ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ



จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อความสะดวก และสวยงาม
(เฉพาะหน้าจอใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์)
กรุณาคลิก จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อให้กรอบ
ค้นข้อความ ปรากฎที่ด้านซ้ายของหน้า

พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ สุตตันตปิฎกที่ ๑๘ ขุททกนิกาย
วิมาน เปตวัตถุ เถรคาถา เถรีคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๑. ปีฐวรรค ๑. ปฐมปีฐวิมาน

พระสุตตันตปิฎก
ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๑. อิตถีวิมาน
๑. ปีฐวรรค
หมวดว่าด้วยตั่ง
๑. ปฐมปีฐวิมาน๑
ว่าด้วยวิมานตั่ง เรื่องที่ ๑

(พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า)
[๑] เทพธิดาผู้ประดับองค์ ทรงมาลัย ทรงภูษาสวยงาม
วิมานตั่งทองคำของเธอช่างโอ่อ่า
ล่องลอยไปในที่ต่าง ๆ ได้รวดเร็วสมใจปรารถนา
เธอเปล่งรัศมีสว่างไสว ดังสายฟ้าแลบออกจากกลีบเมฆ
[๒] เพราะบุญอะไรผิวพรรณเธอจึงงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่เธอในวิมานนี้
และโภคะ๒ทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดแก่เธอ

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า วิมาน หมายถึง ที่เล่น ที่อยู่ของเหล่าเทวดาซึ่งถือว่าเป็นสถานที่อันประเสริฐ และคำว่า
วิมานวัตถุ หมายถึง เรื่องวิมาน หรือที่ตั้งวิมานนั้น ๆ (ขุ.วิ.อ. ๒)
๒ โภคะ คือ เบญจกามคุณที่เป็นทิพยสมบัติ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นเครื่อง
อุปโภคบริโภค (ขุ.วิ. อ. ๒/๑๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๑. ปีฐวรรค ๒. ทุติยปีฐวิมาน
[๓] เทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามว่า
เมื่อเธอเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะบุญอะไรเธอจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๔] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมตามที่พระเถระถามว่า
[๕] เมื่อดิฉันเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์
ได้ถวายตั่ง๑ แด่บรรดาภิกษุผู้เพิ่งมาถึง
ได้กราบไหว้ ประคองอัญชลี
และถวายทานตามกำลังทรัพย์
[๖] เพราะบุญนั้นผิวพรรณดิฉันจึงงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่ดิฉันในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่ดิฉัน
[๗] ข้าแต่ภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดิฉันขอกราบเรียนว่า
เพราะบุญที่ได้ทำไว้สมัยเมื่อเกิดเป็นมนุษย์
ดิฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
ปฐมปีฐวิมานที่ ๑ จบ

๒. ทุติยปีฐวิมาน
ว่าด้วยวิมานตั่ง เรื่องที่ ๒
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า)
[๘] เทพธิดาผู้ประดับองค์ ทรงมาลัย ทรงภูษาสวยงาม
วิมานตั่งแก้วไพฑูรย์ของเธอช่างโอ่อ่า

เชิงอรรถ :
๑ อาสนก ได้แก่ ปีฐ คือตั่ง ในที่อื่นก็เช่นกัน (ขุ.วิ.อ. ๕/๒๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๑. ปีฐวรรค ๒. ทุติยปีฐวิมาน
ล่องลอยไปในที่ต่าง ๆ ได้รวดเร็วสมใจปรารถนา
เธอเปล่งรัศมีสว่างไสวดังสายฟ้าแลบออกจากกลีบเมฆ
[๙] เพราะบุญอะไรผิวพรรณเธอจึงงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่เธอในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่เธอ
[๑๐] เทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามว่า
เมื่อเธอเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะบุญอะไรเธอจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๑๑] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมตามที่พระเถระถามว่า
[๑๒] เมื่อดิฉันเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์
ได้ถวายตั่งแด่บรรดาภิกษุผู้เพิ่งมาถึง ได้กราบไหว้
ประคองอัญชลีและถวายทานตามกำลังทรัพย์
[๑๓] เพราะบุญนั้นผิวพรรณดิฉันจึงงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่ดิฉันในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่ดิฉัน
[๑๔] ข้าแต่ภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดิฉันขอกราบเรียนว่า
เพราะบุญที่ได้ทำไว้สมัยเมื่อเกิดเป็นมนุษย์
ดิฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
ทุติยปีฐวิมานที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๑. ปีฐวรรค ๓. ตติยปีฐวิมาน
๓. ตติยปีฐวิมาน
ว่าด้วยวิมานตั่ง เรื่องที่ ๓
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า)
[๑๕] เทพธิดาผู้ประดับองค์ ทรงมาลัย ทรงภูษาสวยงาม
วิมานตั่งทองคำของเธอช่างโอ่อ่า
ล่องลอยไปในที่ต่าง ๆ ได้รวดเร็วสมใจปรารถนา
เธอเปล่งรัศมีสว่างไสว ดังสายฟ้าแลบออกจากกลีบเมฆ
[๑๖] เพราะบุญอะไรผิวพรรณเธอจึงงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่เธอในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่เธอ
[๑๗] เทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามว่า
เมื่อเธอเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะบุญอะไรเธอจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๑๘] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมตามที่พระเถระถามว่า
[๑๙] ดิฉันมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้
เพราะผลกรรมน้อยนิดของดิฉัน
ชาติก่อน ดิฉันเกิดเป็นมนุษย์
อยู่ในหมู่มนุษย์ในมนุษยโลก
[๒๐] ได้เห็นภิกษุผู้ปราศจากกิเลสประดุจธุลี๑
มีใจผ่องใสไม่มัวหมอง๒
เลื่อมใสแล้ว ได้ถวายตั่งแด่ท่าน
ด้วยมือทั้งสองของตน

เชิงอรรถ :
๑ กิเลสมีราคะเป็นต้น (ขุ.วิ.อ. ๒๐/๒๙)
๒ ภิกษุผู้ทำลายกิเลสได้แล้วมีใจผ่องใสไม่มัวหมองด้วยกิเลสและไม่มีความดำริที่เศร้าหมอง (ขุ.วิ.อ. ๒๐/๒๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๑. ปีฐวรรค ๔. จตุตถปีฐวิมาน
[๒๑] เพราะบุญนั้นผิวพรรณดิฉันจึงงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่ดิฉันในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่ดิฉัน
[๒๒] ข้าแต่ภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดิฉันขอกราบเรียนว่า
เพราะบุญที่ได้ทำไว้สมัยเมื่อเกิดเป็นมนุษย์
ดิฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
ตติยปีฐวิมานที่ ๓ จบ

๔. จตุตถปีฐวิมาน
ว่าด้วยวิมานตั่ง เรื่องที่ ๔
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า)
[๒๓] เทพธิดาผู้ประดับองค์ ทรงมาลัย ทรงภูษาสวยงาม
วิมานตั่งแก้วไพฑูรย์ของเธอช่างโอ่อ่า
ล่องลอยไปในที่ต่าง ๆ ได้รวดเร็วสมใจปรารถนา
เธอเปล่งรัศมีสว่างไสว ดังสายฟ้าแลบออกจากกลีบเมฆ
[๒๔] เพราะบุญอะไรผิวพรรณเธอจึงงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่เธอในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่เธอ
[๒๕] เทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามว่า
เมื่อเธอเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะบุญอะไรเธอจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๒๖] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมตามที่พระเถระถามว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๑. ปีฐวรรค ๕. กุญชรวิมาน
[๒๗] ดิฉันมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้
เพราะผลกรรมน้อยนิดของดิฉัน
ชาติก่อน ดิฉันเกิดเป็นมนุษย์
อยู่ในหมู่มนุษย์ในมนุษยโลก
[๒๘] ได้เห็นภิกษุผู้ปราศจากกิเลสประดุจธุลี
มีใจผ่องใสไม่มัวหมอง เลื่อมใสแล้ว
ได้ถวายตั่งแด่ท่านด้วยมือทั้งสองของตน
[๒๙] เพราะบุญนั้นผิวพรรณดิฉันจึงงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่ดิฉันในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่ดิฉัน
[๓๐] ข้าแต่ภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดิฉันขอกราบเรียนว่า
เพราะบุญที่ได้ทำไว้สมัยเมื่อเกิดเป็นมนุษย์
ดิฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
จตุตถปีฐวิมานที่ ๔ จบ

๕. กุญชรวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่มีช้างเป็นพาหนะ
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า)
[๓๑] เทพธิดาผู้มีดวงตางดงามคล้ายกลีบปทุม
ช้างพาหนะอันประเสริฐของเธอ
ประดับประดาด้วยแก้วนานาประการ
น่าพอใจ มีพลัง แคล่วคล่องว่องไว
ท่องเที่ยวไปในอากาศได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๑. ปีฐวรรค ๕. กุญชรวิมาน
[๓๒] กระพองมีสีคล้ายสีดอกปทุม
ประดับด้วยพวงดอกปทุมและพวงดอกอุบลทิพย์
งามรุ่งเรือง ตามตัวโปรยปรายด้วยเกสรปทุม
ประดับด้วยพวงปทุมทองอย่างสง่างาม
[๓๓] พญาช้างเยื้องย่างไปได้อย่างราบเรียบ
ไม่สั่นสะเทือนตลอดทาง
ที่เรียงรายด้วยดอกปทุมทองขนาดใหญ่
มีกลีบปทุมประดับประดาอยู่
[๓๔] เมื่อพญาช้างเยื้องย่างไป
กระดิ่งทองคำก็ดังประสานเสียงน่ารื่นรมย์
กังวานไพเราะจับใจ
ฟังคล้ายกับเสียงดนตรีเครื่องห้า๑
[๓๕] เธอทรงภูษาสะอาดสะอ้าน ประดับองค์อยู่บนคอช้าง
มีผิวพรรณงามล้ำหมู่นางอัปสรจำนวนมาก
[๓๖] นี้เป็นผลของทาน ศีล หรือการกราบไหว้ของเธอ
อาตมาถามเธอแล้ว โปรดบอกผลกรรมนั้นเถิด
[๓๗] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมตามที่พระเถระถามว่า
[๓๘] ดิฉันได้เห็นพระเถระผู้สมบูรณ์ด้วยคุณ๒
ผู้ได้ฌาน ยินดีในฌาน สงบ
ได้ถวายอาสนะที่ปูด้วยผ้า โปรยปรายดอกไม้ไว้

เชิงอรรถ :
๑ ดนตรีเครื่องห้า คือ อาตตะ(โทน) วิตตะ(ตะโพน) อาตตวิตตะ(บัณเฑาะว์) ฆนะ(กังสดาล) สุสิระ(ปี่ สังข์)
(ขุ.วิ.อ. ๓๔/๓๗)
๒ คุณ หมายถึง สาวกบารมีญาณ (ขุ.วิ.อ. ๓๘/๓๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๑. ปีฐวรรค ๖. ปฐมนาวาวิมาน
[๓๙] ยังมีดอกปทุมเหลืออยู่อีกครึ่งหนึ่ง
ดิฉันเลื่อมใสแล้วจึงโปรยกลีบปทุม
รอบ ๆ อาสนะด้วยมือของตน
[๔๐] ผลแห่งกุศลกรรมของดิฉันนั้นเป็นเช่นนี้
ดิฉันจึงเป็นที่สักการะ เคารพ นอบน้อม ของมวลเทพ
[๔๑] บุคคลผู้เลื่อมใส ถวายอาสนะ
แด่ผู้มีปกติประพฤติพรหมจรรย์
หลุดพ้นโดยชอบ สงบแล้ว
พึงบันเทิงใจเช่นเดียวกับดิฉัน
[๔๒] เพราะเหตุนั้นแล ท่านผู้มุ่งประโยชน์ตน
หวังผลมาก ควรถวายอาสนะ
แด่ท่านผู้ครองร่างชาติสุดท้าย๑
กุญชรวิมานที่ ๕ จบ

๖. ปฐมนาวาวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่มีเรือเป็นพาหนะ เรื่องที่ ๑
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า)
[๔๓] เทพนารี เธอขึ้นอยู่บนเรือประทุนทอง
ล่องลอยเข้าสู่สระโบกขรณี เด็ดดอกปทุมอยู่
[๔๔] เพราะบุญอะไรผิวพรรณเธอจึงงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่เธอในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่เธอ

เชิงอรรถ :
๑ พระอรหันต์ (ขุ.วิ.อ. ๔๒/๔๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๑. ปีฐวรรค ๖. ปฐมนาวาวิมาน
[๔๕] เทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามว่า
เมื่อเธอเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะบุญอะไรเธอจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๔๖] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมตามที่พระเถระถามว่า
[๔๗] ชาติก่อน ดิฉันเกิดเป็นมนุษย์
อยู่ในหมู่มนุษย์ในมนุษยโลก
ได้เห็นภิกษุหลายรูปผู้เหน็ดเหนื่อยกระหายน้ำ
จึงขมีขมันถวายน้ำให้ท่านดื่ม
[๔๘] ผู้ใดแลขมีขมันถวายน้ำให้ภิกษุหลายรูป
ผู้เหน็ดเหนื่อยกระหายน้ำได้ดื่ม
แม่น้ำหลายสายมีกระแสน้ำใสเย็น
มากไปด้วยสวนไม้ดอก มีบัวขาวอยู่มากมาย ย่อมเกิดแก่ผู้นั้น
[๔๙] วิมานนั้นมีแม่น้ำหลายสายไหลล้อมรอบอยู่ประจำ
สายน้ำมีทรายมูล มีกระแสน้ำใสเย็น
มีหมู่ไม้มะม่วง ไม้สาละ ไม้หมากหอม ไม้หว้า
ไม้ราชพฤกษ์และหมู่ไม้แคฝอย ผลิดอกออกผลสะพรั่ง
[๕๐] วิมานอันเลอเลิศมีภูมิภาคเช่นนั้น
เป็นส่วนประกอบงดงามเหลือเกิน
นี้เป็นผลของกรรมนั้นนั่นเอง
ผู้ทำบุญไว้แล้วย่อมได้วิมานเช่นนี้
[๕๑] เพราะบุญนั้นผิวพรรณดิฉันจึงงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่ดิฉันในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่ดิฉัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๑. ปีฐวรรค ๗. ทุติยนาวาวิมาน
[๕๒] ข้าแต่ภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดิฉันขอกราบเรียนว่า
เพราะบุญที่ได้ทำไว้สมัยเมื่อเกิดเป็นมนุษย์
ดิฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
ปฐมนาวาวิมานที่ ๖ จบ

๗. ทุติยนาวาวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่มีเรือเป็นพาหนะ เรื่องที่ ๒
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า)
[๕๓] เทพนารี เธอขึ้นอยู่บนเรือประทุนทอง
ล่องลอยเข้าสู่สระโบกขรณี เด็ดดอกปทุมอยู่
[๕๔] เพราะบุญอะไรผิวพรรณเธอจึงงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่เธอในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่เธอ
[๕๕] เทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามว่า
เมื่อเธอเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะบุญอะไรเธอจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๕๖] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมตามที่พระเถระถามว่า
[๕๗] ชาติก่อน ดิฉันเกิดเป็นมนุษย์
อยู่ในหมู่มนุษย์ในมนุษยโลก
ได้เห็นภิกษุผู้เหน็ดเหนื่อยกระหายน้ำ
จึงขมีขมันถวายน้ำให้ท่านดื่ม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๑. ปีฐวรรค ๘. ตติยนาวาวิมาน
[๕๘] ผู้ใดแลขมีขมันถวายน้ำ
ให้ภิกษุผู้เหน็ดเหนื่อยกระหายน้ำได้ดื่ม
แม่น้ำหลายสายมีกระแสน้ำใสเย็น มากไปด้วยสวนไม้ดอก
มีบัวขาวอยู่มากมายย่อมเกิดแก่ผู้นั้น
[๕๙] วิมานนั้น มีน้ำหลายสายไหลล้อมรอบอยู่ประจำ
สายน้ำมีทรายมูล มีกระแสน้ำใสเย็น
มีหมู่ไม้มะม่วง ไม้สาละ ไม้หมากหอม ไม้หว้า
ไม้ราชพฤกษ์และหมู่ไม้แคฝอย ผลิดอกออกผลสะพรั่ง
[๖๐] วิมานอันเลอเลิศมีภูมิภาคเช่นนั้น
เป็นส่วนประกอบงดงามเหลือเกิน
นี้เป็นผลของกรรมนั้นนั่นเอง
ผู้ทำบุญไว้แล้วย่อมได้วิมานเช่นนี้
[๖๑] เพราะบุญนั้นผิวพรรณดิฉันจึงงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่ดิฉันในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่ดิฉัน
[๖๒] ข้าแต่ภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดิฉันขอกราบเรียนว่า
เพราะบุญที่ได้ทำไว้สมัยเมื่อเกิดเป็นมนุษย์
ดิฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
ทุติยนาวาวิมานที่ ๗ จบ

๘. ตติยนาวาวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่มีเรือเป็นพาหนะ เรื่องที่ ๓
(พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า)
[๖๓] เทพนารี เธอขึ้นอยู่บนเรือประทุนทอง
ล่องลอยเข้าสู่สระโบกขรณี เด็ดดอกปทุมอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๑. ปีฐวรรค ๘. ตติยนาวาวิมาน
[๖๔] วิมานเรือนยอดของเธอ
จัดแบ่งไว้แต่ละส่วนอย่างเหมาะสม
ส่องสว่างรุ่งเรืองรอบทั้ง ๔ ทิศ
[๖๕] เพราะบุญอะไรผิวพรรณเธอจึงงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่เธอในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่เธอ
[๖๖] เทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก ตถาคตขอถามว่า
เมื่อเธอเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะบุญอะไรเธอจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๖๗] เทพธิดานั้นดีใจที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถาม
จึงทูลตอบปัญหาผลกรรม
ตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า
[๖๘] ชาติก่อนหม่อมฉันเกิดเป็นมนุษย์
อยู่ในหมู่มนุษย์ในมนุษยโลก
ได้เห็นภิกษุหลายรูปผู้เหน็ดเหนื่อยกระหายน้ำ
จึงขมีขมันถวายน้ำให้ท่านดื่ม
[๖๙] ผู้ใดแล ขมีขมันถวายน้ำให้ภิกษุหลายรูป
ผู้เหน็ดเหนื่อยกระหายน้ำได้ดื่ม
แม่น้ำหลายสายมีกระแสน้ำใสเย็น มากไปด้วยสวนไม้ดอก
มีบัวขาวอยู่มากมายย่อมเกิดแก่ผู้นั้น
[๗๐] วิมานนั้นมีแม่น้ำหลายสายไหลล้อมรอบอยู่ประจำ
สายน้ำมีทรายมูล มีกระแสน้ำใสเย็น
มีหมู่ไม้มะม่วง ไม้สาละ ไม้หมากหอม ไม้หว้า
ไม้ราชพฤกษ์และหมู่ไม้แคฝอย ผลิดอกออกผลสะพรั่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๑. ปีฐวรรค ๙. ปทีปวิมาน
[๗๑] วิมานอันเลอเลิศ มีภูมิภาคเช่นนั้น
เป็นส่วนประกอบงดงามเหลือเกิน
นี้เป็นผลของกรรมนั้นนั่นเอง
ผู้ทำบุญไว้แล้วย่อมได้วิมานเช่นนี้
[๗๒] วิมานที่อยู่ของหม่อมฉันมีเรือนยอด
จัดแบ่งไว้แต่ละส่วนอย่างเหมาะสม
ส่องสว่างรุ่งเรืองรอบทั้ง ๔ ทิศ
[๗๓] เพราะบุญนั้นผิวพรรณหม่อมฉันจึงงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่หม่อมฉันในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่หม่อมฉัน
[๗๔] ข้าแต่พระพุทธองค์ผู้ทรงอานุภาพมาก หม่อมฉันขอกราบทูลว่า
เพราะบุญที่ได้ทำไว้สมัยเมื่อเกิดเป็นมนุษย์
หม่อมฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
นี้เป็นผลของกรรมที่พระพุทธองค์ทรงเสวยน้ำ
ที่หม่อมฉันขมีขมันถวายนั้น
ตติยนาวาวิมานที่ ๘ จบ

๙. ปทีปวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายประทีป
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า)
[๗๕] เทพธิดา เธอมีผิวพรรณงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศสถิตอยู่ ดุจดาวประกายพรึก๑

เชิงอรรถ :
๑ ดาวที่มีรัศมีมากกว่าดาวดวงอื่น (ขุ.วิ.อ. ๗๕/๕๕) ปัจจุบันเรียกว่า ดาวรุ่ง คือ ดาวพระศุกร์ที่เห็นในเวลา
เช้ามืด ถ้าเห็นในเวลาหัวค่ำ เรียกดาวประจำเมือง (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕
หน้า ๕๐๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๑. ปีฐวรรค ๙. ปทีปวิมาน
[๗๖] เพราะบุญอะไรผิวพรรณเธอจึงงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่เธอในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่เธอ
[๗๗] เทพธิดา เพราะบุญอะไรเธอจึงมีรัศมีผ่องใส
ไพโรจน์ล้ำเหล่าเทพทั้งมวล
เพราะบุญอะไรเธอจึงมีอวัยวะทุกส่วนส่องสว่างไปทั่วทุกทิศ
[๗๘] เทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามว่า
เมื่อเธอเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะบุญอะไรเธอจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๗๙] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมตามที่พระเถระถามว่า
[๘๐] ชาติก่อนดิฉันเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์ในมนุษยโลก
ถึงยามข้างแรมเดือนมืด ได้จุดประทีปถวาย
ในเวลาที่ต้องตามประทีป
[๘๑] ผู้ใดตามประทีปเป็นทานในเวลาที่ต้องตามประทีป
ในยามข้างแรมเดือนมืด
วิมานมีแสงโชติช่วง มากไปด้วยสวนไม้ดอก
มีบัวขาวอยู่มากมายย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้นั้น
[๘๒] เพราะบุญนั้นผิวพรรณดิฉันจึงงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่ดิฉันในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่ดิฉัน
[๘๓] เพราะบุญนั้นดิฉันจึงมีรัศมีผ่องใสไพโรจน์ล้ำกว่าเทพทั้งมวล
เพราะบุญนั้นดิฉันจึงมีอวัยวะทุกส่วนสัดส่องสว่างไปทั่วทุกทิศ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๑. ปีฐวรรค ๑๐. ติลทักขิณวิมาน
[๘๔] ข้าแต่ภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดิฉันขอกราบเรียนว่า
เพราะบุญที่ได้ทำไว้สมัยเมื่อเกิดเป็นมนุษย์
ดิฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
ปทีปวิมานที่ ๙ จบ

๑๐. ติลทักขิณวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายเมล็ดงา
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า)
[๘๕] เทพธิดา เธอมีผิวพรรณงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอยู่ ดุจดาวประกายพรึก
[๘๖] เพราะบุญอะไรผิวพรรณเธอจึงงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่เธอในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่เธอ
[๘๗] เทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามว่า
เมื่อเธอเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะบุญอะไรเธอจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๘๘] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมตามที่พระเถระถามว่า
[๘๙] ชาติก่อนดิฉันเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์ในมนุษยโลก
[๙๐] ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากกิเลสประดุจธุลี
มีพระทัยผ่องใสไม่มัวหมอง
ถึงไม่ได้ตั้งใจแต่ก็เลื่อมใสแล้ว
ได้เบียดแทรกเข้าไปถวายเมล็ดงาเป็นทานแด่พระพุทธเจ้า
ผู้เป็นพระทักขิไณยบุคคลด้วยมือทั้งสองของตน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๑. ปีฐวรรค ๑๑. ปฐมปติพพตาวิมาน
[๙๑] เพราะบุญนั้นผิวพรรณดิฉันจึงงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่ดิฉันในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่ดิฉัน
[๙๒] ข้าแต่ภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดิฉันขอกราบเรียนว่า
เพราะบุญที่ได้ทำไว้สมัยเมื่อเกิดเป็นมนุษย์
ดิฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
ติลทักขิณวิมานที่ ๑๐ จบ

๑๑. ปฐมปติพพตาวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ซื่อสัตย์ต่อสามี เรื่องที่ ๑
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า)
[๙๓] เหล่านกกระเรียน นกยูง หงส์
นกดุเหว่าดำและนกดุเหว่าขาว ล้วนเป็นทิพย์
ชุมนุมกันส่งเสียงไพเราะอยู่รอบวิมานนี้
ซึ่งดารดาษด้วยบุบผชาติ น่ารื่นรมย์ ช่างงามเหลือเกิน
ทั้งเทพบุตรและเทพธิดาเวียนกันมาชมไม่ขาดสาย
[๙๔] เทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก
เธอแสดงฤทธิ์ได้หลากหลาย อยู่ในวิมานนั้น
อนึ่ง เทพอัปสรเหล่านี้ก็ฟ้อนรำขับร้อง
ให้ความบันเทิงอยู่รอบ ๆ เธอ
[๙๕] เทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก
เมื่อเธอเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
จึงได้สำเร็จเป็นเทพธิดาผู้มีฤทธิ์
เพราะบุญอะไรเธอจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๑. ปีฐวรรค ๑๒. ทุติยปติพพตาวิมาน
[๙๖] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมตามที่พระเถระถามว่า
[๙๗] เมื่อดิฉันเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์
เป็นผู้ซื่อสัตย์ ไม่นอกใจสามี
คอยถนอมน้ำใจ เหมือนมารดาถนอมบุตร
ถึงแม้จะโกรธก็ไม่กล่าวคำหยาบคาย
[๙๘] ดำรงมั่นอยู่ในความสัตย์ ละเว้นการพูดเท็จ
ยินดีในการให้ทาน ชอบอุทิศตนช่วยเหลือผู้อื่น
มีจิตเลื่อมใส ได้ถวายข้าวและน้ำ
เป็นทานอย่างเหลือเฟือโดยเคารพ
[๙๙] เพราะบุญนั้นผิวพรรณดิฉันจึงงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่ดิฉันในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่ดิฉัน
[๑๐๐] ข้าแต่ภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดิฉันขอกราบเรียนว่า
เพราะบุญที่ได้ทำไว้สมัยเมื่อเกิดเป็นมนุษย์
ดิฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
ปฐมปติพพตาวิมานที่ ๑๑ จบ

๑๒. ทุติยปติพพตาวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ซื่อสัตย์ต่อสามี เรื่องที่ ๒
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า)
[๑๐๑] เทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก
เธอสถิตอยู่ในวิมานน่ารื่นรมย์
เสาทำด้วยแก้วไพฑูรย์อันน่ารื่นรมย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๑. ปีฐวรรค ๑๒. ทุติยปติพพตาวิมาน
เปล่งแสงเรืองรอง งามผุดผ่อง
เธอแสดงฤทธิ์ได้หลากหลาย
เทพอัปสรเหล่านี้ก็ฟ้อนรำ ขับร้อง
และให้ความบันเทิงอยู่รอบ ๆ เธอ
[๑๐๒] เทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก
เมื่อเธอเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
จึงได้สำเร็จเป็นเทพธิดาผู้มีฤทธิ์ เพราะบุญอะไรจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๑๐๓] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมตามที่พระเถระถามว่า
[๑๐๔] เมื่อดิฉันเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์
เป็นอุบาสิกาของพระพุทธเจ้าผู้ทรงมีพระจักษุ
ดิฉันงดเว้นจากฆ่าสัตว์ เว้นจากการลักทรัพย์ในโลก
[๑๐๕] พอใจเฉพาะสามีของตน ไม่กล่าวเท็จ ไม่ดื่มน้ำเมา๑
มีจิตเลื่อมใสได้ถวายข้าวและน้ำ
เป็นทานอย่างเหลือเฟือโดยเคารพ
[๑๐๖] เพราะบุญนั้นผิวพรรณดิฉันจึงงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่ดิฉันในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่ดิฉัน
[๑๐๗] ข้าแต่ภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดิฉันขอกราบเรียนว่า
เพราะบุญที่ได้ทำไว้สมัยเมื่อเกิดเป็นมนุษย์
ดิฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
ทุติยปติพพตาวิมานที่ ๑๒ จบ

เชิงอรรถ :
๑ แปลตามลำดับศีล ๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๑. ปีฐวรรค ๑๓. ปฐมสุณิสาวิมาน
๑๓. ปฐมสุณิสาวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงสะใภ้ เรื่องที่ ๑
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า)
[๑๐๘] เทพธิดา เธอมีผิวพรรณงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอยู่ ดุจดาวประกายพรึก
[๑๐๙] เพราะบุญอะไรผิวพรรณเธอจึงงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่เธอในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่เธอ
[๑๑๐] เทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามว่า
เมื่อเธอเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะบุญอะไรเธอจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๑๑๑] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมตามที่พระเถระถามว่า
[๑๑๒] เมื่อดิฉันเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์
เป็นสะใภ้(อยู่)ในเรือนพ่อผัว
[๑๑๓] ได้เห็นภิกษุผู้ปราศจากกิเลสประดุจธุลี
มีใจผ่องใส ไม่มัวหมอง เลื่อมใสแล้ว
ได้ถวายขนมแด่ท่านด้วยมือทั้งสองของตน
ครั้นแบ่งขนมครึ่งหนึ่งถวายแล้ว
ดิฉันจึงมาบันเทิงใจอยู่ในสวนนันทวัน๑
[๑๑๔] เพราะบุญนั้นผิวพรรณดิฉันจึงงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่ดิฉันในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่ดิฉัน

เชิงอรรถ :
๑ สวนดอกไม้ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๑. ปีฐวรรค ๑๔. ทุติยสุณิสาวิมาน
[๑๑๕] ข้าแต่ภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดิฉันขอกราบเรียนว่า
เพราะบุญที่ได้ทำไว้สมัยเมื่อเกิดเป็นมนุษย์
ดิฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
ปฐมสุณิสาวิมานที่ ๑๓ จบ

๑๔. ทุติยสุณิสาวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงสะใภ้ เรื่องที่ ๒
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า)
[๑๑๖] เทพธิดา เธอมีผิวพรรณงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศสถิตอยู่ ดุจดาวประกายพรึก
[๑๑๗] เพราะบุญอะไรผิวพรรณเธอจึงงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่เธอในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่เธอ
[๑๑๘] เทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามว่า
เมื่อเธอเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะบุญอะไรเธอจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๑๑๙] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมตามที่พระเถระถามว่า
[๑๒๐] เมื่อดิฉันเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์
เป็นสะใภ้(อยู่)ในเรือนพ่อผัว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๑. ปีฐวรรค ๑๕. อุตตราวิมาน
[๑๒๑] ได้เห็นภิกษุผู้ปราศจากกิเลสประดุจธุลี
มีใจผ่องใส ไม่มัวหมอง
เลื่อมใสแล้ว ได้ถวายขนมกุมมาส๑ ก้อนหนึ่ง
แด่ท่านด้วยมือทั้งสองของตน ครั้นถวายแล้ว
ดิฉันจึงมาบันเทิงใจอยู่ในสวนนันทวัน
[๑๒๒] เพราะบุญนั้นผิวพรรณดิฉันจึงงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่ดิฉันในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่ดิฉัน
[๑๒๓] ข้าแต่ภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดิฉันขอกราบเรียนว่า
เพราะบุญที่ได้ทำไว้สมัยเมื่อเกิดเป็นมนุษย์
ดิฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
ทุติยสุณิสาวิมานที่ ๑๔ จบ

๑๕. อุตตราวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่นางอุตตรา
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า)
[๑๒๔] เทพธิดา เธอมีผิวพรรณงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอยู่ ดุจดาวประกายพรึก
[๑๒๕] เพราะบุญอะไรผิวพรรณเธอจึงงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่เธอในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่เธอ

เชิงอรรถ :
๑ ขนมสดที่ทำจากถั่วผสมข้าวเหนียว (ขุ.วิ.อ. ๑๒๑/๖๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๑. ปีฐวรรค ๑๕. อุตตราวิมาน
[๑๒๖] เทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามว่า
เมื่อเธอเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะบุญอะไรเธอจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๑๒๗] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมตามที่พระเถระถามว่า
[๑๒๘] เมื่อดิฉันยังครองเรือนอยู่
มิได้มีความริษยา ความตระหนี่ ความตีเสมอ
ดิฉันมีนิสัยไม่มักโกรธ ประพฤติตามคำสั่งสามี
และไม่ประมาทในการรักษาศีลอุโบสถเป็นนิตย์
[๑๒๙] ดิฉันเข้าจำอุโบสถศีลซึ่งประกอบด้วยองค์ ๘
ทุกวัน ๑๔ ค่ำ๑ ๑๕ ค่ำและ ๘ ค่ำแห่งปักษ์
และตลอดปาฏิหาริยปักษ์๒
[๑๓๐] ดิฉันสำรวมระวังในศีลตลอดเวลา
และแจกจ่ายทานด้วยความเคารพ จึงได้ครอบครองวิมานนี้
[๑๓๑] ดิฉันงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ จากการลักขโมย
จากการประพฤตินอกใจสามี สำรวมระวังจากการพูดเท็จ
และเว้นไกลการดื่มน้ำเมา
[๑๓๒] ดิฉันยินดีในศีล ๕ ฉลาดในอริยสัจ
เป็นอุบาสิกาของพระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่าโคดม
ผู้มีพระจักษุ มีพระยศ

เชิงอรรถ :
๑ คือ วันแรม ๑๔ ค่ำในเดือนขาด
๒ คือ วันรับ วันขึ้น ๗ ค่ำ ๑๔ ค่ำ วันแรม ๗ ค่ำ ๑๓ ค่ำ ๑๔ ค่ำ วันส่ง คือ วันขึ้น-แรม ๙ ค่ำ
๑ ค่ำ เช่นเดียวกันทั้งหมด (ขุ.วิ.อ. ๑๒๙/๗๘) อีกนัยหนึ่ง ปาฏิหาริยปักษ์ หมายถึง อุโบสถที่รักษา
ประจำตลอด ๓ เดือน ภายในพรรษา ถ้าไม่อาจรักษา ๓ เดือนได้ ก็ให้รักษา ๑ เดือน ในระหว่าง
วันปวารณาทั้งสอง (ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒) หรือถ้าไม่อาจรักษาได้ ๑
เดือน ก็รักษาตลอดครึ่งเดือน คือ ตั้งแต่วันปวารณาต้น (ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึง แรม ๑๔ ค่ำ
เดือน ๑๑) (องฺ.ติก.อ. ๒/๓๘/๑๓๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๑. ปีฐวรรค ๑๖. สิริมาวิมาน
[๑๓๓] เพราะศีลของตน ดิฉันนั้นจึงมีเกียรติยศบริวารยศ
เสวยผลบุญของตนอยู่เป็นสุข ไร้โรค
[๑๓๔] เพราะบุญนั้นผิวพรรณดิฉันจึงงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่ดิฉันในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่ดิฉัน
[๑๓๕] ข้าแต่ภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดิฉันขอกราบเรียนว่า
เพราะบุญที่ได้ทำไว้สมัยเมื่อเกิดเป็นมนุษย์
ดิฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
(เทพธิดาได้กราบเรียนต่อไปว่า)
[๑๓๖] พระคุณเจ้าผู้เจริญ ขอท่านพึงถวายอภิวาทพระยุคลบาทของ
พระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า (แล้วกราบทูล)ตามคำของดิฉันว่า “อุตตราอุบาสิกาถวาย
อภิวาทพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า พระพุทธเจ้าข้า ข้าแต่พระ
องค์ผู้เจริญ ข้อที่พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ดิฉันว่าจะได้บรรลุสามัญผลขั้นใดขั้น
หนึ่งนั้นไม่น่าอัศจรรย์เท่ากับที่ทรงพยากรณ์ดิฉันว่า จะได้บรรลุสกทาคามิผลเลย”
อุตตราวิมานที่ ๑๕ จบ

๑๖. สิริมาวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่นางสิริมา
(พระวังคีสะประสงค์จะให้นางสิริมา๑เทพธิดาประกาศบุญกรรมที่นางได้ทำไว้ใน
ครั้งก่อนจึงถามนางด้วยคาถาเหล่านี้ว่า)

เชิงอรรถ :
๑ นางสิริมา เดิมเป็นหญิงโสเภณี ได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าได้บรรลุโสดาบันจึงเลิกอาชีพโสเภณี ได้ตั้ง
สลากภัตร ๘ ที่ ถวายสงฆ์ทุกวัน ต่อมานางป่วยหนักเสียชีวิตแต่ยังสาว ได้ไปเกิดเป็นเทพธิดาอยู่ในวิมาน
นี้ (ขุ.วิ.อ. ๑๓๗/๘๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๑. ปีฐวรรค ๑๖. สิริมาวิมาน
[๑๓๗] ม้าสำหรับเทียมรถของเธอ ตกแต่งด้วยเครื่องประดับชั้นดีเยี่ยม
มีพลัง แคล่วคล่องว่องไว เหาะทะยานลงไป
รถเทียมม้า ๕๐๐ คัน ที่บุญกุศลเนรมิตเพื่อเธอ
และม้าเหล่านั้นเหมือนถูกนายสารถีกระตุ้นเตือน
ย่อมแล่นตามเธอไป
[๑๓๘] เธอประดับองค์ สถิตบนรถอันเลอเลิศ
เปล่งรัศมีสว่างรุ่งเรืองอยู่ประดุจดวงไฟอันโชติช่วง
เทพธิดาผู้มีรูปงาม น่าชม มองแล้วไม่เบื่อ อาตมาขอถามว่า
“เธอมาจากเทพหมู่ไหนหนอจึงเข้ามาเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ซึ่งหาใครเลิศยิ่งกว่าไม่ได้แล้ว
(สิริมาเทพธิดานั้นตอบพระเถระว่า)
[๑๓๙] ถัดลงมาจากหมู่ปรนิมมิตวสวัตดีเทพ๑ผู้ถึงความเป็นเลิศ
ด้วยกามคุณ ที่บัณฑิตกล่าวชมว่ายอดเยี่ยมนั้น
มีนิมมานรดีเทพซึ่งเนรมิตสมบัติได้เองแล้วชื่นชมอยู่
ดิฉันเป็นนางอัปสรจากหมู่นิมมานรดีเทพนั้น ซึ่งมีรูปร่างน่าพึงใจ
ประสงค์จะนมัสการพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ซึ่งหาใครเลิศยิ่งกว่ามิได้ จึงมาสู่มนุษยโลกนี้
(พระเถระถามว่า)
[๑๔๐] ชาติก่อนแต่จะมาเป็นเทพธิดานี้
เธอได้ประพฤติสุจริตกรรมอะไรไว้
เพราะบุญอะไรเธอจึงมีบริวารยศอยู่มากมาย เปี่ยมไปด้วยความสุข
อนึ่ง เธอมีฤทธิ์ที่หาฤทธิ์ใดเทียมเท่ามิได้
เหาะไปในอากาศได้ ทั้งมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วสิบทิศ

เชิงอรรถ :
๑ เป็นชื่อของหมู่เทพในสวรรค์ชั้นที่ ๖ (สวรรค์มี ๖ ชั้น คือ จาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี
ปรนิมมิตวสวัตดี) เมื่อต้องการอะไรจะให้เทพชั้นที่ ๕ นิรมิตให้ (ขุ.วิ.อ. ๑๓๙/๘๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๑. ปีฐวรรค ๑๖. สิริมาวิมาน
[๑๔๑] เทพธิดา อนึ่ง เธอมีมวลเทพห้อมล้อม สักการะ
เธอจุติมาจากคติ๑ไหนจึงมาถึงสุคติภพนี้
หรือว่าเธอได้ทำตามคำสอนของพระศาสดาพระองค์ไหน
หากเธอเป็นสาวิกาของพระพุทธเจ้าจริง ขอจงบอกอาตมาเถิด
(สิริมาเทพธิดาตอบว่า)
[๑๔๒] ดิฉันเป็นพระสนมของพระราชาผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ๒
มีพระสิริ อยู่ในพระนครซึ่งสถาปนาไว้เป็นอย่างดีท่ามกลางขุนเขา
มีความชำนาญอย่างยิ่งในการฟ้อนรำ ขับร้อง
ชาวเมืองราชคฤห์ได้พากันเรียกขานดิฉันว่า สิริมา
[๑๔๓] พระพุทธเจ้าทรงองอาจกว่าหมู่ผู้เป็นฤษี ทรงแนะนำเวไนยสัตว์
ได้ทรงแสดงทุกขสัจและสมุทัยสัจว่าเป็นสภาวะที่ไม่เที่ยง
ทรงแสดงทุกขนิโรธสัจซึ่งปราศจากปัจจัยปรุงแต่งว่าเป็นสภาวะคงที่
และทรงแสดงมรรคสัจนี้ซึ่งเป็นทางไม่อ้อมค้อม
เป็นทางตรง และเป็นทางปลอดโปร่งแก่ดิฉัน
[๑๔๔] ดิฉันครั้นฟังธรรมอันเป็นทางไม่ตาย ปราศจากปัจจัยปรุงแต่ง
เป็นคำสอนของพระตถาคตเจ้าผู้หาใครเลิศยิ่งกว่ามิได้
สำรวมในศีลทั้งหลายอย่างเคร่งครัดเป็นอันดี
มั่นอยู่ในธรรมที่พระพุทธเจ้าผู้เลิศกว่านรชนทรงแสดงไว้แล้ว
[๑๔๕] ครั้นรู้ทางที่ปราศจากกิเลสประดุจธุลีซึ่งปราศจากปัจจัยปรุงแต่ง
อันพระตถาคตเจ้าผู้หาใครเลิศยิ่งกว่ามิได้ทรงแสดงไว้แล้ว
ได้สัมผัสสมถสมาธิ๓ ในอัตภาพนั้นเอง
การได้สัมผัสสมถสมาธินั้นแหละ
เป็นภาวะแน่นอนอย่างยิ่งสำหรับดิฉัน

เชิงอรรถ :
๑ คติ (ภพที่สัตว์ไปเกิด) ๕ คือ นรก กำเนิดดิรัจฉาน เปรต มนุษย์ และสวรรค์
๒ พระเจ้าพิมพิสาร ผู้ครองกรุงราชคฤห์ (ขุ.วิ.อ. ๑๔๒/๙๐)
๓ สมถสมาธิ คือ โลกุตตรสมาธิที่ตัดกิเลสได้เด็ดขาด (ขุ.วิ.อ. ๑๔๕/๙๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๑. ปีฐวรรค ๑๖. สิริมาวิมาน
[๑๔๖] ดิฉันได้อมตธรรมอันประเสริฐ ที่ทำให้ต่างจากปุถุชน
มีความเชื่อมั่น๑ บรรลุคุณวิเศษเพราะรู้แจ้ง๒แล้ว
หมดความลังเลสงสัย ได้รับการบูชาจากคนจำนวนมาก
ความยินดีไม่น้อย
[๑๔๗] ตามที่กราบเรียนมานี้ ดิฉันจึงเป็นเทพธิดาผู้เห็นอมตธรรม
เป็นสาวิกาของพระตถาคตเจ้าผู้หาใครเลิศยิ่งกว่ามิได้
ได้เห็นธรรม ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล เป็นโสดาบันบุคคล
ทุคติเป็นอันไม่มีแก่ดิฉันอีกแล้ว
[๑๔๘] ดิฉันนั้นมาหมายจะถวายอภิวาท
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้หาใครเลิศยิ่งกว่ามิได้
หมายจะนมัสการบรรดาภิกษุผู้น่าเลื่อมใส ซึ่งยินดีในกุศลธรรม๓
และหมายจะเข้าไปนั่งใกล้สมาคมของสมณะที่ปลอดภัย
ดิฉันมีความเคารพพระธรรมราชา
คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงสิริ
[๑๔๙] ครั้นได้เห็นพระจอมมุนีแล้ว
ดิฉันก็มีใจเบิกบาน เอิบอิ่ม
จึงขอถวายอภิวาทพระองค์ผู้เป็นพระตถาคตเลิศกว่านรชน
ฝึกคนที่ควรฝึก ทรงตัดตัณหาได้ ทรงยินดีในกุศลธรรม
ทรงแนะนำเวไนยสัตว์ให้ข้ามพ้นจากทุกข์ได้
ทรงช่วยเหลือสัตว์โลกด้วยความเกื้อกูลอย่างยิ่ง
สิริมาวิมานที่ ๑๖ จบ

เชิงอรรถ :
๑ เชื่อมั่นในพระรัตนตรัย (ขุ.วิ.อ. ๑๔๖/๙๒)
๒ รู้แจ้งอริยสัจ (ขุ.วิ.อ. ๑๔๖/๙๒)
๓ นิพพาน (ขุ.วิ.อ. ๑๔๘/๙๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๑. ปีฐวรรค ๑๗. เปสการิยวิมาน
๑๗. เปสการิยวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่ธิดาช่างหูก
(ท้าวสักกะตรัสถามเทพธิดาว่า)
[๑๕๐] วิมานนี้น่ารื่นรมย์ เสาทำด้วยแก้วไพฑูรย์
เปล่งแสงเรืองรองอยู่เป็นนิตย์
จัดไว้เป็นสัดส่วนอย่างดี มีต้นไม้ทองขึ้นรอบด้าน
เป็นสถานที่เกิดมีเพราะผลกรรมของเรา
[๑๕๑] เทพอัปสรซึ่งมีอยู่ก่อนตั้งแสนเหล่านี้
เกิดในวิมานนั้นด้วยกรรมของตน
เธอก็เกิดเองด้วยกรรมของตน มีบริวารยศ
เปล่งรัศมีข่มเหล่าเทพอัปสรผู้เกิดก่อนอยู่
[๑๕๒] เธอผู้ทรงบริวารยศ เปล่งรัศมีรุ่งเรืองข่มหมู่เทพอัปสรนี้อยู่
ประหนึ่งพระจันทร์ ผู้เป็นราชาแห่งดาวนักษัตร
ส่องแสงสกาวข่มหมู่ดาวอยู่ฉะนั้นเทียว
[๑๕๓] แม่เทพธิดาผู้น่าชม มองแล้วไม่เบื่อ
เธอมาจากไหนหนอจึงอุบัติยังภพของเรานี้
เราทั้งมวลมองดูเธอไม่รู้จักอิ่ม เหมือนทวยเทพชั้นไตรทศ๑
รวมทั้งพระอินทร์มองดูพระพรหมไม่รู้จักอิ่ม
(เทพธิดาผู้อันท้าวสักกเทวราชตรัสถามอย่างนั้นแล้ว เมื่อจะประกาศเนื้อความ
นั้นจึงกล่าวตอบเป็น ๒ คาถาว่า)
[๑๕๔] ข้าแต่ท้าวสักกะ ข้อที่พระองค์รับสั่งถามหม่อมฉันว่า
เธอจุติจากภพไหนจึงได้มาเกิดที่ภพของเรานี้
หม่อมฉันขอเฉลยว่า เมื่อชาติก่อนหม่อมฉันเกิดเป็นธิดาของช่างหูก
อยู่ในกรุงพาราณสีซึ่งเป็นราชธานีแคว้นกาสี

เชิงอรรถ :
๑ ดาวดึงส์ (ขุ.วิ.อ. ๑๕๓/๙๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] รวมเรื่องวิมานที่มีในวรรค
[๑๕๕] หม่อมฉันมีใจเลื่อมใสในพระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์
เชื่อมั่นไม่หวั่นไหว หมดความสงสัย ได้รักษาสิกขาบท (ศีล) มิให้ขาด
บรรลุอริยผลมีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า๑ ไม่มี
ทุกข์ (เมื่อจะทรงชื่นชมบุญสมบัติและทิพยสมบัติของเทพธิดานั้น
ท้าวสักกเทวราชจึงตรัสคาถาครึ่ง ความว่า)
[๑๕๖] แม่เทพธิดาผู้มีใจเลื่อมใสในพระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์
เชื่อมั่นไม่หวั่นไหว หมดความสงสัย รักษาสิกขาบทมิให้ขาด
บรรลุอริยผล มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า
ไม่มีทุกข์ เราขอแสดงความชื่นชมต่อบุญสมบัติและทิพยสมบัติของ
เธอนั้น และขอแสดงความยินดีต่อการมาดีของเธอ
เธอก็รุ่งเรืองด้วยธรรมและบริวารยศ
เปสการิยวิมานที่ ๑๗ จบ

รวมเรื่องวิมานที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมปีฐวิมาน ๒. ทุติยปีฐวิมาน
๓. ตติยปีฐวิมาน ๔. จตุตถปีฐวิมาน
๕. กุญชรวิมาน ๖. ปฐมนาวาวิมาน
๗. ทุติยนาวาวิมาน ๘. ตติยนาวาวิมาน
๙. ปทีปวิมาน ๑๐. ติลทักขิณวิมาน
๑๑. ปฐมปติพพตาวิมาน ๑๒. ทุติยปติพพตาวิมาน
๑๓. ปฐมสุณิสาวิมาน ๑๔. ทุติยสุณิสาวิมาน
๑๕. อุตตราวิมาน ๑๖. สิริมาวิมาน
๑๗. เปสการิยวิมาน

ท่านเรียกว่า “วรรค” ด้วยการรวมเรื่องวิมานนั้น
ปีฐวรรคที่ ๑ จบ

เชิงอรรถ :
๑ สัมโพธิ ในที่นี้หมายถึง มรรค ๓ เบื้องสูง (สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหัตตมรรค) (ที.สี.อ.
๑/๓๗๗/๒๘๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๒. จิตตลตาวรรค ๑. ทาสีวิมาน
๒. จิตตลตาวรรค
หมวดว่าด้วยสวนจิตลดาของเหล่าเทวดา
๑. ทาสีวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงคนใช้
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า)
[๑๕๗] เธอมีหมู่เทพนารีห้อมล้อม ดุจท้าวสักกเทวราช
เที่ยวชมไปโดยรอบในสวนจิตรลดาอันน่ารื่นรมย์
เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอยู่ ดุจดาวประกายพรึก
[๑๕๘] เพราะบุญอะไรผิวพรรณเธอจึงงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่เธอในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่เธอ
[๑๕๙] เทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามว่า
เมื่อเธอเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะบุญอะไรเธอจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๑๖๐] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๑๖๑] เมื่อดิฉันเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์
เป็นคนใช้ ทำงานรับใช้ผู้อื่นอยู่ในสกุลหนึ่ง
[๑๖๒] เป็นอุบาสิกาของพระโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้ทรงมีพระจักษุ ทรงพระยศ
ดิฉันได้มีความพากเพียรออกจากกิเลส
ในศาสนาของพระศาสดาผู้ทรงพระคุณคงที่
เพราะมีมนสิการมั่นอยู่ในใจว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๒. จิตตลตาวรรค ๑. ทาสีวิมาน
[๑๖๓] แม้ถึงร่างกายนี้จะแตกสลายไปก็ตามที
การที่เราจะหยุดความเพียรในการเจริญกรรมฐานนี้
จะไม่มีเป็นอันขาด
[๑๖๔] ขอเชิญท่านดูผลแห่งความเพียรออกจากกิเลส
ซึ่งดิฉันผู้มีความรู้น้อย ได้บรรลุอริยมรรค
อันมีสิกขาบท ๕ เป็นอุปนิสัย เป็นทางสวัสดี เป็นเหตุถึงความเกษม
ไม่มีขวากหนามคือกิเลส เป็นสภาวะที่(ตัณหาและทิฏฐิ) ยึดเหนี่ยว
ไม่ได้ เป็นทางตรงที่สัตบุรุษทั้งหลายประกาศแล้วนี้เถิด
[๑๖๕] ท้าวสักกเทวราชผู้ทรงอำนาจเชิญดิฉันมา
เหล่าดุริยเทพหกหมื่นองค์ ช่วยกันปลุกเร้าดิฉัน ให้เกิดปีติโสมนัส
[๑๖๖] ได้แก่ เทพบุตรมีนามว่าอาลัมพะ คัคคระ ภีมะ สาธุวาที ปสังสิยะ
โปกขระและสุผัสสะ เหล่าเทพธิดาน้อย ๆ มีนามว่า วีณา โมกขา
[๑๖๗] นันทา สุนันทา โสณทินนา สุจิมหิตา
อลัมพุสา มิสสเกสีและบุณฑริกา
[๑๖๘] อนึ่ง เทพกัญญาอีกพวกหนึ่ง คือ เอณีปัสสา สุผัสสา สุภัททา
และมุทุวาทินี ผู้ประเสริฐกว่านางอัปสรทั้งหลาย
ผู้มีหน้าที่ปลุกเร้าให้เกิดปีติโสมนัส
[๑๖๙] เทวดาเหล่านั้น พอได้เวลาก็เข้ามาหาดิฉัน
เสนอสนองด้วยวาจาน่ายินดีว่า
เอาเถอะ พวกเราจักฟ้อนรำ ขับร้อง บำเรอเธอให้รื่นรมย์
[๑๗๐] สถานที่ที่ดิฉันได้รับในบัดนี้ มิใช่สถานที่สำหรับคนที่ไม่ได้ทำบุญไว้
แต่เป็นสถานที่สำหรับคนที่ได้ทำบุญไว้แล้วเท่านั้น
ไม่มีความโศก น่าเพลิดเพลิน เจริญใจ
เป็นอุทยานกว้างใหญ่ของเหล่าเทพชั้นไตรทศ
[๑๗๑] สำหรับผู้ที่ไม่ได้ทำบุญไว้ย่อมไม่มีความสุขทั้งโลกนี้และโลกหน้า
ส่วนผู้ที่ได้ทำบุญไว้แล้วย่อมมีความสุขทั้งโลกนี้และโลกหน้าแน่นอน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๒. จิตตลตาวรรค ๒. ลขุมาวิมาน
[๑๗๒] ผู้ปรารถนาจะสถิตอยู่ร่วมกับเทพชั้นดาวดึงส์เหล่านั้น
ควรทำกุศลไว้ให้มาก
เพราะว่าเหล่าชนผู้ได้ทำบุญไว้แล้วย่อมพรั่งพร้อมด้วยโภคสมบัติ
บันเทิงอยู่ในสวรรค์
ทาสีวิมานที่ ๑ จบ

๒. ลขุมาวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่นางลขุมาอุบาสิกา
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า)
[๑๗๓] เทพธิดา เธอมีผิวพรรณงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอยู่ ดุจดาวประกายพรึก
[๑๗๔] เพราะบุญอะไรผิวพรรณเธอจึงงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่เธอในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่เธอ
[๑๗๕] เทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามว่า
เมื่อเธอเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะบุญอะไรเธอจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๑๗๖] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๑๗๗] (เมื่อดิฉันเกิดเป็นมนุษย์ เป็นชาวเมืองพาราณสี
บ้านของดิฉันตั้งอยู่ใกล้ทางออก)
ออกจากประตูเกวัฏฏทวาร๑ไป ก็เป็นหมู่บ้านของดิฉัน
พระสาวกทั้งหลายผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
เที่ยวบิณฑบาตอยู่ในหมู่บ้านนั้น

เชิงอรรถ :
๑ เกวัฏฏทวาร เป็นชื่อประตูเมืองพาราณสีประตูหนึ่ง (ขุ.วิ.อ. ๑๗๗/๑๐๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๒. จิตตลตาวรรค ๒. ลขุมาวิมาน
[๑๗๘] ดิฉันมีใจเลื่อมใสในพระสาวกทั้งหลายผู้ปฏิบัติตรง
จึงได้ถวายข้าวสุก ขนมสด ผักดอง
พร้อมทั้งเครื่องดื่มที่ปรุงด้วยส่วนผสมต่าง ๆ มีข้าวและเกลือเป็นต้น
[๑๗๙] ดิฉันเข้าจำอุโบสถศีล ซึ่งประกอบด้วยองค์ ๘
ทุกวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำและ ๘ ค่ำแห่งปักษ์
และตลอดวันปาฏิหาริยปักษ์
[๑๘๐] ดิฉันผู้สำรวมระวังในศีลตลอดเวลา
และแจกจ่ายทานด้วยความเคารพ จึงได้ครอบครองวิมานนี้
[๑๘๑] ดิฉันงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ เว้นไกลจากการลักขโมย
การประพฤตินอกใจสามี สำรวมระวังจากการพูดเท็จ
และการดื่มน้ำเมา
[๑๘๒] ดิฉันยินดีในศีล ๕ ฉลาดในอริยสัจ
เป็นอุบาสิกาของพระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่าโคดม
ผู้มีพระจักษุ มีพระยศ
[๑๘๓-๑๘๔] เพราะบุญนั้นผิวพรรณดิฉันจึงงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
พระคุณเจ้าผู้เจริญ ขอท่านพึงถวายอภิวาทพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาค
ด้วยเศียรเกล้า (แล้วกราบทูล)ตามคำของดิฉันว่า “ลขุมาอุบาสิกาถวายอภิวาทแทบ
พระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า พระพุทธเจ้าข้า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
การที่พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ดิฉันว่าจะได้บรรลุสามัญผลขั้นใดขั้นหนึ่งนั้น
ไม่น่าอัศจรรย์เท่ากับที่ทรงพยากรณ์ดิฉันว่าจะได้บรรลุสกทาคามิผลเลย”
ลขุมาวิมานที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๒. จิตตลตาวรรค ๓. อาจามทายิกาวิมาน
๓. อาจามทายิกาวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงกำพร้า ผู้ถวายข้าวตัง
แด่พระมหากัสสปเถระ
(ท้าวสักกเทวราช เมื่อจะตรัสถามพระมหากัสสปเถระถึงสถานที่เกิดของหญิง
นั้น จึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า)
[๑๘๕] เมื่อพระคุณเจ้ากำลังเที่ยวบิณฑบาต หยุดยืนนิ่งอยู่
หญิงกำพร้าขัดสนคนหนึ่ง ซึ่งอาศัยชายคาเรือนของผู้อื่นอยู่
[๑๘๖] นางเลื่อมใส ได้ถวายข้าวตังแด่พระคุณเจ้าด้วยมือทั้งสองของตน
นางละร่างมนุษย์แล้ว ได้ไปสวรรค์ชั้นไหนหนอ
(พระมหากัสสปเถระถวายพระพรว่า)
[๑๘๗] เมื่ออาตมภาพกำลังเที่ยวบิณฑบาต หยุดยืนนิ่งอยู่
หญิงกำพร้าขัดสนคนหนึ่ง ซึ่งอาศัยชายคาเรือนของผู้อื่นอยู่
[๑๘๘] นางเลื่อมใส ได้ถวายข้าวตังแก่อาตมภาพด้วยมือทั้งสองของตน
นางละร่างมนุษย์ จุติพ้นจากมนุษยโลกนี้แล้ว
[๑๘๙] นางเป็นเทพธิดาชื่ออาจามทายิกา มีความสุขบันเทิงอยู่ในสวรรค์
ซึ่งเป็นที่อยู่ของทวยเทพผู้มีฤทธิ์มากชื่อนิมมานรดี
(ท้าวสักกเทวราชตรัสสรรเสริญทานนั้นว่า)
[๑๙๐] น่าอัศจรรย์จริงหนอ
ทานที่หญิงกำพร้าตั้งไว้ดีแล้วในพระคุณเจ้ามหากัสสปะ
ทักษิณาสำเร็จผลแล้วด้วยไทยธรรมที่ได้มาจากผู้อื่น
[๑๙๑] ความเป็นเอกอัครมเหสีของพระเจ้าจักรพรรดิ
ซึ่งนารีผู้งามทั่วสรรพางค์กาย
สามีมองมิรู้เบื่อ ได้ครอบครองแล้วนั้น
ยังมีค่าไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ ของการถวายข้าวตังนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๒. จิตตลตาวรรค ๔. จัณฑาลีวิมาน
[๑๙๒] ทองคำร้อยแท่ง ม้าร้อยตัว ราชรถเทียมม้าอัสดรร้อยคัน
หญิงสาวประดับต่างหูแก้วมณีแสนนาง
ก็ยังมีค่าไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ ของการถวายข้าวตังนั้น
[๑๙๓] ช้างมาตังคะเกิดในป่าหิมพานต์ ประมาณ ๑๐๐ เชือก
มีงางอนงาม ทรงพลังมาก มีสายคล้องคอทอง
ตกแต่งด้วยเครื่องลาดและเครื่องประดับที่วิจิตรบรรจงด้วยทอง
ก็ยังมีค่าไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ ของการถวายข้าวตังนั้น
[๑๙๔] การที่พระเจ้าจักรพรรดิได้ครอบครองมหาทวีปทั้งสี่ในโลกนี้นั้น
ก็ยังมีค่าไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ ของการถวายข้าวตังนั้น
อาจามทายิกาวิมานที่ ๓ จบ

๔. จัณฑาลีวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงจัณฑาลผู้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า
(พระมหาโมคคัลลานเถระกล่าว ๒ คาถาว่า)
[๑๙๕] จัณฑาลี เธอจงถวายอภิวาทพระยุคลบาท
ของพระโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีพระยศ
พระองค์ผู้สูงสุดกว่าฤๅษีทั้งหลาย
ได้ประทับยืนอยู่เพื่ออนุเคราะห์เธอผู้เดียวเท่านั้น
[๑๙๖] เธอจงทำใจให้เลื่อมใสยิ่งในพระพุทธองค์ซึ่งเป็นพระอรหันต์ผู้คงที่
แล้วจงประคองอัญชลีถวายอภิวาทโดยเร็ว ชีวิตเธอเหลือน้อยแล้ว
(เพื่อจะแสดงประวัติของนางจัณฑาลีนั้นโดยตลอด พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย
จึงกล่าว ๒ คาถาว่า)
[๑๙๗] หญิงจัณฑาลผู้นี้ครองเรือนร่างเป็นวันสุดท้าย
ซึ่งพระมหาโมคคัลลานเถระผู้อบรมตนแล้ว ตักเตือนแล้ว
ได้ถวายอภิวาทพระยุคลบาทของพระโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๒. จิตตลตาวรรค ๔. จัณฑาลีวิมาน
[๑๙๘] แม่โคได้ขวิดนางตาย ขณะยืนประคองอัญชลี
นมัสการพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ส่องแสงสว่างในโลกมืด
(นางไปเกิดเป็นเทพธิดาอยู่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ วันนั้น นางได้มาหาพระ
มหาโมคคัลลานเถระ นมัสการแล้วกราบเรียนว่า)
[๑๙๙] ข้าแต่ท่านผู้แกล้วกล้า ดิฉันบรรลุเทวฤทธิ์แล้ว
ขอเข้านมัสการใกล้ ๆ ท่านผู้มีอานุภาพมาก ผู้สิ้นอาสวะ
ปราศจากกิเลสประดุจธุลี ไม่หวั่นไหว
นั่งเร้นอยู่ในป่าแต่เพียงผู้เดียว
(พระมหาโมคคัลลานเถระจึงถามนางว่า)
[๒๐๐] เทพธิดาผู้เลอโฉม เธอเป็นใคร มีผิวพรรณงามดั่งทอง
มีรัศมีเรืองรอง มียศมาก งามตระการมิใช่น้อย
มีหมู่เทพอัปสรแวดล้อมลงจากวิมานมาไหว้อาตมา
(เทพธิดานั้นถูกพระมหาเถระถามแล้วอย่างนี้จึงกล่าว ๔ คาถาว่า)
[๒๐๑] ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉันคือหญิงจัณฑาล
ซึ่งท่านผู้แกล้วกล้าให้ไปถวายอภิวาทพระยุคลบาท
ของพระโคดมอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้มีพระยศ
[๒๐๒] ครั้นถวายอภิวาทพระยุคลบาทแล้ว
ดิฉันได้จุติจากกำเนิดคนจัณฑาล
มาบังเกิดในวิมานซึ่งเจริญพร้อมมูลในสวนนันทวัน
[๒๐๓] นางเทพอัปสรหลายพันนาง พากันห้อมล้อมดิฉันอยู่
ดิฉันเป็นผู้ประเสริฐเลิศกว่าเทพอัปสรเหล่านั้น
โดยรัศมี บริวารยศและอายุ
[๒๐๔] ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ดิฉันมีสติสัมปชัญญะ
สร้างคุณงามความดีไว้มาก
มาในโลก(นี้)เพื่อนมัสการพระคุณเจ้าผู้เป็นมุนี มีความกรุณา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๒. จิตตลตาวรรค ๕. ภัททิตถิกาวิมาน
(พระสังคีติกาจารย์กล่าวว่า)
[๒๐๕] เทพธิดาจัณฑาลีผู้กตัญญูกตเวที ครั้นกราบเรียนอย่างนี้แล้ว
จึงกราบลงแทบเท้าพระมหาโมคคัลลานะผู้อรหันต์แล้วหายไป ณ
ที่นั้นเอง
จัณฑาลีวิมานที่ ๔ จบ

๕. ภัททิตถิกาวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่นางภัททิตถิกาอุบาสิกา
(พระผู้มีพระภาคตรัสถามถึงบุพกรรมที่นางภัททาเทพธิดานั้นได้ทำไว้ว่า)
[๒๐๖-๒๐๗] เทพธิดาผู้ทรงปัญญา เธอประดับมาลัยดอกมณฑารพ
ซึ่งมีสีต่าง ๆ ไว้ที่ศีรษะ คือ สีเขียว เหลือง ดำ หงสบาทและแดง
รายล้อมด้วยกลีบเกสร ในเทพหมู่อื่นไม่มีต้นไม้ชนิดนี้
[๒๐๘] เทพธิดาผู้มีบริวารยศ
เพราะบุญอะไรเธอจึงได้เกิดในหมู่เทพชั้นไตรทศ
ตถาคตถามเธอแล้ว จงบอกเถิดว่า นี้เป็นผลของกรรมอันใดเล่า
(เทพธิดาถูกพระผู้มีพระภาคตรัสถามอย่างนี้แล้ว จึงทูลตอบด้วยคาถาเหล่านี้
ความว่า)
[๒๐๙] คนทั้งหลายรู้จักหม่อมฉันในนามว่า ภัททิตถิกา
หม่อมฉันเป็นอุบาสิกาอยู่ในกิมพิลนคร
เป็นผู้มีศรัทธาและสมบูรณ์ด้วยศีล ยินดีแจกจ่ายทานทุกเมื่อ
[๒๑๐] หม่อมฉันมีใจเลื่อมใสในพระอริยเจ้าผู้ปฏิบัติตรง
จึงได้ถวายเครื่องนุ่งห่ม อาหาร เสนาสนะและเครื่องตามประทีป
[๒๑๑] หม่อมฉันเข้าจำอุโบสถศีลซึ่งประกอบด้วยองค์ ๘
ทุกวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำและ ๘ ค่ำแห่งปักษ์
และตลอดปาฏิหาริยปักษ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๒. จิตตลตาวรรค ๕. ภัททิตถิกาวิมาน
[๒๑๒] หม่อมฉันสำรวมระวังในศีลตลอดเวลา
และแจกจ่ายทานด้วยความเคารพจึงได้ครอบครองวิมานนี้
[๒๑๓] หม่อมฉันงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ เว้นไกลจากการลักขโมย
การประพฤตินอกใจสามี สำรวมระวังจากการพูดเท็จ
และการดื่มน้ำเมา
[๒๑๔] หม่อมฉันยินดีในศีล ๕ ฉลาดในอริยสัจ
มีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท
เป็นอุบาสิกาของพระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่า
โคดม ผู้ทรงมีพระจักษุ
หม่อมฉันได้บำเพ็ญสุจริตธรรมและได้บำเพ็ญกุศลธรรมไว้แล้ว
จุติจากมนุษยโลกนั้นแล้ว ได้เกิดเป็นเทพธิดามีรัศมีในตัวเอง
เที่ยวชมสวนนันทวันอยู่
[๒๑๕] อนึ่ง หม่อมฉันได้ถวายอาหารแก่ภิกษุ
ผู้อนุเคราะห์เกื้อกูลอย่างเหลือล้น
ผู้เป็นคู่ดาบสมหามุนี๑
ได้บำเพ็ญสุจริตธรรมและได้บำเพ็ญกุศลธรรมไว้แล้ว
จุติจากมนุษยโลกนั้น เกิดเป็นเทพธิดา
มีรัศมีในตัวเอง เที่ยวชมสวนนันทวันอยู่
[๒๑๖] หม่อมฉันเข้าจำอุโบสถศีล ประกอบด้วยองค์ ๘
มีคุณกำหนดมิได้ นำความสุขมาให้เนืองนิตย์
ได้บำเพ็ญสุจริตธรรมและได้บำเพ็ญกุศลธรรมแล้ว
จุติจากมนุษยโลกนั้นแล้ว ได้เกิดเป็นเทพธิดา
มีรัศมีในตัวเอง เที่ยวชมสวนนันทวันอยู่
ภัททิตถิกาวิมานที่ ๕ จบ

เชิงอรรถ :
๑ พระอัครสาวกทั้งคู่ คือ พระสารีบุตร และพระมหาโมคคัลลานะ (ขุ.วิ.อ. ๒๑๕/๑๒๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๒. จิตตลตาวรรค ๖. โสณทินนาวิมาน
๖. โสณทินนาวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่นางโสณทินนาอุบาสิกา
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพธิดานั้นด้วยคาถาเหล่านี้ว่า)
[๒๑๗] เทพธิดา เธอมีผิวพรรณงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอยู่ ดุจดาวประกายพรึก
[๒๑๘] เพราะบุญอะไรผิวพรรณเธอจึงงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่เธอในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่เธอ
[๒๑๙] เทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามว่า
เมื่อเธอเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะบุญอะไร เธอจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๒๒๐] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๒๒๑] ชาวเมืองนาลันทา๑รู้จักดิฉันในนามว่า โสณทินนา
ดิฉันเป็นอุบาสิกาอยู่ในเมืองนาลันทา
เป็นผู้มีศรัทธา สมบูรณ์ด้วยศีล ยินดีแจกจ่ายทานทุกเมื่อ
[๒๒๒] ดิฉันมีใจเลื่อมใสในพระอริยเจ้าผู้ปฏิบัติตรง
จึงได้ถวายเครื่องนุ่งห่ม อาหาร เสนาสนะและเครื่องตามประทีป
[๒๒๓] ดิฉันเข้าจำอุโบสถศีล ซึ่งประกอบด้วยองค์ ๘
ทุกวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำและ ๘ ค่ำแห่งปักษ์
และตลอดปาฏิหาริยปักษ์
[๒๒๔] ดิฉันสำรวมระวังในศีลตลอดเวลา
และแจกจ่ายทานด้วยความเคารพจึงได้ครอบครองวิมานนี้

เชิงอรรถ :
๑ เมืองนาลันทา เป็นเมืองเล็ก ๆ ขึ้นกับกรุงราชคฤห์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๒. จิตตลตาวรรค ๗. อุโปสถาวิมาน
[๒๒๕] ดิฉันงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ เว้นไกลจากการลักขโมย
การประพฤตินอกใจสามี สำรวมระวังจากการพูดเท็จ
และการดื่มน้ำเมา
[๒๒๖] ดิฉันยินดีในศีล ๕ ฉลาดในอริยสัจ
เป็นอุบาสิกาของพระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่า โคดม
ผู้มีพระจักษุ มีพระยศ
[๒๒๗-๒๒๘] เพราะบุญนั้นผิวพรรณดิฉันจึงงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
โสณทินนาวิมานที่ ๖ จบ

๗. อุโปสถาวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่นางอุโบสถาอุบาสิกา
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามถึงบุพกรรมของเทพธิดานั้นว่า)
[๒๒๙] เทพธิดา เธอมีผิวพรรณงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอยู่ ดุจดาวประกายพรึก
[๒๓๐-๒๓๑] เพราะบุญอะไรผิวพรรณเธอจึงงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๒๓๒] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๒๓๓] ชาวเมืองสาเกตรู้จักดิฉันในนามว่า อุโปสถา
ดิฉันเป็นอุบาสิกาอยู่ในเมืองสาเกต
เป็นผู้มีศรัทธา สมบูรณ์ด้วยศีล และยินดีแจกจ่ายทานทุกเมื่อ
[๒๓๔] ดิฉันมีใจเลื่อมใสในพระอริยเจ้าผู้ปฏิบัติตรง
จึงได้ถวายเครื่องนุ่งห่ม อาหาร เสนาสนะและเครื่องตามประทีป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๒. จิตตลตาวรรค ๘. สุนิททาวิมาน
[๒๓๕] ดิฉันเข้าจำอุโบสถศีล ซึ่งประกอบด้วยองค์ ๘
ทุกวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำและ ๘ ค่ำแห่งปักษ์
และตลอดปาฏิหาริยปักษ์
[๒๓๖] ดิฉันสำรวมระวังในศีลตลอดเวลา
และแจกจ่ายทานด้วยความเคารพจึงได้ครอบครองวิมานนี้
[๒๓๗] ดิฉันงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ เว้นไกลจากการลักขโมย
การประพฤตินอกใจสามี สำรวมระวังจากการพูดเท็จ
และการดื่มน้ำเมา
[๒๓๘] ดิฉันยินดีในศีล ๕ ฉลาดในอริยสัจ
เป็นอุบาสิกาของพระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่า โคดม
ผู้มีพระจักษุ มีพระยศ
[๒๓๙-๒๔๐] เพราะบุญนั้นผิวพรรณดิฉันจึงงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
(เมื่อจะแสดงโทษของตน เทพธิดานั้นจึงได้กล่าว ๒ คาถาอีกว่า)
[๒๔๑] เพราะดิฉันได้ฟังเรื่องทิพยสมบัติในสวนนันทวันเนือง ๆ
จึงเกิดความพอใจขึ้น
เพราะเหตุที่ดิฉันตั้งจิตปรารถนาในภพดาวดึงส์นั้น
จึงได้เกิดในสวนนันทวัน
[๒๔๒] ดิฉันไม่ได้ปฏิบัติตามพระดำรัส
ของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า
เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ (แต่)
ตั้งจิตไว้ในภพที่เลว ภายหลังจึงเดือดร้อน
(เพื่อจะปลอบใจเทพธิดานั้น พระมหาโมคคัลลานเถระจึงได้กล่าวคาถานี้ว่า)
[๒๔๓] อุโปสถาเทพธิดา เธอจะอยู่ในวิมานนี้นานเท่าไร
อาตมาถามแล้ว ถ้าเธอทราบอายุขัย จงบอกอาตมาด้วยเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๒. จิตตลตาวรรค ๘. สุนิททาวิมาน
(เทพธิดานั้นตอบว่า)
[๒๔๔] ข้าแต่ท่านจอมปราชญ์ ดิฉันจักดำรงอยู่
ในวิมานนี้นานประมาณหกหมื่นปีทิพย์
จุติจากเทวโลกนี้แล้ว จักไปเกิดร่วมกับมวลมนุษย์
(พระมหาโมคคัลลานเถระปลุกเร้าเทพธิดานั้นให้อาจหาญด้วยคาถานี้ว่า)
[๒๔๕] อุโปสถาเทพธิดา เธออย่าสะทกสะท้าน
เพราะว่าเธอเป็นผู้ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ไว้แล้วว่า
จักบรรลุคุณวิเศษเป็นพระโสดาบัน ทุคติเป็นอันเธอละได้แล้ว
อุโปสถาวิมานที่ ๗ จบ

๘. สุนิททาวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่นางสุนิททาอุบาสิกา
(พระมหาโมคคัลลานเถระเมื่อจะถามถึงบุพกรรมของเทพธิดานั้นจึงกล่าวคาถา
นี้ว่า)
[๒๔๖] เทพธิดา เธอมีผิวพรรณงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอยู่ ดุจดาวประกายพรึก
[๒๔๗-๒๔๘] เพราะบุญอะไรผิวพรรณเธอจึงงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๒๔๙] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๒๕๐] ชาวเมืองราชคฤห์รู้จักดิฉันในนามว่า สุนิททา
ดิฉันเป็นอุบาสิกาอยู่ในกรุงราชคฤห์
เป็นผู้มีศรัทธา สมบูรณ์ด้วยศีล และยินดีแจกจ่ายทานทุกเมื่อ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๒. จิตตลตาวรรค ๙. สุทินนาวิมาน
[๒๕๑] ดิฉันมีใจเลื่อมใสในพระอริยเจ้าผู้ปฏิบัติตรง
จึงได้ถวายเครื่องนุ่งห่ม อาหาร เสนาสนะ และเครื่องตามประทีป
[๒๕๒] ดิฉันเข้าจำอุโบสถศีล ซึ่งประกอบด้วยองค์ ๘
ทุกวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำและ ๘ ค่ำแห่งปักษ์
และตลอดปาฏิหาริยปักษ์
[๒๕๓] ดิฉันสำรวมระวังในศีลตลอดเวลา
และแจกจ่ายทานด้วยความเคารพจึงได้ครอบครองวิมานนี้
[๒๕๔] ดิฉันงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ เว้นไกลจากการลักขโมย
การประพฤตินอกใจสามี สำรวมระวังจากการพูดเท็จ
และการดื่มน้ำเมา
[๒๕๕] ดิฉันยินดีในศีล ๕ ฉลาดในอริยสัจ
เป็นอุบาสิกาของพระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่า โคดม
ผู้มีพระจักษุ มีพระยศ
[๒๕๖-๒๕๗] เพราะบุญนั้นผิวพรรณดิฉันจึงงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
สุนิททาวิมานที่ ๘ จบ

๙. สุทินนาวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่นางสุทินนาอุบาสิกา
(พระมหาโมคคัลลานเถระเมื่อจะถามถึงบุพกรรมของเทพธิดานั้นจึงกล่าวคาถา
นี้ว่า)
[๒๕๘] เทพธิดา เธอมีผิวพรรณงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศสถิตอยู่ ดุจดาวประกายพรึก
[๒๕๙-๒๖๐] เพราะบุญอะไรผิวพรรณเธอจึงงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๒. จิตตลตาวรรค ๙. สุทินนาวิมาน
[๒๖๑] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๒๖๒] ชาวกรุงราชคฤห์รู้จักดิฉันในนามว่า สุทินนา
ดิฉันเป็นอุบาสิกาอยู่ในกรุงราชคฤห์
เป็นผู้มีศรัทธา สมบูรณ์ด้วยศีล
และยินดีแจกจ่ายทานทุกเมื่อ
[๒๖๓] ดิฉันมีใจเลื่อมใสในพระอริยเจ้าผู้ปฏิบัติตรง
จึงได้ถวายเครื่องนุ่งห่ม อาหาร เสนาสนะ และเครื่องตามประทีป
[๒๖๔] ดิฉันเข้าจำอุโบสถศีลซึ่งประกอบด้วยองค์ ๘
ทุกวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำและ ๘ ค่ำแห่งปักษ์
และตลอดปาฏิหาริยปักษ์
[๒๖๕] ดิฉันสำรวมระวังในศีลตลอดเวลา
และแจกจ่ายทานด้วยความเคารพ
จึงได้ครอบครองวิมานนี้
[๒๖๖] ดิฉันงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ เว้นไกลจากการลักขโมย
การประพฤตินอกใจสามี สำรวมระวังจากการพูดเท็จ
และการดื่มน้ำเมา
[๒๖๗] ดิฉันยินดีในศีล ๕ ฉลาดในอริยสัจ
เป็นอุบาสิกาของพระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่า โคดม
ผู้มีพระจักษุ มีพระยศ
[๒๖๘-๒๖๙] เพราะบุญนั้นผิวพรรณดิฉันจึงงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
สุทินนาวิมานที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๒. จิตตลตาวรรค ๑๑. ทุติยภิกขาทายิกาวิมาน
๑๐. ปฐมภิกขาทายิกาวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายภิกษา เรื่องที่ ๑
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพธิดานั้นด้วยคาถาเหล่านี้ว่า)
[๒๗๐] เทพธิดา เธอมีผิวพรรณงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอยู่ ดุจดาวประกายพรึก
[๒๗๑-๒๗๒] เพราะบุญอะไรผิวพรรณเธอจึงงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๒๗๓] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๒๗๔] ชาติก่อนดิฉันเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์ในมนุษยโลก
[๒๗๕] ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากกิเลสประดุจธุลี
มีพระทัยผ่องใส ไม่มัวหมอง มีความเลื่อมใส
ได้ถวายภิกษาแด่พระองค์ด้วยมือทั้งสองของตน
[๒๗๖-๒๗๗] เพราะบุญนั้นผิวพรรณดิฉันจึงงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
ปฐมภิกขาทายิกาวิมานที่ ๑๐ จบ

๑๑. ทุติยภิกขาทายิกาวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายภิกษา เรื่องที่ ๒
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพธิดานั้นด้วยคาถาเหล่านี้ว่า)
[๒๗๘] เทพธิดา เธอมีผิวพรรณงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอยู่ ดุจดาวประกายพรึก
[๒๗๙-๒๘๐] เพราะบุญอะไรผิวพรรณเธอจึงงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๒๘๑] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาของผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๒. จิตตลตาวรรค ๑๑. ทุติยภิกขาทายิกาวิมาน
[๒๘๒] ชาติก่อน ดิฉันเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์ในมนุษยโลก
[๒๘๓] ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากกิเลสประดุจธุลี
มีพระทัยผ่องใส ไม่มัวหมอง มีความเลื่อมใส
ได้ถวายภิกษาแด่พระองค์ด้วยมือทั้งสองของตน
[๒๘๔-๒๘๕] เพราะบุญนั้นผิวพรรณดิฉันจึงงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
ทุติยภิกขาทายิกาวิมานที่ ๑๑ จบ

รวมเรื่องวิมานที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ทาสีวิมาน ๒. ลขุมาวิมาน
๓. อาจามทายิกาวิมาน ๔. จัณฑาลีวิมาน
๕. ภัททิตถิกาวิมาน ๖. โสณทินนาวิมาน
๗. อุโปสถาวิมาน ๘. สุนิททาวิมาน
๙. สุทินนาวิมาน ๑๐. ปฐมภิกขาทายิกาวิมาน
๑๑. ทุติยภิกขาทายิกาวิมาน

จิตตลตาวรรคที่ ๒ จบ
ปฐมภาณวาร จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๑. อุฬารวิมาน
๓. ปาริจฉัตตกวรรค
หมวดว่าด้วยดอกปาริชาต
๑. อุฬารวิมาน
ว่าด้วยวิมานอันโอฬาร
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพธิดานั้นด้วยคาถาเหล่านี้ว่า)
[๒๘๖] เธอมีบริวารยศอันยิ่งใหญ่ ผิวพรรณเรืองรอง
ส่องสว่างไปทั่วทุกทิศ เหล่าเทพนารีและเหล่าเทพบุตร
แต่งองค์ทรงเครื่องพากันฟ้อนรำขับร้องอยู่
[๒๘๗] ให้ความบันเทิงใจ แวดล้อมหวังบำเรอเธออยู่
เทพธิดาผู้มีโฉมชวนพิศ วิมานเหล่านี้ของเธอล้วนเป็นวิมานทองคำ
[๒๘๘] ทั้งเธอก็เป็นใหญ่กว่าเทพเหล่านั้น ปรารถนาทุกสิ่งก็สำเร็จสิ้น
เธอเกิดมาดี มีอานุภาพยิ่งใหญ่ ร่าเริงบันเทิงใจอยู่ในหมู่เทพ
เทพธิดา อาตมาถามแล้ว ขอเธอจงบอกเถิดว่า
นี้เป็นผลของกรรมอันใดเล่า
(เทพธิดาตอบว่า)
[๒๘๙] ชาติก่อนดิฉันเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์ในมนุษยโลก
เป็นลูกสะใภ้อยู่ในตระกูลทุศีล
เมื่อคนในตระกูลมีพ่อผัวแม่ผัวเป็นผู้ไม่มีศรัทธา เป็นคนตระหนี่
[๒๙๐] ดิฉันกลับเป็นผู้มีศรัทธา สมบูรณ์ด้วยศีล
ยินดีแจกจ่ายทานโดยเคารพทุกเมื่อ
ได้ถวายขนมเบื้องแด่พระคุณเจ้าซึ่งกำลังเที่ยวบิณฑบาตอยู่
[๒๙๑] ครั้งนั้น ดิฉันบอกแม่ผัวว่า สมณะมาถึงที่นี้แล้ว
ดิฉันเลื่อมใส ได้ถวายขนมเบื้องแด่ท่านด้วยมือทั้งสองของตน
[๒๙๒] แม่ผัวด่าดิฉันว่า เธอเป็นหญิงหัวดื้อ
ทำไมเธอไม่คิดจะปรึกษาฉันเสียก่อนว่า จะถวายสมณะเล่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๒. อุจฉุทายิกาวิมาน
[๒๙๓] เพราะเหตุนี้แหละ แม่ผัวจึงเกรี้ยวกราด
แล้วเอาสากตีดิฉันถูกจงอยบ่า
ได้ทำร้ายดิฉัน ดิฉันจึงไม่อาจมีชีวิตอยู่ได้นาน
[๒๙๔] เพราะชีวิตสลายลง ดิฉันพ้นจากทุกข์นั้นมา
ได้จุติจากอัตภาพนั้นมาจึงเกิดร่วมกับหมู่เทพชั้นไตรทศ
[๒๙๕] เพราะบุญนั้นผิวพรรณดิฉันจึงงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีร่างกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
อุฬารวิมานที่ ๑ จบ

๒. อุจฉุทายิกาวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายท่อนอ้อย
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพธิดานั้นด้วยคาถาเหล่านี้ว่า)
[๒๙๖] เธอมีสิริรัศมีกาย มีบริวารยศและมีเดช
เปล่งรัศมีส่องทั่วแผ่นดินพร้อมทั้งเทวโลกให้สว่างไสว
รุ่งเรืองดังพระจันทร์และพระอาทิตย์
และดังท้าวมหาพรหมเปล่งรัศมีงามล้ำกว่า
ทวยเทพชาวไตรทศพร้อมทั้งพระอินทร์
[๒๙๗] อาตมาขอถามเธอ เทพธิดาผู้เลอโฉม ประดับมาลัยดอกอุบล
มีมาลัยแก้วประดับเทริด มีผิวพรรณเปล่งปลั่งดั่งทองคำ
ประดับประดาอาภรณ์อย่างสวยงาม ทรงพัสตราภรณ์ชั้นเลิศ
เธอเป็นใครมาไหว้อาตมา
[๒๙๘] ชาติก่อนเธอเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำกรรมอะไรมาก่อน
เธอสั่งสมทานไว้ดีหรือว่ารักษาศีลไว้ดี จึงเกิดในสวรรค์ มีบริวารยศ
เพราะกรรมอะไร เทพธิดา อาตมาถามแล้ว
ขอเธอจงบอกเถิดว่า นี้เป็นผลของกรรมอันใดเล่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๒. อุจฉุทายิกาวิมาน
(เทพธิดาตอบว่า)
[๒๙๙] พระคุณเจ้าผู้เจริญ เมื่อไม่นานมานี้ พระเถระรูปหนึ่ง
เข้ามาบิณฑบาตยังเรือนของดิฉันในหมู่บ้านนี้แหละ
จากนั้นดิฉันมีจิตเลื่อมใส เกิดปีติสุดประมาณ
จึงได้ถวายท่อนอ้อยแด่ท่าน
[๓๐๐] แต่ต่อมาภายหลัง แม่ผัวซักถามดิฉันว่า
แม่ตัวดี แกเอาอ้อยไปทิ้งไว้ที่ไหนล่ะ
ดิฉันจึงตอบว่า ไม่ได้ทิ้งและก็ไม่ได้กิน
แต่ดิฉันได้ถวายแด่ภิกษุผู้สงบระงับไปแล้ว
[๓๐๑] ทันใดนั้น แม่ผัวได้ด่าดิฉันว่า
นี่แกหรือฉันเป็นใหญ่กันแน่
ว่าแล้วก็คว้าตั่งฟาดดิฉัน
ดิฉันตายจากมนุษยโลกนั้นแล้วก็มาเกิดเป็นเทพธิดา
[๓๐๒] ดิฉันทำกุศลกรรมนั้นไว้เท่านี้
ตนเองจึงได้มาเสวยผลกรรมที่นำความสุขมาให้
ได้รับการบำเรอบันเทิงใจอยู่
ด้วยกามคุณ ๕ ร่วมกับหมู่เทพ
[๓๐๓] ดิฉันทำกุศลกรรมนั้นไว้เท่านี้
ตนเองจึงได้มาเสวยผลกรรมที่นำความสุขมาให้
มีท้าวสักกะจอมเทพคุ้มครอง มีทวยเทพชั้นไตรทศรักษา
เพียบพร้อมอยู่ด้วยกามคุณ ๕
[๓๐๔] ผลบุญดังกล่าวมานี้มิใช่เล็กน้อย
บุญที่ดิฉันได้ถวายอ้อยให้ผลมาก
ดิฉันจึงได้รับการบำเรอ บันเทิงใจอยู่
ด้วยกามคุณ ๕ ร่วมกับหมู่เทพ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๓. ปัลลังกวิมาน
[๓๐๕] ผลบุญดังกล่าวมานี้มิใช่เล็กน้อย
บุญที่ดิฉันได้ถวายอ้อยมีอานุภาพมาก
ดิฉันจึงมีท้าวสักกะจอมเทพคุ้มครอง
มีทวยเทพชั้นไตรทศรักษา ดังท้าวสหัสนัยน์ในนันทวัน
[๓๐๖] พระคุณเจ้าผู้เจริญ ดิฉันเข้าไปหาพระคุณเจ้า
ผู้อนุเคราะห์ซึ่งมีปัญญา แล้วกราบไหว้และถามถึงความไม่มีโรค
จากนั้นก็มีจิตเลื่อมใส เกิดปีติสุดประมาณ
จึงได้ถวายท่อนอ้อยแด่พระคุณเจ้า
อุจฉุทายิกาวิมานที่ ๒ จบ

๓. ปัลลังกวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่มีบัลลังก์สวยงามเกิดแก่หญิงผู้ประพฤติธรรม
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพธิดานั้นด้วยคาถาว่า)
[๓๐๗] เทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก เธอแสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้หลายรูปแบบ
อยู่บนบัลลังก์วิมานอันเลอเลิศ น่านอน โอ่โถง
วิจิตรด้วยแก้วมณีและทองคำ เรี่ยรายด้วยดอกไม้
[๓๐๘] อนึ่ง รอบข้างเธอมีเทพอัปสรเหล่านี้ฟ้อนรำขับร้องให้บันเทิงใจ
อยู่เสมอ
เทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก เมื่อเธอเกิดเป็นมนุษย์
ได้ทำบุญอะไรไว้ จึงได้สำเร็จเป็นเทพธิดาผู้มีฤทธิ์
เพราะบุญอะไร เธอจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
(เทพธิดาตอบว่า)
[๓๐๙] เมื่อดิฉันเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์
เป็นลูกสะใภ้ในตระกูลที่มั่งคั่งตระกูลหนึ่ง
มีนิสัยไม่มักโกรธ ปฏิบัติตามคำสั่งของสามีเสมอ
ไม่ประมาทในการรักษาอุโบสถศีล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๓. ปัลลังกวิมาน
[๓๑๐] เมื่อดิฉันเป็นมนุษย์ยังสาวอยู่ ไม่ประพฤติใฝ่ต่ำ
มีใจดี ทำตัวให้สามีโปรดปราน
ชาติก่อนดิฉันมีความประพฤติเป็นที่น่าพอใจ
ทั้งวันและคืน เป็นคนมีศีล
[๓๑๑] ได้บำเพ็ญสิกขาบททั้งหลายอย่างครบถ้วน
คืองดเว้นจากการฆ่าสัตว์
ไม่ลักทรัพย์ มีการงานทางกายบริสุทธิ์
ประพฤติพรหมจรรย์ได้บริสุทธิ์
สะอาด ไม่กล่าวเท็จ และไม่ดื่มน้ำเมา
[๓๑๒] มีใจเลื่อมใส ประพฤติตามธรรม ปลาบปลื้มใจ
เข้าจำอุโบสถศีลซึ่งประกอบด้วยองค์ ๘
ทุกวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำและ ๘ ค่ำแห่งปักษ์
และตลอดปาฏิหาริยปักษ์
[๓๑๓] ครั้นสมาทานกุศลธรรมอันประเสริฐ
ที่ประกอบด้วยองค์ ๘ อันสูงสุด
มีสุขเป็นอานิสงส์เช่นนี้แล้ว ดิฉันเป็นคนดี
ปฏิบัติตามคำสั่งของสามีเสมอ
เป็นสาวิกาของพระสุคตมาก่อน
[๓๑๔] ครั้นทำกุศลกรรมเช่นนี้ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่
ตายแล้วมาสู่สวรรค์ มีส่วนได้เสวยทิพยสมบัติอันวิเศษ
จึงได้สำเร็จเป็นเทพธิดาผู้มีฤทธิ์ในอภิสัมปรายภพ
[๓๑๕] ดิฉันมีหมู่เทพอัปสรห้อมล้อม มีรัศมีในตัวเอง
บันเทิงใจอยู่ในวิมานปราสาทที่ยอดเยี่ยมน่ารื่นรมย์ใจ
หมู่เทพและเทพธิดาพากันมาชื่นชมดิฉัน
ผู้มีอายุยืนซึ่งมายังเทพวิมานนี้
ปัลลังกวิมานที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๔. ลตาวิมาน
๔. ลตาวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่เทพธิดาชื่อลดา
[๓๑๖] ลดาเทพธิดา สัชชาเทพธิดา ปวราเทพธิดา
อัจฉิมุดีเทพธิดาและสุดาเทพธิดา
ผู้มีความรุ่งเรือง เป็นธิดาของท้าวเวสสวัณมหาราช
ต่างเป็นนางบาทปริจาริกาของท้าวสักกเทวราช
ผู้ทรงคุณอันประเสริฐ ทรงสิริ งดงามอยู่ด้วยคุณธรรม
[๓๑๗] เทพธิดา ๕ นางตามที่กล่าวมานี้ได้พากันไปสรงสนานยังแม่น้ำ
มีกระแสน้ำเย็น ดารดาษด้วยดอกอุบลเป็นที่ปลอดภัย
ซึ่งอยู่ในป่าหิมพานต์นี้ ครั้นสรงสนาน ณ ที่นั้นแล้ว
เทพธิดาเหล่านั้นพากันร่าเริง ฟ้อนรำ ขับร้อง
สุดาเทพธิดาได้พูดกับลดาเทพธิดาว่า
[๓๑๘] ข้าแต่พี่ผู้ทัดทรงพวงอุบล มีมาลัยแก้วประดับเทริด
มีผิวพรรณเปล่งปลั่งดั่งทองคำ มีนัยน์ตาสีน้ำตาล
มีผิวพรรณงดงาม ประดุจท้องฟ้า ไร้เมฆหมอก มีอายุยืน
ดิฉันขอถามพี่ เพราะบุญอะไรทำให้พี่ได้บริวารยศและเกียรติยศ
[๓๑๙] เพราะทำบุญอะไรไว้ พี่จึงเป็นที่โปรดปรานของสามี
มีโฉมงามเลิศกว่าใคร ทั้งฉลาดเป็นเลิศ
ในการฟ้อนรำ ขับร้อง และบรรเลงดนตรี
พี่เทพบุตรและเทพธิดาถามอยู่เสมอ ๆ
ขอโปรดได้บอกพวกเราด้วยเถิด
(ลดาเทพธิดาตอบว่า)
[๓๒๐] เมื่อพี่เกิดเป็นมนุษย์อยู่ในมนุษยโลก
เป็นสะใภ้ในตระกูลมั่งคั่งตระกูลหนึ่ง
มีนิสัยไม่มักโกรธ ปฏิบัติตามคำสั่งของสามีเสมอ
ไม่ประมาทในการรักษาอุโบสถศีล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๔. ลตาวิมาน
[๓๒๑] เมื่อพี่เป็นมนุษย์ยังสาวอยู่ ไม่ประพฤติใฝ่ต่ำ
มีใจดี ทำตัวให้สามีโปรดปราน
ทำตัวให้พ่อแม่สามี พี่น้องสามี
พร้อมทั้งข้าทาสชายหญิงให้ชื่นชอบ
เพราะบุญที่ทำในคราวเป็นหญิงสะใภ้นั้น
ทำให้พี่ได้บริวารยศและเกียรติยศ
[๓๒๒] เพราะกุศลกรรมนั้น พี่จึงได้ดีกว่าเทพธิดาเหล่าอื่น
โดยฐานะ ๔ คือ อายุ วรรณะ สุขะ และพละ
ได้เสวยความร่าเริงยินดีเป็นอย่างมาก
(เมื่อสุดาเทพธิดาได้ฟังคำตอบดังนี้แล้วจึงได้ถามพี่สาวทั้งสามว่า)
[๓๒๓] พี่ทั้งสาม ได้ยินเรื่องที่พี่ลดานี้พูดหรือไม่
ดิฉันได้ทูลถามถึงเรื่องที่พวกเราชอบสงสัยกันมาก
พี่ลดาก็กล่าวแก้ได้อย่างไม่ผิดพลาด
ว่ากันว่า ขึ้นชื่อว่าสามีย่อมเป็นที่พึ่งอันประเสริฐ
และเป็นเทพสูงสุดของพวกผู้หญิงเรา
[๓๒๔] ขอให้เราทุกคนจงประพฤติธรรมในสามี
เหมือนอย่างสตรีที่ดีประพฤติยำเกรงสามี
ครั้นเราทุกคนประพฤติธรรมในสามี
ก็จักได้สมบัติตามที่พี่ลดาพูด
[๓๒๕] พญาราชสีห์ที่สัญจรไปตามราวไพรใกล้เชิงเขา
อาศัยภูเขาหลวงอยู่แล้วก็เที่ยวตะครุบฆ่าสัตว์สี่เท้า
จำพวกเนื้อที่ด้อยกำลัง กัดกินเป็นอาหารฉันใด
[๓๒๖] สตรีผู้มีศรัทธา เป็นอริยสาวิกาในศาสนานี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ยังอาศัยสามีให้การเลี้ยงดู ก็ควรประพฤติเกื้อกูลยำเกรงสามี
นางประพฤติธรรมโดยระงับความโกรธ กำจัดความตระหนี่เสียได้
จึงร่าเริงบันเทิงใจอยู่บนสวรรค์
ลดาวิมานที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๕. คุตติลวิมาน
๕. คุตติลวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่คุตติลาจารย์เคยไปเยี่ยม
๑. วัตถุตตมทายิกาวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดแก่หญิงผู้ถวายผ้าเนื้อดีเยี่ยม
(พระโพธิสัตว์นามว่าคุตติละได้กราบทูลท้าวสักกเทวราชว่า)
[๓๒๗] ข้าแต่ท้าวโกสีย์ ข้าพระองค์ได้สอนวิชาดีดพิณ ๗ สาย
ซึ่งมีเสียงไพเราะมาก น่ารื่นรมย์ใจ
ให้แก่มุสิละผู้เป็นศิษย์
เขาตั้งใจจะดีดพิณประชันกับข้าพระองค์กลางเวที
ขอพระองค์จงทรงเป็นที่พึ่งของข้าพระองค์ด้วยเถิด
(ท้าวสักกเทวราชตรัสปลอบด้วยคาถาว่า)
[๓๒๘] ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าจะเป็นที่พึ่งของท่านอาจารย์
เพราะข้าพเจ้าเป็นผู้บูชาอาจารย์
ศิษย์จักชนะอาจารย์ไม่ได้
อาจารย์จักชนะศิษย์แน่นอน
(ครั้นกาลต่อมา ท้าวสักกเทวราชรับสั่งให้มาตลีเทพสารถีนำเวชยันต์ราชรถ
ลงมารับคุตติลาจารย์ไปยังเทวโลกเพื่อให้ดีดพิณถวาย คุตติลาจารย์จึงกราบทูล
ท้าวเธอ ในท่ามกลางเทพบริษัท เพื่อขอไต่ถามถึงบุพกรรมของเทพธิดาทั้งหลาย ณ
ที่นั้น เป็นรางวัลแห่งการดีดพิณเสียก่อน เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงไต่ถามถึง
บุพกรรมของเทพธิดาเหล่านั้น คำถามของคุตติลาจารย์เป็นเช่นเดียวกับของพระ
มหาโมคคัลลานเถระ)๑ คำตอบของเหล่าเทพธิดาเป็นเช่นเดียวกันทั้งสองครั้ง
[๓๒๙] เทพธิดา เธอมีผิวพรรณงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอยู่ ดุจดาวประกายพรึก

เชิงอรรถ :
๑ (ขุ.วิ.อ. ๓๒๘/๑๕๘-๑๖๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๕. คุตติลวิมาน
[๓๓๐] เพราะบุญอะไรผิวพรรณเธอจึงงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่เธอในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่เธอ
[๓๓๑] เทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามว่า
เมื่อเธอเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะบุญอะไรเธอจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๓๓๒] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๓๓๓] นารีผู้ถวายผ้าเนื้อดีเยี่ยม
เป็นผู้ประเสริฐในหมู่นระและนารีทั้งหลาย
นางตั้งใจถวายสิ่งที่น่ารัก
จึงได้ทิพยสถานที่น่าเจริญใจเห็นปานนี้
[๓๓๔] ขอนิมนต์พระคุณเจ้าดูวิมานของดิฉันนั้นเถิด
ดิฉันเป็นนางอัปสรผู้มีรูปร่างและผิวพรรณน่ารักใคร่
ทั้งยังเลอเลิศกว่านางอัปสรนับพันอีกด้วย
ขอนิมนต์พระคุณเจ้าดูผลของบุญทั้งหลายเถิด
[๓๓๕] เพราะบุญนั้นผิวพรรณดิฉันจึงงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่ดิฉันในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่ดิฉัน
[๓๓๖] ข้าแต่ภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดิฉันขอกราบเรียนว่า
เพราะบุญที่ได้ทำไว้เมื่อเกิดเป็นมนุษย์
ดิฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
(วิมาน ๔ เรื่องที่จะกล่าวต่อไปนี้มีความพิสดารเหมือนวัตถุตตมทายิกาวิมาน)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๒. ปุปผุตตมทายิกาวิมาน (๑)
๒. ปุปผุตตมทายิกาวิมาน (๑)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดแก่หญิงผู้ถวายดอกไม้ที่ดีเยี่ยม
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า)
[๓๓๗] เทพธิดา เธอมีผิวพรรณงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอยู่ ดุจดาวประกายพรึก
[๓๓๘] เพราะบุญอะไรผิวพรรณเธอจึงงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่เธอในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่เธอ
[๓๓๙] เทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามว่า
เมื่อเธอเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะบุญอะไรเธอจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๓๔๐] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๓๔๑] นารีผู้ถวายดอกไม้ชั้นดีเยี่ยม
เป็นผู้ประเสริฐในหมู่นระและนารีทั้งหลาย
นางตั้งใจถวายสิ่งที่น่ารัก
จึงได้ทิพยสถานที่น่าเจริญใจเห็นปานนี้
[๓๔๒] ขอนิมนต์พระคุณเจ้าดูวิมานของดิฉันนั้น
ดิฉันเป็นนางอัปสรผู้มีรูปร่างและผิวพรรณน่ารักใคร่
ทั้งยังเลอเลิศกว่านางอัปสรนับพันอีกด้วย
ขอนิมนต์พระคุณเจ้าดูผลของบุญทั้งหลายเถิด
[๓๔๓] เพราะบุญนั้นผิวพรรณดิฉันจึงงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่ดิฉันในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่ดิฉัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๓. คันธุตตมทายิกาวิมาน (๒)
[๓๔๔] ข้าแต่ภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดิฉันขอกราบเรียนว่า
เพราะบุญที่ได้ทำไว้เมื่อเกิดเป็นมนุษย์
ดิฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
๓. คันธุตตมทายิกาวิมาน (๒)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายของหอมชั้นเยี่ยม
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า)
[๓๔๕] เทพธิดา เธอมีผิวพรรณงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอยู่ ดุจดาวประกายพรึก
[๓๔๖] เพราะบุญอะไรผิวพรรณเธอจึงงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่เธอในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่เธอ
[๓๔๗] เทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามว่า
เมื่อเธอเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะบุญอะไรเธอจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๓๔๘] เทพธิดานั้นดีใจที่พระโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๓๔๙] นารีผู้ถวายของหอมชั้นเลิศ
เป็นผู้ประเสริฐในหมู่นระและนารีทั้งหลาย
นางตั้งใจถวายสิ่งที่น่ารัก
จึงได้ทิพยสถานที่น่าเจริญใจเห็นปานนี้
[๓๕๐] ขอนิมนต์พระคุณเจ้าดูวิมานของดิฉันนั้น
ดิฉันเป็นนางอัปสรผู้มีรูปร่างและผิวพรรณน่ารักใคร่
ทั้งยังเลอเลิศกว่านางอัปสรนับพันอีกด้วย
ขอนิมนต์พระคุณเจ้าดูผลของบุญทั้งหลายเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๔. ผลุตตมทายิกาวิมาน (๓)
[๓๕๑] เพราะบุญนั้นผิวพรรณดิฉันจึงงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่ดิฉันในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่ดิฉัน
[๓๕๒] ข้าแต่ภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดิฉันขอกราบเรียนว่า
เพราะบุญที่ได้ทำไว้เมื่อเกิดเป็นมนุษย์
ดิฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
๔. ผลุตตมทายิกาวิมาน (๓)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายผลไม้อย่างดีเยี่ยม
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า)
[๓๕๓] เทพธิดา เธอมีผิวพรรณงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอยู่ ดุจดาวประกายพรึก
[๓๕๔-๓๕๕] เพราะบุญอะไรผิวพรรณเธอจึงงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๓๕๖] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๓๕๗] นารีผู้ได้ถวายผลไม้อย่างดีเยี่ยม
เป็นผู้ประเสริฐในหมู่นระและนารีทั้งหลาย
นางตั้งใจถวายสิ่งที่น่ารัก
จึงได้ทิพยสถานที่น่าเจริญใจเช่นนี้
[๓๕๘] ขอนิมนต์พระคุณเจ้าดูวิมานของดิฉันนั้น
ดิฉันเป็นนางอัปสรผู้มีรูปร่างและผิวพรรณน่ารักใคร่
ทั้งยังเลอเลิศกว่านางอัปสรนับพันอีกด้วย
ขอนิมนต์พระคุณเจ้าดูผลของบุญทั้งหลายเถิด
[๓๕๙-๓๖๐] เพราะบุญนั้นดิฉันจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๖. คันธปัญจังคุลิกทายิกาวิมาน
๕. รสุตตมทายิกาวิมาน (๔)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายอาหารที่มีรสเลิศ
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า)
[๓๖๑] เทพธิดา เธอมีผิวพรรณงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอยู่ ดุจดาวประกายพรึก
[๓๖๒-๓๖๓] เพราะบุญอะไรผิวพรรณเธอจึงงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๓๖๔] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๓๖๕] นารีผู้ถวายอาหารเลิศรส
เป็นผู้ประเสริฐในหมู่นระและนารีทั้งหลาย
นางตั้งใจถวายสิ่งที่น่ารัก
จึงได้ทิพยสถานที่น่าเจริญใจเช่นนี้
[๓๖๖] ขอนิมนต์พระคุณเจ้าดูวิมานของดิฉันนั้น
ดิฉันเป็นนางอัปสรผู้มีรูปร่างและผิวพรรณน่ารักใคร่
ทั้งยังเลอเลิศกว่านางอัปสรนับพันอีกด้วย
ขอนิมนต์พระคุณเจ้าดูผลของบุญทั้งหลายเถิด
[๓๖๗-๓๖๘] เพราะบุญนั้นผิวพรรณดิฉันจึงงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
๖. คันธปัญจังคุลิกทายิกาวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้เคยใช้แป้งเจิมสถูป
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า)
[๓๖๙] เทพธิดา เธอมีผิวพรรณงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอยู่ ดุจดาวประกายพรึก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๗. เอกูโปสถวิมาน (๑)
[๓๗๐-๓๗๑] เพราะบุญอะไรผิวพรรณเธอจึงงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๓๗๒] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๓๗๓] ดิฉันใช้นิ้วทั้งห้าจุ่มกระแจะเจิมที่พระสถูป(ทอง)
ของพระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่ากัสสปะ
ดิฉันนั้นตั้งใจถวายสิ่งที่น่ารัก
จึงได้ทิพยสถานที่น่าเจริญใจเช่นนี้
[๓๗๔] ขอนิมนต์พระคุณเจ้าดูวิมานของดิฉันนั้น
ดิฉันเป็นนางอัปสรผู้มีรูปร่างและผิวพรรณน่ารักใคร่
ทั้งยังเลอเลิศกว่านางอัปสรนับพันอีกด้วย
ขอนิมนต์พระคุณเจ้าดูผลของบุญทั้งหลายเถิด
[๓๗๕-๓๗๖] เพราะบุญนั้นผิวพรรณดิฉันจึงงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
(วิมาน ๔ เรื่องที่จะกล่าวต่อไปนี้ มีความพิสดารเหมือนคันธปัญจังคุลิก
ทายิกาวิมาน)
๗. เอกูโปสถวิมาน (๑)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้รักษาอุโบสถ ๑ วัน
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า)
[๓๗๗-๓๗๙] เทพธิดา เธอมีผิวพรรณงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอยู่ ดุจดาวประกายพรึก ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๓๘๐] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๘. อุทกทายิกาวิมาน (๒)
[๓๘๑] ดิฉันได้เห็นภิกษุและภิกษุณีทั้งหลายกำลังเดินทาง
ได้ฟังธรรมเทศนาของท่านเหล่านั้นแล้ว
ได้เข้าจำอุโบสถศีลหนึ่งวัน
[๓๘๒] ขอนิมนต์พระคุณเจ้าดูวิมานของดิฉันนั้น
ดิฉันเป็นนางอัปสรผู้มีรูปร่างและผิวพรรณน่ารักใคร่
ทั้งยังเลอเลิศกว่านางอัปสรนับพันอีกด้วย
ขอนิมนต์พระคุณเจ้าดูผลของบุญทั้งหลายเถิด
[๓๘๓-๓๘๔] เพราะบุญนั้นผิวพรรณดิฉันจึงงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
๘. อุทกทายิกาวิมาน (๒)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายน้ำบ้วนปากและน้ำดื่ม
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า)
[๓๘๕] เทพธิดา เธอมีผิวพรรณงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอยู่ ดุจดาวประกายพรึก
[๓๘๖-๓๘๗] เพราะบุญอะไรผิวพรรณเธอจึงงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๓๘๘] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๓๘๙] ดิฉันยืนอยู่ในน้ำ มีจิตเลื่อมใส
ได้ถวายน้ำแด่ภิกษุรูปหนึ่ง
ดิฉันนั้นตั้งใจถวายสิ่งที่น่ารัก
จึงได้ทิพยสถานที่น่าเจริญใจเช่นนี้
[๓๙๐] ขอนิมนต์พระคุณเจ้าดูวิมานของดิฉันนั้น
ดิฉันเป็นนางอัปสรผู้มีรูปร่างและผิวพรรณน่ารักใคร่
ทั้งยังเลอเลิศกว่านางอัปสรนับพันอีกด้วย
ขอนิมนต์พระคุณเจ้าดูผลของบุญทั้งหลายเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๑๐. อปรกัมมการินีวิมาน (๔)
[๓๙๑-๓๙๒] เพราะบุญนั้นผิวพรรณดิฉันจึงงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
๙. อุปัฏฐานวิมาน (๓)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ตั้งใจปฏิบัติมารดาบิดาของสามี
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า)
[๓๙๓] เทพธิดา เธอมีผิวพรรณงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอยู่ ดุจดาวประกายพรึก
[๓๙๔-๓๙๕] เพราะบุญอะไรผิวพรรณเธอจึงงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๓๙๖] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๓๙๗] ดิฉันมีนิสัยไม่ริษยา ตั้งใจปฏิบัติแม่ผัวและพ่อผัว
ซึ่งทั้งดุร้าย โกรธง่ายและหยาบคาย
จึงเป็นผู้ไม่ประมาทตามปกตินิสัยของตน
[๓๙๘] ขอนิมนต์พระคุณเจ้าดูวิมานของดิฉันนั้น
ดิฉันเป็นนางอัปสรผู้มีรูปร่างและผิวพรรณน่ารักใคร่
ทั้งยังเลอเลิศกว่านางอัปสรนับพันอีกด้วย
ขอนิมนต์พระคุณเจ้าดูผลของบุญทั้งหลายเถิด
[๓๙๙-๔๐๐] เพราะบุญนั้นผิวพรรณดิฉันจึงงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
๑๐. อปรกัมมการินีวิมาน (๔)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ขวนขวายช่วยเหลือผู้อื่น
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า)
[๔๐๑] เทพธิดา เธอมีผิวพรรณงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอยู่ ดุจดาวประกายพรึก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๑๑. ขีโรทนทายิกาวิมาน
[๔๐๒-๔๐๓] เพราะบุญอะไรผิวพรรณเธอจึงงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๔๐๔] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๔๐๕] ดิฉันเป็นคนใช้ รับภาระช่วยทำงานให้คนอื่นเสมอ
ไม่เกียจคร้านต่อการงานที่เป็นประโยชน์
มีปกตินิสัยไม่มักโกรธ ไม่ดูหมิ่นผู้อื่น
ชอบแบ่งปันสิ่งของส่วนตัวแก่ผู้อื่น
[๔๐๖] ขอนิมนต์พระคุณเจ้าดูวิมานของดิฉันนั้น
ดิฉันเป็นนางอัปสรผู้มีรูปร่างและผิวพรรณน่ารักใคร่
ทั้งยังเลอเลิศกว่านางอัปสรนับพันอีกด้วย
ขอนิมนต์พระคุณเจ้าดูผลของบุญทั้งหลายเถิด
[๔๐๗-๔๐๘] เพราะบุญนั้นผิวพรรณดิฉันจึงงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
๑๑. ขีโรทนทายิกาวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายข้าวผสมนมสด
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า)
[๔๐๙] เทพธิดา เธอมีผิวพรรณงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอยู่ ดุจดาวประกายพรึก
[๔๑๐-๔๑๑] เพราะบุญอะไรผิวพรรณเธอจึงงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๔๑๒] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๑๓. อุจฉุขัณฑิกทายิกาวิมาน (๒)
[๔๑๓] ดิฉันได้ถวายข้าวสุกผสมนมสด
แด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาต
ครั้นทำกรรมอย่างนี้แล้ว
จึงเกิดในสุคติ ร่าเริงบันเทิงใจอยู่
[๔๑๔] ขอนิมนต์พระคุณเจ้าดูวิมานของดิฉันนั้น
ดิฉันเป็นนางอัปสรผู้มีรูปร่างและผิวพรรณน่ารักใคร่
ทั้งยังเลอเลิศกว่านางอัปสรนับพันอีกด้วย
ขอนิมนต์พระคุณเจ้าดูผลของบุญทั้งหลายเถิด
[๔๑๕-๔๑๖] เพราะบุญนั้นผิวพรรณดิฉันจึงงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
(วิมาน ๒๕ เรื่อง ที่จะกล่าวต่อไปนี้ มีความพิสดารเหมือนขีโรทนทายิกา
วิมาน)
๑๒. ผาณิตทายิกาวิมาน (๑)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายน้ำอ้อยงบ
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า)
[๔๑๗-๔๑๙] เทพธิดา เธอมีผิวพรรณงามยิ่งนัก ฯลฯ
เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๔๒๐] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๔๒๑-๔๒๘] ดิฉันได้ถวายน้ำอ้อยงบแด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาต ฯลฯ
๑๓. อุจฉุขัณฑิกทายิกาวิมาน (๒)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายท่อนอ้อย
[๔๒๙-๔๓๖] ดิฉันได้ถวายท่อนอ้อยแด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาต ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๒๐. สากมุฏฐิทายิกาวิมาน (๙)
๑๔. ติมพรุสกทายิกาวิมาน (๓)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายผลมะพลับสุก
[๔๓๗-๔๔๔] ดิฉันได้ถวายผลมะพลับสุกแด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาต ฯลฯ
๑๕. กักการิกทายิกาวิมาน (๔)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายผลแตงกวา
[๔๔๕-๔๕๒] ดิฉันได้ถวายผลแตงกวาแด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาต ฯลฯ
๑๖. เอฬาลุกทายิกาวิมาน (๕)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายฟักทอง
[๔๕๓-๔๖๐] ดิฉันได้ถวายผลฟักทองแด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาต ฯลฯ
๑๗. วัลลิผลทายิกาวิมาน (๖)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายแตงโม
[๔๖๑-๔๖๘] ดิฉันได้ถวายผลแตงโมแด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาต ฯลฯ
๑๘. ผารุสกทายิกาวิมาน (๗)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายผลลิ้นจี่
[๔๖๙-๔๗๖] ดิฉันได้ถวายผลลิ้นจี่แด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาต ฯลฯ
๑๙. หัตถัปปตาปกทายิกาวิมาน (๘)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายเตาผิง
[๔๗๗-๔๘๔] ดิฉันได้ถวายเตาผิงแด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาต ฯลฯ
๒๐. สากมุฏฐิทายิกาวิมาน (๙)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายผักดอง
[๔๘๕-๔๙๒] ดิฉันได้ถวายผักดองกำมือหนึ่งแด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาต ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๒๗. อังสพัทธกทายิกาวิมาน (๑๖)
๒๑. ปุปผกมุฏฐิทายิกาวิมาน (๑๐)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายดอกไม้
[๔๙๓-๕๐๐] ดิฉันได้ถวายดอกไม้กำหนึ่งแด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาต ฯลฯ
๒๒. มูลกทายิกาวิมาน (๑๑)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายหัวมัน
[๕๐๑-๕๐๘] ดิฉันได้ถวายหัวมันแด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาต ฯลฯ
๒๓. นิมพมุฏฐิทายิกาวิมาน (๑๒)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายผักสะเดา
[๕๐๙-๕๑๖] ดิฉันได้ถวายสะเดากำหนึ่งแด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาต ฯลฯ
๒๔. อัมพกัญชิกทายิกาวิมาน (๑๓)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายน้ำผักดอง
[๕๑๗-๕๒๔] ดิฉันได้ถวายน้ำผักดองแด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาต ฯลฯ
๒๕. โทณินิมมัชชนิทายิกาวิมาน (๑๔)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายแป้งคลุกงาทอด
[๕๒๕-๕๓๒] ดิฉันได้ถวายแป้งคลุกงาทอดแด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาต ฯลฯ
๒๖. กายพันธนทายิกาวิมาน (๑๕)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายประคดเอว
[๕๓๓-๕๔๐] ดิฉันได้ถวายประคดเอวแด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาต ฯลฯ
๒๗. อังสพัทธกทายิกาวิมาน (๑๖)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายผ้าอังสะ
[๕๔๑-๕๔๘] ดิฉันได้ถวายผ้าอังสะแด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาต ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๓๔. ปูวทายิกาวิมาน (๒๓)
๒๘. อาโยคปัฏฏทายิกาวิมาน (๑๗)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายสายโยคบาตร
[๕๔๙-๕๕๖] ดิฉันได้ถวายแผ่นผ้าสายโยคแด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาต ฯลฯ
๒๙. วิธูปนทายิกาวิมาน (๑๘)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายพัดสี่เหลี่ยม
[๕๕๗-๕๖๔] ดิฉันได้ถวายพัดสี่เหลี่ยมแด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาต ฯลฯ
๓๐. ตาลปัณณทายิกาวิมาน (๑๙)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายพัดใบตาล
[๕๖๕-๕๗๒] ดิฉันได้ถวายพัดใบตาลแด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาต ฯลฯ
๓๑. โมรหัตถทายิกาวิมาน (๒๐)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายพัดปัดยุง
[๕๗๓-๕๘๐] ดิฉันได้ถวายพัดปัดยุงที่ทำด้วยขนนกยูงแด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยว
บิณฑบาต ฯลฯ
๓๒. ฉัตตทายิกาวิมาน (๒๑)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายร่ม
[๕๘๑-๕๘๘] ดิฉันได้ถวายร่มแด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาต ฯลฯ
๓๓. อุปาหนทายิกาวิมาน (๒๒)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายรองเท้า
[๕๘๙-๕๙๖] ดิฉันได้ถวายรองเท้าแด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาต ฯลฯ
๓๔. ปูวทายิกาวิมาน (๒๓)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายขนม
[๕๙๗-๖๐๔] ดิฉันได้ถวายขนมแด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาต ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๓๖. สักขลิกาทายิกาวิมาน (๒๕)
๓๕. โมทกทายิกาวิมาน (๒๔)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายขนมต้ม
[๖๐๕-๖๑๒] ดิฉันได้ถวายขนมต้มแด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาต ฯลฯ
๓๖. สักขลิกาทายิกาวิมาน (๒๕)
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายน้ำตาลกรวด
[๖๑๓] ดิฉันได้ถวายน้ำตาลกรวดแด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาต ฯลฯ
[๖๑๔] ขอนิมนต์พระคุณเจ้าดูวิมานของดิฉันนั้น
ดิฉันเป็นนางอัปสรผู้มีรูปร่างและผิวพรรณน่ารักใคร่
ทั้งยังเลอเลิศกว่านางอัปสรนับพันอีกด้วย
ขอนิมนต์พระคุณเจ้าดูผลของบุญทั้งหลายเถิด
[๖๑๕-๖๑๖] เพราะบุญนั้นผิวพรรณดิฉันจึงงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีสว่างไสวทั่วทุกทิศอย่างนี้
(เมื่อเทพธิดาเหล่านั้นตอบปัญหาผลกรรมที่ได้ทำมาเป็นอันดีอย่างนี้แล้ว
คุตติลาจารย์ก็ร่าเริงบันเทิงใจ เมื่อจะแสดงความชื่นชมยินดีของตนจึงกล่าวว่า)
[๖๑๗] ดีจริงหนอที่ข้าพเจ้าได้มาในที่นี้ วันนี้ฤกษ์งามยามดี
เพราะข้าพเจ้าได้มาเห็นเทพอัปสร
ซึ่งมีรูปร่างและผิวพรรณที่น่ารักใคร่
[๖๑๘] ข้าพเจ้าได้ฟังเรื่องกุศลธรรมของพวกเธอ
จักทำบุญกุศลให้มากด้วยการให้ทาน
การประพฤติธรรมสม่ำเสมอ
การสำรวมและการฝึกอินทรีย์
ข้าพเจ้านั้นจักไปสถานที่
ที่คนทั้งหลายไปแล้วไม่เศร้าโศก
คุตติลวิมานที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๖. ทัททัลลวิมาน
๖. ทัททัลลวิมาน
ว่าด้วยวิมานอันรุ่งเรืองที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายสังฆทาน
(ภัทราเทพธิดาผู้พี่สาวถามสุภัทราเทพธิดาซึ่งเป็นน้องสาวว่า)
[๖๑๙] เธอรุ่งเรืองด้วยรัศมี มีเกียรติยศบริวารยศ
มีรัศมีรุ่งโรจน์เหนือเทพชั้นชาวดาวดึงส์ทั้งปวง
[๖๒๐] ฉันไม่เคยเห็นเธอ นี้เป็นการเห็นครั้งแรก
เธอมาจากเทวโลกชั้นไหนจึงมาเรียกชื่อของฉันได้ถูก
(สุภัทราเทพธิดาตอบว่า)
[๖๒๑] พี่ภัทรา ดิฉันชื่อสุภัทรา
เมื่อชาติก่อนครั้งเป็นมนุษย์ได้เป็นน้องสาวของพี่
และยังเป็นภรรยาร่วมสามีเดียวกันกับพี่
[๖๒๒] ดิฉันละร่างจุติจากมนุษยโลกนั้นแล้ว
มาเกิดร่วมกับเหล่าเทพชั้นนิมมานรดี
(ภัทราเทพธิดาถามต่อไปอีกว่า)
[๖๒๓] น้องสุภัทรา ขอเธอได้บอกถึงการเกิดของตน
ในหมู่เทพชั้นนิมมานรดี
ซึ่งเป็นที่ที่สัตว์ผู้กระทำความดีไว้มากแล้วมาเกิด
[๖๒๔] เธอถูกสอนมาอย่างไรด้วยเรื่องอะไร หรือว่าใครสั่งสอน
เธอมีบริวารยศได้ด้วยทานและวัตรอันดีงามเช่นไร
[๖๒๕] เธอได้รับเกียรติยศเช่นนี้ ได้รับสุขไพบูลย์วิเศษเช่นนี้
น้องเทพธิดา พี่ถามแล้ว ขอเธอจงบอก
นี้เป็นผลของกรรมอันใด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๖. ทัททัลลวิมาน
(สุภัทราเทพธิดาตอบว่า)
[๖๒๖] ชาติก่อนดิฉันเลื่อมใส ได้ถวายอาหารบิณฑบาต ๘ ที่
เป็นสังฆทานแด่พระสงฆ์
ผู้เป็นทักขิไณยบุคคลด้วยมือทั้งสองของตน
[๖๒๗-๖๒๘] เพราะบุญนั้นผิวพรรณดิฉันจึงงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
(ภัทราเทพธิดาได้ถามต่อไปอีกว่า)
[๖๒๙] พี่เลื่อมใสได้ถวายข้าวน้ำด้วยมือของตน
เลี้ยงดูภิกษุผู้สำรวมอินทรีย์
ประพฤติพรหมจรรย์สม่ำเสมอ
ซึ่งมีจำนวนมากกว่าของเธอให้อิ่มหนำ
[๖๓๐] พี่ถวายทานมากกว่าเธอ แต่กลับอุบัติในหมู่เทพชั้นต่ำกว่า
ส่วนน้องถวายทานน้อยกว่า แต่ทำไมจึงได้รับสุขไพบูลย์วิเศษเล่า
เทพธิดา พี่ถามแล้ว ขอเธอจงบอก นี้เป็นผลของกรรมอันใดเล่า
(สุภัทราเทพธิดาตอบว่า)
[๖๓๑] ชาติก่อนดิฉันได้พบภิกษุรูปหนึ่ง น่าเจริญใจ
จึงได้นิมนต์ภิกษุรูปนั้น คือพระเรวตะ เป็นรูปที่ ๘ ให้ฉันภัตตาหาร
[๖๓๒] พระเรวตเถระนั้นมุ่งจะอนุเคราะห์ให้เกิดประโยชน์แก่ดิฉัน
จึงบอกดิฉันให้ถวายสงฆ์ ดิฉันได้ทำตามคำแนะนำของท่าน
[๖๓๓] ทักษิณาของดิฉันนั้นถวายเป็นสังฆทาน มีผลประมาณมิได้
ส่วนทานของพี่ที่ถวายเป็นรายบุคคลนั้นมีผลไม่มาก
(ภัทราเทพธิดาเมื่อจะรับรองความข้อนั้นจึงกล่าวว่า)
[๖๓๔] พี่เพิ่งรู้เดี๋ยวนี้เอง ทานที่ถวายเป็นสังฆทานนี้มีผลมาก
พี่นั้น(หาก)ไปเกิดเป็นมนุษย์อีก จักรู้ความประสงค์ของผู้ขอ
ปราศจากความตระหนี่ ไม่ประมาท ถวายสังฆทานบ่อย ๆ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๖. ทัททัลลวิมาน
(เมื่อสนทนากันแล้ว สุภัทราเทพธิดาก็กลับไปสู่ทิพยวิมานของตนบนสวรรค์
ชั้นนิมมานรดี ท้าวสักกเทวราชได้สดับการสนทนานั้น เมื่อสุภัทราเทพธิดากลับไป
แล้วจึงตรัสถามภัทราเทพธิดาว่า)
[๖๓๕] ภัทรา เทพธิดาผู้มาสนทนาอยู่กับเธอนั้นเป็นใคร
ช่างมีรัศมีรุ่งโรจน์เหนือเหล่าเทพชั้นชาวดาวดึงส์ทั้งหมด
(ภัทราเทพธิดาเมื่อจะบรรยายข้อที่สังฆทานที่น้องสาวถวายว่ามีผลมากจึงทูลว่า)
[๖๓๖] ขอเดชะพระองค์ผู้เป็นจอมเทพ เทพธิดานั้น
เมื่อชาติก่อน ครั้งเป็นมนุษย์อยู่ในภพมนุษย์
ได้เป็นน้องสาวของหม่อมฉัน
และยังเป็นภรรยาร่วมสามีเดียวกันด้วย
เธอทำบุญถวายสังฆทานแล้วจึงรุ่งเรือง
(ท้าวสักกเทวราช เมื่อจะทรงสรรเสริญสังฆทานว่ามีผลมากจึงตรัสว่า)
[๖๓๗] ภัทรา น้องสาวของเธอรุ่งเรืองกว่าเธอ
เพราะเหตุที่นางได้ถวายสังฆทาน
ซึ่งมีผลประมาณมิได้ไว้ในชาติก่อน
(ภัทราเทพธิดาได้ตอบท้าวสักกะว่า)
[๖๓๘] อันที่จริง ดิฉันได้ทูลถามพระพุทธเจ้า
ครั้งประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ
ถึงผลแห่งการแจกจ่ายทานว่า
ทานที่ให้ในเนื้อนาบุญใดจึงมีผลมาก
[๖๓๙] มนุษย์ทั้งหลายผู้หวังบุญให้ทานอยู่
ทำบุญปรารภเหตุแห่งการเวียนว่ายตายเกิด
ให้ทานในเนื้อนาบุญใด จึงมีผลมาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๖. ทัททัลลวิมาน
[๖๔๐] พระพุทธเจ้าผู้ทรงทราบว่า
สัตว์ทั้งหลายมีผลกรรมเป็นของของตน
ได้ทรงอธิบายให้ดิฉันฟังอย่างชัดเจน
ถึงผลแห่งการแจกจ่ายทานในเนื้อนาบุญ
ที่บุคคลให้แล้วจะได้รับผลมากนั้นว่า
[๖๔๑] พระอริยบุคคลผู้บรรลุอริยมรรค ๔ และผู้ดำรงอยู่ในอริยผล ๔
นี้คือพระสงฆ์ เป็นผู้ปฏิบัติตรง
ดำรงมั่นอยู่ในศีล สมาธิ และปัญญา
[๖๔๒] มนุษย์ทั้งหลายผู้หวังบุญให้ทานอยู่
ทำบุญปรารภเหตุแห่งการเวียนว่ายตายเกิด
จึงถวายทานแก่สงฆ์ซึ่งมีผลมาก
[๖๔๓] ด้วยว่า พระสงฆ์นี้มีคุณยิ่งใหญ่ ไพบูลย์
หาประมาณมิได้ ดุจทะเลเปี่ยมด้วยน้ำ
พระอริยบุคคลเหล่านี้แลเป็นผู้ประเสริฐสุด
เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าผู้มีความเพียร
เป็นผู้ให้แสงสว่างคือปัญญาแก่ชาวโลก ย่อมยกธรรมกถาขึ้นแสดง
[๖๔๔] ทานที่บุคคลถวายเจาะจงสงฆ์นั้น ชื่อว่าเป็นทานที่ถวายดีแล้ว
บูชาสักการะอย่างดีแล้ว ทักษิณาที่ถวายสงฆ์นั้นมีผลมาก
ทั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายผู้ทรงรู้แจ้งโลกก็ทรงสรรเสริญแล้ว
[๖๔๕] เหล่าชนมาหวนระลึกถึงบุญเช่นนี้ได้เกิดปีติโสมนัส
กำจัดมลทินคือความตระหนี่พร้อมทั้งมูลเหตุได้
ท่องเที่ยวไปในโลก ไม่ถูกบัณฑิตติเตียน
จึงเข้าถึงแดนสวรรค์ได้
ทัททัลลวิมานที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๗.เปสวตีวิมาน
๗.เปสวตีวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงชื่อเปสวดี
(เมื่อพระวังคีสเถระจะไต่ถามถึงบุพกรรมที่เทพธิดานั้นทำแล้วจึงกล่าวสรรเสริญ
วิมานของเธอเสียก่อนเป็นปฐมด้วยคาถา ๗ คาถาว่า)
[๖๔๖] (เทพธิดา) อาตมาได้เห็นวิมานสวยงาม(ของเธอ)นี้
ซึ่งมุงบังด้วยแก้วผลึก ข่ายเงินและข่ายทองคำ
มีพื้นวิจิตรตระการตาหลากสี เป็นที่น่ารื่นรมย์ยินดี
เป็นที่อยู่อาศัยอันเนรมิตไว้ดีแล้ว ประกอบด้วยซุ้มประตู
ที่ลานวิมานเกลื่อนกราดไปด้วยทรายทอง
[๖๔๗] วิมานของเธอนี้ส่องแสงสว่าง
เหมือนพระอาทิตย์บนท้องฟ้ามีรัศมีตั้งพัน
กำจัดความมืดในฤดูสารทกาล และสว่างไสวไปทั่วสิบทิศ
เหมือนเปลวเพลิงซึ่งกำลังลุกโชนอยู่บนยอดภูเขาในเวลากลางคืน
[๖๔๘] วิมานนี้ประหนึ่งบาดนัยน์ตาอยู่ คล้ายกับสายฟ้าแลบ
ลอยอยู่ในอากาศ น่ารื่นรมย์ใจ
วิมานเธอนี้ก้องกังวาลไปด้วยเสียงดนตรี
คือพิณเครื่องใหญ่ กลอง ฉิ่งและกังสดาล
มั่งคั่งรุ่งเรือง ดุจเมืองพระอินทร์
[๖๔๙] วิมานของเธอนี้อบอวลไปด้วยกลิ่นหอมระรื่น
แห่งไม้ชั้นเลิศนานาพันธุ์
ได้แก่ ดอกปทุม ดอกโกมุท ดอกอุบล
ดอกจงกลนี ดอกคัดเค้า ดอกชบา
ดอกอังกาบ ดอกรัง ดอกอโศก
แย้มกลีบบานสะพรั่งส่งกลิ่นหอมระรื่น
[๖๕๐] เทพธิดาผู้เรืองยศ สระโบกขรณีน่ารื่นรมย์
เรียงรายไปด้วยต้นหูกวาง ขนุนสำปะลอและต้นไม้มีกลิ่นหอม
มีทั้งไม้เลื้อยชูดอกออกช่อบานสะพรั่ง ห้อยย้อย
เกาะก่ายลงมาคล้ายกับข่ายแก้วมณี ปรากฏมีอยู่ใกล้วิมานเธอ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๗. เปสวตีวิมาน
[๖๕๑] บุปผชาติที่เกิดในน้ำและบนบกก็มี และพฤกษชาติเหล่าอื่น
ทั้งที่เป็นของมนุษย์ และเป็นทิพย์มิใช่เป็นของมนุษย์ก็มี
ทั้งหมดล้วนเกิดมีอยู่ใกล้วิมานของเธอ
[๖๕๒] นี้เป็นผลแห่งการสำรวมและการฝึก๑อย่างไร
เพราะผลกรรมอะไรเธอจึงมาเกิดในวิมานนี้
เทพธิดา ผู้มีขนตาหนางอนงาม ขอเธอจงเล่าถึงกรรม
เป็นเหตุให้เธอได้วิมานนี้ตามที่อาตมาถามตามสมควร
(ลำดับนั้น เทพธิดาตอบว่า)
[๖๕๓] วิมานที่ดิฉันได้แล้วนี้ มีฝูงนกกระเรียน
นกยูงและนกเขาไฟเที่ยวบินร่อนร้องไปมา
ทั้งนกนางนวลและพญาหงส์ทองซึ่งเป็นนกทิพย์เที่ยวบินว่อนไปมาอยู่
และอึงคะนึงไปด้วยฝูงนกเป็ดน้ำ นกกาน้ำ
นกดุเหว่าและฝูงนกประเภทอื่น ๆ
[๖๕๔] มีไม้ดอกและไม้เลื้อยแผ่กิ่งก้านสาขานานาชนิด
มีต้นแคฝอย ต้นหว้า ต้นอโศก
ดิฉันจะเล่าเหตุผลที่ดิฉันได้วิมานนี้ถวายพระคุณเจ้า
พระคุณเจ้าโปรดฟังเถิดเจ้าค่ะ
[๖๕๕] ข้าแต่พระคุณเจ้า ในชาติก่อน ดิฉันได้เกิดเป็นหญิงสะใภ้
ในหมู่บ้านชื่อนาฬกคาม อยู่ทางทิศตะวันออก
ของแคว้นมคธ อันรุ่งเรือง
ชาวบ้านในหมู่บ้านนั้นรู้จักดิฉันในนามว่า เปสวดี
[๖๕๖] ดิฉันนั้นมีใจเบิกบาน ได้สั่งสมกุศลกรรมไว้ในชาติปางก่อนนั้น
คือได้เกลี่ยดอกคำโรยลงบูชาพระอุปติสสเถระ๒
ที่ทวยเทพและมนุษย์พากันบูชา
ผู้มากไปด้วยกุศลธรรม มีคุณธรรมสุดประมาณซึ่งดับกิเลสแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ การสำรวมกายเป็นต้น และการฝึกฝนอินทรีย์เป็นต้น (ขุ.วิ.อ. ๖๕๒/๑๘๒)
๒ พระธรรมเสนาบดี (พระสารีบุตร) (ขุ.วิ.อ. ๖๕๖/๑๘๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๘. มัลลิกาวิมาน
[๖๕๗] ครั้นบูชาพระเถระผู้มีคุณอันโอฬาร ครองเรือนร่างเป็นชาติสุดท้าย
ผู้บรรลุอนุปาทิเสสนิพพานแล้ว
ดิฉันจึงละร่างมนุษย์มาเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ครอบครองวิมานในเทวโลกนี้
เปสวตีวิมานที่ ๗ จบ

๘. มัลลิกาวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงชื่อมัลลิกา
(พระนารทเถระถามมัลลิกาเทพธิดาว่า)
[๖๕๘] เทพธิดา ผู้มีพัสตราภรณ์และธงล้วนแต่สีเหลือง
ประดับประดาด้วยเครื่องประดับสีเหลืองเจิดจ้า
เธอถึงจะไม่ประดับด้วยผ้าห่มสีเหลืองอร่ามงามเช่นนี้ก็ยังงาม
[๖๕๙] เทพธิดา ผู้สวมเกยูรทอง ประดับอุบะทอง
คลุมเรือนร่างด้วยข่ายทอง
เธอผู้สวมศีรษะด้วยพวงมาลัยแก้วนานาชนิดเป็นใครกัน
[๖๖๐] มาลัยแก้วเหล่านั้นล้วนสำเร็จด้วยทองคำธรรมชาติ
ด้วยแก้วทับทิม แก้วมุกดา แก้วไพฑูรย์
บางพวงก็ล้วนแล้วด้วยแก้วลาย
บ้างก็สำเร็จด้วยแก้วมณีกับแก้วลายแดงคล้ายสีเลือด
บ้างก็สำเร็จด้วยแก้วแดงอันสดใสคล้ายสีตานกพิราบ
[๖๖๑] บรรดามาลัยเหล่านั้น บางพวงส่งเสียงไพเราะเหมือนเสียงนกยูง
บางพวงส่งเสียงไพเราะเหมือนเสียงพญาหงส์ทอง
บางพวงส่งเสียงไพเราะเหมือนเสียงนกการเวก
เสียงมาลัยเหล่านั้นไพเราะชวนฟัง คล้ายเสียงดนตรีเครื่องห้า
ที่คนธรรพ์ผู้ฉลาดพากันบรรเลงก็ปานกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๗๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๙. วิสาลักขิวิมาน
[๖๖๒] อนึ่ง รถของเธอก็งดงามมาก มีส่วนประกอบวิจิตรบรรจงไป
ด้วยรัตนชาติต่าง ๆ ซึ่งบุญกรรมจัดสรรมาให้เบ็ดเสร็จงดงามด้วย
เครื่องประกอบหลากหลาย
[๖๖๓] ยามเธออยู่บนรถสีสุกปลั่งดั่งทองคำนั้น
ภูมิประเทศนี้ก็สว่างไสวไปทั่วถึงกัน
เทพธิดา อาตมาถามแล้ว ขอเธอจงบอกเถิดว่า
นี้เป็นผลของกรรมอันใดเล่า
(มัลลิกาเทพธิดาตอบว่า)
[๖๖๔] เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่าโคดม
ผู้ทรงมีพระกรุณาหาประมาณมิได้ เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว
ดิฉันมีจิตเลื่อมใส ได้ใช้ข่ายทองวิจิตรบรรจงไปด้วยแก้วมณี
ทองคำ และแก้วมุกดา ซึ่งดาดด้วยข่ายทองคำ ห่มคลุมพุทธสรีระ
[๖๖๕] ครั้นดิฉันทำกุศลกรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญแล้วนั้น
จึงสร่างโศก หมดโรคภัย มีความสุข รื่นเริงบันเทิงใจอยู่เป็นนิตย์
มัลลิกาวิมานที่ ๘ จบ

๙. วิสาลักขิวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่นางสุนันทาอุบาสิกาผู้มีตาโต
(สมเด็จอมรินทราธิราชตรัสถามสุนันทาเทพธิดาว่า)
[๖๖๖] เทพธิดาผู้มีดวงตาโต๑ เธอมีหมู่นางอัปสรแวดล้อม มีชื่อว่าอะไร
มาเที่ยวเดินชมอยู่รอบ ๆ สวนจิตรลดาอันน่ารื่นรมย์
[๖๖๗] ในเวลาที่เหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ล้วนทรงม้า ทรงรถ
ประดับเครื่องทรงวิจิตรงดงาม พากันมา ณ ที่นี้
เข้าไปชมสวนจิตรลดานี้

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า วิสาลกฺขิ เทพธิดาผู้มีดวงตาโตนี้ อรรถกถาแก้เป็นอาลปนภัตติ (ขุ.วิ.อ. ๖๖๖/๑๙๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๙.วิสาลักขิวิมาน
[๖๖๘] แต่เมื่อเธอมาถึงที่นี่เที่ยวชมสวนอยู่
กายเธองามกระทั่งความงามของสวนไม่ปรากฏ
เพราะเหตุอะไรรูปกายเธอจึงงามเช่นนี้
เทพธิดา เราถามแล้ว ขอเธอจงบอกเถิดว่า
นี้เป็นผลของกรรมอันใดเล่า
(สุนันทาเทพธิดาผู้เป็นอัครชายาทูลตอบว่า)
[๖๖๙] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมเทพ ผู้ทรงบำเพ็ญทานมาแต่ปางก่อน
ขอพระองค์โปรดสดับกรรมอันเป็นเหตุให้ดิฉันมีรูปงาม
บังเกิดในเทวโลก มีฤทธิ์และอานุภาพ
[๖๗๐] หม่อมฉันเป็นอุบาสิกามีนามว่าสุนันทา
อยู่ในกรุงราชคฤห์ อันน่ารื่นรมย์
เป็นผู้มีศรัทธา สมบูรณ์ด้วยศีล ยินดีแจกจ่ายทานเป็นนิตย์
[๖๗๑] หม่อมฉันมีจิตเลื่อมใสในเหล่าภิกษุผู้ปฏิบัติตรง
จึงได้ถวายผ้านุ่งผ้าห่ม ภัตตาหาร เสนาสนะ
และเครื่องตามประทีป
[๖๗๒] ทั้งได้เข้าจำอุโบสถศีลซึ่งประกอบด้วยองค์ ๘
ทุกวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำแห่งปักษ์
และตลอดปาฏิหาริยปักษ์
[๖๗๓] สำรวมระวังในศีลตลอดเวลา
และแจกจ่ายทานด้วยความเคารพ
จึงได้ครอบครองวิมานนี้
[๖๗๔] หม่อมฉันงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ การลักขโมย
การประพฤตินอกใจสามี
สำรวมระวังจากการพูดเท็จ และจากการดื่มน้ำเมา
[๖๗๕] หม่อมฉันยินดีในศีล ๕ ฉลาดในอริยสัจ
เป็นอุบาสิกาของพระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่า โคดม
ผู้มีพระจักษุ มีพระยศ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๓. ปาริจฉัตตวรรค ๑๐. ปาริจฉัตตกวิมาน
[๖๗๖] หม่อมฉันใช้ดอกไม้ทั้งหมดที่หญิงรับใช้นำมาจากตระกูลญาติเนือง
นิตย์นั้นเองบูชาที่พระสถูปของพระผู้มีพระภาค
[๖๗๗] อนึ่ง ในวันอุโบสถ หม่อมฉันมีจิตเลื่อมใส
ได้ถือมาลัยของหอมและเครื่องลูบไล้
ไปบูชาที่พระสถูปของพระผู้มีพระภาคนั้นด้วยมือทั้งสองของตน
[๖๗๘] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมเทพ
เพราะกรรมที่หม่อมฉันใช้มาลัยบูชาพระสถูป๑
หม่อมฉันจึงมีรูปงาม บังเกิดในเทวโลก มีฤทธิ์และอานุภาพเช่นนี้
[๖๗๙] อนึ่ง การที่หม่อมฉันรักษาศีลเป็นปกติ
จะอำนวยผลเพียงเท่านั้นก็หามิได้
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมเทพ หม่อมฉันมีความหวังว่า
อย่างไรเสีย เราพึงได้เป็นพระสกทาคามี
วิสาลักขิวิมานที่ ๙ จบ

๑๐. ปาริจฉัตตกวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ใช้มาลัยดอกอโศก
บูชาพระพุทธเจ้า
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพธิดาองค์หนึ่งว่า)
[๖๘๐] เทพธิดา เธอนำดอกไม้สวรรค์ชื่อปาริจฉัตตกะ
หอมหวน น่ารื่นรมย์
มาร้อยเป็นมาลัยทิพย์ ขับร้องรื่นเริงบันเทิงอยู่
[๖๘๑] เมื่อเธอนั้นกำลังฟ้อนรำอยู่ เสียงทิพย์น่าฟัง น่ารื่นรมย์ใจ
ย่อมเปล่งออกจากอวัยวะน้อยใหญ่ทุกส่วนสัดของเธอ

เชิงอรรถ :
๑ ของพระผู้มีพระภาค (ขุ.วิ.อ. ๖๗๘/๑๙๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] รวมเรื่องวิมานที่มีในวรรค
[๖๘๒] ทั้งกลิ่นทิพย์หอมระรื่นชื่นใจ
ก็ฟุ้งออกจากอวัยวะน้อยใหญ่ทุกส่วนสัดของเธอ
[๖๘๓] เมื่อเธอสั่นไหวกายไปมา เสียงเครื่องประดับที่ช้องผม
ก็เปล่งเสียงดังไพเราะ น่าฟัง ดุจดังเสียงดนตรีเครื่องห้า
[๖๘๔] อนึ่ง ต่างหูเพชรต้องลมสั่นไหว ก็ส่งเสียงดังไพเราะ
น่าฟัง เช่นกับเสียงดนตรีเครื่องห้า
[๖๘๕] แม้มาลัยบนศีรษะของเธอ มีกลิ่นหอมระรื่นชื่นใจ
ก็ส่งกลิ่นหอมฟุ้งไปทั่วทุกทิศ ดุจต้นอุโลก๑
[๖๘๖] เธอสูดดมกลิ่นหอมระรื่นนั้น ทั้งได้เห็นรูปอันมิใช่ของมนุษย์
เทพธิดา อาตมาถามเธอแล้ว ขอเธอจงบอกเถิดว่า
นี้เป็นผลของกรรมอันใดเล่า
(เทพธิดานั้นตอบว่า)
[๖๘๗] ดิฉันได้น้อมนำมาลัยดอกอโศกซึ่งมีเกสรงามเลื่อมประภัสสร
มีสีสด มีกลิ่นหอมฟุ้ง ไปน้อมบูชาพระพุทธเจ้า
[๖๘๘] ดิฉันนั้นครั้นทำกุศลกรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญแล้ว
จึงสร่างโศก หมดโรคภัย มีความสุข รื่นเริงบันเทิงใจอยู่เป็นนิตย์
ปาริจฉัตตกวิมานที่ ๑๐ จบ

รวมเรื่องวิมานที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อุฬารวิมาน ๒. อุจฉุทายิกาวิมาน
๓. ปัลลังกวิมาน ๔. ลตาวิมาน
๕. คุตติลวิมาน ๖. ทัททัลลวิมาน
๗. เปสวตีวิมาน ๘. มัลลิกาวิมาน
๙. วิสาลักขิวิมาน ๑๐. ปาริจฉัตตกวิมาน

ปาริจฉัตตกวรรคที่ ๓ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ไม้ชนิดหนึ่ง เนื้อไม้สีขาว (ใช้ทำยาได้) เวลามีดอกส่งกลิ่นหอมไปทั่วทุกทิศ (ขุ.วิ.อ. ๖๘๕/๑๙๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๔. มัญชิฏฐกวรรค ๑. มัญชิฏฐกวิมาน
๔. มัญชิฏฐกวรรค
หมวดว่าด้วยวิมานแก้วผลึกสีแดง
๑. มัญชิฏฐกวิมาน
ว่าด้วยวิมานแก้วผลึกสีแดงที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายดอกสาละ
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพธิดาองค์หนึ่งว่า)
[๖๘๙] เทพธิดา เธอรื่นรมย์อยู่ด้วยดนตรีเครื่องห้า
ที่เทพบุตรและเทพธิดาประโคมอยู่อย่างไพเราะ
ในวิมานแก้วผลึกแดงซึ่งมีพื้นดารดาษด้วยทรายทอง
[๖๙๐] เมื่อเธอลงจากวิมานแก้วซึ่งบุญกรรมเนรมิตไว้แล้วนั้น
เข้าไปสู่ป่าไม้สาละซึ่งผลิดอกบานสะพรั่งทุกฤดูกาล
[๖๙๑] ยืนที่โคนต้นสาละใด ๆ ก็ตาม
ต้นสาละนั้น ๆ ซึ่งเป็นต้นไม้อุดมสมบูรณ์ ก็น้อมกิ่งโปรยดอกลงมา
[๖๙๒] ป่าไม้สาละเป็นที่อาศัยของเหล่าสกุณชาติ
ต้องลมรำเพยพัดไหวไปมา
มีกลิ่นหอมฟุ้งไปทั่วทุกทิศ ดุจต้นอุโลก
[๖๙๓] เธอสูดดมกลิ่นที่หอมหวนนั้น ทั้งได้เห็นรูปอันมิใช่ของมนุษย์
เทพธิดา อาตมาถามแล้ว ขอเธอจงบอกเถิดว่า
นี้เป็นผลของกรรมอันใดเล่า
(เทพธิดาตอบว่า)
[๖๙๔] เมื่อดิฉันเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์
เป็นหญิงรับใช้อยู่ในตระกูลเจ้านาย
ได้เห็นพระพุทธเจ้าประทับนั่งอยู่
จึงได้โปรยดอกสาละลง (รอบพระอาสน์)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๔. มัญชิฏฐกวรรค ๒.ปภัสสรวิมาน
[๖๙๕] และมีจิตเลื่อมใส ได้น้อมพวงมาลัยดอกสาละ
ซึ่งประดิษฐ์ไว้อย่างดี
เข้าไปถวายพระพุทธเจ้าด้วยมือทั้งสองของตน
[๖๙๖] ครั้นดิฉันทำกุศลกรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญแล้วนั้น
จึงสร่างโศก หมดโรคภัย
มีความสุข รื่นเริง บันเทิงใจอยู่เป็นนิตย์
มัญชิฏฐกวิมานที่ ๑ จบ

๒.ปภัสสรวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่เทพธิดาผู้งามผุดผ่อง
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพธิดาองค์หนึ่งว่า)
[๖๙๗] เทพธิดาผู้มีรัศมีงามผุดผ่อง
ทรงพัสตราภรณ์สีแดงสดใส มีฤทธิ์มาก
มีร่างกายสวยงามดุจลูบไล้ด้วยจุรณแก่นจันทน์
เธอเป็นใครมาไหว้อาตมาอยู่
[๖๙๘] อนึ่ง เธอนั่งบนบัลลังก์ที่มีค่ามาก
งามวิจิตรด้วยรัตนะหลากหลาย
ย่อมรุ่งโรจน์ดังท้าวสักกเทวราชในนันทวโนทยาน
[๖๙๙] เทพธิดาผู้เจริญ ชาติก่อนเธอได้ประพฤติสุจริตอะไร
ได้เสวยผลกรรมอะไรในเทวโลก อาตมาถามแล้ว
ขอเธอจงบอกเถิดว่า นี้เป็นผลของกรรมอันใดเล่า
(เทพธิดาตอบว่า)
[๗๐๐] พระคุณเจ้าผู้เจริญ ดิฉันได้ถวายพวงมาลัย
และน้ำอ้อยงบแด่พระคุณเจ้าซึ่งกำลังเที่ยวบิณฑบาต
ดิฉันจึงได้เสวยผลของกรรมนั้นในเทวโลก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๔. มัญชิฏฐกวรรค ๓. นาควิมาน
[๗๐๑] พระคุณเจ้าผู้เจริญ แต่ดิฉันยังมีความเดือดร้อน
ผิดหวังและเป็นทุกข์
เพราะดิฉันนั้นไม่ได้ฟังธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้เป็นพระธรรมราชาทรงแสดงไว้ดีแล้ว
[๗๐๒] พระคุณเจ้าผู้เจริญ เพราะเหตุนั้น
ดิฉันจึงกราบเรียนพระคุณเจ้าซึ่งเป็นผู้ควรอนุเคราะห์ดิฉัน
ขอพระคุณเจ้าจงให้ดิฉันตั้งมั่นอยู่ในธรรมทั้งหลายด้วยเถิด
[๗๐๓] (ด้วยว่า) เหล่าเทพที่มีความเชื่อในพระพุทธรัตนะ
พระธรรมรัตนะ และพระสังฆรัตนะ
สดับธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้เป็นพระธรรมราชาทรงแสดงไว้ดีแล้ว
ย่อมรุ่งเรืองยิ่งกว่าดิฉันด้วยอายุ บริวาร ยศและสิริ
[๗๐๔] เทพเหล่าอื่นเล่าก็มีคุณสมบัติยวดยิ่งกว่าดิฉันด้วยอานุภาพ
ด้วยรัศมีกาย และมีฤทธิ์มากยิ่งกว่าดิฉันทั้งนั้น
ปภัสสรวิมานที่ ๒ จบ

๓. นาควิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายผ้าคู่หนึ่งแด่พระพุทธเจ้า
(พระวังคีสเถระถามเทพธิดาองค์หนึ่งว่า)
[๗๐๕] เธอประดับองค์ทรงเครื่องแล้ว
ขึ้นคชสารตัวประเสริฐ มีร่างกายใหญ่
ประดับแก้วและทอง มีข่ายทองคลุมตระพอง
ผูกสายรัดประคนทองไว้เรียบร้อย นั่งหลังคชสารเหาะมาที่นี้
[๗๐๖] ที่งาทั้งสองของพญาคชสารล้วนมีสระโบกขรณีเนรมิต
มีน้ำใสสะอาด ดารดาษด้วยปทุมชาติมีดอกบานสะพรั่ง
ในดอกปทุมทุกดอก ๆ มีหมู่ดุริยเทพบรรเลงเพลง
และมีเหล่าเทพอัปสรนี้ฟ้อนรำชวนให้เกิดความรื่นเริงบันเทิงใจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๔. มัญชิฏฐกวรรค ๔. อโลมวิมาน
[๗๐๗] เทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก เธอได้บรรลุเทวฤทธิ์
เมื่อเธอเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะบุญอะไร เธอจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
(เทพธิดาตอบว่า)
[๗๐๘] ดิฉันได้เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าที่กรุงพาราณสี
ได้ถวายผ้าคู่หนึ่งแด่พระองค์
ถวายอภิวาทพระยุคลบาทแล้วนั่งอยู่บนพื้นดิน
มีจิตยินดีได้ทำอัญชลีแด่พระองค์แล้ว
[๗๐๙] อนึ่ง พระพุทธเจ้าทรงมีพระฉวีวรรณดุจทองคำธรรมชาติ
ได้ทรงแสดงทุกขสัจและสมุทัยสัจว่าเป็นสภาวะไม่เที่ยง
และทรงแสดงทุกขนิโรธสัจและมัคคสัจ
ว่าเป็นสภาวะอันปัจจัยอะไร ๆ ปรุงแต่งไม่ได้แล้วแก่ดิฉัน
เพราะฉะนั้น ดิฉันจึงได้รู้แจ้งชัดอริยสัจ ๔
[๗๑๐] ดิฉันถึงแก่กรรมตั้งแต่อายุยังน้อย
เคลื่อนจากอัตภาพนั้นแล้ว
บังเกิดในหมู่เทพชั้นดาวดึงส์ มีบริวารยศ
เป็นปชาบดีองค์หนึ่งของท้าวสักกะ
มีนามว่ายสุตตรา ปรากฏไปทั่วทุกทิศ
นาควิมานที่ ๓ จบ

๔.อโลมวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่นางอโลมาผู้ถวายขนมกุมาสแห้ง
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพธิดาองค์หนึ่งว่า)
[๗๑๑] เทพธิดา เธอมีผิวพรรณงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ ดุจดาวประกายพรึก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๔. มัญชิฏฐกวรรค ๕. กัญชิกทายิกาวิมาน
[๗๑๒-๗๑๓] เพราะบุญอะไรผิวพรรณเธอจึงงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศเช่นนี้
[๗๑๔] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๗๑๕] ดิฉันเมื่ออยู่ในกรุงพาราณสี มีจิตเลื่อมใส
ได้ถวายขนมกุมมาสแห้งแด่พระพุทธเจ้า
ผู้ทรงเป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ด้วยมือทั้งสองของตน
[๗๑๖] ขอพระคุณเจ้าจงดูผลก้อนขนมกุมมาสแห้งทั้งหารสเค็มมิได้
ครั้นเห็นว่าถวายขนมกุมมาสแห้งหารสเค็มมิได้แล้ว
ได้รับความสุข ใครเล่าจักไม่กระทำบุญ
[๗๑๗-๗๑๘] เพราะบุญนั้นผิวพรรณดิฉันจึงงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
อโลมวิมานที่ ๔ จบ

๕. กัญชิกทายิกาวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายน้ำข้าวปรุงผสมผลพุทราอบ
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพธิดาองค์หนึ่งว่า)
[๗๑๙] เทพธิดา เธอมีผิวพรรณงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอยู่ ดุจดาวประกายพรึก
[๗๒๐-๗๒๑] เพราะบุญอะไรเธอจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๗๒๒] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๔. มัญชิฏฐกวรรค ๖. วิหารวิมาน
[๗๒๓] ดิฉันเมื่ออยู่ในเมืองอันธกวินทะ
ได้ถวายน้ำข้าวปรุงด้วยผลพุทราอบด้วยน้ำมัน
แด่พระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์
[๗๒๔] มีจิตเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคผู้ปฏิบัติตรง
ได้ถวายน้ำข้าวผสมด้วยดีปลี กระเทียม และรากผักชี
[๗๒๕] การที่นารีผู้มีเรือนร่างงามทุกส่วนสัด สามีมองไม่เบื่อ
ได้ครองความเป็นอัครมเหสีของพระเจ้าจักรพรรดินั้น
ยังไม่เทียบเท่าเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งการถวายน้ำข้าวครั้งเดียว
[๗๒๖] ทองคำ ๑๐๐ แท่ง ม้า ๑๐๐ ตัว
ราชรถเทียมด้วยม้าอัสดร ๑๐๐ คัน
หญิงสาวประดับต่างหูแก้วมณี ๑๐๐,๐๐๐ นาง
ก็ยังมีค่าไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งทานคือการถวายน้ำข้าวครั้งเดียว
[๗๒๗] ช้างมาตังคะ ๑๐๐ เชือก เกิดในป่าหิมพานต์
มีงางอนงาม ทรงพลังมาก มีสายคล้องคอทองคำ
ตกแต่งด้วยเครื่องลาดและเครื่องประดับที่วิจิตรบรรจงด้วยทองคำ
ก็ยังมีค่าไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ ของการถวายน้ำข้าวครั้งเดียว
[๗๒๘] การที่พระเจ้าจักรพรรดิได้ครอบครองทวีปทั้ง ๔ ในโลกนี้นั้น
ก็ยังมีค่าไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งการถวายน้ำข้าวครั้งเดียวนั้น
กัญชิกทายิกาวิมานที่ ๕ จบ

๖. วิหารวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้อนุโมทนาการถวายวิหาร
(พระอนุรุทธเถระถามเทพธิดาองค์หนึ่งว่า)
[๗๒๙] เทพธิดา เธอมีผิวพรรณงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอยู่ ดุจดาวประกายพรึก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๔. มัญชิฏฐกวรรค ๖. วิหารวิมาน
[๗๓๐] เมื่อเธอนั้นกำลังฟ้อนรำอยู่ เสียงทิพย์น่าฟัง น่ารื่นรมย์ใจ
ย่อมเปล่งออกจากอวัยวะน้อยใหญ่ทุกส่วนสัดของเธอ
[๗๓๑] ทั้งกลิ่นทิพย์หอมระรื่นชื่นใจ
ก็ฟุ้งออกจากอวัยวะน้อยใหญ่ทุกส่วนสัดของเธอ
[๗๓๒] เมื่อเธอสั่นไหวกายไปมา
เสียงเครื่องประดับที่ช้องผม(ของเธอ)ทุกส่วน
ก็เปล่งเสียงดังไพเราะ น่าฟัง ดังเสียงดนตรีเครื่องห้า
[๗๓๓] อนึ่ง ต่างหูเพชรต้องลมสั่นไหว ก็ส่งเสียงดังไพเราะ
น่าฟัง ดังเสียงดนตรีเครื่องห้า
[๗๓๔] แม้มาลัยบนศีรษะของเธอ มีกลิ่นหอมชื่นใจ
ก็ส่งกลิ่นหอมฟุ้งไปทั่วทุกทิศ ดุจต้นอุโลก
[๗๓๕] เธอสูดดมกลิ่นหอมนั้น ทั้งได้เห็นรูปอันมิใช่ของมนุษย์
เทพธิดา อาตมาถามแล้ว ขอเธอจงบอกเถิดว่า
นี้เป็นผลของกรรมอันใดเล่า
(เทพธิดานั้นตอบว่า)
[๗๓๖] พระคุณเจ้าผู้เจริญ นางวิสาขามหาอุบาสิกา
สหายของดิฉันอยู่ในกรุงสาวัตถี
ได้จัดสร้างมหาวิหารถวายสงฆ์ ดิฉันได้เห็นอาคาร
และการบริจาคทรัพย์จำนวนมากอุทิศสงฆ์
เป็นที่พอใจของดิฉันเช่นนั้น จึงเลื่อมใสแล้วอนุโมทนาในบุญนั้น
[๗๓๗] วิมานน่าอัศจรรย์ น่าทัศนา ซึ่งดิฉันได้มา
เพราะการอนุโมทนาอย่างเดียวเท่านั้น
วิมานนั้นล่องลอยไปได้โดยรอบ
ในรัศมี ๑๖ โยชน์ด้วยบุญฤทธิ์ของดิฉัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๔. มัญชิฏฐกวรรค ๖. วิหารวิมาน
[๗๓๘] วิมานเรือนยอดของดิฉัน จัดแบ่งไว้แต่ละส่วนอย่างเหมาะสม
ส่องสว่างรุ่งเรือง ตลอดรัศมี ๑๐๐ โยชน์โดยรอบ
[๗๓๙] อนึ่ง ที่วิมานของดิฉันนี้ มีสระโบกขรณี
ซึ่งหมู่มัจฉาทิพย์อาศัยอยู่ประจำ
มีน้ำใสสะอาด มีพื้นดารดาษด้วยทรายทอง
[๗๔๐] ดื่นดาดด้วยบัวหลวงหลากชนิด มีบัวขาวรายล้อมไว้รอบ
ยามลมรำเพยพัดก็โชยกลิ่นหอมระรื่นจรุงใจ
[๗๔๑] มีรุกขชาตินานาชนิด คือต้นหว้า ต้นขนุน ต้นตาล ต้นมะพร้าว
และป่าไม้เกิดเองตามธรรมชาติ ภายในนิเวศน์ มิได้มีใครปลูกไว้
[๗๔๒] วิมานนี้กึกก้องไปด้วยดนตรีชนิดต่าง ๆ
เหล่าเทพอัปสรก็ส่งเสียงเจื้อยแจ้ว
แม้นรชนที่ฝันเห็นดิฉันแล้วต้องปลื้มใจ
[๗๔๓] วิมานน่าอัศจรรย์ น่าทัศนา มีรัศมีสว่างไสวไปทุกทิศ เช่นนี้
บังเกิดเพราะกุศลกรรมของดิฉัน
(ฉะนั้น)จึงควรแท้ที่สาธุชนจะทำบุญไว้
(พระอนุรุทธเถระประสงค์จะให้นางบอกสถานที่ที่นางวิสาขาเกิดจึงได้กล่าวคาถา
นี้ว่า)
[๗๔๔] เธอได้วิมานน่าอัศจรรย์ น่าทัศนา
เพราะการอนุโมทนาอย่างเดียวเท่านั้น
ขอเธอจงบอกคติของนางวิสาขา
ผู้ที่ได้ถวายทานนั้นเถิดว่า นางเกิด ณ ที่ไหน
(เทพธิดานั้นตอบว่า)
[๗๔๕] พระคุณเจ้าผู้เจริญ นางวิสาขามหาอุบาสิกาสหายของดิฉันนั้น
ได้สร้างมหาวิหารถวายสงฆ์ รู้แจ้งธรรม ได้ถวายทาน
เกิดแล้วในหมู่ทวยเทพชั้นนิมมานรดี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๔. มัญชิฏฐกวรรค ๖. วิหารวิมาน
[๗๔๖] เป็นปชาบดีของท้าวสุนิมิตเทวราชนั้น
วิบากแห่งกรรมของนางเป็นเรื่องที่ใคร ๆ ไม่พึงคิด
ดิฉันได้ชี้แจงถึงคำถามที่พระคุณเจ้าถาม
ถึงที่ที่นางเกิดแด่พระคุณเจ้าแล้วตามความเป็นจริง
[๗๔๗] ถ้าอย่างนั้น ขอนิมนต์พระคุณเจ้าโปรดชักชวนแม้คนอื่น ๆ ว่า
ท่านทั้งหลายจงเต็มใจถวายทานแด่สงฆ์เถิด
และจงมีใจเลื่อมใสฟังธรรม
การได้เกิดเป็นมุษย์ที่ได้แสนยาก พวกท่านก็ได้แล้ว
[๗๔๘] พระพุทธเจ้ามีพระสุรเสียงไพเราะดังเสียงพรหม
มีพระฉวีวรรณผุดผ่องดังทอง ผู้ทรงเป็นใหญ่ยิ่งด้วยมรรค๑
ได้ทรงแสดงทานใดว่าเป็นทาง(ไปสู่สุคติ)
ขอท่านทั้งหลายจงเต็มใจถวายทานนั้นแด่สงฆ์
ซึ่งเป็นบุญเขตที่ทักษิณาทานมีผลมากเถิด
[๗๔๙] ทักขิไณยบุคคล ๔ คู่ ๘ ท่านเหล่านี้ที่ท่านผู้รู้สรรเสริญแล้ว
เป็นสาวกของพระสุคต ทานที่ถวายในบุคคลเหล่านี้มีผลมาก
[๗๕๐] พระอริยบุคคลผู้บรรลุอริยมรรค ๔
และผู้ดำรงอยู่ในอริยผล ๔ นี้
จัดเป็นพระสงฆ์ เป็นผู้ปฏิบัติตรง
ดำรงมั่นอยู่ในศีล สมาธิ และปัญญา
[๗๕๑] มนุษย์ทั้งหลายผู้หวังบุญให้ทานอยู่
ทำบุญปรารภเหตุแห่งการเวียนว่ายตายเกิด
จึงถวายทานแก่สงฆ์ซึ่งมีผลมาก
[๗๕๒] ด้วยว่า พระสงฆ์นี้มีคุณยิ่งใหญ่ ไพบูลย์
หาประมาณมิได้ ดุจทะเลเปี่ยมด้วยน้ำ
พระอริยบุคคลเหล่านี้แลเป็นผู้ประเสริฐสุด
เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าผู้มีความเพียร
เป็นผู้ให้แสงสว่างคือปัญญาแก่ชาวโลก ย่อมยกธรรมขึ้นแสดง

เชิงอรรถ :
๑ อริยมรรค (ขุ.วิ.อ. ๗๔๘/๒๒๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๔. มัญชิฏฐกวรรค ๗. จตุริตถีวิมาน
[๗๕๓] ทานที่บุคคลถวายเจาะจงสงฆ์นั้นชื่อว่าเป็นทานที่ถวายดีแล้ว
บูชาสักการะด้วยดีแล้ว ทักษิณาที่ถวายในสงฆ์นั้นมีผลมาก
ทั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายผู้ทรงรู้แจ้งโลกก็ทรงสรรเสริญแล้ว
[๗๕๔] เหล่าชนมาหวนระลึกถึงบุญเช่นนี้ได้เกิดปีติโสมนัส
กำจัดมลทินคือความตระหนี่พร้อมทั้งมูลเหตุได้
ท่องเที่ยวไปในโลก ไม่ถูกบัณฑิตติเตียน จึงเข้าถึงแดนสวรรค์ได้
วิหารวิมานที่ ๖ จบ
ภาณวารที่ ๒ จบ

๗. จตุริตถีวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิง ๔ นาง
ผู้ถวายดอกไม้ต่างชนิดกัน
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพธิดาองค์หนึ่งว่า)
[๗๕๕-๗๕๗] เทพธิดา เพราะบุญอะไรเธอจึงมีผิวพรรณงามยิ่งนัก ฯลฯ
และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๗๕๘] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๗๕๙] ชาติก่อน ดิฉันได้ถวายดอกราชพฤกษ์๑กำมือหนึ่ง
แด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาตในปัณณกตนครซึ่งตั้งอยู่บนเนิน
เป็นเมืองที่รุ่งเรือง น่ารื่นรมย์ ของแคว้นเอสิกา
[๗๖๐-๗๖๑] เพราะบุญนั้นดิฉันจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทิศอย่างนี้

เชิงอรรถ :
๑ บางแห่งแปลว่าดอกผักตบ (ขุ.วิ.อ. ๗๕๙/๒๒๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๔. มัญชิฏฐกวรรค ๗. จตุริตถีวิมาน
(เทพธิดาองค์ที่ ๒)
[๗๖๒-๗๖๔] เทพธิดา เพราะบุญอะไรเธอจึงมีผิวพรรณงามยิ่งนัก ฯลฯ
และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๗๖๕] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๗๖๖] ชาติก่อน ดิฉันได้ถวายดอกบัวเขียวกำมือหนึ่ง
แด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาตอยู่ในปัณณกตนครซึ่งตั้งอยู่บนเนิน
เป็นเมืองที่รุ่งเรือง น่ารื่นรมย์ ของแคว้นเอสิกา
[๗๖๗-๗๖๘] เพราะบุญนั้นดิฉันจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
(เทพธิดาองค์ที่ ๓)
[๗๖๙-๗๗๑] เทพธิดา เธอมีผิวพรรณงามยิ่งนัก ฯลฯ
และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๗๗๒] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาของผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๗๗๓] ชาติก่อนดิฉันได้ถวายดอกบัวหลวงซึ่งมีรากขาว กลีบเขียว
เกิดในสระน้ำกำมือหนึ่ง
แด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาตอยู่ในปัณณกตนคร
ซึ่งตั้งอยู่บนเนิน เป็นเมืองที่รุ่งเรือง น่ารื่นรมย์ ของแคว้นเอสิกา
[๗๗๔-๗๗๕] เพราะบุญนั้นดิฉันจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
(เทพธิดาองค์ที่ ๔)
[๗๗๖-๗๗๘] เทพธิดา เธอมีผิวพรรณงามยิ่งนัก ฯลฯ
และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๔. มัญชิฏฐกวรรค ๘. อัมพวิมาน
[๗๗๙] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๗๘๐] ชาติก่อนดิฉันชื่อว่าสุมนา ได้ถวายดอกมะลิตูม มีสีคล้ายงาช้าง
แด่ภิกษุผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาตอยู่ในปัณณกตนครซึ่งตั้งอยู่บนเนิน
เป็นเมืองที่รุ่งเรือง น่ารื่นรมย์ ของแคว้นเอสิกา
[๗๘๑-๗๘๒] เพราะบุญนั้นดิฉันจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
จตุริตถีวิมานที่ ๗ จบ

๘. อัมพวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายวัดสวนมะม่วง
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพธิดาองค์หนึ่งว่า)
[๗๘๓] สวนมะม่วงทิพย์ของเธอ น่ารื่นรมย์ ในสวนนี้มีปราสาทกว้างใหญ่
กึกก้องไปด้วยเสียงดนตรีต่าง ๆ เหล่าเทพอัปสรก็ส่งเสียงเจื้อยแจ้ว
[๗๘๔] ปราสาทของเธอนี้มีประทีปทองดวงใหญ่สว่างไสวอยู่เป็นนิตย์
แวดล้อมโดยรอบด้วยต้นมะม่วงที่มีผลเป็นผ้า
[๗๘๕-๗๘๖] เพราะบุญอะไรเธอจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๗๘๗] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๗๘๘] ชาติก่อนดิฉันเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์ในมนุษยโลก
ดิฉันได้สร้างวิหารแวดล้อมด้วยต้นมะม่วงถวายสงฆ์
[๗๘๙] เมื่อให้สร้างวิหารสำเร็จเรียบร้อยแล้ว จะทำการฉลอง
จึงใช้ผ้าประดับต้นมะม่วงทั้งหลายแล้ว แต่งให้เป็นผลมะม่วง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๔. มัญชิฏฐกวรรค ๙. ปีตวิมาน
[๗๙๐] ดิฉันเลื่อมใสตามประทีปไว้ที่ต้นมะม่วงเหล่านั้น
นิมนต์หมู่สาวกของพระผู้มีพระภาคซึ่งเป็นหมู่ที่สูงสุดให้ฉันแล้ว
ได้มอบถวายวิหารนั้นแด่สงฆ์ด้วยมือทั้งสองของตน
[๗๙๑] เพราะบุญนั้นดิฉันจึงมีสวนมะม่วงที่น่ารื่นรมย์
ในสวนนี้มีปราสาทกว้างใหญ่
กึกก้องไปด้วยเสียงดนตรีต่าง ๆ เหล่าเทพอัปสรก็ส่งเสียงเจื้อยแจ้ว
[๗๙๒] ปราสาทของดิฉันนี้มีประทีปทองดวงใหญ่สว่างไสวอยู่เป็นนิตย์
แวดล้อมโดยรอบด้วยต้นมะม่วงที่มีผลเป็นผ้า
[๗๙๓-๗๙๔] เพราะบุญนั้นดิฉันจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
อัมพวิมานที่ ๘ จบ

๙. ปีตวิมาน
ว่าด้วยวิมานสีเหลืองที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายดอกบวบขม
(ท้าวสักกเทวราชตรัสถามเทพธิดาองค์หนึ่งว่า)
[๗๙๕] เทพธิดา ผู้มีผ้านุ่งห่มและธงล้วนแต่สีเหลือง
ประดับประดาด้วยเครื่องประดับสีเหลือง
มีกายลูบไล้ด้วยจันทน์เหลือง ทัดทรงดอกอุบลเหลือง
[๗๙๖] มีปราสาทสีเหลือง มีที่นอนที่นั่งสีเหลือง มีภาชนะสีเหลือง
มีฉัตรสีเหลือง มีรถสีเหลือง มีม้าสีเหลือง มีพัดสีเหลือง
[๗๙๗] เทพธิดาผู้เจริญ ชาติก่อน เธอได้ทำกรรมอะไรไว้ในมนุษยโลก
เธอจงตอบตามที่ฉันถามเถิดว่า นี้เป็นผลของกรรมอันใดเล่า
(เทพธิดานั้นทูลตอบว่า)
[๗๙๘] พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้น้อมนำดอกบวบขมจำนวน ๔ ดอก
ซึ่งมีรสขม ไม่มีใครปรารถนา ไปบูชาพระสถูป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๔. มัญชิฏฐกวรรค ๙.ปีตวิมาน
[๗๙๙] หม่อมฉันมีจิตเลื่อมใส มุ่งถึงพระบรมสารีริกธาตุของพระศาสดา
มีใจจดจ่อพระบรมสารีริกธาตุของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ไม่ทันพิจารณาดูทางที่แม่โคนั้นมา
[๘๐๐] ทันใดนั้น แม่โคได้ขวิดหม่อมฉัน
ยังไม่ทันไปถึงพระสถูปสมความตั้งใจ
ถ้าหม่อมฉันพึงสั่งสมบุญนั้นไว้ได้ยิ่งขึ้น
ทิพยสมบัติก็จะพึงมียิ่งกว่านี้แน่
[๘๐๑] ข้าแต่ท้าวมฆวานเทพกุญชร จอมเทพ เพราะกุศลกรรมนั้น
หม่อมฉันจึงละกายมนุษย์มาอยู่ร่วมกับพระองค์
[๘๐๒] ท้าวมฆวานเทพกุญชร จอมเทพชั้นดาวดึงส์
ทรงสดับเนื้อความนี้แล้ว เมื่อจะให้เทวดาชั้นดาวดึงส์เลื่อมใส
จึงได้ตรัสกับมาตลีเทพสารถีว่า
[๘๐๓] มาตลี ท่านจงดูผลกรรมอันวิจิตรน่าอัศจรรย์นี้
ของควรทำบุญที่เทพธิดานี้ทำแล้วถึงจะน้อย ผลบุญกลับมีมาก
[๘๐๔] เมื่อมีจิตเลื่อมใสพระตถาคตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระปัจเจกพุทธเจ้า หรือสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว
ทักษิณาหาชื่อว่ามีผลน้อยไม่
[๘๐๕] มาเถิด มาตลี แม้ชาวเราทั้งหลายก็ควรรีบเร่งบูชา
พระบรมสารีริกธาตุของพระตถาคตให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป
เพราะการสั่งสมบุญนำความสุขมาให้
[๘๐๖] เมื่อพระตถาคตยังทรงพระชนม์อยู่ก็ตาม
เสด็จปรินิพพานแล้วก็ตาม
เมื่อจิตสม่ำเสมอ ผลก็ย่อมมีสม่ำเสมอ
เพราะเหตุที่ตั้งจิตไว้ชอบ สัตว์ทั้งหลายย่อมไปสุคติ
[๘๐๗] พระตถาคตทั้งหลายทรงอุบัติมาเพื่อประโยชน์แก่ชนหมู่มากหนอ
ทายกทายิกาทั้งหลายถวายสักการบูชาแล้วได้ไปสวรรค์
ปีตวิมานที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๔. มัญชิฏฐกวรรค ๑๐. อุจฉุวิมาน
๑๐. อุจฉุวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้ถวายท่อนอ้อย
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพธิดาองค์หนึ่งว่า)
[๘๐๘] เธอมีสิริ มีรัศมีกาย มีบริวารยศและมีเดช
เปล่งรัศมีส่องทั่วแผ่นดินพร้อมทั้งเทวโลกให้สว่างไสว
รุ่งเรืองดังพระจันทร์และพระอาทิตย์ และดังท้าวมหาพรหม
เปล่งรัศมีงามล้ำกว่าทวยเทพชาวไตรทศ พร้อมทั้งพระอินทร์
[๘๐๙] อาตมาขอถามเธอ เทพธิดาผู้เลอโฉม ประดับมาลัยดอกอุบล
มีมาลัยแก้วประดับเทริด มีผิวพรรณเปล่งปลั่งดั่งทองคำ
ประดับประดาอาภรณ์อย่างสวยงาม ทรงพัสตราภรณ์ชั้นเลิศ
เธอเป็นใครมาไหว้อาตมา
[๘๑๐] ชาติก่อนเธอเกิดเป็นมนุษย์ ได้ทำกรรมอะไรมาก่อน
ได้สั่งสมทานไว้ดี หรือว่ารักษาศีลไว้ดี
เกิดในสวรรค์ มีบริวารยศ เพราะกรรมอะไร
เทพธิดา อาตมาถามแล้ว ขอเธอจงบอกเถิดว่า
นี้เป็นผลของกรรมอันใดเล่า
(เทพธิดานั้นตอบว่า)
[๘๑๑] พระคุณเจ้าผู้เจริญ เมื่อไม่นานมานี้ พระเถระรูปหนึ่ง
เข้ามาบิณฑบาตยังเรือนของดิฉันในหมู่บ้านนี้แหละ
จากนั้นดิฉันมีจิตเลื่อมใส เกิดปีติสุดประมาณ
จึงได้ถวายท่อนอ้อยแด่ท่าน
[๘๑๒] แต่ต่อมาภายหลัง แม่ผัวซักถามดิฉันว่า
แม่ตัวดี แกเอาอ้อยไปทิ้งไว้ที่ไหนล่ะ
ดิฉันจึงตอบว่า ไม่ได้ทิ้งและก็ไม่ได้กิน
แต่ดิฉันได้ถวายแด่ภิกษุผู้สงบระงับไปแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๔. มัญชิฏฐกวรรค ๑๐.อุจฉุวิมาน
[๘๑๓] ทันใดนั้น แม่ผัวนั้นได้ด่าดิฉันว่า
นี่แกหรือฉันเป็นใหญ่กันแน่
ว่าแล้วก็คว้าก้อนดินทุ่มดิฉัน
ดิฉันตายจากมนุษยโลกนั้นแล้วก็มาเกิดเป็นเทพธิดา
[๘๑๔] ดิฉันทำกุศลกรรมนั้นไว้เท่านี้
ตนเองจึงได้มาเสวยผลกรรมที่นำความสุขมาให้
ได้รับการบำเรอบันเทิงใจอยู่
ด้วยกามคุณ ๕ ร่วมกับหมู่เทพ
[๘๑๕] ดิฉันทำกุศลกรรมนั้นไว้เท่านี้
ตนเองจึงได้มาเสวยผลกรรมที่นำความสุขมาให้
มีท้าวสักกะจอมเทพคุ้มครอง มีทวยเทพชั้นไตรทศรักษา
เพียบพร้อมอยู่ด้วยกามคุณ ๕
[๘๑๖] ผลบุญดังกล่าวมานี้มิใช่เล็กน้อย
บุญที่ดิฉันได้ถวายอ้อยให้ผลมาก
ดิฉันจึงได้รับการบำเรอบันเทิงใจอยู่
ด้วยกามคุณ ๕ ร่วมกับหมู่เทพ
[๘๑๗] ผลบุญดังกล่าวมานี้มิใช่เล็กน้อย
บุญที่ดิฉันได้ถวายอ้อยมีอานุภาพมาก
ดิฉันจึงมีท้าวสักกะจอมเทพคุ้มครอง
มีทวยเทพชั้นไตรทศรักษา
ดังท้าวสหัสสนัยน์ในนันทวัน
[๘๑๘] พระคุณเจ้าผู้เจริญ ดิฉันเข้าไปหาพระคุณเจ้า
ผู้อนุเคราะห์ซึ่งมีปัญญาแล้ว
กราบไหว้และถามถึงความไม่มีโรค จากนั้นก็มีจิตเลื่อมใส
เกิดปีติสุดประมาณ ได้ถวายท่อนอ้อยแด่พระคุณเจ้า
อุจฉุวิมานที่ ๑๐ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๔. มัญชิฏฐกวรรค ๑๒. รัชชุมาลาวิมาน
๑๑. วันทนวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้กราบไหว้สมณะ
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพธิดาองค์หนึ่งว่า)
[๘๑๙] เทพธิดา เธอมีผิวพรรณงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอยู่ ดุจดาวประกายพรึก
[๘๒๐-๘๒๑] เพราะบุญอะไรเธอจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๘๒๒] เทพธิดานั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๘๒๓] เมื่อดิฉันเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์
พบสมณะทั้งหลายผู้มีศีลจึงไหว้เท้า
ทำใจให้เลื่อมใส
อนึ่ง ดิฉันปลื้มใจ ได้ประคองอัญชลี
[๘๒๔-๘๒๕] เพราะบุญนั้นดิฉันจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
วันทนวิมานที่ ๑๑ จบ

๑๒. รัชชุมาลาวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้สักการะเคารพพระพุทธเจ้า
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพธิดาองค์หนึ่งว่า)
[๘๒๖] เทพธิดา เธอมีผิวพรรณงดงามยิ่งนัก
ขณะที่ดนตรีบรรเลงอยู่อย่างไพเราะ
เธอกรีดกรายมือและเท้าฟ้อนรำได้อย่างกลมกลืน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๔. มัญชิฏฐกวรรค ๑๒. รัชชุมาลาวิมาน
[๘๒๗] เมื่อเธอนั้นกำลังฟ้อนรำอยู่ เสียงทิพย์น่าฟัง น่ารื่นรมย์ใจ
ย่อมเปล่งออกจากอวัยวะน้อยใหญ่ทุกส่วนสัดของเธอ
[๘๒๘] ทั้งกลิ่นทิพย์ หอมระรื่นชื่นใจ
ก็ฟุ้งออกจากอวัยวะน้อยใหญ่ทุกส่วนสัดของเธอ
[๘๒๙] เมื่อเธอเยื้องไหวกายไปมา เสียงเครื่องประดับที่ช้องผม
ก็เปล่งเสียงดังไพเราะ น่าฟัง ดังเสียงดนตรีเครื่องห้า
[๘๓๐] อนึ่ง ต่างหูเพชรต้องลมสั่นไหว ก็ส่งเสียงดังไพเราะ
น่าฟัง ดังเสียงดนตรีเครื่องห้า
[๘๓๑] แม้มาลัยบนศีรษะของเธอมีกลิ่นหอมระรื่นชื่นใจ
ก็ส่งกลิ่นหอมฟุ้งไปทั่วทุกทิศ ดุจต้นอุโลก
[๘๓๒] เธอสูดดมกลิ่นหอมระรื่นนั้น ทั้งได้เห็นรูปที่มิใช่ของมนุษย์
เทพธิดา อาตมาถามแล้ว ขอเธอจงบอกเถิดว่า
นี้เป็นผลของกรรมอันใดเล่า
(เทพธิดานั้นตอบว่า)
[๘๓๓] ชาติก่อน ดิฉันเกิดเป็นทาสีของพราหมณ์ในหมู่บ้านคยา
มีบุญน้อย ด้อยวาสนา คนทั้งหลายรู้จักดิฉันในนามว่า รัชชุมาลา
[๘๓๔] ดิฉันเสียใจอย่างหนัก เพราะถูกด่าว่า ถูกเฆี่ยนตีต่าง ๆ
และถูกคุกคามจึงถือหม้อน้ำออกไป ทำเป็นเสมือนจะไปตักน้ำ
[๘๓๕] ครั้นแล้วได้วางหม้อน้ำไว้ข้างทาง เข้าไปยังป่าชัฏโดยตัดสินใจว่า
จักตายในป่านี้แหละ เราอยู่ไปจะมีประโยชน์อะไรเล่า
[๘๓๖] จึงทำบ่วงให้แน่น แขวนเข้ากับต้นไม้
ทีนั้นก็เหลียวดูไปรอบทิศด้วยคิดเกรงว่า มีใครอยู่ในป่าไหมหนอ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๔. มัญชิฏฐกวรรค ๑๒. รัชชุมาลาวิมาน
[๘๓๗] ณ ที่นั้น ดิฉันได้เหลือบเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้เป็นจอมปราชญ์
ทรงเกื้อกูลสัตว์โลกทั้งมวล ผู้ไม่มีโรคภัย
ประทับนั่งเข้าฌานอยู่ที่โคนต้นไม้
[๘๓๘] ดิฉันนั้นเกิดความสังเวช ขนลุกชูชันอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน คิดว่า
ใครหนอมาอาศัยอยู่ในป่านี้ เป็นมนุษย์หรือเทวดากันแน่
[๘๓๙] เพราะได้เห็นพระพุทธองค์ผู้น่าเลื่อมใส ควรแก่การยินดี
เสด็จออกจากป่า แล้วมาสู่ความไม่มีป่า(คือกิเลส)
ใจของดิฉันก็เลื่อมใสด้วยคิดเห็นว่า
ท่านผู้นี้คงจะมิใช่คนธรรมดาสามัญเป็นแน่
[๘๔๐] ท่านผู้นี้คุ้มครองอินทรีย์ได้แล้ว ยินดีในฌาน มีใจไม่วอกแวก
จะต้องเป็นพระพุทธเจ้าผู้ทรงเกื้อกูลสัตว์โลกทั้งมวลเป็นแน่
[๘๔๑] ท่านผู้นี้เป็นที่น่าเกรงขาม
ผู้ซึ่งบุคคลที่ปราศจากความเพียรและความมาดหมาย
ทำให้ทรงชื่นชมได้ยาก ดังราชสีห์ซึ่งเป็นสัตว์อยู่ถ้ำ น่าเกรงขาม
ยากที่ใครจะทำให้ชื่นชมและยากที่จะได้พบเห็น เหมือนดอกมะเดื่อ
[๘๔๒] พระตถาคตเจ้าพระองค์นั้น ได้ตรัสเรียกดิฉันด้วยพระวาจาที่นุ่มนวลว่า
รัชชุมาลาและรับสั่งกับดิฉันว่า เธอจงถึงตถาคตเป็นที่พึ่งเถิด
[๘๔๓] ดิฉันฟังพระดำรัสอันปราศจากโทษ ประกอบด้วยประโยชน์
หมดจด ละเอียดอ่อน นุ่มนวลไพเราะ
เป็นเครื่องบรรเทาความโศกเศร้าทั้งปวงเสียได้นั้น จึงเกิดจิตเลื่อมใส
[๘๔๔] พระตถาคตผู้ทรงเกื้อกูลสัตว์โลกทุกหมู่เหล่า ทรงทราบว่า
ดิฉันมีจิตเลื่อมใส มีใจบริสุทธิ์ ควรแก่การรับฟัง
แล้วจึงได้ทรงพร่ำสอน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] ๔. มัญชิฏฐกวรรค ๑๒. รัชชุมาลาวิมาน
[๘๔๕] พระองค์ได้ตรัสสอนดิฉันว่า “นี้คือทุกข์ นี้คือเหตุเกิดทุกข์
นี้คือความดับทุกข์ และนี้คือทางสายตรงให้บรรลุอมตธรรม”๑
[๘๔๖] ดิฉันดำรงอยู่ในพระโอวาทของพระตถาคต ผู้ทรงอนุเคราะห์
เกื้อกูล ทรงฉลาดว่า
“บุคคลได้บรรลุทางคือนิพพานซึ่งเป็นธรรมอันไม่ตาย
สงบระงับ ไม่มีการจุติ”
[๘๔๗] ดิฉันนั้นมีความภักดีมั่น ไม่หวั่นไหว
เพราะมีความเห็นชอบเป็นปกติ
ด้วยศรัทธาที่หยั่งรากลงแล้ว จึงได้เป็นธิดาที่แท้จริงของพระพุทธองค์
[๘๔๘] ดิฉันนั้นไม่มีภัย จึงเที่ยวรื่นเริงบันเทิงใจอยู่
ทัดทรงมาลัยทิพย์ ดื่มน้ำหวานที่ทำให้สดชื่น
[๘๔๙] เหล่าดุริยเทพ ๖๐,๐๐๐ องค์ ช่วยกันปลุกเร้าดิฉันให้เกิดปีติโสมนัส
ได้แก่ เทพบุตรมีนามว่า อาฬัมพะ คัคคระ ภีมะ สาธุวาที ปสังสยะ
[๘๕๐] โปกขระและสุผัสสะ เหล่าเทพธิดาน้อย ๆ มีนามว่า
วีณา โมกขา นันทา สุนันทา โสณทินนา สุจิมหิตา
[๘๕๑] อลัมพุสา มิสสเกสีและบุณฑริกา อนึ่ง เทพกัญญาอีกพวกหนึ่ง
คือเอณีปัสสา สุผัสสา สุภัททาและมุทุวาทินี
[๘๕๒] ผู้ประเสริฐกว่านางอัปสรทั้งหลาย
ผู้มีหน้าที่ปลุกเร้าให้เกิดปีติโสมนัส
เทวดาเหล่านั้น พอได้เวลาก็เข้ามาหาดิฉัน เสนอด้วยวาจาน่ายินดีว่า
[๘๕๓] เอาเถอะ พวกเราจักฟ้อนรำ ขับร้อง บำเรอเธอให้รื่นรมย์
สถานที่ที่ดิฉันได้รับในบัดนี้ มิใช่สถานที่สำหรับคนที่ไม่ได้ทำบุญไว้
แต่เป็นสถานที่สำหรับคนที่ได้ทำบุญไว้แล้วเท่านั้น

เชิงอรรถ :
๑ เว้นทางสุดโต่ง ๒ อย่างแล้วดำเนินตามมรรคอริยสัจจที่เป็นเหตุให้บรรลุอมตธรรม เพราะดำเนินไปตามทาง
ให้บรรลุนิพพาน (ขุ.วิ.อ. ๘๔๕/๒๔๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๑. อิตถีวิมาน] รวมเรื่องวิมานที่มีในวรรค
[๘๕๔] ไม่มีความโศก น่าเพลิดเพลินเจริญใจ
เป็นอุทยานกว้างใหญ่ของเหล่าเทพชั้นดาวดึงส์
สำหรับผู้ที่ไม่ได้ทำบุญไว้ย่อมไม่มีความสุขทั้งโลกนี้และโลกหน้า
[๘๕๕] ส่วนผู้ที่ได้ทำบุญไว้แล้วย่อมมีความสุขทั้งโลกนี้
และโลกหน้าแน่นอน
ผู้ปรารถนาจะสถิตอยู่ร่วมกับเทพชั้นดาวดึงส์เหล่านั้น
ควรทำกุศลไว้ให้มาก เพราะว่าเหล่าชนผู้ที่ได้ทำบุญไว้แล้ว
ย่อมพรั่งพร้อมด้วยโภคสมบัติ บันเทิงอยู่ในสวรรค์
[๘๕๖] พระตถาคตทั้งหลาย
ทรงอุบัติขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ชนเป็นอันมากหนอ
ทรงเป็นพระทักขิไณยบุคคล
เป็นบ่อเกิดแห่งเนื้อนาบุญของมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นผู้ที่ทายกทายิกาทั้งหลายทำสักการบูชาแล้ว
จึงบันเทิงอยู่ในสวรรค์
รัชชุมาลาวิมานที่ ๑๒ จบ

รวมเรื่องวิมานที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. มัญชิฏฐกวิมาน ๒. ปภัสสรวิมาน
๓. นาควิมาน ๔. อโลมวิมาน
๕. กัญชิกทายิกาวิมาน ๖. วิหารวิมาน
๗. จตุริตถีวิมาน ๘. อัมพวิมาน
๙. ปีตวิมาน ๑๐. อุจฉุวิมาน
๑๑. วันทนวิมาน ๑๒. รัชชุมาลาวิมาน

มัญชิฏฐกวรรคที่ ๔ จบ
อิตถีวิมาน จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๕. มหารถวรรค ๑. มัณฑูกเทวปุตตวิมาน
๒. ปุริสวิมาน
๕. มหารถวรรค
หมวดว่าด้วยรถใหญ่
๑. มัณฑูกเทวปุตตวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่มัณฑูกเทพบุตร
(พระผู้มีพระภาคตรัสถามมัณฑูกเทพบุตรว่า)
[๘๕๗] ใครกันมีผิวพรรณงดงามยิ่งนัก รุ่งเรืองด้วยฤทธิ์และบริวารยศ
เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ กราบเท้าทั้งสองของเราอยู่
(มัณฑูกเทพบุตรกราบทูลว่า)
[๘๕๘] ชาติก่อนข้าพระองค์ได้เกิดเป็นกบเที่ยวหากินอยู่ในน้ำ
ขณะที่ข้าพระองค์กำลังฟังธรรมของพระองค์อยู่
คนเลี้ยงโคได้ฆ่าข้าพระองค์
[๘๕๙] ขอพระองค์ทรงเล็งเห็นความสำเร็จแห่งจิตที่เลื่อมใสเพียงครู่เดียว
และโปรดทอดพระเนตรบริวารยศ อานุภาพ
ผิวพรรณและความรุ่งเรืองของข้าพระองค์เถิด
[๘๖๐] ข้าแต่พระโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า
เหล่าชนผู้ได้ฟังธรรมของพระองค์ตลอดกาลยาวนาน
ย่อมบรรลุฐานะที่ไม่หวั่นไหว
ซึ่งเป็นฐานะที่เหล่าสัตว์ไปแล้วไม่เศร้าโศก
มัณฑูกเทวปุตตวิมานที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๕. มหารถวรรค ๒. เรวตีวิมาน
๒. เรวตีวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่นันทิยะอุบาสกผู้เป็นสามีของนางเรวดี
(พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
[๘๖๑] ญาติมิตรและสหายผู้มีใจดี ย่อมยินดีต้อนรับ
บุคคลผู้ร้างแรมไปนาน
แล้วกลับมาจากที่ไกลโดยสวัสดีว่า “มาแล้ว” ฉันใด
[๘๖๒] บุญทั้งหลายก็เช่นเดียวกัน ย่อมต้อนรับ
เฉพาะบุคคลผู้ทำบุญไว้แล้ว
ซึ่งจากโลกนี้ไปสู่โลกหน้า เหมือนญาติต้อนรับญาติที่รักผู้กลับมา
(ยักษ์บริวารของท้าวเวสวัณปรารถนาจะจับนางเรวดีโยนลงไปในอุสสทนรกจึง
กล่าวว่า)
[๘๖๓] จงลุกขึ้น นางเรวดีผู้แสนจะชั่วช้า มีปกติไม่ให้ทาน
ประตู(นรก)เปิดแล้ว พวกเราจะนำเจ้าไปโยนลงนรก
อันเป็นสถานที่ทอดถอนใจของเหล่าสัตว์นรก
ผู้มีความทุกข์ทรมานทนทุกข์อยู่
(พระธรรมสังคีติกาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า)
[๘๖๔] ยักษ์ใหญ่ตาแดงสองตนดังทูตพญายมนั้น ครั้นกล่าวดังนี้แล้ว
ก็จับแขนนางเรวดีคนละข้าง พาไปใกล้หมู่เทวดา
(นางเรวดีถามยักษ์สองตนว่า)
[๘๖๕] นั่นวิมานของใคร มีรัศมีดังแสงอาทิตย์ น่าพอใจ
เรืองรอง งดงาม น่าอยู่อาศัย ปกคลุมด้วยตาข่ายทอง
เนืองแน่นไปด้วยเทพบุตรและเทพธิดา รุ่งโรจน์ดังแสงอาทิตย์
[๘๖๖] หมู่เทพนารีลูบไล้กายด้วยแก่นจันทน์หอม
ช่วยทำวิมานทั้งภายในและภายนอกให้งดงาม
วิมานนั้นมีรัศมีปรากฏเสมอด้วยแสงอาทิตย์
คนที่ขึ้นสวรรค์บันเทิงอยู่ในวิมานเป็นใครกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๕. มหารถวรรค ๒. เรวตีวิมาน
(ยักษ์สองตนจึงบอกแก่นางเรวดีว่า)
[๘๖๗] ที่กรุงพาราณสี มีอุบาสกชื่อนันทิยะ
เป็นคนไม่ตระหนี่ เป็นทานบดี รู้ความประสงค์ของผู้ขอ
วิมานที่เนืองแน่นไปด้วยเทพบุตรและเทพธิดา
รุ่งโรจน์ดังแสงอาทิตย์ นั้นเป็นของนันทิยอุบาสก
[๘๖๘] หมู่เทพนารีลูบไล้กายด้วยแก่นจันทน์หอม
ช่วยทำวิมานทั้งภายในและภายนอกให้งดงาม
วิมานนั้นมีรัศมีปรากฏเสมอด้วยแสงอาทิตย์
คนที่ขึ้นสวรรค์ บันเทิงอยู่ในวิมาน คือนันทิยอุบาสก
(นางเรวดีกล่าวว่า)
[๘๖๙] ฉันเป็นภรรยาของนันทิยอุบาสก
เป็นใหญ่ในเรือน เป็นใหญ่ในทรัพย์สินทั้งหมดของสามี
บัดนี้ ฉันจะรื่นรมย์ในวิมานของสามี ไม่ปรารถนาจะเห็นนรก
(ยักษ์สองตนนั้นไม่ยอมเชื่อจึงพาตัวนางลงไปใกล้อุสสทนรกแล้วกล่าวว่า)
[๘๗๐] นางผู้แสนจะชั่วช้า นี่แหละนรกสำหรับเจ้า
บุญเจ้าไม่ได้ทำไว้ในมนุษยโลก
เพราะคนตระหนี่ มักโกรธ มีบาปธรรม
ย่อมไม่ได้อยู่ร่วมกับผู้เกิดในสวรรค์
(นางเรวดีเห็นนายนิรยบาลสองตนพากันมาฉุดคร่าตน เพื่อจะโยนลงไป
ในคูถนรก ชื่อว่า สังสวกะ จึงถามถึงนรกนั้นว่า)
[๘๗๑] ทำไมหนอจึงปรากฏแต่อุจจาระ ปัสสาวะ สิ่งสกปรก
เหตุไฉน อุจจาระนี้จึงมีกลิ่นเหม็นร้ายกาจ คละคลุ้งไปเล่า
(นายนิรยบาลตอบว่า)
[๘๗๒] นางเรวดี นรกที่เจ้าจะหมกไหม้อยู่หลายพันปีนี้
มีชื่อว่า สังสวกนรก ลึกร้อยชั่วคน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๕. มหารถวรรค ๒. เรวตีวิมาน
(นางเรวดีจึงถามว่า)
[๘๗๓] ฉันทำกรรมชั่วทางกายวาจาใจอะไรหรือหนอ
จึงตกสังสวกนรกที่ลึกร้อยชั่วคน
(นายนิรยบาลตอบว่า)
[๘๗๔] เจ้าลวงสมณพราหมณ์และวณิพกพวกอื่น
ด้วยการกล่าวเท็จนั่นแหละบาปที่เจ้าทำไว้
[๘๗๕] เพราะบาปนั้นเจ้าจึงตกสังสวกนรกที่ลึก ๑๐๐ ชั่วคน
นางเรวดี เจ้าจะต้องหมกไหม้อยู่ในนรกนั้นหลายพันปี
[๘๗๖] นายนิรยบาลทั้งหลาย จะตัดมือ เท้า หู แม้กระทั่งจมูก
อนึ่ง แม้ฝูงนกกาก็จะพากันมารุมจิกกินเจ้าที่ดิ้นทุรนทุรายอยู่
(นางเรวดีกล่าวว่า)
[๘๗๗] โปรดเถิดพ่อคุณ ขอท่านทั้งหลายช่วยนำดิฉันกลับไปเถิด
ดิฉันจักสร้างกุศลกรรม ที่คนทำแล้วได้รับความสุข
และไม่เดือดร้อนในภายหลังนั้นให้มาก
ด้วยการให้ทาน ประพฤติธรรมสม่ำเสมอ
การสำรวม และการฝึกอินทรีย์
(นายนิรยบาลกล่าวว่า)
[๘๗๘] เมื่อก่อน เจ้าประมาทมัวเมา บัดนี้จะมาร่ำไห้ทำไมเล่า
เจ้าจักต้องเสวยผลกรรมทั้งหลายที่เจ้าทำไว้เอง
(นางเรวดีกล่าวว่า)
[๘๗๙] ใครจากเทวโลกไปยังมนุษยโลก เมื่อถูกถาม
พึงกล่าวถ้อยคำของดิฉันอย่างนี้ว่า
ขอท่านทั้งหลายจงถวายทาน
คือผ้านุ่ง ผ้าห่ม ที่นอน ที่นั่ง ข้าวและน้ำ
ในสมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้ปล่อยวางอาชญา
เพราะว่าคนตระหนี่ มักโกรธ มีบาปธรรม
ย่อมไม่ได้เกิดร่วมกับผู้ไปสวรรค์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๐๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๕. มหารถวรรค ๒. เรวตีวิมาน
[๘๘๐] ถ้าดิฉันนั้นจากที่นี้ไป ได้เกิดเป็นมนุษย์แล้ว
จักรู้ความประสงค์ของผู้ขอ สมบูรณ์ด้วยศีล
จักสร้างกุศลให้มากด้วยการให้ทาน
ประพฤติธรรมสม่ำเสมอ การสำรวม
และการฝึกอินทรีย์
[๘๘๑] ดิฉันจักปลูกสวนไม้ดอกไม้ผล
จักตัดทางเข้าไปในสถานที่ที่เดินลำบาก
ขุดบ่อน้ำและตั้งน้ำดื่มไว้ด้วยใจที่ผ่องแผ้ว
[๘๘๒] จักเข้าจำอุโบสถศีลซึ่งประกอบด้วยองค์ ๘
ทุกวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำและ ๘ ค่ำแห่งปักษ์
และตลอดวันปาฏิหาริยปักษ์
[๘๘๓] ดิฉันจักสำรวมระวังในศีลตลอดเวลา
และจักไม่ละเลยในการให้ทาน
เพราะผลกรรมนี้ ดิฉันได้เห็นเองแล้ว
(พระสังคีติกาจารย์กล่าวไว้ว่า)
[๘๘๔] นายนิรยบาลทั้งหลายช่วยกันโยนนางเรวดี
ที่กำลังพร่ำเพ้อดิ้นรนไปมาอยู่อย่างนี้
ให้เท้าชี้หัวดิ่งลงไปในนรกอันน่ากลัว
(นางเรวดีได้กล่าวคาถาสุดท้ายอีกว่า)
[๘๘๕] ชาติก่อน ฉันเป็นคนตระหนี่
ด่าว่าสมณพราหมณ์
และลวงสามีด้วยเรื่องไม่จริง
จึงหมกไหม้ในนรกที่น่ากลัว
เรวตีวิมานที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๕. มหารถวรรค ๓. ฉัตตมาณวกวิมาน
๓. ฉัตตมาณวกวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่ฉัตตมาณพผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ
(พระผู้มีพระภาคเมื่อจะทรงแสดงวิธีถึงสรณคมน์แก่ฉัตตมาณพจึงตรัสว่า)
[๘๘๖] บรรดาผู้กล่าวสอนในหมู่มนุษย์
ผู้ใดเป็นผู้ประเสริฐสุด เป็นพระศากยมุนี
จำแนกพระธรรม สำเร็จกิจที่จะต้องทำแล้ว
ถึงฝั่งพระนิพพาน พรั่งพร้อมด้วยพละและวีริยะ
เธอจงถึงผู้นั้นผู้เป็นพระสุคตเพื่อเป็นที่พึ่งที่ระลึกเถิด
[๘๘๗] เธอจงถึงพระธรรมอันเป็นเหตุสำรอกราคะ
มีสภาวะไม่หวั่นไหว ไร้ความเศร้าโศก
เป็นสภาวธรรมที่ปราศจากปัจจัยปรุงแต่ง
ปราศจากสิ่งแปดเปื้อน น่าปรารถนา ละเอียดอ่อน
ซึ่งพระตถาคตทรงจำแนกไว้แจ่มแจ้งแล้วนี้เพื่อเป็นที่พึ่งที่ระลึกเถิด
[๘๘๘] บัณฑิตทั้งหลายกล่าวถึงทานที่ถวายในท่านเหล่าใดว่ามีผลมาก
ท่านเหล่านั้น คือพระอริยบุคคลผู้บริสุทธิ์ ๔ คู่ ๘ ท่าน
ผู้เห็นประจักษ์ในธรรม
เธอจงถึงพระอริยสงฆ์นี้เพื่อเป็นที่พึ่งที่ระลึกเถิด
(พระผู้มีพระภาคตรัสถามเทพบุตรนั้นว่า)
[๘๘๙] ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดาวฤกษ์ผุสสะในท้องฟ้า
ยังสว่างไสวไม่เทียบเท่าวิมานของเธอซึ่งสว่างไสวมาก
หาสิ่งเปรียบเทียบมิได้นี้
เธอเป็นใครหนอ จากเทวโลกชั้นดาวดึงส์มายังแผ่นดิน
[๘๙๐] วิมานของเธอนั้นมีรัศมีตัดแสงอาทิตย์แผ่ไปเกิน ๒๐ โยชน์
และทำกลางคืนให้เป็นเสมือนกลางวัน
วิมานของเธองามบริสุทธิ์ผุดผ่อง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๕. มหารถวรรค ๓. ฉัตตมาณวกวิมาน
[๘๙๑] มีดอกปทุมมาก มีดอกบุณฑริกงดงาม
เกลื่อนกลาดด้วยดอกไม้นานาชนิด
งามไม่น้อย คลุมไว้ด้วยตาข่ายทองอันบริสุทธิ์ ปราศจากธุลี
ส่องสว่างอยู่ในอากาศเหมือนดวงอาทิตย์
[๘๙๒] วิมานของเธอเนืองแน่นด้วยเหล่าเทพอัปสร
ผู้ทรงผ้ากำพลสีแดงและสีเหลือง
หอมตลบด้วยกลิ่นกฤษณา ดอกประยงค์และแก่นจันทน์
มีผิวพรรณเปล่งปลั่งดั่งทองคำ ประหนึ่งท้องฟ้าเต็มไปด้วยดวงดาว
[๘๙๓] เทพบุตรและเทพธิดาจำนวนมากในวิมานนี้
มีรูปร่างลักษณะต่าง ๆ กัน
มีจิตใจเบิกบาน ทรงทิพยอาภรณ์ ประดับด้วยดอกไม้ทิพย์
คลุมด้วยกรองทอง ห่มด้วยอาภรณ์ทอง
โชยกลิ่นหอมฟุ้งไปตามลม
[๘๙๔] นี้เป็นผลแห่งกรรมอันใดเล่า เพราะผลกรรมอะไรเล่า
เธอจึงมาเกิดในวิมานนี้ อนึ่ง ตถาคตถามแล้ว
ขอเธอจงบอกถึงวิธีที่เธอได้วิมานนี้ตามสมควรแก่เหตุนั้นเถิด
(เทพบุตรกราบทูลว่า)
[๘๙๕] พระศาสดาเสด็จมาพบฉัตตมาณพในทางนี้
เมื่อจะทรงอนุเคราะห์ จึงได้ทรงพร่ำสอน
มาณพนั้นฟังธรรมของพระองค์ผู้เป็นรัตนะอย่างประเสริฐแล้ว
ได้กราบทูลว่า ข้าพระองค์จักทำตามพระดำรัสที่ทรงพร่ำสอน
[๘๙๖] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้งแรกข้าพระองค์ได้กราบทูลว่า
ข้าพระองค์ยังไม่ได้ถึงพระชินะผู้ประเสริฐ
พระธรรมและพระสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
แต่ภายหลังได้ทำตามพระดำรัสของพระองค์ตามที่ทรงพร่ำสอนนั่นแล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๕. มหารถวรรค ๓. ฉัตตมาณวกวิมาน
[๘๙๗] อนึ่ง พระองค์ได้ตรัสสอนว่า
เธออย่าได้ประพฤติตนเป็นคนฆ่าสัตว์
โดยวิธีต่าง ๆ อันเป็นกรรมไม่สะอาด
เพราะท่านผู้มีปัญญาทั้งหลายไม่สรรเสริญ
ความไม่สำรวมในสัตว์ทั้งหลายเลย
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทีแรกข้าพระองค์ได้กราบทูลปฏิเสธ
แต่ภายหลังได้ทำตามพระดำรัสของพระองค์ตามที่ตรัสสอนนั่นแล
[๘๙๘] อนึ่ง พระองค์ได้ตรัสสอนว่า
เธออย่าสำคัญสิ่งของ
แม้ที่คนอื่นดูแลรักษาไว้ที่เขามิได้ให้ว่าเป็นของควรถือเอา๑
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทีแรกข้าพระองค์ได้กราบทูลปฏิเสธ
แต่ภายหลังได้ทำตามพระดำรัสของพระองค์ตามที่ตรัสสอนนั่นแล
[๘๙๙] อนึ่ง พระองค์ได้ตรัสสอนว่า
เธออย่าได้ล่วงละเมิดหญิงที่คนอื่นรักษา๒
และภรรยาของชายอื่น๓ นั่นเป็นสิ่งไม่ประเสริฐ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทีแรกข้าพระองค์ได้กราบทูลปฏิเสธ
แต่ภายหลังได้ทำตามพระดำรัสของพระองค์ตามที่ตรัสสอนนั่นแล
[๙๐๐] อนึ่ง พระองค์ได้ตรัสสอนว่า
เธออย่าได้พูดให้คลาดเคลื่อนจากความจริง
เพราะท่านผู้มีปัญญาทั้งหลาย ไม่สรรเสริญการกล่าวเท็จ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทีแรกข้าพระองค์ได้กราบทูลปฏิเสธ
แต่ภายหลังได้ทำตามพระดำรัสของพระองค์ตามที่ตรัสสอนนั่นแล

เชิงอรรถ :
๑ โดยอาการลักขโมย
๒ หญิงที่บิดามารดาเป็นต้นยังไม่ยินยอมยกให้
๓ เป็นชู้กับภรรรยาชายอื่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๕. มหารถวรรค ๓. ฉัตตมาณวกวิมาน
[๙๐๑] อนึ่ง พระองค์ได้ตรัสสอนว่า
เธอจงงดเว้นของมึนเมาทุกชนิด
อันเป็นเหตุทำให้ความจำของคนเสื่อม
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทีแรกข้าพระองค์ได้กราบทูลปฏิเสธ
แต่ภายหลังได้ทำตามพระดำรัสของพระองค์ตามที่ตรัสสอนนั่นแล
[๙๐๒] ข้าพระองค์นั้นได้รักษาสิกขาบท ๕๑ ในพระศาสนานี้
ปฏิบัติธรรมของพระตถาคต ได้ไปยังทางสองแพร่งกลางชุมโจร
พวกโจรเหล่านั้นได้ฆ่าข้าพระองค์ ณ ที่นั้น เพราะโภคะเป็นเหตุ
[๙๐๓] ข้าพระองค์ระลึกถึงกุศลกรรมมีประมาณเท่านี้นี่เอง
กุศลกรรมอื่นนอกจากนั้นของข้าพระองค์ไม่มี
เพราะสุจริตกรรมนั้น ข้าพระองค์จึงเกิดในหมู่เทวดาชั้นดาวดึงส์
พรั่งพร้อมด้วยกามคุณตามปรารถนา
[๙๐๔] ขอพระองค์โปรดทอดพระเนตร
ผลของการสำรวมเพียงชั่วครู่ชั่วยาม
ด้วยการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
คนเป็นอันมากผู้มีกรรมต่ำต้อย๒ พากันมองดู
นึกกระหยิ่ม(ชื่นชม) ข้าพระองค์
เหมือนบุคคลพากันมองดูผู้รุ่งเรืองด้วยบริวารยศ
[๙๐๕] ขอพระองค์โปรดทอดพระเนตรเถิด ข้าพระองค์ถึงสุคติ
และได้รับความสุข เพราะพระธรรมเพียงเล็กน้อย
ส่วนเหล่าชนที่ได้ฟังธรรมของพระองค์เนือง ๆ
เห็นทีจะสัมผัสอมตธรรมซึ่งมีความเกษม

เชิงอรรถ :
๑ ศีล ๕ (ขุ.วิ.อ. ๙๐๒/๒๗๗)
๒ มีโภคะด้อยกว่าสมบัติของข้าพระองค์ (ขุ. วิ. อ. ๙๐๔/๒๗๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๐๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๕. มหารถวรรค ๓. ฉัตตมาณวกวิมาน
[๙๐๖] บุญกุศลที่ข้าพระองค์ดำรงอยู่ในพระธรรมคำสอนของพระตถาคต
ทำแล้วแม้น้อยกลับมีผลยิ่งใหญ่ไพบูลย์
ขอพระองค์โปรดทอดพระเนตรดูเถิด
เพราะได้ทำบุญไว้ ฉัตตเทพบุตรจึงเปล่งรัศมี
สว่างไสวไปทั่วแผ่นดิน เหมือนดวงอาทิตย์
[๙๐๗] ชนจำพวกหนึ่งประชุมปรึกษากันว่า
กุศลนี้เป็นอย่างไร
พวกเราจะบำเพ็ญกุศลนั้นอย่างไร
พวกเรานั้นได้เกิดเป็นมนุษย์แล้ว
พึงปฏิบัติธรรม อยู่รักษาศีลกันอีกเถิด
[๙๐๘] พระศาสดาทรงมีอุปการะมาก
และทรงอนุเคราะห์ข้าพระองค์อย่างนี้
ในเมื่อข้าพระองค์ยังมีชีวิตอยู่
ได้เสด็จไปแต่ยังวันอยู่เลย
ข้าพระองค์นั้นได้เข้าไปเฝ้าพระองค์ผู้ทรงมีพระนามเป็นสัจธรรม
ขอพระองค์โปรดอนุเคราะห์เถิด
ข้าพระองค์ขอฟังธรรมซ้ำอีก
[๙๐๙] ชนเหล่าใดในพระศาสนานี้ละกามราคานุสัย
และภวราคานุสัย๑ได้เพราะละโมหะได้ขาด
ชนเหล่านั้นแลย่อมไม่เข้าถึงการนอนในครรภ์อีกต่อไป
เพราะว่าเป็นผู้ถึงความดับอย่างสิ้นเชิงเย็นสนิทแล้ว๒
ฉัตตมาณวกวิมานที่ ๓ จบ

เชิงอรรถ :
๑ กามราคานุสัย กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในส้นดาน คือ ความกำหนัดในกาม ภวราคานุสัย กิเลสที่นอน
เนื่องอยู่ในสันดาน คือ ความกำหนัดในภพ อยากมี อยากเป็น อยากคงอยู่
๒ ปรินิพพาน (ขุ.วิ.อ. ๙๐๙/๒๗๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๕. มหารถวรรค ๔. กักกฎกรสทายกวิมาน
๔. กักกฏกรสทายกวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่คนเฝ้านาผู้ถวายแกงปู
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพบุตรองค์หนึ่งว่า)
[๙๑๐] วิมานมีเสาทำด้วยแก้วมณีนี้สูงมาก วัดโดยรอบได้ ๑๒ โยชน์
เป็นปราสาท ๗๐๐ ยอด ดูโอฬาร มีเสาประดิษฐ์ด้วยแก้วไพฑูรย์
มีพื้นปูลาดด้วยแผ่นทองคำสวยงาม
[๙๑๑] ท่านสถิต ดื่ม กินอยู่ในวิมานนั้น
มีทวยเทพพากันบรรเลงพิณทิพย์ดังไพเราะ
ในวิมานของท่านนี้ มีเบญจกามคุณอันเป็นทิพรส
และเหล่าเทพนารีประดับด้วยอาภรณ์ทองคำฟ้อนรำอยู่
[๙๑๒] เพราะบุญอะไรท่านจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่ท่านในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่ท่าน
[๙๑๓] เทวดาผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามว่า
เมื่อท่านเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะบุญอะไรท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๙๑๔] เทพบุตรนั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๙๑๕] ปูทองคำมี ๑๐ ขา อยู่ที่ประตู
คอยเตือนสติให้ระลึกได้๑ย่อมงามรุ่งเรือง
[๙๑๖] เพราะบุญนั้นข้าพเจ้าจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่ข้าพเจ้าในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้า

เชิงอรรถ :
๑ ว่าเราได้สมบัตินี้ เพราะถวายแกงปู (ขุ.วิ.อ. ๙๑๕/๒๘๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๕. มหารถวรรค ๕. ทวารปาลวิมาน
[๙๑๗] ข้าแต่ภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ข้าพเจ้าขอกราบเรียนว่า
เพราะบุญที่ได้ทำไว้สมัยเมื่อเกิดเป็นมนุษย์
ข้าพเจ้าจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
กักกฏกรสทายกวิมานที่ ๔ จบ
(อีก ๕ วิมานต่อไปนี้ พึงให้พิสดารเหมือนกักกฏกรสทายกวิมาน)

๕. ทวารปาลวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่คนเฝ้าประตูผู้ชักชวนคนทำบุญ
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพบุตรองค์หนึ่งว่า)
[๙๑๘] วิมานมีเสาทำด้วยแก้วมณีนี้สูงมาก วัดโดยรอบได้ ๑๒ โยชน์
เป็นปราสาท ๗๐๐ ยอด ดูโอฬาร มีเสาประดิษฐ์ด้วยแก้วไพฑูรย์
มีพื้นปูลาดด้วยแผ่นทองคำสวยงาม
[๙๑๙] ท่านสถิต ดื่ม กิน อยู่ในวิมานนั้น
มีทวยเทพพากันบรรเลงพิณทิพย์ดังไพเราะ
ในวิมานของท่านนี้มีเบญจกามคุณอันเป็นทิพรส
และเหล่าเทพนารีประดับด้วยอาภรณ์ทองคำฟ้อนรำอยู่
[๙๒๐] เพราะบุญอะไรท่านจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่ท่านในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่ท่าน
[๙๒๑] เทวดาผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามว่า
เมื่อท่านเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะบุญอะไรท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๙๒๒] เทพบุตรนั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๕. มหารถวรรค ๖. ปฐมกรณียวิมาน
[๙๒๓] ข้าพเจ้ามีอายุ ๑,๐๐๐ ปีทิพย์
บุคคลผู้ทำบุญด้วยเหตุเพียงกล่าวเชื้อเชิญและทำใจให้เลื่อมใส
จักดำรงอยู่พรั่งพร้อมด้วยกามคุณทั้งหลายอันเป็นทิพย์
[๙๒๔] เพราะบุญนั้นข้าพเจ้าจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่ข้าพเจ้าในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้า
[๙๒๕] ข้าแต่ภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ข้าพเจ้าขอกราบเรียนว่า
เพราะบุญที่ได้ทำไว้สมัยเมื่อเกิดเป็นมนุษย์
ข้าพเจ้าจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
ทวารปาลวิมานที่ ๕ จบ

๖.ปฐมกรณียวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่อุบาสกผู้รู้กิจที่ควรทำ เรื่องที่ ๑
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพบุตรองค์หนึ่งว่า)
[๙๒๖] วิมานมีเสาทำด้วยแก้วมณีนี้สูงมาก วัดโดยรอบได้ ๑๒ โยชน์
เป็นปราสาท ๗๐๐ ยอด ดูโอฬาร มีเสาประดิษฐ์ด้วยแก้วไพฑูรย์
มีพื้นปูลาดด้วยแผ่นทองคำสวยงาม
[๙๒๗] ท่านสถิต ดื่ม กิน อยู่ในวิมานนั้น
มีทวยเทพพากันบรรเลงพิณทิพย์ดังไพเราะ
ในวิมานของท่านนี้มีเบญจกามคุณอันเป็นทิพรส
และเหล่าเทพนารีประดับด้วยอาภรณ์ทองคำฟ้อนรำอยู่
[๙๒๘] เพราะบุญอะไรท่านจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่ท่านในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่ท่าน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๕. มหารถวรรค ๗. ทุติยกรณียวิมาน
[๙๒๙] เทวดาผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามว่า
เมื่อท่านเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะบุญอะไรท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๙๓๐] เทพบุตรนั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๙๓๑] บัณฑิตผู้รู้แจ้งพึงบำเพ็ญบุญต่าง ๆ
ในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายผู้เสด็จไปโดยชอบแล้ว
ซึ่งเป็นบุญเขตที่ใคร ๆ ถวายทานแล้วมีผลมาก
[๙๓๒] ข้าพเจ้าทำจิตให้เลื่อมใสในพระพุทธองค์ว่า
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จจากป่ามายังหมู่บ้าน
เพื่อประโยชน์แก่เราหนอ ดังนี้แล้ว
จึงได้มาอุบัติในหมู่เทพชั้นดาวดึงส์
[๙๓๓] เพราะบุญนั้นข้าพเจ้าจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่ข้าพเจ้าในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้า
[๙๓๔] ข้าแต่ภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ข้าพเจ้าขอกราบเรียนว่า
เพราะบุญที่ได้ทำไว้สมัยเมื่อเกิดเป็นมนุษย์
ข้าพเจ้าจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
ปฐมกรณียวิมานที่ ๖ จบ

๗. ทุติยกรณียวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่อุบาสกผู้รู้กิจที่ควรทำ เรื่องที่ ๒
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพบุตรองค์หนึ่งว่า)
[๙๓๕] วิมานมีเสาทำด้วยแก้วมณีนี้สูงมาก วัดโดยรอบได้ ๑๒ โยชน์
เป็นปราสาท ๗๐๐ ยอด ดูโอฬาร มีเสาประดิษฐ์ด้วยแก้วไพฑูรย์
มีพื้นปูลาดด้วยแผ่นทองคำสวยงาม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๕. มหารถวรรค ๗.ทุติยกรณียวิมาน
[๙๓๖] ท่านสถิต ดื่ม กิน อยู่ในวิมานนั้น
มีทวยเทพพากันบรรเลงพิณทิพย์ดังไพเราะ
ในวิมานของท่านนี้มีเบญจกามคุณอันเป็นทิพรส
และเหล่าเทพนารีประดับด้วยอาภรณ์ทองคำฟ้อนรำอยู่
[๙๓๗] เพราะบุญอะไรท่านจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่ท่านในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่ท่าน
[๙๓๘] เทวดาผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามว่า
เมื่อท่านเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะบุญอะไรท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๙๓๙] เทพบุตรนั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๙๔๐] บัณฑิตผู้รู้แจ้งพึงบำเพ็ญบุญต่าง ๆ
ในภิกษุทั้งหลายผู้ปฏิบัติชอบ
ซึ่งเป็นบุญเขตที่ใคร ๆ ถวายทานแล้วมีผลมาก
[๙๔๑] ข้าพเจ้าทำจิตให้เลื่อมใสในภิกษุนั้นว่า
ภิกษุออกจากป่าเข้ามายังหมู่บ้านเพื่อประโยชน์แก่เราหนอ
ดังนี้แล้วจึงได้มาอุบัติในหมู่เทพชั้นดาวดึงส์
[๙๔๒] เพราะบุญนั้นข้าพเจ้าจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่ข้าพเจ้าในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้า
[๙๔๓] ข้าแต่ภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ข้าพเจ้าขอกราบเรียนว่า
เพราะบุญที่ได้ทำไว้สมัยเมื่อเกิดเป็นมนุษย์
ข้าพเจ้าจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
ทุติยกรณียวิมานที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๕. มหารถวรรค ๘. ปฐมสูจิวิมาน
๘. ปฐมสูจิวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่บุรุษผู้ถวายเข็ม เรื่องที่ ๑
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพบุตรองค์หนึ่งว่า)
[๙๔๔] วิมานมีเสาทำด้วยแก้วมณีนี้สูงมาก วัดโดยรอบได้ ๑๒ โยชน์
เป็นปราสาท ๗๐๐ ยอด ดูโอฬาร มีเสาประดิษฐ์ด้วยแก้วไพฑูรย์
มีพื้นปูลาดด้วยแผ่นทองคำสวยงาม
[๙๔๕] ท่านสถิต ดื่ม กิน อยู่ในวิมานนั้น
มีทวยเทพพากันบรรเลงพิณทิพย์ดังไพเราะ
ในวิมานของท่านนี้มีเบญจกามคุณอันเป็นทิพรส
และเหล่าเทพนารีประดับด้วยอาภรณ์ทองคำฟ้อนรำอยู่
[๙๔๖] เพราะบุญอะไรท่านจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่ท่านในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่ท่าน
[๙๔๗] เทวดาผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามว่า
เมื่อท่านเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะบุญอะไรท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๙๔๘] เทพบุตรนั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๙๔๙] ทานที่ข้าพเจ้าถวายมา(ก่อน)นั้นไม่มีผล
ทานที่จะถวายควรเป็นของดี
เข็มที่ข้าพเจ้าถวายไปแล้วนั้นแหละเป็นของดี
[๙๕๐] เพราะบุญนั้นข้าพเจ้าจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่ข้าพเจ้าในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๕. มหารถวรรค ๙. ทุติยสูจิวิมาน
[๙๕๑] ข้าแต่ภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ข้าพเจ้าขอกราบเรียนว่า
เพราะบุญที่ได้ทำไว้สมัยเมื่อเกิดเป็นมนุษย์
ข้าพเจ้าจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
ปฐมสูจิวิมานที่ ๘ จบ

๙. ทุติยสูจิวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่บุรุษผู้ถวายเข็ม เรื่องที่ ๒
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพบุตรองค์หนึ่งว่า)
[๙๕๒] วิมานมีเสาทำด้วยแก้วมณีนี้สูงมาก วัดโดยรอบได้ ๑๒ โยชน์
เป็นปราสาท ๗๐๐ ยอด ดูโอฬาร มีเสาประดิษฐ์ด้วยแก้วไพฑูรย์
มีพื้นปูลาดด้วยแผ่นทองคำสวยงาม
[๙๕๓] ท่านสถิต ดื่ม กิน อยู่ในวิมานนั้น
มีทวยเทพพากันบรรเลงพิณทิพย์ดังไพเราะ
ในวิมานของท่านนี้มีเบญจกามคุณอันเป็นทิพรส
และเหล่าเทพนารีผู้ประดับด้วยอาภรณ์ทองคำฟ้อนรำอยู่
[๙๕๔] เพราะบุญอะไรท่านจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่ท่านในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่ท่าน
[๙๕๕] เทวดาผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามว่า
เมื่อท่านเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะบุญอะไรท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๙๕๖] เทพบุตรนั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๕. มหารถวรรค ๑๐. ปฐมนาควิมาน
[๙๕๗] ชาติก่อนข้าพเจ้าเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์ในมนุษยโลก
[๙๕๘] ได้เห็นภิกษุผู้ปราศจากกิเลสประดุจธุลี มีใจผ่องใส ไม่มัวหมอง
เลื่อมใสแล้ว ได้ถวายเข็มแด่ท่านด้วยมือทั้งสองของตน
[๙๕๙] เพราะบุญนั้นข้าพเจ้าจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่ข้าพเจ้าในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้า
[๙๖๐] ข้าแต่ภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ข้าพเจ้าขอกราบเรียนว่า
เพราะบุญที่ได้ทำไว้สมัยเมื่อเกิดเป็นมนุษย์
ข้าพเจ้าจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
ทุติยสูจิวิมานที่ ๙ จบ

๑๐. ปฐมนาควิมาน
ว่าด้วยวิมานที่มีช้างทิพย์เป็นพาหนะ เรื่องที่ ๑
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพบุตรองค์หนึ่งว่า)
[๙๖๑] ท่านขี่ช้างเผือกผ่อง ไม่มีตำหนิ มีงางอนงาม ทรงพลัง
ไปได้เร็วมาก เป็นคชสารประเสริฐ ควรแก่การขับขี่
ผูกสายรัดประคนทองคำไว้เรียบร้อย เหาะมาที่นี้
[๙๖๒] ที่งาทั้งสองของพญาคชสารล้วนมีสระโบกขรณีเนรมิต
มีน้ำใสสะอาด ดารดาษด้วยปทุมชาติมีดอกบานสะพรั่ง
ในดอกปทุมทุก ๆ ดอกมีหมู่ดุริยเทพบรรเลงเพลง
และมีเหล่าเทพอัปสรนี้ฟ้อนรำชวนให้เกิดความรื่นเริงบันเทิงใจ
[๙๖๓] ท่านได้บรรลุเทวฤทธิ์ มีอานุภาพมาก
เมื่อท่านเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะบุญอะไรท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๕. มหารถวรรค ๑๑. ทุติยนาควิมาน
[๙๖๔] เทพบุตรนั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๙๖๕] ข้าพเจ้าเลื่อมใสแล้ว ได้นำดอกไม้แปดกำมือเท่านั้น
ไปบูชาที่พระสถูปของพระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่ากัสสปะ
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่(คือนิพพาน)ด้วยมือทั้งสองของตน
[๙๖๖] เพราะบุญนั้นข้าพเจ้าจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่ข้าพเจ้าในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจบังเกิดแก่ข้าพเจ้า
[๙๖๗] ข้าแต่ภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ข้าพเจ้าขอกราบเรียนว่า
เพราะบุญที่ได้ทำไว้สมัยเมื่อเกิดเป็นมนุษย์
ข้าพเจ้าจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
ปฐมนาควิมานที่ ๑๐ จบ

๑๑. ทุติยนาควิมาน
ว่าด้วยวิมานที่มีช้างทิพย์เป็นพาหนะ เรื่องที่ ๒
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพบุตรองค์หนึ่งว่า)
[๙๖๘] ท่านทรงช้างใหญ่เผือกปลอด เป็นคชสารประเสริฐ
แวดล้อมด้วยหมู่เทพอัปสร เที่ยววนเวียนอยู่ตามป่า
เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอยู่ ดุจดาวประกายพรึก
[๙๖๙] เพราะบุญอะไรท่านจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่ท่านในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่ท่าน
[๙๗๐] เทวดาผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามว่า
เมื่อท่านเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะบุญอะไรท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๕. มหารถวรรค ๑๒. ตติยนาควิมาน
[๙๗๑] เทพบุตรนั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๙๗๒] เมื่อข้าพเจ้าเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์
เป็นอุบาสกของพระพุทธเจ้าผู้ทรงมีพระจักษุ
ได้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ งดเว้นจากลักทรัพย์ในโลก
[๙๗๓] ยินดีเฉพาะภรรยาของตน ไม่กล่าวเท็จ และไม่ดื่มน้ำเมา
มีจิตเลื่อมใส ได้ถวายข้าวและน้ำเป็นทานอย่างไพบูลย์โดยเคารพ
[๙๗๔] เพราะบุญนั้นข้าพเจ้าจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่ข้าพเจ้าในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้า
[๙๗๕] ข้าแต่ภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ข้าพเจ้าขอกราบเรียนว่า
เพราะบุญที่ทำได้ไว้เมื่อเกิดเป็นมนุษย์
ข้าพเจ้าจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
ทุติยนาควิมานที่ ๑๑ จบ

๑๒. ตติยนาควิมาน
ว่าด้วยวิมานที่มีช้างทิพย์เป็นพาหนะ เรื่องที่ ๓
(บุรุษผู้เป็นบัณฑิตถามเทพบุตรตนหนึ่งว่า)
[๙๗๖] ใครหนอ มีช้างเผือกปลอดเป็นยานทิพย์
มีเสียงดนตรีประโคมกึกก้อง
มีบริวารเป็นอันมากบูชาอยู่ในอากาศ
[๙๗๗] ท่านเป็นเทวดาหรือคนธรรพ์ หรือเป็นท้าวสักกปุรินททะ
พวกเราไม่รู้จัก จึงขอถามท่าน
พวกเราจะรู้จักท่านได้อย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๕. มหารถวรรค ๑๓. จูฬรถวิมาน
(เทพบุตรกล่าวว่า)
[๙๗๘] ข้าพเจ้าไม่ใช่เทวดา ไม่ใช่คนธรรพ์
ทั้งไม่ใช่ท้าวสักกปุรินททะ
แต่ข้าพเจ้าเป็นเทพบุตรตนหนึ่งในบรรดาเหล่าเทพชาวสุธัมมา
(บุรุษผู้เป็นบัณฑิตถามว่า)
[๙๗๙] แน่ะเทพชาวสุธัมมา ข้าพเจ้าขอกราบเรียนถามว่า
คนทำกรรมอะไรไว้สมัยเป็นมนุษย์
จึงจะเกิดเป็นเทพชาวสุธัมมาได้
(เทพบุตรกล่าวว่า)
[๙๘๐] ผู้ใดพึงถวายอาคารมุงบังด้วยใบอ้อย
อาคารมุงบังด้วยหญ้า และอาคารมุงบังด้วยผ้า
ผู้นั้นครั้นถวายอาคารอย่างใดอย่างหนึ่งในอาคารสามอย่างแล้ว
จึงจะเกิดเป็นเทพชาวสุธัมมาได้
ตติยนาควิมานที่ ๑๒ จบ

๑๓. จูฬรถวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่มีรถทิพย์คันเล็กเป็นพาหนะเกิดขึ้นแก่สุชาตกุมาร
(พระมหากัจจายนเถระทูลถามสุชาตกุมารว่า)
[๙๘๑] นายขมังธนู ท่านยืนลดธนูไม้แก่นอันยอดเยี่ยมอยู่
ท่านเป็นกษัตริย์หรือราชกุมาร หรือเป็นพรานป่า
(สุชาตกุมารตรัสตอบว่า)
[๙๘๒] พระคุณเจ้าผู้เจริญ ข้าพเจ้าเป็นราชโอรสของพระเจ้าอัสสกะ
เที่ยวไปในป่า ภิกษุ ข้าพเจ้าขอบอกนามแก่ท่าน
ชนทั้งหลายรู้จักข้าพเจ้าว่า สุชาตะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๕. มหารถวรรค ๑๓. จูฬรถวิมาน
[๙๘๓] ข้าพเจ้าเที่ยวลัดเลาะไปยังป่าใหญ่ เสาะหาหมู่เนื้อ
ไม่ทันได้เห็นเนื้อนั้นเลย แต่มาพบท่านเข้า จึงได้หยุดยืนอยู่
(พระมหากัจจายนเถระทูลว่า)
[๙๘๔] พระองค์ผู้มีบุญมาก พระองค์เสด็จมาดีแล้ว ทั้งมิได้เสด็จมาร้าย
ขอเชิญพระองค์ทรงตักน้ำจากภาชนะนี้ล้างพระบาทของพระองค์เถิด
[๙๘๕] นี้น้ำเย็นน่าดื่มนำมาจากซอกเขา
พระราชโอรส ขอเชิญพระองค์เสวยน้ำจากภาชนะนั้นแล้ว
โปรดเสด็จเข้าไปประทับนั่งบนพื้นที่ปูลาดไว้แล้ว
(สุชาตกุมารตรัสว่า)
[๙๘๖] พระมหามุนี วาจาของท่านงามจริงหนอ
น่าฟัง ไม่มีโทษ มีแต่ประโยชน์ ไพเราะ
ท่านมีปัญญากล่าวแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์
[๙๘๗] ท่านยินดีอะไรจึงอยู่แต่ในป่า
พระฤๅษีผู้องอาจ ข้าพเจ้าถามแล้ว ท่านโปรดบอกด้วยเถิด
ข้าพเจ้าพิจารณาถ้อยคำของท่านแล้วจะประพฤติอย่างสม่ำเสมอ
ตามครรลองแห่งธรรมอันนำมาซึ่งประโยชน์
(พระมหากัจจายนเถระทูลว่า)
[๙๘๘] พระราชกุมาร อาตมภาพชอบการไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งปวง
การงดเว้นจากการลักขโมย การประพฤติผิดประเวณี
และการดื่มน้ำเมา
[๙๘๙] ความงดเว้น ความประพฤติชอบ
ความเป็นพหูสูต ความกตัญญู
ธรรมเหล่านี้เป็นธรรมอันกุลบุตรพึงหวังในปัจจุบัน
อันวิญญูชนพึงสรรเสริญแท้
[๙๙๐] พระราชโอรส พระองค์ทรงทราบเถิดว่า พระองค์ใกล้สวรรคต
เหลืออีกไม่ถึง ๕ เดือน โปรดรีบเปลื้องตนเสียเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๕. มหารถวรรค ๑๓. จูฬรถวิมาน
(พระราชกุมารตรัสถามว่า)
[๙๙๑] ข้าพเจ้านั้นพึงไปชนบทไหน ทำการงานอะไร
และทำหน้าที่ของบุรุษอย่างไร หรือใช้วิชาอะไร จึงจะไม่แก่ไม่ตาย
(พระมหากัจจายนเถระทูลว่า)
[๙๙๒] พระราชโอรส ไม่มีสถานที่ที่สัตว์ไปแล้วไม่พึงแก่ไม่พึงตาย
ทั้งการงาน วิชา และหน้าที่ของบุรุษ
ที่สัตว์ทำแล้วจะไม่พึงแก่ไม่พึงตาย ก็ไม่มี
[๙๙๓] แม้ชนทั้งหลายที่มีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติมาก
ถึงจะเป็นกษัตริย์ผู้ครองแว่นแคว้น
มีทรัพย์และธัญญาหารมากมาย
จะไม่แก่ไม่ตาย ก็ไม่มีเลย
[๙๙๔] ถึงท่านผู้เป็นบุตรของชาวอันธกเวณฑุ ผู้ได้ศึกษาแล้ว
มีความสามารถแกล้วกล้าประหารข้าศึกได้
แม้ท่านเหล่านั้นซึ่งเสมอด้วยสิ่งที่ยั่งยืน
ก็ต้องถึงความสิ้นอายุสลายไป
[๙๙๕] แม้เหล่าชนที่เป็นกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์
ศูทร จัณฑาล ปุกกุสะ และชนประเภทอื่น
โดยชาติกำเนิดซึ่งจะไม่แก่ไม่ตายไม่มี
[๙๙๖] แม้เหล่าชนผู้ร่ายมนตร์พรหมจินดามีองค์ ๖๑
และเหล่าชนที่ใช้วิชาอื่น ๆ จะไม่แก่ไม่ตาย ก็ไม่มี
[๙๙๗] อนึ่ง แม้ฤๅษีทั้งหลายผู้สงบ สำรวมตน บำเพ็ญตบะ
ก็ยังต้องละทิ้งร่างกายไปตามกาลอันสมควร

เชิงอรรถ :
๑ มนตร์พรหมจินดามีองค์ ๖ คือ ๑. กัปปะ (ว่าด้วยวิธีเกี่ยวกับการบูชายัญ) ๒. พยากรณ์ (แสดงการแยกปกติ)
๓. นิรุตติ (แสดงรูปศัพท์ เติมปัจจัย) ๔. สิกขา (แสดงฐานกรณ์ และปตยนะของอักษร) ๕. ฉันโทวิจิติ
(แสดงลักษณะของฉันท์) ๖. โชติสัตถะ (แสดงลักษณะของดวงดาวที่บ่งถึงความเจริญหรือความเสื่อมของ
มนุษย์) (ขุ.วิ.อ. ๙๙๖/๓๐๙) เทียบ เวทางคศาสตร์ของพราหมณ์ มี ๖ อย่าง คือ ๑. ศึกษาวิธีออกเสียง
คำในพระเวทให้ถูกต้อง ๒. ไวยากรณ์ ๓. ฉันท์ ๔. เชยติส คือดาราศาสตร์ ๕. นิรุกติ คือกำเนิดของคำ
และ ๖. กัลปะ คือวิธีจัดทำพิธี (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๒๕ หน้า ๗๗๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๕. มหารถวรรค ๑๓. จูฬรถวิมาน
[๙๙๘] แม้พระอรหันต์ทั้งหลายผู้อบรมตนแล้ว ทำกิจเสร็จแล้ว
ไม่มีอาสวะ สิ้นบุญและบาป ก็ยังต้องทอดทิ้งร่างกายนี้ไป
(พระราชกุมารตรัสว่า)
[๙๙๙] พระมหามุนี คาถาทั้งหลายของท่านเป็นสุภาษิต มีประโยชน์
ข้าพเจ้าโล่งใจ เพราะเนื้อความที่เป็นสุภาษิต
และขอท่านโปรดเป็นที่พึ่งที่ระลึกของข้าพเจ้าด้วย
(พระมหากัจจายนเถระทูลว่า)
[๑๐๐๐] ขอพระองค์จงอย่าทรงถึงอาตมภาพว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึกเลย
ขอจงทรงถึงพระพุทธเจ้าผู้เป็นศากยบุตร ผู้มีความเพียรยิ่งใหญ่
ผู้ซึ่งอาตมภาพถือเป็นที่พึ่งที่ระลึกแล้ว
พระองค์นั้นแหละว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึกเถิด
(พระราชกุมารตรัสถามว่า)
[๑๐๐๑] ท่านผู้นิรทุกข์ พระศาสดาของท่านพระองค์นั้น
ประทับอยู่ ณ ชนบทไหน
ถึงข้าพเจ้าก็จักไปเฝ้าพระชินเจ้าผู้หาบุคคลใดเสมอเหมือนมิได้
(พระเถระถวายพระพรว่า)
[๑๐๐๒] พระศาสดาผู้เป็นบุรุษอาชาไนย ทรงสมภพในราชวงศ์
ของพระเจ้าโอกกากราช ในชนบทด้านทิศตะวันออก
พระองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานเสียแล้ว
(พระราชกุมารตรัสว่า)
[๑๐๐๓] ท่านผู้นิรทุกข์ ถ้าพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าของท่าน
ยังทรงพระชนม์อยู่ ถึงไกลหลายพันโยชน์
ข้าพเจ้าก็จะพึงไปเฝ้าใกล้ ๆ ให้จงได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๕. มหารถวรรค ๑๓. จูฬรถวิมาน
[๑๐๐๔] ท่านผู้นิรทุกข์ แต่เพราะพระบรมศาสดาของท่าน
เสด็จดับขันธปรินิพพานเสียแล้ว
ฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงขอถึงพระองค์ผู้มีความเพียรยิ่งใหญ่
ซึ่งเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้วว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
[๑๐๐๕] ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า กับทั้งพระธรรมที่ยอดเยี่ยม
และพระสงฆ์ซึ่งเป็นที่พึ่งที่ระลึกของเทวดา
และมนุษย์ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
[๑๐๐๖] ข้าพเจ้าของดเว้นจากการฆ่าสัตว์โดยพลัน
ของดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ในโลก
ยินดีเฉพาะภรรยาของตน ไม่กล่าวเท็จ และไม่ดื่มน้ำเมา
(พระเถระถามเทพบุตรนั้นว่า)
[๑๐๐๗] รถใหญ่ของท่านนี้แผ่รัศมีไปโดยรอบกว้าง ๑๐๐ โยชน์
ดังดวงอาทิตย์มีรัศมีมากโคจรไปในท้องฟ้า ส่องแสงไปทั่วทุกทิศ
[๑๐๐๘] รถใหญ่ของท่านนี้บุด้วยแผ่นทองคำโดยรอบ
งอนรถนั้นวิจิตรด้วยแก้วมุกดาและแก้วมณี
แผ่นทองคำและแผ่นเงินมีลวดลายสวยงาม
ประดิษฐ์ด้วยแก้วไพฑูรย์ บรรจงสร้างไว้อย่างดี ทำให้แลดูงาม
[๑๐๐๙] และปลายงอนรถนี้สร้างด้วยแก้วไพฑูรย์
แอกรถนี้วิจิตรด้วยแก้วทับทิม
แม้ม้าเหล่านี้ก็ประดับด้วยทองและเงิน
วิ่งได้เร็วทันใจ แลดูสง่างาม
[๑๐๑๐] ท่านยืนสง่าอยู่บนรถทองคำเทียมด้วยม้า๑,๐๐๐ ตัวเป็นพาหนะ
เปรียบดังท้าวสักกะจอมเทพ ท่านผู้มียศ
อาตมภาพขอถามท่านผู้ชาญฉลาดว่า
ยศอย่างโอฬารนี้ท่านได้มาอย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๕. มหารถวรรค ๑๔. มหารถวิมาน
(เทพบุตรตอบว่า)
[๑๐๑๑] พระคุณเจ้าผู้เจริญ ชาติก่อนข้าพเจ้าเป็นราชโอรสนามว่าสุชาตะ
และพระคุณเจ้าได้อนุเคราะห์ให้ข้าพเจ้าได้ตั้งอยู่ในความสำรวม
[๑๐๑๒] อนึ่ง พระคุณเจ้ารู้ว่าข้าพเจ้าจะสิ้นอายุ
ได้มอบพระบรมสารีริกธาตุของพระศาสดาด้วยกล่าวว่า
สุชาตราชโอรส พระองค์จงทรงบูชาพระบรมสารีริกธาตุนี้
การบูชานั้นจักเป็นประโยชน์แก่พระองค์เอง
[๑๐๑๓] ข้าพเจ้าได้ขวนขวายบูชาพระบรมสารีริกธาตุนั้น
ด้วยของหอมและดอกไม้ทั้งหลาย
ครั้นละร่างมนุษย์แล้วได้เกิดในสวนนันทวัน
[๑๐๑๔] มีเหล่านางอัปสรฟ้อนรำขับร้องห้อมล้อมรื่นรมย์อยู่
ในสวนนันทวันอย่างงามเลิศ น่ารื่นรมย์
ขวักไขว่ไปด้วยฝูงนกนานาชนิด
จูฬรถวิมานที่ ๑๓ จบ

๑๔. มหารถวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่รถทิพย์คันใหญ่เป็นพาหนะเกิดขึ้นแก่คนเลี้ยงโค
(พระมหาโมคคัลานเถระถามเทพบุตรตนหนึ่งว่า)
[๑๐๑๕] ท่านขึ้นรถเทียมด้วยม้า ๑,๐๐๐ ตัวเป็นพาหนะ
งามวิจิตรอเนกประการ รุ่งเรืองเหมือนกับท้าววาสวปุรินททะ๑
ผู้เป็นจอมเทพซึ่งกำลังเสด็จไปใกล้พื้นที่อุทยานโดยลำดับ
[๑๐๑๖] แคร่รถทั้งสองข้างของท่านก็ล้วนแล้วด้วยทองคำ
ประกอบไม้เท้าแขนสองข้าง

เชิงอรรถ :
๑ เป็นชื่อของท้าวสักกะ ผู้เคยให้ที่พักอาศัยในกาลก่อน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๕. มหารถวรรค ๑๔. มหารถวิมาน
ไม้คานทั้งสองสนิทดี มีลูกกรงจัดไว้ได้ระเบียบเรียบร้อย
เหมือนช่างศิลป์บรรจงจัดไว้เสร็จแล้ว
รถของท่านนี้รุ่งเรืองดังดวงจันทร์ในวันเพ็ญ
[๑๐๑๗] รถคันนี้คลุมด้วยข่ายทองคำ วิจิตรด้วยรัตนะต่าง ๆ มากมาย
มีเสียงกึกก้องไพเราะน่าเพลิดเพลิน ทั้งมีรัศมีรุ่งโรจน์
รุ่งเรืองด้วยหมู่เทวดาถือแส้จามร
[๑๐๑๘] ดุมรถเหล่านี้ประดับตรงกลางระหว่างล้อรถ ประดุจเนรมิตด้วยใจ
ทั้งวิจิตรด้วยลวดลายเป็นร้อย สว่างไสวดังสายฟ้าแลบ
[๑๐๑๙] รถคันนี้พราวไปด้วยลวดลายวิจิตรอเนกประการ
และกงล้อใหญ่มีรัศมีตั้งพัน
มีเสียงดังไพเราะน่าฟัง คล้ายดนตรีเครื่องห้าที่ขับประโคมแล้ว
[๑๐๒๐] งอนรถร้อยไว้ด้วยแก้วมณี มีสัณฐานกลมดังดวงจันทร์
วิจิตร บริสุทธิ์ งดงาม ผุดผ่องทุกเมื่อ
ประกอบด้วยลายทองเนียนสนิท งามล้ำดุจลายแก้วไพฑูรย์
[๑๐๒๑] ม้าเหล่านี้ผูกร้อยไว้ด้วยแก้วมณี มีสัณฐานกลมดังดวงจันทร์
สูงใหญ่ ว่องไว เปรียบเหมือนม้าใหญ่ที่เจริญเติบโต
มีฤทธิ์มาก ทรงพลัง รวดเร็วมาก
รู้ใจของท่าน วิ่งไปได้เร็วดังใจนึก
[๑๐๒๒] ด้วยว่า ม้าทั้งหมดนี้อดทน เหยาะย่างไปด้วยเท้าทั้ง ๔
รู้ใจของท่าน วิ่งไปได้เร็วดังใจนึก มีกิริยาท่าทางนุ่มนวล
ไม่ลำพอง วิ่งเรียบ ทำให้ผู้ขับขี่เบิกบานใจ เป็นยอดม้าทั้งหลาย
[๑๐๒๓] บางคราวก็แกว่งขนหางไปมา
บางคราวก็วิ่งเหยาะย่างเท้าไป บางคราวก็เหาะไป
ทำเครื่องประดับที่เขาตกแต่งไว้เรียบร้อยให้กวัดแกว่ง
เสียงเครื่องประดับเหล่านั้นดังไพเราะน่าฟัง
คล้ายดนตรีเครื่องห้าที่ขับประโคมแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๕. มหารถวรรค ๑๔. มหารถวิมาน
[๑๐๒๔] เสียงรถ เสียงเครื่องประดับทั้งหลาย เสียงกีบเท้าม้า
เสียงม้าเสียดสีกัน และเสียงเทพผู้บันเทิงดังไพเราะ
คล้ายดนตรีของคนธรรพ์ในสวนจิตรลดา
[๑๐๒๕] เหล่าเทพอัปสรอยู่บนรถ
มีดวงตาอ่อนโยนคล้ายดวงตาลูกเนื้อทราย
มีขนตาดก มีใบหน้ายิ้มแย้ม พูดจาอ่อนหวาน
มีร่างกายคลุมด้วยข่ายแก้วไพฑูรย์ มีผิวเนียน
ซึ่งคนธรรพ์และเทวดาผู้สูงศักดิ์บูชาทุกเมื่อเป็นประจำ
[๑๐๒๖] เทพอัปสรเหล่านั้นมีรูปโฉมเย้ายวนน่ายินดี
ทรงพัสตราภรณ์สีแดงและสีเหลือง
มีดวงตากลมโต มีนัยน์ตางามน่ารักยิ่งนัก
เป็นผู้ดีมีสกุล มีเรือนร่างสวยงาม
ยิ้มแย้มแจ่มใส ยืนประนมมือเด่นอยู่บนรถ
[๑๐๒๗] เธอเหล่านั้นสวมใส่ทองต้นแขน ทรงพัสตราภรณ์งดงาม
มีเอวกลมกลึง ขาเรียวงาม ถันเต่งตึง นิ้วมือเรียวกลม
พักตร์ผุดผ่อง น่าชม ยืนประนมมือเด่นอยู่บนรถ
[๑๐๒๘] เทพอัปสรบางพวกมีช้องผมงาม ล้วนเป็นสาวแรกรุ่น
มีมวยผมแซมสลับด้วยแก้วทับทิมและพวงดอกไม้จัดแต่งไว้เรียบร้อย
มีประกายพรายพราว
เทพอัปสรเหล่านั้นมีกิริยาแช่มช้อย
มีใจชื่นชมต่อท่าน ยืนประนมมือเด่นอยู่บนรถ
[๑๐๒๙] บางพวกมีมาลัยแก้วประดับเทริด
และทับทรวงด้วยดอกปทุมและอุบล
ทรงเครื่องประดับ อบด้วยแก่นจันทน์
เทพอัปสรเหล่านั้นมีกิริยาแช่มช้อย
มีใจชื่นชมต่อท่าน ยืนประนมมือเด่นอยู่บนรถ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๕. มหารถวรรค ๑๔. มหารถวิมาน
[๑๐๓๐] เทพอัปสรเหล่านั้นประดับพวงมาลัย
และทับทรวงด้วยดอกปทุมและดอกอุบล
ทรงเครื่องประดับ อบด้วยแก่นจันทน์
ถึงพวกนางก็มีกิริยาแช่มช้อย
มีใจชื่นชมต่อท่าน ยืนประนมมือเด่นอยู่บนรถ
[๑๐๓๑] บางพวกสว่างไสวไปทั่วทั้งสิบทิศด้วยเครื่องประดับคอ มือ เท้า
และศีรษะ เหมือนพระอาทิตย์ในสารทกาลกำลังอุทัย
[๑๐๓๒] ดอกไม้และเครื่องประดับที่แขนทั้งสองต้องลมก็ไหวพริ้ว
เปล่งเสียงกังวานไพเราะจับใจ อันวิญญูชนทุกคนควรฟัง
[๑๐๓๓] ท่านผู้เป็นจอมเทพ เสียงรถ ช้าง ม้า และดนตรีทั้งหลาย
ซึ่งอยู่สองข้างพื้นอุทยานทำให้ท่านบันเทิงใจ
ดุจพิณทั้งหลายมีรางและคันถือที่ประกอบไว้เรียบร้อยแล้ว
[๑๐๓๔] เมื่อพิณมีเสียงไพเราะจับใจจำนวนมากเหล่านี้
ที่เทพอัปสรทั้งหลายบรรเลงอย่างซาบซึ้งตรึงใจยิ่งอยู่
เหล่านางอัปสรเทพกัญญา ผู้ล้วนชำนาญศิลป์
ต่างพากันร่ายรำอยู่บนดอกปทุมทั้งหลาย
[๑๐๓๕] ในเวลาที่มีการขับร้อง การประโคม และการฟ้อนเหล่านี้
ประสานกลมกลืนเป็นอันเดียวกัน
เทพอัปสรพวกหนึ่งฟ้อนรำอยู่บนรถของท่านนี้
อีกพวกหนึ่งทางด้านนี้เปล่งรัศมีสว่างไสวทั้งสองด้าน
[๑๐๓๖] ท่านนั้นผู้อันหมู่เทพดุริยางค์ปลุกเร้าให้เกิดปีติโสมนัส
อันทวยเทพทั้งหลายบูชาอยู่
บันเทิงใจอยู่ ดังพระอินทร์ผู้ทรงวชิราวุธ
ในเมื่อพิณมีเสียงไพเราะจับใจจำนวนมากเหล่านี้
ที่เทพอัปสรทั้งหลายบรรเลงอย่างซาบซึ้งตรึงใจยิ่งอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๕. มหารถวรรค ๑๔. มหารถวิมาน
[๑๐๓๗] เมื่อชาติก่อน ท่านเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำกรรมอะไรไว้
ท่านได้รักษาอุโบสถหรือว่า
ได้ชอบใจการประพฤติธรรมและการสมาทานวัตรอะไร
[๑๐๓๘] การที่ท่านมีอิทธานุภาพไพบูลย์รุ่งโรจน์ยิ่งกว่าหมู่เทพนี้
มิใช่ผลกรรมเล็กน้อยที่ท่านทำไว้แล้ว
หรืออุโบสถที่ท่านประพฤติแล้วในชาติก่อน
[๑๐๓๙] นี้เป็นผลของทาน หรือศีล หรือการกราบไหว้ของท่าน
อาตมาถามท่านแล้ว โปรดบอกผลกรรมนั้นแก่อาตมาเถิด
[๑๐๔๐] เทพบุตรนั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๑๐๔๑] ข้าพเจ้าได้เห็นพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงชนะอินทรีย์แล้ว
มีความเพียรไม่ย่อหย่อน ผู้สูงสุดแห่งนระทั้งหลาย เป็นอัครบุคคล
เปิดประตูอมตนิพพาน เป็นเทพยิ่งกว่าเทพ ซึ่งมีบุญลักษณะนับร้อย
[๑๐๔๒] ครั้นได้เห็นพระองค์ผู้ข้ามโอฆะได้แล้วเช่นกับกุญชร
มีพระวรกายงดงามเช่นกับทองสิงคี๑และทองชมพูนุท๒
พลันข้าพเจ้าก็มีใจหมดจดเพราะได้เห็นพระองค์
ผู้มีธรรมที่พระองค์ตรัสไว้ดีแล้วเป็นธงนั่นเอง
[๑๐๔๓] ข้าพเจ้านั้นมีใจไม่ติดข้องในอะไร ได้มอบถวายข้าวน้ำ
จีวร และของที่สะอาด ประณีต มีรสชาติ
เฉพาะพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ในที่อยู่ของตนซึ่งดารดาษด้วยดอกไม้
[๑๐๔๔] ได้อังคาสพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นซึ่งทรงเป็นผู้สูงสุด
กว่าเหล่ามนุษย์ ให้อิ่มหนำด้วยข้าว น้ำ จีวร ของเคี้ยว
ของฉัน และของลิ้ม จึงรื่นรมย์อยู่ในสวรรค์อันเป็นเทวบุรี

เชิงอรรถ :
๑ ทองเนื้อสุก (ขุ.วิ.อ. ๑๐๔๒/๓๒๙)
๒ ทองวิเศษ (ขุ.วิ.อ. ๑๐๔๒/๓๒๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] รวมเรื่องวิมานที่มีในวรรค
[๑๐๔๕] โดยอุบายนี้ ข้าพเจ้าได้ถวายทานที่มีลิ่มสลักออกแล้วนี้๑
อันมีความบริสุทธิ์ ๓ ประการ ละร่างมนุษย์แล้ว
รื่นรมย์อยู่ในเทวบุรี เสมอเหมือนกับพระอินทร์
[๑๐๔๖] ท่านพระมุนี บุคคลผู้มุ่งหวังอายุ วรรณะ สุขะ พละ
และรูปที่ประณีต มีใจไม่ติดข้องในอะไร ๆ
พึงถวายข้าวและน้ำซึ่งปรุงดีแล้วให้มากแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
[๑๐๔๗] ไม่ว่าในโลกนี้หรือโลกหน้า
ผู้ที่ประเสริฐกว่า หรือเสมอด้วยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่มี
บรรดาผู้ควรบูชาทั้งหลาย
พระพุทธเจ้าถึงความเป็นผู้ควรบูชาอย่างยิ่ง
ของเหล่าชนผู้ต้องการบุญหวังผลอันไพบูลย์
มหารถวิมานที่ ๑๔ จบ
มหารถวรรคที่ ๕ จบ

รวมเรื่องวิมานที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. มัณฑูกเทวปุตตวิมาน ๒. เรวตีวิมาน
๓. ฉัตตมาณวกวิมาน ๔. กักกฏกรสทายกวิมาน
๕. ทวารปาลวิมาน ๖. ปฐมกรณียวิมาน
๗. ทุติยกรณียวิมาน ๘. ปฐมสูจิวิมาน
๙. ทุติยสูจิวิมาน ๑๐. ปฐมนาควิมาน
๑๑. ทุติยนาควิมาน ๑๒. ตติยนาควิมาน
๑๓. จูฬรถวิมาน ๑๔. มหารถวิมาน

ภาณวารที่ ๓ จบ

เชิงอรรถ :
๑ บริจาคสมบัติของตนทั้งหมด (ขุ.วิ.อ. ๑๐๔๓/๓๓๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๖. ปายาสิกวรรค ๑. ปฐมอคาริยวิมาน
๖. ปายาสิกวรรค
หมวดว่าด้วยเทพบุตรผู้เคยเป็นคนรับใช้เจ้าปายาสิ
๑. ปฐมอคาริยวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่สองสามีภรรยา
ผู้เป็นดังอู่ข้าวอู่น้ำของพระสงฆ์ เรื่องที่ ๑
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพบุตรตนหนึ่งว่า)
[๑๐๔๘] สวนจิตรลดาเป็นสวนประเสริฐชั้นดีเยี่ยม
ของทวยเทพชั้นไตรทศ ส่องแสงสว่างไสวฉันใด
วิมานของท่านนี้ก็มีอุปมาฉันนั้น
ส่องแสงสว่างไสวอยู่ในอากาศ
[๑๐๔๙] ท่านได้บรรลุเทวฤทธิ์ มีอานุภาพมาก
เมื่อท่านเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะบุญอะไรท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๑๐๕๐] เทพบุตรนั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๑๐๕๑] ข้าพเจ้าและภรรยาเมื่อยังครองเรือนอยู่ในมนุษยโลก
ได้เป็นดังอู่ข้าวอู่น้ำ มีจิตเลื่อมใส
ได้ถวายข้าวและน้ำเป็นทานอย่างไพบูลย์โดยเคารพ
[๑๐๕๒-๑๐๕๓] เพราะบุญนั้นข้าพเจ้าจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
ปฐมอคาริยวิมานที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๖. ปายาสิกวรรค ๓. ผลทายกวิมาน
๒. ทุติยอคาริยวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่สองสามีภรรยา
ผู้เป็นดังอู่ข้าวอู่น้ำของพระสงฆ์ เรื่องที่ ๒
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพบุตรตนหนึ่งว่า)
[๑๐๕๔] สวนจิตรลดาเป็นสวนประเสริฐชั้นดีเยี่ยม
ของทวยเทพชั้นไตรทศ ส่องแสงสว่างไสวฉันใด
วิมานของท่านนี้ก็มีอุปมาฉันนั้น
ส่องแสงสว่างไสวอยู่ในอากาศ
[๑๐๕๕] ท่านได้บรรลุเทวฤทธิ์ มีอานุภาพมาก
เมื่อท่านเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะบุญอะไรท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๑๐๕๖] เทพบุตรนั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๑๐๕๗] ข้าพเจ้าและภรรยาเมื่อยังครองเรือนอยู่ในมนุษยโลก
ได้เป็นดังอู่ข้าวอู่น้ำ มีจิตเลื่อมใส
ได้ถวายข้าวและน้ำเป็นทานอย่างไพบูลย์โดยเคารพ
[๑๐๕๘-๑๐๕๙] เพราะบุญนั้นข้าพเจ้าจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
ทุติยอคาริยวิมานที่ ๒ จบ

๓. ผลทายกวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่บุรุษผู้ถวายมะม่วง ๔ ผล
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพบุตรตนหนึ่งว่า)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๖. ปายาสิกวรรค ๓. ผลทายกวิมาน
[๑๐๖๐] วิมานมีเสาทำด้วยแก้วมณีนี้สูงมาก วัดโดยรอบได้ ๑๒ โยชน์
เป็นปราสาท ๗๐๐ ยอด ดูโอฬาร มีเสาประดิษฐ์ด้วยแก้วไพฑูรย์
มีพื้นปูลาดด้วยแผ่นทองคำสวยงาม
[๑๐๖๑] ท่านสถิต ดื่ม กินอยู่ในวิมานนั้น
มีทวยเทพพากันบรรเลงพิณทิพย์ดังไพเราะ
และเทพกัญญา ๖๔,๐๐๐ นางมีรูปงาม
ท่องเที่ยวไปมาอย่างสำราญในภพดาวดึงส์ มีสมบัติมากมาย
เป็นผู้ชำนาญการฟ้อนรำขับร้อง พากันมาให้ความบันเทิงใจ
[๑๐๖๒] ท่านได้บรรลุเทวฤทธิ์ มีอานุภาพมาก
เมื่อท่านเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะบุญอะไรท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๑๐๖๓] เทพบุตรนั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๑๐๖๔] ผู้มีใจเลื่อมใสเมื่อจะถวายทานในหมู่ภิกษุผู้ปฏิบัติตรง
ได้ถวายผลไม้เป็นประจำ จึงได้รับผลบุญอันไพบูลย์
ผู้นั้นแหละไปสู่สวรรค์ชั้นไตรทศ และเสวยผลบุญอย่างไพบูลย์
[๑๐๖๕] ท่านมหามุนี ข้าพเจ้าก็อย่างนั้นเหมือนกันได้ถวายมะม่วง ๔ ผล
[๑๐๖๖] เพราะเหตุนั้น มนุษย์ผู้ต้องการความสุข
ปรารถนาความสุขอันเป็นทิพย์
หรือปรารถนาความเป็นผู้มีส่วนดีงามในหมู่มนุษย์เป็นนิตย์
ควรถวายผลไม้แท้
[๑๐๖๗-๑๐๖๘] เพราะบุญนั้นข้าพเจ้าจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
ผลทายกวิมานที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๖. ปายาสิกวรรค ๕. ทุติยอุปัสสยทายกวิมาน
๔. ปฐมอุปัสสยทายกวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่สองสามีภรรยาผู้บำรุงพระอรหันต์ เรื่องที่ ๑
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพบุตรตนหนึ่งว่า)
[๑๐๖๙] ดวงจันทร์ปราศจากเมฆหมอกส่องแสงสว่างอยู่ในนภากาศฉันใด
วิมานของท่านนี้ก็มีอุปมาฉันนั้น ส่องแสงสว่างไสวอยู่ในอากาศ
[๑๐๗๐] ท่านได้บรรลุเทวฤทธิ์ มีอานุภาพมาก
เมื่อท่านเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะบุญอะไรท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๑๐๗๑] เทพบุตรนั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๑๐๗๒] ข้าพเจ้าและภรรรยาเมื่อยังครองเรือนอยู่ในมนุษยโลก
ได้ถวายที่อยู่แด่พระอรหันต์ มีจิตเลื่อมใส
ได้ถวายข้าวและน้ำเป็นทานอย่างไพบูลย์โดยเคารพ
[๑๐๗๓-๑๐๗๔] เพราะบุญนั้น ข้าพเจ้าจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
ปฐมอุปัสสยทายกวิมานที่ ๔ จบ

๕. ทุติยอุปัสสยทายกวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่สองสามีภรรยาผู้บำรุงพระอรหันต์ เรื่องที่ ๒
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพบุตรตนหนึ่งว่า)
[๑๐๗๕-๑๐๗๘] ดวงอาทิตย์ปราศจากเมฆหมอกส่องแสงสว่างอยู่ในนภากาศฉันใด
วิมานของท่านนี้ก็มีอุปมาฉันนั้น ส่องแสงสว่างไสวอยู่ในอากาศ
ฯลฯ
(อธิบายนอกนี้พึงให้พิสดารเหมือนวิมานข้างต้น)
[๑๐๗๙-๑๐๘๐] และรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
ทุติยอุปัสสยทายกวิมานที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๖. ปายาสิกวรรค ๗. ยวปาลกวิมาน
๖. ภิกขาทายกวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่บุรุษผู้ถวายอาหารแด่ภิกษุ
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพบุตรตนหนึ่งว่า)
[๑๐๘๑] วิมานมีเสาทำด้วยแก้วมณีนี้สูงมาก วัดโดยรอบได้ ๑๒ โยชน์
เป็นปราสาท ๗๐๐ ยอด ดูโอฬาร มีเสาประดิษฐ์ด้วยแก้วไพฑูรย์
มีพื้นปูลาดด้วยแผ่นทองคำสวยงาม
[๑๐๘๒] ท่านได้บรรลุเทวฤทธิ์ มีอานุภาพมาก ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๑๐๘๓] เทพบุตรนั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาของผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๑๐๘๔] เมื่อข้าพเจ้าเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์
ได้เห็นภิกษุผู้กระหายน้ำเหน็ดเหนื่อยมาในกาลนั้น
ข้าพเจ้าได้ปรุงอาหารอย่างหนึ่งถวายพร้อมทั้งข้าวสุก
[๑๐๘๕-๑๐๘๖] เพราะบุญนั้นข้าพเจ้าจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
ภิกขาทายกวิมานที่ ๖ จบ

๗. ยวปาลกวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่คนเฝ้านาข้าวเหนียวผู้ถวายขนมสดแด่ภิกษุ
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพบุตรตนหนึ่งว่า)
[๑๐๘๗-๑๐๘๘] วิมานมีเสาทำด้วยแก้วมณีนี้สูงมาก วัดโดยรอบได้ ๑๒ โยชน์
ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๑๐๘๙] เทพบุตรนั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๖. ปายาสิกวรรค ๘. ปฐมกุณฑลีวิมาน
[๑๐๙๐] เมื่อข้าพเจ้าเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์
เป็นคนเฝ้านาข้าวเหนียว
ได้เห็นภิกษุผู้ปราศจากกิเลสประดุจดังธุลี มีใจผ่องใสไม่มัวหมอง
[๑๐๙๑] เลื่อมใสแล้ว จึงได้แบ่งขนมสดถวายท่านด้วยมือทั้งสองของตน
ครั้นแล้วจึงบันเทิงอยู่ในสวนนันทวัน
[๑๐๙๒-๑๐๙๓] เพราะบุญนั้นข้าพเจ้าจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
ยวปาลกวิมานที่ ๗ จบ

๘. ปฐมกุณฑลีวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่บุรุษผู้บำรุงพระสงฆ์ เรื่องที่ ๑
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพบุตรตนหนึ่งว่า)
[๑๐๙๔] ท่านประดับตกแต่งร่างกาย ทัดทรงดอกไม้
ทรงพัสตราภรณ์สวยงาม ใส่ต่างหูงาม
ตัดผมโกนหนวดเรียบร้อย สวมเครื่องประดับข้อมือ
มีบริวารยศ รุ่งเรืองอยู่ในทิพย์วิมานดังดวงจันทร์
[๑๐๙๕] อนึ่ง ทวยเทพพากันมาบรรเลงพิณทิพย์ดังไพเราะ
และเทพกัญญา ๖๔,๐๐๐ นางมีรูปงาม
ท่องเที่ยวไปมาอย่างสำราญในภพดาวดึงส์ มีสมบัติมากมาย
เป็นผู้ชำนาญการฟ้อนรำขับร้อง พากันมาให้ความบันเทิงอยู่
[๑๐๙๖] ท่านได้บรรลุเทวฤทธิ์ มีอานุภาพมาก
เมื่อท่านเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะบุญอะไรท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๑๐๙๗] เทพบุตรนั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๖. ปายาสิกวรรค ๙. ทุติยกุณฑลีวิมาน
[๑๐๙๘] เมื่อข้าพเจ้าเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์
ได้เห็นสมณะทั้งหลายผู้มีศีล ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
มีบริวารยศ เป็นพหูสูต บรรลุธรรมที่สิ้นตัณหา
มีจิตเลื่อมใสได้ถวายข้าวและน้ำเป็นทานอย่างไพบูลย์โดยเคารพ
[๑๐๙๙-๑๑๐๐] เพราะบุญนั้นข้าพเจ้าจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
ปฐมกุณฑลีวิมานที่ ๘ จบ

๙. ทุติยกุณฑลีวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่บุรุษผู้บำรุงพระสงฆ์ เรื่องที่ ๒
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพบุตรตนหนึ่งว่า)
[๑๑๐๑] ท่านประดับตกแต่งร่างกาย ทัดทรงดอกไม้
ทรงพัสตราภรณ์สวยงาม
ใส่ต่างหูงดงาม ตัดผมโกนหนวดเรียบร้อย สวมเครื่องประดับข้อมือ
มีบริวารยศ รุ่งเรืองอยู่ในทิพวิมานดังดวงจันทร์
[๑๑๐๒] อนึ่ง ทวยเทพพากันมาบรรเลงพิณทิพย์ดังไพเราะ
และเทพกัญญา ๖๔,๐๐๐ นางมีรูปงาม
ท่องเที่ยวไปมาอย่างสำราญในภพดาวดึงส์ มีสมบัติมากมาย
เป็นผู้ชำนาญการฟ้อนรำขับร้อง พากันมาให้ความบันเทิงอยู่
[๑๑๐๓] ท่านได้บรรลุเทวฤทธิ์ มีอานุภาพมาก
เมื่อท่านเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะบุญอะไรท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๑๑๐๔] เทพบุตรนั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๖. ปายาสิกวรรค ๑๐. ปายาสิวิมาน
[๑๑๐๕] เมื่อข้าพเจ้าเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์
ได้เห็นสมณะทั้งหลายผู้ดีงาม ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
มีบริวารยศ เป็นพหูสูต มีศีล มีอินทรีย์ผ่องใส
จึงมีจิตเลื่อมใส ได้ถวายข้าวและน้ำ
เป็นทานอย่างไพบูลย์โดยเคารพ
[๑๑๐๖-๑๑๐๗] เพราะบุญนั้นข้าพเจ้าจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
ทุติยกุณฑลีวิมานที่ ๙ จบ

๑๐. ปายาสิวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่บุรุษผู้เป็นคนรับใช้เจ้าปายาสิ
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพบุตรตนหนึ่งว่า)
[๑๑๐๘] วิมานของท่านนี้เปรียบเสมือนสุธัมมสภาของท้าวสักกเทวราช
อันเป็นสภาที่หมู่เทพนั่งประชุมกันอย่างพร้อมเพรียง
ส่องแสงสว่างไสวอยู่ในอากาศ
[๑๑๐๙] ท่านได้บรรลุเทวฤทธิ์ มีอานุภาพมาก
เมื่อท่านเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะบุญอะไรท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๑๑๑๐] เทพบุตรนั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๑๑๑๑] เมื่อข้าพเจ้าเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์
เป็นชายหนุ่มรับใช้ของเจ้าปายาสิ ได้ทรัพย์มาแล้วก็ทำการแจกจ่าย
อนึ่ง ท่านผู้มีศีลทั้งหลายเป็นที่รักของข้าพเจ้า ข้าพเจ้ามีจิตเลื่อมใส
ได้ถวายข้าวและน้ำเป็นทานอย่างไพบูลย์โดยเคารพ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๗. สุนิกขิตตวรรค ๑. จิตตลตาวิมาน
[๑๑๑๒-๑๑๑๓] เพราะบุญนั้นข้าพเจ้าจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
ปายาสิวิมานที่ ๑๐ จบ
ปายาสิกวรรคที่ ๖ จบ

รวมเรื่องวิมานที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ปฐมอคาริยวิมาน ๒. ทุติยอคาริยวิมาน
๓. ผลทายกวิมาน ๔. ปฐมอุปัสสยทายกวิมาน
๕. ทุติยอุปัสสยทายกวิมาน ๖. ภิกขาทายกวิมาน
๗. ยวปาลกวิมาน ๘. ปฐมกุณฑลีวิมาน
๙. ทุติยกุณฑลีวิมาน ๑๐. ปายาสิวิมาน
จะกล่าวปุริสวิมานวรรคที่ ๒ ดังนี้

๗. สุนิกขิตตวรรค
หมวดว่าด้วยเทพบุตรผู้จัดดอกไม้ให้เป็นระเบียบ
๑. จิตตลตาวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่รุ่งเรืองเหมือนสวนจิตรดา
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพบุตรตนหนึ่งว่า)
[๑๑๑๔] สวนจิตรลดาเป็นสวนประเสริฐชั้นดีเยี่ยม
ของทวยเทพชั้นดาวดึงส์ ส่องแสงสว่างไสวฉันใด
วิมานของท่านนี้ก็มีอุปมาฉันนั้น ส่องแสงสว่างไสวอยู่ในอากาศ
[๑๑๑๕] ท่านได้บรรลุเทวฤทธิ์ มีอานุภาพมาก
เมื่อท่านเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะบุญอะไรท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๗. สุนิกขิตตวรรค ๒. นันทนวิมาน
[๑๑๑๖] เทพบุตรนั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาของผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๑๑๑๗] เมื่อข้าพเจ้าเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์
เป็นคนยากจน ไม่มีที่พึ่ง ยากไร้ เป็นกรรมกร
เลี้ยงดูมารดาบิดาผู้แก่เฒ่า
อนึ่ง ท่านผู้มีศีลทั้งหลายเป็นที่รักของข้าพเจ้า ข้าพเจ้ามีจิตเลื่อมใส
ได้ถวายข้าวและน้ำเป็นทานอย่างไพบูลย์โดยเคารพ
[๑๑๑๘-๑๑๑๙] เพราะบุญนั้นข้าพเจ้าจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
จิตตลตาวิมานที่ ๑ จบ

๒. นันทนวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่รุ่งเรืองเหมือนสวนนันทวัน
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพบุตรตนหนึ่งว่า)
[๑๑๒๐] สวนนันทวันเป็นสวนประเสริฐชั้นดีเยี่ยม
ของทวยเทพชั้นดาวดึงส์ ส่องแสงสว่างไสวฉันใด
วิมานของท่านนี้ก็มีอุปมาฉันนั้น ส่องแสงสว่างไสวอยู่ในอากาศ
[๑๑๒๑] ท่านได้บรรลุเทวฤทธิ์ มีอานุภาพมาก
เมื่อท่านเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะบุญอะไรท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๑๑๒๒] เทพบุตรนั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๑๑๒๓] เมื่อข้าพเจ้าเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์
เป็นคนยากจน ไม่มีที่พึ่ง ยากไร้ เป็นกรรมกร
เลี้ยงดูมารดาบิดาผู้แก่เฒ่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๗. สุนิกขิตตวรรค ๓. มณิถูณวิมาน
อนึ่ง ท่านผู้มีศีลทั้งหลายเป็นที่รักของข้าพเจ้า ข้าพเจ้ามีจิตเลื่อมใส
ได้ถวายข้าวและน้ำเป็นทานอย่างไพบูลย์โดยเคารพ
[๑๑๒๔-๑๑๒๕] เพราะบุญนั้นข้าพเจ้าจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
นันทนวิมานที่ ๒ จบ

๓. มณิถูณวิมาน
ว่าด้วยวิมานแก้วมณีที่เกิดขึ้นแก่บุรุษผู้ปลูกต้นไม้ให้ร่มรื่น
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพบุตรตนหนึ่งว่า)
[๑๑๒๖] วิมานมีเสาทำด้วยแก้วมณีนี้สูงมาก วัดโดยรอบได้ ๑๒ โยชน์
เป็นปราสาท ๗๐๐ ยอด ดูโอฬาร มีเสาประดิษฐ์ด้วยแก้วไพฑูรย์
มีพื้นปูลาดด้วยแผ่นทองคำสวยงาม
[๑๑๒๗] ท่านสถิต ดื่ม กินอยู่ในวิมานนั้น
มีทวยเทพพากันมาบรรเลงพิณทิพย์ดังไพเราะ
ในวิมานของท่านนี้มีเบญจกามคุณอันเป็นทิพรส
และเหล่าเทพนารีผู้ประดับด้วยอาภรณ์ทองคำฟ้อนรำอยู่
[๑๑๒๘-๑๑๒๙] เพราะบุญอะไรท่านจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๑๑๓๐] เทพบุตรนั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๑๑๓๑] เมื่อข้าพเจ้าเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์
ได้สร้างที่จงกรมไว้ใกล้หนทางในป่า และปลูกต้นไม้ให้ร่มรื่น
อนึ่ง ท่านผู้มีศีลทั้งหลายเป็นที่รักของข้าพเจ้า ข้าพเจ้ามีจิตเลื่อมใส
ได้ถวายข้าวและน้ำเป็นทานอย่างไพบูลย์โดยเคารพ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๗. สุนิกขิตตวรรค ๔. สุวัณณวิมาน
[๑๑๓๒-๑๑๓๓] เพราะบุญนั้นข้าพเจ้าจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
มณิถูณวิมานที่ ๓ จบ

๔. สุวัณณวิมาน
ว่าด้วยวิมานทองคำที่เกิดขึ้นแก่บุรุษ
ผู้สร้างวิหารถวายพระพุทธเจ้า
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพบุตรตนหนึ่งว่า)
[๑๑๓๔] วิมานที่ภูเขาทองคำของท่าน มีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกส่วน
ปกคลุมด้วยข่ายทองคำ ผูกขึงข่ายกระดึงไว้
[๑๑๓๕] เสาวิมานทุกต้นแปดเหลี่ยม สร้างไว้อย่างสวยงาม
ล้วนประดิษฐ์ด้วยแก้วไพฑูรย์ แต่ละเหลี่ยมประดับรัตนะ ๗ ประการ
[๑๑๓๖] มีพื้นน่ารื่นรมย์ใจ วิจิตรด้วยแก้วไพฑูรย์ ทองคำ
แก้วผลึก เงิน แก้วลาย แก้วมุกดา และทับทิม
[๑๑๓๗] ที่วิมานนั้นไม่มีธุลีฟุ้งขึ้น
มีหมู่จันทันสีเหลืองสร้างไว้รองรับช่อฟ้า
[๑๑๓๘] บันได ๔ บันไดสร้างไว้ ๔ ทิศ
วิมานนั้นมีห้องสำเร็จด้วยรัตนะต่าง ๆ รุ่งโรจน์ดังพระอาทิตย์
[๑๑๓๙] ที่วิมานนั้น มีไพทีอยู่ทั้ง ๔ ทิศ จัดสร้างได้สัดส่วน
ส่องแสงสว่างโชติช่วงโดยรอบทั้ง ๔ ทิศ
[๑๑๔๐] ในวิมานอันประเสริฐนั้น ท่านเป็นเทพบุตรมีรัศมีรุ่งเรืองมาก
มีผิวพรรณรุ่งโรจน์อย่างยิ่ง ดังพระอาทิตย์กำลังอุทัย
[๑๑๔๑] นี้เป็นผลของทาน หรือศีล หรือการกราบไหว้ของท่าน
อาตมาถามท่านแล้ว โปรดบอกผลกรรมนั้นแก่อาตมาเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๗. สุนิกขิตตวรรค ๕. อัมพวิมาน
[๑๑๔๒] เทพบุตรนั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๑๑๔๓] ข้าพเจ้าเลื่อมใสแล้วให้สร้างวิหารใกล้เมืองอันธกวินทะ
ถวายพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้ทรงเป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ด้วยมือของตน
[๑๑๔๔] ข้าพเจ้ามีจิตผ่องใส ได้ถวายของหอม ดอกไม้ ปัจจัย เครื่องลูบไล้
และวิหารแด่พระศาสดาที่เมืองอันธกวินทะนั้น
เพราะบุญกรรมอันเป็นเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้ผลบุญนี้
จึงมีสิทธิในสวนนันทวัน
[๑๑๔๕] ข้าพเจ้ามีหมู่เทพอัปสรฟ้อนรำขับร้องห้อมล้อม
รื่นรมย์อยู่ในสวนนันทวันอันน่ารื่นรมย์
มีหมู่นกนานาชนิดมากมาย
สุวัณณวิมานที่ ๔ จบ

๕. อัมพวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่บุรุษผู้รับจ้างรดน้ำต้นมะม่วง
ได้ถวายน้ำสรงแด่พระสารีบุตร
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพบุตรตนหนึ่งว่า)
[๑๑๔๖] วิมานมีเสาทำด้วยแก้วมณีนี้สูงมาก วัดโดยรอบได้ ๑๒ โยชน์
เป็นปราสาท ๗๐๐ ยอด ดูโอฬาร มีเสาประดิษฐ์ด้วยแก้วไพฑูรย์
มีพื้นปูลาดด้วยแผ่นทองคำสวยงาม
[๑๑๔๗] ท่านสถิต ดื่ม กินอยู่ในวิมานนั้น
มีทวยเทพพากันมาบรรเลงพิณทิพย์ดังไพเราะ
ในวิมานของท่านนี้มีเบญจกามคุณอันเป็นทิพรส
และเหล่าเทพนารีประดับด้วยอาภรณ์ทองคำฟ้อนรำอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๗. สุนิกขิตตวรรค ๕. อัมพวิมาน
[๑๑๔๘-๑๑๔๙] เพราะบุญอะไรท่านจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้ ฯลฯ
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๑๑๕๐] เทพบุตรนั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๑๑๕๑] เมื่อพระอาทิตย์กำลังแผดแสงในเดือนท้ายฤดูร้อน
ข้าพเจ้าเป็นคนรับจ้างรดน้ำสวนมะม่วงของคนเหล่าอื่น
[๑๑๕๒] ขณะนั้น พระสารีบุตรซึ่งเหน็ดเหนื่อยกาย
แต่ใจมิได้เหน็ดเหนื่อย ได้เดินมาทางสวนมะม่วงนั้น
[๑๑๕๓] ข้าพเจ้ากำลังรดน้ำต้นมะม่วงเห็นท่านกำลังเดินมา
จึงได้กล่าวว่า ขอโอกาสเถิดขอรับ กระผมขอนิมนต์ให้ท่านสรงน้ำ
ข้อนั้นจะนำความสุขมาให้กระผม
[๑๑๕๔] พระคุณเจ้าสารีบุตรวางบาตรจีวรไว้ เหลือผ้าสบงผืนเดียว
นั่งที่ร่มเงาโคนต้นไม้ เพื่ออนุเคราะห์ข้าพเจ้านั้น
[๑๑๕๕] ข้าพเจ้ามีจิตเลื่อมใส นำน้ำใสมาถวายให้ท่าน
ซึ่งมีผ้าสบงผืนเดียวสรงที่ร่มเงาโคนต้นไม้
[๑๑๕๖] ต้นมะม่วงเราก็รดน้ำแล้ว สมณะเราก็ให้สรงน้ำแล้ว
และบุญมิใช่น้อยเราก็ขวนขวายแล้ว เพราะเหตุดังนี้
คนผู้นั้นจึงมีปีติซาบซ่านไปทั่วกายของตน
[๑๑๕๗] ชาตินั้น ข้าพเจ้าได้ทำกรรมมีประมาณเท่านี้นั่นเอง
ละร่างมนุษย์แล้ว มาเกิดยังสวนนันทวัน
[๑๑๕๘] ข้าพเจ้ามีหมู่เทพอัปสรฟ้อนรำขับร้องห้อมล้อม
รื่นรมย์อยู่ในสวนนันทวันอันน่ารื่นรมย์
มีหมู่นกนานาชนิดมากมาย
อัพวิมานที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๗. สุนิกขิตตวรรค ๖. โคปาลวิมาน
๖. โคปาลวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่คนเลี้ยงโคผู้ถวายขนมแด่ภิกษุ
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพบุตรตนหนึ่งว่า)
[๑๑๕๙] ภิกษุรูปหนึ่งเห็นเทวดาแล้ว สอบถามว่า
ท่านสวมเครื่องประดับข้อมือ มีบริวารยศ
รุ่งเรืองอยู่ในวิมานสูงซึ่งตั้งอยู่ชั่วกาลนาน
เหมือนจันทเทพบุตรรุ่งเรืองอยู่ในทิพยวิมาน
[๑๑๖๐] ท่านประดับแล้ว ทัดทรงดอกไม้ ทรงพัสตราภรณ์สวยงาม
ใส่ต่างหูงดงาม ตัดผมโกนหนวดเรียบร้อย
สวมเครื่องประดับข้อมือ มีบริวารยศ
รุ่งเรืองอยู่ในทิพยวิมานดังดวงจันทร์
[๑๑๖๑] อนึ่ง ทวยเทพพากันมาบรรเลงพิณทิพย์ดังไพเราะ
และเทพกัญญา ๖๔,๐๐๐ นางมีรูปงาม
ท่องเที่ยวไปมาอย่างสำราญในภพดาวดึงส์
มีสมบัติมากมาย เป็นผู้ชำนาญการ
พากันมาฟ้อนรำขับร้อง ให้ความบันเทิงใจอยู่
[๑๑๖๒] ท่านได้บรรลุเทวฤทธิ์ มีอานุภาพมาก
เมื่อท่านเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะบุญอะไรท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๑๑๖๓] เทพบุตรนั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๑๑๖๔] เมื่อข้าพเจ้าเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์
รับจ้างเลี้ยงโคนมทั้งหลายของคนเหล่าอื่น
ต่อมามีสมณะมาหาข้าพเจ้า
และฝูงโคได้พากันไปเพื่อจะกินถั่วราชมาส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๗. สุนิกขิตตวรรค ๖. โคปาลวิมาน
[๑๑๖๕] อนึ่ง วันนี้ข้าพเจ้าต้องทำกิจสองอย่างควบคู่กันไป
ท่านขอรับ ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้คิดอย่างนั้นแหละ
แต่นั้นจึงกลับได้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง
จึงวางห่อขนมถวายในมือพร้อมกับกราบเรียนว่า
ผมขอถวาย ขอรับ
[๑๑๖๖] ข้าพเจ้านั้นรีบรุดไปยังไร่ถั่วราชมาส
ก่อนที่ไร่ถั่วราชมาสซึ่งเป็นทรัพย์สินของเจ้าของไร่จะถูกฝูงโคทำลาย
ณ ที่นั้น งูเห่ามีพิษร้ายได้กัดเท้าข้าพเจ้าผู้กำลังรีบด่วน
[๑๑๖๗] ข้าพเจ้านั้นถูกความทุกข์เบียดเบียนบีบคั้น
และภิกษุได้แก้ห่อขนมนั้นออก
แล้วฉันขนมเพื่ออนุเคราะห์ข้าพเจ้า
ข้าพเจ้าตายเคลื่อนจากอัตภาพนั้นแล้วตายไปเกิดเป็นเทวดา
[๑๑๖๘] ข้าพเจ้ากระทำกุศลกรรมนั้นไว้เท่านี้
ตนเองจึงได้เสวยผลกรรมที่นำความสุขมาให้
เพราะพระคุณเจ้าอนุเคราะห์ไว้มากแล้ว
ข้าพเจ้าขอกราบไหว้พระคุณเจ้าด้วยความกตัญญู
[๑๑๖๙] ในมนุษยโลกพร้อมทั้งเทวโลกและมารโลก
ไม่มีมุนีท่านอื่นผู้อนุเคราะห์เช่นกับพระคุณเจ้า
เพราะพระคุณเจ้าอนุเคราะห์ไว้มากแล้ว
ข้าพเจ้าขอกราบไหว้พระคุณเจ้าด้วยความกตัญญู
[๑๑๗๐] อนึ่ง ไม่ว่าในโลกนี้หรือโลกหน้า
ไม่มีมุนีท่านอื่นผู้อนุเคราะห์เช่นกับพระคุณเจ้า
เพราะพระคุณเจ้าอนุเคราะห์ไว้มากแล้ว
ข้าพเจ้าขอกราบไหว้พระคุณเจ้าด้วยความกตัญญู
โคปาลวิมานที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๗. สุนิกขิตตวรรค ๗. กัณฐกวิมาน
๗. กัณฐกวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่ม้ากัณฐกะ
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพบุตรตนหนึ่งว่า)
[๑๑๗๑] ในคืนวันเพ็ญ ดวงจันทร์มีรอยรูปกระต่าย เป็นใหญ่กว่าหมู่ดาว
มีหมู่ดาวนักษัตรแวดล้อม โคจรไปโดยรอบฉันใด
[๑๑๗๒] ทิพยวิมานนี้ก็มีอุปมาฉันนั้น น่าอยู่
มีรัศมีรุ่งโรจน์ในเทพบุรี เหมือนพระอาทิตย์กำลังอุทัย
[๑๑๗๓] มีพื้นน่ารื่นรมย์ วิจิตรด้วยแก้วไพฑูรย์ ทองคำ แก้วผลึก
เงิน แก้วลาย แก้วมุกดา และทับทิม
[๑๑๗๔] ลาดด้วยแก้วไพฑูรย์ ปรางค์ปราสาททั้งหลายของท่าน
งามน่ารื่นรมย์ ปราสาทซึ่งเนรมิตไว้ดีแล้ว
[๑๑๗๕] สระโบกขรณีของท่านน่ารื่นรมย์
มีหมู่มัจฉาทิพย์อาศัยอยู่เนืองแน่น
น้ำใสสะอาด มีพื้นลาดด้วยทรายทองคำ
[๑๑๗๖] ดารดาษด้วยบัวหลวงหลากชนิด บัวขาวรายล้อมอยู่รอบ
ยามลมพัด ก็โชยกลิ่นหอมระรื่นจรุงใจ
[๑๑๗๗] ทั้งสองข้างสระโบกขรณีของท่านนั้น มีพุ่มไม้เนรมิตไว้ดีแล้ว
ซึ่งประกอบด้วยไม้ดอกและไม้ผลทั้งสองอย่าง
[๑๑๗๘] เทพอัปสรทั้งหลายพากันมาบำรุงท่านผู้นั่งบนบัลลังก์เท้าทองคำ
ที่ปูลาดด้วยผ้าขนสัตว์อันอ่อนนุ่ม ดังบำรุงท้าวสักกเทวราช
[๑๑๗๙] พวกนางแต่งองค์ด้วยเครื่องประดับทั้งมวล
ประดับด้วยพวงดอกไม้ต่าง ๆ บำเรอท่านผู้มีฤทธิ์มากให้รื่นรมย์
ท่านรื่นเริงบันเทิงใจ ดังท้าววสวัตดีเทวราช

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๗. สุนิกขิตตวรรค ๗. กัณฐกวิมาน
[๑๑๘๐] ท่านมีความยินดีในการฟ้อนรำ ขับร้อง และประโคมดนตรี
รื่นรมย์อยู่ด้วยกลอง สังข์ ตะโพน พิณ และบัณเฑาะว์
[๑๑๘๑] ท่านมีรูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะหลายอย่าง
ล้วนเป็นทิพย์ น่ารื่นรมย์ สมความประสงค์
[๑๑๘๒] ในวิมานอันประเสริฐนั้น ท่านเป็นเทพบุตรผู้มีรัศมีรุ่งเรืองมาก
มีผิวพรรณรุ่งโรจน์ยิ่ง ดังพระอาทิตย์กำลังอุทัย
[๑๑๘๓] นี้เป็นผลของทาน หรือศีล หรือการกราบไหว้ของท่าน
อาตมาถามแล้ว ท่านโปรดบอกผลกรรมนั้นแก่อาตมาเถิด
[๑๑๘๔] เทพบุตรนั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๑๑๘๕] ข้าพเจ้าคือพญาม้ากัณฐกะ เป็นสหชาต๑กับพระราชโอรสของ
พระเจ้าสุทโธทนะในกรุงกบิลพัสดุ์ราชธานีที่อุดมของกษัตริย์ศากยวงศ์
[๑๑๘๖] คราวเมื่อพระราชโอรสพระองค์นั้นเสด็จออก
เพื่อพระโพธิญาณในเวลาเที่ยงคืน
พระองค์ทรงใช้ฝ่าพระหัตถ์ที่อ่อนนุ่ม มีพระนขาที่แดงปลั่ง
[๑๑๘๗] กระตุ้นข้าพเจ้า และได้รับสั่งว่า
พาไปซิ สหาย เราบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณอันสูงสุดแล้ว
จักช่วยสัตว์โลกให้ข้ามโอฆสงสาร
[๑๑๘๘] เมื่อข้าพเจ้าฟังพระดำรัสนั้น มีความหรรษาร่าเริงมาก
คราวนั้นข้าพเจ้ามีใจยินดีเบิกบานรับพระดำรัส
[๑๑๘๙] พอรู้ว่าพระศากยบุตรผู้ทรงยศใหญ่ประทับนั่งบนหลังข้าพเจ้าแล้ว
ข้าพเจ้าก็บันเทิงเบิกบานใจได้นำเสด็จพระมหาบุรุษออกไป

เชิงอรรถ :
๑ เกิดวันเดียวกัน (ขุ.วิ.อ. ๑๑๘๕/๓๗๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๗. สุนิกขิตตวรรค ๗. กัณฐกวิมาน
[๑๑๙๐] ถึงแคว้นของกษัตริย์เหล่าอื่น เมื่อพระอาทิตย์ขึ้น
พระมหาบุรุษนั้นก็ทรงละข้าพเจ้าและฉันนะอำมาตย์ไว้
มิได้ทรงอาลัย แล้วเสด็จหลีกไป
[๑๑๙๑] ข้าพเจ้าได้เลียพระบาททั้งสองซึ่งมีพระนขาแดงของพระองค์
และได้ร้องไห้มองดูพระมหาวีระผู้กำลังเสด็จไป
[๑๑๙๒] เพราะไม่ได้พบเห็นพระศากยบุตรผู้ทรงสิริพระองค์นั้น
ข้าพเจ้าจึงป่วยหนักแล้วตายอย่างฉับพลัน
[๑๑๙๓] ด้วยอานุภาพแห่งบุญที่ประกอบด้วยความเลื่อมใสนั้นแหละ
ข้าพเจ้าจึงมาอยู่ครอบครองวิมานนี้
ซึ่งประกอบด้วยกามคุณทิพย์ทุกอย่าง ในเทพบุรีนี้เอง
[๑๑๙๔] อนึ่ง เพราะมีความยินดีที่ได้ฟังข่าวการบรรลุพระโพธิญาณ
เพราะมีกุศลเป็นมูลเหตุนั้นนั้นแหละ
ข้าพเจ้าก็จักบรรลุความสิ้นอาสวะได้
[๑๑๙๕] ท่านผู้เจริญ ถ้าพระคุณเจ้าจะพึงไป
สำนักพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า
ขอพระคุณเจ้าช่วยกราบทูลพระองค์ถึงการถวายอภิวาท
ด้วยเศียรเกล้าตามคำของข้าพเจ้าด้วยเถิด
[๑๑๙๖] แม้ข้าพเจ้าก็จักไปเฝ้าพระชินเจ้าซึ่งหาบุคคลอื่นเปรียบมิได้
เพราะว่าการได้เห็นพระโลกนาถผู้คงที่หาได้ยาก
(พระสังคีติกาจารย์ได้รจนาคาถาไว้ ๒ คาถา ดังนี้ว่า)
[๑๑๙๗] กัณฐกเทพบุตรนั้นเป็นผู้กตัญญูกตเวที เข้าไปเฝ้าพระศาสดา
ฟังพระดำรัสของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีพระจักษุ
แล้วชำระธรรมจักษุให้บริสุทธิ์๑

เชิงอรรถ :
๑ บรรลุโสดาปัตติมรรค (ขุ.วิ.อ. ๑๑๙๗/๓๗๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๗. สุนิกขิตตวรรค ๘. อเนกวัณณวิมาน
[๑๑๙๘] ครั้นชำระทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาสให้บริสุทธิ์แล้ว
ถวายอภิวาทพระยุคลบาทพระศาสดาแล้วหายไป ณ ที่นั้นนั่นเอง
กัณฐกวิมานที่ ๗ จบ

๘. อเนกวัณณวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่เทพบุตรผู้มีรัศมีหลากสี
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพบุตรตนหนึ่งว่า)
[๑๑๙๙] ท่านมีหมู่เทพอัปสรแวดล้อม ขึ้นวิมานมีรัศมีต่าง ๆ
วิจิตรมากมาย เป็นที่ระงับความกระวนกระวายและความเศร้าโศก
บันเทิงอยู่ ดังท้าวสุนิมมิตเทวราชผู้เป็นใหญ่กว่าเทวดา
[๑๒๐๐] ไม่มีผู้เสมอเหมือนท่าน อนึ่ง ไม่มีใครที่ไหนยิ่งไปกว่าท่าน
ทั้งด้านบริวารยศ ด้านบุญ และด้านฤทธิ์
ทวยเทพทั้งมวลและหมู่เทพชั้นดาวดึงส์พากันมาประชุม
นอบน้อมท่าน ดังเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายนอบน้อมดวงจันทร์
และเทพอัปสรเหล่านี้พากันมาฟ้อนรำขับร้อง
ให้ความบันเทิงใจรอบ ๆ ท่าน
[๑๒๐๑] ท่านได้บรรลุเทวฤทธิ์ มีอานุภาพมาก
เมื่อท่านเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะบุญอะไรท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๑๒๐๒] เทพบุตรนั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๑๒๐๓] ท่านผู้เจริญ เมื่อก่อนข้าพเจ้านั้นเป็นพระสาวก
ของพระชินเจ้าทรงพระนามว่าสุเมธ
ยังเป็นปุถุชน มิได้ตรัสรู้ บวชอยู่ ๗ พรรษา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๗. สุนิกขิตตวรรค ๙. มัฏฐกุณฑลีวิมาน
[๑๒๐๔] เมื่อพระชินเจ้าทรงพระนามว่าสุเมธผู้เป็นพระศาสดา
ทรงข้ามโอฆะ๑ได้แล้ว ผู้คงที่ เสด็จปรินิพพานแล้ว
ข้าพเจ้านั้นไหว้รัตนเจดีย์ซึ่งคลุมด้วยข่ายทองคำ
แล้วได้ทำใจให้เลื่อมใสในพระสถูป
[๑๒๐๕] ข้าพเจ้ามิได้ให้ทาน ก็เพราะข้าพเจ้าไม่มีวัตถุสิ่งของที่จะให้
แต่ได้ชักชวนคนอื่น ๆ ในการให้ทานนั้นว่า
ขอเชิญท่านทั้งหลายบูชาพระบรมสารีริกธาตุ
ของพระพุทธเจ้าผู้ควรบูชานั้น
ว่ากันว่า ด้วยการบูชาพระบรมสารีริกธาตุอย่างนี้
ท่านทั้งหลายละจากอัตภาพนี้แล้วจักไปสู่สวรรค์
[๑๒๐๖] ข้าพเจ้าได้ทำกุศลกรรมนั้นไว้เท่านี้
ตนเองจึงเสวยสุขอันเป็นทิพย์
บันเทิงอยู่ในท่ามกลางหมู่เทวดาชั้นดาวดึงส์ ทั้งยังไม่หมดบุญ
อเนกวัณณวิมานที่ ๘ จบ

๙. มัฏฐกุณฑลีวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่มัฏฐกุณฑลีมาณพ
ผู้ทำใจให้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าก่อนสิ้นใจ
(พราหมณ์ถามเทพบุตรตนนั้นว่า)
[๑๒๐๗] เจ้าประดับตกแต่งร่างกาย ใส่ต่างหูเกลี้ยง
ทัดทรงดอกไม้ มีกายลูบไล้ด้วยจุรณแก่นจันทน์แดง
ประคองแขนคร่ำครวญอยู่กลางป่า
เจ้าเป็นทุกข์เรื่องอะไร

เชิงอรรถ :
๑ ห้วงน้ำคือกิเลส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๗. สุนิกขิตตวรรค ๙. มัฏฐกุณฑลีวิมาน
(มัฏฐกุณฑลีเทพบุตรตอบว่า)
[๑๒๐๘] เรือนรถที่ทำด้วยทองคำ งามผุดผ่องเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้า
ข้าพเจ้ายังหาล้อรถทั้งคู่นั้นไม่ได้
เพราะความทุกข์นั้น ข้าพเจ้าจักยอมสละชีวิต
(พราหมณ์กล่าวว่า)
[๑๒๐๙] พ่อมาณพผู้เจริญ ล้อทองคำ ล้อแก้วมณี ล้อทองแดง
หรือล้อเงิน จงบอกข้ามา ข้าจะจัดล้อทั้งคู่ให้เจ้า
[๑๒๑๐] มาณพนั้นกล่าวแก่พราหมณ์นั้นว่า
ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ทั้งสองย่อมปรากฏในท้องฟ้านั้น
รถทองคำของข้าพเจ้าย่อมงามด้วยล้อทั้งคู่นั้น
(พราหมณ์กล่าวว่า)
[๑๒๑๑] พ่อมาณพ เจ้าโง่นัก ที่มาปรารถนาสิ่งที่ไม่ควรปรารถนา
ข้าเข้าใจว่า เจ้าจักตายเสียเปล่า
เพราะเจ้าไม่มีทางที่จะได้ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์เลย
(มาณพกล่าวว่า)
[๑๒๑๒] แม้การโคจรไปมาของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ก็ยังปรากฏอยู่
รัศมีก็ยังปรากฏอยู่ในวิถีทั้งสอง
ส่วนคนที่ตายไปแล้วย่อมไม่ปรากฏ
เราทั้งสองผู้ร้องไห้คร่ำครวญอยู่ในที่นี้
ใครหนอโง่กว่ากัน
(พราหมณ์กล่าวว่า)
[๑๒๑๓] พ่อมาณพ เจ้าพูดจริงแท้ เราทั้งสองผู้ร้องไห้คร่ำครวญอยู่
ข้านี่แหละโง่กว่า ที่มาปรารถนาคนที่ตายไปแล้ว
เหมือนทารกร้องไห้อยากได้ดวงจันทร์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๗. สุนิกขิตตวรรค ๙. มัฏฐกุณฑลีวิมาน
[๑๒๑๔] เจ้าช่วยระงับข้าผู้เร่าร้อนให้สงบ
ดับความกระวนกระวายทั้งหมดได้
เหมือนคนใช้น้ำราดดับไฟที่ติดเปรียง
[๑๒๑๕] เจ้าบรรเทาความเศร้าโศกถึงบุตรของข้าผู้กำลังเศร้าโศก
ชื่อว่าได้ช่วยถอนลูกศรคือความโศก
ซึ่งเสียบที่หัวใจของข้าขึ้นได้แล้วหนอ
[๑๒๑๖] พ่อมาณพ ข้าซึ่งเจ้าช่วยถอนลูกศรคือความโศกขึ้นให้แล้ว
ก็เย็นสงบแล้ว จะไม่เศร้าโศก ไม่ร้องไห้ เพราะได้ฟังคำของเจ้า
(พราหมณ์เมื่อจะถามต่อไป จึงกล่าวว่า)
[๑๒๑๗] เจ้าเป็นเทวดาหรือคนธรรพ์ หรือเป็นท้าวสักกปุรินททะ
เจ้าเป็นใคร เป็นบุตรของใครหรือ เราจะรู้จักเจ้าได้อย่างไร
(มาณพเปิดเผยตนแก่พราหมณ์นั้นว่า)
[๑๒๑๘] ท่านเองเผาบุตรคนใดที่ป่าช้าแล้ว
คร่ำครวญร้องไห้ถึงบุตรคนใด
บุตรคนนั้นคือข้าพเจ้า ซึ่งทำกุศลกรรมแล้ว
ได้เกิดร่วมกับหมู่เทพชั้นไตรทศ
(พราหมณ์ถามว่า)
[๑๒๑๙] เมื่อเจ้าให้ทานน้อยหรือมาก ในเรือนของตน
หรือรักษาอุโบสถกรรมเช่นนั้น ข้าพเจ้ามิได้เห็น
เพราะกรรมอะไรเจ้าจึงไปเทวโลกได้
(มาณพตอบว่า)
[๑๒๒๐] ข้าพเจ้าป่วยเป็นไข้ ทุกข์ทรมาน
มีกายกระสับกระส่ายอยู่ในที่อยู่ของตน
ได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ปราศจากกิเลสดังธุลี
ทรงข้ามพ้นความสงสัย เสด็จไปดีแล้ว มีพระปัญญาไม่ต่ำทราม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๗. สุนิกขิตตวรรค ๙. มัฏฐกุณฑลีวิมาน
[๑๒๒๑] ข้าพเจ้านั้นมีใจเบิกบาน มีจิตเลื่อมใส
ได้ทำอัญชลีกรรมแด่พระตถาคต
ครั้นทำกุศลกรรมนั้นแล้ว ได้เกิดร่วมกับหมู่เทพชั้นไตรทศ
(พราหมณ์กล่าวว่า)
[๑๒๒๒] น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยมีมาแล้วหนอ
อัญชลีกรรมมีผลเป็นได้ถึงเช่นนี้
แม้ข้าพเจ้าก็มีใจเบิกบาน มีจิตเลื่อมใส
จึงขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่ระลึกในวันนี้นี่เอง
(มาณพกล่าวว่า)
[๑๒๒๓] ท่านจงมีจิตเลื่อมใส ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม
และพระสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึกในวันนี้นี่แหละ
อนึ่ง ท่านจงสมาทานสิกขาบท ๕ อย่าให้ขาดและด่างพร้อย
[๑๒๒๔] คือ จงรีบงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ จากการลักทรัพย์
ยินดีเฉพาะภรรยาของตน อย่ากล่าวเท็จ อย่าดื่มน้ำเมา
(พราหมณ์กล่าวว่า)
[๑๒๒๕] เทวดาผู้น่าบูชา ท่านเป็นผู้ปรารถนาประโยชน์
หวังความเกื้อกูลแก่ข้าพเจ้า
ข้าพเจ้าจะทำตามคำของท่าน ท่านเป็นอาจารย์ของข้าพเจ้า
[๑๒๒๖] ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมอันยอดเยี่ยม
และพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า
ผู้ทรงเป็นเทพของนรชนเป็นที่พึ่งที่ระลึก
[๑๒๒๗] ข้าพเจ้าจะรีบงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ จากการลักทรัพย์
ยินดีเฉพาะภรรยาของตน ไม่กล่าวเท็จ ไม่ดื่มน้ำเมา
มัฏฐกุณฑลีวิมานที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๗. สุนิกขิตตวรรค ๑๐. เสริสสกวิมาน
๑๐. เสริสสกวิมาน
ว่าด้วยวิมานไม้ซึกที่เกิดขึ้นแก่เจ้าปายาสิ
(พระควัมปติกล่าวว่า)
[๑๒๒๘] ท่านทั้งหลายจงฟังคำของเทวดาและพวกพ่อค้า
ที่ได้มาพบกันในทะเลทรายในคราวนั้น
และขอเชิญทุกท่านฟังถ้อยคำตามที่เทวดาและพวกพ่อค้าสนทนากัน
[๑๒๒๙] ยังมีพระราชาพระนามว่าปายาสิได้เกิดร่วมกับหมู่ภุมเทวดา
มีบริวารยศ บันเทิงอยู่ในวิมานของตน
เป็นเทวดาแต่ได้มาสนทนากับพวกมนุษย์
(เสริสสกเทพบุตรถามพวกพ่อค้าด้วยคาถาว่า)
[๑๒๓๐] มนุษย์ทั้งหลาย ผู้กลัวทางคดเคี้ยว มีใจหวาดหวั่นอยู่
ในที่น่าระแวงว่ามีภัย ในป่า ในถิ่นของอมนุษย์
ในทางกันดารซึ่งมีน้ำ มีอาหารไม่เพียงพอ
เดินไปได้แสนยาก ท่ามกลางทะเลทราย
[๑๒๓๑] ในทางทะเลทรายนี้ ไม่มีผลไม้ ไม่มีเผือกมัน
ไม่มีเชื้อไฟ ในทางทะเลทรายนี้ จักหาอาหารได้แต่ที่ไหน
นอกจากฝุ่นและทรายที่แดดแผดเผาทั้งร้อนทั้งทารุณ
[๑๒๓๒] ที่นี้เป็นที่ดอน ร้อนดังแผ่นเหล็กเผาไฟ
หาความสบายมิได้ เทียบเท่านรก
สถานที่นี้เป็นที่อยู่ดั้งเดิมของพวกหยาบช้ามีปีศาจเป็นต้น
เป็นภูมิประเทศเหมือนถูกสาปไว้
[๑๒๓๓] อนึ่ง พวกท่านหวังอะไร
เพราะเหตุไรจึงไม่พิจารณาให้ถี่ถ้วน
ตามกันเข้ามายังประเทศถิ่นนี้พร้อมกัน
เพราะความโลภ ความกลัว หรือเพราะหลงทาง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๗. สุนิกขิตตวรรค ๑๐. เสริสสกวิมาน
(พวกพ่อค้าตอบว่า)
[๑๒๓๔] พวกข้าพเจ้านั้น เป็นพ่อค้าเกวียนอยู่ในแคว้นมคธและแคว้นอังคะ
ต้องการทรัพย์ หวังกำไร จึงบรรทุกสินค้ามามาก
พากันไปยังสินธุและโสวีระประเทศ
[๑๒๓๕] กลางวัน พวกข้าพเจ้าทุกคนทนความกระหายน้ำไม่ได้
ทั้งมุ่งหวังจะอนุเคราะห์สัตว์พาหนะ
จึงรีบเดินทางมาในกลางคืนซึ่งเป็นเวลาวิกาล
[๑๒๓๖] พวกข้าพเจ้านั้นไปผิดทาง จึงหลงทาง
สับสนเหมือนคนตาบอด เดินหลงเข้าไปในป่าที่ไปได้ยากแสนยาก
ท่ามกลางทะเลทราย เกิดงุนงงสงสัยไม่รู้ทิศทาง
[๑๒๓๗] ท่านที่ควรบูชา พวกข้าพเจ้าได้พบวิมานอันประเสริฐ
และตัวท่านซึ่งไม่เคยพบเห็นมาก่อนนี้
จึงหวังจะรอดชีวิตยิ่งกว่าแต่ก่อน
เพราะได้เห็นจึงพากันร่าเริง ดีใจและเบิกบานใจ
(เทพบุตรถามว่า)
[๑๒๓๘] เพราะโภคทรัพย์เป็นเหตุ พวกท่านจึงพากันไปยังทิศต่าง ๆ
คือ ฝั่งสมุทร ทะเลทราย ทางที่ต้องใช้เครือหวาย
ทางที่ต้องตอกทอย ทางที่มีแม่น้ำ และทางภูเขาที่ไปได้ยาก
[๑๒๓๙] พ่อค้าทั้งหลาย พวกท่านได้ไปยังแคว้นของพระราชาอื่น ๆ
พบเห็นผู้คนชาวต่างประเทศ
พวกเราขอฟังสิ่งอัศจรรย์ที่พวกท่านได้ยินหรือได้เห็นมา
(พวกพ่อค้าตอบว่า)
[๑๒๔๐] พ่อกุมาร สมบัติของมนุษย์ที่ผ่านมาทั้งหมด
ซึ่งอัศจรรย์กว่าวิมานของท่านแม้นี้
พวกข้าพเจ้าไม่เคยได้ยินหรือได้เห็นมาก่อน
วิมานของท่านซึ่งมีรัศมีไม่เลว พวกข้าพเจ้าแลดูแล้วไม่อิ่มเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๗. สุนิกขิตตวรรค ๑๐. เสริสสกวิมาน
[๑๒๔๑] ที่วิมานของท่านนี้ มีสระโบกขรณีลอยอยู่ในอากาศ
มีสวนดอกไม้มากมาย มีบัวขาวมาก
มีหมู่ไม้ผลิดอกออกผลเป็นนิตย์ โชยกลิ่นหอมตลบอบอวล
[๑๒๔๒] เสาวิมานเหล่านี้เป็นเสาแก้วไพฑูรย์ สูง ๑๐๐ ศอก
ประดับด้วยแก้วผลึก แก้วประพาฬ แก้วเพทาย
และทับทิม มีรัศมีโชติช่วง
[๑๒๔๓] วิมานของท่านนี้มีเสา ๑,๐๐๐ ต้น ภายในประกอบด้วยแก้ว
ภายนอกล้อมรอบด้วยไพทีทองคำ และมุงบังอย่างดีด้วยแผ่นทองคำ
มีอานุภาพหาที่เปรียบมิได้ งามอยู่บนเสาเหล่านั้น
[๑๒๔๔] วิมานของท่านนี้สว่างไสวด้วยทองชมพูนุทชั้นเยี่ยม
ทุกส่วนของวิมานเกลี้ยงเกลาดี ประกอบด้วยบันไดและพื้นน่าพอใจ
มั่นคง งดงาม มีส่วนประกอบกลมกลืน ชวนพิศอย่างยิ่ง น่าชอบใจ
[๑๒๔๕] ภายในวิมานแก้ว มีข้าวน้ำอุดมสมบูรณ์
ตัวท่านมีหมู่เทพอัปสรห้อมล้อม
กึกก้องด้วยเสียงตะโพน เปิงมางและดุริยางค์
เป็นผู้ที่ทวยเทพนอบน้อมแล้วด้วยการชมเชยและกราบไหว้
[๑๒๔๖] ตัวท่านนั้นมีอานุภาพสุดที่จะคิด ประกอบด้วยคุณทุกอย่าง
อันหมู่เทพนารีปลุกเร้า บันเทิงอยู่ในวิมานปราสาทที่ประเสริฐ
น่ารื่นรมย์ ดังท้าวเวสวัณ บันเทิงอยู่ในนฬินีสถาน๑
[๑๒๔๗] ท่านเป็นเทวดาหรือเป็นยักษ์
เป็นท้าวสักกะจอมเทพหรือเป็นมนุษย์
พวกพ่อค้าเกวียนถามท่าน โปรดบอกเถิด
ท่านเป็นเทวดาชื่ออะไร

เชิงอรรถ :
๑ สถานที่ทรงเล่นกีฬา, สนามกีฬา (ขุ.วิ.อ. ๑๒๔๖/๔๐๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๗. สุนิกขิตตวรรค ๑๐. เสริสสกวิมาน
(เทพบุตรตอบว่า)
[๑๒๔๘] ข้าพเจ้าเป็นเทวดาชื่อเสรีสกะ เป็นผู้รักษาทางกันดาร
คุ้มครองทางทะเลทราย ทำตามคำสั่งของท้าวเวสวัณ
จึงดูแลรักษาประเทศถิ่นนี้อยู่
(พวกพ่อค้าถามว่า)
[๑๒๔๙] วิมานนี้ท่านได้ตามความปรารถนาหรือเกิดโดยความเปลี่ยนแปลง
ท่านทำเองหรือเทวดาทั้งหลายมอบให้
พวกพ่อค้าเกวียนถามท่านว่า วิมานที่น่าชอบใจนี้ท่านได้มาอย่างไร
(เทพบุตรตอบว่า)
[๑๒๕๐] วิมานนี้มิใช่ข้าพเจ้าได้ตามความปรารถนา
มิใช่เกิดโดยการเปลี่ยนแปลง
มิใช่ข้าพเจ้าทำเอง ทั้งมิใช่เทวดาทั้งหลายมอบให้
วิมานที่น่าชอบใจนี้ข้าพเจ้าได้มาด้วยบุญกรรมอันดีงามของตน
(พวกพ่อค้าถามว่า)
[๑๒๕๑] อะไรเป็นวัตรและเป็นพรหมจรรย์ของท่าน
นี้เป็นวิบากแห่งบุญกรรมอะไรที่ท่านสั่งสมไว้ดีแล้ว
พวกพ่อค้าเกวียนถามท่านว่า วิมานนี้ท่านได้มาอย่างไร
(เทพบุตรตอบว่า)
[๑๒๕๒] ข้าพเจ้าได้มีนามว่า ปายาสิ
เมื่อครั้งข้าพเจ้าครองราชสมบัติในแคว้นโกศล
ข้าพเจ้าเป็นนัตถิกทิฏฐิ๑ เป็นคนตระหนี่
มีธรรมเลวทราม และมีปกติกล่าวว่าขาดสูญ๒

เชิงอรรถ :
๑ ลัทธิที่ถือว่า ไม่มีเหตุปัจจัยที่ทำให้สัตว์บริสุทธิ์หรือเศร้าหมอง (ที.สี.อ. ๑๖๘/๑๔๖)
๒ ลัทธิที่ถือว่า ตายแล้วไม่เกิดอีก (ที.สี.อ. ๘๔/๑๑๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๗. สุนิกขิตตวรรค ๑๐. เสริสสกวิมาน
[๑๒๕๓] ได้มีสมณะนามว่า กุมารกัสสปะ เป็นพหูสูต
ผู้เลิศทางกล่าวธรรมได้อย่างวิจิตรไพเราะ
ครั้งนั้นท่านได้กล่าวธรรมกถาโปรดข้าพเจ้า
ได้ช่วยบรรเทาทิฏฐิที่เป็นข้าศึกทางใจ๑ของข้าพเจ้าได้
[๑๒๕๔] ข้าพเจ้าฟังธรรมกถาของท่านนั้นแล้ว ได้ประกาศตนเป็นอุบาสก
งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ จากการลักทรัพย์
ยินดีเฉพาะภรรยาของตน ไม่กล่าวเท็จ ไม่ดื่มน้ำเมา
[๑๒๕๕] ข้อนั้นเป็นวัตร และเป็นพรหมจรรย์ของข้าพเจ้า
นี้เป็นวิบากแห่งบุญกรรมนั้นที่ข้าพเจ้าสั่งสมไว้ดีแล้ว
วิมานนี้ข้าพเจ้าได้มาด้วยบุญกรรมอันดีงามนั้นนั่นเอง
(พวกพ่อค้าถามว่า)
[๑๒๕๖] ทราบมาว่า คนมีปัญญาทั้งหลายพูดแต่คำจริง
คำพูดของบัณฑิตทั้งหลายจึงไม่กลับกลายเป็นอย่างอื่น
คนทำบุญไว้จะไปในที่ใดย่อมมีแต่สิ่งที่น่ารักน่าใคร่
บันเทิงอยู่ในที่นั้น
[๑๒๕๗] ณ ที่ใดมีความโศก ความร่ำไห้
การฆ่า การจองจำ และเหตุเกิดเรื่องเลวร้าย๒
คนทำบาปไว้ก็จะไปในที่นั้น
ไม่พ้นจากคติที่ชั่วไปได้ ไม่ว่ากาลไหน ๆ
[๑๒๕๘] พ่อกุมาร เพราะเหตุอะไรหนอ
เทพบริวารจึงเป็นเสมือนผู้ฟั่นเฟือนไปในชั่วครู่นี้
เหมือนน้ำใสถูกกวนให้ขุ่น
เพราะเหตุอะไรหนอ เทพบริวารนี้และตัวท่านจึงได้มีความโทมนัส

เชิงอรรถ :
๑ มิจฉาทิฏฐิ
๒ ความหายนะ (พินาศ) (ขุ.วิ.อ. ๑๒๕๗/๔๐๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๗. สุนิกขิตตวรรค ๑๐. เสริสสกวิมาน
(เทพบุตรตอบว่า)
[๑๒๕๙] พ่อทั้งหลาย กลิ่นทิพย์เหล่านี้โชยกลิ่นหอมระรื่นจากป่าไม้ซึก
หอมตลบอบอวลไปทั่ววิมานนี้
กำจัดความมืดได้ทั้งกลางวันและกลางคืน
[๑๒๖๐] ล่วงไป ๑๐๐ ปี ฝักไม้ซึกเหล่านี้แต่ละฝักก็จะแตกออก
เป็นที่รู้กันว่า ๑๐๐ ปีของมนุษย์ล่วงไปแล้ว
ตั้งแต่ข้าพเจ้าเกิดในหมู่เทวดานี้
[๑๒๖๑] พ่อทั้งหลาย ข้าพเจ้ารู้เห็นแล้วว่า
ข้าพเจ้าจักดำรงอยู่ในวิมานนี้เพียง ๕๐๐ ปีทิพย์
แล้วจึงจุติเพราะสิ้นบุญ สิ้นอายุ
ข้าพเจ้าจึงซบเซาเพราะความโศกนั้นนั่นเอง
(พวกพ่อค้ากล่าวว่า)
[๑๒๖๒] ผู้ที่ได้วิมานซึ่งหาที่เปรียบมิได้เป็นเวลานานเช่นนั้น
จะพึงเศร้าโศกไปทำไมเล่า
แต่พวกผู้มีบุญน้อยเข้าอยู่วิมานชั่วเวลาสั้น ๆ
นั้นแหละควรเศร้าโศกแท้
(เทพบุตรกล่าวว่า)
[๑๒๖๓] พ่อทั้งหลาย ข้อที่ท่านทั้งหลายกล่าววาจาที่น่ารักกับข้าพเจ้า
นั่นเป็นการกล่าวตักเตือนอันสมควรแก่ข้าพเจ้า
ส่วนข้าพเจ้าจะตามคุ้มครองท่านทั้งหลาย
เชิญท่านทั้งหลายไปยังที่ที่ท่านทั้งหลายปรารถนาโดยความสวัสดีเถิด
(พวกพ่อค้ากล่าวว่า)
[๑๒๖๔] ข้าพเจ้าทั้งหลายต้องการทรัพย์ หวังกำไร
จึงพากันไปยังสินธุและโสวีระประเทศ
แล้วจักพยายามค้าขายตามที่ตั้งใจไว้ มีการเสียสละอย่างบริบูรณ์
ทำการบูชาเสริสสกเทพบุตรอย่างโอฬาร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๗. สุนิกขิตตวรรค ๑๐. เสริสสกวิมาน
(เทพบุตรกล่าวว่า)
[๑๒๖๕] ท่านทั้งหลายอย่าได้ทำการบูชาเสริสสกเทพบุตรเลย
สิ่งที่ท่านทั้งหลายพูดถึงทั้งหมดจักมีแก่พวกท่าน
ท่านทั้งหลายจงงดเว้นกรรมชั่วและจงตั้งใจประพฤติธรรมเถิด
[๑๒๖๖] ในหมู่พ่อค้าเกวียนนี้ มีอุบาสกผู้เป็นพหูสูต
ประกอบด้วยศีลและวัตร มีศรัทธา มีจาคะ มีศีลเป็นที่รักยิ่ง
มีวิจารณญาณ สันโดษ มีความรู้
[๑๒๖๗] ไม่พูดเท็จทั้งที่รู้อยู่ ไม่คิดเบียดเบียนผู้อื่น
ไม่พูดส่อเสียดให้เขาแตกกัน
พูดแต่วาจาอ่อนหวานละมุนละม่อม
[๑๒๖๘] เขามีความเคารพ ยำเกรง มีวินัย
ไม่เป็นคนเลว เป็นคนบริสุทธิ์ในอธิศีล
มีความประพฤติประเสริฐ เลี้ยงดูมารดาบิดาโดยชอบธรรม
[๑๒๖๙] เขาเห็นจะแสวงหาโภคทรัพย์ เพราะเหตุแห่งมารดาบิดา
มิใช่เพราะเหตุแห่งตน เมื่อมารดาบิดาล่วงลับไป
เขาก็น้อมไปในเนกขัมมะ ประพฤติพรหมจรรย์
[๑๒๗๐] เขาเป็นคนซื่อตรง ไม่คดโกง ไม่โอ้อวด ไม่เจ้าเล่ห์
ไม่พูดมีเลศนัย เขาทำแต่กรรมดี
ตั้งอยู่ในธรรมเช่นนี้ จะพึงได้รับทุกข์อย่างไรเล่า
[๑๒๗๑] เพราะอุบาสกนั้นเป็นเหตุ ข้าพเจ้าจึงได้ปรากฏตัว
พ่อค้าทั้งหลาย เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลายจงเห็นธรรมเถิด
เพราะเว้นอุบาสกนั้นเสียแล้ว ท่านทั้งหลายจะสับสน
เหมือนคนตาบอดหลงเข้าไปในป่าเป็นเถ้าถ่านไป
การทอดทิ้งผู้อื่นเป็นการง่ายสำหรับคนทั่วไป
(แต่เป็นการยากสำหรับสัตบุรุษ)
การคบหาสัตบุรุษจึงนำความสุขมาให้อย่างแท้จริง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๗. สุนิกขิตตวรรค ๑๐. เสริสสกวิมาน
(พวกพ่อค้าถามว่า)
[๑๒๗๒] อุบาสกคนนั้นคือใคร และทำงานอะไร
เขาชื่ออะไร และโคตรอะไร
เทวดา แม้ข้าพเจ้าทั้งหลายก็ต้องการจะเห็นอุบาสกนั้น
ที่ท่านมาที่นี้เพื่อช่วยเหลือ อุบาสกที่ท่านชอบ เป็นคนโชคดี
(เทพบุตรตอบว่า)
[๑๒๗๓] ผู้ใดเป็นกัลบก๑ มีชื่อว่า สัมภวะ อาศัยการตัดผมเลี้ยงชีพ
เขาเป็นคนรับใช้ของพวกท่าน
ท่านทั้งหลายจงรู้ว่าผู้นั้นเป็นอุบาสก
ท่านทั้งหลายอย่าได้ดูหมิ่นเขา เขาเป็นผู้มีศีลเป็นที่รักยิ่ง
(พวกพ่อค้ากล่าวว่า)
[๑๒๗๔] เทวดา พวกข้าพเจ้ารู้จักช่างตัดผมคนที่ท่านพูดถึงดี
แต่ไม่รู้ว่าเขาเป็นคนเช่นนี้เลย
เทวดา แม้พวกเราฟังคำของท่านแล้ว
ก็จักบูชาอุบาสกนั้นอย่างโอฬาร
(เทพบุตรกล่าวว่า)
[๑๒๗๕] พวกผู้คนในกองเกวียนนี้ ไม่ว่าคนหนุ่ม คนแก่
หรือคนปูนกลาง ทุกคนนั้นแหละเชิญขึ้นวิมาน
พวกคนตระหนี่จงดูผลของบุญทั้งหลาย
(พระธรรมสังคีติกาจารย์กล่าว ๖ คาถาในตอนจบเรื่องว่า)
[๑๒๗๖] พ่อค้าทุกคน ณ ที่นั้นต่างคนต่างเข้าห้อมล้อมช่างตัดผมนั้น
พากันขึ้นวิมานซึ่งเสมือนภพดาวดึงส์ของท้าววาสวะ
พร้อมกับกล่าวว่าเราก่อน ๆ

เชิงอรรถ :
๑ ช่างแต่งกาย (ขุ.วิ.อ. ๑๒๗๓/๔๑๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๗. สุนิกขิตตวรรค ๑๐. เสริสสกวิมาน
[๑๒๗๗] พ่อค้าทุกคนนั้นต่างก็ประกาศความเป็นอุบาสก ณ ที่นั้นว่า
เราก่อน ๆ แล้วได้เป็นผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์
เว้นขาดจากการถือเอาสิ่งของที่เขาไม่ได้ให้ในโลก
ยินดีเฉพาะภรรยาของตน
ไม่กล่าวเท็จ ไม่ดื่มน้ำเมา
[๑๒๗๘] พ่อค้าทุกคนนั้นครั้นประกาศความเป็นอุบาสก ณ ที่นั้นแล้ว
ได้ไปยังประเทศที่ตนปรารถนาโดยสวัสดี
หมู่พ่อค้าเกวียนบันเทิงอยู่ด้วยฤทธิ์ของเทวดาเนือง ๆ
ได้รับอนุญาตแล้วหลีกไป
[๑๒๗๙] พ่อค้าเหล่านั้นต้องการทรัพย์ หวังกำไร
ไปถึงสินธุและโสวีระประเทศ
พยายามค้าขายตามที่ตั้งใจไว้
มีลาภบริบูรณ์ กลับมาเมืองปาฏลีบุตรโดยปลอดภัย
[๑๒๘๐] พ่อค้าเหล่านั้นไปเรือนของตน
มีความสวัสดี พร้อมหน้าบุตรภรรยา
มีจิตเพลิดเพลิน ดีใจ ปลาบปลื้ม
ทำการบูชาเสริสสกเทพบุตรอย่างโอฬาร
ได้ช่วยกันสร้างเทวาลัยชื่อเสริสสกะขึ้น
[๑๒๘๑] การคบสัตบุรุษให้สำเร็จประโยชน์อย่างนี้
การคบผู้มีคุณธรรมมีประโยชน์มาก
พ่อค้าทั้งหมดได้ประสบความสุข
เพราะผลอันสืบเนื่องมาจากอุบาสกคนเดียว
เสริสสกวิมานที่ ๑๐ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] ๗. สุนิกขิตตวรรค ๑๑. สุนิกขิตตวิมาน
๑๑. สุนิกขิตตวิมาน
ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่อุบาสก
ผู้จัดดอกไม้ให้เป็นระเบียบอยู่หน้าสถูป
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพบุตรตนหนึ่งว่า)
[๑๒๘๒] วิมานมีเสาทำด้วยแก้วมณีนี้สูงมาก วัดโดยรอบได้ ๑๒ โยชน์
เป็นปราสาท ๗๐๐ ยอด ดูโอฬาร มีเสาประดิษฐ์ด้วยแก้วไพฑูรย์
มีพื้นปูลาดด้วยแผ่นทองคำสวยงาม
[๑๒๘๓] ท่านสถิต ดื่ม กินอยู่ในวิมานนั้น
มีทวยเทพพากันมาบรรเลงพิณทิพย์ดังไพเราะ
ในวิมานของท่านนี้มีเบญจกามคุณอันเป็นทิพรส
และเหล่าเทพนารีผู้ประดับด้วยอาภรณ์ทองคำฟ้อนรำอยู่
[๑๒๘๔] เพราะบุญอะไรท่านจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่ท่านในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจ จึงเกิดขึ้นแก่ท่าน
[๑๒๘๕] เทวดาผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามว่า
เมื่อท่านเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะบุญอะไรท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
[๑๒๘๖] เทพบุตรนั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
[๑๒๘๗] ข้าพเจ้าได้จัดดอกไม้ที่เขาวางไว้ไม่เรียบร้อยให้เรียบร้อย
แล้วได้วางไว้ที่พระสถูปของพระสุคต๑
จึงเป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก
พรั่งพร้อมด้วยกามคุณทิพย์

เชิงอรรถ :
๑ พระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า (ขุ.วิ.อ. ๘๕/๔๑๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ [๒. ปุริสวิมาน] รวมเรื่องวิมานที่มีในวรรค
[๑๒๘๘] เพราะบุญนั้นข้าพเจ้าจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่ข้าพเจ้าในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้า
[๑๒๘๙] ข้าแต่ภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ข้าพเจ้าขอกราบเรียนว่า
เพราะบุญที่ได้ทำไว้สมัยเมื่อเกิดเป็นมนุษย์
ข้าพเจ้าจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
สุนิกขิตตวิมานที่ ๑๑ จบ
สุนิกขิตตวรรคที่ ๗ จบ

รวมเรื่องวิมานที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. จิตตลตาวิมาน ๒. นันทนวิมาน
๓. มณิถูณวิมาน ๔. สุวัณณวิมาน
๕. อัมพวิมาน ๖. โคปาลวิมาน
๗. กัณฐกวิมาน ๘. อเนกวัณณวิมาน
๙. มัฏฐกุณฑลีวิมาน ๑๐. เสริสสกวิมาน
๑๑. สุนิกขิตตวิมาน

ภาณวารที่ ๔ จบ
วิมานวัตถุ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๖๕ }




หน้าว่าง



{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๑. อุรควรรค] ๑. เขตตูปมเปตวัตถุ
พระสุตตันตปิฎก
ขุททกนิกาย เปตวัตถุ
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๑. อุรควรรค
หมวดว่าด้วยอุปมาด้วยงูลอกคราบ
๑. เขตตูปมเปตวัตถุ
เรื่องพระอรหันต์เปรียบเหมือนนาย่อมมีอุปการะแก่เปรตและทายก
(พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า)
[๑] พระอรหันต์ทั้งหลายเปรียบเหมือนนา
ทายกทั้งหลายเปรียบเหมือนชาวนา
ไทยธรรมเปรียบเหมือนพืช
ผลทานย่อมเกิดจากการที่ทายกบริจาคไทยธรรมแก่ปฏิคาหก
[๒] เหตุ ๓ อย่างนี้ คือ พืช การหว่าน นา
ย่อมมีอุปการะแก่พวกเปรตและทายก
เปรตทั้งหลายย่อมบริโภคผลนั้น
ทายกย่อมเจริญด้วยบุญ
[๓] ทายกทำกุศลในอัตภาพนี้แล้วอุทิศให้พวกเปรต
ครั้นทำกรรมดีแล้วย่อมไปสวรรค์
เขตตูปมเปตวัตถุที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๑. อุรควรรค] ๓. ปูติมุขเปตวัตถุ
๒. สูกรมุขเปตวัตถุ
เรื่องเปรตปากหมู
(ท่านพระนารทเถระถามเปรตตนหนึ่งว่า)
[๔] ทั่วทั้งกายของท่านมีสีเหมือนทองคำ
เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ
แต่ปากของท่านเหมือนปากสุกร
เมื่อก่อนท่านได้ทำกรรมอะไรไว้
(เปรตนั้นตอบว่า)
[๕] ท่านพระนารทะ เมื่อก่อนข้าพเจ้าได้สำรวมกาย
แต่ไม่ได้สำรวมวาจา
เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงมีรูปร่างและผิวพรรณ
ตามที่ท่านเห็นอยู่นั้น
[๖] ท่านนารทะ เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าขอบอกท่าน
สรีระของข้าพเจ้านี้ท่านเห็นเองแล้ว
ท่านอย่าได้ทำบาปด้วยปาก
ท่านอย่าได้มีปากเหมือนสุกรเลย
สูกรเปตวัตถุที่ ๒ จบ

๓. ปูติมุขเปตวัตถุ
เรื่องเปรตปากเน่า
(ท่านพระนารทะถามเปรตตนหนึ่งว่า)
[๗] ท่านมีผิวพรรณงามดังทิพย์ ยืนอยู่ในกลางอากาศ
แต่ปากของท่านมีกลิ่นเหม็น
หมู่หนอนพากันชอนไช เมื่อก่อนท่านได้ทำกรรมอะไรไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๑. อุรควรรค] ๔. ปิฏฐธีตลิกเปยวัตถุ
(เปรตนั้นตอบว่า)
[๘] เมื่อก่อน ข้าพเจ้าเป็นสมณะลามก มีวาจาชั่วหยาบ
มีปกติสำรวมกาย แต่ไม่สำรวมปาก
จึงได้มีผิวพรรณดังทองคำเพราะความสำรวมกาย
แต่ปากของข้าพเจ้าเหม็นเน่าเพราะพูดส่อเสียด
[๙] ท่านนารทะ รูปร่างของข้าพเจ้าท่านเห็นเองแล้ว
ท่านผู้ฉลาดซึ่งเป็นผู้อนุเคราะห์กล่าวไว้ว่า
ท่านอย่าได้พูดส่อเสียด และอย่าได้พูดมุสา
ท่านจักเป็นเทพผู้สมบูรณ์ด้วยสมบัติที่น่าปรารถนา
ปูติมุขเปตวัตถุที่ ๓ จบ

๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ
เรื่องเปรตตุ๊กตาแป้ง
(พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า)
[๑๐] บุคคลผู้ไม่ตระหนี่ ควรทำเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งให้เป็นอารมณ์
คือ ปรารภบุรพชนผู้ล่วงลับไปแล้ว หรือเทวดาผู้สิงอยู่ในเรือน
[๑๑] หรือท้าวมหาราชทั้ง ๔ ผู้รักษาโลก มีบริวารยศ
คือ ท้าวกุเวร ท้าวธตรฐ ท้าววิรูปักษ์
และท้าววิรูฬหก แล้วพึงถวายทาน
ท่านเหล่านั้นเป็นผู้อันบุคคลบูชาแล้ว และทายกก็ไม่ไร้ผล
[๑๒] การร้องไห้ ความเศร้าโศก หรือความร่ำไห้
คร่ำครวญอย่างอื่นใด ไม่ควรทำเลย
เพราะการร้องไห้เป็นต้นนั้นไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว
ญาติทั้งหลายก็ยังคงสภาพอยู่อย่างนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๑. อุรควรรค] ๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ
[๑๓] ส่วนทักษิณาทานนี้แหละ ที่ตั้งไว้ดีแล้วในสงฆ์
ย่อมสำเร็จประโยชน์เกื้อกูลแก่เปรตนั้นโดยทันที สิ้นกาลนาน
ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุที่ ๔ จบ

๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ๑
เรื่องเปรตอยู่นอกฝาเรือน
[๑๔] พวกเปรตพากันมาสู่เรือนของตน
บ้างยืนอยู่ที่ฝาเรือนด้านนอก
บ้างยืนอยู่ที่ทางสี่แพร่งสามแพร่ง
บ้างยืนพิงอยู่ที่บานประตู
[๑๕] เมื่อมีข้าวและน้ำดื่มมากมาย
เมื่อของเคี้ยวของกินถูกจัดเตรียมไว้แล้ว
ญาติสักคนก็ไม่นึกถึงเปรตเหล่านั้น
เพราะกรรมของสัตว์ทั้งหลายเป็นปัจจัย
[๑๖] เหล่าชนผู้อนุเคราะห์
ย่อมให้อาหารและน้ำดื่มที่สะอาดประณีต
เหมาะแก่พระสงฆ์ตามกาล
อุทิศให้ญาติทั้งหลาย(ที่เกิดเป็นเปรต)อย่างนี้ว่า
ขอทานนี้จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลาย
ขอญาติทั้งหลายจงเป็นสุขเถิด
[๑๗] ส่วนญาติที่เกิดเป็นเปรตเหล่านั้น
พากันมาประชุมพร้อมกัน ณ ที่ให้ทานนั้น
ย่อมอนุโมทนาในอาหารและน้ำดื่มเป็นอันมากโดยเคารพว่า

เชิงอรรถ :
๑ เหมือนเล่ม ๒๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๑. อุรควรรค] ๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ
[๑๘] เพราะเหตุแห่งญาติเหล่าใดพวกเราจึงได้สมบัติเช่นนี้
ขอญาติเหล่านั้นของพวกเราจงมีอายุยืน
อนึ่ง การบูชาญาติผู้เป็นทายกก็ได้ทำแก่พวกเราแล้ว
และทายกก็ไม่ไร้ผล
[๑๙] ก็ในเปตวิสัยนั้น ไม่มีกสิกรรม(การทำไร่ไถนา)
ไม่มีโครักขกรรม(การเลี้ยงวัวไว้ขาย)
ไม่มีพาณิชกรรม(การค้าขาย)เช่นนั้น
การแลกเปลี่ยนซื้อขายด้วยเงินก็ไม่มี
ผู้ที่ตายไปเป็นเปรตในเปตวิสัยนั้น
ดำรงชีพอยู่ด้วยผลทานที่พวกญาติอุทิศให้จากมนุษยโลกนี้
[๒๐] น้ำฝนตกลงมาในที่ดอนย่อมไหลไปสู่ที่ลุ่มฉันใด
ทานที่ทายกอุทิศให้จากมนุษยโลกนี้
ย่อมสำเร็จผลแน่นอนแก่เปรตทั้งหลายฉันนั้นเหมือนกัน
[๒๑] ห้วงน้ำที่เต็มย่อมยังสมุทรสาครให้เต็มเปี่ยมฉันใด
ทานที่ทายกอุทิศให้จากมนุษยโลกนี้
ย่อมสำเร็จแก่เปรตทั้งหลายฉันนั้นเหมือนกัน
[๒๒] กุลบุตรเมื่อระลึกถึงอุปการะที่ญาติผู้ละไปแล้วทำไว้ในกาลก่อนว่า
ผู้นั้นได้ให้สิ่งนี้แก่เรา ได้ทำสิ่งนี้แก่เรา
ได้เป็นญาติ มิตร และสหายของเรา
ก็ควรถวายทักษิณาทานอุทิศให้แก่ญาติผู้ละไปแล้ว
[๒๓] การร้องไห้ ความเศร้าโศก
หรือความร่ำไห้คร่ำครวญอย่างอื่นใด
ใคร ๆ ไม่ควรทำเลย เพราะการร้องไห้เป็นต้นนั้น
ไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว
ญาติทั้งหลายก็ยังคงสภาพอยู่อย่างนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๑. อุรควรรค] ๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ
[๒๔] ส่วนทักษิณาทานนี้แหละที่ตั้งไว้ดีแล้วในพระสงฆ์
ย่อมสำเร็จประโยชน์เกื้อกูลแก่เปรตนั้นโดยทันทีสิ้นกาลนาน
[๒๕] ญาติธรรม๑นี้นั้นท่านแสดงออกแล้ว
การบูชาญาติที่ตายไปท่านทำอย่างยิ่งใหญ่แล้ว
ทั้งกำลังกายของภิกษุท่านก็เพิ่มให้แล้ว
เป็นอันว่าท่านสะสมบุญไว้มิใช่น้อยเลย
ติโรกุฑฑเปตวัตถุที่ ๕ จบ

๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ
เรื่องนางเปรตกินลูกคราวละ ๕ ตน
(พระสังฆเถระถามว่า)
[๒๖] เธอเปลือยกาย มีผิวพรรณและรูปร่างน่าเกลียดน่ากลัว
มีกลิ่นเหม็นเน่าฟุ้งไป
หมู่แมลงวันพากันไต่ตอมเกลื่อนกล่น
เธอเป็นใครกันเล่ามายืนอยู่ในที่นี้
(นางเปรตนั้นตอบว่า)
[๒๗] ท่านผู้เจริญ ดิฉันเกิดเป็นเปรตในยมโลก
ได้รับความลำบาก เพราะทำกรรมชั่วไว้
จึงต้องจากโลกนี้ไปยังเปตโลก
[๒๘] เวลาเช้า คลอดลูก ๕ คน เวลาเย็นอีก ๕ คน
แล้วกินลูกเหล่านั้นทั้งหมด
แต่ก็ยังไม่อาจบรรเทาความหิวของดิฉันได้

เชิงอรรถ :
๑ ธรรมคือการสงเคราะห์ญาติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๑. อุรควรรค] ๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ
[๒๙] หัวใจของดิฉันถูกความหิวแผดเผาสุมอยู่
ดิฉันไม่ได้ดื่มน้ำที่ควรดื่ม
ขอเชิญท่านดูดิฉันซึ่งถึงความพินาศเช่นนี้เถิด
(พระเถระถามว่า)
[๓๐] เมื่อก่อน เธอได้ทำกรรมชั่วทางกาย วาจา ใจอะไรไว้หรือ
เพราะผลกรรมอะไรเธอจึงต้องกินเนื้อลูก
(นางเปรตนั้นตอบว่า)
[๓๑] เมื่อก่อน หญิงร่วมสามีของดิฉันคนหนึ่งได้ตั้งครรภ์
ดิฉันได้คิดร้ายต่อเธอ มีใจประทุษร้ายได้ทำให้เธอแท้ง
[๓๒] นางตั้งครรภ์ ๒ เดือนเท่านั้นก็ตกเลือด
ครั้งนั้น มารดาของนางโกรธแล้วเชิญญาติของดิฉันมาประชุมซักถาม
ให้ดิฉันสาบาน และขู่เข็ญดิฉันให้กลัว
[๓๓] ส่วนดิฉันนั้นได้กล่าวคำสาบานเท็จอย่างรุนแรงว่า
ถ้าดิฉันทำความชั่วอย่างนี้จริง ขอให้ดิฉันกินเนื้อลูกเถิด
[๓๔] เพราะผลกรรม คือการทำลายสัตว์มีชีวิต
และการกล่าวเท็จทั้ง ๒ อย่างนั้น
ดิฉันจึงมีกายเปื้อนหนองและเลือด กินเนื้อลูก
ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุที่ ๖ จบ

๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ
เรื่องนางเปรตกินลูกคราวละ ๗ ตน
(พระมหาเถระถามนางเปรตตนหนึ่งว่า)
[๓๕] เธอเปลือยกาย มีผิวพรรณและรูปร่างน่าเกลียดน่ากลัว
มีกลิ่นเหม็นเน่าฟุ้งไป หมู่แมลงวันพากันไต่ตอมเกลื่อนกล่น
เธอเป็นใครกันเล่ามายืนอยู่ในที่นี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๑. อุรควรรค] ๗.สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ
(นางเปรตนั้นตอบว่า)
[๓๖] ท่านผู้เจริญ ดิฉันเกิดเป็นเปรตในยมโลก
ได้รับความลำบาก เพราะทำกรรมชั่วไว้
จึงต้องจากโลกนี้ไปยังเปตโลก
[๓๗] เวลาเช้า คลอดลูก ๗ คน เวลาเย็นอีก ๗ คน
แล้วกินลูกเหล่านั้นทั้งหมด
แต่ก็ยังไม่อาจบรรเทาความหิวของดิฉันได้
[๓๘] หัวใจของดิฉันถูกความหิวแผดเผาสุมอยู่
ดิฉันเป็นดังถูกไฟเผาในที่อันร้อนยิ่ง
ไม่ได้ประสบความเย็นเลย
(พระเถระถามว่า)
[๓๙] เมื่อก่อนเธอได้ทำกรรมชั่วทางกาย วาจา ใจอะไรไว้หรือ
เพราะผลกรรมอะไรเธอจึงต้องกินเนื้อลูก
(นางเปรตนั้นตอบว่า)
[๔๐] เมื่อก่อนดิฉันมีลูก ๒ คน ลูก ๒ คนนั้นกำลังหนุ่มแน่น
ดิฉันนั้นประกอบด้วยกำลังคือลูก๑ จึงดูหมิ่นสามีของตน
[๔๑] ภายหลังสามีโกรธดิฉัน จึงได้หาภรรยามาอีก
และภรรยาใหม่นั้นตั้งครรภ์ ดิฉันได้คิดร้ายต่อนาง
[๔๒] มีใจประทุษร้ายได้ทำให้นางแท้ง
ภรรยาใหม่นั้นตั้งครรภ์ ๓ เดือนเท่านั้น ก็ตกเลือด
[๔๓] ครั้งนั้น มารดาของนางโกรธแล้ว
เชิญพวกญาติของดิฉันมาประชุมซักถาม
ให้ดิฉันสาบาน และขู่เข็ญดิฉันให้กลัว

เชิงอรรถ :
๑ ถือตัวว่ามีลูก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๗๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๑. อุรควรรค] ๘. โคณเปตวัตถุ
[๔๔] ส่วนดิฉันนั้นได้กล่าวคำสาบานเท็จอย่างรุนแรงว่า
ถ้าดิฉันทำความชั่วอย่างนี้จริง ขอให้ดิฉันกินเนื้อลูกเถิด
[๔๕] เพราะผลกรรมคือการทำลายสัตว์มีชีวิต
และการกล่าวเท็จทั้ง ๒ อย่างนั้น
ดิฉันจึงมีกายเปื้อนหนองและเลือด กินเนื้อลูก
สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุที่ ๗ จบ

๘. โคณเปตวัตถุ
เรื่องลูกสอนพ่อด้วยโคที่ตายแล้ว
(กุฎุมพีผู้เป็นบิดาถามสุชาตกุมารว่า)
[๔๖] เจ้าเป็นบ้าไปแล้วหรือ จึงเกี่ยวหญ้าสด
แล้วเพ้อร้องเรียกโคแก่ซึ่งตายแล้วว่า จงกิน จงกิน
[๔๗] โคตายแล้ว ลุกขึ้นกินหญ้าและน้ำไม่ได้หรอก
เจ้าเป็นคนโง่เขลาเบาปัญญาเหมือนคนโง่อื่น ๆ
(สุชาตกุมารกล่าวว่า)
[๔๘] โคตัวนี้ยังมีเท้าครบทั้ง ๔ เท้า
มีหัว มีตัว พร้อมทั้งหางและนัยน์ตาคงอยู่ตามเดิม
เพราะเหตุนี้ ลูกจึงคิดว่า โคตัวนี้พึงลุกขึ้น
[๔๙] ส่วนคุณปู่ไม่ปรากฏกระทั่งมือ เท้า กาย และศีรษะ
คุณพ่อมาร้องไห้ถึงกระดูกของคุณปู่ที่บรรจุไว้ในสถูปดิน
จะไม่เป็นคนโง่หรือ
(กุฎุมพีฟังคำนั้นแล้วจึงกล่าวสรรเสริญสุชาตกุมารว่า)
[๕๐] เจ้าช่วยรดข้าผู้เร่าร้อนให้สงบ
ดับความกระวนกระวายทั้งหมด
เหมือนคนใช้น้ำราดดับไฟที่ติดเปรียง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๑. อุรควรรค] ๙. มหาเปสการเปติวัตถุ
[๕๑] เจ้าได้บรรเทาความเศร้าโศกถึงบิดาของข้าผู้กำลังเศร้าโศก
ชื่อว่า ได้ช่วยถอนลูกศรคือความโศก
ซึ่งเสียบหทัยของข้าขึ้นได้แล้วหนอ
[๕๒] พ่อมาณพ ข้าซึ่งเจ้าช่วยถอนลูกศรคือความโศกขึ้นได้แล้ว
ก็เย็นสงบแล้ว
จะไม่เศร้าโศก ไม่ร้องไห้ เพราะได้ฟังคำของเจ้า
[๕๓] ชนเหล่าใดเป็นผู้อนุเคราะห์มารดาบิดา
ชนเหล่านั้นเป็นคนมีปัญญาย่อมทำอย่างนี้
ย่อมช่วยมารดาบิดาให้หายจากความเศร้าโศก
เหมือนสุชาตกุมารช่วยมารดาบิดาให้หายจากความเศร้าโศกได้
โคณเปตวัตถุที่ ๘ จบ

๙. มหาเปสการเปติวัตถุ
เรื่องนางเปรตอดีตภรรยาหัวหน้าช่างหูก
(ภิกษุรูปหนึ่งถามเทพบุตรตนหนึ่งว่า)
[๕๔] นางเปรตนี้กินคูถ๑ มูตร โลหิต และหนอง
นี้เป็นวิบากกรรมอะไร
นางเปรตผู้ที่กินเลือดและหนองเป็นประจำ
เมื่อก่อนได้ทำกรรมอะไรไว้
[๕๕] ผ้าทั้งหลายยังใหม่ สวยงาม
อ่อนนุ่ม บริสุทธิ์ มีขนอ่อน
ที่ท่านให้ ย่อมกลายเป็นแผ่นเหล็ก
เมื่อก่อนนางเปรตนี้ได้ทำกรรมอะไรไว้หนอ

เชิงอรรถ :
๑ คูถ อุจจาระ มูตร ปัสสาวะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๑. อุรควรรค] ๑๐. ขัลลาฏิยเปติวัตถุ
(เทพบุตรตอบว่า)
[๕๖] เมื่อก่อนนางเปรตนี้เป็นภรรยาของข้าพเจ้า
เป็นคนตระหนี่ กระด้าง ไม่ให้ทาน
นางได้ด่าและบริภาษข้าพเจ้า
ผู้กำลังถวายทานแก่สมณพราหมณ์ทั้งหลายว่า
[๕๗] เจ้าจงกินคูถ มูตร เลือด และหนอง
ซึ่งเป็นของไม่สะอาดทุกเมื่อ
คูถ มูตร เลือด และหนองจงเป็นอาหารของเจ้าในโลกหน้า
แผ่นเหล็กจงเป็นผ้าของเจ้า
เพราะประพฤติชั่วเช่นนี้
นางมาในที่นี้ จึงกินแต่คูถและมูตรเป็นต้นตลอดกาลนาน
มหาเปสการเปติวัตถุที่ ๙ จบ

๑๐. ขัลลาฏิยเปติวัตถุ
เรื่องนางเปรตศีรษะล้าน
(หัวหน้าพ่อค้าถามนางเวมานิกเปรตตนหนึ่งว่า)
[๕๘] ท่านเป็นใครกันเล่า อยู่แต่ภายในวิมาน
ไม่ออกมาข้างนอกเลย
นางผู้เจริญ เชิญท่านออกมาเถิด
ข้าพเจ้าจะขอชมท่านผู้มีฤทธิ์มาก
(นางเวมานิกเปรตตอบว่า)
[๕๙] ดิฉันเป็นหญิงเปลือยกาย มีแต่ผมปิดบังไว้
กระดากอายที่จะออกไปข้างนอก
ดิฉันได้ทำบุญไว้น้อยนัก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๑. อุรควรรค] ๑๐. ขัลลาฏิยเปติวัตถุ
(หัวหน้าพ่อค้ากล่าวว่า)
[๖๐] นางผู้มีรูปงาม เอาเถอะ ข้าพเจ้าจะให้ผ้าเนื้อดีแก่ท่าน
เชิญท่านนุ่งผ้านี้ ครั้นนุ่งผ้านี้เสร็จแล้วจงออกมา
ขอเชิญออกมาภายนอกนะนางผู้เจริญ
ข้าพเจ้าจะขอชมท่านผู้มีฤทธิ์มาก
(นางเวมานิกเปรตตอบว่า)
[๖๑] ผ้านั้นถึงท่านจะหยิบยื่นให้ที่มือของดิฉันเอง
ก็ไม่สำเร็จแก่ดิฉัน ถ้าในหมู่ชนนี้มีอุบาสกผู้มีศรัทธา
เป็นสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
[๖๒] ขอท่านจงให้อุบาสกนั้นนุ่งห่มผ้าที่ท่านจะให้ดิฉัน
แล้วอุทิศส่วนบุญให้ดิฉัน เมื่อทำอย่างนั้น
ดิฉันจักถึงความสุข พรั่งพร้อมด้วยสมบัติตามปรารถนาทุกอย่าง
(พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายกล่าวคาถาเหล่านี้ว่า)
[๖๓] พ่อค้าเหล่านั้นให้อุบาสกนั้นอาบน้ำ
ลูบไล้ด้วยของหอม ให้นุ่งห่มผ้าแล้ว
อุทิศส่วนบุญไปให้นางเวมานิกเปรตนั้น
[๖๔] ในลำดับที่พวกพ่อค้าอุทิศส่วนบุญให้นั้นเอง
วิบากคืออาหาร เครื่องนุ่งห่ม และน้ำดื่ม
ก็เกิดขึ้นแก่นางเวมานิกเปรตนั้น นี้เป็นผลแห่งทักษิณา
[๖๕] ลำดับนั้น นางมีร่างกายหมดจด นุ่งผ้าสะอาด
สวมใส่ผ้าเนื้อดีกว่าผ้าแคว้นกาสี
เดินยิ้มออกมาจากวิมาน นี้เป็นผลแห่งทักษิณา
[๖๖] อนึ่ง วิมานของท่านงดงาม มีรูปภาพวิจิตรดี สว่างไสว
แม่เทพธิดา พวกข้าพเจ้าถามแล้ว ขอเธอจงบอก
นี้เป็นผลของกรรมอะไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๑. อุรควรรค] ๑๑. นาคเปตวัตถุ
(เทพธิดานั้นตอบว่า)
[๖๗] ดิฉันมีจิตเลื่อมใสดีแล้ว
ได้ถวายแป้งคั่วเจือด้วยน้ำมัน
แด่ภิกษุผู้ปฏิบัติตรงซึ่งกำลังเที่ยวภิกขาจาร
[๖๘] ดิฉันเสวยวิบากแห่งกุศลกรรมนั้นในวิมาน สิ้นกาลนาน
แต่เดี๋ยวนี้ ผลบุญนั้นเหลืออยู่นิดหน่อย
[๖๙] พ้นจาก ๔ เดือนไปแล้ว ดิฉันจักตาย
จักตกนรกอันเร่าร้อนแสนสาหัส
[๗๐] นรกนั้นมี ๔ เหลี่ยม มีประตู ๔ ด้าน
กรรมสร้างจำแนกไว้เป็นส่วน ๆ
ล้อมรอบด้วยกำแพงเหล็ก ครอบไว้ด้วยแผ่นเหล็ก
[๗๑] พื้นนรกนั้นล้วนเป็นเหล็กแดงลุกเป็นเปลวเพลิง
ประกอบด้วยความร้อน
แผ่ไปรอบตลอดร้อยโยชน์อยู่ตลอดกาล
[๗๒] ดิฉันจักต้องเสวยทุกขเวทนาในมหานรกนั้นยาวนาน
ด้วยว่า การเสวยทุกข์เช่นนี้เป็นผลกรรมชั่ว
เพราะฉะนั้น ดิฉันจึงเศร้าโศกอย่างหนัก
ขัลลาฏิยเปติวัตถุที่ ๑๐ จบ

๑๑. นาคเปตวัตถุ
เรื่องเปรตผู้เดินร้องไห้ตามพาหนะช้างของลูกชาย
(สามเณรถามพวกเปรตเหล่านั้นว่า)
[๗๓] คนหนึ่งขี่ช้างเผือกไปข้างหน้า
คนหนึ่งขี่รถเทียมด้วยแม่ม้าอัสดรไปท่ามกลาง
และสาวน้อยขึ้นวอไปข้างหลัง
เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๑. อุรควรรค] ๑๑. นาคเปตวัตถุ
[๗๔] ส่วนพวกท่านถือฆ้องเดินร้องไห้
มีหน้าชุ่มด้วยน้ำตา มีร่างกายแตกเป็นแผล
สมัยเมื่อเกิดเป็นมนุษย์พวกท่านได้ทำบาปอะไรไว้
ซึ่งเป็นเหตุให้พวกท่านดื่มกินโลหิตของกันและกัน
(เปรตทั้งสองได้ฟังสามเณรถามจึงตอบว่า)
[๗๕] ผู้ที่ขี่ช้างเผือกชาติกุญชร ๔ เท้าไปข้างหน้า
เป็นบุตรคนโตของข้าพเจ้าทั้งสอง
เขาได้ถวายทาน จึงได้รับความสุข บันเทิงใจ
[๗๖] ผู้ที่ขี่รถเทียมด้วยแม่ม้าอัสดร ๔ ตัว
แล่นเรียบไปในท่ามกลาง เป็นบุตรคนกลางของข้าพเจ้าทั้งสอง
เป็นคนไม่ตระหนี่ เป็นทานบดี รุ่งโรจน์อยู่
[๗๗] นารีผู้มีปัญญา มีดวงตากลมหยาดเยิ้มดังตาเนื้อ
ขึ้นวอมาข้างหลัง เป็นธิดาคนสุดท้องของข้าพเจ้าทั้งสอง
นางมีความสุขเบิกบานใจ เพราะส่วนแห่งทานครึ่งส่วน
[๗๘] เมื่อก่อน เขาทั้งสามมีจิตเลื่อมใส
ได้ถวายทานแก่สมณพราหมณ์ทั้งหลาย
ส่วนข้าพเจ้าทั้งสองเป็นคนตระหนี่ บริภาษสมณพราหมณ์ทั้งหลาย
อนึ่ง เขาทั้งสามนี้ถวายทานแล้วได้รับการบำรุงบำเรอด้วยกามคุณ
อันเป็นทิพย์ ส่วนข้าพเจ้าทั้งสองซูบซีดอยู่ดังไม้อ้อที่ถูกตัด
(สามเณรถามว่า)
[๗๙] อาหารและที่นอนของพวกท่านเป็นเช่นไร
อนึ่ง พวกท่านผู้มีบาปหนาเลี้ยงอัตภาพได้อย่างไร
เมื่อโภคะพร้อมมูลมีอยู่มิใช่น้อย เหตุไรจึงหน่ายสุข
ประสบแต่ความทุกข์จนทุกวันนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๑. อุรควรรค] ๑๒. อุรคเปตวัตถุ
(เปรตทั้งสองตอบว่า)
[๘๐] พวกเราทั้งสองตีกันเองแล้วดื่มกินเลือดและหนองของกันและกัน
ได้ดื่มเลือดและหนองเป็นอันมากก็ยังไม่อิ่ม มีความหิวอยู่เป็นนิตย์
[๘๑] คนทั้งหลายผู้ไม่ให้ทานตายไปเกิดในยมโลก๑
ย่อมร่ำไห้คร่ำครวญเหมือนอย่างนี้
สัตว์เหล่าใดได้ประสบโภคะต่าง ๆ แล้ว
ไม่ใช้สอยเอง ทั้งไม่ทำบุญ
[๘๒] สัตว์เหล่านั้นจักต้องประสบความหิวกระหายในปรโลก
ภายหลัง ถูกความหิวเป็นต้นแผดเผาไหม้อยู่สิ้นกาลนาน
ย่อมได้เสวยทุกข์ เพราะทำกรรมมีผลเผ็ดร้อน มีทุกข์เป็นกำไร
[๘๓] ความจริง ทรัพย์และธัญญาหารอยู่ได้ไม่นาน
ทั้งชีวิตของสัตว์ในมนุษยโลกนี้ก็สั้นนัก
บัณฑิตทราบสิ่งเหล่านี้ตามความเป็นจริงแล้วพึงทำที่พึ่ง
[๘๔] เหล่าชนผู้ฉลาดในธรรม
ฟังคำสอนของพระอรหันต์ทั้งหลายแล้ว
มารู้ชัดอย่างนี้ ย่อมไม่ประมาทในทาน
นาคเปตวัตถุที่ ๑๑ จบ

๑๒. อุรคเปตวัตถุ
เรื่องเปรตผู้จากไปเหมือนงูลอกคราบ
(พราหมณ์ เมื่อจะบอกเหตุแห่งการไม่ร้องไห้ จึงกล่าว ๒ คาถาว่า)
[๘๕] บุตรของข้าพเจ้าละร่างกายของตนไปเหมือนงูลอกคราบ
ในเมื่อร่างกายใช้การไม่ได้ก็ตายจากไปอย่างนี้

เชิงอรรถ :
๑ ที่อยู่ประจำของพญายมในแดนเปรต (ขุ.เป.อ. ๘๑/๖๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๑. อุรควรรค] ๑๒. อุรคเปตวัตถุ
[๘๖] เมื่อพวกญาติเผาอยู่ บุตรของข้าพเจ้าก็ไม่รู้ว่า
พวกญาติพากันร้องไห้คร่ำครวญถึง
เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่ร้องไห้ถึงเขา
เขาไปตามทางของเขา
(นางพราหมณี เมื่อจะบอกเหตุแห่งการไม่ร้องไห้ จึงกล่าว ๒ คาถาว่า)
[๘๗] บุตรของดิฉัน ดิฉันไม่ได้เชิญมา ก็มาแล้วจากโลกอื่นนั้น
ดิฉันไม่ได้อนุญาตให้ไป ก็ไปแล้วจากมนุษยโลกนี้
เขามาอย่างไร เขาก็ไปแล้วอย่างนั้น
ทำไมจะต้องไปร่ำไห้ถึงบุคคลที่ไม่อยู่ในอำนาจนั้นเล่า
[๘๘] เมื่อพวกญาติเผาอยู่ บุตรของดิฉันก็ไม่รู้ว่า
พวกญาติพากันร้องไห้คร่ำครวญถึง
เพราะเหตุนั้น ดิฉันจึงไม่ร้องไห้ถึงเขา
เขาไปตามทางของเขา
(น้องสาวกล่าวว่า)
[๘๙] ถ้าดิฉันร้องไห้ ก็จักซูบผอม
ผลอะไรจะพึงมีแก่ดิฉันในการร้องไห้นั้น
ญาติมิตรและสหายของพวกเราจะพึงมีความไม่สบายใจอย่างยิ่ง
[๙๐] เมื่อพวกญาติเผาอยู่ พี่ชายของดิฉันก็ไม่รู้ว่า
พวกญาติพากันร้องไห้คร่ำครวญถึง
เพราะเหตุนั้น ดิฉันจึงไม่ร้องไห้ถึงเขา
เขาไปตามทางของเขา
(ส่วนภรรยาของเขากล่าวว่า)
[๙๑] ผู้ใดเศร้าโศกถึงคนที่ล่วงลับไปแล้ว
ความเศร้าโศกของผู้นั้น
เปรียบเหมือนทารกร้องไห้อยากได้ดวงจันทร์ซึ่งโคจรอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๑. อุรควรรค] รวมเรื่องเปรตที่มีในวรรค
[๙๒] เมื่อพวกญาติเผาอยู่ สามีของดิฉันก็ไม่รู้ว่า
พวกญาติพากันร้องไห้คร่ำครวญถึง
เพราะเหตุนั้น ดิฉันจึงไม่ร้องไห้ถึงเขา
เขาไปตามทางของเขา
(ส่วนนางทาสีกล่าวว่า)
[๙๓] ท่านพราหมณ์ หม้อน้ำที่แตกแล้ว
พึงประสานให้เป็นดังเดิมอีกไม่ได้ฉันใด
ความเศร้าโศกถึงผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ก็ฉันนั้น
[๙๔] เมื่อพวกญาติเผาอยู่ นายของดิฉันก็ไม่รู้ว่า
พวกญาติพากันร้องไห้คร่ำครวญถึง
เพราะเหตุนั้น ดิฉันจึงไม่ร้องไห้ถึงเขา
เขาไปตามทางของเขา
อุรคเปตวัตถุที่ ๑๒ จบ
อุรควรรคที่ ๑ จบ

รวมเรื่องเปรตที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. เขตตูปมเปตวัตถุ ๒. สูกรมุขเปตวัตถุ
๓. ปูติมุขเปตวัตถุ ๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถ ๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ ๘. โคณเปตวัตถุ
๙. มหาเปสการเปติวัตถุ ๑๐. ขัลลาฏิยเปติวัตถุ
๑๑. นาคเปตวัตถุ ๑๒. อุรคเปตวัตถุ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๒. อุพพริวรรค] ๑.สังสารโมจกเปติวัตถุ
๒. อุพพริวรรค
หมวดว่าด้วยพระนางอุพพรีกับเปรต
๑. สังสารโมจกเปติวัตถุ
เรื่องนางเปรตสังสารโมจิกา
(ท่านพระสารีบุตรเถระถามนางเปรตตนหนึ่งว่า)
[๙๕] แน่ะนางผู้มีร่างกายซูบผอม มีแต่ซี่โครงผุดขึ้น
เธอเปลือยกาย มีผิวพรรณและรูปร่างน่าเกลียดน่ากลัว
ซูบผอม มีร่างกายสะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น
เธอเป็นใครกันเล่ามายืนอยู่ที่นี้
(นางเปรตตอบว่า)
[๙๖] พระคุณเจ้าผู้เจริญ ดิฉันเกิดเป็นเปรตในยมโลก
ได้รับความลำบาก เพราะทำกรรมชั่วไว้
จึงต้องจากโลกนี้ไปยังเปตโลก
(พระเถระถามว่า)
[๙๗] เมื่อก่อนเธอได้ทำกรรมชั่วทางกาย วาจา ใจอะไรไว้หรือ
เพราะผลกรรมอะไร
เธอจึงต้องจากมนุษยโลกนี้ไปยังเปตโลก
(นางเปรตตอบว่า)
[๙๘] พระคุณเจ้าผู้เจริญ ชนเหล่าใดเป็นบิดาก็ตาม มารดาก็ตาม
หรือแม้เป็นญาติ พึงชักชวนดิฉันว่า
เธอจงมีจิตเลื่อมใสให้ทานแก่สมณพราหมณ์ทั้งหลาย
ชนผู้อนุเคราะห์แก่ดิฉันเช่นนั้น มิได้มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๒. อุพพริวรรค] ๑. สังสารโมจกเปติวัตถุ
[๙๙] ข้อที่ดิฉันเป็นเปรตเปลือยกาย
ถูกความหิวและความอยากเบียดเบียนเที่ยวไปเช่นนี้
ตลอด ๕๐๐ ปีนับแต่บัดนี้ไป
นั้นเป็นผลกรรมชั่วของดิฉัน
[๑๐๐] พระคุณเจ้าผู้แกล้วกล้า มีอานุภาพมาก
ดิฉันมีจิตเลื่อมใส ขอไหว้ท่าน และขอท่านจงอนุเคราะห์ดิฉัน
พระคุณเจ้าผู้เจริญ ขอท่านจงให้ไทยธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง
แล้วอุทิศส่วนบุญแก่ดิฉันบ้าง
ขอจงช่วยดิฉันให้พ้นจากทุคติด้วยเถิด
(เพื่อจะแสดงการที่พระเถระปฏิบัติ พระธรรมสังคีติกาจารย์จึงกล่าว ๓ คาถาว่า)
[๑๐๑] พระสารีบุตรเถระซึ่งเป็นผู้อนุเคราะห์นั้นรับคำนางเปรตนั้นแล้ว
จึงถวายข้าวปั้นหนึ่ง ผ้ามีขนาดเท่าฝ่ามือผืนหนึ่ง
และน้ำดื่มถ้วยหนึ่ง แก่ภิกษุแล้วอุทิศส่วนบุญให้นางเปรตนั้น
[๑๐๒] ในลำดับที่พระเถระอุทิศส่วนบุญให้นั้นเอง
วิบากคืออาหาร เครื่องนุ่งห่ม และน้ำดื่ม
ก็เกิดขึ้นแก่นางเปรตนั้น นี้เป็นผลแห่งทักษิณา
[๑๐๓] ลำดับนั้น นางมีร่างกายหมดจด นุ่งผ้าสะอาด
สวมใส่ผ้าเนื้อดีกว่าผ้าแคว้นกาสี
มีพัสตราภรณ์และเครื่องประดับวิจิตรงดงาม
เข้าไปหาพระสารีบุตรเถระ
(พระสารีบุตรเถระถามว่า)
[๑๐๔] แม่เทพธิดา เธอมีผิวพรรณงดงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศสถิตอยู่ ดุจดาวประกายพรึก
[๑๐๕] เพราะบุญอะไรเธอจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่เธอในวิมานนี้
โภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่เธอ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๒. อุพพริวรรค] ๑. สังสารโมจกเปติวัตถุ
[๑๐๖] แม่เทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามว่า
สมัยเมื่อเธอเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
แม้เพราะบุญอะไรเธอจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
(เทพธิดานั้นตอบว่า)
[๑๐๗] (เมื่อก่อน) พระคุณเจ้าเป็นมุนีมีความกรุณาในโลก
ได้เห็นดิฉันซุบซีดผอมเหลือง หิวโหย
เปลือยกาย มีผิวแตกเป็นริ้วรอย ได้รับความทุกข์
[๑๐๘] ได้ถวายข้าวปั้นหนึ่ง ผ้ามีขนาดเท่าฝ่ามือผืนหนึ่ง
และน้ำดื่มถ้วยหนึ่ง แก่ภิกษุแล้วอุทิศส่วนบุญให้ดิฉัน
[๑๐๙] ขอพระคุณเจ้าจงดูผลแห่งคำข้าว
ดิฉันสมบูรณ์ด้วยกามที่น่ารื่นรมย์
บริโภคข้าวมีกับข้าวซึ่งมีรสหลายอย่าง ถึง ๑,๐๐๐ ปี
[๑๑๐] ขอพระคุณเจ้าจงดูวิบากแห่งผ้าที่มีขนาดเท่าฝ่ามือว่าเป็นเช่นใด
ผ้าในแคว้นของพระเจ้านันทราชมีประมาณเท่าใด
[๑๑๑] พระคุณเจ้าผู้เจริญ ผ้านุ่งผ้าห่มของดิฉันมีมากกว่านั้น
คือ ผ้าไหม ผ้าขนสัตว์ ผ้าป่าน และผ้าฝ้าย
[๑๑๒] ผ้าเหล่านั้นทั้งยาว ทั้งกว้าง มีราคาแพง ห้อยอยู่ในอากาศ
ดิฉันเลือกเอาแต่ผืนที่พอใจนุ่งห่ม
[๑๑๓] อนึ่ง ขอพระคุณเจ้าจงดูวิบากแห่งการถวายน้ำดื่มถ้วยหนึ่ง
ว่ามีผลเช่นใด สระโบกขรณี ๔ เหลี่ยม ลึก ที่สร้างไว้ดีแล้ว
[๑๑๔] มีท่าเรียบ มีน้ำใสเย็น มีกลิ่นหอม หาสิ่งเปรียบมิได้
หนาแน่นไปด้วยดอกปทุมและดอกอุบล
เต็มด้วยน้ำซึ่งดารดาษด้วยเกสรดอกบัว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๒. อุพพริวรรค] ๒. สารีปุตตเถรมาตุเปติวัตถุ
[๑๑๕] ดิฉันเป็นผู้ไม่มีภัยแต่ที่ไหน ย่อมรื่นรมย์ร่าเริงบันเทิงใจ
พระคุณเจ้าผู้เจริญ ดิฉันมาเพื่อจะไหว้พระคุณเจ้า
ผู้เป็นปราชญ์ มีความกรุณาในโลก
สังสารโมจกเปติวัตถุที่ ๑ จบ

๒. สารีปุตตเถรมาตุเปติวัตถุ
เรื่องนางเปรตอดีตมารดาพระสารีบุตรเถระ
(พระสารีบุตรเถระถามนางเปรตตนหนึ่งว่า)
[๑๑๖] แน่ะนางผู้มีร่างกายซูบผอม มีแต่ซี่โครงผุดขึ้น
เธอเปลือยกาย มีผิวพรรณและรูปร่างน่าเกลียดน่ากลัว
ซูบผอม มีร่างกายสะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น
เธอเป็นใครกันเล่ามายืนอยู่ ณ ที่นี้
(นางเปรตตอบว่า)
[๑๑๗] เมื่อก่อนในชาติอื่น ๆ
ดิฉันเกิดในตระกูลศากยะ เป็นมารดาของท่าน
ดิฉันเข้าถึงเปตวิสัย ถูกความหิวกระหายครอบงำ
[๑๑๘] ดิฉันถูกความหิวกระหายครอบงำแล้ว
จึงกินน้ำลาย น้ำมูก เสมหะที่เขาถ่มทิ้งแล้ว
กินมันเหลวซากศพที่ถูกเผาอยู่
และกินโลหิตของหญิงทั้งหลายผู้คลอดลูก
[๑๑๙] กินโลหิตของคนที่มีแผลและผู้ที่ถูกตัดจมูกและศีรษะ
และกินหนัง เนื้อ เอ็นเป็นต้น ที่อาศัยร่างกายชายหญิง
[๑๒๐] ดิฉันไม่มีที่พึ่ง ไม่มีที่อยู่อาศัย นอนบนเตียงอันแปดเปื้อน
กินหนองและเลือดของปศุสัตว์และมนุษย์ทั้งหลาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๒. อุพพริวรรค] ๒. สารีปุตตเถรมาตุเปติวัตถุ
[๑๒๑] ลูกน้อยเอ๋ย ขอลูกจงให้ทานเพื่อแม่
ครั้นให้แล้วจงอุทิศส่วนบุญนั้นให้แม่บ้าง
ถ้ากระไร แม่จะพึงพ้นจากการกินหนองและเลือด
[๑๒๒] พระสารีบุตรเถระฟังคำของมารดาแล้วคิดจะช่วยเหลือ
จึงปรึกษาพระมหาโมคคัลลานเถระ พระอนุรุทธะ และพระกัปปินะ
[๑๒๓] ได้สร้างกุฎี ๔ หลัง แล้วถวายกุฎี ข้าว และน้ำ
แด่พระสงฆ์ผู้มาจากทิศทั้ง ๔ อุทิศส่วนบุญให้มารดา
[๑๒๔] ในลำดับที่พระเถระอุทิศส่วนบุญให้นั่นเอง
วิบากคือ อาหาร น้ำดื่ม และเครื่องนุ่งห่ม
ก็เกิดขึ้นแก่นางเปรตนั้น นี้เป็นผลแห่งทักษิณา
[๑๒๕] ลำดับนั้น นางมีร่างกายหมดจด นุ่งผ้าสะอาด
สวมใส่ผ้าเนื้อดีกว่าผ้าแคว้นกาสี
มีพัสตราภรณ์และเครื่องประดับวิจิตรงดงาม
เข้าไปหาพระมหาโมคคัลลานเถระ
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามนางเปรตนั้นว่า)
[๑๒๖] แม่เทพธิดา เธอมีผิวพรรณงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศสถิตอยู่ ดุจดาวประกายพรึก
[๑๒๗] เพราะบุญอะไรเธอจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่เธอในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่เธอ
[๑๒๘] แม่เทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามว่า
สมัยเมื่อเธอเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะบุญอะไรเธอจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๒. อุพพริวรรค] ๓. มัตตาเปติวัตถุ
(เทพธิดานั้นตอบว่า)
[๑๒๙] เมื่อก่อนในชาติอื่น ๆ ดิฉันเป็นมารดาของพระสารีบุตรเถระ
เข้าถึงเปตวิสัย๑ ถูกความหิวกระหายครอบงำ
[๑๓๐] ดิฉันถูกความหิวกระหายครอบงำแล้ว
ได้กินน้ำลาย น้ำมูก เสมหะที่เขาถ่มทิ้งแล้ว
กินมันเหลวซากศพที่ถูกเผาอยู่
และกินโลหิตของหญิงทั้งหลายผู้คลอดลูก
[๑๓๑] กินโลหิตของคนที่มีแผลและผู้ที่ถูกตัดจมูกและศีรษะ
และกินหนัง เนื้อ เอ็นเป็นต้น ที่อาศัยร่างกายชายหญิง
[๑๓๒] ดิฉันไม่มีที่พึ่ง ไม่มีที่อยู่อาศัย นอนบนเตียงอันแปดเปื้อน
กินหนองและเลือดของปศุสัตว์และมนุษย์ทั้งหลาย
[๑๓๓] ดิฉันบันเทิงอยู่เพราะทานของพระสารีบุตร จึงไม่มีภัยแต่ที่ไหน ๆ
พระคุณเจ้าผู้เจริญ ดิฉันจะไหว้พระสารีบุตร
ผู้เป็นปราชญ์ มีความกรุณาในโลก
สารีปุตตเถรมาตุเปติวัตถุที่ ๒ จบ

๓. มัตตาเปติวัตถุ
เรื่องนางมัตตาเปรต
(นางติสสาถามนางเปรตตนหนึ่งว่า)
[๑๓๔] แน่ะนางเปรตผู้มีร่างกายซูบผอม มีแต่ซี่โครงผุดขึ้น
เธอเปลือยกาย มีผิวพรรณและรูปร่างน่าเกลียด น่ากลัว
ซูบผอม มีร่างกายสะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น
เธอเป็นใครกันเล่ามายืนอยู่ ณ ที่นี้

เชิงอรรถ :
๑ ที่อยู่ของเปรต, แดนเกิดเป็นเปรต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๒. อุพพริวรรค] ๓. มัตตาเปติวัตถุ
(นางเปรตนั้นตอบว่า)
[๑๓๕] เมื่อก่อน ฉันชื่อมัตตา เธอชื่อติสสา
ฉันเป็นหญิงร่วมสามีของเธอ
เพราะทำกรรมชั่วไว้ จึงต้องจากมนุษยโลกนี้ไปยังเปตโลก
(นางติสสาถามว่า)
[๑๓๖] เมื่อก่อนเธอได้ทำกรรมชั่วทางกาย วาจา ใจอะไรไว้หรือ
เพราะผลกรรมอะไรเธอจึงต้องจากมนุษยโลกนี้ไปยังเปตโลก
(นางเปรตนั้นตอบว่า)
[๑๓๗] ฉันเป็นหญิงดุร้าย หยาบคาย ริษยา ตระหนี่ และมักโอ้อวด
ได้กล่าววาจาชั่วต่อเธอ จึงจากมนุษยโลกนี้ไปยังเปตโลก
(นางติสสาถามว่า)
[๑๓๘] เรื่องนั้นเป็นความจริง ถึงฉันก็รู้ว่า เธอเป็นหญิงดุร้ายอย่างไร
แต่อยากจะถามเธอถึงเรื่องอื่น
เพราะกรรมอะไร เธอจึงมีร่างกายเปื้อนฝุ่น
(นางเปรตนั้นตอบว่า)
[๑๓๙] เธอกับฉันพากันอาบน้ำชำระร่างกายแล้ว
เธอได้นุ่งห่มผ้าสะอาด ประดับตกแต่งร่างกายแล้ว
ส่วนฉันประดับตกแต่งเรียบร้อยยิ่งกว่าเธอมากนัก
[๑๔๐] เมื่อฉันนั้นกำลังจ้องมองดูเธอคุยอยู่กับสามี
ทีนั้นฉันจึงเกิดความริษยาและความโกรธเป็นอันมาก
[๑๔๑] ทันใดนั้น ฉันได้กวาดตะล่อมฝุ่นแล้วเอาฝุ่นโปรยรดเธอ
เพราะผลกรรมนั้นฉันจึงมีร่างกายเปื้อนฝุ่น
(นางติสสาถามว่า)
[๑๔๒] เรื่องนี้เป็นความจริง ถึงฉันก็รู้ว่า เธอเอาฝุ่นโปรยใส่ฉัน
แต่ฉันอยากจะถามเธอถึงเรื่องอื่น เพราะกรรมอะไรเธอจึงเป็นหิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๒. อุพพริวรรค] ๓. มัตตาเปติวัตถุ
(นางเปรตนั้นตอบว่า)
[๑๔๓] เราทั้งสองเป็นคนหายา ได้พากันไปป่า
เธอหายามาได้ ส่วนฉันนำหมามุ่ยมา
[๑๔๔] เมื่อเธอเผลอ ฉันได้โปรยหมามุ่ยลงบนที่นอนของเธอจนทั่ว
เพราะผลกรรมนั้นฉันจึงเป็นหิด
(นางติสสาถามว่า)
[๑๔๕] เรื่องนี้เป็นความจริง ถึงฉันก็รู้ว่า
เธอโปรยหมามุ่ยลงบนที่นอนของฉันจนทั่ว
แต่ฉันอยากจะถามเธอถึงเรื่องอื่น
เพราะกรรมอะไรเธอจึงเป็นหญิงเปลือยกาย
(นางเปรตนั้นตอบว่า)
[๑๔๖] (วันหนึ่ง) ได้มีการประชุมมิตรสหายและญาติทั้งหลาย
เธอได้รับเชิญ แต่ฉันซึ่งร่วมสามีกับเธอไม่มีใครเชิญเลย
[๑๔๗] เมื่อเธอเผลอ ฉันได้ลักขโมยผ้าเธอไป
เพราะผลกรรมนั้น ฉันจึงเป็นหญิงเปลือยกาย
(นางติสสาถามว่า)
[๑๔๘] เรื่องนี้เป็นความจริง ถึงฉันก็รู้ว่า
เธอลักขโมยผ้าฉันไป แต่ฉันอยากจะถามเธอถึงเรื่องอื่น
เพราะกรรมอะไรเธอจึงมีกลิ่นกายเหม็นดังกลิ่นคูถ
(นางเปรตนั้นตอบว่า)
[๑๔๙] ฉันได้ทิ้งห่อของหอม ดอกไม้
และเครื่องลูบไล้ซึ่งมีราคาแพงของเธอลงส้วม
ฉันทำบาปชั่วช้านั้นไว้แล้ว
เพราะผลกรรมนั้น ฉันจึงมีกายเหม็นดังกลิ่นคูถ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๒. อุพพริวรรค] ๓. มัตตาเปติวัตถุ
(นางติสสาถามว่า)
[๑๕๐] เรื่องนี้เป็นความจริง ถึงฉันก็รู้ว่า เธอทำบาปนั้นไว้แล้ว
แต่ฉันอยากจะถามเธอถึงเรื่องอื่น
เพราะกรรมอะไรเธอจึงเป็นคนยากจน
(นางเปรตนั้นตอบว่า)
[๑๕๑] ที่เรือนของเราทั้งสองได้มีทรัพย์อยู่เท่ากัน
เมื่อไทยธรรมมีอยู่ ฉันไม่ได้ทำที่พึ่งสำหรับตน
เพราะผลกรรมนั้นฉันจึงเป็นคนยากจน
[๑๕๒] ครั้งนั้น เธอได้กล่าวตักเตือนฉัน ห้ามไม่ให้ทำกรรมชั่วว่า
เธอจะไม่มีทางได้สุคติ เพราะกรรมชั่ว
(นางติสสากล่าวว่า)
[๑๕๓] เธอไม่เชื่อเรา ที่แท้กลับริษยาเรา เชิญเธอดูผลกรรมชั่ว
[๑๕๔] เมื่อก่อน ที่เรือนของเธอได้มีนางทาสีและเครื่องประดับเหล่านี้
แต่เดี๋ยวนี้ นางทาสีเหล่านั้นพากันรับใช้คนอื่น
โภคะทั้งหลายเป็นของไม่แน่นอน
[๑๕๕] บัดนี้ กุฎุมพีผู้เป็นบิดาของบุตรเรา
จักกลับจากตลาดมายังบ้านนี้
เธออย่าเพิ่งรีบไปจากที่นี่เสียก่อนละ
บางทีเขากลับมาจะพึงให้อะไรแก่เธอบ้าง
(นางเปรตนั้นตอบว่า)
[๑๕๖] ฉันเปลือยกาย มีรูปร่างน่าเกลียดน่ากลัว
ซูบผอม มีร่างกายสะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น
การเปลือยกายและการมีรูปร่างน่าเกลียดน่ากลัวนี้
เป็นสิ่งที่น่าละอายสำหรับหญิงทั้งหลาย
กุฎุมพีผู้เป็นบิดาของบุตรอย่าได้เห็นฉันเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๒. อุพพริวรรค] ๓. มัตตาเปติวัตถุ
(นางติสสากล่าวว่า)
[๑๕๗] ว่ามาเถอะ ฉันจะให้หรือทำอะไรแก่เธอ
ที่เป็นเหตุให้เธอมีความสุข
สำเร็จความปรารถนาทุกอย่าง
ฉันจะให้หรือกระทำแก่เธอ
(นางเปรตนั้นตอบว่า)
[๑๕๘] ขอเธอจงนิมนต์ภิกษุ ๔ รูปจากสงฆ์
นิมนต์เจาะจงอีก ๔ รูป รวมเป็น ๘ รูป
ให้ฉันภัตตาหารแล้วอุทิศส่วนบุญให้ฉัน
เมื่อนั้น ฉันจักได้รับความสุข
สำเร็จความปรารถนาทุกอย่าง
[๑๕๙] นางติสสานั้นรับว่า ได้จ้ะ
แล้วนิมนต์ภิกษุ ๘ รูปให้ฉันภัตตาหาร
ให้ครองไตรจีวร แล้วอุทิศส่วนบุญให้นางเปรตนั้น
[๑๖๐] ในลำดับที่นางติสสาอุทิศส่วนบุญให้นั้นเอง
วิบากคืออาหาร เครื่องนุ่งห่ม และน้ำดื่ม
ก็เกิดขึ้นแก่นางเปรตนั้น นี้เป็นผลแห่งทักษิณา
[๑๖๑] ทันใดนั้น นางเปรตมีร่างกายหมดจด นุ่งผ้าสะอาด
สวมใส่ผ้าเนื้อดีกว่าผ้าแคว้นกาสี
มีพัสตราภรณ์และเครื่องประดับวิจิตรงดงาม
เข้าไปหานางติสสาซึ่งเป็นหญิงร่วมสามี
(นางติสสาจึงถามว่า)
[๑๖๒] เทพธิดา เธอมีผิวพรรณงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ
สถิตอยู่ดุจดาวประกายพรึก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๒. อุพพริวรรค] ๔. นันทาเปติวัตถุ
[๑๖๓] เพราะบุญอะไรเธอจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่เธอในวิมานนี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่เธอ
[๑๖๔] เทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก ฉันขอถามว่า
สมัยเมื่อเธอเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะบุญอะไรเธอจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
(นางมัตตาเทพธิดาตอบว่า)
[๑๖๕] เมื่อก่อน ฉันชื่อมัตตา เธอชื่อติสสา
ฉันเป็นหญิงร่วมสามีของเธอ
เพราะทำกรรมชั่วไว้จึงต้องจากโลกนี้ไปยังเปตโลก
[๑๖๖] ฉันบันเทิงอยู่เพราะทานที่เธออุทิศให้แล้ว จึงไม่มีภัยแต่ที่ไหน
คุณน้อง ขอเธอพร้อมด้วยหมู่ญาติทุกคนจงมีอายุยืนนานเถิด
จงเข้าถึงสถานที่ที่ไม่มีความเศร้าโศก ปราศจากธุลี
มีความสำราญซึ่งเป็นที่อยู่ของท้าววสวัตดี
[๑๖๗] เธอผู้มีรูปงาม เธอประพฤติธรรม ให้ทานในโลกนี้
กำจัดมลทินคือความตระหนี่พร้อมทั้งเหตุได้แล้ว
ไม่มีใครตำหนิติเตียนได้ จงเข้าถึงโลกสวรรค์
มัตตาเปติวัตถุที่ ๓ จบ

๔. นันทาเปติวัตถุ
เรื่องนางนันทาเปรต
(นันทิเสนอุบาสกถามว่า)
[๑๖๘] เธอมีผิวดำ รูปร่างน่าเกลียด
ผิวพรรณหยาบกร้าน มองดูน่ากลัว
ตาเหลือง มีเขี้ยวสีน้ำตาลแก่ เรารู้ว่าเธอไม่ใช่มนุษย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๒. อุพพริวรรค] ๔. นันทาเปติวัตถุ
(นางเปรตนั้นตอบว่า)
[๑๖๙] ท่านนันทิเสน เมื่อก่อนฉันชื่อนันทา เป็นภรรยาของท่าน
เพราะทำกรรมชั่วไว้ จึงต้องจากโลกนี้ไปยังเปตโลก
(นันทิเสนอุบาสกถามว่า)
[๑๗๐] เมื่อก่อนเธอได้ทำกรรมชั่วทางกาย วาจา ใจอะไรไว้หรือ
เพราะผลกรรมอะไรเธอจึงจากโลกนี้ไปยังเปตโลก
(นางเปรตนั้นตอบว่า)
[๑๗๑] (เมื่อก่อน) ฉันเป็นหญิงดุร้าย หยาบคาย
และไม่เคารพท่าน ได้กล่าววาจาชั่วร้ายกับท่าน
จึงต้องจากโลกนี้ไปยังเปตโลก
(นันทิเสนอุบาสกกล่าวว่า)
[๑๗๒] เอาละ เราจะให้ผ้าอย่างดีแก่เธอ เธอจงนุ่งผ้านี้
นุ่งเสร็จแล้วจงมา เราจักนำเธอไปเรือน
[๑๗๓] เธอไปเรือนแล้ว จักได้ผ้า ข้าว และน้ำ
ทั้งจักได้เห็นบุตรและลูกสะใภ้ทั้งหลายของเธอ
(นางเปรตนั้นตอบว่า)
[๑๗๔] ผ้านั้นถึงท่านจะหยิบยื่นให้ที่มือของฉันเอง ก็ไม่สำเร็จแก่ฉัน
ท่านจงเลี้ยงภิกษุทั้งหลายผู้มีศีลสมบูรณ์
ปราศจากราคะ เป็นพหูสูต
[๑๗๕] ให้อิ่มหนำด้วยข้าวและน้ำ จงอุทิศส่วนบุญให้ฉัน
เมื่อนั้น ฉันจักมีความสุข สำเร็จความปรารถนาทุกอย่าง
[๑๗๖] นันทิเสนอุบาสกนั้นรับคำแล้วได้ถวายทานเป็นอันมาก
คือ ข้าว น้ำ ของเคี้ยว ผ้า เสนาสนะ
ร่ม ของหอม ดอกไม้ และรองเท้าต่าง ๆ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๒. อุพพริวรรค] ๔. นันทาเปติวัตถุ
[๑๗๗] และเลี้ยงภิกษุทั้งหลายผู้มีศีลสมบูรณ์ ปราศจากราคะ
เป็นพหูสูต ให้อิ่มหนำด้วยข้าวและน้ำ
แล้วอุทิศส่วนบุญให้นางนันทานั้น
[๑๗๘] ในลำดับที่นันทิเสนอุบาสกอุทิศส่วนบุญให้นั้นเอง
วิบากคือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม และน้ำดื่ม
ก็เกิดขึ้นแก่นางเปรตนั้น นี้เป็นผลแห่งทักษิณา
[๑๗๙] ทันใดนั้น นางเปรตมีร่างกายหมดจด นุ่งผ้าสะอาด
สวมใส่ผ้าเนื้อดีกว่าผ้าแคว้นกาสี
มีพัสตราภรณ์และเครื่องประดับวิจิตรงดงาม เข้าไปหาสามี
(นันทิเสนอุบาสกถามว่า)
[๑๘๐] เทพธิดา เธอมีผิวพรรณงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ
สถิตอยู่ดุจดาวประกายพรึก
[๑๘๑] เพราะบุญอะไรเธอจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้
ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่เธอในที่นี้
และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่เธอ
[๑๘๒] เทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก ฉันขอถามว่า
สมัยเมื่อเธอเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะบุญอะไรเธอจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
(นันทาเทพธิดาตอบว่า)
[๑๘๓] ท่านนันทิเสนอุบาสก เมื่อก่อนฉันชื่อนันทา
เป็นภรรยาของท่าน เพราะทำกรรมชั่วไว้
จึงต้องจากโลกนี้ไปยังเปตโลก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๒. อุพพริวรรค] ๕. มัฏฐกุณฑลีเปตวัตถุ
[๑๘๔] ฉันบันเทิงอยู่เพราะทานที่ท่านอุทิศให้แล้ว
จึงไม่มีภัยแต่ที่ไหน ท่านคหบดี
ขอท่านพร้อมด้วยหมู่ญาติทุกคนจงมีอายุยืนนานเถิด
จงเข้าถึงสถานที่ที่ไม่มีความเศร้าโศก
ปราศจากธุลี มีความสำราญซึ่งเป็นที่อยู่ของท้าววสวัตดี
[๑๘๕] ท่านคหบดี ท่านประพฤติธรรม ให้ทานในโลกนี้
กำจัดมลทินคือความตระหนี่พร้อมทั้งเหตุได้แล้ว
ไม่มีใครตำหนิติเตียนได้ จงเข้าถึงโลกสวรรค์
นันทาเปติวัตถุที่ ๔ จบ

๕. มัฏฐกุณฑลีเปตวัตถุ
เรื่องมัฏฐกุณฑลีเปรตผู้ทำใจให้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าก่อนสิ้นใจ
(พราหมณ์ถามว่า)
[๑๘๖] เจ้าประดับตกแต่งร่างกาย ใส่ตุ้มหูเกลี้ยง
ทัดทรงดอกไม้ มีกายลูบไล้ด้วยจุรณแก่นจันทน์แดง
ประคองแขนคร่ำครวญอยู่กลางป่า
เจ้าเป็นทุกข์เรื่องอะไร
(มัฏฐกุณฑลีเทพบุตรตอบว่า)
[๑๘๗] เรือนรถที่ทำด้วยทองคำ
งามผุดผ่องเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้า
ข้าพเจ้ายังหาล้อรถทั้งคู่นั้นไม่ได้
เพราะความทุกข์นั้น ข้าพเจ้าจักยอมสละชีวิต
(พราหมณ์กล่าวว่า)
[๑๘๘] พ่อมาณพผู้เจริญ เจ้าอยากได้ล้อทองคำ ล้อแก้วมณี
ล้อทองแดง หรือล้อเงิน จงบอกข้ามา
ข้าจะจัดล้อทั้งคู่ให้เจ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๒. อุพพริวรรค] ๕. มัฏฐกุณฑลีเปตวัตถุ
[๑๘๙] มาณพนั้นกล่าวแก่พราหมณ์นั้นว่า
ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ทั้งสองย่อมปรากฏในท้องฟ้านั้น
รถทองคำของข้าพเจ้าย่อมงามด้วยล้อทั้งคู่นั้น
(พราหมณ์กล่าวว่า)
[๑๙๐] พ่อมาณพ เจ้าโง่นัก ที่มาปรารถนาสิ่งที่ไม่ควรปรารถนา
ข้าเข้าใจว่า เจ้าจักตายเสียก่อน
เพราะไม่มีทางที่จะได้ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์เลย
(มาณพกล่าวว่า)
[๑๙๑] แม้การโคจรไปมาของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ก็ยังปรากฏอยู่
รัศมีก็ยังปรากฏอยู่ในวิถีทั้งสอง
ส่วนคนที่ตายล่วงลับไปแล้วย่อมไม่ปรากฏ
เราทั้งสองผู้ร้องไห้คร่ำครวญอยู่ในที่นี้ ใครหนอโง่กว่ากัน
(พราหมณ์กล่าวว่า)
[๑๙๒] พ่อมาณพ เจ้าพูดจริงแท้ เราทั้งสองผู้ร้องไห้คร่ำครวญอยู่
ข้านี่แหละโง่กว่า มาปรารถนาถึงคนที่ตายล่วงลับไปแล้ว
เหมือนทารกร้องไห้อยากได้ดวงจันทร์
[๑๙๓] เจ้ามาช่วยรดข้าผู้เร่าร้อนให้สงบ
ดับความกระวนกระวายทั้งหมด
เหมือนคนใช้น้ำราดดับไฟที่ติดเปรียง
[๑๙๔] เจ้าบรรเทาความเศร้าโศกถึงบุตรของข้าผู้กำลังเศร้าโศก
ชื่อว่าได้ช่วยถอนลูกศรคือความโศก
ซึ่งเสียบที่หัวใจของข้าขึ้นได้แล้วหนอ
[๑๙๕] พ่อมาณพ ข้าซึ่งเจ้าช่วยถอนลูกศรคือความโศกขึ้นให้แล้ว
เย็นสงบแล้ว จะไม่เศร้าโศก ไม่ร้องไห้ เพราะได้ฟังคำของเจ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๒. อุพพริวรรค] ๕. มัฏฐกุณฑลีเปตวัตถุ
(พราหมณ์เมื่อจะถามต่อไป จึงกล่าวว่า)
[๑๙๖] เจ้าเป็นเทวดาหรือคนธรรพ์ หรือเป็นท้าวสักกปุรินททะ๑
เจ้าเป็นใคร หรือเป็นบุตรของใคร
เราจะรู้จักเจ้าได้อย่างไร
(มาณพเปิดเผยตนแก่พราหมณ์นั้นว่า)
[๑๙๗] ท่านเองเผาบุตรที่ป่าช้าแล้ว
คร่ำครวญร้องไห้ถึงบุตรคนใด
บุตรคนนั้นคือข้าพเจ้าซึ่งทำกุศลกรรมแล้ว
ถึงความเป็นสหายของทวยเทพชั้นดาวดึงส์
(พราหมณ์ถามว่า)
[๑๙๘] เมื่อเจ้าให้ทานน้อยหรือมากในเรือนของตน
หรือรักษาอุโบสถกรรมเช่นนั้น ข้าพเจ้ามิได้เห็น
เพราะทำกรรมอะไรไว้เจ้าจึงไปเทวโลกได้
(มาณพตอบว่า)
[๑๙๙] ข้าพเจ้าป่วยเป็นไข้ ได้รับทุกข์
มีกายกระสับกระส่ายอยู่ในที่อยู่ของตน
ได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ปราศจากกิเลสดังธุลี
ทรงข้ามพ้นความสงสัย เสด็จไปดีแล้ว มีพระปัญญาไม่ต่ำทราม

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึง ท้าวสักกะผู้ให้ทานในกาลก่อน เป็นชื่อหนึ่งของท้าวสักกะ ท้าวสักกะมีชื่อที่รู้กันส่วนมาก ๗
ชื่อ คือ (๑) ท้าวมฆวาน เพราะเคยเกิดเป็นมนุษย์ ชื่อมฆมาณพ (๒) ท้าวปุรินททะ เพราะเคยให้
ทานในกาลก่อน (๓) ท้าวสักกะ เพราะให้ทานโดยเคารพ (๔) ท้าววาสวะ เพราะให้ที่พักอาศัย
(๕) ท้าวสหัสสักขะ เพราะคิดเนื้อความตั้งพันได้โดยครู่เดียว (๖) ท้าวสุชัมบดี เพราะเป็นพระสวามีของ
นางสุชาดา (๗) ท้าวเทวานมินทะ เพราะครองราชเป็นใหญ่กว่าเทพชั้นดาวดึงส์ (วินัย. ๔/๒๕๘/๒๗๖)
อีกนัยหนึ่ง มี ๒๐ ชื่อ คือ สักกะ ปุรินททะ เทวราชา วชิรปาณี สุชัมบดี สหัสสักขะ มหินทะ
วชิราวุธ วาสวะ ทสสตนัย (สหัสสนัย) ติทิวาธิภู สุรนาถ วิชิรหัตถะ ภูตปัตยะ มฆวา โกสีย์ อินโท
วัตรภู ปากสาสน์ วิโฑโช (ดู อภิธา. คาถา ๑๘-๑๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๑๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๒. อุพพริวรรค] ๕. มัฏฐกุณฑลีเปตวัตถุ
[๒๐๐] ข้าพเจ้านั้นมีใจเบิกบาน มีจิตเลื่อมใส
ได้ทำอัญชลีกรรมแด่พระตถาคต
ข้าพเจ้าครั้นทำกุศลกรรมนั้นแล้ว
ได้เกิดร่วมกับหมู่เทพชั้นดาวดึงส์
(พราหมณ์กล่าวว่า)
[๒๐๑] น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยมีมาแล้วหนอ
อัญชลีกรรมมีผลเป็นได้ถึงเช่นนี้
แม้ข้าพเจ้าก็มีใจเบิกบาน มีจิตเลื่อมใส
จึงขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่ระลึกในวันนี้นี่เอง
(มาณพกล่าวว่า)
[๒๐๒] ท่านจงมีจิตเลื่อมใส
ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์
เป็นที่พึ่งที่ระลึกในวันนี้นี่แหละ
อนึ่ง ท่านจงสมาทานสิกขาบท ๕ อย่าให้ขาดและด่างพร้อย
[๒๐๓] คือ จงรีบงดเว้นจากการฆ่าสัตว์
เว้นขาดจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ในโลก
ยินดีเฉพาะภรรยาของตน
อย่ากล่าวเท็จ อย่าดื่มน้ำเมา
(พราหมณ์กล่าวว่า)
[๒๐๔] เทวดาผู้น่าบูชา ท่านเป็นผู้มุ่งประโยชน์เกื้อกูลแก่ข้าพเจ้า
ข้าพเจ้าจะทำตามคำของท่าน
ท่านเป็นอาจารย์ของข้าพเจ้า
[๒๐๕] ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า
ซึ่งเป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์
พระธรรมอันยอดเยี่ยม และพระสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๒. อุพพริวรรค] ๖. กัณหเปตวัตถุ
[๒๐๖] ข้าพเจ้าจะรีบงดเว้นจากการฆ่าสัตว์
เว้นขาดจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ในโลก
ยินดีเฉพาะภรรยาของตน
ไม่กล่าวเท็จ ไม่ดื่มน้ำเมา
มัฏฐกุณฑลีเปตวัตถุที่ ๕ จบ

๖. กัณหเปตวัตถุ
เรื่องเปรตกัณหโคตร
(โรหิไณยอำมาตย์กราบทูลว่า)
[๒๐๗] พระองค์ผู้กัณหโคตร๑ ขอพระองค์เสด็จลุกขึ้นเถิด
จะมัวบรรทมอยู่ทำไม
จะมีประโยชน์อะไรต่อพระองค์ด้วยการบรรทมอยู่เล่า
พระเกสวะ (บัดนี้) พระภาดาร่วมพระอุทรของพระองค์
ซึ่งเป็นดังพระหทัยและนัยน์เนตรเบื้องขวาของพระองค์
ทรงมีลมกำเริบ เพ้อคลั่งอยู่
[๒๐๘] พระเจ้าเกสวะทรงสดับคำของโรหิไณยอำมาตย์นั้นแล้ว
ได้ทรงอึดอัดเพราะความโศกถึงพระภาดา
จึงรีบเสด็จลุกขึ้นทันที
(ทรงจับมือทั้งสองของฆฏบัณฑิตไว้มั่น เมื่อจะทรงปราศรัย จึงตรัสว่า)
[๒๐๙] เหตุไรหนอ เธอจึงเป็นดังคนบ้า
เที่ยวบ่นเพ้ออยู่ทั่วพระนครทวารกะนี้ ว่า
กระต่าย ๆ เธอต้องการกระต่ายเช่นไร

เชิงอรรถ :
๑ โคตรดำ เป็นคำร้องเรียกถึงโคตรหรือเหล่ากอของพระวาสุเทพ (ซึ่งเป็นชื่อของพระนารายณ์ปาง
พระกฤษณะ) (ขุ.เป.อ. ๒๐๗/๑๐๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๒. อุพพริวรรค] ๖. กัณหเปตวัตถุ
[๒๑๐] ฉันจักให้นายช่างทำกระต่ายทองคำ กระต่ายแก้วมณี
กระต่ายโลหะ กระต่ายเงิน กระต่ายสังข์
กระต่ายศิลา กระต่ายแก้วประพาฬ ให้เธอ
[๒๑๑] แม้กระต่ายอื่น ๆ ที่เที่ยวหากินอยู่ในป่ายังมีอยู่
ฉันจักให้นำกระต่ายแม้เหล่านั้นมาให้เธอ
เธอต้องการกระต่ายเช่นไร
(ฆฏบัณฑิตกราบทูลว่า)
[๒๑๒] ข้าพระองค์ไม่ต้องการกระต่ายที่อยู่บนแผ่นดิน
ข้าพระองค์ต้องการกระต่ายจากดวงจันทร์
พระเกสวะ ขอพระองค์ได้ทรงพระกรุณา
โปรดนำกระต่ายนั้นลงมาประทานแก่หม่อมฉันเถิด
(พระเจ้าวาสุเทพตรัสว่า)
[๒๑๓] แน่ะพระญาติ เธอจักละชีวิตที่ประเสริฐยิ่งเสียแน่
เพราะเธอต้องการกระต่ายจากดวงจันทร์
ชื่อว่าปรารถนาสิ่งที่ไม่น่าปรารถนา
(ฆฏบัณฑิตกราบทูลว่า)
[๒๑๔] พระองค์ผู้กัณหโคตร หากพระองค์ทรงทราบ
ตามที่พระองค์ทรงพร่ำสอนบุคคลอื่น
เหตุไฉน พระองค์จึงทรงกรรแสงถึงพระราชโอรส
ที่ทิวงคตไปตั้งนาน จนถึงวันนี้เล่า
[๒๑๕] มนุษย์หรืออมนุษย์ไม่พึงได้ตามปรารถนาว่า
ขอบุตรของเราผู้เกิดมาแล้วอย่าตายเลย
พระองค์จะทรงได้พระราชโอรสที่ทิวงคตแล้ว
ซึ่งไม่ควรได้แต่ที่ไหน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๒. อุพพริวรรค] ๖. กัณหเปตวัตถุ
[๒๑๖] พระองค์ผู้กัณหโคตร พระองค์ไม่อาจจะนำพระราชโอรส
ผู้ทิวงคตแล้ว ที่พระองค์ทรงกรรแสงถึงมาได้ด้วยมนต์
ด้วยยาสมุนไพรหรือทรัพย์ได้
[๒๑๗] แม้ชนทั้งหลายที่มีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติมาก
ถึงจะเป็นกษัตริย์ผู้ครองแคว้น
มีทรัพย์และธัญญาหารมากมาย จะไม่แก่ตายก็ไม่มี
[๒๑๘] แม้เหล่าชนที่เป็นกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร
จัณฑาล ปุกกุสะ และชนประเภทอื่น ๆ
ผู้มีความเกิดของตนเป็นเหตุ จะไม่แก่ไม่ตายก็ไม่มี
[๒๑๙] แม้เหล่าชนผู้ร่ายมนต์พรหมจินดามีองค์ ๖๑
และเหล่าชนที่ใช้วิชาอื่น ๆ
จะไม่แก่ไม่ตาย ก็ไม่มี
[๒๒๐] อนึ่ง แม้ฤๅษีทั้งหลายผู้สงบ สำรวม บำเพ็ญตบะ
ก็ยังต้องละทิ้งร่างกายไปตามกาลอันสมควร
[๒๒๑] แม้พระอรหันต์ทั้งหลายผู้อบรมตนแล้ว ทำกิจเสร็จแล้ว
ไม่มีอาสวะ สิ้นบุญและบาป
ก็ยังต้องทอดทิ้งร่างกายนี้ไป
(พระเจ้าวาสุเทพตรัสว่า)
[๒๒๒] เธอมาช่วยรดเราผู้เร่าร้อนให้สงบ
ดับความกระวนกระวายทั้งหมด
เหมือนคนใช้น้ำราดดับไฟที่ติดเปรียง

เชิงอรรถ :
๑ องค์ ๖ คือ ๑. สิกขา (การศึกษาในการออกสำเนียง และการอ่าน มีการอ่านให้ถูกจังหวะ ให้คล่อง
และให้ไพเราะ) ๒. กัปปะ (รู้จักแบบแผน การกระทำกิจพิธีต่าง ๆ พิธีสวดคัมภีร์พระเวท ) ๓. นิรุตฺติ
(รู้จักมูลและคำแปลศัพท์) ๔. พยากรณะ (รู้จักตำราภาษามีของปาณินิ เป็นต้น) ๕. โธติสัตถะ (รู้จัก
ดวงดาวและหาฤกษ์ ผูกดวงชตา) ๖. ฉันทะ (รู้จักคณะฉันท์ แต่งฉันท์ได้) (ขุ.เปต.อ. ๒๑๙/๑๐๖) ดู
อภิธา. คาถา ๑๑๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๐๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๒. อุพพริวรรค] ๗. ธนปาลเสฏฐิเปตวัตถุ
[๒๒๓] เธอบรรเทาความเศร้าโศกถึงบุตรของเราผู้กำลังเศร้าโศก
ชื่อว่าได้ช่วยถอนลูกศรคือความโศก
ซึ่งเสียบที่หทัยของเราขึ้นได้แล้วหนอ
[๒๒๔] เราผู้ซึ่งเธอช่วยถอนลูกศรคือความโศกขึ้นได้แล้ว
เย็น สงบแล้ว จะไม่เศร้าโศก ไม่ร้องไห้
เพราะได้ฟังคำของเธอ
[๒๒๕] ชนเหล่าใดเป็นผู้อนุเคราะห์ ชนเหล่านั้นเป็นคนมีปัญญา
ย่อมทำอย่างนี้ ย่อมช่วยกันและกันให้หายจากความเศร้าโศก
เหมือนฆฏบัณฑิตช่วยพระเชษฐภาดาให้หายจากความเศร้าโศก
[๒๒๖] พวกอำมาตย์ผู้ถวายการรับใช้ของพระราชาพระองค์ใด
ย่อมเป็นเช่นนี้ ย่อมแนะนำด้วยสุภาษิต
เหมือนฆฏบัณฑิตแนะนำพระเชษฐภาดาของตน
กัณหเปตวัตถุที่ ๖ จบ

๗. ธนปาลเสฏฐิเปตวัตถุ
เรื่องธนปาลเศรษฐีเปรต
(พวกพ่อค้าถามเปรตตนหนึ่งว่า)
[๒๒๗] แน่ะเพื่อนยาก ท่านเปลือยกาย
มีผิวพรรณแและรูปร่างน่าเกลียดน่ากลัว
ซูบผอม มีร่างกายสะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น
มีแต่ซี่โครงผุดขึ้น มีร่างกายซูบผอม
ท่านเป็นใครกันหนอ
(เปรตนั้นตอบว่า)
[๒๒๘] ผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้าเกิดเป็นเปรตในยมโลก
ได้รับความลำบาก เพราะทำกรรมชั่วไว้
จึงต้องจากโลกนี้ไปยังเปตโลก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๒. อุพพริวรรค] ๗. ธนปาลเสฏฐิเปตวัตถุ
(พวกพ่อค้าถามว่า)
[๒๒๙] ท่านได้ทำกรรมชั่วทางกาย วาจา ใจอะไรไว้หรือ
เพราะผลกรรมอะไร ท่านจึงต้องจากโลกนี้ไปยังเปตโลก
(เปรตนั้นตอบว่า)
[๒๓๐] มีพระนครของพระเจ้าทสันนราช ปรากฏชื่อว่า เอรกัจฉะ
เมื่อก่อนข้าพเจ้าเป็นเศรษฐีอยู่ในนครนั้น
ชนทั้งหลายเรียกข้าพเจ้าว่า ธนปาลเศรษฐี
[๒๓๑] ข้าพเจ้ามีเงิน ๘๐ เล่มเกวียน ทองคำ
แก้วมุกดา แก้วไพฑูรย์ ก็มีมากมาย
[๒๓๒] แม้ข้าพเจ้าจะมีทรัพย์มากมายถึงเพียงนั้น
ก็ไม่พอใจที่จะให้ทาน ปิดประตูเรือนแล้ว จึงบริโภคอาหาร
ด้วยคิดว่า พวกยาจกอย่าได้เห็นเรา
[๒๓๓] ข้าพเจ้าไม่มีศรัทธา เป็นคนตระหนี่ กระด้าง
ได้ด่าพวกคนที่ให้ทาน ทำบุญ
และห้ามชนเป็นจำนวนมากที่ให้ทานทำบุญ
[๒๓๔] ด้วยคำว่า ผลแห่งทานไม่มี
ผลแห่งความสำรวมจักมีแต่ที่ไหน
จึงทำลายสระน้ำ บ่อน้ำ ที่เขาขุดไว้
ทำลายสวนดอกไม้ สวนผลไม้ ศาลาน้ำดื่ม
และสะพานในที่เดินลำบากให้พินาศ
[๒๓๕] ข้าพเจ้านั้นไม่ได้ทำความดี ทำแต่ความชั่วไว้
เคลื่อนจากมนุษยโลกนั้นแล้วจึงเกิดในแดนเปรต
มีแต่ความหิวกระหาย
[๒๓๖] ตลอด ๕๐ ปี ตั้งแต่ข้าพเจ้าตายแล้ว
ยังไม่ได้กินข้าวและดื่มน้ำเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๒. อุพพริวรรค] ๗. ธนปาลเสฏฐิเปตวัตถุ
[๒๓๗] ความหวงแหนทรัพย์เป็นความพินาศ
ความพินาศก็คือความหวงแหนทรัพย์
ได้ยินว่า เปรตทั้งหลายก็รู้ว่าความหวงแหนทรัพย์เป็นความพินาศ
[๒๓๘] เมื่อชาติก่อน ข้าพเจ้าหวงแหนทรัพย์
เมื่อทรัพย์มีอยู่เป็นจำนวนมากก็ไม่ได้ให้ทาน
เมื่อไทยธรรมมีอยู่ก็ไม่ได้ทำที่พึ่งแก่ตน
ข้าพเจ้านั้นได้รับผลกรรมของตน จึงเดือดร้อนในภายหลัง
[๒๓๙] พ้นจาก ๔ เดือนไปแล้ว ข้าพเจ้าจักตาย
จักตกนรกอันเร่าร้อนแสนสาหัส
[๒๔๐] นรกนั้นมี ๔ เหลี่ยม มีประตู ๔ ด้าน
กรรมสร้างจำแนกไว้เป็นส่วน ๆ
ล้อมรอบด้วยกำแพงเหล็ก ครอบไว้ด้วยแผ่นเหล็ก
[๒๔๑] พื้นนรกนั้นล้วนเป็นเหล็กแดงลุกเป็นเปลวเพลิง
ประกอบด้วยความร้อน แผ่ไปรอบตลอดร้อยโยชน์อยู่ตลอดกาล
[๒๔๒] ข้าพเจ้าจักต้องเสวยทุกขเวทนาในมหานรกนั้นยาวนาน
ด้วยว่าการเสวยทุกข์เช่นนี้เป็นผลกรรมชั่ว
เพราะฉะนั้นข้าพเจ้าจึงเศร้าโศกอย่างหนัก
[๒๔๓] ด้วยเหตุนี้ ข้าพเจ้าขอเตือนท่านทั้งหลาย
ขอความเจริญจงมีแก่ท่านทั้งหลายผู้มาประชุมกันในที่นี้
พวกท่านอย่าได้ทำกรรมชั่วทั้งในที่แจ้งหรือที่ลับ
[๒๔๔] ถ้าพวกท่านจักทำกรรมชั่วนั้นหรือกำลังทำอยู่
แม้พวกท่านจะเหาะหนีไปก็ไม่พ้นจากทุกข์ได้
[๒๔๕] ขอท่านทั้งหลายจงเกื้อกูลมารดา จงเกื้อกูลบิดา
ประพฤติอ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ในสกุล
เป็นผู้เกื้อกูลสมณะ เกื้อกูลพราหมณ์
ด้วยการปฏิบัติอย่างนี้ ท่านทั้งหลายจักไปสู่สวรรค์
ธนปาลกเสฏฐิเปตวัตถุที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๒. อุพพริวรรค] ๘. จูฬเสฏฐิเปตวัตถุ
๘. จูฬเสฏฐิเปตวัตถุ
เรื่องจูฬเศรษฐีเปรต
(พระเจ้าอชาตศัตรูตรัสถามเปรตนั้นว่า)
[๒๔๖] ท่านผู้เจริญท่านเป็นนักบวชเปลือยกายซูบผอม
เพราะผลกรรมอะไร ท่านจึงไปที่ไหน ๆ เฉพาะกลางคืน
ขอท่านจงบอกเหตุที่มาแก่ข้าพเจ้าเถิด
บางทีข้าพเจ้าอาจมอบทรัพย์เครื่องปลื้มใจจากโภคะทั้งปวงให้แก่ท่าน
(เปรตนั้นตอบว่า)
[๒๔๗] (เมื่อชาติก่อน) พระนครพาราณสีมีกิตติคุณเลื่องลือไปไกล
ข้าพระองค์เป็นคหบดีผู้มั่งคั่งอยู่ในพระนครนั้น
แต่เป็นคนมีจิตทราม ไม่เคยให้สิ่งของแก่ใคร
มีใจข้องอยู่ในอามิส ได้ตกไปถึงวิสัยแห่งพญายมเพราะเป็นผู้ทุศีล
[๒๔๘] เพราะบาปกรรมเหล่านั้น
ข้าพระองค์นั้นจึงลำบากเนื่องจากถูกความหิวเสียดแทง
เพราะความทุกข์อันเกิดแต่ความหิวนั้นแหละ
ข้าพระองค์ปรารถนาอามิส จึงได้มาหาหมู่ญาติ
มนุษย์แม้เหล่าอื่นมีปกติไม่ให้ทาน
และไม่เชื่อว่าผลแห่งทานมีอยู่ในปรโลก
[๒๔๙] ธิดาของข้าพระองค์พูดอยู่เสมอว่า
เราจักให้ทานอุทิศบิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย
พวกพราหมณ์บริโภค ทานที่นางจัดแจงแล้ว
ข้าพระองค์จะไปยังเมืองอันธกวินทะเพื่อบริโภคอาหาร
[๒๕๐] พระราชาจึงตรัสสั่งกับเขาว่า ถ้าท่านไปได้เสวยผลทานแม้นั้น
พึงรีบกลับมาบอกเหตุที่มีจริงแก่เรา
เราฟังคำมีเหตุผลอันควรเชื่อถือได้แล้ว จักทำสักการบูชาบ้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๒. อุพพริวรรค] ๘. จูฬเสฏฐิเปตวัตถุ
[๒๕๑] เปรตจูฬเศรษฐีรับพระดำรัสแล้ว ได้ไปยังเมืองอันธกวินทนั้น
(แต่ไม่ได้รับผลแห่งทานนั้น)
เพราะพราหมณ์ทั้งหลายที่บริโภคภัตร
เป็นผู้ไม่มีศีล ไม่ควรแก่ทักษิณา
ภายหลัง เปรตจูฬเศรษฐีกลับมายังกรุงราชคฤห์อีก
ได้แสดงกายให้ปรากฏเฉพาะพระพักตร์
ของพระเจ้าอชาตศัตรูผู้เป็นใหญ่กว่าหมู่ชน
[๒๕๒] พระราชาทอดพระเนตรเห็นเปรตนั้นกลับมาอีก
จึงตรัสถามว่า เราจะให้ทานอะไร
ถ้าเหตุที่จะทำให้ท่านอิ่มหนำตลอดกาลนานมีอยู่
ขอท่านจงบอกเหตุนั้นแก่เรา
(จูฬเศรษฐีเปรตกราบทูลว่า)
[๒๕๓] พระราชา ขอพระองค์จงทรงอังคาสพระพุทธเจ้า
และพระสงฆ์ด้วยข้าวน้ำและจีวร
แล้วทรงอุทิศส่วนบุญนั้นเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ข้าพระองค์
ด้วยทรงบำเพ็ญกิจอย่างนี้
ข้าพระองค์จะพึงอิ่มหนำตลอดกาลนาน
[๒๕๔] เพราะเหตุนั้น พระราชาจึงรีบเสด็จออก
ทรงถวายทานมากมายแก่สงฆ์ด้วยพระหัตถ์ของพระองค์
แล้วทรงกราบทูลเรื่องราวแด่พระตถาคต
และทรงอุทิศส่วนบุญให้แก่เปรตนั้น
[๒๕๕] จูฬเศรษฐีเปรตนั้นได้รับการบูชาแล้ว เป็นผู้งดงามยิ่งนัก
ได้มาปรากฏเฉพาะพระพักตร์ของพระราชาแล้วกราบทูลว่า
ข้าพระองค์เป็นเทวดาผู้มีฤทธิ์อย่างยอดเยี่ยม
มนุษย์ทั้งหลายผู้มีฤทธิ์เสมอเหมือนกับข้าพระองค์ไม่มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๐๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๒. อุพพริวรรค] ๙. อังกุรเปตวัตถุ
[๒๕๖] ขอพระองค์ทรงทอดพระเนตรอานุภาพ
ซึ่งหาประมาณมิได้ของข้าพระองค์นี้เถิด
ที่พระองค์ทรงถวายทานมากมายแก่สงฆ์
อุทิศแก่ข้าพระองค์ด้วยความอนุเคราะห์
พระองค์ผู้เป็นเทพแห่งมนุษย์
ข้าพระองค์เป็นผู้ที่พระองค์ทรงให้อิ่มหนำตลอดกาลเป็นนิตย์
ด้วยไทยธรรมเป็นอันมาก
บัดนี้ ข้าพระองค์มีความสุขแล้ว จึงขอทูลลา
จูฬเสฏฐิเปตวัตถุที่ ๘ จบ
ภาณวารที่ ๑ จบ

๙. อังกุรเปตวัตถุ
เรื่องอังกุระกับเปรต
(พราหมณ์พ่อค้าคนหนึ่งเห็นของทิพย์ออกจากมือรุกขเทวดา๑ จึงเกิดความโลภ
ขึ้น ได้บอกแก่อังกุรพาณิชว่า)
[๒๕๗] เราทั้งหลายนำทรัพย์ที่หาได้ไปสู่แคว้นกัมโพชะเพื่อประโยชน์ใด
พวกเราจะนำเทพบุตรผู้ให้สิ่งที่เราต้องการจะได้นี้ไปเพื่อประโยชน์นั้น
[๒๕๘] พวกเราจะอ้อนวอนเทพบุตรนี้
หรือบังคับให้ขึ้นยานแล้วรีบเดินทางไปยังเมืองทวารวดีโดยเร็ว
(อังกุรพาณิชเมื่อจะห้ามพราหมณ์พ่อค้านั้นจึงได้กล่าวคาถาว่า)
[๒๕๙] บุคคลอาศัยนั่งหรือนอนที่ร่มเงาของต้นไม้ใด
แม้แต่กิ่งของต้นไม้นั้นก็ไม่ควรหัก
เพราะผู้ประทุษร้ายมิตรเป็นคนเลวทราม

เชิงอรรถ :
๑ เทวดาประจำต้นไม้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๒. อุพพริวรรค] ๙. อังกุรเปตวัตถุ
(พราหมณ์พ่อค้ากล่าวว่า)
[๒๖๐] บุคคลอาศัยนั่งหรือนอนที่ร่มเงาของต้นไม้ใด
แม้ลำต้นของต้นไม้นั้นก็พึงตัดได้ ถ้ามีความต้องการเช่นนั้น
(อังกุรพาณิชกล่าวว่า)
[๒๖๑] บุคคลอาศัยนั่งหรือนอนที่ร่มเงาของต้นไม้ใด
แม้แต่ใบของต้นไม้นั้นก็ไม่ควรทำลาย
เพราะผู้ประทุษร้ายมิตรเป็นคนเลวทราม
(พราหมณ์พ่อค้ากล่าวว่า)
[๒๖๒] บุคคลอาศัยนั่งหรือนอนที่ร่มเงาของต้นไม้ใด
แม้ต้นไม้นั้นพร้อมทั้งรากก็พึงถอนได้ ถ้ามีความต้องการเช่นนั้น
(อังกุรพาณิชกล่าวว่า)
[๒๖๓] ด้วยว่าบุรุษพักอยู่ในเรือนของบุคลใดเพียงหนึ่งคืน
หรือได้ข้าวน้ำในที่อยู่ของบุคคลใด ไม่ควรมีจิตคิดร้ายต่อบุคคลนั้น
ความเป็นผู้กตัญญูสัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญแล้ว
[๒๖๔] บุคคลพึงพักอยู่ในเรือนของบุคคลใดแม้เพียงหนึ่งคืน
ได้รับบำรุงด้วยข้าวและน้ำ ก็ไม่ควรมีจิตคิดร้ายต่อบุคคลนั้น
บุคคลผู้มีมืออันไม่เบียดเบียนย่อมทำให้บุคคล
ผู้ประทุษร้ายมิตรเดือดร้อน
[๒๖๕] บุคคลใดทำความดีไว้ในกาลก่อน
ภายหลังกลับเบียดเบียนบุพการีชนด้วยความชั่ว
บุคคลนั้นชื่อว่าเป็นคนอกตัญญู ย่อมไม่พบเห็นความเจริญ
บุคคลใดประทุษร้ายต่อคนผู้ไม่ประทุษร้าย
เป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่มีกิเลสเครื่องยียวน
ความชั่วย่อมกลับมาถึงบุคคลนั้นซึ่งเป็นคนพาลแน่แท้
ดังธุลีอันละเอียดที่บุคคลซัดไปทวนลมฉะนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๒. อุพพริวรรค] ๙. อังกุรเปตวัตถุ
(รุกขเทวดาฟังคำโต้ตอบของคนทั้งสองนั้นแล้ว โกรธพราหมณ์ จึงกล่าวว่า)
[๒๖๖] ไม่เคยมีเทวดา มนุษย์
หรือผู้เป็นใหญ่คนใดจะมาข่มเหงเราได้โดยง่าย
เราเป็นเทวดาผู้มีฤทธิ์อย่างยอดเยี่ยม
ไปได้ไกล ประกอบด้วยรูปสมบัติและกำลัง
(อังกุรพาณิชจึงถามรุกขเทวดานั้นว่า)
[๒๖๗] ฝ่ามือของท่านมีสีดังทองคำทั่วไปหมด
ทรงไว้ซึ่งวัตถุที่บุคคลอื่นปรารถนาด้วยนิ้วทั้ง ๕
เป็นที่ไหลออกแห่งวัตถุมีรสอร่อย
รสต่าง ๆ ย่อมไหลออก
ข้าพเจ้าเข้าใจว่า ท่านเป็นท้าวสักกะผู้ให้ทานในปางก่อน
(รุกขเทวดาตอบว่า)
[๒๖๘] เราไม่ใช่เทวดา ไม่ใช่คนธรรพ์
ทั้งไม่ใช่ท้าวสักกะผู้ให้ทานในปางก่อน
อังกุระเอ๋ย ท่านจงทราบว่า
เราเป็นเปรตจุติจากโรรุวนครมาอยู่ที่ต้นไทรนี้
(อังกุรพาณิชถามว่า)
[๒๖๙] เมื่อก่อน ท่านอยู่ในโรรุวนคร
ท่านรักษาศีลเช่นไร มีความประพฤติชอบอย่างไร
เพราะพรหมจรรย์อะไร
ผลบุญจึงสำเร็จที่ฝ่ามือของท่าน
(รุกขเทวดาตอบว่า)
[๒๗๐] เมื่อก่อน เราเป็นช่างหูกอยู่ในโรรุวนคร
มีความเป็นอยู่แสนจะฝืดเคือง น่าสงสาร
ในขณะนั้น เราไม่มีอะไรจะให้ทาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๒. อุพพริวรรค] ๙. อังกุรเปตวัตถุ
[๒๗๑] เรือนของเราอยู่ใกล้เรือนของอสัยหเศรษฐีซึ่งเป็นผู้มีศรัทธา
เป็นใหญ่ในทาน ทำบุญไว้แล้ว มีความละอาย
[๒๗๒] พวกยาจกวณิพกมีโคตรต่างกัน ไปที่บ้านของเรานั้น
พากันถามเราถึงเรือนของอสัยหเศรษฐีว่า
[๒๗๓] ขอความเจริญจงมีแก่ท่านทั้งหลาย
พวกเราจะไปทางไหน เขาให้ทานกันที่ไหน
เราถูกพวกยาจกวณิพกถามแล้ว
จึงได้ชี้บอกเรือนของอสัยหเศรษฐี
[๒๗๔] ได้ยกมือเบื้องขวาชี้บอกเรือนของอสัยหเศรษฐีว่า
ท่านทั้งหลายจงไปทางนี้ ความเจริญจักมีแก่ท่านทั้งหลาย
เขาให้ทานอยู่ที่เรือนของอสัยหเศรษฐีนั่น
[๒๗๕] เพราะเหตุนั้น ฝ่ามือของเราจึงให้สิ่งที่น่าปรารถนา
เป็นที่หลั่งออกแห่งวัตถุมีรสอร่อย
เพราะการทำดีนั้น ผลบุญย่อมสำเร็จที่ฝ่ามือของเรา
(อังกุรพาณิชถามว่า)
[๒๗๖] ได้ยินว่า ท่านไม่ได้ให้ทานแก่ใคร ๆ ด้วยมือทั้งสองของตน
เป็นแต่ร่วมอนุโมทนาทานของผู้อื่น
ยกมือชี้บอกทางให้
[๒๗๗] เพราะเหตุนั้น ฝ่ามือของท่านจึงให้สิ่งที่น่าปรารถนา
เป็นที่หลั่งออกแห่งวัตถุมีรสอร่อย
เพราะการทำความดีนั้น ผลบุญจึงสำเร็จที่ฝ่ามือของท่าน
[๒๗๘] ท่านผู้เจริญ อสัยหเศรษฐีผู้เลื่อมใส
ได้ให้ทานด้วยมือทั้งสองของตน
ละร่างมนุษย์แล้วไปยังทิศไหนหนอ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๒. อุพพริวรรค] ๙. อังกุรเปตวัตถุ
(รุกขเทวดาตอบว่า)
[๒๗๙] ข้าพเจ้าไม่รู้ทางไปหรือทางมา
ของอสัยหเศรษฐีผู้มีรัศมีซ่านออกจากตน
แต่เราได้ฟังมาในสำนักของท้าวเวสวัณว่า
อสัยหเศรษฐีได้เป็นสหายของท้าวสักกะ
(อังกุรพาณิชกล่าวว่า)
[๒๘๐] บุคคลควรทำความดีแท้
ควรให้ทานตามสมควร
ใครเล่าได้เห็นฝ่ามือซึ่งให้สิ่งที่น่าปรารถนาแล้วจักไม่ทำบุญ
[๒๘๑] เราจากที่นี้ไปถึงเมืองทวารวดี
จักรีบบำเพ็ญทานซึ่งจักนำความสุขมาให้เราแน่นอน
[๒๘๒] จักให้ข้าว น้ำ ผ้า ที่อยู่อาศัย บ่อน้ำดื่ม สระน้ำ
และสะพานในที่เดินลำบากเป็นทาน
(อังกุรพาณิชถามรุกขเทวดาว่า)
[๒๘๓] เพราะเหตุไร นิ้วมือของท่านจึงหงิกงอ
หน้าของท่านจึงบิดเบี้ยว
และนัยน์ตาทั้งสองจึงเขรอะ(ด้วยขี้ตา)
ท่านได้ทำบาปอะไรไว้
(รุกขเทวดานั้นตอบว่า)
[๒๘๔] เราได้รับแต่งตั้งให้เป็นใหญ่ในการให้ทาน
ในโรงทานของคหบดีผู้มีรัศมีซ่านออกจากตน
มีศรัทธา ยังครองเรือนอยู่
[๒๘๕] เห็นยาจกผู้ต้องการอาหารพากันมาที่โรงทานนั้นแล้ว
ได้หลีกไปทำหน้างออยู่ ณ ที่ข้างหนึ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๒. อุพพริวรรค] ๙. อังกุรเปตวัตถุ
[๒๘๖] เพราะกรรมนั้น นิ้วของเราจึงหงิกงอ
หน้าของเราจึงบิดเบี้ยว และนัยน์ตาทั้งสองของเราจึงเขรอะ
เราได้ทำบาปนั้นไว้
(อังกุรพาณิชถามว่า)
[๒๘๗] แน่ะบุรุษเลวทราม สมควรแล้วที่ท่านมีหน้าบิดเบี้ยว
นัยน์ตาทั้งสองจึงเขรอะ เพราะท่านได้ทำหน้างอต่อทานของผู้อื่น
[๒๘๘] ทำไม อสัยหเศรษฐีเมื่อจะให้ทาน
จึงได้มอบข้าว น้ำ ของเคี้ยว ผ้า
และที่อยู่อาศัยให้ผู้อื่นจัดแจง
[๒๘๙] เราจากที่นี้ไปถึงเมืองทวาราวดี
จักรีบบำเพ็ญทานซึ่งจะนำความสุขมาให้แก่เราแน่นอน
[๒๙๐] จักให้ข้าว น้ำ ผ้า ที่อยู่อาศัย บ่อน้ำ สระน้ำ
และสะพานในที่ที่เดินลำบากเป็นทาน
[๒๙๑] อังกุรพาณิชนั้นกลับจากทะเลทรายนั้น
ไปถึงเมืองทวาราวดีแล้ว
เริ่มบำเพ็ญทานซึ่งจะนำความสุขมาให้ตน
[๒๙๒] ได้ให้ข้าว น้ำ ผ้า ที่อยู่อาศัย บ่อน้ำ สระน้ำ
ด้วยจิตอันเลื่อมใสแล้ว
[๒๙๓] ช่างกัลบก พ่อครัวชาวมคธพากันป่าวร้องในเรือน
ของอังกุรพาณิชนั้นทั้งในเวลาเย็นทั้งในเวลาเช้าทุกวันว่า
ใครหิวจงมารับประทานตามชอบใจ
ใครกระหายจงมาดื่มตามชอบใจ
ใครจักนุ่งห่มผ้าจงมานุ่งห่มตามชอบใจ
ใครต้องการพาหนะเทียมรถจงเลือกพาหนะที่ชอบใจ
จากหมู่พาหนะเทียมรถนี้แล้วเทียมเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๒. อุพพริวรรค] ๙. อังกุรเปตวัตถุ
[๒๙๔] ใครต้องการร่มจงมาเอาร่มไป
ใครต้องการของหอมจงมาเอาของหอมไป
ใครต้องการดอกไม้จงมาเอาดอกไม้ไป
ใครต้องการรองเท้าจงมาเอารองเท้าไป
[๒๙๕] ชนย่อมยกย่องเราว่า อังกุรพาณิชนอนเป็นสุข
สินธุมาณพเอ๋ย เพราะไม่เห็นเหล่าชนผู้ขอ เราจึงนอนเป็นทุกข์
[๒๙๖] ชนย่อมยกย่องเราว่า อังกุรพาณิชนอนเป็นสุข
สินธุมาณพเอ๋ย เมื่อวณิพกมีน้อย เราจึงนอนเป็นทุกข์
(สินธุมาณพได้ฟังดังนั้นจึงกล่าวว่า)
[๒๙๗] ถ้าท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่กว่าชาวดาวดึงส์
และเป็นใหญ่กว่าชาวโลกทั้งปวง พึงประทานพรแก่ท่าน
เมื่อท่านจะเลือก ท่านจะเลือกขอพรเช่นไร
(อังกุรพาณิชกล่าวว่า)
[๒๙๘] ถ้าท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่กว่าชาวดาวดึงส์ พึงประทานพรแก่เรา
เราจะพึงขอพรว่า เมื่อเราลุกขึ้นแต่เช้า ในเวลาพระอาทิตย์ขึ้น
ภักษาหารอันเป็นทิพย์และเหล่าชนผู้ขอซึ่งมีศีลพึงปรากฏขึ้น
[๒๙๙] เมื่อเราให้อยู่ ไทยธรรมไม่พึงสิ้นไป
ครั้นเราให้ทานนั้นแล้ว ไม่พึงเดือดร้อนในภายหลัง
เมื่อกำลังให้ พึงยังจิตให้เลื่อมใส
ข้าพเจ้าพึงเลือกขอพรอย่างนี้กับท้าวสักกะ
(โสนกบุรุษกล่าวเตือนอังกุรพาณิชว่า)
[๓๐๐] บุคคลไม่ควรให้ทรัพย์เครื่องปลื้มใจทั้งหมดแก่บุคคลอื่น
ควรให้ทานและควรรักษาทรัพย์ไว้
เพราะว่าทรัพย์เท่านั้นประเสริฐกว่าทาน
เพราะการให้ทานเกินประมาณ สกุลทั้งหลายจะล่มจม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๒. อุพพริวรรค] ๙. อังกุรเปตวัตถุ
[๓๐๑] บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่สรรเสริญการไม่ให้ทานและการให้เกินควร
เพราะเหตุนั้นแหละ ทรัพย์เท่านั้นประเสริฐกว่าทาน
ประเพณีแห่งการให้ทานและการไม่ให้
เป็นธรรมเนียมของบุคคลผู้เป็นนักปราชญ์ พึงเป็นไปโดยพอเหมาะ
(อังกุรพาณิชกล่าวว่า)
[๓๐๒] ชาวเราทั้งหลาย ดีหนอ เราพึงให้ทานแน่แท้
ด้วยว่าสัตบุรุษทั้งหลายผู้สงบระงับพึงคบหาเรา
เราพึงทำความประสงค์ของวณิพกทั้งปวงให้เต็ม เลี้ยงดูให้อิ่มหนำ
เปรียบเหมือนฝนตกทำที่ลุ่มทั้งหลายให้เต็ม
[๓๐๓] บุคคลผู้มีสีหน้าผ่องใส เพราะเห็นเหล่าชนผู้ขอ
ครั้นให้ทานแล้วมีใจเบิกบาน
ข้อนั้นเป็นความสุขของบุคคลผู้อยู่ครองเรือน
[๓๐๔] บุคคลผู้มีสีหน้าผ่องใส เพราะเห็นเหล่าชนผู้ขอ
ครั้นให้ทานแล้วมีใจเบิกบาน
นี้เป็นความถึงพร้อมแห่งยัญ(บุญ)
[๓๐๕] ก่อนแต่ให้ก็มีใจดี
เมื่อกำลังให้ก็ทำจิตให้เลื่อมใส
ครั้นให้แล้วก็มีใจเบิกบาน
นี้เป็นความถึงพร้อมแห่งยัญ
(พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายกล่าวเป็นคาถาว่า)
[๓๐๖] ในเรือนของอังกุรพาณิชผู้มุ่งบุญ
เขาให้โภชนะแก่หมู่ชนวันละ ๖๐,๐๐๐ เล่มเกวียนเป็นนิตย์
[๓๐๗] พ่อครัว ๓,๐๐๐ คนประดับด้วยต่างหูแก้วมณี
เป็นผู้ขวนขวายในการให้ทาน
พากันเข้าไปอาศัยอังกุรพาณิชเลี้ยงชีพ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๒. อุพพริวรรค] ๙. อังกุรเปตวัตถุ
[๓๐๘] มาณพ ๖๐,๐๐๐ คนประดับด้วยต่างหูแก้วมณี
ช่วยกันผ่าฟืนในมหาทานของอังกุรพาณิช
[๓๐๙] นารี ๑๖,๐๐๐ คนประดับด้วยเครื่องประดับทั้งปวง
ช่วยกันบดเครื่องเทศ(สำหรับปรุงอาหาร)
ในมหาทานของอังกุรพาณิช
[๓๑๐] นารีอีก ๑๖,๐๐๐ คนประดับด้วยเครื่องประดับทั้งปวง
ถือทัพพีเข้าไปยืนคอยรับใช้ในมหาทานของอังกุรพาณิช
[๓๑๑] อังกุรพาณิชนั้นได้ให้ของเป็นอันมาก
แก่คนจำนวนมากโดยประการต่าง ๆ
ได้ทำความเคารพและความเลื่อมใสในกษัตริย์ด้วยมือของตนบ่อย
ให้ทานโดยประการต่าง ๆ สิ้นกาลนาน
[๓๑๒] อังกุรพาณิชบำเพ็ญมหาทานให้เป็นไปแล้วตลอดเดือน
ตลอดปักษ์ ตลอดฤดู ตลอดปีเป็นอันมาก ตลอดกาลนาน
[๓๑๓] อังกุรพาณิชนั้นได้ให้ทาน บูชาแล้วอย่างนี้ตลอดกาลนาน
ละร่างมนุษย์แล้ว ได้ไปบังเกิดในภพดาวดึงส์
[๓๑๔] อินทกมาณพถวายภิกษาทัพพีหนึ่งแก่พระอนุรุทธเถระ
ละร่างมนุษย์แล้วได้ไปบังเกิดในภพดาวดึงส์
[๓๑๕] แต่อินทกเทพบุตรรุ่งเรืองยิ่งกว่าอังกุรเทพบุตร
โดยฐานะ ๑๐ อย่าง คือ
รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่น่ารื่นรมย์ใจ
[๓๑๖] อายุ ยศ วรรณะ สุข และความเป็นใหญ่ยิ่ง
(พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า) อังกุระ
ท่านให้มหาทานสิ้นกาลนาน
มาในสำนักของเรา ไฉนจึงนั่งอยู่ไกลนัก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๒. อุพพริวรรค] ๙. อังกุรเปตวัตถุ
[๓๑๗] ครั้งที่พระพุทธเจ้าซึ่งเป็นบุรุษผู้สูงสุด
ประทับอยู่ที่บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์๑
ที่โคนต้นปาริฉัตตกพฤษ์ ณ ภพดาวดึงส์
[๓๑๘] เทวดาในหมื่นโลกธาตุพากันมานั่งประชุม
เฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งประทับอยู่บนยอดเขา
[๓๑๙] ไม่มีเทวดาตนไหนมีผิวพรรณงามรุ่งเรือง
ยิ่งกว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้นงดงามรุ่งเรืองยิ่งกว่าเทวดาทั้งปวง
[๓๒๐] ครั้งนั้น อังกุรเทพบุตรนี้อยู่ในที่ไกล ๑๒ โยชน์
จากที่พระศาสดาประทับอยู่
ส่วนอินทกเทพบุตรนั่งในที่ใกล้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า รุ่งเรืองยิ่งกว่า
[๓๒๑] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทอดพระเนตรเห็น
อังกุรเทพบุตรและอินทกเทพบุตร
เมื่อจะทรงประกาศพระทักขิไณยบุคคล
จึงได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า
[๓๒๒] อังกุรเทพบุตร ท่านให้มหาทานสิ้นกาลนาน
มาในสำนักของเรา ไฉนจึงนั่งอยู่ไกลนัก
[๓๒๓] อังกุรเทพบุตรผู้อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้อบรมพระองค์เองทรงตักเตือนแล้ว
ได้กราบทูลดังนี้ว่า จะประสงค์อะไรด้วยทานของข้าพระองค์นั้น
ซึ่งว่างจากพระทักขิไณยบุคคล
[๓๒๔] อินทกเทพบุตรนี้ให้ทานนิดหน่อย
รุ่งเรืองยิ่งกว่าข้าพระองค์
ดังดวงจันทร์รุ่งเรืองยิ่งกว่าหมู่ดาว

เชิงอรรถ :
๑ แท่นหินที่มีสีเหมือนผ้ากัมพล (สีเหลือง)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๒. อุพพริวรรค] ๑๐. อุตตรมาตุเปติวัตถุ
(อินทกเทพบุตรกราบทูลว่า)
[๓๒๕] พืชแม้มากที่บุคคลหว่านลงในนาดอน
ย่อมมีผลไม่ไพบูลย์ ทั้งไม่ทำชาวนาให้ปลื้มใจ ฉันใด
[๓๒๖] ทานมากมายที่บุคคลตั้งไว้ในบุคคลผู้ทุศีล
ย่อมมีผลไม่ไพบูลย์ ทั้งไม่ทำทายกให้ปลื้มใจ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
[๓๒๗] พืชแม้น้อยที่บุคคลหว่านลงในนาดี
เมื่อฝนตกสม่ำเสมอ ผลย่อมทำชาวนาให้ปลื้มใจ ฉันใด
[๓๒๘] อุปการะแม้น้อยที่บุคคลทำแล้วในท่านผู้มีศีล
มีคุณความดี ผู้คงที่ บุญย่อมกลับมีผลมาก ฉันนั้นเหมือนกัน
[๓๒๙] ควรเลือกให้ทานในเขตที่บุคคลให้แล้วมีผลมาก
ทายกเลือกให้ทานแล้ว จึงไปสู่สวรรค์
[๓๓๐] ทานที่เลือกให้พระสุคตทรงสรรเสริญ
ทานที่ทายกให้ในพระทักขิไณยบุคคลทั้งหลายซึ่งยังอยู่ในมนุษยโลกนี้
ย่อมมีผลมาก เหมือนพืชที่หว่านลงในนาดี
อังกุรเปตวัตถุที่ ๙ จบ

๑๐. อุตตรมาตุเปติวัตถุ
เรื่องนางเปรตมารดาของอุตตรมาณพ
[๓๓๑] นางเปรตผู้มีผิวพรรณน่าเกลียดน่ากลัว
เข้าไปหาภิกษุนั้นผู้อยู่ในที่พักกลางวัน
ซึ่งนั่งอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำคงคา
[๓๓๒] นางมีผมยาวห้อยลงมาจรดพื้นดิน
มีผมปกคลุมอยู่แล้ว
ได้กล่าวกับสมณะนั้นดังนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๒. อุพพริวรรค] ๑๐. อุตตรมาตุเปติวัตถุ
[๓๓๓] ตั้งแต่ดิฉันตายจากมนุษยโลกเป็นเวลา ๕๕ ปีแล้ว
ยังไม่ได้กินข้าวและดื่มน้ำเลย
ขอท่านจงให้น้ำดื่มแก่ดิฉันผู้กระหายน้ำด้วยเถิด เจ้าค่ะ
(ภิกษุนั้นกล่าวว่า)
[๓๓๔] แม่น้ำคงคานี้มีน้ำเย็น ไหลมาจากภูเขาหิมพานต์
เธอจงตักน้ำจากแม่น้ำคงคานั้นดื่มเถิด จะมาขอเราทำไม
(นางเปรตนั้นตอบว่า)
[๓๓๕] ท่านผู้เจริญ ถ้าดิฉันตักน้ำในแม่น้ำคงคาดื่มเอง
น้ำนั้นจะกลายเป็นเลือด (เพราะผลแห่งบาปกรรม)ของดิฉัน
เพราะฉะนั้น ดิฉันจึงขอน้ำดื่ม
(ภิกษุนั้นถามว่า)
[๓๓๖] เมื่อก่อนเธอได้ทำกรรมชั่วทางกาย วาจา ใจอะไรไว้หรือ
เพราะผลกรรมอะไรน้ำในแม่น้ำคงคาจึงกลายเป็นเลือดปรากฏแก่เธอ
(นางเปรตนั้นตอบว่า)
[๓๓๗] ดิฉันมีลูกชายคนหนึ่งชื่ออุตตระ เป็นอุบาสกมีศรัทธา
และเขาได้ถวายจีวร บิณฑบาต ที่นอน ที่นั่ง และยาสำหรับแก้ไข้
แก่สมณะทั้งหลายด้วยความไม่พอใจของดิฉัน
[๓๓๘] ดิฉันถูกความตระหนี่ครอบงำ ได้ด่าเขาว่า
[๓๓๙] เจ้าถวายจีวร บิณฑบาต ที่นอน ที่นั่ง
และยาสำหรับแก้ไข้ ด้วยความไม่พอใจของแม่
[๓๔๐] เจ้าอุตตระ สิ่งนั้นจงกลายเป็นเลือดปรากฏแก่เจ้าในปรโลก
เพราะผลกรรมนั้นน้ำในแม่น้ำคงคาจึงกลายเป็นเลือดปรากฏแก่ดิฉัน
อุตตรมาตุเปติวัตถุที่ ๑๐ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๒. อุพพริวรรค] ๑๑. สุตตเปตวัตถุ
๑๑. สุตตเปตวัตถุ
เรื่องหญิงผู้ถวายด้ายได้ไปอยู่กับเปรต
(หญิงคนหนึ่งไปอยู่กับเวมานิกเปรตเป็นเวลา ๗๐๐ ปี เกิดความเบื่อหน่าย
จึงกล่าวกับเวมานิกเปรตนั้นว่า)
[๓๔๑] เมื่อก่อน ฉันได้ถวายด้ายแก่ภิกษุซึ่งเข้าไปขอถึงเรือนของฉัน
ฉันได้เสวยวิบากซึ่งเป็นผลแห่งการถวายด้ายนั้น
อนึ่ง ผ้ามากมายหลายโกฏิบังเกิดมีแก่ฉัน
[๓๔๒] วิมานของฉันดารดาษไปด้วยดอกไม้ น่ารื่นรมย์ แสนจะงดงาม
ทั้งเทพบุตรเทพธิดาพากันมาชมไม่ขาดสาย
ฉันเลือกใช้สอยนุ่งและห่มตามปรารถนาถึงเพียงนี้
สรรพวัตถุซึ่งเป็นอุปกรณ์เครื่องปลื้มใจมากมายก็ยังไม่สิ้นไป
[๓๔๓] ฉันได้รับความสุขและความสำราญในวิมานนี้
เพราะอาศัยวิบากแห่งกรรมนั้นเอง
กลับไปยังมนุษยโลกแล้วจักทำบุญให้มากขึ้น
ลูกเจ้า ขอเจ้าจงนำฉันกลับไปยังมนุษยโลกเถิด
(เวมานิกเปรตกล่าวว่า)
[๓๔๔] ท่านมาอยู่ในวิมานนี้กว่า ๗๐๐ ปี เป็นคนแก่เฒ่าแล้ว
จะไปอยู่ในมนุษยโลกทำไม อนึ่ง ญาติของท่านตายไปหมดแล้ว
ท่านจากเปตโลกนี้ไปยังมนุษยโลกนั้นแล้วจักทำอะไรได้
(หญิงนั้นกล่าวว่า)
[๓๔๕] เมื่อฉันอยู่ที่วิมานนี้ ๗ ปี๑ ได้เสวยทิพสมบัติและความสุข
อิ่มหนำแล้วกลับไปยังมนุษยโลกตามเดิม จักทำบุญให้มาก
ลูกเจ้า ขอท่านจงนำฉันไปส่งยังมนุษยโลกเถิด

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า ๗ ปี ในที่นี้หมายถึง ๗๐๐ ปี นั้นเอง เพราะผู้ที่เสวยความสุขอันเป็นทิพย์ ย่อมไม่กำหนด
วันเวลาที่ผ่านไป (ขุ.เป.อ. ๓๔๕/๑๕๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๒. อุพพริวรรค] ๑๒. กัณณมุณฑเปติวัตถุ
[๓๔๖] เวมานิกเปรตนั้นจับแขนหญิงนั้น
นำกลับไปส่งยังบ้านที่นางเกิดและเจริญวัย
แล้วพูดกับหญิงนั้นซึ่งกลายเป็นหญิงแก่มีกำลังน้อยที่สุดว่า
เธอจงบอกชนแม้อื่นในที่นี้ว่า
ท่านทั้งหลายจงทำบุญจะได้รับความสุข
[๓๔๗] มนุษย์ทั้งหลายย่อมเดือดร้อนเหมือนเปรตทั้งหลายที่เราเห็นแล้ว
เดือดร้อนอยู่เพราะไม่ได้ทำกรรมดีไว้
ก็หมู่สัตว์คือเทวดาและมนุษย์ทำกรรมมีสุขเป็นวิบากแล้ว
เป็นผู้ดำรงอยู่ในความสุข
สุตตเปตวัตถุที่ ๑๑ จบ

๑๒. กัณณมุณฑเปติวัตถุ
เรื่องนางเปรตผู้ถูกสุนัขกัณณมุณฑกัดกินเนื้อ
(พระเจ้าพาราณสีตรัสถามนางเวมานิกเปรตว่า)
[๓๔๘] สระโบกขรณีมีน้ำใสเย็น มีบันไดทองคำ
มีพื้นดาดด้วยทรายทองคำ
ในสระโบกขรณีนั้นมีต้นไม้สวยงาม มีกลิ่นหอมยวนใจ
[๓๔๙] ดาดดื่นไปด้วยหมู่ไม้นานาพันธุ์
ตลบอบอวลไปด้วยกลิ่นหอมต่าง ๆ
ดารดาษไปด้วยบัวนานาชนิด รายล้อมไปด้วยบัวขาว
[๓๕๐] มีกลิ่นหอมเจริญใจ
ยามต้องลมรำเพยพัดก็โชยกลิ่นหอมระรื่นฟุ้งขจรไป
ระงมไปด้วยเสียงหงส์และนกกะเรียน
นกจักรพาก๑มาส่งเสียงร้องไพเราะจับใจ

เชิงอรรถ :
๑ นกชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์นกเป็ดน้ำ (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๒. อุพพริวรรค] ๑๒. กัณณมุณฑเปติวัตถุ
[๓๕๑] ขวักไขว่ไปด้วยฝูงทิชาชาติ๑นานาชนิด
มีเสียงร้องของนกนานาชนิด ไพเราะจับใจ
มีไม้ผล ไม้ดอกนานาพันธุ์
[๓๕๒] ไม่มีเมืองใดในมนุษย์เหมือนเมืองของท่านนี้
ปราสาทของท่านมีมาก สำเร็จแล้วด้วยทองคำและเงิน
ส่องแสงสว่างโชติช่วงโดยรอบทั้ง ๔ ทิศ
[๓๕๓] ทาสี ๕๐๐ คน ประดับด้วยกำไลทองคำ
นุ่งห่มผ้าทองคำ คอยบำเรอท่าน
[๓๕๔] ท่านมีบัลลังก์ทองคำและเงินจำนวนมาก
ปูลาดด้วยหนังชะมดและผ้าโกเชาว์๒ ที่เขาจัดเตรียมไว้แล้ว
[๓๕๕] ท่านจะเข้าบรรทมบนบัลลังก์ใดก็สำเร็จสมประสงค์ทุกอย่าง
เมื่อถึงเที่ยงคืน ท่านลุกจากบัลลังก์นั้นไป
[๓๕๖] ลงไปสู่สวนรอบสระโบกขรณี
ยืนอยู่ที่ริมสระนั้นซึ่งมีหญ้าเขียวอ่อนนุ่ม
[๓๕๗] ทันใดนั้น สุนัขชื่อกัณณมุณฑกะก็ขึ้นมาจากสระนั้น
กัดอวัยวะน้อยใหญ่ของท่าน
เมื่อใดท่านถูกสุนัขกัดกินเหลือแต่ร่างกระดูก
เมื่อนั้น ท่านจึงลงสู่สระโบกขรณี
ร่างกายก็กลับเป็นเหมือนเดิม
[๓๕๘] ภายหลังจากเวลาที่ลงสระโบกขรณี
ท่านกลับมีอวัยวะน้อยใหญ่บริบูรณ์ งดงาม ดูน่ารัก
นุ่งห่มผ้า มาสู่สำนักเรา

เชิงอรรถ :
๑ นก ได้ชื่อว่า ทิชาชาติ เพราะเกิด ๒ หน คือ คลอดจากท้องมารดาเป็นฟองไข่หนหนึ่ง และถูกฟักจน
คลอดเป็นตัวอีกหนหนึ่ง
๒ พรมที่ทำด้วยขนแกะที่มีขนยาว (ขุ.เป.อ. ๓๕๔/๑๖๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๒. อุพพริวรรค] ๑๒. กัณณมุณฑเปติวัตถุ
[๓๕๙] เมื่อก่อนท่านได้ทำกรรมชั่วทางกาย วาจา ใจอะไรไว้หรือ
เพราะผลกรรมอะไร
สุนัขกัณณมุณฑกะจึงกัดกินอวัยวะน้อยใหญ่ของท่าน
(นางเวมานิกเปรตกราบทูลว่า)
[๓๖๐] มีคหบดีคนหนึ่ง เป็นอุบาสก มีศรัทธา อยู่ในเมืองกิมพิลา
หม่อมฉันเป็นภรรยาของเขา เป็นคนทุศีล ประพฤตินอกใจเขา
[๓๖๑] เมื่อหม่อมฉันประพฤตินอกใจเขา
สามีจึงพูดดังนี้ว่า การที่เธอประพฤตินอกใจฉันแล้วปกปิดไว้
เป็นการไม่เหมาะ ไม่สมควร
[๓๖๒] และหม่อมฉันนั้นได้กล่าวเท็จสาบานอย่างร้ายแรงว่า
ฉันไม่ได้ประพฤตินอกใจท่านทางกายหรือทางใจ
[๓๖๓] ถ้าฉันประพฤตินอกใจท่านทางกายหรือทางใจ
ขอให้สุนัขกัณณมุณฑกะตัวนี้จงกัดกินอวัยวะน้อยใหญ่ของฉันเถิด
[๓๖๔] ผลกรรมชั่วและการกล่าวเท็จทั้งสองนั้น
หม่อมฉันได้เสวยแล้วเป็นเวลา ๗๐๐ ปี
เพราะกรรมอันชั่วช้าสุนัขกัณณมุณฑกะ
จึงกัดกินอวัยวะน้อยใหญ่ของหม่อมฉัน
[๓๖๕] ขอเดชะพระองค์ผู้ประเสริฐ
พระองค์ทรงมีอุปการะแก่หม่อมฉันมาก
เสด็จมา ณ ที่นี้เพื่อประโยชน์แก่หม่อมฉัน
หม่อมฉันพ้นแล้วจากสุนัขกัณณมุณฑกะ
หายโศก ไม่มีภัยแต่ที่ไหน ๆ
[๓๖๖] ขอเดชะ หม่อมฉันขอถวายบังคมพระองค์
ขอประนมอัญชลีวิงวอนว่า ขอพระองค์จงเสวยกามสุขอันเป็นทิพย์
รื่นรมย์อยู่กับหม่อมฉันเถิดเพคะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๒. อุพพริวรรค] ๑๓. อุพพรีเปตวัตถุ
(พระราชาตรัสว่า)
[๓๖๗] ฉันเสวยกามสุขอันเป็นทิพย์และรื่นรมย์กับเธอแล้ว
เชิญเถิดนางงาม ฉันอ้อนวอนเธอ
ขอจงรีบนำฉันกลับเถิด
กัณณมุณฑเปติวัตถุที่ ๑๒ จบ

๑๓. อุพพรีเปตวัตถุ
เรื่องพระนางอุพพรีกับเปรต
[๓๖๘] พระเจ้าพรหมทัตผู้เป็นใหญ่ในแคว้นปัญจาละ
เมื่อวันคืนล่วงไป ๆ พระองค์เสด็จสวรรคตแล้ว
[๓๖๙] พระนางอุพพรีมเหสีของพระองค์
เสด็จไปยังพระเมรุมาศแล้วทรงกรรแสงอยู่
เมื่อไม่เห็นพระเจ้าพรหมทัต ก็ทรงกรรแสงว่า พรหมทัต ๆ
[๓๗๐] อนึ่งดาบส๑ ผู้เป็นมุนี สมบูรณ์ด้วยจรณะ ได้มาที่นั้น
และได้ถามชนทั้งหลายที่มาประชุมกันในที่นั้นว่า
[๓๗๑] นี่เป็นเมรุมาศของใครซึ่งตลบอบอวลไปด้วยกลิ่นหอมต่าง ๆ
หญิงนี้เป็นภรรยาของใคร เมื่อไม่เห็นพระเจ้าพรหมทัตผู้เป็นใหญ่
ซึ่งเสด็จจากมนุษยโลกนี้ไปไกล
คร่ำครวญอยู่ว่า พรหมทัต ๆ
[๓๗๒] ฝ่ายชนที่มาประชุมกันอยู่ในที่นั้นตอบว่า
ท่านผู้เจริญ ผู้นิรทุกข์ นี่เป็นพระเมรุมาศของพระเจ้าพรหมทัต
หญิงนี้เป็นพระมเหสีของท้าวเธอ

เชิงอรรถ :
๑ ผู้บำเพ็ญเพียรเผากิเลส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๒. อุพพริวรรค] ๑๓. อุพพรีเปตวัตถุ
[๓๗๓] นี่เป็นพระเมรุมาศของท้าวเธอ
ซึ่งตลบอบอวลไปด้วยกลิ่นหอมต่าง ๆ
หญิงนี้เป็นพระมเหสีของท้าวเธอ
เมื่อไม่เห็นพระเจ้าพรหมทัตพระราชสวามี
ซึ่งเสด็จจากมนุษยโลกนี้ไปไกล
จึงทรงกรรแสงอยู่ว่า พรหมทัต ๆ
(ดาบสจึงทูลถามว่า)
[๓๗๔] พระราชาผู้มีพระนามว่าพรหมทัต ๘๖,๐๐๐ พระองค์
ถูกเผาในป่าช้านี้
บรรดาพระเจ้าพรหมทัตเหล่านั้น
พระนางทรงกรรแสงถึงพระเจ้าพรหมทัตองค์ไหน
(พระนางอุพพรีตรัสตอบว่า)
[๓๗๕] ท่านผู้เจริญ ดิฉันเศร้าโศกถึงพระราชา
ผู้เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าจูฬนี
เป็นใหญ่ในแคว้นปัญจาละ ซึ่งเป็นพระราชสวามี
ทรงประทานสิ่งของที่น่าปรารถนาทุกอย่าง
(ดาบสทูลถามว่า)
[๓๗๖] พระราชาทุกพระองค์ทรงพระนามว่าพรหมทัตเหมือนกันทั้งหมด
เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าจูฬนี
ทรงเป็นใหญ่ในแคว้นปัญจาละ
[๓๗๗] พระนางเป็นพระมเหสีของพระราชาเหล่านั้นทุกพระองค์โดยลำดับ
เหตุไรจึงละเว้นพระราชาองค์ก่อน ๆ เสีย
แล้วมาเศร้าโศกถึงพระราชาองค์สุดท้ายเล่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๒. อุพพริวรรค] ๑๓. อุพพรีเปตวัตถุ
(พระนางอุพพรีตรัสตอบว่า)
[๓๗๘] ท่านผู้นิรทุกข์ ตลอดเวลาอันยาวนาน
ดิฉันเกิดเป็นสตรีเท่านั้น(ไม่เคยเกิดเป็นบุรุษบ้างหรือ)
ท่านพูดถึงแต่การที่ดิฉันเป็นสตรี
ในการเวียนว่ายตายเกิดเป็นอันมาก
(ดาบสทูลตอบว่า)
[๓๗๙] บางคราวพระนางเกิดเป็นสตรี
บางคราวเกิดเป็นบุรุษ
บางคราวเกิดเป็นปศุสัตว์
ที่สุดแห่งอัตภาพทั้งหลายที่ผ่านมาที่เข้าถึงความเป็นหญิงเป็นต้นนั้น
ย่อมไม่ปรากฏอย่างนี้
(พระนางอุพพรีตรัสว่า)
[๓๘๐] ท่านช่วยรดดิฉันผู้เร่าร้อนให้สงบ
ดับความกระวนกระวายทั้งหมด
เหมือนคนใช้น้ำราดดับไฟที่ติดเปรียง
[๓๘๑] ผู้ที่ช่วยให้ดิฉันผู้กำลังเศร้าโศกถึงพระสวามีให้บรรเทาลงได้
ชื่อว่าได้ช่วยถอนลูกศรคือความโศกที่เสียบหทัยของดิฉันแล้วหนอ
[๓๘๒] พระมหามุนี ดิฉันซึ่งท่านถอนลูกศรคือความโศกได้แล้ว
ก็เย็นสงบ ไม่เศร้าโศก ไม่กรรแสงอีก
เพราะได้ฟังคำของท่าน
[๓๘๓] พระนางอุพพรีฟังคำสุภาษิตของดาบสผู้เป็นสมณะนั้นแล้ว
ถือบาตรจีวรออกบวชเป็นบรรพชิต
[๓๘๔] ครั้นออกบวชแล้วเป็นผู้สงบ เจริญเมตตาจิต
เพื่อบังเกิดในพรหมโลก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ[๒. อุพพริวรรค] รวมเรื่องเปรตที่มีในวรรค
[๓๘๕] พระนางเมื่อเที่ยวจากบ้านหนึ่งไปยังบ้านหนึ่ง
ไปยังนิคมและราชธานีทั้งหลาย
ได้เสด็จสวรรคตที่บ้านอุรุเวลา
[๓๘๖] พระนางเบื่อหน่ายการเกิดเป็นหญิง
เจริญเมตตาจิตเพื่อบังเกิดในพรหมโลก
จึงได้เป็นผู้เข้าถึงพรหมโลกแล้ว
อุพพรีเปตวัตถุที่ ๑๓ จบ
อุพพริวรรคที่ ๒ จบ

รวมเรื่องเปรตที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สังสารโมจกเปติวัตถุ ๒. สารีปุตตเถรมาตุเปติวัตถุ
๓. มัตตาเปติวัตถุ ๔. นันทาเปติวัตถุ
๕. มัฏฐกุณฑลีเปตวัตถุ ๖. กัณหเปตวัตถุ
๗. ธนปาลเสฏฐิเปตวัตถุ ๘. จูฬเสฏฐิเปตวัตถุ
๙. อังกุรเปตวัตถุ ๑๐. อุตตรมาตุเปติวัตถุ
๑๑. สุตตเปตวัตถุ ๑๒. กัณณมุณฑเปติวัตถุ
๑๓. อุพพรีเปตวัตถุ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๓. จูฬวรรค] ๑. อภิชชมานเปตวัตถุ
๓. จูฬวรรค
หมวดเล็ก
๑. อภิชชมานเปตวัตถุ
เรื่องเปรตผู้เดินทวนกระแสน้ำอันไหลไม่ขาดสาย
(โกลิยมหาอำมาตย์ของพระเจ้าพิมพิสาร ถามเปรตตนหนึ่งว่า)
[๓๘๗] ท่านเปลือยกาย เหมือนกับเปรตครึ่งท่อน
ทัดทรงดอกไม้ ตกแต่งร่างกาย
เดินอยู่ในที่นี้ ซึ่งมีน้ำในแม่น้ำคงคาไหลไม่ขาดสาย
ท่านจักไปไหนนะเปรต ท่านอยู่ประจำที่ไหน
(พระสังคีติกาจารย์กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า)
[๓๘๘] เปรตนั้นกล่าวว่า ข้าพเจ้าจักไปยังบ้านจุนทัฏฐิละ
ซึ่งอยู่ในระหว่างวาสภคามกับกรุงพาราณสี
[๓๘๙] อนึ่งมหาอำมาตย์ซึ่งปรากฏชื่อว่า โกลิยะ เห็นเปรตนั้นแล้ว
จึงได้ให้ข้าวสัตตุ๑และผ้าสีเหลืองคู่หนึ่งแก่เปรต
[๓๙๐] เมื่อเรือหยุด ได้สั่งให้สิ่งของเหล่านั้นแก่อุบาสกผู้เป็นช่างกัลบก
ผ้านุ่งผ้าห่มก็ปรากฏแก่เปรตทันที
ในขณะที่มหาอำมาตย์ได้ให้ผ้าคู่หนึ่งแก่อุบาสกซึ่งเป็นช่างกัลบก
[๓๙๑] ลำดับนั้น เปรตนั้นนุ่งห่มผ้าเรียบร้อย
ทัดทรงดอกไม้ ตกแต่งร่างกายอย่างสวยงาม
ทักษิณาย่อมสำเร็จแก่เปรตผู้ดำรงอยู่ในฐานะ๒
เพราะฉะนั้นผู้มีปัญญาพึงให้ทานบ่อย ๆ เพื่ออนุเคราะห์เปรตทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
๑ ข้าวตู คือข้าวตากคั่วแล้วตำเป็นผงเคล้ากับน้ำตาลและมะพร้าว (ขุ.เป.อ. ๓๘๙/๑๘๑)
๒ เปรตที่อยู่ในฐานะที่จะรับส่วนบุญที่ผู้อื่นอุทิศให้ เช่น ขุปปิปาสิกเปรต เปรตที่หิวกระหายอยู่เป็นนิตย์
วันตาสเปรต เปรตที่กินน้ำมูกน้ำลายที่เขาบ้วนทิ้งแล้ว ปรทัตตูปชีวิเปรต เปรตที่อาศัยอาหารที่คนอื่น
เขาให้ นิชฌามตัณหิกเปรต เปรตที่ถูกตัณหาแผดเผา เป็นต้น (ขุ.ขุ.อ. ๑๒/๑๙๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๓. จูฬวรรค] ๑. อภิชชมานเปตวัตถุ
[๓๙๒] เปรตเหล่าอื่นบางพวกนุ่งผ้าขี้ริ้วขาดรุ่งริ่ง
บางพวกนุ่งเส้นผม หลีกไปยังทิศน้อยใหญ่เพื่อหาอาหาร
[๓๙๓] บางพวกวิ่งไปแม้ในที่ไกล กลับมาโดยไม่ได้อะไรเลย
บางพวกหิวจัดจนเป็นลมล้มสลบกลิ้งไปบนพื้นดิน
[๓๙๔] บางพวกไม่ได้ทำความดีไว้ในชาติก่อน ไม่ได้อะไรเลย
ล้มกลิ้งบนพื้นดินเหมือนถูกไฟเผาอยู่กลางแดด
ประสบความเดือดร้อน คร่ำครวญว่า
[๓๙๕] ในชาติก่อน พวกเราเป็นหญิงแม่เรือน
เป็นมารดาทารกในตระกูล เป็นคนมีบาป
เมื่อไทยธรรมมีอยู่ ไม่ได้ทำที่พึ่งให้แก่ตน
[๓๙๖] แม้ข้าวและน้ำมีมากแต่เราไม่ได้แจกจ่ายให้ทาน
และไม่ได้ถวายอะไรแก่บรรพชิตผู้ปฏิบัติชอบ
[๓๙๗] อยากทำแต่กรรมที่คนดีไม่พึงทำ เป็นคนเกียจคร้าน
ใคร่แต่ความสำราญและกินจุ
แม้ผู้ที่ให้ก้อนข้าวปฏิคาหกเพียงคำหนึ่ง ตนก็ยังด่า
[๓๙๘] เรือน คนรับใช้ชายหญิง
และผ้าอาภรณ์เหล่านั้นเป็นของพวกเรา
แต่คนเหล่าอื่นเอาไปใช้สอย
พวกเราจึงประสบแต่ทุกข์
[๓๙๙] ช่างจักสานก็ดี ช่างหนังก็ดี
คนประทุษร้ายมิตรก็ดี คนจัณฑาลก็ดี
คนกำพร้าก็ดี ช่างกัลบกก็ดี มักถูกดูหมิ่นอยู่ร่ำไป
[๔๐๐] เปรตทั้งหลายจุติจากเปตวิสัยแล้ว
ย่อมเกิดในตระกูลเหล่านั้น ซึ่งเป็นตระกูลต่ำและขัดสน
นี้เป็นที่เกิดสำหรับคนตระหนี่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๓. จูฬวรรค] ๑. อภิชชมานเปตวัตถุ
[๔๐๑] ส่วนคนทั้งหลายทำความดีไว้ในชาติปางก่อน
มีปกติให้ ปราศจากความตระหนี่
พวกเขาย่อมทำสวรรค์ให้เต็มบริบูรณ์
และเปล่งรัศมีสว่างไสวทั่วนันทวัน
[๔๐๒] บริโภคกามคุณตามความปรารถนา
รื่นรมย์ในเวชยันตปราสาท จุติจากเทวโลกนั้นแล้ว
ย่อมเกิดในตระกูลสูง มีโภคสมบัติมาก
[๔๐๓] คือ เกิดในตระกูลแห่งบุคคลผู้มีบริวารยศ
ซึ่งมีคนถือพัดแววหางนกยูง
คอยพัดอยู่บนบัลลังก์ที่ปูลาดด้วยผ้าขนสัตว์
ในเรือนยอดและปราสาทราชมนเทียร
[๔๐๔] (ในเวลาเป็นทารก) ก็ทัดทรงดอกไม้ ตบแต่งร่างกาย
หมู่ญาติและพี่เลี้ยงนางนมผลัดกันอุ้ม
เหล่าพี่เลี้ยงนางนมปรารถนาความสุข พากันบำรุงอยู่ทั้งเช้าและเย็น
[๔๐๕] ป่าใหญ่ของเหล่าเทพชั้นดาวดึงส์ซึ่งปราศจากความเศร้าโศก
น่ารื่นรมย์ยินดี เป็นสถานที่ซึ่งดิฉันได้แล้วนี้
ย่อมไม่มีแก่ผู้ที่ไม่ได้ทำบุญไว้ แต่ย่อมมีแก่ผู้ที่ทำบุญไว้เท่านั้น
[๔๐๖] ส่วนผู้ที่ไม่ได้ทำบุญไว้
ย่อมไม่มีความสุขทั้งในโลกนี้ทั้งในโลกหน้า
แต่ผู้ที่ได้ทำบุญไว้แล้ว
ย่อมมีความสุขทั้งในโลกนี้ทั้งในโลกหน้า
[๔๐๗] ผู้ปรารถนาจะอยู่ร่วมกับเทพชั้นดาวดึงส์เหล่านั้น
ต้องทำบุญกุศลไว้ให้มาก เพราะว่าเหล่าชนผู้ทำบุญไว้แล้ว
ย่อมเพียบพร้อมด้วยโภคสมบัติ ร่าเริงบันเทิงอยู่ในสวรรค์
อภิชชมานเปตวัตถุที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๓. จูฬวรรค] ๒. สานุวาสีเถรเปตวัตถุ
๒. สานุวาสีเถรเปตวัตถุ
เรื่องเปรตญาติของพระสานุวาสีเถระ
[๔๐๘] พระเถระชาวกุณฑินครรูปหนึ่งซึ่งอยู่ประจำที่ภูเขาสานะ
มีชื่อว่า โปฏฐปาทะ เป็นผู้สงบ อบรมอินทรีย์แล้ว
[๔๐๙] มารดา บิดา พี่ชายของท่านตกยาก เกิดในยมโลก
เพราะทำกรรมชั่วไว้จึงไปเกิดในเปตโลก
[๔๑๐] เปรตเหล่านั้นตกยาก มีร่างกายเศร้าหมอง
อึดอัดด้วยของบูดเน่า ลำบากยิ่งนัก
เปลือยกาย ซูบผอม สะดุ้งหวาดเสียวมาก
ทำงานหนัก ไม่กล้าปรากฏตัว
[๔๑๑] เปรตพี่ชายของท่านเพียงคนเดียวกล้าเปลือยกาย
คลานไปแสดงตนแก่พระเถระในทางเปลี่ยว
[๔๑๒] ฝ่ายพระเถระก็ไม่ได้ใส่ใจถึง
เดินผ่านไปอย่างสงบ
เปรตนั้นจึงบอกให้พระเถระรู้ว่า
ข้าพเจ้าคือพี่ชายของท่าน ซึ่งไปเกิดในเปตโลก
[๔๑๓] ท่านผู้เจริญ มารดาบิดาของท่านตกยาก เกิดในยมโลก
เพราะทำกรรมชั่วไว้จึงต้องไปเกิดในเปตโลก
[๔๑๔] เปรตมารดาบิดาของท่านเหล่านั้นตกยาก มีร่างกายเศร้าหมอง
อึดอัดด้วยของบูดเน่า ลำบากยิ่งนัก
เปลือยกาย ซูบผอม สะดุ้ง หวาดเสียวมาก
ทำงานหนัก ไม่กล้าปรากฏตัว
[๔๑๕] ขอท่านกรุณาอนุเคราะห์ให้ทานอุทิศส่วนกุศลให้พวกเรา
พวกเปรตที่ทำงานหนักจักเป็นอยู่ได้ด้วยทานที่ท่านให้แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๓. จูฬวรรค] ๒. สานุวาสีเถรเปตวัตถุ
[๔๑๖] พระเถระและภิกษุอื่นอีก ๑๒ รูป เที่ยวบิณฑบาตแล้ว
กลับมาประชุมกัน เพราะต้องทำภัตกิจ๑ร่วมกัน
[๔๑๗] พระเถระกล่าวกับภิกษุเหล่านั้นแม้ทั้งหมดว่า
ขอท่านทั้งหลายจงให้ภัตตาหารตามที่ได้มาแก่ผมเถิด
ผมจักทำสังฆภัต๒เพื่ออนุเคราะห์ญาติทั้งหลาย
[๔๑๘] ภิกษุเหล่านั้นจึงมอบถวายพระเถระ
พระเถระจึงนิมนต์สงฆ์มาแล้วถวายทาน
ครั้นถวายแล้วอุทิศส่วนกุศลให้ว่า
ขอผลทานนี้จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลาย
คือ มารดา บิดา และพี่ชายของเรา
ขอญาติทั้งหลายจงมีความสุขเถิด
[๔๑๙] ในลำดับที่พระเถระอุทิศส่วนบุญให้นั้นเอง
โภชนะสะอาด ประณีต สมบูรณ์ พร้อมด้วยกับมีรสต่าง ๆ
ก็เกิดขึ้นแก่เปรตเหล่านั้น
[๔๒๐] หลังจากที่ได้ของกินนั้น
เปรตผู้เป็นพี่ชายมีผิวพรรณดี มีกำลัง
มีความสุข ก็มาแสดงตนกล่าวว่า
ท่านผู้เจริญ ดูเอาเถิด โภชนะมีมากมาย
แต่พวกเรายังเปลือยกายอยู่
ขอท่านจงพยายามที่จะให้พวกเราได้ผ้านุ่งผ้าห่มเถิด
[๔๒๑] พระเถระเลือกเก็บผ้าเก่าจากกองขยะ
เย็บผ้าเก่าให้เป็นจีวร แล้วได้ถวายสงฆ์ผู้มาจากทิศทั้ง ๔

เชิงอรรถ :
๑ การฉันภัตตาหารร่วมกัน
๒ ถวายอาหารแก่สงฆ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๓. จูฬวรรค] ๒. สานุวาสีเถรเปตวัตถุ
[๔๒๒] ครั้นถวายแล้ว ได้อุทิศส่วนกุศลให้ว่า
ขอผลทานนี้จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลาย
คือ มารดา บิดา และพี่ชายของเรา
ขอญาติทั้งหลายจงมีความสุขเถิด
[๔๒๓] ในขณะที่พระเถระอุทิศส่วนบุญให้นั่นเอง
ผ้าทั้งหลายก็เกิดมีแก่เปรตเหล่านั้น
หลังจากได้ผ้าแล้ว เปรตผู้เป็นพี่ชายนุ่งห่มผ้าสวยงาม
มีผิวพรรณดี มีกำลัง มีความสุข
ได้มาแสดงตนแก่พระเถระกล่าวว่า
[๔๒๔] ท่านผู้เจริญ ผ้านุ่งผ้าห่มของพวกเรา
มีมากกว่าผ้าที่มีในแคว้นของพระเจ้านันทราช
[๔๒๕] คือ ผ้าไหม ผ้าขนสัตว์ ผ้าเปลือกไม้ และผ้าฝ้าย
ผ้าแม้เหล่านั้นเหลือเฟือและมีค่ามากห้อยอยู่ในอากาศนั่นเอง
[๔๒๖] พวกเราเลือกนุ่งห่มเฉพาะผืนที่พอใจ
ขอท่านจงพยายามที่จะให้พวกเราได้บ้านเรือนเถิด
[๔๒๗] พระเถระสร้างกุฎีใบไม้แล้วได้ถวายสงฆ์ผู้มาจากทิศทั้ง ๔
ครั้นถวายแล้วได้อุทิศส่วนกุศลไปให้ว่า
ขอผลแห่งบุญนี้จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลาย
คือ มารดา บิดาและพี่ชายของเรา
ขอพวกญาติจงมีความสุขเถิด
[๔๒๘] ในขณะที่พระเถระอุทิศส่วนบุญให้นั่นเอง
เรือนทั้งหลาย คือ ปราสาท และที่อยู่อาศัยอย่างอื่น
ซึ่งจัดสร้างไว้เป็นสัดส่วน ก็เกิดขึ้น
[๔๒๙] เรือนในหมู่มนุษย์หาเป็นเช่นเรือนของพวกเราในเปตโลกนี้ไม่
เรือนของพวกเราในเปตโลกนี้เหมือนเรือนในหมู่เทพ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๓. จูฬวรรค] ๒. สานุวาสีเถรเปตวัตถุ
[๔๓๐] เปล่งรัศมีรุ่งเรืองไปโดยรอบทั้ง ๔ ทิศ
ขอท่านจงพยายามที่จะให้พวกเราได้น้ำดื่มเถิด
[๔๓๑] พระเถระจึงตักน้ำเต็มธมกรกแล้ว
ได้ถวายสงฆ์ซึ่งมาจากทิศทั้ง ๔
ครั้นถวายแล้วได้อุทิศส่วนกุศลให้ว่า
ขอผลทานนี้จงสำเร็จแก่พวกญาติของเรา
คือ มารดา บิดา และพี่ชาย
ขอพวกญาติของเราจงมีความสุขเถิด
[๔๓๒] ในขณะที่พระเถระอุทิศส่วนบุญให้นั่นเอง
น้ำดื่มก็เกิดขึ้นเป็นสระโบกขรณีมีรูปสี่เหลี่ยม ลึก
ซึ่งบุญกรรมจัดสร้างไว้ดีแล้ว
[๔๓๓] มีน้ำเย็น มีท่าราบเรียบ เย็นสบาย
มีกลิ่นหอมหาที่เปรียบมิได้ ดารดาษด้วยดอกปทุมและอุบล
ผิวน้ำเต็มด้วยละอองเกสร
[๔๓๔] เปรตเหล่านั้นอาบและดื่มกินในสระนั้นแล้ว
แสดงตนแก่พระเถระ กล่าวว่า
ท่านผู้เจริญ น้ำดื่มของพวกเรามีมากเพียงพอแล้ว
บาปย่อมเผล็ดผลเป็นทุกข์แก่พวกเรา
[๔๓๕] เมื่อพวกเราเที่ยวไป
ต้องเดินเขยกไปบนก้อนกรวดและหน่อหญ้าคา
ขอท่านจงพยายามที่จะให้พวกเราได้ยานเถิด
[๔๓๖] พระเถระได้รองเท้าแล้ว ได้ถวายสงฆ์ผู้มาจากทิศทั้ง ๔
ครั้นถวายแล้วได้อุทิศส่วนกุศลให้ว่า
ขอผลทานนี้จงสำเร็จแก่พวกญาติ
คือ มารดา บิดา และพี่ชายของเรา
ขอพวกญาติของเราจงมีความสุขเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๓. จูฬวรรค] ๓. รถการเปติวัตถุ
[๔๓๗] ในขณะที่พระเถระอุทิศส่วนบุญให้นั้นเอง
เปรตทั้งหลายได้มาปรากฏพร้อมกับรถ
แล้วกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ
พวกเราได้รับอนุเคราะห์ด้วยอาหาร ผ้านุ่งผ้าห่ม
[๔๓๘] บ้านเรือน ด้วยการให้น้ำดื่ม และยานทั้งสอง
เพราะฉะนั้น พวกเราจึงมาเพื่อไหว้ท่าน
ผู้เป็นมุนีมีความกรุณาในโลก
สานุวาสีเถรเปตวัตถุที่ ๒ จบ

๓. รถการเปติวัตถุ
เรื่องนางเวมานิกเปรตผู้อาศัยอยู่ที่สระรถการ
(มาณพคนหนึ่งถามนางเวมานิกเปรตตนหนึ่งว่า)
[๔๓๙] นางเทวีผู้มีอานุภาพมาก
เธอขึ้นวิมานที่มีเสาแก้วไพฑูรย์งามผุดผ่อง
แสนจะงดงาม สถิตอยู่ในวิมานนั้น
ดังดวงจันทร์ในวันเพ็ญเด่นอยู่บนท้องฟ้า
[๔๔๐] เธอมีรัศมีเรืองรองดังทองคำ
มีรูปโฉมเลอเลิศ น่าดูน่าชมยิ่งนัก
นั่งอยู่แต่ผู้เดียวบนบัลลังก์อันประเสริฐสุด มีค่ามาก
เธอไม่มีสามีหรือ
[๔๔๑] สระโบกขรณีของเธอเหล่านี้
โดยรอบมีดอกไม้ต่าง ๆ อยู่มาก มีบัวขาวมาก
โดยรอบลาดด้วยทรายทองคำ
ในสระโบกขณีนั้นหาเปือกตมและจอกแหนมิได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๓. จูฬวรรค] ๓. รถการเปติวัตถุ
[๔๔๒] และมีฝูงหงส์น่าดูน่าชม น่ารื่นรมย์ใจ
ว่ายเวียนอยู่ในน้ำไม่ขาดสาย
ทั้งหมดมีเสียงไพเราะ
พากันมาชุมนุมส่งเสียงร้องอย่างไพเราะดังเสียงกลอง
[๔๔๓] เธอรุ่งเรืองด้วยเทวฤทธิ์
มีบริวารยศ ยืนพิงอยู่ในเรือ
เธอผู้มีคิ้วโก่งดำสนิท
มีหน้ายิ้มแย้ม พูดจาน่ารัก
มีอวัยวะทุกส่วนงาม รุ่งเรืองยิ่งนัก
[๔๔๔] วิมานนี้ปราศจากธุลี
ตั้งอยู่บนภาคพื้นราบเรียบ
มีสวนป่าซึ่งชวนให้ยินดีเพลิดเพลินเจริญใจ
แน่ะนารีผู้มองแล้วไม่เบื่อ
เราปรารถนาที่จะอยู่บันเทิงร่วมกับเธอในสวนนันทวันของเธอนี้
(นางเวมานิกเปรตกล่าวว่า)
[๔๔๕] ท่านจงทำกรรมซึ่งจะให้ท่านได้เสวยผลในวิมานของฉันนี้
และจิตของท่านจงน้อมมาในวิมานนี้ด้วย
ท่านครั้นทำกรรมซึ่งเป็นเหตุให้ได้เสวยผลในวิมานนี้แล้ว
จักได้ฉันผู้จะทำให้ท่านสมความปรารถนาได้ด้วยประการอย่างนี้
[๔๔๖] มาณพนั้นรับคำนางเวมานิกเปรตนั้นแล้ว
จึงได้ทำกุศลกรรมซึ่งเป็นเหตุให้ได้เสวยผลในวิมานนั้น
แล้วก็ได้อยู่ร่วมกับนางเวมานิกเปรตนั้น
รถการเปติวัตถุที่ ๓ จบ
ภาณวารที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๓. จูฬวรรค] ๔. ภุสเปตวัตถุ
๔. ภุสเปตวัตถุ
เรื่องเปรตกอบแกลบ
(พระมหาโมคคัลลานเถระได้ถามถึงบุพกรรมของเปรตทั้ง ๔ ตน ด้วยคาถา
เหล่านี้ว่า)
[๔๔๗] ท่านทั้ง ๔ ตนนี้
ตนหนึ่งกอบเอาแกลบข้าวสาลีที่ไฟกำลังลุกโชน
โปรยใส่ศีรษะของตนเอง
อีกตนหนึ่งเอาฆ้อนเหล็กทุบศีรษะตนเองจนศีรษะแตก
ส่วนตนนี้เป็นหญิงกินเนื้อส่วนหลังและโลหิตของตนเอง
ส่วนท่านกินคูถซึ่งเป็นของไม่สะอาด ไม่น่าปรารถนา
นี้เป็นผลกรรมอะไร
(นางเปรตซึ่งอดีตเคยเป็นภรรยาพ่อค้าโกงตอบว่า)
[๔๔๘] เมื่อก่อน ผู้นี้ทำร้ายมารดา
ส่วนผู้นี้เป็นพ่อค้าโกง
ผู้นี้กินเนื้อแล้วแก้ตัวด้วยการกล่าวเท็จ
[๔๔๙] ครั้งที่ดิฉันเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์
เป็นหญิงแม่เรือน ใหญ่กว่าทุกคนในสกุล
เมื่อสิ่งของที่ชนเหล่าอื่นขอได้ยังมีอยู่ก็เก็บซ่อนเสีย
(โดยคิดว่า) เราจะไม่ให้อะไร ๆ จากของที่มีอยู่นี้
[๔๕๐] ปกปิดไว้ด้วยการกล่าวเท็จว่า ในเรือนของเราไม่มีสิ่งนี้
ถ้าเราปกปิดของที่มีไว้ ขอคูถจงเป็นอาหารของเรา
[๔๕๑] เพราะวิบากทั้งสอง คือ วิบากแห่งการกระทำนั้นด้วย
วิบากแห่งการกล่าวเท็จด้วย
ภัตข้าวสาลีที่มีกลิ่นหอมจึงกลับกลายเป็นคูถสำหรับดิฉัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๓. จูฬวรรค] ๕. กุมารเปตวัตถุ
[๔๕๒] อนึ่งกรรมทั้งหลายไม่ไร้ผล
เพราะกรรมย่อมไม่สูญหาย
ฉะนั้น ดิฉันจึงต้องทั้งกินทั้งดื่มคูถ
ซึ่งมีกลิ่นเหม็น มีหนอน
ภุสเปตวัตถุที่ ๔ จบ

๕. กุมารเปตวัตถุ
เรื่องกุมารเปรต
(เมื่อจะประกาศเรื่องของกุมารเปรตนั้น พระสังคีติกาจารย์ได้กล่าว ๗ คาถาว่า)
[๔๕๓] พระญาณของพระสุคต น่าอัศจรรย์
โดยที่พระศาสดาทรงพยากรณ์บุคคลได้อย่างถูกต้องว่า
บุคคลบางเหล่าในโลกนี้ มีบุญมากก็มี
บางเหล่ามีบุญน้อยก็มี
[๔๕๔] คหบดีผู้นี้เมื่อยังเป็นเด็ก ถูกเขาทิ้งไว้ในป่าช้า
เป็นอยู่ด้วยน้ำนมที่ไหลออกจากนิ้วมือตลอดราตรี
ยักษ์และภูตผีปีศาจ หรือสัตว์เลื้อยคลาน
ก็ไม่เบียดเบียนเด็กผู้ที่ได้ทำบุญไว้แล้ว
[๔๕๕] แม้สุนัขทั้งหลายก็พากันมาเลียเท้าทั้งสองของเด็กนั้น
ฝูงเหยี่ยวและสุนัขจิ้งจอกก็พากันวนเวียนรักษา
ฝูงนกก็พากันคาบรกไปทิ้ง
ส่วนฝูงกาพากันคาบขี้ตาออกไป
[๔๕๖] มนุษย์และอมนุษย์ไร ๆ มิได้จัดการรักษาเด็กนี้
หรือใครๆ ที่จะปรุงยาหรือทำการบำบัดด้วยเมล็ดพันธุ์ผักกาดมิได้มี
และมิได้ถือเอาการประกอบฤกษ์ยาม
ทั้งไม่ได้โปรยธัญชาติทั้งปวง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๓. จูฬวรรค] ๕. กุมารเปตวัตถุ
[๔๕๗] เด็กที่บุคคลนำมาทิ้งไว้ในป่าช้าในยามราตรี
ได้รับความลำบากอย่างยิ่งเช่นนี้
สั่นเทาอยู่ เป็นดุจก้อนเนยข้น
ยังเหลืออยู่เพียงชีวิต มีความสงสัยว่า (ตัวจะรอดหรือไม่รอดหนอ)
[๔๕๘] พระผู้มีพระภาคผู้อันเทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว
ทรงมีพระปัญญากว้างขวาง ได้ทอดพระเนตรเห็นแล้ว
ครั้นแล้วได้ทรงพยากรณ์เด็กนั้นว่า
เด็กคนนี้จักเป็นผู้มีสกุลสูง๑ สำหรับนครนี้
(อุบาสกซึ่งอยู่ในที่ใกล้พระศาสดาทูลถามว่า)
[๔๕๙] ข้อปฏิบัติของเขาเป็นอย่างไร พรหมจรรย์ของเขาเป็นอย่างไร
เขาประพฤติข้อปฏิบัติและพรหมจรรย์อย่างไร จึงมีวิบากอย่างนี้
เขาถึงความพินาศเช่นนี้แล้วจึงกลับมาเสวยความสำเร็จเช่นนั้น ๆ
(พระสังคีติกาจารย์เมื่อจะแสดงคำพยากรณ์ของพระผู้มีพระภาค จึงกล่าว
๔ คาถาว่า)
[๔๖๐] เมื่อก่อน หมู่ชนได้ทำการบูชาพระสงฆ์
ซึ่งมีพระพุทธเจ้าเป็นประธานอย่างโอฬาร
เด็กนั้นได้มีความคิดเห็นในการบูชานั้นเป็นอย่างอื่นไป
เขาได้กล่าววาจาหยาบคาย ซึ่งมิใช่ของสัตบุรุษ
[๔๖๑] ภายหลังเขาบรรเทาความคิดนั้นแล้ว
กลับได้ปีติและความเลื่อมใส ได้บำรุงพระตถาคต
ซึ่งประทับอยู่ที่พระเชตวัน ด้วยข้าวต้ม ๗ วัน
[๔๖๒] ข้อนั้นเป็นข้อปฏิบัติและพรหมจรรย์ของเขา
เขาประพฤติเช่นนั้น จึงมีวิบากอย่างนี้
เขาถึงความพินาศเช่นนี้แล้วจักกลับได้เสวยความสำเร็จเช่นนั้น

เชิงอรรถ :
๑ จักได้เป็นเศรษฐีมีโภคสมบัติมาก (ขุ.เป.อ. ๔๕๘/๒๐๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๓. จูฬวรรค] ๖. เสริณีเปติวัตถุ
[๔๖๓] เขาอยู่ในมนุษยโลกนี้แหละเป็นเวลาร้อยปี
เป็นผู้พรั่งพร้อมด้วยกามคุณทุกอย่าง หลังจากตายไป
จักเข้าถึงความเป็นสหายของท้าววาสวะ๑ในสัมปรายภพ
กุมารเปตวัตถุที่ ๕ จบ

๖. เสริณีเปติวัตถุ
เรื่องนางเสริณีเปรต
(อุบาสกคนหนึ่งถามนางเสริณีเปรตว่า)
[๔๖๔] นางผู้มีร่างกายซูบผอม มีแต่ซี่โครงปรากฏ
เธอเปลือยกาย มีผิวพรรณและรูปร่างน่าเกลียดน่ากลัว
ซูบผอม มีร่างกายสะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น
เธอเป็นใครเล่ามายืนอยู่ที่นี้
(นางเสริณีเปรตตอบว่า)
[๔๖๕] ท่านผู้เจริญ ดิฉันเกิดเป็นเปรตในยมโลก ได้รับความลำบาก
เพราะทำกรรมชั่วไว้จึงต้องจากโลกนี้ไปยังเปตโลก
(อุบาสกถามว่า)
[๔๖๖] เมื่อก่อนเธอได้ทำกรรมชั่วทางกาย วาจา ใจอะไรไว้หรือ
เพราะผลกรรมอะไรเธอจึงต้องจากโลกนี้ไปยังเปตโลก
(นางเสริณีเปรตตอบว่า)
[๔๖๗] เมื่อสมณพราหมณ์ทั้งหลาย
ผู้เป็นดุจท่าน้ำซึ่งไม่มีใครหวงห้ามมีอยู่
ดิฉันเก็บทรัพย์ไว้ประมาณกึ่งมาสก
เมื่อไทยธรรมมีอยู่ก็ไม่ได้ทำที่พึ่งแก่ตน

เชิงอรรถ :
๑ ไปเกิดเป็นลูกของท้าวสักกะจอมเทพชั้นดาวดึงส์ (ขุ.เป.อ. ๔๖๓/๒๑๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๓. จูฬวรรค] ๖. เสริณีเปติวัตถุ
[๔๖๘] ดิฉันกระหายน้ำจึงเข้าไปใกล้แม่น้ำ
แม่น้ำกลับกลายเป็นว่างเปล่าไป
ในเวลาร้อนเข้าไปใกล้ร่มไม้
ร่มไม้กลับกลายเป็นแดดไป
[๔๖๙] ทั้งลมก็ร้อนเหมือนไฟ พัดดิฉันฟุ้งไป
ท่านผู้เจริญ ดิฉันเสวยทุกข์มีความกระหายเป็นต้นนี้
และทุกข์อย่างอื่นที่หนักกว่านั้น
[๔๗๐] ท่านไปถึงหัตถินีนครแล้วช่วยบอกมารดาของดิฉันว่า
เราเห็นธิดาของท่านตกยาก เกิดในยมโลก
เพราะทำกรรมชั่วไว้ เขาจึงตายไปเกิดยังเปตโลก
[๔๗๑] ดิฉันมีทรัพย์อยู่สี่แสน เก็บซ่อนไว้ใต้เตียง
ทั้งไม่ได้บอกใคร ๆ ไว้
[๔๗๒] ขอมารดาของดิฉันจงเอาทรัพย์ส่วนหนึ่งจากที่เก็บซ่อนไว้นั้น
ให้ทานบ้าง เลี้ยงชีพบ้าง
ครั้นให้ทานแล้วจงอุทิศส่วนบุญมาให้ดิฉันบ้าง
เมื่อนั้นดิฉันจักมีความสุข สำเร็จความประสงค์ทุกอย่าง
[๔๗๓] อุบาสกนั้นรับคำของนางว่า สาธุ แล้วไปถึงหัตถินีนคร
ได้บอกมารดาของนางว่า
ฉันเห็นธิดาของเธอตกยาก เกิดในยมโลก
เพราะทำชั่วไว้ นางจึงตายไปเกิดยังเปตโลก
[๔๗๔] ณ ที่นั้น นางสั่งฉันว่า
ท่านไปถึงหัตถินีนครแล้วช่วยบอกมารดาของดิฉันว่า
เราเห็นธิดาของท่านตกยาก เกิดในยมโลก
เพราะทำกรรมชั่วไว้ นางจึงตายไปเกิดยังเปตโลก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๓. จูฬวรรค] ๗. มิคลุททกเปตวัตถุ
[๔๗๕] ดิฉันมีทรัพย์อยู่สี่แสน เก็บซ่อนไว้ใต้เตียง
ทั้งไม่ได้บอกใคร ๆ ไว้
[๔๗๖] ขอมารดาของดิฉันจงเอาทรัพย์ส่วนหนึ่งจากที่เก็บซ่อนไว้นั้น
ให้ทานบ้าง เลี้ยงชีพบ้าง
ครั้นให้ทานแล้วจงอุทิศส่วนบุญให้แก่ดิฉันบ้าง
เมื่อนั้นดิฉันจักมีความสุข สำเร็จความประสงค์ทุกอย่าง
[๔๗๗] มารดาของนางเสริณีเปรตนั้น
ถือเอาทรัพย์ส่วนหนึ่งจากที่นางเสริณีเปรตเก็บซ่อนไว้นั้นมาให้ทาน
ครั้นให้แล้วได้อุทิศส่วนบุญไปให้นาง
นางเสริณีเปรต มีความสุข
และแม้มารดาของนางก็มีความเป็นอยู่ดีขึ้น
เสริณีเปติวัตถุที่ ๖ จบ

๗. มิคลุททกเปตวัตถุ
เรื่องเปรตพรานเนื้อ
(พระนารทเถระถามเปรตตนหนึ่งว่า)
[๔๗๘] ท่านยังหนุ่ม มีเทพบุตรและเทพธิดาห้อมล้อม
งามด้วยกามคุณทั้งหลาย ซึ่งทำให้เกิดความกำหนัดยินดี
ได้เสวยเหตุแห่งทุกข์ในกลางวัน
ชาติก่อน ท่านได้ทำกรรมอะไรไว้
(เปรตนั้นตอบว่า)
[๔๗๙] เมื่อชาติก่อน ข้าพเจ้าเป็นพรานเนื้อ
มีฝ่ามือเปื้อนเลือด เป็นคนหยาบช้าทารุณ
อยู่ที่เขาคิริพพชะ เป็นที่น่ารื่นรมย์
ใกล้กรุงราชคฤห์ซึ่งน่ารื่นรมย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๓. จูฬวรรค] ๗. มิคลุททกเปตวัตถุ
[๔๘๐] ข้าพเจ้ามีใจประทุษร้ายในสัตว์มีชีวิตจำนวนมาก
หยาบช้าทารุณอย่างยิ่ง
ชอบเบียดเบียนสัตว์อื่น
ไม่สำรวม เที่ยวไปเป็นนิตย์
[๔๘๑] ข้าพเจ้านั้นมีสหายใจดี
มีศรัทธา เป็นอุบาสกคนหนึ่ง
เพราะเขาเป็นผู้เอ็นดูข้าพเจ้า
จึงห้ามอยู่บ่อย ๆ ว่า
[๔๘๒] พ่อเอ๋ย อย่าได้ทำชั่วเลย
อย่าได้ดำเนินทางผิดเลย
ถ้าสหายปรารถนาความสุขเมื่อตายไป
จงงดเว้นการฆ่าสัตว์ซึ่งเป็นการไม่สำรวมเสียเถิด
[๔๘๓] ข้าพจ้าฟังคำของเขาผู้หวังดี
มีความเอ็นดูด้วยประโยชน์เกื้อกูล
แต่ไม่ได้ทำตามคำสั่งสอนของเขาทั้งสิ้น
เพราะเป็นคนไม่มีปัญญา ยินดีในบาปมาช้านาน
[๔๘๔] เขามีปัญญากว้างขวางดุจแผ่นดิน
แนะนำข้าพเจ้าให้ตั้งอยู่ในความสำรวมด้วยอนุเคราะห์อีกว่า
ถ้าท่านจะฆ่าสัตว์ในกลางวัน
ในเวลากลางคืนก็จงงดเว้นเสีย
[๔๘๕] ข้าพเจ้านั้นจึงฆ่าสัตว์แต่เฉพาะกลางวัน
กลางคืนเป็นผู้สำรวมงดเว้น
เพราะฉะนั้น กลางคืนข้าพเจ้าจึงได้รับการบำรุงบำเรอ
กลางวันประสบทุกข์ ถูกสุนัขรุมกัดกิน คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๓. จูฬวรรค] ๘. ทุติยมิคลุททกเปตวัตถุ
[๔๘๖] กลางคืนได้เสวยทิพยสมบัติด้วยผลแห่งกุศลกรรมนั้น
กลางวันฝูงสุนัขดุร้ายพากันวิ่งเข้ามากัดกินข้าพเจ้ารอบด้าน
[๔๘๗] ชนเหล่าใดมีความเพียรเนือง ๆ
เอาธุระในพระศาสนาของพระสุคตอย่างมั่นคง
ข้าพเจ้าเข้าใจว่า ชนเหล่านั้นแหละจะได้บรรลุอมตบท
ซึ่งปัจจัยอะไร ๆ ปรุงแต่งไม่ได้อย่างแน่นอน
มิคลุททกเปตวัตถุที่ ๗ จบ

๘. ทุติยมิคลุททกเปตวัตถุ
เรื่องเปรตพรานเนื้อ เรื่องที่ ๒
(พระนารทเถระถามเปรตตนหนึ่งว่า)
[๔๘๘] ท่านรื่นรมย์ยู่บนบัลลังก์
ที่ในเรือนยอดและปราสาทปูลาดด้วยผ้าขนสัตว์
ด้วยดนตรีเครื่องห้าซึ่งบุคคลประโคมแล้วอย่างไพเราะ
[๔๘๙] ภายหลัง เมื่อสิ้นราตรี ดวงอาทิตย์ขึ้น (จน)ดวงอาทิตย์ตก
ท่านเข้าไปประสบทุกข์เป็นอันมากอยู่ในป่าช้า
[๔๙๐] เมื่อก่อนท่านได้ทำกรรมชั่วทางกาย วาจา ใจอะไรไว้หรือ
เพราะผลกรรมอะไร ท่านจึงต้องประสบทุกข์เช่นนี้
(เปรตนั้นตอบว่า)
[๔๙๑] เมื่อชาติก่อน ข้าพเจ้าเป็นพรานเนื้อ
เป็นคนหยาบช้า ทารุณ ไม่สำรวม
อยู่ที่ภูเขาคิริพพชะ เป็นที่น่ารื่นรมย์
ใกล้กรุงราชคฤห์ซึ่งน่ารื่นรมย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๓. จูฬวรรค] ๘. ทุติยมิคลุททกเปตวัตถุ
[๔๙๒] ข้าพเจ้านั้นมีสหายใจดี มีศรัทธา เป็นอุบาสกคนหนึ่ง
เขามีภิกษุที่คุ้นเคยกัน ซึ่งเป็นสาวกของพระสมณโคดม
เพราะเขาเอ็นดูข้าพเจ้าจึงห้ามอยู่บ่อย ๆ ว่า
[๔๙๓] พ่อเอ๋ย อย่าได้ทำชั่วเลย
อย่าได้ดำเนินทางผิดเลย
ถ้าสหายปรารถนาความสุขเมื่อตายไป
จงงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ซึ่งเป็นการไม่สำรวมเสียเถิด
[๔๙๔] ข้าพเจ้าฟังคำของเขาผู้หวังดี มีความเอ็นดูด้วยประโยชน์เกื้อกูล
แต่ไม่ได้ทำตามคำสั่งสอนของเขาทั้งสิ้น
เพราะเป็นคนไม่มีปัญญา ยินดีในบาปมาช้านาน
[๔๙๕] เขามีปัญญากว้างขวางดุจแผ่นดิน
แนะนำข้าพเจ้าให้ตั้งอยู่ในความสำรวมด้วยความอนุเคราะห์อีกว่า
ถ้าท่านจะฆ่าสัตว์ในกลางวัน
ในเวลากลางคืนก็จงงดเว้นเสีย
[๔๙๖] ข้าพเจ้านั้นจึงฆ่าสัตว์แต่เฉพาะกลางวัน
กลางคืนเป็นผู้สำรวมงดเว้น
เพราะฉะนั้น กลางคืนข้าพเจ้าจึงได้รับความสุข
กลางวันประสบทุกข์ ถูกสุนัขรุมกัดกิน คือ
[๔๙๗] กลางคืนได้เสวยทิพยสมบัติด้วยผลแห่งกุศลกรรมนั้น
กลางวันฝูงสุนัขดุร้ายพากันวิ่งเข้ามากัดกินข้าพเจ้ารอบด้าน
[๔๙๘] ชนเหล่าใดมีความเพียรเนือง ๆ
เอาธุระในพระศาสนาของพระสุคตอย่างมั่นคง
ข้าพเจ้าเข้าใจว่า ชนเหล่านั้นแหละจะได้บรรลุอมตบท
ซึ่งปัจจัยอะไรปรุงแต่งไม่ได้อย่างแน่นอน
ทุติยมิคลุททกเปตวัตถุที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๓. จูฬวรรค] ๙. กูฏวินิจฉยิกเปตวัตถุ
๙. กูฏวินิจฉยิกเปตวัตถุ
เรื่องเปรตอดีตผู้พิพากษาโกง
(พระนารทเถระถามเปรตตนหนึ่งว่า)
[๔๙๙] ตัวท่านทัดทรงดอกไม้ ใส่ชฎา สวมกำไลทอง
ลูบไล้ด้วยจุรณแก่นจันทน์
ท่านมีสีหน้าผ่องใส งดงาม ดุจแสงดวงอาทิตย์อ่อน ๆ
[๕๐๐] ท่านมีเทพบุตรและเทพธิดา พวกละ ๑๐,๐๐๐ สวมกำไลทอง
นุ่งห่มผ้าขลิบด้วยทอง พวกละ ๑๐,๐๐๐ คอยบำรุงบำเรอ
[๕๐๑] ท่านมีอานุภาพมาก มีรูปชวนให้เกิดขนลุกแก่ผู้พบเห็น
แต่ท่านจิกเนื้อหลังของตนเองกินเป็นอาหาร
[๕๐๒] เมื่อก่อนท่านได้ทำกรรมชั่วทางกาย วาจา ใจอะไรไว้หรือ
เพราะผลกรรมอะไร ท่านจึงจิกเนื้อหลังของตนเองกินเป็นอาหาร
(เปรตนั้นตอบว่า)
[๕๐๓] ข้าพเจ้าได้ประพฤติทุจริตด้วยการพูดส่อเสียด พูดเท็จ และ
ด้วยการอำพรางหลอกลวงเพื่อความฉิบหายแก่ตนเองในมนุษยโลก
[๕๐๔] ในมนุษยโลกนั้น ข้าพเจ้าไปยังชุมชนแล้ว
เมื่อถึงเวลาที่จะพูดความจริง ละเหตุผลเสีย
ประพฤติคล้อยตามอธรรม
[๕๐๕] ผู้ประพฤติทุจริตมีพูดส่อเสียดเป็นต้น ย่อมจิกเนื้อหลังตนเองกิน
เหมือนข้าพเจ้าจิกเนื้อหลังตนเองกินอยู่ในวันนี้
[๕๐๖] ข้าแต่พระนารทะ ทุกข์ที่ข้าพเจ้าได้รับอยู่นี้ ท่านได้เห็นเองแล้ว
เหล่าชนผู้ฉลาด มีความอนุเคราะห์ พึงกล่าวสอนว่า
ท่านอย่าได้พูดส่อเสียด และอย่าได้พูดเท็จ
อย่าได้กินเนื้อหลังของตนเป็นอาหารเลย
กูฏวินิจฉยิกเปตวัตถุที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๓. จูฬวรรค] ๑๐. ธาตุวิวัณณเปตวัตถุ
๑๐. ธาตุวิวัณณเปตวัตถุ
เรื่องเปรตผู้ตำหนิการบูชาพระธาตุ
(พระมหากัสสปเถระถามเปรตตนหนึ่งว่า)
[๕๐๗] ท่านอยู่ในอากาศ มีกลิ่นเหม็นเน่าฟุ้งไป
และหมู่หนอนพากันชอนไชกินปากที่มีกลิ่นเหม็นเน่าของท่าน
เมื่อก่อนท่านได้ทำกรรมอะไรไว้
[๕๐๘] เพราะการฟุ้งไปแห่งกลิ่นเหม็นนั้น
นายนิรยบาลถือศัสตรามาเฉือนปากที่มีแผลซ้ำแล้วซ้ำอีก
เอาน้ำแสบราดตรงที่เฉือนแล้วเชือดซ้ำ ๆ
[๕๐๙] เมื่อก่อนท่านทำกรรมชั่วทางกาย วาจา ใจอะไรไว้หรือ
เพราะผลกรรมอะไร ท่านจึงต้องประสบทุกข์เช่นนี้
(เปรตนั้นตอบว่า)
[๕๑๐] ท่านผู้นิรทุกข์ (เมื่อก่อน)ข้าพเจ้าอยู่ที่ภูเขาคิริพพชะ
เป็นที่น่ารื่นรมย์ใกล้กรุงราชคฤห์ซึ่งน่ารื่นรมย์
เป็นเจ้าของทรัพย์และข้าวเปลือกมากมายยิ่ง
[๕๑๑] ข้าพเจ้าได้ห้ามภรรยา ธิดา
และลูกสะใภ้ของข้าพเจ้านั้น
ซึ่งพากันนำพวงมาลัย
ดอกอุบล และเครื่องลูบไล้ใหม่ ๆ
ไปเพื่อบูชาพระสถูป
บาปนั้นข้าพเจ้าได้ทำไว้แล้ว
[๕๑๒] พวกเราจึงได้เสวยทุกขเวทนาต่าง ๆ กัน
จักหมกไหม้อยู่ในนรกแสนสาหัสถึง ๘๖,๐๐๐ ปี
เพราะตำหนิการบูชาพระสถูป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๓. จูฬวรรค] รวมเรื่องเปรตที่มีในวรรค
[๕๑๓] เมื่อการบูชาและการฉลองพระสถูป
ของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นไปอยู่
ชนเหล่าใดประกาศโทษ (แห่งการบูชาพระสถูปเหมือนเรา)
ท่านพึงคัดชนเหล่านั้นออกจากบุญนั้น
[๕๑๔] อนึ่ง เชิญท่านดูเทพธิดาเหล่านี้
ซึ่งทัดทรงดอกไม้ ตกแต่งร่างกายเหาะมา
พวกนางมั่งคั่งและมีบริวารยศ
เสวยผลแห่งการบูชาด้วยดอกไม้
[๕๑๕] ท่านผู้มีปัญญาทั้งหลายได้เห็นผลน่าอัศจรรย์
น่าขนลุกขนชัน ซึ่งไม่เคยมีมาแล้วนั้น
ย่อมทำการนอบน้อม
กราบไหว้พระมหามุนีนั้น
[๕๑๖] ข้าพเจ้าจากเปตโลกนี้ไปแล้ว
ได้ถือกำเนิดเป็นมนุษย์
จักเป็นผู้ไม่ประมาท
ทำการบูชาพระสถูปบ่อย ๆ แน่แท้
ธาตุวิวัณณเปตวัตถุที่ ๑๐ จบ
จูฬวรรคที่ ๓ จบ

รวมเรื่องเปรตที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อภิชชมานเปตวัตถุ ๒. สานุวาสีเถรเปตวัตถุ
๓. รถการเปติวัตถุ ๔. ภุสเปตวัตถุ
๕. กุมารเปตวัตถุ ๖. เสริณีเปติวัตถุ
๗. มิคลุททกเปตวัตถุ ๘. ทุติยมิคลุททกเปตวัตถุ
๙. กูฏวินิจฉยิกเปตวัตถุ ๑๐. ธาตุวิวัณณเปตวัตถุ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๔. มหาวรรค] ๑. อัมพสักขรเปตวัตถุ
๔. มหาวรรค
หมวดใหญ่
๑. อัมพสักขรเปตวัตถุ
เรื่องเจ้าอัมพสักขรลิจฉวีกับเปรตเปลือย
[๕๑๗] ชาวเมืองวัชชีมีนครนามว่าไพสาลี
ในนครไพสาลีนั้น มีกษัตริย์ลิจฉวี พระนามว่าอัมพสักขระ๑
ได้ทอดพระเนตรเห็นเปรตที่ภายนอกพระนคร
มีพระประสงค์จะทรงทราบเหตุ
จึงได้ตรัสถามเปรตนั้นในที่นั้นนั่นเองว่า
[๕๑๘] บุคคลที่ถูกเสียบอยู่บนปลายหลาวนี้
ไม่มีการนอน การนั่ง การเดินไปเดินมา
และการลิ้ม การดื่ม การเคี้ยวกิน การนุ่งห่มผ้า
แม้หญิงบำเรอของเขาก็ไม่มี
[๕๑๙] ชนเหล่าใดเป็นญาติ เป็นมิตรสหายซึ่งเคยเห็นหรือเคยได้ยินกันมา
เคยเอ็นดูกันมาในกาลก่อนของผู้นี้
เดี๋ยวนี้ชนเหล่านั้นแม้จะเยี่ยมเยียนเขาก็ไม่ได้
เพราะว่าผู้นี้มีสภาพที่ชนนั้นสละแล้ว
[๕๒๐] ผู้ที่ตายแล้วย่อมไม่มีมิตรสหาย
พวกมิตรสหายทราบถึงความขาดแคลนจึงพากันละทิ้ง
และเห็นประโยชน์จึงพากันห้อมล้อม
ส่วนผู้ที่มั่งคั่งด้วยทรัพย์สมบัติย่อมมีมิตรสหายมากมาย
[๕๒๑] ชีวิตของบุรุษที่เสื่อมจากเครื่องอุปโภคและบริโภคทุกอย่างฝืดเคือง
ถูกหลาวเสียบตัว มีร่างกายเปื้อนเลือด
จักดับในวันนี้ หรือในวันพรุ่งนี้เป็นแน่
ดุจหยาดน้ำค้างซึ่งติดอยู่บนปลายหญ้า

เชิงอรรถ :
๑ เจ้าลิจฉวีองค์นี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ นับถือลัทธินัตถิกวาทว่า ‘ไม่มีเหตุไม่มีปัจจัย ทำดีทำชั่วไม่มีผล’ (ขุ.เป.อ.
๑๒๑/๒๒๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๔. มหาวรรค] ๑. อัมพสักขรเปตวัตถุ
[๕๒๒] ยักษ์ เมื่อเป็นอย่างนี้ เพราะเหตุไร
ท่านจึงพูดกับบุรุษผู้ได้รับความลำบากอย่างยิ่ง
นอนหงายอยู่บนหลาวด้ามไม้สะเดาเช่นนี้ว่า
บุรุษผู้เจริญ ขอท่านจงมีชีวิตอยู่เถิด
การมีชีวิตอยู่เท่านั้นเป็นความประเสริฐ
(เปรตนั้นกราบทูลว่า)
[๕๒๓] ข้าแต่พระราชา ข้าพระองค์ระลึกได้ว่า ในชาติก่อน
บุรุษนี้เป็นญาติสายโลหิตของข้าพระองค์
ก็ข้าพระองค์เห็นแล้ว มีความกรุณาต่อเขาว่า
ขอบุรุษผู้เลวทรามนี้อย่าตกนรกเลย
[๕๒๔] ข้าแต่กษัตริย์ลิจฉวี บุรุษผู้ทำกรรมชั่วนี้ตายจากอัตภาพนี้แล้ว
จักบังเกิดในนรกซึ่งแน่นขนัดไปด้วยสัตว์ผู้กระทำความชั่วไว้
เป็นนรกร้ายกาจ
มีความเร่าร้อนมาก เผ็ดร้อน น่ากลัว
[๕๒๕] หลาวนี้แหละยังดีกว่านรกนั้นมากมายหลายส่วน
ขอบุรุษนี้อย่าตกนรก ซึ่งมีแต่ทุกข์โดยส่วนเดียว
เผ็ดร้อนอย่างน่ากลัว รุนแรงยิ่ง
[๕๒๖] เพราะฟังคำของข้าพระองค์นี้แล้ว บุรุษนี้เป็นประหนึ่งว่า
น้อมจิตเข้าไปหาทุกข์ในนรก พึงละบาปเสียได้
เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์จะไม่พูดในที่ใกล้เขาด้วยหวังว่า
ชีวิตของบุรุษนี้จงอย่าดับไปเพราะข้าพระองค์แต่ผู้เดียว
(เมื่อเปรตแสดงความประสงค์ของตนอย่างนี้แล้ว พระราชาทรงขอโอกาสเพื่อ
จะตรัสถามความเป็นไปของเปรตนั้นอีก จึงได้ตรัสคาถานี้ว่า)
[๕๒๗] เรื่องของบุรุษนี้ เรารู้แล้ว
แต่เราปรารถนาจะถามท่านถึงเรื่องอื่นบ้าง
ถ้าท่านให้โอกาสแก่เรา
เราจะถาม และท่านไม่ควรโกรธเรา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๔. มหาวรรค] ๑. อัมพสักขรเปตวัตถุ
(เปรตนั้นกราบทูลว่า)
[๕๒๘] ข้าพระองค์ได้ให้ปฏิญญาไว้ในกาลนั้นแน่นอนแล้ว
จะไม่บอกแก่ผู้ที่ไม่เลื่อมใส
(แต่บัดนี้)ข้าพระองค์ไม่ประสงค์(จะบอก)
(แต่)มีวาจาที่ควรเชื่อถือได้ เพราะเหตุดังว่ามานี้
ขอเชิญพระองค์ตรัสถามข้าพระองค์ตามพระประสงค์
ข้าพระองค์จะทูลตอบเท่าที่จะทูลตอบได้
(เมื่อเปรตให้โอกาสเช่นนั้นแล้ว เจ้าอัมพสักขระลิจฉวีจึงตรัสถามว่า)
[๕๒๙] เราจะเชื่อทุกสิ่งทุกอย่างที่เห็นด้วยตา
ถ้าแม้นเราเห็นสิ่งนั้นแล้วไม่เชื่อ
ก็ขอให้ลงโทษถอดยศเราเถิด ยักษ์
(เปรตนั้นกราบทูลว่า)
[๕๓๐] นี้ขอจงเป็นสัจปฏิญญาของพระองค์ต่อข้าพระองค์
พระองค์ได้ทรงฟังธรรมแล้ว จงทรงได้ความเลื่อมใสดีงาม
ข้าพระองค์ต้องการทราบ มิได้มีจิตคิดประทุษร้าย
จักขอกราบทูลถวายทุกเรื่องที่พระองค์ได้สดับแล้วบ้าง
หรือไม่ได้สดับแล้วบ้าง แด่พระองค์ เท่าที่รู้มา
(เจ้าอัมพสักขรลิจฉวีตรัสว่า)
[๕๓๑] ท่านขี่ม้าขาวประดับประดาแล้ว
เข้าไปใกล้บุรุษที่ถูกเสียบด้วยหลาว
ยานนี้น่าอัศจรรย์ น่าดู น่าชม นี้เป็นผลกรรมอะไร
(เปรตนั้นกราบทูลว่า)
[๕๓๒] ที่ท่ามกลางเมืองไพสาลีนั้น
มีหลุมที่หนทางลื่น ข้าพระองค์มีจิตเลื่อมใส
จึงใส่หัวโคหัวหนึ่งลงไปในหลุมใช้เป็นสะพาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๔. มหาวรรค] ๑. อัมพสักขรเปตวัตถุ
[๕๓๓] ข้าพระองค์และบุคคลอื่น
เหยียบบนหัวโคนั้นเดินข้ามไปได้
ยานนี้น่าอัศจรรย์ น่าดู น่าชม นี้เป็นผลกรรมนั้น
(เจ้าอัมพสักขรลิจฉวีตรัสถามว่า)
[๕๓๔] ท่านมีรัศมีกายสว่างไสวทั่วทุกทิศ
และมีกลิ่นหอมฟุ้งไปทั่วทุกทิศ
เข้าถึงเทวฤทธิ์ มีอานุภาพมาก
แต่ยังเปลือยกายอยู่ นี้เป็นผลกรรมอะไร
(เปรตนั้นกราบทูลว่า)
[๕๓๕] เมื่อก่อน ข้าพระองค์ไม่เป็นคนมักโกรธ มีจิตผ่องใสเป็นนิตย์
พูดกับคนทั่วไปด้วยวาจาอ่อนหวาน ด้วยผลกรรมนั้น
ข้าพระองค์จึงมีรัศมีกายเป็นทิพย์ สว่างไสวอยู่เนืองนิตย์
[๕๓๖] ข้าพระองค์เห็นยศและชื่อเสียงของผู้ที่ตั้งอยู่ในธรรม
มีจิตเลื่อมใส กล่าวสรรเสริญ ด้วยผลกรรมนั้น
ข้าพระองค์จึงมีกลิ่นทิพย์ฟุ้งไปเนือง ๆ
[๕๓๗] เมื่อพวกสหายของข้าพระองค์อาบน้ำที่ท่าน้ำ
ข้าพระองค์ลักเอาผ้าที่เขาซ่อนไว้บนบก
มีความประสงค์จะล้อเล่น แต่ไม่ได้มีจิตคิดประทุษร้าย
เพราะกรรมนั้นข้าพระองค์จึงเป็นเปรตเปลือยกาย
และเป็นอยู่อย่างฝืดเคือง
(เจ้าอัมพสักขรลิจฉวีตรัสถามว่า)
[๕๓๘] ผู้ที่ทำบาปเล่น ๆ (โดยเห็นแก่ความสนุก)
นักปราชญ์ยังกล่าวว่ามีผลกรรมถึงเพียงนี้
แล้วผู้ที่จงใจทำบาปเล่า
นักปราชญ์ได้กล่าวว่าจะมีผลกรรมสักเพียงไหน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๔. มหาวรรค] ๑. อัมพสักขรเปตวัตถุ
(เปรตนั้นกราบทูลว่า)
[๕๓๙] มนุษย์ทั้งหลายมีใจดำริชั่วร้าย
เป็นผู้เศร้าหมองทั้งทางกาย ทั้งทางวาจา
ตายไปจะต้องตกนรกในสัมปรายภพ อย่างไม่ต้องสงสัย
[๕๔๐] ส่วนชนเหล่าอื่นปรารถนาสุคติ
ยินดีให้ทาน เลี้ยงอัตภาพแล้ว
เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติในสัมปรายภพอย่างไม่ต้องสงสัย
(เมื่อเปรตชี้แจงจำแนกผลกรรมแต่โดยย่ออย่างนี้ พระราชาไม่ทรงเชื่อจึงตรัส
ถามว่า)
[๕๔๑] เราจะพึงรู้เรื่องนั้นโดยไม่ต้องอาศัยบุคคลอื่นอย่างไรว่า
นี้เป็นผลกรรมดีและกรรมชั่ว
เราเห็นอะไรแล้วจึงควรเชื่อ
หรือใครบ้างจะพึงช่วยชี้แจงให้เราเชื่อเรื่องนั้นได้
(เปรตนั้นกราบทูลว่า)
[๕๔๒] พระองค์ทรงเห็นและทรงสดับมาแล้วก็จงทรงเชื่อเถิดว่า
นี้เป็นผลกรรมดีและกรรมชั่ว
เมื่อกรรมดีและกรรมชั่วทั้งสองไม่มี
สัตว์ทั้งหลายที่ไปสู่สุคติหรือทุคติจะพึงมีได้อย่างไรเล่า
[๕๔๓] ถ้าสัตว์ทั้งหลายในมนุษยโลกนี้ ไม่พึงทำกรรมดีและกรรมชั่ว
เหล่าสัตว์ในมนุษยโลกที่จะไปสุคติหรือทุคติ เลวบ้าง ประณีตบ้าง
ก็มีไม่ได้
[๕๔๔] แต่เพราะสัตว์ทั้งหลายในมนุษยโลก
ได้ทำกรรมดีและกรรมชั่วไว้
ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายในมนุษยโลกจึงไปสุคติหรือทุคติ
เลวบ้าง ประณีตบ้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๔. มหาวรรค] ๑. อัมพสักขรเปตวัตถุ
[๕๔๕] บัณฑิตทั้งหลายได้กล่าวกรรม
อันเป็นเหตุให้เสวยสุขและทุกข์ไว้ทั้งสองอย่าง
เทวดาเหล่านั้นห้อมล้อมเหล่าชนที่ได้รับผลอันเป็นเหตุให้เสวยสุข
ส่วนพวกคนพาลมักไม่เห็นกรรมและผลกรรมทั้งสอง
จึงถูกกรรมแผดเผาอยู่
[๕๔๖] ข้าพระองค์มิได้มีบุญกรรมที่ทำไว้ด้วยตนเอง
ทั้งไม่มีผู้ที่จะพึงถวายผ้านุ่ง ผ้าห่ม ที่นอน ข้าวและน้ำ แล้วอุทิศให้
เหตุนั้นข้าพระองค์จึงเป็นเปรตเปลือยกาย
มีความเป็นอยู่อย่างฝืดเคือง
(เจ้าอัมพสักขรลิจฉวีตรัสถามว่า)
[๕๔๗] ท่านยักษ์ จะพึงมีเหตุอะไร ๆ บ้างหนอ
ที่จะทำให้ท่านได้เครื่องนุ่งห่ม
เชิญบอกเราได้ ถ้ามีเหตุ
เรารับฟังคำที่มีเหตุควรเชื่อถือได้
(เปรตนั้นกราบทูลว่า)
[๕๔๘] เมืองไพสาลีนี้ มีภิกษุนามว่ากัปปิตกะ๑
สำเร็จฌาน มีศีลบริสุทธิ์ เป็นพระอรหันต์ หลุดพ้นแล้ว
คุ้มครองอินทรีย์ได้ สำรวมในพระปาติโมกข์
เยือกเย็น มีสัมมาทิฏฐิอันสูงสุด
[๕๔๙] เป็นผู้อ่อนโยน รู้ความประสงค์ของผู้ขอ ว่าง่าย
มีหน้าเบิกบาน มาดี ไปดี พูดโต้ตอบได้ดี
เป็นเนื้อนาบุญ มีเมตตาจิตเป็นประจำ
และเป็นทักขิไณยบุคคลของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
๑ เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในจำนวนอดีตชฎิล ๑,๐๐๐ รูป ท่านเป็นอุปัชฌาย์ของท่านพระอุบาลีเถระ (ขุ.เป.อ.
๕๔๘/๒๔๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๔. มหาวรรค] ๑. อัมพสักขรเปตวัตถุ
[๕๕๐] สงบระงับ กำจัดมิจฉาวิตกได้
หมดทุกข์ หมดตัณหา
หลุดพ้นแล้ว ปราศจากกิเลสเป็นเหตุเสียบแทง
ไม่ยึดถือว่าเป็นของเรา ไม่คด ไม่มีอุปธิ
หมดสิ้นกิเลสเป็นเหตุเนิ่นช้า
ได้บรรลุวิชชา ๓ มีความรุ่งเรือง
[๕๕๑] ไม่มีชื่อเสียงปรากฏ แม้ใคร ๆ เห็นก็ไม่รู้ว่าเป็นปราชญ์
ในหมู่ชนชาววัชชี เขาพากันเรียกท่านว่า ปราชญ์
ส่วนพวกยักษ์และเทวดารู้จักท่านว่า ผู้ไม่หวั่นไหว
มีกัลยาณธรรม เที่ยวไปในโลก
[๕๕๒] ถ้าพระองค์ทรงถวายผ้าคู่หนึ่งหรือสองคู่แก่พระมุนีนั้น
ทรงอุทิศส่วนบุญให้ข้าพระองค์
พระมุนีนั้นจะพึงรับคู่ผ้าเหล่านั้น
และพระองค์ก็จะทอดพระเนตรเห็นข้าพระองค์ผู้นุ่งห่มผ้าเรียบร้อย
(เจ้าอัมพสักขรลิจฉวีตรัสถามว่า)
[๕๕๓] บัดนี้ สมณะนั้นอยู่ที่ไหน
เราไปแล้วจักพึงพบเห็นได้
และสมณะนั้น คือใคร จะพึงแก้ไขความสงสัยและความสนเท่ห์
ซึ่งเป็นเสี้ยนหนามแห่งความเห็นในวันนี้ได้
(เปรตนั้นกราบทูลว่า)
[๕๕๔] ท่านนั่งอยู่ที่กปินัจจนานั่น
มีเทวดาแวดล้อมเป็นจำนวนมาก
เป็นผู้มีเกียรติคุณอันแท้จริง
และเป็นผู้ไม่ประมาทในคุณอันอัศจรรย์ของตน
กล่าวธรรมีกถา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๔. มหาวรรค] ๑. อัมพสักขรเปตวัตถุ
(เจ้าอัมพสักขรลิจฉวีตรัสว่า)
[๕๕๕] เราไปแล้วจักทำตามที่ท่านสั่งนั้นเดี๋ยวนี้
จักให้สมณะนุ่งห่มผ้าคู่หนึ่ง
พระมุนีนั้นจะพึงรับคู่ผ้าเหล่านั้น
และเราจะพึงเห็นท่านผู้นุ่งห่มผ้าเรียบร้อย
(เปรตนั้นกราบทูลว่า)
[๕๕๖] ข้าแต่เจ้าลิจฉวี ขอประทานวโรกาส
ขอพระองค์อย่าได้เสด็จเข้าไปหาบรรพชิตในเวลาไม่สมควร
นั่นเป็นธรรมเนียมไม่เหมาะสำหรับพระองค์
และต่อจากนั้น พระเจ้าลิจฉวีตรัสว่า
เราจะเข้าไปพบบรรพชิตผู้นั่งอยู่ในที่ลับ ณ ที่นั้นในเวลาอันสมควร
(พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายกล่าวคาถาเหล่านี้ว่า)
[๕๕๗] ครั้นตรัสแล้วอย่างนี้ เจ้าลิจฉวีมีหมู่ข้าทาสบริพารแวดล้อม
เสด็จไปในพระนครนั้น
ครั้นเสด็จเข้าไปยังพระนครนั้นแล้ว
จึงเสด็จเข้าประทับอาศัยในพระราชนิเวศน์ของพระองค์
[๕๕๘] ต่อจากนั้น พระเจ้าลิจฉวีทรงกระทำกิจของคฤหัสถ์ทั้งหลาย
ทรงสรงสนาน และเสวยน้ำแล้ว
ได้เวลาอันสมควร จึงทรงเลือกผ้า ๘ คู่จากหีบ
รับสั่งให้หมู่ข้าทาสบริพารถือไป
[๕๕๙] พระองค์ ครั้นเสด็จเข้าไปยังสถานที่นั้นแล้ว
ได้ทอดพระเนตรเห็นสมณะนั้นมีจิตสงบระงับ
เดินกลับจากโคจรคาม เป็นผู้เยือกเย็น
นั่งอยู่ที่โคนต้นไม้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๔. มหาวรรค] ๑. อัมพสักขรเปตวัตถุ
[๕๖๐] จึงเสด็จเข้าไปหาแล้วตรัสถามสมณะนั้น
ถึงความเป็นผู้มีอาพาธน้อย ความอยู่สำราญ
แล้วได้ตรัสกับสมณะนั้นว่า
พระคุณเจ้าผู้เจริญ โยมเป็นกษัตริย์ลิจฉวี ในเมืองไพสาลี
ชนทั้งหลายรู้จักโยมว่า เจ้าอัมพสักขรลิจฉวี
[๕๖๑] พระคุณเจ้าผู้เจริญ ขอพระคุณเจ้าจงรับผ้า ๘ คู่นี้ของโยม
โยมถวายพระคุณเจ้า
โยมมาในที่นี้เพราะต้องการความสบายใจที่โยมจะพึงสบายใจ
(พระเถระทูลถามว่า)
[๕๖๒] สมณพราหมณ์ทั้งหลายพากันละเว้นราชนิเวศน์
ของมหาบพิตรเสียห่างไกล
เพราะในพระราชนิเวศน์ของพระองค์ บาตรก็แตก
และแม้ผ้าสังฆาฏิก็ยังถูกฉีกทำลาย
[๕๖๓] ครั้นต่อมา สมณะอีกพวกหนึ่งถูกมัดเท้าจับห้อยหัวลง
สมณะทั้งหลายได้รับการเบียดเบียน
ที่มหาบพิตรทรงกระทำกับบรรพชิตเช่นนั้น
[๕๖๔] มหาบพิตรไม่เคยพระราชทาน
แม้แต่น้ำมันสักหยดหนึ่งด้วยยอดหญ้า
ไม่ตรัสบอกทางให้คนหลงทาง
ชิงเอาไม้เท้าของคนตาบอดเสียเอง
เป็นคนตระหนี่ ไม่สำรวมเช่นนี้
เมื่อเป็นเช่นนี้ เพราะเหตุไร
หรือเพราะทรงเห็นอะไร
มหาบพิตร จึงทรงจำแนกแจกจ่ายให้แก่อาตมาเล่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๔. มหาวรรค] ๑. อัมพสักขรเปตวัตถุ
(เจ้าอัมพสักขรลิจฉวีตรัสว่า)
[๕๖๕] พระคุณเจ้าผู้เจริญ โยมเบียดเบียนสมณะและพราหมณ์ทั้งหลาย
โยมขอรับผิดตามที่ท่านพูด
แต่โยมมีความประสงค์จะล้อเล่น ไม่ได้คิดประทุษร้าย
กรรมชั่วแม้นั้นโยมกระทำแล้วจริง
[๕๖๖] เด็กหนุ่มเปลือยกาย มีโภคะเพียงเล็กน้อย
ได้สร้างบาปกรรมด้วยการล้อเล่น จึงต้องเสวยทุกข์
ก็เปรตนั้นจะมีทุกข์อะไรเล่า
ที่เป็นทุกข์ยิ่งกว่าความเปลือยกายนั้น
[๕๖๗] พระคุณเจ้าผู้เจริญ โยมเห็นสิ่งอันน่าสังเวช
และผลอันเป็นมลทินนั้นแล้ว
จึงถวายทานแม้เพราะเหตุนั้นเป็นปัจจัย
นิมนต์พระคุณเจ้ารับผ้าทั้ง ๘ คู่เถิด
ทักษิณา๑ นี้จงสำเร็จแก่เปรต
(พระเถระถวายพระพรว่า)
[๕๖๘] เพราะบัณฑิตทั้งหลายมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นต้น
สรรเสริญการให้ทานไว้โดยมากแท้
และเมื่อมหาบพิตรทรงถวายทาน ขอให้ทานอย่าหมดเปลืองไป
อาตมภาพรับผ้าของมหาบพิตรทั้ง ๘ คู่
ขอทักษิณาทานเหล่านี้จงสำเร็จแก่เปรต
[๕๖๙] ลำดับนั้น เจ้าลิจฉวีนั้น ทรงบ้วนพระโอษฐ์
ทรงถวายผ้า ๘ คู่แด่พระเถระ พระเถระรับผ้า ๘ คู่นั้นแล้ว
และเจ้าลิจฉวีนั้นก็ทอดพระเนตรเห็นเปรตนุ่งห่มผ้าเรียบร้อย

เชิงอรรถ :
๑ ทานที่ให้โดยเชื่อกรรมและผลแห่งกรรม,หรือไทยธรรมที่ถวายแก่ท่านผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ เพื่อประโยชน์
แก่เปตชน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๔. มหาวรรค] ๑. อัมพสักขรเปตวัตถุ
[๕๗๐] (เจ้าลิจฉวีนั้น)ได้ทอดพระเนตรเห็นเปรตนั้น
ลูบไล้ด้วยจุรณแก่นจันทน์แดง มีรูปงาม ประดับประดา
นุ่งผ้าอย่างดี ขี่ม้าอาชาไนย มีบริวารห้อมล้อม มีเทวฤทธิ์มาก
[๕๗๑] พระองค์ทรงเห็นเช่นนั้นแล้ว ทรงปลื้มพระหฤทัย เบิกบาน
มีพระหฤทัยร่าเริง งามสง่า
ได้ทรงเห็นกรรมและผลกรรมมากอย่างแจ้งประจักษ์ด้วยพระองค์เอง
[๕๗๒] จึงเสด็จเข้าไปหาเปรตนั้นแล้วรับสั่งกับเปรตนั้นว่า
เราจักให้ทานแก่สมณพราหมณ์ทั้งหลาย
สิ่งไร ๆ ที่เราไม่ควรให้ไม่มีเลย
และท่านมีอุปการะแก่เรามาก
(เปรตนั้นกราบทูลว่า)
[๕๗๓] ข้าแต่เจ้าลิจฉวี พระองค์ได้พระราชทานสิ่งของอย่างหนึ่ง
แก่ข้าพระองค์ ทานนั่นมิได้ไร้ผล
ข้าพระองค์นั้นซึ่งเป็นอมนุษย์
จักเป็นพยานร่วมกับพระองค์ผู้เป็นมนุษย์
(พระราชาตรัสว่า)
[๕๗๔] ท่านเป็นตัวอย่าง เป็นพวกพ้อง เป็นที่ยึดเหนี่ยว
เป็นมิตรและเป็นเทพของเรา
เราขอไหว้ อ้อนวอนท่าน ต้องการจะพบท่านอีก
(เปรตกราบทูลว่า)
[๕๗๕] ถ้าพระองค์จักเป็นผู้ไม่มีศรัทธา
ยังกระด้างกระเดื่อง มีจิตดำเนินไปผิด๑
ขอเดชะเจ้าลิจฉวี พระองค์จักไม่ได้เห็นข้าพระองค์
และข้าพระองค์เห็นพระองค์แล้วก็จักไม่เจรจาด้วย

เชิงอรรถ :
๑ มีจิตเป็นมิจฉาทิฏฐิ ละทางถูกไปปฏิบัติทางผิด (ขุ.เป.อ. ๕๗๕/๒๕๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๔. มหาวรรค] ๑. อัมพสักขรเปตวัตถุ
[๕๗๖] แต่ถ้าพระองค์จักทรงเคารพธรรม
ยินดีบริจาคทานเครื่องบำรุงอัตภาพ
เป็นเสมือนบ่อน้ำของสมณพราหมณ์ทั้งหลาย
ขอเดชะเจ้าลิจฉวี เมื่อเป็นดังนี้ พระองค์จักได้เห็นข้าพระองค์
[๕๗๗] และข้าพระองค์จักได้เห็นได้เจรจากับพระองค์
ขอพระองค์โปรดทรงปล่อยบุรุษนี้จากหลาวโดยเร็ว
เพราะการมาหาบุรุษนี้เป็นเหตุ
เราทั้งสองได้เป็นพยานร่วมกัน
เพราะเหตุแห่งบุรุษถูกเสียบที่หลาว ข้าพระองค์เข้าใจว่า
[๕๗๘] เราทั้งสองนั้นได้เป็นพยานร่วมกัน
ฝ่ายบุรุษถูกเสียบที่หลาวนี้ ถูกปล่อยโดยเร็วโดยทันที
แล้วประพฤติธรรมโดยเคารพ
พึงพ้นจากนรกนั้นแน่นอน
กรรมที่เว้นการให้ผล๑ ก็พึงมีได้
[๕๗๙] พระองค์เสด็จเข้าไปหากัปปิตกภิกษุแล้ว
ทรงถวายทานแก่ท่าน ในเวลาที่สมควร
ประทับนั่งใกล้แล้วเชิญตรัสถามด้วยพระโอษฐ์เอง
ท่านจักทูลความข้อนั้นแก่พระองค์
[๕๘๐] พระองค์ทรงประสงค์บุญ และมีจิตไม่ประทุษร้าย
เชิญเสด็จเข้าไปหาภิกษุนั้นแล้วตรัสถามเถิด
ท่านจักทูลธรรมทั้งที่ทรงสดับแล้ว
และยังไม่ได้ทรงสดับทั้งหมดแด่พระองค์ตามความรู้
(พระองค์ทรงสดับธรรมแล้วจักได้ตรัสบอกสุคติ)

เชิงอรรถ :
๑ กรรมที่เว้นผลอันบุคคลพึงเสวยในภพต่อ ๆ ไป (อโหสิกรรม) พึงมีได้ เมื่อยังมีการเวียนว่ายตายเกิด (ขุ.เป.อ.
๕๙๐/๒๕๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๔. มหาวรรค] ๑. อัมพสักขรเปตวัตถุ
[๕๘๑] ท้าวเธอทรงเจรจาความลับในที่นั้นแล้ว
ได้เป็นพยานร่วมกับเปรต เสด็จหลีกไป
ครั้นแล้วท้าวเธอได้กล่าวกับข้าราชบริพารของกษัตริย์ลิจฉวีทั้งหลาย
ซึ่งนั่งประชุมกันอยู่ใกล้ ๆ ว่า
[๕๘๒] ท่านผู้เจริญทั้งหลาย โปรดฟังคำอย่างหนึ่งของข้าพเจ้า
ข้าพเจ้าจักเลือกพร จักได้ประโยชน์
บุรุษที่ถูกเสียบที่หลาว มีกรรมหยาบช้า
ถูกลงอาชญา มีสภาพที่จะต้องติดอยู่ร่ำไป
[๕๘๓] เขาถูกหลาวเสียบมาอย่างนี้ประมาณ ๒๐ ราตรี
จะตายหรือไม่ตาย เราจักปล่อยเขาด้วยความเต็มใจ
หมู่ชนจงอนุญาตตามชอบใจ
[๕๘๔] พระองค์โปรดจงรีบปล่อยบุรุษนั้นและบุรุษอื่นโดยเร็ว
และใครเล่าจะพึงว่ากล่าวพระองค์ผู้ทรงทำอย่างนั้นอยู่ได้
พระองค์ทรงทราบอย่างไร ขอจงทรงทำอย่างนั้น
หมู่ชนย่อมอนุญาตตามชอบใจ
[๕๘๕] เจ้าลิจฉวีนั้นเสด็จเข้าไปยังสถานที่นั้นแล้ว
ทรงรีบปล่อยบุรุษที่ถูกหลาวเสียบ
และได้ตรัสกับบุรุษนั้นว่า อย่ากลัวเลยเพื่อน
และรับสั่งให้พวกหมอพยาบาลรักษา
[๕๘๖] แล้วเสด็จเข้าไปหากัปปิตกภิกษุ
ทรงถวายทานแก่ท่านในเวลาที่สมควร
มีพระประสงค์จะทรงทราบเหตุ จึงประทับนั่งใกล้
แล้วได้รับสั่งถามท่าน ณ ที่นั้นนั่นแหละด้วยพระองค์เองว่า
[๕๘๗] บุรุษผู้ถูกหลาวเสียบ มีกรรมหยาบช้า
ถูกลงอาชญา มีสภาพจะต้องติดอยู่ร่ำไป
เขาถูกเสียบอย่างนี้ประมาณ ๒๐ ราตรี จะตายหรือไม่ตาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๔. มหาวรรค] ๑. อัมพสักขรเปตวัตถุ
[๕๘๘] โยมไปปล่อยเขามาเดี๋ยวนี้ตามคำของเปรตนั้น
พระคุณเจ้าผู้เจริญ จะพึงมีเหตุอะไรหรือ
ที่เปรตนั้นไม่ต้องตกนรก
[๕๘๙] ถ้ามีเหตุขอนิมนต์ท่านบอกโยมเถิด พระคุณเจ้าผู้เจริญ
โยมกำลังรอฟังคำมีเหตุที่น่าเชื่อถืออยู่
(กัปปิตกภิกษุถวายพระพรว่า)
เพราะยังไม่ได้เสวย
ผลกรรมเหล่านั้นจะไม่มีการสูญหาย
ภาวะที่กรรมเหล่านั้นจะสูญสิ้นไปจะพึงมีได้ในโลกนี้
[๕๙๐] ถ้าเขาประพฤติธรรมสม่ำเสมอโดยเคารพ
ไม่ประมาททั้งคืนทั้งวัน
เขาจะพึงพ้นจากนรกนั้นไปได้
และกรรมที่เว้นการให้ผล พึงมีได้
(พระราชาตรัสว่า)
[๕๙๑] พระคุณเจ้าผู้เจริญ โยมรู้ประโยชน์ของบุรุษนี้อย่างทั่วถึง
บัดนี้ ขอพระคุณเจ้าจงอนุเคราะห์โยมบ้าง
ขอได้กล่าวตักเตือนพร่ำสอนโยม
โดยวิธีที่โยมไม่พึงตกนรกด้วยเถิด
ท่านผู้มีปัญญากว้างขวาง
(กัปปิตกภิกษุถวายพระพรว่า)
[๕๙๒] วันนี้ ขอมหาบพิตรจงมีพระหฤทัยเลื่อมใส
ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึกถึง
อนึ่ง จงทรงศึกษาสมาทานสิกขาบท ๕ ประการ
ไม่ให้ขาดและไม่ให้บกพร่อง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๔. มหาวรรค] ๑. อัมพสักขรเปตวัตถุ
[๕๙๓] จงทรงงดเว้นจากการฆ่าสัตว์โดยพลัน
เว้นขาดจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ในโลก
ไม่ทรงเสวยน้ำจัณฑ์ ไม่ตรัสเท็จ
และทรงยินดีเฉพาะพระมเหสีของพระองค์
อนึ่ง ขอจงทรงสมาทานอุโบสถศีลประกอบด้วยองค์ ๘
อย่างประเสริฐนี้ ซึ่งเป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร
[๕๙๔] ขอพระองค์จงทรงถวายจีวร บิณฑบาต
คิลานปัจจัย ที่นอน ที่นั่ง ข้าว น้ำ ของกิน ของเคี้ยว
ผ้า และที่อยู่อาศัย ในท่านผู้ปฏิบัติตรงทั้งหลาย
บุญย่อมเจริญทุกเมื่อ
[๕๙๕] ทรงอังคาสภิกษุทั้งหลายผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ปราศจากราคะ
เป็นพหูสูต ให้อิ่มหนำด้วยข้าวและน้ำ บุญจึงเจริญทุกเมื่อ
[๕๙๖] ผู้ที่ประพฤติธรรมสม่ำเสมอโดยเคารพ
ไม่ประมาททั้งคืนทั้งวันอย่างนี้ พึงพ้นจากนรกนั้น
และกรรมที่เว้นการให้ผลพึงมีได้
(พระราชาตรัสว่า)
[๕๙๗] วันนี้แหละ โยมมีจิตเลื่อมใส ขอถึงพระพุทธเจ้า
พระธรรม และพระสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
อนึ่ง ขอศึกษาสมาทานสิกขาบท ๕ ประการ
ไม่ให้ขาดและไม่ให้บกพร่อง คือ
[๕๙๘] ของดเว้นจากการฆ่าสัตว์พลัน
เว้นขาดจากการถือเอาสิ่งที่เจ้าของไม่ได้ให้ในโลก
ไม่ดื่มน้ำเมา ไม่กล่าวเท็จ
และยินดีเฉพาะภรรยาของตน
อนึ่ง ขอสมาทานอุโบสถศีลประกอบด้วยองค์ ๘
อย่างประเสริฐนี้ ซึ่งเป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๔. มหาวรรค] ๒. เสรีสกเปตวัตถุ
[๕๙๙] โยมจะถวายจีวร บิณฑบาต คิลานปัจจัย ที่นอน ที่นั่ง
ข้าว น้ำ ของกินของเคี้ยว ผ้า และที่อยู่อาศัย
[๖๐๐] โยมยินดีในพระพุทธศาสนา ไม่หวั่นไหว
จะถวายแก่ภิกษุทั้งหลายผู้สมบูรณ์ด้วยศีล
ปราศจากราคะ เป็นพหูสูต
[๖๐๑] เจ้าอัมพสักขรลิจฉวีทรงเป็นอุบาสกคนหนึ่งในเมืองไพสาลี
ทรงมีศรัทธา และมีพระหฤทัยอ่อนโยนเช่นนั้น
ทรงทำอุปการะ บำรุงพระภิกษุสงฆ์โดยเคารพในกาลนั้น
[๖๐๒] บุรุษผู้ถูกหลาวเสียบ หายโรค
มีอิสระ สบายดี ได้บรรพชาแล้ว
แม้คนทั้งสองอาศัยกัปปิตกภิกษุผู้ประเสริฐ ได้บรรลุสามัญญผล๑
[๖๐๓] การคบสัตบุรุษเช่นนี้ย่อมมีผลมากแก่สัตบุรุษทั้งหลายผู้รู้แจ้งอยู่
บุรุษผู้ถูกหลาวเสียบได้บรรลุอรหัตตผล
ส่วนเจ้าอัมพสักขรลิจฉวีได้บรรลุโสตาปัตติผล
อัมพสักขรเปตวัตถุที่ ๑ จบ

๒. เสรีสกเปตวัตถุ
เรื่องเสรีสกเปรต
(พระควัมปติกล่าวว่า)
[๖๐๔] ท่านทั้งหลายจงฟังคำของเทวดาและพวกพ่อค้า
ที่ได้มาพบกันในทางทะเลทรายในคราวนั้น
และขอเชิญทุกท่านฟังถ้อยคำตามที่เทวดา
และพวกพ่อค้ากล่าวสนทนากัน

เชิงอรรถ :
๑ สามัญญผล แปลว่า ผลแห่งความเป็นสมณะ ความเป็นสมณะ หมายถึงการบวชเป็นภิกษุในพุทธศาสนา
พระผู้มีพระภาคทรงพิสูจน์ให้เห็นชัดว่า การบวชได้ผลเห็นประจักษ์ (หมายถึงการบรรลุมรรค ๔ ผล ๔
นิพพาน ๑ ไปตามลำดับ) (สุตฺต ๙/๒๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๔. มหาวรรค] ๒. เสรีสกเปตวัตถุ
[๖๐๕] ยังมีพระราชาผู้ทรงยศพระนามว่า ปายาสิ
ได้เกิดร่วมกับหมู่ภุมเทวดา
มีบริวารยศบันเทิงอยู่ในวิมานของตน
เป็นเทวดาแต่ได้มาสนทนากับพวกมนุษย์
(เสรีสกเทพบุตรถามพวกพ่อค้าด้วยคาถาว่า)
[๖๐๖] มนุษย์ทั้งหลายผู้กลัวทางคดเคี้ยว
มีใจหวาดหวั่นอยู่ในที่น่าระแวงว่ามีภัย ในป่า ในถิ่นของอมนุษย์
ในทางกันดาร ซึ่งมีน้ำมีอาหารไม่เพียงพอ
เดินไปได้แสนยาก ท่ามกลางทะเลทราย
[๖๐๗] ในทางทะเลทรายนี้ ไม่มีผลไม้ ไม่มีเผือกมัน ไม่มีเชื้อไฟ
ในทางทะเลทรายนี้ จักหาอาหารได้แต่ที่ไหน
นอกจากฝุ่นและทรายที่แดดแผดเผาทั้งร้อน ทั้งทารุณ
[๖๐๘] ที่นี้เป็นที่ดอน ร้อนดังแผ่นเหล็กเผาไฟ
หาความสบายมิได้ เทียบเท่านรก
สถานที่นี้เป็นที่อยู่ดั้งเดิมของพวกหยาบช้ามีปีศาจเป็นต้น
เป็นภูมิประเทศเหมือนถูกสาปไว้
[๖๐๙] อนึ่ง พวกท่านหวังอะไร
เพราะเหตุไรจึงไม่พิจารณาให้ถี่ถ้วน
ตามกันเข้ามายังประเทศถิ่นนี้พร้อมกัน
เพราะความโลภ ความกลัว หรือเพราะความหลง
(พวกพ่อค้าตอบว่า)
[๖๑๐] พวกข้าพเจ้านั้นเป็นพ่อค้าเกวียนอยู่ในแคว้นมคธและแคว้นอังคะ
ต้องการทรัพย์ หวังกำไร
จึงบรรทุกสินค้ามามาก
พากันไปยังสินธุประเทศและโสวีระประเทศ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๔. มหาวรรค] ๒. เสรีสกเปตวัตถุ
[๖๑๑] กลางวัน พวกข้าพเจ้าทุกคนทนความกระหายน้ำไม่ได้
ทั้งมุ่งหวังจะอนุเคราะห์สัตว์พาหนะ
จึงรีบเดินทางมาในกลางคืน ซึ่งเป็นเวลาวิกาล
[๖๑๒] พวกข้าพเจ้าไปผิดทาง จึงหลงทาง
สับสนเหมือนคนตาบอด
เดินหลงเข้าไปในป่าที่ไปได้ยากแสนยาก
ท่ามกลางทะเลทราย เกิดงุนงงสงสัย ไม่รู้ทิศทาง
[๖๑๓] ท่านที่ควรบูชา พวกข้าพเจ้าได้พบวิมานอันประเสริฐ
และตัวท่านซึ่งไม่เคยพบเห็นมาก่อนนี้
จึงหวังจะรอดชีวิตยิ่งกว่าแต่ก่อน
เพราะได้เห็น จึงพากันร่าเริง ดีใจและเบิกบานใจ
(เทพบุตรถามว่า)
[๖๑๔] เพราะโภคทรัพย์เป็นต้นเหตุ
พวกท่านจึงพากันไปยังทิศทางต่าง ๆ
คือ ฝั่งสมุทรทะเลทรายทางที่ต้องใช้เครื่องหวาย
ทางที่ต้องตอกทอย๑ ทางที่มีแม่น้ำ
และทางภูเขาที่ไปได้ยาก
[๖๑๕] พ่อค้าทั้งหลาย พวกท่านได้ไปยังแคว้นของพระราชาอื่น ๆ
พบเห็นผู้คนชาวต่างประเทศ
พวกเราขอฟังสิ่งอัศจรรย์
ที่พวกท่านได้ยิน หรือได้เห็นมา

เชิงอรรถ :
๑ ตอกทอย หมายถึง การตีลูกทอยคือไม้แหลม ๆ ที่ทำเป็นตะปูตีเข้าที่ต้นไม้ (หรือที่หน้าผาเพื่อทำเป็น
บันไดไต่ขึ้นไป) (ขุ.วิ.อ. ๑๒๓๘/๓๙๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๔. มหาวรรค] ๒. เสรีสกเปตวัตถุ
(พวกพ่อค้าตอบว่า)
[๖๑๖] พ่อกุมาร สมบัติของมนุษย์ที่ผ่านมาทั้งหมด
ซึ่งอัศจรรย์กว่าวิมานของท่านแม้นี้
พวกข้าพเจ้าไม่เคยได้เห็นหรือได้ยิน
วิมานของท่านซึ่งมีรัศมีไม่เลว
พวกข้าพเจ้าแลดูแล้วไม่อิ่มเลย
[๖๑๗] ที่วิมานของท่านมีสระโบกขรณี ลอยอยู่ในอากาศ
มีสวนดอกไม้มากมาย มีบัวขาวมาก
มีหมู่ไม้ผลิดอกออกผลเป็นนิตย์
โชยกลิ่นหอมตลบอบอวล
[๖๑๘] เสาวิมานเหล่านี้เป็นเสาแก้วไพฑูรย์ สูงร้อยศอก
ประดับด้วยแก้วผลึก แก้วประพาฬ แก้วลาย และทับทิม
มีรัศมีโชติช่วง
[๖๑๙] วิมานของท่านนี้มีเสา ๑,๐๐๐ ต้น
ภายในประกอบด้วยแก้ว
ภายนอกล้อมรอบด้วยไพทีทองคำ๑
และมุงบังอย่างดีด้วยแผ่นทองคำ
มีอานุภาพหาที่เปรียบมิได้
งามอยู่บนเสาเหล่านั้น
[๖๒๐] วิมานของท่านนี้สว่างไสวด้วยทองชมพูนุชชั้นเยี่ยม
ทุกส่วนของวิมานเกลี้ยงเกลาดี
ประกอบด้วยบันไดและพื้นน่าพอใจ มั่นคง
งดงาม มีส่วนประกอบกลมกลืน
ชวนพิศอย่างยิ่ง น่าชอบใจ

เชิงอรรถ :
๑ เวทีที่ทำด้วยทอง เพื่อใช้ประโยชน์ในการฟ้อนรำขับร้อง หรือบางแห่งใช้ตั้งเครื่องบูชา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๔. มหาวรรค] ๒. เสรีสกเปตวัตถุ
[๖๒๑] ภายในวิมานแก้ว มีข้าวน้ำอุดมสมบูรณ์
ตัวท่านมีหมู่เทพอัปสรห้อมล้อม
กึกก้องด้วยเสียงตะโพน เปิงมางและดุริยางค์
เป็นผู้ที่ทวยเทพนอบน้อมแล้วด้วยการชมเชยและกราบไหว้
[๖๒๒] ตัวท่านนั้นมีอานุภาพสุดที่จะคิด
ประกอบด้วยคุณทุกอย่าง
ผู้อันหมู่เทพนารีปลุกเร้า
บันเทิงอยู่ในวิมานปราสาทที่ประเสริฐ น่ารื่นรมย์ใจ
เหมือนท้าวเวสวัณบันเทิงอยู่ในนฬินีสถาน๑
[๖๒๓] ท่านเป็นเทวดาหรือเป็นยักษ์
เป็นท้าวสักกะจอมเทพ หรือเป็นมนุษย์
พวกพ่อค้าเกวียนถามท่าน
โปรดบอกด้วยเถิด ท่านเป็นเทวดาชื่ออะไร
(เทพบุตรตอบว่า)
[๖๒๔] ข้าพเจ้าเป็นเทวดาชื่อเสรีสกะ เป็นผู้รักษาทางกันดาร
คุ้มครองทางทะเลทราย ทำตามคำสั่งท้าวเวสวัณ
จึงดูแลรักษาประเทศถิ่นนี้อยู่
(พวกพ่อค้าถามว่า)
[๖๒๕] วิมานนี้ท่านได้ตามความปรารถนา
หรือเกิดโดยความเปลี่ยนแปลง
ท่านทำเองหรือเทวดาทั้งหลายมอบให้
พวกพ่อค้าเกวียนถามท่านว่า
วิมานที่น่าชอบใจนี้ท่านได้มาอย่างไร

เชิงอรรถ :
๑ สถานที่ทรงเล่นกีฬาสนามกีฬา (ขุ.วิ.อ. ๑๒๔๖/๔๐๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๔. มหาวรรค] ๒. เสรีสกเปตวัตถุ
(เทพบุตรตอบว่า)
[๖๒๖] วิมานนี้มิใช่ข้าพเจ้าได้ตามความปรารถนา
มิใช่เกิดโดยการเปลี่ยนแปลง
มิใช่ข้าพเจ้าทำเองทั้งมิใช่เทวดาทั้งหลายมอบให้
วิมานที่น่าชอบใจนี้ข้าพเจ้าได้มาด้วยบุญกรรมอันดีงามของตน
(พวกพ่อค้าถามว่า)
[๖๒๗] อะไรเป็นข้อปฏิบัติและเป็นพรหมจรรย์ของท่าน
นี้เป็นวิบากแห่งบุญกรรมอะไรที่ท่านสั่งสมไว้ดีแล้ว
พวกพ่อค้าเกวียนถามท่านว่า
วิมานนี้ท่านได้มาอย่างไร
(เทพบุตรตอบว่า)
[๖๒๘] ข้าพเจ้าได้มีนามว่าปายาสิ
เมื่อครั้งข้าพเจ้าครองราชสมบัติแคว้นโกศล
ข้าพเจ้าเป็นนัตถิกทิฏฐิ๑
เป็นคนตระหนี่ มีธรรมเลวทราม
และมีปกติกล่าวว่าขาดสูญ๒
[๖๒๙] ได้มีสมณะ ผู้พหูสูต นามว่ากุมารกัสสปะ
ซึ่งเลิศทางกล่าวธรรมได้อย่างวิจิตรไพเราะ
ครั้งนั้นท่านได้กล่าวธรรมกถาโปรดข้าพเจ้า
ได้ช่วยบรรเทาทิฏฐิที่เป็นข้าศึกทางใจของข้าพเจ้าได้

เชิงอรรถ :
๑ มีความเห็นผิดว่า ไม่มีเหตุไม่มีปัจจัยที่ทำให้สัตว์บริสุทธิ์หรือเศร้าหมอง สัตว์บริสุทธิ์หรือเศร้าหมองเอง
(สุตฺต. ๙/๑๖๘/๕๔)
๒ การกล่าวว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล การบูชายัญไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดี
ทำชั่วไม่มีผล โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาบิดาไม่มีคุณ ฯลฯ (สุตฺต. ๙/๑๗๑/๕๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๔. มหาวรรค] ๒. เสรีสกเปตวัตถุ
[๖๓๐] ข้าพเจ้าฟังธรรมกถาของท่านแล้ว
ได้ประกาศตนเป็นอุบาสก
งดเว้นจากการฆ่าสัตว์
เว้นขาดจากการลักทรัพย์ในโลก
ยินดีเฉพาะภรรยาของตน
ไม่กล่าวเท็จ ไม่ดื่มน้ำเมา
[๖๓๑] ข้อนั้นเป็นข้อปฏิบัติและเป็นพรหมจรรย์ของข้าพเจ้า
นี้เป็นวิบากแห่งบุญกรรมนั้นที่ข้าพเจ้าสั่งสมไว้ดีแล้ว
วิมานนี้ข้าพเจ้าได้มาด้วยบุญกรรมอันดีงามนั้นนั่นเอง
(พวกพ่อค้าถามว่า)
[๖๓๒] ทราบมาว่า คนมีปัญญาทั้งหลายพูดแต่คำจริง
คำพูดของบัณฑิตทั้งหลายจึงไม่กลับกลายเป็นอย่างอื่น
คนทำบุญไว้จะไปที่ใด ย่อมมีแต่สิ่งที่น่ารักน่าใคร่
บันเทิงอยู่ในที่นั้น
[๖๓๓] ณ ที่ใด มีความโศก ความร่ำไห้
การฆ่า การจองจำ และเหตุเกิดเรื่องเลวร้าย
คนทำบาปไว้ก็จะไปในที่นั้น
ไม่พ้นจากคติที่ชั่วไปได้ไม่ว่าในกาลไหน
[๖๓๔] พ่อกุมาร เพราะเหตุอะไรหนอ
เทพบริวารจึงเป็นเสมือนผู้ฟั่นเฟือนไปในชั่วครู่นี้
เหมือนน้ำใสถูกกวนให้ขุ่น
เพราะเหตุไรหนอ
เทพบริวารนี้และตัวท่านจึงได้มีความโทมนัส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๔. มหาวรรค] ๒. เสรีสกเปตวัตถุ
(เทพบุตรตอบว่า)
[๖๓๕] พ่อทั้งหลาย กลิ่นทิพย์เหล่านี้
โชยกลิ่นหอมระรื่นจากป่าไม้ซึก
หอมตลบอบอวลทั่ววิมานนี้
กำจัดความมืดได้ทั้งกลางวันและกลางคืน
[๖๓๖] ล่วงไป ๑๐๐ ปี เปลือกฝักไม้ซึกเหล่านี้
แต่ละฝักก็จะแตกออก
เป็นที่รู้กันว่า ๑๐๐ ปีของมนุษย์ล่วงไปแล้ว
ตั้งแต่ข้าพเจ้าเกิดในหมู่เทวดานี้
[๖๓๗] พ่อทั้งหลาย ข้าพเจ้ารู้เห็นแล้วว่า
ข้าพเจ้าจักดำรงอยู่ในวิมานนี้อีก ๕๐๐ ปีทิพย์
แล้วจึงจุติ เพราะสิ้นบุญ สิ้นอายุ
ข้าพเจ้าจึงซบเซา เพราะความโศกนั้นนั่นเอง
(พวกพ่อค้ากล่าวว่า)
[๖๓๘] ผู้ที่ได้วิมานซึ่งหาที่เปรียบมิได้เป็นเวลานานเช่นนั้น
จะพึงเศร้าโศกไปทำไมเล่า
แต่พวกผู้มีบุญน้อยเข้าอยู่วิมานชั่วเวลาสั้นนั้นแหละ
ควรเศร้าโศกแท้
(เทพบุตรกล่าวว่า)
[๖๓๙] พ่อทั้งหลาย ข้อที่ท่านทั้งหลายกล่าววาจาที่น่ารักกับข้าพเจ้า
นั่นเป็นการกล่าวตักเตือนอันสมควรแก่ข้าพเจ้า
ส่วนข้าพเจ้าจะตามคุ้มครองท่านทั้งหลาย
เชิญท่านทั้งหลายไปยังที่
ที่ท่านทั้งหลายปรารถนาโดยความสวัสดีเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๔. มหาวรรค] ๒. เสรีสกเปตวัตถุ
(พวกพ่อค้ากล่าวว่า)
[๖๔๐] พวกข้าพเจ้าต้องการทรัพย์ หวังกำไร
จึงพากันไปยังสินธุประเทศ และโสวีระประเทศ
แล้วจักประกอบกรรมที่ได้รับรองไว้ตามสมควร
มีการเสียสละอย่างบริบูรณ์
กระทำการบูชาเสรีสกเทพบุตรอย่างโอฬาร
(เทพบุตรกล่าวว่า)
[๖๔๑] ท่านทั้งหลาย อย่าได้ทำการบูชาเสรีสกเทพบุตรเลย
สิ่งที่ท่านทั้งหลายพูดถึงทั้งหมด จักมีแก่พวกท่าน
ท่านทั้งหลายจงงดเว้นกรรมชั่วและจงตั้งใจประกอบตามธรรม
[๖๔๒] ในหมู่พ่อค้าเกวียนนี้ มีอุบาสกผู้เป็นพหูสูต
มีศีลและวัตร มีศรัทธา มีจาคะ
มีศีลเป็นที่รักอย่างยิ่ง
มีวิจารณญาณ สันโดษ มีความรู้
[๖๔๓] ไม่พูดเท็จทั้งที่รู้อยู่
ไม่คิดเบียดเบียนผู้อื่น
ไม่พูดส่อเสียดให้เขาแตกกัน
พูดแต่วาจาอ่อนหวานละมุนละม่อม
[๖๔๔] เขามีความเคารพ ยำเกรง มีวินัย
ไม่เป็นคนเลว เป็นผู้บริสุทธิ์ในอธิศีล
มีความประพฤติประเสริฐ
เลี้ยงมารดาบิดาโดยชอบธรรม
[๖๔๕] เขาเห็นจะแสวงหาโภคทรัพย์ เพราะเหตุแห่งมารดาบิดา
มิใช่เพราะเหตุแห่งตน เมื่อมารดาบิดาล่วงลับไป
เขาก็น้อมไปในเนกขัมมะ ประพฤติพรหมจรรย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๔. มหาวรรค] ๒. เสรีสกเปตวัตถุ
[๖๔๖] เขาเป็นคนซื่อตรง ไม่คดโกง
ไม่โอ้อวด ไม่เจ้าเล่ห์ ไม่พูดมีเลศนัย
เขาทำแต่กรรมดี
ตั้งอยู่ในธรรมเช่นนี้ จะพึงได้รับทุกข์อย่างไรเล่า
[๖๔๗] เพราะอุบาสกนั้นเป็นเหตุ ข้าพเจ้าจึงได้ปรากฏตัว
พ่อค้าทั้งหลาย เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลายจงเห็นธรรมเถิด
เพราะเว้นอุบาสกนั้นเสียแล้ว
ท่านทั้งหลายจะสับสน
เหมือนคนตาบอดหลงเข้าไปในป่าเป็นเถ้าถ่านไป
การทอดทิ้งผู้อื่นเป็นการง่ายสำหรับคนทั่วไป
(แต่เป็นการยากสำหรับสัตบุรุษ)
คบหาสัตบุรุษจึงนำความสุขมาให้อย่างแท้จริง
(พวกพ่อค้าถามว่า)
[๖๔๘] อุบาสกคนนั้นคือใคร และทำงานอะไร
เขาชื่ออะไร และโคตรอะไร
ข้าแต่เทวดา แม้ข้าพเจ้าทั้งหลาย
ก็ต้องการจะเห็นอุบาสกนั้นที่ท่านมาที่นี้
เพื่อช่วยเหลืออุบาสกที่ท่านชอบ เป็นคนโชคดี
(เทพบุตรตอบว่า)
[๖๔๙] ผู้ที่เป็นกัลบกมีชื่อว่าสัมภวะ
อาศัยการตัดผมเลี้ยงชีพ
เป็นคนรับใช้ของพวกท่าน
ท่านทั้งหลายจงรู้ว่าเป็นอุบาสก
ท่านทั้งหลายอย่าดูหมิ่นเขา
เขาเป็นผู้มีศีลเป็นที่รักยิ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๗๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๔. มหาวรรค] ๒. เสรีสกเปตวัตถุ
(พวกพ่อค้ากล่าวว่า)
[๖๕๐] ข้าแต่เทวดา พวกข้าพเจ้ารู้จักช่างตัดผมคนที่ท่านพูดถึงดี
แต่ไม่รู้จักว่า เขาเป็นคนเช่นนี้เลย
แม้ข้าพเจ้าทั้งหลายฟังคำของท่านแล้ว
ก็จักบูชาอุบาสกนั้นอย่างโอฬาร
(เทพบุตรกล่าวว่า)
[๖๕๑] พวกผู้คนในกองเกวียนนี้
ไม่ว่าคนหนุ่ม คนแก่ หรือคนปูนกลาง
ทั้งหมดทุกคนนั้น เชิญขึ้นไปบนวิมาน
พวกคนตระหนี่จงดูผลของบุญทั้งหลาย
(พระธรรมสังคีติกาจารย์กล่าว ๖ คาถาในตอนจบเรื่องว่า)
[๖๕๒] พ่อค้าทุกคน ณ ที่นั้น
ต่างคนต่างเข้าห้อมล้อมช่างตัดผมนั้น
พากันขึ้นวิมานซึ่งเสมือนภพดาวดึงส์ของท้าววาสวะ
พร้อมกล่าวว่า เราก่อน ๆ
[๖๕๓] พ่อค้าทุกคนนั้นต่างประกาศความเป็นอุบาสก ณ ที่นั้นว่า
เราก่อน ๆ แล้วได้เป็นผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์
เว้นขาดจากการลักทรัพย์ในโลก
ยินดีเฉพาะภรรยาของตน
ไม่กล่าวเท็จ ไม่ดื่มน้ำเมา
[๖๕๔] พ่อค้าทุกคน ครั้นต่างคนต่างประกาศความเป็นอุบาสก
ณ ที่นั้นแล้วได้ไปยังสถานที่ที่ตนปรารถนาโดยสวัสดี
หมู่พ่อค้าเกวียนบันเทิงอยู่ด้วยเทวฤทธิ์เนือง ๆ
ได้รับอนุญาตแล้วหลีกไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๔. มหาวรรค] ๓. นันทกเปตวัตถุ
[๖๕๕] พ่อค้าเหล่านั้นต้องการทรัพย์ หวังกำไร
ไปถึงสินธุและโสวีระประเทศ พยายามค้าขายตามปรารถนา
มีลาภบริบูรณ์ กลับมาเมืองปาฏลีบุตรโดยปลอดภัย
[๖๕๖] พ่อค้าเหล่านั้นไปเรือนของตน
มีความสวัสดี พร้อมหน้าบุตรภรรยา
มีจิตเพลิดเพลิน ดีใจ ปลาบปลื้ม
บูชาเสรีสกเทพบุตรอย่างโอฬาร
ได้ช่วยกันสร้างเทวาลัยชื่อเสรีสกะขึ้น
[๖๕๗] การคบสัตบุรุษให้สำเร็จประโยชน์อย่างนี้
การคบผู้มีคุณธรรมมีประโยชน์มาก
พ่อค้าทั้งหมดได้ประสบความสุข
เพราะผลอันสืบเนื่องมาจากอุบาสกคนเดียว
เสรีสกเปตวัตถุที่ ๒ จบ
ภาณวารที่ ๓ จบ

๓. นันทกเปตวัตถุ๑
เรื่องนันทกเปรต
(เพื่อจะแสดงเนื้อความนั้น พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า)
[๖๕๘] มีพระราชาพระองค์หนึ่งทรงพระนามว่าปิงคลกะ
เป็นใหญ่แห่งชาวสุรัฏฐวิสัย เสด็จไปเฝ้าพระเจ้าโมริยะแล้ว
กลับมาถึงทางที่จะไปยังสุรัฏฐวิสัยอีก
[๖๕๙] เสด็จมาถึงทางโค้ง ในเวลาเที่ยงวัน ซึ่งเป็นเวลาร้อน
ได้ทอดพระเนตรเห็นทางที่น่ารื่นรมย์
เป็นทางทรายที่เปรตเนรมิตไว้นั้น

เชิงอรรถ :
๑ เรื่องนี้เกิดหลังพุทธปรินิพพานประมาณ ๒๐๐ ปี (ขุ.เป.อ. ๑๒๓/๒๖๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๔. มหาวรรค] ๓. นันทกเปตวัตถุ
[๖๖๐] จึงตรัสบอกนายสารถีว่า
“ทางนี้น่ารื่นรมย์ ปลอดภัย สะดวก ปลอดโปร่ง
สารถี พวกเราตรงไปทางนี้แหละ
จากที่นี้ไปไม่ไกลก็จะถึงสุรัฏฐประเทศ”
[๖๖๑] พระเจ้าสุรัฏฐ์ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทางนั้น
พร้อมด้วยกองทัพ ๔ เหล่า
บุรุษคนหนึ่งตกใจกลัวได้กราบทูลพระเจ้าสุรัฏฐ์ ดังนี้ว่า
[๖๖๒] “พวกเราเดินทางผิดเสียแล้ว เป็นทางน่ากลัว
น่าขนพองสยองเกล้า
เพราะทางปรากฏเฉพาะข้างหน้า แต่ข้างหลังไม่ปรากฏ
[๖๖๓] พวกเราเดินผิดทางเสียแล้ว เห็นจะมาใกล้พวกเปรต
กลิ่นอมนุษย์ฟุ้งมา ข้าพระองค์ได้ยินเสียงพิลึกน่าสะพรึงกลัว”
[๖๖๔] พระเจ้าสุรัฏฐ์ทรงตกพระทัย ตรัสกับนายสารถีดังนี้ว่า
“พวกเราเดินทางผิดเสียแล้ว เป็นทางน่ากลัวน่าขนพองสยองเกล้า
ทางปรากฏเฉพาะข้างหน้า แต่ข้างหลังไม่ปรากฏ
[๖๖๕] พวกเราเดินผิดทางเสียแล้ว เห็นจะมาใกล้พวกเปรต
กลิ่นอมนุษย์ฟุ้งมา เราได้ยินเสียงพิลึกน่าสะพรึงกลัว”
[๖๖๖] จึงเสด็จขึ้นคอช้าง ทอดพระเนตรไปทั่วทั้ง ๔ ทิศ
ทรงเห็นต้นไทรย้อยต้นหนึ่ง มีร่มหนาทึบดี
เขียวชอุ่มคล้ายสีเมฆ ทั้งสีและสัณฐานก็คล้ายเมฆ
[๖๖๗] จึงรับสั่งกับนายสารถีว่า “ป่าใหญ่เขียวชอุ่มดุจสีเมฆ
ทั้งสีและสัณฐานคล้ายเมฆ ปรากฏอยู่นั่นใช่ไหม”
(นายสารถีกราบทูลว่า)
[๖๖๘] “ข้าแต่พระมหาราชเจ้า นั้นต้นไทรย้อย มีร่มหนาทึบดี
เขียวชอุ่มคล้ายสีเมฆ ทั้งสีและสัณฐานก็คล้ายเมฆ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๔. มหาวรรค] ๓. นันทกเปตวัตถุ
[๖๖๙] พระเจ้าสุรัฏฐ์เสด็จพระราชดำเนินไปจนถึงป่าใหญ่
ซึ่งเขียวชอุ่มคล้ายสีเมฆ
ทั้งสีและสัณฐานก็คล้ายเมฆ ปรากฏอยู่
[๖๗๐] เสด็จลงจากคอช้างแล้วเสด็จเข้าไปใกล้ต้นไม้
ประทับนั่งที่โคนต้น พร้อมทั้งหมู่อำมาตย์ข้าราชบริพาร
ได้ทอดพระเนตรเห็นขันน้ำเต็มและขนมที่ถูกพระทัย
[๖๗๑] บุรุษผู้มีรูปลักษณ์ดั่งเทพ ประดับอาภรณ์พร้อมสรรพ
เข้าไปเฝ้าพระเจ้าสุรัฏฐ์แล้วได้กราบทูลดังนี้ว่า
[๖๗๒] ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พระองค์เสด็จมาดีแล้ว
และก็มิได้เสด็จมาร้าย ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงกำจัดศัตรู
เชิญพระองค์ผู้ประเสริฐเสวยน้ำ และเสวยขนมเถิด
[๖๗๓] พระเจ้าสุรัฏฐ์พร้อมด้วยอำมาตย์และข้าราชบริพาร
พากันดื่มน้ำและกินขนมแล้ว จึงตรัสถามว่า
[๖๗๔] ท่านเป็นเทวดาหรือคนธรรพ์ หรือเป็นท้าวสักกปุรินททะ
พวกเราไม่รู้จักจึงขอถามท่าน
พวกเราจะพึงรู้จักท่านได้อย่างไร
(นันทกเปรตกราบทูลว่า)
[๖๗๕] ข้าพระองค์ไม่ใช่เทวดา ไม่ใช่คนธรรพ์
ทั้งไม่ใช่ท้าวสักกปุรินททะ
ข้าพระองค์เป็นเปรต มาจากถิ่นสุรัฏฐวิสัย มาอยู่ที่นี้
(พระราชาตรัสถามว่า)
[๖๗๖] เมื่อก่อน ท่านอยู่ในสุรัฏฐวิสัย
มีปกตินิสัยอย่างไร มีความประพฤติอย่างไร
เพราะความดีอะไร ท่านจึงมีอานุภาพอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๔. มหาวรรค] ๓. นันทกเปตวัตถุ
(นันทกเปรตกราบทูลว่า)
[๖๗๗] ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ผู้ทรงปราบอริราชศัตรู
ทรงผดุงรัฐให้เจริญ ขอพระองค์ทรงสดับความนั้น
อำมาตย์ ข้าราชบริพาร และพราหมณ์ ปุโรหิต ก็เชิญสดับด้วย
[๖๗๘] ขอเดชะ(เมื่อก่อน) ข้าพระองค์เป็นบุรุษ อยู่ในสุรัฏฐวิสัย
เป็นคนใจบาป เป็นมิจฉาทิฏฐิ๑ ทุศีล ตระหนี่
และด่าว่าสมณพราหมณ์ทั้งหลาย
[๖๗๙] เมื่อชนเหล่าอื่นกำลังทำบุญให้ทาน
ข้าพเจ้าก็ทำอันตรายเสีย ซ้ำยังห้ามหมู่ชนว่า
[๖๘๐] ผลทานไม่มี ผลแห่งความสำรวมจักมีแต่ที่ไหน
ใครผู้ชื่อว่าเป็นอาจารย์ไม่มี
ใครเล่าจักฝึกฝนบุคคลผู้ไม่เคยฝึกฝนได้
[๖๘๑] สัตว์ทั้งหลายเท่าเทียมกัน
ผู้อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูลจึงไม่ต้องมี
กำลังหรือความเพียรก็ไม่ต้องมี
ความพากเพียรของบุรุษจักมีแต่ที่ไหน
[๖๘๒] ธรรมดาผลทานย่อมไม่มี
ใครจะทำบุคคลผู้มีเวรให้หมดจดด้วยทานไม่ได้
สัตว์ย่อมได้สุขหรือทุกข์ที่ควรได้เอง
สุขหรือทุกข์ที่เกิดจากการแปรผัน สัตว์นำมาเอง
[๖๘๓] มารดาไม่มี บิดาไม่มี พี่ชายไม่มี น้องชายไม่มี
โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี
ทานที่บุคคลให้แล้วย่อมไม่มีผล การบูชาก็ไม่มีผล
ทานและการบูชาที่ตั้งไว้ดีแล้วก็ไม่มีผล

เชิงอรรถ :
๑ แสดงความเห็นผิดว่า การทำบุญ การให้ทานเป็นต้นไม่มีผล (ขุ.เป.อ. ๖๗๘/๒๖๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๔. มหาวรรค] ๓. นันทกเปตวัตถุ
[๖๘๔] คนแม้ฆ่าคน (หรือ) ตัดคอคนอื่น ก็ไม่ชื่อว่าใครฆ่าใคร
เป็นแต่ศัสตรา เสียบเข้าไปในระหว่างช่องกายทั้ง ๗ ช่อง๑
[๖๘๕] ชีวะ๒ของสัตว์ทั้งหลาย ไม่ถูกตัด ไม่ถูกทำลาย
บางคราวมี ๘ เหลี่ยม บางคราวกลมเหมือนงบน้ำอ้อย
บางคราวสูง ๕๐๐ โยชน์ ใครเล่าสามารถจะตัดชีวะให้ขาดได้
[๖๘๖] เหมือนเมื่อกลุ่มด้ายที่ถูกขว้างไป
กลุ่มด้ายนั้นย่อมคลายกลิ้งไปได้ ฉันใด
ถึงชีวะนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมแหวกหนีออกไปจากร่างได้
[๖๘๗] เหมือนบุคคลออกจากบ้านหนึ่ง เข้าสู่บ้านหนึ่ง ฉันใด
ถึงชีวะนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน ออกจากร่างหนึ่ง เข้าสู่อีกร่างหนึ่ง
[๖๘๘] เหมือนบุคคลออกจากเรือนหลังหนึ่ง เข้าสู่อีกเรือนหลังหนึ่ง ฉันใด
ถึงชีวะนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน ออกจากร่างหนึ่ง เข้าสู่อีกร่างหนึ่ง
[๖๘๙] ครั้นสิ้นกำหนด ๘,๔๐๐,๐๐๐ มหากัป
สัตว์ทั้งหลายจะเป็นพาลหรือบัณฑิตก็ตาม
จักยังสังสารวัฏให้สิ้นไปแล้ว จักทำที่สุดทุกข์ได้เอง
[๖๙๐] สุขและทุกข์ เหมือนตักตวงได้ด้วยทะนานและกระบุง
พระชินเจ้าย่อมรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง หมู่สัตว์นอกนี้ล้วนเป็นผู้ลุ่มหลง
[๖๙๑] เมื่อชาติก่อน ข้าพระองค์มีความเห็นอย่างนี้ จึงได้เป็นคนหลง
ถูกโมหะครอบงำ เป็นมิจฉาทิฏฐิ ทุศีล ตระหนี่
และด่าว่าสมณพราหมณ์ทั้งหลาย
[๖๙๒] ภายใน ๖ เดือน ข้าพระองค์จักตาย
จักตกนรกอันเร่าร้อนแสนสาหัส

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า กายทั้ง ๗ ในลัทธินี้ หมายถึงสภาวะ ๗ กอง ได้แก่ กองแห่งธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม ทุกข์และชีวะ
(ดู ลัทธิของครูปกุธะ กัจจายตนะ ใน ที.สี. ๙/๑๗๓)
๒ คำว่า ชีวะ ในที่นี้ เทวดากล่าวหมายถึง ดวงชีพ ตรงกับอาตมันหรืออัตตาของลัทธิพราหมณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๔. มหาวรรค] ๓. นันทกเปตวัตถุ
[๖๙๓] นรกนั้นมี ๔ เหลี่ยม มีประตู ๔ ด้าน
กรรมสร้างจำแนกไว้เป็นส่วน ๆ
ล้อมรอบด้วยกำแพงเหล็ก ครอบไว้ด้วยแผ่นเหล็ก
[๖๙๔] พื้นนรกนั้นล้วนเป็นเหล็กแดงลุกเป็นเปลวเพลิง
ประกอบด้วยความร้อน
แผ่ไปรอบตลอดร้อยโยชน์อยู่ตลอดกาล
[๖๙๕] ล่วงไป ๑๐๐,๐๐ ปี ในกาลนั้น ข้าพระองค์ได้ยินเสียงอื้ออึง
(ว่า เพื่อนยากทั้งหลายเมื่อพวกท่านไหม้อยู่ในนรกนี้
กาลประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ ปีล่วงไปแล้ว)
ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ๑๐๐ โกฏิปีเป็นกำหนดของนรก
[๖๙๖] ชนทั้งหลายเป็นมิจฉาทิฏฐิ ทุศีล และติเตียนพระอริยะ
ย่อมหมกไหม้อยู่ในนรกถึง ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิปี
[๖๙๗] ข้าพระองค์จักเสวยทุกขเวทนาในนรกนั้นเป็นเวลายาวนาน
นี้เป็นผลกรรมอันชั่วช้าของข้าพระองค์
เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์จึงเศร้าโศกอย่างหนัก
[๖๙๘] ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ผู้ทรงปราบอริราช ทรงผดุงรัฐให้เจริญ
ขอพระองค์ทรงสดับความนั้น
ขอความเจริญจงมีแด่ข้าพระองค์และอุตตราธิดาของข้าพระองค์
[๖๙๙] นางทำแต่กรรมดี ยินดีแล้วในนิจศีลและอุโบสถศีล
รู้ความประสงค์ของผู้ขอ ปราศจากความตระหนี่ และยินดีในทาน
[๗๐๐] เป็นสะใภ้ตระกูลอื่นก็ยังคงรักษาศีลไม่บกพร่องอยู่เป็นนิตย์
และเป็นอุบาสิกาของพระศากยมุนีสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงสิริ
[๗๐๑] ภิกษุรูปหนึ่ง มีศีลสมบูรณ์ สำรวมตา มีสติ คุ้มครองอินทรีย์
สำรวมระวังเป็นอันดี เข้ามาบิณฑบาตยังหมู่บ้าน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๔. มหาวรรค] ๓. นันทกเปตวัตถุ
[๗๐๒] เดินไปตามลำดับตรอก ได้มาถึงบ้านนั้น
ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ขอความเจริญจงมีแด่พระองค์
นางอุตตราได้เห็นภิกษุนั้นแล้ว
[๗๐๓] นางได้ถวายน้ำดื่มเต็มขันและขนมอย่างวิจิตรแล้ว
อุทิศว่า ขอผลทานที่ดิฉันถวายแล้วนี้
จงสำเร็จแก่บิดาของดิฉันซึ่งตายไปแล้วเถิด เจ้าค่ะ
[๗๐๔] ในขณะที่นางอุทิศส่วนบุญให้นั้นเอง วิบากก็เกิดขึ้น
ข้าพระองค์สำเร็จความประสงค์ดังปรารถนา
บริโภคกามสุขอยู่ เหมือนท้าวเวสวัณมหาราช
[๗๐๕] ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ผู้ทรงปราบอริราช
ทรงผดุงรัฐให้เจริญ ขอพระองค์จงทรงสดับความนั้น
บัณฑิตกล่าวว่า พระพุทธเจ้าเป็นบุคคลผู้เลิศของโลก
พร้อมทั้งเทวโลก ขอพระองค์พร้อมด้วยพระราชโอรส
และพระอัครมเหสี ทรงถึงพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นว่า
เป็นที่พึ่งที่ระลึกเถิด
[๗๐๖] ชนทั้งหลายย่อมบรรลุอมตบทด้วยมรรคมีองค์ ๘
ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงปราบอริราช
ขอพระองค์พร้อมด้วยพระราชโอรสและพระอัครมเหสี
จงทรงถึงพระธรรมนั้น ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึกเถิด
[๗๐๗] พระอริยบุคคลผู้บรรลุอริยมรรค ๔
และพระอริยบุคคลผู้ดำรงอยู่ในอริยผล ๔ ชื่อว่าพระสงฆ์
ผู้ปฏิบัติตรง มีศีล สมาธิและปัญญา
ขอพระองค์พร้อมด้วยพระราชโอรสและพระอัครมเหสี
ทรงถึงพระสงฆ์นั้น ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึกเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๔. มหาวรรค] ๓. นันทกเปตวัตถุ
[๗๐๘] ขอพระองค์ทรงรีบงดเว้นจากการฆ่าสัตว์
เว้นขาดจากการลักทรัพย์
ทรงยินดีเฉพาะพระมเหสีของพระองค์
ไม่ตรัสคำเท็จ ไม่เสวยน้ำจัณฑ์เถิด
(พระราชาตรัสว่า)
[๗๐๙] เทวดาผู้ควรบูชา ท่านเป็นผู้มุ่งประโยชน์เกื้อกูลแก่เรา
เราจะทำตามคำของท่าน
ท่านเป็นอาจารย์ของเรา
[๗๑๐] เราขอถึงพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์
พระธรรมอันยอดเยี่ยม และพระสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
[๗๑๑] เราจะรีบงดเว้นจากการฆ่าสัตว์
เว้นขาดจากการลักทรัพย์ในโลก
ยินดีเฉพาะภรรยาของตน
จะไม่พูดเท็จ ไม่ดื่มน้ำเมา
[๗๑๒] เราจะผ่อนคลายความเห็นชั่ว
เหมือนโปรยแกลบให้ลอยไปตามลมแรง
หรือเหมือนทิ้งเศษไม้ใบหญ้าลงกระแสน้ำเชี่ยว
และยินดีในพระพุทธศาสนา
[๗๑๓] พระเจ้าสุรัฏฐ์เมื่อตรัสดังนี้แล้ว
ทรงงดเว้นจากความเห็นชั่ว
ทรงนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคแล้ว
เสด็จทรงรถพระที่นั่ง
บ่ายพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก
นันทกเปตวัตถุที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๔. มหาวรรค] ๔. เรวตีเปตวัตถุ
๔. เรวตีเปตวัตถุ
เรื่องนางเรวดีเปรต
(ยักษ์บริวารของท้าวเวสวัณปรารถนาจะจับนางเรวดีโยนลงไปในอุสสทนรก
จึงกล่าวว่า)
[๗๑๔] จงลุกขึ้น นางเรวดีผู้แสนจะชั่วช้า มีปกติไม่ให้ทาน
ประตู(นรก)เปิดแล้ว
พวกเราจะนำเจ้าไปโยนลงนรก
อันเป็นสถานที่ทอดถอนใจของเหล่าสัตว์นรก
ผู้มีความทุกข์ทรมานทนทุกข์อยู่
(พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า)
[๗๑๕] ยักษ์ใหญ่ตาแดงสองตนดุจทูตพญายมนั้น ครั้นกล่าวดังนี้แล้ว
ก็จับแขนนางเรวดีคนละข้าง พาไปใกล้หมู่เทวดา
(นางเรวดีถามยักษ์สองตนว่า)
[๗๑๖] นั่นวิมานของใคร มีรัศมีแสงอาทิตย์ น่าพอใจ
เรืองรอง งดงาม น่าอยู่อาศัย ปกคลุมด้วยตาข่ายทอง
เนืองแน่นไปด้วยเทพบุตรและเทพธิดา รุ่งโรจน์ดังแสงอาทิตย์
[๗๑๗] หมู่เทพนารีลูบไล้กายด้วยแก่นจันทน์หอม
ช่วยทำวิมานทั้งภายในและภายนอกให้งดงาม
วิมานนั้นมีรัศมีปรากฏเสมอด้วยแสงอาทิตย์
คนที่ขึ้นสวรรค์บันเทิงอยู่ในวิมานเป็นใครกัน
(ยักษ์สองตนจึงบอกแก่นางเรวดีว่า)
[๗๑๘] ที่กรุงพาราณสี มีอุบาสกชื่อนันทิยะ
เป็นคนไม่ตระหนี่ เป็นทานบดี รู้ความประสงค์ของผู้ขอ
วิมานที่เนืองแน่นไปด้วยเทพบุตรและเทพธิดา
รุ่งโรจน์ดังแสงอาทิตย์นั้นเป็นของนันทิยอุบาสก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๔. มหาวรรค] ๔. เรวตีเปตวัตถุ
[๗๑๙] หมู่เทพนารีลูบไล้กายด้วยแก่นจันทน์หอม
ช่วยทำวิมานทั้งภายในและภายนอกให้งดงาม
วิมานนั้นมีรัศมีปรากฏเสมอด้วยแสงอาทิตย์
คนที่ขึ้นสวรรค์ บันเทิงอยู่ในวิมาน คือ นันทิยอุบาสก
(นางเรวดีกล่าวว่า)
[๗๒๐] ฉันเป็นภรรยาของนันทิยอุบาสก
เป็นใหญ่ในเรือน เป็นใหญ่ในทรัพย์สินทั้งหมดของสามี
บัดนี้ ฉันจะรื่นรมย์ในวิมานของสามี
ไม่ปรารถนาจะเห็นนรก
(ยักษ์สองตนนั้นไม่ยอมเชื่อจึงพาตัวนางลงไปใกล้อุสสทนรกแล้วกล่าวว่า)
[๗๒๑] นางผู้แสนจะชั่วช้า นี่แหละนรกสำหรับเจ้า
บุญเจ้าไม่ได้ทำไว้ในมนุษยโลก
เพราะคนตระหนี่มักโกรธมีบาปธรรม
ย่อมไม่ได้อยู่ร่วมกับผู้เกิดในสวรรค์
(นางเรวดีเห็นนายนิรยบาลสองตนพากันมาฉุดคร่าตนเพื่อจะโยนลงไปในคูถนรก
ชื่อว่าสังสวกะ จึงถามถึงนรกนั้นว่า)
[๗๒๒] ทำไมหนอจึงปรากฏแต่อุจจาระ ปัสสาวะ สิ่งสกปรก
เหตุไฉน อุจจาระนี้จึงมีกลิ่นเหม็นร้ายกาจ คละคลุ้งไปเล่า
(นายนิรยบาลตอบว่า)
[๗๒๓] นางเรวดี นรกที่เจ้าจะหมกไหม้อยู่หลายพันปีนี้
มีชื่อว่าสังสวกนรก ลึก ๑๐๐ ชั่วคน
(นางเรวดีจึงถามว่า)
[๗๒๔] ฉันทำกรรมชั่วทางกายวาจาใจอะไรหรือหนอ
จึงตกสังสวกนรกที่ลึก ๑๐๐ ชั่วคน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๔. มหาวรรค] ๔. เรวตีเปตวัตถุ
(นายนิรยบาลตอบว่า)
[๗๒๕] เจ้าลวงสมณพราหมณ์และวณิพกพวกอื่น
ด้วยการกล่าวเท็จ นั่นแหละบาปที่เจ้าทำไว้
[๗๒๖] เพราะบาปนั้นเจ้าจึงตกสังสวกนรกที่ลึกถึง ๑๐๐ ชั่วคน
นางเรวดี เจ้าจะต้องหมกไหม้อยู่ในนรกนั้นหลายพันปี
[๗๒๗] นายนิรยบาลทั้งหลาย จะตัดมือ เท้า หู แม้กระทั่งจมูก
อนึ่งแม้ฝูงนกกาก็จะพากันมารุมจิกกินเจ้าที่ดิ้นทุรนทุรายอยู่
(นางเรวดีกล่าวว่า)
[๗๒๘] โปรดเถิดพ่อคุณ ขอท่านทั้งหลายช่วยนำดิฉันกลับไปเถิด
ดิฉันจักสร้างกุศลกรรมที่คนทำแล้วได้รับความสุข
และไม่เดือดร้อนในภายหลังนั้นให้มาก
ด้วยการให้ทาน ประพฤติธรรมสม่ำเสมอ
การสำรวม และการฝึกอินทรีย์
(นายนิรยบาลกล่าวว่า)
[๗๒๙] เมื่อก่อน เจ้าประมาทมัวเมา บัดนี้จะมาร่ำไห้ทำไมเล่า
เจ้าจักต้องเสวยผลกรรมทั้งหลายที่เจ้าทำไว้เอง
(นางเรวดีกล่าวว่า)
[๗๓๐] ใครจากเทวโลกไปยังมนุษยโลก เมื่อถูกถาม
พึงกล่าวถ้อยคำของดิฉันอย่างนี้ว่า
ขอท่านทั้งหลายจงถวายทาน คือ ผ้านุ่ง ผ้าห่ม
ที่นอน ที่นั่ง ข้าวและน้ำ
ในสมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้ปล่อยวางอาชญา
เพราะว่า คนตระหนี่ มักโกรธ มีบาปธรรม
ย่อมไม่ได้เกิดร่วมกับผู้ไปสวรรค์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๔. มหาวรรค] ๔. เรวตีเปตวัตถุ
[๗๓๑] ถ้าดิฉันนั้นจากที่นี้ไป ได้เกิดเป็นมนุษย์แล้ว
จักรู้ความประสงค์ของผู้ขอ สมบูรณ์ด้วยศีล
จักสร้างกุศลให้มากด้วยการให้ทาน
การประพฤติธรรมสม่ำเสมอ
การสำรวม และการฝึกอินทรีย์
[๗๓๒] ดิฉันจักปลูกสวนไม้ดอกไม้ผล
จักตัดทางเข้าไปในสถานที่ที่เดินลำบาก
ขุดบ่อน้ำ และตั้งน้ำดื่มไว้ด้วยใจที่ผ่องแผ้ว
[๗๓๓] จักเข้าจำอุโบสถศีลซึ่งประกอบด้วยองค์ ๘
ทุกวันขึ้น ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำแห่งปักษ์
ตลอดวันปาฏิหาริยปักษ์
[๗๓๔] ดิฉันผู้สำรวมระวังในศีลตลอดเวลา
และจักไม่ละเลยในการให้ทาน
เพราะผลกรรมนี้ ดิฉันได้เห็นเองแล้ว
(พระสังคีติกาจารย์กล่าวไว้ว่า)
[๗๓๕] นายนิรยบาลทั้งหลายช่วยกันจับนางเรวดี
ที่กำลังพร่ำเพ้อ ดิ้นรนไปมาอยู่อย่างนี้
ให้เท้าชี้หัวดิ่งลงไปในนรกอันน่ากลัว
(นางเรวดีได้กล่าวคาถาสุดท้ายอีกว่า)
[๗๓๖] ชาติก่อน ฉันเป็นคนตระหนี่
ด่าว่าสมณพราหมณ์
และลวงสามีด้วยเรื่องไม่จริง
จึงหมกไหม้ในนรกที่น่ากลัว
เรวตีเปตวัตถุที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๔. มหาวรรค] ๕. อุจฉุเปตวัตถุ
๕. อุจฉุเปตวัตถุ
เรื่องเปรตเจ้าของไร่อ้อย
(อุจฉุเปรตถามพระมหาโมคคัลลานเถระว่า)
[๗๓๗] ไร่อ้อยแปลงใหญ่นี้เกิดมีแก่ข้าพเจ้า เป็นผลบุญมิใช่น้อย
เดี๋ยวนี้ ข้าพเจ้ากินอ้อยนั้นไม่ได้
ท่านผู้เจริญ นิมนต์ท่านบอกด้วยเถิดว่า นี้เป็นผลกรรมอะไร
[๗๓๘] ข้าพเจ้าเดือดร้อน อยากจะกิน(อ้อย)
พยายามตะเกียกตะกาย ทนทุกข์
จะกินสักหน่อยหนึ่ง ก็สิ้นเรี่ยวแรง พร่ำเพ้ออยู่
นี้เป็นผลกรรมอะไร
[๗๓๙] อนึ่ง ข้าพเจ้าหมดเรี่ยวแรงแล้ว ซวนเซล้มลง
ดิ้นเร่า ๆ อยู่บนพื้นดิน เหมือนปลาดิ้นรนอยู่บนบกที่ร้อนจัด
ก็เมื่อข้าพเจ้าร้องไห้อยู่ สัตว์ทั้งหลายพากันมากินน้ำตาของข้าพเจ้า
ท่านผู้เจริญ นี้เป็นผลกรรมอะไร
[๗๔๐] ข้าพเจ้าทั้งเหน็ดเหนื่อย ทั้งหิวกระหาย
ปากคอแห้งผาก ไม่ประสบความสุขสำราญ
ท่านผู้เจริญ อย่างไรหนอ ข้าพเจ้าจึงจะกินอ้อยได้
(พระมหาโมคคัลลานเถระกล่าวว่า)
[๗๔๑] เมื่อชาติก่อน ท่านเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำกรรมไว้ด้วยตนเอง
เราจะบอก ท่านจงฟังให้เข้าใจ
[๗๔๒] ท่านเดินกินอ้อยไป
บุรุษคนหนึ่งเดินตามหลังท่าน
และเขาหวังจะกินอ้อย จึงขอท่าน
ท่านมิได้พูดอะไรกับเขา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๔. มหาวรรค] ๖. กุมารเปตวัตถุ
[๗๔๓] และเขาได้วิงวอนท่านซึ่งไม่พูดด้วย
ได้พูดกับท่านว่า ขอท่านให้อ้อยเถิดนาย
ท่านได้ยื่นอ้อยให้แก่บุรุษนั้นข้างหลัง
นี้เป็นผลกรรมนั้นแหละ
[๗๔๔] ขอเชิญท่านหันหลังไปหยิบเอา
ครั้นรับแล้ว เชิญกินอ้อยนั้นตามต้องการเถิด
เพราะเหตุนั้นแหละ ท่านจักเป็นผู้ดีใจ
ร่าเริง เบิกบาน และบันเทิงใจ
[๗๔๕] เปรตนั้นได้หันหลังไปหยิบอ้อย
ครั้นรับแล้ว กินอ้อยนั้นตามความต้องการ
เพราะเหตุนั้นแหละ เปรตนั้นจึงดีใจ
ร่าเริง เบิกบาน และบันเทิงใจ
อุจฉุเปตวัตถุที่ ๕ จบ

๖. กุมารเปตวัตถุ
เรื่องกุมารเปรต
(พระศาสดาตรัสว่า)
[๗๔๖] เราได้ฟังมาดังนี้ว่า
ได้มีกุมารสององค์เป็นพระราชโอรส
ในกรุงสาวัตถี ข้างป่าหิมพานต์
[๗๔๗] พระราชกุมารทั้ง ๒ พระองค์นั้น
ทรงมัวเมาในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
ทรงเพลิดเพลินด้วยอำนาจ ความยินดีในกาม
ทรงติดความสุขในปัจจุบัน
ไม่ทรงเห็นถึงความสุขในอนาคต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๔. มหาวรรค] ๗. ราชปุตตเปตวัตถุ
[๗๔๘] ครั้นเคลื่อนจากความเป็นมนุษย์นี้ไปสู่ปรโลก
ไม่ปรากฏกายให้ใครเห็น
ร้องคร่ำครวญถึงกรรมชั่วครั้งก่อนของตน
ณ ที่ใกล้กรุงสาวัตถีนี้ว่า
[๗๔๙] เมื่อพระทักขิไณยบุคคลมีอยู่มากหลาย
และเมื่อไทยธรรมก็มีอยู่
แต่พวกเราไม่อาจทำบุญซึ่งจะนำความสุขมาให้
แล้วทำตนให้มีความสวัสดี(แม้เพียง)เล็กน้อย
[๗๕๐] อะไรจะพึงเลวกว่ากามนั้น
อันเป็นเหตุให้พวกเราเคลื่อนจากราชสกุลแล้วไปอยู่เปตวิสัย
เพียบพร้อมไปด้วยความหิวกระหาย
[๗๕๑] มนุษย์ทั้งหลายในโลกนี้เคยเป็นเจ้าของในที่ใด
ย่อมไม่ได้เป็นเจ้าของในที่นั้นอีก
เป็นผู้เจริญขึ้นแล้วเสื่อมลง ย่อมหมุนไปตามความหิวกระหาย
[๗๕๒] นรชนทราบถึงโทษ
ซึ่งเกิดมีด้วยอำนาจความเมาในความเป็นใหญ่อย่างนี้แล้ว
ละความเมาในความเป็นใหญ่ได้แล้ว พึงไปสวรรค์ได้
เขามีปัญญาเมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสวรรค์
กุมารเปตวัตถุที่ ๖ จบ

๗. ราชปุตตเปตวัตถุ
เรื่องเปรตราชบุตร
(พระศาสดาตรัสว่า)
[๗๕๓] ผลกรรมทั้งหลายที่พระราชโอรสทำไว้ในชาติก่อนพึงย่ำยีจิตใจ
เพราะรูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะที่น่ารื่นรมย์ใจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๔. มหาวรรค] ๗. ราชปุตตเปตวัตถุ
[๗๕๔] พระราชโอรสจึงได้เสวยการฟ้อนรำ ขับร้อง ความยินดี
และความสนุกสนานเป็นอันมาก
ทรงได้รับการบำรุงบำเรอในพระราชอุทยานแล้ว
จึงเสด็จเข้าไปยังภูเขาคิริพพชะ
[๗๕๕] ได้ทรงทอดพระเนตรเห็นพระปัจเจกพุทธะนามว่า สุเนตร
ผู้แสวงหาคุณอันประเสริฐ ฝึกฝนตนแล้ว
มีจิตตั้งมั่น ปรารถนาน้อย
สมบูรณ์ด้วยหิริ ยินดีเฉพาะอาหารที่อยู่ในบาตรซึ่งได้มาด้วยภิกขาจาร
[๗๕๖] จึงเสด็จลงจากคอช้างแล้วได้ตรัสถามว่า
ได้ภิกษาบ้างไหม พระคุณเจ้า
ถือตัวว่าเป็นกษัตริย์
ทรงจับบาตรของพระปัจเจกพุทธะนั้นชูขึ้น
[๗๕๗] แล้วทุ่มทำลายบาตรที่พื้นดินแข็ง
ทรงพระสรวล หลีกไป(หน่อยหนึ่ง)แล้วตรัสว่า
เราเป็นพระราชโอรสของพระเจ้ากิตวะ
ท่านจักทำอะไรเราได้
[๗๕๘] กรรมหยาบช้ามีผลเผ็ดร้อน
ซึ่งพระราชโอรสผู้แออัดอยู่ในนรกเสวยแล้ว
[๗๕๙] พระราชโอรสทำบาปหยาบช้าไว้
จึงได้ประสบทุกข์แสนสาหัสอยู่ในนรก ๘๔๐,๐๐๐ ปี รวม ๖ ครั้ง
[๗๖๐] เธอเป็นคนพาล
นอนหงายบ้าง คว่ำบ้าง
นอนตะแคงซ้าย ตะแคงขวาบ้าง
ชี้เท้าขึ้นข้างบนบ้าง ยืนอยู่บ้าง
หมกไหม้อยู่สิ้นกาลนาน (ข้างละ ๘๔๐,๐๐๐ ปี)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๔. มหาวรรค] ๘. คูถขาทกเปตวัตถุ
[๗๖๑] เธอทำบาปหยาบช้าไว้
จึงประสบทุกข์แสนสาหัสอยู่ในนรกหลายพัน หลายหมื่นปี
[๗๖๒] บุคคลผู้มีการกระทำอันเป็นบาป
พากันระรานฤๅษีผู้ไม่ประทุษร้ายต่อผู้ประทุษร้าย
ผู้มีข้อปฏิบัติดีงาม จึงได้เสวยทุกข์เผ็ดร้อนอย่างยิ่งเช่นนี้
[๗๖๓] เปรตผู้เป็นราชบุตรนั้นเสวยทุกข์เป็นอันมากในนรกหลายแสนปี
จุติจากนรกแล้วมาเกิดเป็นเปรตชื่อขุปปิปาสหตะ๑
[๗๖๔] นรชนทราบถึงโทษ
ซึ่งเกิดมีด้วยอำนาจความเมาในความเป็นใหญ่อย่างนี้แล้ว
พึงละความเมาในความเป็นใหญ่เสีย
แล้วประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนอยู่เสมอ
[๗๖๕] ผู้มีปัญญา มีความเคารพในพระพุทธเจ้า
พระธรรม และพระสงฆ์
เป็นผู้ควรแก่การสรรเสริญในปัจจุบันนี่แหละ
เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสวรรค์
ราชปุตตเปตวัตถุที่ ๗ จบ

๘. คูถขาทกเปตวัตถุ
เรื่องเปรตกินคูถ
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเปรตตนหนึ่งว่า)
[๗๖๖] ท่านเป็นใครหนอ โผล่ขึ้นจากหลุมคูถ ยืนเศร้าสร้อยอยู่
ท่านคงทำกรรมชั่วไว้โดยไม่ต้องสงสัย
จะร้องครวญครางอื้ออึงไปทำไมเล่า

เชิงอรรถ :
๑ เปรตผู้มีแต่ความหิวกระหายตลอดเวลา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๔. มหาวรรค] ๘. คูถขาทกเปตวัตถุ
(เปรตนั้นตอบว่า)
[๗๖๗] พระคุณเจ้าผู้เจริญ ข้าพเจ้าเกิดเป็นเปรตในยมโลก
ได้รับความลำบาก เพราะทำกรรมชั่วไว้
จึงต้องจากโลกนี้ไปยังเปตโลก
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า)
[๗๖๘] ท่านได้ทำกรรมชั่วทางกาย วาจา ใจอะไรไว้หรือ
เพราะผลกรรมอะไรท่านจึงได้รับทุกข์เช่นนี้
(เปรตนั้นตอบว่า)
[๗๖๙] ได้มีภิกษุรูปหนึ่งอยู่ประจำในวัดของข้าพเจ้า
มักริษยา ตระหนี่ตระกูล ผูกขาดในเรือนของข้าพเจ้า
มีใจกระด้าง มักด่าว่า(ภิกษุอาคันตุกะทั้งหลาย)
[๗๗๐] ข้าพเจ้าเชื่อคำของท่าน ได้ด่าว่าภิกษุทั้งหลาย
เพราะผลกรรมนั้น ข้าพเจ้าจึงต้องจากโลกนี้ไปยังเปตโลก
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า)
[๗๗๑] ภิกษุผู้คุ้นเคยกับตระกูลของท่านไม่ใช่มิตรแท้ เป็นมิตรเทียม
มีปัญญาทราม มรณภาพแล้วไปสู่คติไหนหนอ
(เปรตนั้นตอบว่า)
[๗๗๒] ข้าพเจ้ายืนอยู่บนกระหม่อมศีรษะของเปรต
ซึ่งเคยเป็นภิกษุผู้ทำกรรมชั่วนั้นแหละ
และภิกษุนั้นไปเกิดเป็นเปรตผู้ปรนนิบัติของข้าพเจ้าเอง
[๗๗๓] พระคุณเจ้าผู้เจริญ ชนเหล่าอื่นถ่ายสิ่งใดลงไป
สิ่งนั้นเป็นอาหารของข้าพเจ้า และข้าพเจ้าเองถ่ายสิ่งใดลงไป
เปรตซึ่งเคยเป็นภิกษุนั้นก็อาศัยสิ่งนั้นเลี้ยงชีพ
คูถขาทกเปตวัตถุที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๔. มหาวรรค] ๙. คูถขาทกเปติวัตถุ
๙. คูถขาทกเปติวัตถุ
เรื่องนางเปรตกินคูถ
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามนางเปรตตนหนึ่งว่า)
[๗๗๔] เธอเป็นใครหนอ โผล่ขึ้นจากหลุมคูถ ยืนเศร้าสร้อยอยู่
เธอคงทำกรรมชั่วไว้โดยไม่ต้องสงสัย
จะร้องครวญครางอื้ออึงไปทำไมเล่า
(นางเปรตนั้นตอบว่า)
[๗๗๕] พระคุณเจ้าผู้เจริญ ดิฉันเกิดเป็นเปรตในยมโลก
ได้รับความลำบาก เพราะทำกรรมชั่วไว้
จึงต้องจากโลกนี้ไปยังเปตโลก
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า)
[๗๗๖] เธอได้ทำกรรมชั่วทางกาย วาจา ใจอะไรไว้หรือ
เพราะผลกรรมอะไร เธอจึงได้รับทุกข์เช่นนี้
(นางเปรตนั้นตอบว่า)
[๗๗๗] ได้มีภิกษุรูปหนึ่งอยู่ประจำในวัดของดิฉัน
มักริษยา ตระหนี่ตระกูล ผูกขาดในเรือนของดิฉัน
มีใจกระด้าง มักด่าว่า(ภิกษุอาคันตุกะทั้งหลาย)
[๗๗๘] ดิฉันเชื่อคำของท่าน ได้ด่าว่าภิกษุทั้งหลาย
เพราะผลกรรมนั้นดิฉันจึงต้องจากโลกนี้ไปยังเปตโลก
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า)
[๗๗๙] ภิกษุผู้คุ้นเคยกับตระกูลของเธอไม่ใช่มิตรแท้ เป็นมิตรเทียม
มีปัญญาทราม มรณภาพแล้วไปสู่คติไหนหนอ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๔. มหาวรรค] ๑๐. คณเปตวัตถุ
(นางเปรตนั้นตอบว่า)
[๗๘๐] ดิฉันยืนอยู่บนกระหม่อมศีรษะของเปรต
ซึ่งเคยเป็นภิกษุผู้ทำกรรมชั่วนั้นแหละ
และภิกษุนั้นไปเกิดเป็นเปรตผู้ปรนนิบัติของดิฉันเอง
[๗๘๑] พระคุณเจ้าผู้เจริญ ชนเหล่าอื่นถ่ายสิ่งใดลงไป
สิ่งนั้นเป็นอาหารของดิฉัน
และดิฉันเองถ่ายสิ่งใดลงไป
เปรตซึ่งเคยเป็นภิกษุนั้นก็อาศัยสิ่งนั้นเลี้ยงชีพ
คูถขาทกเปติวัตถุที่ ๙ จบ

๑๐. คณเปตวัตถุ
เรื่องเปรตคณะหนึ่ง
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามเปรตทั้งหลายว่า)
[๗๘๒] พวกท่านเปลือยกาย มีร่างกายผ่ายผอม
มีผิวพรรณและรูปร่างน่าเกลียดน่ากลัว ซูบผอม
มีร่างกายสะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น มีซี่โครงผุดขึ้น
ท่านผู้นิรทุกข์ พวกท่านเปลือยกายเป็นใครกันหนอ
(เปรตทั้งหลายตอบว่า)
[๗๘๓] พระคุณเจ้าผู้เจริญ พวกข้าพเจ้าเป็นเปรตตกยาก
เกิดในยมโลก เพราะทำกรรมชั่วไว้
จึงต้องจากโลกนี้ไปยังเปตโลก
(พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า)
[๗๘๔] พวกท่านได้ทำกรรมชั่วทางกาย วาจา ใจอะไรไว้หรือ
เพราะผลกรรมอะไรท่านทั้งหลายจึงต้องจากโลกนี้ไปยังเปตโลก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๔. มหาวรรค] ๑๐. คณเปตวัตถุ
(เปรตเหล่านั้นตอบว่า)
[๗๘๕] เมื่อสมณพราหมณ์ทั้งหลาย
ผู้เป็นเหมือนท่าน้ำซึ่งไม่มีใครหวงห้าม
พวกข้าพเจ้า(มีความตระหนี่)จึงเก็บทรัพย์เพียงครึ่งมาสกไว้
เมื่อไทยธรรมมีอยู่ก็ไม่ได้ทำที่พึ่งแก่ตน (ให้ทาน)
[๗๘๖] พวกข้าพเจ้ากระหายน้ำ จึงเข้าไปใกล้แม่น้ำ
แม่น้ำกลับกลายเป็นว่างเปล่าไป
ในเวลาร้อน พวกข้าพเจ้าเข้าไปใกล้ร่มไม้
ร่มไม้กลับกลายเป็นแดดไป
[๗๘๗] ทั้งลมก็ร้อนเหมือนไฟ พัดฟุ้งเผาพวกข้าพเจ้าไป
พระคุณเจ้าผู้เจริญ พวกข้าพเจ้าสมควรเสวยทุกข์อันมีความ
กระหายเป็นต้นนี้ และทุกข์อย่างอื่นที่หนักกว่านั้น
[๗๘๘] อนึ่งพวกข้าพเจ้าหิวโหย อยากอาหาร
พากันเดินทางไปหลายโยชน์
ก็ไม่ได้อาหารเลย จึงพากันกลับมา
พวกข้าพเจ้าช่างมีบุญน้อยเสียจริงหนอ
[๗๘๙] พระคุณเจ้าผู้เจริญ พวกข้าพเจ้าหิวโหยอิดโรย
เป็นลมล้มสลบลงที่พื้นดิน บางครั้งล้มหงายกลิ้งไป
บางครั้งก็ล้มคว่ำ
[๗๙๐] อนึ่งพวกข้าพเจ้านั้นสลบล้มอยู่ที่พื้นดินนั้นเอง
หน้าอกและศีรษะก็กระทบกันและกัน
พวกข้าพเจ้าช่างมีบุญน้อยเสียจริงหนอ
[๗๙๑] พระคุณเจ้าผู้เจริญ พวกข้าพเจ้าควรจะเสวยทุกข์
มีความกระหายเป็นต้นนี้ และทุกข์อย่างอื่นที่หนักกว่านั้น
เพราะเมื่อไทยธรรมมีอยู่ ก็ไม่ได้ทำที่พึ่งแก่ตน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๔. มหาวรรค] ๑๑. ปาฏลิปุตตเปตวัตถุ
[๗๙๒] อนึ่ง พวกข้าพเจ้านั้นจากเปตโลกนี้ไปแล้ว
ได้กำเนิดเป็นมนุษย์
จักรู้ความประสงค์ของผู้ขอ สมบูรณ์ด้วยศีล
และทำกุศลให้มากเป็นแน่
คณเปตวัตถุที่ ๑๐ จบ

๑๑. ปาฏลิปุตตเปตวัตถุ
เรื่องหญิงชาวเมืองปาฏลีบุตรสนทนากับเปรต
(เวมานิกเปรตตนหนึ่งได้กล่าวกับหญิงมนุษย์คนหนึ่งว่า)
[๗๙๓] สัตว์นรกบางพวก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน เปรต อสุรกาย
หรือแม้มนุษย์ และเทวดาเธอก็ได้เห็นแล้ว
ผลกรรมของตนเธอก็ได้เห็นด้วยตนเอง
เราจักนำเธอไปส่งยังเมืองปาฏลีบุตรซึ่งไม่มีใครหวงห้าม
เธอไปที่เมืองนั้นแล้วจงทำกุศลกรรมเถิด
(เมื่อหญิงนั้นได้ฟังแล้ว มีความปลื้มใจ จึงกล่าวตอบว่า)
[๗๙๔] เทวดาผู้ควรบูชา ท่านเป็นผู้มุ่งประโยชน์เกื้อกูลแก่ดิฉัน
ดิฉันจะทำตามคำของท่าน
ท่านเป็นอาจารย์ของดิฉัน
[๗๙๕] สัตว์นรกบางพวก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน เปรต อสุรกาย
หรือแม้มนุษย์ และเทวดาดิฉันก็ได้เห็นแล้ว
ผลกรรมของตนดิฉันก็ได้เห็นเองแล้ว
ดิฉันจะทำบุญให้มาก
ปาฏลิปุตตเปตวัตถุที่ ๑๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๔. มหาวรรค] ๑๒. อัมพวนเปตวัตถุ
๑๒. อัมพวนเปตวัตถุ
เรื่องเปรตเฝ้าสวนมะม่วง
(พวกพ่อค้าได้ถามเวมานิกเปรตตนหนึ่งว่า)
[๗๙๖] สระโบกขรณีของท่านนี้แสนจะน่ารื่นรมย์
มีพื้นราบเรียบ มีท่าน้ำงดงาม มีน้ำมาก
มีดอกไม้บานสะพรั่ง ขวักไขว่ด้วยหมู่ภมร
ท่านได้สระโบกขรณีเป็นที่เจริญใจนี้มาอย่างไร
[๗๙๗] สวนมะม่วงของท่านนี้แสนจะน่ารื่นรมย์
กำลังเผล็ดผล มีดอกบานสพรั่ง ขวักไขว่ไปด้วยหมู่ภมร
นำความสุขมาให้ ทุกฤดูกาล
ท่านได้วิมานนี้มาอย่างไร
(เวมานิกเปรตนั้นตอบว่า)
[๗๙๘] ข้าพเจ้าได้สวนมะม่วงมีร่มเงาเย็นน่ารื่นรมย์ใจในที่นี้
เพราะทานที่ธิดาของข้าพเจ้าถวายมะม่วงสุก
น้ำ ข้าวยาคูแล้วอุทิศให้
(ธิดาของเปรตนั้นบอกลูกของตนเองว่า)
[๗๙๙] ขอลูกจงดูผลแห่งทาน ความข่มใจ
และความสำรวมที่เห็นผลทันตาอย่างนี้
แม่เป็นสาวใช้ มาเป็นลูกสะใภ้เป็นใหญ่ในเรือนในตระกูลของลูก
(ภายหลังวันหนึ่ง พระศาสดาทรงเห็นนางมีญาณแก่กล้า จึงแผ่รัศมีไปแสดง
พระองค์ให้ปรากฏดุจประทับยืนอยู่เฉพาะหน้า แล้วได้ตรัสคาถานี้ว่า)
สิ่งที่ไม่น่าชอบใจย่อมครอบงำผู้ประมาทโดยอาการที่น่าชอบใจ
สิ่งที่ไม่น่ารักย่อมครอบงำผู้ประมาทโดยอาการที่น่ารัก
และสิ่งที่เป็นทุกข์ย่อมครอบงำผู้ประมาทได้โดยอาการที่เป็นสุข
อัมพวนเปตวัตถุที่ ๑๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๔. มหาวรรค] ๑๔. โภคสังหรเปตวัตถุ
๑๓. อักขรุกขเปตวัตถุ
เรื่องอักขรุกขเปรต
(ภุมเทวดาตนหนึ่งเตือนอุบาสกคนหนึ่งว่า)
[๘๐๐] ทายกให้สิ่งใด ผลจะเป็นสิ่งนั้นก็หาไม่
เพราะฉะนั้นบุคคลพึงให้ทานเถิด
ครั้นให้ทานแล้ว ย่อมข้ามพ้นทุกข์และความพินาศทั้งสอง
ย่อมประสบสุขทั้งสอง๑ เพราะทานนั้น
ท่านจงตื่นเถิด อย่าได้ประมาทเลย
อักขรุกขเปตวัตถุที่ ๑๓ จบ

๑๔. โภคสังหรเปตวัตถุ
เรื่องเปรตรวบรวมโภคะ
(เวลากลางคืน หญิงเปรต ๔ ตน ถูกทุกข์ครอบงำ จึงพากันร้องไห้รำพึงรำพัน
ด้วยเสียงดังอย่างน่ากลัวว่า)
[๘๐๑] พวกเรารวบรวมโภคทรัพย์ไว้โดยชอบธรรมบ้าง
ไม่ชอบธรรมบ้าง
แต่คนอื่น ๆ พากันใช้สอยโภคทรัพย์เหล่านั้น
พวกเรากลับได้รับทุกข์๒
โภคสังหรเปตวัตถุที่ ๑๔ จบ

เชิงอรรถ :
๑ คือ สุขในภพนี้และภพหน้า ซึ่งเป็นประโยชน์เกื้อกูลทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น (ขุ.เป.อ. ๘๐๐/๒๙๘)
๒ เหตุที่เปรตเหล่านั้นได้รับทุกข์ เพราะรวบรวมโภคะไว้มากโดยทางทุจริต แล้วไม่นำไปทำประโยชน์แก่
ใคร ตายไปแล้วมาเกิดเป็นเปรต ร้องโหยหวน เสียดายทรัพย์เมื่อเห็นผู้อื่นใช้สอยทรัพย์ของตน (ขุ.เป.อ.
๘๐๑/๓๐๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๒๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๔. มหาวรรค] ๑๖. สัฏฐิกูฏเปตวัตถุ
๑๕. เสฏฐิปุตตเปตวัตถุ
เรื่องเปรตเศรษฐีบุตร
(พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระคาถาที่เปรต ๔ ตนเริ่มจะกล่าวตนละคาถาให้
บริบูรณ์ว่า)
[๘๐๒] เมื่อพวกเราหมกไหม้อยู่ในนรก ๖ หมื่นปีครบถ้วนบริบูรณ์
เมื่อไรจักมีความสิ้นสุด
[๘๐๓] ความสิ้นสุดไม่มี ความสิ้นสุดจะมีที่ไหน
ความสิ้นสุดจักไม่ปรากฏ
เพื่อนยาก เพราะเราและท่านได้ทำกรรมชั่วไว้อย่างนั้น
[๘๐๔] พวกเรา เมื่อไทยธรรมมีอยู่ ไม่ให้ของที่มีอยู่
จึงมีชีวิตเป็นอยู่อย่างลำบาก
เมื่อไทยธรรมมีอยู่ พวกเราไม่ได้ทำที่พึ่งแก่ตน
[๘๐๕] เรานั้นจากเปตโลกนี้ไปแล้ว ได้เกิดเป็นมนุษย์
จักรู้ความประสงค์ของผู้ขอ สมบูรณ์ด้วยศีล
ทำกุศลให้มากเป็นแน่
เสฏฐิปุตตเปตวัตถุที่ ๑๕ จบ

๑๖. สัฏฐิกูฏเปตวัตถุ
เรื่องเปรตถูกค้อนต่อยศีรษะ
(วันหนึ่ง พระมหาโมคคัลลานเถระ ลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นเปรตตนหนึ่ง
จึงซักถามด้วยคาถาว่า)
[๘๐๖] เจ้าเป็นบ้าไปแล้วหรือ จึงวิ่งไปมาเหมือนเนื้อที่วิ่งพล่าน
ท่านคงทำกรรมชั่วไว้โดยไม่ต้องสงสัย
จะมาร้องครวญครางอื้ออึงไปทำไมเล่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๔. มหาวรรค] ๑๖. สัฏฐิกูฏเปตวัตถุ
(เปรตนั้นตอบว่า)
[๘๐๗] พระคุณเจ้าผู้เจริญ ข้าพเจ้าเกิดเป็นเปรตในยมโลก
ได้รับความลำบาก เพราะทำบาปกรรมไว้
จึงต้องจากโลกนี้ไปยังเปตโลก
[๘๐๘] ค้อนเหล็กจำนวน ๖๐,๐๐๐ ลูก
ตกมาตีกระหม่อมศีรษะของข้าพเจ้า
(พระเถระถามว่า)
[๘๐๙] ท่านได้ทำกรรมชั่วทางกาย วาจา ใจอะไรไว้หรือ
เพราะผลกรรมอะไรท่านจึงต้องได้รับทุกข์เช่นนี้
[๘๑๐] อนึ่ง ค้อนเหล็กจำนวน ๖๐,๐๐๐ ลูก
ตกมาตีกระหม่อมศีรษะของท่าน เพราะผลกรรมอะไร
(เปรตนั้นตอบว่า)
[๘๑๑] ครั้งนั้นข้าพเจ้าได้เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งนามว่าสุเนตร
อบรมอินทรีย์แล้ว ผู้ไม่เกิดความกลัวแต่ที่ไหน
นั่งเข้าฌานอยู่ที่โคนต้นไม้
[๘๑๒] ข้าพเจ้าได้ดีดก้อนกรวด ทำลายกระหม่อมของท่าน
เพราะผลกรรมนั้น ข้าพเจ้าจึงต้องได้รับทุกข์เช่นนี้
[๘๑๓] ค้อนเหล็กจำนวน ๖๐,๐๐๐ ลูก
ตกมาตีกระหม่อมศีรษะของข้าพเจ้า
(พระเถระกล่าวว่า)
[๘๑๔] บุรุษชั่ว เพราะความสาสมแก่เหตุของท่าน
ค้อนเหล็กจำนวน ๖๐,๐๐๐ ลูก
จึงตกมาตีกระหม่อมศีรษะของท่าน
สัฏฐิกูฏเปตวัตถุที่ ๑๖ จบ
มหาวรรคที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๔. มหาวรรค] รวมเรื่องเปรตที่มีในวรรค
รวมเรื่องเปรตที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อัมพสักขรเปตวัตถุ ๒. เสรีสกเปตวัตถุ
๓. นันทกเปตวัตถุ ๔. เรวตีเปตวัตถุ
๕. อุจฉุเปตวัตถุ ๖. กุมารเปตวัตถุ
๗. ราชปุตตเปตวัตถุ ๘. คูถขาทกเปตวัตถุ
๙. คูถขาทกเปติวัตถุ ๑๐. คณเปตวัตถุ
๑๑. ปาฏลิปุตตเปตวัตถุ ๑๒. อัมพวนเปตวัตถุ
๑๓. อักขรุกขเปตวัตถุ ๑๔. โภคสังหรเปตวัตถุ
๑๕. เสฏฐิปุตตเปตวัตถุ ๑๖. สัฏฐิกูฏเปตวัตถุ

รวม ๑๖ เรื่อง ท่านจัดไว้เป็นหนึ่งวรรค

รวมวรรคที่มีในเรื่องเปรต คือ

๑. อุรวรรค ๒. อุพพริวรรค
๓. จูฬวรรค ๔. มหาวรรค

รวม ๕๑ เรื่อง ๔ ภาณวาร

เปตวัตถุ จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑. เอกกนิบาต] ๑. ปฐมวรรค ๑. สุภูติเถรคาถา
พระสุตตันตปิฎก
ขุททกนิกาย เถรคาถา
________________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคออรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
นิทานคาถา
เชิญท่านทั้งหลายสดับคาถาซึ่งนำเข้าไปหาประโยชน์
ของท่านผู้อบรมตนได้ ผู้เป็นเช่นราชสีห์แยกเขี้ยว
ร้องคำรามอยู่ที่ซอกเขา
ท่านมีชื่อ วงศ์ตระกูล มีธรรมเป็นเครื่องอยู่
และมีจิตอันน้อมไปในธรรมตามที่ปรากฏ
เป็นผู้มีปัญญา อยู่อย่างไม่เกียจคร้าน
เห็นแจ่มแจ้ง บรรลุนิพพานแล้วในเสนาสนะอันสงัดนั้น ๆ
เมื่อเล็งเห็นผลอันเลิศแห่งหน้าที่ที่ได้ทำเสร็จแล้ว
จึงได้กล่าวข้อความนี้ไว้

๑. เอกกนิบาต
๑. ปฐมวรรค
หมวดที่ ๑
๑. สุภูติเถรคาถา
ภาษิตของพระสุภูติเถระ
ทราบว่า ท่านพระสุภูติเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๑] ฝนเอ๋ย กุฎีของเราสบาย มุงบังมิดชิดดี
จงตกตามสบายเถิด จิตเราหลุดพ้น ตั้งมั่นดีแล้ว
เราปรารภความเพียรอยู่ จงตกลงมาเถิดฝน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๐๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑. เอกกนิบาต] ๑. ปฐมวรรค ๔. ปุณณเถรคาถา
๒. มหาโกฏฐิตเถรคาถา
ภาษิตของพระมหาโกฏฐิตเถระ
ทราบว่า ท่านพระโกฏฐิตเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๒] ภิกษุสงบ งดเว้นจากการทำชั่ว พูดด้วยปัญญา ไม่ฟุ้งซ่าน
ย่อมกำจัดบาปธรรมทั้งหลายได้เหมือนลมพัดใบไม้ให้ร่วงหล่นไป

๓. กังขาเรวตเถรคาถา
ภาษิตของพระกังขาเรวตเถระ
ทราบว่า ท่านพระกังขาเรวตเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๓] เชิญท่านดูพระปัญญาของพระตถาคตทั้งหลาย
ผู้ประทานแสงสว่างและประทานดวงตา๑
ย่อมชื่อว่าทรงกำจัดความสงสัย
ของเหล่าเวไนยสัตว์ ผู้พากันมาเฝ้าเสียได้
เหมือนแสงไฟที่เจิดจ้าในเวลาค่ำคืน

๔. ปุณณเถรคาถา
ภาษิตของพระปุณณเถระ
ทราบว่า ท่านพระปุณณมันตานีบุตรเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๔] บุคคลพึงสมาคมกับสัตบุรุษทั้งหลาย
ผู้มีปัญญาชี้แนะแต่ประโยชน์ถ่ายเดียว
เพราะสัตบุรุษ๒ทั้งหลายเป็นปราชญ์ ไม่ประมาท
เห็นประจักษ์แจ้งด้วยปัญญา ได้บรรลุประโยชน์อันใหญ่หลวง
ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก ละเอียดและสุขุม

เชิงอรรถ :
๑ ปัญญา (ขุ.เถร.อ. ๑/๓/๕๐)
๒ คนดี (ขุ.เถร.อ. ๑/๔/๕๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑. เอกกนิบาต] ๑. ปฐมวรรค ๗. ภัลลิยเถรคาถา
๕. ทัพพเถรคาถา
ภาษิตของพระทัพพเถระ
ทราบว่า ท่านพระทัพพเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๕] พระทัพพะผู้ฝึกได้ยาก ถูกพระศาสดาผู้ฝึกทรงฝึกแล้ว
เป็นผู้สันโดษ๑ ปราศจากความสงสัย ชนะกิเลสได้แล้ว
ปราศจากความขลาดกลัว มีจิตคงที่ ดับสนิทแล้ว

๖. สีตวนิยเถรคาถา
ภาษิตของพระสีตวนิยเถระ
ทราบว่า ท่านพระสีตวนิยเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๖] ภิกษุผู้เข้าไปสู่ป่าสีตวันแล้ว
ย่อมเป็นผู้โดดเดี่ยว สันโดษ มีจิตตั้งมั่น
ชนะกิเลสได้แล้ว ปราศจากความขนพองสยองเกล้า
มีปัญญา เจริญกายคตาสติ๒

๗. ภัลลิยเถรคาถา
ภาษิตของพระภัลลิยเถระ
ทราบว่า ท่านพระภัลลิยเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๗] ผู้ที่ขจัดเสนาพญามัจจุราช๓ได้ เหมือนกระแสน้ำหลาก
พัดพังทลายสะพานไม้อ้อซึ่งไม่มีกำลังต้านทาน
นับว่าเป็นผู้ชนะกิเลส ปราศจากความขลาดกลัว
ฝึกตนดีแล้ว มีจิตคงที่ ดับสนิทแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ ยินดีสิ่งของเท่าที่ตนมีอยู่ (ขุ.เถร.อ. ๑/๕/๖๙)
๒ กำหนดกายเป็นอารมณ์ (ขุ.เถร.อ. ๑/๖/๖๙)
๓ ความแก่ ความเจ็บ และความตาย (ขุ.เถร.อ. ๑/๗/๗๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑. เอกกนิบาต] ๑. ปฐมวรรค ๑๐. ปุณณมาสเถรคาถา
๘. วีรเถรคาถา
ภาษิตของพระวีรเถระ
ทราบว่า ท่านพระวีรเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๘] พระวีรเถระผู้ฝึกได้ยาก ถูกพระศาสดาผู้ฝึกทรงฝึกแล้ว
เป็นผู้สันโดษ ปราศจากความสงสัย ชนะกิเลสได้แล้ว
ปราศจากความขนพองสยองเกล้า มีจิตคงที่ ดับสนิทแล้ว

๙. ปิลินทวัจฉเถรคาถา
ภาษิตของพระปิลินทวัจฉเถระ
ทราบว่า ท่านพระปิลินทวัจฉเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๙] การที่เราได้มายังสำนักพระผู้มีพระภาคนี้เป็นการมาดีแล้ว
ไม่ไร้ประโยชน์ การที่เราได้คิดไว้ว่า จะฟังธรรมในสำนักของ
พระผู้มีพระภาคแล้วบวชนี้เป็นความคิดไม่เลวเลย
เพราะเมื่อพระผู้มีพระภาคทรงจำแนกธรรมอันประเสริฐทั้งหลาย
เราได้บรรลุธรรมนั้นแล้ว

๑๐. ปุณณมาสเถรคาถา
ภาษิตของพระปุณณมาสเถระ
ทราบว่า ท่านพระปุณณมาสเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๑๐] ผู้ที่บรรลุความรู้สูงสุด๑ เป็นผู้สงบระงับ สำรวมตนแล้ว
ไม่ข้องติดในธรรมทั้งหลายทั้งปวง
รู้ความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งโลก๒
นับว่าได้กำจัดความเพ่งเล็งคือตัณหาในโลกนี้และโลกหน้าเสียได้
ปฐมวรรค จบ

เชิงอรรถ :
๑ บรรลุนิพพานด้วยมรรคญาณ (ขุ.เถร.อ. ๑/๑๐/๘๐)
๒ อุปาทานขันธ์ ๕ (ขุ.เถร.อ. ๑/๑๐/๘๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑. เอกกนิบาต] ๒. ทุติยวรรค ๒. มหาวัจฉเถรคาถา
รวมเรื่องพระเถระที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. พระสุภูติเถระ ๒. พระมหาโกฏฐิตเถระ
๓. พระกังขาเรวตเถระ ๔. พระปุณณมันตานีบุตรเถระ
๕. พระทัพพบุตรเถระ ๖. พระสีตวนิยเถระ
๗. พระภัลลิยเถระ ๘. พระวีรเถระ
๙. พระปิลินทวัจฉเถระ ๑๐. พระปุณณมาสเถระ

๒. ทุติยวรรค
หมวดที่ ๒
๑. จูฬวัจฉเถรคาถา
ภาษิตของพระจูฬวัจฉเถระ
ทราบว่า ท่านพระจูฬวัจฉเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๑๑] ภิกษุที่มากด้วยความปราโมทย์ในธรรม
อันพระพุทธเจ้าทรงประกาศแล้ว
พึงบรรลุสันตบท๑อันเป็นธรรมเข้าไปสงบระงับสังขาร เป็นสุข

๒. มหาวัจฉเถรคาถา
ภาษิตของพระมหาวัจฉเถระ
ทราบว่า ท่านพระมหาวัจฉเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๑๒] ภิกษุมีพลังปัญญา สมบูรณ์ด้วยศีลและข้อปฏิบัติ
มีจิตตั้งมั่น ยินดีในฌาน มีสติ
ฉันอาหารพออยู่ได้ ปราศจากราคะ๒
พึงรอเวลาเป็นที่ดับขันธปรินิพพานในพระศาสนานี้

เชิงอรรถ :
๑ นิพพาน (ขุ.เถร.อ. ๑/๑๑/๘๔)
๒ ความกำหนัดในกามคุณ (ขุ.เถร.อ. ๑/๑๒/๘๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑. เอกกนิบาต] ๒. ทุติยวรรค ๕. กุณฑธานเถรคาถา
๓. วนวัจฉเถรคาถา
ภาษิตของพระวนวัจฉเถระ
ทราบว่า ท่านพระวนวัจฉเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๑๓] ภูเขาหินหลากหลายมีสีดังเมฆครื้ม งามเรืองรอง
แหล่งน้ำเย็นใสสะอาด ดารดาษด้วยแมลงค่อมทอง๑
ช่างชวนให้เรารื่นรมย์ใจเสียจริง

๔. วนวัจฉเถรสามเณรคาถา
ภาษิตของสามเณรของพระวนวัจฉเถระ
ทราบว่าสามเณรของท่านพระวนวัจฉเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๑๔] พระอุปัชฌาย์ได้กล่าวกับเราว่า
สีวกะ เราจะไปจากที่นี่ กายเราอยู่บ้าน (แต่)ใจเราอยู่ป่า
แม้ลุกไม่ไหว เราก็จะไป ผู้รู้แจ้งหาข้องอยู่ไม่

๕. กุณฑธานเถรคาถา
ภาษิตของพระกุณฑธานเถระ
ทราบว่า ท่านพระกุณฑธานเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๑๕] ภิกษุพึงตัดสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ พึงละสังโยชน์เบื้องสูง ๕
พึงเจริญอินทรีย์ ๕ ให้ยิ่งขึ้นไป
ภิกษุผู้ก้าวล่วงธรรมเป็นเครื่องข้อง๒ ๕ ประการได้แล้ว
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ข้ามโอฆะ๓ได้แล้ว

เชิงอรรถ :
๑ จำพวกแมลงทับ (ขุ.เถร.อ. ๑/๑๓/๘๙)
๒ ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ (ขุ.เถร.อ. ๑/๑๕/๑๐๐)
๓ กาม ภพ ทิฏฐิ อวิชชา (ขุ.เถร.อ. ๑/๑๕/๑๐๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๐๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑. เอกกนิบาต] ๒. ทุติยวรรค ๘. สิงคาลเถรคาถา
๖. เพลัฏฐสีสเถรคาถา
ภาษิตของพระเพลัฏฐสีสเถระ
ทราบว่า ท่านพระเพลัฏฐสีสเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๑๖] โคอาชาไนย เจริญเต็มที่เทียมไถแล้ว
ย่อมลากไถไปได้โดยไม่ลำบาก ฉันใด
เราเมื่อได้ความสุข ปราศจากอามิส๑เจือปนแล้ว
วันคืนทั้งหลาย ย่อมผ่านพ้นเราไปโดยไม่ยาก ฉันนั้น

๗. ทาสกเถรคาถา
ภาษิตของพระทาสกเถระ
ทราบว่า ท่านพระทาสกเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๑๗] เมื่อใด บุคคลผู้ถูกความง่วงเหงาครอบงำบริโภคมาก
ชอบแต่นอนกลิ้งเกลือกไปมา
เมื่อนั้น เขาย่อมมีปัญญาเฉื่อยชา ชอบเข้าห้องเป็นอาจิณ
เหมือนสุกรอ้วนที่เขาขุนด้วยเศษอาหาร (นอนกลิ้งเกลือกไปมา)

๘. สิงคาลเถรคาถา
ภาษิตของพระสิงคาลเถระ
ทราบว่า ท่านพระสิงคาลเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๑๘] ภิกษุอยู่ในป่าเภสกฬาวัน พิจารณาแผ่นดินคืออัตภาพนี้
ด้วยเข้าใจว่า เป็นกระดูกล้วน เป็นอารมณ์
ย่อมชื่อว่าเป็นทายาทของพระพุทธเจ้า
เราเข้าใจว่า ท่านรูปนั้นเห็นจะละกามราคะได้เร็วพลันแน่แท้

เชิงอรรถ :
๑ ความสุขจากผลสมาบัติที่ไม่เจือด้วยอามิส ๓ คือ อามิสคือกาม อามิสคือโลก อามิสคือวัฏฏะ
(ขุ.เถร.อ. ๑/๑๖/๑๐๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑. เอกกนิบาต] รวมเรื่องพระเถระที่มีในวรรค
๙. กุฬเถรคาถา
ภาษิตของพระกุฬเถระ
ทราบว่า ท่านพระกุฬเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๑๙] พวกคนไขน้ำก็ทำหน้าที่ไขน้ำ
พวกช่างทำศรก็ดัดลูกศร
พวกช่างไม้ก็ถากไม้
พวกมีวัตรดีก็ฝึกตน

๑๐. อชิตเถรคาถา
ภาษิตของพระอชิตเถระ
ทราบว่า ท่านพระอชิตเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๒๐] เราไม่มีความกลัวตาย
ไม่มีความเยื่อใยในชีวิต
เราจะเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ
ละทิ้งร่างกายเราไป
ทุติยวรรค จบ

รวมเรื่องพระเถระที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. พระจูฬวัจฉเถระ ๒. พระมหาวัจฉเถระ
๓. พระวนวัจฉเถระ ๔. พระสีวกเถระ
๕. พระกุณฑธานเถระ ๖. พระเพลัฏฐสีสเถระ
๗. พระทาสกเถระ ๘. พระสิงคาลเถระ
๙. พระกุฬเถระ ๑๐. พระอชิตเถระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑. เอกกนิบาต] ๓. ตติยวรรค ๓. โคสาลเถรคาถา
๓. ตติยวรรค
หมวดที่ ๓
๑. นิโครธเถรคาถา
ภาษิตของนิโครธเถระ
ทราบว่า ท่านพระนิโครธเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๒๑] เราไม่กลัวภัย
พระศาสดาของเราทั้งหลายทรงเฉียบแหลมในอมตธรรม
ภิกษุทั้งหลายย่อมดำเนินตามหนทางที่ไม่มีภัย

๒. จิตตกเถรคาถา
ภาษิตของพระจิตตกเถระ
ทราบว่า ท่านพระจิตตกเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๒๒] นกยูงทั้งหลาย มีขนคอเขียวงดงาม มีหงอนสวย
ร้องเซ็งแซ่อยู่ในป่าการวี
นกยูงเหล่านั้นพากันร้องเซ็งแซ่ในยามมีลมหนาวเจือฝน
ย่อมกระตุ้นเตือนผู้เจริญฌานซึ่งหลับอยู่ให้ตื่นขึ้น

๓. โคสาลเถรคาถา
ภาษิตของพระโคสาลเถระ
ทราบว่า ท่านพระโคสาลเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๒๓] เราฉันข้าวมธุปายาส๑ ใต้พุ่มไผ่
พิจารณาถึงความเกิดและความเสื่อมของขันธ์ทั้งหลายโดยเคารพ
จะกลับไปสู่สานุบรรพตที่เราเคยอยู่ แล้วเพิ่มพูนวิเวกต่อไป

เชิงอรรถ :
๑ ข้าวที่หุงด้วยน้ำนมสด เจือด้วยของหวานมี น้ำผึ้งเป็นต้น (ขุ.เถร.อ. ๑/๒๓/๑๒๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑. เอกกนิบาต] ๓. ตติยวรรค ๖. อภัยเถรคาถา
๔. สุคันธเถรคาถา
ภาษิตของพระสุคันธเถระ
ทราบว่า ท่านพระสุคันธเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๒๔] ภิกษุบวชยังไม่ทันครบพรรษา
มองเห็นธรรมว่าเป็นธรรมดีงาม
บรรลุวิชชา๑ ๓ แล้ว
ได้ทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว

๕. นันทิยเถรคาถา
ภาษิตของพระนันทิยเถระ
ทราบว่า ท่านพระนันทิยเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๒๕] มารผู้มีกรรมหยาบช้าและมีชาติเลวทราม
ท่านเบียดเบียนภิกษุผู้มีจิตบรรลุอรหัตตผล
สว่างไสวด้วยญาโณภาส๒เป็นนิตย์เช่นนั้น
จะได้รับทุกข์มหันต์

๖. อภัยเถรคาถา
ภาษิตของพระอภัยเถระ
ทราบว่า ท่านพระอภัยเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๒๖] เพราะเราได้ฟังวาจาสุภาษิตของพระพุทธเจ้า
ผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์
จึงได้รู้แจ้งธรรมอันละเอียดยิ่ง
ดุจบุคคลยิงปลายขนทรายด้วยลูกศร

เชิงอรรถ :
๑ ระลึกชาติได้, ตาทิพย์, สิ้นอาสวะ (ขุ.เถร.อ. ๑/๒๔/๑๒๔)
๒ อรหัตตมรรคญาณ (ขุ.เถร.อ. ๑/๒๕/๑๒๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑. เอกกนิบาต] ๓. ตติยวรรค ๑๐. อุตติยเถรคาถา
๗. โลมสกังคิยเถรคาถา
ภาษิตของพระโลมสกังคิยเถระ
ทราบว่า ท่านพระโสมสกังคิยเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๒๗] เราจะใช้อกฝ่าหญ้าแพรก หญ้าคา หญ้าดอกเลา หญ้าแฝก
หญ้ามุงกระต่าย และหญ้าปล้องเพิ่มพูนวิเวก

๘. ชัมพุคามิกปุตตเถรคาถา
ภาษิตของพระชัมพุคามิกบุตรเถระ
ทราบว่า ท่านพระชัมพุคามิกบุตรเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๒๘] ท่านยังขวนขวายประดับตกแต่งด้วยเสื้อผ้าอยู่หรือไม่
ยังยินดีประดับประดาร่างกายอยู่หรือไม่
ท่านทำกลิ่นศีลให้ขจรขจายไปอยู่หรือไม่
คนทุศีลนอกนี้ไม่อาจทำกลิ่นศีลให้ขจรขจายไปได้

๙. หาริตเถรคาถา
ภาษิตของพระหาริตเถระ
ทราบว่า พระหาริตเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๒๙] หาริตะ เธอจงยกตนขึ้น เธอจงทำจิตให้ตรง
เหมือนช่างศรดัดศรให้ตรง แล้วทำลายอวิชชาเสีย

๑๐. อุตติยเถรคาถา
ภาษิตของพระอุตติยเถระ
ทราบว่า ท่านพระอุตติยเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๓๐] เมื่ออาพาธเกิดขึ้นแก่เรา เราก็ได้สติว่า
อาพาธเกิดแก่เราแล้ว เวลานี้เราไม่ควรประมาท
ตติยวรรค จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑. เอกกนิบาต] ๔. จตุตถวรรค ๒. สุปปิยเถรคาถา
รวมเรื่องพระเถระที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. พระนิโครธเถระ ๒. พระจิตตกเถระ
๓. พระโคสาลเถระ ๔. พระสุคันธเถระ
๕. พระนันทิยเถระ ๖. พระอภัยเถระ
๗. พระโลมสกังคิยเถระ ๘. พระชัมพุคามิกบุตรเถระ
๙. พระหาริตเถระ ๑๐. พระอุตติยเถระ

๔. จตุตถวรรค
หมวดที่ ๔
๑. คหุรตีริยเถรคาถา
ภาษิตของคหุรตีริยเถระ
ทราบว่า ท่านพระคหุรตีริยเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๓๑] บุคคลถูกเหลือบและยุงกัดในป่าใหญ่
พึงเป็นผู้มีสติอดกลั้นในอันตรายนั้น
เหมือนช้างในสงคราม

๒. สุปปิยเถรคาถา
ภาษิตของพระสุปปิยเถระ
ทราบว่า ท่านพระสุปปิยเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๓๒] บุคคลผู้มีความชรา
เพียรเผาผลาญกิเลสอยู่
พึงบรรลุนิพพานอันปราศจากความแก่
ปราศจากอามิส
เป็นธรรมสงบเกษมจากโยคะ (และ)ยอดเยี่ยมอย่างยิ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑. เอกกนิบาต] ๔. จตุตถวรรค ๕. สามัญญกานิเถรคาถา
๓. โสปากเถรคาถา
ภาษิตของพระโสปากเถระ
ทราบว่า ท่านพระโสปากเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๓๓] บุคคลมีอัธยาศัยประกอบด้วยเมตตา
ในบุตรคนเดียวที่น่ารัก ฉันใด
ภิกษุพึงมีอัธยาศัยประกอบด้วยเมตตา
ในสัตว์ทั้งปวงในที่ทุกแห่ง ฉันนั้น

๔. โปสิยเถรคาถา
ภาษิตของพระโปสิยเถระ
ทราบว่า ท่านพระโปสิยเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๓๔] หญิงเหล่านี้ไม่เข้าใกล้เป็นการดี
แต่พอเข้าใกล้ ก็จักก่อความพินาศให้เนืองนิตย์
เราออกจากป่ามาสู่บ้าน จากนั้นก็เข้าไปยังเรือน
เราชื่อโปสิยะ ไม่บอกลาใคร ลุกจากเตียงหลีกหนีไป

๕. สามัญญกานิเถรคาถา
ภาษิตของพระสามัญญกานิเถระ
ทราบว่า ท่านพระสามัญญกานิเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๓๕] บุคคลผู้ต้องการนิรามิสสุข
ประพฤติให้สมควรแก่การได้ความสุขนั้น ย่อมได้ความสุข
ผู้บำเพ็ญอริยมรรคมีองค์ ๘ อันเป็นทางสายตรง
ไม่คดเคี้ยว เพื่อบรรลุอมตบท๑
ย่อมได้เกียรติคุณและเจริญยศ

เชิงอรรถ :
๑ ธาตุที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง (ขุ.เถร.อ. ๑/๓๕/๑๕๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑. เอกกนิบาต] ๔. จตุตถวรรค ๘. ควัมปติเถรคาถา
๖. กุมาปุตตเถรคาถา
ภาษิตของพระกุมาบุตรเถระ
ทราบว่า ท่านพระกุมาบุตรเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๓๖] การฟังเป็นความดี
การประพฤติตนเป็นคนมักน้อยเป็นความดี
การปฏิบัติเพื่อละกามคุณ ๕ ทุกเมื่อเป็นความดี
การถามสิ่งที่เป็นประโยชน์เป็นความดี
การปฏิบัติตามโอวาทโดยเคารพเป็นความดี
กิจมีการฟังเป็นต้นเป็นเครื่องหมายความเป็นสมณะผู้หมดความกังวล

๗. กุมาปุตตเถรสหายกเถรคาถา
ภาษิตของพระกุมาบุตรสหายกเถระ
ทราบว่า ท่านพระกุมาบุตรเถรสหายกเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๓๗] ภิกษุทั้งหลายผู้ไม่สำรวมจิต ท่องเที่ยวไปตามชนบทต่าง ๆ
ย่อมทำสมาธิคลาดเคลื่อน
การท่องเที่ยวไปยังแว่นแคว้นจะช่วยอะไรได้เล่า
เพราะฉะนั้น ภิกษุพึงกำจัดความแข่งดี
ไม่พึงให้มิจฉาวิตกและกิเลสมีตัณหาเป็นต้นครอบงำ เจริญฌาน

๘. ควัมปติเถรคาถา
ภาษิตของพระควัมปติเถระ
ทราบว่า พระผู้มีพระภาคตรัสสรรเสริญพระควัมปติเถระด้วยพระคาถาดังนี้ว่า
[๓๘] เทวดาทั้งหลายพากันนอบน้อมพระควัมปติ
ผู้ห้ามแม่น้ำสรภูให้หยุดไหลได้ด้วยฤทธิ์
ไม่ติดอยู่ในกิเลสและตัณหาไร ๆ ไม่หวั่นไหวต่อสิ่งอะไรทั้งสิ้น
ข้ามกิเลสเครื่องข้องทั้งหมดเสียได้
เป็นมหามุนี ผู้บรรลุนิพพานแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑. เอกกนิบาต] รวมเรื่องพระเถระที่มีในวรรค
๙. ติสสเถรคาถา
ภาษิตของพระติสสเถระ
ทราบว่า ท่านพระติสสเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๓๙] ภิกษุพึงมีสติพยายามละกามราคะ
เหมือนคนพยายามใช้ศัสตรา
ตัดเครื่องประหารที่ชื่อว่าโอมัฏฐะ
เมื่อศีรษะถูกไฟไหม้

๑๐. วัฑฒมานเถรคาถา
ภาษิตของพระวัฑฒมานเถระ
ทราบว่า ท่านพระวัฑฒมานเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๔๐] ภิกษุพึงมีสติพยายามละภวราคะ
เหมือนคนพยายามใช้ศัสตรา
ตัดเครื่องประหารที่ชื่อว่าโอมัฏฐะ
เมื่อศีรษะถูกไฟไหม้
จตุตถวรรค จบ

รวมเรื่องพระเถระที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. พระคหุรตีริยเถระ ๒. พระสุปปิยเถระ
๓. พระโสปากเถระ ๔. พระโปสิยเถระ
๕. พระสามัญญกานิเถระ ๖. พระกุมาบุตรเถระ
๗. พระกุมาบุตรเถรสหายกเถระ ๘. พระควัมปติเถระ
๙. พระติสสเถระ ๑๐. พระวัฑฒมานเถระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑. เอกกนิบาต] ๕. ปัญจมวรรค ๓. สุมังคลเถรคาถา
๕. ปัญจมวรรค
หมวดที่ ๕
๑. สิริวัฑฒเถรคาถา
ภาษิตของพระสิริวัฑฒเถระ
ทราบว่า ท่านพระสิริวัฑฒเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๔๑] ภิกษุผู้เป็นบุตรของพระพุทธองค์ผู้คงที่ หาผู้เสมอเหมือนมิได้
ไปเข้าฌานอยู่ตามซอกเขา เหมือนสายฟ้าแลบส่องลอดเข้าไป
ตามช่องเขาที่ชื่อเวภาระและปัณฑวะ

๒. ขทิรวนิยเถรคาถา
ภาษิตของพระขทิรวนิยเถระ
ทราบว่า ท่านพระขทิรวนิยเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๔๒] สามเณรจาละ สามเณรอุปจาละ สามเณรสีสูปจาละ
พวกเธอครองสติมั่นคงอยู่หรือเปล่า
หลวงลุง๑ของพวกเธอ ผู้เปรียบเหมือนนายขมังธนู
ผู้สามารถยิงทะลวงปลายขนทรายได้
เพราะมีปัญญาหลักแหลมว่องไวรู้แจ้งตลอดมาถึงแล้ว

๓. สุมังคลเถรคาถา
ภาษิตของพระสุมังคลเถระ
ทราบว่า ท่านพระสุมังคลเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๔๓] เราพ้นดีแล้ว พ้นแล้วด้วยดี
พ้นดีแล้วจากการหลังค่อม ๓ กรณี คือ

เชิงอรรถ :
๑ พระสารีบุตรเถระ (ขุ.เถร.อ. ๑/๔๒/๑๗๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑. เอกกนิบาต] ๕. ปัญจมวรรค ๕. รมณียวิหารีเถรคาถา
จากการเกี่ยวข้าว การไถนา และการถางหญ้า
แม้ว่างานเกี่ยวหญ้าเป็นต้น จะมีอยู่ในที่ใกล้ ๆ นี้ก็ตาม
แต่ก็ไม่เหมาะ ไม่ควรแก่เราทั้งสิ้น
เพียรเพ่งเถิด สุมังคละ จงเผาเถิด สุมังคละ
เธอจงเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่เถิด สุมังคละ

๔. สานุเถรคาถา
ภาษิตของพระสานุเถระ
ทราบว่า ท่านพระสานุเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๔๔] โยมแม่ ชนทั้งหลายร่ำไห้ถึงคนที่ตายไปแล้ว
หรือยังมีชีวิตอยู่ (แต่)หาไม่พบ
โยมแม่ โยมยังแลเห็นอาตมามีชีวิตอยู่
ทำไมจึงร่ำไห้ถึงอาตมาเล่า โยมแม่

๕. รมณียวิหารีเถรคาถา
ภาษิตของพระรมณียวิหารีเถระ
ทราบว่า ท่านพระรมณียวิหารีเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๔๕] ขอท่านทั้งหลายจงจำข้าพเจ้าว่า
เป็นสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้ชื่อว่าสมบูรณ์ด้วยทัศนะ๑
เพราะพลั้งพลาดแล้วสามารถตั้งตนได้
เหมือนโคอาชาไนยเจริญเต็มที่
พลาดล้มแล้วลุกขึ้นยืนใหม่ได้ ฉะนั้น

เชิงอรรถ :
๑ ความเห็นชอบ (ขุ.เถร.อ. ๑/๔๕/๑๘๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑. เอกกนิบาต] ๕. ปัญจมวรรค ๘. สัญชยเถรคาถา
๖. สมิทธิเถรคาถา
ภาษิตของพระสมิทธิเถระ
ทราบว่า ท่านพระสมิทธิเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๔๖] เราออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา
มีสติปัญญาเจริญ มีจิตมั่นคงดีแล้ว
เจ้ามารร้ายเอ๋ย เจ้าจงบันดาลรูปแปลกประหลาดต่าง ๆ ตามใจ
ชอบเถิด แต่จะไม่อาจทำให้เราสะทกสะท้านได้เลย

๗. อุชชยเถรคาถา
ภาษิตของพระอุชชยเถระ
ทราบว่า ท่านพระอุชชยเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๔๗] ข้าแต่พระพุทธองค์ผู้ทรงแกล้วกล้า
ข้าพระองค์ขอนอบน้อมแด่พระองค์
พระองค์ทรงหลุดพ้นแล้วจากกิเลสทั้งมวล
ข้าพระองค์ดำรงอยู่ในพระโอวาทของพระองค์
จึงอยู่อย่างผู้ปราศจากอาสวกิเลส

๘. สัญชยเถรคาถา
ภาษิตของพระสัญชยเถระ
ทราบว่า ท่านพระสัญชยเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๔๘] ตั้งแต่เราออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
ความดำริอันต่ำทราม ประกอบด้วยโทษ
ข้าพเจ้าไม่เคยรู้จักเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑. เอกกนิบาต] รวมเรื่องพระเถระที่มีในวรรค
๙. รามเณยยกเถรคาถา
ภาษิตของรามเณยยกเถระ
ทราบว่า ท่านพระรามเณยยกเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๔๙] เจ้ามารร้ายเอ๋ย จิตของเรานั้นไม่หวั่นไหว
ในเพราะเสียงจ้อกแจ้กของฝูงนกกระจาบและเสียงกู่ก้องของฝูงลิง
เพราะจิตของเรายินดีในเอกัคคตารมณ์๑

๑๐. วิมลเถรคาถา
ภาษิตของพระวิมลเถระ
ทราบว่า ท่านพระวิมลเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๕๐] พื้นปฐพีฉ่ำชื่นด้วยน้ำฝน
ลมเจือละอองฝนก็โชยพัด
ทั้งสายฟ้าก็แลบอยู่ทั่วท้องฟ้า
(แต่)วิตก๒ทั้งหลายระงับไป
จิตของเราตั้งมั่นดีแล้ว
ปัญจมวรรค จบ

รวมเรื่องพระเถระที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. พระสิริวัฑฒเถระ ๒. พระขทิรวนิยเรวตเถระ
๓. พระสุมังคลเถระ ๔. พระสานุเถระ
๕. พระรมณียวิหารีเถระ ๖. พระสมิทธิเถระ
๗. พระอุชชยเถระ ๘. พระสัญชยเถระ
๙. พระรามเณยยกเถระ ๑๐. พระวิมลเถระ


เชิงอรรถ :
๑ มีอารมณ์เดียว (ขุ.เถร.อ. ๑/๔๙/๑๘๘)
๒ การตรึกถึงกามคุณเป็นต้น (ขุ.เถร.อ. ๑/๕๐/๑๙๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑. เอกกนิบาต] ๖. ฉัฏฐวรรค ๓. วัลลิยเถรคาถา
๖. ฉัฏฐวรรค
หมวดที่ ๖
๑. โคธิกเถรคาถา
ภาษิตของพระโคธิกเถระ
ทราบว่า ท่านพระโคธิกเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๕๑] ฝนตกลงมา เสียงดังกระหึ่มคล้ายเสียงเพลงอันไพเราะ
กุฎีของเราสบาย มุงบังมิดชิดดี จิตเราตั้งมั่นดีแล้ว
ถ้าต้องการจะตกก็จงตกลงมาเถิดฝน

๒. สุพาหุเถรคาถา
ภาษิตของพระสุพาหุเถระ
ทราบว่า ท่านพระสุพาหุเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๕๒] ฝนตกลงมา เสียงดังกระหึ่มคล้ายเสียงเพลงอันไพเราะ
กุฎีของเราสบาย มุงบังมิดชิดดี จิตเราตั้งมั่นดีแล้ว
ถ้าต้องการจะตกก็จงตกลงมาเถิดฝน

๓. วัลลิยเถรคาถา
ภาษิตของพระวัลลิยเถระ
ทราบว่า ท่านพระวัลลิยเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๕๓] ฝนตกลงมา เสียงดังกระหึ่มคล้ายเสียงเพลงอันไพเราะ
กุฎีของเราสบาย มุงบังมิดชิดดี
ในกุฎีนั้น เราอยู่อย่างผู้ไม่ประมาท
ถ้าต้องการจะตกก็จงตกลงมาเถิดฝน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑. เอกกนิบาต] ๖. ฉัฏฐวรรค ๖. กุฏิวิหารีเถรคาถา
๔. อุตติยเถรคาถา
ภาษิตของพระอุตติยเถระ
ทราบว่า ท่านพระอุตติยเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๕๔] ฝนตกลงมา เสียงดังกระหึ่มคล้ายเสียงเพลงอันไพเราะ
กุฎีของเราสบาย มุงบังมิดชิดดี
ในกุฎีนั้น เราอยู่(แต่ผู้เดียว) ไม่มีเพื่อน
ถ้าต้องการจะตกก็จงตกลงมาเถิดฝน

๕. อัญชนวนิยเถรคาถา
ภาษิตของพระอัญชนวนิยเถระ
ทราบว่า ท่านพระอัญชนวนิยเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๕๕] เราเข้าไปป่าอัญชนาวัน เอาตั่งเป็นกุฎี
บรรลุวิชชา ๓ แล้ว
เราได้ทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว

๖. กุฏิวิหารีเถรคาถา
ภาษิตของพระกุฏิวิหารีเถระ
ทราบว่า คนเฝ้านาและพระกุฎีวิหารีเถระสนทนากันว่าดังนี้
[๕๖] (คนเฝ้านาถามว่า) ใครเล่านั่งอยู่ในกระท่อม
พระกุฏิวิหารีเถระ(ตอบว่า) ภิกษุผู้ปราศจากราคะ
มีจิตมั่นคงดีแล้ว อยู่ในกระท่อม
เข้าใจอย่างนี้เถิดโยม
กระท่อมที่ท่านสร้างไว้แล้ว ไม่เปล่าประโยชน์เลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑. เอกกนิบาต] ๖. ฉัฏฐวรรค ๙. โกสัลลวิหาริเถรคาถา
๗. ทุติยกุฏิวิหารีเถรคาถา
ภาษิตของพระทุติยกุฏิวิหารีเถระ
ทราบว่า ท่านพระทุติยกุฏิวิหารีเถระได้กล่าวคาถาที่เทวดาได้กล่าวกับตนว่า
ดังนี้
[๕๗] กุฎี๑หลังนี้เป็นกุฎีเก่า
ท่านปรารถนากุฎีใหม่หลังอื่นทำไม
ขอท่านจงคลายความหวังในกุฎีหลังใหม่เสียเถิด
เพราะกุฎีหลังใหม่นำทุกข์มาให้

๘. รมณียกุฏิกเถรคาถา
ภาษิตของพระรมณียกุฏิกเถระ
ทราบว่า ท่านพระรมณียกุฏิกเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๕๘] กุฎีของเราน่ารื่นรมย์
เป็นที่พอใจ ทายกผู้มีศรัทธาถวายไว้
อาตมาไม่ต้องการพวกผู้หญิง
พวกเธอจงไปในที่ที่พวกเขาต้องการพวกผู้หญิงเถิด

๙. โกสัลลวิหาริเถรคาถา
ภาษิตของพระโกสัลลวิหารีเถระ
ทราบว่า ท่านพระโกสัลลวิหารีเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๕๙] เราบวชด้วยศรัทธา เราสร้างกุฎีอยู่ในป่า
เราจึงอยู่อย่างคนไม่ประมาท
มีความเพียรเป็นนิตย์ และมีสติสัมปชัญญะ

เชิงอรรถ :
๑ ห้องที่อยู่ของพระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑. เอกกนิบาต] ๗. สัตตวรรค ๑. วัปปเถรคาถา
๑๐. สีวลีเถรคาถา
ภาษิตของพระสีวลีเถระ
ทราบว่า ท่านพระสีวลีเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๖๐] ความปรารถนาที่เราเข้าไปสู่กุฎี
เฝ้าแสวงหาวิชชาและวิมุตติอันเป็นเครื่องถอนมานานุสัย
ความดำรินั้นของเราสำเร็จแล้ว
ฉัฏฐวรรค จบ

รวมเรื่องพระเถระที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. พระโคธิกเถระ ๒. พระสุพาหุเถระ
๓. พระวัลลิยเถระ ๔. พระอุตติยเถระ
๕. พระอัญชนวนิยเถระ ๖. พระกุฏิวิหารีเถระ
๗. พระทุติยกุฏิวิหารีเถระ ๘. พระรมณียกุฏิกเถระ
๙. พระโกสัลลวิหารีเถระ ๑๐. พระสีวลีเถระ

๗. สัตตมวรรค
หมวดที่ ๗
๑. วัปปเถรคาถา
ภาษิตของพระวัปปเถระ
ทราบว่า ท่านพระวัปปเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๖๑] ผู้เห็นธรรมย่อมเห็นทั้งผู้เห็นธรรมและผู้ไม่เห็นธรรม
ผู้ไม่เห็นธรรมย่อมไม่เห็นทั้งผู้ไม่เห็นธรรมและผู้เห็นธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑. เอกกนิบาต] ๗. สัตตวรรค ๔. วิมลโกณฑัญญเถรคาถา
๒. วัชชีปุตตกเถรคาถา
ภาษิตของพระวัชชีบุตรเถระ
ทราบว่า ท่านพระวัชชีบุตรเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๖๒] เราอยู่ในป่าแต่ผู้เดียว เหมือนกับท่อนไม้ที่เขาทิ้งไว้ในป่า
คนหมู่มากปรารถนาจะเป็นเช่นอย่างเรา
เหมือนสัตว์นรกพากันปรารถนาผู้ไปสวรรค์

๓. ปักขเถรคาถา
ภาษิตของพระปักขเถระ
ทราบว่า ท่านพระปักขเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๖๓] ชิ้นเนื้อพลัดหลุดจากปากเหยี่ยว
เหยี่ยวติดใจในชิ้นเนื้อนั้นก็หวนกลับมาโฉบเอาอีก
นิพพานที่น่ารื่นรมย์ซึ่งพระอริยเจ้ายินดีแล้วเป็นความสุขโดยส่วนเดียว
มีความสุขซึ่งเกิดจากผลสมาบัติติดตามมา
เป็นกิจที่เราทำเสร็จแล้ว

๔. วิมลโกณฑัญญเถรคาถา
ภาษิตของพระวิมลโกญญเถระ
ทราบว่า ท่านพระวิมลโกณฑัญญเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๖๔] ภิกษุผู้เกิดจากนางทุมะ๑กับพระเจ้าปัณฑรเกตุ๒ผู้ครองเศวตฉัตร
ลดธง๓เสียได้ ใช้ธงชัยนั้นแหละ๔กำจัดมานะมีประการหลากหลาย
เป็นดุจลดธงผืนใหญ่ลงเสียได้

เชิงอรรถ :
๑ นางอัมพปาลี (ขุ.อิติ.อ. ๖๔/๒๒๗)
๒ พระเจ้าพิมพิสาร (ขุ.อิติ.อ. ๖๔/๒๒๗)
๓ มานะ (ขุ.อิติ.อ. ๖๔/๒๒๘)
๔ ปัญญานั้นแหละ (ขุ.อิติ.อ. ๖๔/๒๒๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑. เอกกนิบาต] ๗. สัตตวรรค ๗. เอกธัมมสวนิยเถรคาถา
๕. อุกเขปกตวัจฉเถรคาถา
ภาษิตของพระอุกเขปกตวัจฉเถระ
ทราบว่า ท่านพระอุกเขปกตวัจฉเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๖๕] ภิกษุผู้นั่งสงบเสงี่ยม มีความปราโมทย์เป็นอย่างยิ่ง
ย่อมกล่าวพระพุทธพจน์ซึ่งท่านพระอุกเขปกตวัจฉเถระ
ท่องจนคล่องปากมาเป็นเวลาหลายปี แก่ชาวบ้านทั้งหลายได้

๖. เมฆิยเถรคาถา
ภาษิตของพระเมฆิยเถระ
ทราบว่า ท่านพระเมฆิยเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๖๖] พระมหาวีระผู้ถึงฝั่งธรรมทั้งปวงแล้ว
ได้ทรงพร่ำสอนเรา
เราฟังธรรมของพระพุทธองค์แล้ว มีสติ
อยู่ในสำนัก ได้บรรลุวิชชา ๓
เราได้ทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว

๗. เอกธัมมสวนิยเถรคาถา
ภาษิตของพระเอกธรรมสวนิยเถระ
ทราบว่า ท่านพระเอกธรรมสวนิยเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๖๗] เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว
เราถอนภพทั้งปวงได้แล้ว
การเวียนว่ายตายเกิดสิ้นไปแล้ว
บัดนี้ ไม่มีการเกิดอีก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑. เอกกนิบาต] ๗. สัตตวรรค ๑๐. ปุณณเถรคาถา
๘. เอกุทานิยเถรคาถา
ภาษิตของพระเอกุทานิยเถระ
ทราบว่า ท่านพระเอกุทานิยเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๖๘] ผู้มีจิตมั่นคง ไม่ประมาท
เป็นพระขีณาสพ ศึกษาทางแห่งความเป็นพระมุนี๑
ผู้คงที่ สงบ มีสติทุกขณะ ย่อมเป็นผู้ไม่เศร้าโศก

๙. ฉันนเถรคาถา
ภาษิตของพระฉันนเถระ
ทราบว่า ท่านพระฉันนเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๖๙] เราได้สดับธรรม มีรสลึก โอฬาร
ของพระผู้มีพระภาคผู้เป็นมหาสมณะ
ดำเนินตามแนวทางซึ่งพระผู้มีพระภาคผู้มีพระญาณอันประเสริฐคือ
พระสัพพัญญู๒ทรงแสดงไว้แล้ว เพื่อบรรลุอมตนิพพาน
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงรอบรู้ในทางเกษมจากโยคะ

๑๐. ปุณณเถรคาถา
ภาษิตของพระปุณณเถระ
ทราบว่า ท่านพระปุณณเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๗๐] ศีลเท่านั้นเป็นเลิศในโลกนี้
ส่วนผู้มีปัญญา เป็นผู้สูงสุดทั้งในหมู่มนุษย์และหมู่เทวดา
ชัยชนะจะมีได้ก็เพราะศีลและปัญญา
สัตตมวรรค จบ

เชิงอรรถ :
๑ ทางแห่งความเป็นมุนี ได้แก่ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ (ขุ.เถ.อ. ๑/๖๘/๒๓๙)
๒ รู้ทุกอย่าง (ขุ.เถร.อ. ๑/๖๙/๒๔๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑. เอกกนิบาต] ๘. อัฏฐมวรรค ๒. อาตุมเถรคาถา
รวมเรื่องพระเถระที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. พระวัปปเถระ ๒. พระวัชชีบุตรเถระ
๓. พระปักขเถระ ๔. พระวิมลโกณฑัญญเถระ
๕. พระอุกเขปกตวัจฉเถระ ๖. พระเมฆิยเถระ
๗. พระเอกธรรมสวนิยเถระ ๘. พระเอกุทานิยเถระ
๙. พระฉันนเถระ ๑๐. พระปุณณเถระ

๘. อัฏฐมวรรค
หมวดที่ ๘
๑. วัจฉปาลเถรคาถา
ภาษิตของพระวัจฉปาลเถระ
ทราบว่า ท่านพระวัจฉปาลเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๗๑] พระโยคาวจรมีปกติเห็นเนื้อความทั้งสุขุมและละเอียดยิ่งนัก
มีปัญญาฉลาดเฉียบแหลม ประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนอยู่เสมอ
ปฏิบัติตามศีลของพระพุทธเจ้าเป็นอาจิณ
พึงบรรลุนิพพานได้โดยไม่ยาก

๒. อาตุมเถรคาถา
ภาษิตของพระอาตุมเถระ
ทราบว่า ท่านพระอาตุมเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๗๒] ลำไผ่อ่อน แตกแขนง มีใบกิ่งก้านสาขาแล้ว
เป็นสิ่งที่ยากที่จะเขยื้อนถอนได้ ฉันใด
อาตมาก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อโยมแม่นำภรรยามาให้
ขอโยมแม่ได้โปรดยินยอมอาตมาเถิด
เพราะว่า บัดนี้ อาตมาเป็นบรรพชิตแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑. เอกกนิบาต] ๘. อัฏฐมวรรค ๕. สุสารทเถรคาถา
๓. มาณวเถรคาถา
ภาษิตของพระมาณวเถระ
ทราบว่า ท่านพระมาณวเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๗๓] เราได้พบเห็นคนแก่ คนเจ็บหนัก
และคนตายเมื่อถึงอายุขัย
หลังจากนั้นก็ละกามารมณ์อันเป็นที่น่าพึงใจเสียได้
จึงออกบวช

๔. สุยามนเถรคาถา
ภาษิตของพระสุยามนเถระ
ทราบว่า ท่านพระสุยามนเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๗๔] ความพอใจในกามคุณ ความคิดร้ายผู้อื่น
ความหดหู่ซึมเซา ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ
ทั้งความลังเลสงสัยย่อมไม่มีแก่ภิกษุโดยประการทั้งปวงเลย

๕. สุสารทเถรคาถา
ภาษิตของพระสุสารทเถระ
ทราบว่า ท่านพระสุสารทเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๗๕] การได้พบเห็นเหล่าสัตบุรุษผู้อบรมตนดีแล้วเป็นการดี
เป็นเหตุให้ตัดความสงสัยเสียได้
ทำความรู้ให้เจริญงอกงาม
เหล่าสัตบุรุษย่อมทำคนแม้ที่เป็นพาลให้กลายเป็นบัณฑิตได้
ฉะนั้น การสมาคมกับเหล่าสัตบุรุษจึงเป็นการดี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑. เอกกนิบาต] ๘. อัฏฐมวรรค ๘. เมณฑสิรเถรคาถา
๖. ปิยัญชหเถรคาถา
ภาษิตของพระปิยัญชหเถระ
ทราบว่า ท่านพระปิยัญชหเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๗๖] เมื่อเหล่าสัตว์หยิ่งผยองด้วยมานะเป็นต้น
พึงประพฤตินอบน้อมถ่อมตน
เมื่อเหล่าสัตว์ลดหย่อนความเพียรพยายาม
พึงช่วยเขาให้ตั้งอยู่ในความเพียรพยายาม
เมื่อเหล่าสัตว์อยู่อย่างผู้ไม่ประพฤติพรหมจรรย์
ก็พึงประพฤติพรหมจรรย์เสียเอง
เมื่อเหล่าสัตว์ยินดีในกามคุณ ตนก็ไม่พึงยินดี

๗. หัตถาโรหปุตตเถรคาถา
ภาษิตของพระหัตถาโรหบุตรเถระ
ทราบว่า ท่านพระหัตถาโรหบุตรเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๗๗] แต่ก่อนจิตนี้ได้ท่องเที่ยวไปในอารมณ์ต่าง ๆ
ตามความปรารถนา ตามความต้องการ ตามความสบาย
วันนี้ เราจะข่มจิตนั่นโดยอุบายอันแยบยล
เหมือนควาญช้างปราบพยศช้างตกมัน

๘. เมณฑสิรเถรคาถา
ภาษิตของพระเมณฑสิรเถระ
ทราบว่า ท่านพระเมณฑสิรเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๗๘] เราเมื่อยังไม่ได้ญาณที่เป็นเครื่องหยุดสังสารวัฏ๑
ต้องท่องเที่ยวไปสู่สังสารวัฏนับชาติไม่ถ้วน
กองทุกข์ของเราผู้มีความเกิดเป็นทุกข์ ได้พลัดตกไปแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ การเวียนว่ายตายเกิด (ขุ.เถร.อ. ๑/๗๘/๒๖๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑. เอกกนิบาต] รวมเรื่องพระเถระที่มีในวรรค
๙. รักขิตเถรคาถา
ภาษิตของพระรักขิตเถระ
ทราบว่า ท่านพระรักขิตเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๗๙] ราคะทั้งมวลเราก็ละได้แล้ว
โทสะทั้งมวลเราก็ถอนได้แล้ว
โมหะทั้งมวลของเราก็ไปปราศแล้ว
เราจึงเป็นผู้เย็นดับสนิทแล้ว

๑๐. อุคคเถรคาถา
ภาษิตของพระอุคคเถระ
ทราบว่า ท่านพระอุคคเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๘๐] กรรมที่เราได้ทำแล้ว
จะน้อยหรือมากก็ตาม
ทั้งมวลนั้นสิ้นสุดลงแล้ว
บัดนี้ ไม่มีการเกิดอีก
อัฏฐมวรรค จบ

รวมเรื่องพระเถระที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. พระวัจฉปาลเถระ ๒. พระอาตุมเถระ
๓. พระมาณวเถระ ๔. พระสุยามนเถระ
๕. พระสุสารทเถระ ๖. พระปิยัญชนเถระ
๗. พระหัตถาโรหบุตรเถระ ๘. พระเมณฑสิรเถระ
๙. พระรักขิตเถระ ๑๐. พระอุคคเถระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑. เอกกนิบาต] ๙. นวมวรรค ๓. สีหเถรคาถา
๙. นวมวรรค
หมวดที่ ๙
๑. สมิติคุตตเถรคาถา
ภาษิตของพระสมิติคุตตเถระ
ทราบว่า ท่านพระสมิติคุตตเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๘๑] เราได้เสวยบาปกรรมที่เราทำเอาไว้
ในชาติอื่น ๆ ในปางก่อน ในอัตภาพนี้เอง
เรื่องบาปกรรมอื่นจะไม่มีอีกต่อไป

๒. กัสสปเถรคาถา
ภาษิตของมารดากล่าวกับพระกัสสปเถระ
ทราบว่า โยมมารดาของท่านพระกัสสปเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๘๒] ลูกเอ๋ย ในทิศใด ๆ อาหารหาง่าย
ไร้โรคและปราศจากภัย จงไปในทิศนั้น ๆ เถิด
ขอเจ้าอย่าได้ประสบความเศร้าโศกเลย

๓. สีหเถรคาถา
ภาษิตของพระศาสดาที่ตรัสสอนพระสีหเถระ
ทราบว่า พระศาสดาทรงมีพุทธดำรัสสอนท่านพระสีหเถระอย่างนี้ว่า
[๘๓] สีหะ เธออย่าประมาทอยู่เลย
อย่าเกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน
จงบำเพ็ญกุศลธรรม
ละฉันทราคะในอัตภาพเสียให้ได้โดยพลันเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑. เอกกนิบาต] ๙. นวมวรรค ๖. นาคิตเถรคาถา
๔. นีตเถรคาถา
ภาษิตของพระศาสดาที่ตรัสสอนพระนีตเถระ
ทราบว่า พระศาสดาเมื่อจะประทานโอวาทแก่ท่านพระนีตเถระได้ตรัส
พระคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๘๔] คนทรามปัญญา เอาแต่นอนทั้งคืน
ชอบมั่วสุมกับหมู่พวกทั้งวัน
เมื่อไรจึงจะสิ้นทุกข์ได้

๕. สุนาคเถรคาถา
ภาษิตของพระสุนาคเถระ
ทราบว่า ท่านพระสุนาคเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๘๕] ผู้ฉลาดในนิมิตแห่งจิต รู้รสแห่งวิเวก
เพ่งพินิจอยู่ ฉลาดในการบริหารกรรมฐาน มีสติตั้งมั่น
พึงบรรลุนิรามิสสุข๑ได้

๖. นาคิตเถรคาถา
ภาษิตของพระนาคิตเถระ
ทราบว่า ท่านพระนาคิตเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๘๖] ทางแห่งลัทธิอื่น ๆ นอกจากพระพุทธศาสนานี้
ไม่ใช่ทางดำเนินไปสู่นิพพาน เหมือนอริยมรรคนี้เลย
พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระบรมครู
ทรงสั่งสอนภิกษุสงฆ์ไว้เองโดยประการฉะนี้
ดุจทรงชี้ให้เห็นผลมะขามป้อมที่ฝ่าพระหัตถ์

เชิงอรรถ :
๑ นิพพาน (ขุ.เถร.อ. ๑/๘๕/๒๘๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑. เอกกนิบาต] ๙. นวมวรรค ๙. (ปฐม)เทวสภเถรคาถา
๗. ปวิฏฐเถรคาถา
ภาษิตของพระปวิฏฐเถระ
ทราบว่า ท่านพระปวิฏฐเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๘๗] ขันธ์ ๕ เราเห็นแล้วตามความเป็นจริง
ภพทั้งปวงเราทำลายได้แล้ว
การเวียนว่ายตายเกิดก็สิ้นไปแล้ว
บัดนี้ ไม่มีการเกิดอีก

๘. อัชชุนเถรคาถา
ภาษิตของพระอัชชุนเถระ
ทราบว่า ท่านพระอัชชุนเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๘๘] เราสามารถยกตนจากห้วงน้ำใหญ่คือสงสาร ขึ้นสู่บกคือนิพพาน
ได้ เหมือนคนที่ถูกพัดพาไปในห้วงน้ำใหญ่ช่วยขึ้นฝั่งได้
เราได้รู้แจ้งตลอดอริยสัจ ๔ แล้ว

๙. (ปฐม)เทวสภเถรคาถา
ภาษิตของพระ(ปฐม)เทวสภเถระ
ทราบว่า ท่านพระ(ปฐม)เทวสภเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๘๙] เราข้ามพ้นกามราคะดุจเปือกตม
และฉันทราคะดุจหล่มมาได้แล้ว
เราละทิฏฐิเสมือนบาดาลได้ขาดแล้ว
เราพ้นจากโอฆะและกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งหลายได้แล้ว
และมานะทั้งมวลเรากำจัดได้แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑. เอกกนิบาต] ๑๐. ทสมวรรค ๑. ปริปุณณกเถรคาถา
๑๐. สามิทัตตเถรคาถา
ภาษิตของพระสามิทัตตเถระ
ทราบว่า ท่านพระสามิทัตตเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๙๐] ขันธ์ ๕ เรากำหนดรู้แล้ว
ขันธ์เหล่านั้นดำรงอยู่อย่างถูกตัดรากถอนโคนแล้ว
การเวียนว่ายตายเกิดสิ้นไปแล้ว
บัดนี้ไม่มีการเกิดอีก
นวมวรรค จบ

รวมเรื่องพระเถระที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. พระสมิติคุตตเถระ ๒. พระกัสสปเถระ
๓. พระสีหเถระ ๔. พระนีตเถระ
๕. พระสุนาคเถระ ๖. พระนาคิตเถระ
๗. พระปวิฏฐเถระ ๘. พระอัชชุนเถระ
๙. พระ(ปฐม)เทวสภเถระ ๑๐. พระสามิทัตตเถระ

๑๐. ทสมวรรค
หมวดที่ ๑๐
๑. ปริปุณณกเถรคาถา
ภาษิตของพระปริปุณณเถระ
ทราบว่า ท่านพระปริปุณณกเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๙๑] สุธาโภชน์๑มีรสนับร้อยที่เราบริโภคแล้ว
ยังไม่เทียบเท่านิพพานสุขที่เราได้บรรลุในวันนี้
เพราะนิพพานธรรมนั้นเป็นธรรมอันพระโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้ทรงเห็นนิพพานอันอะไรกำหนดมิได้ทรงแสดงไว้แล้ว

เชิงอรรถ :
๑ ข้าวที่สะอาดบริสุทธิ์ซึ่งเป็นอาหารของเทวดา (ขุ.เถร.อ. ๑/๙๑/๒๙๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑. เอกกนิบาต] ๑๐. ทสมวรรค ๔. เมตตชิเถรคาถา
๒. วิชยเถรคาถา
ภาษิตของพระวิชยเถระ
ทราบว่า ท่านพระวิชยเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๙๒] ท่านผู้สิ้นอาสวะแล้ว ไม่ติดในอาหาร
มีสุญญตวิโมกข์๑ อนิมิตตวิโมกข์๒ และอัปปณิหิตวิโมกข์๓ ทั้ง ๓
เป็นอารมณ์ ไม่ทิ้งร่องรอยไว้ให้เป็นที่รู้ได้ เหมือนนกไม่ทิ้งร่องรอย
ไว้ในอากาศ

๓. เอรกเถรคาถา
ภาษิตของพระเอรกเถระ
ทราบว่า ท่านพระเอรกเถระได้กล่าวซ้ำคาถาที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วนั่นแล
ดังนี้ว่า
[๙๓] เอรกะ กามมีแต่ทุกข์ กามไม่มีสุขเลย
ผู้ที่ยินดีในกาม ชื่อว่าใฝ่ทุกข์
ผู้ที่ไม่ยินดีในกาม ชื่อว่าไม่ใฝ่ทุกข์

๔. เมตตชิเถรคาถา
ภาษิตของพระเมตตชิเถระ
ทราบว่า ท่านพระเมตตชิเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๙๔] ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคศากยบุตรผู้ทรงพระสิริ
พระองค์นั้น พระองค์ผู้ทรงบรรลุสัพพัญญุตญาณอันเลิศ
ทรงแสดงนวโลกุตตรธรรม๔อันเลิศนี้ไว้เป็นอย่างดี

เชิงอรรถ :
๑ สุญญตวิโมกข์ ความหลุดพ้นด้วยความว่างเพราะไม่มีกิเลสมีราคะเป็นต้น
๒ อนิมิตตวิโมกข์ ความหลุดพ้นเพราะไม่ถือนิมิตในสังขารเป็นต้น
๓ อัปปณิหิตวิโมกข์ ความหลุดพ้นเพราะไม่มีนิมิตที่จะถือเอาด้วยอำนาจราคะเป็นต้น (ขุ.เถร.อ. ๑/๙๒/๓๐๐)
๔ ธรรมเหนือโลก ๙ อย่าง (มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑) (ขุ.เถร.อ. ๑/๙๔/๓๐๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑. เอกกนิบาต] ๑๐. ทสมวรรค ๗. ติสสเถรคาถา
๕. จักขุปาลเถรคาถา
ภาษิตของพระจักขุบาลเถระ
ทราบว่า ท่านพระจักขุบาลเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๙๕] เรามีนัยน์ตาพิการ ตาบอด
เดินทางไกลทุรกันดาร
ถึงจะต้องนอนเกลือกกลิ้งอยู่บนพื้นดิน
ก็จะไม่ร่วมทางไปกับคนชั่วช้า

๖. ขัณฑสุมนเถรคาถา
ภาษิตของพระขัณฑสุมนเถระ
ทราบว่า ท่านพระขัณฑสุมนเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๙๖] เพราะบริจาคดอกไม้ดอกเดียวแท้ ๆ
เราจึงรับการบำเรออยู่ในแดนสวรรค์ถึง ๘๐๐ ล้านปี
ด้วยเศษกุศลธรรมแห่งการบริจาคนั้น
ได้บรรลุนิพพานแล้ว

๗. ติสสเถรคาถา
ภาษิตของพระติสสเถระ
ทราบว่า ท่านพระติสสเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๙๗] เราละทิ้งจานทองคำลวดลายวิจิตร
มีค่านับร้อยปละ๑มาใช้บาตรดินแทน
นี้เป็นการอภิเษกครั้งที่ ๒

เชิงอรรถ :
๑ ๑ ปละ = ๔ ออนซ์ (A.P. Buddhadatta mahathera PALi-Engilsh Dictionary หน้า ๑๗๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑. เอกกนิบาต] ๑๐. ทสมวรรค ๑๐. (ทุติย)เทวสภเถรคาถา
๘. อภัยเถรคาถา
ภาษิตของพระอภัยเถระ
ทราบว่า ท่านพระอภัยเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๙๘] เมื่อเห็นรูป มัวใส่ใจถึงอารมณ์อันเป็นที่รักอยู่
ย่อมหลงลืมสติได้ ผู้ที่มีจิตกำหนัดนัก ยังเสวยรูปารมณ์อยู่
รูปารมณ์นั้นย่อมผูกพันเขาไว้
และอาสวะทั้งหลายย่อมเจริญแก่เขาผู้เข้าถึงมูลแห่งภพ

๙. อุตติยเถรคาถา
ภาษิตของพระอุตติยเถระ
ทราบว่า ท่านพระอุตติยเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๙๙] เมื่อบุคคลฟังเสียงแล้ว มัวใส่ใจถึงอารมณ์อันเป็นที่รักอยู่
ย่อมหลงลืมสติได้
ผู้ที่มีจิตกำหนัดนักยังเสวยสัททารมณ์อยู่
สัททารมณ์นั้นย่อมผูกพันเขาไว้
และอาสวะทั้งหลายย่อมเจริญแก่เขาผู้เข้าถึงสังสารวัฏ

๑๐. (ทุติย)เทวสภเถรคาถา
ภาษิตของพระ(ทุติย)เทวสภเถระ
ทราบว่า ท่านพระ(ทุติย)เทวสภเถระได้ล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๑๐๐] ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรชอบ
มีสติปัฏฐานเป็นอารมณ์๑
ทั้งประดับประดาด้วยดอกไม้คือวิมุตติ
ไม่ช้าเลย จะเป็นผู้หมดอาสวะ ปรินิพพาน
ทสมวรรค จบ

เชิงอรรถ :
๑ จิตตั้งมั่นอยู่ในที่ตั้งของสติ ๔ อย่าง คือ (กาย เวทนา จิต ธรรม) (ขุ.เถร.อ. ๑/๑๐๐/๓๑๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑. เอกกนิบาต] ๑๑. เอกาทสวรรค ๒. เสตุจฉเถรคาถา
รวมเรื่องพระเถระที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. พระปริปุณณกเถระ ๒. พระวิชยเถระ
๓. พระเอรกเถระ ๔. พระเมตตชิเถระ
๕. พระจักขุปาลเถระ ๖. พระขัณฑสุมนเถระ
๗. พระติสสเถระ ๘. พระอภัยเถระ
๙. พระอุตติยเถระ ๑๐. พระ(ทุติย)เทวสภเถระ

เอกาทสมวรรค
หมวดที่ ๑๑
๑. เพลัฏฐกานิเถรคาถา
ภาษิตของพระเพลัฏฐกานิเถระ
ทราบว่า ท่านพระเพลัฏฐกานิเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๑๐๑] เธอละเพศคฤหัสถ์มาบวชแล้ว ยังไม่ทันเสร็จกิจเลย
ก็มีปากกล้าเหมือนไถ เห็นแก่ปากแก่ท้อง ทั้งเกียจคร้าน
ซึมเซา เหมือนสุกรอ้วนที่เขาขุนด้วยเศษอาหาร
ย่อมเข้าถึงการเกิดบ่อย ๆ

๒. เสตุจฉเถรคาถา
ภาษิตของพระเสตุจฉเถระ
ทราบว่า ท่านพระเสตุจฉเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๑๐๒] ชนทั้งหลายที่ยังถูกมานะหลอกลวง
เศร้าหมองในสังขารทั้งหลาย
ถูกลาภและความเสื่อมลาภครอบงำได้
ย่อมบรรลุสมาธิไม่ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑. เอกกนิบาต] ๑๑. เอกาทสวรรค ๖. สุเหมันตเถรคาถา
๓. พันธุรเถรถาคา
ภาษิตของพระพันธุรเถระ
ทราบว่า ท่านพระพันธุรเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๑๐๓] ลาภคืออามิสนั่นเราไม่ต้องการ
เรามีความสุขพอแล้ว อิ่มเอิบด้วยรสพระธรรม
ครั้นได้ดื่มรสอันล้ำเลิศแล้ว
ก็จะไม่ขอทำความใกล้ชิดกับรสอย่างอื่นที่เป็นพิษ

๔. ขิตกเถรคาถา
ภาษิตของพระขิตกเถระ
ทราบว่า ท่านพระขิตกเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๑๐๔] กายของเราที่ได้สัมผัสกับสุขอันมีปีติมาก
เป็นกายเบาหนอ ย่อมลอยไปได้เหมือนปุยนุ่นที่ปลิวไปตามลม

๕. มลิตวัมภเถรคาถา
ภาษิตของพระมลิตวัมภเถระ
ทราบว่า ท่านพระมลิตวัมภเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๑๐๕] เราเกิดกระสันขึ้นในที่ใด จะไม่อยู่ในที่นั้น
ถึงจะยินดีอย่างนั้น ก็พึงหลีกไปเสีย
ส่วนผู้มีปัญญาไม่พึงอยู่ประจำสถานที่ที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์เลย

๖. สุเหมันตเถรคาถา
ภาษิตของพระสุเหมันตเถระ
ทราบว่า ท่านพระสุเหมันตเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๑๐๖] เนื้อความที่มีความหมายตั้งร้อย มีลักษณะถึงร้อย
คนโง่เห็นได้ลักษณะเดียวเท่านั้น ส่วนคนฉลาดเห็นได้ทั้งร้อยอย่าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑. เอกกนิบาต] ๑๑. เอกาทสวรรค ๙. สังฆรักขิตเถรคาถา
๗. ธัมมสังวรเถรคาถา
ภาษิตของพระธรรมสังวรเถระ
ทราบว่า ท่านพระธัมมสังวรเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๑๐๗] เราใช้ปัญญาพิจารณาแล้ว
จึงออกจากเรือนบวช บรรลุวิชชา ๓
ได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว

๘. ธัมมสฏปิตุเถรคาถา
ภาษิตของพระธรรมสฏปิตุเถระ
ทราบว่า ท่านพระธัมมสฏปิตุเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๑๐๘] เรานั้นอายุได้ ๑๒๐ ปี
จึงได้ออกบวชเป็นบรรพชิต บรรลุวิชชา ๓
ได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว

๙. สังฆรักขิตเถรคาถา
ภาษิตของพระสังฆรักขิตเถระ
ทราบว่า ท่านพระสังฆรักขิตเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๑๐๙] ภิกษุผู้อยู่ในที่สงัดรูปนี้เห็นจะไม่คำนึงถึง
คำสอนของพระผู้มีพระภาค
ผู้ทรงอนุเคราะห์สัตว์โลกด้วยประโยชน์สูงสุดเป็นแน่
เพราะเหตุนั้นแล จึงไม่สำรวมอินทรีย์อยู่
เหมือนแม่เนื้อลูกอ่อนในป่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑. เอกกนิบาต] ๑๒. ทวาททสมวรรค ๑. เชนตเถรคาถา
๑๐. อุสภเถรคาถา
ภาษิตของพระอุสภเถระ
ทราบว่า ท่านพระอุสภเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๑๑๐] พฤกษชาติทั้งหลายบนยอดเขาที่ฝนตกรดใหม่ ๆ
งอกงามเต็มที่แล้ว ย่อมให้เกิดภาวะที่จิตควรแก่ภาวนาเพิ่มขึ้นแก่
เราผู้ชื่อว่าอุสภะ ซึ่งยังต้องการความสงัด เห็นความสำคัญในป่า
เอกาทสมวรรค จบ

รวมเรื่องพระเถระที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. พระเพลัฏฐกานิเถระ ๒. พระเสตุจฉเถระ
๓. พระพันธุรเถระ ๔. พระขิตกเถระ
๕. พระมลิตวัมภเถระ ๖. พระสุเหมันตเถระ
๗. พระธรรมสังวรเถระ ๘. พระธรรมสฏปิตุเถระ
๙. พระสังฆรักขิตเถระ ๑๐. พระอุสภเถระ

๑๒. ทวาทสมวรรค
หมวดที่ ๑๒
๑. เชนตเถรคาถา
ภาษิตของพระเชนตเถระ
ทราบว่า ท่านพระเชนตเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๑๑๑] การบวชเป็นของยากแท้
เรือนมีการอยู่ครองได้ยาก
ธรรมก็ลึกซึ้ง โภคะทั้งหลายก็หาได้ยาก
การเป็นอยู่ของพวกเราตามมีตามได้ก็ฝืดเคือง
ดังนั้น จึงควรที่จะคิดถึงความไม่แน่นอนอยู่เสมอ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑. เอกกนิบาต] ๑๒. ทวาททสมวรรค ๔. อธิมุตตเถรคาถา
๒. วัจฉโคตตเถรคาถา
ภาษิตของพระวัจฉโคตตเถระ
ทราบว่า พระวัจฉโคตตเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๑๑๒] เราซึ่งได้วิชชา ๓ มักเพ่งถึงนิพพานอันเป็นธรรมประณีต
ฉลาดในอุบายสำหรับสงบใจ
ได้บรรลุประโยชน์ตน
ได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว

๓. วนวัจฉเถรคาถา
ภาษิตของพระวนวัจฉเถระ
ทราบว่า ท่านพระวนวัจฉเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๑๑๓] ภูเขาหินอันกว้างใหญ่ไพศาล
มีน้ำไหลใสสะอาด
มีฝูงค่างและฝูงเนื้อฟานคลาคล่ำ
ดารดาษไปด้วยน้ำและสาหร่ายเหล่านั้น
ย่อมทำให้เรารื่นรมย์ใจยิ่งนัก

๔. อธิมุตตเถรคาถา
ภาษิตของพระอธิมุตตเถระ
ทราบว่า ท่านพระอธิมุตตเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๑๑๔] ภิกษุผู้ขวนขวายในการบำรุงร่างกาย
ยังติดสุขอยู่ทางร่างกาย
เมื่อสิ้นชีวิตโดยพลัน
จะมีความเป็นสมณะที่ดีได้ที่ไหน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑. เอกกนิบาต] ๑๒. ทวาททสมวรรค ๗. ยสเถรคาถา
๕. มหานามเถรคาถา
ภาษิตของพระมหานามเถระ
ทราบว่า ท่านพระมหานามเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๑๑๕] (มหานาม)ท่านนี้กำลังจะเสื่อมประโยชน์เพราะภูเขาเนสาทกะ
อันมากไปด้วยหมู่ต้นโมกมันและต้นอ้อยช้าง
เป็นขุนเขาที่สมบูรณ์ด้วยร่มเงาและน้ำ
ปกคลุมไปด้วยพุ่มไม้และเถาวัลย์นานาพันธุ์

๖. ปาราปริยเถรคาถา
ภาษิตของพระปาราปริยเถระ
ทราบว่า ท่านพระปาราปริยเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๑๑๖] เราละผัสสายตนะ ๖ ได้แล้ว
คุ้มครองสำรวมระวังทวาร ๖ ด้วยดี
กำจัดสรรพกิเลสอันเป็นมูลรากแห่งวัฏฏทุกข์ได้หมดแล้ว
จึงหมดสิ้นอาสวะ

๗. ยสเถรคาถา
ภาษิตของพระยสเถระ
ทราบว่า ท่านพระยสเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๑๑๗] เราลูบไล้ดีแล้ว นุ่งห่มดีแล้ว
ประดับด้วยเครื่องอาภรณ์ทุกชนิด
บรรลุวิชชา ๓
ได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑. เอกกนิบาต] ๑๒. ทวาททสมวรรค ๑๐. อิสิทัตตเถรคาถา
๘. กิมพิลเถรคาถา
ภาษิตของพระกิมพิลเถระ
ทราบว่า ท่านพระกิมพิลเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๑๑๘] วัยย่อมร่วงโรยไปเร็วนัก
รูปที่เป็นอยู่อย่างนั้นย่อมปรากฏแก่เรา เหมือนกับสิ่งอื่น ๆ
เราระลึกถึงร่างกายของเราผู้อยู่ไม่ปราศจากสติ
เหมือนกับร่างกายของผู้อื่น

๙. วัชชีปุตตเถรคาถา
ภาษิตของพระวัชชีบุตรเถระ
ทราบว่า ท่านพระวัชชีบุตรเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๑๑๙] ท่านพระอานนท์โคตมโคตร ท่านจงเข้าไปยังสุมทุมพุ่มไม้
กำหนดนิพพานไว้ในใจ เพ่งฌานไปเถิด และอย่าประมาท
เสียงวิพากษ์วิจารณ์ของคนจะช่วยอะไรท่านได้

๑๐. อิสิทัตตเถรคาถา
ภาษิตของพระอิสิทัตตเถระ
ทราบว่า ท่านพระอิสิทัตตเถระได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า
[๑๒๐] ขันธ์ ๕ เรากำหนดรู้แล้ว
ขันธ์เหล่านั้นดำรงอยู่อย่างถูกตัดรากถอนโคนแล้ว
ความสิ้นทุกข์เราได้บรรลุแล้ว
เราได้ถึงความสิ้นอาสวะแล้ว
ทวาทสมวรรค จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑. เอกกนิบาต] ๑๒. ทวาททสมวรรค รวมเรื่องพระเถระที่มีในวรรค
รวมเรื่องพระเถระที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. พระเชนตเถระ ๒. พระวัจฉโคตตเถระ
๓. พระวนวัจฉเถระ ๔. พระอธิมุตตเถระ
๕. พระมหานามเถระ ๖. พระปาราปริยเถระ
๗. พระยสเถระ ๘. พระกิมพิลเถระ
๙. พระวัชชีบุตรเถระ ๑๐. พระอิสิทัตตเถระ

เอกกนิบาต จบ

รวมหัวข้อที่มีในเอกกนิบาต
ในเอกกนิบาตนี้แหละ ท่านผู้หวังประโยชน์ส่วนใหญ่
รวบรวมพระเถระผู้ทำกิจที่ควรทำสำเร็จแล้ว หาอาสวะมิได้
ได้ ๑๒๐ รูป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๒. ทุกนิบาต] ๑. ปฐมวรรค ๒. ปิณโฑลภารทวาชเถรคาถา
๒. ทุกนิบาต
๑. ปฐมวรรค
หมวดที่ ๑
๑. อุตตรเถรคาถา
ภาษิตของพระอุตตรเถระ
ทราบว่า ท่านพระอุตตรเถระได้กล่าว ๒ คาถาไว้ดังนี้ว่า
[๑๒๑] ภพที่เที่ยงสักภพก็ไม่มี หรือแม้สังขารที่เที่ยงก็ไม่มี
ขันธ์เหล่านั้นย่อมเวียนเกิดและเวียนดับไป
[๑๒๒] เรารู้โทษอย่างนี้แล้ว จึงไม่มีความต้องการภพ
สลัดออกจากกามทุกอย่าง ได้ถึงความสิ้นอาสวะแล้ว

๒. ปิณโฑลภารทวาชเถรคาถา
ภาษิตของพระปิณโฑลภารทวาชเถระ
ทราบว่า ท่านพระปิณโฑลภารทวาชเถระได้กล่าว ๒ คาถาไว้ดังนี้ว่า
[๑๒๓] ชีวิตของเรานี้ หาเป็นไปโดยไม่สมควรไม่
อาหารทำใจให้สงบไม่ได้
แต่เราเห็นว่าร่างกายดำรงอยู่ได้เพราะอาหาร
จึงได้เที่ยวแสวงหาอาหารโดยทางที่ชอบ
[๑๒๔] ด้วยว่า นักปราชญ์มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น
ได้กล่าวการไหว้ และการบูชาในตระกูลทั้งหลายว่า
เป็นเปือกตม เป็นลูกศรอันละเอียดซึ่งถอนขึ้นได้ยาก
เป็นสักการะที่คนชั่วละได้ยาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๒. ทุกนิบาต]๑. ปฐมวรรค ๕. อชินเถรคาถา
๓. วัลลิยเถรคาถา
ภาษิตของพระวัลลิยเถระ
(พระวัลลิยเถระเมื่อจะพยากรณ์พระอรหัต จึงได้กล่าว ๒ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๑๒๕] ลิงเข้าไปในกระท่อมมี ๕ ประตู
พยายามเวียนเข้าออกทางประตูเนือง ๆ
[๑๒๖] จงหยุดนิ่ง อย่าวิ่งไปนะเจ้าลิง
เพราะเจ้าอาศัยเรือนคืออัตภาพไม่ได้ เหมือนดังกาลก่อน
เจ้าถูกเราข่มไว้ด้วยปัญญาแล้ว จักไปไกลไม่ได้เลย

๔. คังคาตีริยเถรคาถา
ภาษิตของพระคังคาตีริยเถระ
(พระคังคาตีริยเถระเมื่อจะพยากรณ์พระอรหัต จึงได้กล่าว ๒ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๑๒๗] เราสร้างกระท่อมด้วยใบตาล ๓ ใบ อยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำคงคา
บาตรของเราเหมือนหม้อสำหรับตักน้ำนมรดศพ
และจีวรของเราเป็นผ้าบังสุกุล
[๑๒๘] ในระหว่าง ๒ พรรษา เราพูดเพียงคำเดียว
ระหว่างพรรษาที่ ๓ เราทำลายกองความมืดได้แล้ว๑

๕. อชินเถรคาถา
ภาษิตของพระอชินเถระ
(พระอชินเถระเมื่อจะให้ภิกษุทั้งหลายสังเวช จึงได้กล่าว ๒ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๑๒๙] ถึงแม้ว่าบุคคลจะมีวิชชา ๓ ละมัจจุราชได้ ไม่มีอาสวะ
คนพาลทั้งหลายที่ไม่มีความรู้ย่อมดูหมิ่นบุคคลนั้นว่า
เป็นผู้ไม่มีชื่อเสียง

เชิงอรรถ :
๑ ทำลายอวิชชาได้ด้วยอริยมรรค (ขุ.เถ.อ. ๑/๑๒๘/๓๘๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๒. ทุกนิบาต] ๑. ปฐมวรรค ๘. สุราธเถรคาถา
[๑๓๐] ส่วนบุคคลใดในโลกนี้เป็นผู้มักได้ข้าวและน้ำ
ถึงแม้ว่าบุคคลนั้นจะเป็นคนชั่วช้าเลวทราม
ก็เป็นที่สักการะนับถือของพวกเขา

๖. เมฬชินเถรคาถา
ภาษิตของพระเมฬชินเถระ
(พระเมฬชินเถระเมื่อจะบันลือสีหนาท จึงได้กล่าว ๒ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๑๓๑] เมื่อใด เราได้ฟังธรรมของพระศาสดาผู้ทรงแสดงอยู่
เมื่อนั้น เรารู้ธรรมทั้งปวง
จึงไม่รู้สึกสงสัยในพระศาสดาที่ใคร ๆ ชนะไม่ได้
[๑๓๒] ซึ่งเป็นผู้นำหมู่ แกล้วกล้าเป็นอันมาก
ประเสริฐเลิศกว่าสารถีทั้งหลาย
เราไม่มีความสงสัยในมรรคหรือข้อปฏิบัติ

๗. ราธเถรคาถา
ภาษิตของพระราธเถระ
(พระราธเถระเมื่อจะชมเชยภาวนา จึงได้กล่าว ๒ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๑๓๓] เรือนที่มุงไม่ดี ฝนย่อมรั่วรดได้ ฉันใด
จิตที่ไม่ได้อบรม ราคะย่อมรั่วรดได้ ฉันนั้น
[๑๓๔] เรือนที่มุงดีแล้ว ฝนย่อมรั่วรดไม่ได้ ฉันใด
จิตที่อบรมดีแล้ว ราคะก็รั่วรดไม่ได้ ฉันนั้น

๘. สุราธเถรคาถา
ภาษิตของพระสุราธเถระ
(พระสุราธเถระเมื่อจะพยากรณ์พระอรหัต จึงได้กล่าว ๒ คาถาไว้ดังนี้ว่า)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๒. ทุกนิบาต] ๑. ปฐมวรรค ๑๐. วสภเถรคาถา
[๑๓๕] ด้วยว่าชาติของเราสิ้นไปแล้ว
คำสั่งสอนของพระชินเจ้าเราอยู่จบแล้ว
ทิฏฐิและอวิชชาคือข่ายเราละได้แล้ว
ตัณหานำไปสู่ภพเราก็ถอนได้แล้ว
[๑๓๖] เราออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเพื่อประโยชน์ใด
ประโยชน์นั้นเราได้บรรลุแล้ว
ความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ทั้งปวงเราก็ได้บรรลุแล้ว

๙. โคตมเถรคาถา
ภาษิตของพระโคตมเถระ
(พระโคตมเถระเมื่อจะพยากรณ์พระอรหัต จึงได้กล่าว ๒ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๑๓๗] มุนีทั้งหลายผู้ไม่พัวพันในเหล่าสตรีทั้งหลายย่อมนอนเป็นสุข
เหล่าสตรีที่หาสัจจะได้ยากแสนยาก
บุรุษต้องคอยระแวดระวังตลอดกาลทุกเมื่อ
[๑๓๘] กาม เราได้ประพฤติเพื่อฆ่าเจ้าได้แล้ว
บัดนี้ เราจึงไม่เป็นหนี้เจ้า
เดี๋ยวนี้เราบรรลุนิพพานที่บุคคลไปแล้วไม่เศร้าโศก

๑๐. วสภเถรคาถา
ภาษิตของพระวสภเถระ
(พระวสภเถระเมื่อจะติเตียนความปรารถนาเลวทราม จึงได้กล่าว ๒ คาถาไว้
ดังนี้ว่า)
[๑๓๙] บุคคลผู้ลวงโลกย่อมฆ่าตนก่อน ภายหลังจึงฆ่าผู้อื่น
บุคคลผู้ลวงโลกนั้นย่อมฆ่าตนได้ง่าย
เหมือนนายพรานนกหาอุบายฆ่านกด้วยนกต่อ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๒. ทุกนิบาต] ๒. ทุติยวรรค ๑. มหาจุนทเถรคาถา
[๑๔๐] ท่านสุชัมบดี บุคคลผู้มีวรรณะภายนอก๑ไม่ชื่อว่าเป็นพราหมณ์
เพราะพราหมณ์ต้องมีวรรณะภายใน
ผู้ใดมีกรรมชั่ว ผู้นั้นแลเป็นคนชั้นต่ำ
ปฐมวรรค จบ

รวมเรื่องพระเถระที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. พระอุตตรเถระ ๒. พระปิณโฑลภารทวาชเถระ
๓. พระวัลลิยเถระ ๔. พระคังคาตีริยเถระ
๕. พระอชินเถระ ๖. พระเมฬชินเถระ
๗. พระราธเถระ ๘. พระสุราธเถระ
๙. พระโคตมเถระ ๑๐. พระวสภเถระ ล้วนมีฤทธิ์มาก

๒. ทุติยวรรค
หมวดที่ ๒
๑. มหาจุนทเถรคาถา
ภาษิตของพระมหาจุนทเถระ
(พระมหาจุนทเถระเมื่อจะสรรเสริญอุปนิสัยที่หนักแน่นและการอยู่อย่างสงัด
จึงได้กล่าว ๒ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๑๔๑] การฟังด้วยดีเป็นเหตุให้การศึกษาเจริญ
การศึกษาเป็นเหตุให้ปัญญาเจริญ
บุคคลรู้ประโยชน์ได้ก็เพราะปัญญา
ประโยชน์ที่บุคคลรู้แล้วนำความสุขมาให้

เชิงอรรถ :
๑ วรรณะ คือ คุณสมบัติมีศีลเป็นต้น (ขุ.เถร.อ. ๑/๑๔๐/๔๐๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๒. ทุกนิบาต] ๒. ทุติยวรรค ๓. เหรัญญิกานิเถรคาถา
[๑๔๒] ภิกษุพึงใช้เสนาสนะที่สงัด
พึงประพฤติธรรมที่เป็นเหตุให้หลุดพ้นจากสังโยชน์
ถ้ายังไม่ประสบความยินดีในเสนาสนะที่สงัดและโมกขธรรมนั้น
ก็ควรเป็นผู้มีสติรักษาตนอยู่ในหมู่

๒. โชติทาสเถรคาถา
ภาษิตของพระโชติทาสเถระ
(พระโชติทาสเถระเมื่อจะสอนพวกญาติผู้ถือความบริสุทธิ์ภายนอกในลัทธิต่าง ๆ
จึงได้กล่าว ๒ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๑๔๓] ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งผู้มีความพยายามร้ายกาจ
เบียดเบียนมนุษย์ทั้งหลายด้วยการกระทำที่เจือไปด้วยความผลุน
ผลันก็ดี ด้วยการทำที่มีความประสงค์ต่าง ๆ กันก็ดี
แม้ชนเหล่านั้นก็ย่อมเกลี่ยตนลงในเหตุนั้นเหมือนกัน
เพราะกรรมย่อมไม่สูญหาย
[๑๔๔] คนทำกรรมใดไว้ ดีหรือชั่วก็ตาม
เขาย่อมเป็นผู้รับผลของกรรมนั้นที่ตนทำไว้โดยแท้

๓. เหรัญญิกานิเถรคาถา
ภาษิตของพระเหรัญญิกานิเถระ
(พระเหรัญญิกานิเถระเมื่อจะตักเตือนน้องชาย จึงได้กล่าว ๒ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๑๔๕] วันคืนผ่านพ้นไป ชีวิตย่อมดับไป
อายุของสัตว์ทั้งหลายย่อมสิ้นไป
เหมือนน้ำในแม้น้ำน้อยสิ้นไป
[๑๔๖] เมื่อเป็นเช่นนั้น คนพาลถึงทำบาปกรรมอยู่ก็ไม่รู้สึกตัว
ภายหลัง เขาได้รับทุกข์แสนสาหัส
เพราะบาปกรรมนั้นมีผลเลวทราม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๒. ทุกนิบาต] ๒. ทุติยวรรค ๖. มหากาลเถรคาถา
๔. โสมมิตตเถรคาถา
ภาษิตของพระโสมมิตตเถระ
(พระโสมมิตตเถระเมื่อจะคุกคามพระวิมลเถระด้วยโอวาท จึงได้กล่าว ๒ คาถา
ไว้ดังนี้ว่า)
[๑๔๗] บุคคลเกาะท่อนไม้เล็ก ๆ ย่อมจมลงในมหาสมุทร ฉันใด
บุคคลแม้มีความเป็นอยู่ดี อาศัยคนเกียจคร้าน
ก็จมลงในสังสารวัฏได้ ฉันนั้น
เพราะฉะนั้น บุคคลพึงเว้นคนเกียจคร้านมีความเพียรย่อหย่อนเสีย
[๑๔๘] บุคคลพึงอยู่ร่วมกับเหล่าบัณฑิตผู้สงัด เป็นอริยะ
ผู้มีใจเด็ดเดี่ยว เข้าฌานอยู่ ปรารภความเพียรเป็นนิตย์

๕. สัพพมิตตเถรคาถา
ภาษิตของพระสัพพมิตตเถระ
(พระสัพพมิตตเถระได้กล่าว ๒ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๑๔๙] คนเกี่ยวข้องกับคน คนยินดีกับคน
คนถูกคนเบียดเบียน และคนเบียดเบียนคน
[๑๕๐] จะต้องการอะไรด้วยคนสำหรับเขา หรือสิ่งที่คนให้เกิด
จงละคนที่เบียดเบียนคนเป็นอันมากไปเสีย

๖. มหากาลเถรคาถา
ภาษิตของพระมหากาลเถระ
(พระมหากาลเถระเมื่อจะกล่าวสอนตน จึงได้กล่าว ๒ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๑๕๑] นางกาฬีมีร่างกายใหญ่ ดำเหมือนกา หักขาซ้าย ขาขวา
แขนซ้าย แขนขวา และทุบศีรษะซากศพ
ดังทุบหม้อนมเปรี้ยว นั่งจัดให้เรียบร้อยอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๒. ทุกนิบาต] ๒. ทุติยวรรค ๘. กิมพิลเถรคาถา
[๑๕๒] ผู้ใด ไม่รู้แจ้ง ย่อมก่ออุปธิกิเลส
ผู้นั้นเป็นคนเขลา ย่อมประสบทุกข์อยู่ร่ำไป
เพราะฉะนั้น ผู้รู้แจ้ง ไม่ควรก่ออุปธิกิเลส
เราอย่าถูกทุบศีรษะนอนอยู่อย่างนี้อีกต่อไป

๗. ติสสเถรคาถา
ภาษิตของพระติสสเถระ
(พระติสสเถระเมื่อจะประกาศโทษในลาภสักการะและความที่ตนไม่ติดข้องอยู่
ในลาภสักการะนั้น จึงได้กล่าว ๒ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๑๕๓] ภิกษุโล้นครองผ้าสังฆาฏิ มักได้ ข้าว น้ำ ผ้า และที่นอน
ชื่อว่าได้ข้าศึกไว้มาก
[๑๕๔] ภิกษุรู้โทษในลาภสักการะว่า เป็นภัยใหญ่อย่างนี้แล้ว
ควรเป็นผู้มีลาภน้อย มีจิตไม่ชุ่มด้วยตัณหา มีสติ เว้นขาด

๘. กิมพิลเถรคาถา
ภาษิตของพระกิมพิลเถระ
(ท่านพระกิมพิลเถระเมื่อจะแสดงความอยู่ร่วมกันด้วยความสามัคคี จึงได้
กล่าว ๒ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๑๕๕] พระศากยบุตรทั้งหลายซึ่งเป็นสหายกันในปาจีนวังสทายวัน
พากันละทิ้งโภคะไม่น้อย มายินดีในการเที่ยวแสวงหาบิณฑบาต
[๑๕๖] ปรารภความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว
บากบั่นมุ่งมั่นเป็นนิตย์
ละความยินดีที่เป็นโลกิยะ
มายินดีอยู่ด้วยความยินดีในธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๒. ทุกนิบาต]๒. ทุติยวรรค ๑๐. สิริมเถรคาถา
๙. นันทเถรคาถา
ภาษิตของพระนันทเถระ
(พระนันทเถระเกิดความโสมนัส จึงได้กล่าว ๒ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๑๕๗] เรามัวประกอบการประดับตกแต่ง
มีจิตฟุ้งซ่านและกวัดแกว่ง
ถูกกามราคะรบกวน เพราะไม่ได้ทำโยนิโสมนสิการ๑
[๑๕๘] เราปฏิบัติโดยอุบายที่ชอบ
อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธ์พระอาทิตย์ผู้ฉลาดในอุบาย
ได้ทรงสั่งสอนแนะนำแล้ว
จึงถอนจิตในภพได้แล้ว

๑๐. สิริมเถรคาถา
ภาษิตของพระสิริมเถระ
(พระสิริมเถระเมื่อจะติเตียนความเป็นปุถุชน จึงได้กล่าว ๒ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๑๕๙] ถ้าตนมีจิตไม่ตั้งมั่น
แม้ชนเหล่าอื่นจะสรรเสริญ
ชนเหล่าอื่นก็สรรเสริญเปล่า
เพราะตนมีจิตไม่ตั้งมั่น
[๑๖๐] ถ้าตนมีจิตตั้งมั่นดีแล้ว
แม้ชนเหล่าอื่นจะติเตียน
ชนเหล่าอื่นก็ติเตียนเปล่า
เพราะตนมีจิตตั้งมั่นดีแล้ว
ทุติยวรรค จบ

เชิงอรรถ :
๑ การทำในใจโดยแยบคาย (การใช้ความคิดอย่างถูกวิธี)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๒. ทุกนิบาต] ๓. ตติยวรรค ๒. ภัททชิเถรคาถา
รวมเรื่องพระเถระที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. พระมหาจุนทเถระ ๒. พระโชติทาสเถระ
๓. พระเหรัญญิกานิเถระ ๔. พระโสมมิตตเถระ
๕. พระสัพพมิตตเถระ ๖. พระมหากาลเถระ
๗. พระติสสเถระ ๘. พระกิมพิลเถระ
๙. พระนันทเถระ ๑๐. พระสิริมเถระ

๓. ตติยวรรค
หมวดที่ ๓
๑. อุตตรเถรคาถา
ภาษิตของพระอุตตรเถระ
(พระอุตตรเถระเมื่อพยากรณ์พระอรหัต จึงได้กล่าว ๒ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๑๖๑] เรากำหนดรู้ขันธ์ทั้งหลายแล้ว ถอนตัณหาขึ้นได้ด้วยดี
ถึงโพชฌงค์เราเจริญแล้ว เราได้ถึงความสิ้นอาสวะแล้ว
[๑๖๒] ครั้นกำหนดรู้ขันธ์ทั้งหลายแล้ว ถอนตัณหาดุจข่ายได้
เจริญโพชฌงค์แล้ว จักเป็นผู้ไม่มีอาสวะนิพพาน

๒. ภัททชิเถรคาถา
ภาษิตของพระภัททชิเถระ
(พระภัททชิเถระสรรเสริญปราสาททองที่ตนเคยครอบครอง จึงได้กล่าว ๒
คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๑๖๓] พระราชาทรงพระนามว่าปนาทะ
มีปราสาททองกว้างและสูงประมาณ ๑๖ โยชน์
ชนทั้งหลายกล่าวกันว่าสูงประมาณ ๑,๐๐๐ โยชน์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๒. ทุกนิบาต] ๓. ตติยวรรค ๓. โสภิตเถรคาถา
[๑๖๔] มีชั้นพันชั้น ร้อยยอด สะพรั่งไปด้วยธง
พราวไปด้วยแก้วสีเขียว
ในปราสาทนั้น มีนักฟ้อนหกพันคน แบ่งเป็น ๗ กลุ่ม
พากันฟ้อนรำอยู่

๓. โสภิตเถรคาถา
ภาษิตของพระโสภิตเถระ
ทราบว่า ท่านพระโสภิตเถระ เมื่อเปล่งอุทาน จึงได้กล่าว ๒ คาถาไว้ดังนี้ว่า
[๑๖๕] เราเป็นภิกษุ มีสติ มีปัญญา บำเพ็ญเพียรอย่างแรงกล้า
ระลึกชาติก่อนได้ ๕๐๐ กัปเพียงคืนเดียว
[๑๖๖] เราเจริญสติปัฏฐาน ๔ โพชฌงค์ ๗ มรรค ๘๑
ระลึกชาติก่อนได้ ๕๐๐ กัป เพียงคืนเดียว

เชิงอรรถ :
๑ สติปัฏฐาน ๔ หมายถึงที่ตั้งของสติ ๔ ประการ คือ
(๑) กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน สติกำหนดพิจารณากายเป็นอารมณ์
(๒) เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน สติกำหนดพิจารณาเวทนาเป็นอารมณ์
(๓) จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน สติกำหนดพิจารณาจิตเป็นอารมณ์
(๔) ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน สติกำหนดพิจารณาธรรมเป็นอารมณ์.
(ที.ม. ๑๐/๓๗๓/๒๔๘)
โพชฌงค์ ๗ ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ ๗ ประการ คือ
(๑) สติ ความระลึกได้ (๒) ธัมมวิจยะ ความเฟ้นธรรม
(๓) วิริยะ ความเพียร (๔) ปีติ ความอิ่มใจ
(๕) ปัสสัทธิ ความสงบกายสงบใจ (๖) สมาธิ ความตั้งใจมั่น
(๗) อุเบกขา ความมีใจเป็นกลางเพราะเห็นตามความเป็นจริง
(ที.ป. ๑๑/๓๕๗/๒๕๘)
มรรค ๘ ทางมีองค์แปดประการอันประเสริฐ คือ
(๑) สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ (๒) สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ
(๓) สัมมาวาจา เจรจาชอบ (๔) สัมมากัมมันตะ การกระทำชอบ
(๕) สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตชอบ (๖) สัมมาวายาม พยายามชอบ
(๗) สัมมาสติ ระลึกชอบ (๘) สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ
(ที.ม. ๑๐/๔๐๒/๒๖๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๒. ทุกนิบาต] ๓. ตติยวรรค ๖. ปุณณมาสเถรคาถา
๔. วัลลิยเถรคาถา
ภาษิตของพระวัลลิยเถระ
(พระวัลลิยเถระเมื่อจะถามพระเวณุทัตตเถระ จึงได้กล่าว ๒ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๑๖๗] กิจใดอันบุคคลผู้มีความเพียรมั่น
มุ่งที่จะตรัสรู้ พึงทำกิจนั้น
เราจักทำไม่ให้พลาด
เชิญท่านดูความเพียร ความบากบั่นของเราเถิด
[๑๖๘] อนึ่ง ขอท่านจงบอกหนทางอันหยั่งลงสู่อมตมหานิพพาน
ซึ่งเป็นทางตรงให้เรา เราจะรู้ด้วยญาณ
ดุจกระแสแม่น้ำคงคาไหลไปสู่สาคร

๕. วีตโสกเถรคาถา
ภาษิตของพระวีตโสกเถระ
(พระวีตโสกเถระเมื่อจะพยากรณ์พระอรหัต จึงได้กล่าว ๒ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๑๖๙] ช่างกัลบกเข้ามาหาเรา ด้วยคิดว่า จักตัดผมของเรา
เราจึงรับเอากระจกจากช่างกัลบกนั้นมาส่องดูร่างกาย
[๑๗๐] ร่างกายได้ปรากฏเป็นสภาพว่างเปล่า
ความบอด ความมืดได้สิ้นไป
กิเลสดุจผ้าขี้ริ้วทั้งปวง เราตัดขาดด้วยดีแล้ว
บัดนี้ ไม่มีการเกิดอีก

๖. ปุณณมาสเถรคาถา
ภาษิตของพระปุณณมาสเถระ
(พระปุณณเถระเมื่อจะแสดงธรรมแก่ภรรยาเก่า จึงได้กล่าว ๒ คาถาไว้ดังนี้ว่า)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๒. ทุกนิบาต] ๓. ตติยวรรค ๘. ภารตเถรคาถา
[๑๗๑] เราละนิวรณ์๑ ๕ เพื่อบรรลุนิพพาน
ซึ่งเป็นแดนเกษมจากโยคะแล้ว
ถือเอาแว่นส่องธรรม คือญาณทัสสนะสำหรับตน
[๑๗๒] พิจารณาดูร่างกายนี้ทั่วทั้งภายในภายนอก
ร่างกายของเราได้ปรากฏเป็นสภาพว่างเปล่า
ทั้งภายในและภายนอก

๗. นันทกเถรคาถา
ภาษิตของพระนันทกเถระ
(พระนันทกเถระเมื่อจะพยากรณ์พระอรหัต จึงได้กล่าว ๒ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๑๗๓] โคอาชาไนยที่ดี พลาดล้มแล้วลุกขึ้นยืนใหม่ได้
ได้ความสังเวชอย่างยิ่งแล้ว ไม่ท้อถอย นำภาระต่อไปได้ ฉันใด
[๑๗๔] ท่านทั้งหลายจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า
เป็นอาชาไนยสมบูรณ์ด้วยทัศนะ
เป็นสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เป็นบุตรซึ่งเกิดแต่พระอุระของพระพุทธเจ้า ฉันนั้น

๘. ภารตเถรคาถา
ภาษิตของพระภารตเถระ
(พระภารตเถระเมื่อจะบอกมิจฉาวิตกที่เกิดแก่พระนันทกเถระ จึงได้กล่าว ๒
คาถาไว้ดังนี้ว่า)

เชิงอรรถ :
๑ นิวรณ์ ๕ สิ่งที่กั้นจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณธรรม ๕ ประการ คือ (๑) กามฉันทะ ความพอใจในกาม
(๒) พยาบาท ความคิดร้าย (๓) ถีนมิทธะ ความหดหู่และเซื่องซึม (๔) อุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่าน
และร้อนใจ (๕) วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย (องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๕๑/๕๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๒. ทุกนิบาต] ๓. ตติยวรรค ๑๐. กัณหทินนเถรคาถา
[๑๗๕] เชิญมาเถิดนันทกะ เราไปยังสำนักพระอุปัชฌาย์
จักบันลือสีหนาทเฉพาะพระพักตร์พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ
[๑๗๖] พระผู้มีพระภาคผู้เป็นมุนีทรงเอ็นดูให้พวกเราบวช
เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์นั้นคือความสิ้นสังโยชน์ทั้งปวง
พวกเราก็ได้บรรลุแล้ว

๙. ภารทวาชเถรคาถา
ภาษิตของพระภารทวาชเถระ
(พระภารทวาชเถระเมื่อจะบอกปริยัติธรรมและปฏิบัติธรรมแก่บุตร จึงได้กล่าว
๒ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๑๗๗] ธีรชนผู้มีปัญญา ชนะมารพร้อมทั้งเสนามาร
ชื่อว่า ชนะสงคราม
ย่อมบันลือเหมือนราชสีห์บันลือที่ซอกเขา
[๑๗๘] พระศาสดาเราเข้าถึงแล้ว
พระธรรมเราก็บูชา
และพระสงฆ์เราก็นับถือแล้ว
และเพราะได้เห็นลูกผู้ไม่มีอาสวกิเลส
พ่อก็ปลาบปลื้มดีใจ

๑๐. กัณหทินนเถรคาถา
ภาษิตของพระกัณหทินนเถระ
(พระกัณหทินนเถระเมื่อจะพยากรณ์พระอรหัต จึงได้กล่าว ๒ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๑๗๙] สัตบุรุษทั้งหลาย เราเข้าไปหาแล้ว
ธรรมทั้งหลายเราฟังแล้ว เนืองนิตย์
ครั้นฟังธรรมแล้ว จะดำเนินไปสู่ทางอันหยั่งลงสู่อมตธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๒. ทุกนิบาต] ๔. จตุตถวรรค ๑. มิคสิรเถรคาถา
[๑๘๐] เมื่อเรา เป็นผู้กำจัดความกำหนัดยินดีในภพได้แล้ว
ความกำหนัดยินดีในภพย่อมไม่มีแก่เราอีก
ไม่ได้มีแล้ว จักไม่มี และในบัดนี้ก็ไม่มีแก่เรา
ตติยวรรค จบ

รวมเรื่องพระเถระที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. พระอุตตรเถระ ๒. พระภัททชิเถระ
๓. พระโสภิตเถระ ๔. พระวัลลิยเถระ
๕. พระวีตโสกเถระ ๖. พระปุณณมาสเถระ
๗. พระนันทกเถระ ๘. พระภารตเถระ
๙. พระภารทวาชเถระ ๑๐. พระกัณหทินนเถระ

๔. จตุตถวรรค
หมวดที่ ๔
๑. มิคสิรเถรคาถา
ภาษิตของพระมิคสิรเถระ
(พระมิคสิรเถระเมื่อจะพยากรณ์พระอรหัต จึงได้กล่าว ๒ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๑๘๑] จำเดิมแต่กาลที่เราได้บวชในพระศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เมื่อจะหลุดพ้น ได้บรรลุ ล่วงเสียซึ่งกามธาตุ๑
[๑๘๒] ต่อแต่นั้น เมื่อเราเพ่งธรรมของพระพุทธเจ้าผู้เป็นดังพรหม
จิตจึงหลุดพ้นและมารู้ชัดว่า ความหลุดพ้นของเราไม่กำเริบ
เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ทั้งปวง

เชิงอรรถ :
๑ ก้าวล่วงโลกที่ยังเกี่ยวข้องอยู่ด้วยการเสพกามด้วยอนาคามิมรรคฌาน (ขุ.เถร.อ. ๑/๘๒/๔๗๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๒. ทุกนิบาต] ๔. จตุตถวรรค ๓. อุปวาณเถรคาถา
๒. สิวกเถรคาถา
ภาษิตของพระสิวกเถระ
(พระสิวกเถระเมื่อจะพยากรณ์พระอรหัต จึงได้กล่าว ๒ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๑๘๓] เรือนคืออัตภาพที่เกิดในภพนั้น ๆ บ่อย ๆ
เป็นของไม่เที่ยง
เรามัวแสวงหานายช่างคือตัณหาผู้สร้างเรือน
จึงได้ท่องเที่ยวไปสิ้นกาลมีประมาณเท่านี้
การเกิดบ่อย ๆ เป็นทุกข์
[๑๘๔] แน่ะนายช่างผู้สร้างเรือน
บัดนี้ เราพบท่านแล้ว
ท่านจะสร้างเรือนอีกไม่ได้
กลอนเรือนคือกิเลสของท่าน เราหักสิ้นแล้ว
และช่อฟ้าคืออวิชชาแห่งเรือนที่ท่านสร้าง เราก็ทำลายแล้ว
จิตของเรา เราทำให้สิ้นสุด จะดับในภพนี้เอง

๓. อุปวาณเถรคาถา
ภาษิตของพระอุปวาณเถระ
(พระอุปวาณเถระเมื่อจะบอกประโยชน์แก่พราหมณ์ จึงได้กล่าว ๒ คาถาไว้
ดังนี้ว่า)
[๑๘๕] ท่านพราหมณ์ พระสุคตเป็นพระอรหันต์ ในโลก
เป็นมุนี ถูกลมเบียดเบียนแล้ว
ถ้ามีน้ำร้อน ขอท่านจงถวายพระมุนีเถิด
[๑๘๖] พระมุนีพระองค์นั้นเป็นผู้อันบุคคลผู้ควรบูชา บูชาแล้ว
ผู้ควรสักการะ สักการะแล้ว และผู้ควรนอบน้อม นอบน้อมแล้ว
เราปรารถนาจะนำน้ำร้อนไปถวายพระองค์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๒. ทุกนิบาต] ๔. จตุตถวรรค ๕. สัมพุลกัจจานเถรคาถา
๔. อิสิทินนเถรคาถา
ภาษิตของเทวดาเตือนพระอิสิทินนเถระ
(เทวดาผู้หวังประโยชน์เกื้อกูล เมื่อจะเตือนพระอิสิทินนเถระ จึงได้กล่าว ๒
คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๑๘๗] เรา(เทวดา) เห็นอุบาสกทั้งหลายผู้ทรงธรรม
กล่าวอยู่ว่า กามทั้งหลายไม่เที่ยง
แต่อุบาสกเหล่านั้น เป็นผู้กำหนัดอย่างแรงกล้า
ห่วงใยในแก้วมณี ต่างหู บุตรธิดาและภรรยา
[๑๘๘] เพราะเหตุที่อุบาสกเหล่านั้น
ไม่รู้ธรรมในพระศาสนานี้เป็นแน่
ถึงอย่างนั้น ก็ยังกล่าวว่า กามทั้งหลายไม่เที่ยง
แต่พวกเขาไม่มีกำลังปัญญาที่จะตัดราคะได้
ฉะนั้น พวกเขาจึงติดบุตรธิดา ภรรยาและทรัพย์
พระอิสิทินนเถระ(ฟังคำนั้นแล้วก็เกิดความสังเวช ไม่นานนักก็ได้บรรลุพระอรหัต)

๕. สัมพุลกัจจานเถรคาถา
ภาษิตของพระสัมพุลกัจจานเถระ
(พระสัมพุลกัจจานเถระเมื่อจะพยากรณ์พระอรหัต จึงได้กล่าว ๒ คาถาไว้
ดังนี้ว่า)
[๑๘๙] ฝนตกไปเถิด ฟ้าร้องครืน ๆ ไปเถิด
และเราคนเดียวอยู่ในถ้ำที่น่ากลัว
ถึงเราคนเดียวจะอยู่ในถ้ำที่น่ากลัว
ก็ไม่มีความกลัว ความสะดุ้งหวาดเสียว หรือขนลุกขนพอง
[๑๙๐] การที่เราคนเดียวอยู่ในถ้ำที่น่ากลัว
ก็ไม่มีความกลัว ความสะดุ้งหวาดเสียว
หรือขนลุกขนพอง นี้เป็นธรรมดา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๒. ทุกนิบาต] ๔. จตุตถวรรค ๗. โสณโปฏิริยปุตตเถรคาถา
๖. ขิตกเถรคาถา
ภาษิตของพระขิตกเถระ
(พระขิตกเถระเมื่อจะข่มพวกภิกษุผู้อยู่ป่า จึงได้กล่าว ๒ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๑๙๑] จิตของใครตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวดังภูเขา
ไม่กำหนัดในอารมณ์อันชวนให้กำหนัด
ไม่ขัดเคืองในอารมณ์อันชวนให้ขัดเคือง
ผู้ใดอบรมจิตได้อย่างนี้
ทุกข์จะมาถึงผู้นั้นแต่ที่ไหน
[๑๙๒] จิตของเราตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวดังภูเขา
ไม่กำหนัดในอารมณ์อันชวนให้กำหนัด
ไม่ขัดเคืองในอารมณ์อันชวนให้ขัดเคือง
เราอบรมจิตได้แล้วอย่างนี้
ทุกข์จะมาถึงเราแต่ที่ไหน

๗. โสณโปฏิริยปุตตเถรคาถา
ภาษิตของพระโสณโปฏิริยปุตตเถระ
(พระผู้มีพระภาค เมื่อจะตรัสสอนพระโสณโปฏิริยบุตรเถระ จึงได้ตรัสพระ
คาถาว่า)
[๑๙๓] ราตรีที่ประกอบด้วยฤกษ์มาลินี๑
มิใช่เป็นราตรีที่จะหลับก่อน
ราตรีเช่นนี้เป็นราตรีที่ผู้รู้แจ้งปรารถนาแล้ว
เพื่อประกอบความเพียรโดยแท้

เชิงอรรถ :
๑ ฤกษ์มาลินี หมายถึง ฤกษ์ที่มีดวงดาวขึ้นเป็นกลุ่มเหมือนพวงดอกไม้ (ดาวลูกไก่) เป็นฤกษ์ที่ควรทำความ
เพียร ไม่ใช่เวลานอน (ขุ.เถร.อ. ๑/๑๙๓/๔๘๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๒. ทุกนิบาต] ๔. จตุตถวรรค ๙. อุสภเถรคาถา
(พระโสณโปฏิริยเถระได้ฟังพระดำรัสนั้นก็สลดใจ กลับได้หิริโอตตัปปะ
อธิษฐานอัพโภกาสิกังคธุดงค์๑ กระทำการเจริญวิปัสสนา ได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๑๙๔] ถ้าช้างพึงเหยียบเราผู้ตกจากคอช้าง
เราตายเสียในสงครามประเสริฐกว่า
แพ้แล้วเป็นอยู่จะประเสริฐอะไร

๘. นิสภเถรคาถา
ภาษิตของพระนิสภเถระ
(พระนิสภเถระ เมื่อจะกล่าวสอนภิกษุสหายทั้งหลาย จึงได้กล่าว ๒ คาถา
ไว้ดังนี้ว่า)
[๑๙๕] วิญญูชนละเบญจกามคุณ ซึ่งน่ารักน่ารื่นรมย์ใจ
ออกบวชด้วยศรัทธา พึงทำที่สุดทุกข์ได้
[๑๙๖] เราไม่อยากตาย ไม่อยากเป็นอยู่
แต่เรามีสติสัมปชัญญะอยู่เฉพาะหน้า คอยเวลาอันควร

๙. อุสภเถรคาถา
ภาษิตของพระอุสภเถระ
(พระอุสภเถระเมื่อจะพยากรณ์พระอรหัต จึงได้กล่าว ๒ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๑๙๗] เราฝันว่าได้ห่มจีวรสีใบมะม่วงอ่อนเฉวียงบ่า
นั่งบนคอช้าง เข้าไปบิณฑบาตยังหมู่บ้าน
[๑๙๘] ลงจากคอช้างแล้ว ได้ความสลดใจ
ครั้งนั้น เรานั้นมีความสว่าง
ได้ความสลดใจ ถึงความสิ้นอาสวะแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ องค์แห่งผู้ถือการอยู่ที่แจ้งเป็นวัตร (ขุ.เถร.อ. ๑/๑๙๓/๔๘๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๒. ทุกนิบาต] ๕. ปัญจมวรรค ๑. กุมารกัสสปเถรคาถา
๑๐. กัปปฏกุรเถรคาถา
ภาษิตของพระกัปปฏกุรเถระ
(พระผู้มีพระภาค เมื่อจะตรัสสอนพระกัปปฏกุรเถระ จึงได้ตรัส ๒ คาถาไว้
ดังนี้ว่า)
[๑๙๙] กัปปฏกุรภิกษุเกิดความวิตกผิดว่า ผ้าขี้ริ้วผืนนี้เป็นของเรา
เมื่อน้ำใส(คืออมตธรรม)มีอยู่เต็มเปี่ยมในหม้ออมตธรรม
กลับมีใจปราศจากอมตธรรมคำสอนของเรานี้
เป็นทางที่เราสอนไว้แล้วเพื่อสั่งสมฌานทั้งหลาย
[๒๐๐] กัปปฏะ เธออย่ามานั่งโงกง่วงอยู่เลย
อย่าให้เราต้องสอนเธอเสียงดัง ณ ที่ใกล้หูเลย
กัปปฏะ เธอนั่งโงกง่วงอยู่ในท่ามกลางสงฆ์ช่างไม่รู้จักประมาณเลย
จตุตถวรรค จบ

รวมเรื่องพระเถระที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. พระมิคสิรเถระ ๒. พระสิวกเถระ
๓. พระอุปวาณเถระ ๔. พระอิสิทินนเถระ
๕. พระสัมพุลกัจจานเถระ ๖. พระขิตกเถระ
๗. พระโสณโปฏิริยบุตรเถระ ๘. พระนิสภเถระ
๙. พระอุสภเถระ ๑๐. พระกัปปฏกุรเถระ

๕. ปัญจมวรรค
หมวดที่ ๕
๑. กุมารกัสสปเถรคาถา
ภาษิตของพระกุมารกัสสปเถระ
(พระกุมารกัสสปเถระเมื่อจะพยากรณ์พระอรหัต จึงได้กล่าว ๒ คาถาไว้
ดังนี้ว่า)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๒. ทุกนิบาต] ๕. ปัญจมวรรค ๒. ธัมมปาลเถรคาถา
[๒๐๑] น่าอัศจรรย์หนอ พระพุทธเจ้า พระธรรม
และสัมปทาของพระศาสดาของเราทั้งหลาย
อันเป็นที่จะทำพระสาวกให้รู้แจ้งธรรมเช่นนั้นได้
[๒๐๒] บรรดาพระสาวกที่หยั่งรู้ถึงกายของตน๑
ได้ในอสงไขยกัป๒นั้น
พระกุมารกัสสปะนี้เป็นองค์สุดท้าย
ร่างกายนี้เป็นร่างกายสุดท้าย
การเวียนว่ายตายเกิดเป็นวาระสุดท้าย
บัดนี้ ไม่มีการเกิดอีก

๒. ธัมมปาลเถรคาถา
ภาษิตของพระธัมมปาลเถระ
(พระธรรมปาลเถระเมื่อจะแสดงธรรมโปรดพวกสามเณร จึงได้กล่าว ๒
คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๒๐๓] ภิกษุใดแลยังหนุ่มแน่น
ประกอบความขวนขวายในพระพุทธศาสนา
ผู้ตื่นอยู่ ในเมื่อคนเหล่าอื่นหลับแล้ว
ชื่อว่าไม่ไร้ผล
[๒๐๔] เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้มีปัญญา
ระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
จึงควรประกอบศรัทธา ศีล ความเลื่อมใส
และการเห็นธรรมเนือง ๆ

เชิงอรรถ :
๑ หยั่งรู้อุปาทานขันธ์ คือ ขันธ์ที่อาศัยความยึดมั่นถือมั่น (ขุ.เถร.อ. ๑/๒๐๒/๕๐๑)
๒ มหากัปที่ผ่านไปนานจนไม่สามารถนับได้ (ขุ.เถร.อ. ๑/๒๐๒/๕๐๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๒. ทุกนิบาต] ๕. ปัญจมวรรค ๔. โมฆราชเถรคาถา
๓. พรหมาลิเถรคาถา
ภาษิตของพระพรหมาลิเถระ
(พระพรหมาลิเถระเมื่อจะยกย่องการประกอบความเพียรเนือง ๆ จึงได้กล่าว
๒ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๒๐๕] อินทรีย์ของใครถึงความสงบ
เหมือนม้าที่นายสารถีฝึกดีแล้ว
แม้เทวดาทั้งหลาย ก็กระหยิ่ม(ชื่นชม)ต่อผู้นั้น
ซึ่งละมานะได้แล้ว ไม่มีอาสวะ เป็นผู้คงที่
[๒๐๖] อินทรีย์ของเราถึงความสงบ
เหมือนม้าตัวที่นายสารถีฝึกดีแล้ว
แม้เทวดาทั้งหลาย ก็กระหยิ่มต่อเรา
ซึ่งละมานะได้แล้ว ไม่มีอาสวะ เป็นผู้คงที่

๔. โมฆราชเถรคาถา
ภาษิตของพระศาสดาตรัสถามพระโมฆราชเถระ
(พระศาสดาตรัสถามพระโมฆราชเถระ ด้วยพระคาถาที่ ๑ ว่า)
[๒๐๗] โมฆราชผู้มีผิวพรรณเศร้าหมอง แต่มีจิตดีงาม
เธอเป็นภิกษุมีจิตตั้งมั่นเนืองนิตย์
จะทำอย่างไรตลอดราตรีกาล
ที่หนาวเหน็บในฤดูเหมันต์
พระโมฆราชเถระ (เมื่อจะทูลตอบพระศาสดา จึงได้กล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๒๐๘] ข้าพระองค์ได้ฟังมาว่า
ชาวมคธเกี่ยวข้าวเสร็จเรียบร้อยแล้ว
ข้าพระองค์พึงคลุมกายด้วยฟางแล้วนอน
เหมือนกับภิกษุเหล่าอื่น ผู้มีความเป็นอยู่สบาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๒. ทุกนิบาต] ๕. ปัญจมวรรค ๖. จูฬกเถรคาถา
๕. วิสาขปัญจาลีปุตตเถรคาถา
ภาษิตของพระวิสาขปัญจาลีบุตรเถระ
(พระวิสาขปัญจาลีบุตรเถระเมื่อจะบอกลักษณะของพระธรรมกถึกแก่ภิกษุ
ทั้งหลาย จึงได้กล่าว ๒ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๒๐๙] (พระธรรมกถึกประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้ คือ)
๑. ไม่พึงยกตน
๒. ไม่ข่มผู้อื่น
๓. ไม่พึงมองดูด้วยความเหยียดหยาม
๔. ไม่พึงกระทบกระทั่งท่านผู้ถึงฝั่งนิพพาน
๕. ไม่พึงกล่าวคุณความดีของตนในที่ชุมชน
ไม่ฟุ้งซ่าน กล่าวแต่พอประมาณ มีวัตรดีงาม
[๒๑๐] พระธรรมกถึกนั้นมักเห็นเนื้อความอันสุขุมและละเอียดยิ่งนัก
มีปัญญาเฉลียวฉลาด ประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนอยู่เสมอ
ปฏิบัติตามศีลของพระพุทธเจ้าเป็นอาจิณ
พึงได้นิพพานไม่ยากเลย

๖. จูฬกเถรคาถา
ภาษิตของพระจูฬกเถระ
(พระจูฬกเถระเมื่อจะทำตนให้เกิดอุตสาหะในการเจริญภาวนา จึงได้กล่าว ๒
คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๒๑๑] นกยูงทั้งหลาย มีหงอนงาม ขนหางงาม
สร้อยคอเขียวงาม จะงอยปากงาม
มีเสียงไพเราะ ส่งเสียงร้องอยู่
อนึ่ง แม้แผ่นดินใหญ่นี้มีหญ้าเขียวชะอุ่ม
มีน้ำชุ่มชื่น ท้องฟ้าก็มีเมฆสวยงาม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๒. ทุกนิบาต] ๕. ปัญจมวรรค ๘. วัชชิตเถรคาถา
[๒๑๒] ท่านมีสภาวะที่ควรแก่การงาน
จงเพ่งฌานที่พระโยคาวจรผู้มีใจดีเพ่งแล้ว
จงเป็นผู้มีความพยายามไม่หยุดยั้ง
ในพระศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยดี
จงบรรลุนิพพานอันเป็นธรรมสูงสุด
ขาวสะอาด ผุดผ่อง ละเอียด
เห็นได้แสนยากเป็นสภาพที่แน่นอนนั้นเถิด

๗. อนูปมเถรคาถา
ภาษิตของพระอนูปมเถระ
(พระอนูปมเถระกล่าวสอนตนเองด้วย ๒ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๒๑๓] จิตที่มีความเพลิดเพลิน
ถูกกรรมกิเลสยกขึ้นสู่ภพซึ่งเป็นเช่นกับหลาว
ท่านเว้นจากภพที่เรียกว่าหลาว
และกามคุณที่เรียกว่าท่อนไม้นั้น ๆ เสีย
[๒๑๔] เรากล่าวอกุศลจิตนั้นว่าเป็นจิตมีโทษ
กล่าวอกุศลจิตนั้นว่าเป็นจิตประทุษร้าย
พระศาสดาที่บุคคลหาได้โดยยาก ท่านก็ได้แล้ว
ท่านอย่ามาชักชวนเราในทางฉิบหายเลย

๘. วัชชิตเถรคาถา
ภาษิตของพระวัชชิตเถระ
(พระวัชชิตเถระระลึกชาติก่อนของตนได้ จึงได้กล่าว ๒ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๒๑๕] เราเป็นปุถุชนมืดมนอยู่ เมื่อไม่เห็นอริยสัจ
จึงได้ท่องเที่ยววนเวียนไปมาในคติทั้งหลายตลอดกาลนาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา[๒. ทุกนิบาต] รวมเรื่องพระเถระที่มีในวรรค
[๒๑๖] เรานั้นไม่ประมาทแล้ว
กำจัดกรรมกิเลสที่ได้ชื่อว่าสงสารได้แล้ว
เราตัดคติทั้งปวงขาดแล้ว บัดนี้ไม่มีการเกิดอีก

๙. สันธิตเถรคาถา
ภาษิตของพระสันธิตเถระ
(พระสันธิตเถระเมื่อจะประกาศการบรรลุคุณวิเศษของตน จึงได้กล่าว ๒
คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๒๑๗] เรามีสติตั้งมั่นได้สัญญาอย่างหนึ่ง
ซึ่งประกอบด้วยพุทธานุสติ ณ โคนต้นอัสสัตถพฤกษ์
สว่างไสวไปด้วยรัศมีสีเขียว งามสะพรั่ง
[๒๑๘] ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัททกัปนี้ไป
เราได้ถึงความสิ้นอาสวะแล้ว
เพราะนำสัญญาที่เราได้ในครั้งนั้นมา
ปัญจมวรรค จบ

รวมเรื่องพระเถระที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. พระกุมารกัสสปเถระ ๒. พระธรรมปาลเถระ
๓. พระพรหมาลิเถระ ๔. พระโมฆราชเถระ
๕. พระวิสาขปัญจาลีบุตรเถระ ๖. พระจูฬกเถระ
๗. พระอนูปมเถระ ๘. พระวัชชิตเถระ

๙. พระสันธิตเถระ ผู้นำธุลีคือกิเลสออกได้
ในทุกนิบาต รวมคาถาได้ ๙๘ คาถา
และรวมพระเถระผู้ฉลาดในนัย ซึ่งกล่าวคาถาไว้ได้ ๔๙ รูป
ทุกนิบาต จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๓. ติกนิบาต] ๒. ปัจจยเถรคาถา
๓. ติกนิบาต
๑. อังคณิกภารทวาชเถรคาถา
ภาษิตของพระอังคณิกภารทวาชเถระ
(พระอังคณิกภารทวาชเถระเมื่อจะพยากรณ์พระอรหัต จึงได้กล่าว ๓ คาถา
ไว้ดังนี้ว่า)
[๒๑๙] เมื่อเราแสวงหาความบริสุทธิ์โดยอุบายไม่สมควร
จึงได้บำเรอไฟอยู่ในป่า
เราไม่รู้ทางอันบริสุทธิ์
จึงได้บำเพ็ญตบะอย่างอื่นอีก
[๒๒๐] ความสุขนั้นเราได้แล้วโดยง่าย
ขอท่านจงมองเห็นธรรมว่าเป็นธรรมดีงาม
เราบรรลุวิชชา ๓ ได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว
[๒๒๑] เมื่อก่อน เราได้เป็นเผ่าพันธ์แห่งพระพรหม
แต่บัดนี้ เราเป็นพราหมณ์ บรรลุวิชชา ๓
ล้างมลทินคือกิเลสได้แล้ว
และเป็นพราหมณ์จบไตรเพท

๒. ปัจจยเถรคาถา
ภาษิตของพระปัจจยเถระ
(พระปัจจยเถระเมื่อจะพยากรณ์พระอรหัต จึงได้กล่าว ๓ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๒๒๒] เราบวชแล้วได้ ๕ วัน
ยังเป็นเสขบุคคลอยู่
ยังไม่ได้บรรลุพระอรหัต
เมื่อเราเข้าไปยังวิหารแล้วได้ตั้งใจปรารถนาว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๓. ติกนิบาต] ๔. ธนิยเถรคาถา
[๒๒๓] เมื่อเรายังถอนลูกศรคือตัณหาขึ้นไม่ได้
เราจะไม่กิน ไม่ดื่ม ไม่ออกไปจากวิหาร
ทั้งจะไม่เอนกายนอน
[๒๒๔] เชิญท่านดูความเพียร
ความบากบั่นของเรานั้นผู้อยู่อย่างนี้ เราบรรลุวิชชา ๓
ได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว

๓. พากุลเถรคาถา
ภาษิตของพระพากุลเถระ
(พระพากุลเถระเมื่อจะพยากรณ์พระอรหัต จึงได้กล่าว ๓ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๒๒๕] ผู้ต้องการจะทำกิจที่ควรทำก่อนในภายหลัง
ย่อมพลาดจากฐานะที่นำความสุขมาให้
และย่อมเดือดร้อนในภายหลัง
[๒๒๖] บุคคลพึงพูดถึงสิ่งที่ตนทำได้
ไม่พึงพูดถึงสิ่งที่ตนทำไม่ได้
บัณฑิตทั้งหลายย่อมรู้จักบุคคลผู้ไม่ทำ ดีแต่พูด
[๒๒๗] นิพพานที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว
เป็นสุขดีหนอ ไม่มีความโศก
ปราศจากกิเลสดุจธุลี เกษม เป็นที่ดับทุกข์ได้

๔. ธนิยเถรคาถา
ภาษิตของพระธนิยเถระ
(พระธนิยเถระเมื่อจะพยากรณ์พระอรหัต จึงได้กล่าว ๓ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๒๒๘] ถ้าภิกษุมุ่งหวังในความเป็นสมณะ
ปรารถนาจะเป็นอยู่สบาย
ไม่ควรดูหมิ่นจีวร ข้าว และน้ำอันเป็นของสงฆ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๗๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๓. ติกนิบาต] ๕. มาตังคปุตตเถรคาถา
[๒๒๙] ถ้าภิกษุมุ่งหวังในความเป็นสมณะ
ปรารถนาจะเป็นอยู่สบาย
พึงใช้สอยที่นอนที่นั่ง
เหมือนงูอาศัยรูหนูอยู่
[๒๓๐] ถ้าภิกษุมุ่งหวังในความเป็นสมณะ
ปรารถนาจะเป็นอยู่สบาย
พึงยินดีด้วยปัจจัยตามมีตามได้
และพึงเจริญธรรมอันเอก๑

๕. มาตังคปุตตเถรคาถา
ภาษิตของพระมาตังคบุตรเถระ
(พระมาตังคบุตรเถระเมื่อจะติเตียนความเกียจคร้านและยกย่องการปรารภ
ความเพียร จึงได้กล่าว ๓ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๒๓๑] ขณะทั้งหลายย่อมล่วงเลยมาณพทั้งหลาย
ผู้ละทิ้งการงานด้วยอ้างว่า เวลานี้
หนาวนัก ร้อนนัก เป็นเวลาเย็นนัก
[๒๓๒] ส่วนผู้ไม่คำนึงถึงความหนาวและความร้อนยิ่งไปกว่าหญ้า
ทำหน้าที่ของคนอยู่
ย่อมไม่เสื่อมจากความสุข
[๒๓๓] เราจะใช้อกฝ่าหญ้าแพรก หญ้าคา หญ้าดอกเลา
หญ้าแฝก หญ้ามุงกระต่าย
และหญ้าปล้อง พอกพูนวิเวก

เชิงอรรถ :
๑ ภาวะแห่งความไม่ประมาท (ขุ.เถร.อ. ๑/๒๓๐/๕๓๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๓. ติกนิบาต] ๗. วารณเถรคาถา
๖. ขุชชโสภิตเถรคาถา
ภาษิตของพระขุชชโสภิตเถระ
(พระขุชชโสภิตเถระเมื่อจะบอกความประสงค์ที่ตนมาแก่เทวดา จึงได้กล่าว
คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๒๓๔] สมณะทั้งหลายเหล่าใด
กล่าวธรรมได้อย่างวิจิตร
เป็นพหูสูต เป็นชาวเมืองปาฏลีบุตร
ท่านขุชชโสภิตะนี้เป็นรูปหนึ่ง
ในภิกษุเหล่านั้น ผู้ยืนอยู่ที่ประตูถ้ำ
(เทวดา เมื่อจะประกาศเรื่องที่พระเถระมาให้สงฆ์ทราบ จึงได้กล่าวคาถาไว้
ดังนี้ว่า)
[๒๓๕] สมณะทั้งหลายเหล่าใด
กล่าวธรรมได้อย่างวิจิตร
เป็นพหูสูต เป็นชาวเมืองปาฏลีบุตร
ท่านขุชชโสภิตะนี้เป็นภิกษุรูปหนึ่ง ในภิกษุเหล่านั้น
มายืนอยู่ที่ประตูถ้ำได้ ดุจลมพัดมา
(พระเถระพยากรณ์พระอรหัตด้วยคาถานี้ว่า)
[๒๓๖] ขุชชโสภิตภิกษุนี้ ได้รับความสุขด้วยอาการเหล่านี้
คือ ด้วยการรบดี การบูชาดี การชนะสงคราม
และการประพฤติพรหมจรรย์ประจำ

๗. วารณเถรคาถา
ภาษิตของพระวารณเถระ
(พระผู้มีพระภาคเมื่อประทานโอวาทแก่พระวารณเถระ จึงได้ตรัส ๓ คาถาไว้
ดังนี้ว่า)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๓. ติกนิบาต] ๘. ปัสสิกเถรคาถา
[๒๓๗] ในหมู่มนุษย์นี้ นรชนผู้ใดผู้หนึ่งเบียดเบียนสัตว์อื่น
นรชนนั้นย่อมเสื่อมจากความสุข
ในโลกทั้งสอง คือ โลกนี้และโลกหน้า
[๒๓๘] ส่วนนรชนใดมีจิตเมตตา ช่วยเหลือสัตว์ทุกหมู่เหล่า
นรชนเช่นนี้นั้นย่อมประสบบุญมาก
[๒๓๙] บุคคลควรศึกษาคำสุภาษิต
การเข้าไปนั่งใกล้สมณะ
การอยู่ผู้เดียวในที่ลับ
และธรรมเป็นเครื่องสงบระงับจิต

๘. ปัสสิกเถรคาถา
ภาษิตของพระปัสสิกเถระ
(พระปัสสิกเถระเมื่อกราบทูลพระศาสดาถึงอุปการะที่ตนทำแก่พวกญาติ จึง
ได้กล่าว ๓ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๒๔๐] คนมีศรัทธา มีปัญญาดี ตั้งอยู่ในธรรม
มีศีลสมบูรณ์ แม้เพียงคนเดียว
ย่อมมีประโยชน์แก่ญาติและพวกพ้องทั้งหลายผู้ไม่มีศรัทธา
[๒๔๑] ญาติทั้งหลายถูกเราผู้มีความรักญาติและพวกพ้อง
แนะนำตักเตือนแล้วด้วยความเอ็นดู
จึงทำสักการะบูชาในภิกษุทั้งหลาย
[๒๔๒] ญาติเหล่านั้นตายล่วงลับไป
ได้รับความสุขในเทพชั้นดาวดึงส์
พี่น้องชายและมารดาของข้าพระองค์
พรั่งพร้อมด้วยกามคุณตามที่ปรารถนา บันเทิงอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๓. ติกนิบาต] ๑๐. สาฏิมัตติยเถรคาถา
๙. ยโสชเถรคาถา
ภาษิตของพระยโสชเถระ
(พระผู้มีพระภาคเมื่อจะทรงสรรเสริญพระยโสชเถระว่า เป็นผู้มีความปรารถนา
น้อยอย่างยิ่ง จึงได้ตรัสพระคาถานี้ว่า)
[๒๔๓] นรชนผู้รู้ประมาณในข้าวและน้ำ ย่อมซูบผอม
มีตัวสะพรั่งด้วยเส้นเอ็นคล้ายเถาหญ้านาง แต่มีใจไม่ย่อท้อ
(พระยโสชเถระเมื่อกล่าวสอนธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย จึงได้กล่าว ๒ คาถาไว้
ดังนี้ว่า)
[๒๔๔] ภิกษุถูกเหลือบและยุงกัดในป่าใหญ่
พึงเป็นผู้มีสติอดกลั้นในอันตรายนั้น
เหมือนช้างในสงคราม
[๒๔๕] ภิกษุอยู่ผู้เดียว เป็นเหมือนพรหม
อยู่ ๒ รูปเหมือนเทพ
อยู่ ๓ รูปเหมือนชาวบ้าน
อยู่มากกว่านั้น ย่อมมีความโกลาหลมากขึ้น

๑๐. สาฏิมัตติยเถรคาถา
ภาษิตของพระสาฏิมัตติยเถระ
(สาฏิมัตติยเถระเมื่อกล่าวสอนธรรมแก่เจ้าของเรือนนั้น จึงได้กล่าว ๓
คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๒๔๖] เมื่อก่อน ท่านมีศรัทธา
(แต่)วันนี้ ท่านไม่มีศรัทธา
สิ่งใดเป็นของท่าน ขอสิ่งนั้นจงเป็นของท่านตามเดิมเถิด
เราไม่มีความทุจริต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๓. ติกนิบาต] ๑๒. อุตตรปาลเถรคาถา
[๒๔๗] เพราะศรัทธาไม่เที่ยง คลอนแคลน
ศรัทธานั้น เราเห็นมาแล้วอย่างนั้น
คนทั้งหลายรักง่ายหน่ายเร็ว
ในความรักและความหน่ายนั้น พระมุนีจะชนะได้อย่างไร
[๒๔๘] คนทั้งหลายย่อมหุงอาหารไว้เพื่อมุนี
ทุกตระกูล ตระกูลละเล็กละน้อย
เราจะเที่ยวบิณฑบาตด้วยปลีแข้ง เพราะกำลังแข้งของเรายังมีอยู่

๑๑. อุปาลิเถรคาถา
ภาษิตของพระอุปาลิเถระ
(พระอุบาลีเถระเมื่อกล่าวสอนภิกษุทั้งหลาย จึงได้กล่าว ๓ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๒๔๙] ภิกษุออกบวชใหม่ด้วยศรัทธา ยังใหม่(ต่อการศึกษา)
พึงคบกัลยาณมิตรผู้มีอาชีวะบริสุทธิ์ ไม่เกียจคร้าน
[๒๕๐] ภิกษุออกบวชใหม่ด้วยศรัทธา ยังใหม่อยู่ในหมู่สงฆ์
พึงเป็นผู้ฉลาดศึกษาพระวินัย
[๒๕๑] ภิกษุออกบวชใหม่ด้วยศรัทธา ยังใหม่
พึงเป็นผู้ฉลาดในสิ่งที่ควรและไม่ควร
ไม่ควรประพฤติตนเป็นคนออกหน้าออกตา

๑๒. อุตตรปาลเถรคาถา
ภาษิตของพระอุตตรเถระ
(พระอุตตรปาลเถระได้กล่าว ๓ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๒๕๒] เบญจกามคุณซึ่งทำใจให้ลุ่มหลง
ได้ทำเราผู้เป็นบัณฑิต สงบ
สามารถค้นคว้าประโยชน์ได้ ให้ตกอยู่ในโลก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๓. ติกนิบาต] ๑๔. โคตมเถรคาถา
[๒๕๓] เราได้ตกไปในอำนาจแห่งมาร
ถูกลูกศรคือราคะเสียบติดแน่น
ก็ยังสามารถเปลื้องตนจากบ่วงมัจจุราชได้
[๒๕๔] กามทั้งปวงเราละได้แล้ว
ภพทั้งปวงเราทำลายได้แล้ว
การเวียนว่ายตายเกิดสิ้นไปแล้ว
บัดนี้ ไม่มีการเกิดอีก

๑๓. อภิภูตเถรคาถา
ภาษิตของพระอภิภูตเถระ
(พระอภิภูตเถระได้กล่าว ๓ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๒๕๕] ขอเชิญญาติทั้งหลายเท่าที่มาประชุมกันในสมาคมนี้ทั้งหมด
โปรดตั้งใจฟัง เราจักแสดงธรรมโปรดท่านทั้งหลาย
การเกิดบ่อย ๆ เป็นทุกข์
[๒๕๖] ขอท่านทั้งหลายจงพากเพียร บากบั่น
ขวนขวายในคำสอนของพระพุทธเจ้า
กำจัดเสนาของพญามัจจุราชเสีย
เหมือนกุญชรทำลายเรือนไม้อ้อ
[๒๕๗] ผู้ไม่ประมาทอยู่ในพระธรรมวินัยนี้
จะละการเวียนว่ายตายเกิด แล้วทำที่สุดทุกข์ได้

๑๔. โคตมเถรคาถา
ภาษิตของพระโคตมเถระ
(พระโคตมเถระแสดงธรรมด้วย ๓ คาถาไว้ดังนี้ว่า)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๓. ติกนิบาต] ๑๕. หารติเถรคาถา
[๒๕๘] เราเมื่อยังท่องเที่ยวไปมาได้ไปตกนรกบ้าง
ได้ไปถือปฏิสนธิยังเปตโลกบ้าง
ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานอันมีแต่ทุกข์บ้าง
เราเสวยทุกข์อยู่หลายประการมาเป็นเวลานาน
[๒๕๙] แม้อัตภาพมนุษย์ เราก็ผ่านมามากแล้ว
เราได้ไปสวรรค์เป็นครั้งคราว
และได้ดำรงอยู่ในรูปภพ อรูปภพ
เนวสัญญีนาสัญญีภพ (และ) อสัญญีภพ
[๒๖๐] เรารู้แจ้งชัดภพทั้งหลายอันหาแก่นสารมิได้
ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ไม่ยั่งยืน เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
ครั้นรู้แจ้งภพนั้นอันเกิดในตนแล้ว
จึงเป็นผู้มีสติ ได้บรรลุสันติธรรมที่แท้จริง

๑๕. หาริตเถรคาถา
ภาษิตของพระหาริตเถระ
(พระหาริตเถระเมื่อจะพยากรณ์พระอรหัต จึงได้กล่าว ๓ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๒๖๑] ผู้ต้องการจะทำกิจที่ควรทำก่อนในภายหลัง
ย่อมพลาดจากฐานะที่นำความสุขมาให้
และย่อมเดือดร้อนในภายหลัง
[๒๖๒] บุคคลพึงพูดถึงสิ่งที่ตนทำได้
ไม่พึงพูดถึงสิ่งที่ตนทำไม่ได้
บัณฑิตย่อมรู้จักบุคคลผู้ไม่ทำ ดีแต่พูด
[๒๖๓] นิพพานที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว
เป็นสุขดีหนอ ไม่มีความโศก ปราศจากกิเลสดุจธุลี
เกษม เป็นที่ดับทุกข์ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๓. ติกนิบาต] รวมเรื่องพระเถรที่มีในนิบาต
๑๖. วิมลเถรคาถา
ภาษิตของพระวิมลเถระ
(พระวิมลเถระได้กล่าว ๓ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๒๖๔] ผู้ปรารถนาความสุขที่ยั่งยืน
พึงเว้นปาปมิตรเสียให้ไกล
คบหาแต่คนดี และพึงอยู่ในโอวาทของท่าน
[๒๖๕] บุคคลเกาะท่อนไม้เล็ก ๆ ย่อมจมลงในมหาสมุทร ฉันใด
บุคคลแม้มีความเป็นอยู่ดี อาศัยคนเกียจคร้าน
ก็จมลงในสังสารวัฏได้ ฉันนั้น
เพราะฉะนั้น บุคคลควรเว้นคนเกียจคร้าน
มีความเพียรย่อหย่อนเสีย
[๒๖๖] บุคคลพึงอยู่ร่วมกับเหล่าบัณฑิตผู้สงัด เป็นอริยะ
มีใจเด็ดเดี่ยว เข้าฌานอยู่ ปรารภความเพียรเป็นนิตย์
ติกนิบาต จบ

รวมเรื่องพระเถรที่มีในนิบาตนี้ คือ

๑. พระอังคณิกภารทวาชเถระ ๒. พระปัจจยเถระ
๓. พระพากุลเถระ ๔. พระธนิยเถระ
๕. พระมาตังคบุตรเถระ ๖. พระขุชชโสภิตเถระ
๗. พระวารณเถระ ๘. พระปัสสิกเถระ
๙. พระยโสชเถระ ๑๐. พระสาฏิมัตติยเถระ
๑๑. พระอุบาลีเถระ ๑๒. พระอุตตรปาลเถระ
๑๓. พระอภิภูตเถระ ๑๔. พระโคตมเถระ
๑๕. พระพาริตเถระ ๑๖. พระวิมลเถระ

ในติกนิบาต รวมพระเถระได้ ๑๖ รูป
รวมคาถาได้ ๔๘ คาถา ฉะนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๔. จตุตกกนิบาต] ๒. ภคุเถรคาถา
๔. จตุกกนิบาต
๑. นาคสมาลเถรคาถา
ภาษิตของพระนาคสมาลเถระ
(พระนาคสมาลเถระพยากรณ์พระอรหัตด้วย ๔ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๒๖๗] หญิงนักฟ้อนตกแต่งร่างกายนุ่งผ้าสวยงาม
ทัดทรงดอกไม้ ลูบไล้ด้วยจุรณแก่นจันทน์
ฟ้อนรำอยู่ในท่ามกลางถนนหลวง เมื่อดนตรีบรรเลงอยู่
[๒๖๘] เมื่อเราเดินเข้าไปบิณฑบาต
ได้เห็นนางผู้ตกแต่งร่างกาย นุ่งผ้าสวยงาม
เหมือนบ่วงมัจจุราชที่วางดักไว้
[๒๖๙] จากนั้น โยนิโสมนสิการจึงเกิดขึ้นแก่เรา โทษก็ปรากฏ
ความเบื่อหน่ายก็เกิดขึ้นพร้อมกัน
[๒๗๐] ต่อแต่นั้น จิตของเราก็หลุดพ้น
ท่านจงมองเห็นธรรมว่าเป็นธรรมดีงาม
เราบรรลุวิชชา ๓๑ ได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว

๒. ภคุเถรคาถา
ภาษิตของพระภคุเถระ
(พระภคุเถระได้กล่าว ๔ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๒๗๑] เราถูกความง่วงเหงาหาวนอนครอบงำ
ได้ออกไปจากที่อยู่ กำลังขึ้นที่จงกรม
ได้ล้มลงที่พื้นดินตรงนั้นเอง

เชิงอรรถ :
๑ วิชชา ๓ คือ (๑) ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ความรู้ที่ให้ระลึกชาติได้ (๒) จุตูปปาตญาณ ความรู้การจุติ
และอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย (๓) อาสวักขยญาณ ความรู้ที่ทำอาสวะให้สิ้น (ที.ปา. ๑๑/๓๕๓/๒๕๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๔. จตุตกกนิบาต] ๓. สภิยเถรคาถา
[๒๗๒] เรานั้นนวดตัวแล้ว กลับขึ้นที่จงกรมใหม่
มีใจตั้งมั่นดีแล้ว ได้จงกรม ณ ที่จงกรม
[๒๗๓] จากนั้น โยนิโสมนสิการจึงเกิดขึ้นแก่เรา
โทษก็ปรากฏ ความเบื่อหน่ายก็เกิดขึ้นพร้อมกัน
[๒๗๔] ต่อแต่นั้น จิตของเราก็หลุดพ้น
ท่านจงมองเห็นธรรมว่าเป็นธรรมดีงาม
เราบรรลุวิชชา ๓ ได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว

๓. สภิยเถรคาถา
ภาษิตของพระสภิยเถระ
(พระสภิยเถระแสดงธรรมด้วย ๔ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๒๗๕] ชนเหล่าอื่นย่อมไม่รู้ว่า พวกเรากำลังย่อยยับอยู่ในโลกนี้
บรรดาชนเหล่านั้น ชนเหล่าใดรู้แจ้งอยู่
ความทะเลาะวิวาทกันย่อมระงับได้จากสำนักของชนเหล่านั้น
[๒๗๖] เมื่อพวกที่ไม่รู้สึก ยังประพฤติยึดถืออยู่เหมือนจะไม่ตาย
ความทะเลาะวิวาทย่อมสงบลงไม่ได้เลย
ส่วนพวกที่รู้ธรรมตามความเป็นจริง
ย่อมไม่กระสับกระส่าย
ในเมื่อสัตว์ทั้งหลายกระสับกระส่ายอยู่
[๒๗๗] กรรมที่ย่อหย่อน วัตรที่เศร้าหมอง
และพรหมจรรย์ที่พึงระลึกถึงด้วยความระแวงสงสัย
ทุกอย่างนั้นไม่มีผลมาก
[๒๗๘] ผู้ใดไม่มีความเคารพในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ผู้นั้นย่อมห่างไกลจากพระสัทธรรม เหมือนฟ้ากับดิน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๔. จตุตกกนิบาต] ๕. ชัมพุกเถรคาถา
๔. นันทกเถรคาถา
ภาษิตของพระนันทกเถระ
(พระนันทกเถระได้กล่าว ๔ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๒๗๙] น่าติเตียนร่างกายของเธอ
ที่เต็มไปด้วยของน่ารังเกียจ มีกลิ่นเหม็น
เป็นฝักฝ่ายของมาร ชุ่มไปด้วยกิเลส
มีช่อง ๙ ช่อง๑ เป็นที่ไหลออกแห่งของไม่สะอาดเป็นประจำ
[๒๘๐] เธออย่าได้คิดถึงเรื่องเก่า
อย่ามาเย้ายวนพระอริยสาวกเลย
แม้ในสวรรค์ ท่านเหล่านั้นก็ยังไม่ยินดี
จะกล่าวไปใยถึงกามคุณของมนุษย์เล่า
[๒๘๑] ชนเหล่าใดโง่เขลา เบาปัญญา
ไม่มีความคิด ถูกโมหะครอบงำ
ชนเช่นนั้นย่อมยินดีในบ่วงที่มารวางดักไว้นั้น
[๒๘๒] ชนเหล่าใดคลายราคะ โทสะ และอวิชชาได้แล้ว
ชนเช่นนั้นเป็นผู้มั่นคง ตัดด้ายคือตัณหาที่นำไปสู่ภพได้ขาด
ไม่มีเครื่องผูก จึงไม่ยินดีในบ่วงแห่งมารนั้น

๕. ชัมพุกเถรคาถา
ภาษิตของพระชัมพุกเถระ
(พระชัมพุกเถระได้กล่าว ๔ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๒๘๓] ตลอดเวลา ๕๕ ปี เรามีกายหมักหมมด้วยฝุ่น
บริโภคอาหารเดือนละครั้ง ถอนผมและหนวดออกแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ ทวาร ๙ คือ ตา (๒) หู (๒) จมูก (๒) ปาก (๑) ทวารหนัก (๑) ทวารเบา (๑) รวมเป็น ๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๔. จตุตกกนิบาต] ๖. เสนกเถรคาถา
[๒๘๔] ยืนด้วยเท้าข้างเดียว เว้นการนั่ง
กินคูถแห้งและไม่ยินดีอาหารที่เขาเชื้อเชิญ
[๒๘๕] เราได้ทำบาปกรรมอันเป็นเหตุให้ไปสู่ทุคติเป็นอันมากเช่นนั้น
ถูกโอฆะต่าง ๆ พัดพาไป
จึงได้ถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่ง
[๒๘๖] ท่านจงมองเห็นการถึงสรณะ
จงมองเห็นธรรมว่าเป็นธรรมดีงาม
เราบรรลุวิชชา ๓ ได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว

๖. เสนกเถรคาถา
ภาษิตของพระเสนกเถระ
(พระเสนกเถระได้กล่าว ๔ คาถาด้วยการเปล่งอุทานว่า)
[๒๘๗] เป็นการดีหนอที่เรามาใกล้ท่าน้ำคยาในวันเพ็ญเดือน ๔
เพราะได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมอันประเสริฐ
[๒๘๘] ซึ่งพระองค์มีพระรัศมีมากอย่าง
เป็นพระคณาจารย์ ผู้ถึงความเป็นผู้เลิศ
ทรงเป็นผู้นำอย่างยอดเยี่ยมของชาวโลกพร้อมทั้งเทวโลก
ทรงเป็นผู้ชนะมาร มีพระญาณหาประมาณมิได้
[๒๘๙] มีอานุภาพมาก มีความเพียรมาก มีความรุ่งเรืองมาก
ไม่มีอาสวะ สิ้นอาสวะทั้งมวล
เป็นพระศาสดา ไม่มีภัยแต่ที่ไหน ๆ
[๒๙๐] พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ได้ทรงปลดเปลื้องเรามีนามว่าเสนกะ
ผู้เศร้าหมองมานาน ถูกมิจฉาทิฏฐิหุ้มห่อไว้
จากกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งสิ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๔. จตุตกกนิบาต] ๘. ราหุลเถรคาถา
๗. สัมภูตเถรคาถา
ภาษิตของพระสัมภูตเถระ
ทราบว่า ท่านพระสัมภูตเถระได้กล่าวคาถา ๔ คาถาไว้ดังนี้ว่า
[๒๙๑] ผู้ใดรีบในเวลาที่ควรช้า
และช้าในเวลาที่ควรรีบ
ผู้นั้นเป็นคนเขลา ย่อมประสบทุกข์
เพราะไม่จัดแจงโดยแยบคาย
[๒๙๒] ประโยชน์ของเขาย่อมเสื่อมไป
เหมือนดวงจันทร์ข้างแรม
เขาย่อมได้รับความตำหนิจากวิญญูชน
และพลาดจากมิตรทั้งหลาย
[๒๙๓] ผู้ใดช้าในเวลาที่ควรช้า
และรีบในเวลาที่ควรรีบ
ผู้นั้นเป็นบัณฑิตย่อมประสบสุข
เพราะจัดแจงโดยอุบายที่แยบคาย
[๒๙๔] ประโยชน์ของเขา ย่อมบริบูรณ์
เหมือนดวงจันทร์ข้างขึ้น
เขาย่อมได้รับการยกย่องสรรเสริญ
และไม่พลาดจากมิตรทั้งหลาย

๘. ราหุลเถรคาถา
ภาษิตของพระราหุลเถระ
(พระราหุลเถระได้กล่าว ๔ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๒๙๕] ชนทั้งหลายรู้จักเราว่า พระราหุลผู้เจริญ
เพียบพร้อมด้วยคุณสมบัติ ๒ ประการนั่นเอง
คือเพราะเหตุที่เราเป็นโอรสของพระพุทธเจ้า
และได้ดวงตาเห็นธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๔. จตุตกกนิบาต] ๙. จันทนเถรคาถา
[๒๙๖] อนึ่ง เพราะอาสวะของเราหมดสิ้นแล้ว
และเพราะไม่มีการเกิดอีก
เราจึงเป็นพระอรหันต์ ผู้ควรแก่ทักษิณา
บรรลุวิชชา ๓ เห็นอมตธรรม
[๒๙๗] สัตว์ทั้งหลายมืดมนเพราะกาม
ถูกข่ายรัดรึงไว้แน่น ถูกเครื่องมุงบังคือตัณหาปกคลุมไว้
ถูกเครื่องผูกคือความประมาทผูกพันไว้ เหมือนปลาในข้อง
[๒๙๘] เราสลัดกามนั้นได้ ตัดบ่วงมารได้
ถอนตัณหาพร้อมทั้งรากเหง้า
จึงเป็นผู้เย็นดับสนิท

๙. จันทนเถรคาถา
ภาษิตของพระจันทนเถระ
(พระจันทนเถระได้พยากรณ์พระอรหัตด้วยคาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๒๙๙] ภรรยาแต่งตัวด้วยเครื่องประดับล้วนแต่เป็นทองคำ
มีหมู่สาวใช้ห้อมล้อม ได้อุ้มลูกมาหาเรา
[๓๐๐] แต่(เรา)พอเห็นนางผู้เป็นมารดาแห่งบุตรของเรา
ได้ตกแต่งร่างกายนุ่งผ้าสวยงาม กำลังมา
เหมือนบ่วงมัจจุราชที่วางดักไว้
[๓๐๑] จากนั้น โยนิโสมนสิการจึงเกิดขึ้นแก่เรา
โทษก็ปรากฏ ความเบื่อหน่ายก็เกิดขึ้นพร้อมกัน
[๓๐๒] ต่อแต่นั้น จิตของเราก็หลุดพ้น
ท่านจงมองเห็นธรรมว่าเป็นธรรมดีงาม
เราบรรลุวิชชา ๓ ได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๔. จตุตกกนิบาต] ๑๐. ธัมมิกเถรคาถา
๑๐. ธัมมิกเถรคาถา
ภาษิตของพระธรรมิกเถระ
(พระศาสดา ได้ตรัส ๓ พระคาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๓๐๓] ธรรมเท่านั้นย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม
ธรรมที่ประพฤติดีแล้วย่อมนำสุขมาให้
นี้เป็นอานิสงส์ในธรรมที่ประพฤติดีแล้ว
ผู้ประพฤติธรรมย่อมไม่ไปสู่ทุคติ
[๓๐๔] เพราะธรรมและอธรรมทั้งสองมีผลไม่เหมือนกัน
อธรรมนำไปสู่นรก
ธรรมให้ถึงสุคติ
[๓๐๕] เพราะเหตุนั้น บุคคลเมื่อชื่นชมยินดีด้วยโอวาท
อันพระตถาคตผู้มั่นคงตรัสไว้ดีแล้วอย่างนี้
พึงทำความพอใจในธรรมทั้งหลาย
สาวกทั้งหลายของพระตถาคตผู้ประเสริฐ
ตั้งอยู่ในธรรมแล้ว เป็นนักปราชญ์
ถึงธรรมว่าเป็นที่พึ่งอันประเสริฐสุด
ย่อมพ้นไปได้
(พระธรรมิกเถระได้พยากรณ์พระอรหัตด้วยคาถาสุดท้ายว่า)
[๓๐๖] เรากำจัดอวิชชาซึ่งเป็นรากเหง้าดุจหัวฝี
ถอนข่ายคือตัณหาได้แล้ว
เรานั้นสิ้นสังสารวัฏแล้ว
และไม่มีกิเลสเป็นเหตุขัดข้อง
เหมือนดวงจันทร์ในวันเพ็ญปราศจากเมฆหมอก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๔. จตุตกกนิบาต] ๑๒. มุทิตเถรคาถา
๑๑. สัปปกเถรคาถา
ภาษิตของพระสัปปกเถระ
(พระสัปปกเถระได้กล่าว ๔ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๓๐๗] เมื่อใด นางนกยางมีขนขาวสะอาด
ถูกความกลัวต่อเมฆดำ(ฝนฟ้าคะนอง)คุกคาม
ปรารถนาจะกลับรัง จะบินเข้าสู่รัง
เมื่อนั้น แม่น้ำอชกรณี ย่อมทำเราให้รื่นรมย์
[๓๐๘] เมื่อใด นางนกยางมีขนขาวสะอาด
ถูกความกลัวต่อเมฆดำคุกคาม
ไม่เห็นที่เร้นที่หลบภัย ย่อมเสาะหาที่เร้นที่หลบภัย
เมื่อนั้น แม่น้ำอชกรณี ย่อมทำเราให้รื่นรมย์
[๓๐๙] ต้นหว้าทั้งหลาย ณ ที่นั้น ๆ ทั้งสองฟากฝั่ง
ทำฝั่งแม่น้ำข้างหลังถ้ำใหญ่ให้งดงาม
จะทำสัตว์อะไร ไม่ให้ยินดีได้ในที่นั้นเล่า
[๓๑๐] กบทั้งหลายมีผู้เสียงเบา
หลบหนีฝูงงูพิษได้อย่างปลอดภัย
พากันส่งเสียงร้องอย่างไพเราะ
วันนี้เป็นสมัยที่อยู่ปราศจากภูเขาและแม่น้ำก็หาไม่
แม่น้ำอชกรณีเป็นแม่น้ำที่ปลอดภัย สวยงาม น่ารื่นรมย์ดี

๑๒. มุทิตเถรคาถา
ภาษิตของพระมุทิตเถระ
(พระมุทิตเถระได้กล่าว ๔ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๓๑๑] เราต้องการจะเลี้ยงชีพ จึงได้บรรพชาอุปสมบทแล้ว
จากนั้นจึงได้มีศรัทธา มีความเพียรบากบั่นมั่นคง โดยตั้งใจว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๔. จตุตกกนิบาต] รวมเรื่องพระเถระที่มีในนิบาต
[๓๑๒] ร่างกายของเรานี้จงแตกทำลายไปเถิด
เนื้อหนังของเราจงเหือดแห้งไป
แข้งขาทั้ง ๒ จะหลุดจากที่ต่อเข่าทั้ง ๒ พลัดตกไปก็ตามที
[๓๑๓] เมื่อเรายังถอนลูกศรคือตัณหาขึ้นไม่ได้
เราจักไม่กิน ไม่ดื่ม ไม่ออกไปจากวิหาร
ทั้งจักไม่เอนกายนอน
[๓๑๔] เชิญท่านดู ความเพียรและความบากบั่นของเรานั้น
ผู้อยู่อย่างนี้ เราบรรลุวิชชา ๓
ได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว
จตุกกนิบาต จบ

รวมเรื่องพระเถระที่มีในนิบาตนี้ คือ

๑. พระนาคสมาลเถระ ๒. พระภคุเถระ
๓. พระสภิยเถระ ๔. พระนันทกเถระ
๕. พระชัมพุกเถระ ๖. พระเสนกเถระ
๗. พระสัมภูตเถระ ๘. พระราหุลเถระ
๙. พระจันทนเถระ ๑๐. พระธรรมิกเถระ
๑๑. พระสัปปกเถระ ๑๒. พระมุทิตเถระ

มี ๕๒ (๔๘) คาถา
และพระเถระทั้งหมดก็มี ๑๓ รูป (๑๒ รูป) ฉะนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๕. ปัญจกนิบาต] ๑. ราชทัตตเถรคาถา
๕. ปัญจกนิบาต
๑. ราชทัตตเถรคาถา
ภาษิตของพระราชทัตตเถระ
(พระราชทัตตเถระได้กล่าว ๕ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๓๑๕] ภิกษุไปป่าช้าผีดิบ๑แล้ว
ได้เห็นซากศพหญิงที่ถูกทอดทิ้งไว้ในป่าช้า
ทั้งถูกหมู่หนอนบ่อนกัดกินอยู่
[๓๑๖] ธรรมดาคนผู้รักสวยรักงามบางพวก
พบเห็นซากศพอันเลวแล้วพากันเกลียดชัง
(แต่)กามราคะปรากฏแก่เรา
เรานั้นเป็นเหมือนคนตาบอด
เพราะไม่เห็นของไม่สะอาด
ที่ไหลออกจากทวารทั้ง ๙ ในซากศพนั้น
[๓๑๗] ชั่วระยะเวลาที่ข้าวสุก
เราหลีกออกจากสถานที่นั้น
มีสติสัมปชัญญะ
ได้เข้าไปยังสถานที่สมควรแห่งหนึ่ง
[๓๑๘] จากนั้น โยนิโสมนสิการจึงเกิดขึ้นแก่เรา
โทษก็ปรากฏ ความเบื่อหน่ายก็เกิดขึ้นพร้อมกัน
[๓๑๙] ต่อแต่นั้น จิตของเราก็หลุดพ้น
ท่านจงมองเห็นธรรมว่าเป็นธรรมดีงาม
เราบรรลุวิชชา ๓ ได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ ภิกฺขุ อสุภกมฺมฏฺฐานตฺถํ อุปคนฺตฺวา ภิกษุไปป่าช้าผีดิบเพื่อเจริญอสุภกรรมฐาน (ขุ.เถร.อ. ๒/๓๑๕/๔๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๕. ปัญจกนิบาต] ๒. สุภูตเถรคาถา
๒. สุภูตเถรคาถา
ภาษิตของพระสุภูตเถระ
(พระสุภูตเถระได้กล่าว ๕ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๓๒๐] คนผู้ประสงค์จะทำการงาน
ประกอบตนอยู่ในการงานที่ไม่ควรประกอบ
หากยังขืนทำอยู่
จะไม่ประสบความสำเร็จ
การประกอบในการงานที่ไม่ควรประกอบนั้นแล
เป็นลักษณะแห่งความล้มเหลว
[๓๒๑] บุคคลใดยังเพิกถอนความเป็นอยู่อย่างลำบากไม่ได้
หากละทิ้งความไม่ประมาทซึ่งเป็นธรรมอันเอกเสีย
บุคคลนั้นเป็นเหมือนคนกาลกิณี
หากละทิ้งธรรมอื่น ๆ เสียแม้ทั้งหมด
ก็จะพึงเป็นเหมือนคนตาบอด
เพราะมองไม่เห็นทั้งธรรมที่สงบและธรรมที่ไม่สงบ
[๓๒๒] บุคคลควรพูดถึงสิ่งที่ตนทำได้
ไม่พึงพูดถึงสิ่งที่ตนทำไม่ได้
บัณฑิตทั้งหลายย่อมรู้จักบุคคลผู้ไม่ทำ ดีแต่พูด
[๓๒๓] ดอกไม้งาม มีสีสวย(แต่)ไม่มีกลิ่น แม้ฉันใด
วาจาสุภาษิตก็ฉันนั้น
ย่อมไม่มีผลแก่ผู้ไม่ทำตาม
[๓๒๔] ดอกไม้งาม มีทั้งสีและมีกลิ่น แม้ฉันใด
วาจาสุภาษิต ก็ฉันนั้น
ย่อมมีผลแก่ผู้ทำตามด้วยดี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๕. ปัญจกนิบาต] ๓. คิริมานันทเถรคาถา
๓. คิริมานันทเถรคาถา
ภาษิตของพระคิริมานันทเถระ
(พระคิริมานันทเถระได้กล่าว ๕ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๓๒๕] ฝนตกลงมาเสียงดังกระหึ่มคล้ายเสียงเพลงอันไพเราะ
กุฎีของเราสบาย มุงบังมิดชิดดี
เราเข้าไปสงบอยู่ในกุฎีนั้น
ถ้าต้องการจะตก ก็จงตกลงมาเถิดฝน
[๓๒๖] ฝนตกลงมาเสียงดังกระหึ่มคล้ายเสียงเพลงอันไพเราะ
กุฎีของเราสบาย มุงบังมิดชิดดี
เรามีจิตสงบอยู่ในกุฎีนั้น
ถ้าต้องการจะตก ก็จงตกลงมาเถิดฝน
[๓๒๗] ฝนตกลงมาเสียงดังกระหึ่มคล้ายเสียงเพลงอันไพเราะ
กุฎีของเราสบาย มุงบังมิดชิดดี
เราไม่มีราคะอยู่ในกุฎีนั้น
ถ้าต้องการจะตก ก็จงตกลงมาเถิดฝน
[๓๒๘] ฝนตกลงมาเสียงดังกระหึ่มคล้ายเสียงเพลงอันไพเราะ
กุฎีของเราสบาย มุงบังมิดชิดดี
เราไม่มีโทสะอยู่ในกุฎีนั้น
ถ้าต้องการจะตก ก็จงตกลงมาเถิดฝน
[๓๒๙] ฝนตกลงมาเสียงดังกระหึ่มคล้ายเสียงเพลงขับอันไพเราะ
กุฎีของเราสบาย มุงบังมิดชิดดี
เราไม่มีโมหะอยู่ในกุฎีนั้น
ถ้าต้องการจะตก ก็จงตกลงมาเถิดฝน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๕. ปัญจกนิบาต] ๔. สุมนเถรคาถา
๔. สุมนเถรคาถา
ภาษิตของพระสุมนเถระ
(พระสุมนเถระเมื่อเปล่งอุทานจึงได้กล่าว ๕ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๓๓๐] พระอุปัชฌาย์ปรารถนาธรรมข้อใด ในบรรดาธรรมทั้งหลาย
จึงได้อนุเคราะห์เราผู้มุ่งหวังแต่นิพพาน
กิจที่ควรทำ เราได้ทำเสร็จสิ้นแล้ว
[๓๓๑] ธรรม๑เราได้บรรลุแล้ว
ทำให้แจ้งประจักษ์ด้วยตนเองแล้ว
เรานั้นมีญาณบริสุทธิ์ หมดความสงสัย
จึงประกาศให้แจ้งในสำนักท่าน
[๓๓๒] เรารู้จักขันธ์ที่อาศัยอยู่มาก่อน๒
ชำระทิพยจักษุให้หมดจดแล้ว
เราได้บรรลุประโยชน์ตน ได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว
[๓๓๓] เราไม่ประมาท
ศึกษาสิกขามาอย่างดีในคำสอนของท่าน
กิเลสอาสวะทั้งมวลของเราสิ้นไปแล้ว
บัดนี้ ไม่มีการเกิดอีก
[๓๓๔] ท่านมีแต่ความเอ็นดู
ได้อนุเคราะห์สั่งสอนเรา ด้วยข้อวัตรปฏิบัติที่ประเสริฐ
คำสอนของท่านไม่ไร้ค่า
เราเป็นอันเตวาสิกศึกษาแล้วในสำนักของท่าน

เชิงอรรถ :
๑ มรรค ๔ (๑) โสดาปัตติมรรค (๒) สกทาคามิมรรค (๓) อนาคามิมรรค (๔) อรหัตตมรรค
(ขุ.เถร.อ. ๒/๓๓๑/๕๕)
๒ บุพเพสันนิวาส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๕. ปัญจกนิบาต] ๖. นทีกัสสปเถรคาถา
๕. วัฑฒเถรคาถา
ภาษิตของพระวัฑฒเถระ
(พระวัฑฒเถระได้กล่าว ๕ คาถากึ่งไว้ดังนี้ว่า)
[๓๓๕] ทราบว่า โยมมารดาของเราดีแท้
ได้ชี้ให้เราเห็นประตักอันเป็นคำสั่งสอน
ซึ่งเราได้ถูกท่านผู้ให้กำเนิด พร่ำสอน ฟังคำมาแล้ว
ก็ได้ปรารภความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว
ได้บรรลุสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม
[๓๓๖] เราเป็นพระอรหันต์ ผู้ควรแก่ทักษิณา
บรรลุวิชชา ๓ เห็นอมตธรรม
ชนะเสนามารได้แล้ว อยู่อย่างไม่มีอาสวะ
[๓๓๗] อาสวะที่มีแก่เราทั้งภายในและภายนอก
เราถอนได้หมดสิ้นแล้ว และจะเกิดขึ้นไม่ได้อีก
[๓๓๘] โยมมารดาเป็นหญิงผู้มีความแกล้วกล้า
ได้กล่าวเนื้อความนี้แก่เรา
แม้เมื่อเราเป็นบุตรของท่านผู้ไม่มีกิเลส
กิเลสอันเปรียบเหมือนหมู่ไม้ในป่าก็ย่อมไม่มีแก่ท่านแน่
[๓๓๙] ทุกข์เราทำให้สิ้นสุดแล้ว
อัตภาพนี้มีเป็นครั้งสุดท้าย
สังสารวัฏคือความเกิดและความตายหมดสิ้นแล้ว
บัดนี้ ไม่มีการเกิดอีก

๖. นทีกัสสปเถรคาถา
ภาษิตของพระนทีกัสสปเถระ
(พระนทีกัสสปเถระได้กล่าว ๕ คาถาไว้ดังนี้ว่า)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๕. ปัญจกนิบาต] ๗. คยากัสสสปเถรคาถา
[๓๔๐] พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาสู่แม่น้ำเนรัญชรา
เพื่อเป็นประโยชน์แก่เราผู้ได้ฟังธรรมแล้วละมิจฉาทิฏฐิได้
[๓๔๑] ครั้งเมื่อเราเป็นปุถุชนยังมืดมนอยู่
สำคัญเอาว่า การบูชายัญนี้เป็นความบริสุทธิ์
จึงได้บูชายัญต่าง ๆ ชนิด และได้บูชาไฟด้วย
[๓๔๒] เรานั้นยึดถือทิฏฐิ
ลุ่มหลงไปด้วยการเชื่อถือผิด
เป็นคนตาบอด ยังไม่รู้แจ้ง
ได้สำคัญถึงความไม่บริสุทธิ์ ว่าเป็นความบริสุทธิ์
[๓๔๓] มิจฉาทิฏฐิเราละได้แล้ว
ภพทั้งปวงเราทำลายได้แล้ว
บัดนี้ เราบูชาไฟคือพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ควรแก่ทักษิณา
เราจะนอบน้อมพระตถาคต
[๓๔๔] ความลุ่มหลงทั้งปวงเราละได้แล้ว
ภวตัณหาเราก็ทำลายได้แล้ว
การเวียนว่ายตายเกิดสิ้นไปแล้ว
บัดนี้ ไม่มีการเกิดอีก

๗. คยากัสสปเถรคาถา
ภาษิตของพระคยากัสสปเถระ
(พระคยากัสสปเถระได้กล่าว ๕ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๓๔๕] เรานั้นได้ลงน้ำ(ลอยบาป)ในแม่น้ำคยา
ในวันเพ็ญเดือน ๔ วันหนึ่ง ๓ เวลา
คือ เวลาเช้า เวลาเที่ยง เวลาเย็น
โดยเข้าใจเอาว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๕. ปัญจกนิบาต] ๘. วักกลิเถรคาถา
[๓๔๖] เราได้เสวยบาปกรรมที่เราทำไว้ในชาติอื่น ๆ แต่ปางก่อน
บัดนี้ เราจะลอยบาปนั้นเสียตรงนี้
เราได้มีความเห็นอย่างนี้มาแต่เดิม
[๓๔๗] เรานั้นครั้นฟังพระวาจาสุภาษิต
อันเป็นบทที่ประกอบด้วยเหตุผลแล้ว
ก็ได้พิจารณาเห็นเนื้อความตามความเป็นจริง
ได้อย่างถ่องแท้ โดยแยบคาย
[๓๔๘] ล้างบาปได้หมดแล้ว เป็นผู้ไม่มีมลทิน
หมดจดสะอาด บริสุทธิ์
เป็นทายาทของพระพุทธเจ้า
เป็นบุตรพุทธโอรส
[๓๔๙] เราก้าวลงสู่กระแสน้ำคือมรรคอันมีองค์ ๘
ลอยบาปได้หมดแล้ว จึงบรรลุวิชชา ๓
ได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว

๘. วักกลิเถรคาถา
ภาษิตของพระวักกลิเถระ
(พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า)
[๓๕๐] เธอ เมื่ออยู่ในป่าใหญ่เป็นสถานที่ลำบาก
หาปัจจัยได้ยาก ถูกโรคลมรบกวน จักทำอย่างไรละภิกษุ
พระวักกลิเถระ (ได้กราบทูลว่า)
[๓๕๑] ข้าพระองค์จักแผ่ปีติสุขอันไพบูลย์ไปทั่วร่างกาย
ครอบงำแม้ปัจจัยที่เศร้าหมอง อยู่ในป่าใหญ่
[๓๕๒] จะเจริญสติปัฏฐาน ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕
และโพชฌงค์ ๗ อยู่ในป่าใหญ่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๕. ปัญจกนิบาต] ๙. วิชิตเสนเถรคาถา
[๓๕๓] ข้าพระองค์พอได้เห็นเพื่อนพรหมจารี๑ทั้งหลาย
ผู้ปรารภความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว
มีความบากบั่นมั่นคงเป็นนิตย์ มีความสามัคคีพร้อมเพรียงกัน
มีความเห็นร่วมกัน จึงจักอยู่ในป่าใหญ่
[๓๕๔] เมื่อระลึกถึงพระพุทธเจ้า ผู้ฝึกพระองค์แล้ว
มีพระหฤทัยตั้งมั่น จักเป็นผู้ไม่เกียจคร้าน
ทั้งกลางวันและกลางคืนอยู่ในป่าใหญ่

๙. วิชิตเสนเถรคาถา
ภาษิตของพระวิชิตเสนเถระ
(พระวิชิตเสนเถระได้กล่าว ๕ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๓๕๕] เราจะคล้องจิตของเจ้าไว้
เหมือนควาญช้างกักช้างไว้ที่ประตูเมือง
เราจะไม่ชักนำเจ้าซึ่งเป็นข่ายแห่งกามเกิดในร่างกาย
ให้เป็นไปในกรรมชั่ว
[๓๕๖] เจ้าถูกเราคล้องไว้จะไปไม่ได้
เหมือนช้างไม่ได้ช่องประตู หมดทางไป
แน่ะจิตผู้ชั่วช้า ก็เจ้าผู้ดื้อด้าน
จะพอใจในกรรมชั่ว เที่ยวไปเสมอ ๆ มิได้
[๓๕๗] ควาญช้างผู้มีกำลังเข้มแข็ง
ย่อมบังคับช้างที่จับได้ใหม่ ยังไม่ได้ฝึก
ทั้งไม่ต้องการ(จะให้ฝึก)ด้วย ให้อยู่ในอำนาจได้ ฉันใด
เราจะบังคับเจ้าให้อยู่ในอำนาจได้ ฉันนั้น

เชิงอรรถ :
๑ ผู้ประพฤติพรหมจรรย์,ผู้ประพฤติธรรมมีเว้นจากเมถุนเป็นต้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๓๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๕. ปัญจกนิบาต] ๑๐. ยสทัตตเถรคาถา
[๓๕๘] สารถีมือหนึ่ง เก่งในการฝึกม้าให้ดี
ย่อมฝึกม้าให้รอบรู้ได้ ฉันใด
เราตั้งอยู่ในพละ ๕
จะฝึกเจ้าให้ได้ ฉันนั้น
[๓๕๙] จักใช้สติผูกเจ้าไว้ จะคอยเอาใจใส่ฝึกเจ้า
เจ้าจิตเอ๋ย เจ้าถูกบังคับให้ทำธุระด้วยความเพียรแล้ว
จะไปไกลจากอารมณ์ภายในนี้ไม่ได้

๑๐. ยสทัตตเถรคาถา
ภาษิตของพระยสทัตตเถระ
(พระยสทัตตเถระได้กล่าว ๕ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๓๖๐] คนปัญญาทราม คิดแต่จะแข่งดี
ถึงฟังคำสอนของพระชินเจ้า
ก็ยังไกลจากพระสัทธรรม เหมือนฟ้ากับดิน
[๓๖๑] คนปัญญาทราม คิดแต่จะแข่งดี
ถึงฟังคำสอนของพระชินเจ้า
ก็ยังเสื่อมจากพระสัทธรรม เหมือนดวงจันทร์ข้างแรม
[๓๖๒] คนปัญญาทราม คิดแต่จะแข่งดี
ถึงฟังคำสอนของพระชินเจ้า
ก็ยังเหี่ยวแห้งในพระสัทธรรม เหมือนปลาในน้ำน้อย
[๓๖๓] คนปัญญาทราม คิดแต่จะแข่งดี
ถึงฟังคำสอนของพระชินเจ้า
ก็ไม่งอกงามในพระสัทธรรม เหมือนพืชเน่าในไร่นา
[๓๖๔] ส่วนผู้ใดมีจิตอันคุ้มครองไว้แล้ว ย่อมฟังคำสอนของพระชินเจ้า
ผู้นั้นทำอาสวะทั้งปวงให้สิ้นไป ทำพระอรหัตให้แจ้งแล้ว
บรรลุนิพพานอันสงบอย่างยิ่ง เป็นผู้ไม่มีอาสวะ ปรินิพพาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๕. ปัญจกนิบาต] ๑๒. โกสิยเถรคาถา
๑๑. โสณกุฏิกัณณเถรคาถา
ภาษิตของพระโสณกุฏิกัณณเถระ
(พระโสณกุฏิกัณณเถระได้กล่าว ๕ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๓๖๕] เราได้อุปสมบทแล้ว เป็นผู้หลุดพ้น ไม่มีอาสวะ
ได้เฝ้าพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
และได้อยู่ร่วมกับพระองค์ในพระวิหาร
[๓๖๖] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่กลางแจ้งหลายราตรีนั่นเทียว
คราวนั้นพระศาสดา ผู้ทรงฉลาดในธรรมเป็นเครื่องอยู่
ได้เสด็จเข้าไปสู่พระวิหาร
[๓๖๗] พระโคดมได้ทรงลาดผ้าสังฆาฏิ
สำเร็จสีหไสยาสน์ ละความขลาดกลัวได้แล้ว
เหมือนราชสีห์นอนอยู่ในถ้ำภูเขา
[๓๖๘] จากนั้น โสณสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้กล่าววาจาไพเราะ
ได้กล่าวพระสัทธรรมถวาย
เบื้องพระพักตร์พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ
[๓๖๙] กำหนดรู้เบญจขันธ์
ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ อันเป็นทางตรงให้เจริญ
บรรลุนิพพานอันสงบอย่างยิ่ง
จักเป็นผู้ไม่มีอาสวะ ปรินิพพาน

๑๒. โกสิยเถรคาถา
ภาษิตของพระโกสิยเถระ
(พระโกสิยเถระได้กล่าว ๕ คาถาไว้ดังนี้ว่า)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๕. ปัญจกนิบาต] ๑๒. โกสิยเถรคาถา
[๓๗๐] ผู้ใดเป็นปราชญ์ รู้คำสั่งสอนของครูทั้งหลาย
พึงอยู่ในโอวาทของท่าน
และพึงทำความเคารพให้เกิดในโอวาทของท่าน
ผู้นั้นชื่อว่ามีความภักดี เป็นบัณฑิต
และพึงเป็นผู้วิเศษเพราะรู้ธรรมทั้งหลาย
[๓๗๑] อันตรายที่ร้ายแรงเกิดขึ้นแล้ว
ทำผู้ใดซึ่งพิจารณาอยู่ให้หวั่นไหวไม่ได้
ผู้นั้นชื่อว่ามีกำลัง เป็นบัณฑิต
และพึงเป็นผู้วิเศษเพราะรู้ธรรมทั้งหลาย
[๓๗๒] ผู้ใดตั้งมั่นไม่หวั่นไหว
มีปัญญาลึกซึ้ง เหมือนมหาสมุทร
เห็นอรรถที่ละเอียด
ผู้นั้นชื่อว่าเป็นผู้ไม่ง่อนแง่น เป็นบัณฑิต
และพึงเป็นผู้วิเศษ เพราะรู้ธรรมทั้งหลาย
[๓๗๓] ผู้ใดเป็นพหูสูต ทรงธรรม
และมักประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม
ผู้นั้นชื่อว่าเป็นบัณฑิตเช่นกับครูนั้น
และพึงเป็นผู้วิเศษเพราะรู้ธรรมทั้งหลาย
[๓๗๔] ผู้ใดย่อมรู้ความหมายของพระปริยัติธรรม
ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้แล้ว
และครั้นรู้แล้วก็ทำตามที่รู้
ผู้นั้นชื่อว่าเป็นผู้อยู่ในอำนาจเหตุผล เป็นบัณฑิต
และพึงเป็นผู้วิเศษเพราะรู้ธรรมทั้งหลาย
ปัญจกนิบาต จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๕. ปัญจกนิบาต] รวมเรื่องพระเถระที่มีในนิบาต
รวมเรื่องพระเถระที่มีในนิบาตนี้ คือ

๑. พระราชทัตตเถระ ๒. พระสุภูตเถระ
๓. พระคิริมานันทเถระ ๔. พระสุมนเถระ
๕. พระวัฑฒเถระ ๖. พระนทีกัสสปเถระ
๗. พระคยากัสสปเถระ ๘. พระวักกลิเถระ
๙. พระวิชิตเถระ ๑๐. พระยสทัตตเถระ
๑๑. พระโสณกุฏิกัณณเถระ ๑๒. พระโกสิยเถระ

ในนิบาตนี้ มีพระเถระ ๑๒ รูป
กล่าวรูปละ ๕ คาถา รวมเป็น ๖๐ คาถา ฉะนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๐๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๖. ฉักกนิบาต] ๑. อุรุเวลกัสสปเถรคาถา
๖. ฉักกนิบาต
๑. อุรุเวลกัสสปเถรคาถา
ภาษิตของพระอุรุเวลกัสสปเถระ
(พระอุรุเวลกัสสปเถระได้กล่าว ๖ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๓๗๕] (พระโคดมยังไม่กำราบเราเพียงใด)
เราเห็นปาฏิหาริย์ของพระโคดมผู้เรืองยศแล้ว
ก็ยังเป็นคนลวงโลกด้วยความริษยา และมานะ
ยังไม่นอบน้อม เพียงนั้น
[๓๗๖] พระศาสดาผู้เป็นสารถีฝึกคน
ทรงทราบความดำริของเราแล้ว ก็ทรงปราม
แต่นั้น เราก็ได้มีความสังเวช
ขนพองสยองเกล้าอย่างไม่เคยเป็น
[๓๗๗] คราวนั้น เราละความสำเร็จนิดหน่อยของเรา
ครั้งที่เคยเป็นชฎิล๑
แล้วบวชในพระศาสนาของพระชินเจ้า
[๓๗๘] ครั้งก่อน เรายินดีด้วยการบูชายัญ มุ่งกามสุคติภูมิ
ภายหลัง ถอนราคะ โทสะ และแม้โมหะได้ขาด
[๓๗๙] เรารู้ขันธ์ที่อาศัยอยู่มาก่อน
ได้ชำระทิพยจักษุให้หมดจดแล้ว
มีฤทธิ์ รู้จิตของผู้อื่น
และบรรลุทิพพโสตญาณ
[๓๘๐] อนึ่ง เราออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเพื่อประโยชน์ใด
ประโยชน์นั้นเป็นที่สิ้นไปแห่งสังโยชน์ทั้งปวง เราบรรลุแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ นักบวชประเภทหนึ่ง เกล้าผมมุ่นเป็นมวยสูงขึ้น มักถือลัทธิบูชาไฟ บางครั้งจัดเข้าในพวกฤษี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๖. ฉักกนิบาต]๒. เตกิจฉกานิเถรคาถา
๒. เตกิจฉกานิเถรคาถา
ภาษิตของพระเตกิจฉกานิเถระ
(มารกล่าวว่า)
[๓๘๑] ข้าวเปลือกเขาเก็บไว้ในฉาง
ข้าวสาลีก็ยังอยู่ในลาน
ข้าพเจ้าไม่ได้ก้อนข้าว
บัดนี้ยังจะทำอย่างไร
(พระเตกิจฉกานิเถระกล่าวว่า)
[๓๘๒] ท่านเลื่อมใสแล้ว
จงระลึกถึงพระพุทธเจ้า
ซึ่งมีพระคุณหาประมาณมิได้
จะเป็นผู้มีสรีระที่ปีติถูกต้องแล้วเบิกบานใจเนือง ๆ
[๓๘๓] ท่านเลื่อมใสแล้ว
จงระลึกถึงพระธรรม
ซึ่งมีพระคุณหาประมาณมิได้
จะเป็นผู้มีสรีระที่ปีติถูกต้องแล้ว เบิกบานใจเนือง ๆ
[๓๘๔] ท่านเลื่อมใสแล้ว
จงระลึกถึงพระสงฆ์
ซึ่งมีพระคุณหาประมาณมิได้
จะเป็นผู้มีสรีระที่ปีติถูกต้องแล้ว เบิกบานใจเนือง ๆ
(มารกล่าวว่า)
[๓๘๕] ท่านอยู่กลางแจ้ง
ตลอดราตรีที่เย็น ซึ่งเป็นฤดูหนาวเหล่านี้
ท่านอย่าได้ถูกความหนาวรบกวน เบียดเบียนเลย
นิมนต์เข้าวิหารซึ่งมีบานประตูหน้าต่างมิดชิดเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๖. ฉักกนิบาต] ๓. มหานาคเถรคาถา
(พระเตกิจฉกานิเถระกล่าวว่า)
[๓๘๖] เราจะสัมผัสอัปปมัญญาทั้งสี่๑
และจะมีความสุข อยู่ด้วยอัปปมัญญาเหล่านั้น
เราจะอยู่อย่างไม่หวั่นไหว
ไม่เดือดร้อน เพราะความหนาวอยู่

๓. มหานาคเถรคาถา
ภาษิตของพระมหานาคเถระ
(พระมหานาคเถระได้กล่าว ๖ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๓๘๗] ผู้ใดไม่มีความเคารพในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ผู้นั้น ย่อมเสื่อมจากพระสัทธรรม
เหมือนปลาในน้ำน้อย
[๓๘๘] ผู้ใดไม่มีความเคารพในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ผู้นั้น ไม่งอกงามในพระสัทธรรม
เหมือนพืชเน่าในไร่นา
[๓๘๙] ผู้ใดไม่มีความเคารพในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ผู้นั้น ย่อมอยู่ห่างไกลจากนิพพาน
ในพระศาสนาของพระศาสดาผู้เป็นพระธรรมราชา
[๓๙๐] ผู้ใดมีความเคารพในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ผู้นั้น ย่อมไม่เสื่อมจากพระสัทธรรม
เหมือนปลาในน้ำมาก

เชิงอรรถ :
๑ อัปปมัญญา ๔ คือ พรหมวิหาร ๔ (๑. เมตตา ความรักใคร่ปรารถนาดีอยากให้เขามีความสุข ๒. กรุณา
ความสงสารคิดช่วยให้พ้นทุกข์ ๓. มุทิตา ความยินดีในเมื่อผู้อื่นมีสุข ๔. อุเบกขา ความมีใจเป็นกลาง ไม่
เอนเอียงเพราะรักเพราะชัง) ที่ชื่อว่าอัปปมัญญาเพราะแผ่ไปโดยไม่มีประมาณในสัตว์ในบุคคล ไม่จำกัดขอบเขต
(ขุ.เถร.อ. ๒/๓๘๖/๙๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๖. ฉักกนิบาต] ๔. กุลลเถรคาถา
[๓๙๑] ผู้ใดมีความเคารพในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ผู้นั้นย่อมงอกงามในพระสัทธรรม
เหมือนพืชดีในไร่นา
[๓๙๒] ผู้ใดมีความเคารพในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ผู้นั้นย่อมอยู่ใกล้นิพพาน
ในพระศาสนาของพระศาสดาผู้เป็นพระธรรมราชา

๔. กุลลเถรคาถา
ภาษิตของพระกุลลเถระ
(พระกุลลเถระได้กล่าว ๖ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๓๙๓] กุลลภิกษุ ไปป่าช้าผีดิบ
ได้เห็นซากศพหญิงที่ถูกทอดทิ้งไว้ในป่าช้า
ทั้งถูกหมู่หนอนบ่อนกัดกิน
[๓๙๔] กุลละเอ๋ย เจ้าจงพิจารณาดูร่างกายที่กระสับกระส่าย
ไม่สะอาด เปื่อยเน่า หลั่งของไม่สะอาดเข้าออก
ที่พวกคนเขลาชื่นชมกันนัก
[๓๙๕] เราใช้แว่นคือพระธรรมส่องดูร่างกายนี้
ซึ่งว่างเปล่าทั้งภายในและภายนอก
เพื่อบรรลุญาณทัสสนะ๑
[๓๙๖] ร่างกายของเรานี้ กับซากศพนั้น ก็เหมือนกัน
ซากศพนั่นกับร่างกายของเรานี้ ก็เหมือนกัน
ร่างกายนี้ ท่อนล่าง ท่อนบน ก็เหมือนกัน
ท่อนบน ท่อนล่างก็เหมือนกัน

เชิงอรรถ :
๑ ปัญญาหยั่งรู้ด้วยการเห็นธรรม คือ บรรลุธรรมจักษุกล่าวคือมรรคญาณ (ขุ.เถร.อ. ๒/๓๙๕/๑๐๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๖. ฉักกนิบาต] ๕. มาลุงกยปุตตเถรคาถา
[๓๙๗] ร่างกายกลางวัน กลางคืน ก็เหมือนกัน
กลางคืน กลางวัน ก็เหมือนกัน
ในกาลก่อนกับภายหลัง ก็เหมือนกัน
ภายหลัง กับกาลก่อนก็เหมือนกัน
[๓๙๘] อิสรชนผู้เพียบพร้อมด้วยกามสุข
ที่เขาบำเรอด้วยดนตรีเครื่องห้า ย่อมไม่ยินดีเช่นนั้น
เหมือนกับเราผู้มีจิตแน่วแน่
พิจารณาเห็นธรรมแจ่มแจ้งโดยชอบ

๕. มาลุงกยปุตตเถรคาถา
ภาษิตของพระมาลุงกยบุตรเถระ
(พระมาลุงกยบุตรเถระแสดงธรรมด้วย ๖ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๓๙๙] ตัณหา ย่อมเจริญแก่มนุษย์ ผู้ประพฤติประมาท
เหมือนเถาย่านทรายเจริญอยู่ในป่า
เขาย่อมเร่ร่อนไปมา
เหมือนวานรที่ต้องการผลไม้ เที่ยวเร่ร่อนไปในป่า
[๔๐๐] ตัณหาที่เลวทรามซ่านไปในโลกนี้
ย่อมครอบงำบุคคลใดไว้ได้
ความโศกย่อมเจริญแก่บุคคลนั้น
เหมือนหญ้าคมบางที่ถูกฝนตกรดแล้วเจริญงอกงามขึ้น
[๔๐๑] ส่วนบุคคลใด ครอบงำตัณหาที่เลวทรามนั้น
ซึ่งล่วงได้ยาก ในโลกไว้ได้
ความโศกย่อมตกไปจากบุคคลนั้น
เหมือนหยาดน้ำกลิ้งตกไปจากใบบัว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๐๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๖. ฉักกนิบาต] ๖. สัปปทาสเถรคาถา
[๔๐๒] เพราะเหตุนั้น เราขอเตือนท่านทั้งหลาย
ขอท่านทั้งหลายที่ประชุมกันในที่นี้ จงมีความเจริญ
ขอท่านทั้งหลายจงขุดรากเหง้าแห่งตัณหา
เหมือนผู้ต้องการหญ้าแฝกขุดหญ้าแฝกอยู่
มารอย่าได้ระรานท่านทั้งหลายอยู่ร่ำไป
เหมือนกระแสน้ำระรานไม้อ้อ
[๔๐๓] ท่านทั้งหลาย จงทำตามพระพุทธพจน์
ขณะอย่าได้ล่วงเลยท่านทั้งหลายไปเสีย
เพราะเหล่าชนที่ปล่อยให้ขณะล่วงเลยไป
แออัดกันในนรก เศร้าโศกอยู่
[๔๐๔] ความประมาทคือความเลินเล่อ จัดเป็นธุลี
ธุลีเกิดจากความประมาท
บุคคลพึงถอนลูกศรที่เสียบอยู่ในหทัยของตน
ด้วยความไม่ประมาท และด้วยวิชชาเถิด

๖. สัปปทาสเถรคาถา
ภาษิตของพระสัปปาทเถระ
(พระสัปปทาสเถระได้กล่าว ๖ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๔๐๕] ตั้งแต่เราบวชมาได้ ๒๕ พรรษา
ไม่ได้ความสงบใจ แม้เพียงดีดนิ้วมือ
[๔๐๖] เราไม่ได้เอกัคคตาจิต๑ ถูกกามราคะรบกวน
ประคองแขนคร่ำครวญ
ไม่ยอมออกจากวิหารโดยคิดว่า

เชิงอรรถ :
๑ จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๖. ฉักกนิบาต] ๗. กาติยานเถรคาถา
[๔๐๗] ชีวิตจะมีประโยชน์อะไรสำหรับเรา
เราจะนำศัสตรามา คนอย่างเรา จะบอกลาสิกขาทำไมเล่า
ควรตายเสียเถิด
[๔๐๘] คราวนั้น เราได้ฉวยมีดโกนขึ้นอยู่บนเตียงน้อย
ได้จดมีดโกน เพื่อจะเชือดหลอดคอของตน
[๔๐๙] แต่นั้น โยนิโสมนสิการก็เกิดขึ้นแก่เรา
โทษก็ปรากฏ ความเบื่อหน่ายก็เกิดขึ้นพร้อมกัน
[๔๑๐] ต่อแต่นั้น จิตของเราก็หลุดพ้น
ท่านจงมองเห็นธรรมว่าเป็นธรรมดีงาม
เราบรรลุวิชชา ๓
ได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว

๗. กาติยานเถรคาถา
ภาษิตของพระกาติยานเถระ
(พระกาติยานเถระได้กล่าว ๖ คาถาไว้อย่างนี้)
[๔๑๑] ลุกขึ้นนั่งเถิด กาติยานะ อย่ามัวนอนหลับอยู่เลย
จงตื่นเถิด อย่าให้มัจจุราช ซึ่งเป็นพวกพ้องของความประมาท
ชนะเธอผู้เกียจคร้านด้วยอุบายที่โกงได้เลย
[๔๑๒] ชาติและชราครอบงำเธอ
เหมือนกำลังคลื่นมหาสมุทร
เธอนั้นจงทำที่พึ่งอย่างดีสำหรับตนเสีย
เพราะเธอไม่มีที่พึ่งอย่างอื่น
ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๖. ฉักกนิบาต] ๘. มิคชาลเถรคาถา
[๔๑๓] พระศาสดาชี้บอกทางนี้
ซึ่งล่วงพ้นกิเลสเครื่องข้อง
และจากภัยคือชาติและชรา
เธอจงอย่าได้ประมาทตลอดยามต้นและยามปลาย
หมั่นกระทำความเพียรให้มั่นเถิด
[๔๑๔] จงปลดเปลื้องเครื่องผูกทั้งหลายที่เป็นของเดิมเสีย
ใช้สอยผ้าสังฆาฏิ ปลงผมด้วยมีดโกน
และฉันอาหารที่เที่ยวภิกษาจารได้มา
อย่าเห็นแก่การเล่นสนุกสนาน
อย่าเห็นแก่การหลับนอน จงหมั่นเข้าฌานเถิด กาติยานะ
[๔๑๕] เธอจงเพ่งฌาน ชนะกิเลส
เธอเป็นผู้ฉลาดในทางที่ปลอดโปร่งจากโยคะ
จะถึงความบริสุทธิ์ซึ่งไม่มีความบริสุทธิ์อื่นใดยิ่งกว่าแล้วปรินิพพาน
เหมือนไฟลุกโชนที่เขาดับด้วยน้ำ
[๔๑๖] ประทีปที่มีเปลวไฟน้อย ย่อมดับไปเพราะลม
เหมือนเถาวัลย์หลุดร่วงเพราะลม ฉันใด
เธอผู้มีโคตรเหมือนพระอินทร์ แม้เธอก็ฉันนั้น
อย่าถือมั่น จงกำจัดมารเสีย
จงปราศจากความกำหนัดพอใจในเวทนาทั้งหลาย
จงเป็นผู้สงบเย็น รอคอยกาลปรินิพพานในอัตภาพนี้แล

๘. มิคชาลเถรคาถา
ภาษิตของพระมิคชาลเถระ
(พระมิคชาลเถระได้กล่าว ๖ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๔๑๗] พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธ์แห่งพระอาทิตย์ย์
ทรงมีพระจักษุ ได้ทรงแสดงไว้ดีแล้ว ซึ่งพระธรรม
ที่ล่วงสังโยชน์ได้ทั้งหมด
ทำวัฏฏะให้พินาศไปสิ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๖. ฉักกนิบาต] ๙. เชนตปุโรหิตปุตตเถรคาถา
[๔๑๘] เป็นธรรมที่นำเหล่าสัตว์ออกจากสงสาร
เป็นเครื่องข้ามพ้นสงสารได้
ทำรากเหง้าแห่งตัณหาให้เหือดแห้งไป
ทำลายกรรมกิเลสซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งความอาฆาตที่มีรากเป็นพิษ
ให้ถึงความดับ
[๔๑๙] พระธรรมซึ่งเป็นเครื่องกำจัดกรรมให้สิ้นสุด
อันพระพุทธเจ้าแสดงแล้ว
เพื่อทำลายรากเหง้าอวิชชา ให้ตกไปด้วยวชิรญาณ
เมื่อการยึดถือวิญญาณทั้งหลายปรากฏขึ้น
[๔๒๐] เป็นธรรมให้รู้เวทนาทั้งหลายได้แจ่มแจ้ง
ปลดเปลื้องอุปาทาน
พิจารณาเห็นภพดุจหลุมถ่านเพลิงด้วยญาณ
[๔๒๑] เป็นธรรมหยั่งรู้ได้ยาก ลึกซึ้ง
ห้ามความแก่และความตายได้
เป็นทางประเสริฐประกอบด้วยองค์ ๘ สงบทุกข์ เกษม
[๔๒๒] เป็นธรรมเครื่องเห็นแสงสว่างตามความเป็นจริง
ถึงความปลอดโปร่งอย่างมาก สงบ มีความเจริญเป็นที่สุด
เพราะทรงทราบกรรมว่าเป็นกรรม และวิบากโดยความเป็นวิบาก
แห่งธรรมที่อิงอาศัยกันและกันเกิดขึ้น

๙. เชนตปุโรหิตปุตตเถรคาถา
ภาษิตของพระเชนตปุโรหิตบุตรเถระ
(พระเชนตปุโรหิตบุตรเถระได้กล่าว ๖ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๔๒๓] เราเป็นผู้มัวเมาด้วยความเมาเพราะชาติสกุล โภคะ อิสริยยศ
ทรวดทรง ผิวพรรณและรูปร่าง
เราได้ประพฤติมัวเมาด้วยความเมาอย่างอื่นอีก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๖. ฉักกนิบาต] ๑๐. สุมนเถรคาถา
[๔๒๔] เราเป็นคนโง่ ถูกอติมานะกำจัด มีใจกระด้างจัด ชูมานะดุจธง
จึงไม่สำคัญใคร ๆ ว่า เสมอกับตนและยิ่งกว่าตน
[๔๒๕] กระด้างเพราะมานะ ไม่เอื้อเฟื้อ จึงไม่ยอมกราบไหว้ใคร ๆ
แม้เป็นมารดา บิดา และแม้ผู้อื่นที่ควรเคารพ
[๔๒๖] เราได้พบพระศาสดาผู้ทรงแนะนำ
เลิศประเสริฐสูงสุดกว่าสารถีทั้งหลาย
ทรงรุ่งเรืองอยู่ดุจพระอาทิตย์ มีภิกษุสงฆ์แวดล้อม
[๔๒๗] จึงมีใจเลื่อมใส ละทิ้งมานะและความมัวเมาแล้ว
กราบไหว้พระศาสดาผู้สูงสุดกว่าสัตว์ทุกหมู่เหล่าด้วยเศียรเกล้า
[๔๒๘] ความถือตัวว่าดีกว่าเขา และความถือตัวว่าเลวกว่าเขา
เราละถอนได้เด็ดขาดแล้ว
อัสมิมานะเราก็ตัดขาดแล้ว
มานะทุกอย่างเราก็ทำลายเสียแล้ว

๑๐. สุมนเถรคาถา
ภาษิตของพระสุมนเถระ
(พระสุมนเถระได้กล่าว ๖ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๔๒๙] เมื่อครั้งเราบวชใหม่ มีอายุได้ ๗ ขวบ โดยกำเนิด
ได้ข่มพญานาค ผู้มีฤทธิ์มากด้วยฤทธิ์
[๔๓๐] ได้ตักน้ำจากสระใหญ่อโนดาดมาถวายพระอุปัชฌาย์
พระศาสดาได้ทอดพระเนตรเห็นเราแล้ว ตรัสดังนี้ว่า
[๔๓๑] สารีบุตร เธอจงดูเด็กน้อยนี้ ผู้มีใจตั้งมั่นดีภายใน
กำลังถือหม้อน้ำมานี้
[๔๓๒] สามเณรของพระอนุรุทธะ มีวัตรน่าเลื่อมใส
มีอิริยาบถงดงาม ทั้งแกล้วกล้าด้วยฤทธิ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๖. ฉักกนิบาต] ๑๑. นหาตกมุนีเถรคาถา
[๔๓๓] อันพระอนุรุทธะผู้เป็นบุรุษอาชาไนย ฝึกให้เป็นบุรุษอาชาไนย
ผู้เป็นคนดีฝึกให้เป็นคนดี
ผู้สำเร็จกิจแล้ว แนะนำสั่งสอนแล้ว
[๔๓๔] สุมนสามเณรนั้น ได้ถึงความสงบอย่างยิ่ง
ทำให้แจ้งซึ่งธรรมอันไม่กำเริบพระอรหัตตผล
แล้วหวังว่าใคร ๆ อย่าพึงรู้จักเรา

๑๑. นหาตกมุนีเถรคาถา
ภาษิตของพระนหาตกมุนีเถระ
(พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า)
[๔๓๕] เธอเมื่ออยู่ในป่าใหญ่ เป็นสถานที่ลำบากหาปัจจัยได้ยาก
ถูกโรคลมรบกวน จักทำอย่างไรละ ภิกษุ
พระนหาตกมุนีเถระ(ได้กราบทูลว่า)
[๔๓๖] ข้าพระองค์จะแผ่ปีติสุขอันไพบูลย์ไปทั่วร่างกาย
ครอบงำแม้ปัจจัยที่เศร้าหมอง อยู่ในป่าใหญ่
[๔๓๗] จะเจริญสติปัฏฐาน ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕
และโพชฌงค์ ๗ อยู่ในป่าใหญ่
[๔๓๘] พิจารณาเนือง ๆ ถึงจิตที่บริสุทธิ์
ซึ่งหลุดพ้นจากกิเลส ไม่ขุ่นมัว จะไม่มีอาสวะอยู่
[๔๓๙] อาสวะทั้งหมดของข้าพระองค์ที่มีอยู่ทั้งภายในและภายนอก
ข้าพระองค์ถอนขึ้นได้ไม่เหลือเลย และจะไม่เกิดขึ้นอีก
[๔๔๐] ขันธ์ ๕ ข้าพระองค์กำหนดรู้แล้ว
ขันธ์เหล่านั้นดำรงอยู่อย่างถูกตัดรากถอนโคนแล้ว
ข้าพระองค์ได้บรรลุความสิ้นทุกข์แล้ว บัดนี้ ไม่มีการเกิดอีก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๖. ฉักกนิบาต] ๑๓. สิริมัณฑเถรคาถา
๑๒. พรหมทัตตเถรคาถา
ภาษิตของพระพรหมทัตตเถระ
(พระพรหมทัตตเถระได้กล่าว ๖ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๔๔๑] สำหรับผู้ที่ไม่โกรธ ฝึกฝนตนมาแล้ว
เป็นอยู่สม่ำเสมอ หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ
สงบคงที่ ความโกรธจะมีแต่ที่ไหน
[๔๔๒] ผู้ใดโกรธตอบผู้ที่โกรธ ผู้นั้นเลวกว่าผู้ที่โกรธนั้นแหละ
เพราะความที่โกรธตอบนั้น ผู้ที่ไม่โกรธตอบผู้ที่โกรธ
ชื่อว่าย่อมชนะสงคราม ที่ชนะได้ยาก
[๔๔๓] ผู้ที่รู้ว่าผู้อื่นโกรธเคืองแล้วมีสติสงบอยู่ได้
ชื่อว่าประพฤติประโยชน์ตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่าย
[๔๔๔] เหล่าชนที่ไม่เข้าใจธรรม
ย่อมสำคัญบุคคลผู้อดกลั้นต่อตนและผู้อื่นทั้งสอง
นั้นว่าเป็นคนโง่เขลา
[๔๔๕] ถ้าความโกรธพึงเกิดขึ้นแก่ท่าน
ท่านจงคำนึงถึงพระโอวาทที่อุปมาด้วยเลื่อย
ถ้าความอยากในรสพึงเกิดขึ้นแก่ท่าน
ท่านจงระลึกถึงพระโอวาทที่อุปมาด้วยเนื้อบุตร
[๔๔๖] ถ้าจิตของท่านแล่นพล่านไปทั้งในกามและภพ
ท่านจงรีบข่มไว้ด้วยสติเหมือนคนห้ามปรามปศุสัตว์ดื้อที่กินข้าวกล้า

๑๓. สิริมัณฑเถรคาถา
ภาษิตของท่านพระสิริมัณฑเถระ
(พระสิริมัณฑเถระได้กล่าว ๖ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๔๔๗] ทุจริตที่ปิดบังไว้ย่อมรั่วรด ที่เปิดเผยย่อมไม่รั่วรด
เพราะฉะนั้น ควรเปิดเผยทุจริตที่ปิดไว้นั้นเสีย
ทุจริตที่เปิดเผยนั้น จะไม่รั่วรดได้ด้วยอาการอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๖. ฉักกนิบาต] ๑๔. สัพพกามีเถรคาถา
[๔๔๘] สัตว์โลกถูกมัจจุราชคอยขจัด ถูกชรารุมล้อม
ถูกลูกศรคือตัณหาคอยทิ่มแทง
ทั้งถูกความอยากแผดเผาตลอดกาล
[๔๔๙] สัตว์โลก ถูกมัจจุราชคอยขจัด และถูกชรารุมล้อม
ไม่มีที่พึ่ง ถูกเบียดเบียนอยู่เป็นนิตย์
เหมือนโจรถูกลงอาชญา
[๔๕๐] ชรา พยาธิ มรณะ ทั้ง ๓ เปรียบเหมือนกองไฟ
ย่อมมาย่ำยีสัตว์โลกนี้
สัตว์โลกนี้ ไม่มีกำลังที่จะต่อสู้
ทั้งไม่มีความเร็วที่จะหนีไป
[๔๕๑] บุคคลควรทำวันคืนไม่ให้ไร้ประโยน์
ด้วยการใส่ใจถึงวิปัสสนาไม่ว่าน้อยหรือมาก
ชีวิตของผู้ที่ผ่านวันคืนไปเท่าใด
ก็เป็นอันพร่องไปเท่านั้น
[๔๕๒] วันคืนสุดท้าย ย่อมคืบคลานเข้าไปใกล้บุคคล
ทุกอิริยาบถ คือ ยืน เดิน นั่ง หรือนอน
เพราะฉะนั้น ท่านไม่พึงประมาทกาลเวลา

๑๔. สัพพกามีเถรคาถา
ภาษิตของพระสัพพกามีเถระ
(พระสัพพกามีเถระได้กล่าว ๖ คาถาไว้ดังนี้ว่า)
[๔๕๓] สัตว์สองเท้านี้ ไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็น
เต็มไปด้วยซากศพต่าง ๆ
หลั่งของไม่สะอาดออกทั่วทั้งร่างกาย
ต้องบริหารอยู่ประจำ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๖. ฉักกนิบาต] รวมเรื่องพระเถระที่มีในนิบาต
[๔๕๔] กามคุณ ๕ ย่อมลวงเบียดเบียนปุถุชน
เหมือนนายพรานแอบใช้เครื่องดัก ดักเนื้อ
เหมือนชาวประมงใช้เบ็ดตกปลา
(และ)เหมือนพรานเนื้อใช้ตังดักลิง
[๔๕๕] กามคุณ ๕ เหล่านั้น คือ รูป เสียง กลิ่น รส
และโผฏฐัพพะที่น่าชอบใจ ย่อมปรากฏในเรือนร่างหญิง
[๔๕๖] เหล่าปุถุชนที่มีจิตกำหนัด ส้องเสพหญิงเหล่านั้นอยู่
ย่อมขยายสังสารวัฏที่น่ากลัว ย่อมก่อภพใหม่ไม่มีสิ้นสุด
[๔๕๗] ส่วนผู้ใดเว้นขาดสตรีเหล่านั้น
ผู้นั้นชื่อว่ามีสติ ก้าวล่วงตัณหาที่ซ่านไปในโลกนี้ได้ด้วยดี
เหมือนคนสลัดหัวงูจากเท้า
[๔๕๘] เราเห็นโทษในกามทั้งหลาย
เห็นการออกบวชโดยความเกษม
พรากจากกามเสียได้ทั้งหมดแล้วได้ถึงความสิ้นอาสวะ
ฉักกนิบาต จบ

รวมเรื่องพระเถระที่มีในนิบาตนี้ คือ

๑. พระอุรุเวลกัสสปเถระ ๒. พระเตกิจฉกานิเถระ
๓. พระมหานาคเถระ ๔. พระกุลลเถระ
๕. พระมาลุงกยบุตรเถระ ๖. พระสัปปทาสเถระ
๗. พระกาติยานเถระ ๘. พระมิคชาลเถระ
๙. พระเชนตปุโรหิตบุตรเถระ ๑๐. พระสุมนเถระ
๑๑. พระนหาตกมุนีเถระ ๑๒. พระพรหมทัตตเถระ
๑๓. พระสิริมัณฑเถระ ๑๔. พระสัพพกามีเถระ

ในนิบาตนี้ มี ๘๔ คาถา และมีพระเถระ ๑๔ รูป ฉะนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๗. สัตตกนิบาต] ๑. สุนทรสมุททเถรคาถา
๗. สัตตกนิบาต
๑. สุนทรสมุททเถรคาถา
ภาษิตของพระสุนทรสมุทรเถระ
(พระสุนทรสมุทรเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า)
[๔๕๙] หญิงแพศยาตกแต่งร่างกาย นุ่งผ้าสวยงาม
ทัดทรงดอกไม้ ลูบไล้ของหอม
มีเท้าย้อมด้วยสีแดงได้สวมเขียงเท้า ยืนอยู่
[๔๖๐] นางได้ถอดเขียงเท้า ประนมมือไว้ข้างหน้า
พูดเล้าโลมเราด้วยถ้อยคำที่ไพเราะอ่อนหวานว่า
[๔๖๑] ท่านเป็นนักบวชที่ยังหนุ่มแน่น โปรดเชื่อฟังดิฉัน
จงบริโภคกามที่เป็นของมนุษย์
ดิฉันจะมอบทรัพย์สมบัติให้ท่าน
ดิฉันขอให้สัจจะแก่ท่าน
ถ้าท่านไม่เชื่อ จะให้ดิฉันนำไฟมาทำการสบถต่อท่านก็ได้
[๔๖๒] เมื่อคราวที่เราทั้งสองแก่เฒ่าจนถือไม้เท้าจึงค่อยบวช
เมื่อเป็นเช่นนี้นับว่าได้ชัยชนะในโลกทั้ง ๒
[๔๖๓] เราเพราะเห็นหญิงแพศยาตกแต่งร่างกาย นุ่งผ้าสวยงาม
ประนมมืออ้อนวอน เหมือนบ่วงมัจจุราชที่วางดักไว้
[๔๖๔] แต่นั้น โยนิโสมนสิการก็เกิดขึ้นแก่เรา
โทษก็ปรากฏ ความเบื่อหน่ายก็เกิดขึ้นพร้อม
[๔๖๕] ต่อจากนั้น จิตของเราก็หลุดพ้น
ท่านจงเห็นธรรมว่าเป็นธรรมดีงาม
เราบรรลุวิชชา ๓ ได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๗. สัตตกนิบาต] ๒. ลกุณฏกภัททิยเถรคาถา
๒. ลกุณฏกภัททิยเถรคาถา
ภาษิตของพระลกุณฑกภัททิยเถระ
(พระลกุณฏกภัททิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า)
[๔๖๖] พระภัททิยภิกษุอยู่ในอัมพาฏการามอันสวยงาม
ใกล้ชัฏแห่งป่า ได้ถอนตัณหาพร้อมทั้งรากแล้ว
เป็นผู้งามด้วยคุณมีศีลเป็นต้น
เข้าฌานอยู่ในชัฏแห่งป่า
[๔๖๗] ผู้มักบริโภคกามบางพวกยินดีด้วยเสียงตะโพน
เสียงพิณและเสียงบัณเฑาะว์
ส่วนเรายินดีในคำสอนของพระพุทธเจ้าอยู่ที่โคนไม้
[๔๖๘] หากพระพุทธเจ้าพึงประทานพรแก่เรา
และหากเราพึงได้รับพรนั้น
เราจะพึงรับกายคตาสติที่ชาวโลกทั้งมวลควรเจริญอยู่ประจำ
[๔๖๙] เหล่าชนที่ดูหมิ่นรูปร่างเรา แต่ชมเสียงเรา
ชื่อว่ายังตกอยู่ภายใต้อำนาจฉันทราคะ ย่อมไม่รู้จักเรา
[๔๗๐] คนโง่เขลาถูกกิเลสปิดกั้นไว้โดยรอบ
ไม่รู้ทั้งภายใน ไม่เห็นทั้งภายนอก
ย่อมถูกชักจูงไปตามกระแสเสียง
[๔๗๑] แม้คนที่ไม่รู้ภายใน เห็นชัดแต่ภายนอก
ชื่อว่าเห็นแต่ผลภายนอก
ย่อมถูกชักจูงไปตามกระแสเสียง
[๔๗๒] ส่วนคนที่มีความเห็นไม่ถูกปิดกั้น
รู้ชัดทั้งภายใน เห็นแจ้งทั้งภายนอก
ย่อมไม่ถูกชักจูงไปตามกระแสเสียง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๗. สัตตกนิบาต] ๓. ภัททเถรคาถา
๓. ภัททเถรคาถา
ภาษิตของพระภัททเถระ
(พระภัททเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า)
[๔๗๓] เราเป็นบุตรคนเดียว จึงได้เป็นที่รักของมารดาบิดา
เพราะเหตุว่ามารดาบิดาได้เรามาด้วยการประพฤติวัตร
และการบวงสรวงมากมาย
[๔๗๔] มารดาบิดาทั้งสองนั้นแหละมุ่งหวังความเจริญ
แสวงหาประโยชน์เพื่ออนุเคราะห์เรา
จึงได้น้อมนำเราไปถวายพระพุทธเจ้าด้วยกราบทูลว่า
[๔๗๕] บุตรชายคนนี้ข้าพระองค์ทั้งสองได้มาโดยยาก
เป็นสุขุมาลชาติ ได้รับแต่ความสุข
ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเป็นที่พึ่งของสัตว์โลก
ข้าพระองค์ทั้งสอง ขอถวายบุตรสุดที่รักคนนี้
ไว้เป็นคนรับใช้พระองค์ผู้ทรงชนะมาร
[๔๗๖] พระศาสดาทรงรับเราแล้ว ได้รับสั่งกับพระอานนท์เถระว่า
จงบวชให้เด็กนี้ เด็กนี้จักเป็นผู้รอบรู้ได้รวดเร็ว
[๔๗๗] พระศาสดาผู้ทรงชนะมาร ครั้นทรงสั่งให้บวชให้เราแล้ว
ก็ได้เสด็จเข้าพระคันธกุฎี เมื่อพระอาทิตย์ยังไม่ทันอัสดงคต
พอเริ่มวิปัสสนานั้น จิตของเราก็ได้หลุดพ้นแล้ว
[๔๗๘] แต่นั้น พระศาสดาทรงออกจากผลสมาบัตินั้นแล้ว
เสด็จออกจากที่เร้น ทรงรับสั่งกับเราว่า
ภัททะ เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด
พระวาจานั้นได้เป็นการอุปสมบทของเรา
[๔๗๙] เราเกิดมาได้ ๗ ปี ก็ได้อุปสมบท ได้บรรลุวิชชา ๓
น่าอัศจรรย์จริง ความที่ธรรมเป็นธรรมดี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๗. สัตตกนิบาต] ๔. โสปากเถรคาถา
๔. โสปากเถรคาถา
ภาษิตของพระโสปากเถระ
(พระโสปากเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า)
[๔๘๐] เราได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้สูงสุดกว่านรชน
เสด็จจงกรมที่ร่มเงาแห่งพระคันธกุฎี
ได้เข้าไปเฝ้าพระองค์ซึ่งเป็นบุรุษผู้สูงสุด แล้วถวายบังคม ณ ที่นั้น
[๔๘๑] ได้ห่มจีวรเฉวียงบ่า ประนมมือ เดินจงกรมตามพระองค์
ผู้ซึ่งปราศจากกิเลสดุจธุลีสูงสุดกว่าสรรพสัตว์
[๔๘๒] ลำดับนั้น พระองค์ได้ตรัสถามปัญหากับเรา
เราเชี่ยวชาญรอบรู้ปัญหาทั้งหลาย
จึงไม่สะทกสะท้านและหวาดกลัว
ได้พยากรณ์ถวายพระศาสดา
[๔๘๓] เมื่อเราแก้ปัญหาถวายเสร็จแล้ว
พระตถาคตทรงอนุโมทนาแล้ว
ทรงเหลียวดูภิกษุสงฆ์ได้ตรัสเนื้อความนี้ว่า
[๔๘๔] เป็นลาภของชาวอังคะและชาวมคธ
ที่โสปากภิกษุนี้บริโภค จีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และคิลานปัจจัย
และได้ตรัสถึงการต้อนรับและสามีจิกรรม
ของชาวอังคะและชาวมคธเหล่านั้น ว่าเป็นลาภของพวกเขา
[๔๘๕] โสปากะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เธอจงมาพบเรา
และการแก้ปัญหานี้แหละ จงเป็นการอุปสมบทของเธอ
[๔๘๖] เราเกิดมามีอายุได้ ๗ ขวบ ก็ได้อุปสมบทแล้ว
ยังทรงร่างกายซึ่งมีในภพสุดท้ายอยู่
น่าอัศจรรย์จริง ความที่ธรรมเป็นธรรมดี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๗. สัตตกนิบาต] ๕. สรภังคเถรคาถา
๕. สรภังคเถรคาถา
ภาษิตของพระสรภังคเถระ
(พระสรภังคเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า)
[๔๘๗] เราได้ใช้มือหักต้นแขม ทำกระท่อมอยู่อาศัย
เพราะเหตุนั้น เราจึงได้มีชื่อโดยสมมติว่าสรภังคะ
[๔๘๘] วันนี้ เราไม่สมควรใช้มือทั้งสองหักต้นแขมอีก
เพราะพระสมณโคดมผู้เรืองยศ
ทรงบัญญัติสิกขาบททั้งหลายสำหรับพวกเราแล้ว
[๔๘๙] เมื่อก่อน เราผู้ชื่อว่าสรภังคะไม่เคยได้เห็นโรค๑ ครบบริบูรณ์
โรคนี้นั้นเราผู้ทำตามพระดำรัสของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้เป็นเทพยิ่งกว่าเทพได้เห็นแล้ว
[๔๙๐] พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า วิปัสสี สิขี
เวสสภู กกุสันธะ โกนาคมนะ และกัสสปะ
ได้ทรงดำเนินไปโดยทางใดแล
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโคดมก็ทรงดำเนินโดยทางนั้น
[๔๙๑] พระพุทธเจ้าทั้ง ๗ พระองค์ปราศจากตัณหา
ไม่ทรงยึดมั่น หยั่งถึงความดับ เสด็จอุบัติโดยธรรมกาย ผู้คงที่
ได้ทรงแสดงธรรมนี้ คือ
[๔๙๒] อริยสัจ ๔ อันได้แก่ ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์
ความดับทุกข์ และทางที่ดำเนินไปให้ถึงความสิ้นทุกข์
ด้วยทรงอนุเคราะห์เหล่าสัตว์

เชิงอรรถ :
๑ อุปาทานขันธ์ ๕ (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ชื่อว่า โรค เพราะอรรถว่าเสียดแทงด้วย
อำนาจแห่งการเป็นทุกขเวทนาเป็นต้น (ขุ.เถร.อ. ๒/๔๘๙/๑๕๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๗. สัตตกนิบาต] รวมเรื่องพระเถระที่มีในนิบาต
[๔๙๓] ทุกข์อันไม่มีที่สุดในสังสารวัฏ
ย่อมเป็นไปไม่ได้ในนิโรธที่ทรงแสดงไว้
เพราะกายนี้ดับไป และเพราะชีวิตนี้สิ้นไป ภพใหม่ไม่มีอีก
เราเป็นผู้หลุดพ้นดีแล้วจากสรรพกิเลสและภพทั้งปวง
สัตตกนิบาต จบ

รวมเรื่องพระเถระที่มีในนิบาตนี้ คือ

๑. พระสุนทรสมุทรเถระ ๒. พระลกุณฏกภัททิยเถระ
๓. พระภัททเถระ ๔. พระโสปากเถระ
๕. พระสรภังคเถระ

ในสัตตกนิบาตนี้ มีพระเถระ ๕ รูป
และมี ๓๕ คาถา ฉะนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๘. อัฏฐกนิบาต] ๑. มหากัจจายนเถรคาถา
๘. อัฏฐกนิบาต
๑. มหากัจจายนเถรคาถา
ภาษิตของพระมหากัจจายนเถระ
(พระมหากัจจายนเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า)
[๔๙๔] ภิกษุไม่พึงทำงานก่อสร้างให้มาก๑
พึงเว้นห่างหมู่ชน
ไม่พึงขวนขวายเพื่อประจบสกุล
ภิกษุผู้ขวนขวายนั้นชื่อว่าติดในรส
ย่อมละทิ้งประโยชน์ที่จะนำความสุขมาให้
[๔๙๕] ด้วยว่านักปราชญ์มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น
ได้กล่าวการไหว้และการบูชาในตระกูลทั้งหลายว่า
เป็นเปือกตม เป็นลูกศรอันแหลมคมซึ่งถอนขึ้นได้ยาก
เป็นสักการะที่คนชั่วละได้ยาก
[๔๙๖] ภิกษุไม่พึงแนะนำให้คนอื่นกระทำกรรมชั่ว
และไม่พึงส้องเสพกรรมชั่วนั้นเสียเอง
เพราะสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์
[๔๙๗] คนเราจะเป็นโจรเพราะคำพูดของผู้อื่นก็หาไม่
จะเป็นมุนีเพราะคำพูดของผู้อื่นก็หาไม่
และบุคคลรู้จักตนเองว่าเป็นอย่างไร
แม้เทพทั้งหลายก็รู้จักเขาว่าเป็นอย่างนั้น

เชิงอรรถ :
๑ ไม่พึงเริ่มงานก่อสร้างใหม่ ที่ใหญ่ เช่นการสร้างวัดใหม่เป็นต้น ซึ่งขัดต่อการบำเพ็ญสมณธรรม แต่งาน
ปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่ทรุดโทรม ซึ่งใช้ความพยายามเล็กน้อย ควรทำแท้ เพื่อปฏิบัติบูชาพระดำรัสของ
พระศาสดา (ขุ.เถร.อ. ๒/๔๙๔/๑๖๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๘. อัฏฐกนิบาต] ๒. สิริมิตตเถรคาถา
[๔๙๘] พวกอื่นย่อมไม่รู้ว่า พวกเราย่อยยับอยู่ในโลกนี้
บรรดาชนเหล่านั้น ชนเหล่าใดรู้แจ้งอยู่
ความทะเลาะวิวาทกันย่อมระงับได้จากสำนักของคนเหล่านั้น
[๔๙๙] ผู้มีปัญญาถึงจะสิ้นทรัพย์ ก็เป็นอยู่ได้
ส่วนคนมีทรัพย์ แต่ไม่มีปัญญา ก็เป็นอยู่ไม่ได้
[๕๐๐] บุคคลย่อมได้ยินเสียงทุกอย่างด้วยหู
ย่อมเห็นรูปทุกอย่างด้วยตา
ส่วนนักปราชญ์ไม่พึงละทิ้งทุกอย่างที่ได้เห็น ที่ได้ยิน
[๕๐๑] ผู้เป็นปราชญ์นั้นถึงมีตาดี ก็พึงทำเป็นเหมือนคนตาบอด
ถึงมีหูดี ก็พึงทำเป็นเหมือนคนหูหนวก
ถึงมีปัญญา ก็พึงทำเป็นเหมือนคนใบ้
ถึงมีกำลัง ก็พึงทำเป็นเหมือนคนอ่อนแอ
ครั้นเมื่อประโยชน์เกิดขึ้นแล้ว ถึงจะนอนในเวลาใกล้จะตาย
ก็ยังทำประโยชน์ให้สำเร็จได้

๒. สิริมิตตเถรคาถา
ภาษิตของพระสิริมิตตเถระ
(พระสิริมิตตเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า)
[๕๐๒] ภิกษุใดไม่มักโกรธ ไม่ผูกโกรธ
ไม่มีมายา ไม่ส่อเสียด
ภิกษุนั้นผู้คงที่ละไปแล้ว
ย่อมไม่เศร้าโศกด้วยข้อปฏิบัติตามที่กล่าวมานี้
[๕๐๓] ภิกษุใดไม่มักโกรธ ไม่ผูกโกรธ ไม่มีมายา ไม่ส่อเสียด
ภิกษุนั้นคุ้มครองทวารไว้ได้ทุกเมื่อ ละไปแล้ว
ย่อมไม่เศร้าโศกด้วยข้อปฏิบัติตามที่กล่าวมานี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๘. อัฏฐกนิบาต] ๒. สิริมิตตเถรคาถา
[๕๐๔] ภิกษุใดไม่มักโกรธ ไม่ผูกโกรธ
ไม่มีมายา ไม่ส่อเสียด
มีศีลงาม ภิกษุนั้นละไปแล้ว
ย่อมไม่เศร้าโศกด้วยข้อปฏิบัติตามที่กล่าวมานี้
[๕๐๕] ภิกษุใดไม่มักโกรธ ไม่ผูกโกรธ
ไม่มีมายา ไม่ส่อเสียด
เป็นกัลยาณมิตร ภิกษุนั้นละไปแล้ว
ย่อมไม่เศร้าโศกด้วยข้อปฏิบัติตามที่กล่าวมานี้
[๕๐๖] ภิกษุใดไม่มักโกรธ ไม่ผูกโกรธ
ไม่มีมายา ไม่ส่อเสียด
มีปัญญาดี ภิกษุนั้นละไปแล้ว
ย่อมไม่เศร้าโศกในโลกหน้าด้วยข้อปฏิบัติตามที่กล่าวมานี้
[๕๐๗] ผู้ใดมีศรัทธาในพระตถาคตตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว
มีศีล และมีกัลยาณธรรม
ที่พระอริยเจ้าปรารถนาและสรรเสริญ
[๕๐๘] ผู้ใดมีความเลื่อมใสในพระสงฆ์
ทั้งมีความเห็นตรง
พระอริยเจ้าทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น
ได้เรียกผู้นั้นว่า เป็นผู้ไม่ขัดสน
ชีวิตของเขาก็ไม่ไร้ประโยชน์
[๕๐๙] เพราะฉะนั้น ผู้มีปัญญา
เมื่อระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
จึงควรประกอบศรัทธา ศีล ความเลื่อมใส
และความเห็นธรรมไว้เนือง ๆ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๘. อัฏฐกนิบาต] ๓. มหาปันถกเถรคาถา
๓. มหาปันถกเถรคาถา
ภาษิตของพระมหาปันถกเถระ
(พระมหาปันถกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า)
[๕๑๐] เมื่อใด เราได้เฝ้าพระศาสดา
ผู้ไม่มีภัยแต่ที่ไหนเป็นครั้งแรก
เมื่อนั้น เราได้มีความสังเวช
เพราะได้เฝ้าพระองค์ผู้เป็นบุคคลสูงสุด
[๕๑๑] ผู้ใดพึงใช้มือและเท้านวดพระศาสดาผู้ทรงสิริซึ่งเสด็จมา
ผู้นั้นพึงยังพระศาสดาให้ยินดีเช่นนั้นหาได้ไม่
[๕๑๒] คราวนั้น เราได้ละทิ้งบุตรภรรยา ทรัพย์ และข้าวเปลือก
ปลงผม โกนหนวด ออกบวชเป็นบรรพชิต
[๕๑๓] เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสิกขาและสาชีพ
สำรวมด้วยดีในอินทรีย์ทั้งหลาย
นอบน้อมพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ได้อยู่อย่างเป็นผู้ไม่พ่ายแพ้มาร
[๕๑๔] ต่อมา ความมุ่งมั่นที่จิตเราปรารถนาไว้ว่า
เมื่อเรายังถอนลูกศรคือตัณหาขึ้นไม่ได้
เราไม่พึงนั่งเปล่าแม้เพียงครู่เดียว
[๕๑๕] เชิญท่านดูความเพียรและความบากบั่นของเรานั้นผู้อยู่อย่างนี้
เราได้บรรลุวิชชา ๓ ได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว
[๕๑๖] เรารู้ถึงขันธ์ที่อาศัยอยู่มาก่อนได้
ชำระทิพยจักษุให้หมดจดแล้ว
เป็นพระอรหันต์ ผู้ควรแก่ทักษิณา
หลุดพ้นแล้ว ไม่มีอุปธิกิเลส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๘. อัฏฐกนิบาต]รวมเรื่องพระเถระที่มีในนิบาต
[๕๑๗] ต่อเมื่อราตรีสิ้นไป พอดวงอาทิตย์ขึ้นไป
เราได้นั่งขัดสมาธิทำตัณหาให้เหือดแห้งไปได้หมด
อัฏฐกนิบาต จบ

รวมเรื่องพระเถระที่มีในนิบาตนี้ คือ
๑. พระมหากัจจายนเถระ ๒.พระสิริมิตตเถระ
๓. พระมหาปันถกเถระ
ในอัฏฐกนิบาต มีพระเถระ ๓ รูป
และมี ๒๔ คาถา ฉะนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๙. นวกนิบาต] ๑. ภูตเถรคาถา
๙. นวกนิบาต
๑. ภูตเถรคาถา
ภาษิตของพระภูตเถระ
(พระภูตเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า)
[๕๑๘] เมื่อใด บัณฑิตกำหนดรู้ทุกข์ว่า
ชราและมรณะเป็นทุกข์ที่ปุถุชนทั้งหลาย
ผู้ติดอยู่ในเบญจขันธ์ไม่รู้แจ้ง
เป็นผู้มีสติ เข้าฌานอยู่
เมื่อนั้น ย่อมไม่ได้ความยินดีที่ประเสริฐยิ่งกว่า
ความยินดีในวิปัสสนา มรรคและผลนั้น
[๕๑๙] เมื่อใด บัณฑิตละตัณหาที่ซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ
อันนำทุกข์มาให้
นำทุกข์อันเกิดเพราะความต่อเนื่องแห่งปปัญจธรรม๑
มีสติ เข้าฌานอยู่
เมื่อนั้น ย่อมไม่ได้ความยินดีที่ประเสริฐ
ยิ่งกว่าความยินดีวิปัสสนา มรรค และผลนั้น
[๕๒๐] เมื่อใด บัณฑิตสัมผัสทางอันสูงสุด ปลอดโปร่ง
ที่ให้ลุถึงมรรคมีองค์ ๘ เป็นที่ชำระกิเลสได้หมด
ด้วยปัญญา มีสติ เข้าฌานอยู่
เมื่อนั้น ย่อมไม่ได้ความยินดีที่ประเสริฐ
ยิ่งกว่าความยินดีในวิปัสสนามรรคและผลนั้น

เชิงอรรถ :
๑ ธรรมเครื่องเนิ่นช้า หมายถึงธรรมที่ทำการเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์ทั้งหลายให้ยึดยาวออกไป ซึ่งได้แก่
ราคะ ความกำหนัด มานะ ความถือตัวเป็นต้น (ขุ.เถร.อ. ๒/๕๑๙/๑๘๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๙. นวกนิบาต] ๑. ภูตเถรคาถา
[๕๒๑] เมื่อใด บัณฑิตเจริญสันตบท๑ซึ่งไม่มีความเศร้าโศก
ปราศจากกิเลสดุจธุลี อันปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้
เป็นที่ชำระกิเลสได้หมด ตัดกิเลสเครื่องผูกพันคือสังโยชน์
เมื่อนั้น ย่อมไม่ได้ความยินดีที่ประเสริฐ
ยิ่งกว่าความยินดีในวิปัสสนา มรรค และผลนั้น
[๕๒๒] เมื่อใด กลองคือเมฆพรั่งพรูไปด้วยสายฝน
คำรามอยู่ในท้องฟ้า ซึ่งเป็นทางไปของฝูงนกโดยรอบ
และภิกษุผู้อยู่ประจำเงื้อมภูเขา ยังเข้าฌานอยู่
เมื่อนั้น ก็ย่อมไม่ได้ความยินดีที่ประเสริฐ
ยิ่งกว่าความยินดีในฌานนั้น
[๕๒๓] เมื่อใด บัณฑิตมีจิตเบิกบาน นั่งเข้าฌานอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำทั้งหลาย
ซึ่งดารดาษไปด้วยดอกโกสุม มีดอกไม้ป่าเป็นช่อสวยงาม
เมื่อนั้น ย่อมไม่ได้ความยินดีที่ประเสริฐ
ยิ่งกว่าความยินดีในฌานนั้น
[๕๒๔] เมื่อใด มีฝนฟ้าร้องในเวลากลางคืน
ฝูงสัตว์ที่มีเขี้ยวงาก็พากันยินดีในป่าใหญ่ที่สงัด
และภิกษุผู้อยู่ประจำเงื้อมภูเขา เข้าฌานอยู่
เมื่อนั้น ก็ย่อมไม่ได้ความยินดีที่ประเสริฐ
ยิ่งกว่าความยินดีในฌานนั้น
[๕๒๕] เมื่อใด ภิกษุกำจัดวิตกทั้งหลายของตนได้
เข้าถ้ำภายในภูเขา ปราศจากความกระวนกระวายใจ
ปราศจากกิเลสที่ตรึงใจโดยสิ้นเชิง เข้าฌานอยู่
เมื่อนั้น ย่อมไม่ได้ความยินดีที่ประเสริฐ
ยิ่งกว่าความยินดีในฌานนั้น

เชิงอรรถ :
๑ นิพพาน (ขุ.เถร.อ. ๒/๕๒๑/๑๘๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๙. นวกนิบาต] รวมเรื่องพระเถระที่มีในนิบาต
[๕๒๖] เมื่อใด ภิกษุมีความสุข
กำจัดกิเลสที่เป็นมลทินที่ตรึงใจและความโศกได้
ไม่มีกลอนประตูคืออวิชชา ไม่มีป่าคือตัณหา
ปราศจากลูกศรคือกิเลส
ทั้งทำอาสวะให้สิ้นไปได้หมด เข้าฌานอยู่
เมื่อนั้น ย่อมไม่ได้ความยินดีที่ประเสริฐ
ยิ่งกว่าความยินดีในฌานนั้น
นวกนิบาต จบ

รวมเรื่องพระเถระที่มีในนิบาตนี้ คือ
๑. พระภูตเถระที่เห็นธรรมโดยถ่องแท้
เป็นดุจนอแรดรูปเดียว
และในนวกนิบาต มี ๙ คาถา ฉะนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๓๑ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๐. ทสกนิบาต] ๑. กาฬุทายีเถรคาถา
๑๐. ทสกนิบาต
๑. กาฬุทายีเถรคาถา
ภาษิตของพระกาฬุทายีเถระ
(พระกาฬุทายีเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า)
[๕๒๗] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้
หมู่ไม้มีดอกและใบสีแดงดังถ่านเพลิง
ผลัดใบเก่าทิ้ง ผลิดอกออกผล
หมู่ไม้เหล่านั้น สว่างไสวดังเปลวเพลิง
ข้าแต่พระมหาวีระ ผู้มีส่วนแห่งอรรถรสเป็นต้น
เวลานี้เป็นเวลาสมควรอนุเคราะห์หมู่พระญาติ
[๕๒๘] หมู่ไม้มีดอกบานสะพรั่ง น่ารื่นรมย์ใจ
ส่งกลิ่นหอมฟุ้งตลบไปทั่วทุกทิศ
ผลัดใบเก่าทิ้ง ผลิดอกออกผล
ข้าแต่พระองค์ผู้แกล้วกล้า
ถึงเวลาที่พระองค์จะเสด็จหลีกไปจากที่นี้
[๕๒๙] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ฤดูนี้ไม่หนาวนัก ไม่ร้อนนัก
เป็นฤดูที่สบาย เหมาะแก่การเดินทาง
พระประยูรญาติทั้งฝ่ายศากยวงศ์และโกลิยวงศ์จะได้เฝ้าพระองค์
ผู้ผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออกซึ่งกำลังเสด็จข้ามแม่น้ำโรหิณี
[๕๓๐] ชาวนาไถนาก็ด้วยหวังผล
หว่านพืชก็ด้วยหวังผล
พวกพ่อค้าที่เที่ยวหาทรัพย์ เดินเรือไปสู่สมุทร ก็ด้วยหวังผล
ข้าพระองค์อยู่ในที่นี้ด้วยหวังอันใด
ขอความหวังอันนั้นของข้าพระองค์จงสำเร็จเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๓๒ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๐. ทสกนิบาต] ๑. กาฬุทายีเถรคาถา
[๕๓๑] ชาวนาหว่านพืชตามฤดูกาล
ฝนก็ตกต้องตามฤดูกาล
ชาวนาไถนาตามฤดูกาล
รัฐจึงจะได้ข้าวเปลือกเป็นประจำ
[๕๓๒] พวกผู้ขอเที่ยวขอบ่อย ๆ
พวกทานบดีก็ให้บ่อย ๆ
ครั้นทานบดีให้บ่อย ๆ แล้วก็ไปสู่สวรรค์บ่อย ๆ
[๕๓๓] นักปราชญ์มีปัญญากว้างขวาง เกิดในสกุลใด
ย่อมทำสกุลนั้นให้บริสุทธิ์สะอาดอย่างเดียว ถึง ๗ ชั่วคน
ข้าพระองค์เข้าใจว่า พระองค์เป็นเทพเหนือกว่าเทพ
ย่อมทรงสามารถทำผู้อื่นให้บริสุทธิ์ได้
เพราะพระองค์ทรงอุบัติโดยอริยชาติ ได้สัจนามว่า มุนี
[๕๓๔] พระราชบิดาของพระองค์พระนามว่า สุทโทธนะ
ผู้แสวงคุณอันยิ่งใหญ่
ส่วนพระมเหสีพระนามว่า มหามายา เป็นพุทธมารดา
ซึ่งถนอมพระครรภ์พระโพธิสัตว์มาแล้ว
เสด็จสวรรคตไปบันเทิงอยู่ในโลกสวรรค์(ชั้นดุสิต)
[๕๓๕] พระนางมายาเทวีโคตมีพระองค์นั้นสวรรคต
จุติจากโลกนี้ เพียบพร้อมด้วยกามคุณทิพย์
มีหมู่นางฟ้าห้อมล้อม ทรงบันเทิงอยู่ด้วยกามคุณ ๕
(พระกาฬุทายีเถระ ได้ถวายพระพรพระเจ้าสุทโธทนมหาราชว่า)
[๕๓๖] อาตมภาพเป็นบุตรของพระพุทธเจ้าผู้ที่ไม่มีใครย่ำยีได้
มีพระรัศมีแผ่ซ่านจากพระวรกาย ไม่มีผู้ที่จะเปรียบปาน คงที่
มหาบพิตร พระองค์เป็นบิดาของพระพุทธเจ้าผู้เป็นบิดาของ
อาตมา ทั้งเป็นพระเจ้าปู่ของอาตมาโดยธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๓๓ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๐. ทสกนิบาต] ๒. เอกวิหาริยเถรคาถา
๒. เอกวิหาริยเถรคาถา
ภาษิตของพระเอกวิหาริยเถระ
(พระเอกวิหาริยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า)
[๕๓๗] ถ้าไม่มีผู้อื่นอยู่ข้างหน้าหรือข้างหลัง
เราอยู่ในป่าผู้เดียวจะมีความผาสุกอย่างยิ่ง
[๕๓๘] เอาเถอะ เราคนเดียวจะไปป่าที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญว่า
มีแต่ความผาสุกแก่ภิกษุผู้มักอยู่ผู้เดียว มีใจเด็ดเดี่ยว
[๕๓๙] เราผู้เดียวมุ่งประโยชน์เป็นสำคัญ
จะรีบเข้าป่าใหญ่ที่ทำปีติให้เกิดแก่ผู้บำเพ็ญเพียร
น่ารื่นรมย์ ซึ่งช้างซับมันอาศัยอยู่
[๕๔๐] จะอาบน้ำที่ซอกภูเขาอันเยือกเย็นในป่าร่มรื่น
มีดอกไม้บานสะพรั่ง จงกรมแต่ผู้เดียว
[๕๔๑] เมื่อไร เราจะได้อยู่ป่าใหญ่ที่น่ารื่นรมย์แต่ผู้เดียว
ไม่มีเพื่อน ได้สำเร็จกิจ ไม่มีอาสวะ
[๕๔๒] ขอความประสงค์ของเราผู้ต้องการจะทำอย่างนั้นจงสำเร็จเถิด
เราจักทำให้สำเร็จได้เอง ผู้อื่นไม่อาจทำให้ผู้อื่นได้เลย
[๕๔๓] เรานี้สวมเกราะคือความเพียรอยู่ จะเข้าป่าใหญ่
ยังไม่ถึงความสิ้นอาสวะ ก็จักไม่ออกจากป่าใหญ่นั้น
[๕๔๔] เมื่อลมเย็นพัดเอากลิ่นดอกไม้หอมฟุ้งมา
เราจะนั่งบนยอดเขาทำลายอวิชชา
[๕๔๕] จักได้รับความสุข รื่นรมย์ด้วยวิมุตติสุข
ที่เงื้อมภูเขามีพื้นเย็นในป่า ซึ่งดารดาษด้วยดอกโกสุม แน่แท้
[๕๔๖] เรานั้นมีความดำริเต็มเปี่ยม เหมือนดวงจันทร์วันเพ็ญ
สิ้นอาสวะทั้งปวง บัดนี้ การเกิดอีกก็ไม่มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๓๔ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๐. ทสกนิบาต] ๓. มหากัปปินเถรคาถา
๓. มหากัปปินเถรคาถา
ภาษิตของพระมหากัปปินเถระ
(พระมหากัปปินเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า)
[๕๔๗] ผู้ใดย่อมเห็นประโยชน์ที่เกื้อกูลและไม่เกื้อกูล
ทั้งสองที่ยังมาไม่ถึงนั้นได้ก่อน
ผู้ที่เป็นศัตรูหรือมิตรของผู้นั้น
คอยหาช่องทางอยู่ก็ย่อมไม่เห็น
[๕๔๘] ผู้ใดเจริญอานาปานสติให้บริบูรณ์ด้วยดี
อบรมมาโดยลำดับ ตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้
ผู้นั้นยังโลกนี้ให้สว่างไสว
เหมือนดวงจันทร์พ้นจากเมฆ
[๕๔๙] จิตของเราผ่องแผ้วหนอ
ได้รับอบรมด้วยดีอย่างไม่มีประมาณ
เป็นจิตรู้แจ้งแทงตลอดและประคองไว้ดีแล้ว
ย่อมสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ
[๕๕๐] ผู้มีปัญญาถึงจะสิ้นทรัพย์ ก็เป็นอยู่ได้
ส่วนคนมีทรัพย์ แต่ไม่มีปัญญา ก็เป็นอยู่ไม่ได้
[๕๕๑] ปัญญาเป็นเครื่องตัดสินเรื่องที่ได้ฟังมา
เป็นเหตุเจริญชื่อเสียงและความสรรเสริญ
นรชนผู้ประกอบด้วยปัญญาในโลกนี้
แม้ในเวลาที่ตนตกทุกข์ ก็ยังประสบสุขได้
[๕๕๒] ธรรมนี้มิใช่มีแต่วันนี้
ไม่น่าอัศจรรย์ ทั้งมิใช่ไม่เคยมีมา
ในโลกที่สัตว์เกิดสัตว์ตายจะไม่เคยมีได้อย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๓๕ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๐. ทสกนิบาต] ๔. จูฬปันถกเถรคาถา
[๕๕๓] เมื่อสัตว์เกิดมาแล้วจะต้องตายต่อจากการมีชีวิตแน่แท้
สัตว์ทั้งหลายเกิดมาแล้ว ๆ ในโลกนี้ย่อมตายทั้งนั้น
เพราะสัตว์ทั้งหลายมีความเกิด ความตายเป็นธรรมดาอย่างนี้
[๕๕๔] การที่คนอื่น ๆ ร้องไห้ถึงผู้ที่ตายไป
เพื่อต้องการให้ผู้ที่ตายไปนั้นมีชีวิต
ไม่เป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่ตายไป
การร้องไห้นี้นำยศมาให้ไม่ได้
นำความสรรเสริญมาให้ก็ไม่ได้
ทั้งสมณพราหมณ์ก็ไม่สรรเสริญเลย
[๕๕๕] ดวงตาและร่างกายของผู้ร้องไห้ย่อมร่วงโรย
ผิวพรรณ กำลัง และความคิดก็เสื่อม
พวกคนที่เป็นศัตรูของผู้ร้องไห้นั้นย่อมยินดี
ส่วนพวกที่เป็นมิตรของเขาก็ย่อมไม่มีความสุขไปด้วย
[๕๕๖] เพราะฉะนั้นแล บุคคลพึงปรารถนาท่านผู้เป็นนักปราชญ์
และท่านผู้เป็นพหูสูตซึ่งสามารถทำกิจของตนให้สำเร็จได้
ด้วยกำลังปัญญาให้อยู่ในสกุล
เหมือนคนทั้งหลายข้ามแม่น้ำที่เต็มเปี่ยมได้ด้วยเรือ

๔. จูฬปันถกเถรคาถา
ภาษิตของพระจูฬปันถกเถระ
(พระจูฬปันถกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า)
[๕๕๗] เมื่อก่อน เราได้มีญาณคติเกิดช้า เราจึงถูกดูหมิ่น
ทั้งพี่ชาย ก็ได้ขับไล่เราว่า เจ้าจงกลับไปบ้านเดี๋ยวนี้
[๕๕๘] เรานั้นถูกขับไล่แล้ว ยังมีความเยื่อใยในพระศาสนาอยู่
จึงได้ไปยืนเสียใจใกล้ซุ้มประตูสังฆารามนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๓๖ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๐. ทสกนิบาต] ๔. จูฬปันถกเถรคาถา
[๕๕๙] พระผู้มีพระภาคได้เสด็จมา ณ ที่นั้น
ทรงลูบศีรษะเรา ทรงจับแขนเรา พาเข้าไปสู่สังฆาราม
[๕๖๐] พระศาสดาทรงอนุเคราะห์เรา
ได้ทรงประทานผ้าเช็ดพระบาท ด้วยรับสั่งว่า
เธอจงอธิษฐานผ้าที่สะอาดนี้ให้มั่นคง ณ ที่สมควร
[๕๖๑] เราฟังพระดำรัสของพระองค์
ยังยินดีอยู่ในพระศาสนา
ได้ทำสมาธิให้เกิดเพื่อบรรลุประโยชน์สูงสุด
[๕๖๒] เรารู้ถึงขันธ์ที่อาศัยอยู่มาก่อน
ชำระทิพยจักษุให้หมดจดแล้ว
เราบรรลุวิชชา ๓
ได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว
[๕๖๓] ปันถกเถระเนรมิตตนหนึ่งพัน
นั่งในอัมพวันที่น่ารื่นรมย์
จนถึงเวลาเขามานิมนต์
[๕๖๔] ลำดับนั้น พระศาสดาทรงใช้ทูต
ให้ไปบอกเวลาฉันอาหารแก่เรา
เมื่อทูตบอกเวลาฉันแล้ว
เราก็ได้เหาะไปเฝ้า
[๕๖๕] ถวายบังคมพระยุคลบาทพระศาสดาแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร
ทีนั้น พระศาสดาทรงรับรองเราผู้ถวายบังคมแล้วนั่งอยู่
[๕๖๖] ปันถกเถระเป็นผู้ควรบูชาของชาวโลกทั้งมวล
เป็นผู้ควรรับของที่เขานำมาบูชา
เป็นเนื้อนาบุญของหมู่มนุษย์ ได้รับทักษิณาแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๓๗ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๐. ทสกนิบาต] ๕. กัปปเถรคาถา
๕. กัปปเถรคาถา
ภาษิตของพระกัปปเถระ
(พระศาสดาตรัสอสุภกถาสอนพระเจ้ากัปปะนั้นด้วยพระคาถาเหล่านี้ว่า)
[๕๖๗] ร่างกายนี้เต็มไปด้วยของโสโครกและมลทินต่าง ๆ
มีหลุมคูถใหญ่เป็นที่เกิด เป็นดุจบ่อน้ำครำที่มีมานาน
เป็นดุจฝีใหญ่ เป็นดุจแผลใหญ่
[๕๖๘] เป็นกายเต็มไปด้วยหนองและเลือด เต็มไปด้วยหลุมคูถ
มีน้ำไหลออกเป็นนิตย์ หลั่งของเน่าเสียออกอยู่ประจำ
[๕๖๙] มีเส้นเอ็นใหญ่ ๖๐ เส้นรัดรึงไว้
มีเครื่องฉาบทาคือเนื้อฉาบทาไว้ มีเสื้อคือหนังหุ้มห่อไว้
เป็นกายเปื่อยเน่า ไม่มีประโยชน์
[๕๗๐] เชื่อมต่อไว้ด้วยโครงกระดูก
เกี่ยวร้อยไว้ด้วยด้ายคือเส้นเอ็น
ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถได้ เพราะมีมหาภูตรูป ๔
ชีวิตินทรีย์ ลมอัสสาสะ ปัสสาสะ๑
และวิญญาณเป็นต้นเกี่ยวเนื่องกัน
[๕๗๑] นรชนผู้มีจิตเป็นไปตามความปรารถนา
ดำเนินไปสู่ความตายอย่างแน่นอน
อยู่ใกล้มัจจุราช ละทิ้งร่างกายไว้ในโลกนี้เอง
[๕๗๒] ร่างกายที่ถูกอวิชชาหุ้มห่อไว้
ถูกกิเลสเครื่องร้อยรัด ๔ อย่างร้อยรัดไว้
เป็นกายจมลงในห้วงน้ำคือกิเลส
ถูกข่ายคืออนุสัยกิเลสปกคลุมไว้

เชิงอรรถ :
๑ ลมหายใจออกหายใจเข้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๓๘ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๐. ทสกนิบาต] ๖. วังคันตปุตตอุปเสนคาถา
[๕๗๓] ประกอบด้วยนิวรณ์ ๕ เพียบพร้อมด้วยวิตก
ถูกรากเหง้าแห่งภพคือตัณหารัดรึง
ถูกเครื่องปิดบังคือโมหะปิดบังไว้
[๕๗๔] ร่างกายนี้ถูกเครื่องหมุนคือกรรมให้หมุนไป จึงหมุนไปอย่างนี้
สมบัติ(ที่มีอยู่ในร่างกายนี้)มีวิบัติเป็นที่สุด
ย่อมมีความพลัดพรากกันเป็นธรรมดา
[๕๗๕] เหล่าปุถุชนผู้โง่เขลาซึ่งยึดถือร่างกายนี้ว่าเป็นของเรา
ย่อมทำสังสารวัฏที่น่ากลัวให้เจริญ ทั้งยึดภพใหม่ไว้
[๕๗๖] เหล่ากุลบุตรผู้เป็นบัณฑิตซึ่งละร่างกายที่น่ารังเกียจนี้
คลายอวิชชา และภวตัณหาซึ่งเป็นรากเหง้าแห่งภพได้แล้ว
จักปรินิพพานอย่างไม่มีอาสวะ
เหมือนคนที่ต้องการความสุขอยากมีชีวิตอยู่
เห็นอสรพิษตัวเปื้อนคูถแล้วก็หลีกหนีไปฉะนั้น

๖. วังคันตปุตตอุปเสนเถรคาถา
ภาษิตของพระวังคันตปุตตอุปเสนเถระ
(พระวังคันตปุตตอุปเสนเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า)
[๕๗๗] ภิกษุพึงอยู่เสนาสนะอันสงัด ปราศจากเสียงอื้ออึง
ที่สัตว์ร้ายอาศัยอยู่ เพราะการหลีกเร้นเป็นเหตุ
[๕๗๘] พึงเก็บผ้าจากกองขยะ จากป่าช้า
และตรอกน้อย ตรอกใหญ่นั้น
ทำเป็นผ้านุ่ง ผ้าห่ม แล้วใช้จีวรที่เศร้าหมอง
[๕๗๙] ภิกษุพึงคุ้มครองทวาร
สำรวมระวังทำใจให้เคารพเอื้อเฟื้อแล้ว
เที่ยวบิณฑบาตตามลำดับสกุล ตามลำดับตรอก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๓๙ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๐. ทสกนิบาต] ๗. โคตมเถรคาถา
[๕๘๐] พึงยินดีด้วยของตามที่ได้ ถึงจะเป็นของเศร้าหมอง
และไม่ควรปรารถนารสอย่างอื่นจากรสตามที่ได้มาให้มาก
สำหรับผู้ที่ยังติดในรส ใจย่อมไม่ยินดีในฌาน
[๕๘๑] ภิกษุพึงเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย สันโดษ ชอบสงัด
เป็นมุนี และไม่อยู่คลุกคลีด้วยคฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งสอง
[๕๘๒] ภิกษุผู้เป็นบัณฑิตควรแสดงตนให้เป็นเหมือนคนโง่และคนใบ้
ไม่ควรพูดมากในท่ามกลางสงฆ์
[๕๘๓] ท่านไม่พึงว่าร้ายใคร พึงเว้นการกระทบกระทั่ง
ควรสำรวมในพระปาติโมกข์ และรู้จักประมาณในการขบฉัน
[๕๘๔] เป็นผู้ฉลาดในการเกิดขึ้นแห่งจิตที่กำหนดนิมิตไว้ดีแล้ว
ประกอบสมถะและวิปัสสนาตามกาลอันสมควรเนือง ๆ
[๕๘๕] ภิกษุผู้เป็นบัณฑิตพึงเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรเป็นนิตย์
ประกอบภาวนาทุกเมื่อ
หากยังไม่ถึงที่สุดทุกข์ไม่พึงถึงความวางใจ
[๕๘๖] อาสวะทั้งปวงของภิกษุผู้ปรารถนาความบริสุทธิ์เป็นอยู่อย่างนี้
ย่อมสิ้นไป และท่านก็ย่อมบรรลุนิพพาน

๗. โคตมเถรคาถา
ภาษิตของพระโคดมเถระ
(พระโคดมเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า)
[๕๘๗] บุคคลพึงรู้จักประโยชน์ของตน ๑ พึงตรวจดูปาพจน์๑ ๑
พึงตรวจตราสิ่งที่สมควรในศาสนานี้
ของกุลบุตรผู้เข้าถึงความเป็นสมณะ ๑

เชิงอรรถ :
๑ ธรรมและวินัยที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้แล้ว (ขุ.เถร.อ.๒/๕๘๗/๒๓๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๔๐ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๐. ทสกนิบาต] ๗. โคตมเถรคาถา
[๕๘๘] มิตรดี ๑ การสมาทานสิกขาให้บริบูรณ์ ๑
การเชื่อฟังครูทั้งหลาย ๑ นี้เป็นการสมควรแก่สมณะในศาสนานี้
[๕๘๙] ความเคารพในพระพุทธเจ้า ๑
ความนอบน้อมในพระธรรมตามความเป็นจริง ๑
การทำความยำเกรงในพระสงฆ์ ๑
นี้เป็นการสมควรแก่สมณะ
[๕๙๐] ภิกษุผู้ประกอบในอาจาระและโคจร ๑
ผู้ชำระอาชีพให้บริสุทธิ์ ซึ่งท่านผู้รู้ไม่ตำหนิติเตียน ๑
การตั้งจิตไว้ชอบ ๑ นี้เป็นการสมควรแก่สมณะ
[๕๙๑] จาริตศีล ๑ วาริตศีล ๑
การผลัดเปลี่ยนอิริยาบถที่น่าเลื่อมใส ๑
การประกอบเนือง ๆ ในอธิจิต ๑
นี้เป็นการสมควรแก่สมณะ
[๕๙๒] เสนาสนะป่า ๑ ที่สงัด ๑ ที่เงียบ ๑ ที่มุนีอยู่อาศัย ๑
นี้เป็นการสมควรแก่สมณะ
[๕๙๓] จตุปาริสุทธิศีล ๑ พาหุสัจจะ ๑
การพิจารณาค้นคว้าธรรมตามความเป็นจริง ๑
การรู้แจ้งอริยสัจ ๑ นี้เป็นการสมควรแก่สมณะ
[๕๙๔] ข้อที่บุคคลพึงเจริญอนิจจสัญญาว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ๑
เจริญอนัตตสัญญาว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ๑
เจริญอสุภสัญญา ๑ เจริญอนภิรติสัญญาในโลก ๑
นี้เป็นการสมควรแก่สมณะ
[๕๙๕] ข้อที่บุคคลพึงเจริญโพชฌงค์ ๑ อิทธิบาท ๑
อินทรีย์ ๑ พละ ๑ อริยัฏฐังคิกมรรค ๑
นี้เป็นการสมควรแก่สมณะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๔๑ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๐. ทสกนิบาต] รวมเรื่องพระเถระที่มีในนิบาต
[๕๙๖] พระมุนีพึงละตัณหา ๑
ทำลายอาสวะพร้อมทั้งรากเหง้า ๑
พึงอยู่อย่างผู้มีจิตหลุดพ้น ๑
นี้เป็นการสมควรแก่สมณะ
ทสกนิบาต จบ

รวมเรื่องพระเถระที่มีในนิบาตนี้ คือ

๑. พระกาฬุทายีเถระ ๒. พระเอกวิหาริยเถระ
๓. พระมหากัปปินเถระ ๔. พระจูฬปันถกเถระ
๕. พระกัปปเถระ ๖. พระวังคันตปุตตอุปเสนเถระ
๗. พระโคตมเถระ

ในทสกนิบาตนี้ มีพระเถระ ๗ รูปนี้
และมี ๗๐ คาถา ฉะนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๔๒ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๑. เอกาทสกนิบาต]๑. สังกิจจเถรคาถา
๑๑. เอกาทสกนิบาต
๑. สังกิจจเถรคาถา
ภาษิตของพระสังกิจจเถระ
(อุบาสกคนหนึ่งต้องการบำรุงสังกิจจสามเณร จึงนิมนต์สามเณรให้อยู่ที่ใกล้
ด้วยคาถาว่า)
[๕๙๗] พ่อสามเณร ป่าจะมีประโยชน์อะไรสำหรับท่าน
ในฤดูฝน ภูเขาชื่ออุชชุหานะนั่นเองไม่เป็นที่สบาย
ลมหัวด้วนก็พัดมาประจำ ท่านจะพึงพอใจหรือ
เพราะความสงัดเป็นที่ต้องการของผู้เจริญฌาน
(พระสังกิจจเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า)
[๕๙๘] ในฤดูฝน ลมหัวด้วน ย่อมพัดพาเมฆหมอกไปได้ฉันใด
สัญญาที่ประกอบด้วยวิเวกก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ย่อมดึงจิตของอาตมาไปสู่ที่วิเวก
[๕๙๙] กายคตาสติกรรมฐานที่ประกอบด้วยความคลายกำหนัด
ในร่างกาย เกิดขึ้นแก่อาตมาทันที เหมือนกาดำเกิดจากฟองไข่
เที่ยวอาศัยอยู่ในป่าช้า
[๖๐๐] ภิกษุผู้ไม่มีคนอื่นคอยดูแลรักษา
และไม่คอยดูแลรักษาคนอื่น นั้นแล
ไม่มีความเยื่อใยในกามทั้งหลาย ย่อมอยู่เป็นสุข
[๖๐๑] ภูเขาศิลาอันกว้างใหญ่ไพศาล
มีน้ำไหลใสสะอาด
มีฝูงค่างและฝูงเนื้อฟานคลาคล่ำ
ดารดาษไปด้วยน้ำและสาหร่ายเหล่านั้น
ย่อมทำให้อาตมารื่นรมย์ใจยิ่งนัก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๔๓ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๑. เอกาทสกนิบาต ]รวมเรื่องพระเถระที่มีในนิบาต
[๖๐๒] ในเสนาสนะที่สงัดคือป่า ซอกเขา และถ้ำ
ที่สัตว์ร้ายอาศัยอยู่ อาตมาเคยอยู่มาแล้ว
[๖๐๓] อาตมาไม่เคยดำริถึงสิ่งที่ไม่ดี ประกอบด้วยโทษเลยว่า
ขอสัตว์เหล่านี้จงถูกเบียดเบียน จงถูกฆ่า จงประสบทุกข์
[๖๐๔] อาตมาได้ปรนนิบัติพระศาสดา
ได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว
ปลงภาระที่หนักเสียได้
ถอนตัณหาที่นำไปสู่ภพได้ขาดแล้ว
[๖๐๕] อาตมาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเพื่อประโยชน์ใด
ประโยชน์นั้นอันเป็นที่สิ้นไปแห่งสังโยชน์ทั้งปวง
อาตมาก็ได้บรรลุแล้ว
[๖๐๖] อาตมาไม่อยากตาย
ไม่อยากเป็นอยู่
แต่อาตมารอคอยเวลาอยู่
เหมือนลูกจ้างทำการงานคอยค่าจ้าง
[๖๐๗] อาตมาไม่อยากตาย
ไม่อยากเป็นอยู่
แต่อาตมามีสติสัมปชัญญะอยู่เฉพาะหน้า
คอยเวลาอันควร
เอกาทสกนิบาต จบ

รวมเรื่องพระเถระที่มีในนิบาตนี้ คือ
รวมพระสังกิจจเถระผู้ทำกิจเสร็จแล้ว
ไม่มีอาสวะรูปเดียวเท่านั้น
และในเอกาทสกนิบาต มี ๑๑ คาถา ฉะนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๔๔ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๒. ทวาทสกนิบาต] ๑. สีลวเถรคาถา
๑๒. ทวาทสกนิบาต
๑. สีลวเถรคาถา
ภาษิตของพระสีลวเถระ
(พระสีลวเถระแสดงธรรมด้วยคาถาเหล่านี้ว่า)
[๖๐๘] กุลบุตรในสัตว์โลกนี้ผู้ใคร่ประโยชน์
พึงศึกษาศีลนั่นแหละให้เป็นอันศึกษาดีแล้วในโลกนี้
เพราะศีลที่รักษาแล้ว ย่อมนำสมบัติทุกประเภทมาให้ได้
[๖๐๙] ผู้มีปัญญาเมื่อปรารถนาความสุข ๓ อย่าง
คือ การสรรเสริญ ๑ การได้ความปลื้มใจ ๑
การตายไปแล้วบันเทิงในสวรรค์ ๑
ควรรักษาศีล
[๖๑๐] เพราะผู้มีศีล มีความสำรวม ย่อมได้มิตรมาก
ส่วนผู้ทุศีล ประพฤติแต่ความชั่ว ย่อมแตกจากมิตร
[๖๑๑] นรชนผู้ทุศีลย่อมได้รับการตำหนิและติเตียน
นรชนผู้มีศีลย่อมได้รับความยกย่องชมเชยและสรรเสริญทุกเมื่อ
[๖๑๒] ศีลเป็นเบื้องต้น เป็นที่ตั้ง
เป็นบ่อเกิดแห่งคุณความดีทั้งหลาย
เป็นประธานแห่งธรรมทั้งปวง
เพราะฉะนั้น พึงชำระศีลให้บริสุทธิ์
[๖๑๓] สังวรศีล เป็นเครื่องกั้นทุจริต ทำจิตให้ร่าเริง
และเป็นท่าสำหรับหยั่งลงมหาสมุทรคือนิพพาน
ของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์
เพราะฉะนั้น ควรชำระศีลให้บริสุทธิ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๔๕ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๒. ทวาทสกนิบาต] ๒. สุนีตเถรคาถา
[๖๑๔] ศีลเป็นกำลังหาสิ่งเปรียบปานมิได้
เป็นอาวุธชั้นเยี่ยม เป็นอาภรณ์อันประเสริฐ
เป็นเกราะบังอย่างน่าอัศจรรย์
[๖๑๕] ศีลเป็นสะพานอันมีพลังมาก มีกลิ่นหอมอย่างยิ่ง
เป็นเครื่องลูบไล้อย่างประเสริฐ
ซึ่งเป็นเหตุให้ผู้มีศีล มีชื่อเสียง ระบือไปทั่วทุกทิศ
[๖๑๖] ศีลเป็นกำลังที่ดีเลิศ เป็นเสบียงเดินทางชั้นเยี่ยม
เป็นยานพาหนะชั้นประเสริฐ
ซึ่งเป็นเหตุให้ผู้มีศีลไปได้ทั่วทุกทิศ
[๖๑๗] คนพาลมีใจไม่ตั้งมั่นในศีล ย่อมได้รับการติฉินนินทาในโลกนี้
และตายไปแล้ว ย่อมได้รับทุกข์โทมนัสในอบายภูมิ
ย่อมได้รับทุกข์โทมนัสในที่ทั่วไป
[๖๑๘] ธีรชนตั้งมั่นดีในศีล ย่อมได้รับชื่อเสียงในโลกนี้
และตายไปแล้ว ย่อมได้รับสุขโสมนัสในสวรรค์
ย่อมได้รับสุขโสมนัสในที่ทั่วไป
[๖๑๙] ศีลเท่านั้นเป็นเลิศในโลกนี้
ส่วนผู้มีปัญญาเป็นผู้สูงสุดทั้งในหมู่มนุษย์และหมู่เทวดา
ชัยชนะก็เพราะศีลและปัญญา

๒. สุนีตเถรคาถา
ภาษิตของพระสุนีตเถระ
(พระสุนีตเถระได้บันลือสีหนาทด้วยคาถาเหล่านี้ว่า)
[๖๒๐] เราเกิดมาในสกุลต่ำ ซ้ำขัดสน
มีของกินน้อย มีการงานต่ำ
ได้เป็นคนเก็บดอกไม้ที่เหี่ยวแห้งไปทิ้ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๔๖ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๒. ทวาทสกนิบาต] ๒. สุนีตเถรคาถา
[๖๒๑] เราถูกคนทั้งหลายเกลียดชัง ดูหมิ่น ข่มขู่
ได้ถ่อมตน ไหว้หมู่ชนเป็นอันมาก
[๖๒๒] ต่อมา เราได้พบพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงมีความเพียรมากซึ่งมีภิกษุสงฆ์แวดล้อม
กำลังเสด็จเข้าไปยังพระนครอันอุดมของชาวมคธ
[๖๒๓] จึงวางหาบลงแล้ว
เข้าไปถวายบังคมพระองค์ซึ่งเป็นบุคคลผู้สูงสุด
ได้ประทับยืนอยู่เพื่ออนุเคราะห์เรา
[๖๒๔] ครั้งนั้น เราได้ถวายบังคมพระยุคลบาทพระศาสดา
แล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร
จึงได้ทูลขอบรรพชากับพระองค์ผู้สูงสุดกว่าสรรพสัตว์
[๖๒๕] ลำดับนั้น พระศาสดาผู้ทรงมีพระกรุณา
อนุเคราะห์สัตว์โลกทั้งมวล ได้ตรัสกับเราว่า
เธอเป็นภิกษุมาเถิด
พระวาจานั้นได้เป็นการอุปสมบทของเรา
[๖๒๖] เรานั้นอยู่ในป่าแต่ผู้เดียว ไม่เกียจคร้าน
ได้ทำตามพระโอวาทพระศาสดาผู้ชนะมารทรงสั่งสอนเรามา
[๖๒๗] ในราตรีปฐมยาม เราระลึกชาติก่อนได้
ในมัชฌิมยาม ได้ชำระทิพยจักษุให้สะอาดแล้ว
ในปัจฉิมยาม ได้ทำลายกองแห่งความมืดคืออวิชชาแล้ว
[๖๒๘] ต่อเมื่อราตรีสิ้นไป
ดวงอาทิตย์ขึ้นไปจนตก
พระอินทร์และท้าวมหาพรหมพากันมาประณมอัญชลี
นอบน้อมเราพร้อมกับกล่าวว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๔๗ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๒. ทวาทสกนิบาต] รวมเรื่องพระเถระที่มีในนิบาต
[๖๒๙] ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุรุษอาชาไนย
ขอความนอบน้อมจงมีแด่ท่าน
ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุรุษสูงสุด
ขอความนอบน้อมจงมีแด่ท่าน
ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านสิ้นอาสวะแล้วเป็นผู้ควรแก่ทักษิณา
[๖๓๐] ลำดับนั้น พระศาสดาได้ทรงเห็นซึ่งหมู่เทวดาแวดล้อมอยู่
จึงทรงแย้ม แล้วได้ตรัสเนื้อความนี้ว่า
[๖๓๑] บุคคลชื่อว่าเป็นพราหมณ์เพราะคุณธรรมนี้ คือ
ตบะ พรหมจรรย์ ความสำรวม และความฝึกฝน
ตบะเป็นต้นนี้จัดเป็นพราหมณ์ชั้นสูงสุด
ทวาทสกนิบาต จบ

รวมเรื่องพระเถระที่มีในนิบาตนี้ ๒ รูป คือ
พระเถระ ๒ รูปนี้มีฤทธิ์มาก คือ
๑. พระสีลวเถระ ๒. พระสุนีตเถระ
ในทวาทสกนิบาตมี ๒๔ คาถา ฉะนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๔๘ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๓. เตรสกนิบาต] ๑. โสณโกฬิวิสเถรคาถา
๑๓. เตรสกนิบาต
๑. โสณโกฬิวิสเถรคาถา
ภาษิตของพระโสณโกฬิวิสเถระ
(พระโสณโกฬิวิสเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า)
[๖๓๒] ผู้ใดเป็นคหบดีที่ยิ่งใหญ่
สมความปรารถนาในรัฐของพระเจ้าอังคะ
วันนี้ ผู้นั้นชื่อว่าโสณะ
เป็นผู้เยี่ยมที่สุดในธรรมทั้งหลาย ได้ถึงที่สุดทุกข์
[๖๓๓] ภิกษุพึงตัดสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ พึงละสังโยชน์เบื้องสูง ๕
และพึงเจริญอินทรีย์ ๕ ให้ยิ่ง
ภิกษุผู้ล่วงธรรมเป็นเครื่องข้องได้ทั้ง ๕
ท่านเรียกว่า ข้ามโอฆะได้แล้ว
[๖๓๔] สำหรับภิกษุผู้ประมาท มีใจพองเหมือนต้นอ้อ
ยังมีความยินดีในอายตนะภายนอก
ศีล สมาธิ และปัญญาย่อมไม่บริบูรณ์
[๖๓๕] ภิกษุเหล่านี้ละทิ้งกิจที่ควรทำ มาทำแต่กิจที่ไม่ควรทำ
อาสวะทั้งหลายของพวกเธอผู้ประมาท
มีใจพองเหมือนต้นอ้อ ย่อมเจริญ
[๖๓๖] ส่วนภิกษุเหล่าใดปรารภกายคตาสติด้วยดีเป็นนิตย์
ภิกษุเหล่านั้นมักกระทำกิจที่ควรทำเป็นนิตย์ ไม่ทำกิจที่ไม่ควรทำ
อาสวะของพวกเธอผู้มีสติสัมปชัญญะ ย่อมถึงความสิ้นไป
[๖๓๗] เมื่อพระศาสดาตรัสบอกทางตรงไว้แล้ว เธอทั้งหลายจงดำเนิน
ไปเถิด อย่าหยุดเสีย กุลบุตรผู้หวังประโยชน์
เมื่อเตือนตนด้วยตนเอง พึงน้อมตนเข้าถึงนิพพานได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๔๙ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา[๑๓. เตรสกนิบาต] รวมเรื่องพระเถระที่มีในนิบาต
[๖๓๘] เมื่อเราบำเพ็ญเพียรอย่างหนัก
พระศาสดาซึ่งมีพระจักษุยอดเยี่ยมในโลก
ได้ทรงแสดงธรรมอุปมาด้วยสายพิณสอนเรา
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้วยินดีอยู่ในคำสอน
[๖๓๙] ทำสมถะ๑ให้ถึงพร้อมเพื่อบรรลุประโยชน์สูงสุด
เราบรรลุวิชชา ๓ ได้ทำตามคำสั่งสองของพุทธเจ้าแล้ว
[๖๔๐] เราผู้น้อมไปในเนกขัมมะ๒ และความสงัดใจ
น้อมไปในความไม่เบียดเบียน หมดความยึดมั่นถือมั่น
[๖๔๑] น้อมไปในความสิ้นตัณหาและความไม่หลงแห่งใจ
เพราะเห็นความเกิดขึ้นแห่งอายตนะ จิตจึงหลุดพ้นได้โดยชอบ
[๖๔๒] ภิกษุผู้มีจิตสงบระงับหลุดพ้นโดยชอบ ทำกิจเสร็จแล้วนั้น
ย่อมไม่มีการสั่งสม ทั้งไม่มีกิจอื่นที่จะต้องทำ
[๖๔๓] ภูเขาหินแท่งทึบย่อมไม่สะเทือนเพราะลมฉันใด
รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะและธรรมารมณ์ทั้งมวล
[๖๔๔] ทั้งที่เป็นอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์
ทำจิตของผู้คงที่ให้หวั่นไหวไม่ได้ ฉันนั้น
จิตของผู้คงที่นั้น เป็นจิตตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว
ไม่เกาะเกี่ยวด้วยอารมณ์อะไร
เพราะผู้คงที่นั้นได้เห็นความเสื่อมไปแห่งอารมณ์นั้นแล้ว
เตรสกนิบาต จบ

รวมเรื่องพระเถระที่มีในนิบาตนี้ คือ
๑. พระโสณโกฬิวิสเถระมีฤทธิ์มากรูปเดียวเท่านั้น
และในเตรสกนิบาตนี้ มี ๑๓ คาถา ฉะนี้แล

เชิงอรรถ :
๑ สมาธิที่ทำให้เกิดวิปัสสนา (ขุ.เถร.อ. ๒/๖๓๙/๒๖๑)
๒ การออกบวช (ขุ.เถร.อ. ๒/๖๔๐/๒๖๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๕๐ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๔. จุททสกนิบาต] ๑. ขทิรวนิยเรวตเถรคาถา
๑๔. จุททสกนิบาต
๑. ขทิรวนิยเรวตเถรคาถา
ภาษิตของพระขทิวนิยเรวตเถระ
(พระขทิรวนิยเรวตเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า)
[๖๔๕] นับแต่อาตมาออกบวชเป็นบรรพชิต
ไม่เคยดำริถึงสิ่งที่ไม่ดี ประกอบด้วยโทษเลยว่า
[๖๔๖] ขอสัตว์เหล่านี้จงถูกเบียดเบียน จงถูกฆ่า จงประสบทุกข์
อาตมาไม่เคยดำริในระยะกาลยาวนานเช่นนี้
[๖๔๗] แต่รู้เฉพาะการเจริญเมตตาไม่มีประมาณ
ซึ่งได้อบรมสั่งสมมาโดยลำดับตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้แล้ว
[๖๔๘] เป็นมิตร เป็นสหายกับสัตว์ทุกจำพวก
อนุเคราะห์สัตว์ทุกจำพวก
ยินดีในการไม่เบียดเบียน เจริญเมตตาจิตทุกเมื่อ
[๖๔๙] และทำจิตที่ไม่ง่อนแง่น ไม่ขุ่นเคืองให้บันเทิง
เจริญพรหมวิหาร ที่คนเลวส้องเสพไม่ได้
[๖๕๐] สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเข้าทุติยฌานที่ไม่มีวิตก
เป็นผู้ประกอบด้วยความเป็นผู้นิ่งอย่างประเสริฐโดยแท้จริง
[๖๕๑] ภูเขาศิลาล้วนตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว แม้ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้น เพราะสิ้นโมหะ ย่อมไม่หวั่นไหวดุจภูเขา ฉันนั้น
[๖๕๒] คนผู้ไม่มีกิเลสเครื่องยั่วยวน
ใฝ่ใจแสวงหาความสะอาดอยู่เป็นนิตย์
ความชั่วเพียงเท่าปลายขนทราย
ย่อมปรากฏดังเท่าก้อนเมฆ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๕๑ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๔. จุททสกนิบาต] ๑. ขทิรวนิยเรวตเถรคาถา
[๖๕๓] เมืองชายแดนได้รับการคุ้มครองทั้งภายในและภายนอก ฉันใด
ท่านทั้งหลายโปรดคุ้มครองตนให้ได้ ฉันนั้น
ขณะอย่าได้ล่วงเลยท่านทั้งหลายไปเสีย
[๖๕๔] อาตมาไม่อยากตาย
ไม่อยากเป็นอยู่
แต่อาตมารอคอยเวลาอยู่
เหมือนลูกจ้างทำการงานคอยค่าจ้าง
[๖๕๕] อาตมาไม่อยากตาย
ไม่อยากเป็นอยู่
แต่อาตมามีสติสัมปชัญญะอยู่เฉพาะหน้า
คอยเวลาอันสมควร
[๖๕๖] อาตมาปรนนิบัติพระศาสดา
ได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว
ปลงภาระที่หนักเสียได้
ถอนตัณหาที่นำไปสู่ภพได้ขาดแล้ว
[๖๕๗] อาตมาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเพื่อประโยชน์ใด
ประโยชน์นั้นอันเป็นที่สิ้นไปแห่งสังโยชน์ทั้งปวง
อาตมาก็ได้บรรลุแล้ว
[๖๕๘] หน้าที่ที่ควรทำให้ถึงพร้อมมีทานและศีลเป็นต้น
ท่านทั้งหลาย โปรดทำให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด
นี้เป็นคำสั่งสอนของอาตมา
อาตมาหลุดพ้นจากกิเลสและภพได้ทั้งหมดแล้ว
จักปรินิพพานละ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๕๒ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๔. จุททสกนิบาต] ๒. โคทัตตเถรคาถา
๒. โคทัตตเถรคาถา
ภาษิตของพระโคทัตตเถระ
(พระโคทัตตเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า)
[๖๕๙] โคอาชาไนยดีถูกเทียมที่แอกเกวียน
สามารถนำแอกเกวียนไปได้
ถูกภาระหนักเบียดเบียน
ก็ไม่ยอมสลัดแอกเกวียนที่เทียมไว้ ฉันใด
[๖๖๐] เหล่าชนที่บริบูรณ์ด้วยปัญญา
เหมือนมหาสมุทรที่เต็มเปี่ยมด้วยน้ำ
ย่อมไม่ดูหมิ่นชนอื่น ๆ ฉันนั้น
ข้อนี้เป็นดังอริยธรรมของคนทั้งหลาย
[๖๖๑] นรชนคนหนุ่มทั้งหลายที่ตกอยู่ในอำนาจของกาลเวลา
ไปตามอำนาจของความเจริญและความเสื่อม
ย่อมประสบทุกข์ และย่อมเศร้าโศก
[๖๖๒] เหล่าปุถุชนที่ยังโง่เขลา มักไม่เห็นตามความเป็นจริง
พอมีสุขเป็นเหตุก็ฟูขึ้น พอมีทุกข์เป็นเหตุก็ฟุบลง
จึงเดือดร้อนเพราะเหตุ ๒ ประการนี้
[๖๖๓] ส่วนอริยชนทั้งหลายที่ล่วงตัณหา
เป็นเหตุพัวพันในทุกขเวทนา สุขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนา
ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวดุจเสาเขื่อน ไม่ฟูขึ้นหรือฟุบลง
[๖๖๔] ย่อมไม่ติดในลาภ เสื่อมลาภ ยศ เสื่อมยศ
นินทา สรรเสริญ สุขและทุกข์เลย
[๖๖๕] ท่านเหล่านั้นไม่ติดในโลกธรรมทุกประเภท
เหมือนหยาดน้ำไม่ติดบนใบบัว
ธีรชนทั้งหลายประสบสุข ไม่พ่ายแพ้ในที่ทุกแห่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๕๓ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๔. จุททสกนิบาต] รวมเรื่องพระเถระที่มีในนิบาต
[๖๖๖] การไม่ได้ลาภโดยธรรม กับการได้ลาภโดยไม่ชอบธรรม
๒ อย่างนี้ การไม่ได้ลาภแต่ชอบธรรมประเสรฐิกว่า
การได้ลาภโดยไม่ชอบธรรมไม่ประเสริฐเลย
[๖๖๗] ผู้ไม่มีความรู้ มียศ กับผู้มีความรู้แต่ไม่มียศ
๒ จำพวกนี้ ผู้มีความรู้ แต่ไม่มียศ ประเสริฐกว่า
ผู้ไม่มีความรู้ มียศ ไม่ประเสริฐเลย
[๖๖๘] การที่คนพาลสรรเสริญ กับการที่บัณฑิตติเตียน
๒ อย่างนี้ การที่บัณฑิตติเตียนนั่นแหละประเสริฐกว่า
การที่คนพาลสรรเสริญไม่ประเสริฐเลย
[๖๖๙] ความสุขที่เกิดเพราะอาศัยกามคุณ
กับความทุกข์ที่เกิดแต่ความสงัด
๒ อย่างนี้ ความทุกข์ที่เกิดแต่ความสงัด ประเสริฐกว่า
ความสุขที่เกิดเพราะอาศัยกามคุณ ไม่ประเสริฐเลย
[๖๗๐] ความเป็นอยู่โดยไม่ชอบธรรม กับความตายโดยชอบธรรม
๒ อย่างนี้ ความตายโดยชอบธรรมประเสริฐกว่า
ความเป็นอยู่โดยไม่ชอบธรรม ไม่ประเสริฐเลย
[๖๗๑] ท่านเหล่าใดละความยินดี ยินร้ายได้
มีจิตสงบ เที่ยวไปในภพน้อยภพใหญ่ ไม่ติดอยู่ในโลก
ท่านเหล่านั้นไม่มีความรักหรือความชัง
[๖๗๒] เจริญโพชฌงค์ ๗ อินทรีย์ ๕ และพละ ๕
บรรลุความสงบอย่างยิ่ง ไม่มีอาสวะ ย่อมปรินิพพาน
จุททสกนิบาต จบ

รวมเรื่องพระเถระที่มีในนิบาตนี้ คือ
พระเถระ ๒ รูปนี้ มีฤทธิ์มาก คือ
๑. พระขทิรวนิยเรวตเถระ ๒. พระโคทัตตเถระ
ในจุททสกนิบาตนี้ มี ๒๘ คาถา ฉะนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๕๔ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๕. โสฬสกนิบาต] ๑. อัญญาสิโกณฑัญญเถรคาถา
๑๕. โสฬสกนิบาต
๑. อัญญาสิโกณฑัญญเถรคาถา
ภาษิตของพระอัญญาโกณฑัญญเถระ
(ท้าวสักกเทวราชตรัสภาษิตที่ ๑ ว่า)
[๖๗๓] ข้าพเจ้านี้สดับธรรมซึ่งมีอรรถรสมาก จึงเลื่อมใสอย่างยิ่ง
ธรรมที่คลายกำหนัดพอใจ เพราะไม่ยึดมั่นโดยสิ้นเชิง
พระคุณท่านแสดงไว้แล้ว
(พระอัญญาโกณฑัญญเถระได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๖๗๔] อารมณ์ที่วิจิตรในโลกมากมาย
เห็นจะย่ำยีคนที่ยังมีความดำริถึงอารมณ์ ว่างาม
ซึ่งประกอบด้วยราคะในพื้นปฐพีนี้
[๖๗๕] เมื่อฝนห่าใหญ่ตกลงมาช่วยระงับฝุ่นธุลีที่ลมพัดให้ฟุ้งขึ้นได้ ฉันใด
เมื่อใดพระอริยสาวกพิจารณาเห็นด้วยปัญญา
เมื่อนั้น ความดำริผิดย่อมระงับไปได้ ฉันนั้น
[๖๗๖] เมื่อใด พระอริยสาวกพิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า
สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง
เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์ นั่นเป็นทางแห่งความบริสุทธิ์
[๖๗๗] เมื่อใด พระอริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า
สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นทุกข์
เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์ นั่นเป็นทางแห่งความบริสุทธิ์
[๖๗๘] เมื่อใด พระอริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า
ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา
เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์ นั่นเป็นทางแห่งความบริสุทธิ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๕๕ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๕. โสฬสกนิบาต] ๑. อัญญาสิโกณฑัญญเถรคาถา
[๖๗๙] อัญญาโกณฑัญญเถระผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้า
ได้มีความบากบั่นอย่างแรงกล้า ละความเกิดและความตายได้
บำเพ็ญมัคคพรหมจรรย์อย่างบริบูรณ์สิ้นเชิง
[๖๘๐] ตัดบ่วงคือโอฆะ๑ ตะปูตรึงใจ๒อย่างมั่นคง
และทำลายภูเขาที่ทำลายได้ยากแล้ว
ข้ามไปถึงฝั่งคือนิพพาน มีปกติเข้าฌาน
พ้นจากเครื่องผูกคือกิเลสมารได้แล้ว
[๖๘๑] ภิกษุที่ยังมีจิตฟุ้งซ่าน กลับกลอก
คบหาแต่มิตรชั่ว ถูกคลื่น(คือความผูกโกรธ)ซัดไป
จมในห้วงน้ำใหญ่คือสงสาร
[๖๘๒] ส่วนภิกษุที่มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน ไม่กลับกลอก มีปัญญารักษาตน
สำรวมอินทรีย์ คบหาแต่มิตรดี
เป็นนักปราชญ์ พึงทำความสิ้นทุกข์ได้
[๖๘๓] นรชนผู้รู้ประมาณในข้าวและน้ำย่อมซูบผอม
มีตัวสะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็นคล้ายเถาหญ้านาง แต่มีใจไม่ย่อท้อ
[๖๘๔] ถูกฝูงเหลือบและยุงกัดในป่าใหญ่
พึงเป็นผู้มีสติอดกลั้นในอันตรายนั้น เหมือนช้างในสงคราม
[๖๘๕] อาตมาไม่อยากตาย ไม่อยากเป็นอยู่
แต่รอคอยเวลาอยู่ เหมือนลูกจ้างทำการงานคอยค่าจ้าง
[๖๘๖] อาตมาไม่อยากตาย ไม่อยากเป็นอยู่
แต่อาตมามีสติสัมปชัญญะอยู่เฉพาะหน้า คอยเวลาอันควร

เชิงอรรถ :
๑ ห้วงน้ำ ๔ อย่าง คือ (๑) กาโมฆะ ห้วงน้ำคือกาม (๒) ภโวฆะ ห้วงน้ำคือภพ (๓) ทิฏโฐฆะ ห้วงน้ำตือ
ทิฏฐิ (๔) อวิชโชฆะ ห้วงน้ำคืออวิชชา (ขุ.เถร.อ. ๒/๖๘๐/๒๘๓)
๒ ตะปูตรึงใจมี ๕ อย่าง คือ (๑) ความสงสัยในพระศาสดา (๒) ในพระธรรม ( ๓) ในพระสงฆ์ (๔) ในการ
ศึกษา (๕) โกรธไม่พอใจในเพื่อนพรหมจรรย์ (ขุ.เถร.อ. ๒/๖๘๐/๒๘๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๕๖ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๕. โสฬสกนิบาต] ๒. อุทายีเถรคาถา
[๖๘๗] อาตมาปรนนิบัติพระศาสดา
ได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว
ปลงภาระที่หนักเสียได้ ถอนตัณหาที่นำไปสู่ภพได้ขาดแล้ว
[๖๘๘] อาตมาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเพื่อประโยชน์ใด
ประโยชน์นั้นอาตมาได้บรรลุแล้ว
จะมีประโยชน์อะไรด้วยสัทธิวิหาริกผู้ว่ายากสำหรับอาตมา

๒. อุทายีเถรคาถา
ภาษิตของพระอุทายีเถระ
(พระอุทายีเถระเมื่อจะชมเชยพระศาสดา ได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๖๘๙] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงบังเกิดในหมู่มนุษย์
ฝึกฝนพระองค์แล้ว มีพระหฤทัยตั้งมั่น
ทรงดําเนินไปในทางที่ประเสริฐ ทรงยินดีในธรรมเป็นที่สงบระงับจิต
[๖๙๐] ทรงถึงความสำเร็จแห่งธรรมทั้งปวงพระองค์ใดที่มนุษย์ทั้งหลาย
นอบน้อม พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นแม้เทวดาทั้งหลายก็
นอบน้อม ข้าพเจ้าฟังมาแต่พระอรหันต์ทั้งหลายดังว่ามานี้
[๖๙๑] เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายย่อมนอบน้อมพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระองค์ใด ผู้ทรงล่วงสังโยชน์ทั้งปวง เสด็จออกจากป่า๑ มาสู่
นิพพาน เสด็จออกจากกามมายินดีในเนกขัมมะ เหมือนทองคำที่
พ้นจากหิน
[๖๙๒] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นแล เป็นดุจช้างตัวประเสริฐ
ทรงรุ่งเรืองล่วงโลกพร้อมทั้งเทวโลก ดุจภูเขาหิมวันต์เหนือภูเขา
ศิลาเหล่าอื่น ทรงมีพระนามว่านาคโดยแท้จริง ทรงยอดเยี่ยม
กว่าผู้ที่มีนามว่านาคทั้งหมด

เชิงอรรถ :
๑ กิเลส (ขุ.เถร.อ. ๒/๖๙๑/๒๘,)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๕๗ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๕. โสฬสกนิบาต] ๒. อุทายีเถรคาถา
[๖๙๓] เราจะแสดงผู้ที่ได้นามว่านาคโดยแท้จริงนั้นแก่พวกท่าน
เพราะผู้ที่ไม่ทำชั่วทุกอย่าง ชื่อว่านาค
ความสงบเสงี่ยมและความไม่เบียดเบียนทั้ง ๒ นั้น
เป็นเท้าหน้าของผู้ที่ได้นามว่า ช้าง
[๖๙๔] สติ และสัมปชัญญะทั้ง ๒ นั้น
เป็นเท้าหลังของผู้ที่ได้นามว่าช้าง
ผู้ที่ได้นามว่าพญาช้าง
มีศรัทธาเป็นงวง มีอุเบกขาเป็นงาขาว
[๖๙๕] มีสติเป็นคอ มีปัญญาเครื่องพิจารณาค้นคว้าธรรมเป็นเศียร
มีธรรมคือสมถะและวิปัสสนาซึ่งเป็นที่รวมอยู่แห่งปัญญาเป็นท้อง
มีวิเวกเป็นหาง
[๖๙๖] พญาช้างคือพระพุทธเจ้านั้นทรงเข้าฌานประจำ
ทรงยินดีในนิพพาน มีพระหฤทัยตั้งมั่นดีภายใน
เมื่อเสด็จพระราชดำเนิน ก็มีพระหฤทัยตั้งมั่น
ประทับยืน ก็มีพระหฤทัยตั้งมั่น
[๖๙๗] เมื่อบรรทม ก็มีพระหฤทัยตั้งมั่น
แม้ประทับนั่ง ก็มีพระหฤทัยตั้งมั่น ทรงสำรวมทุกอย่าง
นี้เป็นคุณสมบัติของพญาช้างคือพระพุทธเจ้า
[๖๙๘] พญาช้าง คือพระพุทธเจ้านั้น บริโภคสิ่งที่ไม่มีโทษ
ไม่บริโภคสิ่งที่มีโทษ ได้อาหารและเครื่องนุ่งห่มแล้วงดการสั่งสม
[๖๙๙] ตัดสังโยชน์ กิเลสเครื่องผูกพันน้อยใหญ่ทั้งหมด
ไม่มีความห่วงใยเลย ไปได้ทุกทิศ
[๗๐๐] ดอกบัวขาวมีกลิ่นหอมหวน ชวนให้รื่นรมย์ใจเกิดก็ในน้ำ
เติบโตก็ในน้ำ แต่ไม่ติดอยู่กับน้ำ แม้ฉันใด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๕๘ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๕. โสฬสกนิบาต] รวมเรื่องพระเถระที่มีในนิบาต
[๗๐๑] พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติในโลก ทั้งทรงอยู่ในโลก
ก็ไม่ทรงติดอยู่กับโลก
เหมือนดอกบัวไม่ติดอยู่กับน้ำ ฉันนั้นเหมือนกัน
[๗๐๒] ไฟกองใหญ่ที่ลุกโชน เมื่อหมดเชื้อก็ดับไป
ถึงเมื่อยังมีเถ้าอยู่ เขาก็เรียกว่า ไฟดับ
[๗๐๓] อุปมาที่ให้รู้แจ่มแจ้งเนื้อความข้อนี้
วิญญูชนทั้งหลายแสดงไว้แล้ว
ท่านผู้ที่มีนามว่ามหานาคทั้งหลายจะรู้แจ้งพญาช้างคือพระพุทธเจ้า
อันเราผู้ได้นามว่านาคแสดงไว้แล้ว
[๗๐๔] พญาช้างคือพระพุทธเจ้า ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ
หมดอาสวะ เมื่อทรงละพระวรกาย จะไม่มีอาสวะ ปรินิพพาน
โสฬสกนิบาต จบ

รวมเรื่องพระเถระที่มีในนิบาตนี้ คือ
พระเถระ ๒ รูปนี้ มีฤทธิ์มาก คือ
๑. พระอัญญาโกณฑัญญะเถระ ๒. พระอุทายีเถระ
ในโสฬสกนิบาตนี้ มี ๓๒ คาถา ฉะนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๕๙ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๖. วีสตินิบาต] ๑. อธิมุตตเถรคาถา
๑๖. วีสตินิบาต
๑. อธิมุตตเถรคาถา
ภาษิตของพระอธิมุตตเถระ
(หัวหน้าโจร เมื่อจะสรรเสริญพระเถระ ได้กล่าว ๒ ภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๗๐๕] เมื่อก่อน เหล่าสัตว์ที่พวกเราฆ่าเพื่อบูชายัญหรือเพื่อทรัพย์
ย่อมเกิดความกลัวทั้งนั้น ย่อมพากันหวาดหวั่นและบ่นเพ้อรำพัน
[๗๐๖] ท่านนั้นไม่มีความกลัว สีหน้าผ่องใสยิ่งนัก
เพราะเหตุไร ท่านจึงไม่คร่ำครวญ ในเมื่อเกิดภัยใหญ่เช่นนี้
(พระเถระ เมื่อจะแสดงธรรมโปรดหัวหน้าโจร จึงได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๗๐๗] ท่านหัวหน้า สำหรับผู้ที่ไม่เยื่อใยในชีวิตย่อมไม่มีทุกข์ทางใจ
ภัยทุกอย่างผู้ที่สิ้นสังโยชน์ล่วงพ้นภัยทุกอย่างได้แล้ว
[๗๐๘] เมื่อสิ้นตัณหาที่นำไปสู่ภพก็ย่อมไม่มีความกลัวตายโดยประการ
ใดประการหนึ่งในปัจจุบันนั้น เหมือนคนที่ไม่กลัวความหนัก ในเมื่อ
วางของหนักลงแล้ว
[๗๐๙] พรหมจรรย์อาตมาประพฤติดีแล้ว
และแม้มรรคอาตมาก็อบรมดีแล้ว
อาตมาจึงไม่มีความกลัวตาย เหมือนคนไม่กลัวโรคในเมื่อหายโรค
[๗๑๐] พรหมจรรย์อาตมาประพฤติดีแล้ว
และแม้มรรคอาตมาก็อบรมดีแล้ว
อาตมาได้เห็นภพว่าเป็นสิ่งที่ไม่น่ายินดี
เหมือนคนดื่มยาพิษแล้วสำรอกออกมา
[๗๑๑] ผู้ที่ถึงฝั่ง ไม่ยึดมั่น เสร็จกิจ หมดอาสวะ
ย่อมพอใจเพราะความสิ้นอายุ
เหมือนผู้ร้ายพ้นจากการถูกประหารชีวิต ก็ร่าเริงยินดีอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๖๐ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๖. วีสตินิบาต] ๑. อธิมุตตเถรคาถา
[๗๑๒] ผู้บรรลุสภาวธรรมชั้นสูงสุด ไม่มีความเยื่อใยในโลกทั้งมวล
เมื่อจะตายก็ไม่เศร้าโศก เหมือนคนที่พ้นจากเรือนที่ถูกไฟไหม้
[๗๑๓] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ตรัสว่า
ความเกี่ยวข้องกันอย่างใดอย่างหนึ่งก็ดี ภพที่ได้ในหมู่สัตว์ก็ดี
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ตรัสว่า
สิ่งนี้ทั้งหมดไม่มีอิสระ
[๗๑๔] พระอริยสาวกผู้รู้แจ้งภพ ๓ นั้นตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้แล้ว
ไม่ยึดภพไร ๆ เหมือนคนไม่จับก้อนเหล็กแดงลุกโชน
[๗๑๕] อาตมาไม่มีความคิดว่า
เราได้เป็น เราจะเป็น เราจักไม่เป็นเช่นนี้อีก
สังขารทั้งหลายจักดับไป อาตมาจะคร่ำครวญถึงสังขารนั้นไปทำไม
[๗๑๖] ท่านหัวหน้า สำหรับผู้พิจารณาเห็นความเกิดขึ้นแห่งธรรม
ล้วน ๆ ความสืบเนื่องแห่งสังขารล้วน ๆ ตามที่เป็นจริง
ย่อมไม่มีความกลัว
[๗๑๗] เมื่อใด บุคคลพิจารณาเห็นโลกว่า
เสมอด้วยหญ้าและไม้ด้วยปัญญา
เมื่อนั้น เขาซึ่งไม่ยึดถือว่าเป็นของเรา
ย่อมไม่เศร้าโศกว่า ของเราไม่มี
[๗๑๘] อาตมาเบื่อหน่ายร่างกาย ไม่ต้องการภพ
กายนี้จะแตก และจะไม่มีกายอื่นอีก
[๗๑๙] หากพวกท่านปรารถนาจะทำกิจใดด้วยร่างกาย
ขอเชิญทำกิจนั้นได้ตามความปรารถนาเถิด
ในการทำหรือไม่ทำนั้น อาตมาจะไม่มีทั้งความเคียดแค้นและพอใจ
เพราะการทำนั้นเป็นเหตุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๖๑ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๖. วีสตินิบาต] ๑.อธิมุตตเถรคาถา
[๗๒๐] พวกโจรฟังคำของพระอธิมุตตเถระนั้นซึ่งน่าอัศจรรย์
ทำให้ขนชูชันนั้นแล้ว วางศัสตราวุธแล้ว
ได้กล่าวเนื้อความนี้ว่า
[๗๒๑] ท่านผู้เจริญ ท่านไม่มีความเศร้าโศกนี้
เพราะท่านทำกรรมอะไรไว้
หรือใครเป็นอาจารย์ของท่าน
หรือเพราะอาศัยคำสอนของใคร
พระอธิมุตตเถระ (ได้ฟังดังนั้นแล้ว เมื่อจะให้คำตอบ จึงได้กล่าวภาษิต
เหล่านี้ว่า)
[๗๒๒] พระศาสดาผู้เป็นสัพพัญญู ทรงรู้เห็นธรรมทั้งปวง
ทรงชนะหมู่มาร มีพระกรุณาอย่างใหญ่หลวง
ทรงเยียวยารักษาสัตว์โลกทั้งมวล
เป็นอาจารย์ของอาตมา
[๗๒๓] พระองค์ได้ทรงแสดงธรรม
ที่ให้ถึงความสิ้นอาสวะอย่างยอดเยี่ยมนี้ไว้
เพราะอาศัยคำสั่งสอนของพระองค์
อาตมาจึงได้ความไม่เศร้าโศกนี้แล
[๗๒๔] พวกโจรฟังคำสุภาษิตของพระอธิมุตตเถระผู้เป็นฤๅษี
จึงพากันวางศัสตราและอาวุธ
บางพวกก็ได้งดเว้นกรรมนั้น
และบางพวกก็ได้ขอบวช
[๗๒๕] พวกเขา ครั้นบวชในพระศาสนาของพระสุคต
เจริญโพชฌงค์ ๗ และพละ ๕ แล้ว
เป็นบัณฑิต มีจิตเบิกบาน ยินดี อบรมอินทรีย์แล้ว
ได้บรรลุสันตบทคือนิพพาน อันไม่มีปัจจัยอะไร ๆ ปรุงแต่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๖๒ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๖. วีสตินิบาต] ๒. ปาราปริยเถรคาถา
๒. ปาราปริยเถรคาถา
ภาษิตของพระปาราปริยเถระ
(พระปาราปริยเถระเมื่อจะประกาศอาการที่ตนคิด จึงได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๗๒๖] ภิกษุชื่อปาราปริยะ เป็นสมณะ นั่งอยู่แต่ลำพังผู้เดียว
มีจิตสงบสงัดเข้าฌานอยู่ ได้มีความคิดว่า
[๗๒๗] คนพึงทำอะไรโดยลำดับ
ประพฤติวัตรอย่างไร ประพฤติมารยาทอย่างไร
จึงจะชื่อว่าพึงทำกิจของตนและไม่เบียดเบียนใคร ๆ
[๗๒๘] อินทรีย์ทั้งหลายนั่นแหละ ย่อมมีไว้เพื่อเป็นประโยชน์
และไม่เป็นประโยชน์สำหรับมวลมนุษย์
อินทรีย์ที่ไม่ได้ระวังรักษาย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์
ส่วนอินทรีย์ที่ระวังรักษาแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์
[๗๒๙] คนที่ระวังรักษาและคุ้มครองอินทรีย์เท่านั้น
ชื่อว่าเป็นผู้ทำกิจของตน และไม่พึงเบียดเบียนใคร ๆ
[๗๓๐] ถ้าผู้ใดไม่ห้ามจักขุนทรีย์ที่เป็นไปในรูปทั้งหลายมักไม่เห็นโทษ
ผู้นั้นย่อมพ้นจากทุกข์ไม่ได้เลย
[๗๓๑] อนึ่ง ผู้ใดไม่ห้ามโสตินทรีย์ที่เป็นไปในเสียงทั้งหลาย
มักไม่เห็นโทษ ผู้นั้นย่อมพ้นจากทุกข์ไม่ได้เลย
[๗๓๒] หากผู้ใดไม่เห็นอุบายเป็นที่สลัดออก ส้องเสพกลิ่น
ผู้นั้นยังติดอยู่ในกลิ่น ย่อมพ้นจากทุกข์ไม่ได้
[๗๓๓] ผู้ใดยังคำนึงถึงรสเปรี้ยว รสหวาน และรสขม
ติดอยู่ในความอยากในรส ย่อมไม่รู้สึกถึงความคิดในใจที่เกิดขึ้นว่า
เราจะทำที่สุดทุกข์ ผู้นั้นก็ย่อมพ้นจากทุกข์ไม่ได้
[๗๓๔] ผู้ใดยังนึกถึงโผฏฐัพพะที่สวยงาม ไม่ปฏิกูล ยินดีแล้ว
ผู้นั้นย่อมประสบทุกข์ต่าง ๆ ซึ่งมีราคะเป็นเหตุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๖๓ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๖. วีสตินิบาต] ๒.ปาราปริยเถรคาถา
[๗๓๕] ผู้ใดไม่อาจระวังรักษาใจจากธรรมารมณ์เหล่านี้
ทุกข์ที่เกิดจากกระแสอารมณ์ทั้ง ๕ ย่อมติดตามผู้นั้น
เพราะไม่ระวังรักษาใจนั้น
[๗๓๖] ร่างกายนี้เต็มไปด้วยหนอง เลือด และซากศพเป็นจำนวนมาก
ที่นรชนผู้กล้าสร้างไว้ เกลี้ยงเกลา วิจิตรงดงามแต่ภายนอก
ภายในเต็มไปด้วยของไม่สะอาด มีคูถเป็นต้น ดุจสมุก
[๗๓๗] ที่เผ็ดร้อน มีรสหวานชื่นใจ ผูกพันด้วยความรัก
เป็นทุกข์ ฉาบไว้ด้วยของที่น่าชื่นใจภายนอก
ดุจมีดโกนทาน้ำผึ้งที่คนเขลาไม่รู้ซึ้งฉะนั้น
[๗๓๘] บุรุษที่ยังกำหนัดยินดีในรูป เสียง กลิ่น (รส) และโผฏฐัพพะ
ของสตรี ย่อมประสบทุกข์ต่าง ๆ
[๗๓๙] กระแสตัณหาในสตรีทั้ง ๕ ย่อมไหลไปในทวารทั้ง ๕ ของบุรุษ
ผู้ใดมีความเพียรอาจทำการป้องกันกระแสตัณหาทั้ง ๕ นั้นได้
[๗๔๐] ผู้นั้น มีความรู้ตั้งอยู่ในธรรม ขยัน มีปัญญาเครื่องพิจารณา
ถึงจะยินดีอยู่ ก็พึงทำกิจที่ประกอบด้วยเหตุผลได้
[๗๔๑] ถ้ายังติดอยู่กับการประกอบกิจที่เป็นประโยชน์ปัจจุบัน
ควรเว้นกิจที่ไม่เป็นประโยชน์ เป็นผู้ไม่ประมาท
มีปัญญาเครื่องพิจารณา รู้ว่ากิจนั้นไม่ควรทำแล้ว พึงเว้นเสีย
[๗๔๒] ควรยึดกิจที่ประกอบประโยชน์ในปัจจุบัน
และความยินดีที่ประกอบด้วยธรรม ประพฤติ เพราะความยินดี
นั้นแล ชื่อว่าเป็นความยินดีสูงสุด
[๗๔๓] ผู้ใดปรารถนาจะใช้อุบายต่าง ๆ ช่วงชิงเอาสิ่งของของคนเหล่าอื่น
ฆ่า เบียดเบียนผู้อื่น และทำผู้อื่นให้เศร้าโศก
ฉกชิงเอาสิ่งของของคนเหล่าอื่นด้วยความทารุณ ร้ายกาจ
การกระทำของผู้นั้นไม่ประกอบด้วยประโยชน์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๖๔ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๖. วีสตินิบาต] ๓. เตลกานิเถรคาถา
[๗๔๔] คนมีกำลัง เมื่อจะถากไม้ย่อมใช้ลิ่มตอกลิ่ม ฉันใด
ภิกษุผู้ฉลาดก็ฉันนั้น ย่อมใช้อินทรีย์นั่นแหละขจัดอินทรีย์
[๗๔๕] นรชนใดอบรมศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา
ใช้อินทรีย์ ๕ ฝึกอินทรีย์ ๕ เป็นพราหมณ์
ไม่มีทุกข์ ถึงอนุปาทิเสสนิพพาน
[๗๔๖] นรชนนั้นมีความรู้ ตั้งอยู่ในธรรม
ทำตามอนุสาสนีที่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทุกประการ
ย่อมประสบสุข

๓. เตลกานิเถรคาถา
ภาษิตของพระเตลกานิเถระ
(พระเตลกานิเถระได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๗๔๗] เราได้มีความเพียร ค้นคิดธรรมอยู่นานหนอ
เมื่อสอบถามสมณพราหมณ์ ก็ยังไม่ได้ความกระจ่างใจ
[๗๔๘] ในโลกนี้ ใครเล่า เป็นผู้ถึงฝั่ง
ใครเป็นผู้บรรลุธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะ
เราจะปฏิบัติตามธรรมของใครซึ่งจะเป็นเหตุให้รู้แจ้งปรมัตถธรรมได้
[๗๔๙] เรามีความคดคือกิเลสอยู่ภายใน เหมือนปลากินเบ็ด
ทั้งถูกผูกด้วยบ่วงคือกิเลส เหมือนท้าวเวปจิตติอสูรถูกผูกด้วยบ่วง
ของท้าวสักกะจอมเทพ
[๗๕๐] เรากระชากบ่วงคือกิเลสนั้นไม่หลุด
จึงไม่พ้นไปจากความเศร้าโศกและความร่ำไรรำพันนั้น
ใครในโลกนี้จะช่วยแก้เครื่องผูกคือกิเลส
ประกาศทางตรัสรู้ให้เราได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๖๕ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๖. วีสตินิบาต] ๓. เตลกานิเถรคาถา
[๗๕๑] เราจะปฏิบัติตามธรรมของใครคือสมณะ
หรือพราหมณ์หรือใครผู้แสดงธรรมเป็นเหตุกำจัดกิเลส
ที่จะลอยชราและมรณะเสียได้
[๗๕๒] จิตของเราถูกร้อยไว้ด้วยความลังเลสงสัย
ประกอบด้วยความแข่งดีมีกำลัง ถึงความกระด้าง
เพราะใจประกอบด้วยความโกรธ ถูกความโลภคอยทำลาย
[๗๕๓] เชิญท่านดูลูกศรคือทิฏฐิ ๓๐ ประเภท
อันมีธนูคือตัณหาเป็นสมุฏฐานเนื่องอยู่ในอก
มีกำลังทำลายหทัยอยู่เถิด
[๗๕๔] การไม่ละทิฏฐิที่เหลือ๑เป็นอันถูกลูกศร
คือความดำริผิดให้อาจหาญ
เราถูกยิงด้วยลูกศรคือทิฏฐินั้นหวั่นไหวอยู่
เหมือนใบไม้ไหวเพราะต้องลม
[๗๕๕] บาปกรรมตั้งขึ้นภายในเรา พลันให้ผล
เป็นไปในร่างกายที่มีผัสสายตนะ๒ ๖ ทุกเมื่อ
[๗๕๖] เรายังไม่พบหมอที่จะช่วยถอนลูกศร๓ของเรานั้นได้เลย
ทั้งหมดนั้นก็ไม่สามารถใช้เครื่องมือแพทย์ต่าง ๆ
ศัสตรา เวทมนต์ และยาอื่น ๆ ถอนลูกศรนั้นได้
[๗๕๗] ใครเล่าไม่ต้องใช้ศัสตรา ไม่ทำร่างกายให้เป็นแผล
ไม่เบียดเบียนร่างกายทุกส่วน จักถอนลูกศรคือกิเลส
ซึ่งเป็นลูกศรโดยปรมัตถ์ที่เสียบอยู่ภายในหทัยของเราออกได้

เชิงอรรถ :
๑ คือตั้งแต่สักกายทิฏฐิเป็นต้น (ขุ.เถร.อ. ๒/๗๕๔/๓๑๕)
๒ ผัสสายตนะ ๖ ได้แก่ ๑.จักขุสัมผัส ความกระทบทางตา ๒.โสตสัมผัส ความกระทบทางหู ๓.ฆานสัมผัส
ความกระทบทางจมูก ๔.ชิวหาสัมผัส ความกระทบทางลิ้น ๕.กายสัมผัส ความกระทบทางกาย ๖.
มโนสัมผัส ความกระทบทางใจ (ที.ปาฏิ. ๑๑/๓๒๓/๒๑๕)
๓ คือทิฏฐิและกิเลส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๖๖ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๖. วีสตินิบาต] ๓. เตลกานิเถรคาถา
[๗๕๘] ผู้ลอยโทษที่เป็นพิษ(คือกิเลสมีราคะเป็นต้น)เสียได้
จัดว่าเป็นใหญ่ในธรรมแท้ ประเสริฐสุด
ช่วยชี้มือ(คืออริยมรรค) บอกที่บก(คือนิพพาน)
ให้แก่เราผู้ตกห้วงน้ำใหญ่ คือสงสารที่ลึก
[๗๕๙] เราได้จมลงในห้วงน้ำใหญ่คือสงสาร
ซึ่งมีดินเหนียวคือธุลีมีราคะเป็นต้นที่ไม่สามารถจะนำออกได้
เป็นที่แผ่ไปแห่งมายาความริษยา ความแข่งดี
และความง่วงเหงาหาวนอน
[๗๖๐] ความดำริทั้งหลายที่อาศัยราคะ เป็นเหมือนห้วงน้ำใหญ่
มีอุทธัจจะเป็นเมฆคำรน มีเมฆหมอกคือสังโยชน์ ๑๐
ย่อมนำเราผู้มีความเห็นผิดไป
[๗๖๑] กระแสตัณหาไหลไปในอารมณ์ทั้งปวง
ทั้งตัณหาดังเถาวัลย์ก็ผลิขึ้น
ใครจะพึงกั้นกระแสตัณหาเหล่านั้นได้
ใครเล่าจักตัดตัณหาดังเถาวัลย์นั้นได้
[๗๖๒] ท่านผู้เจริญทั้งหลาย เชิญท่านทั้งหลายทำเขื่อนอันเป็นเครื่อง
กั้นกระแสตัณหาเสีย อย่าให้กระแสตัณหาที่เกิดแต่ใจพัดพาท่าน
ทั้งหลายไปเร็วพลันดังกระแสน้ำพัดพาต้นไม้ที่อยู่ริมฝั่งไป
[๗๖๓] พระศาสดาทรงมีพระปัญญาเป็นอาวุธ
อันหมู่ฤๅษีอาศัยแล้ว เป็นที่พึ่งสำหรับเราผู้มีภัย
กำลังแสวงหาฝั่งคือนิพพานจากที่มิใช่ฝั่งได้อย่างนี้
[๗๖๔] พระองค์ได้ทรงประทานบันได ที่นายช่างทำดีแล้ว บริสุทธิ์
ทำด้วยไม้แก่นคือธรรมอันมั่นคง
แก่เราผู้กำลังถูกกระแสห้วงน้ำ(คือตัณหา)พัดไป
และรับสั่งว่า อย่ากลัวเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๖๗ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๖. วีสตินิบาต] ๔. รัฏฐปาลเถรคาถา
[๗๖๕] เราได้ขึ้นปราสาทคือสติปัฏฐาน
พิจารณาเห็นหมู่สัตว์ผู้ยินดีในร่างกายของตน
ที่เราจักได้รู้ในกาลก่อนโดยเป็นแก่นสาร
[๗๖๖] เมื่อคราวที่เราได้เห็นทาง (คือวิปัสสนา)
ซึ่งเป็นอุบายสำหรับขึ้นเรือ (คืออริยมรรค)
แล้วไม่ยึดถือว่าเป็นตัวตน จึงได้เห็นท่าที่ดีเยี่ยม๑
[๗๖๗] พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงแสดงทางอันยอดเยี่ยม
เพื่อไม่ให้เป็นไปแห่งบาปธรรมคือทิฏฐิและมานะเป็นต้น
ซึ่งเปรียบเหมือนลูกศรเกิดแต่ตน ทั้งเกิดแต่ตัณหาที่นำไปสู่ภพได้
[๗๖๘] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกำจัดโทษที่เป็นพิษ
ได้ทรงช่วยบรรเทากิเลสเครื่องร้อยรัดของเราที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน
ครอบงำสันดานอยู่มาเป็นเวลานาน

๔. รัฏฐปาลเถรคาถา
ภาษิตของพระรัฏฐปาลเถระ
(พระรัฏฐปาลเถระได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๗๖๙] ขอเชิญโยมมารดาบิดาทรงดูอัตภาพ
ที่ผ้าและอาภรณ์เป็นต้น ทำให้วิจิตร
มีกายเป็นแผล มีกระดูก ๓๐๐ ท่อนเป็นโครงร่าง
กระสับกระส่ายที่พวกคนเขลาดำริหวังกันส่วนมาก
ซึ่งไม่มีความยั่งยืนตั้งมั่น
[๗๗๐] ขอเชิญโยมมารดาบิดาทรงดูรูปที่สตรีใช้แก้วมณีและต่างหู
แต่งให้วิจิตร ซึ่งมีหนังหุ้มกระดูกไว้ภายใน งามพร้อมเสื้อผ้า

เชิงอรรถ :
๑ โสดาปัตติมรรค (ขุ.เถร.อ. ๒/๗๖๖/๓๑๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๖๘ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๖. วีสตินิบาต] ๔. รัฏฐปาลเถรคาถา
[๗๗๑] เท้าทั้งสองย้อมด้วยครั่งสด หน้าทาด้วยจุรณ
ก็สามารถทำคนเขลาให้ลุ่มหลง
แต่ไม่สามารถทำคนที่แสวงหาฝั่งคือนิพพานให้ลุ่มหลงได้
[๗๗๒] ผมที่ตบแต่งให้เป็นลอนดังกระดานหมากรุก
ตาทั้งสองที่หยอดด้วยยาหยอดตาก็สามารถทำคนเขลาให้ลุ่มหลง
แต่ไม่สามารถทำคนที่แสวงหาฝั่งคือนิพพานให้ลุ่มหลงได้
[๗๗๓] กายที่มีสภาพเปื่อยเน่าเป็นธรรมดาซึ่งตบแต่งแล้ว
เหมือนกล่องยาหยอดตาใหม่ ๆ ที่งดงาม
ก็สามารถทำคนเขลาให้ลุ่มหลง
แต่ไม่สามารถทำคนที่แสวงหาฝั่งคือนิพพานให้ลุ่มหลงได้
[๗๗๔] นายพรานเนื้อดักบ่วงไว้แล้ว เนื้อไม่มาติดบ่วง
เราทั้งหลาย(ฝูงเนื้อ)กินเหยื่อแล้วหลบหนีไป
เมื่อนายพรานกำลังคร่ำครวญอยู่
[๗๗๕] เราทั้งหลายกัดบ่วงของพรานเนื้อขาดแล้ว เนื้อไม่ติดบ่วง
เรากินเหยื่อแล้วหลบหนีไป เมื่อพรานเนื้อกำลังเศร้าโศกอยู่
[๗๗๖] อาตมาเห็นผู้คนที่มีทรัพย์ในโลก ได้ทรัพย์เครื่องปลื้มใจแล้ว
ไม่ยอมให้(ใคร) เพราะความหลง
ได้ทรัพย์แล้ว เก็บสะสมไว้ และปรารถนากามคุณยิ่ง ๆ ขึ้นไป
[๗๗๗] พระราชาทรงกดขี่ ช่วงชิงเอาแผ่นดิน
ทรงครอบครองแผ่นดินซึ่งมีสมุทรสาครล้อมรอบ
ตลอดสมุทรสาครฝั่งนี้ ยังไม่ทรงพอ
ยังทรงปรารถนาจะครอบครองสมุทรสาครฝั่งโน้นอีก
[๗๗๘] ทั้งพระราชาและคนอื่นเป็นจำนวนมากที่ยังไม่ปราศจากตัณหา
เข้าถึงความตาย ยังไม่เต็มตามที่ต้องการเลย
ก็ละทิ้งร่างกายไป เพราะความอิ่มด้วยกามไม่มีในโลก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๖๙ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๖. วีสตินิบาต] ๔. รัฏฐปาลเถรคาถา
[๗๗๙] หมู่ญาติพากันสยายผม คร่ำครวญถึงคนที่ตายนั้นและพูดว่า
ทำอย่างไรหนอ พวกญาติของเราทั้งหลายจึงจะไม่ตาย
แต่นั้นก็นำศพนั้นซึ่งห่อผ้าไว้แล้วยกขึ้นสู่เชิงตะกอนแล้วช่วยกันเผา
[๗๘๐] ศพนั้นถูกเขาใช้หลาวแทงเผาอยู่ ละโภคทรัพย์ มีแต่ผ้าผืนเดียว
เมื่อคนจะตาย ญาติ มิตร หรือสหายก็ช่วยไม่ได้
[๗๘๑] ทายาททั้งหลายก็ขนทรัพย์สมบัติของเขาไป
ส่วนสัตว์ที่ตายไปก็ย่อมไปตามกรรม
เมื่อตายไป ทรัพย์ไร ๆ คือ บุตร ภรรยา ข้าวของ เงินทอง
และแว่นแคว้นก็ติดตามไปไม่ได้
[๗๘๒] ทรัพย์ช่วยคนให้มีอายุยืนไม่ได้
ทั้งช่วยคนให้ละความแก่ก็ไม่ได้
นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวชีวิตนั้นว่าน้อยนัก
ไม่ยั่งยืน มีความแปรเปลี่ยนไปเป็นธรรมดา
[๗๘๓] ทั้งคนมั่งมี ทั้งคนยากจนก็ย่อมประสบเช่นนั้น
ทั้งพาลและบัณฑิตก็ประสบเหมือนกันทั้งนั้น
คนพาลนั่นแหละถูกเหตุแห่งทุกข์กระทบเข้า
ย่อมหวั่นไหวเพราะความเป็นคนโง่
ส่วนบัณฑิตถูกต้องก็ไม่หวั่นไหว
[๗๘๔] เพราะเหตุนั้นแล ปัญญาเท่านั้นเป็นเหตุบรรลุนิพพาน
ซึ่งเป็นที่สุดแห่งภพในโลกนี้ จึงประเสริฐกว่าทรัพย์
ก็เพราะยังไม่ได้บรรลุที่สุด คนพาลทั้งหลายจึงทำแต่กรรมชั่วในภพ
น้อยภพใหญ่เพราะความเขลา
[๗๘๕] ผู้ที่ทำกรรมชั่ว ต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏร่ำไป
คนมีปัญญาน้อย เมื่อเชื่อคนที่ทำกรรมชั่วนั้น
ก็ย่อมเวียนว่ายตายเกิดร่ำไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๗๐ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๖. วีสตินิบาต] ๔. รัฏฐปาลเถรคาถา
[๗๘๖] โจรผู้ทำกรรมถูกเขาจับได้ตรงทาง ๓ แยก
ย่อมเดือดร้อนเพราะกรรมของตน ฉันใด
หมู่สัตว์ผู้ทำกรรมชั่ว ตายไปแล้ว ย่อมเดือดร้อนในโลกหน้า
เพราะกรรมของตน ฉันนั้น
[๗๘๗] เพราะกามทั้งหลายที่งดงามน่าปรารถนาชวนให้รื่นรมย์ใจ
ย่อมย่ำยีจิตโดยสภาวะต่าง ๆ ฉะนั้น
อาตมาเห็นโทษในกามคุณทั้งหลาย จึงได้บวช มหาบพิตร
[๗๘๘] สัตว์ทั้งหลายทั้งหนุ่มทั้งแก่ พอร่างแตกสลายก็ล่วงไป
เหมือนผลไม้สุกงอมร่วงหล่นไป
มหาบพิตร อาตมาเห็นความไม่เที่ยงแม้นี้ จึงได้บวช
ความเป็นสมณะที่ปฏิบัติไม่ผิดนั่นแหละ ประเสริฐกว่า
[๗๘๙] อาตมาบวชด้วยศรัทธาได้ปฏิบัติชอบในพระศาสนาของพระชินเจ้า
การบวชของอาตมาไม่มีโทษ อาตมาฉันอาหารอย่างไม่เป็นหนี้
[๗๙๐] พิจารณาเห็นกามทั้งหลายโดยความเป็นของร้อน
เงินทองโดยความเป็นศัสตรา ทุกข์ตั้งแต่ถือปฏิสนธิในครรภ์ และ
ภัยใหญ่ในนรก
[๗๙๑] ครั้นเห็นโทษนี้แล้ว จึงได้ความสังเวชในครั้งนั้น
ในคราวนั้น อาตมานั้นเป็นผู้ถูกลูกศรคือราคะเป็นต้นทิ่มแทงอยู่
บัดนี้ถึงความสิ้นอาสวะแล้ว
[๗๙๒] อาตมาปรนนิบัติพระศาสดา
ได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว ปลงภาระที่หนักเสียได้
ถอนตัณหาที่นำไปสู่ภพได้ขาดแล้ว
[๗๙๓] อาตมาออกบวชเป็นบรรพชิตเพื่อประโยชน์ใด
ประโยชน์นั้นอันเป็นที่สิ้นไปแห่งสังโยชน์ทั้งปวง
อาตมาก็ได้บรรลุแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๗๑ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๖. วีสตินิบาต] ๕. มาลุงกยปุตตเถรคาถา
๕. มาลุงกยปุตตเถรคาถา
ภาษิตของพระมาลุงกยบุตรเถระ
(พระมาลุงกยบุตรเถระได้กล่าวภาสิตเหล่านี้ว่า)
[๗๙๔] เมื่อเห็นรูป มัวใส่ใจถึงอารมณ์อันเป็นที่รักอยู่
ย่อมหลงลืมสติได้
ผู้ที่มีจิตกำหนัดนักยังเสวยรูปารมณ์อยู่
[๗๙๕] เวทนาต่าง ๆ ซึ่งมีรูปเป็นอารมณ์ ย่อมเจริญแก่เขา
อภิชฌา๑ และวิหิงสา๒ ย่อมเบียดเบียนจิตของเขา
เพราะสั่งสมอย่างนี้ ทุกข์ย่อมเป็นไป
ท่านกล่าวว่ายังห่างไกลนิพพาน
[๗๙๖] เมื่อฟังเสียงแล้ว มัวใส่ใจถึงอารมณ์อันเป็นที่รักอยู่
ย่อมหลงลืมสติได้
ผู้ที่มีจิตกำหนัดนัก ยังเสวยสัททารมณ์อยู่
สัททารมณ์นั้นย่อมผูกพันเขาไว้
[๗๙๗] เวทนาต่าง ๆ ซึ่งมีเสียงเป็นอารมณ์ ย่อมเจริญแก่เขา
อภิชฌา และวิหิงสา ย่อมเบียดเบียนจิตของเขา
เพราะสั่งสมอย่างนี้ ทุกข์ย่อมเป็นไป
ท่านกล่าวว่ายังห่างไกลนิพพาน
[๗๙๘] เมื่อบุคคลดมกลิ่นแล้ว ใส่ใจว่าเป็นนิมิตที่น่ายินดี
ก็เป็นอันหลงลืมสติ
ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น เขามีจิตกำหนัดนัก
เพลิดเพลิน และติดคันธารมณ์นั้นอยู่

เชิงอรรถ :
๑ ความเพ่งเล็งอยากได้จัด (ขุ.เถร.อ. ๒/๗๙๕/๓๓๕)
๒ ความพยาบาท (ขุ.เถร.อ. ๒/๗๙๒/๓๓๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๗๒ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๖. วีสตินิบาต] ๕. มาลุงกยปุตตเถรคาถา
[๗๙๙] เวทนาต่าง ๆ ซึ่งมีกลิ่นเป็นอารมณ์ ย่อมเจริญแก่เขา
อภิชฌา และวิหิงสา ย่อมเบียดเบียนจิตของเขา
เพราะสั่งสมอย่างนี้ ทุกข์ย่อมเป็นไป
ท่านกล่าวว่า ยังห่างไกลนิพพาน
[๘๐๐] เมื่อบุคคลลิ้มรสแล้ว ใส่ใจว่าเป็นนิมิตที่อร่อย
ก็เป็นอันหลงลืมสติ
ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น เขามีจิตกำหนัดนัก
เพลิดเพลิน และติดรสารมณ์นั้นอยู่
[๘๐๑] เวทนาต่าง ๆ ซึ่งมีรสเป็นอารมณ์ ย่อมเจริญแก่เขา
อภิชฌา และวิหิงสา ย่อมเบียดเบียนจิตของเขา
เพราะสั่งสมอย่างนี้ ทุกข์ย่อมเป็นไป
ท่านกล่าวว่ายังห่างไกลนิพพาน
[๘๐๒] เมื่อบุคคลถูกต้องโผฏฐัพพะแล้ว ใส่ใจว่าเป็นนิมิตที่น่าติดใจ
ก็เป็นอันหลงลืมสติ
ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น เขามีจิตกำหนัดนัก
เพลิดเพลิน และติดโผฏฐัพพารมณ์นั้นอยู่
[๘๐๓] เวทนาต่าง ๆ ซึ่งมีผัสสะเป็นอารมณ์ ย่อมเจริญแก่เขา
อภิชฌา และวิหิงสา ย่อมเบียดเบียนจิตของเขา
เพราะสั่งสมอย่างนี้ ทุกข์ย่อมเป็นไป
ท่านกล่าวว่า ยังห่างไกลนิพพาน
[๘๐๔] เมื่อบุคคลรู้ธรรมารมณ์แล้ว
ใส่ใจว่าเป็นนิมิตที่น่าเพลิดเพลิน
ก็เป็นอันหลงลืมสติ
ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น เขามีจิตกำหนัดนัก
เพลิดเพลิน และติดธรรมารมณ์นั้นอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๗๓ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๖. วีสตินิบาต] ๕. มาลุงกยปุตตเถรคาถา
[๘๐๕] เวทนาต่าง ๆ ซึ่งมีธรรมารมณ์เป็นเหตุ ย่อมเจริญแก่เขา
อภิชฌา และวิหิงสา ย่อมเบียดเบียนจิตของเขา
เพราะสั่งสมอย่างนี้ ทุกข์ย่อมเป็นไป
ท่านกล่าวว่ายังห่างไกลนิพพาน
[๘๐๖] ผู้ที่เห็นรูปแล้ว มีสติอยู่เฉพาะหน้า
ไม่กำหนัดยินดีในรูป มีจิตคลายความกำหนัด
รู้แจ้งรูปารมณ์นั้น และไม่ติดรูปารมณ์นั้นอยู่
[๘๐๗] เมื่อพระโยคีนั้นพิจารณาเห็นรูป
โดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น
หรือแม้เสวยเวทนาโดยที่กิเลสมีอภิชฌาเป็นต้น เป็นไปไม่ได้
กิเลสวัฏย่อมสิ้นไป ย่อมก่อรากขึ้นไม่ได้ฉันใด
ท่านมีสติประพฤติอยู่อย่างนี้ก็ฉันนั้น
เมื่อไม่ก่อวัฏฏทุกข์อย่างนี้ ท่านกล่าวว่าอยู่ใกล้นิพพาน
[๘๐๘] ผู้ที่ฟังเสียงแล้ว มีสติอยู่เฉพาะหน้า
ไม่กำหนัดยินดีในเสียง
มีจิตคลายความกำหนัด
รู้แจ้งสัททารมณ์นั้น และไม่ติดสัททารมณ์นั้นอยู่
[๘๐๙] เมื่อพระโยคีนั้น ฟังเสียง หรือแม้เสวยเวทนา
โดยที่กิเลสมีอภิชฌาเป็นต้น เป็นไปไม่ได้
กิเลสวัฏ ย่อมสิ้นไป ย่อมก่อรากขึ้นไม่ได้
ท่านมีสติประพฤติอยู่อย่างนี้ เมื่อไม่ก่อวัฏฏทุกข์อย่างนี้
ท่านกล่าวว่า อยู่ใกล้นิพพาน
[๘๑๐] ผู้ที่ดมกลิ่นแล้ว มีสติอยู่เฉพาะหน้า
ไม่กำหนัดยินดีในกลิ่น มีจิตคลายความกำหนัด
รู้แจ้งคันธารมณ์นั้น และไม่ติดคันธารมณ์นั้นอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๗๔ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๖. วีสตินิบาต] ๕. มาลุงกยปุตตเถรคาถา
[๘๑๑] เมื่อพระโยคีนั้น ดมกลิ่น หรือแม้เสวยเวทนา
โดยที่กิเลสมีอภิชฌาเป็นต้น เป็นไปไม่ได้
กิเลสวัฏ ย่อมสิ้นไป ย่อมก่อรากขึ้นไม่ได้
ท่านมีสติประพฤติอยู่อย่างนี้ เมื่อไม่ก่อวัฏฏทุกข์อย่างนี้
ท่านกล่าวว่า อยู่ใกล้นิพพาน
[๘๑๒] ผู้ที่ลิ้มรสแล้ว มีสติอยู่เฉพาะหน้า
ไม่กำหนัดยินดีในรส มีจิตคลายความกำหนัด
รู้แจ้งรสารมณ์นั้น และไม่ติดรสารมณ์นั้นอยู่
[๘๑๓] เมื่อพระโยคีนั้นลิ้มรส หรือแม้เสวยเวทนา
โดยที่กิเลสมีอภิชฌาเป็นต้น เป็นไปไม่ได้
กิเลสวัฏย่อมสิ้นไป ย่อมก่อรากขึ้นไม่ได้
ท่านมีสติประพฤติอยู่อย่างนี้ เมื่อไม่ก่อวัฏฏทุกข์อย่างนี้
ท่านกล่าวว่าอยู่ใกล้นิพพาน
[๘๑๔] ผู้ที่ถูกต้องโผฏฐัพพะแล้ว มีสติอยู่เฉพาะหน้า
ไม่กำหนัดยินดีในโผฏฐัพพะ มีจิตคลายความกำหนัด
รู้แจ้งโผฏฐัพพารมณ์นั้น และไม่ติดโผฏฐัพพารมณ์นั้นอยู่
[๘๑๕] เมื่อพระโยคีนั้น ถูกต้องโผฏฐัพพะ หรือแม้เสวยเวทนา
โดยที่กิเลสมีอภิชฌาเป็นต้นเป็นไปไม่ได้
กิเลสวัฏย่อมสิ้นไป ย่อมก่อรากขึ้นไม่ได้
ท่านมีสติประพฤติอยู่อย่างนี้ เมื่อไม่ก่อวัฏฏทุกข์อย่างนี้
ท่านกล่าวว่าอยู่ใกล้นิพพาน
[๘๑๖] ผู้ที่รู้ธรรมารมณ์แล้ว มีสติอยู่เฉพาะหน้า
ไม่กำหนัดยินดีในธรรมารมณ์
มีจิตคลายความกำหนัด รู้แจ้งธรรมารมณ์นั้น
และไม่ติดธรรมารมณ์นั้นอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๗๕ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๖. วีสตินิบาต] ๖. เสลเถรคาถา
[๘๑๗] เมื่อพระโยคีนั้น รู้แจ้งธรรมารมณ์หรือแม้เสวยเวทนา
โดยที่กิเลสมีอภิชฌาเป็นต้น เป็นไปไม่ได้
กิเลสวัฏย่อมสิ้นไป ย่อมก่อรากขึ้นไม่ได้
ท่านมีสติประพฤติอยู่อย่างนี้ เมื่อไม่ก่อวัฏฏทุกข์อย่างนี้
ท่านกล่าวว่าอยู่ใกล้นิพพาน

๖. เสลเถรคาถา
ภาษิตของพระเสลเถระ
(พระเสลเถระ ครั้งเป็นคฤหัสถ์ ได้สดุดีพระผู้มีพระภาคด้วยภาษิต ๖ ภาษิตว่า)
[๘๑๘] ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พระองค์เสด็จอุบัติมาดีแล้ว
ทรงมีพระวิริยภาพ มีพระวรกายสมบูรณ์
มีพระรัศมีที่ซ่านออกจากพระวรกายงดงาม
สวยงามน่าทัศนายิ่งนัก
พระฉวีวรรณเปล่งปลั่งดังทองคำ พระเขี้ยวแก้วทั้งซ้ายขวาก็สุกใส
[๘๑๙] เพราะพระลักษณะแห่งมหาบุรุษ
ที่มีปรากฏแก่มหาบุรุษนั้น
ย่อมมีปรากฏในพระวรกายของพระองค์อย่างครบถ้วน
[๘๒๐] พระองค์มีพระเนตรแจ่มใส พระพักตร์ผุดผ่อง
พระวรกายสูงใหญ่ตรง
มีพระเดช ทรงรุ่งเรืองท่ามกลางหมู่สมณะ
เหมือนดวงอาทิตย์รุ่งเรืองอยู่
[๘๒๑] พระองค์เป็นภิกษุ มีพระคุณสมบัติงดงามน่าชม
มีพระฉวีวรรณ ผุดผ่องดังทองคำ
พระองค์ทรงมีวรรณสูงส่งถึงเพียงนี้ จะเป็นสมณะไปทำไม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๗๖ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๖. วีสตินิบาต] ๖. เสลเถรคาถา
[๘๒๒] พระองค์ควรเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ที่องอาจในหมู่พลรถ
ทรงปราบปรามไพรีชนะ ทรงเป็นใหญ่ในภาคพื้นชมพูทวีป
ซึ่งมีสมุทรสาครทั้งสี่เป็นขอบเขต
[๘๒๓] ข้าแต่พระโคดม ขอเชิญพระองค์ขึ้นครองราชย์
เป็นพระเจ้าจักรพรรดิจอมมนุษย์ตามพระราชประเพณี
ที่กษัตราธิราชโดยพระชาติได้เสวยราชย์
มีหมู่เสวกามาตย์เสด็จตามพระองค์เถิด
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธภาษิตนี้ว่า)
[๘๒๔] เสลพราหมณ์ เราเป็นพระราชาอยู่แล้ว
คือเป็นพระธรรมราชาผู้ยอดเยี่ยม
ยังธรรมจักรที่ไม่มีใคร ๆ หมุนไปได้ ให้หมุนไปได้
(พระเสลเถระครั้งเป็นคฤหัสถ์ได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๘๒๕] ข้าแต่พระโคดม พระองค์ทรงปฏิญาณว่า
เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นธรรมราชาผู้ยอดเยี่ยม
ทั้งยังตรัสยืนยันว่า ยังธรรมจักรให้เป็นไป
[๘๒๖] ใครหนอเป็นเสนาบดีของพระองค์ผู้เจริญ
เป็นสาวกผู้ประพฤติตามเบื้องพระยุคลบาทของพระองค์ผู้เป็นศาสดา
ใครจะช่วยประกาศธรรมจักรที่พระองค์ทรงให้เป็นไปแล้วนี้ได้
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธภาษิตนี้ว่า)
[๘๒๗] เสลพราหมณ์เอ๋ย สารีบุตรผู้เกิดตามตถาคต
จะช่วยประกาศธรรมจักรที่ยอดเยี่ยมซึ่งเราให้เป็นไปไว้แล้ว
[๘๒๘] พราหมณ์ เราได้รู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง
ได้เจริญธรรมที่ควรให้เจริญ ได้ละธรรมที่ควรละได้แล้ว
เพราะฉะนั้น เราจึงเป็นพระพุทธเจ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๗๗ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๖. วีสตินิบาต] ๖. เสลเถรคาถา
[๘๒๙] พราหมณ์ ท่านจงกำจัดความเคลือบแคลงสงสัยในเราเสีย
จงน้อมใจเชื่อเราเสียเถิด
เพราะว่าการพบเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย
[๘๓๐] ผู้จะปรากฏเนือง ๆ ในโลก
ย่อมเป็นการหาได้ยาก
พราหมณ์ เรานั้น เป็นพุทธเจ้า
เป็นหมอผ่าตัดลูกศรคือกิเลสมีราคะเป็นต้นชั้นเยี่ยม
[๘๓๑] เป็นผู้ประเสริฐ ไม่มีผู้เปรียบเทียบ
ย่ำยีมารและเสนามาร
ทำมารทั้งหมดซึ่งไม่ใช่มิตรไว้ในอำนาจ
ไม่มีภัยแต่ที่ไหนเบิกบานอยู่
(พระเสลเถระ ครั้งเป็นคฤหัสถ์ กราบทูลด้วย ๓ คาถาว่า)
[๘๓๒] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอเชิญพระองค์
จงทรงใคร่ครวญคำของข้าพระองค์นี้
เหมือนอย่างที่พระตถาคตผู้มีพระจักษุ
เป็นหมอผ่าตัดลูกศรคือกิเลสมีราคะเป็นต้น
เป็นมหาวีระ ตรัสไว้ดังราชสีห์บันลือในป่า
[๘๓๓] ใครได้เห็นพระองค์ผู้ประเสริฐ ไม่มีผู้เปรียบเทียบ
ย่ำยีมารและเสนามาร
จะไม่พึงเลื่อมใสเล่า
ถึงคนที่เกิดในตระกูลต่ำก็ยังเลื่อมใส
[๘๓๔] ผู้ปรารถนาจะตามฉัน ก็เชิญมา
หรือผู้ไม่ปรารถนา ก็เชิญกลับไป
ฉันจะบวชในสำนักของพระพุทธเจ้า
ผู้มีพระปัญญาประเสริฐนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๗๘ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๖. วีสตินิบาต] ๖. เสลเถรคาถา
(มาณพทั้งหลายซึ่งเป็นอันเตวาสิก ๓๐๐ คน ได้กล่าวภาษิตนี้ว่า)
[๘๓๕] ถ้าท่านอาจารย์ผู้เจริญชอบใจคำสอน
ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้
แม้พวกเราก็จะบวชในสำนัก
ของพระพุทธเจ้าผู้มีพระปัญญาประเสริฐ
(พระเสลเถระ ครั้งเป็นคฤหัสถ์ดีใจ ได้กราบทูลด้วยภาษิตว่า)
[๘๓๖] พราหมณ์ ๓๐๐ คนนี้ พากันประนมมือ ทูลขอบรรพชาว่า
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ทั้งหลาย
จะประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักของพระองค์
(พระผู้มีพระภาค ให้พราหมณ์ทั้งหมดบวชแล้ว ตรัสพระพุทธภาษิตว่า)
[๘๓๗] เสละ พรหมจรรย์เรากล่าวไว้ดีแล้ว
ผู้บรรลุจะเห็นได้เอง ให้ผลไม่จำกัดกาล
ในศาสนาที่มีการบรรพชาไม่ไร้ผล
เมื่อคนที่ไม่ประมาทหมั่นศึกษาอยู่
(พระเสลเถระเมื่อจะพยากรณ์พระอรหัต ได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๘๓๘] ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้มีพระจักษุ
เพราะข้าพระองค์ทั้งหลายได้ถึงสรณคมน์นั้นในวันที่ ๘ แต่นี้ ฉะนั้น
ข้าพระองค์ทั้งหลายจึงได้ใช้เวลาฝึกอินทรีย์
ในพระศาสนาของพระองค์มาเป็นเวลา ๗ วัน
[๘๓๙] พระองค์ทรงเป็นสัพพัญญูพุทธเจ้า
เป็นศาสดา เป็นจอมปราชญ์ ทรงครอบงำมารได้
ทรงตัดอนุสัยกิเลสได้ ทรงข้ามห้วงน้ำใหญ่คือสงสารได้แล้ว
จึงทรงยังหมู่สัตว์นี้ให้ข้ามได้ด้วย
[๘๔๐] พระองค์ทรงล่วงอุปธิกิเลสได้พ้น ทำลายอาสวะแล้ว
ไม่มีความยึดมั่น ละความหวาดกลัวภัยได้
เหมือนราชสีห์ ไม่กลัวต่อหมู่เนื้อ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๗๙ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๖. วีสตินิบาต] ๗. ภัททิยกาฬิโคธาปุตตเถรคาถา
[๘๔๑] ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงแกล้วกล้า
ภิกษุทั้ง ๓๐๐ รูปนี้ ยืนประนมมืออยู่
ขอพระองค์ทรงเหยียดพระยุคลบาทเถิด
ภิกษุทั้งหลาย จะได้ถวายบังคมพระองค์ผู้เป็นศาสดา

๗. ภัททิยกาฬิโคธาปุตตเถรคาถา
ภาษิตของพระภัททิยกาฬิโคธาปุตรเถระ
(พระภัททิยกาฬิโคธาบุตรเถระ (ได้บันลือสีหนาทต่อพระพักตร์พระศาสดา
ด้วยภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๘๔๒] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ (เมื่อก่อน) ข้าพระองค์
เมื่อจะไปไหน นั่งคอช้างไป
เมื่อจะนุ่งห่มผ้า ก็นุ่งห่มผ้าเนื้อละเอียด
เมื่อจะบริโภค ก็บริโภคแต่ข้าวสาลีที่ราดด้วยเนื้ออันสะอาด
[๘๔๓] บัดนี้ ข้าพระองค์มีนามว่าภัททิยะ
เป็นโอรสของพระนางกาฬิโคธา
เป็นผู้เจริญ มีความเพียรต่อเนื่อง
ยินดีในอาหารที่บิณฑบาตได้มา ไม่ยึดมั่น เพ่งพินิจอยู่
[๘๔๔] ข้าพระองค์มีนามว่าภัททิยะ เป็นโอรสของพระนางกาฬิโคธา
ถือการนุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร มีความเพียรต่อเนื่อง
ยินดีในอาหารที่บิณฑบาตได้มา ไม่ยึดมั่น เพ่งพินิจอยู่
[๘๔๕] ฯลฯ ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร
มีความเพียรต่อเนื่อง ฯลฯ
[๘๔๖] ฯลฯ ถือการครองผ้า ๓ ผืนเป็นวัตร
มีความเพียรต่อเนื่อง ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๘๐ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๖. วีสตินิบาต] ๗. ภัททิยกาฬิโคธาปุตตเถรคาถา
[๘๔๗] ฯลฯ ถือการเที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอกเป็นวัตร
มีความเพียรต่อเนื่อง ฯลฯ
[๘๔๘] ฯลฯ ถือการฉันหนเดียวเป็นวัตร มีความเพียรต่อเนื่อง ฯลฯ
[๘๔๙] ฯลฯ ถือการฉันในบาตรเป็นวัตร มีความเพียรต่อเนื่อง ฯลฯ
[๘๕๐] ฯลฯ ถือการห้ามอาหารที่เขานำมาถวายภายหลังฉันเป็นวัตร
มีความเพียรต่อเนื่อง ฯลฯ
[๘๕๑] ฯลฯ ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร มีความเพียรต่อเนื่อง ฯลฯ
[๘๕๒] ฯลฯ ถือการอยู่โคนไม้เป็นวัตร มีความเพียรต่อเนื่อง ฯลฯ
[๘๕๓] ฯลฯ ถือการอยู่กลางแจ้งเป็นวัตร มีความเพียรต่อเนื่อง ฯลฯ
[๘๕๔] ฯลฯ ถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร มีความเพียรต่อเนื่อง ฯลฯ
[๘๕๕] ฯลฯ ถือการอยู่ในเสนาสนะตามที่ท่านจัดให้เป็นวัตร
มีความเพียรต่อเนื่อง ฯลฯ
[๘๕๖] ฯลฯ ถือการนั่งเป็นวัตร มีความเพียรต่อเนื่อง ฯลฯ
[๘๕๗] ฯลฯ มีความปรารถนาน้อย มีความเพียรต่อเนื่อง ฯลฯ
[๘๕๘] ฯลฯ มีความสันโดษ มีความเพียรต่อเนื่อง ฯลฯ
[๘๕๙] ฯลฯ ชอบสงัด มีความเพียรต่อเนื่อง ฯลฯ
[๘๖๐] ฯลฯ ไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ มีความเพียรต่อเนื่อง ฯลฯ
[๘๖๑] ข้าพระองค์มีนามว่าภัททิยะ เป็นโอรสของพระนางกาฬิโคธา
ปรารภความเพียร มีความเพียรต่อเนื่อง
ยินดีในอาหารที่บิณฑบาตได้มา
ไม่มีความยึดมั่น เพ่งพินิจอยู่
[๘๖๒] ข้าพระองค์ได้ละทิ้งจานทองคำลวดลายวิจิตร
หนักร้อยปละมาใช้แทนบาตรดิน
นี้เป็นการอภิเษกครั้งที่สอง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๘๑ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๖. วีสตินิบาต] ๘. อังคุลิมาลเถรคาถา
[๘๖๓] เมื่อก่อน ข้าพระองค์มีหมู่ทหาร
ถือดาบคอยคุ้มครองรักษาอยู่ในพระนคร
ซึ่งมีป้อมและซุ้มประตูอย่างแข็งแรง
ซึ่งแวดล้อมด้วยกำแพงเป็นวงกลม สูงลิ่ว อยู่อย่างหวาดระแวง
[๘๖๔] บัดนี้ ข้าพระองค์มีนามว่าภัททิยะ เป็นโอรสของพระนางกาฬิโคธา
เป็นผู้เจริญ ไม่หวาดระแวง ละความหวาดกลัวภัยเสียได้
มาสู่ป่า เพ่งพินิจอยู่
[๘๖๕] ดำรงมั่นอยู่ในกองศีล เจริญสติและปัญญาอยู่
ได้บรรลุความสิ้นสังโยชน์ทั้งหมดแล้ว โดยลำดับ

๘. อังคุลิมาลเถรคาถา
ภาษิตของพระองคุลิมาลเถระ
(พระองคุลิมาลเถระ ครั้งยังเป็นคฤหัสถ์ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยภาษิตว่า)
[๘๖๖] ท่านสมณะ ท่านยังเดินอยู่ แต่กลับกล่าวว่า เราหยุดแล้ว
และกล่าวหาเราซึ่งหยุดแล้วว่า ไม่หยุด
ท่านสมณะ เราขอถามท่านถึงความข้อนี้ที่ว่า
ท่านหยุดแล้ว แต่เราซิ ไม่หยุด อย่างไรกัน
(พระผู้มีพระภาคได้ตรัสตอบองคุลิมาลโจรนั้นด้วยพระคาถาว่า)
[๘๖๗] องคุลิมาล เราได้ละทิ้งโทษทัณฑ์ในสัตว์ทั้งมวลอยู่ทุกเมื่อ
ส่วนท่านซิไม่สำรวมในสัตว์ทั้งหลาย
เพราะฉะนั้น เราจึงชื่อว่าหยุดแล้ว
ส่วนท่านชื่อว่ายังไม่หยุด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๘๒ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๖. วีสตินิบาต] ๘. อังคุลิมาลเถรคาถา
(องคุลิมาลโจร กราบทูลว่า)
[๘๖๘] เป็นเวลานานหนอที่พระองค์ซึ่งเป็นสมณะ
ที่ชาวโลกพร้อมทั้งเทวโลกบูชา ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
ได้เสด็จพระราชดำเนินมาสู่ป่าใหญ่เพื่ออนุเคราะห์ข้าพระองค์
ข้าพระองค์นั้น ได้สดับพระพุทธภาษิต
ซึ่งประกอบด้วยธรรมของพระองค์จะเลิกละบาปตั้งพัน
(พระสังคีติกาจารย์ ได้รจนา ๒ ภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๘๖๙] ครั้นองคุลิมาลโจรกราบทูลแล้ว
ก็ได้โยนดาบและอาวุธทิ้งเหวซึ่งทั้งกว้างและลึก
ได้ถวายบังคมพระยุคลบาทพระสุคต
ได้ทูลขอบวชกับพระพุทธเจ้า ณ ที่นั้นนั่นเอง
[๘๗๐] ทันใดนั้นเอง พระพุทธเจ้า ทรงมีพระกรุณา
ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ เป็นศาสดาของชาวโลก
พร้อมทั้งเทวโลก ได้ตรัสกับองคุลิมาลโจรนั้นว่า
จงเป็นภิกษุมาเถิด เพียงเท่านี้
องคุลิมาลโจรนั้น ก็ได้เป็นภิกษุ
(พระองคุลิมาลเถระเกิดปีติโสมนัส จึงได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๘๗๑] ผู้ใด ประมาทแล้วในกาลก่อน
ภายหลัง ไม่ประมาท
ผู้นั้นย่อมทำโลกนี้ให้สว่างไสว
ดุจดวงจันทร์พ้นจากเมฆ
[๘๗๒] บาปกรรมที่ทำไว้ ผู้ใดปิดกั้นเสียได้ ด้วยกุศล
ผู้นั้น ย่อมทำโลกนี้ให้สว่างไสว
ดุจดวงจันทร์พ้นจากเมฆ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๘๓ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๖. วีสตินิบาต] ๘. อังคุลิมาลเถรคาถา
[๘๗๓] ภิกษุใดแลยังหนุ่มแน่น
ย่อมประกอบขวนขวายในพระพุทธศาสนา
ภิกษุนั้น ย่อมทำโลกนี้ให้สว่างไสว
ดุจดวงจันทร์พ้นจากเมฆ
[๘๗๔] พวกคนที่เป็นข้าศึกกับเรา
ขอเชิญสดับธรรมกถา
ขอเชิญปฏิบัติในพระพุทธศาสนา
ขอเชิญคบค้าสมาคมกับคนที่เป็นสัตบุรุษ
ซึ่งยึดมั่นแต่ธรรมเท่านั้น
[๘๗๕] ขอเชิญสดับธรรมของท่านที่กล่าวสรรเสริญความอดทน
ชอบสรรเสริญความไม่โกรธได้ตามกาล
และขอเชิญปฏิบัติตามธรรมที่ได้สดับแล้วนั้น
[๘๗๖] ผู้เป็นข้าศึกกับเรานั้นแล
อย่าพึงเบียดเบียนเรา หรือสัตว์ไร ๆ อื่นเลย
พึงถึงความสงบอย่างเยี่ยม
และพึงรักษาคุ้มครองสัตว์ทั้งมวลเหมือนอาจารย์คุ้มครองศิษย์
[๘๗๗] พวกคนไขน้ำก็ทำหน้าที่ไขน้ำ
พวกช่างทำศรก็ดัดลูกศร
พวกช่างไม้ก็ถากไม้
พวกบัณฑิตก็ฝึกตน
[๘๗๘] คนฝึกช้างและคนฝึกม้าบางพวก
มีท่อนไม้ ขอและแส้จึงจะฝึกได้
เราพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้คงที่
ซึ่งไม่ต้องใช้อาชญา ไม่ต้องใช้ศัสตรา ทรงฝึกได้เลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๘๔ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๖. วีสตินิบาต] ๘. อังคุลิมาลเถรคาถา
[๘๗๙] แต่ก่อนเรามีชื่อว่า อหิงสกะ แต่ยังเบียดเบียนอยู่
วันนี้ เรามีชื่อที่เป็นจริง ไม่เบียดเบียนใคร ๆ เลย
[๘๘๐] แต่ก่อน เราได้เป็นโจรลือชื่อทั่วไปว่า องคุลิมาล
ถูกห้วงน้ำใหญ่พัดพาไป
จนได้มาถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่ง
[๘๘๑] ครั้งก่อน เรามีมือเปื้อนเลือดลือชื่อทั่วไปว่า องคุลิมาล
ดูเอาเถิด สรณคมน์๑
เราถอนตัณหาที่นำไปสู่ภพได้แล้ว
[๘๘๒] เราได้ทำกรรมอันเป็นเหตุให้ไปทุคติเช่นนั้นไว้มาก
จึงต้องรับผลกรรม
บัดนี้ย่อมฉันโภชนะอย่างไม่เป็นหนี้
[๘๘๓] เหล่าชนพาลที่มีปัญญาทราม
ย่อมประกอบความประมาทอยู่เนือง ๆ
ส่วนผู้ที่มีปัญญาย่อมรักษาความไม่ประมาทไว้
ดุจบุคคลรักษาทรัพย์อันประเสริฐที่สุดไว้
[๘๘๔] บุคคล อย่าพึงขวนขวายความประมาท
อย่าขวนขวายหาความสนิทสนมด้วยความยินดีในกาม
เพราะผู้ที่ไม่ประมาทเพ่งพินิจอยู่
ย่อมประสบความสุขอย่างยิ่ง
[๘๘๕] การที่เรามาสำนักพระศาสดาเป็นการดีแล้ว มิใช่ไม่ดี
การที่เราคิดจะบวชในสำนักพระศาสดานี้ก็มิใช่เป็นการคิดไม่ดี
นั่นเป็นการเข้าถึงธรรมอย่างประเสริฐ
ในพระธรรมที่พระศาสดาทรงจำแนกไว้ดีแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ การถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง (ขุ.เถร.อ. ๒/๘๘๑/๓๖๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๘๕ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๖. วีสตินิบาต] ๙. อนุรุทธเถรคาถา
[๘๘๖] การที่เรามายังสำนักพระผู้มีพระภาค
เป็นการมาดีแล้ว่ไม่ไร้ประโยชน์
การที่เราคิดจะบวชในสำนักของพระผู้มีพระภาคนี้
เป็นความคิดไม่เลวเลย
เราได้บรรลุวิชชา ๓ ได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว
[๘๘๗] แต่ก่อน เราอยู่ตามป่า ตามโคนไม้ ตามภูเขา ตามถ้ำ
ทุกหนแห่ง อย่างมีใจหวาดระแวง
[๘๘๘] พอพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว
ไม่ต้องตกอยู่ในบ่วงมือมาร จะยืน เดิน นั่ง นอน ก็เป็นสุข
[๘๘๙] เมื่อก่อน เรามีเชื้อชาติเป็นพราหมณ์
มีครรภ์เป็นที่ถือปฏิสนธิบริสุทธิ์ทั้ง ๒ ฝ่าย
วันนี้ เรานั้นเป็นโอรสของพระสุคตศาสดาผู้เป็นพระธรรมราชา
[๘๙๐] ปราศจากตัณหา ไม่ยึดมั่น คุ้มครองทวาร สำรวมดีแล้ว
ตัดรากเหง้าแห่งทุกข์ได้แล้ว ความสิ้นอาสวะเราบรรลุแล้ว
[๘๙๑] เราปรนนิบัติพระศาสดา
ได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว
ปลงภาระที่หนักเสียได้ ถอนตัณหาที่นำไปสู่ภพได้ขาดแล้ว

๙. อนุรุทธเถรคาถา
ภาษิตของพระอนุรุทธเถระ
(พระอนุรุทธเถระ เสวยวิมุติสุขอยู่ พิจารณาข้อปฏิบัติของตน เกิดปีติโสมนัส
จึงได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๘๙๒] อนุรุทธะนี้แหละ ละพระชนกชนนี
พระประยูรญาติและกามคุณ ๕ ได้แล้ว เข้าฌานอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๘๖ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๖. วีสตินิบาต] ๙. อนุรุทธเถรคาถา
[๘๙๓] บุคคลผู้เพียบพร้อมด้วยการฟ้อนรำขับร้อง
มีเสียงดนตรีที่บรรเลงปลุกให้รื่นเริงใจอยู่ทุกค่ำเช้า
ย่อมไม่บรรลุถึงความบริสุทธิ์ด้วยการบริโภคกามนั้น
ยังยินดีในกามคุณซึ่งเป็นวิสัยของมาร
[๘๙๔] ส่วนอนุรุทธะนี่แหละ ล่วงกามคุณ ๕ นี้ได้แล้ว
ยินดีในคำสอนของพระพุทธเจ้า
ล่วงโอฆะทั้งปวงได้แล้ว เข้าฌานอยู่
[๘๙๕] และล่วงกามคุณ ๕ เหล่านี้ คือ
รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ
ที่น่ารื่นรมย์ใจ เข้าฌานอยู่
[๘๙๖] อนุรุทธะ เป็นปราชญ์ ไม่มีอาสวะ
กลับจากบิณฑบาตแล้ว
เที่ยวแสวงหาผ้าบังสุกุลแต่ผู้เดียวไม่มีเพื่อน
[๘๙๗] อนุรุทธะ ผู้เป็นปราชญ์ มีปัญญา ไม่มีอาสวะ
เที่ยวเลือกหาแต่ผ้าบังสุกุล
ครั้นได้แล้ว ซัก ย้อมเอง แล้วนุ่งห่ม
[๘๙๘] บาปธรรมที่เศร้าหมองเหล่านี้ ย่อมมีแก่ภิกษุผู้มักมาก
ไม่สันโดษ ชอบคลุกคลีด้วยหมู่คณะ และมีจิตฟุ้งซ่าน
[๘๙๙] ส่วนภิกษุผู้มีสติ มักน้อย สันโดษ
ไม่มีความขัดเคือง ยินดีในวิเวก
ชอบสงัด ปรารภความเพียรเป็นประจำ
[๙๐๐] ย่อมมีแต่กุศลธรรม ซึ่งเป็นฝ่ายให้ตรัสรู้เหล่านี้
ทั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ก็ตรัสว่า
ภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่มีอาสวะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๘๗ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๖. วีสตินิบาต] ๙. อนุรุทธเถรคาถา
[๙๐๑] พระศาสดาผู้ยอดเยี่ยมในโลก
ทรงทราบความดำริของเราแล้ว
เสด็จมาหาเราด้วยพระวรกายที่สำเร็จโดยมโนมยิทธิ๑
[๙๐๒] เมื่อใด เรามีความดำริ
เมื่อนั้น พระพุทธเจ้าทรงทราบแล้วก็เสด็จมาหาเราด้วยฤทธิ์
ได้ทรงแสดงธรรมอันยิ่งแก่เรา
พระพุทธเจ้าผู้ทรงยินดีในธรรมที่ไม่เนิ่นช้า
ได้ทรงแสดงธรรมที่ไม่เนิ่นช้าแก่เราไว้แล้ว
[๙๐๓] เราได้รู้ทั่วถึงธรรมของพระองค์
ยินดีอยู่ในคำสอนของพระองค์
บรรลุวิชชา ๓ ได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว
[๙๐๔] ตั้งแต่เวลาที่เราถือการไม่นอนเป็นวัตรตลอด ๕๕ ปี
กำจัดความง่วงเหงาหาวนอนได้ มาเป็นเวลา ๒๕ ปี
พระอนุรุทธเถระ(เมื่อภิกษุทั้งหลายถามในเวลาที่พระศาสดาเสด็จดับขันธปริ-
นิพพานว่า พระผู้มีพระภาคปรินิพพานแล้วหรือยัง ได้ประกาศว่า พระผู้มีพระภาค
ปรินิพพานแล้ว ด้วยภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๙๐๕] พระผู้มีพระภาคผู้มีพระหฤทัยตั้งมั่น คงที่
ไม่ได้มีลมหายใจเข้าหายใจออก
พระองค์ไม่ทรงหวั่นไหว ปรารภความสงบ
มีพระจักษุ เสด็จปรินิพพานแล้ว
[๙๐๖] ทรงมีพระหฤทัยไม่หดหู่ อดกลั้นเวทนาได้
มีพระหฤทัยหลุดพ้นไป
เหมือนดวงประทีปที่ลุกโชนแล้วก็ดับไป

เชิงอรรถ :
๑ ฤทธิ์ทางใจ ฤทธิ์ที่นิรมิตด้วยใจ (ขุ.เถร.อ. ๒/๙๐๑/๓๗๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๘๘ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๖. วีสตินิบาต] ๙. อนุรุทธเถรคาถา
[๙๐๗] บัดนี้ ธรรมเหล่านี้ซึ่งมีสัมผัสเป็นที่ ๕
ของพระมหามุนีได้สิ้นสุดลง
เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว
จิตและเจตสิกธรรมเหล่าอื่นจักไม่มีอีกต่อไป
[๙๐๘] เทวดา บัดนี้ เราไม่มีการอยู่คือการอุบัติในหมู่เทพอีกต่อไป
การเวียนว่ายตายเกิดสิ้นไปแล้ว บัดนี้ไม่มีการเกิดอีก
[๙๐๙] ภิกษุใดรู้แจ้งมนุษยโลกเทวโลก พร้อมทั้งพรหมโลก
ซึ่งมีประเภทตั้งพันได้ในกาลครู่เดียว
ทั้งเป็นผู้เชี่ยวชาญในคุณคือฤทธิ์
ในจุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย
ภิกษุนั้น ย่อมเห็นเทพเจ้าทั้งหลายได้ในขณะที่เกิด
[๙๑๐] ชาติก่อน เรามีชื่ออันนภาระ
เป็นคนยากจน เที่ยวรับจ้างเลี้ยงชีพ
ได้ถวายอาหารบิณฑบาตแด่พระอุปริฏฐปัจเจกพุทธเจ้า
ผู้สงบ ผู้มียศ
[๙๑๑] เรานั้นเกิดในศากยสกุล
พระประยูรญาติทรงขนานนามให้เราว่า อนุรุทธะ
เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยการฟ้อนรำ ขับร้อง
มีเสียงดนตรีที่บรรเลงปลุกให้รื่นเริงใจอยู่ทุกค่ำเช้า
[๙๑๒] ครั้นต่อมา เราได้พบพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้หาภัยแต่ที่ไหนมิได้
ทำจิตให้เลื่อมใสในพระองค์แล้วบวชเป็นบรรพชิต
[๙๑๓] เรารู้จักขันธ์ที่เคยอยู่อาศัยมาก่อน
เกิดเป็นท้าวสักกะในหมู่เทพชั้นดาวดึงส์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๘๙ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๖. วีสตินิบาต] ๙.อนุรุทธเถรคาถา
[๙๑๔] ปราบไพรีให้พ่ายแพ้
ได้ครองราชเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
จอมมนุษย์ในชมพูทวีป ซึ่งมีสมุทรสาครทั้ง ๔
เป็นขอบเขต ๗ ครั้ง
ได้ปกครองปวงประชากรโดยธรรม
ไม่ต้องใช้อาชญา
ไม่ต้องใช้ศัสตรา
[๙๑๕] ได้ระลึกชาติก่อนในคราวที่อยู่ในเทวโลกได้ ๑๔ ชาติ
คือ ครั้งที่เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๗ ชาติ
ครั้งที่เป็นท้าวสักกะ ๗ ชาติ
[๙๑๖] เมื่อสมาธิประกอบด้วยองค์๑ ๕ มีอารมณ์เป็นหนึ่ง
ได้ความสงบระงับแล้ว
ทิพยจักษุของเราจึงหมดจด
[๙๑๗] เราดำรงมั่นอยู่ในฌานที่ประกอบด้วยองค์๒ ๕
จึงรู้จุติและอุบัติ
การมา การไปของสัตว์ทั้งหลายว่า
เป็นอย่างนี้ ไม่เป็นอย่างอื่น
[๙๑๘] เราปรนนิบัติพระศาสดา ฯลฯ
ถอนตัณหาที่นำไปสู่ภพได้ขาดแล้ว
[๙๑๙] จะปรินิพพานอย่างไม่มีอาสวะ เพราะสิ้นชีวิต
ภายใต้พุ่มไม้ไผ่ใกล้เวฬุวคาม แคว้นวัชชี

เชิงอรรถ :
๑ องค์ ๕ คือ (๑) การแผ่ปีติ (๒) การแผ่สุข (๓) การแผ่จิต (๔) การแผ่แสงสว่าง และ (๕) การพิจารณา
นิมิต (ขุ.เถร.อ. ๒/๙๑๖/๓๘๓)
๒ ฌานที่ประกอบด้วยองค์ ๕ ในที่นี้คือสมาธิประกอบด้วยองค์ ๕ นั่นเอง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๙๐ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๖. วีสตินิบาต] ๑๐. ปาราปริยเถรคาถา
๑๐. ปาราปริยเถรคาถา
ภาษิตของพระปาราปริยเถระ
(พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายรจนาคาถานี้ว่า)
[๙๒๐] พระปาราปริยเถระผู้เป็นสมณะ
มีจิตแน่วแน่เป็นอารมณ์เดียว
ชอบสงัด นั่งเจริญฌานอยู่ในป่าใหญ่
ในฤดูดอกไม้ผลิ ได้มีความคิดว่า
[๙๒๑] เมื่อพระโลกนาถซึ่งเป็นบุรุษผู้สูงสุด ยังทรงพระชนม์ชีพอยู่
ความประพฤติของภิกษุทั้งหลายได้เป็นอย่างหนึ่ง
บัดนี้ เมื่อพระองค์เสด็จปรินิพพานแล้ว
ย่อมปรากฏเป็นอีกอย่างหนึ่ง
[๙๒๒] ภิกษุทั้งหลายแต่ปางก่อน สันโดษด้วยปัจจัยตามมีตามได้
ได้นุ่งห่มผ้าเป็นปริมณฑลเพียงเพื่อจะป้องกันความหนาวความ
ร้อนและลม ปกปิดอวัยวะที่จะให้เกิดความละอายเท่านั้น
[๙๒๓] ได้ขบฉันอาหารประณีตก็ตาม เศร้าหมองก็ตาม
น้อยก็ตาม มากก็ตาม เพียงเพื่อยังอัตภาพให้เป็นไปได้ ไม่ติด
ไม่พัวพัน
[๙๒๔] ไม่ได้ขวนขวายจนเกินไปในยาแก้ไข้
ซึ่งเป็นบริขารเครื่องรักษาชีวิต เหมือนขวนขวายในความสิ้นอาสวะ
[๙๒๕] พอกพูนวิเวก มุ่งแต่วิเวก
อยู่ในป่า โคนต้นไม้ ซอกเขา และถ้ำ
[๙๒๖] อ่อนน้อม มีศรัทธาตั้งมั่น เลี้ยงง่าย อ่อนโยน
มีใจไม่กระด้าง ไม่ปราศจากสติ ไม่ปากร้าย
ไฝ่คิดแต่ประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่นเป็นสำคัญ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๙๑ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๖. วีสตินิบาต] ๑๐. ปาราปริยเถรคาถา
[๙๒๗] เพราะเหตุนั้น ภิกษุแต่ปางก่อนเหล่านั้น
มีความประพฤติทางกายและทางวาจา
การบริโภคปัจจัยการส้องเสพโคจร
และมีอิริยาบถละมุนละไม น่าเลื่อมใส
เหมือนสายน้ำมันที่ไหลออกจากภาชนะไม่ขาดสาย
[๙๒๘] บัดนี้ ท่านเหล่านั้น สิ้นอาสวะหมดแล้ว
มักเจริญฌานเป็นอันมาก
ประกอบด้วยประโยชน์มาก
เป็นพระเถระ นิพพานแล้ว
เดี๋ยวนี้ท่านเช่นนั้นยังเหลืออยู่จำนวนน้อย
[๙๒๙] เพราะกุศลธรรมและปัญญาสิ้นไป
คำสอนของพระชินเจ้าซึ่งประกอบด้วยสภาวะอันประเสริฐ
ทุกอย่างก็เลือนหายไป
[๙๓๐] เวลาที่บาปธรรมและกิเลสกำลังเฟื่องฟู
ส่วนเหล่าภิกษุที่มุ่งมั่นเพื่อความสงบสงัด
ชื่อว่าเป็นผู้มีพระสัทธรรมที่เหลือเป็นข้อปฏิบัติ
[๙๓๑] กิเลสเหล่านั้นเฟื่องฟูอยู่
ก็ย่อมครอบงำชนผู้โง่เขลาเป็นจำนวนมาก
เหมือนจะเยาะเย้ยเล่นกับเหล่าชนผู้โง่เขลา
ดุจปีศาจเข้าสิงผู้คนทำให้บ้า
แล้วเล่นกับพวกเขาที่บ้าแล้ว
[๙๓๒] คนที่ยังโง่เขลาเหล่านั้น ถูกกิเลสครอบงำ
จึงพล่านไปในวัตถุเป็นที่ตั้งแห่งกิเลส
ตามส่วนแห่งอารมณ์นั้น ๆ
เหมือนพล่านไปหาสิ่งที่ตนใคร่ ที่เขาเชิญชวนไว้ ฉะนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๙๒ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๖. วีสตินิบาต] ๑๐. ปาราปริยเถรคาถา
[๙๓๓] ละพระสัทธรรมแล้ว ทะเลาะกันเอง
ยึดถือเอาความเห็นของตน สำคัญว่า นี้เท่านั้น ประเสริฐ
[๙๓๔] นรชนทั้งหลาย ละทิ้งทรัพย์สมบัติ
และบุตรภรรยาออกบวชแล้ว
ย่อมพากันทำกรรมที่บรรพชิตไม่ควรทำ
แม้เพราะเหตุแห่งภิกษาทัพพีเดียว
[๙๓๕] พวกเธอฉันภัตตาหารเต็มอิ่มแล้ว
เมื่อนอนก็นอนหงาย
ตื่นแล้ว กล่าวแต่ถ้อยคำที่พระศาสดาทรงตำหนิติเตียน
[๙๓๖] ภายในไม่สงบ สนใจศึกษาแต่ศิลปะ
ที่ชาวบ้านทั่วไปศึกษากัน
ประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ
ย่อมล่วงเลยพวกเธอไปเสีย
[๙๓๗] ภิกษุทั้งหลายที่มุ่งหวังจะได้มาก ๆ
จึงน้อมสิ่งของเข้าไปให้พวกคฤหัสถ์ คือ
ดินเหนียวบ้าง น้ำมันบ้าง จุณเจิมบ้าง
น้ำบ้าง ที่นั่งที่นอนบ้าง อาหารบ้าง
[๙๓๘] ไม้สีฟันบ้าง ผลมะขวิดบ้าง
ดอกไม้บ้าง ของควรเคี้ยวบ้าง บิณฑบาตที่สมบูรณ์ด้วยกับบ้าง
ผลมะม่วงบ้าง ผลมะขามป้อมบ้าง
[๙๓๙] ย่อมปฏิบัติตนในการประกอบยา
เพื่อพวกคฤหัสถ์เหมือนหมอ
ทำกิจน้อยใหญ่เหมือนคฤหัสถ์
ตกแต่งร่างกายเหมือนหญิงแพศยา
วางตัวเป็นใหญ่เหมือนกษัตริย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๙๓ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๖. วีสตินิบาต] ๑๐. ปาราปริยเถรคาถา
[๙๔๐] ใช้อุบายมากอย่าง คือ ทำให้คนหลงเชื่อ
หลอกลวง เป็นพยานเท็จ
ใช้เล่ห์เหลี่ยมต่าง ๆ บริโภคอามิส
[๙๔๑] มุ่งแต่จะเป็นอยู่ จึงแล่นไปตาม(บาปธรรม)
ในการพูดเลียบเคียง อ้อมค้อมใช้โวหารเล็กน้อย
ใช้อุบาย รวบรวมทรัพย์ให้ได้มาก ๆ
[๙๔๒] ย่อมให้ผู้คนบำรุงบำเรอตน เพราะงานตนเป็นเหตุ
แต่มิใช่เพราะธรรมเป็นเหตุ
แสดงธรรมตามที่ต่าง ๆ เพราะเห็นแก่ลาภเป็นเหตุ
แต่มิใช่เพราะเห็นแก่ประโยชน์(สูงสุด)เป็นเหตุ
[๙๔๓] ทะเลาะวิวาทกันเพราะเหตุแห่งลาภที่เกิดในสงฆ์
เหินห่างจากพระอริยสงฆ์
เลี้ยงชีพด้วยอาศัยลาภของผู้อื่น ไม่มีหิริ ไม่ละอายเลย
[๙๔๔] จริงอย่างนั้น ภิกษุบางพวก ซึ่งไม่ประพฤติตามสมณธรรม
เป็นเพียงคนหัวโล้น คลุมร่างไว้ด้วยผ้ากาสาวพัสตร์
ปรารถนาแต่การยกย่องสรรเสริญฝ่ายเดียว ยังติดลาภสักการะ
[๙๔๕] เมื่อธรรมที่เป็นเครื่องทำลายมีประการต่าง ๆ
เป็นไปอยู่อย่างนี้ เดี๋ยวนี้
การบรรลุฌานและวิปัสสนาที่ยังไม่ได้บรรลุ
หรือการคอยตามรักษาฌานและวิปัสสนาที่บรรลุแล้ว
มิใช่ทำได้ง่าย ๆ เหมือนอย่างเมื่อพระศาสดา
ยังทรงพระชนม์ชีพอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๙๔ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๖. วีสตินิบาต] รวมเรื่องพระเถระที่มีในนิบาต
[๙๔๖] มุนี พึงตั้งสติให้มั่น เที่ยวไปในหมู่บ้าน
เหมือนคนไม่สวมรองเท้า เที่ยวไปในที่มีหนาม
[๙๔๗] พระโยคีเมื่อระลึกถึงวิปัสสนาที่ปรารภในกาลก่อนแล้ว
ระลึกถึงข้อสำหรับภาวนาวิธีเหล่านั้นอยู่
แม้จะถึงเวลาสุดท้ายแห่งชีวิต
ก็พึงบรรลุอมตบทให้ได้
(พระสังคีติกาจารย์ หวังจะประกาศการปรินิพพานของพระเถระ จึงได้กล่าว
ภาษิตสุดท้ายนี้ว่า)
[๙๔๘] พระปาราปริยเถระ ผู้เป็นสมณะ
อบรมอินทรีย์แล้ว เป็นพราหมณ์
แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ สิ้นภพใหม่
ครั้นกล่าววิธีปฏิบัตินี้แล้ว ก็ได้ปรินิพพานในสาลวัน
วีสตินิบาต จบ

รวมเรื่องพระเถระที่มีในนิบาตนี้ คือ

๑. พระอธิมุตตเถระ ๒. พระปาราปริยเถระ
๓. พระเตลกานิเถระ ๔. พระรัฏฐปาลเถระ
๕. พระมาลุงกยบุตรเถระ ๖. พระเสลเถระ
๗. พระภัททิยกาฬิโคธบุตรเถระ ๘. พระองคุลิมาลเถระ
๙. พระอนุรุทธเถระ ๑๐. พระปาราปริยเถระ๑

ในวีสตินิบาตนี้ มีพระเถระที่ท่านระบุไว้ ๑๐ รูปถ้วน
และมี ๒๔๕ คาถา ฉะนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๙๕ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๗. ติงสนิบาต] ๑. ปุสสเถรคาถา
๑๗. ติงสนิบาต
๑. ปุสสเถรคาถา
ภาษิตของพระปุสสเถระ
(พระสังคีติกาจารย์ได้กล่าวภาษิตเบื้องต้นไว้ว่า)
[๙๔๙] ฤๅษีปัณฑรสโคตรได้พบเห็นภิกษุมากรูป
ผู้น่าเลื่อมใส อบรมตน สำรวมดีแล้ว
ได้สอบถามพระปุสสเถระว่า
[๙๕๐] ในกาลภายหน้า ภิกษุทั้งหลายในพระศาสนานี้
จะมีความพอใจอย่างไร มีความประสงค์อย่างไร
มีอากัปกิริยาอย่างไร
ข้าพเจ้าเรียนถามท่านแล้ว นิมนต์บอกความข้อนั้นด้วยเถิด
(พระปุสสเถระไดักล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๙๕๑] ท่านปัณฑรสฤๅษี เชิญท่านฟังคำของอาตมา
ขอเชิญตั้งใจจดจำให้ดี
อาตมาจะบอกข้อความที่ท่านถามถึงอนาคตแก่ท่าน
[๙๕๒] ในกาลภายหน้า ภิกษุทั้งหลายส่วนมาก
จักเป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธ ลบหลู่คุณท่าน
หัวดื้อ โอ้อวด ริษยา และมีวาทะขัดแย้งกัน
[๙๕๓] มีความสำคัญในสัทธรรมที่ยังไม่รู้ ไม่เห็นว่ารู้ ว่าเห็น
มีความคิดในธรรมที่ลึกซึ้งว่าตื้น เป็นคนเบา
ไม่หนักแน่นในธรรม ไม่เคารพกันและกัน
[๙๕๔] ในกาลภายหน้า โทษเป็นอันมาก
จะเกิดขึ้นในสัตว์โลก
ภิกษุทั้งหลายผู้ไร้ความคิด
จะทำธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ดีแล้วนี้
ให้มัวหมอง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๙๖ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๗. ติงสนิบาต] ๑. ปุสสเถรคาถา
[๙๕๕] ทั้งจะเสื่อมจากคุณธรรม กล้าพูดในท่ามกลางสงฆ์
มีพวกมาก ปากจัด ไม่ยอมรับฟัง(ความคิดเห็นของผู้อื่น)
[๙๕๖] ฝ่ายพวกที่มีคุณธรรม พูดในท่ามกลางสงฆ์ตามความเป็นจริง
ละอายใจ ไม่ต้องการผลประโยชน์จักมีพวกน้อย
[๙๕๗] ในกาลภายหน้า ภิกษุทั้งหลายจะมีปัญญาทราม
พากันยินดี เงิน ทอง ไร่นา สวน แพะ แกะ และคนใช้ชายหญิง
[๙๕๘] จะเป็นคนอันธพาล ชอบมุ่งแต่จะตำหนิติเตียน
ไม่ตั้งมั่นในศีล ถือตัวจัด โหดร้าย เที่ยวไป
ชอบก่อการทะเลาะวิวาท
[๙๕๙] ทั้งจะมีใจฟุ้งซ่าน นุ่งห่มแต่จีวรสีเขียว
เที่ยวทำตัวดังพระอริยะ
[๙๖๐] จะใช้น้ำมันแต่งผมให้งดงาม
เป็นคนเหลาะแหละเหลวไหล
ใช้ยาหยอดแต่งตา นุ่งห่มจีวรสีงาช้าง
เที่ยวไปตามถนนหนทาง
[๙๖๑] จะรังเกียจผ้ากาสาวะซึ่งย้อมดีแล้ว
ที่พระอริยะทั้งหลายไม่รังเกียจ
เป็นธงชัยของพระอรหันต์ ชอบใช้แต่ผ้าขาว
[๙๖๒] จะมุ่งแต่ลาภ เกียจคร้าน มีความเพียรย่อหย่อน
รังเกียจเสนาสนะป่า
ชอบอยู่แต่เสนาสนะใกล้บ้าน
[๙๖๓] จะไม่สำรวม เที่ยวประพฤติตามพวกภิกษุ
ที่ยินดีในมิจฉาชีพ ได้ลาภอยู่เสมอ ๆ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๙๗ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๗. ติงสนิบาต] ๑. ปุสสเถรคาถา
[๙๖๔] ในกาลภายหน้า ภิกษุทั้งหลายจะไม่บูชายกย่องเหล่าภิกษุผู้ไม่
มีลาภ ทั้งจะไม่คบค้าสมาคมกับเหล่าภิกษุผู้รักษาศีลดี
ซึ่งเป็นนักปราชญ์
[๙๖๕] จะห่มจีวรสีแดงที่คนป่าชอบย้อมใช้
พากันติเตียนผ้ากาสาวะซึ่งเป็นธงชัยของตน
บางพวกก็จะห่มจีวรสีขาว ซึ่งเป็นธงชัยของพวกเดียรถีย์
[๙๖๖] ในกาลภายหน้า ภิกษุเหล่านั้นจะไม่มีความเคารพในผ้ากาสาวะ
ทั้งจะไม่พิจารณาใช้ผ้ากาสาวะ
[๙๖๗] การไม่คิดพิจารณาให้ดี
ได้เป็นความเลวร้ายอย่างใหญ่หลวงของพญาช้าง
ที่ถูกลูกศรเสียบแทง
ถูกทุกขเวทนาครอบงำทุรนทุรายอยู่
[๙๖๘] เพราะครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพญาช้างฉัททันต์
ได้เห็นผ้ากาสาวะ ซึ่งโสณุตตรพรานคลุมร่างไว้
ที่ย้อมดีแล้วเป็นธงชัยของพระอรหันต์
ได้กล่าวภาษิตที่ประกอบด้วยประโยชน์ในขณะนั้นแหละว่า
[๙๖๙] ผู้ใดยังมีกิเลสดุจน้ำฝาด
ปราศจากทมะ และสัจจะ
จะนุ่งห่มผ้ากาสาวะ
ผู้นั้นไม่ควรที่จะนุ่งห่มผ้ากาสาวะเลย
[๙๗๐] ส่วนผู้ใดพึงคลายกิเลสดุจน้ำฝาด
ตั้งมั่นดีแล้วในศีล ประกอบด้วยทมะและสัจจะ
ผู้นั้นแหละควรที่จะนุ่งห่มผ้ากาสาวะได้

เชิงอรรถ :
๑ ความฝึกอินทรีย์ (ขุ.เถร.อ.๒/๙๖๙/๔๐๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๙๘ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๗. ติงสนิบาต] ๑. ปุสสเถรคาถา
[๙๗๑] ผู้ใดมีศีลวิบัติ มีปัญญาทราม ไม่สำรวมอินทรีย์
ชอบทำตามความพอใจ มีจิตฟุ้งซ่าน ทั้งไม่บริสุทธิ์
ผู้นั้นไม่ควรที่จะนุ่งห่มผ้ากาสาวะเลย
[๙๗๒] ส่วนผู้ใดสมบูรณ์ด้วยศีล ปราศจากราคะ
มีจิตตั้งมั่นดี มีความดำริในใจใสสะอาด
ผู้นั้นแหละ ควรที่จะนุ่งห่มผ้ากาสาวะได้
[๙๗๓] ผู้ที่ไม่มีศีล ฟุ้งซ่าน มีมานะจัด เป็นคนพาล
ควรที่จะนุ่งห่มผ้าขาวเท่านั้น
ผ้ากาสาวะจะช่วยอะไรได้
[๙๗๔] ในกาลภายหน้า ทั้งพวกภิกษุและภิกษุณี
ผู้มีใจชั่ว ไม่เอื้อเฟื้อ
จะข่มขี่ฝ่ายที่คงที่มีจิตเมตตา
[๙๗๕] พวกที่เป็นคนโง่เขลา มีปัญญาทราม
ไม่สำรวมอินทรีย์ ชอบทำตามความพอใจ
ถึงพระเถระทั้งหลาย จะสอนให้ครองจีวร ก็จักไม่เชื่อฟัง
[๙๗๖] พวกเธอซึ่งเป็นคนโง่เขลา
พระอุปัชฌาย์อาจารย์สอนอย่างนั้น
ก็จะไม่เคารพกันและกัน
ไม่เอื้อเฟื้อพระอุปัชฌาย์อาจารย์
เหมือนม้าพยศไม่ยอมให้สารถีฝึก
[๙๗๗] ครั้นกาลภายหลัง(ตติยสังคายนา)ผ่านไปแล้ว
พวกภิกษุและภิกษุณีในกาลภายหน้า จักปฏิบัติกันอย่างนี้
(ครั้นพระปุสสเถระแสดงภัยอย่างใหญ่หลวงที่ยังมาไม่ถึงนั้นจะมาถึงในกาล
ภายหน้าอย่างนั้น เมื่อจะให้โอวาทแก่ภิกษุทั้งหลายที่ประชุมกัน ณ ที่นั้นอีก จึง
ได้กล่าว ๓ ภาษิตเหล่านี้ว่า)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๔๙๙ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๗. ติงสนิบาต] ๒. สารีปุตตเถรคาถา
[๙๗๘] ภัยอย่างใหญ่หลวงซึ่งยังมาไม่ถึงนี้ จะมาถึงข้างหน้า
ขอท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ว่าง่าย พูดจาอ่อนหวาน
มีความเคารพกันและกัน
[๙๗๙] มีจิตเมตตากรุณา สำรวมในศีล
ปรารภความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว
บากบั่นมั่นคงเป็นประจำเถิด
[๙๘๐] ขอชนทั้งหลายจงเห็นความประมาทโดยเป็นสิ่งที่น่ากลัว
และเห็นความไม่ประมาทโดยเป็นสิ่งที่เกษม
แล้วบำเพ็ญอัฏฐังคิกมรรคที่จะบรรลุอมตบท๑ได้

๒. สารีปุตตเถรคาถา
ภาษิตของพระสารีบุตรเถระ
(พระสารีบุตรเถระเมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตแก่ภิกษุทั้งหลาย จึงได้กล่าว
ภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๙๘๑] ผู้ใดมีสติประพฤติเหมือนผู้สำรวมกาย เหมือนสัตบุรุษ
ไม่ประมาท เหมือนผู้สำรวมความคิด
ยินดีในการเจริญกรรมฐานไว้ภายใน
มีจิตตั้งมั่นดีอยู่ผู้เดียว สันโดษ
นักปราชญ์ทั้งหลาย เรียกผู้นั้นว่าเป็นภิกษุ
[๙๘๒] ภิกษุ เมื่อฉันอาหารสดก็ตาม แห้งก็ตาม
ไม่พึงฉันให้อิ่มเกินไป ไม่พึงฉันให้น้อยเกินไป
พึงฉันแต่พอประมาณ พึงมีสติอยู่
[๙๘๓] พึงเลิกฉันก่อนอิ่ม ๔-๕ คำ แล้วดื่มน้ำ
เท่านี้ก็เพียงพอเพื่ออยู่ผาสุก
ของภิกษุผู้มีใจเด็ดเดี่ยวมุ่งนิพพาน

เชิงอรรถ :
๑ นิพพาน (ขุ.เถร.อ. ๒/๙๘๐/๔๐๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๐๐ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๗. ติงสนิบาต] ๒. สารีปุตตเถรคาถา
[๙๘๔] อนึ่ง การนุ่งห่มจีวรที่สมควร ซึ่งเป็นประโยชน์
นี้ก็เพียงพอเพื่ออยู่ผาสุก
ของภิกษุผู้มีใจเด็ดเดี่ยวมุ่งนิพพาน
[๙๘๕] เมื่อภิกษุนั่งขัดสมาธิในกุฎีใด ฝนตกไม่เปียกเข่าทั้งสอง
กุฎีเท่านี้ ก็เพียงพอเพื่ออยู่ผาสุก
ของภิกษุผู้มีใจเด็ดเดี่ยวมุ่งนิพพาน
[๙๘๖] ภิกษุใดพิจารณาเห็นสุขโดยความเป็นทุกข์
เห็นทุกข์เป็นเหมือนลูกศรคอยทิ่มแทงได้
ภิกษุนั้น ไม่ได้มีความยึดมั่นในอทุกขมสุขเวทนาทั้ง ๒ นั้น
ว่าเป็นของเนื่องในตน
เธอจะพึงถูกกิเลสอะไรผูกมัดไว้ในโลกได้อย่างไร
[๙๘๗] ภิกษุผู้มีความปรารถนาลามก
เกียจคร้าน มีความเพียรย่อหย่อน
มีการเล่าเรียนน้อย ไม่เอื้อเฟื้อ
อย่าได้มีในสำนักเรา ในกาลไหน ๆ เลย
(เพราะ)คนเช่นนั้นในสัตวโลก
จะพึงสอนแบบไหนอย่างไรได้
[๙๘๘] ส่วนภิกษุผู้เป็นพหูสูต มีปัญญา
ตั้งมั่นดีในศีล ประกอบความสงบใจเนือง ๆ อยู่
ขอจงมาสถิตอยู่บนกระหม่อมของเราเถิด
[๙๘๙] ภิกษุใดประกอบธรรมเป็นเหตุให้เนิ่นช้า๑อยู่เนือง ๆ
มีใจยินดีในธรรมเป็นเหตุให้เนิ่นช้า
ภิกษุนั้น ชื่อว่าพลาดจากนิพพาน
ซึ่งเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม

เชิงอรรถ :
๑ ความยินดีในกามและความติดในรูปเป็นต้น (ขุ.เถร.อ. ๒/๙๘๙/๔๔๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๐๑ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๗. ติงสนิบาต] ๒. สารีปุตตเถรคาถา
[๙๙๐] ส่วนภิกษุใดละธรรมเป็นเหตุให้เนิ่นช้าได้แล้ว
ยินดีแล้วในทางแห่งธรรมซึ่งเป็นเหตุไม่ให้เนิ่นช้า
ภิกษุนั้นบรรลุนิพพาน
ซึ่งเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม
[๙๙๑] พระอรหันต์ทั้งหลาย อยู่สถานที่ใด
คือ จะเป็นบ้านก็ตาม ป่าก็ตาม ที่ลุ่มก็ตาม ที่ดอนก็ตาม
สถานที่นั้น เป็นรมณียสถาน
[๙๙๒] ท่านผู้ปราศจากราคะทั้งหลาย
จะยินดีป่าทั้งหลาย อันน่ารื่นรมย์
ที่ชนผู้แสวงหากามไม่ยินดี
เพราะท่านเหล่านั้น ไม่แสวงหากาม
[๙๙๓] บุคคลพึงเห็นผู้มีปัญญามักชี้โทษ
มักพูดปรามไว้ เหมือนผู้ชี้บอกขุมทรัพย์
(และ) พึงคบผู้ที่เป็นบัณฑิตเช่นนั้น
เพราะเมื่อคบคนเช่นนั้น ย่อมมีแต่ความเจริญ ไม่มีความเสื่อมเลย
[๙๙๔] ผู้ใดพึงกล่าวสอนพร่ำสอน และห้ามจากความชั่ว
ผู้นั้นย่อมเป็นที่รักของสัตบุรุษทั้งหลาย
แต่ไม่เป็นที่รักของอสัตบุรุษทั้งหลาย
[๙๙๕] พระผู้มีพระภาคตรัสรู้แล้ว ทรงมีพระจักษุ
ได้ทรงแสดงธรรมโปรดผู้อื่น
เมื่อพระองค์ทรงแสดงธรรมอยู่
เรามุ่งประโยชน์ ได้ตั้งใจฟัง
การตั้งใจฟังของเรานั้น ไม่ไร้ประโยชน์
จึงเป็นผู้หลุดพ้นแล้วหาอาสวะมิได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๐๒ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๗. ติงสนิบาต] ๒. สารีปุตตเถรคาถา
[๙๙๖] เราไม่ได้ตั้งความปรารถนาไว้
เพื่อปุพเพนิวาสญาณ๑ ทิพพจักขุญาณ๒
เจโตปริยญาณ๓ อิทธิวิธญาณ๔
จุตูปปาตญาณ๕ และทิพพโสตญาณ๖
(ยักษ์กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๙๙๗] พระเถระโล้นชื่ออุปติสสะนั่นแหละ
ยอดเยี่ยมด้วยปัญญา
ครองผ้าสังฆาฏิอาศัยโคนไม้นั่นเองนั่งเข้าฌานอยู่
[๙๙๘] สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเข้าสมาบัติอันไม่มีวิตก
เป็นผู้ประกอบด้วยความเป็นผู้นิ่งอย่างประเสริฐโดยแท้จริง
[๙๙๙] ภูเขาศิลาล้วน ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว แม้ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นเพราะสิ้นโมหะ ย่อมไม่หวั่นไหวเหมือนภูเขา
(พระสารีบุตรเถระฟังคำของสามเณรนั้นแล้ว จึงได้กล่าวภาษิตว่า)
[๑๐๐๐] คนผู้ไม่มีกิเลสเครื่องยั่วยวน
ใฝ่ใจแสวงหาความสะอาดอยู่เป็นนิตย์
ความชั่วเพียงเท่าปลายขนทราย
ย่อมปรากฏดังเท่าก้อนเมฆ
(พระสารีบุตรเถระเมื่อจะแสดงว่าตนมีจิตเสมอกัน ทั้งตาย ทั้งเป็นอยู่ จึง
กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า)

เชิงอรรถ :
๑ ความรู้ที่เป็นเครื่องระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อน ทั้งของตนและของผู้อื่น
๒ ความรู้คือดวงตาทิพย์
๓ ความรู้กำหนดใจผู้อื่นได้
๔ ความรู้ที่แสดงฤทธิ์ได้ต่าง ๆ
๕ ความรู้การจุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย
๖ ความรู้ที่ทำให้ฟังได้ยินหมดตามปรารถนา (หูทิพย์) ๑-๖ (ขุ.เถร.อ. ๒/๙๙๖/๔๔๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๐๓ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๗. ติงสนิบาต] ๒. สารีปุตตเถรคาถา
[๑๐๐๑] เราไม่อยากตาย ไม่อยากเป็นอยู่
แต่เรามีสติสัมปชัญญะอยู่เฉพาะหน้า จักละกายนี้
[๑๐๐๒] เราไม่อยากตาย ไม่อยากเป็นอยู่
แต่เราคอยเวลาอันควร
เหมือนลูกจ้างทำการงานคอยค่าจ้าง
(และเมื่อจะแสดงธรรมแก่ผู้อื่น จึงได้กล่าวไว้อีก ๒ ภาษิตว่า)
[๑๐๐๓] ความตายนี้มีแน่นอนใน ๒ คราว
คือ คราวแก่และคราวหนุ่มจะไม่ตาย ไม่มี
เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลายจงปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ อย่าพินาศเลย
ขณะอย่าได้ล่วงเลยท่านทั้งหลายไปเสีย
[๑๐๐๔] เมืองชายแดนได้รับการคุ้มครองทั้งภายในและภายนอก ฉันใด
ท่านทั้งหลายโปรดคุ้มครองตนให้ได้ ฉันนั้น
ขณะอย่าได้ล่วงเลยท่านทั้งหลายไปเสีย
เพราะเหล่าชนที่ปล่อยให้ขณะล่วงเลยไป
ย่อมแออัดกันในนรก เศร้าโศกอยู่
(พระสารีบุตรเถระ พบท่านพระมหาโกฏฐิตะเมื่อจะประกาศเกียรติคุณของท่าน
จึงได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๑๐๐๕] ภิกษุผู้สงบ งดเว้นจากการทำชั่ว
พูดด้วยปัญญา ไม่ฟุ้งซ่าน
ย่อมกำจัดบาปธรรมทั้งหลายได้
เหมือนกับลมพัดใบไม้ให้ร่วงหล่น
[๑๐๐๖] ภิกษุผู้สงบระงับ งดเว้นจากการทำความชั่ว
มักพูดด้วยปัญญา ไม่ฟุ้งซ่าน
ย่อมกำจัดบาปธรรมได้แล้ว
เหมือนกับลมพัดใบไม้ให้ลอยไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๐๔ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๗. ติงสนิบาต] ๒. สารีปุตตเถรคาถา
[๑๐๐๗] ภิกษุผู้สงบระงับ ไม่มีความคับแค้น
มีใจผ่องใสไม่ขุ่นมัว มีศีลอันงาม
เป็นปราชญ์ พึงทำที่สุดทุกข์ได้
(พระสารีบุตรเถระปรารภพวกภิกษุวัชชีบุตรที่เชื่อพระเทวทัตต์ จึงได้กล่าว
ภาษิตทั้งหลายไว้ว่า)
[๑๐๐๘] บุคคลไม่พึงไว้ใจในปุถุชนบางพวก
ทั้งที่เป็นคฤหัสถ์และบรรพชิต
แม้เบื้องต้นเขาจะเป็นคนดี ภายหลังจะเป็นคนไม่ดี
หรือเบื้องต้นเป็นคนไม่ดี ภายหลังจะกลับเป็นคนดีก็ตาม
[๑๐๐๙] นิวรณธรรม ๕ เหล่านี้ คือ
(๑) กามฉันทะ (๒) พยาบาท (๓) ถีนมิทธะ
(๔) อุทธัจจกุกกุจจะ (๕) วิจิกิจฉา
เป็นธรรมเครื่องเศร้าหมองใจของภิกษุ
[๑๐๑๐] สมาธิของภิกษุใดผู้มีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท
ย่อมไม่หวั่นไหวด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ
(๑) ด้วยมีผู้สักการะ (๒) ด้วยไม่มีผู้สักการะ
[๑๐๑๑] ภิกษุผู้เข้าฌาน มีความเพียรต่อเนื่อง
พิจารณาเห็นด้วยปัญญาที่สุขุม
ยินดีในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปาทาน๑นั้น
นักปราชญ์ทั้งหลายเรียกว่า สัตบุรุษ
[๑๐๑๒] มหาสมุทร ๑ แผ่นดิน ๑ ภูเขา ๑ ลม ๑
ไม่ควรที่จะเปรียบเทียบกับความหลุดพ้นอย่างประเสริฐ
ของพระศาสดา

เชิงอรรถ :
๑ ความยึดมั่นถือมั่น (ขุ.เถร.อ. ๒/๑๐๑๑/๔๓๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๐๕ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๗. ติงสนิบาต] ๓. อานนทเถรคาถา
[๑๐๑๓] พระเถระผู้ประพฤติตามพระธรรมจักร
ที่พระศาสดาทรงให้เป็นไป มีปัญญามาก มีจิตตั้งมั่น
เป็นผู้เสมอด้วยแผ่นดิน น้ำ และไฟ ไม่ยินดี ย่อมไม่ยินร้าย
[๑๐๑๔] ภิกษุถึงที่สุดสาวกปัญญาบารมี มีความรู้มาก เป็นมหามุนี
ไม่โง่เขลา ไม่ใช่เหมือนผู้โง่เขลา เป็นผู้เย็นอยู่เป็นนิตย์
[๑๐๑๕] เราปรนนิบัติพระศาสดา ได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว
ปลงภาระที่หนักได้ ถอนตัณหาที่นำไปสู่ภพได้ขาดแล้ว
[๑๐๑๖] ท่านทั้งหลายจงยังประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่น
ให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด นี้เป็นคำพร่ำสอนของเรา
เราหลุดพ้นจากกิเลสและภพได้ทั้งหมดแล้ว จะปรินิพพานละ

๓. อานนทเถรคาถา
ภาษิตของพระอานนทเถระ
(พระอานนทเถระ เมื่อสังคายนาพระธรรมได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๑๐๑๗] บัณฑิตไม่พึงทำความเป็นสหายกับคนพูดส่อเสียด ๑
คนมักโกรธ ๑ คนตระหนี่ ๑ คนชอบใจที่จะให้ผู้อื่นพินาศ ๑
เพราะการสมาคมกับคนชั่วเป็นความเลว ๑
[๑๐๑๘] บัณฑิตพึงทำความเป็นสหายกับคนที่มีศรัทธา ๑
มีศีลเป็นที่รัก ๑ มีปัญญา ๑ เป็นพหูสูต ๑
เพราะการสมาคมกับคนดีทั้งหลายเป็นความเจริญ
[๑๐๑๙] ขอเชิญดูอัตภาพที่ผ้าและอาภรณ์เป็นต้นทำให้วิจิตร
มีกายเป็นแผล มีกระดูก ๓๐๐ ท่อนเป็นโครงร่าง
กระสับกระส่าย ที่พวกคนเขลาดำริหวังกันส่วนมาก
ซึ่งไม่มีความยั่งยืนตั้งมั่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๐๖ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๗. ติงสนิบาต] ๓. อานนทเถรคาถา
[๑๐๒๐] ขอเชิญดูอัตภาพที่สตรีใช้แก้วมณีและต่างหูแต่งให้วิจิตร
ซึ่งมีหนังหุ้มกระดูกไว้ภายใน งามพร้อมเสื้อผ้า
[๑๐๒๑] เท้าทั้งสองย้อมด้วยครั่งสด หน้าทาด้วยจุรณ
ก็สามารถทำคนเขลาให้ลุ่มหลง
แต่ไม่สามารถทำคนที่แสวงหาฝั่งคือนิพพานให้ลุ่มหลงได้
[๑๐๒๒] ผมที่ตบแต่งให้เป็นลอนดังกระดานหมากรุก
ตาทั้งสองที่หยอดด้วยยาหยอดตาก็สามารถทำคนเขลาให้ลุ่มหลง
แต่ไม่สามารถทำคนที่แสวงหาฝั่งคือนิพพานให้ลุ่มหลงได้
[๑๐๒๓] กายที่มีสภาพเปื่อยเน่าเป็นธรรมดาซึ่งตบแต่งแล้ว
เหมือนกล่องยาหยอดตาใหม่ ๆ ที่งดงาม
ก็สามารถทำคนเขลาให้ลุ่มหลง
แต่ไม่สามารถทำคนแสวงหาฝั่งคือนิพพานให้ลุ่มหลงได้
[๑๐๒๔] พระอานนทเถระผู้โคตมโคตร เป็นพหูสูต
กล่าวธรรมได้อย่างวิจิตร เป็นพุทธอุปัฏฐาก
ปลงภาระได้แล้ว พรากจากกิเลสที่ประกอบสัตว์ไว้
พอเอนกายลงนอน
[๑๐๒๕] สิ้นอาสวะ พรากจากกิเลสที่ประกอบสัตว์ไว้
ล่วงกิเลสเป็นเครื่องข้อง ดับกิเลสได้สนิท
ถึงฝั่งแห่งความเกิดและความตาย
ยังทรงร่างกาย ซึ่งมีในภพสุดท้ายอยู่
[๑๐๒๖] ธรรมทั้งหลายของพระพุทธเจ้า
ผู้ทรงเป็นเผ่าพันธุ์แห่งดวงอาทิตย์
ตั้งอยู่เฉพาะในบุรุษพิเศษใด
บุรุษพิเศษนั้น คือพระอานนทโคตมโคตร
ยังดำรงอยู่ในหนทางเป็นที่ดำเนินไปสู่นิพพาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๐๗ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๗. ติงสนิบาต] ๓. อานนทเถรคาถา
[๑๐๒๗] เราได้เรียนมาจากพระพุทธเจ้า ๘๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์
จากภิกษุ ๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์
จึงรวมธรรมที่เราช่ำชองคล่องปากได้ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์
[๑๐๒๘] คนที่มีการศึกษาน้อยนี้ย่อมแก่ไปเปล่าเหมือนโคพลิพัท๑
เขาเจริญแต่เนื้อหนัง ส่วนปัญญาหาเจริญไม่
[๑๐๒๙] ผู้ที่มีการศึกษามาก กลับดูหมิ่นผู้ที่มีการศึกษาน้อย
เพราะการศึกษาเป็นเหตุ ย่อมปรากฏแก่เรา
เหมือนคนตาบอดถือดวงประทีปไป
[๑๐๓๐] บุคคลพึงเข้าไปนั่งใกล้ท่านผู้เป็นพหูสูต
ทั้งไม่ควรทำสุตะ๒ให้เสื่อมสูญไป
เพราะความเป็นพหูสูตนั้นเป็นรากเง่าของพรหมจรรย์
ฉะนั้น จึงควรเป็นผู้ทรงธรรม
[๑๐๓๑] บุคคลรู้เบื้องต้นและเบื้องปลายภาษิต
รู้อรรถแห่งภาษิต ฉลาดในนิรุตติ และในบท๓
เรียนธรรมให้รู้ให้เข้าใจดีและพิจารณาเนื้อความ
[๑๐๓๒] เขาก็ทำความพอใจด้วยความอดทน
พยายามพิจารณาไตร่ตรองถึงนามรูปนั้น
เริ่มตั้งความเพียรในเวลา(ที่ควรประคองจิตเป็นต้น)
จึงจะพึงเป็นผู้มีจิตตั้งมั่นดีในภายในได้
[๑๐๓๓] ผู้หวังความรู้แจ้งธรรมพึงคบหาท่านผู้เป็นพหูสูต
ทรงธรรม มีปัญญา เป็นพุทธสาวกเช่นนั้น

เชิงอรรถ :
๑ โคถึกที่มีกำลัง (ขุ.เถร.อ. ๒/๑๐๒๘/๔๖๖)
๒ ความเป็นผู้มีการศึกษามากด้วยการเล่าเรียน (ขุ.เถร.อ. ๒/๑๐๓๐/๔๖๗)
๓ ปฏิสัมภิทาทั้ง ๔ คือในนิรุตติปฏิสัมภิทาและในปฏิสัมภิทา ๓ ที่เหลือ (ขุ.เถร.อ. ๒/๑๐๓๑/๔๖๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๐๘ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๗. ติงสนิบาต] ๓. อานนทเถรคาถา
[๑๐๓๔] บุคคลผู้เป็นพหูสูต ทรงธรรม
รักษาคลังธรรมของพระพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
ผู้เป็นพหูสูตเช่นนั้นเป็นดวงตาและเป็นปูชนียบุคคล
ของชาวโลกทั้งมวล
[๑๐๓๕] ภิกษุมีธรรม๑ เป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในธรรม
พิจารณาใคร่ครวญถึงธรรม ระลึกถึงธรรมอยู่
ก็ย่อมไม่เสื่อมจากพระสัทธรรม
[๑๐๓๖] ภิกษุผู้หนักในความตระหนี่กาย
เมื่อกายและชีวิตเสื่อมไปอยู่
เธอไม่ขยันหมั่นเพียร ยังติดความสุขทางกาย
จะมีความอยู่ผาสุกด้วยความเป็นสมณะได้แต่ที่ไหน
[๑๐๓๗] ทิศทุกทิศ ไม่ปรากฏ ธรรมทั้งหลายก็ไม่แจ่มแจ้งแก่เรา
เมื่อพระธรรมเสนาบดีซึ่งเป็นกัลยาณมิตร นิพพานเสียแล้ว
โลกนี้ทั้งหมดปรากฏเหมือนกับว่ามืดมิด
[๑๐๓๘] กัลยาณมิตรเช่นนั้น ย่อมไม่มีแก่ผู้ปราศจากสหาย
ผู้มีพระศาสดาล่วงลับหมือนกายคตาสติ
[๑๐๓๙] มิตรเก่า ก็ล่วงลับไป จิตของเราไม่ยอมสมาคมกับมิตรใหม่
วันนี้เรานั้น ขอเข้าฌานอยู่คนเดียว
เหมือนกับนกเข้าอยู่ประจำรังในฤดูฝน
(พระศาสดาได้ตรัสกับพระอานนทเถระด้วยพระพุทธภาษิตว่า)
[๑๐๔๐] เธออย่าได้ห้ามชนหมู่มากผู้เป็นชาวต่างรัฐต่างถิ่น
ที่พากันมาไม่ทันพบเรา
ชนเหล่านั้นซึ่งมุ่งฟังธรรม จงเข้าพบเราได้
นี้แหละเป็นเวลาเข้าพบเรา

เชิงอรรถ :
๑ สมถะและวิปัสสนา (ขุ.เถร.อ. ๑๐๓๕/๔๖๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๐๙ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๗. ติงสนิบาต] ๓. อานนทเถรคาถา
(พระอานนทเถระได้ฟังพุทธดำรัสนั้นแล้ว ได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๑๐๔๑] พระศาสดาผู้มีพระจักษุทรงประทานพระวโรกาส
ไม่ทรงห้ามชนหมู่มากซึ่งเป็นชาวต่างรัฐต่างถิ่น
ที่พากันมาไม่ทันเข้าเฝ้า
[๑๐๔๒] เมื่อเราเป็นเสขบุคคลอยู่ ๒๕ ปี กามสัญญา๑มิได้เกิดขึ้น
ท่านจงมองเห็นธรรมว่าเป็นธรรมดีงาม
[๑๐๔๓] เมื่อเราเป็นเสขบุคคลอยู่ ๒๕ ปี โทสสัญญา๒มิได้เกิดขึ้น
ท่านจงมองเห็นธรรมว่าเป็นธรรมดีงาม
[๑๐๔๔] เราได้อุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคด้วยเมตตากายกรรม
ดุจพระฉายาที่ติดตามพระองค์เป็นเวลา ๒๕ ปี
[๑๐๔๕] เราได้อุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคด้วยเมตตาวจีกรรม
ดุจพระฉายาที่ติดตามพระองค์เป็นเวลา ๒๕ ปี
[๑๐๔๖] เราได้อุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคด้วยเมตตามโนกรรม
ดุจพระฉายาที่ติดตามพระองค์เป็นเวลา ๒๕ ปี
[๑๐๔๗] เมื่อพระพุทธองค์เสด็จจงกรม
เราได้จงกรมตามเบื้องพระปฤษฎางค์ของพระองค์
เมื่อพระองค์ทรงแสดงธรรมอยู่ ญาณได้เกิดขึ้นแก่เรา
[๑๐๔๘] เรายังเป็นเสขะมีกิจที่ต้องทำ ยังไม่ได้บรรลุอรหัต
แต่พระศาสดาผู้ทรงอนุเคราะห์เรา ปรากฏว่าปรินิพพานเสียแล้ว
[๑๐๔๙] เวลานั้น(เรา)ได้มีความสะพรึงกลัว และขนพองสยองเกล้า
ในเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ประกอบด้วยพระคุณอย่างประเสริฐ
โดยอาการทั้งปวง เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ ความกำหนดหมายในความใคร่
๒ ความกำหนดหมายในความโกรธ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๑๐ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๗. ติงสนิบาต] รวมเรื่องพระเถระที่มีในนิบาต
(พระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลายเมื่อจะสรรเสริญพระอานนทเถระ จึงได้
กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๑๐๕๐] พระอานนทเถระ เป็นพหูสูต ทรงธรรม
รักษาคลังธรรมของพระพุทธเจ้าผู้แสวงคุณอันยิ่งใหญ่
เป็นดวงตาของชาวโลกทั้งมวล ปรินิพพานเสียแล้ว
[๑๐๕๑] พระอานนทเถระเป็นพหูสูต ทรงธรรม
รักษาคลังธรรมของพระพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
เป็นดวงตาของชาวโลกทั้งมวล กำจัดความมืดในโลกที่มืดมนได้
[๑๐๕๒] พระอานนทเถระ มีคติ๑ มีสติ มีธิติ๒ แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
และทรงพระสัทธรรมไว้ ได้เป็นบ่อเกิดรัตนะ๓
(พระอานนทเถระก่อนจะปรินิพพาน ได้กล่าวภาษิตสุดท้ายว่า)
[๑๐๕๓] เราได้ปรนนิบัติพระศาสดา
ได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ปลงภาระที่หนักเสียได้ บัดนี้ไม่มีการเกิดอีก
ติงสนิบาต จบ

รวมเรื่องพระเถระที่มีในนิบาตนี้ คือ
๑. พระปุสสเถระ ๒. พระสารีบุตรเถระ
๓. พระอานนทเถระ
ในตึงสนิบาตนี้ มีพระเถระที่ระบุไว้ ๓ รูป
และมี ๑๐๕ ภาษิต ฉะนี้แล

เชิงอรรถ :
๑ ญาณคือความหยั่งรู้ (ขุ.เถร.อ. ๒/๑๐๕๒/๔๗๑)
๒ ปัญญาเครื่องทรงจำ (ขุ.เถร.อ. ๒/๑๐๕๒/๔๗๑)
๓ พระสัทธรรม (ขุ.เถร.อ. ๒/๑๐๕๒/๔๗๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๑๑ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๘. จัตตาฬีสนิบาต] ๑. มหากัสสปเถรคาถา
๑๘. จัตตาฬีสนิบาต
๑. มหากัสสปเถรคาถา
ภาษิตของพระมหากัสสปเถระ
(พระมหากัสสปเถระได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๑๐๕๔] บุคคลไม่พึงมีหมู่คณะแวดล้อมเที่ยวไป
เพราะเป็นเหตุทำใจให้ฟุ้งซ่าน ยากแก่การได้สมาธิ
การสงเคราะห์ชนต่าง ๆ เป็นความลำบาก
บุคคลเห็นโทษด้วยประการฉะนี้แล้ว
ไม่พึงชอบใจการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ
[๑๐๕๕] มุนีไม่พึงเกี่ยวข้องตระกูลทั้งหลาย
เพราะเป็นเหตุทำใจให้ฟุ้งซ่าน ยากแก่การได้สมาธิ
ผู้ขวนขวายเกี่ยวข้องกับตระกูลนั้น
ย่อมติดในรส ละทิ้งประโยชน์อันจะนำความสุขมาให้
[๑๐๕๖] ด้วยว่านักปราชญ์มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น
กล่าวการไหว้และการบูชาในตระกูลทั้งหลายว่า เป็นเปือกตม
เป็นลูกศรอันละเอียดซึ่งถอนขึ้นได้ยาก
เป็นสักการะที่คนชั่วละได้ยาก
[๑๐๕๗] เราลงจากเสนาสนะแล้วได้เข้าไปบิณฑบาตยังนคร
ได้เข้าไปยืนอยู่ใกล้ ๆ บุรุษโรคเรื้อนซึ่งกำลังบริโภคอาหารนั้นด้วย
ความเอื้อเฟื้อ
[๑๐๕๘] บุรุษโรคเรื้อนนั้นใช้มือข้างที่หงิกงอ
น้อมคำข้าวเข้ามาถวายเรา
และเมื่อเขาใส่คำข้าวลง
นิ้วมือของเขาเน่าเฟะก็ขาดตกลงในบาตรของเรา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๑๒ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๘. จัตตาฬีสนิบาต] ๑. มหากัสสปเถรคาถา
[๑๐๕๙] เราได้อาศัยฝาเรือนฉันคำข้าวนั้นอยู่
ขณะฉัน หรือฉันเสร็จแล้ว เราไม่มีความรังเกียจเลย
[๑๐๖๐] ภิกษุใดไม่ดูหมิ่นบริโภคปัจจัย ๔ นี้ คือ
(๑) อาหารบิณฑบาตที่จะต้องลุกขึ้นยืนรับ (๒) บังสุกุลจีวร
(๓) เสนาสนะคือโคนไม้ (๔) ยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า
ภิกษุนั้นแหละควรอยู่ในทิศทั้ง ๔ ได้
[๑๐๖๑] ในปัจฉิมวัย ภิกษุบางพวกเมื่อขึ้นภูเขาย่อมลำบาก
แต่กัสสปะซึ่งเป็นทายาทของพระพุทธเจ้า
มีสติสัมปชัญญะตั้งมั่น แข็งแรงด้วยกำลังฤทธิ์ ย่อมขึ้นได้สบาย
[๑๐๖๒] กัสสปะซึ่งหมดอุปาทาน ละความหวาดกลัวภัยได้แล้ว
กลับจากบิณฑบาตแล้ว ได้ขึ้นภูเขา เข้าฌานอยู่
[๑๐๖๓] กัสสปะซึ่งหมดอุปาทาน เมื่อสัตว์ทั้งหลายถูกไฟไหม้อยู่
ก็ดับไฟเสียได้ กลับจากบิณฑบาตแล้ว ได้ขึ้นภูเขา เข้าฌานอยู่
[๑๐๖๔] กัสสปะซึ่งหมดอุปาทาน ทำกิจเสร็จแล้ว ไม่มีอาสวะ
กลับจากบิณฑบาตแล้ว ได้ขึ้นภูเขา เข้าฌานอยู่
[๑๐๖๕] ภูมิภาคเรียงรายไปด้วยแนวต้นกุ่ม
น่ารื่นรมย์ใจ กึกก้อง ด้วยเสียงช้างร้อง น่ารื่นรมย์
ล้วนแล้วด้วยภูเขา ย่อมทำเราให้ยินดี
[๑๐๖๖] ภูเขาเหล่านั้นมีสีเขียวดุจเมฆ งดงาม
มีน้ำเย็น ทรงความสะอาดไว้
ดารดาษด้วยแมลงค่อมทอง ย่อมทำเราให้รื่นรมย์ใจ
[๑๐๖๗] ภูเขาเหล่านั้นเปรียบดังปราสาท
เขียวชะอุ่มสูงตระหง่านเทียมเมฆ
กึกด้วยเสียงช้างร้อง น่ารื่นรมย์
ย่อมทำเราให้ยินดี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๑๓ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๘. จัตตาฬีสนิบาต] ๑. มหากัสสปเถรคาถา
[๑๐๖๘] ภูเขาเหล่านั้นที่ฝนตกรดใหม่ ๆ มีพื้นน่ารื่นรมย์
ทั้งเหล่าฤๅษีก็อาศัยอยู่ เซ็งแซ่ด้วยเสียงนกยูงร้อง
ย่อมทำเราให้รื่นรมย์ใจ
[๑๐๖๙] สถานที่เช่นนั้นเหมาะแก่เราผู้มีใจเด็ดเดี่ยวมุ่งเข้าฌาน
เหมาะแก่เราผู้เป็นภิกษุมีใจเด็ดเดี่ยว มุ่งประโยชน์
[๑๐๗๐] เหมาะแก่เราผู้เป็นภิกษุ มีใจเด็ดเดี่ยว มุ่งความผาสุก
เหมาะแก่เรา ผู้คงที่ มีใจเด็ดเดี่ยว มั่นคง
[๑๐๗๑] ภูเขาเหล่านั้นมีสีเสมอด้วยดอกผักตบ
คล้ายกับว่าหมู่เมฆบนท้องฟ้าปกคลุม
คลาคล่ำไปด้วยฝูงนกนานาชนิด ย่อมทำเราให้รื่นรมย์ใจ
[๑๐๗๒] ภูเขาเหล่านั้นไม่มีหมู่คนพลุกพล่าน
มีแต่หมู่เนื้ออาศัยอยู่
คลาคล่ำไปด้วยฝูงนกนานาชนิด
ย่อมทำเราให้รื่นรมย์ใจ
[๑๐๗๓] ภูเขาหินอันกว้างใหญ่ไพศาลมีน้ำไหลใสสะอาด
มีฝูงค่างและฝูงเนื้อฟานคลาคล่ำ
ดารดาษไปด้วยน้ำและสาหร่าย ย่อมทำเราให้รื่นรมย์ใจยิ่งนัก
[๑๐๗๔] ความยินดีด้วยดนตรีมีเครื่อง ๕ เช่นนั้น
ย่อมไม่มีแก่เราผู้มีจิตตั้งมั่น
พิจารณาเห็นธรรมโดยชอบ
[๑๐๗๕] ภิกษุไม่ควรทำงานก่อสร้างให้มาก
พึงเว้นห่างหมู่ชน ไม่พึงขวนขวายเพื่อลาภผล
ภิกษุผู้ปฏิบัติเช่นนั้นเป็นผู้ขวนขวาย
ในลาภผลและติดในรสอาหาร
ย่อมละทิ้งประโยชน์ที่จะนำความสุขมาให้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๑๔ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๘. จัตตาฬีสนิบาต] ๑. มหากัสสปเถรคาถา
[๑๐๗๖] ภิกษุไม่พึงทำงานก่อสร้างให้มาก
พึงเว้นห่างงานก่อสร้างนั้น
ซึ่งไม่นำประโยชน์มาให้ตน
เพราะกายจะเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า
เธอซึ่งประสบความลำบาก
ย่อมไม่ประสบความสงบใจ
[๑๐๗๗] ภิกษุไม่พิจารณาเห็นแม้ประโยชน์ตน
ด้วยเพียงท่องบ่นพระพุทธวจนะ
ย่อมเที่ยวชูคอ สำคัญตัวว่าประเสริฐกว่าเขา
[๑๐๗๘] นรชนใดไม่ประเสริฐเป็นพาล
สำคัญตนว่าประเสริฐกว่าเขา เสมอเขา
ท่านผู้รู้ทั้งหลาย ย่อมไม่สรรเสริญนรชนนั้น ผู้มีใจกระด้าง
[๑๐๗๙] ส่วนผู้ใดเป็นคนประเสริฐกว่าเขาแต่ไม่ถือตัวว่า
ประเสริฐกว่าเขา เสมอเขา หรือว่าเลวกว่าเขา
หวั่นไหวด้วยมานะสักอย่างหนึ่งใน ๙ อย่าง
[๑๐๘๐] ท่านผู้รู้ทั้งหลายย่อมสรรเสริญผู้นั้นนั่นแหละว่า
มีปัญญา คงที่เช่นนั้น ตั้งมั่นดีในศีลทั้งหลาย
บำเพ็ญความสงบใจอยู่เนือง ๆ
[๑๐๘๑] ผู้ใดไม่มีความเคารพในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ผู้นั้นย่อมห่างไกลจากพระสัทธรรม เหมือนฟ้ากับดิน
[๑๐๘๒] ก็เหล่าภิกษุมีหิริและโอตตัปปะตั้งมั่นโดยชอบทุกเมื่อ
มีพรหมจรรย์งอกงาม ย่อมเป็นผู้มีภพใหม่สิ้นแล้ว
[๑๐๘๓] ภิกษุที่ยังมีจิตฟุ้งซ่าน กลับกลอก
ถึงจะห่มผ้าบังสุกุล ก็ย่อมไม่งดงามด้วยผ้าบังสุกุลนั้น
เหมือนวานรที่คลุมด้วยหนังราชสีห์ ไม่งดงาม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๑๕ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๘. จัตตาฬีสนิบาต] ๑.มหากัสสปเถรคาถา
[๑๐๘๔] ส่วนภิกษุผู้มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน ไม่กลับกลอก
มีปัญญารักษาตนรอด สำรวมอินทรีย์
ย่อมงดงามด้วยผ้าบังสุกุล เหมือนราชสีห์ที่ซอกภูเขาฉะนั้น
[๑๐๘๕] อุบัติเทพมีฤทธิ์ มีเกียรติยศ
มีจำนวนมากถึง ๑๐,๐๐๐ เหล่านี้
และหมู่พรหมทั้งหมดนั้น
[๑๐๘๖] พากันมายืนประนมมือ
นอบน้อมท่านพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรผู้เป็นปราชญ์
เข้าฌานสมาบัติได้อย่างอุกฤษฏ์
มีจิตตั้งมั่น พร้อมกับเปล่งวาจาว่า
[๑๐๘๗] ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุรุษอาชาไนย ขอความนอบน้อมจงมีแด่ท่าน
ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุรุษสูงสุด ขอความนอบน้อมจงมีแด่ท่าน
ที่พวกเราไม่รู้ว่า ท่านอาศัยอารมณ์ไรเล่า ถึงเข้าฌานอยู่
[๑๐๘๘] น่าอัศจรรย์จริงหนอ
วิสัยเฉพาะตัวของท่านผู้รู้ทั้งหลายลึกซึ้งยิ่งนัก
พวกเราผู้สามารถที่จะรู้วิสัยแม้ที่ละเอียด
ดุจนายขมังธนูผู้ยิงขนทรายได้มาประชุมกันแล้ว ก็ยังรู้ไม่ได้
[๑๐๘๙] เพราะได้เห็นท่านพระสารีบุตรผู้ควรแก่การบูชา
ซึ่งหมู่ทวยเทพบูชาแล้วอย่างนั้นในครั้งนั้น
ท่านพระกัปปินะจึงได้มีความยิ้มแย้ม
[๑๐๙๐] ทั่วพุทธอาณาเขต ยกเว้นพระมหามุนีเสีย
เราได้เป็นผู้ประเสริฐในธุดงคคุณ ไม่มีใครเทียบเท่าเรา
[๑๐๙๑] เราปรนนิบัติพระศาสดา
ได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว
ปลงภาระที่หนักเสียได้แล้ว ถอนตัณหาที่นำไปสู่ภพได้ขาดแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๑๖ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๘. จัตตาฬีสนิบาต] รวมเรื่องพระเถระที่มีในนิบาต
[๑๐๙๒] พระโคดมผู้ทรงพระคุณหาประมาณมิได้
มีพระทัยน้อมไปในเนกขัมมะ
สลัดออกจากภพ ๓
ไม่ทรงติดจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
เหมือนดอกบัวไร้มลทินไม่ติดน้ำฉะนั้น
[๑๐๙๓] พระองค์เป็นจอมปราชญ์
มีสติปัฏฐานเป็นพระศอ
มีศรัทธาเป็นพระหัตถ์
มีปัญญาเป็นพระเศียร
ทรงมีพระปรีชามาก
ทรงปฏิบัติดับกิเลสและกองทุกข์ได้ตลอดไป
จัตตาฬีสนิบาต จบบริบูรณ์

รวมเรื่องพระเถระที่มีในนิบาตนี้ คือ
๑. พระมหากัสสปเถระรูปเดียวเท่านั้น
และในจัตตาฬีสนิบาตมี ๔๐ คาถา ฉะนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๑๗ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๙. ปัญญาสนิบาต] ๑. ตาลปุฏเถรคาถา
๑๙. ปัญญาสนิบาต
๑. ตาลปุฏเถรคาถา
ภาษิตของพระตาลปุฏเถระ
(พระตาลปุฏเถระหวังจะจำแนกแสดงโยนิโสมนสิการโดยประการต่าง ๆ จึงได้
กล่าวสอนภิกษุทั้งหลายด้วยภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๑๐๙๔] เมื่อไรหนอเราจะอยู่ผู้เดียวไม่มีตัณหาเป็นเพื่อนที่ซอกเขา
เมื่อไรหนอเราจะพิจารณาเห็นแจ้งภพทั้งปวงโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยงอยู่
เมื่อไรหนอความดำริเช่นนี้นั้นของเราจะสำเร็จได้
[๑๐๙๕] เมื่อไรหนอเราจะได้เป็นมุนีนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ที่ตัดด้วยศัสตรา
ไม่ยึดมั่น ไม่มีความหวัง ละราคะ โทสะ และโมหะได้แล้ว เที่ยว
ไปในป่าใหญ่อยู่ได้อย่างสบาย
[๑๐๙๖] เมื่อไรหนอเราจึงจะเห็นแจ้งร่างกายนี้ซึ่งไม่เที่ยง เป็นรังแห่ง
ความตายและเป็นรังแห่งโรค ถูกมรณะและชราคอยรบกวน
ปราศจากความกลัว อาศัยอยู่ในป่าแต่ผู้เดียว
ตรึกเช่นนี้นั้นของเราจะสำเร็จเมื่อไรหนอ
[๑๐๙๗] เมื่อไรหนอเราพึงจับดาบคมกริบคืออริยมรรคที่สำเร็จด้วยปัญญา
ตัดเถาวัลย์คือตัณหาที่ก่อให้เกิดภัย นำทุกข์มาให้
เป็นเหตุให้หมุนวนเวียนไปตามอารมณ์มากอย่าง
ความตรึกเช่นนี้นั้นของเราจะสำเร็จเมื่อไรหนอ
[๑๐๙๘] เมื่อไรหนอเราจะได้ฉวยศัสตราที่สำเร็จด้วยปัญญาอันมีเดชานุภาพ
มากของท่านผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ทั้งหลาย หักรานกิเลสมาร
พร้อมทั้งเสนามารโดยฉับพลัน เหนือบัลลังก์สีหอาสน์๑
ความตรึกเช่นนี้นั้นของเราจะสำเร็จเมื่อไรหนอ

เชิงอรรถ :
๑ บัลลังก์ที่นั่งอย่างมั่นคง, บัลลังก์ที่นั่งแล้วชนะมารและเสนามารได้ (ขุ.เถร.อ. ๒/๑๐๙๘/๕๑๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๑๘ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๙. ปัญญาสนิบาต] ๑. ตาลปุฏเถรคาถา
[๑๐๙๙] เมื่อไรหนอสัตบุรุษผู้มีความหนักแน่นในธรรม
คงที่ มีปกติเห็นตามความเป็นจริง ชนะอินทรีย์แล้ว
จะพึงเห็นเราว่า บำเพ็ญเพียรในสมาคม
ความตรึกเช่นนี้นั้นของเราจะสำเร็จเมื่อไรหนอ
[๑๑๐๐] เมื่อไรหนอความเกียจคร้าน ความหิวกระหาย
ลม แดด หรือเหลือบ ยุง สัตว์เลื้อยคลาน
จะไม่เบียดเบียนเราที่ซอกภูเขา นี้เป็นความประสงค์ส่วนตัวเรา
ความตรึกเช่นนี้นั้นของเราจะสำเร็จเมื่อไรหนอ
[๑๑๐๑] เมื่อไรหนอเราจึงจะได้เป็นผู้มีจิตตั้งมั่น มีสติ
บรรลุอริยสัจ ๔ ที่เห็นได้แสนยาก ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้
แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ทรงทราบแล้วด้วยพระปัญญา
ความตรึกเช่นนี้นั้นของเราจะสำเร็จเมื่อไรหนอ
[๑๑๐๒] เมื่อไรหนอ เราจะมีความสงบระงับจากเครื่องเร่าร้อน
ในเพราะรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์
ที่เรายังไม่รู้เท่าทัน พิจารณาเห็นได้ด้วยปัญญา
ความตรึกเช่นนี้นั้นของเราจะสำเร็จเมื่อไรหนอ
[๑๑๐๓] เมื่อไรหนอเราถูกว่ากล่าวติเตียนด้วยคำหยาบ
จะไม่เดือดร้อนใจ เพราะคำหยาบนั้นเป็นเหตุ
ถึงได้รับการสรรเสริญ ก็จะไม่ยินดี เพราะการสรรเสริญนั้นเป็นเหตุ
ความตรึกเช่นนี้นั้นของเราจะสำเร็จเมื่อไรหนอ
[๑๑๐๔] เมื่อไรหนอเราพึงเห็นสภาพภายใน
คือ เบญจขันธ์ของเราเหล่านี้ รูปธรรมที่ยังไม่รู้
และสภาพภายนอก คือ ท่อนไม้ กอหญ้า
และลดาวัลย์ ว่าเป็นสภาพเสมอกัน
ความตรึกเช่นนี้นั้นของเราจะสำเร็จเมื่อไรหนอ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๑๙ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๙. ปัญญาสนิบาต] ๑. ตาลปุฏเถรคาถา
[๑๑๐๕] เมื่อไรหนอน้ำฝนใหม่ตามฤดูกาลในเวลาใกล้รุ่ง
จะตกรดเราผู้ครองผ้าจีวรดำเนินไปในมรรคา๑
ที่ท่านผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ดำเนินไปอยู่ในป่า
ความตรึกเช่นนี้นั้นของเราจะสำเร็จเมื่อไรหนอ
[๑๑๐๖] เมื่อไรหนอเราพึงได้ยินเสียงร้องของนกยูงที่ซอกเขาในป่า
แล้วลุกขึ้นพิจารณาเพื่อบรรลุอมตธรรม
ความตรึกเช่นนี้นั้นของเราจะสำเร็จเมื่อไรหนอ
[๑๑๐๗] เมื่อไรหนอเราจะพึงข้ามพ้นแม่น้ำคงคา ยมุนา สุรัสวดี ที่ไหล
ไปถึงบาดาล มีปากอ่าวใหญ่ทั้งน่ากลัว ไปได้ด้วยฤทธิ์ ไม่ติดขัด
ความตรึกเช่นนี้นั้นของเราจะสำเร็จเมื่อไรหนอ
[๑๑๐๘] เมื่อไรหนอเราจะพึงงดเว้นนิมิตว่างามทั้งปวงเสียได้
ขวนขวายในฌานแล้ว ทำลายความพอใจในกามคุณทั้งหลาย
เหมือนช้างทำลายเสาตะลุง และโซ่เหล็กได้แล้วเที่ยวไปในสงคราม
ความตรึกเช่นนี้นั้นของเราจะสำเร็จเมื่อไรหนอ
[๑๑๐๙] เมื่อไรหนอเราจึงจะได้บรรลุคำสอนของพระพุทธเจ้าผู้แสวงหา
คุณอันยิ่งใหญ่ได้แล้ว พอใจเหมือนลูกหนี้ผู้ขัดสนถูกเจ้าหนี้บีบ
บังคับ แสวงหาทรัพย์มาได้ก็พึงพอใจ
ความตรึกเช่นนี้นั้นของเราจะสำเร็จเมื่อไรหนอ
[๑๑๑๐] (จิตผู้เจริญ) ท่านอ้อนวอนเรามาเป็นเวลาหลายปีว่า
ท่านไม่สมควรอยู่ครองเรือนเลย บัดนี้เรานั้นก็ได้บวชสมประสงค์
แล้ว เหตุไฉน ท่านจึงไม่ชักนำเสียเล่า
[๑๑๑๑] จิตผู้เจริญ ท่านอ้อนวอนเรามาแล้วมิใช่หรือว่า
ฝูงนกยูงมีขนปีกแพรวพราว และเสียงกึกก้องแห่งธารน้ำตกตาม
ซอกเขา จะทำท่านผู้เข้าฌานอยู่ในป่าให้เพลิดเพลิน

เชิงอรรถ :
๑ สมถะและวิปัสสนา (ขุ.เถร.อ. ๒/๑๑๐๕/๕๑๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๒๐ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๙. ปัญญาสนิบาต] ๑. ตาลปุฏเถรคาถา
[๑๑๑๒] เรายอมสละญาติมิตรอันเป็นที่รักในสกุล
ความยินดีในการเล่น และกามคุณในโลกได้หมดแล้ว เข้ามาถึงป่านี้
ท่านช่างไม่ยินดีกับเราเสียเลยนะจิต
[๑๑๑๓] เราเมื่อพิจารณาเห็นว่า เพราะจิตนี้เป็นของเราเท่านั้น
ฉะนั้น ท่านจึงไม่ใช่ของผู้อื่น การร้องไห้รำพันจะมีประโยชน์อะไร
ในเวลาทำสงครามกับกิเลสมาร จิตทั้งหมดนี้มีแต่หวั่นไหวดังนี้
จึงได้ออกบวชแสวงหาอมตบท
[๑๑๑๔] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ประเสริฐเหนือเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นจอมท้าวสักกเทวราช เป็นจอมสารถีฝึกนระได้
ตรัสสุภาษิตไว้ว่า จิตนี้กวัดแกว่งเหมือนลิง
ทั้งห้ามได้แสนยาก เพราะไม่ปราศจากความกำหนัด
[๑๑๑๕] เพราะเหล่าปุถุชนที่ยังไม่รู้เท่าทัน
พัวพันอยู่ในกามทั้งหลายที่งดงาม มีรสหวาน ชวนให้รื่นรมย์ใจ
พวกเขาแสวงหาภพใหม่ ก่อแต่สิ่งที่ไร้ประโยชน์
ถูกจิตทำให้เหินห่างจากสุข นำไปไว้ในนรก ย่อมประสบทุกข์
[๑๑๑๖] จิต เมื่อก่อน ท่านแนะนำเราว่า
ท่านมีเสือเหลืองและเสือโคร่งห้อมล้อมอยู่ในป่า
ที่มีเสียงนกยูงและนกกระไนร่ำร้อง
จงละความห่วงใยในร่างกาย อย่าได้พลาดหวังเสียเลย
[๑๑๑๗] จิต เมื่อก่อน ท่านแนะนำเราว่า
ท่านจงเจริญฌาน อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ และสมาธิภาวนา
ทั้งบรรลุวิชชา ๓ ในพระพุทธศาสนาให้ได้
[๑๑๑๘] จิต เมื่อก่อน ท่านแนะนำเราว่า
ท่านจงเจริญมรรคมีองค์ ๘ ที่นำสัตว์ออกจากวัฏฏทุกข์
หยั่งถึงความสิ้นทุกข์ทั้งมวล ชำระล้างกิเลสได้หมดสิ้น
เพื่อบรรลุนิพพานให้ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๒๑ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๙. ปัญญาสนิบาต] ๑. ตาลปุฏเถรคาถา
[๑๑๑๙] จิต เมื่อก่อน ท่านแนะนำเราว่า
ท่านจงพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยอุบายที่แยบคายว่า เป็นทุกข์
จงละเหตุให้เกิดทุกข์ และจงทำความสิ้นทุกข์ในอัตภาพนี้แหละ
ให้ได้
[๑๑๒๐] จิต เมื่อก่อน ท่านแนะนำเราว่า
ท่านจงพิจารณาเบญจขันธ์โดยอุบายที่แยบคายว่า
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์
ว่า ว่างเปล่า ไม่มีตัวตน
และว่า ต้องวิบัติไป เป็นผู้ฆ่า
จงดับมโนวิจารทางใจเสียให้ได้
[๑๑๒๑] จิต เมื่อก่อน ท่านแนะนำเราว่า
ท่านจงปลงผมและโกนหนวดแล้ว ถือเพศสมณะ
มีรูปร่างแปลก ถูกเขาสาปแช่ง
ถือบาตรเที่ยวภิกษาไปตามตระกูลทั้งหลาย
จงพากเพียรในคำสอนของพระศาสดา
ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ให้ได้
[๑๑๒๒] จิต เมื่อก่อน ท่านแนะนำเราว่า
ท่านจงสำรวมระวังให้ดี เมื่อเที่ยวไปในระหว่างตรอก
อย่ามีใจเกี่ยวข้องในตระกูล
และกามารมณ์ทั้งหลายเที่ยวไป
เหมือนดวงจันทร์วันเพ็ญที่ปราศจากเมฆฉะนั้น
[๑๑๒๓] จิต เมื่อก่อน ท่านแนะนำเราว่า
ท่านจงยินดีในธุดงคคุณทั้ง ๕ คือ
(๑) ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร
(๒) ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร
(๓) ถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร
(๔) ถือการนุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร
(๕) ถือการไม่นอนเป็นวัตรทุกเมื่อให้ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๒๒ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๙. ปัญญาสนิบาต] ๑. ตาลปุฏเถรคาถา
[๑๑๒๔] บุคคลบางคนต้องการผลไม้ ปลูกไม้ผลไว้แล้ว
ไม่ได้รับผล ประสงค์จะโค่นต้นไม้นั้นเสีย ฉันใด
จิต ท่านทำเรา ที่ท่านชักนำให้หวั่นไหวในความไม่เที่ยง
ให้เป็นเหมือนบุคคลผู้ปลูกต้นไม้ฉันนั้น
[๑๑๒๕] จิต ที่ไม่มีรูปร่าง ไปได้ไกล ทั้งเที่ยวไปแต่ผู้เดียว
บัดนี้ เราจะไม่ทำตามคำของท่าน
เพราะกามทั้งหลาย ล้วนแต่ก่อให้เกิดทุกข์ ให้ผลเผ็ดร้อน
มีภัยอย่างใหญ่หลวง
เราจะประพฤติมุ่งมั่นอยู่เฉพาะนิพพาน
[๑๑๒๖] เราไม่ได้ออกบวชเพราะไม่มีบุญ เพราะหมดความกระดากอาย
เพราะตกอยู่ภายใต้อำนาจจิต เพราะทำผิดต่อชาติบ้านเมือง
ก็หรือเพราะเหตุแห่งอาชีพ
จิต ก็ท่านได้รับรองกับเราไว้ว่า จะอยู่ในอำนาจเรามิใช่หรือ
[๑๑๒๗] จิต ท่านแนะนำเราไว้คราวนั้นแหละว่า
ความเป็นผู้มักน้อย การละความลบหลู่คุณท่าน
และความสงบทุกข์ สัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญ
มาบัดนี้ ท่านกลับประพฤติเช่นเดิม
[๑๑๒๘] เราไม่อาจกลับไปหาตัณหา อวิชชา
ความรัก ความชัง รูปอันสวยงาม สุขเวทนา
และกามคุณที่น่าชอบใจ ซึ่งคายได้แล้ว
[๑๑๒๙] จิต เราได้ทำตามคำของท่านมาทุกภพ ทุกชาติ
ทุกคติ และทุกวิญญาณฐิติ
เราไม่ได้ขุ่นเคืองท่านในหลายชาติ
เพราะความที่ท่านเป็นคนกตัญญู จึงเกิดมีอัตภาพนี้ขึ้น
ทั้งเราก็ได้เร่ร่อนไปในทุกข์ ที่ท่านทำให้มาช้านาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๒๓ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๙. ปัญญาสนิบาต] ๑. ตาลปุฏเถรคาถา
[๑๑๓๐] จิต ท่านนั่นแหละทำเราให้เป็นพราหมณ์บ้าง
ให้เป็นกษัตริย์บ้าง เป็นพระราชาบ้าง
เพราะอำนาจแห่งท่านนั่นแหละ
บางคราวเราเป็นแพศย์บ้าง
เป็นศูทรบ้าง เป็นเทพบ้าง
[๑๑๓๑] เพราะเหตุแห่งท่าน เพราะอำนาจแห่งท่าน
มีท่านเป็นมูลเหตุ บางคราวเราเป็นอสูรบ้าง
เป็นสัตว์นรกบ้าง เป็นสัตว์ดิรัจฉานบ้าง เป็นเปรตบ้าง
[๑๑๓๒] ท่านประทุษร้ายเรามาแล้วบ่อยครั้งมิใช่หรือ
ท่านแสดงน้ำใจเหมือนจะห้ามเรา
ครู่เดียวท่านก็ล่อลวงเหมือนกับคนบ้า
จิต เราได้ผิดอะไรต่อท่านไว้บ้าง
[๑๑๓๓] แต่ก่อนจิตนี้ได้ท่องเที่ยวไปตามอารมณ์ต่าง ๆ
ตามความปรารถนา ตามความต้องการ ตามความสบาย
วันนี้ เราจะข่มจิตนั้นโดยอุบายอันแยบคาย
เหมือนควาญช้างปราปพยศช้างตกมัน
[๑๑๓๔] พระศาสดาของเราทรงหยั่งรู้โลกนี้
โดยความเป็นสภาวะไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่มีแก่นสาร
จิต เชิญท่านพาเราบ่ายหน้าไปในศาสนาของพระชินเจ้า
ช่วยเราให้ข้ามโอฆะใหญ่ที่ข้ามได้แสนยาก
[๑๑๓๕] จิต เรือนคืออัตภาพนี้ไม่เป็นของท่านเหมือนเมื่อก่อน
เราไม่พึงกลับไปอยู่ในอำนาจท่าน
จะบวชในศาสนาของพระผู้มีพระภาคผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
ธรรมดาสมณะทั้งหลายไม่ประสบความเสียหายเหมือนเรา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๒๔ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๙. ปัญญาสนิบาต] ๑. ตาลปุฏเถรคาถา
[๑๑๓๖] ภูเขา มหาสมุทร แม่น้ำคงคาเป็นต้น
แผ่นดิน ทิศใหญ่ทั้ง ๔ ทิศน้อยทั้ง ๔
ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง และภพทั้ง ๓
ล้วนเป็นสภาพไม่เที่ยง มีแต่ถูกเบียดเบียนอยู่เสมอ
จิต ท่านไปที่ไหนเล่าจึงจะยินดีความสุข
[๑๑๓๗] จิต เรามั่นคงแล้ว ท่านจะทำอะไรได้
เราไม่ยอมตกอยู่ภายใต้อำนาจท่าน
คนไม่พึงแตะต้องถุงหนัง มีปากสองข้าง
น่าตินัก ร่างกายที่เต็มไปด้วยของไม่สะอาดต่าง ๆ
หลั่งของไม่สะอาดออกจากปากแผลทั้ง ๙
[๑๑๓๘] ท่านเข้าไปสู่เรือนคือถ้ำที่เงื้อมเขาและยอดเขา
ที่สวยงามตามธรรมชาติ ซึ่งฝูงหมูป่าและฝูงกวางอาศัยอยู่
และป่าที่ฝนตกรดใหม่ ๆ นั้น จะยินดีภาวนา ณ ที่นั้น
[๑๑๓๙] ฝูงนกยูงมีขนคอเขียวสวยงาม มีหงอนงาม
มีปีกงาม ทั้งปกคลุมด้วยขนปีกสวยงาม
ส่งสำเนียงเสียงร้องก้องกังวานไพเราะจับใจนั้น
จะช่วยท่านผู้บำเพ็ญฌานอยู่ในป่าให้รื่นรมย์ได้
[๑๑๔๐] เมื่อฝนตก หญ้างอกยาวประมาณ ๔ นิ้ว
เมื่อป่าไม้ผลิดอกออกช่อ งามคล้ายก้อนเมฆ
เราเป็นเหมือนต้นไม้จะนอนบนยอดหญ้าในระหว่างภูเขา
เครื่องลาดหญ้านั้นอ่อนนุ่มจะเป็นเหมือนที่นอนสำลีสำหรับเรา
[๑๑๔๑] เราจะทำท่านไว้ในอำนาจให้ได้เหมือนคนผู้เป็นใหญ่
จะพอใจด้วยปัจจัยตามที่ได้ จะทำท่านไว้ในอำนาจให้ได้
เหมือนคนไม่เกียจคร้าน เหมือนกระสอบใส่แมวที่มัดไว้ดีแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๒๕ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๙. ปัญญาสนิบาต] ๑. ตาลปุฏเถรคาถา
[๑๑๔๒] เราจะทำท่านไว้ในอำนาจให้ได้เหมือนคนผู้เป็นใหญ่
จะพอใจด้วยปัจจัยตามที่ได้
จะใช้ความพยายามนำท่านมาไว้ในอำนาจให้ได้
เหมือนนายควาญช้างผู้ชาญฉลาด
ใช้ขอสับช้างตกมันให้อยู่ในอำนาจตน
[๑๑๔๓] เราพร้อมกับท่านผู้ฝึกฝนดีแล้ว มั่นคง
สามารถดำเนินไปถึงทางที่ปลอดโปร่ง
ซึ่งท่านผู้ตามรักษาจิตทั้งหลายได้ดำเนินไปแล้วทุกสมัย
เหมือนนายสารถีผู้ฝึกม้าสามารถดำเนินไปถึงภูมิภาค
ที่ปลอดภัยได้ด้วยม้าอาชาไนยที่มีใจซื่อตรง
[๑๑๔๔] เราจะผูกท่านไว้ที่อารมณ์กรรมฐานด้วยกำลังภาวนา
เหมือนนายควาญช้างใช้เชือกที่เหนียวผูกช้างไว้ที่เสาตะลุง
จิตที่เราคุ้มครองดี อบรมดีแล้วด้วยสติ
จะเป็นจิตอันตัณหาในภพทั้งปวงอาศัยไม่ได้
[๑๑๔๕] ท่านตัดเหตุเกิดคืออายตนะที่แล่นไปผิดทางด้วยปัญญา
ข่มมันเสียด้วยความเพียร
ให้ตั้งมั่นอยู่ในทางถูก
เห็นแจ้งทั้งความเกิดและความดับ
แล้วจะเป็นทายาทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีวาทะเป็นเลิศ
[๑๑๔๖] จิต ท่านชักนำเราให้เป็นไปตามอำนาจของความเข้าใจผิด ๔ อย่าง
เหมือนคนจูงเด็กชาวบ้านวิ่งวนไปฉะนั้น
ท่านน่าจะคบหาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้เพียบพร้อมด้วยพระมหากรุณาธิคุณ
ผู้ตัดเครื่องผูกคือสังโยชน์เสียได้
เป็นพระมหามุนี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๒๖ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๙. ปัญญาสนิบาต] รวมเรื่องพระเถระที่มีในนิบาต
[๑๑๔๗] มฤคชาติเข้าไปยังภูเขาอันน่ารื่นรมย์
ประกอบด้วยน้ำและดอกไม้
เที่ยวไปในป่าอันงดงามอย่างเสรี
จิต ท่านก็จะรื่นรมย์ในภูเขาที่ไม่เกลื่อนกล่นด้วยผู้คนตามลำพังใจ
เมื่อท่านไม่ยินดีอยู่ที่ภูเขานั้น
ท่านก็จะต้องเสื่อมโดยไม่ต้องสงสัย
[๑๑๔๘] จิตชายและหญิงเหล่าใดประพฤติตามความพอใจ
ตามอำนาจของท่าน จะเสวยความสุข
ชายหญิงเหล่านั้นโง่เขลา ประพฤติไปตามอำนาจมาร
เพลิดเพลินในภพน้อยภพใหญ่
เป็นสาวกของท่าน
ปัญญาสนิบาต จบบริบูรณ์

รวมเรื่องพระเถระที่มีในนิบาตนี้ คือ
พระตาลปุฏเถระผู้บริสุทธิ์รูปเดียว
และในปัญญาสนิบาตนี้ มี ๕๕ ภาษิต ฉะนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๒๗ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๒๐. สัฏฐินิบาต] ๑. มหาโมคคัลลานเถรคาถา
๒๐. สัฏฐินิบาต
๑. มหาโมคคัลลานเถรคาถา
ภาษิตของพระมหาโมคคัลลานเถระ
(พระมหาโมคคัลลานเถระได้กล่าวสอนภิกษุทั้งหลายด้วยภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๑๑๔๙] เราทั้งหลายถือการอยู่ป่าเป็นวัตร
ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร
พอใจอาหารในบาตรที่ได้มาด้วยการเที่ยวแสวงหา
เป็นผู้มีจิตมั่นคงด้วยดีภายใน
จึงทำลายเสนามัจจุราชได้
[๑๑๕๐] เราทั้งหลายถือการอยู่ป่าเป็นวัตร
ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร
พอใจอาหารในบาตรที่ได้มาด้วยการเที่ยวแสวงหา
จะกำจัดเสนามัจจุราชได้
เหมือนช้างทำลายเรือนไม้อ้อ
[๑๑๕๑] เราทั้งหลายถือการอยู่โคนไม้เป็นวัตร
มีความเพียรต่อเนื่อง
พอใจในอาหารที่อยู่ในบาตรด้วยการเที่ยวแสวงหาได้มา
เป็นผู้มีจิตตั้งมั่นด้วยดีภายใน
พึงทำลายเสนามัจจุราชได้
[๑๑๕๒] เราทั้งหลายถือการอยู่โคนต้นไม้เป็นวัตร
มีความเพียรต่อเนื่อง
พอใจในอาหารที่อยู่ในบาตรด้วยการเที่ยวแสวงหาได้มา
จะกำจัดเสนามัจจุราชได้
เหมือนช้างทำลายเรือนไม้อ้อ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๒๘ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๒๐. สัฏฐินิบาต] ๑. มหาโมคคัลลานเถรคาถา
(พระเถระหวังจะสอนหญิงแพศยา จึงได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๑๑๕๓] น่าติ กระท่อมคือเรือนร่างสำเร็จด้วยโครงกระดูก
ฉาบทาด้วยเนื้อ รึงรัดไปด้วยเส้นเอ็น
เต็มไปด้วยของไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็น
เธอยังมัวยึดถือเรือนร่างที่สัตว์อื่นหมายปองว่าเป็นของเรา
[๑๑๕๔] ในร่างกายซึ่งเหมือนถุงเต็มด้วยคูถ
มีหนังหุ้มห่อไว้ของเธอผู้เปรียบเหมือนนางปีศาจ
มีฝีที่อก มีช่อง ๙ ช่อง หลั่งของไม่สะอาดออกอยู่เป็นนิตย์
[๑๑๕๕] เรือนร่างของเธอที่เนื่องมาแต่การปฏิบัติโดยชอบ
มีช่อง ๙ ช่อง ส่งกลิ่นเหม็น
ท่านผู้เห็นภัยในสังสารวัฏย่อมเว้นเสียห่างไกล
เหมือนคนรักความสะอาดเห็นคูถแล้วก็หลีกเสียห่างไกล
[๑๑๕๖] หากชนพึงรู้ถึงเรือนร่างของเธอเหมือนที่ฉันรู้
ก็จะพึงเว้นเสียห่างไกล เหมือนคนรักความสะอาด
เห็นหลุมคูถในฤดูฝนก็หลีกเสียห่างไกล
(หญิงแพศยาเกิดความสลดใจ จึงได้กล่าวตอบท่านด้วยภาษิตนี้ว่า)
[๑๑๕๗] ข้าแต่ท่านสมณะผู้มีความเพียรมาก
เรื่องนี้เป็นจริงอย่างที่ท่านพูด
แต่ผู้คนบางพวกยังจมอยู่ในร่างกายนี้
เหมือนโคแก่จมอยู่ในปลัก
(พระเถระกล่าวตอบหญิงแพศยาด้วยภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๑๑๕๘] ผู้ใดประสงค์จะใช้ขมิ้น
หรือแม้เครื่องย้อมอย่างอื่น ย้อมอากาศ
การกระทำของผู้นั้นเป็นเหตุให้เกิดความลำบากใจเท่านั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๒๙ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๒๐. สัฏฐินิบาต] ๑. มหาโมคคัลลานเถรคาถา
[๑๑๕๙] จิตของฉันนี้เสมอด้วยอากาศ ตั้งมั่นดีแล้วในอารมณ์ภายใน
เธอผู้มีความคิดเลวทราม เธออย่ามาหวังคนอย่างฉัน
เหมือนตัวแมลงเม่าชอบเล่นกองไฟ
(พระเถระเมื่อจะกล่าวสอนภิกษุทั้งหลาย จึงได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๑๑๖๐] เชิญท่านดูอัตภาพที่ผ้าและอาภรณ์เป็นต้นทำให้วิจิตร
มีกายเป็นแผล มีกระดูก ๓๐๐ ท่อนเป็นโครงร่าง
กระสับกระส่าย ที่พวกคนเขลาดำริหวังกันส่วนมาก
ซึ่งไม่มีความยั่งยืนตั้งมั่น
[๑๑๖๑] เชิญท่านดูรูปที่สตรีใช้แก้วมณีและต่างหูทำให้วิจิตร
ซึ่งมีหนังหุ้มกระดูกไว้ภายใน งามพร้อมกับผ้า
[๑๑๖๒] เท้าทั้งสองย้อมด้วยครั่งสด หน้าทาด้วยจุรณ
ก็สามารถทำคนเขลาให้ลุ่มหลง
แต่ไม่สามารถทำคนแสวงหาฝั่งคือนิพพานให้ลุ่มหลงได้
[๑๑๖๓] ผมที่ตบแต่งให้เป็นลอนดังกระดานหมากรุก
ตาทั้งสองที่หยอดด้วยยาหยอดตาก็สามารถทำคนเขลาให้ลุ่มหลง
แต่ไม่สามารถทำคนที่แสวงหาฝั่งคือนิพพานให้ลุ่มหลงได้
[๑๑๖๔] กายที่มีสภาพเปื่อยเน่าเป็นธรรมดาซึ่งตบแต่งแล้ว
เหมือนกล่องยาหยอดตาใหม่ ๆ ที่งดงาม
ก็สามารถทำคนเขลาให้ลุ่มหลง
แต่ไม่สามารถทำคนที่แสวงหาฝั่งคือนิพพานให้ลุ่มหลงได้
[๑๑๖๕] นายพรานเนื้อดักบ่วงไว้ เนื้อไม่มาติดบ่วง
เราทั้งหลาย(ฝูงเนื้อ)กินเหยื่อแล้วหลบหนีไป
เมื่อนายพรานกำลังคร่ำครวญอยู่
[๑๑๖๖] เราทั้งหลาย(ฝูงเนื้อ)กัดบ่วงของนายพรานเนื้อขาดแล้ว
เนื้อไม่ติดบ่วง เรากินเหยื่อแล้วหลบหนีไป
ในเมื่อนายพรานเนื้อกำลังเศร้าโศกอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๓๐ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๒๐. สัฏฐินิบาต] ๑. มหาโมคคัลลานเถรคาถา
(พระเถระปรารภการปรินิพพานของพระสารีบุตรเถระจึงกล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๑๑๖๗] เวลานั้นก็เกิดเหตุน่าสะพรึงกลัว ขนพองสยองเกล้า
เมื่อพระสารีบุตรผู้เพียบพร้อมด้วยอาการทุกอย่างนิพพานแล้ว
[๑๑๖๘] สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ
มีสภาวะเกิดขึ้นและเสื่อมไปเป็นธรรมดา เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป
ความสงบระงับไปแห่งสังขารเหล่านั้นได้โดยสิ้นเชิง เป็นความสุข
[๑๑๖๙] ท่านผู้บำเพ็ญเพียรทั้งหลายที่พิจารณาเห็นเบญจขันธ์
โดยเป็นสภาวะแปรปรวน และโดยมิใช่ตัวตน
ย่อมรู้แจ้งได้อย่างสุขุมลุ่มลึก
เหมือนนายขมังธนูใช้ลูกศรยิงปลายขนเนื้อทราย
[๑๑๗๐] อนึ่ง ท่านผู้บำเพ็ญเพียรทั้งหลายที่พิจารณา
เห็นสังขารทั้งหลาย โดยเป็นสภาวะแปรปรวน
และโดยมิใช่ตัวตน รู้แจ้งได้อย่างละเอียด
เหมือนนายขมังธนูใช้ลูกศรยิงปลายขนทราย
[๑๑๗๑] ภิกษุผู้มีสติพยายามละกามราคะ
เหมือนคนพยายามใช้ศัสตราตัดเครื่องประหารที่ชื่อโอมัฏฐะ
และเหมือนคนถูกไฟไหม้ศีรษะรีบดับไฟนั้นเสีย
[๑๑๗๒] ภิกษุผู้มีสติพยายามละภวราคะ๑
เหมือนคนพยายามใช้ศัสตราตัดเครื่องประหารที่ชื่อว่าโอมัฏฐะ
และเหมือนคนถูกไฟไหม้ศีรษะรีบดับไฟนั้น
[๑๑๗๓] เราอันพระผู้มีพระภาคผู้อบรมพระองค์เอง
ทรงไว้ซึ่งพระวรกายมีในภพสุดท้าย ทรงเตือนแล้ว
ได้ทำปราสาทของนางวิสาขามิคารมารดาให้ไหวด้วยปลายนิ้วเท้า

เชิงอรรถ :
๑ ความกำหนัด(ยินดี)ในภพ (ขุ.เถร.อ. ๑๑๗๒/)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๓๑ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๒๐. สัฏฐินิบาต] ๑. มหาโมคคัลลานเถรคาถา
[๑๑๗๔] บุคคลไม่พึงบรรลุนิพพาน
อันเป็นเหตุปลดเปลื้องกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งปวงได้
เพราะความเพียรย่อหย่อน
ทั้งบรรลุไม่ได้ด้วยกำลังความเพียรนิดหน่อย
[๑๑๗๕] ภิกษุนี้ยังหนุ่มและเป็นคนประเสริฐ
ชนะมารพร้อมทั้งเสนามาร
ยังทรงร่างกายซึ่งมีในภพสุดท้ายอยู่
[๑๑๗๖] ภิกษุผู้เป็นบุตรของพระพุทธองค์ซึ่งคงที่
หาผู้เสมอเหมือนมิได้อยู่ที่ซอกเขาเข้าฌาน
เหมือนสายฟ้าแลบส่องลอดเข้าไป
ตามช่องภูเขาเวภาระ และภูเขาปัณฑวะ
[๑๑๗๗] ภิกษุผู้สงบ งดเว้นจากการทำชั่ว
อยู่แต่ในเสนาสนะที่สงัดเป็นมุนี
เป็นทายาทของพระพุทธองค์ผู้ประเสริฐ
อันท้าวมหาพรหมพร้อมทั้งเทวดากราบไหว้
(พระเถระ เมื่อจะอนุเคราะห์พราหมณ์มิจฉาทิฏฐิ หลานชายพระสารีบุตรเถระ
จึงได้กล่าว ภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๑๑๗๘] พราหมณ์ เชิญท่านไหว้พระมหากัสสปะผู้สงบระงับ
งดเว้นจากการกระทำความชั่ว อยู่แต่ในเสนาสนะที่สงัด
เป็นมุนี เป็นทายาทของพระพุทธองค์ผู้ประเสริฐ
[๑๑๗๙] อนึ่ง ในหมู่มนุษย์ ผู้ใดเป็นพราหมณ์
สืบเชื้อสายพราหมณ์ติดต่อกันมาทั้งหมดถึง ๑๐๐ ชาติ
เพียบพร้อมด้วยความรู้
[๑๑๘๐] ถึงแม้จะพึงเป็นผู้เล่าเรียนมนต์ จบไตรเพท
การเรียนสำเร็จวิชาเป็นต้นนั้นของผู้นั้น
ย่อมมีค่าไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งบุญที่ได้ไหว้พระมหากัสสปะนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๓๒ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๒๐. สัฏฐินิบาต] ๑. มหาโมคคัลลานเถรคาถา
[๑๑๘๑] ในเวลาเช้า ภิกษุเช่นใดเข้าวิโมกขสมาบัติ ๘ ทั้งอนุโลมและ
ปฏิโลม ออกจากสมาบัตินั้นแล้ว จึงเที่ยวไปบิณฑบาต
[๑๑๘๒] พราหมณ์ ท่านอย่ารุกรานภิกษุเช่นนั้น
อย่าได้ทำลายตนเสียเลย
เชิญทำใจให้เลื่อมใสในพระอรหันต์ผู้คงที่
รีบประนมมือไหว้เสีย ศีรษะของท่านอย่าได้แตก
(พระเถระเห็นพระโปฏฐิละปฏิบัติ จึงได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๑๑๘๓] พระโปฏฐิละนี้ไม่เห็นพระสัทธรรม
ถูกสังสารวัฏหุ้มห่อไว้ เดินทางผิด ซึ่งเป็นทางคดไม่ควรเดิน
[๑๑๘๔] พระโปฏฐิละหมกมุ่นอยู่ในสังขาร ติดอยู่ในลาภสักการะ
ดังตัวหนอนที่ติดคูถ จึงเป็นคนเปล่า
(พระเถระเมื่อจะสรรเสริญท่านพระสารีบุตร จึงได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๑๑๘๕] เชิญท่านดู ท่านพระสารีบุตรมีคุณน่าดู น่าชม
หลุดพ้นได้ด้วยวิกขัมภนปหานและสมุจเฉทปหานทั้ง ๒ ส่วน
มีจิตตั้งมั่นดีภายใน
[๑๑๘๖] ผู้ปราศจากลูกศรคือราคะเป็นต้น
สิ้นสังโยชน์ บรรลุวิชชา ๓
ละมัจจุเสียได้ ควรแก่ทักษิณา
เป็นเนื้อนาบุญอย่างยอดเยี่ยมของหมู่มนุษย์
(พระสารีบุตรเถระเมื่อจะสรรเสริญพระมหาโมคคัลลานเถระ จึงได้กล่าว
ภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๑๑๘๗] อุบัติเทพมีฤทธิ์ มีเกียรติยศ
มีจำนวนมากถึง ๑๐,๐๐๐ เหล่านี้ และพรหมปุโรหิตทั้งหมดก็พา
กันมายืนประนมมือนอบน้อมพระโมคคัลลานะ
พร้อมกับกล่าวว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๓๓ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๒๐. สัฏฐินิบาต] ๑. มหาโมคคัลลานเถรคาถา
[๑๑๘๘] ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุรุษอาชาไนย ขอความนอบน้อมจงมีแด่ท่าน
ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุรุษสูงสุด ขอความนอบน้อมจงมีแด่ท่าน
ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านสิ้นอาสวะแล้วเป็นผู้ควรแก่ทักษิณา
[๑๑๘๙] พระโมคคัลลานะผู้อันมนุษย์และเทวดาบูชาแล้ว
เกิดโดยอริยชาติ ครอบงำความตายเสียได้
ไม่ติดอยู่ในสังขาร เหมือนดอกบัวไม่ติดอยู่กับน้ำ
[๑๑๙๐] พระโมคคัลลานะรู้แจ้งโลกได้ตั้งพันเพียงครู่เดียว
เหมือนท้าวมหาพรหมเป็นผู้ชำนาญในคุณคือฤทธิ์
ในจุติและอุบัติของเหล่าสัตว์
ย่อมเห็นเทวดาทั้งหลายได้ด้วยทิพยจักษุในกาลอันสมควร
(พระมหาโมคคัลลานะ เมื่อจะประกาศคุณของตนได้กล่าวภาษิตว่า)
[๑๑๙๑] พระสารีบุตรเท่านั้นเยี่ยมกว่าภิกษุผู้ทรงคุณธรรมชั้นสูง
ทั้งทางด้านปัญญา ศีล และอุปสมะ
[๑๑๙๒] พึงเนรมิตอัตภาพชั่วขณะเดียวได้ตั้งแสนโกฏิ
เราเป็นผู้ฉลาดในวิธีแสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ทั้งเป็นผู้ชำนาญด้วยฤทธิ์
[๑๑๙๓] ภิกษุโมคคัลลานโคตรผู้ถึงความสำเร็จโดยความเป็นผู้ชำนาญ
ในสมาธิและวิชชา เป็นปราชญ์
มีอินทรีย์มั่นคงในพระศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้อันตัณหาอาศัยไม่ได้
ได้ตัดเครื่องจองจำคือกิเลสเสียได้อย่างเด็ดขาด
เหมือนช้างทำลายปลอกที่ทำด้วยเถาหัวด้วนให้ขาดเสีย
[๑๑๙๔] เราได้ปรนนิบัติพระศาสดา
ได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว
ปลงภาระที่หนักเสียได้ ถอนตัณหาที่นำไปสู่ภพได้ขาดแล้ว
[๑๑๙๕] เราออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเพื่อประโยชน์ใด
ประโยชน์นั้นเป็นที่สิ้นไปแห่งสังโยชน์ทั้งปวงเราก็ได้บรรลุแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๓๔ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๒๐. สัฏฐินิบาต] ๑. มหาโมคคัลลานเถรคาถา
[๑๑๙๖] นรกที่ทุสสิมาร๑ ได้ทำร้ายพระวิธุรอัครสาวก
และพระกกุสันธสัมมาสัมพุทธเจ้า
แล้วได้ไปหมกไหม้อยู่ เป็นเช่นไร
[๑๑๙๗] คือ นรกที่มีขอเหล็กเป็นร้อย
ทั้งให้เกิดทุกขเวทนาเฉพาะตนทั่วถึงหมด
นรกที่ทุสสิมารได้ทำร้ายพระวิธุระองค์อัครสาวก
และพระกกุสันธสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วได้ไปหมกไหม้อยู่ เป็นเช่นนี้
[๑๑๙๘] ภิกษุใดเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า
ย่อมรู้กรรมและผลกรรมนี้ได้โดยประจักษ์แจ้ง
กัณหมาร ท่านทำร้ายภิกษุเช่นนั้นเข้า จะต้องได้รับทุกข์
[๑๑๙๙] วิมานทั้งหลายที่อยู่ท่ามกลางมหาสมุทร
อยู่ได้ตลอดกัป มีสีดังแก้วไพฑูรย์งดงาม
แสงไฟสว่างดุจกองไฟที่ลุกโพลง
ทั้งเพียบพร้อมด้วยรัศมี มีหมู่นางอัปสรจำนวนมาก
มีผิวพรรณต่างกันฟ้อนรำอยู่
[๑๒๐๐] ภิกษุใดเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า
ย่อมรู้วิมานนี้ได้โดยประจักษ์แจ้ง
กัณหมาร ท่านทำร้ายภิกษุเช่นนั้นเข้าจะต้องได้รับทุกข์
[๑๒๐๑] ภิกษุใดอันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงใช้ไปแล้ว
ภิกษุสงฆ์เป็นอันมากก็เห็นอยู่
ทำปราสาทของนางวิสาขามิคารมารดาให้ไหวด้วยปลายนิ้วเท้า
[๑๒๐๒] ภิกษุใดเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า
ย่อมรู้วิมานนี้ได้โดยประจักษ์แจ้ง
กัณหมาร ท่านทำร้ายภิกษุเช่นนั้นเข้า จะต้องได้รับทุกข์

เชิงอรรถ :
๑ ทุสสิมาร คือมารผู้ชอบประทุษร้าย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๓๕ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๒๐. สัฏฐินิบาต] ๑. มหาโมคคัลลานเถรคาถา
[๑๒๐๓] ภิกษุใดมีพลังฤทธิ์กล้าแข็ง ได้ทำเวชยันตปราสาทให้ไหวด้วย
ปลายนิ้วเท้า ทั้งทำเทพทั้งหลายให้สลดใจ
[๑๒๐๔] ภิกษุใดเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า
ย่อมรู้วิมานนี้ได้โดยประจักษ์แจ้ง
กัณหมาร ท่านทำร้ายภิกษุเช่นนั้นเข้า จะต้องได้รับทุกข์
[๑๒๐๕] ภิกษุนั้นใดไต่ถามท้าวสักกเทวราชที่เวชยันตปราสาทว่า
มหาบพิตร ท้าวเธอทรงทราบวิมุตติซึ่งเป็นที่สิ้นตัณหาบ้างไหม
ท้าวสักกเทวราชถูกถามปัญหา ได้ทรงพยากรณ์ตามแนวเทศนาที่
พระศาสดาทรงแสดงแล้วแก่ภิกษุนั้น
(พระมหาโมคคัลลานเถระได้พูดทักทายท้าวมหาพรหมนั้นด้วยภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๑๒๐๖] ภิกษุใดเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า
ย่อมรู้วิมุตติเป็นที่สิ้นตัณหานี้ได้โดยประจักษ์แจ้ง
กัณหมาร ท่านทำร้ายภิกษุเช่นนั้นเข้า จะต้องได้รับทุกข์
[๑๒๐๗] ภิกษุใดยืนอยู่ที่สุธรรมสภาสอบถามท้าวมหาพรหมว่า
ท่านผู้เจริญ แม้วันนี้ ท่านยังมีความเห็นอยู่อย่างเมื่อก่อน
หรือท่านยังเห็นอยู่ว่ารัศมีของพระผู้มีพระภาค
พร้อมทั้งสาวกพวยพุ่งรุ่งเรืองยิ่งนัก
[๑๒๐๘] ครั้นท้าวมหาพรหมถูกถามปัญหาแล้ว
ได้พยากรณ์ตามแนวเทศนาที่พระศาสดาทรงแสดงแล้วแก่ภิกษุนั้นว่า
ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้นิรทุกข์
ข้าพเจ้าไม่ได้มีความเห็นอย่างเมื่อก่อนแล้ว
[๑๒๐๙] ข้าพเจ้าเห็นว่า รัศมีของพระผู้มีพระภาค
พร้อมทั้งสาวกเป็นไปล่วงเลยรัศมีในพรหมโลก
วันนี้ ข้าพเจ้านั้นละทิ้งคำพูดของพระเจ้า
ผู้เห็นว่า เราเป็นผู้เที่ยง มีความยั่งยืน เสียได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๓๖ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๒๐. สัฏฐินิบาต] รวมเรื่องพระเถระที่มีในนิบาต
(พระมหาโมคคัลลานเถระได้พูดทักทายท้าวมหาพรหมนั้นด้วยภาษิตเหล่านี้ ว่า)
[๑๒๑๐] ภิกษุใดเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ย่อมรู้ทิฏฐินี้ได้โดยประจักษ์แจ้ง
กัณหมาร ท่านทำร้ายภิกษุเช่นนั้นเข้า จะต้องได้รับทุกข์
[๑๒๑๑] ภิกษุใดแสดงยอดขุนเขาสิเนรุให้ชนชาวชมพูทวีป ปุพพวิเทหทวีป
อมรโคยานทวีป และชาวอุตตรกุรุทวีป เห็นกันได้ด้วยวิโมกข์
[๑๒๑๒] ภิกษุใดเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า
ย่อมรู้วิโมกข์ตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้วนี้ได้โดยประจักษ์แจ้ง
กัณหมาร ท่านทำร้ายภิกษุเช่นนั้นเข้า จะต้องได้รับทุกข์
[๑๒๑๓] ไฟไม่ได้ตั้งใจเลยว่า เราจะไหม้คนพาล
แต่คนพาลกระโดดเข้าไปหาไฟที่ลุกโพลง ให้ไหม้ตัวเอง ฉันใด
[๑๒๑๔] มาร ท่านก็ฉันนั้นเหมือนกันทำร้ายพระตถาคตและอริยสาวก
นั้นแล้ว ก็จะเผาตนเอง เหมือนคนพาลถูกไฟไหม้
[๑๒๑๕] มารทำร้ายพระตถาคตและอริยสาวกนั้น จึงได้ประสบสิ่งมิใช่บุญ
มารผู้ชั่วช้า หรือท่านเข้าใจว่า บาปไม่ให้ผลแก่เรา
[๑๒๑๖] มารผู้มุ่งแต่ความตาย เมื่อท่านทำแต่บาปท่านก็ย่อมตายด้วย
ความทุกข์สิ้นกาลนาน ท่านอย่าได้รังเกียจสาวกของพระพุทธเจ้า
แล้วมุ่งทำร้ายภิกษุทั้งหลายเลย
[๑๒๑๗] พระมหาโมคคัลลานเถระได้คุกคามมารที่ป่าเภสกฬาวันดังนี้แล้ว
เพราะเหตุนั้น มารนั้นเสียใจ จึงได้หายไป ณ ที่นั้นนั่นเอง
ทราบว่า ท่านพระมหาโมคคัลลานเถระได้กล่าวภาษิตทั้งหลาย
ด้วยประการฉะนี้แล
สัฏฐินิบาต จบ

รวมเรื่องพระเถระที่มีในนิบาตนี้ คือ
พระมหาโมคคัลลานเถระผู้มีฤทธิ์มากรูปเดียวเท่านั้น
และในสัฏฐินิบาตนี้มี ๖๘ ภาษิต ฉะนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๓๗ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๒๑. มหานิบาต] ๑. วังคีสเถรคาถา
๒๑. มหานิบาต
๑. วังคีสเถรคาถา
ภาษิตของพระวังคีสเถระ
(พระวังคีสเถระบวชแล้วใหม่ ๆ ได้เห็นหญิงหลายคน ล้วนแต่งตัวงดงาม พา
กันไปวิหาร ก็เกิดความกำหนัดยินดี เมื่อจะบรรเทาความกำหนัดยินดีนั้น ได้กล่าว
ภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๑๒๑๘] ความตรึกกับความคะนองอย่างเลวทรามเหล่านี้
ย่อมเข้าครอบงำเราผู้ออกบวชเป็นบรรพชิต
[๑๒๑๙] บุตรของคนสูงศักดิ์ได้ศึกษาวิชายิงธนูคราวละมากๆ
มาอย่างเชี่ยวชาญ ยิงลูกธนูไปรอบ ๆ ตัวโดยไม่ผิดพลาด
[๑๒๒๐] ถึงแม้หญิงจะมามากยิ่งไปกว่าหญิงเหล่านี้
ก็จะเบียดเบียนเราไม่ได้แน่นอน
เพราะเราได้เป็นผู้ตั้งมั่นอยู่ในธรรมเสียแล้ว
[๑๒๒๑] ด้วยว่า เราได้สดับทางเป็นที่ให้ถึงนิพพานนี้
เบื้องพระพักตร์ของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ดวงอาทิตย์
ใจของเรายินดีแล้วในทางนั้นแน่นอน
[๑๒๒๒] มารผู้ชั่วช้า ถ้าท่านยังเข้ามาหาเราผู้อยู่ด้วยอาการอย่างนี้
เราก็จะทำทางที่เราทำไว้ให้ถึงที่สุด
โดยท่านจะไม่พบเห็นได้ ฉะนั้น
[๑๒๒๓] ผู้ใดละความยินดี ยินร้าย
และความตรึกเกี่ยวกับบ้านเรือนได้ทั้งหมด
หมดตัณหา ไม่มีกิเลส ไม่พึงก่อตัณหาดุจป่าในที่ไหน ๆ
ผู้นั้นชื่อว่าเป็นภิกษุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๓๘ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๒๑. มหานิบาต] ๑. วังคีสเถรคาถา
[๑๒๒๔] รูปอย่างใดอย่างหนึ่งในโลกนี้
ทั้งที่อาศัยแผ่นดิน อยู่ในอากาศ อันนับเนื่องในภพ ๓
ล้วนไม่เที่ยงคร่ำคร่าไปทั้งนั้น
ท่านผู้รู้ทั้งหลายรู้แจ้งอย่างนี้แล้ว มีตนหลุดพ้นเที่ยวไป
[๑๒๒๕] เหล่าปุถุชนที่มีจิตหมกมุ่นในอุปธิทั้งหลาย
คือ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ
ท่านจงเป็นผู้ไม่หวั่นไหวกำจัดความพอใจในเบญจกามคุณนี้เสีย
เพราะผู้ใดไม่ติดในเบญจกามคุณนี้
บัณฑิตทั้งหลายเรียกผู้นั้นว่าเป็นมุนี
[๑๒๒๖] ถ้ามิจฉาวิตกที่อิงอาศัยทิฏฐิ ๖๐ ประการ
ซึ่งเป็นธรรมที่ไม่ตั้งมั่นในกาลไหน ๆ
ผู้ใดไม่พึงเป็นไปในอำนาจกิเลสด้วยอำนาจมิจฉาวิตกเหล่านั้น
ทั้งไม่ชอบกล่าวคำหยาบคาย ผู้นั้นชื่อว่าเป็นภิกษุ
[๑๒๒๗] ภิกษุผู้เป็นบัณฑิต มีจิตมั่นคงมานาน ไม่ลวงโลก
มีปัญญารักษาตนได้ หมดความทะเยอทะยาน
เป็นมุนี ได้บรรลุสันตบท ย่อมหวังคอยเฉพาะเวลาที่จะปรินิพพาน
[๑๒๒๘] ท่านผู้เป็นสาวกของพระโคดม
ท่านจงละความเย่อหยิ่งเสีย
และจงละทางแห่งความเย่อหยิ่งให้หมด
เพราะผู้ที่หมกมุ่นอยู่ในทางแห่งความเย่อหยิ่ง
จะต้องเดือดร้อนเป็นเวลานาน
[๑๒๒๙] หมู่สัตว์ที่ยังลบหลู่คุณท่าน
ถูกความเย่อหยิ่งกำจัดแล้ว ย่อมตกนรก
เหล่าปุถุชนที่ถูกความเย่อหยิ่งกำจัดแล้ว
เกิดในนรก ย่อมเศร้าโศกตลอดกาลนาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๓๙ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๒๑. มหานิบาต] ๑. วังคีสเถรคาถา
[๑๒๓๐] บางครั้ง ภิกษุปฏิบัติชอบแล้ว
ชนะกิเลสได้ด้วยมรรค ไม่เศร้าโศกเลย
ยังกลับได้เกียรติคุณและความสุข
บัณฑิตทั้งหลายเรียกภิกษุผู้ปฏิบัติชอบเช่นนั้นว่า เป็นผู้เห็นธรรม
[๑๒๓๑] เพราะเหตุนั้น ภิกษุในพระศาสนานี้
ไม่ควรมีกิเลสเครื่องตรึงใจ ๕ อย่าง
ควรมีแต่ความเพียรชอบ ละนิวรณ์ได้แล้ว เป็นผู้บริสุทธิ์
ทั้งละความเย่อหยิ่งได้หมด
สงบระงับได้แล้วทำที่สุดทุกข์ได้ด้วยวิชชา ๓
(พระวังคีสเถระเมื่อจะแจ้งความเป็นไปของตนแก่พระอานนทเถระ จึงได้กล่าว
ภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๑๒๓๒] กระผมถูกกามราคะแผดเผา
จิตของกระผมเร่าร้อน
ท่านผู้เป็นเชื้อสายโคตมโคตร ดังกระผมจะขอโอกาส
ขอท่านโปรดอนุเคราะห์ช่วยบอกเหตุที่ดับราคะให้ด้วย
(พระอานนทเถระได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๑๒๓๓] จิตของท่านเร่าร้อนก็เพราะความสำคัญผิด
ท่านจงละทิ้งนิมิตว่างามซึ่งประกอบด้วยราคะเสีย
[๑๒๓๔] จงอบรมจิตให้มีอารมณ์เดียว ให้ตั้งมั่นดี
ด้วยการพิจารณาเห็นว่าไม่งาม
จงอบรมกายคตาสติ
และจงเป็นผู้เบื่อหน่ายให้มาก
[๑๒๓๕] จงเจริญการพิจารณาเห็นว่า ไม่เที่ยง
และจงละมานานุสัยเสียให้ได้ขาด
แต่นั้น ท่านจะเป็นผู้สงบเที่ยวไป เพราะละมานะได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๔๐ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๒๑. มหานิบาต] ๑. วังคีสเถรคาถา
(พระวังคีสเถระ เกิดความโสมนัส เมื่อจะชมเชยพระผู้มีพระภาคเบื้องพระพักตร์
จึงได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๑๒๓๖] บุคคลพึงกล่าวแต่วาจาที่ไม่เป็นเหตุทำตนให้เดือดร้อน
และไม่เป็นเหตุเบียดเบียนชนเหล่าอื่น
วาจานั้นแลเป็นสุภาษิต
[๑๒๓๗] พึงกล่าวแต่วาจาที่น่ารัก ซึ่งเหล่าชนพากันชื่นชม
ไม่พึงพูดหยาบคายต่อชนเหล่าอื่น
พึงพูดแต่คำที่น่ารัก
[๑๒๓๘] คำสัตย์แลเป็นวาจาไม่ตาย
ธรรมนี้เป็นของเก่า
สัตบุรุษทั้งหลายตั้งมั่นอยู่แล้วในคำสัตย์
ทั้งที่เป็นอรรถและเป็นธรรม
[๑๒๓๙] พระพุทธเจ้าตรัสพระวาจาใดอันเกษม
เพื่อบรรลุนิพพาน เพื่อทำที่สุดทุกข์
พระวาจานั้นแลสูงสุดกว่าวาจาทั้งหลาย
(พระวังคีสเถระเมื่อจะสรรเสริญท่านพระสารีบุตรเถระ จึงได้กล่าวภาษิต
เหล่านี้ว่า)
[๑๒๔๐] พระสารีบุตรมีปัญญาสุขุม เป็นนักปราชญ์
รู้ทางและมิใช่ทาง มีปัญญามาก
แสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย
[๑๒๔๑] แสดงโดยย่อก็ได้ โดยพิสดารก็ได้
เมื่อท่านกำลังแสดงธรรม
เสียงที่เปล่งออกก็ไพเราะเหมือนเสียงนกสาลิกา
ทั้งปฏิภาณก็ปรากฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๔๑ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๒๑. มหานิบาต] ๑. วังคีสเถรคาถา
[๑๒๔๒] เมื่อท่านแสดงธรรมนั้นอยู่
ภิกษุทั้งหลายที่ฟังคำไพเราะ
ก็มีจิตร่าเริงเบิกบานด้วยเสียงที่น่ายินดี น่าฟัง ไพเราะจับใจ
จึงตั้งใจฟัง
(พระวังคีสเถระเมื่อจะชมเชยพระศาสดา ได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๑๒๔๓] ในวัน ๑๕ ค่ำ ซึ่งเป็นวันวิสุทธิปวารณา
วันนี้ มีภิกษุ ๕๐๐ รูปมาประชุมกัน
ล้วนเป็นผู้ตัดกิเลสเครื่องผูกคือสังโยชน์ได้ขาด
ไม่มีทุกข์สิ้นภพสิ้นชาติแล้ว
เป็นผู้แสวงหาคุณธรรมอันประเสริฐ
[๑๒๔๔] พระเจ้าจักรพรรดิมีหมู่อำมาตย์แวดล้อม
เสด็จเลียบแผ่นดินอันไพศาล
มีมหาสมุทรสาครเป็นขอบเขตนี้ ฉันใด
[๑๒๔๕] สาวกทั้งหลายผู้ได้วิชชา ๓ ละมัจจุราชได้
พากันแวดล้อมพระผู้มีพระภาคผู้ทรงชนะสงคราม
ทรงนำหมู่ เป็นผู้ยอดเยี่ยม ก็ฉันนั้น
[๑๒๔๖] พระสาวกทั้งมวลล้วนแต่เป็นพุทธชิโนรส
และในสาวกเหล่านี้ไม่มีความว่างเปล่าจากคุณธรรมเลย
ข้าพระองค์พึงถวายบังคมพระองค์ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งดวงอาทิตย์
ซึ่งทรงทำลายลูกศรคือตัณหาได้แล้ว
[๑๒๔๗] ภิกษุกว่าพันรูปเข้าไปเฝ้าพระสุคตซึ่งกำลังทรงแสดงธรรม
ที่ปราศจากกิเลสดุจธุลีคือนิพพาน ซึ่งหาภัยแต่ที่ไหนมิได้
[๑๒๔๘] ภิกษุเหล่านั้นก็พากันฟังธรรมอันไพบูลย์
ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีหมู่ภิกษุแวดล้อมย่อมทรงงดงามหนอ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๔๒ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๒๑. มหานิบาต] ๑. วังคีสเถรคาถา
[๑๒๔๙] พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่านาคะ
ทรงเป็นพระฤๅษีผู้สูงสุดกว่าบรรดาฤๅษีทั้งหลาย
ทรงโปรยฝนอมตธรรมให้ตกรดเหล่าพระสาวก
คล้ายฝนห่าใหญ่
[๑๒๕๐] ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า
พระวังคีสะสาวกของพระองค์ประสงค์จะเฝ้าพระศาสดา
จึงออกจากที่พักกลางวัน มาถวายบังคมพระยุคลบาทของพระองค์
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๑๒๕๑] พระวังคีสะครอบงำทางเป็นที่เกิดขึ้นแห่งกิเลสมาร
ทำลายกิเลสเครื่องตรึงใจ ๕ อย่างมีราคะเป็นต้นอยู่
เธอทั้งหลายจงดูวังคีสะ ผู้ทำการปลดเปลื้องกิเลสเป็นเครื่องผูก
ผู้อันตัณหา มานะ และทิฏฐิอิงอาศัยไม่ได้
ผู้จำแนกธรรมเป็นส่วน ๆ ได้นั้น
[๑๒๕๒] ความจริง พระวังคีสะได้บอกทางไว้หลายอย่าง
เพื่อถอนโอฆกิเลส
และเมื่อพระวังคีสะนั้นบอกทางอมตะนั้นไว้แล้ว
ภิกษุทั้งหลายที่เห็นธรรมก็ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว
[๑๒๕๓] พระวังคีสะนั้นผู้ทำแสงสว่างให้เกิด รู้แจ่มแจ้ง
ได้เห็นนิพพานเป็นเหตุล่วงพ้นวิญญาณฐิติได้ทั้งหมด
ครั้นรู้และทำให้แจ้ง
จึงได้แสดงธรรมอันเลิศแก่ภิกษุผู้เดินทางไกล ๑๐ รูป
[๑๒๕๔] เมื่อท่านแสดงธรรมไว้ดีอย่างนี้
ท่านผู้รู้แจ้งธรรมทั้งหลายจะมีความประมาทได้อย่างไร
เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุผู้ไม่ประมาทในคำสอนของพระผู้มีพระภาค
พระองค์นั้น พึงตั้งใจศึกษา(สิกขา ๓) ทุกเมื่อ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๔๓ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๒๑. มหานิบาต] ๑. วังคีสเถรคาถา
(พระวังคีสเถระหวังจะชมเชยพระอัญญาโกณฑัญญเถระ จึงได้กล่าวภาษิต
เหล่านี้ว่า)
[๑๒๕๕] พระอัญญาโกณฑัญญเถระผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้า
ได้มีความบากบั่นอย่างแรงกล้า
ได้วิเวกซึ่งเป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขเป็นประจำ
[๑๒๕๖] เป็นผู้ไม่ประมาท ศึกษาอยู่ ได้บรรลุสิ่งที่พระสาวกผู้ทำตาม
คำสอนของพระศาสดาจะพึงบรรลุได้ทุกรูป
[๑๒๕๗] พระอัญญาโกณฑัญญเถระมีอานุภาพมาก
ได้บรรลุวิชชา ๓ ฉลาดในการกำหนดรู้จิตของผู้อื่น
เป็นพุทธทายาทมาถวายอภิวาทพระยุคลบาทของพระศาสดาอยู่
(พระวังคีสเถระหวังจะชมเชยพระผู้มีพระภาคและพระอรหันตสาวก จึงได้กล่าว
ภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๑๒๕๘] พระสาวกทั้งหลายผู้ได้บรรลุวิชชา ๓ ละมัจจุราชได้
พากันแวดล้อมพระมหามุนีผู้ถึงฝั่งแห่งทุกข์ ประทับนั่งที่ข้างภูเขา
[๑๒๕๙] พระมหาโมคคัลลานะผู้มีฤทธิ์มาก
พิจารณากำหนดรู้จิตที่หลุดพ้น
ไม่มีอุปธิของพระขีณาสพเหล่านั้นได้ด้วยจิต
[๑๒๖๐] พระสาวกเหล่านั้นพากันแวดล้อมพระมหามุนีโคดม
ผู้ทรงสมบูรณ์ด้วยสมบัติทุกประการ
ทรงถึงฝั่งแห่งทุกข์ เพียบพร้อมด้วยพระคุณมากอย่าง
(พระวังคีสเถระ หวังจะชมเชยพระผู้มีพระภาค จึงได้กล่าวภาษิตนี้ว่า)
[๑๒๖๑] ข้าแต่พระมหามุนีอังคีรส
พระองค์ไพโรจน์ล่วงโลกทั้งหมดด้วยพระยศ
เหมือนดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ที่ปราศจากมลทิน
สว่างจ้าอยู่บนท้องฟ้าที่ปราศจากเมฆหมอก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๔๔ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๒๑. มหานิบาต] ๑. วังคีสเถรคาถา
(พระวังคีสเถระเมื่อจะประกาศคุณของพระศาสดาและของตน จึงได้กล่าว
ภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๑๒๖๒] เมื่อก่อน เราเป็นผู้อันนักปราชญ์เคารพนับถือ
เที่ยวไปจากหมู่บ้านไปยังหมู่บ้าน จากเมืองไปยังเมือง
จึงได้เฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง
[๑๒๖๓] พระองค์ผู้เป็นพระมหามุนี ทรงถึงฝั่งแห่งทุกข์
ได้ทรงแสดงธรรมโปรดเรา
เราฟังธรรมแล้วเกิดความเลื่อมใสศรัทธา
[๑๒๖๔] เราได้ฟังพระดำรัสของพระพุทธองค์
แล้วรู้ชัดถึงขันธ์ อายตนะ และธาตุ จึงได้ออกบวชเป็นบรรพชิต
[๑๒๖๕] พระตถาคตทั้งหลายทรงอุบัติเพื่อประโยชน์แก่สตรีและบุรุษผู้ทำ
ตามคำสอนเป็นจำนวนมากหนอ
[๑๒๖๖] พระมหามุนีได้บรรลุพระโพธิญาณเพื่อประโยชน์แก่เหล่าภิกษุ
และภิกษุณีผู้ได้เห็นธรรมซึ่งเป็นทางออกจากทุกข์หนอแล
[๑๒๖๗] พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งดวงอาทิตย์ ทรงมีพระจักษุ
ทรงอนุเคราะห์ต่อหมู่สัตว์ ได้ทรงแสดงอริยสัจ ๔ คือ
[๑๒๖๘] (๑) ทุกข์ (๒) เหตุให้เกิดทุกข์ (๓) ความดับทุกข์
(๔) อริยมรรคมีองค์ ๘ ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
[๑๒๖๙] เราได้เห็นธรรมเหล่านั้น เหมือนอย่างที่พระศาสดาตรัสไว้
ความเป็นจริงอย่างนี้ เราได้บรรลุประโยชน์ตนแล้ว
ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว
[๑๒๗๐] การที่เราได้มาในสำนักของพระพุทธเจ้าเป็นการดีหนอสำหรับเรา
เพราะเราได้บรรลุธรรมที่ประเสริฐสุด
บรรดาธรรมที่พระองค์ทรงจำแนกไว้ดีแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๔๕ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๒๑. มหานิบาต] ๑. วังคีสเถรคาถา
[๑๒๗๑] เราได้ถึงฝั่งแห่งอภิญญา ชำระโสตธาตุให้หมดจด
ได้วิชชา ๓ บรรลุฤทธิ์ ฉลาดในการกำหนดรู้จิตของผู้อื่น
(พระวังคีสเถระ ในคราวที่พระอุปัชฌาย์ของท่านปรินิพพาน ได้กล่าวภาษิต
เหล่านี้ว่า)
[๑๒๗๒] ข้าพระองค์ขอทูลถามพระบรมศาสดาผู้มีพระปัญญามากว่า
ภิกษุใดมีชื่อเสียง เรืองยศ ตัดความสงสัย
ดับกิเลสเสียได้ในปัจจุบันชาตินี่แหละ
ได้ปรินิพพานที่อัคคาฬวเจดีย์วิหาร
[๑๒๗๓] ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ภิกษุนั้นเห็นธรรมคือนิพพานอันมั่นคง
เป็นพราหมณ์มาแต่กำเนิด
มีนามที่พระองค์ทรงประทานให้ว่า นิโครธกัปปะ
ผู้มุ่งแต่ความหลุดพ้น ปรารภความเพียร
ยังกราบไหว้ท่านอยู่
[๑๒๗๔] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นเจ้าศากยะ ซึ่งมีพระจักษุรอบคอบ
แม้ข้าพระองค์ทุกรูป ปรารถนาจะทราบถึงพระสาวกรูปนั้น
ข้าพระองค์ทั้งหลายพร้อมที่จะเงี่ยโสตลงฟัง
พระองค์มิใช่หรือเป็นศาสดา พระองค์เป็นผู้ยอดเยี่ยม
[๑๒๗๕] ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระปัญญาดุจแผ่นดิน
ขอพระองค์โปรดตัดความเคลือบแคลงสงสัยของข้าพระองค์ทั้งหลาย
โปรดตรัสบอกพระนิโครธกัปปเถระผู้ปรินิพพานแล้วนั้น ให้ข้า
พระองค์ทราบด้วยเถิด
ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระจักษุรอบคอบ
ขอพระองค์โปรดตรัสบอกท่ามกลางแห่งข้าพระองค์ทั้งหลายเถิด
เหมือนท้าวสักกะผู้มีพระเนตรตั้งพันตรัสบอกแก่เหล่าเทวดา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๔๖ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๒๑. มหานิบาต] ๑. วังคีสเถรคาถา
[๑๒๗๖] กิเลสเครื่องร้อยรัดเหล่าใดเหล่าหนึ่งในโลกนี้
เป็นทางก่อให้เกิดความลุ่มหลง เป็นฝ่ายแห่งความไม่รู้
เป็นมูลฐานแห่งความเคลือบแคลงสงสัย
กิเลสเครื่องร้อยรัดเหล่านั้นพอมาถึงพระตถาคตซึ่งมีพระจักษุ
มีพระคุณยิ่งกว่านรชนทั้งหลายนี้แล ย่อมหมดไป
[๑๒๗๗] ถ้าพระผู้มีพระภาคจะเป็นบุรุษแต่เพียงกำเนิด
ก็จะไม่พึงทรงทำลายกิเลสได้
เหมือนลมพัดทำลายก้อนเมฆหมอกที่หนาทึบไม่ได้
โลกทั้งมวลที่มืดอยู่แล้ว ก็ยิ่งจะมืดหนักลง
พระสาวกทั้งหลาย มีพระสารีบุตรเป็นต้น ที่รุ่งเรืองอยู่บ้าง
ก็จะไม่พึงรุ่งเรืองนัก
[๑๒๗๘] นักปราชญ์ทั้งหลาย เป็นผู้ทำแสงสว่างให้เกิด
ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงพระปรีชาญาณ
เพราะเหตุนั้น ข้าพระองค์เข้าใจพระองค์ว่า
ทรงทำแสงสว่างให้เกิดเป็นแม่นมั่น
ข้าพระองค์ทั้งหลายรู้ว่าพระองค์ทรงเห็นธรรมทั้งปวง
ได้อย่างแจ่มแจ้ง จึงได้พากันมาเฝ้า
ขอพระองค์โปรดประกาศพระนิโครธกัปปเถระแก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย
ในบริษัทด้วยเถิด
[๑๒๗๙] พระองค์ทรงเปล่งพระวาจาอย่างไพเราะจับใจ
ทั้งทรงเปล่งด้วยพระสุรเสียงกังวานที่เกิดแต่พระนาสิกที่บุญญาธิการ
ตกแต่งมาดีแล้วได้อย่างคล่องแคล่วแผ่วเบา เหมือนพญาหงส์ทอง
โก่งคอขันเบา ๆ อย่างไพเราะ
ข้าพระองค์ทุกรูปตั้งใจแน่วแน่
ขอฟังพระดำรัสที่ไพเราะของพระองค์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๔๗ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๒๑. มหานิบาต] ๑. วังคีสเถรคาถา
[๑๒๘๐] ข้าพระองค์จะเปิดเผยความเกิดและความตายที่ละได้อย่างสิ้นเชิง
จะแสดงบอกบาปธรรมซึ่งเป็นตัวกำจัด
เพราะบรรดาปุถุชนและเสขบุคคลเป็นต้น
ผู้ที่ทำได้ตามความพอใจตนไม่มี
เหมือนคนที่ไตร่ตรองพิจารณาตามพระตถาคตเท่านั้น
สามารถที่จะรู้หรือกล่าวธรรมอย่างที่ตัวต้องการได้
[๑๒๘๑] พระดำรัสของพระองค์นี้มีไวยากรณ์สมบูรณ์
พระองค์ทรงมีพระปัญญาตรงไปตรงมาตรัสไว้อย่างถูกต้อง
ข้าพระองค์ก็เรียนมาดีแล้ว
การถวายบังคมที่ข้าพระองค์ถวายอย่างนอบน้อมนี้เป็นครั้งสุดท้าย
ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระปัญญามาก
พระองค์ทรงทราบคติของพระนิโครธกัปปเถระได้
ไม่ยังข้าพระองค์ให้หลง
[๑๒๘๒] ข้าแต่พระองค์ผู้มีความเพียรมาก
พระองค์ทรงตรัสรู้อริยธรรมทั้งที่เป็นโลกุตตระและโลกิยะ
ทรงทราบเญยยธรรมทั้งหมดได้
ไม่ยังข้าพระองค์ให้หลง
ข้าพระองค์หวังพระดำรัสของพระองค์เป็นอย่างยิ่ง
เหมือนคนถูกความร้อนแผดเผาในฤดูร้อน
ก็ต้องการน้ำเป็นอย่างยิ่ง
ขอพระองค์ทรงยังฝนคือพระธรรมเทศนา
ที่ข้าพระองค์ฟังมาแล้วให้ตกลงเถิด
[๑๒๘๓] พระนิโครธกัปปเถระได้ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อประโยชน์ใด
ประโยชน์ของท่านนั้นไม่สูญเปล่าหรือ
ท่านนิพพานด้วยสอุปาทิเสสนิพพาน
หรือนิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ
ข้าพระองค์ทั้งหลายขอฟังเรื่องนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๔๘ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๒๑. มหานิบาต] ๑. วังคีสเถรคาถา
(พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า)
[๑๒๘๔] พระนิโครธกัปปเถระนั้นได้ตัดขาดตัณหาในนามรูปนี้
ทั้งตัดกระแสแห่งธรรมฝ่ายดำ
ซึ่งนอนเนื่องอยู่ในสันดานมาช้านาน
ข้ามพ้นชาติมรณะได้อย่างสิ้นเชิง
พระผู้มีพระภาคผู้ประเสริฐด้วยพลธรรม ๕ ประการได้ตรัสไว้ดังนี้
(พระวังคีสเถระกราบทูลด้วยภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๑๒๘๕] ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเป็นพุทธะ
ข้าพระองค์นี้ฟังพระดำรัสของพระองค์แล้วย่อมเลื่อมใส
ทราบว่า เรื่องที่ข้าพระองค์ทูลถามแล้ว ไม่ไร้ประโยชน์
พระองค์เป็นพุทธเจ้าไม่ทรงลวงข้าพระองค์แน่นอน
[๑๒๘๖] สาวกของพระพุทธองค์พูดอย่างใด ก็ทำอย่างนั้น
ได้ตัดข่ายคือตัณหาที่แผ่กว้างทั้งมั่นคงของพญามารเจ้าเล่ห์ได้ขาด
[๑๒๘๗] พระผู้มีพระภาคสมควรที่จะตรัสว่า
ท่านนิโครธกัปปเถระได้เห็นมูลเหตุแห่งอุปาทาน
ล่วงพ้นบ่วงมัจจุราชที่ข้ามได้แสนยากแล้ว
(พระวังคีสเถระเมื่อจะประกาศความเลื่อมใส จึงได้กล่าวภาษิตสุดท้ายว่า)
[๑๒๘๘] ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้สูงสุดกว่าเทวดาและมนุษย์
ข้าพระองค์ขอกราบไหว้ท่านพระนิโครธกัปปเถระ
ผู้เป็นวิสุทธิเทพ เป็นอนุชาตบุตร
มีความเพียรมาก เป็นผู้ประเสริฐ
ทั้งเป็นโอรสของพระองค์ผู้ประเสริฐนั้น
ทราบว่า ท่านพระวังคีสเถระได้กล่าวภาษิตทั้งหลายไว้
ด้วยประการฉะนี้แล
มหานิบาต จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๔๙ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๒๑. มหานิบาต] รวมเรื่องพระเถระที่มีในนิบาต
รวมเรื่องพระเถระที่มีในนิบาตนี้ คือ
ในสัตตตินิบาต(มหานิบาต)นี้
พระวังคีสเถระผู้แตกฉานรูปเดียวเท่านั้น
ไม่มีพระเถระรูปอื่น และมี ๗๑ ภาษิต ฉะนี้แล
เถรคาถา จบ

สรุปความเถรคาถานี้
พระเถระ ๒๖๔ รูป ผู้เป็นพุทธบุตร ไม่มีอาสวะ
บรรลุนิพพานอันเป็นแดนเกษม พากันบันลือสีหนาท
ประกาศภาษิตไว้รวม ๑,๓๖๐ ภาษิต
แล้วก็พากันนิพพานเหมือนกองไฟหมดเชื้อแล้วดับไป ฉะนี้แล

เถรคาถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๕๐ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑.เอกกนิบาต] ๒. มุตตาเถรีคาถา
พระสุตตันตปิฎก
ขุททกนิกาย เถรีคาถา
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๑. เอกกนิบาต
๑. อัญญตราเถรีคาถา
ภาษิตของพระอัญญตราเถรี
ทราบว่า พระเถรีรูปหนึ่งซึ่งไม่ปรากฏชื่อได้กล่าวภาษิตนี้ว่า
[๑] พระเถรีท่านจงใช้ท่อนผ้าทำจีวรนุ่งห่ม
แล้วพักผ่อนตามสบายเถิด เพราะราคะของท่านสงบแล้ว
เหมือนผักดองแห้งอยู่ในหม้อ

๒. มุตตาเถรีคาถา
ภาษิตของพระมุตตาเถรี
(พระมุตตาเถรีรับพระพุทธโอวาทแล้วได้กล่าวภาษิตนี้ว่า)
[๒] มุตตา เธอจงพ้นไปจากโยคกิเลสทั้งหลาย๑
เหมือนดวงจันทร์พ้นจากถูกราหูจับ
เธอจงมีจิตหลุดพ้นแล้วบริโภคก้อนข้าวอย่างไม่มีหนี้เถิด

เชิงอรรถ :
๑ โยคกิเลส กิเลสที่ผูกสัตว์ไว้ในภพมี ๔ คือ (๑) กามโยคะ โยคะคือกาม (๒) ภวโยคะ โยคะคือภพ
(๓) ทิฏฐิโยคะ โยคะคือทิฏฐิ (๔) อวิชชาโยคะ โยคะคืออวิชชา (ขุ.เถรี.อ.๒/๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๕๑ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๑. เอกกนิบาต] ๕. อัญญตราติสสาเถรีคาถา
๓. ปุณณาเถรีคาถา
ภาษิตของพระปุณณาเถรี
(พระปุณณาเถรีรับพระพุทธโอวาทแล้วได้กล่าวภาษิตนี้ว่า)
[๓] ปุณณา เธอจงยังธรรมทั้งหลายให้บริบูรณ์
เหมือนดวงจันทร์วันเพ็ญ
จงทำลายกองแห่งความมืดด้วยปัญญาที่บริบูรณ์

๔. ติสสาเถรีคาถา
ภาษิตของพระติสสาเถรี
(พระติสสาเถรีรับพระพุทธโอวาทแล้วได้กล่าวภาษิตนี้ว่า)
[๔] ติสสา เธอจงศึกษาในไตรสิกขา
โยคกิเลสทั้งหลายอย่าได้ครอบงำเธอเลย
เธอจงพรากจากกิเลสโยคะทั้งหมด
ท่องเที่ยวไปในโลกอย่างไม่มีอาสวะเถิด

๕. อัญญตราติสสาเถรีคาถา
ภาษิตของพระติสสาเถรีอีกรูปหนึ่ง
พระติสสาเถรีอีกรูปหนึ่ง (รับพระพุทธโอวาทแล้วได้กล่าวภาษิตนี้ว่า)
[๕] ติสสา เธอจงประกอบธรรมทั้งหลายเถิด
ขณะอย่าได้ล่วงเลยเธอไป
เพราะผู้ที่มีขณะล่วงเลยไปแล้ว
จะต้องเศร้าโศกแออัดกันอยู่ในนรก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๕๒ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๑. เอกกนิบาต] ๘. มิตตเถรีคาถา
๖. ธีราเถรีคาถา
ภาษิตของพระธีราเถรี
พระธีราเถรี(รับพระพุทธโอวาทแล้วได้กล่าวภาษิตนี้ว่า)
[๖] ธีรา เธอจงสัมผัสนิโรธซึ่งเป็นความสงบ
ระงับสัญญาอันเป็นสุข
จงยินดีนิพพานที่ยอดเยี่ยมซึ่งปลอดโปร่งโยคกิเลสเถิด

๗. อัญญตราธีราเถรีคาถา
ภาษิตของพระธีราเถรีอีกรูปหนึ่ง
พระธีราเถรีอีกรูปหนึ่ง(รับพระพุทธโอวาทแล้วได้กล่าวภาษิตนี้ว่า)
[๗] ธีราภิกษุณีผู้อบรมอินทรีย์แล้วด้วยธรรมทั้งหลายที่ทรงไว้
ย่อมชนะมาร๑พร้อมทั้งเสนามาร๒
แล้วดำรงไว้ซึ่งกายที่มีในภพสุดท้าย

๘. มิตตาเถรีคาถา
ภาษิตของพระมิตตาเถรี
พระมิตตาเถรี(รับพระพุทธโอวาทแล้วได้กล่าวภาษิตนี้ว่า)
[๘] มิตตา เธอบวชแล้วด้วยศรัทธา
จงยินดีในกัลยาณมิตร
เจริญกุศลธรรมเพื่อบรรลุธรรมที่ปลอดโปร่งจากโยคะกิเลสเถิด

เชิงอรรถ :
๑ กิเลสมาร (ขุ.เถรี.อ. ๗/๑๖)
๒ วัตถุกาม (ขุ.เถรี.อ. ๗/๑๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๕๓ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๑. เอกกนิบาต] ๑๑. มุตตาเถรีคาถา
๙. ภัทราเถรีคาถา
ภาษิตของพระภัทราเถรี
พระภัทราเถรี(รับพระพุทธโอวาทแล้วได้กล่าวภาษิตนี้ว่า)
[๙] ภัทรา เธอบวชแล้วด้วยศรัทธา
จงยินดีในธรรมที่ดีงาม
เจริญกุศลธรรมเพื่อบรรลุธรรมที่ยอดเยี่ยม
ซึ่งปลอดโปร่งจากโยคะกิเลสเถิด

๑๐. อุปสมาเถรีคาถา
ภาษิตของพระอุปสมาเถรี
พระอุปสมาเถรี(รับพระพุทธโอวาทแล้วได้กล่าวภาษิตนี้ว่า)
[๑๐] อุปสมา เธอพึงข้ามโอฆะ๑ซึ่งเป็นบ่วงมารที่ข้ามได้แสนยาก
จงชนะมารพร้อมทั้งเสนามาร
ดำรงไว้ซึ่งกายที่มีในภพสุดท้ายเถิด

๑๑. มุตตาเถรีคาถา
ภาษิตของพระมุตตาเถรี
พระมุตตาเถรี(รับพระพุทธโอวาทแล้วได้กล่าวภาษิตนี้ว่า)
[๑๑] เราเป็นผู้พ้นด้วยดี พ้นโดยชอบด้วยความพ้นจาก
ความค่อม ๓ อย่าง คือ
(๑) ค่อมเพราะครก (๒) ค่อมเพราะสาก (๓) ค่อมเพราะสามี
เป็นผู้พ้นจากความเกิดและความตาย
ถอนตัณหาที่นำไปสู่ภพได้แล้ว

เชิงอรรถ :
๑ สังสารวัฏ (ขุ.เถรี.อ. ๑๐/๑๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๕๔ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๑. เอกกนิบาต] ๑๕. อุตตราเถรีคาถา
๑๒. ธัมมทินนาเถรีคาถา
ภาษิตของพระธัมมทินนาเถรี
พระธรรมทินนาเถรี(รับพระพุทธโอวาทแล้วได้กล่าวภาษิตนี้ว่า)
[๑๒] ผู้ที่เกิดฉันทะมีอัตภาพสุดท้ายก็พึงสัมผัสนิพพานด้วยใจ
มีจิตไม่ปฏิพัทธ์ในกามทั้งหลาย
บัณฑิตเรียกว่า ผู้มีกระแสในเบื้องบน๑

๑๓. วิสาขาเถรีคาถา
ภาษิตของพระวิสาขาเถรี
พระวิสาขาเถรี(รับพระพุทธโอวาทแล้วได้กล่าวภาษิตนี้ว่า)
[๑๓] ท่านทั้งหลาย จงทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้า
ที่บุคคลทำแล้วไม่เดือดร้อนในภายหลัง
จงรีบล้างเท้าทั้งสอง แล้วนั่ง ณ ที่อันสมควรเถิด

๑๔. สุมนาเถรีคาถา
ภาษิตฃองพระสุมนาเถรี
พระสุมนาเถรี(รับพระพุทธโอวาทแล้วได้กล่าวภาษิตนี้ว่า)
[๑๔] เธอพิจารณาเห็นธาตุทั้งหลายว่าเป็นทุกข์แล้วอย่ามาเกิดอีก
คลายความพอใจในภพแล้ว จะเป็นผู้สงบระงับท่องเที่ยวไป

๑๕. อุตตราเถรีคาถา
ภาษิตของพระอุตตราเถรี
พระอุตตราเถรี(รับพระพุทธโอวาทแล้วได้กล่าวภาษิตนี้ว่า)
[๑๕] เราเป็นผู้สำรวมกาย วาจา และใจ
ถอนตัณหาพร้อมทั้งมูลรากได้แล้ว เป็นผู้เย็นดับสนิทแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ อนาคามิมรรคและสุทธาวาส (ขุ.เถรี.อ. ๑๒/๒๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๕๕ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๑. เอกกนิบาต] ๑๘. สังฆาเถรีคาถา
๑๖. วุฑฒปัพพชิตสุมนาเถรีคาถา
ภาษิตของพระสุมนาเถรีผู้บวชเมื่อแก่
พระวุฑฒปัพพชิตสุมนาเถรี(รับพระพุทธโอวาทแล้วได้กล่าวภาษิตนี้ว่า)
[๑๖] สุมนาผู้เฒ่า เธอจงใช้ท่อนผ้าทำจีวรนุ่งห่ม
แล้วพักผ่อนตามสบายเถิด
เพราะเธอมีราคะสงบระงับแล้ว
เป็นผู้เย็น ดับสนิทแล้ว

๑๗. ธัมมาเถรีคาถา
ภาษิตของพระธัมมาเถรี
พระธรรมาเถรี(รับพระพุทธโอวาทแล้วได้กล่าวภาษิตนี้ว่า)
[๑๗] เราทุพพลภาพ มีกายสั่นเทา ถือไม้เท้าเที่ยวบิณฑบาต
ได้ล้มลงบนแผ่นดินตรงนั้นเอง
คราวนั้น จิตของเราหลุดพ้นแล้ว
เพราะเห็นโทษในกาย

๑๘. สังฆาเถรีคาถา
ภาษิตของพระสังฆาเถรี
พระสังฆาเถรี(รับพระพุทธโอวาทแล้วได้กล่าวภาษิตนี้ว่า)
[๑๘] เราละเรือน บุตร และสัตว์เลี้ยงซึ่งเป็นที่รัก บวชแล้ว
ละราคะโทสะ และคลายอวิชชาเสีย
ถอนตัณหาพร้อมทั้งมูลรากได้แล้ว
เป็นผู้สงบระงับ ดับสนิทแล้ว
เอกกนิบาต จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๕๖ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๒. ทุกนิบาต] ๒. เชนตาเถรีคาถา
๒. ทุกนิบาต
๑. อภิรูปนันทาเถรีคาถา
ภาษิตของพระนันทาเถรี
ทราบว่า พระผู้มีพระภาคตรัสสอนนันทาสิกขมานาผู้ยินดีในรูปที่สวยงาม
เนือง ๆ ด้วยพระคาถาเหล่านี้ (ภายหลังพระเถรีบรรลุอรหัตผลแล้วได้กล่าวภาษิต
นี้ว่า)
[๑๙] นันทา เธอจงพิจารณาดูกายซึ่งกระสับกระส่าย
ไม่สะอาด เป็นของเปื่อยเน่า
จงอบรมจิตให้ตั้งมั่นดี มีอารมณ์เดียว ด้วยอสุภภาวนาเถิด
[๒๐] และจงอบรมอนิมิตตวิโมกข์
ละเสียซึ่งอนุสัยคือมานะ
เพราะละมานะได้ แต่นั้นเธอจะอยู่อย่างสงบ

๒. เชนตาเถรีคาถา
ภาษิตของพระเชนตาเถรี
ทราบว่า พระเชนตาเถรีได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า
[๒๑] โพชฌงค์ ๗ ประการเป็นทางบรรลุนิพพานนี้
เราเจริญแล้วทั้งหมดตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้
[๒๒] เพราะเราได้เห็นพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นแล้ว
ร่างกายนี้เป็นร่างกายที่มีในภพสุดท้าย
ชาติสงสารสิ้นแล้ว
บัดนี้ไม่มีการเกิดอีก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๕๗ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๒. ทุกนิบาต] ๕. จิตตาเถรีคาถา
๓. สุมังคลมาตาเถรีคาถา
ภาษิตของพระสุมังคลมาตาเถรี
พระสุมังคลมาตาเถรี(ได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๒๓] เราพ้นดีแล้ว ในการพ้นดีแล้ว เป็นผู้พ้นแล้วโดยชอบจากสาก
จากสามีของเราผู้ไม่มีหิริ จากร่ม จากหม้อข้าว และจากงูน้ำ
[๒๔] เรากำลังตัดราคะ และโทสะ อาศัยโคนไม้
เข้าฌานอยู่โดยความสุขว่า สุขหนอ

๔. อัฑฒกาสีเถรีคาถา
ภาษิตของพระอัฑฒกาสีเถรี
พระอัฑฒกาสีเถรี(ได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๒๕] ส่วยของเรามีประมาณเท่าส่วยในกาสีชนบท
ชาวนิคมกำหนดราคาแคว้นกาสีนั้นไว้แล้ว
จึงตั้งราคาเราไว้ครึ่งหนึ่ง
[๒๖] ภายหลัง เราเบื่อหน่ายในรูป
และเมื่อเบื่อหน่ายจึงคลายความกำหนัด
เราอย่าพึงแล่นไปสู่ชาติสงสารบ่อย ๆ อีกเลย
เราบรรลุวิชชา ๓ ได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว

๕. จิตตาเถรีคาถา
ภาษิตของพระจิตตาเถรี
พระจิตตาเถรี(ได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๒๗] เราเป็นผู้มีร่างกายผ่ายผอม เป็นไข้ อ่อนเพลียมาก
ต้องเดินถือไม้เท้าไปไหน ๆ ก็จริงนะ
ถึงอย่างนั้น ก็ยังขึ้นภูเขาได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๕๘ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๒. ทุกนิบาต] ๗. มิตตาเถรีคาถา
[๒๘] เราเก็บผ้าสังฆาฏิ และคว่ำบาตรแล้ว
ข่มตนทำลายกองความมืดได้แล้วบนภูเขา

๖. เมตติกาเถรีคาถา
ภาษิตของพระเมตติกาเถรี
พระเมตติกาเถรี(ได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๒๙] เราประสบทุกข์ เสื่อมกำลัง ผ่านวัยสาวไปแล้ว
ต้องเดินถือไม้เท้าไปไหน ๆ ก็จริงนะ
ถึงอย่างนั้น ก็ยังขึ้นภูเขาได้
[๓๐] เราเก็บผ้าสังฆาฏิ และคว่ำบาตรแล้ว นั่งบนภูเขา
ครั้งนั้น จิตของเราหลุดพ้นแล้ว
เราได้บรรลุวิชชา ๓ ได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว

๗. มิตตาเถรีคาถา
ภาษิตของพระมิตตาเถรี
พระมิตตาเถรี(ได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๓๑] เรายินดีเพลิดเพลินเทพนิกาย
จึงเข้าจำอุโบสถซึ่งประกอบด้วยองค์ ๘
ตลอดวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ ๘ ค่ำแห่งปักษ์
และตลอดปาฏิหาริยปักษ์
[๓๒] เราเมื่อปรารถนาหมู่เทพจึงได้เข้าจำอุโบสถวันนี้
เรานั้นฉันอาหารมื้อเดียว
ปลงผม ห่มผ้าสังฆาฏิ บวชแล้ว
ไม่พึงปรารถนาเทพนิกาย
กำจัดความกระวนกระวายในใจเสียได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๕๙ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๒. ทุกนิบาต] ๑๐. สามาเถรีคาถา
๘. อภยมาตุเถรีคาถา
ภาษิตของพระอภยมาตุเถรี
พระอภยมาตุเถรี(ได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๓๓] แม่เจ้า ท่านจงพิจารณาร่างกายนี้ เบื้องบนตั้งแต่พื้นเท้าขึ้นไป
เบื้องล่างตั้งแต่ปลายผมลงมาว่า เป็นของไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็นเน่า
[๓๔] เราพิจารณาอยู่อย่างนี้ จึงถอนราคะทั้งปวงได้
ตัดความเร่าร้อนได้ขาด เป็นผู้เย็นดับสนิทแล้ว

๙. อภยาเถรีคาถา
ภาษิตของพระอภยาเถรี
พระอภยาเถรี(ได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๓๕] อภยา กายซึ่งปุถุชนทั้งหลายข้องอยู่ มีสภาวะที่จะต้องแตกไป
เราจะเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะอยู่เฉพาะหน้า ละทิ้งกายนี้เสีย
[๓๖] เราถูกทุกข์มากมายกระทบแล้ว จึงยินดีในความไม่ประมาท
บรรลุความสิ้นตัณหา ได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว

๑๐. สามาเถรีคาถา
ภาษิตของพระสามาเถรี
พระสามาเถรี(ได้กล่าวภาษิตนี้ว่า)
[๓๗] เราบังคับจิตให้อยู่ในอำนาจไม่ได้ จึงไม่ได้ความสงบใจ
ต้องเข้าออกจากที่อยู่ถึง ๔-๕ ครั้ง
ตั้งแต่ได้รับโอวาทของพระอานนทเถระแล้ว
ในคืนที่ ๘ เรานั้นจึงถอนตัณหาได้
[๓๘] เราถูกทุกข์มากมายกระทบแล้ว จึงยินดีในความไม่ประมาท
บรรลุความสิ้นตัณหา ได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว
ทุกนิบาต จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๖๐ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๓. ติกนิบาต] ๒. อุตตมาเถรีคาถา
๓. ติกนิบาต
๑. อปราสามาเถรีคาถา
ภาษิตของพระอปราสามาเถรี
พระอปราสามาเถรี(ได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๓๙] ตั้งแต่เราบวชมาแล้ว ๒๕ พรรษา
ยังไม่รู้สึกว่าได้ความสงบจิตในกาลไหน ๆ เลย
[๔๐] เราบังคับจิตให้อยู่ในอำนาจไม่ได้ จึงไม่ได้ความสงบจิต
เพราะเหตุนั้น เรามาระลึกถึงคำสอนของพระชินเจ้า
จึงได้ถึงความสังเวช
[๔๑] ถูกทุกข์มากมายกระทบแล้ว จึงยินดีในความไม่ประมาท
บรรลุความสิ้นตัณหา ได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว
วันนี้เป็นคืนที่ ๗ นับแต่วันที่เราทำตัณหาให้แห้งสนิทแล้ว

๒. อุตตมาเถรีคาถา
ภาษิตของพระอุตตมาเถรี
พระอุตตมาเถรี(ได้กล่าวภาษิตนี้ว่า)
[๔๒] เราบังคับจิตให้อยู่ในอำนาจไม่ได้ จึงไม่ได้ความสงบจิต
ต้องเข้าออกจากที่อยู่ถึง ๔-๕ ครั้ง
[๔๓] ได้เข้าไปหาภิกษุณีผู้มีวาจาที่เชื่อถือได้
ท่านได้แสดงธรรม คือขันธ์ อายตนะ และธาตุแก่เรา
[๔๔] เราฟังธรรมของท่านแล้วได้ปฏิบัติตามที่ท่านพร่ำสอน
เอิบอิ่มด้วยสุขที่เกิดแต่ปีติ
นั่งขัดสมาธิท่าเดียวตลอด ๗ วัน
ในวันที่ ๘ ทำลายกองความมืดได้แล้ว จึงเหยียดเท้าออก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๖๑ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๓. ติกนิบาต] ๔. ทันติกาเถรีคาถา
๓. อปราอุตตมาเถรีคาถา
ภาษิตของพระอปราอุตตมาเถรี
พระอปราอุตตมาเถรี(ได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๔๕] โพชฌงค์ ๗ ประการเป็นทางบรรลุนิพพานนี้
เราเจริญแล้วทั้งหมดตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้
[๔๖] ได้สุญญตสมาบัติและอนิมิตตสมาบัติเป็นประจำตามปรารถนา
เราเป็นธิดาซึ่งเกิดแต่พระอุระของพระพุทธเจ้า
ยินดีแล้วในนิพพานทุกเมื่อ
[๔๗] กามทั้งปวงทั้งที่เป็นของทิพย์และของมนุษย์เราก็ตัดขาดแล้ว
การเวียนว่ายตายเกิดสิ้นไปแล้ว
บัดนี้ไม่มีการเกิดอีก

๔. ทันติกาเถรีคาถา
ภาษิตของพระทันติกาเถรี
พระทันติกาเถรี(ได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๔๘] เราออกจากที่พักกลางวันบนภูเขาคิชฌกูฏ
ได้เห็นช้างลงสู่แม่น้ำแล้ว ขึ้นที่ฝั่งแม่น้ำจันทภาคา
[๔๙] นายควาญช้างถือขอแล้ว ร้องบอกว่า จงเหยียดเท้าออก
ช้างเหยียดเท้าออกแล้ว
นายควาญช้างจึงขึ้นขี่ช้าง
[๕๐] เราเห็นช้างที่ไม่เคยได้รับการฝึก
ครั้นได้รับการฝึกแล้ว ตกอยู่ในอำนาจของมนุษย์ทั้งหลาย
ภายหลังแต่ได้เห็นช้างนั้น เราจึงเข้าป่า
ทำจิตให้เป็นสมาธิเพราะกิริยาช้างนั้นเป็นเหตุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๖๒ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๓. ติกนิบาต] ๖. สุกกาเถรีคาถา
๕. อุพพิรีเถรีคาถา
ภาษิตของพระอุพพิรีเถรี
(พระศาสดาประทับนั่งในพระคันธกุฎี แสดงพระองค์แก่พระอุพพิรีเถรี ได้
ตรัสพุทธภาษิตนี้ว่า)
[๕๑] อุพพิรีเธอคร่ำครวญอยู่ในป่าว่า ลูกชีวาเอ๋ย ดังนี้
เธอจงรู้สึกตนก่อนเถิด
บรรดาธิดาของเธอที่มีชื่อเหมือนกันว่า ชีวา
ถูกเผาอยู่ในป่าช้านี้ทั้งหมดถึง ๘๔,๐๐๐ คน
เธอเศร้าโศกถึงธิดาคนไหน
พระอุพพิรีเถรี(บรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อจะกราบทูล ได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๕๒] ลูกศรคือความโศกที่เห็นได้ยาก ซึ่งเสียบที่หทัยหม่อมฉัน
หม่อมฉันถอนขึ้นได้แล้ว เพราะพระองค์ได้ทรงช่วยบรรเทาความ
โศกถึงธิดาของหม่อมฉันซึ่งถูกความโศกครอบงำ
[๕๓] วันนี้ หม่อมฉันนั้นถอนลูกศรคือความโศกขึ้นได้แล้ว
หมดความอยาก ดับรอบแล้ว
ได้ถึงมุนีพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก

๖. สุกกาเถรีคาถา
ภาษิตของพระสุกกาเถรี
พระสุกกาเถรี(ได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๕๔] พวกมนุษย์เมืองราชคฤห์เหล่านี้ทำอะไรกัน
มัวดื่มน้ำผึ้ง๑ ดีดนิ้วมืออยู่ ไม่เข้าไปหาพระสุกกาเถรีผู้กำลังแสดง
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าอยู่เล่า

เชิงอรรถ :
๑ น้ำหวานที่เกิดจากการหมักดองของเครื่องปรุงหลายอย่าง (เมรัย, น้ำเมา) (ขุ.เถรี.อ. ๕๔/๗๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๖๓ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๓. ติกนิบาต] ๗. เสลาเถรีคาถา
[๕๕] ส่วนพวกคนที่มีปัญญา
เข้าใจดื่มพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น
ซึ่งเป็นธรรมไม่นำกลับหลัง
ทำผู้ฟังให้ชุ่มชื่น มีโอชะ
ดุจบุคคลเดินทางไกลดื่มน้ำฝน
[๕๖] พระสุกกาเถรีมีธรรมบริสุทธิ์
ปราศจากราคะ
มีจิตตั้งมั่น ชนะมารพร้อมทั้งเสนามาร
ยังทรงร่างกายที่มีในภพสุดท้ายอยู่

๗. เสลาเถรีคาถา
ภาษิตของพระเสลาเถรี
(มารกล่าวกับพระเสลาเถรีว่า)
[๕๗] นิพพานเป็นที่สลัดออกไม่มีในโลก
ท่านจะทำประโยชน์อะไรด้วยวิเวกเล่า
เชิญท่านบริโภคความยินดีในกามทั้งหลายเถิด
อย่าได้เป็นผู้มีความเดือดร้อนในภายหลังเลย
พระเสลาเถรี(โต้ตอบมารด้วยภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๕๘] กามทั้งหลายเปรียบด้วยหอกและหลาว
เป็นเขียงรองสับขันธ์ทั้งหลาย
บัดนี้ เราไม่มีความยินดีในกามที่ท่านพูดถึง
[๕๙] เรากำจัดความเพลิดเพลินในกามทั้งปวงได้แล้ว
ทำลายกองแห่งความมืดได้แล้ว
มารผู้ชั่วช้าเลวทราม ท่านจงรู้อย่างนี้
ท่านถูกเรากำจัดแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๖๔ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๓. ติกนิบาต] ๘. โสมาเถรีคาถา
๘. โสมาเถรีคาถา
ภาษิตของพระโสมาเถรี
(มารกล่าวกับพระโสมาเถรีว่า)
[๖๐] ฐานะใดอันประเสริฐอย่างยิ่ง
คือพระอรหัตซึ่งฤๅษีทั้งหลายพึงบรรลุ
อันบุคคลเหล่าอื่นให้สำเร็จได้ยาก
ท่านเป็นหญิงมีปัญญาแค่ ๒ นิ้ว๑
ไม่สามารถจะบรรลุฐานะอันนั้นได้
พระโสมาเถรี(โต้ตอบมารด้วยภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๖๑] เมื่อจิตตั้งมั่นดี
ญาณเป็นไปอยู่
เมื่อเห็นแจ้งธรรมโดยชอบ
ความเป็นหญิงจะทำอะไรเราได้
[๖๒] เรากำจัดความเพลิดเพลินในกามทั้งปวงได้แล้ว
ทำลายกองแห่งความมืดได้แล้ว
มารผู้ชั่วช้าเลวทราม ท่านจงรู้อย่างนี้
ท่านถูกเรากำจัดแล้ว
ติกนิบาต จบ

เชิงอรรถ :
๑ มีปัญญาทราม (ขุ.เถรี.อ. ๖๐/๘๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๖๕ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๔. จตุกกนิบาต] ๑. ภัททกาปิลานีเถรีคาถา
๔. จตุกกนิบาต
๑. ภัททกาปิลานีเถรีคาถา
ภาษิตของพระภัททกาปิลานีเถรี
พระภัททกาปิลานีเถรี(ได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๖๓] พระมหากัสสปเถระเป็นบุตร
เป็นทายาทของพระพุทธเจ้า
มีจิตตั้งมั่นดีแล้ว
ท่านระลึกชาติได้ ทั้งเห็นสวรรค์และอบาย
[๖๔] อนึ่ง ท่านถึงความสิ้นชาติ
เป็นผู้เสร็จกิจแล้ว เพราะรู้ยิ่ง เป็นมุนี
เป็นพราหมณ์ผู้ได้วิชชา ๓ ด้วยวิชชา ๓ เหล่านี้
[๖๕] พระภัททกาปิลานีเถรีก็ได้วิชชา ๓ เหมือนพระมหากัสสปะ
ละมัจจุราชได้
ชนะมารพร้อมทั้งเสนามารได้แล้ว
ยังทรงร่างกายที่มีในภพสุดท้ายอยู่
[๖๖] เราทั้ง ๒ เห็นโทษทางโลก แล้วออกบวช
ฝึกฝนตน สิ้นอาสวะ
เป็นผู้เย็น ดับสนิทแล้ว
จตุกกนิบาต จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๖๖ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๕. ปัญจกนิบาต] ๒. วิมลาเถรีคาถา
๕. ปัญจกนิบาต
๑. อัญญตราเถรีคาถา
ภาษิตของพระอัญญตราเถรี
พระเถรีรูปหนึ่ง(ได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๖๗] ตั้งแต่เราบวชมาตลอด ๒๕ พรรษา ยังไม่ประสพความสงบจิต
แม้ชั่วเวลาเพียงลัดนิ้วมือเดียวเลย
[๖๘] เราไม่ได้ความสงบจิต มีจิตชุ่มด้วยกามราคะ
เดินประคองแขนคร่ำครวญเข้าไปสู่วิหาร
[๖๙] ได้เข้าไปหาภิกษุณีผู้มีวาจาที่เชื่อถือได้
ท่านได้แสดงธรรม คือ ขันธ์ อายตนะ และธาตุแก่เรา
[๗๐] เราฟังธรรมของท่านแล้ว เข้าไปนั่ง ณ ที่สมควร
ระลึกชาติได้ ชำระทิพยจักษุให้หมดจดแล้ว
[๗๑] เราชำระเจโตปริยญาณและโสตธาตุให้หมดจดแล้ว
แม้ฤทธิ์เราก็ทำให้แจ้งแล้ว ธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะเราก็บรรลุแล้ว
อภิญญา ๖ เราก็ทำให้แจ้งแล้ว
เราได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว

๒. วิมลาเถรีคาถา
ภาษิตของพระวิมลาเถรี
พระวิมลาเถรีผู้เคยเป็นหญิงคณิกา๑ (ได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๗๒] เรามัวเมาด้วยผิวพรรณ รูปสมบัติ ความสวยงาม บริวารยศ
และเป็นผู้มีจิตกระด้างอย่างยิ่ง ด้วยความเป็นสาว ดูหมิ่นหญิงอื่น

เชิงอรรถ :
๑ หญิงแพศยา หรือหญิงโสเภณี (ขุ.เถรี.อ. ๗๒/๙๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๖๗ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๕. ปัญจกนิบาต] ๓. สีหาเถรีคาถา
[๗๓] ประดับร่างกายนี้ให้วิจิตรงดงามสำหรับลวงชายโง่
ได้ยืนอยู่ที่ประตูเรือนหญิงแพศยา
ดุจนายพรานเนื้อวางบ่วงดักเนื้อไว้
[๗๔] เราอวดเครื่องประดับต่าง ๆ เป็นอันมาก
และอวดอวัยวะที่ควรปกปิดให้ปรากฏ
กระซิกกระซี้ ได้ทำมายาหลายอย่างให้ชายจำนวนมากลุ่มหลง
[๗๕] วันนี้ เรานั้นปลงผมห่มผ้าสังฆาฏิ บวช เที่ยวบิณฑบาต
แล้วมานั่งอยู่ที่โคนต้นไม้ ได้ฌานที่ไม่มีวิตก๑
[๗๖] ได้ตัดกิเลสเป็นเหตุเกาะเกี่ยว
ทั้งที่เป็นของทิพย์และของมนุษย์ได้ทั้งหมด
ทำอาสวะทั้งปวงให้สิ้นไป เป็นผู้เย็น ดับสนิทแล้ว

๓. สีหาเถรีคาถา
ภาษิตของพระสีหาเถรี
พระสีหาเถรี(ได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๗๗] เมื่อก่อน เราได้ถูกกามราคะเบียดเบียน มีจิตฟุ้งซ่าน
บังคับจิตให้อยู่ในอำนาจไม่ได้ เพราะไม่ทำไว้ในใจโดยแยบคาย
[๗๘] ถูกกิเลสกลุ้มรุม มักเข้าใจกามว่าสวยงาม
ตกอยู่ในอำนาจราคะ จึงไม่ได้ความสงบจิต
[๗๙] ผอมเหลือง และมีผิวพรรณไม่ผ่องใส
ประพฤติ(พรหมจรรย์)อยู่ ๗ ปี มีแต่ทุกข์
ไม่ได้ความสุขทั้งกลางวันและกลางคืน

เชิงอรรถ :
๑ ได้บรรลุทุติยฌาน (ขุ.เถรี.อ. ๗๕/๑๐๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๖๘ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๕. ปัญจกนิบาต] ๔. สุนทรีนันทาเถรีคาถา
[๘๐] เพราะเหตุนั้น เราจึงถือเชือกเข้าไปสู่ราวป่า ด้วยคิดว่า
จะผูกคอตายเสียในที่นี้ ดีกว่าที่จะกลับไปเป็นคฤหัสถ์อีก
[๘๑] จึงทำบ่วงให้มั่น ผูกที่กิ่งไม้ แล้วสวมบ่วงที่คอ
ทันใดนั้น จิตของเราก็หลุดพ้นจากกิเลส

๔. สุนทรีนันทาเถรีคาถา
ภาษิตของพระสุนทรีนันทาเถรี
(พระศาสดาเมื่อจะทรงแสดงธรรมให้เหมาะแก่พระสุนทรีนันทาเถรี จึงได้ตรัส
พระพุทธภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๘๒] นันทา เธอจงพิจารณาดูร่างกายซึ่งกระสับกระส่าย
ไม่สะอาด เป็นของเปื่อยเน่า
จงอบรมจิตให้ตั้งมั่นดี มีอารมณ์เดียว ด้วยอสุภภาวนา
[๘๓] ร่างกายหญิงที่เนรมิตขึ้นนี้ ฉันใด
ร่างกายของเธอนั่น ก็ฉันนั้น
ร่างกายของเธอนั่น ฉันใด
ร่างกายหญิงที่เนรมิตขึ้นนี้ ก็ฉันนั้น
ร่างกายเป็นของเปื่อยเน่า มีกลิ่นเหม็นฟุ้งไป
ที่พวกคนเขลาเพลิดเพลินกันยิ่งนัก
[๘๔] เมื่อเธอพิจารณาร่างกายนั้นอย่างนี้
ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน
แต่นั้น จะเห็นแจ้งด้วยปัญญาของตนเองได้
(พระสุนทรีเถรีบรรลุพระอรหัตแล้วได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๘๕] เมื่อเรานั้นไม่ประมาท
ค้นคว้าอยู่โดยแยบคาย
ได้เห็นร่างกายนี้ทั้งภายในและภายนอกตามความเป็นจริง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๖๙ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๕. ปัญจกนิบาต] ๕. นันทุตตราเถรีคาถา
[๘๖] ทีนั้น เราจึงเบื่อหน่ายในร่างกาย
และคลายความกำหนัดในภายใน
ไม่ประมาท ไม่เกาะเกี่ยวในสิ่งอะไร ๆ
เป็นผู้สงบระงับ ดับสนิทแล้ว

๕. นันทุตตราเถรีคาถา
ภาษิตของพระนันทุตตราเถรี
พระนันทุตตราเถรี(ได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๘๗] เราบูชาไฟ ไหว้ดวงจันทร์
ดวงอาทิตย์ และเทวดา
ไปยังท่าน้ำแล้วลงดำน้ำ
[๘๘] สมาทานวัตรมากมาย
โกนศีรษะครึ่งหนึ่ง นอนบนแผ่นดิน
ไม่บริโภคอาหารในเวลากลางคืน
[๘๙] แต่ยังยินดีการประดับตกแต่ง
บำรุงร่างกายนี้ด้วยการอาบน้ำและขัดสี
ถูกกามราคะครอบงำแล้ว
[๙๐] ต่อมา ได้ศรัทธา บวชเป็นบรรพชิต
เห็นร่างกายตามความเป็นจริง
จึงถอนกามราคะได้
[๙๑] ตัดภพ ความอยาก และความปรารถนาได้ทั้งหมด
ไม่เกาะเกี่ยวด้วยกิเลสเครื่องผูกทุกอย่าง
บรรลุความสงบใจแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๗๐ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๕. ปัญจกนิบาต] ๗. สกุลาเถรีคาถา
๖. มิตตากาฬีเถรีคาถา
ภาษิตของพระมิตตากาฬีเถรี
พระมิตตากาฬีเถรี(ได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๙๒] เราออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา
แต่เป็นผู้ขวนขวายในลาภสักการะเที่ยวไปด้วยเหตุนั้น ๆ
[๙๓] ละทิ้งประโยชน์ที่ยอดเยี่ยม ถือเอาประโยชน์ที่เลว
ตกอยู่ในอำนาจของกิเลส
ไม่ยินดีประโยชน์ของความเป็นสมณะ
[๙๔] เมื่อเรานั้นนั่งในที่อยู่ ได้เกิดความสังเวชว่า
เราเดินทางผิดเสียแล้ว ตกอยู่ในอำนาจของตัณหา
[๙๕] ชีวิตของเราน้อย ชราและพยาธิย่ำยี
ร่างกายนี้จะแตกสลายไปเสียก่อน
ไม่ใช่เวลาที่เราจะประมาท
[๙๖] เมื่อเราพิจารณาถึงความเกิดขึ้น
และความเสื่อมไปของขันธ์ทั้งหลายตามความเป็นจริง
จึงได้ดำรงอยู่อย่างผู้มีจิตหลุดพ้น
เราได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว

๗. สกุลาเถรีคาถา
ภาษิตของพระสกุลาเถรี
พระสกุลาเถรี(ได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๙๗] เมื่อเรายังอยู่ในเรือน ฟังธรรมของภิกษุแล้ว
ได้เห็นนิพพานซึ่งเป็นธรรมปราศจากกิเลสดุจธุลี
เป็นทางถึงความสุข ไม่จุติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๗๑ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๕. ปัญจกนิบาต] ๘. โสณาเถรีคาถา
[๙๘] เรานั้นละบุตรธิดา ทรัพย์ และข้าวเปลือก
โกนผมแล้วบวชเป็นบรรพชิต
[๙๙] เป็นสิกขมานาอยู่ เจริญมรรคเบื้องสูง จึงละราคะ โทสะ
และอาสวะทั้งหลายที่ประกอบด้วยราคะและโทสะนั้นได้
[๑๐๐] อุปสมบทเป็นภิกษุณีแล้ว ระลึกชาติก่อนได้
ชำระทิพยจักษุที่อบรมแล้วอย่างดีให้หมดมลทินได้
[๑๐๑] เห็นสังขารทั้งหลายเป็นอนัตตาอันเกิดแต่เหตุ
มีสภาวะทรุดโทรมโดยความเป็นอนัตตาแล้วละอาสวะทั้งปวงได้
จึงเป็นผู้เย็นดับสนิทแล้ว

๘. โสณาเถรีคาถา
ภาษิตของพระโสณาเถรี
พระโสณาเถรี(ได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๑๐๒] ในเรือนร่างคือรูปนี้ เราคลอดบุตร ๑๐ คน
เพราะเหตุนั้น จึงทรุดโทรมแก่ไป ได้เข้าไปหาภิกษุณี
[๑๐๓] ภิกษุณีนั้นแสดงธรรม คือ ขันธ์ อายตนะ และธาตุแก่เรา
เราฟังธรรมของท่านแล้วก็โกนผมบวช
[๑๐๔] เมื่อเราศึกษาอยู่ ก็ชำระทิพยจักษุให้หมดจด
ระลึกถึงชาติก่อนที่เราเคยอยู่อาศัยมา
[๑๐๕] และเจริญอนิมิตตสมาธิ๑ มีจิตตั้งมั่นดี มีอารมณ์เดียว
มีวิโมกข์๒เกิดขึ้นในลำดับ ไม่ยึดมั่น ดับสนิทแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ สมาธิที่พิจารณาธรรมไม่มีนิมิต ได้แก่ วิปัสสนาที่ให้ถึงความหลุดพ้นด้วยอำนาจอนิจจลักษณะ (ที.ปา.อ.
๙/๓๐๕)
๒ ความหลุดพ้นที่เกิดขึ้นโดยลำดับนับแต่ปฐมมรรค(โสดาปัตติมรรค)เป็นต้นไปจนถึงอรหัตตผล (ขุ.เถรี.อ.
๑๐๕/๑๒๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๗๒ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๕. ปัญจกนิบาต] ๙. ภัททากุณฑลเกสาเถรีคาถา
[๑๐๖] ขันธ์ ๕ ที่เรากำหนดรู้แล้ว
มีรากอันขาดแล้ว คงอยู่
สิ่งที่ยังคงอยู่ ก็คงมีอยู่ในกายที่คร่ำคร่า เลวทราม
บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก

๙. ภัททากุณฑลเกสาเถรีคาถา
ภาษิตของพระภัททากุณฑลเกสาเถรี
(พระภัททากุณฑลเกสาเถรีได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๑๐๗] เมื่อก่อนเราถอนผม อมขี้ฟัน
มีผ้าผืนเดียว เที่ยวไป
สำคัญในสิ่งที่ไม่มีโทษว่ามีโทษ
และเห็นในสิ่งที่มีโทษว่าไม่มีโทษ
[๑๐๘] เราจากที่พักกลางวันบนภูเขาคิชกูฏ
ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากกิเลส
แวดล้อมด้วยหมู่ภิกษุ
[๑๐๙] จึงคุกเข่าถวายบังคม ทำอัญชลีเบื้องพระพักตร์
พระองค์ได้ตรัสว่า มาเถิด ภัททา
พระดำรัสนั้น ทำให้เราได้อุปสมบทแล้ว
[๑๑๐] เมื่อก่อน เราบริโภคก้อนข้าวของชาวแว่นแคว้นอย่างเป็นหนี้
จาริกไปทั่วแคว้นอังคะ มคธ วัชชี กาสี และโกศล
ตั้งแต่พบพระศาสดา เราบริโภคก้อนข้าวของชาวแว่นแคว้นอย่าง
ไม่เป็นหนี้มา ๕๐ ปีแล้ว
[๑๑๑] ก็อุบาสกที่ได้ถวายจีวรแก่เราผู้ชื่อว่าภัททา
ซึ่งพ้นจากกิเลสที่ร้อยรัดทุกอย่าง
เป็นคนมีปัญญา ได้ประสบบุญเป็นอันมาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๗๓ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๕. ปัญจกนิบาต] ๑๑. ติงสมัตตาเถรีคาถา
๑๐. ปฏาจาราเถรีคาถา
ภาษิตของพระปฏาจาราเถรี
(พระปฏาจาราเถรีได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๑๑๒] มาณพทั้งหลายใช้ไถ ไถนา หว่านเมล็ดพืชลงบนแผ่นดิน
ได้ทรัพย์มาเลี้ยงดูบุตรและภรรยา
[๑๑๓] เรามีศีลสมบูรณ์ ทำตามคำสั่งสอนของพระศาสดา
ไม่เกียจคร้าน ไม่ฟุ้งซ่าน ไฉนจะไม่บรรลุนิพพานเล่า
[๑๑๔] เราล้างเท้า เห็นน้ำล้างเท้าไหลจากที่ดอนมาสู่ที่ลุ่ม
ใส่ใจนิมิตในน้ำ
[๑๑๕] แต่นั้น เราตั้งใจไว้มั่นคง ดุจม้าอาชาไนยที่ดี
ลำดับนั้น ถือประทีปเข้าไปยังวิหาร ตรวจดูที่นอน ขึ้นนั่งบนเตียง
[๑๑๖] ต่อแต่นั้น ถือลูกดาล(ปิดประตูลงกลอน) หมุนไส้ประทีปลง
ความหลุดพ้นทางใจก็ได้มี
เหมือนประทีปติดโพลงแล้วดับลง

๑๑. ติงสมัตตาเถรีคาถา
ภาษิตของพระติงสมัตตาเถรี
ทราบว่า พระเถรีประมาณ ๓๐ รูปนี้ได้พยากรณ์อรหัตตผลในสำนักพระ
ปฏาจาราเถรีอย่างนี้ว่า
[๑๑๗] มาณพทั้งหลายถือสากตำข้าว
ได้ทรัพย์มาเลี้ยงดูบุตรและภรรยา
[๑๑๘] ท่านทั้งหลายจงทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ที่บุคคลกระทำแล้วไม่เดือดร้อนในภายหลัง
จงรีบล้างเท้า แล้วนั่ง ณ ที่สมควรเถิด
จงประกอบความสงบใจเนือง ๆ
กระทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๗๔ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๕. ปัญจกนิบาต] ๑๒. จันทาเถรีคาถา
[๑๑๙] ภิกษุณีเหล่านั้นฟังคำสั่งสอนของปฏาจาราเถรีนั้นแล้ว
ล้างเท้าเข้าไปนั่ง ณ ที่สมควร ได้ประกอบความสงบใจเนือง ๆ
กระทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้า
[๑๒๐] ในปฐมยามแห่งราตรี พากันระลึกชาติก่อนได้
ในมัชฌิมยามแห่งราตรี ชำระทิพยจักษุให้หมดจดได้
ในปัจฉิมยามแห่งราตรี ทำลายกองแห่งความมืดได้
[๑๒๑] ภิกษุณีเหล่านั้น พากันลุกขึ้นกราบเท้าพระเถรีพร้อมกับกล่าวว่า
พวกเราทำตามคำสอนของท่านแล้ว จะอยู่แวดล้อมท่าน
เหมือนเทวดาชั้นดาวดึงส์แวดล้อมท้าวสักกะผู้ชนะในสงคราม
พวกเราได้บรรลุวิชชา ๓ แล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะ

๑๒. จันทาเถรีคาถา
ภาษิตของพระจันทาเถรี
พระจันทาเถรี(ได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๑๒๒] เมื่อก่อน เราเป็นคนเข็ญใจ และเป็นหญิงหม้ายไม่มีบุตร
ปราศจากญาติมิตร ไม่ได้ความบริบูรณ์ด้วยอาหารและผ้า
[๑๒๓] ถือภาชนะและไม้เท้า เที่ยวขอทานจากตระกูลหนึ่งไปยังตระกูลหนึ่ง
ถูกความหนาวและความร้อนเบียดเบียน เที่ยวขอทานอยู่ถึง ๗ ปี
[๑๒๔] ต่อมาภายหลัง ได้พบปฏาจาราภิกษุณีผู้ได้ข้าวและน้ำอยู่เป็น
ประจำ จึงเข้าไปขอบวชเป็นบรรพชิต
[๑๒๕] และพระปฏาจาราภิกษุณีนั้นก็ได้กรุณาบวชให้เรา
ต่อมาท่านก็สั่งสอนเราให้ประกอบในประโยชน์อย่างยิ่ง
[๑๒๖] เราฟังคำของท่านแล้วได้ทำตามคำสอน
โอวาทของพระแม่เจ้าไม่เป็นโมฆะ
เราได้บรรลุวิชชา ๓ แล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะ
ปัญจกนิบาต จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๗๕ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๖. ฉักกนิบาต] ๑. ปัญจสตมัตตาเถรีคาถา
๖. ฉักกนิบาต
๑. ปัญจสตมัตตาเถรีคาถา
ภาษิตของพระปัญจสตมัตตาเถรี
(พระปฏาจาราเถรีกล่าวอบรมพระเถรี ๕๐๐ รูป ทีละรูปว่า)
[๑๒๗] ท่านไม่รู้ทางของสัตว์ใดผู้มาแล้วหรือไปแล้ว
เหตุไฉน ท่านจึงร้องไห้ถึงสัตว์ที่มาแล้วนั้นว่า บุตรของเรา
[๑๒๘] ถึงท่านจะรู้ทางของเขาผู้มาแล้วหรือไปแล้ว
ก็ไม่ควรเศร้าโศกถึงเขาเลย
เพราะว่าสัตว์ทั้งหลายย่อมมีอย่างนี้เป็นธรรมดา
[๑๒๙] สัตว์ผู้ใคร ๆ มิได้เชื้อเชิญก็มาจากปรโลกนั้น
ใคร ๆ ยังมิได้อนุญาตก็ไปจากโลกนี้
เขามาจากที่ไหนกันแน่หนอ อยู่ได้ ๒-๓ วัน
แล้วก็ไปจากภพนี้สู่ภพอื่นก็มี จากภพนั้นไปสู่ภพอื่นก็มี
[๑๓๐] เขาละไปแล้ว จะท่องเที่ยวไปโดยรูปร่างของมนุษย์
เขามาอย่างใด ก็ไปอย่างนั้น
ในเพราะเหตุนั้นจะร่ำไห้ไปทำไม
(พระเถรีประมาณ ๕๐๐ รูป กล่าวทีละรูปด้วยภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๑๓๑] ท่านได้บรรเทาความโศกถึงบุตรของดิฉันซึ่งถูกความโศกครอบงำ
นับว่าได้ช่วยถอนลูกศรคือความโศกที่เห็นได้ยาก
ซึ่งเสียบที่หทัยของดิฉันขึ้นแล้วหนอ
[๑๓๒] วันนี้ ดิฉันช่วยถอนลูกศรคือความโศกขึ้นได้แล้ว
หายอยาก ดับสนิทแล้ว
ขอถึงพระมุนีพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๗๖ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๖. ฉักกนิบาต] ๓. เขมาเถรีคาถา
๒. วาสิฏฐีเถรีคาถา
ภาษิตของพระวาสิฏฐีเถรี
พระวาสิฏฐีเถรี(ได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๑๓๓] เรากระทบกระเทือนใจเพราะความเศร้าโศกถึงบุตร
มีจิตฟุ้งซ่าน ไม่รู้สึกตัว
เปลือยกายและมีผมรุงรัง เที่ยวร้องไห้ไปตามที่ต่าง ๆ
[๑๓๔] ได้เที่ยวไปตามถนน กองขยะ ในป่าช้า
ในตรอกใหญ่ตรอกน้อย อด ๆ อยาก ๆ ถึง ๓ ปี
[๑๓๕] ภายหลัง ได้พบพระสุคตผู้ฝึกคนที่ยังไม่ได้ฝึก
ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง
ไม่เกิดความกลัวแต่ที่ไหน ๆ กำลังเสด็จไปยังกรุงมิถิลา
[๑๓๖] กลับได้สติแล้วเข้าไปถวายบังคม
พระโคดมพระองค์นั้น ได้ทรงพระกรุณาแสดงธรรมโปรดเรา
[๑๓๗] เราฟังธรรมของพระองค์แล้วบวชเป็นบรรพชิต
เพียรพยายามในคำสอนของพระศาสดา
ได้ทำให้แจ้งซึ่งบทธรรมอันปลอดโปร่ง
[๑๓๘] ถอนและละความโศกทั้งหมดได้แล้ว
เพราะเรากำหนดรู้วัตถุคืออุปาทานขันธ์ ๕
ซึ่งเป็นเหตุเกิดแห่งความโศกทั้งหลายได้

๓. เขมาเถรีคาถา
ภาษิตของพระเขมาเถรี
(มารใจบาปเมื่อจะประเล้าประโลมพระเถรีด้วยกามคุณ จึงได้กล่าวภาษิตนี้ว่า)
[๑๓๙] เธอยังเป็นสาว มีรูปสวย ถึงเราก็ยังหนุ่มรุ่น
มาสิ เขมา เรามาร่วมอภิรมย์กันด้วยดนตรีเครื่อง ๕ เถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๗๗ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๖. ฉักกนิบาต] ๔. สุชาตาเถรีคาถา
พระเขมาเถรี(เมื่อจะประกาศความไม่ยินดีของตน จึงได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๑๔๐] เราอึดอัดเอือมระอาด้วยกายที่เปื่อยเน่า กระสับกระส่าย
ซึ่งมีอันจะแตกพังไปเป็นธรรมดานี้อยู่
เราถอนกามตัณหาได้แล้ว
[๑๔๑] กามทั้งหลายเปรียบด้วยหอกและหลาว
เป็นเขียงรองสับขันธ์ทั้งหลาย
บัดนี้เราไม่มีความยินดีในกามที่ท่านพูดถึง
[๑๔๒] เรากำจัดความเพลิดเพลินในกามทั้งปวงได้แล้ว
ทำลายกองความมืดได้แล้ว
มารผู้ชั่วช้าเลวทราม ท่านจงรู้อย่างนี้
ท่านถูกเรากำจัดแล้ว
[๑๔๓] พวกคนเขลาไม่รู้ตามความเป็นจริง
พากันนอบน้อมดวงดาวทั้งหลาย
บูชาไฟอยู่ในป่าแล้วได้สำคัญว่าบริสุทธิ์
[๑๔๔] ส่วนเราแล นอบน้อมเฉพาะพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ซึ่งเป็นบุรุษสูงสุด จึงพ้นจากทุกข์ทั้งปวง
ชื่อว่าทำตามคำสั่งสอนของพระศาสดา

๔. สุชาตาเถรีคาถา
ภาษิตของพระสุชาดาเถรี
(พระสุชาดาเถรีได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ ด้วยการเปล่งอุทานว่า)
[๑๔๕] เราแต่งตัว นุ่งห่มผ้าอย่างดี สวมมาลัย ลูบไล้ด้วยจุรณแก่นจันทน์
ประดับด้วยอาภรณ์ทุกอย่าง มีหมู่สาวใช้แวดล้อม
[๑๔๖] ใช้หมู่สาวใช้ให้ถือข้าว น้ำ ของเคี้ยว และของบริโภคมิใช่น้อย
นำออกจากเรือนไปยังอุทยาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๗๘ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๖. ฉักกนิบาต] ๕. อโนปมาเถรีคาถา
[๑๔๗] รื่นรมย์สนุกสนานในอุทยานนั้นแล้ว
ขณะเดินกลับเรือนตน
แวะเข้าไปในป่าอัญชันใกล้เมืองสาเกตเพื่อชมวิหาร
[๑๔๘] ได้พบพระพุทธเจ้าผู้เป็นแสงสว่างของโลกแล้วเข้าไปเฝ้า
ถวายอภิวาทพระองค์ผู้มีพระจักษุ
ได้ทรงพระกรุณาแสดงธรรมโปรดเรา
[๑๔๙] และเราได้ฟังธรรมเทศนาของพระองค์
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่แล้ว
ก็ได้รู้แจ้งชัดสัจจะ ได้สัมผัสธรรมคืออมตบท
ซึ่งปราศจากกิเลสดุจธุลีในที่นั้นนั่นเอง
[๑๕๐] ต่อแต่นั้น ได้รู้แจ้งพระสัทธรรม
แล้วบวชเป็นบรรพชิต
ได้บรรลุวิชชา ๓ แล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไม่เปล่าปราศจากประโยชน์เลย

๕. อโนปมาเถรีคาถา
ภาษิตของพระอโนปมาเถรี
(พระอโนปมาเถรีได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ด้วยการเปล่งอุทานว่า)
[๑๕๑] เราเกิดในตระกูลสูงมีสิ่งของเครื่องปลื้มใจมาก
มีทรัพย์มาก สมบูรณ์ด้วยผิวพรรณสัณฐานและรูปร่าง
เป็นธิดาซึ่งเป็นลูกแท้ ๆ ของเมฆีเศรษฐี
[๑๕๒] เป็นผู้ที่พระราชโอรสปรารถนา บุตรเศรษฐีหมายปอง
เขาพากันส่งทูตไปขอต่อบิดาของเราว่า ขอจงให้อโนปมาแก่เรา
[๑๕๓] อโนปมาธิดาของท่านนั้นมีค่าตัวเท่าใด
เราจะให้เงินและทองเป็น ๘ เท่าต่อค่าตัวนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๗๙ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๖. ฉักกนิบาต] ๖. มหาปชาปติโคตมีเถรีคาถา
[๑๕๔] เรานั้นได้พบพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุดในโลก
ไม่มีผู้อื่นยิ่งไปกว่า แล้วเข้าไปเฝ้า ณ ที่สมควร
ได้ถวายอภิวาทพระยุคลบาทของพระองค์
[๑๕๕] พระโคดมพระองค์นั้นได้ทรงพระกรุณาแสดงธรรมโปรดเรา
เรานั่งอยู่ ณ อาสนะนั้น ก็ได้บรรลุผลที่ ๓๑
[๑๕๖] ครั้นแล้วก็โกนผมบวชเป็นบรรพชิต
วันนี้เป็นคืนที่ ๗ นับแต่วันที่เราทำตัณหาให้แห้งสนิทแล้ว

๖. มหาปชาปติโคตมีเถรีคาถา
ภาษิตของพระมหาปชาบดีโคตมีเถรี
(พระมหาปชาบดีโคตมีเถรีประสงค์จะสดุดีพระคุณพระศาสดา จึงได้กล่าว
ภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๑๕๗] พระพุทธเจ้าผู้ทรงแกล้วกล้าสูงสุดกว่าสัตว์ทั้งปวง
หม่อมฉันขอนอบน้อมพระพุทธองค์ผู้ทรงช่วยปลดเปลื้องหม่อมฉัน
และชนอื่นเป็นจำนวนมากให้พ้นจากทุกข์
[๑๕๘] หม่อมฉันกำหนดรู้ทุกข์ทั้งปวงแล้ว
ทำตัณหาซึ่งเป็นเหตุแห่งทุกข์ให้เหือดแห้งแล้ว
ได้เจริญมรรคซึ่งประกอบด้วยองค์ ๘ และได้บรรลุนิโรธแล้ว
[๑๕๙] ชนทั้งหลายเป็นมารดาบิดา เป็นบุตรธิดา เป็นพี่น้อง
เป็นปู่ย่าตายายกันมาในชาติก่อน ๆ
หม่อมฉันไม่รู้ตามความเป็นจริง
ไม่พบที่พึ่งจึงท่องเที่ยวไป

เชิงอรรถ :
๑ อนาคามิผล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๘๐ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๖. ฉักกนิบาต] ๗. คุตตาเถรีคาถา
[๑๖๐] เพราะหม่อมฉันได้พบพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นแล้ว
ร่างกายนี้เป็นร่างกายที่มีในภพสุดท้าย
การเวียนว่ายตายเกิดสิ้นไปแล้ว
บัดนี้ ไม่มีการเกิดอีก
[๑๖๑] ขอพระองค์โปรดทอดพระเนตรพระสาวกทั้งหลาย
ผู้บำเพ็ญเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว
มีความบากบั่นมั่นคงเป็นนิตย์ พร้อมเพรียงกัน
การกระทำโลกุตตรธรรมให้ประจักษ์แก่ตนนี้
นับว่าเป็นการประกาศพระคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
และพระพุทธสาวก
[๑๖๒] พระนางเจ้ามหามายาเทวี ประสูติพระโคดมมา
เพื่อประโยชน์แก่ชนเป็นอันมากหนอ
เพราะพระองค์ได้ทรงบรรเทากองทุกข์ ของสัตว์ทั้งหลาย
ที่ยังถูกพยาธิและมรณะทิ่มแทงแล้ว

๗. คุตตาเถรีคาถา
ภาษิตของพระคุตตาเถรี
(พระผู้มีพระภาคเมื่อจะทรงอนุเคราะห์พระคุตตาเถรีได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า)
[๑๖๓] คุตตา การละบุตรและสมบัติอันเป็นที่รัก
ออกบวชเพื่อประโยชน์แก่นิพพานใด
เธอจงพอกพูนนิพพานนั้นเนือง ๆ เถิด
อย่าตกอยู่ในอำนาจจิต
[๑๖๔] สัตว์ทั้งหลายผู้ยังไม่รู้แจ้ง ถูกจิตลวงแล้ว
ยินดีในสิ่งที่เป็นวิสัยของมาร
ย่อมพากันท่องเที่ยวไปสู่ชาติสงสารมิใช่น้อย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๘๑ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๖. ฉักกนิบาต] ๘. วิชยาเถรีคาถา
[๑๖๕] ภิกษุณี เธอละสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ อย่างนี้ คือ
สักกายทิฏฐิ๑ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส
กามราคะ ปฏิฆะ
[๑๖๖] ให้ขาดแล้ว อย่าได้กลับมาสู่กามภพนี้อีก
[๑๖๗] เธอละเว้นรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา
ตัดสังโยชน์ทั้งหลายแล้ว จะทำที่สุดทุกข์ได้
[๑๖๘] ทำชาติสงสารให้สิ้นไปแล้ว
กำหนดรู้ภพใหญ่
หมดความทะยานอยาก
จะเป็นผู้สงบระงับอยู่ในปัจจุบัน

๘. วิชยาเถรีคาถา
ภาษิตของพระวิชยาเถรี
(พระวิชยาเถรีได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ด้วยการรเปล่งอุทานว่า)
[๑๖๙] เราบังคับจิตให้อยู่ในอำนาจไม่ได้
จึงไม่ได้ความสงบใจ
ต้องเข้าออกจากที่อยู่ถึง ๔-๕ ครั้ง
[๑๗๐] จึงเข้าไปหาพระเขมาภิกษุณี
ไต่ถามโดยเคารพ
ท่านแสดงธรรมโปรดเรา คือ ธาตุ อายตนะ

เชิงอรรถ :
๑ สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นตัวของตน) วิจิกิจฉา (ความสงสัย) สีลัพพตปรามาส (ความถือมั่น
ศีลพรต) กามราคะ (ความกำหนัดในกาม) ปฏิฆะ (ความหงุดหงิดขัดเคือง) รูปราคะ (ความปรารถนา
ในรูปภพ) อรูปราคะ (ความปรารถนาในอรูปภพ) มานะ (ความสำคัญตน) อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าาน)
อวิชชา (ความไม่รู้จริง)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๘๒ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๖. ฉักกนิบาต] ๘. วิชยาเถรีคาถา
[๑๗๑] อริยสัจ ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗
และมรรคมีองค์ ๘ เพื่อบรรลุประโยชน์อันสูงสุด
[๑๗๒] เราฟังคำของท่านแล้วได้ปฏิบัติตามที่ท่านพร่ำสอน
ในปฐมยามแห่งราตรีก็ระลึกชาติก่อนได้
[๑๗๓] ในมัชฌิมยามแห่งราตรี ก็ชำระทิพยจักษุให้หมดจดได้
ในปัจฉิมยามแห่งราตรี ทำลายกองแห่งความมืดได้
[๑๗๔] ในกาลนั้น เรามีความสุขซึ่งเกิดแต่ปีติแผ่ไปทั่วร่างกายอยู่
ในวันที่ ๗ ก็ได้ทำลายกองแห่งความมืดได้แล้ว
จึงเหยียดเท้าออก
ฉักกนิบาต จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๘๓ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๗. สัตตกนิบาต] ๑. อุตตราเถรีคาถา
๗. สัตตกนิบาต
๑. อุตตราเถรีคาถา
ภาษิตของพระอุตตราเถรี
(พระปฏาจาราเถรีได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๑๗๕] มาณพทั้งหลายถือสากตำข้าว
ได้ทรัพย์มาเลี้ยงดูบุตรและภรรยา
[๑๗๖] ท่านทั้งหลายจงพากเพียรในคำสอนของพระพุทธเจ้า
ที่กระทำแล้วไม่เดือดร้อนในภายหลัง
จงรีบล้างเท้าแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
[๑๗๗] จงตั้งจิตให้แน่วแน่มีอารมณ์เดียวแล้ว
พิจารณาสังขารทั้งหลายโดยความเป็นของแปรปรวน
และโดยความเป็นของไม่ใช่ของตน
พระอุตตราเถรี(ได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๑๗๘] เราฟังคำพร่ำสอนของพระปฏาจาราเถรีนั้นแล้ว
ล้างเท้า เข้าไปนั่ง ณ ที่สมควร
[๑๗๙] ในปฐมยามแห่งราตรีระลึกชาติก่อนได้แล้ว
ในมัชฌิมยามแห่งราตรีชำระทิพยจักขุให้หมดจดได้
[๑๘๐] ในปัจฉิมยามแห่งราตรีทำลายกองแห่งความมืดได้แล้ว
ได้บรรลุวิชชา ๓ จึงลุกจากอาสนะ ในภายหลัง
ได้ทำตามคำสอนของท่านแล้ว
[๑๘๑] จะอยู่แวดล้อมท่าน
เหมือนเทวดาชั้นดาวดึงส์แวดล้อมท้าวสักกะผู้ไม่แพ้ในสงคราม
เราได้บรรลุวิชชา ๓ เป็นผู้ไม่มีอาสวะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๘๔ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๗. สัตตกนิบาต] ๒. จาลาเถรีคาถา
๒. จาลาเถรีคาถา
ภาษิตของพระจาลาเถรี
พระจาลาเถรี(เมื่อจะกล่าวภาษิตที่มารกล่าวแก่ตน จึงได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๑๘๒] เราเป็นภิกษุณี อบรมอินทรีย์แล้ว ตั้งสติไว้มั่น
รู้แจ้งบทอันสงบเป็นเหตุเข้าไปสงบระงับสังขารเป็นสุข
(มารถามว่า)
[๑๘๓] ท่านมีศีรษะโล้นบวชเจาะจงใครหนอ
วางตัวเหมือนสมณะ ท่านไม่ชอบใจลัทธิเดียรถีย์
ทำไมยังมางมงายประพฤติทางผิดนี้อยู่เล่า
(พระจาลาเถรีตอบว่า)
[๑๘๔] เหล่าชนที่ถือลัทธิเดียรถีย์นอกจากศาสนานี้
ยึดมั่นทิฏฐิทั้งหลาย
ไม่รู้แจ้งธรรม ไม่ฉลาดในธรรม
[๑๘๕] ส่วนพระพุทธเจ้า เสด็จอุบัติในตระกูลศากยะ ไม่มีผู้ใด
เปรียบปราน พระองค์ได้ทรงแสดงธรรมโปรดเรา
อันเป็นอุบายล่วงเสียซึ่งทิฏฐิทั้งหลาย คือ
[๑๘๖] ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความดับทุกข์
และอริยมรรคมีองค์ ๘ ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
[๑๘๗] เราฟังคำสอนของพระองค์แล้ว ยินดีอยู่ในคำสอน
ได้บรรลุวิชชา ๓ ได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว
[๑๘๘] เรากำจัดความเพลิดเพลินในกามทั้งปวงได้แล้ว
ทำลายกองแห่งความมืดได้แล้ว
มารผู้ชั่วช้าเลวทราม ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า
ท่านถูกเรากำจัดแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๘๕ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๗. สัตตกนิบาต] ๓. อุปจาลาเถรีคาถา
๓. อุปจาลาเถรีคาถา
ภาษิตของพระอุปจาลาเถรี
พระอุปจาลาเถรี(เมื่อจะกล่าวภาษิตที่มารกล่าวแก่ตนจึงได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๑๘๙] เราเป็นภิกษุณี มีสติ มีจักษุ อบรมอินทรีย์แล้ว
รู้แจ้งบทอันสงบซึ่งอุดมบุรุษคบหาแล้ว
(มารถามว่า)
[๑๙๐] ทำไม แม่นางจึงไม่ชอบใจความเกิด
เพราะธรรมดาผู้เกิดมาแล้วย่อมบริโภคกามทั้งหลาย
เชิญแม่นางบริโภคความยินดีในกามทั้งหลายเถิด
แม่นางอย่าได้มีความเดือดร้อนในภายหลังเลย
(พระอุปจาลาเถรีตอบว่า)
[๑๙๑] ผู้เกิดมาแล้วจะต้องตาย จะต้องถูกตัดมือตัดเท้า
ถูกฆ่า ถูกจองจำ เกิดมาแล้วจำต้องประสบทุกข์
[๑๙๒] พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จอุบัติในตระกูลศากยะ
ผู้ทรงชนะแล้ว ทรงพระชนม์ชีพอยู่ พระองค์ได้ทรงแสดงธรรม
โปรดเราอันเป็นอุบายล่วงเสียซึ่งชาติ คือ
[๑๙๓] ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความดับทุกข์
และอริยมรรคมีด้วยองค์ ๘ ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
[๑๙๔] เราได้ฟังคำสอนของพระองค์แล้ว ยินดีอยู่ในคำสอน
ได้บรรลุวิชชา ๓ ได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว
[๑๙๕] กำจัดความเพลิดเพลินในกามทั้งปวงได้แล้ว
ทำลายกองแห่งความมืดได้แล้ว
มารผู้ชั่วช้าเลวทราม ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า
ท่านถูกเรากำจัดแล้ว
สัตตกนิบาต จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๘๖ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๘. อัฏฐกนิบาต] ๑. สีสูปจาลาเถรีคาถา
๘. อัฏฐกนิบาต
๑. สีสูปจาลาเถรีคาถา
ภาษิตของพระสีสูปจาลาเถรี
(พระสีสูปจาลาเถรีเมื่อจะกล่าวภาษิตที่มารกล่าวแก่ตนจึงได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๑๙๖] ภิกษุณี ผู้มีศีลสมบูรณ์ สำรวมอินทรีย์ดีแล้ว
บรรลุบทอันสงบที่ใครทำให้เสียหายมิได้ มีสภาวะชื่นใจ
(มารถามว่า)
[๑๙๗] แม่นางจงตั้งจิตปรารถนาไว้ในหมู่เทพชั้นดาวดึงส์
ชั้นยามา ชั้นดุสิต ชั้นนิมมานรดี และชั้นปรนิมมิตวสวัตดี
ที่แม่นางเคยอยู่มาแล้วแต่ก่อนเถิด
(พระสีสูปจาลาเถรีตอบว่า)
[๑๙๘] เทวดาชั้นดาวดึงส์ ชั้นยามา ชั้นดุสิต ชั้นนิมมานรดี
และชั้นปรนิมมิตวสวัตดี
[๑๙๙] พากันไปจากภพสู่ภพตลอดกาล ติดอยู่ในกายตน
ล่วงกายของตนไปไม่ได้ ก็แล่นไปหาชาติและมรณะ
[๒๐๐] โลกทั้งปวงถูกไฟไหม้ ลุกโพลงโชติช่วง หวั่นไหวแล้ว
[๒๐๑] พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมที่ไม่หวั่นไหว ชั่งไม่ได้
ปุถุชนเสพไม่ได้ โปรดเรา ใจของเรายินดีนักในธรรมนั้น
[๒๐๒] เราฟังคำสอนของพระองค์แล้ว ยินดีอยู่ในคำสอน
ได้บรรลุวิชชา ๓ ได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว
[๒๐๓] กำจัดความเพลิดเพลินในกามทั้งปวง
ทำลายกองแห่งความมืดได้แล้ว มารผู้ชั่วช้าเลวทราม
ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า ท่านถูกเรากำจัดแล้ว
อัฏฐกนิบาต จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๘๗ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๙. นวกนิบาต] ๑. วัฑฒมาตุเถรีคาถา
๙. นวกนิบาต
๑. วัฑฒมาตุเถรีคาถา
ภาษิตของพระวัฑฒมาตาเถรี
(พระวัฑฒมาตาเถรีเมื่อจะกล่าวตักเตือนพระวัฑฒเถระ จึงได้กล่าวภาษิต
เหล่านี้ว่า)
[๒๐๔] ลูกวัฑฒะ กิเลสดุจหมู่ไม้ในป่า ในโลก
อย่าได้มีแก่พ่อไม่ว่าในกาลไหน ๆ เลย
ลูกเอ๋ย ลูกอย่าได้เป็นผู้มีความทุกข์ร่ำไปเลย
[๒๐๕] ลูกวัฑฒะ พระมุนีทั้งหลาย ไม่หวั่นไหว
ตัดความสงสัยเสียได้ เป็นผู้เย็น
ถึงความฝึกฝนแล้วเป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่อย่างสบาย
[๒๐๖] ลูกวัฑฒะ พ่อพึงพอกพูนมรรค
ซึ่งเป็นทางที่ท่านผู้แสวงหาคุณเหล่านั้นประพฤติกันมาแล้ว
เพื่อบรรลุญาณทัสนะ เพื่อทำที่สุดทุกข์
(พระวัฑฒะเถระ กล่าวตอบด้วยภาษิตนี้ว่า)
[๒๐๗] โยมมารดาบังเกิดเกล้า โยมกล้ากล่าวคาถานี้แก่ลูก
โยมมารดา ลูกเข้าใจว่า
กิเลสดุจหมู่ไม้ในป่าของโยมมารดาคงไม่มีแน่ละ
(พระเถรีกล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๒๐๘] ลูกวัฑฒะ สังขารอย่างใดอย่างหนึ่ง
ทั้งเลว ประณีต และปานกลาง
กิเลสดุจหมู่ไม้ในป่าในสังขารเหล่านั้นของโยมแม่
อณูหนึ่งก็ดี ขนาดอณูหนึ่งก็ดี ไม่มีเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๘๘ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๙. นวกนิบาต] ๑. วัฑฒมาตุเถรีคาถา
[๒๐๙] เมื่อโยมแม่ไม่ประมาทเพ่งอยู่
อาสวะหมดสิ้นแล้ว
โยมแม่บรรลุวิชชา ๓
ได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว
(พระเถระเมื่อจะพยากรณ์พระอรหัต ได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๒๑๐] โยมมารดาได้มอบปฏัก
คือโอวาทอันโอฬารแก่เราหนอ
โยมมารดาของเราได้กล่าวภาษิตที่ประกอบด้วยประโยชน์อย่างยิ่ง
เหมือนมารดาผู้อนุเคราะห์อื่น ๆ
[๒๑๑] ลูกฟังคำพร่ำสอนของโยมมารดาบังเกิดเกล้านั้นแล้ว
ถึงความสลดใจในธรรม
เพื่อบรรลุธรรมที่ปลอดโปร่งจากโยคะกิเลส
[๒๑๒] เรานั้นถูกโยมมารดาเตือนอยู่
มีใจเด็ดเดี่ยว
ด้วยการบำเพ็ญเพียร
ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน
ได้สัมผัสความสงบอย่างยอดเยี่ยมแล้ว
นวกนิบาต จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๘๙ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๑๐. เอกาทสกนิบาต] ๑. กีสาโคตมีเถรีคาถา
๑๐. เอกาทสกนิบาต
๑. กีสาโคตมีเถรีคาถา
ภาษิตของพระกีสาโคตมีเถรี
(พระกีสาโคตมีเถรีได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๒๑๓] พระมุนีกล่าวสรรเสริญความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร
ไว้เฉพาะชาวโลกว่า ผู้คบกัลยาณมิตร
ถึงแม้จะเป็นพาล ก็จะพึงเป็นบัณฑิตได้บ้าง
[๒๑๔] สัตบุรุษเป็นคนที่ควรคบ
ผู้คบสัตบุรุษ ปัญญาย่อมเจริญได้แน่นอน
ผู้คบสัตบุรุษ พึงพ้นจากทุกข์ทั้งมวลได้
[๒๑๕] และพึงรู้แจ้งอริยสัจ ๔ คือ
ทุกข์ ๑ เหตุให้เกิดทุกข์ ๑ ความดับทุกข์ ๑
อริยมรรคมีองค์แปด ๑
(ยักษิณีกล่าวว่า)
[๒๑๖] พระผู้มีพระภาคเป็นสารถีผู้ทรงฝึกคนที่ควรฝึก
ตรัสว่า ความเป็นหญิงเป็นทุกข์
เพราะแม้ความเป็นหญิงมีสามีร่วมกันก็เป็นทุกข์
หญิงบางพวกคลอดครั้งเดียว
[๒๑๗] อดกลั้นความทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะการคลอดบุตรไม่ไหว
จึงเชือดคอตนเองเสียก็มี
บางพวกมีร่างกายอ่อนแอ
ทนความลำบากไม่ได้ กินยาพิษเสียก็มี
เด็กอยู่ในครรภ์ และมารดาผู้มีครรภ์
ย่อมประสบความย่อยยับทั้งสองคนก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๙๐ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๑๐. เอกาทสกนิบาต] ๑. กีสาโคตมีเถรีคาถา
(พระปฏาจาราเถรีกล่าวว่า)
[๒๑๘] เราเวลามีครรภ์แก่ใกล้คลอด
เดินทางไปยังไม่ทันถึงเรือนตน
ก็คลอดบุตรที่ระหว่างทาง พบสามีตาย
[๒๑๙] บุตรทั้งสองก็ตาย สามีก็ตายเสียที่ระหว่างทาง
มารดาบิดา และพี่ชายของเราผู้กำพร้า
ถูกเผาอยู่บนเชิงตะกอนเดียวกัน
(พระกีสาโคตมีเถรีกล่าวว่า)
[๒๒๐] เจ้า เมื่อสิ้นตระกูลแล้ว ตกเป็นคนกำพร้า
เสวยทุกข์หาประมาณมิได้
ก็แลน้ำตาของเจ้าไหลตลอดมาหลายพันชาติ
[๒๒๑] เราเห็นเจ้าและเนื้อบุตรของเจ้า
ถูกสุนัขเป็นต้นกัดกินที่ท่ามกลางป่าช้า
เราพร้อมกับสามีมีตระกูลฉิบหายแล้ว
ถูกชนทั้งปวงติเตียนแล้วได้บรรลุอมตธรรม
[๒๒๒] อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงอมตธรรม
เราได้เจริญแล้ว
แม้นิพพานเราก็ทำให้แจ้งแล้ว
เราได้พบกระจกคือธรรมแล้ว
[๒๒๓] ตัดลูกศรเสียได้ ปลงภาระได้แล้ว
กระทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว
กีสาโคตมีเถรีผู้มีจิตหลุดพ้นดีแล้ว
ได้กล่าวเนื้อความนี้ไว้
เอกาทสกนิบาต จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๙๑ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๑๑. ทวาทสกนิบาต] ๑. อุปลวัณณาเถรีคาถา
๑๑. ทวาทสกนิบาต
๑. อุปลวัณณาเถรีคาถา
ภาษิตของพระอุบลวรรณาเถรี
(พระอุบลวรรณาเถรีอาศัยภาษิตที่โยมมารดาของพระคังคาตีริยเถระกล่าว จึง
ได้กล่าวภาษิตนี้ว่า)
[๒๒๔] เรา ๒ คน คือ มารดาและธิดามีสามีร่วมกัน
เรานั้นได้มีความสลดใจ ขนพองสยองเกล้าอย่างไม่เคยมี
[๒๒๕] น่าติเตียนนัก กามทั้งหลายไม่สะอาด
มีกลิ่นเหม็น มีหนามมาก
ที่เรา ๒ คน คือ มารดาและธิดา เป็นภริยาร่วมกัน
[๒๒๖] เรานั้นเห็นโทษในกามทั้งหลาย
เห็นการออกจากกามโดยความปลอดโปร่ง
จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในกรุงราชคฤห์
(พระอุบลวรรณาเถรีได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๒๒๗] เราระลึกชาติก่อนได้ ทิพพจักขุ เจโตปริยญาณ
และโสตธาตุ เราชำระให้หมดจดแล้ว
[๒๒๘] แม้ฤทธิ์เราทำให้แจ้งแล้ว
เราบรรลุความสิ้นอาสวะแล้ว
ทำอภิญญา ๖ ให้แจ้งแล้ว
ได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว
[๒๒๙] เราเนรมิตรถเทียมด้วยม้า ๔ ตัวด้วยฤทธิ์
มาถวายอภิวาทพระยุคลบาทของพระพุทธเจ้า
ผู้เป็นที่พึ่งของโลก ทรงพระสิริ แล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๙๒ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๑๑. ทวาทสกนิบาต] ๑. อุปลวัณณาเถรีคาถา
(มารเห็นพระเถรีนั่งอยู่ที่พักกลางวัน ได้กล่าวภาษิตนี้ว่า)
[๒๓๐] ท่านเข้าไปใกล้ต้นไม้ที่มีดอกบานสะพรั่งถึงยอด
ยืนอยู่แต่ผู้เดียวที่โคนต้นไม้
และแม้เพื่อนไร ๆ ของท่านก็ไม่มี
ท่านไม่กลัวความสามหาวของพวกนักเลงเจ้าชู้หรือ
(พระอุบลวรรณาเถรีเมื่อจะคุกคามมาร จึงได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๒๓๑] ต่อให้นักเลงเจ้าชู้ตั้งแสนคนเช่นนี้ห้อมล้อม
แม้เพียงขนของเราก็ไม่พึงหวั่นไหว ไม่สะเทือน
มาร ท่านผู้เดียวจะทำอะไรเราได้
[๒๓๒] เรานั้น หายตัวก็ได้ เข้าท้องท่านก็ได้
ยืนอยู่ระหว่างคิ้วของท่านก็ได้
เรายืนอยู่ ท่านก็มองไม่เห็น
[๒๓๓] เรามีจิตเชี่ยวชาญ อบรมอิทธิบาทดีแล้ว
เราทำอภิญญา ๖ ให้แจ้งแล้ว
ได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว
[๒๓๔] กามทั้งหลายเปรียบด้วยหอกและหลาว
เป็นเขียงรองสับขันธ์ทั้งหลาย
บัดนี้ เราไม่มีความยินดีในกามที่ท่านพูดถึง
[๒๓๕] กำจัดความเพลิดเพลินในกามทั้งปวงได้แล้ว
ทำลายกองแห่งความมืดได้แล้ว
มารผู้ชั่วช้าเลวทราม ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า
ท่านถูกเรากำจัดแล้ว
ทวาทสกนิบาต จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๙๓ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๑๒. โสฬสกนิบาต] ๑. ปุณณาเถรีคาถา
๑๒. โสฬสกนิบาต
๑. ปุณณาเถรีคาถา
ภาษิตของพระปุณณาเถรี
พระปุณณาเถรี(ได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๒๓๖] เราเป็นคนตักน้ำ กลัวต่อภัยคืออาชญาของนาย
ถูกภัยคือวาจาและโทสะของนายบีบคั้นแล้ว
จึงลงตักน้ำเป็นประจำ แม้หน้าหนาว
[๒๓๗] ท่านพราหมณ์ ท่านกลัวอะไรนะ จึงลงอาบน้ำเป็นประจำ
ทั้งมีตัวสั่นเทา ประสบความหนาวอย่างหนัก
(พราหมณ์กล่าวตอบด้วยภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๒๓๘] แม่ปุณณาผู้เจริญ ก็ท่านรู้อยู่ว่า
ฉันกำลังทำกุศลกรรมอันจะปิดกั้นบาปกรรม
ที่ตัวได้ก่อไว้ ยังจะสอบถามอีก
[๒๓๙] ผู้ใดไม่ว่าแก่หรือหนุ่มก่อบาปกรรมไว้
แม้ผู้นั้นย่อมพ้นจากบาปกรรมได้อย่างสิ้นเชิงก็เพราะการอาบน้ำ
(พระปุณณาเถรีกล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๒๔๐] ใครหนอช่างไม่รู้ มาบอกความนี้แก่ท่านซึ่งไม่รู้ว่า
คนจะพ้นจากบาปกรรมได้ก็เพราะการอาบน้ำ
[๒๔๑] พวกกบ เต่า งู จระเข้ และสัตว์เหล่าอื่น
ที่เที่ยวหากินอยู่ในน้ำทั้งหมดก็คงพากันไปสวรรค์แน่แท้
[๒๔๒] คนฆ่าแกะ คนฆ่าสุกร ชาวประมง พรานเนื้อ
โจร เพชฌฆาต และคนที่ก่อบาปกรรมอื่น ๆ แม้เหล่านั้น
ก็จะพึงพ้นจากบาปกรรมได้เพราะการอาบน้ำ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๙๔ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๑๒. โสฬสกนิบาต] ๑. ปุณณาเถรีคาถา
[๒๔๓] ถ้าแม่น้ำเหล่านี้จะพึงนำบาปที่ท่านก่อไว้แต่ก่อนไปได้
แม่น้ำเหล่านี้ก็จะพึงนำทั้งบุญของท่านไปด้วย
ท่านก็จะพึงเป็นผู้ห่างจากบุญกรรมนั้นไป
[๒๔๔] ท่านพราหมณ์ ท่านกลัวบาปใด จึงลงอาบน้ำเป็นประจำ
ท่านก็อย่าได้ทำบาปอันนั้น
ขอความหนาวเย็นอย่าได้ทำลายผิวท่านเลย
(พราหมณ์กล่าวตอบด้วยภาษิตว่า)
[๒๔๕] ท่านนำฉันผู้เดินทางผิดมาสู่ทางที่พระอริยะเดินแล้วด้วยดี
แม่ปุณณาผู้เจริญ ฉันขอถวายผ้าสาฏกสำหรับสรงน้ำนี้แก่ท่าน
(พระปุณณาเถรีได้กล่าวตอบด้วยภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๒๔๖] ผ้าสาฏกจงเป็นของท่านตามเดิมเถิด เราไม่ต้องการผ้าสาฏก
ถ้าท่านกลัวทุกข์ ถ้าทุกข์ไม่น่ารักสำหรับท่าน
[๒๔๗] ท่านก็อย่าได้ก่อกรรมชั่วทั้งในที่แจ้งและในที่ลับ
ถ้าท่านจะทำ หรือกำลังทำกรรมชั่ว
[๒๔๘] ท่านถึงจะเหาะหนีไป ก็ไม่พ้นจากทุกข์ไปได้เลย
ถ้าท่านกลัวทุกข์ ถ้าทุกข์ไม่น่ารักสำหรับท่าน
[๒๔๙] ท่านจงถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ผู้คงที่
ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึกเถิด จงสมาทานศีล
ข้อนั้นแหละจะเป็นความหลุดพ้นแก่ท่าน
(พราหมณ์กล่าวตอบด้วยภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๒๕๐] ฉันขอถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ผู้คงที่
ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก ขอสมาทานศีล ข้อนั้นจะเป็นประโยชน์แก่ฉัน
[๒๕๑] เมื่อก่อน ฉันเป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระพรหม
วันนี้ ฉันเป็นพราหมณ์จริง ฉันได้วิชชา ๓ มีความสวัสดี
จบเวท และเป็นผู้ล้างบาปได้แล้ว
โสฬสกนิบาต จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๙๕ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๑๓. วีสตินิบาต] ๑. อัมพปาลีเถรีคาถา
๑๓. วีสตินิบาต
๑. อัมพปาลีเถรีคาถา
ภาษิตของพระอัมพปาลีเถรี
(พระอัมพปาลีเถรีได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๒๕๒] เมื่อก่อน ผมของเรามีสีดำเหมือนสีแมลงภู่
มีปลายผมงอน เดี๋ยวนี้ ผมเหล่านั้น
กลายสภาพเป็นเหมือนป่านและปอเพราะชรา
พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ตรัสแต่ความจริง
เป็นคำจริงแท้ไม่แปรเป็นอย่างอื่น
[๒๕๓] เมื่อก่อน มวยผมของเราเต็มด้วยดอกไม้หอมกรุ่น
เหมือนผอบที่อบกลิ่น
เดี๋ยวนี้ ผมนั้นมีกลิ่นเหมือนขนกระต่ายเพราะชรา
พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ตรัสแต่ความจริง
เป็นคำจริงแท้ ไม่แปรเป็นอย่างอื่น
[๒๕๔] เมื่อก่อน ผมของเราดกงาม
มีปลายผมรวบไว้ด้วยหวีและปิ่นปักผม
เหมือนป่าไม้ทึบ ที่ปลูกไว้เป็นระเบียบ งามสะพรั่ง
เดี๋ยวนี้ ผมนั้นบางลง ๆ ทั่วศีรษะเพราะชรา
พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ตรัสแต่ความจริง
เป็นคำจริงแท้ ไม่แปรเป็นอย่างอื่น
[๒๕๕] เมื่อก่อน ผมของเราตกแต่งด้วยช้องผม
ประดับด้วยปิ่นทองคำอันละเอียดมีกลิ่นหอม งดงาม
เดี๋ยวนี้ ผมนั้นล้านเลี่ยนทั้งศีรษะ
พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ตรัสแต่ความจริง
เป็นคำจริงแท้ ไม่แปรเป็นอย่างอื่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๙๖ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๑๓. วีสตินิบาต] ๑. อัมพปาลีเถรีคาถา
[๒๕๖] เมื่อก่อน คิ้วของเรา สวยงามนัก
คล้ายรอยเขียนที่จิตรกรบรรจงเขียนไว้
เดี๋ยวนี้คิ้วนั้นมีรอยย่นห้อยลงเพราะชรา
พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ตรัสแต่ความจริง
เป็นคำจริงแท้ ไม่แปรเป็นอย่างอื่น
[๒๕๗] เมื่อก่อน ดวงตาทั้งคู่ของเราดำขลับ
กลมโต มีประกายงาม คล้ายแก้วมณี
เดี๋ยวนี้ ถูกชราทำลายเสียแล้ว จึงไม่งาม
พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ตรัสแต่ความจริง
เป็นคำจริงแท้ ไม่แปรเป็นอย่างอื่น
[๒๕๘] เมื่อก่อน เวลายังรุ่นสาว จมูกของเราโด่ง งาม
เหมือนเกลียวหรดาลที่ปั้นวางไว้
เดี๋ยวนี้เหี่ยวแฟบเหมือนจะจมลงไปเพราะชรา
พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ตรัสแต่ความจริง
เป็นคำจริงแท้ ไม่แปรเป็นอย่างอื่น
[๒๕๙] เมื่อก่อน ใบหูทั้งสองของเราสวยงามนัก
เหมือนกำไลแขนที่ช่างทำอย่างประณีต เสร็จเรียบร้อยแล้ว
เดี๋ยวนี้กลับมีรอยย่นห้อยลงเพราะชรา
พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ตรัสแต่ความจริง
เป็นคำจริงแท้ ไม่แปรเป็นอย่างอื่น
[๒๖๐] เมื่อก่อน ฟันของเราสวยงามนัก
เหมือนสีหน่อตูมของต้นกล้วย
เดี๋ยวนี้ กลับหัก มีสีเหลืองปนแดงเพราะชรา
พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ตรัสแต่ความจริง
เป็นคำจริงแท้ ไม่แปรเป็นอย่างอื่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๙๗ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๑๓. วีสตินิบาต] ๑. อัมพปาลีเถรีคาถา
[๒๖๑] เมื่อก่อน เราพูดเสียงไพเราะ เหมือนนกดุเหว่า
ที่เที่ยวไปในไพรสณฑ์ ส่งเสียงไพเราะอยู่ในป่าใหญ่
เดี๋ยวนี้คำพูดของเราพลาดไป ทุก ๆ คำเพราะชรา
พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ตรัสแต่ความจริง
เป็นคำจริงแท้ ไม่แปรเป็นอย่างอื่น
[๒๖๒] เมื่อก่อน คอของเราสวยงามนัก
กลมเกลี้ยงเหมือนสังข์ทองขัดเกลาดีแล้ว
เดี๋ยวนี้ กลายเป็นงุ้มค่อมลงเพราะชรา
พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ตรัสแต่วามจริง
เป็นคำจริงแท้ ไม่แปรเป็นอย่างอื่น
[๒๖๓] เมื่อก่อน แขนทั้งสองของเราสวยงามนัก
เหมือนไม้กลอนกลมกลึง
เดี๋ยวนี้ กลายเป็นลีบ เหมือนกิ่งแคคดเพราะชรา
พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ตรัสแต่ความจริง
เป็นคำจริงแท้ ไม่แปรเป็นอย่างอื่น
[๒๖๔] เมื่อก่อน มือทั้งสองของเราสวยงามนัก
ประดับด้วยแหวนทองงามระยับ
เดี๋ยวนี้ กลายเป็นเหมือนเหง้ามันเพราะชรา
พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ตรัสแต่ความจริง
เป็นคำจริงแท้ ไม่แปรเป็นอย่างอื่น
[๒๖๕] เมื่อก่อน ถันทั้งสองของเราเต่งตึงกลมกลึง
ตั้งประชิดกัน ทั้งงอนสล้างสวยงามนัก
เดี๋ยวนี้ กลายเป็นหย่อนยานเหมือนถุงหนังไม่มีน้ำเพราะชรา
พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ตรัสแต่ความจริง
เป็นคำจริงแท้ ไม่แปรเป็นอย่างอื่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๙๘ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๑๓. วีสตินิบาต] ๑. อัมพปาลีเถรีคาถา
[๒๖๖] เมื่อก่อน ร่างกายของเราเกลี้ยงเกลาสวยงามนัก
เหมือนอย่างแผ่นทองคำที่ขัดดีแล้ว
เดี๋ยวนี้ ดื่นไปด้วยรอยเหี่ยวย่นอันละเอียดเพราะชรา
พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ตรัสแต่ความจริง
เป็นคำจริงแท้ ไม่แปรเป็นอย่างอื่น
[๒๖๗] เมื่อก่อน ขาอ่อนทั้งสองของเราสวยงามนัก
เปรียบเหมือนงวงช้าง
เดี๋ยวนี้ เป็นปมเป็นปุ่ม เหมือนข้อไม้ไผ่เพราะชรา
พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ตรัสแต่ความจริง
เป็นคำจริงแท้ ไม่แปรเป็นอย่างอื่น
[๒๖๘] เมื่อก่อน แข้งทั้งสองของเรา ประดับด้วยกำไลทอง
เกลี้ยงเกลาสวยงามนัก
เดี๋ยวนี้ กลับเหี่ยวแห้งเหมือนต้นงาแห้งเพราะชรา
พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ตรัสแต่ความจริง
เป็นคำจริงแท้ ไม่แปรเป็นอย่างอื่น
[๒๖๙] เมื่อก่อน เท้าทั้งสองของเราสวยงามนัก
เปรียบเหมือนรองเท้ายัดปุยนุ่น
เดี๋ยวนี้ แตกเป็นริ้วรอยเพราะชรา
พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ตรัสแต่ความจริง
เป็นคำจริงแท้ ไม่แปรเป็นอย่างอื่น
[๒๗๐] เดี๋ยวนี้ ร่างกายนี้เป็นเช่นนี้ คร่ำคร่าเพราะชรา
เป็นแหล่งที่อยู่แห่งทุกข์เป็นอันมาก
ปราศจากเครื่องลูบไล้ เป็นดุจเรือนอันคร่ำคร่า
พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ตรัสแต่ความจริง
เป็นคำจริงแท้ ไม่แปรเป็นอย่างอื่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๕๙๙ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๑๓. วีสตินิบาต] ๒. โรหิณีเถรีคาถา
๒. โรหิณีเถรีคาถา
ภาษิตของพระโรหิณีเถรี
(พระโรหิณีเถรีกล่าวภาษิตที่บิดาและตนเองพูดจาโต้ตอบกันด้วยการเปล่งอุทาน
ว่า)
(บิดาถามเราว่า)
[๒๗๑] แม่โรหิณีผู้เจริญ เจ้าหลับก็พูดว่า“สมณะ”
ตื่นก็พูดว่า “สมณะ”
สรรเสริญแต่สมณะเท่านั้น
เห็นทีลูกจะบวชเป็นสมณะเสียแน่แท้
[๒๗๒] โรหิณี ลูกถวายข้าวและน้ำอย่างไพบูลย์แก่เหล่าสมณะ
พ่อขอถาม เดี๋ยวนี้ เพราะเหตุไรเหล่าสมณะจึงเป็นที่รักของลูก
[๒๗๓] พวกสมณะไม่ชอบทำการงาน เกียจคร้าน
อาศัยแต่ของที่คนอื่นให้เลี้ยงชีพ
หวังแต่จะได้ ชอบของอร่อย
เพราะเหตุไร เหล่าสมณะจึงเป็นที่รักของลูก
(เราตอบท่านว่า)
[๒๗๔] คุณพ่อขา คุณพ่อสอบถามไล่เลียงกับลูก
เรื่องคุณของสมณะเสียตั้งนาน
ลูกจะขยายปัญญา ศีล และความบากบั่น
ของสมณะเหล่านั้นแก่คุณพ่อดังนี้
[๒๗๕] สมณะทั้งหลายชอบทำการงาน ไม่เกียจคร้าน
ทำแต่การงานที่ประเสริฐสุด จึงละราคะโทสะได้
เพราะเหตุนั้น เหล่าสมณะจึงเป็นที่รักของลูก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๖๐๐ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๑๓. วีสตินิบาต] ๒. โรหิณีเถรีคาถา
[๒๗๖] สมณะทั้งหลาย กำจัดมูลราก๑ทั้ง ๓ ของบาป
ทำแต่งานสะอาด จึงละบาปได้ทั้งหมด
เพราะเหตุนั้น เหล่าสมณะจึงเป็นที่รักของลูก
[๒๗๗] กายกรรมของสมณะเหล่านั้นสะอาด
วจีกรรมก็สะอาด มโนกรรมก็สะอาด
เพราะเหตุนั้นเหล่าสมณะจึงเป็นที่รักของลูก
[๒๗๘] สมณะเหล่านั้น ไร้มลทินดุจสังข์และมุกดาที่ขัดดีแล้ว
สะอาดทั้งภายในและภายนอก บริบูรณ์ด้วยธรรมฝ่ายขาว
เพราะเหตุนั้น เหล่าสมณะจึงเป็นที่รักของลูก
[๒๗๙] สมณะเหล่านั้นเป็นพหูสูต ทรงธรรม
เป็นพระอริยะ เป็นอยู่โดยธรรม แสดงเหตุและผล
เพราะเหตุนั้น เหล่าสมณะจึงเป็นที่รักของลูก
[๒๘๐] สมณะเหล่านั้นเป็นพหูสูต ทรงธรรม
เป็นพระอริยะ เป็นอยู่โดยธรรม มีจิตมีอารมณ์เดียว๒ มีสติ
เพราะเหตุนั้น เหล่าสมณะจึงเป็นที่รักของลูก
[๒๘๑] สมณะเหล่านั้นอยู่ป่าห่างไกลผู้คน มีสติ
พูดด้วยปัญญา ไม่ฟุ้งซ่าน รู้ที่สุดทุกข์
เพราะเหตุนั้น เหล่าสมณะจึงเป็นที่รักของลูก
[๒๘๒] สมณะเหล่านั้น หลีกออกจากหมู่บ้านใดไป
ไม่เหลียวแลอย่างกังวลในหมู่บ้านนั้น
ไปอย่างไม่มีเยื่อใยเลย
เพราะเหตุนั้น เหล่าสมณะจึงเป็นที่รักของลูก

เชิงอรรถ :
๑ โลภะ (ความอยากได้) โทสะ (ความคิดประทุษร้าย) โมหะ (ความหลง) (ขุ.เถรี.อ. ๒๗๖/๒๗๗)
๒ จิตมีสมาธิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๖๐๑ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๑๓. วีสตินิบาต] ๓. จาปาเถรีคาถา
[๒๘๓] สมณะเหล่านั้นไม่เก็บสะสมทรัพย์สมบัติไว้ในยุ้งฉาง
ในหม้อ และในกระเช้า แสวงหาแต่อาหารที่สำเร็จแล้ว
เพราะเหตุนั้น เหล่าสมณะจึงเป็นที่รักของลูก
[๒๘๔] สมณะเหล่านั้นไม่รับเงิน ทอง และรูปิยะ
เลี้ยงชีพด้วยปัจจัยที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า
เพราะเหตุนั้น เหล่าสมณะจึงเป็นที่รักของลูก
[๒๘๕] สมณะเหล่านั้นบวชมาจากต่างสกุลกัน
และต่างชนบทกัน ก็รักซึ่งกันและกัน
เพราะเหตุนั้น เหล่าสมณะจึงเป็นที่รักของลูก
(บิดากล่าวกับเราว่า)
[๒๘๖] ลูกโรหิณีผู้เจริญ ลูกเกิดมาในสกุล
เพื่อประโยชน์แก่พวกเราแท้หนอ
ลูกมีศรัทธา มีความเคารพแรงกล้า
ในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์
[๒๘๗] เพราะลูกรู้จักพระรัตนตรัยนั้นว่า
เป็นบุญเขตอันยอดเยี่ยม
สมณะเหล่านั้นคงจะรับทักษิณาทานของพ่อบ้างนะ
[๒๘๘] เพราะว่า ยัญคือบุญที่เราตั้งไว้แล้วในสมณะเหล่านั้น
คงจะมีผลไพบูลย์แก่พวกเราแน่
(เรากล่าวกับบิดาว่า) ถ้าคุณพ่อกลัวทุกข์
ถ้าคุณพ่อเกลียดทุกข์
[๒๘๙] ขอคุณพ่อ โปรดถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์
ผู้คงที่ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึกเถิด
จงสมาทานศีล ข้อนั้นจะเป็นประโยชน์แก่คุณพ่อ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๖๐๒ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๑๓. วีสตินิบาต] ๓. จาปาเถรีคาถา
(บิดากล่าวกับเราว่า)
[๒๙๐] พ่อขอถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์
ผู้คงที่ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก ขอสมาทานศีล
ข้อนั้นจะเป็นประโยชน์แก่พ่อ
[๒๙๑] เมื่อก่อน พ่อเป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระพรหม
วันนี้ พ่อเป็นพราหมณ์ พ่อได้วิชชา ๓ มีความสวัสดี
จบเวท และเป็นผู้ล้างบาปได้แล้ว

๓. จาปาเถรีคาถา
ภาษิตของพระจาปาเถรี
(พระจาปาเถรีได้รวบรวมคาถาที่อุปกาชีวกและตนกล่าวด้วยการเปล่งอุทาน
ได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า)
(อุปกาชีวกกล่าวว่า)
[๒๙๒] เมื่อก่อน ตัวเรา(เป็นปริพาชก)ถือไม้เท้า
เดี๋ยวนี้ เรานั้นกลายเป็นพรานล่าเนื้อไปเสียแล้ว
ไม่อาจข้ามจากตัณหาและเปือกตมอันร้ายกาจ๑
ไปสู่ฝั่งโน้นได้เลย
[๒๙๓] เมื่อก่อน นางจาปาดูหมิ่นเราว่าเป็นคนมัวเมานัก
จึงกล่อมลูกเย้ยหยันเสียดสี
เราจะตัดความเกี่ยวข้องด้วยจาปาไปบวชเสีย
(เรากล่าวว่า)
[๒๙๔] อย่าโกรธเลย ท่านมหาวีระ อย่าโกรธเลย ท่านมหามุนี
เพราะว่า ผู้ถูกความโกรธครอบงำแล้ว ไม่มีความบริสุทธิ์ดอก
แล้วตบะจะมีแต่ที่ไหนเล่า

เชิงอรรถ :
๑ กาม (ความใคร่, ความกำหนัด) ทิฏฐิ (ความเห็นผิด) (ขุ.เถรี.อ. ๒๙๒/๒๘๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๖๐๓ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๑๓. วีสตินิบาต] ๓. จาปาเถรีคาถา
(อุปกาชีวกกล่าวว่า)
[๒๙๕] เราจะออกจากบ้านนาลา ใครจะอยู่ในบ้านนาลานี้ได้
เจ้าจะผูกเหล่าสมณะผู้เลี้ยงชีพโดยธรรมด้วยมารยาหญิงอยู่หรือ
(เรากล่าวว่า)
[๒๙๖] มาสิ ท่านกาฬะ กลับมาเถิด
เชิญบริโภคกามเหมือนแต่ก่อน
ดิฉันและพวกญาติยอมอยู่ในอำนาจของท่าน
(อุปกาชีวกกล่าวว่า)
[๒๙๗] จาปา เจ้ากล่าวคำอ่อนหวานเช่นใดแก่เรา
พึงเปล่งคำอ่อนหวานให้ยิ่งไปกว่านี้อีก ๔ เท่า
คำอ่อนหวานนั้นจะพึงเป็นคำจับใจบุรุษ
ผู้ยินดีในเธอเท่านั้นดอกนะ
(เรากล่าวว่า)
[๒๙๘] ท่านกาฬะ ดิฉันซึ่งสะสวย
มีเรือนร่างงามดังต้นคนทามีดอกบานสะพรั่งอยู่บนยอดเขา
ดังเครือทับทิมมีดอกบานแล้ว
ดังต้นแคฝอยมีดอกบานสะพรั่งภายในเกาะ
[๒๙๙] มีร่างกายลูบไล้ด้วยจุรณแก่นจันทน์
นุ่งห่มผ้าแคว้นกาสีมีค่ามาก
เพราะเหตุไร ท่านจึงละทิ้งไปเสียเล่า
(อุปกาชีวกกล่าวว่า)
[๓๐๐] เจ้าจะตามเบียดเบียนเราด้วยรูปที่ตกแต่ง
เหมือนอย่างพรานนกประสงค์จะตามเบียดเบียนนก
ไม่ได้ดอกนะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๖๐๔ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๑๓. วีสตินิบาต] ๓. จาปาเถรีคาถา
(เรากล่าวว่า)
[๓๐๑] ท่านกาฬะ ก็ผลคือลูกของเรานี้ท่านทำให้เกิดมาแล้ว
ท่านจะละทิ้งดิฉันซึ่งมีลูกไปเพื่ออะไรเล่า
(อุปกาชีวกกล่าวว่า)
[๓๐๒] ท่านผู้มีปัญญาทั้งหลาย มีความเพียรมาก ย่อมละพวกลูก
จากนั้นก็ละพวกญาติ ต่อจากนั้นก็ละทรัพย์
ตัดเครื่องผูกพันได้ขาด แล้วออกบวช
เหมือนพญาช้างทำเครื่องผูกให้ขาดแล้วหนีไป
(เรากล่าวว่า)
[๓๐๓] บัดนี้ ดิฉันจะเอาท่อนไม้ทุบ
หรือเอากริชแทงลูกคนนี้ของท่านให้ล้มลงเหนือพื้นดิน
เพราะความเศร้าโศกถึงลูก
ท่านจะไปไม่ได้แน่
(อุปกาชีวกกล่าวว่า)
[๓๐๔] ถึงเจ้าจักยอมมอบลูกให้ฝูงสุนัขจิ้งจอก(กินเป็นอาหาร)
แน่ะหญิงเลว เพราะลูกเป็นต้นเหตุ
เจ้าจักทำเราให้หวนกลับมาอีกไม่ได้ดอก
(เรากล่าวว่า)
[๓๐๕] ท่านกาฬะผู้เจริญ บัดนี้ ท่านจักไปที่ไหน
จะเป็นหมู่บ้าน นิคม นคร ราชธานีไหน ก็เชิญเถิด
(อุปกาชีวกกล่าวว่า)
[๓๐๖] เมื่อก่อน เราเป็นเจ้าคณะ
ไม่เป็นสมณะ แต่สำคัญตัวว่าเป็นสมณะ
ได้เที่ยวไปตามหมู่บ้านทุกหมู่บ้าน ทุกนคร ทุกราชธานี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๖๐๕ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๑๓. วีสตินิบาต] ๓. จาปาเถรีคาถา
[๓๐๗] พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นตรัสรู้ ณ ที่ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา
ทรงแสดงธรรมโปรดหมู่สัตว์เพื่อให้ละทุกข์ทั้งปวง
เราควรจักไปเฝ้าพระองค์
พระองค์จักเป็นศาสดาของเรา
(เรากล่าวว่า)
[๓๐๘] บัดนี้ ขอท่านพึงกราบทูลพระโลกนาถผู้ยอดเยี่ยม
ถึงการถวายอภิวาทของดิฉัน
และพึงทำประทักษิณ
แล้วอุทิศส่วนบุญให้ดิฉันด้วย
(อุปกาชีวกกล่าวว่า)
[๓๐๙] แม่จาปา ข้อที่เจ้าพูดกับเรา เรารับได้
บัดนี้เราจักกราบทูลพระโลกนาถผู้ยอดเยี่ยม
ถึงการถวายอภิวาทของเจ้า
และจักทำประทักษิณ
แล้วอุทิศส่วนบุญให้แก่เจ้าแน่
[๓๑๐] ต่อแต่นั้น ท่านกาฬะได้เดินทางไปใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา
ได้พบพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้กำลังทรงแสดงอมตบท
[๓๑๑] คือ ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความดับทุกข์
และอริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
[๓๑๒] ถวายอภิวาทพระยุคลบาทของพระองค์
ทำประทักษิณพระองค์
แล้วอุทิศส่วนบุญให้จาปา
บวชเป็นบรรพชิต บรรลุวิชชา ๓
ได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๖๐๖ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๑๓. วีสตินิบาต] ๔. สุนทรีเถรีคาถา
๔. สุนทรีเถรีคาถา
ภาษิตของพระสุนทรีเถรี
(สุชาตพราหมณ์ผู้เป็นบิดา เมื่อจะถามถึงเหตุแห่งการบรรเทาความเศร้าโศก
จึงถามพระวาสิฏฐีเถรีด้วยภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๓๑๓] นางผู้เจริญ เมื่อก่อน เจ้ากินลูก ๆ ให้ตายไป
เจ้าเดือดร้อนอย่างยิ่งทั้งกลางวันและกลางคืน
[๓๑๔] พราหมณี วันนี้ เจ้านั้นกินลูกหมดทั้ง ๗ คน
แม่วาสิฏฐี เพราะเหตุไร เจ้าจึงไม่เดือดร้อนหนักหนาเล่า
(พระวาสิฏฐีเถรีกล่าวว่า)
[๓๑๕] ท่านพราหมณ์ ในส่วนอดีต
ลูกและหมู่ญาติของเราหลายร้อยคน
เราและท่านก็กินกันมาแล้ว
[๓๑๖] เรานั้นรู้นิพพานที่เป็นธรรมเครื่องสลัด
ซึ่งความเกิดและความตายออกเสีย
จึงไม่เศร้าโศก ไม่ร้องไห้ และไม่เดือดร้อน
(พราหมณ์กล่าวว่า)
[๓๑๗] แม่วาสิฏฐี น่าอัศจรรย์จริงหนอที่เจ้ากล่าววาจาเช่นนี้
เจ้ารู้ธรรมของใครเล่า
จึงกล่าววาจาเช่นนี้
(พระวาสิฏฐีเถรีกล่าวว่า)
[๓๑๘] ท่านพราหมณ์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
เสด็จมาถึงเมืองมิถิลา
ทรงแสดงธรรมโปรดหมู่สัตว์เพื่อละทุกข์ทั้งปวง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๖๐๗ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๑๓. วีสตินิบาต] ๔. สุนทรีเถรีคาถา
[๓๑๙] ท่านพราหมณ์ เราฟังธรรมที่ปราศจากอุปธิกิเลส๑
ของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
รู้แจ้งพระสัทธรรมในธรรมเทศนานั้นแล้ว
จึงบรรเทาความเศร้าโศกถึงลูกเสียได้
(สุชาตพราหมณ์กล่าวว่า)
[๓๒๐] ถึงเรานั้นก็จักไปเมืองมิถิลาเหมือนกัน
ถ้าอย่างไร พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ก็คงจะทรงช่วยปลดเปลื้องเราจากทุกข์ทั้งสิ้นได้แน่
[๓๒๑] พราหมณ์ได้พบพระพุทธเจ้าผู้ทรงหลุดพ้นแล้ว ไม่มีอุปธิกิเลส
พระมุนีผู้ถึงฝั่งแห่งทุกข์ได้ทรงแสดงธรรมโปรดพราหมณ์นั้น
[๓๒๒] คือ ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความดับทุกข์
และอริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
[๓๒๓] สุชาตพราหมณ์รู้แจ้งพระสัทธรรม
ในพระธรรมเทศนาคืออริยสัจ ๔ นั้นแล้ว
เข้าบวชได้ ๓ วัน ก็ได้บรรลุวิชชา ๓ แล้ว
(พระสุชาตพราหมณ์กล่าวกับนายสารถีว่า)
[๓๒๔] มานี่สิ สารถี เธอจงกลับไป
จงมอบรถคันนี้ให้พราหมณีด้วย
และช่วยบอกนางพราหมณีถึงความสบาย ไม่เจ็บป่วยว่า
บัดนี้ สุชาตพราหมณ์บวชได้ ๓ วัน ก็ได้บรรลุวิชชา ๓ แล้ว
[๓๒๕] ลำดับนั้น นายสารถีนำรถและทรัพย์ ๑,๐๐๐ กหาปณะ
ไปมอบให้นางพราหมณี และได้บอกนางพราหมณีถึงความสบาย
ไม่เจ็บป่วยว่า บัดนี้ สุชาตพราหมณ์บวชได้ ๓ วัน ก็ได้บรรลุ
วิชชา ๓ แล้ว

เชิงอรรถ :
๑ ปราศจากทุกข์ (ขุ.เถรี.อ. ๓๑๙/๒๙๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๖๐๘ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๑๓. วีสตินิบาต] ๔. สุนทรีเถรีคาถา
(พราหมณีกล่าวว่า)
[๓๒๖] นายสารถี ฉันฟังเรื่องพราหมณ์ได้บรรลุวิชชา ๓ แล้ว
ขอมอบรถม้าคันนี้และทรัพย์ ๑,๐๐๐ กหาปณะ
เป็นรางวัลตอบแทนเจ้าที่ให้ข่าวดี
(นายสารถีไม่ยอมรับ กลับกล่าวว่า)
[๓๒๗] ข้าแต่พราหมณี รถม้ากับทรัพย์ ๑,๐๐๐ กหาปณะ
จงเป็นของแม่เจ้าตามเดิมเถิด
ถึงตัวข้าพเจ้าก็จักบวชในสำนักของพระพุทธเจ้า
ผู้มีพระปัญญาอันประเสริฐ
(พราหมณีกล่าวกับสุนทรีธิดาว่า)
[๓๒๘] บิดาของลูก ละช้าง ม้า โค แก้วมณี แก้วกุณฑล
และเครื่องอุปกรณ์เรือนมากมายนี้
ออกบวชเสียแล้ว
ลูกสุนทรีลูกจงบริโภคโภคสมบัติทั้งหลาย
จงเป็นทายาทรับมรดกในตระกูล นะลูก
(สุนทรีฟังคำของมารดานั้นแล้ว เมื่อจะประกาศความที่ตนตั้งใจจะออกบวช
จึงได้กล่าวภาษิตนี้ว่า)
[๓๒๙] บิดาของลูกกระทบกระเทือนใจ
เพราะความเศร้าโศกถึงลูกชาย
จึงละช้าง ม้า โค แก้วมณี แก้วกุณฑล
และอุปกรณ์เรือนที่น่ารื่นรมย์นี้ออกบวช
ถึงลูกก็กระทบกระเทือนใจ
เพราะความเศร้าโศกถึงพี่ชายมาก
ก็จักออกบวชด้วย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๖๐๙ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๑๓. วีสตินิบาต] ๔. สุนทรีเถรีคาถา
(ลำดับนั้น มารดาเมื่อจะชักนำสุนทรีธิดาในทางเนกขัมมะ จึงได้กล่าวภาษิต
เหล่านี้ว่า)
[๓๓๐] ลูกสุนทรี ขอความดำริของลูกจงสำเร็จตามที่ลูกปรารถนาเถิด
ลูกเมื่อใช้สอยสิ่งเหล่านี้ คือ ก้อนข้าวที่พึงลุกขึ้นยืนรับ
การเที่ยวแสวงหาอาหาร และนุ่งห่มผ้าบังสุกุล
จงเป็นผู้ไม่มีอาสวะในโลกหน้าเถิด
(พระสุนทรีจึงกล่าวขออนุญาตพระภิกษุณีผู้เป็นอุปัชฌาย์ว่า)
[๓๓๑] ข้าแต่แม่เจ้า ดิฉันเมื่อเป็นสิกขมานา
ก็ชำระทิพยจักขุให้หมดจดได้แล้ว
ดิฉันระลึกรู้ถึงชาติก่อนที่เคยอยู่อาศัยมาได้
[๓๓๒] ข้าแต่แม่เจ้า ผู้มีคุณความดีเป็นผู้งามในหมู่พระเถรี
เพราะอาศัยแม่ท่าน ดิฉันบรรลุวิชชา ๓
ได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว
[๓๓๓] ข้าแต่แม่เจ้า โปรดอนุญาตเถิดเจ้าค่ะ
ดิฉันประสงค์จะไปกรุงสาวัตถี
จักบันลือสีหนาทในสำนักพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
(พระสุนทรีเถรีไปถึงกรุงสาวัตถีแล้ว เข้าไปยังพระวิหาร ได้เห็นพระศาสดา
ประทับนั่งอยู่บนธรรมาสน์ จึงพูดกับตนเองว่า)
[๓๓๔] สุนทรีท่านจงดูพระศาสดาผู้มีพระรัศมีดังทองคำ
มีพระฉวีวรรณเรืองรองดังทองคำ
ทรงฝึกเหล่าชนที่ใคร ๆ ฝึกไม่ได้
ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง
ไม่มีภัยแต่ที่ไหน ๆ
(กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๖๑๐ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๑๓. วีสตินิบาต] ๕. สุภากัมมารธีตุเถรีคาถา
[๓๓๕] ขอพระองค์โปรดทอดพระเนตรหม่อมฉันผู้ชื่อว่าสุนทรี
ซึ่งหลุดพ้นแล้ว ไม่มีอุปธิกิเลส
ปราศจากราคะ ไม่เกาะเกี่ยว
ไม่มีอาสวะ ทำกิจเสร็จแล้วมาเฝ้าอยู่
[๓๓๖] ข้าแต่พระมหาวีระ สุนทรีสาวิกาของพระองค์
ออกจากกรุงพาราณสี มาเฝ้าพระองค์
ถวายอภิวาทพระยุคลบาทอยู่
[๓๓๗] พระองค์เป็นพระพุทธเจ้าเป็นศาสดาของหม่อมฉัน
ข้าแต่พระผู้ทรงเป็นพราหมณ์
หม่อมฉันเป็นธิดาซึ่งเกิดแต่พระอุระ
เกิดแต่พระโอษฐ์ของพระองค์
ไม่มีอาสวะ ทำกิจเสร็จแล้ว
(ลำดับนั้น พระศาสดาเมื่อจะชมเชยการมาเฝ้าของนาง จึงได้ตรัสว่า)
[๓๓๘] สุนทรีผู้เจริญ เธอมาดีแล้ว มาไม่เลวเลย
เพราะว่าผู้ที่ฝึกแล้วอย่างนี้ ปราศจากราคะ
ไม่เกาะเกี่ยว ไม่มีอาสวะ
ทำกิจเสร็จแล้ว ย่อมมากราบเท้าพระศาสดา

๕. สุภากัมมารธีตุเถรีคาถา
ภาษิตของพระสุภากัมมารธิดาเถรี
พระสุภากัมมารธิดาเถรี(ได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๓๓๙] เพราะเมื่อก่อน เรายังสาวนุ่งห่มผ้าสะอาด
ได้ฟังธรรมแล้ว เรานั้นไม่ประมาท
จึงได้ตรัสรู้สัจธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๖๑๑ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๑๓. วีสตินิบาต] ๕. สุภากัมมารธีตุเถรีคาถา
[๓๔๐] ฉะนั้น เราจึงไม่ยินดีอย่างยิ่งในกามทั้งปวง
เห็นภัยในกายของตน กระหยิ่มเฉพาะเนกขัมมะเท่านั้น
[๓๔๑] ละหมู่ญาติ ทาส กรรมกร บ้าน ไร่นา ความมั่งคั่ง
และกองโภคะที่น่ารื่นรมย์ ที่เขาบันเทิงกันนัก
[๓๔๒] ละสมบัติมิใช่น้อย ออกบวชด้วยศรัทธาอย่างนี้
ในพระสัทธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศดีแล้ว
[๓๔๓] ข้อที่เราละเงินทองแล้วยังกลับ (ยินดีเงินทอง) อีกนั้น
ไม่สมควรแก่เรา เพราะเราปรารถนาความไม่มีห่วงกังวล
[๓๔๔] เพราะเงินทอง หาใช่มีไว้เพื่อความตรัสรู้ เพื่อความสงบใจไม่
เงินทองนั้นไม่สมควรแก่สมณะ ทั้งไม่ใช่อริยทรัพย์
[๓๔๕] อนึ่ง เงินทองนี้ ทำให้เกิดความโลภ นำมาซึ่งความมัวเมา
ให้เกิดความลุ่มหลง เป็นเครื่องเพิ่มพูนความกำหนัดยินดี
มีความระแวง มีความยุ่งยาก
และในเงินทองนั้นไม่มีความยั่งยืนมั่นคงเลย
[๓๔๖] อนึ่ง ผู้คนเป็นอันมากยินดีในทรัพย์นั้น ชื่อว่าเป็นผู้ประมาท
มีใจเศร้าหมอง ต่างผิดใจต่อกันและกัน
กระทำความบาดหมางทะเลาะวิวาทกัน
[๓๔๗] การฆ่ากัน การถูกจองจำ การต้องโทษมีตัดมือเป็นต้น
ความเสื่อม ความเศร้าโศก ร่ำไร
ความพินาศเป็นอันมากของคนทั้งหลาย
ผู้เนื่องอยู่ในกามทั้งหลาย ก็มองเห็นกันอยู่
[๓๔๘] ท่านทั้งหลายเป็นญาติก็เหมือนเป็นศัตรู
เพราะเหตุไร จึงชักจูงเรานั้นไว้ในกามทั้งหลายเล่า
ท่านทั้งหลายจงรู้เถิดว่า เราเห็นภัยในกามทั้งหลายจึงบวช

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๖๑๒ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๑๓. วีสตินิบาต] ๕. สุภากัมมารธีตุเถรีคาถา
[๓๔๙] อาสวะทั้งหลาย ย่อมไม่สิ้นไปเพราะเงินและทอง
กามทั้งหลาย เป็นศัตรู เป็นผู้ฆ่า
เป็นข้าศึก เป็นดังลูกศรเสียบไว้
[๓๕๐] ท่านทั้งหลายเป็นญาติก็เหมือนเป็นศัตรู
เพราะเหตุไร จึงชักจูงเราไว้ในกามทั้งหลาย
ท่านทั้งหลายจงรู้เถิดว่า
เราบวชศีรษะโล้นครองผ้าสังฆาฏิแล้ว
[๓๕๑] ก้อนข้าวที่จะพึงลุกขึ้นยืนรับ การเที่ยวแสวงหา
การนุ่งห่มผ้าบังสุกุล
และบริขารเครื่องอาศัยของนักบวชผู้ไม่มีเรือน
นี่แหละเป็นของเหมาะสมสำหรับเรา
[๓๕๒] กามทั้งหลายทั้งที่เป็นของทิพย์ และที่เป็นของมนุษย์
เหล่าท่านผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่คลายเสียแล้ว
ท่านเหล่านั้น น้อมไปแล้วในฐานะอันปลอดโปร่ง
บรรลุสุขอันไม่หวั่นไหวแล้ว
[๓๕๓] เราอย่าร่วมด้วยกามทั้งหลายซึ่งช่วยอะไรไม่ได้เลย
กามทั้งหลายเป็นศัตรู เป็นผู้ฆ่า
อุปมาด้วยกองไฟ นำแต่ทุกข์มาให้
[๓๕๔] กามนั่น เป็นสภาวะที่เบียดเบียน มีภัย
เป็นไปกับด้วยความคับแค้น
เป็นเสี้ยนหนาม และกามนั้น มีสภาวะหมกมุ่น
ไม่เรียบร้อย เป็นเหตุลุ่มหลงมาก
[๓๕๕] เป็นเหตุขัดข้อง และเป็นสิ่งที่น่าสะพรึงกลัว
กามทั้งหลาย เปรียบด้วยงูพิษ
ที่เหล่าปุถุชนทั้งเขลาและบอดเพลิดเพลินกันยิ่งนัก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๖๑๓ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๑๓. วีสตินิบาต] ๕. สุภากัมมารธีตุเถรีคาถา
[๓๕๖] ปุถุชนเหล่านั้นเป็นจำนวนมาก
ข้องอยู่แล้วด้วยเปือกตมคือกาม ไม่รู้ความจริงในโลก
ย่อมไม่รู้ซึ้งถึงที่สิ้นสุดความเกิดและความตาย
[๓๕๗] ผู้คนเป็นอันมากพากันเดินทางไปทุคติซึ่งมีกามเป็นเหตุทั้งนั้น
อันนำโรคมาให้แก่ตนทีเดียว
[๓๕๘] กามทั้งหลายเป็นเหตุให้เกิดศัตรู ให้เดือดร้อน
นำความเศร้าหมองมา เป็นเหยื่อในโลก
เป็นเครื่องจองจำ เกี่ยวเนื่องด้วยความตาย
[๓๕๙] กามทั้งหลายเป็นเหตุให้บ้า ให้บ่นเพ้อ ย่ำยีจิต
เพราะทำหมู่สัตว์ให้เศร้าหมอง
พึงเห็นว่า เหมือนลอบที่มารรีบดักไว้
[๓๖๐] กามทั้งหลาย มีโทษหาที่สุดไม่ได้ มีทุกข์มาก มีพิษมาก
มีความพอใจน้อย เป็นสนามรบ ทำกรรมฝ่ายกุศลให้เหือดแห้งลง
[๓๖๑] เรานั้นละความพินาศซึ่งมีกามเป็นเหตุเช่นนั้นได้แล้ว
จักไม่กลับมาหามันอีก เพราะว่าตั้งแต่บวชแล้ว
เรายินดีอย่างยิ่งในนิพพาน
[๓๖๒] หวังความเยือกเย็น จึงทำสงครามต่อกามทั้งหลาย
ยินดีแล้วในนิพพานเป็นที่สิ้นสังโยชน์
จักเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่
[๓๖๓] เดินตามทางอริยมรรคมีองค์ ๘ ซึ่งเป็นทางสายตรง
ไม่เศร้าโศก ปราศจากกิเลสดุจธุลี เป็นทางปลอดโปร่ง
ซึ่งเป็นทางที่เหล่าท่านผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่พากันข้ามไปแล้ว
(พระผู้มีพระภาค ทรงแนะนำพระเถรีผู้บรรลุพระอรหัตตผลในวันที่ ๘ หลังจาก
บวช ผู้นั่งเข้าฌานอยู่ที่โคนต้นไม้แห่งหนึ่ง แก่ภิกษุทั้งหลาย เมื่อจะทรงสรรเสริญ
จึงตรัสคาถาเหล่านี้ว่า)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๖๑๔ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๑๓. วีสตินิบาต] ๕. สุภากัมมารธีตุเถรีคาถา
[๓๖๔] ท่านทั้งหลาย จงดูธิดาของช่างทองผู้สวยงาม
ผู้ดำรงอยู่ในธรรมผู้นี้เถิด
เธอได้บรรลุอรหัตตผลอันไม่หวั่นไหว
เข้าฌานอยู่ที่โคนต้นไม้
[๓๖๕] วันนี้เป็นวันที่ ๘ หลังจากเธอมีศรัทธาบวชแล้ว
งามเพราะบรรลุพระสัทธรรม
ได้พระอุบลวัณณาเถรีช่วยแนะนำแล้ว
บรรลุวิชชา ๓ ละมัจจุมารเสียได้
[๓๖๖] ภิกษุณีรูปนี้นั้น เป็นไทแก่ตัวเอง
ไม่เป็นหนี้ อบรมอินทรีย์แล้ว
พรากจากกิเลสที่เคยมีได้หมด
ไม่มีอาสวะ ทำกิจเสร็จแล้ว
(พระสังคีติกาจารย์ได้กล่าวภาษิตนี้ไว้ว่า)
[๓๖๗] ท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่กว่าหมู่สัตว์พร้อมด้วยหมู่เทพ
พากันเข้าไปหาพระเถรีซึ่งเป็นธิดาของช่างทอง
ผู้สวยงามนั้นด้วยฤทธิ์ของตน แล้วทรงนมัสการอยู่
วีสตินิบาต จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๖๑๕ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๑๔. ติงสนิบาต] ๑. สุภาชีวกัมพวนิกาเถรีคาถา
๑๔. ติงสนิบาต
๑. สุภาชีวกัมพวนิกาเถรีคาถา
ภาษิตของพระสุภาชีวกัมพวนิกาเถรี
พระสุภาชีวกัมพวนิกาเถรี(ได้เปล่งอุทานด้วยภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๓๖๘] นักเลงเจ้าชู้คนหนึ่งได้ยืนขวางกั้นพระสุภาภิกษุณี
ซึ่งกำลังเดินไปสวนมะม่วงของหมอชีวกโกมารภัจที่น่ารื่นรมย์
พระสุภาภิกษุณีได้พูดกับชายนักเลงเจ้าชู้นั้นว่า
[๓๖๙] ฉันประพฤติผิดอะไรต่อท่านหรือ จึงมายืนขวางกั้นฉันไว้
ท่านผู้อาวุโส ชายไม่ควรถูกต้องหญิงนักบวชเลย
[๓๗๐] เพราะเหตุไร ท่านจึงยืนขวางกั้นดิฉันผู้ไม่มีกิเลสเป็นเหตุยั่วยวน
มีส่วนบริสุทธิ์ด้วยสิกขาที่พระสุคตทรงแสดงไว้
ในศาสนาที่ควรเคารพแห่งพระศาสดาของดิฉัน
[๓๗๑] เพราะเหตุไร ท่าน จึงมีจิตขุ่นมัว มีจิตมีกิเลสดุจธุลี
มายืนขวางกั้นฉันผู้มีจิตไม่ขุ่นมัว
ปราศจากกิเลสเป็นเหตุยั่วยวน
มีจิตหลุดพ้นในเบญจขันธ์ทั้งปวง
(นักเลงเจ้าชู้กล่าวตอบด้วยภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๓๗๒] แม่นางยังสาว ทั้งสวยไม่ทรามเลย
บรรพชาจักทำประโยชน์อะไรให้แม่นางได้ โปรดทิ้งผ้ากาสายะเสีย
มาสิ เรามารื่นรมย์กันในป่าที่มีดอกไม้บานสะพรั่งเถิด
[๓๗๓] และหมู่ไม้ถูกลมพัดเอาละอองเกสรดอกไม้ฟุ้งขึ้น
ก็โชยกลิ่นหอมตลบไปทั่ว ฤดูนี้ เป็นต้นฤดูฝนน่าสบาย
มาสิ เรามารื่นรมย์กันในป่าที่มีดอกไม้บานสะพรั่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๖๑๖ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๑๔. ติงสนิบาต] ๑. สุภาชีวกัมพวนิกาเถรีคาถา
[๓๗๔] อนึ่ง ต้นไม้ทั้งหลายมีดอกบานแล้ว
ต้องลมไหวระริก ดุจจะมีเสียงครวญอยู่
แม่นางจักมีความยินดีอะไร
ถ้าแม่นางจักเข้าป่าเพียงผู้เดียว
[๓๗๕] ป่าใหญ่มีหมู่สัตว์ร้ายอาศัยอยู่
คลาคล่ำไปด้วยช้างพลายตกมัน
และช้างพัง ไม่มีผู้คน น่าสะพรึงกลัว
แม่นางไม่มีเพื่อน ยังปรารถนาจะเข้าไปหรือ
[๓๗๖] แม่นางงามไม่มีใครเปรียบ
แม่นางท่องเที่ยวไป
เหมือนตุ๊กตาที่นายช่างผู้ชาญฉลาดทำแล้วด้วยทองคำสีสุก
งดงามด้วยผ้าสวยเนื้อละเอียดของแคว้นกาสี
ดังเทพอัปสรเที่ยวไปในสวนจิตรลดาเชียวละ
[๓๗๗] ถ้าเราทั้งสองได้อยู่ร่วมกันในกลางป่า
ฉันจะยอมอยู่ในอำนาจของแม่นาง
แม่นางผู้มีดวงตาหยาดเยิ้มดังกินรี
เพราะคนที่น่ารักกว่าแม่นางสำหรับฉันไม่มีเลย
[๓๗๘] ถ้าแม่นางเชื่อฉัน ก็จะมีความสุข
มาสิ มาครองเรือนกัน
แม่นางจะได้อยู่บนปราสาทที่ปราศจากลมพัด
หญิงทั้งหลายจะคอยรับใช้แม่นาง
[๓๗๙] แม่นาง จงนุ่งห่มผ้าเนื้อละเอียดของแคว้นกาสี
จงตกแต่งร่างกาย สวมมาลัย ลูบไล้ประเทืองผิว
ฉันจะทำเครื่องประดับต่าง ๆ มากชนิด
ที่เป็นทองคำแก้วมณีและมุกดาให้แม่นาง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๖๑๗ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๑๔. ติงสนิบาต] ๑. สุภาชีวกัมพวนิกาเถรีคาถา
[๓๘๐] แม่นางขึ้นที่นอนใหญ่ใหม่เอี่ยม มีค่ามาก
สวยงามปูด้วยผ้าโกเชาว์ขนยาวและผ้าสำลี
คลุมด้วยผ้าที่ซักสะอาดแล้ว
ตกแต่งด้วยแก่นจันทน์มีกลิ่นหอม
[๓๘๑] ดอกอุบลโผล่พ้นน้ำ ไม่มีมนุษย์ชมแล้วฉันใด
แม่นางเป็นสาวพรหมจารีก็ฉันนั้น
เมื่อส่วนเรือนร่างของแม่นางยังไม่มีใครเชยชมเลย
แม่นางก็จักถึงความชราร่วงโรยไปเสียเปล่า ๆ
(พระสุภาชีวกัมพวนิกาเถรีถามว่า)
[๓๘๒] ในร่างกายที่จะต้องแตกสลายเป็นธรรมดา
ซึ่งเต็มไปด้วยซากศพ
รังแต่จะรกป่าช้านี้ มีอะไรที่ท่านเข้าใจว่าเป็นสาระ
เพราะเห็นสิ่งใด จึงเกิดติดใจ ขอท่านโปรดบอกสิ่งนั้นมาเถิด
(นักเลงเจ้าชู้ตอบว่า)
[๓๘๓] เพราะเห็นดวงตาของแม่นาง เสมือนดวงตาลูกเนื้อทราย
และเสมือนดวงตากินรีที่เที่ยวอยู่ตามไหล่เขา
ความใคร่ความยินดีของฉันยิ่งกำเริบ
[๓๘๔] เพราะเห็นดวงตาของแม่นางอุปมาดังปลายดอกอุบล
ดวงหน้าของแม่นางไร้ไฝฝ้าเรืองรองดังดวงหน้ารูปทองคำ
ความใคร่ความปรารถนาของฉันก็ยิ่งกำเริบ
[๓๘๕] แม่นางผู้มีดวงตาบริสุทธิ์มีขนตายาว
แม้ฉันจะไปไกลแสนไกล
ก็จะยังคงระลึกถึงดวงตาทั้งคู่ของแม่นางเท่านั้น
แม่นางผู้มีดวงตาหยาดเยิ้มดังกินรี
เพราะว่าสิ่งอะไรอื่นที่น่ารักกว่าดวงตาของแม่นางสำหรับฉันไม่มีเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๖๑๘ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๑๔. ติงสนิบาต] ๑. สุภาชีวกัมพวนิกาเถรีคาถา
(พระสุภาชีวกัมพวนิกาเถรีกล่าวตอบว่า)
[๓๘๖] ท่านปรารถนาดิฉันผู้เป็นธิดาของพระพุทธเจ้า
นับว่าปรารถนาจะเดินทางผิด
แสวงหาดวงจันทร์เอาเป็นของเล่น
ต้องการจะกระโดดขึ้นภูเขาสิเนรุ
[๓๘๗] เพราะว่า ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก
บัดนี้ ดิฉันไม่มีความกำหนัดเลย
ความกำหนัดนั้น ดิฉันไม่รู้ดอกว่าเป็นเช่นไร
เพราะมันถูกดิฉันกำจัดเสียแล้วพร้อมทั้งรากด้วยอริยมรรค
[๓๘๘] ความกำหนัดนั้นดิฉันยกออกแล้ว
เหมือนลมหอบเอาเชื้อเพลิงออกจากหลุมถ่านเพลิง
ถูกทำให้พินาศไปแต่ยอด เหมือนยกภาชนะที่ตกลงในยาพิษออกไป
ความกำหนัดนั้น ดิฉันไม่รู้ดอกว่าเป็นเช่นไร
เพราะมันถูกดิฉันกำจัดเสียแล้วพร้อมทั้งรากด้วยอริยมรรค
[๓๘๙] หญิงใดไม่พิจารณาเบญจขันธ์ หรือไม่เข้าเฝ้าพระศาสดา
เชิญท่านประเล้าประโลมหญิงเช่นนั้นเถิด
ท่านนั้นจะต้องเดือดร้อน
เพราะอาศัยสุภาภิกษุณีผู้รู้ตามความเป็นจริงนี้
[๓๙๐] เพราะสติของดิฉันมั่นคง
ไม่ว่าในการด่า การไหว้ สุขและทุกข์
เพราะรู้ว่าสังขารที่ปัจจัยปรุงแต่งเป็นของไม่งาม
ใจดิฉันจึงไม่ติดอยู่ในภพ ๓ ทั้งสิ้นเลย
[๓๙๑] ดิฉันนั้นเป็นสาวิกาของพระสุคต
ดำเนินไปด้วยยานคืออริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘
ถอนกิเลสดุจลูกศรเสียแล้ว ไม่มีอาสวะ
ยินดีอยู่แต่ในเรือนว่าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๖๑๙ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๑๔. ติงสนิบาต] ๑. สุภาชีวกัมพวนิกาเถรีคาถา
[๓๙๒] รูปภาพที่ทำด้วยไม้หรือใบลานที่เขาบรรจงเขียนไว้สวยงาม
อันเขาผูกไว้ด้วยด้ายและตรึงไว้ด้วยตะปู
ทำให้เหมือนกับจะฟ้อนรำได้ต่าง ๆ ดิฉันเห็นมาแล้ว
[๓๙๓] เมื่อรูปนั้นถูกรื้อออก ปลดด้ายและตะปูออก
ก็บกพร่อง กระจัดกระจาย
แยกออกเป็นชิ้น ๆ ไม่พึงได้สภาพที่ชื่อว่ารูป
บุคคลจะพึงเอาใจจดจ่อในรูปนั้นทำไม
[๓๙๔] ร่างกายของดิฉันนี้ ก็เปรียบด้วยรูปภาพนั้น
เว้นจากธรรม๑เหล่านั้นเสีย ก็เป็นไปไม่ได้
ร่างกายเว้นจากธรรม๑ทั้งหลายเสีย ก็เป็นไปไม่ได้
บุคคลจะพึงเอาใจจดจ่อในร่างกายนั้นทำไม
[๓๙๕] เหมือนบุคคลได้เห็นภาพจิตรกรรม
ที่จิตรกรระบายด้วยหรดาล
ทำไว้ที่ฝาผนัง ในจิตรกรรมนั้น ท่านก็ยังเห็นวิปริต
ความสำคัญว่ามนุษย์ของท่านก็ไร้ประโยชน์
[๓๙๖] คนบอด ท่านยังจะเข้าไปยึดอัตภาพที่ว่างเปล่า
เหมือนภาพลวงตาที่ปรากฏต่อหน้า
เหมือนต้นไม้ทองในความฝัน เหมือนรูปของมายากลที่นักเล่นกล
แสดงท่ามกลางฝูงชนว่าเป็นของจริง
[๓๙๗] ฟองเป็นดังฟองน้ำที่อยู่กลางดวงตานั้น
มีน้ำตา มีมูลตา เกิดที่ดวงตานั้น
และส่วนของดวงตาต่าง ๆ ก็มารวมกัน
เหมือนก้อนครั่งที่อยู่ตามโพรงไม้

เชิงอรรถ :
๑ เว้นจากธาตุมีปฐวีธาตุเป็นต้น และเว้นจากอวัยวะมีจักษุเป็นต้น ร่างกายเว้นจากธาตุและอวัยวะนี้ย่อม
เป็นไปไม้ได้ (ขุ.เถรี.อ. ๓๙๔/๓๒๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๖๒๐ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๑๔. ติงสนิบาต] ๑. สุภาชีวกัมพวนิกาเถรีคาถา
[๓๙๘] พระสุภาเถรีมีดวงตางามและมีใจไม่ข้องไม่ติดในดวงตานั้น
ก็ควักดวงตาออกจากเบ้าตา
ส่งมอบให้ชายเจ้าชู้ผู้นั้นทันที
พร้อมกับกล่าวว่า
เชิญนำดวงตานั้นไปเถิด
เพราะเรามอบให้ท่านแล้ว
[๓๙๙] ทันใดนั้นเอง ความกำหนัดในดวงตานั้น
ของนักเลงเจ้าชู้นั้นก็หายไป
และเขาขอขมาพระเถรีนั้นด้วยคำว่า
ข้าแต่แม่นางผู้ประพฤติพรหมจรรย์
ขอความสวัสดีพึงมีแก่แม่นางเถิด
ความประพฤติอนาจารเช่นนี้จักไม่มีต่อไปอีกละ
(พระสุภาชีวกัมพวนิกาเถรีกล่าวว่า)
[๔๐๐] ท่านกระทบกระทั่งคนเช่นดิฉันนี้
ก็เหมือนกอดกองไฟที่ลุกโชน
เหมือนจับงูมีพิษร้าย
ท่านขอโทษดิฉัน พึงมีความสวัสดีได้บ้าง
[๔๐๑] ภิกษุณีนั้นพ้นจากนักเลงเจ้าชู้นั้นแล้ว
ได้ไปยังสำนักพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ
ได้ชมบุญลักษณะอันประเสริฐ
จักษุก็กลับเป็นปกติเหมือนอย่างเดิม
ติงสนิบาต จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๖๒๑ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๑๕. จัตตาฬีสนิบาต] ๑. อิสิทาสีเถรีคาถา
๑๕. จัตตาฬีสนิบาต
๑. อิสิทาสีเถรีคาถา
ภาษิตของพระอิสิทาสีเถรี
(พระสังคีติกาจารย์ได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า)
[๔๐๒] ในเมืองปาฏลีบุตรได้ชื่อว่าเป็นเมืองดอกไม้
เป็นแผ่นดินที่ผ่องใส
มีพระภิกษุณี ผู้ทรงคุณธรรม
เป็นกุลธิดาในศากยสกุล ๒ รูป
[๔๐๓] ใน ๒ รูปนั้น รูปหนึ่งชื่อว่าอิสิทาสี รูปที่ ๒ ชื่อว่าโพธิ
ล้วนมีศีลสมบูรณ์ ยินดีเข้าฌาน เป็นพหูสูต กำจัดกิเลสได้แล้ว
[๔๐๔] ทั้งสองรูปนั้นเที่ยวบิณฑบาต ฉันและล้างบาตรแล้ว
ก็นั่งพักอย่างสบายในที่สงัด ได้เปล่งถ้อยคำเหล่านี้ถามตอบกัน
(พระโพธิเถรีถามว่า)
[๔๐๕] แม่เจ้าอิสิทาสี แม่เจ้าเป็นผู้น่าเลื่อมใสอยู่
แม้วัยของแม่เจ้าก็ยังไม่เสื่อมโทรม
แม่เจ้าเห็นโทษอะไร จึงขวนขวายในเนกขัมมะเล่า
[๔๐๖] พระอิสิทาสีเถรีนั้นฉลาดในการแสดงธรรม
เมื่อถูกซักถามในที่สงัด จึงได้กล่าวตอบดังนี้ว่า
แม่เจ้าโพธิ ขอแม่เจ้าจงฟังเหตุที่ฉันออกบวช
(ต่อไปนี้เป็นคำวิสัชนา)
[๔๐๗] ในกรุงอุชเชนนีราชธานี
บิดาของดิฉันเป็นเศรษฐี สำรวมในศีล
ดิฉันเป็นธิดาคนเดียวของท่าน
จึงเป็นที่รักที่โปรดปราน และน่าเอ็นดู

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๖๒๒ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๑๕. จัตตาฬีสนิบาต] ๑. อิสิทาสีเถรีคาถา
[๔๐๘] ภายหลังพวกคนสนิทของดิฉัน
ที่มีตระกูลสูงมาจากเมืองสาเกต
ขอดิฉันว่า เศรษฐีมีรัตนะมากขอดิฉัน
บิดาได้ให้ดิฉันเป็นสะใภ้ของเศรษฐีนั้น
[๔๐๙] ดิฉันต้องเข้าไปทำความนอบน้อมพ่อผัวและแม่ผัวทุกเช้าเย็น
ต้องกราบเท้าด้วยเศียรเกล้า ตามที่ถูกสั่งสอนมา
[๔๑๐] พี่สาวน้องสาว พี่ชายน้องชาย
หรือบ่าวไพร่ของสามีดิฉันไม่ว่าคนใด
ดิฉันเห็นแล้วแม้ครั้งเดียว ก็หวาดกลัวต้องให้ที่นั่งเขา
[๔๑๑] ดิฉันต้องรับรองเขาด้วยข้าว น้ำ ของเคี้ยว
และสิ่งของที่จัดเตรียมไว้ในที่ที่เขาเข้าไปนั้น
นำเข้าไปให้ และต้องให้ของที่สมควรแก่เขา
[๔๑๒] ดิฉันลุกขึ้นตามเวลา เข้าไปยังเรือนสามี
ล้างมือและเท้าที่ใกล้ประตู ประนมมือเข้าไปหาสามี
[๔๑๓] ต้องจัดหาหวี เครื่องผัดหน้า ยาหยอดตา
และกระจก แต่งตัวให้สามีเอง เสมอเหมือนหญิงรับใช้
[๔๑๔] หุงข้าวต้มแกงเอง ล้างภาชนะเองทั้งนั้น
ปรนนิบัติสามี เสมือนมารดาปรนนิบัติบุตรน้อยคนเดียว
[๔๑๕] จงรักภักดี ทำหน้าที่ครบถ้วน
เลิกถือเนื้อถือตัว ขยันไม่เกียจคร้าน
มีศีลอย่างนี้ สามีก็ยังเกลียด
[๔๑๖] สามีนั้น บอกมารดาและบิดาว่า
ลูกจักลาไปละ ลูกไม่ขออยู่ร่วมกับอิสิทาสี
ทั้งไม่ยอมอยู่ร่วมเรือนหลังเดียวกันด้วย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๖๒๓ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๑๕. จัตตาฬีสนิบาต] ๑. อิสิทาสีเถรีคาถา
(มารดาบิดาของเขากล่าวว่า)
[๔๑๗] อย่าพูดอย่างนี้สิลูก
อิสิทาสีเป็นบัณฑิต ฉลาดรอบครอบ
ขยันไม่เกียจคร้าน ทำไมลูกจึงไม่ชอบใจล่ะ
(สามีของดิฉันพูดว่า)
[๔๑๘] อิสิทาสี ไม่ได้เบียดเบียนอะไรลูกดอก
แต่ลูกไม่อยากอยู่ร่วมกับอิสิทาสี
ลูกเกลียด ลูกพอแล้ว จักขอลาไป
[๔๑๙] แม่ผัวและพ่อผัว ฟังคำของสามีดิฉันนั้นแล้ว
ได้ถามดิฉันว่า เจ้าประพฤติผิดอะไร
เจ้าจึงถูกเขาทอดทิ้ง
จงพูดไปตามความเป็นจริงสิ
(ดิฉันตอบว่า)
[๔๒๐] ดิฉันไม่ได้ประพฤติผิดอะไร ไม่ได้เบียดเบียนเขา
ทั้งไม่ได้พูดคำหยาบคาย ดิฉันกล้าหรือ
ที่จะทำสิ่งที่สามีเกลียดดิฉันได้นะคุณแม่
[๔๒๑] มารดาบิดาของเขานั้น เสียใจ ถูกทุกข์ครอบงำ
หวังทะนุถนอมบุตร จึงนำดิฉันส่งกลับไปเรือนบิดา
ฉันเป็นผู้ชนะสิริที่สวยงามแล้วหนอ
[๔๒๒] ภายหลัง บิดาได้ยกดิฉันให้แก่กุลบุตร
ผู้ร่ำรวยน้อยกว่าสามีคนแรกครึ่งหนึ่ง
โดยสินสอดครึ่งหนึ่งจากสินสอดที่เศรษฐีให้เราครั้งแรก
[๔๒๓] ดิฉัน อยู่ในเรือนสามีคนที่ ๒ นั้นได้เดือนเดียว
ต่อมา เขาขับไล่ดิฉันซึ่งบำรุงบำเรออยู่ดุจทาสี
ไม่คิดประทุษร้าย มีศีลสมบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๖๒๔ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๑๕. จัตตาฬีสนิบาต] ๑. อิสิทาสีเถรีคาถา
[๔๒๔] บิดาของดิฉัน บอกบุรษผู้หนึ่ง ที่ฝึกกายและวาจาแล้ว
มีหน้าที่ฝึกจิตของชนเหล่าอื่น กำลังเที่ยวขอทานอยู่ว่า
เจ้าจงทิ้งผ้าเก่า ๆ และกระเบื้องขอทานเสีย
มาเป็นลูกเขยข้าเถิด
[๔๒๕] แม้บุรุษนั้น อยู่ได้ครึ่งเดือน ก็พูดกับบิดาว่า
โปรดคืนผ้าเก่า กระเบื้องขอทาน
และภาชนะขอทานแก่ฉันเถิด
ฉันจักไปขอทานตามเดิม
[๔๒๖] ครั้งนั้น บิดามารดาและหมู่ญาติของดิฉันทุกคน
พูดกับคนขอทานนั้นว่า เจ้าทำอะไรไม่ได้ในที่นี้ รีบบอกมา
เธอจักทำกิจนั้นแทนเจ้าเอง
[๔๒๗] เขาถูกบิดามารดาและหมู่ญาติของดิฉันถามอย่างนี้แล้ว
จึงพูดว่า ถึงตัวฉันจะเป็นใหญ่และเป็นไท
ฉันพอแล้ว ไม่มีประโยชน์อะไรที่จะอยู่ร่วมกับอิสิทาสี
ฉันไม่ขออยู่ร่วมกับอิสิทาสี
ทั้งไม่ขออยู่ร่วมเรือนหลังเดียวกับเธอ
[๔๒๘] ชายขอทานนั้นถูกบิดาปล่อยก็ไป
แม้ดิฉันอยู่คนเดียว ก็คิดว่า
จะลาบิดามารดาไปตายหรือไปบวชเสีย
[๔๒๙] ขณะนั้น พระแม่เจ้าชินทัตตาเถรี
ผู้ทรงวินัย เป็นพหูสูต มีศีลสมบูรณ์
เที่ยวบิณฑบาตมายังตระกูลบิดา
[๔๓๐] ดิฉันเห็นท่าน จึงลุกไปจัดที่นั่งของดิฉันถวายท่าน
และเมื่อท่านนั่งเรียบร้อยแล้ว
ดิฉันก็กราบเท้าแล้วถวายอาหาร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๖๒๕ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๑๕. จัตตาฬีสนิบาต] ๑. อิสิทาสีเถรีคาถา
[๔๓๑] ดิฉันเลี้ยงดูท่านด้วยข้าวน้ำ ของควรเคี้ยว
และสิ่งของที่จัดไว้ในเรือนนั้นให้อิ่มหนำสำราญ
จึงเรียนท่านว่า ดิฉันประสงค์จะบวช เจ้าค่ะ
[๔๓๒] ลำดับนั้น บิดาพูดกับดิฉันว่า
ลูกเอ๋ย ลูกจงประพฤติธรรมในเรือนนี้ก็แล้วกัน
จงเลี้ยงดูสมณะและพราหมณ์ทั้งหลาย
ให้อิ่มหนำด้วยข้าวและน้ำเถิด
[๔๓๓] ขณะนั้น ดิฉันร้องไห้ประนมมือพูดกับบิดาว่า
ความจริง ลูกทำบาปมามากแล้ว
ลูกจักชำระกรรมนั้นให้เสร็จสิ้นกันเสียที
[๔๓๔] ครั้งนั้น บิดาจึงให้พรดิฉันว่า
ขอให้ลูกบรรลุอรหัตตมรรค อรหัตตผลอันเลิศ
และจงได้นิพพานที่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุดกว่าเทวดาและมนุษย์
ทรงกระทำให้แจ้งเถิด
[๔๓๕] ดิฉันกราบลามารดาบิดาและหมู่ญาติทุกคน
บวชได้ ๗ วัน ก็ได้บรรลุวิชชา ๓
[๔๓๖] รู้ระลึกชาติได้ ๗ ชาติ จักบอกกรรมที่มีผลวิบากแก่แม่เจ้า
ขอแม่เจ้าโปรดสำรวมใจฟังวิบากกรรมนั้นเถิด
[๔๓๗] ชาติก่อน ดิฉันเป็นช่างทองในเมืองเอรกกัจฉะ
มีทรัพย์มาก มัวเมาในวัยหนุ่ม ได้เป็นชู้กับภรรยาผู้อื่น
[๔๓๘] ดิฉันนั้นตายจากชาตินั้นแล้ว
ต้องไปหมกไหม้อยู่ในนรกเป็นเวลานาน ถูกไฟนรกเผาแล้ว
ครั้นพ้นจากนรกนั้นแล้ว ก็เกิดในท้องนางลิง
[๔๓๙] พอเกิดได้ ๗ วัน วานรใหญ่ จ่าฝูง ก็กัดอวัยวะสืบพันธุ์
นี้เป็นผลกรรมที่ดิฉันเป็นชู้กับภรรยาผู้อื่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๖๒๖ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๑๕. จัตตาฬีสนิบาต] ๑. อิสิทาสีเถรีคาถา
[๔๔๐] ดิฉันนั้นตายจากกำเนิดวานรนั้นแล้ว
เกิดในท้องแม่แพะตาบอด และเป็นง่อยอยู่ในป่า แคว้นสินธุ
[๔๔๑] พออายุได้ ๑๒ ปี พาเด็กขึ้นหลังไป
ถูกเด็กตัดอวัยวะสืบพันธุ์ ป่วยเป็นโรค
หมู่หนอนชอนไชที่อวัยวะสืบพันธุ์
นี้เป็นผลกรรมที่ดิฉันเป็นชู้กับภรรยาผู้อื่น
[๔๔๒] ดิฉันนั้นตายจากกำเนิดแพะนั้นแล้ว
ก็เกิดในท้องแม่โคของพ่อค้าโค
เป็นลูกโคมีขนแดงดังน้ำครั่ง
อายุ ๑๒ เดือนก็ถูกตอน
[๔๔๓] ดิฉันถูกเขาใช้ให้ลากไถและเทียมเกวียน
ป่วยเป็นโรคตาบอด มีความลำบาก
นี้เป็นผลกรรมที่ดิฉันเป็นชู้กับภรรยาผู้อื่น
[๔๔๔] ดิฉันนั้นตายจากกำเนิดโคนั้นแล้ว
เกิดในท้องสาวใช้ข้างถนนในพระนคร
เป็นหญิงก็ไม่ใช่ เป็นชายก็ไม่เชิง
นี้เป็นผลกรรมที่ดิฉันเป็นชู้กับภรรยาผู้อื่น
[๔๔๕] อายุ ๓๐ ปีก็ตาย
มาเกิดเป็นเด็กหญิง
ในตระกูลช่างเกวียนที่เข็ญใจ
มีโภคทรัพย์น้อย
มีเจ้าหนี้มากมาย
[๔๔๖] เมื่อหนี้พอกพูนทับถมมากขึ้น
แต่นั้น นายกองเกวียนก็ริบเอาทรัพย์สมบัติแล้ว
ฉุดคร่าดิฉันนั้นผู้กำลังรำพันอยู่ออกจากเรือนของสกุล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๖๒๗ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๑๕. จัตตาฬีสนิบาต] ๑. อิสิทาสีเถรีคาถา
[๔๔๗] ภายหลัง บุตรของนายกองเกวียนนั้นชื่อคิริทาส
เห็นดิฉันเป็นสาวรุ่นอายุ ๑๖ ปี
ก็มีจิตปฏิพัทธ์ จึงขอไปเป็นภรรยา
[๔๔๘] แต่นายคิริทาสนั้น มีภรรยาอยู่ก่อนคนหนึ่ง
เป็นคนมีศีล มีคุณธรรม และมีชื่อเสียง
รักใคร่สามีอย่างดียิ่ง ดิฉันได้ทำให้สามีเกลียดนาง
[๔๔๙] ข้อที่สามีทั้งหลาย เลิกร้างดิฉัน
ซึ่งปรนนิบัติอยู่เสมือนสาวใช้ไป
ก็เป็นผลกรรมที่ดิฉันนั้นกระทำแล้วในครั้งนั้น
ดิฉันสิ้นสุดกรรมนั้นแล้ว
จัตตาฬีสนิบาต จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๖๒๘ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๑๖. มหานิบาต] ๑. สุเมธาเถรีคาถา
๑๖. มหานิบาต
๑. สุเมธาเถรีคาถา
ภาษิตพระสุเมธาเถรี
ทราบว่า พระสุเมธาเถรีได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า
[๔๕๐] เราเป็นธิดาของพระอัครมเหสีพระเจ้าโกญจะกรุงมันตาวดี ชื่อว่า
สุเมธา ผู้ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายผู้ทำตามคำสั่งสอน
ทำให้เกิดเลื่อมใสแล้ว
[๔๕๑] เจ้าหญิงสุเมธามีศีล กล่าวธรรมได้วิจิตร
เป็นพหูสูต ถูกแนะนำในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
เข้าเฝ้าพระชนกและพระชนนี กราบทูลว่า
“ขอพระชนกพระชนนีทั้ง ๒ พระองค์
โปรดตั้งพระทัยสดับคำของลูก
[๔๕๒] ลูกยินดีอย่างยิ่งในนิพพาน
ภพถึงแม้ว่าจะเป็นทิพย์ก็ไม่ยั่งยืน
จะกล่าวไปใยถึงกามทั้งหลายซึ่งเป็นของว่างเปล่า
มีความยินดีน้อย มีความคับแค้นมาก
[๔๕๓] กามทั้งหลายเผ็ดร้อน เปรียบด้วยงูพิษ
ที่พวกคนเขลาหมกมุ่นอยู่
พวกคนเขลาเหล่านั้นแออัดกันในนรก
ต้องประสบทุกข์เดือดร้อนอยู่เป็นเวลาช้านาน
[๔๕๔] พวกคนเขลาไม่สำรวมกายวาจาและใจ ทำแต่ความชั่ว
พอกพูนแต่ความชั่วย่อมโศร้าโศกในอบายทุกเมื่อ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๖๒๙ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๑๖. มหานิบาต] ๑. สุเมธาเถรีคาถา
[๔๕๕] พวกคนเขลาเหล่านั้นมีปัญญาทราม ไม่มีความคิด
ยินดีแล้วในทุกข์และเหตุให้เกิดทุกข์
ไม่รู้สัจธรรม ๔ ที่พระอริยะแสดงอยู่ จึงรู้อริยสัจไม่ได้
[๔๕๖] ทูลกระหม่อมแม่เจ้าขา คนเขลาเหล่าใดเมื่อไม่รู้สัจจะทั้งหลาย
ที่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐทรงแสดงไว้แล้ว ยังชื่นชมภพ พอใจเกิด
ในหมู่เทพ คนเขลาเหล่านั้นมีอยู่เป็นจำนวนมากในโลกนี้
[๔๕๗] ความเกิดในหมู่เทพในภพที่ไม่เที่ยง เป็นสภาวะที่ไม่ยั่งยืน
พวกคนเขลาย่อมไม่สะดุ้งกลัวต่อการที่จะต้องเกิดบ่อย ๆ
[๔๕๘] สัตว์ทั้งหลายย่อมได้อบาย ๔ กันง่าย
ส่วนคติ ๒ ได้กันลำบาก
เหล่าสัตว์ที่เข้าถึงอบาย ในนรกไม่มีการบวชนะเพคะ
[๔๕๙] ขอพระชนกพระชนนีทั้ง ๒ พระองค์
ทรงอนุญาตให้ลูกบวชในพระธรรมวินัยของพระทศพลเถิดเพคะ
ลูกจักขวนขวายน้อย พากเพียรเพื่อละชาติและมรณะ
[๔๖๐] กายที่มีโทษคือกายที่ไร้สาระซึ่งพวกคนเขลาชื่นชมนักหนา
จะมีประโยชน์อะไรในภพ
ขอทั้ง ๒ พระองค์ทรงอนุญาตเถิด
ลูกจักบวชเพื่อดับภวตัณหา๑
[๔๖๑] ความอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายลูกได้แล้ว
อักขณะ๒ลูกก็เว้นแล้ว
ขณะลูกก็ได้แล้ว
ลูกจะไม่พึงทำลายศีลและพรหมจรรย์ตลอดชีวิต”

เชิงอรรถ :
๑ ความอยากในภพ
๒ ไม่ใช่เวลา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๖๓๐ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๑๖. มหานิบาต] ๑. สุเมธาเถรีคาถา
[๔๖๒] เจ้าหญิงสุเมธากราบทูลพระชนกพระชนนีอย่างนี้ว่า
“ตราบใดที่ลูกยังเป็นคฤหัสถ์จักไม่ยอมรับประทานอาหาร
ถึงจะตายก็ยอมเพคะ”
[๔๖๓] พระชนนีของพระนางสุเมธานั้นทรงเป็นทุกข์ ทรงกันแสง
และพระชนกของนางมีพระพักตร์นองด้วยอัสสุชล
ทั้ง ๒ พระองค์ทรงพยายามเกลี้ยกล่อมพระนางสุเมธานั้น
ซึ่งฟุบลงที่พื้นดิน ณ พื้นปราสาทว่า
[๔๖๔] “ลุกขึ้นเถิด ลูกรัก จะเศร้าโศกไปทำไม
พ่อแม่ได้ยกลูกให้พระเจ้าอนิกรัต
ผู้ทรงสง่างามในพระนครวารณวดีแล้ว
[๔๖๕] ลูกจักเป็นเอกอัครมเหสีของพระเจ้าอนิกรัต
ศีล พรหมจรรย์ บรรพชาทำได้ยากนะลูกรัก
[๔๖๖] อำนาจในแคว้นของพระเจ้าอนิกรัต ทรัพย์
ความเป็นใหญ่ โภคะ สุขในราชสกุลนี้
ถ้าลูกปรารถนาแล้ว ก็จักอยู่ในเงื้อมมือของลูก
ลูกก็ยังเป็นสาว จงบริโภคกามทั้งหลายเถิด
ลูกจงวิวาห์เสียนะลูกนะ”
[๔๖๗] ลำดับนั้น เจ้าหญิงสุเมธากราบทูลพระชนกพระชนนีนั้น
อย่างนี้ว่า “อำนาจเป็นต้นเช่นนี้จงอย่ามีเลย
เพราะภพหาสาระมิได้ ลูกขอบวชหรือตายเท่านั้น
แต่ลูกไม่ยอมวิวาห์แน่นอน
[๔๖๘] กายที่เปื่อยเน่าเหมือนหมู่หนอน ไม่สะอาด
มีกลิ่นเหม็นฟุ้งไป น่าสะพรึงกลัว
เป็นดุจถุงหนัง บรรจุศพ เต็มด้วยของไม่สะอาด
ไหลออกอยู่เนือง ๆ ซึ่งคนเขลายึดถืออยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๖๓๑ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๑๖. มหานิบาต] ๑. สุเมธาเถรีคาถา
[๔๖๙] ลูกรู้อยู่ว่าร่างกายนั้นปฏิกูลเหมือนหมู่หนอน
ถูกฉาบไว้ด้วยเนื้อและเลือด
เป็นที่อยู่ของหมู่หนอน เป็นเหยื่อของแร้งกา
ทำไมทูลกระหม่อมจึงพระราชทานซากศพ
แก่พระราชาพระองค์นั้นเพคะ
[๔๗๐] ไม่ช้าร่างกายที่ปราศจากวิญญาณ
ถูกหมู่ญาติซึ่งพากันเกลียดชัง
ทอดทิ้งไปเหมือนท่อนไม้ที่เขาก็พากันนำไปทิ้งป่าช้า
[๔๗๑] มารดาบิดาของตนยังเกลียดชัง
พากันเอาซากศพนั้นไปทิ้งให้เป็นอาหารของสัตว์อื่น ๆ ในป่าช้า
กลับมาก็ต้องอาบน้ำดำเกล้า
จะกล่าวไปใยถึงหมู่ชนทั่ว ๆ ไปเล่า
[๔๗๒] หมู่ชนยึดถือแล้วในร่างกายอันเปื่อยเน่า
เป็นซากศพ ไม่มีแก่นสาร เป็นร่างของกระดูกและเอ็น
เต็มไปด้วยน้ำลาย น้ำตา และอุจจาระ
[๔๗๓] ผู้ใดพึงชำแหละร่างกายนั้นกลับข้างในมาไว้ข้างนอก
ผู้นั้นก็จะทนกลิ่นเหม็นของร่างกายนั้นไม่ได้
แม้มารดาของตนก็ยังเกลียดชัง
[๔๗๔] ลูกพิจารณาโดยอุบายอันแยบคายว่า
ขันธ์ ธาตุ อายตนะอันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว
มีชาติเป็นมูลเหตุ เป็นทุกข์ เพราะเหตุไร
จะพึงปรารถนาการวิวาห์เล่าเพคะ
[๔๗๕] หอก ๓๐๐ เล่มใหม่เอี่ยมจะพึงตกต้องที่กายทุก ๆ วัน
และทิ่มแทงอยู่ถึง ๑๐๐ ปี ยังประเสริฐกว่า
หากว่าความสิ้นทุกข์ จะพึงมีได้ด้วยอาการอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๖๓๒ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๑๖. มหานิบาต] ๑. สุเมธาเถรีคาถา
[๔๗๖] ผู้ใดรู้แจ้งคำสอนของพระศาสดาอย่างนี้แล้ว
พึงยอมรับการทิ่มแทง ด้วยอาการอย่างนั้นยังประเสริฐกว่า
เพราะสังสารวัฎของคนเหล่านั้น
ซึ่งถูกชราพยาธิและมรณะเบียดเบียนบ่อย ๆ ยาวนาน
[๔๗๗] ในจำพวกเทวดา มนุษย์ กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
หมู่อสุรกาย เปรต และสัตว์นรก
การทำร้ายกันยังปรากฏอยู่หาประมาณมิได้
[๔๗๘] สำหรับสัตว์ที่เศร้าหมองอยู่ในอบาย
ยังมีการทำร้ายกันอยู่มากในนรก
แม้ในเทวดาทั้งหลายก็ช่วยไม่ได้
สุขอื่นนอกจากสุขคือนิพพานไม่มีเลย
[๔๗๙] ชนเหล่าใดขวนขวายในพระธรรมวินัยของพระทศพล
มีความขวนขวายน้อย พากเพียรเพื่อละชาติและมรณะ
ชนเหล่านั้นย่อมถึงนิพพาน
[๔๘๐] ทูลกระหม่อมพ่อ เพคะ วันนี้แหละลูกจักออกบวช
โภคทรัพย์ทั้งหลายที่ไม่มีแก่นสารจะมีประโยชน์อะไร
ลูกเบื่อหน่ายกามทั้งหลายแล้ว
ทำให้เสมอด้วยรากสุนัข ทำให้เหมือนตาลยอดด้วน”
[๔๘๑] เจ้าหญิงสุเมธานั้นกำลังกราบทูลพระชนกอยู่อย่างนี้
พระเจ้าอนิกรัตผู้ได้รับพระราชทานพระนางสุเมธานั้น
มีข้าราชบริพารหนุ่มแวดล้อมแล้ว
ก็เสด็จมาเพื่อเข้าสู่วิวาห์เมื่อเวลากระชั้นชิด
[๔๘๒] ภายหลัง เจ้าหญิงสุเมธาทราบว่าพระเจ้าอนิกรัตเสด็จมา
จึงใช้พระขรรค์ตัดพระเกศาอันดำขลับที่รวบไว้ อ่อนสลวย
ทรงปิดปราสาท เข้าปฐมฌาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๖๓๓ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๑๖. มหานิบาต] ๑. สุเมธาเถรีคาถา
[๔๘๓] เจ้าหญิงสุเมธานั้นเข้าฌาน อยู่ในปราสาทนั้น
และพระเจ้าอนิกรัตก็ได้เสด็จมาถึงพระนคร
สุเมธาก็เจริญอนิจจสัญญาอยู่ในปราสาทนั้นนั่นแหละ
[๔๘๔] เจ้าหญิงสุเมธานั้นกำลังมนสิการ
และพระเจ้าอนิกรัตทรงแต่งองค์ด้วยแก้วมณีและทองคำ
ก็รีบเสด็จขึ้นปราสาท ทรงประคองอัญชลี
อ้อนวอนพระนางสุเมธาว่า
[๔๘๕] “อำนาจ ทรัพย์ ความเป็นใหญ่ โภคะ สุขในราชสมบัติ
น้องหญิงยังเป็นสาวอยู่
ขอเชิญบริโภคกามทั้งหลาย
กามสุขหาได้ยากในโลก
[๔๘๖] ราชสมบัติพี่ยอมสละให้น้องหญิงแล้ว
เชิญน้องหญิงบริโภคโภคทรัพย์
ถวายทานทั้งหลายเถิด
น้องหญิงอย่าทรงเสียพระทัยเลย
พระชนกพระชนนีของพระน้องหญิงทรงเป็นทุกข์”
[๔๘๗] เจ้าหญิงสุเมธาไม่ต้องการกามทั้งหลาย
ปราศจากโมหะแล้ว
จึงกราบทูลพระเจ้าอนิกรัตนั้นว่า
“อย่าทรงเพลิดเพลินกามเลย
โปรดทรงเห็นโทษในกามทั้งหลายเถิด เพคะ
[๔๘๘] พระเจ้ามันธาตุ เจ้าแห่งทวีปทั้ง ๔
ทรงเป็นยอดผู้บริโภคกามทั้งหลาย
ยังไม่ทันทรงอิ่มก็เสด็จสวรรคตไปแล้ว
ทั้งความปรารถนาของพระองค์ ก็ยังไม่เต็มเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๖๓๔ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๑๖. มหานิบาต] ๑. สุเมธาเถรีคาถา
[๔๘๙] เทวดาผู้เป็นเจ้าแห่งฝนพึงหลั่งฝนคือรัตนะ ๗ ลงมาโดยรอบ
ทั่วทั้ง ๑๐ ทิศ ความอิ่มกามทั้งหลายก็ไม่มี
นรชนทั้งหลายยังไม่อิ่มเลย ก็พากันตายไป
[๔๙๐] กามทั้งหลายเปรียบด้วยดาบและหลาว
เปรียบด้วยหัวงูเห่า เปรียบด้วยร่างกระดูก
เปรียบด้วยคบเพลิงตามเผาอยู่
[๔๙๑] กามทั้งหลายไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน มีทุกข์มาก มีพิษมาก
เป็นเหตุแห่งทุกข์ มีผลเป็นทุกข์ เหมือนก้อนเหล็กที่ลุกโชน
[๔๙๒] กามทั้งหลายเปรียบด้วยผลไม้ เปรียบด้วยชิ้นเนื้อ
นำทุกข์มาให้ เปรียบด้วยความฝันหลอกลวง
เปรียบด้วยของที่ยืมเขามา
[๔๙๓] กามทั้งหลายเปรียบด้วยหอกและหลาว
เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นทุกข์ เป็นความลำบาก
เสมือนหลุมถ่านเพลิง เป็นเหตุแห่งทุกข์
เป็นภัย เป็นเพชฌฆาต
[๔๙๔] กามทั้งหลายมีทุกข์มากอย่างนี้
บัณฑิตทั้งหลายจึงกล่าวว่าทำอันตราย
เชิญพระองค์เสด็จกลับไปเสียเถิด
หม่อมฉันไม่มีความวางใจในภพของตนเองเลย
[๔๙๕] เมื่อไฟกำลังไหม้ศีรษะของตนเองอยู่
คนอื่นจักช่วยอะไรหม่อมฉันได้
เมื่อชราและมรณะติดตามอยู่
ก็ควรพยายามกำจัดชราและมรณะนั้นเสีย”
[๔๙๖] ดิฉันเห็นพระชนกพระชนนีและพระเจ้าอนิกรัตเสด็จยังไม่ทันถึง
พระทวารก็ประทับนั่งที่พื้นดิน ทรงกันแสงอยู่
จึงได้กราบทูลดังนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๖๓๕ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๑๖. มหานิบาต] ๑. สุเมธาเถรีคาถา
[๔๙๗] “สังสารวัฏเป็นสภาวะยืดยาวสำหรับพวกคนเขลา
ผู้ร้องไห้อยู่บ่อย ๆ เพราะบิดามารดาตาย
พี่ชายน้องชายถูกฆ่า และตัวเองถูกฆ่า
ในสังสารวัฏที่มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้แล้ว
[๔๙๘] ขอพระองค์ทรงโปรดระลึกถึงน้ำตา น้ำนม เลือด
และกองกระดูก ของสัตว์ทั้งหลายผู้ท่องเที่ยวไปมาว่ามากเพียงไร
เพราะความที่สังสารวัฏมีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้แล้ว
[๔๙๙] โปรดทรงระลึกถึงมหาสมุทรทั้ง ๔ ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรง
นำมาเปรียบเทียบด้วยน้ำตา น้ำนมและเลือด
โปรดทรงระลึกถึงกองกระดูกในกัปหนึ่งของบุคคลคนหนึ่ง
เทียบเท่าภูเขาวิปุลบรรพต
[๕๐๐] โปรดทรงระลึกถึงแผ่นดินใหญ่ชมพูทวีปที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ทรงนำมาเปรียบเทียบด้วยสังสารวัฏของสัตว์ที่ท่องเที่ยวอยู่ใน
สังสารวัฏที่มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้แล้ว
แผ่นดินทั้งหลายทำให้เป็นก้อนเท่าเมล็ดพุทรา
ก็มากไม่พอเท่าจำนวนมารดาบิดาทั้งหลาย
[๕๐๑] โปรดทรงระลึกถึงหญ้า ไม้ กิ่งไม้ และใบไม้
ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงนำมาเปรียบเทียบ
เพราะสังสารวัฏมีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้แล้ว
ท่อนไม้ทั้งหลายมีขนาด ๔ นิ้ว
ก็มากไม่พอเท่าจำนวนบิดาและปู่ทั้งหลาย
[๕๐๒] โปรดทรงระลึกถึงเต่าตาบอด
และช่องแอกอันหมุนวนไปในทิศบูรพาและทิศอื่น ๆ
ในมหาสมุทรมาสวมหัวเต่าตาบอดตัวนั้น
เปรียบเทียบในการได้อัตภาพเป็นมนุษย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๖๓๖ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๑๖. มหานิบาต] ๑. สุเมธาเถรีคาถา
[๕๐๓] โปรดทรงระลึกถึงสภาวะที่จะสลายไปแห่งโทษคือกาย
ที่ไม่มีแก่นสาร ซึ่งเปรียบด้วยก้อนฟองน้ำ
โปรดทรงพิจารณาให้เห็นขันธ์ทั้งหลายว่าเป็นสภาพไม่เที่ยง
โปรดทรงระลึกถึงนรกทั้งหลายว่ามีความคับแค้นมาก
[๕๐๔] โปรดทรงระลึกถึงสัตว์ทั้งหลายที่พากันทำป่าช้าให้รก
ในชาตินั้น ๆ อยู่ร่ำไป
โปรดระลึกถึงภัยคือจรเข้๑
โปรดทรงระลึกถึงอริยสัจ ๔
[๕๐๕] เมื่ออมตนิพพานมีอยู่
พระองค์ยังจะทรงต้องการอะไร
ด้วยของเผ็ดร้อน ๕ อย่างที่ทรงดื่มแล้วอีกเล่า
เพราะว่า ความยินดีกามทุกอย่าง
เผ็ดร้อนกว่าของเผ็ดร้อน ๕ อย่าง
[๕๐๖] เมื่ออมตนิพพานมีอยู่
พระองค์ยังจะทรงต้องการอะไรด้วยกามทั้งหลายที่เร่าร้อนอีกเล่า
เพราะว่าความยินดีกามทุกอย่างอันไฟติดโพลงแล้ว
ให้เดือดร้อน ให้หวั่นไหว เผาให้ร้อนแล้ว
[๕๐๗] เมื่อการออกจากกามซึ่งไม่มีข้าศึกมีอยู่
พระองค์ยังจะทรงต้องการอะไรด้วยกามทั้งหลายที่มีข้าศึกมาก
กามทั้งหลายมีภัยอยู่ทั่วไป
คือ ราชภัย อัคคีภัย โจรภัย อุทกภัย
และอัปปิยภัย๒จึงชื่อว่ามีข้าศึกมาก

เชิงอรรถ :
๑ เห็นแก่กินเห็นแก่ปากแก่ท้อง
๒ ภัยที่เกิดจากคนร่วมมรดกที่ไม่ถูกกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๖๓๗ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๑๖. มหานิบาต] ๑. สุเมธาเถรีคาถา
[๕๐๘] เมื่อโมกขธรรมมีอยู่
พระองค์ยังจะทรงต้องการอะไร
ด้วยกามทั้งหลายที่มีการฆ่าการจองจำเล่า
เพราะว่าการฆ่าการจองจำมีอยู่ในกามทั้งหลาย
สัตว์ทั้งหลายผู้ใคร่กามย่อมได้รับทุกข์ทั้งหลาย
[๕๐๙] คบเพลิงหญ้าที่ลุกโพลงย่อมไหม้คนที่ถือ
และพวกคนที่ไม่ยอมปล่อย
เพราะว่ากามทั้งหลายเปรียบด้วยคบเพลิงย่อมไหม้คนที่ไม่ยอมละ
[๕๑๐] โปรดอย่าละสุขอันไพบูลย์
เพราะเหตุแห่งกามสุขเพียงเล็กน้อย
อย่าทรงเป็นดุจปลาใหญ่กลืนเบ็ด
ต้องเดือดร้อนในภายหลัง
[๕๑๑] โปรดอย่าทรงเป็นดุจสุนัขถูกล่ามโซ่หมุนไปหมุนมา
เพราะกามทั้งหลายเลย
เพราะกามทั้งหลายจักทำพระองค์ให้เป็นเหมือนคนจัณฑาลหิวจัด
ได้สุนัขแล้วทำให้พินาศได้
[๕๑๒] พระองค์ทรงประกอบด้วยกาม
จักเสวยทุกข์ซึ่งหาประมาณมิได้
และความเสียใจอย่างมาก
โปรดสละกามอันไม่ยั่งยืนเสียเถิด
[๕๑๓] เมื่อนิพพานที่ไม่มีความแก่มีอยู่
พระองค์ยังจะทรงต้องการอะไร
ด้วยกามทั้งหลายที่มีความแก่เล่า
ความเกิดทั้งปวงมีมรณะและพยาธิกำกับไว้ในภพทุกภพ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๖๓๘ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๑๖. มหานิบาต] ๑. สุเมธาเถรีคาถา
[๕๑๔] นิพพานนี้ไม่แก่ ไม่ตาย
เป็นทางดำเนินถึงความไม่แก่และไม่ตาย
ไม่มีความเศร้าโศก
ไม่ถูกข้าศึกเบียดเบียน
ไม่พลาด ไม่มีภัย
ไม่มีความเดือดร้อน
[๕๑๕] นิพพานนี้ พระอริยเจ้าเป็นจำนวนมากบรรลุแล้ว
อมตนิพพานนี้อันผู้พยายามโดยแยบคายพึงได้ในวันนี้นี่แหละ
แต่ผู้ไม่พยายามอาจหาได้ไม่”
[๕๑๖] เจ้าหญิงสุเมธาเมื่อไม่ทรงยินดีในสังขาร กราบทูลอย่างนี้
และเมื่อกำลังทรงเกลี้ยกล่อมพระเจ้าอนิกรัตอยู่
ก็ทรงโยนพระเกศาลงที่พื้นดิน
[๕๑๗] พระเจ้าอนิกรัตเสด็จลุกขึ้น ประคองอัญชลี
ทูลอ้อนวอนพระชนกของพระนางว่า
“โปรดทรงปลดปล่อยเจ้าหญิงสุเมธาให้ผนวชเถิด
เพราะว่าเจ้าหญิงทรงเห็นวิโมกข์และสัจธรรมแล้ว”
[๕๑๘] เจ้าหญิงสุเมธานั้นซึ่งพระชนกชนนีทรงปล่อยแล้ว
กลัวภัยคือความโศก
บวชแล้วเมื่อศึกษาอยู่
ก็ทำให้แจ้งอภิญญา ๖ และอรหัตผลแล้ว
[๕๑๙] นิพพานนั้นน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมี
ได้มีแก่สุเมธาราชกัญญา
พระสุเมธาเถรีได้พยากรณ์วิธีที่ตนประพฤติแล้วในปุพเพนิวาสญาณ
เหมือนอย่างที่พยากรณ์ในเวลาใกล้ปรินิพพานว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๖๓๙ }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๑๖. มหานิบาต] ๑. สุเมธาเถรีคาถา
[๕๒๐] “เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่าโกนาคมนะเสด็จอุบัติขึ้นใน
โลก เมื่อสร้างสังฆารามเสร็จใหม่ ๆ ข้าพเจ้าได้เป็นหญิง รวมกับ
เพื่อนกัน ๓ คน๑ ได้ถวายวิหารแด่สงฆ์
[๕๒๑] พวกเราทั้ง ๓ คนเกิดในเทวดา ๑๐ ชาติบ้าง ๑๐๐ ชาติบ้าง
๑,๐๐๐ ชาติบ้าง ๑๐,๐๐๐ ชาติบ้าง
ไม่จำต้องกล่าวถึงการเกิดในมนุษย์เลย
[๕๒๒] พวกเรามีฤทธิ์มากในหมู่เทวดา
ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงฤทธิ์ในหมู่มนุษย์
เราเป็นมเหสีนารีรัตน์ของพระเจ้าจักรพรรดิผู้มีรัตนะ ๗ ประการ
[๕๒๓] การสร้างอารามถวายสงฆ์เป็นวิหารทานนั้น
เป็นเหตุเป็นแดนเกิด(แห่งทิพยสมบัติตามที่กล่าวมาแล้ว)
ข้อนั้นเป็นมูล และเป็นความเกษมในพระศาสนา
เป็นเหตุตั้งมั่น (พร้อมด้วยธรรมครั้งที่ ๑)
ข้อนั้นเป็นนิพพานสำหรับข้าพเจ้าผู้ยินดีแล้วในธรรม
[๕๒๔] ชนเหล่าใดเชื่อพระดำรัสของพระผู้มีพระภาค
ผู้มีพระปัญญาไม่ทราม
ชนเหล่านั้นย่อมกล่าวอย่างนี้ย่อมเบื่อหน่ายในภพ
ครั้นเบื่อหน่ายแล้ว ย่อมคลายกำหนัดดังนี้”
มหานิบาต จบบริบูรณ์
เถรีคาถา จบบริบูรณ์
ในเถรีคาถานี้ มี ๔๙๔ คาถา
และมีพระเถรีล้วนแต่เป็นผู้สิ้นอาสวะเกิน ๑๐๐ รูป ฉะนี้แล

เชิงอรรถ :
๑ คือ ธนัญชานี เขมา และข้าพเจ้า (สุเมธา) (ขุ.เถรี.อ. ๕๒๐/๓๖๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า :๖๔๐ }


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ สุตตันตปิฎกที่ ๑๘ ขุททกนิกาย
วิมาน เปตวัตถุ เถรคาถา เถรีคาถา จบ





eXTReMe Tracker