ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ



จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อความสะดวก และสวยงาม
(เฉพาะหน้าจอใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์)
กรุณาคลิก จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อให้กรอบ
ค้นข้อความ ปรากฎที่ด้านซ้ายของหน้า

พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑-๑ สุตตันตปิฎกที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๑.ภัณฑคามวรรค ๑. อนุพุทธสูตร

พระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๑. ปฐมปัณณาสก์
๑. ภัณฑคามวรรค
หมวดว่าด้วยพุทธกิจในภัณฑคาม
๑. อนุพุทธสูตร
ว่าด้วยการตรัสรู้ธรรมเป็นเหตุสิ้นภพ

[๑] ข้าพเจ้า๑ได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภัณฑคาม แคว้นวัชชี ณ ที่นั้นแล
พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น
ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดธรรม ๔ ประการ เราและเธอ
ทั้งหลายจึงเที่ยวเร่ร่อนไป๒ตลอดกาลยาวนานอย่างนี้
ธรรม ๔ ประการ๓ อะไรบ้าง คือ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๑.ภัณฑคามวรรค ๒.ปปติตสูตร

๑. เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดอริยศีล เราและเธอทั้งหลายจึงเที่ยว
เร่ร่อนไปตลอดกาลยาวนานอย่างนี้
๒. เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดอริยสมาธิ เราและเธอทั้งหลายจึงเที่ยว
เร่ร่อนไปตลอดกาลยาวนานอย่างนี้
๓. เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดอริยปัญญา เราและเธอทั้งหลายจึงเที่ยว
เร่ร่อนไปตลอดกาลยาวนานอย่างนี้
๔. เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดอริยวิมุตติ เราและเธอทั้งหลายจึงเที่ยว
เร่ร่อนไปตลอดกาลยาวนานอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย เราได้รู้แจ้งแทงตลอดอริยศีล เราได้รู้แจ้งแทงตลอดอริยสมาธิ
เราได้รู้แจ้งแทงตลอดอริยปัญญา เราได้รู้แจ้งแทงตลอดอริยวิมุตติ เราถอนภวตัณหา
ได้แล้ว ภวเนตติ๑สิ้นไปแล้ว บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัส
คาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
ธรรมเหล่านี้ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา
และวิมุตติอันยอดเยี่ยมพระโคดมผู้มียศตรัสรู้แล้ว
ดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสบอกธรรม
แก่ภิกษุทั้งหลายเพื่อความรู้ยิ่ง
พระศาสดาทรงทำที่สุดแห่งทุกข์
มีจักษุ ปรินิพพาน๒แล้ว

อนุพุทธสูตรที่ ๑ จบ

๒. ปปติตสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้ตกจากธรรมวินัย

[๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่ประกอบด้วยธรรม ๔
ประการ เราเรียกว่า ‘ผู้ตกไปจากธรรมวินัยนี้’


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๑.ภัณฑคามวรรค ๒.ปปติตสูตร

ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ไม่ประกอบด้วยอริยศีล เรียกว่า ‘ผู้ตกไปจากธรรมวินัยนี้’
๒. บุคคลผู้ไม่ประกอบด้วยอริยสมาธิ เรียกว่า ‘ผู้ตกไปจากธรรมวินัยนี้’
๓. บุคคลผู้ไม่ประกอบด้วยอริยปัญญา เรียกว่า ‘ผู้ตกไปจากธรรมวินัยนี้’
๔. บุคคลผู้ไม่ประกอบด้วยอริยวิมุตติ เรียกว่า ‘ผู้ตกไปจากธรรมวินัยนี้’
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เราเรียกว่า
‘ผู้ตกไปจากธรรมวินัยนี้’
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เราเรียกว่า ‘ผู้ไม่ตกไป๑
จากธรรมวินัยนี้’
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ประกอบด้วยอริยศีล เรียกว่า ‘ผู้ไม่ตกไปจากธรรมวินัยนี้’
๒. บุคคลผู้ประกอบด้วยอริยสมาธิ เรียกว่า ‘ผู้ไม่ตกไปจากธรรมวินัยนี้’
๓. บุคคลผู้ประกอบด้วยอริยปัญญา เรียกว่า ‘ผู้ไม่ตกไปจากธรรมวินัยนี้’
๔. บุคคลผู้ประกอบด้วยอริยวิมุตติ เรียกว่า ‘ผู้ไม่ตกไปจากธรรมวินัยนี้’
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เราเรียกว่า ‘ผู้
ไม่ตกไปจากธรรมวินัยนี้’
ผู้เคลื่อนจากธรรมวินัย๒นี้ย่อมตกไป
ผู้ตกไปและกำหนัดเพราะราคะต้องกลับมา๓อีก
เมื่อทำกิจที่ควรทำ ยินดีสิ่งที่ควรยินดี
จะบรรลุสุขด้วยสุข๔

ปปติตสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๑.ภัณฑคามวรรค ๓. ปฐมขตสูตร

๓. ปฐมขตสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ตนถูกกำจัด สูตรที่ ๑

[๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็น
อสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย
มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพ๑สิ่งที่มิใช่บุญเป็นอันมาก
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง กล่าวสรรเสริญผู้ควรติเตียน
๒. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง กล่าวติเตียนผู้ควรสรรเสริญ
๓. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง แสดงความเลื่อมใสในฐานะที่ไม่ควรเลื่อมใส
๔. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง แสดงความไม่เลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส
ภิกษุทั้งหลาย คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๔
ประการนี้แล ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน
และประสพสิ่งที่มิใช่บุญเป็นอันมาก
ภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๔
ประการ ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่ถูก
ผู้รู้ติเตียน และประสพบุญเป็นอันมาก
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. พิจารณา ไตร่ตรองแล้ว กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียน
๒. พิจารณา ไตร่ตรองแล้ว กล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญ
๓. พิจารณา ไตร่ตรองแล้ว แสดงความไม่เลื่อมใสในฐานะที่ไม่ควรเลื่อมใส
๔. พิจารณา ไตร่ตรองแล้ว แสดงความเลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส
ภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๔
ประการนี้แล ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย
ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพบุญเป็นอันมาก


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๑.ภัณฑคามวรรค ๔.ทุติยขตสูตร

ผู้ใดกล่าวสรรเสริญผู้ควรติเตียน
หรือกล่าวติเตียนผู้ควรสรรเสริญ
ผู้นั้นชื่อว่าสั่งสมความผิดไว้ด้วยปาก
ย่อมไม่ประสพความสุขเพราะความผิดนั้น
การปราชัยด้วยทรัพย์ในการเล่นการพนัน
จนหมดตัวนี้ เป็นความผิดเพียงเล็กน้อย
แต่การที่บุคคลมีใจประทุษร้ายในบุคคล
ที่ดำเนินไปดีแล้วนี้เท่านั้น เป็นความผิดมากกว่า
บุคคลผู้ตั้งวาจาและใจอันชั่วติเตียนพระอริยะ
ย่อมเข้าถึงนรกสิ้น ๑๓๖,๐๐๐ นิรัพพุทกัป๑
กับอีก ๕ อัพพุทกัป

ปฐมขตสูตรที่ ๓ จบ

๔. ทุติยขตสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ตนถูกกำจัด สูตรที่ ๒

[๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็น
อสัตบุรุษ ปฏิบัติผิดในบุคคล ๔ จำพวก ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย
มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพสิ่งที่มิใช่บุญเป็นอันมาก
บุคคล ๔ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ปฏิบัติผิดในมารดา ย่อม
บริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน
และประสพสิ่งที่มิใช่บุญเป็นอันมาก
๒. คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ปฏิบัติผิดในบิดา ฯลฯ
๓. คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ปฏิบัติผิดในตถาคต ฯลฯ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๑.ภัณฑคามวรรค ๔.ทุติยขตสูตร

๔. คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ปฏิบัติผิดในสาวกของตถาคต
ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้
ติเตียน และประสพสิ่งที่มิใช่บุญเป็นอันมาก
ภิกษุทั้งหลาย คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ปฏิบัติผิดในบุคคล ๔
จำพวกนี้แล ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน
และประสพสิ่งที่มิใช่บุญเป็นอันมาก
ภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ปฏิบัติชอบในบุคคล ๔
จำพวก ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่ถูก
ผู้รู้ติเตียน และประสพบุญเป็นอันมาก
บุคคล ๔ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ปฏิบัติชอบในมารดา ย่อม
บริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่
ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพบุญเป็นอันมาก
๒. บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ปฏิบัติชอบในบิดา ฯลฯ
๓. บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ปฏิบัติชอบในตถาคต ฯลฯ
๔. บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ปฏิบัติชอบในสาวกของตถาคต
ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย
ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพบุญเป็นอันมาก
ภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ปฏิบัติชอบในบุคคล ๔
จำพวกนี้แล ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย
ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพบุญเป็นอันมาก
นรชนผู้ปฏิบัติผิดในมารดาบิดา
ตถาคตสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือสาวกของตถาคตนั้น
ย่อมประสพสิ่งที่มิใช่บุญเป็นอันมาก
เพราะการไม่ประพฤติธรรมในมารดาบิดานั้น
บัณฑิตทั้งหลายจึงติเตียนนรชนนั้นในโลกนี้แล
เขาจากโลกนี้ไปแล้วจึงไปสู่อบาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๑.ภัณฑคามวรรค ๕.อนุโสตสูตร

ส่วนนรชนผู้ปฏิบัติชอบในมารดาบิดา
ตถาคตสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือสาวกของตถาคตนั้น
ย่อมประสพบุญเป็นอันมาก
เพราะการประพฤติธรรมในมารดาบิดานั้น
บัณฑิตทั้งหลายจึงสรรเสริญนรชนนั้นในโลกนี้แล
เขาจากโลกนี้ไปแล้วจึงบันเทิงในสวรรค์

ทุติยขตสูตรที่ ๔ จบ

๕. อนุโสตสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้ไปตามกระแส

[๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏ
อยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวก๑ไหนบ้าง คือ

๑. บุคคลผู้ไปตามกระแส ๒. บุคคลผู้ไปทวนกระแส
๓. บุคคลผู้มีภาวะตั้งมั่น ๔. บุคคลผู้ลอยบาปข้าม๒ถึงฝั่ง
ดำรงอยู่บนบก๓

บุคคลผู้ไปตามกระแส เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เสพกาม๔และทำบาปกรรม๕ นี้เรียกว่าบุคคลผู้ไป
ตามกระแส


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๑.ภัณฑคามวรรค ๕.อนุโสตสูตร

บุคคลผู้ไปทวนกระแส เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่เสพกามและไม่ทำบาปกรรม แม้มีทุกข์ทางกาย
และทุกข์ทางใจ ร้องไห้น้ำตานองหน้า ก็ยังประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ได้
นี้เรียกว่าบุคคลผู้ไปทวนกระแส
บุคคลผู้มีภาวะตั้งมั่น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องต่ำ) ๕
ประการสิ้นไป เป็นโอปปาติกะ๑ปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับจากโลกนั้นอีก
นี้เรียกว่าบุคคลผู้มีภาวะตั้งมั่น
บุคคลผู้ลอยบาปข้ามถึงฝั่งดำรงอยู่บนบก เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ
เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน นี้เรียกว่าบุคคลผู้ลอย
บาปข้ามถึงฝั่งดำรงอยู่บนบก
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
ในโลกนี้ชนผู้ไม่สำรวมในกามทั้งหลาย
ยังไม่ปราศจากราคะ บริโภคกามตามปกติ
ถูกตัณหาครอบงำ เข้าถึงชาติและชราเสมอ
ชื่อว่าผู้ไปตามกระแส
เพราะเหตุนั้นแล บุคคลผู้เป็นนักปราชญ์
มีสติตั้งมั่นในโลกนี้ ไม่เสพกามและไม่ทำบาปกรรม
แม้มีทุกข์ก็ยังละกามได้
บัณฑิตทั้งหลายเรียกบุคคลผู้เป็นนักปราชญ์นั้นว่า
ผู้ไปทวนกระแส


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๑.ภัณฑคามวรรค ๖.อัปปัสสุตสูตร

นรชนผู้ละกิเลส ๕ ประการได้
มีสิกขาบริบูรณ์ เป็นผู้ไม่เสื่อมแน่นอน
ถึงความเชี่ยวชาญในจิต๑ มีอินทรีย์ตั้งมั่น
บัณฑิตทั้งหลายเรียกว่า ผู้มีภาวะตั้งมั่น
บุคคลผู้ประกอบด้วยญาณกำจัดธรรมทั้งหลาย
ทั้งที่เป็นกุศลและอกุศลให้สิ้นไปไม่เหลืออยู่
เป็นผู้ถึงเวท อยู่จบพรหมจรรย์
ถึงที่สุดแห่งโลก บัณฑิตเรียกว่าผู้ถึงฝั่ง๒

อนุโสตสูตรที่ ๕ จบ

๖. อัปปัสสุตสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้มีสุตะน้อย

[๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏ
อยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวก๓ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้มีสุตะน้อยทั้งไม่เข้าถึงสุตะ
๒. บุคคลผู้มีสุตะน้อย แต่เข้าถึงสุตะ
๓. บุคคลผู้มีสุตะมาก แต่ไม่เข้าถึงสุตะ
๔. บุคคลผู้มีสุตะมากทั้งเข้าถึงสุตะ
บุคคลผู้มีสุตะน้อยทั้งไม่เข้าถึงสุตะ เป็นอย่างไร


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๑.ภัณฑคามวรรค ๖.อัปปัสสุตสูตร

คือ บุคคลบางคนในโลกนี้มีสุตะ คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน
อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ๑น้อย ทั้งเขาก็หารู้อรรถ๒รู้ธรรม๓แห่งสุตะ
น้อยนั้นแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไม่ บุคคลผู้มีสุตะน้อยทั้งไม่เข้าถึงสุตะ
เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้มีสุตะน้อย แต่เข้าถึงสุตะ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้มีสุตะ คือ สุตตะ เคยยะ ฯลฯ เวทัลละน้อย แต่
เขารู้อรรถรู้ธรรมแห่งสุตะน้อยนั้นแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม บุคคลผู้มีสุตะ
น้อย แต่เข้าถึงสุตะ เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้มีสุตะมาก แต่ไม่เข้าถึงสุตะ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้มีสุตะ คือ สุตตะ เคยยะ ฯลฯ เวทัลละมาก
แต่เขาหารู้อรรถรู้ธรรมแห่งสุตะมากนั้น แล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไม่ บุคคล
ผู้มีสุตะมาก แต่ไม่เข้าถึงสุตะ เป็นอย่างนี้แล


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๑.ภัณฑคามวรรค ๖.อัปปัสสุตสูตร

บุคคลผู้มีสุตะมากทั้งเข้าถึงสุตะ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้มีสุตะ คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน
อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละมาก ทั้งเขาก็รู้อรรถรู้ธรรมแห่งสุตะมากนั้น
แล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม บุคคลผู้มีสุตะมากทั้งเข้าถึงสุตะ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
ถ้าบุคคลมีสุตะน้อย ทั้งไม่ตั้งมั่นในศีล
บัณฑิตทั้งหลายย่อมติเตียนเขา
ทั้งในด้านศีลและสุตะ
ถ้าบุคคลแม้มีสุตะน้อย แต่ตั้งมั่นดีในศีล
บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญเขาในด้านศีล
แต่สุตะของเขาไม่สมบูรณ์
ถ้าบุคคลแม้มีสุตะมาก แต่ไม่ตั้งมั่นในศีล
บัณฑิตทั้งหลายย่อมติเตียนเขาในด้านศีล
แต่สุตะของเขาสมบูรณ์
ถ้าบุคคลมีสุตะมาก ทั้งตั้งมั่นดีในศีล
บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญเขา
ทั้งในด้านศีลและสุตะ
ใครเล่าจะสามารถติเตียนเขาผู้มีสุตะมาก
ทรงธรรม มีปัญญา เป็นพุทธสาวก
ผู้เป็นเหมือนแท่งทองชมพูนุท๑
แม้เทวดาและมนุษย์ก็สรรเสริญเขา
ถึงพรหมก็สรรเสริญเขา

อัปปัสสุตสูตรที่ ๖ จบ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๑.ภัณฑคามวรรค ๗. โสภณสูตร

๗. โสภณสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้ทำหมู่ให้งาม

[๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ ผู้เฉียบแหลม
ได้รับคำแนะนำดี แกล้วกล้า เป็นพหูสูต ทรงธรรม ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
ย่อมทำหมู่ให้งาม
บุคคล ๔ จำพวกไหนบ้าง คือ
ในธรรมวินัยนี้
๑. ภิกษุผู้เฉียบแหลม ได้รับคำแนะนำดี แกล้วกล้า เป็นพหูสูต ทรงธรรม
ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ย่อมทำหมู่ให้งาม
๒. ภิกษุณี ฯลฯ
๓. อุบาสก ฯลฯ
๔. อุบาสิกาผู้เฉียบแหลม ได้รับคำแนะนำดี แกล้วกล้า เป็นพหูสูต
ทรงธรรม ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ย่อมทำหมู่ให้งาม
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลผู้เฉียบแหลม ได้รับคำแนะนำดี แกล้วกล้า
เป็นพหูสูต ทรงธรรม ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ย่อมทำหมู่ให้งาม
บุคคลผู้เฉียบแหลม แกล้วกล้า เป็นพหูสูต
ทรงธรรม และปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
เรียกว่าผู้ทำหมู่ให้งาม
ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ภิกษุณีผู้เป็นพหูสูต
อุบาสกผู้มีศรัทธา และอุบาสิกาผู้มีศรัทธา๑
ชนเหล่านี้แลย่อมทำหมู่ให้งาม
ชนเหล่านี้แลชื่อว่าสังฆโสภณ

โสภณสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๑.ภัณฑคามวรรค ๘.เวสารัชชสูตร

๘. เวสารัชชสูตร
ว่าด้วยญาณเป็นเหตุให้แกล้วกล้า

[๘] ภิกษุทั้งหลาย เวสารัชชญาณ (ญาณเป็นเหตุให้แกล้วกล้า) ๔ ประการนี้
ที่ตถาคตมีแล้วเป็นเหตุให้ปฏิญญา(ยืนยัน)ฐานะที่องอาจ๑ บันลือสีหนาท๒ ประกาศ
พรหมจักร๓ในบริษัท๔
เวสารัชชญาณของตถาคต ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เราไม่เห็นนิมิตนี้ว่า “สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ
ในโลกจักทักท้วงเราด้วยคำพูดที่มีเหตุผลในธรรมนั้นว่า ‘ท่านปฏิญญา
ว่าเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ ธรรมเหล่านี้ท่านก็ยังไม่รู้” เราเมื่อไม่
เห็นนิมิตแม้นี้จึงถึงความเกษม ไม่มีความกลัว แกล้วกล้าอยู่
๒. เราไม่เห็นนิมิตนี้ว่า “สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ
ในโลกจักทักท้วงเราด้วยคำพูดที่มีเหตุผลในธรรมนั้นว่า ‘ท่านปฏิญญา
ว่าเป็นพระขีณาสพ อาสวะเหล่านี้ของท่านก็ยังไม่สิ้นไป” เราเมื่อไม่
เห็นนิมิตแม้นี้จึงถึงความเกษม ไม่มีความกลัว แกล้วกล้าอยู่


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๑.ภัณฑคามวรรค ๘.เวสารัชชสูตร

๓. เราไม่เห็นนิมิตนี้ว่า “สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ
ในโลกจักทักท้วงเราด้วยคำพูดที่มีเหตุผลในธรรมนั้นว่า ‘อันตรายิก-
ธรรม๑ที่ท่านกล่าวไว้ไม่อาจก่ออันตรายแก่ผู้เสพได้จริง” เราเมื่อไม่
เห็นนิมิตแม้นี้จึงถึงความเกษม ไม่มีความกลัว แกล้วกล้าอยู่
๔. เราไม่เห็นนิมิตนี้ว่า “สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ
ในโลกจักทักท้วงเราด้วยคำพูดที่มีเหตุผลในธรรมนั้นว่า ‘ท่านแสดงธรรม
เพื่อประโยชน์อย่างใด ประโยชน์อย่างนั้นไม่สำเร็จเพื่อความสิ้นทุกข์
โดยชอบแก่ผู้ทำตามได้จริง” เราเมื่อไม่เห็นนิมิตแม้นี้จึงถึงความเกษม
ไม่มีความกลัว แกล้วกล้าอยู่
ภิกษุทั้งหลาย เวสารัชชญาณ ๔ ประการนี้แลที่ตถาคตมีแล้วเป็นเหตุให้
ปฏิญญาฐานะที่องอาจ บันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักรในบริษัท
วาทะเหล่าใดที่สมณะหรือพราหมณ์
ตระเตรียมไว้แพร่หลาย
วาทะเหล่านั้นมาถึงตถาคตผู้แกล้วกล้า
ผู้ล่วงวาทะได้ย่อมไม่มีผล๒
สัตว์ทั้งหลายย่อมนมัสการตถาคต
ผู้เพียบพร้อมด้วยโลกุตตรธรรมทั้งหมด
ผู้ประกาศธรรมจักรครอบคลุมทั้งหมด
ผู้อนุเคราะห์สัตว์ทุกจำพวก
ผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์
ผู้ถึงฝั่งแห่งภพเช่นนั้น

เวสารัชชสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๑.ภัณฑคามวรรค ๙.ตัณหุปปาทสูตร

๙. ตัณหุปปาทสูตร
ว่าด้วยเหตุเกิดแห่งตัณหา

[๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย มีเหตุเกิดแห่งตัณหา ๔ ประการ
นี้ ที่ตัณหาเมื่อจะเกิดแก่ภิกษุ ย่อมเกิดขึ้นได้
มีเหตุเกิดแห่งตัณหา ๔ ประการ๑ อะไรบ้าง คือ
๑. ตัณหาเมื่อจะเกิดแก่ภิกษุ ย่อมเกิดเพราะจีวรเป็นเหตุ
๒. ตัณหาเมื่อจะเกิดแก่ภิกษุ ย่อมเกิดเพราะบิณฑบาตเป็นเหตุ
๓. ตัณหาเมื่อจะเกิดแก่ภิกษุ ย่อมเกิดเพราะเสนาสนะเป็นเหตุ
๔. ตัณหาเมื่อจะเกิดแก่ภิกษุ ย่อมเกิดเพราะปัจจัยที่ดีและดีกว่า๒
ภิกษุทั้งหลาย มีเหตุเกิดแห่งตัณหา ๔ ประการนี้แลที่ตัณหาเมื่อจะเกิดแก่
่ภิกษุ ย่อมเกิดขึ้นได้
บุคคลมีตัณหาเป็นเพื่อน
เที่ยวไปตลอดกาลยาวนาน
ย่อมไม่ล่วงพ้นสังสารวัฏ
ที่มีสภาวะอย่างนี้และสภาวะอย่างอื่น๓
ภิกษุรู้โทษนี้ รู้ตัณหาเป็นเหตุให้เกิดทุกข์
พึงเป็นผู้ไม่มีตัณหา ไม่มีความถือมั่น
มีสติสัมปชัญญะอยู่

ตัณหุปปาทสูตรที่ ๙ จบ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๑.ภัณฑคามวรรค ๑๐.โยคสูตร

๑๐. โยคสูตร
ว่าด้วยโยคะ

[๑๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย โยคะ (กิเลสที่ผูกมัดสัตว์ไว้ในภพ)
๔ ประการนี้
โยคะ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กามโยคะ ๒. ภวโยคะ
๓. ทิฏฐิโยคะ ๔. อวิชชาโยคะ
กามโยคะ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ๑ โทษ๒ และ
เครื่องสลัดกามทั้งหลายออกไปตามความเป็นจริง เมื่อเขาไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ
คุณ โทษ และเครื่องสลัดกามทั้งหลายออกไปตามความเป็นจริง ความกำหนัด
เพราะกาม ความเพลิดเพลินเพราะกาม ความเยื่อใยเพราะกาม ความหมกมุ่น
เพราะกาม ความกระหายเพราะกาม ความเร่าร้อนเพราะกาม ความติดเพราะกาม
ความอยากเพราะกามย่อมเกิดขึ้นในกามทั้งหลาย๓ นี้เรียกว่า กามโยคะ
กามโยคะ เป็นอย่างนี้
ภวโยคะ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และ
เครื่องสลัดภพทั้งหลายออกไปตามความเป็นจริง เมื่อเขาไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ
คุณ โทษ และเครื่องสลัดภพทั้งหลายออกไปตามความเป็นจริง ความกำหนัดเพราะ
ภพ ความเพลิดเพลินเพราะภพ ความเยื่อใยเพราะภพ ความหมกมุ่นเพราะภพ
ความกระหายเพราะภพ ความเร่าร้อนเพราะภพ ความติด เพราะภพ ความอยาก
เพราะภพย่อมเกิดขึ้นในภพทั้งหลาย นี้เรียกว่า ภวโยคะ
กามโยคะและภวโยคะ เป็นอย่างนี้


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๑.ภัณฑคามวรรค ๑๐.โยคสูตร

ทิฏฐิโยคะ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และ
เครื่องสลัดทิฏฐิทั้งหลายออกไปตามความเป็นจริง เมื่อเขาไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ
คุณ โทษ และเครื่องสลัดทิฏฐิทั้งหลายออกไปตามความเป็นจริง ความกำหนัดเพราะ
ทิฏฐิ ความเพลิดเพลินเพราะทิฏฐิ ความเยื่อใยเพราะทิฏฐิ ความหมกมุ่นเพราะทิฏฐิ
ความกระหายเพราะทิฏฐิ ความเร่าร้อนเพราะทิฏฐิ ความติดเพราะทิฏฐิ ความ
อยากเพราะทิฏฐิย่อมเกิดขึ้นในทิฏฐิทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทิฏฐิโยคะ
กามโยคะ ภวโยคะ และทิฏฐิโยคะ เป็นอย่างนี้
อวิชชาโยคะ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และ
เครื่องสลัดผัสสายตนะ ๖ ประการออกไปตามความเป็นจริง เมื่อเขาไม่รู้ชัดซึ่ง
ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดผัสสายตนะ ๖ ประการออกไป
ตามความเป็นจริง ความไม่รู้ ความไม่หยั่งรู้ย่อมเกิดขึ้นในผัสสายตนะ ๖ ประการ
นี้เรียกว่า อวิชชาโยคะ
กามโยคะ ภวโยคะ ทิฏฐิโยคะ และอวิชชาโยคะ เป็นอย่างนี้
บุคคลผู้ประกอบด้วยบาปอกุศลธรรมที่ทำจิตให้เศร้าหมอง ทำให้เกิดในภพ
ใหม่ มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นผล มีชาติ ชรา และมรณะต่อไปอีก
เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่า ผู้ไม่มีความเกษม(ปลอด)จากโยคะ๑
ภิกษุทั้งหลาย โยคะ ๔ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ความพรากจากโยคะ ๔ ประการนี้
ความพรากจากโยคะ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความพรากจากกามโยคะ ๒. ความพรากจากภวโยคะ
๓. ความพรากจากทิฏฐิโยคะ ๔. ความพรากจากอวิชชาโยคะ
ความพรากจากกามโยคะ เป็นอย่างไร


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๑.ภัณฑคามวรรค ๑๐.โยคสูตร

คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมรู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และ
เครื่องสลัดกามทั้งหลายออกไปตามความเป็นจริง เมื่อเขารู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ
คุณ โทษ และเครื่องสลัดกามทั้งหลายออกไปตามความเป็นจริง ความกำหนัดเพราะ
กาม ความเพลิดเพลินเพราะกาม ความเยื่อใยเพราะกาม ความหมกมุ่นเพราะกาม
ความกระหายเพราะกาม ความเร่าร้อนเพราะกาม ความติดเพราะกาม ความอยาก
เพราะกามย่อมไม่เกิดขึ้นในกามทั้งหลาย นี้เรียกว่า ความพรากจากกามโยคะ
ความพรากจากกามโยคะ เป็นอย่างนี้
ความพรากจากภวโยคะ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมรู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และ
เครื่องสลัดภพทั้งหลายออกไปตามความเป็นจริง เมื่อเขารู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ
คุณ โทษ และเครื่องสลัดภพทั้งหลายออกไปตามความเป็นจริง ความกำหนัดเพราะ
ภพ ความเพลิดเพลินเพราะภพ ความเยื่อใยเพราะภพ ความหมกมุ่นเพราะภพ
ความกระหายเพราะภพ ความเร่าร้อนเพราะภพ ความติดเพราะภพ ความอยาก
เพราะภพย่อมไม่เกิดขึ้นในภพทั้งหลาย นี้เรียกว่า ความพรากจากภวโยคะ
ความพรากจากกามโยคะและความพรากจากภวโยคะ เป็นอย่างนี้
ความพรากจากทิฏฐิโยคะ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมรู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และ
เครื่องสลัดทิฏฐิทั้งหลายออกไปตามความเป็นจริง เมื่อเขารู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ
คุณ โทษ และเครื่องสลัดทิฏฐิทั้งหลายออกไปตามความเป็นจริง ความกำหนัดเพราะ
ทิฏฐิ ความเพลิดเพลินเพราะทิฏฐิ ความเยื่อใยเพราะทิฏฐิ ความหมกมุ่นเพราะทิฏฐิ
ความกระหายเพราะทิฏฐิ ความเร่าร้อนเพราะทิฏฐิ ความติดเพราะทิฏฐิ ความอยาก
เพราะทิฏฐิย่อมไม่เกิดขึ้นในทิฏฐิทั้งหลาย นี้เรียกว่า ความพรากจากทิฏฐิโยคะ
ความพรากจากกามโยคะ ความพรากจากภวโยคะ และความพรากจากทิฏฐิโยคะ
เป็นอย่างนี้
ความพรากจากอวิชชาโยคะ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมรู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และ
เครื่องสลัดผัสสายตนะ ๖ ประการออกไปตามความเป็นจริง เมื่อเขารู้ชัดซึ่งความเกิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๑.ภัณฑคามวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดผัสสายตนะ ๖ ประการออกไปตามความเป็นจริง
ความไม่รู้ ความไม่หยั่งรู้ย่อมไม่เกิดขึ้นในผัสสายตนะ ๖ ประการ นี้เรียกว่า
ความพรากจากอวิชชาโยคะ
ความพรากจากกามโยคะ ความพรากจากภวโยคะ ความพรากจากทิฏฐิโยคะ
และความพรากจากอวิชชาโยคะ เป็นอย่างนี้
บุคคลผู้พรากจากบาปอกุศลธรรมที่ทำจิตให้เศร้าหมอง ทำให้เกิดในภพใหม่
มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นผล มีชาติ ชรา และมรณะต่อไปอีก เพราะเหตุ
นั้น จึงเรียกว่า ผู้มีความเกษมจากโยคะ
ภิกษุทั้งหลาย ความพรากจากโยคะ ๔ ประการนี้แล
สัตว์ทั้งหลายผู้ประกอบด้วยกามโยคะ
ภวโยคะ ทิฏฐิโยคะ และอวิชชาโยคะ
ถึงชาติและมรณะอยู่เป็นประจำ ย่อมไปสู่สังสารวัฏ
ส่วนสัตว์เหล่าใดกำหนดรู้กามโยคะ
และภวโยคะโดยประการทั้งปวง
ถอนทิฏฐิโยคะและคลายอวิชชาออกได้
สัตว์เหล่านั้นแลย่อมพรากจากโยคะทั้งปวง
ล่วงพ้นโยคะ เป็นมุนี๑

โยคสูตรที่ ๑๐ จบ
ภัณฑคามวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อนุพุทธสูตร ๒. ปปติตสูตร
๓. ปฐมขตสูตร ๔. ทุติยขตสูตร
๕. อนุโสตสูตร ๖. อัปปัสสุตสูตร
๗. โสภณสูตร ๘. เวสารัชชสูตร
๙. ตัณหุปปาทสูตร ๑๐. โยคสูตร


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.จรวรรค ๑.จรสูตร

๒. จรวรรค
หมวดว่าด้วยอิริยาบถเดิน
๑. จรสูตร
ว่าด้วยอิริยาบถเดิน

[๑๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้ากามวิตก (ความตรึกในทาง
กาม) พยาบาทวิตก (ความตรึกในทางพยาบาท) หรือวิหิงสาวิตก (ความตรึกใน
ทางเบียดเบียน) เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้กำลังเดิน และภิกษุยินดีวิตกนั้น ไม่ละ ไม่บรรเทา
ไม่ทำให้หมดสิ้นไป ไม่ทำให้ถึงความไม่มี ภิกษุแม้กำลังเดิน ผู้เป็นอย่างนี้๑ไม่มี
ความเพียร ไม่มีโอตตัปปะ เราเรียกว่า ‘ผู้เกียจคร้าน มีความเพียรย่อหย่อนต่อ
เนื่องตลอดไป’
ถ้ากามวิตก พยาบาทวิตก หรือวิหิงสาวิตกเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้กำลังยืน และ
ภิกษุยินดีวิตกนั้น ไม่ละ ไม่บรรเทา ไม่ทำให้หมดสิ้นไป ไม่ทำให้ถึงความไม่มี
ภิกษุแม้กำลังยืน ผู้เป็นอย่างนี้ไม่มีความเพียร ไม่มีโอตตัปปะ เราก็เรียกว่า ‘ผู้
เกียจคร้าน มีความเพียรย่อหย่อนต่อเนื่องตลอดไป’
ถ้ากามวิตก พยาบาทวิตก หรือวิหิงสาวิตกเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้กำลังนั่ง และ
ภิกษุยินดีวิตกนั้น ไม่ละ ไม่บรรเทา ไม่ทำให้หมดสิ้นไป ไม่ทำให้ถึงความไม่มี
ภิกษุแม้กำลังนั่ง ผู้เป็นอย่างนี้ไม่มีความเพียร ไม่มีโอตตัปปะ เราก็เรียกว่า ‘ผู้
เกียจคร้าน มีความเพียรย่อหย่อนต่อเนื่องตลอดไป’
ถ้ากามวิตก พยาบาทวิตก หรือวิหิงสาวิตกเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้กำลังนอน ตื่นอยู่
และภิกษุยินดีวิตกนั้น ไม่ละ ไม่บรรเทา ไม่ทำให้หมดสิ้นไป ไม่ทำให้ถึงความไม่มี
ภิกษุแม้กำลังนอน ตื่นอยู่ ผู้เป็นอย่างนี้ไม่มีความเพียร ไม่มีโอตตัปปะ เราก็เรียกว่า
‘ผู้เกียจคร้าน มีความเพียรย่อหย่อนต่อเนื่องตลอดไป’
ถ้ากามวิตก พยาบาทวิตก หรือวิหิงสาวิตกเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้กำลังเดิน และ
ภิกษุไม่ยินดีวิตกนั้น ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ทำให้ถึงความไม่มี ภิกษุแม้


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.จรวรรค ๑.จรสูตร

กำลังเดิน ผู้เป็นอย่างนี้๑ มีความเพียร มีโอตตัปปะ เราเรียกว่า ‘ผู้ปรารภความเพียร
อุทิศกายและใจต่อเนื่องตลอดไป’
ถ้ากามวิตก พยาบาทวิตก หรือวิหิงสาวิตกเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้กำลังยืน และ
ภิกษุไม่ยินดีวิตกนั้น ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ทำให้ถึงความไม่มี ภิกษุแม้
กำลังยืน ผู้เป็นอย่างนี้มีความเพียร มีโอตตัปปะ เราก็เรียกว่า ‘ผู้ปรารภความเพียร
อุทิศกายและใจต่อเนื่องตลอดไป’
ถ้ากามวิตก พยาบาทวิตก หรือวิหิงสาวิตกเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้กำลังนั่ง และ
ภิกษุไม่ยินดีวิตกนั้น ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ทำให้ถึงความไม่มี ภิกษุแม้
กำลังนั่ง ผู้เป็นอย่างนี้มีความเพียร มีโอตตัปปะ เราก็เรียกว่า ‘ผู้ปรารภความเพียร
อุทิศกายและใจต่อเนื่องตลอดไป’
ภิกษุทั้งหลาย ถ้ากามวิตก พยาบาทวิตก หรือวิหิงสาวิตกเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้
กำลังนอน ตื่นอยู่ และภิกษุไม่ยินดีวิตกนั้น ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ทำ
ให้ถึงความไม่มี ภิกษุแม้กำลังนอน ตื่นอยู่ ผู้เป็นอย่างนี้มีความเพียร มีโอตตัปปะ
เราก็เรียกว่า ‘ผู้ปรารภความเพียร อุทิศกายและใจต่อเนื่องตลอดไป”
ถ้าภิกษุใดผู้กำลังเดิน ยืน
นั่ง หรือนอนนึกถึงอกุศลวิตก
ที่เกี่ยวเนื่องกับการครองเรือน
ภิกษุนั้นชื่อว่าเดินทางผิด
หมกมุ่นอยู่ในอารมณ์เป็นเหตุแห่งความหลง
ภิกษุเช่นนี้ไม่สามารถบรรลุสัมโพธิญาณ๒อันสูงสุดได้
ภิกษุใดผู้กำลังเดิน ยืน
นั่ง หรือนอนให้วิตกสงบ
ยินดีในธรรมเป็นที่ระงับวิตก
ภิกษุเช่นนั้นสามารถบรรลุสัมโพธิญาณอันสูงสุดได้

จรสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.จรวรรค ๒. สีลสูตร

๒. สีลสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้มีศีล

[๑๒] ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมีศีลสมบูรณ์ มีปาติโมกข์สมบูรณ์
สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์๑ เพียบพร้อมด้วยอาจาระ๒และโคจร๓ มีปกติเห็น
ภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลายเถิด เมื่อเธอทั้งหลาย
มีศีลสมบูรณ์ มีปาติโมกข์สมบูรณ์ สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อม
ด้วยอาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ใน
สิกขาบททั้งหลาย จะมีกิจอะไรที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปอีกเล่า
ถ้าภิกษุผู้กำลังเดินอยู่ ปราศจากอภิชฌา (เพ่งเล็งอยากได้ของเขา) พยาบาท
(ความคิดร้าย) ละถีนมิทธะ (ความหดหู่และเซื่องซึม) อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้ง
ซ่านและร้อนใจ) วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย)ได้ ปรารภความเพียร ไม่ย่อหย่อน
มีสติตั้งมั่น ไม่หลงลืม มีกายสงบ ไม่กระสับกระส่าย มีจิตแน่วแน่ เป็นสมาธิ
ภิกษุแม้กำลังเดินอยู่ ผู้เป็นอย่างนี้มีความเพียร มีโอตตัปปะ เราเรียกว่า ‘ผู้ปรารภ
ความเพียร อุทิศกายและใจต่อเนื่องตลอดไป’


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.จรวรรค ๓.ปธานสูตร

ถ้าภิกษุผู้กำลังยืน ฯลฯ
ถ้าภิกษุผู้กำลังนั่ง ...
ถ้าภิกษุผู้กำลังนอน ตื่นอยู่ ปราศจากอภิชฌา พยาบาท ละถีนมิทธะ
อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉาได้ ปรารภความเพียร ไม่ย่อหย่อน มีสติตั้งมั่น ไม่หลงลืม
มีกายสงบ ไม่กระสับกระส่าย มีจิตแน่วแน่ เป็นสมาธิ ภิกษุแม้กำลังนอน ตื่นอยู่
ผู้เป็นอย่างนี้มีความเพียร มีโอตตัปปะ เราก็เรียกว่า ‘ผู้ปรารภความเพียร อุทิศ
กายและใจต่อเนื่องตลอดไป
ภิกษุควรเดินสำรวม ยืนสำรวม
นั่งสำรวม นอนสำรวม
คู้เข้าสำรวม เหยียดออกสำรวม
พิจารณาความเกิดและความดับแห่งธรรมขันธ์๑
ทั่วภูมิเป็นที่อยู่ของสัตว์ทั้งชั้นบน ชั้นกลาง และชั้นต่ำ
นักปราชญ์ทั้งหลายเรียกภิกษุเช่นนั้น
ผู้ศึกษาข้อปฏิบัติที่สมควรแก่ความสงบใจ
มีสติอยู่ทุกเมื่อว่า ‘ผู้อุทิศกายและใจต่อเนื่อง’

สีลสูตรที่ ๒ จบ

๓. ปธานสูตร
ว่าด้วยสัมมัปปธาน

[๑๓] ภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน (ความเพียรชอบ) ๔ ประการนี้
สัมมัปปธาน ๔ ประการ๒ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อ
ป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.จรวรรค ๔.สังวรสูตร

๒. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อ
ละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
๓. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อ
ทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
๔. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อ
ความดำรงอยู่ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่ง
กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน ๔ ประการนี้แล
พระขีณาสพเหล่านั้นมีสัมมัปปธาน
ครอบงำบ่วงมาร๑ได้ อันกิเลสไม่อาศัย
ถึงฝั่งแห่งชาติและมรณะ
ท่านเหล่านั้นชนะมารพร้อมทั้งเสนามาร
เป็นผู้ยินดี ไม่มีความหวั่นไหว
และล่วงพ้นซึ่งกองพลมารทั้งหมด ถึงสุข๒แล้ว

ปธานสูตรที่ ๓ จบ

๔. สังวรสูตร
ว่าด้วยสังวรปธาน

[๑๔] ภิกษุทั้งหลาย ปธาน (ความเพียร) ๔ ประการนี้
ปธาน ๔ ประการ๓ อะไรบ้าง คือ
๑. สังวรปธาน (เพียรระวัง) ๒. ปหานปธาน (เพียรละ)
๓. ภาวนาปธาน (เพียรเจริญ) ๔. อนุรักขนาปธาน (เพียรรักษา)


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.จรวรรค ๔.สังวรสูตร

สังวรปธาน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทางตาแล้วไม่รวบถือ๑ ไม่แยกถือ๒ ย่อมปฏิบัติ
เพื่อความสำรวมจักขุนทรีย์ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรมคือ
อภิชฌา (เพ่งเล็งอยากได้ของเขา) และโทมนัส (ความทุกข์ใจ) ครอบงำได้ จึงรักษา
จักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียงทางหู ... ดมกลิ่นทางจมูก ...
ลิ้มรสทางลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ... รู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ไม่รวบถือ
ไม่แยกถือ ย่อมปฏิบัติเพื่อความสำรวมมนินทรีย์ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุ
ให้ถูกบาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จึงรักษามนินทรีย์ ถึงความ
สำรวมในมนินทรีย์ นี้เรียกว่า สังวรปธาน
ปหานปธาน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่ยินดีกามวิตกที่เกิดขึ้น ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป
ทำให้ถึงความไม่มี ไม่ยินดีพยาบาทวิตกที่เกิดขึ้น ฯลฯ ไม่ยินดีวิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้น
ฯลฯ ไม่ยินดีบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเกิดขึ้นอีก ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป
ทำให้ถึงความไม่มี นี้เรียกว่า ปหานปธาน
ภาวนาปธาน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสติสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือ
ความระลึกได้) ที่อาศัยวิเวก๓ อาศัยวิราคะ๓ อาศัยนิโรธ๓ น้อมไปในโวสสัคคะ เจริญ
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความเฟ้นธรรม) ... เจริญวิริย-
สัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความเพียร) ... เจริญปีติสัมโพชฌงค์ (ธรรม


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๒.จรวรรค ๕. ปัญญัตติสูตร

เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความอิ่มใจ) ... เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์
แห่งการตรัสรู้คือความสงบกายสงบใจ) ... เจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์
แห่งการตรัสรู้คือความตั้งจิตมั่น) ... เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่ง
การตรัสรู้คือความวางใจเป็นกลาง) ที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ นี้เรียกว่า ภาวนาปธาน
อนุรักขนาปธาน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ตามรักษาสมาธินิมิตที่ชัดดีซึ่งเกิดขึ้นแล้ว คือ อัฏฐิก-
สัญญา (กำหนดหมายซากศพที่ยังเหลืออยู่แต่ร่างกระดูกหรือกระดูกท่อน) ปุฬุวก-
สัญญา (กำหนดหมายซากศพที่มีหนอนคลาคล่ำเต็มไปหมด) วินีลกสัญญา (กำหนด
หมายซากศพที่มีสีเขียวคล่ำคละด้วยสีต่าง ๆ) วิปุพพกสัญญา (กำหนดหมายซาก
ศพที่มีน้ำเหลืองไหลเยิ้มอยู่ตามที่ที่แตกปริออก) วิจฉิททกสัญญา (กำหนดหมาย
ซากศพที่ขาดจากกันเป็น ๒ ท่อน) อุทธุมาตกสัญญา (กำหนดหมายซากศพที่เน่า
พองขึ้นอืด) นี้เรียกว่า อนุรักขนาปธาน
ภิกษุทั้งหลาย ปธาน ๔ ประการนี้แล
ปธาน ๔ ประการนี้ คือ
สังวรปธาน ปหานปธาน
ภาวนาปธาน และอนุรักขนาปธาน
พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ทรงแสดงไว้แล้ว
ที่เป็นเหตุให้ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ผู้มีความเพียร ถึงความสิ้นทุกข์

สังวรสูตรที่ ๔ จบ

๕. ปัญญัตติสูตร
ว่าด้วยการบัญญัติสิ่งที่เลิศ

[๑๕] ภิกษุทั้งหลาย บัญญัติสิ่งที่เลิศ ๔ ประการนี้
บัญญัติสิ่งที่เลิศ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๒.จรวรรค ๖.โสขุมมสูตร

๑. บรรดาสัตว์ผู้มีอัตภาพใหญ่ ราหูผู้เป็นจอมอสูรเป็นเลิศ
๒. บรรดากามโภคีบุคคล๑ พระเจ้ามันธาตุเป็นเลิศ
๓. บรรดาบุคคลผู้ยิ่งใหญ่ มารผู้มีบาปเป็นเลิศ
๔. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ชาวโลกกล่าวว่าเป็นเลิศใน
โลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้ง
สมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์
ภิกษุทั้งหลาย บัญญัติสิ่งที่เลิศ ๔ ประการนี้แล
บรรดาสัตว์ผู้มีอัตภาพใหญ่
ราหูผู้เป็นจอมอสูรเป็นเลิศ
บรรดากามโภคีบุคคล พระเจ้ามันธาตุเป็นเลิศ
บรรดาบุคคลผู้ยิ่งใหญ่ มารเป็นเลิศ
พระพุทธเจ้าผู้รุ่งเรืองด้วยฤทธิ์ ด้วยยศ
ชาวโลกกล่าวว่าเป็นเลิศในโลกพร้อมทั้งเทวโลก
ทั่วภูมิเป็นที่อยู่ของสัตว์ทั้งชั้นบน ชั้นกลาง และชั้นต่ำ

ปัญญัตติสูตรที่ ๕ จบ

๖. โสขุมมสูตร
ว่าด้วยโสขุมมญาณ

[๑๖] ภิกษุทั้งหลาย โสขุมมญาณ๒(ญาณเป็นเครื่องกำหนดรู้ลักษณะละเอียด)
๔ ประการนี้
โสขุมมญาณ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๒.จรวรรค ๖.โสขุมมสูตร

๑. เป็นผู้ประกอบด้วยรูปโสขุมมญาณ๑ ไม่เห็นรูปโสขุมมญาณอื่น
ที่ยิ่งกว่าหรือประณีตกว่ารูปโสขุมมญาณนั้น และไม่ปรารถนา
รูปโสขุมมญาณอย่างอื่นที่ยิ่งกว่าหรือประณีตกว่ารูปโสขุมมญาณนั้น
๒. เป็นผู้ประกอบด้วยเวทนาโสขุมมญาณ ไม่เห็นญาณอื่นที่ยิ่งกว่าหรือ
ประณีตกว่าเวทนาโสขุมมญาณนั้น และไม่ปรารถนาเวทนาโสขุมม-
ญาณอย่างอื่นที่ยิ่งกว่าหรือประณีตกว่าเวทนาโสขุมมญาณนั้น
๓. เป็นผู้ประกอบด้วยสัญญาโสขุมมญาณ ไม่เห็นญาณอื่นที่ยิ่งกว่าหรือ
ประณีตกว่าสัญญาโสขุมมญาณนั้น และไม่ปรารถนาสัญญาโสขุมม-
ญาณอย่างอื่นที่ยิ่งกว่าหรือประณีตกว่าสัญญาโสขุมมญาณนั้น
๔. เป็นผู้ประกอบด้วยสังขารโสขุมมญาณ ไม่เห็นสังขารโสขุมมญาณอื่น
ที่ยิ่งกว่าหรือประณีตกว่าสังขารโสขุมมญาณนั้น และไม่ปรารถนา
สังขารสขุมมญาณอย่างอื่นที่ยิ่งกว่าหรือประณีตกว่าสังขารโสขุมม-
ญาณนั้น
ภิกษุทั้งหลาย โสขุมมญาณ ๔ ประการนี้แล
ภิกษุใดรู้ความละเอียดแห่งรูปขันธ์
รู้แดนเกิดแห่งเวทนาขันธ์
รู้เหตุเกิดและที่ดับแห่งสัญญาขันธ์
รู้สังขารขันธ์โดยความเป็นของไม่เที่ยง๒
เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
ภิกษุนั้นแลเห็นชอบ สงบ
ยินดีในสันติบท๓ ชนะมารพร้อมทั้งเสนามาร
ธำรงร่างกายชาติสุดท้ายไว้

โสขุมมสูตรที่ ๖ จบ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๒.จรวรรค ๘.ทุติยอคติสูตร

๗. ปฐมอคติสูตร
ว่าด้วยอคติ สูตรที่ ๑

[๑๗] ภิกษุทั้งหลาย การถึงอคติ๑ (ความลำเอียง) ๔ ประการนี้
การถึงอคติ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
บุคคลย่อมถึง
๑. ฉันทาคติ (ลำเอียงเพราะชอบ) ๒. โทสาคติ (ลำเอียงเพราะชัง)
๓. โมหาคติ (ลำเอียงเพราะหลง) ๔. ภยาคติ (ลำเอียงเพราะกลัว)
ภิกษุทั้งหลาย การถึงอคติ ๔ ประการนี้แล
บุคคลใดละเมิดความชอบธรรม
เพราะฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ ภยาคติ
ยศของบุคคลนั้นย่อมเสื่อม
ดุจดวงจันทร์ข้างแรมฉะนั้น

ปฐมอคติสูตรที่ ๗ จบ

๘. ทุติยอคติสูตร
ว่าด้วยอคติ สูตรที่ ๒

[๑๘] ภิกษุทั้งหลาย การไม่ถึงอคติ ๔ ประการนี้
การไม่ถึงอคติ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
บุคคลย่อมไม่ถึง
๑. ฉันทาคติ ๒. โทสาคติ
๓. โมหาคติ ๔. ภยาคติ
ภิกษุทั้งหลาย การไม่ถึงอคติ ๔ ประการนี้แล


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๒.จรวรรค ๙. ตติยอคติสูตร

บุคคลใดไม่ละเมิดความชอบธรรม
เพราะฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ ภยาคติ
ยศของบุคคลนั้นย่อมบริบูรณ์
ดุจดวงจันทร์ข้างขึ้นฉะนั้น

ทุติยอคติสูตรที่ ๘ จบ

๙. ตติยอคติสูตร
ว่าด้วยอคติ สูตรที่ ๓

[๑๙] ภิกษุทั้งหลาย การถึงอคติ ๔ ประการนี้
การถึงอคติ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
บุคคลย่อมถึง
๑. ฉันทาคติ ๒. โทสาคติ
๓. โมหาคติ ๔. ภยาคติ
ภิกษุทั้งหลาย การถึงอคติ ๔ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย การไม่ถึงอคติ ๔ ประการนี้
การไม่ถึงอคติ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
บุคคลย่อมไม่ถึง
๑. ฉันทาคติ ๒. โทสาคติ
๓. โมหาคติ ๔. ภยาคติ
ภิกษุทั้งหลาย การไม่ถึงอคติ ๔ ประการนี้แล
บุคคลใดละเมิดความชอบธรรม
เพราะฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ ภยาคติ
ยศของบุคคลนั้นย่อมเสื่อม
ดุจดวงจันทร์ข้างแรมฉะนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๒.จรวรรค ๑๐.ภัตตุทเทสกสูตร

ส่วนบุคคลใดไม่ละเมิดความชอบธรรม
เพราะฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ ภยาคติ
ยศของบุคคลนั้นย่อมบริบูรณ์
ดุจดวงจันทร์ข้างขึ้นฉะนั้น

ตติยอคติสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ภัตตุทเทสกสูตร๑
ว่าด้วยพระภัตตุทเทสกะเลวและดี

[๒๐] ภิกษุทั้งหลาย พระภัตตุทเทสกะ๒ผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ
ย่อมดำรงอยู่ในนรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
พระภัตตุทเทสกะย่อมถึง
๑. ฉันทาคติ ๒. โทสาคติ
๓. โมหาคติ ๔. ภยาคติ
ภิกษุทั้งหลาย พระภัตตุทเทสกะผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อม
ดำรงอยู่ในนรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้
ภิกษุทั้งหลาย พระภัตตุทเทสกะผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมดำรง
อยู่ในสวรรค์เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
พระภัตตุทเทสกะย่อมไม่ถึง
๑. ฉันทาคติ ๒. โทสาคติ
๓. โมหาคติ ๔. ภยาคติ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๒.จรวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ภิกษุทั้งหลาย พระภัตตุทเทสกะผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อม
ดำรงอยู่ในสวรรค์เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งผู้ไม่สำรวมในกามทั้งหลาย
ไม่ประกอบด้วยธรรม ไม่เคารพธรรม ถึงอคติ
เพราะฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ ภยาคติ
บุคคลเช่นนี้ เราเรียกว่าผู้เป็นขยะในบริษัท
สมณะผู้รู้กล่าวไว้แล้วอย่างนี้แล
เพราะเหตุนั้นแล บุคคลผู้ดำรงอยู่ในธรรม
ไม่ทำบาป ไม่ถึงอคติ
เพราะฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ ภยาคติ
เป็นสัตบุรุษที่น่าสรรเสริญ
บุคคลเช่นนี้ เราเรียกว่าผู้ผุดผ่องในบริษัท
สมณะผู้รู้กล่าวไว้แล้วอย่างนี้แล

ภัตตุทเทสกสูตรที่ ๑๐ จบ
จรวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. จรสูตร ๒. สีลสูตร
๓. ปธานสูตร ๔. สังวรสูตร
๕. ปัญญัตติสูตร ๖. โสขุมมสูตร
๗. ปฐมอคติสูตร ๘. ทุติยอคติสูตร
๙. ตติยอคติสูตร ๑๐. ภัตตุทเทสกสูตร


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๓.อุรุเวลวรรค ๑.ปฐมอุรุเวลสูตร

๓. อุรุเวลวรรค
หมวดว่าด้วยพุทธกิจในตำบลอุรุเวลา

๑. ปฐมอุรุเวลสูตร
ว่าด้วยพุทธกิจในตำบลอุรุเวลา สูตรที่ ๑

[๒๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
ในสมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลาย
มาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาค
จึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อแรกตรัสรู้ เราอยู่ที่ต้นอชปาลนิโครธ ใกล้ฝั่งแม่น้ำ
เนรัญชรา ตำบลอุรุเวลา เรานั้นหลีกเร้นอยูในที่สงัด ได้เกิดความรำพึงขึ้นมา
อย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงย่อมอยู่เป็นทุกข์ เราพึงสักการะ เคารพ
อาศัยสมณะหรือพราหมณ์คนไหนหนอแลอยู่’ ดังนี้
เรานั้นได้มีความดำริว่า ‘เราพึงสักการะ เคารพ อาศัยสมณะหรือพราหมณ์อื่น
อยู่เพื่อความบริบูรณ์แห่งสีลขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ แต่เราไม่เห็นสมณะหรือพราหมณ์
อื่นในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้ง สมณพราหมณ์
เทวดา และมนุษย์ที่มีศีลสมบูรณ์กว่าเรา ที่เราจะพึงสักการะ เคารพ อาศัยอยู่
เราพึงสักการะ เคารพ อาศัยสมณะหรือพราหมณ์อื่นอยู่ เพื่อความบริบูรณ์
แห่งสมาธิขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ ฯลฯ
เราพึงสักการะ เคารพ อาศัยสมณะหรือพราหมณ์อื่นอยู่ เพื่อความบริบูรณ์
แห่งปัญญาขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ ฯลฯ
เราพึงสักการะ เคารพ อาศัยสมณะหรือพราหมณ์อื่นอยู่ เพื่อความบริบูรณ์
แห่งวิมุตติขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ แต่เราไม่เห็นสมณะหรือพราหมณ์อื่นในโลกพร้อมทั้ง
เทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และ
มนุษย์ที่มีวิมุตติสมบูรณ์กว่าเรา ที่เราจะพึงสักการะ เคารพ อาศัยอยู่’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๓.อุรุเวลวรรค ๑.ปฐมอุรุเวลสูตร

เรานั้นได้มีความดำริว่า ‘ทางที่ดี เราควรจะสักการะ เคารพ อาศัยธรรมที่เรา
ตรัสรู้แล้วนั่นแลอยู่’
ครั้งนั้นแล ท้าวสหัมบดีพรหมกำหนดรู้ความรำพึงด้วยใจ หายตัวจากพรหม-
โลกมาปรากฏต่อหน้าเราเปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้าฉะนั้น
ครั้นแล้วท้าวเธอห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง คุกเข่าด้านขวาลงบนแผ่นดิน ประนมมือ
มาทางเรา ได้กล่าวกับเราดังนี้ว่า ‘ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เรื่องนี้เป็นอย่างนี้ ข้าแต่
พระสุคต เรื่องนี้เป็นอย่างนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้าในอดีตทรงสักการะ เคารพ อาศัยธรรมอยู่ พระผู้มีพระภาคอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคตจักสักการะ เคารพ อาศัยธรรมอยู่ แม้พระผู้มีพระภาค
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในปัจจุบันก็ขอจงสักการะ เคารพ อาศัยธรรมอยู่เถิด’
ท้าวสหัมบดีพรหมได้กล่าวคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
‘พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอดีต
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคต
และพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในปัจจุบัน
ผู้ขจัดความโศกของสัตว์เป็นจำนวนมากให้พินาศไป
ทุกพระองค์ล้วนเคารพพระสัทธรรมอยู่
นี้เป็นธรรมดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
เพราะเหตุนั้นแล กุลบุตรผู้ใฝ่ประโยชน์
มุ่งหวังความเป็นใหญ่
ระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
พึงเคารพพระสัทธรรม’
ภิกษุทั้งหลาย ท้าวสหัมบดีพรหมครั้นกล่าวคาถาประพันธ์นี้แล้วจึงไหว้เรา ทำ
ประทักษิณแล้วหายไปในที่นั้นเอง ภิกษุทั้งหลาย การที่เราทราบการเชื้อเชิญของพรหม
และสักการะ เคารพ อาศัยธรรมที่เราตรัสรู้แล้วนั่นแลอยู่ เป็นการสมควรแก่เรา
แต่เมื่อใดสงฆ์ประกอบด้วยความเป็นใหญ่๑ เมื่อนั้นเราก็มีความเคารพในสงฆ์”

ปฐมอุรุเวลสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๓.อุรุเวลวรรค ๒.ทุติยอุรุเวลสูตร

๒. ทุติยอุรุเวลสูตร
ว่าด้วยพุทธกิจในตำบลอุรุเวลา สูตรที่ ๒

[๒๒] “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อแรกตรัสรู้ เราอาศัยอยู่ที่ต้นอชปาลนิโครธ ใกล้
ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลา ครั้งนั้นแล พราหมณ์จำนวนมากเป็นผู้แก่ ผู้เฒ่า
ผู้ใหญ่ ผู้ล่วงกาลผ่านวัย เข้ามาหาเราถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศัยพอเป็นที่บันเทิงใจ
พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร๑ ได้กล่าวกับเราดังนี้ว่า ‘ท่านพระโคดม
พวกข้าพเจ้าได้ทราบมาว่า พระสมณโคดมไม่อภิวาท ไม่ลุกรับพวกพราหมณ์ผู้แก่
ผู้เฒ่า ผู้ใหญ่ ผู้ล่วงกาลผ่านวัย หรือไม่เชื้อเชิญให้นั่ง ท่านพระโคดม เรื่องที่
พวกข้าพเจ้าได้ทราบมานั้นจริงทีเดียว เพราะท่านพระโคดมไม่อภิวาท ไม่ลุกรับพวก
พราหมณ์ผู้แก่ ผู้เฒ่า ผู้ใหญ่ ผู้ล่วงกาลผ่านวัย หรือไม่เชื้อเชิญให้นั่ง การที่ท่าน
พระโคดมทำเช่นนั้นไม่สมควรเลย’
เรานั้นได้มีความดำริว่า ‘ท่านเหล่านี้ไม่รู้จักเถระหรือธรรมที่ทำให้เป็นเถระ’
ถึงแม้นับแต่เกิดมา บุคคลจะเป็นคนแก่มีอายุ ๘๐ ปี ๙๐ ปี หรือ ๑๐๐ ปี แต่เขา
พูดไม่ถูกเวลา พูดคำไม่จริง พูดไม่อิงประโยชน์ พูดไม่อิงธรรม พูดไม่อิงวินัย
พูดคำไม่มีหลักฐาน ไม่มีที่อ้างอิง ไม่มีที่กำหนด ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่
เหมาะแก่เวลา เขาย่อมถึงการนับว่า ‘เป็นเถระผู้โง่เขลา’ โดยแท้
ถึงแม้ว่าจะเป็นเด็ก ยังเป็นหนุ่มรุ่นเยาว์ มีผมดำสนิท ประกอบด้วยความ
เป็นหนุ่มแน่นอยู่ในปฐมวัย แต่เขาพูดถูกเวลา พูดคำจริง พูดอิงประโยชน์ พูดอิง
ธรรม พูดอิงวินัย พูดคำมีหลักฐาน มีที่อ้างอิง มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์
เหมาะแก่เวลา เขาย่อมถึงการนับว่า ‘เป็นเถระ๒ผู้ฉลาด’ โดยแท้
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่ทำให้เป็นเถระ ๔ ประการนี้
ธรรมที่ทำให้เป็นเถระ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๓.อุรุเวลวรรค ๒.ทุติยอุรุเวลสูตร

๑. เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วย
อาจาระและโคจรอยู่ มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทาน
ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
๒. เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมากซึ่งธรรมทั้งหลายที่มี
ความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด
ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์
ครบถ้วน ทรงจำไว้ได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ๑
๓. เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง๒ ซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
๔. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไป
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่ทำให้เป็นเถระ ๔ ประการนี้แล”
บุคคลผู้มีจิตฟุ้งซ่าน
มีความดำริไม่มั่นคงเหมือนมฤค
ยินดีในอสัทธรรม กล่าวคำไร้สาระเป็นอันมาก
มีความเห็นต่ำทราม ไม่มีความเอื้อเฟื้อ
ย่อมห่างไกลจากความเป็นผู้มั่นคง
ส่วนบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล
มีสุตะ มีปฏิภาณ ประกอบอยู่ในธรรมที่มั่นคง
ย่อมเห็นแจ้งอรรถแห่งอริยสัจด้วยมรรคปัญญา
ถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง๓ ไม่มีกิเลสเกาะยึดไว้
มีปฏิภาณ ละความเกิดและความตายได้แล้ว
เพียบพร้อมด้วยพรหมจรรย์


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๓.อุรุเวลวรรค ๓.โลกสูตร

เราเรียกภิกษุผู้ไม่มีอาสวะว่า ‘เถระ’
เราเรียกภิกษุนั้นว่า ‘เถระ’ เพราะสิ้นอาสวะทั้งหลาย

ทุติยอุรุเวลสูตรที่ ๒ จบ

๓. โลกสูตร
ว่าด้วยโลก

[๒๓] ภิกษุทั้งหลาย โลก๑ตถาคตตรัสรู้๒แล้ว ตถาคตพรากจากโลก ตถาคต
ตรัสรู้เหตุเกิดแห่งโลก ตถาคตละเหตุเกิดแห่งโลกแล้ว ตถาคตตรัสรู้ความดับแห่ง
โลก ตถาคตทำให้ประจักษ์ซึ่งความดับแห่งโลก ตถาคตตรัสรู้ข้อปฏิบัติให้ถึงความ
ดับแห่งโลก ตถาคตบำเพ็ญข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับแห่งโลกแล้ว
เพราะตถาคตตรัสรู้รูปที่ได้เห็น๓ เสียงที่ได้ฟัง๔ อารมณ์ที่ได้ทราบ๕ ธรรมารมณ์
ที่รู้แจ้ง๖ที่ชาวโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้ง
สมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ถึง แสวงหา ตรองตามด้วยใจทั้งหมด ฉะนั้น
ชาวโลกจึงเรียกว่า ‘ตถาคต’
เพราะตถาคตตรัสรู้ในราตรีใด ปรินิพพานในราตรีใด ในระหว่างนี้ย่อมภาษิต
กล่าว แสดงออกซึ่งคำใด คำนั้นทั้งหมดเป็นจริงอย่างนั้นแล ไม่เป็นอย่างอื่น ฉะนั้น
ชาวโลกจึงเรียกว่า ‘ตถาคต’
เพราะตถาคตกล่าวอย่างใด ก็ทำอย่างนั้น ทำอย่างใด ก็กล่าวอย่างนั้น ฉะนั้น
ชาวโลกจึงเรียกว่า ‘ตถาคต’


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๓.อุรุเวลวรรค ๓.โลกสูตร

เพราะตถาคตเป็นผู้ยิ่งใหญ่ ไม่มีใครข่มเหงได้ เห็นถ่องแท้ แผ่อำนาจไปใน
โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์
เทวดาและมนุษย์ ฉะนั้น ชาวโลกจึงเรียกว่า ‘ตถาคต‘๑
บุคคลใดรู้แจ้งโลกทั้งปวง
ตามความเป็นจริงทั้งหมด
พรากจากโลกทั้งปวง
ไม่มีกิเลสสั่งสมอยู่ในโลกทั้งปวง
บุคคลนั้นแลครอบงำอารมณ์ได้ทั้งหมด
เป็นนักปราชญ์ ปลดเปลื้องกิเลสที่ร้อยรัดได้ทั้งหมด
บรรลุนิพพานที่มีความสงบอย่างยิ่ง
ไม่มีภัยแต่ที่ไหน
บุคคลนี้สิ้นอาสวะ เป็นพุทธะ๒
ไม่มีทุกข์ ตัดความสงสัยได้
บรรลุความสิ้นกรรมทั้งปวง
หลุดพ้นเพราะสิ้นอุปธิกิเลส
บุคคลนั้นเป็นผู้มีโชค ตรัสรู้
เปรียบเหมือนราชสีห์ที่ยอดเยี่ยม
ประกาศพรหมจักรแก่โลกพร้อมทั้งเทวโลก
เพราะเหตุนั้น เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ที่ถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะ๓ มาประชุมกัน
นมัสการพระองค์ผู้ยิ่งใหญ่ ทรงแกล้วกล้า


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๓.อุรุเวลวรรค ๔.กาฬการามสูตร

เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายนมัสการพระพุทธเจ้านั้น
ผู้ยิ่งใหญ่ ทรงแกล้วกล้าด้วยการสรรเสริญว่า
เป็นผู้ฝึกตนที่ประเสริฐสุดในหมู่ผู้ฝึกตนทั้งหลาย
เป็นฤๅษีผู้สงบกว่าผู้สงบทั้งหลาย
เป็นผู้หลุดพ้นที่ยอดเยี่ยมกว่าผู้หลุดพ้นทั้งหลาย
เป็นผู้ข้ามพ้นที่ประเสริฐกว่าผู้ข้ามพ้นทั้งหลาย
ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก
ไม่มีบุคคลที่เปรียบเทียบกับพระองค์ได้

โลกสูตรที่ ๓ จบ

๔. กาฬการามสูตร
ว่าด้วยพุทธกิจในกาฬการาม

[๒๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กาฬการาม เขตเมืองสาเกต
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง
ที่ชาวโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์
เทวดา และมนุษย์ถึง แสวงหา ตรองตามด้วยใจนั้นเราก็รู้
รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้งที่ชาวโลก
พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์
เทวดาและมนุษย์ถึง แสวงหา ตรองตามด้วยใจนั้นเราก็รู้แล้ว ตถาคตรู้แจ้งรูปที่ได้
เห็นเป็นต้นนั้น อารมณ์๑นั้นไม่ปรากฏในตถาคต
รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ชาว
โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์
เทวดาและมนุษย์ถึง แสวงหา ตรองตามด้วยใจนั้นเรากล่าวว่า ‘ไม่รู้’ คำนั้นของ
เราพึงเป็นคำเท็จ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๓.อุรุเวลวรรค ๔. กาฬการามสูตร

รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ฯลฯ นั้น
เราพึงกล่าวว่า ‘ทั้งรู้และไม่รู้’ แม้คำนั้นพึงเป็นคำเท็จเช่นเดียวกัน
รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ฯลฯ นั้น
เราพึงกล่าวว่า ‘รู้ก็มิใช่ ไม่รู้ก็มิใช่’ คำนั้นพึงเป็นโทษแก่เรา
ตถาคตเห็นรูปที่ควรเห็นแล้ว แต่ไม่สำคัญว่าได้เห็น ไม่สำคัญว่าไม่ได้เห็น ไม่
สำคัญว่าต้องได้เห็น ไม่สำคัญว่าเป็นผู้เห็น ฟังเสียงที่ควรฟังแล้ว แต่ไม่สำคัญว่า
ได้ฟัง ไม่สำคัญว่าไม่ได้ฟัง ไม่สำคัญว่าต้องได้ฟัง ไม่สำคัญว่าเป็นผู้ฟัง ทราบอารมณ์
ที่ควรทราบแล้ว แต่ไม่สำคัญว่าได้ทราบ ไม่สำคัญว่าไม่ได้ทราบ ไม่สำคัญว่าต้อง
ได้ทราบ ไม่สำคัญว่าเป็นผู้ทราบ รู้แจ้งธรรมารมณ์ที่ควรรู้แจ้งแล้ว แต่ไม่สำคัญว่า
ได้รู้แจ้ง ไม่สำคัญว่าไม่ได้รู้แจ้ง ไม่สำคัญว่าต้องได้รู้แจ้ง ไม่สำคัญว่าเป็นผู้รู้แจ้ง
ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นผู้คงที่เช่นนั้นแลในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง
อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง เรากล่าวว่า ‘บุคคลอื่นผู้คงที่๑ยิ่งกว่าหรือ
ประณีตกว่าตถาคตผู้คงที่นั้น ไม่มี’
รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ
ที่คนเหล่าอื่นหมกมุ่นแล้ว สำคัญกันว่าจริง
ตถาคตเป็นผู้คงที่ในรูปเป็นต้นเหล่านั้น
ที่สำรวมระวังดีแล้วด้วยพระองค์เอง
ไม่ปักใจเชื่อว่าจริงหรือเท็จ
เราเห็นลูกศรคือทิฏฐินี้ก่อนแล้ว
จึงรู้เห็นลูกศรคือทิฏฐินั้น
ที่หมู่สัตว์หมกมุ่นแล้ว ข้องอยู่อย่างนั้น
แต่ตถาคตทั้งหลายไม่มีความหมกมุ่น

กาฬการามสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.อุรุเวลวรรค ๖.กุหสูตร

๕. พรหมจริยสูตร
ว่าด้วยการประพฤติพรหมจรรย์

[๒๕] ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตประพฤติพรหมจรรย์นี้มิใช่เพื่อจะลวงคน มิใช่
เพื่อเกลี้ยกล่อมคน มิใช่เพื่ออานิสงส์คือลาภสักการะและชื่อเสียง มิใช่เพื่อ
อานิสงส์คือการอวดอ้างวาทะ มิใช่เพื่อให้คนรู้ว่า ‘คนจงรู้จักเราด้วยอาการอย่างนี้’
แท้จริง ตถาคตประพฤติพรหมจรรย์นี้เพื่อสำรวมระวัง เพื่อละ เพื่อคลายกำหนัด
เพื่อดับทุกข์
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ได้ทรงแสดงพรหมจรรย์
ปราศจากความยึดมั่นถือมั่นแต่โบราณ
ทำให้สัตว์ถึงพระนิพพานเพื่อสำรวมระวัง เพื่อละ
หนทางนี้ท่านผู้ใหญ่
ผู้แสวงหาคุณยิ่งใหญ่ดำเนินไปตามแล้ว
อนึ่ง เหล่าชนผู้ปฏิบัติตามแนวทาง
ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว
ชื่อว่าทำตามคำสั่งสอนของพระศาสดา
จักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้

พรหมจริยสูตรที่ ๕ จบ

๖. กุหสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้หลอกลวง

[๒๖] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใดหลอกลวง กระด้าง ประจบ ชอบวางท่า
อวดดี มีจิตไม่ตั้งมั่น ภิกษุเหล่านั้นชื่อว่าไม่ใช่ผู้นับถือเรา ห่างไกลจากธรรมวินัยนี้
และย่อมไม่ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้ ส่วนภิกษุเหล่าใดไม่หลอก
ลวง ไม่ประจบ เป็นนักปราชญ์ ไม่กระด้าง มีจิตตั้งมั่น ภิกษุเหล่านั้นแลชื่อว่า
ผู้นับถือเรา ไม่ห่างไกลจากธรรมวินัยนี้ และถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ใน
ธรรมวินัยนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๓.อุรุเวลวรรค ๗. สันตุฏฐิสูตร

พวกภิกษุผู้หลอกลวง กระด้าง
ประจบ ชอบวางท่า อวดดี
และมีจิตไม่ตั้งมั่น ย่อมไม่งอกงามในธรรม
ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้แล้ว
ส่วนภิกษุที่ไม่หลอกลวง ไม่ประจบ
เป็นนักปราชญ์ ไม่กระด้าง
และมีจิตตั้งมั่นดี ย่อมงอกงามในธรรม
ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้แล้ว

กุหสูตรที่ ๖ จบ

๗. สันตุฏฐิสูตร
ว่าด้วยความสันโดษด้วยปัจจัย ๔

[๒๗] ภิกษุทั้งหลาย ปัจจัย ๔ อย่างนี้มีค่าน้อย หาได้ง่าย และไม่มีโทษ
ปัจจัย ๔ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. บรรดาจีวร บังสุกุลจีวร(ผ้าที่ได้มาจากกองฝุ่น) มีค่าน้อย หาได้ง่าย
และไม่มีโทษ
๒. บรรดาโภชนะ ปิณฑิยาโลปโภชนะ (โภชนะคือคำข้าวที่ได้มาด้วย
กำลังปลีแข้ง) มีค่าน้อย หาได้ง่าย และไม่มีโทษ
๓. บรรดาเสนาสนะ รุกขมูลเสนาสนะ (อยู่อาศัยโคนไม้) มีค่าน้อย
หาได้ง่าย และไม่มีโทษ
๔. บรรดายารักษาโรค ปูติมุตตเภสัช (ยาดองน้ำมูตรเน่า) มีค่าน้อย
หาได้ง่าย และไม่มีโทษ
ปัจจัย ๔ อย่างนี้แลมีค่าน้อย หาได้ง่าย และไม่มีโทษ
ภิกษุทั้งหลาย เพราะภิกษุเป็นผู้สันโดษด้วยปัจจัยที่มีค่าน้อยและหาได้ง่าย นี้
เราจึงกล่าวว่า ‘เป็นองค์ประกอบแห่งความเป็นสมณะอย่างหนึ่ง’ ของภิกษุนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๓.อุรุเวลวรรค ๘.อริยวังสสูตร

จิตของภิกษุผู้สันโดษด้วยปัจจัย
ที่มีค่าน้อย หาได้ง่าย และไม่มีโทษ
ย่อมไม่มีความคับแค้น ไม่ติดขัดทั่วทิศ
เพราะปรารภจีวร โภชนะ เสนาสนะ และยารักษาโรค
และธรรมที่เหมาะแก่ความเป็นสมณะ
ที่ภิกษุนั้นกล่าวไว้แล้ว
อันภิกษุผู้สันโดษ ไม่ประมาท บรรลุแล้ว

สันตุฏฐิสูตรที่ ๗ จบ

๘. อริยวังสสูตร
ว่าด้วยอริยวงศ์

[๒๘] ภิกษุทั้งหลาย อริยวงศ์๑ ๔ ประการนี้รู้กันว่าล้ำเลิศ รู้กันมานาน รู้กัน
ว่าเป็นอริยวงศ์ เป็นของเก่า ไม่ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง ไม่ถูกลบล้าง จักไม่ถูกลบล้าง
ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน
อริยวงศ์ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. สันโดษ๒ด้วยจีวรตามแต่จะได้ กล่าวสรรเสริญความสันโดษด้วยจีวร
ตามแต่จะได้ ไม่แสวงหาอันไม่สมควรเพราะจีวรเป็นเหตุ ไม่ได้จีวร
ก็ไม่กระวนกระวาย ครั้นได้แล้วก็ไม่ติดใจ ไม่หมกมุ่น ไม่ลุ่มหลง
มองเห็นโทษ๓ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก ใช้สอยอยู่ และไม่ยกตน
ข่มผู้อื่นเพราะความสันโดษด้วยจีวรตามแต่จะได้นั้น ภิกษุใดขยัน


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๓.อุรุเวลวรรค ๘.อริยวังสสูตร

ไม่เกียจคร้าน มีสัมปชัญญะ มีสติมั่นคงในความสันโดษด้วยจีวร
ตามแต่จะได้ ภิกษุนี้เราเรียกว่า ผู้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์ ที่รู้กันว่าล้ำเลิศ
เป็นของเก่า
๒. สันโดษด้วยบิณฑบาตตามแต่จะได้ กล่าวสรรเสริญความสันโดษ
ด้วยบิณฑบาตตามแต่จะได้ ไม่แสวงหาอันไม่สมควรเพราะบิณฑบาต
เป็นเหตุ ไม่ได้บิณฑบาตก็ไม่กระวนกระวาย ครั้นได้แล้วก็ไม่ติดใจ
ไม่หมกมุ่น ไม่ลุ่มหลง มองเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก
ฉันอยู่ และไม่ยกตนข่มผู้อื่นเพราะความสันโดษด้วบิณฑบาตตาม
แต่จะได้นั้น ภิกษุใดขยัน ไม่เกียจคร้าน มีสัมปชัญญะ มีสติมั่นคง
ในความสันโดษด้วยบิณฑบาตตามแต่จะได้ ภิกษุนี้เราเรียกว่า ผู้
ตั้งอยู่ในอริยวงศ์ที่รู้กันว่าล้ำเลิศ เป็นของเก่า
๓. สันโดษด้วยเสนาสนะตามแต่จะได้ กล่าวสรรเสริญความสันโดษ
ด้วยเสนาสนะตามแต่จะได้ ไม่แสวงหาอันไม่สมควรเพราะเสนาสนะ
เป็นเหตุ ไม่ได้เสนาสนะก็ไม่กระวนกระวาย ครั้นได้แล้วก็ไม่ติดใจ
ไม่หมกมุ่น ไม่ลุ่มหลง มองเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก
ใช้สอยอยู่ และไม่ยกตนข่มผู้อื่นเพราะความสันโดษด้วยเสนาสนะ
ตามแต่จะได้นั้น ภิกษุใดขยัน ไม่เกียจคร้าน มีสัมปชัญญะ มีสติ
มั่นคงในความสันโดษด้วยเสนาสนะตามแต่จะได้ ภิกษุนี้เราเรียกว่า
ผู้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์ที่รู้กันว่าล้ำเลิศ เป็นของเก่า
๔. มีภาวนาเป็นที่รื่นรมย์ ยินดีในภาวนา มีปหานะ (การละ) เป็นที่
รื่นรมย์ ยินดีในปหานะ และไม่ยกตนข่มผู้อื่นเพราะความเป็นผู้มี
ภาวนาเป็นที่รื่นรมย์ ยินดีในภาวนา เพราะความเป็นผู้มีปหานะ
เป็นที่รื่นรมย์ ยินดีในปหานะนั้น ภิกษุใดขยัน ไม่เกียจคร้าน มี
สัมปชัญญะ มีสติมั่นคงในภาวนาและปหานะ ภิกษุนี้เราเรียกว่า
ผู้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์ที่รู้กันว่าล้ำเลิศ เป็นของเก่า
ภิกษุทั้งหลาย อริยวงศ์ ๔ ประการนี้แลรู้กันว่าล้ำเลิศ รู้กัน
มานาน รู้กันว่าเป็นอริยวงศ์ เป็นของเก่า ไม่ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง
ไม่ถูกลบล้าง จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๓.อุรุเวลวรรค ๙.ธัมมปทสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยอริยวงศ์ ๔ ประการนี้ แม้จะอยู่ในทิศ
ตะวันออก ก็ครอบงำความไม่ยินดีได้ ความไม่ยินดีครอบงำเธอไม่ได้ แม้จะอยู่ใน
ทิศตะวันตก ... แม้จะอยู่ในทิศเหนือ ... แม้จะอยู่ในทิศใต้ ก็ครอบงำความไม่ยินดีได้
ความไม่ยินดีครอบงำเธอไม่ได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเธอเป็นนักปราชญ์ ชื่อว่า
เป็นผู้ครอบงำความไม่ยินดีและความยินดีได้
ความไม่ยินดีครอบงำนักปราชญ์๑ ไม่ได้
ความไม่ยินดีครอบงำนักปราชญ์ไม่ได้
แต่นักปราชญ์ครอบงำความไม่ยินดีได้
เพราะนักปราชญ์ชื่อว่าผู้ครอบงำความไม่ยินดี
ราคะหรือโทสะอะไร
จะปิดกั้นบุคคลผู้บรรเทากิเลสแล้ว
ผู้ละกรรมทุกอย่างได้เด็ดขาด
ใครเล่าจะสามารถติเตียนเขา
ผู้เป็นเหมือนแท่งทองชมพูนุท
แม้เทวดาและมนุษย์ก็สรรเสริญเขา
ถึงพรหมก็สรรเสริญเขา

อริยวังสสูตรที่ ๘ จบ

๙. ธัมมปทสูตร
ว่าด้วยธรรมบท

[๒๙] ภิกษุทั้งหลาย ธรรมบท๒ ๔ ประการนี้ที่รู้กันว่าล้ำเลิศ รู้กันมานาน
รู้กันว่าเป็นอริยวงศ์ เป็นของเก่า ไม่ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง ไม่ถูกลบล้าง
จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน
ธรรมบท ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๓.อุรุเวลวรรค ๑๐.ปริพพาชกสูตร

๑. อนภิชฌา (ความไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา) เป็นธรรมบทที่รู้กันว่า
ล้ำเลิศ รู้กันมานาน รู้กันว่าเป็นอริยวงศ์ เป็นของเก่า ไม่ถูกลบ
ล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง ไม่ถูกลบล้าง จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูก
สมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน
๒. อพยาบาท (ความไม่คิดร้าย) เป็นธรรมบท ...
๓. สัมมาสติ (ความระลึกชอบ) เป็นธรรมบท ...
๔. สัมมาสมาธิ (ความตั้งจิตมั่นชอบ) เป็นธรรมบทที่รู้กันว่าล้ำเลิศ รู้กัน
มานาน รู้กันว่าเป็นอริยวงศ์ เป็นของเก่า ไม่ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคย
ถูกลบล้าง ไม่ถูกลบล้าง จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้
รู้คัดค้าน
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมบท ๔ ประการนี้แลที่รู้กันว่าล้ำเลิศ รู้กันมานาน รู้กัน
ว่าเป็นอริยวงศ์ เป็นของเก่า ไม่ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง ไม่ถูกลบล้าง
จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน
บุคคลพึงเป็นผู้ไม่มีอภิชฌาอยู่
มีจิตไม่พยาบาท มีสติ
มีจิตแน่วแน่ ตั้งมั่นดีอยู่ภายใน

ธัมมปทสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ปริพพาชกสูตร
ว่าด้วยปริพาชก

[๓๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุง
ราชคฤห์ สมัยนั้นแล ปริพาชกหลายท่านที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกัน อาศัยอยู่ใน
ปริพาชการาม ริมฝั่งแม่น้ำสิปปินี คือ อันนภารปริพาชก วธรปริพาชก สกุลุทายี-
ปริพาชก และปริพาชกท่านอื่น ๆ ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกัน ครั้นในเวลาเย็น
พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้น๑ เข้าไปยังปริพาชการาม ริมฝั่งแม่น้ำสิปปินี
ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว ได้ตรัสกับปริพาชกเหล่านั้นดังนี้ว่า


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๓.อุรุเวลวรรค ๑๐.ปริพพาชกสูตร

“ปริพาชกทั้งหลาย ธรรมบท ๔ ประการนี้ที่รู้กันว่าล้ำเลิศ รู้กันมานาน รู้กัน
ว่าเป็นอริยวงศ์ เป็นของเก่า ไม่ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง ไม่ถูกลบล้าง
จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน
ธรรมบท ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อนภิชฌาเป็นธรรมบทที่รู้กันว่าล้ำเลิศ รู้กันมานาน รู้กันว่าเป็น
อริยวงศ์ เป็นของเก่า ไม่ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง ไม่ถูก
ลบล้าง จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน
๒. อพยาบาทเป็นธรรมบท ฯลฯ
๓. สัมมาสติเป็นธรรมบท ฯลฯ
๔. สัมมาสมาธิเป็นธรรมบทที่รู้กันว่าล้ำเลิศ รู้กันมานาน รู้กันว่าเป็น
อริยวงศ์ เป็นของเก่า ไม่ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง ไม่ถูก
ลบล้าง จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน
ปริพาชกทั้งหลาย ธรรมบท ๔ ประการนี้แลที่รู้กันว่าล้ำเลิศ รู้กันมานาน
รู้กันว่าเป็นอริยวงศ์ เป็นของเก่า ไม่ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง ไม่ถูกลบล้าง
จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน
บุคคลใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เราจักบอกคืน๑อนภิชฌาที่เป็นธรรมบทนั้นแล้ว
บัญญัติบุคคลผู้มีอภิชฌา มีราคะแรงกล้าในกามทั้งหลายว่าเป็นสมณะหรือพราหมณ์’
ในเรื่องนั้นเราพึงกล่าวกับบุคคลนั้นอย่างนี้ว่า ‘ผู้ที่ถูกบัญญัติว่าเป็นสมณะหรือ
พราหมณ์นั้นจงมา จงกล่าว จงพูด เราจักดูอานุภาพของเขา’ เป็นไปไม่ได้เลยที่
บุคคลนั้นจักบอกคืนอนภิชฌาที่เป็นธรรมบทแล้ว บัญญัติบุคคลผู้มีอภิชฌา มีราคะ
แรงกล้าในกามทั้งหลายว่าเป็นสมณะหรือพราหมณ์
บุคคลใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เราจักบอกคืนอพยาบาทที่เป็นธรรมบทนั้นแล้ว
บัญญัติบุคคลผู้มีจิตพยาบาท มีความดำริแห่งจิตชั่วร้ายว่าเป็นสมณะหรือพราหมณ์’
ในเรื่องนั้นเราพึงกล่าวกับบุคคลนั้นอย่างนี้ว่า ‘ผู้ที่ถูกบัญญัติว่าเป็นสมณะหรือ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๓.อุรุเวลวรรค ๑๐.ปริพพาชกสูตร

พราหมณ์นั้นจงมา จงกล่าว จงพูด เราจักดูอานุภาพของเขา’ เป็นไปไม่ได้เลยที่
บุคคลนั้นจักบอกคืนอพยาบาทที่เป็นธรรมบทแล้ว บัญญัติบุคคลผู้มีจิตพยาบาท
มีความดำริแห่งจิตชั่วร้ายว่าเป็นสมณะหรือพราหมณ์
บุคคลใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เราจักบอกคืนสัมมาสติที่เป็นธรรมบทนั้นแล้ว
บัญญัติบุคคลผู้หลงลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะว่าเป็นสมณะหรือพราหมณ์’ ในเรื่อง
นั้นเราพึงกล่าวกับบุคคลนั้นอย่างนี้ว่า ‘ผู้ที่ถูกบัญญัติว่าเป็นสมณะหรือพราหมณ์นั้น
จงมา จงกล่าว จงพูด เราจักดูอานุภาพของเขา’ เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลนั้นจัก
บอกคืนสัมมาสติที่เป็นธรรมบทแล้ว บัญญัติบุคคลผู้มีสติหลงลืม ไม่มีสัมปชัญญะ
ว่าเป็นสมณะหรือพราหมณ์
บุคคลใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เราจักบอกคืนสัมมาสมาธิที่เป็นธรรมบทนั้นแล้ว
บัญญัติบุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตกวัดแกว่งว่าเป็นสมณะหรือพราหมณ์’ ในเรื่อง
นั้นเราพึงกล่าวกับบุคคลนั้นอย่างนี้ว่า ‘ผู้ที่ถูกบัญญัติว่าเป็นสมณะหรือพราหมณ์
นั้นจงมา จงกล่าว จงพูด เราจักดูอานุภาพของเขา’ เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลนั้น
จักบอกคืนสัมมาสมาธิที่จัดเป็นธรรมบทแล้ว บัญญัติบุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิต
กวัดแกว่งว่าเป็นสมณะหรือพราหมณ์
บุคคลใดสำคัญธรรมบท ๔ ประการนี้ว่าควรติเตียน ควรคัดค้าน บุคคลนั้น
ย่อมได้รับฐานะ๑ ๔ ประการ พร้อมทั้งเหตุคล้อยตามวาทะไม่ชอบธรรม ที่น่าติเตียน
ในปัจจุบัน
ฐานะ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ถ้าติเตียน คัดค้านอนภิชฌาที่จัดเป็นธรรมบท ก็ชื่อว่าเป็นผู้บูชา
สรรเสริญสมณะหรือพราหมณ์ผู้มีอภิชฌา มีราคะแรงกล้าในกาม
ทั้งหลาย
๒. ถ้าติเตียน คัดค้านอพยาบาทที่จัดเป็นธรรมบท ก็ชื่อว่าเป็นผู้บูชา
สรรเสริญสมณะหรือพราหมณ์ผู้มีจิตพยาบาท มีความดำริแห่งจิต
ชั่วร้าย


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๓.อุรุเวลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๓. ถ้าติเตียน คัดค้านสัมมาสติที่จัดเป็นธรรมบท ก็ชื่อว่าเป็นผู้บูชา
สรรเสริญสมณะหรือพราหมณ์ผู้มีสติหลงลืม ไม่มีสัมปชัญญะ
๔. ถ้าติเตียน คัดค้านสัมมาสมาธิที่จัดเป็นธรรมบท ก็ชื่อว่าเป็นผู้
บูชาสรรเสริญสมณะหรือพราหมณ์ผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตกวัดแกว่ง
บุคคลใดสำคัญธรรมบท ๔ ประการนี้ว่าควรติเตียน ควรคัดค้าน บุคคลนั้น
ย่อมได้รับฐานะ ๔ ประการพร้อมทั้งเหตุคล้อยตามวาทะไม่ชอบธรรม ที่น่าติเตียน
ในปัจจุบัน ปริพาชกชื่อวัสสะและภัญญะ ผู้อยู่ในอุกกลชนบท เป็นอเหตุกวาทะ๑
อกิริยวาทะ๒ นัตถิกวาทะ๓ สำคัญธรรมบท ๔ ประการนี้ว่าไม่ควรติเตียน ไม่ควร
คัดค้าน ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะกลัวการนินทา การกระทบกระทั่ง และการ
กล่าวให้ร้าย”
บุคคลผู้ไม่พยาบาท
มีสติทุกเมื่อ มีจิตตั้งมั่นดีภายใน
ผู้ศึกษาในธรรมเป็นเครื่องกำจัดอภิชฌา
เราเรียกว่า ผู้ไม่ประมาท

ปริพพาชกสูตรที่ ๑๐ จบ
อุรุเวลวรรคที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมอุรุเวลสูตร ๒. ทุติยอุรุเวลสูตร
๓. โลกสูตร ๔. กาฬการามสูตร
๕. พรหมจริยสูตร ๖. กุหสูตร
๗. สันตุฏฐิสูตร ๘. อริยวังสสูตร
๙. ธัมมปทสูตร ๑๐. ปริพพาชกสูตร


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๔.จักกวรรค ๒. สังคหสูตร

๔. จักกวรรค
หมวดว่าด้วยจักร
๑. จักกสูตร
ว่าด้วยจักร ๔ ประการ

[๓๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย จักร๑ ๔ ประการนี้เป็นเหตุให้
เทวดาและมนุษย์ผู้ประกอบแล้วเป็นไปได้ และถึงความเป็นใหญ่ ความไพบูลย์ใน
โภคะทั้งหลายต่อกาลไม่นานนัก
จักร ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ปฏิรูปเทสวาสะ (การอยู่ในถิ่นที่ดี)
๒. สัปปุริสูปัสสยะ (การสมาคมกับสัตบุรุษ)
๓. อัตตสัมมาปณิธิ (การตั้งตนไว้ชอบ)
๔. ปุพเพกตปุญญตา (ความเป็นผู้ได้ทำความดีไว้ก่อนแล้ว)
จักร ๔ ประการนี้แลเป็นเหตุให้เทวดาและมนุษย์ผู้ประกอบแล้วเป็นไปได้ และ
ถึงความเป็นใหญ่ ความไพบูลย์ในโภคะทั้งหลายต่อกาลไม่นานนัก
ข้าวเปลือก ทรัพย์ ยศ ชื่อเสียง
และความสุขย่อมหลั่งไหลมาสู่นรชน
ผู้อยู่ในถิ่นที่ดี ผูกไมตรีกับอริยชน
สมบูรณ์ด้วยการตั้งตนไว้ชอบ ได้ทำความดีไว้ก่อนแล้ว

จักกสูตรที่ ๑ จบ

๒. สังคหสูตร
ว่าด้วยสังคหวัตถุ

[๓๒] ภิกษุทั้งหลาย สังคหวัตถุ (ธรรมเครื่องยึดเหนี่ยว) ๔ ประการนี้
สังคหวัตถุ ๔ ประการ๒ อะไรบ้าง คือ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.จักกวรรค ๓.สีหสูตร

๑. ทาน (การให้)
๒. เปยยวัชชะ (วาจาเป็นที่รัก)
๓. อัตถจริยา (การประพฤติประโยชน์)
๔. สมานัตตตา (การวางตนสม่ำเสมอ)
ภิกษุทั้งหลาย สังคหวัตถุ ๔ ประการนี้แล
ทาน เปยยวัชชะ อัตถจริยาในโลกนี้
และสมานัตตตาในธรรมนั้น ๆ ตามสมควร
สังคหธรรมเหล่านี้แลช่วยอุ้มชูโลก
เหมือนลิ่มสลักที่ยึดคุมรถซึ่งแล่นไปไว้ได้ฉะนั้น
ถ้าไม่พึงมีธรรมเหล่านี้ มารดาหรือบิดา
ก็ไม่พึงได้การนับถือหรือการบูชาเพราะบุตรเป็นเหตุ
แต่เพราะบัณฑิตเล็งเห็นความสำคัญของสังคหธรรมเหล่านี้
ฉะนั้น บัณฑิตเหล่านั้นจึงถึงความเป็นใหญ่
และเป็นผู้น่าสรรเสริญ

สังคหสูตรที่ ๒ จบ

๓. สีหสูตร
ว่าด้วยพญาราชสีห์

[๓๓] ภิกษุทั้งหลาย ในเวลาเย็น พญาราชสีห์ออกจากที่อาศัย บิดกาย
ชำเลืองดูรอบ ๆ ทั้ง ๔ ทิศ บันลือสีหนาท ๓ ครั้งแล้วหลีกไปหาเหยื่อ โดยมาก
สัตว์ดิรัจฉานที่ได้ฟังพญาราชสีห์บันลือสีหนาทย่อมถึงความกลัว หวาดหวั่น และ
สะดุ้ง สัตว์พวกที่อาศัยอยู่ในโพรงก็หลบเข้าโพรง พวกที่อยู่ในน้ำก็ดำลงในน้ำ พวกที่
อยู่ในป่าก็หนีเข้าป่า พวกสัตว์ปีกก็บินขึ้นสู่อากาศ พญาช้างที่ถูกล่ามไว้ด้วยเครื่อง
ผูกคือเชือกหนังที่มั่นคงแข็งแรง ในหมู่บ้าน ตำบล และเมืองหลวง ก็ตัดทำลาย
เครื่องผูกเหล่านั้น ตกใจกลัว ถ่ายมูตรและกรีส๑ หนีไปทางใดทางหนึ่ง บรรดา
สัตว์ดิรัจฉานทั้งหลาย พญาราชสีห์เป็นสัตว์มีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีศักดิ์มากอย่างนี้
มีอานุภาพมากอย่างนี้


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.จักกวรรค ๓.สีหสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดตถาคต๑อุบัติในโลก เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยตนเอง
โดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึก ผู้ที่ควร
ฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า
เป็นพระผู้มีพระภาค๒ แสดงธรรมว่า ‘สักกายะ๓เป็นอย่างนี้ สักกายสมุทัย (เหตุเกิด
สักกายะ) เป็นอย่างนี้ สักกายนิโรธ (ความดับสักกายะ) เป็นอย่างนี้ สักกายนิโรธ-
คามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับสักกายะ) เป็นอย่างนี้’ เมื่อนั้นเทวดาพวกที่มี
อายุยืน มีวรรณะ มีสุขมาก สถิตอยู่ในวิมานสูงเป็นเวลานาน ฟังธรรมเทศนา
ของตถาคตแล้ว โดยมากย่อมถึงความกลัว หวาดหวั่น สะดุ้งว่า “ผู้เจริญทั้งหลาย
ทราบมาว่า พวกเราเป็นผู้ไม่เที่ยง แต่ได้สำคัญตนว่า ‘เที่ยง’ เป็นผู้ไม่ยั่งยืน แต่ได้
สำคัญตนว่า ‘ยั่งยืน’ เป็นผู้ไม่คงที่ แต่ได้สำคัญตนว่า ‘คงที่’ ท่านผู้เจริญทั้งหลาย
พวกเราเป็นผู้ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงที่ เกี่ยวเนื่องอยู่ในสักกายะ” ดังนี้ บรรดา
ชาวโลกพร้อมทั้งเทวโลก ตถาคตเป็นผู้มีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีศักดิ์มากอย่างนี้ มี
อานุภาพมากอย่างนี้ อย่างนั้นเหมือนกัน
เมื่อใดพระพุทธเจ้าผู้เป็นศาสดา
หาบุคคลเปรียบเทียบมิได้๔ ตรัสรู้ยิ่งแล้ว


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๔.จักกวรรค ๔.อัคคัปปสาทสูตร

ประกาศธรรมจักร คือ
สักกายะ เหตุเกิดสักกายะ ความดับสักกายะ
และอริยมรรคมีองค์ ๘ ที่ให้ถึงความดับทุกข์
แก่โลกพร้อมทั้งเทวโลก
เมื่อนั้นเทวดาที่มีอายุยืน มีวรรณะ มียศ
หวาดหวั่น ฟังคำของตถาคต
ผู้เป็นอรหันต์ หลุดพ้นแล้ว ผู้คงที่
ได้ถึงความสะดุ้งดุจเนื้อกลัวราชสีห์
ด้วยคิดว่า ‘ท่านผู้เจริญ ทราบว่า
พวกเราเป็นผู้ไม่เที่ยง ยังไม่ก้าวล่วงสักกายะ’

สีหสูตรที่ ๓ จบ

๔. อัคคัปปสาทสูตร
ว่าด้วยความเลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ

[๓๔] ภิกษุทั้งหลาย ความเลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ ๔ ประการนี้
ความเลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัตว์ทั้งหลายที่ไม่มีเท้า มีสองเท้า มีสี่เท้า หรือมีเท้ามากก็ตาม มี
รูปหรือไม่มีรูปก็ตาม มีสัญญา ไม่มีสัญญา หรือมีสัญญาก็ไม่ใช่
ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ก็ตาม มีประมาณเท่าใด ตถาคตอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้าเรากล่าวว่าเลิศกว่าสัตว์มีประมาณเท่านั้น บุคคลผู้เลื่อมใส
ในพระพุทธเจ้าชื่อว่าเลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ และวิบากที่เลิศย่อมมีแก่
บุคคลผู้เลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ
๒. ธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมีประมาณเท่าใด อริยมรรคมีองค์ ๘ เรา
กล่าวว่าเลิศกว่าธรรมเหล่านั้น บุคคลผู้เลื่อมใสในอริยมรรคมีองค์ ๘
ชื่อว่าเลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ และวิบากที่เลิศย่อมมีแก่บุคคลผู้เลื่อมใส
ในสิ่งที่เลิศ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๔.จักกวรรค ๔.อัคคัปปสาทสูตร

๓. ธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งหรือธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมีประมาณ
เท่าใด วิราคะ (ความคลายกำหนัด) คือ ความสร่างความเมา
ความดับความกระหาย ความถอนอาลัย ความตัดวัฏฏะ ความ
สิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับทุกข์ นิพพาน๑เรา
กล่าวว่าเลิศกว่าธรรมเหล่านั้น บุคคลผู้เลื่อมใสในวิราคธรรม ชื่อว่า
เลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ และวิบากที่เลิศย่อมมีแก่บุคคลผู้เลื่อมใสในสิ่ง
ที่เลิศ
๔. หมู่ก็ดี คณะก็ดี มีประมาณเท่าใด พระสงฆ์สาวกของตถาคต
ได้แก่ พระอริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล๒ พระสงฆ์สาวกของ
พระผู้มีพระภาคนี้เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของ
ต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอด
เยี่ยมของโลก เรากล่าวว่าเลิศกว่าหมู่หรือคณะเหล่านั้น บุคคลผู้
เลื่อมใสในสงฆ์ ชื่อว่าเลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ และวิบากที่เลิศย่อมมี
แก่บุคคลผู้เลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ
ภิกษุทั้งหลาย ความเลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ ๔ ประการนี้แล
บุญที่เลิศ คือ อายุ วรรณะ
ยศ เกียรติ สุข และพละ
ย่อมเจริญแก่บุคคลผู้เลื่อมใส
ผู้รู้ธรรมที่เลิศโดยความเป็นธรรมที่เลิศ
ผู้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าผู้เลิศ
ซึ่งเป็นทักขิไณยบุคคลชั้นเยี่ยม


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๔.จักกวรรค ๕.วัสสการสูตร

ผู้เลื่อมใสในพระธรรมที่เลิศ
อันเป็นที่คลายความกำหนัด
เป็นที่สงบระงับ นำสุขมาให้
ผู้เลื่อมใสในพระสงฆ์ผู้เลิศ
ซึ่งเป็นนาบุญอันยอดเยี่ยม
ให้ทานในท่านผู้เลิศ
นักปราชญ์ผู้ตั้งมั่นในธรรมที่เลิศ
ให้ทานแก่ท่านผู้เลิศ
เกิดเป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็ตาม
ย่อมถึงความเป็นผู้เลิศ๑ บันเทิงอยู่

อัคคัปปสาทสูตรที่ ๔ จบ

๕. วัสสการสูตร
ว่าด้วยวัสสการพราหมณ์

[๓๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อ
กระแต เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น วัสสการพราหมณ์ผู้เป็นมหาอำมาตย์แห่งแคว้น
มคธเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ
พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่ท่านพระโคดม พวกข้าพเจ้าบัญญัติบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ
ว่าเป็นมหาบุรุษผู้มีปัญญามาก
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
บุคคลในโลกนี้
๑. เป็นพหูสูตแห่งเรื่องที่ฟังนั้น ๆ รู้เนื้อความแห่งภาษิตนั้น ๆ ว่า ‘นี้
เป็นเนื้อความแห่งภาษิตนี้ นี้เป็นเนื้อความแห่งภาษิตนี้’


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๔.จักกวรรค ๕.วัสสการสูตร

๒. มีสติ ระลึกถึงสิ่งที่ทำและคำที่พูดแม้นานได้
๓. เป็นคนขยัน ไม่เกียจคร้านในการงานที่จะต้องช่วยกันทำของคฤหัสถ์
๔. ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา อันเป็นอุบายในการงานที่
จะต้องช่วยกันทำนั้น ๆ สามารถทำได้ สามารถจัดได้
ข้าแต่ท่านพระโคดม พวกข้าพเจ้าบัญญัติบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ
นี้แลว่าเป็นมหาบุรุษผู้มีปัญญามาก ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าข้าพเจ้าพึงยินดี ขอ
ท่านพระโคดมทรงยินดีตามข้าพเจ้า ถ้าข้าพเจ้าพึงคัดค้าน ขอท่านพระโคดมทรง
คัดค้านตามข้าพเจ้าด้วยเถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ เราไม่ยินดีตาม แต่ไม่คัดค้านท่าน เรา
บัญญัติบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการว่าเป็นมหาบุรุษผู้มีปัญญามาก
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
บุคคลในโลกนี้
๑. ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก ให้คนหมู่
มากตั้งอยู่ในอริยธรรมที่ควรรู้ คือ ความเป็นผู้มีกัลยาณธรรม
ความเป็นผู้มีกุศลธรรม
๒. ปรารถนาจะตรึกตรองเรื่องใด ก็ตรึกตรองเรื่องนั้น ไม่ปรารถนาจะ
ตรึกตรองเรื่องใด ก็ไม่ตรึกตรองเรื่องนั้น ปรารถนาจะดำริเรื่องใด
ก็ดำริเรื่องนั้น ไม่ปรารถนาจะดำริเรื่องใด ก็ไม่ดำริเรื่องนั้น ถึงความ
เชี่ยวชาญในจิตในแนวทางแห่งการตรึกตรองทั้งหลาย
๓. เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง ซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
๔. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้น
ไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
พราหมณ์ เราไม่ยินดีตาม แต่ไม่คัดค้านท่านเลย เราบัญญัติบุคคลผู้
ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลว่าเป็นมหาบุรุษผู้มีปัญญามาก”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๔.จักกวรรค ๕.วัสสการสูตร

วัสสการพราหมณ์กราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคย
ปรากฏ ท่านพระโคดมตรัสเรื่องนี้ไว้ดียิ่งนัก พวกข้าพเจ้าจะทรงจำท่านพระโคดมไว้
ว่า เป็นผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้ว่า แท้ที่จริง ท่านพระโคดมทรงปฏิบัติ
เพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก ให้คนหมู่มากตั้งอยู่ในอริยธรรมที่
ควรรู้ คือ ความเป็นผู้มีกัลยาณธรรม ความเป็นผู้มีกุศลธรรม ท่านพระโคดมทรง
ปรารถนาจะตรึกตรองเรื่องใด ก็ตรึกตรองเรื่องนั้น ไม่ทรงปรารถนาจะตรึกตรอง
เรื่องใด ก็ไม่ทรงตรึกตรองเรื่องนั้น ทรงปรารถนาจะดำริเรื่องใด ก็ดำริเรื่องนั้น
ไม่ทรงปรารถนาจะดำริเรื่องใด ก็ไม่ดำริเรื่องนั้น ทรงถึงความเชี่ยวชาญในจิตใน
แนวทางแห่งการตรึกตรองทั้งหลาย ทรงได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง ซึ่งเป็นเครื่องอยู่
เป็นสุขในปัจจุบันตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ทรงทำให้
แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ ท่านกล่าววาจาแสดงความเห็นด้วยใน
เรื่องนี้ และเราจักเฉลยแก่ท่านว่า แท้ที่จริง เราปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก
เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก ให้คนหมู่มากตั้งอยู่ในอริยธรรมที่ควรรู้ คือ ความเป็นผู้มี
กัลยาณธรรม ความเป็นผู้มีกุศลธรรม ก็เราปรารถนาจะตรึกตรองเรื่องใด ก็ตรึก
ตรองเรื่องนั้น ไม่ปรารถนาจะตรึกตรองเรื่องใด ก็ไม่ตรึกตรองเรื่องนั้น ปรารถนา
จะดำริเรื่องใด ก็ดำริเรื่องนั้น ไม่ปรารถนาจะดำริเรื่องใด ก็ไม่ดำริเรื่องนั้น ถึงความ
เชี่ยวชาญในจิตในแนวทางแห่งการตรึกตรองทั้งหลาย เราได้ฌาน ๔ อันมีใน จิตยิ่ง
ซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันตามความปรารถนาได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วย ปัญญาอัน
ยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”
บุคคลผู้รู้แจ้งทางปลดเปลื้องสรรพสัตว์
จากบ่วงแห่งมัจจุราช ประกาศธรรมที่ควรรู้
ที่เกื้อกูลแก่เทวดาและมนุษย์
อนึ่ง ชนจำนวนมากเลื่อมใส
เพราะเห็นหรือได้ฟังข่าวของบุคคลใด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.จักกวรรค ๖.โทณสูตร

เราเรียกบุคคลนั้น
ผู้ฉลาดในธรรมที่เป็นทางและมิใช่ทาง
ผู้ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว
ไม่มีอาสวะ เป็นพุทธะ๑
ธำรงชาติสุดท้ายว่า เป็นมหาบุรุษ

วัสสการสูตรที่ ๕ จบ

๖. โทณสูตร
ว่าด้วยโทณพราหมณ์

[๓๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จทางไกลระหว่างเมืองอุกกัฏฐะ๒กับเมือง
เสตัพยะ โทณพราหมณ์ก็ได้เดินทางไกลระหว่างเมืองอุกกัฏฐะกับเมืองเสตัพยะ ได้
เห็นรอยกงจักรมีซี่กำตั้งพันซี่ มีกง มีดุมครบ มีส่วนประกอบครบทุกอย่างที่รอย
พระบาทของพระผู้มีพระภาค ได้มีความคิดว่า “ท่านผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคย
ปรากฏ รอยเท้าเหล่านี้คงไม่ใช่รอยเท้ามนุษย์” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จลง
ข้างทางประทับนั่งที่โคนต้นไม้ต้นหนึ่ง ทรงคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะ
หน้า ลำดับนั้น โทณพราหมณ์เดินตามรอยพระบาทของพระผู้มีพระภาค ได้เห็น
พระผู้มีพระภาคประทับนั่งที่โคนต้นไม้ต้นหนึ่ง มีพระอาการกิริยาน่าพอใจ น่าเลื่อมใส
มีพระอินทรีย์สงบ มีพระทัยสงบ บรรลุการฝึกและความสงบยอดเยี่ยม๓ ทรงฝึกตน
แล้ว คุ้มครองแล้ว สำรวมอินทรีย์ ผู้ชื่อว่านาคะ๔ ครั้นแล้วจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า “ท่านผู้เจริญเป็นเทวดาใช่หรือไม่”


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.จักกวรรค ๖.โทณสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “เราไม่ใช่เทวดา พราหมณ์”
โทณพราหมณ์ทูลถามว่า “ท่านผู้เจริญ เป็นคนธรรพ์ใช่หรือไม่”
“เราไม่ใช่คนธรรพ์ พราหมณ์”
“ท่านผู้เจริญ เป็นยักษ์ใช่หรือไม่”
“เราไม่ใช่ยักษ์ พราหมณ์”
“ท่านผู้เจริญ เป็นมนุษย์ใช่หรือไม่”
“เราไม่ใช่มนุษย์ พราหมณ์”
โทณพราหมณ์ทูลถามว่า “ท่านเมื่อถูกถามว่า ‘ท่านผู้เจริญเป็นเทวดาใช่หรือไม่’
ก็ตอบว่า ‘เราไม่ใช่เทวดา พราหมณ์’ เมื่อถูกถามว่า ‘ท่านผู้เจริญเป็นคนธรรพ์
ใช่หรือไม่’ ก็ตอบว่า ‘เราไม่ใช่คนธรรพ์ พราหมณ์’ เมื่อถูกถามว่า ‘ท่านผู้เจริญ
เป็นยักษ์ใช่หรือไม่’ ก็ตอบว่า ‘เราไม่ใช่ยักษ์ พราหมณ์’ เมื่อถูกถามว่า ‘ท่านผู้เจริญ
เป็นมนุษย์ใช่หรือไม่’ ก็ตอบว่า ‘เราไม่ใช่มนุษย์ พราหมณ์’ ถ้าอย่างนั้น ท่าน
เป็นอะไรกันแน่”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์ เราพึงเป็นเทวดา เพราะยังละ
อาสวะเหล่าใดไม่ได้ แต่อาสวะเหล่านั้นเราละได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคน
เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อ
ไปไม่ได้ เราพึงเป็นคนธรรพ์ เพราะยังละอาสวะเหล่าใดไม่ได้ ... พึงเป็นยักษ์ ...
พึงเป็นมนุษย์ เพราะยังละอาสวะเหล่าใดไม่ได้ แต่อาสวะเหล่านั้นเราละได้เด็ดขาด
แล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่
ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
พราหมณ์ เราเกิดเจริญเติบโตในโลก แต่อยู่เหนือโลก ไม่แปดเปื้อนด้วยโลก
เหมือนดอกอุบล (บัวเขียว) ดอกปทุม (บัวหลวง) ดอกปุณฑริก (บัวขาว) เกิดเจริญ
เติบโตในน้ำ แต่อยู่เหนือน้ำ ไม่แปดเปื้อนด้วยน้ำฉะนั้น ท่านจงจำเราไว้ว่า ‘เป็น
พระพุทธเจ้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๔.จักกวรรค ๗.อปริหานิยสูตร

อาสวะทั้งหลายที่เป็นเหตุให้เกิดเป็นเทวดา
หรือเป็นคนธรรพ์ผู้เที่ยวไปในอากาศ
เป็นเหตุให้ถึงความเป็นยักษ์
และความเป็นมนุษย์ ได้สิ้นไปแล้ว
ถูกเรากำจัดแล้ว ทำให้หมดเครื่องผูกพันแล้ว
ดอกปุณฑริกที่งดงาม
ย่อมไม่แปดเปื้อนด้วยน้ำฉันใด
เราก็ย่อมไม่แปดเปื้อนด้วยโลกฉันนั้น
พราหมณ์ เพราะฉะนั้น เราจึงเป็นพระพุทธเจ้า

โทณสูตรที่ ๖ จบ

๗. อปริหานิยสูตร
ว่าด้วยอปริหานิยธรรม

[๓๗] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ไม่อาจเสื่อม๑
ชื่อว่าอยู่ใกล้นิพพานแน่แท้
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. สมบูรณ์ด้วยศีล
๒. คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
๓. รู้จักประมาณในการบริโภค
๔. ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนือง ๆ
ภิกษุสมบูรณ์ด้วยศีล เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อม
ด้วยอาจาระและโคจรอยู่ มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ใน
สิกขาบททั้งหลาย ภิกษุสมบูรณ์ด้วยศีล เป็นอย่างนี้แล


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๔.จักกวรรค ๗.อปริหานิยสูตร

ภิกษุคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปทางตาแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ๑ ย่อม
ปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วจะเป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรมคือ
อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จึงรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์
ฟังเสียงทางหู ... ดมกลิ่นทางจมูก ... ลิ้มรสทางลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ...
รู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ซึ่ง
เมื่อไม่สำรวมแล้วจะเป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จึง
รักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ภิกษุคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุรู้จักประมาณในการบริโภค เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาโดยแยบคายแล้วจึงฉันอาหาร ไม่ใช่เพื่อเล่น
ไม่ใช่เพื่อมัวเมา ไม่ใช่เพื่อประดับ ไม่ใช่เพื่อตกแต่ง แต่เพียงเพื่อความดำรงอยู่ได้
แห่งกายนี้ เพื่อให้กายนี้เป็นไปได้ เพื่อกำจัดความเบียดเบียน เพื่ออนุเคราะห์
พรหมจรรย์ ด้วยคิดเห็นว่า “เราจักกำจัดเวทนาเก่าและจักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น
ความดำเนินไปแห่งกาย ความไม่มีโทษ และการอยู่ผาสุกจักมีแก่เรา” ภิกษุรู้จัก
ประมาณในการบริโภค เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนือง ๆ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมที่เป็นเหตุขัดขวางด้วยการ
จงกรม ด้วยการนั่งตลอดวัน ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมที่เป็นเหตุขัดขวางด้วยการ
จงกรม ด้วยการนั่งตลอดปฐมยามแห่งราตรี นอนดุจราชสีห์โดยข้างเบื้องขวา
ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ หมายใจว่าจะลุกขึ้นตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี
ลุกขึ้นชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมที่เป็นเหตุขัดขวางด้วยการจงกรม ด้วยการนั่งตลอด
ปัจฉิมยามแห่งราตรี ภิกษุประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนือง ๆ เป็นอย่างนี้แล๒
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ไม่อาจเสื่อม ชื่อว่า
อยู่ใกล้นิพพานแน่แท้


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๔.จักกวรรค ๘.ปฏิลีนสูตร

ภิกษุตั้งอยู่ในศีล สำรวมอินทรีย์
รู้จักประมาณในการบริโภค
ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนือง ๆ
มีความเพียรอยู่อย่างนี้
ไม่เกียจคร้านตลอดคืนและวัน
ชื่อว่าบำเพ็ญกุศลธรรม
เพื่อบรรลุสภาวะอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ
ภิกษุผู้ยินดีในความไม่ประมาท
หรือมีปกติเห็นภัยในความประมาท
ไม่อาจเสื่อม ชื่อว่าอยู่ใกล้นิพพานแน่แท้

อปริหานิยสูตรที่ ๗ จบ

๘. ปฏิลีนสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้หลีกเร้น

[๓๘] ภิกษุทั้งหลาย เราเรียกภิกษุว่า ผู้มีปัจเจกสัจจะ๑อันบรรเทาได้ ผู้มี
การแสวงหาอันสละได้ดี ผู้มีกายสังขารอันระงับได้ ผู้หลีกเร้น
ภิกษุผู้มีปัจเจกสัจจะอันบรรเทาได้ เป็นอย่างไร
คือ ปัจเจกสัจจะเป็นอันมาก เช่น เห็นว่า โลกเที่ยงบ้าง โลกไม่เที่ยงบ้าง โลก
มีที่สุดบ้าง โลกไม่มีที่สุดบ้าง ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน ชีวะกับสรีระเป็นคน
ละอย่างกัน หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก
หลังจากตายแล้วตถาคต๒เกิดอีกและไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิด
อีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ เหล่านั้นทั้งหมดของสมณะและพราหมณ์จำนวนมาก


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๔.จักกวรรค ๘.ปฏิลีนสูตร

อันภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรเทาได้ กำจัดได้ สละได้ คลายได้ ปล่อยวางได้ ละได้
สละคืนได้ ภิกษุผู้มีปัจเจกสัจจะอันบรรเทาได้ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุผู้มีการแสวงหาอันสละได้ดี เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ละการใฝ่หากาม๑ ละการแสวงหาภพ๒ ระงับการ
แสวงหาพรหมจรรย์ได้๓ ภิกษุผู้มีการแสวงหาอันสละได้ดี เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุผู้มีกายสังขารอันระงับได้๔ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัส
ดับไปก่อนแล้ว บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่
ภิกษุผู้มีกายสังขารอันระงับได้ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุผู้หลีกเร้น เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ละอัสมิมานะ๕ได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคนเหมือนต้น
ตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
ภิกษุผู้หลีกเร้น เป็นอย่างนี้แล
เราเรียกภิกษุว่า ผู้มีปัจเจกสัจจะอันบรรเทาได้ ผู้มีการแสวงหาอันสละได้ดี
ผู้มีกายสังขารอันระงับได้ ผู้หลีกเร้น ด้วยประการฉะนี้


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๔.จักกวรรค ๙.อุชชยสูตร

การใฝ่หากาม การแสวงหาภพ
และการแสวงหาพรหมจรรย์
อันภิกษุในธรรมวินัยนี้สละได้เด็ดขาดแล้ว
การยึดถือว่าสิ่งนั้นสิ่งนี้จริงอันเป็นพื้นฐานแห่งทิฏฐิ
ภิกษุถอนขึ้นแล้วด้วยอาการอย่างนี้
ภิกษุผู้คลายกำหนัดได้ทั้งหมด
หลุดพ้นเพราะสิ้นตัณหา
ชื่อว่าสละคืนการแสวงหา
ถอนรากฐานแห่งทิฏฐิได้
ภิกษุนั้นแลเป็นผู้สงบ
มีสติ สงบระงับ ไม่พ่ายแพ้
ชื่อว่าเป็นพุทธะ เพราะละมานะได้
เราเรียกว่า ผู้หลีกเร้น

ปฏิลีนสูตรที่ ๘ จบ

๙. อุชชยสูตร
ว่าด้วยปัญหาของอุชชยพราหมณ์

[๓๙] สมัยนั้น อุชชยพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้
สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วจึงนั่ง ณ ที่สมควร
ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า “แม้ท่านพระโคดมเองก็ทรงสรรเสริญยัญของพวก
ข้าพเจ้าหรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ เราไม่ได้สรรเสริญยัญไปเสียทุกอย่าง และ
เราก็ไม่ได้ติเตียนยัญไปเสียทั้งหมด เราไม่สรรเสริญยัญที่มีกิริยา๑ คือ ยัญที่มีการฆ่า
โค ๑ ยัญที่มีการฆ่าแพะ แกะ ๑ ยัญที่มีการฆ่าไก่ สุกร ๑ ยัญที่ทำให้สัตว์ต่าง ๆ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๔.จักกวรรค ๙.อุชชยสูตร

ได้รับความเดือดร้อน ๑ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพระอรหันต์หรือท่านผู้บรรลุ
อรหัตตมรรคย่อมไม่เกี่ยวข้องกับยัญที่มีกิริยาอย่างนั้น
พราหมณ์ แต่เราสรรเสริญยัญที่ไม่มีกิริยา คือ นิจทาน๑ และอนุกูลยัญ๒ คือ
ยัญที่ไม่มีการฆ่าโค ๑ ยัญที่ไม่มีการฆ่าแพะ แกะ ๑ ยัญที่ไม่มีการฆ่าไก่ สุกร ๑
ยัญที่ไม่ทำให้สัตว์ต่าง ๆ ได้รับความเดือดร้อน ๑ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพระ
อรหันต์หรือท่านผู้บรรลุอรหัตตมรรคย่อมเกี่ยวข้องกับยัญที่ไม่มีกิริยาอย่างนี้”
มหายัญที่มีกิริยามากเหล่านั้น คือ
อัสวเมธ บุรุษเมธ สัมมาปาสะ
วาชเปยยะ นิรัคคละ๓ ไม่มีผลมาก
พระอริยะผู้ปฏิบัติชอบ แสวงหาคุณยิ่งใหญ่
ย่อมไม่เกี่ยวข้องกับยัญ
ที่มีการฆ่าแพะ แกะ โค และสัตว์ต่าง ๆ
แต่พระอริยะผู้ปฏิบัติชอบ แสวงหาคุณยิ่งใหญ่
ย่อมเกี่ยวข้องกับยัญที่ไม่มีกิริยา
เอื้ออำนวยประโยชน์ ประชาชนบูชาทุกเมื่อ
และไม่มีการฆ่าแพะ แกะ โค และสัตว์ต่าง ๆ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๔.จักกวรรค ๑๐.อุทายิสูตร

นักปราชญ์พึงบูชายัญนี้ที่มีผลมาก
เพราะเมื่อบูชายัญอย่างนี้
ย่อมมีแต่ความดี ไม่มีความชั่ว
ยัญย่อมแพร่หลาย และเทวดาก็เลื่อมใส

อุชชยสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. อุทายิสูตร
ว่าด้วยปัญหาของอุทายิพราหมณ์

[๔๐] ครั้งนั้นแล อุทายิพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้
สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า “แม้ท่านพระโคดมก็ทรงสรรเสริญยัญของพวก
ข้าพระองค์หรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ เราไม่ได้สรรเสริญยัญไปเสียทุกอย่าง
และเราก็ไม่ได้ติเตียนยัญไปเสียทั้งหมด เราไม่สรรเสริญยัญ๑ที่มีกิริยา คือ ยัญที่มี
การฆ่าโค ๑ ยัญที่มีการฆ่าแพะ แกะ ๑ ยัญที่มีการฆ่าไก่ สุกร ๑ ยัญที่ทำให้สัตว์
ต่าง ๆ ได้รับความเดือดร้อน ๑ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพระอรหันต์หรือท่านผู้
บรรลุอรหัตตมรรคย่อมไม่เกี่ยวข้องกับยัญที่มีกิริยาอย่างนั้น
พราหมณ์ แต่เราสรรเสริญยัญที่ไม่มีกิริยา คือ นิจทานและอนุกูลยัญ คือ
ยัญที่ไม่มีการฆ่าโค ๑ ยัญที่ไม่มีการฆ่าแพะ แกะ ๑ ยัญที่ไม่มีการฆ่าไก่ สุกร ๑
ยัญที่ไม่ทำให้สัตว์ต่าง ๆ ได้รับความเดือดร้อน ๑ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพระ
อรหันต์หรือท่านผู้บรรลุอรหัตตมรรคย่อมเกี่ยวข้องกับยัญที่ไม่มีกิริยาอย่างนี้”
ท่านผู้ประพฤติพรหมจรรย์ สำรวมระวัง
ย่อมเกี่ยวข้องกับยัญ๒ที่จัดเตรียมไว้อย่างดี
ไม่มีกิริยา เหมาะสมกับเวลาเช่นนั้น


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๔.จักกวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ท่านผู้รู้ผู้ฉลาดในบุญ
มีกิเลสเปรียบเหมือนหลังคาอันเปิดแล้ว
ล่วงเลยตระกูลและคติ๑ในโลก
ย่อมสรรเสริญยัญชนิดนี้
ถ้าบุคคลทำการบูชาในปกติทาน
หรือในมตกทานตามสมควร
มีจิตเลื่อมใส บูชาในนาที่ดี
คือท่านพรหมจารีทั้งหลาย
ยัญที่บุคคลบูชาดีแล้ว
เซ่นสรวงดีแล้ว สมบูรณ์ดี
ทำไว้ในทักขิไณยบุคคล
ยัญย่อมแพร่หลาย และเทวดาก็เลื่อมใส
บัณฑิตผู้เป็นนักปราชญ์ มีศรัทธา๒
มีใจพ้นแล้ว๓ บูชายัญอย่างนี้แล้ว
ย่อมเข้าถึงโลกที่ปราศจากความเบียดเบียน เป็นสุข

อุทายิสูตรที่ ๑๐ จบ
จักกวรรคที่ ๔ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. จักกสูตร ๒. สังคหสูตร
๓. สีหสูตร ๔. อัคคัปปสาทสูตร
๕. วัสสการสูตร ๖. โทณสูตร
๗. อปริหานิยสูตร ๘. ปฏิลีนสูตร
๙. อุชชยสูตร ๑๐. อุทายิสูตร


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๕.โรหิตัสสวรรค ๑.สมาธิภาวนาสูตร

๕. โรหิตัสสวรรค
หมวดว่าด้วยโรหิตัสสเทพบุตร
๑. สมาธิภาวนาสูตร
ว่าด้วยสมาธิภาวนา

[๔๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนา๑ ๔ ประการนี้
สมาธิภาวนา ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สมาธิภาวนาที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุข
ในปัจจุบัน
๒. สมาธิภาวนาที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อได้ญาณ-
ทัสสนะ
๓. สมาธิภาวนาที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ
๔. สมาธิภาวนาที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้น
อาสวะ
สมาธิภาวนาที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขใน
ปัจจุบัน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มี
วิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุ
ทุติยฌานมีความผ่องใสภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่
ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ เพราะปีติจางคลายไป มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติ
อยู่เป็นสุข’ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว บรรลุ
จตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ สมาธิภาวนานี้ที่
บุคคลเจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๕.โรหิตัสสวรรค ๑.สมาธิภาวนาสูตร

สมาธิภาวนาที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อได้ญาณทัสสนะ๑
เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้มนสิการถึงอาโลกสัญญา (ความกำหนดหมายในแสง
สว่าง) อธิษฐานทิวาสัญญา (ความกำหนดหมายว่ากลางวัน) ว่า กลางคืนเหมือน
กลางวัน กลางวันเหมือนกลางคืน มีใจสงัดไม่มีเครื่องร้อยรัด อบรมจิตให้สว่าง๒อยู่
สมาธิภาวนานี้ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อได้ญาณทัสสนะ
สมาธิภาวนาที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ
เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้แจ้งเวทนาที่เกิดขึ้น รู้แจ้งเวทนาที่ตั้งอยู่ รู้แจ้งเวทนา
ที่ดับไป รู้แจ้งสัญญาที่เกิดขึ้น ... รู้แจ้งวิตกที่เกิดขึ้น รู้แจ้งวิตกที่ตั้งอยู่ รู้แจ้งวิตกที่
ดับไป สมาธิภาวนานี้ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ
สมาธิภาวนาที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ
เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีปกติเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในอุปาทาน
ขันธ์ ๕ อยู่ว่า “รูปเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นอย่างนี้ ความดับแห่งรูปเป็น
อย่างนี้ เวทนาเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาเป็นอย่างนี้ ความดับแห่งเวทนา
เป็นอย่างนี้ สัญญาเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาเป็นอย่างนี้ ความดับแห่ง
สัญญาเป็นอย่างนี้ สังขารเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสังขารเป็นอย่างนี้ ความดับ
แห่งสังขารเป็นอย่างนี้ วิญญาณเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นอย่างนี้
ความดับแห่งวิญญาณเป็นอย่างนี้” สมาธิภาวนานี้ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้วย่อม
เป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ
ภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนา ๔ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ก็คำนี้เรากล่าวไว้ในปุณณกปัญหาในปารายนวรรค หมายถึง
ข้อความนี้ว่า


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๕.โรหิตัสสวรรค ๒. ปัฐหพยากรณสูตร

บุคคลใดรู้สิ่งสูงต่ำ๑ในโลก๒
ไม่มีกิเลสเป็นเหตุให้หวั่นไหว๓ในโลกไหน ๆ๔
เรากล่าวว่า บุคคลเป็นผู้สงบ๕
ไม่มีควันคือความโกรธ
ไม่มีกิเลสกระทบจิต ไม่มีความหวัง
ข้ามพ้นชาติและชราได้แล้ว

สมาธิภาวนาสูตรที่ ๑ จบ

๒. ปัญหพยากรณสูตร
ว่าด้วยวิธีการตอบปัญหา

[๔๒] ภิกษุทั้งหลาย การตอบปัญหา ๔ ประการนี้
การตอบปัญหา ๔ ประการ๖ อะไรบ้าง คือ
๑. เอกังสพยากรณียปัญหา (ปัญหาที่ควรตอบโดยนัยเดียว)
๒. วิภัชชพยากรณียปัญหา (ปัญหาที่ควรแยกตอบ)
๓. ปฏิปุจฉาพยากรณียปัญหา (ปัญหาที่ควรตอบโดยย้อนถาม)
๔. ฐปนียปัญหา (ปัญหาที่ควรงดตอบ)
ภิกษุทั้งหลาย การตอบปัญหา ๔ ประการนี้แล
(๑) ตอบโดยนัยเดียว (๒) แยกตอบ
(๓) ตอบโดยย้อนถาม (๔) งดตอบ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๕.โรหิตัสสวรรค ๓.ปฐมโกธครุสูตร

อนึ่ง บัณฑิตเรียกภิกษุผู้รู้ความเหมาะสม๑
ในฐานะแห่งปัญหานั้น ๆ ว่า
เป็นผู้ฉลาดในปัญหาทั้ง ๔
บุคคลเช่นนั้น ใคร ๆ เทียบได้ยาก
เอาชนะได้ยาก เป็นคนลึกซึ้ง ให้แพ้ได้ยาก
และฉลาดในประโยชน์ทั้งสอง
คือ ด้านเจริญและด้านเสื่อม
บัณฑิตย่อมเว้นด้านเสื่อม ถือเอาด้านเจริญ
ธีรชนเพราะรู้จักประโยชน์
ชาวโลกจึงเรียกว่า “บัณฑิต”

ปัญหพยากรณสูตรที่ ๒ จบ

๓. ปฐมโกธครุสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้มักโกรธ สูตรที่ ๑

[๔๓] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้มักโกรธ ไม่เคารพสัทธรรม
๒. บุคคลผู้มักลบหลู่ ไม่เคารพสัทธรรม
๓. บุคคลผู้เห็นแก่ลาภ ไม่เคารพสัทธรรม
๔. บุคคลผู้เห็นแก่สักการะ ไม่เคารพสัทธรรม
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวกไหนบ้าง คือ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๕.โรหิตัสสวรรค ๔. ทุติยโกธครุสูตร

๑. บุคคลผู้เคารพสัทธรรม ไม่มักโกรธ
๒. บุคคลผู้เคารพสัทธรรม ไม่มักลบหลู่
๓. บุคคลผู้เคารพสัทธรรม ไม่เห็นแก่ลาภ
๔. บุคคลผู้เคารพสัทธรรม ไม่เห็นแก่สักการะ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
ภิกษุผู้มักโกรธ มักลบหลู่
เห็นแก่ลาภและเห็นแก่สักการะ
ย่อมไม่งอกงามในธรรม
ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว
ส่วนภิกษุผู้เคารพสัทธรรม
ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ย่อมงอกงามในธรรม
ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว

ปฐมโกธครุสูตรที่ ๓ จบ

๔. ทุติยโกธครุสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้มักโกรธ สูตรที่ ๒

[๔๔] ภิกษุทั้งหลาย อสัทธรรม ๔ ประการนี้
อสัทธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความเป็นผู้มักโกรธ ไม่เคารพสัทธรรม
๒. ความเป็นผู้มักลบหลู่ ไม่เคารพสัทธรรม
๓. ความเป็นผู้เห็นแก่ลาภ ไม่เคารพสัทธรรม
๔. ความเป็นผู้เห็นแก่สักการะ ไม่เคารพสัทธรรม
ภิกษุทั้งหลาย อสัทธรรม ๔ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย สัทธรรม ๔ ประการนี้
สัทธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๕.โรหิตัสสวรรค ๕.โรหิตัสสสูตร

๑. ความเป็นผู้เคารพสัทธรรม ไม่เป็นผู้มักโกรธ
๒. ความเป็นผู้เคารพสัทธรรม ไม่เป็นผู้มักลบหลู่
๓. ความเป็นผู้เคารพสัทธรรม ไม่เป็นผู้เห็นแก่ลาภ
๔. ความเป็นผู้เคารพสัทธรรม ไม่เป็นผู้เห็นแก่สักการะ
ภิกษุทั้งหลาย สัทธรรม ๔ ประการนี้แล
ภิกษุผู้มักโกรธ มักลบหลู่
เห็นแก่ลาภและเห็นแก่สักการะ
ย่อมไม่งอกงามในสัทธรรม
เหมือนพืชที่หว่านไว้ในนาไม่ดี
ส่วนภิกษุผู้เคารพสัทธรรม
ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ย่อมงอกงามในธรรม
เหมือนต้นไม้งอกงามเพราะยางเหนียวฉะนั้น

ทุติยโกธครุสูตรที่ ๔ จบ

๕. โรหิตัสสสูตร
ว่าด้วยโรหิตัสสเทพบุตร

[๔๕] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น โรหิตัสสเทพบุตรเมื่อราตรี๑ผ่านไป
มีวรรณะงามยิ่ง ทำพระเชตวันทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์สามารถหรือหนอที่จะทรงรู้ ทรงเห็น หรือ
ทรงถึงที่สุดแห่งโลก๒ที่สัตว์ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติด้วยการไป”


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๕.โรหิตัสสวรรค ๕.โรหิตัสสสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “เทพบุตร เราไม่กล่าวที่สุดแห่งโลกที่สัตว์ไม่เกิด
ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติว่า ‘พึงรู้ พึงเห็น พึงถึงได้’ ด้วยการไป”
โรหิตัสสเทพบุตรกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคย
ปรากฏ พระผู้มีพระภาคตรัสเรื่องนี้ไว้ดียิ่งนักว่า เทพบุตร เราไม่กล่าวที่สุดแห่งโลก
ที่สัตว์ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติว่า ‘พึงรู้ พึงเห็น พึงถึงได้’ ด้วยการไป”
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องเคยมีมาแล้ว ข้าพระองค์เป็นฤๅษีชื่อโรหิตัสสะ
เป็นบุตรของผู้ใหญ่บ้าน มีฤทธิ์ เหาะได้ ความเร็วของข้าพระองค์นั้นเปรียบได้กับ
นายขมังธนู ผู้ยิงธนูแม่นยำ ศึกษามาดีแล้ว ผู้เชี่ยวชาญ ฝึกซ้อมมาดี พึงยิงลูกศร
เบาให้ผ่านเงาตาลด้านขวางไปได้โดยไม่ยากฉะนั้น การย่างเท้าแต่ละก้าวของ
ข้าพระองค์เปรียบได้กับระยะทางจากทะเลด้านตะวันออกถึงทะเลด้านตะวันตกฉะนั้น
ความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘เราจักถึงที่สุดแห่งโลกด้วยการไป’ เกิดแก่ข้าพระองค์นั้น
ผู้เพียบพร้อมด้วยความเร็วและการย่างเท้าอย่างนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์
นั้นแลเว้นจากการกิน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม การถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ
การหลับ และการบรรเทาความเหน็ดเหนื่อย มีอายุ ๑๐๐ ปี ดำรงชีพอยู่ได้ตั้ง ๑๐๐
ปี ดำเนินไปได้ตั้ง ๑๐๐ ปี ยังไม่ถึงที่สุดแห่งโลกก็ตายเสียก่อนในระหว่างทาง
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ พระผู้มีพระภาคตรัส
เรื่องนี้ไว้ดียิ่งนักว่า เทพบุตร เราไม่กล่าวที่สุดแห่งโลกที่สัตว์ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย
ไม่จุติ ไม่อุบัติว่า ‘พึงรู้ พึงเห็น พึงถึงได้’ ด้วยการไป
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เทพบุตร เราไม่กล่าวที่สุดแห่งโลกที่สัตว์ไม่เกิด ไม่แก่
ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติว่า ‘พึงรู้ พึงเห็น พึงถึงได้’ ด้วยการไป เราไม่กล่าวว่า
การที่บุคคลยังไม่ถึงที่สุดแห่งโลกจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
อนึ่ง เราบัญญัติโลก๑ ความเกิดแห่งโลก๒ ความดับแห่งโลก๓ และข้อปฏิบัติ
ให้ถึงความดับแห่งโลก๔ ในร่างกายที่มีประมาณวาหนึ่ง มีสัญญา มีใจนี้เอง”


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๕.โรหิตัสสวรรค ๖.ทุติยโรหิตัสสสูตร

ไม่ว่าในเวลาไหน ที่สุดแห่งโลก
ใครก็ถึงไม่ได้ด้วยการไป
และเมื่อยังไม่ถึงที่สุดแห่งโลก
ย่อมไม่มีการเปลื้องตนจากทุกข์
เพราะเหตุนั้นแล ผู้รู้แจ้งโลก มีปัญญาดี
ถึงที่สุดแห่งโลก อยู่จบพรหมจรรย์
สงบระงับ รู้ที่สุดแห่งโลก
ย่อมไม่หวังทั้งโลกนี้และโลกหน้า

โรหิตัสสสูตรที่ ๕ จบ

๖. ทุติยโรหิตัสสสูตร
ว่าด้วยโรหิตัสสเทพบุตร สูตรที่ ๒

[๔๖] ครั้นราตรีนั้นผ่านไปแล้ว พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมา
ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย คืนนี้ เมื่อราตรีผ่านไป โรหิตัสสเทพบุตรมีวรรณะงามยิ่ง
ทำพระเชตวันทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้ามาหาเราถึงที่อยู่ ยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้ถาม
เราดังนี้ว่า
‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์สามารถหรือหนอที่จะทรงรู้ ทรงเห็น หรือทรง
ถึงที่สุดแห่งโลกที่สัตว์ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติด้วยการไป ภิกษุทั้งหลาย
เมื่อเทพบุตรกล่าวอย่างนี้ เราจึงได้กล่าวกับเขาว่า
เทพบุตร เราไม่กล่าวที่สุดแห่งโลกที่สัตว์ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่
อุบัติว่า ‘พึงรู้ พึงเห็น พึงถึงได้’ ด้วยการไป ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรากล่าวอย่างนี้แล้ว
โรหิตัสสเทพบุตรได้กล่าวกับเราดังนี้ว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ พระผู้มีพระภาคตรัส
เรื่องนี้ไว้ดียิ่งนักว่า เทพบุตร เราไม่กล่าวที่สุดแห่งโลกที่สัตว์ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย
ไม่จุติ ไม่อุบัติว่า ‘พึงรู้ พึงเห็น พึงถึงได้’ ด้วยการไป
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องเคยมีมาแล้ว ข้าพระองค์เป็นฤๅษีชื่อโรหิตัสสะ
เป็นบุตรของผู้ใหญ่บ้าน มีฤทธิ์ เหาะได้ ความเร็วของข้าพระองค์นั้นเปรียบได้กับ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๕.โรหิตัสสวรรค ๖.ทุติยโรหิตัสสสูตร

นายขมังธนูผู้ยิงธนูแม่นยำ ศึกษามาดีแล้ว ผู้เชี่ยวชาญ ฝึกซ้อมมาดี พึงยิงลูกศรเบา
ให้ผ่านเงาตาลด้านขวางไปได้โดยไม่ยากฉะนั้น การย่างเท้าแต่ละก้าวของข้าพระองค์
เปรียบได้กับระยะทางจากทะเลด้านตะวันออกถึงทะเลด้านตะวันตกฉะนั้น ความ
ปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘เราจักถึงที่สุดแห่งโลกด้วยการไป’ เกิดแก่ข้าพระองค์นั้นผู้
เพียบพร้อมด้วยความเร็วและการย่างเท้าอย่างนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์
นั้นแลเว้นจากการกิน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม การถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ
การหลับ และการบรรเทาความเหน็ดเหนื่อย มีอายุ ๑๐๐ ปี ดำรงชีพอยู่ได้ตั้ง ๑๐๐
ปี ดำเนินไปได้ตั้ง ๑๐๐ ปี ยังไม่ถึงที่สุดแห่งโลกก็ตายเสียก่อนในระหว่างทาง
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ พระผู้มีพระภาคตรัส
เรื่องนี้ไว้ดียิ่งนักว่า เทพบุตร เราไม่กล่าวที่สุดแห่งโลกที่สัตว์ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย
ไม่จุติ ไม่อุบัติว่า ‘พึงรู้ พึงเห็น พึงถึงได้’ ด้วยการไป ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเขา
กล่าวอย่างนี้ เราจึงกล่าวกับเทพบุตรนั้นดังนี้ว่า
เทพบุตร เราไม่กล่าวที่สุดแห่งโลกที่สัตว์ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติว่า
‘พึงรู้ พึงเห็น พึงถึงได้’ ด้วยการไป และเราไม่กล่าวว่าการที่บุคคลยังไม่ถึง ที่สุด
แห่งโลกจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
อนึ่ง เราบัญญัติโลก ความเกิดแห่งโลก ความดับแห่งโลก และข้อปฏิบัติให้
ถึงความดับแห่งโลก ในร่างกายที่มีประมาณวาหนึ่ง มีสัญญา มีใจนี้เอง”
ไม่ว่าในเวลาไหน ที่สุดแห่งโลก
ใครก็ถึงไม่ได้ด้วยการไป
และเมื่อยังไม่ถึงที่สุดแห่งโลก
ย่อมไม่มีการเปลื้องตนจากทุกข์
เพราะเหตุนั้นแล ผู้รู้แจ้งโลก มีปัญญาดี
ถึงที่สุดแห่งโลก อยู่จบพรหมจรรย์
สงบระงับ รู้ที่สุดแห่งโลก
ย่อมไม่หวังทั้งโลกนี้และโลกหน้า

ทุติยโรหิตัสสสูตรที่ ๖ จบ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๕.โรหิตัสสวรรค ๗.สุวิทูรสูตร

๗. สุวิทูรสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่อยู่ห่างไกลกันเหลือเกิน

[๔๗] ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่อยู่ห่างไกลกันเหลือเกิน ๔ อย่างนี้
สิ่งที่อยู่ห่างไกลกันเหลือเกิน ๔ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ท้องฟ้ากับแผ่นดิน นี้เป็นสิ่งที่อยู่ห่างไกลกันเหลือเกินอย่างที่ ๑
๒. ฝั่งนี้กับฝั่งโน้นของทะเล นี้เป็นสิ่งที่อยู่ห่างไกลกันเหลือเกินอย่างที่ ๒
๓. จุดที่ดวงอาทิตย์ขึ้นกับจุดที่ดวงอาทิตย์ตก นี้เป็นสิ่งที่อยู่ห่างไกลกัน
เหลือเกินอย่างที่ ๓
๔. ธรรมของสัตบุรุษ(คนดี)กับธรรมของอสัตบุรุษ(คนชั่ว) นี้เป็นสิ่งที่อยู่
ห่างไกลกันเหลือเกินอย่างที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่อยู่ห่างไกลกันเหลือเกิน ๔ อย่างนี้แล
นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่า
ฟ้ากับดินอยู่ไกลกัน
ฝั่ง(ทั้งสอง)ของทะเลอยู่ไกลกัน
จุดที่ดวงอาทิตย์ขึ้นและตกก็อยู่ไกลกัน
บัณฑิตกล่าวว่า ธรรมของสัตบุรุษ
กับธรรมของอสัตบุรุษอยู่ไกลยิ่งกว่านั้น
สมาคมของสัตบุรุษยั่งยืนนาน
ดำรงอยู่ตราบนานเท่านาน
ส่วนสมาคมของอสัตบุรุษย่อมจืดจางเร็ว
เพราะฉะนั้น ธรรมของสัตบุรุษ
จึงห่างไกลจากธรรมของอสัตบุรุษ

สุวิทูรสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๕.โรหิตัสสวรรค ๘. วิสาขสูตร

๘. วิสาขสูตร
ว่าด้วยการแสดงธรรมของวิสาขปัญจาลิบุตร

[๔๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ท่านวิสาขปัญจาลิบุตรชี้แจง
ให้ภิกษุทั้งหลายในหอฉันเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญ
แกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา ด้วยวาจาชาวเมืองที่
สละสลวย ไม่หยาบคาย ให้รู้ความหมายได้ เกี่ยวเนื่องกับนิพพาน ไม่อิงอาศัย
วัฏฏะ ครั้นในเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้นเข้าไปยังหอฉัน
ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว ได้ตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ใครหนอชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายในหอฉันเห็นชัด ชวนใจให้
อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วย
ธรรมีกถา ด้วยวาจาชาวเมืองที่สละสลวย ไม่หยาบคาย ให้รู้ความหมายได้
เกี่ยวเนื่องกับนิพพาน ไม่อิงอาศัยวัฏฏะ”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้จริญ ท่านวิสาขปัญจาลิบุตร
ชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายในหอฉันเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้
อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา ด้วยวาจาชาว
เมืองที่สละสลวย ไม่หยาบคาย ให้รู้ความหมายได้ เกี่ยวเนื่องกับนิพพาน ไม่
อิงอาศัยวัฏฏะ”
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านวิสาขปัญจาลิบุตรดังนี้ว่า “ดีจริง
ดีจริง วิสาขะ ดีเหลือเกินที่เธอชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอา
ไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา
ด้วยวาจาชาวเมืองที่สละสลวย ไม่หยาบคาย ให้รู้ความหมายได้ เกี่ยวเนื่องกับ
นิพพาน ไม่อิงอาศัยวัฏฏะ”
บุคคลผู้ไม่พูด
ชนทั้งหลายย่อมไม่รู้ว่าเป็นคนพาลหรือบัณฑิต
ส่วนบุคคลผู้ที่พูด
ชนทั้งหลายย่อมรู้ว่าเป็นผู้แสดงอมตธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๕.โรหิตัสสวรรค ๙.วิปัลลาสสูตร

บุคคลพึงประกาศ เชิดชู
ยกย่องธรรม๑ซึ่งเป็นธงชัยของฤๅษี
ฤๅษีทั้งหลายมีสุภาษิตเป็นธงชัย
ธรรมเป็นธงชัยของฤๅษี

วิสาขสูตรที่ ๘ จบ

๙. วิปัลลาสสูตร
ว่าด้วยวิปลาส

[๔๙] ภิกษุทั้งหลาย สัญญาวิปลาส๒ จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาส ๔ ประการนี้
สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาส ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาสในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง
๒. สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาสในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข
๓. สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาสในสิ่งที่เป็นอนัตตาว่าเป็น
อัตตา
๔. สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาสในสิ่งที่ไม่งามว่างาม
ภิกษุทั้งหลาย สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาส ๔ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย สัญญาไม่วิปลาส จิตไม่วิปลาส ทิฏฐิไม่วิปลาส ๔ ประการนี้
สัญญาไม่วิปลาส จิตไม่วิปลาส ทิฏฐิไม่วิปลาส ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัญญาไม่วิปลาส จิตไม่วิปลาส ทิฏฐิไม่วิปลาสในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่า
ไม่เที่ยง
๒. สัญญาไม่วิปลาส จิตไม่วิปลาส ทิฏฐิไม่วิปลาสในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่า
เป็นทุกข์


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๕.โรหิตัสสวรรค ๙.วิปัลลาสสูตร

๓. สัญญาไม่วิปลาส จิตไม่วิปลาส ทิฏฐิไม่วิปลาสในสิ่งที่เป็นอนัตตา
ว่าเป็นอนัตตา
๔. สัญญาไม่วิปลาส จิตไม่วิปลาส ทิฏฐิไม่วิปลาสในสิ่งที่ไม่งามว่า
ไม่งาม
ภิกษุทั้งหลาย สัญญาไม่วิปลาส จิตไม่วิปลาส ทิฏฐิไม่วิปลาส ๔ ประการ
นี้แล
เหล่าสัตว์ผู้ถูกมิจฉาทิฏฐิทำลาย
มีจิตซัดส่าย สำคัญผิด
หมายรู้ในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง
หมายรู้ในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข
หมายรู้ในสิ่งที่เป็นอนัตตาว่าเป็นอัตตา
หมายรู้ในสิ่งที่ไม่งามว่างาม
สัตว์เหล่านั้นชื่อว่าติดอยู่ในเครื่องประกอบของมาร
ไม่มีความเกษมจากโยคะ
ประสบกับความเกิดและความตาย
ท่องเที่ยวไปสู่สังสารวัฏ
ก็ในกาลใดพระพุทธเจ้า
ผู้จุดประกายให้แสงสว่าง เสด็จอุบัติขึ้นในโลก
ในกาลนั้นพระองค์ย่อมประกาศธรรม๑นี้
ที่ให้สัตว์ถึงความดับทุกข์
สัตว์เหล่านั้นผู้มีปัญญา
ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น
กลับได้ความคิดเป็นของตนเอง


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๕.โรหิตัสสวรรค ๑๐.อุปักกิเลสสูตร

ได้เห็นสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าไม่เที่ยง
ได้เห็นสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นทุกข์
ได้เห็นสิ่งที่เป็นอนัตตาว่าเป็นอนัตตา
ได้เห็นสิ่งที่ไม่งามว่าเป็นของไม่งาม
ยึดถือสัมมาทิฏฐิ พ้นทุกข์ทั้งหมดได้

วิปัลลาสสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. อุปักกิเลสสูตร
ว่าด้วยสิ่งมัวหมอง

[๕๐] ภิกษุทั้งหลาย สิ่งมัวหมองที่เป็นเหตุให้ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์มัวหมอง
ไม่ส่องแสง ไม่สว่าง ไม่รุ่งเรือง ๔ ประการนี้
สิ่งมัวหมอง ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เมฆเป็นสิ่งมัวหมอง ที่เป็นเหตุให้ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์มัวหมอง
ไม่ส่องแสง ไม่สว่าง ไม่รุ่งเรือง
๒. หมอกเป็นสิ่งมัวหมอง ที่เป็นเหตุให้ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์มัวหมอง
ไม่ส่องแสง ไม่สว่าง ไม่รุ่งเรือง
๓. ควันและฝุ่นละอองเป็นสิ่งมัวหมอง ที่เป็นเหตุให้ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์
มัวหมอง ไม่ส่องแสง ไม่สว่าง ไม่รุ่งเรือง
๔. ราหูผู้เป็นจอมอสูรเป็นสิ่งมัวหมอง ที่เป็นเหตุให้ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์
มัวหมอง ไม่ส่องแสง ไม่สว่าง ไม่รุ่งเรือง
ภิกษุทั้งหลาย สิ่งมัวหมองที่เป็นเหตุให้ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์มัวหมอง ไม่
ส่องแสง ไม่สว่าง ไม่รุ่งเรือง ๔ ประการนี้แล
เช่นเดียวกันแล อุปกิเลสที่เป็นเหตุให้สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมัวหมอง ไม่สง่า
ไม่ผ่องใส ไม่รุ่งเรือง ๔ ประการนี้
อุปกิเลส ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๕.โรหิตัสสวรรค ๑๐.อุปักกิเลสสูตร

๑. สมณพราหมณ์พวกหนึ่งดื่มสุราและเมรัย ไม่เว้นขาดจากการดื่ม
สุราและเมรัย นี้เป็นอุปกิเลสที่เป็นเหตุให้สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง
มัวหมอง ไม่สง่า ไม่ผ่องใส ไม่รุ่งเรือง ประการที่ ๑
๒. สมณพราหมณ์พวกหนึ่งเสพเมถุนธรรม ไม่เว้นขาดจากการเสพ
เมถุนธรรม นี้เป็นอุปกิเลสที่เป็นเหตุให้สมณพราหมณ์มัวหมอง ไม่สง่า
ไม่ผ่องใส ไม่รุ่งเรือง ประการที่ ๒
๓. สมณพราหมณ์พวกหนึ่งยินดีทองและเงิน ไม่เว้นขาดจากการรับทอง
และเงิน นี้เป็นอุปกิเลสที่เป็นเหตุให้สมณพราหมณ์มัวหมอง ไม่สง่า
ไม่ผ่องใส ไม่รุ่งเรือง ประการที่ ๓
๔. สมณพราหมณ์พวกหนึ่งดำเนินชีวิตด้วยมิจฉาชีพ ไม่เว้นขาดจาก
มิจฉาชีพ นี้เป็นอุปกิเลสที่เป็นเหตุให้สมณพราหมณ์มัวหมอง ไม่
สง่า ไม่ผ่องใส ไม่รุ่งเรือง ประการที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย อุปกิเลสที่เป็นเหตุให้สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมัวหมอง ไม่สง่า
ไม่ผ่องใส ไม่รุ่งเรือง ๔ ประการนี้แล
สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง
ถูกราคะและโทสะปกคลุม
ถูกอวิชชาหุ้มห่อ ยินดีรูปที่น่ารัก
ดื่มสุราและเมรัย เสพเมถุน
เป็นคนมืดบอด ยินดีทองและเงิน
สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง
ดำเนินชีวิตด้วยมิจฉาชีพ
พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์
ตรัสอุปกิเลสที่เป็นเหตุให้สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง
มัวหมอง ไม่สง่า ไม่ผ่องใส
เป็นที่รู้กันว่าไม่บริสุทธิ์
มีธุลี ถูกความมืดปกคลุม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์]
๕.โรหิตัสสวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

เป็นทาสแห่งตัณหา ถูกตัณหาชักนำ
ให้อัตภาพหยาบเจริญเติบโต
ย่อมยินดีการเกิดใหม่

อุปักกิเลสสูตรที่ ๑๐ จบ
โรหิตัสสวรรคที่ ๕ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สมาธิภาวนาสูตร ๒. ปัญหพยากรณสูตร
๓. ปฐมโกธครุสูตร ๔. ทุติยโกธครุสูตร
๕. โรหิตัสสสูตร ๖. ทุติยโรหิตัสสสูตร
๗. สุวิทูรสูตร ๘. วิสาขสูตร
๙. วิปัลลาสสูตร ๑๐. อุปักกิเลสสูตร

ปฐมปัณณาสก์ จบ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๑.ปุญญาภิสันทวรรค ๑. ปฐมปุญญาภิสันทสูตร

๒. ทุติยปัณณาสก์
๑. ปุญญาภิสันทวรรค
หมวดว่าด้วยห้วงบุญกุศล
๑. ปฐมปุญญาภิสันทสูตร
ว่าด้วยห้วงบุญกุศล สูตรที่ ๑

[๕๑] (เหตุเกิดที่เมืองสาวัตถี) ภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญกุศล๑ ๔ ประการนี้
นำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ เป็นไปเพื่อ
เกื้อกูล เพื่อสุขที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ห้วงบุญกุศล ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุใช้สอยจีวรของทายกใด บรรลุเจโตสมาธิที่ประมาณไม่ได้อยู่
ห้วงบุญกุศลของทายกนั้น ประมาณไม่ได้ นำสุขมาให้ เป็นไป
เพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล
เพื่อสุขที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
๒. ภิกษุฉันบิณฑบาตของทายกใด ฯลฯ
๓. ภิกษุใช้สอยเสนาสนะของทายกใด ฯลฯ
๔. ภิกษุบริโภคคิลานปัจจัยเภสัชชบริขารของทายกใด บรรลุเจโตสมาธิ
ที่ประมาณไม่ได้อยู่ ห้วงบุญกุศลของทายกนั้นประมาณไม่ได้ นำสุข
มาให้ เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์
เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุข ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญกุศล ๔ ประการนี้แลนำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อให้ได้
อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๑.ปุญญาภิสันทวรรค ๑. ปฐมปุญญาภิสันทสูตร

การที่จะกำหนดประมาณบุญของอริยสาวกผู้ประกอบด้วยห้วงบุญกุศล ๔ ประการ
นี้ว่า “ห้วงบุญกุศลมีประมาณเท่านี้นำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุขเป็น
ผล ให้เกิดในสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ” ดังนี้
ไม่ใช่จะทำได้ง่าย แท้จริง ห้วงบุญกุศลนี้ย่อมถึงการนับว่า ‘เป็นกองบุญใหญ่ ที่
นับไม่ได้ ประมาณไม่ได้เลย’
การกำหนดประมาณของน้ำในมหาสมุทรว่า “น้ำมีปริมาณเท่านี้อาฬหกะ
น้ำมีปริมาณเท่านี้ ๑๐๐ อาฬหกะ น้ำมีปริมาณเท่านี้ ๑,๐๐๐ อาฬหกะ หรือน้ำมี
ปริมาณเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ อาฬหกะ” ดังนี้ ไม่ใช่จะทำได้ง่าย แท้จริง ประมาณ
ของน้ำในมหาสมุทรนั้น ย่อมถึงการนับว่า ‘เป็นห้วงน้ำใหญ่ ที่นับไม่ได้ ประมาณ
ไม่ได้เลย’ แม้ฉันใด
การที่จะกำหนดประมาณบุญของอริยสาวกผู้ประกอบด้วยห้วงบุญกุศล ๔ ประการ
นี้ว่า “ห้วงบุญกุศลมีประมาณเท่านี้นำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุข
เป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ”
ดังนี้ ไม่ใช่จะทำได้ง่าย แท้จริง ห้วงบุญกุศลนี้ย่อมถึงการนับว่า ‘เป็นกองบุญใหญ่
ที่นับไม่ได้ ประมาณไม่ได้เลย’ ฉันนั้นเหมือนกันแล
แม่น้ำหลายสายคับคั่งไปด้วยหมู่ปลา
ไหลบ่าไปยังมหาสมุทรอันเป็นที่ขังน้ำขนาดใหญ่
ประมาณไม่ได้ มีสิ่งที่น่ากลัวมาก๑
เป็นแหล่งรัตนะชั้นเยี่ยมฉันใด
สายธารแห่งบุญย่อมหลั่งไหลไปสู่นรชนผู้เป็นบัณฑิต
ผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า ที่นอน ที่นั่ง และเครื่องปูลาด
เปรียบเหมือนแม่น้ำคือห้วงน้ำไหลไปยังมหาสมุทรฉันนั้น๒

ปฐมปุญญาภิสันทสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๑.ปุญญาภิสันทวรรค ๒.ทุติยปุญญาภิสันทสูตร

๒. ทุติยปุญญาภิสันทสูตร
ว่าด้วยห้วงบุญกุศล สูตรที่ ๒

[๕๒] ภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญกุศล ๔๑ อย่างนี้นำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อให้ได้
อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ
ห้วงบุญกุศล ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวใน
พระพุทธเจ้าว่า “แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็น
พระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชา
และจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่าง
ยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า
เป็นพระผู้มีพระภาค”๒ ภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญกุศล ประการที่ ๑
นี้นำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุขเป็นผลให้เกิดในสวรรค์
เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
๒. อริยสาวกประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า
“พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึง
เห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล๓ ควรเรียกให้มาดู ควรน้อม
เข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญกุศล
ประการที่ ๒ นี้นำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล
ให้เกิดในสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่าปรารถนา น่าใคร่
น่าพอใจ
๓. อริยสาวกประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า
“พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๑.ปุญญาภิสันทวรรค ๒.ทุติยปุญญาภิสันทสูตร

ถูกทาง ปฏิบัติสมควร ได้แก่ อริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย
ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็น
นาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก” ภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญกุศลประการ
ที่ ๓ นี้นำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล ให้เกิดใน
สวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
๔. อริยสาวกประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ๑ ที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง
ไม่พร้อย เป็นไท ท่านผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ
เป็นไปเพื่อสมาธิ ภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญกุศลประการที่ ๔ นี้นำสุข
มาให้ เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์
เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญกุศล ๔ ประการนี้แลนำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อให้ได้
อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ
ผู้ใดมีศรัทธาในตถาคตตั้งมั่นไม่หวั่นไหว
มีศีลงาม เป็นศีลที่พระอริยะชอบใจ(และ)สรรเสริญ
มีความเลื่อมใสในพระสงฆ์ และมีความเห็นตรง๒
บัณฑิตทั้งหลายเรียกผู้นั้นว่า เป็นคนไม่ขัดสน
ชีวิตของเขาก็ไม่สูญเปล่า
เพราะฉะนั้น ผู้มีปัญญาเมื่อระลึกถึง
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ควรหมั่นประกอบ
ศรัทธา ศีล ความเลื่อมใส๓และการเห็นธรรม๔

ทุติยปุญญาภิสันทสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๑.ปุญญาภิสันทวรรค ๓.ปฐมสังวาสสูตร

๓. ปฐมสังวาสสูตร
ว่าด้วยการอยู่ร่วมกัน สูตรที่ ๑

[๕๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จทางไกลระหว่างเมืองมธุรากับเมือง
เวรัญชา คหบดีและคหปตานีเป็นจำนวนมากก็ได้เดินทางไกลระหว่างเมืองมธุรา
กับเมืองเวรัญชา สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จลงข้างทาง ประทับนั่งที่โคนต้นไม้
ต้นหนึ่ง คหบดีและคหปตานีเหล่านั้นได้เห็นพระผู้มีพระภาคประทับนั่งที่โคนต้นไม้
ต้นหนึ่ง จึงพากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ
ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับคหบดีและคหปตานีเหล่านั้นดังนี้ว่า
คหบดีและคหปตานี การอยู่ร่วมกัน ๔ ประการนี้
การอยู่ร่วมกัน ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สามีผีอยู่ร่วมกับภรรยาผี
๒. สามีผีอยู่ร่วมกับภรรยาเทวดา
๓. สามีเทวดาอยู่ร่วมกับภรรยาผี
๔. สามีเทวดาอยู่ร่วมกับภรรยาเทวดา
สามีผีอยู่ร่วมกับภรรยาผี เป็นอย่างไร
คือ สามีในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ
เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย๑อันเป็นเหตุแห่งความประมาท เป็นผู้ทุศีล มีธรรม
เลวทราม มีใจถูกความตระหนี่อันเป็นมลทินครอบงำ ด่าและติเตียนสมณพราหมณ์
อยู่ครองเรือน แม้ภรรยาของเขาก็เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม
พูดเท็จ เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท เป็นผู้ทุศีล
มีธรรมเลวทราม มีใจถูกความตระหนี่อันเป็นมลทินครอบงำ ด่าและติเตียนสมณ
พราหมณ์ อยู่ครองเรือน สามีผีอยู่ร่วมกับภรรยาผี เป็นอย่างนี้แล


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๑.ปุญญาภิสันทวรรค ๓.ปฐมสังวาสสูตร

สามีผีอยู่ร่วมกับภรรยาเทวดา เป็นอย่างไร
คือ สามีในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็น
เหตุแห่งความประมาท เป็นผู้ทุศีล มีธรรมเลวทราม มีใจถูกความตระหนี่อันเป็น
มลทินครอบงำ ด่าและติเตียนสมณพราหมณ์ อยู่ครองเรือน ส่วนภรรยาของเขา
เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการประพฤติ
ผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและ
เมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม มีใจปราศจาก
ความตระหนี่อันเป็นมลทิน ไม่ด่าและไม่ติเตียนสมณพราหมณ์ อยู่ครองเรือน
สามีผีอยู่ร่วมกับภรรยาเทวดา เป็นอย่างนี้แล
สามีเทวดาอยู่ร่วมกับภรรยาผี เป็นอย่างไร
คือ สามีในโลกนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้น
ขาดจากการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากการเสพของ
มึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม
มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน ไม่ด่าและไม่ติเตียนสมณพราหมณ์ อยู่
ครองเรือน ส่วนภรรยาของเขาเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย
อันเป็นเหตุแห่งความประมาท เป็นผู้ทุศีล มีธรรมเลวทราม มีใจถูกความตระหนี่
อันเป็นมลทินครอบงำ ด่าและติเตียนสมณพราหมณ์ สามีเทวดาอยู่ร่วมกับภรรยาผี
เป็นอย่างนี้แล
สามีเทวดาอยู่ร่วมกับภรรยาเทวดา เป็นอย่างไร
คือ สามีในโลกนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ เว้นขาดจากการเสพของ
มึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม
มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน ไม่ด่าและไม่ติเตียนสมณพราหมณ์ แม้
ภรรยาของเขาก็เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ เว้นขาดจากการเสพของมึนเมา
คือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม มีใจ
ปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน ไม่ด่าและไม่ติเตียนสมณพราหมณ์ สามีเทวดา
อยู่ร่วมกับภรรยาเทวดา เป็นอย่างนี้แล
คหบดีและคหปตานี การอยู่ร่วมกัน ๔ อย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๑.ปุญญาภิสันทวรรค ๓.ปฐมสังวาสสูตร

สามีและภรรยาทั้ง ๒ ฝ่ายเป็นผู้ทุศีล
ตระหนี่ ชอบด่าว่าสมณพราหมณ์
ชื่อว่าเป็นผีมาอยู่ร่วมกัน
สามีเป็นผู้ทุศีล
ตระหนี่ ชอบด่าว่าสมณพราหมณ์
ส่วนภรรยาเป็นผู้มีศีล
รู้ความประสงค์ของผู้ขอ๑ ปราศจากความตระหนี่
ภรรยานั้นชื่อว่าเป็นเทวดาอยู่ร่วมกับสามีผี
สามีเป็นผู้มีศีล
รู้ความประสงค์ของผู้ขอ ปราศจากความตระหนี่
ส่วนภรรยาเป็นผู้ทุศีล
ตระหนี่ ชอบด่าว่าสมณพราหมณ์
ภรรยานั้นชื่อว่าเป็นผีอยู่ร่วมกับสามีเทวดา
ส่วนสามีและภรรยาทั้ง ๒ ฝ่าย
เป็นผู้มีศรัทธา รู้ความประสงค์ของผู้ขอ
สำรวมระวัง ดำเนินชีวิตโดยธรรม
เจรจาคำไพเราะอ่อนหวานต่อกัน
มีความเจริญรุ่งเรือง มีความผาสุก
มีความประพฤติเสมอกันทั้ง ๒ ฝ่าย
รักใคร่ ไม่คิดร้ายต่อกัน
ทั้ง ๒ ฝ่ายประพฤติธรรมในโลกนี้
มีศีลและวัตรเสมอกัน เสวยอารมณ์ที่น่าใคร่
ย่อมเพลิดเพลินบันเทิงใจในเทวโลก

ปฐมสังวาสสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๑.ปุญญาภิสันทวรรค ๔.ทุติยสังวาสสูตร

๔. ทุติยสังวาสสูตร
ว่าด้วยการอยู่ร่วมกัน สูตรที่ ๒

[๕๔] ภิกษุทั้งหลาย การอยู่ร่วมกัน ๔ ประการนี้
การอยู่ร่วมกัน ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สามีผีอยู่ร่วมกับภรรยาผี
๒. สามีผีอยู่ร่วมกับภรรยาเทวดา
๓. สามีเทวดาอยู่ร่วมกับภรรยาผี
๔. สามีเทวดาอยู่ร่วมกับภรรยาเทวดา
สามีผีอยู่ร่วมกับภรรยาผี เป็นอย่างไร
คือ สามีในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูด
ส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ เพ่งเล็งอยากได้ของเขา มีจิตพยาบาท เป็น
มิจฉาทิฏฐิ เป็นผู้ทุศีล มีธรรมเลวทราม มีใจถูกความตระหนี่อันเป็นมลทินครอบงำ
ด่าและติเตียนสมณพราหมณ์ อยู่ครองเรือน แม้ภรรยาของเขาก็เป็นผู้ฆ่าสัตว์
ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ
เพ่งเล็งอยากได้ของเขา มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นผู้ทุศีล มีธรรมเลวทราม
มีใจถูกความตระหนี่อันเป็นมลทินครอบงำ ด่าและติเตียนสมณพราหมณ์ อยู่ครอง
เรือน สามีผีอยู่ร่วมกับภรรยาผี เป็นอย่างนี้แล
สามีผีอยู่ร่วมกับภรรยาเทวดา เป็นอย่างไร
คือ สามีในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ฯลฯ มีใจถูกความตระหนี่อันเป็น
มลทินครอบงำ ด่าและติเตียนสมณพราหมณ์อยู่ครองเรือน ส่วนภรรยาของเขา
เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการประพฤติ
ผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด เว้นขาดจากการ
พูดคำหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา มีจิตไม่พยาบาท
เป็นสัมมาทิฏฐิ เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็น
มลทิน ไม่ด่าและไม่ติเตียนสมณพราหมณ์ อยู่ครองเรือน สามีผีอยู่ร่วมกับภรรยา
เทวดา เป็นอย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๑.ปุญญาภิสันทวรรค ๔.ทุติยสังวาสสูตร

สามีเทวดาอยู่ร่วมกับภรรยาผี เป็นอย่างไร
คือ สามีในโลกนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาด
จากการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด
เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา
มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม มีใจปราศจากความ
ตระหนี่อันเป็นมลทิน ไม่ด่าและไม่ติเตียนสมณพราหมณ์ อยู่ครองเรือน ส่วนภรรยา
ของเขา เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ มีใจถูกความตระหนี่อันเป็นมลทินครอบงำ ด่าและติเตียน
สมณพราหมณ์ อยู่ครองเรือน สามีเทวดาอยู่ร่วมกับภรรยาผี เป็นอย่างนี้แล
สามีเทวดาอยู่ร่วมกับภรรยาเทวดา เป็นอย่างไร
คือ สามีในโลกนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ มีใจปราศจากความ
ตระหนี่อันเป็นมลทิน ไม่ด่าและไม่ติเตียนสมณพราหมณ์ อยู่ครองเรือน แม้ภรรยา
ของเขาก็เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ไม่ด่าและไม่ติเตียนสมณพราหมณ์
สามีเทวดาอยู่ร่วมกับภรรยาเทวดา เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย การอยู่ร่วมกัน ๔ ประการนี้แล
สามีและภรรยาทั้ง ๒ ฝ่ายเป็นผู้ทุศีล
ตระหนี่ ชอบด่าว่าสมณพราหมณ์
ชื่อว่าเป็นผีมาอยู่ร่วมกัน
สามีเป็นผู้ทุศีล
ตระหนี่ ชอบด่าว่าสมณพราหมณ์
ส่วนภรรยาเป็นผู้มีศีล
รู้ความประสงค์ของผู้ขอ ปราศจากความตระหนี่
ภรรยานั้นชื่อว่าเป็นเทวดาอยู่ร่วมกับสามีผี
สามีเป็นผู้มีศีล
รู้ความประสงค์ของผู้ขอ ปราศจากความตระหนี่
ส่วนภรรยาเป็นผู้ทุศีล
ตระหนี่ ชอบด่าว่าสมณพราหมณ์
ภรรยานั้นชื่อว่าเป็นผีอยู่ร่วมกับสามีเทวดา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๑.ปุญญาภิสันทวรรค ๕.ปฐมสมชีวีสูตร

สามีและภรรยาทั้ง ๒ ฝ่าย
เป็นผู้มีศรัทธา รู้ความประสงค์ของผู้ขอ
สำรวมระวัง ดำเนินชีวิตโดยธรรม
เจรจาคำไพเราะอ่อนหวานต่อกัน
มีความเจริญรุ่งเรือง มีความผาสุก
มีความประพฤติเสมอกันทั้ง ๒ ฝ่าย
รักใคร่ ไม่คิดร้ายต่อกัน
ทั้ง ๒ ฝ่ายประพฤติธรรมในโลกนี้
มีศีลและวัตรเสมอกัน เสวยอารมณ์ที่น่าใคร่
ย่อมเพลิดเพลินบันเทิงใจในเทวโลก

ทุติยสังวาสสูตรที่ ๔ จบ

๕. ปฐมสมชีวีสูตร
ว่าด้วยผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่เสมอกัน สูตรที่ ๑

[๕๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่เภสกฬามฤคทายวัน เขตกรุงสุงสุมารคีระ๑
แคว้นภัคคะ ครั้นในเวลาเช้าพระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร
เสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของนกุลปิตาคหบดี ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว
ลำดับนั้น นกุลปิตาคหบดีและนกุลมาตาคหปตานี๒พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นับแต่เวลาที่ข้าพระองค์นำนกุลมาตาคหปตานีมา
ข้าพระองค์ไม่เคยคิดที่จะประพฤตินอกใจนกุลมาตาคหปตานี ไหนเลยจะประพฤติ
นอกใจด้วยกายเล่า พวกข้าพระองค์ปรารถนาที่จะพบกันทั้งในชาตินี้และชาติหน้า”


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๑.ปุญญาภิสันทวรรค ๖. ทุติยสมชีวีสูตร

แม้นกุลมาตาคหปตานีก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ นับแต่เวลาที่นกุลปิตาคหบดีหนุ่มนำหม่อมฉันผู้ยังเป็นสาวมา หม่อมฉัน
ไม่เคยคิดที่จะประพฤตินอกใจนกุลปิตาคหบดี ไหนเลยจะประพฤตินอกใจด้วยกาย
เล่า พวกข้าพระองค์ปรารถนาที่จะพบกันทั้งในชาตินี้และชาติหน้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “คหบดีและคหปตานี ถ้าสามีและภรรยาทั้ง ๒ ฝ่าย
หวังจะพบกันทั้งในชาตินี้และชาติหน้า ทั้ง ๒ ฝ่ายพึงมีศรัทธาเสมอกัน มีศีลเสมอ
กัน มีจาคะเสมอกัน มีปัญญาเสมอกัน สามีและภรรยาทั้ง ๒ ฝ่ายนั้นย่อมได้
พบกันทั้งในชาตินี้และชาติหน้า”
สามีและภรรยาทั้ง ๒ ฝ่าย
เป็นผู้มีศรัทธา รู้ความประสงค์ของผู้ขอ
สำรวมระวัง ดำเนินชีวิตโดยธรรม
เจรจาคำไพเราะอ่อนหวานต่อกัน
มีความเจริญรุ่งเรือง มีความผาสุก
มีความประพฤติเสมอกันทั้ง ๒ ฝ่าย
รักใคร่ ไม่คิดร้ายต่อกัน
ทั้ง ๒ ฝ่าย ประพฤติธรรมในโลกนี้
มีศีลและวัตรเสมอกัน เสวยอารมณ์ที่น่าใคร่
ย่อมเพลิดเพลินบันเทิงใจในเทวโลก

ปฐมสมชีวีสูตรที่ ๕ จบ

๖. ทุติยสมชีวีสูตร
ว่าด้วยผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่เสมอกัน สูตรที่ ๒

[๕๖] ภิกษุทั้งหลาย ถ้าสามีและภรรยาทั้ง ๒ ฝ่ายหวังที่จะพบกันทั้งในชาตินี้
และชาติหน้า ทั้ง ๒ ฝ่ายพึงมีศรัทธาเสมอกัน มีศีลเสมอกัน มีจาคะเสมอกัน
มีปัญญาเสมอกัน สามีและภรรยาทั้ง ๒ ฝ่ายนั้นย่อมได้พบกันทั้งในชาตินี้และ
ชาติหน้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๑.ปุญญาภิสันทวรรค ๗.สุปปวาสาสูตร

สามีและภรรยาทั้ง ๒ ฝ่าย
เป็นผู้มีศรัทธา รู้ความประสงค์ของผู้ขอ
สำรวมระวัง ดำเนินชีวิตโดยธรรม
เจรจาคำไพเราะอ่อนหวานต่อกัน
มีความเจริญรุ่งเรือง มีความผาสุก
มีความประพฤติเสมอกันทั้ง ๒ ฝ่าย
รักใคร่ ไม่คิดร้ายต่อกัน
ทั้ง ๒ ฝ่ายประพฤติธรรมในโลกนี้
มีศีลและวัตรเสมอกัน เสวยอารมณ์ที่น่าใคร่
ย่อมเพลิดเพลินบันเทิงใจในเทวโลก

ทุติยสมชีวีสูตรที่ ๖ จบ

๗. สุปปวาสาสูตร
ว่าด้วยสุปปวาสาโกฬิยธิดา

[๕๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในนิคมของโกฬิยราชสกุล ชื่อ
ปัชชเนละ แคว้นโกฬิยะ๑ ครั้นในเวลาเช้าพระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก
ถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของสุปปวาสาโกฬิยธิดา ประทับนั่งบน
พุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว ลำดับนั้น สุปปวาสาโกฬิยธิดาได้นำของขบฉันอัน
ประณีตประเคนพระผู้มีพระภาคให้อิ่มหนำด้วยตนเอง เมื่อพระผู้มีพระภาคเสวย
เสร็จ ทรงวางพระหัตถ์จากบาตรแล้ว สุปปวาสาโกฬิยธิดาจึงนั่ง ณ ที่สมควร
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสกับสุปปวาสาโกฬิยธิดาดังนี้ว่า
สุปปวาสา อริยสาวิกาผู้ให้โภชนะชื่อว่าให้ฐานะ ๔ ประการแก่ปฏิคาหก
ฐานะ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อายุ ๒. วรรณะ
๓. สุขะ ๔. พละ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๑.ปุญญาภิสันทวรรค ๗.สุปปวาสาสูตร

ครั้นให้อายุแล้วย่อมมีส่วนได้อายุอันเป็นทิพย์หรืออันเป็นของมนุษย์ ครั้นให้
วรรณะแล้วย่อมมีส่วนได้วรรณะอันเป็นทิพย์หรืออันเป็นของมนุษย์ ครั้นให้สุขะแล้ว
ย่อมมีส่วนได้สุขะอันเป็นทิพย์หรืออันเป็นของมนุษย์ ครั้นให้พละแล้วย่อมมีส่วนได้
พละอันเป็นทิพย์หรืออันเป็นของมนุษย์
สุปปวาสา อริยสาวิกาผู้ให้โภชนะชื่อว่าให้ฐานะ ๔ ประการนี้แก่ปฏิคาหก
ทักษิณาคือโภชนะที่อริยสาวิกาให้
ซึ่งปรุงอย่างดี สะอาด ประณีต สมบูรณ์ด้วยรส
ชื่อว่าให้ในท่านผู้ปฏิบัติตรง
ประกอบพร้อมด้วยกิริยามารยาท๑ ถึงความเป็นใหญ่๒
ทักษิณานั้นเชื่อมต่อบุญกับบุญ
เป็นทักษิณามีผลมาก
ที่พระพุทธเจ้าผู้รู้แจ้งโลกทรงสรรเสริญ
ชนผู้ระลึกถึงยัญ๓เช่นนั้น
เกิดความยินดี เที่ยวไปในโลก
กำจัดมลทินคือความตระหนี่พร้อมทั้งรากเหง้า
ไม่ถูกใครนินทา ย่อมเข้าถึงฐานะคือสวรรค์

สุปปวาสาสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๑.ปุญญาภิสันทวรรค ๙.โภชนสูตร

๘. สุทัตตสูตร
ว่าด้วยสุทัตตคหบดี

[๕๘] ครั้งนั้นแล อนาถบิณฑิกคหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสกับอนาถบิณฑิกคหบดี
ดังนี้ว่า
คหบดี อริยสาวกผู้ให้โภชนะชื่อว่าให้ฐานะ๑ ๔ ประการแก่ปฏิคาหก
ฐานะ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อายุ ๒. วรรณะ
๓. สุขะ ๔. พละ
ครั้นให้อายุแล้วย่อมมีส่วนได้อายุอันเป็นทิพย์หรืออันเป็นของมนุษย์ ครั้นให้
วรรณะแล้ว ฯลฯ ครั้นให้สุขะแล้ว ฯลฯ ครั้นให้พละแล้วย่อมมีส่วนได้พละอันเป็น
ทิพย์หรืออันเป็นของมุนษย์
คหบดี อริยสาวก ผู้ให้โภชนะชื่อว่าให้ฐานะ ๔ ประการนี้แก่ปฏิคาหก
ผู้ให้โภชนะโดยเคารพตามเวลาอันควร
แก่ท่านผู้สำรวม บริโภคโภชนะที่ผู้อื่นให้
ชื่อว่าเพิ่มให้ฐานะ ๔ ประการ คือ
อายุ วรรณะ สุขะ และพละ
นรชนผู้ให้อายุ วรรณะ สุขะ พละ
ย่อมเป็นผู้มีอายุยืน มียศในที่ที่ตนเกิด

สุทัตตสูตรที่ ๘ จบ

๙. โภชนสูตร
ว่าด้วยทายกผู้ให้โภชนะ

[๕๙] ภิกษุทั้งหลาย ทายกผู้ให้โภชนะชื่อว่าให้ฐานะ ๔ ประการแก่ปฏิคาหก


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๑.ปุญญาภิสันทวรรค ๑๐.คิหิสามีจิสูตร

ฐานะ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อายุ ๒. วรรณะ
๓. สุขะ ๔. พละ
ครั้นให้อายุแล้วย่อมมีส่วนได้อายุอันเป็นทิพย์หรืออันเป็นของมนุษย์ ครั้นให้
วรรณะแล้ว ฯลฯ ครั้นให้สุขะแล้ว ฯลฯ ครั้นให้พละแล้วย่อมมีส่วนได้พละอัน
เป็นทิพย์หรืออันเป็นของมนุษย์
ภิกษุทั้งหลาย ทายกผู้ให้โภชนะชื่อว่าให้ฐานะ ๔ ประการแก่ปฏิคาหก
ผู้ให้โภชนะโดยเคารพตามเวลาอันควร
แก่ท่านผู้สำรวม บริโภคโภชนะที่ผู้อื่นให้
ชื่อว่าเพิ่มให้ฐานะ ๔ ประการ คือ
อายุ วรรณะ สุขะ และพละ
นรชนผู้ให้อายุ วรรณะ สุขะ พละ
ย่อมเป็นผู้มีอายุยืน มียศในที่ที่ตนเกิด

โภชนสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. คิหิสามีจิสูตร
ว่าด้วยการปฏิบัติปฏิปทาที่เหมาะสมแก่คฤหัสถ์

[๖๐] ครั้งนั้นแล อนาถบิณฑิกคหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสกับอนาถบิณฑิกคหบดี
ดังนี้ว่า
คหบดี อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ชื่อว่าปฏิบัติปฏิปทาที่
เหมาะสมแก่คฤหัสถ์ ที่เป็นเหตุให้ได้ยศ เป็นไปเพื่อให้เกิดในสวรรค์
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๑.ปุญญาภิสันทวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑. บำรุงภิกษุสงฆ์ด้วยจีวร
๒. บำรุงภิกษุสงฆ์ด้วยบิณฑบาต
๓. บำรุงภิกษุสงฆ์ด้วยเสนาสนะ
๔. บำรุงภิกษุสงฆ์ด้วยคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร
คหบดี อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ชื่อว่าปฏิบัติปฏิปทาที่
เหมาะสมแก่คฤหัสถ์ ที่เป็นเหตุให้ได้ยศ เป็นไปเพื่อให้เกิดในสวรรค์
บัณฑิตทั้งหลายบำรุงท่านผู้มีศีล ผู้ปฏิบัติชอบ
ด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และยารักษาโรค
ชื่อว่าปฏิบัติปฏิปทาที่เหมาะสมแก่คฤหัสถ์
บุญย่อมเจริญยิ่งแก่บัณฑิตเหล่านั้น
ทุกเมื่อทั้งกลางวันและกลางคืน
เขาครั้นทำกรรมดีงามแล้ว
ย่อมเข้าถึงฐานะคือสวรรค์

คิหิสามีจิสูตรที่ ๑๐ จบ
ปุญญาภิสันทวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมปุญญาภิสันทสูตร ๒. ทุติยปุญญาภิสันทสูตร
๓. ปฐมสังวาสสูตร ๔. ทุติยสังวาสสูตร
๕. ปฐมสมชีวีสูตร ๖. ทุติยสมชีวีสูตร
๗. สุปปวาสาสูตร ๘. สุทัตตสูตร
๙. โภชนสูตร ๑๐. คิหิสามีจิสูตร


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๒.ปัตตกัมมวรรค ๑.ปัตตกัมมสูตร

๒. ปัตตกัมมวรรค
หมวดว่าด้วยกรรมอันสมควร
๑. ปัตตกัมมสูตร
ว่าด้วยกรรมอันสมควร

[๖๑] ครั้งนั้นแล อนาถบิณฑิกคหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสกับอนาถบิณฑิกคหบดี
ดังนี้ว่า
คหบดี ธรรม ๔ ประการนี้เป็นสิ่งน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยาก
ในโลก
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ขอโภคะจงเกิดขึ้นแก่เราพร้อมกับความชอบธรรม๑ นี้เป็นธรรม
ประการที่ ๑ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
๒. เราได้โภคทรัพย์พร้อมกับความชอบธรรมแล้ว ขอยศ๒จงเฟื่องฟู
แก่เราพร้อมด้วยญาติ มิตร สหาย นี้เป็นธรรมประการที่ ๒ ที่
น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
๓. เราได้โภคทรัพย์พร้อมกับความชอบธรรม ได้ยศพร้อมด้วยญาติ
มิตร สหายแล้ว ขอเราจงมีชีวิตอยู่นาน รักษาอายุให้ยั่งยืน นี้เป็น
ธรรมประการที่ ๓ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยาก
ในโลก
๔. เราได้โภคทรัพย์พร้อมกับความชอบธรรม ได้ยศพร้อมด้วยญาติ
มิตร สหาย มีชีวิตอยู่นาน รักษาอายุให้ยั่งยืนแล้ว หลังจากตาย


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๒.ปัตตกัมมวรรค ๑.ปัตตกัมมสูตร

แล้ว ขอให้เราเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ นี้เป็นธรรมประการที่ ๔ ที่
น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
คหบดี ธรรม ๔ ประการนี้แลเป็นสิ่งน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้
ยากในโลก
คหบดี ธรรม ๔ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อได้ธรรม ๔ ประการนี้แลที่น่า
ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา)
๒. สีลสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศีล)
๓. จาคสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยการเสียสละ)
๔. ปัญญาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยปัญญา)
สัทธาสัมปทา เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้มีศรัทธา เชื่อปัญญาตรัสรู้ของตถาคตว่า “แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดย
ชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควร
ฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า
เป็นพระผู้มีพระภาค” นี้เรียกว่า สัทธาสัมปทา
สีลสัมปทา เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ เว้นขาด
จากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท นี้เรียกว่า
สีลสัมปทา
จาคสัมปทา เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน มี
จาคะอันสละแล้ว มีฝ่ามือชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการให้ทาน
และการจำแนกทาน อยู่ครองเรือน นี้เรียกว่า จาคสัมปทา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๑๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๒.ปัตตกัมมวรรค ๑.ปัตตกัมมสูตร

ปัญญาสัมปทา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลมีใจถูกอภิชฌาวิสมโลภะ๑ครอบงำอยู่ ย่อมทำสิ่งที่ไม่ควรทำ ไม่
ยินดีสิ่งที่ควรทำ เมื่อทำสิ่งที่ไม่ควรทำ ไม่ยินดีสิ่งที่ควรทำ ย่อมเสื่อมจากยศและ
ความสุข บุคคลมีใจถูกพยาบาท (ความคิดร้าย) ครอบงำอยู่ ย่อมทำสิ่งที่ไม่ควรทำ
ไม่ยินดีสิ่งที่ควรทำ เมื่อทำสิ่งที่ไม่ควรทำ ไม่ยินดีสิ่งที่ควรทำ ย่อมเสื่อมจากยศ
และความสุข มีใจถูกถีนมิทธะ (ความหดหู่และเซื่องซึม) ครอบงำอยู่ ย่อมทำสิ่งที่
ไม่ควรทำ ไม่ยินดีสิ่งที่ควรทำ เมื่อทำสิ่งที่ไม่ควรทำ ไม่ยินดีสิ่งที่ควรทำ ย่อมเสื่อม
จากยศและความสุข มีใจถูกอุทธัจจกุกกุจจะ(ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ) ครอบงำอยู่
มีใจถูกวิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) ครอบงำอยู่ ย่อมทำสิ่งที่ไม่ควรทำ ไม่ยินดีสิ่งที่
ควรทำ เมื่อทำสิ่งที่ไม่ควรทำ ไม่ยินดีสิ่งที่ควรทำ ย่อมเสื่อมจากยศและความสุข
อริยสาวกนั้นแลรู้ว่า ‘อภิชฌาวิสมโลภะทำให้จิตเศร้าหมอง’ จึงละอภิชฌา-
วิสมโลภะที่ทำให้จิตเศร้าหมองเสีย รู้ว่า ‘พยาบาททำให้จิตเศร้าหมอง’ จึงละ
พยาบาทที่ทำให้จิตเศร้าหมองเสีย รู้ว่า ‘ถีนมิทธะทำให้จิตเศร้าหมอง’ จึงละ
ถีนมิทธะที่ทำให้จิตเศร้าหมองเสีย รู้ว่า ‘อุทธัจจกุกกุจจะทำให้จิตเศร้าหมอง’ จึง
ละอุทธัจจกุกกุจจะที่ทำให้จิตเศร้าหมองเสีย รู้ว่า ‘วิจิกิจฉาทำให้จิตเศร้าหมอง’
จึงละวิจิกิจฉาที่ทำให้จิตเศร้าหมองเสีย
เมื่อใดอริยสาวกรู้ว่า ‘อภิชฌาวิสมโลภะทำให้จิตเศร้าหมอง’ จึงละอภิชฌา-
วิสมโลภะที่ทำให้จิตเศร้าหมองเสีย รู้ว่า ‘พยาบาททำให้จิตเศร้าหมอง’ ... รู้ว่า
‘ถีนมิทธะทำให้จิตเศร้าหมอง’ ... รู้ว่า ‘อุทธัจจกุกกุจจะทำให้จิตเศร้าหมอง’ ... รู้ว่า
‘วิจิกิจฉาทำให้จิตเศร้าหมอง’ จึงละวิจิกิจฉาที่ทำให้จิตเศร้าหมองเสีย เมื่อนั้นอริย-
สาวกนี้ชื่อว่ามีปัญญามาก มีปัญญากว้างขวาง มองเห็นแนวทาง สมบูรณ์ด้วย
ปัญญา นี้เรียกว่า ปัญญาสัมปทา
คหบดี ธรรม ๔ ประการนี้ย่อมเป็นไปเพื่อได้ธรรม ๔ ประการนี้แล ที่น่า
ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๒.ปัตตกัมมวรรค ๑.ปัตตกัมมสูตร

อริยสาวกนั้นแลชื่อว่าทำกรรมอันสมควร ๔ ประการด้วยโภคทรัพย์ที่หามา
ได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร เก็บรวบรวมด้วยน้ำพักน้ำแรง อาบเหงื่อต่างน้ำ
ประกอบด้วยธรรม๑ ได้มาโดยธรรม๒
กรรมอันสมควร ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ย่อมบำรุงตนเอง มารดา บิดา บุตร ภรรยา
ทาส กรรมกร คนรับใช้ มิตร และอำมาตย์ให้เป็นสุข บริหารให้
เป็นสุขโดยชอบด้วยโภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร
เก็บรวบรวมด้วยน้ำพักน้ำแรง อาบเหงื่อต่างน้ำ ประกอบด้วยธรรม
ได้มาโดยธรรม นี้เป็นฐานะที่ ๑ ที่อริยสาวกนั้นถึงแล้ว ถึงโดย
สมควร ใช้สอยตามเหตุ
๒. อริยสาวกย่อมป้องกันอันตรายที่เกิดจากไฟ น้ำ พระราชา โจร
คนที่ไม่ชอบกัน หรือจากทายาทด้วยโภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วย
ความขยันหมั่นเพียร เก็บรวบรวมด้วยน้ำพักน้ำแรง อาบเหงื่อ
ต่างน้ำ ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดยธรรม ทำตนให้ปลอดภัย
นี้เป็นฐานะที่ ๒ ที่อริยสาวกนั้นถึงแล้ว ถึงโดยสมควร ใช้สอย
ตามเหตุ
๓. อริยสาวกย่อมทำพลี๓ ๕ อย่าง คือ ญาติพลี อติถิพลี ปุพพเปตพลี
ราชพลี เทวตาพลีด้วยโภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร
เก็บรวบรวมด้วยน้ำพักน้ำแรง อาบเหงื่อต่างน้ำ ประกอบด้วย
ธรรม ได้มาโดยธรรม นี้เป็นฐานะที่ ๓ ที่อริยสาวกนั้นถึงแล้ว ถึง
โดยสมควร ใช้สอยตามเหตุ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๒.ปัตตกัมมวรรค ๑.ปัตตกัมมสูตร

๔. อริยสาวกบำเพ็ญทักษิณาที่มีผลสูงขึ้นไป๑ เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี๒
มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์๓ ไว้ในสมณพราหมณ์ผู้เว้นขาดจาก
ความมัวเมาและความประมาท ผู้ดำรงมั่นอยู่ในขันติและโสรัจจะ
ฝึกอบรมตน ทำตนให้สงบ ทำตนให้ดับเย็นสนิท๔ด้วยโภคทรัพย์
ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร เก็บรวบรวมด้วยน้ำพักน้ำแรง
อาบเหงื่อต่างน้ำ ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดยธรรม นี้เป็นฐานะ
ที่ ๔ ที่อริยสาวกนั้นถึงแล้ว ถึงโดยสมควร ใช้สอยตามเหตุ
คหบดี อริยสาวกนั้นชื่อว่าทำกรรมอันสมควร ๔ ประการนี้ด้วยโภคทรัพย์ที่
หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร เก็บรวบรวมด้วยน้ำพักน้ำแรง อาบเหงื่อต่างน้ำ
ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดยธรรม โภคทรัพย์ของใครก็ตาม หมดสิ้นไปเพราะ
กรรมอื่นนอกจากกรรมอันสมควร ๔ ประการนี้ โภคทรัพย์เหล่านี้ เราเรียกว่า
ถึงแล้วโดยไม่ใช่เหตุ ถึงโดยไม่สมควร ใช้สอยตามเหตุอันไม่ควร ส่วนโภคทรัพย์
ของใครก็ตาม หมดสิ้นไปเพราะกรรมอันสมควร ๔ ประการนี้ โภคทรัพย์เหล่านี้
เราเรียกว่า ถึงแล้วโดยเหตุ ถึงโดยสมควร ใช้สอยตามเหตุ
นรชนผู้จะต้องตายเมื่อคำนึงถึงว่า
‘โภคทรัพย์ทั้งหลายเราได้บริโภคแล้ว
คนที่ควรเลี้ยงเราได้เลี้ยงแล้ว
อันตรายทั้งหลายเราได้ข้ามพ้นแล้ว
ทักษิณาที่มีผลสูงขึ้นไปเราได้ให้แล้ว
และพลีกรรม ๕ อย่างเราได้ทำแล้ว


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๒.ปัตตกัมมวรรค ๒.อานัณยสูตร

ท่านผู้มีศีล สำรวมระวัง
ประพฤติพรหมจรรย์เราได้บำรุงแล้ว
ประโยชน์ที่บัณฑิตผู้อยู่ครองเรือนปรารถนา
เราก็ได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
กรรมที่ไม่ก่อความเดือดร้อนในภายหลังเราได้ทำแล้ว’
ชื่อว่าเป็นผู้ตั้งอยู่ในอริยธรรม๑
บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญเขาในชาตินี้เอง
เขาตายไปแล้วย่อมบันเทิงในสวรรค์

ปัตตกัมมสูตรที่ ๑ จบ

๒. อานัณยสูตร
ว่าด้วยสุขเกิดจากความไม่เป็นหนี้

[๖๒] ครั้งนั้นแล อนาถบิณฑิกคหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสกับอนาถบิณฑิกคหบดี
ดังนี้ว่า
คหบดี สุข ๔ ประการนี้คฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม๒พึงได้รับตามกาล ตามสมัย
สุข ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อัตถิสุข (สุขเกิดจากความมีทรัพย์)
๒. โภคสุข (สุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์)
๓. อานัณยสุข๓ (สุขเกิดจากความไม่เป็นหนี้)
๔. อนวัชชสุข (สุขเกิดจากความประพฤติที่ไม่มีโทษ)


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๒.ปัตตกัมมวรรค ๒.อานัณยสูตร

อัตถิสุข เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรในโลกนี้มีโภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความหมั่นเพียร เก็บรวบรวม
ด้วยน้ำพักน้ำแรง อาบเหงื่อต่างน้ำ ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดยธรรม เขาได้รับสุข
โสมนัสว่า ‘เรามีโภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร เก็บรวบรวมด้วย
น้ำพักน้ำแรง อาบเหงื่อต่างน้ำ ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดยธรรม’ นี้เรียกว่า
อัตถิสุข
โภคสุข เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรในโลกนี้ใช้สอยโภคทรัพย์และทำบุญด้วยโภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วย
ความหมั่นเพียร เก็บรวบรวมด้วยน้ำพักน้ำแรง อาบเหงื่อต่างน้ำ ประกอบด้วยธรรม
ได้มาโดยธรรม เขาได้รับสุขโสมนัสว่า ‘เราใช้สอยโภคทรัพย์และทำบุญด้วย
โภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร เก็บรวบรวมด้วยน้ำพักน้ำแรง อาบ
เหงื่อต่างน้ำ ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดยธรรม’ นี้เรียกว่า โภคสุข
อานัณยสุข เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรในโลกนี้ไม่เป็นหนี้ใคร ไม่ว่าจะน้อยหรือมากก็ตาม เขาได้รับสุข
โสมนัสว่า ‘เราไม่เป็นหนี้ใคร ไม่ว่าจะน้อยหรือมาก’ นี้เรียกว่า อานัณยสุข
อนวัชชสุข เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ประกอบด้วยกายกรรมที่ไม่มีโทษ วจีกรรมที่ไม่
มีโทษ และมโนกรรมที่ไม่มีโทษ เขาได้รับสุขโสมนัสว่า ‘เราประกอบด้วยกายกรรม
ที่ไม่มีโทษ วจีกรรมที่ไม่มีโทษ มโนกรรมที่ไม่มีโทษ’ นี้เรียกว่า อนวัชชสุข
คหบดี คฤหัสถ์ผู้บริโภคกามพึงได้รับสุข ๔ ประการนี้แลตามกาล ตามสมัย
นรชนผู้จะต้องตาย
รู้สุขเกิดจากความไม่เป็นหนี้
ระลึกถึงสุขเกิดจากความมีทรัพย์
เสวยสุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์
ย่อมเห็นแจ้งด้วยปัญญา


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๒.ปัตตกัมมวรรค ๓.พรหมสูตร

ผู้มีปัญญาดีเห็นชัดอยู่อย่างนี้ย่อมรู้ส่วนทั้ง ๒ ว่า
สุขแม้ทั้ง ๓ นี้มีค่าไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖
แห่งสุขเกิดจากความประพฤติอันไม่มีโทษ

อานัณยสูตรที่ ๒ จบ

๓. พรหมสูตร๑
ว่าด้วยสกุลที่มีพรหม

[๖๓] ภิกษุทั้งหลาย บุตรของสกุลใดบูชามารดาบิดาภายในเรือนตน สกุล
นั้นชื่อว่ามีพรหม บุตรของสกุลใดบูชามารดาบิดาภายในเรือนตน สกุลนั้นชื่อว่ามี
บุรพาจารย์ บุตรของสกุลใดบูชามารดาบิดาภายในเรือนตน สกุลนั้นชื่อว่ามีบุรพเทพ
บุตรของสกุลใดบูชามารดาบิดาภายในเรือนตน สกุลนั้นชื่อว่ามีอาหุไนยบุคคล
คำว่า “พรหม” นี้เป็นชื่อของมารดาบิดา คำว่า “บุรพาจารย์” นี้เป็นชื่อ
ของมารดาบิดา คำว่า “บุรพเทพ” นี้เป็นชื่อของมารดาบิดา คำว่า “อาหุไนยบุคคล”
นี้เป็นชื่อของมารดาบิดา๒ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะมารดาบิดามีอุปการะมาก
บำรุงเลี้ยง แสดงโลกนี้แก่บุตร
มารดาบิดาผู้อนุเคราะห์ประชา
ท่านเรียกว่าพรหม บุรพาจารย์
และอาหุไนยบุคคลของบุตรทั้งหลาย
เพราะเหตุนั้น บัณฑิตพึงนมัสการ
และสักการะมารดาบิดานั้นด้วยข้าว น้ำ ผ้า ที่นอน
การอบกลิ่น การให้อาบน้ำ และการชำระเท้า


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๒.ปัตตกัมมวรรค ๕.รูปสูตร

เพราะการปรนนิบัติมารดาบิดานั้นแล
บัณฑิตทั้งหลายจึงสรรเสริญเขาในโลกนี้เอง
เขาตายไปแล้วย่อมบันเทิงในสวรรค์

พรหมสูตรที่ ๓ จบ

๔. นิรยสูตร
ว่าด้วยธรรมเป็นเหตุให้เกิดในนรก

[๖๔] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมดำรงอยู่
ในนรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ฆ่าสัตว์ ๒. ลักทรัพย์
๓. ประพฤติผิดในกาม ๔. พูดเท็จ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมดำรงอยู่
ในนรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้
การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์
การพูดเท็จ และการคบหาภรรยาของผู้อื่น
เรากล่าวว่าเป็นกรรมเศร้าหมอง
บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่สรรเสริญเลย

นิรยสูตรที่ ๔ จบ

๕. รูปสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้ถือรูปเป็นประมาณ

[๖๕] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวก๑ไหนบ้าง คือ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๒.ปัตตกัมมวรรค ๕.รูปสูตร

๑. บุคคลผู้ถือรูปเป็นประมาณ เลื่อมใสในรูป
๒. บุคคลผู้ถือเสียงเป็นประมาณ เลื่อมใสในเสียง
๓. บุคคลผู้ถือความเศร้าหมองเป็นประมาณ๑ เลื่อมใสในความเศร้าหมอง
๔. บุคคลผู้ถือธรรมเป็นประมาณ เลื่อมใสในธรรม
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
ชนเหล่าใดถือประมาณในรูป
และชนเหล่าใดคล้อยไปตามเสียง
ชนเหล่านั้นชื่อว่าตกอยู่ในอำนาจของฉันทราคะ๒
ย่อมไม่รู้จักบุคคลนั้น คือ
บุคคลนั้นแลเป็นคนเขลา ไม่รู้คุณภายในของเขา
และไม่เห็นข้อปฏิบัติภายนอกของเขา
ถูกห้อมล้อมไว้โดยรอบ ย่อมถูกเสียงชักนำไป
อนึ่ง บุคคลผู้ไม่รู้คุณภายใน๓
แต่เห็นข้อปฏิบัติภายนอก๔
มองแต่ผลในภายนอก๕
ย่อมถูกเสียงชักนำไป
ส่วนบุคคลที่รู้คุณภายใน
และเห็นแจ้งข้อปฏิบัติภายนอก
เห็นธรรมปราศจากเครื่องกั้น
ย่อมไม่ถูกเสียงชักนำไป

รูปสูตรที่ ๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๒.ปัตตกัมมวรรค ๗.อหิราชสูตร

๖. สราคสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้มีราคะ

[๖๖] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวก๑ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้มีราคะ ๒. บุคคลผู้มีโทสะ
๓. บุคคลผู้มีโมหะ ๔. บุคคลผู้มีมานะ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
ชนทั้งหลายผู้กำหนัดมาก
ในธรรมที่เป็นเหตุแห่งความกำหนัด
เพลิดเพลินอย่างยิ่งในรูปที่น่ารัก
เป็นสัตว์ต่ำทราม ถูกโมหะ (ความหลง) หุ้มห่อไว้
ย่อมทำให้เครื่องผูกพันเจริญขึ้น
เป็นคนไม่ฉลาด ทำอกุศลกรรมที่เกิดจากราคะบ้าง
เกิดจากโทสะบ้าง เกิดจากโมหะบ้าง
ที่มีแต่ความคับแค้น เพิ่มทุกข์อยู่ร่ำไป
สัตว์ที่ถูกอวิชชา (ความไม่รู้) หุ้มห่อไว้
เป็นผู้มืดบอด ปราศจากจักษุคือปัญญา
มีสภาวะเหมือนธรรมทั้งหลายที่มีอยู่
ย่อมไม่สำคัญว่าเราทั้งหลายก็มีสภาวะเหมือนอย่างนั้น

สราคสูตรที่ ๖ จบ

๗. อหิราชสูตร
ว่าด้วยตระกูลพญางู

[๖๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งในเขตกรุงสาวัตถีถูกงูกัด


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๒.ปัตตกัมมวรรค ๗.อหิราชสูตร

ถึงแก่มรณภาพ ลำดับนั้น ภิกษุหลายรูปพากันไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุรูปหนึ่งในเขตกรุงสาวัตถีถูกงูกัดถึงแก่มรณภาพ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นคงจะไม่ได้แผ่เมตตาจิตให้
ตระกูลพญางู ๔ ตระกูล เพราะถ้าเธอแผ่เมตตาจิตให้ตระกูลพญางู ๔ ตระกูล
เธอก็จะไม่ถูกงูกัดถึงแก่มรณภาพ
ตระกูลพญางู ๔ ตระกูล อะไรบ้าง คือ
๑. ตระกูลพญางูชื่อวิรูปักษ์ ๒. ตระกูลพญางูชื่อเอราปถะ
๓. ตระกูลพญางูชื่อฉัพยาบุตร ๔. ตระกูลพญางูชื่อกัณหาโคตมกะ
ภิกษุนั้นคงจะไม่ได้แผ่เมตตาจิตให้ตระกูลพญางู ๔ ตระกูลนี้ เพราะถ้าเธอแผ่
เมตตาจิตให้ตระกูลพญางู เธอก็จะไม่ถูกงูกัดถึงแก่มรณภาพ
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุแผ่เมตตาจิตให้ตระกูลพญางู ๔ ตระกูลนี้
เพื่อคุ้มครองตน เพื่อรักษาตน เพื่อป้องกันตน”
เราขอมีเมตตาต่อตระกูลพญางูวิรูปักษ์
เราขอมีเมตตาต่อตระกูลพญางูเอราปถะ
เราขอมีเมตตาต่อตระกูลพญางูฉัพยาบุตร
เราขอมีเมตตาต่อตระกูลพญางูกัณหาโคตมกะ
เราขอมีเมตตาต่อสัตว์ไม่มีเท้า
เราขอมีเมตตาต่อสัตว์สองเท้า
เราขอมีเมตตาต่อสัตว์สี่เท้า
เราขอมีเมตตาต่อสัตว์หลายเท้า
สัตว์ไม่มีเท้าอย่าได้เบียดเบียนเรา
สัตว์สองเท้าอย่าได้เบียดเบียนเรา
สัตว์สี่เท้าอย่าได้เบียดเบียนเรา
สัตว์หลายเท้าอย่าได้เบียดเบียนเรา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๑๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๒.ปัตตกัมมวรรค ๘. เทวทัตตสูตร

ขอสรรพสัตว์ที่มีลมหายใจ
ขอสรรพสัตว์ที่ยังมีชีวิตทั้งมวล
จงประสพกับความเจริญ
ความเลวร้ายอย่าได้มาแผ้วพานสัตว์ใด ๆ เลย
พระพุทธเจ้ามีพระคุณหาประมาณมิได้ พระธรรมมีพระคุณหาประมาณมิได้
พระสงฆ์มีพระคุณหาประมาณมิได้ สัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย คือ งู แมงป่อง ตะขาบ
แมงมุม ตุ๊กแก หนูมีคุณพอประมาณ
เราทำการรักษา ทำการป้องกันไว้แล้ว ขอหมู่สัตว์ผู้มีชีวิตทั้งหลายจงหลีก
ไป เรานั้นขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาค ขอนอบน้อมพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้ง ๗
พระองค์๑

อหิราชสูตรที่ ๗ จบ

๘. เทวทัตตสูตร
ว่าด้วยพระเทวทัต

[๖๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุง
ราชคฤห์ ณ ที่นั้น เมื่อพระเทวทัตหลีกไปไม่นานนัก พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียก
ภิกษุทั้งหลายมาตรัสปรารภพระเทวทัตว่า “ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและชื่อเสียง
เกิดขึ้นแก่พระเทวทัตเพื่อฆ่าตน เพื่อความเสื่อม
ลาภสักการะและชื่อเสียงเกิดขึ้นแก่พระเทวทัตเพื่อฆ่าตน เพื่อความเสื่อม
เหมือนต้นกล้วยเผล็ดผลเพื่อฆ่าตน เพื่อความพินาศ
ลาภสักการะและชื่อเสียงเกิดขึ้นแก่พระเทวทัตเพื่อฆ่าตน เพื่อความเสื่อม
เหมือนต้นไผ่ตกขุยเพื่อฆ่าตน เพื่อความพินาศ
ลาภสักการะและชื่อเสียงเกิดขึ้นแก่พระเทวทัตเพื่อฆ่าตน เพื่อความเสื่อม
เหมือนไม้อ้อออกดอกเพื่อฆ่าตนเอง เพื่อความพินาศ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๒.ปัตตกัมมวรรค ๙.ปธานสูตร

ลาภสักการะและชื่อเสียงเกิดขึ้นแก่พระเทวทัตเพื่อฆ่าตน เพื่อความเสื่อม
เหมือนแม่ม้าอัสดร๑ตั้งครรภ์เพื่อฆ่าตน เพื่อความพินาศ”
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนผลกล้วยฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ฆ่าต้นไผ่ ดอกอ้อฆ่าต้นอ้อ
ลูกม้าอัสดรฆ่าแม่ม้าฉะนั้น

เทวทัตตสูตรที่ ๘ จบ

๙. ปธานสูตร๒
ว่าด้วยปธาน

[๖๙] ภิกษุทั้งหลาย ปธาน (ความเพียร) ๔ ประการนี้
ปธาน ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สังวรปธาน (เพียรระวัง) ๒. ปหานปธาน (เพียรละ)
๓. ภาวนาปธาน (เพียรเจริญ) ๔. อนุรักขนาปธาน (เพียรรักษา)
สังวรปธาน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคอง
จิตมุ่งมั่นเพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น นี้เรียกว่า สังวรปธาน
ปหานปธาน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคอง
จิตมุ่งมั่นเพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว นี้เรียกว่า ปหานปธาน
ภาวนาปธาน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคอง
จิตมุ่งมั่นเพื่อทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ภาวนาปธาน


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๒.ปัตตกัมมวรรค ๑๐.อธัมมิกสูตร

อนุรักขนาปธาน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคอง
จิตมุ่งมั่นเพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่ง
กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว นี้เรียกว่า อนุรักขนาปธาน
ภิกษุทั้งหลาย ปธาน ๔ ประการนี้แล
ปธาน ๔ ประการนี้ คือ
สังวรปธาน ปหานปธาน
ภาวนาปธาน และอนุรักขนาปธาน
พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ทรงแสดงไว้แล้ว
ที่เป็นเหตุให้ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ผู้มีความเพียรถึงความสิ้นทุกข์

ปธานสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. อธัมมิกสูตร
ว่าด้วยพระราชาผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรมและผู้ตั้งอยู่ในธรรม

[๗๐] ภิกษุทั้งหลาย ในเวลาที่พระราชาไม่ตั้งอยู่ในธรรม๑ แม้พวกข้าราชการ
ก็ไม่ตั้งอยู่ในธรรม เมื่อพวกข้าราชการไม่ตั้งอยู่ในธรรม แม้พราหมณ์และคหบดี
ก็ไม่ตั้งอยู่ในธรรม เมื่อพราหมณ์และคหบดีไม่ตั้งอยู่ในธรรม แม้ชาวนิคมและชาว
ชนบทก็ไม่ตั้งอยู่ในธรรม เมื่อชาวนิคมและชาวชนบทไม่ตั้งอยู่ในธรรม ดวงจันทร์
และดวงอาทิตย์ก็โคจร(หมุน)ไปไม่สม่ำเสมอ เมื่อดวงจันทร์และดวงอาทิตย์โคจรไป
ไม่สม่ำเสมอ หมู่ดาวนักษัตรก็โคจรไปไม่สม่ำเสมอ เมื่อหมู่ดาวนักษัตรโคจรไปไม่
สม่ำเสมอ คืนและวันก็หมุนเวียนไปไม่สม่ำเสมอ เมื่อคืนและวันหมุนเวียนไปไม่


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๒.ปัตตกัมมวรรค ๑๐.อธัมมิกสูตร

สม่ำเสมอ เดือนหนึ่งและครึ่งเดือนก็หมุนเวียนไปไม่สม่ำเสมอ เมื่อเดือนหนึ่งและ
ครึ่งเดือนหมุนเวียนไปไม่สม่ำเสมอ ฤดูและปีก็หมุนเวียนไปไม่สม่ำเสมอ เมื่อฤดู
และปีหมุนเวียนไปไม่สม่ำเสมอ ลมก็พัดไปไม่สม่ำเสมอ พัดไปผิดทางไม่สม่ำเสมอ
เมื่อลมพัดไปไม่สม่ำเสมอ พัดไปผิดทางไม่สม่ำเสมอ พวกเทวดาก็ขัดเคืองใจ
เมื่อพวกเทวดาขัดเคืองใจ ฝนก็ไม่ตกต้องตามฤดูกาล เมื่อฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล
ข้าวกล้าทั้งหลายก็ออกรวงสุกไม่พร้อมกัน
ภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ทั้งหลายบริโภคข้าวกล้าที่สุกไม่พร้อมกันย่อมมีอายุ
น้อย ๑ มีผิวพรรณไม่ดี ๑ มีกำลังไม่ดี ๑ มีความเจ็บป่วยมาก ๑
ในเวลาที่พระราชาตั้งอยู่ในธรรม แม้พวกข้าราชการก็ตั้งอยู่ในธรรม เมื่อพวก
ข้าราชการตั้งอยู่ในธรรม แม้พราหมณ์และคหบดีก็ตั้งอยู่ในธรรม เมื่อพราหมณ์
และคหบดีตั้งอยู่ในธรรม แม้ชาวนิคมและชาวชนบทก็ตั้งอยู่ในธรรม เมื่อชาวนิคม
และชาวชนบทตั้งอยู่ในธรรม ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ก็โคจรไปสม่ำเสมอ เมื่อ
ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์โคจรไปสม่ำเสมอ หมู่ดาวนักษัตรก็โคจรไปสม่ำเสมอ
เมื่อหมู่ดาวนักษัตรโคจรไปสม่ำเสมอ คืนและวันก็หมุนเวียนไปสม่ำเสมอ เมื่อคืน
และวันหมุนเวียนไปสม่ำเสมอ เดือนหนึ่งและครึ่งเดือนก็หมุนเวียนไปสม่ำเสมอ
เมื่อเดือนหนึ่งและครึ่งเดือนหมุนเวียนไปสม่ำเสมอ ฤดูและปีก็หมุนเวียนไปสม่ำเสมอ
เมื่อฤดูและปีหมุนเวียนไปสม่ำเสมอ ลมก็พัดไปสม่ำเสมอ พัดไปถูกทางสม่ำเสมอ
เมื่อลมพัดไปสม่ำเสมอ พัดไปถูกทางสม่ำเสมอ พวกเทวดาก็ไม่ขัดเคืองใจ เมื่อ
พวกเทวดาไม่ขัดเคืองใจ ฝนก็ตกต้องตามฤดูกาล เมื่อฝนตกต้องตามฤดูกาล
ข้าวกล้าทั้งหลายก็ออกรวงสุกพร้อมกัน
ภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ทั้งหลายบริโภคข้าวกล้าสุกพร้อมกันย่อมมีอายุยืน ๑
มีผิวพรรณผ่องใส ๑ มีกำลัง ๑ มีความเจ็บป่วยน้อย ๑
เมื่อฝูงโคข้ามน้ำไป
ถ้าโคจ่าฝูงไปคดเคี้ยว
โคทั้งฝูงก็ไปคดเคี้ยวตามกัน
ในเมื่อโคจ่าฝูงไปคดเคี้ยว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๑๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๒.ปัตตกัมมวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ในหมู่มนุษย์ก็เหมือนกัน
ผู้ใดได้รับแต่งตั้งให้เป็นใหญ่
ถ้าผู้นั้นประพฤติไม่เป็นธรรม
ประชาชนชาวเมืองนั้นก็จะประพฤติไม่เป็นธรรมตามไปด้วย
หากพระราชาไม่ตั้งอยู่ในธรรม
ชาวเมืองนั้นก็อยู่เป็นทุกข์
เมื่อฝูงโคข้ามน้ำไป
ถ้าโคจ่าฝูงไปตรง
โคทั้งฝูงก็ไปตรงตามกัน
ในเมื่อโคจ่าฝูงไปตรง
ในหมู่มนุษย์ก็เหมือนกัน
ผู้ใดได้รับแต่งตั้งให้เป็นใหญ่
ถ้าผู้นั้นประพฤติชอบธรรม
ประชาชนชาวเมืองนั้นก็จะประพฤติชอบธรรมตามไปด้วย
หากพระราชาตั้งอยู่ในธรรม
ชาวเมืองนั้นก็อยู่เป็นสุข๑

อธัมมิกสูตรที่ ๑๐ จบ
ปัตตกัมมวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปัตตกัมมสูตร ๒. อานัณยสูตร
๓. พรหมสูตร ๔. นิรยสูตร
๕. รูปสูตร ๖. สราคสูตร
๗. อหิราชสูตร ๘. เทวทัตตสูตร
๙. ปธานสูตร ๑๐. อธัมมิกสูตร


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๓.อปัณณกวรรค ๒.สัมมาทิฏฐิสูตร

๓. อปัณณกวรรค
หมวดว่าด้วยข้อปฏิบัติที่ไม่ผิด
๑. ปธานสูตร
ว่าด้วยความเพียรเป็นเหตุสิ้นอาสวะ

[๗๑] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมปฏิบัติปฏิปทา
ที่ไม่ผิด และชื่อว่าได้สร้างเหตุเพื่อความสิ้นอาสวะ๑
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. มีศีล ๒. เป็นพหูสูต
๓. ปรารภความเพียร ๔. มีปัญญา
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมปฏิบัติปฏิปทา
ที่ไม่ผิด และชื่อว่าได้สร้างเหตุเพื่อความสิ้นอาสวะ

ปธานสูตรที่ ๑ จบ

๒. สัมมาทิฏฐิสูตร
ว่าด้วยสัมมาทิฏฐิเป็นเหตุสิ้นอาสวะ

[๗๒] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมปฏิบัติปฏิปทา
ที่ไม่ผิด และชื่อว่าได้สร้างเหตุเพื่อความสิ้นอาสวะ
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เนกขัมมวิตก (ความตรึกปลอดจากกาม)
๒. อพยาบาทวิตก (ความตรึกปลอดจากพยาบาท)
๓. อวิหิงสาวิตก (ความตรึกปลอดจากการเบียดเบียน)
๔. สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ)


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๓.อปัณณกวรรค ๓.สัปปุริสสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมปฏิบัติปฏิปทา
ที่ไม่ผิด และชื่อว่าได้สร้างเหตุเพื่อความสิ้นอาสวะ

สัมมาทิฏฐิสูตรที่ ๒ จบ

๓. สัปปุริสสูตร
ว่าด้วยธรรมของอสัตบุรุษและสัตบุรุษ

[๗๓] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการพึงทราบว่า เป็น
อสัตบุรุษ
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อสัตบุรุษในโลกนี้ถึงไม่มีใครถามก็เปิดเผยข้อเสียหายของบุคคลอื่นได้
ไม่จำเป็นต้องพูดถึงอสัตบุรุษผู้ถูกถามเลย และอสัตบุรุษผู้ถูกถาม
ก็ตอบปัญหาทันที ไม่อ้อมค้อม ไม่หน่วงเหนี่ยว กล่าวถึงข้อเสีย
ของบุคคลอื่นอย่างละเอียดเต็มที่ นี้พึงทราบว่า ‘ผู้นี้เป็นอสัตบุรุษ’
๒. อสัตบุรุษถึงถูกใครถามก็ไม่เปิดเผยข้อดีของบุคคลอื่น ไม่จำเป็น
ต้องพูดถึงอสัตบุรุษผู้ไม่ถูกถามเลย และอสัตบุรุษผู้ถูกถามก็ตอบ
ปัญหาอ้อมค้อม หน่วงเหนี่ยว กล่าวสรรเสริญข้อดีของบุคคลอื่น
ไม่ละเอียดเต็มที่ นี้พึงทราบว่า ‘ผู้นี้เป็นอสัตบุรุษ’
๓. อสัตบุรุษถึงถูกใครถามก็ไม่เปิดเผยข้อเสียของตน ไม่จำเป็นต้อง
พูดถึงอสัตบุรุษผู้ไม่ถูกถาม และอสัตบุรุษผู้ถูกถามก็ตอบปัญหา
อ้อมค้อม หน่วงเหนี่ยว กล่าวถึงข้อเสียของตนไม่ละเอียดเต็มที่
นี้พึงทราบว่า ‘ผู้นี้เป็นอสัตบุรษ’
๔. อสัตบุรุษถึงไม่ถูกใครถามก็เปิดเผยข้อดีของตน ไม่จำเป็นต้อง
พูดถึงอสัตบุรุษผู้ถูกถาม และอสัตบุรุษผู้ถูกถามก็รีบตอบปัญหา
ไม่อ้อมค้อม ไม่หน่วงเหนี่ยว กล่าวสรรเสริญข้อดีของตนอย่าง
ละเอียดเต็มที่ นี้พึงทราบว่า ‘ผู้นี้เป็นอสัตบุรุษ’
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลพึงทราบว่า เป็น
อสัตบุรุษ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๑๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๓.อปัณณกวรรค ๓.สัปปุริสสูตร

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการพึงทราบว่า เป็น
สัตบุรุษ
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัตบุรุษในโลกนี้ถึงถูกใครถามก็ไม่เปิดเผยข้อเสียของบุคคลอื่น ไม่
จำเป็นต้องพูดถึงสัตบุรุษผู้ไม่ถูกถาม และสัตบุรุษผู้ถูกถามก็ตอบ
ปัญหาอ้อมค้อม หน่วงเหนี่ยว กล่าวถึงข้อเสียของบุคคลอื่นอย่าง
ไม่ละเอียดเต็มที่ นี้พึงทราบว่า ‘ผู้นี้เป็นสัตบุรุษ’
๒. สัตบุรุษถึงไม่ถูกใครถามก็เปิดเผยข้อดีของบุคคลอื่น ไม่จำเป็นต้อง
พูดถึงสัตบุรุษผู้ถูกถาม และสัตบุรุษผู้ถูกถามก็รีบตอบปัญหาไม่
อ้อมค้อม ไม่หน่วงเหนี่ยว กล่าวสรรเสริญข้อดีของบุคคลอื่น
อย่างละเอียดเต็มที่ นี้พึงทราบว่า ‘ผู้นี้เป็นสัตบุรุษ’
๓. สัตบุรุษถึงไม่ถูกใครถามก็เปิดเผยข้อเสียของตน ไม่จำเป็นต้องพูด
ถึงสัตบุรุษผู้ถูกถาม และสัตบุรุษผู้ถูกถามก็รีบตอบปัญหาไม่
อ้อมค้อม ไม่หน่วงเหนี่ยว กล่าวข้อเสียของตนอย่างละเอียดเต็มที่
นี้พึงทราบว่า ‘ผู้นี้เป็นสัตบุรุษ’
๔. สัตบุรุษถึงถูกใครถามก็ไม่เปิดเผยข้อดีของตน ไม่จำเป็นต้องพูด
ถึงสัตบุรุษผู้ไม่ถูกถาม และสัตบุรุษผู้ถูกถามก็รีบตอบปัญหา
อ้อมค้อม หน่วงเหนี่ยว กล่าวสรรเสริญข้อดีของตนอย่างไม่
ละเอียดเต็มที่ นี้พึงทราบว่า ‘ผู้นี้เป็นสัตบุรุษ’
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลพึงทราบว่า เป็น
สัตบุรุษ
ภิกษุทั้งหลาย หญิงสะใภ้มีความละอายและเกรงกลัวมากในแม่สามี พ่อสามี
สามี รวมถึงพวกทาส กรรมกร และคนรับใช้ ตลอดช่วงเวลาคืนหนึ่งหรือวันหนึ่ง
ที่นางถูกนำมา(สู่ตระกูลสามี) สมัยต่อมา เพราะอาศัยอยู่จนคุ้นเคย จึงกล่าวกับ
แม่สามี พ่อสามี แม้กระทั่งสามีว่า ‘หลีกไป พวกท่านจะรู้เรื่องอะไรเล่า’ แม้ฉันใด
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ตลอดช่วงเวลาคืนหนึ่งหรือวัน
หนึ่งที่เธอออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เธอยังมีความละอาย มีความเกรงกลัว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๑๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๓.อปัณณกวรรค ๕. ทุติยอัคคสูตร

มากในเหล่าภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา รวมถึงพวกคนวัดและสมณุทเทส๑
สมัยต่อมา เพราะอาศัยอยู่รวมกันจนคุ้นเคย เธอกล่าวกับอาจารย์ แม้กระทั่ง
อุปัชฌาย์อย่างนี้ว่า ‘หลีกไป พวกท่านจะรู้เรื่องอะไรเล่า’
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราจัก
มีใจเหมือนหญิงสะใภ้ที่มาอยู่ใหม่’ เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล

สัปปุริสสูตรที่ ๓ จบ

๔. ปฐมอัคคสูตร
ว่าด้วยธรรมอันเลิศ สูตรที่ ๑

[๗๔] ภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเลิศ ๔ ประการนี้
ธรรมอันเลิศ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ศีลอันเลิศ ๒. สมาธิอันเลิศ
๓. ปัญญาอันเลิศ ๔. วิมุตติอันเลิศ
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเลิศ ๔ ประการนี้แล

ปฐมอัคคสูตรที่ ๔ จบ

๕. ทุติยอัคคสูตร
ว่าด้วยธรรมอันเลิศ สูตรที่ ๒

[๗๕] ภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเลิศ๒ ๔ ประการนี้
ธรรมอันเลิศ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปอันเลิศ ๒. เวทนาอันเลิศ
๓. สัญญาอันเลิศ ๔. ภพอันเลิศ
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเลิศ ๔ ประการนี้แล

ทุติยอัคคสูตรที่ ๙ จบ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๓.อปัณณกวรรค ๖.กุสินารสูตร

๖. กุสินารสูตร
ว่าด้วยพุทธกิจในกรุงกุสินารา

[๗๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ระหว่างต้นรังทั้งคู่ ในสาลวันของ
เจ้ามัลละ ซึ่งเป็นทางเข้ากรุงกุสินารา ในสมัยเป็นที่ปรินิพพาน ณ ที่นั้นแล
พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูล
รับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุแม้เพียงรูปเดียวพึงมีความสงสัยหรือเคลือบแคลงใน
พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มรรค หรือในปฏิปทา (ข้อปฏิบัติ) เธอทั้งหลาย
จงถามเถิด อย่าได้มีความเดือดร้อนใจภายหลังว่า ‘พระศาสดาประทับอยู่ตรงหน้า
ของเราทั้งหลาย เราทั้งหลายยังไม่สามารถทูลถามพระผู้มีพระภาคต่อหน้าได้”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ภิกษุเหล่านั้นได้นิ่งเงียบ
แม้ครั้งที่ ๒ พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ...
แม้ครั้งที่ ๓ พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุแม้เพียงรูปเดียวพึงมีความสงสัย หรือเคลือบแคลง
ในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มรรค หรือในปฏิปทา เธอทั้งหลายจงถามเถิด
อย่าได้มีความเดือดร้อนใจภายหลังว่า ‘พระศาสดาประทับอยู่ตรงหน้าของเราทั้งหลาย
เราทั้งหลายก็ยังไม่สามารถทูลถามพระผู้มีพระภาคต่อหน้าได้”
แม้ครั้งที่ ๓ ภิกษุเหล่านั้นก็ยังพากันนิ่งอยู่
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เป็นได้ที่เธอทั้งหลายไม่ถามเพราะความเคารพในพระศาสดา แม้เพื่อนจงบอกแก่
เพื่อนเถิด” เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ภิกษุเหล่านั้นได้นิ่งเงียบ ลำดับนั้น
ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ข้าพระองค์เลื่อมใส
อย่างนี้ว่า ‘ในภิกษุสงฆ์นี้ ภิกษุแม้แต่รูปเดียวไม่มีความสงสัยหรือเคลือบแคลงใน
พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มรรค หรือในปฏิปทา”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๑๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๓.อปัณณกวรรค ๗. อจินเตยยสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เธอกล่าวเพราะความเลื่อมใส ในเรื่องนี้
ตถาคตเองก็มีความรู้เหมือนกันว่า ‘ในภิกษุสงฆ์นี้ ภิกษุแม้แต่รูปเดียวไม่มีความ
สงสัยหรือเคลือบแคลงในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มรรค หรือในปฏิปทา’
อานนท์ ในจำนวนภิกษุ ๕๐๐ รูปนี้ ภิกษุผู้มีคุณธรรมชั้นต่ำสุด๑ เป็นโสดาบัน
ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิ๒ในวันข้างหน้า”

กุสินารสูตรที่ ๖ จบ

๗. อจินเตยยสูตร
ว่าด้วยอจินไตย

[๗๗] ภิกษุทั้งหลาย อจินไตย (เรื่องไม่ควรคิด) ๔ ประการนี้บุคคลไม่ควรคิด
ใครคิดพึงมีส่วนแห่งความเป็นบ้า ความเดือดร้อน
อจินไตย ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. พุทธวิสัย๓ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ๒. ฌานวิสัยของผู้ได้ฌาน
๓. วิบากแห่งกรรม ๔. ความคิดเรื่องโลก๔
ภิกษุทั้งหลาย อจินไตย ๔ ประการนี้บุคคลไม่ควรคิด ใครคิดพึงมีส่วนแห่ง
ความเป็นบ้า ความเดือดร้อน

อจินเตยยสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๓.อปัณณกวรรค ๘.ทักขิณสูตร

๘. ทักขิณสูตร
ว่าด้วยความบริสุทธิ์แห่งทักษิณา

[๗๘] ภิกษุทั้งหลาย ความบริสุทธิ์แห่งทักษิณา๑(ของทำบุญ) ๔ ประการนี้
ความบริสุทธิ์แห่งทักษิณา ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทักษิณาที่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก(ผู้ให้) แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก(ผู้รับ)
๒. ทักษิณาที่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก
๓. ทักษิณาที่ไม่บริสุทธิ์ ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก
๔. ทักษิณาที่บริสุทธิ์ ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก
ทักษิณาที่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก เป็นอย่างไร
คือ ทายกในโลกนี้เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม ปฏิคาหกเป็นผู้ทุศีล มีธรรม
เลวทราม ทักษิณาที่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก เป็นอย่างนี้แล
ทักษิณาที่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก เป็นอย่างไร
คือ ทายกในโลกนี้เป็นผู้ทุศีล มีธรรมเลวทราม ปฏิคาหกเป็นผู้มีศีล มี
กัลยาณธรรม ทักษิณาที่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก เป็นอย่าง
นี้แล
ทักษิณาที่ไม่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก เป็นอย่างไร
คือ ทายกในโลกนี้เป็นผู้ทุศีล มีธรรมเลวทราม แม้ปฏิคาหกก็เป็นผู้ทุศีล มี
ธรรมเลวทราม ทักษิณาที่ไม่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก เป็นอย่างนี้แล
ทักษิณาที่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก เป็นอย่างไร
คือ ทายกในโลกนี้เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม แม้ปฏิคาหกก็เป็นผู้มีศีล มี
กัลยาณธรรม ทักษิณาที่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ความบริสุทธิ์แห่งทักษิณา ๔ ประการนี้แล

ทักขิณสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๓.อปัณณกวรรค ๙. วณิชชสูตร

๙. วณิชชสูตร
ว่าด้วยเหตุให้การค้าขายขาดทุนหรือได้กำไร

[๗๙] สมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบ
การค้าขายขาดทุน อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบการ
ค้าขายไม่ได้กำไรตามที่ประสงค์ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้
ประกอบการค้าขายได้กำไรตามที่ประสงค์ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคน
ในโลกนี้ประกอบการค้าขายได้กำไรยิ่งกว่าที่ประสงค์”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “สารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้เข้าไปหา
สมณะหรือพราหมณ์ปวารณาว่า ‘ท่านผู้เจริญ พระคุณเจ้าต้องการปัจจัย นิมนต์
บอกเถิด’ แต่เขากลับไม่ถวายปัจจัยที่ปวารณาไว้ ถ้าเขาเคลื่อนจากอัตภาพนั้น
กลับมาสู่ความเป็นมนุษย์นี้ เขาประกอบการค้าขายใด ๆ ก็ย่อมขาดทุน
บุคคลบางคนในโลกนี้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์ปวารณาว่า ‘ท่านผู้เจริญ
พระคุณเจ้าต้องการปัจจัย นิมนต์บอกเถิด’ แต่เขาถวายปัจจัยที่ปวารณาไว้ไม่ตรง
ตามที่สมณะหรือพราหมณ์ประสงค์ ถ้าเขาเคลื่อนจากอัตภาพนั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์นี้
เขาจะประกอบการค้าขายใดๆ ก็ไม่ได้กำไรตามที่ประสงค์
บุคคลบางคนในโลกนี้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์ปวารณาว่า ‘ท่านผู้เจริญ
พระคุณเจ้าต้องการปัจจัย นิมนต์บอกเถิด’ เขาถวายปัจจัยที่ปวารณาไว้ตามที่
สมณะหรือพราหมณ์ประสงค์ ถ้าเขาเคลื่อนจากอัตภาพนั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์นี้
เขาจะประกอบการค้าขายใดๆ ก็ได้กำไรตามที่ประสงค์
บุคคลบางคนในโลกนี้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์ปวารณาว่า ‘ท่านผู้เจริญ
พระคุณเจ้าต้องการปัจจัย นิมนต์บอกเถิด’ เขาถวายปัจจัยที่ปวารณาไว้ยิ่งกว่าที่
สมณะหรือพราหมณ์ประสงค์ ถ้าเขาเคลื่อนจากอัตภาพนั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์นี้
เขาจะประกอบการค้าขายใด ๆ ก็ได้กำไรยิ่งกว่าที่ประสงค์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๑๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๓.อปัณณกวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

สารีบุตร นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบการค้าขาย
ขาดทุน และไม่ได้กำไรตามที่ประสงค์
นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบการค้าขายได้กำไรตาม
ที่ประสงค์ และได้กำไรยิ่งกว่าที่ประสงค์”

วณิชชสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. กัมโพชสูตร
ว่าด้วยเหตุให้มาตุคามไปแคว้นกัมโพชะไม่ได้

[๘๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี
ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว
นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้มาตุคาม(สตรี)นั่งในสภา
ไม่ได้ ทำงานใหญ่ไม่ได้ ไปแคว้นกัมโพชะก็ไม่ได้”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ มาตุคามเป็นคนมักโกรธ ชอบริษยา
ตระหนี่ ไม่มีปัญญา
นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้มาตุคามนั่งในสภาไม่ได้ ทำงานใหญ่ไม่ได้ ไปแคว้น
กัมโพชะก็ไม่ได้”

กัมโพชสูตรที่ ๑๐ จบ
อปัณณกวรรคที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปธานสูตร ๒. สัมมาทิฏฐิสูตร
๓. สัปปุริสสูตร ๔. ปฐมอัคคสูตร
๕. ทุติยอัคคสูตร ๖. กุสินารสูตร
๗. อจินเตยยสูตร ๘. ทักขิณสูตร
๙. วณิชชสูตร ๑๐. กัมโพชสูตร


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๔.มจลวรรค ๒. มุสาวาทสูตร

๔. มจลวรรค
หมวดว่าด้วยสมณะผู้ไม่หวั่นไหว
๑. ปาณาติปาตสูตร
ว่าด้วยผู้ฆ่าสัตว์และผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์

[๘๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔
ประการย่อมดำรงอยู่ในนรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ๒. เป็นผู้ลักทรัพย์
๓. เป็นผู้ประพฤติผิดในกาม ๔. เป็นผู้พูดเท็จ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมดำรงอยู่ในนรก
เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์
เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
๒. เป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์
๓. เป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม
๔. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์
เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้

ปาณาติปาตสูตรที่ ๑ จบ

๒. มุสาวาทสูตร
ว่าด้วยผู้พูดเท็จและผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ

[๘๒] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมดำรงอยู่ใน
นรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๑๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๔.มจลวรรค ๓.อวัณณารหสูตร

ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้พูดเท็จ ๒. เป็นผู้พูดส่อเสียด
๓. เป็นผู้พูดคำหยาบ ๔. เป็นผู้พูดเพ้อเจ้อ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมดำรงอยู่ในนรก
เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์
เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ
๒. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด
๓. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ
๔. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมดำรงอยู่ใน
สวรรค์เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้

มุสาวาทสูตรที่ ๒ จบ

๓. อวัณณารหสูตร
ว่าด้วยผู้กล่าวสรรเสริญผู้ควรติเตียนและผู้กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียน

[๘๓] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ๑ย่อมดำรงอยู่ในนรก
เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง กล่าวสรรเสริญผู้ควรติเตียน
๒. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง กล่าวติเตียนผู้ควรสรรเสริญ
๓. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง แสดงความเลื่อมใสในฐานะที่ไม่ควรเลื่อมใส
๔. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง แสดงความไม่เลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๔.มจลวรรค ๔. โกธครุสูตร

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมดำรงอยู่ในนรก
เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ๑ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์
เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. พิจารณา ไตร่ตรองแล้ว กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียน
๒. พิจารณา ไตร่ตรองแล้ว กล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญ
๓. พิจารณา ไตร่ตรองแล้ว แสดงความไม่เลื่อมใสในฐานะที่ไม่ควร
เลื่อมใส
๔. พิจารณา ไตร่ตรองแล้ว แสดงความเลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมดำรงอยู่ใน
สวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้

อวัณณารหสูตรที่ ๓ จบ

๔. โกธครุสูตร
ว่าด้วยผู้มักโกรธและผู้ไม่มักโกรธ

[๘๔] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมดำรงอยู่
ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้มักโกรธ ไม่เคารพสัทธรรม
๒. เป็นผู้มักลบหลู่ ไม่เคารพสัทธรรม
๓. เป็นผู้เห็นแก่ลาภ ไม่เคารพสัทธรรม
๔. เป็นผู้เห็นแก่สักการะ ไม่เคารพสัทธรรม
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมดำรงอยู่ในนรก
เหมือนถูกนำไปฝังไว้


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๔.มจลวรรค ๕.ตโมตมสูตร

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์
เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้เคารพสัทธรรม ไม่มักโกรธ
๒. เป็นผู้เคารพสัทธรรม ไม่มักลบหลู่
๓. เป็นผู้เคารพสัทธรรม ไม่เห็นแก่ลาภ
๔. เป็นผู้เคารพสัทธรรม ไม่เห็นแก่สักการะ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมดำรงอยู่ใน
สวรรค์เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้

โกธครุสูตรที่ ๔ จบ

๕. ตโมตมสูตร
ว่าด้วยผู้มืดมาและมืดไป

[๘๕] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวก๑ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้มืดมาและมืดไป ๒. บุคคลผู้มืดมาแต่สว่างไป
๓. บุคคลผู้สว่างมาแต่มืดไป ๔. บุคคลผู้สว่างมาและสว่างไป
บุคคลผู้มืดมาและมืดไป เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เกิดในตระกูลต่ำ คือ ตระกูลจัณฑาล ตระกูลช่างสาน
ตระกูลนายพราน ตระกูลช่างรถ หรือตระกูลคนเทขยะ เป็นตระกูลยากจน มีข้าว
น้ำและสิ่งของเครื่องใช้น้อย เป็นไปอย่างฝืดเคือง เป็นแหล่งที่หาของกินและเครื่อง
นุ่งห่มได้ยาก และเขามีผิวพรรณหม่นหมอง ไม่น่าดู ต่ำเตี้ย มีความเจ็บป่วยมาก
ตาบอด เป็นง่อย เป็นคนกระจอก หรือเป็นโรคอัมพาต มักไม่ได้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน
ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีป และเขายัง
ประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ
วินิบาต นรก บุคคลผู้มืดมาและมืดไป เป็นอย่างนี้แล


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๔.มจลวรรค ๕.ตโมตมสูตร

บุคคลผู้มืดมาแต่สว่างไป เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เกิดในตระกูลต่ำ คือ ตระกูลจัณฑาล ตระกูลช่างสาน
ตระกูลนายพราน ตระกูลช่างรถ หรือตระกูลคนเทขยะ เป็นตระกูลยากจน มีข้าว
น้ำและสิ่งของเครื่องใช้น้อย เป็นไปอย่างฝืดเคือง เป็นแหล่งที่หาของกินและเครื่อง
นุ่งห่มได้ยาก และเขามีผิวพรรณหม่นหมอง ไม่น่าดู ต่ำเตี้ย มีความเจ็บป่วยมาก
ตาบอด เป็นง่อย เป็นคนกระจอก หรือเป็นโรคอัมพาต มักไม่ได้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน
ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีป แต่เขา
ประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
บุคคลผู้มืดมาแต่สว่างไป เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้สว่างมาแต่มืดไป เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เกิดในตระกูลสูง คือ ตระกูลขัตติยมหาศาล ตระกูล
พราหมณมหาศาล หรือตระกูลคหบดีมหาศาล๑ เป็นตระกูลมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก
มีโภคะมาก มีทองและเงินมาก มีเครื่องใช้ที่น่าปลื้มใจมากมาย มีทรัพย์และธัญชาติ
มากมาย และเขามีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส มีผิวพรรณผุดผ่องยิ่งนัก ได้ข้าว น้ำ
ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีป แต่
เขาประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ
วินิบาต นรก บุคคลผู้สว่างมาแต่มืดไป เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้สว่างมาและสว่างไป เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เกิดในตระกูลสูง คือ ตระกูลขัตติยมหาศาล ตระกูล
พราหมณมหาศาล หรือตระกูลคหบดีมหาศาล เป็นตระกูลมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มี
โภคะมาก มีทองและเงินมาก มีเครื่องใช้ที่น่าปลื้มใจมากมาย มีทรัพย์และธัญชาติ
มากมาย และเขามีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส มีผิวพรรณผุดผ่องยิ่งนัก ได้ข้าว น้ำ
ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีป


>>>>> หน้าต่อไป >>>>>





eXTReMe Tracker