ตน สำหรับเราผู้เชื่อมั่น
ท่านจงหลีกไปแต่ที่นี้เถิด จะยืนอยู่ทำไม
พราหมณ์ผู้ชั่วช้า คนเช่นเราจะไม่ให้ท่าน
(พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า)
[๔] คนทั้งหลายเมื่อหวังผลย่อมหว่านพืชลงในนาดอน ๑
ในนาลุ่ม ๑ ในที่ไม่ใกล้แม่น้ำ ๑ ด้วยความเชื่อนั้น
ขอพระองค์จงให้ทาน พึงให้ทักขิไณยบุคคลยินดีได้แน่แท้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๑. มาตังคชาดก (๔๙๗)
(มัณฑัพยกุมารตรัสว่า)
[๕] เรารู้แจ้งเนื้อนาบุญเป็นที่ประดิษฐานเมล็ดพืชทั้งหลายในโลก
เนื้อนาบุญ คือ พราหมณ์ทั้งหลายที่เกิดโดยชาติและมนต์
นับว่าเป็นเนื้อนาบุญที่มีศีลเป็นที่รักยิ่ง
(พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า)
[๖] ก็อคุณธรรมเหล่านี้ คือ ความเมาเพราะชาติ ๑
ความมีมานะจัด ๑ โลภะ ๑ โทสะ ๑
มทะ ๑ โมหะ ๑ ทุกอย่างมีอยู่ในเนื้อนาบุญเหล่าใด
เนื้อนาบุญเหล่านั้นนับว่าเป็นเนื้อนาบุญที่ไม่มีศีลเป็นที่รักในโลก
[๗] อคุณธรรมเหล่านี้ คือ ความเมาเพราะชาติ ๑
ความมีมานะจัด ๑ โลภะ ๑ โทสะ ๑
มทะ ๑ โมหะ ๑ ทุกอย่างไม่มีอยู่ในเนื้อนาบุญเหล่าใด
เนื้อนาบุญเหล่านั้นนับว่าเป็นเนื้อนาบุญที่มีศีลเป็นที่รักในโลก
(เมื่อพระโพธิสัตว์กล่าวความนี้ซ้ำอีก มัณฑัพยกุมารทรงกริ้วแล้วตรัสว่า)
[๘] เจ้าอุปโชติยะ เจ้าอุปัชฌายะ
และเจ้าภัณฑกุจฉิไปไหนกันหมด
พวกเจ้าจงเฆี่ยนตี จงทำร้ายเจ้าดาบสนี้
แล้วจับคอเจ้าคนชั่ว ไสหัวมันออกไป
(พระโพธิสัตว์เหาะไปอยู่ในอากาศกราบทูลว่า)
[๙] พระองค์ทรงด่าว่าฤๅษีชื่อว่าขุดภูเขาด้วยเล็บ
เคี้ยวกินก้อนเหล็กด้วยฟันและพยายามกลืนกินไฟ
(พระศาสดาทรงประกาศข้อความนั้นว่า)
[๑๐] มาตังคฤๅษีครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว
มีความบากบั่นแน่วแน่ในสัจจะ
เมื่อพราหมณ์ทั้งหลายเห็นอยู่ ได้เหาะหนีไปในอากาศ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๑. มาตังคชาดก (๔๙๗)
(นางทิฏฐมังคลิการีบเสด็จไปโดยเร็วเห็นว่า)
[๑๑] ศีรษะบิดกลับไปข้างหลัง
แขนกางออกใช้การไม่ได้
นัยน์ตาขาวเหมือนนัยน์ตาของคนตายแล้ว
ใครหนอได้กระทำบุตรของดิฉันนี้ให้เป็นอย่างนี้
(ชนผู้อยู่ในที่นั้นบอกนางว่า)
[๑๒] สมณะนุ่งผ้าเก่าขาดกะรุ่งกะริ่งเหมือนปีศาจคลุกฝุ่น
สวมใส่เศษผ้าจากกองขยะไว้จนถึงคอได้มา ณ ที่นี้
สมณะรูปนั้นได้กระทำบุตรของท่านนี้ให้เป็นอย่างนี้
(นางทิฏฐมังคลิกาถามว่า)
[๑๓] พ่อมาณพ สมณะผู้มีปัญญาเพียงดังแผ่นดิน
ได้ไปยังทิศไหนเสียเล่า
ขอท่านโปรดบอกเนื้อความนั้นแก่ข้าพเจ้า
ข้าพเจ้าจะไปขอโทษท่าน
ทำอย่างไร ข้าพเจ้าจึงจะได้ชีวิตของบุตรนั้นคืนมา
(มาณพทั้งหลายผู้อยู่ในที่นั้นบอกว่า)
[๑๔] ฤๅษีผู้มีปัญญาเพียงดังแผ่นดินได้เหาะไป
ดุจพระจันทร์ในวันเพ็ญลอยอยู่ท่ามกลางนภากาศ
อีกอย่างหนึ่ง ฤๅษีผู้เป็นคนดีแม้รูปนั้น
ปฏิญญามั่นอยู่ด้วยสัจจะ ได้ไปทางทิศบูรพา
(นางทิฏฐมังคลิกาจะถามพระโพธิสัตว์ว่า)
[๑๕] ศีรษะบิดกลับไปข้างหลัง
แขนกางออกใช้การไม่ได้
นัยน์ตาขาวเหมือนนัยน์ตาของคนตายแล้ว
ใครหนอได้กระทำบุตรของดิฉันนี้ให้เป็นอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๒. จิตตสัมภูตชาดก (๔๙๘)
(พระโพธิสัตว์มาตังคบัณฑิตกล่าวตอบนางว่า)
[๑๖] ยักษ์ทั้งหลายผู้มีอานุภาพมากยังมีอยู่แล
ก็ยักษ์เหล่านั้นได้ติดตามฤๅษีทั้งหลายผู้เป็นคนดี
ทราบว่าบุตรของท่านมีจิตประทุษร้าย
โกรธเคืองจึงได้ทำให้เป็นอย่างนี้
(นางทิฏฐมังคลิกากล่าวว่า)
[๑๗] ก็ยักษ์ทั้งหลายได้กระทำบุตรของดิฉันให้เป็นอย่างนี้
ส่วนพระคุณเจ้าผู้ประพฤติพรหมจรรย์อย่าโกรธบุตรดิฉันเลย
พระคุณเจ้าผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสาร
ดิฉันขอถึงพระคุณเจ้าเท่านั้นเป็นที่พึ่งที่ระลึก เป็นบาทเบื้องต้น
ดิฉันได้ติดตามมาด้วยความโศกถึงบุตร
(พระโพธิสัตว์มาตังคบัณฑิตกล่าวว่า)
[๑๘] ทั้งในกาลนั้น ทั้งเดี๋ยวนี้ การคิดประทุษร้ายทางใจบางอย่าง
ของอาตมาก็ไม่มีแก่อาตมา ส่วนบุตรของท่านเป็นผู้มัวเมาเพราะ
ความเมาในพระเวท เรียนจบพระเวทแล้วหารู้จักประโยชน์ไม่
(นางทิฏฐมังคลิกากล่าวว่า)
[๑๙] แน่นอน ท่านผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสาร
ธรรมดาคนเรา สัญญาย่อมเลือนไปเพียงชั่วครู่
พระคุณเจ้าผู้มีปัญญาเพียงดังแผ่นดิน
ขอพระคุณเจ้าจงอดโทษสักครั้งหนึ่งเถิด
บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่มีความโกรธรุนแรง
(พระโพธิสัตว์มาตังคบัณฑิตผู้ถูกนางทิฏฐมังคลิกาอ้อนวอนขอโทษให้บุตร จึง
กล่าวว่า)
[๒๐] นี้ก้อนข้าวที่อาตมาฉันเหลือ
มัณฑัพยบุตรของท่านผู้มีปัญญาน้อยจงบริโภค
ยักษ์ทั้งหลายไม่พึงเบียดเบียนมัณฑัพยบุตรของท่าน
และบุตรของท่านจักเป็นผู้ไม่มีโรค

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๒. จิตตสัมภูตชาดก (๔๙๘)
(ลำดับนั้น มารดากล่าวกับบุตรว่า)
[๒๑] พ่อมัณฑัพยะ เจ้าเป็นคนโง่เขลาเบาปัญญา
ไม่ฉลาดต่อบุคคลผู้เป็นเนื้อนาบุญ
ได้ให้ทานในบุคคลผู้มีกิเลสเพียงดังน้ำฝาดมากมาย
ผู้มีการงานเศร้าหมอง ไม่สำรวม
[๒๒] บางพวกเกล้าผมเป็นชฎา บางพวกนุ่งหนังสัตว์
บางพวกปากมีหนวดรุงรังเหมือนบ่อน้ำเก่า
เจ้าจงดูหมู่ชนนี้ มีรูปทราม
มวยผมและหนังสัตว์คุ้มครองคนมีปัญญาทรามไม่ได้
[๒๓] ชนเหล่าใดคลายราคะ โทสะ และอวิชชาได้แล้ว
ชนเหล่านั้นมีอาสวะสิ้นแล้ว เป็นพระอรหันต์
ทานที่บุคคลถวายแล้วในท่านเหล่านั้นมีผลมาก
มาตังคชาดกที่ ๑ จบ

๒. จิตตสัมภูตชาดก (๔๙๘)
ว่าด้วยจิตตบัณฑิตกับพระเจ้าสัมภูตบัณฑิต
(พระราชาทรงขับเพลงขับว่า)
[๒๔] กรรมทุกอย่างที่นรชนประพฤติดีแล้วมีผล
ผลกรรมถึงจะเล็กน้อย ชื่อว่าเป็นโมฆะหามีไม่
เราเห็นสัตว์ผู้เกิดมามีอานุภาพมาก
ซึ่งเกิดแต่ผลบุญ เพราะกรรมของตน
[๒๕] กรรมทุกอย่างที่นรชนประพฤติดีแล้วมีผล
ผลกรรมถึงจะเล็กน้อยชื่อว่าเป็นโมฆะหามีไม่
แม้ท่านจิตตบัณฑิตมีมโนรถสำเร็จสมปรารถนา
เหมือนอย่างเราแลหรือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๒. จิตตสัมภูตชาดก (๔๙๘)
(เมื่อพระเจ้าสัมภูตะทรงขับเพลงจบลง กุมารขับเพลงตอบถวายพระราชาว่า)
[๒๖] กรรมทุกอย่างที่นรชนประพฤติดีแล้วมีผล
ผลกรรมถึงจะเล็กน้อยชื่อว่าเป็นโมฆะหามีไม่
ขอเดชะพระองค์ผู้สมมติเทพ แม้จิตตบัณฑิตพระองค์ก็โปรด
ทราบเถิดว่า ท่านมีมโนรถสำเร็จสมปรารถนาเหมือนพระองค์
(พระเจ้าสัมภูตะทรงสดับแล้ว จึงตรัสว่า)
[๒๗] เจ้าเป็นจิตตดาบสหรือหนอ หรือว่าเจ้าฟังมาจากคนอื่น
หรือใครได้บอกเรื่องนั้นกับเจ้า คาถาเจ้าขับดีแล้ว
เราไม่มีความสงสัย และเราจะให้บ้านส่วยแก่เจ้า ๑๐๐ หลัง
(ลำดับนั้น กุมารกราบทูลว่า)
[๒๘] ข้าพระองค์มิใช่จิตตฤๅษี และข้าพระองค์มิได้ฟังมาจากคนอื่น
แต่ฤๅษีได้บอกเนื้อความนี้แก่ข้าพระองค์ว่า
เจ้าจงไป จงขับคาถาตอบพระราชา
พระราชาทรงพอพระทัย พึงพระราชทานพรแก่เจ้าบ้าง
(พระเจ้าสัมภูตะทรงสดับแล้วจึงรับสั่งให้พวกราชบุรุษเตรียมกระบวนว่า)
[๒๙] พวกพนักงานจงเทียมราชรถที่ตกแต่งสวยงาม
เย็บปักอย่างวิจิตรตระการตา จงผูกสายรัดสัปคับช้าง
สวมเครื่องประดับคอ
[๓๐] ชาวพนักงานจงนำกลอง ตะโพน และสังข์มา
และจงเทียมราชยานที่เร็ว
วันนี้ เราจักไปสู่อาศรมที่เราเห็นฤๅษีนั่งอยู่
(พระเจ้าสัมภูตะเสด็จเข้าไปหาจิตตบัณฑิตดาบส ทรงดีพระทัยแล้วตรัสว่า)
[๓๑] หม่อมฉันเป็นผู้ได้ลาภดีแล้วหนอ
คาถาอันเขาขับดีแล้ว ณ ท่ามกลางบริษัท
หม่อมฉันนั้นมีปีติและโสมนัสเพราะได้เห็นฤๅษีผู้สมบูรณ์ด้วยสีลวัตร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๗๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๒. จิตตสัมภูตชาดก (๔๙๘)
(ตั้งแต่ได้พบจิตตบัณฑิตดาบส พระเจ้าสัมภูตะทรงโสมนัส จึงรับสั่งพวก
ราชบุรุษให้เตรียมสถานที่แล้วตรัสว่า)
[๓๒] ขอพระคุณเจ้าผู้เจริญจงรับอาสนะ น้ำ
และผ้าเช็ดเท้าของข้าพเจ้าเถิด
ข้าพเจ้าขอถวายของมีค่า๑ต้อนรับพระคุณเจ้าผู้เจริญ
ขอพระคุณเจ้าผู้เจริญจงใช้สอยของที่มีค่าของข้าพเจ้าด้วยเถิด
(พระเจ้าสัมภูตะเมื่อจะทรงแบ่งราชสมบัติถวายครึ่งหนึ่ง จึงตรัสว่า)
[๓๓] ขอพระองค์จงสร้างพระตำหนักที่น่ารื่นรมย์สำหรับพระองค์
ขอพระองค์ทรงให้หมู่นารีบำเรอเถิด
และจงให้โอกาสเพื่ออนุเคราะห์หม่อมฉัน
แม้เราทั้ง ๒ จะครอบครองความเป็นใหญ่ร่วมกัน
(จิตตบัณฑิตดาบสกราบทูลว่า)
[๓๔] ขอถวายพระพรมหาบพิตร อาตมาเห็นผลของทุจริต
และวิบากยิ่งใหญ่แห่งธรรมที่ประพฤติดีแล้วจักสำรวมตนอย่างเดียว
จึงไม่ปรารถนาบุตร ปศุสัตว์ หรือทรัพย์
[๓๕] ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายในโลกนี้เพียง ๑๐ ปีเท่านั้น
ชีวิตนั้นยังไม่ทันถึงเขตกำหนดซูบซีดไปเหมือนต้นอ้อที่ถูกตัด
[๓๖] ในสภาพชีวิตอย่างนั้นจะเพลิดเพลิน จะเล่นสนุกสนาน
จะรื่นเริง จะแสวงหาทรัพย์ไปทำไมกัน
ประโยชน์อะไรด้วยบุตรและภรรยาสำหรับอาตมา
อาตมาพ้นแล้วจากเครื่องผูก มหาบพิตร
[๓๗] อาตมานั้นทราบชัดอย่างนี้ว่า มัจจุราชจะไม่เมินเฉยต่ออาตมา
ผู้ถูกมฤตยูครอบงำ จะรื่นเริง จะแสวงหาทรัพย์ไปทำไมกัน

เชิงอรรถ :
๑ ของที่มีค่า ในที่นี้หมายถึงสิ่งของที่คู่ควรแก่การต้อนรับแขก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๒. จิตตสัมภูตชาดก (๔๙๘)
[๓๘] ขอเดชะพระองค์ผู้จอมชน
ชาติกำเนิดของนรชนไม่สม่ำเสมอ
ในหมู่มนุษย์ กำเนิดแห่งคนจัณฑาลนับว่าต่ำต้อยที่สุด
ในชาติก่อน พวกเราได้อาศัยอยู่ในครรภ์ของหญิงจัณฑาล
เพราะกรรมชั่วช้าของตน
[๓๙] พวกเราได้เกิดเป็นคนจัณฑาลในอวันตีชนบท
ได้เกิดเป็นเนื้ออยู่ที่ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา
ได้เกิดเป็นนกเขาอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำนัมมทา
แต่วันนี้เราทั้ง ๒ นั้นเป็นพราหมณ์และกษัตริย์
(จิตตบัณฑิตดาบสเมื่อให้พระเจ้าสัมภูตะเกิดอุตสาหะในบุญกุศลทั้งหลาย จึง
กล่าวว่า)
[๔๐] ชีวิตถูกชรานำเข้าไปใกล้มรณะ อายุของเหล่าสัตว์น้อยนัก
ชีวิตที่ถูกชรานำไป ย่อมไม่มีผู้ต้านทาน
ขอถวายพระพรพระเจ้าปัญจาละ
ขอมหาบพิตรจงทรงทำตามคำของอาตมา
มหาบพิตรอย่าได้ทรงทำกรรมซึ่งมีทุกข์เป็นกำไรเลย
[๔๑] ชีวิตถูกชรานำเข้าไปใกล้มรณะ อายุของเหล่าสัตว์น้อยนัก
ชีวิตที่ถูกชรานำไป ย่อมไม่มีผู้ต้านทาน
ขอถวายพระพรพระเจ้าปัญจาละ
ขอมหาบพิตรจงทรงทำตามคำของอาตมา
มหาบพิตรอย่าได้ทรงทำกรรมซึ่งมีทุกข์เป็นผลเลย
[๔๒] ชีวิตถูกชรานำเข้าไปใกล้มรณะ อายุของเหล่าสัตว์น้อยนัก
ชีวิตที่ถูกชรานำไปย่อมไม่มีผู้ต้านทาน
ขอถวายพระพรพระเจ้าปัญจาละ
ขอมหาบพิตรจงทรงทำตามคำของอาตมา
มหาบพิตรอย่าได้ทรงทำกรรมซึ่งมีธุลีแปดเปื้อนบนพระเศียรเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๒. จิตตสัมภูตชาดก (๔๙๘)
[๔๓] ชีวิตถูกชรานำเข้าไปใกล้มรณะ อายุของเหล่าสัตว์น้อยนัก
ชราย่อมขจัดผิวพรรณของนรชนผู้แก่ชรา
ขอถวายพระพรพระเจ้าปัญจาละ
ขอมหาบพิตรจงทรงทำตามคำของอาตมา
มหาบพิตรอย่าได้ทรงทำกรรมเพื่อเกิดในนรกเลย
(เมื่อพระโพธิสัตว์กล่าวอย่างนั้น พระราชาทรงยินดีแล้วจึงตรัสว่า)
[๔๔] คำของพระองค์นั้นเป็นคำสัตย์อย่างแท้จริง
คำนั้นเป็นเหมือนดังที่ฤๅษีกล่าว
แต่กามของหม่อมฉันมีอยู่มิใช่น้อย
ข้าแต่ท่านผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสาร
กามเหล่านั้นคนเช่นหม่อมฉันละได้ยาก
[๔๕] หม่อมฉันจมอยู่ในเปือกตมคือกาม
ไม่อาจดำเนินตามทางของภิกษุได้
เหมือนช้างเชือกที่จมอยู่ในท่ามกลางเปือกตม
เห็นที่เนินอยู่ก็ไม่อาจจะไปได้
[๔๖] มารดาบิดาพร่ำสอนบุตรด้วยหวังว่า
เขาจะมีความสุขได้อย่างไร แม้ฉันใด
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้พระองค์ก็ฉันนั้น พร่ำสอนหม่อมฉัน
โดยที่หม่อมฉันละโลกนี้ไปแล้วจะพึงเป็นสุขสิ้นกาลนาน
(พระโพธิสัตว์มาตังคบัณฑิตถวายพระพรว่า)
[๔๗] ขอถวายพระพรพระองค์ผู้จอมชน
หากมหาบพิตรไม่ทรงสามารถจะละกามซึ่งเป็นของมนุษย์เหล่านี้ได้
ขอพระองค์ทรงตั้งพลีกรรมที่เป็นธรรมเถิด มหาบพิตร
อนึ่ง การกระทำที่ไม่เป็นธรรมขออย่าได้มีในแคว้นของพระองค์เลย
[๔๘] ขอพวกทูตจงเที่ยวไปนิมนต์สมณะและพราหมณ์ทั้งหลาย
ทั่วทิศทั้ง ๔ มหาบพิตร ขอทรงบำรุงสมณะและพราหมณ์
เหล่านั้นด้วยข้าว น้ำ ผ้า เสนาสนะ และปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๓. สีวิราชชาดก (๔๙๙)
[๔๙] พระองค์ผู้มีพระหฤทัยเลื่อมใส
ทรงเลี้ยงสมณะและพราหมณ์ทั้งหลายให้อิ่มหนำด้วยข้าวและน้ำ
ทรงถวายและทรงเสวยตามความสามารถ จะไม่ถูกนินทา
ขอทรงเข้าถึงแดนสวรรค์เถิด
[๕๐] มหาบพิตร หากว่าความเมาพึงครอบงำพระองค์
ซึ่งมีหมู่นารีบำเรออยู่ ขอพระองค์ทรงมนสิการคาถานี้
และขอจงตรัสคาถานี้ในท่ามกลางบริษัท
[๕๑] สัตว์ผู้นอนอยู่กลางแจ้ง
มีหญิงจัณฑาลผู้เมื่อจะไปป่าให้ดื่มน้ำนม
แล้วคลุกคลีอยู่กับฝูงสุนัข
สัตว์นั้นวันนี้เขาเรียกกันว่า พระราชา
จิตตสัมภูตชาดกที่ ๒ จบ

๓. สีวิราชชาดก (๔๙๙)
ว่าด้วยพระเจ้าสีพี
(ท้าวสักกเทวราชทูลขอดวงพระเนตรกับพระราชาว่า)
[๕๒] ข้าพระพุทธเจ้าเป็นคนเฒ่า มองเห็นได้ไม่ไกล
มาเพื่อทูลขอพระจักษุ เราทั้ง ๒ จักมีนัยน์ตาคนละข้าง
ข้าพระพุทธเจ้าทูลขอแล้ว
ขอพระองค์โปรดพระราชทานพระจักษุแก่ข้าพระพุทธเจ้าเถิด
(พระโพธิสัตว์ได้สดับดังนั้นทรงดีพระทัย จึงตรัสว่า)
[๕๓] วณิพก ใครแนะนำเจ้าให้มาขอดวงตา ณ ที่นี้
เจ้าขอดวงตาซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญ ยากที่จะสละได้ง่าย ๆ
ที่บัณฑิตกล่าวไว้ว่า เป็นของที่คนสละได้ยาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๓. สีวิราชชาดก (๔๙๙)
(ท้าวสักกเทวราชตรัสว่า)
[๕๔] ท่านผู้ใด ในเทวโลกเขาเรียกกันว่า สุชัมบดี
ท่านผู้นั้น ในมนุษยโลกเขาเรียกกันว่า มัฆวาน
ข้าพระพุทธเจ้าเป็นวณิพก
ท่านผู้นั้นแนะนำให้มาขอพระราชทานดวงพระเนตรในที่นี้
[๕๕] เมื่อข้าพระพุทธเจ้าทูลวิงวอนขอพระราชทานอวัยวะอันสำคัญอยู่
ขอพระองค์ผู้ถูกขอโปรดพระราชทาน
ดวงพระเนตรแก่ข้าพระพุทธเจ้าเถิด
ขอพระองค์โปรดพระราชทานดวงพระเนตรซึ่งเป็นอวัยวะที่สำคัญ
ที่บัณฑิตกล่าวไว้ว่า คนสละได้ยาก แก่ข้าพระพุทธเจ้าเถิด
(พระราชาตรัสว่า)
[๕๖] เจ้ามาด้วยความประสงค์อันใด
ปรารถนาประโยชน์อันใดอยู่
ขอความดำริเหล่านั้นจงสำเร็จแก่เจ้า
พราหมณ์ เจ้าจงได้ดวงตาเถิด
[๕๗] เมื่อเจ้าขอข้างเดียว เราจะให้ทั้ง ๒ ข้าง
เมื่อประชาชนเพ่งดูอยู่ เจ้าจงเป็นผู้มีดวงตาไปเถิด
เจ้าปรารถนาสิ่งใด ขอสิ่งนั้นจงสำเร็จแก่เจ้า
(ข้าราชการมีเสนาบดีเป็นต้น ราชวัลลภ ชาวพระนคร และนางสนมกราบทูล
ทัดทานว่า)
[๕๘] ขอเดชะพระองค์ผู้สมมติเทพของข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ขอพระองค์อย่าได้พระราชทานดวงพระเนตรเลย
อย่าทรงละทิ้งพวกข้าพระพุทธเจ้าทั้งปวงเลย
ขอเดชะพระมหาราช ขอพระองค์พระราชทานทรัพย์
แก้วมุกดา และแก้วไพฑูรย์จำนวนมากไปเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๓. สีวิราชชาดก (๔๙๙)
[๕๙] ขอเดชะพระองค์ผู้สมมติเทพ
ขอพระองค์จงพระราชทานราชรถ
ที่เทียมด้วยม้าอาชาไนย ซึ่งประดับตบแต่งแล้ว
ขอพระองค์จงพระราชทานพญาช้าง
และที่อยู่อาศัยที่ทำด้วยทองคำเถิด
[๖๐] ขอเดชะพระองค์ผู้จอมทัพ
ขอพระองค์จงพระราชทานสิ่งของให้พราหมณ์
เหมือนกับชาวกรุงสีพีที่มียานพาหนะและรถ
พึงตามเสด็จแวดล้อมพระองค์ในกาลทุกเมื่อ
(ลำดับนั้น พระราชาได้ตรัส ๓ คาถาว่า)
[๖๑] ผู้ใดพูดว่า เราจักให้แล้วกลับใจไม่ให้
ผู้นั้นชื่อว่าสวมบ่วงที่ตกไปบนพื้นดินไว้ที่คอ
[๖๒] ผู้ใดพูดว่า เราจักให้แล้วกลับใจไม่ให้
ผู้นั้นเป็นคนเลวกว่าคนที่เลว
ชื่อว่าเข้าถึงสถานที่ลงโทษแห่งพญายม
[๖๓] เขาขอสิ่งใด ควรให้สิ่งนั้น
เขาไม่ขอสิ่งใด ไม่ควรให้สิ่งนั้น
เราจักให้สิ่งที่พราหมณ์ขอกับเราเท่านั้น
(ลำดับนั้น พวกอำมาตย์ทูลถามพระราชาว่า)
[๖๔] ขอเดชะพระองค์ผู้จอมชน
พระองค์ทรงปรารถนาอายุ วรรณะ สุข
หรือพละอะไรหรือ จึงได้พระราชทาน
พระราชาผู้เป็นใหญ่แห่งชาวสีพี
จะพึงพระราชทานดวงพระเนตร
เพราะเหตุแห่งปรโลกได้อย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๓. สีวิราชชาดก (๔๙๙)
(พระราชาตรัสว่า)
[๖๕] เราบริจาคดวงตานั้นเพราะยศก็หามิได้
เราจะปรารถนาบุตร ทรัพย์ และแคว้นก็หาไม่
แต่นี้เป็นธรรมของสัตบุรุษที่ท่านประพฤติมาแต่โบราณ
เพราะเหตุนั้นแล ใจของเราจึงยินดีในการให้ทาน
ดวงตาทั้ง ๒ ข้างเราจะเกลียดชังก็หาไม่
ตัวตนเราจะเกลียดชังก็หาไม่
แต่สัพพัญญุตญาณเป็นที่รักของเรา
เพราะเหตุนั้น เราจึงได้บริจาคดวงตา
(พระโพธิสัตว์ได้กำชับนายแพทย์สีวิกะว่า)
[๖๖] นายแพทย์สีวิกะ ท่านเป็นเพื่อน เป็นมิตรของเรา
ศึกษามาดีแล้ว จงทำตามคำของเราโดยดี
เมื่อเรายังเห็นอยู่ ท่านจงควักดวงตา
แล้ววางไว้ในมือของวณิพก
(พระศาสดาทรงประกาศข้อความนั้นว่า)
[๖๗] นายแพทย์สีวิกะถูกพระเจ้าสีพีทรงเตือน
จึงกระทำตามรับสั่ง ได้ควักดวงพระเนตรของพระราชาแล้ว
ได้น้อมเข้าไปให้แก่พราหมณ์ พราหมณ์เป็นคนมีตาดี
พระราชากลับกลายเป็นคนมีพระเนตรบอดไป
[๖๘] จากวันนั้น สองสามวันต่อมา
เมื่อดวงพระเนตรมีเนื้องอกขึ้นมา
พระราชาผู้ทรงบำรุงแคว้นแห่งชาวกรุงสีพี
ให้เจริญรุ่งเรืองพระองค์นั้นทรงรับสั่งหานายสารถีมาตรัสว่า
[๖๙] พ่อสารถี เจ้าจงจัดเทียมยาน
เทียมเสร็จแล้วจงบอกให้ทราบ
เราจะไปยังอุทยาน สระโบกขรณี และราวป่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๓. สีวิราชชาดก (๔๙๙)
[๗๐] ก็พระราชาได้เสด็จเข้าไปประทับนั่งขัดสมาธิที่ริมฝั่งสระโบกขรณี
ท้าวสุชัมบดีสักกเทวราชได้ทรงปรากฏแก่ท้าวเธอ
(ฝ่ายท้าวสักกะซึ่งพระโพธิสัตว์ได้ยินเสียงฝีพระบาทแล้วทูลถาม จึงตรัสว่า)
[๗๑] ฤๅษีเจ้า หม่อมฉันเป็นท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทพ
ได้มาที่สำนักของพระองค์
ขอพระองค์จงขอพรที่พระองค์มีพระทัยปรารถนา
(พระราชาตรัสว่า)
[๗๒] ขอถวายพระพรท้าวสักกะ ทรัพย์ของอาตมาก็มีเพียงพอ
พลนิกายและพระคลังก็มีมิใช่น้อย
แต่บัดนี้ อาตมาเป็นคนตาบอดจึงพอใจการตายเท่านั้น
(ท้าวสักกะตรัสว่า)
[๗๓] พระมหากษัตริย์ผู้จอมมนุษย์ คำเหล่าใดเป็นคำสัตย์
ขอพระองค์จงตรัสคำเหล่านั้น
เมื่อพระองค์ตรัสคำสัตย์ ดวงพระเนตรจักปรากฏมีอีก
(พระโพธิสัตว์ผู้เป็นพระราชาได้ทำสัจจกิริยาว่า)
[๗๔] วณิพกมีโคตรต่าง ๆ กันเหล่าใดพากันมาเพื่อจะขอกับอาตมา
บรรดาวณิพกเหล่านั้น ผู้ใดย่อมขออาตมา
แม้ผู้นั้นย่อมเป็นที่รักแห่งใจของอาตมา
ด้วยสัจจวาจานี้ ขอดวงตาจงเกิดขึ้นแก่อาตมา
(ต่อมาไดัตรัสอีกว่า)
[๗๕] พราหมณ์ผู้มาขอกับอาตมาแล้วว่า
ขอพระองค์โปรดพระราชทานดวงตาข้างหนึ่งเถิด
อาตมาได้ประทานดวงตาให้พราหมณ์ซึ่งขออยู่นั้นไป ๒ ข้าง
[๗๖] ปีติและโสมนัสมิใช่น้อยได้ท่วมทับโดยยิ่ง
ด้วยสัจจวาจานี้ ขอดวงตาดวงที่ ๒ จงเกิดขึ้นแก่อาตมา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๓. สีวิราชชาดก (๔๙๙)
(ท้าวสักกะทรงชมเชยพระโพธิสัตว์ในท่ามกลางมหาชนว่า)
[๗๗] พระองค์ผู้ทรงผดุงแคว้นให้เจริญแก่ชาวกรุงสีพี
พระองค์ตรัสคาถาโดยธรรม
ดวงพระเนตรของพระองค์เหล่านี้จะปรากฏเป็นทิพย์
[๗๘] จะให้พระองค์สำเร็จการเห็นทะลุผ่านภายนอกฝา
ภายนอกกำแพงศิลาและภูเขาไปได้ไกลถึง ๑๐๐ โยชน์โดยรอบ
(พระโพธิสัตว์แสดงธรรมว่า)
[๗๙] ในโลกนี้ ใครหนอถูกเขาขอแล้ว
ไม่พึงให้ทรัพย์เครื่องปลื้มใจ
ทั้งวิเศษ ทั้งเป็นที่รักยิ่งของตน
เอาเถิด เราขอเตือนชาวสีพีทุกคนที่มาประชุมพร้อมกัน
ขอพวกท่านจงดูดวงตาทั้ง ๒ ซึ่งเป็นทิพย์ของเราในวันนี้
[๘๐] จะให้เราสำเร็จการเห็นทะลุผ่านภายนอกฝา
ภายนอกกำแพงศิลาและภูเขา
ไปได้ไกลถึง ๑๐๐ โยชน์โดยรอบ
[๘๑] ไม่มีอะไรของเหล่าสัตว์ในมนุษยโลกนี้
ที่จะยอดเยี่ยมไปกว่าการบริจาค
เราได้บริจาคดวงตาซึ่งเป็นของมนุษย์แล้ว
กลับได้ดวงตาอันยิ่งกว่าของมนุษย์
[๘๒] พี่น้องชาวกรุงสีพีทั้งหลาย
พวกท่านได้เห็นดวงตาทิพย์ ที่เราได้แล้วแม้นี้
จงให้ทาน จงบริโภคเถิด
คนที่ให้แล้วและบริโภคแล้วตามความสามารถ
ไม่พึงถูกนินทา พึงเข้าถึงแดนสวรรค์
สีวิราชชาดกที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๔. สิรีมันตชาดก (๕๐๐)
๔. สิรีมันตชาดก (๕๐๐)
ว่าด้วยปัญหาความมีสิริกับมีปัญญา
(พระราชาตรัสในสิริมันตปัญหาว่า)
[๘๓] ท่านอาจารย์เสนกะ เราขอถามเนื้อความนี้กับท่าน
ในคน ๒ ประเภทนี้ คือ คนที่มีปัญญาแต่ปราศจากสิริ
หรือคนที่มียศแต่ปราศจากปัญญา
ผู้ฉลาดกล่าวคนไหนว่าประเสริฐ
(เสนกบัณฑิตกราบทูลอย่างฉับพลันว่า)
[๘๔] ขอเดชะพระองค์ผู้จอมชน
คนทั้งหลายเป็นนักปราชญ์ก็ตาม เป็นคนโง่ก็ตาม
มีศิลปะก็ตาม ไม่มีศิลปะก็ตาม
แม้มีชาติสกุลสูง ก็เป็นคนรับใช้ของคนมียศถึงจะมีชาติสกุลต่ำ
ข้าพระองค์เห็นเหตุแม้นี้ จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญาเป็นคนเลว
คนมีสิริเท่านั้นเป็นคนประเสริฐ
(พระราชาตรัสถามมโหสธบัณฑิตซึ่งนั่งเป็นคนใหม่ในหมู่บัณฑิตว่า)
[๘๕] เราขอถามท่านบ้าง พ่อมโหสธบัณฑิต
ผู้มีปัญญาไม่ทราม ผู้เห็นธรรมโดยสิ้นเชิง ในคน ๒ ประเภทนี้
คือ คนโง่แต่มียศ หรือบัณฑิตแต่มีโภคทรัพย์น้อย
ผู้ฉลาดกล่าวคนไหนว่าประเสริฐ
(พระโพธิสัตว์มโหสธบัณฑิตกราบทูลว่า)
[๘๖] คนโง่ทำแต่กรรมชั่ว สำคัญอิสริยยศนี้เท่านั้นว่าประเสริฐ
คนโง่เห็นแต่โลกนี้ ไม่เห็นโลกหน้า
จึงยึดถือเอาแต่โทษในโลกทั้ง ๒
ข้าพระองค์เห็นเหตุแม้นี้จึงกราบทูลว่า
คนมีปัญญาเท่านั้นประเสริฐ คนโง่ที่มียศหาประเสริฐไม่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๔. สิรีมันตชาดก (๕๐๐)
(เสนกบัณฑิตกราบทูลคัดค้านแล้วว่า)
[๘๗] ศิลปะนี้ก็ดี เผ่าพันธุ์ก็ดี ส่วนแห่งร่างกายก็ดี
หาจัดแจงโภคะได้ไม่
โปรดทอดพระเนตรโควินทะผู้ใบ้เพราะน้ำลาย
ซึ่งไดัรับความสุขเพราะคนมีสิริย่อมคบหาเขา
ข้าพระองค์เห็นเหตุแม้นี้จึงกราบทูลว่า
คนมีปัญญาเป็นคนเลว คนมีสิริเท่านั้นประเสริฐ
(มโหสธบัณฑิตกราบทูลคัดค้านว่า)
[๘๘] คนมีปัญญาน้อยได้รับความสุขย่อมมัวเมา
แม้ถูกความทุกข์กระทบย่อมหลง
ถูกความสุขและความทุกข์จรมากระทบเข้า
ย่อมหวั่นไหวเหมือนปลาในฤดูร้อน
ข้าพระองค์เห็นเหตุแม้นี้จึงกราบทูลว่า
คนมีปัญญาเท่านั้นประเสริฐ คนโง่ถึงมียศก็หาประเสริฐไม่
(เสนกบัณฑิตกราบทูลคัดค้านว่า)
[๘๙] ต้นไม้ในป่าที่มีผลดก ฝูงนกย่อมบินโฉบไปมาอยู่รอบต้นฉันใด
คนผู้มั่งคั่งมีทรัพย์ มีโภคะก็ฉันนั้น
คนเป็นจำนวนมากย่อมคบหาเพราะเหตุแห่งประโยชน์
ข้าพระองค์เห็นเหตุแม้นี้จึงกราบทูลว่า
คนมีปัญญาเป็นคนเลว คนมีสิริเท่านั้นประเสริฐ
(มโหสธบัณฑิตกราบทูลคัดค้านว่า)
[๙๐] คนโง่ถึงจะมีกำลังก็หายังประโยชน์ให้สำเร็จได้ไม่
นายนิรยบาลทั้งหลายย่อมฉุดคร่าคนมีปัญญาทราม
ผู้คร่ำครวญถึงทรัพย์ที่ตนหามาได้ด้วยกรรมอันโหดร้าย
ไปสู่นรกที่มีเวทนาอันแรงกล้า
ข้าพระองค์เห็นเหตุแม้นี้จึงกราบทูลว่า
คนมีปัญญาเท่านั้นประเสริฐ คนโง่ถึงมียศก็หาประเสริฐไม่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๔. สิรีมันตชาดก (๕๐๐)
(เสนกบัณฑิตกราบทูลว่า)
[๙๑] แม่น้ำบางสายย่อมไหลลงสู่แม่น้ำคงคา
แม่น้ำเหล่านั้นทุกสายย่อมละทิ้งชื่อและโคตร(ของตน)
แม่น้ำคงคาเมื่อไหลลงสู่ท้องทะเลก็ไม่ปรากฏชื่อฉันใด
แม้คนมีปัญญาในโลกก็ฉันนั้น ย่อมไม่ปรากฏความสำเร็จ
ข้าพระองค์เห็นเหตุแม้นี้จึงกราบทูลว่า
คนมีปัญญาเป็นคนเลว คนมีสิริเท่านั้นประเสริฐ
(มโหสธบัณฑิตกราบทูลว่า)
[๙๒] ทะเลใหญ่หลวงที่ท่านอาจารย์กล่าวถึง
ซึ่งแม่น้ำน้อยใหญ่หลั่งไหลไป
นับไม่ถ้วนอยู่ตลอดกาลทั้งปวง
มีกำลังโอฬารอยู่เป็นนิตย์
มหาสมุทรย่อมไม่ล่วงเลยฝั่งไปได้ฉันใด
[๙๓] แม้ถ้อยคำของคนโง่ก็ฉันนั้น ในกาลบางครั้งบางคราว
ถึงคนมีสิริก็ไม่ล่วงเลยคนมีปัญญาไปได้
ข้าพระองค์เห็นเหตุแม้นี้จึงกราบทูลว่า
คนมีปัญญาเท่านั้นประเสริฐ คนโง่ถึงมียศก็หาประเสริฐไม่
(เสนกบัณฑิตกราบทูลว่า)
[๙๔] ถึงแม้คนผู้ไม่สำรวมแต่มียศ
ดำรงอยู่ในฐานะผู้วินิจฉัย
ย่อมกล่าวเนื้อความแก่คนเหล่าอื่น
ถ้อยคำของเขานั้นนั่นแลย่อมงอกงามในท่ามกลางแห่งหมู่ญาติ
เพราะคนมีสิริยังคนเหล่าอื่นให้ทำตามถ้อยคำของตนนั้นได้
คนมีปัญญาหาทำได้ไม่
ข้าพระองค์เห็นเหตุแม้นี้จึงกราบทูลว่า
คนมีปัญญาเป็นคนเลว คนมีสิริเท่านั้นประเสริฐ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๔. สิรีมันตชาดก (๕๐๐)
(มโหสธบัณฑิตกราบทูลว่า)
[๙๕] เพราะเหตุแห่งคนอื่นบ้าง หรือเพราะเหตุแห่งตนบ้าง
คนโง่มีปัญญาน้อยย่อมพูดเท็จได้
เขาย่อมถูกนินทาในท่ามกลางสภา แม้ในภายหลังเขาย่อมไปสู่ทุคติ
ข้าพระองค์เห็นเหตุแม้นี้จึงกราบทูลว่า
คนมีปัญญาเท่านั้นประเสริฐ คนโง่ถึงมียศก็หาประเสริฐไม่
(เสนกบัณฑิตกราบทูลว่า)
[๙๖] คนมีปัญญาดังแผ่นดินแต่ไม่มีที่อยู่อาศัย
มีทรัพย์น้อย ยากจน แม้หากจะกล่าวข้อความ
ถ้อยคำของเขานั้นหางอกงามในท่ามกลางหมู่ญาติไม่
ธรรมดาสิริไม่มีแก่คนมีปัญญา
ข้าพระองค์เห็นเหตุแม้นี้จึงกราบทูลว่า
คนมีปัญญาเป็นคนเลว คนมีสิริเท่านั้นประเสริฐ
(มโหสธบัณฑิตกราบทูลว่า)
[๙๗] เพราะเหตุแห่งคนอื่นบ้าง เพราะเหตุแห่งตนบ้าง
คนมีปัญญาดังแผ่นดินจะไม่พูดเหลาะแหละ
เขามีคนบูชาแล้วในท่ามกลางสภา แม้ในภายหลังเขาก็ไปสู่สุคติ
ข้าพระองค์เห็นเหตุแม้นี้ จึงกราบทูลว่า
คนมีปัญญาเท่านั้นประเสริฐ คนโง่ถึงมียศก็หาประเสริฐไม่
(เสนกบัณฑิตกราบทูลว่า)
[๙๘] ช้าง โค ม้า ต่างหูแก้วมณี
และหญิงทั้งหลายเกิดในสกุลที่มั่งคั่ง
ทั้งหมดเหล่านั้นล้วนเป็นเครื่องอุปโภคของคนมั่งคั่ง
คนผู้ไม่มั่งคั่งก็เป็นเครื่องอุปโภคของคนมั่งคั่ง
ข้าพระองค์เห็นเหตุแม้นี้ จึงกราบทูลว่า
คนมีปัญญาเป็นคนเลว คนมีสิริเท่านั้นประเสริฐ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๕. โรหณมิคชาดก (๕๐๑)
(มโหสธบัณฑิตยกเหตุผลอย่างอื่นมาว่า)
[๙๙] สิริย่อมละคนโง่ผู้ไม่จัดแจงการงาน
มีความคิดเลวทราม มีปัญญาทรามไปเหมือนงูลอกคราบเก่าทิ้ง
ข้าพระองค์เห็นเหตุแม้นี้จึงกราบทูลว่า
คนมีปัญญาเท่านั้นประเสริฐ คนโง่ถึงมียศก็หาประเสริฐไม่
(ต่อมาเสนกบัณฑิตคิดจะทำลายวาทะของมโหสธบัณฑิต จึงกล่าวว่า)
[๑๐๐] ขอจงทรงพระเจริญ ข้าพระองค์ทั้ง ๕ คนนี่แหละเป็นบัณฑิต
ทั้งหมดล้วนต้องประคองอัญชลีบำรุงพระองค์
พระองค์ทรงเป็นอิสระครอบงำข้าพระองค์ทั้งหลาย
ดุจท้าวสักกเทวราชผู้เป็นเจ้าแห่งภูต
ข้าพระองค์เห็นเหตุแม้นี้จึงกราบทูลว่า
คนมีปัญญาเป็นคนเลว คนมีสิริเท่านั้นประเสริฐ
(พระโพธิสัตว์มโหสธบัณฑิตเมื่อจะทำลายวาทะของเสนกบัณฑิต จึงกราบทูล
พระราชาว่า)
[๑๐๑] คนโง่มียศ เมื่อมีเหตุต่าง ๆ เกิดขึ้น
ก็เป็นทาสคนมีปัญญา
บัณฑิตย่อมจัดการเหตุที่ละเอียดได้
คนโง่ย่อมถึงความงวยงงในเหตุนั้น
ข้าพระองค์เห็นเหตุแม้นี้จึงกราบทูลว่า
คนมีปัญญาเท่านั้นประเสริฐ คนโง่ถึงมียศก็หาประเสริฐไม่
(พระโพธิสัตว์มโหสธบัณฑิตสรรเสริญปัญญาให้ยิ่งขึ้นไปว่า)
[๑๐๒] แท้จริง ปัญญาเท่านั้นสัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญ
สิริเป็นที่ต้องการของคนโง่ผู้ยินดีในโภคะ
ส่วนญาณของท่านผู้รู้ทั้งหลายชั่งไม่ได้
คนมีสิริล่วงเลยคนมีปัญญาไปไม่ได้ไม่ว่าในกาลไหน ๆ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๕. โรหณมิคชาดก (๕๐๑)
(พระราชาสดับดังนั้นทรงยินดีต่อการแก้ปัญหาของพระโพธิสัตว์มโหสธ จึงตรัสว่า)
[๑๐๓] พ่อมโหสธบัณฑิตผู้เห็นธรรมโดยสิ้นเชิง
เราได้ถามปัญหาใดกับเจ้า เจ้าก็ได้แก้ปัญหานั้นแก่เรา
เราพอใจการแก้ปัญหา จึงให้โคแก่เจ้า ๑,๐๐๐ ตัว
โคอุสภะและช้าง รถเทียมม้าอาชาไนยเหล่านี้ ๑๐ คัน
และบ้านส่วย ๑๖ ตำบล
สิรีมันตชาดกที่ ๔ จบ

๕. โรหณมิคชาดก (๕๐๑)
ว่าด้วยพญาเนื้อชื่อโรหณะ
(พระโพธิสัตว์เกิดเป็นพญาเนื้อโรหณะพบเนื้อจิตตกะตัวน้อง จึงกล่าวว่า)
[๑๐๔] พ่อจิตตกะ ฝูงเนื้อเหล่านั้นกลัวตายจึงพากันหลบหนีไป
ถึงเจ้าก็จงหนีไปเถิด อย่าห่วงใยพี่เลย
ฝูงเนื้อเหล่านั้นจักมีชีวิตอยู่ร่วมกับเจ้า
(เนื้อจิตตกะตอบว่า)
[๑๐๕] พี่โรหณะ ฉันไม่ไป ถึงใครจักควักดวงใจฉันไป
ฉันก็จักไม่ละทิ้งพี่ไป ฉันจักสละชีวิตทิ้งไว้ ณ ที่นี่
(พญาเนื้อโรหณะกล่าวว่า)
[๑๐๖] ก็บิดามารดาผู้ตาบอดของพวกเรา
ท่านทั้ง ๒ นั้นไม่มีผู้นำจักต้องตายแน่
ถึงเจ้าก็จงหนีไปเถิด อย่าห่วงใยพี่เลย
ท่านทั้ง ๒ นั้นจักมีชีวิตอยู่ร่วมกับเจ้า
(เนื้อจิตตกะกล่าวว่า)
[๑๐๗] พี่โรหณะ ฉันไม่ไป ถึงใครจักควักดวงใจฉันไป
ฉันก็จักไม่ละทิ้งพี่ผู้ติดบ่วงไป ฉันจักสละชีวิตทิ้งไว้ ณ ที่นี่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๕. โรหณมิคชาดก (๕๐๑)
(พระโพธิสัตว์โรหณะเห็นน้องสุตนากลับมา จึงกล่าวว่า)
[๑๐๘] หนีไปเถิด น้องหญิงผู้มีความกลัว เจ้าจงหนีไป
พี่ติดบ่วงที่ล่ามติดกับเหล็ก ถึงเจ้าก็จงหนีไปเถิด
อย่าห่วงใยพี่เลย ฝูงเนื้อเหล่านั้นจักมีชีวิตอยู่ร่วมกับเจ้า
(เนื้อสุตนากล่าวว่า)
[๑๐๙] พี่โรหณะ ฉันไม่ไป ถึงใครจักควักดวงใจฉันไป
ฉันก็จักไม่ละทิ้งพี่ไป ฉันจักสละชีวิตทิ้งไว้ ณ ที่นี่
(พญาเนื้อโพธิสัตว์โรหณะกล่าวว่า)
[๑๑๐] ก็บิดามารดาผู้ตาบอดของพวกเรา
ท่านทั้ง ๒ นั้นไม่มีผู้นำจักต้องตายแน่
ถึงเจ้าก็จงหนีไปเถิด อย่าห่วงใยพี่เลย
ท่านทั้ง ๒ นั้นจักมีชีวิตอยู่ร่วมกับเจ้า
(เนื้อสุตนาตอบว่า)
[๑๑๑] พี่โรหณะ ฉันไม่ไป ถึงใครจักควักดวงใจฉันไป
ฉันก็จักไม่ละทิ้งพี่ผู้ติดบ่วงไป ฉันจักสละชีวิตทิ้งไว้ ณ ที่นี่
(พญาเนื้อโพธิสัตว์โรหณะเห็นนายพรานกำลังเดินมา จึงกล่าวว่า)
[๑๑๒] นั่นไง นายพรานผู้โหดร้ายพร้อมทั้งอาวุธ
ผู้จักใช้ลูกศรหรือหอกฆ่าพวกเราในวันนี้กำลังเดินมา
(พระศาสดาทรงประกาศข้อความนั้นว่า)
[๑๑๓] นางลูกเนื้อนั้น ถูกภัยบีบคั้นคุกคามวิ่งหนีไปครู่หนึ่ง
ถึงจะมีความกลัวแต่ก็ได้ทำสิ่งที่ทำได้แสนยาก
ได้กลับมาเผชิญหน้าต่อความตาย
(นายพรานถามเหตุผลที่เนื้อ ๒ ตัวเป็นอะไรกับพญาเนื้อว่า)
[๑๑๔] เนื้อทั้ง ๒ นี้เป็นอะไรกับเจ้าหนอ
พ้นไปแล้วยังกลับมาหาเจ้าผู้ติดบ่วงอีก
พวกเขาไม่ปรารถนาจะทิ้งเจ้าไปแม้เพราะเหตุแห่งชีวิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๕. โรหณมิคชาดก (๕๐๑)
[๑๑๔] เนื้อทั้ง ๒ นี้เป็นอะไรกับเจ้าหนอ
พ้นไปแล้วยังกลับมาหาเจ้าผู้ติดบ่วงอีก
พวกเขาไม่ปรารถนาจะทิ้งเจ้าไปแม้เพราะเหตุแห่งชีวิต
(ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ได้บอกแก่นายพรานนั้นว่า)
[๑๑๕] นายพราน เขาทั้ง ๒ เป็นพี่น้อง
ร่วมท้องมารดาเดียวกันกับข้าพเจ้า
พวกเขาจึงไม่ปรารถนาจะทิ้งข้าพเจ้าไปแม้เพราะเหตุแห่งชีวิต
(พญาเนื้อจิตตกะรู้ว่านายพรานมีจิตอ่อนโยนจึงกล่าวเหตุผลต่าง ๆ ว่า)
[๑๑๖] ก็บิดามารดาผู้ตาบอดของพวกเรา
ท่านทั้ง ๒ นั้นไม่มีผู้นำจักต้องตายแน่
ขอท่านจงให้ชีวิตแก่พวกเราทั้ง ๕
โปรดปล่อยพี่ชายของพวกเราเถิด พ่อพราน
(นายพรานนั้นฟังธรรมของเนื้อจิตตกะแล้วมีจิตเลื่อมใส จึงกล่าวปลอบโยนว่า)
[๑๑๗] เรานั้นจะปล่อยเนื้อที่เลี้ยงบิดามารดา
ขอบิดามารดาของพวกเจ้าจงรื่นเริงบันเทิงใจ
เพราะได้เห็นพญาเนื้อหลุดพ้นจากบ่วงแล้วเถิด
(เนื้อจิตตกะพบพระโพธิสัตว์แล้วดีใจจึงอนุโมทนาแก่นายพรานว่า)
[๑๑๘] นายพราน วันนี้ข้าพเจ้าเห็นพญาเนื้อ
พ้นจากอันตรายแล้วย่อมร่าเริงฉันใด
ขอท่านพร้อมกับญาติทั้งหมดจงร่าเริงฉันนั้นเถิด
(บิดามารดาถามถึงเหตุที่พญาเนื้อโรหณะหลุดจากบ่วงว่า)
[๑๑๙] เมื่อชีวิตเข้ามาใกล้ความตาย เจ้าหลุดพ้นมาได้อย่างไร
ลูกรัก ทำไมนายพรานจึงได้ปลดปล่อยเจ้าออกจากบ่วงเสียเล่า
(พระโพธิสัตว์กล่าวว่า)
[๑๒๐] น้องจิตตกะ เมื่อกล่าววาจาอันไพเราะหู จับจิตจับใจ
ซาบซึ้งตรึงใจ ช่วยให้ลูกหลุดพ้นมาได้ด้วยวาจาสุภาษิต
[๑๒๑] น้องสุตนา เมื่อกล่าววาจาอันไพเราะหู จับจิตจับใจ
ซาบซึ้งตรึงใจ ช่วยให้ลูกหลุดพ้นมาได้ด้วยวาจาสุภาษิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๖. จูฬหังสชาดก (๕๐๒)
[๑๒๒] เพราะฟังวาจาไพเราะหู จับจิตจับใจ ซาบซึ้งตรึงใจ
และเพราะได้ฟังวาจาสุภาษิต นายพรานจึงได้ปล่อยลูกมา
(บิดามารดาอนุโมทนาต่อนายพรานว่า)
[๑๒๓] ขอให้นายพรานจงรื่นเริงบันเทิงใจพร้อมกับบุตรและภรรยา
เหมือนพวกเรารื่นเริงบันเทิงใจในวันนี้
เพราะได้เห็นพ่อโรหณะกลับมา
(พระราชาทรงเห็นนายพรานมาเฝ้า จึงตรัสว่า)
[๑๒๔] นายพราน เจ้าได้กล่าวไว้แล้วว่า
จักนำตัวเนื้อหรือหนังมามิใช่หรือ
ก็เพราะเหตุอะไรเล่า เจ้าจึงไม่นำตัวเนื้อหรือหนังมาเลย
(นายพรานกราบทูลว่า)
[๑๒๕] พญาเนื้อได้มาสู่เงื้อมมือและได้ติดบ่วงแล้ว
แต่เนื้อที่ไม่ติดบ่วง ๒ ตัวได้เข้ามาหาพญาเนื้อนั้น
[๑๒๖] ข้าพระองค์นั้นได้มีความสังเวช
ขนพองสยองเกล้า ไม่เคยเป็นมาก่อนว่า
ถ้าเราฆ่าเนื้อตัวนี้ เราจักเสียชีวิตในวันนี้
(พระราชาทรงสดับดังนั้นแล้ว ตรัสว่า)
[๑๒๗] นายพราน เนื้อเหล่านั้นเป็นเช่นไร มีธรรมเช่นไร
มีสีสันอย่างไร มีปกติอย่างไร
เจ้าจึงสรรเสริญพวกมันเสียหนักหนา
(นายพรานกราบทูลว่า)
[๑๒๘] เนื้อเหล่านั้นมีเขาสีขาว ขนหางสะอาด
ผิวหนังประดุจทองคำ
เท้าแดง ดวงตาเยิ้ม เป็นที่น่ารื่นรมย์ใจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๖. จูฬหังสชาดก (๕๐๒)
(นายพรานประกาศสีกายของเนื้อเหล่านั้นว่า)
[๑๒๙] ขอเดชะพระองค์ผู้สมมติเทพ เนื้อเหล่านั้นเป็นเช่นนี้
มีธรรมเช่นนี้ เป็นผู้เลี้ยงดูบิดามารดา
ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้าจึงมิได้นำมาถวายพระองค์
(พระราชาทรงพอพระทัยแล้วทรงรับสั่งปูนบำเหน็จชุบเลี้ยงบุตรนายพรานด้วยยศ
ใหญ่โดยตรัสว่า)
[๑๓๐] พ่อพราน เราจะให้ทองคำแก่ท่าน ๑๐๐ แท่ง
ต่างหูแก้วมณีที่มีค่ามาก และบัลลังก์ ๔ เหลี่ยม
มีสีอันเป็นสิริคล้ายดอกสามหาว
[๑๓๑] ภรรยาที่เหมาะสมกัน ๒ คน และโคอุสภะอีก ๑๐๐ ตัว
เราจักครอบครองราชสมบัติโดยธรรม
พ่อพราน ท่านมีอุปการะแก่เรามาก
[๑๓๒] พ่อพราน ท่านจงเลี้ยงดูภรรยาด้วยกสิกรรม พาณิชกรรม
การให้กู้หนี้ และการเที่ยวแสวงหาโดยธรรมเถิด
อย่าได้กระทำบาปอีกเลย
โรหณมิคชาดกที่ ๕ จบ

๖. จูฬหังสชาดก (๕๐๒)
ว่าด้วยหงส์สุมุขะผู้ภักดีต่อพญาหงส์จูฬหังสะ
(พระโพธิสัตว์เกิดเป็นพญาหงส์ทองเมื่อจะทดลองใจหงส์สุมุขะ จึงกล่าวว่า)
[๑๓๓] ฝูงหงส์เหล่านั้นถูกภัยคุกคาม
มีความกลัวจนต้องบินหนีไป
ท่านสุมุขะผู้มีผิวพรรณเหลืองอร่ามดังทองคำ
ท่านจงบินหนีไปตามความประสงค์เถิด
[๑๓๔] เราผู้เดียวติดบ่วงอยู่ หมู่ญาติทั้งหลายไม่เหลียวแล
พากันละทิ้งบินหนีไป ไยเล่ายังเหลือเจ้าอยู่แต่ตัวเดียว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๖. จูฬหังสชาดก (๕๐๒)
[๑๓๕] ท่านสุมุขะผู้ประเสริฐโผบินไปเถอะ
เพราะความเป็นสหายไม่มีในผู้ติดบ่วงหรอก
ท่านอย่าทำความเพียรเพื่อความไม่มีทุกข์ให้เสื่อมเสียไปเลย
จงบินหนีไปตามความประสงค์เถิด
(หงส์สุมุขะเสนาบดีจับที่หลังเปือกตมกล่าวว่า)
[๑๓๖] ท้าวธตรัฏฐะ ข้าพระองค์จะไม่ละทิ้งพระองค์ไป
เพราะเหตุเพียงเท่านี้ว่า พระองค์ต้องประสบทุกข์
ข้าพระองค์จะอยู่จะตายกับพระองค์
(พญาหงส์ธตรัฏฐะกล่าวว่า)
[๑๓๗] ท่านสุมุขะ คำใดที่ท่านกล่าวออกมา
คำนั้นเป็นคำอันดีงามของอริยชน
แต่เราเมื่อจะทดลองท่าน จึงได้กล่าวคำนั้นออกไปว่า
จงบินหนีไปเสียเถิด
(ฝ่ายบุตรนายพรานเข้าไปหาพญาหงส์แล้วกล่าวว่า)
[๑๓๘] ท่านผู้ประเสริฐอุดมกว่าหงส์ทั้งหลาย
วิสัยปักษาทิชาชาติตัวผงาดสัญจรไปในอากาศ
ย่อมทำอากาศที่ไม่ใช่ทางให้เป็นทางบินไปได้
ท่านไม่ทราบว่ามีบ่วงแต่ที่ไกลหรือ
(พญาหงส์โพธิสัตว์กล่าวว่า)
[๑๓๙] เมื่อใดสัตว์มีความเสื่อมในขณะจะสิ้นชีวิต
เมื่อนั้นถึงจะมาใกล้ข่ายและบ่วงก็ไม่รู้
(นายพรานชื่นชมถ้อยคำของพญาหงส์ จึงสนทนากับพญาหงส์สุมุขะว่า)
[๑๔๐] ฝูงหงส์เหล่านั้นถูกภัยคุกคาม มีความกลัวจนต้องบินหนีไป
ท่านผู้มีผิวพรรณเหลืองอร่ามดังทองคำ ท่านเท่านั้นยังเหลืออยู่
[๑๔๑] นกทั้งหลายเหล่านั้นกินดื่มแล้วก็บินไป
ไม่เหลียวแล ท่านผู้เดียวเท่านั้นยังอยู่ใกล้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๖. จูฬหังสชาดก (๕๐๒)
[๑๔๒] นกตัวนี้เป็นอะไรกับเจ้าหนอ
พ้นไปแล้วยังเข้าไปใกล้นกตัวติดบ่วง
นกทั้งหลายพากันทอดทิ้งบินหนีไป
ไยเล่ายังเหลือเจ้าอยู่แต่ตัวเดียว
(หงส์สุมุขะเสนาบดีกล่าวว่า)
[๑๔๓] นกตัวนั้นเป็นราชาของข้าพเจ้า
เป็นทั้งมิตรเป็นทั้งเพื่อนเสมอด้วยชีวิตของข้าพเจ้า
ข้าพเจ้าจักไม่ละทิ้งท่านไปตราบจนวันตาย
(นายพรานฟังดังนั้นแล้วมีจิตเลื่อมใส คิดจะปล่อยพญาหงส์ที่ติดบ่วง จึง
กล่าวว่า)
[๑๔๔] ก็เจ้าประสงค์จะสละชีวิตเพราะเหตุแห่งเพื่อน
เรายอมปล่อยสหายของเจ้า ขอพญาหงส์จงตามเจ้าไปเถิด
(หงส์สุมุขะเสนาบดีมองดูพระโพธิสัตว์มีจิตยินดี จึงอนุโมทนาแก่นายพรานว่า)
[๑๔๕] นายพราน วันนี้ข้าพเจ้าเห็นพญาหงส์ผู้เป็นใหญ่กว่านก
พ้นจากอันตรายแล้วย่อมร่าเริงฉันใด
ขอท่านพร้อมกับญาติทั้งหมดจงร่าเริงฉันนั้นเถิด
(พญาหงส์ทูลถามพระราชาว่า)
[๑๔๖] พระองค์ทรงพระเกษมสำราญแลหรือ
มีพระอนามัยสมบูรณ์แลหรือ รัฐสีมารุ่งเรืองแลหรือ
พระองค์ทรงอนุศาสน์พร่ำสอนพสกนิกรโดยธรรมแลหรือ
(พระราชาตรัสว่า)
[๑๔๗] พญาหงส์ เราสุขเกษมสำราญดี
อนามัยก็สมบูรณ์ดี อนึ่ง รัฐสีมาก็รุ่งเรือง
และเราก็อนุศาสน์พร่ำสอนพสกนิกรโดยธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๗. สัตติคุมพชาดก (๕๐๓)
(พญาหงส์ทูลถามว่า)
[๑๔๘] โทษบางประการในหมู่อำมาตย์ของพระองค์ไม่มีแลหรือ
อนึ่ง พระองค์มีศัตรูหมู่อมิตรอยู่ห่างไกล
ดุจพระฉายาด้านทิศทักษิณแลหรือ
(พระราชาตอบว่า)
[๑๔๙] แม้โทษบางประการในหมู่อำมาตย์ของเราก็ไม่มี
อนึ่ง เรามีศัตรูหมู่อมิตรอยู่ห่างไกลดุจเงาด้านทิศทักษิณ
(พญาหงส์ทูลถามว่า)
[๑๕๐] พระองค์ทรงมีพระมเหสีที่เหมาะสมอยู่ในพระโอวาท
มีพระเสาวนีย์ที่น่ารัก ถึงพร้อมด้วยพระโอรส
พระรูป และพระยศ อยู่ในพระอำนาจตามความพอพระทัย
ของพระองค์แลหรือ
(พระราชาตอบว่า)
[๑๕๑] ถูกแล้ว เรามีมเหสีที่เหมาะสมอยู่ในโอวาท มีดำรัสที่น่ารัก
ถึงพร้อมด้วยปุตตสมบัติ รูปสมบัติ และยศสมบัติ
อยู่ในอำนาจตามความพอใจของเรา
(พญาหงส์ทูลถามว่า)
[๑๕๒] ขอเดชะพระองค์ผู้ทรงผดุงรัฐให้เจริญ
พระราชบุตรจำนวนมากของพระองค์ ทรงสมภพมาดีแล้ว
ถึงพร้อมด้วยพระปรีชาเฉลียวฉลาด
ยังทรงพากันรื่นเริงบันเทิงพระทัยอยู่ ณ สถานที่นั้น ๆ แลหรือ
(พระราชาตอบว่า)
[๑๕๓] ท้าวธตรัฏฐะ บุตรของเรา ๑๐๑ พระองค์ปรากฏแล้วเพราะเรา
ขอท่านโปรดชี้แจงกิจที่พึงกระทำแก่พวกเขาด้วยเถิด
พวกเขาจะไม่ฝ่าฝืนคำของท่าน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๗. สัตติคุมพชาดก (๕๐๓)
(พญาหงส์พระโพธิสัตว์ได้ฟังพระราชดำรัสแล้วได้ถวายโอวาทแก่พระราชบุตร
เหล่านั้นว่า)
[๑๕๔] แม้ถ้าว่ากุลบุตรผู้เข้าถึงโดยชาติกำเนิดหรือโดยวินัย
แต่ประกอบความเพียรในภายหลัง
เขาย่อมตกอยู่ในห้วงแห่งอันตรายที่แก้ไขได้ยาก
[๑๕๕] ช่องโหว่อันใหญ่หลวงย่อมเกิดแก่เขาผู้มีปัญญาง่อนแง่น
เหมือนคนผู้ตกอยู่ในความมืดแห่งราตรี
ย่อมเห็นได้แต่รูปหยาบ ๆ เท่านั้น
[๑๕๖] ส่วนกุลบุตรผู้รู้แต่การประกอบความเพียร
ในสิ่งที่ไม่เป็นสาระว่าเป็นสาระ เขาจะไม่ประสบความรู้เลย
ย่อมตกอยู่ในห้วงอันตรายอย่างเดียวเหมือนกวางที่ตกอยู่ที่ซอกเขา
[๑๕๗] แม้หากว่าคนผู้มีชาติสกุลต่ำ
แต่เป็นคนมีความขยันหมั่นเพียร
มีปัญญา สมบูรณ์ด้วยอาจาระและศีล
ก็ย่อมรุ่งเรืองเหมือนไฟในราตรี
[๑๕๘] ขอพระองค์ทรงทำข้อที่ข้าพระองค์กล่าวแล้วนั้น
ให้เป็นข้อเปรียบเทียบ แล้วทรงให้พระราชบุตรดำรงอยู่ในวิชา
กุลบุตรผู้มีปัญญาย่อมงอกงามเหมือนพืชในนางอกงามเพราะน้ำฝน
จูฬหังสชาดกที่ ๖ จบ

๗. สัตติคุมพชาดก (๕๐๓)
ว่าด้วยนกแขกเต้าชื่อว่าสัตติคุมพะ
(พระศาสดาทรงนำอดีตนิทานมาตรัสว่า)
[๑๕๙] พระมหาราชผู้เป็นจอมทัพแห่งชาวแคว้นปัญจาละ
ทรงเป็นดุจนายพรานเนื้อ เสด็จออกพร้อมกับเสนา
ทรงพลัดกับหมู่คณะ เสด็จมายังราวป่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๗. สัตติคุมพชาดก (๕๐๓)
[๑๖๐] ทอดพระเนตรเห็นกระท่อมที่พวกโจรสร้างไว้ในป่านั้น
นกแขกเต้าได้บินออกจากกระท่อมไป กล่าวถ้อยคำที่หยาบช้าว่า
[๑๖๑] มีกษัตริย์หนุ่มน้อยพร้อมทั้งพาหนะ
มีพระกุณฑลงามเกลี้ยงเกลาดี
มีกรอบพระพักตร์แดงงาม
เหมือนดวงอาทิตย์ส่องแสงสว่างในกลางวัน
[๑๖๒] พระราชาบรรทมหลับพร้อมกับนายสารถี
เอาเถิด พวกเราจะรีบช่วยกัน
แย่งชิงอาภรณ์ของท้าวเธอเสียทั้งหมด
[๑๖๓] แม้เวลานี้ก็เงียบสงัดเหมือนเวลาเที่ยงวัน
พระราชาบรรทมหลับอยู่พร้อมกับนายสารถี
พวกเราช่วยกันแย่งชิงพระภูษาและพระกุณฑลแก้วมณี
ปลงพระชนม์แล้วกลบพระศพด้วยกิ่งไม้
(พ่อครัวปติโกลัมพะได้ฟังคำพูดของลูกนกแขกเต้านั้น จึงออกไปดู รู้ว่าเป็น
พระราชา ตกใจกลัว จึงกล่าวว่า)
[๑๖๔] เจ้าเป็นบ้าไปแล้วหรืออย่างไร สัตติคุมพะ พูดออกมาได้
ธรรมดาพระราชาทั้งหลายยากที่จะเข้าถึงพระองค์ได้
เหมือนดังไฟที่ลุกโพลง
(นกแขกเต้าสัตติคุมพะกล่าวโต้ตอบพ่อครัวว่า)
[๑๖๕] ปติโกลัมพะ เมื่อท่านเมาคุยคำโต ๆ ออกมา
เมื่อมารดาของเราเปลือยกาย ท่านจึงรังเกียจโจรกรรมหรือหนอ
(พระราชาตื่นบรรทมได้ยินคำพูดของนกแขกเต้าสัตติคุมพะพูดกับพ่อครัวด้วย
ภาษามนุษย์ ปลุกนายสารถีให้ลุกขึ้น ตรัสว่า)
[๑๖๖] ลุกขึ้นเถิด พ่อสารถีเพื่อนยาก เจ้าจงรีบเทียมรถ
เราไม่ชอบใจนกนี้เลย เราไปยังอาศรมอื่นกันเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๗. สัตติคุมพชาดก (๕๐๓)
(นายสารถีลุกขึ้นเทียมรถแล้วกราบทูลว่า)
[๑๖๗] ขอเดชะพระมหาราช ราชรถเทียมไว้แล้ว
พาหนะอันทรงกำลังก็พร้อมแล้ว เชิญเสด็จขึ้นประทับเถิดพะย่ะค่ะ
พวกเราจะพากันไปยังอาศรมอื่น
(นกแขกเต้าสัตติคุมพะเห็นราชรถแล่นไปอยู่ถึงความสลดใจ จึงกล่าวว่า)
[๑๖๘] พวกโจรในค่ายนี้พากันไปไหนหมดหนอ
นั่นพระเจ้าปัญจาละกำลังเสด็จหนีไป
พ้นสายตาพวกโจรไปแล้ว
[๑๖๙] พวกท่านจงถือเอาเกาทัณฑ์ หอก และโตมร
นั่นพระเจ้าปัญจาละกำลังเสด็จหนีไป
พวกท่านอย่าปล่อยให้พระองค์มีชีวิตอยู่
(พระศาสดาทรงประกาศข้อความนี้ว่า)
[๑๗๐] ครั้งนั้น นกแขกเต้าอีกตัวหนึ่งซึ่งมีจะงอยปากแดง
ยินดีต้อนรับด้วยกล่าวว่า
พระมหาราช พระองค์เสด็จมาดีแล้ว มิได้เสด็จมาร้าย
พระองค์ผู้ทรงเป็นใหญ่ เสด็จมาถึงแล้วโดยลำดับ
สิ่งของที่มีอยู่ในอาศรมนี้ ขอพระองค์เสวยเถิด
[๑๗๑] คือ ผลมะพลับ ผลมะหาด ผลมะซาง ผลหมากเม่า
และผลไม้ทั้งหลายที่มีรสพอสมควร
ขอพระองค์เสวยผลไม้ที่ดี ๆ เถิดพระเจ้าข้า
[๑๗๒] นี้น้ำเย็นนำมาจากซอกเขา พระมหาราช
ขอพระองค์ทรงดื่มเถิด ถ้าพระองค์ทรงประสงค์
[๑๗๓] ฤๅษีทั้งหลายในอาศรมนี้พากันไปป่าเพื่อแสวงหามูลผลาหาร
ขอพระองค์เสด็จลุกขึ้นหยิบเอาเองเถิด
ข้าพระองค์ไม่มีมือจะทูลถวาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๗. สัตติคุมพชาดก (๕๐๓)
ขอพระองค์เสด็จลุกขึ้นหยิบเอาเองเถิด
ข้าพระองค์ไม่มีมือจะทูลถวาย
(พระราชาทรงเลื่อมใสการปฏิสันถารของนกปุปผกะ จึงทรงชมเชยว่า)
[๑๗๔] ปักษีตัวนี้ดีจริงหนอ เป็นนกแต่ทรงธรรมอย่างยอดเยี่ยม
ส่วนเจ้านกแขกเต้าตัวหนึ่งนั้นพูดแต่คำหยาบช้าว่า
[๑๗๕] จงฆ่ามัน จงมัดมัน อย่าปล่อยให้มันมีชีวิตอยู่
เมื่อมันบ่นพร่ำเพ้ออยู่อย่างนี้แล
เราได้ถึงอาศรมนี้โดยความสวัสดี
(นกปุปผกะครั้นได้ฟังพระราชดำรัสแล้ว จึงกราบทูลว่า)
[๑๗๖] พระมหาราช ข้าพระองค์ทั้ง ๒
เป็นพี่น้องร่วมท้องมารดาเดียวกัน
เจริญเติบโตอยู่ที่ต้นไม้ต้นเดียวกัน
แต่พลัดตกไปอยู่ต่างเขตแดนกัน
[๑๗๗] นกสัตติคุมพะเจริญเติบโตในแดนโจร
ส่วนข้าพระองค์เจริญเติบโตอยู่ในสำนักของฤๅษี ณ ที่นี้
นกสัตติคุมพะนั้นอยู่ใกล้อสัตบุรุษ
ข้าพระองค์อยู่ใกล้สัตบุรุษ
เพราะเหตุนั้น ข้าพระองค์ทั้ง ๒ จึงแตกต่างกันโดยธรรม
(นกปุปผกะจำแนกธรรมนั้นว่า)
[๑๗๘] ที่ใดมีแต่การฆ่า การจองจำ การหลอกลวงด้วยของปลอม
การหลอกลวงซึ่ง ๆ หน้า การปล้นฆ่าเจ้าทรัพย์
และการข่มขู่กระทำทารุณอย่างแสนสาหัส
นกสัตติคุมพะนั้นสำเหนียกแต่การกระทำเหล่านั้นในที่นั้น
[๑๗๙] ที่นี้มีแต่ความจริง สุจริตธรรม ความไม่เบียดเบียน
ความสำรวม และการฝึกฝนอินทรีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๗. สัตติคุมพชาดก (๕๐๓)
พระองค์ผู้ทรงเป็นหน่อเนื้อแห่งภารตวงศ์
ข้าพระองค์เจริญเติบโตอยู่บนตักของฤๅษีผู้มีปกติให้อาสนะและน้ำ
(บัดนี้เมื่อจะแสดงธรรมถวายพระราชา จึงกล่าวว่า)
[๑๘๐] ขอเดชะพระราชา ธรรมดาบุคคลคบหาคนใด ๆ
เป็นสัตบุรุษก็ตาม อสัตบุรุษก็ตาม มีศีลก็ตาม ไม่มีศีลก็ตาม
ย่อมเป็นไปตามอำนาจของคนนั้นนั่นเอง
[๑๘๑] บุคคลทำคนเช่นไรให้เป็นมิตร
และคบหาจนสนิทกับคนเช่นไร
ถึงเขาก็เป็นเช่นคนนั้น
เพราะการอยู่ร่วมกันเป็นเช่นนั้น
[๑๘๒] คนชั่วใครคบเข้าย่อมเปื้อนคนคบ ซึ่งมิได้เปื้อนมาแต่เดิม
คนชั่วใครสัมผัสถูกต้อง หรือเมื่อสัมผัสถูกต้องคนอื่น
ก็ย่อมเปื้อนคนที่ตนสัมผัสถูกต้อง ซึ่งมิได้เปื้อนมาแต่เดิม
ดุจลูกศรที่กำซาบด้วยยาพิษก็พลอยแปดเปื้อนแล่งไปด้วย
เพราะกลัวแต่การแปดเปื้อน
นักปราชญ์จึงไม่ควรมีคนชั่วเป็นเพื่อน
[๑๘๓] คนใดห่อปลาเน่าด้วยใบหญ้าคา
แม้ใบหญ้าคาก็พลอยมีกลิ่นเหม็นเน่าฟุ้งไปด้วย
การคบหาคนพาลก็เป็นฉันนั้น
[๑๘๔] ส่วนคนใดห่อกฤษณาด้วยใบไม้
แม้ใบไม้ก็พลอยมีกลิ่นหอมฟุ้งไปด้วย
การคบหากับนักปราชญ์ก็เป็นฉันนั้น
[๑๘๕] เพราะเหตุนั้น บัณฑิตรู้การคบของตน
เหมือนกับใบไม้ห่อสิ่งของแล้ว
ไม่พึงเข้าไปคบหาอสัตบุรุษ พึงคบหาแต่สัตบุรุษ
เพราะอสัตบุรุษย่อมนำไปสู่นรก
ส่วนสัตบุรุษย่อมช่วยให้ไปถึงสุคติ
สัตติคุมพชาดกที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๘. ภัลลาติยชาดก (๕๐๔)
๘. ภัลลาติยชาดก (๕๐๔)
ว่าด้วยพระราชาพระนามว่าภัลลาติยะ
(พระศาสดาทรงนำอดีตนิทานมาตรัสว่า)
[๑๘๖] ได้มีพระราชาทรงพระนามว่าภัลลาติยะ
ท้าวเธอทรงละรัฐสีมา ได้เสด็จประพาสป่า ล่าเนื้อ
เสด็จถึงภูเขาคันธมาทน์วรคีรีซึ่งมีบุปผชาตินานาพันธุ์บานสะพรั่ง
เป็นแดนที่พวกกินนรสัญจรไปมา
[๑๘๗] ท้าวเธอทรงประสงค์จะตรัสถาม
จึงทรงห้ามฝูงสุนัข
ทรงเก็บลูกธนูและแล่ง
เสด็จเข้าไปใกล้สถานที่ที่กินนร ๒ ผัวเมียอยู่
[๑๘๘] ล่วงฤดูเหมันต์ไปแล้ว ที่ริมฝั่งแม่น้ำเหมวดีแห่งนี้
ไยเจ้าทั้ง ๒ ยังปรึกษากันเนือง ๆ อยู่เล่า
เราขอถามเจ้าทั้ง ๒ ผู้มีร่างกายคล้ายมนุษย์
ในมนุษยโลกเขารู้จักเจ้าทั้ง ๒ ว่าอย่างไร
(ฝ่ายกินนรีได้ฟังพระดำรัสจึงสนทนากับพระราชาว่า)
[๑๘๙] พวกเราเป็นมฤคมีร่างกายคล้ายมนุษย์
ท่องเที่ยวไปตามแม่น้ำทั้งหลาย
คือ มัลลคีรีนที ปัณฑรกนที ตรีกูฏนที ซึ่งมีน้ำเย็น
พ่อพราน ชาวโลกเขารู้จักพวกเราว่า กินนร
(ลำดับนั้น พระราชาได้ตรัสว่า)
[๑๙๐] เจ้าทั้ง ๒ เหมือนคนมีความทุกข์อย่างแสนสาหัส
พากันคร่ำครวญอยู่
สวมกอดกันเหมือนคนรักกับคนรัก
เราขอถามเจ้าทั้ง ๒ ผู้มีร่างกายคล้ายมนุษย์
เหตุไร เจ้าทั้ง ๒ จึงพากันร้องไห้ไม่สร่างซาอยู่ในป่านี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๘. ภัลลาติยชาดก (๕๐๔)
[๑๙๑] เจ้าทั้ง ๒ เหมือนคนมีความทุกข์อย่างแสนสาหัส
พากันคร่ำครวญอยู่ สวมกอดกันเหมือนคนรักกับคนรัก
เราขอถามเจ้าทั้ง ๒ ผู้มีร่างกายคล้ายมนุษย์
เหตุไร เจ้าทั้ง ๒ จึงพากันเพ้อรำพันไม่สร่างซาอยู่ในป่านี้
[๑๙๒] เจ้าทั้ง ๒ เหมือนคนมีความทุกข์อย่างแสนสาหัส
พากันคร่ำครวญอยู่ สวมกอดกันเหมือนคนรักกับคนรัก
เราขอถามเจ้าทั้ง ๒ ผู้มีร่างกายคล้ายมนุษย์
เหตุไร เจ้าทั้ง ๒ จึงพากันเศร้าโศกไม่สร่างซาอยู่ในป่านี้
(กินนรีกราบทูลว่า)
[๑๙๓] พ่อพราน เราทั้ง ๒ พลัดพรากกันอยู่หนึ่งราตรี
ไม่อยากจะพลัดพรากจากกัน เมื่อระลึกถึงกันและกัน
จึงพากันเดือดร้อนเศร้าโศกอยู่ตลอดราตรีหนึ่งนั้น
ราตรีนั้นจักไม่มีอีก
(พระราชาตรัสถามว่า)
[๑๙๔] เจ้าทั้ง ๒ คิดถึงทรัพย์ที่พินาศไปแล้วหรือ
หรือคิดถึงบิดามารดาที่ล่วงลับไปแล้ว
จึงพากันเดือดร้อนตลอดทั้งราตรีหนึ่งนั้น เราขอถามเจ้าทั้ง ๒
ผู้มีร่างกายคล้ายมนุษย์ เพราะเหตุไร เจ้าจึงแยกกันอยู่
(กินนรีกราบทูลว่า)
[๑๙๕] แม่น้ำสายนี้ใดมีกระแสน้ำเชี่ยวกราก
ปกคลุมด้วยต้นไม้นานาพันธุ์ไหลผ่านภูผาหิน ท่านเห็นอยู่
แม่น้ำสายนั้น สามีที่รักของดิฉันสำคัญดิฉันว่า
จะติดตามไปจึงได้ข้ามไปในฤดูฝน
[๑๙๖] ส่วนดิฉันมัวเลือกเก็บดอกปรู ดอกลำดวน
ดอกมะลิซ้อน และดอกคัดเค้า ด้วยหวังว่า
สามีที่รักของดิฉันจักได้ประดับดอกไม้
และดิฉันจักประดับดอกไม้ นอนแนบข้างสามีนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๐๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๘. ภัลลาติยชาดก (๕๐๔)
[๑๙๗] อนึ่ง ดิฉันมัวเลือกเก็บดอกบานไม่รู้โรย
ดอกราชพฤกษ์ ดอกแคฝอย
และดอกย่านทราย ด้วยหวังว่า
สามีที่รักของดิฉันจักได้ประดับดอกไม้
และดิฉันจักประดับดอกไม้นอนแนบข้างสามีนั้น
[๑๙๘] อนึ่ง ดิฉันมัวเลือกเก็บดอกสาละที่กำลังเบ่งบาน
แล้วร้อยเป็นพวงมาลัย ด้วยหวังว่า
สามีที่รักของดิฉันจักสวมพวงมาลัย
และดิฉันจักสวมพวงมาลัยนอนแนบข้างสามีนั้น
[๑๙๙] อนึ่ง ดิฉันมัวเลือกเก็บดอกสาละที่กำลังเบ่งบาน
แล้วร้อยเป็นเครื่องรองรับ ด้วยหวังว่า
ดอกไม้ที่ร้อยแล้วนี่แหละ จักเป็นเครื่องปูลาดสำหรับเราทั้ง ๒
ณ สถานที่ที่เราทั้ง ๒ จักอยู่ร่วมกันตลอดคืนในวันนี้
[๒๐๐] อนึ่ง ดิฉันมัวเลินเล่อบดไม้กฤษณาและไม้จันทน์ที่ศิลา
ด้วยหวังว่า สามีที่รักของดิฉันจักใช้ชโลมกาย
และดิฉันก็จักใช้ชโลมกายนอนแนบข้างสามี
[๒๐๑] ครั้งนั้น น้ำซึ่งมีกระแสเชี่ยวกรากได้ไหลบ่ามา
พัดพาเอาดอกสาละ ดอกสน
และดอกกรรณิการ์ไป โดยครู่เดียวนั้นน้ำก็เต็มฝั่ง
จึงเป็นการยากยิ่งที่ดิฉันจะข้ามแม่น้ำสายนี้ไปได้
[๒๐๒] คราวนั้น เราทั้ง ๒ ยืนมองกันและกันอยู่ที่ริมฝั่งทั้ง ๒
บางคราวก็ร้องไห้ บางคราวก็ร่าเริงยินดี
ราตรีนั้นได้ผ่านไปอย่างยากเย็นสำหรับเราทั้ง ๒
[๒๐๓] พ่อพราน พอดวงอาทิตย์ขึ้นในตอนเช้าตรู่ แม่น้ำแห้ง
เราทั้ง ๒ จึงข้ามไปได้ สวมกอดกันและกัน
ทั้งร้องไห้ ทั้งร่าเริงยินดี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๘. ภัลลาติยชาดก (๕๐๔)
[๒๐๔] พ่อพราน ๖๙๗ ปี เมื่อก่อน
เราทั้ง ๒ พลัดพรากกันอยู่ในที่นี้
ข้าแต่พระภูมิบาล ชีวิตนี้เพียง ๑๐๐ ปีเท่านั้น
ใครหนอจะพึงเว้นจากภรรยาที่น่ารักใคร่ อยู่ในที่นี้ได้เล่า
(พระราชาตรัสถามว่า)
[๒๐๕] ก็อายุของพวกเจ้ามีประมาณเท่าไรหนอ เพื่อนรัก
หากพวกเจ้ารู้ก็จงบอก
เจ้าทั้ง ๒ อย่าได้หวั่นไหว จงบอกอายุแก่เรา
ตามที่ได้ยินได้ฟังมาจากวุฑฒบุคคล หรือจากตำรา
(กินนรีกราบทูลว่า)
[๒๐๖] พ่อพราน ก็อายุของพวกเรามีประมาณ ๑,๐๐๐ ปี
โรคอันร้ายแรงก็ไม่มีในระหว่าง
ความทุกข์ก็มีน้อย มีแต่ความสุขยิ่ง ๆ ขึ้นไป
เราทั้ง ๒ ยังรักใคร่กันไม่จืดจางจะต้องพากันละชีวิตไป
(พระศาสดาทรงประกาศความข้อนี้ว่า)
[๒๐๗] ก็พระเจ้าภัลลาติยะทรงสดับถ้อยคำของอมนุษย์ทั้งหลาย
ทรงดำริว่า ชีวิตเป็นของน้อยนัก จึงเสด็จกลับ ไม่เสด็จไปล่าเนื้อ
ทรงบำเพ็ญทาน เสวยโภคะ
(พระศาสดาครั้นตรัสพระคาถานี้แล้ว ทรงโอวาทพระเจ้าโกศลกับพระนาง
มัลลิกาเทวีว่า)
[๒๐๘] ก็มหาบพิตรทั้ง ๒ ทรงสดับถ้อยคำของอมนุษย์ทั้งหลาย
จงทรงเบิกบานพระทัยเถิด อย่าทรงทะเลาะกันเลย
ความผิดเพราะการกระทำของตน
อย่าทำให้มหาบพิตรทั้ง ๒ ต้องเดือดร้อน
เหมือนความผิดเพราะการกระทำของตน
ทำให้กินนรทั้ง ๒ ต้องเดือดร้อนตลอดราตรีหนึ่งเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๙. โสมนัสสชาดก (๕๐๕)
[๒๐๙] อนึ่ง พระองค์ทั้ง ๒ ทรงสดับถ้อยคำของอมนุษย์ทั้งหลายแล้ว
จงทรงเบิกบานพระทัยเถิด อย่าทรงวิวาทกันเลย
ความผิดเพราะการกระทำของตน
อย่าทำให้มหาบพิตรทั้ง ๒ ต้องเดือดร้อน
เหมือนความผิดเพราะการกระทำของตน
ทำให้กินนรทั้ง ๒ ต้องเดือดร้อนตลอดราตรีหนึ่งเลย
(พระนางมัลลิกาเทวีสดับพระธรรมเทศนาของพระตถาคตแล้ว เสด็จลุกจาก
อาสนะ ประคองอัญชลี ทรงชมเชยพระทศพลว่า)
[๒๑๐] หม่อมฉันสดับพระธรรมเทศนามีประการต่าง ๆ มีใจชื่นชมยินดี
พระดำรัสต่าง ๆ ของพระองค์ประกอบไปด้วยประโยชน์
พระองค์เมื่อทรงเปล่งพระวาจาออกมา
ย่อมบรรเทาความกระวนกระวายใจของหม่อมฉันเสียได้
พระมหาสมณะผู้นำความสุขมาให้หม่อมฉัน
ขอพระองค์ทรงเจริญพระชนม์ชีพยั่งยืนนานเถิด
ภัลลาติยชาดกที่ ๘ จบ

๙. โสมนัสสชาดก (๕๐๕)
ว่าด้วยโสมนัสกุมาร
(พระราชาตรัสว่า)
[๒๑๑] ใครมาเบียดเบียนข่มเหงท่าน
ทำไมท่านจึงเสียใจ เศร้าโศก ไม่ชื่นบานเลย
วันนี้ มารดาบิดาของท่านมาร้องไห้หรือ
หรือว่า ใครมารังแก ทำให้ท่านต้องนอนที่พื้นดิน
(ชฎิลโกงได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวว่า)
[๒๑๒] ขอถวายพระพร อาตมามีความยินดีที่ได้พบเห็นพระองค์
ขอถวายพระพรพระภูมิบาล ต่อกาลนานจึงได้พบพระองค์
ขอถวายพระพรพระเจ้าเรณู อาตมามิได้เบียดเบียนผู้ใด
แต่ถูกพระโอรสของพระองค์เข้ามาเบียดเบียน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๙. โสมนัสสชาดก (๕๐๕)
(พระราชาตรัสว่า)
[๒๑๓] ไปเหวย พนักงานเฝ้าประตูที่ติดตาม และเหล่าเพชฌฆาต
จงไปยังภายในพระราชฐาน
จงฆ่าเจ้าโสมนัสกุมารนั้นแล้วตัดศีรษะนำมา
(พึงทราบคาถาประพันธ์ดังต่อไปนี้)
[๒๑๔] ราชทูตทั้งหลายที่ทรงส่งไปได้กราบทูล
พระราชกุมารนั้นว่า ขอเดชะพระขัตติยกุมาร
พระองค์ถูกพระราชบิดาผู้เป็นอิสสราธิบดีตัดขาดแล้ว
ต้องโทษประหารชีวิต
[๒๑๕] พระราชบุตรนั้นทรงกันแสงคร่ำครวญ
ยกนิ้วทั้ง ๑๐ ประคองอัญชลี อ้อนวอนว่า
ข้าพเจ้าปรารถนาจะเฝ้าพระจอมชน
ขอพวกท่านจงนำข้าพเจ้าผู้ยังมีชีวิตอยู่แสดงต่อพระองค์เถิด
[๒๑๖] ราชทูตเหล่านั้นฟังพระดำรัสของพระราชกุมารนั้นแล้ว
ได้แสดงพระราชบุตรต่อพระราชา
ส่วนพระราชบุตรทรงเห็นพระบิดาแล้ว กราบทูลแต่ไกลว่า
[๒๑๗] ขอเดชะพระองค์ผู้จอมชน พนักงานเฝ้าประตูที่ติดดาบ
และเหล่าเพชฌฆาตมาเพื่อจะฆ่าหม่อมฉัน
หม่อมฉันขอกราบทูลถาม ขอพระองค์โปรดบอกเนื้อความนั้น
วันนี้หม่อมฉันมีความผิดอะไรหนอในเรื่องนี้
(พระราชาตรัสบอกความผิดว่า)
[๒๑๘] ดาบสผู้ไม่ประมาท ทำการรดน้ำ
และบำเรอไฟทั้งเย็นและเช้าในกาลทุกเมื่อ
ทำไมเจ้าจึงร้องเรียกท่านผู้สำรวม
ซึ่งประพฤติพรหมจรรย์เช่นนั้นว่าเป็นคหบดีเล่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๙. โสมนัสสชาดก (๕๐๕)
(พระราชกุมารกราบทูลว่า)
[๒๑๙] ขอเดชะพระองค์ผู้สมมติเทพ
ดาบสผู้นี้มีของเก็บรวบรวมไว้หลายชนิด
เช่น สมอพิเภก รากไม้ และผลไม้นานาชนิด
เธอไม่ประมาท เฝ้ารักษาคุ้มครองสิ่งของเหล่านั้นไว้
เพราะเหตุนั้น หม่อมฉันจึงร้องเรียกเธอว่าเป็นคหบดี
(พระราชาทรงทราบว่าพระโพธิสัตว์ไม่มีความผิดจึงตรัสว่า)
[๒๒๐] พ่อกุมาร คำที่เจ้าพูดเป็นความจริง
ดาบสผู้นี้มีของเก็บรวบรวมไว้หลายชนิด
เธอไม่ประมาท เฝ้ารักษาคุ้มครองสิ่งของเหล่านั้นไว้
เพราะเหตุนั้น เธอจึงชื่อว่าเป็นพราหมณ์ เป็นคหบดี
(พระโพธิสัตว์นอบน้อมบริษัทแล้วตรัสว่า)
[๒๒๑] ขอบริษัททั้งหลายพร้อมทั้งชาวนิคมและชาวชนบททั้งปวง
ที่มาประชุมพร้อมกันจงฟังข้าพเจ้า
พระราชาผู้จอมชนพระองค์นี้เป็นพาล
ทรงฟังคำของดาบสผู้เป็นพาลแล้ว
รับสั่งให้ประหารข้าพเจ้าโดยมิใช่เหตุ
(ต่อมาพระโพธิสัตว์ทูลขอบรมราชานุญาตบวชว่า)
[๒๒๒] เมื่อรากยังมั่นคงเจริญงอกงามแผ่ไพศาลอยู่
กอไผ่ที่แตกกิ่งก้านสาขาก็ยากที่จะถอนให้หมดสิ้นได้
ขอเดชะพระองค์ผู้จอมชน
หม่อมฉันขอถวายบังคมพระยุคลบาทของพระองค์
ขอพระองค์โปรดพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้หม่อมฉันบวช
(พระราชาตรัสว่า)
[๒๒๓] เจ้าจงเสวยโภคะอันไพบูลย์เถิด พ่อกุมาร
พ่อจะมอบความเป็นใหญ่ให้เจ้าทุกอย่าง
เจ้าจงเป็นพระราชาของชนชาวกุรุในวันนี้เถิด
อย่าบวชเลย เพราะการบวชเป็นทุกข์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๐๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๙. โสมนัสสชาดก (๕๐๕)
(พระโพธิสัตว์ผู้เป็นพระโอรสกราบทูลว่า)
[๒๒๔] ขอเดชะพระองค์ผู้สมมติเทพ
โภคะทั้งหลายของพระองค์ในพระนครนี้
ที่หม่อมฉันควรจะบริโภคใช้สอยมีอยู่หรือหนอ
ในชาติก่อน หม่อมฉันได้รื่นรมย์ด้วย รูป เสียง กลิ่น รส
และผัสสะ อันน่ารื่นรมย์ใจอยู่ในเทวโลก
[๒๒๕] ขอเดชะพระองค์ผู้สมมติเทพ โภคะทั้งหลาย
ในเทวโลกชั้นดาวดึงส์ หม่อมฉันก็บริโภคใช้สอยมาแล้ว
และหม่อมฉันก็มีหมู่เทพอัปสรแวดล้อมบำเรอแล้ว
อนึ่ง หม่อมฉันทราบว่า พระองค์เป็นพาล ถูกผู้อื่นแนะนำ
จึงไม่ควรอยู่ในราชสกุลเช่นนั้น
(พระราชาตรัสว่า)
[๒๒๖] หากพ่อเป็นคนพาล ถูกผู้อื่นแนะนำไซร้
ลูกรัก เจ้าจงอดโทษให้พ่อสักครั้งเถิด ถ้าพ่อเป็นเช่นนี้อีก
จงทำตามความคิดของเจ้าเถิด พ่อโสมนัส
(พระโพธิสัตว์ถวายโอวาทพระราชบิดาว่า)
[๒๒๗] การงานที่บุคคลไม่ใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำ
ไม่ไตร่ตรองก่อนคิด ผลย่อมเลวทรามเหมือนยาเสื่อมคุณภาพ
[๒๒๘] การงานที่บุคคลใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำ
ไตร่ตรองโดยชอบก่อนแล้วคิด
ผลย่อมเจริญเหมือนยาไม่เสื่อมคุณภาพ
[๒๒๙] คฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเกียจคร้านไม่ดี
บรรพชิตไม่สำรวมไม่ดี
พระราชาไม่ทรงใคร่ครวญก่อนแล้วทำไม่ดี
การที่บัณฑิตโกรธไม่ดี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๙. โสมนัสสชาดก (๕๐๕)
[๒๓๐] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นเจ้าแห่งทิศ
กษัตริย์ทรงใคร่ครวญก่อนแล้วจึงควรทำ
ไม่ทรงใคร่ครวญก่อนแล้วไม่ควรตัดสิน
ยศและเกียรติย่อมเจริญแด่พระราชาผู้ทรงใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำ
[๒๓๑] ขอเดชะพระภูมิบาล
คนผู้เป็นใหญ่ควรใคร่ครวญก่อนแล้วจึงลงอาชญา
การงานที่ทำเพราะความรีบร้อนย่อมเดือดร้อน
ส่วนประโยชน์ทั้งหลายของนรชนที่ทำด้วยจิตที่ตั้งมั่นโดยชอบ
ย่อมไม่เป็นเหตุให้เดือดร้อนในภายหลัง
[๒๓๒] อนึ่ง ชนเหล่าใดจัดแจงบ่อเกิดแห่งการงานในโลก
แล้วทำการงานที่ไม่เป็นเหตุให้เดือดร้อนในภายหลัง
การงานของพวกเขาวิญญูชนสรรเสริญ
มีความสุขเป็นกำไรที่ผู้รู้ทั้งหลายมีความเห็นคล้อยตาม
[๒๓๓] ขอเดชะพระองค์ผู้จอมชน พนักงานเฝ้าประตูที่ติดดาบ
และเพชฌฆาตมาเพื่อจะฆ่าหม่อมฉัน
อนึ่ง หม่อมฉันนั่งอยู่บนพระเพลาของพระราชมารดา
ถูกพวกเขาฉุดคร่ามาโดยทารุณ
[๒๓๔] ขอเดชะพระมหาราช หม่อมฉันประสบภัยคือความตาย
อันเผ็ดร้อนคับแคบและลำบาก
วันนี้ชีวิตอันเป็นที่รักปานดังมธุรสหม่อมฉันได้แล้ว
พ้นแล้วจากการถูกประหารได้โดยยาก
จึงมีใจมุ่งต่อการบวชอย่างเดียว
(พระราชาทรงรับสั่งเรียกพระราชเทวีมาตรัสว่า)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๙. โสมนัสสชาดก (๕๐๕)
[๒๓๕] แม่สุธัมมา โสมนัสกุมารบุตรของเธอนี้ยังหนุ่มอยู่ น่าเอ็นดู
วันนี้ฉันขอร้องเขาไม่สำเร็จ แม้เธอก็ควรจะขอร้องเขาดูบ้าง
(พระราชเทวีนั้นเมื่อจะส่งเสริมให้บวชจึงตรัสว่า)
[๒๓๖] ลูกรัก เจ้าจงยินดีในภิกขาจาร
จงใคร่ครวญแล้วบวชในธรรมทั้งหลาย
จงวางอาชญาในเหล่าสัตว์ทั้งปวง
เป็นผู้ไม่ถูกนินทา เข้าถึงพรหมสถานเถิด
(ลำดับนั้น พระราชาตรัสว่า)
[๒๓๗] แม่สุธัมมา คำที่เจ้ากล่าวน่าอัศจรรย์จริงหนอ
ทำเราผู้มีทุกข์อยู่แล้วให้มีทุกข์ยิ่งขึ้น
เรากล่าวแก่เธอว่า เจ้าจงขอร้องลูก
กลับทำให้พ่อกุมารมีอุตสาหะยิ่งขึ้น
(พระราชเทวีตรัสต่อไปว่า)
[๒๓๘] พระอริยะเหล่าใดผู้หลุดพ้นแล้ว
บริโภคปัจจัยอันหาโทษมิได้
ผู้ดับกิเลสแล้ว ท่องเที่ยวไปอยู่ในโลกนี้
หม่อมฉันไม่อาจจะห้ามพ่อกุมาร
ผู้ดำเนินไปสู่ทางแห่งพระอริยะเหล่านั้นได้
(พระราชาทรงสดับพระราชเสาวนีย์นั้นแล้วจึงตรัสว่า)
[๒๓๙] ชนเหล่าใดมีปัญญา เป็นพหูสูต
คิดเหตุการณ์ได้เป็นอันมาก
พระนางสุธัมมานี้สดับคำอันเป็นสุภาษิตของชนเหล่าใด
แล้วเป็นผู้มีความขวนขวายน้อย
ปราศจากความเศร้าโศก
ชนเหล่านั้นเราควรคบโดยแท้
โสมนัสสชาดกที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๑๐. จัมเปยยชาดก (๕๐๖)
๑๐. จัมเปยยชาดก (๕๐๖)
ว่าด้วยพญานาคจัมเปยยะ
(พระราชาทรงเห็นนางนาคสุมนาอยู่ในอากาศ จึงตรัสว่า)
[๒๔๐] เธอเป็นใครกันหนอ รัศมีช่างงามผ่องใสดุจสายฟ้า
อุปมาเหมือนดาวประกายพรึก ข้าพเจ้าไม่เข้าใจเธอว่า
เป็นเทพธิดา หญิงคนธรรพ์ หรือหญิงมนุษย์หนอ
(นางนาคสุมนาได้ฟังดังนั้นแล้ว จึงตรัสตอบว่า)
[๒๔๑] ขอเดชะพระมหาราช หม่อมฉันมิใช่เทพธิดา
มิใช่หญิงคนธรรพ์ มิใช่หญิงมนุษย์
หม่อมฉันเป็นนางนาคกัญญา มาที่นี้เพราะเหตุอย่างหนึ่ง
(พระราชาตรัสถามว่า)
[๒๔๒] เธอมีจิตกระวนกระวาย อินทรีย์เศร้าหมอง
มีหยาดน้ำตาไหลนองหน้า แม่นาง เชิญบอกมาเถิด
อะไรของเธอหาย หรือเธอปรารถนาสิ่งใด จึงมาที่นี้
(นางนาคสุมนาตอบว่า)
[๒๔๓] ก็ชาวโลกร้องเรียกสัตว์ใดว่า อุรคชาติ ผู้มีเดชยิ่งใหญ่
ขอเดชะ พระองค์ผู้จอมชน ชนทั้งหลายเรียกสัตว์นั้นว่า นาค
ชายผู้ต้องการเลี้ยงชีพได้จับนาคนั้นมา
นาคนั้นเป็นสามีหม่อมฉัน
ขอพระองค์โปรดทรงปล่อยนาคนั้นจากเครื่องผูกเถิดเพคะ
(พระราชาตรัสถามว่า)
[๒๔๔] นาคราชนี้ประกอบด้วยกำลังและความเพียร
กลับมาตกอยู่ในเงื้อมมือของคนวณิพกได้อย่างไร
แม่นางนาคกัญญา ขอแม่นางจงบอกเนื้อความนั้นแก่เรา
เราจะรู้ว่า นาคราชถูกจับมาได้อย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๑๐. จัมเปยยชาดก (๕๐๖)
(นางนาคสุมนาตอบว่า)
[๒๔๕] แท้จริง นาคราชนั้นประกอบด้วยกำลังและความเพียร
พึงกระทำแม้พระนครให้เป็นเถ้าธุลีได้
แต่เพราะนาคราชเป็นผู้นบนอบพระธรรม
ฉะนั้น จึงบากบั่นบำเพ็ญตบะ
[๒๔๖] ขอเดชะพระมหาราช นาคราชอธิษฐานจาตุททสีอุโบสถ
และปัณณรสีอุโบสถ นอนรักษาอุโบสถอยู่ใกล้หนทางสี่แพร่ง
ชายผู้ต้องการเลี้ยงชีพได้จับนาคราชนั้นมา
นาคราชนั้นเป็นสามีหม่อมฉัน
ขอพระองค์โปรดปล่อยนาคราชนั้น
จากเครื่องพันธนาการเถิด เพคะ
(และนางอ้อนวอนพระราชานั้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่า)
[๒๔๗] นางนาค ๑๖,๐๐๐ นางสวมใส่กุณฑลแก้วมณี
นอนอยู่ในห้องใต้น้ำ
นางนาคแม้เหล่านั้นยึดเอานาคราชนั้นเป็นที่พึ่ง
[๒๔๘] ขอพระองค์โปรดปล่อยนาคราชไปโดยธรรม
ด้วยความไม่ผลุนผลัน ด้วยบ้านส่วย ๑๐๐ หลัง
ทองคำ ๑๐๐ แท่ง และโค ๑๐๐ ตัว
ขออุรคชาติผู้ได้รับการปล่อยตัวแล้วจงท่องเที่ยวไป
ขอนาคราชผู้ต้องการบุญจงพ้นจากเครื่องผูก
(พระราชาตรัสว่า)
[๒๔๙] เราจะปล่อยนาคราชไปโดยธรรม
ด้วยความไม่ผลุนผลัน ด้วยบ้านส่วย ๑๐๐ หลัง
ทองคำ ๑๐๐ แท่ง และโค ๑๐๐ ตัว
ขออุรคชาติผู้ได้รับการปล่อยตัวแล้วจงท่องเที่ยวไป
ขอนาคราชผู้ต้องการบุญจงพ้นจากเครื่องผูก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๑๐. จัมเปยยชาดก (๕๐๖)
[๒๕๐] พ่อพราน เราจะให้ทองคำแก่ท่าน ๑๐๐ แท่ง
ต่างหูแก้วมณีมีค่ามาก และบัลลังก์ ๔ เหลี่ยม
มีสีอันเป็นสิริคล้ายดอกสามหาว
[๒๕๑] ภรรยาที่เหมาะสมกัน ๒ คน และโคอุสภะอีก ๑๐๐ ตัว
ขออุรคชาติผู้ได้รับการปล่อยตัวแล้วจงท่องเที่ยวไป
ขอนาคราชผู้ต้องการบุญจงพ้นจากเครื่องผูก
(นายพรานกราบทูลพระราชาว่า)
[๒๕๒] ขอเดชะพระองค์ผู้จอมชน แม้จะทรงเว้นการพระราชทาน
เพียงพระดำรัสของพระองค์เท่านั้น
ข้าพระพุทธเจ้าก็จะปล่อยอุรคชาตินั้นจากเครื่องผูก
ขออุรคชาติผู้ได้รับการปล่อยตัวแล้วจงท่องเที่ยวไป
ขอนาคราชผู้ต้องการบุญจงพ้นจากเครื่องผูก
(พระศาสดาทรงประกาศความนั้นว่า)
[๒๕๓] พญานาคจัมเปยยะหลุดพ้นจากเครื่องพันธนาการแล้ว
ได้กราบทูลพระราชานั้นว่า ขอเดชะพระเจ้ากาสี
ข้าพระพุทธเจ้าขอถวายบังคมพระองค์
ขอเดชะ พระองค์ผู้ผดุงแคว้นกาสีให้เจริญ
ข้าพระพุทธเจ้าขอถวายบังคมพระองค์
ขอประคองอัญชลีต่อพระองค์
ขอเชิญเสด็จทอดพระเนตรนิเวศน์ของข้าพระองค์
(พระราชาตรัสว่า)
[๒๕๔] นาคราช แน่นอนทีเดียวที่เขาพูดกันว่า
มนุษย์กับอมนุษย์จะพึงคุ้นเคยกัน
เป็นเรื่องคุ้นเคยกันได้ยาก
แต่ถ้าท่านขอร้องเราเกี่ยวกับเรื่องนั้น
เราก็จะไปเยี่ยมที่อยู่ของท่าน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๑๐. จัมเปยยชาดก (๕๐๖)
(ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เมื่อจะปฏิญญาให้พระราชาทรงเชื่อ จึงกราบทูลว่า)
[๒๕๕] ขอเดชะพระมหาราช ถึงลมจะพัดพาเอาภูเขาไปได้ก็ดี
ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์จะพึงแผดเผาแผ่นดินก็ดี
แม่น้ำทุกสายจะพึงไหลทวนกระแสก็ดี
ถึงอย่างนั้น ข้าพระพุทธเจ้าก็จะไม่พึงพูดเท็จแน่นอน
[๒๕๖] ขอเดชะพระมหาราช ถึงท้องฟ้าจะพึงถล่มทะลาย
น้ำทะเลจะพึงเหือดแห้ง
แผ่นดินซึ่งมีนามว่าภูตธาราและวสุนธราจะพึงม้วนเข้า
และภูเขาสิเนรุศิลาล้วนจะพึงถอนขึ้นทั้งรากก็ดี
ถึงอย่างนั้น ข้าพระพุทธเจ้าก็จะไม่พึงพูดเท็จ
(พระราชาไม่ทรงเชื่อจึงตรัสซ้ำอีกว่า)
[๒๕๗] นาคราช แน่นอนทีเดียวที่เขาพูดกันว่า
มนุษย์กับอมนุษย์จะพึงคุ้นเคยกัน
เป็นเรื่องคุ้นเคยกันได้ยาก
แต่ถ้าท่านขอร้องเราเกี่ยวกับเรื่องนั้น
เราก็จะไปเยี่ยมที่อยู่ของท่าน
(และตรัสคาถาต่อไปว่า)
[๒๕๘] พวกท่านเป็นผู้มีพิษร้ายแรงยิ่งนัก
มีเดชมาก และก็โกรธง่าย
ท่านหลุดพ้นจากเครื่องผูกเพราะเรา
ควรจะรู้คุณที่เรากระทำแล้ว
(พระโพธิสัตว์เมื่อจะทำปฏิญญาอีก จึงกราบทูลว่า)
[๒๕๙] ผู้ใดถูกขังติดอยู่ในกระชังใกล้จะตาย
ยังไม่รู้จักบุญคุณที่พระองค์ทรงทำแล้วเช่นนั้น
ขอผู้นั้นจงหมกไหม้อยู่ในนรกที่โหดร้าย
อย่าได้ความสำราญทางกายอย่างใดอย่างหนึ่งเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๑๐. จัมเปยยชาดก (๕๐๖)
(พระราชาทรงชมเชยพระโพธิสัตว์นั้นว่า)
[๒๖๐] ขอปฏิญญาของท่านจงเป็นสัตย์จริงเถิด
ขอท่านอย่าเป็นผู้มีนิสัยมักโกรธและผูกโกรธ
ขอครุฑทั้งหลายจงงดเว้นตระกูลนาคของท่านทั้งมวล
เหมือนบุคคลงดเว้นไฟในคิมหันตฤดู
(ฝ่ายพระโพธิสัตว์ก็ได้ชมเชยพระราชาว่า)
[๒๖๑] ขอเดชะพระองค์ผู้จอมชน
พระองค์ทรงอนุเคราะห์ตระกูลนาค
เหมือนมารดาอนุเคราะห์บุตรสุดที่รักคนเดียว
ข้าพระพุทธเจ้าพร้อมกับตระกูลนาค
จะทำการขวนขวายตอบแทนพระองค์อย่างโอฬาร
(พระราชาทรงมีพระประสงค์จะเสด็จไปยังภพนาค จึงรับสั่งว่า)
[๒๖๒] เจ้าพนักงานทั้งหลายจงเทียมราชรถที่งามวิจิตร
จงเทียมม้าอัสดรที่ฝึกดีแล้ว ซึ่งเกิดในแคว้นกัมโพชะ
อนึ่ง จงผูกช้างตัวประเสริฐ
ซึ่งประดับด้วยสุวรรณวัตถาภรณ์
เราจะไปเยี่ยมนิเวศน์ของนาคราช
(พระศาสดาตรัสพระคาถาว่า)
[๒๖๓] เจ้าพนักงานตีกลอง ตะโพน แกว่งบัณเฑาะว์ เป่าสังข์
ต่อพระเจ้าอุคคเสน พระราชามีหมู่นารีแวดล้อม
เสด็จไปท่ามกลางหมู่นารีงดงามยิ่งนัก
(พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเรื่องนั้น จึงตรัสว่า)
[๒๖๔] พระราชาผู้ผดุงแคว้นกาสีให้เจริญ
ได้ทอดพระเนตรภูมิภาคที่วิจิตรด้วยทรายทอง
และปราสาททอง ซึ่งปูด้วยแผ่นกระดานแก้วไพฑูรย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๑๐. จัมเปยยชาดก (๕๐๖)
[๒๖๕] พระราชาพระองค์นั้นเสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของพญานาคจัมเปยยะ
ซึ่งประดับตบแต่งไว้แล้ว อันมีรัศมีโอภาสเปล่งปลั่ง
ดุจดังแสงอาทิตย์แรกอุทัย และประดุจดังสายฟ้าในกลุ่มเมฆ
[๒๖๖] พระเจ้ากาสีพระองค์นั้น
เสด็จทอดพระเนตรจนทั่วพระนิเวศน์ของพญานาคจัมเปยยะ
ที่ดารดาษด้วยพฤกษชาตินานาพันธุ์
ซึ่งอบอวลด้วยกลิ่นหอมนานาประการ
[๒๖๗] เมื่อพระเจ้ากาสีเสด็จไปยังนิเวศน์ของพญานาคจัมเปยยะ
เหล่าทิพย์ดนตรีก็บรรเลง ทั้งเหล่านางนาคกัญญาก็ฟ้อนรำ
[๒๖๘] พระเจ้ากาสีเสด็จขึ้นสู่นาคนิเวศน์
ซึ่งมีหมู่นางนาคกัญญาตามเสด็จ
ทรงพอพระทัย ประทับนั่งบนภัทรบิฐทองคำ
มีพนักอิงฉาบไล้ด้วยจุรณแก่นจันทน์หอมซึ่งเป็นทิพย์
[๒๖๙] พระองค์เสวยและทรงรื่นรมย์อยู่ในนาคพิภพนั้นแล้ว
ได้ตรัสกับพญานาคจัมเปยยะว่า ท่านมีวิมานอันประเสริฐเหล่านี้
ซึ่งรัศมีเปล่งปลั่งดังรัศมีดวงอาทิตย์ วิมานเช่นนี้ในมนุษยโลกไม่มี
นาคราช เพื่อประสงค์อะไรอีก ท่านจึงยังบำเพ็ญตบะอยู่
[๒๗๐] นางนาคกัญญาเหล่านั้นสวมสังวาลทองคำ
ใส่เสื้อผ้าสวยงาม มีองคุลีกลมกลึง มีฝ่ามือฝ่าเท้าแดง
ผิวพรรณไม่ทรามเลย คอยประคองให้ท่านดื่มน้ำทิพย์
ความงามเช่นนี้ในมนุษยโลกไม่มี
นาคราช เพื่อประสงค์อะไร ท่านจึงยังบำเพ็ญตบะอยู่
[๒๗๑] อนึ่ง ในพิภพของท่าน แม่น้ำเหล่านี้
ดาษดื่นด้วยฝูงปลามีเกล็ดหนานานาชนิด
มีนกเงือกเปล่งสำเนียงเสียงร้องอยู่ระงมไพร มีท่าน้ำที่สวยงาม
นทีทิพย์เช่นนี้ในมนุษยโลกไม่มี
นาคราช เพื่อประสงค์อะไรอีก ท่านจึงยังบำเพ็ญตบะอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๑๐. จัมเปยยชาดก (๕๐๖)
[๒๗๒] ฝูงนกกระเรียน นกยูง หงส์ และนกดุเหว่าทิพย์
ต่างพากันเปล่งสำเนียงประสานเสียงอย่างไพเราะ โผผินไปมา
ปักษีทิพย์เช่นนี้ในมนุษยโลกไม่มี
นาคราช เพื่อประสงค์อะไร ท่านจึงยังบำเพ็ญตบะอยู่
[๒๗๓] ต้นมะม่วง ต้นสาละ ต้นหมากเม่า ต้นหว้า
ต้นราชพฤกษ์ และต้นแคฝอย ผลิดอกออกผลบานสะพรั่ง
รุกขชาติอันเป็นทิพย์เช่นนี้ในมนุษยโลกไม่มี
นาคราช เพื่อประสงค์อะไร ท่านจึงยังบำเพ็ญตบะอยู่
[๒๗๔] อนึ่ง รอบ ๆ สระโบกขรณีของท่าน
ทิพยสุคนธ์เหล่านี้หอมฟุ้งตลบอบอวล ไม่ขาดสาย
ทิพยสุคนธ์เช่นนี้ในมนุษยโลกไม่มี
นาคราช เพื่อประสงค์อะไร ท่านจึงยังบำเพ็ญตบะอยู่
(นาคราชกราบทูลว่า)
[๒๗๕] ขอเดชะพระองค์ผู้จอมชน ข้าพระพุทธเจ้าบำเพ็ญตบะ
เพราะเหตุแห่งบุตร เพราะเหตุแห่งทรัพย์สมบัติ
หรือแม้เพราะเหตุแห่งอายุก็หาไม่
แต่เพราะข้าพระพุทธเจ้าปรารถนากำเนิดแห่งมนุษย์
เพราะเหตุนั้น จึงบากบั่นบำเพ็ญตบะอยู่
(พระราชาทรงชมเชยพระโพธิสัตว์ว่า)
[๒๗๖] ท่านมีดวงเนตรแดง มีรัศมีเปล่งปลั่ง
ประดับตบแต่งอย่างสวยงาม
ตัดผมโกนหนวดเรียบร้อย ชโลมลูบไล้ด้วยจุรณแก่นจันทน์แดง
เปล่งรัศมีไปทั่วทิศ ดุจราชาแห่งคนธรรพ์
[๒๗๗] ท่านถึงพร้อมด้วยเทพฤทธิ์ มีอานุภาพยิ่งใหญ่
เพียบพร้อมด้วยกามทั้งสิ้น
นาคราช เราขอถามเนื้อความนั้นกับท่าน
มนุษยโลกมีอะไรประเสริฐกว่านาคพิภพนี้หรือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๑๐. จัมเปยยชาดก (๕๐๖)
เพียบพร้อมด้วยกามทั้งสิ้น
นาคราช เราขอถามเนื้อความนั้นกับท่าน
มนุษยโลกมีอะไรประเสริฐกว่านาคพิภพนี้หรือ
(นาคราชกราบทูลว่า)
[๒๗๘] ขอเดชะพระองค์ผู้จอมชน นอกจากมนุษยโลกแล้ว
ความบริสุทธิ์หรือความสำรวมย่อมไม่มี
ข้าพระพุทธเจ้าได้กำเนิดมนุษย์แล้ว
จะทำที่สุดแห่งการเกิดและการตาย
(พระราชาตรัสว่า)
[๒๗๙] ชนเหล่าใดมีปัญญา เป็นพหูสูต
คิดเหตุการณ์ได้เป็นอันมาก ชนเหล่านั้นควรคบโดยแท้
ข้าพเจ้าเห็นนางนาคกัญญาและตัวท่านแล้ว
จะทำบุญให้มาก นะนาคราช
(นาคราชกราบทูลว่า)
[๒๘๐] ชนเหล่าใดมีปัญญา เป็นพหูสูต
คิดเหตุการณ์ได้เป็นอันมาก ชนเหล่านั้นควรคบโดยแท้
ขอเดชะพระมหาราช พระองค์เห็นนางนาคกัญญา
และข้าพระพุทธเจ้าแล้ว
โปรดทรงทำบุญให้มากเถิด
(พระโพธิสัตว์เมื่อจะแสดงทรัพย์จึงกราบทูลว่า)
[๒๘๑] ก็เงินทองของข้าพระพุทธเจ้านี้มีอยู่เพียงพอ
กองทองคำสูงประมาณชั่วลำตาล
พระองค์โปรดให้ขนไปจากที่นี่แล้วจงให้สร้างพระตำหนักทองคำ
และสร้างกำแพงเงินเถิด
[๒๘๒] อนึ่ง แก้วมุกดาประมาณ ๕,๐๐๐ เล่มเกวียน
ที่ปนกับแก้วไพฑูรย์
พระองค์โปรดให้ขนไปจากที่นี่แล้วจงลาดลงบนภาคพื้นภายในบุรี
เมื่อเป็นเช่นนี้ ภาคพื้นจักไม่เป็นโคลนตม
และจะไม่มีฝุ่นละออง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๑๑. มหาปโลภนชาดก (๕๐๗)
[๒๘๓] ขอเดชะพระมหาราชผู้ประเสริฐ ทรงมีพระปรีชาอันล้ำเลิศ
ขอพระองค์โปรดเสวยราชสมบัติ
ครอบครองกรุงพาราณสีซึ่งมั่งคั่งสมบูรณ์
สง่างามล้ำเลิศดุจทิพยวิมานเห็นปานนี้เถิด
จัมเปยยชาดกที่ ๑๐ จบ

๑๑. มหาปโลภนชาดก (๕๐๗)
ว่าด้วยการประเล้าประโลมให้หลง
(พระศาสดาทรงนำอดีตนิทานมาตรัสว่า)
[๒๘๔] เทพบุตรผู้มีฤทธิ์มาก จุติจากพรหมโลก
บังเกิดเป็นพระโอรสของพระราชาผู้ดำรงอยู่ในราชสมบัติ
ซึ่งให้สำเร็จความปรารถนาทุกประการ
[๒๘๕] กามก็ดี ความสำคัญในกามก็ดี ไม่มีในพรหมโลก
พระกุมารนั้นทรงรังเกียจกามทั้งหลาย
เพราะสัญญานั้นนั่นเอง
[๒๘๖] ก็ภายในเมือง ได้มีเรือนสำหรับบำเพ็ญฌาน
ที่พระราชบิดาโปรดให้สร้างไว้อย่างดีเพื่อพระกุมารนั้น
พระกุมารทรงหลีกเร้นบำเพ็ญฌานอยู่พระองค์เดียว
ในที่ลับในเรือนสำหรับบำเพ็ญฌานนั้น
[๒๘๗] พระราชาพระองค์นั้นทรงอัดอั้นตันพระทัย
ด้วยความโศกเพราะพระโอรส ได้ทรงบ่นเพ้อรำพันว่า
ก็โอรสองค์เดียวของเรานี้ช่างไม่บริโภคกามเสียเลย
(พระราชาทรงบ่นเพ้อรำพันว่า)
[๒๘๘] ผู้ใดพึงเล้าโลมโอรสของเราโดยที่เขาพึงปรารถนากามได้บ้าง
อุบายในข้อนี้นั้นเป็นอย่างไรหนอ
หรือใครรู้เหตุที่จะทำให้โอรสของเรานั้นเกี่ยวข้องกามได้บ้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๑๑. มหาปโลภนชาดก (๕๐๗)
(พระศาสดาตรัสเล่าเรื่องว่า)
[๒๘๙] ภายในเมืองนั้นเอง ได้มีกุมารีแรกรุ่นนางหนึ่ง
มีผิวพรรณรูปร่างงดงาม เป็นหญิงฉลาดการฟ้อนรำขับร้อง
และได้รับการฝึกฝนเป็นอย่างดีในการบรรเลงดนตรี
[๒๙๐] นางได้เข้าไปภายในพระราชฐาน
ได้กราบทูลพระราชาดังนี้ว่า
ถ้าหม่อมฉันจักได้พระกุมารเป็นภัสดา
หม่อมฉันก็พึงประเล้าประโลมพระกุมารนั้น
[๒๙๑] พระราชาได้ตรัสกับนางผู้กราบทูลอย่างนั้นดังนี้ว่า
เธอประเล้าประโลมเขาได้ เธอจักได้เขาเป็นภัสดา
(พระศาสดาทรงประกาศความข้อนั้นว่า)
[๒๙๒] ก็นางครั้นไปถึงภายในพระราชฐาน
ได้บรรเลงดนตรียั่วยวนความใคร่นานับประการ
ขับกล่อมคาถาอันไพเราะจับใจ น่ารักใคร่
[๒๙๓] ก็เพราะทรงสดับเสียงขับกล่อมแห่งนารีนั้นขับกล่อมอยู่
กามฉันทะได้เกิดขึ้นแก่พระกุมารนั้น
พระองค์จึงทรงสอบถามชนผู้อยู่รอบ ๆ ข้างว่า
[๒๙๔] นั่นเสียงใครกัน ใครกันนั่นขับร้องสำเนียงเสียงสูง ๆ ต่ำ ๆ
ได้อย่างไพเราะ จับใจ น่ารักใคร่นักหนา เสนาะหูเราเหลือเกิน
(ข้าราชบริพารกราบทูลว่า)
[๒๙๕] ขอเดชะพระองค์ผู้สมมติเทพ นั่นเป็นเสียงสตรี
น่าเพลิดเพลินมิใช่น้อย ถ้าพระองค์พึงบริโภคกาม
กามทั้งหลายจะพึงทำพระองค์ให้พอพระทัยยิ่งขึ้น
(พระราชกุมารตรัสว่า)
[๒๙๖] เชิญนางมาทางนี้ ทำไมขับร้องอยู่ห่างไกลนัก
จงขับร้องอยู่ใกล้ ๆ ตำหนักของเรา และใกล้ ๆ เรา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๑๑. มหาปโลภนชาดก (๕๐๗)
(พระศาสดาตรัสต่อไปว่า)
[๒๙๗] นางขับร้องอยู่ภายนอกฝาห้องพระบรรทม
แล้วได้เลื่อนเข้าไปในเรือนสำหรับบำเพ็ญฌานโดยลำดับ
เพื่อจะผูกมัดพระกุมารเหมือนการจับช้างป่า
[๒๙๘] เพราะทรงรู้รสแห่งกาม ความริษยาได้เกิดแก่พระกุมารว่า
เราเท่านั้นพึงบริโภคกาม อย่าพึงมีชายอื่นอยู่เลย
[๒๙๙] ต่อแต่นั้น ทรงจับพระแสงดาบ เสด็จเข้าไปหาชายทั้งหลาย
เพื่อจะทรงฆ่าทิ้งเสีย ด้วยพระดำริว่า
เราคนเดียวเท่านั้นจักบริโภคกาม อย่าพึงมีชายอื่นอยู่เลย
[๓๐๐] แต่นั้น ชาวชนบททั้งปวงได้มาพร้อมกันคร่ำครวญร้องทุกข์ว่า
ขอเดชะมหาราช พระราชโอรสพระองค์นี้
ทรงเบียดเบียนชนผู้ไม่ประทุษร้าย พระเจ้าข้า
[๓๐๑] ก็ขัตติยราชาทรงเนรเทศพระราชโอรสพระองค์นั้น
จากรัฐสีมาของพระองค์ด้วยพระบรมราชโองการว่า
แว่นแคว้นพ่อมีอยู่ประมาณเพียงใด
เจ้าไม่ควรอยู่ในเขตมีประมาณเพียงนั้น
[๓๐๒] ครั้งนั้น พระราชโอรสนั้นทรงพาพระชายา
เสด็จไปถึงฝั่งสมุทรแห่งหนึ่ง
ทรงสร้างบรรณศาลาแล้วเสด็จเข้าป่าเพื่อทรงแสวงหาผลาผล
[๓๐๓] ครั้งนั้น ฤๅษีตนหนึ่งได้เหาะมาเหนือสมุทรถึงบรรณศาลานั้น
ท่านได้เข้าไปยังบรรณศาลาของพระกุมารนั้น
ในเวลาที่นางกุมาริกาจัดแจงพระกระยาหาร
[๓๐๔] ส่วนพระชายาได้ประเล้าประโลมฤๅษีนั้น
ดูเอาเถิด กรรมที่นางทำแสนจะหยาบช้าเพียงไร
ที่ฤๅษีตนนั้นเคลื่อนจากพรหมจรรย์และเสื่อมจากฤทธิ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๑๑. มหาปโลภนชาดก (๕๐๗)
[๓๐๕] ฝ่ายพระราชบุตรแสวงหามูลผลาผลในป่าได้เป็นจำนวนมาก
ทรงหาบมาในเวลาใกล้เที่ยงวัน เสด็จเข้าไปยังพระอาศรม
[๓๐๖] ก็แลฤๅษีพอเห็นขัตติยกุมาร จึงหลบไปยังฝั่งสมุทร
ด้วยดำริว่า เราจักเหาะไป แต่ท่านก็จมลงในห้วงน้ำใหญ่
[๓๐๗] ฝ่ายขัตติยกุมารทอดพระเนตรเห็นฤๅษีจมอยู่ในห่วงน้ำใหญ่
เพื่อจะทรงช่วยเหลือท่าน จึงได้ตรัสคาถาเหล่านี้ว่า
[๓๐๘] ตัวท่านเองเดินมาได้บนผิวน้ำไม่แตกแยกด้วยฤทธิ์
ครั้นถึงความคลุกคลีกับหญิงแล้ว จึงจมลงในห้วงน้ำใหญ่
[๓๐๙] ธรรมดาหญิงทั้งหลายมีความหมุนเวียนเปลี่ยนอยู่เสมอ
มีมายามาก ทำพรหมจรรย์ให้กำเริบ
ย่อมจมลง(ในนรก)
บุคคลรู้ชัดเนื้อความข้อนั้นแล้ว พึงเว้นให้ห่างไกล
[๓๑๐] หญิงเหล่านั้นพูดจาอ่อนหวาน ไม่รู้จักพอ
ให้เต็มได้ยากเหมือนกับแม่น้ำ ย่อมจมลง(ในนรก)
บุคคลรู้ชัดเนื้อความข้อนั้นแล้ว พึงเว้นให้ห่างไกล
[๓๑๑] หญิงเหล่านั้นคบหาชายใด
ด้วยความพอใจหรือด้วยทรัพย์ก็ตาม
ย่อมตามเผาผลาญชายนั้นทันที
เหมือนไฟป่าเผาผลาญพื้นที่ของตนเอง
[๓๑๒] ความเบื่อหน่ายได้มีแก่ฤๅษีเพราะฟังพระดำรัสของขัตติยกุมาร
ฤๅษีนั้นกลับได้ทางที่ได้บรรลุมาก่อน จึงเหาะกลับไป
[๓๑๓] ฝ่ายขัตติยกุมารผู้ทรงพระปรีชา
ทอดพระเนตรเห็นฤๅษีกำลังเหาะไป
ทรงได้ความสังเวช จึงน้อมพระทัยสู่บรรพชา
[๓๑๔] ต่อแต่นั้น พระองค์ทรงบรรพชา
สำรอกกามราคะได้แล้ว ทรงเข้าถึงพรหมโลก ดังนี้
มหาปโลภนชาดกที่ ๑๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๑๒. ปัญจปัณฑิตชาดก (๕๐๘)
๑๒. ปัญจปัณฑิตชาดก (๕๐๘)
ว่าด้วยบัณฑิต ๕ คน
(พระราชาทรงรับที่จะทดลองมโหสธบัณฑิต จึงตรัสสั่งว่า)
[๓๑๕] ท่านบัณฑิตทั้ง ๕ มากันพร้อมแล้ว
ปัญหาแจ่มแจ้งแก่เรา ขอพวกท่านจงสดับ
เรื่องที่ควรติเตียนก็ดี เรื่องที่ควรสรรเสริญก็ดี
ซึ่งเป็นความลับของเรา ควรเปิดเผยแก่ใครดี
(เสนกบัณฑิตกราบทูลว่า)
[๓๑๖] ขอเดชะพระภูมิบาล ขอพระองค์ทรงเปิดเผยก่อน
พระองค์ทรงชุบเลี้ยงข้าพระพุทธเจ้า
ทรงอดกลั้นต่อภาระอันหนัก โปรดแถลงเนื้อความก่อน
ขอเดชะพระองค์ผู้จอมชน นักปราชญ์ทั้ง ๕ พิจารณา
สิ่งที่พอพระทัยและสิ่งที่ถูกพระอัธยาศัยของพระองค์แล้ว
จะกราบทูลต่อภายหลัง
(ลำดับนั้น พระราชาตรัสคาถานี้ด้วยความที่พระองค์ทรงตกอยู่ในอำนาจ
กิเลสว่า)
[๓๑๗] บุคคลควรเปิดเผยเรื่องที่ควรติเตียนก็ดี
เรื่องที่ควรสรรเสริญก็ดี ซึ่งเป็นความลับ
แก่ภรรยาผู้มีศีล ไม่นอกใจสามี
คล้อยตามอำนาจความพอใจของสามี
เป็นที่รักที่โปรดปรานของสามี
(แต่นั้น เสนกบัณฑิตยินดีแล้วเมื่อจะแสดงเหตุที่ตนทำไว้เอง จึงกราบทูลว่า)
[๓๑๘] บุคคลควรเปิดเผยเรื่องที่ควรติเตียนก็ดี
เรื่องที่ควรสรรเสริญก็ดี ซึ่งเป็นความลับ
แก่เพื่อนผู้เป็นที่พึ่งที่พำนัก
และผู้เป็นทางดำเนินของเพื่อนผู้ตกยากทุรนทุรายได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๑๒. ปัญจปัณฑิตชาดก (๕๐๘)
(ปุกกุสบัณฑิตถูกพระราชาตรัสถาม จึงกราบทูลว่า)
[๓๑๙] บุคคลพึงเปิดเผยเรื่องที่ควรติเตียนก็ดี
เรื่องที่ควรสรรเสริญก็ดี ซึ่งเป็นความลับ
แก่พี่ชายคนโต คนกลาง หรือแก่น้องชาย
ผู้มีศีลตั้งมั่น มีตนมั่นคง
(กามินทบัณฑิตถูกพระราชาตรัสถาม จึงกราบทูลว่า)
[๓๒๐] บุคคลพึงเปิดเผยเรื่องที่ควรติเตียนก็ดี
เรื่องที่ควรสรรเสริญก็ดี ซึ่งเป็นความลับ
แก่บุตรผู้ปรนนิบัติรับใช้บิดา
ผู้เป็นอนุชาตบุตรคล้อยตามบิดา มีปัญญาไม่ต่ำทราม
(เทวินทบัณฑิตถูกพระราชาตรัสถาม จึงกราบทูลว่า)
[๓๒๑] ขอเดชะพระองค์ผู้จอมชน ประเสริฐกว่ามนุษย์ทั้งหลาย
บุคคลพึงเปิดเผยเรื่องที่ควรติเตียนก็ดี
เรื่องที่ควรสรรเสริญก็ดี ซึ่งเป็นความลับ
แก่มารดาผู้เลี้ยงดูบุตรด้วยความรักความพอใจ
(มโหสธบัณฑิตกราบทูลเหตุแห่งความลับว่า)
[๓๒๒] ธรรมดาความลับปกปิดไว้เท่านั้นเป็นการดี
การเปิดเผยความลับบัณฑิตไม่สรรเสริญ
เพราะเมื่อความปรารถนายังไม่สำเร็จ นักปราชญ์พึงอดกลั้นไว้ก่อน
ความปรารถนาสำเร็จแล้ว พึงพูดได้ตามสบาย
(ฝ่ายพระนางอุทุมพรเทวีทูลถามถึงเหตุแห่งความโศกของพระราชาว่า)
[๓๒๓] ขอเดชะพระราชาผู้ประเสริฐ เพราะเหตุไร
พระองค์ทรงมีพระทัยวิปริตไป ขอเดชะพระองค์ผู้จอมมนุษย์
หม่อมฉันขอฟังพระดำรัสของพระองค์
พระองค์ทรงดำริอย่างไรหรือ จึงทรงโทมนัส
ขอเดชะพระองค์ผู้สมมติเทพ หม่อมฉันไม่มีความผิดเลยหรือเพคะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๑๒. ปัญจปัณฑิตชาดก (๕๐๘)
(ลำดับนั้น พระราชาตรัสตอบพระนางว่า)
[๓๒๔] ในเพราะปัญหาว่า มโหสธบัณฑิตจะถูกฆ่า
มโหสธผู้มีปัญญาเพียงดังแผ่นดิน ถูกพี่สั่งฆ่า
พี่คิดถึงเรื่องนั้นจึงเสียใจ พระเทวี น้องไม่มีความผิดหรอก
(พระราชาทรงทำเหมือนไม่ทรงทราบอะไร ตรัสถามมโหสธบัณฑิตว่า)
[๓๒๕] เจ้าไปตั้งแต่พลบค่ำ เพิ่งจะมาเดี๋ยวนี้
เพราะได้ฟังเรื่องอะไรหรือ ใจของเจ้าจึงหวาดระแวง
เชิญเถิด เจ้าผู้มีปัญญาเพียงดังแผ่นดิน ใครได้เรียนอะไรให้เจ้าฟัง
เราขอฟังคำนั้น เจ้าจงเล่าเรื่องนั้นให้เราฟัง
(พระโพธิสัตว์มโหสธบัณฑิตทูลเตือนพระราชาว่า)
[๓๒๖] ในปัญหาว่า มโหสธจะถูกฆ่า
ขอเดชะพระองค์ผู้จอมชน ก็เพราะพระองค์เสด็จอยู่ในที่ลับ
ได้ตรัสบอกเรื่องที่พระองค์ทรงปรึกษาแล้วแก่พระเทวีตอนกลางคืน
ความลับนั้นพระเทวีทรงเปิดเผยแล้ว ข้าพระพุทธเจ้าได้ฟังมา
(พระโพธิสัตว์มโหสธบัณฑิตกราบทูลความลับของเสนกบัณฑิตก่อนว่า)
[๓๒๗] ท่านเสนกบัณฑิตได้ทำกรรมชั่ว
เยี่ยงอสัตบุรุษอันใดไว้ที่ป่าไม้รัง
เขาอยู่ในที่ลับแล้วได้บอกแก่เพื่อนคนหนึ่ง
ความลับนั้นท่านเสนกบัณฑิตได้เปิดเผยแล้ว
ข้าพระพุทธเจ้าได้ฟังมา
(พระโพธิสัตว์มโหสธบัณฑิตกราบทูลความลับของปุกกุสบัณฑิตว่า)
[๓๒๘] ขอเดชะพระองค์ผู้จอมชน โรคอันไม่คู่ควรแก่พระราชา
เกิดขึ้นแล้วแก่ปุกกุสะบุรุษของพระองค์
เขาอยู่ในที่ลับได้บอกแก่พี่น้องชายคนหนึ่ง
ความลับนั้นท่านปุกกุสบุรุษได้เปิดเผยแล้ว
ข้าพระพุทธเจ้าได้ฟังมา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๑๒. ปัญจปัณฑิตชาดก (๕๐๘)
(พระโพธิสัตว์มโหสธบัณฑิตกราบทูลความลับของกามินทบัณฑิตว่า)
[๓๒๙] กามินทบัณฑิตผู้นี้มีอาพาธเยี่ยงอสัตบุรุษ ถูกนรเทพเข้าสิง
เขาอยู่ในที่ลับได้บอกแก่บุตรชาย
ความลับนั้นกามินทบัณฑิตได้เปิดเผยแล้ว
ข้าพระพุทธเจ้าได้ฟังมา
(พระโพธิสัตว์มโหสธบัณฑิตเมื่อจะกราบทูลความลับของเทวินทบัณฑิต จึง
กล่าวคาถานี้ว่า)
[๓๓๐] ท้าวสักกเทวราชได้ทรงประทานแก้วมณี ๘ เหลี่ยม
อันรุ่งเรืองยิ่งนักแด่พระอัยยกาของพระองค์
บัดนี้ แก้วมณีนั้นตกอยู่ในมือของเทวินทบัณฑิต
เขาอยู่ในที่ลับได้บอกแก่มารดา
ความลับนั้นท่านเทวินทบัณฑิตได้เปิดเผยแล้ว
ข้าพระพุทธเจ้าได้ฟังมา
(พระโพธิสัตว์กราบทูลพระราชาแล้วแสดงธรรมให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไปว่า)
[๓๓๑] ธรรมดาความลับปกปิดไว้เท่านั้นเป็นการดี
การเปิดเผยความลับบัณฑิตไม่สรรเสริญ
เพราะเมื่อความปรารถนายังไม่สำเร็จ
นักปราชญ์พึงอดกลั้นไว้ก่อน
ความปรารถนาสำเร็จแล้ว พึงพูดได้ตามสบาย
[๓๓๒] บัณฑิตไม่พึงเปิดเผยความลับ
พึงรักษาความลับนั้นไว้เหมือนรักษาขุมทรัพย์
เพราะว่าความลับบุคคลรู้อยู่ ไม่เปิดเผยได้เป็นการดี
[๓๓๓] บัณฑิตไม่ควรบอกความลับแก่สตรี ๑ ศัตรู ๑
คนที่ใช้อามิสล่อ ๑ คนผู้ล้วงความลับ ๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๑๓. หัตถิปาลชาดก (๕๐๙)
[๓๓๔] คนผู้รู้ความลับที่ผู้อื่นไม่รู้
เพราะกลัวความลับที่ปรึกษาหารือกันไว้จะแตก
ย่อมอดกลั้นไว้ดุจบุคคลผู้เป็นทาสเขา
[๓๓๕] คนมีประมาณเท่าใดล่วงรู้ความลับที่เขาปรึกษากัน
คนมีประมาณเท่านั้นเป็นบุคคลที่น่าหวาดกลัวของเขา
เพราะฉะนั้น บุคคลไม่ควรเปิดเผยความลับ
[๓๓๖] ในเวลากลางวันควรพูดความลับในที่สงัด
เวลากลางคืนไม่ควรพูดดังเกินไป
เพราะเหตุว่าคนแอบฟังได้ยินความลับที่ปรึกษากันเข้า
ความลับนั้นจะถึงการแพร่งพรายโดยเร็วพลัน
ปัญจปัณฑิตชาดกที่ ๑๒ จบ

๑๓. หัตถิปาลชาดก (๕๐๙)
ว่าด้วยหัตถิปาลกุมาร
(หัตถิปาลกุมารเห็นฤๅษีเหล่านั้นแล้วดีใจเลื่อมใส ได้กล่าว ๓ คาถาว่า)
[๓๓๗] นานแล้วหนอ ข้าพเจ้าเพิ่งจะได้พบเห็นพราหมณ์
ผู้มีเพศดังเทพ มีชฎาใหญ่ ทรงไว้ซึ่งหาบคอน
มีขี้ฟันเขรอะ มีศีรษะหมักหมมด้วยธุลี
[๓๓๘] นานแล้วหนอ ข้าพเจ้าเพิ่งจะได้พบเห็น
ฤๅษีผู้ยินดีในธรรมคุณ
นุ่งผ้าย้อมด้วยน้ำฝาด มีผ้าคากรองปิดร่างกาย
[๓๓๙] ขอพระคุณเจ้าผู้เจริญจงรับอาสนะ น้ำ
และผ้าเช็ดเท้าของข้าพเจ้าเถิด
ข้าพเจ้าขอถวายของมีค่าต้อนรับพระคุณเจ้าผู้เจริญ
ขอพระคุณเจ้าผู้เจริญจงใช้สอยของมีค่าของข้าพเจ้าด้วยเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๑๓. หัตถิปาลชาดก (๕๐๙)
(ต่อมาพระราชบิดาเมื่อทรงพร่ำสอนพระกุมารตามอัธยาศัย จึงตรัสคาถาว่า)
[๓๔๐] หัตถิบาลลูกรัก เจ้าจงเล่าเรียนวิทยาแสวงหาทรัพย์
ปลูกฝังบุตรธิดาให้ดำรงอยู่ในเหย้าเรือน
แล้วจงเสวยคันธารมณ์ รสารมณ์ และวัตถุกาม๑ทั้งปวงเถิด
เป็นนักบวชได้ในเวลาแก่ เป็นการดี
พระอริยะสรรเสริญผู้บวชนั้นว่าเป็นมุนี
(หัตถิปาลกุมารได้กล่าวคาถาว่า)
[๓๔๑] เวทวิทยาเป็นของไม่จริง
ลาภคือทรัพย์มีสภาพเป็นอันเดียวก็หาไม่
ชนทั้งหลายห้ามความชราได้เพราะลาภคือบุตรก็หาไม่
สัตบุรุษกล่าวยกย่องการปล่อยวางคันธารมณ์และรสารมณ์
ผลสำเร็จย่อมมีได้ เพราะการกระทำของตน
(พระราชาทรงสดับดังนั้นแล้วจึงตรัสคาถาว่า)
[๓๔๒] คำของเจ้านั้นเป็นคำสัตย์อย่างแท้จริง
ผลสำเร็จย่อมมีได้เพราะการกระทำของตน
แต่มารดาบิดาของเจ้าเหล่านี้แก่เฒ่าแล้ว
พึงเห็นเจ้ามีอายุ ๑๐๐ ปี ไม่มีโรค
(หัตถิปาลกุมารสดับดังนั้นแล้วจึงได้กล่าว ๒ คาถาว่า)
[๓๔๓] ขอเดชะพระมหาราช ผู้แกล้วกล้าประเสริฐกว่านรชน
ความเป็นเพื่อนกับความตาย
ความเป็นมิตรไมตรีกับความแก่ พึงมีแก่ผู้ใด
และแม้ผู้ใดพึงรู้ในกาลบางคราวว่า เราจักไม่ตาย
มารดาบิดาพึงเห็นผู้นั้นมีอายุ ๑๐๐ ปี ไม่มีโรค

เชิงอรรถ :
๑ คันธารมณ์ อารมณ์ที่เกิดแต่กลิ่น รสารมณ์ อารมณ์ที่เกิดแต่รส วัตถุกาม วัตถุที่น่าใคร่ น่าปรารถนา
น่าอยากได้ โดยความได้แก่กามคุณ ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๑๓. หัตถิปาลชาดก (๕๐๙)
[๓๔๔] ถ้าคนยกเรือลงน้ำพายไป นำคนข้ามฟากไปยังฝั่งได้แม้ฉันใด
พยาธิและชราก็ฉันนั้น ย่อมนำสัตว์ไปสู่อำนาจ
ของมัจจุราชผู้ทำที่สุดแน่นอน
(อัสสปาลกุมารเมื่อจะแสดงธรรมแก่พระราชบิดา จึงตรัส ๒ คาถาว่า)
[๓๔๕] กามทั้งหลายเสมือนเปือกตม เสมือนหล่ม
เป็นเครื่องนำใจเหล่าสัตว์ไปได้ ข้ามได้ยาก
เป็นที่ตั้งแห่งพญามัจจุราช
สัตว์ทั้งหลายผู้จมอยู่ในเปือกตมและหล่มคือกามนั้น
เป็นผู้มีอัตภาพเลวทรามย่อมข้ามถึงฝั่งคือพระนิพพานหาได้ไม่
[๓๔๖] เมื่อก่อน อัตภาพนี้ได้กระทำกรรมอันหยาบช้าไว้
ข้าพระพุทธเจ้าได้รับวิบากกรรมนั้นแล้ว
ความพ้นจากวิบากกรรมนี้ไม่มีแก่ข้าพระพุทธเจ้าเลย
ข้าพระพุทธเจ้าจะปิดกั้นปกปักรักษาอัตภาพนั้นไว้
ขออัตภาพนี้อย่าได้กระทำกรรมหยาบช้าอีกเลย
(โคปาลกุมารทรงปฏิเสธพระราชบิดาแล้ว จึงตรัสคาถาว่า)
[๓๔๗] ขอเดชะพระมหาราช นายโคบาลเมื่อไม่เห็นโคที่หายไปในป่า
ย่อมตามหาฉันใด ขอเดชะพระเจ้าเอสุการีมหาราช
ประโยชน์ของข้าพระพุทธเจ้าก็หายไปแล้วฉันนั้น
ไฉนเล่า ข้าพระพุทธเจ้านั้นจะไม่พึงแสวงหา
(และท่านได้ฟังพระดำรัสขอร้องของพระราชบิดาแล้ว จึงตรัสคาถาอีกว่า)
[๓๔๘] คนกล่าวผัดเพี้ยนว่า พรุ่งนี้ก็เสื่อม ว่า มะรืนนี้ก็ยิ่งเสื่อม
ธีรชนคนใดเล่าจะพึงรู้ว่า อนาคตนั้นไม่มี
แล้วบรรเทาความพอใจที่เกิดขึ้นได้
(อชปาลกุมารกราบทูลปฏิเสธพระราชบิดาแล้ว จึงตรัส ๒ คาถาว่า)
[๓๔๙] ข้าพระพุทธเจ้าเห็นหญิงสาวคนหนึ่ง
ท่องเที่ยวไปเหมือนคนเมา มีดวงตาเหมือนดอกการะเกด
พญามัจจุราชได้คร่าชีวิตนางในปฐมวัยซึ่งยังมิได้บริโภคโภคะไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๑๓. หัตถิปาลชาดก (๕๐๙)
[๓๕๐] สามชายหนุ่มมีชาติกำเนิดที่ดี
มีใบหน้างดงาม ทรวดทรงน่าทัศนา
มีหนวดประปรายเหมือนเกษรดอกโกสุม
ยังตกอยู่ในอำนาจของพญามัจจุราช
ขอเดชะพระองค์ผู้สมมติเทพ
ข้าพระพุทธเจ้าจักรีบละกามคุณและเคหสถานบวช
ขอทรงพระกรุณาโปรดอนุญาต
ให้ข้าพระพุทธเจ้าบวชเถิด พระเจ้าข้า
(ปุโรหิตเมื่อจะปรึกษากับนางพราหมณี จึงกล่าวคาถาว่า)
[๓๕๑] ต้นไม้ได้โวหารว่าต้นไม้ เพราะมีกิ่งทั้งหลาย
แต่ต้นไม้ที่ขาดกิ่ง ชาวโลกเรียกว่าตอไม้
แม่วาเสฏฐีผู้เจริญ บัดนี้เราขาดบุตร
ถึงเวลาที่จะเที่ยวภิกขาจาร
(นางพราหมณีเมื่อจะนำตัวอย่างที่เป็นอดีตมา กล่าวอุทานคาถาว่า)
[๓๕๒] นกกระเรียนทั้งหลายบินไปในอากาศได้ฉันใด
หงส์ทั้งหลายทำลายข่ายคือใยที่แมลงมุมชักขึงไว้
ในปลายฤดูฝนบินไปได้ฉันนั้น
ลูกและผัวของเราก็พากันไปหมด ไฉนเรารู้อยู่จะไม่พึงไปตาม
(พระอัครมเหสีเมื่อจะให้พระราชาทรงทราบเรื่องกามด้วยอุปมา จึงตรัส ๒
คาถาว่า)
[๓๕๓] นกเหล่านี้กินเนื้อแล้วสำรอกแล้วด้วย ย่อมบินหลีกไปได้
ส่วนนกเหล่าใดกินเนื้อแล้วไม่สำรอก
นกเหล่านั้นก็ตกอยู่ในเงื้อมมือของหม่อมฉัน
[๓๕๔] ขอเดชะพระมหาราช พราหมณ์ได้สำรอกกามทั้งหลายทิ้งแล้ว
พระองค์นั้นกลับจะบริโภคกามนั้นอีก
คนบริโภคสิ่งที่เขาคายทิ้งแล้วเป็นคนที่บัณฑิตไม่สรรเสริญเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๑๔. อโยฆรชาดก (๕๑๐)
(พระราชาเกิดความสลดพระทัยเมื่อจะทรงชมเชยพระเทวี จึงตรัสคาถาว่า)
[๓๕๕] บุรุษผู้มีกำลังฉุดบุรุษผู้มีกำลังทราม
ที่จมอยู่ในเปือกตมและหล่มเลนขึ้นได้ฉันใด
แม่ธิดาแห่งปัญจาลนครผู้เจริญ แม้พระนางก็ฉันนั้น
พยุงพี่ให้ข้ามขึ้นจากเปือกตมคือกามได้ด้วยคาถาสุภาษิต
(พระศาสดาเมื่อจะประกาศว่าพระราชาทรงผนวชแล้ว จึงตรัสพระคาถาว่า)
[๓๕๖] พระเจ้าเอสุการีมหาราช ผู้เป็นใหญ่ทั่วทิศ
ครั้นตรัสพระดำรัสนี้แล้วละแคว้นทรงผนวชแล้ว
เหมือนพญาช้างตัดเครื่องผูกได้ขาด
(ชาวเมืองประชุมกันไปกราบทูลพระราชเทวี จึงกล่าวคาถาว่า)
[๓๕๗] ก็พระราชาผู้กล้าหาญ ประเสริฐกว่านรชน
ทรงพอพระทัยการบรรพชา ละแคว้นไปแล้ว
แม้พระนางก็จงทรงเป็นพระราชาของพวกข้าพระพุทธเจ้าเถิด
พวกข้าพระพุทธเจ้าถวายความคุ้มครองแล้ว
ขอพระนางทรงครอบครองราชสมบัติโดยธรรมเหมือนพระราชาเถิด
(พระราชเทวีทรงสดับคำกราบทูลของมหาชนแล้ว จึงตรัสคาถาที่เหลือว่า)
[๓๕๘] ก็พระราชาผู้กล้าหาญ ประเสริฐกว่านรชน
ทรงพอพระทัยการบรรพชา ละแคว้นไปแล้ว
ถึงเราก็จักละกามทั้งหลาย ซึ่งเป็นที่น่ารื่นรมย์ยินดี
ท่องเที่ยวไปคนเดียวในโลก
[๓๕๙] ก็พระราชาผู้กล้าหาญ ประเสริฐกว่านรชน
ทรงพอพระทัยการบรรพชา ละแคว้นไปแล้ว
ถึงเราก็จักละกามทั้งหลายที่มีอยู่โดยทั่วไป
ท่องเที่ยวไปคนเดียวในโลก
[๓๖๐] กาลเวลาย่อมล่วงเลยไป ราตรีย่อมผ่านพ้นไป
ชั้นแห่งวัยก็ละลำดับไป ถึงเราก็จักละกามทั้งหลาย
ซึ่งเป็นที่น่ารื่นรมย์ยินดีท่องเที่ยวไปคนเดียวในโลก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๑๔. อโยฆรชาดก (๕๑๐)
[๓๖๑] กาลเวลาย่อมล่วงเลยไป ราตรีย่อมผ่านพ้นไป
ชั้นแห่งวัยก็ละลำดับไป
ถึงเราก็จักละกามทั้งหลายที่มีอยู่โดยทั่วไป
ท่องเที่ยวไปคนเดียวในโลก
[๓๖๒] กาลเวลาย่อมล่วงเลยไป ราตรีย่อมผ่านพ้นไป
ชั้นแห่งวัยก็ละลำดับไป
ถึงเราก็จักเป็นผู้เยือกเย็น ล่วงเครื่องข้องทั้งปวง
ท่องเที่ยวไปคนเดียวในโลก
หัตถิปาลชาดกที่ ๑๓ จบ

๑๔. อโยฆรชาดก (๕๑๐)
ว่าด้วยมหาสัตว์อโยฆรราช
(พระโพธิสัตว์อโยฆรราชเมื่อจะแสดงธรรมโปรดพระราชบิดา จึงตรัสว่า)
[๓๖๓] สัตว์ถือปฏิสนธิครั้งแรก อยู่ในครรภ์ตลอดคืนหนึ่ง
ดำเนินไปไม่หวนกลับเหมือนเมฆหมอกที่ตั้งขึ้นแล้วลอยผ่านไป
[๓๖๔] นรชนทั้งหลายประกอบพร้อมด้วยกำลังพล
สู้รบอยู่ในสงคราม จะไม่แก่ไม่ตายก็หาไม่
เพราะว่ามณฑลแห่งปาณสัตว์นั้นล้วนถูกชาติและชราเบียดเบียน
เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงมีความคิดว่า
จะประพฤติธรรม
[๓๖๕] พระราชาผู้เป็นใหญ่แห่งแคว้น
ทรงข่มขี่ราชศัตรู ผู้มีเสนาประกอบด้วยองค์ ๔
มีรูปร่างน่าสะพรึงกลัว เอาชนะไปได้
แต่ไม่ทรงสามารถชนะเสนาแห่งพญามัจจุราชได้
เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงมีความคิดว่า
จะประพฤติธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๑๔. อโยฆรชาดก (๕๑๐)
[๓๖๖] พระราชาบางพวกแวดล้อมด้วยกองทัพช้าง กองทัพม้า
กองทัพรถ กองทัพพลเดินเท้า
ย่อมพ้นจากเงื้อมมือของปัจจามิตรได้
แต่ไม่อาจจะทรงพ้นจากพญามัจจุราชได้
เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงมีความคิดว่า จะประพฤติธรรม
[๓๖๗] พระราชาทั้งหลายผู้ทรงกล้าหาญ ทรงหักค่าย
ทำลายนคร กำจัดมหาชนได้ด้วยกองทัพช้าง กองทัพม้า
กองทัพรถ กองทัพพลเดินเท้า
แต่ไม่อาจจะทรงหักราญพญามัจจุราชได้
เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงมีความคิดว่า จะประพฤติธรรม
[๓๖๘] คชสารทั้งหลายตัวตกมัน มีมันแตกไหลเยิ้ม
ย่อมย่ำยีบ้านเมือง เข่นฆ่าประชาชนได้
แต่ไม่อาจจะย่ำยีพญามัจจุราชได้
เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงมีความคิดว่า จะประพฤติธรรม
[๓๖๙] นายขมังธนูทั้งหลายผู้มีฝีมือฝึกปรือดีแล้ว เป็นผู้กล้าหาญ
สามารถยิงไปได้ไกล แม่นยำไม่ผิดพลาด
แต่ไม่อาจจะยิงพญามัจจุราชได้
เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงมีความคิดว่า จะประพฤติธรรม
[๓๗๐] สระทั้งหลายย่อมเสื่อมสิ้นไป
พื้นปฐพีพร้อมทั้งภูเขาและราวป่าก็หมดสิ้นไป
ถึงทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ตลอดกาลนานเข้าก็เสื่อมสิ้นไป
เพราะสังขารทั้งปวงนั้นย่อมแตกสลายไปตามกาลกำหนด
เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงมีความคิดว่า จะประพฤติธรรม
[๓๗๑] แท้จริง ชีวิตของเหล่าสัตว์ทั้งปวงทั้งหญิงชายในโลกนี้
มีสภาพหวั่นไหว ปั่นป่วน
เหมือนแผ่นผ้าของนักเลง เหมือนต้นไม้ที่เกิดใกล้ฝั่ง
เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงมีความคิดว่า จะประพฤติธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๑๔. อโยฆรชาดก (๕๑๐)
[๓๗๒] ทั้งคนหนุ่ม ทั้งคนแก่
ทั้งหญิง ทั้งชาย ทั้งบัณเฑาะก์ (กะเทย)
ย่อมมีกายแตกทำลายไปเหมือนผลไม้หล่นจากต้น
เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงมีความคิดว่า จะประพฤติธรรม
[๓๗๓] ดวงจันทร์ซึ่งเป็นราชาแห่งดวงดาวเป็นฉันใด
วัยนี้หาเป็นฉันนั้นไม่ เพราะส่วนใดล่วงไปแล้ว
ส่วนนั้นเป็นอันล่วงไปแล้วในบัดนี้
อนึ่ง คนแก่เฒ่าชราแล้วหามีความยินดีไม่ ความสุขจะมีแต่ที่ไหน
เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงมีความคิดว่า จะประพฤติธรรม
[๓๗๔] ยักษ์ ปีศาจ หรือแม้เปรตทั้งหลายเหล่านั้นโกรธขึ้นมาแล้ว
ย่อมเข้าสิงมนุษย์ทั้งหลายได้ แต่ไม่อาจจะเข้าสิงพญามัจจุราชได้
เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงมีความคิดว่า จะประพฤติธรรม
[๓๗๕] ยักษ์ ปีศาจ หรือแม้เปรตทั้งหลายเหล่านั้นโกรธขึ้นมาแล้ว
มนุษย์ทั้งหลายย่อมกระทำให้อดโทษได้ด้วยพลีกรรม
แต่จะทำพญามัจจุราชให้อดโทษด้วยพลีกรรมหาได้ไม่
เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงมีความคิดว่า จะประพฤติธรรม
[๓๗๖] พระราชาทั้งหลายทรงทราบความผิดอย่างชัดแจ้งแล้ว
จึงทรงลงอาชญาคนผู้มีความผิด
ผู้ประทุษร้าย และผู้เบียดเบียนประชาชน
แต่ไม่ทรงสามารถจะลงอาชญาพญามัจจุราชได้
เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงมีความคิดว่า จะประพฤติธรรม
[๓๗๗] ชนทั้งหลายผู้กระทำความผิด ผู้ประทุษร้าย
และผู้เบียดเบียนเหล่านั้น
ย่อมได้เพื่อจะทูลเกล้าถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ
แต่จะทำพญามัจจุราชให้อภัยโทษหาได้ไม่
เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงมีความคิดว่า จะประพฤติธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๑๔. อโยฆรชาดก (๕๑๐)
[๓๗๘] ความเพ่งเล็งด้วยความหวังดีว่า
ผู้นี้เป็นกษัตริย์ เป็นพราหมณ์
ผู้นี้เป็นคนมั่งคั่ง เป็นคนมีพลัง หรือเป็นคนมีเดช
ไม่ได้มีแก่พญามัจจุราชเลย
เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงมีความคิดว่า จะประพฤติธรรม
[๓๗๙] สิงโต เสือโคร่ง และแม้เสือเหลืองทั้งหลาย
ย่อมข่มขี่กัดกินสัตว์ที่ดิ้นรนไปมาได้
แต่ไม่อาจจะกัดกินพญามัจจุราชได้เลย
เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงมีความคิดว่า จะประพฤติธรรม
[๓๘๐] นักมายากลทั้งหลายเมื่อแสดงมายากลท่ามกลางสนาม
ย่อมลวงตาประชาชนให้หลงใหลได้เพียงนั้น
แต่ไม่อาจจะลวงตาพญามัจจุราชให้หลงใหลได้เลย
เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงมีความคิดว่า จะประพฤติธรรม
[๓๘๑] อสรพิษทั้งหลายตัวที่มีพิษร้ายกาจ
โกรธขึ้นมาแล้วย่อมขบกัดมนุษย์ทั้งหลายให้ตายได้
แต่ไม่อาจจะขบกัดพญามัจจุราชได้เลย
เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงมีความคิดว่า จะประพฤติธรรม
[๓๘๒] อสรพิษทั้งหลายโกรธขึ้นมาแล้วย่อมขบกัดผู้ใด
หมอผู้เยียวยายังถอนพิษในร่างกายของผู้นั้นได้
แต่ถอนพิษอันร้ายกาจของพญามัจจุราชหาได้ไม่
เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงมีความคิดว่า จะประพฤติธรรม
[๓๘๓] นายแพทย์ธรรมมนตรี ๑ นายแพทย์เวตดรุณ ๑
นายแพทย์โภชะ ๑ กำจัดพิษพญานาคทั้งหลายได้
แต่นายแพทย์เหล่านั้น ได้ยินว่า ได้ตายไปแล้วเช่นกันแล
เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงมีความคิดว่า จะประพฤติธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๑๔. อโยฆรชาดก (๕๑๐)
แต่นายแพทย์เหล่านั้น ได้ยินว่า ได้ตายไปแล้วเช่นกันแล
เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงมีความคิดว่า จะประพฤติธรรม
[๓๘๔] วิทยาธรทั้งหลาย เมื่อร่ายเวทย์ชื่อโฆรมนต์
ย่อมหายตัวไปได้ด้วยโอสถทั้งหลาย
แต่จะร่ายเวทย์ไม่ให้พญามัจจุราชเห็นหาได้ไม่
เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงมีความคิดว่า จะประพฤติธรรม
[๓๘๕] ธรรมแลย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม
ธรรมที่บุคคลประพฤติดีแล้ว ย่อมนำความสุขมาให้
นี้เป็นอานิสงส์ในธรรมที่บุคคลประพฤติดีแล้ว
ผู้มีปกติประพฤติธรรมย่อมไม่ไปสู่ทุคติ
[๓๘๖] สภาวะทั้ง ๒ คือ ธรรมและอธรรม
หามีผลวิบากเสมอกันได้ไม่
เพราะอธรรมนำสัตว์ไปนรก
ส่วนธรรมยังสัตว์ให้ถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้
อโยฆรชาดกที่ ๑๔ จบ

รวมชาดกที่มีในนิบาตนี้ คือ

๑. มาตังคชาดก ๒. จิตตสัมภูตชาดก
๓. สีวิราชชาดก ๔. สิรีมันตชาดก
๕. โรหณมิคชาดก ๖. จูฬหังสชาดก
๗. สัตติคุมพชาดก ๘. ภัลลาติยชาดก
๙. โสมนัสสชาดก ๑๐. จัมเปยยชาดก
๑๑. มหาปโลภนชาดก ๑๒. ปัญจปัณฑิตชาดก
๑๓. หัตถิปาลชาดก ๑๔. อโยฆรชาดก

วีสตินิบาต จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๓๗ }


๑๖. ติงสตินิบาต
๑. กิงฉันทชาดก (๕๑๑)
ว่าด้วยดาบสผู้มีความพอใจอะไร
(เทพธิดาผู้รักษาแม่น้ำกล่าวกับกิงฉันทดาบสว่า)
[๑] ท่านพราหมณ์ ท่านพอใจ๑อะไร
ประสงค์อะไร ปรารถนาอะไร
แสวงหาอะไรอยู่ และเพราะต้องการอะไร
จึงมาอยู่แต่ผู้เดียวในฤดูร้อน
(ดาบสได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวว่า)
[๒] หม้อน้ำใบใหญ่มีทรวดทรงงดงามฉันใด
มะม่วงสุกที่อุดมไปด้วยสี กลิ่น และรสก็อุปไมยได้ฉันนั้น
[๓] มะม่วงนั้นลอยมาตามกระแสน้ำท่ามกลางสายน้ำใส
อาตมาเห็นเข้าจึงยื่นมือไปเก็บมัน นำมาเก็บไว้ในโรงบูชาไฟ
[๔] แต่นั้นอาตมาเองวางมะม่วงไว้บนใบตอง ใช้มีดฝานแล้วฉัน
มะม่วงนั้นระงับความหิวกระหายของอาตมาแล้ว
[๕] อาตมานั้นปราศจากความกระวนกระวาย
ผลมะม่วงหมดไป ก็ได้แต่ข่มความทุกข์
ยังไม่ประสบผลไม้อย่างอื่นชนิดใดชนิดหนึ่งเลย
[๖] มะม่วงสุกผลใดมีรสอร่อย มีรสเป็นเลิศ น่าพอใจ
ลอยมาในห้วงมหรรณพ อาตมาเก็บขึ้นมาจากทะเล
มะม่วงสุกผลนั้นทำอาตมาให้ซูบผอม
จักนำความตายมาให้อาตมาแน่นอน

เชิงอรรถ :
๑ พอใจ หมายถึงอัธยาศัย (ขุ.ชา.อ. ๗/๑/๑๔๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๓๘ }


๑. กิงฉันทชาดก (๕๑๑)
[๗] อาตมาเฝ้าประจำอยู่เพราะเหตุใด
เหตุนั้นทั้งหมด อาตมาได้บอกแก่ท่านแล้ว
อาตมานั่งเฝ้าอยู่เฉพาะแม่น้ำสายที่น่ารื่นรมย์
แม่น้ำสายนี้กว้างใหญ่ไพศาล
ขวักไขว่ไปด้วยปลาโลมาตัวใหญ่ ๆ
[๘] แม่นางผู้ไม่แอบแฝงตน
แม่นางนั้นแหละจงบอกแก่อาตมาเถิด
แม่นางผู้มีเรือนร่างสง่างาม นางเป็นใครกัน
และมาที่นี่เพราะเหตุอะไร
[๙] เทพนารีเหล่าใดผู้มีเรือนร่างประดุจแผ่นทองคำที่ขัดสีดีแล้ว
หรือประดุจนางพยัคฆ์ที่เกิดอยู่ตามซอกเขา
เป็นปริจาริกาของเทพ มีอยู่ในโลก
[๑๐] และสตรีรูปงามเหล่าใดมีอยู่ในมนุษยโลก
บรรดาเทพนารี คนธรรพ์ และหญิงมนุษย์
สตรีเหล่านั้นไม่มีรูปร่างเช่นกับแม่นาง
แม่นางผู้มีลำขาอ่อนกลมกลึงประดุจแท่งทอง
อาตมาถามแล้ว ขอแม่นางจงบอกนาม
และเผ่าพันธุ์แก่อาตมาด้วยเถิด
(เทพธิดากล่าวว่า)
[๑๑] ท่านพราหมณ์ ท่านนั่งเฝ้าอยู่เฉพาะ
แม่น้ำโกสิกีอันน่ารื่นรมย์สายใด
ข้าพเจ้าอยู่ที่วิมานมีกระแสน้ำเชี่ยว
ซึ่งเป็นห้วงน้ำใหญ่สายนั้น
[๑๒] ลำธารจากภูเขาจำนวนมาก
ดื่นดาษไปด้วยหมู่ไม้นานาพันธุ์
ไหลรวมกัน ตรงมาหาข้าพเจ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๑. กิงฉันทชาดก (๕๑๑)
[๑๓] อนึ่ง ธารน้ำจากแนวป่า ก่อตัวเป็นห้วงวารีสีเขียว
และธารน้ำอันเป็นที่ปลื้มใจแห่งพวกนาคเป็นจำนวนมาก
ไหลมาท่วมข้าพเจ้าด้วยห้วงวารี
[๑๔] สายน้ำเหล่านั้นย่อมพัดพาผลไม้หลายชนิด
คือ มะม่วง ผลหว้า ขนุนสำปะลอ
กระทุ่ม ผลตาล และมะเดื่อมาเนือง ๆ
[๑๕] ผลไม้ชนิดใดชนิดหนึ่งที่ฝั่งแม่น้ำทั้ง ๒ หล่นลงไปในน้ำ
ผลไม้นั้นย่อมลอยไปตามอำนาจกระแสน้ำโดยไม่ต้องสงสัย
[๑๖] พระองค์ผู้จอมชนเป็นปราชญ์ มีปัญญามาก
ขอพระองค์จงสดับคำของข้าพเจ้า พระองค์ทราบอย่างนี้แล้ว
อย่าทรงพอพระทัยความเกาะเกี่ยว๑
ทรงปฏิเสธเสียเถิด
[๑๗] พระราชฤๅษีผู้ผดุงแคว้นให้เจริญ
ข้าพเจ้าไม่เข้าใจความเป็นบัณฑิตของพระองค์เลย
ซึ่งพระองค์กำลังทรงพระเจริญวัย
แต่กลับหวังความตาย
[๑๘] พระบิดา คนธรรพ์ พร้อมทั้งเทวดา
ย่อมทราบความที่พระองค์ตกอยู่ในอำนาจแห่งตัณหา
อนึ่ง ฤๅษีทั้งหลายเหล่าใดในโลก
ผู้สำรวมตน มีตบะ ผู้เริ่มตั้งความเพียร มียศ
ฤๅษีแม้เหล่านั้นก็ย่อมทราบโดยไม่ต้องสงสัย
(ต่อแต่นั้น ดาบสได้กล่าวว่า)
[๑๙] บาปย่อมไม่เจริญแก่นรชนผู้รู้
เพราะรู้ธรรมทั้งปวง รู้ความแตกสลาย
และรู้การจุติแห่งชีวิต ถ้าเขาไม่จงใจจะฆ่าผู้อื่น

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงเกาะเกี่ยวด้วยอำนาจตัณหา (ขุ.ชา.อ. ๗/๑๖/๑๔๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๑. กิงฉันทชาดก (๕๑๑)
[๒๐] แม่นางผู้ที่หมู่ฤๅษีรู้จักกันดี
เธอเป็นคนที่ผู้ลอยบาปรู้แจ้งชัดว่า
เป็นผู้เกื้อกูลแก่ชาวโลก แม่นางผู้มีความงาม
เธอย่อมแสวงหาบาปกรรม
เพราะเจรจาถ้อยคำที่ไม่ประเสริฐ
[๒๑] แม่นางผู้มีสะโพกงามผึ่งผาย
ถ้าอาตมาจักตายที่ริมฝั่งน้ำของเธอ
ชื่อเสียงอันเลวทรามจักมาถึงเธอโดยไม่ต้องสงสัย
เมื่ออาตมาล่วงลับไปแล้ว
[๒๒] เพราะเหตุนั้นแล แม่นางผู้มีเรือนร่างอันสวยงาม
เธอจงระวังบาปกรรม เมื่ออาตมาตายไปแล้ว
ขอชนทั้งปวงอย่าได้กล่าวติเตียนเธอในภายหลังเลย
(เทพธิดาได้สดับดังนั้นแล้ว จึงได้กล่าวว่า)
[๒๓] เหตุนั้นข้าพเจ้าได้ทราบแล้ว
ขอพระองค์ทรงอดกลั้นสิ่งที่อดกลั้นได้ยากเถิด
ข้าพเจ้ายอมถวายตนและผลมะม่วงนั้นแก่พระองค์
ผู้ทรงละกามคุณที่ละได้ยาก
ดำรงสันติและธรรม๑ไว้อย่างมั่นคง
[๒๔] ผู้ใดละสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องต้นได้
แต่ยังติดอยู่ในสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องปลาย
ประพฤติอธรรมอยู่นั่นเทียว บาปย่อมเจริญแก่ผู้นั้น
[๒๕] เชิญเสด็จมาเถิด ข้าพเจ้าจะช่วยพระองค์
ขอพระองค์ทรงขวนขวายน้อยโดยส่วนเดียวเถิด
ข้าพเจ้าจะนำพระองค์ไปที่สวนมะม่วงอันร่มเย็น
ขอพระองค์ปราศจากความขวนขวายอยู่เถิด

เชิงอรรถ :
๑ สันติ หมายถึงศีลกล่าวคือความสงบจากความทุศีล ธรรม หมายถึงสุจริตธรรม (ขุ.ชา.อ. ๗/๒๓/๑๕๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๒. กุมภชาดก (๕๑๒)
[๒๖] ขอเดชะพระองค์ผู้ทรงข่มอริราชศัตรู
สวนมะม่วงนั้นเซ็งแซ่ไปด้วยหมู่นกที่มัวเมาด้วยรสดอกไม้
ทิพยสกุณปักษี คือ นกกระเรียน นกยูง นกเขา
และนกสาลิกาก็มีอยู่ในสวนมะม่วงนี้
และในสวนนี้ยังมีฝูงหงส์ส่งเสียงร้องระงม
นกดุเหว่าเร่าร้องกึกก้องปลุกเหล่าสัตว์ให้ตื่นอยู่
[๒๗] ณ สวนมะม่วงนี้ ต้นมะม่วงทั้งหลายมีปลายกิ่งโน้มลง
ด้วยพวงผลดกดื่นเช่นรวงข้าวสาลี มีทั้งต้นคำ ต้นสน
ต้นกระทุ่ม และผลตาลสุกห้อยย้อยอยู่เรียงราย
(ดาบสเห็นเปรตเสวยทิพยสมบัติในเวลาดวงอาทิตย์ตก จึงได้กล่าวว่า)
[๒๘] เธอผู้ประดับมาลา โพกภูษา
ประดับอาภรณ์ สวมใส่กำไลมือกำไลแขน
มีร่างกายฟุ้งไปด้วยจุรณแก่นจันทน์
ถูกบำเรอตลอดคืน ส่วนกลางวันเสวยเวทนา
[๒๙] เธอมีหญิง ๑๖,๐๐๐ นางเป็นนางบำเรอ
มีอานุภาพมากอย่างนี้ ยังไม่เคยมี
น่าขนพองสยองเกล้า
[๓๐] ในภพก่อนเธอได้ทำบาปกรรมอะไรที่นำทุกข์มาให้ตน
เธอทำกรรมอะไรไว้ในมนุษย์ทั้งหลาย จึงต้องมากัดกินเนื้อหลังของตน
(เปรตจำดาบสนั้นได้ จึงกล่าวว่า)
[๓๑] ข้าพระองค์ได้เล่าเรียนพระเวท หมกมุ่นอยู่ในกามทั้งหลาย
ได้ประพฤติสิ่งไม่เป็นประโยชน์แก่ชนเหล่าอื่นตลอดกาลนาน
[๓๒] ผู้หากินบนหลังคนอื่นต้องควักเนื้อหลังของตนกิน
เหมือนข้าพระองค์วันนี้ต้องกัดกินเนื้อหลังของตนเอง
กิงฉันทชาดกที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๒. กุมภชาดก (๕๑๒)
๒. กุมภชาดก (๕๑๒)
ว่าด้วยหม้อพิเศษ
(สรรพมิตตราชาทรงสนทนากับท้าวสักกะว่า)
[๓๓] ท่านเป็นใคร มาจากสวรรค์ชั้นไตรทศหรือ
ปรากฏอยู่ในนภากาศเหมือนดวงจันทร์ส่องสว่างในยามรัตติกาล
รัศมีทั้งหลายแผ่ซ่านออกจากกายท่านดุจสายฟ้าที่แลบอยู่ในอากาศ
[๓๔] ท่านนั้นบันดาลเมฆที่ขาดลมให้ไปในอากาศได้
ทั้งเดินทั้งยืนในอากาศได้ ท่านได้บำเพ็ญฤทธิ์ของเทพ
ผู้ไม่ต้องเดินทางไกลด้วยเท้า ทำให้เป็นที่พึ่งท่านได้หรือ
[๓๕] ท่านอาศัยอากาศก้าวเดินมาหยุดอยู่
กล่าวเนื้อความนั้นว่า ท่านจงซื้อหม้อ
พราหมณ์ ท่านเป็นใครหรือ หม้อของท่านนี้มีประโยชน์อะไร
ขอท่านจงบอกเนื้อความนั้นแก่ข้าพเจ้า
(ท้าวสักกะแสดงโทษของสุราว่า)
[๓๖] หม้อนี้มิใช่หม้อเนยใส มิใช่หม้อน้ำมัน
มิใช่หม้อน้ำอ้อย และมิใช่หม้อน้ำผึ้ง โทษของหม้อนี้มีมิใช่น้อย
พระองค์จงสดับโทษอย่างมากมายที่มีอยู่ในหม้อนี้
[๓๗] บุคคลดื่มสุราชนิดใดแล้วเดินโซเซพึงตกเหว ตกบ่อ
ตกถ้ำ ตกหลุมน้ำครำ และหลุมโสโครก
พึงบริโภคของที่ไม่ควรบริโภคได้มากมาย
ขอพระองค์ทรงซื้อหม้อนี้ซึ่งเต็มด้วยน้ำสุราชนิดนั้น
[๓๘] บุคคลดื่มสุราชนิดใดแล้วไม่เป็นอิสระในจิต
เที่ยวเปะปะไปเหมือนโคกินกากสุรา
เป็นเหมือนคนอนาถา ร่วมวงขับร้องฟ้อนรำได้
ขอพระองค์ทรงซื้อหม้อนี้ซึ่งเต็มด้วยสุราชนิดนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๒. กุมภชาดก (๕๑๒)
[๓๙] บุคคลดื่มสุราชนิดใดแล้วเปลือยกายเหมือนชีเปลือย
เที่ยวไปตามตรอกซอกซอยในหมู่บ้าน
มีจิตฟั่นเฟือน มักนอนเลยเวลา
ขอพระองค์ทรงซื้อหม้อนี้ซึ่งเต็มด้วยสุราชนิดนั้น
[๔๐] บุคคลดื่มสุราชนิดใดลุกขึ้นแล้วตัวสั่น
โยกศีรษะและแกว่งแขนไปมา เขาฟ้อนรำเหมือนหุ่นยนต์
ขอพระองค์ทรงซื้อหม้อนี้ซึ่งเต็มด้วยสุราชนิดนั้น
[๔๑] บุคคลดื่มสุราชนิดใดแล้วนอนหลับจนถูกไฟครอก
กินของที่พวกสุนัขจิ้งจอกกัดกินเหลือเดนได้
ย่อมได้รับการจองจำ การถูกฆ่า และความเสื่อมจากโภคะ
ขอพระองค์ทรงซื้อหม้อนี้ซึ่งเต็มด้วยสุราชนิดนั้น
[๔๒] บุคคลดื่มสุราชนิดใดแล้วพึงพูดสิ่งที่ไม่ควรพูด
นั่งพูดพร่ำอยู่ในสภา ปราศจากเสื้อผ้า
มีกายเลอะเทอะเปรอะเปื้อน จมอยู่ในกองอาเจียน ถึงความพินาศ
ขอพระองค์ทรงซื้อหม้อนี้ซึ่งเต็มด้วยสุราชนิดนั้น
[๔๓] บุคคลดื่มสุราชนิดใดแล้วอวดเก่ง มีนัยน์ตาขุ่นขวาง
สำคัญว่าแผ่นดินทั้งหมดเป็นของเราแต่ผู้เดียว
พระราชาแม้จะมีมหาสมุทรทั้ง ๔ เป็นขอบเขตก็ไม่เสมอเหมือนเรา
ขอพระองค์ทรงซื้อหม้อนี้ซึ่งเต็มด้วยสุราชนิดนั้น
[๔๔] บุคคลดื่มสุราชนิดใดแล้วเป็นคนถือตัวจัด
ก่อการทะเลาะวิวาท มีนิสัยส่อเสียด มีผิวพรรณทราม
มักเปลือยกาย หลบซ่อนอยู่เสมอ อยู่แบบโจร แบบนักเลง
ขอพระองค์ทรงซื้อหม้อนี้ซึ่งเต็มด้วยสุราชนิดนั้น
[๔๕] ตระกูลทั้งหลายที่มั่งคั่งสมบูรณ์
มีทรัพย์ตั้งหลายพันพึงมีอยู่ในโลก
สุราชนิดนี้ทำให้ขาดจากความเป็นทายาทได้
ขอพระองค์ทรงซื้อหม้อนี้ซึ่งเต็มด้วยสุราชนิดนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๒. กุมภชาดก (๕๑๒)
[๔๖] ข้าวเปลือก ทรัพย์สิน เงิน ทอง
ไร่นา โค กระบือในตระกูลใดย่อมพินาศไป
และความขาดสูญแห่งตระกูลที่มีทรัพย์เครื่องปลื้มใจ
ย่อมมีได้เพราะสุราชนิดใด
ขอพระองค์ทรงซื้อหม้อนี้ซึ่งเต็มด้วยสุราชนิดนั้น
[๔๗] บุรุษดื่มสุราชนิดใดแล้วเป็นเหมือนคนกักขฬะหยาบคาย
ด่าพ่อแม่ จับต้องแม้แม่ยายและลูกสะใภ้
ขอพระองค์ทรงซื้อหม้อนี้ซึ่งเต็มด้วยสุราชนิดนั้น
[๔๘] นารีดื่มสุราชนิดใดแล้วเป็นเหมือนหญิงกักขฬะหยาบคาย
ด่าพ่อผัว แม่ผัว และสามี จับต้องทาสและคนใช้ผู้ชาย
ขอพระองค์ทรงซื้อหม้อนี้ซึ่งเต็มด้วยสุราชนิดนั้น
[๔๙] บุคคลดื่มสุราชนิดใดแล้ว
พึงฆ่าสมณะและพราหมณ์ผู้ดำรงอยู่ในธรรม
เขาพึงไปสู่อบายเพราะกรรมนั้นเป็นเหตุ
ขอพระองค์ทรงซื้อหม้อนี้ซึ่งเต็มด้วยสุราชนิดนั้น
[๕๐] ชนทั้งหลายดื่มสุราชนิดใดแล้ว
ประพฤติชั่วทางกาย วาจา และใจ
เพราะประพฤติชั่ว พวกเขาย่อมตกนรก
ขอพระองค์ทรงซื้อหม้อนี้ซึ่งเต็มด้วยสุราชนิดนั้น
[๕๑] ชนทั้งหลายแม้บริจาคเงินจำนวนมาก
อ้อนวอนผู้ใดให้กล่าวเท็จไม่ได้ ในกาลก่อน
ผู้นั้นดื่มสุรานั้นแล้วก็พูดเหลาะแหละเหลวไหลได้
ขอพระองค์ทรงซื้อหม้อนี้ซึ่งเต็มด้วยสุราชนิดนั้น
[๕๒] ในการรับใช้ คนดื่มสุราชนิดใดแล้วถูกเขาใช้ไป
เมื่อเกิดกรณียกิจรีบด่วน เขาแม้ถูกถามก็ไม่รู้เรื่อง
ขอพระองค์ทรงซื้อหม้อนี้ซึ่งเต็มด้วยสุราชนิดนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๓. ชยัททิสชาดก (๕๑๓)
[๕๓] คนเมาทั้งหลายเพราะความเมามาย
แม้มีความละอายใจก็ทำความไม่ละอายให้ปรากฏได้
แม้เป็นคนดีมีปัญญาก็พูดมาก
ขอพระองค์ทรงซื้อหม้อนี้ซึ่งเต็มด้วยสุราชนิดนั้น
[๕๔] บุคคลดื่มสุราชนิดใดแล้วมักนอนสุมหัวกัน
อดข้าวปลาอาหาร นอนเป็นทุกข์อยู่บนพื้นดิน
ย่อมประสบกับความมีผิวพรรณทรามและการถูกติฉินนินทา
ขอพระองค์ทรงซื้อหม้อนี้ซึ่งเต็มด้วยสุราชนิดนั้น
[๕๕] บุคคลดื่มสุราชนิดใดแล้วนอนคอตก
เหมือนโคที่ถูกเกราะซึ่งผูกไว้ที่คอตีกระทบ
ฤทธิ์สุราคล้ายกับทำคนให้มีความอดทนด้วยดีก็หาไม่
ขอพระองค์ทรงซื้อหม้อนี้ซึ่งเต็มด้วยสุราชนิดนั้น
[๕๖] มนุษย์ทั้งหลายย่อมเว้นสุราชนิดใดซึ่งเปรียบได้กับงูมีพิษร้าย
ใครเล่าควรจะดื่มสุราชนิดนั้นซึ่งเป็นเช่นกับยาพิษในโลก
ขอพระองค์ทรงซื้อหม้อนี้ซึ่งเต็มด้วยสุราชนิดนั้น
[๕๗] พวกโอรสของท้าวอันธกเวณฑะเสวยสุราชนิดใดแล้ว
พาหญิงไปบำเรอใกล้ฝั่งสมุทร
ได้ใช้สากประหัตประหารกันและกัน
ขอพระองค์ทรงซื้อหม้อนี้ซึ่งเต็มด้วยสุราชนิดนั้น
[๕๘] บุรพเทพ (คืออสูรทั้งหลาย) ดื่มสุราชนิดใดแล้วเมามาย
จุติจากสวรรค์ชั้นไตรทศ ยังสำคัญตนว่าเที่ยง
เป็นไปกับด้วยอสูรมายา พระมหาราช บุคคลเมื่อทราบ
น้ำเมานี้ว่าไม่มีประโยชน์ จะพึงดื่มน้ำชนิดนั้นไปทำไม
[๕๙] พระมหาราช ในหม้อนี้ไม่มีนมส้มหรือน้ำผึ้งอยู่เลย
พระองค์ทรงทราบอย่างนี้แล้ว ขอทรงซื้อเถิด
พระเจ้าสรรพมิตร สิ่งของทั้งหลายซึ่งมีอยู่ในหม้อนี้
ข้าพระองค์ได้กราบทูลพระองค์ตามความเป็นจริงอย่างนั้นแล้วแหละ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๓. ชยัททิสชาดก (๕๑๓)
(พระราชาทรงสดับดังนั้นแล้วเห็นโทษของสุรา จึงทรงชมเชยท้าวสักกะว่า)
[๖๐] ถึงบิดามารดาของข้าพเจ้าไม่เหมือนท่าน
ผู้ช่วยเหลือเกื้อกูลหวังประโยชน์สูงสุด
วันนี้ข้าพเจ้าจะเชื่อฟังคำของท่าน
[๖๑] ข้าพเจ้าจะให้บ้านส่วย ๕ ตำบล
สาวใช้ ๑๐๐ คน โค ๗๐๐ ตัว
และรถเทียมม้าอาชาไนย ๑๐ คันนี้แก่ท่าน
ท่านเป็นอาจารย์ผู้หวังประโยชน์แก่ข้าพเจ้า
(ท้าวสักกะเมื่อจะให้พระราชารู้ว่าตนเป็นเทวดา จึงตรัสว่า)
[๖๒] พระมหาราช ทาสหญิง ๑๐๐ คน บ้านส่วย โคทั้งหลาย
และรถเทียมม้าอาชาไนยทั้งหลายของพระองค์
จงเป็นของพระองค์เถิด
ข้าพระองค์เป็นท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทพชั้นไตรทศ
[๖๓] ขอพระองค์จงเสวยพระกระยาหารที่ปรุงด้วยเนื้อ
ข้าวปายาสที่ระคนด้วยเนยใส
และจงเสวยขนมกุมมาสที่ปรุงด้วยน้ำผึ้งเถิด
พระองค์ผู้จอมชน ขอพระองค์จงทรงยินดีในธรรม
อันใคร ๆ ไม่ติเตียนแล้ว เข้าถึงแดนสวรรค์เถิด
กุมภชาดกที่ ๒ จบ

๓. ชยัททิสชาดก (๕๑๓)
ว่าด้วยพระเจ้าปัญจาละพระนามว่าชัยทิศ
(ยักษ์จับพระหัตถ์ของพระราชาแล้วกราบทูลว่า)
[๖๔] นานจริงหนอ วันนี้ภักษาเป็นอันมากได้เกิดขึ้นแก่เรา
ในเวลาอาหารในวัน ๗ ค่ำ ท่านเป็นใคร มาจากไหน
ขอเชิญท่านบอกเนื้อความนั้นและชาติสกุลตามที่ท่านทราบเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๓. ชยัททิสชาดก (๕๑๓)
(พระราชาทรงเห็นยักษ์แล้ว ตกพระทัย ต่อมาทรงรวบรวมสติได้แล้วจึงตรัสว่า)
[๖๕] ข้าพเจ้าคือพระเจ้าปัญจาละนามว่าชัยทิศ เข้ามาล่าสัตว์
บางทีท่านจะได้ยินมาแล้วบ้าง เราเที่ยวไปตามเชิงเขาแนวป่า
วันนี้ท่านจงกินเนื้อฟานนี้ ปล่อยข้าพเจ้าไปเถิด
(ยักษ์กราบทูลว่า)
[๖๖] พระองค์เมื่อถูกข้าพระองค์เบียดเบียน
กลับทรงแลกพระองค์กับของที่ข้าพระองค์มีอยู่
เนื้อฟานที่พระองค์กล่าวถึงเป็นภักษาของข้าพระองค์
ข้าพระองค์เคี้ยวกินพระองค์แล้วอยากกินเนื้อฟาน
ก็จักเคี้ยวกินในภายหลัง เวลานี้ไม่ใช่เวลาพร่ำเพ้อรำพัน
(พระราชาทรงหวนระลึกถึงนันทพราหมณ์ จึงตรัสว่า)
[๖๗] ถ้าว่า ข้าพเจ้ารอดพ้นไปไม่ได้ด้วยการแลกเปลี่ยน
เพื่อไปแล้วจะกลับมาในวันพรุ่งนี้
กติกาในการที่จะให้ทรัพย์แก่พราหมณ์นั้นข้าพเจ้าทำไว้แล้ว
ข้าพเจ้าผู้รักษาความสัตย์จักกลับมาอีก
(ยักษ์กราบทูลว่า)
[๖๘] พระมหาราช กรรมอะไรเล่า
ที่ทำให้พระองค์ผู้ใกล้ถึงการสวรรคตต้องทรงเดือดร้อน
ขอพระองค์ตรัสบอกกรรมนั้นแก่ข้าพระองค์
บางทีข้าพระองค์อาจจะอนุญาตให้พระองค์ไป
เพื่อจะกลับมาในวันพรุ่งนี้ได้บ้าง
(พระราชาตรัสว่า)
[๖๙] ข้าพเจ้าได้ให้ความหวังเกี่ยวกับทรัพย์ไว้แก่พราหมณ์
กติกานั้นข้าพเจ้าได้รับรองไว้แล้ว
ยังมิได้ปลดเปลื้องกติกาในการที่จะให้ทรัพย์แก่พราหมณ์นั้น
ข้าพเจ้าผู้รักษาความสัตย์จักกลับมาอีก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๓. ชยัททิสชาดก (๕๑๓)
(ยักษ์กราบทูลว่า)
[๗๐] ความหวังเกี่ยวกับทรัพย์อันใดพระองค์ได้สร้างไว้ให้แก่พราหมณ์
กติกานั้นพระองค์ทรงรับรองไว้แล้ว
ยังมิได้ปลดเปลื้องกติกาในการที่จะให้ทรัพย์แก่พราหมณ์เลย
ขอพระองค์จงทรงรักษาความสัตย์เสด็จกลับมาอีก
(พระศาสดาเมื่อทรงแสดงความนั้น จึงได้ตรัสว่า)
[๗๑] ก็พระเจ้าชัยทิศนั้นรอดพ้นจากเงื้อมมือของยักษ์โปริสาทแล้ว
ทรงรีบเสด็จไปยังพระราชมณเฑียรของพระองค์
ทรงหวังจะปลดเปลื้องกติกาในการที่จะให้ทรัพย์แก่พราหมณ์
รับสั่งเรียกหาอลีนสัตตุราชบุตรเข้ามาเฝ้า ตรัสว่า
[๗๒] ลูกจงอภิเษกราชสมบัติในวันนี้
จงประพฤติธรรมในบริวารของตนและแม้ในบุคคลเหล่าอื่น
อนึ่ง การประพฤติอธรรมขออย่าได้มีในแคว้นของลูก
ส่วนพ่อจะไปสำนักของยักษ์โปริสาท
(พระราชกุมารกราบทูลว่า)
[๗๓] ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาท หม่อมฉันทำกรรมอะไร
จึงทำให้พระราชบิดาไม่พอพระทัย
และวันนี้พระราชบิดาจะให้หม่อมฉันดำรงราชสมบัติ
เพราะการงานที่ทำให้พระราชบิดาไม่พอพระทัยอันใด
หม่อมฉันปรารถนาจะสดับข้อนั้น ๆ
แม้ราชสมบัติเว้นพระราชบิดาหม่อมฉันก็ไม่พึงปรารถนา
(พระราชาตรัสว่า)
[๗๔] ลูกรัก พ่อมิได้ระลึกถึงความผิดของลูก
เพราะการกระทำหรือเพราะคำพูดของลูกนี้เลย
เพราะให้สัจจะไว้กับยักษ์โปริสาท
พ่อต้องรักษาความสัตย์ จักต้องกลับไปอีก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๓. ชยัททิสชาดก (๕๑๓)
(พระราชกุมารกราบทูลว่า)
[๗๕] หม่อมฉันจักไปแทน ขอพระองค์ประทับอยู่ที่นี้
การที่จะรอดชีวิตพ้นมาจากสำนักยักษ์โปริสาทย่อมไม่มี
ขอเดชะ ถ้าพระราชบิดาจะเสด็จไปจริง ๆ
หม่อมฉันก็จะตามเสด็จด้วย แม้เราทั้ง ๒ จะไม่รอดชีวิต
(พระราชาตรัสว่า)
[๗๖] ลูกรัก นั่นเป็นธรรมของสัตบุรุษอย่างแท้จริง
แต่เมื่อใดยักษ์โปริสาทเท้าด่าง
ข่มขี่ทำลายลูกแล้วย่างกินที่โคนต้นไม้
ข้อนั้นพึงเป็นทุกข์ยิ่งกว่าการตายของพ่อเสียอีก
(พระราชกุมารกราบทูลว่า)
[๗๗] หม่อมฉันจักเอาชีวิตแลกเปลี่ยนชีวิตของเสด็จพ่อ
เสด็จพ่ออย่าได้เสด็จไปสำนักยักษ์โปริสาทเลย
ก็หม่อมฉันจักแลกเปลี่ยนเอาชีวิตของเสด็จพ่อนั้นไว้
เพราะเหตุนั้น จึงขอยอมตายเพื่อชีวิตของเสด็จพ่อ
(พระศาสดาเมื่อจะประกาศความนั้น จึงตรัสว่า)
[๗๘] ลำดับนั้นแล พระราชบุตรผู้ทรงมีพระปรีชา
ถวายบังคมพระยุคลบาทพระมารดาพระบิดาแล้วเสด็จไป
พระมารดาของท้าวเธอทรงระทมทุกข์ ล้มลงที่พื้นปฐพี
ส่วนพระบิดานั้นเล่าทรงประคองพระพาหาทั้ง ๒
แล้วทรงกันแสง
(และเมื่อจะประกาศสัจจะ จึงได้ตรัสต่อไปอีกว่า)
[๗๙] พระบิดาทรงทราบชัดว่าพระโอรสกำลังมุ่งหน้าเสด็จไป
จึงบ่ายพระพักตร์ต่อเบื้องพระปฤษฎางค์ ประคองอัญชลี
นมัสการว่า ลูกรัก ขอลูกจงมีเทพเหล่านี้ คือ ท้าวโสมะ
ท้าววรุณ ท้าวปชาบดี พระจันทร์ และสุริยเทพคุ้มครอง
ขอลูกจงได้รับอนุญาตกลับมาจากสำนักยักษ์โปริสาทด้วยความสวัสดี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๓. ชยัททิสชาดก (๕๑๓)
(พระชนนีทรงทำสัจจกิริยาว่า)
[๘๐] ลูกรัก มารดาของพ่อรามได้รับการคุ้มครองอย่างดี
ได้กระทำความสวัสดีอันใดให้แก่พ่อรามผู้ไปยังแคว้นของพระเจ้า
ทัณฑกี แม่ขอกระทำความสวัสดีอันนั้นให้แก่ลูก
ด้วยความสัตย์นี้ ขอทวยเทพเจ้าโปรดระลึกถึงลูก
ขอลูกจงได้รับอนุญาตกลับมาด้วยความสวัสดีเถิด
(พระภคินีทรงทำสัจจกิริยาว่า)
[๘๑] น้องนึกไม่ออกเลย
ถึงการคิดประทุษร้ายเจ้าพี่อลีนสัตตุในที่แจ้งหรือที่ลับ
ด้วยความสัตย์นี้ ขอทวยเทพโปรดระลึกถึงเจ้าพี่
ขอเจ้าพี่ทรงได้รับอนุญาตกลับมาด้วยความสวัสดีเถิด
(พระชายาทรงทำกิริยาว่า)
[๘๒] ขอเดชะพระสวามี ก็เพราะพระองค์มิได้ประพฤตินอกใจ
หม่อมฉันเลย ฉะนั้น พระองค์มิได้เป็นที่รักจากใจหม่อมฉันก็หาไม่
ด้วยความสัตย์นี้ ขอทวยเทพโปรดระลึกถึงพระองค์
ขอพระองค์ทรงได้รับอนุญาตกลับมาด้วยความสวัสดีเถิด
(ลำดับนั้น ยักษ์กล่าวว่า)
[๘๓] เจ้ามีร่างกายสูงใหญ่ ใบหน้างาม มาจากไหน
เจ้าไม่รู้หรือว่าเราอยู่ในป่า
ใคร ๆ เขาก็รู้จักเราผู้ชั่วร้ายว่า เป็นยักษ์กินคน
มีใครเล่าเมื่อรู้ถึงความปลอดภัยพึงมาที่นี้
(พระราชกุมารตรัสว่า)
[๘๔] นายพราน เรารู้ว่าท่านกินคน
เราจะไม่รู้ว่าท่านอยู่ในป่าก็หาไม่
เราเป็นพระโอรสของพระเจ้าชัยทิศ
เพราะต้องการจะปลดเปลื้องพระบิดา
วันนี้ท่านจงปล่อยพระบิดา จงกินเราเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๓. ชยัททิสชาดก (๕๑๓)
(ยักษ์กราบทูลว่า)
[๘๕] เรารู้ว่าท่านเป็นพระโอรสของพระเจ้าชัยทิศ
เพราะใบหน้าและผิวพรรณของท่านทั้ง ๒ คล้ายคลึงกัน
การที่บุคคลยอมตายเพื่อปลดเปลื้องบิดาของตน
นี้เป็นกรรมที่กระทำได้ยาก แต่ท่านได้กระทำแล้ว
(พระราชกุมารตรัสว่า)
[๘๖] ในเรื่องนี้เรามิได้สำคัญว่าทำได้ยากอะไรนัก
บุคคลใดยอมตายเพื่อปลดเปลื้องบิดาของตน
หรือเพราะเหตุแห่งมารดา บุคคลนั้นไปสู่ปรโลกแล้ว
เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยความสุขและอารมณ์อันเลิศ
(พระราชกุมารถูกยักษ์ถามถึงความไม่กลัวตาย จึงตรัสว่า)
[๘๗] ก็เราระลึกไม่ได้สักนิดเดียว
ถึงการกระทำความชั่วของตนทั้งในที่แจ้งหรือที่ลับ
เราเป็นผู้มีการเกิดและการตายตามกำหนด
การพ้นจากความตายย่อมไม่มีในโลกนี้ฉันใด
ในโลกหน้าก็ฉันนั้น
[๘๘] ท่านผู้มีอานุภาพมาก วันนี้ท่านจงกินเราบัดนี้เถิด
จงทำกิจที่ควรทำกับสรีระนี้ หรือว่าเพื่อท่านเราจะตกจากยอดไม้
ท่านพอใจจงกินเนื้อของเราส่วนที่ท่านพอใจเถิด
(ยักษ์ฟังพระดำรัสแล้วตกใจกลัว จึงกราบทูลว่า)
[๘๙] ท่านราชบุตร ถ้าท่านพอใจอย่างนี้
ท่านจะสละชีวิตเพื่อปลดเปลื้องพระบิดา
ฉะนั้น ท่านจงรีบหักฟืน ก่อไฟให้โพลงขึ้นในที่นี้
(พระศาสดาเมื่อทรงประกาศเหตุนั้น จึงตรัสว่า)
[๙๐] ลำดับนั้นแล พระราชบุตรผู้ทรงปรีชาได้รวบรวมฟืน
ก่อไฟกองใหญ่ขึ้นแล้ว จึงตรัสบอกให้ยักษ์ทราบว่า
บัดนี้ไฟกองใหญ่เราได้ก่อแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๓. ชยัททิสชาดก (๕๑๓)
(พระราชกุมารทรงเห็นกิริยาของยักษ์นั้น จึงตรัสว่า)
[๙๑] บัดนี้ท่านจงข่มขี่กินเราในวันนี้เถิด
ทำไมท่านจึงขนพองเพ่งดูเราบ่อย ๆ
เรากระทำตามคำของท่าน ตามที่ท่านพอใจจะกินเรา
(ยักษ์กราบทูลว่า)
[๙๒] ใครเล่าควรที่จะกินคนผู้ดำรงอยู่ในธรรม
มีปกติกล่าวคำสัตย์ รู้ถ้อยคำของผู้ขอเช่นท่าน
บุคคลใดพึงกินคนผู้มีปกติกล่าวคำสัตย์เช่นนั้น
แม้ศีรษะของบุคคลนั้นก็พึงแตกออก ๗ เสี่ยง
(พระราชกุมารตรัสว่า)
[๙๓] เพราะสสบัณฑิตนั้นสำคัญท้าวสักกเทวราชนี้ว่าเป็นพราหมณ์
จึงได้ให้สิงอยู่ในสรีระของตน ยักษ์ เพราะเหตุนั้นแล
จันทิมเทพบุตรนั้นจึงมีรูปกระต่ายปรากฏอยู่
ซึ่งให้ความพอใจแก่ชาวโลกตราบจนทุกวันนี้
(ยักษ์เมื่อจะปล่อยพระราชกุมาร จึงกราบทูลว่า)
[๙๔] ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์พ้นจากปากราหูแล้วย่อมไพโรจน์
ในดิถีเพ็ญ ๑๕ ค่ำฉันใด
ท่านผู้มีอานุภาพมาก แม้ท่านก็ฉันนั้น พ้นแล้วจากยักษ์โปริสาท
ยังพระบิดาและพระมารดาให้ปลื้มพระทัย
จงไพโรจน์ในกบิลรัฐเถิด
อนึ่ง ขอพระประยูรญาติของพระองค์ทุกฝ่ายจงร่าเริงยินดีทั่วหน้า
(พระศาสดาทรงประกาศความนั้นว่า)
[๙๕] ลำดับนั้น พระราชบุตรทรงพระนามอลีนสัตตุผู้ทรงพระปรีชา
ทรงประคองอัญชลี ถวายบังคมโปริสาทดาบส
ทรงได้รับอนุญาตเสด็จกลับกบิลรัฐอย่างสุขสวัสดีและปลอดภัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๔. ฉัททันตชาดก (๕๑๔)
(พระศาสดาเมื่อจะทรงแสดงกิริยาที่ชาวมคธถวายการต้อนรับพระราชกุมาร
จึงตรัสว่า)
[๙๖] ชาวนิคม ชาวชนบท พลช้าง พลรถ
และพลเดินเท้าล้วนประคองอัญชลี เข้าเฝ้าถวายบังคม
กราบทูลท้าวเธอว่า ขอถวายบังคมแด่พระองค์
พระองค์ทรงเป็นผู้กระทำกิจที่ทำได้ยาก
ชยัททิสชาดกที่ ๓ จบ

๔. ฉัททันตชาดก (๕๑๔)
ว่าด้วยพญาช้างฉัททันต์
(พระราชาตรัสว่า)
[๙๗] พระน้องนางผู้มีเรือนร่างเหลืองอร่ามดุจทองคำ
ผิวพรรณผุดผ่อง นัยนาก็แจ่มใสกว้างขวาง
ไยเล่าจึงเศร้าโศก ซูบซีดไปดังดอกไม้ที่ถูกขยี้
(พระนางสุภัทรากราบทูลว่า)
[๙๘] ขอเดชะพระมหาราช หม่อมฉันแพ้ครรภ์
หม่อมฉันฝันเห็นนิมิต จึงแพ้ครรภ์ชนิดที่หาได้ไม่ง่ายเลย
(พระราชาตรัสว่า)
[๙๙] สมบัติอันน่าใคร่ชนิดใดชนิดหนึ่งซึ่งเป็นของมนุษย์
ในโลกที่น่าเพลิดเพลินนี้ ทั้งหมดนั้นจำนวนมากของพี่
พี่ขอมอบให้พระน้องนางตามที่แพ้พระครรภ์
(พระนางสุภัทรากราบทูลว่า)
[๑๐๐] ขอเดชะพระองค์ผู้สมมติเทพ ขอนายพรานทุกจำพวก
ที่มีอยู่ในแคว้นของเจ้าพี่จงมาประชุมพร้อมกัน
หม่อมฉันจักบอกความแพ้ครรภ์ของหม่อมฉัน
แก่พวกพรานเหล่านั้นว่าเป็นเช่นไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๔. ฉัททันตชาดก (๕๑๔)
(พระราชาตรัสบอกพรานเหล่านั้นแก่พระราชเทวีว่า)
[๑๐๑] พระเทวี นายพรานเหล่านี้ล้วนมีความชำนาญ แกล้วกล้า
ชำนาญป่าและรู้จักเนื้อดี ยอมสละชีวิตเมื่อพี่ต้องการ
(พระราชเทวีตรัสกับพรานทั้งหลายว่า)
[๑๐๒] บุตรนายพรานทั้งหลาย
พวกท่านเท่าที่มาประชุมกัน ณ ที่นี่ ขอจงฟังข้าพเจ้า
ข้าพเจ้าได้ฝันเห็นพญาช้างเผือก งามีรัศมี ๖ ประการ๑
ข้าพเจ้าต้องการงาของมัน เมื่อไม่ได้ก็จะไม่ขอมีชีวิตอยู่
(พวกบุตรนายพรานได้กราบทูลว่า)
[๑๐๓] ขอเดชะพระราชบุตรี
พญาช้างที่งามีรัศมี ๖ ประการซึ่งพระนางได้ทรงสุบินเห็น
บิดาของพวกข้าพระองค์ไม่เคยได้เห็น ไม่เคยได้ยิน
ปู่ของพวกข้าพระองค์ก็ไม่เคยได้เห็น ไม่เคยได้ยิน
ขอพระนางโปรดบอกพวกข้าพระองค์มาเถิดว่า
พญาช้างนั้นเป็นเช่นไร
(บุตรนายพรานเหล่านั้นกราบทูลต่อไปว่า)
[๑๐๔] ทิศใหญ่ ๔ ทิศ ทิศน้อย ๔ ทิศ
ทิศเบื้องบน และทิศเบื้องล่าง ๑๐ ทิศเหล่านี้
พญาช้างที่งามีรัศมี ๖ ประการ
ซึ่งพระนางได้ทรงสุบินเห็น อยู่ทิศไหน
(พระนางสุภัทราราชเทวีทรงเหยียดพระหัตถ์ตรงไปยังป่าหิมพานต์ ตรัสว่า)
[๑๐๕] จากนี้ตรงไปทิศอุดร ข้ามภูเขาสูงใหญ่ ๗ เทือก
ภูเขานั้นสูงใหญ่ ชื่อว่าสุวรรณปัสสคีรี
มีพันธุ์บุปผชาติบานสะพรั่ง มีหมู่กินนรสัญจรไม่ขาดสาย

เชิงอรรถ :
๑ รัศมี ๖ ประการ คือ (๑) นีละ เขียวเหมือนดอกอัญชัน (๒) ปีตะ เหลืองเหมือนหรดาลทอง (๓) โลหิตะ
แดงเหมือนตะวันอ่อน (๔) โอทาตะ ขาวเหมือนแผ่นเงิน (๕) มัญเชฏฐะ สีหงสบาท เหมือนดอกเซ่ง
หรือดอกหงอนไก่ (๖) ประภัสสร เลื่อมพรายเหมือนแก้วผลึก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๔. ฉัททันตชาดก (๕๑๔)
[๑๐๖] ท่านจงขึ้นไปยังเสลบรรพต ซึ่งเป็นที่อยู่ของหมู่กินนร
แล้วจงมองลงไปเบื้องล่างเชิงเขา
ทันใดนั้นท่านจะเห็นพญาไทรมีสีสันงาม
เสมอเหมือนเมฆมีย่านไทรห้อยย้อยอยู่ ๘,๐๐๐ ย่าน
[๑๐๗] ณ ใต้ต้นไทรนั้นพญากุญชรงามีรัศมี ๖ ประการ
อาศัยอยู่ ยากที่ใครอื่นจะข่มขี่ได้
พญาช้างเผือกปลอดนั้น มีช้างประมาณ ๘,๐๐๐ เชือก
มีงางอนงามเหมือนงอนรถ
วิ่งไล่ประหารปัจจามิตรเร็วปานลมพัด แวดล้อมรักษาอยู่
[๑๐๘] ช้างเหล่านั้นยืนหายใจเข้าออกน่าหวาดกลัว
โกรธแม้ต่อลมที่มากระทบ
ก็ถ้าเห็นมนุษย์ในที่นั้นต้องขยี้ให้เป็นเถ้าธุลี
แม้ละอองธุลีก็มิให้แตะต้องพญาช้างนั้น
(ครั้นได้ฟังดังนั้น โสนุตตรพรานตกใจกลัวความตาย จึงกราบทูลว่า)
[๑๐๙] ขอเดชะพระเทวีของข้าพระพุทธเจ้า
เครื่องประดับที่ทำด้วยทองคำ แก้วมุกดา แก้วมณี
และแก้วไพฑูรย์ในราชสกุลก็มีอยู่มากมาย
พระแม่เจ้าจะกระทำอะไรกับเครื่องประดับที่ทำด้วยงาช้าง
พระแม่เจ้ามีพระประสงค์จะให้ฆ่าพญาช้างงามีรัศมี ๖ ประการ
หรือจะให้พญาช้างฆ่าบุตรนายพรานกันแน่ พระเจ้าข้า
(ลำดับนั้น พระราชเทวีตรัสว่า)
[๑๑๐] พ่อพราน เรานั้นมีทั้งความริษยาทั้งความน้อยใจ
เมื่อหวนระลึกถึงความหลังขึ้นมาก็ตรอมใจ
ท่านจงช่วยทำตามความประสงค์ของเรานั้นด้วยเถิด
พ่อพราน เราจะให้หมู่บ้านแก่ท่าน ๕ ตำบล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๔. ฉัททันตชาดก (๕๑๔)
(โสนุตตรพรานนั้นรับพระเสาวนีย์แล้วทูลถามว่า)
[๑๑๑] พญาช้างอาศัยอยู่ที่ไหน เข้าไปยืนอยู่ที่ไหน
หนทางไหนเป็นหนทางที่พญาช้างเดินไปอาบน้ำ
ก็พญาช้างนั้นอาบน้ำอย่างไร
ไฉนเล่าข้าพระพุทธเจ้าจะรู้ความเป็นไปของพญาช้างได้
(พระราชเทวีตรัสบอกถึงสถานที่ซึ่งจะพบช้างเผือกได้ว่า)
[๑๑๒] ณ สถานที่ที่พญาช้างอาศัยอยู่นั่นแล
มีสระโบกขรณีอยู่ไม่ไกล น่ารื่นรมย์ มีท่าน้ำสวยงาม ทั้งมีน้ำมาก
มีดอกปทุมบานสะพรั่ง มีหมู่ภมรคลุกเคล้าเกษรอยู่เป็นอาจิณ
พญาช้างนั้นลงอาบน้ำในสระโบกขรณีนี้แหละ
[๑๑๓] พญาช้างเผือกชำระศีรษะแล้ว ทัดดอกอุบล
มีร่างกายผิวพรรณผุดผ่องขาวราวกะดอกบุณฑริก
รื่นเริงบันเทิงใจให้พระนางสุภัทรามเหสีเดินนำหน้าไปยังที่อยู่ของตน
(พระศาสดาเมื่อจะทรงขยายความให้แจ้ง จึงตรัสว่า)
[๑๑๔] นายพรานนั้นรับพระเสาวนีย์ของพระนางที่ปราสาทชั้นที่ ๗
นั้นแหละแล้วจึงถือกระบอกลูกเกาทัณฑ์และธนูคันใหญ่ไป
พิจารณาคีรีบรรพตใหญ่ทั้ง ๗ เทือก
จึงเห็นคีรีบรรพตสูงใหญ่ชื่อว่าสุวรรณปัสสคีรี
[๑๑๕] แล้วจึงขึ้นไปยังเสลบรรพตซึ่งเป็นที่อยู่ของหมู่กินนร
มองลงไปเบื้องล่างเชิงเขา ได้เห็นพญาไทรมีสีสันงาม
เสมอเหมือนเมฆ มีย่านไทรห้อยย้อยอยู่ ๘,๐๐๐ ย่าน
[๑๑๖] ณ ใต้ต้นไทรนั้น เขาได้เห็นพญากุญชร
งามีรัศมี ๖ ประการ ยากที่ใครอื่นจะข่มขี่ได้
พญาช้างเผือกนั้นมีช้างประมาณ ๘,๐๐๐ เชือก
มีงางอนงามเหมือนงอนรถ วิ่งไล่ประหารปัจจามิตรเร็วปานลมพัด
แวดล้อมรักษาอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๔. ฉัททันตชาดก (๕๑๔)
[๑๑๗] อนึ่ง เขาได้เห็นสระโบกขรณีอยู่ไม่ไกล น่ารื่นรมย์
มีท่าน้ำสวยงาม ทั้งมีน้ำมาก มีดอกปทุมบานสะพรั่ง
มีหมู่ภมรคลุกเคล้าเกษรอยู่เป็นอาจิณ
ซึ่งเป็นสถานที่ที่พญาช้างนั้นลงอาบน้ำ
[๑๑๘] ครั้นได้เห็นความเป็นไป การยืน
และหนทางที่พญาช้างนั้นเดินไปอาบน้ำแล้ว
นายพรานผู้ชั่วช้าถูกพระนางสุภัทราเทวี
ผู้ตกอยู่ในอำนาจแห่งจิตทรงใช้มา จึงได้ไปขุดหลุม
[๑๑๙] นายพรานผู้มีนิสัยทำกรรมหยาบช้า ครั้นขุดหลุมแล้ว
จึงปิดด้วยแผ่นไม้กระดาน แล้วหย่อนตัวลงไป
จับธนูยิงพญาช้างที่เดินมาข้างหลุมด้วยลูกเกาทัณฑ์ใหญ่
[๑๒๐] ก็แหละพญาช้างพอถูกยิงก็บันลือร้องก้องโกญจนาท
ช้างทั้งหมดก็พากันบันลือเสียงอื้ออึง
ต่างพากันวิ่งไปมารอบ ๆ ทั้ง ๘ ทิศ
ทำหญ้าและไม้ให้แหลกเป็นจุรณ
[๑๒๑] พญาช้างจับนายพรานนั้นด้วยหมายใจว่า เราจักฆ่ามัน
ได้เห็นผ้ากาสาวพัสตร์อันเป็นธงชัยแห่งฤๅษีทั้งหลาย
ทั้ง ๆ ที่ได้รับทุกขเวทนา ก็เกิดสัญญาขึ้นว่า
บุคคลผู้ทรงธงชัยแห่งพระอรหันต์ สัตบุรุษไม่ควรฆ่า
(พญาช้างกล่าวกับนายพรานนั้นว่า)
[๑๒๒] ผู้ใดมีกิเลสดุจน้ำฝาดยังไม่หมดไป
ปราศจากทมะและสัจจะ จักนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์
ผู้นั้นไม่สมควรจะนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์เลย
[๑๒๓] ส่วนผู้ใดคลายกิเลสดุจน้ำฝาดได้แล้ว
ตั้งมั่นด้วยดีในศีลทั้งหลาย ประกอบด้วยทมะและสัจจะ
ผู้นั้นแลสมควรจะนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๔. ฉัททันตชาดก (๕๑๔)
(พระศาสดาเมื่อทรงประกาศความนั้น จึงตรัสว่า)
[๑๒๔] พญาช้างถึงถูกยิงด้วยลูกเกาทัณฑ์ใหญ่แล้ว
ก็ไม่มีจิตคิดประทุษร้าย ได้กล่าวกับนายพรานว่า
เพื่อนรัก เพื่อนต้องการอะไรหรือ
เพราะอะไร เพื่อนจึงฆ่าเรา หรือว่าใครใช้เพื่อนมา
(นายพรานกล่าวว่า)
[๑๒๕] พญาช้างผู้เจริญ พระมเหสีของพระเจ้ากาสี
พระนางทรงพระนามว่าสุภัทรา ได้รับการยกย่องบูชาในราชสกุล
ก็พระนางได้ทรงสุบินนิมิตเห็นท่าน ได้ตรัสบอกข้าพเจ้า
และได้ตรัสกับข้าพเจ้าว่า มีความต้องการงาทั้งคู่
(พญาช้างกล่าวว่า)
[๑๒๖] ความจริงคู่งาของบิดาและของปู่เราที่สวยงามมีเป็นจำนวนมาก
พระนางทราบดี แต่พระราชบุตรีมีนิสัยทรงกริ้ว
เป็นคนพาล ต้องการที่จะฆ่าเรา จึงได้จองเวร
[๑๒๗] ลุกขึ้นเถิด นายพราน ท่านจงจับเลื่อยตัดงาคู่นี้ก่อนที่เราจะตาย
จงกราบทูลพระราชบุตรีผู้มีนิสัยทรงกริ้วพระองค์นั้นว่า
พญาช้างถูกข้าพระพุทธเจ้าฆ่าตายแล้ว
เชิญเถิด งาคู่นี้เป็นงาของพญาช้างนั้น พระเจ้าข้า
(พระศาสดาเมื่อทรงประกาศความนั้น จึงตรัสว่า)
[๑๒๘] นายพรานนั้นลุกขึ้นจับเลื่อย
ตัดงาทั้งคู่ของพญาคชสารตัวประเสริฐ
แล้วจึงนำงาทั้งคู่ซึ่งมีความสวยงามหาที่เปรียบมิได้ในพื้นปฐพี
รีบหลีกไปจากที่นั้นโดยเร็ว
[๑๒๙] ช้างเหล่านั้นถูกภัยคุกคาม เป็นทุกข์เพราะพญาช้างถูกฆ่า
ต่างพากันวิ่งไปมาทั้ง ๘ ทิศ ไม่เห็นคนผู้เป็นปัจจามิตรต่อพญาช้าง
จึงได้กลับมาหาพญาช้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๕. สัมภวชาดก (๕๑๕)
[๑๓๐] ช้างเหล่านั้นต่างคร่ำครวญร้องไห้อยู่ ณ ที่นั้น
โปรยฝุ่นลงที่ศีรษะของตน ทั้งหมดให้นางช้างตัวประเสริฐกว่า
ช้างทั้งหมดเดินนำหน้าแล้วพากันกลับไปสถานที่อยู่ของตน
[๑๓๑] นายพรานนั้นนำงาทั้งคู่ของพญาคชสารตัวประเสริฐ
ซึ่งมีความสวยงามหาที่เปรียบมิได้ในพื้นปฐพี
ส่องรัศมีเปล่งปลั่งดังสายรุ้งทอง สว่างไสวไปทั่วไพรสณฑ์
เข้าไปยังกรุงกาสี แล้วน้อมงาทั้งคู่เข้าไปถวายพระราชกัญญา
กราบทูลว่า พญาช้างถูกข้าพระพุทธเจ้าฆ่าแล้ว
งาคู่นี้เป็นงาของพญาช้างนั้น
[๑๓๒] เพราะทอดพระเนตรเห็นงาทั้งคู่ของพญาคชสารตัวประเสริฐ
ซึ่งเป็นภัสดาที่รักในชาติปางก่อน
พระหฤทัยของพระนางก็ได้แตกทำลาย ณ สถานที่นั้นนั่นเอง
พระนางผู้เป็นคนพาลได้สวรรคตเพราะเหตุนั้นนั่นแหละ
(พระเถระผู้สังคายนาพระธรรมเมื่อจะพรรณนาคุณของพระทศพล จึงได้
กล่าวว่า)
[๑๓๓] ก็พระบรมศาสดาทรงบรรลุสัมโพธิญาณ
ทรงมีอานุภาพมาก ได้ทรงแย้มท่ามกลางบริษัท
ภิกษุทั้งหลายผู้มีจิตหลุดพ้นดีแล้วพากันกราบทูลว่า
ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลายหาได้กระทำการแย้มให้ปรากฏ
ในเพราะสิ่งมิใช่เหตุไม่
[๑๓๔] เธอทั้งหลายจงดูกุมารีสาวซึ่งครองผ้ากาสาวพัสตร์
ประพฤติเป็นผู้ไม่ครองเรือน
ภิกษุณีนั้นได้เป็นพระนางราชกัญญาในครั้งนั้น
ส่วนตถาคตได้เป็นพญาช้างในครั้งนั้น
[๑๓๕] นายพรานผู้นำงาทั้งคู่ของพญาคชสารตัวประเสริฐ
ซึ่งมีความสวยงามหาที่เปรียบมิได้ในพื้นปฐพี
เข้าไปยังกรุงกาสีในกาลนั้น ได้เป็นพระเทวทัต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๕. สัมภวชาดก (๕๑๕)
[๑๓๖] พระพุทธเจ้าทรงปราศจากความกระวนกระวาย
ความโศกและกิเลสดุจลูกศร ตรัสรู้ยิ่งด้วยพระองค์เอง
ได้ตรัสฉัททันตชาดกนี้อันเป็นของเก่า
ที่ไม่รู้จักสาบสูญตราบเท่าดวงอาทิตย์ยังไม่ดับ
ซึ่งพระองค์ได้ท่องเที่ยวไปตลอดกาลนาน
เป็นบุรพจริยาทั้งสูงและต่ำว่า
[๑๓๗] ภิกษุทั้งหลาย โดยกาลนั้น
เราตถาคตได้มีอยู่ที่สระฉัททันต์นั้น
เราตถาคตได้เป็นพญาช้างตัวประเสริฐในกาลนั้น
เธอทั้งหลายจงจำชาดกไว้ด้วยประการฉะนี้
ฉัททันตชาดกที่ ๔ จบ

๕. สัมภวชาดก (๕๑๕)
ว่าด้วยสัมภวกุมาร
(พระราชาตรัสถามปัญหากับพราหมณ์สุจีรตะว่า)
[๑๓๘] ท่านอาจารย์สุจีรตะ ข้าพเจ้าบรรลุถึงราชสมบัติ
และความเป็นอธิบดีแล้ว แต่ยังปรารถนา
เพื่อบรรลุถึงความเป็นใหญ่และเพื่อชนะทั่วทั้งปฐพีนี้
[๑๓๙] โดยธรรม มิใช่โดยอธรรม ข้าพเจ้าหาพอใจอธรรมไม่
ท่านอาจารย์สุจีรตะ พระราชาต้องประพฤติธรรมให้เป็นกิจอันสำคัญ
[๑๔๐] ท่านพราหมณ์ เพราะเหตุใด เราทั้งหลาย
จะไม่ถูกนินทาในโลกนี้ ละไปแล้วก็จะไม่ถูกนินทา
และพึงถึงความมียศในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
[๑๔๑] ท่านพราหมณ์ ข้าพเจ้าปรารถนาจะกระทำตามอรรถและธรรม
ข้าพเจ้าถามแล้ว ขอท่านจงบอกอรรถและธรรมนั้นด้วยเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๕. สัมภวชาดก (๕๑๕)
(สุจีรตพราหมณ์ไม่สามารถจะทูลตอบปัญหาได้ จึงกราบทูลว่า)
[๑๔๒] ขอเดชะพระขัตติยราช
พระองค์ทรงปรารถนาจะกระทำตามอรรถและธรรมใด
อรรถและธรรมนั้นใครอื่นนอกจากวิธุรพราหมณ์
หาควรที่จะกล่าวชี้แจงไม่
(พระราชาทรงประสงค์จะส่งสุจีรตพราหมณ์ไป จึงตรัสว่า)
[๑๔๓] มาเถิด ท่านอาจารย์สุจีรตะ ข้าพเจ้าจะส่งท่านไป
ท่านจงไปยังสำนักวิธุรพราหมณ์ จงนำทองคำแท่งนี้ไปด้วย
พึงมอบทองคำแท่งนี้กระทำให้เป็นเครื่องบูชา
สำหรับคำสอนอรรถและธรรม
(พระศาสดาเมื่อจะทรงเผยความนั้น จึงตรัสว่า)
[๑๔๔] มหาพราหมณ์ภารทวาชะนั้นไปถึงสำนักวิธุรพราหมณ์แล้ว
ได้เห็นวิธุรพราหมณ์นั้นกำลังบริโภคอาหารอยู่ในเรือนของตน
(สุจีรตพราหมณ์ถูกถามถึงเหตุที่มา จึงกล่าวว่า)
[๑๔๕] เราถูกพระเจ้าโกรัพยะผู้ทรงยศส่งมาเป็นทูต
พระเจ้าโกรัพยยุธิฏฐิละได้ตรัสอย่างนี้ว่า
ท่านพึงถามอรรถและธรรม วิธุระเพื่อน เราถามแล้ว
ขอท่านจงบอกอรรถและธรรมนั้นด้วยเถิด
(วิธุรพราหมณ์กล่าวว่า)
[๑๔๖] สหายพราหมณ์ เราเกิดความขวนขวายขึ้นว่า
จักปิดกั้นแม่น้ำคงคา ก็ไม่อาจจะปิดกั้นแม่น้ำใหญ่นั้นได้
เพราะเหตุนั้น จักมีโอกาสได้อย่างไร
[๑๔๗] เราถูกท่านถามถึงอรรถและธรรม ก็ไม่สามารถจะบอกท่านได้
แต่ภัทรการบุตรของเรา เป็นลูกในไส้เกิดแต่ตัวเราแท้ ๆ
ท่านจงไปถามอรรถและธรรมกับเขาเถิด พราหมณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๕. สัมภวชาดก (๕๑๕)
(พระศาสดาเมื่อทรงประกาศความนั้น จึงตรัสว่า)
[๑๔๘] มหาพราหมณ์ภารทวาชะนั้นได้ไปถึงสำนักภัทรการแล้ว
ได้เห็นเขานั่งอยู่ในเรือนของตน
(สุจีรตพราหมณ์จึงกล่าวว่า)
[๑๔๙] เราถูกพระเจ้าโกรัพยะผู้ทรงยศส่งมาเป็นทูต
พระเจ้าโกรัพยยุธิฏฐิละได้ตรัสอย่างนี้ว่า
ท่านพึงถามอรรถและธรรม ภัทรการหลานรัก
เจ้าจงบอกอรรถและธรรมนั้นแก่ลุงเถิด
(ภัทรการพราหมณ์ไม่สามารถจะแก้ปัญหาได้ จึงส่งเขาไปยังสำนักน้องชาย
ชื่อสัญชัยกุมารว่า)
[๑๕๐] ข้าพเจ้าเหมือนคนละทิ้งหาบเนื้อติดตามเหี้ยอยู่
ถึงถูกท่านถามถึงอรรถและธรรม ก็ไม่อาจจะบอกแก่ท่านได้
[๑๕๑] ท่านพราหมณ์สุจีรตะ ผมมีน้องชายชื่อว่าสัญชัย
เขาเป็นน้องชายของผม ท่านจงไปถามอรรถและธรรมกับเขาเถิด
(พระศาสดาทรงประกาศความนั้นว่า)
[๑๕๒] มหาพราหมณ์ภารทวาชะนั้นไปถึงสำนักสัญชัยแล้ว
ได้เห็นเขานั่งอยู่ในเรือนของตนจึงกล่าวว่า
[๑๕๓] เราถูกพระเจ้าโกรัพยะผู้ทรงยศส่งมาเป็นทูต
พระเจ้าโกรัพยยุธิฏฐิละได้ตรัสอย่างนี้ว่า
ท่านพึงถามอรรถและธรรม สัญชัยหลานรัก ลุงถามแล้ว
ขอเจ้าจงบอกอรรถและธรรมนั้นด้วยเถิด
(สัญชัยกุมารกล่าวว่า)
[๑๕๔] ท่านพราหมณ์สุจีรตะ พญามัจจุราชย่อมกลืนกินข้าพเจ้าทุกเมื่อ
ทั้งเวลาเย็นและเวลาเช้า ข้าพเจ้าถูกท่านถามอรรถและธรรม
ก็ไม่อาจจะบอกแก่ท่านได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๕. สัมภวชาดก (๕๑๕)
[๑๕๕] ท่านพราหมณ์สุจีรตะ ข้าพเจ้ามีน้องชายชื่อว่าสัมภวะ
เขาเป็นน้องชายของข้าพเจ้า ขอท่านจงไปถามอรรถและธรรมกับเขาเถิด
(สุจีรตพราหมณ์กล่าวว่า)
[๑๕๖] ท่านผู้เจริญทั้งหลาย น่าอัศจรรย์หนอ
ปัญหาธรรมนี้พวกเรายังไม่พอใจ
บิดาและบุตรทั้ง ๓ คนนั้น
ก็ยังไม่มีปัญญาจะหยั่งรู้ถึงปัญหาธรรมนี้เลย
[๑๕๗] ท่านทั้ง ๓ คนถูกถามถึงอรรถและธรรมนั้นก็ไม่อาจจะบอกได้
ไฉนเล่า เด็กถูกถามถึงอรรถและธรรมจะพึงรู้ได้
(สัญชัยกุมารได้ฟังดังนั้น จึงสรรเสริญสัมภวกุมารว่า)
[๑๕๘] ท่านยังไม่ได้ถามสัมภวกุมารก่อนแล้ว
อย่าเพิ่งเข้าใจเธอว่าเป็นเด็ก
พราหมณ์ ท่านถามสัมภวกุมารแล้วพึงรู้อรรถและธรรมได้
[๑๕๙] ดวงจันทร์ปราศจากมลทิน โคจรไปในอากาสธาตุ
ย่อมสว่างไสวกว่าหมู่ดาวทั้งสิ้นในโลกด้วยรัศมีแม้ฉันใด
[๑๖๐] สัมภวกุมารถึงยังเป็นเด็กก็ฉันนั้น เพราะประกอบด้วยปัญญา
ท่านยังไม่ได้ถามสัมภวกุมารก่อนแล้วอย่าเพิ่งเข้าใจเธอว่าเป็นเด็ก
พราหมณ์ ท่านถามสัมภวกุมารแล้วพึงรู้อรรถและธรรมได้
[๑๖๑] ท่านพราหมณ์ เดือนจิตตมาสแห่งคิมหันตฤดู
ย่อมงามยิ่งนักกว่าเดือนอื่น ๆ ด้วยต้นไม้และดอกไม้แม้ฉันใด
[๑๖๒] สัมภวกุมารถึงยังเป็นเด็กก็ฉันนั้น เพราะประกอบด้วยปัญญา
ท่านยังไม่ได้ถามสัมภวกุมารก่อนแล้วอย่าเพิ่งเข้าใจเธอว่าเป็นเด็ก
พราหมณ์ ท่านถามสัมภวกุมารแล้วพึงรู้อรรถและธรรมได้
[๑๖๓] ท่านพราหมณ์ หิมวันตบรรพตชื่อคันธมาทน์
ดารดาษไปด้วยต้นไม้นานาพันธุ์ เป็นที่อยู่แห่งหมู่มหาภูต๑
ย่อมสว่างไสวและตลบอบอวลไปทั่วทิศด้วยทิพยโอสถแม้ฉันใด

เชิงอรรถ :
๑ มหาภูต หมายถึงหมู่เทพ (ขุ.ชา.อ. ๗/๑๖๓/๒๑๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๕. สัมภวชาดก (๕๑๕)
[๑๖๔] สัมภวกุมารถึงยังเป็นเด็กก็ฉันนั้น เพราะประกอบด้วยปัญญา
ท่านยังไม่ได้ถามสัมภวกุมารก่อนแล้วอย่าเพิ่งเข้าใจเธอว่าเป็นเด็ก
พราหมณ์ ท่านถามสัมภวกุมารแล้วพึงรู้อรรถและธรรมได้
[๑๖๕] ท่านพราหมณ์ ไฟป่ามีเปลวไฟเป็นช่อ เรืองโรจน์
ลุกโพลงอยู่ที่กอไม้ในป่า ไม่อิ่มต่อเชื้อเพลิง มีทางดำ
[๑๖๖] กินเปรียงเป็นอาหาร มีควันเป็นธง
ไหม้ลามจนถึงยอดไพรสณฑ์ มีเชื้อไฟเพียงพอ
โชติช่วงอยู่บนยอดภูเขาในเวลากลางคืนฉันใด
[๑๖๗] สัมภวกุมารถึงยังเป็นเด็กก็ฉันนั้น เพราะประกอบด้วยปัญญา
ท่านยังไม่ได้ถามสัมภวกุมารก่อนแล้วอย่าเพิ่งเข้าใจเธอว่าเป็นเด็ก
พราหมณ์ ท่านถามสัมภวกุมารแล้วพึงรู้อรรถและธรรมได้
[๑๖๘] ม้าดีจะรู้ได้เพราะความว่องไว
โคพลิพัทท์จะรู้ได้ในเมื่อมีภาระที่จะต้องลากไป
แม่โคนมจะรู้ได้เพราะน้ำนม และบัณฑิตจะรู้ได้เมื่อเจรจาฉันใด
[๑๖๙] สัมภวกุมารถึงยังเป็นเด็กก็ฉันนั้น เพราะประกอบด้วยปัญญา
ท่านยังไม่ได้ถามสัมภวกุมารก่อนแล้วอย่าเพิ่งเข้าใจเธอว่าเป็นเด็ก
พราหมณ์ ท่านถามสัมภวกุมารแล้วพึงรู้อรรถและธรรมได้
(พระศาสดาเมื่อทรงเปิดเผยความนั้น จึงตรัสว่า)
[๑๗๐] มหาพราหมณ์ภารทวาชะนั้นไปถึงสำนักสัมภวกุมารแล้ว
ได้เห็นเขากำลังเล่นอยู่นอกบ้าน
(สุจีรตพราหมณ์ได้ถามปัญหาว่า)
[๑๗๑] เราถูกพระเจ้าโกรัพยะผู้ทรงยศส่งมาเป็นทูต
พระเจ้าโกรัพยยุธิฏฐิละได้ตรัสอย่างนี้ว่า
ท่านพึงถามอรรถและธรรม พ่อหนูสัมภวะ ลุงถามเจ้าแล้ว
ขอเจ้าจงบอกอรรถและธรรมนั้นด้วยเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๖. มหากปิชาดก (๕๑๖)
(สัมภวกุมารกล่าวว่า)
[๑๗๒] เอาเถิด ข้าพเจ้าจักบอกลุงตามอย่างคนที่ฉลาด
ก็พระราชาย่อมจะทรงทราบปัญหานั้นได้
แต่จะทรงกระทำหรือไม่เท่านั้น
(และเมื่อจะบอกปัญหาจึงกล่าวว่า)
[๑๗๓] ท่านพราหมณ์สุจีรตะ ใคร ๆ ถูกพระราชาตรัสถามแล้ว
พึงกราบทูลราชกิจที่จะทำในวันนี้ว่า พึงทำในวันพรุ่งนี้
ขอพระเจ้ายุธิฏฐิละอย่าทรงเชื่อฟังยับยั้งอยู่เลยในเมื่อประโยชน์เกิดขึ้น
[๑๗๔] ท่านพราหมณ์สุจีรตะ ใคร ๆ ถูกพระราชาตรัสถามแล้ว
พึงกราบทูลปัญหาที่เป็นไปภายในเท่านั้น
ไม่พึงให้ทรงดำเนินไปสู่หนทางที่ชั่วดุจคนหลงหาความคิดมิได้
[๑๗๕] พระราชาไม่ควรลืมตน ไม่ควรประพฤติอธรรม
ไม่ควรหยั่งลงไปในลัทธิที่ผิด ไม่พึงประกอบในสิ่งอันไม่เป็นประโยชน์
[๑๗๖] ขัตติยราชาพระองค์ใดทรงรู้จักทำเหตุเหล่านี้
ขัตติยราชาพระองค์นั้นย่อมทรงเจริญทุกเมื่อเหมือนดวงจันทร์ข้างขึ้น
[๑๗๗] พระองค์ย่อมทรงเป็นที่รักแห่งหมู่พระญาติ
และทรงรุ่งโรจน์ในหมู่มิตร ทรงมีพระปรีชา
เมื่อพระวรกายแตกทำลายไป จะทรงเข้าถึงโลกสวรรค์
สัมภวชาดกที่ ๕ จบ

๖. มหากปิชาดก (๕๑๖)
ว่าด้วยพญาวานร
(พระศาสดาทรงประกาศเนื้อความนี้ว่า)
[๑๗๘] ได้มีพระราชาแห่งชนชาวกาสี ทรงผดุงรัฐให้เจริญ
ในกรุงพาราณสี แวดล้อมด้วยมิตรและอำมาตย์
ได้เสด็จไปยังมิคาชินอุทยาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๖. มหากปิชาดก (๕๑๖)
[๑๗๙] ณ ที่นั้น ได้ทอดพระเนตรเห็นพราหมณ์เป็นโรคเรื้อน
ขาวพราวเป็นจุด ๆ และกลากเกลื้อน
มีเนื้อหลุดออกจากปากแผลเช่นกับดอกทองกวาว
มีร่างกายผ่ายผอม สะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น
[๑๘๐] ครั้นทอดพระเนตรเห็นคนตกยาก
ถึงความลำบากน่าสงสารยิ่งนัก
พระราชาทรงหวาดหวั่นพระหฤทัย
จึงตรัสถามว่า เจ้าเป็นยักษ์ประเภทไหน
[๑๘๑] มือและเท้าของเจ้าก็ด่าง ศีรษะยิ่งด่างกว่านั้น
เนื้อตัวของเจ้าก็ด่างพร้อย และมากไปด้วยกลากเกลื้อน
[๑๘๒] หลังของเจ้าเป็นปุ่มเป็นปมเหมือนกับเถาวัลย์ที่ขดกลม
อวัยวะของเจ้าก็เหมือนกับเถาวัลย์ที่มีข้อดำ
เรายังไม่เคยเห็นอะไรอื่นเป็นเช่นนี้
[๑๘๓] เจ้ามีเท้าหงิกงอ น่าหวาดเสียว มีร่างกายผ่ายผอม
สะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น ดูหิวกระหาย อดโซ
เจ้ามาจากที่ไหน และจะไปไหน
[๑๘๔] เจ้ามีรูปร่างอัปลักษณ์ ดูน่าเกลียด
ผิวพรรณก็ทราม ดูน่ากลัว
มารดาบิดาผู้ให้กำเนิดของเจ้าคงไม่ปรารถนาที่จะเห็นเจ้าเลย
[๑๘๕] ในชาติปางก่อนเจ้าได้ทำกรรมอะไรไว้ ได้ฆ่าคนที่ไม่ควรฆ่าหรือ
หรือเพราะทำกรรมอันโหดร้ายทารุณอย่างใดไว้
เจ้าจึงประสบทุกข์อย่างนี้
(ต่อแต่นั้นไป พราหมณ์จึงกล่าวว่า)
[๑๘๖] เชิญสดับเถิด พระเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าจักกราบทูล
ให้พระองค์ทรงทราบตามอย่างคนฉลาด
เพราะบัณฑิตทั้งหลายในโลกนี้สรรเสริญคนพูดความจริง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๖. มหากปิชาดก (๕๑๖)
[๑๘๗] เมื่อข้าพระพุทธเจ้าผู้เดียวเที่ยวแสวงหาโค
ได้หลงล่วงเลยเข้าไปในป่าเปลี่ยวที่แห้งแล้งกันดาร
เงียบสงัด ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยแห่งช้างนานาชนิด
[๑๘๘] ข้าพระพุทธเจ้าได้หลงทางเข้าไปในป่าทึบ
ซึ่งเป็นที่สัญจรไปมาแห่งเนื้อร้าย
มีความหิวกระหาย ได้ท่องเที่ยวไปในป่านั้นตลอด ๗ วัน
[๑๘๙] ณ ที่ป่านั้น ข้าพระพุทธเจ้าได้เห็นต้นมะพลับต้นหนึ่ง
ซึ่งอยู่หมิ่นเหม่ มีกิ่งทอดตรงไปยังปากเหว
มีผลดก ข้าพระพุทธเจ้าปรารถนาจะกิน
[๑๙๐] ข้าพระพุทธเจ้ากินผลที่ลมพัดหล่น
ข้าพระพุทธเจ้าพอใจผลมะพลับเหล่านั้นมาก แต่ยังไม่อิ่ม
จึงปีนขึ้นไปบนต้นด้วยคิดว่า จักกินให้สบายบนต้นนั้น
[๑๙๑] ข้าพระพุทธเจ้ากินผลหนึ่งแล้วปรารถนาผลที่ ๒ ต่อไป
แต่นั้นกิ่งมันได้หักเหมือนถูกขวานตัด
[๑๙๒] ข้าพระพุทธเจ้านั้นพร้อมทั้งกิ่งไม้ มีเท้าชี้ฟ้า
ศีรษะปักลงตกไปในซอกเขา ซึ่งไม่มีที่จะยึดเหนี่ยว
[๑๙๓] ก็เพราะน้ำลึก ข้าพระพุทธเจ้าจึงหยั่งไม่ถึง
นอนทอดอาลัยอยู่ในซอกเขานั้น ไม่น้อยกว่า ๑๐ ราตรี
[๑๙๔] ต่อมา วานรตัวหนึ่งมีหางคล้ายหางโค
ท่องเที่ยวไปมาตามซอกเขาเป็นประจำ
ไต่ไปตามกิ่งไม้กัดกินผลไม้อยู่ ได้มาถึงสถานที่นั้น
[๑๙๕] มันเห็นข้าพระพุทธเจ้ามีร่างกายผอมเหลือง
ได้มีความการุญแก่ข้าพระพุทธเจ้า ถามไถ่ว่า
ท่านผู้เจริญ ท่านชื่ออะไร ทำไมจึงมาทนทุกข์อยู่ที่นี่อย่างนี้
[๑๙๖] เป็นมนุษย์หรืออมนุษย์ จงแนะนำตัวให้ข้าพเจ้าทราบด้วย
ข้าพระพุทธเจ้าได้ประนมอัญชลีแล้วกล่าวแก่มันอย่างนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๖. มหากปิชาดก (๕๑๖)
[๑๙๗] ข้าพเจ้าเป็นมนุษย์ประสบความพินาศ
ข้าพเจ้าไม่มีทางที่จะไปจากที่นี่
เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงขอบอกให้ท่านทราบ
ขอท่านจงมีความเจริญ ขอท่านจงเป็นที่พึ่งของข้าพเจ้าด้วย
[๑๙๘] วานรผู้กล้าหาญเที่ยวไปหาก้อนศิลาที่มีน้ำหนักที่ภูเขา
ผูกเถาวัลย์ที่ก้อนศิลาแล้ว ได้กล่าวคำนี้ว่า
[๑๙๙] มาเถิด มาขึ้นเกาะหลังข้าพเจ้า
ท่านจงใช้แขนทั้ง ๒ ข้างกอดคอข้าพเจ้าไว้
ข้าพเจ้าจะใช้กำลังช่วยท่านขึ้นไปจากซอกเขา
[๒๐๐] ข้าพระพุทธเจ้าสดับคำนั้นแล้ว
จึงขึ้นเกาะหลังพญาวานรผู้มีสิริ เป็นปราชญ์ตนนั้น
แล้วใช้แขนทั้ง ๒ กอดคอมันไว้
[๒๐๑] พญาวานรผู้มีเดช มีกำลังตนนั้น มีความลำบาก
กระโดดพาข้าพระพุทธเจ้าขึ้นจากซอกเขานั้นด้วยความยาก
[๒๐๒] ครั้นนำข้าพระพุทธเจ้าขึ้นมาแล้ว
พญาวานรผู้เป็นบัณฑิต กล้าหาญ ได้กล่าวคำนี้ว่า
เพื่อนรัก ท่านโปรดรักษาความปลอดภัยให้ข้าพเจ้าด้วยเถิด
ข้าพเจ้าจักหลับสักครู่หนึ่ง
[๒๐๓] สิงโต เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี หมาป่า
และเสือดาวพึงเบียดเบียนข้าพเจ้าผู้หลับไป
ท่านเห็นพวกมันจงห้ามกันไว้ด้วย
[๒๐๔] พญาวานรนั้นครั้นให้ข้าพระพุทธเจ้าเป็นผู้ป้องกันแล้ว
จึงหลับไปครู่หนึ่ง
ครั้งนั้น ข้าพระพุทธเจ้ากลับได้ความคิดเห็นชั่วช้า
โดยไม่ทันคิดให้รอบคอบว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๖. มหากปิชาดก (๕๑๖)
[๒๐๕] วานรนี้ก็เป็นอาหารของพวกมนุษย์
เช่นเดียวกับเนื้ออื่น ๆ ในป่าเหมือนกัน
ถ้ากระไร เราหิวพึงฆ่าวานรนี้กิน
[๒๐๖] อนึ่ง เราบริโภคอิ่มแล้วจักถือเอาเนื้อเป็นเสบียงเดินทาง
จักข้ามทางกันดาร และเราจักมีเสบียงเดินทาง
[๒๐๗] ทันใดนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงหยิบก้อนหินแล้วทุ่มลงไป
ยังกระหม่อมวานร แต่การประหารของข้าพระพุทธเจ้า
ผู้มีร่างกายเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าเพราะอดอาหารจึงมีกำลังด้อยไป
[๒๐๘] ก็พญาวานรนั้นทะลึ่งขึ้นโดยเร็วเพราะกำลังก้อนหินที่ทุ่มลงไป
มีตัวอาบไปด้วยเลือด ร้องไห้ มองดูข้าพระพุทธเจ้าด้วยดวงตา
ซึ่งเต็มไปด้วยน้ำตา พลางกล่าวว่า
[๒๐๙] ท่านอย่าทำข้าพเจ้าเลย ขอท่านจงมีความเจริญ
ท่านอย่าได้กระทำกรรมอันไม่สมควรเช่นนี้
อนึ่ง ท่านได้ชื่อว่ามีอายุยืนยาว ควรจะห้ามปรามคนเหล่าอื่น
[๒๑๐] ท่านคนผู้กระทำกรรมที่คนอื่นทำได้ยากนัก น่าอนาถจริงหนอ
เราช่วยท่านขึ้นจากเหวลึกที่ขรุขระยากที่จะขึ้นได้เช่นนี้
[๒๑๑] ท่านเป็นดุจเรานำมาจากปรโลก
ยังสำคัญเราว่าเป็นคนควรประทุษร้าย
ท่านนั้นเป็นคนชั่ว มีสันดานชั่วช้า จึงคิดแต่เหตุที่ชั่วนั้น
[๒๑๒] โอ ท่านผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม
ขอท่านอย่าประสบเวทนาอันเผ็ดร้อนเลย
ขอบาปธรรมอย่าได้ฆ่าท่านเหมือนขุยไผ่ฆ่าต้นไผ่เลย
[๒๑๓] แน่ะท่านผู้มีบาปกรรม ไม่สำรวม เราไม่ไว้ใจท่าน
มาเถิด ท่านจงตามหลังเราไปใกล้ ๆ พอเห็นกัน
[๒๑๔] ท่านพ้นแล้วจากเงื้อมมือของสัตว์ร้าย ถึงถิ่นมนุษย์แล้ว
นี่แนะท่านผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม นั่นหนทาง
ท่านจงไปทางนั้นตามสบายเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๖. มหากปิชาดก (๕๑๖)
[๒๑๕] ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว
วานรผู้มีปกติท่องเที่ยวไปตามขุนเขาล้างศีรษะที่เปื้อนเลือด
เช็ดน้ำตาแล้วกระโดดจากที่นั้นขึ้นไปยังภูเขา
[๒๑๖] ข้าพระพุทธเจ้านั้นถูกวานรนั้นแช่งด่า
ถูกความกระวนกระวายเบียดเบียน
มีกายเร่าร้อน จึงลงไปยังสายน้ำเพื่อจะดื่ม
[๒๑๗] ห้วงน้ำทั้งปวงปรากฏแก่ข้าพระพุทธเจ้า
เหมือนเดือดพล่านเพราะไฟ
เจือด้วยโลหิตเหมือนช้ำเลือดช้ำหนอง
[๒๑๘] หยาดน้ำมีประมาณเพียงใดตกต้องกายของข้าพระพุทธเจ้า
หัวฝีมีขนาดเท่าผลมะตูมครึ่งผลก็ผุดขึ้นมีประมาณเพียงนั้น
[๒๑๙] ฝีเหล่านั้นแตกแล้ว น้ำเลือดและน้ำหนอง
ไหลออกจากร่างกายของข้าพระพุทธเจ้าประดุจซากศพ
ข้าพระพุทธเจ้าจะไปทางใด จะเป็นหมู่บ้านและนิคมทั้งหลายก็ตาม
[๒๒๐] พวกมนุษย์ทั้งหญิงทั้งชายถูกกลิ่นเหม็นรบกวน
ต่างถือท่อนไม้ ห้ามกันข้าพระพุทธเจ้าว่า เจ้าอย่ามาทางนี้
[๒๒๑] บัดนี้ข้าพระพุทธเจ้าเสวยกรรมของตน
ที่ตนเองกระทำไว้ไม่ดีในปางก่อน
ข้าพระพุทธเจ้ามีทุกข์เช่นนี้ อยู่อย่างนี้ตลอด ๗ ปี
[๒๒๒] เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงขอกราบทูลให้พระองค์ทรงทราบ
ขอความเจริญจงมีแก่ท่านทั้งหลายเท่าที่มาประชุมกัน ณ ที่นี้
ขอพระองค์อย่าทรงเป็นผู้ประทุษร้ายมิตรเลย
เพราะคนประทุษร้ายมิตรจัดเป็นคนเลว
[๒๒๓] บุคคลใดในโลกนี้ย่อมประทุษร้ายมิตร
บุคคลนั้นย่อมเป็นโรคเรื้อน โรคกลาก เกลื้อน
คนผู้มีปกติประทุษร้ายมิตรเมื่อตายไปย่อมเข้าถึงนรก
มหากปิชาดกที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๗. ทกรักขสชาดก (๕๑๗)
๗. ทกรักขสชาดก (๕๑๗)
ว่าด้วยผีเสื้อน้ำ
(เภรีปริพาชิกากล่าวปัญหาของรากษสว่า)
[๒๒๔] ถ้าว่ามหาบพิตรทั้ง ๗ พระองค์กำลังลอยเรืออยู่ในห้วงน้ำ
ผีเสื้อน้ำผู้แสวงหามนุษย์เป็นพลีกรรมยึดเรือไว้
มหาบพิตรจะทรงสละให้ผีเสื้อน้ำตามลำดับอย่างไร
(พระราชาสดับดังนั้นแล้ว จึงตรัสว่า)
[๒๒๕] โยมจะให้พระมารดาเป็นอันดับ ๑ ให้พระมเหสีแล้วให้อนุชา
แต่นั้นจะให้พระสหาย แล้วจะให้ปุโรหิตพราหมณ์เป็นอันดับที่ ๕
จะให้ตนเองเป็นอันดับที่ ๖ แต่จะไม่ให้มโหสธบัณฑิต
(เภรีปริพาชิกากล่าวคุณของมารดาว่า)
[๒๒๖] พระราชชนนีของมหาบพิตร ทรงบำรุงเลี้ยง ให้กำเนิด
และทรงเอ็นดูช่วยเหลือตลอดกาลนาน
เมื่อมหาบพิตรถูกฉัพภิพราหมณ์ประทุษร้าย
พระนางทรงเป็นบัณฑิตคิดเห็นประโยชน์
จึงทรงกระทำสิ่งอื่นแทนมหาบพิตร
ปลดเปลื้องมหาบพิตรจากการถูกลอบปลงพระชนม์
[๒๒๗] พระราชมารดานั้นทรงประทานพระชนม์ชีพ
ทรงครรภ์พระโอรสเช่นนั้น
เพราะโทษอะไร มหาบพิตรจึงจะประทานให้ผีเสื้อน้ำ
(พระราชาตรัสโทษของพระมารดาว่า)
[๒๒๘] พระมารดาของโยมประดับเครื่องอลังการที่ไม่ควรประดับ
เหมือนเด็กสาวกระซิกกระซี้กับคนเฝ้าประตู
และคนชั้นต่ำเกินขอบเขต
[๒๒๙] อนึ่ง ทรงส่งทูตไปยังพระราชาฝ่ายอื่นเสียเอง
เพราะโทษนั้น โยมจะพึงให้พระมารดาแก่รากษส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๗. ทกรักขสชาดก (๕๑๗)
(เภรีปริพาชิกากล่าวคุณของพระนางนันทาเทวีว่า)
[๒๓๐] พระนางนันทาเทวีผู้ประเสริฐกว่าหมู่สนมนารี
มีพระเสาวนีย์น่ารัก ทรงอนุวัตรตามมหาบพิตร เป็นผู้ทรงศีล
มิได้ทรงเหินห่างมหาบพิตร ประดุจพระฉายาโดยส่วนเดียว
[๒๓๑] ปราศจากความกริ้วโกรธ ทรงมีบุญ
ฉลาด ทรงเล็งเห็นประโยชน์
เพราะโทษอะไร มหาบพิตรจะประทานมเหสีให้ผีเสื้อน้ำ
(พระราชาตรัสโทษของนางนันทาเทวีว่า)
[๒๓๒] พระนางนันทาเทวีนั้นชอบขอทรัพย์ที่ไม่ควรขอกับโยม
ผู้ถึงความร่าเริงยินดี ผู้ตกอยู่ในอำนาจสิ่งที่มิใช่ประโยชน์
เพื่อโอรสและธิดาของตน
[๒๓๓] โยมนั้นมีความกำหนัด จึงยอมให้ทรัพย์
ทั้งมีค่ามากและมีค่าน้อยเป็นจำนวนมาก
ครั้นยอมให้ทรัพย์ยากที่จะสละได้แล้ว ภายหลังจึงเศร้าโศกเสียใจ
เพราะโทษนั้นแหละ โยมจะพึงให้มเหสีแก่ผีเสื้อน้ำ
(เภรีปริพาชิกาทูลถามต่อไปว่า)
[๒๓๔] พระกนิษฐภาดาพระองค์ใดทรงยังชนบทให้เจริญ
เชิญเสด็จมหาบพิตรกลับพระราชมณเฑียรและทรงครอบงำ
นำทรัพย์จากราชสมบัติอื่นมาถวายเป็นจำนวนมาก
[๒๓๕] พระกนิษฐภาดาพระองค์นั้นประเสริฐกว่านายขมังธนูทั้งหลาย
ทรงกล้าหาญ มีพระปรีชาเฉียบแหลม
เพราะโทษอะไร มหาบพิตรจึงจะประทานให้แก่ผีเสื้อน้ำเล่า
(พระราชาตรัสโทษของพระกนิษฐาภาดาว่า)
[๒๓๖] อนุชาใดของโยมผู้ยังชนบทให้เจริญ
นำโยมกลับพระราชมณเฑียรและครอบงำ
นำทรัพย์จากราชสมบัติอื่นมาให้เป็นจำนวนมาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๗. ทกรักขสชาดก (๕๑๗)
[๒๓๗] อนุชานั้นประเสริฐกว่านายขมังธนูทั้งหลาย
กล้าหาญ และมีปัญญาเฉียบแหลม ยังเป็นเด็ก
แต่ดูหมิ่นโยมว่า พระราชาพระองค์นี้ทรงเป็นสุขเพราะเรา
[๒๓๘] พระแม่เจ้า เขาไม่มาแม้สู่ที่บำรุงของโยมเหมือนก่อน
เพราะโทษนั้น โยมจะพึงให้อนุชาแก่ผีเสื้อน้ำ
(เภรีปริพาชิกาบอกคุณของพระสหายนั้นว่า)
[๒๓๙] มหาบพิตรและธนุเสขกุมาร
ทั้ง ๒ กำเนิดราตรีเดียวกัน
ทั้ง ๒ เกิดในพระนครนี้ เป็นชาวปัญจาลนคร
เป็นสหายกันมีวัยเสมอกัน
[๒๔๐] กุมารนั้นติดตามมหาบพิตรท่องเที่ยวไป
ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับมหาบพิตร
มีความขยันขวนขวายในราชกิจทุกอย่างของมหาบพิตร
ทั้งกลางวันและกลางคืน
เพราะโทษอะไร มหาบพิตรจึงจะประทานสหายให้ผีเสื้อน้ำเสียเล่า
(พระราชาตรัสโทษของพระสหายว่า)
[๒๔๑] พระแม่เจ้า ธนุเสขกุมารนี้หัวเราะดังกับโยม
เมื่อท่องเที่ยวไปกับโยม
แม้วันนี้เขาก็ยังหัวเราะดังเกินขอบเขตแบบนั้น
[๒๔๒] พระแม่เจ้า โยมแม้กำลังปรึกษากับพระเทวีอยู่ในที่รโหฐาน
ธนุเสขกุมารยังมิทันบอกกล่าว
ยังมิทันให้โยมรู้ตัวก่อน ก็พรวดพราดเข้าไป
[๒๔๓] เขาได้ช่อง ได้โอกาส
เพราะโทษนั้น โยมจึงจะให้สหายผู้ไม่มีความละอาย
ไม่เอื้อเฟื้อแก่ผีเสื้อน้ำ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๗๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๗. ทกรักขสชาดก (๕๑๗)
(เภรีปริพาชิกาบอกคุณของเกวัฏฏปุโรหิตว่า)
[๒๔๔] ท่านเกวัฏฏปุโรหิตเป็นผู้ฉลาดในนิมิตทุกอย่าง
รู้สำเนียงเสียงร้องของสัตว์ทั้งปวง เชี่ยวชาญในคัมภีร์พระเวท
เชี่ยวชาญในเรื่องลางบอกเหตุ ในความฝัน
ชำนาญในการหาฤกษ์ยาม ในการเคลื่อนพลและเข้าประชิด
[๒๔๕] สามารถรู้โทษและคุณทั้งในภาคพื้นดินและอากาศ
เป็นผู้ฉลาดในคลองแห่งนักษัตร
เพราะโทษอะไร มหาบพิตรจึงจะประทานปุโรหิตพราหมณ์
ให้แก่ผีเสื้อน้ำเสียเล่า
(พระราชาตรัสโทษของปุโรหิตพราหมณ์ว่า)
[๒๔๖] พระแม่เจ้า แม้ท่ามกลางบริษัท
ปุโรหิตพราหมณ์ก็ลืมตาจ้องมองโยม
เพราะเหตุนั้น โยมจะให้ปุโรหิตผู้หยาบช้า
คล้ายกับเลิกคิ้วมองดูโยมแก่ผีเสื้อน้ำเสีย
(เภรีปริพาชิกาทูลถามต่อไปอีกว่า)
[๒๔๗] พระองค์ทรงครอบครองแผ่นดินมีสมุทรเป็นขอบเขต
มีสาครล้อมรอบประดุจต่างหู ทรงมีหมู่อำมาตย์แวดล้อม
[๒๔๘] ทรงมีแคว้นกว้างใหญ่ไพศาล
มีมหาสมุทรทั้ง ๔ เป็นขอบเขต
ทรงพิชิตสงคราม มีพลานุภาพมาก
ทรงเป็นเอกราชเหนือพื้นปฐพี
มหาบพิตรทรงมีพระอิสริยยศอันไพบูลย์
[๒๔๙] ทรงมีเหล่านารีจากชนบทต่าง ๆ ถึง ๑๖,๐๐๐ นาง
ล้วนประดับด้วยแก้วมุกดาและต่างหูแก้วมณี
งามเปรียบได้กับเทพกัญญา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๘. ปัณฑรกนาคราชชาดก (๕๑๘)
[๒๕๐] ขอถวายพระพรพระบรมกษัตริย์
ชีวิตยืนยาวที่เพียบพร้อมด้วยองค์สมบัติทุกอย่างนี้
นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่า เป็นที่รักของคนที่มีความสุข
ผู้เพียบพร้อมด้วยสมบัติ ที่น่าปรารถนาทุกอย่าง
[๒๕๑] เมื่อเป็นเช่นนั้น เรื่องอะไรหรือเหตุไฉน มหาบพิตรจึงทรงสละ
พระชนม์ชีพที่สละได้ยาก คอยตามป้องกันบัณฑิตเล่า
(พระราชาตรัสบอกคุณของมโหสธบัณฑิตว่า)
[๒๕๒] พระแม่เจ้า เพราะท่านมโหสธแม้มาสู่เงื้อมมือโยมแล้ว
โยมยังไม่ทราบถึงความชั่วของท่านปราชญ์แม้สักเพียงอณูหนึ่ง
[๒๕๓] ถึงแม้ว่าโยมจะต้องตายไปก่อนในกาลไร ๆ ก็ตาม
ท่านมโหสธก็จะพึงช่วยลูกและหลานของโยมให้มีความสุข
[๒๕๔] ท่านมโหสธเห็นแจ่มแจ้งประโยชน์ทุกประการ
ทั้งอนาคตและปัจจุบัน โยมจะไม่ยอมให้ท่านมโหสธ
ผู้ไม่เคยทำความผิดแก่ผีเสื้อน้ำ
(เภรีปริพาชิกาเชิญชาวพระนครมากล่าวว่า)
[๒๕๕] ชาวปัญจาละทั้งหลาย
ท่านทั้งหลายจงสดับพระดำรัสของพระเจ้าจูฬนีนี้
พระองค์ทรงสละพระชนม์ชีพที่สละได้ยาก
คอยตามป้องกันบัณฑิต
[๒๕๖] พระเจ้าปัญจาละทรงสละชีวิตของพระชนนี พระมเหสี
พระกนิษฐภาดา พระสหาย และพราหมณ์ปุโรหิต
และแม้ของพระองค์เองรวมเป็น ๖ คน
[๒๕๗] ปัญญาให้สำเร็จประโยชน์ใหญ่หลวง
เป็นธรรมชาติละเอียดอ่อน เป็นเหตุให้เกิดแต่สิ่งที่ดี
ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลในปัจจุบัน
และเพื่อความสุขในสัมปรายภพด้วยประการฉะนี้
ทกรักขสชาดกที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๘. ปัณฑรกนาคราชชาดก (๕๑๘)
๘. ปัณฑรกนาคราชชาดก (๕๑๘)
ว่าด้วยปัณฑรกนาคราช
(ปัณฑรกนาคราชคร่ำครวญว่า)
[๒๕๘] ภัยที่ตนเองก่อขึ้นย่อมติดตามคนไร้ปัญญา
พูดจาพล่อย ๆ ไม่ปกปิดความรู้
ขาดความระมัดระวัง ไม่ไตร่ตรองให้รอบคอบ
เหมือนพญาครุฑไล่จับปัณฑรกนาคราช
[๒๕๙] นรชนใดพอใจบอกมนต์ที่ลี้ลับ
ที่ตนควรจะปกปิดรักษา เพราะความเขลา
ภัยย่อมติดตามเขาผู้เปิดเผยมนต์โดยพลัน
เหมือนพญาครุฑไล่จับปัณฑรกนาคราช
[๒๖๐] มิตรเทียมไม่ควรจะรู้เนื้อความสำคัญซึ่งเป็นความลับ
แต่มิตรแท้ผู้ไม่รู้หรือรู้สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
ก็ไม่ควรจะรู้ความลับนั้น
[๒๖๑] เราไว้วางใจอเจลก(ชีเปลือย)ว่า ผู้นี้เป็นสมณะ
ชาวโลกนับถือ อบรมตนดีแล้ว
ได้เปิดเผยบอกความลับแก่เขา
จึงล่วงเลยประโยชน์ ร้องไห้อยู่อย่างลำเค็ญ
[๒๖๒] พญาครุฑผู้ประเสริฐ สำหรับเขา
ข้าพเจ้าไม่อาจจะระวังวาจาที่เร้นลับอย่างยิ่งนี้ได้
เพราะเหตุนั้น ภัยจากฝ่ายเขาจึงมาถึงข้าพเจ้า
ข้าพเจ้าจึงล่วงเลยประโยชน์ ร้องไห้อยู่อย่างลำเค็ญ
[๒๖๓] นรชนใดสำคัญผู้นี้ว่า เป็นคนมีใจดี
บอกความลับกับคนที่เกิดในสกุลต่ำทราม
เพราะความรัก ความชัง หรือเพราะความเกรงกลัว
นรชนนั้นเป็นคนโง่ ต้องย่อยยับโดยไม่ต้องสงสัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๘. ปัณฑรกนาคราชชาดก (๕๑๘)
[๒๖๔] นรชนใดมีปกติพูดนอกเรื่อง นับเนื่องเข้าในพวกอสัตบุรุษ
ชอบกล่าวถ้อยคำในที่ประชุมชน
นรชนนั้นปราชญ์กล่าวว่า คนมีพิษร้าย ปากเสีย
ควรระมัดระวังคนเช่นนั้นให้ห่างไกล
[๒๖๕] ข้าพเจ้าได้ละทิ้งสิ่งที่น่าปรารถนาทั้งหมดไปแล้ว
คือ ข้าว น้ำ ผ้าแคว้นกาสี จุรณแก่นจันทน์แดง
หญิงที่เจริญใจ พวงดอกไม้ และเครื่องชโลมทา
ข้าแต่พญาครุฑ ข้าพเจ้าขอมอบชีวิตแก่ท่าน
(พญาครุฑกล่าวคาถาตำหนิปัณฑรกนาคราชว่า)
[๒๖๖] บรรดาเราทั้ง ๓ ในที่นี้ ใครหนอย่อมถูกตำหนิ
นาคราช เราทั้งหลายเป็นสัตว์มีชีวิตในโลกนี้
คือ สมณะ ครุฑ หรือว่าท่านกันแน่ย่อมถูกตำหนิ
ปัณฑรกนาคราช ท่านถูกข้าพเจ้าจับเพราะเหตุไร
(ปัณฑรกนาคราชฟังดังนั้น จึงกล่าวว่า)
[๒๖๗] อเจลกนั้นเป็นผู้ที่ข้าพเจ้ายกย่องว่า เป็นสมณะ
เป็นที่รักของข้าพเจ้า และข้าพเจ้ายกย่องด้วยใจจริง
ข้าพเจ้าจึงได้เปิดเผยบอกความลับแก่เขา
จึงได้ล่วงเลยประโยชน์ ร้องไห้อยู่อย่างลำเค็ญ
(พญาครุฑกล่าวว่า)
[๒๖๘] แท้จริง สัตว์ชื่อว่าจะไม่ตายไม่มีในแผ่นดิน
ปัญญามีอยู่หลายอย่าง บุคคลไม่ควรนินทา
นรชนในโลกนี้ย่อมบรรลุคุณวิเศษที่ยังไม่บรรลุ
ได้ด้วยสัจจะ ๑ ธรรมะ ๑ ปัญญา ๑ ทมะ ๑
[๒๖๙] มารดาบิดานับว่าเป็นผู้ยอดเยี่ยมแห่งเผ่าพันธุ์
บุคคลที่ ๓ ผู้ช่วยเหลือเขาไม่มี
เมื่อระแวงสงสัยว่า ความลับที่ปรึกษาไว้จะแตก
ก็ไม่พึงบอกความลับที่สำคัญ แม้แก่มารดาบิดาเหล่านั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๘. ปัณฑรกนาคราชชาดก (๕๑๘)
[๒๗๐] เมื่อสงสัยว่า มนต์จะแตกทำลาย
บัณฑิตไม่พึงบอกความลับที่สำคัญแม้แก่มารดาบิดา
พี่สาวน้องสาว พี่ชายน้องชาย
เพื่อนสหาย หรือญาติพวกพ้องของตน
[๒๗๑] ถึงภรรยาจะยังสาวพูดจาไพเราะ ถึงพร้อมด้วยบุตรธิดา
มีรูปร่างสวยงาม มีเกียรติยศชื่อเสียง มีหมู่ญาติแวดล้อม
พูดอ้อนสามี เมื่อสงสัยว่า ความลับที่ปรึกษาไว้จะแตก
บัณฑิตไม่พึงบอกความลับที่สำคัญแม้แก่นาง
[๒๗๒] บัณฑิตไม่พึงเปิดเผยความลับ
พึงรักษาความลับนั้นไว้เหมือนรักษาขุมทรัพย์
เพราะว่าความลับบุคคลรู้อยู่ไม่เปิดเผยได้เป็นการดี
[๒๗๓] บัณฑิตไม่ควรบอกความลับแก่สตรี ๑ ศัตรู ๑
คนที่ใช้อามิสล่อ ๑ คนผู้ล้วงความลับ ๑
[๒๗๔] คนผู้รู้ความลับที่ผู้อื่นไม่รู้
เพราะกลัวความลับที่ปรึกษาหารือกันไว้จะแตก
ย่อมอดกลั้นไว้ดุจบุคคลผู้เป็นทาสเขา
[๒๗๕] คนมีประมาณเท่าใดล่วงรู้ความลับที่เขาปรึกษากัน
คนมีประมาณเท่านั้นเป็นบุคคลที่น่าหวาดกลัวของเขา
เพราะฉะนั้น บุคคลไม่ควรเปิดเผยความลับ
[๒๗๖] เวลากลางวันควรพูดความลับในที่สงัด
เวลากลางคืนไม่ควรพูดดังเกินไป
เพราะเหตุว่าคนแอบฟังได้ยินความลับที่ปรึกษากันเข้า
ความลับนั้นจะถึงการแพร่งพรายโดยเร็วพลัน
[๒๗๗] นครใหญ่ที่สร้างด้วยเหล็ก ไม่มีประตู
มีโรงเรือนล้วนสร้างด้วยเหล็ก
มีคูขุดไว้ล้อมรอบ ย่อมปรากฏแม้ฉันใด
แม้ผู้มีความคิดอันลี้ลับในโลกนี้ก็ปรากฏแก่เราฉันนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๘. ปัณฑรกนาคราชชาดก (๕๑๘)
[๒๗๘] นาคราชผู้มีลิ้นสองแฉก นรชนเหล่าใดปกปิดความคิดไว้
ไม่พูดพล่อย มั่นคงอยู่ในประโยชน์ของตน
ศัตรูทั้งหลายย่อมหลีกห่างไกลจากนรชนเหล่านั้น
เหมือนคนรักชีวิตหลีกห่างไกลจากหมู่สัตว์อสรพิษฉะนั้น
(เมื่อพญาครุฑกล่าวอย่างนั้นแล้ว ปัณฑรกนาคราชจึงกล่าวว่า)
[๒๗๙] อเจลกละทิ้งบ้านเรือนแล้วบวช มีศีรษะโล้น
ประพฤติเป็นคนเปลือยเพราะเหตุแห่งการหากิน
เพราะข้าพเจ้าเปิดเผยความลับกับเขาแล
จึงได้เสื่อมจากอรรถและธรรม
[๒๘๐] พญาครุฑ บุคคลกระทำอย่างไร
มีศีลอย่างไร บำเพ็ญวัตรอะไร
ประพฤติละความยึดมั่นว่าเป็นของเราอย่างไร
จึงจะเป็นสมณะได้
อนึ่ง สมณะกระทำอย่างไรจึงจะเข้าถึงแดนสวรรค์ได้
(พญาครุฑกล่าวว่า)
[๒๘๑] บุคคลประกอบด้วยหิริ ด้วยความอดกลั้น
ด้วยการฝึกตน ไม่โกรธ ละคำส่อเสียด
ประพฤติละความยึดมั่นว่าเป็นของเราเสีย
จึงจะเป็นสมณะได้
สมณะกระทำอย่างนี้จึงจะเข้าถึงแดนสวรรค์ได้
(ปัณฑรกนาคราชเมื่อจะขอชีวิต จึงกล่าวว่า)
[๒๘๒] มารดากอดสัมผัสบุตรอ่อนซึ่งเกิดแต่ตน
แผ่ซ่านเรือนร่างทุกส่วนสัดปกป้องฉันใด
ท่านผู้เป็นจอมแห่งนก ท่านจงปรากฏแก่ข้าพเจ้าแม้ฉันนั้น
เหมือนมารดาเอ็นดูบุตร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๘. ปัณฑรกนาคราชชาดก (๕๑๘)
(พญาครุฑเมื่อจะให้ชีวิตแก่ปัณฑรกนาคราช จึงกล่าวว่า)
[๒๘๓] เอาเถิด ท่านผู้มีลิ้นสองแฉก
วันนี้ท่านจงพ้นจากการถูกฆ่า
ธรรมดาลูกมี ๓ ประเภท คือ
(๑) ลูกศิษย์ (๒) ลูกบุญธรรม (๓) ลูกในไส้
อย่างอื่นหามีไม่ ท่านจงยินดีเถิด
ท่านได้เป็นบุตรประเภทหนึ่งของข้าพเจ้าแล้ว
(พระศาสดาตรัสพระคาถาแล้วทรงประกาศความนั้นว่า)
[๒๘๔] พญาครุฑกล่าวอย่างนี้แล้ว
ก็โผลงจับภาคพื้นปล่อยพญานาค
กล่าวว่า วันนี้ท่านรอดพ้นภัยทั้งปวงแล้ว
จงเป็นผู้มีข้าพเจ้าคุ้มครองทั้งทางบกทางน้ำเถิด
[๒๘๕] หมอผู้ฉลาดเป็นที่พึ่งของคนไข้ได้ฉันใด
ห้วงน้ำเย็นเป็นที่พึ่งของคนผู้กระหายได้ฉันใด
ที่พักเป็นที่พึ่งของคนผู้ถูกความเย็นเพราะหิมะรบกวนฉันใด
แม้ข้าพเจ้าก็จะเป็นที่พึ่งของท่านฉันนั้น
(พญาครุฑเห็นเหตุนั้นแล้ว จึงกล่าวว่า)
[๒๘๖] นี่พญานาคผู้เกิดในครรภ์
ท่านเชื่อมสัมพันธ์กับพญาครุฑ ผู้เกิดในฟองไข่ที่เป็นศัตรู
ยังนอนแยกเขี้ยวอยู่ ภัยนั้นมีมาแต่ไหนหนอ
(พญานาคกล่าวว่า)
[๒๘๗] ในศัตรูบุคคลพึงระแวงไว้ก่อน แม้ในมิตรก็ไม่พึงวางใจ
ภัยที่เกิดขึ้นจากคนไม่มีภัยย่อมกัดกร่อนจนถึงโคนราก
[๒๘๘] บุคคลจะพึงวางใจในคนผู้เคยทำการทะเลาะกันมาแล้วได้
อย่างไรเล่า บุคคลผู้ดำรงอยู่ด้วยการเตรียมตัวอยู่เป็นนิตย์
ย่อมไม่ยินดีกับศัตรู

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๙. สัมพุลาชาดก (๕๑๙)
[๒๘๙] พึงทำให้ผู้อื่นวางใจตน แต่ตนเองไม่พึงวางใจเขา
ไม่พึงให้ผู้อื่นระแวงตน แต่ตนพึงระแวงผู้อื่น
วิญญูชนพึงพยายามโดยที่ผู้อื่นจะไม่รู้ความเป็นไปของตน
(พระศาสดาทรงประกาศความนั้นว่า)
[๒๙๐] สัตว์ผู้ประเสริฐทั้ง ๒ นั้นมีเพศพรรณดุจเทพยดาสุขุมาลชาติ
มีทรวดทรงสัณฐานและวัยงามเสมอกัน
บริสุทธิ์ มีกองกุศลผลบุญ คลอเคลียกันไป
เหมือนพาหนะเทียมด้วยม้า ได้เข้าไปหากรัมปิยอเจลก
[๒๙๑] ลำดับนั้นแล ปัณฑรกนาคราชได้เข้าไปหาอเจลก
ตามลำพังตนเองแล้วได้กล่าวอย่างนี้ว่า วันนี้ ข้าพเจ้ารอดตาย
ผ่านพ้นภัยทั้งปวงมาได้ คงไม่เป็นที่พอใจของท่านแน่นอน
(อเจลกกล่าวว่า)
[๒๙๒] ก็พญาครุฑเป็นที่รักของเราอย่างแท้จริง
ยิ่งกว่าปัณฑรกนาคราชโดยไม่ต้องสงสัย เรานั้นมีความรักใคร่
ทั้ง ๆ ที่รู้อยู่ ก็ได้กระทำกรรมชั่วช้านั้นลงไป
หาทำไปเพราะความโง่เขลาไม่
(นาคราชกล่าวว่า)
[๒๙๓] ธรรมดาบรรพชิตผู้พิจารณาเห็นโลกนี้และโลกหน้า
ย่อมจะไม่มีความคิดว่า สิ่งนี้เป็นที่รักของเรา
หรือสิ่งนี้ไม่เป็นที่รักของเรา ก็ท่านเป็นผู้ไม่สำรวม
แต่ประพฤติลวงชาวโลกนี้ด้วยเพศแห่งผู้มีความสำรวมด้วยดี
[๒๙๔] ท่านมิใช่พระอริยะ แต่ทำเหมือนพระอริยะ
มิใช่คนสำรวม แต่ทำเหมือนคนสำรวม
มีชาติต่ำทราม หาใช่ผู้ประเสริฐไม่
ได้ประพฤติชั่วช้าลามกเป็นอันมาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๙. สัมพุลาชาดก (๕๑๙)
(ครั้นตำหนิแล้วเมื่อจะสาป จึงกล่าวว่า)
[๒๙๕] เจ้าคนผู้มีนิสัยประทุษร้าย เจ้าเป็นคนประทุษร้ายมิตร
ผู้ไม่ประทุษร้าย ทั้งเป็นคนพูดจาส่อเสียด
ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอศีรษะของเจ้าจงแตก ๗ เสี่ยง
(พระศาสดาทรงประกาศความที่พระเทวทัตถูกแผ่นดินสูบ จึงตรัสว่า)
[๒๙๖] เพราะเหตุนั้น บุคคลไม่ควรประทุษร้ายมิตร
เพราะว่าคนอื่นที่จะเลวกว่าคนผู้ประทุษร้ายมิตรไม่มี
อเจลกถูกสัตว์มีพิษสาปกำจัดลงแล้วในแผ่นดิน
ทั้ง ๆ ที่ปฏิญญาว่า เรามีความสำรวม
ก็ถูกทำลายแล้วด้วยคำของจอมนาคินทร์
ปัณฑรกนาคราชชาดกที่ ๘ จบ

๙. สัมพุลาชาดก (๕๑๙)
ว่าด้วยความซื่อสัตย์ของพระนางสัมพุลา
(ยักษ์ทานพเห็นพระนางสัมพุลามีจิตปฏิพัทธ์ จึงกล่าวว่า)
[๒๙๗] โอ้ แม่นางผู้มีลำขาอันกลมกลึง เธอเป็นใคร
ยืนสั่นสะท้านอยู่แต่ผู้เดียวใกล้ ๆ ซอกเขา
เธอผู้มีทรวดทรงน่าเคล้าคลึง เราถามแล้ว
ขอเธอจงบอกชื่อและเผ่าพันธุ์แก่เรา
[๒๙๘] แม่นางผู้มีทรวดทรงอันงดงาม
เธอเป็นใคร หรือเป็นกัลยาณีของใคร
ส่องสว่างไสวไปทั่วป่าที่น่ารื่นรมย์ซึ่งเป็นที่ที่สีหพยัคฆ์อยู่อาศัย
แม่นางผู้เจริญ เราขอไหว้เธอ เราคือทานพขอนอบน้อมแก่เธอ
(พระนางสัมพุลาได้ฟังดังนั้น จึงได้ตอบว่า)
[๒๙๙] ข้าพเจ้าชื่อสัมพุลาเป็นพระชายาของพระราชบุตรพระเจ้ากรุงกาสี
ซึ่งประชาชนรู้จักพระองค์โดยพระนามว่า เจ้าชายโสตถิเสน
ทานพผู้เจริญ ขอท่านจงทราบอย่างนี้
ข้าพเจ้าสัมพุลาขอไหว้ท่าน ขอนอบน้อมแก่ท่าน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๙. สัมพุลาชาดก (๕๑๙)
[๓๐๐] ท่านผู้เจริญ พระราชโอรสแห่งวิเทหราช
ทรงอาดูรประทับอยู่ในป่า
ข้าพเจ้าอุปัฏฐากพระองค์ผู้ทรงถูกโรคเบียดเบียนตัวต่อตัว
[๓๐๑] อนึ่ง ข้าพเจ้าแสวงหาของป่า
นำรวงผึ้งหรือเนื้อที่เป็นเดนใดมา พระองค์ก็เสวยสิ่งนั้น
วันนี้พระสรีระของพระองค์คงจะเหี่ยวแห้งแน่นอน
(ทั้ง ๒ กล่าวโต้ตอบกันต่อไปว่า)
[๓๐๒] แม่นางสัมพุลา เธอจะทำอะไรได้กับพระราชบุตร
ผู้ทรงระงมไปด้วยความอาดูรอยู่ในป่า
เราจะเป็นภัสดาของเธอ
[๓๐๓] เพราะอัตภาพที่ทุรพล เดือดร้อนเพราะความเศร้าโศก
รูปร่างของข้าพเจ้าจะงดงามได้อย่างไร ท่านผู้เจริญ
ขอท่านจงแสวงหาหญิงอื่นที่สวยงามกว่าข้าพเจ้าเถิด
[๓๐๔] มาเถิดแม่นาง จงขึ้นมายังภูเขาลูกนี้
เรามีภรรยาอยู่ ๔๐๐ นาง
เธอจะประเสริฐกว่านางเหล่านั้น
และจะสัมฤทธิ์ความประสงค์ทุกอย่าง
[๓๐๕] แม่นางผู้มีผิวพรรณเปล่งปลั่งประดุจดวงดาว
เธอมีใจประสงค์สิ่งหนึ่งสิ่งใด
สิ่งนั้นทั้งหมดของพี่มีอยู่มาก หาได้ง่าย
ขอเธอจงมาร่วมอภิรมย์กับพี่ ณ วันนี้เถิด
[๓๐๖] แม่นางสัมพุลา ถ้าเธอไม่ยอมเป็นมเหสี
เธอก็ควรจะเป็นอาหารเช้าของเราในวันรุ่งขึ้น
[๓๐๗] ฝ่ายเจ้าทานพกินคน มีผมเป็นกระเซิง ๗ ชั้น
หยาบช้าทารุณ มีผิวกายดำแดง
ได้จับพระนางสัมพุลานั้นผู้ไม่เห็นที่พึ่งในป่ารวบไว้ในวงแขน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๙. สัมพุลาชาดก (๕๑๙)
[๓๐๘] ส่วนพระนางสัมพุลานั้นถูกปีศาจผู้ทารุณเห็นแก่อามิสข่มเหง
ตกอยู่ในอำนาจของศัตรู ก็เศร้าโศกรำพันถึงแต่พระสวามีเท่านั้น
[๓๐๙] การที่รากษสจะกินเรา
ถึงกระนั้น ก็หาใช่เป็นความทุกข์ของเราไม่
เราทุกข์อยู่แต่ว่า พระลูกเจ้าจะเข้าพระทัยผิด
[๓๑๐] เทพเจ้าทั้งหลายเห็นจะไม่มีอยู่แน่
ท้าวโลกบาลทั้งหลายชะรอยจะไม่มีในโลกนี้แน่นอน
คนที่จะห้ามปรามยักษ์ผู้ไม่สำรวมทำการหยาบช้าคงไม่มีแน่นอน
(ท้าวสักกะทรงใคร่ครวญทราบเหตุนั้นแล้ว ฉวยเอาพระขรรค์เพชรรีบเสด็จไป
ประทับยืนบนกระท่อมของทานพยักษ์ ตรัสว่า)
[๓๑๑] นางนี้มีเกียรติยศชื่อเสียง ประเสริฐกว่าหญิงทั้งหลาย
เป็นหญิงฉลาด เรียบร้อย มีเดชรุ่งเรืองดุจกองเพลิง
เจ้ารากษส ถ้าเจ้ากินหญิงสาวผู้นั้น
ศีรษะของเจ้าจะพึงแตก ๗ เสี่ยง เจ้าอย่าทำให้นางเดือดร้อน
จงปล่อยนางไป เพราะนางเป็นหญิงมีสามี
(พระศาสดาทรงประกาศความนั้นว่า)
[๓๑๒] ก็พระนางสัมพุลารอดพ้นจากยักษ์กินคนแล้ว
ก็เสด็จกลับสู่อาศรมดุจแม่นกซึ่งมีลูกอ่อนมีอันตรายบินกลับรัง
ดุจแม่โคนมกลับมายังที่อยู่อาศัยที่ปราศจากลูกโค
[๓๑๓] พระนางสัมพุลาราชบุตรีผู้มียศ
เมื่อไม่ทรงเห็นพระสวามีผู้เป็นที่พึ่งในป่า
ก็มีดวงพระเนตรพร่าพรายเพราะความร้อน
ทรงกันแสงอยู่ ณ ที่นั้น
[๓๑๔] เมื่อไม่ทรงพบพระราชบุตร พระนางก็ทรงไหว้วอน
สมณพราหมณ์และฤๅษีผู้สมบูรณ์ด้วยจรณะว่า
ดิฉันขอถึงพระคุณเจ้าทั้งหลายเป็นที่พึ่งที่ระลึก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๙. สัมพุลาชาดก (๕๑๙)
[๓๑๕] เมื่อไม่ทรงพบพระราชบุตร ก็ทรงไหว้วอนราชสีห์
เสือโคร่ง และหมู่เนื้อเหล่าอื่นในป่าว่า
ข้าพเจ้าขอถึงท่านทั้งหลายเป็นที่พึ่งที่ระลึก
[๓๑๖] เมื่อไม่ทรงพบพระราชบุตร ก็ทรงไหว้วอนเทพเจ้า
ผู้สิงสถิตอยู่ที่กอหญ้าลดาวัลย์และหมู่ไม้โอสถตลอดจนบรรพต
และพงศ์ไพรว่า ข้าพเจ้าขอถึงท่านทั้งหลายเป็นที่พึ่งที่ระลึก
[๓๑๗] เมื่อไม่ทรงพบพระราชบุตร ก็ทรงไหว้วอน
หมู่ดาวนักษัตรในยามราตรีซึ่งมีรัศมีเสมอด้วยดอกราชพฤกษ์ว่า
ข้าพเจ้าขอถึงท่านเป็นที่พึ่งที่ระลึก
[๓๑๘] เมื่อไม่ทรงพบพระราชบุตร ก็ทรงไหว้วอนเทพเจ้า
ผู้สถิตที่แม่น้ำคงคาซึ่งมีนามว่าภาคีรถี
เป็นที่รองรับการไหลมาแห่งแม่น้ำสายอื่นจำนวนมากว่า
ข้าพเจ้าขอถึงท่านเป็นที่พึ่งที่ระลึก
[๓๑๙] เมื่อไม่ทรงพบพระราชบุตร ก็ทรงไหว้วอน
(เทพเจ้าผู้สิงสถิตอยู่ ณ) ภูเขาหิมวันต์ที่ประเสริฐกว่าขุนเขาทั้งปวง
ซึ่งเต็มด้วยศิลาว่า ข้าพเจ้าขอถึงท่านเป็นที่พึ่งที่ระลึก
(โสตถิเสนทูลถามพระนางสัมพุลาว่า)
[๓๒๐] พระราชบุตรีผู้มียศ พระนางกลับมาจนเย็นค่ำเชียวหนอ
วันนี้พระนางสมคบกับใครหนอ
ใครกันหนอเป็นที่รักของพระนางยิ่งกว่าหม่อมฉัน
(พระนางสัมพุลาตรัสว่า)
[๓๒๑] หม่อมฉันถูกทานพผู้เป็นศัตรูนั้นจับไว้
ได้กล่าวกับมันอย่างนี้ว่า
การที่รากษสจะกินเรา ถึงกระนั้นก็หาใช่ความทุกข์ของเราไม่
เราทุกข์อยู่แต่ว่า พระลูกเจ้าจะเข้าพระทัยผิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๙. สัมพุลาชาดก (๕๑๙)
(โสตถิเสนได้ฟังดังนั้นแล้วจึงตรัสว่า)
[๓๒๒] นางโจรมีเล่ห์เหลี่ยมมากมาย ยากที่จะหาความสัตย์ได้
หญิงทั้งหลายมีภาวะรู้ได้ยากเหมือนปลาที่ว่ายไปในน้ำ
(พระนางสัมพุลาทรงทำสัจกิริยาหลั่งน้ำลงที่ศีรษะของโสตถิเสนนั้นว่า)
[๓๒๓] ขอความสัตย์จงคอยพิทักษ์รักษาหม่อมฉัน
อย่างที่หม่อมฉันไม่เคยรักชายอื่นยิ่งไปกว่าทูลกระหม่อมเถิด
ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอพระโรคของทูลกระหม่อมจงระงับไป
(พระสสุรดาบสตรัสถามพระนางสัมพุลาผู้มีอินทรีย์เหี่ยวแห้งว่า)
[๓๒๔] พญาช้าง ๗๐๐ เชือกซึ่งมีทหารถืออาวุธอย่างเข้มแข็งขับขี่
และนายขมังธนูอีก ๑,๖๐๐ นายเฝ้ารักษาตลอดคืนตลอดวัน
แม่นางผู้เจริญ พระนางยังจะพบศัตรูชนิดไหนอีก
(พระนางสัมพุลากราบทูลว่า)
[๓๒๕] ขอเดชะพระบิดา พระราชบุตรทอดพระเนตรเห็น
นางสนมนารีผู้ประดับตบแต่งเรือนร่าง มีผิวพรรณงามดังกลีบปทุม
รุ่นกำดัด มีเสียงไพเราะดังนางพญาหงส์
และทรงสดับเสียงหัวเราะขับกล่อมประโคม
บัดนี้สำหรับหม่อมฉัน พระลูกเจ้าหาเป็นดังเช่นก่อนไม่
[๓๒๖] ขอเดชะพระบิดา สนมนารีเหล่านั้น
ทรงเครื่องประดับล้วนเป็นทองคำ มีเรือนร่างเฉิดโฉม
ประดับด้วยอลังการนานาชนิด เพริศพริ้งดังสาวสวรรค์
เป็นที่โปรดปรานของท้าวโสตถิเสน ล้วนมีทรวดทรงหาที่ติมิได้
เป็นขัตติยกัญญาพากันปรนเปรอท้าวเธออยู่
[๓๒๗] ขอเดชะพระบิดา ถ้าหากพระราชโอรส
ทรงยกย่องหม่อมฉันและไม่ทรงดูหมิ่นหม่อมฉัน
เหมือนคราวที่หม่อมฉัน เคยเที่ยวแสวงหาผลาผล
เลี้ยงดูพระสวามีอยู่ในป่าในกาลก่อนไซร้ สำหรับหม่อมฉัน
ป่านั้นแหละประเสริฐกว่าราชสมบัติในกรุงพาราณสีนี้เสียอีก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๑๐. คันธตินทุกชาดก (๕๒๐)
[๓๒๘] นารีผู้มีอาภรณ์เกลี้ยงเกลาประดับตกแต่งร่างกายอย่างสวยงาม
ถึงพร้อมด้วยคุณสมบัติทุกอย่าง อยู่ในเรือนที่มีข้าวและน้ำ
ที่เขาตระเตรียมไว้อย่างไพบูลย์อันใด แต่ไม่เป็นที่รักของสามี
การที่นารีนั้นฆ่าตัวตายเสียยังประเสริฐกว่าการอยู่ครองเรือนนั้น
[๓๒๙] แม้หญิงใดเป็นคนกำพร้า ขัดสน ไร้เครื่องประดับ
นอนบนเสื่อลำแพน แต่เจ้าหล่อนเป็นที่รักของสามี
หญิงนี้แลแม้จะเป็นคนกำพร้าก็ยังประเสริฐกว่า
หญิงที่ถึงพร้อมด้วยคุณสมบัติทุกอย่าง แต่ไม่เป็นที่รักของสามี
(พระสสุรดาบสตรัสสอนพระราชโอรสว่า)
[๓๓๐] หญิงผู้เกื้อกูลชายผู้เป็นสามีหาได้ยากยิ่ง
สามีผู้เกื้อกูลหญิงผู้เป็นภรรยาก็หาได้ยาก เจ้าผู้จอมชน
พระนางสัมพุลาเป็นภรรยาผู้เกื้อกูลต่อเจ้าและเป็นผู้มีศีล
เจ้าจงประพฤติต่อพระนางสัมพุลาอย่างยุติธรรมเถิด
(พระเจ้าโสตถิเสนเมื่อจะมอบอิสริยยศแก่พระนางสัมพุลา จึงตรัสว่า)
[๓๓๑] พระน้องนางผู้เจริญ ถ้าเมื่อพระน้องนาง
ได้โภคะอันไพบูลย์แล้วละความริษยาได้จนวันตาย
พี่และราชกัญญาเหล่านี้ทั้งหมดจะทำตามคำของพระน้องนาง
สัมพุลาชาดกที่ ๙ จบ

๑๐. คันธตินทุกชาดก (๕๒๐)
ว่าด้วยเทวดาชื่อคันธตินทุกะ
(พระโพธิสัตว์ครั้งเกิดเป็นรุกขเทวดาชื่อคันธตินทุกะ แสดงธรรมถวายพระราชาว่า)
[๓๓๒] ความไม่ประมาทเป็นทางไม่ตาย
ความประมาทเป็นทางแห่งความตาย
คนผู้ไม่ประมาทชื่อว่าย่อมไม่ตาย
คนประมาทเหมือนคนตายแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๑๐. คันธตินทุกชาดก (๕๒๐)
[๓๓๓] ความประมาทเกิดจากความมัวเมา
ความเสื่อมเกิดจากความประมาท
และเพราะความเสื่อมจึงเกิดการประทุษร้าย
ท่านพระรตูสภะ ขอพระองค์อย่าได้ประมาทเลย
[๓๓๔] แท้จริง กษัตริย์ทั้งหลายผู้ประมาทจำนวนมาก
ย่อมเสื่อมทั้งประโยชน์ทั้งแคว้น
แม้นายบ้านและลูกบ้านก็เสื่อม แม้บรรพชิตและคฤหัสถ์ก็เสื่อม
[๓๓๕] ขอเดชะพระองค์ผู้ทรงผดุงรัฐให้เจริญ
โภคะทั้งปวงในแคว้นของกษัตริย์ผู้ประมาทแล้วย่อมพินาศ
ข้อนั้นท่านกล่าวว่า เป็นความทุกข์ของพระราชา
[๓๓๖] ขอเดชะพระมหาราช นั่นหาใช่ธรรมไม่
พระองค์ทรงประมาทเกินขอบเขต
พวกโจรจึงปล้นทำลายชนบทที่มั่งคั่งสมบูรณ์
[๓๓๗] พระราชบุตรผู้จะสืบสันตติวงศ์จักไม่มี
ทรัพย์สินเงินทองจักไม่มี พระนครก็จักไม่มี
เมื่อแคว้นถูกปล้นสะดม พระองค์ก็จะเสื่อมจากโภคะทั้งปวง
[๓๓๘] พระญาติ มิตร และพระสหายย่อมไม่นับถือพระองค์ผู้เป็น
กษัตริย์ซึ่งเสื่อมจากโภคะทั้งปวงในทางพระปรีชาสามารถ
[๓๓๙] พลช้าง พลม้า พลรถ และพลเดินเท้าซึ่งอาศัยพระองค์เลี้ยงชีพ
ย่อมไม่นับถือพระองค์ว่า เป็นพระราชาผู้ควรนับถือ
[๓๔๐] สิริย่อมละคนโง่ผู้ไม่จัดแจงการงาน
มีความคิดเลวทราม มีปัญญาทรามไปเหมือนงูลอกคราบเก่าทิ้ง
[๓๔๑] กษัตริย์ผู้ทรงจัดแจงการงานดี ทรงขยันตลอดกาล
ไม่เกียจคร้าน โภคะทั้งปวงย่อมเจริญโดยยิ่ง
เหมือนฝูงโคที่มีโคอุสภะเป็นจ่าฝูง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๑๐. คันธตินทุกชาดก (๕๒๐)
[๓๔๒] ขอเดชะพระมหาราช ขอพระองค์ทรงเสด็จไป
สดับตรับฟังเหตุการณ์ทั้งในแคว้นและชนบท
ครั้นได้ทอดพระเนตรและสดับแล้ว พึงปฏิบัติไปตามนั้น
(ชายแก่ชาวบ้านถูกหนามตำเท้าที่ประตูเรือน จึงนั่งกระโหย่งบ่งหนาม พลาง
ด่าพระราชาว่า)
[๓๔๓] ขอให้พระเจ้าปัญจาละจงถูกลูกศรเสียบแทงในสงคราม
เสวยทุกขเวทนาเหมือนตัวข้าถูกหนามตำเสวยทุกขเวทนาในวันนี้
(พอราชปุโรหิตได้ยินคำด่าของชายแก่ จึงถามว่า)
[๓๔๔] ลุงแก่แล้ว หูตามืดมัว มองเห็นไม่ชัด หนามจึงตำ
ในข้อนี้ พระเจ้าพรหมทัตมีความผิดอะไรด้วยเล่า
(ชายแก่ได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวว่า)
[๓๔๕] ท่านพราหมณ์ ในข้อที่ข้าพเจ้าถูกหนามตำ
พระเจ้าพรหมทัตมีความผิดอย่างมาก
เพราะพระองค์มิได้พิทักษ์คุ้มครอง
ชาวชนบทจึงถูกกดขี่ด้วยพลีกรรมอันไม่เป็นธรรม
[๓๔๖] กลางคืนพวกโจรก็ปล้นสะดม กลางวันพวกเจ้าหน้าที่ก็กดขี่
ในแคว้นของพระราชาโกง
คนผู้ประกอบการงานอันไม่ชอบธรรมจึงมีอยู่มาก
[๓๔๗] เมื่อภัยเช่นนี้เกิดขึ้น พราหมณ์
พวกมาณพที่กลัวภัยจึงนำหนามในป่ามาแล้วสร้างที่หลบเร้น
(หญิงชราผู้เก็บผักหักฟืนจากป่ามาเลี้ยงลูกสาวขึ้นพุ่มไม้ กำลังเก็บผักอยู่
พลัดตกลงมา เมื่อจะด่าพระราชาโดยแช่งให้ตาย จึงกล่าวว่า)
[๓๔๘] ในแคว้นของพระเจ้าพรหมทัต
หญิงสาวหาผัวไม่ได้ แก่ลงไป
เมื่อไรหนอ พระเจ้าพรหมทัตจักสวรรคตเสียที

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๑๐. คันธตินทุกชาดก (๕๒๐)
(เมื่อราชปุโรหิตจะคัดค้านนาง จึงกล่าวว่า)
[๓๔๙] แม่หญิงชั่วช้า ไม่เข้าใจเหตุผล เธอนะพูดไม่ดีเลย
พระราชาเคยหาผัวให้พวกหญิงสาวที่ไหนกัน
(หญิงชราได้ยินดังนั้น จึงกล่าวว่า)
[๓๕๐] ท่านพราหมณ์ ไม่ใช่ว่าข้าพเจ้าพูดไม่ดี ข้าพเจ้าเข้าใจเหตุผล
เพราะพระเจ้าพรหมทัตมิได้พิทักษ์คุ้มครอง
ชาวชนบทจึงถูกกดขี่ด้วยพลีกรรมอันไม่เป็นธรรม
[๓๕๑] กลางคืนพวกโจรก็ปล้นสะดม กลางวันพวกเจ้าหน้าที่ก็กดขี่
ในแคว้นของพระราชาโกง
คนผู้ประกอบการงานอันไม่ชอบธรรมจึงมีอยู่มาก
เมื่อความเป็นอยู่ลำบาก ภรรยาก็เลี้ยงได้ยาก
ที่ไหนหญิงสาวจะมีสามีได้เล่า
(เมื่อชาวนากำลังไถนา โคชื่อสาลิยะถูกผาลบาดล้มลง เขาเมื่อจะด่าพระ
ราชาจึงกล่าวว่า)
[๓๕๒] ขอให้พระเจ้าปัญจาละถูกหอกแทงล้มนอนกลิ้งในสงคราม
เหมือนโคพลิพัทท์สาลิยะผู้น่าสงสารถูกผาลบาดล้มนอนกลิ้งอยู่
(เมื่อราชปุโรหิตจะคัดค้านชาวนานั้น จึงกล่าวว่า)
[๓๕๓] เจ้าคนชาติชั่ว เจ้านะโกรธพระเจ้าพรหมทัตอย่างไม่ถูกต้อง
เจ้าทำร้ายโคของตนเอง กลับมาสาปแช่งพระราชา
(ชาวนาได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวว่า)
[๓๕๔] ท่านพราหมณ์ ข้าพเจ้าโกรธพระเจ้าพรหมทัตโดยธรรม
เพราะพระเจ้าพรหมทัตมิได้พิทักษ์คุ้มครอง
ชาวชนบทจึงถูกกดขี่ด้วยพลีกรรมอันไม่เป็นธรรม
[๓๕๕] กลางคืนพวกโจรก็ปล้นสะดม กลางวันพวกเจ้าหน้าที่ก็กดขี่
ในแคว้นของพระราชาโกง
คนผู้ประกอบการงานอันไม่ชอบธรรมจึงมีอยู่มาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๑๐. คันธตินทุกชาดก (๕๒๐)
[๓๕๖] แม่ครัวคงหุงใหม่แน่นอน จึงนำอาหารมาสาย
ข้าพเจ้ามัวแลดูคนนำอาหารมา โคสาลิยะจึงถูกผาลบาด
(คนรีดนมโคถูกแม่โคดีดล้มกลิ้งไปพร้อมกับนมสด เมื่อจะด่าพระราชา จึง
กล่าวว่า)
[๓๕๗] ขอพระเจ้าปัญจาละจงถูกฟันด้วยดาบเดือดร้อนอยู่ในสงคราม
เหมือนเราถูกแม่โคนมดีดจนน้ำนมของเรากลิ้งหกในวันนี้
(ราชปุโรหิตกล่าวว่า)
[๓๕๘] สัตว์เลี้ยงหลั่งน้ำนมทิ้งเอง เบียดเบียนคนเลี้ยงสัตว์เอง
ในข้อนี้ พระเจ้าพรหมทัตมีความผิดอะไรด้วยเล่า
ท่านผู้เจริญไม่น่าจะติเตียนพระองค์ท่านเลย
(เมื่อราชปุโรหิตกล่าวจบลง คนรีดนมได้กล่าวว่า)
[๓๕๙] ท่านพราหมณ์ พระเจ้าปัญจาละควรจะถูกติเตียน
เพราะพระเจ้าพรหมทัตไม่พิทักษ์คุ้มครอง
ชาวชนบทจึงถูกกดขี่ด้วยพลีกรรมอันไม่เป็นธรรม
[๓๖๐] กลางคืนพวกโจรก็ปล้นสะดม กลางวันพวกเจ้าหน้าที่ก็กดขี่
ในแคว้นของพระราชาโกง
คนผู้ประกอบการงานอันไม่ชอบธรรมจึงมีอยู่มาก
[๓๖๑] แม่โคตัวดุร้าย ปราดเปรียว เมื่อก่อนพวกเรามิได้รีดนมมัน
บัดนี้ พวกเราถูกเจ้าหน้าที่ต้องการน้ำนมรบกวน
จึงต้องรีดนมมันในวันนี้
(พวกเด็กชาวบ้านเห็นแม่โคนมที่ลูกถูกฆ่าไม่ยอมกินหญ้ากินน้ำ เพียรร่ำร้อง
หาลูกอยู่ เมื่อจะพากันด่าพระราชา จึงกล่าวว่า)
[๓๖๒] ขอพระเจ้าปัญจาละจงพลัดพรากจากพระราชบุตร
คร่ำครวญหม่นหมองเหมือนแม่โคผู้น่าสงสารตัวนี้
พลัดพรากจากลูกวิ่งพล่านคร่ำครวญอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๑๐. คันธตินทุกชาดก (๕๒๐)
(ลำดับนั้น ปุโรหิตกล่าวว่า)
[๓๖๓] สัตว์เลี้ยงของคนเลี้ยงสัตว์พึงวิ่งไปมาหรือร้องคร่ำครวญ
ในข้อนี้ พระเจ้าพรหมทัตมีความผิดอะไรด้วยเล่า
(ลำดับนั้น พวกเด็กชาวบ้านกล่าวว่า)
[๓๖๔] ท่านพราหมณ์ พระเจ้าพรหมทัตมีความผิด
เพราะพระเจ้าพรหมทัตมิได้พิทักษ์คุ้มครอง
ชาวชนบทจึงถูกกดขี่ด้วยพลีกรรมอันไม่เป็นธรรม
[๓๖๕] กลางคืนพวกโจรก็ปล้นสะดม กลางวันพวกเจ้าหน้าที่ก็กดขี่
ในแคว้นของพระราชาโกง
คนผู้ประกอบการงานอันไม่ชอบธรรมจึงมีอยู่มาก
ลูกโคที่ยังดื่มนมจึงถูกฆ่าเพราะต้องการหนังทำฝักดาบ
(พระโพธิสัตว์บันดาลให้กบแช่งด่าพระราชาว่า)
[๓๖๖] ขอพระเจ้าปัญจาละพร้อมทั้งพระโอรสจงถูกฆ่ากิน
ในสนามรบเหมือนเราซึ่งเกิดในป่าถูกกาบ้านฆ่ากินในวันนี้
(ราชปุโรหิตได้ฟังดังนั้น จึงสนทนากับกบว่า)
[๓๖๗] เจ้ากบ พระราชาทั้งหลายในมนุษยโลก
จะจัดการพิทักษ์รักษาเหล่าสัตว์ทั้งปวงหาได้ไม่
พระราชาจะจัดว่าเป็นอธรรมจารีบุคคล
เพราะเหตุเพียงกากินสัตว์เช่นท่านหามิได้
(กบได้ฟังดังนั้น จึงได้กล่าวว่า)
[๓๖๘] ท่านเป็นพรหมจารีบุคคลผู้ไม่มีธรรม
จึงกล่าวยกย่องกษัตริย์
เมื่อประชากรจำนวนมากถูกปล้นอยู่
ท่านก็ยังบูชาพระราชาผู้เลอะเลือนอยู่ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก
[๓๖๙] ท่านพราหมณ์ ถ้าแคว้นนี้พึงมีพระราชาที่ดีไซร้
ก็จะมั่งคั่ง เบ่งบาน ผ่องใส
ฝูงกาก็จะได้กินก้อนข้าวที่ดีซึ่งเป็นพลีกรรม
ไม่พึงกินสัตว์เช่นเราเลย
คันธตินทุกชาดกที่ ๑๐ จบ

รวมชาดกที่มีในนิบาตนี้ คือ

๑. กิงฉันทชาดก ๒. กุมภชาดก
๓. ชยัททิสชาดก ๔. ฉัททันตชาดก
๕. สัมภวชาดก ๖. มหากปิชาดก
๗. ทกรักขสชาดก ๘. ปัณฑรกนาคราชชาดก
๙. สัมพุลาชาดก ๑๐. คันธตินทุกชาดก

ติงสตินิบาต จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๙๔ }


๑๗. จัตตาลีสนิบาต
๑. เตสกุณชาดก (๕๒๑)
ว่าด้วยนก ๓ ตัว
(พระราชาตรัสถามธรรมกับนกเวสสันดรในท่ามกลางมหาชนว่า)
[๑] ลูกนก ขอความเจริญจงมีแก่ลูก พ่อขอถามลูกเวสสันดรว่า
กิจอะไรบุคคลผู้ประสงค์จะครอบครองราชสมบัติ
กระทำแล้วเป็นกิจอันประเสริฐ
(นกเวสสันดรยังไม่ทูลตอบปัญหา แต่ทูลเตือนพระราชาเพราะความประมาท
ก่อนแล้วจึงกราบทูลว่า)
[๒] นานนักหนอ พระเจ้ากังสะพระราชบิดาของเรา
ผู้ทรงครอบครองกรุงพาราณสี ผู้มีความประมาท
ได้ตรัสถามเราผู้เป็นบุตรซึ่งหาความประมาทมิได้
(นกเวสสันดรเมื่อทูลเตือนอย่างนี้แล้ว จึงกราบทูลว่า)
[๓] ขอเดชะบรมกษัตริย์ อันดับแรกทีเดียว
พระราชาพึงทรงห้ามการตรัสคำไม่จริง ความโกรธ
ความหรรษาร่าเริง ต่อแต่นั้นพึงตรัสสั่งให้ทำราชกิจ
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า นั้นเป็นพระราชประเพณี
[๔] ขอเดชะเสด็จพ่อ เมื่อก่อนกรรมใดเป็นกรรมกระทำให้
เดือดร้อนโดยไม่ต้องสงสัย พระองค์ทรงทำไว้แล้ว ๑
กรรมใดพระองค์ทรงมีความกำหนัดและความขัดเคืองทรงทำ ๑
กรรมนั้นพระองค์ไม่พึงทำต่อไปอีก
[๕] ขอเดชะพระองค์ผู้ผดุงรัฐให้เจริญ
โภคะทั้งปวงในแคว้นของกษัตริย์ผู้ประมาทแล้วย่อมพินาศ
ข้อนั้นท่านกล่าวว่า เป็นความทุกข์ของพระราชา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๗. จัตตาลีสนิบาต] ๑. เตสกุณชาดก (๕๒๑)
[๖] ขอเดชะเสด็จพ่อ เทพธิดาชื่อสิริและอลักขีถูกสุจิวารเศรษฐีถาม
ได้ตอบว่า ดิฉันชื่นชมยินดีคนที่ขยันหมั่นเพียรและไม่ริษยา
[๗] ขอเดชะมหาราช ส่วนอลักขีเทพธิดาเป็นคนกาฬกัณณี
หักกุศลจักร ย่อมชื่นชมยินดีคนริษยา คนใจร้าย
มักทำลายกุศลกรรม
[๘] ขอเดชะมหาราช พระองค์นั้น โปรดทรงมีพระหทัยดี
ในชนทั้งปวง จงทรงพิทักษ์รักษาชนทั้งปวง
โปรดทรงขับนางเทพธิดาที่อับโชคออกไป
ขอพระราชนิเวศน์จงเป็นที่อยู่ของนางเทพธิดาที่อำนวยโชคเท่านั้นเถิด
[๙] ขอเดชะพระองค์ผู้เป็นเจ้าแห่งชนชาวกาสี
เพราะว่าบุรุษผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาและความเพียรนั้น
มีอัธยาศัยกว้างขวาง ย่อมตัดรากเง่าและยอดของศัตรูได้ขาด
[๑๐] แท้จริง แม้ท้าวสักกะผู้เป็นเจ้าแห่งภูต
ก็มิได้ทรงประมาทในความขยันหมั่นเพียร
ท้าวเธอทรงกระทำความเพียรในกัลยาณธรรม
ทรงสนพระทัยในความขยันหมั่นเพียร
[๑๑] คนธรรพ์ พรหม เทวดาทั้งหลายที่มีชีวิตเกี่ยวเนื่องกับ
พระราชาเหล่านั้น เมื่อพระองค์ทรงขยันหมั่นเพียร
ไม่ประมาท ก็ย่อมจะคล้อยตาม
[๑๒] ขอเดชะเสด็จพ่อ ขอเสด็จพ่ออย่าทรงประมาท
อย่าทรงกริ้ว แล้วตรัสสั่งให้ทำราชกิจ
อนึ่ง โปรดทรงพยายามในราชกิจ
เพราะคนไม่เกียจคร้านย่อมประสบความสุข
[๑๓] ข้อความเหล่านั้นที่ข้าพระองค์กล่าวแก้ในปัญหาของเสด็จพ่อ
นั้นแลเป็นวัตตบท ข้อนี้แลเป็นอนุสาสนีสำหรับเสด็จพ่อ
ที่สามารถช่วยมิตรให้ถึงความสุขและให้ทุกข์เกิดแก่ศัตรูได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๗. จัตตาลีสนิบาต] ๑. เตสกุณชาดก (๕๒๑)
(พระราชาตรัสถามราชธรรมกับนางนกกุณฑลินีว่า)
[๑๔] แม่กุณฑลินี สกุณีผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของผู้มีบรรดาศักดิ์
เจ้าคงจะเข้าใจปัญหา กิจอะไรบุคคลผู้ประสงค์จะครอบครอง
ราชสมบัติกระทำแล้วเป็นกิจอันประเสริฐ
(นางนกกุณฑลินีกราบทูลว่า)
[๑๕] ขอเดชะเสด็จพ่อ มีเหตุอยู่ ๒ ประการเท่านั้น
ที่ประโยชน์สุขทั้งปวงดำรงมั่นอยู่ได้ คือ
การได้ลาภที่ยังไม่ได้ ๑ การตามรักษาลาภที่ได้แล้ว ๑
[๑๖] ขอเดชะเสด็จพ่อ พระองค์โปรดทรงรู้จักหมู่อำมาตย์
ผู้เป็นนักปราชญ์ ฉลาดในประโยชน์
ไม่ใช่นักเลงการพนัน ไม่ใช่คนปลิ้นปล้อน
ไม่ใช่นักเลงล้างผลาญเถิด พระเจ้าข้า
[๑๗] ขอเดชะเสด็จพ่อ อำมาตย์คนใดพึงรักษาทรัพย์
ที่พระองค์พึงมีไว้ได้เหมือนนายสารถียึดรถ
อำมาตย์ผู้นั้นพระองค์โปรดทรงให้ทำราชกิจเถิด
[๑๘] พระราชาพึงสงเคราะห์ชนฝ่ายในให้ดี
ตรวจตราราชทรัพย์ด้วยพระองค์เอง
ไม่พึงฝังขุมทรัพย์ และให้กู้หนี้โดยทรงไว้วางพระทัยผู้อื่น
[๑๙] พระราชาควรทราบความเจริญและความเสื่อมด้วยพระองค์เอง
ควรทรงทราบสิ่งที่ทรงกระทำแล้วและยังมิได้ทรงกระทำ
ด้วยพระองค์เอง พึงข่มคนที่ควรข่ม ยกย่องคนที่ควรยกย่อง
[๒๐] ขอเดชะพระองค์ผู้เป็นจอมทัพรถ
ขอพระองค์ทรงโปรดพร่ำสอนสิ่งที่เป็นประโยชน์
แก่ชาวชนบทด้วยพระองค์เอง
ข้าราชการผู้ไม่มีธรรมที่ทรงใช้สอยอย่าได้ทำพระราชทรัพย์
และรัฐสีมาของพระองค์ให้พินาศเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๗. จัตตาลีสนิบาต] ๑. เตสกุณชาดก (๕๒๑)
[๒๑] อนึ่ง พระองค์อย่าทรงกระทำ
หรือตรัสใช้ให้ผู้อื่นกระทำราชกิจด้วยความเร่งด่วน
เพราะการงานที่ทำด้วยความเร่งด่วนไม่ดีเลย
คนโง่ย่อมเดือดร้อนในภายหลังเพราะการกระทำเช่นนั้น
[๒๒] ขอพระทัยของพระองค์อย่าทรงล่วงเลยกุศล
ขอพระองค์อย่าทรงปล่อยพระทัยให้ขุ่นเคืองเกรี้ยวกราดนัก
เพราะว่าสกุลทั้งหลายที่มั่งคั่งมากมาย
ถึงความไม่เป็นสกุลเพราะความโกรธ
[๒๓] ขอเดชะเสด็จพ่อ ขอพระองค์อย่าทรงให้ประชาชน
หยั่งลงเพื่อความหายนะ เพราะเข้าพระทัยว่า เราเป็นใหญ่
ขอพวกสตรีและบุรุษของพระองค์อย่าได้มีความทุกข์เลย
[๒๔] พระราชาผู้ปราศจากอาการขนพองสยองเกล้า
มีพระทัยใฝ่หาแต่กาม โภคะทั้งปวงจักพินาศไป
ข้อนั้นท่านกล่าวว่า เป็นความทุกข์ของพระราชา
[๒๕] ข้อความเหล่านั้นที่หม่อมฉันกล่าวแก้ในปัญหาของเสด็จพ่อ
นั้นเป็นวัตตบท ข้อนี้แลเป็นอนุสาสนีสำหรับเสด็จพ่อ
ขอเดชะพระมหาราช บัดนี้
เสด็จพ่อพึงทรงขยันหมั่นบำเพ็ญบุญ
อย่าทรงเป็นนักเลง อย่าทรงล้างผลาญพระราชทรัพย์
ควรทรงเป็นผู้มีศีล เพราะคนทุศีลต้องตกนรก
(พระราชาตรัสถามปัญหากับนกชัมพุกบัณฑิตว่า)
[๒๖] พ่อชัมพุกะ พ่อได้ถามโกสิยโคตรแล้ว
และแม่กุณฑลินีพ่อก็ได้ถามแล้วเช่นกัน
คราวนี้ พ่อจงบอกกำลังอันสูงสุดกว่ากำลังทั้งหลายบ้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๗. จัตตาลีสนิบาต] ๑. เตสกุณชาดก (๕๒๑)
(นกชัมพุกบัณฑิตแสดงธรรมแก่พระราชาว่า)
[๒๗] ในโลกมีกำลังอยู่ ๕ ประการ๑มีอยู่ในบุรุษ
ผู้มีอัธยาศัยกว้างขวาง บรรดากำลังทั้ง ๕ ประการนั้น
ขึ้นชื่อว่ากำลังแขนท่านกล่าวว่า เป็นกำลังสุดท้าย
[๒๘] ขอเดชะพระองค์ผู้ทรงพระชนมายุยืนนาน
ส่วนกำลังแห่งโภคะท่านกล่าวว่า เป็นกำลังที่ ๒
และกำลังแห่งอำมาตย์ท่านกล่าวว่า เป็นกำลังที่ ๓
[๒๙] อนึ่ง กำลังแห่งชาติสกุลอันยิ่งนั้น
เป็นกำลังที่ ๔ อย่างไม่ต้องสงสัย
กำลังทั้งหมด ๔ ประการเหล่านั้นบัณฑิตย่อมยึดถือไว้ได้
[๓๐] กำลังปัญญานั้นเป็นกำลังประเสริฐสุด
เป็นยอดกำลังกว่ากำลังทั้งหลาย
บัณฑิตผู้มีกำลังปัญญาสนับสนุนย่อมประสบประโยชน์
[๓๑] แม้ถึงคนมีปัญญาทรามจะได้แผ่นดินที่อุดมสมบูรณ์ก็จริง
คนอื่นผู้มีปัญญาย่อมกดขี่เขาซึ่งไม่ประสงค์จะให้
ยึดครองแผ่นดินนั้นเสีย
[๓๒] ขอเดชะพระองค์ผู้เป็นเจ้าแห่งชนชาวกาสี
ถึงกษัตริย์แม้อุบัติในสกุลอันสูงยิ่ง
ได้ราชสมบัติแล้ว แต่มีปัญญาทราม
จะดำรงพระชนม์ชีพอยู่ด้วยโภคะแม้ทั้งปวงหาได้ไม่
[๓๓] ปัญญาเท่านั้นเป็นเครื่องวินิจฉัยเรื่องที่ได้ฟัง
ปัญญาเป็นเหตุให้เกียรติยศชื่อเสียงเจริญ
นรชนในโลกนี้ประกอบด้วยปัญญาแล้ว
แม้เมื่อเกิดทุกข์ก็ประสบสุขได้

เชิงอรรถ :
๑ กำลัง ๕ คือ (๑) กำลังกาย (๒) กำลังโภคทรัพย์ (๓) กำลังอำมาตย์ (๔) กำลังชาติตระกูล (กษัตริย์)
(๕) กำลังปัญญา (ขุ.ชา.อ. ๗/๒๗/๒๗๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๗. จัตตาลีสนิบาต] ๑. เตสกุณชาดก (๕๒๑)
[๓๔] ส่วนคนบางคนไม่ตั้งใจฟังด้วยดี
ไม่อาศัยท่านผู้เป็นพหูสูต ซึ่งตั้งอยู่ในธรรม
ไม่ไตร่ตรองเหตุผล ย่อมไม่ได้ลุถึงปัญญา
[๓๕] อนึ่ง ผู้ใดรู้จักจำแนกธรรม ลุกขึ้นในกาลที่เหมาะสม
ไม่เกียจคร้าน บากบั่นตามกาลเวลา ผลงานของผู้นั้นย่อมสำเร็จ
[๓๖] ประโยชน์ของบุคคลผู้มิใช่เป็นบ่อเกิดแห่งศีล
ผู้คบหาบุคคลผู้มิใช่บ่อเกิดแห่งศีล
ผู้มีปกติเบื่อหน่ายการทำงาน ย่อมไม่เผล็ดผลโดยชอบ
[๓๗] ส่วนประโยชน์ของบุคคลผู้ประกอบธรรมอันเป็นภายใน
ผู้คบหาบุคคลผู้เป็นบ่อเกิดแห่งศีลเช่นนั้น
มีปกติไม่เบื่อหน่ายการทำงาน ย่อมเผล็ดผลโดยชอบ
[๓๘] ขอเดชะเสด็จพ่อ ขอเสด็จพ่อจงทรงใฝ่หาปัญญา
คือการตามประกอบความเพียรในเหตุที่ควรประกอบ
และใฝ่หาการอนุรักษ์ทรัพย์ที่ทรงรวบรวมไว้ทั้ง ๒ อย่างนั้นเถิด
อย่าทรงทำลายทรัพย์ด้วยเหตุอันไม่สมควรเลย
เพราะคนมีปัญญาทรามย่อมล่มจม
เหมือนเรือนไม้อ้อ เพราะการกระทำอันไม่สมควร
(พระโพธิสัตว์พรรณนากำลัง ๕ ประการนี้แล้ว ยกกำลังคือปัญญาขึ้นกราบ
ทูลแด่พระราชาอีกว่า)
[๓๙] ขอเดชะพระมหาราชผู้เป็นกษัตริย์ ขอพระองค์โปรด
ทรงประพฤติธรรมในพระราชมารดาและพระราชบิดาเถิด
ครั้นทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์
[๔๐] ขอเดชะพระมหาราชผู้เป็นกษัตริย์ ขอพระองค์โปรด
ทรงประพฤติธรรมในพระโอรสและพระชายาเถิด
ครั้นทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๗. จัตตาลีสนิบาต] ๑. เตสกุณชาดก (๕๒๑)
[๔๑] ขอเดชะพระมหาราชผู้เป็นกษัตริย์ ขอพระองค์โปรด
ทรงประพฤติธรรมในหมู่มิตรและอำมาตย์เถิด
ครั้นทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์
[๔๒] ขอเดชะพระมหาราชผู้เป็นกษัตริย์ ขอพระองค์โปรด
ทรงประพฤติธรรมในราชพาหนะและพลนิกายเถิด
ครั้นทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์
[๔๓] ขอเดชะพระมหาราชผู้เป็นกษัตริย์ ขอพระองค์โปรด
ทรงประพฤติธรรมในชาวบ้านและชาวนิคมเถิด
ครั้นทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์
[๔๔] ขอเดชะพระมหาราชผู้เป็นกษัตริย์ ขอพระองค์โปรด
ทรงประพฤติธรรมในชาวแคว้นและชาวชนบทเถิด
ครั้นทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์
[๔๕] ขอเดชะพระมหาราชผู้เป็นกษัตริย์ ขอพระองค์โปรด
ทรงประพฤติธรรมในสมณะและพราหมณ์ทั้งหลายเถิด
ครั้นทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์
[๔๖] ขอเดชะพระมหาราชผู้เป็นกษัตริย์ ขอพระองค์โปรด
ทรงประพฤติธรรมในหมู่เนื้อและสัตว์ปีกทั้งหลายเถิด
ครั้นทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์
[๔๗] ขอเดชะพระมหาราชผู้เป็นกษัตริย์
ขอพระองค์โปรดทรงประพฤติธรรม
เพราะธรรมที่บุคคลประพฤติแล้วนำความสุขมาให้
ครั้นทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์
[๔๘] ขอเดชะพระมหาราช ขอพระองค์โปรดทรงประพฤติธรรมเถิด
เพราะเทวดาพร้อมทั้งพระอินทร์และพระพรหม
ถึงทิพยสถานได้ด้วยธรรมที่ตนประพฤติดีแล้ว
ขอเดชะ ขอพระองค์อย่าทรงประมาทธรรมเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๗. จัตตาลีสนิบาต] ๒. สรภังคชาดก (๕๒๒)
(พระโพธิสัตว์กล่าวคาถาแสดงจริยธรรม ๑๐ ประการนี้แล้วจึงโอวาทให้ยิ่งขึ้น
ไปว่า)
[๔๙] ข้อความเหล่านั้นที่ข้าพระองค์กล่าวแก้ในปัญหาของเสด็จพ่อ
นั้นแลเป็นวัตตบท ข้อนี้เป็นอนุสาสนีสำหรับเสด็จพ่อ
ขอเสด็จพ่อโปรดทรงคบหาคนมีปัญญา จงทรงเป็นผู้มีกัลยาณธรรม
ทรงทราบความข้อนั้นด้วยพระองค์เองแล้ว
โปรดทรงปฏิบัติให้ครบถ้วนเถิด
เตสกุณชาดกที่ ๑ จบ

๒. สรภังคชาดก (๕๒๒)
ว่าด้วยสรภังคดาบสแก้ปัญหา
(อนุสิสสดาบสถือหม้อจะไปตักน้ำได้พบพระราชา ๓ พระองค์ จึงทูลถามว่า)
[๕๐] ท่านทั้งหลายเป็นใครกันหนอ ประดับเครื่องอลังการ
สวมใส่ต่างหู นุ่งห่มเรียบร้อย เหน็บพระขรรค์มีด้ามประดับ
ด้วยแก้วไพฑูรย์และแก้วมุกดา ยืนอยู่บนรถอย่างองอาจ
ในมนุษยโลกเขารู้จักพวกท่านว่าอย่างไร
(ในพระราชาทั้ง ๓ องค์ พระเจ้าอัฏฐกะตรัสกับท่านอนุสิสสดาบสว่า)
[๕๑] ข้าพเจ้าชื่ออัฏฐกะ ท่านผู้นี้คือพระเจ้าภีมรถ
ส่วนท่านผู้นี้คือพระเจ้ากาลิงคะผู้มีพระเกียรติยศระบือไปทั่ว
พวกข้าพเจ้ามา ณ ที่นี่เพื่อจะเยี่ยมฤๅษีทั้งหลาย
ผู้มีความสำรวมเป็นอันดี และเพื่อที่จะถามปัญหา
(อนุสิสสดาบสปฏิสันถารกับพระราชาแล้วกราบทูลท้าวสักกเทวราชผู้เสด็จมา
เยี่ยมว่า)
[๕๒] ท่านยืนอยู่กลางหาวราวกะพระจันทร์เพ็ญ
ลอยเด่นอยู่ท่ามกลางเวหาในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ
ท่านผู้มีคุณน่าบูชา ข้าพเจ้าขอถามท่านผู้มีอานุภาพมากว่า
ในมนุษยโลกเขารู้จักท่านว่าอย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๗. จัตตาลีสนิบาต] ๒. สรภังคชาดก (๕๒๒)
(ท้าวสักกเทวราชสดับดังนั้นแล้วจึงตรัสว่า)
[๕๓] ท่านผู้ใดในเทวโลกเขาเรียกกันว่า สุชัมบดี
ท่านผู้นั้นในมนุษยโลกเขาเรียกกันว่า มัฆวาน
ข้าพเจ้านั้นเป็นเทพราชามาถึงที่นี้ในวันนี้
เพื่อจะเยี่ยมฤๅษีทั้งหลายผู้มีความสำรวมเป็นอันดี
(ท้าวสักกเทวราชเสด็จลงแล้วเข้าไปหาหมู่ฤๅษี ยืนประคองอัญชลีไหว้อยู่ ตรัสว่า)
[๕๔] ฤๅษีของพวกเรามีฤทธิ์มาก ประกอบด้วยคุณคือฤทธิ์
ปรากฏในที่ไกล ข้าพเจ้ามีจิตเลื่อมใส
ขอนมัสการพระคุณเจ้าผู้ประเสริฐกว่ามนุษย์ทั้งหลายในมนุษยโลกนี้
(ต่อมาอนุสิสสดาบสเห็นท้าวสักกเทวราชประทับนั่งใต้ลมของหมู่ฤๅษี จึง
กราบทูลว่า)
[๕๕] กลิ่นของฤๅษีผู้ที่บวชมานานย่อมออกจากกายฟุ้งไปตามลม
ขอถวายพระพร ท้าวสหัสสนัยน์เทวราช
ขอมหาบพิตรเสด็จถอยไปจากที่นี่
เพราะกลิ่นของฤๅษีทั้งหลายไม่สะอาด
(ท้าวสักกเทวราชตรัสว่า)
[๕๖] กลิ่นของฤๅษีผู้ที่บวชมานาน
ขอจงออกจากกายฟุ้งไปตามลมเถิด
พระคุณเจ้าผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายจำนงหวังกลิ่นนั้น
ดุจพวงบุปผชาติอันวิจิตรมีกลิ่นหอม
เพราะเทวดาทั้งหลายมิได้มีความสำคัญกลิ่นนี้ว่าปฏิกูล
(อนุสิสสดาบสลุกจากอาสนะ ขอโอกาสกับหมู่ฤๅษี กล่าวว่า)
[๕๗] ท้าวมัฆวาน สุชัมบดีเทวราช องค์ปุรินททะจอมเทพ
ผู้เป็นใหญ่กว่าภูตพระองค์นั้น ทรงพระยศ ย่ำยีหมู่อสูร
ทรงรอคอยโอกาสเพื่อจะตรัสถามปัญหา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖๐๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๗. จัตตาลีสนิบาต] ๒. สรภังคชาดก (๕๒๒)
[๕๘] บรรดาฤๅษีเหล่านี้ผู้เป็นบัณฑิต ณ ที่นี่
ใครเล่าหนอถูกถามแล้วจักพยากรณ์ปัญหาอันละเอียดสุขุม
ของพระราชาผู้เป็นใหญ่กว่ามนุษย์ทั้ง ๓ พระองค์
และของท้าววาสวะจอมเทพได้
(หมู่ฤๅษีได้ฟังดังนั้นแล้วจึงกล่าวแนะนำว่า)
[๕๙] ฤๅษีตนนี้ชื่อสรภังคะ มีตบะ เว้นจากเมถุนธรรมตั้งแต่เกิด
เป็นบุตรของปุโรหิตาจารย์ ได้รับการฝึกฝนมาเป็นอันดี
ท่านจักพยากรณ์ปัญหาทั้งหลายของพระราชาเหล่านั้นได้
(อนุสิสสดาบสยอมรับไหว้สรภังคดาบสแล้วเมื่อจะโอวาท จึงกล่าวว่า)
[๖๐] ท่านโกณฑัญญะ นิมนต์ท่านพยากรณ์ปัญหาทั้งหลายเถิด
ฤๅษีทั้งหลายผู้เป็นคนดีขอร้องท่าน
ท่านโกณฑัญญะ ภาระนี้ย่อมมาถึงท่านผู้เจริญด้วยปัญญา
นี้เป็นธรรมดาในมนุษย์ทั้งหลาย
(ต่อมาพระมหาบุรุษสรภังคดาบสเมื่อให้โอกาส จึงกล่าวว่า)
[๖๑] มหาบพิตรผู้เจริญทั้งหลาย อาตมาให้โอกาส
ขอเชิญตรัสถามปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่งตามพระทัยปรารถนาเถิด
เพราะอาตมารู้จักทั้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยตนเอง
จักพยากรณ์ปัญหาข้อนั้น ๆ ถวายมหาบพิตร
(พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศความข้อนั้น จึงตรัสว่า)
[๖๒] ลำดับนั้นแล ท้าวมัฆวานสักกเทวราช องค์ปุรินททะทรงเห็น
ประโยชน์ได้ตรัสถามปัญหาข้อแรกตามที่พระทัยปรารถนาว่า
[๖๓] ในกาลบางคราว บุคคลฆ่าอะไร จึงจะไม่เศร้าโศก
ฤๅษีทั้งหลายสรรเสริญการละอะไร
บุคคลควรอดทนคำหยาบคายที่ใครในโลกนี้กล่าว
นิมนต์บอกเนื้อความข้อนั้นแก่โยมเถิด ท่านโกณฑัญญะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๗. จัตตาลีสนิบาต] ๒. สรภังคชาดก (๕๒๒)
(ต่อแต่นั้นพระมหาสัตว์สรภังคดาบสเมื่อจะตอบปัญหา จึงกล่าวว่า)
[๖๔] ในกาลบางคราว บุคคลฆ่าความโกรธเสียได้จึงไม่เศร้าโศก
ฤๅษีทั้งหลายสรรเสริญการละความลบหลู่
บุคคลควรอดทนคำหยาบคายที่ทุกคนกล่าว
สัตบุรุษทั้งหลายกล่าวความอดทนนั้นว่า ยอดเยี่ยม
(ท้าวสักกะตรัสว่า)
[๖๕] คำของบุคคลทั้ง ๒ จำพวก คือ
คนที่เสมอกัน ๑ คนที่ประเสริฐกว่า ๑
บุคคลอาจจะอดกลั้นได้
แต่บุคคลจะพึงอดทนถ้อยคำของคนที่เลวกว่าได้อย่างไรหนอ
นิมนต์บอกเนื้อความข้อนั้นแก่โยมเถิด ท่านโกณฑัญญะ
(สรภังคดาบสตอบว่า)
[๖๖] แท้จริง บุคคลอดทนถ้อยคำของคนประเสริฐกว่าได้
เพราะความกลัว
อดทนถ้อยคำของคนเสมอกันได้เพราะการแข่งขันเป็นเหตุ
แต่ผู้ใดพึงอดทนถ้อยคำของคนที่เลวกว่าในโลกนี้ได้
ความอดทนนั้นของบุคคลนั้นสัตบุรุษกล่าวว่า ยอดเยี่ยม
(ต่อมาพระมหาสัตว์สรภังคดาบสตอบท้าวสักกะแล้ว เมื่อจะประกาศสภาพที่
สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้ประเสริฐเป็นต้นเป็นสภาพที่รู้ได้ยากด้วยอาการเพียงเห็นรูปร่าง
เว้นแต่การอยู่ร่วมกัน จึงกล่าวคาถาว่า)
[๖๗] สภาวะที่ปกปิดไว้ด้วยอิริยาบถทั้ง ๔
บุคคลจะรู้ได้อย่างไรว่า ประเสริฐกว่า เสมอกัน หรือเลวกว่า
เพราะว่าสัตบุรุษทั้งหลายย่อมเที่ยวไปด้วยสภาวะที่ผิดรูป
เพราะเหตุนั้น บุคคลควรอดทนถ้อยคำของคนทั้งปวง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๗. จัตตาลีสนิบาต] ๒. สรภังคชาดก (๕๒๒)
(เมื่อท้าวสักกะหมดความสงสัย พระมหาสัตว์สรภังคดาบสจึงกล่าวคาถา
ทูลว่า)
[๖๘] สัตบุรุษผู้มีขันติพึงได้ประโยชน์อันใด
ประโยชน์นั้นเสนาแม้หมู่ใหญ่พร้อมด้วยพระราชารบอยู่ก็ไม่พึงได้
เวรทั้งหลายย่อมสงบระงับได้ด้วยกำลังแห่งขันติ
(ต่อมาท้าวสักกเทวราชทรงทราบอัธยาศัยของพระราชาทั้งหลายแล้วจึงตรัสถาม
ความสงสัยของพระราชาเหล่านั้นว่า)
[๖๙] โยมขออนุโมทนาคำสุภาษิตของพระคุณเจ้า
โยมขอถามปัญหาข้ออื่นกับพระคุณเจ้า
ขอพระคุณเจ้าโปรดกล่าวแก้ปัญหานั้น
ขอพระคุณเจ้าโปรดบอกถึงคติของพระราชาทั้งหลาย
ผู้กระทำบาปกรรมอันร้ายแรง คือ
พระเจ้าทัณฑกี ๑ พระเจ้านาฬิกีระ ๑
พระเจ้าอัชชุนะ ๑ พระเจ้ากลาพุ ๑
พระราชาทั้งหลายเหล่านั้นเบียดเบียนฤๅษี
พากันไปเกิด ณ ที่ไหน
(พระมหาสัตว์สรภังคดาบสตอบปัญหาของท้าวสักกะว่า)
[๗๐] ก็พระเจ้าทัณฑกีได้ลงโทษกีสวัจฉดาบส เป็นผู้ตัดมูลราก
พร้อมทั้งอาณาประชาราษฏร์หมกไหม้อยู่ในนรกชื่อกุกกุฬะ
ถ่านเพลิงที่ปราศจากเปลวเพลิงตกต้องกายของพระองค์
[๗๑] พระราชาพระองค์ใดได้ทรงเบียดเบียนบรรพชิตทั้งหลาย
ผู้สำรวม ผู้กล่าวธรรม ผู้สงบ ไม่ประทุษร้าย
พระราชาพระองค์นั้นทรงพระนามว่า พระเจ้านาฬิกีระ
สุนัขทั้งหลายพากันรุมกัดกิน ทรงดิ้นรนอยู่ในปรโลก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๗. จัตตาลีสนิบาต] ๒. สรภังคชาดก (๕๒๒)
[๗๒] อนึ่ง พระเจ้าอัชชุนะทรงตกนรกชื่อสัตติสูละ
ทรงมีพระเศียรห้อยลง พระบาทชี้ขึ้นเบื้องบน
เพราะทรงเบียดเบียนพระอังคีรสโคตมฤๅษีผู้มีขันติ
มีตบะ ประพฤติพรหมจรรย์มาช้านาน
[๗๓] อนึ่ง พระราชาพระองค์ใดได้ทรงตัดบรรพชิตผู้กล่าวขันติ
ผู้สงบ ไม่ประทุษร้าย ขาดออกเป็นท่อน ๆ
พระราชาพระองค์นั้นทรงพระนามว่าพระเจ้ากลาพุ
ตกอเวจีมหานรกซึ่งมีความร้อนร้ายแรง
มีเวทนาเผ็ดร้อน น่าหวาดกลัว หมกไหม้อยู่
[๗๔] บัณฑิตได้ฟังเรื่องนรกเหล่านี้
และนรกเหล่าอื่นที่ชั่วช้ากว่านี้ ณ ที่นี่แล้ว
พึงประพฤติธรรมในสมณะและพราหมณ์ทั้งหลาย
ผู้กระทำอย่างนี้ย่อมเข้าถึงแดนสวรรค์
(ท้าวสักกะตรัสถามปัญหา ๔ ข้อที่เหลือว่า)
[๗๕] โยมขออนุโมทนาคำสุภาษิตของพระคุณเจ้า
แต่โยมขอถามปัญหาข้ออื่นกับพระคุณเจ้า
ขอพระคุณเจ้าโปรดกล่าวแก้ปัญหานั้น
บัณฑิตเรียกคนเช่นไรว่า มีศีล
เรียกคนเช่นไรว่า มีปัญญา
เรียกคนเช่นไรว่า สัตบุรุษ
สิริย่อมไม่ละคนเช่นไรหนอ
(พระมหาสัตว์สรภังคดาบสตอบปัญหาของท้าวสักกะว่า)
[๗๖] บุคคลใดในโลกนี้ สำรวมกาย วาจา ใจ
ไม่ทำบาปกรรมอะไร ไม่พูดเหลาะแหละเพราะเหตุแห่งตน
บัณฑิตเรียกคนเช่นนั้นว่า ผู้มีศีล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๗. จัตตาลีสนิบาต] ๒. สรภังคชาดก (๕๒๒)
[๗๗] บุคคลใดคิดปัญหาที่ลึกซึ้งได้ด้วยใจ
ไม่ทำกรรมอันหยาบช้าซึ่งหาประโยชน์เกื้อกูลมิได้
ไม่ตัดรอนประโยชน์ที่มาถึงตามกาลให้เสียไป
บัณฑิตเรียกคนเช่นนั้นว่า ผู้มีปัญญา
[๗๘] บุคคลใดเป็นคนกตัญญูกตเวที เป็นปราชญ์
มีกัลยาณมิตร และมีความภักดีมั่นคง
ช่วยกระทำกิจของมิตรที่ตกยากด้วยความเต็มใจ
บัณฑิตเรียกคนเช่นนั้นว่า สัตบุรุษ
[๗๙] บุคคลใดประกอบด้วยคุณสมบัติทั้งปวงเหล่านี้
มีศรัทธา อ่อนโยน จำแนกแจกทานด้วยดี
รู้ความประสงค์ของผู้ขอ สิริย่อมไม่ละคนเช่นนั้น
ผู้มีปกติสงเคราะห์ มีวาจาอ่อนหวาน สละสลวย
(ท้าวสักกะตรัสว่า)
[๘๐] โยมขออนุโมทนาคำสุภาษิตของพระคุณเจ้า
แต่โยมขอถามปัญหาข้ออื่นกับพระคุณเจ้า
ขอพระคุณเจ้าโปรดกล่าวแก้ปัญหานั้น
ศีล ๑ สิริ ๑ ธรรมของสัตบุรุษ ๑ ปัญญา ๑
บัณฑิตกล่าวข้อไหนว่า ประเสริฐกว่า
(พระมหาสัตว์สรภังคดาบสตอบว่า)
[๘๑] ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายกล่าวว่า ปัญญาแลประเสริฐที่สุด
ดุจดวงจันทร์ราชาแห่งนักษัตรประเสริฐกว่าดวงดาวทั้งหลาย
ศีล สิริ และแม้ธรรมของสัตบุรุษย่อมเป็นไปตามบุคคลผู้มีปัญญา
(ท้าวสักกะตรัสว่า)
[๘๒] โยมขออนุโมทนาคำสุภาษิตของพระคุณเจ้า
แต่โยมขอถามปัญหาข้ออื่นกับพระคุณเจ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖๐๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๗. จัตตาลีสนิบาต] ๒. สรภังคชาดก (๕๒๒)
ขอพระคุณเจ้าโปรดกล่าวแก้ปัญหานั้น
บุคคลในโลกนี้กระทำอย่างไร กระทำกรรมอะไร
ประพฤติกรรมอะไร คบหาคนอย่างไร จึงจะได้ปัญญา
บัดนี้ ขอพระคุณเจ้าโปรดบอกปฏิปทาแห่งปัญญาว่า
บุคคลกระทำอย่างไร จึงจะชื่อว่าผู้มีปัญญา
(พระมหาสัตว์สรภังคดาบสกล่าวว่า)
[๘๓] บุคคลควรคบหาท่านผู้เจริญด้วยปัญญา
มีความรู้ละเอียดลออเป็นพหูสูต
ควรศึกษาเล่าเรียน สอบถาม ฟังคำสุภาษิตโดยเคารพ
บุคคลกระทำอย่างนี้ จึงจะชื่อว่าผู้มีปัญญา
[๘๔] ท่านผู้มีปัญญาพิจารณาเห็นกามคุณ
โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และโดยความเป็นโรค
เมื่อเห็นแจ้งอย่างนี้ จึงละความพอใจในกามทั้งหลาย
ซึ่งเป็นทุกข์เป็นภัยอันใหญ่หลวงเสียได้
[๘๕] เขาปราศจากราคะแล้ว พึงกำจัดโทสะได้
เจริญเมตตาจิตหาประมาณมิได้
วางอาชญาในสัตว์ทุกจำพวก
เป็นผู้ไม่ถูกนินทา เข้าถึงพรหมสถาน
(พระมหาสัตว์สรภังคดาบสทราบว่า พระราชาทั้ง ๓ พระองค์ละความกำหนัด
ยินดีในเบญจกามคุณได้แล้ว จึงกล่าวคาถาด้วยอำนาจความร่าเริงของพระราชา
เหล่านั้นว่า)
[๘๖] ขอถวายพระพรมหาบพิตรอัฏฐกะ
การเสด็จมาของพระองค์ ของพระเจ้าภีมรถ
และของพระเจ้ากาลิงคะผู้มีพระยศระบือไปทั่ว
ได้มีความสำเร็จอย่างใหญ่หลวง
ทุกพระองค์ทรงละกามราคะได้แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๗. จัตตาลีสนิบาต] ๓. อลัมพุสาชาดก (๕๒๓)
(พระราชาทั้งหลายทรงชมเชยพระมหาสัตว์สรภังคดาบสว่า)
[๘๗] พระคุณเจ้ารู้จิตของผู้อื่นว่า โยมทุกคนละกามราคะได้แล้ว
ข้อนั้นเป็นจริงอย่างนั้นแหละ
ขอพระคุณเจ้าจงกระทำโอกาสเพื่ออนุเคราะห์
โดยประการที่โยมทุกคนจะบรรลุถึงคติของพระคุณเจ้าเถิด
(พระมหาสัตว์สรภังคดาบสให้โอกาสแก่พระราชาทั้ง ๓ พระองค์ว่า)
[๘๘] อาตมาจะกระทำโอกาสเพื่ออนุเคราะห์
เพราะมหาบพิตรทั้งหลายทรงละกามราคะได้แล้วอย่างแท้จริง
ขอมหาบพิตรทั้งหลายทรงแผ่ปีติที่ไพบูลย์ให้แผ่ซ่านไปทั่วพระวรกาย
โดยประการที่จะบรรลุถึงคติของอาตมาเถิด
(พระราชาเหล่านั้นเมื่อจะทรงยอมรับ จึงได้ตรัสว่า)
[๘๙] ท่านผู้มีปัญญาเพียงดังแผ่นดิน พระคุณเจ้าจะกล่าวคำใดใด
โยมทั้งหลายจะกระทำตามคำพร่ำสอนของพระคุณเจ้านั้นทุกอย่าง
จะแผ่ปีติที่ไพบูลย์ไปทั่วกาย
โดยประการที่จะบรรลุถึงคติของพระคุณเจ้า
(ลำดับนั้น พระมหาสัตว์สรภังคดาบสให้พระราชาเหล่านั้นพร้อมทั้งพลนิกาย
บวช เมื่อจะส่งหมู่ฤๅษีไป จึงกล่าวว่า)
[๙๐] ท่านผู้เจริญทั้งหลาย พวกเราทำการบูชา
กีสวัจฉดาบสอย่างนี้แล้ว
ขอฤๅษีทั้งหลายผู้เป็นคนดี จงไปยังที่อยู่ของตนเถิด
ท่านทั้งหลายจงยินดีในฌาน มีจิตตั้งมั่นในกาลทุกเมื่อ
ความยินดีนั้นเป็นคุณชาติประเสริฐสุดสำหรับบรรพชิต
(พระศาสดาทรงทราบความนี้แล้วได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า)
[๙๑] ครั้นได้สดับคาถาซึ่งประกอบด้วยประโยชน์อย่างยิ่ง
ที่ฤๅษีผู้เป็นบัณฑิตกล่าวดีแล้ว เทวดาทั้งหลายผู้มียศเหล่านั้น
เกิดปีติและโสมนัสอนุโมทนาอยู่ ได้พากันหลีกไปยังเทพบุรี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๗. จัตตาลีสนิบาต] ๓. อลัมพุสาชาดก (๕๒๓)
[๙๒] คาถาที่ฤๅษีผู้เป็นบัณฑิตกล่าวดีแล้วเหล่านี้
มีอรรถและพยัญชนะอันดีงาม
ผู้ใดผู้หนึ่งพึงสดับคาถาเหล่านั้นให้เป็นประโยชน์
พึงได้คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลาย
ครั้นได้แล้ว พึงบรรลุสถานที่ที่พญามัจจุราชมองไม่เห็น
(พระศาสดาครั้นทรงรวบยอดเทศนาด้วยพระอรหัตอย่างนี้แล้วประกาศสัจจะ
ทั้งหลาย ทรงประชุมชาดกว่า)
[๙๓] สาลิสสรดาบสคือสารีบุตร เมณฑิสสรดาบสคือกัสสปะ
ปัพพตดาบสคืออนุรุทธะ เทวิลดาบสคือกัจจายนะ
[๙๔] อนุสิสสดาบสคืออานนท์ กีสวัจฉดาบสคือโกลิตะ
นารทดาบสคืออุทายีเถระ บริษัททั้งหลายคือพุทธบริษัท
ส่วนสรภังคโพธิสัตว์คือเราตถาคต
เธอทั้งหลายจงทรงจำชาดกไว้อย่างนี้แล
สรภังคชาดกที่ ๒ จบ

๓. อลัมพุสาชาดก (๕๒๓)
ว่าด้วยเทพธิดาอลัมพุสา
(พระศาสดาเมื่อจะทรงทำเนื้อความนั้นให้แจ่มแจ้ง จึงตรัสว่า)
[๙๕] ครั้งนั้น พระอินทร์ผู้เป็นใหญ่ทรงปราบปรามวัตรอสูร
ซึ่งเป็นพระบิดาแห่งเหล่าเทพบุตรผู้มีชัย
ทรงเล็งเห็นอลัมพุสาเทพกัญญาว่ามีความสามารถ
ณ สุธรรมาเทวสถานแล้วจึงมีเทวโองการว่า
[๙๖] แม่นางมิสสาเทพกัญญา เทวดาชั้นดาวดึงส์
พร้อมทั้งพระอินทร์ขอร้องแม่นาง
แม่นางอลัมพุสาผู้สามารถจะประเล้าประโลมฤๅษีได้
แม่นางจงไปหาอิสิสิงคดาบสเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๗. จัตตาลีสนิบาต] ๓. อลัมพุสาชาดก (๕๒๓)
(ท้าวสักกะทรงพระบัญชานางอลัมพุสาแล้วตรัสว่า)
[๙๗] ดาบสองค์นี้เป็นผู้มีวัตร ประพฤติพรหมจรรย์
ยินดียิ่งในนิพพาน เป็นผู้เจริญด้วยคุณธรรม
อย่าล่วงเลยพวกเราไปก่อนเลย
เธอจงกั้นทางที่จะไปสู่เทวโลกของท่านไว้
(นางอลัมพุสาเทพกัญญาได้ฟังพระราชดำรัสดังนั้น จึงตรัสว่า)
[๙๘] ขอเดชะพระเทวราช พระองค์ทรงทำอะไรอยู่
พระองค์จึงทรงเห็นแต่หม่อมฉันเท่านั้นว่า
แม่นางผู้สามารถจะประเล้าประโลมฤๅษีได้
เธอจงไป นางเทพอัปสรแม้อื่นก็มีอยู่
[๙๙] นางเทพอัปสรผู้ทัดเทียมกับหม่อมฉัน
และประเสริฐกว่าหม่อมฉัน ในอโศกนันทวันก็มีอยู่
ขอวาระแห่งการไปจงมีแก่นางเทพอัปสรเหล่านั้นเถิด
แม้นางเทพอัปสรเหล่านั้นก็จงไปประเล้าประโลมเถิด
(ท้าวสักกเทวราชได้ตรัสว่า)
[๑๐๐] เธอพูดถูกต้องอย่างแท้จริง
ถึงนางเทพอัปสรเหล่าอื่นที่ทัดเทียมกับเธอ
และประเสริฐกว่าเธอในอโศกนันทวันก็มีอยู่
[๑๐๑] แม่นางผู้มีความงามทั่วสรรพางค์กาย
แต่นางเทพอัปสรเหล่านั้นไปแล้ว
ไม่รู้จักการบำเรอชายอย่างที่เธอรู้
[๑๐๒] เชิญไปเถิด แม่นางผู้มีความงาม
เพราะเธอประเสริฐกว่าหญิงทั้งหลาย
เธอจักใช้รูปร่างผิวพรรณของเธอ
นำดาบสมาสู่อำนาจได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๗. จัตตาลีสนิบาต] ๓. อลัมพุสาชาดก (๕๒๓)
(พระนางอลัมพุสาได้ฟังดังนั้นแล้ว จึงกราบทูลว่า)
[๑๐๓] หม่อมฉันถูกพระเทวราชทรงใช้จะไม่ทำก็ไม่ได้
แต่หม่อมฉันหวั่นเกรงการที่จะประเล้าประโลมให้ดาบสนั้นยินดี
เพราะท่านเป็นพราหมณ์ มีเดชสูงส่ง
[๑๐๔] ชนทั้งหลายประเล้าประโลมฤๅษีให้ยินดีแล้วตกนรก
ถึงสังสารวัฏเพราะความงมงายมีจำนวนมิใช่น้อย
เพราะเหตุนั้น หม่อมฉันจึงขนพองสยองเกล้า
(พระศาสดาตรัสว่า)
[๑๐๕] อลัมพุสา มิสสาเทพอัปสร ผู้มีวรรณะน่าใคร่
ปรารถนาเพื่อจะให้อิสิสิงคดาบสคลุกเคล้าระคนด้วยกิเลส
ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้วก็หลีกไป
[๑๐๖] ก็อลัมพุสาเทพอัปสรนั้นได้ลงสู่ป่าที่อิสิสิงคดาบสรักษา
ซึ่งดารดาษด้วยเถาตำลึงสุกมีประมาณกึ่งโยชน์โดยรอบนั้น
[๑๐๗] นางเข้าไปหาอิสิสิงคดาบสผู้กำลังปัดกวาดโรงไฟแต่เช้าตรู่
ก่อนเวลาอาหารเช้า ใกล้เวลาอาทิตย์อุทัย
(ลำดับนั้น ดาบสถามนางว่า)
[๑๐๘] เธอเป็นใครหนอ
รัศมีช่างงามผ่องใสดังสายฟ้า ประดุจดาวประกายพรึก
ประดับกำไลมืออันวิจิตร สวมใส่ต่างหูแก้วมณี
[๑๐๙] มีประกายดุจแสงอาทิตย์ ร่างกายมีกลิ่นหอมด้วยจันทน์เหลือง
ลำขากลมกลึงสวยงาม มีมายามากมาย
กำลังสาวแรกรุ่น น่าทัศนาเชยชม
[๑๑๐] เท้าทั้ง ๒ ของเธออ่อนละมุน สะอาดหมดจด ไม่แหว่งเว้า
ตั้งลงเรียบเสมอด้วยดี ทุกย่างก้าวของเธอน่ารักใคร่
ดึงใจอาตมาให้วาบหวาม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๗. จัตตาลีสนิบาต] ๓. อลัมพุสาชาดก (๕๒๓)
[๑๑๑] อนึ่ง ลำขาของเธอเป็นปล้อง ๆ เหมือนกับงวงช้าง
สะโพกของเธอเกลี้ยงเกลากลมกลึงผึ่งผายสวยงาม
เหมือนแผ่นกระดานสะกา
[๑๑๒] นาภีของเธอตั้งอยู่เรียบร้อยดีเหมือนฝักดอกอุบล
ปรากฏได้แต่ไกลเหมือนเกษรดอกอัญชันเขียว
[๑๑๓] ถันเกิดที่ทรวงอกทั้งคู่หาขั้วมิได้
เต่งเต้าสวยงามทรงเกษียรรสไว้
ไม่หย่อนยาน เสมอเหมือนกับผลน้ำเต้าครึ่งผล
[๑๑๔] ลำคอของเธอยาวประดุจลำคอนางเนื้อทราย
เปล่งปลั่งดั่งพื้นแผ่นทองคำ
ริมฝีปากของเธองามเปล่งปลั่งดั่งลิ้นหัวใจห้องที่ ๔
[๑๑๕] ฟันของเธอทั้งข้างบนข้างล่าง
ขัดสีได้อย่างเลิศด้วยไม้ชำระฟัน
เกิดขึ้น ๒ คราว เป็นฟันที่ปราศจากโทษ ดูสวยงาม
[๑๑๖] ดวงเนตรทั้ง ๒ ของเธอดำขลับ
ตามขอบดวงตาเป็นสีแดง เปล่งปลั่งดั่งเมล็ดมะกล่ำ
ทั้งยาวทั้งกว้าง ดูสวยงาม
[๑๑๗] เส้นผมที่งอกขึ้นที่ศีรษะของเธอไม่ยาวเกินไป
เกลี้ยงเกลาดี ตกแต่งด้วยหวีทองคำ
มีกลิ่นหอมเหมือนกลิ่นจันทน์
[๑๑๘] ชาวนาชาวไร่ คนเลี้ยงโค พ่อค้ามีความสำเร็จ
และฤๅษีผู้มีความสำรวม บำเพ็ญตบะ
มีความบากบั่น มีประมาณเท่าใด
[๑๑๙] ชนมีประมาณเท่านั้นในปฐพีมณฑลนี้
แม้คนหนึ่งที่เสมอเหมือนเธอ อาตมายังไม่เห็น
เธอเป็นใคร เป็นลูกของใครหรือ อาตมาจะรู้จักเธอได้อย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๗. จัตตาลีสนิบาต] ๓. อลัมพุสาชาดก (๕๒๓)
(นางอลัมพุสาเทพกัญญารู้ว่าอิสิสิงคดาบสนั้นหลงใหลแล้ว จึงกล่าวว่า)
[๑๒๐] ท่านกัสสปะผู้เจริญ เมื่อจิตของท่านเป็นไปอย่างนี้แล้ว
ก็ไม่ใช่กาลที่จะเป็นปัญหา มาเถิด สหาย
เราทั้ง ๒ จักอภิรมย์กันในอาศรมของเรา
มาเถิด ดิฉันจักคลุกเคล้าท่าน
ขอท่านเป็นผู้ฉลาดในความยินดีในเบญจกามคุณเถิด
(พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศความข้อนั้นจึงตรัสว่า)
[๑๒๑] อลัมพุสา มิสสาเทพอัปสร ผู้มีวรรณะน่าใคร่
ปรารถนาเพื่อจะให้อิสิสิงคดาบสคลุกเคล้าระคนด้วยกิเลส
ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้วก็หลีกไป
[๑๒๒] ก็ดาบสนั้นตัดความเฉื่อยชาเสียแล้ว รีบออกไปโดยเร็ว
ประชิดตัวนาง ลูบเรือนผมบนศีรษะ
[๑๒๓] เทพอัปสรกัลยาณีผู้มีความสวยสดงดงาม
หันกลับมาสวมกอดดาบสนั้น
นางมีความยินดีที่ดาบสเคลื่อนจากพรหมจรรย์นั้น
ตามที่ท้าวสักกะปรารถนา
[๑๒๔] นางได้มีใจรำลึกถึงพระอินทร์ซึ่งประทับอยู่ในนันทวัน
ท้าวมัฆวานเทพกุญชรทรงทราบความดำริของนางแล้ว
[๑๒๕] ทรงส่งบัลลังก์ทอง พร้อมทั้งเครื่องบริวาร
พร้อมทั้งทับทรวง ๕๐ อัน
และเครื่องปูลาด ๑,๐๐๐ ผืน ไปโดยเร็วพลัน
[๑๒๖] แม่โฉมงามโอบอุ้มดาบสนั้นไว้แนบทรวงอก
กกกอดอยู่ตลอด ๓ ปีบนบัลลังก์นั้น
เป็นเหมือนเพียงครู่เดียวเท่านั้น
[๑๒๗] โดยล่วงไป ๓ ปี ดาบสพราหมณ์จึงสร่างเมา รู้สึกตัว
ได้เห็นต้นไม้เขียวชะอุ่มขึ้นอยู่โดยรอบเรือนไฟ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๗. จัตตาลีสนิบาต] ๓. อลัมพุสาชาดก (๕๒๓)
[๑๒๘] ป่าไม้ผลัดใบใหม่ ออกดอกบานสะพรั่ง
กึกก้องไปด้วยฝูงนกดุเหว่า ครั้นท่านเหลียวมองดูโดยรอบ
ก็หลั่งน้ำตาร้องไห้รำพันว่า
[๑๒๙] เรามิได้บูชาไฟ มิได้สาธยายมนต์
อะไรบันดาลการบูชาไฟให้เสื่อมสิ้นไป
ใครหนอประเล้าประโลมบำเรอจิตของเราในกาลก่อน
[๑๓๐] เมื่อเราอยู่ป่า ผู้ใดหนอมายึดเอาฌานคุณ
ที่เกิดมีพร้อมกับเดชของเราไป
ประดุจยึดเอานาวาที่เต็มเปี่ยมด้วยรัตนะนานาชนิดในท้องทะเลหลวง
(นางอลัมพุสาเทพกัญญาได้ฟังดังนั้น จึงปรากฏกายยืนอยู่กล่าวว่า)
[๑๓๑] ดิฉันถูกท้าวเทวราชทรงใช้มาเพื่อบำเรอท่าน
ได้ใช้จิตฆ่าจิตท่าน เพราะความประมาท ท่านจึงไม่รู้สึกตัว
(อิสิสิงคดาบสได้ฟังนางอลัมพุสาเทพกัญญาแล้ว ระลึกถึงโอวาทที่บิดาให้ไว้
คร่ำครวญอยู่ได้กล่าวว่า)
[๑๓๒] เดิมที พ่อกัสสปะพร่ำสอนถ้อยคำเหล่านี้กับเราว่า
พ่อมาณพ หญิงเปรียบได้กับดอกนารีผล
เจ้าจงรู้จักหญิงเหล่านั้น
[๑๓๓] พ่อกัสสปะดูเหมือนจะเอื้อเอ็นดูเรา
จึงพร่ำสอนเราอย่างนี้ว่า มาณพ เจ้าจงรู้จักหญิงผู้มีฝีที่อก
เจ้าจงรู้จักหญิงเหล่านั้น
[๑๓๔] เรามิได้ทำตามคำสอนของบิดาผู้เจริญนั้น
วันนี้เรานั้นจึงซบเซาอยู่แต่ผู้เดียวในป่าที่หามนุษย์มิได้
[๑๓๕] น่าติเตียนจริงหนอ ชีวิตของเรา
เราจักทำอย่างที่เราเคยเป็นเช่นนั้น
หรือมิฉะนั้นเราก็จักตายเสีย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๗. จัตตาลีสนิบาต] ๓. อลัมพุสาชาดก (๕๒๓)
(พระศาสดาตรัสว่า)
[๑๓๖] อลัมพุสาเทพกัญญา ครั้นทราบเดช ความเพียร
และปัญญาของดาบสนั้น ดำรงมั่นคงแล้ว
จึงจับเท้าทั้งสองของดาบสทูนไว้ที่ศีรษะ
ละล่ำละลักกล่าวกับอิสิสิงคดาบสว่า
[๑๓๗] อย่าโกรธดิฉันเลย ท่านมหาวีระ
อย่าโกรธดิฉันเลย ท่านมหาฤๅษี
ดิฉันบำเพ็ญประโยชน์อันใหญ่หลวงเพื่อเทพชั้นไตรทศผู้มียศ
เพราะเทพบุรีทั้งหมดถูกพระคุณเจ้าทำให้หวั่นไหวในคราวนั้น
(อิสิสิงคดาบสกล่าวคาถาว่า)
[๑๓๘] แม่นางผู้เจริญ ขอทวยเทพชั้นดาวดึงส์
ท้าววาสวะแห่งเทพชั้นไตรทศ และเธอจงเป็นสุข ๆ เถิด
เชิญเธอไปตามสบายเถิด แม่เทพกัญญา
(พระศาสดาตรัสว่า)
[๑๓๙] อลัมพุสาเทพกัญญา ครั้นจับเท้าทั้ง ๒ ของดาบสแล้ว
จึงประคองอัญชลี กระทำประทักษิณดาบสนั้น
แล้วได้หลีกไปจากที่นั้น
[๑๔๐] นางเทพกัญญาขึ้นสู่บัลลังก์ทอง
พร้อมทั้งเครื่องบริวาร พร้อมทั้งทับทรวง ๕๐
และเครื่องปูลาด ๑,๐๐๐ ผืน อันเป็นของนางนั่นเอง
ได้กลับไปในสำนักเทพทั้งหลาย
[๑๔๑] ท้าวสักกะจอมเทพทรงมีปีติและโสมนัส ปลาบปลื้มหฤทัย
ได้พระราชทานพรกับนางเทพกัญญานั้นซึ่งกำลังมา
ราวกับประทีปอันรุ่งเรือง ดุจสายฟ้าแลบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๗. จัตตาลีสนิบาต] ๔. สังขปาลชาดก (๕๒๔)
(นางอลัมพุสากราบทูลว่า)
[๑๔๒] ข้าแต่ท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่แห่งภูตทั้งปวง
หากพระองค์ทรงประทานพรแก่หม่อมฉันไซร้
ขอหม่อมฉันอย่าต้องไปประเล้าประโลมฤๅษีอีกเลย
ข้าแต่ท้าวสักกะ หม่อมฉันขอพรข้อนี้ ดังนี้แล
อลัมพุสาชาดกที่ ๓ จบ

๔. สังขปาลชาดก (๕๒๔)
ว่าด้วยสังขปาลนาคราช
(พระเจ้ากรุงพาราณสีตรัสว่า)
[๑๔๓] ท่านมีลักษณะคล้ายพระอริยะ มีดวงตาแจ่มใส
เห็นจะเป็นคนบวชออกจากสกุล
ไฉนหนอท่านผู้มีปัญญาจึงสละทรัพย์และโภคะ
ออกจากเรือนบวชเสียเล่า
(อาฬารดาบสกราบทูลว่า)
[๑๔๔] ขอถวายพระพรมหาบพิตรผู้เป็นเทพแห่งนรชน
อาตมาได้เห็นวิมานของพญาสังขปาลนาคราช
ผู้มีอานุภาพมากด้วยตนเอง
ครั้นเห็นแล้ว จึงได้บวช
เพราะเชื่อวิบากอันยิ่งใหญ่แห่งบุญทั้งหลาย
(พระราชาตรัสว่า)
[๑๔๕] บรรพชิตทั้งหลายย่อมไม่กล่าวคำเท็จ
เพราะความรัก เพราะความชัง เพราะความกลัว
พระคุณเจ้า โยมถามแล้ว
ขอพระคุณเจ้าโปรดบอกเนื้อความนั้นแก่โยมเถิด
เพราะได้ฟัง ความเลื่อมใสจักเกิดขึ้นแก่โยมบ้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๗. จัตตาลีสนิบาต] ๔. สังขปาลชาดก (๕๒๔)
(อาฬารดาบสกราบทูลว่า)
[๑๔๖] ขอถวายพระพรมหาบพิตรผู้เป็นใหญ่แห่งแคว้น
อาตมาเมื่อเดินทางไปค้าขายได้เห็นพวกบุตรของนายพราน
พากันหามพญานาคตัวมีร่างกายอ้วนพีใหญ่โตร่าเริงเดินไปในหนทาง
[๑๔๗] ขอถวายพระพรพระองค์ผู้จอมชน อาตมานั้น
ได้มาประจวบเข้ากับเขาเหล่านั้น ก็เกิดกลัวจนขนพองสยองเกล้า
จึงได้ถามขึ้นว่า พ่อบุตรนายพรานทั้งหลาย พวกท่านจะนำนาค
ซึ่งมีร่างกายน่ากลัวตัวนี้ไปไหน จะทำอะไรกับนาคตัวนี้
(พวกเขาตอบว่า)
[๑๔๘] วิเทหบุตร พวกเราจะนำนาคตัวนี้ไปเพื่อบริโภค
นาคตัวนี้มีร่างกายอ้วนพีใหญ่โต เนื้อของมันมาก
อ่อนนุ่ม และอร่อย ท่านยังมิได้รู้รสเนื้อมัน
[๑๔๙] พวกเราจากที่นี่ไปถึงที่อยู่ของตนแล้ว
จะเอามีดสับกินเนื้อกันให้สำราญ
เพราะว่าพวกเราเป็นศัตรูของนาคทั้งหลาย
(อาตมาจึงพูดว่า)
[๑๕๐] ถ้าพวกท่านจะนำนาค
ซึ่งมีร่างกายอ้วนพีใหญ่โตตัวนี้ไปเพื่อจะบริโภคไซร้
ข้าพเจ้าจะให้โคผู้ซึ่งมีกำลังแข็งแรงแก่พวกท่าน ๑๖ ตัว
ขอพวกท่านจงปล่อยนาคตัวนี้จากเครื่องพันธนาการเถิด
(พวกเขาตอบว่า)
[๑๕๑] ความจริง นาคนี้เป็นอาหารที่ชอบใจของพวกเราอย่างแท้จริง
และพวกเราก็เคยกินนาคมามาก
แต่พวกเราจะทำตามคำของท่าน นายอาฬารวิเทหบุตร
และขอท่านจงเป็นมิตรของพวกเราด้วยนะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๗. จัตตาลีสนิบาต] ๔. สังขปาลชาดก (๕๒๔)
[๑๕๒] บุตรนายพรานเหล่านั้นจึงแก้นาคราชตัวนั้น
ออกจากเครื่องพันธนาการซึ่งสอดเข้าทางจมูกร้อยไว้ในบ่วง
นาคราชตัวนั้นพ้นจากเครื่องผูกแล้ว
ครู่หนึ่งจึงบ่ายหน้าสู่ทิศปราจีนหลีกไป
[๑๕๓] ครั้นบ่ายหน้าสู่ทิศปราจีนไปได้ครู่หนึ่ง ได้เหลียวกลับมา
มองดูอาตมาด้วยดวงตาทั้ง ๒ ที่นองไปด้วยน้ำตา
ในคราวนั้น อาตมาได้ประคองอัญชลีทั้ง ๑๐ นิ้ว
เดินตามไปข้างหลัง กล่าวเตือนว่า
[๑๕๔] ท่านจงรีบด่วนไปโดยเร็วเถิด ขอศัตรูอย่าจับท่านได้อีกเลย
เพราะการสมาคมกับพวกพรานอีกเป็นทุกข์
ท่านจงไปยังสถานที่ที่พวกบุตรนายพรานไม่เห็นเถิด
[๑๕๕] นาคราชนั้นได้ไปสู่ห้วงน้ำใส สีเขียวครามโอภาส
มีท่าอันงดงาม น่ารื่นรมย์ใจ
ปกคลุมไปด้วยหมู่ต้นหว้าและต้นอโศก
เป็นผู้ปลอดภัย เบิกบานใจ ได้เข้าไปสู่นาคพิภพ
[๑๕๖] มหาบพิตรผู้จอมชน นาคราชนั้น
ครั้นเข้าไปยังนาคพิภพนั้นได้ไม่นาน
ได้มาปรากฏแก่อาตมาพร้อมด้วยบริวารเป็นทิพย์
บำรุงอาตมาเหมือนบุตรบำรุงบิดา
กล่าวถ้อยคำอันจับใจสบายหูว่า
(พญานาคสังขปาละกล่าวว่า)
[๑๕๗] ท่านอาฬาระ ท่านเป็นมารดาบิดาของข้าพเจ้า
เป็นดังดวงใจ เป็นผู้ให้ชีวิต เป็นสหาย
ข้าพเจ้าจึงได้อิทธิฤทธิ์ของตนคืนมา
ขอเชิญท่านไปเยี่ยมที่อยู่ของข้าพเจ้า
ซึ่งมีอาหารเพียงพอ มีข้าวและน้ำมากมาย
ดุจขุนเขาสิเนรุพิภพของท้าววาสวะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๗. จัตตาลีสนิบาต] ๔. สังขปาลชาดก (๕๒๔)
(พญานาคสังขปาละกล่าวว่า)
[๑๕๘] นาคพิภพนั้นประกอบไปด้วยภูมิภาค
ภาคพื้นที่ไม่มีก้อนกรวด อ่อนนุ่มและงดงาม
มีหญ้าเตี้ย ๆ ปราศจากฝุ่นละออง น่าเลื่อมใส
เป็นสถานที่ระงับความเศร้าโศกของผู้ที่เข้าไป
[๑๕๙] มีสระโบกขรณีที่ไม่อากูล สีเขียวครามเพราะแก้วไพฑูรย์
มีสวนมะม่วงที่น่ารื่นรมย์ยิ่งนักทั้ง ๔ ทิศ
ติดผลอยู่เป็นนิตย์ตลอดฤดูกาล มีทั้งผลสุก ผลห่าม และผลอ่อน
(อาฬารดาบสกราบทูลว่า)
[๑๖๐] ขอถวายพระพร นรเทพมหาบพิตร ณ ท่ามกลาง
สวนมะม่วงทั้ง ๔ ทิศ มีนิเวศน์เลื่อมปภัสสรสร้างด้วยทองคำ
[๑๖๑] ณ นิเวศน์นั้น มีเรือนยอดและห้องโอฬาร
สร้างด้วยแก้วมณีและทองคำ วิจิตรด้วยศิลปะอเนกประการ
ซึ่งเนรมิตไว้ดีแล้วติดต่อกัน เต็มไปด้วยนางนาคกัญญาทั้งหลาย
ผู้ประดับตบแต่งร่างกายล้วนสวมใส่สายสร้อยทองคำ มหาบพิตร
[๑๖๒] สังขปาลนาคราชผู้มีผิวพรรณไม่ทรามนั้น รีบขึ้นสู่ปราสาท
ซึ่งมีอานุภาพนับไม่ได้ มีเสา ๑,๐๐๐ ต้น
อันเป็นสถานที่อยู่ของภรรยาผู้เป็นมเหสีของเขา
[๑๖๓] และนารีนางหนึ่งไม่ต้องเตือน
รีบนำอาสนะอันสำเร็จด้วยแก้วไพฑูรย์ มีค่ามากงดงาม
ประกอบด้วยแก้วมณีชั้นดีมีราคามาปูลาด
[๑๖๔] ลำดับนั้น นาคราชจูงมืออาตมาให้นั่ง
ณ อาสนะอันเป็นประธานโดยกล่าวว่า
นี้อาสนะ ท่านผู้เจริญโปรดนั่ง ณ อาสนะนี้เถิด
เพราะบรรดาท่านผู้เป็นที่เคารพทั้งหลายของข้าพเจ้า
ท่านผู้เจริญก็เป็นคนหนึ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๗. จัตตาลีสนิบาต] ๔. สังขปาลชาดก (๕๒๔)
[๑๖๕] ขอถวายพระพร พระองค์ผู้จอมชน
และนารีอีกนางหนึ่งรีบนำน้ำเข้ามาล้างเท้าอาตมา
เหมือนภรรยาล้างเท้าภัสดาสามีสุดที่รัก
[๑๖๖] และนารีอื่นอีกนางหนึ่งรีบประคองถาดทองคำ
น้อมนำภัตตาหารที่น่าพอใจ มีแกงหลายชนิด
มีกับหลายอย่างเข้ามา
[๑๖๗] ภารตะมหาบพิตรพระองค์ นารีเหล่านั้นรู้ใจภัสดา
บำเรออาตมาผู้บริโภคเสร็จแล้วด้วยดนตรีทั้งหลาย
ยิ่งไปกว่านั้น นาคราชเข้าไปหาอาตมา
พร้อมด้วยกามคุณอันเป็นทิพย์
อันโอฬารมิใช่น้อย กล่าวว่า
[๑๖๘] ท่านอาฬาระ ภรรยาของข้าพเจ้าทั้ง ๓๐๐ นางเหล่านี้
ล้วนเอวบางร่างน้อย มีผิวพรรณดังกลีบปทุม
ท่านอาฬาระ นางเหล่านี้พึงบำเรอกามแก่ท่าน
ขอท่านโปรดให้นางเหล่านั้นบำเรอท่านเถิด
(อาฬารดาบสกราบทูลต่อไปว่า)
[๑๖๙] อาตมาได้เสวยกามรสอันเป็นทิพย์อยู่ ๑ ปี
คราวนั้น จึงได้ถามยิ่งขึ้นไปว่า นาคสมบัตินี้
ท่านได้เพราะทำกรรมอะไร ได้อย่างไร
ไฉนท่านจึงได้ครอบครองวิมานอันประเสริฐ
[๑๗๐] ท่านได้โดยไม่มีเหตุ หรือเกิดเพราะใครน้อมมาเพื่อท่าน
ท่านทำเอง หรือเทวดาทั้งหลายให้
ข้าพเจ้าถามเนื้อความนั้นกับท่านนาคราช
ไฉนท่านจึงได้ครอบครองวิมานอันประเสริฐ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๗. จัตตาลีสนิบาต] ๔. สังขปาลชาดก (๕๒๔)
(พญานาคสังขปาละตอบว่า)
[๑๗๑] วิมานนี้ข้าพเจ้าได้มาโดยไม่มีเหตุหามิได้
เกิดเพราะใครน้อมมาเพื่อข้าพเจ้าก็หาไม่
ข้าพเจ้าทำเองก็หาไม่
แม้เทวดาทั้งหลายก็มิได้มอบให้
แต่ข้าพเจ้าได้เพราะบุญกรรมซึ่งมิใช่บาปของตน
(อาฬารดาบสถามว่า)
[๑๗๒] วัตรของท่านเป็นอย่างไร
อนึ่ง พรหมจรรย์ของท่านเป็นอย่างไร
นี้เป็นผลแห่งวัตรและพรหมจรรย์ที่ท่านประพฤติดีแล้วอย่างไร
นาคราช ขอท่านโปรดบอกเนื้อความนั้นแก่ข้าพเจ้าเถิดว่า
ท่านได้วิมานนี้อย่างไรหนอ
(พญานาคสังขปาละตอบว่า)
[๑๗๓] ข้าพเจ้านั้นได้เป็นพระราชา ผู้เป็นใหญ่กว่าชนชาวมคธ
มีนามว่า ทุโยธนะ มีอานุภาพมาก
ได้เห็นชัดว่า ชีวิตมีเพียงนิดหน่อย ไม่เที่ยง
มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
[๑๗๔] ข้าพเจ้ามีจิตเลื่อมใส ได้ให้ข้าวและน้ำ
เป็นทานอย่างไพบูลย์โดยเคารพ
พระราชวังของข้าพเจ้าในคราวนั้น เป็นดุจบ่อน้ำ
ทั้งสมณะและพราหมณ์จึงอิ่มหนำสำราญ
[๑๗๕] ณ ที่พระราชวังนั้น ข้าพเจ้าได้ให้พวงดอกไม้
ของหอม เครื่องลูบไล้ ประทีป ยานพาหนะ
ที่พักอาศัย ผ้านุ่ง ผ้าห่ม ที่นอน
ข้าวและน้ำเป็นทานโดยเคารพ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๗. จัตตาลีสนิบาต] ๔. สังขปาลชาดก (๕๒๔)
[๑๗๖] นั่นเป็นพรตและนั่นเป็นพรหมจรรย์ของข้าพเจ้า
นี้เป็นวิบากแห่งกรรมนั้นที่ข้าพเจ้าประพฤติดีแล้ว
เพราะวิบากแห่งกรรมนั้นนั่นแล ข้าพเจ้าจึงได้วิมานนี้
ซึ่งมีอาหารเพียงพอ มีข้าวและน้ำมากมาย
และสมบูรณ์ด้วยการฟ้อนรำขับร้อง
แต่วิมานนี้ไม่จีรังยั่งยืนและไม่เที่ยง
(อาฬารดาบสถามว่า)
[๑๗๗] บุตรนายพรานทั้งหลาย ผู้มีอานุภาพน้อย ไม่มีเดช
ย่อมเบียดเบียนท่านผู้มีอานุภาพมาก มีเดชได้
เพราะเหตุไร ท่านผู้มีเขี้ยวเป็นอาวุธ เพราะอาศัยเหตุอะไร
ท่านจึงได้ตกอยู่ในเงื้อมมือของบุตรนายพรานได้
[๑๗๘] มหันตภัยตามมาถึงท่านหรือหนอ
หรือว่าพิษแล่นไปไม่ถึงรากเขี้ยวของท่าน
ท่านผู้มีเขี้ยวเป็นอาวุธ เพราะอาศัยเหตุอะไรแลหรือ
ท่านจึงถึงความทุกข์ในสำนักของพวกบุตรนายพราน
(พญานาคสังขปาละตอบว่า)
[๑๗๙] มหันตภัยตามมาถึงข้าพเจ้าก็หาไม่
พิษของข้าพเจ้าพวกบุตรนายพรานเหล่านั้นก็ไม่อาจจะทำลายได้
แต่ธรรมของสัตบุรุษทั้งหลายที่ท่านประกาศไว้ดีแล้ว
ยากที่จะล่วงได้ดุจเขตแดนแห่งสมุทร
[๑๘๐] ท่านอาฬาระ วัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ
ข้าพเจ้าเข้าจำอุโบสถอยู่เป็นนิตย์ คราวนั้น
พวกบุตรนายพราน ๑๖ คนถือเชือกและบ่วงอันมั่นคงมา
[๑๘๑] พวกพรานช่วยกันเจาะจมูกแล้วร้อยเชือก
แล้วช่วยกันหามนำข้าพเจ้าไป
ข้าพเจ้าอดกลั้นความทุกข์เช่นนั้น มิได้ทำให้อุโบสถกำเริบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๗. จัตตาลีสนิบาต] ๔. สังขปาลชาดก (๕๒๔)
(อาฬารดาบสถามว่า)
[๑๘๒] พวกบุตรนายพรานได้เห็นท่าน
ผู้สมบูรณ์ด้วยพลังและผิวพรรณที่หนทางที่เดินได้คนเดียว
นาคราช ก็ท่านเป็นผู้เจริญแล้วด้วยสิริและปัญญา
ยังบำเพ็ญตบะอยู่เพื่อประโยชน์อะไร
(พญานาคสังขปาละตอบว่า)
[๑๘๓] ท่านอาฬาระ ข้าพเจ้าบำเพ็ญตบะ
เพราะเหตุแห่งบุตร เพราะเหตุแห่งทรัพย์สมบัติ
หรือแม้เพราะเหตุแห่งอายุก็หาไม่
แต่เพราะข้าพเจ้าปรารถนากำเนิดแห่งมนุษย์
เพราะเหตุนั้น จึงบากบั่นบำเพ็ญตบะ
(อาฬารดาบสถามว่า)
[๑๘๔] ท่านมีนัยน์ตาแดง มีรัศมีรุ่งเรือง ประดับตบแต่งร่างกาย
ตัดผมและโกนหนวดเรียบร้อย
ลูบไล้ผิวพรรณด้วยดีด้วยจันทน์แดง
ส่องสว่างไปทั่วทิศ ดุจราชาแห่งคนธรรพ์
[๑๘๕] ท่านเป็นผู้บรรลุเทวฤทธิ์แล้ว มีอานุภาพมาก
พรั่งพร้อมด้วยกามคุณทุกอย่าง
นาคราช ข้าพเจ้าขอถามเนื้อความนี้กับท่านว่า
มนุษยโลกประเสริฐกว่านาคพิภพนี้ เพราะเหตุไร
(พญานาคสังขปาละตอบว่า)
[๑๘๖] ท่านอาฬาระ นอกจากมนุษยโลกแล้ว
ความบริสุทธิ์หรือความสำรวมไม่มี
ก็ข้าพเจ้าได้กำเนิดมนุษย์แล้ว
จักกระทำที่สุดแห่งชาติและมรณะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๗. จัตตาลีสนิบาต] ๕. จูฬสุตโสมชาดก (๕๒๕)
(อาฬารดาบสกล่าวว่า)
[๑๘๗] เป็นเวลาหนึ่งปี เมื่อข้าพเจ้าอยู่ในสำนักของท่าน
ได้รับการบำรุงด้วยข้าวและน้ำ ท่านนาคินทร์ผู้ประเสริฐ
ข้าพเจ้าจากมนุษยโลกมานาน จะขอลาท่านไป
(พญานาคสังขปาละถามว่า)
[๑๘๘] บุตร ภรรยา และชนที่ข้าพเจ้าชุบเลี้ยง
ซึ่งข้าพเจ้าพร่ำสอนเป็นนิตย์ว่า พึงบำรุงท่าน
ไม่มีใครสักคนสาปแช่งท่านแลหรือ ท่านอาฬาระ
ก็การได้พบเห็นท่านนับว่าเป็นที่พอใจของข้าพเจ้า
(อาฬารดาบสตอบว่า)
[๑๘๙] บุตรสุดที่รักพึงได้รับการปฏิบัติ
อยู่ในเรือนมารดาบิดาแม้โดยประการใด
ท่านก็ปฏิบัติข้าพเจ้าในที่นี้แล ประเสริฐกว่าแม้โดยประการนั้น
เพราะจิตของท่านเลื่อมใสในข้าพเจ้า นาคราช
(พญานาคสังขปาละกล่าวว่า)
[๑๙๐] แก้วมณีสีแดง ซึ่งนำทรัพย์มาให้ได้ของข้าพเจ้ามีอยู่
ท่านจงถือเอาแก้วมณีอันโอฬารไปยังที่อยู่ของตน
ครั้นได้ทรัพย์แล้ว จงเก็บแก้วมณีไว้
(อาฬารดาบสกล่าว ๒ คาถาว่า)
[๑๙๑] ขอถวายพระพรมหาบพิตร กามทั้งหลายแม้เป็นของมนุษย์
อาตมาก็ได้เห็นแล้ว เป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
เพราะเห็นโทษในกามคุณทั้งหลาย อาตมาจึงบวชด้วยศรัทธา
[๑๙๒] ทั้งคนหนุ่มทั้งคนแก่
ย่อมมีกายแตกทำลายไป เหมือนผลไม้หล่นจากต้น
มหาบพิตร อาตมาเห็นข้อปฏิบัติอันไม่ผิดแม้นี้ว่า
ความเป็นสมณะนั่นแลประเสริฐ จึงได้บวช

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๗. จัตตาลีสนิบาต] ๕. จูฬสุตโสมชาดก (๕๒๕)
(พระราชาตรัสว่า)
[๑๙๓] ชนเหล่าใดมีปัญญา เป็นพหูสูต
คิดเหตุการณ์ได้เป็นอันมาก ชนเหล่านั้นควรคบโดยแท้
พระคุณเจ้าอาฬาระ โยมได้ฟังเรื่องของนาคราช
และของพระคุณเจ้าแล้ว จักทำบุญให้มาก
(อาฬารดาบสกล่าวว่า)
[๑๙๔] ชนเหล่าใดมีปัญญา เป็นพหูสูต
คิดเหตุการณ์ได้เป็นอันมาก ชนเหล่านั้นควรคบโดยแท้
ขอเดชะพระราชา พระองค์ทรงสดับเรื่องนาคราชและของอาตมาแล้ว
ขอจงทรงบำเพ็ญบุญให้มากเถิด
สังขปาลชาดกที่ ๔ จบ

๕. จูฬสุตโสมชาดก (๕๒๕)
ว่าด้วยเหตุที่พระเจ้าจูฬสุตโสมออกผนวช
(พระโพธิสัตว์สุตโสมตรัสว่า)
[๑๙๕] เราขอประกาศให้ชาวนิคม มิตร อำมาตย์
และข้าราชบริพารได้ทราบ
บัดนี้ ผมที่ศีรษะของเราหงอกแล้ว
เราจึงพอใจการบรรพชา
(อำมาตย์ผู้องอาจแกล้วกล้าคนหนึ่งกราบทูลว่า)
[๑๙๖] ทำไมหนอ พระองค์จึงรับสั่งความไม่เจริญแก่ข้าพระพุทธเจ้า
ขอเดชะพระองค์ผู้สมมติเทพ
พระองค์ทรงปักพระแสงศรที่อกของข้าพระพุทธเจ้า
พระองค์ทรงมีพระชายาถึง ๗๐๐ นาง
พระชายาเหล่านั้นของพระองค์จักเป็นอย่างไรหนอ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๗. จัตตาลีสนิบาต] ๕. จูฬสุตโสมชาดก (๕๒๕)
(พระโพธิสัตว์จูฬสุตโสมตรัสว่า)
[๑๙๗] นางทั้งหลายเหล่านั้นจักปรากฏตามกรรมของตนเอง
พวกนางยังสาว จักไปพึ่งพาพระราชาแม้พระองค์อื่นได้
ส่วนเราปรารถนาสวรรค์ เพราะเหตุนั้น จึงจักบรรพชา
(พระราชชนนีรีบเสด็จมาโดยด่วนตรัสถามว่า)
[๑๙๘] พ่อสุตโสม การที่แม่เป็นแม่ของเจ้า
นับว่าแม่ได้เจ้ามาด้วยความลำบาก เมื่อแม่พร่ำเพ้อรำพันอยู่
เพราะเหตุไร เจ้าจึงไม่อาลัยจะบวชเสียเล่า
[๑๙๙] พ่อสุตโสม การที่แม่คลอดเจ้ามา
นับว่าแม่ได้เจ้ามาด้วยความลำบาก เมื่อแม่พร่ำเพ้อรำพันอยู่
เพราะเหตุไร เจ้าจึงไม่อาลัยจะบวชเสียเล่า
(พระชนกทรงทราบข่าวแล้วเสด็จมา ตรัสถามว่า)
[๒๐๐] พ่อสุตโสม ธรรมนั่นชื่ออะไร
และอะไรชื่อว่าการบรรพชา
เพราะเหตุไร เจ้าเป็นบุตรของเราทั้ง ๒ จึงไม่มีความอาลัย
จะละทิ้งเราทั้ง ๒ ผู้แก่เฒ่าไปบวชเสียเล่า
[๒๐๑] แม้ลูกชายลูกสาวของพ่อก็มีอยู่มาก
ยังเล็กอยู่ ยังไม่เป็นหนุ่มเป็นสาว
แม้เด็กเหล่านั้นกำลังฉอเลาะอ่อนหวาน
เมื่อไม่เห็นพ่อ เห็นจะเป็นทุกข์ไปตาม ๆ กัน
(พระโพธิสัตว์จูฬสุตโสมสดับพระดำรัสแล้ว กราบทูลว่า)
[๒๐๒] การอยู่ร่วมกันแม้นานแล้วพลัดพรากจากกัน
ของหม่อมฉันกับลูกทั้งหลายเหล่านั้นซึ่งยังเด็กอยู่
ยังไม่เป็นหนุ่มเป็นสาว กำลังฉอเลาะอ่อนหวานแม้ทั้งหมด
และจากทูลกระหม่อมทั้ง ๒ พระองค์เป็นของแน่นอน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๗. จัตตาลีสนิบาต] ๕. จูฬสุตโสมชาดก (๕๒๕)
(พระชายาทั้งหลายทราบข่าวแล้วคร่ำครวญอยู่กราบทูลว่า)
[๒๐๓] ขอเดชะพระองค์ผู้สมมติเทพ
ทูลกระหม่อมทรงตัดพระทัยแล้วหรือ
ทรงหมดความกรุณาในพวกหม่อมฉันหรือ เพราะเหตุไร
ทูลกระหม่อมจึงไม่อาลัยพวกหม่อมฉันผู้คร่ำครวญอยู่
จะเสด็จออกผนวชเสียเล่า
(พระโพธิสัตว์จูฬสุตโสมสดับเสียงคร่ำครวญของพระชายาเหล่านั้นแล้วตรัสว่า)
[๒๐๔] เราตัดใจได้แล้วก็หามิได้
และเราก็ยังมีความกรุณาในพวกเธออยู่
แต่ว่าเราปรารถนาสวรรค์
เพราะเหตุนั้น จึงจักบวช
(พระมเหสีทรงพระครรภ์แก่ได้กราบทูลว่า)
[๒๐๕] เจ้าพี่สุตโสม การที่หม่อมฉันเป็นมเหสีของเจ้าพี่
นับว่าหม่อมฉันได้เจ้าพี่มาด้วยความยากลำบาก
ขอเดชะพระองค์ผู้สมมติเทพ เมื่อหม่อมฉันพร่ำเพ้อรำพันอยู่
เพราะเหตุไร เจ้าพี่จึงไม่ทรงอาลัย จะทรงผนวชเสียเล่า
[๒๐๖] เจ้าพี่สุตโสม การที่หม่อมฉันเป็นมเหสีของเจ้าพี่
นับว่าหม่อมฉันได้เจ้าพี่มาด้วยความยากลำบาก
ขอเดชะพระองค์ผู้สมมติเทพ เพราะเหตุไร
เจ้าพี่จึงไม่ทรงอาลัยพระโอรสที่ปฏิสนธิในครรภ์ของหม่อมฉัน
จะทรงผนวชเสียเล่า
[๒๐๗] ครรภ์ของหม่อมฉันแก่แล้ว
ขอพระองค์รออยู่จนกว่าหม่อมฉันจะคลอดพระโอรส
ขอหม่อมฉันอย่าได้เป็นหม้ายอยู่แต่ผู้เดียว
ได้ประสบทุกข์ยากในภายหลัง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๗. จัตตาลีสนิบาต] ๕. จูฬสุตโสมชาดก (๕๒๕)
(พระโพธิสัตว์จูฬสุตโสมตรัสว่า)
[๒๐๘] ครรภ์ของน้องนางแก่แล้ว
เอาเถิด ขอให้น้องนางจงคลอดบุตร ซึ่งมีผิวพรรณไม่ทรามเถิด
ส่วนพี่จักละบุตรและน้องนางไปบวช
(พระโพธิสัตว์ตรัสปลอบโยนพระนางว่า)
[๒๐๙] อย่าร้องไห้เศร้าโศกไปเลย เจ้าจันทา
เจ้าผู้มีดวงเนตรงามดุจดอกกรรณิการ์เขา
จงขึ้นไปยังปราสาทอันประเสริฐเสียเถิด
พี่จักไปอย่างคนหมดความอาลัย
(พระโอรสองค์ใหญ่ทูลถามว่า)
[๒๑๐] เสด็จแม่ ใครทำให้เสด็จแม่ทรงพิโรธ
ทำไมเสด็จแม่จึงทรงกันแสง
และทรงจ้องดูหม่อมฉันนัก
บรรดาพระญาติที่เห็น ๆ กันอยู่
ใครที่หม่อมแม่ฆ่าไม่ได้ หม่อมฉันจะฆ่าเอง
(พระเทวีตรัสว่า)
[๒๑๑] ลูกรัก ท่านผู้ใดทำให้แม่โกรธ
ท่านผู้นั้นเป็นผู้ชนะในแผ่นดิน เจ้าไม่อาจจะฆ่าเขาได้เลย
ลูกรัก พระบิดาของเจ้าได้พูดกับแม่ว่า
เราจักไปอย่างคนหมดความอาลัย
(พระโอรสองค์ใหญ่คร่ำครวญอยู่ตรัสว่า)
[๒๑๒] เมื่อก่อน หม่อมฉันนำช้างตกมัน
ไปพระอุทยานและเล่นรบกัน
บัดนี้ เมื่อเสด็จพ่อสุตโสมทรงผนวชแล้ว
หม่อมฉันจักทำอย่างไรหนอ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๗. จัตตาลีสนิบาต] ๕. จูฬสุตโสมชาดก (๕๒๕)
(น้องชายองค์เล็กของพระโอรสองค์ใหญ่ตรัสว่า)
[๒๑๓] เมื่อพระมารดาของหม่อมฉันทรงกันแสงอยู่
และเมื่อเจ้าพี่ไม่ทรงยินยอม
หม่อมฉันก็จักยึดแม้พระหัตถ์ทั้ง ๒ ของเสด็จพ่อไว้
เมื่อพวกหม่อมฉันไม่ยินยอม เสด็จพ่อจะเสด็จไปไม่ได้
(พระโพธิสัตว์จูฬสุตโสมตรัสว่า)
[๒๑๔] ลุกขึ้นเถิดเจ้า แม่นม
เจ้าจงชวนกุมารนี้ให้ไปรื่นรมย์ที่อื่นเถิด
กุมารนี้อย่าได้ทำอันตรายแก่เราเลย
เมื่อเรากำลังปรารถนาสวรรค์
(พระพี่เลี้ยงกราบทูลว่า)
[๒๑๕] ถ้ากระไร เราพึงให้แก้วมณีอันมีแสงสว่างนี้
ประโยชน์อะไรของเรากับแก้วมณีนี้หนอ
เมื่อพระจอมนรชนสุตโสมทรงผนวชแล้ว
เราจะทำอย่างไรกับแก้วมณีนั้นหนอ
(มหาเสนคุตตอำมาตย์กราบทูลว่า)
[๒๑๖] พระคลังน้อยของพระองค์ก็ไพบูลย์
เรือนคลังหลวงของพระองค์ก็บริบูรณ์
และปฐพี พระองค์ก็ทรงชนะแล้ว
ขอพระองค์ทรงพอพระทัย อย่าทรงผนวชเลย พระพุทธเจ้าข้า
(พระโพธิสัตว์จูฬสุตโสมตรัสว่า)
[๒๑๗] พระคลังน้อยของเราจะไพบูลย์ก็ตาม
เรือนคลังหลวงของเราจะบริบูรณ์ก็ตาม
ปฐพีถึงเราชนะแล้วก็ตาม
แต่เราจักละสิ่งนั้น ๆ ไปบวช

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๗. จัตตาลีสนิบาต] ๕. จูฬสุตโสมชาดก (๕๒๕)
(กุลวัฒนเศรษฐีกราบทูลว่า)
[๒๑๘] ขอเดชะพระองค์ผู้สมมติเทพ
แม้ทรัพย์ของข้าพระพุทธเจ้าก็มีอยู่มากมาย
ข้าพระพุทธเจ้าไม่อาจจะนับได้
ข้าพระพุทธเจ้าขอถวายทรัพย์นั้นแม้ทั้งหมดแด่พระองค์
ขอพระองค์ทรงพอพระทัย อย่าทรงผนวชเลย พระพุทธเจ้าข้า
(พระโพธิสัตว์จูฬสุตโสมตรัสว่า)
[๒๑๙] เรารู้ว่า ทรัพย์ของท่านมีอยู่มาก
กุลวัฒนะ และเราท่านก็บูชา
แต่เราปรารถนาสวรรค์
เพราะเหตุนั้น จึงจักบวช
(โพธิสัตว์จูฬสุตโสมตรัสต่อไปว่า)
[๒๒๐] พี่เบื่อหน่ายหนัก ความไม่ยินดีกำลังครอบงำพี่
พ่อโสมทัต เพราะอันตรายของพี่มีมาก
พี่จึงจักบวชวันนี้แหละ
(โสมทัตอนุชาตรัสว่า)
[๒๒๑] ก็บรรพชากิจนี้เจ้าพี่ทรงพอพระทัย
เจ้าพี่สุตโสม เจ้าพี่ทรงผนวชเถิด
ในวันนี้ เดี๋ยวนี้แหละ แม้หม่อมฉันก็จักบวช
เว้นเจ้าพี่เสียแล้ว หม่อมฉันไม่อาจจะอยู่ได้
(พระโพธิสัตว์จูฬสุตโสมตรัสว่า)
[๒๒๒] เจ้ายังบวชไม่ได้
เพราะใคร ๆ ในเมืองและในชนบทจะไม่หุงต้มกิน
เมื่อมหาราชร้องไห้คร่ำครวญว่า
พระจอมนรชนสุตโสมทรงผนวชแล้ว
บัดนี้ พวกข้าพระพุทธเจ้าจักทำอย่างไรหนอ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๗. จัตตาลีสนิบาต] ๕. จูฬสุตโสมชาดก (๕๒๕)
(ต่อแต่นั้น พระโพธิสัตว์จูฬสุตโสมตรัสว่า)
[๒๒๓] เราเข้าใจว่า ชีวิตนี้ถูกชรานำเข้าไป
เหมือนกับน้ำนิดหน่อยในหม้อกรองน้ำด่าง
เมื่อชีวิตเป็นของน้อยนักอย่างนี้ จึงไม่ใช่เวลาที่จะประมาทเลย
[๒๒๔] เราเข้าใจว่า ชีวิตนี้ถูกชรานำเข้าไป
เหมือนกับน้ำนิดหน่อยในหม้อกรองน้ำด่าง
เมื่อชีวิตเป็นของน้อยนักอย่างนี้
ถึงอย่างนั้นพวกคนพาลก็ยังพากันประมาทอยู่
[๒๒๕] พวกคนพาลเหล่านั้นถูกเครื่องผูกคือตัณหาผูกมัดไว้แล้ว
ย่อมทำนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
เปรตวิสัย และอสุรกายให้เจริญ
(มหาชนคร่ำครวญกล่าวว่า)
[๒๒๖] ก็กลุ่มละอองธุลีฟุ้งลอยขึ้น
ในที่ไม่ห่างไกลจากปุปผกปราสาท
ชะรอยพระเกสาของพระธรรมราชา
ผู้เรืองยศของพวกเรา จักถูกตัดแล้ว
(มหาชนไม่เห็นพระราชา จึงเที่ยวคร่ำครวญว่า)
[๒๒๗] พระราชาทรงมีพระสนมกำนัลในห้อมล้อม เสด็จไป
ณ ปราสาทใดหนอ นี้คือปราสาทของพระองค์
เกลื่อนกล่นไปด้วยสุวรรณบุปผามาลัย
[๒๒๘] พระราชาทรงมีหมู่พระญาติห้อมล้อม เสด็จไป
ณ ปราสาทใดหนอ นี้คือปราสาทของพระองค์
เกลื่อนกล่นไปด้วยสุวรรณบุปผามาลัย
[๒๒๙] พระราชาทรงมีพระสนมกำนัลในห้อมล้อม เสด็จไป
ณ ปราสาทใดหนอ นี้คือปราสาทของพระองค์
เกลื่อนกล่นไปด้วยสุวรรณบุปผามาลัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๗. จัตตาลีสนิบาต] ๕. จูฬสุตโสมชาดก (๕๒๕)
[๒๓๐] พระราชาทรงมีหมู่พระญาติห้อมล้อม เสด็จไป
ณ ปราสาทใดหนอ นี้คือปราสาทของพระองค์
เกลื่อนกล่นไปด้วยสุวรรณบุปผามาลัย
[๒๓๑] พระราชาทรงมีพระสนมกำนัลในห้อมล้อม เสด็จไป
ณ อโสกวันใดหนอ นี้คือภูมิภาคแห่งอโสกวันของพระองค์
มีดอกไม้บานสะพรั่งงดงาม น่ารื่นรมย์ตลอดกาลทั้งปวง
[๒๓๒] พระราชาทรงมีหมู่พระญาติห้อมล้อม เสด็จไป
ณ อโสกวันใดหนอ นี้คือภูมิภาคแห่งอโสกวันของพระองค์
มีดอกไม้บานสะพรั่งงดงาม น่ารื่นรมย์ตลอดกาลทั้งปวง
[๒๓๓] พระราชาทรงมีพระสนมกำนัลในห้อมล้อม เสด็จไป
ณ พระอุทยานใดหนอ นี้คือพระราชอุทยานของพระองค์
มีดอกไม้บานสะพรั่งงดงามตลอดกาลทั้งปวง น่ารื่นรมย์
[๒๓๔] พระราชาทรงมีหมู่พระญาติห้อมล้อม เสด็จไป
ณ พระอุทยานใดหนอ นี้คือพระราชอุทยานของพระองค์
มีดอกไม้บานสะพรั่งงดงาม น่ารื่นรมย์ตลอดกาลทั้งปวง
[๒๓๕] พระราชาทรงมีพระสนมกำนัลในห้อมล้อม เสด็จไป
ณ สวนกรรณิการ์ใดหนอ นี้คือสวนกรรณิการ์ของพระองค์
มีดอกไม้บานสะพรั่งงดงาม น่ารื่นรมย์ตลอดกาลทั้งปวง
[๒๓๖] พระราชาทรงมีหมู่พระญาติห้อมล้อม เสด็จไป
ณ สวนกรรณิการ์ใดหนอ นี้คือสวนกรรณิการ์ของพระองค์
มีดอกไม้บานสะพรั่งงดงาม น่ารื่นรมย์ตลอดกาลทั้งปวง
[๒๓๗] พระราชาทรงมีพระสนมกำนัลในห้อมล้อม เสด็จไป
ณ สวนปาฏลิวันใดหนอ นี้คือสวนปาฏลิวันของพระองค์
มีดอกไม้บานสะพรั่งงดงาม น่ารื่นรมย์ตลอดกาลทั้งปวง
[๒๓๘] พระราชาทรงมีหมู่พระญาติห้อมล้อม เสด็จไป
ณ สวนปาฏลิวันใดหนอ นี้คือสวนปาฏลิวันของพระองค์
มีดอกไม้บานสะพรั่งงดงาม น่ารื่นรมย์ตลอดกาลทั้งปวง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๗. จัตตาลีสนิบาต] ๕. จูฬสุตโสมชาดก (๕๒๕)
[๒๓๙] พระราชาทรงมีพระสนมกำนัลในห้อมล้อม เสด็จไป
ณ สวนอัมพวันใดหนอ นี้คือสวนอัมพวันของพระองค์
มีดอกไม้บานสะพรั่งงดงาม น่ารื่นรมย์ตลอดกาลทั้งปวง
[๒๔๐] พระราชาทรงมีหมู่พระญาติห้อมล้อม เสด็จไป
ณ สวนอัมพวันใดหนอ นี้คือสวนอัมพวันของพระองค์
มีดอกไม้บานสะพรั่งงดงาม น่ารื่นรมย์ตลอดกาลทั้งปวง
[๒๔๑] พระราชาทรงมีพระสนมกำนัลในห้อมล้อม เสด็จไป
ณ สระโบกขรณีใดหนอ นี้คือสระโบกขรณีของพระองค์
ดารดาษไปด้วยดอกไม้นานาชนิด คับคั่งไปด้วยฝูงนก
[๒๔๒] พระราชาทรงมีหมู่พระญาติห้อมล้อม เสด็จไป
ณ สระโบกขรณีใดหนอ นี้คือสระโบกขรณีของพระองค์
ดารดาษไปด้วยดอกไม้นานาชนิด คับคั่งไปด้วยฝูงนก
[๒๔๓] พระเจ้าสุตโสมบรมราชาทรงสละราชสมบัตินี้ผนวชเสียแล้ว
พระองค์ทรงผ้ากาสาวพัสตร์ เสด็จเที่ยวไปพระองค์เดียว
ดุจพญาช้างตัวประเสริฐ
(พระโพธิสัตว์จูฬสุตโสมตรัสว่า)
[๒๔๔] ท่านทั้งหลายอย่าหวนระลึกถึงความยินดี
การเล่นและความรื่นเริงทั้งหลายในกาลก่อนเลย
กามทั้งหลายอย่าฆ่าท่านทั้งหลายได้เลย
จริงอยู่ สุทัสสนนครน่ารื่นรมย์ยิ่งนัก
[๒๔๕] อนึ่ง ท่านทั้งหลายจงเจริญเมตตาจิต
ที่มีอารมณ์ไม่มีประมาณทั้งกลางวันและกลางคืนเถิด
เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านทั้งหลายจะได้ไปสู่เทพบุรี
อันเป็นสถานที่อยู่ของท่านผู้บำเพ็ญบุญ ดังนี้แล
จูฬสุตโสมชาดกที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก
รวมชาดกที่มีในนิบาตนี้ คือ

๑. เตสกุณชาดก ๒. สรภังคชาดก
๓. อลัมพุสาชาดก ๔. สังขปาลชาดก
๕. จูฬสุตโสมชาดก

จัตตาลีสนิบาต จบ
ชาดก ภาค ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖๓๖ }


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ สุตตันตปิฎกที่ ๑๙ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑ จบ





eXTReMe Tracker