ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ



จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อความสะดวก และสวยงาม
(เฉพาะหน้าจอใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์)
กรุณาคลิก จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อให้กรอบ
ค้นข้อความ ปรากฎที่ด้านซ้ายของหน้า

พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗-๔ สุตตันตปิฎกที่ ๑๙ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑

พระสุตตันตปิฎก
ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๓. สีวิราชชาดก (๔๙๙)
[๔๙] พระองค์ผู้มีพระหฤทัยเลื่อมใส
ทรงเลี้ยงสมณะและพราหมณ์ทั้งหลายให้อิ่มหนำด้วยข้าวและน้ำ
ทรงถวายและทรงเสวยตามความสามารถ จะไม่ถูกนินทา
ขอทรงเข้าถึงแดนสวรรค์เถิด
[๕๐] มหาบพิตร หากว่าความเมาพึงครอบงำพระองค์
ซึ่งมีหมู่นารีบำเรออยู่ ขอพระองค์ทรงมนสิการคาถานี้
และขอจงตรัสคาถานี้ในท่ามกลางบริษัท
[๕๑] สัตว์ผู้นอนอยู่กลางแจ้ง
มีหญิงจัณฑาลผู้เมื่อจะไปป่าให้ดื่มน้ำนม
แล้วคลุกคลีอยู่กับฝูงสุนัข
สัตว์นั้นวันนี้เขาเรียกกันว่า พระราชา
จิตตสัมภูตชาดกที่ ๒ จบ

๓. สีวิราชชาดก (๔๙๙)
ว่าด้วยพระเจ้าสีพี
(ท้าวสักกเทวราชทูลขอดวงพระเนตรกับพระราชาว่า)
[๕๒] ข้าพระพุทธเจ้าเป็นคนเฒ่า มองเห็นได้ไม่ไกล
มาเพื่อทูลขอพระจักษุ เราทั้ง ๒ จักมีนัยน์ตาคนละข้าง
ข้าพระพุทธเจ้าทูลขอแล้ว
ขอพระองค์โปรดพระราชทานพระจักษุแก่ข้าพระพุทธเจ้าเถิด
(พระโพธิสัตว์ได้สดับดังนั้นทรงดีพระทัย จึงตรัสว่า)
[๕๓] วณิพก ใครแนะนำเจ้าให้มาขอดวงตา ณ ที่นี้
เจ้าขอดวงตาซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญ ยากที่จะสละได้ง่าย ๆ
ที่บัณฑิตกล่าวไว้ว่า เป็นของที่คนสละได้ยาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๓. สีวิราชชาดก (๔๙๙)
(ท้าวสักกเทวราชตรัสว่า)
[๕๔] ท่านผู้ใด ในเทวโลกเขาเรียกกันว่า สุชัมบดี
ท่านผู้นั้น ในมนุษยโลกเขาเรียกกันว่า มัฆวาน
ข้าพระพุทธเจ้าเป็นวณิพก
ท่านผู้นั้นแนะนำให้มาขอพระราชทานดวงพระเนตรในที่นี้
[๕๕] เมื่อข้าพระพุทธเจ้าทูลวิงวอนขอพระราชทานอวัยวะอันสำคัญอยู่
ขอพระองค์ผู้ถูกขอโปรดพระราชทาน
ดวงพระเนตรแก่ข้าพระพุทธเจ้าเถิด
ขอพระองค์โปรดพระราชทานดวงพระเนตรซึ่งเป็นอวัยวะที่สำคัญ
ที่บัณฑิตกล่าวไว้ว่า คนสละได้ยาก แก่ข้าพระพุทธเจ้าเถิด
(พระราชาตรัสว่า)
[๕๖] เจ้ามาด้วยความประสงค์อันใด
ปรารถนาประโยชน์อันใดอยู่
ขอความดำริเหล่านั้นจงสำเร็จแก่เจ้า
พราหมณ์ เจ้าจงได้ดวงตาเถิด
[๕๗] เมื่อเจ้าขอข้างเดียว เราจะให้ทั้ง ๒ ข้าง
เมื่อประชาชนเพ่งดูอยู่ เจ้าจงเป็นผู้มีดวงตาไปเถิด
เจ้าปรารถนาสิ่งใด ขอสิ่งนั้นจงสำเร็จแก่เจ้า
(ข้าราชการมีเสนาบดีเป็นต้น ราชวัลลภ ชาวพระนคร และนางสนมกราบทูล
ทัดทานว่า)
[๕๘] ขอเดชะพระองค์ผู้สมมติเทพของข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ขอพระองค์อย่าได้พระราชทานดวงพระเนตรเลย
อย่าทรงละทิ้งพวกข้าพระพุทธเจ้าทั้งปวงเลย
ขอเดชะพระมหาราช ขอพระองค์พระราชทานทรัพย์
แก้วมุกดา และแก้วไพฑูรย์จำนวนมากไปเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๓. สีวิราชชาดก (๔๙๙)
[๕๙] ขอเดชะพระองค์ผู้สมมติเทพ
ขอพระองค์จงพระราชทานราชรถ
ที่เทียมด้วยม้าอาชาไนย ซึ่งประดับตบแต่งแล้ว
ขอพระองค์จงพระราชทานพญาช้าง
และที่อยู่อาศัยที่ทำด้วยทองคำเถิด
[๖๐] ขอเดชะพระองค์ผู้จอมทัพ
ขอพระองค์จงพระราชทานสิ่งของให้พราหมณ์
เหมือนกับชาวกรุงสีพีที่มียานพาหนะและรถ
พึงตามเสด็จแวดล้อมพระองค์ในกาลทุกเมื่อ
(ลำดับนั้น พระราชาได้ตรัส ๓ คาถาว่า)
[๖๑] ผู้ใดพูดว่า เราจักให้แล้วกลับใจไม่ให้
ผู้นั้นชื่อว่าสวมบ่วงที่ตกไปบนพื้นดินไว้ที่คอ
[๖๒] ผู้ใดพูดว่า เราจักให้แล้วกลับใจไม่ให้
ผู้นั้นเป็นคนเลวกว่าคนที่เลว
ชื่อว่าเข้าถึงสถานที่ลงโทษแห่งพญายม
[๖๓] เขาขอสิ่งใด ควรให้สิ่งนั้น
เขาไม่ขอสิ่งใด ไม่ควรให้สิ่งนั้น
เราจักให้สิ่งที่พราหมณ์ขอกับเราเท่านั้น
(ลำดับนั้น พวกอำมาตย์ทูลถามพระราชาว่า)
[๖๔] ขอเดชะพระองค์ผู้จอมชน
พระองค์ทรงปรารถนาอายุ วรรณะ สุข
หรือพละอะไรหรือ จึงได้พระราชทาน
พระราชาผู้เป็นใหญ่แห่งชาวสีพี
จะพึงพระราชทานดวงพระเนตร
เพราะเหตุแห่งปรโลกได้อย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๓. สีวิราชชาดก (๔๙๙)
(พระราชาตรัสว่า)
[๖๕] เราบริจาคดวงตานั้นเพราะยศก็หามิได้
เราจะปรารถนาบุตร ทรัพย์ และแคว้นก็หาไม่
แต่นี้เป็นธรรมของสัตบุรุษที่ท่านประพฤติมาแต่โบราณ
เพราะเหตุนั้นแล ใจของเราจึงยินดีในการให้ทาน
ดวงตาทั้ง ๒ ข้างเราจะเกลียดชังก็หาไม่
ตัวตนเราจะเกลียดชังก็หาไม่
แต่สัพพัญญุตญาณเป็นที่รักของเรา
เพราะเหตุนั้น เราจึงได้บริจาคดวงตา
(พระโพธิสัตว์ได้กำชับนายแพทย์สีวิกะว่า)
[๖๖] นายแพทย์สีวิกะ ท่านเป็นเพื่อน เป็นมิตรของเรา
ศึกษามาดีแล้ว จงทำตามคำของเราโดยดี
เมื่อเรายังเห็นอยู่ ท่านจงควักดวงตา
แล้ววางไว้ในมือของวณิพก
(พระศาสดาทรงประกาศข้อความนั้นว่า)
[๖๗] นายแพทย์สีวิกะถูกพระเจ้าสีพีทรงเตือน
จึงกระทำตามรับสั่ง ได้ควักดวงพระเนตรของพระราชาแล้ว
ได้น้อมเข้าไปให้แก่พราหมณ์ พราหมณ์เป็นคนมีตาดี
พระราชากลับกลายเป็นคนมีพระเนตรบอดไป
[๖๘] จากวันนั้น สองสามวันต่อมา
เมื่อดวงพระเนตรมีเนื้องอกขึ้นมา
พระราชาผู้ทรงบำรุงแคว้นแห่งชาวกรุงสีพี
ให้เจริญรุ่งเรืองพระองค์นั้นทรงรับสั่งหานายสารถีมาตรัสว่า
[๖๙] พ่อสารถี เจ้าจงจัดเทียมยาน
เทียมเสร็จแล้วจงบอกให้ทราบ
เราจะไปยังอุทยาน สระโบกขรณี และราวป่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๓. สีวิราชชาดก (๔๙๙)
[๗๐] ก็พระราชาได้เสด็จเข้าไปประทับนั่งขัดสมาธิที่ริมฝั่งสระโบกขรณี
ท้าวสุชัมบดีสักกเทวราชได้ทรงปรากฏแก่ท้าวเธอ
(ฝ่ายท้าวสักกะซึ่งพระโพธิสัตว์ได้ยินเสียงฝีพระบาทแล้วทูลถาม จึงตรัสว่า)
[๗๑] ฤๅษีเจ้า หม่อมฉันเป็นท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทพ
ได้มาที่สำนักของพระองค์
ขอพระองค์จงขอพรที่พระองค์มีพระทัยปรารถนา
(พระราชาตรัสว่า)
[๗๒] ขอถวายพระพรท้าวสักกะ ทรัพย์ของอาตมาก็มีเพียงพอ
พลนิกายและพระคลังก็มีมิใช่น้อย
แต่บัดนี้ อาตมาเป็นคนตาบอดจึงพอใจการตายเท่านั้น
(ท้าวสักกะตรัสว่า)
[๗๓] พระมหากษัตริย์ผู้จอมมนุษย์ คำเหล่าใดเป็นคำสัตย์
ขอพระองค์จงตรัสคำเหล่านั้น
เมื่อพระองค์ตรัสคำสัตย์ ดวงพระเนตรจักปรากฏมีอีก
(พระโพธิสัตว์ผู้เป็นพระราชาได้ทำสัจจกิริยาว่า)
[๗๔] วณิพกมีโคตรต่าง ๆ กันเหล่าใดพากันมาเพื่อจะขอกับอาตมา
บรรดาวณิพกเหล่านั้น ผู้ใดย่อมขออาตมา
แม้ผู้นั้นย่อมเป็นที่รักแห่งใจของอาตมา
ด้วยสัจจวาจานี้ ขอดวงตาจงเกิดขึ้นแก่อาตมา
(ต่อมาไดัตรัสอีกว่า)
[๗๕] พราหมณ์ผู้มาขอกับอาตมาแล้วว่า
ขอพระองค์โปรดพระราชทานดวงตาข้างหนึ่งเถิด
อาตมาได้ประทานดวงตาให้พราหมณ์ซึ่งขออยู่นั้นไป ๒ ข้าง
[๗๖] ปีติและโสมนัสมิใช่น้อยได้ท่วมทับโดยยิ่ง
ด้วยสัจจวาจานี้ ขอดวงตาดวงที่ ๒ จงเกิดขึ้นแก่อาตมา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๓. สีวิราชชาดก (๔๙๙)
(ท้าวสักกะทรงชมเชยพระโพธิสัตว์ในท่ามกลางมหาชนว่า)
[๗๗] พระองค์ผู้ทรงผดุงแคว้นให้เจริญแก่ชาวกรุงสีพี
พระองค์ตรัสคาถาโดยธรรม
ดวงพระเนตรของพระองค์เหล่านี้จะปรากฏเป็นทิพย์
[๗๘] จะให้พระองค์สำเร็จการเห็นทะลุผ่านภายนอกฝา
ภายนอกกำแพงศิลาและภูเขาไปได้ไกลถึง ๑๐๐ โยชน์โดยรอบ
(พระโพธิสัตว์แสดงธรรมว่า)
[๗๙] ในโลกนี้ ใครหนอถูกเขาขอแล้ว
ไม่พึงให้ทรัพย์เครื่องปลื้มใจ
ทั้งวิเศษ ทั้งเป็นที่รักยิ่งของตน
เอาเถิด เราขอเตือนชาวสีพีทุกคนที่มาประชุมพร้อมกัน
ขอพวกท่านจงดูดวงตาทั้ง ๒ ซึ่งเป็นทิพย์ของเราในวันนี้
[๘๐] จะให้เราสำเร็จการเห็นทะลุผ่านภายนอกฝา
ภายนอกกำแพงศิลาและภูเขา
ไปได้ไกลถึง ๑๐๐ โยชน์โดยรอบ
[๘๑] ไม่มีอะไรของเหล่าสัตว์ในมนุษยโลกนี้
ที่จะยอดเยี่ยมไปกว่าการบริจาค
เราได้บริจาคดวงตาซึ่งเป็นของมนุษย์แล้ว
กลับได้ดวงตาอันยิ่งกว่าของมนุษย์
[๘๒] พี่น้องชาวกรุงสีพีทั้งหลาย
พวกท่านได้เห็นดวงตาทิพย์ ที่เราได้แล้วแม้นี้
จงให้ทาน จงบริโภคเถิด
คนที่ให้แล้วและบริโภคแล้วตามความสามารถ
ไม่พึงถูกนินทา พึงเข้าถึงแดนสวรรค์
สีวิราชชาดกที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๔. สิรีมันตชาดก (๕๐๐)
๔. สิรีมันตชาดก (๕๐๐)
ว่าด้วยปัญหาความมีสิริกับมีปัญญา
(พระราชาตรัสในสิริมันตปัญหาว่า)
[๘๓] ท่านอาจารย์เสนกะ เราขอถามเนื้อความนี้กับท่าน
ในคน ๒ ประเภทนี้ คือ คนที่มีปัญญาแต่ปราศจากสิริ
หรือคนที่มียศแต่ปราศจากปัญญา
ผู้ฉลาดกล่าวคนไหนว่าประเสริฐ
(เสนกบัณฑิตกราบทูลอย่างฉับพลันว่า)
[๘๔] ขอเดชะพระองค์ผู้จอมชน
คนทั้งหลายเป็นนักปราชญ์ก็ตาม เป็นคนโง่ก็ตาม
มีศิลปะก็ตาม ไม่มีศิลปะก็ตาม
แม้มีชาติสกุลสูง ก็เป็นคนรับใช้ของคนมียศถึงจะมีชาติสกุลต่ำ
ข้าพระองค์เห็นเหตุแม้นี้ จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญาเป็นคนเลว
คนมีสิริเท่านั้นเป็นคนประเสริฐ
(พระราชาตรัสถามมโหสธบัณฑิตซึ่งนั่งเป็นคนใหม่ในหมู่บัณฑิตว่า)
[๘๕] เราขอถามท่านบ้าง พ่อมโหสธบัณฑิต
ผู้มีปัญญาไม่ทราม ผู้เห็นธรรมโดยสิ้นเชิง ในคน ๒ ประเภทนี้
คือ คนโง่แต่มียศ หรือบัณฑิตแต่มีโภคทรัพย์น้อย
ผู้ฉลาดกล่าวคนไหนว่าประเสริฐ
(พระโพธิสัตว์มโหสธบัณฑิตกราบทูลว่า)
[๘๖] คนโง่ทำแต่กรรมชั่ว สำคัญอิสริยยศนี้เท่านั้นว่าประเสริฐ
คนโง่เห็นแต่โลกนี้ ไม่เห็นโลกหน้า
จึงยึดถือเอาแต่โทษในโลกทั้ง ๒
ข้าพระองค์เห็นเหตุแม้นี้จึงกราบทูลว่า
คนมีปัญญาเท่านั้นประเสริฐ คนโง่ที่มียศหาประเสริฐไม่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๔. สิรีมันตชาดก (๕๐๐)
(เสนกบัณฑิตกราบทูลคัดค้านแล้วว่า)
[๘๗] ศิลปะนี้ก็ดี เผ่าพันธุ์ก็ดี ส่วนแห่งร่างกายก็ดี
หาจัดแจงโภคะได้ไม่
โปรดทอดพระเนตรโควินทะผู้ใบ้เพราะน้ำลาย
ซึ่งไดัรับความสุขเพราะคนมีสิริย่อมคบหาเขา
ข้าพระองค์เห็นเหตุแม้นี้จึงกราบทูลว่า
คนมีปัญญาเป็นคนเลว คนมีสิริเท่านั้นประเสริฐ
(มโหสธบัณฑิตกราบทูลคัดค้านว่า)
[๘๘] คนมีปัญญาน้อยได้รับความสุขย่อมมัวเมา
แม้ถูกความทุกข์กระทบย่อมหลง
ถูกความสุขและความทุกข์จรมากระทบเข้า
ย่อมหวั่นไหวเหมือนปลาในฤดูร้อน
ข้าพระองค์เห็นเหตุแม้นี้จึงกราบทูลว่า
คนมีปัญญาเท่านั้นประเสริฐ คนโง่ถึงมียศก็หาประเสริฐไม่
(เสนกบัณฑิตกราบทูลคัดค้านว่า)
[๘๙] ต้นไม้ในป่าที่มีผลดก ฝูงนกย่อมบินโฉบไปมาอยู่รอบต้นฉันใด
คนผู้มั่งคั่งมีทรัพย์ มีโภคะก็ฉันนั้น
คนเป็นจำนวนมากย่อมคบหาเพราะเหตุแห่งประโยชน์
ข้าพระองค์เห็นเหตุแม้นี้จึงกราบทูลว่า
คนมีปัญญาเป็นคนเลว คนมีสิริเท่านั้นประเสริฐ
(มโหสธบัณฑิตกราบทูลคัดค้านว่า)
[๙๐] คนโง่ถึงจะมีกำลังก็หายังประโยชน์ให้สำเร็จได้ไม่
นายนิรยบาลทั้งหลายย่อมฉุดคร่าคนมีปัญญาทราม
ผู้คร่ำครวญถึงทรัพย์ที่ตนหามาได้ด้วยกรรมอันโหดร้าย
ไปสู่นรกที่มีเวทนาอันแรงกล้า
ข้าพระองค์เห็นเหตุแม้นี้จึงกราบทูลว่า
คนมีปัญญาเท่านั้นประเสริฐ คนโง่ถึงมียศก็หาประเสริฐไม่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๔. สิรีมันตชาดก (๕๐๐)
(เสนกบัณฑิตกราบทูลว่า)
[๙๑] แม่น้ำบางสายย่อมไหลลงสู่แม่น้ำคงคา
แม่น้ำเหล่านั้นทุกสายย่อมละทิ้งชื่อและโคตร(ของตน)
แม่น้ำคงคาเมื่อไหลลงสู่ท้องทะเลก็ไม่ปรากฏชื่อฉันใด
แม้คนมีปัญญาในโลกก็ฉันนั้น ย่อมไม่ปรากฏความสำเร็จ
ข้าพระองค์เห็นเหตุแม้นี้จึงกราบทูลว่า
คนมีปัญญาเป็นคนเลว คนมีสิริเท่านั้นประเสริฐ
(มโหสธบัณฑิตกราบทูลว่า)
[๙๒] ทะเลใหญ่หลวงที่ท่านอาจารย์กล่าวถึง
ซึ่งแม่น้ำน้อยใหญ่หลั่งไหลไป
นับไม่ถ้วนอยู่ตลอดกาลทั้งปวง
มีกำลังโอฬารอยู่เป็นนิตย์
มหาสมุทรย่อมไม่ล่วงเลยฝั่งไปได้ฉันใด
[๙๓] แม้ถ้อยคำของคนโง่ก็ฉันนั้น ในกาลบางครั้งบางคราว
ถึงคนมีสิริก็ไม่ล่วงเลยคนมีปัญญาไปได้
ข้าพระองค์เห็นเหตุแม้นี้จึงกราบทูลว่า
คนมีปัญญาเท่านั้นประเสริฐ คนโง่ถึงมียศก็หาประเสริฐไม่
(เสนกบัณฑิตกราบทูลว่า)
[๙๔] ถึงแม้คนผู้ไม่สำรวมแต่มียศ
ดำรงอยู่ในฐานะผู้วินิจฉัย
ย่อมกล่าวเนื้อความแก่คนเหล่าอื่น
ถ้อยคำของเขานั้นนั่นแลย่อมงอกงามในท่ามกลางแห่งหมู่ญาติ
เพราะคนมีสิริยังคนเหล่าอื่นให้ทำตามถ้อยคำของตนนั้นได้
คนมีปัญญาหาทำได้ไม่
ข้าพระองค์เห็นเหตุแม้นี้จึงกราบทูลว่า
คนมีปัญญาเป็นคนเลว คนมีสิริเท่านั้นประเสริฐ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๔. สิรีมันตชาดก (๕๐๐)
(มโหสธบัณฑิตกราบทูลว่า)
[๙๕] เพราะเหตุแห่งคนอื่นบ้าง หรือเพราะเหตุแห่งตนบ้าง
คนโง่มีปัญญาน้อยย่อมพูดเท็จได้
เขาย่อมถูกนินทาในท่ามกลางสภา แม้ในภายหลังเขาย่อมไปสู่ทุคติ
ข้าพระองค์เห็นเหตุแม้นี้จึงกราบทูลว่า
คนมีปัญญาเท่านั้นประเสริฐ คนโง่ถึงมียศก็หาประเสริฐไม่
(เสนกบัณฑิตกราบทูลว่า)
[๙๖] คนมีปัญญาดังแผ่นดินแต่ไม่มีที่อยู่อาศัย
มีทรัพย์น้อย ยากจน แม้หากจะกล่าวข้อความ
ถ้อยคำของเขานั้นหางอกงามในท่ามกลางหมู่ญาติไม่
ธรรมดาสิริไม่มีแก่คนมีปัญญา
ข้าพระองค์เห็นเหตุแม้นี้จึงกราบทูลว่า
คนมีปัญญาเป็นคนเลว คนมีสิริเท่านั้นประเสริฐ
(มโหสธบัณฑิตกราบทูลว่า)
[๙๗] เพราะเหตุแห่งคนอื่นบ้าง เพราะเหตุแห่งตนบ้าง
คนมีปัญญาดังแผ่นดินจะไม่พูดเหลาะแหละ
เขามีคนบูชาแล้วในท่ามกลางสภา แม้ในภายหลังเขาก็ไปสู่สุคติ
ข้าพระองค์เห็นเหตุแม้นี้ จึงกราบทูลว่า
คนมีปัญญาเท่านั้นประเสริฐ คนโง่ถึงมียศก็หาประเสริฐไม่
(เสนกบัณฑิตกราบทูลว่า)
[๙๘] ช้าง โค ม้า ต่างหูแก้วมณี
และหญิงทั้งหลายเกิดในสกุลที่มั่งคั่ง
ทั้งหมดเหล่านั้นล้วนเป็นเครื่องอุปโภคของคนมั่งคั่ง
คนผู้ไม่มั่งคั่งก็เป็นเครื่องอุปโภคของคนมั่งคั่ง
ข้าพระองค์เห็นเหตุแม้นี้ จึงกราบทูลว่า
คนมีปัญญาเป็นคนเลว คนมีสิริเท่านั้นประเสริฐ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๕. โรหณมิคชาดก (๕๐๑)
(มโหสธบัณฑิตยกเหตุผลอย่างอื่นมาว่า)
[๙๙] สิริย่อมละคนโง่ผู้ไม่จัดแจงการงาน
มีความคิดเลวทราม มีปัญญาทรามไปเหมือนงูลอกคราบเก่าทิ้ง
ข้าพระองค์เห็นเหตุแม้นี้จึงกราบทูลว่า
คนมีปัญญาเท่านั้นประเสริฐ คนโง่ถึงมียศก็หาประเสริฐไม่
(ต่อมาเสนกบัณฑิตคิดจะทำลายวาทะของมโหสธบัณฑิต จึงกล่าวว่า)
[๑๐๐] ขอจงทรงพระเจริญ ข้าพระองค์ทั้ง ๕ คนนี่แหละเป็นบัณฑิต
ทั้งหมดล้วนต้องประคองอัญชลีบำรุงพระองค์
พระองค์ทรงเป็นอิสระครอบงำข้าพระองค์ทั้งหลาย
ดุจท้าวสักกเทวราชผู้เป็นเจ้าแห่งภูต
ข้าพระองค์เห็นเหตุแม้นี้จึงกราบทูลว่า
คนมีปัญญาเป็นคนเลว คนมีสิริเท่านั้นประเสริฐ
(พระโพธิสัตว์มโหสธบัณฑิตเมื่อจะทำลายวาทะของเสนกบัณฑิต จึงกราบทูล
พระราชาว่า)
[๑๐๑] คนโง่มียศ เมื่อมีเหตุต่าง ๆ เกิดขึ้น
ก็เป็นทาสคนมีปัญญา
บัณฑิตย่อมจัดการเหตุที่ละเอียดได้
คนโง่ย่อมถึงความงวยงงในเหตุนั้น
ข้าพระองค์เห็นเหตุแม้นี้จึงกราบทูลว่า
คนมีปัญญาเท่านั้นประเสริฐ คนโง่ถึงมียศก็หาประเสริฐไม่
(พระโพธิสัตว์มโหสธบัณฑิตสรรเสริญปัญญาให้ยิ่งขึ้นไปว่า)
[๑๐๒] แท้จริง ปัญญาเท่านั้นสัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญ
สิริเป็นที่ต้องการของคนโง่ผู้ยินดีในโภคะ
ส่วนญาณของท่านผู้รู้ทั้งหลายชั่งไม่ได้
คนมีสิริล่วงเลยคนมีปัญญาไปไม่ได้ไม่ว่าในกาลไหน ๆ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๕. โรหณมิคชาดก (๕๐๑)
(พระราชาสดับดังนั้นทรงยินดีต่อการแก้ปัญหาของพระโพธิสัตว์มโหสธ จึงตรัสว่า)
[๑๐๓] พ่อมโหสธบัณฑิตผู้เห็นธรรมโดยสิ้นเชิง
เราได้ถามปัญหาใดกับเจ้า เจ้าก็ได้แก้ปัญหานั้นแก่เรา
เราพอใจการแก้ปัญหา จึงให้โคแก่เจ้า ๑,๐๐๐ ตัว
โคอุสภะและช้าง รถเทียมม้าอาชาไนยเหล่านี้ ๑๐ คัน
และบ้านส่วย ๑๖ ตำบล
สิรีมันตชาดกที่ ๔ จบ

๕. โรหณมิคชาดก (๕๐๑)
ว่าด้วยพญาเนื้อชื่อโรหณะ
(พระโพธิสัตว์เกิดเป็นพญาเนื้อโรหณะพบเนื้อจิตตกะตัวน้อง จึงกล่าวว่า)
[๑๐๔] พ่อจิตตกะ ฝูงเนื้อเหล่านั้นกลัวตายจึงพากันหลบหนีไป
ถึงเจ้าก็จงหนีไปเถิด อย่าห่วงใยพี่เลย
ฝูงเนื้อเหล่านั้นจักมีชีวิตอยู่ร่วมกับเจ้า
(เนื้อจิตตกะตอบว่า)
[๑๐๕] พี่โรหณะ ฉันไม่ไป ถึงใครจักควักดวงใจฉันไป
ฉันก็จักไม่ละทิ้งพี่ไป ฉันจักสละชีวิตทิ้งไว้ ณ ที่นี่
(พญาเนื้อโรหณะกล่าวว่า)
[๑๐๖] ก็บิดามารดาผู้ตาบอดของพวกเรา
ท่านทั้ง ๒ นั้นไม่มีผู้นำจักต้องตายแน่
ถึงเจ้าก็จงหนีไปเถิด อย่าห่วงใยพี่เลย
ท่านทั้ง ๒ นั้นจักมีชีวิตอยู่ร่วมกับเจ้า
(เนื้อจิตตกะกล่าวว่า)
[๑๐๗] พี่โรหณะ ฉันไม่ไป ถึงใครจักควักดวงใจฉันไป
ฉันก็จักไม่ละทิ้งพี่ผู้ติดบ่วงไป ฉันจักสละชีวิตทิ้งไว้ ณ ที่นี่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๕. โรหณมิคชาดก (๕๐๑)
(พระโพธิสัตว์โรหณะเห็นน้องสุตนากลับมา จึงกล่าวว่า)
[๑๐๘] หนีไปเถิด น้องหญิงผู้มีความกลัว เจ้าจงหนีไป
พี่ติดบ่วงที่ล่ามติดกับเหล็ก ถึงเจ้าก็จงหนีไปเถิด
อย่าห่วงใยพี่เลย ฝูงเนื้อเหล่านั้นจักมีชีวิตอยู่ร่วมกับเจ้า
(เนื้อสุตนากล่าวว่า)
[๑๐๙] พี่โรหณะ ฉันไม่ไป ถึงใครจักควักดวงใจฉันไป
ฉันก็จักไม่ละทิ้งพี่ไป ฉันจักสละชีวิตทิ้งไว้ ณ ที่นี่
(พญาเนื้อโพธิสัตว์โรหณะกล่าวว่า)
[๑๑๐] ก็บิดามารดาผู้ตาบอดของพวกเรา
ท่านทั้ง ๒ นั้นไม่มีผู้นำจักต้องตายแน่
ถึงเจ้าก็จงหนีไปเถิด อย่าห่วงใยพี่เลย
ท่านทั้ง ๒ นั้นจักมีชีวิตอยู่ร่วมกับเจ้า
(เนื้อสุตนาตอบว่า)
[๑๑๑] พี่โรหณะ ฉันไม่ไป ถึงใครจักควักดวงใจฉันไป
ฉันก็จักไม่ละทิ้งพี่ผู้ติดบ่วงไป ฉันจักสละชีวิตทิ้งไว้ ณ ที่นี่
(พญาเนื้อโพธิสัตว์โรหณะเห็นนายพรานกำลังเดินมา จึงกล่าวว่า)
[๑๑๒] นั่นไง นายพรานผู้โหดร้ายพร้อมทั้งอาวุธ
ผู้จักใช้ลูกศรหรือหอกฆ่าพวกเราในวันนี้กำลังเดินมา
(พระศาสดาทรงประกาศข้อความนั้นว่า)
[๑๑๓] นางลูกเนื้อนั้น ถูกภัยบีบคั้นคุกคามวิ่งหนีไปครู่หนึ่ง
ถึงจะมีความกลัวแต่ก็ได้ทำสิ่งที่ทำได้แสนยาก
ได้กลับมาเผชิญหน้าต่อความตาย
(นายพรานถามเหตุผลที่เนื้อ ๒ ตัวเป็นอะไรกับพญาเนื้อว่า)
[๑๑๔] เนื้อทั้ง ๒ นี้เป็นอะไรกับเจ้าหนอ
พ้นไปแล้วยังกลับมาหาเจ้าผู้ติดบ่วงอีก
พวกเขาไม่ปรารถนาจะทิ้งเจ้าไปแม้เพราะเหตุแห่งชีวิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๕. โรหณมิคชาดก (๕๐๑)
[๑๑๔] เนื้อทั้ง ๒ นี้เป็นอะไรกับเจ้าหนอ
พ้นไปแล้วยังกลับมาหาเจ้าผู้ติดบ่วงอีก
พวกเขาไม่ปรารถนาจะทิ้งเจ้าไปแม้เพราะเหตุแห่งชีวิต
(ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ได้บอกแก่นายพรานนั้นว่า)
[๑๑๕] นายพราน เขาทั้ง ๒ เป็นพี่น้อง
ร่วมท้องมารดาเดียวกันกับข้าพเจ้า
พวกเขาจึงไม่ปรารถนาจะทิ้งข้าพเจ้าไปแม้เพราะเหตุแห่งชีวิต
(พญาเนื้อจิตตกะรู้ว่านายพรานมีจิตอ่อนโยนจึงกล่าวเหตุผลต่าง ๆ ว่า)
[๑๑๖] ก็บิดามารดาผู้ตาบอดของพวกเรา
ท่านทั้ง ๒ นั้นไม่มีผู้นำจักต้องตายแน่
ขอท่านจงให้ชีวิตแก่พวกเราทั้ง ๕
โปรดปล่อยพี่ชายของพวกเราเถิด พ่อพราน
(นายพรานนั้นฟังธรรมของเนื้อจิตตกะแล้วมีจิตเลื่อมใส จึงกล่าวปลอบโยนว่า)
[๑๑๗] เรานั้นจะปล่อยเนื้อที่เลี้ยงบิดามารดา
ขอบิดามารดาของพวกเจ้าจงรื่นเริงบันเทิงใจ
เพราะได้เห็นพญาเนื้อหลุดพ้นจากบ่วงแล้วเถิด
(เนื้อจิตตกะพบพระโพธิสัตว์แล้วดีใจจึงอนุโมทนาแก่นายพรานว่า)
[๑๑๘] นายพราน วันนี้ข้าพเจ้าเห็นพญาเนื้อ
พ้นจากอันตรายแล้วย่อมร่าเริงฉันใด
ขอท่านพร้อมกับญาติทั้งหมดจงร่าเริงฉันนั้นเถิด
(บิดามารดาถามถึงเหตุที่พญาเนื้อโรหณะหลุดจากบ่วงว่า)
[๑๑๙] เมื่อชีวิตเข้ามาใกล้ความตาย เจ้าหลุดพ้นมาได้อย่างไร
ลูกรัก ทำไมนายพรานจึงได้ปลดปล่อยเจ้าออกจากบ่วงเสียเล่า
(พระโพธิสัตว์กล่าวว่า)
[๑๒๐] น้องจิตตกะ เมื่อกล่าววาจาอันไพเราะหู จับจิตจับใจ
ซาบซึ้งตรึงใจ ช่วยให้ลูกหลุดพ้นมาได้ด้วยวาจาสุภาษิต
[๑๒๑] น้องสุตนา เมื่อกล่าววาจาอันไพเราะหู จับจิตจับใจ
ซาบซึ้งตรึงใจ ช่วยให้ลูกหลุดพ้นมาได้ด้วยวาจาสุภาษิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๖. จูฬหังสชาดก (๕๐๒)
[๑๒๒] เพราะฟังวาจาไพเราะหู จับจิตจับใจ ซาบซึ้งตรึงใจ
และเพราะได้ฟังวาจาสุภาษิต นายพรานจึงได้ปล่อยลูกมา
(บิดามารดาอนุโมทนาต่อนายพรานว่า)
[๑๒๓] ขอให้นายพรานจงรื่นเริงบันเทิงใจพร้อมกับบุตรและภรรยา
เหมือนพวกเรารื่นเริงบันเทิงใจในวันนี้
เพราะได้เห็นพ่อโรหณะกลับมา
(พระราชาทรงเห็นนายพรานมาเฝ้า จึงตรัสว่า)
[๑๒๔] นายพราน เจ้าได้กล่าวไว้แล้วว่า
จักนำตัวเนื้อหรือหนังมามิใช่หรือ
ก็เพราะเหตุอะไรเล่า เจ้าจึงไม่นำตัวเนื้อหรือหนังมาเลย
(นายพรานกราบทูลว่า)
[๑๒๕] พญาเนื้อได้มาสู่เงื้อมมือและได้ติดบ่วงแล้ว
แต่เนื้อที่ไม่ติดบ่วง ๒ ตัวได้เข้ามาหาพญาเนื้อนั้น
[๑๒๖] ข้าพระองค์นั้นได้มีความสังเวช
ขนพองสยองเกล้า ไม่เคยเป็นมาก่อนว่า
ถ้าเราฆ่าเนื้อตัวนี้ เราจักเสียชีวิตในวันนี้
(พระราชาทรงสดับดังนั้นแล้ว ตรัสว่า)
[๑๒๗] นายพราน เนื้อเหล่านั้นเป็นเช่นไร มีธรรมเช่นไร
มีสีสันอย่างไร มีปกติอย่างไร
เจ้าจึงสรรเสริญพวกมันเสียหนักหนา
(นายพรานกราบทูลว่า)
[๑๒๘] เนื้อเหล่านั้นมีเขาสีขาว ขนหางสะอาด
ผิวหนังประดุจทองคำ
เท้าแดง ดวงตาเยิ้ม เป็นที่น่ารื่นรมย์ใจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๖. จูฬหังสชาดก (๕๐๒)
(นายพรานประกาศสีกายของเนื้อเหล่านั้นว่า)
[๑๒๙] ขอเดชะพระองค์ผู้สมมติเทพ เนื้อเหล่านั้นเป็นเช่นนี้
มีธรรมเช่นนี้ เป็นผู้เลี้ยงดูบิดามารดา
ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้าจึงมิได้นำมาถวายพระองค์
(พระราชาทรงพอพระทัยแล้วทรงรับสั่งปูนบำเหน็จชุบเลี้ยงบุตรนายพรานด้วยยศ
ใหญ่โดยตรัสว่า)
[๑๓๐] พ่อพราน เราจะให้ทองคำแก่ท่าน ๑๐๐ แท่ง
ต่างหูแก้วมณีที่มีค่ามาก และบัลลังก์ ๔ เหลี่ยม
มีสีอันเป็นสิริคล้ายดอกสามหาว
[๑๓๑] ภรรยาที่เหมาะสมกัน ๒ คน และโคอุสภะอีก ๑๐๐ ตัว
เราจักครอบครองราชสมบัติโดยธรรม
พ่อพราน ท่านมีอุปการะแก่เรามาก
[๑๓๒] พ่อพราน ท่านจงเลี้ยงดูภรรยาด้วยกสิกรรม พาณิชกรรม
การให้กู้หนี้ และการเที่ยวแสวงหาโดยธรรมเถิด
อย่าได้กระทำบาปอีกเลย
โรหณมิคชาดกที่ ๕ จบ

๖. จูฬหังสชาดก (๕๐๒)
ว่าด้วยหงส์สุมุขะผู้ภักดีต่อพญาหงส์จูฬหังสะ
(พระโพธิสัตว์เกิดเป็นพญาหงส์ทองเมื่อจะทดลองใจหงส์สุมุขะ จึงกล่าวว่า)
[๑๓๓] ฝูงหงส์เหล่านั้นถูกภัยคุกคาม
มีความกลัวจนต้องบินหนีไป
ท่านสุมุขะผู้มีผิวพรรณเหลืองอร่ามดังทองคำ
ท่านจงบินหนีไปตามความประสงค์เถิด
[๑๓๔] เราผู้เดียวติดบ่วงอยู่ หมู่ญาติทั้งหลายไม่เหลียวแล
พากันละทิ้งบินหนีไป ไยเล่ายังเหลือเจ้าอยู่แต่ตัวเดียว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๖. จูฬหังสชาดก (๕๐๒)
[๑๓๕] ท่านสุมุขะผู้ประเสริฐโผบินไปเถอะ
เพราะความเป็นสหายไม่มีในผู้ติดบ่วงหรอก
ท่านอย่าทำความเพียรเพื่อความไม่มีทุกข์ให้เสื่อมเสียไปเลย
จงบินหนีไปตามความประสงค์เถิด
(หงส์สุมุขะเสนาบดีจับที่หลังเปือกตมกล่าวว่า)
[๑๓๖] ท้าวธตรัฏฐะ ข้าพระองค์จะไม่ละทิ้งพระองค์ไป
เพราะเหตุเพียงเท่านี้ว่า พระองค์ต้องประสบทุกข์
ข้าพระองค์จะอยู่จะตายกับพระองค์
(พญาหงส์ธตรัฏฐะกล่าวว่า)
[๑๓๗] ท่านสุมุขะ คำใดที่ท่านกล่าวออกมา
คำนั้นเป็นคำอันดีงามของอริยชน
แต่เราเมื่อจะทดลองท่าน จึงได้กล่าวคำนั้นออกไปว่า
จงบินหนีไปเสียเถิด
(ฝ่ายบุตรนายพรานเข้าไปหาพญาหงส์แล้วกล่าวว่า)
[๑๓๘] ท่านผู้ประเสริฐอุดมกว่าหงส์ทั้งหลาย
วิสัยปักษาทิชาชาติตัวผงาดสัญจรไปในอากาศ
ย่อมทำอากาศที่ไม่ใช่ทางให้เป็นทางบินไปได้
ท่านไม่ทราบว่ามีบ่วงแต่ที่ไกลหรือ
(พญาหงส์โพธิสัตว์กล่าวว่า)
[๑๓๙] เมื่อใดสัตว์มีความเสื่อมในขณะจะสิ้นชีวิต
เมื่อนั้นถึงจะมาใกล้ข่ายและบ่วงก็ไม่รู้
(นายพรานชื่นชมถ้อยคำของพญาหงส์ จึงสนทนากับพญาหงส์สุมุขะว่า)
[๑๔๐] ฝูงหงส์เหล่านั้นถูกภัยคุกคาม มีความกลัวจนต้องบินหนีไป
ท่านผู้มีผิวพรรณเหลืองอร่ามดังทองคำ ท่านเท่านั้นยังเหลืออยู่
[๑๔๑] นกทั้งหลายเหล่านั้นกินดื่มแล้วก็บินไป
ไม่เหลียวแล ท่านผู้เดียวเท่านั้นยังอยู่ใกล้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๖. จูฬหังสชาดก (๕๐๒)
[๑๔๒] นกตัวนี้เป็นอะไรกับเจ้าหนอ
พ้นไปแล้วยังเข้าไปใกล้นกตัวติดบ่วง
นกทั้งหลายพากันทอดทิ้งบินหนีไป
ไยเล่ายังเหลือเจ้าอยู่แต่ตัวเดียว
(หงส์สุมุขะเสนาบดีกล่าวว่า)
[๑๔๓] นกตัวนั้นเป็นราชาของข้าพเจ้า
เป็นทั้งมิตรเป็นทั้งเพื่อนเสมอด้วยชีวิตของข้าพเจ้า
ข้าพเจ้าจักไม่ละทิ้งท่านไปตราบจนวันตาย
(นายพรานฟังดังนั้นแล้วมีจิตเลื่อมใส คิดจะปล่อยพญาหงส์ที่ติดบ่วง จึง
กล่าวว่า)
[๑๔๔] ก็เจ้าประสงค์จะสละชีวิตเพราะเหตุแห่งเพื่อน
เรายอมปล่อยสหายของเจ้า ขอพญาหงส์จงตามเจ้าไปเถิด
(หงส์สุมุขะเสนาบดีมองดูพระโพธิสัตว์มีจิตยินดี จึงอนุโมทนาแก่นายพรานว่า)
[๑๔๕] นายพราน วันนี้ข้าพเจ้าเห็นพญาหงส์ผู้เป็นใหญ่กว่านก
พ้นจากอันตรายแล้วย่อมร่าเริงฉันใด
ขอท่านพร้อมกับญาติทั้งหมดจงร่าเริงฉันนั้นเถิด
(พญาหงส์ทูลถามพระราชาว่า)
[๑๔๖] พระองค์ทรงพระเกษมสำราญแลหรือ
มีพระอนามัยสมบูรณ์แลหรือ รัฐสีมารุ่งเรืองแลหรือ
พระองค์ทรงอนุศาสน์พร่ำสอนพสกนิกรโดยธรรมแลหรือ
(พระราชาตรัสว่า)
[๑๔๗] พญาหงส์ เราสุขเกษมสำราญดี
อนามัยก็สมบูรณ์ดี อนึ่ง รัฐสีมาก็รุ่งเรือง
และเราก็อนุศาสน์พร่ำสอนพสกนิกรโดยธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๗. สัตติคุมพชาดก (๕๐๓)
(พญาหงส์ทูลถามว่า)
[๑๔๘] โทษบางประการในหมู่อำมาตย์ของพระองค์ไม่มีแลหรือ
อนึ่ง พระองค์มีศัตรูหมู่อมิตรอยู่ห่างไกล
ดุจพระฉายาด้านทิศทักษิณแลหรือ
(พระราชาตอบว่า)
[๑๔๙] แม้โทษบางประการในหมู่อำมาตย์ของเราก็ไม่มี
อนึ่ง เรามีศัตรูหมู่อมิตรอยู่ห่างไกลดุจเงาด้านทิศทักษิณ
(พญาหงส์ทูลถามว่า)
[๑๕๐] พระองค์ทรงมีพระมเหสีที่เหมาะสมอยู่ในพระโอวาท
มีพระเสาวนีย์ที่น่ารัก ถึงพร้อมด้วยพระโอรส
พระรูป และพระยศ อยู่ในพระอำนาจตามความพอพระทัย
ของพระองค์แลหรือ
(พระราชาตอบว่า)
[๑๕๑] ถูกแล้ว เรามีมเหสีที่เหมาะสมอยู่ในโอวาท มีดำรัสที่น่ารัก
ถึงพร้อมด้วยปุตตสมบัติ รูปสมบัติ และยศสมบัติ
อยู่ในอำนาจตามความพอใจของเรา
(พญาหงส์ทูลถามว่า)
[๑๕๒] ขอเดชะพระองค์ผู้ทรงผดุงรัฐให้เจริญ
พระราชบุตรจำนวนมากของพระองค์ ทรงสมภพมาดีแล้ว
ถึงพร้อมด้วยพระปรีชาเฉลียวฉลาด
ยังทรงพากันรื่นเริงบันเทิงพระทัยอยู่ ณ สถานที่นั้น ๆ แลหรือ
(พระราชาตอบว่า)
[๑๕๓] ท้าวธตรัฏฐะ บุตรของเรา ๑๐๑ พระองค์ปรากฏแล้วเพราะเรา
ขอท่านโปรดชี้แจงกิจที่พึงกระทำแก่พวกเขาด้วยเถิด
พวกเขาจะไม่ฝ่าฝืนคำของท่าน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๗. สัตติคุมพชาดก (๕๐๓)
(พญาหงส์พระโพธิสัตว์ได้ฟังพระราชดำรัสแล้วได้ถวายโอวาทแก่พระราชบุตร
เหล่านั้นว่า)
[๑๕๔] แม้ถ้าว่ากุลบุตรผู้เข้าถึงโดยชาติกำเนิดหรือโดยวินัย
แต่ประกอบความเพียรในภายหลัง
เขาย่อมตกอยู่ในห้วงแห่งอันตรายที่แก้ไขได้ยาก
[๑๕๕] ช่องโหว่อันใหญ่หลวงย่อมเกิดแก่เขาผู้มีปัญญาง่อนแง่น
เหมือนคนผู้ตกอยู่ในความมืดแห่งราตรี
ย่อมเห็นได้แต่รูปหยาบ ๆ เท่านั้น
[๑๕๖] ส่วนกุลบุตรผู้รู้แต่การประกอบความเพียร
ในสิ่งที่ไม่เป็นสาระว่าเป็นสาระ เขาจะไม่ประสบความรู้เลย
ย่อมตกอยู่ในห้วงอันตรายอย่างเดียวเหมือนกวางที่ตกอยู่ที่ซอกเขา
[๑๕๗] แม้หากว่าคนผู้มีชาติสกุลต่ำ
แต่เป็นคนมีความขยันหมั่นเพียร
มีปัญญา สมบูรณ์ด้วยอาจาระและศีล
ก็ย่อมรุ่งเรืองเหมือนไฟในราตรี
[๑๕๘] ขอพระองค์ทรงทำข้อที่ข้าพระองค์กล่าวแล้วนั้น
ให้เป็นข้อเปรียบเทียบ แล้วทรงให้พระราชบุตรดำรงอยู่ในวิชา
กุลบุตรผู้มีปัญญาย่อมงอกงามเหมือนพืชในนางอกงามเพราะน้ำฝน
จูฬหังสชาดกที่ ๖ จบ

๗. สัตติคุมพชาดก (๕๐๓)
ว่าด้วยนกแขกเต้าชื่อว่าสัตติคุมพะ
(พระศาสดาทรงนำอดีตนิทานมาตรัสว่า)
[๑๕๙] พระมหาราชผู้เป็นจอมทัพแห่งชาวแคว้นปัญจาละ
ทรงเป็นดุจนายพรานเนื้อ เสด็จออกพร้อมกับเสนา
ทรงพลัดกับหมู่คณะ เสด็จมายังราวป่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๗. สัตติคุมพชาดก (๕๐๓)
[๑๖๐] ทอดพระเนตรเห็นกระท่อมที่พวกโจรสร้างไว้ในป่านั้น
นกแขกเต้าได้บินออกจากกระท่อมไป กล่าวถ้อยคำที่หยาบช้าว่า
[๑๖๑] มีกษัตริย์หนุ่มน้อยพร้อมทั้งพาหนะ
มีพระกุณฑลงามเกลี้ยงเกลาดี
มีกรอบพระพักตร์แดงงาม
เหมือนดวงอาทิตย์ส่องแสงสว่างในกลางวัน
[๑๖๒] พระราชาบรรทมหลับพร้อมกับนายสารถี
เอาเถิด พวกเราจะรีบช่วยกัน
แย่งชิงอาภรณ์ของท้าวเธอเสียทั้งหมด
[๑๖๓] แม้เวลานี้ก็เงียบสงัดเหมือนเวลาเที่ยงวัน
พระราชาบรรทมหลับอยู่พร้อมกับนายสารถี
พวกเราช่วยกันแย่งชิงพระภูษาและพระกุณฑลแก้วมณี
ปลงพระชนม์แล้วกลบพระศพด้วยกิ่งไม้
(พ่อครัวปติโกลัมพะได้ฟังคำพูดของลูกนกแขกเต้านั้น จึงออกไปดู รู้ว่าเป็น
พระราชา ตกใจกลัว จึงกล่าวว่า)
[๑๖๔] เจ้าเป็นบ้าไปแล้วหรืออย่างไร สัตติคุมพะ พูดออกมาได้
ธรรมดาพระราชาทั้งหลายยากที่จะเข้าถึงพระองค์ได้
เหมือนดังไฟที่ลุกโพลง
(นกแขกเต้าสัตติคุมพะกล่าวโต้ตอบพ่อครัวว่า)
[๑๖๕] ปติโกลัมพะ เมื่อท่านเมาคุยคำโต ๆ ออกมา
เมื่อมารดาของเราเปลือยกาย ท่านจึงรังเกียจโจรกรรมหรือหนอ
(พระราชาตื่นบรรทมได้ยินคำพูดของนกแขกเต้าสัตติคุมพะพูดกับพ่อครัวด้วย
ภาษามนุษย์ ปลุกนายสารถีให้ลุกขึ้น ตรัสว่า)
[๑๖๖] ลุกขึ้นเถิด พ่อสารถีเพื่อนยาก เจ้าจงรีบเทียมรถ
เราไม่ชอบใจนกนี้เลย เราไปยังอาศรมอื่นกันเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๗. สัตติคุมพชาดก (๕๐๓)
(นายสารถีลุกขึ้นเทียมรถแล้วกราบทูลว่า)
[๑๖๗] ขอเดชะพระมหาราช ราชรถเทียมไว้แล้ว
พาหนะอันทรงกำลังก็พร้อมแล้ว เชิญเสด็จขึ้นประทับเถิดพะย่ะค่ะ
พวกเราจะพากันไปยังอาศรมอื่น
(นกแขกเต้าสัตติคุมพะเห็นราชรถแล่นไปอยู่ถึงความสลดใจ จึงกล่าวว่า)
[๑๖๘] พวกโจรในค่ายนี้พากันไปไหนหมดหนอ
นั่นพระเจ้าปัญจาละกำลังเสด็จหนีไป
พ้นสายตาพวกโจรไปแล้ว
[๑๖๙] พวกท่านจงถือเอาเกาทัณฑ์ หอก และโตมร
นั่นพระเจ้าปัญจาละกำลังเสด็จหนีไป
พวกท่านอย่าปล่อยให้พระองค์มีชีวิตอยู่
(พระศาสดาทรงประกาศข้อความนี้ว่า)
[๑๗๐] ครั้งนั้น นกแขกเต้าอีกตัวหนึ่งซึ่งมีจะงอยปากแดง
ยินดีต้อนรับด้วยกล่าวว่า
พระมหาราช พระองค์เสด็จมาดีแล้ว มิได้เสด็จมาร้าย
พระองค์ผู้ทรงเป็นใหญ่ เสด็จมาถึงแล้วโดยลำดับ
สิ่งของที่มีอยู่ในอาศรมนี้ ขอพระองค์เสวยเถิด
[๑๗๑] คือ ผลมะพลับ ผลมะหาด ผลมะซาง ผลหมากเม่า
และผลไม้ทั้งหลายที่มีรสพอสมควร
ขอพระองค์เสวยผลไม้ที่ดี ๆ เถิดพระเจ้าข้า
[๑๗๒] นี้น้ำเย็นนำมาจากซอกเขา พระมหาราช
ขอพระองค์ทรงดื่มเถิด ถ้าพระองค์ทรงประสงค์
[๑๗๓] ฤๅษีทั้งหลายในอาศรมนี้พากันไปป่าเพื่อแสวงหามูลผลาหาร
ขอพระองค์เสด็จลุกขึ้นหยิบเอาเองเถิด
ข้าพระองค์ไม่มีมือจะทูลถวาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๔๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๗. สัตติคุมพชาดก (๕๐๓)
ขอพระองค์เสด็จลุกขึ้นหยิบเอาเองเถิด
ข้าพระองค์ไม่มีมือจะทูลถวาย
(พระราชาทรงเลื่อมใสการปฏิสันถารของนกปุปผกะ จึงทรงชมเชยว่า)
[๑๗๔] ปักษีตัวนี้ดีจริงหนอ เป็นนกแต่ทรงธรรมอย่างยอดเยี่ยม
ส่วนเจ้านกแขกเต้าตัวหนึ่งนั้นพูดแต่คำหยาบช้าว่า
[๑๗๕] จงฆ่ามัน จงมัดมัน อย่าปล่อยให้มันมีชีวิตอยู่
เมื่อมันบ่นพร่ำเพ้ออยู่อย่างนี้แล
เราได้ถึงอาศรมนี้โดยความสวัสดี
(นกปุปผกะครั้นได้ฟังพระราชดำรัสแล้ว จึงกราบทูลว่า)
[๑๗๖] พระมหาราช ข้าพระองค์ทั้ง ๒
เป็นพี่น้องร่วมท้องมารดาเดียวกัน
เจริญเติบโตอยู่ที่ต้นไม้ต้นเดียวกัน
แต่พลัดตกไปอยู่ต่างเขตแดนกัน
[๑๗๗] นกสัตติคุมพะเจริญเติบโตในแดนโจร
ส่วนข้าพระองค์เจริญเติบโตอยู่ในสำนักของฤๅษี ณ ที่นี้
นกสัตติคุมพะนั้นอยู่ใกล้อสัตบุรุษ
ข้าพระองค์อยู่ใกล้สัตบุรุษ
เพราะเหตุนั้น ข้าพระองค์ทั้ง ๒ จึงแตกต่างกันโดยธรรม
(นกปุปผกะจำแนกธรรมนั้นว่า)
[๑๗๘] ที่ใดมีแต่การฆ่า การจองจำ การหลอกลวงด้วยของปลอม
การหลอกลวงซึ่ง ๆ หน้า การปล้นฆ่าเจ้าทรัพย์
และการข่มขู่กระทำทารุณอย่างแสนสาหัส
นกสัตติคุมพะนั้นสำเหนียกแต่การกระทำเหล่านั้นในที่นั้น
[๑๗๙] ที่นี้มีแต่ความจริง สุจริตธรรม ความไม่เบียดเบียน
ความสำรวม และการฝึกฝนอินทรีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๗. สัตติคุมพชาดก (๕๐๓)
พระองค์ผู้ทรงเป็นหน่อเนื้อแห่งภารตวงศ์
ข้าพระองค์เจริญเติบโตอยู่บนตักของฤๅษีผู้มีปกติให้อาสนะและน้ำ
(บัดนี้เมื่อจะแสดงธรรมถวายพระราชา จึงกล่าวว่า)
[๑๘๐] ขอเดชะพระราชา ธรรมดาบุคคลคบหาคนใด ๆ
เป็นสัตบุรุษก็ตาม อสัตบุรุษก็ตาม มีศีลก็ตาม ไม่มีศีลก็ตาม
ย่อมเป็นไปตามอำนาจของคนนั้นนั่นเอง
[๑๘๑] บุคคลทำคนเช่นไรให้เป็นมิตร
และคบหาจนสนิทกับคนเช่นไร
ถึงเขาก็เป็นเช่นคนนั้น
เพราะการอยู่ร่วมกันเป็นเช่นนั้น
[๑๘๒] คนชั่วใครคบเข้าย่อมเปื้อนคนคบ ซึ่งมิได้เปื้อนมาแต่เดิม
คนชั่วใครสัมผัสถูกต้อง หรือเมื่อสัมผัสถูกต้องคนอื่น
ก็ย่อมเปื้อนคนที่ตนสัมผัสถูกต้อง ซึ่งมิได้เปื้อนมาแต่เดิม
ดุจลูกศรที่กำซาบด้วยยาพิษก็พลอยแปดเปื้อนแล่งไปด้วย
เพราะกลัวแต่การแปดเปื้อน
นักปราชญ์จึงไม่ควรมีคนชั่วเป็นเพื่อน
[๑๘๓] คนใดห่อปลาเน่าด้วยใบหญ้าคา
แม้ใบหญ้าคาก็พลอยมีกลิ่นเหม็นเน่าฟุ้งไปด้วย
การคบหาคนพาลก็เป็นฉันนั้น
[๑๘๔] ส่วนคนใดห่อกฤษณาด้วยใบไม้
แม้ใบไม้ก็พลอยมีกลิ่นหอมฟุ้งไปด้วย
การคบหากับนักปราชญ์ก็เป็นฉันนั้น
[๑๘๕] เพราะเหตุนั้น บัณฑิตรู้การคบของตน
เหมือนกับใบไม้ห่อสิ่งของแล้ว
ไม่พึงเข้าไปคบหาอสัตบุรุษ พึงคบหาแต่สัตบุรุษ
เพราะอสัตบุรุษย่อมนำไปสู่นรก
ส่วนสัตบุรุษย่อมช่วยให้ไปถึงสุคติ
สัตติคุมพชาดกที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๘. ภัลลาติยชาดก (๕๐๔)
๘. ภัลลาติยชาดก (๕๐๔)
ว่าด้วยพระราชาพระนามว่าภัลลาติยะ
(พระศาสดาทรงนำอดีตนิทานมาตรัสว่า)
[๑๘๖] ได้มีพระราชาทรงพระนามว่าภัลลาติยะ
ท้าวเธอทรงละรัฐสีมา ได้เสด็จประพาสป่า ล่าเนื้อ
เสด็จถึงภูเขาคันธมาทน์วรคีรีซึ่งมีบุปผชาตินานาพันธุ์บานสะพรั่ง
เป็นแดนที่พวกกินนรสัญจรไปมา
[๑๘๗] ท้าวเธอทรงประสงค์จะตรัสถาม
จึงทรงห้ามฝูงสุนัข
ทรงเก็บลูกธนูและแล่ง
เสด็จเข้าไปใกล้สถานที่ที่กินนร ๒ ผัวเมียอยู่
[๑๘๘] ล่วงฤดูเหมันต์ไปแล้ว ที่ริมฝั่งแม่น้ำเหมวดีแห่งนี้
ไยเจ้าทั้ง ๒ ยังปรึกษากันเนือง ๆ อยู่เล่า
เราขอถามเจ้าทั้ง ๒ ผู้มีร่างกายคล้ายมนุษย์
ในมนุษยโลกเขารู้จักเจ้าทั้ง ๒ ว่าอย่างไร
(ฝ่ายกินนรีได้ฟังพระดำรัสจึงสนทนากับพระราชาว่า)
[๑๘๙] พวกเราเป็นมฤคมีร่างกายคล้ายมนุษย์
ท่องเที่ยวไปตามแม่น้ำทั้งหลาย
คือ มัลลคีรีนที ปัณฑรกนที ตรีกูฏนที ซึ่งมีน้ำเย็น
พ่อพราน ชาวโลกเขารู้จักพวกเราว่า กินนร
(ลำดับนั้น พระราชาได้ตรัสว่า)
[๑๙๐] เจ้าทั้ง ๒ เหมือนคนมีความทุกข์อย่างแสนสาหัส
พากันคร่ำครวญอยู่
สวมกอดกันเหมือนคนรักกับคนรัก
เราขอถามเจ้าทั้ง ๒ ผู้มีร่างกายคล้ายมนุษย์
เหตุไร เจ้าทั้ง ๒ จึงพากันร้องไห้ไม่สร่างซาอยู่ในป่านี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๘. ภัลลาติยชาดก (๕๐๔)
[๑๙๑] เจ้าทั้ง ๒ เหมือนคนมีความทุกข์อย่างแสนสาหัส
พากันคร่ำครวญอยู่ สวมกอดกันเหมือนคนรักกับคนรัก
เราขอถามเจ้าทั้ง ๒ ผู้มีร่างกายคล้ายมนุษย์
เหตุไร เจ้าทั้ง ๒ จึงพากันเพ้อรำพันไม่สร่างซาอยู่ในป่านี้
[๑๙๒] เจ้าทั้ง ๒ เหมือนคนมีความทุกข์อย่างแสนสาหัส
พากันคร่ำครวญอยู่ สวมกอดกันเหมือนคนรักกับคนรัก
เราขอถามเจ้าทั้ง ๒ ผู้มีร่างกายคล้ายมนุษย์
เหตุไร เจ้าทั้ง ๒ จึงพากันเศร้าโศกไม่สร่างซาอยู่ในป่านี้
(กินนรีกราบทูลว่า)
[๑๙๓] พ่อพราน เราทั้ง ๒ พลัดพรากกันอยู่หนึ่งราตรี
ไม่อยากจะพลัดพรากจากกัน เมื่อระลึกถึงกันและกัน
จึงพากันเดือดร้อนเศร้าโศกอยู่ตลอดราตรีหนึ่งนั้น
ราตรีนั้นจักไม่มีอีก
(พระราชาตรัสถามว่า)
[๑๙๔] เจ้าทั้ง ๒ คิดถึงทรัพย์ที่พินาศไปแล้วหรือ
หรือคิดถึงบิดามารดาที่ล่วงลับไปแล้ว
จึงพากันเดือดร้อนตลอดทั้งราตรีหนึ่งนั้น เราขอถามเจ้าทั้ง ๒
ผู้มีร่างกายคล้ายมนุษย์ เพราะเหตุไร เจ้าจึงแยกกันอยู่
(กินนรีกราบทูลว่า)
[๑๙๕] แม่น้ำสายนี้ใดมีกระแสน้ำเชี่ยวกราก
ปกคลุมด้วยต้นไม้นานาพันธุ์ไหลผ่านภูผาหิน ท่านเห็นอยู่
แม่น้ำสายนั้น สามีที่รักของดิฉันสำคัญดิฉันว่า
จะติดตามไปจึงได้ข้ามไปในฤดูฝน
[๑๙๖] ส่วนดิฉันมัวเลือกเก็บดอกปรู ดอกลำดวน
ดอกมะลิซ้อน และดอกคัดเค้า ด้วยหวังว่า
สามีที่รักของดิฉันจักได้ประดับดอกไม้
และดิฉันจักประดับดอกไม้ นอนแนบข้างสามีนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๐๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๘. ภัลลาติยชาดก (๕๐๔)
[๑๙๗] อนึ่ง ดิฉันมัวเลือกเก็บดอกบานไม่รู้โรย
ดอกราชพฤกษ์ ดอกแคฝอย
และดอกย่านทราย ด้วยหวังว่า
สามีที่รักของดิฉันจักได้ประดับดอกไม้
และดิฉันจักประดับดอกไม้นอนแนบข้างสามีนั้น
[๑๙๘] อนึ่ง ดิฉันมัวเลือกเก็บดอกสาละที่กำลังเบ่งบาน
แล้วร้อยเป็นพวงมาลัย ด้วยหวังว่า
สามีที่รักของดิฉันจักสวมพวงมาลัย
และดิฉันจักสวมพวงมาลัยนอนแนบข้างสามีนั้น
[๑๙๙] อนึ่ง ดิฉันมัวเลือกเก็บดอกสาละที่กำลังเบ่งบาน
แล้วร้อยเป็นเครื่องรองรับ ด้วยหวังว่า
ดอกไม้ที่ร้อยแล้วนี่แหละ จักเป็นเครื่องปูลาดสำหรับเราทั้ง ๒
ณ สถานที่ที่เราทั้ง ๒ จักอยู่ร่วมกันตลอดคืนในวันนี้
[๒๐๐] อนึ่ง ดิฉันมัวเลินเล่อบดไม้กฤษณาและไม้จันทน์ที่ศิลา
ด้วยหวังว่า สามีที่รักของดิฉันจักใช้ชโลมกาย
และดิฉันก็จักใช้ชโลมกายนอนแนบข้างสามี
[๒๐๑] ครั้งนั้น น้ำซึ่งมีกระแสเชี่ยวกรากได้ไหลบ่ามา
พัดพาเอาดอกสาละ ดอกสน
และดอกกรรณิการ์ไป โดยครู่เดียวนั้นน้ำก็เต็มฝั่ง
จึงเป็นการยากยิ่งที่ดิฉันจะข้ามแม่น้ำสายนี้ไปได้
[๒๐๒] คราวนั้น เราทั้ง ๒ ยืนมองกันและกันอยู่ที่ริมฝั่งทั้ง ๒
บางคราวก็ร้องไห้ บางคราวก็ร่าเริงยินดี
ราตรีนั้นได้ผ่านไปอย่างยากเย็นสำหรับเราทั้ง ๒
[๒๐๓] พ่อพราน พอดวงอาทิตย์ขึ้นในตอนเช้าตรู่ แม่น้ำแห้ง
เราทั้ง ๒ จึงข้ามไปได้ สวมกอดกันและกัน
ทั้งร้องไห้ ทั้งร่าเริงยินดี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๘. ภัลลาติยชาดก (๕๐๔)
[๒๐๔] พ่อพราน ๖๙๗ ปี เมื่อก่อน
เราทั้ง ๒ พลัดพรากกันอยู่ในที่นี้
ข้าแต่พระภูมิบาล ชีวิตนี้เพียง ๑๐๐ ปีเท่านั้น
ใครหนอจะพึงเว้นจากภรรยาที่น่ารักใคร่ อยู่ในที่นี้ได้เล่า
(พระราชาตรัสถามว่า)
[๒๐๕] ก็อายุของพวกเจ้ามีประมาณเท่าไรหนอ เพื่อนรัก
หากพวกเจ้ารู้ก็จงบอก
เจ้าทั้ง ๒ อย่าได้หวั่นไหว จงบอกอายุแก่เรา
ตามที่ได้ยินได้ฟังมาจากวุฑฒบุคคล หรือจากตำรา
(กินนรีกราบทูลว่า)
[๒๐๖] พ่อพราน ก็อายุของพวกเรามีประมาณ ๑,๐๐๐ ปี
โรคอันร้ายแรงก็ไม่มีในระหว่าง
ความทุกข์ก็มีน้อย มีแต่ความสุขยิ่ง ๆ ขึ้นไป
เราทั้ง ๒ ยังรักใคร่กันไม่จืดจางจะต้องพากันละชีวิตไป
(พระศาสดาทรงประกาศความข้อนี้ว่า)
[๒๐๗] ก็พระเจ้าภัลลาติยะทรงสดับถ้อยคำของอมนุษย์ทั้งหลาย
ทรงดำริว่า ชีวิตเป็นของน้อยนัก จึงเสด็จกลับ ไม่เสด็จไปล่าเนื้อ
ทรงบำเพ็ญทาน เสวยโภคะ
(พระศาสดาครั้นตรัสพระคาถานี้แล้ว ทรงโอวาทพระเจ้าโกศลกับพระนาง
มัลลิกาเทวีว่า)
[๒๐๘] ก็มหาบพิตรทั้ง ๒ ทรงสดับถ้อยคำของอมนุษย์ทั้งหลาย
จงทรงเบิกบานพระทัยเถิด อย่าทรงทะเลาะกันเลย
ความผิดเพราะการกระทำของตน
อย่าทำให้มหาบพิตรทั้ง ๒ ต้องเดือดร้อน
เหมือนความผิดเพราะการกระทำของตน
ทำให้กินนรทั้ง ๒ ต้องเดือดร้อนตลอดราตรีหนึ่งเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๙. โสมนัสสชาดก (๕๐๕)
[๒๐๙] อนึ่ง พระองค์ทั้ง ๒ ทรงสดับถ้อยคำของอมนุษย์ทั้งหลายแล้ว
จงทรงเบิกบานพระทัยเถิด อย่าทรงวิวาทกันเลย
ความผิดเพราะการกระทำของตน
อย่าทำให้มหาบพิตรทั้ง ๒ ต้องเดือดร้อน
เหมือนความผิดเพราะการกระทำของตน
ทำให้กินนรทั้ง ๒ ต้องเดือดร้อนตลอดราตรีหนึ่งเลย
(พระนางมัลลิกาเทวีสดับพระธรรมเทศนาของพระตถาคตแล้ว เสด็จลุกจาก
อาสนะ ประคองอัญชลี ทรงชมเชยพระทศพลว่า)
[๒๑๐] หม่อมฉันสดับพระธรรมเทศนามีประการต่าง ๆ มีใจชื่นชมยินดี
พระดำรัสต่าง ๆ ของพระองค์ประกอบไปด้วยประโยชน์
พระองค์เมื่อทรงเปล่งพระวาจาออกมา
ย่อมบรรเทาความกระวนกระวายใจของหม่อมฉันเสียได้
พระมหาสมณะผู้นำความสุขมาให้หม่อมฉัน
ขอพระองค์ทรงเจริญพระชนม์ชีพยั่งยืนนานเถิด
ภัลลาติยชาดกที่ ๘ จบ

๙. โสมนัสสชาดก (๕๐๕)
ว่าด้วยโสมนัสกุมาร
(พระราชาตรัสว่า)
[๒๑๑] ใครมาเบียดเบียนข่มเหงท่าน
ทำไมท่านจึงเสียใจ เศร้าโศก ไม่ชื่นบานเลย
วันนี้ มารดาบิดาของท่านมาร้องไห้หรือ
หรือว่า ใครมารังแก ทำให้ท่านต้องนอนที่พื้นดิน
(ชฎิลโกงได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวว่า)
[๒๑๒] ขอถวายพระพร อาตมามีความยินดีที่ได้พบเห็นพระองค์
ขอถวายพระพรพระภูมิบาล ต่อกาลนานจึงได้พบพระองค์
ขอถวายพระพรพระเจ้าเรณู อาตมามิได้เบียดเบียนผู้ใด
แต่ถูกพระโอรสของพระองค์เข้ามาเบียดเบียน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๙. โสมนัสสชาดก (๕๐๕)
(พระราชาตรัสว่า)
[๒๑๓] ไปเหวย พนักงานเฝ้าประตูที่ติดตาม และเหล่าเพชฌฆาต
จงไปยังภายในพระราชฐาน
จงฆ่าเจ้าโสมนัสกุมารนั้นแล้วตัดศีรษะนำมา
(พึงทราบคาถาประพันธ์ดังต่อไปนี้)
[๒๑๔] ราชทูตทั้งหลายที่ทรงส่งไปได้กราบทูล
พระราชกุมารนั้นว่า ขอเดชะพระขัตติยกุมาร
พระองค์ถูกพระราชบิดาผู้เป็นอิสสราธิบดีตัดขาดแล้ว
ต้องโทษประหารชีวิต
[๒๑๕] พระราชบุตรนั้นทรงกันแสงคร่ำครวญ
ยกนิ้วทั้ง ๑๐ ประคองอัญชลี อ้อนวอนว่า
ข้าพเจ้าปรารถนาจะเฝ้าพระจอมชน
ขอพวกท่านจงนำข้าพเจ้าผู้ยังมีชีวิตอยู่แสดงต่อพระองค์เถิด
[๒๑๖] ราชทูตเหล่านั้นฟังพระดำรัสของพระราชกุมารนั้นแล้ว
ได้แสดงพระราชบุตรต่อพระราชา
ส่วนพระราชบุตรทรงเห็นพระบิดาแล้ว กราบทูลแต่ไกลว่า
[๒๑๗] ขอเดชะพระองค์ผู้จอมชน พนักงานเฝ้าประตูที่ติดดาบ
และเหล่าเพชฌฆาตมาเพื่อจะฆ่าหม่อมฉัน
หม่อมฉันขอกราบทูลถาม ขอพระองค์โปรดบอกเนื้อความนั้น
วันนี้หม่อมฉันมีความผิดอะไรหนอในเรื่องนี้
(พระราชาตรัสบอกความผิดว่า)
[๒๑๘] ดาบสผู้ไม่ประมาท ทำการรดน้ำ
และบำเรอไฟทั้งเย็นและเช้าในกาลทุกเมื่อ
ทำไมเจ้าจึงร้องเรียกท่านผู้สำรวม
ซึ่งประพฤติพรหมจรรย์เช่นนั้นว่าเป็นคหบดีเล่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๙. โสมนัสสชาดก (๕๐๕)
(พระราชกุมารกราบทูลว่า)
[๒๑๙] ขอเดชะพระองค์ผู้สมมติเทพ
ดาบสผู้นี้มีของเก็บรวบรวมไว้หลายชนิด
เช่น สมอพิเภก รากไม้ และผลไม้นานาชนิด
เธอไม่ประมาท เฝ้ารักษาคุ้มครองสิ่งของเหล่านั้นไว้
เพราะเหตุนั้น หม่อมฉันจึงร้องเรียกเธอว่าเป็นคหบดี
(พระราชาทรงทราบว่าพระโพธิสัตว์ไม่มีความผิดจึงตรัสว่า)
[๒๒๐] พ่อกุมาร คำที่เจ้าพูดเป็นความจริง
ดาบสผู้นี้มีของเก็บรวบรวมไว้หลายชนิด
เธอไม่ประมาท เฝ้ารักษาคุ้มครองสิ่งของเหล่านั้นไว้
เพราะเหตุนั้น เธอจึงชื่อว่าเป็นพราหมณ์ เป็นคหบดี
(พระโพธิสัตว์นอบน้อมบริษัทแล้วตรัสว่า)
[๒๒๑] ขอบริษัททั้งหลายพร้อมทั้งชาวนิคมและชาวชนบททั้งปวง
ที่มาประชุมพร้อมกันจงฟังข้าพเจ้า
พระราชาผู้จอมชนพระองค์นี้เป็นพาล
ทรงฟังคำของดาบสผู้เป็นพาลแล้ว
รับสั่งให้ประหารข้าพเจ้าโดยมิใช่เหตุ
(ต่อมาพระโพธิสัตว์ทูลขอบรมราชานุญาตบวชว่า)
[๒๒๒] เมื่อรากยังมั่นคงเจริญงอกงามแผ่ไพศาลอยู่
กอไผ่ที่แตกกิ่งก้านสาขาก็ยากที่จะถอนให้หมดสิ้นได้
ขอเดชะพระองค์ผู้จอมชน
หม่อมฉันขอถวายบังคมพระยุคลบาทของพระองค์
ขอพระองค์โปรดพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้หม่อมฉันบวช
(พระราชาตรัสว่า)
[๒๒๓] เจ้าจงเสวยโภคะอันไพบูลย์เถิด พ่อกุมาร
พ่อจะมอบความเป็นใหญ่ให้เจ้าทุกอย่าง
เจ้าจงเป็นพระราชาของชนชาวกุรุในวันนี้เถิด
อย่าบวชเลย เพราะการบวชเป็นทุกข์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๐๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๙. โสมนัสสชาดก (๕๐๕)
(พระโพธิสัตว์ผู้เป็นพระโอรสกราบทูลว่า)
[๒๒๔] ขอเดชะพระองค์ผู้สมมติเทพ
โภคะทั้งหลายของพระองค์ในพระนครนี้
ที่หม่อมฉันควรจะบริโภคใช้สอยมีอยู่หรือหนอ
ในชาติก่อน หม่อมฉันได้รื่นรมย์ด้วย รูป เสียง กลิ่น รส
และผัสสะ อันน่ารื่นรมย์ใจอยู่ในเทวโลก
[๒๒๕] ขอเดชะพระองค์ผู้สมมติเทพ โภคะทั้งหลาย
ในเทวโลกชั้นดาวดึงส์ หม่อมฉันก็บริโภคใช้สอยมาแล้ว
และหม่อมฉันก็มีหมู่เทพอัปสรแวดล้อมบำเรอแล้ว
อนึ่ง หม่อมฉันทราบว่า พระองค์เป็นพาล ถูกผู้อื่นแนะนำ
จึงไม่ควรอยู่ในราชสกุลเช่นนั้น
(พระราชาตรัสว่า)
[๒๒๖] หากพ่อเป็นคนพาล ถูกผู้อื่นแนะนำไซร้
ลูกรัก เจ้าจงอดโทษให้พ่อสักครั้งเถิด ถ้าพ่อเป็นเช่นนี้อีก
จงทำตามความคิดของเจ้าเถิด พ่อโสมนัส
(พระโพธิสัตว์ถวายโอวาทพระราชบิดาว่า)
[๒๒๗] การงานที่บุคคลไม่ใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำ
ไม่ไตร่ตรองก่อนคิด ผลย่อมเลวทรามเหมือนยาเสื่อมคุณภาพ
[๒๒๘] การงานที่บุคคลใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำ
ไตร่ตรองโดยชอบก่อนแล้วคิด
ผลย่อมเจริญเหมือนยาไม่เสื่อมคุณภาพ
[๒๒๙] คฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเกียจคร้านไม่ดี
บรรพชิตไม่สำรวมไม่ดี
พระราชาไม่ทรงใคร่ครวญก่อนแล้วทำไม่ดี
การที่บัณฑิตโกรธไม่ดี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๙. โสมนัสสชาดก (๕๐๕)
[๒๓๐] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นเจ้าแห่งทิศ
กษัตริย์ทรงใคร่ครวญก่อนแล้วจึงควรทำ
ไม่ทรงใคร่ครวญก่อนแล้วไม่ควรตัดสิน
ยศและเกียรติย่อมเจริญแด่พระราชาผู้ทรงใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำ
[๒๓๑] ขอเดชะพระภูมิบาล
คนผู้เป็นใหญ่ควรใคร่ครวญก่อนแล้วจึงลงอาชญา
การงานที่ทำเพราะความรีบร้อนย่อมเดือดร้อน
ส่วนประโยชน์ทั้งหลายของนรชนที่ทำด้วยจิตที่ตั้งมั่นโดยชอบ
ย่อมไม่เป็นเหตุให้เดือดร้อนในภายหลัง
[๒๓๒] อนึ่ง ชนเหล่าใดจัดแจงบ่อเกิดแห่งการงานในโลก
แล้วทำการงานที่ไม่เป็นเหตุให้เดือดร้อนในภายหลัง
การงานของพวกเขาวิญญูชนสรรเสริญ
มีความสุขเป็นกำไรที่ผู้รู้ทั้งหลายมีความเห็นคล้อยตาม
[๒๓๓] ขอเดชะพระองค์ผู้จอมชน พนักงานเฝ้าประตูที่ติดดาบ
และเพชฌฆาตมาเพื่อจะฆ่าหม่อมฉัน
อนึ่ง หม่อมฉันนั่งอยู่บนพระเพลาของพระราชมารดา
ถูกพวกเขาฉุดคร่ามาโดยทารุณ
[๒๓๔] ขอเดชะพระมหาราช หม่อมฉันประสบภัยคือความตาย
อันเผ็ดร้อนคับแคบและลำบาก
วันนี้ชีวิตอันเป็นที่รักปานดังมธุรสหม่อมฉันได้แล้ว
พ้นแล้วจากการถูกประหารได้โดยยาก
จึงมีใจมุ่งต่อการบวชอย่างเดียว
(พระราชาทรงรับสั่งเรียกพระราชเทวีมาตรัสว่า)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๙. โสมนัสสชาดก (๕๐๕)
[๒๓๕] แม่สุธัมมา โสมนัสกุมารบุตรของเธอนี้ยังหนุ่มอยู่ น่าเอ็นดู
วันนี้ฉันขอร้องเขาไม่สำเร็จ แม้เธอก็ควรจะขอร้องเขาดูบ้าง
(พระราชเทวีนั้นเมื่อจะส่งเสริมให้บวชจึงตรัสว่า)
[๒๓๖] ลูกรัก เจ้าจงยินดีในภิกขาจาร
จงใคร่ครวญแล้วบวชในธรรมทั้งหลาย
จงวางอาชญาในเหล่าสัตว์ทั้งปวง
เป็นผู้ไม่ถูกนินทา เข้าถึงพรหมสถานเถิด
(ลำดับนั้น พระราชาตรัสว่า)
[๒๓๗] แม่สุธัมมา คำที่เจ้ากล่าวน่าอัศจรรย์จริงหนอ
ทำเราผู้มีทุกข์อยู่แล้วให้มีทุกข์ยิ่งขึ้น
เรากล่าวแก่เธอว่า เจ้าจงขอร้องลูก
กลับทำให้พ่อกุมารมีอุตสาหะยิ่งขึ้น
(พระราชเทวีตรัสต่อไปว่า)
[๒๓๘] พระอริยะเหล่าใดผู้หลุดพ้นแล้ว
บริโภคปัจจัยอันหาโทษมิได้
ผู้ดับกิเลสแล้ว ท่องเที่ยวไปอยู่ในโลกนี้
หม่อมฉันไม่อาจจะห้ามพ่อกุมาร
ผู้ดำเนินไปสู่ทางแห่งพระอริยะเหล่านั้นได้
(พระราชาทรงสดับพระราชเสาวนีย์นั้นแล้วจึงตรัสว่า)
[๒๓๙] ชนเหล่าใดมีปัญญา เป็นพหูสูต
คิดเหตุการณ์ได้เป็นอันมาก
พระนางสุธัมมานี้สดับคำอันเป็นสุภาษิตของชนเหล่าใด
แล้วเป็นผู้มีความขวนขวายน้อย
ปราศจากความเศร้าโศก
ชนเหล่านั้นเราควรคบโดยแท้
โสมนัสสชาดกที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๑๐. จัมเปยยชาดก (๕๐๖)
๑๐. จัมเปยยชาดก (๕๐๖)
ว่าด้วยพญานาคจัมเปยยะ
(พระราชาทรงเห็นนางนาคสุมนาอยู่ในอากาศ จึงตรัสว่า)
[๒๔๐] เธอเป็นใครกันหนอ รัศมีช่างงามผ่องใสดุจสายฟ้า
อุปมาเหมือนดาวประกายพรึก ข้าพเจ้าไม่เข้าใจเธอว่า
เป็นเทพธิดา หญิงคนธรรพ์ หรือหญิงมนุษย์หนอ
(นางนาคสุมนาได้ฟังดังนั้นแล้ว จึงตรัสตอบว่า)
[๒๔๑] ขอเดชะพระมหาราช หม่อมฉันมิใช่เทพธิดา
มิใช่หญิงคนธรรพ์ มิใช่หญิงมนุษย์
หม่อมฉันเป็นนางนาคกัญญา มาที่นี้เพราะเหตุอย่างหนึ่ง
(พระราชาตรัสถามว่า)
[๒๔๒] เธอมีจิตกระวนกระวาย อินทรีย์เศร้าหมอง
มีหยาดน้ำตาไหลนองหน้า แม่นาง เชิญบอกมาเถิด
อะไรของเธอหาย หรือเธอปรารถนาสิ่งใด จึงมาที่นี้
(นางนาคสุมนาตอบว่า)
[๒๔๓] ก็ชาวโลกร้องเรียกสัตว์ใดว่า อุรคชาติ ผู้มีเดชยิ่งใหญ่
ขอเดชะ พระองค์ผู้จอมชน ชนทั้งหลายเรียกสัตว์นั้นว่า นาค
ชายผู้ต้องการเลี้ยงชีพได้จับนาคนั้นมา
นาคนั้นเป็นสามีหม่อมฉัน
ขอพระองค์โปรดทรงปล่อยนาคนั้นจากเครื่องผูกเถิดเพคะ
(พระราชาตรัสถามว่า)
[๒๔๔] นาคราชนี้ประกอบด้วยกำลังและความเพียร
กลับมาตกอยู่ในเงื้อมมือของคนวณิพกได้อย่างไร
แม่นางนาคกัญญา ขอแม่นางจงบอกเนื้อความนั้นแก่เรา
เราจะรู้ว่า นาคราชถูกจับมาได้อย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๑๐. จัมเปยยชาดก (๕๐๖)
(นางนาคสุมนาตอบว่า)
[๒๔๕] แท้จริง นาคราชนั้นประกอบด้วยกำลังและความเพียร
พึงกระทำแม้พระนครให้เป็นเถ้าธุลีได้
แต่เพราะนาคราชเป็นผู้นบนอบพระธรรม
ฉะนั้น จึงบากบั่นบำเพ็ญตบะ
[๒๔๖] ขอเดชะพระมหาราช นาคราชอธิษฐานจาตุททสีอุโบสถ
และปัณณรสีอุโบสถ นอนรักษาอุโบสถอยู่ใกล้หนทางสี่แพร่ง
ชายผู้ต้องการเลี้ยงชีพได้จับนาคราชนั้นมา
นาคราชนั้นเป็นสามีหม่อมฉัน
ขอพระองค์โปรดปล่อยนาคราชนั้น
จากเครื่องพันธนาการเถิด เพคะ
(และนางอ้อนวอนพระราชานั้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่า)
[๒๔๗] นางนาค ๑๖,๐๐๐ นางสวมใส่กุณฑลแก้วมณี
นอนอยู่ในห้องใต้น้ำ
นางนาคแม้เหล่านั้นยึดเอานาคราชนั้นเป็นที่พึ่ง
[๒๔๘] ขอพระองค์โปรดปล่อยนาคราชไปโดยธรรม
ด้วยความไม่ผลุนผลัน ด้วยบ้านส่วย ๑๐๐ หลัง
ทองคำ ๑๐๐ แท่ง และโค ๑๐๐ ตัว
ขออุรคชาติผู้ได้รับการปล่อยตัวแล้วจงท่องเที่ยวไป
ขอนาคราชผู้ต้องการบุญจงพ้นจากเครื่องผูก
(พระราชาตรัสว่า)
[๒๔๙] เราจะปล่อยนาคราชไปโดยธรรม
ด้วยความไม่ผลุนผลัน ด้วยบ้านส่วย ๑๐๐ หลัง
ทองคำ ๑๐๐ แท่ง และโค ๑๐๐ ตัว
ขออุรคชาติผู้ได้รับการปล่อยตัวแล้วจงท่องเที่ยวไป
ขอนาคราชผู้ต้องการบุญจงพ้นจากเครื่องผูก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๑๐. จัมเปยยชาดก (๕๐๖)
[๒๕๐] พ่อพราน เราจะให้ทองคำแก่ท่าน ๑๐๐ แท่ง
ต่างหูแก้วมณีมีค่ามาก และบัลลังก์ ๔ เหลี่ยม
มีสีอันเป็นสิริคล้ายดอกสามหาว
[๒๕๑] ภรรยาที่เหมาะสมกัน ๒ คน และโคอุสภะอีก ๑๐๐ ตัว
ขออุรคชาติผู้ได้รับการปล่อยตัวแล้วจงท่องเที่ยวไป
ขอนาคราชผู้ต้องการบุญจงพ้นจากเครื่องผูก
(นายพรานกราบทูลพระราชาว่า)
[๒๕๒] ขอเดชะพระองค์ผู้จอมชน แม้จะทรงเว้นการพระราชทาน
เพียงพระดำรัสของพระองค์เท่านั้น
ข้าพระพุทธเจ้าก็จะปล่อยอุรคชาตินั้นจากเครื่องผูก
ขออุรคชาติผู้ได้รับการปล่อยตัวแล้วจงท่องเที่ยวไป
ขอนาคราชผู้ต้องการบุญจงพ้นจากเครื่องผูก
(พระศาสดาทรงประกาศความนั้นว่า)
[๒๕๓] พญานาคจัมเปยยะหลุดพ้นจากเครื่องพันธนาการแล้ว
ได้กราบทูลพระราชานั้นว่า ขอเดชะพระเจ้ากาสี
ข้าพระพุทธเจ้าขอถวายบังคมพระองค์
ขอเดชะ พระองค์ผู้ผดุงแคว้นกาสีให้เจริญ
ข้าพระพุทธเจ้าขอถวายบังคมพระองค์
ขอประคองอัญชลีต่อพระองค์
ขอเชิญเสด็จทอดพระเนตรนิเวศน์ของข้าพระองค์
(พระราชาตรัสว่า)
[๒๕๔] นาคราช แน่นอนทีเดียวที่เขาพูดกันว่า
มนุษย์กับอมนุษย์จะพึงคุ้นเคยกัน
เป็นเรื่องคุ้นเคยกันได้ยาก
แต่ถ้าท่านขอร้องเราเกี่ยวกับเรื่องนั้น
เราก็จะไปเยี่ยมที่อยู่ของท่าน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๑๐. จัมเปยยชาดก (๕๐๖)
(ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เมื่อจะปฏิญญาให้พระราชาทรงเชื่อ จึงกราบทูลว่า)
[๒๕๕] ขอเดชะพระมหาราช ถึงลมจะพัดพาเอาภูเขาไปได้ก็ดี
ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์จะพึงแผดเผาแผ่นดินก็ดี
แม่น้ำทุกสายจะพึงไหลทวนกระแสก็ดี
ถึงอย่างนั้น ข้าพระพุทธเจ้าก็จะไม่พึงพูดเท็จแน่นอน
[๒๕๖] ขอเดชะพระมหาราช ถึงท้องฟ้าจะพึงถล่มทะลาย
น้ำทะเลจะพึงเหือดแห้ง
แผ่นดินซึ่งมีนามว่าภูตธาราและวสุนธราจะพึงม้วนเข้า
และภูเขาสิเนรุศิลาล้วนจะพึงถอนขึ้นทั้งรากก็ดี
ถึงอย่างนั้น ข้าพระพุทธเจ้าก็จะไม่พึงพูดเท็จ
(พระราชาไม่ทรงเชื่อจึงตรัสซ้ำอีกว่า)
[๒๕๗] นาคราช แน่นอนทีเดียวที่เขาพูดกันว่า
มนุษย์กับอมนุษย์จะพึงคุ้นเคยกัน
เป็นเรื่องคุ้นเคยกันได้ยาก
แต่ถ้าท่านขอร้องเราเกี่ยวกับเรื่องนั้น
เราก็จะไปเยี่ยมที่อยู่ของท่าน
(และตรัสคาถาต่อไปว่า)
[๒๕๘] พวกท่านเป็นผู้มีพิษร้ายแรงยิ่งนัก
มีเดชมาก และก็โกรธง่าย
ท่านหลุดพ้นจากเครื่องผูกเพราะเรา
ควรจะรู้คุณที่เรากระทำแล้ว
(พระโพธิสัตว์เมื่อจะทำปฏิญญาอีก จึงกราบทูลว่า)
[๒๕๙] ผู้ใดถูกขังติดอยู่ในกระชังใกล้จะตาย
ยังไม่รู้จักบุญคุณที่พระองค์ทรงทำแล้วเช่นนั้น
ขอผู้นั้นจงหมกไหม้อยู่ในนรกที่โหดร้าย
อย่าได้ความสำราญทางกายอย่างใดอย่างหนึ่งเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๑๐. จัมเปยยชาดก (๕๐๖)
(พระราชาทรงชมเชยพระโพธิสัตว์นั้นว่า)
[๒๖๐] ขอปฏิญญาของท่านจงเป็นสัตย์จริงเถิด
ขอท่านอย่าเป็นผู้มีนิสัยมักโกรธและผูกโกรธ
ขอครุฑทั้งหลายจงงดเว้นตระกูลนาคของท่านทั้งมวล
เหมือนบุคคลงดเว้นไฟในคิมหันตฤดู
(ฝ่ายพระโพธิสัตว์ก็ได้ชมเชยพระราชาว่า)
[๒๖๑] ขอเดชะพระองค์ผู้จอมชน
พระองค์ทรงอนุเคราะห์ตระกูลนาค
เหมือนมารดาอนุเคราะห์บุตรสุดที่รักคนเดียว
ข้าพระพุทธเจ้าพร้อมกับตระกูลนาค
จะทำการขวนขวายตอบแทนพระองค์อย่างโอฬาร
(พระราชาทรงมีพระประสงค์จะเสด็จไปยังภพนาค จึงรับสั่งว่า)
[๒๖๒] เจ้าพนักงานทั้งหลายจงเทียมราชรถที่งามวิจิตร
จงเทียมม้าอัสดรที่ฝึกดีแล้ว ซึ่งเกิดในแคว้นกัมโพชะ
อนึ่ง จงผูกช้างตัวประเสริฐ
ซึ่งประดับด้วยสุวรรณวัตถาภรณ์
เราจะไปเยี่ยมนิเวศน์ของนาคราช
(พระศาสดาตรัสพระคาถาว่า)
[๒๖๓] เจ้าพนักงานตีกลอง ตะโพน แกว่งบัณเฑาะว์ เป่าสังข์
ต่อพระเจ้าอุคคเสน พระราชามีหมู่นารีแวดล้อม
เสด็จไปท่ามกลางหมู่นารีงดงามยิ่งนัก
(พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเรื่องนั้น จึงตรัสว่า)
[๒๖๔] พระราชาผู้ผดุงแคว้นกาสีให้เจริญ
ได้ทอดพระเนตรภูมิภาคที่วิจิตรด้วยทรายทอง
และปราสาททอง ซึ่งปูด้วยแผ่นกระดานแก้วไพฑูรย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๑๐. จัมเปยยชาดก (๕๐๖)
[๒๖๕] พระราชาพระองค์นั้นเสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของพญานาคจัมเปยยะ
ซึ่งประดับตบแต่งไว้แล้ว อันมีรัศมีโอภาสเปล่งปลั่ง
ดุจดังแสงอาทิตย์แรกอุทัย และประดุจดังสายฟ้าในกลุ่มเมฆ
[๒๖๖] พระเจ้ากาสีพระองค์นั้น
เสด็จทอดพระเนตรจนทั่วพระนิเวศน์ของพญานาคจัมเปยยะ
ที่ดารดาษด้วยพฤกษชาตินานาพันธุ์
ซึ่งอบอวลด้วยกลิ่นหอมนานาประการ
[๒๖๗] เมื่อพระเจ้ากาสีเสด็จไปยังนิเวศน์ของพญานาคจัมเปยยะ
เหล่าทิพย์ดนตรีก็บรรเลง ทั้งเหล่านางนาคกัญญาก็ฟ้อนรำ
[๒๖๘] พระเจ้ากาสีเสด็จขึ้นสู่นาคนิเวศน์
ซึ่งมีหมู่นางนาคกัญญาตามเสด็จ
ทรงพอพระทัย ประทับนั่งบนภัทรบิฐทองคำ
มีพนักอิงฉาบไล้ด้วยจุรณแก่นจันทน์หอมซึ่งเป็นทิพย์
[๒๖๙] พระองค์เสวยและทรงรื่นรมย์อยู่ในนาคพิภพนั้นแล้ว
ได้ตรัสกับพญานาคจัมเปยยะว่า ท่านมีวิมานอันประเสริฐเหล่านี้
ซึ่งรัศมีเปล่งปลั่งดังรัศมีดวงอาทิตย์ วิมานเช่นนี้ในมนุษยโลกไม่มี
นาคราช เพื่อประสงค์อะไรอีก ท่านจึงยังบำเพ็ญตบะอยู่
[๒๗๐] นางนาคกัญญาเหล่านั้นสวมสังวาลทองคำ
ใส่เสื้อผ้าสวยงาม มีองคุลีกลมกลึง มีฝ่ามือฝ่าเท้าแดง
ผิวพรรณไม่ทรามเลย คอยประคองให้ท่านดื่มน้ำทิพย์
ความงามเช่นนี้ในมนุษยโลกไม่มี
นาคราช เพื่อประสงค์อะไร ท่านจึงยังบำเพ็ญตบะอยู่
[๒๗๑] อนึ่ง ในพิภพของท่าน แม่น้ำเหล่านี้
ดาษดื่นด้วยฝูงปลามีเกล็ดหนานานาชนิด
มีนกเงือกเปล่งสำเนียงเสียงร้องอยู่ระงมไพร มีท่าน้ำที่สวยงาม
นทีทิพย์เช่นนี้ในมนุษยโลกไม่มี
นาคราช เพื่อประสงค์อะไรอีก ท่านจึงยังบำเพ็ญตบะอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๑๐. จัมเปยยชาดก (๕๐๖)
[๒๗๒] ฝูงนกกระเรียน นกยูง หงส์ และนกดุเหว่าทิพย์
ต่างพากันเปล่งสำเนียงประสานเสียงอย่างไพเราะ โผผินไปมา
ปักษีทิพย์เช่นนี้ในมนุษยโลกไม่มี
นาคราช เพื่อประสงค์อะไร ท่านจึงยังบำเพ็ญตบะอยู่
[๒๗๓] ต้นมะม่วง ต้นสาละ ต้นหมากเม่า ต้นหว้า
ต้นราชพฤกษ์ และต้นแคฝอย ผลิดอกออกผลบานสะพรั่ง
รุกขชาติอันเป็นทิพย์เช่นนี้ในมนุษยโลกไม่มี
นาคราช เพื่อประสงค์อะไร ท่านจึงยังบำเพ็ญตบะอยู่
[๒๗๔] อนึ่ง รอบ ๆ สระโบกขรณีของท่าน
ทิพยสุคนธ์เหล่านี้หอมฟุ้งตลบอบอวล ไม่ขาดสาย
ทิพยสุคนธ์เช่นนี้ในมนุษยโลกไม่มี
นาคราช เพื่อประสงค์อะไร ท่านจึงยังบำเพ็ญตบะอยู่
(นาคราชกราบทูลว่า)
[๒๗๕] ขอเดชะพระองค์ผู้จอมชน ข้าพระพุทธเจ้าบำเพ็ญตบะ
เพราะเหตุแห่งบุตร เพราะเหตุแห่งทรัพย์สมบัติ
หรือแม้เพราะเหตุแห่งอายุก็หาไม่
แต่เพราะข้าพระพุทธเจ้าปรารถนากำเนิดแห่งมนุษย์
เพราะเหตุนั้น จึงบากบั่นบำเพ็ญตบะอยู่
(พระราชาทรงชมเชยพระโพธิสัตว์ว่า)
[๒๗๖] ท่านมีดวงเนตรแดง มีรัศมีเปล่งปลั่ง
ประดับตบแต่งอย่างสวยงาม
ตัดผมโกนหนวดเรียบร้อย ชโลมลูบไล้ด้วยจุรณแก่นจันทน์แดง
เปล่งรัศมีไปทั่วทิศ ดุจราชาแห่งคนธรรพ์
[๒๗๗] ท่านถึงพร้อมด้วยเทพฤทธิ์ มีอานุภาพยิ่งใหญ่
เพียบพร้อมด้วยกามทั้งสิ้น
นาคราช เราขอถามเนื้อความนั้นกับท่าน
มนุษยโลกมีอะไรประเสริฐกว่านาคพิภพนี้หรือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๑๐. จัมเปยยชาดก (๕๐๖)
เพียบพร้อมด้วยกามทั้งสิ้น
นาคราช เราขอถามเนื้อความนั้นกับท่าน
มนุษยโลกมีอะไรประเสริฐกว่านาคพิภพนี้หรือ
(นาคราชกราบทูลว่า)
[๒๗๘] ขอเดชะพระองค์ผู้จอมชน นอกจากมนุษยโลกแล้ว
ความบริสุทธิ์หรือความสำรวมย่อมไม่มี
ข้าพระพุทธเจ้าได้กำเนิดมนุษย์แล้ว
จะทำที่สุดแห่งการเกิดและการตาย
(พระราชาตรัสว่า)
[๒๗๙] ชนเหล่าใดมีปัญญา เป็นพหูสูต
คิดเหตุการณ์ได้เป็นอันมาก ชนเหล่านั้นควรคบโดยแท้
ข้าพเจ้าเห็นนางนาคกัญญาและตัวท่านแล้ว
จะทำบุญให้มาก นะนาคราช
(นาคราชกราบทูลว่า)
[๒๘๐] ชนเหล่าใดมีปัญญา เป็นพหูสูต
คิดเหตุการณ์ได้เป็นอันมาก ชนเหล่านั้นควรคบโดยแท้
ขอเดชะพระมหาราช พระองค์เห็นนางนาคกัญญา
และข้าพระพุทธเจ้าแล้ว
โปรดทรงทำบุญให้มากเถิด
(พระโพธิสัตว์เมื่อจะแสดงทรัพย์จึงกราบทูลว่า)
[๒๘๑] ก็เงินทองของข้าพระพุทธเจ้านี้มีอยู่เพียงพอ
กองทองคำสูงประมาณชั่วลำตาล
พระองค์โปรดให้ขนไปจากที่นี่แล้วจงให้สร้างพระตำหนักทองคำ
และสร้างกำแพงเงินเถิด
[๒๘๒] อนึ่ง แก้วมุกดาประมาณ ๕,๐๐๐ เล่มเกวียน
ที่ปนกับแก้วไพฑูรย์
พระองค์โปรดให้ขนไปจากที่นี่แล้วจงลาดลงบนภาคพื้นภายในบุรี
เมื่อเป็นเช่นนี้ ภาคพื้นจักไม่เป็นโคลนตม
และจะไม่มีฝุ่นละออง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๑๑. มหาปโลภนชาดก (๕๐๗)
[๒๘๓] ขอเดชะพระมหาราชผู้ประเสริฐ ทรงมีพระปรีชาอันล้ำเลิศ
ขอพระองค์โปรดเสวยราชสมบัติ
ครอบครองกรุงพาราณสีซึ่งมั่งคั่งสมบูรณ์
สง่างามล้ำเลิศดุจทิพยวิมานเห็นปานนี้เถิด
จัมเปยยชาดกที่ ๑๐ จบ

๑๑. มหาปโลภนชาดก (๕๐๗)
ว่าด้วยการประเล้าประโลมให้หลง
(พระศาสดาทรงนำอดีตนิทานมาตรัสว่า)
[๒๘๔] เทพบุตรผู้มีฤทธิ์มาก จุติจากพรหมโลก
บังเกิดเป็นพระโอรสของพระราชาผู้ดำรงอยู่ในราชสมบัติ
ซึ่งให้สำเร็จความปรารถนาทุกประการ
[๒๘๕] กามก็ดี ความสำคัญในกามก็ดี ไม่มีในพรหมโลก
พระกุมารนั้นทรงรังเกียจกามทั้งหลาย
เพราะสัญญานั้นนั่นเอง
[๒๘๖] ก็ภายในเมือง ได้มีเรือนสำหรับบำเพ็ญฌาน
ที่พระราชบิดาโปรดให้สร้างไว้อย่างดีเพื่อพระกุมารนั้น
พระกุมารทรงหลีกเร้นบำเพ็ญฌานอยู่พระองค์เดียว
ในที่ลับในเรือนสำหรับบำเพ็ญฌานนั้น
[๒๘๗] พระราชาพระองค์นั้นทรงอัดอั้นตันพระทัย
ด้วยความโศกเพราะพระโอรส ได้ทรงบ่นเพ้อรำพันว่า
ก็โอรสองค์เดียวของเรานี้ช่างไม่บริโภคกามเสียเลย
(พระราชาทรงบ่นเพ้อรำพันว่า)
[๒๘๘] ผู้ใดพึงเล้าโลมโอรสของเราโดยที่เขาพึงปรารถนากามได้บ้าง
อุบายในข้อนี้นั้นเป็นอย่างไรหนอ
หรือใครรู้เหตุที่จะทำให้โอรสของเรานั้นเกี่ยวข้องกามได้บ้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๑๑. มหาปโลภนชาดก (๕๐๗)
(พระศาสดาตรัสเล่าเรื่องว่า)
[๒๘๙] ภายในเมืองนั้นเอง ได้มีกุมารีแรกรุ่นนางหนึ่ง
มีผิวพรรณรูปร่างงดงาม เป็นหญิงฉลาดการฟ้อนรำขับร้อง
และได้รับการฝึกฝนเป็นอย่างดีในการบรรเลงดนตรี
[๒๙๐] นางได้เข้าไปภายในพระราชฐาน
ได้กราบทูลพระราชาดังนี้ว่า
ถ้าหม่อมฉันจักได้พระกุมารเป็นภัสดา
หม่อมฉันก็พึงประเล้าประโลมพระกุมารนั้น
[๒๙๑] พระราชาได้ตรัสกับนางผู้กราบทูลอย่างนั้นดังนี้ว่า
เธอประเล้าประโลมเขาได้ เธอจักได้เขาเป็นภัสดา
(พระศาสดาทรงประกาศความข้อนั้นว่า)
[๒๙๒] ก็นางครั้นไปถึงภายในพระราชฐาน
ได้บรรเลงดนตรียั่วยวนความใคร่นานับประการ
ขับกล่อมคาถาอันไพเราะจับใจ น่ารักใคร่
[๒๙๓] ก็เพราะทรงสดับเสียงขับกล่อมแห่งนารีนั้นขับกล่อมอยู่
กามฉันทะได้เกิดขึ้นแก่พระกุมารนั้น
พระองค์จึงทรงสอบถามชนผู้อยู่รอบ ๆ ข้างว่า
[๒๙๔] นั่นเสียงใครกัน ใครกันนั่นขับร้องสำเนียงเสียงสูง ๆ ต่ำ ๆ
ได้อย่างไพเราะ จับใจ น่ารักใคร่นักหนา เสนาะหูเราเหลือเกิน
(ข้าราชบริพารกราบทูลว่า)
[๒๙๕] ขอเดชะพระองค์ผู้สมมติเทพ นั่นเป็นเสียงสตรี
น่าเพลิดเพลินมิใช่น้อย ถ้าพระองค์พึงบริโภคกาม
กามทั้งหลายจะพึงทำพระองค์ให้พอพระทัยยิ่งขึ้น
(พระราชกุมารตรัสว่า)
[๒๙๖] เชิญนางมาทางนี้ ทำไมขับร้องอยู่ห่างไกลนัก
จงขับร้องอยู่ใกล้ ๆ ตำหนักของเรา และใกล้ ๆ เรา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๑๑. มหาปโลภนชาดก (๕๐๗)
(พระศาสดาตรัสต่อไปว่า)
[๒๙๗] นางขับร้องอยู่ภายนอกฝาห้องพระบรรทม
แล้วได้เลื่อนเข้าไปในเรือนสำหรับบำเพ็ญฌานโดยลำดับ
เพื่อจะผูกมัดพระกุมารเหมือนการจับช้างป่า
[๒๙๘] เพราะทรงรู้รสแห่งกาม ความริษยาได้เกิดแก่พระกุมารว่า
เราเท่านั้นพึงบริโภคกาม อย่าพึงมีชายอื่นอยู่เลย
[๒๙๙] ต่อแต่นั้น ทรงจับพระแสงดาบ เสด็จเข้าไปหาชายทั้งหลาย
เพื่อจะทรงฆ่าทิ้งเสีย ด้วยพระดำริว่า
เราคนเดียวเท่านั้นจักบริโภคกาม อย่าพึงมีชายอื่นอยู่เลย
[๓๐๐] แต่นั้น ชาวชนบททั้งปวงได้มาพร้อมกันคร่ำครวญร้องทุกข์ว่า
ขอเดชะมหาราช พระราชโอรสพระองค์นี้
ทรงเบียดเบียนชนผู้ไม่ประทุษร้าย พระเจ้าข้า
[๓๐๑] ก็ขัตติยราชาทรงเนรเทศพระราชโอรสพระองค์นั้น
จากรัฐสีมาของพระองค์ด้วยพระบรมราชโองการว่า
แว่นแคว้นพ่อมีอยู่ประมาณเพียงใด
เจ้าไม่ควรอยู่ในเขตมีประมาณเพียงนั้น
[๓๐๒] ครั้งนั้น พระราชโอรสนั้นทรงพาพระชายา
เสด็จไปถึงฝั่งสมุทรแห่งหนึ่ง
ทรงสร้างบรรณศาลาแล้วเสด็จเข้าป่าเพื่อทรงแสวงหาผลาผล
[๓๐๓] ครั้งนั้น ฤๅษีตนหนึ่งได้เหาะมาเหนือสมุทรถึงบรรณศาลานั้น
ท่านได้เข้าไปยังบรรณศาลาของพระกุมารนั้น
ในเวลาที่นางกุมาริกาจัดแจงพระกระยาหาร
[๓๐๔] ส่วนพระชายาได้ประเล้าประโลมฤๅษีนั้น
ดูเอาเถิด กรรมที่นางทำแสนจะหยาบช้าเพียงไร
ที่ฤๅษีตนนั้นเคลื่อนจากพรหมจรรย์และเสื่อมจากฤทธิ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๑๑. มหาปโลภนชาดก (๕๐๗)
[๓๐๕] ฝ่ายพระราชบุตรแสวงหามูลผลาผลในป่าได้เป็นจำนวนมาก
ทรงหาบมาในเวลาใกล้เที่ยงวัน เสด็จเข้าไปยังพระอาศรม
[๓๐๖] ก็แลฤๅษีพอเห็นขัตติยกุมาร จึงหลบไปยังฝั่งสมุทร
ด้วยดำริว่า เราจักเหาะไป แต่ท่านก็จมลงในห้วงน้ำใหญ่
[๓๐๗] ฝ่ายขัตติยกุมารทอดพระเนตรเห็นฤๅษีจมอยู่ในห่วงน้ำใหญ่
เพื่อจะทรงช่วยเหลือท่าน จึงได้ตรัสคาถาเหล่านี้ว่า
[๓๐๘] ตัวท่านเองเดินมาได้บนผิวน้ำไม่แตกแยกด้วยฤทธิ์
ครั้นถึงความคลุกคลีกับหญิงแล้ว จึงจมลงในห้วงน้ำใหญ่
[๓๐๙] ธรรมดาหญิงทั้งหลายมีความหมุนเวียนเปลี่ยนอยู่เสมอ
มีมายามาก ทำพรหมจรรย์ให้กำเริบ
ย่อมจมลง(ในนรก)
บุคคลรู้ชัดเนื้อความข้อนั้นแล้ว พึงเว้นให้ห่างไกล
[๓๑๐] หญิงเหล่านั้นพูดจาอ่อนหวาน ไม่รู้จักพอ
ให้เต็มได้ยากเหมือนกับแม่น้ำ ย่อมจมลง(ในนรก)
บุคคลรู้ชัดเนื้อความข้อนั้นแล้ว พึงเว้นให้ห่างไกล
[๓๑๑] หญิงเหล่านั้นคบหาชายใด
ด้วยความพอใจหรือด้วยทรัพย์ก็ตาม
ย่อมตามเผาผลาญชายนั้นทันที
เหมือนไฟป่าเผาผลาญพื้นที่ของตนเอง
[๓๑๒] ความเบื่อหน่ายได้มีแก่ฤๅษีเพราะฟังพระดำรัสของขัตติยกุมาร
ฤๅษีนั้นกลับได้ทางที่ได้บรรลุมาก่อน จึงเหาะกลับไป
[๓๑๓] ฝ่ายขัตติยกุมารผู้ทรงพระปรีชา
ทอดพระเนตรเห็นฤๅษีกำลังเหาะไป
ทรงได้ความสังเวช จึงน้อมพระทัยสู่บรรพชา
[๓๑๔] ต่อแต่นั้น พระองค์ทรงบรรพชา
สำรอกกามราคะได้แล้ว ทรงเข้าถึงพรหมโลก ดังนี้
มหาปโลภนชาดกที่ ๑๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๑๒. ปัญจปัณฑิตชาดก (๕๐๘)
๑๒. ปัญจปัณฑิตชาดก (๕๐๘)
ว่าด้วยบัณฑิต ๕ คน
(พระราชาทรงรับที่จะทดลองมโหสธบัณฑิต จึงตรัสสั่งว่า)
[๓๑๕] ท่านบัณฑิตทั้ง ๕ มากันพร้อมแล้ว
ปัญหาแจ่มแจ้งแก่เรา ขอพวกท่านจงสดับ
เรื่องที่ควรติเตียนก็ดี เรื่องที่ควรสรรเสริญก็ดี
ซึ่งเป็นความลับของเรา ควรเปิดเผยแก่ใครดี
(เสนกบัณฑิตกราบทูลว่า)
[๓๑๖] ขอเดชะพระภูมิบาล ขอพระองค์ทรงเปิดเผยก่อน
พระองค์ทรงชุบเลี้ยงข้าพระพุทธเจ้า
ทรงอดกลั้นต่อภาระอันหนัก โปรดแถลงเนื้อความก่อน
ขอเดชะพระองค์ผู้จอมชน นักปราชญ์ทั้ง ๕ พิจารณา
สิ่งที่พอพระทัยและสิ่งที่ถูกพระอัธยาศัยของพระองค์แล้ว
จะกราบทูลต่อภายหลัง
(ลำดับนั้น พระราชาตรัสคาถานี้ด้วยความที่พระองค์ทรงตกอยู่ในอำนาจ
กิเลสว่า)
[๓๑๗] บุคคลควรเปิดเผยเรื่องที่ควรติเตียนก็ดี
เรื่องที่ควรสรรเสริญก็ดี ซึ่งเป็นความลับ
แก่ภรรยาผู้มีศีล ไม่นอกใจสามี
คล้อยตามอำนาจความพอใจของสามี
เป็นที่รักที่โปรดปรานของสามี
(แต่นั้น เสนกบัณฑิตยินดีแล้วเมื่อจะแสดงเหตุที่ตนทำไว้เอง จึงกราบทูลว่า)
[๓๑๘] บุคคลควรเปิดเผยเรื่องที่ควรติเตียนก็ดี
เรื่องที่ควรสรรเสริญก็ดี ซึ่งเป็นความลับ
แก่เพื่อนผู้เป็นที่พึ่งที่พำนัก
และผู้เป็นทางดำเนินของเพื่อนผู้ตกยากทุรนทุรายได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๑๒. ปัญจปัณฑิตชาดก (๕๐๘)
(ปุกกุสบัณฑิตถูกพระราชาตรัสถาม จึงกราบทูลว่า)
[๓๑๙] บุคคลพึงเปิดเผยเรื่องที่ควรติเตียนก็ดี
เรื่องที่ควรสรรเสริญก็ดี ซึ่งเป็นความลับ
แก่พี่ชายคนโต คนกลาง หรือแก่น้องชาย
ผู้มีศีลตั้งมั่น มีตนมั่นคง
(กามินทบัณฑิตถูกพระราชาตรัสถาม จึงกราบทูลว่า)
[๓๒๐] บุคคลพึงเปิดเผยเรื่องที่ควรติเตียนก็ดี
เรื่องที่ควรสรรเสริญก็ดี ซึ่งเป็นความลับ
แก่บุตรผู้ปรนนิบัติรับใช้บิดา
ผู้เป็นอนุชาตบุตรคล้อยตามบิดา มีปัญญาไม่ต่ำทราม
(เทวินทบัณฑิตถูกพระราชาตรัสถาม จึงกราบทูลว่า)
[๓๒๑] ขอเดชะพระองค์ผู้จอมชน ประเสริฐกว่ามนุษย์ทั้งหลาย
บุคคลพึงเปิดเผยเรื่องที่ควรติเตียนก็ดี
เรื่องที่ควรสรรเสริญก็ดี ซึ่งเป็นความลับ
แก่มารดาผู้เลี้ยงดูบุตรด้วยความรักความพอใจ
(มโหสธบัณฑิตกราบทูลเหตุแห่งความลับว่า)
[๓๒๒] ธรรมดาความลับปกปิดไว้เท่านั้นเป็นการดี
การเปิดเผยความลับบัณฑิตไม่สรรเสริญ
เพราะเมื่อความปรารถนายังไม่สำเร็จ นักปราชญ์พึงอดกลั้นไว้ก่อน
ความปรารถนาสำเร็จแล้ว พึงพูดได้ตามสบาย
(ฝ่ายพระนางอุทุมพรเทวีทูลถามถึงเหตุแห่งความโศกของพระราชาว่า)
[๓๒๓] ขอเดชะพระราชาผู้ประเสริฐ เพราะเหตุไร
พระองค์ทรงมีพระทัยวิปริตไป ขอเดชะพระองค์ผู้จอมมนุษย์
หม่อมฉันขอฟังพระดำรัสของพระองค์
พระองค์ทรงดำริอย่างไรหรือ จึงทรงโทมนัส
ขอเดชะพระองค์ผู้สมมติเทพ หม่อมฉันไม่มีความผิดเลยหรือเพคะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๑๒. ปัญจปัณฑิตชาดก (๕๐๘)
(ลำดับนั้น พระราชาตรัสตอบพระนางว่า)
[๓๒๔] ในเพราะปัญหาว่า มโหสธบัณฑิตจะถูกฆ่า
มโหสธผู้มีปัญญาเพียงดังแผ่นดิน ถูกพี่สั่งฆ่า
พี่คิดถึงเรื่องนั้นจึงเสียใจ พระเทวี น้องไม่มีความผิดหรอก
(พระราชาทรงทำเหมือนไม่ทรงทราบอะไร ตรัสถามมโหสธบัณฑิตว่า)
[๓๒๕] เจ้าไปตั้งแต่พลบค่ำ เพิ่งจะมาเดี๋ยวนี้
เพราะได้ฟังเรื่องอะไรหรือ ใจของเจ้าจึงหวาดระแวง
เชิญเถิด เจ้าผู้มีปัญญาเพียงดังแผ่นดิน ใครได้เรียนอะไรให้เจ้าฟัง
เราขอฟังคำนั้น เจ้าจงเล่าเรื่องนั้นให้เราฟัง
(พระโพธิสัตว์มโหสธบัณฑิตทูลเตือนพระราชาว่า)
[๓๒๖] ในปัญหาว่า มโหสธจะถูกฆ่า
ขอเดชะพระองค์ผู้จอมชน ก็เพราะพระองค์เสด็จอยู่ในที่ลับ
ได้ตรัสบอกเรื่องที่พระองค์ทรงปรึกษาแล้วแก่พระเทวีตอนกลางคืน
ความลับนั้นพระเทวีทรงเปิดเผยแล้ว ข้าพระพุทธเจ้าได้ฟังมา
(พระโพธิสัตว์มโหสธบัณฑิตกราบทูลความลับของเสนกบัณฑิตก่อนว่า)
[๓๒๗] ท่านเสนกบัณฑิตได้ทำกรรมชั่ว
เยี่ยงอสัตบุรุษอันใดไว้ที่ป่าไม้รัง
เขาอยู่ในที่ลับแล้วได้บอกแก่เพื่อนคนหนึ่ง
ความลับนั้นท่านเสนกบัณฑิตได้เปิดเผยแล้ว
ข้าพระพุทธเจ้าได้ฟังมา
(พระโพธิสัตว์มโหสธบัณฑิตกราบทูลความลับของปุกกุสบัณฑิตว่า)
[๓๒๘] ขอเดชะพระองค์ผู้จอมชน โรคอันไม่คู่ควรแก่พระราชา
เกิดขึ้นแล้วแก่ปุกกุสะบุรุษของพระองค์
เขาอยู่ในที่ลับได้บอกแก่พี่น้องชายคนหนึ่ง
ความลับนั้นท่านปุกกุสบุรุษได้เปิดเผยแล้ว
ข้าพระพุทธเจ้าได้ฟังมา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๑๒. ปัญจปัณฑิตชาดก (๕๐๘)
(พระโพธิสัตว์มโหสธบัณฑิตกราบทูลความลับของกามินทบัณฑิตว่า)
[๓๒๙] กามินทบัณฑิตผู้นี้มีอาพาธเยี่ยงอสัตบุรุษ ถูกนรเทพเข้าสิง
เขาอยู่ในที่ลับได้บอกแก่บุตรชาย
ความลับนั้นกามินทบัณฑิตได้เปิดเผยแล้ว
ข้าพระพุทธเจ้าได้ฟังมา
(พระโพธิสัตว์มโหสธบัณฑิตเมื่อจะกราบทูลความลับของเทวินทบัณฑิต จึง
กล่าวคาถานี้ว่า)
[๓๓๐] ท้าวสักกเทวราชได้ทรงประทานแก้วมณี ๘ เหลี่ยม
อันรุ่งเรืองยิ่งนักแด่พระอัยยกาของพระองค์
บัดนี้ แก้วมณีนั้นตกอยู่ในมือของเทวินทบัณฑิต
เขาอยู่ในที่ลับได้บอกแก่มารดา
ความลับนั้นท่านเทวินทบัณฑิตได้เปิดเผยแล้ว
ข้าพระพุทธเจ้าได้ฟังมา
(พระโพธิสัตว์กราบทูลพระราชาแล้วแสดงธรรมให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไปว่า)
[๓๓๑] ธรรมดาความลับปกปิดไว้เท่านั้นเป็นการดี
การเปิดเผยความลับบัณฑิตไม่สรรเสริญ
เพราะเมื่อความปรารถนายังไม่สำเร็จ
นักปราชญ์พึงอดกลั้นไว้ก่อน
ความปรารถนาสำเร็จแล้ว พึงพูดได้ตามสบาย
[๓๓๒] บัณฑิตไม่พึงเปิดเผยความลับ
พึงรักษาความลับนั้นไว้เหมือนรักษาขุมทรัพย์
เพราะว่าความลับบุคคลรู้อยู่ ไม่เปิดเผยได้เป็นการดี
[๓๓๓] บัณฑิตไม่ควรบอกความลับแก่สตรี ๑ ศัตรู ๑
คนที่ใช้อามิสล่อ ๑ คนผู้ล้วงความลับ ๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๑๓. หัตถิปาลชาดก (๕๐๙)
[๓๓๔] คนผู้รู้ความลับที่ผู้อื่นไม่รู้
เพราะกลัวความลับที่ปรึกษาหารือกันไว้จะแตก
ย่อมอดกลั้นไว้ดุจบุคคลผู้เป็นทาสเขา
[๓๓๕] คนมีประมาณเท่าใดล่วงรู้ความลับที่เขาปรึกษากัน
คนมีประมาณเท่านั้นเป็นบุคคลที่น่าหวาดกลัวของเขา
เพราะฉะนั้น บุคคลไม่ควรเปิดเผยความลับ
[๓๓๖] ในเวลากลางวันควรพูดความลับในที่สงัด
เวลากลางคืนไม่ควรพูดดังเกินไป
เพราะเหตุว่าคนแอบฟังได้ยินความลับที่ปรึกษากันเข้า
ความลับนั้นจะถึงการแพร่งพรายโดยเร็วพลัน
ปัญจปัณฑิตชาดกที่ ๑๒ จบ

๑๓. หัตถิปาลชาดก (๕๐๙)
ว่าด้วยหัตถิปาลกุมาร
(หัตถิปาลกุมารเห็นฤๅษีเหล่านั้นแล้วดีใจเลื่อมใส ได้กล่าว ๓ คาถาว่า)
[๓๓๗] นานแล้วหนอ ข้าพเจ้าเพิ่งจะได้พบเห็นพราหมณ์
ผู้มีเพศดังเทพ มีชฎาใหญ่ ทรงไว้ซึ่งหาบคอน
มีขี้ฟันเขรอะ มีศีรษะหมักหมมด้วยธุลี
[๓๓๘] นานแล้วหนอ ข้าพเจ้าเพิ่งจะได้พบเห็น
ฤๅษีผู้ยินดีในธรรมคุณ
นุ่งผ้าย้อมด้วยน้ำฝาด มีผ้าคากรองปิดร่างกาย
[๓๓๙] ขอพระคุณเจ้าผู้เจริญจงรับอาสนะ น้ำ
และผ้าเช็ดเท้าของข้าพเจ้าเถิด
ข้าพเจ้าขอถวายของมีค่าต้อนรับพระคุณเจ้าผู้เจริญ
ขอพระคุณเจ้าผู้เจริญจงใช้สอยของมีค่าของข้าพเจ้าด้วยเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๑๓. หัตถิปาลชาดก (๕๐๙)
(ต่อมาพระราชบิดาเมื่อทรงพร่ำสอนพระกุมารตามอัธยาศัย จึงตรัสคาถาว่า)
[๓๔๐] หัตถิบาลลูกรัก เจ้าจงเล่าเรียนวิทยาแสวงหาทรัพย์
ปลูกฝังบุตรธิดาให้ดำรงอยู่ในเหย้าเรือน
แล้วจงเสวยคันธารมณ์ รสารมณ์ และวัตถุกาม๑ทั้งปวงเถิด
เป็นนักบวชได้ในเวลาแก่ เป็นการดี
พระอริยะสรรเสริญผู้บวชนั้นว่าเป็นมุนี
(หัตถิปาลกุมารได้กล่าวคาถาว่า)
[๓๔๑] เวทวิทยาเป็นของไม่จริง
ลาภคือทรัพย์มีสภาพเป็นอันเดียวก็หาไม่
ชนทั้งหลายห้ามความชราได้เพราะลาภคือบุตรก็หาไม่
สัตบุรุษกล่าวยกย่องการปล่อยวางคันธารมณ์และรสารมณ์
ผลสำเร็จย่อมมีได้ เพราะการกระทำของตน
(พระราชาทรงสดับดังนั้นแล้วจึงตรัสคาถาว่า)
[๓๔๒] คำของเจ้านั้นเป็นคำสัตย์อย่างแท้จริง
ผลสำเร็จย่อมมีได้เพราะการกระทำของตน
แต่มารดาบิดาของเจ้าเหล่านี้แก่เฒ่าแล้ว
พึงเห็นเจ้ามีอายุ ๑๐๐ ปี ไม่มีโรค
(หัตถิปาลกุมารสดับดังนั้นแล้วจึงได้กล่าว ๒ คาถาว่า)
[๓๔๓] ขอเดชะพระมหาราช ผู้แกล้วกล้าประเสริฐกว่านรชน
ความเป็นเพื่อนกับความตาย
ความเป็นมิตรไมตรีกับความแก่ พึงมีแก่ผู้ใด
และแม้ผู้ใดพึงรู้ในกาลบางคราวว่า เราจักไม่ตาย
มารดาบิดาพึงเห็นผู้นั้นมีอายุ ๑๐๐ ปี ไม่มีโรค

เชิงอรรถ :
๑ คันธารมณ์ อารมณ์ที่เกิดแต่กลิ่น รสารมณ์ อารมณ์ที่เกิดแต่รส วัตถุกาม วัตถุที่น่าใคร่ น่าปรารถนา
น่าอยากได้ โดยความได้แก่กามคุณ ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๑๓. หัตถิปาลชาดก (๕๐๙)
[๓๔๔] ถ้าคนยกเรือลงน้ำพายไป นำคนข้ามฟากไปยังฝั่งได้แม้ฉันใด
พยาธิและชราก็ฉันนั้น ย่อมนำสัตว์ไปสู่อำนาจ
ของมัจจุราชผู้ทำที่สุดแน่นอน
(อัสสปาลกุมารเมื่อจะแสดงธรรมแก่พระราชบิดา จึงตรัส ๒ คาถาว่า)
[๓๔๕] กามทั้งหลายเสมือนเปือกตม เสมือนหล่ม
เป็นเครื่องนำใจเหล่าสัตว์ไปได้ ข้ามได้ยาก
เป็นที่ตั้งแห่งพญามัจจุราช
สัตว์ทั้งหลายผู้จมอยู่ในเปือกตมและหล่มคือกามนั้น
เป็นผู้มีอัตภาพเลวทรามย่อมข้ามถึงฝั่งคือพระนิพพานหาได้ไม่
[๓๔๖] เมื่อก่อน อัตภาพนี้ได้กระทำกรรมอันหยาบช้าไว้
ข้าพระพุทธเจ้าได้รับวิบากกรรมนั้นแล้ว
ความพ้นจากวิบากกรรมนี้ไม่มีแก่ข้าพระพุทธเจ้าเลย
ข้าพระพุทธเจ้าจะปิดกั้นปกปักรักษาอัตภาพนั้นไว้
ขออัตภาพนี้อย่าได้กระทำกรรมหยาบช้าอีกเลย
(โคปาลกุมารทรงปฏิเสธพระราชบิดาแล้ว จึงตรัสคาถาว่า)
[๓๔๗] ขอเดชะพระมหาราช นายโคบาลเมื่อไม่เห็นโคที่หายไปในป่า
ย่อมตามหาฉันใด ขอเดชะพระเจ้าเอสุการีมหาราช
ประโยชน์ของข้าพระพุทธเจ้าก็หายไปแล้วฉันนั้น
ไฉนเล่า ข้าพระพุทธเจ้านั้นจะไม่พึงแสวงหา
(และท่านได้ฟังพระดำรัสขอร้องของพระราชบิดาแล้ว จึงตรัสคาถาอีกว่า)
[๓๔๘] คนกล่าวผัดเพี้ยนว่า พรุ่งนี้ก็เสื่อม ว่า มะรืนนี้ก็ยิ่งเสื่อม
ธีรชนคนใดเล่าจะพึงรู้ว่า อนาคตนั้นไม่มี
แล้วบรรเทาความพอใจที่เกิดขึ้นได้
(อชปาลกุมารกราบทูลปฏิเสธพระราชบิดาแล้ว จึงตรัส ๒ คาถาว่า)
[๓๔๙] ข้าพระพุทธเจ้าเห็นหญิงสาวคนหนึ่ง
ท่องเที่ยวไปเหมือนคนเมา มีดวงตาเหมือนดอกการะเกด
พญามัจจุราชได้คร่าชีวิตนางในปฐมวัยซึ่งยังมิได้บริโภคโภคะไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๑๓. หัตถิปาลชาดก (๕๐๙)
[๓๕๐] สามชายหนุ่มมีชาติกำเนิดที่ดี
มีใบหน้างดงาม ทรวดทรงน่าทัศนา
มีหนวดประปรายเหมือนเกษรดอกโกสุม
ยังตกอยู่ในอำนาจของพญามัจจุราช
ขอเดชะพระองค์ผู้สมมติเทพ
ข้าพระพุทธเจ้าจักรีบละกามคุณและเคหสถานบวช
ขอทรงพระกรุณาโปรดอนุญาต
ให้ข้าพระพุทธเจ้าบวชเถิด พระเจ้าข้า
(ปุโรหิตเมื่อจะปรึกษากับนางพราหมณี จึงกล่าวคาถาว่า)
[๓๕๑] ต้นไม้ได้โวหารว่าต้นไม้ เพราะมีกิ่งทั้งหลาย
แต่ต้นไม้ที่ขาดกิ่ง ชาวโลกเรียกว่าตอไม้
แม่วาเสฏฐีผู้เจริญ บัดนี้เราขาดบุตร
ถึงเวลาที่จะเที่ยวภิกขาจาร
(นางพราหมณีเมื่อจะนำตัวอย่างที่เป็นอดีตมา กล่าวอุทานคาถาว่า)
[๓๕๒] นกกระเรียนทั้งหลายบินไปในอากาศได้ฉันใด
หงส์ทั้งหลายทำลายข่ายคือใยที่แมลงมุมชักขึงไว้
ในปลายฤดูฝนบินไปได้ฉันนั้น
ลูกและผัวของเราก็พากันไปหมด ไฉนเรารู้อยู่จะไม่พึงไปตาม
(พระอัครมเหสีเมื่อจะให้พระราชาทรงทราบเรื่องกามด้วยอุปมา จึงตรัส ๒
คาถาว่า)
[๓๕๓] นกเหล่านี้กินเนื้อแล้วสำรอกแล้วด้วย ย่อมบินหลีกไปได้
ส่วนนกเหล่าใดกินเนื้อแล้วไม่สำรอก
นกเหล่านั้นก็ตกอยู่ในเงื้อมมือของหม่อมฉัน
[๓๕๔] ขอเดชะพระมหาราช พราหมณ์ได้สำรอกกามทั้งหลายทิ้งแล้ว
พระองค์นั้นกลับจะบริโภคกามนั้นอีก
คนบริโภคสิ่งที่เขาคายทิ้งแล้วเป็นคนที่บัณฑิตไม่สรรเสริญเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๑๔. อโยฆรชาดก (๕๑๐)
(พระราชาเกิดความสลดพระทัยเมื่อจะทรงชมเชยพระเทวี จึงตรัสคาถาว่า)
[๓๕๕] บุรุษผู้มีกำลังฉุดบุรุษผู้มีกำลังทราม
ที่จมอยู่ในเปือกตมและหล่มเลนขึ้นได้ฉันใด
แม่ธิดาแห่งปัญจาลนครผู้เจริญ แม้พระนางก็ฉันนั้น
พยุงพี่ให้ข้ามขึ้นจากเปือกตมคือกามได้ด้วยคาถาสุภาษิต
(พระศาสดาเมื่อจะประกาศว่าพระราชาทรงผนวชแล้ว จึงตรัสพระคาถาว่า)
[๓๕๖] พระเจ้าเอสุการีมหาราช ผู้เป็นใหญ่ทั่วทิศ
ครั้นตรัสพระดำรัสนี้แล้วละแคว้นทรงผนวชแล้ว
เหมือนพญาช้างตัดเครื่องผูกได้ขาด
(ชาวเมืองประชุมกันไปกราบทูลพระราชเทวี จึงกล่าวคาถาว่า)
[๓๕๗] ก็พระราชาผู้กล้าหาญ ประเสริฐกว่านรชน
ทรงพอพระทัยการบรรพชา ละแคว้นไปแล้ว
แม้พระนางก็จงทรงเป็นพระราชาของพวกข้าพระพุทธเจ้าเถิด
พวกข้าพระพุทธเจ้าถวายความคุ้มครองแล้ว
ขอพระนางทรงครอบครองราชสมบัติโดยธรรมเหมือนพระราชาเถิด
(พระราชเทวีทรงสดับคำกราบทูลของมหาชนแล้ว จึงตรัสคาถาที่เหลือว่า)
[๓๕๘] ก็พระราชาผู้กล้าหาญ ประเสริฐกว่านรชน
ทรงพอพระทัยการบรรพชา ละแคว้นไปแล้ว
ถึงเราก็จักละกามทั้งหลาย ซึ่งเป็นที่น่ารื่นรมย์ยินดี
ท่องเที่ยวไปคนเดียวในโลก
[๓๕๙] ก็พระราชาผู้กล้าหาญ ประเสริฐกว่านรชน
ทรงพอพระทัยการบรรพชา ละแคว้นไปแล้ว
ถึงเราก็จักละกามทั้งหลายที่มีอยู่โดยทั่วไป
ท่องเที่ยวไปคนเดียวในโลก
[๓๖๐] กาลเวลาย่อมล่วงเลยไป ราตรีย่อมผ่านพ้นไป
ชั้นแห่งวัยก็ละลำดับไป ถึงเราก็จักละกามทั้งหลาย
ซึ่งเป็นที่น่ารื่นรมย์ยินดีท่องเที่ยวไปคนเดียวในโลก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๑๔. อโยฆรชาดก (๕๑๐)
[๓๖๑] กาลเวลาย่อมล่วงเลยไป ราตรีย่อมผ่านพ้นไป
ชั้นแห่งวัยก็ละลำดับไป
ถึงเราก็จักละกามทั้งหลายที่มีอยู่โดยทั่วไป
ท่องเที่ยวไปคนเดียวในโลก
[๓๖๒] กาลเวลาย่อมล่วงเลยไป ราตรีย่อมผ่านพ้นไป
ชั้นแห่งวัยก็ละลำดับไป
ถึงเราก็จักเป็นผู้เยือกเย็น ล่วงเครื่องข้องทั้งปวง
ท่องเที่ยวไปคนเดียวในโลก
หัตถิปาลชาดกที่ ๑๓ จบ

๑๔. อโยฆรชาดก (๕๑๐)
ว่าด้วยมหาสัตว์อโยฆรราช
(พระโพธิสัตว์อโยฆรราชเมื่อจะแสดงธรรมโปรดพระราชบิดา จึงตรัสว่า)
[๓๖๓] สัตว์ถือปฏิสนธิครั้งแรก อยู่ในครรภ์ตลอดคืนหนึ่ง
ดำเนินไปไม่หวนกลับเหมือนเมฆหมอกที่ตั้งขึ้นแล้วลอยผ่านไป
[๓๖๔] นรชนทั้งหลายประกอบพร้อมด้วยกำลังพล
สู้รบอยู่ในสงคราม จะไม่แก่ไม่ตายก็หาไม่
เพราะว่ามณฑลแห่งปาณสัตว์นั้นล้วนถูกชาติและชราเบียดเบียน
เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงมีความคิดว่า
จะประพฤติธรรม
[๓๖๕] พระราชาผู้เป็นใหญ่แห่งแคว้น
ทรงข่มขี่ราชศัตรู ผู้มีเสนาประกอบด้วยองค์ ๔
มีรูปร่างน่าสะพรึงกลัว เอาชนะไปได้
แต่ไม่ทรงสามารถชนะเสนาแห่งพญามัจจุราชได้
เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงมีความคิดว่า
จะประพฤติธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๑๔. อโยฆรชาดก (๕๑๐)
[๓๖๖] พระราชาบางพวกแวดล้อมด้วยกองทัพช้าง กองทัพม้า
กองทัพรถ กองทัพพลเดินเท้า
ย่อมพ้นจากเงื้อมมือของปัจจามิตรได้
แต่ไม่อาจจะทรงพ้นจากพญามัจจุราชได้
เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงมีความคิดว่า จะประพฤติธรรม
[๓๖๗] พระราชาทั้งหลายผู้ทรงกล้าหาญ ทรงหักค่าย
ทำลายนคร กำจัดมหาชนได้ด้วยกองทัพช้าง กองทัพม้า
กองทัพรถ กองทัพพลเดินเท้า
แต่ไม่อาจจะทรงหักราญพญามัจจุราชได้
เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงมีความคิดว่า จะประพฤติธรรม
[๓๖๘] คชสารทั้งหลายตัวตกมัน มีมันแตกไหลเยิ้ม
ย่อมย่ำยีบ้านเมือง เข่นฆ่าประชาชนได้
แต่ไม่อาจจะย่ำยีพญามัจจุราชได้
เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงมีความคิดว่า จะประพฤติธรรม
[๓๖๙] นายขมังธนูทั้งหลายผู้มีฝีมือฝึกปรือดีแล้ว เป็นผู้กล้าหาญ
สามารถยิงไปได้ไกล แม่นยำไม่ผิดพลาด
แต่ไม่อาจจะยิงพญามัจจุราชได้
เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงมีความคิดว่า จะประพฤติธรรม
[๓๗๐] สระทั้งหลายย่อมเสื่อมสิ้นไป
พื้นปฐพีพร้อมทั้งภูเขาและราวป่าก็หมดสิ้นไป
ถึงทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ตลอดกาลนานเข้าก็เสื่อมสิ้นไป
เพราะสังขารทั้งปวงนั้นย่อมแตกสลายไปตามกาลกำหนด
เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงมีความคิดว่า จะประพฤติธรรม
[๓๗๑] แท้จริง ชีวิตของเหล่าสัตว์ทั้งปวงทั้งหญิงชายในโลกนี้
มีสภาพหวั่นไหว ปั่นป่วน
เหมือนแผ่นผ้าของนักเลง เหมือนต้นไม้ที่เกิดใกล้ฝั่ง
เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงมีความคิดว่า จะประพฤติธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๑๔. อโยฆรชาดก (๕๑๐)
[๓๗๒] ทั้งคนหนุ่ม ทั้งคนแก่
ทั้งหญิง ทั้งชาย ทั้งบัณเฑาะก์ (กะเทย)
ย่อมมีกายแตกทำลายไปเหมือนผลไม้หล่นจากต้น
เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงมีความคิดว่า จะประพฤติธรรม
[๓๗๓] ดวงจันทร์ซึ่งเป็นราชาแห่งดวงดาวเป็นฉันใด
วัยนี้หาเป็นฉันนั้นไม่ เพราะส่วนใดล่วงไปแล้ว
ส่วนนั้นเป็นอันล่วงไปแล้วในบัดนี้
อนึ่ง คนแก่เฒ่าชราแล้วหามีความยินดีไม่ ความสุขจะมีแต่ที่ไหน
เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงมีความคิดว่า จะประพฤติธรรม
[๓๗๔] ยักษ์ ปีศาจ หรือแม้เปรตทั้งหลายเหล่านั้นโกรธขึ้นมาแล้ว
ย่อมเข้าสิงมนุษย์ทั้งหลายได้ แต่ไม่อาจจะเข้าสิงพญามัจจุราชได้
เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงมีความคิดว่า จะประพฤติธรรม
[๓๗๕] ยักษ์ ปีศาจ หรือแม้เปรตทั้งหลายเหล่านั้นโกรธขึ้นมาแล้ว
มนุษย์ทั้งหลายย่อมกระทำให้อดโทษได้ด้วยพลีกรรม
แต่จะทำพญามัจจุราชให้อดโทษด้วยพลีกรรมหาได้ไม่
เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงมีความคิดว่า จะประพฤติธรรม
[๓๗๖] พระราชาทั้งหลายทรงทราบความผิดอย่างชัดแจ้งแล้ว
จึงทรงลงอาชญาคนผู้มีความผิด
ผู้ประทุษร้าย และผู้เบียดเบียนประชาชน
แต่ไม่ทรงสามารถจะลงอาชญาพญามัจจุราชได้
เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงมีความคิดว่า จะประพฤติธรรม
[๓๗๗] ชนทั้งหลายผู้กระทำความผิด ผู้ประทุษร้าย
และผู้เบียดเบียนเหล่านั้น
ย่อมได้เพื่อจะทูลเกล้าถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ
แต่จะทำพญามัจจุราชให้อภัยโทษหาได้ไม่
เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงมีความคิดว่า จะประพฤติธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๑๔. อโยฆรชาดก (๕๑๐)
[๓๗๘] ความเพ่งเล็งด้วยความหวังดีว่า
ผู้นี้เป็นกษัตริย์ เป็นพราหมณ์
ผู้นี้เป็นคนมั่งคั่ง เป็นคนมีพลัง หรือเป็นคนมีเดช
ไม่ได้มีแก่พญามัจจุราชเลย
เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงมีความคิดว่า จะประพฤติธรรม
[๓๗๙] สิงโต เสือโคร่ง และแม้เสือเหลืองทั้งหลาย
ย่อมข่มขี่กัดกินสัตว์ที่ดิ้นรนไปมาได้
แต่ไม่อาจจะกัดกินพญามัจจุราชได้เลย
เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงมีความคิดว่า จะประพฤติธรรม
[๓๘๐] นักมายากลทั้งหลายเมื่อแสดงมายากลท่ามกลางสนาม
ย่อมลวงตาประชาชนให้หลงใหลได้เพียงนั้น
แต่ไม่อาจจะลวงตาพญามัจจุราชให้หลงใหลได้เลย
เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงมีความคิดว่า จะประพฤติธรรม
[๓๘๑] อสรพิษทั้งหลายตัวที่มีพิษร้ายกาจ
โกรธขึ้นมาแล้วย่อมขบกัดมนุษย์ทั้งหลายให้ตายได้
แต่ไม่อาจจะขบกัดพญามัจจุราชได้เลย
เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงมีความคิดว่า จะประพฤติธรรม
[๓๘๒] อสรพิษทั้งหลายโกรธขึ้นมาแล้วย่อมขบกัดผู้ใด
หมอผู้เยียวยายังถอนพิษในร่างกายของผู้นั้นได้
แต่ถอนพิษอันร้ายกาจของพญามัจจุราชหาได้ไม่
เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงมีความคิดว่า จะประพฤติธรรม
[๓๘๓] นายแพทย์ธรรมมนตรี ๑ นายแพทย์เวตดรุณ ๑
นายแพทย์โภชะ ๑ กำจัดพิษพญานาคทั้งหลายได้
แต่นายแพทย์เหล่านั้น ได้ยินว่า ได้ตายไปแล้วเช่นกันแล
เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงมีความคิดว่า จะประพฤติธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต] ๑๔. อโยฆรชาดก (๕๑๐)
แต่นายแพทย์เหล่านั้น ได้ยินว่า ได้ตายไปแล้วเช่นกันแล
เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงมีความคิดว่า จะประพฤติธรรม
[๓๘๔] วิทยาธรทั้งหลาย เมื่อร่ายเวทย์ชื่อโฆรมนต์
ย่อมหายตัวไปได้ด้วยโอสถทั้งหลาย
แต่จะร่ายเวทย์ไม่ให้พญามัจจุราชเห็นหาได้ไม่
เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงมีความคิดว่า จะประพฤติธรรม
[๓๘๕] ธรรมแลย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม
ธรรมที่บุคคลประพฤติดีแล้ว ย่อมนำความสุขมาให้
นี้เป็นอานิสงส์ในธรรมที่บุคคลประพฤติดีแล้ว
ผู้มีปกติประพฤติธรรมย่อมไม่ไปสู่ทุคติ
[๓๘๖] สภาวะทั้ง ๒ คือ ธรรมและอธรรม
หามีผลวิบากเสมอกันได้ไม่
เพราะอธรรมนำสัตว์ไปนรก
ส่วนธรรมยังสัตว์ให้ถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้
อโยฆรชาดกที่ ๑๔ จบ

รวมชาดกที่มีในนิบาตนี้ คือ

๑. มาตังคชาดก ๒. จิตตสัมภูตชาดก
๓. สีวิราชชาดก ๔. สิรีมันตชาดก
๕. โรหณมิคชาดก ๖. จูฬหังสชาดก
๗. สัตติคุมพชาดก ๘. ภัลลาติยชาดก
๙. โสมนัสสชาดก ๑๐. จัมเปยยชาดก
๑๑. มหาปโลภนชาดก ๑๒. ปัญจปัณฑิตชาดก
๑๓. หัตถิปาลชาดก ๑๔. อโยฆรชาดก

วีสตินิบาต จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๓๗ }


๑๖. ติงสตินิบาต
๑. กิงฉันทชาดก (๕๑๑)
ว่าด้วยดาบสผู้มีความพอใจอะไร
(เทพธิดาผู้รักษาแม่น้ำกล่าวกับกิงฉันทดาบสว่า)
[๑] ท่านพราหมณ์ ท่านพอใจ๑อะไร
ประสงค์อะไร ปรารถนาอะไร
แสวงหาอะไรอยู่ และเพราะต้องการอะไร
จึงมาอยู่แต่ผู้เดียวในฤดูร้อน
(ดาบสได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวว่า)
[๒] หม้อน้ำใบใหญ่มีทรวดทรงงดงามฉันใด
มะม่วงสุกที่อุดมไปด้วยสี กลิ่น และรสก็อุปไมยได้ฉันนั้น
[๓] มะม่วงนั้นลอยมาตามกระแสน้ำท่ามกลางสายน้ำใส
อาตมาเห็นเข้าจึงยื่นมือไปเก็บมัน นำมาเก็บไว้ในโรงบูชาไฟ
[๔] แต่นั้นอาตมาเองวางมะม่วงไว้บนใบตอง ใช้มีดฝานแล้วฉัน
มะม่วงนั้นระงับความหิวกระหายของอาตมาแล้ว
[๕] อาตมานั้นปราศจากความกระวนกระวาย
ผลมะม่วงหมดไป ก็ได้แต่ข่มความทุกข์
ยังไม่ประสบผลไม้อย่างอื่นชนิดใดชนิดหนึ่งเลย
[๖] มะม่วงสุกผลใดมีรสอร่อย มีรสเป็นเลิศ น่าพอใจ
ลอยมาในห้วงมหรรณพ อาตมาเก็บขึ้นมาจากทะเล
มะม่วงสุกผลนั้นทำอาตมาให้ซูบผอม
จักนำความตายมาให้อาตมาแน่นอน

เชิงอรรถ :
๑ พอใจ หมายถึงอัธยาศัย (ขุ.ชา.อ. ๗/๑/๑๔๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๓๘ }


๑. กิงฉันทชาดก (๕๑๑)
[๗] อาตมาเฝ้าประจำอยู่เพราะเหตุใด
เหตุนั้นทั้งหมด อาตมาได้บอกแก่ท่านแล้ว
อาตมานั่งเฝ้าอยู่เฉพาะแม่น้ำสายที่น่ารื่นรมย์
แม่น้ำสายนี้กว้างใหญ่ไพศาล
ขวักไขว่ไปด้วยปลาโลมาตัวใหญ่ ๆ
[๘] แม่นางผู้ไม่แอบแฝงตน
แม่นางนั้นแหละจงบอกแก่อาตมาเถิด
แม่นางผู้มีเรือนร่างสง่างาม นางเป็นใครกัน
และมาที่นี่เพราะเหตุอะไร
[๙] เทพนารีเหล่าใดผู้มีเรือนร่างประดุจแผ่นทองคำที่ขัดสีดีแล้ว
หรือประดุจนางพยัคฆ์ที่เกิดอยู่ตามซอกเขา
เป็นปริจาริกาของเทพ มีอยู่ในโลก
[๑๐] และสตรีรูปงามเหล่าใดมีอยู่ในมนุษยโลก
บรรดาเทพนารี คนธรรพ์ และหญิงมนุษย์
สตรีเหล่านั้นไม่มีรูปร่างเช่นกับแม่นาง
แม่นางผู้มีลำขาอ่อนกลมกลึงประดุจแท่งทอง
อาตมาถามแล้ว ขอแม่นางจงบอกนาม
และเผ่าพันธุ์แก่อาตมาด้วยเถิด
(เทพธิดากล่าวว่า)
[๑๑] ท่านพราหมณ์ ท่านนั่งเฝ้าอยู่เฉพาะ
แม่น้ำโกสิกีอันน่ารื่นรมย์สายใด
ข้าพเจ้าอยู่ที่วิมานมีกระแสน้ำเชี่ยว
ซึ่งเป็นห้วงน้ำใหญ่สายนั้น
[๑๒] ลำธารจากภูเขาจำนวนมาก
ดื่นดาษไปด้วยหมู่ไม้นานาพันธุ์
ไหลรวมกัน ตรงมาหาข้าพเจ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๑. กิงฉันทชาดก (๕๑๑)
[๑๓] อนึ่ง ธารน้ำจากแนวป่า ก่อตัวเป็นห้วงวารีสีเขียว
และธารน้ำอันเป็นที่ปลื้มใจแห่งพวกนาคเป็นจำนวนมาก
ไหลมาท่วมข้าพเจ้าด้วยห้วงวารี
[๑๔] สายน้ำเหล่านั้นย่อมพัดพาผลไม้หลายชนิด
คือ มะม่วง ผลหว้า ขนุนสำปะลอ
กระทุ่ม ผลตาล และมะเดื่อมาเนือง ๆ
[๑๕] ผลไม้ชนิดใดชนิดหนึ่งที่ฝั่งแม่น้ำทั้ง ๒ หล่นลงไปในน้ำ
ผลไม้นั้นย่อมลอยไปตามอำนาจกระแสน้ำโดยไม่ต้องสงสัย
[๑๖] พระองค์ผู้จอมชนเป็นปราชญ์ มีปัญญามาก
ขอพระองค์จงสดับคำของข้าพเจ้า พระองค์ทราบอย่างนี้แล้ว
อย่าทรงพอพระทัยความเกาะเกี่ยว๑
ทรงปฏิเสธเสียเถิด
[๑๗] พระราชฤๅษีผู้ผดุงแคว้นให้เจริญ
ข้าพเจ้าไม่เข้าใจความเป็นบัณฑิตของพระองค์เลย
ซึ่งพระองค์กำลังทรงพระเจริญวัย
แต่กลับหวังความตาย
[๑๘] พระบิดา คนธรรพ์ พร้อมทั้งเทวดา
ย่อมทราบความที่พระองค์ตกอยู่ในอำนาจแห่งตัณหา
อนึ่ง ฤๅษีทั้งหลายเหล่าใดในโลก
ผู้สำรวมตน มีตบะ ผู้เริ่มตั้งความเพียร มียศ
ฤๅษีแม้เหล่านั้นก็ย่อมทราบโดยไม่ต้องสงสัย
(ต่อแต่นั้น ดาบสได้กล่าวว่า)
[๑๙] บาปย่อมไม่เจริญแก่นรชนผู้รู้
เพราะรู้ธรรมทั้งปวง รู้ความแตกสลาย
และรู้การจุติแห่งชีวิต ถ้าเขาไม่จงใจจะฆ่าผู้อื่น

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงเกาะเกี่ยวด้วยอำนาจตัณหา (ขุ.ชา.อ. ๗/๑๖/๑๔๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๑. กิงฉันทชาดก (๕๑๑)
[๒๐] แม่นางผู้ที่หมู่ฤๅษีรู้จักกันดี
เธอเป็นคนที่ผู้ลอยบาปรู้แจ้งชัดว่า
เป็นผู้เกื้อกูลแก่ชาวโลก แม่นางผู้มีความงาม
เธอย่อมแสวงหาบาปกรรม
เพราะเจรจาถ้อยคำที่ไม่ประเสริฐ
[๒๑] แม่นางผู้มีสะโพกงามผึ่งผาย
ถ้าอาตมาจักตายที่ริมฝั่งน้ำของเธอ
ชื่อเสียงอันเลวทรามจักมาถึงเธอโดยไม่ต้องสงสัย
เมื่ออาตมาล่วงลับไปแล้ว
[๒๒] เพราะเหตุนั้นแล แม่นางผู้มีเรือนร่างอันสวยงาม
เธอจงระวังบาปกรรม เมื่ออาตมาตายไปแล้ว
ขอชนทั้งปวงอย่าได้กล่าวติเตียนเธอในภายหลังเลย
(เทพธิดาได้สดับดังนั้นแล้ว จึงได้กล่าวว่า)
[๒๓] เหตุนั้นข้าพเจ้าได้ทราบแล้ว
ขอพระองค์ทรงอดกลั้นสิ่งที่อดกลั้นได้ยากเถิด
ข้าพเจ้ายอมถวายตนและผลมะม่วงนั้นแก่พระองค์
ผู้ทรงละกามคุณที่ละได้ยาก
ดำรงสันติและธรรม๑ไว้อย่างมั่นคง
[๒๔] ผู้ใดละสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องต้นได้
แต่ยังติดอยู่ในสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องปลาย
ประพฤติอธรรมอยู่นั่นเทียว บาปย่อมเจริญแก่ผู้นั้น
[๒๕] เชิญเสด็จมาเถิด ข้าพเจ้าจะช่วยพระองค์
ขอพระองค์ทรงขวนขวายน้อยโดยส่วนเดียวเถิด
ข้าพเจ้าจะนำพระองค์ไปที่สวนมะม่วงอันร่มเย็น
ขอพระองค์ปราศจากความขวนขวายอยู่เถิด

เชิงอรรถ :
๑ สันติ หมายถึงศีลกล่าวคือความสงบจากความทุศีล ธรรม หมายถึงสุจริตธรรม (ขุ.ชา.อ. ๗/๒๓/๑๕๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๒. กุมภชาดก (๕๑๒)
[๒๖] ขอเดชะพระองค์ผู้ทรงข่มอริราชศัตรู
สวนมะม่วงนั้นเซ็งแซ่ไปด้วยหมู่นกที่มัวเมาด้วยรสดอกไม้
ทิพยสกุณปักษี คือ นกกระเรียน นกยูง นกเขา
และนกสาลิกาก็มีอยู่ในสวนมะม่วงนี้
และในสวนนี้ยังมีฝูงหงส์ส่งเสียงร้องระงม
นกดุเหว่าเร่าร้องกึกก้องปลุกเหล่าสัตว์ให้ตื่นอยู่
[๒๗] ณ สวนมะม่วงนี้ ต้นมะม่วงทั้งหลายมีปลายกิ่งโน้มลง
ด้วยพวงผลดกดื่นเช่นรวงข้าวสาลี มีทั้งต้นคำ ต้นสน
ต้นกระทุ่ม และผลตาลสุกห้อยย้อยอยู่เรียงราย
(ดาบสเห็นเปรตเสวยทิพยสมบัติในเวลาดวงอาทิตย์ตก จึงได้กล่าวว่า)
[๒๘] เธอผู้ประดับมาลา โพกภูษา
ประดับอาภรณ์ สวมใส่กำไลมือกำไลแขน
มีร่างกายฟุ้งไปด้วยจุรณแก่นจันทน์
ถูกบำเรอตลอดคืน ส่วนกลางวันเสวยเวทนา
[๒๙] เธอมีหญิง ๑๖,๐๐๐ นางเป็นนางบำเรอ
มีอานุภาพมากอย่างนี้ ยังไม่เคยมี
น่าขนพองสยองเกล้า
[๓๐] ในภพก่อนเธอได้ทำบาปกรรมอะไรที่นำทุกข์มาให้ตน
เธอทำกรรมอะไรไว้ในมนุษย์ทั้งหลาย จึงต้องมากัดกินเนื้อหลังของตน
(เปรตจำดาบสนั้นได้ จึงกล่าวว่า)
[๓๑] ข้าพระองค์ได้เล่าเรียนพระเวท หมกมุ่นอยู่ในกามทั้งหลาย
ได้ประพฤติสิ่งไม่เป็นประโยชน์แก่ชนเหล่าอื่นตลอดกาลนาน
[๓๒] ผู้หากินบนหลังคนอื่นต้องควักเนื้อหลังของตนกิน
เหมือนข้าพระองค์วันนี้ต้องกัดกินเนื้อหลังของตนเอง
กิงฉันทชาดกที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๒. กุมภชาดก (๕๑๒)
๒. กุมภชาดก (๕๑๒)
ว่าด้วยหม้อพิเศษ
(สรรพมิตตราชาทรงสนทนากับท้าวสักกะว่า)
[๓๓] ท่านเป็นใคร มาจากสวรรค์ชั้นไตรทศหรือ
ปรากฏอยู่ในนภากาศเหมือนดวงจันทร์ส่องสว่างในยามรัตติกาล
รัศมีทั้งหลายแผ่ซ่านออกจากกายท่านดุจสายฟ้าที่แลบอยู่ในอากาศ
[๓๔] ท่านนั้นบันดาลเมฆที่ขาดลมให้ไปในอากาศได้
ทั้งเดินทั้งยืนในอากาศได้ ท่านได้บำเพ็ญฤทธิ์ของเทพ
ผู้ไม่ต้องเดินทางไกลด้วยเท้า ทำให้เป็นที่พึ่งท่านได้หรือ
[๓๕] ท่านอาศัยอากาศก้าวเดินมาหยุดอยู่
กล่าวเนื้อความนั้นว่า ท่านจงซื้อหม้อ
พราหมณ์ ท่านเป็นใครหรือ หม้อของท่านนี้มีประโยชน์อะไร
ขอท่านจงบอกเนื้อความนั้นแก่ข้าพเจ้า
(ท้าวสักกะแสดงโทษของสุราว่า)
[๓๖] หม้อนี้มิใช่หม้อเนยใส มิใช่หม้อน้ำมัน
มิใช่หม้อน้ำอ้อย และมิใช่หม้อน้ำผึ้ง โทษของหม้อนี้มีมิใช่น้อย
พระองค์จงสดับโทษอย่างมากมายที่มีอยู่ในหม้อนี้
[๓๗] บุคคลดื่มสุราชนิดใดแล้วเดินโซเซพึงตกเหว ตกบ่อ
ตกถ้ำ ตกหลุมน้ำครำ และหลุมโสโครก
พึงบริโภคของที่ไม่ควรบริโภคได้มากมาย
ขอพระองค์ทรงซื้อหม้อนี้ซึ่งเต็มด้วยน้ำสุราชนิดนั้น
[๓๘] บุคคลดื่มสุราชนิดใดแล้วไม่เป็นอิสระในจิต
เที่ยวเปะปะไปเหมือนโคกินกากสุรา
เป็นเหมือนคนอนาถา ร่วมวงขับร้องฟ้อนรำได้
ขอพระองค์ทรงซื้อหม้อนี้ซึ่งเต็มด้วยสุราชนิดนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๒. กุมภชาดก (๕๑๒)
[๓๙] บุคคลดื่มสุราชนิดใดแล้วเปลือยกายเหมือนชีเปลือย
เที่ยวไปตามตรอกซอกซอยในหมู่บ้าน
มีจิตฟั่นเฟือน มักนอนเลยเวลา
ขอพระองค์ทรงซื้อหม้อนี้ซึ่งเต็มด้วยสุราชนิดนั้น
[๔๐] บุคคลดื่มสุราชนิดใดลุกขึ้นแล้วตัวสั่น
โยกศีรษะและแกว่งแขนไปมา เขาฟ้อนรำเหมือนหุ่นยนต์
ขอพระองค์ทรงซื้อหม้อนี้ซึ่งเต็มด้วยสุราชนิดนั้น
[๔๑] บุคคลดื่มสุราชนิดใดแล้วนอนหลับจนถูกไฟครอก
กินของที่พวกสุนัขจิ้งจอกกัดกินเหลือเดนได้
ย่อมได้รับการจองจำ การถูกฆ่า และความเสื่อมจากโภคะ
ขอพระองค์ทรงซื้อหม้อนี้ซึ่งเต็มด้วยสุราชนิดนั้น
[๔๒] บุคคลดื่มสุราชนิดใดแล้วพึงพูดสิ่งที่ไม่ควรพูด
นั่งพูดพร่ำอยู่ในสภา ปราศจากเสื้อผ้า
มีกายเลอะเทอะเปรอะเปื้อน จมอยู่ในกองอาเจียน ถึงความพินาศ
ขอพระองค์ทรงซื้อหม้อนี้ซึ่งเต็มด้วยสุราชนิดนั้น
[๔๓] บุคคลดื่มสุราชนิดใดแล้วอวดเก่ง มีนัยน์ตาขุ่นขวาง
สำคัญว่าแผ่นดินทั้งหมดเป็นของเราแต่ผู้เดียว
พระราชาแม้จะมีมหาสมุทรทั้ง ๔ เป็นขอบเขตก็ไม่เสมอเหมือนเรา
ขอพระองค์ทรงซื้อหม้อนี้ซึ่งเต็มด้วยสุราชนิดนั้น
[๔๔] บุคคลดื่มสุราชนิดใดแล้วเป็นคนถือตัวจัด
ก่อการทะเลาะวิวาท มีนิสัยส่อเสียด มีผิวพรรณทราม
มักเปลือยกาย หลบซ่อนอยู่เสมอ อยู่แบบโจร แบบนักเลง
ขอพระองค์ทรงซื้อหม้อนี้ซึ่งเต็มด้วยสุราชนิดนั้น
[๔๕] ตระกูลทั้งหลายที่มั่งคั่งสมบูรณ์
มีทรัพย์ตั้งหลายพันพึงมีอยู่ในโลก
สุราชนิดนี้ทำให้ขาดจากความเป็นทายาทได้
ขอพระองค์ทรงซื้อหม้อนี้ซึ่งเต็มด้วยสุราชนิดนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๒. กุมภชาดก (๕๑๒)
[๔๖] ข้าวเปลือก ทรัพย์สิน เงิน ทอง
ไร่นา โค กระบือในตระกูลใดย่อมพินาศไป
และความขาดสูญแห่งตระกูลที่มีทรัพย์เครื่องปลื้มใจ
ย่อมมีได้เพราะสุราชนิดใด
ขอพระองค์ทรงซื้อหม้อนี้ซึ่งเต็มด้วยสุราชนิดนั้น
[๔๗] บุรุษดื่มสุราชนิดใดแล้วเป็นเหมือนคนกักขฬะหยาบคาย
ด่าพ่อแม่ จับต้องแม้แม่ยายและลูกสะใภ้
ขอพระองค์ทรงซื้อหม้อนี้ซึ่งเต็มด้วยสุราชนิดนั้น
[๔๘] นารีดื่มสุราชนิดใดแล้วเป็นเหมือนหญิงกักขฬะหยาบคาย
ด่าพ่อผัว แม่ผัว และสามี จับต้องทาสและคนใช้ผู้ชาย
ขอพระองค์ทรงซื้อหม้อนี้ซึ่งเต็มด้วยสุราชนิดนั้น
[๔๙] บุคคลดื่มสุราชนิดใดแล้ว
พึงฆ่าสมณะและพราหมณ์ผู้ดำรงอยู่ในธรรม
เขาพึงไปสู่อบายเพราะกรรมนั้นเป็นเหตุ
ขอพระองค์ทรงซื้อหม้อนี้ซึ่งเต็มด้วยสุราชนิดนั้น
[๕๐] ชนทั้งหลายดื่มสุราชนิดใดแล้ว
ประพฤติชั่วทางกาย วาจา และใจ
เพราะประพฤติชั่ว พวกเขาย่อมตกนรก
ขอพระองค์ทรงซื้อหม้อนี้ซึ่งเต็มด้วยสุราชนิดนั้น
[๕๑] ชนทั้งหลายแม้บริจาคเงินจำนวนมาก
อ้อนวอนผู้ใดให้กล่าวเท็จไม่ได้ ในกาลก่อน
ผู้นั้นดื่มสุรานั้นแล้วก็พูดเหลาะแหละเหลวไหลได้
ขอพระองค์ทรงซื้อหม้อนี้ซึ่งเต็มด้วยสุราชนิดนั้น
[๕๒] ในการรับใช้ คนดื่มสุราชนิดใดแล้วถูกเขาใช้ไป
เมื่อเกิดกรณียกิจรีบด่วน เขาแม้ถูกถามก็ไม่รู้เรื่อง
ขอพระองค์ทรงซื้อหม้อนี้ซึ่งเต็มด้วยสุราชนิดนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๓. ชยัททิสชาดก (๕๑๓)
[๕๓] คนเมาทั้งหลายเพราะความเมามาย
แม้มีความละอายใจก็ทำความไม่ละอายให้ปรากฏได้
แม้เป็นคนดีมีปัญญาก็พูดมาก
ขอพระองค์ทรงซื้อหม้อนี้ซึ่งเต็มด้วยสุราชนิดนั้น
[๕๔] บุคคลดื่มสุราชนิดใดแล้วมักนอนสุมหัวกัน
อดข้าวปลาอาหาร นอนเป็นทุกข์อยู่บนพื้นดิน
ย่อมประสบกับความมีผิวพรรณทรามและการถูกติฉินนินทา
ขอพระองค์ทรงซื้อหม้อนี้ซึ่งเต็มด้วยสุราชนิดนั้น
[๕๕] บุคคลดื่มสุราชนิดใดแล้วนอนคอตก
เหมือนโคที่ถูกเกราะซึ่งผูกไว้ที่คอตีกระทบ
ฤทธิ์สุราคล้ายกับทำคนให้มีความอดทนด้วยดีก็หาไม่
ขอพระองค์ทรงซื้อหม้อนี้ซึ่งเต็มด้วยสุราชนิดนั้น
[๕๖] มนุษย์ทั้งหลายย่อมเว้นสุราชนิดใดซึ่งเปรียบได้กับงูมีพิษร้าย
ใครเล่าควรจะดื่มสุราชนิดนั้นซึ่งเป็นเช่นกับยาพิษในโลก
ขอพระองค์ทรงซื้อหม้อนี้ซึ่งเต็มด้วยสุราชนิดนั้น
[๕๗] พวกโอรสของท้าวอันธกเวณฑะเสวยสุราชนิดใดแล้ว
พาหญิงไปบำเรอใกล้ฝั่งสมุทร
ได้ใช้สากประหัตประหารกันและกัน
ขอพระองค์ทรงซื้อหม้อนี้ซึ่งเต็มด้วยสุราชนิดนั้น
[๕๘] บุรพเทพ (คืออสูรทั้งหลาย) ดื่มสุราชนิดใดแล้วเมามาย
จุติจากสวรรค์ชั้นไตรทศ ยังสำคัญตนว่าเที่ยง
เป็นไปกับด้วยอสูรมายา พระมหาราช บุคคลเมื่อทราบ
น้ำเมานี้ว่าไม่มีประโยชน์ จะพึงดื่มน้ำชนิดนั้นไปทำไม
[๕๙] พระมหาราช ในหม้อนี้ไม่มีนมส้มหรือน้ำผึ้งอยู่เลย
พระองค์ทรงทราบอย่างนี้แล้ว ขอทรงซื้อเถิด
พระเจ้าสรรพมิตร สิ่งของทั้งหลายซึ่งมีอยู่ในหม้อนี้
ข้าพระองค์ได้กราบทูลพระองค์ตามความเป็นจริงอย่างนั้นแล้วแหละ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๓. ชยัททิสชาดก (๕๑๓)
(พระราชาทรงสดับดังนั้นแล้วเห็นโทษของสุรา จึงทรงชมเชยท้าวสักกะว่า)
[๖๐] ถึงบิดามารดาของข้าพเจ้าไม่เหมือนท่าน
ผู้ช่วยเหลือเกื้อกูลหวังประโยชน์สูงสุด
วันนี้ข้าพเจ้าจะเชื่อฟังคำของท่าน
[๖๑] ข้าพเจ้าจะให้บ้านส่วย ๕ ตำบล
สาวใช้ ๑๐๐ คน โค ๗๐๐ ตัว
และรถเทียมม้าอาชาไนย ๑๐ คันนี้แก่ท่าน
ท่านเป็นอาจารย์ผู้หวังประโยชน์แก่ข้าพเจ้า
(ท้าวสักกะเมื่อจะให้พระราชารู้ว่าตนเป็นเทวดา จึงตรัสว่า)
[๖๒] พระมหาราช ทาสหญิง ๑๐๐ คน บ้านส่วย โคทั้งหลาย
และรถเทียมม้าอาชาไนยทั้งหลายของพระองค์
จงเป็นของพระองค์เถิด
ข้าพระองค์เป็นท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทพชั้นไตรทศ
[๖๓] ขอพระองค์จงเสวยพระกระยาหารที่ปรุงด้วยเนื้อ
ข้าวปายาสที่ระคนด้วยเนยใส
และจงเสวยขนมกุมมาสที่ปรุงด้วยน้ำผึ้งเถิด
พระองค์ผู้จอมชน ขอพระองค์จงทรงยินดีในธรรม
อันใคร ๆ ไม่ติเตียนแล้ว เข้าถึงแดนสวรรค์เถิด
กุมภชาดกที่ ๒ จบ

๓. ชยัททิสชาดก (๕๑๓)
ว่าด้วยพระเจ้าปัญจาละพระนามว่าชัยทิศ
(ยักษ์จับพระหัตถ์ของพระราชาแล้วกราบทูลว่า)
[๖๔] นานจริงหนอ วันนี้ภักษาเป็นอันมากได้เกิดขึ้นแก่เรา
ในเวลาอาหารในวัน ๗ ค่ำ ท่านเป็นใคร มาจากไหน
ขอเชิญท่านบอกเนื้อความนั้นและชาติสกุลตามที่ท่านทราบเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๓. ชยัททิสชาดก (๕๑๓)
(พระราชาทรงเห็นยักษ์แล้ว ตกพระทัย ต่อมาทรงรวบรวมสติได้แล้วจึงตรัสว่า)
[๖๕] ข้าพเจ้าคือพระเจ้าปัญจาละนามว่าชัยทิศ เข้ามาล่าสัตว์
บางทีท่านจะได้ยินมาแล้วบ้าง เราเที่ยวไปตามเชิงเขาแนวป่า
วันนี้ท่านจงกินเนื้อฟานนี้ ปล่อยข้าพเจ้าไปเถิด
(ยักษ์กราบทูลว่า)
[๖๖] พระองค์เมื่อถูกข้าพระองค์เบียดเบียน
กลับทรงแลกพระองค์กับของที่ข้าพระองค์มีอยู่
เนื้อฟานที่พระองค์กล่าวถึงเป็นภักษาของข้าพระองค์
ข้าพระองค์เคี้ยวกินพระองค์แล้วอยากกินเนื้อฟาน
ก็จักเคี้ยวกินในภายหลัง เวลานี้ไม่ใช่เวลาพร่ำเพ้อรำพัน
(พระราชาทรงหวนระลึกถึงนันทพราหมณ์ จึงตรัสว่า)
[๖๗] ถ้าว่า ข้าพเจ้ารอดพ้นไปไม่ได้ด้วยการแลกเปลี่ยน
เพื่อไปแล้วจะกลับมาในวันพรุ่งนี้
กติกาในการที่จะให้ทรัพย์แก่พราหมณ์นั้นข้าพเจ้าทำไว้แล้ว
ข้าพเจ้าผู้รักษาความสัตย์จักกลับมาอีก
(ยักษ์กราบทูลว่า)
[๖๘] พระมหาราช กรรมอะไรเล่า
ที่ทำให้พระองค์ผู้ใกล้ถึงการสวรรคตต้องทรงเดือดร้อน
ขอพระองค์ตรัสบอกกรรมนั้นแก่ข้าพระองค์
บางทีข้าพระองค์อาจจะอนุญาตให้พระองค์ไป
เพื่อจะกลับมาในวันพรุ่งนี้ได้บ้าง
(พระราชาตรัสว่า)
[๖๙] ข้าพเจ้าได้ให้ความหวังเกี่ยวกับทรัพย์ไว้แก่พราหมณ์
กติกานั้นข้าพเจ้าได้รับรองไว้แล้ว
ยังมิได้ปลดเปลื้องกติกาในการที่จะให้ทรัพย์แก่พราหมณ์นั้น
ข้าพเจ้าผู้รักษาความสัตย์จักกลับมาอีก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๓. ชยัททิสชาดก (๕๑๓)
(ยักษ์กราบทูลว่า)
[๗๐] ความหวังเกี่ยวกับทรัพย์อันใดพระองค์ได้สร้างไว้ให้แก่พราหมณ์
กติกานั้นพระองค์ทรงรับรองไว้แล้ว
ยังมิได้ปลดเปลื้องกติกาในการที่จะให้ทรัพย์แก่พราหมณ์เลย
ขอพระองค์จงทรงรักษาความสัตย์เสด็จกลับมาอีก
(พระศาสดาเมื่อทรงแสดงความนั้น จึงได้ตรัสว่า)
[๗๑] ก็พระเจ้าชัยทิศนั้นรอดพ้นจากเงื้อมมือของยักษ์โปริสาทแล้ว
ทรงรีบเสด็จไปยังพระราชมณเฑียรของพระองค์
ทรงหวังจะปลดเปลื้องกติกาในการที่จะให้ทรัพย์แก่พราหมณ์
รับสั่งเรียกหาอลีนสัตตุราชบุตรเข้ามาเฝ้า ตรัสว่า
[๗๒] ลูกจงอภิเษกราชสมบัติในวันนี้
จงประพฤติธรรมในบริวารของตนและแม้ในบุคคลเหล่าอื่น
อนึ่ง การประพฤติอธรรมขออย่าได้มีในแคว้นของลูก
ส่วนพ่อจะไปสำนักของยักษ์โปริสาท
(พระราชกุมารกราบทูลว่า)
[๗๓] ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาท หม่อมฉันทำกรรมอะไร
จึงทำให้พระราชบิดาไม่พอพระทัย
และวันนี้พระราชบิดาจะให้หม่อมฉันดำรงราชสมบัติ
เพราะการงานที่ทำให้พระราชบิดาไม่พอพระทัยอันใด
หม่อมฉันปรารถนาจะสดับข้อนั้น ๆ
แม้ราชสมบัติเว้นพระราชบิดาหม่อมฉันก็ไม่พึงปรารถนา
(พระราชาตรัสว่า)
[๗๔] ลูกรัก พ่อมิได้ระลึกถึงความผิดของลูก
เพราะการกระทำหรือเพราะคำพูดของลูกนี้เลย
เพราะให้สัจจะไว้กับยักษ์โปริสาท
พ่อต้องรักษาความสัตย์ จักต้องกลับไปอีก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๓. ชยัททิสชาดก (๕๑๓)
(พระราชกุมารกราบทูลว่า)
[๗๕] หม่อมฉันจักไปแทน ขอพระองค์ประทับอยู่ที่นี้
การที่จะรอดชีวิตพ้นมาจากสำนักยักษ์โปริสาทย่อมไม่มี
ขอเดชะ ถ้าพระราชบิดาจะเสด็จไปจริง ๆ
หม่อมฉันก็จะตามเสด็จด้วย แม้เราทั้ง ๒ จะไม่รอดชีวิต
(พระราชาตรัสว่า)
[๗๖] ลูกรัก นั่นเป็นธรรมของสัตบุรุษอย่างแท้จริง
แต่เมื่อใดยักษ์โปริสาทเท้าด่าง
ข่มขี่ทำลายลูกแล้วย่างกินที่โคนต้นไม้
ข้อนั้นพึงเป็นทุกข์ยิ่งกว่าการตายของพ่อเสียอีก
(พระราชกุมารกราบทูลว่า)
[๗๗] หม่อมฉันจักเอาชีวิตแลกเปลี่ยนชีวิตของเสด็จพ่อ
เสด็จพ่ออย่าได้เสด็จไปสำนักยักษ์โปริสาทเลย
ก็หม่อมฉันจักแลกเปลี่ยนเอาชีวิตของเสด็จพ่อนั้นไว้
เพราะเหตุนั้น จึงขอยอมตายเพื่อชีวิตของเสด็จพ่อ
(พระศาสดาเมื่อจะประกาศความนั้น จึงตรัสว่า)
[๗๘] ลำดับนั้นแล พระราชบุตรผู้ทรงมีพระปรีชา
ถวายบังคมพระยุคลบาทพระมารดาพระบิดาแล้วเสด็จไป
พระมารดาของท้าวเธอทรงระทมทุกข์ ล้มลงที่พื้นปฐพี
ส่วนพระบิดานั้นเล่าทรงประคองพระพาหาทั้ง ๒
แล้วทรงกันแสง
(และเมื่อจะประกาศสัจจะ จึงได้ตรัสต่อไปอีกว่า)
[๗๙] พระบิดาทรงทราบชัดว่าพระโอรสกำลังมุ่งหน้าเสด็จไป
จึงบ่ายพระพักตร์ต่อเบื้องพระปฤษฎางค์ ประคองอัญชลี
นมัสการว่า ลูกรัก ขอลูกจงมีเทพเหล่านี้ คือ ท้าวโสมะ
ท้าววรุณ ท้าวปชาบดี พระจันทร์ และสุริยเทพคุ้มครอง
ขอลูกจงได้รับอนุญาตกลับมาจากสำนักยักษ์โปริสาทด้วยความสวัสดี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๓. ชยัททิสชาดก (๕๑๓)
(พระชนนีทรงทำสัจจกิริยาว่า)
[๘๐] ลูกรัก มารดาของพ่อรามได้รับการคุ้มครองอย่างดี
ได้กระทำความสวัสดีอันใดให้แก่พ่อรามผู้ไปยังแคว้นของพระเจ้า
ทัณฑกี แม่ขอกระทำความสวัสดีอันนั้นให้แก่ลูก
ด้วยความสัตย์นี้ ขอทวยเทพเจ้าโปรดระลึกถึงลูก
ขอลูกจงได้รับอนุญาตกลับมาด้วยความสวัสดีเถิด
(พระภคินีทรงทำสัจจกิริยาว่า)
[๘๑] น้องนึกไม่ออกเลย
ถึงการคิดประทุษร้ายเจ้าพี่อลีนสัตตุในที่แจ้งหรือที่ลับ
ด้วยความสัตย์นี้ ขอทวยเทพโปรดระลึกถึงเจ้าพี่
ขอเจ้าพี่ทรงได้รับอนุญาตกลับมาด้วยความสวัสดีเถิด
(พระชายาทรงทำกิริยาว่า)
[๘๒] ขอเดชะพระสวามี ก็เพราะพระองค์มิได้ประพฤตินอกใจ
หม่อมฉันเลย ฉะนั้น พระองค์มิได้เป็นที่รักจากใจหม่อมฉันก็หาไม่
ด้วยความสัตย์นี้ ขอทวยเทพโปรดระลึกถึงพระองค์
ขอพระองค์ทรงได้รับอนุญาตกลับมาด้วยความสวัสดีเถิด
(ลำดับนั้น ยักษ์กล่าวว่า)
[๘๓] เจ้ามีร่างกายสูงใหญ่ ใบหน้างาม มาจากไหน
เจ้าไม่รู้หรือว่าเราอยู่ในป่า
ใคร ๆ เขาก็รู้จักเราผู้ชั่วร้ายว่า เป็นยักษ์กินคน
มีใครเล่าเมื่อรู้ถึงความปลอดภัยพึงมาที่นี้
(พระราชกุมารตรัสว่า)
[๘๔] นายพราน เรารู้ว่าท่านกินคน
เราจะไม่รู้ว่าท่านอยู่ในป่าก็หาไม่
เราเป็นพระโอรสของพระเจ้าชัยทิศ
เพราะต้องการจะปลดเปลื้องพระบิดา
วันนี้ท่านจงปล่อยพระบิดา จงกินเราเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๓. ชยัททิสชาดก (๕๑๓)
(ยักษ์กราบทูลว่า)
[๘๕] เรารู้ว่าท่านเป็นพระโอรสของพระเจ้าชัยทิศ
เพราะใบหน้าและผิวพรรณของท่านทั้ง ๒ คล้ายคลึงกัน
การที่บุคคลยอมตายเพื่อปลดเปลื้องบิดาของตน
นี้เป็นกรรมที่กระทำได้ยาก แต่ท่านได้กระทำแล้ว
(พระราชกุมารตรัสว่า)
[๘๖] ในเรื่องนี้เรามิได้สำคัญว่าทำได้ยากอะไรนัก
บุคคลใดยอมตายเพื่อปลดเปลื้องบิดาของตน
หรือเพราะเหตุแห่งมารดา บุคคลนั้นไปสู่ปรโลกแล้ว
เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยความสุขและอารมณ์อันเลิศ
(พระราชกุมารถูกยักษ์ถามถึงความไม่กลัวตาย จึงตรัสว่า)
[๘๗] ก็เราระลึกไม่ได้สักนิดเดียว
ถึงการกระทำความชั่วของตนทั้งในที่แจ้งหรือที่ลับ
เราเป็นผู้มีการเกิดและการตายตามกำหนด
การพ้นจากความตายย่อมไม่มีในโลกนี้ฉันใด
ในโลกหน้าก็ฉันนั้น
[๘๘] ท่านผู้มีอานุภาพมาก วันนี้ท่านจงกินเราบัดนี้เถิด
จงทำกิจที่ควรทำกับสรีระนี้ หรือว่าเพื่อท่านเราจะตกจากยอดไม้
ท่านพอใจจงกินเนื้อของเราส่วนที่ท่านพอใจเถิด
(ยักษ์ฟังพระดำรัสแล้วตกใจกลัว จึงกราบทูลว่า)
[๘๙] ท่านราชบุตร ถ้าท่านพอใจอย่างนี้
ท่านจะสละชีวิตเพื่อปลดเปลื้องพระบิดา
ฉะนั้น ท่านจงรีบหักฟืน ก่อไฟให้โพลงขึ้นในที่นี้
(พระศาสดาเมื่อทรงประกาศเหตุนั้น จึงตรัสว่า)
[๙๐] ลำดับนั้นแล พระราชบุตรผู้ทรงปรีชาได้รวบรวมฟืน
ก่อไฟกองใหญ่ขึ้นแล้ว จึงตรัสบอกให้ยักษ์ทราบว่า
บัดนี้ไฟกองใหญ่เราได้ก่อแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๓. ชยัททิสชาดก (๕๑๓)
(พระราชกุมารทรงเห็นกิริยาของยักษ์นั้น จึงตรัสว่า)
[๙๑] บัดนี้ท่านจงข่มขี่กินเราในวันนี้เถิด
ทำไมท่านจึงขนพองเพ่งดูเราบ่อย ๆ
เรากระทำตามคำของท่าน ตามที่ท่านพอใจจะกินเรา
(ยักษ์กราบทูลว่า)
[๙๒] ใครเล่าควรที่จะกินคนผู้ดำรงอยู่ในธรรม
มีปกติกล่าวคำสัตย์ รู้ถ้อยคำของผู้ขอเช่นท่าน
บุคคลใดพึงกินคนผู้มีปกติกล่าวคำสัตย์เช่นนั้น
แม้ศีรษะของบุคคลนั้นก็พึงแตกออก ๗ เสี่ยง
(พระราชกุมารตรัสว่า)
[๙๓] เพราะสสบัณฑิตนั้นสำคัญท้าวสักกเทวราชนี้ว่าเป็นพราหมณ์
จึงได้ให้สิงอยู่ในสรีระของตน ยักษ์ เพราะเหตุนั้นแล
จันทิมเทพบุตรนั้นจึงมีรูปกระต่ายปรากฏอยู่
ซึ่งให้ความพอใจแก่ชาวโลกตราบจนทุกวันนี้
(ยักษ์เมื่อจะปล่อยพระราชกุมาร จึงกราบทูลว่า)
[๙๔] ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์พ้นจากปากราหูแล้วย่อมไพโรจน์
ในดิถีเพ็ญ ๑๕ ค่ำฉันใด
ท่านผู้มีอานุภาพมาก แม้ท่านก็ฉันนั้น พ้นแล้วจากยักษ์โปริสาท
ยังพระบิดาและพระมารดาให้ปลื้มพระทัย
จงไพโรจน์ในกบิลรัฐเถิด
อนึ่ง ขอพระประยูรญาติของพระองค์ทุกฝ่ายจงร่าเริงยินดีทั่วหน้า
(พระศาสดาทรงประกาศความนั้นว่า)
[๙๕] ลำดับนั้น พระราชบุตรทรงพระนามอลีนสัตตุผู้ทรงพระปรีชา
ทรงประคองอัญชลี ถวายบังคมโปริสาทดาบส
ทรงได้รับอนุญาตเสด็จกลับกบิลรัฐอย่างสุขสวัสดีและปลอดภัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๔. ฉัททันตชาดก (๕๑๔)
(พระศาสดาเมื่อจะทรงแสดงกิริยาที่ชาวมคธถวายการต้อนรับพระราชกุมาร
จึงตรัสว่า)
[๙๖] ชาวนิคม ชาวชนบท พลช้าง พลรถ
และพลเดินเท้าล้วนประคองอัญชลี เข้าเฝ้าถวายบังคม
กราบทูลท้าวเธอว่า ขอถวายบังคมแด่พระองค์
พระองค์ทรงเป็นผู้กระทำกิจที่ทำได้ยาก
ชยัททิสชาดกที่ ๓ จบ

๔. ฉัททันตชาดก (๕๑๔)
ว่าด้วยพญาช้างฉัททันต์
(พระราชาตรัสว่า)
[๙๗] พระน้องนางผู้มีเรือนร่างเหลืองอร่ามดุจทองคำ
ผิวพรรณผุดผ่อง นัยนาก็แจ่มใสกว้างขวาง
ไยเล่าจึงเศร้าโศก ซูบซีดไปดังดอกไม้ที่ถูกขยี้
(พระนางสุภัทรากราบทูลว่า)
[๙๘] ขอเดชะพระมหาราช หม่อมฉันแพ้ครรภ์
หม่อมฉันฝันเห็นนิมิต จึงแพ้ครรภ์ชนิดที่หาได้ไม่ง่ายเลย
(พระราชาตรัสว่า)
[๙๙] สมบัติอันน่าใคร่ชนิดใดชนิดหนึ่งซึ่งเป็นของมนุษย์
ในโลกที่น่าเพลิดเพลินนี้ ทั้งหมดนั้นจำนวนมากของพี่
พี่ขอมอบให้พระน้องนางตามที่แพ้พระครรภ์
(พระนางสุภัทรากราบทูลว่า)
[๑๐๐] ขอเดชะพระองค์ผู้สมมติเทพ ขอนายพรานทุกจำพวก
ที่มีอยู่ในแคว้นของเจ้าพี่จงมาประชุมพร้อมกัน
หม่อมฉันจักบอกความแพ้ครรภ์ของหม่อมฉัน
แก่พวกพรานเหล่านั้นว่าเป็นเช่นไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๔. ฉัททันตชาดก (๕๑๔)
(พระราชาตรัสบอกพรานเหล่านั้นแก่พระราชเทวีว่า)
[๑๐๑] พระเทวี นายพรานเหล่านี้ล้วนมีความชำนาญ แกล้วกล้า
ชำนาญป่าและรู้จักเนื้อดี ยอมสละชีวิตเมื่อพี่ต้องการ
(พระราชเทวีตรัสกับพรานทั้งหลายว่า)
[๑๐๒] บุตรนายพรานทั้งหลาย
พวกท่านเท่าที่มาประชุมกัน ณ ที่นี่ ขอจงฟังข้าพเจ้า
ข้าพเจ้าได้ฝันเห็นพญาช้างเผือก งามีรัศมี ๖ ประการ๑
ข้าพเจ้าต้องการงาของมัน เมื่อไม่ได้ก็จะไม่ขอมีชีวิตอยู่
(พวกบุตรนายพรานได้กราบทูลว่า)
[๑๐๓] ขอเดชะพระราชบุตรี
พญาช้างที่งามีรัศมี ๖ ประการซึ่งพระนางได้ทรงสุบินเห็น
บิดาของพวกข้าพระองค์ไม่เคยได้เห็น ไม่เคยได้ยิน
ปู่ของพวกข้าพระองค์ก็ไม่เคยได้เห็น ไม่เคยได้ยิน
ขอพระนางโปรดบอกพวกข้าพระองค์มาเถิดว่า
พญาช้างนั้นเป็นเช่นไร
(บุตรนายพรานเหล่านั้นกราบทูลต่อไปว่า)
[๑๐๔] ทิศใหญ่ ๔ ทิศ ทิศน้อย ๔ ทิศ
ทิศเบื้องบน และทิศเบื้องล่าง ๑๐ ทิศเหล่านี้
พญาช้างที่งามีรัศมี ๖ ประการ
ซึ่งพระนางได้ทรงสุบินเห็น อยู่ทิศไหน
(พระนางสุภัทราราชเทวีทรงเหยียดพระหัตถ์ตรงไปยังป่าหิมพานต์ ตรัสว่า)
[๑๐๕] จากนี้ตรงไปทิศอุดร ข้ามภูเขาสูงใหญ่ ๗ เทือก
ภูเขานั้นสูงใหญ่ ชื่อว่าสุวรรณปัสสคีรี
มีพันธุ์บุปผชาติบานสะพรั่ง มีหมู่กินนรสัญจรไม่ขาดสาย

เชิงอรรถ :
๑ รัศมี ๖ ประการ คือ (๑) นีละ เขียวเหมือนดอกอัญชัน (๒) ปีตะ เหลืองเหมือนหรดาลทอง (๓) โลหิตะ
แดงเหมือนตะวันอ่อน (๔) โอทาตะ ขาวเหมือนแผ่นเงิน (๕) มัญเชฏฐะ สีหงสบาท เหมือนดอกเซ่ง
หรือดอกหงอนไก่ (๖) ประภัสสร เลื่อมพรายเหมือนแก้วผลึก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๔. ฉัททันตชาดก (๕๑๔)
[๑๐๖] ท่านจงขึ้นไปยังเสลบรรพต ซึ่งเป็นที่อยู่ของหมู่กินนร
แล้วจงมองลงไปเบื้องล่างเชิงเขา
ทันใดนั้นท่านจะเห็นพญาไทรมีสีสันงาม
เสมอเหมือนเมฆมีย่านไทรห้อยย้อยอยู่ ๘,๐๐๐ ย่าน
[๑๐๗] ณ ใต้ต้นไทรนั้นพญากุญชรงามีรัศมี ๖ ประการ
อาศัยอยู่ ยากที่ใครอื่นจะข่มขี่ได้
พญาช้างเผือกปลอดนั้น มีช้างประมาณ ๘,๐๐๐ เชือก
มีงางอนงามเหมือนงอนรถ
วิ่งไล่ประหารปัจจามิตรเร็วปานลมพัด แวดล้อมรักษาอยู่
[๑๐๘] ช้างเหล่านั้นยืนหายใจเข้าออกน่าหวาดกลัว
โกรธแม้ต่อลมที่มากระทบ
ก็ถ้าเห็นมนุษย์ในที่นั้นต้องขยี้ให้เป็นเถ้าธุลี
แม้ละอองธุลีก็มิให้แตะต้องพญาช้างนั้น
(ครั้นได้ฟังดังนั้น โสนุตตรพรานตกใจกลัวความตาย จึงกราบทูลว่า)
[๑๐๙] ขอเดชะพระเทวีของข้าพระพุทธเจ้า
เครื่องประดับที่ทำด้วยทองคำ แก้วมุกดา แก้วมณี
และแก้วไพฑูรย์ในราชสกุลก็มีอยู่มากมาย
พระแม่เจ้าจะกระทำอะไรกับเครื่องประดับที่ทำด้วยงาช้าง
พระแม่เจ้ามีพระประสงค์จะให้ฆ่าพญาช้างงามีรัศมี ๖ ประการ
หรือจะให้พญาช้างฆ่าบุตรนายพรานกันแน่ พระเจ้าข้า
(ลำดับนั้น พระราชเทวีตรัสว่า)
[๑๑๐] พ่อพราน เรานั้นมีทั้งความริษยาทั้งความน้อยใจ
เมื่อหวนระลึกถึงความหลังขึ้นมาก็ตรอมใจ
ท่านจงช่วยทำตามความประสงค์ของเรานั้นด้วยเถิด
พ่อพราน เราจะให้หมู่บ้านแก่ท่าน ๕ ตำบล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๔. ฉัททันตชาดก (๕๑๔)
(โสนุตตรพรานนั้นรับพระเสาวนีย์แล้วทูลถามว่า)
[๑๑๑] พญาช้างอาศัยอยู่ที่ไหน เข้าไปยืนอยู่ที่ไหน
หนทางไหนเป็นหนทางที่พญาช้างเดินไปอาบน้ำ
ก็พญาช้างนั้นอาบน้ำอย่างไร
ไฉนเล่าข้าพระพุทธเจ้าจะรู้ความเป็นไปของพญาช้างได้
(พระราชเทวีตรัสบอกถึงสถานที่ซึ่งจะพบช้างเผือกได้ว่า)
[๑๑๒] ณ สถานที่ที่พญาช้างอาศัยอยู่นั่นแล
มีสระโบกขรณีอยู่ไม่ไกล น่ารื่นรมย์ มีท่าน้ำสวยงาม ทั้งมีน้ำมาก
มีดอกปทุมบานสะพรั่ง มีหมู่ภมรคลุกเคล้าเกษรอยู่เป็นอาจิณ
พญาช้างนั้นลงอาบน้ำในสระโบกขรณีนี้แหละ
[๑๑๓] พญาช้างเผือกชำระศีรษะแล้ว ทัดดอกอุบล
มีร่างกายผิวพรรณผุดผ่องขาวราวกะดอกบุณฑริก
รื่นเริงบันเทิงใจให้พระนางสุภัทรามเหสีเดินนำหน้าไปยังที่อยู่ของตน
(พระศาสดาเมื่อจะทรงขยายความให้แจ้ง จึงตรัสว่า)
[๑๑๔] นายพรานนั้นรับพระเสาวนีย์ของพระนางที่ปราสาทชั้นที่ ๗
นั้นแหละแล้วจึงถือกระบอกลูกเกาทัณฑ์และธนูคันใหญ่ไป
พิจารณาคีรีบรรพตใหญ่ทั้ง ๗ เทือก
จึงเห็นคีรีบรรพตสูงใหญ่ชื่อว่าสุวรรณปัสสคีรี
[๑๑๕] แล้วจึงขึ้นไปยังเสลบรรพตซึ่งเป็นที่อยู่ของหมู่กินนร
มองลงไปเบื้องล่างเชิงเขา ได้เห็นพญาไทรมีสีสันงาม
เสมอเหมือนเมฆ มีย่านไทรห้อยย้อยอยู่ ๘,๐๐๐ ย่าน
[๑๑๖] ณ ใต้ต้นไทรนั้น เขาได้เห็นพญากุญชร
งามีรัศมี ๖ ประการ ยากที่ใครอื่นจะข่มขี่ได้
พญาช้างเผือกนั้นมีช้างประมาณ ๘,๐๐๐ เชือก
มีงางอนงามเหมือนงอนรถ วิ่งไล่ประหารปัจจามิตรเร็วปานลมพัด
แวดล้อมรักษาอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๔. ฉัททันตชาดก (๕๑๔)
[๑๑๗] อนึ่ง เขาได้เห็นสระโบกขรณีอยู่ไม่ไกล น่ารื่นรมย์
มีท่าน้ำสวยงาม ทั้งมีน้ำมาก มีดอกปทุมบานสะพรั่ง
มีหมู่ภมรคลุกเคล้าเกษรอยู่เป็นอาจิณ
ซึ่งเป็นสถานที่ที่พญาช้างนั้นลงอาบน้ำ
[๑๑๘] ครั้นได้เห็นความเป็นไป การยืน
และหนทางที่พญาช้างนั้นเดินไปอาบน้ำแล้ว
นายพรานผู้ชั่วช้าถูกพระนางสุภัทราเทวี
ผู้ตกอยู่ในอำนาจแห่งจิตทรงใช้มา จึงได้ไปขุดหลุม
[๑๑๙] นายพรานผู้มีนิสัยทำกรรมหยาบช้า ครั้นขุดหลุมแล้ว
จึงปิดด้วยแผ่นไม้กระดาน แล้วหย่อนตัวลงไป
จับธนูยิงพญาช้างที่เดินมาข้างหลุมด้วยลูกเกาทัณฑ์ใหญ่
[๑๒๐] ก็แหละพญาช้างพอถูกยิงก็บันลือร้องก้องโกญจนาท
ช้างทั้งหมดก็พากันบันลือเสียงอื้ออึง
ต่างพากันวิ่งไปมารอบ ๆ ทั้ง ๘ ทิศ
ทำหญ้าและไม้ให้แหลกเป็นจุรณ
[๑๒๑] พญาช้างจับนายพรานนั้นด้วยหมายใจว่า เราจักฆ่ามัน
ได้เห็นผ้ากาสาวพัสตร์อันเป็นธงชัยแห่งฤๅษีทั้งหลาย
ทั้ง ๆ ที่ได้รับทุกขเวทนา ก็เกิดสัญญาขึ้นว่า
บุคคลผู้ทรงธงชัยแห่งพระอรหันต์ สัตบุรุษไม่ควรฆ่า
(พญาช้างกล่าวกับนายพรานนั้นว่า)
[๑๒๒] ผู้ใดมีกิเลสดุจน้ำฝาดยังไม่หมดไป
ปราศจากทมะและสัจจะ จักนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์
ผู้นั้นไม่สมควรจะนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์เลย
[๑๒๓] ส่วนผู้ใดคลายกิเลสดุจน้ำฝาดได้แล้ว
ตั้งมั่นด้วยดีในศีลทั้งหลาย ประกอบด้วยทมะและสัจจะ
ผู้นั้นแลสมควรจะนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๔. ฉัททันตชาดก (๕๑๔)
(พระศาสดาเมื่อทรงประกาศความนั้น จึงตรัสว่า)
[๑๒๔] พญาช้างถึงถูกยิงด้วยลูกเกาทัณฑ์ใหญ่แล้ว
ก็ไม่มีจิตคิดประทุษร้าย ได้กล่าวกับนายพรานว่า
เพื่อนรัก เพื่อนต้องการอะไรหรือ
เพราะอะไร เพื่อนจึงฆ่าเรา หรือว่าใครใช้เพื่อนมา
(นายพรานกล่าวว่า)
[๑๒๕] พญาช้างผู้เจริญ พระมเหสีของพระเจ้ากาสี
พระนางทรงพระนามว่าสุภัทรา ได้รับการยกย่องบูชาในราชสกุล
ก็พระนางได้ทรงสุบินนิมิตเห็นท่าน ได้ตรัสบอกข้าพเจ้า
และได้ตรัสกับข้าพเจ้าว่า มีความต้องการงาทั้งคู่
(พญาช้างกล่าวว่า)
[๑๒๖] ความจริงคู่งาของบิดาและของปู่เราที่สวยงามมีเป็นจำนวนมาก
พระนางทราบดี แต่พระราชบุตรีมีนิสัยทรงกริ้ว
เป็นคนพาล ต้องการที่จะฆ่าเรา จึงได้จองเวร
[๑๒๗] ลุกขึ้นเถิด นายพราน ท่านจงจับเลื่อยตัดงาคู่นี้ก่อนที่เราจะตาย
จงกราบทูลพระราชบุตรีผู้มีนิสัยทรงกริ้วพระองค์นั้นว่า
พญาช้างถูกข้าพระพุทธเจ้าฆ่าตายแล้ว
เชิญเถิด งาคู่นี้เป็นงาของพญาช้างนั้น พระเจ้าข้า
(พระศาสดาเมื่อทรงประกาศความนั้น จึงตรัสว่า)
[๑๒๘] นายพรานนั้นลุกขึ้นจับเลื่อย
ตัดงาทั้งคู่ของพญาคชสารตัวประเสริฐ
แล้วจึงนำงาทั้งคู่ซึ่งมีความสวยงามหาที่เปรียบมิได้ในพื้นปฐพี
รีบหลีกไปจากที่นั้นโดยเร็ว
[๑๒๙] ช้างเหล่านั้นถูกภัยคุกคาม เป็นทุกข์เพราะพญาช้างถูกฆ่า
ต่างพากันวิ่งไปมาทั้ง ๘ ทิศ ไม่เห็นคนผู้เป็นปัจจามิตรต่อพญาช้าง
จึงได้กลับมาหาพญาช้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๕. สัมภวชาดก (๕๑๕)
[๑๓๐] ช้างเหล่านั้นต่างคร่ำครวญร้องไห้อยู่ ณ ที่นั้น
โปรยฝุ่นลงที่ศีรษะของตน ทั้งหมดให้นางช้างตัวประเสริฐกว่า
ช้างทั้งหมดเดินนำหน้าแล้วพากันกลับไปสถานที่อยู่ของตน
[๑๓๑] นายพรานนั้นนำงาทั้งคู่ของพญาคชสารตัวประเสริฐ
ซึ่งมีความสวยงามหาที่เปรียบมิได้ในพื้นปฐพี
ส่องรัศมีเปล่งปลั่งดังสายรุ้งทอง สว่างไสวไปทั่วไพรสณฑ์
เข้าไปยังกรุงกาสี แล้วน้อมงาทั้งคู่เข้าไปถวายพระราชกัญญา
กราบทูลว่า พญาช้างถูกข้าพระพุทธเจ้าฆ่าแล้ว
งาคู่นี้เป็นงาของพญาช้างนั้น
[๑๓๒] เพราะทอดพระเนตรเห็นงาทั้งคู่ของพญาคชสารตัวประเสริฐ
ซึ่งเป็นภัสดาที่รักในชาติปางก่อน
พระหฤทัยของพระนางก็ได้แตกทำลาย ณ สถานที่นั้นนั่นเอง
พระนางผู้เป็นคนพาลได้สวรรคตเพราะเหตุนั้นนั่นแหละ
(พระเถระผู้สังคายนาพระธรรมเมื่อจะพรรณนาคุณของพระทศพล จึงได้
กล่าวว่า)
[๑๓๓] ก็พระบรมศาสดาทรงบรรลุสัมโพธิญาณ
ทรงมีอานุภาพมาก ได้ทรงแย้มท่ามกลางบริษัท
ภิกษุทั้งหลายผู้มีจิตหลุดพ้นดีแล้วพากันกราบทูลว่า
ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลายหาได้กระทำการแย้มให้ปรากฏ
ในเพราะสิ่งมิใช่เหตุไม่
[๑๓๔] เธอทั้งหลายจงดูกุมารีสาวซึ่งครองผ้ากาสาวพัสตร์
ประพฤติเป็นผู้ไม่ครองเรือน
ภิกษุณีนั้นได้เป็นพระนางราชกัญญาในครั้งนั้น
ส่วนตถาคตได้เป็นพญาช้างในครั้งนั้น
[๑๓๕] นายพรานผู้นำงาทั้งคู่ของพญาคชสารตัวประเสริฐ
ซึ่งมีความสวยงามหาที่เปรียบมิได้ในพื้นปฐพี
เข้าไปยังกรุงกาสีในกาลนั้น ได้เป็นพระเทวทัต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๕. สัมภวชาดก (๕๑๕)
[๑๓๖] พระพุทธเจ้าทรงปราศจากความกระวนกระวาย
ความโศกและกิเลสดุจลูกศร ตรัสรู้ยิ่งด้วยพระองค์เอง
ได้ตรัสฉัททันตชาดกนี้อันเป็นของเก่า
ที่ไม่รู้จักสาบสูญตราบเท่าดวงอาทิตย์ยังไม่ดับ
ซึ่งพระองค์ได้ท่องเที่ยวไปตลอดกาลนาน
เป็นบุรพจริยาทั้งสูงและต่ำว่า
[๑๓๗] ภิกษุทั้งหลาย โดยกาลนั้น
เราตถาคตได้มีอยู่ที่สระฉัททันต์นั้น
เราตถาคตได้เป็นพญาช้างตัวประเสริฐในกาลนั้น
เธอทั้งหลายจงจำชาดกไว้ด้วยประการฉะนี้
ฉัททันตชาดกที่ ๔ จบ

๕. สัมภวชาดก (๕๑๕)
ว่าด้วยสัมภวกุมาร
(พระราชาตรัสถามปัญหากับพราหมณ์สุจีรตะว่า)
[๑๓๘] ท่านอาจารย์สุจีรตะ ข้าพเจ้าบรรลุถึงราชสมบัติ
และความเป็นอธิบดีแล้ว แต่ยังปรารถนา
เพื่อบรรลุถึงความเป็นใหญ่และเพื่อชนะทั่วทั้งปฐพีนี้
[๑๓๙] โดยธรรม มิใช่โดยอธรรม ข้าพเจ้าหาพอใจอธรรมไม่
ท่านอาจารย์สุจีรตะ พระราชาต้องประพฤติธรรมให้เป็นกิจอันสำคัญ
[๑๔๐] ท่านพราหมณ์ เพราะเหตุใด เราทั้งหลาย
จะไม่ถูกนินทาในโลกนี้ ละไปแล้วก็จะไม่ถูกนินทา
และพึงถึงความมียศในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
[๑๔๑] ท่านพราหมณ์ ข้าพเจ้าปรารถนาจะกระทำตามอรรถและธรรม
ข้าพเจ้าถามแล้ว ขอท่านจงบอกอรรถและธรรมนั้นด้วยเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๕. สัมภวชาดก (๕๑๕)
(สุจีรตพราหมณ์ไม่สามารถจะทูลตอบปัญหาได้ จึงกราบทูลว่า)
[๑๔๒] ขอเดชะพระขัตติยราช
พระองค์ทรงปรารถนาจะกระทำตามอรรถและธรรมใด
อรรถและธรรมนั้นใครอื่นนอกจากวิธุรพราหมณ์
หาควรที่จะกล่าวชี้แจงไม่
(พระราชาทรงประสงค์จะส่งสุจีรตพราหมณ์ไป จึงตรัสว่า)
[๑๔๓] มาเถิด ท่านอาจารย์สุจีรตะ ข้าพเจ้าจะส่งท่านไป
ท่านจงไปยังสำนักวิธุรพราหมณ์ จงนำทองคำแท่งนี้ไปด้วย
พึงมอบทองคำแท่งนี้กระทำให้เป็นเครื่องบูชา
สำหรับคำสอนอรรถและธรรม
(พระศาสดาเมื่อจะทรงเผยความนั้น จึงตรัสว่า)
[๑๔๔] มหาพราหมณ์ภารทวาชะนั้นไปถึงสำนักวิธุรพราหมณ์แล้ว
ได้เห็นวิธุรพราหมณ์นั้นกำลังบริโภคอาหารอยู่ในเรือนของตน
(สุจีรตพราหมณ์ถูกถามถึงเหตุที่มา จึงกล่าวว่า)
[๑๔๕] เราถูกพระเจ้าโกรัพยะผู้ทรงยศส่งมาเป็นทูต
พระเจ้าโกรัพยยุธิฏฐิละได้ตรัสอย่างนี้ว่า
ท่านพึงถามอรรถและธรรม วิธุระเพื่อน เราถามแล้ว
ขอท่านจงบอกอรรถและธรรมนั้นด้วยเถิด
(วิธุรพราหมณ์กล่าวว่า)
[๑๔๖] สหายพราหมณ์ เราเกิดความขวนขวายขึ้นว่า
จักปิดกั้นแม่น้ำคงคา ก็ไม่อาจจะปิดกั้นแม่น้ำใหญ่นั้นได้
เพราะเหตุนั้น จักมีโอกาสได้อย่างไร
[๑๔๗] เราถูกท่านถามถึงอรรถและธรรม ก็ไม่สามารถจะบอกท่านได้
แต่ภัทรการบุตรของเรา เป็นลูกในไส้เกิดแต่ตัวเราแท้ ๆ
ท่านจงไปถามอรรถและธรรมกับเขาเถิด พราหมณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๕. สัมภวชาดก (๕๑๕)
(พระศาสดาเมื่อทรงประกาศความนั้น จึงตรัสว่า)
[๑๔๘] มหาพราหมณ์ภารทวาชะนั้นได้ไปถึงสำนักภัทรการแล้ว
ได้เห็นเขานั่งอยู่ในเรือนของตน
(สุจีรตพราหมณ์จึงกล่าวว่า)
[๑๔๙] เราถูกพระเจ้าโกรัพยะผู้ทรงยศส่งมาเป็นทูต
พระเจ้าโกรัพยยุธิฏฐิละได้ตรัสอย่างนี้ว่า
ท่านพึงถามอรรถและธรรม ภัทรการหลานรัก
เจ้าจงบอกอรรถและธรรมนั้นแก่ลุงเถิด
(ภัทรการพราหมณ์ไม่สามารถจะแก้ปัญหาได้ จึงส่งเขาไปยังสำนักน้องชาย
ชื่อสัญชัยกุมารว่า)
[๑๕๐] ข้าพเจ้าเหมือนคนละทิ้งหาบเนื้อติดตามเหี้ยอยู่
ถึงถูกท่านถามถึงอรรถและธรรม ก็ไม่อาจจะบอกแก่ท่านได้
[๑๕๑] ท่านพราหมณ์สุจีรตะ ผมมีน้องชายชื่อว่าสัญชัย
เขาเป็นน้องชายของผม ท่านจงไปถามอรรถและธรรมกับเขาเถิด
(พระศาสดาทรงประกาศความนั้นว่า)
[๑๕๒] มหาพราหมณ์ภารทวาชะนั้นไปถึงสำนักสัญชัยแล้ว
ได้เห็นเขานั่งอยู่ในเรือนของตนจึงกล่าวว่า
[๑๕๓] เราถูกพระเจ้าโกรัพยะผู้ทรงยศส่งมาเป็นทูต
พระเจ้าโกรัพยยุธิฏฐิละได้ตรัสอย่างนี้ว่า
ท่านพึงถามอรรถและธรรม สัญชัยหลานรัก ลุงถามแล้ว
ขอเจ้าจงบอกอรรถและธรรมนั้นด้วยเถิด
(สัญชัยกุมารกล่าวว่า)
[๑๕๔] ท่านพราหมณ์สุจีรตะ พญามัจจุราชย่อมกลืนกินข้าพเจ้าทุกเมื่อ
ทั้งเวลาเย็นและเวลาเช้า ข้าพเจ้าถูกท่านถามอรรถและธรรม
ก็ไม่อาจจะบอกแก่ท่านได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๕. สัมภวชาดก (๕๑๕)
[๑๕๕] ท่านพราหมณ์สุจีรตะ ข้าพเจ้ามีน้องชายชื่อว่าสัมภวะ
เขาเป็นน้องชายของข้าพเจ้า ขอท่านจงไปถามอรรถและธรรมกับเขาเถิด
(สุจีรตพราหมณ์กล่าวว่า)
[๑๕๖] ท่านผู้เจริญทั้งหลาย น่าอัศจรรย์หนอ
ปัญหาธรรมนี้พวกเรายังไม่พอใจ
บิดาและบุตรทั้ง ๓ คนนั้น
ก็ยังไม่มีปัญญาจะหยั่งรู้ถึงปัญหาธรรมนี้เลย
[๑๕๗] ท่านทั้ง ๓ คนถูกถามถึงอรรถและธรรมนั้นก็ไม่อาจจะบอกได้
ไฉนเล่า เด็กถูกถามถึงอรรถและธรรมจะพึงรู้ได้
(สัญชัยกุมารได้ฟังดังนั้น จึงสรรเสริญสัมภวกุมารว่า)
[๑๕๘] ท่านยังไม่ได้ถามสัมภวกุมารก่อนแล้ว
อย่าเพิ่งเข้าใจเธอว่าเป็นเด็ก
พราหมณ์ ท่านถามสัมภวกุมารแล้วพึงรู้อรรถและธรรมได้
[๑๕๙] ดวงจันทร์ปราศจากมลทิน โคจรไปในอากาสธาตุ
ย่อมสว่างไสวกว่าหมู่ดาวทั้งสิ้นในโลกด้วยรัศมีแม้ฉันใด
[๑๖๐] สัมภวกุมารถึงยังเป็นเด็กก็ฉันนั้น เพราะประกอบด้วยปัญญา
ท่านยังไม่ได้ถามสัมภวกุมารก่อนแล้วอย่าเพิ่งเข้าใจเธอว่าเป็นเด็ก
พราหมณ์ ท่านถามสัมภวกุมารแล้วพึงรู้อรรถและธรรมได้
[๑๖๑] ท่านพราหมณ์ เดือนจิตตมาสแห่งคิมหันตฤดู
ย่อมงามยิ่งนักกว่าเดือนอื่น ๆ ด้วยต้นไม้และดอกไม้แม้ฉันใด
[๑๖๒] สัมภวกุมารถึงยังเป็นเด็กก็ฉันนั้น เพราะประกอบด้วยปัญญา
ท่านยังไม่ได้ถามสัมภวกุมารก่อนแล้วอย่าเพิ่งเข้าใจเธอว่าเป็นเด็ก
พราหมณ์ ท่านถามสัมภวกุมารแล้วพึงรู้อรรถและธรรมได้
[๑๖๓] ท่านพราหมณ์ หิมวันตบรรพตชื่อคันธมาทน์
ดารดาษไปด้วยต้นไม้นานาพันธุ์ เป็นที่อยู่แห่งหมู่มหาภูต๑
ย่อมสว่างไสวและตลบอบอวลไปทั่วทิศด้วยทิพยโอสถแม้ฉันใด

เชิงอรรถ :
๑ มหาภูต หมายถึงหมู่เทพ (ขุ.ชา.อ. ๗/๑๖๓/๒๑๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๕. สัมภวชาดก (๕๑๕)
[๑๖๔] สัมภวกุมารถึงยังเป็นเด็กก็ฉันนั้น เพราะประกอบด้วยปัญญา
ท่านยังไม่ได้ถามสัมภวกุมารก่อนแล้วอย่าเพิ่งเข้าใจเธอว่าเป็นเด็ก
พราหมณ์ ท่านถามสัมภวกุมารแล้วพึงรู้อรรถและธรรมได้
[๑๖๕] ท่านพราหมณ์ ไฟป่ามีเปลวไฟเป็นช่อ เรืองโรจน์
ลุกโพลงอยู่ที่กอไม้ในป่า ไม่อิ่มต่อเชื้อเพลิง มีทางดำ
[๑๖๖] กินเปรียงเป็นอาหาร มีควันเป็นธง
ไหม้ลามจนถึงยอดไพรสณฑ์ มีเชื้อไฟเพียงพอ
โชติช่วงอยู่บนยอดภูเขาในเวลากลางคืนฉันใด
[๑๖๗] สัมภวกุมารถึงยังเป็นเด็กก็ฉันนั้น เพราะประกอบด้วยปัญญา
ท่านยังไม่ได้ถามสัมภวกุมารก่อนแล้วอย่าเพิ่งเข้าใจเธอว่าเป็นเด็ก
พราหมณ์ ท่านถามสัมภวกุมารแล้วพึงรู้อรรถและธรรมได้
[๑๖๘] ม้าดีจะรู้ได้เพราะความว่องไว
โคพลิพัทท์จะรู้ได้ในเมื่อมีภาระที่จะต้องลากไป
แม่โคนมจะรู้ได้เพราะน้ำนม และบัณฑิตจะรู้ได้เมื่อเจรจาฉันใด
[๑๖๙] สัมภวกุมารถึงยังเป็นเด็กก็ฉันนั้น เพราะประกอบด้วยปัญญา
ท่านยังไม่ได้ถามสัมภวกุมารก่อนแล้วอย่าเพิ่งเข้าใจเธอว่าเป็นเด็ก
พราหมณ์ ท่านถามสัมภวกุมารแล้วพึงรู้อรรถและธรรมได้
(พระศาสดาเมื่อทรงเปิดเผยความนั้น จึงตรัสว่า)
[๑๗๐] มหาพราหมณ์ภารทวาชะนั้นไปถึงสำนักสัมภวกุมารแล้ว
ได้เห็นเขากำลังเล่นอยู่นอกบ้าน
(สุจีรตพราหมณ์ได้ถามปัญหาว่า)
[๑๗๑] เราถูกพระเจ้าโกรัพยะผู้ทรงยศส่งมาเป็นทูต
พระเจ้าโกรัพยยุธิฏฐิละได้ตรัสอย่างนี้ว่า
ท่านพึงถามอรรถและธรรม พ่อหนูสัมภวะ ลุงถามเจ้าแล้ว
ขอเจ้าจงบอกอรรถและธรรมนั้นด้วยเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๖. มหากปิชาดก (๕๑๖)
(สัมภวกุมารกล่าวว่า)
[๑๗๒] เอาเถิด ข้าพเจ้าจักบอกลุงตามอย่างคนที่ฉลาด
ก็พระราชาย่อมจะทรงทราบปัญหานั้นได้
แต่จะทรงกระทำหรือไม่เท่านั้น
(และเมื่อจะบอกปัญหาจึงกล่าวว่า)
[๑๗๓] ท่านพราหมณ์สุจีรตะ ใคร ๆ ถูกพระราชาตรัสถามแล้ว
พึงกราบทูลราชกิจที่จะทำในวันนี้ว่า พึงทำในวันพรุ่งนี้
ขอพระเจ้ายุธิฏฐิละอย่าทรงเชื่อฟังยับยั้งอยู่เลยในเมื่อประโยชน์เกิดขึ้น
[๑๗๔] ท่านพราหมณ์สุจีรตะ ใคร ๆ ถูกพระราชาตรัสถามแล้ว
พึงกราบทูลปัญหาที่เป็นไปภายในเท่านั้น
ไม่พึงให้ทรงดำเนินไปสู่หนทางที่ชั่วดุจคนหลงหาความคิดมิได้
[๑๗๕] พระราชาไม่ควรลืมตน ไม่ควรประพฤติอธรรม
ไม่ควรหยั่งลงไปในลัทธิที่ผิด ไม่พึงประกอบในสิ่งอันไม่เป็นประโยชน์
[๑๗๖] ขัตติยราชาพระองค์ใดทรงรู้จักทำเหตุเหล่านี้
ขัตติยราชาพระองค์นั้นย่อมทรงเจริญทุกเมื่อเหมือนดวงจันทร์ข้างขึ้น
[๑๗๗] พระองค์ย่อมทรงเป็นที่รักแห่งหมู่พระญาติ
และทรงรุ่งโรจน์ในหมู่มิตร ทรงมีพระปรีชา
เมื่อพระวรกายแตกทำลายไป จะทรงเข้าถึงโลกสวรรค์
สัมภวชาดกที่ ๕ จบ

๖. มหากปิชาดก (๕๑๖)
ว่าด้วยพญาวานร
(พระศาสดาทรงประกาศเนื้อความนี้ว่า)
[๑๗๘] ได้มีพระราชาแห่งชนชาวกาสี ทรงผดุงรัฐให้เจริญ
ในกรุงพาราณสี แวดล้อมด้วยมิตรและอำมาตย์
ได้เสด็จไปยังมิคาชินอุทยาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๖. มหากปิชาดก (๕๑๖)
[๑๗๙] ณ ที่นั้น ได้ทอดพระเนตรเห็นพราหมณ์เป็นโรคเรื้อน
ขาวพราวเป็นจุด ๆ และกลากเกลื้อน
มีเนื้อหลุดออกจากปากแผลเช่นกับดอกทองกวาว
มีร่างกายผ่ายผอม สะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น
[๑๘๐] ครั้นทอดพระเนตรเห็นคนตกยาก
ถึงความลำบากน่าสงสารยิ่งนัก
พระราชาทรงหวาดหวั่นพระหฤทัย
จึงตรัสถามว่า เจ้าเป็นยักษ์ประเภทไหน
[๑๘๑] มือและเท้าของเจ้าก็ด่าง ศีรษะยิ่งด่างกว่านั้น
เนื้อตัวของเจ้าก็ด่างพร้อย และมากไปด้วยกลากเกลื้อน
[๑๘๒] หลังของเจ้าเป็นปุ่มเป็นปมเหมือนกับเถาวัลย์ที่ขดกลม
อวัยวะของเจ้าก็เหมือนกับเถาวัลย์ที่มีข้อดำ
เรายังไม่เคยเห็นอะไรอื่นเป็นเช่นนี้
[๑๘๓] เจ้ามีเท้าหงิกงอ น่าหวาดเสียว มีร่างกายผ่ายผอม
สะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น ดูหิวกระหาย อดโซ
เจ้ามาจากที่ไหน และจะไปไหน
[๑๘๔] เจ้ามีรูปร่างอัปลักษณ์ ดูน่าเกลียด
ผิวพรรณก็ทราม ดูน่ากลัว
มารดาบิดาผู้ให้กำเนิดของเจ้าคงไม่ปรารถนาที่จะเห็นเจ้าเลย
[๑๘๕] ในชาติปางก่อนเจ้าได้ทำกรรมอะไรไว้ ได้ฆ่าคนที่ไม่ควรฆ่าหรือ
หรือเพราะทำกรรมอันโหดร้ายทารุณอย่างใดไว้
เจ้าจึงประสบทุกข์อย่างนี้
(ต่อแต่นั้นไป พราหมณ์จึงกล่าวว่า)
[๑๘๖] เชิญสดับเถิด พระเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าจักกราบทูล
ให้พระองค์ทรงทราบตามอย่างคนฉลาด
เพราะบัณฑิตทั้งหลายในโลกนี้สรรเสริญคนพูดความจริง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๖. มหากปิชาดก (๕๑๖)
[๑๘๗] เมื่อข้าพระพุทธเจ้าผู้เดียวเที่ยวแสวงหาโค
ได้หลงล่วงเลยเข้าไปในป่าเปลี่ยวที่แห้งแล้งกันดาร
เงียบสงัด ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยแห่งช้างนานาชนิด
[๑๘๘] ข้าพระพุทธเจ้าได้หลงทางเข้าไปในป่าทึบ
ซึ่งเป็นที่สัญจรไปมาแห่งเนื้อร้าย
มีความหิวกระหาย ได้ท่องเที่ยวไปในป่านั้นตลอด ๗ วัน
[๑๘๙] ณ ที่ป่านั้น ข้าพระพุทธเจ้าได้เห็นต้นมะพลับต้นหนึ่ง
ซึ่งอยู่หมิ่นเหม่ มีกิ่งทอดตรงไปยังปากเหว
มีผลดก ข้าพระพุทธเจ้าปรารถนาจะกิน
[๑๙๐] ข้าพระพุทธเจ้ากินผลที่ลมพัดหล่น
ข้าพระพุทธเจ้าพอใจผลมะพลับเหล่านั้นมาก แต่ยังไม่อิ่ม
จึงปีนขึ้นไปบนต้นด้วยคิดว่า จักกินให้สบายบนต้นนั้น
[๑๙๑] ข้าพระพุทธเจ้ากินผลหนึ่งแล้วปรารถนาผลที่ ๒ ต่อไป
แต่นั้นกิ่งมันได้หักเหมือนถูกขวานตัด
[๑๙๒] ข้าพระพุทธเจ้านั้นพร้อมทั้งกิ่งไม้ มีเท้าชี้ฟ้า
ศีรษะปักลงตกไปในซอกเขา ซึ่งไม่มีที่จะยึดเหนี่ยว
[๑๙๓] ก็เพราะน้ำลึก ข้าพระพุทธเจ้าจึงหยั่งไม่ถึง
นอนทอดอาลัยอยู่ในซอกเขานั้น ไม่น้อยกว่า ๑๐ ราตรี
[๑๙๔] ต่อมา วานรตัวหนึ่งมีหางคล้ายหางโค
ท่องเที่ยวไปมาตามซอกเขาเป็นประจำ
ไต่ไปตามกิ่งไม้กัดกินผลไม้อยู่ ได้มาถึงสถานที่นั้น
[๑๙๕] มันเห็นข้าพระพุทธเจ้ามีร่างกายผอมเหลือง
ได้มีความการุญแก่ข้าพระพุทธเจ้า ถามไถ่ว่า
ท่านผู้เจริญ ท่านชื่ออะไร ทำไมจึงมาทนทุกข์อยู่ที่นี่อย่างนี้
[๑๙๖] เป็นมนุษย์หรืออมนุษย์ จงแนะนำตัวให้ข้าพเจ้าทราบด้วย
ข้าพระพุทธเจ้าได้ประนมอัญชลีแล้วกล่าวแก่มันอย่างนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๖. มหากปิชาดก (๕๑๖)
[๑๙๗] ข้าพเจ้าเป็นมนุษย์ประสบความพินาศ
ข้าพเจ้าไม่มีทางที่จะไปจากที่นี่
เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงขอบอกให้ท่านทราบ
ขอท่านจงมีความเจริญ ขอท่านจงเป็นที่พึ่งของข้าพเจ้าด้วย
[๑๙๘] วานรผู้กล้าหาญเที่ยวไปหาก้อนศิลาที่มีน้ำหนักที่ภูเขา
ผูกเถาวัลย์ที่ก้อนศิลาแล้ว ได้กล่าวคำนี้ว่า
[๑๙๙] มาเถิด มาขึ้นเกาะหลังข้าพเจ้า
ท่านจงใช้แขนทั้ง ๒ ข้างกอดคอข้าพเจ้าไว้
ข้าพเจ้าจะใช้กำลังช่วยท่านขึ้นไปจากซอกเขา
[๒๐๐] ข้าพระพุทธเจ้าสดับคำนั้นแล้ว
จึงขึ้นเกาะหลังพญาวานรผู้มีสิริ เป็นปราชญ์ตนนั้น
แล้วใช้แขนทั้ง ๒ กอดคอมันไว้
[๒๐๑] พญาวานรผู้มีเดช มีกำลังตนนั้น มีความลำบาก
กระโดดพาข้าพระพุทธเจ้าขึ้นจากซอกเขานั้นด้วยความยาก
[๒๐๒] ครั้นนำข้าพระพุทธเจ้าขึ้นมาแล้ว
พญาวานรผู้เป็นบัณฑิต กล้าหาญ ได้กล่าวคำนี้ว่า
เพื่อนรัก ท่านโปรดรักษาความปลอดภัยให้ข้าพเจ้าด้วยเถิด
ข้าพเจ้าจักหลับสักครู่หนึ่ง
[๒๐๓] สิงโต เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี หมาป่า
และเสือดาวพึงเบียดเบียนข้าพเจ้าผู้หลับไป
ท่านเห็นพวกมันจงห้ามกันไว้ด้วย
[๒๐๔] พญาวานรนั้นครั้นให้ข้าพระพุทธเจ้าเป็นผู้ป้องกันแล้ว
จึงหลับไปครู่หนึ่ง
ครั้งนั้น ข้าพระพุทธเจ้ากลับได้ความคิดเห็นชั่วช้า
โดยไม่ทันคิดให้รอบคอบว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๖. มหากปิชาดก (๕๑๖)
[๒๐๕] วานรนี้ก็เป็นอาหารของพวกมนุษย์
เช่นเดียวกับเนื้ออื่น ๆ ในป่าเหมือนกัน
ถ้ากระไร เราหิวพึงฆ่าวานรนี้กิน
[๒๐๖] อนึ่ง เราบริโภคอิ่มแล้วจักถือเอาเนื้อเป็นเสบียงเดินทาง
จักข้ามทางกันดาร และเราจักมีเสบียงเดินทาง
[๒๐๗] ทันใดนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงหยิบก้อนหินแล้วทุ่มลงไป
ยังกระหม่อมวานร แต่การประหารของข้าพระพุทธเจ้า
ผู้มีร่างกายเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าเพราะอดอาหารจึงมีกำลังด้อยไป
[๒๐๘] ก็พญาวานรนั้นทะลึ่งขึ้นโดยเร็วเพราะกำลังก้อนหินที่ทุ่มลงไป
มีตัวอาบไปด้วยเลือด ร้องไห้ มองดูข้าพระพุทธเจ้าด้วยดวงตา
ซึ่งเต็มไปด้วยน้ำตา พลางกล่าวว่า
[๒๐๙] ท่านอย่าทำข้าพเจ้าเลย ขอท่านจงมีความเจริญ
ท่านอย่าได้กระทำกรรมอันไม่สมควรเช่นนี้
อนึ่ง ท่านได้ชื่อว่ามีอายุยืนยาว ควรจะห้ามปรามคนเหล่าอื่น
[๒๑๐] ท่านคนผู้กระทำกรรมที่คนอื่นทำได้ยากนัก น่าอนาถจริงหนอ
เราช่วยท่านขึ้นจากเหวลึกที่ขรุขระยากที่จะขึ้นได้เช่นนี้
[๒๑๑] ท่านเป็นดุจเรานำมาจากปรโลก
ยังสำคัญเราว่าเป็นคนควรประทุษร้าย
ท่านนั้นเป็นคนชั่ว มีสันดานชั่วช้า จึงคิดแต่เหตุที่ชั่วนั้น
[๒๑๒] โอ ท่านผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม
ขอท่านอย่าประสบเวทนาอันเผ็ดร้อนเลย
ขอบาปธรรมอย่าได้ฆ่าท่านเหมือนขุยไผ่ฆ่าต้นไผ่เลย
[๒๑๓] แน่ะท่านผู้มีบาปกรรม ไม่สำรวม เราไม่ไว้ใจท่าน
มาเถิด ท่านจงตามหลังเราไปใกล้ ๆ พอเห็นกัน
[๒๑๔] ท่านพ้นแล้วจากเงื้อมมือของสัตว์ร้าย ถึงถิ่นมนุษย์แล้ว
นี่แนะท่านผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม นั่นหนทาง
ท่านจงไปทางนั้นตามสบายเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๖. มหากปิชาดก (๕๑๖)
[๒๑๕] ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว
วานรผู้มีปกติท่องเที่ยวไปตามขุนเขาล้างศีรษะที่เปื้อนเลือด
เช็ดน้ำตาแล้วกระโดดจากที่นั้นขึ้นไปยังภูเขา
[๒๑๖] ข้าพระพุทธเจ้านั้นถูกวานรนั้นแช่งด่า
ถูกความกระวนกระวายเบียดเบียน
มีกายเร่าร้อน จึงลงไปยังสายน้ำเพื่อจะดื่ม
[๒๑๗] ห้วงน้ำทั้งปวงปรากฏแก่ข้าพระพุทธเจ้า
เหมือนเดือดพล่านเพราะไฟ
เจือด้วยโลหิตเหมือนช้ำเลือดช้ำหนอง
[๒๑๘] หยาดน้ำมีประมาณเพียงใดตกต้องกายของข้าพระพุทธเจ้า
หัวฝีมีขนาดเท่าผลมะตูมครึ่งผลก็ผุดขึ้นมีประมาณเพียงนั้น
[๒๑๙] ฝีเหล่านั้นแตกแล้ว น้ำเลือดและน้ำหนอง
ไหลออกจากร่างกายของข้าพระพุทธเจ้าประดุจซากศพ
ข้าพระพุทธเจ้าจะไปทางใด จะเป็นหมู่บ้านและนิคมทั้งหลายก็ตาม
[๒๒๐] พวกมนุษย์ทั้งหญิงทั้งชายถูกกลิ่นเหม็นรบกวน
ต่างถือท่อนไม้ ห้ามกันข้าพระพุทธเจ้าว่า เจ้าอย่ามาทางนี้
[๒๒๑] บัดนี้ข้าพระพุทธเจ้าเสวยกรรมของตน
ที่ตนเองกระทำไว้ไม่ดีในปางก่อน
ข้าพระพุทธเจ้ามีทุกข์เช่นนี้ อยู่อย่างนี้ตลอด ๗ ปี
[๒๒๒] เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงขอกราบทูลให้พระองค์ทรงทราบ
ขอความเจริญจงมีแก่ท่านทั้งหลายเท่าที่มาประชุมกัน ณ ที่นี้
ขอพระองค์อย่าทรงเป็นผู้ประทุษร้ายมิตรเลย
เพราะคนประทุษร้ายมิตรจัดเป็นคนเลว
[๒๒๓] บุคคลใดในโลกนี้ย่อมประทุษร้ายมิตร
บุคคลนั้นย่อมเป็นโรคเรื้อน โรคกลาก เกลื้อน
คนผู้มีปกติประทุษร้ายมิตรเมื่อตายไปย่อมเข้าถึงนรก
มหากปิชาดกที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๗. ทกรักขสชาดก (๕๑๗)
๗. ทกรักขสชาดก (๕๑๗)
ว่าด้วยผีเสื้อน้ำ
(เภรีปริพาชิกากล่าวปัญหาของรากษสว่า)
[๒๒๔] ถ้าว่ามหาบพิตรทั้ง ๗ พระองค์กำลังลอยเรืออยู่ในห้วงน้ำ
ผีเสื้อน้ำผู้แสวงหามนุษย์เป็นพลีกรรมยึดเรือไว้
มหาบพิตรจะทรงสละให้ผีเสื้อน้ำตามลำดับอย่างไร
(พระราชาสดับดังนั้นแล้ว จึงตรัสว่า)
[๒๒๕] โยมจะให้พระมารดาเป็นอันดับ ๑ ให้พระมเหสีแล้วให้อนุชา
แต่นั้นจะให้พระสหาย แล้วจะให้ปุโรหิตพราหมณ์เป็นอันดับที่ ๕
จะให้ตนเองเป็นอันดับที่ ๖ แต่จะไม่ให้มโหสธบัณฑิต
(เภรีปริพาชิกากล่าวคุณของมารดาว่า)
[๒๒๖] พระราชชนนีของมหาบพิตร ทรงบำรุงเลี้ยง ให้กำเนิด
และทรงเอ็นดูช่วยเหลือตลอดกาลนาน
เมื่อมหาบพิตรถูกฉัพภิพราหมณ์ประทุษร้าย
พระนางทรงเป็นบัณฑิตคิดเห็นประโยชน์
จึงทรงกระทำสิ่งอื่นแทนมหาบพิตร
ปลดเปลื้องมหาบพิตรจากการถูกลอบปลงพระชนม์
[๒๒๗] พระราชมารดานั้นทรงประทานพระชนม์ชีพ
ทรงครรภ์พระโอรสเช่นนั้น
เพราะโทษอะไร มหาบพิตรจึงจะประทานให้ผีเสื้อน้ำ
(พระราชาตรัสโทษของพระมารดาว่า)
[๒๒๘] พระมารดาของโยมประดับเครื่องอลังการที่ไม่ควรประดับ
เหมือนเด็กสาวกระซิกกระซี้กับคนเฝ้าประตู
และคนชั้นต่ำเกินขอบเขต
[๒๒๙] อนึ่ง ทรงส่งทูตไปยังพระราชาฝ่ายอื่นเสียเอง
เพราะโทษนั้น โยมจะพึงให้พระมารดาแก่รากษส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๗. ทกรักขสชาดก (๕๑๗)
(เภรีปริพาชิกากล่าวคุณของพระนางนันทาเทวีว่า)
[๒๓๐] พระนางนันทาเทวีผู้ประเสริฐกว่าหมู่สนมนารี
มีพระเสาวนีย์น่ารัก ทรงอนุวัตรตามมหาบพิตร เป็นผู้ทรงศีล
มิได้ทรงเหินห่างมหาบพิตร ประดุจพระฉายาโดยส่วนเดียว
[๒๓๑] ปราศจากความกริ้วโกรธ ทรงมีบุญ
ฉลาด ทรงเล็งเห็นประโยชน์
เพราะโทษอะไร มหาบพิตรจะประทานมเหสีให้ผีเสื้อน้ำ
(พระราชาตรัสโทษของนางนันทาเทวีว่า)
[๒๓๒] พระนางนันทาเทวีนั้นชอบขอทรัพย์ที่ไม่ควรขอกับโยม
ผู้ถึงความร่าเริงยินดี ผู้ตกอยู่ในอำนาจสิ่งที่มิใช่ประโยชน์
เพื่อโอรสและธิดาของตน
[๒๓๓] โยมนั้นมีความกำหนัด จึงยอมให้ทรัพย์
ทั้งมีค่ามากและมีค่าน้อยเป็นจำนวนมาก
ครั้นยอมให้ทรัพย์ยากที่จะสละได้แล้ว ภายหลังจึงเศร้าโศกเสียใจ
เพราะโทษนั้นแหละ โยมจะพึงให้มเหสีแก่ผีเสื้อน้ำ
(เภรีปริพาชิกาทูลถามต่อไปว่า)
[๒๓๔] พระกนิษฐภาดาพระองค์ใดทรงยังชนบทให้เจริญ
เชิญเสด็จมหาบพิตรกลับพระราชมณเฑียรและทรงครอบงำ
นำทรัพย์จากราชสมบัติอื่นมาถวายเป็นจำนวนมาก
[๒๓๕] พระกนิษฐภาดาพระองค์นั้นประเสริฐกว่านายขมังธนูทั้งหลาย
ทรงกล้าหาญ มีพระปรีชาเฉียบแหลม
เพราะโทษอะไร มหาบพิตรจึงจะประทานให้แก่ผีเสื้อน้ำเล่า
(พระราชาตรัสโทษของพระกนิษฐาภาดาว่า)
[๒๓๖] อนุชาใดของโยมผู้ยังชนบทให้เจริญ
นำโยมกลับพระราชมณเฑียรและครอบงำ
นำทรัพย์จากราชสมบัติอื่นมาให้เป็นจำนวนมาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๗. ทกรักขสชาดก (๕๑๗)
[๒๓๗] อนุชานั้นประเสริฐกว่านายขมังธนูทั้งหลาย
กล้าหาญ และมีปัญญาเฉียบแหลม ยังเป็นเด็ก
แต่ดูหมิ่นโยมว่า พระราชาพระองค์นี้ทรงเป็นสุขเพราะเรา
[๒๓๘] พระแม่เจ้า เขาไม่มาแม้สู่ที่บำรุงของโยมเหมือนก่อน
เพราะโทษนั้น โยมจะพึงให้อนุชาแก่ผีเสื้อน้ำ
(เภรีปริพาชิกาบอกคุณของพระสหายนั้นว่า)
[๒๓๙] มหาบพิตรและธนุเสขกุมาร
ทั้ง ๒ กำเนิดราตรีเดียวกัน
ทั้ง ๒ เกิดในพระนครนี้ เป็นชาวปัญจาลนคร
เป็นสหายกันมีวัยเสมอกัน
[๒๔๐] กุมารนั้นติดตามมหาบพิตรท่องเที่ยวไป
ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับมหาบพิตร
มีความขยันขวนขวายในราชกิจทุกอย่างของมหาบพิตร
ทั้งกลางวันและกลางคืน
เพราะโทษอะไร มหาบพิตรจึงจะประทานสหายให้ผีเสื้อน้ำเสียเล่า
(พระราชาตรัสโทษของพระสหายว่า)
[๒๔๑] พระแม่เจ้า ธนุเสขกุมารนี้หัวเราะดังกับโยม
เมื่อท่องเที่ยวไปกับโยม
แม้วันนี้เขาก็ยังหัวเราะดังเกินขอบเขตแบบนั้น
[๒๔๒] พระแม่เจ้า โยมแม้กำลังปรึกษากับพระเทวีอยู่ในที่รโหฐาน
ธนุเสขกุมารยังมิทันบอกกล่าว
ยังมิทันให้โยมรู้ตัวก่อน ก็พรวดพราดเข้าไป
[๒๔๓] เขาได้ช่อง ได้โอกาส
เพราะโทษนั้น โยมจึงจะให้สหายผู้ไม่มีความละอาย
ไม่เอื้อเฟื้อแก่ผีเสื้อน้ำ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๗๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๗. ทกรักขสชาดก (๕๑๗)
(เภรีปริพาชิกาบอกคุณของเกวัฏฏปุโรหิตว่า)
[๒๔๔] ท่านเกวัฏฏปุโรหิตเป็นผู้ฉลาดในนิมิตทุกอย่าง
รู้สำเนียงเสียงร้องของสัตว์ทั้งปวง เชี่ยวชาญในคัมภีร์พระเวท
เชี่ยวชาญในเรื่องลางบอกเหตุ ในความฝัน
ชำนาญในการหาฤกษ์ยาม ในการเคลื่อนพลและเข้าประชิด
[๒๔๕] สามารถรู้โทษและคุณทั้งในภาคพื้นดินและอากาศ
เป็นผู้ฉลาดในคลองแห่งนักษัตร
เพราะโทษอะไร มหาบพิตรจึงจะประทานปุโรหิตพราหมณ์
ให้แก่ผีเสื้อน้ำเสียเล่า
(พระราชาตรัสโทษของปุโรหิตพราหมณ์ว่า)
[๒๔๖] พระแม่เจ้า แม้ท่ามกลางบริษัท
ปุโรหิตพราหมณ์ก็ลืมตาจ้องมองโยม
เพราะเหตุนั้น โยมจะให้ปุโรหิตผู้หยาบช้า
คล้ายกับเลิกคิ้วมองดูโยมแก่ผีเสื้อน้ำเสีย
(เภรีปริพาชิกาทูลถามต่อไปอีกว่า)
[๒๔๗] พระองค์ทรงครอบครองแผ่นดินมีสมุทรเป็นขอบเขต
มีสาครล้อมรอบประดุจต่างหู ทรงมีหมู่อำมาตย์แวดล้อม
[๒๔๘] ทรงมีแคว้นกว้างใหญ่ไพศาล
มีมหาสมุทรทั้ง ๔ เป็นขอบเขต
ทรงพิชิตสงคราม มีพลานุภาพมาก
ทรงเป็นเอกราชเหนือพื้นปฐพี
มหาบพิตรทรงมีพระอิสริยยศอันไพบูลย์
[๒๔๙] ทรงมีเหล่านารีจากชนบทต่าง ๆ ถึง ๑๖,๐๐๐ นาง
ล้วนประดับด้วยแก้วมุกดาและต่างหูแก้วมณี
งามเปรียบได้กับเทพกัญญา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๘. ปัณฑรกนาคราชชาดก (๕๑๘)
[๒๕๐] ขอถวายพระพรพระบรมกษัตริย์
ชีวิตยืนยาวที่เพียบพร้อมด้วยองค์สมบัติทุกอย่างนี้
นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่า เป็นที่รักของคนที่มีความสุข
ผู้เพียบพร้อมด้วยสมบัติ ที่น่าปรารถนาทุกอย่าง
[๒๕๑] เมื่อเป็นเช่นนั้น เรื่องอะไรหรือเหตุไฉน มหาบพิตรจึงทรงสละ
พระชนม์ชีพที่สละได้ยาก คอยตามป้องกันบัณฑิตเล่า
(พระราชาตรัสบอกคุณของมโหสธบัณฑิตว่า)
[๒๕๒] พระแม่เจ้า เพราะท่านมโหสธแม้มาสู่เงื้อมมือโยมแล้ว
โยมยังไม่ทราบถึงความชั่วของท่านปราชญ์แม้สักเพียงอณูหนึ่ง
[๒๕๓] ถึงแม้ว่าโยมจะต้องตายไปก่อนในกาลไร ๆ ก็ตาม
ท่านมโหสธก็จะพึงช่วยลูกและหลานของโยมให้มีความสุข
[๒๕๔] ท่านมโหสธเห็นแจ่มแจ้งประโยชน์ทุกประการ
ทั้งอนาคตและปัจจุบัน โยมจะไม่ยอมให้ท่านมโหสธ
ผู้ไม่เคยทำความผิดแก่ผีเสื้อน้ำ
(เภรีปริพาชิกาเชิญชาวพระนครมากล่าวว่า)
[๒๕๕] ชาวปัญจาละทั้งหลาย
ท่านทั้งหลายจงสดับพระดำรัสของพระเจ้าจูฬนีนี้
พระองค์ทรงสละพระชนม์ชีพที่สละได้ยาก
คอยตามป้องกันบัณฑิต
[๒๕๖] พระเจ้าปัญจาละทรงสละชีวิตของพระชนนี พระมเหสี
พระกนิษฐภาดา พระสหาย และพราหมณ์ปุโรหิต
และแม้ของพระองค์เองรวมเป็น ๖ คน
[๒๕๗] ปัญญาให้สำเร็จประโยชน์ใหญ่หลวง
เป็นธรรมชาติละเอียดอ่อน เป็นเหตุให้เกิดแต่สิ่งที่ดี
ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลในปัจจุบัน
และเพื่อความสุขในสัมปรายภพด้วยประการฉะนี้
ทกรักขสชาดกที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๘. ปัณฑรกนาคราชชาดก (๕๑๘)
๘. ปัณฑรกนาคราชชาดก (๕๑๘)
ว่าด้วยปัณฑรกนาคราช
(ปัณฑรกนาคราชคร่ำครวญว่า)
[๒๕๘] ภัยที่ตนเองก่อขึ้นย่อมติดตามคนไร้ปัญญา
พูดจาพล่อย ๆ ไม่ปกปิดความรู้
ขาดความระมัดระวัง ไม่ไตร่ตรองให้รอบคอบ
เหมือนพญาครุฑไล่จับปัณฑรกนาคราช
[๒๕๙] นรชนใดพอใจบอกมนต์ที่ลี้ลับ
ที่ตนควรจะปกปิดรักษา เพราะความเขลา
ภัยย่อมติดตามเขาผู้เปิดเผยมนต์โดยพลัน
เหมือนพญาครุฑไล่จับปัณฑรกนาคราช
[๒๖๐] มิตรเทียมไม่ควรจะรู้เนื้อความสำคัญซึ่งเป็นความลับ
แต่มิตรแท้ผู้ไม่รู้หรือรู้สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
ก็ไม่ควรจะรู้ความลับนั้น
[๒๖๑] เราไว้วางใจอเจลก(ชีเปลือย)ว่า ผู้นี้เป็นสมณะ
ชาวโลกนับถือ อบรมตนดีแล้ว
ได้เปิดเผยบอกความลับแก่เขา
จึงล่วงเลยประโยชน์ ร้องไห้อยู่อย่างลำเค็ญ
[๒๖๒] พญาครุฑผู้ประเสริฐ สำหรับเขา
ข้าพเจ้าไม่อาจจะระวังวาจาที่เร้นลับอย่างยิ่งนี้ได้
เพราะเหตุนั้น ภัยจากฝ่ายเขาจึงมาถึงข้าพเจ้า
ข้าพเจ้าจึงล่วงเลยประโยชน์ ร้องไห้อยู่อย่างลำเค็ญ
[๒๖๓] นรชนใดสำคัญผู้นี้ว่า เป็นคนมีใจดี
บอกความลับกับคนที่เกิดในสกุลต่ำทราม
เพราะความรัก ความชัง หรือเพราะความเกรงกลัว
นรชนนั้นเป็นคนโง่ ต้องย่อยยับโดยไม่ต้องสงสัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๘. ปัณฑรกนาคราชชาดก (๕๑๘)
[๒๖๔] นรชนใดมีปกติพูดนอกเรื่อง นับเนื่องเข้าในพวกอสัตบุรุษ
ชอบกล่าวถ้อยคำในที่ประชุมชน
นรชนนั้นปราชญ์กล่าวว่า คนมีพิษร้าย ปากเสีย
ควรระมัดระวังคนเช่นนั้นให้ห่างไกล
[๒๖๕] ข้าพเจ้าได้ละทิ้งสิ่งที่น่าปรารถนาทั้งหมดไปแล้ว
คือ ข้าว น้ำ ผ้าแคว้นกาสี จุรณแก่นจันทน์แดง
หญิงที่เจริญใจ พวงดอกไม้ และเครื่องชโลมทา
ข้าแต่พญาครุฑ ข้าพเจ้าขอมอบชีวิตแก่ท่าน
(พญาครุฑกล่าวคาถาตำหนิปัณฑรกนาคราชว่า)
[๒๖๖] บรรดาเราทั้ง ๓ ในที่นี้ ใครหนอย่อมถูกตำหนิ
นาคราช เราทั้งหลายเป็นสัตว์มีชีวิตในโลกนี้
คือ สมณะ ครุฑ หรือว่าท่านกันแน่ย่อมถูกตำหนิ
ปัณฑรกนาคราช ท่านถูกข้าพเจ้าจับเพราะเหตุไร
(ปัณฑรกนาคราชฟังดังนั้น จึงกล่าวว่า)
[๒๖๗] อเจลกนั้นเป็นผู้ที่ข้าพเจ้ายกย่องว่า เป็นสมณะ
เป็นที่รักของข้าพเจ้า และข้าพเจ้ายกย่องด้วยใจจริง
ข้าพเจ้าจึงได้เปิดเผยบอกความลับแก่เขา
จึงได้ล่วงเลยประโยชน์ ร้องไห้อยู่อย่างลำเค็ญ
(พญาครุฑกล่าวว่า)
[๒๖๘] แท้จริง สัตว์ชื่อว่าจะไม่ตายไม่มีในแผ่นดิน
ปัญญามีอยู่หลายอย่าง บุคคลไม่ควรนินทา
นรชนในโลกนี้ย่อมบรรลุคุณวิเศษที่ยังไม่บรรลุ
ได้ด้วยสัจจะ ๑ ธรรมะ ๑ ปัญญา ๑ ทมะ ๑
[๒๖๙] มารดาบิดานับว่าเป็นผู้ยอดเยี่ยมแห่งเผ่าพันธุ์
บุคคลที่ ๓ ผู้ช่วยเหลือเขาไม่มี
เมื่อระแวงสงสัยว่า ความลับที่ปรึกษาไว้จะแตก
ก็ไม่พึงบอกความลับที่สำคัญ แม้แก่มารดาบิดาเหล่านั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๘. ปัณฑรกนาคราชชาดก (๕๑๘)
[๒๗๐] เมื่อสงสัยว่า มนต์จะแตกทำลาย
บัณฑิตไม่พึงบอกความลับที่สำคัญแม้แก่มารดาบิดา
พี่สาวน้องสาว พี่ชายน้องชาย
เพื่อนสหาย หรือญาติพวกพ้องของตน
[๒๗๑] ถึงภรรยาจะยังสาวพูดจาไพเราะ ถึงพร้อมด้วยบุตรธิดา
มีรูปร่างสวยงาม มีเกียรติยศชื่อเสียง มีหมู่ญาติแวดล้อม
พูดอ้อนสามี เมื่อสงสัยว่า ความลับที่ปรึกษาไว้จะแตก
บัณฑิตไม่พึงบอกความลับที่สำคัญแม้แก่นาง
[๒๗๒] บัณฑิตไม่พึงเปิดเผยความลับ
พึงรักษาความลับนั้นไว้เหมือนรักษาขุมทรัพย์
เพราะว่าความลับบุคคลรู้อยู่ไม่เปิดเผยได้เป็นการดี
[๒๗๓] บัณฑิตไม่ควรบอกความลับแก่สตรี ๑ ศัตรู ๑
คนที่ใช้อามิสล่อ ๑ คนผู้ล้วงความลับ ๑
[๒๗๔] คนผู้รู้ความลับที่ผู้อื่นไม่รู้
เพราะกลัวความลับที่ปรึกษาหารือกันไว้จะแตก
ย่อมอดกลั้นไว้ดุจบุคคลผู้เป็นทาสเขา
[๒๗๕] คนมีประมาณเท่าใดล่วงรู้ความลับที่เขาปรึกษากัน
คนมีประมาณเท่านั้นเป็นบุคคลที่น่าหวาดกลัวของเขา
เพราะฉะนั้น บุคคลไม่ควรเปิดเผยความลับ
[๒๗๖] เวลากลางวันควรพูดความลับในที่สงัด
เวลากลางคืนไม่ควรพูดดังเกินไป
เพราะเหตุว่าคนแอบฟังได้ยินความลับที่ปรึกษากันเข้า
ความลับนั้นจะถึงการแพร่งพรายโดยเร็วพลัน
[๒๗๗] นครใหญ่ที่สร้างด้วยเหล็ก ไม่มีประตู
มีโรงเรือนล้วนสร้างด้วยเหล็ก
มีคูขุดไว้ล้อมรอบ ย่อมปรากฏแม้ฉันใด
แม้ผู้มีความคิดอันลี้ลับในโลกนี้ก็ปรากฏแก่เราฉันนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๘. ปัณฑรกนาคราชชาดก (๕๑๘)
[๒๗๘] นาคราชผู้มีลิ้นสองแฉก นรชนเหล่าใดปกปิดความคิดไว้
ไม่พูดพล่อย มั่นคงอยู่ในประโยชน์ของตน
ศัตรูทั้งหลายย่อมหลีกห่างไกลจากนรชนเหล่านั้น
เหมือนคนรักชีวิตหลีกห่างไกลจากหมู่สัตว์อสรพิษฉะนั้น
(เมื่อพญาครุฑกล่าวอย่างนั้นแล้ว ปัณฑรกนาคราชจึงกล่าวว่า)
[๒๗๙] อเจลกละทิ้งบ้านเรือนแล้วบวช มีศีรษะโล้น
ประพฤติเป็นคนเปลือยเพราะเหตุแห่งการหากิน
เพราะข้าพเจ้าเปิดเผยความลับกับเขาแล
จึงได้เสื่อมจากอรรถและธรรม
[๒๘๐] พญาครุฑ บุคคลกระทำอย่างไร
มีศีลอย่างไร บำเพ็ญวัตรอะไร
ประพฤติละความยึดมั่นว่าเป็นของเราอย่างไร
จึงจะเป็นสมณะได้
อนึ่ง สมณะกระทำอย่างไรจึงจะเข้าถึงแดนสวรรค์ได้
(พญาครุฑกล่าวว่า)
[๒๘๑] บุคคลประกอบด้วยหิริ ด้วยความอดกลั้น
ด้วยการฝึกตน ไม่โกรธ ละคำส่อเสียด
ประพฤติละความยึดมั่นว่าเป็นของเราเสีย
จึงจะเป็นสมณะได้
สมณะกระทำอย่างนี้จึงจะเข้าถึงแดนสวรรค์ได้
(ปัณฑรกนาคราชเมื่อจะขอชีวิต จึงกล่าวว่า)
[๒๘๒] มารดากอดสัมผัสบุตรอ่อนซึ่งเกิดแต่ตน
แผ่ซ่านเรือนร่างทุกส่วนสัดปกป้องฉันใด
ท่านผู้เป็นจอมแห่งนก ท่านจงปรากฏแก่ข้าพเจ้าแม้ฉันนั้น
เหมือนมารดาเอ็นดูบุตร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๘. ปัณฑรกนาคราชชาดก (๕๑๘)
(พญาครุฑเมื่อจะให้ชีวิตแก่ปัณฑรกนาคราช จึงกล่าวว่า)
[๒๘๓] เอาเถิด ท่านผู้มีลิ้นสองแฉก
วันนี้ท่านจงพ้นจากการถูกฆ่า
ธรรมดาลูกมี ๓ ประเภท คือ
(๑) ลูกศิษย์ (๒) ลูกบุญธรรม (๓) ลูกในไส้
อย่างอื่นหามีไม่ ท่านจงยินดีเถิด
ท่านได้เป็นบุตรประเภทหนึ่งของข้าพเจ้าแล้ว
(พระศาสดาตรัสพระคาถาแล้วทรงประกาศความนั้นว่า)
[๒๘๔] พญาครุฑกล่าวอย่างนี้แล้ว
ก็โผลงจับภาคพื้นปล่อยพญานาค
กล่าวว่า วันนี้ท่านรอดพ้นภัยทั้งปวงแล้ว
จงเป็นผู้มีข้าพเจ้าคุ้มครองทั้งทางบกทางน้ำเถิด
[๒๘๕] หมอผู้ฉลาดเป็นที่พึ่งของคนไข้ได้ฉันใด
ห้วงน้ำเย็นเป็นที่พึ่งของคนผู้กระหายได้ฉันใด
ที่พักเป็นที่พึ่งของคนผู้ถูกความเย็นเพราะหิมะรบกวนฉันใด
แม้ข้าพเจ้าก็จะเป็นที่พึ่งของท่านฉันนั้น
(พญาครุฑเห็นเหตุนั้นแล้ว จึงกล่าวว่า)
[๒๘๖] นี่พญานาคผู้เกิดในครรภ์
ท่านเชื่อมสัมพันธ์กับพญาครุฑ ผู้เกิดในฟองไข่ที่เป็นศัตรู
ยังนอนแยกเขี้ยวอยู่ ภัยนั้นมีมาแต่ไหนหนอ
(พญานาคกล่าวว่า)
[๒๘๗] ในศัตรูบุคคลพึงระแวงไว้ก่อน แม้ในมิตรก็ไม่พึงวางใจ
ภัยที่เกิดขึ้นจากคนไม่มีภัยย่อมกัดกร่อนจนถึงโคนราก
[๒๘๘] บุคคลจะพึงวางใจในคนผู้เคยทำการทะเลาะกันมาแล้วได้
อย่างไรเล่า บุคคลผู้ดำรงอยู่ด้วยการเตรียมตัวอยู่เป็นนิตย์
ย่อมไม่ยินดีกับศัตรู

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๙. สัมพุลาชาดก (๕๑๙)
[๒๘๙] พึงทำให้ผู้อื่นวางใจตน แต่ตนเองไม่พึงวางใจเขา
ไม่พึงให้ผู้อื่นระแวงตน แต่ตนพึงระแวงผู้อื่น
วิญญูชนพึงพยายามโดยที่ผู้อื่นจะไม่รู้ความเป็นไปของตน
(พระศาสดาทรงประกาศความนั้นว่า)
[๒๙๐] สัตว์ผู้ประเสริฐทั้ง ๒ นั้นมีเพศพรรณดุจเทพยดาสุขุมาลชาติ
มีทรวดทรงสัณฐานและวัยงามเสมอกัน
บริสุทธิ์ มีกองกุศลผลบุญ คลอเคลียกันไป
เหมือนพาหนะเทียมด้วยม้า ได้เข้าไปหากรัมปิยอเจลก
[๒๙๑] ลำดับนั้นแล ปัณฑรกนาคราชได้เข้าไปหาอเจลก
ตามลำพังตนเองแล้วได้กล่าวอย่างนี้ว่า วันนี้ ข้าพเจ้ารอดตาย
ผ่านพ้นภัยทั้งปวงมาได้ คงไม่เป็นที่พอใจของท่านแน่นอน
(อเจลกกล่าวว่า)
[๒๙๒] ก็พญาครุฑเป็นที่รักของเราอย่างแท้จริง
ยิ่งกว่าปัณฑรกนาคราชโดยไม่ต้องสงสัย เรานั้นมีความรักใคร่
ทั้ง ๆ ที่รู้อยู่ ก็ได้กระทำกรรมชั่วช้านั้นลงไป
หาทำไปเพราะความโง่เขลาไม่
(นาคราชกล่าวว่า)
[๒๙๓] ธรรมดาบรรพชิตผู้พิจารณาเห็นโลกนี้และโลกหน้า
ย่อมจะไม่มีความคิดว่า สิ่งนี้เป็นที่รักของเรา
หรือสิ่งนี้ไม่เป็นที่รักของเรา ก็ท่านเป็นผู้ไม่สำรวม
แต่ประพฤติลวงชาวโลกนี้ด้วยเพศแห่งผู้มีความสำรวมด้วยดี
[๒๙๔] ท่านมิใช่พระอริยะ แต่ทำเหมือนพระอริยะ
มิใช่คนสำรวม แต่ทำเหมือนคนสำรวม
มีชาติต่ำทราม หาใช่ผู้ประเสริฐไม่
ได้ประพฤติชั่วช้าลามกเป็นอันมาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๙. สัมพุลาชาดก (๕๑๙)
(ครั้นตำหนิแล้วเมื่อจะสาป จึงกล่าวว่า)
[๒๙๕] เจ้าคนผู้มีนิสัยประทุษร้าย เจ้าเป็นคนประทุษร้ายมิตร
ผู้ไม่ประทุษร้าย ทั้งเป็นคนพูดจาส่อเสียด
ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอศีรษะของเจ้าจงแตก ๗ เสี่ยง
(พระศาสดาทรงประกาศความที่พระเทวทัตถูกแผ่นดินสูบ จึงตรัสว่า)
[๒๙๖] เพราะเหตุนั้น บุคคลไม่ควรประทุษร้ายมิตร
เพราะว่าคนอื่นที่จะเลวกว่าคนผู้ประทุษร้ายมิตรไม่มี
อเจลกถูกสัตว์มีพิษสาปกำจัดลงแล้วในแผ่นดิน
ทั้ง ๆ ที่ปฏิญญาว่า เรามีความสำรวม
ก็ถูกทำลายแล้วด้วยคำของจอมนาคินทร์
ปัณฑรกนาคราชชาดกที่ ๘ จบ

๙. สัมพุลาชาดก (๕๑๙)
ว่าด้วยความซื่อสัตย์ของพระนางสัมพุลา
(ยักษ์ทานพเห็นพระนางสัมพุลามีจิตปฏิพัทธ์ จึงกล่าวว่า)
[๒๙๗] โอ้ แม่นางผู้มีลำขาอันกลมกลึง เธอเป็นใคร
ยืนสั่นสะท้านอยู่แต่ผู้เดียวใกล้ ๆ ซอกเขา
เธอผู้มีทรวดทรงน่าเคล้าคลึง เราถามแล้ว
ขอเธอจงบอกชื่อและเผ่าพันธุ์แก่เรา
[๒๙๘] แม่นางผู้มีทรวดทรงอันงดงาม
เธอเป็นใคร หรือเป็นกัลยาณีของใคร
ส่องสว่างไสวไปทั่วป่าที่น่ารื่นรมย์ซึ่งเป็นที่ที่สีหพยัคฆ์อยู่อาศัย
แม่นางผู้เจริญ เราขอไหว้เธอ เราคือทานพขอนอบน้อมแก่เธอ
(พระนางสัมพุลาได้ฟังดังนั้น จึงได้ตอบว่า)
[๒๙๙] ข้าพเจ้าชื่อสัมพุลาเป็นพระชายาของพระราชบุตรพระเจ้ากรุงกาสี
ซึ่งประชาชนรู้จักพระองค์โดยพระนามว่า เจ้าชายโสตถิเสน
ทานพผู้เจริญ ขอท่านจงทราบอย่างนี้
ข้าพเจ้าสัมพุลาขอไหว้ท่าน ขอนอบน้อมแก่ท่าน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๙. สัมพุลาชาดก (๕๑๙)
[๓๐๐] ท่านผู้เจริญ พระราชโอรสแห่งวิเทหราช
ทรงอาดูรประทับอยู่ในป่า
ข้าพเจ้าอุปัฏฐากพระองค์ผู้ทรงถูกโรคเบียดเบียนตัวต่อตัว
[๓๐๑] อนึ่ง ข้าพเจ้าแสวงหาของป่า
นำรวงผึ้งหรือเนื้อที่เป็นเดนใดมา พระองค์ก็เสวยสิ่งนั้น
วันนี้พระสรีระของพระองค์คงจะเหี่ยวแห้งแน่นอน
(ทั้ง ๒ กล่าวโต้ตอบกันต่อไปว่า)
[๓๐๒] แม่นางสัมพุลา เธอจะทำอะไรได้กับพระราชบุตร
ผู้ทรงระงมไปด้วยความอาดูรอยู่ในป่า
เราจะเป็นภัสดาของเธอ
[๓๐๓] เพราะอัตภาพที่ทุรพล เดือดร้อนเพราะความเศร้าโศก
รูปร่างของข้าพเจ้าจะงดงามได้อย่างไร ท่านผู้เจริญ
ขอท่านจงแสวงหาหญิงอื่นที่สวยงามกว่าข้าพเจ้าเถิด
[๓๐๔] มาเถิดแม่นาง จงขึ้นมายังภูเขาลูกนี้
เรามีภรรยาอยู่ ๔๐๐ นาง
เธอจะประเสริฐกว่านางเหล่านั้น
และจะสัมฤทธิ์ความประสงค์ทุกอย่าง
[๓๐๕] แม่นางผู้มีผิวพรรณเปล่งปลั่งประดุจดวงดาว
เธอมีใจประสงค์สิ่งหนึ่งสิ่งใด
สิ่งนั้นทั้งหมดของพี่มีอยู่มาก หาได้ง่าย
ขอเธอจงมาร่วมอภิรมย์กับพี่ ณ วันนี้เถิด
[๓๐๖] แม่นางสัมพุลา ถ้าเธอไม่ยอมเป็นมเหสี
เธอก็ควรจะเป็นอาหารเช้าของเราในวันรุ่งขึ้น
[๓๐๗] ฝ่ายเจ้าทานพกินคน มีผมเป็นกระเซิง ๗ ชั้น
หยาบช้าทารุณ มีผิวกายดำแดง
ได้จับพระนางสัมพุลานั้นผู้ไม่เห็นที่พึ่งในป่ารวบไว้ในวงแขน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๙. สัมพุลาชาดก (๕๑๙)
[๓๐๘] ส่วนพระนางสัมพุลานั้นถูกปีศาจผู้ทารุณเห็นแก่อามิสข่มเหง
ตกอยู่ในอำนาจของศัตรู ก็เศร้าโศกรำพันถึงแต่พระสวามีเท่านั้น
[๓๐๙] การที่รากษสจะกินเรา
ถึงกระนั้น ก็หาใช่เป็นความทุกข์ของเราไม่
เราทุกข์อยู่แต่ว่า พระลูกเจ้าจะเข้าพระทัยผิด
[๓๑๐] เทพเจ้าทั้งหลายเห็นจะไม่มีอยู่แน่
ท้าวโลกบาลทั้งหลายชะรอยจะไม่มีในโลกนี้แน่นอน
คนที่จะห้ามปรามยักษ์ผู้ไม่สำรวมทำการหยาบช้าคงไม่มีแน่นอน
(ท้าวสักกะทรงใคร่ครวญทราบเหตุนั้นแล้ว ฉวยเอาพระขรรค์เพชรรีบเสด็จไป
ประทับยืนบนกระท่อมของทานพยักษ์ ตรัสว่า)
[๓๑๑] นางนี้มีเกียรติยศชื่อเสียง ประเสริฐกว่าหญิงทั้งหลาย
เป็นหญิงฉลาด เรียบร้อย มีเดชรุ่งเรืองดุจกองเพลิง
เจ้ารากษส ถ้าเจ้ากินหญิงสาวผู้นั้น
ศีรษะของเจ้าจะพึงแตก ๗ เสี่ยง เจ้าอย่าทำให้นางเดือดร้อน
จงปล่อยนางไป เพราะนางเป็นหญิงมีสามี
(พระศาสดาทรงประกาศความนั้นว่า)
[๓๑๒] ก็พระนางสัมพุลารอดพ้นจากยักษ์กินคนแล้ว
ก็เสด็จกลับสู่อาศรมดุจแม่นกซึ่งมีลูกอ่อนมีอันตรายบินกลับรัง
ดุจแม่โคนมกลับมายังที่อยู่อาศัยที่ปราศจากลูกโค
[๓๑๓] พระนางสัมพุลาราชบุตรีผู้มียศ
เมื่อไม่ทรงเห็นพระสวามีผู้เป็นที่พึ่งในป่า
ก็มีดวงพระเนตรพร่าพรายเพราะความร้อน
ทรงกันแสงอยู่ ณ ที่นั้น
[๓๑๔] เมื่อไม่ทรงพบพระราชบุตร พระนางก็ทรงไหว้วอน
สมณพราหมณ์และฤๅษีผู้สมบูรณ์ด้วยจรณะว่า
ดิฉันขอถึงพระคุณเจ้าทั้งหลายเป็นที่พึ่งที่ระลึก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๙. สัมพุลาชาดก (๕๑๙)
[๓๑๕] เมื่อไม่ทรงพบพระราชบุตร ก็ทรงไหว้วอนราชสีห์
เสือโคร่ง และหมู่เนื้อเหล่าอื่นในป่าว่า
ข้าพเจ้าขอถึงท่านทั้งหลายเป็นที่พึ่งที่ระลึก
[๓๑๖] เมื่อไม่ทรงพบพระราชบุตร ก็ทรงไหว้วอนเทพเจ้า
ผู้สิงสถิตอยู่ที่กอหญ้าลดาวัลย์และหมู่ไม้โอสถตลอดจนบรรพต
และพงศ์ไพรว่า ข้าพเจ้าขอถึงท่านทั้งหลายเป็นที่พึ่งที่ระลึก
[๓๑๗] เมื่อไม่ทรงพบพระราชบุตร ก็ทรงไหว้วอน
หมู่ดาวนักษัตรในยามราตรีซึ่งมีรัศมีเสมอด้วยดอกราชพฤกษ์ว่า
ข้าพเจ้าขอถึงท่านเป็นที่พึ่งที่ระลึก
[๓๑๘] เมื่อไม่ทรงพบพระราชบุตร ก็ทรงไหว้วอนเทพเจ้า
ผู้สถิตที่แม่น้ำคงคาซึ่งมีนามว่าภาคีรถี
เป็นที่รองรับการไหลมาแห่งแม่น้ำสายอื่นจำนวนมากว่า
ข้าพเจ้าขอถึงท่านเป็นที่พึ่งที่ระลึก
[๓๑๙] เมื่อไม่ทรงพบพระราชบุตร ก็ทรงไหว้วอน
(เทพเจ้าผู้สิงสถิตอยู่ ณ) ภูเขาหิมวันต์ที่ประเสริฐกว่าขุนเขาทั้งปวง
ซึ่งเต็มด้วยศิลาว่า ข้าพเจ้าขอถึงท่านเป็นที่พึ่งที่ระลึก
(โสตถิเสนทูลถามพระนางสัมพุลาว่า)
[๓๒๐] พระราชบุตรีผู้มียศ พระนางกลับมาจนเย็นค่ำเชียวหนอ
วันนี้พระนางสมคบกับใครหนอ
ใครกันหนอเป็นที่รักของพระนางยิ่งกว่าหม่อมฉัน
(พระนางสัมพุลาตรัสว่า)
[๓๒๑] หม่อมฉันถูกทานพผู้เป็นศัตรูนั้นจับไว้
ได้กล่าวกับมันอย่างนี้ว่า
การที่รากษสจะกินเรา ถึงกระนั้นก็หาใช่ความทุกข์ของเราไม่
เราทุกข์อยู่แต่ว่า พระลูกเจ้าจะเข้าพระทัยผิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๙. สัมพุลาชาดก (๕๑๙)
(โสตถิเสนได้ฟังดังนั้นแล้วจึงตรัสว่า)
[๓๒๒] นางโจรมีเล่ห์เหลี่ยมมากมาย ยากที่จะหาความสัตย์ได้
หญิงทั้งหลายมีภาวะรู้ได้ยากเหมือนปลาที่ว่ายไปในน้ำ
(พระนางสัมพุลาทรงทำสัจกิริยาหลั่งน้ำลงที่ศีรษะของโสตถิเสนนั้นว่า)
[๓๒๓] ขอความสัตย์จงคอยพิทักษ์รักษาหม่อมฉัน
อย่างที่หม่อมฉันไม่เคยรักชายอื่นยิ่งไปกว่าทูลกระหม่อมเถิด
ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอพระโรคของทูลกระหม่อมจงระงับไป
(พระสสุรดาบสตรัสถามพระนางสัมพุลาผู้มีอินทรีย์เหี่ยวแห้งว่า)
[๓๒๔] พญาช้าง ๗๐๐ เชือกซึ่งมีทหารถืออาวุธอย่างเข้มแข็งขับขี่
และนายขมังธนูอีก ๑,๖๐๐ นายเฝ้ารักษาตลอดคืนตลอดวัน
แม่นางผู้เจริญ พระนางยังจะพบศัตรูชนิดไหนอีก
(พระนางสัมพุลากราบทูลว่า)
[๓๒๕] ขอเดชะพระบิดา พระราชบุตรทอดพระเนตรเห็น
นางสนมนารีผู้ประดับตบแต่งเรือนร่าง มีผิวพรรณงามดังกลีบปทุม
รุ่นกำดัด มีเสียงไพเราะดังนางพญาหงส์
และทรงสดับเสียงหัวเราะขับกล่อมประโคม
บัดนี้สำหรับหม่อมฉัน พระลูกเจ้าหาเป็นดังเช่นก่อนไม่
[๓๒๖] ขอเดชะพระบิดา สนมนารีเหล่านั้น
ทรงเครื่องประดับล้วนเป็นทองคำ มีเรือนร่างเฉิดโฉม
ประดับด้วยอลังการนานาชนิด เพริศพริ้งดังสาวสวรรค์
เป็นที่โปรดปรานของท้าวโสตถิเสน ล้วนมีทรวดทรงหาที่ติมิได้
เป็นขัตติยกัญญาพากันปรนเปรอท้าวเธออยู่
[๓๒๗] ขอเดชะพระบิดา ถ้าหากพระราชโอรส
ทรงยกย่องหม่อมฉันและไม่ทรงดูหมิ่นหม่อมฉัน
เหมือนคราวที่หม่อมฉัน เคยเที่ยวแสวงหาผลาผล
เลี้ยงดูพระสวามีอยู่ในป่าในกาลก่อนไซร้ สำหรับหม่อมฉัน
ป่านั้นแหละประเสริฐกว่าราชสมบัติในกรุงพาราณสีนี้เสียอีก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๑๐. คันธตินทุกชาดก (๕๒๐)
[๓๒๘] นารีผู้มีอาภรณ์เกลี้ยงเกลาประดับตกแต่งร่างกายอย่างสวยงาม
ถึงพร้อมด้วยคุณสมบัติทุกอย่าง อยู่ในเรือนที่มีข้าวและน้ำ
ที่เขาตระเตรียมไว้อย่างไพบูลย์อันใด แต่ไม่เป็นที่รักของสามี
การที่นารีนั้นฆ่าตัวตายเสียยังประเสริฐกว่าการอยู่ครองเรือนนั้น
[๓๒๙] แม้หญิงใดเป็นคนกำพร้า ขัดสน ไร้เครื่องประดับ
นอนบนเสื่อลำแพน แต่เจ้าหล่อนเป็นที่รักของสามี
หญิงนี้แลแม้จะเป็นคนกำพร้าก็ยังประเสริฐกว่า
หญิงที่ถึงพร้อมด้วยคุณสมบัติทุกอย่าง แต่ไม่เป็นที่รักของสามี
(พระสสุรดาบสตรัสสอนพระราชโอรสว่า)
[๓๓๐] หญิงผู้เกื้อกูลชายผู้เป็นสามีหาได้ยากยิ่ง
สามีผู้เกื้อกูลหญิงผู้เป็นภรรยาก็หาได้ยาก เจ้าผู้จอมชน
พระนางสัมพุลาเป็นภรรยาผู้เกื้อกูลต่อเจ้าและเป็นผู้มีศีล
เจ้าจงประพฤติต่อพระนางสัมพุลาอย่างยุติธรรมเถิด
(พระเจ้าโสตถิเสนเมื่อจะมอบอิสริยยศแก่พระนางสัมพุลา จึงตรัสว่า)
[๓๓๑] พระน้องนางผู้เจริญ ถ้าเมื่อพระน้องนาง
ได้โภคะอันไพบูลย์แล้วละความริษยาได้จนวันตาย
พี่และราชกัญญาเหล่านี้ทั้งหมดจะทำตามคำของพระน้องนาง
สัมพุลาชาดกที่ ๙ จบ

๑๐. คันธตินทุกชาดก (๕๒๐)
ว่าด้วยเทวดาชื่อคันธตินทุกะ
(พระโพธิสัตว์ครั้งเกิดเป็นรุกขเทวดาชื่อคันธตินทุกะ แสดงธรรมถวายพระราชาว่า)
[๓๓๒] ความไม่ประมาทเป็นทางไม่ตาย
ความประมาทเป็นทางแห่งความตาย
คนผู้ไม่ประมาทชื่อว่าย่อมไม่ตาย
คนประมาทเหมือนคนตายแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๑๐. คันธตินทุกชาดก (๕๒๐)
[๓๓๓] ความประมาทเกิดจากความมัวเมา
ความเสื่อมเกิดจากความประมาท
และเพราะความเสื่อมจึงเกิดการประทุษร้าย
ท่านพระรตูสภะ ขอพระองค์อย่าได้ประมาทเลย
[๓๓๔] แท้จริง กษัตริย์ทั้งหลายผู้ประมาทจำนวนมาก
ย่อมเสื่อมทั้งประโยชน์ทั้งแคว้น
แม้นายบ้านและลูกบ้านก็เสื่อม แม้บรรพชิตและคฤหัสถ์ก็เสื่อม
[๓๓๕] ขอเดชะพระองค์ผู้ทรงผดุงรัฐให้เจริญ
โภคะทั้งปวงในแคว้นของกษัตริย์ผู้ประมาทแล้วย่อมพินาศ
ข้อนั้นท่านกล่าวว่า เป็นความทุกข์ของพระราชา
[๓๓๖] ขอเดชะพระมหาราช นั่นหาใช่ธรรมไม่
พระองค์ทรงประมาทเกินขอบเขต
พวกโจรจึงปล้นทำลายชนบทที่มั่งคั่งสมบูรณ์
[๓๓๗] พระราชบุตรผู้จะสืบสันตติวงศ์จักไม่มี
ทรัพย์สินเงินทองจักไม่มี พระนครก็จักไม่มี
เมื่อแคว้นถูกปล้นสะดม พระองค์ก็จะเสื่อมจากโภคะทั้งปวง
[๓๓๘] พระญาติ มิตร และพระสหายย่อมไม่นับถือพระองค์ผู้เป็น
กษัตริย์ซึ่งเสื่อมจากโภคะทั้งปวงในทางพระปรีชาสามารถ
[๓๓๙] พลช้าง พลม้า พลรถ และพลเดินเท้าซึ่งอาศัยพระองค์เลี้ยงชีพ
ย่อมไม่นับถือพระองค์ว่า เป็นพระราชาผู้ควรนับถือ
[๓๔๐] สิริย่อมละคนโง่ผู้ไม่จัดแจงการงาน
มีความคิดเลวทราม มีปัญญาทรามไปเหมือนงูลอกคราบเก่าทิ้ง
[๓๔๑] กษัตริย์ผู้ทรงจัดแจงการงานดี ทรงขยันตลอดกาล
ไม่เกียจคร้าน โภคะทั้งปวงย่อมเจริญโดยยิ่ง
เหมือนฝูงโคที่มีโคอุสภะเป็นจ่าฝูง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๑๐. คันธตินทุกชาดก (๕๒๐)
[๓๔๒] ขอเดชะพระมหาราช ขอพระองค์ทรงเสด็จไป
สดับตรับฟังเหตุการณ์ทั้งในแคว้นและชนบท
ครั้นได้ทอดพระเนตรและสดับแล้ว พึงปฏิบัติไปตามนั้น
(ชายแก่ชาวบ้านถูกหนามตำเท้าที่ประตูเรือน จึงนั่งกระโหย่งบ่งหนาม พลาง
ด่าพระราชาว่า)
[๓๔๓] ขอให้พระเจ้าปัญจาละจงถูกลูกศรเสียบแทงในสงคราม
เสวยทุกขเวทนาเหมือนตัวข้าถูกหนามตำเสวยทุกขเวทนาในวันนี้
(พอราชปุโรหิตได้ยินคำด่าของชายแก่ จึงถามว่า)
[๓๔๔] ลุงแก่แล้ว หูตามืดมัว มองเห็นไม่ชัด หนามจึงตำ
ในข้อนี้ พระเจ้าพรหมทัตมีความผิดอะไรด้วยเล่า
(ชายแก่ได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวว่า)
[๓๔๕] ท่านพราหมณ์ ในข้อที่ข้าพเจ้าถูกหนามตำ
พระเจ้าพรหมทัตมีความผิดอย่างมาก
เพราะพระองค์มิได้พิทักษ์คุ้มครอง
ชาวชนบทจึงถูกกดขี่ด้วยพลีกรรมอันไม่เป็นธรรม
[๓๔๖] กลางคืนพวกโจรก็ปล้นสะดม กลางวันพวกเจ้าหน้าที่ก็กดขี่
ในแคว้นของพระราชาโกง
คนผู้ประกอบการงานอันไม่ชอบธรรมจึงมีอยู่มาก
[๓๔๗] เมื่อภัยเช่นนี้เกิดขึ้น พราหมณ์
พวกมาณพที่กลัวภัยจึงนำหนามในป่ามาแล้วสร้างที่หลบเร้น
(หญิงชราผู้เก็บผักหักฟืนจากป่ามาเลี้ยงลูกสาวขึ้นพุ่มไม้ กำลังเก็บผักอยู่
พลัดตกลงมา เมื่อจะด่าพระราชาโดยแช่งให้ตาย จึงกล่าวว่า)
[๓๔๘] ในแคว้นของพระเจ้าพรหมทัต
หญิงสาวหาผัวไม่ได้ แก่ลงไป
เมื่อไรหนอ พระเจ้าพรหมทัตจักสวรรคตเสียที

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๑๐. คันธตินทุกชาดก (๕๒๐)
(เมื่อราชปุโรหิตจะคัดค้านนาง จึงกล่าวว่า)
[๓๔๙] แม่หญิงชั่วช้า ไม่เข้าใจเหตุผล เธอนะพูดไม่ดีเลย
พระราชาเคยหาผัวให้พวกหญิงสาวที่ไหนกัน
(หญิงชราได้ยินดังนั้น จึงกล่าวว่า)
[๓๕๐] ท่านพราหมณ์ ไม่ใช่ว่าข้าพเจ้าพูดไม่ดี ข้าพเจ้าเข้าใจเหตุผล
เพราะพระเจ้าพรหมทัตมิได้พิทักษ์คุ้มครอง
ชาวชนบทจึงถูกกดขี่ด้วยพลีกรรมอันไม่เป็นธรรม
[๓๕๑] กลางคืนพวกโจรก็ปล้นสะดม กลางวันพวกเจ้าหน้าที่ก็กดขี่
ในแคว้นของพระราชาโกง
คนผู้ประกอบการงานอันไม่ชอบธรรมจึงมีอยู่มาก
เมื่อความเป็นอยู่ลำบาก ภรรยาก็เลี้ยงได้ยาก
ที่ไหนหญิงสาวจะมีสามีได้เล่า
(เมื่อชาวนากำลังไถนา โคชื่อสาลิยะถูกผาลบาดล้มลง เขาเมื่อจะด่าพระ
ราชาจึงกล่าวว่า)
[๓๕๒] ขอให้พระเจ้าปัญจาละถูกหอกแทงล้มนอนกลิ้งในสงคราม
เหมือนโคพลิพัทท์สาลิยะผู้น่าสงสารถูกผาลบาดล้มนอนกลิ้งอยู่
(เมื่อราชปุโรหิตจะคัดค้านชาวนานั้น จึงกล่าวว่า)
[๓๕๓] เจ้าคนชาติชั่ว เจ้านะโกรธพระเจ้าพรหมทัตอย่างไม่ถูกต้อง
เจ้าทำร้ายโคของตนเอง กลับมาสาปแช่งพระราชา
(ชาวนาได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวว่า)
[๓๕๔] ท่านพราหมณ์ ข้าพเจ้าโกรธพระเจ้าพรหมทัตโดยธรรม
เพราะพระเจ้าพรหมทัตมิได้พิทักษ์คุ้มครอง
ชาวชนบทจึงถูกกดขี่ด้วยพลีกรรมอันไม่เป็นธรรม
[๓๕๕] กลางคืนพวกโจรก็ปล้นสะดม กลางวันพวกเจ้าหน้าที่ก็กดขี่
ในแคว้นของพระราชาโกง
คนผู้ประกอบการงานอันไม่ชอบธรรมจึงมีอยู่มาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๑๐. คันธตินทุกชาดก (๕๒๐)
[๓๕๖] แม่ครัวคงหุงใหม่แน่นอน จึงนำอาหารมาสาย
ข้าพเจ้ามัวแลดูคนนำอาหารมา โคสาลิยะจึงถูกผาลบาด
(คนรีดนมโคถูกแม่โคดีดล้มกลิ้งไปพร้อมกับนมสด เมื่อจะด่าพระราชา จึง
กล่าวว่า)
[๓๕๗] ขอพระเจ้าปัญจาละจงถูกฟันด้วยดาบเดือดร้อนอยู่ในสงคราม
เหมือนเราถูกแม่โคนมดีดจนน้ำนมของเรากลิ้งหกในวันนี้
(ราชปุโรหิตกล่าวว่า)
[๓๕๘] สัตว์เลี้ยงหลั่งน้ำนมทิ้งเอง เบียดเบียนคนเลี้ยงสัตว์เอง
ในข้อนี้ พระเจ้าพรหมทัตมีความผิดอะไรด้วยเล่า
ท่านผู้เจริญไม่น่าจะติเตียนพระองค์ท่านเลย
(เมื่อราชปุโรหิตกล่าวจบลง คนรีดนมได้กล่าวว่า)
[๓๕๙] ท่านพราหมณ์ พระเจ้าปัญจาละควรจะถูกติเตียน
เพราะพระเจ้าพรหมทัตไม่พิทักษ์คุ้มครอง
ชาวชนบทจึงถูกกดขี่ด้วยพลีกรรมอันไม่เป็นธรรม
[๓๖๐] กลางคืนพวกโจรก็ปล้นสะดม กลางวันพวกเจ้าหน้าที่ก็กดขี่
ในแคว้นของพระราชาโกง
คนผู้ประกอบการงานอันไม่ชอบธรรมจึงมีอยู่มาก
[๓๖๑] แม่โคตัวดุร้าย ปราดเปรียว เมื่อก่อนพวกเรามิได้รีดนมมัน
บัดนี้ พวกเราถูกเจ้าหน้าที่ต้องการน้ำนมรบกวน
จึงต้องรีดนมมันในวันนี้
(พวกเด็กชาวบ้านเห็นแม่โคนมที่ลูกถูกฆ่าไม่ยอมกินหญ้ากินน้ำ เพียรร่ำร้อง
หาลูกอยู่ เมื่อจะพากันด่าพระราชา จึงกล่าวว่า)
[๓๖๒] ขอพระเจ้าปัญจาละจงพลัดพรากจากพระราชบุตร
คร่ำครวญหม่นหมองเหมือนแม่โคผู้น่าสงสารตัวนี้
พลัดพรากจากลูกวิ่งพล่านคร่ำครวญอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๖. ติงสตินิบาต] ๑๐. คันธตินทุกชาดก (๕๒๐)
(ลำดับนั้น ปุโรหิตกล่าวว่า)
[๓๖๓] สัตว์เลี้ยงของคนเลี้ยงสัตว์พึงวิ่งไปมาหรือร้องคร่ำครวญ
ในข้อนี้ พระเจ้าพรหมทัตมีความผิดอะไรด้วยเล่า
(ลำดับนั้น พวกเด็กชาวบ้านกล่าวว่า)
[๓๖๔] ท่านพราหมณ์ พระเจ้าพรหมทัตมีความผิด
เพราะพระเจ้าพรหมทัตมิได้พิทักษ์คุ้มครอง
ชาวชนบทจึงถูกกดขี่ด้วยพลีกรรมอันไม่เป็นธรรม
[๓๖๕] กลางคืนพวกโจรก็ปล้นสะดม กลางวันพวกเจ้าหน้าที่ก็กดขี่
ในแคว้นของพระราชาโกง
คนผู้ประกอบการงานอันไม่ชอบธรรมจึงมีอยู่มาก
ลูกโคที่ยังดื่มนมจึงถูกฆ่าเพราะต้องการหนังทำฝักดาบ
(พระโพธิสัตว์บันดาลให้กบแช่งด่าพระราชาว่า)
[๓๖๖] ขอพระเจ้าปัญจาละพร้อมทั้งพระโอรสจงถูกฆ่ากิน
ในสนามรบเหมือนเราซึ่งเกิดในป่าถูกกาบ้านฆ่ากินในวันนี้
(ราชปุโรหิตได้ฟังดังนั้น จึงสนทนากับกบว่า)
[๓๖๗] เจ้ากบ พระราชาทั้งหลายในมนุษยโลก
จะจัดการพิทักษ์รักษาเหล่าสัตว์ทั้งปวงหาได้ไม่
พระราชาจะจัดว่าเป็นอธรรมจารีบุคคล
เพราะเหตุเพียงกากินสัตว์เช่นท่านหามิได้
(กบได้ฟังดังนั้น จึงได้กล่าวว่า)
[๓๖๘] ท่านเป็นพรหมจารีบุคคลผู้ไม่มีธรรม
จึงกล่าวยกย่องกษัตริย์
เมื่อประชากรจำนวนมากถูกปล้นอยู่
ท่านก็ยังบูชาพระราชาผู้เลอะเลือนอยู่ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก
[๓๖๙] ท่านพราหมณ์ ถ้าแคว้นนี้พึงมีพระราชาที่ดีไซร้
ก็จะมั่งคั่ง เบ่งบาน ผ่องใส
ฝูงกาก็จะได้กินก้อนข้าวที่ดีซึ่งเป็นพลีกรรม
ไม่พึงกินสัตว์เช่นเราเลย
คันธตินทุกชาดกที่ ๑๐ จบ

รวมชาดกที่มีในนิบาตนี้ คือ

๑. กิงฉันทชาดก ๒. กุมภชาดก
๓. ชยัททิสชาดก ๔. ฉัททันตชาดก
๕. สัมภวชาดก ๖. มหากปิชาดก
๗. ทกรักขสชาดก ๘. ปัณฑรกนาคราชชาดก
๙. สัมพุลาชาดก ๑๐. คันธตินทุกชาดก

ติงสตินิบาต จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๙๔ }


๑๗. จัตตาลีสนิบาต
๑. เตสกุณชาดก (๕๒๑)
ว่าด้วยนก ๓ ตัว
(พระราชาตรัสถามธรรมกับนกเวสสันดรในท่ามกลางมหาชนว่า)
[๑] ลูกนก ขอความเจริญจงมีแก่ลูก พ่อขอถามลูกเวสสันดรว่า
กิจอะไรบุคคลผู้ประสงค์จะครอบครองราชสมบัติ
กระทำแล้วเป็นกิจอันประเสริฐ
(นกเวสสันดรยังไม่ทูลตอบปัญหา แต่ทูลเตือนพระราชาเพราะความประมาท
ก่อนแล้วจึงกราบทูลว่า)
[๒] นานนักหนอ พระเจ้ากังสะพระราชบิดาของเรา
ผู้ทรงครอบครองกรุงพาราณสี ผู้มีความประมาท
ได้ตรัสถามเราผู้เป็นบุตรซึ่งหาความประมาทมิได้
(นกเวสสันดรเมื่อทูลเตือนอย่างนี้แล้ว จึงกราบทูลว่า)
[๓] ขอเดชะบรมกษัตริย์ อันดับแรกทีเดียว
พระราชาพึงทรงห้ามการตรัสคำไม่จริง ความโกรธ
ความหรรษาร่าเริง ต่อแต่นั้นพึงตรัสสั่งให้ทำราชกิจ
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า นั้นเป็นพระราชประเพณี
[๔] ขอเดชะเสด็จพ่อ เมื่อก่อนกรรมใดเป็นกรรมกระทำให้
เดือดร้อนโดยไม่ต้องสงสัย พระองค์ทรงทำไว้แล้ว ๑
กรรมใดพระองค์ทรงมีความกำหนัดและความขัดเคืองทรงทำ ๑
กรรมนั้นพระองค์ไม่พึงทำต่อไปอีก
[๕] ขอเดชะพระองค์ผู้ผดุงรัฐให้เจริญ
โภคะทั้งปวงในแคว้นของกษัตริย์ผู้ประมาทแล้วย่อมพินาศ
ข้อนั้นท่านกล่าวว่า เป็นความทุกข์ของพระราชา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๗. จัตตาลีสนิบาต] ๑. เตสกุณชาดก (๕๒๑)
[๖] ขอเดชะเสด็จพ่อ เทพธิดาชื่อสิริและอลักขีถูกสุจิวารเศรษฐีถาม
ได้ตอบว่า ดิฉันชื่นชมยินดีคนที่ขยันหมั่นเพียรและไม่ริษยา
[๗] ขอเดชะมหาราช ส่วนอลักขีเทพธิดาเป็นคนกาฬกัณณี
หักกุศลจักร ย่อมชื่นชมยินดีคนริษยา คนใจร้าย
มักทำลายกุศลกรรม
[๘] ขอเดชะมหาราช พระองค์นั้น โปรดทรงมีพระหทัยดี
ในชนทั้งปวง จงทรงพิทักษ์รักษาชนทั้งปวง
โปรดทรงขับนางเทพธิดาที่อับโชคออกไป
ขอพระราชนิเวศน์จงเป็นที่อยู่ของนางเทพธิดาที่อำนวยโชคเท่านั้นเถิด
[๙] ขอเดชะพระองค์ผู้เป็นเจ้าแห่งชนชาวกาสี
เพราะว่าบุรุษผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาและความเพียรนั้น
มีอัธยาศัยกว้างขวาง ย่อมตัดรากเง่าและยอดของศัตรูได้ขาด
[๑๐] แท้จริง แม้ท้าวสักกะผู้เป็นเจ้าแห่งภูต
ก็มิได้ทรงประมาทในความขยันหมั่นเพียร
ท้าวเธอทรงกระทำความเพียรในกัลยาณธรรม
ทรงสนพระทัยในความขยันหมั่นเพียร
[๑๑] คนธรรพ์ พรหม เทวดาทั้งหลายที่มีชีวิตเกี่ยวเนื่องกับ
พระราชาเหล่านั้น เมื่อพระองค์ทรงขยันหมั่นเพียร
ไม่ประมาท ก็ย่อมจะคล้อยตาม
[๑๒] ขอเดชะเสด็จพ่อ ขอเสด็จพ่ออย่าทรงประมาท
อย่าทรงกริ้ว แล้วตรัสสั่งให้ทำราชกิจ
อนึ่ง โปรดทรงพยายามในราชกิจ
เพราะคนไม่เกียจคร้านย่อมประสบความสุข
[๑๓] ข้อความเหล่านั้นที่ข้าพระองค์กล่าวแก้ในปัญหาของเสด็จพ่อ
นั้นแลเป็นวัตตบท ข้อนี้แลเป็นอนุสาสนีสำหรับเสด็จพ่อ
ที่สามารถช่วยมิตรให้ถึงความสุขและให้ทุกข์เกิดแก่ศัตรูได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๗. จัตตาลีสนิบาต] ๑. เตสกุณชาดก (๕๒๑)
(พระราชาตรัสถามราชธรรมกับนางนกกุณฑลินีว่า)
[๑๔] แม่กุณฑลินี สกุณีผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของผู้มีบรรดาศักดิ์
เจ้าคงจะเข้าใจปัญหา กิจอะไรบุคคลผู้ประสงค์จะครอบครอง
ราชสมบัติกระทำแล้วเป็นกิจอันประเสริฐ
(นางนกกุณฑลินีกราบทูลว่า)
[๑๕] ขอเดชะเสด็จพ่อ มีเหตุอยู่ ๒ ประการเท่านั้น
ที่ประโยชน์สุขทั้งปวงดำรงมั่นอยู่ได้ คือ
การได้ลาภที่ยังไม่ได้ ๑ การตามรักษาลาภที่ได้แล้ว ๑
[๑๖] ขอเดชะเสด็จพ่อ พระองค์โปรดทรงรู้จักหมู่อำมาตย์
ผู้เป็นนักปราชญ์ ฉลาดในประโยชน์
ไม่ใช่นักเลงการพนัน ไม่ใช่คนปลิ้นปล้อน
ไม่ใช่นักเลงล้างผลาญเถิด พระเจ้าข้า
[๑๗] ขอเดชะเสด็จพ่อ อำมาตย์คนใดพึงรักษาทรัพย์
ที่พระองค์พึงมีไว้ได้เหมือนนายสารถียึดรถ
อำมาตย์ผู้นั้นพระองค์โปรดทรงให้ทำราชกิจเถิด
[๑๘] พระราชาพึงสงเคราะห์ชนฝ่ายในให้ดี
ตรวจตราราชทรัพย์ด้วยพระองค์เอง
ไม่พึงฝังขุมทรัพย์ และให้กู้หนี้โดยทรงไว้วางพระทัยผู้อื่น
[๑๙] พระราชาควรทราบความเจริญและความเสื่อมด้วยพระองค์เอง
ควรทรงทราบสิ่งที่ทรงกระทำแล้วและยังมิได้ทรงกระทำ
ด้วยพระองค์เอง พึงข่มคนที่ควรข่ม ยกย่องคนที่ควรยกย่อง
[๒๐] ขอเดชะพระองค์ผู้เป็นจอมทัพรถ
ขอพระองค์ทรงโปรดพร่ำสอนสิ่งที่เป็นประโยชน์
แก่ชาวชนบทด้วยพระองค์เอง
ข้าราชการผู้ไม่มีธรรมที่ทรงใช้สอยอย่าได้ทำพระราชทรัพย์
และรัฐสีมาของพระองค์ให้พินาศเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๗. จัตตาลีสนิบาต] ๑. เตสกุณชาดก (๕๒๑)
[๒๑] อนึ่ง พระองค์อย่าทรงกระทำ
หรือตรัสใช้ให้ผู้อื่นกระทำราชกิจด้วยความเร่งด่วน
เพราะการงานที่ทำด้วยความเร่งด่วนไม่ดีเลย
คนโง่ย่อมเดือดร้อนในภายหลังเพราะการกระทำเช่นนั้น
[๒๒] ขอพระทัยของพระองค์อย่าทรงล่วงเลยกุศล
ขอพระองค์อย่าทรงปล่อยพระทัยให้ขุ่นเคืองเกรี้ยวกราดนัก
เพราะว่าสกุลทั้งหลายที่มั่งคั่งมากมาย
ถึงความไม่เป็นสกุลเพราะความโกรธ
[๒๓] ขอเดชะเสด็จพ่อ ขอพระองค์อย่าทรงให้ประชาชน
หยั่งลงเพื่อความหายนะ เพราะเข้าพระทัยว่า เราเป็นใหญ่
ขอพวกสตรีและบุรุษของพระองค์อย่าได้มีความทุกข์เลย
[๒๔] พระราชาผู้ปราศจากอาการขนพองสยองเกล้า
มีพระทัยใฝ่หาแต่กาม โภคะทั้งปวงจักพินาศไป
ข้อนั้นท่านกล่าวว่า เป็นความทุกข์ของพระราชา
[๒๕] ข้อความเหล่านั้นที่หม่อมฉันกล่าวแก้ในปัญหาของเสด็จพ่อ
นั้นเป็นวัตตบท ข้อนี้แลเป็นอนุสาสนีสำหรับเสด็จพ่อ
ขอเดชะพระมหาราช บัดนี้
เสด็จพ่อพึงทรงขยันหมั่นบำเพ็ญบุญ
อย่าทรงเป็นนักเลง อย่าทรงล้างผลาญพระราชทรัพย์
ควรทรงเป็นผู้มีศีล เพราะคนทุศีลต้องตกนรก
(พระราชาตรัสถามปัญหากับนกชัมพุกบัณฑิตว่า)
[๒๖] พ่อชัมพุกะ พ่อได้ถามโกสิยโคตรแล้ว
และแม่กุณฑลินีพ่อก็ได้ถามแล้วเช่นกัน
คราวนี้ พ่อจงบอกกำลังอันสูงสุดกว่ากำลังทั้งหลายบ้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๗. จัตตาลีสนิบาต] ๑. เตสกุณชาดก (๕๒๑)
(นกชัมพุกบัณฑิตแสดงธรรมแก่พระราชาว่า)
[๒๗] ในโลกมีกำลังอยู่ ๕ ประการ๑มีอยู่ในบุรุษ
ผู้มีอัธยาศัยกว้างขวาง บรรดากำลังทั้ง ๕ ประการนั้น
ขึ้นชื่อว่ากำลังแขนท่านกล่าวว่า เป็นกำลังสุดท้าย
[๒๘] ขอเดชะพระองค์ผู้ทรงพระชนมายุยืนนาน
ส่วนกำลังแห่งโภคะท่านกล่าวว่า เป็นกำลังที่ ๒
และกำลังแห่งอำมาตย์ท่านกล่าวว่า เป็นกำลังที่ ๓
[๒๙] อนึ่ง กำลังแห่งชาติสกุลอันยิ่งนั้น
เป็นกำลังที่ ๔ อย่างไม่ต้องสงสัย
กำลังทั้งหมด ๔ ประการเหล่านั้นบัณฑิตย่อมยึดถือไว้ได้
[๓๐] กำลังปัญญานั้นเป็นกำลังประเสริฐสุด
เป็นยอดกำลังกว่ากำลังทั้งหลาย
บัณฑิตผู้มีกำลังปัญญาสนับสนุนย่อมประสบประโยชน์
[๓๑] แม้ถึงคนมีปัญญาทรามจะได้แผ่นดินที่อุดมสมบูรณ์ก็จริง
คนอื่นผู้มีปัญญาย่อมกดขี่เขาซึ่งไม่ประสงค์จะให้
ยึดครองแผ่นดินนั้นเสีย
[๓๒] ขอเดชะพระองค์ผู้เป็นเจ้าแห่งชนชาวกาสี
ถึงกษัตริย์แม้อุบัติในสกุลอันสูงยิ่ง
ได้ราชสมบัติแล้ว แต่มีปัญญาทราม
จะดำรงพระชนม์ชีพอยู่ด้วยโภคะแม้ทั้งปวงหาได้ไม่
[๓๓] ปัญญาเท่านั้นเป็นเครื่องวินิจฉัยเรื่องที่ได้ฟัง
ปัญญาเป็นเหตุให้เกียรติยศชื่อเสียงเจริญ
นรชนในโลกนี้ประกอบด้วยปัญญาแล้ว
แม้เมื่อเกิดทุกข์ก็ประสบสุขได้

เชิงอรรถ :
๑ กำลัง ๕ คือ (๑) กำลังกาย (๒) กำลังโภคทรัพย์ (๓) กำลังอำมาตย์ (๔) กำลังชาติตระกูล (กษัตริย์)
(๕) กำลังปัญญา (ขุ.ชา.อ. ๗/๒๗/๒๗๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๕๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๗. จัตตาลีสนิบาต] ๑. เตสกุณชาดก (๕๒๑)
[๓๔] ส่วนคนบางคนไม่ตั้งใจฟังด้วยดี
ไม่อาศัยท่านผู้เป็นพหูสูต ซึ่งตั้งอยู่ในธรรม
ไม่ไตร่ตรองเหตุผล ย่อมไม่ได้ลุถึงปัญญา
[๓๕] อนึ่ง ผู้ใดรู้จักจำแนกธรรม ลุกขึ้นในกาลที่เหมาะสม
ไม่เกียจคร้าน บากบั่นตามกาลเวลา ผลงานของผู้นั้นย่อมสำเร็จ
[๓๖] ประโยชน์ของบุคคลผู้มิใช่เป็นบ่อเกิดแห่งศีล
ผู้คบหาบุคคลผู้มิใช่บ่อเกิดแห่งศีล
ผู้มีปกติเบื่อหน่ายการทำงาน ย่อมไม่เผล็ดผลโดยชอบ
[๓๗] ส่วนประโยชน์ของบุคคลผู้ประกอบธรรมอันเป็นภายใน
ผู้คบหาบุคคลผู้เป็นบ่อเกิดแห่งศีลเช่นนั้น
มีปกติไม่เบื่อหน่ายการทำงาน ย่อมเผล็ดผลโดยชอบ
[๓๘] ขอเดชะเสด็จพ่อ ขอเสด็จพ่อจงทรงใฝ่หาปัญญา
คือการตามประกอบความเพียรในเหตุที่ควรประกอบ
และใฝ่หาการอนุรักษ์ทรัพย์ที่ทรงรวบรวมไว้ทั้ง ๒ อย่างนั้นเถิด
อย่าทรงทำลายทรัพย์ด้วยเหตุอันไม่สมควรเลย
เพราะคนมีปัญญาทรามย่อมล่มจม
เหมือนเรือนไม้อ้อ เพราะการกระทำอันไม่สมควร
(พระโพธิสัตว์พรรณนากำลัง ๕ ประการนี้แล้ว ยกกำลังคือปัญญาขึ้นกราบ
ทูลแด่พระราชาอีกว่า)
[๓๙] ขอเดชะพระมหาราชผู้เป็นกษัตริย์ ขอพระองค์โปรด
ทรงประพฤติธรรมในพระราชมารดาและพระราชบิดาเถิด
ครั้นทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์
[๔๐] ขอเดชะพระมหาราชผู้เป็นกษัตริย์ ขอพระองค์โปรด
ทรงประพฤติธรรมในพระโอรสและพระชายาเถิด
ครั้นทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๗. จัตตาลีสนิบาต] ๑. เตสกุณชาดก (๕๒๑)
[๔๑] ขอเดชะพระมหาราชผู้เป็นกษัตริย์ ขอพระองค์โปรด
ทรงประพฤติธรรมในหมู่มิตรและอำมาตย์เถิด
ครั้นทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์
[๔๒] ขอเดชะพระมหาราชผู้เป็นกษัตริย์ ขอพระองค์โปรด
ทรงประพฤติธรรมในราชพาหนะและพลนิกายเถิด
ครั้นทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์
[๔๓] ขอเดชะพระมหาราชผู้เป็นกษัตริย์ ขอพระองค์โปรด
ทรงประพฤติธรรมในชาวบ้านและชาวนิคมเถิด
ครั้นทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์
[๔๔] ขอเดชะพระมหาราชผู้เป็นกษัตริย์ ขอพระองค์โปรด
ทรงประพฤติธรรมในชาวแคว้นและชาวชนบทเถิด
ครั้นทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์
[๔๕] ขอเดชะพระมหาราชผู้เป็นกษัตริย์ ขอพระองค์โปรด
ทรงประพฤติธรรมในสมณะและพราหมณ์ทั้งหลายเถิด
ครั้นทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์
[๔๖] ขอเดชะพระมหาราชผู้เป็นกษัตริย์ ขอพระองค์โปรด
ทรงประพฤติธรรมในหมู่เนื้อและสัตว์ปีกทั้งหลายเถิด
ครั้นทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์
[๔๗] ขอเดชะพระมหาราชผู้เป็นกษัตริย์
ขอพระองค์โปรดทรงประพฤติธรรม
เพราะธรรมที่บุคคลประพฤติแล้วนำความสุขมาให้
ครั้นทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์
[๔๘] ขอเดชะพระมหาราช ขอพระองค์โปรดทรงประพฤติธรรมเถิด
เพราะเทวดาพร้อมทั้งพระอินทร์และพระพรหม
ถึงทิพยสถานได้ด้วยธรรมที่ตนประพฤติดีแล้ว
ขอเดชะ ขอพระองค์อย่าทรงประมาทธรรมเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๗. จัตตาลีสนิบาต] ๒. สรภังคชาดก (๕๒๒)
(พระโพธิสัตว์กล่าวคาถาแสดงจริยธรรม ๑๐ ประการนี้แล้วจึงโอวาทให้ยิ่งขึ้น
ไปว่า)
[๔๙] ข้อความเหล่านั้นที่ข้าพระองค์กล่าวแก้ในปัญหาของเสด็จพ่อ
นั้นแลเป็นวัตตบท ข้อนี้เป็นอนุสาสนีสำหรับเสด็จพ่อ
ขอเสด็จพ่อโปรดทรงคบหาคนมีปัญญา จงทรงเป็นผู้มีกัลยาณธรรม
ทรงทราบความข้อนั้นด้วยพระองค์เองแล้ว
โปรดทรงปฏิบัติให้ครบถ้วนเถิด
เตสกุณชาดกที่ ๑ จบ

๒. สรภังคชาดก (๕๒๒)
ว่าด้วยสรภังคดาบสแก้ปัญหา
(อนุสิสสดาบสถือหม้อจะไปตักน้ำได้พบพระราชา ๓ พระองค์ จึงทูลถามว่า)
[๕๐] ท่านทั้งหลายเป็นใครกันหนอ ประดับเครื่องอลังการ
สวมใส่ต่างหู นุ่งห่มเรียบร้อย เหน็บพระขรรค์มีด้ามประดับ
ด้วยแก้วไพฑูรย์และแก้วมุกดา ยืนอยู่บนรถอย่างองอาจ
ในมนุษยโลกเขารู้จักพวกท่านว่าอย่างไร
(ในพระราชาทั้ง ๓ องค์ พระเจ้าอัฏฐกะตรัสกับท่านอนุสิสสดาบสว่า)
[๕๑] ข้าพเจ้าชื่ออัฏฐกะ ท่านผู้นี้คือพระเจ้าภีมรถ
ส่วนท่านผู้นี้คือพระเจ้ากาลิงคะผู้มีพระเกียรติยศระบือไปทั่ว
พวกข้าพเจ้ามา ณ ที่นี่เพื่อจะเยี่ยมฤๅษีทั้งหลาย
ผู้มีความสำรวมเป็นอันดี และเพื่อที่จะถามปัญหา
(อนุสิสสดาบสปฏิสันถารกับพระราชาแล้วกราบทูลท้าวสักกเทวราชผู้เสด็จมา
เยี่ยมว่า)
[๕๒] ท่านยืนอยู่กลางหาวราวกะพระจันทร์เพ็ญ
ลอยเด่นอยู่ท่ามกลางเวหาในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ
ท่านผู้มีคุณน่าบูชา ข้าพเจ้าขอถามท่านผู้มีอานุภาพมากว่า
ในมนุษยโลกเขารู้จักท่านว่าอย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๗. จัตตาลีสนิบาต] ๒. สรภังคชาดก (๕๒๒)
(ท้าวสักกเทวราชสดับดังนั้นแล้วจึงตรัสว่า)
[๕๓] ท่านผู้ใดในเทวโลกเขาเรียกกันว่า สุชัมบดี
ท่านผู้นั้นในมนุษยโลกเขาเรียกกันว่า มัฆวาน
ข้าพเจ้านั้นเป็นเทพราชามาถึงที่นี้ในวันนี้
เพื่อจะเยี่ยมฤๅษีทั้งหลายผู้มีความสำรวมเป็นอันดี
(ท้าวสักกเทวราชเสด็จลงแล้วเข้าไปหาหมู่ฤๅษี ยืนประคองอัญชลีไหว้อยู่ ตรัสว่า)
[๕๔] ฤๅษีของพวกเรามีฤทธิ์มาก ประกอบด้วยคุณคือฤทธิ์
ปรากฏในที่ไกล ข้าพเจ้ามีจิตเลื่อมใส
ขอนมัสการพระคุณเจ้าผู้ประเสริฐกว่ามนุษย์ทั้งหลายในมนุษยโลกนี้
(ต่อมาอนุสิสสดาบสเห็นท้าวสักกเทวราชประทับนั่งใต้ลมของหมู่ฤๅษี จึง
กราบทูลว่า)
[๕๕] กลิ่นของฤๅษีผู้ที่บวชมานานย่อมออกจากกายฟุ้งไปตามลม
ขอถวายพระพร ท้าวสหัสสนัยน์เทวราช
ขอมหาบพิตรเสด็จถอยไปจากที่นี่
เพราะกลิ่นของฤๅษีทั้งหลายไม่สะอาด
(ท้าวสักกเทวราชตรัสว่า)
[๕๖] กลิ่นของฤๅษีผู้ที่บวชมานาน
ขอจงออกจากกายฟุ้งไปตามลมเถิด
พระคุณเจ้าผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายจำนงหวังกลิ่นนั้น
ดุจพวงบุปผชาติอันวิจิตรมีกลิ่นหอม
เพราะเทวดาทั้งหลายมิได้มีความสำคัญกลิ่นนี้ว่าปฏิกูล
(อนุสิสสดาบสลุกจากอาสนะ ขอโอกาสกับหมู่ฤๅษี กล่าวว่า)
[๕๗] ท้าวมัฆวาน สุชัมบดีเทวราช องค์ปุรินททะจอมเทพ
ผู้เป็นใหญ่กว่าภูตพระองค์นั้น ทรงพระยศ ย่ำยีหมู่อสูร
ทรงรอคอยโอกาสเพื่อจะตรัสถามปัญหา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖๐๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๗. จัตตาลีสนิบาต] ๒. สรภังคชาดก (๕๒๒)
[๕๘] บรรดาฤๅษีเหล่านี้ผู้เป็นบัณฑิต ณ ที่นี่
ใครเล่าหนอถูกถามแล้วจักพยากรณ์ปัญหาอันละเอียดสุขุม
ของพระราชาผู้เป็นใหญ่กว่ามนุษย์ทั้ง ๓ พระองค์
และของท้าววาสวะจอมเทพได้
(หมู่ฤๅษีได้ฟังดังนั้นแล้วจึงกล่าวแนะนำว่า)
[๕๙] ฤๅษีตนนี้ชื่อสรภังคะ มีตบะ เว้นจากเมถุนธรรมตั้งแต่เกิด
เป็นบุตรของปุโรหิตาจารย์ ได้รับการฝึกฝนมาเป็นอันดี
ท่านจักพยากรณ์ปัญหาทั้งหลายของพระราชาเหล่านั้นได้
(อนุสิสสดาบสยอมรับไหว้สรภังคดาบสแล้วเมื่อจะโอวาท จึงกล่าวว่า)
[๖๐] ท่านโกณฑัญญะ นิมนต์ท่านพยากรณ์ปัญหาทั้งหลายเถิด
ฤๅษีทั้งหลายผู้เป็นคนดีขอร้องท่าน
ท่านโกณฑัญญะ ภาระนี้ย่อมมาถึงท่านผู้เจริญด้วยปัญญา
นี้เป็นธรรมดาในมนุษย์ทั้งหลาย
(ต่อมาพระมหาบุรุษสรภังคดาบสเมื่อให้โอกาส จึงกล่าวว่า)
[๖๑] มหาบพิตรผู้เจริญทั้งหลาย อาตมาให้โอกาส
ขอเชิญตรัสถามปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่งตามพระทัยปรารถนาเถิด
เพราะอาตมารู้จักทั้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยตนเอง
จักพยากรณ์ปัญหาข้อนั้น ๆ ถวายมหาบพิตร
(พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศความข้อนั้น จึงตรัสว่า)
[๖๒] ลำดับนั้นแล ท้าวมัฆวานสักกเทวราช องค์ปุรินททะทรงเห็น
ประโยชน์ได้ตรัสถามปัญหาข้อแรกตามที่พระทัยปรารถนาว่า
[๖๓] ในกาลบางคราว บุคคลฆ่าอะไร จึงจะไม่เศร้าโศก
ฤๅษีทั้งหลายสรรเสริญการละอะไร
บุคคลควรอดทนคำหยาบคายที่ใครในโลกนี้กล่าว
นิมนต์บอกเนื้อความข้อนั้นแก่โยมเถิด ท่านโกณฑัญญะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๗. จัตตาลีสนิบาต] ๒. สรภังคชาดก (๕๒๒)
(ต่อแต่นั้นพระมหาสัตว์สรภังคดาบสเมื่อจะตอบปัญหา จึงกล่าวว่า)
[๖๔] ในกาลบางคราว บุคคลฆ่าความโกรธเสียได้จึงไม่เศร้าโศก
ฤๅษีทั้งหลายสรรเสริญการละความลบหลู่
บุคคลควรอดทนคำหยาบคายที่ทุกคนกล่าว
สัตบุรุษทั้งหลายกล่าวความอดทนนั้นว่า ยอดเยี่ยม
(ท้าวสักกะตรัสว่า)
[๖๕] คำของบุคคลทั้ง ๒ จำพวก คือ
คนที่เสมอกัน ๑ คนที่ประเสริฐกว่า ๑
บุคคลอาจจะอดกลั้นได้
แต่บุคคลจะพึงอดทนถ้อยคำของคนที่เลวกว่าได้อย่างไรหนอ
นิมนต์บอกเนื้อความข้อนั้นแก่โยมเถิด ท่านโกณฑัญญะ
(สรภังคดาบสตอบว่า)
[๖๖] แท้จริง บุคคลอดทนถ้อยคำของคนประเสริฐกว่าได้
เพราะความกลัว
อดทนถ้อยคำของคนเสมอกันได้เพราะการแข่งขันเป็นเหตุ
แต่ผู้ใดพึงอดทนถ้อยคำของคนที่เลวกว่าในโลกนี้ได้
ความอดทนนั้นของบุคคลนั้นสัตบุรุษกล่าวว่า ยอดเยี่ยม
(ต่อมาพระมหาสัตว์สรภังคดาบสตอบท้าวสักกะแล้ว เมื่อจะประกาศสภาพที่
สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้ประเสริฐเป็นต้นเป็นสภาพที่รู้ได้ยากด้วยอาการเพียงเห็นรูปร่าง
เว้นแต่การอยู่ร่วมกัน จึงกล่าวคาถาว่า)
[๖๗] สภาวะที่ปกปิดไว้ด้วยอิริยาบถทั้ง ๔
บุคคลจะรู้ได้อย่างไรว่า ประเสริฐกว่า เสมอกัน หรือเลวกว่า
เพราะว่าสัตบุรุษทั้งหลายย่อมเที่ยวไปด้วยสภาวะที่ผิดรูป
เพราะเหตุนั้น บุคคลควรอดทนถ้อยคำของคนทั้งปวง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๗. จัตตาลีสนิบาต] ๒. สรภังคชาดก (๕๒๒)
(เมื่อท้าวสักกะหมดความสงสัย พระมหาสัตว์สรภังคดาบสจึงกล่าวคาถา
ทูลว่า)
[๖๘] สัตบุรุษผู้มีขันติพึงได้ประโยชน์อันใด
ประโยชน์นั้นเสนาแม้หมู่ใหญ่พร้อมด้วยพระราชารบอยู่ก็ไม่พึงได้
เวรทั้งหลายย่อมสงบระงับได้ด้วยกำลังแห่งขันติ
(ต่อมาท้าวสักกเทวราชทรงทราบอัธยาศัยของพระราชาทั้งหลายแล้วจึงตรัสถาม
ความสงสัยของพระราชาเหล่านั้นว่า)
[๖๙] โยมขออนุโมทนาคำสุภาษิตของพระคุณเจ้า
โยมขอถามปัญหาข้ออื่นกับพระคุณเจ้า
ขอพระคุณเจ้าโปรดกล่าวแก้ปัญหานั้น
ขอพระคุณเจ้าโปรดบอกถึงคติของพระราชาทั้งหลาย
ผู้กระทำบาปกรรมอันร้ายแรง คือ
พระเจ้าทัณฑกี ๑ พระเจ้านาฬิกีระ ๑
พระเจ้าอัชชุนะ ๑ พระเจ้ากลาพุ ๑
พระราชาทั้งหลายเหล่านั้นเบียดเบียนฤๅษี
พากันไปเกิด ณ ที่ไหน
(พระมหาสัตว์สรภังคดาบสตอบปัญหาของท้าวสักกะว่า)
[๗๐] ก็พระเจ้าทัณฑกีได้ลงโทษกีสวัจฉดาบส เป็นผู้ตัดมูลราก
พร้อมทั้งอาณาประชาราษฏร์หมกไหม้อยู่ในนรกชื่อกุกกุฬะ
ถ่านเพลิงที่ปราศจากเปลวเพลิงตกต้องกายของพระองค์
[๗๑] พระราชาพระองค์ใดได้ทรงเบียดเบียนบรรพชิตทั้งหลาย
ผู้สำรวม ผู้กล่าวธรรม ผู้สงบ ไม่ประทุษร้าย
พระราชาพระองค์นั้นทรงพระนามว่า พระเจ้านาฬิกีระ
สุนัขทั้งหลายพากันรุมกัดกิน ทรงดิ้นรนอยู่ในปรโลก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๗. จัตตาลีสนิบาต] ๒. สรภังคชาดก (๕๒๒)
[๗๒] อนึ่ง พระเจ้าอัชชุนะทรงตกนรกชื่อสัตติสูละ
ทรงมีพระเศียรห้อยลง พระบาทชี้ขึ้นเบื้องบน
เพราะทรงเบียดเบียนพระอังคีรสโคตมฤๅษีผู้มีขันติ
มีตบะ ประพฤติพรหมจรรย์มาช้านาน
[๗๓] อนึ่ง พระราชาพระองค์ใดได้ทรงตัดบรรพชิตผู้กล่าวขันติ
ผู้สงบ ไม่ประทุษร้าย ขาดออกเป็นท่อน ๆ
พระราชาพระองค์นั้นทรงพระนามว่าพระเจ้ากลาพุ
ตกอเวจีมหานรกซึ่งมีความร้อนร้ายแรง
มีเวทนาเผ็ดร้อน น่าหวาดกลัว หมกไหม้อยู่
[๗๔] บัณฑิตได้ฟังเรื่องนรกเหล่านี้
และนรกเหล่าอื่นที่ชั่วช้ากว่านี้ ณ ที่นี่แล้ว
พึงประพฤติธรรมในสมณะและพราหมณ์ทั้งหลาย
ผู้กระทำอย่างนี้ย่อมเข้าถึงแดนสวรรค์
(ท้าวสักกะตรัสถามปัญหา ๔ ข้อที่เหลือว่า)
[๗๕] โยมขออนุโมทนาคำสุภาษิตของพระคุณเจ้า
แต่โยมขอถามปัญหาข้ออื่นกับพระคุณเจ้า
ขอพระคุณเจ้าโปรดกล่าวแก้ปัญหานั้น
บัณฑิตเรียกคนเช่นไรว่า มีศีล
เรียกคนเช่นไรว่า มีปัญญา
เรียกคนเช่นไรว่า สัตบุรุษ
สิริย่อมไม่ละคนเช่นไรหนอ
(พระมหาสัตว์สรภังคดาบสตอบปัญหาของท้าวสักกะว่า)
[๗๖] บุคคลใดในโลกนี้ สำรวมกาย วาจา ใจ
ไม่ทำบาปกรรมอะไร ไม่พูดเหลาะแหละเพราะเหตุแห่งตน
บัณฑิตเรียกคนเช่นนั้นว่า ผู้มีศีล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๗. จัตตาลีสนิบาต] ๒. สรภังคชาดก (๕๒๒)
[๗๗] บุคคลใดคิดปัญหาที่ลึกซึ้งได้ด้วยใจ
ไม่ทำกรรมอันหยาบช้าซึ่งหาประโยชน์เกื้อกูลมิได้
ไม่ตัดรอนประโยชน์ที่มาถึงตามกาลให้เสียไป
บัณฑิตเรียกคนเช่นนั้นว่า ผู้มีปัญญา
[๗๘] บุคคลใดเป็นคนกตัญญูกตเวที เป็นปราชญ์
มีกัลยาณมิตร และมีความภักดีมั่นคง
ช่วยกระทำกิจของมิตรที่ตกยากด้วยความเต็มใจ
บัณฑิตเรียกคนเช่นนั้นว่า สัตบุรุษ
[๗๙] บุคคลใดประกอบด้วยคุณสมบัติทั้งปวงเหล่านี้
มีศรัทธา อ่อนโยน จำแนกแจกทานด้วยดี
รู้ความประสงค์ของผู้ขอ สิริย่อมไม่ละคนเช่นนั้น
ผู้มีปกติสงเคราะห์ มีวาจาอ่อนหวาน สละสลวย
(ท้าวสักกะตรัสว่า)
[๘๐] โยมขออนุโมทนาคำสุภาษิตของพระคุณเจ้า
แต่โยมขอถามปัญหาข้ออื่นกับพระคุณเจ้า
ขอพระคุณเจ้าโปรดกล่าวแก้ปัญหานั้น
ศีล ๑ สิริ ๑ ธรรมของสัตบุรุษ ๑ ปัญญา ๑
บัณฑิตกล่าวข้อไหนว่า ประเสริฐกว่า
(พระมหาสัตว์สรภังคดาบสตอบว่า)
[๘๑] ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายกล่าวว่า ปัญญาแลประเสริฐที่สุด
ดุจดวงจันทร์ราชาแห่งนักษัตรประเสริฐกว่าดวงดาวทั้งหลาย
ศีล สิริ และแม้ธรรมของสัตบุรุษย่อมเป็นไปตามบุคคลผู้มีปัญญา
(ท้าวสักกะตรัสว่า)
[๘๒] โยมขออนุโมทนาคำสุภาษิตของพระคุณเจ้า
แต่โยมขอถามปัญหาข้ออื่นกับพระคุณเจ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖๐๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๗. จัตตาลีสนิบาต] ๒. สรภังคชาดก (๕๒๒)
ขอพระคุณเจ้าโปรดกล่าวแก้ปัญหานั้น
บุคคลในโลกนี้กระทำอย่างไร กระทำกรรมอะไร
ประพฤติกรรมอะไร คบหาคนอย่างไร จึงจะได้ปัญญา
บัดนี้ ขอพระคุณเจ้าโปรดบอกปฏิปทาแห่งปัญญาว่า
บุคคลกระทำอย่างไร จึงจะชื่อว่าผู้มีปัญญา
(พระมหาสัตว์สรภังคดาบสกล่าวว่า)
[๘๓] บุคคลควรคบหาท่านผู้เจริญด้วยปัญญา
มีความรู้ละเอียดลออเป็นพหูสูต
ควรศึกษาเล่าเรียน สอบถาม ฟังคำสุภาษิตโดยเคารพ
บุคคลกระทำอย่างนี้ จึงจะชื่อว่าผู้มีปัญญา
[๘๔] ท่านผู้มีปัญญาพิจารณาเห็นกามคุณ
โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และโดยความเป็นโรค
เมื่อเห็นแจ้งอย่างนี้ จึงละความพอใจในกามทั้งหลาย
ซึ่งเป็นทุกข์เป็นภัยอันใหญ่หลวงเสียได้
[๘๕] เขาปราศจากราคะแล้ว พึงกำจัดโทสะได้
เจริญเมตตาจิตหาประมาณมิได้
วางอาชญาในสัตว์ทุกจำพวก
เป็นผู้ไม่ถูกนินทา เข้าถึงพรหมสถาน
(พระมหาสัตว์สรภังคดาบสทราบว่า พระราชาทั้ง ๓ พระองค์ละความกำหนัด
ยินดีในเบญจกามคุณได้แล้ว จึงกล่าวคาถาด้วยอำนาจความร่าเริงของพระราชา
เหล่านั้นว่า)
[๘๖] ขอถวายพระพรมหาบพิตรอัฏฐกะ
การเสด็จมาของพระองค์ ของพระเจ้าภีมรถ
และของพระเจ้ากาลิงคะผู้มีพระยศระบือไปทั่ว
ได้มีความสำเร็จอย่างใหญ่หลวง
ทุกพระองค์ทรงละกามราคะได้แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๗. จัตตาลีสนิบาต] ๓. อลัมพุสาชาดก (๕๒๓)
(พระราชาทั้งหลายทรงชมเชยพระมหาสัตว์สรภังคดาบสว่า)
[๘๗] พระคุณเจ้ารู้จิตของผู้อื่นว่า โยมทุกคนละกามราคะได้แล้ว
ข้อนั้นเป็นจริงอย่างนั้นแหละ
ขอพระคุณเจ้าจงกระทำโอกาสเพื่ออนุเคราะห์
โดยประการที่โยมทุกคนจะบรรลุถึงคติของพระคุณเจ้าเถิด
(พระมหาสัตว์สรภังคดาบสให้โอกาสแก่พระราชาทั้ง ๓ พระองค์ว่า)
[๘๘] อาตมาจะกระทำโอกาสเพื่ออนุเคราะห์
เพราะมหาบพิตรทั้งหลายทรงละกามราคะได้แล้วอย่างแท้จริง
ขอมหาบพิตรทั้งหลายทรงแผ่ปีติที่ไพบูลย์ให้แผ่ซ่านไปทั่วพระวรกาย
โดยประการที่จะบรรลุถึงคติของอาตมาเถิด
(พระราชาเหล่านั้นเมื่อจะทรงยอมรับ จึงได้ตรัสว่า)
[๘๙] ท่านผู้มีปัญญาเพียงดังแผ่นดิน พระคุณเจ้าจะกล่าวคำใดใด
โยมทั้งหลายจะกระทำตามคำพร่ำสอนของพระคุณเจ้านั้นทุกอย่าง
จะแผ่ปีติที่ไพบูลย์ไปทั่วกาย
โดยประการที่จะบรรลุถึงคติของพระคุณเจ้า
(ลำดับนั้น พระมหาสัตว์สรภังคดาบสให้พระราชาเหล่านั้นพร้อมทั้งพลนิกาย
บวช เมื่อจะส่งหมู่ฤๅษีไป จึงกล่าวว่า)
[๙๐] ท่านผู้เจริญทั้งหลาย พวกเราทำการบูชา
กีสวัจฉดาบสอย่างนี้แล้ว
ขอฤๅษีทั้งหลายผู้เป็นคนดี จงไปยังที่อยู่ของตนเถิด
ท่านทั้งหลายจงยินดีในฌาน มีจิตตั้งมั่นในกาลทุกเมื่อ
ความยินดีนั้นเป็นคุณชาติประเสริฐสุดสำหรับบรรพชิต
(พระศาสดาทรงทราบความนี้แล้วได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า)
[๙๑] ครั้นได้สดับคาถาซึ่งประกอบด้วยประโยชน์อย่างยิ่ง
ที่ฤๅษีผู้เป็นบัณฑิตกล่าวดีแล้ว เทวดาทั้งหลายผู้มียศเหล่านั้น
เกิดปีติและโสมนัสอนุโมทนาอยู่ ได้พากันหลีกไปยังเทพบุรี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๗. จัตตาลีสนิบาต] ๓. อลัมพุสาชาดก (๕๒๓)
[๙๒] คาถาที่ฤๅษีผู้เป็นบัณฑิตกล่าวดีแล้วเหล่านี้
มีอรรถและพยัญชนะอันดีงาม
ผู้ใดผู้หนึ่งพึงสดับคาถาเหล่านั้นให้เป็นประโยชน์
พึงได้คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลาย
ครั้นได้แล้ว พึงบรรลุสถานที่ที่พญามัจจุราชมองไม่เห็น
(พระศาสดาครั้นทรงรวบยอดเทศนาด้วยพระอรหัตอย่างนี้แล้วประกาศสัจจะ
ทั้งหลาย ทรงประชุมชาดกว่า)
[๙๓] สาลิสสรดาบสคือสารีบุตร เมณฑิสสรดาบสคือกัสสปะ
ปัพพตดาบสคืออนุรุทธะ เทวิลดาบสคือกัจจายนะ
[๙๔] อนุสิสสดาบสคืออานนท์ กีสวัจฉดาบสคือโกลิตะ
นารทดาบสคืออุทายีเถระ บริษัททั้งหลายคือพุทธบริษัท
ส่วนสรภังคโพธิสัตว์คือเราตถาคต
เธอทั้งหลายจงทรงจำชาดกไว้อย่างนี้แล
สรภังคชาดกที่ ๒ จบ

๓. อลัมพุสาชาดก (๕๒๓)
ว่าด้วยเทพธิดาอลัมพุสา
(พระศาสดาเมื่อจะทรงทำเนื้อความนั้นให้แจ่มแจ้ง จึงตรัสว่า)
[๙๕] ครั้งนั้น พระอินทร์ผู้เป็นใหญ่ทรงปราบปรามวัตรอสูร
ซึ่งเป็นพระบิดาแห่งเหล่าเทพบุตรผู้มีชัย
ทรงเล็งเห็นอลัมพุสาเทพกัญญาว่ามีความสามารถ
ณ สุธรรมาเทวสถานแล้วจึงมีเทวโองการว่า
[๙๖] แม่นางมิสสาเทพกัญญา เทวดาชั้นดาวดึงส์
พร้อมทั้งพระอินทร์ขอร้องแม่นาง
แม่นางอลัมพุสาผู้สามารถจะประเล้าประโลมฤๅษีได้
แม่นางจงไปหาอิสิสิงคดาบสเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๗. จัตตาลีสนิบาต] ๓. อลัมพุสาชาดก (๕๒๓)
(ท้าวสักกะทรงพระบัญชานางอลัมพุสาแล้วตรัสว่า)
[๙๗] ดาบสองค์นี้เป็นผู้มีวัตร ประพฤติพรหมจรรย์
ยินดียิ่งในนิพพาน เป็นผู้เจริญด้วยคุณธรรม
อย่าล่วงเลยพวกเราไปก่อนเลย
เธอจงกั้นทางที่จะไปสู่เทวโลกของท่านไว้
(นางอลัมพุสาเทพกัญญาได้ฟังพระราชดำรัสดังนั้น จึงตรัสว่า)
[๙๘] ขอเดชะพระเทวราช พระองค์ทรงทำอะไรอยู่
พระองค์จึงทรงเห็นแต่หม่อมฉันเท่านั้นว่า
แม่นางผู้สามารถจะประเล้าประโลมฤๅษีได้
เธอจงไป นางเทพอัปสรแม้อื่นก็มีอยู่
[๙๙] นางเทพอัปสรผู้ทัดเทียมกับหม่อมฉัน
และประเสริฐกว่าหม่อมฉัน ในอโศกนันทวันก็มีอยู่
ขอวาระแห่งการไปจงมีแก่นางเทพอัปสรเหล่านั้นเถิด
แม้นางเทพอัปสรเหล่านั้นก็จงไปประเล้าประโลมเถิด
(ท้าวสักกเทวราชได้ตรัสว่า)
[๑๐๐] เธอพูดถูกต้องอย่างแท้จริง
ถึงนางเทพอัปสรเหล่าอื่นที่ทัดเทียมกับเธอ
และประเสริฐกว่าเธอในอโศกนันทวันก็มีอยู่
[๑๐๑] แม่นางผู้มีความงามทั่วสรรพางค์กาย
แต่นางเทพอัปสรเหล่านั้นไปแล้ว
ไม่รู้จักการบำเรอชายอย่างที่เธอรู้
[๑๐๒] เชิญไปเถิด แม่นางผู้มีความงาม
เพราะเธอประเสริฐกว่าหญิงทั้งหลาย
เธอจักใช้รูปร่างผิวพรรณของเธอ
นำดาบสมาสู่อำนาจได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๗. จัตตาลีสนิบาต] ๓. อลัมพุสาชาดก (๕๒๓)
(พระนางอลัมพุสาได้ฟังดังนั้นแล้ว จึงกราบทูลว่า)
[๑๐๓] หม่อมฉันถูกพระเทวราชทรงใช้จะไม่ทำก็ไม่ได้
แต่หม่อมฉันหวั่นเกรงการที่จะประเล้าประโลมให้ดาบสนั้นยินดี
เพราะท่านเป็นพราหมณ์ มีเดชสูงส่ง
[๑๐๔] ชนทั้งหลายประเล้าประโลมฤๅษีให้ยินดีแล้วตกนรก
ถึงสังสารวัฏเพราะความงมงายมีจำนวนมิใช่น้อย
เพราะเหตุนั้น หม่อมฉันจึงขนพองสยองเกล้า
(พระศาสดาตรัสว่า)
[๑๐๕] อลัมพุสา มิสสาเทพอัปสร ผู้มีวรรณะน่าใคร่
ปรารถนาเพื่อจะให้อิสิสิงคดาบสคลุกเคล้าระคนด้วยกิเลส
ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้วก็หลีกไป
[๑๐๖] ก็อลัมพุสาเทพอัปสรนั้นได้ลงสู่ป่าที่อิสิสิงคดาบสรักษา
ซึ่งดารดาษด้วยเถาตำลึงสุกมีประมาณกึ่งโยชน์โดยรอบนั้น
[๑๐๗] นางเข้าไปหาอิสิสิงคดาบสผู้กำลังปัดกวาดโรงไฟแต่เช้าตรู่
ก่อนเวลาอาหารเช้า ใกล้เวลาอาทิตย์อุทัย
(ลำดับนั้น ดาบสถามนางว่า)
[๑๐๘] เธอเป็นใครหนอ
รัศมีช่างงามผ่องใสดังสายฟ้า ประดุจดาวประกายพรึก
ประดับกำไลมืออันวิจิตร สวมใส่ต่างหูแก้วมณี
[๑๐๙] มีประกายดุจแสงอาทิตย์ ร่างกายมีกลิ่นหอมด้วยจันทน์เหลือง
ลำขากลมกลึงสวยงาม มีมายามากมาย
กำลังสาวแรกรุ่น น่าทัศนาเชยชม
[๑๑๐] เท้าทั้ง ๒ ของเธออ่อนละมุน สะอาดหมดจด ไม่แหว่งเว้า
ตั้งลงเรียบเสมอด้วยดี ทุกย่างก้าวของเธอน่ารักใคร่
ดึงใจอาตมาให้วาบหวาม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๗. จัตตาลีสนิบาต] ๓. อลัมพุสาชาดก (๕๒๓)
[๑๑๑] อนึ่ง ลำขาของเธอเป็นปล้อง ๆ เหมือนกับงวงช้าง
สะโพกของเธอเกลี้ยงเกลากลมกลึงผึ่งผายสวยงาม
เหมือนแผ่นกระดานสะกา
[๑๑๒] นาภีของเธอตั้งอยู่เรียบร้อยดีเหมือนฝักดอกอุบล
ปรากฏได้แต่ไกลเหมือนเกษรดอกอัญชันเขียว
[๑๑๓] ถันเกิดที่ทรวงอกทั้งคู่หาขั้วมิได้
เต่งเต้าสวยงามทรงเกษียรรสไว้
ไม่หย่อนยาน เสมอเหมือนกับผลน้ำเต้าครึ่งผล
[๑๑๔] ลำคอของเธอยาวประดุจลำคอนางเนื้อทราย
เปล่งปลั่งดั่งพื้นแผ่นทองคำ
ริมฝีปากของเธองามเปล่งปลั่งดั่งลิ้นหัวใจห้องที่ ๔
[๑๑๕] ฟันของเธอทั้งข้างบนข้างล่าง
ขัดสีได้อย่างเลิศด้วยไม้ชำระฟัน
เกิดขึ้น ๒ คราว เป็นฟันที่ปราศจากโทษ ดูสวยงาม
[๑๑๖] ดวงเนตรทั้ง ๒ ของเธอดำขลับ
ตามขอบดวงตาเป็นสีแดง เปล่งปลั่งดั่งเมล็ดมะกล่ำ
ทั้งยาวทั้งกว้าง ดูสวยงาม
[๑๑๗] เส้นผมที่งอกขึ้นที่ศีรษะของเธอไม่ยาวเกินไป
เกลี้ยงเกลาดี ตกแต่งด้วยหวีทองคำ
มีกลิ่นหอมเหมือนกลิ่นจันทน์
[๑๑๘] ชาวนาชาวไร่ คนเลี้ยงโค พ่อค้ามีความสำเร็จ
และฤๅษีผู้มีความสำรวม บำเพ็ญตบะ
มีความบากบั่น มีประมาณเท่าใด
[๑๑๙] ชนมีประมาณเท่านั้นในปฐพีมณฑลนี้
แม้คนหนึ่งที่เสมอเหมือนเธอ อาตมายังไม่เห็น
เธอเป็นใคร เป็นลูกของใครหรือ อาตมาจะรู้จักเธอได้อย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๗. จัตตาลีสนิบาต] ๓. อลัมพุสาชาดก (๕๒๓)
(นางอลัมพุสาเทพกัญญารู้ว่าอิสิสิงคดาบสนั้นหลงใหลแล้ว จึงกล่าวว่า)
[๑๒๐] ท่านกัสสปะผู้เจริญ เมื่อจิตของท่านเป็นไปอย่างนี้แล้ว
ก็ไม่ใช่กาลที่จะเป็นปัญหา มาเถิด สหาย
เราทั้ง ๒ จักอภิรมย์กันในอาศรมของเรา
มาเถิด ดิฉันจักคลุกเคล้าท่าน
ขอท่านเป็นผู้ฉลาดในความยินดีในเบญจกามคุณเถิด
(พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศความข้อนั้นจึงตรัสว่า)
[๑๒๑] อลัมพุสา มิสสาเทพอัปสร ผู้มีวรรณะน่าใคร่
ปรารถนาเพื่อจะให้อิสิสิงคดาบสคลุกเคล้าระคนด้วยกิเลส
ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้วก็หลีกไป
[๑๒๒] ก็ดาบสนั้นตัดความเฉื่อยชาเสียแล้ว รีบออกไปโดยเร็ว
ประชิดตัวนาง ลูบเรือนผมบนศีรษะ
[๑๒๓] เทพอัปสรกัลยาณีผู้มีความสวยสดงดงาม
หันกลับมาสวมกอดดาบสนั้น
นางมีความยินดีที่ดาบสเคลื่อนจากพรหมจรรย์นั้น
ตามที่ท้าวสักกะปรารถนา
[๑๒๔] นางได้มีใจรำลึกถึงพระอินทร์ซึ่งประทับอยู่ในนันทวัน
ท้าวมัฆวานเทพกุญชรทรงทราบความดำริของนางแล้ว
[๑๒๕] ทรงส่งบัลลังก์ทอง พร้อมทั้งเครื่องบริวาร
พร้อมทั้งทับทรวง ๕๐ อัน
และเครื่องปูลาด ๑,๐๐๐ ผืน ไปโดยเร็วพลัน
[๑๒๖] แม่โฉมงามโอบอุ้มดาบสนั้นไว้แนบทรวงอก
กกกอดอยู่ตลอด ๓ ปีบนบัลลังก์นั้น
เป็นเหมือนเพียงครู่เดียวเท่านั้น
[๑๒๗] โดยล่วงไป ๓ ปี ดาบสพราหมณ์จึงสร่างเมา รู้สึกตัว
ได้เห็นต้นไม้เขียวชะอุ่มขึ้นอยู่โดยรอบเรือนไฟ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๗. จัตตาลีสนิบาต] ๓. อลัมพุสาชาดก (๕๒๓)
[๑๒๘] ป่าไม้ผลัดใบใหม่ ออกดอกบานสะพรั่ง
กึกก้องไปด้วยฝูงนกดุเหว่า ครั้นท่านเหลียวมองดูโดยรอบ
ก็หลั่งน้ำตาร้องไห้รำพันว่า
[๑๒๙] เรามิได้บูชาไฟ มิได้สาธยายมนต์
อะไรบันดาลการบูชาไฟให้เสื่อมสิ้นไป
ใครหนอประเล้าประโลมบำเรอจิตของเราในกาลก่อน
[๑๓๐] เมื่อเราอยู่ป่า ผู้ใดหนอมายึดเอาฌานคุณ
ที่เกิดมีพร้อมกับเดชของเราไป
ประดุจยึดเอานาวาที่เต็มเปี่ยมด้วยรัตนะนานาชนิดในท้องทะเลหลวง
(นางอลัมพุสาเทพกัญญาได้ฟังดังนั้น จึงปรากฏกายยืนอยู่กล่าวว่า)
[๑๓๑] ดิฉันถูกท้าวเทวราชทรงใช้มาเพื่อบำเรอท่าน
ได้ใช้จิตฆ่าจิตท่าน เพราะความประมาท ท่านจึงไม่รู้สึกตัว
(อิสิสิงคดาบสได้ฟังนางอลัมพุสาเทพกัญญาแล้ว ระลึกถึงโอวาทที่บิดาให้ไว้
คร่ำครวญอยู่ได้กล่าวว่า)
[๑๓๒] เดิมที พ่อกัสสปะพร่ำสอนถ้อยคำเหล่านี้กับเราว่า
พ่อมาณพ หญิงเปรียบได้กับดอกนารีผล
เจ้าจงรู้จักหญิงเหล่านั้น
[๑๓๓] พ่อกัสสปะดูเหมือนจะเอื้อเอ็นดูเรา
จึงพร่ำสอนเราอย่างนี้ว่า มาณพ เจ้าจงรู้จักหญิงผู้มีฝีที่อก
เจ้าจงรู้จักหญิงเหล่านั้น
[๑๓๔] เรามิได้ทำตามคำสอนของบิดาผู้เจริญนั้น
วันนี้เรานั้นจึงซบเซาอยู่แต่ผู้เดียวในป่าที่หามนุษย์มิได้
[๑๓๕] น่าติเตียนจริงหนอ ชีวิตของเรา
เราจักทำอย่างที่เราเคยเป็นเช่นนั้น
หรือมิฉะนั้นเราก็จักตายเสีย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๗. จัตตาลีสนิบาต] ๓. อลัมพุสาชาดก (๕๒๓)
(พระศาสดาตรัสว่า)
[๑๓๖] อลัมพุสาเทพกัญญา ครั้นทราบเดช ความเพียร
และปัญญาของดาบสนั้น ดำรงมั่นคงแล้ว
จึงจับเท้าทั้งสองของดาบสทูนไว้ที่ศีรษะ
ละล่ำละลักกล่าวกับอิสิสิงคดาบสว่า
[๑๓๗] อย่าโกรธดิฉันเลย ท่านมหาวีระ
อย่าโกรธดิฉันเลย ท่านมหาฤๅษี
ดิฉันบำเพ็ญประโยชน์อันใหญ่หลวงเพื่อเทพชั้นไตรทศผู้มียศ
เพราะเทพบุรีทั้งหมดถูกพระคุณเจ้าทำให้หวั่นไหวในคราวนั้น
(อิสิสิงคดาบสกล่าวคาถาว่า)
[๑๓๘] แม่นางผู้เจริญ ขอทวยเทพชั้นดาวดึงส์
ท้าววาสวะแห่งเทพชั้นไตรทศ และเธอจงเป็นสุข ๆ เถิด
เชิญเธอไปตามสบายเถิด แม่เทพกัญญา
(พระศาสดาตรัสว่า)
[๑๓๙] อลัมพุสาเทพกัญญา ครั้นจับเท้าทั้ง ๒ ของดาบสแล้ว
จึงประคองอัญชลี กระทำประทักษิณดาบสนั้น
แล้วได้หลีกไปจากที่นั้น
[๑๔๐] นางเทพกัญญาขึ้นสู่บัลลังก์ทอง
พร้อมทั้งเครื่องบริวาร พร้อมทั้งทับทรวง ๕๐
และเครื่องปูลาด ๑,๐๐๐ ผืน อันเป็นของนางนั่นเอง
ได้กลับไปในสำนักเทพทั้งหลาย
[๑๔๑] ท้าวสักกะจอมเทพทรงมีปีติและโสมนัส ปลาบปลื้มหฤทัย
ได้พระราชทานพรกับนางเทพกัญญานั้นซึ่งกำลังมา
ราวกับประทีปอันรุ่งเรือง ดุจสายฟ้าแลบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๗. จัตตาลีสนิบาต] ๔. สังขปาลชาดก (๕๒๔)
(นางอลัมพุสากราบทูลว่า)
[๑๔๒] ข้าแต่ท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่แห่งภูตทั้งปวง
หากพระองค์ทรงประทานพรแก่หม่อมฉันไซร้
ขอหม่อมฉันอย่าต้องไปประเล้าประโลมฤๅษีอีกเลย
ข้าแต่ท้าวสักกะ หม่อมฉันขอพรข้อนี้ ดังนี้แล
อลัมพุสาชาดกที่ ๓ จบ

๔. สังขปาลชาดก (๕๒๔)
ว่าด้วยสังขปาลนาคราช
(พระเจ้ากรุงพาราณสีตรัสว่า)
[๑๔๓] ท่านมีลักษณะคล้ายพระอริยะ มีดวงตาแจ่มใส
เห็นจะเป็นคนบวชออกจากสกุล
ไฉนหนอท่านผู้มีปัญญาจึงสละทรัพย์และโภคะ
ออกจากเรือนบวชเสียเล่า
(อาฬารดาบสกราบทูลว่า)
[๑๔๔] ขอถวายพระพรมหาบพิตรผู้เป็นเทพแห่งนรชน
อาตมาได้เห็นวิมานของพญาสังขปาลนาคราช
ผู้มีอานุภาพมากด้วยตนเอง
ครั้นเห็นแล้ว จึงได้บวช
เพราะเชื่อวิบากอันยิ่งใหญ่แห่งบุญทั้งหลาย
(พระราชาตรัสว่า)
[๑๔๕] บรรพชิตทั้งหลายย่อมไม่กล่าวคำเท็จ
เพราะความรัก เพราะความชัง เพราะความกลัว
พระคุณเจ้า โยมถามแล้ว
ขอพระคุณเจ้าโปรดบอกเนื้อความนั้นแก่โยมเถิด
เพราะได้ฟัง ความเลื่อมใสจักเกิดขึ้นแก่โยมบ้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๗. จัตตาลีสนิบาต] ๔. สังขปาลชาดก (๕๒๔)
(อาฬารดาบสกราบทูลว่า)
[๑๔๖] ขอถวายพระพรมหาบพิตรผู้เป็นใหญ่แห่งแคว้น
อาตมาเมื่อเดินทางไปค้าขายได้เห็นพวกบุตรของนายพราน
พากันหามพญานาคตัวมีร่างกายอ้วนพีใหญ่โตร่าเริงเดินไปในหนทาง
[๑๔๗] ขอถวายพระพรพระองค์ผู้จอมชน อาตมานั้น
ได้มาประจวบเข้ากับเขาเหล่านั้น ก็เกิดกลัวจนขนพองสยองเกล้า
จึงได้ถามขึ้นว่า พ่อบุตรนายพรานทั้งหลาย พวกท่านจะนำนาค
ซึ่งมีร่างกายน่ากลัวตัวนี้ไปไหน จะทำอะไรกับนาคตัวนี้
(พวกเขาตอบว่า)
[๑๔๘] วิเทหบุตร พวกเราจะนำนาคตัวนี้ไปเพื่อบริโภค
นาคตัวนี้มีร่างกายอ้วนพีใหญ่โต เนื้อของมันมาก
อ่อนนุ่ม และอร่อย ท่านยังมิได้รู้รสเนื้อมัน
[๑๔๙] พวกเราจากที่นี่ไปถึงที่อยู่ของตนแล้ว
จะเอามีดสับกินเนื้อกันให้สำราญ
เพราะว่าพวกเราเป็นศัตรูของนาคทั้งหลาย
(อาตมาจึงพูดว่า)
[๑๕๐] ถ้าพวกท่านจะนำนาค
ซึ่งมีร่างกายอ้วนพีใหญ่โตตัวนี้ไปเพื่อจะบริโภคไซร้
ข้าพเจ้าจะให้โคผู้ซึ่งมีกำลังแข็งแรงแก่พวกท่าน ๑๖ ตัว
ขอพวกท่านจงปล่อยนาคตัวนี้จากเครื่องพันธนาการเถิด
(พวกเขาตอบว่า)
[๑๕๑] ความจริง นาคนี้เป็นอาหารที่ชอบใจของพวกเราอย่างแท้จริง
และพวกเราก็เคยกินนาคมามาก
แต่พวกเราจะทำตามคำของท่าน นายอาฬารวิเทหบุตร
และขอท่านจงเป็นมิตรของพวกเราด้วยนะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๗. จัตตาลีสนิบาต] ๔. สังขปาลชาดก (๕๒๔)
[๑๕๒] บุตรนายพรานเหล่านั้นจึงแก้นาคราชตัวนั้น
ออกจากเครื่องพันธนาการซึ่งสอดเข้าทางจมูกร้อยไว้ในบ่วง
นาคราชตัวนั้นพ้นจากเครื่องผูกแล้ว
ครู่หนึ่งจึงบ่ายหน้าสู่ทิศปราจีนหลีกไป
[๑๕๓] ครั้นบ่ายหน้าสู่ทิศปราจีนไปได้ครู่หนึ่ง ได้เหลียวกลับมา
มองดูอาตมาด้วยดวงตาทั้ง ๒ ที่นองไปด้วยน้ำตา
ในคราวนั้น อาตมาได้ประคองอัญชลีทั้ง ๑๐ นิ้ว
เดินตามไปข้างหลัง กล่าวเตือนว่า
[๑๕๔] ท่านจงรีบด่วนไปโดยเร็วเถิด ขอศัตรูอย่าจับท่านได้อีกเลย
เพราะการสมาคมกับพวกพรานอีกเป็นทุกข์
ท่านจงไปยังสถานที่ที่พวกบุตรนายพรานไม่เห็นเถิด
[๑๕๕] นาคราชนั้นได้ไปสู่ห้วงน้ำใส สีเขียวครามโอภาส
มีท่าอันงดงาม น่ารื่นรมย์ใจ
ปกคลุมไปด้วยหมู่ต้นหว้าและต้นอโศก
เป็นผู้ปลอดภัย เบิกบานใจ ได้เข้าไปสู่นาคพิภพ
[๑๕๖] มหาบพิตรผู้จอมชน นาคราชนั้น
ครั้นเข้าไปยังนาคพิภพนั้นได้ไม่นาน
ได้มาปรากฏแก่อาตมาพร้อมด้วยบริวารเป็นทิพย์
บำรุงอาตมาเหมือนบุตรบำรุงบิดา
กล่าวถ้อยคำอันจับใจสบายหูว่า
(พญานาคสังขปาละกล่าวว่า)
[๑๕๗] ท่านอาฬาระ ท่านเป็นมารดาบิดาของข้าพเจ้า
เป็นดังดวงใจ เป็นผู้ให้ชีวิต เป็นสหาย
ข้าพเจ้าจึงได้อิทธิฤทธิ์ของตนคืนมา
ขอเชิญท่านไปเยี่ยมที่อยู่ของข้าพเจ้า
ซึ่งมีอาหารเพียงพอ มีข้าวและน้ำมากมาย
ดุจขุนเขาสิเนรุพิภพของท้าววาสวะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๗. จัตตาลีสนิบาต] ๔. สังขปาลชาดก (๕๒๔)
(พญานาคสังขปาละกล่าวว่า)
[๑๕๘] นาคพิภพนั้นประกอบไปด้วยภูมิภาค
ภาคพื้นที่ไม่มีก้อนกรวด อ่อนนุ่มและงดงาม
มีหญ้าเตี้ย ๆ ปราศจากฝุ่นละออง น่าเลื่อมใส
เป็นสถานที่ระงับความเศร้าโศกของผู้ที่เข้าไป
[๑๕๙] มีสระโบกขรณีที่ไม่อากูล สีเขียวครามเพราะแก้วไพฑูรย์
มีสวนมะม่วงที่น่ารื่นรมย์ยิ่งนักทั้ง ๔ ทิศ
ติดผลอยู่เป็นนิตย์ตลอดฤดูกาล มีทั้งผลสุก ผลห่าม และผลอ่อน
(อาฬารดาบสกราบทูลว่า)
[๑๖๐] ขอถวายพระพร นรเทพมหาบพิตร ณ ท่ามกลาง
สวนมะม่วงทั้ง ๔ ทิศ มีนิเวศน์เลื่อมปภัสสรสร้างด้วยทองคำ
[๑๖๑] ณ นิเวศน์นั้น มีเรือนยอดและห้องโอฬาร
สร้างด้วยแก้วมณีและทองคำ วิจิตรด้วยศิลปะอเนกประการ
ซึ่งเนรมิตไว้ดีแล้วติดต่อกัน เต็มไปด้วยนางนาคกัญญาทั้งหลาย
ผู้ประดับตบแต่งร่างกายล้วนสวมใส่สายสร้อยทองคำ มหาบพิตร
[๑๖๒] สังขปาลนาคราชผู้มีผิวพรรณไม่ทรามนั้น รีบขึ้นสู่ปราสาท
ซึ่งมีอานุภาพนับไม่ได้ มีเสา ๑,๐๐๐ ต้น
อันเป็นสถานที่อยู่ของภรรยาผู้เป็นมเหสีของเขา
[๑๖๓] และนารีนางหนึ่งไม่ต้องเตือน
รีบนำอาสนะอันสำเร็จด้วยแก้วไพฑูรย์ มีค่ามากงดงาม
ประกอบด้วยแก้วมณีชั้นดีมีราคามาปูลาด
[๑๖๔] ลำดับนั้น นาคราชจูงมืออาตมาให้นั่ง
ณ อาสนะอันเป็นประธานโดยกล่าวว่า
นี้อาสนะ ท่านผู้เจริญโปรดนั่ง ณ อาสนะนี้เถิด
เพราะบรรดาท่านผู้เป็นที่เคารพทั้งหลายของข้าพเจ้า
ท่านผู้เจริญก็เป็นคนหนึ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๗. จัตตาลีสนิบาต] ๔. สังขปาลชาดก (๕๒๔)
[๑๖๕] ขอถวายพระพร พระองค์ผู้จอมชน
และนารีอีกนางหนึ่งรีบนำน้ำเข้ามาล้างเท้าอาตมา
เหมือนภรรยาล้างเท้าภัสดาสามีสุดที่รัก
[๑๖๖] และนารีอื่นอีกนางหนึ่งรีบประคองถาดทองคำ
น้อมนำภัตตาหารที่น่าพอใจ มีแกงหลายชนิด
มีกับหลายอย่างเข้ามา
[๑๖๗] ภารตะมหาบพิตรพระองค์ นารีเหล่านั้นรู้ใจภัสดา
บำเรออาตมาผู้บริโภคเสร็จแล้วด้วยดนตรีทั้งหลาย
ยิ่งไปกว่านั้น นาคราชเข้าไปหาอาตมา
พร้อมด้วยกามคุณอันเป็นทิพย์
อันโอฬารมิใช่น้อย กล่าวว่า
[๑๖๘] ท่านอาฬาระ ภรรยาของข้าพเจ้าทั้ง ๓๐๐ นางเหล่านี้
ล้วนเอวบางร่างน้อย มีผิวพรรณดังกลีบปทุม
ท่านอาฬาระ นางเหล่านี้พึงบำเรอกามแก่ท่าน
ขอท่านโปรดให้นางเหล่านั้นบำเรอท่านเถิด
(อาฬารดาบสกราบทูลต่อไปว่า)
[๑๖๙] อาตมาได้เสวยกามรสอันเป็นทิพย์อยู่ ๑ ปี
คราวนั้น จึงได้ถามยิ่งขึ้นไปว่า นาคสมบัตินี้
ท่านได้เพราะทำกรรมอะไร ได้อย่างไร
ไฉนท่านจึงได้ครอบครองวิมานอันประเสริฐ
[๑๗๐] ท่านได้โดยไม่มีเหตุ หรือเกิดเพราะใครน้อมมาเพื่อท่าน
ท่านทำเอง หรือเทวดาทั้งหลายให้
ข้าพเจ้าถามเนื้อความนั้นกับท่านนาคราช
ไฉนท่านจึงได้ครอบครองวิมานอันประเสริฐ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๗. จัตตาลีสนิบาต] ๔. สังขปาลชาดก (๕๒๔)
(พญานาคสังขปาละตอบว่า)
[๑๗๑] วิมานนี้ข้าพเจ้าได้มาโดยไม่มีเหตุหามิได้
เกิดเพราะใครน้อมมาเพื่อข้าพเจ้าก็หาไม่
ข้าพเจ้าทำเองก็หาไม่
แม้เทวดาทั้งหลายก็มิได้มอบให้
แต่ข้าพเจ้าได้เพราะบุญกรรมซึ่งมิใช่บาปของตน
(อาฬารดาบสถามว่า)
[๑๗๒] วัตรของท่านเป็นอย่างไร
อนึ่ง พรหมจรรย์ของท่านเป็นอย่างไร
นี้เป็นผลแห่งวัตรและพรหมจรรย์ที่ท่านประพฤติดีแล้วอย่างไร
นาคราช ขอท่านโปรดบอกเนื้อความนั้นแก่ข้าพเจ้าเถิดว่า
ท่านได้วิมานนี้อย่างไรหนอ
(พญานาคสังขปาละตอบว่า)
[๑๗๓] ข้าพเจ้านั้นได้เป็นพระราชา ผู้เป็นใหญ่กว่าชนชาวมคธ
มีนามว่า ทุโยธนะ มีอานุภาพมาก
ได้เห็นชัดว่า ชีวิตมีเพียงนิดหน่อย ไม่เที่ยง
มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
[๑๗๔] ข้าพเจ้ามีจิตเลื่อมใส ได้ให้ข้าวและน้ำ
เป็นทานอย่างไพบูลย์โดยเคารพ
พระราชวังของข้าพเจ้าในคราวนั้น เป็นดุจบ่อน้ำ
ทั้งสมณะและพราหมณ์จึงอิ่มหนำสำราญ
[๑๗๕] ณ ที่พระราชวังนั้น ข้าพเจ้าได้ให้พวงดอกไม้
ของหอม เครื่องลูบไล้ ประทีป ยานพาหนะ
ที่พักอาศัย ผ้านุ่ง ผ้าห่ม ที่นอน
ข้าวและน้ำเป็นทานโดยเคารพ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๗. จัตตาลีสนิบาต] ๔. สังขปาลชาดก (๕๒๔)
[๑๗๖] นั่นเป็นพรตและนั่นเป็นพรหมจรรย์ของข้าพเจ้า
นี้เป็นวิบากแห่งกรรมนั้นที่ข้าพเจ้าประพฤติดีแล้ว
เพราะวิบากแห่งกรรมนั้นนั่นแล ข้าพเจ้าจึงได้วิมานนี้
ซึ่งมีอาหารเพียงพอ มีข้าวและน้ำมากมาย
และสมบูรณ์ด้วยการฟ้อนรำขับร้อง
แต่วิมานนี้ไม่จีรังยั่งยืนและไม่เที่ยง
(อาฬารดาบสถามว่า)
[๑๗๗] บุตรนายพรานทั้งหลาย ผู้มีอานุภาพน้อย ไม่มีเดช
ย่อมเบียดเบียนท่านผู้มีอานุภาพมาก มีเดชได้
เพราะเหตุไร ท่านผู้มีเขี้ยวเป็นอาวุธ เพราะอาศัยเหตุอะไร
ท่านจึงได้ตกอยู่ในเงื้อมมือของบุตรนายพรานได้
[๑๗๘] มหันตภัยตามมาถึงท่านหรือหนอ
หรือว่าพิษแล่นไปไม่ถึงรากเขี้ยวของท่าน
ท่านผู้มีเขี้ยวเป็นอาวุธ เพราะอาศัยเหตุอะไรแลหรือ
ท่านจึงถึงความทุกข์ในสำนักของพวกบุตรนายพราน
(พญานาคสังขปาละตอบว่า)
[๑๗๙] มหันตภัยตามมาถึงข้าพเจ้าก็หาไม่
พิษของข้าพเจ้าพวกบุตรนายพรานเหล่านั้นก็ไม่อาจจะทำลายได้
แต่ธรรมของสัตบุรุษทั้งหลายที่ท่านประกาศไว้ดีแล้ว
ยากที่จะล่วงได้ดุจเขตแดนแห่งสมุทร
[๑๘๐] ท่านอาฬาระ วัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ
ข้าพเจ้าเข้าจำอุโบสถอยู่เป็นนิตย์ คราวนั้น
พวกบุตรนายพราน ๑๖ คนถือเชือกและบ่วงอันมั่นคงมา
[๑๘๑] พวกพรานช่วยกันเจาะจมูกแล้วร้อยเชือก
แล้วช่วยกันหามนำข้าพเจ้าไป
ข้าพเจ้าอดกลั้นความทุกข์เช่นนั้น มิได้ทำให้อุโบสถกำเริบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๗. จัตตาลีสนิบาต] ๔. สังขปาลชาดก (๕๒๔)
(อาฬารดาบสถามว่า)
[๑๘๒] พวกบุตรนายพรานได้เห็นท่าน
ผู้สมบูรณ์ด้วยพลังและผิวพรรณที่หนทางที่เดินได้คนเดียว
นาคราช ก็ท่านเป็นผู้เจริญแล้วด้วยสิริและปัญญา
ยังบำเพ็ญตบะอยู่เพื่อประโยชน์อะไร
(พญานาคสังขปาละตอบว่า)
[๑๘๓] ท่านอาฬาระ ข้าพเจ้าบำเพ็ญตบะ
เพราะเหตุแห่งบุตร เพราะเหตุแห่งทรัพย์สมบัติ
หรือแม้เพราะเหตุแห่งอายุก็หาไม่
แต่เพราะข้าพเจ้าปรารถนากำเนิดแห่งมนุษย์
เพราะเหตุนั้น จึงบากบั่นบำเพ็ญตบะ
(อาฬารดาบสถามว่า)
[๑๘๔] ท่านมีนัยน์ตาแดง มีรัศมีรุ่งเรือง ประดับตบแต่งร่างกาย
ตัดผมและโกนหนวดเรียบร้อย
ลูบไล้ผิวพรรณด้วยดีด้วยจันทน์แดง
ส่องสว่างไปทั่วทิศ ดุจราชาแห่งคนธรรพ์
[๑๘๕] ท่านเป็นผู้บรรลุเทวฤทธิ์แล้ว มีอานุภาพมาก
พรั่งพร้อมด้วยกามคุณทุกอย่าง
นาคราช ข้าพเจ้าขอถามเนื้อความนี้กับท่านว่า
มนุษยโลกประเสริฐกว่านาคพิภพนี้ เพราะเหตุไร
(พญานาคสังขปาละตอบว่า)
[๑๘๖] ท่านอาฬาระ นอกจากมนุษยโลกแล้ว
ความบริสุทธิ์หรือความสำรวมไม่มี
ก็ข้าพเจ้าได้กำเนิดมนุษย์แล้ว
จักกระทำที่สุดแห่งชาติและมรณะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๗. จัตตาลีสนิบาต] ๕. จูฬสุตโสมชาดก (๕๒๕)
(อาฬารดาบสกล่าวว่า)
[๑๘๗] เป็นเวลาหนึ่งปี เมื่อข้าพเจ้าอยู่ในสำนักของท่าน
ได้รับการบำรุงด้วยข้าวและน้ำ ท่านนาคินทร์ผู้ประเสริฐ
ข้าพเจ้าจากมนุษยโลกมานาน จะขอลาท่านไป
(พญานาคสังขปาละถามว่า)
[๑๘๘] บุตร ภรรยา และชนที่ข้าพเจ้าชุบเลี้ยง
ซึ่งข้าพเจ้าพร่ำสอนเป็นนิตย์ว่า พึงบำรุงท่าน
ไม่มีใครสักคนสาปแช่งท่านแลหรือ ท่านอาฬาระ
ก็การได้พบเห็นท่านนับว่าเป็นที่พอใจของข้าพเจ้า
(อาฬารดาบสตอบว่า)
[๑๘๙] บุตรสุดที่รักพึงได้รับการปฏิบัติ
อยู่ในเรือนมารดาบิดาแม้โดยประการใด
ท่านก็ปฏิบัติข้าพเจ้าในที่นี้แล ประเสริฐกว่าแม้โดยประการนั้น
เพราะจิตของท่านเลื่อมใสในข้าพเจ้า นาคราช
(พญานาคสังขปาละกล่าวว่า)
[๑๙๐] แก้วมณีสีแดง ซึ่งนำทรัพย์มาให้ได้ของข้าพเจ้ามีอยู่
ท่านจงถือเอาแก้วมณีอันโอฬารไปยังที่อยู่ของตน
ครั้นได้ทรัพย์แล้ว จงเก็บแก้วมณีไว้
(อาฬารดาบสกล่าว ๒ คาถาว่า)
[๑๙๑] ขอถวายพระพรมหาบพิตร กามทั้งหลายแม้เป็นของมนุษย์
อาตมาก็ได้เห็นแล้ว เป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
เพราะเห็นโทษในกามคุณทั้งหลาย อาตมาจึงบวชด้วยศรัทธา
[๑๙๒] ทั้งคนหนุ่มทั้งคนแก่
ย่อมมีกายแตกทำลายไป เหมือนผลไม้หล่นจากต้น
มหาบพิตร อาตมาเห็นข้อปฏิบัติอันไม่ผิดแม้นี้ว่า
ความเป็นสมณะนั่นแลประเสริฐ จึงได้บวช

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๗. จัตตาลีสนิบาต] ๕. จูฬสุตโสมชาดก (๕๒๕)
(พระราชาตรัสว่า)
[๑๙๓] ชนเหล่าใดมีปัญญา เป็นพหูสูต
คิดเหตุการณ์ได้เป็นอันมาก ชนเหล่านั้นควรคบโดยแท้
พระคุณเจ้าอาฬาระ โยมได้ฟังเรื่องของนาคราช
และของพระคุณเจ้าแล้ว จักทำบุญให้มาก
(อาฬารดาบสกล่าวว่า)
[๑๙๔] ชนเหล่าใดมีปัญญา เป็นพหูสูต
คิดเหตุการณ์ได้เป็นอันมาก ชนเหล่านั้นควรคบโดยแท้
ขอเดชะพระราชา พระองค์ทรงสดับเรื่องนาคราชและของอาตมาแล้ว
ขอจงทรงบำเพ็ญบุญให้มากเถิด
สังขปาลชาดกที่ ๔ จบ

๕. จูฬสุตโสมชาดก (๕๒๕)
ว่าด้วยเหตุที่พระเจ้าจูฬสุตโสมออกผนวช
(พระโพธิสัตว์สุตโสมตรัสว่า)
[๑๙๕] เราขอประกาศให้ชาวนิคม มิตร อำมาตย์
และข้าราชบริพารได้ทราบ
บัดนี้ ผมที่ศีรษะของเราหงอกแล้ว
เราจึงพอใจการบรรพชา
(อำมาตย์ผู้องอาจแกล้วกล้าคนหนึ่งกราบทูลว่า)
[๑๙๖] ทำไมหนอ พระองค์จึงรับสั่งความไม่เจริญแก่ข้าพระพุทธเจ้า
ขอเดชะพระองค์ผู้สมมติเทพ
พระองค์ทรงปักพระแสงศรที่อกของข้าพระพุทธเจ้า
พระองค์ทรงมีพระชายาถึง ๗๐๐ นาง
พระชายาเหล่านั้นของพระองค์จักเป็นอย่างไรหนอ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๗. จัตตาลีสนิบาต] ๕. จูฬสุตโสมชาดก (๕๒๕)
(พระโพธิสัตว์จูฬสุตโสมตรัสว่า)
[๑๙๗] นางทั้งหลายเหล่านั้นจักปรากฏตามกรรมของตนเอง
พวกนางยังสาว จักไปพึ่งพาพระราชาแม้พระองค์อื่นได้
ส่วนเราปรารถนาสวรรค์ เพราะเหตุนั้น จึงจักบรรพชา
(พระราชชนนีรีบเสด็จมาโดยด่วนตรัสถามว่า)
[๑๙๘] พ่อสุตโสม การที่แม่เป็นแม่ของเจ้า
นับว่าแม่ได้เจ้ามาด้วยความลำบาก เมื่อแม่พร่ำเพ้อรำพันอยู่
เพราะเหตุไร เจ้าจึงไม่อาลัยจะบวชเสียเล่า
[๑๙๙] พ่อสุตโสม การที่แม่คลอดเจ้ามา
นับว่าแม่ได้เจ้ามาด้วยความลำบาก เมื่อแม่พร่ำเพ้อรำพันอยู่
เพราะเหตุไร เจ้าจึงไม่อาลัยจะบวชเสียเล่า
(พระชนกทรงทราบข่าวแล้วเสด็จมา ตรัสถามว่า)
[๒๐๐] พ่อสุตโสม ธรรมนั่นชื่ออะไร
และอะไรชื่อว่าการบรรพชา
เพราะเหตุไร เจ้าเป็นบุตรของเราทั้ง ๒ จึงไม่มีความอาลัย
จะละทิ้งเราทั้ง ๒ ผู้แก่เฒ่าไปบวชเสียเล่า
[๒๐๑] แม้ลูกชายลูกสาวของพ่อก็มีอยู่มาก
ยังเล็กอยู่ ยังไม่เป็นหนุ่มเป็นสาว
แม้เด็กเหล่านั้นกำลังฉอเลาะอ่อนหวาน
เมื่อไม่เห็นพ่อ เห็นจะเป็นทุกข์ไปตาม ๆ กัน
(พระโพธิสัตว์จูฬสุตโสมสดับพระดำรัสแล้ว กราบทูลว่า)
[๒๐๒] การอยู่ร่วมกันแม้นานแล้วพลัดพรากจากกัน
ของหม่อมฉันกับลูกทั้งหลายเหล่านั้นซึ่งยังเด็กอยู่
ยังไม่เป็นหนุ่มเป็นสาว กำลังฉอเลาะอ่อนหวานแม้ทั้งหมด
และจากทูลกระหม่อมทั้ง ๒ พระองค์เป็นของแน่นอน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๗. จัตตาลีสนิบาต] ๕. จูฬสุตโสมชาดก (๕๒๕)
(พระชายาทั้งหลายทราบข่าวแล้วคร่ำครวญอยู่กราบทูลว่า)
[๒๐๓] ขอเดชะพระองค์ผู้สมมติเทพ
ทูลกระหม่อมทรงตัดพระทัยแล้วหรือ
ทรงหมดความกรุณาในพวกหม่อมฉันหรือ เพราะเหตุไร
ทูลกระหม่อมจึงไม่อาลัยพวกหม่อมฉันผู้คร่ำครวญอยู่
จะเสด็จออกผนวชเสียเล่า
(พระโพธิสัตว์จูฬสุตโสมสดับเสียงคร่ำครวญของพระชายาเหล่านั้นแล้วตรัสว่า)
[๒๐๔] เราตัดใจได้แล้วก็หามิได้
และเราก็ยังมีความกรุณาในพวกเธออยู่
แต่ว่าเราปรารถนาสวรรค์
เพราะเหตุนั้น จึงจักบวช
(พระมเหสีทรงพระครรภ์แก่ได้กราบทูลว่า)
[๒๐๕] เจ้าพี่สุตโสม การที่หม่อมฉันเป็นมเหสีของเจ้าพี่
นับว่าหม่อมฉันได้เจ้าพี่มาด้วยความยากลำบาก
ขอเดชะพระองค์ผู้สมมติเทพ เมื่อหม่อมฉันพร่ำเพ้อรำพันอยู่
เพราะเหตุไร เจ้าพี่จึงไม่ทรงอาลัย จะทรงผนวชเสียเล่า
[๒๐๖] เจ้าพี่สุตโสม การที่หม่อมฉันเป็นมเหสีของเจ้าพี่
นับว่าหม่อมฉันได้เจ้าพี่มาด้วยความยากลำบาก
ขอเดชะพระองค์ผู้สมมติเทพ เพราะเหตุไร
เจ้าพี่จึงไม่ทรงอาลัยพระโอรสที่ปฏิสนธิในครรภ์ของหม่อมฉัน
จะทรงผนวชเสียเล่า
[๒๐๗] ครรภ์ของหม่อมฉันแก่แล้ว
ขอพระองค์รออยู่จนกว่าหม่อมฉันจะคลอดพระโอรส
ขอหม่อมฉันอย่าได้เป็นหม้ายอยู่แต่ผู้เดียว
ได้ประสบทุกข์ยากในภายหลัง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๗. จัตตาลีสนิบาต] ๕. จูฬสุตโสมชาดก (๕๒๕)
(พระโพธิสัตว์จูฬสุตโสมตรัสว่า)
[๒๐๘] ครรภ์ของน้องนางแก่แล้ว
เอาเถิด ขอให้น้องนางจงคลอดบุตร ซึ่งมีผิวพรรณไม่ทรามเถิด
ส่วนพี่จักละบุตรและน้องนางไปบวช
(พระโพธิสัตว์ตรัสปลอบโยนพระนางว่า)
[๒๐๙] อย่าร้องไห้เศร้าโศกไปเลย เจ้าจันทา
เจ้าผู้มีดวงเนตรงามดุจดอกกรรณิการ์เขา
จงขึ้นไปยังปราสาทอันประเสริฐเสียเถิด
พี่จักไปอย่างคนหมดความอาลัย
(พระโอรสองค์ใหญ่ทูลถามว่า)
[๒๑๐] เสด็จแม่ ใครทำให้เสด็จแม่ทรงพิโรธ
ทำไมเสด็จแม่จึงทรงกันแสง
และทรงจ้องดูหม่อมฉันนัก
บรรดาพระญาติที่เห็น ๆ กันอยู่
ใครที่หม่อมแม่ฆ่าไม่ได้ หม่อมฉันจะฆ่าเอง
(พระเทวีตรัสว่า)
[๒๑๑] ลูกรัก ท่านผู้ใดทำให้แม่โกรธ
ท่านผู้นั้นเป็นผู้ชนะในแผ่นดิน เจ้าไม่อาจจะฆ่าเขาได้เลย
ลูกรัก พระบิดาของเจ้าได้พูดกับแม่ว่า
เราจักไปอย่างคนหมดความอาลัย
(พระโอรสองค์ใหญ่คร่ำครวญอยู่ตรัสว่า)
[๒๑๒] เมื่อก่อน หม่อมฉันนำช้างตกมัน
ไปพระอุทยานและเล่นรบกัน
บัดนี้ เมื่อเสด็จพ่อสุตโสมทรงผนวชแล้ว
หม่อมฉันจักทำอย่างไรหนอ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๗. จัตตาลีสนิบาต] ๕. จูฬสุตโสมชาดก (๕๒๕)
(น้องชายองค์เล็กของพระโอรสองค์ใหญ่ตรัสว่า)
[๒๑๓] เมื่อพระมารดาของหม่อมฉันทรงกันแสงอยู่
และเมื่อเจ้าพี่ไม่ทรงยินยอม
หม่อมฉันก็จักยึดแม้พระหัตถ์ทั้ง ๒ ของเสด็จพ่อไว้
เมื่อพวกหม่อมฉันไม่ยินยอม เสด็จพ่อจะเสด็จไปไม่ได้
(พระโพธิสัตว์จูฬสุตโสมตรัสว่า)
[๒๑๔] ลุกขึ้นเถิดเจ้า แม่นม
เจ้าจงชวนกุมารนี้ให้ไปรื่นรมย์ที่อื่นเถิด
กุมารนี้อย่าได้ทำอันตรายแก่เราเลย
เมื่อเรากำลังปรารถนาสวรรค์
(พระพี่เลี้ยงกราบทูลว่า)
[๒๑๕] ถ้ากระไร เราพึงให้แก้วมณีอันมีแสงสว่างนี้
ประโยชน์อะไรของเรากับแก้วมณีนี้หนอ
เมื่อพระจอมนรชนสุตโสมทรงผนวชแล้ว
เราจะทำอย่างไรกับแก้วมณีนั้นหนอ
(มหาเสนคุตตอำมาตย์กราบทูลว่า)
[๒๑๖] พระคลังน้อยของพระองค์ก็ไพบูลย์
เรือนคลังหลวงของพระองค์ก็บริบูรณ์
และปฐพี พระองค์ก็ทรงชนะแล้ว
ขอพระองค์ทรงพอพระทัย อย่าทรงผนวชเลย พระพุทธเจ้าข้า
(พระโพธิสัตว์จูฬสุตโสมตรัสว่า)
[๒๑๗] พระคลังน้อยของเราจะไพบูลย์ก็ตาม
เรือนคลังหลวงของเราจะบริบูรณ์ก็ตาม
ปฐพีถึงเราชนะแล้วก็ตาม
แต่เราจักละสิ่งนั้น ๆ ไปบวช

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๗. จัตตาลีสนิบาต] ๕. จูฬสุตโสมชาดก (๕๒๕)
(กุลวัฒนเศรษฐีกราบทูลว่า)
[๒๑๘] ขอเดชะพระองค์ผู้สมมติเทพ
แม้ทรัพย์ของข้าพระพุทธเจ้าก็มีอยู่มากมาย
ข้าพระพุทธเจ้าไม่อาจจะนับได้
ข้าพระพุทธเจ้าขอถวายทรัพย์นั้นแม้ทั้งหมดแด่พระองค์
ขอพระองค์ทรงพอพระทัย อย่าทรงผนวชเลย พระพุทธเจ้าข้า
(พระโพธิสัตว์จูฬสุตโสมตรัสว่า)
[๒๑๙] เรารู้ว่า ทรัพย์ของท่านมีอยู่มาก
กุลวัฒนะ และเราท่านก็บูชา
แต่เราปรารถนาสวรรค์
เพราะเหตุนั้น จึงจักบวช
(โพธิสัตว์จูฬสุตโสมตรัสต่อไปว่า)
[๒๒๐] พี่เบื่อหน่ายหนัก ความไม่ยินดีกำลังครอบงำพี่
พ่อโสมทัต เพราะอันตรายของพี่มีมาก
พี่จึงจักบวชวันนี้แหละ
(โสมทัตอนุชาตรัสว่า)
[๒๒๑] ก็บรรพชากิจนี้เจ้าพี่ทรงพอพระทัย
เจ้าพี่สุตโสม เจ้าพี่ทรงผนวชเถิด
ในวันนี้ เดี๋ยวนี้แหละ แม้หม่อมฉันก็จักบวช
เว้นเจ้าพี่เสียแล้ว หม่อมฉันไม่อาจจะอยู่ได้
(พระโพธิสัตว์จูฬสุตโสมตรัสว่า)
[๒๒๒] เจ้ายังบวชไม่ได้
เพราะใคร ๆ ในเมืองและในชนบทจะไม่หุงต้มกิน
เมื่อมหาราชร้องไห้คร่ำครวญว่า
พระจอมนรชนสุตโสมทรงผนวชแล้ว
บัดนี้ พวกข้าพระพุทธเจ้าจักทำอย่างไรหนอ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๗. จัตตาลีสนิบาต] ๕. จูฬสุตโสมชาดก (๕๒๕)
(ต่อแต่นั้น พระโพธิสัตว์จูฬสุตโสมตรัสว่า)
[๒๒๓] เราเข้าใจว่า ชีวิตนี้ถูกชรานำเข้าไป
เหมือนกับน้ำนิดหน่อยในหม้อกรองน้ำด่าง
เมื่อชีวิตเป็นของน้อยนักอย่างนี้ จึงไม่ใช่เวลาที่จะประมาทเลย
[๒๒๔] เราเข้าใจว่า ชีวิตนี้ถูกชรานำเข้าไป
เหมือนกับน้ำนิดหน่อยในหม้อกรองน้ำด่าง
เมื่อชีวิตเป็นของน้อยนักอย่างนี้
ถึงอย่างนั้นพวกคนพาลก็ยังพากันประมาทอยู่
[๒๒๕] พวกคนพาลเหล่านั้นถูกเครื่องผูกคือตัณหาผูกมัดไว้แล้ว
ย่อมทำนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
เปรตวิสัย และอสุรกายให้เจริญ
(มหาชนคร่ำครวญกล่าวว่า)
[๒๒๖] ก็กลุ่มละอองธุลีฟุ้งลอยขึ้น
ในที่ไม่ห่างไกลจากปุปผกปราสาท
ชะรอยพระเกสาของพระธรรมราชา
ผู้เรืองยศของพวกเรา จักถูกตัดแล้ว
(มหาชนไม่เห็นพระราชา จึงเที่ยวคร่ำครวญว่า)
[๒๒๗] พระราชาทรงมีพระสนมกำนัลในห้อมล้อม เสด็จไป
ณ ปราสาทใดหนอ นี้คือปราสาทของพระองค์
เกลื่อนกล่นไปด้วยสุวรรณบุปผามาลัย
[๒๒๘] พระราชาทรงมีหมู่พระญาติห้อมล้อม เสด็จไป
ณ ปราสาทใดหนอ นี้คือปราสาทของพระองค์
เกลื่อนกล่นไปด้วยสุวรรณบุปผามาลัย
[๒๒๙] พระราชาทรงมีพระสนมกำนัลในห้อมล้อม เสด็จไป
ณ ปราสาทใดหนอ นี้คือปราสาทของพระองค์
เกลื่อนกล่นไปด้วยสุวรรณบุปผามาลัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๗. จัตตาลีสนิบาต] ๕. จูฬสุตโสมชาดก (๕๒๕)
[๒๓๐] พระราชาทรงมีหมู่พระญาติห้อมล้อม เสด็จไป
ณ ปราสาทใดหนอ นี้คือปราสาทของพระองค์
เกลื่อนกล่นไปด้วยสุวรรณบุปผามาลัย
[๒๓๑] พระราชาทรงมีพระสนมกำนัลในห้อมล้อม เสด็จไป
ณ อโสกวันใดหนอ นี้คือภูมิภาคแห่งอโสกวันของพระองค์
มีดอกไม้บานสะพรั่งงดงาม น่ารื่นรมย์ตลอดกาลทั้งปวง
[๒๓๒] พระราชาทรงมีหมู่พระญาติห้อมล้อม เสด็จไป
ณ อโสกวันใดหนอ นี้คือภูมิภาคแห่งอโสกวันของพระองค์
มีดอกไม้บานสะพรั่งงดงาม น่ารื่นรมย์ตลอดกาลทั้งปวง
[๒๓๓] พระราชาทรงมีพระสนมกำนัลในห้อมล้อม เสด็จไป
ณ พระอุทยานใดหนอ นี้คือพระราชอุทยานของพระองค์
มีดอกไม้บานสะพรั่งงดงามตลอดกาลทั้งปวง น่ารื่นรมย์
[๒๓๔] พระราชาทรงมีหมู่พระญาติห้อมล้อม เสด็จไป
ณ พระอุทยานใดหนอ นี้คือพระราชอุทยานของพระองค์
มีดอกไม้บานสะพรั่งงดงาม น่ารื่นรมย์ตลอดกาลทั้งปวง
[๒๓๕] พระราชาทรงมีพระสนมกำนัลในห้อมล้อม เสด็จไป
ณ สวนกรรณิการ์ใดหนอ นี้คือสวนกรรณิการ์ของพระองค์
มีดอกไม้บานสะพรั่งงดงาม น่ารื่นรมย์ตลอดกาลทั้งปวง
[๒๓๖] พระราชาทรงมีหมู่พระญาติห้อมล้อม เสด็จไป
ณ สวนกรรณิการ์ใดหนอ นี้คือสวนกรรณิการ์ของพระองค์
มีดอกไม้บานสะพรั่งงดงาม น่ารื่นรมย์ตลอดกาลทั้งปวง
[๒๓๗] พระราชาทรงมีพระสนมกำนัลในห้อมล้อม เสด็จไป
ณ สวนปาฏลิวันใดหนอ นี้คือสวนปาฏลิวันของพระองค์
มีดอกไม้บานสะพรั่งงดงาม น่ารื่นรมย์ตลอดกาลทั้งปวง
[๒๓๘] พระราชาทรงมีหมู่พระญาติห้อมล้อม เสด็จไป
ณ สวนปาฏลิวันใดหนอ นี้คือสวนปาฏลิวันของพระองค์
มีดอกไม้บานสะพรั่งงดงาม น่ารื่นรมย์ตลอดกาลทั้งปวง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๗. จัตตาลีสนิบาต] ๕. จูฬสุตโสมชาดก (๕๒๕)
[๒๓๙] พระราชาทรงมีพระสนมกำนัลในห้อมล้อม เสด็จไป
ณ สวนอัมพวันใดหนอ นี้คือสวนอัมพวันของพระองค์
มีดอกไม้บานสะพรั่งงดงาม น่ารื่นรมย์ตลอดกาลทั้งปวง
[๒๔๐] พระราชาทรงมีหมู่พระญาติห้อมล้อม เสด็จไป
ณ สวนอัมพวันใดหนอ นี้คือสวนอัมพวันของพระองค์
มีดอกไม้บานสะพรั่งงดงาม น่ารื่นรมย์ตลอดกาลทั้งปวง
[๒๔๑] พระราชาทรงมีพระสนมกำนัลในห้อมล้อม เสด็จไป
ณ สระโบกขรณีใดหนอ นี้คือสระโบกขรณีของพระองค์
ดารดาษไปด้วยดอกไม้นานาชนิด คับคั่งไปด้วยฝูงนก
[๒๔๒] พระราชาทรงมีหมู่พระญาติห้อมล้อม เสด็จไป
ณ สระโบกขรณีใดหนอ นี้คือสระโบกขรณีของพระองค์
ดารดาษไปด้วยดอกไม้นานาชนิด คับคั่งไปด้วยฝูงนก
[๒๔๓] พระเจ้าสุตโสมบรมราชาทรงสละราชสมบัตินี้ผนวชเสียแล้ว
พระองค์ทรงผ้ากาสาวพัสตร์ เสด็จเที่ยวไปพระองค์เดียว
ดุจพญาช้างตัวประเสริฐ
(พระโพธิสัตว์จูฬสุตโสมตรัสว่า)
[๒๔๔] ท่านทั้งหลายอย่าหวนระลึกถึงความยินดี
การเล่นและความรื่นเริงทั้งหลายในกาลก่อนเลย
กามทั้งหลายอย่าฆ่าท่านทั้งหลายได้เลย
จริงอยู่ สุทัสสนนครน่ารื่นรมย์ยิ่งนัก
[๒๔๕] อนึ่ง ท่านทั้งหลายจงเจริญเมตตาจิต
ที่มีอารมณ์ไม่มีประมาณทั้งกลางวันและกลางคืนเถิด
เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านทั้งหลายจะได้ไปสู่เทพบุรี
อันเป็นสถานที่อยู่ของท่านผู้บำเพ็ญบุญ ดังนี้แล
จูฬสุตโสมชาดกที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก
รวมชาดกที่มีในนิบาตนี้ คือ

๑. เตสกุณชาดก ๒. สรภังคชาดก
๓. อลัมพุสาชาดก ๔. สังขปาลชาดก
๕. จูฬสุตโสมชาดก

จัตตาลีสนิบาต จบ
ชาดก ภาค ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า :๖๓๖ }


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ สุตตันตปิฎกที่ ๑๙ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑ จบ





eXTReMe Tracker