ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ



จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อความสะดวก และสวยงาม
(เฉพาะหน้าจอใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์)
กรุณาคลิก จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อให้กรอบ
ค้นข้อความ ปรากฎที่ด้านซ้ายของหน้า

พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎกที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑. อวิชชาวรรค ๑. อวิชชาสูตร

พระสุตตันตปิฎก
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๑. มัคคสังยุต
๑. อวิชชาวรรค
หมวดว่าด้วยอวิชชา
๑. อวิชชาสูตร
ว่าด้วยอวิชชา

[๑] ข้าพเจ้า๑ได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลาย
มาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย อวิชชา (ความไม่รู้แจ้ง) เป็นประธานแห่งการเข้าถึงอกุศลธรรม
ทั้งหลาย อหิริกะ (ความไม่ละอายบาป) อโนตตัปปะ (ความไม่เกรงกลัวบาป) ก็มี
ตามมาด้วย


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑. อวิชชาวรรค ๒. อุปัฑฒสูตร

๑. ผู้มีอวิชชาไม่เห็นแจ้งย่อมมีมิจฉาทิฏฐิ (เห็นผิด)
๒. ผู้มีมิจฉาทิฏฐิย่อมมีมิจฉาสังกัปปะ (ดำริผิด)
๓. ผู้มีมิจฉาสังกัปปะย่อมมีมิจฉาวาจา (เจรจาผิด)
๔. ผู้มีมิจฉาวาจาย่อมมีมิจฉากัมมันตะ (กระทำผิด)
๕. ผู้มีมิจฉากัมมันตะย่อมมีมิจฉาอาชีวะ (เลี้ยงชีพผิด)
๖. ผู้มีมิจฉาอาชีวะย่อมมีมิจฉาวายามะ (พยายามผิด)
๗. ผู้มีมิจฉาวายามะย่อมมีมิจฉาสติ (ระลึกผิด)
๘. ผู้มีมิจฉาสติย่อมมีมิจฉาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นผิด)

ภิกษุทั้งหลาย วิชชา๑ (ความรู้แจ้ง) เป็นประธานแห่งการเข้าถึงกุศลธรรมทั้งหลาย
หิริ (ความละอายบาป) และโอตตัปปะ (ความเกรงกลัวบาป) ก็มีตามมาด้วย

๑. ผู้มีวิชชาเห็นแจ้งย่อมมีสัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ)
๒. ผู้มีสัมมาทิฏฐิย่อมมีสัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
๓. ผู้มีสัมมาสังกัปปะย่อมมีสัมมาวาจา (เจรจาชอบ)
๔. ผู้มีสัมมาวาจาย่อมมีสัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ)
๕. ผู้มีสัมมากัมมันตะย่อมมีสัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ)
๖. ผู้มีสัมมาอาชีวะย่อมมีสัมมาวายามะ (พยายามชอบ)
๗. ผู้มีสัมมาวายามะย่อมมีสัมมาสติ (ระลึกชอบ)
๘. ผู้มีสัมมาสติย่อมมีสัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ)”๒

อวิชชาสูตรที่ ๑ จบ

๒. อุปัฑฒสูตร
ว่าด้วยความเป็นผู้มีมิตรดีเป็นพรหมจรรย์กึ่งหนึ่ง
[๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของเจ้าศากยะ ชื่อว่าสักกระ
แคว้นสักกะ ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑. อวิชชาวรรค ๒. อุปัฑฒสูตร

ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ความเป็นผู้มีมิตรดี๑ มีสหายดี๒ มีเพื่อนดี๓ เป็นพรหมจรรย์๔กึ่งหนึ่ง”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อย่ากล่าวอย่างนั้น อานนท์ อย่ากล่าวอย่างนั้น
อานนท์ ที่จริง ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี เป็นพรหมจรรย์ทั้งหมด
ทีเดียว อานนท์ ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดีพึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญ
อริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค
มีองค์ ๘ ให้มาก อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก (ความสงัด) อาศัยวิราคะ (ความคลาย
กำหนัด) อาศัยนิโรธ (ความดับ) น้อมไปในโวสสัคคะ (ความสละ)
๒. เจริญสัมมาสังกัปปะอันอาศัยวิเวก ...
๓. เจริญสัมมาวาจา ...
๔. เจริญสัมมากัมมันตะ ...
๕. เจริญสัมมาอาชีวะ ...
๖. เจริญสัมมาวายามะ ...
๗. เจริญสัมมาสติ ...
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อม
ไปในโวสสัคคะ

ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค
มีองค์ ๘ ให้มาก อย่างนี้แล


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑. อวิชชาวรรค ๓. สารีปุตตสูตร

อนึ่ง ข้อที่ว่าความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี เป็นพรหมจรรย์ทั้งหมด
ทีเดียวนั้นพึงทราบโดยปริยายนี้ ด้วยว่าเพราะอาศัยเราผู้เป็นมิตรดี เหล่าสัตว์ผู้มี
ชาติ (ความเกิด) เป็นธรรมดาย่อมพ้นจากชาติ ผู้มีชรา (ความแก่) เป็นธรรมดาย่อม
พ้นจากชรา ผู้มีมรณะ (ความตาย) เป็นธรรมดาย่อมพ้นจากมรณะ ผู้มีโสกะ (ความ
เศร้าโศก) ปริเทวะ (ความคร่ำครวญ) ทุกข์ (ความทุกข์กาย) โทมนัส (ความทุกข์ใจ)
และอุปายาส (ความคับแค้นใจ) เป็นธรรมดาย่อมพ้นจากโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
และอุปายาส

อานนท์ ข้อที่ว่าความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี เป็นพรหมจรรย์
ทั้งหมดทีเดียวนั้นพึงทราบโดยปริยายนี้แล”

อุปัฑฒสูตรที่ ๒ จบ

๓. สารีปุตตสูตร
ว่าด้วยพระสารีบุตร

[๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี เป็นพรหมจรรย์ทั้งหมดทีเดียว”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ถูกละ ถูกละ สารีบุตร ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี
มีเพื่อนดี เป็นพรหมจรรย์ทั้งหมด สารีบุตร ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี
พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค
มีองค์ ๘ ให้มาก อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อม
ไปในโวสสัคคะ
ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑. อวิชชาวรรค ๔. ชาณุสโสณิพราหมณสูตร

๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อม
ไปในโวสสัคคะ
ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค
มีองค์ ๘ ให้มาก อย่างนี้แล

สารีบุตร อนึ่ง ข้อที่ว่าความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี เป็นพรหมจรรย์
ทั้งหมดนั้น พึงทราบโดยปริยายนี้ ด้วยว่าเพราะอาศัยเราผู้เป็นมิตรดี เหล่าสัตว์ผู้
มีชาติเป็นธรรมดาย่อมพ้นจากชาติ ผู้มีชราเป็นธรรมดาย่อมพ้นจากชรา ผู้มีมรณะ
เป็นธรรมดาย่อมพ้นจากมรณะ ผู้มีโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
เป็นธรรมดาย่อมพ้นจากโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
สารีบุตร ข้อที่ว่าความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี เป็นพรหมจรรย์
ทั้งหมดนั้น พึงทราบโดยปริยายนี้แล”

สารีปุตตสูตรที่ ๓ จบ

๔. ชาณุสโสณิพราหมณสูตร
ว่าด้วยชาณุสโสณิพราหมณ์

[๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้นในเวลาเช้า ท่านพระอานนท์ครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร๑เข้าไป
บิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี ได้เห็นพราหมณ์ชื่อชาณุสโสณิออกจากกรุงสาวัตถีด้วยรถ
เทียมด้วยม้าขาวล้วน นัยว่า ม้าที่เทียมเป็นม้าขาว เครื่องประดับขาว ตัวรถขาว


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑. อวิชชาวรรค ๔. ชาณุสโสณิพราหมณสูตร

ประทุนขาว เชือกขาว ด้ามประตักขาว ร่มขาว ผ้าโพกขาว ผ้านุ่งขาว รองเท้าขาว
และพัดวาลวีชนี (พัดหรือแส้ขนจามรี) ก็ขาว ชนทั้งหลายเห็นท่านแล้วพากันพูด
อย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ยานประเสริฐหนอ รูปของยานก็ประเสริฐหนอ”
ต่อมา ท่านพระอานนท์เที่ยวบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี กลับจากบิณฑบาต
ภายหลังฉันภัตตาหารเสร็จแล้วจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ในเวลาเช้า ข้าพระองค์ครองอันตรวาสก ถือบาตร
และจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี ได้เห็นชาณุสโสณิพราหมณ์ออกจากกรุง
สาวัตถีด้วยรถเทียมด้วยม้าขาวล้วน นัยว่า ม้าที่เทียมเป็นม้าขาว เครื่องประดับขาว
ตัวรถขาว ประทุนขาว เชือกขาว ด้ามประตักขาว ร่มขาว ผ้าโพกขาว ผ้านุ่งขาว
รองเท้าขาว และพัดวาลวีชนีก็ขาว ชนทั้งหลายเห็นท่านแล้วพากันพูดว่า ‘ท่าน
ผู้เจริญ ยานประเสริฐหนอ รูปของยานก็ประเสริฐหนอ’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
พระองค์อาจทรงบัญญัติยานอันประเสริฐในพระธรรมวินัยนี้ได้หรือหนอ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ อาจบัญญัติได้ คำว่า ‘ยานอันประเสริฐ’
นั้นเป็นชื่อของอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เอง เรียกว่า พรหมยานบ้าง ธรรมยานบ้าง
รถพิชัยสงครามอันยอดเยี่ยมบ้าง

สัมมาทิฏฐิที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว เป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ
และโมหะเป็นที่สุด
สัมมาสังกัปปะที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว เป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ
และโมหะเป็นที่สุด
สัมมาวาจาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว เป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ
และโมหะเป็นที่สุด
สัมมากัมมันตะที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว เป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ
และโมหะเป็นที่สุด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑. อวิชชาวรรค ๔. ชาณุสโสณิพราหมณสูตร

สัมมาอาชีวะที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว เป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ
และโมหะเป็นที่สุด
สัมมาวายามะที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว เป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ
และโมหะเป็นที่สุด
สัมมาสติที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว เป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ
และโมหะเป็นที่สุด
สัมมาสมาธิที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว เป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ
และโมหะเป็นที่สุด

คำว่า ‘ยานอันประเสริฐ’ นั้นเป็นชื่อของอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เอง เรียกว่า
พรหมยานบ้าง ธรรมยานบ้าง รถพิชัยสงครามอันยอดเยี่ยมบ้างนั้น พึงทราบโดย
ปริยายนี้แล”

พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา-
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า

“รถ๑ใดมีธรรมคือศรัทธาและปัญญาเป็นแอกทุกเมื่อ
มีหิริเป็นงอน มีใจเป็นเชือก
มีสติเป็นนายสารถีผู้คอยควบคุม
รถนี้มีศีล๒เป็นเครื่องประดับ
มีฌาน๓เป็นเพลา มีความเพียรเป็นล้อ
มีอุเบกขาเป็นทูบ๔ มีความไม่อยากได้เป็นประทุน


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑. อวิชชาวรรค ๕. กิมัตถิยสูตร

กุลบุตรใดมีความไม่พยาบาท
มีความไม่เบียดเบียนและมีวิเวก๑เป็นอาวุธ
มีความอดทนเป็นเกราะหนัง
กุลบุตรนั้นย่อมประพฤติเพื่อความเกษมจากโยคะ
พรหมยานอันยอดเยี่ยมนี้
เกิดแล้วในตนของบุคคลเหล่าใด
บุคคลเหล่านั้นเป็นนักปราชญ์ มีชัยชนะ
ย่อมออกไปจากโลกโดยแท้”

ชาณุสโสณิพราหมณสูตรที่ ๔ จบ

๕. กิมัตถิยสูตร
ว่าด้วยคำถามเกี่ยวกับประโยชน์ของการประพฤติพรหมจรรย์

[๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ภิกษุหลายรูปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอประทานวโรกาส พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกถามข้าพระองค์ทั้งหลายอย่างนี้ว่า
‘ผู้มีอายุทั้งหลาย พวกท่านอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดมเพื่อประโยชน์
อะไร’ ข้าพระองค์ทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว จึงตอบอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น
อย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย พวกเราอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค
เพื่อกำหนดรู้ทุกข์’ ข้าพระองค์ทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว ตอบอย่างนี้ ชื่อว่า
พูดตรงตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำเท็จหรือ
ชื่อว่ากล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผลหรือ ไม่มีบ้างหรือที่คำเช่นนั้นและคำที่กล่าวต่อ ๆ
กันมาจะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑. อวิชชาวรรค ๖. ปฐมอัญญตรภิกขุสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “เอาเถิด ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายถูกถาม
อย่างนั้นแล้ว ตอบอย่างนั้น ชื่อว่าพูดตรงตามคำที่เรากล่าวไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่เรา
ด้วยคำเท็จ ชื่อว่ากล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผล ไม่มีคำเช่นนั้นและคำที่กล่าวต่อ ๆ
กันมาที่จะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้ เพราะเธอทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในเรา
เพื่อกำหนดรู้ทุกข์ ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอัญเดียรถีย์ปริพาชกพึงถามเธอทั้งหลายว่า
‘ผู้มีอายุทั้งหลาย มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้ทุกข์นั้นอยู่หรือ’ เธอทั้งหลาย
ถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงตอบอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย
มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้ทุกข์นั้นอยู่’
มรรค เป็นอย่างไร ปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้ทุกข์นั้น เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล ได้แก่

๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้คือมรรค นี้คือปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้ทุกข์
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงตอบอัญเดียรถีย์ปริพาชก
เหล่านั้นอย่างนี้”

กิมัตถิยสูตรที่ ๕ จบ

๖. ปฐมอัญญตรภิกขุสูตร
ว่าด้วยภิกษุรูปหนึ่งทูลถามปัญหา สูตรที่ ๑

[๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
พระองค์ตรัสว่า ‘พรหมจรรย์ พรหมจรรย์’ พรหมจรรย์เป็นอย่างไร ที่สุดแห่ง
พรหมจรรย์เป็นอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แลเป็นพรหมจรรย์
ได้แก่

๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
ธรรมเป็นที่สิ้นราคะ โทสะ และโมหะ นี้เป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์”

ปฐมอัญญตรภิกขุสูตรที่ ๖ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑. อวิชชาวรรค ๘. วิภังคสูตร

๗. ทุติยอัญญตรภิกขุสูตร
ว่าด้วยภิกษุรูปหนึ่งทูลถามปัญหา สูตรที่ ๒

[๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว
นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์
ตรัสว่า ‘ธรรมเป็นที่กำจัดราคะ โทสะ และโมหะ’ คำว่า ‘ธรรมเป็นที่กำจัดราคะ
โทสะ และโมหะ’ นี้เป็นชื่อของอะไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ คำว่า ‘ธรรมเป็นที่กำจัดราคะ โทสะ และ
โมหะ’ นี้เป็นชื่อของนิพพานธาตุ๑ เพราะเหตุนั้นจึงเรียกว่า ธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะ”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุนั้นได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคต่อไป
ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า ‘อมตะ อมตะ’ อมตะเป็นอย่างไร
ทางที่ให้ถึงอมตะเป็นอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ ธรรมเป็นที่สิ้นราคะ โทสะ และโมหะ
นี้เรียกว่า อมตะ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แลเป็นทางที่ให้ถึงอมตะ ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ

ทุติยอัญญตรภิกขุสูตรที่ ๗ จบ

๘. วิภังคสูตร
ว่าด้วยการจำแนกอริยมรรค

[๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง จักจำแนกอริยมรรคมี
องค์ ๘ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑. อวิชชาวรรค ๘. วิภังคสูตร

“ภิกษุทั้งหลาย อริยมรรคมีองค์ ๘ อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
สัมมาทิฏฐิ เป็นอย่างไร
คือ ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย (เหตุเกิดทุกข์) ความรู้ในทุกขนิโรธ
(ความดับทุกข์) ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับทุกข์)
นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ
สัมมาสังกัปปะ เป็นอย่างไร
คือ ความดำริในเนกขัมมะ (การออกจากกาม) ความดำริในอพยาบาท (ความ
ไม่พยาบาท) ความดำริในอวิหิงสา (การไม่เบียดเบียน)
นี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ
สัมมาวาจา เป็นอย่างไร
คือ เจตนาเป็นเหตุเว้นจากมุสาวาท (พูดเท็จ) เจตนาเป็นเหตุเว้นจากปิสุณา-
วาจา (พูดส่อเสียด) เจตนาเป็นเหตุเว้นจากผรุสวาจา (พูดคำหยาบ) เจตนาเป็น
เหตุเว้นจากสัมผัปปลาปะ (พูดเพ้อเจ้อ)
นี้เรียกว่า สัมมาวาจา
สัมมากัมมันตะ เป็นอย่างไร
คือ เจตนาเป็นเหตุเว้นจากปาณาติบาต (การฆ่าสัตว์) เจตนาเป็นเหตุเว้นจาก
อทินนาทาน (การลักทรัพย์) เจตนาเป็นเหตุเว้นจากอพรหมจรรย์ (พฤติกรรมอัน
เป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์)
นี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ
สัมมาอาชีวะ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ละมิจฉาอาชีวะ สำเร็จการเลี้ยงชีพด้วยสัมมา-
อาชีวะ
นี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑. อวิชชาวรรค ๘. วิภังคสูตร

สัมมาวายามะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น๑
เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น
๒. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
๓. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
๔. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญ
เต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
นี้เรียกว่า สัมมาวายามะ
สัมมาสติ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกได้


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต] ๑. อวิชชาวรรค ๙. สูกสูตร

๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย๑อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
นี้เรียกว่า สัมมาสติ
สัมมาสมาธิ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก
วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่
๒. เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสในภายใน
มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่
ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่
๓. เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวย
สุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า
‘ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข’
๔. เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน บรรลุ
จตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่
นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ”

วิภังคสูตรที่ ๘ จบ

๙. สูกสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยเดือย

[๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้เลยที่เดือยข้าวสาลีหรือ
เดือยข้าวเหนียวที่บุคคลตั้งไว้ไม่ตรงจักตำมือหรือเท้าที่ไปกระทบเข้าหรือทำให้เลือดออก


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑. อวิชชาวรรค ๑๐. นันทิยสูตร

ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะตั้งเดือยข้าวไว้ไม่ตรง แม้ฉันใด เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุ
รูปนั้นมีทิฏฐิที่ตั้งไว้ผิด มีมรรคภาวนาที่ตั้งไว้ผิด จักทำลายอวิชชา ให้วิชชาเกิดขึ้น
ทำนิพพานให้แจ้ง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะตั้งทิฏฐิไว้ผิด ฉันนั้นเหมือนกัน
ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปได้ที่เดือยข้าวสาลีหรือเดือยข้าวเหนียวที่บุคคลตั้งไว้ตรง
จักตำมือหรือเท้าที่ไปกระทบเข้าหรือทำให้เลือดออก ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะตั้ง
เดือยข้าวไว้ตรง แม้ฉันใด เป็นไปได้ที่ภิกษุรูปนั้นมีทิฏฐิที่ตั้งไว้ถูก มีมรรคภาวนาที่
ตั้งไว้ถูก จักทำลายอวิชชา ให้วิชชาเกิดขึ้น ทำนิพพานให้แจ้ง ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะตั้งทิฏฐิไว้ถูก ฉันนั้นเหมือนกัน๑
ภิกษุมีทิฏฐิที่ตั้งไว้ถูก มีมรรคภาวนาที่ตั้งไว้ถูก ย่อมทำลายอวิชชา ให้
วิชชาเกิดขึ้น ทำนิพพานให้แจ้ง อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีทิฏฐิที่ตั้งไว้ถูก มีมรรคภาวนาที่ตั้งไว้ถูก ย่อมทำลาย
อวิชชา ให้วิชชาเกิดขึ้น ทำนิพพานให้แจ้ง เป็นอย่างนี้แล”

สูกสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. นันทิยสูตร
ว่าด้วยนันทิยปริพาชก

[๑๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้นแล นันทิยปริพาชกเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนา
ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถาม
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ธรรมเหล่าไหนที่บุคคลเจริญ ทำ
ให้มากแล้ว ย่อมให้ถึงนิพพาน มีนิพพานเป็นเบื้องหน้า มีนิพพานเป็นที่สุด”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑. อวิชชาวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “นันทิยะ ธรรม ๘ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ
ทำให้มากแล้ว ย่อมให้ถึงนิพพาน มีนิพพานเป็นเบื้องหน้า มีนิพพานเป็นที่สุด
ธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ

นันทิยะ ธรรม ๘ ประการนี้แลที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมให้ถึงนิพพาน
มีนิพพานเป็นเบื้องหน้า มีนิพพานเป็นที่สุด”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว นันทิยปริพาชกได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก
ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านพระ
โคดมทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของ
ที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด๑ ด้วยตั้งใจว่า
‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’ ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดมพร้อมทั้งพระธรรมและ
พระสงฆ์เป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”

นันทิยสูตรที่ ๑๐ จบ
อวิชชาวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อวิชชาสูตร ๒. อุปัฑฒสูตร
๓. สารีปุตตสูตร ๔. ชาณุสโสณิพราหมณสูตร
๕. กิมัตถิยสูตร ๖. ปฐมอัญญตรภิกขุสูตร
๗. ทุติยอัญญตรภิกขุสูตร ๘. วิภังคสูตร
๙. สูกสูตร ๑๐. นันทิยสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๒. วิหารวรรค ๑. ปฐมวิหารสูตร

๒. วิหารวรรค
หมวดว่าด้วยวิหารธรรม
๑. ปฐมวิหารสูตร
ว่าด้วยวิหารธรรม สูตรที่ ๑

[๑๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราปรารถนาจะหลีกเร้นสักครึ่งเดือน
ใคร ๆ อย่าเข้าไปหาเรา ยกเว้นภิกษุผู้นำอาหารบิณฑบาตเข้าไปให้รูปเดียว”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว ในครึ่งเดือนนี้จึงไม่มีใครเข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคเลย ยกเว้นภิกษุผู้นำอาหารบิณฑบาตไปทูลถวายรูปเดียว
ครั้นครึ่งเดือนนั้นผ่านไป พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้นแล้ว รับสั่ง
เรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรานั้นแรกตรัสรู้ ได้อยู่ด้วยส่วนแห่ง
วิหารธรรม (ธรรมเป็นเครื่องอยู่) รู้ชัดอย่างนี้ว่า
‘เพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี
เพราะสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี
ฯลฯ
เพราะมิจฉาสมาธิเป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี
เพราะสัมมาสมาธิเป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี
เพราะฉันทะเป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี
เพราะวิตกเป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี
เพราะสัญญาเป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี
เพราะฉันทะ วิตก และสัญญาเป็นธรรมไม่สงบเป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี
เพราะฉันทะ วิตก และสัญญาเป็นธรรมสงบเป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี
ความพยายามเพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ๑มีอยู่ แต่เพราะเมื่อยังไม่ได้บรรลุ
ฐานะ๒นั้นเป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี”

ปฐมวิหารสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๒. วิหารวรรค ๒. ทุติยวิหารสูตร

๒. ทุติยวิหารสูตร
ว่าด้วยวิหารธรรม สูตรที่ ๒

[๑๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เราปรารถนาจะหลีกเร้นตลอด ๓ เดือน ใคร ๆ อย่าเข้าไป
หาเรา ยกเว้นภิกษุผู้นำอาหารบิณฑบาตเข้าไปให้รูปเดียว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ
สนองพระดำรัสแล้ว ใน ๓ เดือนนี้จึงไม่มีใครเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเลย ยก
เว้นภิกษุผู้นำอาหารบิณฑบาตเข้าไปทูลถวายรูปเดียว
ครั้น ๓ เดือนนั้นผ่านไป พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้นแล้ว รับสั่ง
เรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรานั้นแรกตรัสรู้ ได้อยู่ด้วยส่วนแห่ง
วิหารธรรม รู้ชัดอย่างนี้ว่า
‘เพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี
เพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นธรรมสงบเป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี
เพราะสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี
เพราะสัมมาทิฏฐิเป็นธรรมสงบเป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี
ฯลฯ
เพราะมิจฉาสมาธิเป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี
เพราะมิจฉาสมาธิเป็นธรรมสงบเป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี
เพราะสัมมาสมาธิเป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี
เพราะสัมมาสมาธิเป็นธรรมสงบเป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี
เพราะฉันทะเป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี
เพราะฉันทะเป็นธรรมสงบเป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี
เพราะวิตกเป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี
เพราะวิตกเป็นธรรมสงบเป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี
เพราะสัญญาเป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี
เพราะสัญญาเป็นธรรมสงบเป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๒. วิหารวรรค ๔. ปฐมอุปปาทสูตร

เพราะฉันทะ วิตก และสัญญาเป็นธรรมไม่สงบเป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี
เพราะฉันทะ วิตก และสัญญาเป็นธรรมสงบเป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี
ความพยายามเพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ มีอยู่ แต่เพราะเมื่อยังไม่ได้บรรลุ
ฐานะนั้นเป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี”

ทุติยวิหารสูตรที่ ๒ จบ

๓. เสกขสูตร
ว่าด้วยองค์คุณของพระเสขะ

[๑๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง ณ
ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า
‘พระเสขะ พระเสขะ’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุจึงชื่อว่าเป็นพระเสขะ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุในธรรมวินัยนี้ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิอัน
เป็นของพระเสขะ๑ ฯลฯ ประกอบด้วยสัมมาสมาธิอันเป็นของพระเสขะ ด้วยเหตุ
เพียงเท่านี้แล ภิกษุจึงชื่อว่าเป็นพระเสขะ”

เสกขสูตรที่ ๓ จบ

๔. ปฐมอุปปาทสูตร
ว่าด้วยความเกิดขึ้นแห่งธรรม สูตรที่ ๑

[๑๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ที่ยังไม่
เกิดย่อมเกิดขึ้น เว้นความอุบัติขึ้นของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อมไม่
เกิดขึ้น


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๒. วิหารวรรค ๕. ทุติยอุปปาทสูตร

ธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ที่ยังไม่เกิด
ย่อมเกิดขึ้น เว้นความอุบัติขึ้นของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อมไม่
เกิดขึ้น”

ปฐมอุปปาทสูตรที่ ๔ จบ

๕. ทุติยอุปปาทสูตร
ว่าด้วยความเกิดขึ้นแห่งธรรม สูตรที่ ๒

[๑๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ที่ยังไม่
เกิดย่อมเกิดขึ้น เว้นวินัยของพระสุคต๑ ย่อมไม่เกิดขึ้น
ธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้ ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ที่ยังไม่
เกิดย่อมเกิดขึ้น เว้นวินัยของพระสุคต ย่อมไม่เกิดขึ้น”

ทุติยอุปปาทสูตรที่ ๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๒. วิหารวรรค ๗. ทุติยปริสุทธสูตร

๖. ปฐมปริสุทธสูตร
ว่าด้วยธรรมอันบริสุทธิ์ สูตรที่ ๑

[๑๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน๑
ปราศจากความเศร้าหมอง ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น เว้นความอุบัติขึ้นของพระ
ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อมไม่เกิดขึ้น
ธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ

ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้แลบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน
ปราศจากความเศร้าหมอง ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น เว้นความอุบัติขึ้นของพระ
ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อมไม่เกิดขึ้น”

ปฐมปริสุทธสูตรที่ ๖ จบ

๗. ทุติยปริสุทธสูตร
ว่าด้วยธรรมอันบริสุทธิ์ สูตรที่ ๒

[๑๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน
ปราศจากความเศร้าหมอง ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น เว้นวินัยของพระสุคต ย่อมไม่
เกิดขึ้น
ธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๒. วิหารวรรค ๘. ปฐมกุกกุฏารามสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้แลบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน
ปราศจากความเศร้าหมอง ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น เว้นวินัยของพระสุคต ย่อมไม่
เกิดขึ้น”

ทุติยปริสุทธสูตรที่ ๗ จบ

๘. ปฐมกุกกุฏารามสูตร
ว่าด้วยการสนทนาธรรมในกุกกุฏาราม สูตรที่ ๑

[๑๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์กับท่านพระภัททะอยู่ที่กุกกุฏาราม เขตเมือง
ปาฏลีบุตร ครั้นในเวลาเย็น ท่านพระภัททะออกจากที่หลีกเร้น เข้าไปหาท่าน
พระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว
นั่ง ณ ที่สมควร ได้เรียนถามท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า
“ท่านอานนท์ ที่เรียกกันว่า ‘อพรหมจรรย์ อพรหมจรรย์’ อพรหมจรรย์
เป็นอย่างไร”
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ดีละ ดีละ ท่านภัททะ ปัญญาใฝ่รู้๑ของท่าน
ดีนัก ปฏิภาณดีนัก สอบถามเข้าที ก็ท่านถามว่า ‘ที่เรียกกันว่า ‘อพรหมจรรย์
อพรหมจรรย์’ อพรหมจรรย์เป็นอย่างไร’ อย่างนั้นหรือ”
“อย่างนั้น ผู้มีอายุ”
“ผู้มีอายุ มิจฉามรรค (ทางผิด) มีองค์ ๘ นี้แลเป็นอพรหมจรรย์ ได้แก่

๑. มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. มิจฉาสมาธิ

ปฐมกุกกุฏารามสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๒. วิหารวรรค ๑๐. ตติยกุกกุฏารามสูตร

๙. ทุติยกุกกุฏารามสูตร
ว่าด้วยการสนทนาธรรมในกุกกุฏาราม สูตรที่ ๒

[๑๙] เรื่องเกิดขึ้นที่เมืองปาฏลีบุตร
ท่านพระภัททะได้เรียนถามท่านพระอานนท์ว่า “ท่านอานนท์ ที่เรียกกันว่า
‘พรหมจรรย์ พรหมจรรย์’ พรหมจรรย์เป็นอย่างไร ที่สุดแห่งพรหมจรรย์เป็นอย่างไร”
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ดีละ ดีละ ท่านภัททะ ปัญญาใฝ่รู้ของท่านดีนัก
ปฏิภาณดีนัก สอบถามเข้าที ก็ท่านถามว่า ‘ที่เรียกกันว่า ‘พรหมจรรย์ พรหมจรรย์’
พรหมจรรย์เป็นอย่างไร ที่สุดแห่งพรหมจรรย์เป็นอย่างไร’ อย่างนั้นหรือ”
“อย่างนั้น ผู้มีอายุ”
“ผู้มีอายุ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แลเป็นพรหมจรรย์ ได้แก่

๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ

ธรรมเป็นที่สิ้นราคะ โทสะ และโมหะ นี้เป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์”

ทุติยกุกกุฏารามสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ตติยกุกกุฏารามสูตร
ว่าด้วยการสนทนาธรรมในกุกกุฏาราม สูตรที่ ๓

[๒๐] เรื่องเกิดขึ้นที่เมืองปาฏลีบุตร
ท่านพระภัททะได้เรียนถามท่านพระอานนท์ว่า “ท่านอานนท์ ที่เรียกกันว่า
‘พรหมจรรย์ พรหมจรรย์’ พรหมจรรย์เป็นอย่างไร พรหมจารีเป็นอย่างไร ที่สุด
แห่งพรหมจรรย์เป็นอย่างไร”
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ดีละ ดีละ ท่านภัททะ ปัญญาใฝ่รู้ของท่านดีนัก
ปฏิภาณดีนัก สอบถามเข้าที ก็ท่านถามว่า ‘ที่เรียกกันว่า ‘พรหมจรรย์ พรหมจรรย์’
พรหมจรรย์เป็นอย่างไร พรหมจารีเป็นอย่างไร ที่สุดแห่งพรหมจรรย์เป็นอย่างไร’
อย่างนั้นหรือ”
“อย่างนั้น ผู้มีอายุ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๒. วิหารวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

“ผู้มีอายุ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แลเป็นพรหมจรรย์ ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
บุคคลผู้ประกอบด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เรียกว่า พรหมจารี
ธรรมเป็นที่สิ้นราคะ โทสะ และโมหะ นี้เป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์”

พระสูตร ๓ สูตร มีเหตุเกิดอย่างเดียวกัน

ตติยกุกกุฏารามสูตรที่ ๑๐ จบ
วิหารวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมวิหารสูตร ๒. ทุติยวิหารสูตร
๓. เสกขสูตร ๔. ปฐมอุปปาทสูตร
๕. ทุติยอุปปาทสูตร ๖. ปฐมปริสุทธสูตร
๗. ทุติยปริสุทธสูตร ๘. ปฐมกุกกุฏารามสูตร
๙. ทุติยกุกกุฏารามสูตร ๑๐. ตติยกุกกุฏารามสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๓. มิจฉัตตวรรค ๒. อกุสลธัมมสูตร

๓. มิจฉัตตวรรค
หมวดว่าด้วยมิจฉัตตธรรม
๑. มิจฉัตตสูตร
ว่าด้วยมิจฉัตตธรรม

[๒๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงมิจฉัตตธรรม (ธรรมที่ผิด)
และสัมมัตตธรรม (ธรรมที่ชอบ) แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง

มิจฉัตตธรรม อะไรบ้าง คือ
๑. มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. มิจฉาสมาธิ
นี้เรียกว่า มิจฉัตตธรรม

สัมมัตตธรรม อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้เรียกว่า สัมมัตตธรรม”

มิจฉัตตสูตรที่ ๑ จบ

๒. อกุสลธัมมสูตร
ว่าด้วยอกุศลธรรม

[๒๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอกุศลธรรมและกุศลธรรมแก่เธอทั้งหลาย เธอ
ทั้งหลายจงฟัง

อกุศลธรรม อะไรบ้าง คือ
๑. มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. มิจฉาสมาธิ
นี้เรียกว่า อกุศลธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๓. มิจฉัตตวรรค ๔. ทุติยปฏิปทาสูตร

กุศลธรรม อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้เรียกว่า กุศลธรรม”

อกุสลธัมมสูตรที่ ๒ จบ

๓. ปฐมปฏิปทาสูตร
ว่าด้วยปฏิปทา สูตรที่ ๑

[๒๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงมิจฉาปฏิปทา (ข้อปฏิบัติผิด) และสัมมาปฏิปทา
(ข้อปฏิบัติชอบ) แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง

มิจฉาปฏิปทา อะไรบ้าง คือ
๑. มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. มิจฉาสมาธิ
นี้เรียกว่า มิจฉาปฏิปทา

สัมมาปฏิปทา อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้เรียกว่า สัมมาปฏิปทา”

ปฐมปฏิปทาสูตรที่ ๓ จบ

๔. ทุติยปฏิปทาสูตร
ว่าด้วยปฏิปทา สูตรที่ ๒

[๒๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เราไม่สรรเสริญมิจฉาปฏิปทาของคฤหัสถ์หรือบรรพชิต คฤหัสถ์
หรือบรรพชิตผู้ปฏิบัติผิดย่อมทำญายธรรม๑ที่เป็นกุศลให้สำเร็จไม่ได้ เพราะเหตุแห่ง
การปฏิบัติผิด


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๓. มิจฉัตตวรรค ๕. ปฐมอสัปปุริสสูตร

มิจฉาปฏิปทา อะไรบ้าง คือ
๑. มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. มิจฉาสมาธิ
นี้เรียกว่า มิจฉาปฏิปทา
เราไม่สรรเสริญมิจฉาปฏิปทาของคฤหัสถ์หรือบรรพชิต คฤหัสถ์หรือบรรพชิต
ผู้ปฏิบัติผิดย่อมทำญายธรรมที่เป็นกุศลให้สำเร็จไม่ได้ เพราะเหตุแห่งการปฏิบัติผิด
ภิกษุทั้งหลาย แต่เราสรรเสริญสัมมาปฏิปทาของคฤหัสถ์หรือบรรพชิต คฤหัสถ์
หรือบรรพชิตผู้ปฏิบัติชอบย่อมทำญายธรรมที่เป็นกุศลให้สำเร็จได้ เพราะเหตุแห่ง
การปฏิบัติชอบ

สัมมาปฏิปทา อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้เรียกว่า สัมมาปฏิปทา
เราสรรเสริญสัมมาปฏิปทาของคฤหัสถ์หรือบรรพชิต คฤหัสถ์หรือบรรพชิตผู้
ปฏิบัติชอบย่อมทำญายธรรมที่เป็นกุศลให้สำเร็จได้ เพราะเหตุแห่งการปฏิบัติชอบ”

ทุติยปฏิปทาสูตรที่ ๔ จบ

๕. ปฐมอสัปปุริสสูตร
ว่าด้วยอสัตบุรุษ สูตรที่ ๑

[๒๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอสัตบุรุษและสัตบุรุษแก่เธอทั้งหลาย เธอ
ทั้งหลายจงฟัง
อสัตบุรุษ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีมิจฉาทิฏฐิ มีมิจฉาสังกัปปะ มีมิจฉาวาจา
มีมิจฉากัมมันตะ มีมิจฉาอาชีวะ มีมิจฉาวายามะ มีมิจฉาสติ มีมิจฉาสมาธิ
บุคคลนี้เรียกว่า อสัตบุรุษ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๓. มิจฉัตตวรรค ๖. ทุติยอสัปปุริสสูตร

สัตบุรุษ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ มีสัมมาสังกัปปะ มีสัมมาวาจา
มีสัมมากัมมันตะ มีสัมมาอาชีวะ มีสัมมาวายามะ มีสัมมาสติ มีสัมมาสมาธิ
บุคคลนี้เรียกว่า สัตบุรุษ”

ปฐมอสัปปุริสสูตรที่ ๕ จบ

๖. ทุติยอสัปปุริสสูตร
ว่าด้วยอสัตบุรุษ สูตรที่ ๒

[๒๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอสัตบุรุษและอสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัตบุรุษ และ
จักแสดงสัตบุรุษและสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าสัตบุรุษแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง

อสัตบุรุษ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ มีมิจฉาสมาธิ
บุคคลนี้เรียกว่า อสัตบุรุษ
อสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัตบุรุษ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ มีมิจฉาสมาธิ มีมิจฉา-
ญาณะ (รู้ผิด) มีมิจฉาวิมุตติ (หลุดพ้นผิด)
บุคคลนี้เรียกว่า อสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัตบุรุษ

สัตบุรุษ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ มีสัมมาสมาธิ
บุคคลนี้เรียกว่า สัตบุรุษ
สัตบุรุษที่ยิ่งกว่าสัตบุรุษ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ มีสัมมาสมาธิ มีสัมมา-
ญาณะ (รู้ชอบ) มีสัมมาวิมุตติ (หลุดพ้นชอบ)
บุคคลนี้เรียกว่า สัตบุรุษที่ยิ่งกว่าสัตบุรุษ”

ทุติยอสัปปุริสสูตรที่ ๖ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๓. มิจฉัตตวรรค ๘. สมาธิสูตร

๗. กุมภสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยหม้อ

[๒๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย หม้อที่ไม่มีเครื่องรองรับ กลิ้งไปได้ง่าย ที่มีเครื่องรองรับ
กลิ้งไปได้ยาก แม้ฉันใด จิตก็ฉันนั้นเหมือนกัน ที่ไม่มีธรรมเครื่องรองรับ กลับกลอก
ได้ง่าย ที่มีธรรมเครื่องรองรับ กลับกลอกได้ยาก
อะไรเล่าเป็นธรรมเครื่องรองรับจิต
คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้เป็นธรรมเครื่องรองรับจิต
หม้อที่ไม่มีเครื่องรองรับ กลิ้งไปได้ง่าย ที่มีเครื่องรองรับ กลิ้งไปได้ยาก
แม้ฉันใด จิตก็ฉันนั้นเหมือนกัน ที่ไม่มีธรรมเครื่องรองรับ กลับกลอกได้ง่าย ที่มีธรรม
เครื่องรองรับ กลับกลอกได้ยาก”

กุมภสูตรที่ ๗ จบ

๘. สมาธิสูตร
ว่าด้วยสมาธิ

[๒๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอริยสัมมาสมาธิที่มีอุปนิสะ๑บ้าง ที่มีบริขาร๒บ้าง
แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
อริยสัมมาสมาธิที่มีอุปนิสะ ที่มีบริขาร อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๓. มิจฉัตตวรรค ๑๐. อุตติยสูตร

สภาวะที่จิตมีอารมณ์เดียว ซึ่งมีองค์ ๗ ประการนี้แวดล้อม เรียกว่า ‘อริย-
สัมมาสมาธิที่มีอุปนิสะ’ บ้าง ว่า ‘อริยสัมมาสมาธิที่มีบริขาร’ บ้าง”

สมาธิสูตรที่ ๘ จบ

๙. เวทนาสูตร
ว่าด้วยเวทนา

[๒๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ ประการนี้
เวทนา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สุขเวทนา (ความรู้สึกสุข)
๒. ทุกขเวทนา (ความรู้สึกทุกข์)
๓. อทุกขมสุขเวทนา (ความรู้สึกที่มิใช่สุขมิใช่ทุกข์)
เวทนา ๓ ประการนี้

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อกำหนดรู้เวทนา ๓ ประการนี้
อริยมรรคมีองค์ ๘ อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อกำหนดรู้เวทนา ๓
ประการนี้แล”

เวทนาสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. อุตติยสูตร
ว่าด้วยพระอุตติยะ

[๓๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้นแล ท่านพระอุตติยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง ณ
ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๓. มิจฉัตตวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

วโรกาส ข้าพระองค์หลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ได้เกิดความคิดคำนึงขึ้นมาว่า ‘กามคุณ ๕
ประการ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้แล้ว’ กามคุณ ๕ ประการ อะไรบ้าง ที่พระผู้
มีพระภาคได้ตรัสไว้แล้ว”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ดีละ ดีละ อุตติยะ กามคุณ ๕ ประการนี้
เราได้กล่าวไว้แล้ว

กามคุณ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
๒. เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ...
๓. กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ...
๔. รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ...
๕. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
กามคุณ ๕ ประการนี้ เราได้กล่าวไว้แล้ว

อุตติยะ บุคคลพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อละกามคุณ ๕ ประการนี้
อริยมรรคมีองค์ ๘ อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
อุตติยะ บุคคลพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อละกามคุณ ๕ ประการนี้”

อุตติยสูตรที่ ๑๐ จบ
มิจฉัตตวรรคที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. มิจฉัตตสูตร ๒. อกุสลธัมมสูตร
๓. ปฐมปฏิปทาสูตร ๔. ทุติยปฏิปทาสูตร
๕. ปฐมอสัปปุริสสูตร ๖. ทุติยอสัปปุริสสูตร
๗. กุมภสูตร ๘. สมาธิสูตร
๙. เวทนาสูตร ๑๐. อุตติยสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๔. ปฏิปัตติวรรค ๒. ทุติยปฏิปัตติสูตร

๔. ปฏิปัตติวรรค
หมวดว่าด้วยการปฏิบัติ
๑. ปฐมปฏิปัตติสูตร
ว่าด้วยการปฏิบัติ สูตรที่ ๑

[๓๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงมิจฉาปฏิบัติ (การปฏิบัติผิด)
และสัมมาปฏิบัติ (การปฏิบัติชอบ) แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
มิจฉาปฏิบัติ อะไรบ้าง คือ
๑. มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. มิจฉาสมาธิ
นี้เรียกว่า มิจฉาปฏิบัติ
สัมมาปฏิบัติ อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้เรียกว่า สัมมาปฏิบัติ”

ปฐมปฏิปัตติสูตรที่ ๑ จบ

๒. ทุติยปฏิปัตติสูตร
ว่าด้วยการปฏิบัติ สูตรที่ ๒

[๓๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงบุคคลผู้ปฏิบัติผิดและบุคคลผู้ปฏิบัติชอบแก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
บุคคลผู้ปฏิบัติผิด เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ มีมิจฉาสมาธิ
บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ปฏิบัติผิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๔. ปฏิปัตติวรรค ๓. วิรัทธสูตร

บุคคลผู้ปฏิบัติชอบ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ มีสัมมาสมาธิ
บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ปฏิบัติชอบ”

ทุติยปฏิปัตติสูตรที่ ๒ จบ

๓. วิรัทธสูตร
ว่าด้วยธรรมที่บุคคลพลาด

[๓๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย อริยมรรคมีองค์ ๘ อันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งพลาด๑แล้ว
อริยมรรคมีองค์ ๘ ที่ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ก็ชื่อว่าเป็นอันบุคคลเหล่านั้น
พลาดแล้ว
อริยมรรคมีองค์ ๘ อันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งปรารภ๒แล้ว อริยมรรคมี
องค์ ๘ ที่ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ก็ชื่อว่าเป็นอันบุคคลเหล่านั้นปรารภแล้ว
อริยมรรคมีองค์ ๘ อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
อริยมรรคมีองค์ ๘ อันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งพลาดแล้ว อริยมรรคมีองค์ ๘
ที่ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ก็ชื่อว่าเป็นอันบุคคลเหล่านั้นพลาดแล้ว
อริยมรรคมีองค์ ๘ อันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งปรารภแล้ว อริยมรรคมีองค์ ๘
ที่ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ก็ชื่อว่าเป็นอันบุคคลเหล่านั้นปรารภแล้ว”

วิรัทธสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๔. ปฏิปัตติวรรค ๔. ปารังคมสูตร

๔. ปารังคมสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ให้ถึงฝั่ง

[๓๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้วย่อมเป็น
ไปเพื่อถึงฝั่งโน้น๑ จากฝั่งนี้๒
ธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
ธรรม ๘ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อถึงฝั่งโน้น
จากฝั่งนี้”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา-
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
“ในหมู่มนุษย์ เหล่าชนผู้ไปถึงฝั่งโน้นมีจำนวนน้อย
ส่วนหมู่สัตว์นอกนี้เลาะไปตามฝั่งนี้ทั้งนั้น
ส่วนชนเหล่าใดประพฤติตามธรรม
ในธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยชอบ๓
ชนเหล่านั้นจักข้ามพ้นวัฏฏะ๔
อันเป็นบ่วงมารที่ข้ามได้แสนยาก จักถึงฝั่งโน้น


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๔. ปฏิปัตติวรรค ๕. ปฐมสามัญญสูตร

บัณฑิตละธรรมดำ๑แล้วพึงเจริญธรรมขาว๒
ออกจากที่มีน้ำ มาสู่ที่ไม่มีน้ำ๓
ละกามทั้งหลายแล้วเป็นผู้หมดความกังวล
พึงปรารถนาความยินดียิ่งในวิเวก๔ที่ยินดีได้ยากยิ่ง
บัณฑิตพึงชำระตนให้ผ่องแผ้ว
จากเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตทั้งหลาย
บัณฑิตเหล่าใดอบรมจิตโดยชอบ
ในองค์ธรรมเป็นเครื่องตรัสรู้ทั้งหลาย
ไม่ถือมั่น ยินดีในนิพพานเป็นที่สละความถือมั่น
บัณฑิตเหล่านั้นสิ้นอาสวะแล้ว
มีความรุ่งเรือง ดับสนิทแล้วในโลก”๕

ปารังคมสูตรที่ ๔ จบ

๕. ปฐมสามัญญสูตร
ว่าด้วยความเป็นสมณะ สูตรที่ ๑

[๓๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสามัญญะ (ความเป็นสมณะ) และสามัญญผล (ผล
แห่งความเป็นสมณะ) แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๔. ปฏิปัตติวรรค ๖. ทุติยสามัญญสูตร

สามัญญะ เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้เรียกว่า สามัญญะ
สามัญญผล เป็นอย่างไร
คือ โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตตผล
เหล่านี้เรียกว่า สามัญญผล”

ปฐมสามัญญสูตรที่ ๕ จบ

๖. ทุติยสามัญญสูตร
ว่าด้วยความเป็นสมณะ สูตรที่ ๒

[๓๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสามัญญะและประโยชน์แห่งสามัญญะ๑แก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
สามัญญะ เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้เรียกว่า สามัญญะ
ประโยชน์แห่งสามัญญะ เป็นอย่างไร
คือ ธรรมเป็นที่สิ้นราคะ โทสะ และโมหะ
นี้เรียกว่า ประโยชน์แห่งสามัญญะ”

ทุติยสามัญญสูตรที่ ๖ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๔. ปฏิปัตติวรรค ๘. ทุติยพรหมัญญสูตร

๗. ปฐมพรหมัญญสูตร
ว่าด้วยความเป็นพรหม สูตรที่ ๑

[๓๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงพรหมัญญะ (ความเป็นพรหม) และพรหมัญญ-
ผล๑ (ผลแห่งความเป็นพรหม) แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
พรหมัญญะ เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้เรียกว่า พรหมัญญะ
พรหมัญญผล เป็นอย่างไร
คือ โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตตผล
เหล่านี้เรียกว่า พรหมัญญผล”

ปฐมพรหมัญญสูตรที่ ๗ จบ

๘. ทุติยพรหมัญญสูตร
ว่าด้วยความเป็นพรหม สูตรที่ ๒

[๓๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงพรหมัญญะและประโยชน์แห่งพรหมัญญะแก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
พรหมัญญะ เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้เรียกว่า พรหมัญญะ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๔. ปฏิปัตติวรรค ๑๐. ทุติยพรหมจริยสูตร

ประโยชน์แห่งพรหมัญญะ เป็นอย่างไร
คือ ธรรมเป็นที่สิ้นราคะ โทสะ และโมหะ
นี้เรียกว่า ประโยชน์แห่งพรหมัญญะ”

ทุติยพรหมัญญสูตรที่ ๘ จบ

๙. ปฐมพรหมจริยสูตร
ว่าด้วยพรหมจรรย์ สูตรที่ ๑

[๓๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงพรหมจรรย์และผลแห่งพรหมจรรย์แก่เธอทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงฟัง
พรหมจรรย์ เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้เรียกว่า พรหมจรรย์
ผลแห่งพรหมจรรย์ เป็นอย่างไร
คือ โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตตผล
เหล่านี้เรียกว่า ผลแห่งพรหมจรรย์”

ปฐมพรหมจริยสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ทุติยพรหมจริยสูตร
ว่าด้วยพรหมจรรย์ สูตรที่ ๒

[๔๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงพรหมจรรย์และประโยชน์แห่งพรหมจรรย์แก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๔. ปฏิปัตติวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

พรหมจรรย์ เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้เรียกว่า พรหมจรรย์
ประโยชน์แห่งพรหมจรรย์ เป็นอย่างไร
คือ ธรรมเป็นที่สิ้นราคะ โทสะ และโมหะ
นี้เรียกว่า ประโยชน์แห่งพรหมจรรย์”

ทุติยพรหมจริยสูตรที่ ๑๐ จบ
ปฏิปัตติวรรคที่ ๔ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมปฏิปัตติสูตร ๒. ทุติยปฏิปัตติสูตร
๓. วิรัทธสูตร ๔. ปารังคมสูตร
๕. ปฐมสามัญญสูตร ๖. ทุติยสามัญญสูตร
๗. ปฐมพรหมัญญสูตร ๘. ทุติยพรหมัญญสูตร
๙. ปฐมพรหมจริยสูตร ๑๐. ทุติยพรหมจริยสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๕. อัญญติตถิยเปยยาลวรรค ๑. ราควิราคสูตร

๕. อัญญติตถิยเปยยาลวรรค
หมวดว่าด้วยอัญญติตถิยเปยยาล
๑. ราควิราคสูตร
ว่าด้วยมรรคและปฏิปทาเพื่อสำรอกราคะ

[๔๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญเดียรถีย์๑ปริพาชกพึงถาม
เธอทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใน
พระสมณโคดมเพื่อต้องการอะไร’ เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้ พึงตอบอัญเดียรถีย์-
ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย เราทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใน
พระผู้มีพระภาคเพื่อสำรอกราคะ’
อนึ่ง ถ้าพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก พึงถามเธอทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ
ทั้งหลาย มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อสำรอกราคะอยู่หรือ’ เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้
พึงตอบอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย มีมรรค มีปฏิปทา
เพื่อสำรอกราคะอยู่’
มรรค เป็นอย่างไร ปฏิปทาเพื่อสำรอกราคะ เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้คือมรรค นี้คือปฏิปทาเพื่อสำรอกราคะ
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้ พึงตอบอัญเดียรถีย์ปริพาชก
เหล่านั้นอย่างนี้”

ราควิราคสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๕. อัญญติตถิยเปยยาลวรรค ๒-๗. สังโยชนัปปหานาทิสุตตฉักกะ

๒-๗. สังโยชนัปปหานาทิสุตตฉักกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๖ สูตร มีสังโยชนปหานสูตรเป็นต้น

[๔๒-๔๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกพึงถามเธอทั้งหลายอย่างนี้ว่า
‘ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดมเพื่อ
ต้องการอะไร’ เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้ พึงตอบอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น
อย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย เราทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค
เพื่อละสังโยชน์๑ ฯลฯ
‘ท่านทั้งหลาย เราทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อ
ถอนอนุสัย๒ ฯลฯ
‘ท่านทั้งหลาย เราทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อ
กำหนด รู้อัทธานะ (ทางไกล) ฯลฯ
‘ท่านทั้งหลาย เราทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อ
ความสิ้นอาสวะ๓ ฯลฯ
‘ท่านทั้งหลาย เราทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อทำ
ให้แจ้งผลแห่งวิชชาและวิมุตติ๔ ฯลฯ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๕. อัญญติตถิยเปยยาลวรรค ๘. อนุปาทาปรินิพพานสูตร

‘ท่านทั้งหลาย เราทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อ
ญาณทัสสนะ๑ ฯลฯ

สังโยชนัปปหานาทิสุตตฉักกะที่ ๒-๗ จบ

๘. อนุปาทาปรินิพพานสูตร
ว่าด้วยมรรคและปฏิปทาเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน

[๔๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกพึงถาม
เธอทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใน
พระสมณโคดมเพื่อต้องการอะไร’ เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้พึงตอบอัญเดียรถีย์-
ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย เราทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใน
พระผู้มีพระภาคเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน (ความดับไม่มีเชื้อ)’
อนึ่ง ถ้าพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก พึงถามเธอทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ
ทั้งหลาย มีมรรค มีปฏิปทาเพื่ออนุปาทาปรินิพพานอยู่หรือ’
เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้ พึงตอบว่า ‘ท่านทั้งหลาย มีมรรค มีปฏิปทา
เพื่ออนุปาทาปรินิพพานอยู่’
มรรค เป็นอย่างไร ปฏิปทาเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้คือมรรค นี้คือปฏิปทาเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๕. อัญญติตถิยเปยยาลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้ พึงตอบอัญเดียรถีย์ปริพาชก
เหล่านั้นอย่างนี้”

อนุปาทาปรินิพพานสูตรที่ ๘ จบ
อัญญติตถิยเปยยาลวรรคที่ ๕ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ราควิราคสูตร ๒-๗. สังโยชนัปปหานาทิสุตตฉักกะ
๘. อนุปาทาปรินิพพานสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๖. สุริยเปยยาลวรรค ๑. กัลยาณมิตตสูตร

๖. สุริยเปยยาลวรรค
หมวดว่าด้วยสุริยเปยยาล
๑. กัลยาณมิตตสูตร
ว่าด้วยกัลยาณมิตร

[๔๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อดวงอาทิตย์กำลังจะอุทัย ย่อมมี
แสงอรุณขึ้นมาก่อน เป็นบุพนิมิต ฉันใด กัลยาณมิตตตา (ความเป็นผู้มีมิตรดี) ก็
เป็นตัวนำ เป็นบุพนิมิตเพื่อความเกิดขึ้นแห่งอริยมรรคมีองค์ ๘ ฉันนั้น
ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตร (มิตรดี) พึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘จักเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘
ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก’

ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตรเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตรเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค
มีองค์ ๘ ให้มาก อย่างนี้แล”

กัลยาณมิตตสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๖. สุริยเปยยาลวรรค ๗. โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตร

๒-๖. สีลสัมปทาทิสุตตปัญจกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๕ สูตร มีสีลสัมปทาสูตรเป็นต้น

[๕๐-๕๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อดวงอาทิตย์กำลังจะอุทัย ย่อมมีแสงอรุณขึ้นมาก่อน เป็น
บุพนิมิต ฉันใด สีลสัมปทา๑ ก็เป็นตัวนำ เป็นบุพนิมิตเพื่อความเกิดขึ้นแห่งอริยมรรค
มีองค์ ๘ ฉันนั้น
ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยศีลพึงหวังข้อนี้ได้ว่า ฯลฯ
ฉันทสัมปทา๒ ฯลฯ
อัตตสัมปทา๓ ฯลฯ
ทิฏฐิสัมปทา๔ ฯลฯ
อัปปมาทสัมปทา๕ ฯลฯ

สีลสัมปทาทิสุตตปัญจกะที่ ๒-๖ จบ

๗. โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตร
ว่าด้วยโยนิโสมนสิการสัมปทา

[๕๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อดวงอาทิตย์กำลังจะอุทัย ย่อมมีแสงอรุณขึ้นมาก่อน เป็น
บุพนิมิต ฉันใด โยนิโสมนสิการสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยการมนสิการโดยแยบคาย)
ก็เป็นตัวนำ เป็นบุพนิมิตเพื่อความเกิดขึ้นแห่งอริยมรรคมีองค์ ๘ ฉันนั้น


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๖. สุริยเปยยาลวรรค ๘. กัลยาณมิตตสูตร

ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการพึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘จักเจริญอริยมรรคมีองค์
๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก’
ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค
มีองค์ ๘ ให้มาก อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำ
อริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก อย่างนี้แล”

โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตรที่ ๗ จบ

๘. กัลยาณมิตตสูตร
ว่าด้วยกัลยาณมิตร

[๕๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อดวงอาทิตย์กำลังจะอุทัย ย่อมมีแสงอรุณขึ้นมาก่อน เป็น
บุพนิมิต ฉันใด กัลยาณมิตตตาก็เป็นตัวนำ เป็นบุพนิมิตเพื่อความเกิดขึ้นแห่ง
อริยมรรคมีองค์ ๘ ฉันนั้น
ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตรพึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘จักเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริย-
มรรคมีองค์ ๘ ให้มาก’
ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตรเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๖. สุริยเปยยาลวรรค ๑๔. โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตร

๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะ
เป็นที่สุด
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะ
เป็นที่สุด
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตรเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค
มีองค์ ๘ ให้มาก อย่างนี้แล”

กัลยาณมิตตสูตรที่ ๘ จบ

๙-๑๓. สีลสัมปทาทิสุตตปัญจกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๕ สูตร มีสีลสัมปทาสูตรเป็นต้น

[๕๗-๖๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อดวงอาทิตย์กำลังจะอุทัย ย่อมมีแสงอรุณขึ้นมาก่อน เป็น
บุพนิมิต ฉันใด สีลสัมปทาก็เป็นตัวนำ เป็นบุพนิมิตเพื่อความเกิดขึ้นแห่งอริยมรรค
มีองค์ ๘ ฉันนั้น ฯลฯ
ฉันทสัมปทา ฯลฯ
อัตตสัมปทา ฯลฯ
ทิฏฐิสัมปทา ฯลฯ
อัปปมาทสัมปทา ฯลฯ”

สีลสัมปทาทิสุตตปัญจกะที่ ๙-๑๓ จบ

๑๔. โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตร
ว่าด้วยโยนิโสมนสิการสัมปทา

[๖๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“... โยนิโสมนสิการสัมปทา ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๖. สุริยเปยยาลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการพึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘จักเจริญอริยมรรคมีองค์
๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก’
ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค
มีองค์ ๘ ให้มาก อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะ
เป็นที่สุด
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะ
เป็นที่สุด
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำ
อริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก อย่างนี้แล”

โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตรที่ ๑๔ จบ
สุริยเปยยาลวรรคที่ ๖ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. กัลยาณมิตตสูตร ๒-๖. สีลสัมปทาทิสุตตปัญจกะ
๗. โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตร ๘. กัลยาณมิตตสูตร
๙-๑๓. สีลสัมปทาทิสุตตปัญจกะ ๑๔. โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๗. เอกธัมมเปยยาลวรรค ๑. กัลยาณมิตตสูตร

๗. เอกธัมมเปยยาลวรรค
หมวดว่าด้วยเอกธัมมเปยยาล
๑. กัลยาณมิตตสูตร
ว่าด้วยกัลยาณมิตร

[๖๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเป็นเอก๑ มีอุปการะมาก
เพื่อความเกิดขึ้นแห่งอริยมรรคมีองค์ ๘
ธรรมอันเป็นเอก คืออะไร
คือ กัลยาณมิตตตา
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตรพึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘จักเจริญอริยมรรคมี
องค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก’
ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตรเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตรเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค
มีองค์ ๘ ให้มาก อย่างนี้แล”

กัลยาณมิตตสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๗. เอกธัมมเปยยาลวรรค ๗. โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตร

๒-๖. สีลสัมปทาทิสุตตปัญจกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๕ สูตร มีสีลสัมปทาสูตรเป็นต้น

[๖๔-๖๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเป็นเอก มีอุปการะมากเพื่อความเกิดขึ้นแห่งอริย-
มรรคมีองค์ ๘
ธรรมอันเป็นเอก คืออะไร
คือ สีลสัมปทา ฯลฯ
คือ ฉันทสัมปทา ฯลฯ
คือ อัตตสัมปทา ฯลฯ
คือ ทิฏฐิสัมปทา ฯลฯ
คือ อัปปมาทสัมปทา ฯลฯ

สีลสัมปทาทิสุตตปัญจกะที่ ๒-๖ จบ

๗. โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตร
ว่าด้วยโยนิโสมนสิการสัมปทา

[๖๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ ... คือ โยนิโสมนสิการสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยการมนสิการโดย
แยบคาย)
ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการพึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘จักเจริญอริยมรรค
มีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก’
ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค
มีองค์ ๘ ให้มาก อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๗. เอกธัมมเปยยาลวรรค ๘. กัลยาณมิตตสูตร

๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำ
อริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก อย่างนี้แล”

โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตรที่ ๗ จบ

๘. กัลยาณมิตตสูตร
ว่าด้วยกัลยาณมิตร

[๗๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเป็นเอก มีอุปการะมากเพื่อความเกิดขึ้นแห่งอริยมรรค
มีองค์ ๘
ธรรมอันเป็นเอก คืออะไร
คือ กัลยาณมิตตตา
ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตรพึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘จักเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริย-
มรรคมีองค์ ๘ ให้มาก’
ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตรเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะ
เป็นที่สุด
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะ
เป็นที่สุด
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตรเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค
มีองค์ ๘ ให้มาก อย่างนี้แล”

กัลยาณมิตตสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๗. เอกธัมมเปยยาลวรรค ๑๔. โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตร

๙-๑๓. สีลสัมปทาทิสุตตปัญจกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๕ สูตร มีสีลสัมปทาสูตรเป็นต้น

[๗๑-๗๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเป็นเอก มีอุปการะมากเพื่อความเกิดขึ้นแห่งอริยมรรค
มีองค์ ๘
ธรรมอันเป็นเอก คืออะไร
คือ สีลสัมปทา ฯลฯ
คือ ฉันทสัมปทา ฯลฯ
คือ อัตตสัมปทา ฯลฯ
คือ ทิฏฐิสัมปทา ฯลฯ
คือ อัปปมาทสัมปทา ฯลฯ

สีลสัมปทาทิสุตตปัญจกะที่ ๙-๑๓ จบ

๑๔. โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตร
ว่าด้วยโยนิโสมนสิการสัมปทา

[๗๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“... คือ โยนิโสมนสิการสัมปทา
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการพึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘จักเจริญ
อริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก’
ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค
มีองค์ ๘ ให้มาก อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะ
เป็นที่สุด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๗. เอกธัมมเปยยาลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘
ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก อย่างนี้แล”

โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตรที่ ๑๔ จบ
เอกธัมมเปยยาลวรรคที่ ๗ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. กัลยาณมิตตสูตร ๒-๖. สีลสัมปทาทิสุตตปัญจกะ
๗. โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตร ๘. กัลยาณมิตตสูตร
๙-๑๓. สีลสัมปทาทิสุตตปัญจกะ ๑๔. โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๘. ทุติยเอกธัมมเปยยาลวรรค ๑. กัลยาณมิตตสูตร

๘. ทุติยเอกธัมมเปยยาลวรรค
หมวดว่าด้วยเอกธัมมเปยยาลที่ ๒
๑. กัลยาณมิตตสูตร
ว่าด้วยกัลยาณมิตร

[๗๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราไม่พิจารณาเห็นธรรมอื่นแม้
อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้อริยมรรคมีองค์ ๘ ที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น หรือเป็นเหตุให้
อริยมรรคมีองค์ ๘ ที่เกิดขึ้นแล้วถึงความเจริญเต็มที่ เหมือนกัลยาณมิตตตา
(ความเป็นผู้มีมิตรดี) นี้
ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตรพึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘จักเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริย-
มรรคมีองค์ ๘ ให้มาก’
ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตรเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตรเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมี
องค์ ๘ ให้มาก อย่างนี้แล”

กัลยาณมิตตสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๘. ทุติยเอกธัมมเปยยาลวรรค ๗. โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตร

๒-๖. สีลสัมปทาทิสุตตปัญจกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๕ สูตร มีสีลสัมปทาสูตรเป็นต้น

[๗๘-๘๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เราไม่พิจารณาเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้อริย-
มรรคมีองค์ ๘ ที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น หรือเป็นเหตุให้อริยมรรคมีองค์ ๘ ที่เกิดขึ้น
แล้วถึงความเจริญเต็มที่ เหมือนสีลสัมปทานี้ ฯลฯ
เหมือนฉันทสัมปทานี้ ฯลฯ
เหมือนอัตตสัมปทานี้ ฯลฯ
เหมือนทิฏฐิสัมปทานี้ ฯลฯ
เหมือนอัปปมาทสัมปทานี้ ฯลฯ”

สีลสัมปทาทิสุตตปัญจกะที่ ๒-๖ จบ

๗. โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตร
ว่าด้วยโยนิโสมนสิการสัมปทา

[๘๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“... เหมือนโยนิโสมนสิการสัมปทานี้
ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการพึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘จักเจริญอริยมรรคมีองค์
๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก’
ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค
มีองค์ ๘ ให้มาก อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๘. ทุติยเอกธัมมเปยยาลวรรค ๘. กัลยาณมิตตสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘
ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก อย่างนี้แล”

โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตรที่ ๗ จบ

๘. กัลยาณมิตตสูตร
ว่าด้วยกัลยาณมิตร

[๘๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เราไม่พิจารณาเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้อริยมรรค
มีองค์ ๘ ที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น หรือเป็นเหตุให้อริยมรรคมีองค์ ๘ ที่เกิดขึ้นแล้วถึง
ความเจริญเต็มที่ เหมือนกัลยาณมิตตตานี้
ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตรพึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘จักเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริย-
มรรคมีองค์ ๘ ให้มาก’
ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตรเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะ
เป็นที่สุด
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะ
เป็นที่สุด
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตรเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมี
องค์ ๘ ให้มาก อย่างนี้แล”

กัลยาณมิตตสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๘. ทุติยเอกธัมมเปยยาลวรรค ๑๔. โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตร

๙-๑๓. สีลสัมปทาทิสุตตปัญจกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๕ สูตร มีสีลสัมปทาสูตรเป็นต้น

[๘๕-๘๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เราไม่พิจารณาเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้อริยมรรค
มีองค์ ๘ ที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น หรือเป็นเหตุให้อริยมรรคมีองค์ ๘ ที่เกิดขึ้นแล้วถึง
ความเจริญเต็มที่ เหมือนสีลสัมปทานี้ ฯลฯ
เหมือนฉันทสัมปทานี้ ฯลฯ
เหมือนอัตตสัมปทานี้ ฯลฯ
เหมือนทิฏฐิสัมปทานี้ ฯลฯ
เหมือนอัปปมาทสัมปทานี้ ฯลฯ

สีลสัมปทาทิสุตตปัญจกะที่ ๙-๑๓ จบ

๑๔. โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตร
ว่าด้วยโยนิโสมนสิการสัมปทา

[๙๐] “... เหมือนโยนิโสมนสิการสัมปทานี้
ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการพึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘จักเจริญอริยมรรคมี
องค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก’
ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการ เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค
มีองค์ ๘ ให้มาก อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะ
เป็นที่สุด
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะ
เป็นที่สุด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๘. ทุติยเอกธัมมเปยยาลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘
ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก อย่างนี้แล”

โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตรที่ ๑๔ จบ
ทุติยเอกธัมมเปยยาลวรรคที่ ๘ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. กัลยาณมิตตสูตร ๒-๖. สีลสัมปทาทิสุตตปัญจกะ
๗. โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตร ๘. กัลยาณมิตตสูตร
๙-๑๓. สีลสัมปทาทิสุตตปัญจกะ ๑๔. โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๙. คังคาเปยยาลวรรค ๒-๕. ทุติยาทิปาจีนนินนสุตตจตุกกะ

๙. คังคาเปยยาลวรรค
หมวดว่าด้วยคังคาเปยยาล
๑. ปฐมปาจีนนินนสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยแม่น้ำไหลไปสู่ทิศปราจีน สูตรที่ ๑

[๙๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไป
สู่ทิศปราจีน หลากไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเจริญ
อริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่
นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘
ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างนี้แล”

ปฐมปาจีนนินนสูตรที่ ๑ จบ

๒-๕. ทุติยาทิปาจีนนินนสุตตจตุกกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๔ สูตร มีทุติยปาจีนนินนสูตรเป็นต้น

[๙๒-๙๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำยมุนาไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไป
สู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๙. คังคาเปยยาลวรรค ๖. ฉัฎฐปาจีนนินนสูตร

ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำอจิรวดีไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไป
สู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำสรภูไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไปสู่
ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำมหีไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไปสู่ทิศ
ปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

ทุติยาทิปาจีนนินนสุตตจตุกกะที่ ๒-๕ จบ

๖. ฉัฏฐปาจีนนินนสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยแม่น้ำไหลไปสู่ทิศปราจีน สูตรที่ ๖

[๙๖] “ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำใหญ่เหล่านี้ คือ แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา
แม่น้ำอจิรวดี แม่น้ำสรภู แม่น้ำมหี ทั้งหมดไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน
หลากไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘
ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่
นิพพาน
ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘
ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างนี้แล”

ฉัฏฐปาจีนนินนสูตรที่ ๖ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๙. คังคาเปยยาลวรรค ๘-๑๒. ทุติยาทิสมุททนินนสุตตปัญจกะ

๗. ปฐมสมุททนินนสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยแม่น้ำไหลไปสู่สมุทร สูตรที่ ๑

[๙๗] “ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร หลากไปสู่
สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค
มีองค์ ๘ ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘
ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างนี้แล”

ปฐมสมุททนินนสูตรที่ ๗ จบ

๘-๑๒. ทุติยาทิสมุททนินนสุตตปัญจกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๕ สูตร มีทุติยสมุททนินนสูตรเป็นต้น

[๙๘-๑๐๒] “ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำยมุนาไหลไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร หลาก
ไปสู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำอจิรวดีไหลไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร หลากไปสู่สมุทร
แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำสรภูไหลไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร หลากไปสู่สมุทร
แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำมหีไหลไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร หลากไปสู่สมุทร
แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๙. คังคาเปยยาลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำใหญ่เหล่านี้ คือ แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา แม่น้ำอจิรวดี
แม่น้ำสรภู แม่น้ำมหี ทั้งหมดไหลไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร หลากไปสู่สมุทร
แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘
ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘
ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างนี้แล”

ทุติยาทิสมุททนินนสุตตปัญจกะที่ ๘-๑๒ จบ

คังคาเปยยาลวาร ท่านเขียนไว้โดยย่อ พึงให้พิสดารในเปยยาล

คังคาเปยยาลวรรคที่ ๙ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมปาจีนนินนสูตร ๒-๕. ทุติยาทิปาจีนนินนสุตตจตุกกะ
๖. ฉัฏฐปาจีนนินนสูตร ๗. ปฐมสมุททนินนสูตร
๘-๑๒. ทุติยาทิสมุททนินนสุตตปัญจกะ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๐. ทุติยคังคาเปยยาลวรรค ๒-๖. ทุติยาทิปาจีนนินนสุตตปัญจกะ

๑๐. ทุติยคังคาเปยยาลวรรค
หมวดว่าด้วยคังคาเปยยาลที่ ๒
๑. ปฐมปาจีนนินนสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยแม่น้ำไหลไปสู่ทิศปราจีน สูตรที่ ๑

[๑๐๓] “ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน
หลากไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเจริญอริยมรรคมี
องค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน
โอนไปสู่นิพพาน
ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะ
เป็นที่สุด
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะ
เป็นที่สุด
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างนี้แล”

ปฐมปาจีนนินนสูตรที่ ๑ จบ

๒-๖. ทุติยาทิปาจีนนินนสุตตปัญจกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๕ สูตร มีทุติยปาจีนนินนสูตรเป็นต้น

[๑๐๔-๑๐๘] “ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำยมุนาไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศ
ปราจีน หลากไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๐. ทุติยคังคาเปยยาลวรรค ๗. ปฐมสมุททนินนสูตร

ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำอจิรวดีไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไป
สู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำสรภูไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไปสู่
ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำมหีไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไปสู่
ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำใหญ่เหล่านี้ คือ แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา แม่น้ำอจิรวดี
แม่น้ำสรภู แม่น้ำมหี ทั้งหมดไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไปสู่
ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

ทุติยาทิปาจีนนินนสุตตปัญจกะที่ ๒-๖ จบ

๗. ปฐมสมุททนินนสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยแม่น้ำไหลไปสู่สมุทร สูตรที่ ๑

[๑๐๙] “ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร หลากไป
สู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำ
อริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะ
เป็นที่สุด
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะ
เป็นที่สุด
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘
ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างนี้แล”

ปฐมสมุททนินนสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๐. ทุติยคังคาเปยยาลวรรค ๘-๑๒. ทุติยาทิสมุททนินนสุตตปัญจกะ

๘-๑๒. ทุติยาทิสมุททนินนสุตตปัญจกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๕ สูตร มีทุติยสมุททนินนสูตรเป็นต้น

[๑๑๐-๑๑๔] “ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำยมุนาไหลไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร
หลากไปสู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำอจิรวดีไหลไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร หลากไปสู่สมุทร
แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำสรภูไหลไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร หลากไปสู่สมุทร
แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำมหีไหลไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร หลากไปสู่สมุทร
แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำใหญ่เหล่านี้ คือ แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา แม่น้ำอจิรวดี
แม่น้ำสรภู แม่น้ำมหี ทั้งหมดไหลไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร หลากไปสู่สมุทร
แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค
มีองค์ ๘ ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะ
เป็นที่สุด
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะ
เป็นที่สุด
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘
ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างนี้แล”

ทุติยาทิสมุททนินนสุตตปัญจกะที่ ๘-๑๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๐. ทุติยคังคาเปยยาลวรรค ๑๔-๑๘. ทุติยาทิปาจีนนินนสุตตปัญจกะ

(หมวดที่ ๒ ว่าด้วยธรรมเป็นที่กำจัดราคะมี ๑๒ สูตร คือ
๖ สูตรแรก ว่าด้วยอุปมาด้วยแม่น้ำไหลไปสู่ทิศปราจีน
๖ สูตรหลัง ว่าด้วยอุปมาด้วยแม่น้ำไหลไปสู่สมุทร)

๑๓. ปฐมปาจีนนินนสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยแม่น้ำไหลไปสู่ทิศปราจีน สูตรที่ ๑

[๑๑๕] “ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน
หลากไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเจริญอริยมรรค
มีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน
โอนไปสู่นิพพาน
ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะ
เป็นที่สุด
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะ
เป็นที่สุด
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘
ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างนี้แล”

ปฐมปาจีนนินนสูตรที่ ๑๓ จบ

๑๔-๑๘. ทุติยาทิปาจีนนินนสุตตปัญจกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๕ สูตร มีทุติยปาจีนนินนสูตรเป็นต้น

[๑๑๖-๑๒๐] “ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำยมุนาไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศ
ปราจีน หลากไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๐. ทุติยคังคาเปยยาลวรรค ๑๙. ปฐมสมุททนินนสูตร

ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำอจิรวดีไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไป
สู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำสรภูไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไปสู่
ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำมหีไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไปสู่ทิศ
ปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำใหญ่เหล่านี้ คือ แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา แม่น้ำอจิรวดี
แม่น้ำสรภู แม่น้ำมหี ทั้งหมดไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไปสู่
ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

ทุติยาทิปาจีนนินนสุตตปัญจกะที่ ๑๔-๑๘ จบ

๑๙. ปฐมสมุททนินนสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยแม่น้ำไหลไปสู่สมุทร สูตรที่ ๑

[๑๒๑] “ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร หลากไปสู่
สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค
มีองค์ ๘ ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะ
เป็นที่สุด
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะ
เป็นที่สุด
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘
ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างนี้แล”

ปฐมสมุททนินนสูตรที่ ๑๙ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๐. ทุติยคังคาเปยยาลวรรค ๒๐-๒๔. ทุติยาทิสมุททนินนสุตตปัญจกะ

๒๐-๒๔. ทุติยาทิสมุททนินนสุตตปัญจกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๕ สูตร มีทุติยสมุททนินนสูตรเป็นต้น

[๑๒๒-๑๒๖] “ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำยมุนาไหลไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร
หลากไปสู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำอจิรวดีไหลไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร หลากไปสู่สมุทร
แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำสรภูไหลไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร หลากไปสู่สมุทร
แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำมหีไหลไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร หลากไปสู่สมุทร
แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำใหญ่เหล่านี้ คือ แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา แม่น้ำอจิรวดี
แม่น้ำสรภู แม่น้ำมหี ทั้งหมดไหลไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร หลากไปสู่สมุทร
แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘
ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะ
เป็นที่สุด
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะ
เป็นที่สุด
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘
ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างนี้แล”

ทุติยาทิสมุททนินนสุตตปัญจกะที่ ๒๐-๒๔ จบ
(หมวดที่ ๓ ว่าด้วยธรรมอันหยั่งลงสู่อมตะมี ๑๒ สูตร)


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๐. ทุติยคังคาเปยยาลวรรค ๒๖-๓๐. ทุติยาทิปาจีนนินนสุตตปัญจกะ

๒๕. ปฐมปาจีนนินนสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยแม่น้ำไหลไปสู่ทิศปราจีน สูตรที่ ๑

[๑๒๗] “ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน
หลากไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเจริญอริยมรรค
มีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน
โอนไปสู่นิพพาน
ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่
นิพพาน
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่
นิพพาน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘
ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างนี้แล”

ปฐมปาจีนนินนสูตรที่ ๒๕ จบ

๒๖-๓๐. ทุติยาทิปาจีนนินนสุตตปัญจกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๕ สูตร มีทุติยปาจีนนินนสูตรเป็นต้น

[๑๒๘-๑๓๒] “ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำยมุนาไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศ
ปราจีน หลากไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำอจิรวดีไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไป
สู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำสรภูไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไป
สู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๐. ทุติยคังคาเปยยาลวรรค ๓๑. ปฐมสมุททนินนสูตร

ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำมหีไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไป
สู่ทิศไปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำใหญ่เหล่านี้ คือ แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา แม่น้ำอจิรวดี
แม่น้ำสรภู แม่น้ำมหี ทั้งหมดไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไปสู่ทิศ
ปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริย-
มรรคมีองค์ ๘ ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่
นิพพาน
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่
นิพพาน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘
ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างนี้แล”

ทุติยาทิปาจีนนินนสุตตปัญจกะที่ ๒๖-๓๐ จบ

๓๑. ปฐมสมุททนินนสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยแม่น้ำไหลไปสู่สมุทร สูตรที่ ๑

[๑๓๓] “ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร หลากไปสู่
สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค
มีองค์ ๘ ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๐. ทุติยคังคาเปยยาลวรรค ๓๒-๓๖. ทุติยาทิสมุททนินนสุตตปัญจกะ

คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่
นิพพาน
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่
นิพพาน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘
ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างนี้แล”

ปฐมสมุททนินนสูตรที่ ๓๑ จบ

๓๒-๓๖. ทุติยาทิสมุททนินนสุตตปัญจกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๕ สูตร มีทุติยสมุททนินนสูตรเป็นต้น

[๑๓๔-๑๓๘] “ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำยมุนาไหลไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร
หลากไปสู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำอจิรวดีไหลไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร หลากไปสู่สมุทร
แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำสรภูไหลไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร หลากไปสู่สมุทร
แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำมหีไหลไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร หลากไปสู่สมุทร
แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำใหญ่เหล่านี้ คือ แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา แม่น้ำอจิรวดี
แม่น้ำสรภู แม่น้ำมหี ทั้งหมดไหลไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร หลากไปสู่สมุทร
แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค
มีองค์ ๘ ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๐. ทุติยคังคาเปยยาลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่
นิพพาน
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่
นิพพาน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างนี้แล”

ทุติยาทิสมุททนินนสุตตปัญจกะที่ ๓๒-๓๖ จบ
ทุติยคังคาเปยยาลวรรคที่ ๑๐ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมปาจีนนินนสูตร ๒-๖. ทุติยาทิปาจีนนินนสุตตปัญจกะ
๗. ปฐมสมุททนินนสูตร ๘-๑๒. ทุติยาทิสมุททนินนสุตตปัญจกะ
๑๓. ปฐมปาจีนนินนสูตร ๑๔-๑๘. ทุติยาทิปาจีนนินนสุตตปัญจกะ
๑๙. ปฐมสมุททนินนสูตร ๒๐-๒๔. ทุติยาทิสมุททนินนสุตตปัญจกะ
๒๕. ปฐมปาจีนนินนสูตร ๒๖-๓๐. ทุติยาทิปาจีนนินนสุตตปัญจกะ
๓๑. ปฐมสมุททนินนสูตร ๓๒-๓๖. ทุติยาทิสมุททนินนสุตตปัญจกะ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๑. อัปปมาทวรรค ๑. ตถาคตสูตร

๑๑. อัปปมาทวรรค
หมวดว่าด้วยความไม่ประมาท
๑. ตถาคตสูตร
ว่าด้วยพระตถาคตเป็นเลิศ

[๑๓๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายไม่มีเท้า มีสองเท้า มี
สี่เท้า หรือมีเท้ามากก็ตาม มีรูป หรือไม่มีรูปก็ตาม มีสัญญา ไม่มีสัญญา หรือ
มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ก็ตาม มีประมาณเท่าใด ตถาคตอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้าบัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าสัตว์มีประมาณเท่านั้น ฉันใด กุศลธรรม
ทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีความไม่ประมาทเป็นมูล รวมลงในความไม่ประมาท
ความไม่ประมาทบัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่ากุศลธรรมเหล่านั้น๑
ภิกษุผู้ไม่ประมาทพึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘จักเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค
มีองค์ ๘ ให้มาก’
ภิกษุผู้ไม่ประมาทเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ภิกษุผู้ไม่ประมาทเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
อย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายไม่มีเท้า มีสองเท้า มีสี่เท้า หรือมีเท้ามากก็ตาม
มีรูป หรือไม่มีรูปก็ตาม มีสัญญา ไม่มีสัญญา หรือมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๑. อัปปมาทวรรค ๑. ตถาคตสูตร

ไม่ใช่ก็ตาม มีประมาณเท่าใด ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าบัณฑิตกล่าวว่า
เลิศกว่าสัตว์มีประมาณเท่านั้น ฉันใด กุศลธรรมทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน มี
ความไม่ประมาทเป็นมูล รวมลงในความไม่ประมาท ความไม่ประมาทบัณฑิตกล่าว
ว่าเลิศกว่ากุศลธรรมเหล่านั้น
ภิกษุผู้ไม่ประมาทพึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘จักเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริมรรค
มีองค์ ๘ ให้มาก’
ภิกษุผู้ไม่ประมาทเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะ
เป็นที่สุด
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะ
เป็นที่สุด
ภิกษุผู้ไม่ประมาทเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
อย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายไม่มีเท้า มีสองเท้า มีสี่เท้า หรือมีเท้ามากก็ตาม
มีรูป หรือไม่มีรูปก็ตาม มีสัญญา ไม่มีสัญญา หรือมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็
ไม่ใช่ก็ตาม มีประมาณเท่าใด ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าบัณฑิตกล่าวว่า
เลิศกว่าสัตว์มีประมาณเท่านั้น ฉันใด กุศลธรรมทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน มี
ความไม่ประมาทเป็นมูล รวมลงในความไม่ประมาท ความไม่ประมาทบัณฑิตกล่าว
ว่าเลิศกว่ากุศลธรรมเหล่านั้น
ภิกษุผู้ไม่ประมาทพึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘จักเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค
มีองค์ ๘ ให้มาก’
ภิกษุผู้ไม่ประมาทเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
อย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๑. อัปปมาทวรรค ๑. ตถาคตสูตร

คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะ
เป็นที่สุด
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะ
เป็นที่สุด
ภิกษุผู้ไม่ประมาทเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
อย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายมีสองเท้า มีสี่เท้า หรือมีเท้ามากก็ตาม มีรูป
หรือไม่มีรูปก็ตาม มีสัญญา ไม่มีสัญญา หรือมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่
ก็ตาม มีประมาณเท่าใด ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าบัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่า
สัตว์มีประมาณเท่านั้น ฉันใด กุศลธรรมทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีความไม่
ประมาทเป็นมูล รวมลงในความไม่ประมาท ความไม่ประมาทบัณฑิตกล่าวว่า
เลิศกว่ากุศลธรรมเหล่านั้น
ภิกษุผู้ไม่ประมาทพึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘จักเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค
มีองค์ ๘ ให้มาก’
ภิกษุผู้ไม่ประมาทเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่
นิพพาน
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่
นิพพาน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่ประมาทเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมี
องค์ ๘ ให้มาก อย่างนี้แล”

ตถาคตสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๑. อัปปมาทวรรค ๓-๗. กูฏาทิสุตตปัญจกะ

๒. ปทสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยรอยเท้าสัตว์

[๑๔๐] “ภิกษุทั้งหลาย รอยเท้าของสัตว์ที่เที่ยวไปบนแผ่นดินทั้งหมดรวมลง
ในรอยเท้าช้าง รอยเท้าช้างชาวโลกกล่าวว่าเลิศกว่ารอยเท้าเหล่านั้น เพราะเป็นรอย
ใหญ่ แม้ฉันใด กุศลธรรมทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีความไม่ประมาทเป็นมูล
รวม ลงในความไม่ประมาท ความไม่ประมาทบัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่ากุศลธรรมเหล่านั้น๑
ภิกษุผู้ไม่ประมาทพึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘จักเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค
มีองค์ ๘ ให้มาก’
ภิกษุผู้ไม่ประมาทเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่ประมาทเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์
๘ ให้มาก อย่างนี้แล”

ปทสูตรที่ ๒ จบ

๓-๗. กูฏาทิสุตตปัญจกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๕ สูตร มีกูฏสูตรเป็นต้น

[๑๔๑-๑๔๕] “ภิกษุทั้งหลาย กลอนของเรือนยอดทั้งหมดทอดไปถึงยอด
รวมลงที่ยอด ยอดเรือนชาวโลกกล่าวว่าเลิศกว่ากลอนเหล่านั้นทั้งหมด แม้ฉันใด
กุศลธรรมทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ (พึงเพิ่มข้อความให้พิสดารเหมือนสูตรต้น)


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๑. อัปปมาทวรรค ๘-๑๐. จันทิมาทิสุตตติกะ

กลิ่นหอมที่เกิดจากรากชนิดใดชนิดหนึ่ง กฤษณาชาวโลกกล่าวว่าเลิศกว่ากลิ่น
หอมที่เกิดจากรากเหล่านั้น แม้ฉันใด กุศลธรรมทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
กลิ่นหอมที่เกิดจากแก่นชนิดใดชนิดหนึ่ง จันทน์แดงชาวโลกกล่าวว่าเลิศกว่า
กลิ่นที่เกิดจากแก่นเหล่านั้น แม้ฉันใด กุศลธรรมทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
กลิ่นหอมที่เกิดจากดอกชนิดใดชนิดหนึ่ง ดอกมะลิชาวโลกกล่าวว่าเลิศกว่ากลิ่น
ที่เกิดจากดอกเหล่านั้น แม้ฉันใด กุศลธรรมทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
พระราชาผู้มีอำนาจน้อยทั้งหมดย่อมคล้อยตามพระเจ้าจักรพรรดิ พระเจ้า
จักรพรรดิชาวโลกกล่าวว่าเลิศกว่าพระราชาผู้มีอำนาจน้อยเหล่านั้น แม้ฉันใด
กุศลธรรมทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ๑

กูฏาทิสุตตปัญจกะที่ ๓-๗ จบ

๘-๑๐. จันทิมาทิสุตตติกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๓ สูตร มีจันทิมสูตรเป็นต้น

[๑๔๖-๑๔๘] “ภิกษุทั้งหลาย แสงสว่างของดวงดาวทั้งหมดย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่
๑๖ แห่งแสงสว่างของดวงจันทร์ แสงสว่างของดวงจันทร์ชาวโลกกล่าวว่าเลิศกว่า
แสงสว่างของดวงดาวเหล่านั้น แม้ฉันใด กุศลธรรมทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ในสารทฤดู เมื่อฝนขาดหาย ปราศจากเมฆ ดวงอาทิตย์อุทัยขึ้นสู่ท้องฟ้า
กำจัดความมืดที่มีอยู่ในอากาศทั้งหมดย่อมส่องแสง แผดแสงจ้า และแจ่มกระจ่าง
แม้ฉันใด กุศลธรรมทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ๒
ผ้าที่ทอด้วยด้ายชนิดใดชนิดหนึ่ง ผ้าแคว้นกาสีชาวโลกกล่าวว่าเลิศกว่าผ้า
เหล่านั้น แม้ฉันใด กุศลธรรมทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีความไม่ประมาทเป็นมูล
รวมลงในความไม่ประมาท ความไม่ประมาทบัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่ากุศลธรรม
เหล่านั้น


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๑. อัปปมาทวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่ประมาทพึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘จักเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘
ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก”

(พึงเพิ่มข้อความให้พิสดารเหมือนตถาคตสูตร)

จันทิมาทิสุตตติกะที่ ๘-๑๐ จบ
อัปปมาทวรรคที่ ๑๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ตถาคตสูตร ๒. ปทสูตร
๓. กูฏสูตร ๔. มูลสูตร
๕. สารสูตร ๖. วัสสิกสูตร
๗. ราชาสูตร ๘. จันทิมสูตร
๙. สุริยสูตร ๑๐. วัตถสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๒. พลกรณียวรรค ๑. พลสูตร

๑๒. พลกรณียวรรค
หมวดว่าด้วยการงานที่พึงทำด้วยกำลัง
๑. พลสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยกำลัง

[๑๔๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย การงานที่พึงทำด้วยกำลังทั้งหมด
บุคคลต้องอาศัยแผ่นดิน ดำรงอยู่บนแผ่นดินจึงทำได้ แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น
เหมือนกัน อาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีล๑แล้ว เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค
มีองค์ ๘ ให้มาก
ภิกษุอาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค
มีองค์ ๘ ให้มาก อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ภิกษุอาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมี
องค์ ๘ ให้มาก อย่างนี้แล

(พึงทราบความพิสดารสูตรที่บริบูรณ์ตามพรรณนาในคังคาเปยยาลข้างต้น)


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๒. พลกรณียวรรค ๑. พลสูตร

ภิกษุทั้งหลาย การงานที่พึงทำด้วยกำลังทั้งหมด บุคคลต้องอาศัยแผ่นดิน
ดำรงอยู่บนแผ่นดินจึงทำได้ แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน อาศัยศีล ดำรงอยู่
ในศีลแล้ว เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
ภิกษุอาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค
มีองค์ ๘ ให้มาก อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะ
เป็นที่สุด
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะ
เป็นที่สุด
ภิกษุอาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมี
องค์ ๘ ให้มาก อย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย การงานที่พึงทำด้วยกำลังทั้งหมด บุคคลต้องอาศัยแผ่นดิน
ดำรงอยู่บนแผ่นดินจึงทำได้ แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน อาศัยศีล ดำรงอยู่
ในศีลแล้ว เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
ภิกษุอาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค
มีองค์ ๘ ให้มาก อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะ
เป็นที่สุด
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะ
เป็นที่สุด
ภิกษุอาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมี
องค์ ๘ ให้มาก อย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๒. พลกรณียวรรค ๒. พีชสูตร

ภิกษุทั้งหลาย การงานที่พึงทำด้วยกำลังทั้งหมด บุคคลต้องอาศัยแผ่นดิน
ดำรงอยู่บนแผ่นดินจึงทำได้ แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน อาศัยศีล ดำรงอยู่
ในศีลแล้ว เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
ภิกษุอาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค
มีองค์ ๘ ให้มาก อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่
นิพพาน
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่
นิพพาน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘
ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก อย่างนี้แล”

พลสูตรที่ ๑ จบ

๒. พีชสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยพืช

[๑๕๐] “ภิกษุทั้งหลาย พืชคาม๑ และภูตคาม๒ทั้งหมด ล้วนอาศัยแผ่นดิน
ดำรงอยู่บนแผ่นดิน จึงเจริญงอกงามเติบโตได้ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อ
อาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีล เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย
ภิกษุเมื่ออาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีล เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค
มีองค์ ๘ ให้มาก ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย อย่างไร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๒. พลกรณียวรรค ๓. นาคสูตร

คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่ออาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีล เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘
ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย
อย่างนี้แล”

พีชสูตรที่ ๒ จบ

๓. นาคสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยนาค

[๑๕๑] “ภิกษุทั้งหลาย พวกนาคอาศัยขุนเขาหิมพานต์ย่อมเติบโตมีกำลัง
เติบโตมีกำลังแล้วลงสู่หนอง ลงสู่หนองแล้วลงสู่บึง ลงสู่บึงแล้วลงสู่แม่น้ำน้อย
ลงสู่แม่น้ำน้อยแล้วลงสู่แม่น้ำใหญ่ ลงสู่แม่น้ำใหญ่แล้วลงสู่มหาสมุทรสาคร นาค
เหล่านั้นย่อมถึงความเจริญเติบโตทางกายในมหาสมุทรสาครนั้น แม้ฉันใด ภิกษุก็
ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่ออาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีล เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำ
อริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก ย่อมถึงความเป็นใหญ่ไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย
ภิกษุเมื่ออาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีล เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค
มีองค์ ๘ ให้มาก ย่อมถึงความเป็นใหญ่ไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๒. พลกรณียวรรค ๔. รุกขสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่ออาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีล เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘
ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก ย่อมถึงความเป็นใหญ่ไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย อย่าง
นี้แล”

นาคสูตรที่ ๓ จบ

๔. รุกขสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยต้นไม้

[๑๕๒] “ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้ที่น้อมไปสู่ทิศปราจีน โน้มไป
สู่ทิศปราจีน โอนไปสู่ทิศปราจีน ต้นไม้นั้นถูกตัดโคนแล้วพึงล้มไปทางไหน”
“ล้มไปทางที่น้อมไป โน้มไป โอนไป พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุเมื่อเจริญ
อริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่
นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างนี้แล”

รุกขสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๒. พลกรณียวรรค ๖. สูกสูตร

๕. กุมภสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยหม้อ

[๑๕๓] “ภิกษุทั้งหลาย หม้อที่คว่ำ น้ำย่อมไหลออกอย่างเดียว ไม่ไหลเข้า
แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมี
องค์ ๘ ให้มาก ย่อมคายบาปอกุศลธรรมออกอย่างเดียว ไม่ให้กลับมา
ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก ย่อมคาย
บาปอกุศลธรรมออกอย่างเดียว ไม่ให้กลับมา อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
ย่อมคายบาปอกุศลธรรมออกอย่างเดียว ไม่ให้กลับมา อย่างนี้แล”

กุมภสูตรที่ ๕ จบ

๖. สูกสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยเดือย

[๑๕๔] “ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปได้ที่เดือยข้าวสาลีหรือเดือยข้าวเหนียวที่บุคคล
ตั้งไว้ตรงจักตำมือหรือเท้าที่ไปกระทบเข้าหรือทำให้เลือดออก ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะตั้งเดือยข้าวไว้ตรง แม้ฉันใด เป็นไปได้ที่ภิกษุรูปนั้นมีทิฏฐิที่ตั้งไว้ถูก มี
มรรคภาวนาที่ตั้งไว้ถูก จักทำลายอวิชชา ให้วิชชาเกิดขึ้น ทำนิพพานให้แจ้ง ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะตั้งทิฏฐิไว้ถูก ฉันนั้นเหมือนกัน
ภิกษุมีทิฏฐิที่ตั้งไว้ถูก มีมรรคภาวนาที่ตั้งไว้ถูก ย่อมทำลายอวิชชา ให้
วิชชาเกิดขึ้น ทำนิพพานให้แจ้ง อย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๒. พลกรณียวรรค ๘. ปฐมเมฆสูตร

คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีทิฏฐิที่ตั้งไว้ถูก มีมรรคภาวนาที่ตั้งไว้ถูก ย่อมทำลาย
อวิชชา ให้วิชชาเกิดขึ้น ทำนิพพานให้แจ้ง อย่างนี้แล”

สูกสูตรที่ ๖ จบ

๗. อากาสสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยอากาศ

[๑๕๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย ลมหลายชนิดพัดไปในอากาศ คือ ลมทางทิศตะวันออกพัดไป
บ้าง ลมทางทิศตะวันตกพัดไปบ้าง ลมทางทิศเหนือพัดไปบ้าง ลมทางทิศใต้พัดไป
บ้าง ลมมีฝุ่นพัดไปบ้าง ลมไม่มีฝุ่นพัดไปบ้าง ลมหนาวพัดไปบ้าง ลมร้อนพัดไปบ้าง
ลมอ่อนพัดไปบ้าง ลมแรงพัดไปบ้าง แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเจริญ
อริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก สติปัฏฐาน ๔ ประการถึงความเจริญ
เต็มที่บ้าง สัมมัปปธาน ๔ ประการถึงความเจริญเต็มที่บ้าง อิทธิบาท ๔ ประการถึง
ความเจริญเต็มที่บ้าง อินทรีย์ ๕ ประการถึงความเจริญเต็มที่บ้าง พละ ๕ ประการ
ถึงความเจริญเต็มที่บ้าง โพชฌงค์ ๗ ประการถึงความเจริญเต็มที่บ้าง
เมื่อภิกษุเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก สติปัฏฐาน
๔ ประการถึงความเจริญเต็มที่บ้าง สัมมัปปธาน ๔ ประการถึงความเจริญเต็มที่
บ้าง อิทธิบาท ๔ ประการถึงความเจริญเต็มที่บ้าง อินทรีย์ ๕ ประการถึง
ความเจริญเต็มที่บ้าง พละ ๕ ประการถึงความเจริญเต็มที่บ้าง โพชฌงค์ ๗
ประการถึงความเจริญเต็มที่บ้าง อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๒. พลกรณียวรรค ๘. ปฐมเมฆสูตร

๑. เจริญสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้
มาก สติปัฏฐาน ๔ ประการถึงความเจริญเต็มที่บ้าง สัมมัปปธาน ๔ ประการถึง
ความเจริญเต็มที่บ้าง อิทธิบาท ๔ ประการถึงความเจริญเต็มที่บ้าง อินทรีย์ ๕
ประการถึงความเจริญเต็มที่บ้าง พละ ๕ ประการถึงความเจริญเต็มที่บ้าง โพชฌงค์
๗ ประการถึงความเจริญเต็มที่บ้าง อย่างนี้แล”

อากาสสูตรที่ ๗ จบ

๘. ปฐมเมฆสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยเมฆฝน สูตรที่ ๑

[๑๕๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เมฆฝนก้อนใหญ่ที่เกิดนอกฤดูกาล พัดเอาฝุ่นละอองธุลี
ที่ตั้งขึ้นในเดือนท้ายฤดูร้อน๑ให้อันตรธานหายไปโดยฉับพลัน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น
เหมือนกัน เมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มากย่อมทำ
บาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๆ ให้อันตรธานสงบไปโดยฉับพลัน
ภิกษุเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มากย่อมทำบาป
อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๆ ให้อันตรธานสงบโดยฉับพลัน อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
ย่อมทำบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๆ ให้อันตรธานสงบไปโดยฉับพลัน อย่างนี้แล”

ปฐมเมฆสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๒. พลกรณียวรรค ๑๐. นาวาสูตร

๙. ทุติยเมฆสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยเมฆฝน สูตรที่ ๒

[๑๕๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย ลมมรสุมพัดเอาเมฆฝนก้อนใหญ่ที่เกิดขึ้นให้อันตรธานหายไป
ในระหว่าง แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำ
อริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มากย่อมทำบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๆ ให้อันตรธาน
สงบไปในระหว่าง
ภิกษุเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มากย่อมทำบาป
อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๆ ให้อันตรธานสงบไปในระหว่าง อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
ย่อมทำบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๆ ให้อันตรธานสงบไปในระหว่าง อย่างนี้แล”

ทุติยเมฆสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. นาวาสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยเรือ

[๑๕๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรือเดินสมุทรที่ผูกไว้ด้วยเครื่องผูกคือหวาย จอดอยู่ในน้ำ
๖ เดือน พอถึงฤดูหนาว เขาก็ยกขึ้นบก เครื่องผูกเหล่านั้นต้องลมและแดด ถูก
ฝนตกรดย่อมเปื่อยผุไปโดยง่ายดาย แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเจริญ
อริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก สังโยชน์ทั้งหลายย่อมสงบราบคาบ
ไปโดยง่ายดาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๒. พลกรณียวรรค ๑๑. อาคันตุกสูตร

เมื่อภิกษุเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก สังโยชน์
ทั้งหลายย่อมสงบราบคาบไปโดยง่ายดาย อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
สังโยชน์ทั้งหลายย่อมสงบราบคาบไปโดยง่ายดาย อย่างนี้แล”

นาวาสูตรที่ ๑๐ จบ

๑๑. อาคันตุกสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยอาคันตุกะ

[๑๕๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย มีเรือนพักคนเดินทาง๑อยู่หลังหนึ่ง คนทั้งหลายมาจากทิศ
ตะวันออกบ้าง มาจากทิศตะวันตกบ้าง มาจากทิศเหนือบ้าง มาจากทิศใต้บ้าง
เข้าพักในเรือนนั้น คือ กษัตริย์มาพักบ้าง พราหมณ์มาพักบ้าง แพศย์มาพักบ้าง
ศูทรมาพักบ้าง แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘
ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก กำหนดรู้ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรกำหนดรู้ ฯลฯ
ละธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรละ ทำให้แจ้งธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรทำให้แจ้ง
เจริญธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรเจริญ
ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรกำหนดรู้ เป็นอย่างไร
คือ ควรกล่าวได้ว่า ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรกำหนดรู้นั้น ได้แก่ อุปาทาน-
ขันธ์ (กองอันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น) ๕ ประการ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๒. พลกรณียวรรค ๑๑. อาคันตุกสูตร

อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป)
ฯลฯ
๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ)
นี้คือ ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรกำหนดรู้
ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรละ เป็นอย่างไร
คือ อวิชชาและภวตัณหา
นี้คือ ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรละ
ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรทำให้แจ้ง เป็นอย่างไร
คือ วิชชาและวิมุตติ
นี้คือ ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรทำให้แจ้ง
ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรเจริญ เป็นอย่างไร
คือ สมถะและวิปัสสนา๑
นี้คือ ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรเจริญ
ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก กำหนดรู้
ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรกำหนดรู้ ฯลฯ เจริญธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรเจริญ
อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
กำหนดรู้ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรกำหนดรู้ ละธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรละ ทำให้
แจ้งธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรทำให้แจ้ง เจริญธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรเจริญ
อย่างนี้แล”

อาคันตุกสูตรที่ ๑๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๒. พลกรณียวรรค ๑๒. นทีสูตร

๑๒. นทีสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยแม่น้ำ

[๑๖๐] “ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไป
สู่ทิศปราจีน หลากไปสู่ทิศปราจีน ถ้าหมู่มหาชนพากันถือเอาจอบและตะกร้ามา
ด้วยตั้งใจว่า ‘พวกเราจักช่วยกันทดแม่น้ำคงคานี้ให้ไหลไปข้างหลัง บ่าไปข้างหลัง
หลากไปข้างหลัง’ เธอทั้งหลายจักเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร หมู่มหาชนนั้นจะพึง
ทดแม่น้ำคงคาให้ไหลไปข้างหลัง บ่าไปข้างหลัง หลากไปข้างหลังได้หรือ”
“ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะแม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไปสู่ทิศ
ปราจีน พระพุทธเจ้าข้า ใคร ๆ จะทดแม่น้ำคงคานั้นให้ไหลไปข้างหลัง บ่าไปข้างหลัง
หลากไปข้างหลังมิใช่ทำได้ง่าย แต่หมู่มหาชนนั้นพึงมีส่วนแห่งความลำบาก
เหน็ดเหนื่อยแน่นอน”
“อุปมานี้แม้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน พระราชา มหาอำมาตย์ของ
พระราชา มิตร๑ อำมาตย์๒ ญาติ๓ สาโลหิต๔ก็ตาม พึงปวารณาภิกษุผู้เจริญ
อริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มากเพื่อให้ยินดียิ่งด้วยโภคทรัพย์
ทั้งหลายว่า ‘มาเถิดพระคุณเจ้าผู้เจริญ ผ้ากาสาวะเหล่านี้ทำให้ท่านเร่าร้อนมิใช่หรือ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๒. พลกรณียวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ท่านจะเป็นคนหัวโล้นเที่ยวถือกระเบื้องไปทำไม เชิญเถิด เชิญท่านกลับมาเป็น
คฤหัสถ์ใช้สอยโภคทรัพย์และทำบุญเถิด’
เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุนั้นผู้เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้
มาก จักบอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเป็นไปไม่ได้
เลยที่จิตนั้นอันน้อมไปในวิเวก โน้มไปในวิเวก โอนไปในวิเวกตลอดกาลนานแล้ว จักเวียน
มาเพื่อเป็นคฤหัสถ์
ภิกษุเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
อย่างนี้แล”

(พึงเพิ่มข้อความให้พิสดารเหมือนพลสูตรฉะนั้น)

นทีสูตรที่ ๑๒ จบ
พลกรณียวรรคที่ ๑๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. พลสูตร ๒. พีชสูตร
๓. นาคสูตร ๔. รุกขสูตร
๕. กุมภสูตร ๖. สูกสูตร
๗. อากาสสูตร ๘. ปฐมเมฆสูตร
๙. ทุติยเมฆสูตร ๑๐. นาวาสูตร
๑๑. อาคันตุกสูตร ๑๒. นทีสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๓. เอสนาวรรค ๑. เอสนาสูตร

๑๓. เอสนาวรรค
หมวดว่าด้วยการแสวงหา
๑. เอสนาสูตร
ว่าด้วยการแสวงหา

[๑๖๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ ประการนี้
การแสวงหา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. การแสวงหากาม ๒. การแสวงหาภพ
๓. การแสวงหาพรหมจรรย์๑
การแสวงหา ๓ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่งการแสวงหาทั้ง ๓
ประการนี้

อริยมรรคมีองค์ ๘ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เพื่อรู้ยิ่งการแสวงหาทั้ง
๓ ประการนี้

ภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ ประการนี้
การแสวงหา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. การแสวงหากาม ๒. การแสวงหาภพ
๓. การแสวงหาพรหมจรรย์
การแสวงหา ๓ ประการนี้


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๓. เอสนาวรรค ๑. เอสนาสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่งการแสวงหาทั้ง ๓
ประการนี้
อริยมรรคมีองค์ ๘ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะ
เป็นที่สุด
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เพื่อรู้ยิ่งการแสวงหาทั้ง
๓ ประการนี้

ภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ ประการนี้
การแสวงหา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. การแสวงหากาม ๒. การแสวงหาภพ
๓. การแสวงหาพรหมจรรย์
การแสวงหา ๓ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่งการแสวงหาทั้ง ๓
ประการนี้

อริยมรรคมีองค์ ๘ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะ
เป็นที่สุด
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เพื่อรู้ยิ่งการแสวงหาทั้ง
๓ ประการนี้

ภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ ประการนี้
การแสวงหา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. การแสวงหากาม ๒. การแสวงหาภพ
๓. การแสวงหาพรหมจรรย์
การแสวงหา ๓ ประการนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๓. เอสนาวรรค ๑. เอสนาสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่งการแสวงหาทั้ง ๓
ประการนี้
อริยมรรคมีองค์ ๘ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่
นิพพาน
ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เพื่อรู้ยิ่งการแสวงหาทั้ง ๓ ประการนี้

ภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ ประการนี้
การแสวงหา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. การแสวงหากาม ๒. การแสวงหาภพ
๓. การแสวงหาพรหมจรรย์
การแสวงหา ๓ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อกำหนดรู้การแสวงหา
ทั้ง ๓ ประการนี้ ฯลฯ

ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ฯลฯ

(พึงเพิ่มข้อความเพื่อกำหนดรู้ให้พิสดารเหมือนความรู้ยิ่งฉะนั้น)

ภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ ประการนี้
การแสวงหา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. การแสวงหากาม ๒. การแสวงหาภพ
๓. การแสวงหาพรหมจรรย์
การแสวงหา ๓ ประการนี้
ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อความสิ้นไปแห่งการแสวงหาทั้ง ๓ ประการ
นี้ ฯลฯ

ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ฯลฯ

(พึงเพิ่มข้อความเพื่อความสิ้นไปให้พิสดารเหมือนความรู้ยิ่งฉะนั้น)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๓. เอสนาวรรค ๒. วิธาสูตร

ภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ ประการนี้
การแสวงหา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. การแสวงหากาม ๒. การแสวงหาภพ
๓. การแสวงหาพรหมจรรย์
การแสวงหา ๓ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อละการแสวงหาทั้ง ๓
ประการนี้

อริยมรรคมีองค์ ๘ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ เพื่อละการแสวงหาทั้ง ๓
ประการนี้แล”

(พึงเพิ่มข้อความเพื่อการละให้พิสดารเหมือนความรู้ยิ่งฉะนั้น)

เอสนาสูตรที่ ๑ จบ

๒. วิธาสูตร
ว่าด้วยมานะ

[๑๖๒] “ภิกษุทั้งหลาย มานะ (ความถือตัว) ๓ ประการนี้
มานะ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. มานะว่าเราเลิศกว่าเขา ๒. มานะว่าเราเสมอเขา
๓. มานะว่าเราด้อยกว่าเขา
มานะ ๓ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อ
ความสิ้นไป เพื่อละมานะทั้ง ๓ ประการนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต] ๑๓. เอสนาวรรค ๔. ภวสูตร

อริยมรรคมีองค์ ๘ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อ
ความสิ้นไป เพื่อละมานะทั้ง ๓ ประการนี้แล”

(พึงเพิ่มข้อความให้พิสดารเหมือนเอสนาสูตรฉะนั้น)

วิธาสูตรที่ ๒ จบ

๓. อาสวสูตร
ว่าด้วยอาสวะ

[๑๖๓] “ภิกษุทั้งหลาย อาสวะ ๓ ประการนี้
อาสวะ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กามาสวะ (อาสวะคือกาม) ๒. ภวาสวะ (อาสวะคือภพ)
๓. อวิชชาสวะ (อาสวะคืออวิชชา)
อาสวะ ๓ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อ
ความสิ้นไป เพื่อละอาสวะทั้ง ๓ ประการนี้ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ฯลฯ

อาสวสูตรที่ ๓ จบ

๔. ภวสูตร
ว่าด้วยภพ

[๑๖๔] “ภิกษุทั้งหลาย ภพ ๓ ประการนี้
ภพ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต] ๑๓. เอสนาวรรค ๖. ขีลสูตร

๑. กามภพ (ภพที่เป็นกามาวจร) ๒. รูปภพ (ภพที่เป็นรูปาวจร)
๓. อรูปภพ (ภพที่เป็นอรูปาวจร)
ภพ ๓ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อ
ความสิ้นไป เพื่อละภพทั้ง ๓ ประการนี้ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ฯลฯ

ภวสูตรที่ ๔ จบ

๕. ทุกขตาสูตร
ว่าด้วยสภาวทุกข์

[๑๖๕] “ภิกษุทั้งหลาย สภาวทุกข์ ๓ ประการนี้
สภาวทุกข์ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สภาวทุกข์คือทุกข์ ๒. สภาวทุกข์คือสังขาร
๓. สภาวทุกข์คือความแปรผันไป
สภาวทุกข์ ๓ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อ
ความสิ้นไป เพื่อละสภาวทุกข์ทั้ง ๓ ประการนี้ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ฯลฯ

ทุกขตาสูตรที่ ๕ จบ

๖. ขีลสูตร
ว่าด้วยกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู

[๑๖๖] “ภิกษุทั้งหลาย กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู ๓ ประการนี้
กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปูคือราคะ
๒. กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปูคือโทสะ
๓. กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปูคือโมหะ
กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู ๓ ประการนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๓. เอสนาวรรค ๘. นีฆสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อ
ความสิ้นไป เพื่อละกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปูทั้ง ๓ ประการนี้ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ฯลฯ

ขีลสูตรที่ ๖ จบ

๗. มลสูตร
ว่าด้วยมลทิน

[๑๖๗] “ภิกษุทั้งหลาย มลทิน ๓ ประการนี้
มลทิน ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. มลทินคือราคะ ๒. มลทินคือโทสะ
๓. มลทินคือโมหะ
มลทิน ๓ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อ
ความสิ้นไป เพื่อละมลทินทั้ง ๓ ประการนี้ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ฯลฯ

มลสูตรที่ ๗ จบ

๘. นีฆสูตร
ว่าด้วยทุกข์

[๑๖๘] “ภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ ๓ ประการนี้
ทุกข์ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทุกข์คือราคะ ๒. ทุกข์คือโทสะ
๓. ทุกข์คือโมหะ
ทุกข์ ๓ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อ
ความสิ้นไป เพื่อละทุกข์ทั้ง ๓ ประการนี้ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ฯลฯ

นีฆสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๓. เอสนาวรรค ๑๐. ตัณหาสูตร

๙. เวทนาสูตร
ว่าด้วยเวทนา

[๑๖๙] “ภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ ประการนี้
เวทนา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สุขเวทนา (ความรู้สึกสุข) ๒. ทุกขเวทนา (ความรู้สึกทุกข์)
๓. อทุกขมสุขเวทนา (ความรู้สึกที่มิใช่สุขมิใช่ทุกข์)
เวทนา ๓ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อ
ความสิ้นไป เพื่อละเวทนาทั้ง ๓ ประการนี้ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ฯลฯ

เวทนาสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ตัณหาสูตร
ว่าด้วยตัณหา

[๑๗๐] “ภิกษุทั้งหลาย ตัณหา (ความทะยานอยาก) ๓ ประการนี้
ตัณหา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กามตัณหา (ความทะยานอยากในกาม)
๒. ภวตัณหา (ความทะยานอยากในภพ)
๓. วิภวตัณหา (ความทะยานอยากในวิภพ)
ตัณหา ๓ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อ
ความสิ้นไป เพื่อละตัณหาทั้ง ๓ ประการนี้ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ฯลฯ
อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๓. เอสนาวรรค ๑๑. ตสินาสูตร

๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อ
ความสิ้นไป เพื่อละตัณหาทั้ง ๓ ประการนี้ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ฯลฯ

ตัณหาสูตรที่ ๑๐ จบ

๑๑. ตสินาสูตร
ว่าด้วยตสินา

[๑๗๑] “ภิกษุทั้งหลาย ตสินา (ความอยาก) ๓ ประการนี้
ตสินา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กามตสินา (ความอยากในกาม)
๒. ภวตสินา (ความอยากในภพ)
๓. วิภวตสินา (ความอยากในวิภพ)
ตสินา ๓ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อ
ความสิ้นไป เพื่อละตสินาทั้ง ๓ ประการนี้ ฯลฯ
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะ
เป็นที่สุด
ฯลฯ
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะ
เป็นที่สุด
ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๓. เอสนาวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่
นิพพาน
ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อ
ความสิ้นไป เพื่อละตสินาทั้ง ๓ ประการนี้ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ฯลฯ

ตสินาสูตรที่ ๑๑ จบ
เอสนาวรรคที่ ๑๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. เอสนาสูตร ๒. วิธาสูตร
๓. อาสวสูตร ๔. ภวสูตร
๕. ทุกขตาสูตรร ๖. ขีลสูตร
๗. มลสูตร ๘. นีฆสูตร
๙. เวทนาสูตร ๑๐. ตัณหาสูตร
๑๑. ตสินาสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต] ๑๔. โอฆวรรค ๒. โยคสูตร

๑๔. โอฆวรรค
หมวดว่าด้วยโอฆะ
๑. โอฆสูตร
ว่าด้วยโอฆะ

[๑๗๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย โอฆะ (ห้วงน้ำ) ๔ ประการนี้
โอฆะ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กาโมฆะ (โอฆะคือกาม) ๒. ภโวฆะ (โอฆะคือภพ)
๓. ทิฏโฐฆะ (โอฆะคือทิฏฐิ) ๔. อวิชโชฆะ (โอฆะคืออวิชชา)
โอฆะ ๔ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อ
ความสิ้นไป เพื่อละโอฆะทั้ง ๔ ประการนี้ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ฯลฯ

(พึงเพิ่มข้อความให้พิสดารเหมือนเอสนาสูตรฉะนั้น)

โอฆสูตรที่ ๑ จบ

๒. โยคสูตร
ว่าด้วยโยคะ

[๑๗๓] “ภิกษุทั้งหลาย โยคะ (สภาวะอันประกอบสัตว์ไว้ในภพ) ๔ ประการนี้
โยคะ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กามโยคะ (โยคะคือกาม) ๒. ภวโยคะ (โยคะคือภพ)
๓. ทิฏฐิโยคะ (โยคะคือทิฏฐิ) ๔. อวิชชาโยคะ (โยคะคืออวิชชา)
โยคะ ๔ ประการนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต] ๑๔. โอฆวรรค ๔. คันถสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อ
ความสิ้นไป เพื่อละโยคะทั้ง ๔ ประการนี้ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ฯลฯ

โยคสูตรที่ ๒ จบ

๓. อุปาทานสูตร
ว่าด้วยอุปาทาน

[๑๗๔] “ภิกษุทั้งหลาย อุปาทาน (ความยึดมั่น) ๔ ประการนี้
อุปาทาน ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กามุปาทาน (ความยึดมั่นในกาม)
๒ ทิฏฐุปาทาน (ความยึดมั่นในทิฏฐิ)
๓. สีลัพพตุปาทาน (ความยึดมั่นในศีลพรต)
๔. อัตตวาทุปาทาน (ความยึดมั่นในวาทะว่ามีอัตตา)
อุปาทาน ๔ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อ
ความสิ้นไป เพื่อละอุปาทานทั้ง ๔ ประการนี้ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ฯลฯ

อุปาทานสูตรที่ ๓ จบ

๔. คันถสูตร
ว่าด้วยคันถะ

[๑๗๕] “ภิกษุทั้งหลาย คันถะ (กิเลสเครื่องผูก) มี ๔ ประการนี้
คันถะ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อภิชฌากายคันถะ (กิเลสเครื่องผูกกายคืออภิชฌา)
๒. พยาปาทกายคันถะ (กิเลสเครื่องผูกกายคือพยาบาท)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๔. โอฆวรรค ๕. อนุสยสูตร

๓. สีลัพพตปรามาสกายคันถะ (กิเลสเครื่องผูกกายคือความถือมั่น
ศีลพรต)
๔. อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ (กิเลสเครื่องผูกกายคือความยึดมั่น
ว่าสิ่งนี้จริง)
คันถะ ๔ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อ
ความสิ้นไป เพื่อละคันถะทั้ง ๔ ประการนี้ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ฯลฯ

คันถสูตรที่ ๔ จบ

๕. อนุสยสูตร
ว่าด้วยอนุสัย

[๑๗๖] “ภิกษุทั้งหลาย อนุสัย (กิเลสที่นอนเนื่อง) ๗ ประการนี้
อนุสัย ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กามราคานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องคือกามราคะ)
๒. ปฏิฆานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องคือปฏิฆะ)
๓. ทิฏฐานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องคือทิฏฐิ)
๔. วิจิกิจฉานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องคือวิจิกิจฉา)
๕. มานานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องคือมานะ)
๖. ภวราคานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องคือภวราคะ)
๗. อวิชชานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องคืออวิชชา)
อนุสัย ๗ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอนุสัยทั้ง ๗ ประการนี้ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ฯลฯ

อนุสยสูตรที่ ๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๔. โอฆวรรค ๗. นีวรณสูตร

๖. กามคุณสูตร
ว่าด้วยกามคุณ

[๑๗๗] “ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการนี้
กามคุณ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
๒. เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ
๓. กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ฯลฯ
๔. รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ
๕. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
กามคุณ ๕ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
เพื่อความสิ้นไป เพื่อละกามคุณทั้ง ๕ ประการนี้ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ฯลฯ

กามคุณสูตรที่ ๖ จบ

๗. นีวรณสูตร
ว่าด้วยนิวรณ์

[๑๗๘] “ภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์ (สิ่งกั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี) ๕ ประการนี้
นิวรณ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กามฉันทนิวรณ์ (สิ่งกั้นจิตไม่ให้บรรลุความดีคือความพอใจ
ในกาม)
๒. พยาบาทนิวรณ์ (สิ่งกั้นจิตไม่ให้บรรลุความดีคือความคิด
ปองร้าย)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๔. โอฆวรรค ๘. อุปาทานักขันธสูตร

๓. ถีนมิทธนิวรณ์ (สิ่งกั้นจิตไม่ให้บรรลุความดีคือความหดหู่
และเซื่องซึม)
๔. อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ (สิ่งกั้นจิตไม่ให้บรรลุความดีคือความฟุ้งซ่าน
และร้อนใจ)
๕. วิจิกิจฉานิวรณ์ (สิ่งกั้นจิตไม่ให้บรรลุความดีคือความลังเล
สงสัย)
นิวรณ์ ๕ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อ
ความสิ้นไป เพื่อละนิวรณ์ทั้ง ๕ ประการนี้ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ฯลฯ”

นีวรณสูตรที่ ๗ จบ

๘. อุปาทานักขันธสูตร
ว่าด้วยอุปาทานขันธ์

[๑๗๙] “ภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ (กองอันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น) ๕
ประการนี้
อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป)
๒. เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา)
๓. สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา)
๔. สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร)
๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ)
อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ ประการนี้ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ฯลฯ

อุปาทานักขันธสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๔. โอฆวรรค ๑๐. อุทธัมภาคิยสูตร

๙. โอรัมภาคิยสูตร
ว่าด้วยโอรัมภาคิยสังโยชน์

[๑๘๐] “ภิกษุทั้งหลาย โอรัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องต่ำ) ๕ ประการนี้
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นตัวของตน)
๒. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย)
๓. สีลัพพตปรามาส (ความถือมั่นศีลพรต)
๔. กามฉันทะ (ความพอใจในกาม)
๕. พยาบาท (ความคิดปองร้าย)
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
เพื่อความสิ้นไป เพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ทั้ง ๕ ประการนี้ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ฯลฯ

โอรัมภาคิยสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. อุทธัมภาคิยสูตร
ว่าด้วยอุทธัมภาคิยสังโยชน์

[๑๘๑] “ภิกษุทั้งหลาย อุทธัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องสูง) ๕ ประการนี้
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปราคะ (ความติดใจในอารมณ์แห่งรูปฌาน)
๒. อรูปราคะ (ความติดใจในอารมณ์แห่งอรูปฌาน)
๓. มานะ (ความถือตัว)
๔. อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน)
๕. อวิชชา (ความไม่รู้แจ้ง)
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๔. โอฆวรรค ๑๐. อุทธัมภาคิยสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ทั้ง ๕ ประการนี้
อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ทั้ง ๕ ประการนี้

ภิกษุทั้งหลาย อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปราคะ ๒. อรูปราคะ
๓. มานะ ๔. อุทธัจจะ
๕. อวิชชา
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ทั้ง ๕ ประการนี้

อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะ
เป็นที่สุด ... อันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะ
เป็นที่สุด ... อันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่
นิพพาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]
๑๔. โอฆวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ทั้ง ๕ ประการนี้”

อุทธัมภาคิยสูตรที่ ๑๐ จบ
โอฆวรรคที่ ๑๔ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. โอฆสูตร ๒. โยคสูตร
๓. อุปาทานสูตร ๔. คันถสูตร
๕. อนุสยสูต ๖. กามคุณสูตร
๗. นีวรณสูตร ๘. อุปาทานักขันธสูตร
๙. โอรัมภาคิยสูตร ๑๐. อุทธัมภาคิยสูตร

รวมวรรคที่มีในสังยุตนี้ คือ

๑. อวิชชาวรรค ๒. วิหารวรรค
๓. มิจฉัตตวรรค ๔. ปฏิปัตติวรรค
๕. อัญญติตถิยเปยยาลวรรค ๖. สุริยเปยยาลวรรค
๗. เอกธัมมเปยยาลวรรค ๘. ทุติยเอกธัมมเปยยาลวรรค
๙. คังคาเปยยาลวรรค ๑๐. ทุติยคังคาเปยยาลวรรค
๑๑. อัปปมาทวรรค ๑๒. พลกรณียวรรค
๑๓. เอสนาวรรค ๑๔. โอฆวรรค

มัคคสังยุตที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๑. ปัพพตวรรค ๑. หิมวันตสูตร

๒. โพชฌังคสังยุต
๑. ปัพพตวรรค
หมวดว่าด้วยขุนเขา
๑. หิมวันตสูตร
ว่าด้วยขุนเขาหิมพานต์

[๑๘๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกนาคอาศัยขุนเขาหิมพานต์ย่อม
เติบโตมีกำลัง เติบโตมีกำลังแล้วลงสู่หนอง ลงสู่หนองแล้วลงสู่บึง ลงสู่บึงแล้วลง
สู่แม่น้ำน้อย ลงสู่แม่น้ำน้อยแล้วลงสู่แม่น้ำใหญ่ ลงสู่แม่น้ำใหญ่แล้วลงสู่มหาสมุทรสาคร
นาคเหล่านั้นย่อมถึงความเจริญเติบโตทางกายในมหาสมุทรสาครนั้น แม้ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่ออาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีล เจริญโพชฌงค์ (ธรรมที่
เป็นองค์แห่งการตรัสรู้) ๗ ประการ ทำโพชฌงค์ ๗ ประการให้มาก ย่อมถึง
ความเป็นใหญ่ไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย
ภิกษุเมื่ออาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีล เจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ ทำโพชฌงค์
๗ ประการให้มาก ย่อมถึงความเป็นใหญ่ไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ คือความ
ระลึกได้) อันอาศัยวิเวก (ความสงัด) อาศัยวิราคะ (ความคลาย
กำหนัด) อาศัยนิโรธ (ความดับ) น้อมไปในโวสสัคคะ (ความสละ)
๒. เจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ คือ
การเฟ้นธรรม) ฯลฯ
๓. เจริญวิริยสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ คือ
ความเพียร) ...
๔. เจริญปีติสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ คือ
ความอิ่มใจ) ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๑. ปัพพตวรรค ๒. กายสูตร

๕. เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ คือ
ความสงบกายสงบใจ) ...
๖. เจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ คือ
ความตั้งจิตมั่น) ...
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ คือ
ความมีใจเป็นกลาง) อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่ออาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีล เจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ
ทำโพชฌงค์ ๗ ประการให้มาก ย่อมถึงความเป็นใหญ่ไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย
อย่างนี้แล”

หิมวันตสูตรที่ ๑ จบ

๒. กายสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยกาย

[๑๘๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย กายนี้ดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร อาศัยอาหารจึงดำรงอยู่ได้
ขาดอาหารก็ดำรงอยู่ไม่ได้ แม้ฉันใด นิวรณ์ ๕ ประการก็ฉันนั้นเหมือนกัน ดำรง
อยู่ได้ด้วยอาหาร อาศัยอาหารจึงดำรงอยู่ได้ ขาดอาหารก็ดำรงอยู่ไม่ได้

อาหารของนิวรณ์

อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำกามฉันทะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำกามฉันทะ
ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
คือ สุภนิมิต๑มีอยู่ การทำมนสิการโดยไม่แยบคายในสุภนิมิตนั้นให้มาก นี้
เป็นอาหารที่ทำกามฉันทะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำกามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้วให้
เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๑. ปัพพตวรรค ๒. กายสูตร

อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำพยาบาทที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำพยาบาท
ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
คือ ปฏิฆนิมิต๑มีอยู่ การทำมนสิการโดยไม่แยบคายในปฏิฆนิมิตนั้นให้มาก
นี้เป็นอาหารที่ทำพยาบาทที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้วให้
เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำถืนมิทธะ
ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
คือ ความไม่ยินดี ความเกียจคร้าน ความเมื่อยขบของร่างกาย ความเมา
อาหาร และความที่จิตหดหู่มีอยู่ การทำมนสิการโดยไม่แยบคายในธรรมเหล่านั้น
ให้มาก นี้เป็นอาหารที่ทำถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำถีนมิทธะที่เกิดขึ้น
แล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำอุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำ
อุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
คือ ความไม่สงบจิตมีอยู่ การทำมนสิการโดยไม่แยบคายในความไม่สงบจิต
นั้นให้มาก นี้เป็นอาหารที่ทำอุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำอุทธัจจ-
กุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำวิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำวิจิกิจฉาที่
เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
คือ ธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งวิจิกิจฉามีอยู่ การทำมนสิการโดยไม่แยบ
คายในธรรมเหล่านั้นให้มาก นี้เป็นอาหารที่ทำวิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือ
ทำวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๑. ปัพพตวรรค ๒. กายสูตร

ภิกษุทั้งหลาย กายนี้ดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร อาศัยอาหารจึงดำรงอยู่ได้ ขาด
อาหารก็ดำรงอยู่ไม่ได้ แม้ฉันใด นิวรณ์ ๕ ประการนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ดำรง
อยู่ได้ด้วยอาหาร อาศัยอาหารจึงดำรงอยู่ได้ ขาดอาหารก็ดำรงอยู่ไม่ได้
ภิกษุทั้งหลาย กายนี้ดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร อาศัยอาหารจึงดำรงอยู่ได้ ขาด
อาหารก็ดำรงอยู่ไม่ได้ แม้ฉันใด โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ดำรง
อยู่ได้ด้วยอาหาร อาศัยอาหารจึงดำรงอยู่ได้ ขาดอาหารก็ดำรงอยู่ไม่ได้

อาหารของโพชฌงค์

อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำสติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำ
สติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
คือ ธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งสติสัมโพชฌงค์มีอยู่ การทำมนสิการโดย
แยบคายในธรรมเหล่านั้นให้มาก นี้เป็นอาหารที่ทำสติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
หรือทำสติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือ
ทำธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
คือ ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศลและอกุศล มีโทษและไม่มีโทษ เลวและประณีต
เป็นฝ่ายดำและฝ่ายขาวมีอยู่ การทำมนสิการโดยแยบคายในธรรมเหล่านั้นให้มาก
นี้เป็นอาหารที่ทำธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำธัมมวิจย-
สัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำวิริยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำ
วิริยสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
คือ ความริเริ่ม ความพากเพียร ความบากบั่นมีอยู่ การทำมนสิการโดย
แยบคายในธรรมเหล่านั้นให้มาก นี้เป็นอาหารที่ทำวิริยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
หรือทำวิริยสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำปีติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำปีติ-
สัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๑. ปัพพตวรรค ๒. กายสูตร

คือ ธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งปีติสัมโพชฌงค์มีอยู่ การทำมนสิการโดย
แยบคายในธรรมเหล่านั้นให้มาก นี้เป็นอาหารที่ทำปีติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้
เกิดขึ้น หรือทำปีติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือ
ทำปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
คือ ความสงบกาย ความสงบจิตมีอยู่ การทำมนสิการโดยแยบคายในธรรม
เหล่านั้นให้มาก นี้เป็นอาหารที่ทำปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำ
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำสมาธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำ
สมาธิสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
คือ สมถนิมิต๑ อัพยัคคนิมิต๒มีอยู่ การทำมนสิการโดยแยบคายในนิมิต
เหล่านั้นให้มาก นี้เป็นอาหารที่ทำสมาธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำ
สมาธิสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำ
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
คือ ธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่ การทำมนสิการ
โดยแยบคายในธรรมเหล่านั้นให้มาก นี้เป็นอาหารที่ทำอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่
เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
ภิกษุทั้งหลาย กายนี้ดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร อาศัยอาหารจึงดำรงอยู่ได้ ขาด
อาหารก็ดำรงอยู่ไม่ได้ แม้ฉันใด โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ดำรง
อยู่ได้ด้วยอาหาร อาศัยอาหารจึงดำรงอยู่ได้ ขาดอาหารก็ดำรงอยู่ไม่ได้”

กายสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๑. ปัพพตวรรค ๓. สีลสูตร

๓. สีลสูตร
ว่าด้วยศีล

[๑๘๔] “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใดสมบูรณ์ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ๑
และวิมุตติญาณทัสสนะ๒ การเห็น๓ภิกษุเหล่านั้นก็ดี การได้ยิน๔ภิกษุเหล่านั้นก็ดี
การเข้าไปหา๕ภิกษุเหล่านั้นก็ดี การเข้าไปนั่งใกล้๖ภิกษุเหล่านั้นก็ดี การระลึก
ถึง๗ภิกษุเหล่านั้นก็ดี การบวชตาม๘ภิกษุเหล่านั้นก็ดี เรากล่าวว่า มีอุปการะมาก
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลได้ฟังธรรมของภิกษุเห็นปานนั้นแล้วย่อมหลีกออก
ด้วยการหลีกออก ๒ อย่าง คือ (๑) หลีกออกทางกาย (๒) หลีกออกทางจิต เขา
หลีกออกไปอยู่อย่างนั้นย่อมระลึก ตรึกถึงธรรมนั้น
สมัยใด ภิกษุหลีกออกไปอยู่อย่างนั้นย่อมระลึก ตรึกถึงธรรมนั้น สมัยนั้น
สติสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุชื่อว่าเจริญสติสัมโพชฌงค์ สติสัมโพชฌงค์
ย่อมถึงความเจริญเต็มที่แก่ภิกษุ ภิกษุมีสติอยู่อย่างนั้นย่อมเลือกเฟ้น ตรวจตรา
พินิจพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา
สมัยใด ภิกษุมีสติอยู่อย่างนั้นย่อมเลือกเฟ้น ตรวจตรา พินิจพิจารณาธรรม
นั้นด้วยปัญญา สมัยนั้น ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุชื่อว่า
เจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญเต็มที่แก่ภิกษุ
ความเพียรไม่ย่อหย่อนเป็นอันเธอผู้เลือกเฟ้น ตรวจตรา พินิจพิจารณาธรรมนั้น
ด้วยปัญญาปรารภแล้ว


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๑. ปัพพตวรรค ๓. สีลสูตร

สมัยใด ความเพียรไม่ย่อหย่อนเป็นอันเธอผู้เลือกเฟ้น ตรวจตรา พินิจ
พิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญาปรารภแล้ว สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุ
ปรารภแล้ว ภิกษุชื่อว่าเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญ
เต็มที่แก่ภิกษุ ปีติไม่มีอามิสย่อมเกิดแก่เธอผู้ได้ปรารภความเพียร
สมัยใด ปีติไม่มีอามิสย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้ได้ปรารภความเพียร สมัยนั้น ปีติ-
สัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุชื่อว่าเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์
ย่อมถึงความเจริญเต็มที่แก่ภิกษุ ทั้งกายทั้งจิตของเธอผู้มีใจมีปีติย่อมสงบ
สมัยใด ทั้งกายทั้งจิตของภิกษุผู้มีใจมีปีติย่อมสงบ สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุชื่อว่าเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
ย่อมถึงความเจริญเต็มที่แก่ภิกษุ จิตของเธอผู้มีกายสงบ มีสุขย่อมตั้งมั่น
สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายสงบ มีสุขย่อมตั้งมั่น สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์
เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุชื่อว่าเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อม
ถึงความเจริญเต็มที่แก่ภิกษุ เธอย่อมเพ่งดูจิตที่ตั้งมั่นอย่างนั้นด้วยดี
สมัยใด ภิกษุย่อมเพ่งดูจิตที่ตั้งมั่นอย่างนั้นด้วยดี สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์
เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุชื่อว่าเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ย่อมถึงความเจริญเต็มที่แก่ภิกษุ

อานิสงส์การเจริญโพชฌงค์

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อโพชฌงค์ ๗ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้วอย่างนี้
พึงหวังผลานิสงส์๑ ๗ ประการ
ผลานิสงส์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. จะได้บรรลุอรหัตตผลทันทีในปัจจุบัน
๒. หากในปัจจุบันยังไม่ได้บรรลุ ก็จะได้บรรลุในเวลาใกล้ตาย


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๑. ปัพพตวรรค ๓. สีลสูตร

๓. หากในปัจจุบันและในเวลาใกล้ตายยังไม่ได้บรรลุ ก็จะได้เป็นพระ
อนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี๑ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์
เบื้องต่ำ) ๕ ประการสิ้นไป
๔. หากในปัจจุบันและในเวลาใกล้ตายยังไม่ได้บรรลุ และไม่ได้เป็น
พระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ก็จะได้เป็นพระอนาคามีผู้
อุปหัจจปรินิพพายี๒ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป
๕. หากในปัจจุบันและในเวลาใกล้ตายยังไม่ได้บรรลุ ไม่ได้เป็นพระ
อนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี และไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจ-
ปรินิพพายี ก็จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี๓] เพราะ
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป
๖. หากในปัจจุบันและในเวลาใกล้ตายยังไม่ได้บรรลุ ไม่ได้เป็นพระ
อนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจ-
ปรินิพพายี และไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี ก็
จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี๔ เพราะโอรัมภาคิย-
สังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๑. ปัพพตวรรค ๔. วัตถสูตร

๗. หากในปัจจุบันและในเวลาใกล้ตายยังไม่ได้บรรลุ ไม่ได้เป็นพระ
อนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจ-
ปรินิพพายี ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี และ
ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี ก็จะได้เป็นพระ
อนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี๑ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
ประการสิ้นไป
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อโพชฌงค์ ๗ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้วอย่างนี้
พึงหวังผลานิสงส์ ๗ ประการนี้”

สีลสูตรที่ ๓ จบ

๔. วัตถสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยผ้า

[๑๘๕] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลาย
มากล่าวว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงได้
กล่าวเรื่องนี้ว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ ๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
๓. วิริยสัมโพชฌงค์ ๔. ปีติสัมโพชฌงค์
๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ๖. สมาธิสัมโพชฌงค์
๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
โพชฌงค์ ๗ ประการนี้


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๑. ปัพพตวรรค ๔. วัตถสูตร

บรรดาโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ ผมประสงค์จะอยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อใด ๆ ใน
เวลาเช้า ก็อยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อนั้น ๆ ประสงค์จะอยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อใด ๆ ในเวลา
เที่ยง ก็อยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อนั้น ๆ ประสงค์จะอยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อใด ๆ ในเวลาเย็น
ก็อยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อนั้น ๆ
ถ้าสติสัมโพชฌงค์ของผมมีอยู่ ผมก็รู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์ของผมไม่มีประมาณ
ผมปรารภดีแล้ว ผมรู้ชัดสติสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่าดำรงอยู่ ถ้าแม้สติสัมโพชฌงค์
ของผมเคลื่อนไป ผมก็รู้ชัดว่าเคลื่อนไป เพราะสิ่งนี้เป็นปัจจัย ฯลฯ ถ้าอุเบกขา-
สัมโพชฌงค์ของผมมีอยู่ ผมก็รู้ชัดว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของผมไม่มีประมาณ
ผมปรารภดีแล้ว ผมรู้ชัดอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่าดำรงอยู่ ถ้าแม้อุเบกขา-
สัมโพชฌงค์ของผมเคลื่อนไป ผมก็รู้ชัดว่าเคลื่อนไป เพราะสิ่งนี้เป็นปัจจัย
ตู้เก็บผ้าของพระราชาหรือของมหาอำมาตย์ของพระราชาบรรจุผ้าสีต่าง ๆ
พระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระราชาประสงค์จะนุ่งห่มผ้าคู่ใด ๆ ในเวลาเช้า ก็
นุ่งห่มผ้าคู่นั้น ๆ ประสงค์จะนุ่งห่มผ้าคู่ใด ๆ ในเวลาเที่ยง ก็นุ่งห่มผ้าคู่นั้น ๆ ประสงค์
จะนุ่งห่มผ้าคู่ใด ๆ ในเวลาเย็น ก็นุ่งห่มผ้าคู่นั้น ๆ แม้ฉันใด บรรดาโพชฌงค์ ๗
ประการนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ผมประสงค์จะอยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อใด ๆ ในเวลาเช้า ก็
อยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อนั้น ๆ ประสงค์จะอยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อใด ๆ ในเวลาเที่ยง ก็อยู่
ด้วยโพชฌงค์ข้อนั้น ๆ ประสงค์จะอยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อใด ๆ ในเวลาเย็น ก็อยู่ด้วย
โพชฌงค์ข้อนั้น ๆ
ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าสติสัมโพชฌงค์ของผมมีอยู่ ผมก็รู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์
ของผมไม่มีประมาณ ผมปรารภดีแล้ว ผมรู้ชัดสติสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่าดำรงอยู่
ถ้าแม้สติสัมโพชฌงค์ของผมเคลื่อนไป ผมก็รู้ชัดว่าเคลื่อนไป เพราะสิ่งนี้เป็นปัจจัย
ฯลฯ ถ้าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ของผมมีอยู่ ผมก็รู้ชัดว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของผม
ไม่มีประมาณ ผมปรารภดีแล้ว ผมรู้ชัดอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่าดำรงอยู่
ถ้าแม้อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของผมเคลื่อนไป ผมก็รู้ชัดว่าเคลื่อนไป เพราะสิ่งนี้เป็น
ปัจจัย”๑

วัตถสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๑. ปัพพตวรรค ๕. ภิกขุสูตร

๕. ภิกขุสูตร
ว่าด้วยภิกษุทูลถามเรื่องโพชฌงค์

[๑๘๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง
ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์
ตรัสว่า ‘โพชฌงค์ โพชฌงค์’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระองค์จึงตรัสว่า ‘โพชฌงค์’
พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ ที่เรียกว่า ‘โพชฌงค์’ เพราะเป็นไป
เพื่อตรัสรู้
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
นิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
เมื่อเธอเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการนี้อยู่ จิตย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะ
ภวาสวะ และอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติ
สิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว๑ ทำกิจที่ควรทำ๒เสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็น
อย่างนี้อีกต่อไป๓’
ภิกษุ ที่เรียกว่า ‘โพชฌงค์’ เพราะเป็นไปเพื่อตรัสรู้ อย่างนี้แล”

ภิกขุสูตรที่ ๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๑. ปัพพตวรรค ๖. กุณฑลิยสูตร

๖. กุณฑลิยสูตร
ว่าด้วยกุณฑลิยปริพาชก

[๑๘๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอัญชนวัน สถานที่
พระราชทานอภัยแก่หมู่เนื้อ เขตเมืองสาเกต ครั้งนั้น กุณฑลิยปริพาชกเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึก
ถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ท่านพระโคดม
ข้าพเจ้าเที่ยวไปในอาราม เข้าไปหาบริษัท เมื่อข้าพเจ้าบริโภคอาหารเช้าเสร็จแล้ว
ในเวลาหลังอาหารเดินเที่ยวไปทางอารามสู่อาราม ทางอุทยานสู่อุทยาน ณ ที่นั้น
ข้าพเจ้าเห็นสมณพราหมณ์ พวกหนึ่งกำลังกล่าวกถาซึ่งมีวิธีเปลื้องวาทะเป็น
อานิสงส์และมีวิธีโต้วาทะเป็นอานิสงส์ ส่วนท่านพระโคดมมีอะไรเป็นอานิสงส์อยู่”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “กุณฑลิยะ ตถาคตมีวิชชาและวิมุตติเป็นผลานิสงส์”
“ท่านพระโคดม ธรรมเหล่าไหนที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำวิชชาและ
วิมุตติให้บริบูรณ์”
“กุณฑลิยะ โพชฌงค์ ๗ ประการที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำวิชชา
และวิมุตติให้บริบูรณ์”
“ท่านพระโคดม อนึ่ง ธรรมเหล่าไหนที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำโพชฌงค์
๗ ประการให้บริบูรณ์”
“กุณฑลิยะ สติปัฏฐาน ๔ ประการที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำโพชฌงค์
๗ ประการให้บริบูรณ์”
“ท่านพระโคดม อนึ่ง ธรรมเหล่าไหนที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำ
สติปัฏฐาน ๔ ประการให้บริบูรณ์”
“กุณฑลิยะ สุจริต ๓ ประการที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำสติปัฏฐาน ๔
ประการให้บริบูรณ์”
“ท่านพระโคดม อนึ่ง ธรรมเหล่าไหนที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำสุจริต
๓ ประการให้บริบูรณ์”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๑. ปัพพตวรรค ๖. กุณฑลิยสูตร

“กุณฑลิยะ อินทรียสังวรที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำสุจริต ๓ ประการ
ให้บริบูรณ์
อินทรียสังวรที่บุคคลเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงทำสุจริต ๓
ประการให้บริบูรณ์
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปที่น่าชอบใจทางตาแล้ว ไม่หลงใหล ไม่เพลิด
เพลินรูปที่น่าชอบใจ ไม่ให้เกิดความกำหนัด กายของเธอก็คงที่ และจิตที่คงที่ใน
ภายในก็มั่นคงดี หลุดพ้นดีแล้ว อนึ่ง เธอเห็นรูปที่ไม่น่าชอบใจทางตาแล้ว ก็ไม่
เก้อเขิน มีจิตไม่ติดอยู่ ไม่เสียใจ มีใจไม่พยาบาท ทั้งกายของเธอก็คงที่ และจิต
ที่คงที่ในภายในก็มั่นคงดี หลุดพ้นดีแล้ว
อีกประการหนึ่ง ภิกษุฟังเสียงทางหู ฯลฯ ดมกลิ่นทางจมูก ... ลิ้มรสทางลิ้น
... ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ... รู้แจ้งธรรมารมณ์ที่น่าชอบใจทางใจแล้ว ไม่หลงใหล
ไม่เพลิดเพลิน ไม่ให้เกิดความกำหนัด กายของเธอก็คงที่ และจิตที่คงที่ในภายในก็
มั่นคงดี หลุดพ้นดีแล้ว อนึ่ง เธอรู้แจ้งธรรมารมณ์ที่ไม่น่าชอบใจทางใจแล้ว ก็ไม่
เก้อเขิน มีจิตไม่ติดอยู่ ไม่เสียใจ มีใจไม่พยาบาท ทั้งกายของเธอก็คงที่ และจิต
ที่คงที่ในภายในก็มั่นคงดี หลุดพ้นดีแล้ว
เพราะเหตุที่ภิกษุเห็นรูปทางตาแล้ว มีกายคงที่ และมีจิตที่คงที่ในภายใน
มั่นคงดี หลุดพ้นดีแล้วในรูปทั้งที่น่าชอบใจและไม่น่าชอบใจ ฟังเสียงทางหู ฯลฯ ดม
กลิ่นทางจมูก ... ลิ้มรสทางลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ... รู้แจ้งธรรมารมณ์
ทางใจแล้ว มีกายคงที่ และมีจิตที่คงที่ในภายในมั่นคงดี หลุดพ้นดีแล้วในธรรมที่
น่าชอบใจและไม่น่าชอบใจ
อินทรียสังวรที่บุคคลเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้ จึงทำสุจริต ๓
ประการให้บริบูรณ์
สุจริต ๓ ประการนั้นที่บุคคลเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงทำ
สติปัฏฐาน ๔ ประการให้บริบูรณ์
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ละกายทุจริต เจริญกายสุจริต ละวจีทุจริต เจริญ
วจีสุจริต ละมโนทุจริต เจริญมโนสุจริต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๑. ปัพพตวรรค ๖. กุณฑลิยสูตร

สุจริต ๓ ประการที่บุคคลเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้ จึงทำ
สติปัฏฐาน ๔ ประการให้บริบูรณ์
สติปัฏฐาน ๔ ประการที่บุคคลเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึง
ทำโพชฌงค์ ๗ ประการให้บริบูรณ์
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
สติปัฏฐาน ๔ ประการที่บุคคลเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้ จึงทำ
โพชฌงค์ ๗ ประการให้บริบูรณ์
โพชฌงค์ ๗ ประการที่บุคคลเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึง
ทำวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
นิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
โพชฌงค์ ๗ ประการที่บุคคลเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้ จึงทำ
วิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว กุณฑลิยปริพาชกได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๑. ปัพพตวรรค ๗. กูฏาคารสูตร

ยิ่งนัก ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก
ท่านพระโคดมประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงาย
ของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า
‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’ ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดมพร้อมทั้งพระธรรมและ
พระสงฆ์เป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”

กุณฑลิยสูตรที่ ๖ จบ

๗. กูฏาคารสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยกลอนของเรือนยอด

[๑๘๘] “ภิกษุทั้งหลาย กลอนของเรือนยอดทั้งหมดล้วนน้อมไปสู่ยอด โน้มไป
สู่ยอด โอนไปสู่ยอด แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเจริญโพชฌงค์ ๗
ประการ ทำโพชฌงค์ ๗ ประการให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน
โอนไปสู่นิพพาน
ภิกษุเมื่อเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ ทำโพชฌงค์ ๗ ประการให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
นิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ ทำโพชฌงค์ ๗ ประการให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างนี้แล”

กูฏาคารสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๑. ปัพพตวรรค ๘. อุปวาณสูตร

๘. อุปวาณสูตร
ว่าด้วยพระอุปวาณะ

[๑๘๙] สมัยหนึ่ง ท่านพระอุปวาณะและท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ โฆสิตาราม
เขตกรุงโกสัมพี ครั้นในเวลาเย็น ท่านพระสารีบุตร ออกจากที่หลีกเร้น๑ เข้าไปหา
ท่านพระอุปวาณะถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึง
กันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามท่านพระอุปวาณะดังนี้ว่า “ท่านอุปวาณะ
เพราะมนสิการโดยแยบคายเฉพาะตน ภิกษุพึงรู้ไหมว่า ‘โพชฌงค์ ๗ ประการที่
เราปรารภดีแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่ผาสุก”
ท่านพระอุปวาณะตอบว่า “ท่านสารีบุตร เพราะมนสิการโดยแยบคายเฉพาะ
ตน ภิกษุพึงรู้ได้ว่า ‘โพชฌงค์ ๗ ประการที่เราปรารภดีแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อ
อยู่ผาสุก”
ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า “อาวุโส ภิกษุปรารภสติสัมโพชฌงค์อยู่ย่อมรู้ชัดว่า
‘จิตของเราหลุดพ้นดีแล้ว ถีนมิทธะเราถอนได้แล้ว อุทธัจจกุกกุจจะเรากำจัดได้แล้ว
ความเพียรเราก็ปรารภแล้ว เรามนสิการอย่างจริงจังไม่ย่อหย่อน ฯลฯ ภิกษุปรารภ
อุเบกขาสัมโพชฌงค์อยู่ย่อมรู้ชัดว่า ‘จิตของเราหลุดพ้นดีแล้ว ถีนมิทธะเราถอนได้
แล้ว อุทธัจจกุกกุจจะเรากำจัดได้แล้ว ความเพียรเราปรารภแล้ว เรามนสิการอย่าง
จริงจังไม่ย่อหย่อน”
ท่านพระอุปวาณะกล่าวว่า “ท่านสารีบุตร เพราะมนสิการโดยแยบคาย
เฉพาะตน ภิกษุพึงรู้ได้ว่า ‘โพชฌงค์ ๗ ประการที่เราปรารภดีแล้วอย่างนี้ ย่อม
เป็นไปเพื่ออยู่ผาสุกด้วยประการฉะนี้”

อุปวาณสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๑. ปัพพตวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๙. ปฐมอุปปันนสูตร
ว่าด้วยเหตุเกิดโพชฌงค์ สูตรที่ ๑

[๑๙๐] “ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว
ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น เว้นความอุบัติขึ้นของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ย่อมไม่เกิดขึ้น
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น
เว้นความอุบัติขึ้นของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อมไม่เกิดขึ้น”

ปฐมอุปปันนสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ทุติยอุปปันนสูตร
ว่าด้วยเหตุเกิดโพชฌงค์ สูตรที่ ๒

[๑๙๑] “ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว
ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น เว้นวินัยของพระสุคต ย่อมไม่เกิดขึ้น
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น
เว้นวินัยของพระสุคต ย่อมไม่เกิดขึ้น”

ทุติยอุปปันนสูตรที่ ๑๐ จบ
ปัพพตวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. หิมวันตสูตร ๒. กายสูตร
๓. สีลสูตร ๔. วัตถสูตร
๕. ภิกขุสูตร ๖. กุณฑลิยสูตร
๗. กูฏาคารสูตร ๘. อุปวาณสูตร
๙. ปฐมอุปปันนสูตร ๑๐. ทุติยอุปปันนสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๒. คิลานวรรค ๒. ปฐมสุริยูปมสูตร

๒. คิลานวรรค
หมวดว่าด้วยผู้อาพาธ
๑. ปาณสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยสัตว์

[๑๙๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าใดเหล่าหนึ่งสำเร็จ
อิริยาบถ ๔ คือ บางคราวก็เดิน บางคราวก็ยืน บางคราวก็นั่ง บางคราวก็นอน
สัตว์เหล่านั้นทั้งหมด ล้วนอาศัยแผ่นดิน ดำรงอยู่บนแผ่นดิน จึงสำเร็จอิริยาบถ ๔
นี้ แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน อาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญโพชฌงค์
(ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้) ๗ ประการ ทำโพชฌงค์ ๗ ประการให้มาก
ภิกษุอาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ ทำโพชฌงค์
๗ ประการให้มาก อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
นิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ
ทำโพชฌงค์ ๗ ประการให้มาก อย่างนี้แล”

ปาณสูตรที่ ๑ จบ

๒. ปฐมสุริยูปมสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยดวงอาทิตย์ สูตรที่ ๑

[๑๙๓] “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อดวงอาทิตย์กำลังจะอุทัย ย่อมมีแสงอรุณขึ้นมา
ก่อน เป็นบุพนิมิต ฉันใด กัลยาณมิตตตา (ความเป็นผู้มีมิตรดี) ก็เป็นตัวนำ เป็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๒. คิลานวรรค ๓. ทุติยสุริยูปมสูตร

บุพนิมิตเพื่อความเกิดขึ้นแห่งโพชฌงค์ ๗ ประการ ฉันนั้น ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตร
พึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘จักเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ ทำโพชฌงค์ ๗ ประการให้มาก’
ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตรเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ ทำโพชฌงค์ ๗ ประการ
ให้มาก อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
นิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตรเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ ทำโพชฌงค์
๗ ประการให้มาก อย่างนี้แล”

ปฐมสุริยูปมสูตรที่ ๒ จบ

๓. ทุติยสุริยูปมสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยดวงอาทิตย์ สูตรที่ ๒

[๑๙๔] “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อดวงอาทิตย์กำลังจะอุทัย ย่อมมีแสงอรุณขึ้นมา
ก่อน เป็นบุพนิมิต ฉันใด โยนิโสมนสิการ (การมนสิการโดยแยบคาย) ก็เป็นตัวนำ
เป็นบุพนิมิตเพื่อความเกิดขึ้นแห่งโพชฌงค์ ๗ ประการ ฉันนั้น ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วย
โยนิโสมนสิการพึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘จักเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ ทำโพชฌงค์ ๗
ประการให้มาก’
ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ ทำโพชฌงค์
๗ ประการให้มาก อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
นิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๒. คิลานวรรค ๔. ปฐมคิลานสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ
ทำโพชฌงค์ ๗ ประการให้มาก อย่างนี้แล”

ทุติยสุริยูปมสูตรที่ ๓ จบ

๔. ปฐมคิลานสูตร
ว่าด้วยผู้อาพาธ สูตรที่ ๑

[๑๙๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้
เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น ท่านพระมหากัสสปะอาพาธ ได้รับทุกข์
เป็นไข้หนัก อยู่ที่ปิปผลิคูหา
ครั้นในเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้น เข้าไปหาท่านพระ
มหากัสสปะถึงที่อยู่ ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว ได้ตรัสถามท่านพระ
มหากัสสปะดังนี้ว่า
“กัสสปะ เธอยังสบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ ทุกขเวทนาทุเลาลง
ไม่กำเริบขึ้นหรือ อาการทุเลาปรากฏ อาการกำเริบไม่ปรากฏหรือ”
ท่านพระมหากัสสปะทูลตอบว่า “ข้าพระองค์ไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้
ทุกขเวทนามีแต่กำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ อาการทุเลา
ไม่ปรากฏ พระพุทธเจ้าข้า”
“กัสสปะ โพชฌงค์ ๗ ประการนี้เรากล่าวไว้ชอบแล้ว ที่บุคคลเจริญ ทำให้
มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์เรากล่าวไว้ชอบแล้ว ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
ฯลฯ
๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์เรากล่าวไว้ชอบแล้ว ที่บุคคลเจริญ ทำให้
มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๒. คิลานวรรค ๕. ทุติยคิลานสูตร

กัสสปะ โพชฌงค์ ๗ ประการนี้แลเรากล่าวไว้ชอบแล้ว ที่บุคคลเจริญ
ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน”
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค โพชฌงค์ดีนัก ข้าแต่พระสุคต โพชฌงค์ดีนัก”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระมหากัสสปะก็มีใจยินดี ชื่นชม
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค หายขาดจากอาพาธนั้น และอาพาธนั้นอันท่าน
พระมหากัสสปะละได้อย่างนั้น

ปฐมคิลานสูตรที่ ๔ จบ

๕. ทุติยคิลานสูตร
ว่าด้วยผู้อาพาธ สูตรที่ ๒

[๑๙๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้
เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะอาพาธ ได้รับ
ทุกข์ เป็นไข้หนัก อยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ
ครั้นในเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้น เข้าไปหาท่านพระ
มหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว ได้ตรัสถามท่าน
พระมหาโมคคัลลานะดังนี้ว่า
“โมคคัลลานะ เธอยังสบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ ทุกขเวทนาทุเลาลง
ไม่กำเริบขึ้นหรือ อาการทุเลาปรากฏ อาการกำเริบไม่ปรากฏหรือ”
ท่านพระมหาโมคคัลลานะทูลตอบว่า “ข้าพระองค์ไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้
ทุกขเวทนามีแต่กำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ อาการทุเลา
ไม่ปรากฏ พระพุทธเจ้าข้า”
“โมคคัลลานะ โพชฌงค์ ๗ ประการนี้เรากล่าวไว้ชอบแล้ว ที่บุคคลเจริญ
ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน”
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์เรากล่าวไว้ชอบแล้ว ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๒. คิลานวรรค ๖. ตติยคิลานสูตร

ฯลฯ
๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์เรากล่าวไว้ชอบแล้ว ที่บุคคลเจริญ ทำให้
มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
โมคคัลลานะ โพชฌงค์ ๗ ประการนี้เรากล่าวไว้ชอบแล้ว ที่บุคคลเจริญ
ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน”
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค โพชฌงค์ดีนัก ข้าแต่พระสุคต โพชฌงค์ดีนัก”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะก็มีใจยินดี
ชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค หายขาดจากอาพาธนั้น และอาพาธนั้นอัน
ท่านพระมหาโมคคัลลานะละได้อย่างนั้น

ทุติยคิลานสูตรที่ ๕ จบ

๖. ตติยคิลานสูตร
ว่าด้วยผู้อาพาธ สูตรที่ ๓

[๑๙๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้
เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคทรงพระประชวร ได้รับ
ทุกข์ พระอาการหนัก
ครั้งนั้น ท่านพระมหาจุนทะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระมหาจุนทะดังนี้ว่า
“จุนทะ เฉพาะเธอที่จะอธิบายโพชฌงค์ให้แจ่มแจ้ง”
ท่านพระมหาจุนทะทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โพชฌงค์ ๗ ประการ
นี้พระองค์ตรัสไว้ชอบแล้ว ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง
เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ชอบแล้ว ที่บุคคลเจริญ
ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๒. คิลานวรรค ๗. ปารังคมสูตร

ฯลฯ
๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ชอบแล้ว ที่บุคคลเจริญ
ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โพชฌงค์ ๗ ประการนี้พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ชอบแล้ว
ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน”
“จุนทะ โพชฌงค์ดีนัก จุนทะ โพชฌงค์ดีนัก”
ท่านพระมหาจุนทะได้กล่าวคำนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคทรงชื่นชม พอพระทัย
ทรงหายขาดจากพระประชวรนั้น และพระประชวรนั้นอันพระผู้มีพระภาคทรงละได้
อย่างนั้น

ตติยคิลานสูตรที่ ๖ จบ

๗. ปารังคมสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อให้ถึงฝั่ง

[๑๙๘] “ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มาก
แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อถึงฝั่งโน้นจากฝั่งนี้
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อม
เป็นไปเพื่อถึงฝั่งโน้นจากฝั่งนี้
ในหมู่มนุษย์ เหล่าชนผู้ไปถึงฝั่งโน้นมีจำนวนน้อย
ส่วนหมู่สัตว์นอกนี้เลาะไปตามฝั่งนี้ทั้งนั้น
ส่วนชนเหล่าใดประพฤติตามธรรม
ในธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยชอบ
ชนเหล่านั้นจักข้ามพ้นวัฏฏะ
อันเป็นบ่วงมารที่ข้ามได้แสนยาก จักถึงฝั่งโน้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๒. คิลานวรรค ๘. วิรัทธสูตร

บัณฑิตละธรรมดำแล้วพึงเจริญธรรมขาว
ออกจากที่มีน้ำ มาสู่ที่ไม่มีน้ำ
ละกามทั้งหลายแล้วเป็นผู้หมดความกังวล
พึงปรารถนาความยินดียิ่งในวิเวกที่ยินดีได้ยากยิ่ง
บัณฑิตพึงชำระตนให้ผ่องแผ้ว
จากเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตทั้งหลาย
บัณฑิตเหล่าใดอบรมจิตโดยชอบ
ในองค์ธรรมเป็นเครื่องตรัสรู้ทั้งหลาย
ไม่ถือมั่น ยินดีในนิพพานเป็นที่สละความถือมั่น
บัณฑิตเหล่านั้นสิ้นอาสวะแล้ว
มีความรุ่งเรือง ดับสนิทแล้วในโลก”๑

ปารังคมสูตรที่ ๗ จบ

๘. วิรัทธสูตร
ว่าด้วยธรรมที่บุคคลพลาด

[๑๙๙] “ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการอันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
พลาดแล้ว อริยมรรคที่ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ก็ชื่อว่าเป็นอันบุคคลเหล่านั้น
พลาดแล้ว โพชฌงค์ ๗ ประการอันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งปรารภแล้ว อริยมรรค
ที่ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ก็ชื่อว่าเป็นอันบุคคลเหล่านั้นปรารภแล้ว
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการอันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งพลาดแล้ว
อริยมรรคที่ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ก็ชื่อว่าเป็นอันบุคคลเหล่านั้นพลาดแล้ว
ส่วนโพชฌงค์ ๗ ประการนี้อันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งปรารภแล้ว อริยมรรคที่ให้
ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ก็ชื่อว่าเป็นอันบุคคลเหล่านั้นปรารภแล้ว”

วิรัทธสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๒. คิลานวรรค ๑๐. นิพพิทาสูตร

๙. อริยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นอริยะ

[๒๐๐] “ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว
เป็นอริยะ เป็นนิยยานิกธรรม๑ นำออกไปเพื่อให้สิ้นทุกข์โดยชอบแก่ผู้บำเพ็ญ
โพชฌงค์ ๗ ประการนั้น
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว เป็น
อริยะ เป็นนิยยานิกธรรม นำออกไปเพื่อให้สิ้นทุกข์โดยชอบแก่ผู้บำเพ็ญโพชฌงค์ ๗
ประการนั้น”

อริยสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. นิพพิทาสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย

[๒๐๑] “ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายอย่างที่สุด เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ
เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อม
เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายอย่างที่สุด เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ
เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน”

นิพพิทาสูตรที่ ๑๐ จบ
คิลานวรรคที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๒. คิลานวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปาณสูตร ๒. ปฐมสุริยูปมสูตร
๓. ทุติยสุริยูปมสูตร ๔. ปฐมคิลานสูตร
๕. ทุติยคิลานสูตร ๖. ตติยคิลานสูตร
๗. ปารังคมสูตร ๘. วิรัทธสูตร
๙. อริยสูตร ๑๐. นิพพิทาสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๓. อุทายิวรรค ๒. โพชฌังคเทสนาสูตร

๓. อุทายิวรรค
หมวดว่าด้วยพระอุทายี
๑. โพธายสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อตรัสรู้

[๒๐๒] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า ‘โพชฌงค์ โพชฌงค์’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ จึงตรัสว่า
‘โพชฌงค์”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ เราเรียกว่า ‘โพชฌงค์’ เพราะเป็นไป
เพื่อตรัสรู้
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
นิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
ภิกษุ เราเรียกว่า ‘โพชฌงค์’ เพราะเป็นไปเพื่อตรัสรู้”

โพธายสูตรที่ ๑ จบ

๒. โพชฌังคเทสนาสูตร
ว่าด้วยการแสดงโพชฌงค์

[๒๐๓] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงโพชฌงค์ ๗ ประการแก่เธอทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงฟัง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๓. อุทายิวรรค ๓. ฐานิยสูตร

โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้แล”

โพชฌังคเทสนาสูตรที่ ๒ จบ

๓. ฐานิยสูตร
ว่าด้วยธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งนิวรณ์

[๒๐๔] “ภิกษุทั้งหลาย กามฉันทะ (ความพอใจในกาม) ที่ยังไม่เกิดย่อม
เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น เพราะทำมนสิการ
ถึงธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งกามราคะให้มาก พยาบาท (ความคิดปองร้าย) ที่ยังไม่เกิด
ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น เพราะทำ
มนสิการถึงธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งพยาบาทให้มาก ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น
และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น เพราะทำมนสิการถึง
ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งถีนมิทธะให้มาก อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ)
ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
เพราะทำมนสิการถึงธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุทธัจจกุกกุจจะให้มาก วิจิกิจฉา (ความ
ลังเลสงสัย) ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ
ไพบูลย์ยิ่งขึ้น เพราะทำมนสิการถึงธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งวิจิกิจฉาให้มาก
ภิกษุทั้งหลาย สติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมถึง
ความเจริญเต็มที่ เพราะทำมนสิการถึงธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสติสัมโพชฌงค์ให้มาก
ฯลฯ
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมถึงความ
เจริญเต็มที่ เพราะทำมนสิการถึงธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ให้มาก”

ฐานิยสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๓. อุทายิวรรค ๕. อปริหานิยสูตร

๔. อโยนิโสมนสิการสูตร
ว่าด้วยการมนสิการโดยไม่แยบคาย

[๒๐๕] “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลมนสิการโดยไม่แยบคาย กามฉันทะที่ยังไม่
เกิดย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น พยาบาท
ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ
ไพบูลย์ยิ่งขึ้น วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อ
ความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
สติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดย่อมไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป
ฯลฯ
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดย่อมไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป
ภิกษุทั้งหลาย แต่เมื่อบุคคลมนสิการโดยแยบคาย กามฉันทะที่ยังไม่เกิด
ย่อมไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว เขาก็ละได้ พยาบาทที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น
และที่เกิดขึ้นแล้ว เขาก็ละได้ ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว
เขาก็ละได้ อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว เขาก็ละได้
วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว เขาก็ละได้ สติสัมโพชฌงค์
ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมถึงความเจริญเต็มที่
ฯลฯ
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมถึงความ
เจริญเต็มที่”

อโยนิโสมนสิการสูตรที่ ๔ จบ

๕. อปริหานิยสูตร
ว่าด้วยอปริหานิยธรรม

[๒๐๖] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอปริหานิยธรรม (ธรรมอันไม่เป็นที่ตั้ง
แห่งความเสื่อม) ๗ ประการแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๓. อุทายิวรรค ๖. ตัณหักขยสูตร

อปริหานิยธรรม ๗ ประการ เป็นอย่างไร
คือ โพชฌงค์ ๗ ประการ
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ภิกษุทั้งหลาย อปริหานิยธรรม ๗ ประการนี้แล”

อปริหานิยสูตรที่ ๕ จบ

๖. ตัณหักขยสูตร
ว่าด้วยมรรคและปฏิปทาเพื่อความสิ้นตัณหา

[๒๐๗] “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเจริญมรรค(และ)ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อ
ความสิ้นตัณหา
มรรค เป็นอย่างไร ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความสิ้นตัณหา เป็นอย่างไร
คือ โพชฌงค์ ๗ ประการ
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุทายีได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โพชฌงค์ ๗ ประการที่บุคคลเจริญอย่างไร ทำให้
มากแล้วอย่างไร จึงเป็นไปเพื่อความสิ้นตัณหา”
“อุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต
ไม่มีความเบียดเบียน เมื่อเธอเจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัย
วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ อันไพบูลย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๓. อุทายิวรรค ๗. ตัณหานิโรธสูตร

เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีความเบียดเบียน ย่อมละ
ตัณหาได้ เพราะละตัณหาได้จึงละกรรม๑ได้ เพราะละกรรมได้
จึงละทุกข์๒ได้
ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต
ไม่มีความเบียดเบียน เมื่อเธอเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัย
วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ อันไพบูลย์
เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีความเบียดเบียน ย่อมละ
ตัณหาได้ เพราะละตัณหาได้จึงละกรรมได้ เพราะละกรรมได้
จึงละทุกข์ได้
อุทายี เพราะสิ้นตัณหาจึงสิ้นกรรม เพราะสิ้นกรรมจึงสิ้นทุกข์ ด้วยประการ
ฉะนี้”

ตัณหักขยสูตรที่ ๖ จบ

๗. ตัณหานิโรธสูตร
ว่าด้วยมรรคและปฏิปทาเพื่อความดับตัณหา

[๒๐๘] “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเจริญมรรค(และ)ปฏิปทาที่เป็นไป
เพื่อความดับตัณหา
มรรค เป็นอย่างไร ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความดับตัณหา เป็นอย่างไร
คือ โพชฌงค์ ๗ ประการ
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๓. อุทายิวรรค ๘. นิพเพธภาคิยสูตร

โพชฌงค์ ๗ ประการที่บุคคลเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึง
เป็นไปเพื่อความดับตัณหา
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการที่บุคคลเจริญอย่างนี้แล ทำให้มาก
แล้วอย่างนี้ จึงเป็นไปเพื่อความดับตัณหา”

ตัณหานิโรธสูตรที่ ๗ จบ

๘. นิพเพธภาคิยสูตร
ว่าด้วยทางอันเป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส

[๒๐๙] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงทางอันเป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลสแก่
เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ทางอันเป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส เป็นอย่างไร
คือ โพชฌงค์ ๗ ประการ
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุทายีได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โพชฌงค์ ๗ ประการที่บุคคลเจริญอย่างไร ทำให้
มากแล้วอย่างไร จึงเป็นไปเพื่อความตรัสรู้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๓. อุทายิวรรค ๙. เอกธัมมสูตร

“อุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต
ไม่มีความเบียดเบียน เธอมีจิตอันสติสัมสัมโพชฌงค์ให้เจริญ
แล้ว ชำแรก ทำลายกองโลภะที่ไม่เคยชำแรก ทำลายได้ ชำแรก
ทำลายกองโทสะที่ไม่เคยชำแรก ทำลายได้ ชำแรก ทำลาย
กองโมหะที่ไม่เคยชำแรก ทำลายได้
ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต
ไม่มีความเบียดเบียน เธอมีจิตอันอุเบกขาสัมโพชฌงค์ให้เจริญ
แล้ว ชำแรก ทำลายกองโลภะที่ไม่เคยชำแรก ทำลายได้ ชำแรก
ทำลายกองโทสะที่ไม่เคยชำแรก ทำลายได้ ชำแรก ทำลายกอง
โมหะที่ไม่เคยชำแรก ทำลายได้
อุทายี โพชฌงค์ ๗ ประการที่บุคคลเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้
จึงเป็นไปเพื่อความชำแรกกิเลส”

นิพเพธภาคิยสูตรที่ ๘ จบ

๙. เอกธัมมสูตร
ว่าด้วยธรรมอันเป็นเอก

[๒๑๐] “ภิกษุทั้งหลาย เราไม่พิจารณาเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่บุคคล
เจริญ ทำให้มากแล้ว จึงเป็นไปเพื่อละธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์เหมือนโพชฌงค์ ๗
ประการนี้เลย
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๓. อุทายิวรรค ๑๐. อุทายิสูตร

โพชฌงค์ ๗ ประการที่บุคคลเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึง
เป็นไปเพื่อละธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
นิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
โพชฌงค์ ๗ ประการที่บุคคลเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้ จึงเป็น
ไปเพื่อละธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์
ธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์ เป็นอย่างไร
คือ จักขุ (ตา) เป็นธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์ เครื่องผูกคือสังโยชน์ ความถือ
มั่น ย่อมเกิดขึ้นที่จักขุนี้ โสตะ (หู) ... ฆานะ (จมูก) ... ชิวหา (ลิ้น) เป็นธรรม
ที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์ เครื่องผูกคือสังโยชน์ ความถือมั่น ย่อมเกิดขึ้นที่โสตะ ...
ฆานะ ... ชิวหานี้ ฯลฯ มโน (ใจ) เป็นธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์ เครื่องผูกคือ
สังโยชน์ ความถือมั่น ย่อมเกิดขึ้นที่มโนนี้
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์”

เอกธัมมสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. อุทายิสูตร
ว่าด้วยพระอุทายี

[๒๑๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวสุมภะชื่อ
เสตกะ แคว้นสุมภะ ครั้งนั้นแล ท่านพระอุทายีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ฯลฯ นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ที่ข้าพระองค์มีความรัก
ความเคารพ ความละอาย และความเกรงกลัวในพระผู้มีพระภาคมากเหลือเกิน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๓. อุทายิวรรค ๑๐. อุทายิสูตร

เพราะเมื่อก่อน ข้าพระองค์เป็นคฤหัสถ์อยู่ครองเรือน ไม่คุ้นเคยกับพระธรรม
ไม่คุ้นเคยกับพระสงฆ์ ข้าพระองค์นั้นเมื่อมีความรัก ความเคารพ ความละอาย
และความเกรงกลัวในพระผู้มีพระภาค จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต พระผู้มี
พระภาคทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์ว่า ‘รูปเป็นดังนี้ ความเกิดแห่งรูปเป็นดังนี้
ความดับแห่งรูปเป็นดังนี้ เวทนาเป็นดังนี้ ฯลฯ สัญญาเป็นดังนี้ ... สังขารเป็นดังนี้
... วิญญาณเป็นดังนี้ ความเกิดแห่งวิญญาณเป็นดังนี้ ความดับแห่งวิญญาณเป็น
ดังนี้’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์อยู่ในเรือนว่าง พิจารณาความเกิดและความ
เสื่อมแห่งอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ ได้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกข-
สมุทัย (เหตุเกิดทุกข์) นี้ทุกขนิโรธ (ความดับทุกข์) นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อ
ปฏิบัติที่ให้ถึงความดับทุกข์)’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม๑ที่ข้าพระองค์บรรลุแล้ว
และมรรค๒ที่ข้าพระองค์ได้แล้ว ที่ข้าพระองค์เจริญทำให้มากแล้วนั้น จักนำข้าพระ
องค์ผู้อยู่เพื่อความเป็นอย่างนั้นไปโดยประการที่จักรู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สติสัมโพชฌงค์ที่ข้าพระองค์ได้แล้ว ที่ข้าพระองค์เจริญ
ทำให้มากแล้วนั้น จักนำข้าพระองค์ผู้อยู่เพื่อความเป็นอย่างนั้นไปโดยประการที่จักรู้ชัดว่า
‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความ
เป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ ฯลฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ข้าพระองค์
ได้แล้ว ที่ข้าพระองค์เจริญ ทำให้มากแล้วนั้น จักนำข้าพระองค์ผู้อยู่เพื่อความเป็น
อย่างนั้นไปโดยประการที่จักรู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่
ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
มรรคที่ข้าพระองค์ได้แล้ว ที่ข้าพระองค์เจริญ ทำให้มากแล้วนั้น จักนำข้าพระองค์ผู้
อยู่เพื่อความเป็นอย่างนั้นไปโดยประการที่จักรู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๓. อุทายิวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ อุทายี มรรคที่เธอได้แล้ว ที่เธอเจริญ
ทำให้มากแล้วนั้น จักนำเธอผู้อยู่เพื่อความเป็นอย่างนั้นไปโดยประการที่จักรู้ชัดว่า
‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อ
ความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

อุทายิสูตรที่ ๑๐ จบ
อุทายิวรรคที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. โพธายสูตร ๒. โพชฌังคเทสนาสูตร
๓. ฐานิยสูตร ๔. อโยนิโสมนสิการสูตร
๕. อปริหานิยสูตร ๖. ตัณหักขยสูตร
๗. ตัณหานิโรธสูตร ๘. นิพเพธภาคิยสูตร
๙. เอกธัมมสูตร ๑๐. อุทายิสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๔. นีวรณวรรค ๒. ทุติยกุสลสูตร

๔. นีวรณวรรค
หมวดว่าด้วยนิวรณ์
๑. ปฐมกุสลสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นกุศล สูตรที่ ๑

[๒๑๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศล
เป็นส่วนกุศล เป็นฝ่ายกุศล ทั้งหมดมีความไม่ประมาทเป็นมูล รวมลงในความ
ไม่ประมาท ความไม่ประมาทบัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าธรรมเหล่านั้น ภิกษุผู้ไม่
ประมาทพึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘จักเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ ทำโพชฌงค์ ๗ ประการ
ให้มาก’
ภิกษุผู้ไม่ประมาทเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ ทำโพชฌงค์ ๗ ประการ
ให้มาก อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
นิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่ประมาทเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ ทำโพชฌงค์ ๗
ประการให้มาก อย่างนี้แล”

ปฐมกุสลสูตรที่ ๑ จบ

๒. ทุติยกุสลสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นกุศล สูตรที่ ๒

[๒๑๓] “ภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศล เป็นส่วนกุศล เป็นฝ่าย
กุศล ทั้งหมดมีโยนิโสมนสิการ (การมนสิการโดยแยบคาย) เป็นมูล รวมลงใน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๔. นีวรณวรรค ๓. อุปักกิเลสสูตร

โยนิโสมนสิการ โยนิโสมนสิการบัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าธรรมเหล่านั้น ภิกษุผู้ถึง
พร้อมด้วยโยนิโสมนสิการ พึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘จักเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ
ทำโพชฌงค์ ๗ ประการให้มาก’
ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ ทำ
โพชฌงค์ ๗ ประการให้มาก อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
นิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการ เจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ
ทำโพชฌงค์ ๗ ประการให้มาก อย่างนี้แล”

ทุติยกุสลสูตรที่ ๒ จบ

๓. อุปักกิเลสสูตร
ว่าด้วยความเศร้าหมองแห่งจิต

[๒๑๔] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งเศร้าหมองแห่งทอง ๕ ประการนี้เป็นเหตุให้ทอง
เศร้าหมอง ไม่อ่อน ใช้การไม่ได้ ไม่ผุดผ่อง แตกง่าย ใช้งานไม่ได้ดี
สิ่งเศร้าหมองแห่งทอง ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เหล็กเป็นสิ่งเศร้าหมองแห่งทอง เป็นเหตุให้ทองเศร้าหมอง ไม่
อ่อน ใช้การไม่ได้ ไม่ผุดผ่อง แตกง่าย ใช้งานไม่ได้ดี
๒. โลหะเป็นสิ่งเศร้าหมองแห่งทอง ฯลฯ
๓. ดีบุกเป็นสิ่งเศร้าหมองแห่งทอง ฯลฯ
๔. ตะกั่วเป็นสิ่งเศร้าหมองแห่งทอง ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๔. นีวรณวรรค ๔. อนุปักกิเลสสูตร

๕. เงินเป็นสิ่งเศร้าหมองแห่งทอง เป็นเหตุให้ทองเศร้าหมอง ไม่อ่อน
ใช้การไม่ได้ ไม่ผุดผ่อง แตกง่าย ใช้งานไม่ได้ดี
สิ่งเศร้าหมองแห่งทอง ๕ ประการนี้เป็นเหตุให้ทองเศร้าหมอง ไม่อ่อน ใช้การ
ไม่ได้ ไม่ผุดผ่อง แตกง่าย ใช้งานไม่ได้ดี
ความเศร้าหมองแห่งจิต ๕ ประการนี้ก็เหมือนกัน เป็นเหตุให้จิตเศร้าหมอง
ไม่อ่อน ไม่เหมาะแก่การใช้งาน ไม่ผุดผ่อง ฟุ้งซ่าน ไม่ตั้งมั่นดีเพื่อความสิ้น
อาสวะ
ความเศร้าหมองแห่งจิต ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กามฉันทะเป็นความเศร้าหมองแห่งจิต เป็นเหตุให้จิตเศร้าหมอง
ไม่อ่อน ไม่เหมาะแก่การใช้งาน ไม่ผุดผ่อง ฟุ้งซ่าน ไม่ตั้งมั่น
ดีเพื่อความสิ้นอาสวะ
๒. พยาบาทเป็นความเศร้าหมองแห่งจิต เป็นเหตุให้จิตเศร้าหมอง
ไม่อ่อน ไม่เหมาะแก่การใช้งาน ไม่ผุดผ่อง ฟุ้งซ่าน ไม่ตั้งมั่น
ดีเพื่อความสิ้นอาสวะ
ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ความเศร้าหมองแห่งจิต ๕ ประการนี้ เป็นเหตุให้จิตเศร้าหมอง
ไม่อ่อน ไม่เหมาะแก่การใช้งาน ไม่ผุดผ่อง ฟุ้งซ่าน ไม่ตั้งมั่นดีเพื่อความสิ้นอาสวะ”๑

อุปักกิเลสสูตรที่ ๓ จบ

๔. อนุปักกิเลสสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ไม่เป็นความเศร้าหมองแห่งจิต

[๒๑๕] “ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ไม่เป็นนิวรณ์เครื่องกางกั้น
ไม่เป็นความเศร้าหมองแห่งจิต ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ
ทำให้แจ้งผลแห่งวิชชาและวิมุตติ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๔. นีวรณวรรค ๕. อโยนิโสมนสิการสูตร

โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ไม่เป็นนิวรณ์เครื่องกางกั้น ไม่เป็นความเศร้าหมอง
แห่งจิต ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้
แจ้งผลแห่งวิชชาและวิมุตติ
ฯลฯ
๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ไม่เป็นนิวรณ์เครื่องกางกั้น ไม่เป็นความ
เศร้าหมองแห่งจิต ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป
เพื่อทำให้แจ้งผลแห่งวิชชาและวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ ไม่เป็นนิวรณ์เครื่องกางกั้น ไม่เป็น
ความเศร้าหมองแห่งจิต ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้ง
ผลแห่งวิชชาและวิมุตติ”

อนุปักกิเลสสูตรที่ ๔ จบ

๕. อโยนิโสมนสิการสูตร
ว่าด้วยการมนสิการโดยไม่แยบคาย

[๒๑๖] “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมนสิการโดยไม่แยบคาย กามฉันทะที่ยังไม่
เกิดย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น พยาบาท
ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์
ยิ่งขึ้น อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อ
ความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็น
ไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น”

อโยนิโสมนสิการสูตรที่ ๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๔. นีวรณวรรค ๘. อาวรณนีวรณสูตร

๖. โยนิโสมนสิการสูตร
ว่าด้วยการมนสิการโดยแยบคาย

[๒๑๗] “ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง เมื่อภิกษุมนสิการโดยแยบคาย สติสัมโพชฌงค์
ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมถึงความเจริญเต็มที่
ฯลฯ
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมถึงความ
เจริญเต็มที่”

โยนิโสมนสิการสูตรที่ ๖ จบ

๗. วุฑฒิสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อความเจริญ

[๒๑๘] “ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ ไม่เสื่อม
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้แลที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ ไม่เสื่อม”

วุฑฒิสูตรที่ ๗ จบ

๘. อาวรณนีวรณสูตร
ว่าด้วยนิวรณ์เครื่องกางกั้น

[๒๑๙] “ภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์เครื่องกางกั้น ๕ ประการนี้ เป็นความ
เศร้าหมองแห่งจิต ทอนกำลังปัญญา๑


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๔. นีวรณวรรค ๘. อาวรณนีวรณสูตร

นิวรณ์เครื่องกางกั้น ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กามฉันทะเป็นนิวรณ์เครื่องกางกั้น เป็นความเศร้าหมองแห่งจิต
ทอนกำลังปัญญา
๒. พยาบาทเป็นนิวรณ์เครื่องกางกั้น เป็นความเศร้าหมองแห่งจิต
ทอนกำลังปัญญา
๓. ถีนมิทธะเป็นนิวรณ์เครื่องกางกั้น เป็นความเศร้าหมองแห่งจิต
ทอนกำลังปัญญา
๔. อุทธัจจกุกกุจจะเป็นนิวรณ์เครื่องกางกั้น เป็นความเศร้าหมอง
แห่งจิต ทอนกำลังปัญญา
๕. วิจิกิจฉาเป็นนิวรณ์เครื่องกางกั้น เป็นความเศร้าหมองแห่งจิต
ทอนกำลังปัญญา
นิวรณ์เครื่องกางกั้น ๕ ประการนี้ เป็นความเศร้าหมองแห่งจิต ทอนกำลัง
ปัญญา

ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ไม่เป็นนิวรณ์เครื่องกางกั้น ไม่เป็น
ความเศร้าหมองแห่งจิต ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้ง
ผลแห่งวิชชาและวิมุตติ
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ไม่เป็นนิวรณ์เครื่องกางกั้น ไม่เป็นความเศร้าหมอง
แห่งจิต ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้
แจ้งผลแห่งวิชชาและวิมุตติ
ฯลฯ
๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ไม่เป็นนิวรณ์เครื่องกางกั้น ไม่เป็นความ
เศร้าหมองแห่งจิต ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป
เพื่อทำให้แจ้งผลแห่งวิชชาและวิมุตติ
โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ไม่เป็นนิวรณ์เครื่องกางกั้น ไม่เป็นความเศร้าหมองแห่ง
จิต ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งผลแห่งวิชชาและวิมุตติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๔. นีวรณวรรค ๙. รุกขสูตร

ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกตั้งใจ ใฝ่ใจ สำรวมใจ เงี่ยโสตสดับธรรม
สมัยนั้น นิวรณ์ ๕ ประการย่อมไม่มีแก่เธอ โพชฌงค์ ๗ ประการย่อมถึงความ
เจริญเต็มที่
นิวรณ์ ๕ ประการย่อมไม่มีแก่เธอในสมัยนั้น อะไรบ้าง คือ
๑. กามฉันทนิวรณ์ย่อมไม่มีในสมัยนั้น
๒. พยาบาทนิวรณ์ย่อมไม่มีในสมัยนั้น
๓. ถีนมิทธนิวรณ์ย่อมไม่มีในสมัยนั้น
๔. อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ย่อมไม่มีในสมัยนั้น
๕. วิจิกิจฉานิวรณ์ย่อมไม่มีในสมัยนั้น
นิวรณ์ ๕ ประการย่อมไม่มีแก่เธอในสมัยนั้น
โพชฌงค์ ๗ ประการย่อมถึงความเจริญเต็มที่ในสมัยนั้น อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญเต็มที่ในสมัยนั้น
ฯลฯ
๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญเต็มที่ในสมัยนั้น
โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ย่อมถึงความเจริญเต็มที่ในสมัยนั้น
ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกตั้งใจ ใฝ่ใจ สำรวมใจ เงี่ยโสตสดับธรรม
สมัยนั้น นิวรณ์ ๕ ประการย่อมไม่มีแก่เธอ โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ย่อมถึง
ความเจริญเต็มที่”

อาวรณนีวรณสูตรที่ ๘ จบ

๙. รุกขสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยต้นไม้

[๒๒๐] “ภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ใหญ่ที่มีกาฝากกอใหญ่ขึ้นเกาะปกคลุมเป็น
เหตุให้ล้มระเนระนาด ต้นไม้ใหญ่เหล่านั้นที่มีกาฝากกอใหญ่ขึ้นเกาะปกคลุมเป็น
เหตุให้ล้มระเนระนาด ได้แก่ต้นอะไรบ้าง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๔. นีวรณวรรค ๙. รุกขสูตร

ต้นโพธิ์ ต้นไทร ต้นเลียบ ต้นมะเดื่อ ต้นกัจฉกะ ต้นมะขวิด ต้นไม้ใหญ่เหล่านี้
ที่มีกาฝากกอใหญ่ขึ้นเกาะปกคลุมเป็นเหตุให้ล้มหักลง ฉันใด กุลบุตรบางคนในโลกนี้
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ละกามเช่นใด ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เขาย่อมถูก
กามเช่นนั้น หรือสิ่งที่เลวกว่านั้น ทำให้หักล้มลง
ภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์เครื่องกางกั้น ๕ ประการนี้ครอบงำจิตแล้ว ทอนกำลัง
ปัญญา
นิวรณ์เครื่องกางกั้น ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กามฉันทะเป็นนิวรณ์เครื่องกางกั้น ครอบงำจิตแล้ว ทอนกำลัง
ปัญญา
๒. พยาบาทเป็นนิวรณ์เครื่องกางกั้น ครอบงำจิตแล้ว ทอนกำลัง
ปัญญา
๓. ถีนมิทธะเป็นนิวรณ์เครื่องกางกั้น ครอบงำจิตแล้ว ทอนกำลัง
ปัญญา
๔. อุทธัจจกุกกุจจะเป็นนิวรณ์เครื่องกางกั้น ครอบงำจิตแล้ว ทอน
กำลังปัญญา
๕. วิจิกิจฉาเป็นนิวรณ์เครื่องกางกั้น ครอบงำจิตแล้ว ทอนกำลัง
ปัญญา
นิวรณ์เครื่องกางกั้น ๕ ประการนี้ครอบงำจิตแล้ว ทอนกำลังปัญญา๑
ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ไม่เป็นนิวรณ์เครื่องกางกั้น ไม่ครอบงำ
จิต ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งผลแห่งวิชชาและวิมุตติ
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ไม่เป็นนิวรณ์เครื่องกางกั้น ไม่ครอบงำจิต ที่
บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งผลแห่ง
วิชชาและวิมุตติ
ฯลฯ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๔. นีวรณวรรค ๑๐. นีวรณสูตร

๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ไม่เป็นนิวรณ์เครื่องกางกั้น ไม่ครอบงำจิต
ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งผลแห่ง
วิชชาและวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ไม่เป็นนิวรณ์เครื่องกางกั้น ไม่ครอบงำ
จิต ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งผลแห่งวิชชาและวิมุตติ”

รุกขสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. นีวรณสูตร
ว่าด้วยนิวรณ์

[๒๒๑] “ภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์ ๕ ประการนี้ทำให้เป็นเหมือนคนตาบอด
เป็นเหมือนคนไม่มีดวงตา ทำให้ไม่รู้อะไร มีปัญญามืดบอด เป็นไปในฝ่ายความ
คับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน
นิวรณ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กามฉันทนิวรณ์ทำให้เป็นเหมือนคนตาบอด เป็นเหมือนคนไม่มี
ดวงตา ทำให้ไม่รู้อะไร มีปัญญามืดบอด เป็นไปในฝ่ายความ
คับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน
๒. พยาบาทนิวรณ์ทำให้เป็นเหมือนคนตาบอด ฯลฯ
๓. ถีนมิทธนิวรณ์ทำให้เป็นเหมือนคนตาบอด ฯลฯ
๔. อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ทำให้เป็นเหมือนคนตาบอด ฯลฯ
๕. วิจิกิจฉานิวรณ์ทำให้เป็นเหมือนคนตาบอด เป็นเหมือนคนไม่มี
ดวงตา ทำให้ไม่รู้อะไร มีปัญญามืดบอด เป็นไปในฝ่ายความ
คับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน
นิวรณ์ ๕ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ทำให้เป็นเหมือนคนมีดวงตา ทำให้รู้
เจริญปัญญา ไม่เป็นไปในฝ่ายความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๔. นีวรณวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ทำให้เป็นเหมือนคนมีดวงตา ทำให้รู้ เจริญ
ปัญญา ไม่เป็นไปในฝ่ายความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน
ฯลฯ
๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ทำให้เป็นเหมือนคนมีดวงตา ทำให้รู้ เจริญ
ปัญญา ไม่เป็นไปในฝ่ายความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน
ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ทำให้เป็นเหมือนคนมีดวงตา ทำให้รู้
เจริญปัญญา ไม่เป็นไปในฝ่ายความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน”

นีวรณสูตรที่ ๑๐ จบ
นีวรณวรรคที่ ๔ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมกุสลสูตร ๒. ทุติยกุสลสูตร
๓. อุปักกิเลสสูตร ๔. อนุปักกิเลสสูตร
๕. อโยนิโสมนสิการสูตร ๖. โยนิโสมนสิการสูตร
๗. วุฑฒิสูตร ๘. อาวรณนีวรณสูตร
๙. รุกขสูตร ๑๐. นีวรณสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๕. จักกวัตติวรรค ๒. จักกวัตติสูตร

๕. จักกวัตติวรรค
หมวดว่าด้วยพระเจ้าจักรพรรดิ
๑. วิธาสูตร
ว่าด้วยมานะ

[๒๒๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์ทั้งปวงที่ละมานะ
(ความถือตัว) ๓ ประการในอดีตได้ก็เพราะโพชฌงค์ ๗ ประการที่สมณะหรือ
พราหมณ์ทั้งปวงเจริญ ทำให้มากแล้ว สมณะหรือพราหมณ์ทั้งปวงที่จักละมานะ
๓ ประการในอนาคตได้ก็เพราะโพชฌงค์ ๗ ประการที่สมณะหรือพราหมณ์ทั้ง
ปวงเจริญ ทำให้มากแล้ว สมณะหรือพราหมณ์ทั้งปวงที่ละมานะ ๓ ประการได้
ในปัจจุบันก็เพราะโพชฌงค์ ๗ ประการที่สมณะหรือพราหมณ์ทั้งปวงเจริญ ทำ
ให้มากแล้ว
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์ทั้งปวงที่ละมานะ ๓ ประการในอดีตได้
ฯลฯ จักละ ฯลฯ ละมานะ ๓ ประการในปัจจุบันได้ก็เพราะโพชฌงค์ ๗ ประการนี้
ที่สมณะหรือพราหมณ์ทั้งปวงเจริญ ทำให้มากแล้ว”

วิธาสูตรที่ ๑ จบ

๒. จักกวัตติสูตร
ว่าด้วยพระเจ้าจักรพรรดิ

[๒๒๓] “ภิกษุทั้งหลาย เพราะพระเจ้าจักรพรรดิปรากฏ แก้ว ๗ ประการ
จึงปรากฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๕. จักกวัตติวรรค ๓. มารสูตร

แก้ว ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. จักรแก้ว ๒. ช้างแก้ว
๓. ม้าแก้ว ๔. มณีแก้ว
๕. นางแก้ว ๖. คหบดีแก้ว
๗. ปริณายกแก้ว
เพราะพระเจ้าจักรพรรดิปรากฏ แก้ว ๗ ประการนี้จึงปรากฏ
เพราะตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าปรากฏ แก้วคือโพชฌงค์ ๗ ประการ
จึงปรากฏ
แก้วคือโพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. แก้วคือสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ๗. แก้วคืออุเบกขาสัมโพชฌงค์
ภิกษุทั้งหลาย เพราะตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าปรากฏ แก้วคือ
โพชฌงค์ ๗ ประการนี้จึงปรากฏ”

จักกวัตติสูตรที่ ๒ จบ

๓. มารสูตร
ว่าด้วยมาร

[๒๒๔] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงทางสำหรับย่ำยีมารและกองทัพมารแก่
เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ทางสำหรับย่ำยีมารและกองทัพมาร เป็นอย่างไร
คือ โพชฌงค์ ๗ ประการ
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ภิกษุทั้งหลาย นี้แล คือทางสำหรับย่ำยีมารและกองทัพมาร”

มารสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๕. จักกวัตติวรรค ๕. ปัญญวันตสูตร

๔. ทุปปัญญสูตร
ว่าด้วยเหตุให้คนมีปัญญาทราม

[๒๒๕] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง
ณ ที่สมควรแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์
ตรัสว่า ‘มีปัญญาทราม เป็นคนเซอะ๑ มีปัญญาทราม เป็นคนเซอะ’ ด้วยเหตุเพียง
เท่าไรหนอ พระองค์จึงตรัสว่า ‘มีปัญญาทราม เป็นคนเซอะ’ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ เรากล่าวว่า ‘มีปัญญาทราม เป็นคนเซอะ’
ก็เพราะโพชฌงค์ ๗ ประการที่บุคคลนั้นไม่เจริญ ไม่ทำให้มากแล้ว
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ภิกษุ เรากล่าวว่า ‘มีปัญญาทราม เป็นคนเซอะ’ ก็เพราะโพชฌงค์ ๗ ประการนี้
อันบุคคลนั้นไม่เจริญ ไม่ทำให้มากแล้ว”

ทุปปัญญสูตรที่ ๔ จบ

๕. ปัญญวันตสูตร
ว่าด้วยเหตุให้คนมีปัญญา

[๒๒๖] ภิกษุทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า ‘มีปัญญา
ไม่เป็นคนเซอะ มีปัญญา ไม่เป็นคนเซอะ’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระองค์จึง
ตรัสว่า ‘มีปัญญา ไม่เป็นคนเซอะ’ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ เรากล่าวว่า ‘มีปัญญา ไม่เป็นคนเซอะ’
ก็เพราะโพชฌงค์ ๗ ประการที่บุคคลนั้นเจริญ ทำให้มากแล้ว


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๕. จักกวัตติวรรค ๗. อทลิททสูตร

โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ภิกษุ เรากล่าวว่า ‘มีปัญญา ไม่เป็นคนเซอะ’ ก็เพราะโพชฌงค์ ๗ ประการนี้
ที่บุคคลนั้นเจริญ ทำให้มากแล้ว”

ปัญญวันตสูตรที่ ๕ จบ

๖. ทลิททสูตร
ว่าด้วยเหตุให้เป็นคนจน

[๒๒๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า ‘คนจน คนจน’ ด้วยเหตุเพียง
เท่าไรหนอ พระองค์จึงตรัสว่า ‘คนจน’ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุ เรากล่าวว่า ‘คนจน’ ก็เพราะโพชฌงค์ ๗ ประการที่บุคคลนั้นไม่เจริญ
ไม่ทำให้มากแล้ว
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ภิกษุ เรากล่าวว่า ‘คนจน’ ก็เพราะโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ที่บุคคลนั้นไม่เจริญ
ไม่ทำให้มากแล้ว”

ทลิททสูตรที่ ๖ จบ

๗. อทลิททสูตร
ว่าด้วยเหตุให้เป็นคนไม่จน

[๒๒๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า ‘คนไม่จน คนไม่จน’ ด้วยเหตุเพียง
เท่าไรหนอ พระองค์จึงตรัสว่า ‘คนไม่จน’ พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๕. จักกวัตติวรรค ๘. อาทิจจสูตร

“ภิกษุ เรากล่าวว่า ‘คนไม่จน’ ก็เพราะโพชฌงค์ ๗ ประการที่บุคคลนั้นเจริญ
ทำให้มากแล้ว
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ภิกษุ เรากล่าวว่า ‘คนไม่จน’ ก็เพราะโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ที่บุคคลนั้นเจริญ
ทำให้มากแล้ว”

อทลิททสูตรที่ ๗ จบ

๘. อาทิจจสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยดวงอาทิตย์

[๒๒๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อดวงอาทิตย์กำลังจะอุทัย ย่อมมีแสงอรุณขึ้นมาก่อน เป็น
บุพนิมิต ฉันใด กัลยาณมิตตตา (ความเป็นผู้มีมิตรดี) ก็เป็นตัวนำ เป็นบุพนิมิต
เพื่อความเกิดขึ้นแห่งโพชฌงค์ ๗ ประการ ฉันนั้น
ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตร (มิตรดี) พึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘จักเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ
ทำโพชฌงค์ ๗ ประการให้มาก’
ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตรเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ ทำโพชฌงค์ ๗
ประการให้มาก อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตรเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ ทำโพชฌงค์ ๗
ประการให้มาก อย่างนี้แล”

อาทิจจสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๕. จักกวัตติวรรค ๑๐. พาหิรังคสูตร

๙. อัชฌัตติกังคสูตร
ว่าด้วยเหตุภายในให้โพชฌงค์เกิด

[๒๓๐] “ภิกษุทั้งหลาย เราไม่พิจารณาเห็นเหตุอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุ
ภายในให้โพชฌงค์ ๗ ประการเกิดขึ้นเหมือนโยนิโสมนสิการ
ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการพึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘จักเจริญโพชฌงค์ ๗
ประการ ทำโพชฌงค์ ๗ ประการให้มาก’
ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ ทำโพชฌงค์
๗ ประการให้มาก อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
นิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการ เจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ
ทำโพชฌงค์ ๗ ประการให้มาก อย่างนี้แล”

อัชฌัตติกังคสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. พาหิรังคสูตร
ว่าด้วยเหตุภายนอกให้โพชฌงค์เกิด

[๒๓๑] “ภิกษุทั้งหลาย เราไม่พิจารณาเห็นเหตุอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุ
ภายนอกให้โพชฌงค์ ๗ ประการเกิดขึ้นเหมือนกัลยาณมิตตตา
ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตร พึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘จักเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ ทำ
โพชฌงค์ ๗ ประการให้มาก’
ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตรเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ ทำโพชฌงค์ ๗ ประการ
ให้มาก อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๕. จักกวัตติวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตรเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ ทำโพชฌงค์
๗ ประการให้มาก อย่างนี้แล”

พาหิรังคสูตรที่ ๑๐ จบ
จักกวัตติวรรคที่ ๕ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. วิธาสูตร ๒. จักกวัตติสูตร
๓. มารสูตร ๔. ทุปปัญญสูตร
๕. ปัญญวันตสูตร ๖. ทลิททสูตร
๗. อทลิททสูตร ๘. อาทิจจสูตร
๙. อัชฌัตติกังคสูตร ๑๐. พาหิรังคสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค ๑. อาหารสูตร

๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค
หมวดว่าด้วยการสนทนาเรื่องโพชฌงค์
๑. อาหารสูตร
ว่าด้วยอาหารของนิวรณ์และโพชฌงค์

[๒๓๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอาหารและสิ่งไม่ใช่อาหาร
ของนิวรณ์ ๕ ประการและโพชฌงค์ ๗ ประการแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
อาหารของนิวรณ์
อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำกามฉันทะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำกามฉันทะ
ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
คือ สุภนิมิตมีอยู่ การทำมนสิการโดยไม่แยบคายในสุภนิมิตนั้นให้มาก นี้
เป็นอาหารที่ทำกามฉันทะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำกามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้วให้
เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำพยาบาทที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำพยาบาท
ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
คือ ปฏิฆนิมิตมีอยู่ การทำมนสิการโดยไม่แยบคายในปฏิฆนิมิตนั้นให้มาก
นี้เป็นอาหารที่ทำพยาบาทที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้วให้
เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำถีนมิทธะ
ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
คือ ความไม่ยินดี ความเกียจคร้าน ความเมื่อยขบของร่างกาย ความเมา
อาหาร และความที่จิตหดหู่มีอยู่ การทำมนสิการโดยไม่แยบคายในธรรมเหล่านั้น
ให้มาก นี้เป็นอาหารที่ทำถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำถีนมิทธะที่เกิดขึ้น
แล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค ๑. อาหารสูตร

อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำอุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำ
อุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
คือ ความไม่สงบจิตมีอยู่ การทำมนสิการโดยไม่แยบคายในความไม่สงบ
จิตนั้นให้มาก นี้เป็นอาหารที่ทำอุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำ
อุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำวิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำวิจิกิจฉาที่
เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
คือ ธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งวิจิกิจฉามีอยู่ การทำมนสิการโดยไม่
แยบคายในธรรมเหล่านั้นให้มาก นี้เป็นอาหารที่ทำวิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
หรือทำวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น

อาหารของโพชฌงค์

อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำสติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำ
สติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
คือ ธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งสติสัมโพชฌงค์มีอยู่ การทำมนสิการโดย
แยบคายในธรรมเหล่านั้นให้มาก นี้เป็นอาหารที่ทำสติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
หรือทำสติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือ
ทำธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
คือ ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศลและอกุศล มีโทษและไม่มีโทษ เลวและประณีต
เป็นฝ่ายดำและฝ่ายขาวมีอยู่ การทำมนสิการโดยแยบคายในธรรมเหล่านั้นให้มาก นี้
เป็นอาหารที่ทำธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำวิริยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำ
วิริยสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค ๑. อาหารสูตร

คือ ความริเริ่ม ความพากเพียร ความบากบั่นมีอยู่ การทำมนสิการโดย
แยบคายในธรรมเหล่านั้นให้มาก นี้เป็นอาหารที่ทำวิริยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
หรือทำวิริยสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำปีติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำปีติ-
สัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
คือ ธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งปีติสัมโพชฌงค์มีอยู่ การทำมนสิการโดย
แยบคายในธรรมเหล่านั้นให้มาก นี้เป็นอาหารที่ทำปีติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
หรือทำปีติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือ
ทำปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
คือ ความสงบกาย ความสงบจิตมีอยู่ การทำมนสิการโดยแยบคายในธรรม
เหล่านั้นให้มาก นี้เป็นอาหารที่ทำปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำ
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำสมาธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำ
สมาธิสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
คือ สมาธินิมิต อัพยัคคนิมิตมีอยู่ การทำมนสิการโดยแยบคายในนิมิต
เหล่านั้นให้มาก นี้เป็นอาหารที่ทำสมาธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำ
สมาธิสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือ
ทำอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
คือ ธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่ การทำมนสิการ
โดยแยบคายในธรรมเหล่านั้นให้มาก นี้เป็นอาหารที่ทำอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่
เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
สิ่งที่ไม่ใช่อาหารของนิวรณ์
อะไรเล่าไม่เป็นอาหารที่ทำกามฉันทะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำกามฉันทะ
ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค ๑. อาหารสูตร

คือ อสุภนิมิตมีอยู่ การทำมนสิการโดยแยบคายในอสุภนิมิตนั้นให้มาก นี้
ไม่เป็นอาหารที่ทำกามฉันทะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำกามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้ว
ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
อะไรเล่าไม่เป็นอาหารที่ทำพยาบาทที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำพยาบาท
ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
คือ เมตตาเจโตวิมุตติมีอยู่ การทำมนสิการโดยแยบคายในเมตตาเจโตวิมุตติ
นั้นให้มาก นี้ไม่เป็นอาหารที่ทำพยาบาทที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำพยาบาทที่
เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
อะไรเล่าไม่เป็นอาหารที่ทำถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำถีน-
มิทธะที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
คือ ความริเริ่ม ความพากเพียร ความบากบั่นมีอยู่ การทำมนสิการโดย
แยบคายในธรรมเหล่านั้นให้มาก นี้ไม่เป็นอาหารที่ทำถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
หรือทำถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
อะไรเล่าไม่เป็นอาหารที่ทำอุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำ
อุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
คือ ความสงบจิตมีอยู่ การทำมนสิการโดยแยบคายในความสงบจิตนั้นให้มาก
นี้ไม่เป็นอาหารที่ทำอุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำอุทธัจจกุกกุจจะที่
เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
อะไรเล่าไม่เป็นอาหารที่ทำวิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำวิจิกิจฉา
ที่เกิดขึ้นแล้ว ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
คือ ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศลและอกุศล มีโทษและไม่มีโทษ เลวและประณีต
เป็นฝ่ายดำและฝ่ายขาวมีอยู่ การทำมนสิการโดยแยบคายในธรรมเหล่านั้นให้มาก
นี้ไม่เป็นอาหารที่ทำวิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว
ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค ๑. อาหารสูตร

สิ่งที่ไม่ใช่อาหารของโพชฌงค์

อะไรเล่าไม่เป็นอาหารที่ทำสติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำ
สติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
คือ ธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งสติสัมโพชฌงค์มีอยู่ การไม่ทำมนสิการ
ในธรรมเหล่านั้นให้มาก นี้ไม่เป็นอาหารที่ทำสติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
หรือทำสติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
อะไรเล่าไม่เป็นอาหารที่ทำธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำ
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
คือ ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศลและอกุศล มีโทษและไม่มีโทษ เลวและประณีต
เป็นฝ่ายดำและฝ่ายขาวมีอยู่ การไม่ทำมนสิการในธรรมเหล่านั้นให้มาก นี้ไม่เป็น
อาหารที่ทำธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
อะไรเล่าไม่เป็นอาหารที่ทำวิริยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำ
วิริยสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
คือ ความริเริ่ม ความพากเพียร ความบากบั่นมีอยู่ การไม่ทำมนสิการใน
ธรรมเหล่านั้นให้มาก นี้ไม่เป็นอาหารที่ทำวิริยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
หรือทำวิริยสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
อะไรเล่าไม่เป็นอาหารที่ทำปีติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำ
ปีติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
คือ ธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งปีติสัมโพชฌงค์มีอยู่ การไม่ทำมนสิการ
ในธรรมเหล่านั้นให้มาก นี้ไม่เป็นอาหารที่ทำปีติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
หรือทำปีติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
อะไรเล่าไม่เป็นอาหารที่ทำปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือ
ทำปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค ๒. ปริยายสูตร

คือ ความสงบกาย ความสงบจิตมีอยู่ การไม่ทำมนสิการในธรรมเหล่านั้น
ให้มาก นี้ไม่เป็นอาหารที่ทำปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำปัสสัทธิ-
สัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
อะไรเล่าไม่เป็นอาหารที่ทำสมาธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำ
สมาธิสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
คือ สมาธินิมิต อัพยัคคนิมิตมีอยู่ การไม่ทำมนสิการในนิมิตเหล่านั้นให้มาก นี้
ไม่เป็นอาหารที่ทำสมาธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำสมาธิสัมโพชฌงค์
ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
อะไรเล่าไม่เป็นอาหารที่ทำอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือทำ
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่
คือ ธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่ การไม่ทำมนสิการ
ในธรรมเหล่านั้นให้มาก นี้ไม่เป็นอาหารที่ทำอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
หรือทำอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญเต็มที่”

อาหารสูตรที่ ๑ จบ

๒. ปริยายสูตร
ว่าด้วยเหตุที่นิวรณ์และโพชฌงค์อาศัย

[๒๓๓] ครั้นในเวลาเช้า ภิกษุหลายรูปครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร
เข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า “การเที่ยวไปบิณฑบาต
ยังกรุงสาวัตถียังเช้านัก ทางที่ดี เราทั้งหลายควรจะเข้าไปยังอารามของพวก
อัญเดียรถีย์ปริพาชก”
ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นจึงเข้าไปยังอารามของพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก ได้
สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร พวก
อัญเดียรถีย์ปริพาชกได้กล่าวกับภิกษุเหล่านั้นดังนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค ๒. ปริยายสูตร

“ผู้มีอายุทั้งหลาย พระสมณโคดมแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า
‘มาเถิด ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละนิวรณ์ ๕ ประการอันเป็นความเศร้าหมอง
แห่งจิต ทอนกำลังปัญญาแล้วเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการตามความเป็นจริงเถิด’
แม้แต่เราทั้งหลายก็แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘มาเถิด ผู้มีอายุทั้งหลาย
ท่านทั้งหลายจงละนิวรณ์ ๕ ประการอันเป็นความเศร้าหมองแห่งจิต ทอนกำลัง
ปัญญาแล้วเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการตามความเป็นจริงเถิด’ ผู้มีอายุทั้งหลาย
ในธรรมเทศนาหรืออนุสาสนีนี้ คือ ธรรมเทศนาของพระสมณโคดมกับธรรม-
เทศนาของพวกเรา หรืออนุสาสนีของพระสมณโคดมกับอนุสาสนีของพวกเราจะผิด
แผกแตกต่างกันอย่างไร”
ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นไม่ยินดี ไม่คัดค้านภาษิตของอัญเดียรถีย์ปริพาชก
เหล่านั้น ลุกจากอาสนะจากไปด้วยคิดว่า “เราทั้งหลายจักรู้ชัดเนื้อความแห่งภาษิต
นี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาค”
ภิกษุเหล่านั้นครั้นเที่ยวไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี กลับจากบิณฑบาต ภาย
หลังฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเช้านี้ ข้าพระองค์ทั้งหลายครองอันตรวาสก ถือ
บาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘การเที่ยวไป
บิณฑบาตยังกรุงสาวัตถียังเช้านัก ทางที่ดี เราทั้งหลายควรจะเข้าไปยังอารามของ
พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก’
ครั้งนั้นแล ข้าพระองค์ทั้งหลายจึงได้เข้าไปยังอารามของพวกอัญเดียถีย์
ปริพาชกได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ
ที่สมควร พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกได้กล่าวกับข้าพระองค์ทั้งหลายดังนี้ว่า
‘ผู้มีอายุทั้งหลาย พระสมณโคดมแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า
‘มาเถิด ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละนิวรณ์ ๕ ประการอันเป็นความเศร้าหมอง
แห่งจิต ทอนกำลังปัญญาแล้วเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการตามความเป็นจริงเถิด’
แม้แต่เราทั้งหลายก็แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘มาเถิด ผู้มีอายุทั้งหลาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค ๒. ปริยายสูตร

ท่านทั้งหลายจงละนิวรณ์ ๕ ประการอันเป็นความเศร้าหมองแห่งจิต ทอนกำลัง
ปัญญาแล้วเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการตามความเป็นจริงเถิด’ ผู้มีอายุทั้งหลาย
ในธรรมเทศนาหรืออนุสาสนีนี้ คือ ธรรมเทศนาของพระสมณโคดมกับธรรม-
เทศนาของพวกเรา หรืออนุสาสนีของพระสมณโคดมกับอนุสาสนีของพวกเราจะผิด
แผกแตกต่างกันอย่างไร’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้งนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่ยินดี ไม่คัดค้านภาษิต
ของอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น ลุกจากอาสนะจากไปด้วยคิดว่า ‘เราทั้งหลายจัก
รู้ชัดเนื้อความแห่งภาษิตนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาค”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกมีวาทะ
อย่างนี้ เธอทั้งหลายควรถามอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย ก็เหตุที่นิวรณ์ ๕ ประการ
อาศัยกลายเป็น ๑๐ ประการ และเหตุที่โพชฌงค์ ๗ ประการ อาศัยกลายเป็น
๑๔ ประการมีอยู่หรือ’ พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกถูกถามอย่างนี้แล้วจักไม่สามารถ
ตอบได้ จักถึงความลำบากอย่างยิ่ง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพวกอัญเดียรถีย์-
ปริพาชกถูกถามในสิ่งอันมิใช่วิสัย๑
ภิกษุทั้งหลาย ในโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์
พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เรายังไม่เห็นบุคคลที่จะทำจิตให้ยินดี
ได้ด้วยการตอบปัญหาเหล่านี้ เว้นตถาคตหรือสาวกของตถาคต หรือผู้ที่ฟังจาก
คำสอนของตถาคตนี้
เหตุที่นิวรณ์ ๕ ประการอาศัยกลายเป็น ๑๐ ประการ เป็นอย่างไร
คือ แม้กามฉันทะในภายใน๒ก็เป็นนิวรณ์ แม้กามฉันทะในภายนอก๓ก็เป็น
นิวรณ์ คำว่า ‘กามฉันทนิวรณ์’ ย่อมมาสู่อุทเทสนี้ แม้ด้วยเหตุนี้ กามฉันทนิวรณ์
นั้นจึงเป็น ๒ ประการ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค ๒. ปริยายสูตร

แม้พยาบาทในภายใน๑ก็เป็นนิวรณ์ แม้พยาบาทในภายนอก๒ก็เป็นนิวรณ์
คำว่า ‘พยาบาทนิวรณ์’ ย่อมไปสู่อุทเทสนี้ แม้ด้วยเหตุนี้ พยาบาทนิวรณ์นั้นจึงเป็น
๒ ประการ
แม้ถีนะก็เป็นนิวรณ์ แม้มิทธะก็เป็นนิวรณ์ คำว่า ‘ถีนมิทธนิวรณ์’ ย่อมไปสู่
อุทเทสนี้ แม้ด้วยเหตุนี้ ถีนมิทธนิวรณ์นั้นจึงเป็น ๒ ประการ
แม้อุทธัจจะก็เป็นนิวรณ์ แม้กุกกุจจะก็เป็นนิวรณ์ คำว่า ‘อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์’
ย่อมไปสู่อุทเทสนี้ แม้ด้วยเหตุนี้ อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์นั้นจึงเป็น ๒ ประการ
แม้วิจิกิจฉาในธรรมทั้งหลายในภายใน๓ก็เป็นนิวรณ์ แม้วิจิกิจฉาในธรรม
ทั้งหลายในภายนอก๔ก็เป็นนิวรณ์ คำว่า ‘วิจิกิจฉานิวรณ์’ ย่อมไปสู่อุทเทสนี้ แม้
ด้วยเหตุนี้ วิจิกิจฉานิวรณ์นั้นจึงเป็น ๒ ประการ
ภิกษุทั้งหลาย เหตุนี้แลที่นิวรณ์ ๕ ประการอาศัยกลายเป็น ๑๐ ประการ
เหตุที่โพชฌงค์ ๗ ประการอาศัยกลายเป็น ๑๔ ประการ เป็นอย่างไร
คือ แม้สติในธรรมทั้งหลายในภายใน๕ก็เป็นสติสัมโพชฌงค์ แม้สติในธรรม
ทั้งหลายในภายนอก๖ก็เป็นสติสัมโพชฌงค์ คำว่า ‘สติสัมโพชฌงค์’ ย่อมไปสู่
อุทเทสนี้ แม้ด้วยเหตุนี้ สติสัมโพชฌงค์นั้นจึงเป็น ๒ ประการ
แม้ธรรมที่บุคคลเลือกเฟ้นตรวจสอบพินิจพิจารณาในธรรมทั้งหลายในภายใน
ด้วยปัญญาก็เป็นธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ แม้ธรรมที่บุคคลเลือกเฟ้นตรวจสอบพินิจ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค ๓. อัคคิสูตร

พิจารณาในธรรมทั้งหลายในภายนอกด้วยปัญญาก็เป็นธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ คำว่า
‘ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์’ ย่อมไปสู่อุทเทสนี้ แม้ด้วยเหตุนี้ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์นั้นจึง
เป็น ๒ ประการ
แม้ความเพียรทางกายก็เป็นวิริยสัมโพชฌงค์ แม้ความเพียรทางจิตก็เป็น
วิริยสัมโพชฌงค์ คำว่า ‘วิริยสัมโพชฌงค์’ ย่อมไปสู่อุทเทสนี้ แม้ด้วยเหตุนี้
วิริยสัมโพชฌงค์นั้นจึงเป็น ๒ ประการ
แม้ปีติที่มีวิตกวิจารก็เป็นปีติสัมโพชฌงค์ แม้ปีติที่ไม่มีวิตกวิจารก็เป็นปีติ-
สัมโพชฌงค์ คำว่า ‘ปีติสัมโพชฌงค์’ ย่อมมาสู่อุทเทสนี้ แม้ด้วยเหตุนี้ ปีติ-
สัมโพชฌงค์นั้นจึงเป็น ๒ ประการ
แม้กายปัสสัทธิก็เป็นปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ แม้จิตตปัสสัทธิก็เป็นปัสสัทธิ-
สัมโพชฌงค์ คำว่า ‘ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์’ ย่อมไปสู่อุทเทสนี้ แม้ด้วยเหตุนี้
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์นั้นจึงเป็น ๒ ประการ
แม้สมาธิที่มีวิตกวิจารก็เป็นสมาธิสัมโพชฌงค์ แม้สมาธิที่ไม่มีวิตกวิจารก็เป็น
สมาธิสัมโพชฌงค์ คำว่า ‘สมาธิสัมโพชฌงค์’ ย่อมไปสู่อุทเทสนี้ แม้ด้วยเหตุนี้
สมาธิสัมโพชฌงค์นั้นจึงเป็น ๒ ประการ
แม้อุเบกขาในธรรมทั้งหลายในภายในก็เป็นอุเบกขาสัมโพชฌงค์ แม้อุเบกขา
ในธรรมทั้งหลายในภายนอกก็เป็นอุเบกขาสัมโพชฌงค์ คำว่า ‘อุเบกขาสัมโพชฌงค์’
ย่อมไปสู่อุทเทสนี้ แม้ด้วยเหตุนี้ อุเบกขาสัมโพชฌงค์นั้นจึงเป็น ๒ ประการ
ภิกษุทั้งหลาย เหตุนี้แลที่โพชฌงค์ ๗ ประการอาศัยกลายเป็น ๑๔ ประการ”

ปริยายสูตรที่ ๒ จบ

๓. อัคคิสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยไฟ

[๒๓๔] ครั้นในเวลาเช้า ภิกษุหลายรูปครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร
เข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี (ความต่อไปเหมือนปริยายสูตร)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค ๓. อัคคิสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกมีวาทะ
อย่างนี้ เธอทั้งหลายควรถามอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย สมัยใด จิตหดหู่ สมัยนั้น
ไม่เป็นเวลาเพื่อเจริญโพชฌงค์เหล่าไหน เป็นเวลาเพื่อเจริญโพชฌงค์เหล่าไหน อนึ่ง
สมัยใด จิตฟุ้งซ่าน สมัยนั้น ไม่เป็นเวลาเพื่อเจริญโพชฌงค์เหล่าไหน เป็นเวลา
เพื่อเจริญโพชฌงค์เหล่าไหน’
ภิกษุทั้งหลาย พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกถูกถามอย่างนี้แล้วจักไม่สามารถ
ตอบให้บริบูรณ์ได้ จักถึงความลำบากอย่างยิ่ง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพวก
อัญเดียรถีย์ปริพาชกถูกถามในสิ่งอันมิใช่วิสัย
ภิกษุทั้งหลาย ในโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์
พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เรายังไม่เห็นบุคคลที่จะยังจิตให้ยินดีได้
ด้วยการตอบปัญหาเหล่านี้ เว้นตถาคตหรือสาวกของตถาคต หรือผู้ที่ฟังจากคำสอน
ของตถาคตนี้
ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตหดหู่ สมัยนั้น ไม่เป็นเวลาเพื่อเจริญปัสสัทธิ-
สัมโพชฌงค์ ไม่เป็นเวลาเพื่อเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ ไม่เป็นเวลาเพื่อเจริญอุเบกขา-
สัมโพชฌงค์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตหดหู่ จิตที่หดหู่นั้นยากที่จะให้ฟื้นขึ้นด้วย
ธรรมเหล่านั้น
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษต้องการจะให้ไฟน้อยนิดลุกโพลง จึงใส่หญ้าสด
โคมัยเปียก ไม้สด พรมน้ำและโปรยฝุ่นลงในไฟนั้น เขาสามารถจะให้ไฟน้อยนิด
ลุกโพลงได้หรือ”
“ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น สมัยใด จิตหดหู่ สมัยนั้น
ไม่เป็นเวลาเพื่อเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ไม่เป็นเวลาเพื่อเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์
ไม่เป็นเวลาเพื่อเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตหดหู่ จิตที่
หดหู่นั้นยากที่จะให้ฟื้นขึ้นด้วยธรรมเหล่านั้น
แต่สมัยใด จิตหดหู่ สมัยนั้น เป็นเวลาเพื่อเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็น
เวลาเพื่อเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ เป็นเวลาเพื่อเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะจิตหดหู่ จิตที่หดหู่นั้นง่ายที่จะให้ฟื้นขึ้นด้วยธรรมเหล่านั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค ๓. อัคคิสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษต้องการจะให้ไฟน้อยนิดลุกโพลง จึงใส่หญ้าแห้ง
โคมัยแห้ง ไม้แห้ง เป่าลมและไม่โปรยฝุ่นลงในไฟนั้น เขาสามารถจะให้ไฟน้อยนิด
ลุกโพลงได้หรือ”
“ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น สมัยใด จิตหดหู่ สมัยนั้น
เป็นเวลาเพื่อเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็นเวลาเพื่อเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ เป็น
เวลาเพื่อเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตหดหู่ จิตที่หดหู่นั้น
ง่ายที่จะให้ฟื้นขึ้นด้วยธรรมเหล่านั้น
ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตฟุ้งซ่าน สมัยนั้น ไม่เป็นเวลาเพื่อเจริญธัมม-
วิจยสัมโพชฌงค์ ไม่เป็นเวลาเพื่อเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ ไม่เป็นเวลาเพื่อเจริญ
ปีติสัมโพชฌงค์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตฟุ้งซ่าน จิตที่ฟุ้งซ่านนั้นยากที่จะให้
สงบด้วยธรรมเหล่านั้น
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษต้องการจะดับไฟกองใหญ่ จึงใส่หญ้าแห้ง
โคมัยแห้ง ไม้แห้ง เป่าลมและไม่โปรยฝุ่นลงในกองไฟนั้น เขาสามารถจะดับไฟ
กองใหญ่ได้หรือ”
“ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น สมัยใด จิตฟุ้งซ่าน สมัยนั้น
ไม่เป็นเวลาเพื่อเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ไม่เป็นเวลาเพื่อเจริญวิริยสัมโพชฌงค์
ไม่เป็นเวลาเพื่อเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตฟุ้งซ่าน จิตที่
ฟุ่งซ่านนั้นยากที่จะให้สงบด้วยธรรมเหล่านั้น
แต่สมัยใด จิตฟุ้งซ่าน สมัยนั้น เป็นเวลาเพื่อเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
เป็นเวลาเพื่อเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ เป็นเวลาเพื่อเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะจิตฟุ้งซ่าน จิตที่ฟุ้งซ่านนั้นง่ายที่จะให้สงบด้วยธรรมเหล่านั้น
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษต้องการจะดับไฟกองใหญ่ จึงใส่หญ้าสด
โคมัยเปียก พรมน้ำและโปรยฝุ่นลงในกองไฟนั้น เขาสามารถจะดับไฟกองใหญ่
ได้หรือ”
“ได้ พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค ๔. เมตตาสหคตสูตร

“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น สมัยใด จิตฟุ้งซ่าน สมัยนั้น
เป็นเวลาเพื่อเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เป็นเวลาเพื่อเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ เป็น
เวลาเพื่อเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตฟุ้งซ่าน จิตที่
ฟุ้งซ่านนั้นง่ายที่จะให้สงบด้วยธรรมเหล่านั้น และเรากล่าวสติว่าจำต้องประสงค์ใน
ที่ทุกสถาน”

อัคคิสูตรที่ ๓ จบ

๔. เมตตาสหคตสูตร
ว่าด้วยจิตมีเมตตา

[๒๓๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวโกลิยะ ชื่อ
หลิททวสนะ แคว้นโกลิยะ ครั้นในเวลาเช้า ภิกษุหลายรูปครองอันตรวาสก ถือ
บาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังหลิททวสนนิคม ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า “การ
เที่ยวไปบิณฑบาตในหลิททวสนนิคมยังเช้านัก ทางที่ดี เราทั้งหลายควรจะเข้าไป
ยังอารามของพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก”
ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นจึงเข้าไปยังอารามของพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก ได้
สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร พวก
อัญเดียรถีย์ปริพาชกได้กล่าวกับภิกษุเหล่านั้นดังนี้ว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย พระสมณโคดมแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘มาเถิด
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละนิวรณ์ ๕ ประการอันเป็นความเศร้าหมองแห่งจิต
ทอนกำลังปัญญาแล้ว มีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ...
ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน๑ ทิศเบื้องล่าง๒ ทิศเฉียง๓ แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่า
ในที่ทุกสถานด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มี
ความเบียดเบียนอยู่ มีกรุณาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ...


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค ๔. เมตตาสหคตสูตร

ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่า
ในที่ทุกสถานด้วยกรุณาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มี
ความเบียดเบียนอยู่ มีมุทิตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศ
ที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่าในที่
ทุกสถานด้วยมุทิตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความ
เบียดเบียนอยู่ มีอุเบกขาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศ
ที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่าใน
ที่ทุกสถานด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มี
ความเบียดเบียนอยู่’
แม้แต่เราทั้งหลายก็แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘มาเถิด ผู้มีอายุ
ทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละนิวรณ์ ๕ ประการอันเป็นความเศร้าหมองแห่งจิต
ทอนกำลังปัญญาแล้ว มีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ฯลฯ มีกรุณาจิต ฯลฯ
มีมุทิตาจิต ฯลฯ มีอุเบกขาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศที่ ๒ ... ทิศ
ที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่ว
ทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถานด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต
ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่’ ผู้มีอายุทั้งหลาย ในธรรมเทศนาหรืออนุสาสนีนี้
คือ ธรรมเทศนาของพระสมณโคดมกับธรรมเทศนาของพวกเรา หรืออนุสาสนีของ
พระสมณโคดมกับอนุสาสนีของพวกเราจะผิดแผกแตกต่างกันอย่างไร”
ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นไม่ยินดี ไม่คัดค้านภาษิตของอัญเดียรถีย์ปริพาชก
เหล่านั้น ลุกจากอาสนะจากไปด้วยคิดว่า “เราทั้งหลายจักรู้ชัดเนื้อความแห่งภาษิต
นี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาค”
ภิกษุเหล่านั้นครั้นเที่ยวไปบิณฑบาตในหลิททวสนนิคม กลับจากบิณฑบาต
ภายหลังฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเช้านี้ ข้าพระองค์ทั้งหลายครองอันตรวาสก ถือ
บาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตในหลิททวสนนิคม ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘การ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค ๔. เมตตาสหคตสูตร

เที่ยวไปบิณฑบาตในหลิททวสนนิคมยังเช้านัก ทางที่ดี เราทั้งหลายควรจะเข้าไป
ยังอารามของพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก’
ครั้งนั้นแล ข้าพระองค์ทั้งหลายจึงได้เข้าไปยังอารามของพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก
ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร
พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกได้กล่าวกับข้าพระองค์ทั้งหลายดังนี้ว่า
‘ผู้มีอายุทั้งหลาย พระสมณโคดมแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า
‘มาเถิด ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละนิวรณ์ ๕ ประการอันเป็นความเศร้าหมอง
แห่งจิต ทอนกำลังปัญญาแล้ว มีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ฯลฯ มีกรุณาจิต
ฯลฯ มีมุทิตาจิต ฯลฯ มีอุเบกขาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓
... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่
เหล่าในที่ทุกสถานด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร
ไม่มีความเบียดเบียนอยู่’
แม้แต่เราทั้งหลายก็แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘มาเถิด ผู้มีอายุ
ทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละนิวรณ์ ๕ ประการอันเป็นความเศร้าหมองแห่งจิต
ทอนกำลังปัญญาแล้ว มีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ฯลฯ มีกรุณาจิต ฯลฯ
มีมุทิตาจิต ฯลฯ มีอุเบกขาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่
๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่าในที่
ทุกสถานด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร
ไม่มีความเบียดเบียนอยู่’ ผู้มีอายุทั้งหลาย ในธรรมเทศนาหรืออนุสาสนีนี้ คือ
ธรรมเทศนาของพระสมณโคดมกับธรรมเทศนาของพวกเรา หรืออนุสาสนีของพระ
สมณโคดมกับอนุสาสนีของพวกเราจะผิดแผกแตกต่างกันอย่างไร’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้งนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่ยินดี ไม่คัดค้านภาษิต
ของอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น ลุกจากอาสนะจากไปด้วยคิดว่า ‘เราทั้งหลาย
จักรู้ชัดเนื้อความแห่งภาษิตนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาค”

เมตตาเจโตวิมุตติมีอะไรเป็นคติ

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกมีวาทะ
อย่างนี้ เธอทั้งหลายควรถามอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุตติที่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค ๔. เมตตาสหคตสูตร

บุคคลเจริญแล้วอย่างไร มีอะไรเป็นคติ มีอะไรเป็นอย่างยิ่ง มีอะไรเป็นผล มีอะไร
เป็นที่สุด อนึ่ง กรุณาเจโตวิมุตติที่บุคคลเจริญแล้วอย่างไร มีอะไรเป็นคติ มีอะไร
เป็นอย่างยิ่ง มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นที่สุด อนึ่ง มุทิตาเจโตวิมุตติที่บุคคลเจริญ
แล้วอย่างไร มีอะไรเป็นคติ มีอะไรเป็นอย่างยิ่ง มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นที่สุด อนึ่ง
อุเบกขาเจโตวิมุตติที่บุคคลเจริญแล้วอย่างไร มีอะไรเป็นคติ มีอะไรเป็นอย่างยิ่ง มี
อะไรเป็นผล มีอะไรเป็นที่สุด’ พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกถูกถามอย่างนี้แล้วจัก
ไม่สามารถตอบได้ จักถึงความลำบากอย่างยิ่ง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพวก
อัญเดียรถีย์ปริพาชกถูกถามในสิ่งอันมิใช่วิสัย
ภิกษุทั้งหลาย ในโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์
พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เรายังไม่เห็นบุคคลที่จะทำจิตให้ยินดีได้
ด้วยการตอบปัญหาเหล่านี้ เว้นตถาคตหรือสาวกของตถาคต หรือผู้ที่ฟังจากคำสอน
ของตถาคตนี้
เมตตาเจโตวิมุตติที่บุคคลเจริญแล้วอย่างไร มีอะไรเป็นคติ มีอะไรเป็น
อย่างยิ่ง มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นที่สุด
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยเมตตา ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยเมตตา อันอาศัยวิเวก
อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่’ ก็มีความ
หมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลอยู่’ ก็มีความ
หมายรู้ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลนั้นอยู่
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลอยู่’
ก็มีความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลนั้นอยู่
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลและไม่ปฏิกูลอยู่’
ก็มีความหมายรู้ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลและไม่ปฏิกูลนั้นอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค ๔. เมตตาสหคตสูตร

หากเธอหวังว่า ‘เราพึงเว้นสิ่งทั้ง ๒ นั้น คือ สิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลแล้ว เป็นผู้
มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่’ ก็เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะในสิ่งทั้ง ๒ นั้นอยู่
หรือเข้าถึงสุภวิโมกข์อยู่’
ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเมตตาเจโตวิมุตติว่ามีสุภวิโมกข์เป็นอย่างยิ่งสำหรับ
ภิกษุผู้มีปัญญาอันเป็นโลกิยะยังไม่รู้แจ้งวิมุตติที่ยอดเยี่ยมในธรรมวินัยนี้
กรุณาเจโตวิมุตติที่บุคคลเจริญแล้วอย่างไร มีอะไรเป็นคติ มีอะไรเป็น
อย่างยิ่ง มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นที่สุด
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยกรุณา ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยกรุณา อันอาศัยวิเวก อาศัย
วิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่’ ก็มีความ
หมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่
ฯลฯ
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงเว้นสิ่งทั้ง ๒ นั้น คือ สิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลแล้ว
เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่’ ก็เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะในสิ่งทั้ง ๒
นั้นอยู่ หรือบรรลุอากาสานัญจายตนฌานอยู่โดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’
เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง
ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวกรุณาเจโตวิมุตติว่ามีอากาสานัญจายตนฌานเป็น อย่างยิ่ง
สำหรับภิกษุผู้มีปัญญาอันเป็นโลกิยะยังไม่รู้แจ้งวิมุตติที่ยอดเยี่ยมในธรรมวินัยนี้
มุทิตาเจโตวิมุตติที่บุคคลเจริญแล้วอย่างไร มีอะไรเป็นคติ มีอะไรเป็น
อย่างยิ่ง มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นที่สุด
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยมุทิตา ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยมุทิตา อันอาศัยวิเวก
อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค ๔. เมตตาสหคตสูตร

หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่’ ก็มีความ
หมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่
ฯลฯ
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงเว้นสิ่งทั้ง ๒ นั้น คือ สิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลแล้ว
เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่’ ก็เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะในสิ่งทั้ง ๒
นั้นอยู่ หรือบรรลุวิญญาณัญจายตนฌานอยู่โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’
เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง
ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวมุทิตาเจโตวิมุตติว่ามีวิญญาณัญจายตนฌานเป็นอย่างยิ่ง
สำหรับภิกษุผู้มีปัญญาอันเป็นโลกิยะยังไม่รู้แจ้งวิมุตติที่ยอดเยี่ยมในธรรมวินัยนี้
อุเบกขาเจโตวิมุตติที่บุคคลเจริญแล้วอย่างไร มีอะไรเป็นคติ มีอะไรเป็น
อย่างยิ่ง มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นที่สุด
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยอุเบกขา อันอาศัยวิเวก อาศัย
วิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยอุเบกขา อันอาศัยวิเวก
อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่’ ก็มีความ
หมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลอยู่’ ก็มีความ
หมายรู้ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลนั้นอยู่
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลอยู่’
ก็มีความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลนั้นอยู่
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลและสิ่งไม่ปฏิกูล
อยู่’ ก็มีความหมายรู้ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลและสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค ๕. สังคารวสูตร

หากเธอหวังว่า ‘เราพึงเว้นสิ่งทั้ง ๒ นั้น คือ สิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลแล้ว
เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่’ ก็เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะในสิ่งทั้ง ๒
นั้นอยู่ หรือบรรลุอากิญจัญญายตนฌานอยู่โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ เพราะล่วง
วิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง
ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวอุเบกขาเจโตวิมุตติว่ามีอากิญจัญญายตนฌานเป็น
อย่างยิ่งสำหรับภิกษุผู้มีปัญญาอันเป็นโลกิยะยังไม่รู้แจ้งวิมุตติที่ยอดเยี่ยมในธรรม-
วินัยนี้”

เมตตาสหคตสูตรที่ ๔ จบ

๕. สังคารวสูตร
ว่าด้วยสังคารวพราหมณ์

[๒๓๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น สังคารวพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนา
ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถาม
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มนตร์
แม้ที่สาธยายมาเป็นเวลานานก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่ไม่ได้สาธยาย
เลย อนึ่ง อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มนตร์แม้ที่ไม่ได้สาธยายมาเป็นเวลานานก็แจ่มแจ้ง
ได้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่สาธยายเลย”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์
๑. สมัยใด บุคคลมีจิตถูกกามราคะกลุ้มรุม ถูกกามราคะครอบงำ
อยู่ และไม่รู้ชัดธรรมเครื่องสลัดออกจากกามราคะที่เกิดขึ้นแล้ว
ตามความเป็นจริง สมัยนั้น บุคคลไม่รู้ ไม่เห็นแม้ประโยชน์ตน
ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ทั้งสองตามความเป็นจริง มนตร์
แม้ที่สาธยายมาเป็นเวลานานก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูด
ถึงมนตร์ที่ไม่ได้สาธยายเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค ๕. สังคารวสูตร

ภาชนะน้ำซึ่งระคนด้วยครั่ง ขมิ้น สีเขียว หรือสีเหลืองอ่อน คนมีตาดีมองดู
เงาหน้าของตนในภาชนะน้ำนั้น ไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็นตามความเป็นจริง แม้ฉันใด
สมัยใด บุคคลมีจิตถูกกามราคะกลุ้มรุม ถูกกามราคะครอบงำอยู่ และไม่
รู้ชัดธรรมเครื่องสลัดออกจากกามราคะที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง สมัยนั้น
บุคคลไม่รู้ ไม่เห็นแม้ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ทั้งสองตามความ
เป็นจริง มนตร์แม้ที่สาธยายมาเป็นเวลานานก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึง
มนตร์ที่ไม่ได้สาธยายเลย ฉันนั้นเหมือนกัน
๒. สมัยใด บุคคลมีจิตถูกพยาบาทกลุ้มรุม ถูกพยาบาทครอบงำอยู่
และไม่รู้ชัดธรรมเครื่องสลัดออกจากพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้วตาม
ความเป็นจริง สมัยนั้น บุคคลไม่รู้ ไม่เห็นแม้ประโยชน์ตน
ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ทั้งสองตามความเป็นจริง มนตร์
แม้ที่สาธยายมาเป็นเวลานานก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูด
ถึงมนตร์ที่ไม่ได้สาธยายเลย
ภาชนะน้ำร้อนเพราะไฟเดือดพล่านเป็นไอ คนมีตาดีมองดูเงาหน้าของตนใน
ภาชนะน้ำนั้นไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็นตามความเป็นจริง แม้ฉันใด
สมัยใด บุคคลมีจิตถูกพยาบาทกลุ้มรุม ถูกพยาบาทครอบงำอยู่ และไม่รู้
ชัดธรรมเครื่องสลัดออกจากพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง สมัยนั้น บุคคลไม่รู้
ไม่เห็นแม้ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ทั้งสองตามความเป็นจริง
มนตร์แม้ที่สาธยายมาเป็นเวลานานก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่ไม่ได้
สาธยายเลย ฉันนั้นเหมือนกัน
๓. สมัยใด บุคคลมีจิตถูกถีนมิทธะกลุ้มรุม ถูกถีนมิทธะครอบงำอยู่
และไม่รู้ชัดธรรมเครื่องสลัดออกจากถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้วตาม
ความเป็นจริง สมัยนั้น บุคคลไม่รู้ ไม่เห็นแม้ประโยชน์ตน
ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ทั้งสองตามความเป็นจริง มนตร์แม้
ที่สาธยายมาเป็นเวลานานก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึง
มนตร์ที่ไม่ได้สาธยายเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค ๕. สังคารวสูตร

ภาชนะน้ำถูกสาหร่ายและแหนปกคลุมไว้ คนมีตาดีมองดูเงาหน้าของตนใน
ภาชนะน้ำนั้นไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็นตามความเป็นจริง แม้ฉันใด
สมัยใด บุคคลมีจิตถูกถีนมิทธะกลุ้มรุม ถูกถีนมิทธะครอบงำอยู่ และไม่รู้ชัด
ธรรมเครื่องสลัดออกจากถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง สมัยนั้น บุคคล
ไม่รู้ ไม่เห็นแม้ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ทั้งสองตามความเป็นจริง
มนตร์แม้ที่สาธยายมาเป็นเวลานานก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่ไม่
ได้สาธยายเลย ฉันนั้นเหมือนกัน
๔. สมัยใด บุคคลมีจิตถูกอุทธัจจกุกกุจจะกลุ้มรุม ถูกอุทธัจจ-
กุกกุจจะครอบงำอยู่ และไม่รู้ชัดธรรมเครื่องสลัดออกจาก
อุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง สมัยนั้น บุคคล
ไม่รู้ ไม่เห็นแม้ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ทั้งสอง
ตามความเป็นจริง มนตร์แม้ที่สาธยายมาเป็นเวลานานก็ไม่แจ่ม
แจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่ไม่ได้สาธยายเลย
ภาชนะน้ำถูกลมพัด ไหว วน เป็นคลื่น คนมีตาดีมองดูเงาหน้าของตนใน
ภาชนะน้ำนั้น ไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็นตามความเป็นจริง แม้ฉันใด
สมัยใด บุคคลมีจิตถูกอุทธัจจกุกกุจจะกลุ้มรุม ถูกอุทธัจจกุกกุจจะครอบงำอยู่
และไม่รู้ชัดธรรมเครื่องสลัดออกจากอุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง
สมัยนั้น บุคคลไม่รู้ ไม่เห็นแม้ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ทั้งสอง
ตามความเป็นจริง มนตร์แม้ที่สาธยายมาเป็นเวลานานก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็น
ต้องพูดถึงมนตร์ที่ไม่ได้สาธยายเลย ฉันนั้นเหมือนกัน
๕. สมัยใด บุคคลมีจิตถูกวิจิกิจฉากลุ้มรุม ถูกวิจิกิจฉาครอบงำอยู่
และไม่รู้ชัดธรรมเครื่องสลัดออกจากวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้วตามความ
เป็นจริง สมัยนั้น บุคคลไม่รู้ ไม่เห็นแม้ประโยชน์ตน ประโยชน์
ผู้อื่น และประโยชน์ทั้งสองตามความเป็นจริง มนตร์แม้ที่สาธยาย
มาเป็นเวลานานก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่ไม่
ได้สาธยายเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค ๕. สังคารวสูตร

ภาชนะน้ำขุ่นมัว เป็นตม ที่เขาวางไว้ในที่มืด คนมีตาดี มองดูเงาหน้าของ
ตนในภาชนะน้ำนั้น ไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็นตามความเป็นจริง แม้ฉันใด
สมัยใด บุคคลมีจิตถูกวิจิกิจฉากลุ้มรุม ถูกวิจิกิจฉาครอบงำอยู่ และไม่รู้ชัด
ธรรมเครื่องสลัดออกจากวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง สมัยนั้น บุคคล
ไม่รู้ ไม่เห็นแม้ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ทั้งสองตามความเป็นจริง
มนตร์แม้ที่สาธยายมาเป็นเวลานานก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่ไม่
ได้สาธยายเลย ฉันนั้นเหมือนกัน
นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มนตร์แม้ที่สาธยายมาเป็นเวลานานก็ไม่แจ่มแจ้งได้
ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่ไม่ได้สาธยายเลย
พราหมณ์ แต่
๑. สมัยใด บุคคลมีจิตไม่ถูกกามราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกกามราคะ
ครอบงำอยู่ และรู้ชัดธรรมเครื่องสลัดออกจากกามราคะที่เกิด
ขึ้นแล้วตามความเป็นจริง สมัยนั้น บุคคลย่อมรู้ ย่อมเห็นแม้
ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ทั้งสองตามความ
เป็นจริง มนตร์แม้ที่ไม่ได้สาธยายมาเป็นเวลานานก็แจ่มแจ้งได้
ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่สาธยายเลย
ภาชนะน้ำซึ่งไม่ระคนด้วยครั่ง ขมิ้น สีเขียว หรือสีเหลืองอ่อน คนมีตาดี มอง
ดูเงาหน้าของตนในภาชนะน้ำนั้นพึงรู้ พึงเห็นตามความเป็นจริง แม้ฉันใด
สมัยใด บุคคลมีจิตไม่ถูกกามราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกกามราคะครอบงำอยู่ และ
รู้ชัดธรรมเครื่องสลัดออกจากกามราคะที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง ฯลฯ
๒. สมัยใด บุคคลมีจิตไม่ถูกพยาบาทกลุ้มรุม ไม่ถูกพยาบาท
ครอบงำอยู่ และรู้ชัดธรรมเครื่องสลัดออกจากพยาบาทที่เกิดขึ้น
แล้วตามความเป็นจริง สมัยนั้น บุคคลย่อมรู้ ย่อมเห็น
แม้ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ทั้งสองตามความ
เป็นจริง มนตร์แม้ที่ไม่ได้สาธยายมาเป็นเวลานานก็แจ่มแจ้งได้
ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่สาธยายเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค ๕. สังคารวสูตร

ภาชนะน้ำไม่ร้อนเพราะไฟ ไม่เดือดพล่าน ไม่เป็นไอ คนมีตาดีมองดูเงาหน้า
ของตนในภาชนะน้ำนั้นพึงรู้ พึงเห็นตามความเป็นจริง แม้ฉันใด
สมัยใด บุคคลมีจิตไม่ถูกพยาบาทกลุ้มรุม ไม่ถูกพยาบาทครอบงำอยู่ และรู้ชัด
ธรรมเครื่องสลัดออกจากพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง สมัยนั้น บุคคล
ย่อมรู้ ย่อมเห็นแม้ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ทั้งสองตามความเป็นจริง
มนตร์แม้ที่ไม่ได้สาธยายมาเป็นเวลานานก็แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่
สาธยายเลย ฉันนั้นเหมือนกัน
๓. สมัยใด บุคคลมีจิตไม่ถูกถีนมิทธะกลุ้มรุม ไม่ถูกถีนมิทธะ
ครอบงำอยู่ และรู้ชัดธรรมเครื่องสลัดออกจากถีนมิทธะที่เกิดขึ้น
แล้วตามความเป็นจริง สมัยนั้น บุคคลย่อมรู้ ย่อมเห็นแม้
ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ทั้งสองตามความ
เป็นจริง มนตร์แม้ที่ไม่ได้สาธยายมาเป็นเวลานานก็แจ่มแจ้งได้
ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่สาธยายเลย
ภาชนะน้ำไม่ถูกสาหร่ายและแหนปกคลุมไว้ คนมีตาดีมองดูเงาหน้าของตนใน
ภาชนะน้ำนั้นพึงรู้ พึงเห็นตามความเป็นจริง แม้ฉันใด
สมัยใด บุคคลมีจิตไม่ถูกถีนมิทธะกลุ้มรุม ไม่ถูกถีนมิทธะครอบงำอยู่ และรู้ชัด
ธรรมเครื่องสลัดออกจากถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง สมัยนั้น บุคคล
ย่อมรู้ ย่อมเห็นแม้ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ทั้งสองตามความ
เป็นจริง มนตร์แม้ที่ไม่ได้สาธยายมาเป็นเวลานานก็แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูด
ถึงมนตร์ที่สาธยายเลย ฉันนั้นเหมือนกัน
๔. สมัยใด บุคคลมีจิตไม่ถูกอุทธัจจกุกกุจจะกลุ้มรุม ไม่ถูกอุทธัจจ-
กุกกุจจะครอบงำอยู่ และรู้ชัดธรรมเครื่องสลัดออกจากอุทธัจจ-
กุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง สมัยนั้น บุคคลย่อมรู้
ย่อมเห็นแม้ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ทั้งสอง
ตามความเป็นจริง มนตร์แม้ที่ไม่ได้สาธยายมาเป็นเวลานาน ก็
แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่สาธยายเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค ๕. สังคารวสูตร

ภาชนะน้ำไม่ถูกลมพัด ก็ไม่ไหว ไม่วน ไม่เป็นคลื่น คนมีตาดีมองดูเงาหน้า
ของตนในภาชนะน้ำนั้น พึงรู้ พึงเห็นตามความเป็นจริง แม้ฉันใด
สมัยใด บุคคลมีจิตไม่ถูกอุทธัจจกุกกุจจะกลุ้มรุม ไม่ถูกอุทธัจจกุกกุจจะ
ครอบงำอยู่ และรู้ชัดธรรมเครื่องสลัดออกจากอุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้วตาม
ความเป็นจริง สมัยนั้น บุคคลย่อมรู้ ย่อมเห็นแม้ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น
และประโยชน์ทั้งสองตามความเป็นจริง มนตร์แม้ที่ไม่ได้สาธยายมาเป็นเวลานาน
ก็แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่สาธยายเลย ฉันนั้นเหมือนกัน
๕. สมัยใด บุคคลมีจิตไม่ถูกวิจิกิจฉากลุ้มรุม ไม่ถูกวิจิกิจฉาครอบงำ
อยู่ และรู้ชัดธรรมเครื่องสลัดออกจากวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้วตาม
ความเป็นจริง สมัยนั้น บุคคลย่อมรู้ ย่อมเห็นแม้ประโยชน์ตน
ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ทั้งสองตามความเป็นจริง มนตร์
แม้ที่ไม่ได้สาธยายมาเป็นเวลานานก็แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้อง
พูดถึงมนตร์ที่สาธยายเลย
ภาชนะน้ำใสแจ๋ว ไม่ขุ่นมัว ที่เขาวางไว้ในที่แจ้ง คนมีตาดีมองดูเงาหน้าของ
ตนในภาชนะน้ำนั้นพึงรู้ พึงเห็นตามความเป็นจริง แม้ฉันใด
สมัยใด บุคคลมีจิตไม่ถูกวิจิกิจฉากลุ้มรุม ไม่ถูกวิจิกิจฉาครอบงำอยู่ และรู้ชัด
ธรรมเครื่องสลัดออกจากวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง สมัยนั้น บุคคล
ย่อมรู้ ย่อมเห็นแม้ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ทั้งสองตามความ
เป็นจริง มนตร์แม้ที่ไม่ได้สาธยายมาเป็นเวลานานก็แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูด
ถึงมนตร์ที่สาธยายเลย ฉันนั้นเหมือนกัน
นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มนตร์แม้ที่ไม่ได้สาธยายมาเป็นเวลานานก็แจ่มแจ้ง
ได้ในกาลบางคราว ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่สาธยายเลย๑
พราหมณ์ โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ไม่เป็นนิวรณ์เครื่องกางกั้น ไม่เป็นความ
เศร้าหมองแห่งจิต ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งผล
แห่งวิชชาและวิมุตติ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค ๖. อภยสูตร

โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ไม่เป็นนิวรณ์เครื่องกางกั้น ไม่เป็นความเศร้าหมอง
แห่งจิต ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้
แจ้งผลแห่งวิชชาและวิมุตติ
ฯลฯ
๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ไม่เป็นนิวรณ์เครื่องกางกั้น ไม่เป็นความ
เศร้าหมองแห่งจิตที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป
เพื่อทำให้แจ้งผลแห่งวิชชาและวิมุตติ
พราหมณ์ โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ไม่เป็นนิวรณ์เครื่องกางกั้น ไม่เป็นความ
เศร้าหมองแห่งจิต ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งผลแห่ง
วิชชาและวิมุตติ”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว สังคารวพราหมณ์ได้กราบทูลว่า “ข้าแต่
ท่านพระโคดม พระภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอท่าน
พระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจน
ตลอดชีวิต”

สังคารวสูตรที่ ๕ จบ

๖. อภยสูตร
ว่าด้วยอภัยราชกุมาร

[๒๓๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุงราชคฤห์
ครั้งนั้น อภัยราชกุมารเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว
ประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ปูรณะ กัสสปะได้กล่าวว่า ‘เหตุไม่มี ปัจจัยไม่มีเพื่อความไม่รู้ เพื่อความไม่เห็น
ความไม่รู้ ความไม่เห็นไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย เหตุไม่มี ปัจจัยไม่มีเพื่อความรู้ เพื่อ
ความเห็น ความรู้ ความเห็นไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย’ ในเรื่องนี้ พระองค์ตรัสว่าอย่างไร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค ๖. อภยสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ราชกุมาร เหตุมี ปัจจัยมีเพื่อความไม่รู้ เพื่อ
ความไม่เห็น ความไม่รู้ ความไม่เห็นมีเหตุ มีปัจจัย เหตุมี ปัจจัยมีเพื่อความรู้
เพื่อความเห็น ความรู้ ความเห็นมีเหตุ มีปัจจัย”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหตุเป็นอย่างไร ปัจจัยเพื่อความไม่รู้ เพื่อความไม่
เห็นเป็นอย่างไร ความไม่รู้ ความไม่เห็นมีเหตุ มีปัจจัยอย่างไร”
“ราชกุมาร สมัยใด บุคคลมีจิตถูกกามราคะกลุ้มรุม ถูกกามราคะครอบงำอยู่
และไม่รู้ ไม่เห็นธรรมเครื่องสลัดออกจากกามราคะที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง
นี้แลเป็นเหตุ เป็นปัจจัย เพื่อความไม่รู้ เพื่อความไม่เห็น ความไม่รู้ ความไม่เห็น
มีเหตุ มีปัจจัย แม้อย่างนี้
อีกประการหนึ่ง สมัยใด บุคคลมีจิตถูกพยาบาทกลุ้มรุม ถูกพยาบาท
ครอบงำอยู่ และไม่รู้ ไม่เห็นธรรมเครื่องสลัดออกจากพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้วตาม
ความเป็นจริง นี้แลเป็นเหตุ เป็นปัจจัย เพื่อความไม่รู้ เพื่อความไม่เห็น ความไม่รู้
ความไม่เห็นมีเหตุ มีปัจจัย แม้อย่างนี้
อีกประการหนึ่ง สมัยใด บุคคลมีจิตถูกถีนมิทธะกลุ้มรุม ฯลฯ มีจิตถูก
อุทธัจจกุกกุจจะกลุ้มรุม ฯลฯ มีจิตถูกวิจิกิจฉากลุ้มรุม ถูกวิจิกิจฉาครอบงำอยู่
และไม่รู้ ไม่เห็นธรรมเครื่องสลัดออกจากวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง
นี้แลเป็นเหตุ เป็นปัจจัย เพื่อความไม่รู้ เพื่อความไม่เห็น ความไม่รู้ ความไม่เห็น
มีเหตุ มีปัจจัย แม้อย่างนี้”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมบรรยายนี้ชื่ออะไร”
“ราชกุมาร ธรรมเหล่านี้ชื่อนิวรณ์”
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค นิวรณ์เป็นอย่างนี้ ข้าแต่พระสุคต นิวรณ์เป็นอย่างนี้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลถูกนิวรณ์แม้อย่างใดอย่างหนึ่งครอบงำแล้ว ก็ไม่รู้
ไม่เห็นตามความเป็นจริง ไม่จำเป็นต้องพูดถึงบุคคลผู้ถูกนิวรณ์ทั้ง ๕ ครอบงำเลย
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนึ่ง เหตุเป็นอย่างไร ปัจจัยเพื่อความรู้ เพื่อความ
เห็นเป็นอย่างไร ความรู้ ความเห็นมีเหตุ มีปัจจัยอย่างไร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๖. โพชฌังคสากัจฉวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

“ราชกุมาร ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัย
วิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ เธอมีจิตอันสติสัมโพชฌงค์ให้เจริญแล้วย่อม
รู้ ย่อมเห็นตามความเป็นจริง ราชกุมาร นี้แลเป็นเหตุ เป็นปัจจัยเพื่อความรู้
เพื่อความเห็น ความรู้ ความเห็นมีเหตุ มีปัจจัย แม้อย่างนี้
อีกประการหนึ่ง ฯลฯ ภิกษุเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัย
วิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ เธอมีจิตอันอุเบกขาสัมโพชฌงค์ให้เจริญ
แล้วย่อมรู้ ย่อมเห็นตามความเป็นจริง ราชกุมาร นี้แลเป็นเหตุ เป็นปัจจัย เพื่อ
ความรู้ เพื่อความเห็น ความรู้ ความเห็นมีเหตุ มีปัจจัย แม้อย่างนี้”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมบรรยายนี้ชื่ออะไร”
“ราชกุมาร ธรรมเหล่านี้ชื่อโพชฌงค์”
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค โพชฌงค์เป็นอย่างนี้ ข้าแต่พระสุคต โพชฌงค์เป็น
อย่างนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลผู้ประกอบด้วยโพชฌงค์แม้อย่างใดอย่างหนึ่ง
พึงรู้ พึงเห็นตามความเป็นจริง ไม่จำเป็นต้องพูดถึงบุคคลผู้ประกอบด้วยโพชฌงค์ทั้ง
๗ ประการเลย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้ากายใจที่มีแก่
ข้าพระองค์ผู้ขึ้นภูเขาคิชฌกูฏก็ระงับไป และธรรมอันข้าพระองค์ก็ได้บรรลุแล้ว”

อภยสูตรที่ ๖ จบ
โพชฌังคสากัจฉวรรคที่ ๖ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อาหารสูตร ๒. ปริยายสูตร
๓. อัคคิสูตร ๔. เมตตาสหคตสูตร
๕. สังคารวสูตร ๖. อภยสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๗. อานาปานวรรค (๑) อัญญตรผลสูตร

๗. อานาปานวรรค
หมวดว่าด้วยอานาปานสติ
๑. อัฏฐิกมหัปผลสูตร
ว่าด้วยอัฏฐิกสัญญามีผลมาก

[๒๓๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญา (ความหมายรู้ซากศพ
ที่ยังเหลืออยู่แต่ร่างกระดูกหรือกระดูกท่อน) ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว มีผลมาก
มีอานิสงส์มาก
อัฏฐิกสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา อันอาศัยวิเวก
อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา อันอาศัย
วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว มีผลมาก มี
อานิสงส์มาก อย่างนี้แล”

(๑) อัญญตรผลสูตร
ว่าด้วยอัฏฐิกสัญญามีผลอย่างใดอย่างหนึ่ง

“ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออัฏฐิกสัญญาอันบุคคลเจริญ ทำให้มากแล้วพึงหวังผล
อย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่
ก็จักเป็นพระอนาคามี
เมื่ออัฏฐิกสัญญาอันบุคคลเจริญ ทำให้มากแล้วพึงหวังผลอย่าง ๑ ใน
๒ อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ก็จักเป็นพระ
อนาคามี อย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๗. อานาปานวรรค (๒) มหัตถสูตร

คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา อันอาศัย
วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออัฏฐิกสัญญาอันบุคคลเจริญ ทำให้มากแล้วพึงหวังผลอย่าง
๑ ใน ๒ อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ก็จัก
เป็นพระอนาคามี อย่างนี้แล”

(๒) มหัตถสูตร
ว่าด้วยอัฏฐิกสัญญาเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก

“ภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ
ประโยชน์มาก๑
อัฏฐิกสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก
อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา อันอาศัย
วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ
ประโยชน์มาก อย่างนี้แล”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๗. อานาปานวรรค (๔) สังเวคสูตร

(๓) โยคักเขมสูตร
ว่าด้วยอัฏฐิกสัญญาเป็นไปเพื่อธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะ

“ภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ
ธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะมาก๑
อัฏฐิกสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อธรรม
เป็นแดนเกษมจากโยคะมาก อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา อันอาศัย
วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ
ธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะมาก อย่างนี้แล”

(๔) สังเวคสูตร
ว่าด้วยอัฏฐิกสัญญาเป็นไปเพื่อความสังเวช

“ภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ
ความสังเวชมาก๒
อัฏฐิกสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสังเวช
มาก อย่างไร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๗. อานาปานวรรค ๒. ปุฬวกสูตร

คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา อันอาศัย
วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ
ความสังเวชมาก อย่างนี้แล”

(๕) ผาสุวิหารสูตร
ว่าด้วยอัฏฐิกสัญญาเป็นไปเพื่อความอยู่ผาสุก

“ภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญา ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป
เพื่อความอยู่ผาสุกมาก
อัฏฐิกสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่ผาสุก
มาก อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา อันอาศัย
วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ
ความอยู่ผาสุกมาก อย่างนี้แล”

อัฏฐิกมหัปผลสูตรที่ ๑ จบ

๒. ปุฬวกสูตร
ว่าด้วยปุฬวกสัญญา

[๒๓๙] “ภิกษุทั้งหลาย ปุฬวกสัญญา (ความหมายรู้ซากศพที่มีหนอนคลา
คล่ำเต็มไปหมด) ที่บุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ

ปุฬวกสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๗. อานาปานวรรค ๗. กรุณาสูตร

๓. วินีลกสูตร
ว่าด้วยวินิลกสัญญา

[๒๔๐] “ภิกษุทั้งหลาย วินีลกสัญญา (ความหมายรู้ซากศพที่มีสีเขียวคล้ำ
คละด้วยสีต่าง ๆ) ที่บุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ

วินีลกสูตรที่ ๓ จบ

๔. วิจฉิททกสูตร
ว่าด้วยวิจฉิททกสัญญา

[๒๔๑] “ภิกษุทั้งหลาย วิจฉิททกสัญญา (ความหมายรู้ซากศพที่ขาดจากกัน
เป็นท่อน ๆ) ที่บุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ

วิจฉิททกสูตรที่ ๔ จบ

๕. อุทธุมาตกสูตร
ว่าด้วยอุทธุมาตกสัญญา

[๒๔๒] “ภิกษุทั้งหลาย อุทธุมาตกสัญญา (ความหมายรู้ซากศพที่เน่าพอง
ขึ้นอืด) ที่บุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ

อุทธุมาตกสูตรที่ ๕ จบ

๖. เมตตาสูตร
ว่าด้วยเมตตา

[๒๔๓] “ภิกษุทั้งหลาย เมตตาที่บุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ

เมตตาสูตรที่ ๖ จบ

๗. กรุณาสูตร
ว่าด้วยกรุณา

[๒๔๔] “ภิกษุทั้งหลาย กรุณาที่บุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ

กรุณาสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๘. นิโรธวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๘. มุทิตาสูตร
ว่าด้วยมุทิตา

[๒๔๕] “ภิกษุทั้งหลาย มุทิตาที่บุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ

มุทิตาสูตรที่ ๘ จบ

๙. อุเบกขาสูตร
ว่าด้วยอุเบกขา

[๒๔๖] “ภิกษุทั้งหลาย อุเบกขาที่บุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ

อุเบกขาสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. อานาปานสูตร
ว่าด้วยอานาปานสติ

[๒๔๗] “ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ (สติกำหนดลมหายใจเข้าออก) ที่บุคคล
เจริญแล้ว ฯลฯ

อานาปานสูตรที่ ๑๐ จบ
อานาปานวรรคที่ ๗ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อัฏฐิกมหัปผลสูตร ๒. ปุฬวกสูตร
๓. วินีลกสูตร ๔. วิจฉิททกสูตร
๕. อุทธุมาตกสูตร ๖. เมตตาสูตร
๗. กรุณาสูตร ๘. มุทิตาสูตร
๙. อุเบกขาสูตร ๑๐. อานาปานสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๘. นิโรธวรรค ๔. อนภิรติสูตร

๘. นิโรธวรรค
หมวดว่าด้วยนิโรธ
๑. อสุภสูตร
ว่าด้วยอสุภสัญญา

[๒๔๘] “ภิกษุทั้งหลาย อสุภสัญญา (ความหมายรู้ความไม่งาม) ที่บุคคล
เจริญแล้ว ฯลฯ

อสุภสูตรที่ ๑ จบ

๒. มรณสูตร
ว่าด้วยมรณสัญญา

[๒๔๙] “ภิกษุทั้งหลาย มรณสัญญา (ความหมายรู้ความตาย) ที่บุคคลเจริญ
แล้ว ฯลฯ

มรณสูตรที่ ๒ จบ

๓. อาหาเรปฏิกูลสูตร
ว่าด้วยอาหาเรปฏิกูลสัญญา

[๒๕๐] “ภิกษุทั้งหลาย อาหาเรปฏิกูลสัญญา (ความหมายรู้ความปฏิกูลใน
อาหาร) ที่บุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ

อาหาเรปฏิกูลสูตรที่ ๓ จบ

๔. อนภิรติสูตร
ว่าด้วยอนภิรติสัญญา

[๒๕๑] “ภิกษุทั้งหลาย สัพพโลเกอนภิรติสัญญา (ความหมายรู้ความไม่น่า
เพลิดเพลินในโลกทั้งปวง) ที่บุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ

อนภิรติสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๘. นิโรธวรรค ๘. ปหานสูตร

๕. อนิจจสูตร
ว่าด้วยอนิจจสัญญา

[๒๕๒] “ภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญา(ความหมายรู้ความไม่เที่ยง) ที่บุคคล
เจริญแล้ว ฯลฯ

อนิจจสูตรที่ ๕ จบ

๖. ทุกขสูตร
ว่าด้วยทุกขสัญญา

[๒๕๓] “ภิกษุทั้งหลาย ทุกขสัญญา(ความหมายรู้ความเป็นทุกข์) ที่บุคคล
เจริญแล้ว ฯลฯ

ทุกขสูตรที่ ๖ จบ

๗. อนัตตสูตร
ว่าด้วยอนัตตสัญญา

[๒๕๔] “ภิกษุทั้งหลาย อนัตตสัญญา (ความหมายรู้ความเป็นอนัตตา) ที่
บุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ

อนัตตสูตรที่ ๗ จบ

๘. ปหานสูตร
ว่าด้วยปหานสัญญา

[๒๕๕] “ภิกษุทั้งหลาย ปหานสัญญา (ความหมายรู้การละ) ที่บุคคลเจริญ
แล้ว ฯลฯ

ปหานสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๘. นิโรธวรรค ๑๐. นิโรธสูตร

๙. วิราคสูตร
ว่าด้วยวิราคสัญญา

[๒๕๖] “ภิกษุทั้งหลาย วิราคสัญญา (ความหมายรู้วิราคะ) ที่บุคคลเจริญ
แล้ว ฯลฯ

วิราคสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. นิโรธสูตร
ว่าด้วยนิโรธสัญญา

[๒๕๗] “ภิกษุทั้งหลาย นิโรธสัญญา (ความหมายรู้นิโรธ) ที่บุคคลเจริญ
ทำให้มากแล้วมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
นิโรธสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้วมีผลมาก มีอานิสงส์มาก อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยนิโรธสัญญา ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยนิโรธสัญญา อันอาศัย
วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
นิโรธสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก อย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อนิโรธสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้วพึงหวังผลอย่าง ๑
ใน ๒ อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ก็จักเป็น
พระอนาคามี
เมื่อนิโรธสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้วพึงหวังผลอย่าง ๑ ใน
๒ อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ก็จักเป็นพระ
อนาคามี อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยนิโรธสัญญา ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยนิโรธสัญญา อันอาศัย
วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๑๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๘. นิโรธวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

เมื่อนิโรธสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้วพึงหวังผลอย่าง ๑ ใน ๒
อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ก็จักเป็นพระอนาคามี
อย่างนี้แล
นิโรธสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก เพื่อ
ธรรมที่เป็นแดนเกษมจากโยคะมาก เพื่อความสังเวชมาก เพื่อความอยู่ผาสุกมาก
นิโรธสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก
เพื่อธรรมที่เป็นแดนเกษมจากโยคะมาก เพื่อความสังเวชมาก เพื่อความอยู่
ผาสุกมาก อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยนิโรธสัญญา ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยนิโรธสัญญา อันอาศัย
วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย นิโรธสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ
ประโยชน์มาก เพื่อธรรมที่เป็นแดนเกษมจากโยคะมาก เพื่อความสังเวชมาก เพื่อ
ความอยู่ผาสุกมาก อย่างนี้แล”

นิโรธสูตรที่ ๑๐ จบ
นิโรธวรรคที่ ๘ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อสุภสูตร ๒. มรณสูตร
๓. อาหาเรปฏิกูลสูตร ๔. อนภิรติสูตร
๕. อนิจจสูตร ๖. ทุกขสูตร
๗. อนัตตสูตร ๘. ปหานสูตร
๙. วิราคสูตร ๑๐. นิโรธสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๙. คังคาเปยยาลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๙. คังคาเปยยาลวรรค
หมวดว่าด้วยคังคาเปยยาล
๑-๑๒. คังคานทีอาทิสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยแม่น้ำคงคาเป็นต้น

[๒๕๘-๒๖๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่
ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไปสู่ทิศปราจีน ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญโพชฌงค์
๗ ประการ ทำโพชฌงค์ ๗ ประการให้มากย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน
โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้น
ภิกษุเมื่อเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ ทำโพชฌงค์ ๗ ประการให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ ทำโพชฌงค์ ๗ ประการให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างนี้แล”

(พึงเพิ่มบาลีให้พิสดารจนถึงเอสนาสูตร)

คังคานทีอาทิสูตรที่ ๑-๑๒ จบ
คังคาเปยยาลวรรคที่ ๙ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ปฐมปาจีนนินนสูตร ๒-๕. ทุติยาทิปาจีนนินนสุตตจตุกกะ
๖. ฉัฏฐปาจีนนินนสูตร ๗. ปฐมสมุททนินนสูตร
๘-๑๒. ทุติยาทิสมุททนินนสุตตปัญจกะ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๑๐. อัปปมาทวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑๐. อัปปมาทวรรค
หมวดว่าด้วยความไม่ประมาท
๑-๑๐. ตถาคตาทิสูตร
ว่าด้วยพระตถาคตเลิศกว่าสัตว์ทั้งหลายเป็นต้น

[๒๗๐-๒๗๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายไม่มีเท้า
มีสองเท้า มีสี่เท้า หรือมีเท้ามากก็ตาม มีประมาณเท่าใด
พึงเพิ่มข้อความต่อจากนี้ไปให้พิสดาร๑

ตถาคตาทิสูตรที่ ๑-๑๐ จบ
อัปปมาทวรรคที่ ๑๐ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ตถาคตสูตร ๒. ปทสูตร
๓. กูฏสูตร ๔. มูลสูตร
๕. สารสูตร ๖. วัสสิกสูตร
๗. ราชาสูตร ๘. จันทิมสูตร
๙. สุริยสูตร ๑๐. วัตถสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๑๑. พลกรณียวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑๑. พลกรณียวรรค
หมวดว่าด้วยการงานที่พึงทำด้วยกำลัง
๑-๑๒. พลาทิสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยการงานที่พึงทำด้วยกำลังเป็นต้น

[๒๘๐-๒๙๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย การงานที่พึงทำ
ด้วยกำลังทั้งหมด บุคคลต้องอาศัยแผ่นดิน ดำรงอยู่บนแผ่นดินจึงทำได้ แม้ฉันใด
พึงเพิ่มข้อความต่อจากนี้ไปให้พิสดาร๑

พลาทิสูตรที่ ๑-๑๒ จบ
พลกรณียวรรคที่ ๑๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. พลสูตร ๒. พีชสูตร
๓. นาคสูตร ๔. รุกขสูตร
๕. กุมภสูตร ๖. สูกสูตร
๗. อากาสสูตร ๘. ปฐมเมฆสูตร
๙. ทุติยเมฆสูตร ๑๐. นาวาสูตร
๑๑. อาคันตุกสูตร ๑๒. นทีสูตร

(พึงขยายพลกรณียวรรคให้พิสดารด้วยอำนาจโพชฌงค์แห่งโพชฌังคสังยุต)


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๑๒. เอสนาวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑๒. เอสนาวรรค
หมวดว่าด้วยการแสวงหา
๑-๑๑. เอสนาทิสูตร
ว่าด้วยการแสวงหาเป็นต้น

[๒๙๒-๓๐๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓
ประการนี้
การแสวงหา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. การแสวงหากาม ๒. การแสวงหาภพ
๓. การแสวงหาพรหมจรรย์

พึงเพิ่มข้อความต่อจากนี้ไปให้พิสดาร๑

เอสนาทิสูตรที่ ๑-๑๑ จบ
เอสนาวรรคที่ ๑๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. เอสนาสูตร ๒. วิธาสูตร
๓. อาสวสูตร ๔. ภวสูตร
๕. ทุกขตาสูตร ๖. ขีลสูตร
๗. มลสูตร ๘. นีฆสูตร
๙. เวทนาสูตร ๑๐. ตัณหาสูตร
๑๑. ตสินาสูตร

(ผู้รู้ทั้งหลายพึงขยายเอสนาเปยยาลแห่งโพชฌังคสังยุตโดยอาศัยวิเวก)


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๑๓. โอฆวรรค ๑๐. อุทธัมภาคิยสูตร

๑๓. โอฆวรรค
หมวดว่าด้วยโอฆะ
๑-๙. โอฆาทิสูตร
ว่าด้วยโอฆะเป็นต้น

[๓๐๒-๓๑๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย โอฆะ (ห้วงน้ำ) ๔
ประการนี้
โอฆะ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กาโมฆะ ๒. ภโวฆะ
๓. ทิฏโฐฆะ ๔. อวิชโชฆะ

พึงเพิ่มข้อความต่อจากนี้ไปให้พิสดาร๑

โอฆาทิสูตรที่ ๑-๙ จบ

๑๐. อุทธัมภาคิยสูตร
ว่าด้วยอุทธัมภาคิยสังโยชน์

[๓๑๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย อุทธัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องสูง) ๕ ประการนี้
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปราคะ
๒. อรูปราคะ
๓. มานะ
๔. อุทธัจจะ
๕. อวิชชา
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๑๓. โอฆวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ภิกษุพึงเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป
เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ
และโมหะเป็นที่สุด ... อันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า
มีอมตะเป็นที่สุด ... อันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้”

อุทธัมภาคิยสูตรที่ ๑๐ จบ
โอฆวรรคที่ ๑๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. โอฆสูตร ๒. โยคสูตร
๓. อุปาทานสูตร ๔. คันถสูตร
๕. อนุสยสูตร ๖. กามคุณสูตร
๗. นีวรณสูตร ๘. อุปาทานักขันธสูตร
๙. โอรัมภาคิยสูตร ๑๐. อุทธัมภาคิยสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๑๔. ปุนคังคาเปยยาลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑๔. ปุนคังคาเปยยาลวรรค
หมวดว่าด้วยคังคาเปยยาล อีกหมวดหนึ่ง

๓๑๒-๓๒๓. ปุนคังคานทีอาทิสูตร๑
ว่าด้วยอุปมาด้วยแม่น้ำคงคาเป็นต้น อีกสูตรหนึ่ง

ปุนคังคานทีอาทิสูตรที่ ๓๑๒-๓๒๓ จบ
วรรคที่ ๑๔ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมปาจีนนินนสูตร ๒-๕. ทุติยาทิปาจีนนินนสุตตจตุกกะ
๖. ฉัฏฐปาจีนนินนสูตร ๗. ปฐมสมุททนินนสูตร
๘-๑๒. ทุติยาทิสมุททนินนสุตตปัญจกะ

(พึงขยายคังคาเปยยาลแห่งโพชฌังคสังยุตให้พิสดารด้วยอำนาจราคะ)


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๑๕. ปุนอัปปมาทวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑๕. ปุนอัปปมาทวรรค
หมวดว่าด้วยความไม่ประมาท อีกหมวดหนึ่ง

๓๒๔-๓๓๓. ตถาคตาทิสูตร๑
ว่าด้วยพระตถาคตเลิศกว่าสัตว์ทั้งหลายเป็นต้น

ตถาคตาทิสูตรที่ ๓๒๔-๓๓๓ จบ
ปุนอัปปมาทวรรคที่ ๑๕ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ตถาคตสูตร ๒. ปทสูตร
๓-๗. กูฏาทิสุตตปัญจกะ ๘-๑๐. จันทิมาทิสุตตติกะ

(พึงขยายอัปปมาทวรรคให้พิสดารด้วยอำนาจราคะ)


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๑๖. ปุนพลกรณียวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑๖. ปุนพลกรณียวรรค
หมวดว่าด้วยการงานที่พึงทำด้วยกำลัง อีกหมวดหนึ่ง

๓๓๔-๓๔๕. ปุนพลาทิสูตร๑
ว่าด้วยอุปมาด้วยการงานที่พึงทำด้วยกำลังเป็นต้น อีกสูตรหนึ่ง

ปุนพลาทิสูตรที่ ๓๓๔-๓๔๕ จบ
ปุนพลกรณียวรรคที่ ๑๖ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. พลสูตร ๒. พีชสูตร
๓. นาคสูตร ๔. รุกขสูตร
๕. กุมภสูตร ๖. สูกสูตร
๗. อากาสสูตร ๘. ปฐมเมฆสูตร
๙. ทุติยเมฆสูตร ๑๐. นาวาสูตร
๑๑. อาคันตุกสูตร ๑๒. นทีสูตร

(พึงขยายพลกรณียวรรคแห่งโพชฌังคสังยุตให้พิสดารด้วยอำนาจราคะ)


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๑๗. ปุนเอสนาวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑๗. ปุนเอสนาวรรค
หมวดว่าด้วยการแสวงหา อีกหมวดหนึ่ง

๓๔๖-๓๕๖. ปุนเอสนาทิสูตร๑
ว่าด้วยการแสวงหาเป็นต้น อีกสูตรหนึ่ง

ปุนเอสนาทิสูตรที่ ๓๔๖-๓๕๖ จบ
ปุนเอสนาวรรคแห่งโพชฌังคสังยุตที่ ๑๗ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. เอสนาสูตร ๒. วิธาสูตร
๓. อาสวสูตร ๔. ภวสูตร
๕. ทุกขตาสูตร ๖. ขีลสูตร
๗. มลสูตร ๘. นีฆสูตร
๙. เวทนาสูตร ๑๐. ตัณหาสูตร
๑๑. ตสินาสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๒. โพชฌังคสังยุต]
๑๘. ปุนโอฆวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑๘. ปุนโอฆวรรค
หมวดว่าด้วยโอฆะ อีกหมวดหนึ่ง

๓๕๗-๓๖๖. ปุนโอฆาทิสูตร๑
ว่าด้วยโอฆะเป็นต้น อีกสูตรหนึ่ง

ปุนโอฆาทิสูตรที่ ๓๕๗-๓๖๖ จบ
ปุนโอฆวรรคแห่งโพชฌังคสังยุตที่ ๑๘ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. โอฆสูตร ๒. โยคสูตร
๓. อุปาทานสูตร ๔. คันถสูตร
๕. อนุสยสูตร ๖. กามคุณสูตร
๗. นีวรณสูตร ๘. อุปาทานักขันธสูตร
๙. โอรัมภาคิยสูตร ๑๐. อุทธัมภาคิยสูตร

(พึงขยายโอฆวรรคให้พิสดารด้วยอำนาจการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะเป็นที่สุด)

(พึงขยายแม้โพชฌังคสังยุตให้พิสดารเหมือนมัคคสังยุตฉะนั้น)

โพชฌังคสังยุตที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๑. อัมพปาลิวรรค ๑. อัมพปาลิสูตร

๓. สติปัฏฐานสังยุต
๑. อัมพปาลิวรรค
หมวดว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่อัมพปาลีวัน
๑. อัมพปาลิสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่อัมพปาลีวัน

[๓๖๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อัมพปาลีวัน เขตกรุงเวสาลี
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นทางเดียว๑ เพื่อความหมดจดแห่งสัตว์ทั้งหลาย
เพื่อก้าวล่วงโสกะและปริเทวะ เพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อ
ทำนิพพานให้แจ้ง คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๑. อัมพปาลิวรรค ๒. สติสูตร

๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นทางเดียวเพื่อความหมดจดแห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อ
ก้าวล่วงโสกะและปริเทวะ เพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำ
นิพพานให้แจ้ง คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดี ต่างชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค

อัมพปาลิสูตรที่ ๑ จบ

๒. สติสูตร
ว่าด้วยผู้มีสติสัมปชัญญะ

[๓๖๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อัมพปาลีวัน เขตกรุงเวสาลี
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงมีสติสัมปชัญญะอยู่เถิด นี้เป็นคำพร่ำสอนของเรา
สำหรับเธอทั้งหลาย
ภิกษุผู้มีสติ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุผู้มีสติ เป็นอย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๑. อัมพปาลิวรรค ๓. ภิกขุสูตร

ภิกษุผู้มีสัมปชัญญะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู
การเหลียวดู การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตรและจีวร การฉัน
การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม การถ่ายอุจจาระปัสสาวะ การเดิน การยืน การนั่ง
การนอน การตื่น การพูด การนิ่ง
ภิกษุผู้มีสัมปชัญญะ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงมีสติสัมปชัญญะอยู่เถิด นี้เป็นคำพร่ำสอนของเรา
สำหรับเธอทั้งหลาย”๑

สติสูตรที่ ๒ จบ

๓. ภิกขุสูตร
ว่าด้วยภิกษุ

[๓๖๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดง
ธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ซึ่งข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว จะพึงหลีกออกไปอยู่คนเดียว
ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โมฆะบุรุษบางพวกในโลกนี้ เชื้อเชิญเราอย่างนี้เหมือนกัน
และเมื่อเราได้กล่าวธรรม ย่อมสำคัญเราว่าควรติดตามเท่านั้น”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดย
ย่อ ขอพระสุคตโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อเถิด บางที ข้าพระองค์พึงรู้
ทั่วถึงเนื้อความแห่งพระดำรัสของพระผู้มีพระภาค บางที ข้าพระองค์พึงเป็นผู้สืบ
ทอดพระดำรัสของพระผู้มีพระภาค”
“ภิกษุ เพราะเหตุนั้น เธอจงทำเบื้องต้นในกุศลธรรมทั้งหลายให้หมดจดก่อน
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย คือ ศีลที่บริสุทธิ์ดีและความเห็นที่ตรง


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๑. อัมพปาลิวรรค ๓. ภิกขุสูตร

เมื่อใด ศีลของเธอจักบริสุทธิ์ดี และความเห็นจักตรง เมื่อนั้น เธออาศัยศีล
ดำรงอยู่ในศีลแล้ว พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ โดย ๓ วิธี
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ในธรรมวินัยนี้ เธอ
๑. จงพิจารณาเห็นกายในกายภายในอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ จงพิจารณาเห็นกาย
ในกายภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ หรือจงพิจารณาเห็นกายในกาย
ทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. จงพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายภายในอยู่ ... จงพิจารณา
เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายภายนอกอยู่ ... จงพิจารณาเห็น
เวทนาในเวทนาทั้งหลายทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ มีความเพียร
มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๓. จงพิจารณาเห็นจิตในจิตภายในอยู่ ... จงพิจารณาเห็นจิตในจิต
ภายนอกอยู่ ... จงพิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสใน
โลกได้
๔. จงพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายภายในอยู่ ... จงพิจารณา
เห็นธรรมในธรรมทั้งหลายภายนอกอยู่ ... จงพิจารณาเห็นธรรม
ในธรรมทั้งหลายทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุ เมื่อใด เธออาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้วจักเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้
โดย ๓ วิธีอย่างนี้ เมื่อนั้น เธอพึงหวังความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลายตลอดคืน
หรือวันที่จักมาถึง ไม่มีความเสื่อมเลย”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๑. อัมพปาลิวรรค ๔. สาลสูตร

ลำดับนั้น ภิกษุรูปนั้นชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว ลุกจาก
อาสนะ ถวายอภิวาท ทำประทักษิณแล้วจากไป ต่อมา เธอก็หลีกออกไปอยู่คน
เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนักได้ทำให้แจ้งซึ่ง
ประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ที่เหล่ากุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน รู้ชัดว่า “ชาติ
สิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็น
อย่างนี้อีกต่อไป”
อนึ่ง ภิกษุรูปนั้นได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย

ภิกขุสูตรที่ ๓ จบ

๔. สาลสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่หมู่บ้านพราหมณ์ชื่อสาลา

[๓๗๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ หมู่บ้านพราหมณ์ชื่อสาลา
แคว้นโกศล ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ฯลฯ
จึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใดยังเป็นผู้ใหม่ บวชได้ไม่นาน เพิ่งมาสู่ธรรมวินัยนี้
เธอทั้งหลายพึงชักชวนภิกษุเหล่านั้นให้ตั้งมั่น ให้ดำรงอยู่ในการเจริญสติปัฏฐาน ๔
ประการ
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ มาเถิด ผู้มีอายุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
๑. จงพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มี
ธรรมเป็นหนึ่งผุดขึ้น มีจิตผ่องใส ตั้งมั่น มีอารมณ์เดียวเพื่อรู้
ยิ่งกายตามความเป็นจริง
๒. จงพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีธรรมเป็นหนึ่งผุดขึ้น มีจิตผ่องใส ตั้งมั่น มีอารมณ์
เดียวเพื่อรู้ยิ่งเวทนาตามความเป็นจริง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๑. อัมพปาลิวรรค ๔. สาลสูตร

๓. จงพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีธรรม
เป็นหนึ่งผุดขึ้น มีจิตผ่องใส ตั้งมั่น มีอารมณ์เดียวเพื่อรู้ยิ่งจิต
ตามความเป็นจริง
๔. จงพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีธรรมเป็นหนึ่งผุดขึ้น มีจิตผ่องใส ตั้งมั่น มี
อารมณ์เดียวเพื่อรู้ยิ่งธรรมทั้งหลายตามความเป็นจริง
แม้ภิกษุเหล่าใดที่ยังเป็นเสขะ ยังไม่บรรลุอรหัตตผล ปรารถนาธรรมที่เป็น
แดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม แม้ภิกษุเหล่านั้นก็พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มี
ความเพียร มีสัมปชัญญะ มีธรรมเป็นหนึ่งผุดขึ้น มีจิตผ่องใส ตั้งมั่น มีอารมณ์เดียว
เพื่อกำหนดรู้กาย พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีธรรมเป็นหนึ่งผุดขึ้น มีจิตผ่องใส ตั้งมั่น มีอารมณ์เดียวเพื่อกำหนดรู้เวทนา
พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีธรรมเป็นหนึ่งผุดขึ้น มี
จิตผ่องใส ตั้งมั่น มีอารมณ์เดียวเพื่อกำหนดรู้จิต พิจารณาเห็นธรรมในธรรม
ทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีธรรมเป็นหนึ่งผุดขึ้น มีจิตผ่องใส
ตั้งมั่นมีอารมณ์เดียวเพื่อกำหนดรู้ธรรมทั้งหลาย
แม้ภิกษุเหล่าใดที่เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควร
ทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว
หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ แม้ภิกษุเหล่านั้นก็พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร
มีสัมปชัญญะ มีธรรมเป็นหนึ่งผุดขึ้น มีจิตผ่องใส ตั้งมั่น มีอารมณ์เดียว พราก
จากกายแล้ว พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีธรรมเป็นหนึ่งผุดขึ้น มีจิตผ่องใส ตั้งมั่น มีอารมณ์เดียว พรากจากเวทนาทั้งหลาย
แล้ว พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีธรรมเป็นหนึ่งผุดขึ้น
มีจิตผ่องใส ตั้งมั่น มีอารมณ์เดียว พรากจากจิตแล้ว พิจารณาเห็นธรรมในธรรม
ทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีธรรมเป็นหนึ่งผุดขึ้น มีจิตผ่องใส ตั้งมั่น
มีอารมณ์เดียว พรากจากธรรมทั้งหลายแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใดยังเป็นผู้ใหม่ บวชได้ไม่นาน เพิ่งมาสู่ธรรมวินัยนี้
เธอทั้งหลายพึงชักชวนภิกษุเหล่านั้นให้ตั้งมั่น ให้ดำรงอยู่ในการเจริญสติปัฏฐาน ๔
ประการนี้”

สาลสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๑. อัมพปาลิวรรค ๕. อกุสลราสิสูตร

๕. อกุสลราสิสูตร
ว่าด้วยกองอกุศล

[๓๗๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเรื่องนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อจะ
กล่าวถึงกองอกุศล จะกล่าวให้ถูกต้อง พึงกล่าวถึงนิวรณ์ (ธรรมที่กั้นจิตไม่ให้
บรรลุความดี) ๕ ประการ เพราะกองอกุศลทั้งสิ้นนี้ก็คือนิวรณ์ ๕ ประการ
นิวรณ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กามฉันทนิวรณ์ ๒. พยาบาทนิวรณ์
๓. ถีนมิทธนิวรณ์ ๔. อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์
๕. วิจิกิจฉานิวรณ์
บุคคลเมื่อจะกล่าวถึงกองอกุศล จะกล่าวให้ถูกต้อง พึงกล่าวถึงนิวรณ์ ๕
ประการนี้ เพราะกองอกุศลทั้งสิ้นนี้ก็คือนิวรณ์ ๕ ประการ

บุคคลเมื่อจะกล่าวถึงกองกุศล จะกล่าวให้ถูกต้อง พึงกล่าวถึงสติปัฏฐาน ๔
ประการนี้ เพราะกองกุศลทั้งสิ้นนี้ก็คือสติปัฏฐาน ๔ ประการ
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ...
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ...
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อจะกล่าวถึงกองกุศล จะกล่าวให้ถูกต้อง พึงกล่าวถึง
สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ เพราะกองกุศลทั้งสิ้นนี้ก็คือสติปัฏฐาน ๔ ประการ”

อกุสลราสิสูตรที่ ๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๑. อัมพปาลิวรรค ๖. สกุณัคฆิสูตร

๖. สกุณัคฆิสูตร
ว่าด้วยเหยี่ยว

[๓๗๒] “ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว เหยี่ยวโฉบลงจับนกมูลไถอย่าง
รวดเร็ว ขณะนั้น นกมูลไถกำลังถูกเหยี่ยวพาไป ได้ร้องคร่ำครวญอย่างนี้ว่า ‘เรา
อับโชคมีบุญน้อย เที่ยวไปในแดนอื่นซึ่งไม่ใช่ที่หากิน ถ้าในวันนี้เราเที่ยวหากินใน
แดนหากินที่เป็นของบิดาของตนไซร้ เราก็อาจสู้เหยี่ยวตัวนี้ได้’
เหยี่ยวจึงถามว่า ‘เจ้านกมูลไถ แดนหากินที่เป็นของบิดาของเจ้าคืออะไร’
นกมูลไถตอบว่า ‘คือถิ่นที่เป็นดินก้อนมูลไถที่เขาไถไว้’
ขณะนั้นเหยี่ยวหยิ่งในกำลังของตน เมื่อจะอวดอ้างกำลังของตน จึงปล่อยนก
มูลไถไปด้วยพูดว่า ‘ไปเถิด เจ้านกมูลไถ ถึงเจ้าจะไปในที่นั้นก็ไม่พ้นเรา’
ทีนั้นนกมูลไถจึงไปยังถิ่นที่เป็นดินก้อนมูลไถที่เขาไถไว้ จับที่ก้อนใหญ่ ยืนร้อง
ท้าเหยี่ยวว่า ‘เจ้าเหยี่ยว เจ้าจงมาจับเราเดี๋ยวนี้ เจ้าเหยี่ยว เจ้าจงมาจับเราเดี๋ยวนี้’
ขณะนั้น เหยี่ยวหยิ่งในกำลังของตน เมื่อจะอวดอ้างกำลังของตน จึงหุบปีกทั้ง ๒
ลงโฉบนกมูลไถอย่างรวดเร็ว เมื่อนกมูลไถรู้ว่า ‘เหยี่ยวตัวนี้โฉบมาอย่างรวดเร็ว
หมายจะจับเรา’ จึงหลบเข้าซอกก้อนดินนั้นเอง เหยี่ยวทำให้อกกระแทกมูลไถ (ตาย)
ในที่นั้นเอง เรื่องนกมูลไถเที่ยวไปในแดนอื่นซึ่งไม่ใช่ที่หากินก็เป็นเช่นนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายอย่าเที่ยวไปในแดนอื่นที่เป็นอโคจร
เมื่อเธอทั้งหลายเที่ยวไปในแดนอื่นที่เป็นอโคจร มารก็จักได้ช่อง ได้อารมณ์
แดนอื่นที่เป็นอโคจรของภิกษุ เป็นอย่างไร
คือ กามคุณ ๕ ประการ
กามคุณ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
๒. เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ...
๓. กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๑. อัมพปาลิวรรค ๗. มักกฏสูตร

๔. รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ...
๕. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
ภิกษุทั้งหลาย นี้คือแดนอื่นที่เป็นอโคจรของภิกษุ
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเที่ยวไปในแดนที่เป็นของบิดาของตนอันเป็น
โคจรเถิด เมื่อเธอทั้งหลายเที่ยวไปในแดนที่เป็นของบิดาของตนอันเป็นโคจร มาร
ก็จักไม่ได้ช่อง ไม่ได้อารมณ์
แดนที่เป็นของบิดาของตนอันเป็นโคจรของภิกษุ เป็นอย่างไร
คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ...
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ...
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุทั้งหลาย นี้คือแดนที่เป็นของบิดาของตนอันเป็นโคจรของภิกษุ”

สกุณัคฆิสูตรที่ ๖ จบ

๗. มักกฏสูตร
ว่าด้วยลิงติดตัง

[๓๗๓] “ภิกษุทั้งหลาย ถิ่นที่เป็นขุนเขาหิมพานต์ ซึ่งไปได้ยาก ขรุขระ ไม่
เป็นที่เที่ยวไปทั้งของฝูงลิงทั้งของหมู่มนุษย์ มีอยู่ ถิ่นที่เป็นขุนเขาหิมพานต์ ซึ่งไป
ได้ยาก ขรุขระ เป็นที่เที่ยวไปของฝูงลิง ไม่ใช่ที่เที่ยวไปของหมู่มนุษย์ มีอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๑. อัมพปาลิวรรค ๗. มักกฏสูตร

ภาคพื้นขุนเขาหิมพานต์ซึ่งราบเรียบ น่ารื่นรมย์ เป็นที่เที่ยวไปทั้งของฝูงลิงทั้งของ
หมู่มนุษย์ ก็มีอยู่ ณ ที่นั้น พวกนายพรานวางตัง๑ดักไว้ที่ทางเดินของฝูงลิงเพื่อดักลิง
ภิกษุทั้งหลาย บรรดาลิงเหล่านั้น ลิงเหล่าใดไม่โง่ ไม่ลอกแลก ลิงเหล่านั้น
เห็นตังนั้นก็หลีกห่างไกล ส่วนลิงตัวใดโง่ ลอกแลก ลิงตัวนั้นเข้าไปใกล้ตังนั้นแล้ว
เอามือจับดู มือจึงติดที่ตังนั้น มันคิดจะดึงมือออก จึงเอามือข้างที่ ๒ จับ มือข้างที่
๒ ก็ติดที่ตังนั้น มันคิดจะดึงมือทั้ง ๒ ข้างออกจึงเอาเท้ายัน เท้าก็ติดที่ตังนั้น
มันคิดจะดึงมือทั้ง ๒ และเท้าออก จึงเอาเท้าข้างที่ ๒ ยัน เท้าข้างที่ ๒ ก็ติดที่ตัง
นั้น มันคิดจะดึงมือทั้ง ๒ และเท้าทั้ง ๒ ออกจึงเอาปากกัด ปากก็ติดที่ตังนั้นอีก
ลิงตัวนั้นติดตัง ๕ แห่งอย่างนี้ นอนถอนใจ ถึงความพินาศ ย่อยยับแล้ว ถูก
นายพรานทำได้ตามใจปรารถนา นายพรานแยกลิงตัวนั้นออกแล้ว ยกแขวนไว้ในที่
นั้นเอง ไม่ให้หลุดไปแล้วหลีกไปตามต้องการ เรื่องลิงเที่ยวไปในแดนอื่นซึ่งไม่ใช่ที่
หากิน ก็เป็นเช่นนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายอย่าเที่ยวไปในแดนอื่นที่เป็นอโคจร
เมื่อเธอทั้งหลายเที่ยวไปในแดนอื่นที่เป็นอโคจร มารก็จักได้ช่อง ได้อารมณ์
แดนอื่นที่เป็นอโคจรของภิกษุ เป็นอย่างไร
คือ กามคุณ ๕ ประการ
กามคุณ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
๒. เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ...
๓. กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ...
๔. รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ...
๕. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
ภิกษุทั้งหลาย นี้คือแดนอื่นที่เป็นอโคจร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๑. อัมพปาลิวรรค ๘. สูทสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเที่ยวไปในแดนที่เป็นของบิดาของตนอันเป็น
โคจรเถิด เมื่อเธอทั้งหลายเที่ยวไปในแดนที่เป็นของบิดาของตนอันเป็นโคจร มารก็
จักไม่ได้ช่อง ไม่ได้อารมณ์
แดนที่เป็นของบิดาของตนอันเป็นโคจร อะไรบ้าง
คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ
สติปัฏฐาน ๔ ประการ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ...
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ...
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุทั้งหลาย นี้คือแดนที่เป็นของบิดาของตนอันเป็นโคจรของภิกษุ”

มักกฏสูตรที่ ๗ จบ

๘. สูทสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยพ่อครัว

[๓๗๔] “ภิกษุทั้งหลาย พ่อครัวผู้เขลา ไม่ฉลาด ไม่เฉียบแหลม บำรุงพระ
ราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระราชาด้วยแกงชนิดต่าง ๆ คือ เปรี้ยวจัดบ้าง ขมจัด
บ้าง เผ็ดจัดบ้าง หวานจัดบ้าง เฝื่อนบ้าง ไม่เฝื่อนบ้าง เค็มบ้าง จืดบ้าง พ่อครัว
ผู้เขลา ไม่ฉลาด ไม่เฉียบแหลมนั้นไม่สังเกตชนิดแห่งอาหารของตนว่า ‘วันนี้ ท่าน
ชอบข้าวและแกงชนิดนี้ของเรา หรือรับแกงชนิดนี้ ตักแกงชนิดนี้มาก หรือชมแกง
ชนิดนี้ วันนี้ ท่านชอบข้าวและแกงที่มีรสเปรี้ยวจัดของเรา หรือรับแกงที่มีรสเปรี้ยว
จัด ตักแกงที่มีรสเปรี้ยวจัดมาก หรือชมแกงที่มีรสเปรี้ยวจัด วันนี้ แกงของเรา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๑. อัมพปาลิวรรค ๘. สูทสูตร

มีรสขมจัด ... มีรสเผ็ดจัด ... มีรสหวานจัด ... มีรสเฝื่อน ... มีรสไม่เฝื่อน ...
มีรสเค็ม ... วันนี้ ท่านชอบข้าวและแกงที่มีรสจืดของเรา หรือรับแกงที่มีรสจืด
ตักแกงที่มีรสจืดมาก หรือชมแกงที่มีรสจืด’ พ่อครัวผู้เขลา ไม่ฉลาด ไม่เฉียบ
แหลมนั้น ย่อมไม่ได้เครื่องนุ่งห่ม ไม่ได้ค่าจ้าง ไม่ได้รางวัล ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะพ่อครัวนั้นเป็นคนเขลา ไม่ฉลาด ไม่เฉียบแหลม ไม่สังเกตชนิดแห่งอาหาร
ของตน แม้ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เขลา ไม่ฉลาด
ไม่เฉียบแหลม พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เมื่อเธอพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ จิตไม่ตั้งมั่น
ละความเศร้าหมองไม่ได้ เธอไม่กำหนดนิมิตนั้น พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา
ทั้งหลาย ... พิจารณาเห็นจิตในจิต ... พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เมื่อเธอ
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ จิตไม่ตั้งมั่น ละความเศร้าหมองไม่ได้
เธอไม่กำหนดนิมิตนั้น ภิกษุนั้น ย่อมไม่ได้ธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน และ
ไม่ได้สติสัมปชัญญะ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุนั้นเป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด
ไม่เฉียบแหลม ไม่กำหนดนิมิตแห่งจิตของตน
ภิกษุทั้งหลาย พ่อครัวผู้เป็นบัณฑิต ฉลาด เฉียบแหลม บำรุงพระราชา
หรือมหาอำมาตย์ของพระราชาด้วยแกงชนิดต่าง ๆ คือ เปรี้ยวจัดบ้าง ขมจัดบ้าง
เผ็ดจัดบ้าง หวานจัดบ้าง เฝื่อนบ้าง ไม่เฝื่อนบ้าง เค็มบ้าง จืดบ้าง พ่อครัวผู้
เป็นบัณฑิต ฉลาด เฉียบแหลมนั้นสังเกตชนิดแห่งอาหารของตนว่า ‘วันนี้ ท่านชอบ
ข้าวและแกงชนิดนี้ของเรา หรือรับแกงชนิดนี้ ตักแกงชนิดนี้มาก หรือชมแกงชนิดนี้
วันนี้ ท่านชอบข้าวและแกงที่มีรสเปรี้ยวจัดของเรา หรือรับแกงที่มีรสเปรี้ยวจัด ตัก
แกงที่มีรสเปรี้ยวจัดมาก หรือชมแกงที่มีรสเปรี้ยวจัด วันนี้ แกงของเรามีรสขมจัด ...
มีรสเผ็ดจัด ... มีรสหวานจัด ... มีรสเฝื่อน ... มีรสไม่เฝื่อน ... มีรสเค็ม ... วันนี้
ท่านชอบข้าวและแกงที่มีรสจืดของเรา หรือรับแกงที่มีรสจืด ตักแกงที่มีรสจืดมาก
หรือชมแกงที่มีรสจืด’ พ่อครัวผู้เป็นบัณฑิต ฉลาด เฉียบแหลมนั้นย่อมได้เครื่อง
นุ่งห่ม ได้ค่าจ้าง ได้รางวัล ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพ่อครัวนั้นเป็นบัณฑิต ฉลาด
เฉียบแหลม สังเกตชนิดแห่งอาหารของตน แม้ฉันใด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๑. อัมพปาลิวรรค ๙. คิลานสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นบัณฑิต
ฉลาด เฉียบแหลม พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เมื่อเธอพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ จิตย่อม
ตั้งมั่น ละความเศร้าหมองได้ เธอย่อมกำหนดนิมิตนั้นได้ พิจารณาเห็นเวทนาใน
เวทนาทั้งหลาย ... พิจารณาเห็นจิตในจิต ... พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เมื่อเธอ
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ จิตย่อมตั้งมั่น ละความเศร้าหมองได้ เธอ
ย่อมกำหนดนิมิตนั้นได้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นเป็นบัณฑิต ฉลาด เฉียบแหลม ย่อมได้ธรรมเครื่อง
อยู่เป็นสุขในปัจจุบัน และได้สติสัมปชัญญะ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุนั้น
เป็นบัณฑิต ฉลาด เฉียบแหลม กำหนดนิมิตแห่งจิตของตน”

สูทสูตรที่ ๘ จบ

๙. คิลานสูตร
ว่าด้วยพระผู้มีพระภาคทรงพระประชวร

[๓๗๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เวฬุวคาม เขตกรุงเวสาลี
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “มาเถิด ภิกษุ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเข้าจำพรรษารอบกรุงเวสาลี ตามที่ที่มีเพื่อน ตามที่
ที่มีคนเคยคบกัน ตามที่ที่มีคนเคยคบกันมา เราก็จะเข้าจำพรรษาในเวฬุวคามนี้
เหมือนกัน” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้วเข้าจำพรรษารอบกรุงเวสาลี
ตามที่ที่มีเพื่อน ตามที่ที่มีคนเคยคบกัน ตามที่ที่มีคนเคยคบกันมา ส่วนพระผู้มี
พระภาคก็ทรงเข้าจำพรรษาในเวฬุวคามนั้นเอง
ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคทรงเข้าจำพรรษาแล้ว ทรงพระประชวรอย่าง
รุนแรง มีทุกขเวทนาอย่างแสนสาหัส จวนเจียนปรินิพพาน พระองค์ทรงมี
สติสัมปชัญญะ ทรงอดกลั้น ไม่พรั่นพรึง ทรงพระดำริว่า “การที่เราไม่บอกผู้
อุปัฏฐาก ไม่อำลาภิกษุสงฆ์ปรินิพพานนั้น ไม่เหมาะแก่เรา ทางที่ดี เราควรใช้
ความเพียรขับไล่อาพาธนี้ ดำรงชีวิตสังขารอยู่ต่อไป”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๑. อัมพปาลิวรรค ๙. คิลานสูตร

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงใช้ความเพียรขับไล่พระอาการประชวรนั้น
ทรงดำรงชีวิตสังขารอยู่ อาการพระประชวรจึงสงบ เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงหาย
จากพระประชวรหายจากพระอาการไข้ไม่นาน ได้เสด็จออกจากพระวิหาร ไป
ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้วในร่มเงาพระวิหาร
ทีนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
เมื่อข้าพระองค์ได้เห็นพระสุขภาพของพระองค์แล้ว ได้เห็นพระองค์ทรงอดทนต่อ
ทุกขเวทนาแล้ว ทำให้ร่างกายของข้าพระองค์อ่อนเปลี้ยประดุจคนเมา ข้าพระองค์
รู้สึกมืดทุกด้าน แม้ธรรมก็ไม่ปรากฏแก่ข้าพระองค์อีกแล้ว เพราะพระอาการไข้ของ
พระผู้มีพระภาค แต่ข้าพระองค์ก็ยังเบาใจอยู่หน่อยหนึ่งว่า ‘พระผู้มีพระภาคจะยัง
ไม่ปรินิพพานตราบเท่าที่ยังไม่ได้ปรารภภิกษุสงฆ์แล้วตรัสพระพุทธพจน์อย่างใด
อย่างหนึ่ง”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ ภิกษุสงฆ์ยังจะหวังได้อะไรในเราอีกเล่า
ธรรมที่เราแสดงแล้วไม่มีในไม่มีนอก๑ ในเรื่องธรรมทั้งหลาย ตถาคตไม่มีอาจริยมุฏฐิ๒
ผู้ที่คิดว่า เราเท่านั้นจักเป็นผู้บริหารภิกษุสงฆ์ต่อไป หรือว่า ภิกษุสงฆ์จะต้องยึด
เราเท่านั้นเป็นหลัก ผู้นั้นจะต้องปรารภภิกษุสงฆ์แล้วกล่าวอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นแน่
แต่ตถาคตไม่คิดว่า เราเท่านั้นจักเป็นผู้บริหารภิกษุสงฆ์ต่อไป หรือว่า ภิกษุสงฆ์จะ
ต้องยึดเราเท่านั้นเป็นหลัก แล้วทำไมตถาคตจะต้องปรารภภิกษุสงฆ์กล่าวอย่างใด
อย่างหนึ่งอีกเล่า บัดนี้เราเป็นผู้ชรา แก่ เฒ่า ล่วงกาลมานาน ผ่านวัยมามาก
เรามีวัย ๘๐ ปี ร่างกายของตถาคตยังเป็นไปได้ก็เหมือนกับเกวียนเก่าที่ซ่อมแซม
ด้วยไม้ไผ่ ฉะนั้น ร่างกายของตถาคตยังสบายขึ้น ก็เพราะในเวลาที่ตถาคตเข้า


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๑. อัมพปาลิวรรค ๑๐. ภิกขุนูปัสสยสูตร

เจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต๑ เพราะไม่ใส่ใจนิมิตทุกอย่าง และเพราะดับเวทนาบางอย่าง
ได้เท่านั้น เธอทั้งหลายจงมีตนเป็นเกาะ๒ มีตนเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งเลย
มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่เถิด
ภิกษุจะชื่อว่ามีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง มีธรรม
เป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ...
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ...
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุจะชื่อว่ามีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็น
เกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ อย่างนี้แล
อานนท์ ภิกษุเหล่าใดเหล่าหนึ่งในบัดนี้ก็ดี ในเวลาที่เราล่วงไปก็ดี จักมีตน
เป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง
ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ ภิกษุเหล่านั้นจักเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุผู้ใคร่ต่อการศึกษา”๓

คิลานสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ภิกขุนูปัสสยสูตร
ว่าด้วยการสนทนาธรรมในสำนักภิกษุณี

[๓๗๖] ครั้นในเวลาเช้า ท่านพระอานนท์ครองอันตรวาสก ถือบาตรและ
จีวรเข้าไปยังสำนักภิกษุณีแห่งหนึ่ง นั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ ลำดับนั้น ภิกษุณี


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๑. อัมพปาลิวรรค ๑๐. ภิกขุนูปัสสยสูตร

หลายรูปเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ไหว้แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับ
ท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่านอานนท์ ภิกษุณีจำนวนมากในพระธรรมวินัยนี้มีจิต
ตั้งมั่นดีในสติปัฏฐาน ๔ ประการอยู่ ย่อมรู้คุณวิเศษอันยิ่งอย่างอื่นจากคุณวิเศษที่
มีอยู่ก่อน”
ท่านพระอานนท์กล่าวว่า “น้องหญิงทั้งหลาย ข้อนี้เป็นอย่างนั้น น้องหญิง
ทั้งหลาย ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง มีจิตตั้งมั่นดีใน
สติปัฏฐาน ๔ ประการอยู่ ภิกษุหรือภิกษุณีรูปนั้นพึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักรู้คุณวิเศษ
อันยิ่งอย่างอื่นจากคุณวิเศษที่มีอยู่ก่อน” จากนั้นได้ชี้แจงให้ภิกษุณีเหล่านั้นเห็นชัด
ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่น
ร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว ลุกจากอาสนะจากไป
ต่อมา ท่านพระอานนท์เที่ยวบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี กลับจากบิณฑบาต
ภายหลังฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เมื่อเช้านี้ ข้าพระองค์ครองอันตรวาสก ถือบาตรและ
จีวรเข้าไปยังสำนักภิกษุณีแห่งหนึ่ง นั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ ลำดับนั้น ภิกษุณี
จำนวนมากเข้ามาหาข้าพระองค์ถึงที่อยู่ ไหว้แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับ
ข้าพระองค์ดังนี้ว่า ‘ท่านอานนท์ ภิกษุณีจำนวนมากในพระธรรมวินัยนี้มีจิตตั้งมั่นดี
ในสติปัฏฐาน ๔ ประการอยู่ ย่อมรู้คุณวิเศษอันยิ่งอย่างอื่นจากคุณวิเศษที่มีอยู่ก่อน’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อภิกษุณีทั้งหลายกล่าวอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์จึงกล่าวว่า
‘น้องหญิงทั้งหลาย ข้อนี้เป็นอย่างนั้น น้องหญิงทั้งหลาย ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ภิกษุ
หรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งมีจิตตั้งมั่นดีในสติปัฏฐาน ๔ ประการอยู่ ภิกษุหรือภิกษุณีรูปนั้น
พึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘จักรู้คุณวิเศษอันยิ่งอย่างอื่นจากคุณวิเศษที่มีอยู่ก่อน”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ ข้อนี้เป็นอย่างนั้น อานนท์ ข้อนี้เป็น
อย่างนั้น ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งมีจิตตั้งมั่นดีในสติปัฏฐาน ๔ ประการอยู่
ภิกษุหรือภิกษุณีรูปนั้นพึงหวังข้อนี้ได้ว่า ‘จักรู้คุณวิเศษอันยิ่งอย่างอื่นจากคุณวิเศษที่
มีอยู่ก่อน’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๑. อัมพปาลิวรรค ๑๐. ภิกขุนูปัสสยสูตร

สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เมื่อเธอพิจารณาเห็นกายใน
กายอยู่ ความเร่าร้อนในกายที่มีกายเป็นอารมณ์เกิดขึ้น
บ้าง จิตหดหู่บ้าง จิตฟุ้งซ่านไปภายนอกบ้าง ภิกษุนั้นพึงตั้งจิต
ไว้ที่นิมิตอันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อ
เธอตั้งจิตไว้ที่นิมิตอันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสอย่างใดอย่างหนึ่ง
ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อมีปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด เมื่อใจมีปีติ
กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบ ย่อมได้รับสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้ง
มั่น เธอพิจารณาเห็นว่า ‘เราตั้งจิตไว้เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์
นั้นสำเร็จแล้วแก่เรา เอาเถิด บัดนี้เราจะคุมจิตไว้’ เธอคุมจิตไว้
ไม่ตรึก และไม่ตรอง ย่อมรู้ชัดว่า ‘เราไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มี
สติในภายใน มีความสุข’
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ...
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ...
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เมื่อเธอ
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ ความเร่าร้อนในกายที่มี
ธรรมเป็นอารมณ์เกิดขึ้นบ้าง จิตหดหู่บ้าง จิตฟุ้งซ่านไปภายนอก
บ้าง ภิกษุนั้นพึงตั้งจิตไว้ที่นิมิตอันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส
อย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อเธอตั้งจิตไว้ที่นิมิตอันเป็นที่ตั้งแห่งความ
เลื่อมใสอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อมีปราโมทย์
ปีติย่อมเกิด เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบย่อมได้
รับสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น เธอพิจารณาเห็นว่า ‘เราตั้งจิตไว้
เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์นั้นสำเร็จแล้วแก่เรา เอาเถิด บัดนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๑. อัมพปาลิวรรค ๑๐. ภิกขุนูปัสสยสูตร

เราจะคุมจิตไว้’ เธอคุมจิตไว้ ไม่ตรึก และไม่ตรอง ย่อมรู้ชัดว่า
‘เราไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีสติในภายใน มีความสุข’
อานนท์ ภาวนาย่อมมีเพราะการตั้งจิตไว้ อย่างนี้
ภาวนาย่อมมีเพราะไม่ตั้งจิตไว้ อย่างไร
คือ ภิกษุไม่ตั้งจิตไว้ในภายนอก ย่อมรู้ชัดว่า ‘เราไม่ได้ตั้งจิตไว้ในภายนอก’
ลำดับนั้น เธอรู้ชัดว่า ‘จิตของเราไม่ฟุ้งซ่านไปข้างหลัง๑หรือข้างหน้า๒ หลุดพ้นแล้ว
ไม่ตั้งอยู่’ ต่อมาก็รู้ชัดว่า ‘เราพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ มีความสุข’
ภิกษุไม่ตั้งจิตไว้ในภายนอก ย่อมรู้ชัดว่า ‘เราไม่ได้ตั้งจิตไว้ในภายนอก’ ลำดับนั้น
เธอรู้ชัดว่า ‘จิตของเราไม่ฟุ้งซ่านไปข้างหลังหรือข้างหน้า หลุดพ้นแล้ว ไม่ตั้งอยู่’
ต่อมาก็รู้ชัดว่า ‘เราพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ มีความสุข”
ภิกษุไม่ตั้งจิตไว้ในภายนอก ย่อมรู้ชัดว่า ‘เราไม่ได้ตั้งจิตไว้ในภายนอก’ ลำดับนั้น
เธอรู้ชัดว่า ‘จิตของเราไม่ฟุ้งซ่านไปข้างหลังหรือข้างหน้า หลุดพ้นแล้ว ไม่ตั้งอยู่’
ต่อมาก็รู้ชัดว่า ‘เราพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
มีความสุข’
ภิกษุไม่ตั้งจิตไว้ในภายนอก ย่อมรู้ชัดว่า ‘เราไม่ได้ตั้งจิตไว้ในภายนอก’ ลำดับนั้น
เธอรู้ชัดว่า ‘จิตของเราไม่ฟุ้งซ่านไปข้างหลังหรือข้างหน้า หลุดพ้นแล้ว ไม่ตั้งอยู่’
ต่อมาก็รู้ชัดว่า ‘เราพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ มีความสุข’
อานนท์ ภาวนาย่อมมีเพราะไม่ตั้งจิตไว้ อย่างนี้
อานนท์ ภาวนาเพราะการตั้งจิตไว้เราได้แสดงแล้ว ภาวนาเพราะการไม่ตั้งจิตไว้
เราก็ได้แสดงแล้ว ด้วยประการฉะนี้


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๒. นาลันทวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

อานนท์ กิจใดที่ศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูลผู้อนุเคราะห์พึงอาศัย
ความอนุเคราะห์กระทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้นเราก็ได้กระทำแล้วแก่เธอทั้งหลาย
อานนท์ นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลายจงเพ่งพินิจ อย่าประมาท อย่าได้
มีความร้อนใจในภายหลัง นี้คือคำพร่ำสอนของเราสำหรับเธอทั้งหลาย”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์มีใจยินดี ชื่นชม
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค

ภิกขุนูปัสสยสูตรที่ ๑๐ จบ
อัมพปาลิวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อัมพปาลิสูตร ๒. สติสูตร
๓. ภิกขุสูตร ๔. สาลสูตร
๕. อกุสลราสิสูตร ๖. สกุณัคฆิสูตร
๗. มักกฏสูตร ๘. สูทสูตร
๙. คิลานสูตร ๑๐. ภิกขุนูปัสสยสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๒. นาลันทวรรค ๑. มหาปุริสสูตร

๒. นาลันทวรรค
หมวดว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่เมืองนาลันทา
๑. มหาปุริสสูตร
ว่าด้วยมหาบุรุษ

[๓๗๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า ‘มหาบุรุษ มหาบุรุษ’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ บุคคล
จึงชื่อว่าเป็นมหาบุรุษ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “สารีบุตร เรากล่าวว่า ‘มหาบุรุษ’ เพราะมี
จิตหลุดพ้น เรากล่าวว่า ‘ไม่ใช่มหาบุรุษ’ เพราะมีจิตยังไม่หลุดพ้น
บุคคลผู้มีจิตหลุดพ้น เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เมื่อเธอพิจารณาเห็นกายใน
กายอยู่ จิตย่อมคลายกำหนัด หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย
เพราะไม่ถือมั่น
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ...
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ...
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เมื่อเธอ
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ จิตย่อมคลายกำหนัด
หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น
บุคคลผู้มีจิตหลุดพ้น เป็นอย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๒. นาลันทวรรค ๒. นาลันทสูตร

สารีบุตร เรากล่าวว่า ‘มหาบุรุษ’ เพราะมีจิตหลุดพ้น เรากล่าวว่า ‘ไม่ใช่
มหาบุรุษ’ เพราะมีจิตยังไม่หลุดพ้น”

มหาปุริสสูตรที่ ๑ จบ

๒. นาลันทสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่เมืองนาลันทา

[๓๗๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปาวาริกัมพวัน เขต
เมืองนาลันทา ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า ‘ไม่เคยมี
จักไม่มี และย่อมไม่มีสมณะหรือพราหมณ์ผู้อื่นซึ่งจะมีปัญญาในทางสัมโพธิญาณ
ยิ่งกว่าพระผู้มีพระภาค”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สารีบุตร เธอกล่าวอาสภิวาจา๑อย่างยิ่ง เธอถือ
เอาด้านเดียว บันลือสีหนาท๒ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เลื่อมใสใน
พระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า ‘ไม่เคยมี จักไม่มี และย่อมไม่มีสมณะหรือพราหมณ์ผู้อื่น
ซึ่งจะมีปัญญาในทางสัมโพธิญาณยิ่งกว่าพระผู้มีพระภาค’
สารีบุตร เธอกำหนดรู้พระทัยของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทุกพระองค์ในอดีตกาลด้วยใจแล้วหรือว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้น
ทรงมีศีลอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นทรงมีธรรมอย่างนี้ แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นทรงมีปัญญาอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มี
พระภาคเหล่านั้นทรงมีธรรมเครื่องอยู่อย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาค
เหล่านั้นทรงหลุดพ้นอย่างนี้”
“มิได้กำหนดรู้ พระพุทธเจ้าข้า”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๒. นาลันทวรรค ๒. นาลันทสูตร

“สารีบุตร เธอกำหนดรู้พระทัยของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทุกพระองค์ในอนาคตกาลด้วยใจแล้วหรือว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาค
เหล่านั้น จักทรงมีศีลอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจักทรงมี
ธรรมอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจักทรงมีปัญญาอย่างนี้
แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจักทรงมีธรรมเครื่องอยู่อย่างนี้ แม้เพราะ
เหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจักทรงหลุดพ้นอย่างนี้”
“มิได้กำหนดรู้ พระพุทธเจ้าข้า”
“สารีบุตร เธอกำหนดรู้ใจเราผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในเวลานี้ด้วย
ใจแล้วหรือว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคทรงมีศีลอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้
พระผู้มีพระภาคทรงมีธรรมอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคทรงมีปัญญา
อย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคทรงมีธรรมเครื่องอยู่อย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้
พระผู้มีพระภาคทรงหลุดพ้นอย่างนี้”
“มิได้กำหนดรู้ พระพุทธเจ้าข้า”
“สารีบุตร ในเรื่องนี้ เธอไม่มีญาณกำหนดรู้พระทัยพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทั้งในอดีต อนาคต และปัจจุบัน เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร เธอจึงกล่าว
อาสภิวาจาอย่างยิ่งนี้ เธอถือเอาด้านเดียวบันลือสีหนาทว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ข้าพระองค์เลื่อมใสในพระผู้มีภาคอย่างนี้ว่า ‘ไม่เคยมี จักไม่มี และย่อมไม่มี
สมณะหรือพราหมณ์ผู้อื่นซึ่งจะมีปัญญาในทางสัมโพธิญาณยิ่งกว่าพระผู้มีพระภาค”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถึงแม้ว่าข้าพระองค์จะไม่มีญาณกำหนดรู้พระทัยของ
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งในอดีต อนาคต และปัจจุบัน แต่ข้าพระองค์ก็รู้
วิธีการอนุมาน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมืองชายแดนของพระราชามีรากฐานมั่นคง
มีกำแพงและป้อมค่ายแน่นหนา มีประตูเดียว นายประตูของเมืองนั้นเป็นคนเฉลียว
ฉลาด หลักแหลม ห้ามคนที่ไม่รู้จัก อนุญาตให้คนที่รู้จักเข้าไปได้ เขาเดินสำรวจ
ดูหนทางไปรอบเมืองนั้น ไม่พบรอยต่อหรือช่องกำแพง โดยที่สุดแม้พอที่แมวรอด
ออกไปได้ เขาย่อมรู้ว่า ‘สัตว์ใหญ่ทุกชนิดจะเข้าหรือออกที่เมืองนี้ จะเข้าหรือออก
ทางประตูนี้เท่านั้น’ แม้ฉันใด วิธีการอนุมานก็ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าพระองค์ทราบ
ว่า ‘พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ในอดีตกาล ทรงละนิวรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๒. นาลันทวรรค ๓. จุนทสูตร

๕ ประการอันเป็นความเศร้าหมองแห่งจิต ทอนกำลังปัญญา มีพระทัยมั่นคงดีใน
สติปัฏฐาน ๔ ประการ ทรงเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการตามความเป็นจริง ได้
ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม แม้พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ในอนาคตกาล ทรงละนิวรณ์ ๕ ประการอันเป็นความ
เศร้าหมองแห่งจิต ทอนกำลังปัญญา มีพระทัยมั่นคงดีในสติปัฏฐาน ๔ ประการ
ทรงเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการตามความเป็นจริง จักตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอัน
ยอดเยี่ยม แม้พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในบัดนี้ ก็ทรงละนิวรณ์ ๕
ประการอันเป็นความเศร้าหมองแห่งจิต ทอนกำลังปัญญา มีพระทัยมั่นคงดีใน
สติปัฏฐาน ๔ ประการ ทรงเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการตามความเป็นจริง ตรัสรู้
สัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม”
“ดีละ ดีละ สารีบุตร เพราะเหตุนั้น เธอพึงกล่าวธรรมบรรยายนี้เนืองๆ
แก่ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย ด้วยว่าโมฆะบุรุษเหล่าใดจักมีความ
เคลือบแคลงหรือความสงสัยในตถาคต โมฆะบุรุษเหล่านั้นจักละความเคลือบแคลง
หรือความสงสัยในตถาคต เพราะได้ฟังธรรมบรรยายนี้”๑

นาลันทสูตรที่ ๒ จบ

๓. จุนทสูตร
ว่าด้วยจุนทสมณุทเทส

[๓๗๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ บ้าน
นาฬกคาม แคว้นมคธ อาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก อนึ่ง จุนทะ
สมณุทเทส๒ เป็นผู้ปรนนิบัติท่าน
ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรปรินิพพานด้วยอาพาธนั้นแล ทีนั้น จุนทะ
สมณุทเทสจึงถือบาตรและจีวรของท่านพระสารีบุตรเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึง


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๒. นาลันทวรรค ๓. จุนทสูตร

พระเชตวัน ไหว้แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่าน
สารีบุตรปรินิพพานแล้ว ขอรับ นี้บาตรและจีวรของท่าน”
ท่านพระอานนท์กล่าวว่า “จุนทะ มูลเรื่องนี้ให้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคได้ มาเถิด
จุนทะ พวกเราจักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้วกราบทูลเรื่องนี้” จุนทะ
สมณุทเทสรับคำของท่านพระอานนท์แล้ว
ต่อมา ท่านพระอานนท์และจุนทะ สมณุทเทส เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ท่านพระอานนท์ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ จุนทะ สมณุทเทสนี้ได้กล่าวอย่าง
นี้ว่า ‘ท่านสารีบุตรปรินิพพานแล้ว นี้บาตรและจีวรของท่าน’ ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ร่างกายของข้าพระองค์อ่อนเปลี้ยประดุจคนเมา ข้าพระองค์รู้สึกมืดทุกด้าน
แม้ธรรมก็ไม่ปรากฏแก่ข้าพระองค์เพราะได้ฟังว่า ‘ท่านสารีบุตรปรินิพพานแล้ว”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “อานนท์ สารีบุตรพาเอาสีลขันธ์ สมาธิขันธ์
ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ หรือวิมุตติญาณทัสสนขันธ์๑ปรินิพพานไปด้วยหรือ”
ท่านพระอานนท์ทูลตอบว่า “มิใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า ท่านสารีบุตร
ไม่ได้พาเอาสีลขันธ์ ฯลฯ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ปรินิพพานไปด้วย แต่ท่าน
สารีบุตรได้เป็นผู้ให้โอวาท ชักนำให้รู้ ชี้แจงให้เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ
เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง เอาใจใส่ในการแสดงธรรม
อนุเคราะห์เพื่อนพรหมจารี ข้าพระองค์ทั้งหลายระลึกถึงโอชะแห่งธรรม โภคธรรม
และการอนุเคราะห์ด้วยธรรมนั้นของท่าน”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เราได้บอกเรื่องนั้นไว้ก่อนแล้วมิใช่หรือว่า
‘ความพลัดพราก ความทอดทิ้ง ความแปรเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นจากของรักของชอบใจ
ทุกอย่างจะต้องมี ฉะนั้น จะไปหวังอะไรในสิ่งเหล่านั้นเล่า สิ่งที่เกิดขึ้น มีขึ้น
ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ล้วนแตกสลายเป็นธรรมดา เป็นไปไม่ได้เลยที่จะปรารถนาว่า
‘ขอสิ่งนั้นอย่าเสื่อมสลายไป’ เมื่อต้นไม้ใหญ่ มีแก่น ยืนต้นอยู่ ต้นที่ใหญ่กว่า


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๒. นาลันทวรรค ๔. อุกกเจลสูตร

พึงโค่นลง แม้ฉันใด เมื่อภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ผู้เป็นหลักยังดำรงอยู่ สารีบุตร
ปรินิพพานแล้วก็ฉันนั้น ฉะนั้น จะไปหวังอะไรในสิ่งเหล่านั้นเล่า สิ่งที่เกิดขึ้น มีขึ้น
ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ล้วนแตกสลายเป็นธรรมดา เป็นไปไม่ได้เลยที่จะปรารถนาว่า
‘ขอสิ่งนั้นอย่าเสื่อมสลายไป’
เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายจงมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็น
ที่พึ่ง มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่เถิด
ภิกษุจะชื่อว่ามีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง มีธรรม
เป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุจะชื่อว่ามีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็น
เกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ อย่างนี้แล
อานนท์ ภิกษุเหล่าใดเหล่าหนึ่งในบัดนี้ก็ดี ในเวลาที่เราล่วงไปก็ดี จักมีตน
เป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง
ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ ภิกษุเหล่านั้นจักเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุผู้ใคร่ต่อการศึกษา”

จุนทสูตรที่ ๓ จบ

๔. อุกกเจลสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่อุกกเจลนิคม

[๓๘๐] สมัยหนึ่ง เมื่อพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะปรินิพพานได้ไม่นาน
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ริมฝั่งแม่น้ำคงคา เขตอุกกเจลนิคม แคว้นวัชชี
พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแวดล้อมด้วยภิกษุสงฆ์
ประทับนั่ง ณ ที่กลางแจ้ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๒. นาลันทวรรค ๔. อุกกเจลสูตร

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชำเลืองดูภิกษุสงฆ์ที่นิ่งอยู่แล้วรับสั่งเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อสารีบุตรและโมคคัลลานะปรินิพพานแล้ว
บริษัทของเรานี้ปรากฏเหมือนว่างเปล่า สารีบุตรและโมคคัลลานะอยู่ในทิศใด
บริษัทของเราไม่ว่างเปล่า ไม่มีความห่วงใยในทิศนั้น พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
เหล่านั้นใดได้มีแล้วในอดีตกาล แม้พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นได้มีคู่สาวกนั้นเป็น
อย่างยิ่งเหมือนกับสารีบุตรและโมคคัลลานะของเรา พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
เหล่านั้นใดจักมีในอนาคตกาล แม้พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นก็จักมีคู่สาวกนั้นเป็นอย่างยิ่ง
เหมือนสารีบุตรและโมคคัลลานะของเรา
ภิกษุทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏสำหรับสาวกทั้งหลาย ชื่อว่า
สาวกทั้งหลายจักทำตามคำสอนและทำตามคำสั่งของพระศาสดา จักเป็นที่รัก
ที่พอใจ และเป็นที่เคารพสรรเสริญของบริษัท ๔
ภิกษุทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏสำหรับตถาคต เมื่อคู่สาวก
เห็นปานนี้ปรินิพพานแล้ว โสกะหรือปริเทวะย่อมไม่มีแก่ตถาคต ฉะนั้น จะไปหวัง
อะไรในสิ่งเหล่านั้นเล่า สิ่งที่เกิดขึ้น มีขึ้น ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ล้วนแตกสลายเป็น
ธรรมดา เป็นไปไม่ได้เลยที่จะปรารถนาว่า ‘ขอสิ่งนั้นอย่าเสื่อมสลายไป’ เมื่อ
ต้นไม้ใหญ่ มีแก่น ยืนต้นอยู่ ต้นที่ใหญ่กว่าพึงโค่นลง แม้ฉันใด เมื่อภิกษุสงฆ์
หมู่ใหญ่ผู้เป็นหลักยังดำรงอยู่ สารีบุตรและโมคคัลลานะปรินิพพานแล้วก็ฉันนั้น ฉะนั้น
จะไปหวังอะไรในสิ่งเหล่านั้นเล่า สิ่งที่เกิดขึ้น มีขึ้น ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ล้วนแตก
สลายเป็นธรรมดา เป็นไปไม่ได้เลยที่จะปรารถนาว่า ‘ขอสิ่งนั้นอย่าเสื่อมสลายไป’
เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายจงมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็น
ที่พึ่ง มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่เถิด
ภิกษุจะชื่อว่ามีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง มีธรรม
เป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๒. นาลันทวรรค ๕. พาหิยสูตร

๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุจะชื่อว่ามีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นเกาะ
มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ อย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใดเหล่าหนึ่งในบัดนี้ก็ดี ในเวลาที่เราล่วงไปก็ดี จักมี
ตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง
ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ ภิกษุเหล่านั้นจักเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุผู้ใคร่ต่อการศึกษา”

อุกกเจลสูตรที่ ๔ จบ

๕. พาหิยสูตร
ว่าด้วยพระพาหิยะ

[๓๘๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ท่านพระพาหิยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ซึ่ง
ข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว จะพึงหลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร
อุทิศกายและใจอยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พาหิยะ เพราะเหตุนั้น เธอจงทำเบื้องต้นในกุศลธรรม
ทั้งหลายให้หมดจดก่อน
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย
คือ ศีลที่บริสุทธิ์ดีและความเห็น๑ที่ตรง
พาหิยะ เมื่อใด ศีลของเธอจักบริสุทธิ์ดี และความเห็นจักตรง เมื่อนั้น
เธออาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๒. นาลันทวรรค ๖. อุตติยสูตร

สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ในธรรมวินัยนี้ เธอ
๑. จงพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. จงพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. จงพิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. จงพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
พาหิยะ เมื่อใด เธออาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้วจักเจริญสติปัฏฐาน ๔
ประการนี้อย่างนี้ เมื่อนั้น เธอพึงหวังความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลายตลอดคืนหรือ
วันที่จักมาถึง ไม่มีความเสื่อมเลย”
ลำดับนั้น ท่านพระพาหิยะชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว ลุก
จากอาสนะ ถวายอภิวาท ทำประทักษิณแล้วจากไป ต่อมา ท่านพระพาหิยะก็หลีก
ออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนักได้
ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ที่เหล่ากุลบุตรออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน รู้ชัดว่า
“ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความ
เป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
อนึ่ง ท่านพระพาหิยะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย

พาหิยสูตรที่ ๕ จบ

๖. อุตติยสูตร
ว่าด้วยพระอุตติยะ

[๓๘๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ท่านพระอุตติยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง ณ
ที่สมควรแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๒. นาลันทวรรค ๖. อุตติยสูตร

วโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ซึ่งข้าพระองค์
ได้ฟังแล้ว จะพึงหลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจ
อยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุตติยะ เพราะเหตุนั้น เธอจงทำเบื้องต้นในกุศลธรรม
ทั้งหลายให้หมดจดก่อน
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย
คือ ศีลที่บริสุทธิ์ดีและความเห็นที่ตรง
อุตติยะ เมื่อใด ศีลของเธอจักบริสุทธิ์ดีและความเห็นจักตรง เมื่อนั้น เธอ
อาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ในธรรมวินัยนี้ เธอ
๑. จงพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. จงพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. จงพิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. จงพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
อุตติยะ เมื่อใด เธออาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว จักเจริญสติปัฏฐาน ๔
ประการนี้อย่างนี้ เมื่อนั้น เธอจักถึงจุดจบแห่งความตาย๑
ลำดับนั้น ท่านพระอุตติยะชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว ลุก
จากอาสนะ ถวายอภิวาท ทำประทักษิณแล้วจากไป ต่อมา ท่านพระอุตติยะก็หลีก
ออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนักได้
ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ที่เหล่ากุลบุตรออกจาก


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๒. นาลันทวรรค ๗. อริยสูตร

เรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
อนึ่ง ท่านพระอุตติยะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย

อุตติยสูตรที่ ๖ จบ

๗. อริยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นอริยะ

[๓๘๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ
ทำให้มากแล้ว เป็นอริยะ เป็นนิยยานิกธรรม นำออกไปเพื่อให้สิ้นทุกข์โดยชอบ
แก่ผู้บำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ประการนั้น
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว เป็น
อริยะ เป็นนิยยานิกธรรม นำออกไปเพื่อให้สิ้นทุกข์โดยชอบแก่ผู้บำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔
ประการนั้น”

อริยสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๒. นาลันทวรรค ๘. พรหมสูตร

๘. พรหมสูตร
ว่าด้วยท้าวสหัมบดีพรหม

[๓๘๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคแรกตรัสรู้ ประทับอยู่ใต้ต้นอชปาลนิโครธ
ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลา ทรงหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ได้เกิดความรำพึงขึ้น
มาว่า “ทางนี้เป็นทางเดียวเพื่อความหมดจดแห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงโสกะ
และปริเทวะ เพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง
คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุ
๑. พึงพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พึงพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พึงพิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พึงพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ทางนี้เป็นทางเดียวเพื่อความหมดจดแห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงโสกะและ
ปริเทวะ เพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง
คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ
ลำดับนั้น ท้าวสหัมบดีพรหมทราบความรำพึงของพระผู้มีพระภาคแล้ว จึง
หายตัวจากพรหมโลกมาปรากฏตรงพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาค เปรียบเหมือน
บุรุษมีกำลังเหยียดแขนออกหรือคู้เแขนเข้าฉะนั้น ครั้นแล้วท้าวเธอห่มผ้าเฉวียงบ่า
ข้างหนึ่ง ประนมอัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาคแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เรื่องนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต เรื่องนี้เป็นอย่าง
นั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทางนี้เป็นทางเดียวเพื่อความหมดจดแห่งสัตว์ทั้งหลาย
เพื่อก้าวล่วงโสกะและปริเทวะ เพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อ
ทำนิพพานให้แจ้ง คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๒. นาลันทวรรค ๙. เสทกสูตร

สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุ
๑. พึงพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พึงพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พึงพิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พึงพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทางนี้เป็นทางเดียว เพื่อความหมดจดแห่งสัตว์
ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงโสกะและปริเทวะ เพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม
เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ”
ท้าวสหัมบดีพรหมได้กราบทูลคำนี้แล้ว จึงได้กล่าวคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
“พระผู้มีพระภาคผู้ทรงเห็นธรรม
อันเป็นส่วนที่สุดสิ้นแห่งชาติ
ทรงอนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูล
ทรงรู้จักทางอันเป็นทางเดียว
ซึ่งเหล่าบัณฑิตได้ข้ามมาก่อนแล้ว
จักข้าม และกำลังข้ามโอฆะได้ด้วยทางนี้”

พรหมสูตรที่ ๘ จบ

๙. เสทกสูตร
ว่าด้วยธรรมเทศนาที่เสทกนิคม

[๓๘๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวสุมภะชื่อ
เสทกะ แคว้นสุมภะ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัส
ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว คนจัณฑาลผู้เป็นนักไต่ราว ยกไม้ไผ่ขึ้นตั้งไว้
แล้วเรียกศิษย์ชื่อเมทกถาลิกะมาบอกว่า ‘เมทกถาลิกะผู้สหาย เธอจงขึ้นราวไม้ไผ่
แล้วยืนบนคอของเราเถิด’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๒. นาลันทวรรค ๙. เสทกสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เมทกถาลิกะผู้เป็นศิษย์รับคำของคนจัณฑาลผู้เป็นนักไต่ราว
แล้วได้ขึ้นราวไม้ไผ่ ยืนอยู่บนคอของอาจารย์ คนจัณฑาลผู้เป็นนักไต่ราวได้กล่าวว่า
‘เมทกถาลิกะผู้สหาย เธอจงรักษาเรา เราก็จักรักษาเธอ เราทั้งสองต่างคุ้มครอง
รักษากันและกันอย่างนี้ จักแสดงศิลปะ จักได้ลาภ และจักลงจากราวไม้ไผ่โดย
ความสวัสดี’
ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออาจารย์กล่าวอย่างนี้แล้ว เมทกถาลิกะผู้เป็นศิษย์ได้กล่าว
ว่า ‘ท่านอาจารย์ ก็เรื่องนี้ จักเป็นอย่างนั้นหามิได้ ท่านจงรักษาตน ผมก็จักรักษาตน
เราทั้งสองต่างคุ้มครองรักษาตนอย่างนี้ จักแสดงศิลปะ จักได้ลาภ และจักลงจาก
ราวไม้ไผ่โดยความสวัสดี”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสสนับสนุนว่า “อุบายในเรื่องนั้นมีอยู่” เหมือนศิษย์ชื่อ
เมทกถาลิกะได้พูดกับอาจารย์ คือ พระองค์ได้ตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงปฏิบัติสติปัฏฐานด้วยคิดว่า ‘จักรักษาตน’
พึงปฏิบัติสติปัฏฐานด้วยคิดว่า ‘จักรักษาผู้อื่น’ บุคคลเมื่อรักษาตน ชื่อว่ารักษา
ผู้อื่น เมื่อรักษาผู้อื่น ก็ชื่อว่ารักษาตน
บุคคลเมื่อรักษาตน ชื่อว่ารักษาผู้อื่น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลเมื่อรักษาตนด้วยการปฏิบัติ ด้วยการเจริญ ด้วยการทำให้มาก
ชื่อว่ารักษาผู้อื่น
บุคคลเมื่อรักษาตน ชื่อว่ารักษาผู้อื่น เป็นอย่างนี้แล
บุคคลเมื่อรักษาผู้อื่น ชื่อว่ารักษาตน เป็นอย่างไร
คือ บุคคลเมื่อรักษาผู้อื่นด้วยความอดทน ด้วยความไม่เบียดเบียน ด้วยจิต
เมตตา ด้วยความเอ็นดู ชื่อว่ารักษาตน
บุคคลเมื่อรักษาผู้อื่น ชื่อว่ารักษาตน เป็นอย่างนี้แล
เธอทั้งหลายพึงปฏิบัติสติปัฏฐานด้วยคิดว่า ‘จักรักษาตน’ พึงปฏิบัติ
สติปัฏฐานด้วยคิดว่า ‘จักรักษาผู้อื่น’
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรักษาตน ชื่อว่ารักษาผู้อื่น เมื่อรักษาผู้อื่น ก็ชื่อว่า
รักษาตน”

เสทกสูตรที่ ๙ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๒. นาลันทวรรค ๑๐. ชนปทกัลยาณีสูตร

๑๐. ชนปทกัลยาณีสูตร
ว่าด้วยนางงามในชนบท

[๓๘๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวสุมภะชื่อเสทกะ ใน
แคว้นสุมภะ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้
ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย หมู่มหาชนได้ทราบข่าวว่า ‘มีนางงามในชนบท๑ มีนางงามใน
ชนบท’ จึงประชุมกัน ก็นางงามในชนบทนั้นน่าดูยิ่งนักในเวลาฟ้อนรำ น่าฟังยิ่งนัก
ในเวลาขับร้อง หมู่มหาชนได้ทราบข่าวอีกว่า ‘นางงามในชนบทจะฟ้อนรำ จะขับร้อง’
จึงประชุมกันแน่นขนัดประมาณไม่ได้ ทีนั้น มีบุรุษคนหนึ่งผู้รักตัวกลัวตาย รักสุข
เกลียดทุกข์เดินมา หมู่มหาชนพึงพูดกับเขาอย่างนี้ว่า ‘บุรุษผู้เจริญ ท่านพึงนำ
ภาชนะน้ำมันซึ่งเต็มเปี่ยมนี้ผ่านไประหว่างที่ประชุมใหญ่กับนางงามชนบท และจักมี
บุรุษเงื้อดาบติดตามไปข้างหลังๆ โดยบอกว่า ‘ถ้าท่านจักทำน้ำมันหกแม้เพียง
หน่อยหนึ่งในที่ใด ศีรษะของท่านจักขาดตกลงในที่นั้น’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษนั้นจะไม่ใส่
ใจภาชนะน้ำมันโน้นแล้ว เผลอนำไปในภายนอกเทียวหรือ”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรายกอุปมานี้มา ก็เพื่อให้เข้าใจ
เนื้อความชัดเจน เนื้อความในเรื่องนี้มีดังต่อไปนี้


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๒. นาลันทวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

คำว่า ‘ภาชนะน้ำมันซึ่งเต็มเปี่ยม’ นี้เป็นคำเรียกกายคตาสติ เพราะเหตุนั้น
เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘กายคตาสติจักเป็นกัมมัฏฐานที่พวกเราเจริญ
ทำให้มาก ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ให้มั่นคง สั่งสม ปรารภดีแล้ว’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล”

ชนปทกัลยาณีสูตรที่ ๑๐ จบ
นาลันทวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. มหาปุริสสูตร ๒. นาลันทสูตร
๓. จุนทสูตร ๔. อุกกเจลสูตร
๕. พาหิยสูตร ๖. อุตติยสูตร
๗. อริยสูตร ๘. พรหมสูตร
๙. เสทกสูตร ๑๐. ชนปทกัลยาณีสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๓. สีลัฏฐิติวรรค ๑. สีลสูตร

๓. สีลัฏฐิติวรรค
หมวดว่าด้วยความดำรงอยู่แห่งศีล
๑. สีลสูตร
ว่าด้วยศีลที่เป็นกุศล

[๓๘๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์และท่านพระภัททะอยู่ ณ กุกกุฏาราม เขตเมือง
ปาฏลีบุตร ครั้นในเวลาเย็น ท่านพระภัททะออกจากที่หลีกเร้นแล้ว เข้าไปหาท่าน
พระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว
นั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่านอานนท์ พระผู้มีพระภาค
ตรัสศีลที่เป็นกุศล๑เหล่านี้ไว้ทรงมีพระประสงค์อะไร”
ท่านพระอานนท์กล่าวสอบถามว่า “ดีละ ดีละ ท่านภัททะ ปัญญาใฝ่รู้ของ
ท่านดีนัก ปฏิภาณดีนัก สอบถามเข้าที ก็ท่านถามว่า ‘ท่านอานนท์ พระผู้มี
พระภาคตรัสศีลที่เป็นกุศลเหล่านี้ไว้ ทรงมีพระประสงค์อะไร’ อย่างนั้นหรือ”
“อย่างนั้น ผู้มีอายุ”
“ท่านภัททะ พระผู้มีพระภาคตรัสศีลที่เป็นกุศลเหล่านี้ไว้ ก็เพียงเพื่อเจริญ
สติปัฏฐาน ๔ ประการเท่านั้น
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๓. สีลัฏฐิติวรรค ๒. จิรัฏฐิติสูตร

๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ท่านภัททะ พระผู้มีพระภาคตรัสศีลที่เป็นกุศลเหล่านี้ไว้ ก็เพียงเพื่อเจริญ
สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้เท่านั้น”

สีลสูตรที่ ๑ จบ

๒. จิรัฏฐิติสูตร
ว่าด้วยความดำรงอยู่ได้นานแห่งพระสัทธรรม

[๓๘๘] ต้นเรื่องนี้เหมือนสูตรแรก
ท่านพระภัททะนั่ง ณ ที่สมควรแล้ว ได้ถามท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่าน
อานนท์ อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้พระสัทธรรมดำรงอยู่ได้ไม่นานในเมื่อ
พระตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้ว และอะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้พระสัทธรรม
ดำรงอยู่ได้นานในเมื่อพระตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้ว”
ท่านพระอานนท์กล่าวสอบถามว่า “ดีละ ดีละ ท่านภัททะ ปัญญาใฝ่รู้ของ
ท่านดีนัก ปฏิภาณดีนัก สอบถามเข้าที ก็ท่านถามว่า ‘ท่านอานนท์ อะไรหนอ
เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้พระสัทธรรมดำรงอยู่ได้ไม่นานในเมื่อพระตถาคตเสด็จ
ปรินิพพานแล้ว และอะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้พระสัทธรรมดำรงอยู่ได้นานในเมื่อ
พระตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้ว’ อย่างนั้นหรือ”
“อย่างนั้น ผู้มีอายุ”
“ผู้มีอายุ เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่บุคคลไม่เจริญ ไม่ทำให้มากแล้ว
พระสัทธรรมจึงดำรงอยู่ได้ไม่นานในเมื่อพระตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้ว และ
เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว พระสัทธรรมจึงดำรง
อยู่ได้นานในเมื่อพระตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๓. สีลัฏฐิติวรรค ๓. ปริหานสูตร

สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ผู้มีอายุ เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่บุคคลไม่เจริญ ไม่ทำให้มากแล้ว
พระสัทธรรมจึงดำรงอยู่ได้ไม่นานในเมื่อพระตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้ว และเพราะ
สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว พระสัทธรรมจึงดำรงอยู่ได้
นานในเมื่อพระตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้ว”

จิรัฏฐิติสูตรที่ ๒ จบ

๓. ปริหานสูตร
ว่าด้วยความเสื่อมแห่งพระสัทธรรม

[๓๘๙] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์และท่านพระภัททะอยู่ ณ กุกกุฏาราม
เขตเมืองปาฏลีบุตร ครั้นในเวลาเย็น ท่านพระภัททะออกจากที่หลีกเร้นเข้าไปหาท่าน
พระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว
นั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่านอานนท์ อะไรหนอเป็นเหตุ
เป็นปัจจัยให้พระสัทธรรมเสื่อม และอะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้พระสัทธรรมไม่เสื่อม”
ท่านพระอานนท์กล่าวสอบถามว่า “ดีละ ดีละ ท่านภัททะ ปัญญาใฝ่รู้ของ
ท่านดีนัก ปฏิภาณดีนัก สอบถามเข้าที ก็ท่านถามว่า ‘ท่านอานนท์ อะไรหนอ
เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้พระสัทธรรมเสื่อม และอะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้พระ
สัทธรรมไม่เสื่อม’ อย่างนั้นหรือ”
“อย่างนั้น ผู้มีอายุ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๓. สีลัฏฐิติวรรค ๔. สุทธสูตร

“ผู้มีอายุ เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการที่บุคคลไม่เจริญ ไม่ทำให้มากแล้ว
พระสัทธรรมจึงเสื่อม และเพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว
พระสัทธรรมจึงไม่เสื่อม”
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ผู้มีอายุ เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่บุคคลไม่เจริญ ไม่ทำให้มากแล้ว
พระสัทธรรมจึงเสื่อม และเพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มาก
แล้ว พระสัทธรรมจึงไม่เสื่อม”

ปริหานสูตรที่ ๓ จบ

๔. สุทธสูตร
ว่าด้วยสติปัฏฐานล้วน

[๓๙๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๓. สีลัฏฐิติวรรค ๕. อัญญตรพราหมณสูตร

๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้”

สุทธสูตรที่ ๔ จบ

๕. อัญญตรพราหมณสูตร
ว่าด้วยพราหมณ์คนหนึ่งทูลถามปัญหา

[๓๙๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล พราหมณ์คนหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง
ที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ
ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอ
เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้พระสัทธรรมดำรงอยู่ได้ไม่นานในเมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้ว
และอะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้พระสัทธรรมดำรงอยู่ได้นานในเมื่อพระตถาคต
ปรินิพพานแล้ว”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์ เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการ
ที่บุคคลไม่เจริญ ไม่ทำให้มากแล้ว พระสัทธรรมจึงดำรงอยู่ได้ไม่นานในเมื่อ
ตถาคตปรินิพพาน แล้ว และเพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการที่บุคคลเจริญ ทำให้
มากแล้ว พระสัทธรรมจึงดำรงอยู่ได้นานในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๓. สีลัฏฐิติวรรค ๖. ปเทสสูตร

๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
พราหมณ์ เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่บุคคลไม่เจริญ ไม่ทำให้มากแล้ว
พระสัทธรรมจึงดำรงอยู่ได้ไม่นานในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว และเพราะสติปัฏฐาน
๔ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว พระสัทธรรมจึงดำรงอยู่ได้นานในเมื่อ
ตถาคตปรินิพพานแล้ว”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์นั้นได้กราบทูลว่า “ข้าแต่
ท่านพระโคดม พระภาษิตของท่านพระโคดมไพเราะชัดเจนยิ่งนัก ขอท่านพระโคดม
จงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”

อัญญตรพราหมณสูตรที่ ๕ จบ

๖. ปเทสสูตร
ว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐานบางข้อ

[๓๙๒] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตร ท่านพระมหาโมคคัลลานะ และท่านพระ
อนุรุทธะอยู่ ณ กัณฏกีวัน เขตเมืองสาเกต ครั้นในเวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรและ
ท่านพระมหาโมคคัลลานะออกจากที่หลีกเร้นแล้วเข้าไปหาท่านพระอนุรุทธะถึงที่อยู่
ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร
ท่านพระสารีบุตรได้ถามท่านพระอนุรุทธะดังนี้ว่า “ท่านอนุรุทธะ ที่เรียกกันว่า ‘พระเสขะ
พระเสขะ’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ บุคคลจึงชื่อว่าเป็นพระเสขะ”
ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า “ผู้มีอายุ บุคคลชื่อว่าเป็นพระเสขะ เพราะได้
เจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการเป็นบางข้อ
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๓. สีลัฏฐิติวรรค ๗. สมัตตสูตร

๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ผู้มีอายุ บุคคลชื่อว่าเป็นพระเสขะ เพราะเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้เป็น
บางข้อ”

ปเทสสูตรที่ ๖ จบ

๗. สมัตตสูตร
ว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐานครบบริบูรณ์

[๓๙๓] ต้นเรื่องนี้เหมือนสูตรที่ ๖
ท่านพระสารีบุตรนั่ง ณ ที่สมควรแล้ว ได้ถามท่านพระอนุรุทธะว่า “ท่าน
อนุรุทธะ ที่เรียกกันว่า ‘พระอเสขะ พระอเสขะ’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ
บุคคลจึงชื่อว่าเป็นพระอเสขะ”
ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า “ผู้มีอายุ บุคคลชื่อว่าเป็นพระอเสขะ เพราะได้เจริญ
สติปัฏฐาน ๔ ประการครบบริบูรณ์”
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ผู้มีอายุ บุคคลชื่อว่าเป็นพระอเสขะ เพราะได้เจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้
ครบบริบูรณ์”

สมัตตสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๓. สีลัฏฐิติวรรค ๙. สิริวัฑฒสูตร

๘. โลกสูตร
ว่าด้วยผู้รู้โลก

[๓๙๔] ต้นเรื่องนี้เหมือนสูตรที่ ๖
ท่านพระสารีบุตรนั่ง ณ ที่สมควรแล้ว ได้ถามท่านพระอนุรุทธะดังนี้ว่า
“ท่านอนุรุทธะถึงความเป็นผู้มีอภิญญามาก เพราะธรรมเหล่าไหน ที่ท่านเจริญ
ทำให้มากแล้ว
ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า “ผู้มีอายุ ผมถึงความเป็นผู้มีอภิญญามาก เพราะ
สติปัฏฐาน ๔ ประการ ที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ในพระธรรมวินัยนี้ ผม
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ผู้มีอายุ ผมถึงความเป็นผู้มีอภิญญามาก เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้
ที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว และผมรู้แจ้งโลก ๑,๐๐๐ โลกได้ เพราะสติปัฏฐาน ๔
ประการนี้ที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว”

โลกสูตรที่ ๘ จบ

๙. สิริวัฑฒสูตร
ว่าด้วยสิริวัฑฒคหบดี

[๓๙๕] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น คหบดีชื่อสิริวัฑฒะป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ได้
เรียกบุรุษคนหนึ่งมาสั่งว่า “มานี่แน่ะบุรุษผู้เจริญ เธอจงเข้าไปหาท่านพระ
อานนท์ถึงที่อยู่ แล้วกราบเท้าทั้งสองของท่านด้วยเศียรเกล้า เรียนตามคำของเราว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๓. สีลัฏฐิติวรรค ๙. สิริวัฑฒสูตร

‘ท่านผู้เจริญ สิริวัฑฒคหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ขอกราบเท้าทั้งสองของ
ท่านด้วยเศียรเกล้า’ และเธอจงเรียนว่า ‘ขอท่านพระอานนท์โปรดอนุเคราะห์เข้าไป
เยี่ยมสิริวัฑฒคหบดีถึงนิเวศน์ด้วยเถิด” บุรุษนั้นรับคำของสิริวัฑฒคหบดีแล้วเข้าไป
หาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้เรียนท่านพระอานนท์
ดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ สิริวัฑฒคหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ขอกราบเท้าทั้ง
สองของท่านด้วยเศียรเกล้า และฝากมาเรียนว่า ‘ขอท่านพระอานนท์โปรดอนุเคราะห์
เข้าไปเยี่ยมสิริวัฑฒคหบดีถึงนิเวศน์ด้วยเถิด” ท่านพระอานนท์รับนิมนต์โดยดุษณีภาพ
ครั้นในเวลาเช้า ท่านพระอานนท์ครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไป
ยังนิเวศน์ของสิริวัฑฒคหบดี นั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้แล้วถามว่า “คหบดี ท่านยัง
สบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ ทุกขเวทนาทุเลาลงไม่กำเริบขึ้นหรือ อาการ
ทุเลาปรากฏ อาการกำเริบไม่ปรากฏหรือ”
สิริวัฑฒคหบดีตอบว่า “ผมไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้ ทุกขเวทนามีแต่
กำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ อาการทุเลาไม่ปรากฏ ขอรับ”
“คหบดี เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราจักพิจารณาเห็นกาย
ในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
จักพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ จักพิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ จัก
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้’ คหบดี ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้แล”
“ท่านผู้เจริญ ธรรมคือสติปัฏฐาน ๔ ประการที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วมี
อยู่ในผม และผมก็เห็นชัดในธรรมเหล่านั้น เพราะผมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มี
ความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ พิจารณาเห็น
เวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมในธรรม
ทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ท่านผู้เจริญ โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการใดที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง
แล้ว ผมไม่เล็งเห็นโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนั้นข้อใดข้อหนึ่งในตนที่ยังละไม่ได้”
“คหบดี เป็นลาภของท่านหนอ ท่านได้ดีแล้วหนอ อนาคามิผลท่านก็ทำให้
แจ้งแล้ว”

สิริวัฑฒสูตรที่ ๙ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๓. สีลัฏฐิติวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑๐. มานทินนสูตร
ว่าด้วยมานทินนคหบดี

[๓๙๖] ต้นเรื่องนี้เหมือนสูตรที่ ๙
สมัยนั้น คหบดีชื่อมานทินนะป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ได้เรียกบุรุษคน
หนึ่งมาสั่งว่า “มานี่แน่ะบุรุษผู้เจริญ ฯลฯ๑
มานทินนคหบดีตอบว่า “ผมไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้ ทุกขเวทนามีแต่
กำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ อาการทุเลาไม่ปรากฏ ท่าน
ผู้เจริญ แม้ผมจะได้รับทุกขเวทนาเห็นปานนี้ก็ยังพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มี
ความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ พิจารณา
เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ พิจารณาเห็น
ธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ
โทมนัสในโลกได้
ท่านผู้เจริญ โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการใดที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว
ผมไม่เล็งเห็นโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนั้นข้อใดข้อหนึ่งในตนที่ยังละไม่ได้”
“คหบดี เป็นลาภของท่านหนอ ท่านได้ดีแล้วหนอ อนาคามิผลท่านก็ทำให้แจ้งแล้ว”

มานทินนสูตรที่ ๑๐ จบ
สีลัฏฐิติวรรคที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สีลสูตร ๒. จิรัฏฐิติสูตร
๓. ปริหานสูตร ๔. สุทธสูตร
๕. อัญญตรพราหมณสูตร ๖. ปเทสสูตร
๗. สมัตตสูตร ๘. โลกสูตร
๙. สิริวัฑฒสูตร ๑๐. มานทินนสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๔. อนนุสสุตวรรค ๑. อนนุสสุตสูตร

๔. อนนุสสุตวรรค
หมวดว่าด้วยธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อน
๑. อนนุสสุตสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อน

[๓๙๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว
ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลาย
ที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า๑ ‘นี้คือการพิจารณาเห็นกายในกาย’ จักษุเกิดขึ้นแล้ว
ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว
แก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘การพิจารณาเห็นกายในกายนี้
ควรเจริญ’ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘การพิจารณา
เห็นกายในกายนี้ เราได้เจริญแล้ว’
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชา
เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า
‘นี้คือการพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย’ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว
ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลาย
ที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘การพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายนี้ควรเจริญ’
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่าง
เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘การพิจารณาเห็น
เวทนาในเวทนาทั้งหลายนี้เราได้เจริญแล้ว’
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชา
เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า
‘นี้คือการพิจารณาเห็นจิตในจิต’ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้น


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๔. อนนุสสุตวรรค ๒. วิราคสูตร

แล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟัง
มาก่อนว่า ‘การพิจารณาเห็นจิตในจิตนี้ควรเจริญ’ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว
ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลาย
ที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘การพิจารณาเห็นจิตในจิตนี้เราได้เจริญแล้ว’
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชา
เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า
‘นี้คือการพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย’ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว
ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลาย
ที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายนี้ควรเจริญ’
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่าง
เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘การพิจารณาเห็นธรรม
ในธรรมทั้งหลายนี้เราได้เจริญแล้ว”

อนนุสสุตสูตรที่ ๑ จบ

๒. วิราคสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อความคลายกำหนัด

[๓๙๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายอย่างที่สุด เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ
เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๔. อนนุสสุตวรรค ๓. วิรัทธสูตร

๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อม
เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายอย่างที่สุด เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ
เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน”

วิราคสูตรที่ ๒ จบ

๓. วิรัทธสูตร
ว่าด้วยธรรมที่บุคคลพลาด

[๓๙๙] “ภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ ประการ อันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
พลาดแล้ว อริยมรรคมีองค์ ๘ ที่ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ชื่อว่าเป็นอันบุคคล
เหล่านั้นพลาดแล้ว สติปัฏฐาน ๔ ประการ อันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งปรารภแล้ว
อริยมรรคมีองค์ ๘ ที่ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ชื่อว่าเป็นอันบุคคลเหล่านั้น
ปรารภแล้ว
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ อันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งพลาดแล้ว
อริยมรรคมีองค์ ๘ ที่ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ชื่อว่าเป็นอันบุคคลเหล่านั้นพลาด
แล้ว สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ อันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งปรารภแล้ว อริยมรรค
มีองค์ ๘ ที่ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ชื่อว่าเป็นอันบุคคลเหล่านั้นปรารภแล้ว”

วิรัทธสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๔. อนนุสสุตวรรค ๕. สติสูตร

๔. ภาวิตสูตร
ว่าด้วยผู้เจริญสติปัฏฐาน

[๔๐๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ
ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อถึงฝั่งโน้นจากฝั่งนี้
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อม
เป็นไปเพื่อถึงฝั่งโน้นจากฝั่งนี้”

ภาวิตสูตรที่ ๔ จบ

๕. สติสูตร
ว่าด้วยผู้มีสติสัมปชัญญะ

[๔๐๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงมีสติสัมปชัญญะอยู่เถิด นี้เป็นคำพร่ำสอนของเรา
สำหรับเธอทั้งหลาย
ภิกษุผู้มีสติ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๔. อนนุสสุตวรรค ๖. อัญญาสูตร

๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุผู้มีสติ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุผู้มีสัมปชัญญะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีเวทนาปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่
ปรากฏถึงความดับไป มีวิตกปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความ
ดับไป มีสัญญาปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไป
ภิกษุผู้มีสัมปชัญญะ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงมีสติสัมปชัญญะอยู่เถิด นี้เป็นคำพร่ำสอนของเรา
สำหรับเธอทั้งหลาย”

สติสูตรที่ ๕ จบ

๖. อัญญาสูตร
ว่าด้วยเหตุให้บรรลุอรหัตตผล

[๔๐๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๔. อนนุสสุตวรรค ๗. ฉันทสูตร

๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว
พึงหวังผลอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ อรหัตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทาน
เหลืออยู่ก็จักเป็นพระอนาคามี”

อัญญาสูตรที่ ๖ จบ

๗. ฉันทสูตร
ว่าด้วยผู้ละฉันทะ

[๔๐๓] “ภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เมื่อเธอพิจารณาเห็นกายในกาย
อยู่ ย่อมละฉันทะ(ความพอใจ)ในกายนั้นได้ เพราะละฉันทะได้
จึงทำอมตะ(นิพพาน)ให้แจ้ง
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เมื่อเธอ
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ ย่อมละฉันทะในเวทนา
ทั้งหลาย เพราะละฉันทะได้จึงทำอมตะให้แจ้ง
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เมื่อเธอพิจารณาเห็นจิตในจิต
อยู่ ย่อมละฉันทะในจิต เพราะละฉันทะได้จึงทำอมตะให้แจ้ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๔. อนนุสสุตวรรค ๘. ปริญญาตสูตร

๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เมื่อเธอพิจารณาเห็น
ธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ ย่อมละฉันทะในธรรมทั้งหลาย เพราะ
ละฉันทะได้จึงทำอมตะให้แจ้ง”

ฉันทสูตรที่ ๗ จบ

๘. ปริญญาตสูตร
ว่าด้วยผู้กำหนดรู้สติปัฏฐาน

[๔๐๔] “ภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เมื่อเธอพิจารณาเห็นกายในกาย
อยู่ ย่อมกำหนดรู้กาย เพราะกำหนดรู้กายจึงทำอมตะให้แจ้ง
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เมื่อเธอ
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ ย่อมกำหนดรู้เวทนา
เพราะกำหนดรู้เวทนาจึงทำอมตะให้แจ้ง
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เมื่อเธอพิจารณาเห็นจิตในจิต
อยู่ ย่อมกำหนดรู้จิต เพราะกำหนดรู้จิตจึงทำอมตะให้แจ้ง
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เมื่อเธอพิจารณาเห็น
ธรรมในธรรมทั้งหลาย ย่อมกำหนดรู้ธรรม เพราะกำหนดรู้ธรรม
จึงทำอมตะให้แจ้ง”

ปริญญาตสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๔. อนนุสสุตวรรค ๑๐. วิภังคสูตร

๙. ภาวนาสูตร
ว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐาน

[๔๐๕] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงการเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ เธอ
ทั้งหลายจงฟัง
การเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุทั้งหลาย การเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ เป็นอย่างนี้แล”

ภาวนาสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. วิภังคสูตร
ว่าด้วยการจำแนกสติปัฏฐาน

[๔๐๖] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสติปัฏฐาน การเจริญสติปัฏฐานและ
ปฏิปทาที่ให้ถึงการเจริญสติปัฏฐานแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
สติปัฏฐาน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๔. อนนุสสุตวรรค ๑๐. วิภังคสูตร

๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
นี้เรียกว่า สติปัฏฐาน
การเจริญสติปัฏฐาน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุเกิดในกายอยู่ พิจารณาเห็นธรรม
เป็นเหตุดับในกายอยู่ พิจารณาเห็นทั้งธรรมเป็นเหตุเกิดทั้งธรรม
เป็นเหตุดับในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุเกิดในเวทนาทั้งหลายอยู่ พิจารณา
เห็นธรรมเป็นเหตุดับในเวทนาทั้งหลายอยู่ พิจารณาเห็นทั้ง
ธรรมเป็นเหตุเกิดทั้งธรรมเป็นเหตุดับในเวทนาทั้งหลายอยู่ ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุเกิดในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุเกิดในธรรมทั้งหลายอยู่ พิจารณา
เห็นธรรมเป็นเหตุดับในธรรมทั้งหลายอยู่ พิจารณาเห็นทั้งธรรม
เป็นเหตุเกิดทั้งธรรมเป็นเหตุดับในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร
มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
นี้เรียกว่า การเจริญสติปัฏฐาน

ปฏิปทาที่ให้ถึงการเจริญสติปัฏฐาน เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ
๓. สัมมาวาจา ๔. สัมมากัมมันตะ
๕. สัมมาอาชีวะ ๖. สัมมาวายามะ
๗. สัมมาสติ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้เรียกว่า ปฏิปทาที่ให้ถึงการเจริญสติปัฏฐาน”

วิภังคสูตรที่ ๑๐ จบ
อนนุสสุตวรรคที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๔. อนนุสสุตวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อนนุสสุตสูตร ๒. วิราคสูตร
๓. วิรัทธสูตร ๔. ภาวิตสูตร
๕. สติสูตร ๖. อัญญาสูตร
๗. ฉันทสูตร ๘. ปริญญาตสูตร
๙. ภาวนาสูตร ๑๐. วิภังคสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๕. อมตวรรค ๒. สมุทยสูตร

๕. อมตวรรค
หมวดว่าด้วยอมตะ
๑. อมตสูตร
ว่าด้วยอมตะ

[๔๐๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมีจิตตั้งมั่นในสติ-
ปัฏฐาน ๔ ประการอยู่เถิด อย่ามีจิตไม่ตั้งมั่นอยู่เลย และอมตะ (นิพพาน) พึงมี
แก่เธอทั้งหลาย
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมีจิตตั้งมั่นในสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้อยู่เถิด
อย่ามีจิตไม่ตั้งมั่นอยู่เลย และอมตะพึงมีแก่เธอทั้งหลาย”

อมตสูตรที่ ๑ จบ

๒. สมุทยสูตร
ว่าด้วยความเกิดแห่งสติปัฏฐาน

[๔๐๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความเกิดและความดับแห่งสติปัฏฐาน ๔ ประการ
เธอทั้งหลายจงฟัง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๕. อมตวรรค ๓. มัคคสูตร

ความเกิดแห่งกาย เป็นอย่างไร
คือ เพราะอาหารเกิด กายจึงเกิด เพราะอาหารดับ กายจึงดับ เพราะผัสสะ
เกิด เวทนาจึงเกิด เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะนามรูปเกิด จิตจึงเกิด
เพราะนามรูปดับ จิตจึงดับ เพราะมนสิการเกิด ธรรมจึงเกิด เพราะมนสิการดับ
ธรรมจึงดับ”

สมุทยสูตรที่ ๒ จบ

๓. มัคคสูตร
ว่าด้วยทางเดียว

[๔๐๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย
สมัยหนึ่ง เราเมื่อแรกตรัสรู้อยู่ใต้ต้นไม้อชปาลนิโครธ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา
ตำบลอุรุเวลา หลีกเร้นอยู่ในที่สงัดได้เกิดความรำพึงขึ้นมาว่า ‘ทางนี้เป็นทาง
เดียวเพื่อความหมดจดแห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงโสกะและปริเทวะ เพื่อดับ
ทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง คือ สติปัฏฐาน
๔ ประการ
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุ
๑. พึงพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พึงพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ ฯลฯ
๓. พึงพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ
๔. พึงพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ทางนี้เป็นทางเดียวเพื่อความหมดจดแห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงโสกะและ
ปริเทวะ เพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง คือ
สติปัฏฐาน ๔ ประการ’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๕. อมตวรรค ๓. มัคคสูตร

ลำดับนั้น ท้าวสหัมบดีพรหมทราบความรำพึงของเราแล้ว จึงหายตัวจาก
พรหมโลกมาปรากฏตรงหน้าเรา เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนออก หรือคู้
แขนเข้าฉะนั้น ครั้นแล้วท้าวเธอห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมมือมาทางเราแล้ว
กล่าวว่า ‘ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เรื่องนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต เรื่องนี้เป็น
อย่างนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทางนี้เป็นทางเดียวเพื่อความหมดจดแห่งสัตว์ทั้ง
หลาย เพื่อก้าวล่วงโสกะและปริเทวะ เพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม
เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุ
๑. พึงพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พึงพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พึงพิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พึงพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทางนี้เป็นทางเดียว เพื่อความหมดจดแห่งสัตว์
ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงโสกะและปริเทวะ เพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม
เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ’
ภิกษุทั้งหลาย ท้าวสหัมบดีพรหมได้กราบทูลคำนี้แล้วจึงได้กล่าวคาถาประพันธ์
ต่อไปอีกว่า
“พระผู้มีพระภาคผู้ทรงเห็นธรรม
อันเป็นส่วนที่สุดสิ้นแห่งชาติ
ทรงอนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูล
ทรงรู้จักทางอันเป็นทางเดียว
ซึ่งเหล่าบัณฑิตได้ข้ามมาก่อนแล้ว
จักข้าม และกำลังข้ามโอฆะได้ด้วยทางนี้”

มัคคสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๕. อมตวรรค ๕. กุสลราสิสูตร

๔. สติสูตร
ว่าด้วยผู้มีสติ

[๔๑๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงมีสติอยู่เถิด นี้เป็นคำพร่ำสอนของเราสำหรับเธอ
ทั้งหลาย
ภิกษุผู้มีสติ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุผู้มีสติ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุพึงมีสติอยู่เถิด นี้เป็นคำพร่ำสอนของเราสำหรับเธอทั้งหลาย”

สติสูตรที่ ๔ จบ

๕. กุสลราสิสูตร
ว่าด้วยกองกุศล

[๔๑๑] “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อจะกล่าวถึงกองกุศล จะกล่าวให้ถูกต้อง
พึงกล่าวถึงสติปัฏฐาน ๔ ประการ เพราะกองกุศลทั้งสิ้นนี้ก็คือสติปัฏฐาน ๔ ประการ
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๕. อมตวรรค ๖. ปาติโมกขสังวรสูตร

๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อจะกล่าวถึงกองกุศล จะกล่าวให้ถูกต้อง พึงกล่าว
ถึงสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ เพราะกองกุศลทั้งสิ้นนี้ก็คือสติปัฏฐาน ๔ ประการ”

กุสลราสิสูตรที่ ๕ จบ

๖. ปาติโมกขสังวรสูตร
ว่าด้วยปาติโมกขสังวร

[๔๑๒] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ
นั่ง ณ ที่สมควรแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ซึ่ง
ข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว จะพึงหลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร
อุทิศกายและใจอยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ เพราะเหตุนั้น เธอจงทำเบื้องต้นในกุศลธรรม
ทั้งหลายให้หมดจดก่อน
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย
คือ ในธรรมวินัยนี้ เธอจงสำรวมด้วยสังวรในพระปาติโมกข์ เพียบพร้อม
ด้วยอาจาระ(มารยาท) และโคจร(การเที่ยวไป) มีปกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย
สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายเถิด เมื่อใด เธอจักสำรวมด้วยสังวรในพระ
ปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย
สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย เมื่อนั้น เธออาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว พึง
เจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๕. อมตวรรค ๗. ทุจจริตสูตร

สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ในธรรมวินัยนี้ เธอ
๑. จงพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. จงพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. จงพิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. จงพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุ เมื่อใด เธออาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้วจักเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ
นี้อย่างนี้ เมื่อนั้น เธอพึงหวังความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลายตลอดคืนและวันที่จัก
มาถึง ไม่มีความเสื่อมเลย”
ลำดับนั้น ภิกษุรูปนั้นชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว ลุกจาก
อาสนะ ถวายอภิวาท ทำประทักษิณแล้วจากไป ต่อมา เธอก็หลีกออกไปอยู่คนเดียว
ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนักได้ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์
ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ที่เหล่ากุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
โดยชอบต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
อีกต่อไป”
อนึ่ง ภิกษุรูปนั้นได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย

ปาติโมกขสังวรสูตรที่ ๖ จบ

๗. ทุจจริตสูตร
ว่าด้วยการละทุจริต

[๔๑๓] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอ
พระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ซึ่งข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว จะ
พึงหลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เถิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๕. อมตวรรค ๘. มิตตสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ เพราะเหตุนั้น เธอจงทำเบื้องต้นในกุศลธรรม
ทั้งหลายให้หมดจดก่อน
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย
คือ ในธรรมวินัยนี้ เธอจักละกายทุจริตแล้ว เจริญกายสุจริต จักละวจีทุจริต
แล้ว เจริญวจีสุจริต จักละมโนทุจริตแล้ว เจริญมโนสุจริต เมื่อใด เธอจักละกายทุจริต
แล้ว เจริญกายสุจริต จักละวจีทุจริตแล้ว เจริญวจีสุจริต จักละมโนทุจริตแล้ว เจริญ
มโนสุจริต เมื่อนั้น เธออาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้วพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ในธรรมวินัยนี้ เธอ
๑. จงพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. จงพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. จงพิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. จงพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
เมื่อใด เธออาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้วจักเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้
อย่างนี้ เมื่อนั้น เธอพึงหวังความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลายตลอดคืนและวันที่จัก
มาถึง ไม่มีความเสื่อมเลย ฯลฯ
อนึ่ง ภิกษุรูปนั้นได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย”

ทุจจริตสูตรที่ ๗ จบ

๘. มิตตสูตร
ว่าด้วยการชักชวนมิตรให้เจริญสติปัฏฐาน

[๔๑๔] “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงอนุเคราะห์คนเหล่าใด และคน
เหล่าใดจะเป็นมิตร อำมาตย์ ญาติ สาโลหิตก็ตามให้ความสำคัญคำที่ควรรับฟัง
เธอทั้งหลายพึงชักชวนคนเหล่านั้นให้ตั้งมั่น ให้ดำรงอยู่ในการเจริญสติปัฏฐาน ๔
ประการ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๕. อมตวรรค ๙. เวทนาสูตร

สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงอนุเคราะห์คนเหล่าใด และคนเหล่าใดจะเป็น
มิตร อำมาตย์ ญาติ สาโลหิตก็ตามให้ความสำคัญคำที่ควรรับฟัง เธอทั้งหลาย
พึงชักชวนคนเหล่านั้นให้ตั้งมั่น ให้ดำรงอยู่ในการเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้”

มิตตสูตรที่ ๘ จบ

๙. เวทนาสูตร
ว่าด้วยเวทนา

[๔๑๕] “ภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ ประการนี้
เวทนา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สุขเวทนา ๒. ทุกขเวทนา
๓. อทุกขมสุขเวทนา
เวทนา ๓ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ เพื่อกำหนด
รู้เวทนา ๓ ประการนี้
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๕. อมตวรรค ๑๐. อาสวสูตร

๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้เพื่อกำหนดรู้
เวทนา ๓ ประการนี้”

เวทนาสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. อาสวสูตร
ว่าด้วยอาสวะ

[๔๑๖] “ภิกษุทั้งหลาย อาสวะ ๓ ประการนี้
อาสวะ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กามาสวะ ๒. ภวาสวะ
๓. อวิชชาสวะ
อาสวะ ๓ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการเพื่อละอาสวะ ๓ ประการนี้
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๕. อมตวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้เพื่อละอาสวะ
๓ ประการนี้”

อาสวสูตรที่ ๑๐ จบ
อมตวรรคที่ ๕ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อมตสูตร ๒. สมุทยสูตร
๓. มัคคสูตร ๔. สติสูตร
๕. กุสลราสิสูตร ๖. ปาติโมกขสังวรสูตร
๗. ทุจจริตสูตร ๘. มิตตสูตร
๙. เวทนาสูตร ๑๐. อาสวสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๖. คังคาเปยยาลวรรค ๑-๑๒. คังคานทีอาทีอาทิสุตตทวาทสกะ

๖. คังคาเปยยาลวรรค
หมวดว่าด้วยคังคาเปยยาล
๑-๑๒. คังคานทีอาทิสุตตทวาทสกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๑๒ สูตรมีคังคานทีสูตรเป็นต้น

[๔๑๗-๔๒๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไป
สู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น
เหมือนกัน เมื่อเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ ทำสติปัฏฐาน ๔ ประการให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
ภิกษุเมื่อเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ ทำสติปัฏฐาน ๔ ประการให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ ทำสติปัฏฐาน ๔ ประการ
ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างนี้แล”

พึงเพิ่มข้อความต่อจากนี้ไปให้พิสดาร๑

คังคานทีอาทิสุตตทวาทสกะที่ ๑-๑๒ จบ
คังคาเปยยาลวรรคที่ ๖ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๖. คังคาเปยยาลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมปาจีนนินนสูตร ๒-๕. ทุติยาทิปาจีนนินนสุตตจตุกกะ
๖. ฉัฏฐปาจีนนินนสูตร ๗. ปฐมสมุททนินนสูตร
๘-๑๒. ทุติยาทิสมุททนินนสุตตปัญจกะ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๗. อัปปมาทวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๗. อัปปมาทวรรค
หมวดว่าด้วยความไม่ประมาท
๑-๑๐. ตถาคตาทิสูตร
ว่าด้วยพระตถาคตเป็นต้น

[๔๒๙-๔๓๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายที่ไม่มี
เท้า มีสองเท้า มีสี่เท้า หรือมีเท้ามากก็ตาม

พึงเพิ่มข้อความต่อจากนี้ไปให้พิสดาร๑

ตถาคตาทิสูตรที่ ๑-๑๐ จบ
อัปปมาทวรรคที่ ๗ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ตถาคตสูตร ๒. ปทสูตร
๓. กูฏสูตร ๔. มูลสูตร
๕. สารสูตร ๖. วัสสิกสูตร
๗. ราชาสูตร ๘. จันทิมสูตร
๙. สุริยสูตร ๑๐. วัตถสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๘. พลกรณียวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๘. พลกรณียวรรค
หมวดว่าด้วยอุปมาด้วยการงานที่พึงทำด้วยกำลัง
๑-๑๒. พลาทิสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยการงานที่พึงทำด้วยกำลังเป็นต้น

[๔๓๙-๔๕๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย การงานที่พึงทำ
ด้วยกำลังทั้งหมด

พึงเพิ่มข้อความต่อจากนี้ไปให้พิสดาร๑

พลาทิสูตรที่ ๑-๑๒ จบ
พลกรณียวรรคที่ ๘ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. พลสูตร ๒. พีชสูตร
๓. นาคสูตร ๔. รุกขสูตร
๕. กุมภสูตร ๖. สูกสูตร
๗. อากาสสูตร ๘. ปฐมเมฆสูตร
๙. ทุติยเมฆสูตร ๑๐. นาวาสูตร
๑๑. อาคันตุกสูตร ๑๒. นทีสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๙. เอสนาวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๙. เอสนาวรรค
หมวดว่าด้วยการแสวงหา
๑-๑๐. เอสนาทิสูตร
ว่าด้วยการแสวงหาเป็นต้น

[๔๕๑-๔๖๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓
ประการนี้
การแสวงหา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. การแสวงหากาม ๒. การแสวงหาภพ
๓. การแสวงหาพรหมจรรย์

พึงเพิ่มข้อความต่อจากนี้ไปให้พิสดาร๑

เอสนาทิสูตรที่ ๑-๑๐ จบ
เอสนาวรรคที่ ๙ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. เอสนาสูตร ๒. วิธาสูตร
๓. อาสวสูตร ๔. ภวสูตร
๕. ทุกขตาสูตร ๖. ขีลสูตร
๗. มลสูตร ๘. นีฆสูตร
๙. เวทนาสูตร ๑๐. ตัณหาสูตร
๑๑. ตสินาสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๑๐. โอฆวรรค ๑-๑๐. อุทธัมภาคิยาทิสูตร

๑๐. โอฆวรรค
หมวดว่าด้วยโอฆะ
๑-๑๐. อุทธัมภาคิยาทิสูตร
ว่าด้วยอุทธัมภาคิยสังโยชน์เป็นต้น

[๔๖๑-๔๗๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อุทธัมภาคิยสังโยชน์
(สังโยชน์เบื้องสูง) ๕ ประการนี้
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปราคะ ๒. อรูปราคะ
๓. มานะ ๔. อุทธัจจะ
๕. อวิชชา
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการเพื่อรู้ยิ่ง เพื่อ
กำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่ง
เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้”

อุทธัมภาคิยาทิสูตรที่ ๑-๑๐ จบ

(บัณฑิตพึงขยายสติปัฏฐานสังยุตให้พิสดารเหมือนมัคคสังยุต)

โอฆวรรคที่ ๑๐ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
รวมพระสูตรที่มีในวรรค

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. โอฆสูตร ๒. โยคสูตร
๓. อุปาทานสูตร ๔. คันถสูตร
๕. อนุสยสูตร ๖. กามคุณสูตร
๗. นีวรณสูตร ๘. อุปาทานักขันธสูตร
๙. โอรัมภาคิยสูตร ๑๐. อุทธัมภาคิยสูตร

สติปัฏฐานสังยุตที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๑. สุทธิกวรรค ๒. ปฐมโสตาปันนสูตร

๔. อินทริยสังยุต
๑. สุทธิกวรรค
หมวดว่าด้วยอินทรีย์ล้วน
๑. สุทธิกสูตร
ว่าด้วยอินทรีย์ล้วน

[๔๗๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ (อินทรีย์คือศรัทธา)
๒. วิริยินทรีย์ (อินทรีย์คือวิริยะ)
๓. สตินทรีย์ (อินทรีย์คือสติ)
๔. สมาธินทรีย์ (อินทรีย์คือสมาธิ)
๕. ปัญญินทรีย์ (อินทรีย์คือปัญญา)
ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้”

สุทธิกสูตรที่ ๑ จบ

๒. ปฐมโสตาปันนสูตร
ว่าด้วยพระโสดาบัน สูตรที่ ๑

[๔๗๒] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ๒. วิริยินทรีย์
๓. สตินทรีย์ ๔. สมาธินทรีย์
๕. ปัญญินทรีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๑. สุทธิกวรรค ๓. ทุติยโสตาปันนสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดคุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจาก
อินทรีย์ ๕ ประการนี้ตามความเป็นจริง เมื่อนั้น อริยสาวกนี้เรากล่าวว่า ‘เป็น
โสดาบัน๑ ไม่มีทางตกต่ำ๒ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิ๓ในวันข้างหน้า”

ปฐมโสตาปันนสูตรที่ ๒ จบ

๓. ทุติยโสตาปันนสูตร
ว่าด้วยพระโสดาบัน สูตรที่ ๒

[๔๗๓] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ๒. วิริยินทรีย์
๓. สตินทรีย์ ๔. สมาธินทรีย์
๕. ปัญญินทรีย์
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และ
เครื่องสลัดออกจากอินทรีย์ ๕ ประการนี้ตามความเป็นจริง เมื่อนั้น อริยสาวกนี้
เรากล่าวว่า ‘เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิ
ในวันข้างหน้า”

ทุติยโสตาปันนสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๑. สุทธิกวรรค ๕. ทุติยอรหันตสูตร

๔. ปฐมอรหันตสูตร
ว่าด้วยพระอรหันต์ สูตรที่ ๑

[๔๗๔] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ๒. วิริยินทรีย์
๓. สตินทรีย์ ๔. สมาธินทรีย์
๕. ปัญญินทรีย์
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุรู้ชัดคุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากอินทรีย์ ๕
ประการนี้ตามความเป็นจริง เป็นผู้หลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น เมื่อนั้น ภิกษุนี้
เรากล่าวว่า ‘เป็นอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว
ปลงภาระได้แล้ว๑ บรรลุประโยชน์ตน๒โดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์๓แล้ว
หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ”

ปฐมอรหันตสูตรที่ ๔ จบ

๕. ทุติยอรหันตสูตร
ว่าด้วยพระอรหันต์ สูตรที่ ๒

[๔๗๕] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ๒. วิริยินทรีย์
๓. สตินทรีย์ ๔. สมาธินทรีย์
๕. ปัญญินทรีย์
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุรู้ชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่อง
สลัดออกจากอินทรีย์ ๕ ประการนี้ตามความเป็นจริง เป็นผู้หลุดพ้นเพราะไม่


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๑. สุทธิกวรรค ๗. ทุติยสมณพราหมณสูตร

ถือมั่น เมื่อนั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ‘เป็นอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้น
ภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ”

ทุติยอรหันตสูตรที่ ๕ จบ

๖. ปฐมสมณพราหมณสูตร
ว่าด้วยสมณพราหมณ์ สูตรที่ ๑

[๔๗๖] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ๒. วิริยินทรีย์
๓. สตินทรีย์ ๔. สมาธินทรีย์
๕. ปัญญินทรีย์
ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งไม่รู้ชัดความเกิด ความ
ดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากอินทรีย์ ๕ ประการนี้ตามความเป็นจริง
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นเราไม่จัดว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือไม่จัดว่าเป็น
พราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้นก็ไม่ทำให้แจ้งประโยชน์แห่งความเป็น
สมณะหรือประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดความเกิด ความ
ดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากอินทรีย์ ๕ ประการนี้ตามความเป็นจริง
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นเราจัดว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ และจัดว่าเป็น
พราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้นก็ทำให้แจ้งประโยชน์แห่งความเป็น
สมณะและประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”

ปฐมสมณพราหมณสูตรที่ ๖ จบ

๗. ทุติยสมณพราหมณสูตร
ว่าด้วยสมณพราหมณ์ สูตรที่ ๒

[๔๗๗] “ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งไม่รู้ชัดสัทธินทรีย์
ความเกิดแห่งสัทธินทรีย์ ความดับแห่งสัทธินทรีย์ และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๑. สุทธิกวรรค ๙. ปฐมวิภังคสูตร

แห่งสัทธินทรีย์ ไม่รู้ชัดวิริยินทรีย์ ฯลฯ ไม่รู้ชัดสตินทรีย์ ฯลฯ ไม่รู้ชัดสมาธินทรีย์
ฯลฯ ไม่รู้ชัดปัญญินทรีย์ ความเกิดแห่งปัญญินทรีย์ ความดับแห่งปัญญินทรีย์
และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งปัญญินทรีย์ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นเราไม่
จัดว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือไม่จัดว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่าน
เหล่านั้นก็ไม่ทำให้แจ้งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะหรือประโยชน์แห่งความเป็น
พราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดสัทธินทรีย์
ความเกิดแห่งสัทธินทรีย์ ความดับแห่งสัทธินทรีย์ และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับ
แห่งสัทธินทรีย์ รู้ชัดวิริยินทรีย์ ความเกิดแห่งวิริยินทรีย์ ความดับแห่งวิริยินทรีย์
และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งวิริยินทรีย์ รู้ชัดสตินทรีย์ ฯลฯ รู้ชัดสมาธินทรีย์
ฯลฯ รู้ชัดปัญญินทรีย์ ความเกิดแห่งปัญญินทรีย์ ความดับแห่งปัญญินทรีย์ และ
ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งปัญญินทรีย์ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นเราจัดว่า
เป็นสมณะในหมู่สมณะ และจัดว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้น
ก็ทำให้แจ้งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะและประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”

ทุติยสมณพราหมณสูตรที่ ๗ จบ

๘. ทัฏฐัพพสูตร
ว่าด้วยการเห็นอินทรีย์ในธรรมต่าง ๆ

[๔๗๘] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ฯลฯ ๕. ปัญญินทรีย์
พึงเห็นสัทธินทรีย์ได้ที่ไหน
พึงเห็นได้ในองค์เครื่องบรรลุโสดา ๔ ประการ พึงเห็นสัทธินทรีย์ได้ในที่นี้
พึงเห็นวิริยินทรีย์ได้ที่ไหน
พึงเห็นได้ในสัมมัปปธาน ๔ ประการ พึงเห็นวิริยินทรีย์ได้ในที่นี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๑. สุทธิกวรรค ๙. ปฐมวิภังคสูตร

พึงเห็นสตินทรีย์ได้ที่ไหน
พึงเห็นได้ในสติปัฏฐาน ๔ ประการ พึงเห็นสตินทรีย์ได้ในที่นี้
พึงเห็นสมาธินทรีย์ได้ที่ไหน
พึงเห็นได้ในฌาน ๔ ประการ พึงเห็นสมาธินทรีย์ได้ในที่นี้
พึงเห็นปัญญินทรีย์ได้ที่ไหน
พึงเห็นได้ในอริยสัจ ๔ ประการ พึงเห็นปัญญินทรีย์ได้ในที่นี้
ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้”

ทัฏฐัพพสูตรที่ ๘ จบ

๙. ปฐมวิภังคสูตร
ว่าด้วยการจำแนกอินทรีย์ สูตรที่ ๑

[๔๗๙] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ฯลฯ ๕. ปัญญินทรีย์
สัทธินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของตถาคตว่า
‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง
โดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควร
ฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า
เป็นพระผู้มีพระภาค๑’
นี้เรียกว่า สัทธินทรีย์


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๑. สุทธิกวรรค ๑๐. ทุติยวิภังคสูตร

วิริยินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ปรารภความเพียร๑ เพื่อละอกุศลธรรม
เข้าถึงกุศลธรรม มีความเข้มแข็ง๒ มีความบากบั่น มั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศล-
ธรรมอยู่
นี้เรียกว่า วิริยินทรีย์


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๑. สุทธิกวรรค ๑๐. ทุติยวิภังคสูตร

สตินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติปัญญาเป็นเครื่อง
รักษาตน๑อย่างยิ่ง ระลึกนึกถึงสิ่งที่ทำ คำที่ได้พูดไว้นานบ้าง
นี้เรียกว่า สตินทรีย์
สมาธินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้ว ได้สมาธิ ได้
เอกัคคตาจิต
นี้เรียกว่า สมาธินทรีย์
ปัญญินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่อง
พิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้น
ทุกข์โดยชอบ
นี้เรียกว่า ปัญญินทรีย์
ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้”

ปฐมวิภังคสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ทุติยวิภังคสูตร
ว่าด้วยการจำแนกอินทรีย์ สูตรที่ ๒

[๔๘๐] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ฯลฯ ๕. ปัญญินทรีย์
สัทธินทรีย์ เป็นอย่างไร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๑. สุทธิกวรรค ๑๐. ทุติยวิภังคสูตร

คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของตถาคตว่า
‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์
เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้
ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า
เป็นพระผู้มีพระภาค’
นี้เรียกว่า สัทธินทรีย์
วิริยินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม
เข้าถึงกุศลธรรม มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่น มั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม
เธอสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อ
ป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น
เธอสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อละ
บาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
เธอสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อทำ
กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
เธอสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อความ
ดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
นี้เรียกว่า วิริยินทรีย์
สตินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติปัญญาเป็นเครื่อง
รักษาตนอย่างยิ่ง ระลึกนึกถึงสิ่งที่ทำ คำที่ได้พูดไว้นานบ้าง
เธอพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ พิจารณา
เห็นจิตในจิต ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มี
สติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
นี้เรียกว่า สตินทรีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๑. สุทธิกวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

สมาธินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ ได้สมาธิ ได้เอกัคคตา-
จิต เธอสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตกวิจาร มี
ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌานมี
ความผ่องใสภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและ
สุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ เพราะปีติจางคลายไป เธอมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา
มีสติ อยู่เป็นสุข’ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว
เธอบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์และไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่
นี้เรียกว่า สมาธินทรีย์
ปัญญินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่อง
พิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้น
ทุกข์โดยชอบ เธอรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ
นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’
นี้เรียกว่า ปัญญินทรีย์
ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้”

ทุติยวิภังคสูตรที่ ๑๐ จบ
สุทธิกวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สุทธิกสูตร ๒. ปฐมโสตาปันนสูตร
๓. ทุติยโสตาปันนสูตร ๔. ปฐมอรหันตสูตร
๕. ทุติยอรหันตสูตร ๖. ปฐมสมณพราหมณสูตร
๗. ทุติยสมณพราหมณสูตร ๘. ทัฏฐัพพสูตร
๙. ปฐมวิภังคสูตร ๑๐. ทุติยวิภังคสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๒. มุทุตรวรรค ๑. ปฏิลาภสูตร

๒. มุทุตรวรรค
หมวดว่าด้วยอินทรีย์ที่อ่อนกว่า
๑. ปฏิลาภสูตร
ว่าด้วยการได้อินทรีย์

[๔๘๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ฯลฯ ๕. ปัญญินทรีย์
สัทธินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของตถาคต
ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์
เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถี
ฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็น
พระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’
นี้เรียกว่า สัทธินทรีย์
วิริยินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกปรารภสัมมัปปธาน ๔ ประการ ย่อมได้ความเพียร
นี้เรียกว่า วิริยินทรีย์
สตินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกปรารภสติปัฏฐาน ๔ ประการ ย่อมได้สติ
นี้เรียกว่า สตินทรีย์
สมาธินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้ว ได้สมาธิ ได้
เอกัคคตาจิต
นี้เรียกว่า สมาธินทรีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๒. มุทุตรวรรค ๒. ปฐมสังขิตตสูตร

ปัญญินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่อง
พิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้น
ทุกข์โดยชอบ
นี้เรียกว่า ปัญญินทรีย์
ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้”

ปฏิลาภสูตรที่ ๑ จบ

๒. ปฐมสังขิตตสูตร
ว่าด้วยผลแห่งอินทรีย์โดยย่อ สูตรที่ ๑

[๔๘๒] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ฯลฯ ๕. ปัญญินทรีย์
อินทรีย์ ๕ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล
๑. เป็นพระอรหันต์เพราะมีอินทรีย์ ๕ ประการนี้ครบถ้วนบริบูรณ์
๒. เป็นพระอนาคามีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระอรหันต์นั้น
๓. เป็นพระสกทาคามีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระอนาคามีนั้น
๔. เป็นพระโสดาบันเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระสกทาคามีนั้น
๕. เป็นพระโสดาบันผู้ธัมมานุสารี๑เพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระ
โสดาบันนั้น


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๒. มุทุตรวรรค ๓. ทุติยสังขิตตสูตร

๖. เป็นพระโสดาบันผู้สัทธานุสารี๑เพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระ
โสดาบันผู้ธัมมานุสารีนั้น”

ปฐมสังขิตตสูตรที่ ๒ จบ

๓. ทุติยสังขิตตสูตร
ว่าด้วยผลแห่งอินทรีย์โดยย่อ สูตรที่ ๒

[๔๘๓] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ฯลฯ ๕. ปัญญินทรีย์
อินทรีย์ ๕ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล
๑. เป็นพระอรหันต์เพราะมีอินทรีย์ ๕ ประการนี้ครบถ้วนบริบูรณ์
๒. เป็นพระอนาคามีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระอรหันต์นั้น
๓. เป็นพระสกทาคามีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระอนาคามีนั้น
๔. เป็นพระโสดาบันเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระสกทาคามีนั้น
๕. เป็นพระโสดาบันผู้ธัมมานุสารีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระ
โสดาบันนั้น
๖. เป็นพระโสดาบันผู้สัทธานุสารีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระ
โสดาบันผู้ธัมมานุสารีนั้น
ภิกษุทั้งหลาย ความแตกต่างแห่งผลย่อมมีเพราะความแตกต่างแห่งอินทรีย์
ความแตกต่างแห่งบุคคลย่อมมีเพราะความแตกต่างแห่งผล อย่างนี้”

ทุติยสังขิตตสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๒. มุทุตรวรรค ๕. ปฐมวิตถารสูตร

๔. ตติยสังขิตตสูตร
ว่าด้วยผลแห่งอินทรีย์โดยย่อ สูตรที่ ๓

[๔๘๔] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ฯลฯ ๕. ปัญญินทรีย์
อินทรีย์ ๕ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล
๑. เป็นพระอรหันต์เพราะมีอินทรีย์ ๕ ประการนี้ครบถ้วนบริบูรณ์
๒. เป็นพระอนาคามีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระอรหันต์นั้น
๓. เป็นพระสกทาคามีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระอนาคามีนั้น
๔. เป็นพระโสดาบันเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระสกทาคามีนั้น
๕. เป็นพระโสดาบันผู้ธัมมานุสารีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระ
โสดาบันนั้น
๖. เป็นพระโสดาบันผู้สัทธานุสารีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระโสดาบัน
ผู้ธัมมานุสารีนั้น
บุคคลผู้บำเพ็ญอรหัตตมรรคให้บริบูรณ์ ย่อมได้บรรลุอรหัตตผล บุคคลผู้
บำเพ็ญมรรคทั้ง ๓ (ที่เหลือให้บริบูรณ์) ย่อมได้บรรลุผลทั้ง ๓ ดังกล่าวนี้ ภิกษุ
ทั้งหลาย เรากล่าวอินทรีย์ ๕ ประการว่าไม่เป็นหมันเลย”

ตติยสังขิตตสูตรที่ ๔ จบ

๕. ปฐมวิตถารสูตร
ว่าด้วยผลแห่งอินทรีย์โดยพิสดาร สูตรที่ ๑

[๔๘๕] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ฯลฯ ๕. ปัญญินทรีย์
อินทรีย์ ๕ ประการนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๒. มุทุตรวรรค ๖. ทุติยวิตถารสูตร

ภิกษุทั้งหลาย บุคคล
๑. เป็นพระอรหันต์เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้ครบถ้วนบริบูรณ์
๒. เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระ
อรหันต์นั้น
๓. เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระ
อนาคามีผู้อันตราปรินิพพายีนั้น
๔. เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระ
อนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายีนั้น
๕. เป็นพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระ
อนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายีนั้น
๖. เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่า
พระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายีนั้น
๗. เป็นพระสกทาคามีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระอนาคามีผู้อุทธัง-
โสโตอกนิฏฐคามีนั้น
๘. เป็นพระโสดาบันเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระสกทาคามีนั้น
๙. เป็นพระโสดาบันผู้ธัมมานุสารีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระโสดาบัน
นั้น
๑๐. เป็นพระโสดาบันผู้สัทธานุสารีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระโสดาบัน
ผู้ธัมมานุสารีนั้น”

ปฐมวิตถารสูตรที่ ๕ จบ

๖. ทุติยวิตถารสูตร
ว่าด้วยผลแห่งอินทรีย์โดยพิสดาร สูตรที่ ๒

[๔๘๖] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ฯลฯ ๕. ปัญญินทรีย์
อินทรีย์ ๕ ประการนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๒. มุทุตรวรรค ๖. ทุติยวิตถารสูตร

ภิกษุทั้งหลาย บุคคล
๑. เป็นพระอรหันต์เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้ครบถ้วนบริบูรณ์
๒. เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระ
อรหันต์นั้น
๓. เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระ
อนาคามีผู้อันตราปรินิพพายีนั้น
๔. เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระ
อนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายีนั้น
๕. เป็นพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระ
อนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายีนั้น
๖. เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่า
พระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายีนั้น
๗. เป็นพระสกทาคามีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระอนาคามีผู้อุทธัง-
โสโตอกนิฏฐคามีนั้น
๘. เป็นพระโสดาบันเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระสกทาคามีนั้น
๙. เป็นพระโสดาบันผู้ธัมมานุสารีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระโสดาบัน
นั้น
๑๐. เป็นพระโสดาบันผู้สัทธานุสารีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระโสดาบัน
ผู้ธัมมานุสารีนั้น
ภิกษุทั้งหลาย ความแตกต่างแห่งผลย่อมมีเพราะความแตกต่างแห่งอินทรีย์
ความแตกต่างแห่งบุคคลย่อมมีเพราะความแตกต่างแห่งผล อย่างนี้”

ทุติยวิตถารสูตรที่ ๖ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๒. มุทุตรวรรค ๗. ตติยวิตถารสูตร

๗. ตติยวิตถารสูตร
ว่าด้วยผลแห่งอินทรีย์โดยพิสดาร สูตรที่ ๓

[๔๘๗] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ฯลฯ ๕. ปัญญินทรีย์
อินทรีย์ ๕ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล
๑. เป็นพระอรหันต์เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้ครบถ้วนบริบูรณ์
๒. เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่า
พระอรหันต์นั้น
๓. เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระ
อนาคามีผู้อันตราปรินิพพายีนั้น
๔. เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระ
อนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายีนั้น
๕. เป็นพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระ
อนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายีนั้น
๖. เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่า
พระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายีนั้น
๗. เป็นพระสกทาคามีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระอนาคามีผู้อุทธัง-
โสโตอกนิฏฐคามีนั้น
๘. เป็นพระโสดาบันเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระสกทาคามีนั้น
๙. เป็นพระโสดาบันผู้ธัมมานุสารีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระโสดาบัน
นั้น
๑๐. เป็นพระโสดาบันผู้สัทธานุสารีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระโสดาบัน
ผู้ธัมมานุสารีนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๒. มุทุตรวรรค ๘. ปฏิปันนสูตร

บุคคลผู้บำเพ็ญอรหัตตมรรคให้บริบูรณ์ ย่อมได้บรรลุอรหัตตผล บุคคลผู้
บำเพ็ญมรรคทั้ง ๓ (ที่เหลือให้บริบูรณ์) ย่อมได้บรรลุผลทั้ง ๓ ดังกล่าวนี้
ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวอินทรีย์ ๕ ประการว่าไม่เป็นหมันเลย”

ตติยวิตถารสูตรที่ ๗ จบ

๘. ปฏิปันนสูตร
ว่าด้วยผลแห่งการปฏิบัติตามลำดับอินทรีย์

[๔๘๘] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ฯลฯ ๕. ปัญญินทรีย์
อินทรีย์ ๕ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล
๑. เป็นพระอรหันต์เพราะมีอินทรีย์ ๕ ประการนี้ครบถ้วนบริบูรณ์
๒. เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระ
อรหันต์นั้น
๓. เป็นพระอนาคามีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้ง
อรหัตตผลนั้น
๔. เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผลเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระ
อนาคามีนั้น
๕. เป็นพระสกทาคามีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้ง
อนาคามิผลนั้น
๖. เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผลเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระ
สกทาคามีนั้น
๗. เป็นพระโสดาบันเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้ง
สกทาคามิผลนั้น
๘. เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผลเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระ
โสดาบันนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๒๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๒. มุทุตรวรรค ๑๐. อาสวักขยสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดไม่มีอินทรีย์ ๕ ประการนี้โดยประการทั้งปวง ผู้นั้นเรา
กล่าวว่า ‘เป็นผู้เหินห่าง อยู่ในฝ่ายปุถุชน”

ปฏิปันนสูตรที่ ๘ จบ

๙. สัมปันนสูตร
ว่าด้วยผู้สมบูรณ์ด้วยอินทรีย์

[๔๘๙] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า ‘ผู้สมบูรณ์ด้วยอินทรีย์ ผู้สมบูรณ์
ด้วยอินทรีย์’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยอินทรีย์”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสัทธินทรีย์ให้ถึงความ
สงบ ให้ถึงความตรัสรู้ เจริญวิริยินทรีย์ที่ให้ถึงความสงบ ให้ถึงความตรัสรู้ เจริญ
สตินทรีย์ที่ให้ถึงความสงบ ให้ถึงความตรัสรู้ เจริญสมาธินทรีย์ที่ให้ถึงความสงบ
ให้ถึงความตรัสรู้ เจริญปัญญินทรีย์ที่ให้ถึงความสงบ ให้ถึงความตรัสรู้ ด้วยเหตุ
เพียงเท่านี้แล ภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยอินทรีย์”

สัมปันนสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. อาสวักขยสูตร
ว่าด้วยธรรมเป็นเหตุให้สิ้นอาสวะ

[๔๙๐] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ฯลฯ ๕. ปัญญินทรีย์
อินทรีย์ ๕ ประการนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๒. มุทุตรวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้เพราะ
อาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน เพราะอินทรีย์ ๕
ประการนี้ที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว”

อาสวักขยสูตรที่ ๑๐ จบ
มุทุตรวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฏิลาภสูตร ๒. ปฐมสังขิตตสูตร
๓. ทุติยสังขิตตสูตร ๔. ตติยสังขิตตสูตร
๕. ปฐมวิตถารสูตร ๖. ทุติยวิตถารสูตร
๗. ตติยวิตถารสูตร ๘. ปฏิปันนสูตร
๙. สัมปันนสูตร ๑๐. อาสวักขยสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๓. ฉฬินทริยวรรค ๑. ปุนัพภวสูตร

๓. ฉฬินทริยวรรค
หมวดว่าด้วยอินทรีย์ ๖

๑. ปุนัพภวสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้ไม่มีภพใหม่

[๔๙๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ฯลฯ ๕. ปัญญินทรีย์
ภิกษุทั้งหลาย ตราบใดเรายังไม่รู้ชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และ
เครื่องสลัดออกจากอินทรีย์ ๕ ประการนี้ตามความเป็นจริง ตราบนั้นเรายังไม่ยืนยัน
ว่า ‘เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก
พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์’
แต่เมื่อใด เรารู้ชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจาก
อินทรีย์ ๕ ประการนี้ตามความเป็นจริง เมื่อนั้น เราจึงยืนยันว่า ‘เป็นผู้ตรัสรู้
สัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก
ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์’
อนึ่ง ญาณทัสสนะ๑เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ‘วิมุตติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็น
ชาติสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก”

ปุนัพภวสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๓. ฉฬินทริยวรรค ๓. อัญญินทริยสูตร

๒. ชีวิตินทริยสูตร
ว่าด้วยชีวิตินทรีย์

[๔๙๒] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๓ ประการนี้
อินทรีย์ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อิตถินทรีย์ (อินทรีย์คืออิตถีภาวะ)
๒. ปุริสินทรีย์ (อินทรีย์คือปุริสภาวะ)
๓. ชีวิตินทรีย์ (อินทรีย์คือชีวิต)
อินทรีย์ ๓ ประการนี้”

ชีวิตินทริยสูตรที่ ๒ จบ

๓. อัญญินทริยสูตร
ว่าด้วยอัญญินทรีย์

[๔๙๓] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๓ ประการนี้
อินทรีย์ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ (อินทรีย์ของท่านผู้ปฏิบัติด้วยมุ่งว่า
เราจักรู้สัจธรรมที่มิได้รู้)
๒. อัญญินทรีย์ (อินทรีย์คือปัญญาอันรู้ทั่วถึง)
๓. อัญญาตาวินทรีย์ (อินทรีย์ของท่านผู้รู้ทั่วถึงแล้ว)

อินทรีย์ ๓ ประการนี้”

อัญญินทริยสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๓. ฉฬินทริยวรรค ๔. เอกพีชีสูตร

๔. เอกพีชีสูตร
ว่าด้วยพระเอกพีชีโสดาบัน

[๔๙๔] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ฯลฯ ๕. ปัญญินทรีย์
อินทรีย์ ๕ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล
๑. เป็นพระอรหันต์เพราะมีอินทรีย์ ๕ ประการนี้ครบถ้วนบริบูรณ์
๒. เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่า
พระอรหันต์นั้น
๓. เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่า
พระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายีนั้น
๔. เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระ
อนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายีนั้น
๕. เป็นพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระ
อนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายีนั้น
๖. เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่า
พระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายีนั้น
๗. เป็นพระสกทาคามีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระอนาคามีผู้อุทธัง-
โสโตอกนิฏฐคามีนั้น
๘. เป็นพระเอกพีชีโสดาบัน๑ เพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระสกทาคามี
นั้น


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๓. ฉฬินทริยวรรค ๕. สุทธสูตร

๙. เป็นพระโกลังโกลโสดาบัน๑ เพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระเอกพีชี-
โสดาบันนั้น
๑๐. เป็นพระสัตตักขัตตุปรมโสดาบัน๒เพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระ
โกลังโกลโสดาบันนั้น
๑๑. เป็นพระโสดาบันผู้ธัมมานุสารีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระ
สัตตักขัตตุปรมโสดาบันนั้น
๑๒. เป็นพระโสดาบันผู้สัทธานุสารีเพราะมีอินทรีย์อ่อนกว่าพระโสดาบัน
ผู้ธัมมานุสารีนั้น”

เอกพีชีสูตรที่ ๔ จบ

๕. สุทธสูตร
ว่าด้วยอินทรีย์ล้วน

[๔๙๕] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๖ ประการนี้
อินทรีย์ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. จักขุนทรีย์ (อินทรีย์คือจักขุปสาท)
๒. โสตินทรีย์ (อินทรีย์คือโสตปสาท)
๓. ฆานินทรีย์ (อินทรีย์คือฆานปสาท)
๔. ชิวหินทรีย์ (อินทรีย์คือชิวหาปสาท)
๕. กายินทรีย์ (อินทรีย์คือกายปสาท)
๖. มนินทรีย์ (อินทรีย์คือใจ)
อินทรีย์ ๖ ประการนี้”

สุทธสูตรที่ ๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๓. ฉฬินทริยวรรค ๗. อรหันตสูตร

๖. โสตาปันนสูตร
ว่าด้วยพระโสดาบัน

[๔๙๖] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๖ ประการนี้
อินทรีย์ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. จักขุนทรีย์ ๒. โสตินทรีย์
๓. ฆานินทรีย์ ๔. ชิวหินทรีย์
๕. กายินทรีย์ ๖. มนินทรีย์
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่อง
สลัดออกจากอินทรีย์ ๖ ประการนี้ตามความเป็นจริง เมื่อนั้น อริยสาวกนี้เรากล่าว
ว่า ‘เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”

โสตาปันนสูตรที่ ๖ จบ

๗. อรหันตสูตร
ว่าด้วยพระอรหันต์

[๔๙๗] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๖ ประการนี้
อินทรีย์ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. จักขุนทรีย์ ๒. โสตินทรีย์
๓. ฆานินทรีย์ ๔. ชิวหินทรีย์
๕. กายินทรีย์ ๖. มนินทรีย์
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุรู้ชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัด
ออกจากอินทรีย์ ๖ ประการนี้ตามความเป็นจริง เป็นผู้หลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น
เมื่อนั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ‘อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลง
ภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นเพราะ
รู้โดยชอบ”

อรหันตสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๓. ฉฬินทริยวรรค ๙. ปฐมสมณพราหมณสูตร

๘. สัมมัทธสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

[๔๙๘] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๖ ประการนี้
อินทรีย์ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. จักขุนทรีย์ ๒. โสตินทรีย์
๓. ฆานินทรีย์ ๔. ชิวหินทรีย์
๕. กายินทรีย์ ๖. มนินทรีย์
ภิกษุทั้งหลาย ตราบใด เรายังไม่รู้ชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่อง
สลัดออกจากอินทรีย์ ๖ ประการนี้ตามความเป็นจริง ตราบนั้น เรายังไม่ยืนยันว่า
‘เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก
ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์’
แต่เมื่อใด เรารู้ชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจาก
อินทรีย์ ๖ ประการนี้ตามความเป็นจริง เมื่อนั้น เราจึงยืนยันว่า ‘เป็นผู้ตรัสรู้
สัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ใน
หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์’
อนึ่ง ญาณทัสสนะเกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า “วิมุตติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็น
ชาติสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก”

สัมมัทธสูตรที่ ๘ จบ

๙. ปฐมสมณพราหมณสูตร
ว่าด้วยสมณพราหมณ์ สูตรที่ ๑

[๔๙๙] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๖ ประการนี้
อินทรีย์ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. จักขุนทรีย์ ๒. โสตินทรีย์
๓. ฆานินทรีย์ ๔. ชิวหินทรีย์
๕. กายินทรีย์ ๖. มนินทรีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๓. ฉฬินทริยวรรค ๑๐. ทุติยสมณพราหมณสูตร

ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งไม่รู้ชัดความเกิด ความ
ดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากอินทรีย์ ๖ ประการนี้ตามความเป็นจริง
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นเราไม่จัดว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือไม่จัดว่าเป็น
พราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้นก็ไม่ทำให้แจ้งประโยชน์แห่งความเป็น
สมณะหรือประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดความเกิด
ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากอินทรีย์ ๖ ประการนี้ตามความ
เป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นเราจัดว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะและจัดว่า
เป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้นก็ทำให้แจ้งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ
และประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”

ปฐมสมณพราหมณสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ทุติยสมณพราหมณสูตร
ว่าด้วยสมณพราหมณ์ สูตรที่ ๒

[๕๐๐] “ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งไม่รู้ชัด
จักขุนทรีย์ความเกิดแห่งจักขุนทรีย์ ความดับแห่งจักขุนทรีย์ และปฏิปทาที่ให้ถึง
ความดับแห่งจักขุนทรีย์ ไม่รู้ชัดโสตินทรีย์ ฯลฯ ฆานินทรีย์ ฯลฯ ชิวหินทรีย์ ฯลฯ
กายินทรีย์ ฯลฯ ไม่รู้ชัดมนินทรีย์ ความเกิดแห่งมนินทรีย์ ความดับแห่งมนินทรีย์
และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งมนินทรีย์ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นเราไม่จัด
ว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะหรือไม่จัดว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่าน
เหล่านั้นก็ไม่ทำให้แจ้งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะหรือประโยชน์แห่งความเป็น
พราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดจักขุนทรีย์
ความเกิดแห่งจักขุนทรีย์ ความดับแห่งจักขุนทรีย์ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่ง
จักขุนทรีย์ รู้ชัดโสตินทรีย์ ฯลฯ ฆานินทรีย์ ฯลฯ ชิวหินทรีย์ ฯลฯ กายินทรีย์
ฯลฯ รู้ชัดมนินทรีย์ ความเกิดแห่งมนินทรีย์ ความดับแห่งมนินทรีย์ ปฏิปทาที่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๐๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๓. ฉฬินทริยวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ให้ถึงความดับแห่งมนินทรีย์ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นเราจัดว่าเป็นสมณะในหมู่
สมณะและจัดว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้นก็ทำให้แจ้ง
ประโยชน์แห่งความเป็นสมณะและประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ด้วยปัญญา
อันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”

ทุติยสมณพราหมณสูตรที่ ๑๐ จบ
ฉฬินทริยวรรคที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปุนัพภวสูตร ๒. ชีวิตินทริยสูตร
๓. อัญญินทริยสูตร ๔. เอกพีชีสูตร
๕. สุทธสูตร ๖. โสตาปันนสูตร
๗. อรหันตสูตร ๘. สัมมัทธสูตร
๙. ปฐมสมณพราหมณสูตร ๑๐. ทุติยสมณพราหมณสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๔. สุขินทริยวรรค ๒. โสตาปันนสูตร

๔. สุขินทริยวรรค
หมวดว่าด้วยสุขินทรีย์
๑. สุทธิกสูตร
ว่าด้วยอินทรีย์ล้วน

[๕๐๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สุขินทรีย์ (อินทรีย์คือสุขเวทนา)
๒. ทุกขินทรีย์ (อินทรีย์คือทุกขเวทนา)
๓. โสมนัสสินทรีย์ (อินทรีย์คือโสมนัสสเวทนา)
๔. โทมนัสสินทรีย์ (อินทรีย์คือโทมนัสสเวทนา)
๕. อุเปกขินทรีย์ (อินทรีย์คืออุเบกขา)
อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล”

สุทธิกสูตรที่ ๑ จบ

๒. โสตาปันนสูตร
ว่าด้วยพระโสดาบัน

[๕๐๒] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สุขินทรีย์ ๒. ทุกขินทรีย์
๓. โสมนัสสินทรีย์ ๔. โทมนัสสินทรีย์
๕. อุเปกขินทรีย์
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่อง
สลัดออกจากอินทรีย์ ๕ ประการนี้ตามความเป็นจริง เมื่อนั้น อริยสาวกนี้เรากล่าวว่า
‘เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”

โสตาปันนสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๔. สุขินทริยวรรค ๔. ปฐมสมณพราหมณสูตร

๓. อรหันตสูตร
ว่าด้วยพระอรหันต์

[๕๐๓] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สุขินทรีย์ ๒. ทุกขินทรีย์
๓. โสมนัสสินทรีย์ ๔. โทมนัสสินทรีย์
๕. อุเปกขินทรีย์
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุรู้ชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่อง
สลัดออกจากอินทรีย์ ๕ ประการนี้ตามความเป็นจริง เป็นผู้หลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น
เมื่อนั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ‘เป็นอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่
ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์
แล้ว หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ”

อรหันตสูตรที่ ๓ จบ

๔. ปฐมสมณพราหมณสูตร
ว่าด้วยสมณพราหมณ์ สูตรที่ ๑

[๕๐๔] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สุขินทรีย์ ๒. ทุกขินทรีย์
๓. โสมนัสสินทรีย์ ๔. โทมนัสสินทรีย์
๕. อุเปกขินทรีย์
ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งไม่รู้ชัดความเกิด ความดับ
คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากอินทรีย์ ๕ ประการนี้ตามความเป็นจริง สมณะ
หรือพราหมณ์เหล่านั้นเราไม่จัดว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือไม่จัดว่าเป็น
พราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้นก็ไม่ทำให้แจ้งประโยชน์แห่งความเป็น
สมณะหรือประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๔. สุขินทริยวรรค ๕. ทุติยสมณพราหมณสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดความเกิด ความ
ดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากอินทรีย์ ๕ ประการนี้ตามความเป็นจริง
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นเราจัดว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือจัดว่าเป็น
พราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้นก็ทำให้แจ้งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ
และประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”

ปฐมสมณพราหมณสูตรที่ ๔ จบ

๕. ทุติยสมณพราหมณสูตร
ว่าด้วยสมณพราหมณ์ สูตรที่ ๒

[๕๐๕] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สุขินทรีย์ ๒. ทุกขินทรีย์
๓. โสมนัสสินทรีย์ ๔. โทมนัสสินทรีย์
๕. อุเปกขินทรีย์
ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งไม่รู้ชัดสุขินทรีย์ ความ
เกิดแห่งสุขินทรีย์ ความดับแห่งสุขินทรีย์ และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสุขินทรีย์
ไม่รู้ชัดทุกขินทรีย์ ฯลฯ ไม่รู้ชัดโสมนัสสินทรีย์ ฯลฯ ไม่รู้ชัดโทมนัสสินทรีย์ ฯลฯ
ไม่รู้ชัดอุเปกขินทรีย์ ความเกิดแห่งอุเปกขินทรีย์ ความดับแห่งอุเปกขินทรีย์ และ
ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งอุเปกขินทรีย์ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นเราไม่จัดว่า
เป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือไม่จัดว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้น
ก็ไม่ทำให้แจ้งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะหรือประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดสุขินทรีย์ รู้ชัด
ความเกิดแห่งสุขินทรีย์ ความดับแห่งสุขินทรีย์ และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่ง
สุขินทรีย์ รู้ชัดทุกขินทรีย์ ฯลฯ รู้ชัดโสมนัสสินทรีย์ ฯลฯ รู้ชัดโทมนัสสินทรีย์ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๔. สุขินทริยวรรค ๖. ปฐมวิภังคสูตร

รู้ชัดอุเปกขินทรีย์ ความเกิดแห่งอุเปกขินทรีย์ ความดับแห่งอุเปกขินทรีย์ และ
ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งอุเปกขินทรีย์ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นเราจัดว่า
เป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือจัดว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้น
ก็ทำให้แจ้งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะและประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”

ทุติยสมณพราหมณสูตรที่ ๕ จบ

๖. ปฐมวิภังคสูตร
ว่าด้วยการจำแนกอินทรีย์ สูตรที่ ๑

[๕๐๖] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สุขินทรีย์ ๒. ทุกขินทรีย์
๓. โสมนัสสินทรีย์ ๔. โทมนัสสินทรีย์
๕. อุเปกขินทรีย์
สุขินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ ความสุขทางกาย ความสำราญทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข
สำราญ อันเกิดจากกายสัมผัส
นี้เรียกว่า สุขินทรีย์
ทุกขินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ ความทุกข์ทางกาย ความไม่สำราญทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่เป็น
ทุกข์ ไม่สำราญ อันเกิดจากกายสัมผัส
นี้เรียกว่า ทุกขินทรีย์
โสมนัสสินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ ความสุขทางใจ ความสำราญทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข สำราญ
อันเกิดจากมโนสัมผัส
นี้เรียกว่า โสมนัสสินทรีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๔. สุขินทริยวรรค ๗. ทุติยวิภังคสูตร

โทมนัสสินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ ความทุกข์ทางใจ ความไม่สำราญทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่เป็นทุกข์
ไม่สำราญ อันเกิดจากมโนสัมผัส
นี้เรียกว่า โทมนัสสินทรีย์
อุเปกขินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ ความเสวยอารมณ์ทางกายหรือทางใจที่สำราญก็มิใช่ ไม่สำราญก็มิใช่
นี้เรียกว่า อุเปกขินทรีย์
ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล”

ปฐมวิภังคสูตรที่ ๖ จบ

๗. ทุติยวิภังคสูตร
ว่าด้วยการจำแนกอินทรีย์ สูตรที่ ๒

[๕๐๗] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สุขินทรีย์ ๒. ทุกขินทรีย์
๓. โสมนัสสินทรีย์ ๔. โทมนัสสินทรีย์
๕. อุเปกขินทรีย์
สุขินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ ความสุขทางกาย ความสำราญทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข
สำราญ อันเกิดจากกายสัมผัส
นี้เรียกว่า สุขินทรีย์
ทุกขินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ ความทุกข์ทางกาย ความไม่สำราญทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่เป็น
ทุกข์ ไม่สำราญ อันเกิดจากกายสัมผัส
นี้เรียกว่า ทุกขินทรีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๔. สุขินทริยวรรค ๘. ตติยวิภังคสูตร

โสมนัสสินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ ความสุขทางใจ ความสำราญทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข สำราญ
อันเกิดจากมโนสัมผัส
นี้เรียกว่า โสมนัสสินทรีย์
โทมนัสสินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ ความทุกข์ทางใจ ความไม่สำราญทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่เป็นทุกข์
ไม่สำราญ อันเกิดจากมโนสัมผัส
นี้เรียกว่า โทมนัสสินทรีย์
อุเปกขินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ ความเสวยอารมณ์ทางกายหรือทางใจที่สำราญก็มิใช่ ไม่สำราญก็มิใช่
นี้เรียกว่า อุเปกขินทรีย์
ในอินทรีย์ ๕ ประการนั้น สุขินทรีย์และโสมนัสสินทรีย์ พึงเห็นว่าเป็นสุขเวทนา
ทุกขินทรีย์และโทมนัสสินทรีย์ พึงเห็นว่าเป็นทุกขเวทนา
อุเปกขินทรีย์ พึงเห็นว่าเป็นอทุกขมสุขเวทนา
ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้”

ทุติยวิภังคสูตรที่ ๗ จบ

๘. ตติยวิภังคสูตร
ว่าด้วยการจำแนกอินทรีย์ สูตรที่ ๓

[๕๐๘] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สุขินทรีย์ ๒. ทุกขินทรีย์
๓. โสมนัสสินทรีย์ ๔. โทมนัสสินทรีย์
๕. อุเปกขินทรีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๔. สุขินทริยวรรค ๘. ตติยวิภังคสูตร

สุขินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ ความสุขทางกาย ความสำราญทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข
สำราญ อันเกิดจากกายสัมผัส
นี้เรียกว่า สุขินทรีย์
ทุกขินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ ความทุกข์ทางกาย ความไม่สำราญทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่เป็นทุกข์
ไม่สำราญ อันเกิดจากกายสัมผัส
นี้เรียกว่า ทุกขินทรีย์
โสมนัสสินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ ความสุขทางใจ ความสำราญทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข สำราญ
อันเกิดจากมโนสัมผัส
นี้เรียกว่า โสมนัสสินทรีย์
โทมนัสสินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ ความทุกข์ทางใจ ความไม่สำราญทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่เป็นทุกข์
ไม่สำราญ อันเกิดจากมโนสัมผัส
นี้เรียกว่า โทมนัสสินทรีย์
อุเปกขินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ ความเสวยอารมณ์ทางกายหรือทางใจที่สำราญก็มิใช่ ไม่สำราญก็มิใช่
นี้เรียกว่า อุเปกขินทรีย์
ในอินทรีย์ ๕ ประการนั้น สุขินทรีย์และโสมนัสสินทรีย์ พึงเห็นว่าเป็นสุขเวทนา
ทุกขินทรีย์และโทมนัสสินทรีย์ พึงเห็นว่าเป็นทุกขเวทนา
อุเปกขินทรีย์ พึงเห็นว่าเป็นอทุกขมสุขเวทนา
อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็น ๕ ประการแล้วย่อเป็น ๓ ประการ เป็น ๓ ประการ
แล้วขยายออกเป็น ๕ ประการโดยปริยาย ด้วยประการฉะนี้”

ตติยวิภังคสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๔. สุขินทริยวรรค ๙. กัฏโฐปมสูตร

๙. กัฏโฐปมสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยไม้เสียดสีกัน

[๕๐๙] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สุขินทรีย์ ๒. ทุกขินทรีย์
๓. โสมนัสสินทรีย์ ๔. โทมนัสสินทรีย์
๕. อุเปกขินทรีย์
ภิกษุทั้งหลาย สุขินทรีย์เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา
ภิกษุนั้นมีสุขก็รู้ชัดว่า เรามีสุข เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นแลดับไป
เธอก็รู้ชัดว่า สุขินทรีย์ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนาที่เสวยอยู่
อันเกิดจากผัสสะนั้นดับไป คือสงบไป
ทุกขินทรีย์เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ภิกษุนั้นมี
ทุกข์ก็รู้ชัดว่า เรามีทุกข์ เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนานั้นแลดับไป เธอ
ก็รู้ชัดว่า ทุกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนาที่เสวยอยู่
อันเกิดจากผัสสะนั้นดับไป คือสงบไป
โสมนัสสินทรีย์เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัสสเวทนา ภิกษุ
นั้นสบายใจก็รู้ชัดว่า เราสบายใจ เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัสสเวทนานั้นแล
ดับไป เธอก็รู้ชัดว่า โสมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่ง
โสมนัสสเวทนาที่เสวยอยู่อันเกิดจากผัสสะนั้นดับไป คือสงบไป
โทมนัสสินทรีย์เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัสสเวทนา ภิกษุ
นั้นไม่สบายใจก็รู้ชัดว่า เราไม่สบายใจ เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัสสเวทนา
นั้นแลดับไป เธอก็รู้ชัดว่า โทมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้ง
แห่งโทมนัสสเวทนาที่เสวยอยู่อันเกิดจากผัสสะนั้นดับไป คือสงบไป
อุเปกขินทรีย์เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาเวทนา ภิกษุนั้น
วางเฉยก็รู้ชัดว่า เราวางเฉย เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาเวทนานั้นแลดับไป
เธอก็รู้ชัดว่า อุเปกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาเวทนา
ที่เสวยอยู่อันเกิดจากผัสสะนั้นดับไป คือสงบไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๔. สุขินทริยวรรค ๑๐. อุปปฏิปาฏิกสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เพราะไม้ ๒ อันเสียดสีกันจึงเกิดความร้อน ลุกเป็นไฟขึ้น เพราะ
แยกไม้ ๒ อันนั้นออกจากกัน ความร้อนที่เกิดจากการเสียดสีนั้นก็ดับไป ระงับไป
แม้ฉันใด สุขินทรีย์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่ง
สุขเวทนา ภิกษุนั้นมีสุขก็รู้ชัดว่า เรามีสุข เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา
นั้นแลดับไป เธอก็รู้ชัดว่า สุขินทรีย์ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่ง
สุขเวทนาที่เสวยอยู่อันเกิดจากผัสสะนั้นดับไป ระงับไป ทุกขินทรีย์เกิดขึ้นเพราะ
อาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ฯลฯ โสมนัสสินทรีย์เกิดขึ้นเพราะอาศัย
ผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัสสเวทนา ฯลฯ โทมนัสสินทรีย์เกิดขึ้นเพราะอาศัย
ผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัสสเวทนา ฯลฯ อุเปกขินทรีย์เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะ
อันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาเวทนา ภิกษุนั้นวางเฉยก็รู้ชัดว่า เราวางเฉย เพราะผัสสะ
อันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาเวทนานั้นแลดับไป เธอก็รู้ชัดว่า อุเปกขินทรีย์ที่เกิดขึ้น
เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาเวทนาที่เสวยอยู่อันเกิดจากผัสสะนั้น
ดับไป ระงับไป”

กัฏโฐปมสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. อุปปฏิปาฏิกสูตร
ว่าด้วยอินทรีย์ที่เกิดสับลำดับกัน

[๕๑๐] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทุกขินทรีย์ ๒. โทมนันสินทรีย์
๓. สุขินทรีย์ ๔. โทมนัสสินทรีย์
๕. อุเปกขินทรีย์
เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่
ทุกขินทรีย์ย่อมเกิดขึ้น เธอรู้ชัดว่า ‘ทุกขินทรีย์นี้เกิดขึ้นแก่เรา และทุกขินทรีย์นั้น
มีเครื่องหมาย มีเหตุ มีสิ่งปรุงแต่ง มีปัจจัย ทั้งเป็นไปไม่ได้เลยที่ทุกขินทรีย์นั้นซึ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๔. สุขินทริยวรรค ๑๐. อุปปฏิปาฏิกสูตร

ไม่มีเครื่องหมาย ไม่มีเหตุ ไม่มีสิ่งปรุงแต่ง ไม่มีปัจจัย จักเกิดขึ้น’ เธอรู้ชัดทุกขินทรีย์
รู้ชัดความเกิดแห่งทุกขินทรีย์ รู้ชัดความดับแห่งทุกขินทรีย์ และรู้ชัดที่ดับไปไม่
เหลือแห่งทุกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว
ทุกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไปไม่เหลือในที่ไหน
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน
ที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขที่เกิดจากวิเวกอยู่ ทุกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไปไม่
เหลือในปฐมฌานนี้
ภิกษุนี้เรากล่าวว่า รู้ความดับแห่งทุกขินทรีย์แล้วน้อมจิตไปเพื่อความเป็นอย่างนั้น
เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่
โทมนัสสินทรีย์ย่อมเกิดขึ้น เธอรู้ชัดว่า ‘โทมนัสสินทรีย์นี้เกิดขึ้นแก่เรา และ
โทมนัสสินทรีย์นั้นมีเครื่องหมาย มีเหตุ มีสิ่งปรุงแต่ง มีปัจจัย ทั้งเป็นไปไม่ได้เลย
ที่โทมนัสสินทรีย์นั้นซึ่งไม่มีเครื่องหมาย ไม่มีเหตุ ไม่มีสิ่งปรุงแต่ง ไม่มีปัจจัย จัก
เกิดขึ้น’ เธอรู้ชัดโทมนัสสินทรีย์ รู้ชัดความเกิดแห่งโทมนัสสินทรีย์ รู้ชัดความดับ
แห่งโทมนัสสินทรีย์ และรู้ชัดที่ดับไปไม่เหลือแห่งโทมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว
โทมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไปไม่เหลือในที่ไหน
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌานที่มี
ความผ่องใสภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและ
สุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ โทมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไปไม่เหลือในทุติยฌานนี้
ภิกษุนี้เรากล่าวว่า รู้ความดับแห่งโทมนัสสินทรีย์แล้วน้อมจิตไปเพื่อความเป็น
อย่างนั้น
เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่
สุขินทรีย์ย่อมเกิดขึ้น เธอรู้ชัดว่า ‘สุขินทรีย์นี้เกิดขึ้นแก่เรา และสุขินทรีย์นั้น
มีเครื่องหมาย มีเหตุ มีสิ่งปรุงแต่ง มีปัจจัย ทั้งเป็นไปไม่ได้เลยที่สุขินทรีย์นั้นซึ่ง
ไม่มีเครื่องหมาย ไม่มีเหตุ ไม่มีสิ่งปรุงแต่ง ไม่มีปัจจัย จักเกิดขึ้น’ เธอรู้ชัดสุขินทรีย์
รู้ชัดความเกิดแห่งสุขินทรีย์ รู้ชัดความดับแห่งสุขินทรีย์ และรู้ชัดที่ดับไปไม่เหลือแห่ง
สุขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค[๔. อินทริยสังยุต]
๔. สุขินทริยวรรค ๑๐. อุปปฏิปาฏิกสูตร

สุขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไปไม่เหลือในที่ไหน
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เพราะปีติจางคลายไป มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา
มีสติ อยู่เป็นสุข’ สุขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไปไม่เหลือในตติยฌานนี้
ภิกษุนี้เรากล่าวว่า รู้ความดับแห่งสุขินทรีย์แล้วน้อมจิตไปเพื่อความเป็นอย่าง
นั้น
เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่
โสมนัสสินทรีย์ย่อมเกิดขึ้น เธอรู้ชัดว่า ‘โสมนัสสินทรีย์นี้เกิดขึ้นแก่เรา และ
โสมนัสสินทรีย์นั้นมีเครื่องหมาย มีเหตุ มีสิ่งปรุงแต่ง มีปัจจัย ทั้งเป็นไปไม่ได้เลยที่
โสมนัสสินทรีย์นั้นซึ่งไม่มีเครื่องหมาย ไม่มีเหตุ ไม่มีสิ่งปรุงแต่ง ไม่มีปัจจัย
จักเกิดขึ้น’ เธอรู้ชัดโสมนัสสินทรีย์ รู้ชัดความเกิดแห่งโสมนัสสินทรีย์ รู้ชัดความ
ดับแห่งโสมนัสสินทรีย์ และรู้ชัดที่ดับไปไม่เหลือแห่งโสมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว
โสมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไปไม่เหลือในที่ไหน
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัส
ดับไปก่อนแล้ว บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่
โสมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไปไม่เหลือในจตุตถฌานนี้
ภิกษุนี้เรากล่าวว่า รู้ความดับแห่งโสมนัสสินทรีย์แล้วน้อมจิตไปเพื่อความเป็น
อย่างนั้น
เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่
อุเปกขินทรีย์ย่อมเกิดขึ้น เธอรู้ชัดว่า ‘อุเปกขินทรีย์นี้เกิดขึ้นแก่เรา และ
อุเปกขินทรีย์นั้นมีเครื่องหมาย มีเหตุ มีสิ่งปรุงแต่ง มีปัจจัย ทั้งเป็นไปไม่ได้เลยที่
อุเปกขินทรีย์นั้นซึ่งไม่มีเครื่องหมาย ไม่มีเหตุ ไม่มีสิ่งปรุงแต่ง ไม่มีปัจจัย จักเกิดขึ้น’
เธอรู้ชัดอุเปกขินทรีย์ รู้ชัดความเกิดแห่งอุเปกขินทรีย์ รู้ชัดความดับแห่งอุเปกขินทรีย์
และรู้ชัดที่ดับไปไม่เหลือแห่งอุเปกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๔. สุขินทริยวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

อุเปกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไปไม่เหลือในที่ไหน
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการ
ทั้งปวงแล้ว เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติอยู่ อุเปกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมดับ
ไม่เหลือในสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัตินี้
ภิกษุนี้เรากล่าวว่า รู้ความดับแห่งอุเปกขินทรีย์แล้วน้อมจิตไปเพื่อความเป็น
อย่างนั้น”

อุปปฏิปาฏิกสูตรที่ ๑๐ จบ
สุขินทริยวรรคที่ ๔ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สุทธิกสูตร ๒. โสตาปันนสูตร
๓. อรหันตสูตร ๔. ปฐมสมณพราหมณสูตร
๕. ทุติยสมณพราหมณสูตร ๖. ปฐมวิภังคสูตร
๗. ทุติยวิภังคสูตร ๘. ตติยวิภังคสูตร
๙. กัฏโฐปมสูตร ๑๐. อุปปฏิปาฏิกสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๕. ชราวรรค ๑. ชราธัมมสูตร

๕. ชราวรรค
หมวดว่าด้วยความแก่
๑. ชราธัมมสูตร
ว่าด้วยผู้มีความแก่

[๕๑๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปราสาทของนางวิสาขามิคารมาตา
ในบุพพาราม เขตกรุงสาวัตถี ครั้นในเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่
หลีกเร้น ประทับนั่งผินพระปฤษฎางค์ให้แดดที่ส่องมาจากทิศตะวันตก
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วบีบนวดพระวรกายของพระผู้มีพระภาคด้วยฝ่ามือพลางกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ บัดนี้พระฉวีวรรณ
ของพระผู้มีพระภาคไม่บริสุทธิ์ผุดผ่องเหมือนเมื่อก่อน พระอวัยวะทุกส่วนก็เหี่ยวย่น
เป็นเกลียว พระวรกายก็ค้อมไปข้างหน้า และพระอินทรีย์ทั้งหลาย คือ จักขุนทรีย์
โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ ก็ปรากฏแปรเปลี่ยนไป”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “จริงอย่างนั้น อานนท์ ความแก่มีอยู่ในความเป็น
หนุ่มสาว ความเจ็บไข้มีอยู่ในความไม่มีโรค ความตายก็มีอยู่ในชีวิต ผิวพรรณไม่
บริสุทธิ์ผุดผ่องเหมือนเมื่อก่อน อวัยวะทุกส่วนก็เหี่ยวย่นเป็นเกลียว กายก็ค้อมไป
ข้างหน้า และอินทรีย์ทั้งหลาย คือ จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์
กายินทรีย์ ก็ปรากฏแปรเปลี่ยนไป”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสพระดำรัสนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์
ต่อไปอีกว่า
“ถึงท่านจะติความแก่ที่เลวทราม
จะติความแก่ที่ทำให้ผิวพรรณทรามไปสักเพียงใด
รูปที่น่าพึงพอใจก็คงถูกความแก่ย่ำยีเพียงนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๕. ชราวรรค ๒. อุณณาภพราหมณสูตร

แม้ผู้ใดพึงมีชีวิตอยู่ถึง ๑๐๐ ปี
ผู้นั้นก็มีความตายอยู่เบื้องหน้า
ความตายไม่ละเว้นใคร ๆ ย่อมย่ำยีสัตว์ทั้งหมดทีเดียว”

ชราธัมมสูตรที่ ๑ จบ

๒. อุณณาภพราหมณสูตร
ว่าด้วยอุณณาภพราหมณ์

[๕๑๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้นแล พราหมณ์ชื่ออุณณาภะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้
สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ท่านพระโคดม อินทรีย์ ๕ ประการนี้ มีอารมณ์ต่างกัน มีโคจรต่างกัน ไม่
เสวยอารมณ์อันเป็นโคจรของกันและกัน
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. จักขุนทรีย์ ๒. โสตินทรีย์
๓. ฆานินทรีย์ ๔. ชิวหินทรีย์
๕. กายินทรีย์
ท่านพระโคดม อะไรเป็นที่ยึดเหนี่ยวของอินทรีย์ ๕ ประการนี้ที่มีอารมณ์ต่างกัน
มีโคจรต่างกัน ไม่เสวยอารมณ์อันเป็นโคจรของกันและกัน และอะไรเล่าย่อมเสวย
อารมณ์อันเป็นโคจรของอินทรีย์ ๕ ประการนี้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ มีอารมณ์
ต่างกัน มีโคจรต่างกัน ไม่เสวยอารมณ์อันเป็นโคจรของกันและกัน
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. จักขุนทรีย์ ๒. โสตินทรีย์
๓. ฆานินทรีย์ ๔. ชิวหินทรีย์
๕. กายินทรีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๕. ชราวรรค ๒. อุณณาภพราหมณสูตร

พราหมณ์ ใจเป็นที่ยึดเหนี่ยวของอินทรีย์ ๕ ประการนี้ที่มีอารมณ์ต่างกัน มี
โคจรต่างกัน ไม่เสวยอารมณ์อันเป็นโคจรของกันและกัน และใจย่อมเสวยอารมณ์
อันเป็นโคจรของอินทรีย์ ๕ ประการนี้”
“ท่านพระโคดม อะไรเป็นที่ยึดเหนี่ยวของใจ”
“พราหมณ์ สติเป็นที่ยึดเหนี่ยวของใจ”
“ท่านพระโคดม อะไรเป็นที่ยึดเหนี่ยวของสติ”
“พราหมณ์ วิมุตติเป็นที่ยึดเหนี่ยวของสติ”
“ท่านพระโคดม อะไรเป็นที่ยึดเหนี่ยวของวิมุตติ”
“พราหมณ์ นิพพานเป็นที่ยึดเหนี่ยวของวิมุตติ”
“ท่านพระโคดม อะไรเป็นที่ยึดเหนี่ยวของนิพพาน”
“พราหมณ์ ท่านล่วงเลยปัญหาไป ไม่สามารถกำหนดที่สุดแห่งปัญหาได้ ด้วยว่า
พรหมจรรย์ที่บุคคลอยู่จบแล้ว หยั่งลงสู่นิพพาน มีนิพพานเป็นเบื้องหน้า มี
นิพพานเป็นที่สุด”
ลำดับนั้น อุณณาภพราหมณ์ชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว
ลุกจากที่นั่ง ถวายอภิวาท ทำประทักษิณแล้วจากไป
ครั้นอุณณาภพราหมณ์จากไปได้ไม่นาน พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลาย
มาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเรือนยอดหรือศาลาเรือนยอด มีหน้าต่างอยู่
ด้านทิศตะวันออก เมื่อดวงอาทิตย์ขึ้น แสง (ดวงอาทิตย์) ส่องเข้าไปทางหน้าต่าง
จะปรากฏที่ไหน”
“ที่ฝาด้านทิศตะวันตก พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน ศรัทธาในตถาคตของ
อุณณาภพราหมณ์ตั้งมั่นหยั่งรากลงแล้วมั่นคง อันสมณะหรือพราหมณ์ เทวดาหรือมาร
พรหมหรือใคร ๆ ในโลกให้หวั่นไหวไม่ได้ ถ้าอุณณาภพราหมณ์พึงทำกาละในเวลา
นี้ไซร้ ย่อมไม่มีสังโยชน์ที่เป็นเครื่องประกอบให้อุณณาภพราหมณ์ต้องมาสู่โลกนี้อีก”

อุณณาภพราหมณสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๕. ชราวรรค ๓. สาเกตสูตร

๓. สาเกตสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่เมืองสาเกต

[๕๑๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอัญชนวัน สถานที่พระราชทาน
อภัยแก่หมู่เนื้อ เขตเมืองสาเกต ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เหตุที่อินทรีย์ ๕ ประการอาศัยแล้วกลาย
เป็นพละ ๕ ประการ และที่พละ ๕ ประการอาศัยแล้วกลายเป็นอินทรีย์ ๕ ประการ
มีอยู่หรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาค
เป็นที่พึ่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เฉพาะพระผู้มีพระภาคเท่านั้น
จะทรงอธิบายเนื้อความแห่งพระภาษิตนั้นให้แจ่มแจ้งได้ ภิกษุทั้งหลายฟังต่อจาก
พระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้”
“ภิกษุทั้งหลาย เหตุที่อินทรีย์ ๕ ประการอาศัยแล้วกลายเป็นพละ ๕ ประการ
และที่พละ ๕ ประการอาศัยแล้วกลายเป็นอินทรีย์ ๕ ประการมีอยู่
เหตุที่อินทรีย์ ๕ ประการอาศัยแล้วกลายเป็นพละ ๕ ประการ และที่
พละ ๕ ประการอาศัยแล้วกลายเป็นอินทรีย์ ๕ ประการ เป็นอย่างไร
คือ สิ่งใดเป็นสัทธินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสัทธาพละ สิ่งใดเป็นสัทธาพละ สิ่งนั้น
เป็นสัทธินทรีย์ สิ่งใดเป็นวิริยินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นวิริยพละ สิ่งใดเป็นวิริยพละ สิ่งนั้น
เป็นวิริยินทรีย์ สิ่งใดเป็นสตินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสติพละ สิ่งใดเป็นสติพละ สิ่งนั้น
เป็นสตินทรีย์ สิ่งใดเป็นสมาธินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสมาธิพละ สิ่งใดเป็นสมาธิพละ
สิ่งนั้นเป็นสมาธินทรีย์ สิ่งใดเป็นปัญญินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นปัญญาพละ สิ่งใดเป็น
ปัญญาพละ สิ่งนั้นเป็นปัญญินทรีย์
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไปสู่ทิศ
ปราจีน กลางแม่น้ำนั้นมีเกาะ เหตุที่จะให้นับว่าแม่น้ำนั้นมีกระแสเดียวมีอยู่ และ
เหตุที่จะให้นับว่าแม่น้ำนั้นมี ๒ กระแสก็มีอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๕. ชราวรรค ๔. ปุพพโกฏฐกสูตร

เหตุที่จะให้นับว่าแม่น้ำนั้นมีกระแสเดียว เป็นอย่างไร
คือ น้ำที่อยู่สุดทิศตะวันออกและสุดทิศตะวันตกของเกาะนั้น
นี้แล คือเหตุที่ให้นับว่าแม่น้ำนั้นมีกระแสเดียว
เหตุที่จะให้นับว่าแม่น้ำนั้นมี ๒ กระแส เป็นอย่างไร
คือ น้ำที่อยู่สุดทิศเหนือและสุดทิศใต้ของเกาะนั้น
นี้แล คือเหตุที่ให้นับว่าแม่น้ำนั้นมี ๒ กระแส แม้ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สิ่งใดเป็นสัทธินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสัทธา-
พละ สิ่งใดเป็นสัทธาพละ สิ่งนั้นเป็นสัทธินทรีย์ สิ่งใดเป็นวิริยินทรีย์ สิ่งนั้นเป็น
วิริยพละ สิ่งใดเป็นวิริยพละ สิ่งนั้นเป็นวิริยินทรีย์ สิ่งใดเป็นสตินทรีย์ สิ่งนั้นเป็น
สติพละ สิ่งใดเป็นสติพละ สิ่งนั้นเป็นสตินทรีย์ สิ่งใดเป็นสมาธินทรีย์ สิ่งนั้น
เป็นสมาธิพละ สิ่งใดเป็นสมาธิพละ สิ่งนั้นเป็นสมาธินทรีย์ สิ่งใดเป็นปัญญินทรีย์
สิ่งนั้นเป็นปัญญาพละ สิ่งใดเป็นปัญญาพละ สิ่งนั้นเป็นปัญญินทรีย์
ภิกษุทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้เพราะอาสวะทั้งหลาย
สิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน เพราะอินทรีย์ ๕ ประการที่ภิกษุนั้น
เจริญ ทำให้มากแล้ว”

สาเกตสูตรที่ ๓ จบ

๔. ปุพพโกฏฐกสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่ปุพพโกฏฐกะ

[๕๑๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปุพพโกฏฐกะ เขตกรุงสาวัตถี ณ
ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระสารีบุตรมาตรัสว่า
“สารีบุตร เธอเชื่อหรือไม่ว่า สัทธินทรีย์ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อม
หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่ไปในเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ฯลฯ ปัญญินทรีย์
ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่ไปในเบื้องหน้า
มีอมตะเป็นที่สุด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๕. ชราวรรค ๕. ปฐมปุพพารามสูตร

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อนี้ชนเหล่าใดไม่รู้ ไม่เห็น ไม่เข้าใจ มิได้ทำให้แจ้ง
มิได้สัมผัสด้วยปัญญา ชนเหล่านั้นพึงถึงความเชื่อต่อผู้อื่นในข้อนั้นว่า สัทธินทรีย์
ฯลฯ ปัญญินทรีย์ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็น
เบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อนี้ชนเหล่าใดรู้ เห็น เข้าใจ
ทำให้แจ้ง สัมผัสด้วยปัญญาแล้ว ชนเหล่านั้นย่อมไม่มีความสงสัย ไม่มีความ
แคลงใจในข้อนั้นเลยว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ก็ข้อนั้นข้าพระองค์
รู้ เห็น เข้าใจ ทำให้แจ้ง สัมผัสด้วยปัญญาแล้ว ข้าพระองค์ไม่มีความสงสัย
ไม่มีความแคลงใจในข้อนั้นว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ที่บุคคลเจริญ ทำให้
มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด”
“ดีละ ดีละ สารีบุตร ข้อนี้ชนเหล่าใดไม่รู้ ไม่เห็น ไม่เข้าใจ มิได้ทำให้แจ้ง
มิได้สัมผัสด้วยปัญญา ชนเหล่านั้นพึงดำเนินไปด้วยความเชื่อต่อผู้อื่นในข้อนั้นว่า
สัทธินทรีย์ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า
มีอมตะเป็นที่สุด ฯลฯ ปัญญินทรีย์ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่
อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ข้อนี้ชนเหล่าใดรู้ เห็น เข้าใจ
ทำให้แจ้ง ได้สัมผัสด้วยปัญญา ชนเหล่านั้นหมดความระแวงสงสัยในข้อนั้นว่า
สัทธินทรีย์ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า
มีอมตะเป็นที่สุด ฯลฯ ปัญญินทรีย์ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ
มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด”

ปุพพโกฏฐกสูตรที่ ๔ จบ

๕. ปฐมปุพพารามสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่บุพพาราม สูตรที่ ๑

[๕๑๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปราสาทของนางวิสาขามิคารมาตา
ในบุพพาราม เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๕. ชราวรรค ๖. ทุติยปุพพารามสูตร

มาตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุขีณาสพพยากรณ์อรหัตตผลว่า ‘เรารู้ชัดว่า
ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความ
เป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ เพราะอินทรีย์เท่าไรที่ภิกษุขีณาสพเจริญ ทำให้มากแล้ว”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็น
หลัก ฯลฯ๑
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุขีณาสพพยากรณ์อรหัตตผลว่า ‘เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
อีกต่อไป’ เพราะอินทรีย์อย่างหนึ่งที่ภิกษุขีณาสพเจริญ ทำให้มากแล้ว
อินทรีย์อย่างหนึ่ง คืออะไร
คือ ปัญญินทรีย์ ศรัทธาที่เป็นไปตามปัญญา วิริยะที่เป็นไปตามปัญญา
สติที่เป็นไปตามปัญญา สมาธิที่เป็นไปตามปัญญาของอริยสาวกผู้มีปัญญาย่อม
ตั้งมั่น
ภิกษุขีณาสพพยากรณ์อรหัตตผลว่า ‘เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
เพราะอินทรีย์อย่างหนึ่งนี้ที่ภิกษุขีณาสพเจริญ ทำให้มากแล้ว”

ปฐมปุพพารามสูตรที่ ๕ จบ

๖. ทุติยปุพพารามสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่บุพพาราม สูตรที่ ๒

[๕๑๖] ต้นเรื่องเหมือนสูตรที่ ๕
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุขีณาสพพยากรณ์อรหัตผลว่า ‘เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
อีกต่อไป’ เพราะอินทรีย์เท่าไรที่ภิกษุขีณาสพเจริญ ทำให้มากแล้ว


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๕. ชราวรรค ๗. ตติยปุพพารามสูตร

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็น
หลัก ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุขีณาสพพยากรณ์อรหัตผลว่า ‘เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
อีกต่อไป’ เพราะอินทรีย์ ๒ ประการที่ภิกษุขีณาสพเจริญ ทำให้มากแล้ว
อินทรีย์ ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ปัญญาที่เป็นอริยะ ๒. วิมุตติที่เป็นอริยะ
ปัญญาที่เป็นอริยะเป็นปัญญินทรีย์ วิมุตติที่เป็นอริยะเป็นสมาธินทรีย์
ภิกษุขีณาสพพยากรณ์อรหัตตผลว่า ‘เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหม-
จรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
เพราะอินทรีย์ ๒ ประการนี้ที่ภิกษุขีณาสพเจริญ ทำให้มากแล้ว”

ทุติยปุพพารามสูตรที่ ๖ จบ

๗. ตติยปุพพารามสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่บุพพาราม สูตรที่ ๓

[๕๑๗] ต้นเรื่องเหมือนสูตรที่ ๕
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุขีณาสพพยากรณ์อรหัตตผลว่า ‘เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
อีกต่อไป’ เพราะอินทรีย์เท่าไรที่ภิกษุขีณาสพเจริญ ทำให้มากแล้ว”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็น
หลัก ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุขีณาสพพยากรณ์อรหัตตผลว่า ‘เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
อีกต่อไป’ เพราะอินทรีย์ ๔ ประการที่ภิกษุขีณาสพเจริญ ทำให้มากแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๕. ชราวรรค ๘. จตุตถปุพพารามสูตร

อินทรีย์ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. วิริยินทรีย์ ๒. สตินทรีย์
๓. สมาธินทรีย์ ๔. ปัญญินทรีย์
ภิกษุขีณาสพพยากรณ์อรหัตผลว่า ‘เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์
แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ เพราะ
อินทรีย์ ๔ ประการนี้ที่ภิกษุขีณาสพเจริญ ทำให้มากแล้ว”

ตติยปุพพารามสูตรที่ ๗ จบ

๘. จตุตถปุพพารามสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่บุพพาราม สูตรที่ ๔

[๕๑๘] ต้นเรื่องเหมือนสูตรที่ ๕
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุขีณาสพพยากรณ์อรหัตตผลว่า ‘เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
อีกต่อไป’ เพราะอินทรีย์เท่าไรที่ภิกษุขีณาสพเจริญ ทำให้มากแล้ว”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็น
หลัก ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุขีณาสพพยากรณ์อรหัตตผลว่า ‘เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
อีกต่อไป’ เพราะอินทรีย์ ๕ ประการที่ภิกษุขีณาสพเจริญ ทำให้มากแล้ว
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ๒. วิริยินทรีย์
๓. สตินทรีย์ ๔. สมาธินทรีย์
๕. ปัญญินทรีย์
ภิกษุขีณาสพพยากรณ์อรหัตตผลว่า ‘เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้ที่ภิกษุขีณาสพเจริญ ทำให้มากแล้ว”

จตุตถปุพพารามสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๕. ชราวรรค ๙. ปิณโฑลภารทวาชสูตร

๙. ปิณโฑลภารทวาชสูตร
ว่าด้วยพระปิณโฑลภารทวาชะ

[๕๑๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี สมัยนั้น
ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะได้พยากรณ์อรหัตตผลว่า “เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
ครั้งนั้น ภิกษุจำนวนมากเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะพยากรณ์อรหัตตผลว่า
‘เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจ
อื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะเห็นอำนาจประโยชน์อะไร
จึงพยากรณ์อรหัตตผลว่า ‘เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจ
ที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุปิณโฑลภารทวาชะพยากรณ์
อรหัตตผลว่า ‘เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำ
เสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ เพราะอินทรีย์ ๓ ประการที่
ภิกษุปิณโฑลภารทวาชะเจริญ ทำให้มากแล้ว
อินทรีย์ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ๒. สมาธินทรีย์
๓. ปัญญินทรีย์
ภิกษุปิณโฑลภารทวาชะพยากรณ์อรหัตตผลว่า ‘เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
เพราะอินทรีย์ ๓ ประการนี้ที่ภิกษุปิณโฑลภารทวาชะเจริญ ทำให้มากแล้ว
อินทรีย์ ๓ ประการนี้มีอะไรเป็นที่สุด
คือ มีความสิ้นไปเป็นที่สุด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๕. ชราวรรค ๑๐. อาปณสูตร

อะไรมีความสิ้นไปเป็นที่สุด
คือ ชาติ ชรา และมรณะมีความสิ้นไปเป็นที่สุด
ภิกษุปิณโฑลภารทวาชะพิจารณาเห็นว่า ‘ชาติ ชรา และมรณะสิ้นไป’ จึง
พยากรณ์อรหัตตผลว่า ‘เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่
ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

ปิณโฑลภารทวาชสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. อาปณสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่อาปณนิคม

[๕๒๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวอังคะชื่ออาปณะ แคว้น
อังคะ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระสารีบุตรมาตรัสว่า “สารีบุตร
อริยสาวกใดมีศรัทธามั่นคง เลื่อมใสยิ่งในตถาคต อริยสาวกนั้นไม่พึงสงสัยหรือ
เคลือบแคลงในตถาคตหรือในคำสอนของตถาคต”
ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระอริยสาวกใดมี
ศรัทธามั่นคง เลื่อมใสอย่างยิ่งในพระตถาคต พระอริยสาวกนั้นไม่พึงสงสัยหรือ
เคลือบแคลงในพระตถาคตหรือในคำสอนของพระตถาคต
อนึ่ง พระอริยสาวกผู้มีศรัทธาพึงหวังได้ว่าจักเป็นผู้ปรารภความเพียรเพื่อละ
อกุศลธรรม เข้าถึงกุศลธรรม มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่น มั่นคง ไม่ทอดธุระ
ในกุศลธรรมอยู่ ก็วิริยะของพระอริยสาวกนั้นพึงจัดเป็นวิริยินทรีย์
อนึ่ง พระอริยสาวกผู้มีศรัทธา ปรารภความเพียร พึงหวังได้ว่าจักเป็นผู้มีสติ
ประกอบด้วยสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตนอย่างยิ่ง ระลึกนึกถึงสิ่งที่ทำ คำที่ได้พูด
ไว้นานบ้าง ก็สติของพระอริยสาวกนั้นพึงจัดเป็นสตินทรีย์
อนึ่ง พระอริยสาวกผู้มีศรัทธา ปรารภความเพียร มีสติมั่นคง พึงหวังได้ว่า
จักทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต ก็สมาธิของพระอริยสาวก
นั้นพึงจัดเป็นสมาธินทรีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๕. ชราวรรค ๑๐. อาปณสูตร

อนึ่ง พระอริยสาวกผู้มีศรัทธา ปรารภความเพียร มีสติมั่นคง มีจิตตั้งมั่น
พึงหวังได้ว่า จักรู้ชัดว่า ‘สงสารมีที่สุดและเบื้องต้นกำหนดรู้ไม่ได้ เบื้องต้นและ
ที่สุดไม่ปรากฏแก่เหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาปิดกั้น มีตัณหาผูกไว้ แล่นไป ท่องเที่ยวไป
ส่วนความดับกองแห่งความมืดคืออวิชชาไม่ให้เหลือด้วยวิราคะ นี้เป็นทางอันสงบ
นี้เป็นทางอันประณีต คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความ
สิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด ความดับ นิพพาน’ ก็ปัญญาของพระอริยสาวกนั้น
พึงจัดเป็นปัญญินทรีย์
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระอริยสาวกผู้มีศรัทธานั้นพยายามอย่างนี้ ครั้น
พยายามแล้วระลึกอย่างนี้ ครั้นระลึกแล้วตั้งมั่นอย่างนี้ ครั้นตั้งมั่นแล้วรู้ชัดอย่างนี้
ครั้นรู้ชัดแล้วย่อมเชื่อมั่นอย่างนี้ว่า ‘นี้แลคือธรรมที่เราได้ฟังมาก่อน บัดนี้เราถูก
ต้องด้วยนามกายนั้นอยู่และเห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา’ ก็ศรัทธาของพระอริย-
สาวกนั้นพึงจัดเป็นสัทธินทรีย์”
“ดีละ ดีละ สารีบุตร อริยสาวกใดมีศรัทธามั่นคง เลื่อมใสอย่างยิ่งในตถาคต
อริยสาวกนั้นไม่พึงสงสัยหรือเคลือบแคลงในตถาคตหรือในคำสอนของตถาคต ด้วยว่า
อริยสาวกผู้มีศรัทธาพึงหวังได้ว่า จักเป็นผู้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม
เพื่อให้กุศลธรรมเกิด มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่น มั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศล-
ธรรมทั้งหลายอยู่ ก็วิริยะของอริยสาวกนั้นพึงจัดเป็นวิริยินทรีย์
อนึ่ง อริยสาวกผู้มีศรัทธา ปรารภความเพียร พึงหวังได้ว่า จักเป็นผู้มีสติ
ประกอบด้วยสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตนอย่างยิ่ง ระลึกนึกถึงสิ่งที่ทำ คำที่ได้พูด
ไว้นานบ้าง ก็สติของอริยสาวกนั้นพึงจัดเป็นสตินทรีย์
อนึ่ง อริยสาวกผู้มีศรัทธา ปรารภความเพียร มีสติมั่นคง พึงหวังได้ว่า
จักยึดนิพพานให้เป็นอารมณ์ ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต ก็สมาธิของอริยสาวกนั้น
พึงจัดเป็นสมาธินทรีย์
อนึ่ง อริยสาวกผู้มีศรัทธา ปรารภความเพียร มีสติมั่นคง มีจิตตั้งมั่น พึง
หวังได้ว่า จักรู้ชัดว่า ‘สงสารมีที่สุดและเบื้องต้นกำหนดรู้ไม่ได้ เบื้องต้นและที่สุด
ไม่ปรากฏแก่เหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาปิดกั้น มีตัณหาผูกไว้ แล่นไป ท่องเที่ยวไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๕. ชราวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ส่วนความดับกองแห่งความมืดคืออวิชชาไม่ให้เหลือด้วยวิราคะ นี้เป็นทางอันสงบ
นี้เป็นทางอันประณีต คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความ
สิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด ความดับ นิพพาน’ ก็ปัญญาของอริยสาวกนั้นพึงจัด
เป็นปัญญินทรีย์
สารีบุตร อริยสาวกผู้มีศรัทธานั้นพยายามอย่างนี้ ครั้นพยายามแล้วระลึก
อย่างนี้ ครั้นระลึกแล้วตั้งมั่นอย่างนี้ ครั้นตั้งมั่นแล้วรู้ชัดอย่างนี้ ครั้นรู้ชัดแล้วย่อม
เชื่อมั่นอย่างนี้ว่า ‘นี้แลคือธรรมที่เราได้ฟังมาก่อน บัดนี้เราถูกต้องด้วยนามกาย
นั้นอยู่ และเห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา’ ก็ศรัทธาของอริยสาวกนั้นพึงจัดเป็น
สัทธินทรีย์”

อาปณสูตรที่ ๑๐ จบ
ชราวรรคที่ ๕ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ชราธัมมสูตร ๒. อุณณาภพราหมณสูตร
๓. สาเกตสูตร ๔. ปุพพโกฏฐกสูตร
๕. ปฐมปุพพารามสูตร ๖. ทุติยปุพพารามสูตร
๗. ตติยปุพพารามสูตร ๘. จตุตถปุพพารามสูตร
๙. ปิณโฑลภารทวาชสูตร ๑๐. อาปณสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๖. สูกรขตวรรค ๑. สาลสูตร

๖. สูกรขตวรรค
หมวดว่าด้วยถ้ำสุกรขาตา
๑. สาลสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่หมู่บ้านพราหณ์ชื่อสาลา

[๕๒๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ หมู่บ้านพราหมณ์ชื่อสาลา แคว้น
โกศล ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ดิรัจฉานเหล่าใดเหล่าหนึ่ง พญาราชสีห์ชาวโลกกล่าวว่า
เลิศกว่าสัตว์ดิรัจฉานเหล่านั้น เพราะพละกำลัง ความเร็ว ความกล้า แม้ฉันใด
โพธิปักขิยธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปัญญินทรีย์บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าโพธิปักขิย-
ธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
โพธิปักขิยธรรม อะไรบ้าง คือ
สัทธินทรีย์เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้
วิริยินทรีย์เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้
สตินทรีย์เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้
สมาธินทรีย์เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้
ปัญญินทรีย์เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้
ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ดิรัจฉานเหล่าใดเหล่าหนึ่ง พญาราชสีห์ชาวโลกกล่าวว่า
เลิศกว่าสัตว์เหล่านั้น เพราะพละกำลัง ความเร็ว ความกล้า แม้ฉันใด โพธิปักขิย-
ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปัญญินทรีย์บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น
เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน”

สาลสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๖. สูกรขตวรรค ๓. เสขสูตร

๒. มัลลกสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่นิคมของชาวมัลละ

[๕๒๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวมัลละชื่ออุรุเวลกัปปะ
แคว้นมัลละ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย อริยญาณยังไม่เกิดขึ้นแก่อริยสาวกเพียงใด อินทรีย์ ๔ ประการ ก็ชื่อว่า
ยังไม่ตั้งมั่น ไม่หยั่งลงเพียงนั้น แต่เมื่อใด อริยญาณเกิดขึ้นแก่อริยสาวก เมื่อนั้น
อินทรีย์ ๔ ประการก็ชื่อว่าย่อมตั้งมั่น ย่อมหยั่งลง
ภิกษุทั้งหลาย ยอดของเรือนยอดเขายังไม่ยกขึ้นเพียงใด กลอนทั้งหลายก็ชื่อ
ว่ายังไม่ได้ตั้ง ยังไม่ได้ใส่เพียงนั้น แต่เมื่อใด ยอดของเรือนเขายกขึ้นแล้ว เมื่อนั้น
กลอนทั้งหลายก็ชื่อว่าได้ตั้ง ได้ใส่ไว้ แม้ฉันใด อริยญาณก็ฉันนั้นเหมือนกันยัง
ไม่เกิดขึ้นแก่อริยสาวกเพียงใด อินทรีย์ ๔ ประการก็ชื่อว่ายังไม่ตั้งมั่น ไม่หยั่งลง
เพียงนั้น แต่เมื่อใด อริยญาณเกิดขึ้นแก่อริยสาวก เมื่อนั้น อินทรีย์ ๔ ประการ
ก็ชื่อว่าย่อมตั้งมั่น ย่อมหยั่งลง
อินทรีย์ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ๒. วิริยินทรีย์
๓. สตินทรีย์ ๔. สมาธินทรีย์
ภิกษุทั้งหลาย สัทธาที่เป็นไปตามปัญญา วิริยะที่เป็นไปตามปัญญา สติที่
เป็นไปตามปัญญา สมาธิที่เป็นไปตามปัญญาของอริยสาวกผู้มีปัญญา ย่อมตั้งมั่น”

มัลลกสูตรที่ ๒ จบ

๓. เสขสูตร
ว่าด้วยพระเสขะและพระอเสขะ

[๕๒๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๖. สูกรขตวรรค ๓. เสขสูตร

เหตุที่ให้ภิกษุผู้เป็นเสขะอาศัยแล้วตั้งอยู่ในเสขภูมิ รู้ชัดว่า ‘เราเป็นพระเสขะ’ และ
ที่ให้ภิกษุผู้เป็นอเสขะอาศัยแล้วตั้งอยู่ในอเสขภูมิ รู้ชัดว่า ‘เราเป็นพระอเสขะ’ มี
อยู่หรือ”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ๑
“ภิกษุทั้งหลาย เหตุที่ให้ภิกษุผู้เป็นเสขะอาศัยแล้วตั้งอยู่ในเสขภูมิ รู้ชัดว่า
‘เราเป็นพระเสขะ’ และที่ให้ภิกษุผู้เป็นอเสขะอาศัยแล้วตั้งอยู่ในอเสขภูมิ รู้ชัดว่า
‘เราเป็นพระอเสขะ’ มีอยู่
เหตุที่ให้ภิกษุผู้เป็นเสขะอาศัยแล้วตั้งอยู่ในเสขภูมิ รู้ชัดว่า ‘เราเป็น
พระเสขะ‘ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุผู้เป็นเสขะในธรรมวินัยนี้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกข-
สมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’
เหตุที่ให้ภิกษุผู้เป็นเสขะอาศัยแล้วตั้งอยู่ในเสขภูมิ รู้ชัดว่า ‘เราเป็นพระเสขะ’
เป็นอย่างนี้แล
อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้เป็นเสขะพิจารณาเห็นว่า ‘สมณะหรือพราหมณ์อื่น
นอกศาสนานี้ผู้ที่แสดงธรรมจริงแท้แน่นอนเหมือนพระผู้มีพระภาคมีอยู่หรือ’ เธอรู้
ชัดว่า ‘สมณะหรือพราหมณ์อื่นนอกศาสนานี้ผู้ที่แสดงธรรมจริงแท้แน่นอนเหมือน
พระผู้มีพระภาคไม่มีเลย’
เหตุที่ให้ภิกษุผู้เป็นเสขะอาศัยแล้วตั้งอยู่ในเสขภูมิ รู้ชัดว่า ‘เราเป็นพระเสขะ’
เป็นอย่างนี้แล
อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้เป็นเสขะย่อมรู้ชัดอินทรีย์ ๕ ประการ คือ
๑. สัทธินทรีย์ ๒. วิริยินทรีย์
๓. สตินทรีย์ ๔. สมาธินทรีย์
๕. ปัญญินทรีย์


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๖. สูกรขตวรรค ๓. เสขสูตร

อินทรีย์ ๕ ประการซึ่งมีคติ มีความเป็นเลิศ มีผล และมีที่สุด เธอยังไม่ถูก
ต้องด้วยนามกาย แต่เห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา
เหตุที่ให้ภิกษุผู้เป็นเสขะอาศัยแล้วตั้งอยู่ในเสขภูมิ รู้ชัดว่า ‘เราเป็นพระเสขะ’
เป็นอย่างนี้แล
เหตุที่ให้ภิกษุผู้เป็นอเสขะอาศัยแล้วตั้งอยู่ในอเสขภูมิ รู้ชัดว่า ‘เราเป็น
พระอเสขะ‘ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุผู้เป็นอเสขะในธรรมวินัยนี้ย่อมรู้ชัดอินทรีย์ ๕ ประการ คือ
๑. สัทธินทรีย์ ๒. วิริยินทรีย์
๓. สตินทรีย์ ๔. สมาธินทรีย์
๕. ปัญญินทรีย์
อินทรีย์ ๕ ประการซึ่งมีคติ มีความเป็นเลิศ มีผล และมีที่สุด เธอยังไม่ถูก
ต้องด้วยนามกาย แต่เห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา
เหตุที่ให้ภิกษุผู้เป็นอเสขะอาศัยแล้วตั้งอยู่ในอเสขภูมิ รู้ชัดว่า ‘เราเป็น
พระอเสขะ’ เป็นอย่างนี้แล
อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้เป็นอเสขะย่อมรู้ชัดอินทรีย์ ๖ ประการ คือ
๑. จักขุนทรีย์ ๒. โสตินทรีย์
๓. ฆานินทรีย์ ๔. ชิวหินทรีย์
๕. กายินทรีย์ ๖. มนินทรีย์
เธอรู้ชัดว่า ‘อินทรีย์ ๖ ประการนี้จักดับทุกสิ่งโดยอาการทั้งหมดทุกอย่างไม่
เหลือโดยประการทั้งปวง และอินทรีย์ ๖ ประการอื่นก็จักไม่เกิดในภพไหน ๆ’
เหตุที่ให้ภิกษุผู้เป็นอเสขะอาศัยแล้วตั้งอยู่ในอเสขภูมิ รู้ชัดว่า ‘เราเป็นพระอเสขะ’
เป็นอย่างนี้แล”

เสขสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๖. สูกรขตวรรค ๕. สารสูตร

๔. ปทสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยรอยเท้าสัตว์

[๕๒๔] “ภิกษุทั้งหลาย รอยเท้าของสัตว์ที่เที่ยวไปบนแผ่นดินทั้งหมดรวมลง
ในรอยเท้าช้าง รอยเท้าช้างชาวโลกกล่าวว่าเลิศกว่ารอยเท้าเหล่านั้น เพราะเป็น
รอยใหญ่ แม้ฉันใด บทแห่งธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้
ปัญญินทรีย์บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าบทแห่งธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
บทแห่งธรรมที่เป็นไปเพื่อความตรัสรู้ อะไรบ้าง คือ
สัทธินทรีย์เป็นบทแห่งธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้
วิริยินทรีย์เป็นบทแห่งธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้
สตินทรีย์เป็นบทแห่งธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้
สมาธินทรีย์เป็นบทแห่งธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้
ปัญญินทรีย์เป็นบทแห่งธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้
ภิกษุทั้งหลาย รอยเท้าของสัตว์ที่เที่ยวไปบนแผ่นดินทั้งหมดรวมลงในรอยเท้าช้าง
รอยเท้าช้างชาวโลกกล่าวว่าเลิศกว่ารอยเท้าเหล่านั้น เพราะเป็นรอยใหญ่ แม้ฉันใด
บทแห่งธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ปัญญินทรีย์บัณฑิตกล่าว
ว่าเลิศกว่าบทแห่งธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน”

ปทสูตรที่ ๔ จบ

๕. สารสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยแก่นไม้

[๕๒๕] “ภิกษุทั้งหลาย กลิ่นหอมที่เกิดจากแก่นชนิดใดชนิดหนึ่ง จันทน์แดง
ชาวโลกกล่าวว่าเลิศกว่ากลิ่นหอมที่เกิดจากแก่นเหล่านั้น แม้ฉันใด โพธิปักขิยธรรม
เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปัญญินทรีย์บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น
เพราะเป็นไปเพื่อตรัสรู้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๖. สูกรขตวรรค ๖. ปติฏฐิตสูตร

โพธิปักขิยธรรม อะไรบ้าง คือ
สัทธินทรีย์เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้
วิริยินทรีย์ ฯลฯ
สตินทรีย์ ฯลฯ
สมาธินทรีย์ ฯลฯ
ปัญญินทรีย์เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้
ภิกษุทั้งหลาย จันทน์แดงชาวโลกกล่าวว่าเลิศกว่ากลิ่นหอมที่เกิดจากแก่น
เหล่านั้น แม้ฉันใด โพธิปักขิยธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปัญญินทรีย์บัณฑิตกล่าวว่า
เลิศกว่าโพธิปักขิยธรรมทั้งหลายเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน”

สารสูตรที่ ๕ จบ

๖. ปติฏฐิตสูตร
ว่าด้วยภิกษุตั้งอยู่ในธรรมอันเป็นเอก

[๕๒๖] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการ เป็นอันภิกษุผู้ตั้งอยู่ในธรรม
อันเป็นเอกเจริญ อบรมดีแล้ว
ธรรมอันเป็นเอก คืออะไร
คือ ความไม่ประมาท
ความไม่ประมาท เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมรักษาจิตในธรรมทั้งหลายทั้งที่เป็นอาสวะและที่
เป็นไปพร้อมกับอาสวะ เมื่อเธอรักษาจิตในธรรมทั้งหลายทั้งที่เป็นอาสวะและที่เป็นไป
พร้อมกับอาสวะ สัทธินทรีย์ก็ดี วิริยินทรีย์ก็ดี สตินทรีย์ก็ดี สมาธินทรีย์ก็ดี ปัญญินทรีย์ก็ดี
ย่อมถึงความเจริญเต็มที่
ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการเป็นอันภิกษุผู้ตั้งอยู่ในธรรมอันเป็นเอก
เจริญ อบรมดีแล้ว แม้อย่างนี้แล”

ปติฏฐิตสูตรที่ ๖ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๖. สูกรขตวรรค ๗. สหัมปติพรหมสูตร

๗. สหัมปติพรหมสูตร
ว่าด้วยท้าวสหัมบดีพรหม

[๕๒๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคแรกตรัสรู้ ประทับอยู่ใต้ต้นอชปาลนิโครธ ริมฝั่ง
แม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลา ทรงหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ได้เกิดความรำพึงขึ้นว่า
“อินทรีย์ ๕ ประการที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะ
เป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ
มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด
๒. วิริยินทรีย์ ฯลฯ
๓. สตินทรีย์ ฯลฯ
๔. สมาธินทรีย์ ฯลฯ
๕. ปัญญินทรีย์ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ
มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด
อินทรีย์ ๕ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มี
อมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด
ครั้งนั้น ท้าวสหัมบดีพรหมทราบความรำพึงของพระผู้มีพระภาคแล้ว จึง
หายตัวจากพรหมโลกมาปรากฏตรงพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาค เปรียบเหมือน
บุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้าฉะนั้น ห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนม
อัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาคแล้วกราบทูลว่า ‘ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เรื่องนี้เป็น
อย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต เรื่องนี้เป็นอย่างนั้น อินทรีย์ ๕ ประการที่บุคคลเจริญ
ทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ
มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด
ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๖. สูกรขตวรรค ๘. สูกรขตสูตร

๕. ปัญญินทรีย์ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ
มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด
อินทรีย์ ๕ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มี
อมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องเคยมีมาแล้ว ข้าพระองค์ได้ประพฤติพรหมจรรย์
ในพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้ในสมัยนั้น พวกเขารู้จักข้าพระองค์อย่างนี้ว่า
‘สหกภิกษุ สหกภิกษุ’ ข้าพระองค์นั้นคลายกามฉันทะในกามทั้งหลาย หลังจาก
ตายแล้วไปเกิดในสุคติพรหมโลก เพราะอินทรีย์ ๕ ประการที่ข้าพระองค์เจริญ
ทำให้มากแล้ว แม้ในพรหมโลกนั้น พวกเขาก็รู้จักข้าพระองค์ว่า ‘ท้าวสหัมบดีพรหม
ท้าวสหัมบดีพรหม’ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เรื่องนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต
เรื่องนี้เป็นอย่างนั้น ข้าพระองค์รู้ ข้าพระองค์เห็นข้อที่อินทรีย์ที่บุคคลเจริญ ทำให้
มากแล้ว หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด”

สหัมปติพรหมสูตรที่ ๗ จบ

๘. สูกรขตสูตร
ว่าด้วยการสนทนาธรรมที่ถ้ำสุกรขาตา

[๕๒๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ถ้ำสุกรขาตา เขาคิชฌกูฏ
เขตกรุงราชคฤห์ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระสารีบุตรมาตรัส
ถามว่า “สารีบุตร ภิกษุขีณาสพเห็นอำนาจประโยชน์อะไร จึงประพฤตินอบน้อม
อย่างยิ่งในตถาคตหรือในคำสอนของตถาคต”
ท่านพระสารีบุตรทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุขีณาสพเห็นธรรม
เป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม จึงประพฤตินอบน้อมอย่างยิ่งในพระตถาคต
หรือในคำสอนของพระตถาคต”
“ดีละ ดีละ สารีบุตร ภิกษุขีณาสพเห็นธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอด
เยี่ยม จึงประพฤตินอบน้อมอย่างยิ่งในตถาคตหรือในคำสอนของตถาคต
ธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ภิกษุขีณาสพเห็นอยู่ จึงประพฤติ
นอบน้อมอย่างยิ่งในตถาคตหรือในคำสอนของตถาคต เป็นอย่างไร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๖. สูกรขตวรรค ๙. ปฐมอุปปาทสูตร

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุขีณาสพในพระธรรมวินัยนี้เจริญสัทธินทรีย์ที่ให้
ถึงความสงบ ให้ถึงความตรัสรู้ เจริญวิริยินทรีย์ ฯลฯ เจริญสตินทรีย์ ฯลฯ
เจริญสมาธินทรีย์ ฯลฯ เจริญปัญญินทรีย์ที่ให้ถึงความสงบ ให้ถึงความตรัสรู้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมนี้ที่ภิกษุขีณาสพ
เห็นอยู่ จึงประพฤตินอบน้อมอย่างยิ่งในพระตถาคตหรือในคำสอนของพระตถาคต”
“ดีละ ดีละ สารีบุตร ธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมนี้ที่ภิกษุขีณาสพ
เห็นอยู่ จึงประพฤตินอบน้อมอย่างยิ่งในตถาคตหรือในคำสอนของตถาคต
สารีบุตร การนอบน้อมอย่างยิ่งที่ภิกษุขีณาสพประพฤติในตถาคตหรือในคำสอน
ของตถาคต เป็นอย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุขีณาสพในพระธรรมวินัยนี้มีความเคารพยำเกรง
ในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
นี้แล คือการนอบน้อมอย่างยิ่งที่ภิกษุขีณาสพประพฤติในพระตถาคตหรือในคำสอน
ของพระตถาคต”
“ดีละ ดีละ สารีบุตร การนอบน้อมอย่างยิ่งนี้ที่ภิกษุขีณาสพประพฤติใน
ตถาคตหรือในคำสอนของตถาคต”

สูกรขตสูตรที่ ๘ จบ

๙. ปฐมอุปปาทสูตร
ว่าด้วยความเกิดขึ้นแห่งอินทรีย์ สูตรที่ ๑

[๕๒๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ที่ยังไม่เกิด
ย่อมเกิดขึ้น เว้นความอุบัติขึ้นของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อมไม่
เกิดขึ้น
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ๒. วิริยินทรีย์
๓. สตินทรีย์ ๔. สมาธินทรีย์
๕. ปัญญินทรีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๖. สูกรขตวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

อินทรีย์ ๕ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น
เว้นความอุบัติขึ้นของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อมไม่เกิดขึ้น”

ปฐมอุปปาทสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ทุติยอุปปาทสูตร
ว่าด้วยความเกิดขึ้นแห่งอินทรีย์ สูตรที่ ๒

[๕๓๐] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว
ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น เว้นวินัยของพระสุคต ย่อมไม่เกิดขึ้น
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ๒. วิริยินทรีย์
๓. สตินทรีย์ ๔. สมาธินทรีย์
๕. ปัญญินทรีย์
อินทรีย์ ๕ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น
เว้นวินัยของพระสุคต ย่อมไม่เกิดขึ้น”

ทุติยอุปปาทสูตรที่ ๑๐ จบ
สูกรขตวรรคที่ ๖ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สาลสูตร ๒. มัลลกสูตร
๓. เสขสูตร ๔. ปทสูตร
๕. สารสูตร ๖. ปติฏฐิตสูตร
๗. สหัมปติพรหมสูตร ๘. สูกรขตสูตร
๙. ปฐมอุปปาทสูตร ๑๐. ทุติยอุปปาทสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๗. โพธิปักขิยวรรค ๓. ปริญญาสูตร

๗. โพธิปักขิยวรรค
หมวดว่าด้วยโพธิปักขิยธรรม
๑. สัญโญชนสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อละสังโยชน์

[๕๓๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ
ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อละสังโยชน์
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ฯลฯ ๕. ปัญญินทรีย์
อินทรีย์ ๕ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อละสังโยชน์”

สัญโญชนสูตรที่ ๑ จบ

๒. อนุสยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อถอนอนุสัย

[๕๓๒] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อถอนอนุสัย
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ฯลฯ ๕. ปัญญินทรีย์
อินทรีย์ ๕ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อถอนอนุสัย”

อนุสยสูตรที่ ๒ จบ

๓. ปริญญาสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อกำหนดรู้อัทธานะ

[๕๓๓] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อกำหนดรู้อัทธานะ(ทางไกล)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๗. โพธิปักขิยวรรค ๔. อาสวักขยสูตร

อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ฯลฯ ๕. ปัญญินทรีย์
อินทรีย์ ๕ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อกำหนดรู้
อัทธานะ”

ปริญญาสูตรที่ ๓ จบ

๔. อาสวักขยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ

[๕๓๔] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ฯลฯ ๕. ปัญญินทรีย์
อินทรีย์ ๕ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้น
อาสวะ
อินทรีย์ ๕ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อละสังโยชน์
เพื่อถอนอนุสัย เพื่อกำหนดรู้อัทธานะ เพื่อความสิ้นอาสวะ
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ฯลฯ ๕. ปัญญินทรีย์
อินทรีย์ ๕ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อละสังโยชน์
เพื่อถอนอนุสัย เพื่อกำหนดรู้อัทธานะ เพื่อความสิ้นอาสวะ”

อาสวักขยสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๗. โพธิปักขิยวรรค ๖. ทุติยผลสูตร

๕. ปฐมผลสูตร
ว่าด้วยผลแห่งการเจริญอินทรีย์ สูตรที่ ๑

[๕๓๕] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ฯลฯ ๕. ปัญญินทรีย์
อินทรีย์ ๕ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว พึง
หวังผลอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทาน
เหลืออยู่ ก็จักเป็นพระอนาคามี”

ปฐมผลสูตรที่ ๕ จบ

๖. ทุติยผลสูตร
ว่าด้วยผลแห่งการเจริญอินทรีย์ สูตรที่ ๒

[๕๓๖] “ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ฯลฯ ๕. ปัญญินทรีย์
อินทรีย์ ๕ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว พึง
หวังผลานิสงส์ ๗ ประการ
ผลานิสงส์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. จะได้บรรลุอรหัตตผลทันทีในปัจจุบัน
๒. ถ้าไม่ได้บรรลุอรหัตตผลในปัจจุบัน จะได้บรรลุในเวลาใกล้ตาย
๓. ถ้าในปัจจุบันและเวลาใกล้ตายยังไม่ได้บรรลุ ก็จะได้เป็นพระ
อนาคามี ผู้อันตราปรินิพพายี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๗. โพธิปักขิยวรรค ๗. ปฐมรุกขสูตร

๔. ...ก็จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี
๕. ...ก็จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี
๖. ...ก็จะได้เป็นพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี
๗. ...ก็จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เพราะอุทธัม-
ภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว พึง
หวังผลานิสงส์ ๗ ประการนี้”๑

ทุติยผลสูตรที่ ๖ จบ

๗. ปฐมรุกขสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยต้นไม้ สูตรที่ ๑

[๕๓๗] “ภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ที่มีอยู่ในชมพูทวีปเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ต้นหว้า
ชาวโลกกล่าวว่าเลิศกว่าต้นไม้เหล่านั้น แม้ฉันใด โพธิปักขิยธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
ปัญญินทรีย์บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อ
ความตรัสรู้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
โพธิปักขิยธรรม อะไรบ้าง คือ
สัทธินทรีย์เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้
วิริยินทรีย์ ฯลฯ
สตินทรีย์ ฯลฯ
สมาธินทรีย์ ฯลฯ
ปัญญินทรีย์เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๗. โพธิปักขิยวรรค ๘. ทุติยรุกขสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้เหล่าใดเหล่าหนึ่งที่มีอยู่ในชมพูทวีป ต้นหว้าชาวโลก
กล่าวว่าเลิศกว่าต้นไม้เหล่านั้น แม้ฉันใด โพธิปักขิยธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
ปัญญินทรีย์บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อ
ความตรัสรู้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน”

ปฐมรุกขสูตรที่ ๗ จบ

๘. ทุติยรุกขสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยต้นไม้ สูตรที่ ๒

[๕๓๘] “ภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้เหล่าใดเหล่าหนึ่งของเหล่าเทพชั้นดาวดึงส์
ต้นปาริฉัตตกะ (ต้นทองหลาง) ชาวโลกกล่าวว่าเลิศกว่าต้นไม้เหล่านั้น แม้ฉันใด
โพธิปักขิยธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปัญญินทรีย์บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าโพธิปักขิย-
ธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
โพธิปักขิยธรรม อะไรบ้าง คือ
สัทธินทรีย์เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้
วิริยินทรีย์ ฯลฯ
สตินทรีย์ ฯลฯ
สมาธินทรีย์ ฯลฯ
ปัญญินทรีย์เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้
ภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้เหล่าใดเหล่าหนึ่งของเหล่าเทพชั้นดาวดึงส์ ต้นปาริฉัตตกะ
ชาวโลกกล่าวว่าเลิศกว่าต้นไม้เหล่านั้น แม้ฉันใด โพธิปักขิยธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
ปัญญินทรีย์บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อ
ความตรัสรู้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน”

ทุติยรุกขสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๗. โพธิปักขิยวรรค ๑๐. จตุตถรุกขสูตร

๙. ตติยรุกขสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยต้นไม้ สูตรที่ ๓

[๕๓๙] “ภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้เหล่าใดเหล่าหนึ่งของพวกอสูร ต้นจิตตปาฏลี
(ต้นไม้ประจำพิภพอสูร) ชาวโลกกล่าวว่าเลิศกว่าต้นไม้เหล่านั้น แม้ฉันใด โพธิ-
ปักขิยธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปัญญินทรีย์บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าโพธิปักขิยธรรม
เหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน”
โพธิปักขิยธรรม อะไรบ้าง คือ
สัทธินทรีย์เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้
ฯลฯ
ปัญญินทรีย์เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้
ภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้เหล่าใดเหล่าหนึ่งของพวกอสูร ต้นจิตตปาฏลีชาวโลก
กล่าวว่าเลิศกว่าต้นไม้เหล่านั้น แม้ฉันใด โพธิปักขิยธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
ปัญญินทรีย์บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อ
ความตรัสรู้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน”

ตติยรุกขสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. จตุตถรุกขสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยต้นไม้ สูตรที่ ๔

[๕๔๐] “ภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้เหล่าใดเหล่าหนึ่งของพวกครุฑ ต้นโกฏสิมพลี
(ไม้งิ้วป่า) ชาวโลกกล่าวว่าเลิศกว่าต้นไม้เหล่านั้น แม้ฉันใด โพธิปักขิยธรรมเหล่าใด
เหล่าหนึ่ง ปัญญินทรีย์บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็น
ไปเพื่อความตรัสรู้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน”
โพธิปักขิยธรรม อะไรบ้าง คือ
สัทธินทรีย์เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้
ฯลฯ
ปัญญินทรีย์เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๗. โพธิปักขิยวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้เหล่าใดเหล่าหนึ่งของพวกครุฑ ต้นโกฏสิมพลี ชาวโลก
กล่าวว่าเลิศกว่าต้นไม้เหล่านั้น แม้ฉันใด โพธิปักขิยธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
ปัญญินทรีย์บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้นเพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน”

จตุตถรุกขสูตรที่ ๑๐ จบ
โพธิปักขิยวรรคที่ ๗ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สัญโญชนสูตร ๒. อนุสยสูตร
๓. ปริญญาสูตร ๔. อาสวักขยสูตร
๕. ปฐมผลสูตร ๖. ทุติยผลสูตร
๗. ปฐมรุกขสูตร ๘. ทุติยรุกขสูตร
๙. ตติยรุกขสูตร ๑๐. จตุตถรุกขสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]๑-๑๒. ปาจีนาทิสูตร

๘. คังคาเปยยาลวรรค
หมวดว่าด้วยคังคาเปยยาล
๑-๑๒. ปาจีนาทิสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยแม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีนเป็นต้น

[๕๔๑-๕๕๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่
ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เมื่อเจริญอินทรีย์ ๕ ประการ ทำอินทรีย์ ๕ ประการให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน
โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
ภิกษุเมื่อเจริญอินทรีย์ ๕ ประการ ทำอินทรีย์ ๕ ประการให้มาก ย่อม
น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัทธินทรีย์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
๒. เจริญวิริยินทรีย์ ฯลฯ
๓. เจริญสตินทรีย์ ฯลฯ
๔. เจริญสมาธินทรีย์ ฯลฯ
๕. เจริญปัญญินทรีย์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ
ภิกษุเมื่อเจริญอินทรีย์ ๕ ประการ ทำอินทรีย์ ๕ ประการให้มาก ย่อมน้อมไป
สู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างนี้แล”

ปาจีนาทิสูตรที่ ๑-๑๒ จบ
คังคาเปยยาลวรรคที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๘. คังคาเปยยาลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมปาจีนนินนสูตร ๒-๕. ทุติยาทิปาจีนนินนสุตตจตุกกะ
๖. ฉัฏฐปาจีนนินนสูตร ๗. ปฐมสมุททนินนสูตร
๘-๑๒. ทุติยาทิสมุททนินนสุตตปัญจกะ

อัปปมาทวรรคพึงให้พิสดาร๑

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ตถาคตสูตร ๒. ปทสูตร
๓. กูฏสูตร ๔. มูลสูตร
๕. สารสูตร ๖. วัสสิกสูตร
๗. ราชาสูตร ๘. จันทิมสูตร
๙. สุริยสูตร ๑๐. วัตถุสูตร

พลกรณียวรรคพึงให้พิสดาร๒

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. พลสูตร ๒. พีชสูตร
๓. นาคสูตร ๔. รุกขสูตร
๕. กุมภสูตร ๖. สูกสูตร
๗. อากาสสูตร ๘. ปฐมเมฆสูตร
๙. ทุติยเมฆสูตร ๑๐. นาวาสูตร
๑๑. อาคันตุกสูตร ๑๒. นทีสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๘. คังคาเปยยาลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

เอสนาวรรคพึงให้พิสดาร๑

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. เอสนาสูตร ๒. วิธาสูตร
๓. อาสวสูตร ๔. ภวสูตร
๕. ทุกขตาสูตร ๖. ขีลสูตร
๗. มลสูตร ๘. นีฆสูตร
๙. เวทนาสูตร ๑๐. ตัณหาสูตร
๑๑. ตสินาสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๑๒. โอฆวรรค ๑-๑๐. โอฆาทิสูตร

๑๒. โอฆวรรค
หมวดว่าด้วยโอฆะ
๑-๑๐. โอฆาทิสูตร
ว่าด้วยโอฆะเป็นต้น

[๕๘๗-๕๙๖] “ภิกษุทั้งหลาย อุทธัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องสูง) ๕
ประการนี้
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปราคะ ๒. อรูปราคะ
๓. มานะ ๔. อุทธัจจะ
๕. อวิชชา
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญอินทรีย์ ๕ ประการเพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัทธินทรีย์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๕. เจริญปัญญินทรีย์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญอินทรีย์ ๕ ประการนี้เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้แล”

โอฆาทิสูตรที่ ๑-๑๐ จบ

(พึงเพิ่มข้อความให้พิสดารเหมือนมัคคสังยุต)

โอฆวรรคที่ ๑๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๑๒. โอฆวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. โอฆสูตร ๒. โยคสูตร
๓. อุปาทานสูตร ๔. คันถสูตร
๕. อนุสยสูตร ๖. กามคุณสูตร
๗. นีวรณสูตร ๘. อุปาทานักขันธสูตร
๙. โอรัมภาคิยสูตร ๑๐. อุทธัมภาคิยสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๑๓. คังคาเปยยาลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑๓. คังคาเปยยาลวรรค
หมวดว่าด้วยคังคาเปยยาล
๑-๑๒. ปาจีนาทิสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยแม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีนเป็นต้น

[๕๙๗-๖๐๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่
ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือน
กัน เมื่อเจริญอินทรีย์ ๕ ประการ ทำอินทรีย์ ๕ ประการให้มาก ย่อมน้อมไปสู่
นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
ภิกษุเมื่อเจริญอินทรีย์ ๕ ประการ ทำอินทรีย์ ๕ ประการให้มาก ย่อม
น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัทธินทรีย์อันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะ
เป็นที่สุด
ฯลฯ
๕. เจริญปัญญินทรีย์อันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะ
เป็นที่สุด
ภิกษุเมื่อเจริญอินทรีย์ ๕ ประการ ทำอินทรีย์ ๕ ประการให้มาก ย่อมน้อม
ไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างนี้แล”

ปาจีนาทิสูตรที่ ๑-๑๒ จบ
คังคาเปยยาลวรรคที่ ๑๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมปาจีนนินนสูตร ๒-๕. ทุติยาทิปาจีนนินนสุตตจตุกกะ
๖. ฉัฏฐปาจีนนินนสูตร ๗. ปฐมสมุททนินนสูตร
๘-๑๒. ทุติยาทิสมุททนินนสุตตปัญจกะ

(อัปปมาทวรรค พลกรณียวรรค และเอสนาวรรคพึงให้พิสดาร)


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๑๗. โอฆวรรค ๑-๑๐. โอฆาทิสูตร

๑๗. โอฆวรรค
หมวดว่าด้วยโอฆะ
๑-๑๐. โอฆาทิสูตร
ว่าด้วยโอฆะเป็นต้น

[๖๔๑-๖๕๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อุทธัมภาคิยสังโยชน์
(สังโยชน์เบื้องสูง) ๕ ประการนี้
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปราคะ ๒. อรูปราคะ
๓. มานะ ๔. อุทธัจจะ
๕. อวิชชา
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญอินทรีย์ ๕ ประการ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัทธินทรีย์อันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะ
เป็นที่สุด
๒. เจริญวิริยินทรีย์ ฯลฯ
๓. เจริญสตินทรีย์ ฯลฯ
๔. เจริญสมาธินทรีย์ ฯลฯ
๕. เจริญปัญญินทรีย์อันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะ
เป็นที่สุด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๔. อินทริยสังยุต]
๑๗. โอฆวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญอินทรีย์ ๕ ประการนี้เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อ
กำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้”

โอฆาทิสูตรที่ ๑-๑๐ จบ

(พึงเพิ่มข้อความให้พิสดารเหมือนมัคคสังยุต)

โอฆวรรคที่ ๑๗ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. โอฆสูตร ๒. โยคสูตร
๓. อุปาทานสูตร ๔. คันถสูตร
๕. อนุสยสูตร ๖. กามคุณสูตร
๗. นีวรณสูตร ๘. อุปาทานักขันธสูตร
๙. โอรัมภาคิยสูตร ๑๐. อุทธัมภาคิยสูตร

อินทริยสังยุตที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๕. สัมมัปปธานสังยุต]
๑. คังคาเปยยาลวรรค ๑-๑๒. ปาจีนาทิสูตร

๕. สัมมัปปธานสังยุต
๑. คังคาเปยยาลวรรค
หมวดว่าด้วยคังคาเปยยาล
๑-๑๒. ปาจีนาทิสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยแม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีนเป็นต้น

[๖๕๑-๖๖๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ฯลฯ๑ ได้ตรัสเรื่องนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน
๔ ประการนี้
สัมมัปปธาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น
๒. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
๓. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
๔. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญ
เต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
สัมมัปปธาน ๔ ประการนี้
แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไปสู่ทิศปราจีน
แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเจริญสัมมัปปธาน ๔ ประการ ทำสัมมัปปธาน
๔ ประการให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๕. สัมมัปปธานสังยุต]
๑. คังคาเปยยาลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ภิกษุเมื่อเจริญสัมมัปปธาน ๔ ประการ ทำสัมมัปปธาน ๔ ประการให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น
๒. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
๓. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
๔. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญ
เต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญสัมมัปปธาน ๔ ประการ ทำสัมมัปปธาน ๔
ประการให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
อย่างนี้แล”

ปาจีนาทิสูตรที่ ๑-๑๒ จบ
คังคาเปยยาลวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมปาจีนนินนสูตร ๒-๕. ทุติยาทิปาจีนนินนสุตตจตุกกะ
๖. ฉัฏฐปาจีนนินนสูตร ๗. ปฐมสมุททนินนสูตร
๘-๑๒. ทุติยาทิสมุททนินนสุตตปัญจกะ

(คังคาเปยยาลแห่งสัมมัปปธานสังยุตพึงให้พิสดารด้วยอำนาจสัมมัปปธาน)


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๕. สัมมัปปธานสังยุต]
๒. อัปปมาทวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๒. อัปปมาทวรรค
หมวดว่าด้วยความไม่ประมาท

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ตถาคตสูตร ๒. ปทสูตร
๓. กูฏสูตร ๔. มูลสูตร
๕. สารสูตร ๖. วัสสิกสูตร
๗. ราชาสูตร ๘. จันทิมสูตร
๙. สุริยสูตร ๑๐. วัตถสูตร

(อัปปมาทวรรคพึงให้พิสดารด้วยอำนาจสัมมัปปธาน)

อัปปมาทวรรคที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๕. สัมมัปปธานสังยุต]
๓. พลกรณียวรรค ๑-๑๒. พลกรณียาทิสูตร

๓. พลกรณียวรรค
หมวดว่าด้วยอุปมาด้วยการงานที่พึงทำด้วยกำลัง
๑-๑๒. พลกรณียาทิสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยการงานที่พึงทำด้วยกำลังเป็นต้น

[๖๗๓-๖๘๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย การงานที่พึงทำด้วย
กำลังทั้งหมด บุคคลต้องอาศัยแผ่นดิน ดำรงอยู่บนแผ่นดิน จึงทำได้ แม้ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน อาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญสัมมัปปธาน ๔ ประการ
ทำสัมมัปปธาน ๔ ประการให้มาก
ภิกษุอาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญสัมมัปปธาน ๔ ประการ ทำ
สัมมัปปธาน ๔ ประการให้มาก อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น
๒. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
๓. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
๔. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญ
เต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญสัมมัปปธาน ๔
ประการ ทำสัมมัปปธาน ๔ ประการให้มาก อย่างนี้แล”

พลกรณียาทิสูตรที่ ๑-๑๒ จบ

(พลกรณียวรรคพึงให้พิสดารด้วยอำนาจสัมมัปปธานอย่างนี้)

พลกรณียวรรคที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๕. สัมมัปปธานสังยุต]
๓. พลกรณียวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. พลสูตร ๒. พีชสูตร
๓. นาคสูตร ๔. รุกขสูตร
๕. กุมภสูตร ๖. สูกสูตร
๗. อากาสสูตร ๘. ปฐมเมฆสูตร
๙. ทุติยเมฆสูตร ๑๐. นาวาสูตร
๑๑. อาคันตุกสูตร ๑๒. นทีสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๕. สัมมัปปธานสังยุต]
๔. เอสนาวรรค ๑-๑๐. เอสนาทิสุตตทสกะ

๔. เอสนาวรรค
หมวดว่าด้วยการแสวงหา
๑-๑๐. เอสนาทิสุตตทสกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๑๐ สูตร มีเอสนาสูตรเป็นต้น

[๖๘๕-๖๙๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓
ประการนี้
การแสวงหา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. การแสวงหากาม ๒. การแสวงหาภพ
๓. การแสวงหาพรหมจรรย์
การแสวงหา ๓ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญสัมมัปปธาน ๔ ประการเพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
เพื่อความสิ้นไป เพื่อละการแสวงหา ๓ ประการนี้
สัมมัปปธาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น
ฯลฯ
๔. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญ
เต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญสัมมัปปธาน ๔ ประการนี้เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
เพื่อความสิ้นไป เพื่อละการแสวงหา ๓ ประการนี้”

(พึงเพิ่มข้อความที่เหลือให้พิสดาร)

เอสนาทิสูตรที่ ๑-๑๐ จบ
เอสนาวรรคที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๕. สัมมัปปธานสังยุต]
๔. เอสนาวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. เอสนาสูตร ๒. วิธาสูตร
๓. อาสวสูตร ๔. ภวสูตร
๕. ทุกขตาสูตร ๖. ขีลสูตร
๗. มลสูตร ๘. นีฆสูตร
๙. เวทนาสูตร ๑๐. ตัณหาสูตร
๑๑. ตสินาสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๕. สัมมัปปธานสังยุต]
๕. โอฆวรรค ๑-๑๐. โอฆาทิสูตร

๕. โอฆวรรค
หมวดว่าด้วยโอฆะ
๑-๑๐. โอฆาทิสูตร
ว่าด้วยโอฆะเป็นต้น

[๖๙๕-๗๐๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อุทธัมภาคิยสังโยชน์
๕ ประการนี้
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปราคะ ๒. อรูปราคะ
๓. มานะ ๔. อุทธัจจะ
๕. อวิชชา
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสัมมัปปธาน ๔ ประการ เพื่อรู้ยิ่ง
เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้
สัมมัปปธาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น
ฯลฯ
๔. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญ
เต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๕. สัมมัปปธานสังยุต]
๕. โอฆวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญสัมมัปปธาน ๔ ประการนี้เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้”

(พึงเพิ่มข้อความที่เหลือให้พิสดาร)

โอฆาทิสูตรที่ ๑-๑๐ จบ
โอฆวรรคที่ ๕ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. โอฆสูตร ๒. โยคสูตร
๓. อุปาทานสูตร ๔. คันถสูตร
๕. อนุสยสูตร ๖. กามคุณสูตร
๗. นีวรณสูตร ๘. อุปาทานักขันธสูตร
๙. โอรัมภาคิยสูตร ๑๐. อุทธัมภาคิยสูตร

สัมมัปปธานสังยุตที่ ๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๖. พลสังยุต]
๑. คังคาเปยยาลวรรค ๑-๑๒. พลาทิสูตร

๖. พลสังยุต
๑. คังคาเปยยาลวรรค
หมวดว่าด้วยคังคาเปยยาล
๑-๑๒. พลาทิสูตร
ว่าด้วยพละเป็นต้น

[๗๐๕-๗๑๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ ประการนี้
พละ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. สัทธาพละ (กำลังคือศรัทธา) ๒. วิริยพละ (กำลังคือวิริยะ)
๓. สติพละ (กำลังคือสติ) ๔. สมาธิพละ (กำลังคือสมาธิ)
๕. ปัญญาพละ (กำลังคือปัญญา)

พละ ๕ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาที่ไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไป
สู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเจริญพละ ๕ ประการ ทำพละ
๕ ประการให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
ภิกษุเมื่อเจริญพละ ๕ ประการ ทำพละ ๕ ประการให้มาก ย่อมน้อม
ไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัทธาพละอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
๒. เจริญวิริยพละ ฯลฯ
๓. เจริญสติพละ ฯลฯ
๔. เจริญสมาธิพละ ฯลฯ
๕. เจริญปัญญาพละอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อม
ไปในโวสสัคคะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๖. พลสังยุต] รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญพละ ๕ ประการ ทำพละ ๕ ประการให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างนี้แล”

พลาทิสูตรที่ ๑-๑๒ จบ
คังคาเปยยาลวรรคที่ ๑ จบ๑

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมปาจีนนินนสูตร ๒-๕. ทุติยาทิปาจีนนินนสุตตจตุกกะ
๖. ฉัฏฐปาจีนนินนสูตร ๗. ปฐมสมุททนินนสูตร
๘-๑๒. ทุติยาทิสมุททนินนสุตตปัญจกะ

อัปปมาทวรรคพึงให้พิสดาร๒

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ตถาคตสูตร ๒. ปทสูตร
๓. กูฏสูตร ๔. มูลสูตร
๕. สารสูตร ๖. วัสสิกสูตร
๗. ราชาสูตร ๘. จันทิมสูตร
๙. สุริยสูตร ๑๐. วัตถสูตร

พลกรณียวรรคพึงให้พิสดาร๓

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. พลสูตร ๒. พีชสูตร
๓. นาคสูตร ๔. รุกขสูตร
๕. กุมภสูตร ๖. สูกสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๖. พลสังยุต] รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๗. อากาสสูตร ๘. ปฐมเมฆสูตร
๙. ทุติยเมฆสูตร ๑๐. นาวาสูตร
๑๑. อาคันตุกสูตร ๑๒. นทีสูตร

เอสนาวรรคพึงให้พิสดาร๑

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. เอสนาสูตร ๒. วิธาสูตร
๓. อาสวสูตร ๔. ภวสูตร
๕. ทุกขตาสูตร ๖. ขีลสูตร
๗. มลสูตร ๘. นีฆสูตร
๙. เวทนาสูตร ๑๐. ตัณหาสูตร
๑๑. ตสินาสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๖. พลสังยุต]
๕. โอฆวรรค ๑-๑๐. โอฆาทิสูตร

๕. โอฆวรรค
หมวดว่าด้วยโอฆะ
๑-๑๐. โอฆาทิสูตร
ว่าด้วยโอฆะเป็นต้น

[๗๔๙-๗๕๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อุทธัมภาคิยสังโยชน์
๕ ประการนี้
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปราคะ ๒. อรูปราคะ
๓. มานะ ๔. อุทธัจจะ
๕. อวิชชา
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญพละ ๕ ประการเพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้
พละ ๕ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัทธาพละอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
๒. เจริญวิริยพละ ...
๓. เจริญสติพละ ...
๔. เจริญสมาธิพละ ...
๕. เจริญปัญญาพละอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญพละ ๕ ประการนี้เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้แล”

(พึงเพิ่มข้อความที่เหลือให้พิสดารอย่างนี้)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๖. พลสังยุต]
๖. คังคาเปยยาลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๖. คังคาเปยยาลวรรค
หมวดว่าด้วยคังคาเปยยาล
๑-๑๒. ปาจีนาทิสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยแม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีนเป็นต้น

[๗๕๙-๗๗๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่
ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เมื่อเจริญพละ ๕ ประการ ทำพละ ๕ ประการให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน
โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
ภิกษุเมื่อเจริญพละ ๕ ประการ ทำพละ ๕ ประการให้มาก ย่อมน้อม
ไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัทธาพละ อันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และ
โมหะเป็นที่สุด
ฯลฯ
๕. เจริญปัญญาพละ อันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และ
โมหะเป็นที่สุด
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญพละ ๕ ประการ ทำพละ ๕ ประการให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างนี้แล”

(พึงเพิ่มข้อความที่เหลือให้พิสดาร)

ปาจีนาทิสูตรที่ ๑-๑๒ จบ
คังคาเปยยาลวรรคที่ ๖ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมปาจีนนินนสูตร ๒-๕. ทุติยาทิปาจีนนินนสุตตจตุกกะ
๖. ฉัฏฐปาจีนนินนสูตร ๗. ปฐมสมุททนินนสูตร
๘-๑๒. ทุติยาทิสมุททนินนสุตตปัญจกะ

(อัปปมาทวรรค - พลกรณียวรรคพึงให้พิสดาร)


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๖. พลสังยุต]
๙. เอสนาวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๙. เอสนาวรรค
หมวดว่าด้วยการแสวงหา
๑-๑๒. เอสนาทิสูตร
ว่าด้วยการแสวงหาเป็นต้น

[๗๙๒-๘๐๒] บาลีแห่งเอสนาวรรค พึงให้พิสดารจนถึงธรรมมีการกำจัดราคะ
โทสะ และโมหะเป็นที่สุด อย่างนี้

เอสนาวรรคที่ ๙ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. เอสนาสูตร ๒. วิธาสูตร
๓. อาสวสูตร ๔. ภวสูตร
๕. ปฐมทุกขสูตร ๖. ทุติยทุกขสูตร
๗. ตติยทุกขสูตร ๘. ขีลสูตร
๙. มลสูตร ๑๐. นีฆสูตร
๑๑. เวทนาสูตร ๑๒. ตัณหาสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๖. พลสังยุต]
๑๐. โอฆวรรค ๑-๑๐. โอฆาทิสูตร

๑๐. โอฆวรรค
หมวดว่าด้วยโอฆะ
๑-๑๐. โอฆาทิสูตร
ว่าด้วยโอฆะเป็นต้น

[๘๐๓-๘๑๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อุทธัมภาคิยสังโยชน์
๕ ประการนี้
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปราคะ ๒. อรูปราคะ
๓. มานะ ๔. อุทธัจจะ
๕. อวิชชา
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญพละ ๕ ประการเพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้
พละ ๕ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัทธาพละ ฯลฯ
๕. เจริญปัญญาพละอันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และ
โมหะเป็นที่สุด
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญพละ ๕ ประการนี้เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้แล”

โอฆาทิสูตรที่ ๑-๑๐ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๖. พลสังยุต]
๑๐. โอฆวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. โอฆสูตร ๒. โยคสูตร
๓. อุปาทานสูตร ๔. คันถสูตร
๕. อนุสยสูตร ๖. กามคุณสูตร
๗. นีวรณสูตร ๘. อุปาทานักขันธสูตร
๙. โอรัมภาคิยสูตร ๑๐. อุทธัมภาคิยสูตร

พลสังยุตที่ ๖ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๑. ปาวาลวรรค ๑. อปารสูตร

๗. อิทธิปาทสังยุต
๑. ปาวาลวรรค
หมวดว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่ปาวาลเจดีย์
๑. อปารสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อให้ถึงฝั่งโน้นจากฝั่งนี้

[๘๑๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่
บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อถึงฝั่งโน้นจากฝั่งนี้
อิทธิบาท ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร๑ (สมาธิที่
เกิดจากฉันทะและความเพียรที่มุ่งมั่น)
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร (สมาธิที่
เกิดจากวิริยะและความเพียรที่มุ่งมั่น)
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร (สมาธิที่
เกิดจากจิตตะและความเพียรที่มุ่งมั่น)
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร (สมาธิ
ที่เกิดจากวิมังสาและความเพียรที่มุ่งมั่น)
ภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ ประการนี้แลที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อถึงฝั่งโน้นจากฝั่งนี้”

อปารสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๑. ปาวาลวรรค ๓. อริยสูตร

๒. วิรัทธสูตร
ว่าด้วยธรรมที่บุคคลพลาด

[๘๑๔] “ภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ ประการอันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
พลาดแล้ว อริยมรรคที่ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบก็ชื่อว่าเป็นอันบุคคลเหล่านั้น
พลาดแล้ว ส่วนอิทธิบาท ๔ ประการอันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งปรารภแล้ว
อริยมรรคที่ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบก็ชื่อว่าเป็นอันบุคคลเหล่านั้นปรารภแล้ว
อิทธิบาท ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร
ภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ ประการนี้อันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งพลาดแล้ว
อริยมรรคที่ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบก็ชื่อว่าเป็นอันบุคคลเหล่านั้นพลาดแล้ว
ส่วนอิทธิบาท ๔ ประการนี้อันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งปรารภแล้ว อริยมรรคที่ให้
ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบก็ชื่อว่าเป็นอันบุคคลเหล่านั้นปรารภแล้ว”

วิรัทธสูตรที่ ๒ จบ

๓. อริยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นอริยะ

[๘๑๕] “ภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว
เป็นอริยะ เป็นนิยยานิกธรรม นำออกไปเพื่อให้สิ้นทุกข์โดยชอบแก่ผู้บำเพ็ญอิทธิบาท
๔ ประการนั้น
อิทธิบาท ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๑. ปาวาลวรรค ๔. นิพพิทาสูตร

๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร
ภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว เป็น
อริยะ เป็นนิยยานิกธรรม นำออกไปเพื่อให้สิ้นทุกข์โดยชอบแก่ผู้บำเพ็ญอิทธิบาท ๔
ประการนั้น”

อริยสูตรที่ ๓ จบ

๔. นิพพิทาสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย

[๘๑๖] “ภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายอย่างที่สุด เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ
เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ และเพื่อนิพพาน
อิทธิบาท ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร
ภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อม
เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายอย่างที่สุด เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ
เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ และเพื่อนิพพาน”

นิพพิทาสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๑. ปาวาลวรรค ๕. อิทธิปเทสสูตร

๕. อิทธิปเทสสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำฤทธิ์บางอย่างให้สำเร็จ

[๘๑๗] “ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาล
ได้ทำฤทธิ์บางอย่าง๑ให้สำเร็จได้ ก็เพราะอิทธิบาท ๔ ประการที่สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดเจริญ ทำให้มากแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาลจักทำฤทธิ์บางอย่างให้
สำเร็จได้ ก็เพราะอิทธิบาท ๔ ประการที่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดเจริญ
ทำให้มากแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบันกาลย่อมทำฤทธิ์บางอย่างให้
สำเร็จได้ ก็เพราะอิทธิบาท ๔ ประการที่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดเจริญ
ทำให้มากแล้ว
อิทธิบาท ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร
ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาลได้ทำฤทธิ์
บางอย่างให้สำเร็จได้ ก็เพราะอิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่สมณะหรือพรหมณ์เหล่านั้น
ทั้งหมดเจริญ ทำให้มากแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาลจักทำฤทธิ์บางอย่างให้
สำเร็จได้ ก็เพราะอิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดเจริญ
ทำให้มากแล้ว


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๑. ปาวาลวรรค ๖. สมัตตสูตร

สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบันกาลย่อมทำฤทธิ์บางอย่างให้
สำเร็จได้ ก็เพราะอิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด
เจริญ ทำให้มากแล้ว”

อิทธิปเทสสูตรที่ ๕ จบ

๖. สมัตตสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำฤทธิ์บริบูรณ์ให้สำเร็จ

[๘๑๘] “ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาลได้
ทำฤทธิ์บริบูรณ์๑ให้สำเร็จได้ ก็เพราะอิทธิบาท ๔ ประการที่สมณะหรือพราหมณ์
เหล่านั้นทั้งหมดเจริญ ทำให้มากแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาลจักทำฤทธิ์บริบูรณ์ให้
สำเร็จได้ ก็เพราะอิทธิบาท ๔ ประการที่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดเจริญ
ทำให้มากแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบันกาลย่อมทำฤทธิ์บริบูรณ์ให้
สำเร็จได้ ก็เพราะอิทธิบาท ๔ ประการที่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดเจริญ
ทำให้มากแล้ว
อิทธิบาท ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร
ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาลได้ทำฤทธิ์
บริบูรณ์ให้สำเร็จได้ ก็เพราะอิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น
ทั้งหมดเจริญ ทำให้มากแล้ว


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๑. ปาวาลวรรค ๗. ภิกขุสูตร

สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาลจักทำฤทธิ์บริบูรณ์ให้
สำเร็จได้ ก็เพราะอิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดเจริญ
ทำให้มากแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบันกาลย่อมทำฤทธิ์บริบูรณ์ให้
สำเร็จได้ ก็เพราะอิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดเจริญ
ทำให้มากแล้ว”

สมัตตสูตรที่ ๖ จบ

๗. ภิกขุสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้ภิกษุได้วิมุตติ

[๘๑๙] “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาลได้ทำให้แจ้งเจโต-
วิมุตติ๑ ปัญญาวิมุตติ๒อันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึง
อยู่ในปัจจุบัน ก็เพราะอิทธิบาท ๔ ประการที่ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดเจริญ ทำให้
มากแล้ว
ภิกษุเหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาลจักทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอัน
ไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ก็เพราะ
อิทธิบาท ๔ ประการที่ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดเจริญ ทำให้มากแล้ว
ภิกษุเหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบันกาลย่อมทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
อันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ก็เพราะ
อิทธิบาท ๔ ประการที่ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดเจริญ ทำให้มากแล้ว


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๑. ปาวาลวรรค ๘. พุทธสูตร

อิทธิบาท ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาลได้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ
ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ก็เพราะอิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดเจริญ ทำให้มากแล้ว
ภิกษุเหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาลจักทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
อันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ก็เพราะ
อิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดเจริญ ทำให้มากแล้ว
ภิกษุเหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบันกาลย่อมทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
อันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ก็เพราะ
อิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดเจริญ ทำให้มากแล้ว”

ภิกขุสูตรที่ ๗ จบ

๘. พุทธสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

[๘๒๐] “ภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ ประการนี้
อิทธิบาท ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๑. ปาวาลวรรค ๙. ญาณสูตร

๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร
อิทธิบาท ๔ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตอันบัณฑิตเรียกว่า ‘พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า’
เพราะอิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่ตถาคตเจริญ ทำให้มากแล้ว”

พุทธสูตรที่ ๘ จบ

๙. ญาณสูตร
ว่าด้วยญาณเกิดขึ้นเพราะเจริญอิทธิบาท

[๘๒๑] “ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้น
แล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้
ฟังมาก่อนว่า ‘นี้เป็นอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร’ จักษุเกิดขึ้น
แล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว
แก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘ก็อิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันท-
สมาธิปธานสังขารนี้ควรเจริญ’ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว
วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อน
ว่า ‘อิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขารนี้เราได้เจริญแล้ว’
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชา
เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า
‘นี้เป็นอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร’ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิด
ขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรม
ทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘ก็อิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธาน-
สังขารนี้ควรเจริญ’ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชา
เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า
‘อิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขารนี้ได้เจริญแล้ว’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๑. ปาวาลวรรค ๑๐. เจติยสูตร

ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชา
เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อน
ว่า ‘นี้เป็นอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร’ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณ
เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราใน
ธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘ก็อิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิ-
ปธานสังขารนี้ควรเจริญ’ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว
วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อน
ว่า ‘อิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขารนี้เราได้เจริญแล้ว’
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชา
เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า
‘นี้เป็นอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร’ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณ
เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราใน
ธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘อิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิ-
ปธานสังขารนี้ควรเจริญ’ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว
วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อน
ว่า ‘อิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขารนี้เราได้เจริญแล้ว”

ญาณสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. เจติยสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่ปาวาลเจดีย์

[๘๒๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารสาลา ป่ามหาวัน เขต
กรุงเวสาลี ครั้นในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร
เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงเวสาลี เสด็จกลับจากบิณฑบาต ภายหลังเสวยพระ
กระยาหารเสร็จแล้ว ได้รับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “อานนท์ เธอจงถือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๑. ปาวาลวรรค ๑๐. เจติยสูตร

ผ้านิสีทนะ๑ เราจักเข้าไปยังปาวาลเจดีย์เพื่อพักผ่อนกลางวัน” ท่านพระอานนท์
ทูลรับสนองพระดำรัสแล้วได้ถือผ้านิสีทนะตามเสด็จพระผู้มีพระภาคไปทางเบื้องพระ
ปฤษฎางค์
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปยังปาวาลเจดีย์ ประทับนั่งบนพุทธ-
อาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว ฝ่ายท่านพระอานนท์ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ
ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “อานนท์ กรุงเวสาลี
น่ารื่นรมย์ อุเทนเจดีย์น่ารื่นรมย์ โคตมกเจดีย์น่ารื่นรมย์ สัตตัมพเจดีย์น่ารื่นรมย์
พหุปุตตกเจดีย์น่ารื่นรมย์ สารันททเจดีย์น่ารื่นรมย์ ปาวาลเจดีย์ก็น่ารื่นรมย์
อานนท์ อิทธิบาท ๔ ประการอันบุคคลใดบุคคลหนึ่งเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำ
ให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ให้ตั้งมั่น สั่งสม ปรารภดีแล้ว บุคคลนั้นเมื่อปรารถนา
ก็จะมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ตลอดกัป๒หรือมากกว่ากัป
อานนท์ อิทธิบาท ๔ ประการอันตถาคตเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจ
ยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ให้ตั้งมั่น สั่งสม ปรารภดีแล้ว ตถาคตเมื่อปรารถนาก็จะมี
ชีวิตอยู่ต่อไปได้ตลอดกัปหรือมากกว่ากัป”
แม้เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงทำนิมิตที่ชัดแจ้ง โอภาสที่ชัดเจนอย่างนี้ ท่าน
พระอานนท์ก็ไม่อาจรู้ทัน จึงไม่กราบทูลวิงวอนพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดดำรงพระชนม์อยู่ต่อไปตลอดกัป ขอ
พระสุคตโปรดดำรงพระชนม์อยู่ต่อไปตลอดกัปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก
เพื่อความสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อ
ความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย” ทั้งนี้เป็นเพราะท่านถูกมารดลใจ
แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ พระผู้มีพระภาคก็รับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “อานนท์
กรุงเวสาลีน่ารื่นรมย์ อุเทนเจดีย์น่ารื่นรมย์ โคตมกเจดีย์น่ารื่นรมย์ สัตตัมพเจดีย์


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๑. ปาวาลวรรค ๑๐. เจติยสูตร

น่ารื่นรมย์ พหุปุตตกเจดีย์น่ารื่นรมย์ สารันททเจดีย์น่ารื่นรมย์ ปาวาลเจดีย์ก็น่า
รื่นรมย์
อานนท์ อิทธิบาท ๔ ประการอันบุคคลใดบุคคลหนึ่งเจริญ ทำให้มาก ทำ
ให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ให้ตั้งมั่น สั่งสม ปรารภดีแล้ว บุคคลนั้นเมื่อปรารถนา
ก็จะมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ตลอดกัปหรือมากกว่ากัป
อานนท์ อิทธิบาท ๔ ประการอันตถาคตเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็น
ดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ให้ตั้งมั่น สั่งสม ปรารภดีแล้ว ตถาคตเมื่อมุ่งหวัง ก็จะ
มีชีวิตอยู่ต่อไปได้ตลอดกัปหรือมากกว่ากัป”
แม้เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงทำนิมิตที่ชัดแจ้ง โอภาสที่ชัดเจนอย่างนี้ ท่าน
พระอานนท์ก็ไม่อาจรู้ทัน จึงไม่กราบทูลวิงวอนพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดดำรงพระชนม์อยู่ต่อไปตลอดกัป ขอพระสุคต
โปรดดำรงพระชนม์อยู่ต่อไปตลอดกัปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อความ
สุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย” ทั้งนี้เป็นเพราะท่านถูกมารดลใจ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “ไปเถิด อานนท์
เธอจงกำหนดเวลาอันสมควรในบัดนี้” ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาท ทำประทักษิณแล้ว นั่งที่โคนต้นไม้แห่งหนึ่งในที่ไม่ไกล
ครั้นเมื่อท่านพระอานนท์จากไปไม่นาน มารผู้มีบาปก็เข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับแล้วได้กราบทูลดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระ
ภาคโปรดปรินิพพานในบัดนี้เถิด ขอพระสุคตโปรดปรินิพพานในบัดนี้เถิด เวลานี้
เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคเคยตรัสพระวาจานี้ไว้ว่า
‘มารผู้มีบาป เราจะยังไม่ปรินิพพานตราบเท่าที่ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นสาวกของเรายัง
ไม่เฉียบแหลม ไม่ได้รับการแนะนำ ไม่แกล้วกล้า ไม่เป็นพหูสูต ไม่ทรงธรรม ไม่
ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ไม่ปฏิบัติชอบ ไม่ประพฤติตามธรรม เรียนกับอาจารย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๑. ปาวาลวรรค ๑๐. เจติยสูตร

ของตนแล้วแต่ก็ยังบอก๑ แสดง๒ บัญญัติ๓ กำหนด๔ เปิดเผย๕ จำแนก๖
ทำให้ง่าย๗ไม่ได้ ยังแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ ปราบปรับวาท๘ที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อย
โดยชอบธรรมไม่ได้’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เวลานี้ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค
เป็นผู้เฉียบแหลม ได้รับการแนะนำ แกล้วกล้า เป็นพหูสูต ทรงธรรม ปฏิบัติ
ธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบยิ่ง ประพฤติตามธรรม เรียนกับอาจารย์ของตน
แล้วก็สามารถจะบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายได้
สามารถแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ ปราบปรัปวาทที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยชอบธรรมได้
ขอพระผู้มีพระภาคโปรดปรินิพพานในบัดนี้เถิด ขอพระสุคตโปรดปริพพานในบัดนี้เถิด
เวลานี้เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาค
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเคยตรัสพระวาจานี้ไว้ว่า ‘มารผู้มีบาป
เราจะยังไม่ปรินิพพานตราบเท่าที่ภิกษุณีทั้งหลายผู้เป็นสาวิกาของเรายังไม่เฉียบแหลม
ไม่ได้รับการแนะนำ ไม่แกล้วกล้า ไม่เป็นพหูสูต ไม่ทรงธรรม ไม่ปฏิบัติธรรม
สมควรแก่ธรรม ไม่ปฏิบัติชอบยิ่ง ไม่ประพฤติตามธรรม เรียนกับอาจารย์ของตน
แล้วแต่ก็ยังบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายไม่ได้ ยัง
แสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ ปราบปรัปวาทที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยชอบธรรมไม่ได้’


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๑. ปาวาลวรรค ๑๐. เจติยสูตร

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เวลานี้ภิกษุณีทั้งหลายผู้เป็นสาวิกาของพระผู้มี
พระภาคเป็นผู้เฉียบแหลม ได้รับการแนะนำ แกล้วกล้า เป็นพหูสูต ทรงธรรม
ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรม เรียนกับอาจารย์
ของตนแล้ว ก็สามารถจะบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายได้
สามารถแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ ปราบปรับปวาทที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยชอบธรรมได้
ขอพระผู้มีพระภาคโปรดปรินิพพานในบัดนี้เถิด ขอพระสุคตโปรดปรินิพพานในบัดนี้เถิด
เวลานี้เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาค
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเคยตรัสพระวาจานี้ไว้ว่า ‘มารผู้มีบาป
เราจะยังไม่ปรินิพพานตราบเท่าที่อุบาสกทั้งหลายผู้เป็นสาวกของเรา ฯลฯ ตราบ
เท่าที่อุบาสิกาทั้งหลายผู้เป็นสาวิกาของเรา ยังไม่เฉียบแหลม ไม่ได้รับการแนะนำ
ไม่แกล้วกล้า ไม่เป็นพหูสูต ไม่ทรงธรรม ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ไม่
ปฏิบัติชอบ ไม่ประพฤติตามธรรม เรียนกับอาจารย์ของตนแล้วแต่ก็ยังบอก แสดง
บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายไม่ได้ ยังแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์
ปราบปรัปวาทที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยชอบธรรมไม่ได้’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เวลานี้อุบาสิกาทั้งหลายผู้เป็นสาวิกาของพระผู้มีพระ
ภาคเป็นผู้เฉียบแหลม ได้รับการแนะนำ แกล้วกล้า เป็นพหูสูต ทรงธรรม
ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรม เรียนกับอาจารย์
ของตนแล้ว ก็สามารถจะบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายได้
สามารถแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ ปราบปรัปวาทที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยชอบธรรม
ได้ขอพระผู้มีพระภาคโปรดปรินิพพานในบัดนี้เถิด ขอพระสุคตโปรดปรินิพพานใน
บัดนี้เถิด เวลานี้เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาค
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเคยตรัสพระวาจานี้ไว้ว่า ‘มารผู้
มีบาป เราจะยังไม่ปรินิพพานตราบเท่าที่พรหมจรรย์๑นี้ของเรายังไม่บริบูรณ์
กว้างขวาง แพร่หลาย รู้จักกันโดยมาก มั่นคงดี กระทั่งเทวดาและมนุษย์
ทั้งหลายประกาศได้แล้ว’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พรหมจรรย์นี้ของพระผู้มีพระภาคบริบูรณ์ กว้างขวาง
แพร่หลาย รู้จักกันโดยมาก มั่นคงดี กระทั่งเทวดาและมนุษย์ประกาศได้แล้ว


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๑. ปาวาลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ขอพระผู้มีพระภาคโปรดปรินิพพานในบัดนี้เถิด ขอพระสุคตโปรดปรินิพพานในบัดนี้เถิด
เวลานี้เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาค”
เมื่อมารทูลอาราธนาอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสตอบดังนี้ว่า “มารผู้
มีบาป เธอจงอย่ากังวลเลย อีกไม่นานการปรินิพพานของตถาคตจักมี จากนี้
ไป(เพียง) ๓ เดือน ตถาคตจักปรินิพพาน”
ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคทรงมีสติสัมปชัญญะ ทรงปลงพระชนมายุสังขาร๑ ณ
ปาวาลเจดีย์ เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงปลงพระชนมายุสังขารแล้ว ได้เกิดแผ่นดิน
ไหวครั้งใหญ่ น่าสะพรึงกลัว ให้เกิดขนพองสยองเกล้า ทั้งกลองทิพย์ก็ดังกึกก้อง
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งพระอุทาน
นี้ในเวลานั้นว่า
“มุนีละกรรมทั้งที่ชั่งได้และชั่งไม่ได้
อันเป็นเหตุก่อกำเนิดเป็นเครื่องปรุงแต่งภพได้แล้ว
ยินดีภายในตน มีใจมั่งคง ทำลายกิเลสที่เกิดในตนได้
เหมือนนักรบทำลายเกราะเสีย ฉะนั้น”๒

เจติยสูตรที่ ๑๐ จบ
ปาวาลวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อปารสูตร ๒. วิรัทธสูตร
๓. อริยสูตร ๔. นิพพิทาสูตร
๕. อิทธิปเทสสูตร ๖. สมัตตสูตร
๗. ภิกขุสูตร ๘. พุทธสูตร
๙. ญาณสูตร ๑๐. เจติยสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๒. ปาสาทกัมปนวรรค ๑. ปุพพสูตร

๒. ปาสาทกัมปนวรรค
หมวดว่าด้วยเหตุที่ทำให้ปราสาทไหว
๑. ปุพพสูตร
ว่าด้วยพระดำริก่อนตรัสรู้

[๘๒๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อก่อนเราเป็นโพธิสัตว์ ยังไม่ได้
ตรัสรู้ ได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัยแห่งการเจริญอิทธิบาท’
ภิกษุทั้งหลาย (ต่อมา) เรานั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขารดังนี้ว่า
ฉันทะของเราจักไม่ย่อหย่อนนัก ไม่ต้องประคับประคองเกินไป
ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ซ่านไปในภายนอก และมีความหมายรู้ว่า
เบื้องหน้าและเบื้องหลังอยู่ คือ มีความหมายรู้ว่าเบื้องหลัง
เหมือนเบื้องหน้า เบื้องหน้าเหมือนเบื้องหลัง เบื้องบนเหมือน
เบื้องล่าง เบื้องล่างเหมือนเบื้องบน กลางคืนเหมือนกลางวัน
กลางวันเหมือนกลางคืน มีใจสงัด ไม่มีเครื่องร้อยรัด อบรม
จิตให้สว่าง๑อยู่
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขารดังนี้ว่า
วิริยะของเราจักไม่ย่อหย่อนนัก ไม่ต้องประคับประคองเกินไป
ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ซ่านไปในภายนอก และมีความหมายรู้ว่า
เบื้องหน้าและเบื้องหลังอยู่ คือ มีความหมายรู้ว่า เบื้องหลัง
เหมือนเบื้องหน้า เบื้องหน้าเหมือนเบื้องหลัง เบื้องบนเหมือน
เบื้องล่าง เบื้องล่างเหมือนเบื้องบน กลางคืนเหมือนกลางวัน
กลางวันเหมือนกลางคืน มีใจสงัด ไม่มีเครื่องร้อยรัด อบรม
จิตให้สว่างอยู่


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๒. ปาสาทกัมปนวรรค ๑. ปุพพสูตร

๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขารดังนี้ว่า จิต
ของเราจักไม่ย่อหย่อนนัก ไม่ต้องประคับประคองเกินไป ไม่
หดหู่ในภายใน ไม่ซ่านไปในภายนอก และมีความหมายรู้ว่า
เบื้องหน้าและเบื้องหลังอยู่ คือ มีความหมายรู้ว่าเบื้องหลัง
เหมือนเบื้องหน้า เบื้องหน้าเหมือนเบื้องหลัง เบื้องบนเหมือน
เบื้องล่าง เบื้องล่างเหมือนเบื้องบน กลางคืนเหมือน
กลางวัน กลางวันเหมือนกลางคืน มีใจสงัด ไม่มีเครื่องร้อยรัด
อบรมจิตให้สว่างอยู่
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขารดังนี้ว่า
วิมังสาของเราจักไม่ย่อหย่อนนัก ไม่ต้องประคับประคองเกินไป
ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ซ่านไปในภายนอก และมีความหมายรู้ว่า
เบื้องหน้าและเบื้องหลังอยู่ คือ มีความหมายรู้ว่าเบื้องหลัง
เหมือนเบื้องหน้า เบื้องหน้าเหมือนเบื้องหลัง เบื้องบนเหมือน
เบื้องล่าง เบื้องล่างเหมือนเบื้องบน กลางคืนเหมือนกลางวัน
กลางวันเหมือนกลางคืน มีใจสงัด ไม่มีเครื่องร้อยรัด อบรม
จิตให้สว่างอยู่
เมื่ออิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้
ภิกษุย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคน
แสดงเป็นคนเดียวก็ได้ แสดงให้ปรากฏหรือให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา กำแพง (และ)
ภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นหรือดำลงในแผ่นดินเหมือนไปใน
น้ำก็ได้ เดินบนน้ำโดยที่น้ำไม่แยกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ นั่งขัดสมาธิเหาะไปใน
อากาศเหมือนนกบินไปก็ได้ ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์ดวงอาทิตย์อันมีฤทธิ์มาก
มีอานุภาพมากก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้
เมื่ออิทธิบาท ๔ ประการที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้
ภิกษุย่อมได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้
ด้วยหูทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๒. ปาสาทกัมปนวรรค ๑. ปุพพสูตร

เมื่ออิทธิบาท ๔ ประการที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้
ภิกษุย่อมกำหนดรู้จิตของสัตว์บุคคลอื่นได้ด้วยจิตของตน คือ จิตมีราคะก็รู้ชัดว่า
จิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะก็รู้ชัดว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะก็รู้ชัดว่าจิต
มีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะก็รู้ชัดว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะก็รู้ชัดว่าจิตมี
โมหะ หรือจิตปราศจากโมหะก็รู้ชัดว่าจิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ก็รู้ชัดว่าจิตหดหู่
หรือจิตฟุ้งซ่านก็รู้ชัดว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหัคคตะ๑ก็รู้ชัดว่าจิตเป็นมหัคคตะ หรือ
จิตไม่เป็นมหัคคตะก็รู้ชัดว่าจิตไม่เป็นมหัคคตะ จิตมีสิ่งอื่นยิ่งกว่าก็รู้ชัดว่าจิตมีสิ่งอื่น
ยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีสิ่งอื่นยิ่งกว่าก็รู้ชัดว่าจิตไม่มีสิ่งอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิก็รู้ชัดว่า
จิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิก็รู้ชัดว่าจิตไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้นก็รู้ชัดว่าจิต
หลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้นก็รู้ชัดว่าจิตไม่หลุดพ้น
เมื่ออิทธิบาท ๔ ประการที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้
ภิกษุระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ๓ ชาติบ้าง ๔ ชาติบ้าง
๕ ชาติบ้าง ๑๐ ชาติบ้าง ๒๐ ชาติบ้าง ๓๐ ชาติบ้าง ๔๐ ชาติบ้าง ๕๐ ชาติบ้าง
๑๐๐ ชาติบ้าง ๑,๐๐๐ ชาติบ้าง ๑๐๐,๐๐๐ ชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอัน
มากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปเป็นอัน
มากบ้างว่า ‘ในภพโน้น เราได้มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวย
สุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้น ก็ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น
เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่าง
นั้น ๆ จุติจากภพนั้นจึงมาเกิดในภพนี้’ เธอระลึกชาติก่อนได้หลายชาติพร้อมทั้ง
ลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้
เมื่ออิทธิบาท ๔ ประการที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ภิกษุ
เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ(ตาย) กำลังอุบัติ(เกิด) ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม
เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตาม
กรรมว่า ‘หมู่สัตว์ที่ประกอบกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต กล่าวร้ายพระอริยะ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๒. ปาสาทกัมปนวรรค ๒. มหัปผลสูตร

มีความเห็นผิด และชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นผิด พวกเขาหลังจาก
ตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก แต่หมู่สัตว์ที่ประกอบกายสุจริต
วจีสุจริต และมโนสุจริต ไม่กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นชอบ และชักชวนผู้
อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นชอบ พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์’
เธอเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังอุบัติ ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดี
และเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตาม
กรรมอย่างนี้แล๑
เมื่ออิทธิบาท ๔ ประการที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้
ภิกษุจึงทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”

ปุพพสูตรที่ ๑ จบ

๒. มหัปผลสูตร
ว่าด้วยการเจริญอิทธิบาทมีผลานิสงส์มาก

[๘๒๔] “ภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
อิทธิบาท ๔ ประการที่ภิกษุเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมี
ผลมาก มีอานิสงส์มาก
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขารดังนี้ว่า
ฉันทะของเราจักไม่ย่อหย่อนนัก ไม่ต้องประคับประคองเกินไป
ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ซ่านไปในภายนอก และมีความหมายรู้ว่า
เบื้องหน้าและเบื้องหลังอยู่ คือ มีความหมายรู้ว่าเบื้องหลัง
เหมือนเบื้องหน้า เบื้องหน้าเหมือนเบื้องหลัง เบื้องบนเหมือน
เบื้องล่าง เบื้องล่างเหมือนเบื้องบน กลางคืนเหมือนกลางวัน
กลางวันเหมือนกลางคืน มีใจสงัด ไม่มีเครื่องร้อยรัด อบรม
จิตให้สว่างอยู่


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๒. ปาสาทกัมปนวรรค ๓. ฉันทสมาธิสูตร

๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร ฯลฯ
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร ฯลฯ
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขารดังนี้ว่า
วิมังสาของเราจักไม่ย่อหย่อนนัก ไม่ต้องประคับประคองเกินไป
ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ซ่านไปในภายนอก และมีความหมายรู้ว่า
เบื้องหน้าและเบื้องหลังอยู่ คือ มีความหมายรู้ว่าเบื้องหลัง
เหมือนเบื้องหน้า เบื้องหน้าเหมือนเบื้องหลัง เบื้องบนเหมือน
เบื้องล่าง เบื้องล่างเหมือนเบื้องบน กลางคืนเหมือนกลางวัน
กลางวันเหมือนกลางคืน มีใจสงัด ไม่มีเครื่องร้อยรัด อบรม
จิตให้สว่างอยู่
ภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ ประการที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้ว
อย่างนี้ จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออิทธิบาท ๔ ประการที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มาก
แล้วอย่างนี้ ภิกษุย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้
ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้
ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้
มากแล้วอย่างนี้ ภิกษุจึงทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะ
อาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”

มหัปผลสูตรที่ ๒ จบ

๓. ฉันทสมาธิสูตร
ว่าด้วยฉันทสมาธิ

[๘๒๕] “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุอาศัยฉันทะแล้วได้สมาธิ ได้จิตเตกัคคตา
(สภาวะที่จิตมีอารมณ์เดียว) นี้เรียกว่า ฉันทสมาธิ
๑. เธอสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๒. ปาสาทกัมปนวรรค ๓. ฉันทสมาธิสูตร

๒. เธอสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
๓. เธอสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
๔. เธอสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญ
เต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
เหล่านี้เรียกว่า ปธานสังขาร
ฉันทะนี้ ฉันทสมาธินี้ และปธานสังขารเหล่านี้ดังพรรณนามาฉะนี้
นี้เรียกว่า อิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุอาศัยวิริยะแล้วได้สมาธิ ได้จิตเตกัคคตา นี้เรียกว่า
วิริยสมาธิ
๑. เธอสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น
ฯลฯ
๔. เธอสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญ
เต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
เหล่านี้เรียกว่า ปธานสังขาร
วิริยะนี้ วิริยสมาธินี้ และปธานสังขารเหล่านี้ดังพรรณนามาฉะนี้
นี้เรียกว่า อิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุอาศัยจิตแล้วได้สมาธิ ได้จิตเตกัคคตา นี้เรียกว่า จิตต-
สมาธิ
๑. เธอสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
พื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น
ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๒. ปาสาทกัมปนวรรค ๔. โมคคัลลานสูตร

๔. เธอสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญ
เต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
เหล่านี้เรียกว่า ปธานสังขาร
จิตนี้ จิตตสมาธินี้ และปธานสังขารเหล่านี้ดังพรรณนามาฉะนี้
นี้เรียกว่า อิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุอาศัยวิมังสาแล้วได้สมาธิ ได้จิตเตกัคคตา นี้เรียกว่า
วิมังสาสมาธิ
๑. เธอสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น
ฯลฯ
๔. เธอสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญ
เต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
เหล่านี้เรียกว่า ปธานสังขาร
วิมังสานี้ วิมังสาสมาธินี้ และปธานสังขารเหล่านี้ดังพรรณนามาฉะนี้
นี้เรียกว่า อิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร”

ฉันทสมาธิสูตรที่ ๓ จบ

๔. โมคคัลลานสูตร
ว่าด้วยพระโมคคัลลานะแสดงฤทธิ์

[๘๒๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปราสาทของนางวิสาขามิคารมาตา
ในบุพพาราม เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ภิกษุจำนวนมากอยู่ภายใต้ปราสาทของ
นางวิสาขามิคารมาตา เป็นผู้ฟุ้งซ่าน ถือตัว โลเล ปากกล้า พูดพร่ำเพรื่อ หลงลืมสติ
ไม่มีสัมปชัญญะ มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตกวัดแกว่ง ไม่สำรวมอินทรีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๒. ปาสาทกัมปนวรรค ๔. โมคคัลลานสูตร

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระมหาโมคคัลลานะมาตรัสว่า
“โมคคัลลานะ เพื่อนพรหมจารีเหล่านี้อยู่ภายใต้ปราสาทของนางวิสาขามิคารมาตา
เป็นผู้ฟุ้งซ่าน ถือตัว โลเล ปากกล้า พูดพร่ำเพรื่อ หลงลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ
มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตกวัดแกว่ง ไม่สำรวมอินทรีย์ ไปเถิดโมคคัลลานะ เธอจงทำ
ภิกษุเหล่านั้นให้สังเวช”
ท่านพระมหาโมคคัลลานะทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว แสดงอิทธาภิสังขารให้
ปราสาทของนางวิสาขามิคารมาตาสะเทือนสะท้านหวั่นไหวด้วยนิ้วหัวแม่เท้า ทีนั้น
ภิกษุเหล่านั้นตกใจ ขนพองสยองเกล้า ได้ไปยืนอยู่ ณ ที่สมควร พูดกันว่า
“ท่านผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ลมก็ไม่พัด ทั้งปราสาทของนาง
วิสาขามิคารมาตานี้ มีฐานลึก ฝังไว้แน่น ไม่หวั่นไหว ไม่โยกคลอน ก็เมื่อเป็นเช่นนี้
คงมีอะไรสักอย่างหนึ่งที่ทำให้ปราสาทนี้สะเทือนสะท้านหวั่นไหว”
ต่อมา พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นแล้วตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายเกิดความสลดใจ ขนพองสยองเกล้า ได้ไปยืนอยู่ ณ ที่สมควร เพราะ
เหตุไร”
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคย
ปรากฏ ลมก็ไม่พัด ทั้งปราสาทของนางวิสาขามิคารมาตานี้ มีฐานลึก ฝังไว้แน่น
ไม่หวั่นไหว ไม่โยกคลอน ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ คงมีอะไรสักอย่างหนึ่งที่ทำให้ปราสาท
นี้สะเทือนสะท้านหวั่นไหวเป็นแน่”
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุโมคคัลลานะ ประสงค์จะให้เธอทั้งหลายสังเวช จึงทำ
ปราสาทของนางวิสาขามิคารมาตาให้สะเทือนสะท้านหวั่นไหวด้วยนิ้วหัวแม่เท้า
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ภิกษุโมคคัลลานะมีฤทธิ์มาก
มีอานุภาพมากอย่างนี้ เพราะธรรมเหล่าไหนที่ภิกษุโมคคัลลานะเจริญ ทำให้มาก
แล้ว”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็น
หลัก มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอประทานวโรกาส เฉพาะพระผู้มีพระภาคเท่านั้นที่จะทรงอธิบายเนื้อความแห่งพระ
ภาษิตนั้นให้แจ่มแจ้งได้ ภิกษุทั้งหลายฟังต่อจากพระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๓๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๒. ปาสาทกัมปนวรรค ๔. โมคคัลลานสูตร

“ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น เธอทั้งหลายจงฟัง ภิกษุโมคคัลลานะมีฤทธิ์มาก
มีอานุภาพมากอย่างนี้ เพราะอิทธิบาท ๔ ประการที่ภิกษุโมคคัลลานะเจริญ ทำ
ให้มากแล้ว
อิทธิบาท ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุโมคคัลลานะ
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขารดังนี้ว่า
ฉันทะของเราจักไม่ย่อหย่อน ฯลฯ
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร ฯลฯ
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร ฯลฯ
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขารดังนี้ว่า
วิมังสาของเราจักไม่ย่อหย่อนนัก ไม่ต้องประคับประคองเกินไป
ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ซ่านไปในภายนอก และมีความหมายรู้ว่า
เบื้องหน้าและเบื้องหลังอยู่ คือ มีความหมายรู้ว่า เบื้องหลัง
เหมือนเบื้องหน้า เบื้องหน้าเหมือนเบื้องหลัง เบื้องบนเหมือน
เบื้องล่าง เบื้องล่างเหมือนเบื้องบน กลางคืนเหมือนกลางวัน
กลางวันเหมือนกลางคืน มีใจสงัด ไม่มีเครื่องร้อยรัด อบรม
จิตให้สว่างอยู่
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุโมคคัลลานะมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากอย่างนี้ เพราะ
อิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่ภิกษุโมคคัลลานะเจริญ ทำให้มากแล้ว อนึ่ง ภิกษุ
โมคคัลลานะแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง เพราะอิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่ภิกษุ
โมคคัลลานะเจริญ ทำให้มากแล้ว ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลก อนึ่ง
ภิกษุโมคคัลลานะย่อมทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะ
สิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”

โมคคัลลานสูตรที่ ๔ จบ

(อนึ่ง อภิญญาทั้งหลายพึงให้พิสดารอย่างนี้)


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๒. ปาสาทกัมปนวรรค ๕. อุณณาภพราหมณสูตร

๕. อุณณาภพราหมณสูตร
ว่าด้วยอุณณาภพราหมณ์

[๘๒๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี ครั้งนั้น
พราหมณ์ชื่ออุณณาภะเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็น
ที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้เรียนถามท่าน
พระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่านอานนท์ ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดมเพื่อ
ต้องการอะไร”
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “พราหมณ์ เราประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มี
พระภาคเพื่อละฉันทะ”
“ท่านอานนท์ มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อละฉันทะนั้นอยู่หรือ”
“พราหมณ์ มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อละฉันทะนั้นอยู่”
“ท่านอานนท์ มรรค เป็นอย่างไร ปฏิปทาเพื่อละฉันทะนั้น เป็นอย่างไร”
“พราหมณ์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิ-
ปธานสังขาร เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร เจริญอิทธิบาท
ที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิ-
ปธานสังขาร นี้แลคือมรรค นี้คือปฏิปทาเพื่อละฉันทะนั้น”
“ท่านอานนท์ เมื่อเป็นเช่นนี้ ฉันทะนั้นยังมีอยู่ มิใช่ไม่มี เป็นไปไม่ได้เลยที่
บุคคลจักละฉันทะด้วยฉันทะนั่นเอง”
“พราหมณ์ ถ้าอย่างนั้น เราจักย้อนถามท่านในเรื่องนี้ ท่านพึงตอบเรื่องนั้น
ตามที่ท่านพอใจเถิด
พราหมณ์ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ในเบื้องต้นท่านได้มีฉันทะ (ความ
พอใจ) ว่า ‘จักไปอาราม’ เมื่อท่านไปถึงอารามแล้ว ฉันทะที่เกิดขึ้นในเบื้องต้นนั้น
ก็ระงับไปหรือ”
“อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๒. ปาสาทกัมปนวรรค ๕. อุณณาภพราหมณสูตร

“ในเบื้องต้น ท่านได้มีวิริยะ (ความเพียร) ว่า ‘จักไปอาราม’ เมื่อท่านไปถึง
อารามแล้ว วิริยะที่เกิดขึ้นในเบื้องต้นนั้นก็ระงับไปหรือ”
“อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ”
“ในเบื้องต้น ท่านได้มีจิตตะ (ความใส่ใจ) ว่า ‘จักไปอาราม’ เมื่อท่านไปถึง
อารามแล้ว จิตตะที่เกิดขึ้นในเบื้องต้นนั้นก็ระงับไปหรือ”
“อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ”
“ในเบื้องต้น ท่านได้มีวิมังสา (ความไตร่ตรอง) ว่า ‘จักไปอาราม’ เมื่อท่าน
ไปถึงอารามแล้ว วิมังสาที่เกิดขึ้นในเบื้องต้นนั้นก็ระงับไปหรือ”
“อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ”
“พราหมณ์ อย่างนั้นเหมือนกัน ภิกษุใดเป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตน
โดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้นในเบื้องต้น
ได้มีฉันทะเพื่อบรรลุอรหัต เมื่อบรรลุอรหัตแล้ว ฉันทะที่เกิดขึ้นในเบื้องต้นนั้นก็ระงับไป
ในเบื้องต้นได้มีวิริยะเพื่อบรรลุอรหัต เมื่อบรรลุอรหัตแล้ว วิริยะที่เกิดขึ้นในเบื้องต้น
นั้นก็ระงับไป ในเบื้องต้นได้มีจิตตะเพื่อบรรลุอรหัต เมื่อบรรลุอรหัตแล้ว จิตตะที่
เกิดขึ้นในเบื้องต้นนั้นก็ระงับไป ในเบื้องต้นได้มีวิมังสาเพื่อบรรลุอรหัต เมื่อบรรลุ
อรหัตแล้ว วิมังสาที่เกิดขึ้นในเบื้องต้นนั้นก็ระงับไป พราหมณ์ ท่านจะเข้าใจความ
ข้อนั้นว่าอย่างไร เมื่อเป็นเช่นดังที่กล่าวมานี้ ฉันทะเป็นต้นนั้นยังมีอยู่ หรือมิใช่ไม่มี”
“ท่านอานนท์ เมื่อเป็นเช่นนี้ ฉันทะเป็นต้นนั้นยังมีอยู่แน่นอน มิใช่ไม่มี
ท่านอานนท์ ภาษิตของท่านชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านอานนท์ ภาษิตของท่าน
ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือน
บุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่
มืดด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’ ท่านอานนท์ ข้าพเจ้านี้ขอถึงท่านพระ
โคดมพร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอท่านจงทรงจำข้าพเจ้าว่าเป็น
อุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”

อุณณาภพราหมณสูตรที่ ๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๒. ปาสาทกัมปนวรรค ๖. ปฐมพราหมณสูตร

๖. ปฐมพราหมณสูตร
ว่าด้วยสมณพราหมณ์ สูตรที่ ๑

[๘๒๘] “ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาล
ได้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ก็เพราะอิทธิบาท ๔ ประการที่สมณะหรือพราหมณ์
เหล่านั้นทั้งหมดเจริญ ทำให้มากแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาลจักมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพ
มาก ก็เพราะอิทธิบาท ๔ ประการที่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดเจริญ
ทำให้มากแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบันย่อมมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพ
มาก ก็เพราะอิทธิบาท ๔ ประการที่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดเจริญ
ทำให้มากแล้ว
อิทธิบาท ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร
ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาลได้มีฤทธิ์มาก
มีอานุภาพมาก ก็เพราะอิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น
ทั้งหมดเจริญ ทำให้มากแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาลจักมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพ
มาก ก็เพราะอิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดเจริญ
ทำให้มากแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบันกาลย่อมมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพ
มาก ก็เพราะอิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดเจริญ
ทำให้มากแล้ว”

ปฐมพราหมณสูตรที่ ๖ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๒. ปาสาทกัมปนวรรค ๗. ทุติยพราหมณสูตร

๗. ทุติยพราหมณสูตร
ว่าด้วยสมณพราหมณ์ สูตรที่ ๒

[๘๒๙] “ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาล
ได้แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็น
คนเดียวก็ได้ แสดงให้ปรากฏหรือให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา กำแพง (และ)ภูเขาไปได้
ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นหรือดำลงในแผ่นดินเหมือนไปในน้ำก็ได้
เดินบนน้ำโดยที่น้ำไม่แยกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ นั่งขัดสมาธิเหาะไปในอากาศ
เหมือนนกบินไปก็ได้ ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์ดวงอาทิตย์อันมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพ
มากก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้ ก็เพราะอิทธิบาท ๔ ประการ
ที่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดเจริญ ทำให้มากแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาลจักแสดง
ฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียว
ก็ได้ แสดงให้ปรากฏหรือให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา กำแพง (และ)ภูเขาไปได้ไม่ติดขัด
เหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นหรือดำลงในแผ่นดินเหมือนไปในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำ
โดยที่น้ำไม่แยกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ นั่งขัดสมาธิเหาะไปในอากาศเหมือนนก
บินไปก็ได้ ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์ดวงอาทิตย์อันมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากก็ได้
ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้ ก็เพราะอิทธิบาท ๔ ประการที่สมณะ
หรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดเจริญ ทำให้มากแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพรามณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบันกาลย่อมแสดง
ฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียว
ก็ได้ แสดงให้ปรากฏหรือให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา กำแพง (และ)ภูเขาไปได้ไม่ติดขัด
เหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นหรือดำลงในแผ่นดินเหมือนไปในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำ
โดยที่น้ำไม่แยกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ นั่งขัดสมาธิเหาะไปในอากาศเหมือนนก
บินไปก็ได้ ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์ดวงอาทิตย์อันมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากก็ได้
ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๐๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๒. ปาสาทกัมปนวรรค ๘. ภิกขุสูตร

อิทธิบาท ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร
ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาลได้แสดง
ฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกาย
ไปจนถึงพรหมโลกก็ได้ ก็เพราะอิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่สมณะหรือพราหมณ์
เหล่านั้นทั้งหมดเจริญ ทำให้มากแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาลจักแสดง
ฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกาย
ไปจนถึงพรหมโลกก็ได้ ก็เพราะอิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่สมณะหรือพราหมณ์
เหล่านั้นทั้งหมดเจริญ ทำให้มากแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบันกาลย่อมแสดง
ฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกาย
ไปจนถึงพรหมโลกก็ได้ ก็เพราะอิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่สมณะหรือพราหมณ์
เหล่านั้นทั้งหมดจริญ ทำให้มากแล้ว”

ทุติยพราหมณสูตรที่ ๗ จบ

๘. ภิกขุสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้ภิกษุได้วิมุตติ

[๘๓๐] “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มี
อาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน เพราะอิทธิบาท
๔ ประการนี้ที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๒. ปาสาทกัมปนวรรค ๙. อิทธาทิเทสนาสูตร

อิทธิบาท ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร
ภิกษุทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน เพราะอิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่ภิกษุเจริญ
ทำให้มากแล้ว”

ภิกขุสูตรที่ ๘ จบ

๙. อิทธาทิเทสนาสูตร
ว่าด้วยการแสดงอิทธิ(ฤทธิ์)เป็นต้น

[๘๓๑] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอิทธิ อิทธิบาท อิทธิบาทภาวนาและ
ปฏิปทาที่ให้ถึงอิทธิบาทภาวนาแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
อิทธิ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็น
หลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึง
พรหมโลกก็ได้ นี้เรียกว่า อิทธิ
อิทธิบาท เป็นอย่างไร
คือ มรรคใด ปฏิปทาใดเป็นไปเพื่อได้ฤทธิ์ เพื่อได้เฉพาะซึ่งฤทธิ์
นี้เรียกว่า อิทธิบาท
อิทธิบาทภาวนา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๒. ปาสาทกัมปนวรรค ๑๐. วิภังคสูตร

๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร
นี้เรียกว่า อิทธิบาทภาวนา
ปฏิปทาที่ให้ถึงอิทธิบาทภาวนา เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ ได้แก่

๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ
๓. สัมมาวาจา ๔. สัมมากัมมันตะ
๕. สัมมาอาชีวะ ๖. สัมมาวายามะ
๗. สัมมาสติ ๘. สัมมาสมาธิ

นี้เรียกว่า ปฏิปทาที่ให้ถึงอิทธิบาทภาวนา”

อิทธาทิเทสนาสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. วิภังคสูตร
ว่าด้วยการจำแนกอิทธิบาท

[๘๓๒] “ภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว
มีผลมาก มีอานิสงส์มาก
อิทธิบาท ๔ ประการที่บุคคลเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมี
ผลมาก มีอานิสงส์มาก
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขารดังนี้ว่า ฉันทะ
ของเราจักไม่ย่อหย่อนนัก ไม่ต้องประคับประคองเกินไป ไม่
หดหู่ในภายใน ไม่ซ่านไปในภายนอก และมีความหมายรู้ว่า
เบื้องหน้าและเบื้องหลังอยู่ คือ มีความหมายรู้ว่าเบื้องหลัง
เหมือนเบื้องหน้า เบื้องหน้าเหมือนเบื้องหลัง เบื้องบนเหมือน
เบื้องล่าง เบื้องล่างเหมือนเบื้องบน กลางคืนเหมือนกลางวัน
กลางวันเหมือนกลางคืน มีใจสงัด ไม่มีเครื่องร้อยรัด อบรม
จิตให้สว่างอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๒. ปาสาทกัมปนวรรค ๑๐. วิภังคสูตร

๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร ฯลฯ
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร ฯลฯ
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขารดังนี้ว่า
วิมังสาของเราจักไม่ย่อหย่อนนัก ไม่ต้องประคับประคองเกินไป
ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ซ่านไปในภายนอก และมีความหมายรู้ว่า
เบื้องหน้าและเบื้องหลังอยู่ คือ มีความหมายรู้ว่าเบื้องหลัง
เหมือนเบื้องหน้า เบื้องหน้าเหมือนเบื้องหลัง เบื้องบนเหมือน
เบื้องล่าง เบื้องล่างเหมือนเบื้องบน กลางคืนเหมือนกลางวัน
กลางวันเหมือนกลางคืน มีใจสงัด ไม่มีเครื่องร้อยรัด อบรม
จิตให้สว่างอยู่
ฉันทะที่ย่อหย่อนนัก เป็นอย่างไร
คือ ฉันทะที่สหรคตด้วยความเกียจคร้าน สัมปยุตด้วยความเกียจคร้าน
นี้เรียกว่า ฉันทะที่ย่อหย่อนนัก
ฉันทะที่ต้องประคับประคองเกินไป เป็นอย่างไร
คือ ฉันทะที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ สัมปยุตด้วยอุทธัจจะ
นี้เรียกว่า ฉันทะที่ต้องประคับประคองเกินไป
ฉันทะที่หดหู่ในภายใน เป็นอย่างไร
คือ ฉันทะที่สหรคตด้วยถีนมิทธะ สัมปยุตด้วยถีนมิทธะ
นี้เรียกว่า ฉันทะที่หดหู่ในภายใน
ฉันทะที่ซ่านไปในภายนอก เป็นอย่างไร
คือ ฉันทะที่ซ่านไป ฟุ้งไป ปรารภกามคุณ ๕ ประการในภายนอก
นี้เรียกว่า ฉันทะที่ซ่านไปในภายนอก
ภิกษุมีความหมายรู้ว่าเบื้องหน้าและเบื้องหลังอยู่ คือ มีความหมายรู้ว่า
เบื้องหลังเหมือนเบื้องหน้า เบื้องหน้าเหมือนเบื้องหลัง เป็นอย่างไร
คือ ความหมายรู้ว่าเบื้องหน้าและเบื้องหลังอันภิกษุในธรรมวินัยนี้เรียนดี
ใส่ใจดี ทรงจำดี รู้แจ้งดีแล้วด้วยปัญญา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๒. ปาสาทกัมปนวรรค ๑๐. วิภังคสูตร

ภิกษุชื่อว่ามีความหมายรู้ว่าเบื้องหน้าและเบื้องหลังอยู่ คือ มีความหมายรู้ว่า
เบื้องหลังเหมือนเบื้องหน้า เบื้องหน้าเหมือนเบื้องหลัง เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุมีความหมายรู้ว่าเบื้องบนเหมือนเบื้องล่าง เบื้องล่างเหมือนเบื้องบน
อยู่ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมพิจารณากายนี้ขึ้นเบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป
พิจารณาลงเบื้องล่างแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มด้วยของไม่
สะอาดมีประการต่าง ๆ ว่า ‘ในร่างกายนี้มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น
กระดูก เยื่อในกระดูก ไต๑ หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม๒ ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย
อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน
น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร๓’
ภิกษุชื่อว่ามีความหมายรู้ว่าเบื้องบนเหมือนเบื้องล่าง เบื้องล่างเหมือนเบื้องบนอยู่
เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุมีความหมายรู้ว่ากลางคืนเหมือนกลางวัน กลางวันเหมือนกลางคืน
อยู่ เป็นอย่างไร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๒. ปาสาทกัมปนวรรค ๑๐. วิภังคสูตร

คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
ในกลางวันด้วยอาการเหล่าใด ด้วยเพศเหล่าใด ด้วยนิมิตเหล่าใด เธอก็เจริญ
อิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขารในกลางคืนด้วยอาการเหล่านั้น
ด้วยเพศเหล่านั้น ด้วยนิมิตเหล่านั้น อีกประการหนึ่ง ภิกษุเจริญอิทธิบาทที่
ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขารในกลางคืนด้วยอาการเหล่าใด ด้วยเพศเหล่าใด
ด้วยนิมิตเหล่าใด เธอก็เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขารในกลางวัน
ด้วยอาการเหล่านั้น ด้วยเพศเหล่านั้น ด้วยนิมิตเหล่านั้น
ภิกษุชื่อว่ามีความหมายรู้ว่ากลางคืนเหมือนกลางวัน กลางวันเหมือนกลางคืนอยู่
เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุมีใจสงัด ไม่มีเครื่องร้อยรัด อบรมจิตให้สว่างอยู่ เป็นอย่างไร
คือ อาโลกสัญญา (ความหมายรู้แสงสว่าง) อันภิกษุในธรรมวินัยนี้เรียนไว้ดี
ความหมายรู้ว่ากลางวัน ตั้งมั่นดี
ภิกษุชื่อว่ามีใจสงัด ไม่มีเครื่องร้อยรัด อบรมจิตให้สว่างอยู่ เป็นอย่างนี้แล
วิริยะที่ย่อหย่อนนัก เป็นอย่างไร
คือ วิริยะที่สหรคตด้วยความเกียจคร้าน สัมปยุตด้วยความเกียจคร้าน
นี้เรียกว่า วิริยะที่ย่อหย่อนนัก
วิริยะที่ต้องประคับประคองเกินไป เป็นอย่างไร
คือ วิริยะที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ สัมปยุตด้วยอุทธัจจะ
นี้เรียกว่า วิริยะที่ต้องประคับประคองเกินไป
วิริยะที่หดหู่ในภายใน เป็นอย่างไร
คือ วิริยะที่สหรคตด้วยถีนมิทธะ สัมปยุตด้วยถีนมิทธะ
นี้เรียกว่า วิริยะที่หดหู่ในภายใน
วิริยะที่ซ่านไปในภายนอก เป็นอย่างไร
คือ วิริยะที่ซ่านไป ฟุ้งไป ปรารภกามคุณ ๕ ประการในภายนอก
นี้เรียกว่า วิริยะที่ซ่านไปในภายนอก ฯลฯ
ภิกษุชื่อว่ามีใจสงัด ไม่มีเครื่องร้อยรัด อบรมจิตให้สว่างอยู่ เป็นอย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๒. ปาสาทกัมปนวรรค ๑๐. วิภังคสูตร

จิตที่ย่อหย่อนนัก เป็นอย่างไร
คือ จิตที่สหรคตด้วยความเกียจคร้าน สัมปยุตด้วยความเกียจคร้าน
นี้เรียกว่า จิตที่ย่อหย่อนนัก
จิตที่ต้องประคับประคองเกินไป เป็นอย่างไร
คือ จิตที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ สัมปยุตด้วยอุทธัจจะ
นี้เรียกว่า จิตที่ต้องประคับประคองเกินไป
จิตที่หดหู่ในภายใน เป็นอย่างไร
คือ จิตที่สหรคตด้วยถีนมิทธะ สัมปยุตด้วยถีนมิทธะ
นี้เรียกว่า จิตที่หดหู่ในภายใน
จิตที่ซ่านไปในภายนอก เป็นอย่างไร
คือ จิตที่ซ่านไป ฟุ้งไป ปรารภกามคุณ ๕ ประการในภายนอก
นี้เรียกว่า จิตที่ซ่านไปในภายนอก ฯลฯ
ภิกษุชื่อว่ามีใจสงัด ไม่มีเครื่องร้อยรัด อบรมจิตให้สว่างอยู่ เป็นอย่างนี้แล
วิมังสาที่ย่อหย่อนนัก เป็นอย่างไร
คือ วิมังสาที่สหรคตด้วยความเกียจคร้าน สัมปยุตด้วยความเกียจคร้าน
นี้เรียกว่า วิมังสาที่ย่อหย่อนนัก
วิมังสาที่ต้องประคับประคองเกินไป เป็นอย่างไร
คือ วิมังสาที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ สัมปยุตด้วยอุทธัจจะ
นี้เรียกว่า วิมังสาที่ต้องประคับประคองเกินไป
วิมังสาที่หดหู่ในภายใน เป็นอย่างไร
คือ วิมังสาที่สหรคตด้วยถีนมิทธะ สัมปยุตด้วยถีนมิทธะ
นี้เรียกว่า วิมังสาที่หดหู่ในภายใน
วิมังสาที่ซ่านไปในภายนอก เป็นอย่างไร
คือ วิมังสาที่ซ่านไป ฟุ้งไป ปรารภกามคุณ ๕ ประการ ในภายนอก
นี้เรียกว่า วิมังสาที่ซ่านไปในภายนอก ฯลฯ
ภิกษุชื่อว่ามีใจสงัด ไม่มีเครื่องร้อยรัด อบรมจิตให้สว่างอยู่ เป็นอย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๒. ปาสาทกัมปนวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ ประการที่บุคคลเจริญอย่างนี้แล ทำให้มาก
แล้วอย่างนี้ จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มาก
แล้วอย่างนี้ ภิกษุย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้
หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้
เมื่ออิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ภิกษุทำ
ให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่ง
เองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”

วิภังคสูตรที่ ๑๐ จบ

(แม้อภิญญาทั้ง ๖ ก็พึงให้พิสดาร)

ปาสาทกัมปนวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปุพพสูตร ๒. มหัปผลสูตร
๓. ฉันทสมาธิสูตร ๔. โมคคัลลานสูตร
๕. อุณณาภพราหมณสูตร ๖. ปฐมพราหมณสูตร
๗. ทุติยพราหมณสูตร ๘. ภิกขุสูตร
๙. อิทธาทิเทสนาสูตร ๑๐. วิภังคสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๓. อโยคุฬวรรค ๑. มัคคสูตร

๓. อโยคุฬวรรค
หมวดว่าด้วยอุปมาด้วยก้อนเหล็กที่ถูกไฟเผา
๑. มัคคสูตร
ว่าด้วยทางแห่งการเจริญอิทธิบาท

[๘๓๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อก่อนเราเป็นโพธิสัตว์ ยังไม่ได้
ตรัสรู้ ได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘อะไรหนอเป็นมรรค อะไรเป็นปฏิปทาแห่งการเจริญ
อิทธิบาท’ ภิกษุทั้งหลาย (ต่อมา) เรานั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขารดังนี้ว่า
ฉันทะของเราจักไม่ย่อหย่อนนัก ไม่ต้องประคับประคองเกินไป
ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ซ่านไปในภายนอก และมีความหมายรู้ว่า
เบื้องหน้าและเบื้องหลังอยู่ คือ มีความหมายรู้ว่าเบื้องหลัง
เหมือนเบื้องหน้า เบื้องหน้าเหมือนเบื้องหลัง เบื้องบนเหมือน
เบื้องล่าง เบื้องล่างเหมือนเบื้องบน กลางคืนเหมือนกลางวัน
กลางวันเหมือนกลางคืน มีใจสงัด ไม่มีเครื่องร้อยรัด อบรม
จิตให้สว่างอยู่ด้วยประการฉะนี้
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร ฯลฯ
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร ฯลฯ
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขารดังนี้ว่า
วิมังสาของเราจักไม่ย่อหย่อนนัก ไม่ต้องประคับประคองเกินไป
ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ซ่านไปในภายนอก และมีความหมายรู้ว่า
เบื้องหน้าและเบื้องหลังอยู่ คือ มีความหมายรู้ว่าเบื้องหลัง
เหมือนเบื้องหน้า เบื้องหน้าเหมือนเบื้องหลัง เบื้องบนเหมือน
เบื้องล่าง เบื้องล่างเหมือนเบื้องบน กลางคืนเหมือนกลางวัน
กลางวันเหมือนกลางคืน มีใจสงัด ไม่มีเครื่องร้อยรัด อบรม
จิตให้สว่างอยู่ ด้วยประการฉะนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๓. อโยคุฬวรรค ๒. อโยคุฬสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออิทธิบาท ๔ ประการที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มาก
แล้วอย่างนี้ ภิกษุย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้
หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้
เมื่ออิทธิบาท ๔ ประการที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ภิกษุจึง
ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่ง
เองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”

มัคคสูตรที่ ๑ จบ

(แม้อภิญญาทั้ง ๖ ก็พึงให้พิสดาร)

๒. อโยคุฬสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยก้อนเหล็กที่ถูกไฟเผา

[๘๓๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
พระผู้มีพระภาคทรงทราบอยู่หรือว่า พระองค์มีพระวรกายเป็นมโนมัย ทรงเข้าถึง
พรหมโลกด้วยฤทธิ์”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ เราทราบอยู่ว่า เรามีกายเป็นมโนมัย
เข้าถึงพรหมโลกด้วยฤทธิ์”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคทรงทราบหรือว่า พระองค์มีพระ
วรกายที่ประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ นี้ ทรงเข้าถึงพรหมโลกด้วยฤทธิ์”
“อานนท์ เราทราบอยู่ว่า เรามีกายที่ประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ นี้ เข้าถึง
พรหมโลกด้วยฤทธิ์”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏที่พระผู้มีพระภาคทรง
ทราบว่า พระองค์มีพระวรกายเป็นมโนมัย ทรงเข้าถึงพรหมโลกด้วยฤทธิ์ และทรง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๓. อโยคุฬวรรค ๒. อโยคุฬสูตร

ทราบว่า มีพระวรกายที่ประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ นี้ ทรงเข้าถึงพรหมโลกด้วย
ฤทธิ์”
“อานนท์ พระตถาคตทั้งหลายเป็นผู้อัศจรรย์และประกอบด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์
เป็นผู้ไม่เคยมีและประกอบด้วยธรรมที่ไม่เคยมี
สมัยใด ตถาคตตั้งกายไว้ในจิตหรือตั้งจิตไว้ในกาย ก้าวลงสู่สุขสัญญา (ความ
หมายรู้ว่าสบาย) และลหุสัญญา (ความหมายรู้ว่าเบา) ในกายอยู่ สมัยนั้น กาย
ของตถาคตย่อมเบากว่า อ่อนกว่า ควรแก่การงานกว่า และผุดผ่องกว่า
ก้อนเหล็กที่ไฟเผาตลอดทั้งวันย่อมเบากว่า อ่อนกว่า ควรแก่การงานกว่า
และผุดผ่องกว่า แม้ฉันใด
สมัยใด ตถาคตตั้งกายไว้ในจิตหรือตั้งจิตไว้ในกาย ก้าวลงสู่สุขสัญญาและ
ลหุสัญญาในกายอยู่ สมัยนั้น กายของตถาคตย่อมเบากว่า อ่อนกว่า ควรแก่การ
งานกว่า และผุดผ่องกว่า ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
สมัยใด ตถาคตตั้งกายไว้ในจิตหรือตั้งจิตไว้ในกาย ก้าวลงสู่สุขสัญญาและ
ลหุสัญญาในกายอยู่ สมัยนั้น กายของตถาคตย่อมลอยจากพื้นดินขึ้นสู่อากาศ
ได้โดยไม่ยากเลย ตถาคตย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวเป็นหลายคน
ก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้
ปุยนุ่นหรือปุยฝ้ายซึ่งเบาถูกลมพัดก็ลอยจากพื้นดินขึ้นสู่อากาศโดยไม่ยากเลย
แม้ฉันใด
สมัยใด ตถาคตตั้งกายไว้ในจิตหรือตั้งจิตไว้ในกาย ก้าวลงสู่สุขสัญญาและ
ลหุสัญญาในกายอยู่ สมัยนั้น กายของตถาคตย่อมลอยจากพื้นดินขึ้นสู่อากาศได้
โดยไม่ยากเลย ตถาคตย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลาย
คนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลก
ก็ได้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน”

อโยคุฬสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๓. อโยคุฬวรรค ๔. สุทธิกสูตร

๓. ภิกขุสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้ภิกษุได้วิมุตติ

[๘๓๕] “ภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ ประการนี้
อิทธิบาท ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร
อิทธิบาท ๔ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะ
อาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน เพราะอิทธิบาท ๔ ประการ
นี้ ที่ภิกษุนั้นเจริญ ทำให้มากแล้ว”

ภิกขุสูตรที่ ๓ จบ

๔. สุทธิกสูตร
ว่าด้วยอิทธิบาทล้วน

[๘๓๖] “ภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ ประการนี้
อิทธิบาท ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร
อิทธิบาท ๔ ประการนี้”

สุทธิกสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๓. อโยคุฬวรรค ๖. ทุติยผลสูตร

๕. ปฐมผลสูตร
ว่าด้วยผลแห่งการเจริญอิทธิบาท สูตรที่ ๑

[๘๓๗] “ภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ ประการนี้
อิทธิบาท ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร
อิทธิบาท ๔ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่ภิกษุนั้นเจริญ ทำให้มากแล้ว
ภิกษุพึงหวังผลอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมี
อุปาทานเหลืออยู่ก็จักเป็นพระอนาคามี”

ปฐมผลสูตรที่ ๕ จบ

๖. ทุติยผลสูตร
ว่าด้วยผลแห่งการเจริญอิทธิบาท สูตรที่ ๒

[๘๓๘] “ภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ ประการนี้
อิทธิบาท ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร
อิทธิบาท ๔ ประการนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๓. อโยคุฬวรรค ๗. ปฐมอานันทสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เพราะอิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่ภิกษุนั้นเจริญ ทำให้มากแล้ว
ภิกษุพึงหวังผลานิสงส์ ๗ ประการ
ผลานิสงส์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. จะได้บรรลุอรหัตตผลทันทีในปัจจุบัน
๒. หากไม่ได้บรรลุอรหัตตผลในปัจจุบัน จะได้บรรลุในเวลาใกล้ตาย
๓. หากในปัจจุบันและในเวลาใกล้ตายยังไม่ได้บรรลุ ก็จะได้เป็น
พระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
๔. ... ก็จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี
๕. ... ก็จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี
๖. ... ก็จะได้เป็นพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี
๗. ... ก็จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เพราะ
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่ภิกษุนั้นเจริญ ทำให้มากแล้ว
ภิกษุพึงหวังผลานิสงส์ ๗ ประการนี้”๑

ทุติยผลสูตรที่ ๖ จบ

๗. ปฐมอานันทสูตร
ว่าด้วยพระอานนท์ สูตรที่ ๑

[๘๓๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อิทธิ เป็นอย่างไร อิทธิบาท เป็นอย่างไร อิทธิบาท-
ภาวนาเป็นอย่างไร ปฏิปทาที่ให้ถึงอิทธิบาทภาวนา เป็นอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมแสดงฤทธิ์ได้
หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้
ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้ นี้เรียกว่า อิทธิ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๓. อโยคุฬวรรค ๘. ทุติยอานันทสูตร

อิทธิบาท เป็นอย่างไร
คือ มรรคใด ปฏิปทาใดเป็นไปเพื่อได้ฤทธิ์ เพื่อได้เฉพาะซึ่งฤทธิ์
นี้เรียกว่า อิทธิบาท
อิทธิบาทภาวนา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร
นี้เรียกว่า อิทธิบาทภาวนา
ปฏิปทาที่ให้ถึงอิทธิบาทภาวนา เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้เรียกว่า ปฏิปทาที่ให้ถึงอิทธิบาทภาวนา”

ปฐมอานันทสูตรที่ ๗ จบ

๘. ทุติยอานันทสูตร
ว่าด้วยพระอานนท์ สูตรที่ ๒

[๘๔๐] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระอานนท์ผู้นั่งอยู่ ณ ที่สมควรว่า
“อานนท์ อิทธิ เป็นอย่างไร อิทธิบาท เป็นอย่างไร อิทธิบาทภาวนา เป็นอย่างไร
ปฏิปทาที่ให้ถึงอิทธิบาทภาวนา เป็นอย่างไร”
ท่านพระอานนท์ทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ ฯลฯ๑


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๓. อโยคุฬวรรค ๙. ปฐมภิกขุสูตร

“อานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดง
เป็นหลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปจน
ถึงพรหมโลกก็ได้ นี้เรียกว่า อิทธิ
อิทธิบาท เป็นอย่างไร
คือ มรรคใด ปฏิปทาใดเป็นไปเพื่อได้ฤทธิ์ เพื่อได้เฉพาะซึ่งฤทธิ์
นี้เรียกว่า อิทธิบาท
อิทธิบาทภาวนา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร
นี้เรียกว่า อิทธิบาทภาวนา
ปฏิปทาที่ให้ถึงอิทธิบาทภาวนา เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้เรียกว่า ปฏิปทาที่ให้ถึงอิทธิบาทภาวนา”

ทุติยอานันทสูตรที่ ๘ จบ

๙. ปฐมภิกขุสูตร
ว่าด้วยภิกษุ สูตรที่ ๑

[๘๔๑] ครั้งนั้น ภิกษุจำนวนมากเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อิทธิ เป็นอย่างไร อิทธิบาท เป็นอย่างไร อิทธิ-
บาทภาวนา เป็นอย่างไร ปฏิปทาที่ให้ถึงอิทธิบาทภาวนา เป็นอย่างไร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๓. อโยคุฬวรรค ๑๐. ทุติยภิกขุสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมแสดง
ฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคน
เดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้ นี้เรียกว่า อิทธิ
อิทธิบาท เป็นอย่างไร
คือ มรรคใด ปฏิปทาใดเป็นไปเพื่อได้ฤทธิ์ เพื่อได้เฉพาะซึ่งฤทธิ์
นี้เรียกว่า อิทธิบาท
อิทธิบาทภาวนา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร
นี้เรียกว่า อิทธิบาทภาวนา
ปฏิปทาที่ให้ถึงอิทธิบาทภาวนา เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้เรียกว่า ปฏิปทาที่ให้ถึงอิทธิบาทภาวนา”

ปฐมภิกขุสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ทุติยภิกขุสูตร
ว่าด้วยภิกษุ สูตรที่ ๒

[๘๔๒] ครั้งนั้น ภิกษุจำนวนมากเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับภิกษุเหล่านั้น
ดังนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย อิทธิ เป็นอย่างไร อิทธิบาท เป็นอย่างไร อิทธิบาทภาวนา
เป็นอย่างไร ปฏิปทาที่ให้ถึงอิทธิบาทภาวนา เป็นอย่างไร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๓. อโยคุฬวรรค ๑๐. ทุติยภิกขุสูตร

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย อิทธิ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็น
หลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึง
พรหมโลกก็ได้
นี้เรียกว่า อิทธิ
อิทธิบาท เป็นอย่างไร
คือ มรรคใด ปฏิปทาใดเป็นไปเพื่อได้ฤทธิ์ เพื่อได้เฉพาะซึ่งฤทธิ์
นี้เรียกว่า อิทธิบาท
อิทธิบาทภาวนา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร
นี้เรียกว่า อิทธิบาทภาวนา
ปฏิปทาที่ให้ถึงอิทธิบาทภาวนา เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้เรียกว่า ปฏิปทาที่ให้ถึงอิทธิบาทภาวนา”

ทุติยภิกขุสูตรที่ ๑๐ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๓. อโยคุฬวรรค ๑๑. โมคคัลลานสูตร

๑๑. โมคคัลลานสูตร
ว่าด้วยพระโมคคัลลานะ

[๘๔๓] ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ภิกษุโมคคัลลานะมีฤทธิ์มาก
มีอานุภาพมากอย่างนี้ เพราะธรรมเหล่าไหนที่เธอเจริญ ทำให้มากแล้ว”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุโมคคัลลานะมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากอย่างนี้ เพราะ
อิทธิบาท ๔ ประการที่ภิกษุโมคคัลลานะนั้นเจริญ ทำให้มากแล้ว
อิทธิบาท ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ในธรรมวินัยนี้ ภิกษุโมคคัลลานะ
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขารดังนี้ว่า
ฉันทะของเราจักไม่ย่อหย่อนนัก ไม่ต้องประคับประคองเกินไป
ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ซ่านไปในภายนอก และมีความหมายรู้ว่า
เบื้องหน้าและเบื้องหลังอยู่ คือ มีความหมายรู้ว่าเบื้องหลัง
เหมือนเบื้องหน้า เบื้องหน้าเหมือนเบื้องหลัง เบื้องบนเหมือน
เบื้องล่าง เบื้องล่างเหมือนเบื้องบน กลางคืนเหมือนกลางวัน
กลางวันเหมือนกลางคืน มีใจสงัด ไม่มีเครื่องร้อยรัด อบรม
จิตให้สว่างอยู่ ด้วยประการฉะนี้
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร ฯลฯ
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร ฯลฯ
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขารดังนี้ว่า
วิมังสาของเราจักไม่ย่อหย่อนนัก ไม่ต้องประคับประคองเกินไป
ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ซ่านไปในภายนอก ฯลฯ มีใจสงัด ไม่มี
เครื่องร้อยรัด อบรมจิตให้สว่างอยู่ ด้วยประการฉะนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๓. อโยคุฬวรรค ๑๒. ตถาคตสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุโมคคัลลานะมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากอย่างนี้ เพราะ
อิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่ภิกษุโมคคัลลานะนั้นเจริญ ทำให้มากแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุโมคคัลลานะแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียว
แสดงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกาย
ไปจนถึงพรหมโลกก็ได้ เพราะอิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่ภิกษุโมคคัลลานะเจริญ ทำ
ให้มากแล้ว อนึ่ง ภิกษุโมคคัลลานะทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มี
อาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน เพราะอิทธิบาท
๔ ประการนี้ที่ภิกษุโมคคัลลานะเจริญ ทำให้มากแล้ว”

โมคคัลลานสูตรที่ ๑๑ จบ

๑๒. ตถาคตสูตร
ว่าด้วยพระตถาคต

[๘๔๔] ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจข้อความนั้นว่าอย่างไร ตถาคตมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพ
มากอย่างนี้ เพราะธรรมเหล่าไหนที่ตถาคตเจริญ ทำให้มากแล้ว”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากอย่างนี้ เพราะอิทธิบาท ๔
ประการที่ตถาคตเจริญ ทำให้มากแล้ว
อิทธิบาท ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ตถาคต
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขารดังนี้ว่า
ฉันทะของเราจักไม่ย่อหย่อนนัก ไม่ต้องประคับประคองเกินไป ไม่
หดหู่ในภายใน ไม่ซ่านไปในภายนอก และตถาคตมีความหมาย
รู้ว่าเบื้องหน้าและเบื้องหลังอยู่ คือ มีความหมายรู้ว่าเบื้องหลัง
เหมือนเบื้องหน้า เบื้องหน้าเหมือนเบื้องหลัง เบื้องบนเหมือน
เบื้องล่าง เบื้องล่างเหมือนเบื้องบน กลางคืนเหมือนกลางวัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๓. อโยคุฬวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

กลางวันเหมือนกลางคืน มีใจสงัด ไม่มีเครื่องร้อยรัด อบรม
จิตให้สว่างอยู่ ด้วยประการฉะนี้
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร ฯลฯ
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร ฯลฯ
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขารดังนี้ว่า
วิมังสาของเราจักไม่ย่อหย่อนนัก ไม่ต้องประคับประคองเกินไป มี
ใจสงัด ไม่มีเครื่องร้อยรัด อบรมจิตให้สว่างอยู่ ด้วยประการฉะนี้
ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากอย่างนี้ เพราะอิทธิบาท ๔
ประการนี้ที่ตถาคตเจริญ ทำให้มากแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ตถาคตย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดง
เป็นหลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปจน
ถึงพรหมโลกก็ได้ เพราะอิทธิบาท ๔ ประการนี้ที่ตถาคตเจริญ ทำให้มากแล้ว
อนึ่ง ตถาคตย่อมทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะ
สิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน เพราะอิทธิบาท ๔ ประการนี้
ที่ตถาคตเจริญ ทำให้มากแล้ว”

ตถาคตสูตรที่ ๑๒ จบ

(แม้อภิญญาทั้ง ๖ ก็พึงให้พิสดาร)

อโยคุฬวรรคที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. มัคคสูตร ๒. อโยคุฬสูตร
๓. ภิกขุสูตร ๔. สุทธิกสูตร
๕. ปฐมผลสูตร ๖. ทุติยผลสูตร
๗. ปฐมอานันทสูตร ๘. ทุติยอานันทสูตร
๙. ปฐมภิกขุสูตร ๑๐. ทุติยภิกขุสูตร
๑๑. โมคคัลลานสูตร ๑๒. ตถาคตสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๔. คังคาเปยยาลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๔. คังคาเปยยาลวรรค
หมวดว่าด้วยคังคาเปยยาล
๑-๑๒. คังคานทีอาทิสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยแม่นํ้าคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีนเป็นต้น

[๘๔๕-๘๔๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่
ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น
เหมือนกัน เมื่อเจริญอิทธิบาท ๔ ประการ ทำอิทธิบาท ๔ ประการให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
ภิกษุเมื่อเจริญอิทธิบาท ๔ ประการ ทำอิทธิบาท ๔ ประการให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปานสังขาร
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอิทธิบาท ๔ ประการ ทำอิทธิบาท ๔
ประการให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างนี้แล”

คังคานทีอาทิสูตรที่ ๑-๑๒ จบ
คังคาเปยยาลวรรคที่ ๔ จบ๑

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมปาจีนนินนสูตร ๒-๕. ทุติยาทิปาจีนนินนสุตตจตุกกะ
๖. ฉัฏฐปาจีนนินนสูตร ๗. ปฐมสมุททนินนสูตร
๘-๑๒. ทุติยาทิสมุททนินนสุตตปัญจกะ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๔. คังคาเปยยาลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

อัปปมาทวรรคพึงให้พิสดาร๑

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ตถาคตสูตร ๒. ปทสูตร
๓. กูฏสูตร ๔. มลสูตร
๕. สารสูตร ๖. วัสสิกสูตร
๗. ราชาสูตร ๘. จันทิมสูตร
๙. สุริยสูตร ๑๐. วัตถสูตร

พลกรณียวรรคพึงให้พิสดาร๒

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. พลสูตร ๒. พีชสูตร
๓. นาคสูตร ๔. รุกขสูตร
๕. กุมภสูตร ๖. สูกสูตร
๗. อากาสสูตร ๘. ปฐมเมฆสูตร
๙. ทุติยเมฆสูตร ๑๐. นาวาสูตร
๑๑. อาคันตุกสูตร ๑๒. นทีสูตร

เอสนาวรรคพึงให้พิสดาร๓

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. เอสนาสูตร ๒. วิธาสูตร
๓. อาสวสูตร ๔. ภวสูตร
๕. ทุกขตาสูตร ๖. ขีลสูตร
๗. มลสูตร ๘. นีฆสูตร
๙. เวทนาสูตร ๑๐. ตัณหาสูตร
๑๑. ตสินาสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๘. โอฆวรรค ๑-๑๐. โอฆาทิสูตร

๘. โอฆวรรค
หมวดว่าด้วยโอฆะ
๑-๑๐. โอฆาทิสูตร
ว่าด้วยโอฆะเป็นต้น

[๘๘๙-๘๙๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อุทธัมภาคิยสังโยชน์
(สังโยชน์เบื้องสูง) ๕ ประการนี้
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปราคะ ๒. อรูปราคะ
๓. มานะ ๔. อุทธัจจะ
๕. อวิชชา
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญอิทธิบาท ๔ ประการ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อ
กำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้
อิทธิบาท ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญอิทธิบาท ๔ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อ
กำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้”

(พึงเพิ่มข้อความให้พิสดารเหมือนมัคคสังยุต)

โอฆาทิสูตรที่ ๑-๑๐ จบ
โอฆวรรคที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]
๘. โอฆวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. โอฆสูตร ๒. โยคสูตร
๓. อุปาทานสูตร ๔. คันถสูตร
๕. อนุสยสูตร ๖. กามคุณสูตร
๗. นีวรณสูตร ๘. อุปาทานักขันธสูตร
๙. โอรัมภาคิยสูตร ๑๐. อุทธัมภาคิยสูตร

อิทธิปาทสังยุตที่ ๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๘. อนุรุทธสังยุต]
๑. รโหคตวรรค ๑. ปฐมรโหคตสูตร

๘. อนุรุทธสังยุต
๑. รโหคตวรรค
หมวดว่าด้วยผู้หลีกเร้นอยู่ในที่สงัด
๑. ปฐมรโหคตสูตร
ว่าด้วยผู้หลีกเร้นอยู่ในที่สงัด สูตรที่ ๑

[๘๙๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธะอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธะหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด
ได้เกิดความรำพึงขึ้นมาว่า “สติปัฏฐาน ๔ ประการอันชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
พลาดแล้ว อริยมรรคที่ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ก็ชื่อว่าเป็นอันชนเหล่านั้น
พลาดแล้ว สติปัฏฐาน ๔ ประการอันชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งปรารภแล้ว อริยมรรค
ที่ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ก็ชื่อว่าเป็นอันชนเหล่านั้นปรารภแล้ว”
ลำดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะทราบความรำพึงของท่านพระอนุรุทธะ
ด้วยใจ จึงหายตัวไปปรากฏเฉพาะหน้าของท่านพระอนุรุทธะ เหมือนบุรุษมีกำลัง
เหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้า ฉะนั้น
ทีนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้ถามท่านพระอนุรุทธะดังนี้ว่า “ท่าน
อนุรุทธะ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุจึงชื่อว่าปรารภสติปัฏฐาน ๔ ประการ”
ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุเกิดในกายภายในอยู่ ฯลฯ พิจารณา
เห็นธรรมเป็นเหตุดับในกายภายในอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นทั้งธรรม
เป็นเหตุเกิดทั้งธรรมเป็นเหตุดับในกายภายในอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ พิจารณา
เห็นธรรมเป็นเหตุเกิดในกายภายนอกอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๘. อนุรุทธสังยุต]
๑. รโหคตวรรค ๑. ปฐมรโหคตสูตร

ธรรมเป็นเหตุดับในกายภายนอกอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นทั้งธรรม
เป็นเหตุเกิดทั้งธรรมเป็นเหตุดับในกายภายนอกอยู่ มีความเพียร
มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ พิจารณา
เห็นธรรมเป็นเหตุเกิดในกายทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ ฯลฯ
พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุดับในกายทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ ฯลฯ
พิจารณาเห็นทั้งธรรมเป็นเหตุเกิดทั้งธรรมเป็นเหตุดับในกายทั้ง
ภายในทั้งภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่’ ก็มี
ความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลอยู่’ ก็มีความ
หมายรู้ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลนั้นอยู่
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลอยู่
ก็มีความรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลนั้นอยู่
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลและสิ่งไม่ปฏิกูล
อยู่’ ก็มีความหมายรู้ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลและสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงเว้นสิ่งทั้ง ๒ นั้น คือ สิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลแล้ว
เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะอยู่เถิด’ ก็เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ มี
สัมปชัญญะในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลทั้ง ๒ นั้นอยู่
๒. พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุเกิดในเวทนาทั้งหลายภายในอยู่ ฯลฯ
พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุดับในเวทนาทั้งหลายภายในอยู่ ฯลฯ
พิจารณาเห็นทั้งธรรมเป็นเหตุเกิดทั้งธรรมเป็นเหตุดับในเวทนา
ทั้งหลายภายในอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุเกิดใน
เวทนาทั้งหลายภายนอกอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุ
ดับในเวทนาทั้งหลายภายนอกอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นทั้งธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๘. อนุรุทธสังยุต]
๑. รโหคตวรรค ๑. ปฐมรโหคตสูตร

เป็นเหตุเกิดทั้งธรรมเป็นเหตุดับในเวทนาทั้งหลายภายนอกอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสใน
โลกได้ พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุเกิดในเวทนาทั้งหลายทั้ง
ภายในทั้งภายนอกอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุดับใน
เวทนาทั้งหลายทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็น
ทั้งธรรมเป็นเหตุเกิดทั้งธรรมเป็นเหตุดับในเวทนาทั้งหลาย
ทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่’ ก็มีความ
หมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลอยู่’ ก็มีความ
หมายรู้ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลนั้นอยู่
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลอยู่’
ก็มีความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลนั้นอยู่
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลและสิ่งไม่ปฏิกูล
อยู่’ ก็มีความหมายรู้ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลและสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงเว้นสิ่งทั้ง ๒ นั้น คือสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลแล้ว
เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะอยู่’ ก็เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ
ในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลทั้ง ๒ นั้นอยู่
๓. พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุเกิดในจิตภายใน ฯลฯ ในจิตภายนอก
ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุเกิดในจิตทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่
ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุดับในจิตทั้งภายในทั้งภายนอก
อยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นทั้งธรรมเป็นเหตุเกิดทั้งธรรมเป็นเหตุ
ดับในจิตทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ มีความเพียร ฯลฯ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๘. อนุรุทธสังยุต]
๑. รโหคตวรรค ๒. ทุติยรโหคตสูตร

หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่ ก็มีความ
หมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่ ฯลฯ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ
ในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลทั้ง ๒ นั้นอยู่
๔. พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุเกิดในธรรมทั้งหลายภายใน ฯลฯ ใน
ธรรมทั้งหลายภายนอก ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุเกิด
ในธรรมทั้งหลายทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็น
ธรรมเป็นเหตุดับในธรรมทั้งหลายทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ ฯลฯ
พิจารณาเห็นทั้งธรรมเป็นเหตุเกิดทั้งธรรมเป็นเหตุดับในธรรม
ทั้งหลายทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
หากเธอหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่’ ก็มีความ
หมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่ ฯลฯ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ
ในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลทั้ง ๒ นั้นอยู่
ท่านผู้มีอายุ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ภิกษุจึงชื่อว่าปรารภสติปัฏฐาน ๔ ประการ”

ปฐมรโหคตสูตรที่ ๑ จบ

๒. ทุติยรโหคตสูตร
ว่าด้วยผู้หลีกเร้นอยู่ในที่สงัด สูตรที่ ๒

[๙๐๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธะหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ได้เกิดความคิดคำนึงขึ้นมาว่า
“สติปัฏฐาน ๔ ประการอันชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งพลาดแล้ว อริยมรรคที่ให้ถึง
ความสิ้นทุกข์โดยชอบ ก็ชื่อว่าเป็นอันชนเหล่านั้นพลาดแล้ว สติปัฏฐาน ๔
ประการอันชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งปรารภแล้ว อริยมรรคที่ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
ก็ชื่อว่าเป็นอันชนเหล่านั้นปรารภแล้ว”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๘. อนุรุทธสังยุต]
๑. รโหคตวรรค ๒. ทุติยรโหคตสูตร

ลำดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะทราบความรำพึงของท่านพระอนุรุทธะ
ด้วยใจ จึงหายตัวไปปรากฏเฉพาะหน้าของท่านพระอนุรุทธะ เหมือนบุรุษมีกำลัง
เหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้า ฉะนั้น
ทีนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้ถามท่านพระอนุรุทธะดังนี้ว่า “ท่าน
อนุรุทธะ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุจึงชื่อว่าปรารภสติปัฏฐาน ๔ ประการ”
ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายภายในอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ พิจารณาเห็นกายใน
กายภายนอกอยู่ มีความเพียร ฯลฯ พิจารณาเห็นกายในกาย
ทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายภายในอยู่ มีความเพียร
มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ พิจารณาเห็น
เวทนาในเวทนาทั้งหลายภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ พิจารณาเห็นเวทนา
ในเวทนาทั้งหลายทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ มีความเพียร
มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตภายในอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นจิตในจิตภาย
นอก ฯลฯ พิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสใน
โลกได้
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายภายใน ฯลฯ พิจารณาเห็น
ธรรมในธรรมทั้งหลายภายนอก ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมในธรรม
ทั้งหลายทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ท่านผู้มีอายุ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ภิกษุจึงชื่อว่าปรารภสติปัฏฐาน ๔ ประการ”

ทุติยรโหคตสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๘. อนุรุทธสังยุต]
๑. รโหคตวรรค ๕. ทุติยกัณฏกีสูตร

๓. สุตนุสูตร
ว่าด้วยการสนทนาธรรมที่ริมฝั่งแม่น้ำสุตนุ

[๙๐๑] สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธะอยู่ใกล้ริมฝั่งแม่น้ำสุตนุ เขตกรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ภิกษุจำนวนมากเข้าไปหาท่านพระอนุรุทธะถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอ
เป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้เรียนถามท่าน
พระอนุรุทธะดังนี้ว่า “ท่านอนุรุทธะได้ถึงความเป็นผู้มีอภิญญามาก เพราะธรรม
เหล่าไหนที่ท่านอนุรุทธะเจริญ ทำให้มากแล้ว”
ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ผมได้ถึงความเป็นผู้มี
อภิญญามาก เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ในพระธรรมวินัยนี้ ผม
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ผมได้ถึงความเป็นผู้มีอภิญญามาก เพราะสติปัฏฐาน ๔
ประการนี้ที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว อนึ่ง ผมได้รู้ธรรมเลวโดยความเป็นธรรมเลว
ได้รู้ธรรมปานกลางโดยความเป็นธรรมปานกลาง ได้รู้ธรรมประณีตโดยความเป็น
ธรรมประณีต เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว”

สุตนุสูตรที่ ๓ จบ

๔. ปฐมกัณฏกีสูตร
ว่าด้วยการสนทนาธรรมที่กัณฏกีวัน สูตรที่ ๑

[๙๐๒] สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระสารีบุตร และท่านพระมหา-
โมคคัลลานะอยู่ที่กัณฏกีวัน เขตเมืองสาเกต ครั้นในเวลาเย็น ท่านพระสารีบุตร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๘. อนุรุทธสังยุต]
๑. รโหคตวรรค ๕. ทุติยกัณฏกีสูตร

และท่านพระมหาโมคคัลลานะออกจากที่สงัดเข้าไปหาท่านพระอนุรุทธะถึงที่อยู่ ได้
สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร
ท่านพระสารีบุตรได้ถามท่านพระอนุรุทธะดังนี้ว่า “ท่านอนุรุทธะ ธรรมเหล่าไหนที่
ภิกษุผู้เสขะพึงเข้าถึงอยู่”
ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า “ท่านสารีบุตร สติปัฏฐาน ๔ ประการที่ภิกษุผู้เสขะ
พึงเข้าถึงอยู่
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ท่านสารีบุตร สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่ภิกษุผู้เสขะพึงเข้าถึงอยู่”

ปฐมกัณฏกีสูตรที่ ๔ จบ

๕. ทุติยกัณฏกีสูตร
ว่าด้วยการสนทนาธรรมที่กัณฏกีวัน สูตรที่ ๒

[๙๐๓] เรื่องเกิดขึ้นที่เมืองสาเกต
ท่านพระสารีบุตรนั่ง ณ ที่สมควรแล้ว ได้ถามท่านพระอนุรุทธดังนี้ว่า “ท่าน
อนุรุทธะ ธรรมเหล่าไหนที่ภิกษุผู้อเสขะพึงเข้าถึงอยู่”
ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า “ท่านสารีบุตร สติปัฏฐาน ๔ ประการที่ภิกษุผู้
อเสขะพึงเข้าถึงอยู่
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๘. อนุรุทธสังยุต]
๑. รโหคตวรรค ๖. ตติยกัณฏกีสูตร

๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ท่านพระสารีบุตร สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่ภิกษุผู้อเสขะพึงเข้าถึงอยู่”

ทุติยกัณฏกีสูตรที่ ๕ จบ

๖. ตติยกัณฏกีสูตร
ว่าด้วยการสนทนาธรรมที่กัณฏกีวัน สูตรที่ ๓

[๙๐๔] เรื่องเกิดขึ้นที่เมืองสาเกต
ท่านพระสารีบุตรนั่ง ณ ที่สมควรแล้ว ได้ถามท่านพระอนุรุทธะดังนี้ว่า “ท่าน
อนุรุทธะได้ถึงความเป็นผู้มีภิญญามาก เพราะธรรมเหล่าไหนที่ท่านอนุรุทธะเจริญ
ทำให้มากแล้ว”
ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า “ผู้มีอายุ ผมได้ถึงความเป็นผู้มีอภิญญามาก
เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ในพระธรรมวินัยนี้ ผม
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๘. อนุรุทธสังยุต]
๑. รโหคตวรรค ๗. ตัณหากขยสูตร

ผู้มีอายุ ผมได้ถึงความเป็นผู้มีอภิญญามาก เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้
ที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว อนึ่ง ผมรู้โลกตั้ง ๑,๐๐๐ โลกได้เพราะสติปัฏฐาน ๔
ประการนี้ที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว”

ตติยกัณฏกีสูตรที่ ๖ จบ

๗. ตัณหากขยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อความสิ้นตัณหา

[๙๐๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ณ ที่นั้นแล ท่านพระอนุรุทธะเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “ผู้มีอายุ
ทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระอนุรุทธะแล้ว ท่านพระอนุรุทธะจึงได้กล่าว
เรื่องนี้ว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นตัณหา
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯลฯ
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ผู้มีอายุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นตัณหา”

ตัณหากขยสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๘. อนุรุทธสังยุต]
๑. รโหคตวรรค ๘. สลฬาคารสูตร

๘. สลฬาคารสูตร
ว่าด้วยธรรมเทศนาที่สลฬาคาร

[๙๐๖] สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธะอยู่ ณ สลฬาคาร เขตกรุงสาวัตถี ณ
ที่นั้นแล ท่านพระอนุรุทธะเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ฯลฯ๑ ได้กล่าวคำนี้ว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน
หลากไปสู่ทิศปราจีน เมื่อเป็นเช่นนั้น หมู่มหาชนพากันถือเอาจอบและตะกร้ามา
ด้วยประสงค์ว่า ‘จักทดแม่น้ำคงคานี้ให้ไหลไปข้างหลัง บ่าไปข้างหลัง หลากไป
ข้างหลัง’ ท่านทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร หมู่มหาชนนั้นจะพึงทดแม่
น้ำคงคาให้ไหลไปข้างหลัง บ่าไปข้างหลัง หลากไปข้างหลังได้หรือ”
ภิกษุเหล่านั้นตอบว่า “ไม่ได้ ขอรับ”
“ข้อนั้น เพราะเหตุไร”
“เพราะการจะทดแม่น้ำคงคาที่ไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลาก
ไปสู่ทิศปราจีน ให้ไหลไปข้างหลัง บ่าไปข้างหลัง หลากไปข้างหลังนั้น มิใช่ทำได้ง่าย
ทั้งหมู่มหาชนนั้นจะพึงมีส่วนแห่งความลำบาก เหน็ดเหนื่อยแน่นอน”
“ผู้มีอายุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น พระราชา มหาอำมาตย์ของ
พระราชา มิตร อำมาตย์ ญาติ สาโลหิตก็ตาม พึงเชื้อเชิญภิกษุผู้เจริญสติปัฏฐาน
๔ ประการ ทำสติปัฏฐาน ๔ ประการให้มาก ให้ยินดีด้วยโภคะว่า ‘เชิญเถิด
ท่านผู้เจริญ ผ้ากาสาวะเหล่านี้ทำให้ท่านเร่าร้อนมิใช่หรือ ท่านจะเป็นคนหัวโล้น
เที่ยวถือกระเบื้องไปทำไม เชิญเถิด เชิญท่านกลับมาเป็นคฤหัสถ์ใช้สอยโภคทรัพย์
และทำบุญเถิด”
“ผู้มีอายุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุนั้นเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ
ทำสติปัฏฐาน ๔ ประการให้มาก จะบอกคืนสิกขา กลับมาเป็นคฤหัสถ์ ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะเป็นไปไม่ได้เลยที่จิตอันน้อมไปในวิเวก โน้มไปในวิเวก โอนไป
ในวิเวกตลอดกาลนานแล้ว จักเวียนมาเพื่อเป็นคฤหัสถ์


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๘. อนุรุทธสังยุต]
๑. รโหคตวรรค ๙. อัมพปาลิวนสูตร

ภิกษุเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ ทำสติปัฏฐาน ๔ ประการให้มาก อย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯลฯ
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ ทำสติปัฏฐาน ๔ ประการ
ให้มาก อย่างนี้แล”

สลฬาคารสูตรที่ ๘ จบ

๙. อัมพปาลิวนสูตร
ว่าด้วยการสนทนาธรรมในอัมพปาลีวัน

[๙๐๗] สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธะและท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ อัมพปาลีวัน
เขตกรุงเวสาลี ครั้นในเวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่สงัด ฯลฯ๑ นั่ง ณ
ที่สมควร ได้ถามท่านพระอนุรุทธะดังนี้ว่า “ท่านอนุรุทธะ อินทรีย์ของท่านผ่องใส
ยิ่งนัก สีหน้าบริสุทธิ์ผุดผ่อง ขณะนี้ โดยมากท่านอยู่ด้วยวิหารธรรม (ธรรมเป็น
เครื่องอยู่) อะไร”
ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า “ผู้มีอายุ ขณะนี้ ผมมีจิตตั้งมั่นดีอยู่ในสติปัฏฐาน ๔
ประการ
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ในพระธรรมวินัยนี้ ผม
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๘. อนุรุทธสังยุต]
๑. รโหคตวรรค ๑๐. พาฬหคิลานสูตร

๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ผู้มีอายุ ขณะนี้ โดยมากผมมีจิตตั้งมั่นดีอยู่ในสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ ภิกษุ
ใดเป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระ
ได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นเพราะรู้โดย
ชอบ ภิกษุนั้นโดยมากชื่อว่ามีจิตตั้งมั่นดีอยู่ในสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้”
ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า “เป็นลาภของพวกเราหนอ พวกเราได้ดีแล้วที่ได้
ฟังเฉพาะหน้าท่านอนุรุทธะผู้กล่าวอาสภิวาจา๑อยู่”

อัมพปาลิวนสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. พาฬหคิลานสูตร
ว่าด้วยพระอนุรุทธะอาพาธหนัก

[๙๐๘] สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธะอาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนักอยู่ ณ
ป่าอันธวัน เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุจำนวนมากเข้าไปหาท่านถึงที่อยู่แล้วได้
ถามท่านพระอนุรุทธะดังนี้ว่า “ท่านอนุรุทธะอยู่ด้วยวิหารธรรมอะไร ทุกขเวทนา
ทางกายที่เกิดขึ้นแล้ว จึงไม่ครอบงำจิตอยู่ได้”
ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย ผมมีจิตตั้งมั่นดีอยู่ในสติปัฏฐาน
๔ ประการ ทุกขเวทนาทางกายที่เกิดขึ้นแล้ว จึงไม่ครอบงำจิตอยู่ได้
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ในพระธรรมวินัยนี้ ผม
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯลฯ
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๘. อนุรุทธสังยุต]
๑. รโหคตวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ผู้มีอายุทั้งหลาย ผมมีจิตตั้งมั่นดีอยู่ในสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ ทุกขเวทนา
ทางกายที่เกิดขึ้นแล้ว จึงไม่ครอบงำจิตอยู่ได้”

พาฬหคิลานสูตรที่ ๑๐ จบ
รโหคตวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมรโหคตสูตร ๒. ทุติยรโหคตสูตร
๓. สุตนุสูตร ๔. ปฐมกัณฏกีสูตร
๕. ทุติยกัณฏกีสูตร ๖. ตติยกัณฏกีสูตร
๗. ตัณหากขยสูตร ๘. สลฬาคารสูตร
๙. อัมพปาลิวนสูตร ๑๐. พาฬหคิลานสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๘. อนุรุทธสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๑. กัปปสหัสสสูตร

๒. ทุติยวรรค
หมวดที่ ๒
๑. กัปปสหัสสสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้ระลึกได้ตั้ง ๑,๐๐๐ กัป

[๙๐๙] สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธะอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุจำนวนมากเข้าไปหาท่านพระอนุรุทธะ
ถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว ฯลฯ๑
เรียนถามท่านพระอนุรุทธะดังนี้ว่า
“ท่านอนุรุทธะได้ถึงความเป็นผู้มีอภิญญามาก เพราะธรรมเหล่าไหนที่ท่าน
อนุรุทธะเจริญ ทำให้มากแล้ว”
ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย ผมได้ถึงความเป็นผู้มีอภิญญา
มาก เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว
สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ผม
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯลฯ
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ผู้มีอายุทั้งหลาย ผมได้ถึงความเป็นผู้มีอภิญญามาก เพราะสติปัฏฐาน ๔
ประการนี้ที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว อนึ่ง ผมระลึกได้ตั้ง ๑,๐๐๐ กัป เพราะ
สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว”

กัปปสหัสสสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๘. อนุรุทธสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๔. เจโตปริยสูตร

๒. อิทธิวิธสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง

[๙๑๐] ท่านพระอนุรุทธะกล่าวว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง ผมแสดงฤทธิ์
ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ ฯลฯ๑ ใช้อำนาจทางกายไป
จนถึงพรหมโลกก็ได้ ก็เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว”

อิทธิวิธสูตรที่ ๒ จบ

๓. ทิพพโสตสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้มีหูทิพย์

[๙๑๑] “ผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง ผมได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์
และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ด้วยหูทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ก็เพราะ
สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว”

ทิพพโสตสูตรที่ ๓ จบ

๔. เจโตปริยสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้ได้เจโตปริยญาณ

[๙๑๒] “ผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง ผมกำหนดรู้ใจของสัตว์เหล่าอื่น ของบุคคล
เหล่าอื่นได้ด้วยใจ คือ จิตมีราคะก็รู้ว่าจิตมีราคะ ฯลฯ๒ จิตยังไม่หลุดพ้นก็รู้ว่าจิต
ยังไม่หลุดพ้น ก็เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว”

เจโตปริยสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๘. อนุรุทธสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๘. นานาธาตุสูตร

๕. ฐานสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้รู้ชัดฐานะและอฐานะ

[๙๑๓] “ผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง ผมรู้ชัดฐานะโดยเป็นฐานะ และอฐานะโดย
เป็นอฐานะตามความเป็นจริง ก็เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่ผมเจริญ ทำให้
มากแล้ว”

ฐานสูตรที่ ๕ จบ

๖. กัมมสมาทานสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้รู้ชัดวิบากแห่งการยึดถือกรรม

[๙๑๔] “ผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง ผมรู้ชัดวิบากแห่งการยึดถือกรรมทั้งที่เป็น
อดีต อนาคต และปัจจุบันโดยฐานะ โดยเหตุตามความเป็นจริง ก็เพราะสติปัฏฐาน
๔ ประการนี้ที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว”

กัมมสมาทานสูตรที่ ๖ จบ

๗. สัพพัตถคามินีสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงภูมิทั้งปวง

[๙๑๕] “ผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง ผมรู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงภูมิทั้งปวงตามความ
เป็นจริง ก็เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว”

สัพพัตถคามินีสูตรที่ ๗ จบ

๘. นานาธาตุสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้รู้ชัดโลกที่มีธาตุแตกต่างกัน

[๙๑๖] “ผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง ผมรู้ชัดโลกที่มีธาตุหลายชนิดและมีธาตุ
แตกต่างกันตามความเป็นจริง ก็เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่ผมเจริญ ทำให้
มากแล้ว”

นานาธาตุสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๘. อนุรุทธสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๑๑. ฌานาทิสูตร

๙. นานาธิมุตติสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้รู้ชัดหมู่สัตว์ที่มีอัธยาศัยต่างกัน

[๙๑๗] “ผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง ผมรู้ชัดว่า หมู่สัตว์มีอัธยาศัยต่างกันตาม
ความเป็นจริง ก็เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว”

นานาธิมุตติสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. อินทริยปโรปริยัตตสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้รู้ชัดความแก่อ่อนแห่งอินทรีย์

[๙๑๘] “ผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง ผมรู้ชัดว่า สัตว์เหล่าอื่นและบุคคลเหล่าอื่น
มีอินทรีย์แก่กล้าและอินทรีย์อ่อนตามความเป็นจริง ก็เพราะสติปัฏฐาน ๔
ประการนี้ที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว”

อินทริยปโรปริยัตตสูตรที่ ๑๐ จบ

๑๑. ฌานาทิสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้รู้ชัดความเศร้าหมองแห่งฌานเป็นต้น

[๙๑๙] “ผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง ผมรู้ชัดความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว
แห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ และการออกจากฌาน วิโมกข์ สมาธิ และ
สมาบัติตามความเป็นจริง ก็เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่ผมเจริญ ทำให้
มากแล้ว”

ฌานาทิสูตรที่ ๑๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๘. อนุรุทธสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๑๔. อาสวักขยสูตร

๑๒. ปุพเพนิวาสสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้ระลึกชาติก่อนได้

[๙๒๐] “ผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง ผมระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ชาติ ๑
บ้าง ๒ ชาติบ้าง ฯลฯ๑ ผมระลึกชาติก่อนได้หลายชาติพร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและ
ชีวประวัติอย่างนี้ ก็เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว”

ปุพเพนิวาสสูตรที่ ๑๒ จบ

๑๓. ทิพพจักขุสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้มีตาทิพย์

[๙๒๑] “ผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง ผมเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ(ตาย)และกำลัง
อุบัติ(เกิด)ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ฯลฯ รู้สัตว์ทั้งหลายผู้เป็นไปตาม
อำนาจกรรม ฯลฯ๒ ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์อย่างนี้ ก็เพราะสติปัฏฐาน
๔ ประการนี้ที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว”

ทิพพจักขุสูตรที่ ๑๓ จบ

๑๔. อาสวักขยสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้สิ้นอาสวะ

[๙๒๒] “ผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง ผมรู้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มี
อาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ก็เพราะสติ-
ปัฏฐาน ๔ ประการนี้ที่ผมเจริญ ทำให้มากแล้ว”

อาสวักขยสูตรที่ ๑๔ จบ
ทุติยวรรคที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๘. อนุรุทธสังยุต]
๒. ทุติยวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. กัปปสหัสสสูตร ๒. อิทธิวิธสูตร
๓. ทิพพโสตสูตร ๔. เจโตปริยสูตร
๕. ฐานสูตร ๖. กัมมสมาทานสูตร
๗. สัพพัตถคามินีสูตร ๘. นานาธาตุสูตร
๙. นานาธิมุตติสูตร ๑๐. อินทริยปโรปริยัตตสูตร
๑๑. ฌานาทิสูตร ๑๒. ปุพเพนิวาสสูตร
๑๓. ทิพพจักขุสูตร ๑๔. อาสวักขยสูตร

อนุรุทธสังยุตที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๙. ฌานสังยุต]
๑. คังคาเปยยาลวรรค ๑-๑๒. ฌานาทิสูตร

๙. ฌานสังยุต
๑. คังคาเปยยาลวรรค
หมวดว่าด้วยคังคาเปยยาล
๑-๑๒. ฌานาทิสูตร
ว่าด้วยฌานเป็นต้น

[๙๒๓-๙๓๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย ฌาน ๔ ประการนี้
ฌาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก
วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่
๒. เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสใน
ภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่
ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่
๓. เพราะปีติจางคลายไป มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวย
สุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยทั้งหลายสรรเสริญว่า
‘ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข’
๔. เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว
บรรลุจตุตถฌาน ที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์ เพราะ
อุเบกขาอยู่
ฌาน ๔ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไปสู่
ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเจริญฌาน ๔ ประการ ทำฌาน
๔ ประการให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๙. ฌานสังยุต]
๑. คังคาเปยยาลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ภิกษุเมื่อเจริญฌาน ๔ ประการ ทำฌาน ๔ ประการให้มาก ย่อมน้อม
ไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก
วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่
๒. เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ
๓. ... บรรลุตติยฌาน ฯลฯ
๔. ... บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญฌาน ๔ ประการ ทำฌาน ๔ ประการให้มาก
ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างนี้แล”

ฌานาทิสูตรที่ ๑-๑๒ จบ
คังคาเปยยาลวรรคที่ ๑ จบ๑

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมปาจีนนินนสูตร ๒-๕. ทุติยาทิปาจีนนินนสุตตจตุกกะ
๖. ฉัฏฐปาจีนนินนสูตร ๗. ปฐมสมุททนินนสูตร
๘-๑๒. ทุติยาทิสมุททนินนสุตตปัญจกะ

อัปปมาทวรรคพึงให้พิสดาร๒

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ตถาคตสูตร ๒. ปทสูตร
๓. อาสวสูตร ๔. มูลสูตร
๕. สารสูตร ๖. วัสสิกสูตร
๗. ราชาสูตร ๘. จันทิมสูตร
๙. สุริยสูตร ๑๐. วัตถสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๙. ฌานสังยุต]
๑. คังคาเปยยาลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

พลกรณียวรรคพึงให้พิสดาร๑

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. พลสูตร ๒. พีชสูตร
๓. ราคสูตร ๔. รุกขสูตร
๕. กุมภสูตร ๖. สูกสูตร
๗. อากาสสูตร ๘. ปฐมเมฆสูตร
๙. ทุติยเมฆสูตร ๑๐. นาวาสูตร
๑๑. อาคันตุกสูตร ๑๒. นทีสูตร

เอสนาวรรคพึงให้พิสดาร๒

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. เอสนาสูตร ๒. วิธาสูตร
๓. อาสวสูตร ๔. ภวสูตร
๕. ทุกขตาสูตร ๖. ขีลสูตร
๗. มลสูตร ๘. นีฆสูตร
๙. เวทนาสูตร ๑๐. ตัณหาสูตร
๑๑. ตสินาสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๙. ฌานสังยุต]
๕. โอฆวรรค ๑-๑๐. โอฆาทิสูตร

๕. โอฆวรรค
หมวดว่าด้วยโอฆะ
๑-๑๐. โอฆาทิสูตร
ว่าด้วยโอฆะเป็นต้น

[๙๖๗-๙๗๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อุทธัมภาคิยสังโยชน์
๕ ประการนี้
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปราคะ ๒. อรูปราคะ
๓. มานะ ๔. อุทธัจจะ
๕. อวิชชา
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญฌาน ๔ ประการ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้
ฌาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก
วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่
๒. เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌานที่มีความผ่องใสในภายใน
มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่
ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่
๓. ... บรรลุตติยฌาน ฯลฯ
๔. ... บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญฌาน ๔ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้

ข้อความที่เหลือพึงให้พิสดารอย่างนี้

(พึงเพิ่มข้อความให้พิสดารเหมือนมัคคสังยุต)

โอฆวรรคที่ ๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๙. ฌานสังยุต]
๕. โอฆวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. โอฆสูตร ๒. โยคสูตร
๓. อุปาทานสูตร ๔. คันถสูตร
๕. อนุสยสูตร ๖. กามคุณสูตร
๗. นีวรณสูตร ๘. อุปาทานักขันธสูตร
๙. โอรัมภาคิยสูตร ๑๐. อุทธัมภาคิยสูตร

ฌานสังยุตที่ ๙ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๑. เอกธัมมวรรค ๑. เอกธัมมสูตร

๑๐. อานาปานสังยุต
๑. เอกธัมมวรรค
หมวดว่าด้วยธรรมอันเป็นเอก
๑. เอกธัมมสูตร
ว่าด้วยธรรมอันเป็นเอก

[๙๗๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ฯลฯ๑ จึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย
ธรรมอันเป็นเอกที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก
ธรรมอันเป็นเอก คืออะไร
คือ อานาปานสติ
อานาปานสติที่ภิกษุเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้
บัลลังก์๒ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า๓ มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก๔
อานาปานสติ ๑๖ ขั้น๕
๑. เมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว
เมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๑. เอกธัมมวรรค ๑. เอกธัมมสูตร

๒. เมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ชัดว่าหายใจเข้าสั้น
เมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ชัดว่าหายใจออกสั้น
๓. สำเหนียกว่า จะรู้ชัดกองลมทั้งปวง หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะรู้ชัดกองลมทั้งปวง หายใจออก
๔. สำเหนียกว่า จะระงับกายสังขาร หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะระงับกายสังขาร หายใจออก
๕. สำเหนียกว่า จะรู้ชัดปีติ หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะรู้ชัดปีติ หายใจออก
๖. สำเหนียกว่า จะรู้ชัดสุข หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะรู้ชัดสุข หายใจออก
๗. สำเหนียกว่า จะรู้ชัดจิตตสังขาร หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะรู้ชัดจิตตสังขาร หายใจออก
๘. สำเหนียกว่า จะระงับจิตตสังขาร หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะระงับจิตตสังขาร หายใจออก
๙. สำเหนียกว่า จะรู้ชัดจิต หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะรู้ชัดจิต หายใจออก
๑๐. สำเหนียกว่า จะยังจิตให้บันเทิง หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะยังจิตให้บันเทิง หายใจออก
๑๑. สำเหนียกว่า จะตั้งจิตมั่น หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะตั้งจิตมั่น หายใจออก
๑๒. สำเหนียกว่า จะเปลื้องจิต หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะเปลื้องจิต หายใจออก
๑๓. สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง หายใจออก
๑๔. สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความคลายออกได้ หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความคลายออกได้ หายใจออก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๑. เอกธัมมวรรค ๒. โพชฌังคสูตร

๑๕. สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความดับไป หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความดับไป หายใจออก
๑๖. สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจออก
ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติที่บุคคลเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้
จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก”

เอกธัมมสูตรที่ ๑ จบ

๒. โพชฌังคสูตร
ว่าด้วยการเจริญโพชฌงค์

[๙๗๘] “ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว มีผลมาก
มีอานิสงส์มาก
อานาปานสติที่ภิกษุเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยอานาปานสติ อันอาศัยวิเวก
อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
๒. เจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยอานาปานสติ ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่สหรคตด้วยอานาปานสติ อันอาศัย
วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้
จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก”

โพชฌังคสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๑. เอกธัมมวรรค ๔. ปฐมผลสูตร

๓. สุทธิกสูตร
ว่าด้วยอานาปานสติล้วน

[๙๗๙] “ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว มีผลมาก
มีอานิสงส์มาก
อานาปานสติที่ภิกษุเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์
ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก ฯลฯ๑
สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจเข้า สำเหนียกว่าจะพิจารณา
เห็นความสละคืน หายใจออก
ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้
จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก”

สุทธิกสูตรที่ ๓ จบ

๔. ปฐมผลสูตร
ว่าด้วยผลแห่งการเจริญอานาปานสติ สูตรที่ ๑

[๙๘๐] “ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว มีผลมาก
มีอานิสงส์มาก
อานาปานสติที่ภิกษุเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์
ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก ฯลฯ
สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจเข้า สำเหนียกว่า จะพิจารณา
เห็นความสละคืน หายใจออก


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๑. เอกธัมมวรรค ๕. ทุติยผลสูตร

อานาปานสติที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้ จึงมีผลมาก มี
อานิสงส์มาก
ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออานาปานสติที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้
พึงหวังผล ๑ อย่าง ใน ๒ อย่าง คือ อรหัตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมี
อุปาทานเหลืออยู่ ก็จักเป็นพระอนาคามี”

ปฐมผลสูตรที่ ๔ จบ

๕. ทุติยผลสูตร
ว่าด้วยผลแห่งการเจริญอานาปานสติ สูตรที่ ๒

[๙๘๑] “ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว มีผลมาก
มีอานิสงส์มาก
อานาปานสติที่ภิกษุเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์
ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก ฯลฯ
สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจเข้า สำเหนียกว่า จะพิจารณา
เห็นความสละคืน หายใจออก
ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้
จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออานาปานสติที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้
ภิกษุพึงหวังผลานิสงส์ ๗ ประการ
ผลานิสงส์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. จะได้บรรลุอรหัตตผลทันทีในปัจจุบัน
๒. หากปัจจุบันไม่ได้บรรลุ ก็จะได้บรรลุในเวลาใกล้ตาย
๓. หากปัจจุบันและในเวลาใกล้ตายยังไม่ได้บรรลุ ก็จะได้เป็นพระ
อนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๑. เอกธัมมวรรค ๖. อริฏฐสูตร

๔. ... ก็จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี
๕. ... ก็จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี
๖. ... ก็จะได้เป็นพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี
๗. ... ก็จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เพราะอุทธัม-
ภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป
ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออานาปานสติที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้
ภิกษุพึงหวังผลานิสงส์ ๗ ประการนี้”๑

ทุติยผลสูตรที่ ๕ จบ

๖. อริฏฐสูตร
ว่าด้วยพระอริฏฐะ

[๙๘๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ฯลฯ ได้ตรัสถามภิกษุทั้งหลายดังนี้ว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายยังเจริญอานาปานสติอยู่หรือ” เมื่อพระผู้มีพระภาตตรัส
ถามอย่างนี้แล้ว ท่านพระอริฏฐะได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าพระองค์
ยังเจริญอานาปานสติอยู่ พระพุทธเจ้าข้า”
“อริฏฐะ เธอเจริญอานาปานสติอย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กามฉันทะในกามทั้งหลายที่ล่วงไปแล้ว ข้าพระองค์
ก็ละได้แล้ว กามฉันทะในกามทั้งหลายที่ยังไม่มาถึงของข้าพระองค์ก็ไปปราศแล้ว
ปฏิฆสัญญาในธรรมทั้งหลายทั้งภายในทั้งภายนอก ข้าพระองค์ก็กำจัดแล้ว ข้าพระ
องค์มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก ข้าพระองค์เจริญอานาปานสติอยู่อย่างนี้
พระพุทธเจ้าข้า”
“อริฏฐะ อานาปานสตินั้นมีอยู่ เราไม่กล่าวว่าไม่มี แต่ว่าอานาปานสติจะ
ทำให้บริบูรณ์ได้โดยพิสดารด้วยวิธีใด เธอจงตั้งใจฟังวิธีนั้นให้ดี เราจักกล่าว”
ท่านพระอริฏฐะทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๑. เอกธัมมวรรค ๗. มหากัปปินสูตร

“อริฏฐะ อานาปานสติจะทำให้บริบูรณ์ได้โดยพิสดาร อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์
ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก เมื่อหายใจ
เข้ายาวก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว ฯลฯ สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน
หายใจเข้า สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจออก
อริฏฐะ อานาปานสติจะทำให้บริบูรณ์ได้โดยพิสดาร อย่างนี้แล”

อริฏฐสูตรที่ ๖ จบ

๗. มหากัปปินสูตร
ว่าด้วยพระมหากัปปินะ

[๙๘๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
สมัยนั้น ท่านพระมหากัปปินะนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า
ณ ที่ไม่ไกลจากพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นท่านพระ
มหากัปปินะนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า ณ ที่ไม่ไกล แล้วรับสั่ง
เรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเห็นกายของภิกษุ
นั้นไหวหรือเอนเอียงไหม”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เวลาใดข้าพระองค์ทั้งหลาย
เห็นท่านผู้มีอายุนั้นนั่งในท่ามกลางสงฆ์ หรือนั่งในที่สงัดตามลำพัง เวลานั้น
ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่เห็นกายของท่านผู้มีอายุนั้นไหวหรือเอนเอียง”
“ภิกษุทั้งหลาย การที่กายไม่ไหวหรือเอนเอียง หรือการที่จิตไม่ไหวหรือดิ้นรน
เพราะสมาธิใดที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว สมาธินั้นภิกษุนั้นได้ตามความปรารถนา
ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
การที่กายไม่ไหวหรือเอนเอียง หรือการที่จิตไม่ไหวหรือดิ้นรน เพราะ
สมาธิอย่างไหนที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๑. เอกธัมมวรรค ๘. ปทีโปปมสูตร

คือ การที่กายไม่ไหวหรือเอนเอียง หรือการที่จิตไม่ไหวหรือดิ้นรน เพราะ
อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว
เมื่ออานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว การที่กายไม่ไหว
หรือเอนเอียง หรือการที่จิตไม่ไหวหรือดิ้นรน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์
ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก ฯลฯ
สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจเข้า สำเหนียกว่าจะพิจารณา
เห็นความสละคืน หายใจออก
ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้ว
อย่างนี้ การที่กายไม่ไหวหรือเอนเอียง หรือการที่จิตไม่ไหวหรือดิ้นรน เป็นอย่าง
นี้แล”

มหากัปปินสูตรที่ ๗ จบ

๘. ปทีโปปมสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยประทีป

[๙๘๔] “ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว มี
ผลมาก มีอานิสงส์มาก
อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผล
มาก มีอานิสงส์มาก
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์
ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก เมื่อหายใจ
เข้ายาว ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว ฯลฯ สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน
หายใจเข้า สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจออก
ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้ว
อย่างนี้ จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๑. เอกธัมมวรรค ๘. ปทีโปปมสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า เมื่อก่อนเราเป็นโพธิสัตว์ ยังไม่ได้ตรัสรู้ โดยมากก็
อยู่ด้วยวิหารธรรม (ธรรมเป็นเครื่องอยู่) นี้ เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ กาย
ก็ไม่ลำบาก จักษุก็ไม่ลำบาก และจิตของเราก็หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะ
ไม่ถือมั่น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น หากภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงหวังว่า ‘แม้กาย
ของเราไม่พึงลำบาก จักษุของเราไม่พึงลำบาก และจิตของเราพึงหลุดพ้นจาก
อาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น’ ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แลให้ดี
หากภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงหวังว่า ‘เราพึงละความคิดถึงและความดำริอัน
อาศัยเรือนเสีย’ ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แลให้ดี
หากภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่
ปฏิกูลอยู่’ ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แลให้ดี
หากภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่ง
ปฏิกูลอยู่’ ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แลให้ดี
หากภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่
ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลอยู่’ ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แลให้ดี
หากภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่ง
ปฏิกูลและสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่’ ก็พึงมนสิการอานาปานสตินี้แลให้ดี
หากภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงหวังว่า ‘เราพึงเว้นทั้ง ๒ นั้น คือ สิ่งไม่ปฏิกูล
และสิ่งปฏิกูลแล้วเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะอยู่’ ก็พึงมนสิการอานาปาน-
สติสมาธินี้แลให้ดี
หากภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงหวังว่า ‘เราพึงสงัดจากกามและอกุศลธรรม
ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่’ ก็พึง
มนสิการอานาปานสติสมาธินี้แลให้ดี
หากภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงหวังว่า ‘เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป เราพึงบรรลุ
ทุติยฌานที่มีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร
มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่’ ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แลให้ดี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๑. เอกธัมมวรรค ๘. ปทีโปปมสูตร

หากภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงหวังว่า ‘เพราะปีติจางคลายไป เราพึงมีอุเบกขา
มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลาย
สรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข’ ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้
แลให้ดี
หากภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงหวังว่า ‘เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัส
และโทมนัสดับไปก่อนแล้ว เราพึงบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์
เพราะอุเบกขาอยู่’ ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แลให้ดี
หากภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงหวังว่า ‘เราพึงบรรลุอากาสาณัญจายตนฌานโดย
กำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนด
นานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง’ ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แลให้ดี
หากภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงหวังว่า ‘เราพึงล่วงอากาสาณัญจายตนฌานโดย
ประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’
ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แลให้ดี
หากภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงหวังว่า ‘เราพึงล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดย
ประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ ก็พึง
มนสิการอานาปานสติสมาธินี้แลให้ดี
หากภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงหวังว่า ‘เราพึงล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดย
ประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน’ ก็พึงมนสิการอานาปานสติ
สมาธินี้แลให้ดี
หากภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงหวังว่า ‘เราพึงล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
โดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ (สมาบัติที่ดับสัญญาและเวทนา)’ ก็พึง
มนสิการอานาปานสติสมาธินี้แลให้ดี
ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้ว
อย่างนี้ ถ้าเธอเสวยสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า ‘สุขเวทนานั้นไม่เที่ยง’ รู้ชัดว่า ‘ไม่น่า
หมกมุ่น’ รู้ชัดว่า ‘ไม่น่าเพลิดเพลิน’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๑. เอกธัมมวรรค ๙. เวสาลีสูตร

ถ้าเธอเสวยทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่า ‘ทุกขเวทนานั้นไม่เที่ยง’ รู้ชัดว่า ‘ไม่น่า
หมกมุ่น’ รู้ชัดว่า ‘ไม่น่าเพลิดเพลิน’
ถ้าเธอเสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า ‘อทุกขมสุขเวทนานั้นไม่เที่ยง’ รู้ชัดว่า
‘ไม่น่าหมกมุ่น’ รู้ชัดว่า ‘ไม่น่าเพลิดเพลิน’
ถ้าเธอเสวยสุขเวทนา ก็เป็นผู้ปราศจาก(กิเลส)เสวยสุขเวทนานั้น ถ้าเธอ
เสวยทุกขเวทนา ก็เป็นผู้ปราศจาก(กิเลส)เสวยทุกขเวทนานั้น ถ้าเธอเสวยอทุกขม-
สุขเวทนา ก็เป็นผู้ปราศจาก(กิเลส)เสวยอทุกขมสุขเวทนานั้น
เธอเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า ‘เราเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด’
เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า ‘เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด’ หลัง
จากตายไป ก็รู้ชัดว่า ‘เวทนาทั้งปวงไม่น่าเพลิดเพลิน จักเย็นในโลกนี้ทีเดียว’
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยน้ำมันและไส้ ตะเกียงน้ำมันจึงติดอยู่ได้ เพราะ
สิ้นน้ำมันและไส้ ตะเกียงน้ำมันก็หมดเชื้อดับไป แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า ‘เราเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด’ เมื่อ
เสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า ‘เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด’ ก็รู้ชัดว่า
‘เวทนาทั้งปวงไม่น่าเพลิดเพลิน จักเย็นในโลกนี้ทีเดียว”

ปทีโปปมสูตรที่ ๘ จบ

๙. เวสาลีสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่กรุงเวสาลี

[๙๘๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขต
กรุงเวสาลี ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสสอนอสุภกัมมัฏฐาน ทรงพรรณนาคุณแห่ง
อสุภกัมมัฏฐาน ตรัสสรรเสริญการเจริญอสุภกัมมัฏฐานแก่ภิกษุทั้งหลายโดย
ประการต่าง ๆ
ต่อมา พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เราปรารถนาจะหลีกเร้นอยู่ผู้เดียวสักครึ่งเดือน ใคร ๆ อย่าเข้าไปหาเรา ยกเว้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๑. เอกธัมมวรรค ๙. เวสาลีสูตร

ภิกษุผู้นำอาหารบิณฑบาตเข้าไปให้รูปเดียว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
ในครึ่งเดือนนี้ จึงไม่มีใคร ๆ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ยกเว้นภิกษุผู้นำอาหาร
บิณฑบาตเข้าไปถวายรูปเดียว
ลำดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นสนทนากันว่า “พระผู้มีพระภาคตรัสสอนอสุภกัมมัฏ-
ฐาน ทรงพรรณนาคุณแห่งอสุภกัมมัฏฐาน ตรัสสรรเสริญการเจริญอสุภกัมมัฏฐาน
โดยประการต่าง ๆ” แล้วพากันประกอบความเพียรในการเจริญอสุภกัมมัฏฐาน
หลายประการ กระทั่งเกิดความรู้สึกอึดอัด เบื่อหน่าย รังเกียจร่างกายของตน จึง
พากันแสวงหาศัสตราสำหรับฆ่าตัวตาย วันเดียวภิกษุก็นำศัสตรามาฆ่าตัวตาย ๑๐
รูปบ้าง ฯลฯ ๓๐ รูปบ้าง
เมื่อครึ่งเดือนผ่านไป พระผู้มีพระภาคก็เสด็จออกจากที่หลีกเร้น รับสั่งเรียก
ท่านพระอานนท์มาตรัสถามว่า “อานนท์ ทำไมภิกษุสงฆ์จึงดูเหมือนจะน้อยลง”
ท่านพระอานนท์ทูลตอบว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุทั้งหลายสนทนากันว่า
‘พระผู้มีพระภาคตรัสสอนอสุภกัมมัฏฐาน ทรงพรรณนาคุณแห่งอสุภกัมมัฏฐาน
ตรัสสรรเสริญการเจริญอสุภกัมมัฏฐานโดยประการต่าง ๆ’ แล้วพากันประกอบ
ความเพียรในการเจริญอสุภกัมมัฏฐานหลายประการ กระทั่งเกิดความรู้สึกอึดอัด
เบื่อหน่าย รังเกียจร่างกายของตน จึงพากันแสวงหาศัสตราสำหรับฆ่าตัวตาย
วันเดียว ภิกษุก็นำศัสตรามาฆ่าตัวตาย ๑๐ รูปบ้าง ฯลฯ ๓๐ รูปบ้าง ขอ
ประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดตรัสบอกวิธีอื่นที่ภิกษุสงฆ์นี้จะพึง
ดำรงอยู่ในอรหัตตผลเถิด พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงเผดียงภิกษุเท่าที่อาศัย
กรุงเวสาลีอยู่ทั้งหมดให้ประชุมที่โรงอาหาร” ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระ
ดำรัสแล้วเผดียงภิกษุเท่าที่อาศัยกรุงเวสาลีอยู่ทั้งหมดให้ประชุมที่โรงอาหารแล้ว
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุสงฆ์ประชุมกันแล้ว ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทราบกาลอัน
สมควรในบัดนี้เถิด พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๑. เอกธัมมวรรค ๑๐. กิมิลสูตร

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จไปที่โรงอาหาร ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่
ปูลาดไว้ แล้วรับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ
สมาธิแม้นี้ ที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นสภาพสงบ ประณีต สดชื่น
เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุข และทำบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๆ ให้อันตรธานไป
สงบไปโดยเร็ว
ภิกษุทั้งหลาย ฝุ่นละอองที่ฟุ้งขึ้นท้ายฤดูร้อน ถูกฝนใหญ่นอกฤดูกาล ทำให้
อันตรธานไป สงบไปโดยเร็ว แม้ฉันใด อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญ ทำให้
มากแล้วก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นสภาพสงบ ประณีต สดชื่น เป็นธรรมเครื่องอยู่
เป็นสุข และทำบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๆ ให้อันตรธานไป สงบไปโดยเร็ว
อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงเป็น
สภาพสงบ ประณีต สดชื่น เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุข และทำบาปอกุศล-
ธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๆ ให้อันตรธานไป สงบไปโดยเร็ว
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้
บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก ฯลฯ
สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจเข้า สำเหนียกว่า จะพิจารณา
เห็นความสละคืน หายใจออก’
ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้
จึงเป็นสภาพสงบ ประณีต สดชื่น เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุข และทำบาปอกุศลธรรม
ที่เกิดขึ้นแล้ว ๆ ให้อันตรธานไป สงบไปโดยเร็ว”๑

เวสาลีสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. กิมิลสูตร
ว่าด้วยพระกิมิละ

[๙๘๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าไผ่ เขตเมืองกิมิลา ณ ที่นั้นแล
พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระกิมิละมาตรัสถามว่า “กิมิละ อานาปานสติ
สมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๑. เอกธัมมวรรค ๑๐. กิมิลสูตร

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสถามอย่างนี้ ท่านพระกิมิละได้นิ่งเฉย
แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระกิมิละมาตรัสถามว่า “กิมิละ
อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มี
อานิสงส์มาก” แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระกิมิละก็ได้นิ่งเฉย
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสถามอย่างนี้ ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ถึงเวลาที่พระองค์จะพึงตรัสอานาปานสติ-
สมาธิ ข้าแต่พระสุคต ถึงเวลาที่พระองค์จะพึงตรัสอานาปานสติสมาธิ ภิกษุทั้ง
หลายได้สดับจากพระองค์แล้วจักทรงจำไว้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เรา
จักกล่าว” ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
“อานนท์ อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร
จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้
บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก ฯลฯ
สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจเข้า สำเหนียกว่า จะพิจารณา
เห็นความสละคืน หายใจออก
อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้ จึงมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก
๑. สมัยใด ภิกษุเมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว หรือเมื่อ
หายใจออกยาวก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ชัด
ว่าหายใจเข้าสั้น หรือเมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ชัดว่าหายใจออกสั้น
สำเหนียกว่า จะรู้แจ้งกองลมทั้งปวง หายใจเข้า สำเหนียกว่า จะรู้
แจ้งกองลมทั้งปวง หายใจออก สำเหนียกว่า จะระงับกายสังขาร
หายใจเข้า สำเหนียกว่า จะระงับกายสังขาร หายใจออก สมัยนั้น
ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๑. เอกธัมมวรรค ๑๐. กิมิลสูตร

เพราะเรากล่าวกายอย่างหนึ่ง คือ ลมหายใจเข้าและลมหายใจ
ออก เพราะเหตุนั้น สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสใน
โลกได้
๒. สมัยใด ภิกษุสำเหนียกว่า จะรู้แจ้งปีติ หายใจเข้า สำเหนียกว่า
จะรู้แจ้งปีติ หายใจออก สำเหนียกว่า จะรู้แจ้งสุข หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะรู้แจ้งสุข หายใจออก สำเหนียกว่า จะรู้แจ้ง
จิตตสังขาร หายใจเข้า สำเหนียกว่า จะรู้แจ้งจิตตสังขาร หายใจ
ออก สำเนียกว่า จะระงับจิตตสังขาร หายใจเข้า สำเหนียกว่า
จะระงับจิตตสังขาร หายใจออก สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็น
เวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
เรากล่าวเวทนาอย่างหนึ่ง คือ การมนสิการให้ดีถึงลมหายใจเข้า
และลมหายใจออก เพราะเหตุนั้น สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็น
เวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๓. สมัยใด ภิกษุสำเหนียกว่า จะรู้แจ้งจิต หายใจเข้า สำเหนียกว่า
จะรู้แจ้งจิต หายใจออก สำเหนียกว่า จะยังจิตให้บันเทิง หายใจ
เข้า ฯลฯ สำเหนียกว่า จะตั้งจิตมั่น หายใจออก สำเหนียกว่า
จะเปลื้องจิต หายใจเข้า สำเหนียกว่า จะเปลื้องจิต หายใจออก
สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเราไม่กล่าวการเจริญอานาปานสติสมาธิไว้ สำหรับผู้หลง
ลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ เพราะเหตุนั้น สมัยนั้น ภิกษุ
พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๑. เอกธัมมวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๔. สมัยใด ภิกษุสำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง หายใจ
เข้า ฯลฯ สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความคลายออกได้
หายใจเข้า ... สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความดับไป หายใจ
เข้า ... สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจออก สมัยนั้น
ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เธอเห็น
การละอภิชฌาและโทมนัสนั้นด้วยปัญญาแล้ววางเฉยอย่างดี
เพราะเหตุนั้น สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย
อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ
โทมนัสในโลกได้
อานนท์ ดินกองใหญ่ที่ถนนใหญ่ ๔ แยก ถ้าเกวียนหรือรถผ่านมาทางทิศ
ตะวันออก ก็จะกระทบดินกองนั้น ถ้าผ่านมาทางทิศตะวันตก ... ถ้าผ่านมาทาง
ทิศเหนือ ... ถ้าเกวียนหรือรถผ่านมาทางทิศใต้ ก็จะกระทบดินกองนั้น แม้ฉันใด
ภิกษุเมื่อพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ก็ดี ชื่อว่าย่อมกำจัดบาปอกุศลธรรมได้ เมื่อ
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ เมื่อพิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ เมื่อ
พิจาณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายก็ดี ชื่อว่าย่อมกำจัดบาปอกุศลธรรมได้ ก็ฉัน
นั้นเหมือนกัน”

กิมิลสูตรที่ ๑๐ จบ
เอกธัมมวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. เอกธัมมสูตร ๒. โพชฌังคสูตร
๓. สุทธิกสูตร ๔. ปฐมผลสูตร
๕. ทุติยผลสูตร ๖. อริฏฐสูตร
๗. มหากัปปินสูตร ๘. ปทีโปปมสูตร
๙. เวสาลีสูตร ๑๐. กิมิลสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๑. อิจฉานังคลสูตร

๒. ทุติยวรรค
หมวดที่ ๒
๑. อิจฉานังคลสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่กรุงอิจฉานังคละ

[๙๘๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ไพรสณฑ์ชื่ออิจฉานังคละ
เขตกรุงอิจฉานังคละ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เราปรารถนาจะหลีกเร้นอยู่ผู้เดียวสัก ๓ เดือน ใคร ๆ อย่าเข้า
ไปหาเรา ยกเว้นภิกษุผู้นำอาหารบิณฑบาตเข้าไปให้รูปเดียว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ
สนองพระดำรัสแล้ว ใน ๓ เดือนนี้ จึงไม่มีใคร ๆ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเลย
ยกเว้นภิกษุผู้นำอาหารบิณฑบาตเข้าไปถวายรูปเดียว
ครั้นล่วง ๓ เดือนนั้นไป พระผู้มีพระภาคก็เสด็จออกจากที่หลีกเร้นแล้ว รับสั่ง
เรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกพึงถาม
เธอทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย โดยมากพระสมณโคดมทรงอยู่จำพรรษา
ด้วยวิหารธรรมข้อไหน’ เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้พึงตอบอัญเดียรถีย์ปริพาชก
เหล่านั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย โดยมากพระผู้มีพระภาคทรงอยู่จำพรรษาด้วย
อานาปานสติสมาธิ’ ภิกษุทั้งหลาย ขณะนี้เรามีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก
เมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว หรือเมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่าหายใจ
ออกยาว เมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ชัดว่าหายใจเข้าสั้น หรือเมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ชัดว่า
หายใจออกสั้น ย่อมรู้ชัดว่า จะรู้แจ้งกองลมทั้งปวง หายใจเข้า ฯลฯ ย่อมรู้ชัดว่า
จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจเข้า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจออก
ภิกษุทั้งหลาย ความจริง บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง พึงกล่าวถึงธรรม
นั้นใดว่า อริยวิหาร (ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยะ) บ้าง พรหมวิหาร (ธรรม
เป็นเครื่องอยู่ของพรหม) บ้าง ตถาคตวิหาร (ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระตถาคต)
บ้าง เมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง ก็พึงกล่าวถึงอานาปานสติสมาธิว่า อริยวิหารบ้าง
พรหมวิหารบ้าง ตถาคตวิหารบ้าง ภิกษุเหล่าใดเป็นพระเสขะยังไม่บรรลุอรหัตตผล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๒. กังเขยยสูตร

ย่อมปรารถนาธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมอยู่ อานาปานสติสมาธิที่
ภิกษุเหล่านั้นเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ ส่วนภิกษุ
เหล่าใดเป็นอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลง
ภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นแล้ว
เพราะรู้โดยชอบ อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเหล่านั้นเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อม
เป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในปัจจุบันและเพื่อมีสติ มีสัมปชัญญะ
ภิกษุทั้งหลาย ความจริง บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง พึงกล่าวถึงธรรมนั้น
ใดว่า อริยวิหารบ้าง พรหมวิหารบ้าง ตถาคตวิหารบ้าง เมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง
ก็พึงกล่าวถึงอานาปานสติสมาธิว่า อริยวิหารบ้าง พรหมวิหารบ้าง ตถาคตวิหารบ้าง”

อิจฉานังคลสูตรที่ ๑ จบ

๒. กังเขยยสูตร
ว่าด้วยข้อกังขาของเจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะ

[๙๘๘] สมัยหนึ่ง ท่านพระโลมสกังภิยะอยู่ที่นิโครธาราม เขตกรุงกบิลพัสดุ์
แคว้นสักกะ ครั้งนั้น เจ้าศากยะทรงพระนามว่ามหานามะ เสด็จเข้าไปหาท่าน
พระโลมสกังภิยะถึงที่อยู่ ทรงอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้ตรัสถามท่าน
พระโลมสกังภิยะดังนี้ว่า “พระคุณเจ้าผู้เจริญ เสขวิหารธรรม (ธรรมเป็นเครื่องอยู่
ของพระเสขะ) กับตถาคตวิหารธรรมเป็นอย่างเดียวกันหรือ หรือว่าเสขวิหารธรรม
เป็นอย่างหนึ่ง ตถาคตวิหารธรรมเป็นอีกอย่างหนึ่ง”
ท่านพระโลมสกังภิยะ ถวายพระพรว่า “ขอถวายพระพร มหาบพิตร
เสขวิหารธรรมกับตถาคตวิหารธรรมไม่ใช่อย่างเดียวกัน เสขวิหารธรรมเป็นอย่าง
หนึ่ง ตถาคตวิหารธรรมเป็นอีกอย่างหนึ่ง
มหาบพิตร ภิกษุเหล่าใดเป็นพระเสขะยังไม่บรรลุอรหัตตผล ปรารถนาธรรม
เป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมอยู่ ภิกษุเหล่านั้นชื่อว่าละนิวรณ์ ๕ ประการอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๒. กังเขยยสูตร

ละนิวรณ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ละกามฉันทนิวรณ์อยู่ ๒. ละพยาบาทนิวรณ์อยู่
๓. ละถีนมิทธนิวรณ์อยู่ ๔. ละอุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์อยู่
๕. ละวิจิกิจฉานิวรณ์อยู่
ภิกษุเหล่าใดเป็นพระเสขะยังไม่บรรลุอรหัตตผล ปรารถนาธรรมเป็นแดนเกษม
จากโยคะอันยอดเยี่ยมอยู่ ภิกษุเหล่านั้นชื่อว่าละนิวรณ์ ๕ ประการนี้อยู่
มหาบพิตร ส่วนภิกษุเหล่าใดเป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้น
ภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ นิวรณ์ ๕ ประการเป็นอันภิกษุเหล่านั้น
ละได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่
พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
นิวรณ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กามฉันทนิวรณ์เป็นอันภิกษุเหล่านั้นละได้เด็ดขาด ตัดรากถอน
โคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดราถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำ
ให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
๒. พยาบาทนิวรณ์...
๓. ถีนมิทธนิวรณ์...
๔. อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์...
๕. วิจิกิจฉานิวรณ์เป็นอันภิกษุเหล่านั้นละได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน
เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้
ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
มหาบพิตร ภิกษุเหล่าใดเป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้น
ภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ นิวรณ์ ๕ ประการนี้เป็นอันภิกษุเหล่า
นั้นละได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือ
แต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ขอพระองค์ทรงทราบเรื่องนี้โดยปริยายที่ว่า
เสขวิหารธรรมเป็นอย่างหนึ่ง ตถาคตวิหารธรรมก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๒. กังเขยยสูตร

มหาบพิตร สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ไพรสณฑ์ชื่ออิจฉานังคละ
เขตกรุงอิจฉานังคละ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
‘ภิกษุทั้งหลาย เราปรารถนาจะหลีกเร้นอยู่คนเดียวสัก ๓ เดือน ใคร ๆ อย่าเข้า
ไปหาเรา ยกเว้นภิกษุผู้นำอาหารบิณฑบาตเข้าไปให้รูปเดียว’ ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ
สนองพระดำรัสแล้ว ใน ๓ เดือนนี้ จึงไม่มีใคร ๆ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเลย
ยกเว้นภิกษุผู้นำอาหารบิณฑบาตเข้าไปถวายรูปเดียว
ครั้นล่วง ๓ เดือนนั้นไป พระผู้มีพระภาคก็เสด็จออกจากที่หลีกเร้นแล้ว รับสั่ง
เรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกพึงถาม
เธอทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย โดยมากพระสมณโคดมทรงอยู่จำพรรษา
ด้วยวิหารธรรมข้อไหน’ เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้พึงตอบอัญญเดียรถีย์ปริพาชก
เหล่านั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย โดยมากพระผู้มีพระภาคทรงอยู่จำพรรษาด้วย
อานาปานสติสมาธิ’
ภิกษุทั้งหลาย ขณะนี้เรามีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก เมื่อหายใจเข้ายาว
ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว หรือเมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว ฯลฯ
ย่อมรู้ชัดว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจเข้า จะพิจารณาเห็นความสละคืน
หายใจออก
ภิกษุทั้งหลาย ความจริง บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง พึงกล่าวถึงธรรมนั้น
ใดว่า อริยวิหารบ้าง พรหมวิหารบ้าง ตถาคตวิหารบ้าง เมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง
พึงกล่าวถึงอานาปานสติสมาธิว่า อริยวิหารบ้าง พรหมวิหารบ้าง ตถาคตวิหารบ้าง
ภิกษุเหล่าใดเป็นเสขะยังไม่บรรลุอรหัตตผล ปรารถนาธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะ
อันยอดเยี่ยมอยู่ อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเหล่านั้นเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป
เพื่อความสิ้นอาสวะ ส่วนภิกษุเหล่าใดเป็นอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้น
ภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเหล่านั้นเจริญ
ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบันและเพื่อมีสติ มีสัมปชัญญะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๓. ปฐมอานันทสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ความจริง บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง พึงกล่าวถึงธรรมนั้น
ใดว่า อริยวิหารบ้าง พรหมวิหารบ้าง ตถาคตวิหารบ้าง เมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง
ก็พึงกล่าวถึงอานาปานสติสมาธิว่า อริยวิหารบ้าง พรหมวิหารบ้าง ตถาคตวิหาร
บ้าง’
ขอถวายพระพร มหาบพิตร ขอพระองค์ทรงทราบเรื่องนี้โดยปริยายที่ว่า
เสขวิหารธรรมเป็นอย่างหนึ่ง ตถาคตวิหารธรรมก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง”

กังเขยยสูตรที่ ๒ จบ

๓. ปฐมอานันทสูตร
ว่าด้วยพระอานนท์ สูตรที่ ๑

[๙๘๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ธรรมอันเป็นเอกที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๔ ประการบริบูรณ์ ธรรม
๔ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๗ ประการบริบูรณ์ ธรรม ๗
ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๒ ประการบริบูรณ์ มีอยู่หรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ ธรรมอันเป็นเอกที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว
ทำให้ธรรม ๔ ประการบริบูรณ์ ธรรม ๔ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว
ทำให้ธรรม ๗ ประการบริบูรณ์ ธรรม ๗ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว
ทำให้ธรรม ๒ ประการบริบูรณ์ มีอยู่”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมอันเป็นเอกที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้
ธรรม ๔ ประการบริบูรณ์ ธรรม ๔ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม
๗ ประการบริบูรณ์ ธรรม ๗ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๒
ประการบริบูรณ์ เป็นอย่างไร”
“อานนท์ ธรรมอันเป็นเอกคืออานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว
ทำให้สติปัฏฐาน ๔ ประการบริบูรณ์ สติปัฏฐาน ๔ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้
มากแล้ว ทำให้โพชฌงค์ ๗ ประการบริบูรณ์ โพชฌงค์ ๗ ประการที่ภิกษุเจริญ
ทำให้มากแล้ว ทำให้วิชชาและวิมุตติบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๓. ปฐมอานันทสูตร

อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงทำให้
สติปัฏฐาน ๔ ประการบริบูรณ์
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้
บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก
เมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว หรือเมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่าหายใจ
ออกยาว ฯลฯ สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจเข้า จะพิจารณา
เห็นความสละคืน หายใจออก
๑. สมัยใด ภิกษุเมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว หรือ
เมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้าสั้นก็
รู้ชัดว่าหายใจเข้าสั้น หรือเมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ชัดว่าหายใจออกสั้น
ฯลฯ สำเหนียกว่า จะระงับกายสังขาร หายใจเข้า จะระงับ
กายสังขาร หายใจออก สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัส
ในโลกได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเรากล่าวกายอย่างหนึ่ง คือ
ลมหายใจเข้าและลมหายใจออก เพราะเหตุนั้น สมัยนั้น ภิกษุ
พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. สมัยใด ภิกษุสำเหนียกว่า จะรู้แจ้งปีติ หายใจเข้า สำเหนียกว่า
จะรู้แจ้งปีติ หายใจออก ฯลฯ จะรู้แจ้งสุข ... จะรู้แจ้งจิตตสังขาร
... สำเหนียกว่า จะระงับจิตตสังขาร หายใจเข้า สำเหนียกว่า
จะระงับจิตตสังขาร หายใจออก สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็น
เวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
เรากล่าวเวทนาอย่างหนึ่ง คือ การมนสิการให้ดีถึงลมหายใจ
เข้าและลมหายใจออก เพราะเหตุนั้น สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็น
เวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๗๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๓. ปฐมอานันทสูตร

๓. สมัยใด ภิกษุสำเหนียกว่า จะรู้แจ้งจิต หายใจเข้า สำเหนียกว่า
จะรู้แจ้งจิต หายใจออก สำเหนียกว่า จะยังจิตให้บันเทิงหายใจเข้า
ฯลฯ จะตั้งจิตมั่น ... สำเหนียกว่า จะเปลื้องจิต หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะเปลื้องจิต หายใจออก สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็น
จิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา
และโทมนัสในโลกได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเราไม่กล่าวการ
เจริญอานาปานสติสมาธิไว้สำหรับผู้หลงลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ
เพราะเหตุนั้น สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความ
เพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๔. สมัยใด ภิกษุสำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง ฯลฯ
จะพิจารณาเห็นความคลายออกได้ ... จะพิจารณาเห็นความ
ดับไป ... สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจออก สมัยนั้น
ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เธอเห็น
การละอภิชฌาและโทมนัสนั้นด้วยปัญญาแล้ววางเฉยอย่างดี
เพราะเหตุนั้น สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย
อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ
โทมนัสในโลกได้
อานนท์ อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้
จึงทำให้สติปัฏฐาน ๔ ประการบริบูรณ์
สติปัฏฐาน ๔ ประการที่ภิกษุเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึง
ทำให้โพชฌงค์ ๗ ประการบริบูรณ์ คือ
๑. สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ สมัยนั้น สติของเธอ
ตั้งมั่น ไม่หลงลืม
(๑) สมัยใด สติของภิกษุย่อมตั้งมั่น ไม่หลงลืม สมัยนั้น สติ-
สัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุเจริญสติ-
สัมโพชฌงค์ สติสัมโพชฌงค์จึงถึงความเจริญเต็มที่แก่ภิกษุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๓. ปฐมอานันทสูตร

(๒) เธอมีสติอยู่อย่างนั้น ค้นหาพิจารณาสอดส่องธรรมนั้น
ด้วยปัญญา สมัยใด ภิกษุมีสติอยู่อย่างนั้น ค้นหา
พิจารณาสอดส่องธรรมนั้นด้วยปัญญา สมัยนั้น ธัมม-
วิจยสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุเจริญ
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์จึงถึงความเจริญ
เต็มที่แก่ภิกษุ
(๓) เมื่อเธอค้นหาพิจารณาสอดส่องธรรมนั้นด้วยปัญญา
ความเพียรอันไม่ย่อหย่อนชื่อว่าเป็นอันปรารภแล้ว สมัยใด
ความเพียรไม่ย่อหย่อนเป็นอันภิกษุผู้ค้นคว้าพิจารณาสอด
ส่องธรรมนั้นด้วยปัญญาปรารภแล้ว สมัยนั้น วิริย-
สัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุเจริญวิริย-
สัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์จึงถึงความเจริญเต็มที่แก่ภิกษุ
(๔) ปีติไม่มีอามิสย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียร สมัยใด
ปีติไม่มีอามิสเกิดแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียร สมัยนั้น
ปีติสัมโพชฌงค์ เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุเจริญปีติ-
สัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์จึงถึงความเจริญเต็มที่แก่
ภิกษุ
(๕) แม้กายของภิกษุผู้มีใจมีปีติย่อมระงับ แม้จิตก็ระงับ สมัยใด
แม้กายของภิกษุผู้มีใจมีปีติย่อมระงับ แม้จิตก็ระงับ สมัย
นั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุ
เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ปัสสิทธิสัมโพชฌงค์จึงถึงความ
เจริญเต็มที่แก่ภิกษุ
(๖) จิตของภิกษุผู้มีกายระงับ มีสุข ย่อมตั้งมั่น สมัยใด จิต
ของภิกษุผู้มีกายระงับ มีสุข ย่อมตั้งมั่น สมัยนั้น สมาธิ
สัมโพชฌงค์ เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุเจริญสมาธิ
สัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์จึงถึงความเจริญเต็มที่
แก่ภิกษุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๓. ปฐมอานันทสูตร

(๗) เธอย่อมเพ่งจิตที่ตั้งมั่นเช่นนั้นอย่างดี สมัยใด ภิกษุย่อม
เพ่งจิตที่ตั้งมั่นเช่นนั้นอย่างดี สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ชื่อว่าเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
อุเบกขาสัมโพชฌงค์จึงถึงความเจริญเต็มที่แก่ภิกษุ
๒. สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ สมัยนั้น
สติของเธอย่อมตั้งมั่น ไม่หลงลืม
(๑) สมัยใด สติของภิกษุย่อมตั้งมั่น ไม่หลงลืม สมัยนั้น
สติสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุเจริญสติ-
สัมโพชฌงค์ สติสัมโพชฌงค์จึงถึงความเจริญเต็มที่แก่ภิกษุ
(พึงเพิ่มข้อความให้พิสดารเหมือนสติปัฏฐานข้อต้น)
(๗) เธอย่อมเพ่งจิตที่ตั้งมั่นเช่นนั้นอย่างดี สมัยใด ภิกษุย่อม
เพ่งจิตที่ตั้งมั่นเช่นนั้นอย่างดี สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์
เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
อุเบกขาสัมโพชฌงค์จึงถึงความเจริญเต็มที่แก่ภิกษุ
สติปัฏฐาน ๔ ประการที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้ จึงทำ
ให้โพชฌงค์ ๗ ประการบริบูรณ์
โพชฌงค์ ๗ ประการที่ภิกษุเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึง
ทำให้วิชชาและวิมุตติบริบูรณ์
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ
๒. เจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๔. ทุติยอานันทสูตร

๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ
อานนท์ โพชฌงค์ ๗ ประการที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้
จึงทำให้วิชชาและวิมุตติบริบูรณ์”

ปฐมอานันทสูตรที่ ๓ จบ

๔. ทุติยอานันทสูตร
ว่าด้วยพระอานนท์ สูตรที่ ๒

[๙๙๐] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระอานนท์
ดังนี้ว่า “อานนท์ ธรรมอันเป็นเอกที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๔
ประการบริบูรณ์ ธรรม ๔ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๗
ประการบริบูรณ์ ธรรม ๗ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๒
ประการบริบูรณ์ มีอยู่หรือ”
ท่านพระอานนท์ทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ๑
“อานนท์ ธรรมอันเป็นเอกที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๔
ประการบริบูรณ์ ธรรม ๔ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๗
ประการบริบูรณ์ ธรรม ๗ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๒
ประการบริบูรณ์ มีอยู่
ธรรมอันเป็นเอกที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๔ ประการ
บริบูรณ์ ธรรม ๔ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๗
ประการบริบูรณ์ ธรรม ๗ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๒
ประการบริบูรณ์ เป็นอย่างไร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๕. ปฐมภิภขุสูตร

คือ ธรรมอันเป็นเอกคืออานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว
ทำให้สติปัฏฐาน ๔ ประการบริบูรณ์ สติปัฏฐาน ๔ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำ
ให้มากแล้ว ทำให้โพชฌงค์ ๗ ประการบริบูรณ์ โพชฌงค์ ๗ ประการที่ภิกษุเจริญ
ทำให้มากแล้ว ทำให้วิชชาและวิมุตติบริบูรณ์
อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงทำให้
สติปัฏฐาน ๔ ประการบริบูรณ์
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปสู่ป่าก็ดี ฯลฯ
อานนท์ โพชฌงค์ ๗ ประการที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้
จึงทำให้วิชชาและวิมุตติบริบูรณ์”

ทุติยอานันทสูตรที่ ๔ จบ

๕. ปฐมภิกขุสูตร
ว่าด้วยภิกษุ สูตรที่ ๑

[๙๙๑] ครั้งนั้น ภิกษุหลายรูปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ธรรมอันเป็นเอกที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๔ ประการบริบูรณ์
ธรรม ๔ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๗ ประการบริบูรณ์
ธรรม ๗ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๒ ประการบริบูรณ์
มีอยู่หรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเป็นเอกที่ภิกษุเจริญ ทำ
ให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๔ ประการบริบูรณ์ ธรรม ๔ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำ
ให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๗ ประการบริบูรณ์ ธรรม ๗ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำ
ให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๒ ประการบริบูรณ์ มีอยู่”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมอันเป็นเอกที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้
ธรรม ๔ ประการบริบูรณ์ ธรรม ๔ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้
ธรรม ๗ ประการบริบูรณ์ ธรรม ๗ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้
ธรรม ๒ ประการบริบูรณ์ เป็นอย่างไร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๖. ทุติยภิกขุสูตร

“ภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเป็นเอกคืออานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญ ทำให้
มากแล้ว ทำให้สติปัฏฐาน ๔ ประการบริบูรณ์ สติปัฏฐาน ๔ ประการที่ภิกษุเจริญ
ทำให้มากแล้ว ทำให้โพชฌงค์ ๗ ประการบริบูรณ์ โพชฌงค์ ๗ ประการที่ภิกษุเจริญ
ทำให้มากแล้ว ทำให้วิชชาและวิมุตติบริบูรณ์
อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงทำให้
สติปัฏฐาน ๔ ประการบริบูรณ์
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปสู่ป่าก็ดี ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้ว
อย่างนี้ จึงทำให้วิชชาและวิมุตติบริบูรณ์”

ปฐมภิกขุสูตรที่ ๕ จบ

๖. ทุติยภิกขุสูตร
ว่าด้วยภิกษุ สูตรที่ ๒

[๙๙๒] ครั้งนั้น ภิกษุหลายรูปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุทั้งหลายดังนี้ว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย ธรรมอันเป็นเอกที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๔ ประการ
บริบูรณ์ ธรรม ๔ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๗ ประการ
บริบูรณ์ ธรรม ๗ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๒ ประการ
บริบูรณ์ มีอยู่หรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ ภิกษุทั้งหลายได้สดับจากพระผู้มีพระภาค
แล้วจักทรงจำไว้”
“ภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเป็นเอกที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๔
ประการบริบูรณ์ ธรรม ๔ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๗
ประการบริบูรณ์ ธรรม ๗ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๒
ประการบริบูรณ์ มีอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๖. ทุติยภิกขุสูตร

ธรรมอันเป็นเอกที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๔ ประการ
บริบูรณ์ ธรรม ๔ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๗
ประการบริบูรณ์ ธรรม ๗ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๒
ประการบริบูรณ์ เป็นอย่างไร
คือ ธรรมอันเป็นเอกคืออานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว
ทำให้สติปัฏฐาน ๔ ประการบริบูรณ์ สติปัฏฐาน ๔ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำ
ให้มากแล้ว ทำให้โพชฌงค์ ๗ ประการบริบูรณ์ โพชฌงค์ ๗ ประการที่ภิกษุ
เจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้วิชชาและวิมุตติบริบูรณ์
อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงทำให้
สติปัฏฐาน ๔ ประการบริบูรณ์
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้
บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก ฯลฯ
สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจเข้า สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็น
ความสละคืน หายใจออก
๑. สมัยใด ภิกษุเมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว หรือ
เมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้าสั้นก็
รู้ชัดว่าหายใจเข้าสั้น ฯลฯ สำเหนียกว่า จะรู้แจ้งกองลมทั้งปวง
ฯลฯ สำเหนียกว่า จะระงับกายสังขาร หายใจเข้า สำเหนียกว่า
จะระงับกายสังขาร หายใจออก สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็น
กายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเรา
กล่าวกายอย่างหนึ่ง คือลมหายใจเข้าและลมหายใจออก
เพราะเหตุนั้น สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มี
ความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสใน
โลกได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๖. ทุติยภิกขุสูตร

๒. สมัยใด ภิกษุสำเหนียกว่า จะรู้แจ้งปีติ ฯลฯ จะรู้แจ้งสุข ฯลฯ
จะรู้แจ้งจิตตสังขาร ฯลฯ สำเหนียกว่า จะระงับจิตตสังขาร
หายใจเข้า สำเหนียกว่า จะระงับจิตตสังขาร หายใจออก สมัยนั้น
ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะเรากล่าวเวทนาอย่างหนึ่ง คือ การมนสิการ
ให้ดีถึงลมหายใจเข้าและลมหายใจออก เพราะเหตุนั้น สมัยนั้น
ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๓. สมัยใด ภิกษุสำเหนียกว่า จะรู้แจ้งจิต ฯลฯ จะยังจิตให้บันเทิง
ฯลฯ สำเหนียกว่า จะตั้งจิตมั่น หายใจเข้า สำเหนียกว่า จะตั้ง
จิตมั่น หายใจออก สำเหนียกว่า จะเปลื้องจิต หายใจเข้า
สำเหนียกว่า จะเปลื้องจิต หายใจออก สมัยนั้น ภิกษุ
พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
เราไม่กล่าวการเจริญอานาปานสติสมาธิไว้สำหรับผู้หลงลืมสติ
ไม่มีสัมปชัญญะ เพราะเหตุนั้น สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็นจิต
ในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ
โทมนัสในโลกได้
๔. สมัยใด ภิกษุสำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง ฯลฯ
จะพิจารณาเห็นความคลายออกได้ ฯลฯ จะพิจารณาเห็นความ
ดับไป ฯลฯ สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หาย
ใจเข้า สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจออก
สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความ
เพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
เธอเห็นการละอภิชฌาและโทมนัสนั้นด้วยปัญญาแล้ววางเฉยอย่างดี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๖. ทุติยภิกขุสูตร

เพราะเหตุนั้น สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย
อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ
โทมนัสในโลกได้
ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้
จึงทำให้สติปัฏฐาน ๔ ประการบริบูรณ์
สติปัฏฐาน ๔ ประการที่ภิกษุเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงทำ
ให้โพชฌงค์ ๗ ประการบริบูรณ์ คือ
๑. สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ สมัยนั้น สติของเธอ
ตั้งมั่น ไม่หลงลืม
(๑) สมัยใด สติของภิกษุตั้งมั่น ไม่หลงลืม สมัยนั้น สติ-
สัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุเจริญสติ-
สัมโพชฌงค์ สติสัมโพชฌงค์จึงถึงความเจริญเต็มที่แก่ภิกษุ
(๒) เธอมีสติอยู่อย่างนั้น ค้นหาพิจารณาสอดส่องธรรมนั้น
ด้วยปัญญา สมัยใด ภิกษุมีสติอยู่อย่างนั้น ค้นหา
พิจารณาสอดส่องธรรมนั้นด้วยปัญญา สมัยนั้น ธัมมวิจย-
สัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุเจริญธัมมวิจย-
สัมโพชฌงค์ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์จึงถึงความเจริญเต็มที่
แก่ภิกษุ
(๓) เมื่อเธอค้นหาพิจารณาสอดส่องธรรมนั้นด้วยปัญญา
ความเพียรอันไม่ย่อหย่อนชื่อว่าเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
สมัยใด ความเพียรไม่ย่อหย่อนเป็นอันภิกษุผู้ค้นคว้า
พิจารณาสอดส่องธรรมนั้นด้วยปัญญาปรารภแล้ว สมัยนั้น
วิริยสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุเจริญวิริย-
สัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์จึงถึงความเจริญเต็มที่แก่ภิกษุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๖. ทุติยภิกขุสูตร

(๔) ปีติไม่มีอามิสย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียร สมัยใด
ปีติไม่มีอามิสเกิดแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียร สมัยนั้น
ปีติสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุเจริญปีติ-
สัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์จึงถึงความเจริญเต็มที่แก่ภิกษุ
(๕) แม้กายของภิกษุผู้มีใจมีปีติย่อมระงับ แม้จิตก็ระงับ สมัยใด
แม้กายของภิกษุผู้มีใจมีปีติย่อมระงับ แม้จิตก็ระงับ สมัย
นั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุ
เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ปัสสิทธิสัมโพชฌงค์จึงถึงความ
เจริญเต็มที่แก่ภิกษุ
(๖) จิตของภิกษุผู้มีกายระงับ มีสุข ย่อมตั้งมั่น สมัยใด จิต
ของภิกษุผู้มีกายระงับ มีสุข ย่อมตั้งมั่น สมัยนั้น
สมาธิสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุเจริญ
สมาธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์จึงถึงความเจริญ
เต็มที่แก่ภิกษุ
(๗) เธอย่อมเพ่งจิตที่ตั้งมั่นเช่นนั้นอย่างดี สมัยใด ภิกษุย่อม
เพ่งจิตที่ตั้งมั่นเช่นนั้นอย่างดี สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์
เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
อุเบกขาสัมโพชฌงค์จึงถึงความเจริญเต็มที่แก่ภิกษุ
๒. สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ
๓. สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
๔. สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ สมัยนั้น
สติของเธอย่อมตั้งมั่น ไม่หลงลืม
(๑) สมัยใด สติของภิกษุย่อมตั้งมั่น ไม่หลงลืม สมัยนั้น
สติสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุเจริญสติ-
สัมโพชฌงค์ สติสัมโพชฌงค์จึงถึงความเจริญเต็มที่แก่ภิกษุ
ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๗. สัญโญชนัปปาหนสูตร

(๗) เธอย่อมเพ่งจิตที่ตั้งมั่นเช่นนั้นอย่างดี สมัยใด ภิกษุเพ่ง
จิตที่ตั้งมั่นเช่นนั้นอย่างดี สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์
เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
อุเบกขาสัมโพชฌงค์จึงถึงความเจริญเต็มที่แก่ภิกษุ
ภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ ประการที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มาก
แล้วอย่างนี้ จึงทำให้โพชฌงค์ ๗ ประการบริบูรณ์
โพชฌงค์ ๗ ประการที่ภิกษุเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึง
ทำให้วิชชาและวิมุตติบริบูรณ์
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ
๒. เจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
นิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
นิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้ว
อย่างนี้ จึงทำให้วิชชาและวิมุตติบริบูรณ์”

ทุติยภิกขุสูตรที่ ๖ จบ

๗. สัญโญชนัปปหานสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อละสังโยชน์

[๙๙๓] “ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อละสังโยชน์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๙. อัทธานปริญญาสูตร

อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงเป็น
ไปเพื่อละสังโยชน์
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ฯลฯ๑ สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน
หายใจเข้า สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจออก
ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้
จึงเป็นไปเพื่อละสังโยชน์”

สัญโญชนัปปหานสูตรที่ ๗ จบ

๘. อนุสยสมุคฆาตสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อถอนอนุสัย

[๙๙๔] “ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อถอนอนุสัย (พึงเพิ่มข้อความที่เหลือให้พิสดาร)
อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้ จึงเป็นไป
เพื่อถอนอนุสัย”

อนุสยสมุคฆาตสูตรที่ ๘ จบ

๙. อัทธานปริญญาสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อกำหนดรู้อัทธานะ

[๙๙๕] “ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อกำหนดรู้อัทธานะ (ทางไกล) (พึงเพิ่มข้อความที่เหลือให้พิสดาร) ฯลฯ
อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้วอย่างนี้ จึงเป็นไปเพื่อ
กำหนดรู้อัทธานะ”

อัทธานปริญญาสูตรที่ ๙ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]
๒. ทุติยวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑๐. อาสวักขยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ

[๙๙๖] “ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ (พึงเพิ่มข้อความที่เหลือให้พิสดาร)
อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากอย่างนี้ จึงเป็นไปเพื่อ
ความสิ้นอาสวะ”

อาสวักขยสูตรที่ ๑๐ จบ
ทุติยวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อิจฉานังคลสูตร ๒. กังเขยยสูตร
๓. ปฐมอานันทสูตร ๔. ทุติยอานันทสูตร
๕. ปฐมภิกขุสูตร ๖. ทุติยภิกขุสูตร
๗. สัญโญชนัปปหานสูตร ๘. อนุสยสมุคฆาตสูตร
๙. อัทธานปริญญาสูตร ๑๐. อาสวักขยสูตร

อานาปานสังยุตที่ ๑๐ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๑. เวฬุทวารวรรค ๑. จักกวัตติราชสูตร

๑๑. โสตาปัตติสังยุต
๑. เวฬุทวารวรรค
หมวดว่าด้วยเวฬุทวารคาม
๑. จักกวัตติราชสูตร
ว่าด้วยพระเจ้าจักรพรรดิ

[๙๙๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ฯลฯ๑ จึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย
พระเจ้าจักรพรรดิทรงครองราชย์เป็นอิสสราธิบดีแห่งทวีปทั้ง ๔ หลังจากเสด็จ
สวรรคตแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเหล่าเทพ
ชั้นดาวดึงส์ ท้าวเธอทรงแวดล้อมด้วยหมู่นางอัปสร เพียบพร้อม บำเรอตนด้วย
กามคุณ ๕ ประการที่เป็นทิพย์ สำราญพระทัยในสวนนันทวัน ที่ภพดาวดึงส์นั้น
ท้าวเธอไม่ทรงประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ก็ไม่ทรงพ้น
จากนรก ไม่ทรงพ้นจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ไม่ทรงพ้นจากภูมิแห่งเปรต และไม่
ทรงพ้นจากอบาย ทุคติ และวินิบาต๒ไปได้
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกเลี้ยงอัตภาพด้วยอาหาร ที่แสวงหามาได้ด้วยลำแข้ง
นุ่งห่มผ้าที่เศร้าหมอง เธอประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น
ก็พ้นจากนรก พ้นจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน พ้นจากภูมิแห่งเปรต และพ้นจากอบาย
ทุคติ และวินิบาตไปได้
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๑. เวฬุทวารวรรค ๑. จักกวัตติราชสูตร

๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์
ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม
เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า
เป็นพระผู้มีพระภาค’
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า ‘พระธรรม
เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัด
ด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล๑ ควรเรียกให้มาดู ควรน้อม
เข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน’
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์
ว่า ‘พระสงฆ์ สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติ
ตรง ปฏิบัติถูกทาง ปฏิบัติสมควร ได้แก่ อริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำ
มาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำ
อัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก’
๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ๒ ที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง
ไม่พร้อย เป็นไท ท่านผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ
เป็นไปเพื่อสมาธิ
อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย การได้ครองทวีปทั้ง ๔ กับการได้ธรรม ๔ ประการ การครอง
ทวีปทั้ง ๔ ยังไม่ถึงเศษหนึ่งส่วนสิบหกแห่งการได้ธรรม ๔ ประการเลย”

จักกวัตติราชสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๑. เวฬุทวารวรรค ๒. พรหมจริโยคธสูตร

๒. พรหมจริโยคธสูตร
ว่าด้วยผู้ประสบสุขอันหยั่งลงสู่พรหมจรรย์

[๙๙๘] “ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็น
โสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์
ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม
เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า
เป็นพระผู้มีพระภาค’
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อ
สมาธิ
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้ เป็นโสดาบัน
ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา-
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
“ศรัทธา ศีล ความเลื่อมใส
และการเห็นธรรม มีอยู่แก่ชนเหล่าใด
ชนเหล่านั้น ย่อมประสบสุข
อันหยั่งลงสู่พรหมจรรย์ตลอดกาล”

พรหมจริโยคธสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๑. เวฬุทวารวรรค ๓. ทีฆาวุอุปาสกสูตร

๓. ทีฆาวุอุปาสกสูตร
ว่าด้วยทีฆาวุอุบาสก

[๙๙๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถาน
ที่ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น อุบาสกชื่อทีฆาวุป่วย ได้รับทุกข์
เป็นไข้หนัก ได้เรียกคหบดีชื่อโชติยะผู้เป็นบิดามาขอร้องว่า “มาเถิดคุณพ่อ ขอ
คุณพ่อจงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค กราบพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วย
เศียรเกล้าแล้ว กราบทูลตามคำของผมว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทีฆาวุอุบาสกป่วย
ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก เขาขอกราบพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า’
และคุณพ่อจงกราบทูลอย่างนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส
ขอพระผู้มีพระภาคได้โปรดอนุเคราะห์ เสด็จไปเยี่ยมทีฆาวุอุบาสกถึงนิเวศน์
ด้วยเถิด”
โชติยคหบดีรับคำแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ทีฆาวุอุบาสกป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก เขาขอกราบพระยุคลบาทของพระผู้มี
พระภาคด้วยเศียรเกล้า และฝากมากราบทูลอย่างนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ
ประทานวโรกาส ขอพระองค์ได้โปรดอนุเคราะห์เสด็จไปเยี่ยมทีฆาวุอุบาสกถึง
นิเวศน์ด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเสด็จไปยัง
นิเวศน์ของทีฆาวุอุบาสก ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว ตรัสถาม
ทีฆาวุอุบาสกดังนี้ว่า “ทีฆาวุ ท่านยังสบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ ทุกขเวทนา
ทุเลาลง ไม่กำเริบขึ้นหรือ อาการทุเลาปรากฏ อาการกำเริบไม่ปรากฏหรือ”
ทีฆาวุอุบาสกทูลตอบว่า “ข้าพระองค์ไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้ ทุกขเวทนา
มีแต่กำเริบขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ อาการทุเลาไม่ปรากฏ
พระพุทธเจ้าข้า”
“ทีฆาวุ เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกว่า ‘เรา
๑. จักประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า
‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๑. เวฬุทวารวรรค ๓. ทีฆาวุอุปาสกสูตร

ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’
๒. จักประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. จักประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. จักประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อ
สมาธิ’
ทีฆาวุ ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้แล”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ องค์เครื่องบรรลุโสดา๑ ๔ ประการใดที่พระผู้มีพระภาค
ได้ทรงแสดงไว้ ธรรม(คือองค์เครื่องบรรลุโสดา)เหล่านั้นมีอยู่ในข้าพระองค์ และ
ข้าพระองค์ก็เห็นธรรมเหล่านั้น
ก็ข้าพระองค์
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของ
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อ
สมาธิ”
“ทีฆาวุ เพราะเหตุนั้น ท่านพึงตั้งอยู่ในองค์เครื่องบรรลุโสดา ๔ ประการนี้แล้ว
เจริญธรรมอันเป็นส่วนแห่งวิชชา ๖ ประการให้ยิ่งขึ้นไปว่า ‘ทีฆาวุ ในเรื่องนี้
ท่านจงพิจารณา เห็นในสังขารทั้งปวงว่าไม่เที่ยง มีความหมายรู้ในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเป็นทุกข์
มีความหมายรู้ในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นอนัตตา มีความหมายรู้ในการละ มีความ
หมายรู้ในการคลายออกได้ มีความหมายรู้ในความดับ’ ทีฆาวุ ท่านพึงสำเหนียก
อย่างนี้แล”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมอันเป็นส่วนแห่งวิชชา ๖ ประการใดที่พระผู้มี
พระภาคได้ทรงแสดงไว้ ธรรมเหล่านั้นมีอยู่ในข้าพระองค์ และข้าพระองค์ก็เห็น
ธรรมเหล่านั้น ข้าพระองค์พิจารณาเห็นในสังขารทั้งปวงว่าไม่เที่ยง มีความหมายรู้


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๑. เวฬุทวารวรรค ๔. ปฐมสารีปุตตสูตร

ในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเป็นทุกข์ มีความหมายรู้ในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นอนัตตา มีความ
หมายรู้ในการละ มีความหมายรู้ในการคลายออกได้ มีความหมายรู้ในความดับ
อีกอย่างหนึ่ง ข้าพระองค์มีความคิดว่า ‘เมื่อข้าพระองค์ล่วงลับไป โชติยคหบดีนี้
อย่าได้ถึงความคับแค้นเลย”
โชติยคหบดีกล่าวว่า “พ่อทีฆาวุ เธออย่าได้ใส่ใจอย่างนั้นเลย เธอจงใส่ใจถึง
พระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้นั้นแลให้ดีเถิด”
ครั้นพระผู้มีพระภาคตรัสสอนทีฆาวุอุบาสกด้วยพระโอวาทนี้แล้ว ก็เสด็จลุก
จากอาสนะจากไป เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จจากไปไม่นาน ทีฆาวุอุบาสกก็ได้ถึง
แก่กรรม
ต่อมา ภิกษุหลายรูปพากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ทีฆาวุอุบาสกที่พระองค์ตรัสสอนด้วยพระโอวาทโดยย่อ ได้ถึงแก่กรรมแล้ว
คติของเขา เป็นอย่างไร อภิสัมปรายภพ เป็นอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสตอบว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทีฆาวุอุบาสกเป็นบัณฑิต
พูดความจริงถูกต้องตามธรรม ทั้งไม่เบียดเบียนเราเพราะเหตุแห่งธรรม ภิกษุ
ทั้งหลาย เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องต่ำ) ๕ ประการสิ้นไป ทีฆาวุ
อุบาสกจึงเป็นโอปปาติกะ๑ ปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก”

ทีฆาวุอุปาสกสูตรที่ ๓ จบ

๔. ปฐมสารีปุตตสูตร
ว่าด้วยพระสารีบุตร สูตรที่ ๑

[๑๐๐๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระอานนท์อยู่ ณ พระเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้นในเวลาเย็น ท่านพระอานนท์
ออกจากที่หลีกเร้นแล้ว เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ไหว้แล้ว นั่ง


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๑. เวฬุทวารวรรค ๕. ทุติยสารีปุตตสูตร

ณ ที่สมควร ได้ถามท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า “ท่านสารีบุตร เพราะประกอบด้วย
ธรรมเท่าไร พระผู้มีพระภาคจึงทรงพยากรณ์หมู่สัตว์นี้ว่า ‘เป็นโสดาบัน ไม่มีทาง
ตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ เพราะประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ
พระผู้มีพระภาคจึงทรงพยากรณ์หมู่สัตว์นี้ว่า ‘เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มี
ความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า ‘
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของ
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อ
สมาธิ
ผู้มีอายุ เพราะประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้ พระผู้มีพระภาคจึงทรง
พยากรณ์หมู่สัตว์นี้ว่า ‘เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จ
สัมโพธิในวันข้างหน้า”

ปฐมสารีปุตตสูตรที่ ๔ จบ

๕. ทุติยสารีปุตตสูตร
ว่าด้วยพระสารีบุตร สูตรที่ ๒

[๑๐๐๑] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระสารีบุตร
ดังนี้ว่า “สารีบุตร ที่เรียกว่า ‘องค์เครื่องบรรลุโสดา องค์เครื่องบรรลุโสดา’ องค์
เครื่องบรรลุโสดา เป็นอย่างไร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๑. เวฬุทวารวรรค ๕. ทุติยสารีปุตตสูตร

ท่านพระสารีบุตรทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สัปปุริสสังเสวะ (การ
คบหาสัตบุรุษ) เป็นองค์เครื่องบรรลุโสดา สัทธัมมัสสวนะ (การฟังพระสัทธรรม)
เป็นองค์เครื่องบรรลุโสดา โยนิโสมนสิการ (การมนสิการโดยแยบคาย) เป็นองค์
เครื่องบรรลุโสดา ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ (การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม) เป็นองค์
เครื่องบรรลุโสดา”
“ดีละ ดีละ สารีบุตร สัปปุริสสังเสวะเป็นองค์เครื่องบรรลุโสดา สัทธัมมัสสวนะ
เป็นองค์เครื่องบรรลุโสดา โยนิโสมนสิการเป็นองค์เครื่องบรรลุโสดา ธัมมานุธัมม-
ปฏิปัตติเป็นองค์เครื่องบรรลุโสดา
สารีบุตร ที่เรียกว่า ‘โสดา โสดา’ โสดา เป็นอย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ
๓. สัมมาวาจา ๔. สัมมากัมมันตะ
๕. สัมมาอาชีวะ ๖. สัมมาวายามะ
๗. สัมมาสติ ๘. สัมมาสมาธิ

นี้แลเป็นโสดา”
“ดีละ ดีละ สารีบุตร อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้แลเป็นโสดา
สารีบุตรที่เรียกว่า ผู้บรรลุโสดาคือใคร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผู้ใดประกอบด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ผู้นี้เรียกว่า
ผู้บรรลุโสดา ท่านผู้นี้ มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้”
“ดีละ ดีละ สารีบุตร ผู้ใดประกอบด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ผู้นี้เรียกว่า
ผู้บรรลุโสดา ท่านผู้นี้ มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้”

ทุติยสารีปุตตสูตรที่ ๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๑. เวฬุทวารวรรค ๖. ถปติสูตร

๖. ถปติสูตร
ว่าด้วยช่างไม้

[๑๐๐๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
สมัยนั้น ภิกษุจำนวนมากทำจีวรกรรมเพื่อถวายพระผู้มีพระภาคด้วยหวังว่า “พระ
ผู้มีพระภาคทรงมีจีวรสำเร็จแล้ว ล่วง ๓ เดือน ก็จักเสด็จจาริกไป”
สมัยนั้น ช่างไม้ชื่ออิสิทัตตะและปุราณะอาศัยอยู่ในหมู่บ้านส่วยชื่อสาธุกะด้วย
กรณียกิจบางอย่าง ได้ทราบข่าวว่า “ภิกษุจำนวนมากทำจีวรกรรมเพื่อถวายพระผู้มี
พระภาคด้วยหวังว่า ‘พระผู้มีพระภาคทรงมีจีวรสำเร็จแล้ว ล่วงไป ๓ เดือน ก็จัก
เสด็จจาริกไป”
ต่อมา ช่างไม้ชื่ออิสิทัตตะและปุราณะได้จัดบุรุษเฝ้าหนทางไว้สั่งว่า “พ่อมหา
จำเริญ เมื่อใด ท่านเห็นพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมา เมื่อนั้น
ท่านก็พึงบอกพวกเรา” บุรุษนั้นเฝ้าอยู่ได้ ๒-๓ วัน ก็ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จ
มาแต่ไกล จึงเข้าไปหาช่างไม้ชื่ออิสิทัตตะและปุราณะถึงที่อยู่แล้วบอกดังนี้ว่า “ท่าน
ทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า กำลังเสด็จมา ขอท่าน
ทั้งหลายจงทราบเวลาอันสมควรในบัดนี้เถิด”
ลำดับนั้น ช่างไม้ชื่ออิสิทัตตะและปุราณะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ถวายอภิวาทแล้วตามเสด็จพระผู้มีพระภาคไปทางเบื้องพระปฤษฎางค์ ขณะนั้น
พระผู้มีพระภาคทรงแวะข้างทางเสด็จเข้าไปยังโคนไม้แห่งหนึ่ง แล้วประทับนั่งบน
พุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว ช่างไม้ชื่ออิสิทัตตะและปุราณะถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค
แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อใด ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ทราบข่าวพระผู้มีพระ
ภาคว่า ‘จักเสด็จจาริกจากกรุงสาวัตถีไป (ตามเมืองต่าง ๆ) ในแคว้นโกศล’ เมื่อนั้น
ข้าพระองค์ทั้งหลายน้อยใจและเสียใจว่า ‘พระผู้มีพระภาคจักห่างเราทั้งหลายไป’ เมื่อใด
ได้ทราบข่าวว่า ‘ได้เสด็จจาริกจากกรุงสาวัตถีไป (ตามเมืองต่าง ๆ) ในแคว้น
โกศลแล้ว’ เมื่อนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายก็น้อยใจและเสียใจว่า ‘พระผู้มีพระภาคได้
ห่างเราทั้งหลายไป’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๑. เวฬุทวารวรรค ๖. ถปติสูตร

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนึ่ง เมื่อใด ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ทราบข่าวพระผู้มีพระ
ภาคว่า ‘จักเสด็จจาริกจากแคว้นโกศลไปยังแคว้นมัลละ’ เมื่อนั้น ข้าพระองค์
ทั้งหลายน้อยใจและเสียใจว่า ‘พระผู้มีพระภาคจักห่างเราทั้งหลายไป’ แต่เมื่อใด
ได้ทราบข่าวว่า ‘ได้เสด็จจาริกจากแคว้นโกศลไปยังแคว้นมัลละแล้ว’ เมื่อนั้น
ข้าพระองค์ทั้งหลายก็น้อยใจและเสียใจว่า ‘พระผู้มีพระภาคได้ห่างเราทั้งหลายไป’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนึ่ง เมื่อใด ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ทราบข่าว
พระผู้มีพระภาคว่า ‘จักเสด็จจาริกจากแคว้นมัลละไปยังแคว้นวัชชี’ เมื่อนั้น
ข้าพระองค์ทั้งหลายน้อยใจและเสียใจว่า ‘พระผู้มีพระภาคจักห่างเราทั้งหลายไป’
เมื่อใด ได้ทราบข่าวว่า ‘ได้เสด็จจาริกจากแคว้นมัลละไปยังแคว้นวัชชีแล้ว’ เมื่อนั้น
ข้าพระองค์ทั้งหลายก็น้อยใจและเสียใจว่า ‘พระผู้มีพระภาคได้ห่างเราทั้งหลายไป’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนึ่ง เมื่อใด ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ทราบข่าวพระผู้มี
พระภาคว่า ‘จักเสด็จจาริกจากแคว้นวัชชีไปแคว้นกาสี’ เมื่อนั้น ข้าพระองค์
ทั้งหลายน้อยใจและเสียใจว่า ‘พระผู้มีพระภาคจักห่างเราทั้งหลายไป’ เมื่อใด
ได้ทราบข่าวว่า ‘ได้เสด็จจาริกจากแคว้นวัชชีไปยังแคว้นกาสีแล้ว’ เมื่อนั้น ข้าพระองค์
ทั้งหลายก็น้อยใจและเสียใจว่า ‘พระผู้มีพระภาคได้ห่างเราทั้งหลายไป’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนึ่ง เมื่อใด ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ทราบข่าวพระผู้มี
พระภาคว่า ‘จักเสด็จจาริกจากแคว้นกาสีไปแคว้นมคธ’ เมื่อนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลาย
น้อยใจและเสียใจว่า ‘พระผู้มีพระภาคจักห่างเราทั้งหลายไป’ เมื่อใด ได้ทราบข่าวว่า
‘ได้เสด็จจาริกจากแคว้นกาสีไปยังแคว้นมคธแล้ว’ เมื่อนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายก็
น้อยใจและเสียใจว่า ‘พระผู้มีพระภาคได้ห่างเราทั้งหลายไป’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนึ่ง เมื่อใด ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ทราบข่าวพระผู้มีพระ
ภาคว่า ‘จักเสด็จจาริกจากแคว้นมคธมาแคว้นกาสี’ เมื่อนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลาย
ปลื้มใจและดีใจว่า ‘พระผู้มีพระภาคจักอยู่ใกล้เราทั้งหลาย’ เมื่อใด ได้ทราบข่าวว่า
‘ได้เสด็จจาริกจากแคว้นมคธมาแคว้นกาสีแล้ว’ เมื่อนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายก็
ปลื้มใจและดีใจว่า ‘พระผู้มีพระภาคได้อยู่ใกล้เราทั้งหลาย’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๑. เวฬุทวารวรรค ๖. ถปติสูตร

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนึ่ง เมื่อใด ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ทราบข่าวพระผู้มีพระ
ภาคว่า ‘จักเสด็จจาริกจากแคว้นกาสีมาแคว้นวัชชี’ เมื่อนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลาย
ปลื้มใจและดีใจว่า ‘พระผู้มีพระภาคจักอยู่ใกล้เราทั้งหลาย’ เมื่อใด ได้ทราบข่าวว่า
‘ได้เสด็จจาริกจากแคว้นกาสีมาแคว้นวัชชีแล้ว’ เมื่อนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายก็
ปลื้มใจและดีใจว่า ‘พระผู้มีพระภาคได้อยู่ใกล้เราทั้งหลาย’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนึ่ง เมื่อใด ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ทราบข่าวพระผู้มีพระ
ภาคว่า ‘จักเสด็จจาริกจากแคว้นวัชชีมาแคว้นมัลละ’ เมื่อนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลาย
ปลื้มใจและดีใจว่า ‘พระผู้มีพระภาคจักอยู่ใกล้เราทั้งหลาย’ เมื่อใด ได้ทราบข่าวว่า
‘ได้เสด็จจาริกจากแคว้นวัชชีมาแคว้นมัลละแล้ว’ เมื่อนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลาย
ก็ปลื้มใจและดีใจว่า ‘พระผู้มีพระภาคได้อยู่ใกล้เราทั้งหลาย’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนึ่ง เมื่อใด ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ทราบข่าวพระผู้มี
พระภาคว่า ‘จักเสด็จจาริกจากแคว้นมัลละมาแคว้นโกศล’ เมื่อนั้น ข้าพระองค์
ทั้งหลายปลื้มใจและดีใจว่า ‘พระผู้มีพระภาคจักอยู่ใกล้เราทั้งหลาย’ เมื่อใด ได้
ทราบข่าวว่า ‘ได้เสด็จจาริกจากแคว้นมัลละมาแคว้นโกศลแล้ว’ เมื่อนั้น ข้าพระ
องค์ทั้งหลายก็ปลื้มใจและดีใจว่า ‘พระผู้มีพระภาคได้อยู่ใกล้เราทั้งหลาย’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อใด ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ทราบข่าวพระผู้มีพระภาค
ว่า ‘จักเสด็จจาริกจาก (เมืองต่าง ๆ ใน) แคว้นโกศลมากรุงสาวัตถี’ เมื่อนั้น
ข้าพระองค์ทั้งหลายปลื้มใจและดีใจว่า ‘พระผู้มีพระภาคจักอยู่ใกล้ข้าพระองค์ทั้งหลาย’
เมื่อใด ได้ทราบข่าวว่า ‘ประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี
เขตกรุงสาวัตถี’ เมื่อนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายก็ปลื้มใจและดีใจมากว่า ‘พระผู้มี
พระภาคได้อยู่ใกล้เราทั้งหลาย”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ช่างไม้ทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น การอยู่ครองเรือน
ในโลกนี้คับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี ส่วนบรรพชาปลอดโปร่ง ท่านทั้งหลายอย่า
ได้ประมาทเลย”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความคับแคบอื่นที่คับแคบกว่า และที่นับว่าเป็น
ความคับแคบกว่าความคับแคบนี้ของข้าพระองค์ทั้งหลาย มีอยู่หรือ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๑. เวฬุทวารวรรค ๖. ถปติสูตร

“ช่างไม้ทั้งหลาย ความคับแคบอื่นที่คับแคบกว่า และที่นับว่าเป็นความคับ
แคบกว่าความคับแคบนี้ของท่านทั้งหลาย เป็นอย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เมื่อใด พระเจ้าปเสนทิโกศล
มีพระราชประสงค์จะเสด็จไปพระราชอุทยาน เมื่อนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายต้อง
กำหนดช้างทรงของพระเจ้าปเสนทิโกศล แล้วทูลเชิญให้พระชายาทั้งหลายซึ่งเป็นที่
สิเนหาโปรดปรานของพระเจ้าปเสนทิโกศลประทับนั่งเบื้องหน้าพระพักตร์พระองค์หนึ่ง
เบื้องพระปฤษฎางค์พระองค์หนึ่ง กลิ่นของพระชายาเหล่านั้นเปรียบเหมือนกลิ่น
ของนางราชกัญญาผู้ลูบไล้ด้วยของหอมดังขวดน้ำหอมที่เปิดในขณะนั้น อนึ่ง การ
สัมผัสกายของพระชายาเหล่านั้น ก็เป็นเหมือนการสัมผัสกายของนางราชกัญญา
ผู้ดำรงอยู่ในความสุข ดังปุยนุ่น หรือปุยฝ้าย เมื่อนั้น ทั้งช้าง ทั้งพระชายาเหล่านั้น
ทั้งพระราชา ข้าพระองค์ทั้งหลายก็ต้องเฝ้าระวังรักษา แต่ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่
รู้สึกว่าจะให้ความคิดเลว ๆ เกิดขึ้นในพระชายาเหล่านั้นได้เลย นี้แลคือความคับแคบ
อื่นที่คับแคบกว่า และที่นับว่าเป็นความคับแคบกว่าความคับแคบนี้ของข้าพระองค์
ทั้งหลาย พระพุทธเจ้าข้า”
“ช่างไม้ทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น การอยู่ครองเรือนในโลกนี้จึงคับแคบ เป็น
ทางมาแห่งธุลี ส่วนบรรพชาปลอดโปร่ง ท่านทั้งหลายอย่าได้ประมาทเลย อริย-
สาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่
นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระ
ผู้มีพระภาค’
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน มีจาคะอันสละแล้ว
มีฝ่ามือชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการให้ทาน
และการแจกทาน อยู่ครองเรือน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๔๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๑. เวฬุทวารวรรค ๗. เวฬุทวาเรยยสูตร

ช่างไม้ทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้ เป็นโสดาบัน
ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า
ช่างไม้ทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
อนึ่ง ไทยธรรมทุกอย่างในตระกูล เป็นของไม่แบ่งแยกกับท่านผู้มีศีล๑ มีธรรม
อันงาม ท่านทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ ชาวโกศลมีจำนวนเท่าไร
ท่านทั้งหลายก็เฉลี่ยแบ่งปันให้เท่า ๆ กัน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เป็นลาภของข้าพระองค์ทั้งหลาย ข้าพระองค์ทั้งหลาย
ได้ดีแล้วที่พระผู้มีพระภาคทรงทราบชัดอย่างนี้”

ถปติสูตรที่ ๖ จบ

๗. เวฬุทวาเรยยสูตร
ว่าด้วยพราหมณ์และคหบดีชาวเวฬุทวารคาม

[๑๐๐๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศลพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่
ใหญ่ เสด็จถึงหมู่บ้านพราหมณ์ของชาวโกศลชื่อเวฬุทวาระ พวกพราหมณ์และ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๑. เวฬุทวารวรรค ๗. เวฬุทวาเรยยสูตร

คหบดีชาวเวฬุทวารคามได้ฟังข่าวว่า “พระสมณโคดมเป็นศากยบุตรเสด็จออกผนวช
จากศากยตระกูล เสด็จจาริกอยู่ในแคว้นโกศลพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จ
ถึงเวฬุทวารคามโดยลำดับ ท่านพระโคดมนั้นมีกิตติศัพท์อันงามขจรไปอย่างนี้ว่า
‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์
เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึก
ผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระ
พุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค พระองค์ทรงรู้แจ้งโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก
พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ด้วยพระองค์เอง
แล้ว ทรงประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม ทรงแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความ
งามในท่ามกลาง มีความงามในที่สุด และทรงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ
และพยัญชนะบริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วน การได้พบพระอรหันต์ทั้งหลายเช่นนี้เป็น
ความดีอย่างแท้จริง”
ครั้งนั้น พราหมณ์และคหบดีชาวเวฬุทวารคามเหล่านั้น เข้าไปเฝ้าพระ
ผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ บางพวกก็ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวก
ก็สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
บางพวกก็ประนมมือไปทางพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวกก็ประกาศ
ชื่อและโคตรในสำนักของพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวกก็นิ่งเฉยแล้ว
นั่ง ณ ที่สมควร พากันกราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม
ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความปรารถนา มีความพอใจ มีความประสงค์อย่างนี้ ๆ ว่า
‘ขอเราทั้งหลายพึงอยู่ครองเรือน นอนเบียดเสียดบุตร พึงใช้สอยผงแก่นจันทน์
จากแคว้นกาสี ทัดทรงดอกไม้ ของหอมและเครื่องลูบไล้ พึงยินดีทองและเงิน
หลังจากตายแล้วพึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ข้าพระองค์ทั้งหลายพึงอยู่ครองเรือน
นอนเบียดเสียดบุตร ฯลฯ พึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ด้วยวิธีใด ขอท่านพระ
โคดมโปรดแสดงธรรมด้วยวิธีนั้นแก่ข้าพระองค์ทั้งหลายผู้มีความปรารถนา มีความ
พอใจ มีความประสงค์อย่างนั้น ๆ เถิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๑. เวฬุทวารวรรค ๗. เวฬุทวาเรยยสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย เราจักแสดงธรรม
บรรยายที่ควรน้อมเข้ามาในตนแก่ท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี
เราจักกล่าว” พราหมณ์และคหบดีชาวเวฬุทวารคามเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัส
แล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า “พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย
ธรรมบรรยายที่ควรน้อมเข้ามาในตน เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราอยากเป็นอยู่ ไม่อยากตาย รักสุข
เกลียดทุกข์ ข้อที่บุคคลพึงปลงชีวิตเราผู้อยากเป็นอยู่ ไม่อยาก
ตาย รักสุขเกลียดทุกข์นั้น ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา
อนึ่ง ข้อที่เราพึงปลงชีวิตผู้อื่น ผู้อยากเป็นอยู่ ไม่อยากตาย
รักสุขเกลียดทุกข์นั้น ก็ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจแม้ของผู้อื่น
สิ่งใดไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่พอใจของเรา สิ่งนั้นก็ไม่เป็นที่รัก ไม่
เป็นที่พอใจแม้ของผู้อื่น สิ่งใดไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา
เราจะนำสิ่งนั้นไปผูกมัดกับผู้อื่นได้อย่างไร’ อริยสาวกนั้นพิจารณา
อย่างนี้แล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์เองด้วย ชักชวนผู้อื่น
ให้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ด้วย กล่าวสรรเสริญการงดเว้นจากการ
ฆ่าสัตว์ด้วย กายสมาจารนี้ของอริยสาวกนั้นย่อมบริสุทธิ์ทั้ง ๓
ส่วนดังที่กล่าวมานี้
๒. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘ข้อที่บุคคลพึงถือเอาสิ่งของของเราที่เราไม่
ให้ด้วยอาการขโมยนั้น ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา
อนึ่ง ข้อที่เราพึงถือเอาสิ่งของของผู้อื่นที่เขาไม่ให้ด้วยอาการขโมยนั้น
ก็ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจแม้ของผู้อื่น สิ่งใดไม่เป็นที่รัก ไม่
เป็นที่พอใจของเรา สิ่งนั้นก็ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจแม้ของ
ผู้อื่น สิ่งใดไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา เราจะนำสิ่งนั้น
ไปผูกมัดกับผู้อื่นได้อย่างไร’ อริยสาวกนั้นพิจารณาอย่างนี้
แล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์เองด้วย ชักชวนผู้อื่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๑. เวฬุทวารวรรค ๗. เวฬุทวาเรยยสูตร

ให้งดเว้นจากการลักทรัพย์ด้วย กล่าวสรรเสริญการงดเว้นจาก
การลักทรัพย์ด้วย กายสมาจารนี้ของอริยสาวกนั้นย่อมบริสุทธิ์
ทั้ง ๓ ส่วนดังที่กล่าวมานี้
๓. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘ข้อที่บุคคลพึงประพฤติล่วงภรรยาของเรา
ข้อนั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา อนึ่ง ข้อที่เราพึง
ประพฤติล่วงภรรยาของผู้อื่นนั้น ก็ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจ
แม้ของผู้อื่น สิ่งใดไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา สิ่งนั้น
ก็ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่พอใจแม้ของผู้อื่น สิ่งใดไม่เป็นที่รัก ไม่
เป็นที่พอใจของเรา เราจะนำสิ่งนั้นไปผูกมัดกับผู้อื่นได้อย่างไร’
อริยสาวกนั้นพิจารณาอย่างนี้แล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากการ
ประพฤติผิดในกามเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการ
ประพฤติผิดในกามด้วย กล่าวสรรเสริญการงดเว้นจากการ
ประพฤติผิดในกามด้วย กายสมาจารนี้ของอริยสาวกนั้นย่อม
บริสุทธิ์ทั้ง ๓ ส่วนดังที่กล่าวมานี้
๔. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘ข้อที่บุคคลพึงทำลายประโยชน์ของเรา
ด้วยการพูดเท็จนั้น ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา อนึ่ง
ข้อที่เราพึงทำลายประโยชน์ของผู้อื่นด้วยการพูดเท็จ ข้อนั้นก็ไม่
เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจแม้ของผู้อื่น สิ่งใดไม่เป็นที่รัก ไม่เป็น
ที่พอใจของเรา สิ่งนั้นก็ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจแม้ของผู้อื่น
สิ่งใดไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา เราจะนำสิ่งนั้นไปผูก
มัดกับผู้อื่นได้อย่างไร’ อริยสาวกนั้นพิจารณาอย่างนี้แล้ว เป็น
ผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจาก
การพูดเท็จด้วย กล่าวสรรเสริญการงดเว้นจากการพูดเท็จด้วย
วจีสมาจารนี้ของอริยสาวกนั้นย่อมบริสุทธิ์ทั้ง ๓ ส่วนดังที่กล่าวมานี้
๕. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘ข้อที่บุคคลพึงยุยงเราให้แตกจากมิตรด้วย
การพูดส่อเสียดนั้น ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา
อนึ่ง ข้อที่เราพึงยุยงผู้อื่นให้แตกจากมิตรด้วยการพูดส่อเสียด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๐๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๑. เวฬุทวารวรรค ๗. เวฬุทวาเรยยสูตร

ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจแม้ของผู้อื่น ฯลฯ วจีสมาจาร
นี้ของอริยสาวกนั้นย่อมบริสุทธิ์ทั้ง ๓ ส่วนดังที่กล่าวมานี้
๖. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘ข้อที่บุคคลพึงพูดกับเราด้วยคำหยาบนั้น
ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา อนึ่ง ข้อที่เราพึงพูดกับผู้อื่น
ด้วยคำหยาบนั้น ก็ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจแม้ของผู้อื่น
สิ่งใดไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา ฯลฯ วจีสมาจารนี้
ของอริยสาวกนั้นย่อมบริสุทธิ์ทั้ง ๓ ส่วนดังที่กล่าวมานี้
๗. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘ข้อที่บุคคลพึงพูดกับเราด้วยการพูด
เพ้อเจ้อ ไร้ประโยชน์นั้น ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา
อนึ่ง ข้อที่เราพึงพูดกับผู้อื่นด้วยการพูดเพ้อเจ้อ ไร้ประโยชน์นั้น
ก็ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจแม้ของผู้อื่น สิ่งใดไม่เป็นที่รักไม่
เป็นที่พอใจของเรา สิ่งนั้นก็ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจแม้ของผู้อื่น
สิ่งใดไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา เราจะนำสิ่งนั้นไปผูกมัด
กับผู้อื่นได้อย่างไร’ อริยสาวกนั้นพิจารณาอย่างนี้แล้ว เป็นผู้
เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจาก
การพูดเพ้อเจ้อด้วย กล่าวสรรเสริญการงดเว้นจากการพูดเพ้อ
เจ้อด้วย วจีสมาจารนี้ของอริยสาวกนั้นย่อมบริสุทธิ์ทั้ง ๓
ส่วนดังที่กล่าวมานี้
อริยสาวกนั้น
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า ‘พระสงฆ์
สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดี ฯลฯ เป็นนาบุญอัน
ยอดเยี่ยมของโลก’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๑. เวฬุทวารวรรค ๘. ปฐมคิญชกาวสถสูตร

๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง
ไม่พร้อย เป็นไท ท่านผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ
เป็นไปเพื่อสมาธิ
พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย เมื่อใด อริยสาวกประกอบด้วยสัทธรรม ๗
ประการนี้ ด้วยฐานะอันเป็นที่ตั้งแห่งความหวัง ๔ ประการนี้ เมื่อนั้น อริยสาวก
นั้นเมื่อหวัง พึงพยากรณ์ตนเองว่า ‘เรามีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว
มีภูมิแห่งเปรตสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ และวินิบาตสิ้นแล้ว เราเป็นโสดาบัน ไม่มี
ทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์และคหบดีชาวเวฬุทวารคาม
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของท่านพระ
โคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ข้าพระองค์ทั้งหลายขอถึงท่านพระโคดม พระธรรม
และพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ทั้งหลายว่าเป็นอุบาสก
ผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”

เวฬุทวาเรยยสูตรที่ ๗ จบ

๘. ปฐมคิญชกาวสถสูตร
ว่าด้วยธรรมบรรยายที่พระตำหนักอิฐ สูตรที่ ๑

[๑๐๐๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระตำหนักอิฐ ในหมู่บ้านญาติกะ๑
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว
นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
สาฬหภิกษุมรณภาพแล้ว คติของท่านเป็นอย่างไร อภิสัมปรายภพเป็นอย่างไร
นันทาภิกษุณีมรณภาพแล้ว คติของนางเป็นอย่างไร อภิสัมปรายภพเป็นอย่างไร
สุทัตตอุบาสกถึงแก่กรรมแล้ว คติของเขาเป็นอย่างไร อภิสัมปรายภพเป็นอย่างไร
สุชาดาอุบาสิกาถึงแก่กรรมแล้ว คติของนางเป็นอย่างไร อภิสัมปรายภพเป็นอย่างไร”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๑. เวฬุทวารวรรค ๘. ปฐมคิญชกาวสถสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ สาฬหภิกษุมรณภาพแล้วทำให้แจ้ง
เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่
ในปัจจุบัน นันทาภิกษุณีมรณภาพแล้วไปเกิดเป็นโอปปาติกะ ปรินิพพานในภพนั้น
ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป สุทัตต-
อุบาสกถึงแก่กรรมแล้วได้เป็นพระสกทาคามี เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป
และบรรเทาราคะ โทสะ โมหะให้เบาบางได้ มาสู่โลกนี้อีกเพียงครั้งเดียวก็จะทำ
ที่สุดแห่งทุกข์ได้ สุชาดาอุบาสิกาถึงแก่กรรมแล้วได้เป็นโสดาบัน เพราะสังโยชน์ ๓
ประการสิ้นไป ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า
อานนท์ ไม่น่าอัศจรรย์เลยที่บุคคลเกิดเป็นมนุษย์แล้วตายไป หากเมื่อบุคคล
นั้น ๆ ตายไป เธอทั้งหลายจักเข้ามาสอบถามเรื่องนี้กับเรา ก็จะพึงเป็นความ
ลำบากแก่ตถาคต เพราะฉะนั้น เราจักแสดงธรรมบรรยายชื่อธรรมาทาส (แว่น
ส่องธรรม) ที่พระอริยสาวกผู้ประกอบแล้ว เมื่อหวังก็พึงพยากรณ์ตนเองได้ว่า ‘เรา
มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีภูมิแห่งเปรตสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ
และวินิบาตสิ้นแล้ว เราเป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จ
สัมโพธิในวันข้างหน้า’
ธรรมบรรยายชื่อธรรมาทาสที่พระอริยสาวกผู้ประกอบแล้ว เมื่อหวังพึง
พยากรณ์ตนเองได้ว่า ‘เรามีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีภูมิ
แห่งเปรตสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ และวินิบาตสิ้นแล้ว เราเป็นโสดาบัน ไม่มี
ทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า‘ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อ
สมาธิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๑. เวฬุทวารวรรค ๙. ทุติยคิญชกาวสถสูตร

อานนท์ นี้แลคือธรรมบรรยายชื่อธรรมาทาส ที่พระอริยสาวกผู้ประกอบแล้ว
เมื่อหวังก็พึงพยากรณ์ตนเองได้ว่า ‘เรามีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว
มีภูมิแห่งเปรตสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ และวินิบาตสิ้นแล้ว เราเป็นโสดาบัน ไม่มี
ทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”

ปฐมคิญชกาวสถสูตรที่ ๘ จบ

(พระสูตรทั้ง ๓ สูตรมีเหตุเกิดอย่างเดียวกัน)

๙. ทุติยคิญชกาวสถสูตร
ว่าด้วยธรรมบรรยายที่พระตำหนักอิฐ สูตรที่ ๒

[๑๐๐๕] ท่านพระอานนท์นั่ง ณ ที่สมควรแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อโสกภิกษุมรณภาพแล้ว คติของเธอเป็นอย่างไร
อภิสัมปรายภพเป็นอย่างไร อโสกาภิกษุณีมรณภาพแล้ว ฯลฯ อโสกอุบาสก
ถึงแก่กรรมแล้ว ฯลฯ อโสกาอุบาสิกาถึงแก่กรรมแล้ว คติของนางเป็นอย่างไร
อภิสัมปรายภพเป็นอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ อโสกภิกษุมรณภาพแล้ว ทำให้แจ้ง
เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ฯลฯ
(เนื้อเรื่องก็อย่างเดียวกับการพยากรณ์ปัญหาข้างต้น)
อานนท์ นี้แล คือ ธรรมบรรยายชื่อธรรมาทาส ที่อริยสาวกผู้ประกอบแล้ว
เมื่อหวังก็พึงพยากรณ์ตนเองได้ว่า ‘เรามีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว
มีภูมิแห่งเปรตสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ และวินิบาตสิ้นแล้ว เราเป็นโสดาบัน ไม่มี
ทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”

ทุติยคิญชกาวสถสูตรที่ ๙ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๑. เวฬุทวารวรรค ๑๐. ตติยคิญชกาวสถสูตร

๑๐. ตติยคิญชกาวสถสูตร
ว่าด้วยธรรมบรรยายที่พระตำหนักอิฐ สูตรที่ ๓

[๑๐๐๖] ท่านพระอานนท์นั่ง ณ ที่สมควรแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กกุฏอุบาสกในหมู่บ้านญาติกะถึงแก่กรรมแล้ว
คติของเขาเป็นอย่างไร อภิสัมปรายภพเป็นอย่างไร กฬิภอุบาสกในหมู่บ้านญาติกะ
ฯลฯ นิกตอุบาสกในหมู่บ้านญาติกะ ฯลฯ กฏิสสหอุบาสกในหมู่บ้านญาติกะ ...
ตุฏฐอุบาสกในหมู่บ้านญาติกะ ... สันตุฏฐอุบาสกในหมู่บ้านญาติกะ ... ภัทท-
อุบาสกในหมู่บ้านญาติกะ ... สุภัททอุบาสกในหมู่บ้านญาติกะถึงแก่กรรมแล้ว
คติของเขาเป็นอย่างไร อภิสัมปรายภพเป็นอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ กกุฏอุบาสกถึงแก่กรรมแล้วไปเกิดเป็น
โอปปาติกะ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป ปรินิพพานในภพนั้น ไม่
หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก กฬิภอุบาสก ฯลฯ นิกตอุบาสก ... กฏิสสหอุบาสก ...
ตุฏฐอุบาสก ... สันตุฏฐอุบาสก ... สุภัททอุบาสก ... ภัททอุบาสกถึงแก่กรรมแล้ว
ไปเกิดเป็นโอปปาติกะ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป ปรินิพพาน
ในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก
(อุบาสกทุกคนพึงทำให้มีคติอย่างเดียวกัน)
อานนท์ อุบาสกกว่า ๕๐ คนในหมู่บ้านญาติกะถึงแก่กรรมแล้วไปเกิดเป็น
โอปปาติกะ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป ปรินิพพานในภพนั้นไม่
หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก อุบาสกกว่า ๙๐ คนในหมู่บ้านญาติกะถึงแก่กรรมแล้ว
ได้เป็นสกทาคามี เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป และบรรเทาราคะ โทสะ โมหะ
ให้เบาบางได้ กลับมาสู่โลกนี้อีกเพียงครั้งเดียว จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ อุบาสกกว่า
๕๐๐-๖๐๐ คนในหมู่บ้านญาติกะถึงแก่กรรมแล้วได้เป็นโสดาบัน เพราะสังโยชน์ ๓
ประการสิ้นไป ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า
อานนท์ ไม่น่าอัศจรรย์เลยที่บุคคลเกิดเป็นมนุษย์แล้วตายไป หากเมื่อบุคคล
นั้นตายไป เธอทั้งหลายจักเข้ามาสอบถามเรื่องนี้กับเรา ก็จะพึงเป็นความลำบากแก่
ตถาคต เพราะเหตุนั้น เราจักแสดงธรรมบรรยายชื่อธรรมาทาส(แว่นส่องธรรม)
ที่อริยสาวกผู้ประกอบแล้ว เมื่อหวังก็พึงพยากรณ์ตนเองได้ว่า ‘เรามีนรกสิ้นแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๐๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๑. เวฬุทวารวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีภูมิแห่งเปรตสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ และวินิบาต
สิ้นแล้ว เราเป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวัน
ข้างหน้า’
ธรรมบรรยายชื่อธรรมาทาส ที่อริยสาวกผู้ประกอบแล้ว เมื่อหวังก็พึง
พยากรณ์ตนเองได้ว่า ‘เรามีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีภูมิ
แห่งเปรตสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ และวินิบาตสิ้นแล้ว เราเป็นโสดาบัน ไม่มี
ทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของเทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ
อานนท์ นี้แล คือ ธรรมบรรยายชื่อธรรมาทาส ที่อริยสาวกผู้ประกอบแล้ว
เมื่อหวังก็พึงพยากรณ์ตนเองได้ว่า ‘เรามีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว
มีภูมิแห่งเปรตสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ และวินิบาตสิ้นแล้ว เราเป็นโสดาบัน ไม่มี
ทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”

ตติยคิญชกาวสถสูตรที่ ๑๐ จบ
เวฬุทวารวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. จักกวัตติราชสูตร ๒. พรหมจริโยคธสูตร
๓. ทีฆาวุอุปาสกสูตร ๔. ปฐมสารีปุตตสูตร
๕. ทุติยสารีปุตตสูตร ๖. ถปติสูตร
๗. เวฬุทวาเรยยสูตร ๘. ปฐมคิญชกาวสถสูตร
๙. ทุติยคิญชกาวสถสูตร ๑๐. ตติยคิญชกาวสถสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๒. ราชการามวรรค ๑. สหัสสภิกขุนีสังฆสูตร

๒. ราชการามวรรค
หมวดว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่ราชการาม
๑. สหัสสภิกขุนีสังฆสูตร
ว่าด้วยภิกษุณีสงฆ์ ๑,๐๐๐ รูป

[๑๐๐๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ราชการาม เขตกรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ภิกษุณีสงฆ์ ๑,๐๐๐ รูป เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับภิกษุณีเหล่านั้นดังนี้ว่า
“ภิกษุณีทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็นโสดาบัน
ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ
ภิกษุณีทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้ เป็นโสดาบัน
ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”

สหัสสภิกขุนีสังฆสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๒. ราชการามวรรค ๒. พราหมณสูตร

๒. พราหมณสูตร
ว่าด้วยข้อบัญญัติของพราหมณ์

[๑๐๐๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พราหมณ์ทั้งหลายย่อมบัญญัติ
อุทยคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความเจริญ) พวกเขาย่อมชักชวนสาวกอย่าง
นี้ว่า ‘มาเถิดพ่อมหาจำเริญ ท่านจงลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ เดินบ่ายหน้าไปทางทิศปราจีน
อย่าหลีกบ่อ เหว ตอที่มีหนาม หลุมคูถ บ่อโสโครก ท่านตกลงไปในที่ใด ก็
พึงรอความตายในที่นั้นแล ด้วยอุบายอย่างนี้ หลังจากตายแล้ว จักไปเกิดในสุคติ
โลกสวรรค์’
ภิกษุทั้งหลาย ข้อบัญญัติของพราหมณ์เหล่านั้น เป็นทางไปของคนโง่ เป็น
ทางไปของคนหลง ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย ไม่เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด ไม่
เป็นไปเพื่อดับ ไม่เป็นไปเพื่อสงบระงับ ไม่เป็นไปเพื่อรู้ยิ่ง ไม่เป็นไปเพื่อตรัสรู้ ไม่
เป็นไปเพื่อนิพพาน ส่วนในอริยวินัย เราก็บัญญัติอุทยคามินีปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อ
ความเบื่อหน่ายอย่างที่สุด เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อ
รู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
อุทยคามินีปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายอย่างที่สุด ฯลฯ เพื่อ
นิพพานนั้น เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อ
สมาธิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๒. ราชการามวรรค ๓. อานันทเถรสูตร

ภิกษุทั้งหลาย นี้แล คือ อุทยคามินีปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายอย่าง
ที่สุด เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน”

พราหมณสูตรที่ ๒ จบ

๓. อานันทเถรสูตร
ว่าด้วยพระอานนทเถระ

[๑๐๐๙] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์และท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้นในเวลาเย็น ท่านพระสารีบุตร
ออกจากที่หลีกเร้นแล้ว เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอ
เป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามท่านพระ
อานนท์ดังนี้ว่า “ท่านอานนท์ เพราะละธรรมเท่าไร เพราะประกอบด้วยธรรมเท่าไร
หมู่สัตว์นี้พระผู้มีพระภาคจึงทรงพยากรณ์ว่า ‘เป็นพระโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มี
ความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ผู้มีอายุ เพราะละธรรม ๔ ประการ เพราะประกอบ
ด้วยธรรม ๔ ประการ หมู่สัตว์นี้พระผู้มีพระภาคจึงทรงพยากรณ์ว่า ‘เป็นพระ
โสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
๑. ประกอบด้วยความไม่เลื่อมใสเช่นใดในพระพุทธเจ้า หลังจาก
ตายแล้ว จะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ความไม่
เลื่อมใสเช่นนั้นในพระพุทธเจ้าหามีแก่ปุถุชนนั้นไม่ ส่วนอริยสาวก
ผู้ได้สดับ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวเช่นใดใน
พระพุทธเจ้า หลังจากตายแล้ว จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวเช่นนั้นในพระพุทธเจ้าย่อมมีแก่อริย-
สาวกนั้นว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ
เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า
เป็นพระผู้มีพระภาค’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๒. ราชการามวรรค ๓. อานันทเถรสูตร

๒. ประกอบด้วยความไม่เลื่อมใสเช่นใดในพระธรรม หลังจากตายแล้ว
จะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ความไม่เลื่อมใสเช่น
นั้นในพระธรรมหามีแก่ปุถุชนนั้นไม่ ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับ
ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวเช่นใดในพระธรรม
หลังจากตายแล้ว จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ความเลื่อมใสอัน
ไม่หวั่นไหวเช่นนั้นในพระธรรมย่อมมีแก่พระอริยสาวกนั้นว่า
‘พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ฯลฯ อัน
วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน’
๓. ประกอบด้วยความไม่เลื่อมใสเช่นใดในพระสงฆ์ หลังจากตายแล้ว
จะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ความไม่เลื่อมใสเช่น
นั้นในพระสงฆ์หามีแก่ปุถุชนนั้นไม่ ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับ
ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวเช่นใดในพระสงฆ์
หลังจากตายแล้ว จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ความเลื่อมใส
อันไม่หวั่นไหวเช่นนั้นในพระสงฆ์ย่อมมีแก่อริยสาวกนั้นว่า ‘พระ
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดี ฯลฯ เป็นนา
บุญอันยอดเยี่ยมของโลก’
๔. ประกอบด้วยความเป็นผู้ทุศีลเช่นใด หลังจากตายแล้ว จะไป
เกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ความเป็นผู้ทุศีลเช่นนั้นหามี
แก่ปุถุชนนั้นไม่ ส่วนอริยสาวกผู้ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะ
ชอบใจเช่นใด หลังจากตายแล้ว จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
ศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิเช่นนั้น
ย่อมมีแก่อริยสาวกนั้น
อาวุโส เพราะละธรรม ๔ ประการนี้ เพราะประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้
หมู่สัตว์นี้พระผู้มีพระภาคจึงทรงพยากรณ์ว่า ‘เป็นพระโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มี
ความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”

อานันทเถรสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกายมหาวารวรรค[๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๒. ราชการามวรรค ๕. ทุคคติวินิปาตภยสูตร

๔. ทุคคติภยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ให้พ้นภัยคือทุคติ

[๑๐๑๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วย
ธรรม ๔ ประการ ย่อมพ้นภัยคือทุคติทั้งปวง
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของ
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อ
สมาธิ
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้ย่อมพ้นภัยคือ
ทุคติทั้งปวง”

ทุคคติภยสูตรที่ ๔ จบ

๕. ทุคคติวินิปาตภยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ให้พ้นภัยคือทุคติและวินิบาต

[๑๐๑๑] “ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมพ้น
ภัยคือทุคติและวินิบาตทั้งปวง
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระ
ผู้มีพระภาค’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๒. ราชการามวรรค ๖. ปฐมมิตตามัจจสูตร

๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อ
สมาธิ
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้ย่อมพ้นภัยคือ
ทุคติและวินิบาตทั้งปวง”

ทุคคติวินิปาตภยสูตรที่ ๕ จบ

๖. ปฐมมิตตามัจจสูตร
ว่าด้วยการชักชวนมิตรอำมาตย์ สูตรที่ ๑

[๑๐๑๒] “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงอนุเคราะห์คนเหล่าใด และคน
เหล่าใดจะเป็นมิตร อำมาตย์ ญาติ สาโลหิตก็ตาม ให้ความสำคัญคำที่ควรรับฟัง
เธอทั้งหลายพึงชักชวนคนเหล่านั้นให้ตั้งมั่น ให้ดำรงอยู่ในองค์เครื่องบรรลุโสดา๑
๔ ประการ
องค์เครื่องบรรลุโสดา ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เธอทั้งหลายพึงชักชวนให้ตั้งมั่น ให้ดำรงอยู่ในความเลื่อมใสอัน
ไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาค
พระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’
๒. เธอทั้งหลายพึงชักชวนให้ตั้งมั่น ให้ดำรงอยู่ในความเลื่อมใสอัน
ไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. เธอทั้งหลายพึงชักชวนให้ตั้งมั่น ให้ดำรงอยู่ในความเลื่อมใสอัน
ไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. เธอทั้งหลายพึงชักชวนให้ตั้งมั่น ให้ดำรงอยู่ในศีลที่พระอริยะ
ชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๒. ราชการามวรรค ๗. ทุติยมิตตามัจจสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงอนุเคราะห์คนเหล่าใด และคนเหล่าใดจะเป็น
มิตร อำมาตย์ ญาติ สาโลหิตก็ตาม ให้ความสำคัญคำที่ควรรับฟัง เธอทั้งหลาย
พึงชักชวนคนเหล่านั้นให้ตั้งมั่น ให้ดำรงอยู่ในองค์เครื่องบรรลุโสดา ๔ ประการนี้”

ปฐมมิตตามัจจสูตรที่ ๖ จบ

๗. ทุติยมิตตามัจจสูตร
ว่าด้วยการชักชวนมิตรอำมาตย์ สูตรที่ ๒

[๑๐๑๓] “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงอนุเคราะห์คนเหล่าใด และคน
เหล่าใดจะเป็นมิตร อำมาตย์ ญาติ สาโลหิตก็ตาม ให้ความสำคัญคำที่ควรรับฟัง
เธอทั้งหลายพึงชักชวนคนเหล่านั้นให้ตั้งมั่น ให้ดำรงอยู่ในองค์เครื่องบรรลุโสดา
๔ ประการ
องค์เครื่องบรรลุโสดา ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เธอทั้งหลายพึงชักชวนให้ตั้งมั่น ให้ดำรงอยู่ในความเลื่อมใสอัน
ไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาค
พระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’
ภิกษุทั้งหลาย มหาภูตรูป ๔ คือ ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน)
อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ) เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) วาโยธาตุ (ธาตุลม) อาจ
กลายเป็นอย่างอื่นได้ แต่อริยสาวกผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใส
อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ไม่พึงแปรเป็นอย่างอื่นได้เลย
ในเรื่องนั้น เป็นไปไม่ได้เลยที่จะแปรเป็นอย่างอื่น คือ อริยสาวก
ผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าจักไปเกิด
ในนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน หรือภูมิแห่งเปรต
๒. เธอทั้งหลายพึงชักชวนให้ตั้งมั่น ให้ดำรงอยู่ในความเลื่อมใสอัน
ไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. เธอทั้งหลายพึงชักชวนให้ตั้งมั่น ให้ดำรงอยู่ในความเลื่อมใสอัน
ไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๒. ราชการามวรรค ๘. ปฐมเทวจาริกสูตร

๔. เธอทั้งหลายพึงชักชวนให้ตั้งมั่น ให้ดำรงอยู่ในศีลที่พระอริยะ
ชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ
ภิกษุทั้งหลาย มหาภูตรูป ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ
เตโชธาตุ วาโยธาตุ อาจกลายเป็นอย่างอื่นได้ แต่อริยสาวกผู้
ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่พึงแปรเป็นอย่างอื่นได้เลย
ในเรื่องนั้น เป็นไปไม่ได้เลยที่จะแปรเป็นอย่างอื่น คือ อริยสาวก
ผู้ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ จักไปเกิดในนรก กำเนิด
สัตว์ดิรัจฉาน หรือภูมิแห่งเปรต
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงอนุเคราะห์คนเหล่าใด และคนเหล่าใดจะเป็น
มิตร อำมาตย์ ญาติ สาโลหิตก็ตาม ให้ความสำคัญคำที่ควรรับฟัง เธอทั้งหลาย
พึงชักชวนคนเหล่านั้นให้ตั้งมั่น ให้ดำรงอยู่ในองค์เครื่องบรรลุโสดา ๔ ประการนี้”

ทุติยมิตตามัจจสูตรที่ ๗ จบ

๘. ปฐมเทวจาริกสูตร
ว่าด้วยการจาริกในเทวโลก สูตรที่ ๑

[๑๐๑๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้หายตัวจากพระเชตวันไปปรากฏบนสวรรค์
ชั้นดาวดึงส์เหมือนบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้าฉะนั้น ลำดับนั้น
เทพชั้นดาวดึงส์จำนวนมากเข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ อภิวาทแล้ว
ได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควร ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวกับเทพเหล่านั้นดังนี้ว่า
“ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
๑. การประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’ เป็นความดี เพราะการประกอบด้วยความเลื่อมใส
อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้
หลังจากตายแล้วจึงจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๒. ราชการามวรรค ๙. ทุติยเทวจาริกสูตร

๒. การประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. การประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. การประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไป
เพื่อสมาธิ เป็นความดี เพราะประกอบด้วยศีลที่พระอริยะ
ชอบใจ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจึงจะไปเกิดใน
สุคติโลกสวรรค์”
เทพเหล่านั้นกล่าวว่า “ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์
๑. การประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’ เป็นความดี เพราะการประกอบด้วยความเลื่อมใส
อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้
หลังจากตายแล้วจึงจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
๒. การประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. การประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. การประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อ
สมาธิ เป็นความดี เพราะการประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ
เป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจึงจะไปเกิดใน
สุคติโลกสวรรค์”

ปฐมเทวจาริกสูตรที่ ๘ จบ

๙. ทุติยเทวจาริกสูตร
ว่าด้วยการจาริกในเทวโลก สูตรที่ ๒

[๑๐๑๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้หายตัวจากพระเชตวันไปปรากฏบนสวรรค์
ชั้นดาวดึงส์เหมือนบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้าฉะนั้น ลำดับนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๒. ราชการามวรรค ๙. ทุติยเทวจาริกสูตร

เทพชั้นดาวดึงส์จำนวนมากเข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ อภิวาทแล้ว
ได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควร ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวกับเทพเหล่านั้นดังนี้ว่า
“ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
๑. การประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’ เป็นความดี เพราะการประกอบด้วยความเลื่อมใส
อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้
หลังจากตายแล้วจึงได้ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
๒. การประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. การประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. การประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไป
เพื่อสมาธิ เป็นความดี เพราะการประกอบด้วยศีลที่พระอริยะ
ชอบใจเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจึงได้ไป
เกิดในสุคติโลกสวรรค์”
เทพเหล่านั้นกล่าวว่า “ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์
๑. การประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’ เป็นความดี เพราะการประกอบด้วยความเลื่อมใส
อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้
หลังจากตายแล้วจึงได้ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
๒. การประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. การประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกายมหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๒. ราชการามวรรค ๑๐. ตติยเทวจาริกสูตร

๔. การประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไป
เพื่อสมาธิ เป็นความดี เพราะการประกอบด้วยศีลที่พระอริยะ
ชอบใจเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจึงได้ไป
เกิดในสุคติโลกสวรรค์”

ทุติยเทวจาริกสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ตติยเทวจาริกสูตร
ว่าด้วยการจาริกในเทวโลก สูตรที่ ๓

[๑๐๑๖] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงหายพระองค์จากพระเชตวันไปปรากฏ
บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เหมือนบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้าฉะนั้น
ลำดับนั้น เทพชั้นดาวดึงส์จำนวนมากเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับเทพเหล่านั้นดังนี้ว่า
“ท่านทั้งหลาย
๑. การประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’ เป็นความดี เพราะการประกอบด้วยความเลื่อมใส
อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้
จึงเป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จ
สัมโพธิในวันข้างหน้า
๒. การประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. การประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. การประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไป
เพื่อสมาธิ เป็นความดี เพราะการประกอบด้วยศีลที่พระอริยะ
ชอบใจเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้จึงเป็นโสดาบัน ไม่มีทาง
ตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกายมหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๒. ราชการามวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

เทพเหล่านั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์
๑. การประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค เป็นความดี เพราะการประกอบด้วยความเลื่อมใสอัน
ไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าเป็นเหตุ หมู่สัตว์นี้จึงเป็นโสดาบัน
ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า
๒. การประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. การประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. การประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไป
เพื่อสมาธิ เป็นความดี เพราะการประกอบด้วยศีลที่พระอริยะ
ชอบใจเป็นเหตุ หมู่สัตว์นี้จึงเป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มี
ความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”

ตติยเทวจาริกสูตรที่ ๑๐ จบ
ราชการามวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สหัสสภิกขุนีสังฆสูตร ๒. พราหมณสูตร
๓. อานันทเถรสูตร ๔. ทุคคติภยสูตร
๕. ทุคคติวินิปาตภยสูตร ๖. ปฐมมิตตามัจจสูตร
๗. ทุติยมิตตามัจจสูตร ๘. ปฐมเทวจาริกสูตร
๙. ทุติยเทวจาริกสูตร ๑๐. ตติยเทวจาริกสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๓. สรณานิวรรค ๑. ปฐมมหานามสูตร

๓. สรณานิวรรค
หมวดว่าด้วยเจ้าศากยะพระนามว่าสรณานิ
๑. ปฐมมหานามสูตร
ว่าด้วยเจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะ สูตรที่ ๑

[๑๐๑๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตกรุงกบิลพัสดุ์
แคว้นสักกะ ครั้งนั้น เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กรุงกบิลพัสดุ์นี้มั่งคั่ง อุดมสมบูรณ์ มีประชากรมาก
มีถนนคับแคบ หม่อมฉันนั่งใกล้พระผู้มีพระภาคหรือภิกษุทั้งหลายผู้เป็นที่เจริญใจ
เวลาเย็น เข้าไปยังกรุงกบิลพัสดุ์ พบเห็นช้างบ้าง ม้าบ้าง รถบ้าง เกวียนบ้าง
ผู้คนบ้าง ที่พลุกพล่านขวักไขว่ สมัยนั้น หม่อมฉันลืมสติปรารภพระผู้มีพระภาค
พระธรรม และพระสงฆ์ หม่อมฉันคิดว่า ‘หากเราถึงแก่กรรมในเวลานี้ คติของเรา
จะเป็นอย่างไร อภิสัมปรายภพจะเป็นอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อย่าทรงกลัวเลย มหาบพิตร อย่าทรงกลัวเลย
มหาบพิตร การสวรรคตของพระองค์จักไม่เลวทราม กาลกิริยาก็จักไม่เลวทราม
มหาบพิตร จิตของผู้ใดผู้หนึ่งที่ได้เจริญด้วยศรัทธา ที่ได้เจริญด้วยศีล ที่ได้เจริญ
ด้วยสุตะ ที่ได้เจริญด้วยจาคะ และที่ได้เจริญด้วยปัญญามาเป็นเวลานาน กายนี้
ของผู้นั้นคุมกันเป็นรูปร่างที่ประกอบขึ้นจากมหาภูตรูป ๔ เกิดจากมารดาบิดา
เจริญวัยเพราะข้าวสุกและขนมกุมมาส๑ ไม่เที่ยงแท้ ต้องอบ ต้องนวดเฟ้น มีอัน
แตกกระจัดกระจายไปเป็นธรรมดา กาบ้าง แร้งบ้าง นกตะกรุมบ้าง สุนัขบ้านบ้าง
สุนัขจิ้งจอกบ้าง สัตว์หลายชนิดบ้าง ย่อมกัดกินกายนี้ ส่วนจิตของผู้นั้นที่ได้เจริญ
ด้วยศรัทธา ฯลฯ และที่ได้เจริญด้วยปัญญามาเป็นเวลานาน ย่อมสูงขึ้นไปจนถึง
บรรลุคุณวิเศษ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๓. สรณานิวรรค ๒.ทุติยมหานามสูตร

มหาบพิตร บุรุษดำลงในห้วงน้ำลึกแล้วทุบหม้อเนยใสหรือหม้อน้ำมัน ก้อน
กรวดหรือกระเบื้องหม้อนั้นพึงจมลง ส่วนเนยใสหรือน้ำมันในหม้อนั้นพึงลอยขึ้น
เหนือน้ำ แม้ฉันใด จิตของผู้ใดผู้หนึ่งที่ได้เจริญด้วยศรัทธา ฯลฯ และที่ได้เจริญ
ด้วยปัญญามาเป็นเวลานาน กายนี้ของผู้นั้นคุมกันเป็นรูปร่างที่ประกอบขึ้น
จากมหาภูตรูป ๔ เกิดจากมารดาบิดา เจริญวัยเพราะข้าวสุกและขนมกุมมาส
ไม่เที่ยงแท้ ต้องอบ ต้องนวดเฟ้น มีอันแตกกระจัดกระจายไปเป็นธรรมดา กาบ้าง
แร้งบ้าง นกตะกรุมบ้าง สุนัขบ้านบ้าง สุนัขจิ้งจอกบ้าง สัตว์หลายชนิดบ้าง
ย่อมกัดกินกายนี้ ส่วนจิตของผู้นั้นที่ได้เจริญด้วยศรัทธา ฯลฯ และที่ได้เจริญด้วย
ปัญญามาเป็นเวลานาน ย่อมสูงขึ้นไปจนถึงบรรลุคุณวิเศษ แต่จิตของพระองค์ที่ได้
เจริญด้วยศรัทธา ฯลฯ และที่ได้เจริญด้วยปัญญามาเป็นเวลานานก็ฉันนั้นเหมือนกัน
อย่าทรงกลัวเลย มหาบพิตร อย่าทรงกลัวเลย มหาบพิตร การสวรรคตของพระองค์
จักไม่เลวทราม กาลกิริยาก็จักไม่เลวทราม”

ปฐมมหานามสูตรที่ ๑ จบ

๒. ทุติยมหานามสูตร
ว่าด้วยเจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะ สูตรที่ ๒

[๑๐๑๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตกรุงกบิลพัสดุ์
แคว้นสักกะ ครั้งนั้น เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กรุงกบิลพัสดุ์นี้ มั่งคั่ง อุดมสมบูรณ์ มีประชากรมาก
มีถนนคับแคบ หม่อมฉันนั่งใกล้พระผู้มีพระภาคหรือภิกษุทั้งหลายผู้เป็นที่เจริญใจ
เวลาเย็น เข้าไปยังกรุงกบิลพัสดุ์ พบเห็นช้างบ้าง ม้าบ้าง รถบ้าง เกวียนบ้าง
ผู้คนบ้าง ที่พลุกพล่านขวักไขว่ สมัยนั้น หม่อมฉันลืมสติปรารภพระผู้มีพระภาค
พระธรรม และพระสงฆ์ หม่อมฉันคิดว่า ‘หากเราพึงถึงแก่กรรมในเวลานี้ คติ
ของเราจะเป็นอย่างไร อภิสัมปรายภพจะเป็นอย่างไร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๓. สรณานิวรรค ๓. โคธสักกสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อย่าทรงกลัวเลย มหาบพิตร อย่าทรงกลัวเลย
มหาบพิตร การสวรรคตของพระองค์จักไม่เลวทราม กาลกิริยาก็จักไม่เลวทราม
มหาบพิตร อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้ม
ไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อ
สมาธิ
มหาบพิตร เปรียบเหมือนต้นไม้ที่น้อมไปทางทิศปราจีน โน้มไปทางทิศปราจีน
โอนไปทางทิศปราจีน ต้นไม้นั้นเมื่อถูกตัดโคนจะล้มไปทางไหน”
“จะล้มไปทางที่ต้นไม้น้อมไป โน้มไป โอนไป พระพุทธเจ้าข้า”
“มหาบพิตร อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน อริยสาวกผู้ประกอบ
ด้วยธรรม ๔ ประการนี้ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน”

ทุติยมหานามสูตรที่ ๒ จบ

๓. โคธสักกสูตร
ว่าด้วยเจ้าศากยะพระนามว่าโคธา

[๑๐๑๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงกบิลพัสดุ์
ครั้งนั้น เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะเสด็จเข้าไปหาเจ้าศากยะพระนามว่า
โคธาถึงที่ประทับแล้วได้ตรัสถามเจ้าศากยะพระนามว่าโคธานั้นดังนี้ว่า “โคธา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๓. สรณานิวรรค ๓. โคธสักกสูตร

พระองค์ทรงทราบบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรมเท่าไรว่า ‘เป็นพระโสดาบัน ไม่มีทาง
ตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
เจ้าโคธาศากยะตรัสตอบว่า “มหานามะ หม่อมฉันทราบบุคคลผู้ประกอบ
ด้วยธรรม ๓ ประการว่า ‘เป็นพระโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะ
สำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง
คือ พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า ‘พระสงฆ์
สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดี ฯลฯ เป็นนาบุญอัน
ยอดเยี่ยมของโลก’
มหานามะ หม่อมฉันทราบบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้ว่า ‘เป็น
พระโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’
มหานามะ ส่วนพระองค์ทรงทราบบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรมเท่าไรว่า ‘เป็น
พระโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
“โคธา หม่อมฉันทราบบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการว่า ‘เป็นพระ
โสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๓. สรณานิวรรค ๓. โคธสักกสูตร

๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อ
สมาธิ
โคธา หม่อมฉันทราบบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้ว่า ‘เป็น
พระโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
“ช้าก่อน มหานามะ ช้าก่อน มหานามะ พระผู้มีพระภาคเท่านั้นพึงทรง
ทราบบุคคลนั้นว่าประกอบหรือไม่ประกอบด้วยธรรมเหล่านี้”
“มาเถิด โคธา เราจักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วทูลถามเรื่องนี้”
ลำดับนั้น เจ้ามหานามศากยะและเจ้าโคธาศากยะเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ
ภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร เจ้ามหานามศากยะ
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส
ข้าพระองค์เข้าไปหาเจ้าโคธาศากยะแล้วถามว่า ‘โคธา พระองค์ทรงทราบบุคคลผู้
ประกอบด้วยธรรมเท่าไรว่า ‘เป็นพระโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่
จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์ถามอย่างนี้แล้ว เจ้าโคธาศากยะได้ตรัส
ตอบว่า ‘มหานามะ หม่อมฉันทราบบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการว่า ‘เป็น
พระโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง
คือ พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า ‘พระ
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดี ฯลฯ เป็นนาบุญ
อันยอดเยี่ยมของโลก’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๓. สรณานิวรรค ๓. โคธสักกสูตร

หม่อมฉันทราบบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้ว่า ‘เป็นพระโสดาบัน
ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’ ส่วนพระองค์ทรง
ทราบบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรมเท่าไรว่า ‘เป็นพระโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มี
ความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเจ้าโคธาศากยะตรัสถามอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์ได้
ตอบเจ้าโคธาศากยะดังนี้ว่า ‘โคธา หม่อมฉันทราบบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔
ประการว่า ‘เป็นพระโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิใน
วันข้างหน้า’
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อ
สมาธิ
โคธา หม่อมฉันทราบบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้ว่า ‘เป็นพระ
โสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์ตอบอย่างนี้แล้ว เจ้าโคธาศากยะได้
ตรัสว่า ‘ช้าก่อน มหานามะ ช้าก่อน มหานามะ พระผู้มีพระภาคเท่านั้นพึงทรง
ทราบบุคคลนั้นว่าประกอบหรือไม่ประกอบด้วยธรรมเหล่านี้’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหตุการณ์๑บางอย่างเกิดขึ้นในพระธรรมวินัยนี้ โดย
ฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายพระผู้มีพระภาค อีกฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายภิกษุสงฆ์ ข้าพระองค์


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๓. สรณานิวรรค ๓. โคธสักกสูตร

เป็นฝ่ายพระผู้มีพระภาคเท่านั้น ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นผู้
เลื่อมใสอย่างนี้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้นในพระธรรมวินัยนี้ โดย
ฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายพระผู้มีพระภาค อีกฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายภิกษุสงฆ์ และภิกษุณีสงฆ์
ข้าพระองค์เป็นฝ่ายพระผู้มีพระภาคเท่านั้น ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระองค์
ว่าเป็นผู้เลื่อมใสอย่างนี้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้นในพระธรรมวินัยนี้ โดย
ฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายพระผู้มีพระภาค อีกฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายภิกษุสงฆ์ ภิกษุณีสงฆ์
และอุบาสกทั้งหลาย ข้าพระองค์เป็นฝ่ายพระผู้มีพระภาคเท่านั้น ขอพระผู้มีพระภาค
จงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นผู้เลื่อมใสอย่างนี้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้นในพระธรรมวินัยนี้ โดย
ฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายพระผู้มีพระภาค อีกฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายภิกษุสงฆ์ ภิกษุณีสงฆ์
อุบาสก และอุบาสิกาทั้งหลาย ข้าพระองค์เป็นฝ่ายพระผู้มีพระภาคเท่านั้น
ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นผู้เลื่อมใสอย่างนี้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้นในพระธรรมวินัยนี้ โดย
ฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายพระผู้มีพระภาค อีกฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายภิกษุสงฆ์ ภิกษุณีสงฆ์
อุบาสก อุบาสิกา ชาวโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อม
ทั้งสมณพรามหณ์ เทวดาและมนุษย์ ข้าพระองค์เป็นฝ่ายพระผู้มีพระภาคเท่านั้น
ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นผู้เลื่อมใสอย่างนี้”
พระผู้มีพระภาคตรัสกับเจ้าโคธาว่า “มหาบพิตร พระองค์จะตรัสอะไรกับเจ้า
มหานามศากยะผู้มีวาทะอย่างนี้”
เจ้าโคธาศากยะกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์มิได้กล่าว
อะไร ๆ กับเจ้ามหานามศากยะผู้มีวาทะอย่างนี้เลย นอกจากกัลยาณธรรม นอกจาก
กุศลธรรม”

โคธสักกสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๓. สรณานิวรรค ๔. ปฐมสรณานิสักกสูตร

๔. ปฐมสรณานิสักกสูตร
ว่าด้วยเจ้าศากยะพระนามว่าสรณานิ๑ สูตรที่ ๑

[๑๐๒๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงกบิลพัสดุ์
สมัยนั้น เจ้าศากยะพระนามว่าสรณานิสวรรคตแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ทรง
พยากรณ์ท้าวเธอว่า “เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จ
สัมโพธิในวันข้างหน้า” ได้ยินว่า ณ ที่นั้น เจ้าศากยะหลายพระองค์มาประชุมพร้อม
กันต่างตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ท่านทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคย
ปรากฏ บัดนี้ใครเล่า ณ ที่นี้จักไม่เป็นพระโสดาบัน เพราะเจ้าสรณานิศากยะ
สวรรคตแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ทรงพยากรณ์ท้าวเธอว่า ‘เป็นโสดาบัน ไม่มีทาง
ตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’ แต่เจ้าสรณานิศากยะถึง
ความท้อแท้ในสิกขา เสวยน้ำจัณฑ์”
ครั้งนั้น เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดัง
นี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เจ้าสรณานิศากยะสวรรคตแล้ว
พระผู้มีพระภาคได้ทรงพยากรณ์ท้าวเธอว่า ‘เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความ
แน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’ ได้ยินว่า ณ ที่นั้น เจ้าศากยะหลายพระ
องค์มาประชุมพร้อมกันต่างตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า ‘ท่านทั้งหลาย
น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ บัดนี้ใครเล่า ณ ที่นี้จักไม่เป็นพระโสดาบัน
เพราะเจ้าสรณานิศากยะสวรรคตแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ทรงพยากรณ์ท้าวเธอว่า
‘เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’ แต่
เจ้าสรณานิศากยะถึงความท้อแท้ในสิกขา เสวยน้ำจัณฑ์”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มหาบพิตร อุบาสกผู้ถึงพระพุทธ พระธรรม และ
พระสงฆ์เป็นสรณะตลอดกาลนาน จะถึงความตกต่ำได้อย่างไร บุคคลเมื่อจะกล่าว
ให้ถูกต้อง พึงกล่าวถึงอุบาสกนั้นใดว่า ‘เป็นผู้ถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๓. สรณานิวรรค ๔. ปฐมสรณานิสักกสูตร

เป็นสรณะตลอดกาลนาน’ บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง ก็พึงกล่าวถึงเจ้าศากยะ
พระนามว่าสรณานิว่า ‘เป็นอุบาสก ผู้ทรงถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์
เป็นสรณะตลอดกาลนาน’ พระองค์จะถึงความตกต่ำได้อย่างไร
มหาบพิตร บุคคลบางคนในโลกนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม
ฯลฯ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
มีหาสปัญญา (ปัญญาร่าเริง) มีชวนปัญญา (ปัญญาแล่นไป)
และถึงพร้อมด้วยวิมุตติ เขาทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
อันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่
ในปัจจุบัน แม้บุคคลนี้ก็พ้นจากนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ภูมิ
แห่งเปรต อบาย ทุคติ และวินิบาต
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม
ฯลฯ ในพระสงฆ์ ฯลฯ มีหาสปัญญา มีชวนปัญญา แต่ไม่
ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ เขาจึงเป็นโอปปาติกะ เพราะโอรัมภาคิย-
สังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวน
กลับมาจากโลกนั้นอีก แม้บุคคลนี้ก็พ้นจากนรก กำเนิดสัตว์
ดิรัจฉาน ภูมิแห่งเปรต อบาย ทุคติ และวินิบาต
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๓. สรณานิวรรค ๔. ปฐมสรณานิสักกสูตร

ฯลฯ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
ไม่มีหาสปัญญา ไม่มีชวนปัญญา ทั้งไม่ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ
เขาจึงเป็นพระสกทาคามี มาสู่โลกนี้อีกเพียงครั้งเดียว ก็จะทำ
ที่สุดแห่งทุกข์ได้ เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป เพราะ
บรรเทาราคะ โทสะ โมหะให้เบาบางได้ แม้บุคคลนี้ก็พ้นจากนรก
กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ภูมิแห่งเปรต อบาย ทุคติ และวินิบาต
๔. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม
ฯลฯ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นในพระสงฆ์ ฯลฯ
ไม่มีหาสปัญญา ไม่มีชวนปัญญา ทั้งไม่ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ
เขาจึงเป็นพระโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะ
สำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป
แม้บุคคลนี้ก็พ้นจากนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ภูมิแห่งเปรต
อบาย ทุคติ และวินิบาต
๕. ไม่ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ฯลฯ
ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ ไม่มี
หาสปัญญา ไม่มีชวนปัญญา ทั้งไม่ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ แต่เขา
มีธรรมเหล่านี้ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์
ปัญญินทรีย์ และธรรมทั้งหลายที่ตถาคตประกาศแล้ว ย่อม
ควรแก่การพิจารณาด้วยปัญญาโดยประมาณ แม้บุคคลนี้ก็ไม่ไป
สู่นรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ภูมิแห่งเปรต อบาย ทุคติ และ
วินิบาต
๖. ไม่ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ฯลฯ
ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ ไม่มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๓. สรณานิวรรค ๕. ทุติยสรณานิสักกสูตร

หาสปัญญา ไม่มีชวนปัญญา ทั้งไม่ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ แต่เขา
มีธรรมเหล่านี้ คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ และเขามี
ศรัทธาพอประมาณ ความรักพอประมาณในพระตถาคต แม้
บุคคลเหล่านี้ก็ไม่ไปสู่นรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ภูมิแห่งเปรต
อบาย ทุคติ และวินิบาต
มหาบพิตร แม้หากต้นสาละใหญ่เหล่านี้พึงรู้จักคำสุภาษิต คำทุพภาษิต
อาตมภาพก็จะพยากรณ์ต้นสาละใหญ่เหล่านี้ว่า ‘เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มี
ความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’ ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงเจ้าสรณานิศากยะ
เลย เพราะเจ้าสรณานิศากยะได้สมาทานสิกขาบทในเวลาจะสวรรคต”

ปฐมสรณานิสักกสูตรที่ ๔ จบ

๕. ทุติยสรณานิสักกสูตร
ว่าด้วยเจ้าศากยะพระนามว่าสรณานิ สูตรที่ ๒

[๑๐๒๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงกบิลพัสดุ์
สมัยนั้น เจ้าศากยะพระนามว่าสรณานิสวรรคตแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ทรง
พยากรณ์ท้าวเธอว่า “เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จ
สัมโพธิในวันข้างหน้า” ได้ยินว่า ณ ที่นั้น เจ้าศากยะหลายพระองค์มาประชุม
พร้อมกัน ต่างตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ท่านทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริง
ไม่เคยปรากฏ บัดนี้ใครเล่า ณ ที่นี้จักไม่เป็นพระโสดาบัน เพราะเจ้า
สรณานิศากยะสวรรคตแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ทรงพยากรณ์ท้าวเธอว่า ‘เป็น
โสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’ แต่เจ้า
สรณานิศากยะมิได้ทรงบำเพ็ญสิกขาให้บริบูรณ์”
ครั้งนั้น เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เจ้าสรณานิศากยะสวรรคตแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๓. สรณานิวรรค ๕. ทุติยสรณานิสักกสูตร

พระผู้มีพระภาคได้ทรงพยากรณ์ท้าวเธอว่า ‘เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความ
แน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’ ได้ยินว่า ณ ที่นั้น เจ้าศากยะหลาย
พระองค์มาประชุมพร้อมกัน ต่างตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า ‘ท่านทั้งหลาย
น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ บัดนี้ใครเล่า ณ ที่นี้จักไม่เป็นพระโสดาบัน เพราะ
เจ้าสรณานิศากยะสวรรคตแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ทรงพยากรณ์ท้าวเธอว่า ‘เป็น
โสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’ แต่เจ้า
สรณานิศากยะมิได้ทรงบำเพ็ญสิกขาให้บริบูรณ์”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มหาบพิตร อุบาสกผู้ถึงพระพุทธ พระธรรม และ
พระสงฆ์เป็นสรณะตลอดกาลนาน จะถึงความตกต่ำได้อย่างไร บุคคลเมื่อจะกล่าว
ให้ถูกต้อง พึงกล่าวถึงอุบาสกนั้นใดว่า ‘เป็นผู้ถึงพระพุทธ พระธรรม และ
พระสงฆ์เป็นสรณะตลอดกาลนาน’ บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง พึงกล่าวถึงเจ้า
สรณานิศากยะว่า ‘เป็นผู้ถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะตลอด
กาลนาน’ พระองค์จะถึงความตกต่ำได้อย่างไร
มหาบพิตร บุคคลบางคนในโลกนี้
๑. เป็นผู้มั่นคง เลื่อมใสยิ่งในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของเทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ เป็นผู้
มั่นคง เลื่อมใสยิ่งในพระธรรม ฯลฯ ในพระสงฆ์ ฯลฯ
มีหาสปัญญา มีชวนปัญญา และถึงพร้อมด้วยวิมุตติ เขาย่อม
ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะ
สิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน แม้บุคคลนี้
ก็พ้นจากนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ภูมิแห่งเปรต อบาย ทุคติ
และวินิบาต
๒. เป็นผู้มั่นคง เลื่อมใสยิ่งในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของเทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ เป็นผู้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๓. สรณานิวรรค ๕. ทุติยสรณานิสักกสูตร

มั่นคง เลื่อมใสยิ่งในพระธรรม ฯลฯ ในพระสงฆ์ ฯลฯ
มีหาสปัญญา มีชวนปัญญา แต่ไม่ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ เพราะ
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป เขาจึงเป็นพระอนาคามี
ผู้อันตราปรินิพพายี เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี
เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี เป็นพระอนาคามีผู้
สสังขารปรินิพพายี เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี
แม้บุคคลนี้ก็พ้นจากนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ภูมิแห่งเปรต
อบาย ทุคติ และวินิบาต
๓. เป็นผู้มั่นคง เลื่อมใสยิ่งในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของเทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ เป็นผู้
มั่นคง เลื่อมใสยิ่งในพระธรรม ฯลฯ ในพระสงฆ์ ฯลฯ ไม่มี
หาสปัญญา ไม่มีชวนปัญญา ทั้งไม่ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ เขาจึง
เป็นพระสกทาคามี เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป เพราะ
บรรเทาราคะ โทสะ และโมหะให้เบาบาง มาสู่โลกนี้อีกเพียงครั้ง
เดียวก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ แม้บุคคลนี้ก็พ้นจากนรก กำเนิด
สัตว์ดิรัจฉาน ภูมิแห่งเปรต อบาย ทุคติ และวินิบาต
๔. เป็นผู้มั่นคง เลื่อมใสยิ่งในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของเทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ เป็นผู้
มั่นคง เลื่อมใสยิ่งในพระธรรม ฯลฯ ในพระสงฆ์ ฯลฯ ไม่มี
หาสปัญญา ไม่มีชวนปัญญา ทั้งไม่ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ เขาจึง
เป็นพระโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จ
สัมโพธิในวันข้างหน้า เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป แม้บุคคล
นี้ก็พ้นจากนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ภูมิแห่งเปรต อบาย ทุคติ
และวินิบาต
๕. เป็นผู้มั่นคง เลื่อมใสยิ่งในพระพุทธเจ้า ฯลฯ ในพระธรรม ฯลฯ
ในพระสงฆ์ ฯลฯ ไม่มีหาสปัญญา ไม่มีชวนปัญญา ทั้งไม่ถึง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๓. สรณานิวรรค ๕. ทุติยสรณานิสักกสูตร

พร้อมด้วยวิมุตติ แต่เขามีธรรมเหล่านี้ คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ
ปัญญินทรีย์ และธรรมทั้งหลายที่ตถาคตประกาศ ย่อมควรแก่
การพิจารณาด้วยปัญญาโดยประมาณ แม้บุคคลนี้ก็ไม่ไปสู่นรก
กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ภูมิแห่งเปรต อบาย ทุคติ และวินิบาต
๖. เป็นผู้มั่นคง เลื่อมใสยิ่งในพระพุทธเจ้า ฯลฯ ในพระธรรม ฯลฯ
ในพระสงฆ์ ฯลฯ ไม่มีหาสปัญญา ไม่มีชวนปัญญา ทั้งไม่ถึง
พร้อมด้วยวิมุตติ แต่เขามีธรรมเหล่านี้ คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ
ปัญญินทรีย์ และเขามีศรัทธาพอประมาณ มีความรักพอ
ประมาณในพระตถาคต แม้บุคคลนี้ก็ไม่ไปสู่นรก กำเนิด
สัตว์ดิรัจฉาน ภูมิแห่งเปรต อบาย ทุคติ และวินิบาต
มหาบพิตร เปรียบเหมือนนาไม่ดี พื้นดินเสีย ไม่ได้ถอนตอ พืชก็หัก เน่าเสีย
ถูกลมและแดดทำลาย ไม่มีแก่นสาร เก็บไว้ไม่ดี ถึงฝนก็ตกลงมาไม่ดี พืชเหล่า
นั้นจะเจริญงอกงามเติบโตได้หรือไม่”
“ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“มหาบพิตร อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น ธรรมในศาสนานี้ที่กล่าวไม่ดี
ประกาศไม่ดี ไม่นำสัตว์ออกจากทุกข์ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบ ไม่ใช่พระสัมมาสัม
พุทธเจ้าประกาศ อาตมภาพกล่าวถึงเรื่องนี้ในเพราะนาไม่ดี และสาวกก็เป็น
ผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรมในธรรมนั้นอยู่
อาตมภาพกล่าวถึงเรื่องนี้ในเพราะพืชไม่ดี
มหาบพิตร เปรียบเหมือนนาดี พื้นดินดี ถอนตอแล้ว พืชก็ไม่หัก ไม่เน่าเสีย
ไม่ถูกลมและแดดทำลาย มีแก่นสาร เก็บไว้ดี และฝนก็ตกลงมาดี พืชเหล่านั้นจะ
เจริญงอกงามเติบโตได้หรือไม่”
“ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“มหาบพิตร อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น ธรรมในศาสนานี้ที่กล่าวดี
ประกาศดี นำสัตว์ออกจากทุกข์ เป็นไปเพื่อความสงบ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๓. สรณานิวรรค ๖. ปฐมอานาถปิณฑิกสูตร

ประกาศ อาตมภาพกล่าวถึงเรื่องนี้ในเพราะนาดี และสาวกก็เป็นผู้ปฏิบัติธรรม
สมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรมในธรรมนั้นอยู่ อาตมภาพกล่าว
ถึงเรื่องนี้ในเพราะพืชดี ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงเจ้าสรณานิศากยะเลย เพราะเจ้า
สรณานิศากยะได้ทรงบำเพ็ญสิกขาให้บริบูรณ์ในเวลาจะสวรรคต”

ทุติยสรณานิสักกสูตรที่ ๕ จบ

๖. ปฐมอนาถปิณฑิกสูตร
ว่าด้วยอนาถบิณฑิกคหบดี สูตรที่ ๑

[๑๐๒๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
สมัยนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ครั้งนั้น
ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีเรียกบุรุษคนหนึ่งมาสั่งว่า “มาเถิด พ่อมหาจำเริญ เจ้าจง
เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ กราบเท้าทั้งสองของท่านด้วยเศียรเกล้าตามคำ
ของเราว่า ‘พระคุณเจ้าผู้เจริญ ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก
ท่านขอกราบเท้าทั้งสองของพระคุณท่านด้วยเศียรเกล้า’ และเจ้าจงกราบเรียนอย่าง
นี้ว่า ‘ขอท่านพระสารีบุตรโปรดอนุเคราะห์เข้าไปเยี่ยมท่านอนาถบิณฑิกคหบดีถึง
นิเวศน์ด้วยเถิด”
บุรุษนั้นรับคำแล้ว เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ อภิวาทแล้ว นั่ง
ณ ที่สมควร ได้กราบเรียนท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า “พระคุณเจ้าผู้เจริญ ท่านอนาถ-
บิณฑิกคหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ท่านขอกราบเท้าทั้งสองของพระคุณ
ท่านด้วยเศียรเกล้า และฝากมากราบเรียนอย่างนี้ว่า ‘ขอท่านพระสารีบุตรโปรด
อนุเคราะห์เข้าไปเยี่ยมท่านอนาถบิณฑิกคหบดีถึงนิเวศน์ด้วยเถิด”
ท่านพระสารีบุตรรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ
ครั้นในเวลาเช้า ท่านพระสารีบุตรครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร มี
ท่านพระอานนท์เป็นปัจฉาสมณะ เข้าไปยังนิเวศน์ของท่านอนาถบิณฑิกคหบดี นั่ง
บนอาสนะที่ปูลาดไว้แล้วถามท่านอนาถบิณฑิกคหบดีดังนี้ว่า “คหบดี ท่านยัง
สบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ ทุกขเวทนาทุเลาลง ไม่กำเริบขึ้นหรือ อาการ
ทุเลาปรากฏ อาการกำเริบไม่ปรากฏหรือ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๓. สรณานิวรรค ๖. ปฐมอานาถปิณฑิกสูตร

ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีตอบว่า “กระผมไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้ ทุกขเวทนา
มีแต่กำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ อาการทุเลาไม่ปรากฏ
ขอรับ”
“คหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
๑. ประกอบด้วยความไม่เลื่อมใสเช่นใดในพระพุทธเจ้า หลังจากตาย
แล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ความไม่เลื่อมใส
เช่นนั้นในพระพุทธเจ้า ย่อมไม่มีแก่ท่าน เพราะท่านมีความ
เลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มี
พระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ ก็เมื่อท่าน
พิจารณาเห็นความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้านั้นว่ามี
อยู่ในตน เวทนาก็จะสงบระงับไปโดยพลัน
๒. ประกอบด้วยความไม่เลื่อมใสเช่นใดในพระธรรม หลังจากตาย
แล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ความไม่เลื่อมใส
เช่นนั้นในพระธรรม ย่อมไม่มีแก่ท่าน เพราะท่านมีความเลื่อมใส
อันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า ‘พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระ
ภาคตรัสไว้ดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน’ ก็เมื่อท่าน
พิจารณาเห็นความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมนั้นว่ามีอยู่
ในตน เวทนาก็จะสงบระงับไปโดยพลัน
๓. ประกอบด้วยความไม่เลื่อมใสเช่นใดในพระสงฆ์ หลังจากตาย
แล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ความไม่เลื่อมใส
เช่นนั้นในพระสงฆ์ ย่อมไม่มีแก่ท่าน เพราะท่านมีความเลื่อมใส
อันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า ‘พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระ
ภาคเป็นผู้ปฏิบัติดี ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก’ ก็
เมื่อท่านพิจารณาเห็นความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์นั้น
ว่ามีอยู่ในตน เวทนาก็จะสงบระงับไปโดยพลัน
๔. ประกอบด้วยความเป็นผู้ทุศีลเช่นใด หลังจากตายแล้วจะไปเกิด
ในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ความเป็นผู้ทุศีลเช่นนั้น ย่อม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๓. สรณานิวรรค ๖. ปฐมอานาถปิณฑิกสูตร

ไม่มีแก่ท่าน เพราะท่านมีศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ
เป็นไปเพื่อสมาธิ ก็เมื่อท่านพิจารณาเห็นศีลที่พระอริยะชอบใจ
นั้นว่ามีอยู่ในตน เวทนาก็จะสงบระงับไปโดยพลัน
๕. ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิเช่นใด หลังจากตายแล้วจะไปเกิด
ในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาทิฏฐิเช่นนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน
เพราะท่านมีสัมมาทิฏฐิ ก็เมื่อท่านพิจารณาเห็นสัมมาทิฏฐินั้น
ว่ามีอยู่ในตน เวทนาก็จะสงบระงับไปโดยพลัน
๖. ประกอบด้วยมิจฉาสังกัปปะเช่นใด หลังจากตายแล้วจะไปเกิด
ในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาสังกัปปะเช่นนั้น ย่อม
ไม่มีแก่ท่าน เพราะท่านมีสัมมาสังกัปปะ ก็เมื่อท่านพิจารณา
เห็นสัมมาสังกัปปะนั้นว่ามีอยู่ในตน เวทนาก็จะสงบระงับไป
โดยพลัน
๗. ประกอบด้วยมิจฉาวาจาเช่นใด หลังจากตายแล้วจะไปเกิด
ในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาวาจาเช่นนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน
เพราะท่านมีสัมมาวาจา ก็เมื่อท่านพิจารณาเห็นสัมมาวาจานั้นว่า
มีอยู่ในตน เวทนาก็จะสงบระงับไปโดยพลัน
๘. ประกอบด้วยมิจฉากัมมันตะเช่นใด หลังจากตายแล้วจะไปเกิด
ในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉากัมมันตะเช่นนั้น ย่อมไม่
มีแก่ท่าน เพราะท่านมีสัมมากัมมันตะ ก็เมื่อท่านพิจารณาเห็น
สัมมากัมมันตะนั้นว่ามีอยู่ในตน เวทนาก็จะสงบระงับไป
โดยพลัน
๙. ประกอบด้วยมิจฉาอาชีวะเช่นใด หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย
ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาอาชีวะเช่นนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน
เพราะท่านมีสัมมาอาชีวะ ก็เมื่อท่านพิจารณาเห็นสัมมาอาชีวะ
นั้นว่ามีอยู่ในตน เวทนาก็จะสงบระงับไปโดยพลัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๓. สรณานิวรรค ๖. ปฐมอานาถปิณฑิกสูตร

๑๐. ประกอบด้วยมิจฉาวายามะเช่นใด หลังจากตายแล้วจะไปเกิดใน
อบาย ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาวายามะเช่นนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน
เพราะท่านมีสัมมาวายามะ ก็เมื่อท่านพิจารณาเห็นสัมมาวายามะ
นั้นว่ามีอยู่ในตน เวทนาก็จะสงบระงับไปโดยพลัน
๑๑. ประกอบด้วยมิจฉาสติเช่นใด หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย
ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาสติเช่นนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน
เพราะท่านมีสัมมาสติ ก็ท่านพิจารณาเห็นสัมมาสตินั้นว่ามีอยู่ในตน
เวทนาก็จะสงบระงับไปโดยพลัน
๑๒. ประกอบด้วยมิจฉาสมาธิเช่นใด หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย
ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาสมาธิเช่นนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน
เพราะท่านมีสัมมาสมาธิ ก็เมื่อท่านพิจารณาเห็นสัมมาสมาธิ
นั้นว่ามีอยู่ในตน เวทนาก็จะสงบระงับไปโดยพลัน
๑๓. ประกอบด้วยมิจฉาญาณะเช่นใด หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย
ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาญาณะเช่นนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน
เพราะท่านมีสัมมาญาณะ ก็เมื่อท่านพิจารณาเห็นสัมมาญาณะ
นั้นว่ามีอยู่ในตน เวทนาก็จะสงบระงับไปโดยพลัน
๑๔. ประกอบด้วยมิจฉาวิมุตติเช่นใด หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย
ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาวิมุตติเช่นนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน เพราะท่าน
มีสัมมาวิมุตติ ก็เมื่อท่านพิจารณาเห็นสัมมาวิมุตติ
นั้นว่ามีอยู่ในตน เวทนาก็จะสงบระงับไปโดยพลัน”
ขณะนั้น เวทนาของท่านอนาถบิณฑิกคหบดีได้สงบระงับไปโดยพลัน ท่าน
อนาถบิณฑิกคหบดีอังคาสท่านพระสารีบุตรและท่านพระอานนท์ด้วยอาหารที่เขา
จัดไว้สำหรับตนแล้ว จึงเลือกนั่ง ณ ที่สมควรที่ใดที่หนึ่งซึ่งต่ำกว่า เมื่อท่านพระ
สารีบุตรฉันเสร็จวางมือจากบาตรแล้วจึงอนุโมทนาด้วยคาถาเหล่านี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๓. สรณานิวรรค ๗. ทุติยอนาถปิณฑิกสูตร

“ผู้ใดมีศรัทธาในพระตถาคตตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว
มีศีลอันงามที่พระอริยะชอบใจ(และ)สรรเสริญ
มีความเลื่อมใสในพระสงฆ์ และมีความเห็นตรง๑
บัณฑิตทั้งหลายเรียกผู้นั้นว่า เป็นคนไม่ขัดสน
ชีวิตของเขาก็ไม่สูญเปล่า
เพราะเหตุนั้น ผู้มีปัญญา
เมื่อระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ควรหมั่นประกอบศรัทธา ศีล
ความเลื่อมใส๒ และการเห็นธรรม๓”
ครั้นท่านพระสารีบุตรอนุโมทนาด้วยคาถาเหล่านี้แล้ว ก็ลุกจากอาสนะจากไป
ต่อมา ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “อานนท์
เธอมาจากที่ไหนแต่ยังวัน”
ท่านพระอานนท์ทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระสารีบุตรกล่าว
สอนท่านอนาถบิณฑิกคหบดีด้วยโอวาทนี้” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ สารีบุตร
เป็นบัณฑิต มีปัญญามาก ได้จำแนกองค์เครื่องบรรลุโสดาด้วยอาการ ๑๐ อย่าง”

ปฐมอนาถปิณฑิกสูตรที่ ๖ จบ

๗. ทุติยอนาถปิณฑิกสูตร
ว่าด้วยอนาถบิณฑิกคหบดี สูตรที่ ๒

[๑๐๒๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
สมัยนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ครั้งนั้น
ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีเรียกบุรุษคนหนึ่งมาสั่งว่า “มาเถิด พ่อมหาจำเริญ เจ้าจง


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๓. สรณานิวรรค ๗. ทุติยอนาถปิณฑิกสูตร

เข้าไปหาท่านพระอานนท์ กราบเท้าทั้งสองของท่านด้วยเศียรเกล้าตามคำของเราว่า
‘พระคุณเจ้าผู้เจริญ ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ท่าน
ขอกราบเท้าทั้งสองของพระคุณท่านด้วยเศียรเกล้า’ และเจ้าจงกราบเรียนอย่างนี้ว่า
‘ขอท่านพระอานนท์โปรดอนุเคราะห์เข้าไปเยี่ยมท่านอนาถบิณฑิกคหบดีถึงนิเวศน์
ด้วยเถิด”
บุรุษนั้นรับคำของท่านอนาถบิณฑิกคหบดีแล้ว เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึง
ที่อยู่ อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบเรียนท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า
“พระคุณเจ้าผู้เจริญ อนาถบิณฑิกคหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ท่านขอ
กราบเท้าทั้งสองของพระคุณท่านด้วยเศียรเกล้า และฝากมากราบเรียนอย่างนี้ว่า
‘ขอท่านพระอานนท์โปรดอนุเคราะห์เข้าไปเยี่ยมท่านอนาถบิณฑิกคหบดีถึงนิเวศน์
ด้วยเถิด”
ท่านพระอานนท์รับนิมนต์โดยดุษณีภาพ
ครั้นในเวลาเช้า ท่านพระอานนท์ครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร เข้าไป
ยังนิเวศน์ของท่านอนาถบิณฑิกคหบดี นั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้แล้วถามอนาถ-
บิณฑิกคหบดีดังนี้ว่า “คหบดี ท่านยังสบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ ทุกข-
เวทนาทุเลาลง ไม่กำเริบขึ้นหรือ อาการทุเลาปรากฏ อาการกำเริบไม่ปรากฏหรือ”
ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีตอบว่า “กระผมไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้ ทุกข-
เวทนามีแต่กำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ อาการทุเลาไม่
ปรากฏขอรับ”
“คหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมสะดุ้ง
หวาดหวั่น กลัวความตายที่จะมาถึงภายหน้า
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้
๑. ประกอบด้วยความไม่เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ก็เมื่อเขาพิจารณา
เห็นความไม่เลื่อมใสในพระพุทธเจ้านั้นว่ามีอยู่ในตน ย่อมสะดุ้ง
หวาดหวั่น กลัวความตายที่จะมาถึงภายหน้า
๒. ประกอบด้วยความไม่เลื่อมใสในพระธรรม ก็เมื่อเขาพิจารณา
เห็นความไม่เลื่อมใสในพระธรรมนั้นว่ามีอยู่ในตน ย่อมสะดุ้ง
หวาดหวั่น กลัวความตายที่จะมาถึงภายหน้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๓. สรณานิวรรค ๗. ทุติยอนาถปิณฑิกสูตร

๓. ประกอบด้วยความไม่เลื่อมใสในพระสงฆ์ ก็เมื่อเขาพิจารณาเห็น
ความไม่เลื่อมใสในพระสงฆ์นั้นว่ามีอยู่ในตน ย่อมสะดุ้ง หวาดหวั่น
กลัวความตายที่จะมาถึงภายหน้า
๔. ประกอบด้วยความทุศีล ก็เมื่อเขาพิจารณาเห็นความทุศีลนั้นว่า
มีอยู่ในตน ย่อมสะดุ้ง หวาดหวั่น กลัวความตายที่จะมาถึง
ภายหน้า
คหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้ ย่อมสะดุ้ง
หวาดหวั่น กลัวความตายที่จะมาถึงภายหน้า
อริยสาวกผู้ได้สดับ ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมไม่สะดุ้ง ไม่หวาด
หวั่น ไม่กลัวความตายที่จะมาถึงภายหน้า
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ พระอริยสาวกผู้ได้สดับในพระธรรมวินัยนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’ ก็เมื่อท่านพิจารณาเห็นความเลื่อมใสอันไม่ หวั่นไหว
ในพระพุทธเจ้านั้นว่ามีอยู่ในตน ย่อมไม่สะดุ้ง ไม่หวาดหวั่น
ไม่กลัวความตายที่จะมาถึงภายหน้า
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า ‘พระธรรม
เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชนพึงรู้
เฉพาะตน’ ก็เมื่อท่านพิจารณาเห็นความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว
ในพระธรรมนั้นว่ามีอยู่ในตน ย่อมไม่สะดุ้ง ไม่หวาดหวั่น ไม่
กลัวความตายที่จะมาถึงภายหน้า
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า ‘พระ
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดี ฯลฯ เป็นนาบุญ
อันยอดเยี่ยมของโลก’ ก็เมื่อท่านพิจารณาเห็นความเลื่อมใส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๓. สรณานิวรรค ๘. ปฐมภยเวรูปสันตสูตร

อันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์นั้นว่ามีอยู่ในตน ย่อมไม่สะดุ้ง ไม่
หวาดหวั่น ไม่กลัวความตายที่จะมาถึงภายหน้า
๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อ
สมาธิ ก็เมื่อท่านพิจารณาเห็นศีลที่พระอริยะชอบใจนั้นว่ามีอยู่ในตน
ย่อมไม่สะดุ้ง ไม่หวาดหวั่น ไม่กลัวความตายที่จะมาถึงภายหน้า
คหบดี พระอริยสาวกผู้ได้สดับ ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้ ย่อมไม่สะดุ้ง
ไม่หวาดหวั่น ไม่กลัวความตายที่จะมาถึงภายหน้า
ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีกล่าวว่า “ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ ผมไม่กลัว ผม
จักกล่าวอะไร เพราะผม
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของ
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า ‘พระ
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดี ฯลฯ เป็นนาบุญ
อันยอดเยี่ยมของโลก’
๔. สิกขาบทเหล่าใดซึ่งสมควรแก่คฤหัสถ์ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้
ผมยังไม่เห็นสิกขาบทเหล่านั้นในตนสักข้อว่าขาดไป”
“คหบดี เป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้ว โสดาปัตติผลท่านทำให้แจ้งแล้ว”

ทุติยอนาถปิณฑิกสูตรที่ ๗ จบ

๘. ปฐมภยเวรูปสันตสูตร
ว่าด้วยอริยสาวกระงับภัยเวร สูตรที่ ๑

[๑๐๒๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านอนาถบิณฑิกคหบดีผู้นั่ง ณ ที่สมควรว่า
“คหบดี เมื่อใด อริยสาวกระงับภัยเวร ๕ ประการได้แล้ว ประกอบด้วยองค์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๓. สรณานิวรรค ๘. ปฐมภยเวรูปสันตสูตร

เครื่องบรรลุโสดา ๔ ประการ และเห็นแจ้งแทงตลอดอริยญายธรรม๑ด้วยปัญญาแล้ว
เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นเมื่อหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนเองได้ว่า ‘เรามีนรกสิ้นแล้ว
มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีภูมิแห่งเปรตสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ และวินิบาต
สิ้นแล้ว เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า
อริยสาวกระงับภัยเวร ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ฆ่าสัตว์ เพราะการฆ่าสัตว์เป็นปัจจัย จึงประสบภัยเวรที่
เป็นไปในปัจจุบันบ้าง ในสัมปรายภพบ้าง เสวยทุกข์โทมนัส
ทางใจบ้าง บุคคลผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์แล้ว ย่อมระงับภัย
เวรนั้นได้อย่างนี้
๒. บุคคลผู้ลักทรัพย์ ฯลฯ
๓. บุคคลผู้ประพฤติผิดในกาม ฯลฯ
๔. บุคคลผู้พูดเท็จ ฯลฯ
๕. บุคคลผู้เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความ
ประมาท เพราะการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุ
แห่งความประมาทเป็นปัจจัย จึงประสบภัยเวรที่เป็นไปใน
ปัจจุบันบ้าง ในสัมปรายภพบ้าง เสวยทุกข์โทมนัสทางใจบ้าง
บุคคลผู้เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็น
เหตุแห่งความประมาทแล้ว ย่อมระงับภัยเวรนั้นได้อย่างนี้
อริยสาวกระงับภัยเวร ๕ ประการนี้
อริยสาวกประกอบด้วยองค์เครื่องบรรลุโสดา ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของ
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๓. สรณานิวรรค ๘. ปฐมภยเวรูปสันตสูตร

๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อ
สมาธิ
อริยสาวกประกอบด้วยองค์เครื่องบรรลุโสดา ๔ ประการนี้
อริยสาวกนั้นเห็นแจ้งแทงตลอดอริยญายธรรมด้วยปัญญา เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้มนสิการโดยแยบคายด้วยดี ซึ่งปฏิจจสมุปบาท
คือ เมื่อเหตุ (มีอวิชชาเป็นต้น) นี้มี ผล (มีสังขารเป็นต้น)นี้จึงมี เพราะสหชาตปัจจัย
นี้เกิด ผลนี้จึงเกิด เมื่อเหตุนี้ไม่มี ผลนี้จึงไม่มี เพราะเหตุนี้ดับ ผลนี้จึงดับ คือ
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
ฯลฯ
ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้มีได้ด้วยประการฉะนี้
เพราะอวิชชาดับไม่เหลือด้วยวิราคะ สังขารจึงดับ
ฯลฯ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้มีได้ด้วยประการฉะนี้
อริยสาวกนั้นเห็นแจ้งแทงตลอดอริยญายธรรมด้วยปัญญา เป็นอย่างนี้แล
เมื่อใด อริยสาวกระงับภัยเวร ๕ ประการนี้ ประกอบด้วยองค์เครื่องบรรลุ
โสดา ๔ ประการนี้ และเห็นแจ้งแทงตลอดอริยญายธรรมด้วยปัญญาแล้ว เมื่อนั้น
อริยสาวกนั้น เมื่อหวังอยู่ พึงพยายากรณ์ตนเองได้ว่า ‘เรามีนรกสิ้นแล้ว มี
กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีภูมิแห่งเปรตสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ และวินิบาต
สิ้นแล้ว เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวัน
ข้างหน้า”๑

ปฐมภยเวรูปสันตสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๓. สรณานิวรรค ๑๐. นันทกลิจฉวิสูตร

๙. ทุติยภยเวรูปสันตสูตร
ว่าด้วยอริยสาวกระงับภัยเวร สูตรที่ ๒

[๑๐๒๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด อริยสาวกระงับภัยเวร ๕ ประการนี้ ประกอบด้วย
องค์เครื่องบรรลุโสดา ๔ ประการนี้ และเห็นแจ้งแทงตลอดอริยญายธรรมด้วยปัญญา
แล้ว เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นเมื่อหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนเองได้ว่า ‘เรามีนรกสิ้นแล้ว
มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีภูมิแห่งเปรตสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ และวินิบาตสิ้น
แล้ว เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”

ทุติยภยเวรูปสันตสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. นันทกลิจฉวิสูตร
ว่าด้วยมหาอำมาตย์ของเจ้าลิจฉวี ชื่อนันทกะ

[๑๐๒๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน
เขตกรุงเวสาลี ครั้งนั้น มหาอำมาตย์ของเจ้าลิจฉวี ชื่อนันทกะ เข้าไปเฝ้าพระ
ผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้
ตรัสถามมหาอำมาตย์ของเจ้าลิจฉวี ชื่อนันทกะดังนี้ว่า
“นันทกะ อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็นโสดาบัน ไม่มี
ทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระ
ผู้มีพระภาค’
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๓. สรณานิวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อ
สมาธิ
นันทกะ อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้ เป็นโสดาบัน ไม่มี
ทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า
อนึ่ง อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วย
อายุทั้งที่เป็นทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์ เป็นผู้ประกอบด้วยวรรณะทั้งที่เป็นทิพย์
ทั้งที่เป็นของมนุษย์ เป็นผู้ประกอบด้วยสุขทั้งที่เป็นทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์ เป็น
ผู้ประกอบด้วยยศทั้งที่เป็นทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์ เป็นผู้ประกอบด้วยความเป็น
ใหญ่ทั้งที่เป็นทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์
นันทกะ ก็เราได้ฟังสมณะหรือพราหมณ์อื่น จึงกล่าวเรื่องนั้นหามิได้ แต่เรา
รู้เอง เห็นเอง ทราบเอง จึงกล่าวเรื่องนั้น”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว บุรุษคนหนึ่งได้กล่าวกับมหาอำมาตย์
ของเจ้าลิจฉวี ชื่อนันทกะว่า “ถึงเวลาอาบน้ำแล้ว ขอรับ” มหาอำมาตย์ของ
เจ้าลิจฉวี ชื่อนันทกะกล่าวว่า “นาย บัดนี้ เรายังไม่ต้องการอาบน้ำภายนอก
ต้องการอาบน้ำภายใน คือความเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาค”

นันทกลิจฉวิสูตรที่ ๑๐ จบ
สรณานิวรรคที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมมหานามสูตร ๒. ทุติยมหานามสูตร
๓. โคธสักกสูตร ๔. ปฐมสรณานิสักกสูตร
๕. ทุติยสรณานิสักกสูตร ๖. ปฐมอนาถปิณฑิกสูตร
๗. ทุติยอนาถปิณฑิกสูตร ๘. ปฐมภยเวรูปสันตสูตร
๙. ทุติยภยเวรูปสันตสูตร ๑๐. นันทกลิจฉวิสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๔. ปุญญาภิสันทวรรค ๑. ปฐมปุญญาภิสันทสูตร

๔. ปุญญาภิสันทวรรค
หมวดว่าด้วยห้วงบุญกุศล
๑. ปฐมปุญญาภิสันทสูตร
ว่าด้วยห้วงบุญกุศล สูตรที่ ๑

[๑๐๒๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญกุศล๑ ๔ ประการนี้ นำสุข
มาให้
ห้วงบุญกุศล ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’ นี้เป็นห้วงบุญกุศลนำสุขมาให้ประการที่ ๑
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า ‘พระธรรม
เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชนพึงรู้
เฉพาะตน’ นี้เป็นห้วงบุญกุศลนำสุขมาให้ประการที่ ๒
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า ‘พระสงฆ์
สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดี ฯลฯ เป็นนาบุญอัน
ยอดเยี่ยมของโลก’ นี้เป็นห้วงบุญกุศลนำสุขมาให้ประการที่ ๓
๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อ
สมาธิ นี้เป็นห้วงบุญกุศลนำสุขมาให้ประการที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญกุศลนำสุขมาให้ ๔ ประการนี้”

ปฐมปุญญาภิสันทสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๔. ปุญญาภิสันทวรรค ๓. ตติยปุญญาภิสันทสูตร

๒. ทุติยปุญญาภิสันทสูตร
ว่าด้วยห้วงบุญกุศล สูตรที่ ๒

[๑๐๒๘] “ภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญกุศลนำสุขมาให้ ๔ ประการนี้
ห้วงบุญกุศล ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’ นี้เป็นห้วงบุญกุศลนำสุขมาให้ประการที่ ๑
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน มีจาคะอันสละแล้ว
มีฝ่ามือชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการให้ทาน
และการแจกทาน อยู่ครองเรือน นี้เป็นห้วงบุญกุศลนำสุขมาให้
ประการที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญกุศลนำสุขมาให้ ๔ ประการนี้”

ทุติยปุญญาภิสันทสูตรที่ ๒ จบ

๓. ตติยปุญญาภิสันทสูตร
ว่าด้วยห้วงบุญกุศล สูตรที่ ๓

[๑๐๒๙] “ภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญกุศลนำสุขมาให้ ๔ ประการนี้
ห้วงบุญกุศล ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๔. ปุญญาภิสันทวรรค ๔. ปฐมเทวปทสูตร

ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’ นี้เป็นห้วงบุญกุศลนำสุขมาให้ประการที่ ๑
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาเห็นทั้ง
ความเกิด และความดับ อันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึง
ความสิ้นทุกข์โดยชอบ นี้เป็นห้วงบุญกุศลนำสุขมาให้ประการ
ที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญกุศลนำสุขมาให้ ๔ ประการนี้”

ตติยปุญญาภิสันทสูตรที่ ๓ จบ

๔. ปฐมเทวปทสูตร
ว่าด้วยเทวบท สูตรที่ ๑

[๑๐๓๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เทวบท (ข้อปฏิบัติของเทพ) ของเทพ๑ ทั้งหลาย ๔ ประการนี้
ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่บริสุทธิ์ เพื่อความผ่องแผ้วของ
สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่ผ่องแผ้ว
เทวบท ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’ นี้เป็นเทวบทของเทพทั้งหลาย ย่อมเป็นไปเพื่อความ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๔. ปุญญาภิสันทวรรค ๕. ทุติยเทวปทสูตร

บริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่บริสุทธิ์ เพื่อความผ่องแผ้วของ
สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่ผ่องแผ้วประการที่ ๑
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ
นี้เป็นเทวบทของเทพทั้งหลาย ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์ของ
สัตว์ทั้งหลาย ผู้ไม่บริสุทธิ์ เพื่อความผ่องแผ้วของสัตว์ทั้งหลาย
ผู้ไม่ผ่องแผ้วประการที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย เทวบทของเทพทั้งหลาย ๔ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อ
ความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่บริสุทธิ์ เพื่อความผ่องแผ้วของสัตว์ทั้งหลายผู้
ไม่ผ่องแผ้ว”

ปฐมเทวปทสูตรที่ ๔ จบ

๕. ทุติยเทวปทสูตร
ว่าด้วยเทวบท สูตรที่ ๒

[๑๐๓๑] “ภิกษุทั้งหลาย เทวบทของเทพทั้งหลาย ๔ ประการนี้ ย่อมเป็น
ไปเพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่บริสุทธิ์ เพื่อความผ่องแผ้วของสัตว์
ทั้งหลายผู้ไม่ผ่องแผ้ว
เทวบท ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’ อริยสาวกนั้นพิจารณาดังนี้ว่า ‘อะไรหนอเป็นเทวบท
ของเทพทั้งหลาย’ เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘เราได้ยินในบัดนี้ว่า
เทพทั้งหลายมีความไม่เบียดเบียนเป็นอย่างยิ่ง เราก็มิได้
เบียดเบียนใคร ๆ ไม่ว่าผู้สะดุ้งหรือมั่นคง เราเป็นผู้ประกอบ
ด้วยธรรมคือเทวบทอยู่แน่แท้ นี้เป็นเทวบทของเทพทั้งหลาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๔. ปุญญาภิสันทวรรค ๖. เทวสภาคสูตร

ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่บริสุทธิ์ เพื่อความ
ผ่องแผ้วของสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่ผ่องแผ้วประการที่ ๑
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อ
สมาธิ อริยสาวกนั้นพิจารณาดังนี้ว่า ‘อะไรหนอเป็นเทวบท
ของเทพทั้งหลาย’ เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘เราได้ยินในบัดนี้ว่า
เทพทั้งหลายมีความไม่เบียดเบียนเป็นอย่างยิ่ง เราก็มิได้
เบียดเบียนใคร ๆ ไม่ว่าผู้สะดุ้งหรือมั่นคง เราเป็นผู้ประกอบ
ด้วยธรรมคือ เทวบทอยู่แน่แท้’ นี้เป็นเทวบทของเทพทั้งหลาย
ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่บริสุทธิ์ เพื่อ
ความผ่องแผ้วของสัตว์ทั้งหลาย ผู้ไม่ผ่องแผ้วประการที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย เทวบทของเทพทั้งหลาย ๔ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อ
ความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่บริสุทธิ์ เพื่อความผ่องแผ้วของสัตว์ทั้งหลาย
ผู้ไม่ผ่องแผ้ว”

ทุติยเทวปทสูตรที่ ๕ จบ

๖. เทวสภาคสูตร
ว่าด้วยผู้มีธรรมมาสู่เทวสภา

[๑๐๓๒] “ภิกษุทั้งหลาย เทพทั้งหลายปลื้มใจกล่าวถึงบุคคลผู้ประกอบด้วย
ธรรม ๔ ประการ ซึ่งมาในที่ประชุม(ของเทพ)
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’ เทพทั้งหลายผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๔. ปุญญาภิสันทวรรค ๗. มหานามสูตร

ไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า จุติจากภพนี้แล้ว ไปเกิดในภพนั้น
คิดว่า ‘พวกเราประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวเช่นใด
ในพระพุทธเจ้า จึงจุติจากภพนั้นแล้ว มาเกิดในที่นี้ แม้อริยสาวก
ผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวเช่นนั้นในพระพุทธเจ้า
ก็ไปเกิดในสำนักเทพทั้งหลาย ได้รับคำเชื้อเชิญว่ามาเถิด
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อ
สมาธิ เทพทั้งหลายผู้ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ จุติ
จากภพนี้แล้ว ไปเกิดในภพนั้นคิดว่า ‘พวกเราประกอบด้วยศีล
ที่พระอริยะชอบใจเช่นใด จุติจากภพนั้นแล้ว มาเกิดในที่นี้ แม้
อริยสาวกผู้ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจเช่นนั้น ก็ไปเกิด
ในสำนักของเทพทั้งหลาย ได้รับคำเชื้อเชิญว่ามาเถิด’
ภิกษุทั้งหลาย เทพทั้งหลายปลื้มใจ กล่าวถึงบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔
ประการนี้ ซึ่งมาในที่ประชุม(ของเทพ)”

เทวสภาคสูตรที่ ๖ จบ

๗. มหานามสูตร
ว่าด้วยเจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะ

[๑๐๓๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตกรุง
กบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้น เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะเสด็จเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถาม
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร บุคคลจึงชื่อว่า
เป็นอุบาสก”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “มหาบพิตร บุคคลถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ
ถึงพระธรรมเป็นสรณะ และถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ บุคคลจึง
ชื่อว่าเป็นอุบาสก”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๔. ปุญญาภิสันทวรรค ๗. มหานามสูตร

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนึ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่าไร อุบาสกจึงชื่อว่าเป็นผู้ถึง
พร้อมด้วยศีล”
“มหาบพิตร อุบาสกเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์
เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ และเว้นขาดจากการ
เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท ด้วยเหตุเพียงเท่านี้
อุบาสกจึงชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนึ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่าไร อุบาสกจึงชื่อว่าเป็นผู้ถึง
พร้อมด้วยศรัทธา”
“มหาบพิตร อุบาสกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของ
ตถาคตว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของ
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ ด้วยเหตุเพียง
เท่านี้ อุบาสกจึงชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนึ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่าไร อุบาสกจึงชื่อว่าเป็นผู้ถึง
พร้อมด้วยจาคะ”
“มหาบพิตร อุบาสกในธรรมวินัยนี้มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน
มีจาคะอันสละแล้ว มีฝ่ามือชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการให้
ทานและการแจกทาน อยู่ครองเรือน ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อุบาสกจึงชื่อว่าเป็นผู้ถึง
พร้อมด้วยจาคะ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนึ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่าไร อุบาสกจึงชื่อว่าเป็นผู้ถึง
พร้อมด้วยปัญญา”
“มหาบพิตร อุบาสกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเป็น
เครื่องพิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับ อันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึง
ความสิ้นทุกข์โดยชอบ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อุบาสกจึงชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา”

มหานามสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๔. ปุญญาภิสันทวรรค ๙. กาฬิโคธสูตร

๘. วัสสสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยฝนตก

[๑๐๓๔] “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อฝนเม็ดใหญ่ตกบนยอดภูเขา น้ำนั้นไหลไป
ตามที่ลุ่ม ทำซอกเขา ลำธาร และห้วยให้เต็ม ซอกเขา ลำธาร และห้วยเต็มแล้ว
ทำหนองให้เต็ม หนองเต็มแล้ว ทำบึงให้เต็ม บึงเต็มแล้ว ทำแม่น้ำน้อยให้เต็ม
แม่น้ำน้อยเต็มแล้ว ทำแม่น้ำใหญ่ให้เต็ม แม่น้ำใหญ่เต็มแล้ว ก็ทำมหาสมุทรให้เต็ม
แม้ฉันใด ธรรมเหล่านี้ของอริยสาวก คือ ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า
ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์
และศีลที่พระอริยะชอบใจ ไหลไปถึงฝั่งแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน”

วัสสสูตรที่ ๘ จบ

๙. กาฬิโคธสูตร
ว่าด้วยพระนางสากิยานีพระนามว่ากาฬิโคธา

[๑๐๓๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตกรุง
กบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้นในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก
ทรงถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของพระนางสากิยานีพระนามว่ากาฬิโคธา
ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว พระนางกาฬิโคธาสากิยานีเสด็จเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มี
พระภาคได้ตรัสกับพระนางกาฬิโคธาสากิยานีดังนี้ว่า
“โคธา อริยสาวิกาผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็นโสดาบัน ไม่มี
ทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ อริยสาวิกาในธรรมวินัยนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า “แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของ
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๔. ปุญญาภิสันทวรรค ๑๐. นันทิยสักกสูตร

๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน มีจาคะอันสละแล้ว
มีฝ่ามือชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการให้ทาน
และการแจกทาน อยู่ครองเรือน
โคธา อริยสาวิกาผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้ เป็นโสดาบัน ไม่มี
ทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
พระนางกาฬิโคธาสากิยานีกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ องค์เครื่อง
บรรลุโสดา ๔ ประการนี้ที่พระองค์ทรงแสดงไว้ ธรรม(คือองค์เครื่องบรรลุโสดา)
เหล่านั้นมีอยู่ในหม่อมฉัน และหม่อมฉันก็เห็นธรรมเหล่านั้น เพราะว่าหม่อมฉัน
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของ
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
อนึ่ง ไทยธรรมทุกอย่างในตระกูล เป็นของไม่แบ่งแยกกับท่านผู้มีศีล มีธรรม
อันงาม”
“โคธา เป็นลาภของเธอ เธอได้ดีแล้ว โสดาปัตติผลเธอทำให้แจ้งแล้ว”

กาฬิโคธาสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. นันทิยสักกสูตร
ว่าด้วยเจ้าศากยะพระนามว่านันทิยะ

[๑๐๓๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตกรุง
กบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้น เจ้าศากยะพระนามว่านันทิยะเสด็จเข้าไปเฝ้าพระ
ผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๔. ปุญญาภิสันทวรรค ๑๐. นันทิยสักกสูตร

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระอริยสาวกใด ไม่มีองค์เครื่องบรรลุโสดา ๔ ประการ
โดยประการทั้งปวง พระอริยสาวกนั้นชื่อว่าอยู่ด้วยความประมาทหนอ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “นันทิยะ บุคคลใด ไม่มีองค์เครื่องบรรลุโสดา ๔
ประการ โดยประการทั้งปวง เราเรียกบุคคลนั้นว่า เป็นผู้เหินห่าง ตั้งอยู่ในฝ่าย
ปุถุชน อนึ่ง อริยสาวกเป็นผู้อยู่ด้วยความประมาท และอยู่ด้วยความไม่ประมาท
โดยวิธีใด ท่านจงฟัง จงใส่ใจวิธีนั้นให้ดี เราจักกล่าว” เจ้านันทิยศากยะทูล
รับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า
“นันทิยะ อริยสาวกผู้อยู่ด้วยความประมาท เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’ อริยสาวกพอใจด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว
ในพระพุทธเจ้านั้น ไม่พยายามให้ยิ่งขึ้นไปเพื่อความสงัดในกลางวัน
เพื่อหลีกเร้นในกลางคืน เมื่ออริยสาวกเป็นผู้ประมาทอยู่อย่างนี้
ย่อมไม่มีปราโมทย์ เมื่อไม่มีปราโมทย์ ก็ไม่มีปีติ เมื่อไม่มีปีติ
ก็ไม่มีปัสสัทธิ เมื่อไม่มีปัสสัทธิ ก็อยู่เป็นทุกข์ จิตของผู้มีทุกข์
ย่อมไม่ตั้งมั่น เมื่อจิตไม่ตั้งมั่น ธรรมทั้งหลายก็ไม่ปรากฏ
เพราะธรรมทั้งหลายไม่ปรากฏ จึงนับว่าเป็นผู้อยู่ด้วยความ
ประมาทโดยแท้
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อ
สมาธิ อริยสาวกพอใจด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจนั้น ไม่พยายาม
ให้ยิ่งขึ้นไปเพื่อความสงัดในกลางวัน เพื่อหลีกเร้นในกลางคืน
เมื่ออริยสาวกเป็นผู้ประมาทอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มีปราโมทย์ เมื่อ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๔. ปุญญาภิสันทวรรค ๑๐. นันทิยสักกสูตร

ไม่มีปราโมทย์ ก็ไม่มีปีติ เมื่อไม่มีปีติ ก็ไม่มีปัสสัทธิ เมื่อไม่มี
ปัสสัทธิ ก็อยู่เป็นทุกข์ จิตของผู้มีทุกข์ย่อมไม่ตั้งมั่น เมื่อจิตไม่
ตั้งมั่น ธรรมทั้งหลายก็ไม่ปรากฏ เพราะธรรมทั้งหลายไม่ปรากฏ
จึงนับว่าเป็นผู้อยู่ด้วยความประมาทโดยแท้
นันทิยะ อริยสาวกผู้อยู่ด้วยความประมาท เป็นอย่างนี้แล
อริยสาวกผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’ อริยสาวกไม่พอใจด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว
ในพระพุทธเจ้านั้น พยายามให้ยิ่งขึ้นไปเพื่อความสงัดในกลางวัน
เพื่อหลีกเร้นในกลางคืน เมื่ออริยสาวกเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่
อย่างนี้ ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อปราโมทย์เกิดแล้ว ปีติย่อมเกิด
เมื่อใจมีปีติ กายย่อมระงับ ผู้มีกายระงับย่อมเสวยสุข จิตของ
ผู้มีสุขย่อมตั้งมั่น เมื่อจิตตั้งมั่น ธรรมทั้งหลายก็ปรากฏ
เพราะธรรมทั้งหลายปรากฏ จึงนับว่าเป็นผู้อยู่ด้วยความไม่
ประมาทโดยแท้
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อ
สมาธิ อริยสาวกไม่พอใจด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ พยายาม
ให้ยิ่งขึ้นไป เพื่อความสงัดในกลางวัน เพื่อหลีกเร้นในกลางคืน
เมื่ออริยสาวกเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่อย่างนี้ ปราโมทย์ย่อมเกิด
เมื่อปราโมทย์เกิดแล้ว ปีติย่อมเกิด เมื่อใจมีปีติ กายย่อมระงับ
ผู้มีกายระงับย่อมเสวยสุข จิตของผู้มีสุขย่อมตั้งมั่น เมื่อจิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๔. ปุญญาภิสันทวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ตั้งมั่น ธรรมทั้งหลายก็ปรากฏ เพราะธรรมทั้งหลายปรากฏ
จึงนับว่าเป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาทโดยแท้
นันทิยะ อริยสาวกผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท เป็นอย่างนี้แล”

นันทิยสักกสูตรที่ ๑๐ จบ
ปุญญาภิสันทวรรคที่ ๔ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมปุญญาภิสันทสูตร ๒. ทุติยปุญญาภิสันทสูตร
๓. ตติยปุญญาภิสันทสูตร ๔. ปฐมเทวปทสูตร
๕. ทุติยเทวปทสูตร ๖. เทวสภาคสูตร
๗. มหานามสูตร ๘. วัสสสูตร
๙. กาฬิโคธสูตร ๑๐. นันทิยสักกสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๕. สคาถกปุญญภิสันทวรรค ๑. ปฐมอภิสันทสูตร

๕. สคาถกปุญญาภิสันทวรรค
หมวดว่าด้วยห้วงบุญกุศลที่มีคาถาปน
๑. ปฐมอภิสันทสูตร
ว่าด้วยห้วงบุญกุศล สูตรที่ ๑

[๑๐๓๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญกุศลนำสุขมาให้ ๔
ประการนี้
ห้วงบุญกุศล ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’ นี้เป็นห้วงบุญกุศลนำสุขมาให้ประการที่ ๑
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อ
สมาธิ นี้เป็นห้วงบุญกุศลนำสุขมาให้ประการที่ ๔
ห้วงบุญกุศลนำสุขมาให้ ๔ ประการนี้
การที่จะกำหนดประมาณบุญของอริยสาวกผู้ประกอบด้วยห้วงบุญกุศล ๔
ประการนี้ว่า ‘ห้วงบุญกุศลมีประมาณเท่านี้ นำสุขมาให้’ ดังนี้ ไม่ใช่จะทำได้ง่าย
แท้ที่จริง ห้วงบุญกุศลนี้ย่อมถึงการนับว่า ‘เป็นกองบุญใหญ่ที่นับไม่ได้ ประมาณ
ไม่ได้เลย’
การที่จะกำหนดปริมาณของน้ำในมหาสมุทรว่า ‘น้ำมีปริมาณเท่านี้อาฬหกะ๑
น้ำมีปริมาณเท่านี้ ๑๐๐ อาฬหกะ น้ำมีปริมาณเท่านี้ ๑,๐๐๐ อาฬหกะ หรือ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๕. สคาถกปุญญภิสันทวรรค ๑. ปฐมอภิสันทสูตร

น้ำมีปริมาณเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ อาฬหกะ’ ดังนี้ ไม่ใช่จะทำได้ง่าย แท้ที่จริง
ปริมาณของน้ำในมหาสมุทรนั้นย่อมถึงการนับว่า ‘เป็นห้วงน้ำใหญ่ที่นับไม่ได้
ประมาณไม่ได้เลย’ แม้ฉันใด
การที่จะกำหนดประมาณบุญของอริยสาวกผู้ประกอบด้วยห้วงบุญกุศล ๔
ประการนี้ว่า ‘ห้วงบุญกุศลมีประมาณเท่านี้ นำสุขมาให้’ ดังนี้ ไม่ใช่จะทำได้ง่าย
แท้ที่จริง ห้วงบุญกุศลนี้ย่อมถึงการนับว่า ‘เป็นกองบุญใหญ่ที่นับไม่ได้ ประมาณ
ไม่ได้เลย’ ฉันนั้นเหมือนกัน
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา-
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
“แม่น้ำหลายสายคับคั่งไปด้วยหมู่ปลา
ไหลบ่าไปยังมหาสมุทร อันเป็นที่ขังน้ำขนาดใหญ่
ประมาณไม่ได้ มีสิ่งที่น่ากลัวมาก๑
เป็นแหล่งรัตนะชั้นเยี่ยม ฉันใด
สายธารแห่งบุญย่อมหลั่งไหลไปสู่นรชน
ผู้เป็นบัณฑิต ผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า
ที่นอน ที่นั่ง และเครื่องปูลาด
เปรียบเหมือนแม่น้ำคือห้วงน้ำไหลไปยังมหาสมุทร ฉันนั้น”๒

ปฐมอภิสันทสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๕. สคาถกปุญญภิสันทวรรค ๒. ทุติยอภิสันทสูตร

๒. ทุติยอภิสันทสูตร
ว่าด้วยห้วงบุญกุศล สูตรที่ ๒

[๑๐๓๘] “ภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญกุศลนำสุขมาให้ ๔ ประการนี้
ห้วงบุญกุศล ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’ นี้เป็นห้วงบุญกุศลนำสุขมาให้ประการที่ ๑
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน มีจาคะอันสละแล้ว
มีฝ่ามือชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการให้ทาน
และการแจกทาน อยู่ครองเรือน นี้เป็นห้วงบุญกุศลนำสุขมาให้
ประการที่ ๔
ห้วงบุญกุศลนำสุขมาให้ ๔ ประการนี้
การที่จะกำหนดประมาณบุญของอริยสาวกผู้ประกอบด้วยห้วงบุญกุศล ๔
ประการนี้ว่า ‘ห้วงบุญกุศลมีประมาณเท่านี้นำสุขมาให้’ ดังนี้ ไม่ใช่จะทำได้ง่าย
แท้ที่จริง ห้วงบุญกุศลนี้ย่อมถึงการนับว่า ‘เป็นกองบุญใหญ่ที่นับไม่ได้ ประมาณ
ไม่ได้เลย’
แม่น้ำใหญ่เหล่านี้ คือ แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา แม่น้ำอจิรวดี แม่น้ำสรภู
แม่น้ำมหี ย่อมไหลเรื่อยไปที่ปากน้ำใด การที่จะกำหนดปริมาณของน้ำที่ปากน้ำ
นั้นว่า ‘น้ำมีปริมาณเท่านี้อาฬหกะ น้ำมีปริมาณเท่านี้ ๑๐๐ อาฬหกะ น้ำมี
ปริมาณเท่านี้ ๑,๐๐๐ อาฬหกะ หรือน้ำมีปริมาณเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ อาฬหกะ’ ดังนี้
ไม่ใช่จะทำได้ง่าย แท้ที่จริง ปริมาณของน้ำในมหาสมุทรนั้นย่อมถึงการนับว่า
‘เป็นห้วงน้ำใหญ่ที่นับไม่ได้ ประมาณไม่ได้เลย’ แม้ฉันใด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๕. สคาถกปุญญภิสันทวรรค ๓. ตติยอภิสันทสูตร

การที่จะกำหนดประมาณบุญของอริยสาวกผู้ประกอบด้วยห้วงบุญกุศล ๔
ประการนี้ว่า ‘ห้วงบุญกุศลมีประมาณเท่านี้ นำสุขมาให้’ ดังนี้ ไม่ใช่จะทำได้ง่าย
แท้ที่จริง ห้วงบุญกุศลนี้ย่อมถึงการนับว่า ‘เป็นกองบุญใหญ่ที่นับไม่ได้ ประมาณ
ไม่ได้เลย’ ฉันนั้นเหมือนกัน”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา-
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
“แม่น้ำหลายสายคับคั่งไปด้วยหมู่ปลา
ไหลบ่าไปยังมหาสมุทร อันเป็นที่ขังน้ำขนาดใหญ่
ประมาณไม่ได้ มีสิ่งที่น่ากลัวมาก๑
เป็นแหล่งรัตนะชั้นเยี่ยม ฉันใด
สายธารแห่งบุญย่อมหลั่งไหลไปสู่นรชน
ผู้เป็นบัณฑิต ผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า
ที่นอน ที่นั่ง และเครื่องปูลาด
เปรียบเหมือนแม่น้ำคือห้วงน้ำไหลไปยังมหาสมุทร ฉันนั้น”

ทุติยอภิสันทสูตรที่ ๒ จบ

๓. ตติยอภิสันทสูตร
ว่าด้วยห้วงบุญกุศล สูตรที่ ๓

[๑๐๓๙] “ภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญกุศลนำสุขมาให้ ๔ ประการนี้
ห้วงบุญกุศล ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’ นี้เป็นห้วงบุญกุศลนำสุขมาให้ประการที่ ๑
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๕. สคาถกปุญญภิสันทวรรค ๔. ปฐมมหัทธนสูตร

๔. เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา
เห็นทั้งความเกิดและความดับ อันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลส
ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ นี้เป็นห้วงบุญกุศลนำสุขมาให้
ประการที่ ๔
ห้วงบุญกุศลนำสุขมาให้ ๔ ประการนี้แล
การที่จะกำหนดประมาณบุญของอริยสาวกผู้ประกอบด้วยห้วงบุญกุศล ๔
ประการนี้ว่า ‘ห้วงบุญกุศลมีประมาณเท่านี้ นำสุขมาให้’ ดังนี้ ไม่ใช่จะทำได้ง่าย
แท้ที่จริง ห้วงบุญกุศลนี้ย่อมถึงการนับว่า ‘เป็นกองบุญใหญ่ที่นับไม่ได้ ประมาณ
ไม่ได้เลย”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา-
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
“ผู้ใดต้องการบุญ ตั้งอยู่ในกุศล
ย่อมเจริญมรรคเพื่อบรรลุอมตะ
ผู้นั้นบรรลุธรรมอันเป็นสาระ ยินดีในธรรมเป็นที่สิ้นไป
ย่อมไม่หวั่นไหวเมื่อมัจจุราชมาถึง”

ตติยอภิสันทสูตรที่ ๓ จบ

๔. ปฐมมหัทธนสูตร
ว่าด้วยผู้มีธรรมเป็นผู้มีทรัพย์มาก สูตรที่ ๑

[๑๐๔๐] “ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เรา
กล่าวว่า ‘เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มียศใหญ่’
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของ
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๕. สคาถกปุญญภิสันทวรรค ๖. สุทธกสูตร

๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อ
สมาธิ
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้ เรากล่าวว่า
‘เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มียศใหญ่”

ปฐมมหัทธนสูตรที่ ๔ จบ

๕. ทุติยมหัทธนสูตร
ว่าด้วยผู้มีธรรมเป็นผู้มีทรัพย์มาก สูตรที่ ๒

[๑๐๔๑] “ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เรา
กล่าวว่า ‘เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มียศใหญ่’
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของ
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อ
สมาธิ
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้ เรากล่าวว่า
‘เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มียศใหญ่”

ทุติยมหัทธนสูตรที่ ๕ จบ

๖. สุทธกสูตร
ว่าด้วยองค์คุณล้วนของพระโสดาบัน

[๑๐๔๒] “ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็น
โสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๕. สคาถกปุญญภิสันทวรรค ๗. นันทิยสูตร

ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อ
สมาธิ
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้ เป็นโสดาบัน
ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”

สุทธกสูตรที่ ๖ จบ

๗. นันทิยสูตร
ว่าด้วยเจ้าศากยะพระนามว่านันทิยะ

[๑๐๔๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงกบิลพัสดุ์
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับเจ้าศากยะพระนามว่านันทิยะผู้ประทับนั่ง ณ
ที่สมควรว่า “มหาบพิตร อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็น
โสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๕. สคาถกปุญญภิสันทวรรค ๘. ภัททิยสูตร

๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อ
สมาธิ
มหาบพิตร อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้ เป็นโสดาบัน ไม่
มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”

นันทิยสูตรที่ ๗ จบ

๘. ภัททิยสูตร
ว่าด้วยเจ้าศากยะพระนามว่าภัททิยะ

[๑๐๔๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงกบิลพัสดุ์
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับเจ้าศากยะพระนามว่าภัททิยะผู้ประทับนั่ง ณ ที่
สมควรว่า “มหาบพิตร อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็นโสดาบัน
ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ฯลฯ
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อ
สมาธิ
อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้ เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ
มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”

ภัททิยสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๕. สคาถกปุญญภิสันทวรรค ๑๐. อังคสูตร

๙. มหานามสูตร
ว่าด้วยเจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะ

[๑๐๔๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงกบิลพัสดุ์
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับเจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะผู้ประทับนั่ง ณ ที่
สมควรว่า “มหาบพิตร อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็นโสดาบัน
ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อ
สมาธิ
มหาบพิตร อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้ เป็นโสดาบัน ไม่
มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”

มหานามสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. อังคสูตร
ว่าด้วยองค์เครื่องบรรลุโสดา

[๑๐๔๖] “ภิกษุทั้งหลาย องค์เครื่องบรรลุโสดา ๔ ประการนี้
องค์เครื่องบรรลุโสดา ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัปปุริสสังเสวะ (การคบหาสัตบุรุษ)
๒. สัทธัมมัสสวนะ (การฟังพระสัทธรรม)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๕. สคาถกปุญญภิสันทวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๓. โยนิโสมนสิการ (การมนสิการโดยแยบคาย)
๔. ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ (การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม)
ภิกษุทั้งหลาย องค์เครื่องบรรลุโสดา ๔ ประการนี้”

อังคสูตรที่ ๑๐ จบ
สคาถกปุญญาภิสันทวรรคที่ ๕ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมอภิสันทสูตร ๒. ทุติยอภิสันทสูตร
๓. ตติยอภิสันทสูตร ๔. ปฐมมหัทธนสูตร
๕. ทุติยมหัทธนสูตร ๖. สุทธกสูตร
๗. นันทิยสูตร ๘. ภัททิยสูตร
๙. มหานามสูตร ๑๐. อังคสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๖. สัปปัญญวรรค ๑. สคาถกสูตร

๖. สัปปัญญวรรค
หมวดว่าด้วยผู้มีปัญญา
๑. สคาถกสูตร
ว่าด้วยตรัสองค์คุณของพระโสดาบันที่มีคาถา

[๑๐๔๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วย
ธรรม ๔ ประการ เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิ
ในวันข้างหน้า
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของ
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้ เป็นโสดาบัน
ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา-
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
“ผู้ใดมีศรัทธาในพระตถาคตตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว
มีศีลอันงามที่พระอริยะชอบใจ(และ)สรรเสริญ
มีความเลื่อมใสในพระสงฆ์ และมีความเห็นตรง
บัณฑิตทั้งหลายเรียกผู้นั้นว่า เป็นคนไม่ขัดสน
ชีวิตของเขาก็ไม่สูญเปล่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๖. สัปปัญญวรรค ๒. วัสสังวุตถสูตร

เพราะเหตุนั้น ผู้มีปัญญา
เมื่อระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ควรหมั่นประกอบศรัทธา ศีล
ความเลื่อมใส และการเห็นธรรม”๑

สคาถกสูตรที่ ๑ จบ

๒. วัสสังวุตถสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้อยู่จำพรรษาในกรุงสาวัตถี

[๑๐๔๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอยู่จำพรรษาในกรุง
สาวัตถีแล้ว ไปถึงกรุงกบิลพัสดุ์โดยลำดับด้วยกรณียกิจบางอย่าง พวกเจ้าศากยะ
ผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ทรงสดับข่าวว่า ภิกษุรูปหนึ่งอยู่จำพรรษาในกรุงสาวัตถีมาถึง
กรุงกบิลพัสดุ์แล้ว จึงเสด็จเข้าไปหาภิกษุนั้นถึงที่อยู่ ทรงอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ
ที่สมควร ได้ตรัสถามภิกษุนั้นดังนี้ว่า
“ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคไม่มีพระโรคาพาธ และมีพระพลานามัยแข็งแรง
อยู่หรือ”
ภิกษุนั้นถวายพระพรว่า “ขอถวายพระพร มหาบพิตร พระผู้มีพระภาคไม่มี
พระโรคาพาธ และมีพระพลานามัยแข็งแรงอยู่”
“ท่านผู้เจริญ พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะไม่มีโรคาพาธ และมีพลานามัย
แข็งแรงอยู่หรือ”
“มหาบพิตร แม้พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะก็ไม่มีโรคาพาธ และมี
พลานามัยแข็งแรงอยู่”
“ท่านผู้เจริญ ภิกษุสงฆ์ไม่มีโรคาพาธ และมีพลานามัยแข็งแรงอยู่หรือ”
“มหาบพิตร แม้ภิกษุสงฆ์ก็ไม่มีโรคาพาธ และมีพลานามัยแข็งแรงอยู่”
“ท่านผู้เจริญ ระหว่างพรรษานี้ อะไร ๆ ที่ท่านได้ฟังมา ได้รับมาเฉพาะ
พระพักตร์พระผู้มีพระภาค มีอยู่หรือ”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๖. สัปปัญญวรรค ๓. ธัมมทินนสูตร

“มหาบพิตร อาตมภาพได้ฟังมา ได้รับเรื่องนี้มาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มี
พระภาคว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ
เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน มีจำนวนน้อย ที่แท้
ภิกษุผู้เป็นโอปปาติกะจักนิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก เพราะ
โอรัมภาคิยสังโยชน์(สังโยชน์เบื้องต่ำ) ๕ ประการสิ้นไป มีจำนวนมากกว่า’
อีกเรื่องหนึ่ง ที่อาตมภาพได้ฟังมา ได้รับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า
‘ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นโอปปาติกะเพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป
จักนิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก มีจำนวนน้อย ที่แท้ภิกษุผู้เป็น
สกทาคามีเพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป และเพราะบรรเทาราคะ โทสะ และ
โมหะให้เบาบาง มาสู่โลกนี้อีกครั้งเดียวเท่านั้น ก็จักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ มีจำนวน
มากกว่า’
อีกเรื่องหนึ่ง อาตมภาพได้ฟังมา ได้รับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า
‘ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นสกทาคามีเพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป และเพราะ
บรรเทาราคะ โทสะ และโมหะให้เบาบาง มาสู่โลกนี้อีกครั้งเดียวเท่านั้น ก็จักทำ
ที่สุดแห่งทุกข์ได้ มีจำนวนน้อยกว่า ที่แท้ภิกษุผู้เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มี
ความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป
มีจำนวนมากกว่า”

วัสสังวุตถสูตรที่ ๒ จบ

๓. ธัมมทินนสูตร
ว่าด้วยธัมมทินนอุบาสก

[๑๐๔๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
เขตกรุงพาราณสี ครั้งนั้น ธัมมทินนอุบาสกพร้อมด้วยอุบาสก ๕๐๐ คน เข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สิ่งใดจะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์
เพื่อความสุขแก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย ขอพระผู้มีพระภาคโปรดโอวาท โปรดพร่ำสอน
สิ่งนั้นแก่ข้าพระองค์ทั้งหลายเถิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๖. สัปปัญญวรรค ๓. ธัมมทินนสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ธัมมทินนะ เพราะเหตุนั้น ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียก
อย่างนี้ว่า ‘พระสูตรเหล่าใดที่พระตถาคตตรัสแล้ว ลึกซึ้ง มีเนื้อความลุ่มลึก เป็น
โลกุตตระ ประกอบด้วยความว่าง เราจักเข้าถึงพระสูตรเหล่านั้นตลอดกาลอยู่’
ธัมมทินนะ ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อที่ข้าพระองค์ทั้งหลายยังอยู่ครองเรือน นอนเบียด
เสียดบุตร ใช้สอยผงแก่นจันทน์จากแคว้นกาสี ทัดทรงดอกไม้ ของหอม และ
เครื่องลูบไล้ ยินดีทองและเงิน จะเข้าถึงพระสูตรที่พระตถาคตตรัสแล้ว ลึกซึ้ง มี
เนื้อความลุ่มลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยความว่าง ตลอดกาลอยู่นั้น มิใช่ทำ
ได้ง่าย ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมอันยิ่งแก่ข้าพระองค์ทั้งหลายผู้ตั้งอยู่ใน
สิกขาบททั้ง ๕ เถิด”
“ธัมมทินนะ เพราะเหตุนั้น ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลาย
๑. จักประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของ
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’
๒. จักประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. จักประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. จักประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อ
สมาธิ’
ธัมมทินนะ ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ องค์เครื่องบรรลุโสดา ๔ ประการใดที่พระผู้มีพระภาค
ทรงแสดงแล้ว ธรรม(คือองค์เครื่องบรรลุโสดา)เหล่านั้นมีอยู่ในข้าพระองค์ทั้งหลาย
และข้าพระองค์ทั้งหลาย เห็นชัดธรรมเหล่านั้น เพราะข้าพระองค์ทั้งหลาย
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของ
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๖. สัปปัญญวรรค ๔. คิลานสูตร

๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อ
สมาธิ”
“ธัมมทินนะ เป็นลาภของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายได้ดีแล้ว โสดาปัตติ-
ผลท่านทั้งหลายทำให้แจ้งแล้ว”

ธัมมทินนสูตรที่ ๓ จบ

๔. คิลานสูตร
ว่าด้วยอุบาสกป่วย

[๑๐๕๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตกรุง
กบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ สมัยนั้น ภิกษุจำนวนมากทำจีวรกรรมเพื่อถวายพระผู้มี
พระภาค ด้วยหวังว่า “พระผู้มีพระภาคทรงมีจีวรสำเร็จแล้ว ล่วงไป ๓ เดือนก็
จักเสด็จจาริกไป”
เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะได้ทรงทราบข่าวอย่างนั้นเหมือนกัน ลำดับนั้น
ท้าวเธอเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ
ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้ทราบข่าวอย่างนี้ว่า ‘ได้ทราบว่า ภิกษุ
จำนวนมากทำจีวรกรรมเพื่อถวายพระผู้มีพระภาค ด้วยหวังว่า ‘พระผู้มีพระภาค
ทรงมีจีวรสำเร็จแล้ว ล่วงไป ๓ เดือนก็จักเสด็จจาริกไป’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันยังไม่ได้ทราบข่าว ไม่ได้รับเรื่องนี้มาเฉพาะ
พระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า ‘อุบาสกผู้มีปัญญา๑ พึงกล่าวสอนอุบาสกผู้มีปัญญา
ซึ่งป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก”
“มหาบพิตร อุบาสกผู้มีปัญญาพึงปลอบใจอุบาสกผู้มีปัญญาซึ่งป่วย ได้รับทุกข์
เป็นไข้หนัก ด้วยธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความเบาใจ ๔ ประการว่า


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๖. สัปปัญญวรรค ๔. คิลานสูตร

‘จงเบาใจเถิดท่านผู้มีอายุ ท่าน
๑. มีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของเทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’
๒. มีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. มีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. มีศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ’
มหาบพิตร อุบาสกผู้มีปัญญาครั้นปลอบใจอุบาสกผู้มีปัญญาซึ่งป่วย ได้รับ
ทุกข์ เป็นไข้หนัก ด้วยธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความเบาใจ ๔ ประการนี้แล้ว พึงถามว่า
‘ท่านยังมีความห่วงใยมารดาบิดาอยู่หรือ’ ถ้าเขาตอบว่า ‘ผมยังมีความห่วงใย
มารดาบิดาอยู่’ อุบาสกนั้นพึงกล่าวว่า ‘ท่านผู้นิรทุกข์ ผู้มีความตายเป็นธรรมดา
ถึงแม้ท่านจักทำความห่วงใยมารดาบิดาก็จักตายเหมือนกัน ถึงแม้ท่านจะไม่ทำ
ความห่วงใยมารดาบิดาก็จักตายเหมือนกัน เอาเถิด ขอท่านจงละความห่วงใย
มารดาบิดาของท่านเสีย’
ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า ‘ผมละความห่วงใยมารดาบิดาของผมแล้ว’ อุบาสกนั้น
พึงถามเขาว่า ‘ท่านยังมีความห่วงใยบุตรและภริยาอยู่หรือ’ ถ้าเขาตอบว่า ‘ผมยัง
มีความห่วงใยบุตรและภริยาอยู่’ อุบาสกนั้นพึงกล่าวกับเขาว่า ‘ท่านผู้นิรทุกข์ ผู้มี
ความตายเป็นธรรมดา ถึงแม้ท่านจักทำความห่วงใยบุตรและภริยาก็จักตายเหมือน
กัน ถึงแม้ท่านจักไม่ทำความห่วงใยบุตรและภริยาก็จักตายเหมือนกัน เอาเถิด
ขอท่านจงละความห่วงใยบุตรและภริยาของท่านเสีย’
ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า ‘ผมละความห่วงใยบุตรและภริยาของผมแล้ว’ อุบาสก
นั้นพึงถามเขาว่า ‘ท่านยังมีความห่วงใยกามคุณ ๕ อันเป็นของมนุษย์อยู่หรือ’ ถ้า
เขาตอบว่า ‘ผมยังมีความห่วงใยกามคุณ ๕ อันเป็นของมนุษย์อยู่’ อุบาสกนั้นพึง
กล่าวว่า ‘ท่าน กามอันเป็นทิพย์ยังดีกว่าและประณีตกว่ากามอันเป็นของมนุษย์
เอาเถิด ขอท่านจงพรากจิตออกจากกามอันเป็นของมนุษย์แล้ว น้อมจิตไปในหมู่
เทพชั้นจาตุมหาราชเถิด’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๖. สัปปัญญวรรค ๕. โสตาปัตติผลสูตร

ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า ‘ผมพรากจิตออกจากกามอันเป็นของมนุษย์แล้ว ผม
น้อมจิตไปในหมู่เทพชั้นจาตุมหาราชแล้ว’ อุบาสกนั้นพึงกล่าวว่า ‘ท่าน หมู่เทพ
ชั้นดาวดึงส์ยังดีกว่าและประณีตกว่าหมู่เทพชั้นจาตุมหาราช เอาเถิด ขอท่านจง
พรากจิตออกจากหมู่เทพชั้นจาตุมหาราชแล้ว น้อมจิตไปในหมู่เทพชั้นดาวดึงส์เถิด’
ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า ‘ผมพรากจิตออกจากหมู่เทพชั้นจาตุมหาราชแล้ว ผม
น้อมจิตไปในหมู่เทพชั้นดาวดึงส์แล้ว’ อุบาสกนั้นพึงกล่าวว่า ‘หมู่เทพชั้นยามายังดี
กว่าและประณีตกว่าหมู่เทพชั้นดาวดึงส์ ฯลฯ หมู่เทพชั้นดุสิต ฯลฯ หมู่เทพชั้น
นิมมานรดี ฯลฯ หมู่เทพชั้นปรินิมมิตวสวัตดี ฯลฯ พรหมโลกยังดีกว่าและ
ประณีตกว่าหมู่เทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดี เอาเถิด ขอท่านจงพรากจิตออกจากหมู่
เทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดีแล้ว น้อมจิตไปในพรหมโลกเถิด’
ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า ‘ผมพรากจิตออกจากหมู่เทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดีแล้ว
ผมน้อมจิตไปในพรหมโลกแล้ว’ อุบาสกนั้นพึงกล่าวว่า ‘ท่าน แม้พรหมโลกก็ไม่เที่ยง
ไม่ยั่งยืน นับเนื่องด้วยสักกายะ๑ เอาเถิด ขอท่านจงพรากจิตออกจากพรหมโลกแล้ว
นำจิตเข้าไปในสักกายนิโรธ(ความดับกายของตน)เถิด’
ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า ‘ผมพรากจิตออกจากพรหมโลกแล้ว ผมนำจิตเข้าไป
ในสักกายนิโรธอยู่แล้ว’
มหาบพิตร อุบาสกผู้มีจิตหลุดพ้นอย่างนี้กับภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นจากอาสวะ
อาตมภาพไม่กล่าวว่าแตกต่างอะไรกันเลย คือ หลุดพ้นด้วยวิมุตติเหมือนกัน”

คิลานสูตรที่ ๔ จบ

๕. โสตาปัตติผลสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล

[๑๐๕๑] “ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้ ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๖. สัปปัญญวรรค ๘. อรหัตตผลสูตร

ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัปปุริสสังเสวะ (การคบหาสัตบุรุษ)
๒. สัทธัมมัสสวนะ (การฟังพระสัทธรรม)
๓. โยนิโสมนสิการ (การมนสิการโดยแยบคาย)
๔. ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ (การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม)
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป
เพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล”

โสตาปัตติผลสูตรที่ ๕ จบ

๖. สกทาคามิผลสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล

[๑๐๕๒] “ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง
ฯลฯ
ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล”

สกทาคามิผลสูตรที่ ๖ จบ

๗. อนาคามิผลสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล

[๑๐๕๓] ... ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล”

อนาคามิผลสูตรที่ ๗ จบ

๘. อรหัตตผลสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล

[๑๐๕๔] ... ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล”

อรหัตตผลสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๖. สัปปัญญวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๙. ปัญญาปฏิลาภสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อได้เฉพาะซึ่งปัญญา

[๑๐๕๕] ... ย่อมเป็นไปเพื่อได้เฉพาะซึ่งปัญญา”

ปัญญาปฏิลาภสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ปัญญาวุฑฒิสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อความเจริญแห่งปัญญา

[๑๐๕๖] ... ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญแห่งปัญญา”

ปัญญาวุฑฒิสูตรที่ ๑๐ จบ

๑๑. ปัญญาเวปุลลสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อความไพบูลย์แห่งปัญญา

[๑๐๕๗] ... ย่อมเป็นไปเพื่อความไพบูลย์แห่งปัญญา”

ปัญญาเวปุลลสูตรที่ ๑๑ จบ
สัปปัญญวรรคที่ ๖ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สคาถกสูตร ๒. วัสสังวุตถสูตร
๓. ธัมมทินนสูตร ๔. คิลานสูตร
๕. โสตาปัตติผลสูตร ๖. สกทาคามิผลสูตร
๗. อนาคามิผลสูตร ๘. อรหัตตผลสูตร
๙. ปัญญาปฏิลาภสูตร ๑๐. ปัญญาวุฑฒิสูตร
๑๑. ปัญญาเวปุลลสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๗. มหาปัญญวรรค ๓. วิปุลปัญญาสูตร

๗. มหาปัญญวรรค
หมวดว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อความมีปัญญามาก
๑. มหาปัญญาสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อความมีปัญญามาก

[๑๐๕๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้
ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความมีปัญญามาก
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัปปุริสสังเสวะ ๒. สัทธัมมัสสวนะ
๓. โยนิโสมนสิการ ๔. ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็น
ไปเพื่อความมีปัญญามาก”

มหาปัญญาสูตรที่ ๑ จบ

๒. ปุถุปัญญาสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อความมีปัญญาแน่น

[๑๐๕๙] ... ย่อมเป็นไปเพื่อความมีปัญญาแน่น”

ปุถุปัญญาสูตรที่ ๒ จบ

๓. วิปุลปัญญาสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อความมีปัญญาไพบูลย์

[๑๐๖๐] ... ย่อมเป็นไปเพื่อความมีปัญญาไพบูลย์”

วิปุลปัญญาสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๗. มหาปัญญวรรค ๘. สีฆปัญญาสูตร

๔. คัมภีรปัญญาสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อความมีปัญญาลึกซึ้ง

[๑๐๖๑] ... ย่อมเป็นไปเพื่อความมีปัญญาลึกซึ้ง”

คัมภีรปัญญาสูตรที่ ๔ จบ

๕. อัปปมัตตปัญญาสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อความมีปัญญาหาประมาณมิได้

[๑๐๖๒] ... ย่อมเป็นไปเพื่อความมีปัญญาหาประมาณมิได้”

อัปปมัตตปัญญาสูตรที่ ๕ จบ

๖. ภูริปัญญาสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อความมีปัญญาดุจแผ่นดิน

[๑๐๖๓] ... ย่อมเป็นไปเพื่อความมีปัญญาดุจแผ่นดิน”

ภูริปัญญาสูตรที่ ๖ จบ

๗. ปัญญาพาหุลสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อความมีปัญญาหลากหลาย

[๑๐๖๔] ... ย่อมเป็นไปเพื่อความมีปัญญาหลากหลาย”

ปัญญาพาหุลสูตรที่ ๗ จบ

๘. สีฆปัญญาสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อความมีปัญญาเร็ว

[๑๐๖๕] ... ย่อมเป็นไปเพื่อความมีปัญญาเร็ว”

สีฆปัญญาสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๗. มหาปัญญวรรค ๑๓. นิพเพธิกปัญญาสูตร

๙. ลหุปัญญาสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อความมีปัญญาฉับพลัน

[๑๐๖๖] ... ย่อมเป็นไปเพื่อความมีปัญญาฉับพลัน”

ลหุปัญญาสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. หาสปัญญาสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อความมีปัญญาร่าเริง

[๑๐๖๗] ... ย่อมเป็นไปเพื่อความมีปัญญาร่าเริง”

หาสปัญญาสูตรที่ ๑๐ จบ

๑๑. ชวนปัญญาสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อความมีปัญญาแล่นไป

[๑๐๖๘] ... ย่อมเป็นไปเพื่อความมีปัญญาแล่นไป”

ชวนปัญญาสูตรที่ ๑๑ จบ

๑๒. ติกขปัญญาสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อความมีปัญญากล้า

[๑๐๖๙] ... ย่อมเป็นไปเพื่อความมีปัญญากล้า”

ติกขปัญญาสูตรที่ ๑๒ จบ

๑๓. นิพเพธิกปัญญาสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อความมีปัญญาชำแรกกิเลส

[๑๐๗๐] “ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความมีปัญญาชำแรกกิเลส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๗. มหาปัญญวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัปปุริสสังเสวะ ๒. สัทธัมมัสสวนะ
๓. โยนิโสมนสิการ ๔. ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็น
ไปเพื่อความมีปัญญาชำแรกกิเลส”

นิพเพธิกปัญญาสูตรที่ ๑๓ จบ
มหาปัญญวรรคที่ ๗ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. มหาปัญญาสูตร ๒. ปุถุปัญญาสูตร
๓. วิปุลปัญญาสูตร ๔. คัมภีรปัญญาสูตร
๕. อัปปมัตตปัญญาสูตร ๖. ภูริปัญญาสูตร
๗. ปัญญาพาหุลสูตร ๘. สีฆปัญญาสูตร
๙. ลหุปัญญาสูตร ๑๐. หาสปัญญาสูตร
๑๑. ชวนปัญญาสูตร ๑๒. ติกขปัญญาสูตร
๑๓. นิพเพธิกปัญญาสูตร

โสตาปัตติสังยุตที่ ๑๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๑. สมาธิวรรค ๒. ปฏิสัลลานสูตร

๑๒. สัจจสังยุต
๑. สมาธิวรรค
หมวดว่าด้วยสมาธิ
๑. สมาธิสูตร
ว่าด้วยสมาธิ

[๑๐๗๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิ ภิกษุผู้
มีสมาธิย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริง
รู้ชัดอะไรตามความเป็นจริง
คือ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย (เหตุเกิดทุกข์) นี้ทุกขนิโรธ
(ความดับทุกข์) นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับทุกข์)’
เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิ ภิกษุผู้มีสมาธิย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริง
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”

สมาธิสูตรที่ ๑ จบ

๒. ปฏิสัลลานสูตร
ว่าด้วยผู้หลีกเร้น

[๑๐๗๒] “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงประกอบความเพียรในการหลีกเร้น
ภิกษุผู้หลีกเร้นย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริง
รู้ชัดอะไรตามความเป็นจริง
คือ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกข-
นิโรธคามินีปฏิปทา’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๑. สมาธิวรรค ๓. ปฐมกุลปุตตสูตร

เธอทั้งหลายจงประกอบความเพียรในการหลีกเร้น ภิกษุผู้หลีกเร้นย่อมรู้ชัด
ตามความเป็นจริง
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”

ปฏิสัลลานสูตรที่ ๒ จบ

๓. ปฐมกุลปุตตสูตร
ว่าด้วยกุลบุตร สูตรที่ ๑

[๑๐๗๓] “ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรเหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาลได้ออกจาก
เรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ กุลบุตรเหล่านั้นทั้งหมดได้ออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิตโดยชอบก็เพื่อรู้แจ้งอริยสัจ ๔ ประการตามความเป็นจริง กุลบุตรเหล่าใด
เหล่าหนึ่งในอนาคตกาลจักออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ กุลบุตรเหล่านั้น
ทั้งหมดจักออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบก็เพื่อรู้แจ้งอริยสัจ ๔ ประการ
ตามความเป็นจริง กุลบุตรเหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบันกาลย่อมออกจากเรือนบวช
เป็นบรรพชิตโดยชอบ กุลบุตรเหล่านั้นทั้งหมดย่อมออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
โดยชอบก็เพื่อรู้แจ้งอริยสัจ ๔ ประการตามความเป็นจริง
อริยสัจ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทุกขอริยสัจ ๒. ทุกขสมุทยอริยสัจ
๓. ทุกขนิโรธอริยสัจ ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรเหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาลได้ออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิตโดยชอบ ฯลฯ กุลบุตรเหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาลจักออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ ฯลฯ กุลบุตรเหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบันกาลย่อมออก
จากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ กุลบุตรเหล่านั้นทั้งหมดย่อมออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิตโดยชอบก็เพื่อรู้แจ้งอริยสัจ ๔ ประการนี้ตามความเป็นจริง
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตามความ
เป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”

ปฐมกุลปุตตสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๑. สมาธิวรรค ๕. ปฐมสมณพราหมณสูตร

๔. ทุติยกุลปุตตสูตร
ว่าด้วยกุลบุตร สูตรที่ ๒

[๑๐๗๔] “ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรเหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาลออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ ได้รู้แจ้งตามความเป็นจริง กุลบุตรเหล่านั้นทั้งหมดได้
รู้แจ้งอริยสัจ ๔ ประการตามความเป็นจริง กุลบุตรเหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาล
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ จักรู้แจ้งตามความเป็นจริง กุลบุตรเหล่านั้น
ทั้งหมดจักรู้แจ้งอริยสัจ ๔ ประการตามความเป็นจริง กุลบุตรเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
ในปัจจุบันกาลออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ ย่อมรู้แจ้งตามความเป็นจริง
กุลบุตรเหล่านั้นทั้งหมดย่อมรู้แจ้งอริยสัจ ๔ ประการตามความเป็นจริง
อริยสัจ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทุกขอริยสัจ ๒. ทุกขสมุทยอริยสัจ
๓. ทุกขนิโรธอริยสัจ ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา-
อริยสัจ
กุลบุตรเหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาลออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ
ได้รู้แจ้งตามความเป็นจริง ฯลฯ กุลบุตรเหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาล ออก
จากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ จักรู้แจ้ง ฯลฯ กุลบุตรเหล่าใดเหล่าหนึ่งใน
ปัจจุบันกาล ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ ย่อมรู้แจ้งตามความเป็นจริง
กุลบุตรเหล่านั้นทั้งหมดย่อมรู้แจ้งอริยสัจ ๔ ประการนี้ตามความเป็นจริง
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”

ทุติยกุลปุตตสูตรที่ ๔ จบ

๕. ปฐมสมณพราหมณสูตร
ว่าด้วยสมณพราหมณ์ สูตรที่ ๑

[๑๐๗๕] “ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาล
ได้รู้แจ้งตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดได้รู้แจ้งอริยสัจ ๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๑. สมาธิวรรค ๖. ทุติยสมณพราหมณสูตร

ประการตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาล
จักรู้แจ้งตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดจักรู้แจ้งอริยสัจ ๔
ประการตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบันกาล
ย่อมรู้แจ้งตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดย่อมรู้แจ้งอริยสัจ
๔ ประการตามความเป็นจริง
อริยสัจ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาลได้รู้แจ้งตามความเป็นจริง ฯลฯ
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาลจักรู้แจ้ง ฯลฯ สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบันกาลย่อมรู้แจ้งตามความเป็นจริง สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดย่อมรู้แจ้งอริยสัจ ๔ ประการนี้ตามความเป็นจริง
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนี้ เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตามความ
เป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”

ปฐมสมณพราหมณสูตรที่ ๕ จบ

๖. ทุติยสมณพราหมณสูตร
ว่าด้วยสมณพราหมณ์ สูตรที่ ๒

[๑๐๗๖] “ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาล
ได้ประกาศสิ่งที่ตนรู้แจ้งแล้วตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น
ทั้งหมดได้ประกาศอริยสัจ ๔ ประการว่าเป็นสิ่งที่ตนรู้แจ้งแล้วตามความเป็นจริง
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาลจักประกาศสิ่งที่ตนรู้แจ้งแล้ว
ตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดจักประกาศอริยสัจ ๔
ประการว่าเป็นสิ่งที่ตนรู้แจ้งแล้วตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด
เหล่าหนึ่งในปัจจุบันกาล ย่อมประกาศสิ่งที่ตนรู้แจ้งแล้วตามความเป็นจริง สมณะ
หรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดย่อมประกาศอริยสัจ ๔ ประการว่าเป็นสิ่งที่ตนรู้แจ้ง
แล้วตามความเป็นจริง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๑. สมาธิวรรค ๗. วิตักกสูตร

อริยสัจ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาลได้ประกาศสิ่งที่ตนรู้แจ้งแล้ว
ตามความเป็นจริง ฯลฯ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาลจัก
ประกาศ ฯลฯ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบันกาลย่อมประกาศ
ฯลฯ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดย่อมประกาศอริยสัจ ๔ ประการนี้ว่า
เป็นสิ่งที่ตนรู้แจ้งแล้วตามความเป็นจริง
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อประกาศสิ่งที่
ตนรู้แจ้งแล้วตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”

ทุติยสมณพราหมณสูตรที่ ๖ จบ

๗. วิตักกสูตร
ว่าด้วยการตรึกถึงอริยสัจ

[๑๐๗๗] “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอย่าตรึกถึงถึงบาปอกุศลวิตก คือ
๑. กามวิตก (ความตรึกในทางกาม)
๒. พยาบาทวิตก (ความตรึกในทางพยาบาท)
๓. วิหิงสาวิตก (ความตรึกในทางเบียดเบียน)
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะวิตกเหล่านี้ไม่มีประโยชน์ ไม่ใช่จุดเริ่มต้นแห่งพรหมจรรย์ ไม่เป็นไป
เพื่อความเบื่อหน่าย ไม่เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อดับ ไม่เป็นไปเพื่อ
สงบระงับ ไม่เป็นไปเพื่อรู้ยิ่ง ไม่เป็นไปเพื่อตรัสรู้ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเมื่อจะตรึก พึงตรึกว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้
ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะความตรึกเหล่านี้มีประโยชน์ เป็นจุดเริ่มต้นแห่งพรหมจรรย์ ย่อมเป็น
ไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้
เพื่อนิพพาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๑. สมาธิวรรค ๘. จินตสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อตรึกว่า ‘นี้ทุกข์
ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”

วิตักกสูตรที่ ๗ จบ

๘. จินตสูตร
ว่าด้วยการคิดเรื่องอริยสัจ

[๑๐๗๘] “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงอย่าคิดเป็นบาปอกุศลจิตว่า ‘โลกเที่ยง
หรือโลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด หรือโลกไม่มีที่สุด ชีวะ๑กับสรีระเป็นอย่างเดียว
กัน หรือชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน หลังจากตายแล้วตถาคต๒เกิดอีก หรือ
หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก
หรือหลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะความคิดนี้ไม่มีประโยชน์ ไม่ใช่จุดเริ่มต้นแห่งพรหมจรรย์ ไม่เป็นไป
เพื่อความเบื่อหน่าย ไม่เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อดับ ไม่เป็นไปเพื่อ
สงบระงับ ไม่เป็นไปเพื่อรู้ยิ่ง ไม่เป็นไปเพื่อตรัสรู้ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน
เธอทั้งหลายเมื่อจะคิด พึงคิดว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกข-
นิโรธคามินีปฏิปทา’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะความคิดนี้มีประโยชน์ เป็นจุดเริ่มต้นแห่งพรหมจรรย์ เป็นไปเพื่อ
ความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้
เพื่อนิพพาน
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อคิดว่า ‘นี้ทุกข์
ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”

จินตสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๑. สมาธิวรรค ๑๐. ติรัจฉานกถาสูตร

๙. วิคคาหิกกถาสูตร
ว่าด้วยการกล่าวทุ่มเถียงแก่งแย่งกัน

[๑๐๗๙] “ภิกษุทั้งหลาย แม้เธอทั้งหลายก็อย่ากล่าวทุ่มเถียงแก่งแย่งกันว่า
‘ท่านไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ แต่ผมรู้ทั่วถึง ท่านจักรู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ได้อย่างไร ท่าน
ปฏิบัติผิด แต่ผมปฏิบัติถูก คำพูดของผมมีประโยชน์ แต่คำพูดของท่านไม่มี
ประโยชน์ คำที่ควรพูดก่อน ท่านกลับพูดภายหลัง คำที่ควรพูดภายหลัง ท่าน
กลับพูดก่อน เรื่องที่ท่านเคยชินได้ผันแปรไปแล้ว ผมจับผิดคำพูดของท่านได้แล้ว
ผมข่มท่านได้แล้ว ถ้าท่านมีความสามารถ ก็จงหาทางแก้คำพูดหรือเปลื้องตนให้
พ้นผิดเถิด๑
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะการกล่าวเช่นนี้ไม่มีประโยชน์ ไม่ใช่จุดเริ่มต้นแห่งพรหมจรรย์ ไม่เป็นไป
เพื่อความเบื่อหน่าย ไม่เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อดับ ไม่เป็นไปเพื่อ
สงบระงับ ไม่เป็นไปเพื่อรู้ยิ่ง ไม่เป็นไปเพื่อตรัสรู้ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน
เธอทั้งหลายเมื่อจะกล่าวพึงกล่าวว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’ ฯลฯ
เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรว่า ...”

วิคคาหิกกถาสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ติรัจฉานกถาสูตร
ว่าด้วยติรัจฉานกถา

[๑๐๘๐] “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอย่ากล่าวติรัจฉานกถา๒ ซึ่งมีหลาย
อย่าง คือ (๑) ราชกถา เรื่องพระราชา (๒) โจรกถา เรื่องโจร (๓) มหามัตตกถา


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๑. สมาธิวรรค ๑๐. ติรัจฉานกถาสูตร

เรื่องมหาอำมาตย์ (๔) เสนากถา เรื่องกองทัพ (๕) ภยกถา เรื่องภัย (๖) ยุทธกถา
เรื่องการรบ (๗) อันนกถา เรื่องข้าว (๘) ปานกถา เรื่องน้ำ (๙) วัตถกถา เรื่องผ้า
(๑๐) สยนกถา เรื่องที่นอน (๑๑) มาลากถา เรื่องพวงดอกไม้ (๑๒) คันธกถา
เรื่องของหอม (๑๓) ญาติกถา เรื่องญาติ (๑๔) ยานกถา เรื่องยาน (๑๕) คามกถา
เรื่องบ้าน (๑๖) นิคมกถา เรื่องนิคม (๑๗) นครกถา เรื่องเมือง (๑๘) ชนปทกถา
เรื่องชนบท (๑๙) อิตถีกถา เรื่องสตรี (๒๐) ปุริสกถา เรื่องบุรุษ (๒๑) สูรกถา
เรื่องคนกล้าหาญ (๒๒) วิสิขากถา เรื่องตรอก (๒๓) กุมภัฏฐานกถา เรื่องท่าน้ำ
(๒๔) ปุพพเปตกถา เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว (๒๕) นานัตตกถา เรื่องเบ็ดเตล็ด
(๒๖) โลกักขายิกะ เรื่องโลก (๒๗) สมุททักขายิกะ เรื่องทะเล (๒๘) อิติภวาภวกถา
เรื่องความเจริญและความเสื่อม๑
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะติรัจฉานกถานี้ไม่มีประโยชน์ ไม่ใช่จุดเริ่มต้นแห่งพรหมจรรย์ ไม่เป็น
ไปเพื่อความเบื่อหน่าย ไม่เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อดับ ไม่เป็นไป
เพื่อสงบระงับ ไม่เป็นไปเพื่อรู้ยิ่ง ไม่เป็นไปเพื่อตรัสรู้ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเมื่อจะกล่าวพึงกล่าวว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย
นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะถ้อยคำนี้มีประโยชน์ เป็นจุดเริ่มต้นแห่งพรหมจรรย์ เป็นไปเพื่อความ
เบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้
เพื่อนิพพาน
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อกล่าวว่า ‘นี้
ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”

ติรัจฉานกถาสูตรที่ ๑๐ จบ
สมาธิวรรคที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๑. สมาธิวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สมาธิสูตร ๒. ปฏิสัลลานสูตร
๓. ปฐมกุลปุตตสูตร ๔. ทุติยกุลปุตตสูตร
๕. ปฐมสมณพราหมณสูตร ๖. ทุติยสมณพราหมณสูตร
๗. วิตักกสูตร ๘. จินตสูตร
๙. วิคคาหิกกถาสูตร ๑๐. ติรัจฉานกถาสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๒. ธัมมจักกัปปวัตตนวรรค ๑. ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

๒. ธัมมจักกัปปวัตตนวรรค
หมวดว่าด้วยการประกาศพระธรรมจักร
๑. ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร๑
ว่าด้วยการประกาศพระธรรมจักร

[๑๐๘๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุง
พาราณสี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุปัญจวัคคีย์มาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ที่สุด ๒ ประการ บรรพชิตไม่พึงเสพ
ที่สุด ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กามสุขัลลิกานุโยค (การหมกมุ่นอยู่ด้วยกามสุขในกามทั้งหลาย)
เป็นธรรมอันทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของ
พระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
๒. อัตตกิลมถานุโยค (การประกอบความเดือดร้อนแก่ตน) เป็นทุกข์
ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
มัชฌิมาปฏิปทาไม่เอียงเข้าใกล้ที่สุด ๒ ประการนี้ที่ตถาคตได้ตรัสรู้ อันเป็น
ปฏิปทาก่อให้เกิดจักษุ ก่อให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้
เพื่อนิพพาน
มัชฌิมาปฏิปทาที่ตถาคตได้ตรัสรู้ อันเป็นปฏิปทาก่อให้เกิดจักษุ ก่อให้เกิด
ญาน เป็นไปเพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพานนั้น เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล ได้แก่

๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ
๓. สัมมาวาจา ๔. สัมมากัมมันตะ
๕. สัมมาอาชีวะ ๖. สัมมาวายามะ
๗. สัมมาสติ ๘. สัมมาสมาธิ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๒. ธัมมจักกัปปวัตตนวรรค ๑. ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

นี้คือมัชฌิมาปฏิปทานั้นที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว อันเป็นปฏิปทาที่ก่อให้เกิดจักษุ
ก่อให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้เป็นทุกขอริยสัจ คือ แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์ แม้ความ
แก่ก็เป็นทุกข์ แม้ความเจ็บก็เป็นทุกข์ แม้ความตายก็เป็นทุกข์ ความประสบสิ่ง
อันไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ปรารถนา
สิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ โดยย่ออุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์
ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้เป็นทุกขสมุทยอริยสัจ คือ ตัณหาอันทำให้เกิดอีก ประกอบ
ด้วยความเพลิดเพลินและความกำหนัด มีปกติให้เพลิดเพลินในอารมณ์นั้น ๆ คือ
กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา
ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้เป็นทุกขนิโรธอริยสัจ คือ ความดับตัณหาไม่เหลือด้วย
วิราคะ ความสละ ความสละคืน ความพ้น ความไม่อาลัยในตัณหา
ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้เป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘
นี้แล ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชา
เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า
‘นี้ทุกขอริยสัจ’
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘ทุกขอริยสัจนี้
ควรกำหนดรู้’
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘ทุกขอริยสัจนี้
เราได้กำหนดรู้แล้ว’
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชา
เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า
‘นี้ทุกขสมุทยอริยสัจ’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๒. ธัมมจักกัปปวัตตนวรรค ๑. ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘ทุกขสมุทย-
อริยสัจ นี้ควรละ’
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘ทุกขสมุทย-
อริยสัจ นี้เราละได้แล้ว’
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชา
เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า
‘นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ’
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘ทุกขนิโรธอริยสัจ
นี้ควรทำให้แจ้ง’
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว
แก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘ทุกขนิโรธอริยสัจนี้เราได้ทำให้แจ้ง
แล้ว’
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชา
เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า
‘นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ’ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิด
ขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้
ฟังมาก่อนว่า ‘ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้ควรเจริญ’
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘ทุกขนิโรธคามินี-
ปฏิปทาอริยสัจนี้เราได้เจริญแล้ว’
ภิกษุทั้งหลาย ญาณทัสสนะ(ความรู้เห็น) ตามความเป็นจริงของเราในอริยสัจ
๔ ประการนี้ มีวน ๓ รอบ มี ๑๒ อาการอย่างนี้ยังไม่หมดจดดีตราบใด เรา
ก็ยังไม่ยืนยันว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก
มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ตราบนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๒. ธัมมจักกัปปวัตตนวรรค ๑. ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดญาณทัสสนะตามความเป็นจริงของเราในอริยสัจ ๔
ประการนี้ มีวน ๓ รอบ มี ๑๒ อาการอย่างนี้หมดจดดีแล้ว เมื่อนั้นเราจึงยืนยันได้
ว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก
พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ญาณทัสสนะ
เกิดขึ้นแก่เราว่า ‘ความหลุดพ้นของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพ
ใหม่ไม่มีอีก’
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสธัมมจักกัปปวัตตนสูตรนี้ ภิกษุปัญจวัคคีย์มีใจยินดี
ต่างชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสเวยยากรณะ๑อยู่ ธรรมจักษุ๒อันปราศจากธุลี
ปราศจากมลทิน ได้เกิดแก่ท่านพระโกณฑัญญะว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็น
ธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา”
ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงประกาศพระธรรมจักรให้เป็นไปแล้ว ทวยเทพชั้น
ภุมมะกระจายข่าวว่า “นั่นพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยมพระผู้มีพระภาคทรงให้เป็นไป
แล้ว ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี อันสมณพราหมณ์ เทวดา มาร
พรหม หรือใคร ๆ ในโลกให้หมุนกลับไม่ได้๓”
ทวยเทพชั้นจาตุมหาราชสดับเสียงของทวยเทพชั้นภุมมะแล้วได้กระจายข่าวต่อ
ไปว่า “นั่นพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยมพระผู้มีพระภาคทรงให้เป็นไปแล้ว ณ ป่า
อิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม
หรือใคร ๆ ในโลกให้หมุนกลับไม่ได้”
ทวยเทพชั้นดาวดึงส์ สดับเสียงของทวยเทพชั้นจาตุมหาราชแล้วได้กระจาย
ข่าวต่อไป ฯลฯ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๒. ธัมมจักกัปปวัตตนวรรค ๒. ตถาคตสูตร

ทวยเทพชั้นยามา ฯลฯ
ทวยเทพชั้นดุสิต ฯลฯ
ทวยเทพชั้นนิมมานรดี ฯลฯ
ทวยเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ฯลฯ
ทวยเทพที่นับเนื่องในหมู่พรหมสดับเสียงของทวยเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดีแล้ว
ก็กระจายข่าวว่า “นั่นพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยมพระผู้มีพระภาคทรงประกาศแล้ว
ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร
พรหม หรือใคร ๆ ในโลกให้หมุนกลับไม่ได้”
เพียงครู่เดียวเท่านั้น เสียงป่าวประกาศได้กระจายขึ้นไปถึงพรหมโลกด้วย
ประการฉะนี้
ทั้งหมื่นโลกธาตุนี้ก็สั่นสะเทือนเลื่อนลั่น ทั้งแสงสว่างอันเจิดจ้าหาประมาณมิได้
ก็ปรากฏในโลก ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเปล่งพระอุทานนี้ว่า “ผู้เจริญทั้งหลาย
โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ ผู้เจริญทั้งหลาย โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ” ดังนั้น คำว่า
“อัญญาโกณฑัญญะ” นี้จึงได้เป็นชื่อของพระโกณฑัญญะนั่นแล

ธัมมจักกัปปวัตตนสูตรที่ ๑ จบ

๒. ตถาคตสูตร
ว่าด้วยพระตถาคต

[๑๐๘๒] “ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้น
แล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่ตถาคตทั้งหลายในธรรมทั้งหลายที่
ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘นี้ทุกขอริยสัจ’
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่ตถาคตทั้งหลายในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘ทุกข-
อริยสัจนี้ควรกำหนดรู้’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๒. ธัมมจักกัปปวัตตนวรรค ๒. ตถาคตสูตร

จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่ตถาคตทั้งหลายในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘ทุกข-
อริยสัจนี้ตถาคตทั้งหลายได้กำหนดรู้แล้ว’
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชา
เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่ตถาคตทั้งหลายในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟัง
มาก่อนว่า ‘นี้ทุกขสมุทยอริยสัจ’
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่ตถาคตทั้งหลายในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกข-
สมุทยอริยสัจนี้ควรละ’
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่ตถาคตทั้งหลายในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกข-
สมุทยอริยสัจนี้ตถาคตทั้งหลายละได้แล้ว’
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชา
เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่ตถาคตทั้งหลายในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟัง
มาก่อนว่า ‘นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ’
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่ตถาคตทั้งหลายในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘ทุกข-
นิโรธอริยสัจนี้ควรทำให้แจ้ง’
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่ตถาคตทั้งหลายในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘ทุกข-
นิโรธอริยสัจนี้ตถาคตทั้งหลายได้ทำให้แจ้งแล้ว’
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชา
เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่ตถาคตทั้งหลายในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟัง
มาก่อนว่า ‘นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ’
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่ตถาคตทั้งหลายในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘ทุกข-
นิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้ควรเจริญ’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๒. ธัมมจักกัปปวัตตนวรรค ๓. ขันธสูตร

จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่ตถาคตทั้งหลายในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ‘ทุกข-
นิโรธคามินีปฏิปทานี้ ตถาคตทั้งหลายได้เจริญแล้ว”

ตถาคตสูตรที่ ๒ จบ

๓. ขันธสูตร
ว่าด้วยอุปาทานขันธ์

[๑๐๘๓] “ภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ ประการนี้
อริยสัจ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทุกขอริยสัจ ๒. ทุกขสมุทยอริยสัจ
๓. ทุกขนิโรธอริยสัจ ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
ทุกขอริยสัจ เป็นอย่างไร
คือ ควรกล่าวได้ว่า ทุกขอริยสัจนั้น ได้แก่ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ
อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปูปาทานขันธ์ ฯลฯ ๕. วิญญาณูปาทานขันธ์
นี้เรียกว่า ทุกขอริยสัจ
ทุกขสมุทยอริยสัจ เป็นอย่างไร
คือ ตัณหาอันทำให้เกิดอีก ประกอบด้วยความเพลิดเพลินและความกำหนัด
มีปกติให้เพลิดเพลินในอารมณ์นั้น ๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา นี้
เรียกว่า ทุกขสมุทยอริยสัจ
ทุกขนิโรธอริยสัจ เป็นอย่างไร
คือ ความดับตัณหาไม่เหลือด้วยวิราคะ ความสละ ความสละคืน ความพ้น
ความไม่อาลัยในตัณหา นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๒. ธัมมจักกัปปวัตตนวรรค ๔. อัชฌัตติกายตนสูตร

ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
ภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”

ขันธสูตรที่ ๓ จบ

๔. อัชฌัตติกายตนสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายใน

[๑๐๘๔] “ภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ ประการนี้
อริยสัจ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทุกขอริยสัจ ๒. ทุกขสมุทยอริยสัจ
๓. ทุกขนิโรธอริยสัจ ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
ทุกขอริยสัจ เป็นอย่างไร
คือ ควรกล่าวได้ว่า ทุกขอริยสัจนั้น ได้แก่ อายตนะภายใน ๖ ประการ
อายตนะภายใน ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. จักขวายตนะ (อายตนะคือตา)
ฯลฯ
๖. มนายตนะ (อายตนะคือใจ)
นี้เรียกว่า ทุกขอริยสัจ
ทุกขสมุทยอริยสัจ เป็นอย่างไร
คือ ตัณหาอันทำให้เกิดอีก ประกอบด้วยความความเพลิดเพลินและความ
กำหนัด มีปกติให้เพลิดเพลินอยู่ในอารมณ์นั้น ๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา
วิภวตัณหา นี้เรียกว่า ทุกขสมุทยอริยสัจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๕๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๒. ธัมมจักกัปปวัตตนวรรค ๕. ปฐมธารณสูตร

ทุกขนิโรธอริยสัจ เป็นอย่างไร
คือ ความดับตัณหาไม่เหลือด้วยวิราคะ ความสละ ความสละคืน ความพ้น
ความไม่อาลัยในตัณหา นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
อริยสัจ ๔ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”

อัชฌัตติกายตนสูตรที่ ๔ จบ

๕. ปฐมธารณสูตร
ว่าด้วยการทรงจำอริยสัจ สูตรที่ ๑

[๑๐๘๕] “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงทรงจำอริยสัจ ๔ ประการที่เรา
แสดงไว้แล้วเถิด”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทรงจำอริยสัจ ๔ ประการที่พระผู้มี
พระภาคทรงแสดงไว้แล้ว”
“ภิกษุ เธอทรงจำอริยสัจ ๔ ประการที่เราแสดงไว้แล้ว อย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทรงจำทุกขอริยสัจที่พระผู้มีพระภาคทรง
แสดงไว้แล้วเป็นข้อที่ ๑ ทรงจำทุกขสมุทยอริยสัจที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้แล้ว
เป็นข้อที่ ๒ ทรงจำทุกขนิโรธอริยสัจที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้แล้วเป็นข้อที่ ๓
ทรงจำทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้แล้วเป็นข้อที่ ๔
ข้าพระองค์ทรงจำอริยสัจ ๔ ประการที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้แล้ว อย่างนี้แล”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๖๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๒. ธัมมจักกัปปวัตตนวรรค ๖. ทุติยธารณสูตร

“ดีละ ดีละ ภิกษุ ดีแท้ ภิกษุ เธอทรงจำอริยสัจ ๔ ประการที่เราแสดงไว้แล้ว
เราแสดงทุกขอริยสัจเป็นข้อที่ ๑ เธอก็จงทรงจำไว้อย่างนั้น เราแสดงทุกข-
สมุทยอริยสัจเป็นข้อที่ ๒ เธอก็จงทรงจำไว้อย่างนั้น เราแสดงทุกขนิโรธอริยสัจ
เป็นข้อที่ ๓ เธอก็จงทรงจำไว้อย่างนั้น เราแสดงทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
เป็นข้อที่ ๔ เธอก็จงทรงจำไว้อย่างนั้น เธอจงทรงจำอริยสัจ ๔ ประการที่เรา
แสดงไว้แล้ว อย่างนี้แล
ภิกษุ เพราะเหตุนั้น เธอพึงทำความเพียรเพื่อทรงจำว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”

ปฐมธารณสูตรที่ ๕ จบ

๖. ทุติยธารณสูตร
ว่าด้วยการทรงจำอริยสัจ สูตรที่ ๒

[๑๐๘๖] “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงทรงจำอริยสัจ ๔ ประการที่เรา
แสดงไว้แล้วเถิด”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทรงจำอริยสัจ ๔ ประการที่พระผู้มี
พระภาคทรงแสดงไว้แล้ว”
“ภิกษุ เธอทรงจำอริยสัจ ๔ ประการที่เราแสดงไว้แล้ว อย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทรงจำทุกขอริยสัจที่พระผู้มีพระภาคทรง
แสดงไว้แล้วเป็นข้อที่ ๑ เป็นไปไม่ได้เลยที่สมณะหรือพราหมณ์ผู้ใดผู้หนึ่งพึงกล่าว
อย่างนี้ว่า ‘นี้ไม่ใช่ทุกขอริยสัจข้อที่ ๑ ที่พระสมณโคดมทรงแสดงไว้แล้ว เราจัก
บอกคืนทุกขอริยสัจนั้นแล้วบัญญัติทุกขอริยสัจข้อที่ ๑ เป็นอย่างอื่น’ ข้าพระองค์
ทรงจำทุกขสมุทยอริยสัจ ฯลฯ ข้าพระองค์ทรงจำทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้แล้วเป็นข้อที่ ๔ เป็นไปไม่ได้เลยที่สมณะหรือ
พราหมณ์ผู้ใดผู้หนึ่งพึงกล่าวว่า ‘นี้ไม่ใช่ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจข้อที่ ๔ ที่
พระสมณโคดมทรงแสดงไว้แล้ว เราจักบอกคืนทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนั้นแล้ว
บัญญัติทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจข้อที่ ๔ เป็นอย่างอื่น’ ข้าพระองค์ทรงจำ
อริยสัจ ๔ ประการที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้แล้ว อย่างนี้แล”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๖๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๒. ธัมมจักกัปปวัตตนวรรค ๗. อวิชชาสูตร

“ดีละ ดีละ ภิกษุ ดีแท้ ภิกษุ เธอทรงจำอริยสัจ ๔ ประการที่เราแสดงไว้แล้ว
เราแสดงทุกขอริยสัจเป็นข้อที่ ๑ เธอก็จงทรงจำไว้อย่างนั้น เป็นไปไม่ได้เลยที่สมณะ
หรือพราหมณ์ผู้ใดผู้หนึ่งพึงกล่าวว่า ‘นี้ไม่ใช่ทุกขอริยสัจข้อที่ ๑ ที่พระสมณโคดม
ทรงแสดงไว้แล้ว เราจักบอกคืนทุกขอริยสัจข้อที่ ๑ นั้นแล้วบัญญัติทุกขอริยสัจ
ข้อที่ ๑ เป็นอย่างอื่น’ เราแสดงทุกขสมุทยอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธอริยสัจ ฯลฯ
เราแสดงทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นข้อที่ ๔ เธอก็จงทรงจำไว้อย่างนั้น เป็น
ไปไม่ได้เลยที่สมณะหรือพราหมณ์ผู้ใดผู้หนึ่งพึงกล่าวว่า ‘นี้ไม่ใช่ทุกขนิโรธคามินี-
ปฏิปทาอริยสัจข้อที่ ๔ ที่พระสมณโคดมทรงแสดงไว้ เราจักบอกคืนทุกขนิโรธ-
คามินีปฏิปทาอริยสัจ ๔ นั้นแล้วบัญญัติทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจข้อที่ ๔
เป็นอย่างอื่น’ เธอจงทรงจำอริยสัจ ๔ ประการที่เราแสดงไว้แล้ว อย่างนี้แล
ภิกษุ เพราะเหตุนั้น เธอพึงทำความเพียรเพื่อทรงจำว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”

ทุติยธารณสูตรที่ ๖ จบ

๗. อวิชชาสูตร
ว่าด้วยอวิชชา

[๑๐๘๗] ภิกษุนั้นนั่ง ณ ที่สมควรแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า ‘อวิชชา อวิชชา’ อวิชชาเป็นอย่างไร
และด้วยเหตุเพียงเท่าไร บุคคลจึงชื่อว่า ‘ตกอยู่ในอวิชชา”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย
ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ ความไม่รู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้เรียกว่า ‘อวิชชา’
และด้วยเหตุเพียงเท่านี้ บุคคลจึงชื่อว่า ‘ตกอยู่ในอวิชชา’
ภิกษุ เพราะเหตุนั้น เธอพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์
ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”

อวิชชาสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๒. ธัมมจักกัปปวัตตนวรรค ๙. สังกาสนสูตร

๘. วิชชาสูตร
ว่าด้วยวิชชา

[๑๐๘๘] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า ‘วิชชา วิชชา’ วิชชาเป็นอย่างไร และด้วยเหตุเพียงเท่าไร
บุคคลจึงชื่อว่า ‘มีวิชชา”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย
ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้เรียกว่า ‘วิชชา’ และ
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ บุคคลจึงชื่อว่า ‘มีวิชชา’
ภิกษุ เพราะเหตุนั้น เธอพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์
ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”

วิชชาสูตรที่ ๘ จบ

๙. สังกาสนสูตร
ว่าด้วยการจำแนกอริยสัจ

[๑๐๘๙] “ภิกษุทั้งหลาย คำที่เราบัญญัติไว้ว่า ‘นี้ทุกขอริยสัจ’ ในคำบัญญัตินั้น
เมื่อจะขยายความว่า ‘นี้ชื่อว่าทุกขอริยสัจ แม้เพราะเหตุนี้’ อักษร พยัญชนะ
และการจำแนก ไม่มีที่สิ้นสุด คำที่เราบัญญัติว่า ‘นี้ทุกขสมุทยอริยสัจ’ ฯลฯ
คำที่เราบัญญัติว่า ‘นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ’ ในคำบัญญัตินั้น เมื่อจะ
ขยายความว่า ‘นี้ชื่อว่าทุกขนิโรธคามินี้ปฏิปทาอริยสัจ แม้เพราะเหตุนี้’ อักษร
พยัญชนะ และการจำแนก ไม่มีที่สิ้นสุด
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”

สังกาสนสูตรที่ ๙ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๒. ธัมมจักกัปปวัตตนวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑๐. ตถสูตร
ว่าด้วยสิ่งจริงแท้

[๑๐๙๐] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่ง ๔ อย่างนี้ เป็นของแท้ ไม่ผิด ไม่เป็น
อย่างอื่น
สิ่ง ๔ อย่าง อะไรบ้าง คือ
ข้อที่ว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’ เป็น
ของแท้ ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น
ภิกษุทั้งหลาย สิ่ง ๔ อย่างนี้ เป็นของแท้ ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”

ตถสูตรที่ ๑๐ จบ
ธัมมจักกัปปวัตตนวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ๒. ตถาคตสูตร
๓. ขันธสูตร ๔. อัชฌัตติกายตนสูตร
๕. ปฐมธารณสูตร ๖. ทุติยธารณสูตร
๗. อวิชชาสูตร ๘. วิชชาสูตร
๙. สังกาสนสูตร ๑๐. ตถสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๓. โกฏิคามวรรค ๑. ปฐมโกฏิคามสูตร

๓. โกฏิคามวรรค
หมวดว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่โกฏิคาม
๑. ปฐมโกฏิคามสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่โกฏิคาม สูตรที่ ๑

[๑๐๙๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โกฏิคาม แคว้นวัชชี
ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดอริยสัจ ๔ ประการ เราและเธอทั้งหลายจึงเที่ยวเร่ร่อนไป๑
ตลอดกาลยาวนานอย่างนี้
อริยสัจ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดทุกขอริยสัจ เราและเธอทั้งหลายจึง
เที่ยวเร่ร่อนไปตลอดกาลยาวนานอย่างนี้
๒. เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดทุกขสมุทยอริยสัจ ฯลฯ
๓. เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดทุกขนิโรธอริยสัจ ฯลฯ
๔. เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เราและ
เธอทั้งหลายจึงเที่ยวเร่ร่อนไปตลอดกาลยาวนานอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย เราได้รู้แจ้งแทงตลอดทุกขอริยสัจ เราได้รู้แจ้งแทงตลอดทุกข-
สมุทยอริยสัจ เราได้รู้แจ้งแทงตลอดทุกขนิโรธอริยสัจ เราได้รู้แจ้งแทงตลอดทุกข-
นิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เราถอนภวตัณหาได้แล้ว ภวเนตติ๒สิ้นไปแล้ว บัดนี้
ภพใหม่ไม่มีอีก”๓
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา-
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๓. โกฏิคามวรรค ๒. ทุติยโกฏิคามสูตร

“เพราะไม่เห็นอริยสัจ ๔ ประการตามความเป็นจริง
เราและเธอทั้งหลายจึงเที่ยวเร่ร่อนไป
ในชาตินั้น ๆ ตลอดกาลยาวนาน
อริยสัจ ๔ ประการนี้เราและเธอทั้งหลายเห็นแล้ว
ภวเนตติเราถอนได้แล้ว รากเหง้าแห่งทุกข์เราตัดขาดแล้ว
บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก”

ปฐมโกฏิคามสูตรที่ ๑ จบ

๒. ทุติยโกฏิคามสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่โกฏิคาม สูตรที่ ๒

[๑๐๙๒] “ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่รู้ชัด
ตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ไม่จัดว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือไม่จัดว่าเป็น
พราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ และท่านเหล่านั้นย่อมไม่รู้แจ้งประโยชน์แห่งความเป็น
สมณะหรือประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ด้วยตนเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดตามความเป็น
จริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’ สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่านั้น จัดว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ และจัดว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์
ทั้งท่านเหล่านั้นย่อมรู้แจ้งซึ่งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะและประโยชน์แห่งความ
เป็นพราหมณ์ด้วยตนเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา-
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
“ชนเหล่าใดไม่รู้ทุกข์ เหตุเกิดทุกข์
ธรรมชาติเป็นที่ดับทุกข์ลงได้สิ้นเชิง
และไม่รู้จักทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
ชนเหล่านั้นเป็นผู้เสื่อมจากเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติ
เป็นผู้ไม่ควรที่จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
เป็นผู้เข้าถึงชาติและชราแท้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๖๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๓. โกฏิคามวรรค ๔. อรหันตสูตร

ส่วนชนเหล่าใดรู้ทุกข์ เหตุเกิดทุกข์
ธรรมชาติเป็นที่ดับทุกข์ลงได้สิ้นเชิง
และรู้จักทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
ชนเหล่านั้นเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติ
เป็นผู้ควรที่จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
ไม่เป็นผู้เข้าถึงชาติและชรา”๑

ทุติยโกฏิคามสูตรที่ ๒ จบ

๓. สัมมาสัมพุทธสูตร
ว่าด้วยเหตุให้เรียกว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

[๑๐๙๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ ประการนี้
อริยสัจ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
อริยสัจ ๔ ประการนี้
เพราะเรารู้แจ้งอริยสัจ ๔ ประการนี้ตามความเป็นจริง ชาวโลกจึงเรียกตถาคต
ว่า ‘พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า’
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”

สัมมาสัมพุทธสูตรที่ ๓ จบ

๔. อรหันตสูตร
ว่าด้วยพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

[๑๐๙๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาลได้
ตรัสรู้ตามความเป็นจริง พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้นทั้งหมดได้ตรัสรู้


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๓. โกฏิคามวรรค ๕. อาสวักขยสูตร

อริยสัจ ๔ ประการตามความเป็นจริง แม้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่าใด
เหล่าหนึ่งในอนาคตกาลจักตรัสรู้ตามความเป็นจริง พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทั้งหมดเหล่านั้นจักตรัสรู้อริยสัจ ๔ ประการตามความเป็นจริง แม้พระอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบันกาลย่อมตรัสรู้ตามความเป็นจริง พระ
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้นทั้งหมดย่อมตรัสรู้อริยสัจ ๔ ประการตามความ
เป็นจริง

อริยสัจ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทุกขอริยสัจ ๒. ทุกขสมุทยอริยสัจ
๓. ทุกขนิโรธอริยสัจ ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาลได้ตรัสรู้ตามความ
เป็นจริง ฯลฯ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาลจักตรัสรู้
ฯลฯ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบันกาลย่อมตรัสรู้
ตามความเป็นจริง พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้นทั้งหมดย่อมตรัสรู้
อริยสัจ ๔ ประการนี้ตามความเป็นจริง
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”

อรหันตสูตรที่ ๔ จบ

๕. อาสวักขยสูตร
ว่าด้วยความสิ้นอาสวะ

[๑๐๙๕] “ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นอาสวะของผู้รู้ ผู้เห็น มิได้กล่าว
ความสิ้นอาสวะของผู้ไม่รู้ ผู้ไม่เห็น
ความสิ้นอาสวะของผู้รู้ ผู้เห็นอะไร
คือ ความสิ้นอาสวะของผู้รู้ ผู้เห็นว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’
ความสิ้นอาสวะของผู้รู้ ผู้เห็น อย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๖๐๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๓. โกฏิคามวรรค ๗. ตถสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิทา”

อาสวักขยสูตรที่ ๕ จบ

๖. มิตตสูตร
ว่าด้วยการชักชวนมิตรให้รู้อริยสัจ

[๑๐๙๖] “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงอนุเคราะห์คนเหล่าใด และคน
เหล่าใดจะเป็นมิตร อำมาตย์ ญาติ สาโลหิตก็ตาม ให้ความสำคัญคำที่ควรรับฟัง
เธอทั้งหลายพึงชักชวนคนเหล่านั้นให้ตั้งมั่น ให้ดำรงอยู่ในการรู้อริยสัจ ๔ ประการ
ตามความเป็นจริง

อริยสัจ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทุกขอริยสัจ ๒. ทุกขสมุทยอริยสัจ
๓. ทุกขนิโรธอริยสัจ ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
เธอทั้งหลายพึงอนุเคราะห์คนเหล่าใด และคนเหล่าใดจะเป็นมิตร อำมาตย์
ญาติ สาโลหิตก็ตาม ให้ความสำคัญคำที่ควรรับฟัง เธอทั้งหลายพึงชักชวนคน
เหล่านั้นให้ตั้งมั่น ให้ดำรงอยู่ในการรู้อริยสัจ ๔ ประการนี้ตามความเป็นจริง
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”

มิตตสูตรที่ ๖ จบ

๗. ตถสูตร
ว่าด้วยสิ่งจริงแท้

[๑๐๙๗] “ภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ ประการนี้
อริยสัจ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทุกขอริยสัจ ๒. ทุกขสมุทยอริยสัจ
๓. ทุกขนิโรธอริยสัจ ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๖๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๓. โกฏิคามวรรค ๙. ปริญเญยยสูตร

อริยสัจ ๔ ประการนี้ เป็นของแท้ ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น ฉะนั้น จึงเรียกว่า
‘อริยสัจ’
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”

ตถสูตรที่ ๗ จบ

๘. โลกสูตร
ว่าด้วยพระตถาคตเป็นอริยะในโลก

[๑๐๙๘] “ภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ ประการนี้
อริยสัจ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทุกขอริยสัจ ๒. ทุกขสมุทยอริยสัจ
๓. ทุกขนิโรธอริยสัจ ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
พระตถาคตเป็นอริยะในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่
สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ฉะนั้น จึงเรียกว่า ‘อริยสัจ’
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”

โลกสูตรที่ ๘ จบ

๙. ปริญเญยยสูตร
ว่าด้วยอริยสัจที่ควรกำหนดรู้

[๑๐๙๙] “ภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ ประการนี้
อริยสัจ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทุกขอริยสัจ ๒. ทุกขสมุทยอริยสัจ
๓. ทุกขนิโรธอริยสัจ ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
อริยสัจ ๔ ประการนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๖๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๓. โกฏิคามวรรค ๑๐. ควัมปติสูตร

บรรดาอริยสัจ ๔ ประการนี้ อริยสัจที่ควรกำหนดรู้ก็มี อริยสัจที่ควรละก็มี
อริยสัจที่ควรทำให้แจ้งก็มี อริยสัจที่ควรเจริญก็มี
อริยสัจที่ควรกำหนดรู้ อะไรบ้าง คือ
ทุกขอริยสัจควรกำหนดรู้ ทุกขสมุทยอริยสัจควรละ ทุกขนิโรธอริยสัจควร
ทำให้แจ้ง ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจควรเจริญ
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”

ปริญเญยยสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ควัมปติสูตร
ว่าด้วยพระควัมปติ

[๑๑๐๐] สมัยหนึ่ง ภิกษุผู้เถระหลายรูปอยู่ ณ เมืองสหชนิยะ แคว้นเจตี
สมัยนั้น เมื่อภิกษุผู้เถระหลายรูปกลับจากบิณฑบาต ภายหลังฉันภัตตาหารเสร็จ
แล้ว นั่งประชุมกันที่โรงกลม ได้สนทนากันขึ้นในระหว่างว่า “ท่านทั้งหลาย ผู้ใด
เห็นทุกข์ ผู้นั้นชื่อว่าเห็นทุกขสมุทัยบ้าง เห็นทุกขนิโรธบ้าง เห็นทุกขนิโรธคามินี-
ปฏิปทาบ้าง”
เมื่อภิกษุผู้เถระทั้งหลายกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระควัมปติเถระได้กล่าวกับ
ภิกษุทั้งหลายดังนี้ว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย ผมได้ฟัง ได้รับมาเฉพาะพระพักตร์พระ
ผู้มีพระภาคว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดเห็นทุกข์ ผู้นั้นชื่อว่าเห็นทุกขสมุทัยบ้าง เห็น
ทุกขนิโรธบ้าง เห็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาบ้าง ผู้ใดเห็นทุกขสมุทัย ผู้นั้น
ชื่อว่าเห็นทุกข์บ้าง เห็นทุกขนิโรธบ้าง เห็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาบ้าง ผู้ใด
เห็นทุกขนิโรธ ผู้นั้นชื่อว่าเห็นทุกข์บ้าง เห็นทุกขสมุทัยบ้าง เห็นทุกขนิโรธ-
คามินีปฏิปทาบ้าง ผู้ใดเห็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ผู้นั้นชื่อว่าเห็นทุกข์บ้าง เห็น
ทุกขสมุทัยบ้าง เห็นทุกขนิโรธบ้าง”

ควัมปติสูตรที่ ๑๐ จบ
โกฏิคามวรรคที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๓. โกฏิคามวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมโกฏิคามสูตร ๒. ทุติยโกฏิคามสูตร
๓. สัมมาสัมพุทธสูตร ๔. อรหันตสูตร
๕. อาสวักขยสูตร ๖. มิตตสูตร
๗. ตถสูตร ๘. โลกสูตร
๙. ปริญเญยยสูตร ๑๐. ควัมปติสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๔. สีสปาวนวรรค ๑. สีสปาวนสูตร

๔. สีสปาวนวรรค
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่สีสปาวัน
๑. สีสปาวนสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่สีสปาวัน

[๑๑๐๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ สีสปาวัน เขตกรุงโกสัมพี ครั้งนั้น
พระผู้มีพระภาคทรงหยิบใบประดู่ลาย ๒-๓ ใบขึ้นมา แล้วรับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลาย
มาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ใบประดู่ลาย
๒-๓ ใบที่เราหยิบขึ้นมากับใบที่อยู่บนต้น อย่างไหนจะมากกว่ากัน” ลำดับนั้น
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ใบที่อยู่บนต้นไม้นั้นแลมากกว่า ใบประดู่ลาย ๒-๓
ใบที่พระองค์ทรงหยิบขึ้นมามีเพียงเล็กน้อย พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่เรารู้แล้วแต่มิได้บอกเธอทั้งหลายก็มีมากเหมือนกัน
เพราะเหตุไร เราจึงมิได้บอก
เพราะสิ่งนี้ไม่มีประโยชน์ ไม่ใช่จุดเริ่มต้นแห่งพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปเพื่อ
ความเบื่อหน่าย ไม่เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อดับ ไม่เป็นไปเพื่อสงบระงับ
ไม่เป็นไปเพื่อรู้ยิ่ง ไม่เป็นไปเพื่อตรัสรู้ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน เพราะเหตุนั้น เรา
จึงมิได้บอก
สิ่งอะไรเล่าที่เราบอกแล้ว
คือ เราได้บอกว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินี-
ปฏิปทา’
เพราะเหตุไร เราจึงบอก
เพราะสิ่งนี้มีประโยชน์ เป็นจุดเริ่มต้นแห่งพรหมจรรย์ เป็นไปเพื่อความ
เบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพิ่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
เพราะเหตุนั้น เราจึงบอก
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”

สีสปาวนสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๔. สีสปาวนวรรค ๓. ทัณฑสูตร

๒. ขทิรปัตตสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยใบตะเคียน

[๑๑๐๒] “ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เรา
ยังไม่รู้แจ้งทุกขอริยสัจ ทุกขสมุทยอริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ ทุกขนิโรธคามินี-
ปฏิปทาอริยสัจตามความเป็นจริง แล้วจักทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบได้’
เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลจะพึงกล่าวว่า ‘เราจักใช้ใบตะเคียน ใบทองหลาง หรือ
ใบมะขามป้อมห่อน้ำหรือห่อใบตาลนำไป’ แม้ฉันใด เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลจะพึง
กล่าวว่า ‘เราไม่ได้รู้แจ้งทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจตามความ
เป็นจริง แล้วจักทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบได้’ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
แต่เป็นไปได้ที่บุคคลจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เราได้รู้แจ้งทุกขอริยสัจ ทุกข-
สมุทยอริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจตามความเป็นจริง
แล้วจักทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบได้’
เป็นไปได้ที่บุคคลจะพึงกล่าวว่า ‘เราจักใช้ใบบัว ใบทองกวาว หรือใบย่านทราย
ห่อน้ำหรือห่อใบตาลนำไป’ แม้ฉันใด เป็นไปได้ที่บุคคลจะพึงกล่าวว่า ‘เราได้รู้แจ้ง
ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจตามความเป็นจริง แล้วจักทำ
ที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบได้’ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”

ขทิรปัตตสูตรที่ ๒ จบ

๓. ทัณฑสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยท่อนไม้

[๑๑๐๓] “ภิกษุทั้งหลาย ท่อนไม้ที่ขว้างไปบนอากาศ บางคราวเอาโคนลงมา
บางคราวเอาตรงกลางลงมา บางคราวเอาปลายลงมา แม้ฉันใด สัตว์ทั้งหลายผู้มี
อวิชชาปิดกั้น มีตัณหาโยงใยจึงแล่นไป ท่องเที่ยวไป บางคราวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น
บางคราวจากโลกอื่นมาสู่โลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๖๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๔. สีสปาวนวรรค ๔. เจลสูตร

ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะไม่เห็นอริยสัจ ๔ ประการ
อริยสัจ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”

ทัณฑสูตรที่ ๓ จบ

๔. เจลสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยผ้าที่ถูกไฟไหม้

[๑๑๐๔] “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อผ้าถูกไฟไหม้หรือศีรษะถูกไฟไหม้ ควรทำอย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อผ้าถูกไฟไหม้หรือศีรษะถูกไฟไหม้ ควรทำความ
พอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติ
และสัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่ง เพื่อดับไฟที่ไหม้ผ้าหรือไฟที่ไหม้ศีรษะนั้น
พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย ควรวางเฉย ไม่ควรใส่ใจถึงผ้าที่ถูกไฟไหม้หรือศีรษะที่ถูกไฟ
ไหม้ ควรทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น
ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่ง เพื่อรู้แจ้งอริยสัจ ๔ ประการ
ที่ยังไม่รู้แจ้งตามความเป็นจริง
อริยสัจ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตามความ
เป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”

เจลสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๔. สีสปาวนวรรค ๖. ปาณสูตร

๕. สัตติสตสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยผู้ถูกหอก ๑๐๐ เล่มทิ่มแทง

[๑๑๐๕] “ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนใคร ๆ พึงกล่าวกับบุรุษผู้มีอายุ ๑๐๐
ปี มีชีวิตอยู่ ๑๐๐ ปีว่า ‘มาเถิด พ่อมหาจำเริญ ชนทั้งหลายจักใช้หอก ๑๐๐ เล่ม
ทิ่มแทงท่านในเวลาเช้า ใช้หอก ๑๐๐ เล่มทิ่มแทงในเวลาเที่ยง ใช้หอก ๑๐๐
เล่มทิ่มแทงในเวลาเย็น ท่านนั้นถูกหอกทิ่มแทงวันละ ๓๐๐ เล่ม มีอายุ ๑๐๐ ปี
มีชีวิตอยู่ ๑๐๐ ปี เมื่อล่วงไป ๑๐๐ ปี ก็จักรู้แจ้งอริยสัจ ๔ ประการที่ยังไม่ได้รู้แจ้ง
กุลบุตรผู้เห็นประโยชน์ควรยอมรับข้อเสนอนั้น
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะสงสารนี้มีเบื้องต้นกับเบื้องปลายกำหนดรู้ไม่ได้ เบื้องต้นและที่สุดแห่ง
การประหารด้วยหอก การประหารด้วยดาบ การประหารด้วยหลาว และการ
ประหารด้วยขวานย่อมไม่ปรากฏ อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน เราไม่
กล่าวว่าการรู้แจ้งอริยสัจ ๔ ประการ มีได้พร้อมกับทุกข์และโทมนัส แต่เรากล่าวว่า
การรู้แจ้งอริยสัจ ๔ ประการมีได้พร้อมกับสุขและโสมนัสเท่านั้น
อริยสัจ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”

สัตติสตสูตรที่ ๕ จบ

๖. ปาณสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยหลาวเสียบสัตว์

[๑๑๐๖] “ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษพึงตัดหญ้า ท่อนไม้ กิ่งไม้ และ
ใบไม้ในชมพูทวีปนี้มารวมกันเป็นกองเดียวกัน ครั้นรวมเป็นกองเดียวกันแล้ว พึงทำ
ให้เป็นหลาว ครั้นทำให้เป็นหลาวแล้ว พึงเสียบสัตว์ขนาดใหญ่ที่มีอยู่ในมหาสมุทร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๖๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๔. สีสปาวนวรรค ๗. ปฐมสุริยสูตร

เข้าที่หลาวขนาดใหญ่ เสียบสัตว์ขนาดกลางที่มีอยู่ในมหาสมุทรเข้าที่หลาวขนาด
กลาง เสียบสัตว์ขนาดเล็กที่มีอยู่ในมหาสมุทรเข้าที่หลาวขนาดเล็ก สัตว์ขนาดเขื่อง
ในมหาสมุทรยังไม่ทันหมด หญ้า ท่อนไม้ กิ่งไม้ และใบไม้ในชมพูทวีปนี้พึงหมด
สิ้นไปเสียก่อน
ภิกษุทั้งหลาย การที่จะเสียบสัตว์ขนาดเล็กในมหาสมุทรซึ่งมีมากกว่าสัตว์
ขนาดเขื่องนั้นเข้าที่หลาว มิใช่ทำได้ง่าย
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะตัวมันมีขนาดเล็ก อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น อบายก็ใหญ่นัก
บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ หลุดพ้นจากอบายที่ใหญ่อย่างนั้นแล้ว ย่อมรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”

ปาณสูตรที่ ๖ จบ

๗. ปฐมสุริยสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยดวงอาทิตย์ สูตรที่ ๑

[๑๑๐๗] “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อดวงอาทิตย์กำลังจะอุทัย ย่อมมีแสงอรุณขึ้นมา
ก่อนเป็นบุพนิมิต ฉันใด สัมมาทิฏฐิก็ฉันนั้นเหมือน เป็นตัวนำ เป็นบุพนิมิต
เพื่อความตรัสรู้อริยสัจ ๔ ประการ ภิกษุผู้มีสัมมาทิฏฐิพึงหวังได้ว่าจักรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”

ปฐมสุริยสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๔. สีสปาวนวรรค ๙. อินทขีลสูตร

๘. ทุติยสุริยสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยดวงอาทิตย์ สูตรที่ ๒

[๑๑๐๘] “ภิกษุทั้งหลาย ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ยังไม่เกิดขึ้นในโลกตราบ
ใด ความสว่างไสวเจิดจ้าก็ยังไม่ปรากฏตราบนั้น เวลานั้นมีแต่ความมืดมนอนธการ
กลางวัน และกลางคืนไม่ปากฏ เดือนและกึ่งเดือนไม่ปรากฏ ฤดูและปีก็ไม่ปรากฏ
แต่เมื่อใด ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์เกิดขึ้นในโลก เมื่อนั้น ความสว่างไสว
เจิดจ้า ย่อมปรากฏ เวลานั้นไม่มีความมืดมนอนธการ กลางวันและกลางคืนก็ปรากฏ
เดือนและกึ่งเดือนก็ปรากฏ ฤดูและปีก็ปรากฏ ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่อุบัติขึ้นในโลกตราบใด
ความสว่างไสวเจิดจ้าก็ยังไม่ปรากฏตราบนั้น เวลานั้นมีแต่ความมืดมนอนธการ
การบอก การแสดง การบัญญัติ การแต่งตั้ง การเปิดเผย การจำแนก การ
ทำให้ง่ายซึ่งอริยสัจ ๔ ประการ ก็ยังไม่มี
แต่เมื่อใด ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลก เมื่อนั้น ความ
สว่างไสวเจิดจ้าก็ปรากฏ เวลานั้นไม่มีความมืดมนอนธการ การบอก การแสดง
การบัญญัติ การแต่งตั้ง การเปิดเผย การจำแนก การทำให้ง่ายซึ่งอริยสัจ ๔
ประการก็ย่อมมี ฉันนั้นเหมือนกัน
อริยสัจ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”

ทุติยสุริยสูตรที่ ๘ จบ

๙. อินทขีลสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยเสาเขื่อนที่ปักไว้ลึก

[๑๑๐๙] “ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งไม่รู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’ สมณะหรือพราหมณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๖๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๔. สีสปาวนวรรค ๙. อินทขีลสูตร

เหล่านั้นย่อมมองหน้า๑ของสมณะหรือพราหมณ์เหล่าอื่นด้วยคิดว่า ‘ท่านผู้นี้เมื่อรู้
ก็รู้จริง เมื่อเห็น ก็เห็นจริง’
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนปุยนุ่นหรือปุยฝ้ายเป็นของเบา มักลอยไปตามลม
วางไว้บนพื้นอันราบเรียบ ลมทางทิศตะวันออกพัดปุยนุ่นหรือปุยฝ้ายนั้นไปทางทิศ
ตะวันตก ลมทางทิศตะวันตกพัดไปทางทิศตะวันออก ลมทางทิศเหนือพัดไปทาง
ทิศใต้ ลมทางทิศใต้พัดไปทางทิศเหนือ
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะปุยฝ้ายเป็นของเบา อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน สมณะ
หรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นย่อมมองหน้าของสมณะ
หรือพราหมณ์เหล่าอื่นด้วยคิดว่า ‘ท่านผู้นี้เมื่อรู้ ก็รู้จริง เมื่อเห็น ก็เห็นจริง’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะไม่เห็นอริยสัจ ๔ ประการ
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ชัดตามความ
เป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น
ไม่ต้องมองหน้าของสมณะหรือพราหมณ์เหล่าอื่นด้วยคิดว่า ‘ท่านผู้นี้เมื่อรู้ ก็รู้จริง
เมื่อเห็น ก็เห็นจริง’
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเสาเหล็กหรือเสาเขื่อนมีลำต้นปักไว้ลึก ฝังไว้ดี
ไม่ไหว ไม่โยก แม้หากพายุฝนพัดมาจากทิศตะวันออกอย่างรุนแรงก็ไม่สั่น
ไม่สะเทือน ไม่สะท้าน แม้หากพายุฝนพัดมาจากทิศตะวันตก ฯลฯ แม้หากพายุ
ฝนพัดมาจากทิศเหนือ ฯลฯ แม้หากพายุฝนพัดมาจากทิศใต้อย่างรุนแรงก็ไม่สั่น
ไม่สะเทือน ไม่สะท้าน
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเสาเหล็กหรือเสาเขื่อนมีลำต้นปักไว้ลึก ฝังไว้ดี อุปมานี้ฉันใด อุปไมย
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๔. สีสปาวนวรรค ๑๐. วาทัตถิกสูตร

‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ไม่ต้อง
มองหน้าของสมณะหรือพราหมณ์เหล่าอื่นด้วยคิดว่า ‘ท่านผู้นี้เมื่อรู้ ก็รู้จริง เมื่อเห็น
ก็เห็นจริง’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเห็นอริยสัจ ๔ ประการดีแล้ว
อริยสัจ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”

อินทขีลสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. วาทัตถิกสูตร
ว่าด้วยสมณพราหมณ์ผู้ต้องการโต้วาทะ

[๑๑๑๐] “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์
ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’ แม้หากสมณะหรือพราหมณ์ผู้ต้องการวาทะ
แสวงหาวาทะ มาจากทิศตะวันออกด้วยคิดว่า ‘จักโต้วาทะกับภิกษุนั้น’ เป็นไปไม่ได้
เลยที่ภิกษุรูปนั้นจักสะทกสะท้านหรือหวั่นไหวต่อสมณะหรือพราหมณ์นั้นด้วยสหธรรม๑
แม้หากสมณะหรือพราหมณ์ผู้ต้องการวาทะ แสวงหาวาทะ มาจากทิศตะวันตก
ฯลฯ แม้หากสมณะหรือพราหมณ์ผู้ต้องการวาทะ แสวงหาวาทะ มาจากทิศเหนือ
ฯลฯ แม้หากสมณะหรือพราหมณ์ผู้ต้องการวาทะ แสวงหาวาทะมาจากทิศใต้ด้วย
คิดว่า ‘จักโต้วาทะกับภิกษุนั้น’ เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุรูปนั้นจักสะทกสะท้านหรือ
หวั่นไหวต่อสมณะหรือพราหมณ์นั้นด้วยสหธรรม
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเสาหินยาว ๑๖ ศอก เสาหินนั้นมีลำต้นปักลง
ไปข้างล่าง ๘ ศอก อยู่ข้างบน ๘ ศอก แม้หากพายุฝนพัดมาจากทิศตะวันออก
อย่างรุนแรงก็ไม่สั่น ไม่สะเทือน ไม่สะท้าน แม้หากพายุฝนพัดมาจากทิศตะวันตก


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๔. สีสปาวนวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ฯลฯ แม้หากพายุฝนพัดมาจากทิศเหนือ ฯลฯ แม้หากพายุฝนพัดมาจากทิศใต้
อย่างรุนแรงก็ไม่สั่น ไม่สะเทือน ไม่สะท้าน
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเสาหินมีลำต้นปักไว้ลึก ฝังไว้ดี อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินี-
ปฏิปทา’ แม้หากสมณะหรือพราหมณ์ต้องการวาทะ แสวงหาวาทะ มาจากทิศ
ตะวันออกด้วยคิดว่า ‘จักโต้วาทะกับภิกษุนั้น’ เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุรูปนั้นจักสะทก
สะท้านหรือหวั่นไหวต่อสมณะหรือพรหมณ์นั้นด้วยสหธรรม แม้หากสมณะหรือ
พราหมณ์ต้องการวาทะ แสวงหาวาทะ มาจากทิศตะวันตก ฯลฯ แม้หากสมณะ
หรือพราหมณ์ต้องการวาทะ แสวงหาวาทะ มาจากทิศเหนือ ฯลฯ แม้หากสมณะ
หรือพราหมณ์ผู้ต้องการวาทะ แสวงหาวาทะมาจากทิศใต้ด้วยคิดว่า ‘จักโต้วาทะ
กับภิกษุนั้น’ เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุรูปนั้นจักสะทกสะท้าน หรือหวั่นไหวต่อสมณะ
หรือพราหมณ์นั้นด้วยสหธรรม
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเห็นอริยสัจ ๔ ประการดีแล้ว
อริยสัจ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”

วาทัตถิกสูตรที่ ๑๐ จบ
สีสปาวนวรรคที่ ๔ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สีสปาวนสูตร ๒. ขทิรปัตตสูตร
๓. ทัณฑสูตร ๔. เจลสูตร
๕. สัตติสตสูตร ๖. ปาณสูตร
๗. ปฐมสุริยสูตร ๘. ทุติยสุริยสูตร
๙. อินทขีลสูตร ๑๐. วาทัตถิกสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๕. ปปาตวรรค ๑. โลกจินตาสูตร

๕. ปปาตวรรค
หมวดว่าด้วยเหวคือสังสารวัฏ
๑. โลกจินตาสูตร
ว่าด้วยการคิดเรื่องโลก

[๑๑๑๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้
เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลาย
มาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว บุรุษคนหนึ่งออกจากกรุงราชคฤห์
เข้าไปยังสระโบกขรณีชื่อสุมาคธาด้วยตั้งใจว่า ‘จักคิดเรื่องโลก’ แล้วนั่งคิดเรื่องโลก
อยู่ริมสระโบกขรณีชื่อสุมาคธา เขาได้เห็นกองทัพ ๔ เหล่าเข้าไปสู่ก้านบัวที่ริม
สระโบกขรณีชื่อสุมาคธาแล้วคิดดังนี้ว่า ‘เราชื่อว่าเป็นคนบ้า มีจิตฟุ้งซ่าน เห็นสิ่ง
ที่ไม่มีในโลก’ ต่อมา เขาเข้าไปยังเมืองบอกแก่หมู่มหาชนว่า ‘ท่านทั้งหลาย
ข้าพเจ้าเป็นคนบ้า มีจิตฟุ้งซ่าน เห็นสิ่งที่ไม่มีในโลก’
หมู่มหาชนถามว่า ‘ท่านผู้เจริญ ท่านเป็นบ้าอย่างไร มีจิตฟุ้งซ่านอย่างไร
และอะไรที่ท่านเห็นแล้วแต่ไม่มีในโลก’
‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย จะเล่าให้ฟัง ข้าพเจ้าออกจากกรุงราชคฤห์เข้าไปยังสระ
โบกขรณีชื่อสุมาคธาด้วยตั้งใจว่า ‘จักคิดเรื่องโลก’ แล้วนั่งคิดเรื่องโลกอยู่ริมสระ
โบกขรณีชื่อสุมาคธา ข้าพเจ้าได้เห็นกองทัพ ๔ เหล่าเข้าไปสู่ก้านบัวที่ริมสระโบกขรณี
ชื่อสุมาคธา ข้าพเจ้าเป็นบ้าอย่างนี้ มีจิตฟุ้งซ่านอย่างนี้ และสิ่งนี้ที่ข้าพเจ้าเห็น
แล้วแต่ไม่มีในโลก’
‘บุรุษผู้เจริญ ท่านเป็นคนบ้าแน่ มีจิตฟุ้งซ่านแน่ และสิ่งนี้ที่ท่านเห็นแล้วแต่
ไม่มีในโลก’
ภิกษุทั้งหลาย บุรุษนั้นได้เห็นสิ่งนั้นจริงทีเดียว ไม่ใช่ไม่จริง
ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว สงครามระหว่างเทวดากับอสูรประชิดกัน
ในสงครามนั้น พวกเทวดาชนะ พวกอสูรพ่ายแพ้ พวกอสูรที่พ่ายแพ้กลัวแล้วพา
กันเข้าสู่บุรีอสูรทางก้านบัวทำจิตของเทวดาทั้งหลายให้งงงวยอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๖๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๕. ปปาตวรรค ๒. ปปาตสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายอย่าคิดเรื่องโลกว่า ‘โลกเที่ยง หรือ
โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด หรือโลกไม่มีที่สุด ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน หรือ
ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก หรือหลังจากตาย
แล้วตถาคตไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก หรือหลังจาก
ตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะความคิดนี้ไม่มีประโยชน์ ไม่ใช่จุดเริ่มต้นแห่งพรหมจรรย์ ไม่เป็นไป
เพื่อความเบื่อหน่าย ไม่เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อดับ ไม่เป็นไปเพื่อ
สงบระงับ ไม่เป็นไปเพื่อรู้ยิ่ง ไม่เป็นไปเพื่อตรัสรู้ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน
เธอทั้งหลายเมื่อจะคิด พึงคิดว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะความคิดนี้มีประโยชน์ เป็นจุดเริ่มต้นแห่งพรหมจรรย์ เป็นไปเพื่อ
ความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้
เพื่อนิพพาน
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’

โลกจินตาสูตรที่ ๑ จบ

๒. ปปาตสูตร
ว่าด้วยเหวคือสังสารวัฏ

[๑๑๑๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุง
ราชคฤห์ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “มาเถิด
ภิกษุทั้งหลาย เราจักเข้าไปยังยอดเขากั้นเขตแดนเพื่อพักผ่อนกลางวัน”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว ต่อมา พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วย
ภิกษุจำนวนมากเสด็จเข้าไปยังยอดเขากั้นเขตแดน ภิกษุรูปหนึ่งได้แลเห็นเหวใหญ่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๖๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๕. ปปาตวรรค ๒. ปปาตสูตร

บนยอดเขากั้นเขตแดน จึงทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
เหวนี้ใหญ่หนอ เหวนี้ใหญ่จริงหนอ เหวอื่นที่ใหญ่กว่าและน่ากลัวกว่าเหวนี้มีอยู่หรือ
พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “เหวอื่นที่ใหญ่และน่ากลัวกว่าเหวนี้มีอยู่ ภิกษุ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหวอื่นที่ใหญ่กว่าและน่ากลัวกว่าเหวนี้ เป็นอย่างไร”
“ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งไม่รู้ชัดตามความเป็น
จริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิทา’ สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่านั้นย่อมยินดียิ่งในสังขารทั้งหลายที่เป็นไปเพื่อชาติ ยินดียิ่งในสังขารทั้ง
หลายที่เป็นไปเพื่อชรา ยินดียิ่งในสังขารทั้งหลายที่เป็นไปเพื่อมรณะ ยินดียิ่งในสังขาร
ทั้งหลายที่เป็นไปเพื่อโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นผู้ยินดียิ่งแล้วในสังขารทั้งหลายที่เป็นไปเพื่อชาติ
ผู้ยินดียิ่งแล้วในสังขารทั้งหลายที่เป็นไปเพื่อชรา ผู้ยินดียิ่งแล้วในสังขารทั้งหลายที่
เป็นไปเพื่อมรณะ ผู้ยินดียิ่งแล้วในสังขารทั้งหลายที่เป็นไปเพื่อโสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัส และอุปายาส ย่อมปรุงแต่งสังขารทั้งหลายที่เป็นไปเพื่อชาติบ้าง ย่อมปรุง
แต่งสังขารทั้งหลายที่เป็นไปเพื่อชราบ้าง ย่อมปรุงแต่งสังขารทั้งหลายที่เป็นไปเพื่อ
มรณะบ้าง ย่อมปรุงแต่งสังขารทั้งหลายที่เป็นไปเพื่อโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
และอุปายาสบ้าง
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นครั้นปรุงแต่งสังขารทั้งหลายที่เป็นไปเพื่อชาติก็ดี
ครั้นปรุงแต่งสังขารทั้งหลายที่เป็นไปเพื่อชราก็ดี ครั้นปรุงแต่งสังขารทั้งหลายที่เป็น
ไปเพื่อมรณะก็ดี ครั้นปรุงแต่งสังขารทั้งหลายที่เป็นไปเพื่อโสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัส และอุปายาสก็ดี ย่อมตกไปสู่เหวคือชาติบ้าง ตกไปสู่เหวคือชราบ้าง ตก
ไปสู่เหวคือมรณะบ้าง ตกไปสู่เหวคือโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสบ้าง
เรากล่าวว่า ‘สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นย่อมไม่พ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ
ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส และชื่อว่าไม่พ้นจากทุกข์’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๖๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๕. ปปาตวรรค ๓. มหาปริฬาหสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดตามความเป็น
จริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นย่อม
ไม่ยินดียิ่งในสังขารทั้งหลายที่เป็นไปเพื่อชาติ ไม่ยินดียิ่งในสังขารทั้งหลายที่เป็นไป
เพื่อชรา ไม่ยินดียิ่งในสังขารทั้งหลายที่เป็นไปเพื่อมรณะ ไม่ยินดียิ่งในสังขารทั้ง
หลายที่เป็นไปเพื่อโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ย่อมไม่ปรุงแต่ง
สังขารทั้งหลายที่เป็นไปเพื่อชาติบ้าง ไม่ปรุงแต่งสังขารทั้งหลายที่เป็นไปเพื่อชราบ้าง
ไม่ปรุงแต่งสังขารทั้งหลายที่เป็นไปเพื่อมรณะบ้าง ไม่ปรุงแต่งสังขารทั้งหลายที่เป็น
ไปเพื่อโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสบ้าง
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นครั้นไม่ปรุงแต่งสังขารทั้งหลายที่เป็นไปเพื่อชาติก็ดี
ครั้นไม่ปรุงแต่งสังขารทั้งหลายที่เป็นไปเพื่อชราก็ดี ครั้นไม่ปรุงแต่งสังขารทั้งหลาย
ที่เป็นไปเพื่อมรณะก็ดี ครั้นไม่ปรุงแต่งสังขารทั้งหลายที่เป็นไปเพื่อโสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัส และอุปายาสก็ดี ย่อมไม่ตกไปสู่เหวคือชาติบ้าง ไม่ตกไปสู่เหวคือชราบ้าง
ไม่ตกไปสู่เหวคือมรณะบ้าง ไม่ตกไปสู่เหวคือโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ
อุปายาสบ้าง เรากล่าวว่า ‘สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมพ้นจากชาติ ชรา
มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส และชื่อว่าพ้นจากทุกข์’
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”

ปปาตสูตรที่ ๒ จบ

๓. มหาปริฬาหสูตร
ว่าด้วยนรกชื่อมหาปริฬาหะ

[๑๑๑๓] “ภิกษุทั้งหลาย นรกชื่อมหาปริฬาหะ (มีความเร่าร้อนมาก) มีอยู่
ในนรกนั้น บุคคลเห็นรูปอย่างใดอย่างหนึ่งทางตาได้ แต่เห็นได้เฉพาะรูปที่ไม่น่า
ปรารถนา ไม่เห็นรูปที่น่าปรารถนา เห็นได้เฉพาะรูปที่ไม่น่าใคร่ ไม่เห็นรูปที่น่าใคร่
เห็นได้เฉพาะรูปที่ไม่น่าพอใจ ไม่เห็นรูปที่น่าพอใจ ฟังเสียงอย่างใดอย่างหนึ่งทางหู
ได้ ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะอย่างใดอย่างหนึ่งทางกายได้ ฯลฯ รู้แจ้งธรรมารมณ์
อย่างใดอย่างหนึ่งทางใจได้ แต่รู้แจ้งได้เฉพาะธรรมารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา ไม่รู้
แจ้งธรรมารมณ์ที่น่าปรารถนา รู้แจ้งได้เฉพาะธรรมารมณ์ที่ไม่น่าใคร่ ไม่รู้แจ้ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๖๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๕. ปปาตวรรค ๓. มหาปริฬาหสูตร

ธรรมารมณ์ที่น่าใคร่ รู้แจ้งได้เฉพาะธรรมารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ ไม่รู้แจ้งธรรมารมณ์
ที่น่าพอใจ”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความเร่าร้อนนั้นมากหนอ ความเร่าร้อนนั้นมาก
จริงหนอ ความเร่าร้อนอื่นที่มากกว่าและน่ากลัวกว่าความเร่าร้อนนี้มีอยู่หรือ
พระพุทธเจ้าข้า”
“ความเร่าร้อนอื่นที่มากกว่าและน่ากลัวกว่าความเร่าร้อนนี้มีอยู่ ภิกษุ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความเร่าร้อนอื่นที่มากกว่าและน่ากลัวกว่าความ
เร่าร้อนนี้ เป็นอย่างไร”
“ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งไม่รู้ชัดตามความเป็น
จริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นผู้ยินดียิ่งแล้วในสังขารทั้งหลาย ที่เป็นไปเพื่อชาติ
ฯลฯ ผู้ยินดียิ่งแล้ว ฯลฯ ย่อมปรุงแต่ง ฯลฯ ครั้นปรุงแต่งแล้ว ย่อมเร่าร้อน
เพราะความเร่าร้อนคือชาติบ้าง ย่อมเร่าร้อนเพราะความเร่าร้อนคือชราบ้าง ย่อม
เร่าร้อนเพราะความเร่าร้อนคือมรณะบ้าง ย่อมเร่าร้อนเพราะความเร่าร้อนคือโสกะ
ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสบ้าง เรากล่าวว่า ‘สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น
ย่อมไม่พ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
และชื่อว่าไม่พ้นจากทุกข์’
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดตามความเป็น
จริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นย่อมไม่ยินดียิ่งในสังขารทั้งหลายที่เป็นไปเพื่อชาติ
ฯลฯ ผู้ไม่ยินดียิ่งแล้ว ฯลฯ ย่อมไม่ปรุงแต่ง ฯลฯ ครั้นไม่ปรุงแต่งแล้ว ย่อมไม่
เร่าร้อนเพราะความเร่าร้อนคือชาติบ้าง ย่อมไม่เร่าร้อนเพราะความเร่าร้อนคือ
ชราบ้าง ย่อมไม่เร่าร้อนเพราะความเร่าร้อนคือมรณะบ้าง ย่อมไม่เร่าร้อนเพราะ
ความเร่าร้อนคือโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสบ้าง เรากล่าวว่า
‘สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นย่อมพ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัส และอุปายาส และชื่อว่าพ้นจากทุกข์’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๖๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๕. ปปาตวรรค ๔. กูฏาคารสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”

มหาปริฬาหสูตรที่ ๓ จบ

๔. กูฏาคารสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยเรือนยอด

[๑๑๑๔] “ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เรา
ยังไม่รู้แจ้งทุกขอริยสัจ ฯลฯ ไม่รู้แจ้งทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจตามความ
เป็นจริง แล้วจักทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบได้’
เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลจะพึงกล่าวว่า ‘เรายังไม่ได้สร้างเรือนชั้นล่าง แล้วจัก
ต่อชั้นบนแห่งเรือนยอด’ แม้ฉันใด เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลจะพึงกล่าวว่า ‘เรายัง
ไม่รู้แจ้งทุกขอริยสัจ ฯลฯ ไม่รู้แจ้งทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจตามความเป็นจริง
แล้วจักทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบได้’ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
แต่เป็นไปได้ที่บุคคลจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เราได้รู้แจ้งทุกขอริยสัจ ฯลฯ ได้
รู้แจ้งทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจตามความเป็นจริง แล้วจักทำที่สุดแห่งทุกข์โดย
ชอบได้’
เป็นไปได้ที่บุคคลจะพึงกล่าวว่า ‘เราได้สร้างเรือนชั้นล่างแล้ว จักต่อชั้นบนแห่ง
เรือนยอด’ แม้ฉันใด เป็นไปได้ที่บุคคลจะพึงกล่าวว่า ‘เราได้รู้แจ้งทุกขอริยสัจ ฯลฯ
ได้รู้แจ้งทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจตามความเป็นจริง’ แล้วจักทำที่สุดแห่งทุกข์
โดยชอบได้’ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”

กูฏาคารสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๕. ปปาตวรรค ๕. วาลสูตร

๕. วาลสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยปลายขนทราย

[๑๑๑๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน
เขตกรุงเวสาลี ครั้นในเวลาเช้า ท่านพระอานนท์ครองอันตรวาสก ถือบาตรและ
จีวรเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงเวสาลี ได้เห็นลิจฉวีกุมารจำนวนมากฝึกยิงลูกศรอยู่ใน
สัณฐาคารให้เข้าทางช่องดาลเล็ก ๆ จากที่ไกล ติดต่อกันได้ ไม่ผิดพลาด จึงคิดดังนี้
ว่า “ลิจฉวีกุมารเหล่านี้ฝึกแล้วหนอ ฝึกดีแล้วหนอ ที่ยิงลูกศรให้เข้าทางช่องดาล
เล็ก ๆ จากที่ไกล ติดต่อกันได้ ไม่ผิดพลาด”
ท่านพระอานนท์ ครั้นเที่ยวบิณฑบาตในกรุงเวสาลีแล้ว กลับจากบิณฑบาต
ภายหลังฉันภัตตาหารเสร็จแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับถวายอภิวาทแล้ว
นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ
ประทานวโรกาส เวลาเช้า ข้าพระองค์ครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไป
บิณฑบาตยังกรุงเวสาลี ได้เห็นลิจฉวีกุมารจำนวนมากฝึกยิงลูกศรอยู่ในสัณฐาคาร
ให้เข้าทางช่องดาลเล็ก ๆ จากที่ไกล ติดต่อกันได้ ไม่ผิดพลาด จึงคิดดังนี้
ว่า ‘ลิจฉวีกุมารเหล่านี้ฝึกแล้วหนอ ฝึกดีแล้วหนอ ที่ยิงลูกศรให้เข้าทางช่องดาล
เล็ก ๆ จากที่ไกล ติดต่อกันได้ ไม่ผิดพลาด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เธอจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ
ผู้ที่ยิงลูกศรให้เข้าทางช่องดาลเล็ก ๆ จากที่ไกล ติดต่อกันได้ ไม่ผิดพลาด หรือผู้ที่
ใช้ปลายขนทรายซึ่งแบ่งเป็น ๗ เสี่ยง แทงเข้าที่ปลายขนทราย อย่างไหนทำได้ยาก
กว่าหรือเกิดได้ยากกว่ากัน”
“ผู้ที่ใช้ปลายขนทรายซึ่งแบ่งเป็น ๗ เสี่ยง แทงเข้าที่ปลายขนทรายนี้แล ทำ
ได้ยากกว่า และเกิดได้ยากกว่า พระพุทธเจ้าข้า”
“อานนท์ ที่แท้เหล่าชนผู้แทงตลอดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’ ชื่อว่าแทงตลอดสิ่งที่แทงตลอดได้ยากกว่า
อานนท์ เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตามความเป็น
จริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”

วาลสูตรที่ ๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๕. ปปาตวรรค ๖. อันธการสูตร

๖. อันธการสูตร
ว่าด้วยความมืดคือสังสารวัฏ

[๑๑๑๖] “ภิกษุทั้งหลาย โลกันตนรกมีแต่ความทุกข์มืดมนอนธการ มัวเป็น
หมอก สัตว์ในนรกนั้นไม่ได้รับประโยชน์จากแสงสว่างของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์
ที่มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ความมืดนั้นมากหนอ ความมืดนั้นมากจริงหนอ ความมืดอื่น
ที่มากกว่าและน่ากลัวกว่าความมืดนี้มีอยู่หรือ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุ ความมืดอย่างอื่นที่มากกว่าและน่ากลัวกว่าความมืดนี้มีอยู่”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความมืดอย่างอื่นที่มากกว่าและน่ากลัวกว่าความมืดนี้
เป็นอย่างไร”
“ภิกษุ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้
ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นยินดียิ่งในสังขารทั้งหลายที่เป็นไปเพื่อชาติ ฯลฯ
ผู้ยินดียิ่งแล้ว ฯลฯ ย่อมปรุงแต่ง ฯลฯ ครั้นปรุงแต่งแล้ว ย่อมตกไปสู่ความมืด
คือชาติบ้าง ตกไปสู่ความมืดคือชราบ้าง ตกไปสู่ความมืดคือมรณะบ้าง ตกไปสู่
ความมืดคือโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสบ้าง เรากล่าวว่า ‘สมณะ
หรือพราหมณ์เหล่านั้นย่อมไม่พ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
และอุปายาส และชื่อว่าไม่พ้นจากทุกข์’
ภิกษุ ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นย่อมไม่
ยินดียิ่งในสังขารทั้งหลายที่เป็นไปเพื่อชาติ ฯลฯ ผู้ไม่ยินดียิ่งแล้ว ฯลฯ ย่อมไม่
ปรุงแต่ง ฯลฯ ครั้นไม่ปรุงแต่งแล้ว ย่อมไม่ตกไปสู่ความมืดคือชาติบ้าง ไม่ตกไป
สู่ความมืดคือชราบ้าง ไม่ตกไปสู่ความมืดคือมรณะบ้าง ไม่ตกไปสู่ความมืดคือโสกะ
ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสบ้าง เรากล่าวว่า ‘สมณะหรือพราหมณ์
เหล่านั้นย่อมพ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
และชื่อว่าพ้นจากทุกข์’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๖๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๕. ปปาตวรรค ๗. ปฐมฉิคคฬยุคสูตร

ภิกษุ เพราะเหตุนั้น เธอพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”

อันธการสูตรที่ ๖ จบ

๗. ปฐมฉิคคฬยุคสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยแอกมีรูเดียว สูตรที่ ๑

[๑๑๑๗] “ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษพึงโยนแอกที่มีรูเดียวลงไปใน
มหาสมุทร ในมหาสมุทรนั้นมีเต่าตาบอดอยู่ตัวหนึ่ง มันโผล่ขึ้นมา ๑๐๐ ปีต่อครั้ง
เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เต่าตาบอดโผล่ขึ้นมา ๑๐๐ ปีต่อครั้ง
จะสอดคอเข้าไปในแอกที่มีรูเดียวโน้นได้บ้างหรือ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าเวลาล่วงเลยไปนาน บางครั้งบางคราวมันก็จะ
สอดคอเข้าไปในแอกนั้นได้แน่”
“ภิกษุทั้งหลาย เต่าตาบอดนั้น เมื่อโผล่ขึ้นมา ๑๐๐ ปีต่อครั้ง จะสอดคอ
เข้าไปในแอกที่มีรูเดียวโน้นยังเร็วกว่า แต่เราไม่กล่าวว่าคนพาลผู้ตกไปสู่วินิบาต
คราวเดียวแล้วกลับได้เป็นมนุษย์อีก (จะเร็วกว่านั้น)
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะในวินิบาตนั้นไม่มีการประพฤติธรรม การประพฤติชอบ การทำกุศล
และการทำบุญ ในวินิบาตนั้นมีแต่การเคี้ยวกินกันเอง การเคี้ยวกินผู้มีกำลังน้อยกว่า
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะไม่ได้เห็นอริยสัจ ๔ ประการ
อริยสัจ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”

ปฐมฉิคคฬยุคสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๕. ปปาตวรรค ๙. ปฐมสิเนรุปัพพตราชสูตร

๘. ทุติยฉิคคฬยุคสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยแอกมีรูเดียว สูตรที่ ๒

[๑๑๑๘] “ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนมหาปฐพีนี้เนื่องเป็นอันเดียวกัน
บุรุษพึงโยนแอกที่มีรูเดียวลงบนมหาปฐพีนั้น ลมทางทิศตะวันออกพัดแอกนั้นไป
ทางทิศตะวันตก ลมทางทิศตะวันตกพัดไปทางทิศตะวันออก ลมทางทิศเหนือพัด
ไปทางทิศใต้ ลมทางทิศใต้พัดไปทางทิศเหนือ บนมหาปฐพีนั้นมีเต่าตาบอดอยู่ตัว
หนึ่ง มันโผล่ขึ้นมา ๑๐๐ ปีต่อครั้ง เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
เต่าตาบอดโผล่ขึ้นมา ๑๐๐ ปีต่อครั้ง จะสอดคอเข้าไปในแอกที่มีรูเดียวโน้นได้
บ้างหรือ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อที่เต่าตาบอดนั้นโผล่ขึ้นมา ๑๐๐ ปีต่อครั้ง จะ
สอดคอเข้าไปในแอกที่มีรูเดียวโน้น เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยาก”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน การได้ความเป็น
มนุษย์ก็ยาก การที่ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลกก็ยาก การที่
ธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้วรุ่งเรืองในโลกก็ยาก บัดนี้เต่านั้นได้ความเป็นมนุษย์
นี้แล้ว ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติขึ้นแล้วในโลก และธรรมวินัยที่
ตถาคตประกาศแล้วก็รุ่งเรืองในโลก
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”

ทุติยฉิคคฬยุคสูตรที่ ๘ จบ

๙. ปฐมสิเนรุปัพพตราชสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยขุนเขาสิเนรุ สูตรที่ ๑

[๑๑๑๙] “ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษพึงเก็บก้อนหินขนาดเมล็ดถั่วเขียว
๗ ก้อนของขุนเขาสิเนรุ เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ก้อนหินขนาด
เมล็ดถั่วเขียว ๗ ก้อนที่บุรุษนั้นเก็บมากับขุนเขาสิเนรุ อย่างไหนจะมากกว่ากัน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๖๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๕. ปปาตวรรค ๑๐. ทุติยสิเนรุปัพพตราชสูตร

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขุนเขาสิเนรุนี้แลมากกว่า ก้อนหินขนาดเมล็ดถั่วเขียว
๗ ก้อนที่บุรุษนั้นเก็บมามีเพียงเล็กน้อย ก้อนหินขนาดเมล็ดถั่วเขียว ๗ ก้อนที่
บุรุษนั้นเก็บมา เมื่อเทียบกับขุนเขาสิเนรุแล้ว คำนวณไม่ได้ เทียบเคียงกันไม่ได้ หรือ
ไม่ถึงส่วนเสี้ยว”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน บุคคลผู้เป็น
อริยสาวกใดรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’
ทุกข์ที่หมดสิ้นไปของบุคคลผู้เป็นอริยสาวกนั้น ผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ ผู้รู้ยิ่ง มีมากกว่า
ที่เหลืออยู่ มีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับกองทุกข์ซึ่งมีอยู่ก่อนที่หมดสิ้นไปแล้ว
คำนวณไม่ได้ เทียบเคียงกันไม่ได้ หรือไม่ถึงส่วนเสี้ยว อย่างมากมีได้เพียง ๗ ชาติ
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”

ปฐมสิเนรุปัพพตราชสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ทุติยสิเนรุปัพพตราชสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยขุนเขาสิเนรุ สูตรที่ ๒

[๑๑๒๐] “ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนขุนเขาสิเนรุหมดสิ้นไป เหลือก้อนหิน
ขนาดเมล็ดถั่วเขียว ๗ ก้อน เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ขุนเขา
สิเนรุที่หมดสิ้นไปกับก้อนหินขนาดเมล็ดถั่วเขียว ๗ ก้อนที่เหลืออยู่ อย่างไหนจะ
มากกว่ากัน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขุนเขาสิเนรุที่หมดสิ้นไปนี้แลมากกว่า ก้อนหินขนาด
เมล็ดถั่วเขียว ๗ ก้อนที่เหลืออยู่ มีเพียงเล็กน้อย ก้อนหินขนาดเมล็ดถั่วเขียว ๗
ก้อนที่ยังเหลืออยู่ เมื่อเทียบกับขุนเขาสิเนรุที่หมดสิ้นไปแล้ว คำนวณไม่ได้ เทียบ
เคียงกันไม่ได้ หรือไม่ถึงส่วนเสี้ยว”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน บุคคลผู้เป็น
อริยสาวกใดรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’
ทุกข์ที่หมดสิ้นไปของบุคคลผู้เป็นอริยสาวกนั้น ผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ ผู้รู้ยิ่ง มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๖๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๕. ปปาตวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

มากกว่า ที่เหลืออยู่ มีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับกองทุกข์ซึ่งมีอยู่ก่อนที่หมด
สิ้นไปแล้ว คำนวณไม่ได้ เทียบเคียงกันไม่ได้ หรือไม่ถึงส่วนเสี้ยว อย่างมากมีได้
เพียง ๗ ชาติ
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”

ทุติยสิเนรุปัพพตราชสูตรที่ ๑๐ จบ
ปปาตวรรคที่ ๕ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. โลกจินตาสูตร ๒. ปปาตสูตร
๓. มหาปริฬาหสูตร ๔. กูฏาคารสูตร
๕. วาลสูตร ๖. อันธกาลสูตร
๗. ปฐมฉิคคฬยุคสูตร ๘. ทุติยฉิคคฬยุคสูตร
๙. ปฐมสิเนรุปัพพตราชสูตร ๑๐. ทุติยสิเนรุปัพพตราชสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๖. อภิสมยวรรค ๒. โปกขรณีสูตร

๖. อภิสมยวรรค
หมวดว่าด้วยการรู้ยิ่ง
๑. นขสิขสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยฝุ่นที่ปลายเล็บ

[๑๑๒๑] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงใช้ปลายพระนขาช้อนฝุ่นขึ้นมาเล็กน้อย
แล้วรับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจ
ความข้อนั้นว่าอย่างไร ฝุ่นเล็กน้อยนี้ที่เราใช้ปลายเล็บช้อนขึ้นมา กับแผ่นดินใหญ่นี้
อย่างไหนจะมากกว่ากัน”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แผ่นดินใหญ่นี้แลมากกว่า
ฝุ่นที่พระองค์ทรงใช้ปลายพระนขาช้อนขึ้นมามีเพียงเล็กน้อย ฝุ่นเล็กน้อยที่พระองค์
ทรงใช้ปลายพระนขาช้อนขึ้นมา เมื่อเทียบกับแผ่นดินใหญ่แล้ว คำนวณไม่ได้
เทียบเคียงกันไม่ได้ หรือไม่ถึงส่วนเสี้ยว”
“ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน บุคคลผู้เป็นอริยสาวกใดรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’ ทุกข์ที่หมดสิ้นไปของ
บุคคลผู้เป็นอริยสาวกนั้น ผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ ผู้รู้ยิ่ง มีมากกว่า ที่เหลืออยู่ มี
ประมาณน้อย เมื่อเทียบกับกองทุกข์ซึ่งมีอยู่ก่อนที่หมดสิ้นไปแล้ว คำนวณไม่ได้
เทียบเคียงกันไม่ได้ หรือไม่ถึงส่วนเสี้ยว อย่างมากมีได้เพียง ๗ ชาติ
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”

นขสิขสูตรที่ ๑ จบ

๒. โปกขรณีสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยน้ำในสระโบกขรณี

[๑๑๒๒] “ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนสระโบกขรณียาว ๕๐ โยชน์ กว้าง
๕๐ โยชน์ สูง ๕๐ โยชน์ เต็มด้วยน้ำเสมอฝั่ง กาดื่มกินได้ บุรุษใช้ปลายหญ้าคา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๖๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๖. อภิสมยวรรค ๓. ปฐมสัมเภชชสูตร

จุ่มน้ำขึ้นจากสระโบกขรณีนั้น เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร น้ำที่
บุรุษใช้ปลายหญ้าคาจุ่มขึ้นมากับน้ำในสระโบกขรณี อย่างไหนจะมากกว่ากัน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น้ำในสระโบกขรณีนี้แลมากกว่า น้ำที่บุรุษใช้ปลาย
หญ้าคาจุ่มขึ้นมามีเพียงเล็กน้อย น้ำที่บุรุษใช้ปลายหญ้าคาจุ่มขึ้นมา เมื่อเทียบกับ
น้ำในสระโบกขรณีแล้ว คำนวณไม่ได้ เทียบเคียงกันไม่ได้ หรือไม่ถึงส่วนเสี้ยว”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ เธอทั้งหลายพึง
ทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”

โปกขรณีสูตรที่ ๒ จบ

๓. ปฐมสัมเภชชสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยน้ำที่ไหลมาบรรจบกัน สูตรที่ ๑

[๑๑๒๓] “ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำใหญ่เหล่านี้ คือ แม่น้ำคงคา
แม่น้ำยมุนา แม่น้ำอจิรวดี แม่น้ำสรภู แม่น้ำมหี ไหลมาบรรจบกัน ณ ที่ใด บุรุษ
ช้อนน้ำ ๒-๓ หยดขึ้นมาจากที่นั้น เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
น้ำ ๒-๓ หยดที่บุรุษนั้นช้อนขึ้นมากับน้ำที่ไหลมาบรรจบกัน อย่างไหนจะมาก
กว่ากัน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น้ำที่ไหลมาบรรจบกันนี้แลมากกว่า น้ำ ๒-๓ หยด
ที่บุรุษนั้นช้อนขึ้นมามีเพียงเล็กน้อย น้ำ ๒-๓ หยดที่บุรุษนั้นช้อนขึ้นมา เมื่อ
เทียบกับน้ำที่ไหลมาประจบกันแล้ว คำนวณไม่ได้ เทียบเคียงกันไม่ได้ หรือไม่ถึง
ส่วนเสี้ยว”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ เธอทั้งหลายพึง
ทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”

ปฐมสัมเภชชสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๖. อภิสมยวรรค ๕. ปฐมมหาปฐวีสูตร

๔. ทุติยสัมเภชชสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยน้ำที่ไหลมาบรรจบกัน สูตรที่ ๒

[๑๑๒๔] “ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำใหญ่เหล่านี้ คือ แม่น้ำคงคา
แม่น้ำยมุนา แม่น้ำอจิรวดี แม่น้ำสรภู แม่น้ำมหี ไหลมาบรรจบกัน ณ ที่ใด
น้ำในที่นั้นพึงหมดสิ้นไป เหลือน้ำอยู่ ๒-๓ หยด เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อ
นั้นว่าอย่างไร น้ำที่ไหลมาบรรจบกันซึ่งหมดสิ้นไป กับน้ำ ๒-๓ หยดที่เหลืออยู่
อย่างไหนจะมากกว่ากัน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น้ำที่ไหลมาบรรจบกันซึ่งหมดสิ้นไปนี้แลมากกว่า น้ำ
๒-๓ หยดที่เหลืออยู่มีเพียงเล็กน้อย น้ำ ๒-๓ หยดที่เหลืออยู่ เมื่อเทียบกับน้ำ
ที่ไหลมาบรรจบกันซึ่งหมดสิ้นไปแล้ว คำนวณไม่ได้ เทียบเคียงกันไม่ได้ หรือไม่
ถึงส่วนเสี้ยว”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ เธอทั้ง
หลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธ-
คามินีปฏิปทา”

ทุติยสัมเภชชสูตรที่ ๔ จบ

๕. ปฐมมหาปฐวีสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยแผ่นดินใหญ่ สูตรที่ ๑

[๑๑๒๕] “ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษพึงเก็บก้อนดินขนาดเมล็ดกระเบา
๗ ก้อนจากแผ่นดินใหญ่ เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ก้อนดินขนาด
เมล็ดกระเบา ๗ ก้อนที่บุรุษนั้นเก็บมากับแผ่นดินใหญ่นี้ อย่างไหนจะมากกว่ากัน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แผ่นดินใหญ่นี้แลมากกว่า ก้อนดินขนาดเมล็ดกระเบา
๗ ก้อนที่บุรุษนั้นเก็บมามีเพียงเล็กน้อย ก้อนดินขนาดเมล็ดกระเบา ๗ ก้อนที่
บุรุษนั้นเก็บมา เมื่อเทียบกับแผ่นดินใหญ่แล้ว คำนวณไม่ได้ เทียบเคียงกันไม่ได้
หรือไม่ถึงส่วนเสี้ยว”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ เธอทั้งหลายพึง
ทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”

ปฐมมหาปฐวีสูตรที่ ๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๖. อภิสมยวรรค ๗. ปฐมมหาสมุททสูตร

๖. ทุติยมหาปฐวีสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยแผ่นดินใหญ่ สูตรที่ ๒

[๑๑๒๖] “ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแผ่นดินใหญ่พึงหมดสิ้นไป เหลือแต่
ก้อนดินขนาดเมล็ดกระเบาอยู่ ๗ ก้อน เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
แผ่นดินใหญ่ที่หมดสิ้นไปกับก้อนดินขนาดเมล็ดกระเบา ๗ ก้อนที่เหลืออยู่ อย่างไหน
จะมากกว่ากัน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แผ่นดินใหญ่ที่หมดสิ้นไปนี้แลมากกว่า ก้อนดินขนาด
เมล็ดกระเบา ๗ ก้อนที่ยังเหลืออยู่มีเพียงเล็กน้อย ก้อนดินขนาดเมล็ดกระเบา ๗
ก้อนที่เหลืออยู่ เมื่อเทียบกับแผ่นดินใหญ่ที่หมดสิ้นไปแล้ว คำนวณไม่ได้ เทียบเคียง
กันไม่ได้ หรือไม่ถึงส่วนเสี้ยว”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ เธอทั้งหลาย
พึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินี-
ปฏิปทา”

ทุติยมหาปฐวีสูตรที่ ๖ จบ

๗. ปฐมมหาสมุททสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยน้ำในมหาสมุทร สูตรที่ ๑

[๑๑๒๗] “ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษพึงช้อนน้ำในมหาสมุทรขึ้นมา ๒-
๓ หยด เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร น้ำ ๒-๓ หยดที่บุรุษนั้น
ช้อนขึ้นมากับน้ำในมหาสมุทร อย่างไหนจะมากกว่ากัน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น้ำในมหาสมุทรนี้แลมากกว่า น้ำ ๒-๓ หยดที่บุรุษ
ช้อนขึ้นมามีเพียงเล็กน้อย น้ำ ๒-๓ หยดที่บุรุษนั้นช้อนขึ้นมา เมื่อเทียบกับน้ำ
ในมหาสมุทรแล้ว คำนวณไม่ได้ เทียบเคียงกันไม่ได้ หรือไม่ถึงส่วนเสี้ยว”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ เธอทั้งหลาย
พึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”

ปฐมมหาสมุททสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๖. อภิสมยวรรค ๙. ปฐมปัพพตูปมสูตร

๘. ทุติยมหาสมุททสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยน้ำในมหาสมุทร สูตรที่ ๒

[๑๑๒๘] “ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนน้ำในมหาสมุทรพึงหมดสิ้นไป เหลือ
น้ำอยู่ ๒-๓ หยด เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร น้ำในมหาสมุทร
ที่หมดสิ้นไป กับน้ำ ๒-๓ หยดที่ยังเหลืออยู่ อย่างไหนจะมากกว่ากัน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น้ำในมหาสมุทรที่หมดสิ้นไปนี้แลมากกว่า น้ำ ๒-๓
หยดที่เหลืออยู่มีเพียงเล็กน้อย น้ำ ๒-๓ หยดที่เหลืออยู่ เมื่อเทียบกับน้ำใน
มหาสมุทรที่หมดสิ้นไปแล้ว คำนวณไม่ได้ เทียบเคียงกันไม่ได้ หรือไม่ถึงส่วนเสี้ยว”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ เธอทั้งหลาย
พึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”

ทุติยมหาสมุททสูตรที่ ๘ จบ

๙. ปฐมปัพพตูปมสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยขุนเขาหิมพานต์ สูตรที่ ๑

[๑๑๒๙] “ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษพึงเก็บก้อนหินขนาดเมล็ดผักกาด
๗ ก้อนของขุนเขาหิมพานต์ เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ก้อนหิน
ขนาดเมล็ดผักกาด ๗ ก้อน ที่บุรุษนั้นเก็บมากับขุนเขาหิมพานต์ อย่างไหนจะมาก
กว่ากัน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขุนเขาหิมพานต์นี้แลมากกว่า ก้อนหินขนาดเมล็ด
ผักกาด ๗ ก้อนที่บุรุษเก็บมา มีเพียงเล็กน้อย ก้อนหินขนาดเมล็ดผักกาด ๗
ก้อนที่บุรุษนั้นเก็บมา เมื่อเทียบกับขุนเขาหิมพานต์แล้ว คำนวณไม่ได้ เทียบเคียง
กันไม่ได้ หรือไม่ถึงส่วนเสี้ยว”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ เธอทั้งหลาย
พึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”

ปฐมปัพพตูปมสูตรที่ ๙ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๖. อภิสมยวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑๐. ทุติยปัพพตูปมสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยขุนเขาหิมพานต์ สูตรที่ ๒

[๑๑๓๐] “ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนขุนเขาหิมพานต์พึงหมดสิ้นไป เหลือ
แต่ก้อนหินขนาดเมล็ดผักกาดอยู่ ๗ ก้อน เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่า
อย่างไร ขุนเขาหิมพานต์ที่หมดสิ้นไป กับก้อนหินขนาดเมล็ดผักกาด ๗ ก้อนที่เหลือ
อยู่ อย่างไหนจะมากกว่ากัน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขุนเขาหิมพานต์ที่หมดสิ้นไปนี้แลมากกว่า ก้อนหิน
ขนาดเมล็ดผักกาด ๗ ก้อนที่ยังเหลืออยู่ เมื่อเทียบกับขุนเขาหิมพานต์ที่หมดสิ้น
ไปแล้ว คำนวณไม่ได้ เทียบเคียงกันไม่ได้ หรือไม่ถึงส่วนเสี้ยว”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน บุคคลผู้เป็น
อริยสาวกใดรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’
ทุกข์ที่หมดสิ้นไปของบุคคลผู้เป็นอริยสาวกนั้น ผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ ผู้รู้ยิ่ง มีมากกว่า
ที่เหลืออยู่ มีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับกองทุกข์ซึ่งมีอยู่ก่อนที่หมดสิ้นไปแล้ว
คำนวณไม่ได้ เทียบเคียงกันไม่ได้ หรือไม่ถึงส่วนเสี้ยว อย่างมากมีได้เพียง ๗ ชาติ
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”

ทุติยปัพพตูปมสูตรที่ ๑๐ จบ
อภิสมยวรรคที่ ๖ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. นขสิขสูตร ๒. โปกขรณีสูตร
๓. ปฐมสัมเภชชสูตร ๔. ทุติยสัมเภชชสูตร
๕. ปฐมมหาปฐวีสูตร ๖. ทุติยมหาปฐวีสูตร
๗. ปฐมมหาสมุททสูตร ๘. ทุติยมหาสมุททสูตร
๙. ปฐมปัพพตูปมสูตร ๑๐. ทุติยปัพพตูปมสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๗. ปฐมอามกธัญญเปยยาลวรรค ๒. ปัจจันตสูตร

๗. ปฐมอามกธัญญเปยยาลวรรค
หมวดว่าด้วยอามกธัญญเปยยาลที่ ๑
๑. อัญญตรสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่กลับมาเกิดนอกจากมนุษย์

[๑๑๓๑] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงใช้ปลายพระนขาช้อนฝุ่นขึ้นมาเล็กน้อย
แล้วรับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญ
ความข้อนั้นว่าอย่างไร ฝุ่นเล็กน้อยที่เราใช้ปลายเล็บช้อนขึ้นมากับแผ่นดินใหญ่นี้
อย่างไหนจะมากกว่ากัน”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แผ่นดินใหญ่นี้แลมากกว่า
ฝุ่นที่พระองค์ทรงใช้ปลายพระนขาช้อนขึ้นมา ฝุ่นเล็กน้อยที่พระองค์ทรงใช้ปลาย
พระนขาช้อนขึ้นมา เมื่อเทียบกับแผ่นดินใหญ่แล้ว คำนวณไม่ได้ เทียบเคียงกันไม่ได้
หรือไม่ถึงส่วนเสี้ยว”
“ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ทั้งหลายที่กลับมาเกิดในหมู่มนุษย์
มีเพียงเล็กน้อย ส่วนสัตว์ที่กลับมาเกิดนอกจากมนุษย์มีจำนวนมากกว่า
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะไม่ได้เห็นอริยสัจ ๔ ประการ
อริยสัจ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”

อัญญตรสูตรที่ ๑ จบ

๒. ปัจจันตสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่กลับมาเกิดในปัจจันตชนบท

[๑๑๓๒] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงใช้ปลายพระนขาช้อนฝุ่นขึ้นมาเล็กน้อย
แล้วรับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๖๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๗. ปฐมอามกธัญญเปยยาลวรรค ๔. สุราเมรยสูตร

ความข้อนั้นว่าอย่างไร ฝุ่นเล็กน้อยนี้ที่เราใช้ปลายเล็บช้อนขึ้นมากับแผ่นดินใหญ่นี้
อย่างไหนจะมากกว่ากัน”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แผ่นดินใหญ่นี้แลมากกว่า
ฝุ่นที่พระองค์ทรงใช้ปลายพระนขาช้อนขึ้นมามีเพียงเล็กน้อย ฝุ่นเล็กน้อยที่พระองค์
ทรงใช้ปลายพระนขาช้อนขึ้นมา เมื่อเทียบกับแผ่นดินใหญ่แล้ว คำนวณไม่ได้
เทียบเคียงกันไม่ได้ หรือไม่ถึงส่วนเสี้ยว”
“ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่กลับมาเกิดในมัชฌิมชนบท
มีเพียงเล็กน้อย ส่วนสัตว์ที่กลับมาเกิดในปัจจันตชนบทในหมู่ชาวมิลักขะผู้โง่เขลา
มีจำนวนมากกว่า ฯลฯ

ปัจจันตสูตรที่ ๒ จบ

๓. ปัญญาสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่มีปัญญาจักษุ

[๑๑๓๓] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่ประกอบด้วย
ปัญญาจักษุ อย่างประเสริฐ มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ตกอยู่ในอวิชชา ลุ่มหลง
มีจำนวนมากกว่า ฯลฯ

ปัญญาสูตรที่ ๓ จบ

๔. สุราเมรยสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่เว้นขาดจากการดื่มสุราและเมรัย

[๑๑๓๔] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เว้นขาดจากการดื่ม
น้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาทมีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่
เว้นขาดจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาทมีจำนวน
มากกว่า ฯลฯ

สุราเมรยสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๗. ปฐมอามกธัญญเปยยาลวรรค ๙. พรหมัญญสูตร

๕. โอทกสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่เกิดในน้ำ

[๑๑๓๕] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เกิดบนบกมีจำนวน
น้อย ส่วนสัตว์ที่เกิดในน้ำมีจำนวนมากกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร ฯลฯ

โอทกสูตรที่ ๕ จบ

๖. มัตเตยยสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่เกื้อกูลแก่มารดา

[๑๑๓๖] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เกื้อกูลแก่มารดา
มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่เกื้อกูลแก่มารดามีจำนวนมากกว่า ฯลฯ

มัตเตยยสูตรที่ ๖ จบ

๗. เปตเตยยสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่เกื้อกูลแก่บิดา

[๑๑๓๗] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เกื้อกูลแก่บิดา
มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่เกื้อกูลแก่บิดามีจำนวนมากกว่า ฯลฯ

เปตเตยยสูตรที่ ๗ จบ

๘. สามัญญสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่เกื้อกูลแก่สมณะ

[๑๑๓๘] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เกื้อกูลแก่สมณะ
มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่เกื้อกูลแก่สมณะมีจำนวนมากกว่า ฯลฯ

สามัญญสูตรที่ ๘ จบ

๙. พรหมัญญสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่เกื้อกูลแก่พราหมณ์

[๑๑๓๙] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เกื้อกูลแก่พราหมณ์
มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่เกื้อกูลแก่พราหมณ์มีจำนวนมากกว่า ฯลฯ

พรหมัญญสูตรที่ ๙ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๗. ปฐมอามกธัญญเปยยาลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑๐. ปจายิกสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่อ่อนน้อมต่อผู้เจริญ

[๑๑๔๐] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่อ่อนน้อมต่อบุคคล
ผู้เจริญที่สุดในตระกูลมีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่อ่อนน้อมต่อบุคคลผู้เจริญที่สุดใน
ตระกูลมีจำนวนมากกว่า”

ปจายิกสูตรที่ ๑๐ จบ
ปฐมอามกธัญญเปยยาลวรรคที่ ๗ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อัญญตรสูตร ๒. ปัจจันตสูตร
๓. ปัญญาสูตร ๔. สุราเมรยสูตร
๕. โอทกสูตร ๖. มัตเตยยสูตร
๗. เปตเตยยสูตร ๘. สามัญญสูตร
๙. พรหมัญญสูตร ๑๐. ปจายิกสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๘. ทุติยอามกธัญญเปยยาลวรรค ๔. มุสาวาทสูตร

๘. ทุติยอามกธัญญเปยยาลวรรค
หมวดว่าด้วยอามกธัญญเปยยาลที่ ๒
๑. ปาณาติปาตสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์

[๑๑๔๑] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เว้นขาดจากการฆ่า
สัตว์มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์มีจำนวนมากกว่า ข้อนั้น
เพราะเหตุไร ฯลฯ

ปาณาติปาตสูตรที่ ๑ จบ

๒. อทินนาทานสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่เว้นขาดจากการลักทรัพย์

[๑๑๔๒] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เว้นขาดจากการลัก
ทรัพย์มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่เว้นขาดจากการลักทรัพย์มีจำนวนมากกว่า ฯลฯ

อทินนาทานสูตรที่ ๒ จบ

๓. กาเมสุมิจฉาจารสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม

[๑๑๔๓] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เว้นขาดจากการ
ประพฤติผิดในกามมีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม
มีจำนวนมากกว่า ฯลฯ

กาเมสุมิจฉาจารสูตรที่ ๓ จบ

๔. มุสาวาทสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่เว้นขาดจากการพูดเท็จ

[๑๑๔๔] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เว้นขาดจากการพูด
เท็จมีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่เว้นขาดจากการพูดเท็จมีจำนวนมากกว่า ฯลฯ

มุสาวาทสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๘. ทุติยอามกธัญญเปยยาลวรรค ๘. พีชคามสูตร

๕. เปสุญญสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่เว้นขาดจากคำส่อเสียด

[๑๑๔๕] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เว้นขาดจากคำส่อ
เสียดมีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่เว้นขาดจากคำส่อเสียดมีจำนวนมากกว่า ฯลฯ

เปสุญญสูตรที่ ๕ จบ

๖. ผรุสวาจาสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่เว้นขาดจากคำหยาบ

[๑๑๔๖] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เว้นขาดจากคำหยาบ
มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่เว้นขาดจากคำหยาบมีจำนวนมากกว่า ฯลฯ

ผรุสวาจาสูตรที่ ๖ จบ

๗. สัมผัปปลาปสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ

[๑๑๔๗] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เว้นขาดจากคำเพ้อ
เจ้อมีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อมีจำนวนมากกว่า ฯลฯ

สัมผัปปลาปสูตรที่ ๗ จบ

๘. พีชคามสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่เว้นขาดจากการพรากพืชคามและภูตคาม

[๑๑๔๘] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เว้นขาดจากการ
พรากพืชคามและภูตคามมีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่เว้นขาดจากการพรากพืชคาม
และภูตคามมีจำนวนมากกว่า ฯลฯ

พีชคามสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๘. ทุติยอามกธัญญเปยยาลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๙. วิกาลโภชนสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่เว้นขาดจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล

[๑๑๔๙] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เว้นขาดจากการ
บริโภคอาหารในเวลาวิกาลมีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่เว้นขาดจากการบริโภค
อาหารในเวลาวิกาลมีจำนวนมากกว่า ฯลฯ

วิกาลโภชนสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. คันธวิเลปนสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่เว้นขาดจากของหอมและเครื่องลูบไล้

[๑๑๕๐] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เว้นขาดจากการ
ทัดทรง ประดับ ตกแต่งร่างกายด้วยพวงดอกไม้ของหอมและเครื่องประทินผิวอันเป็น
ลักษณะแห่งการแต่งตัวมีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการทัดทรง ประดับ
ตกแต่งร่างกายด้วยดอกไม้ ของหอม และเครื่องประทินผิว อันเป็นลักษณะแห่ง
การแต่งตัว มีจำนวนมากกว่า”

คันธวิเลปนสูตรที่ ๑๐ จบ
ทุติยอามกธัญญเปยยาลวรรคที่ ๘ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปาณาติปาตสูตร ๒. อทินนาทานสูตร
๓. กาเมสุมิจฉาจารสูตร ๔. มุสาวาทสูตร
๕. เปสุญญสูตร ๖. ผรุสวาจาสูตร
๗. สัมผัปปลาปสูตร ๘. พีชคามสูตร
๙. วิกาลโภชนสูตร ๑๐. คันธวิเลปนสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๙. ตติยอามกธัญญเปยยาลวรรค ๓. ชาตรูปรชตสูตร

๙. ตติยอามกธัญญเปยยาลวรรค
หมวดว่าด้วยอามกธัญญเปยยาลที่ ๓
๑. นัจจคีตสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่เว้นขาดจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ฯ

[๑๑๕๑] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เว้นขาดจากการ
ฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการละเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศลมีจำนวนน้อย
ส่วนสัตว์ที่ไม่เว้นขาดจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการละเล่นอัน
เป็นข้าศึกแก่กุศลมีจำนวนมากกว่า ฯลฯ

นัจจคีตสูตรที่ ๑ จบ

๒. อุจจาสยนสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่เว้นขาดจากที่นอนสูงใหญ่

[๑๑๕๒] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เว้นขาดจาก
ที่นอนสูงใหญ่มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่เว้นขาดจากที่นอนสูงใหญ่มีจำนวนมาก
กว่า ฯลฯ

อุจจาสยนสูตรที่ ๒ จบ

๓. ชาตรูปรชตสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่เว้นขาดจากการรับทองและเงิน

[๑๑๕๓] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เว้นขาดจากการรับ
ทองและเงินมีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่เว้นขาดจากการรับทองและเงินมีจำนวนมาก
กว่า ฯลฯ

ชาตรูปรชตสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๙. ตติยอามกธัญญเปยยาลวรรค ๗. ทาสีทาสสูตร

๔. อามกธัญญสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่เว้นขาดจากการรับธัญญาหารดิบ

[๑๑๕๔] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เว้นขาดจากการรับ
ธัญญาหารดิบมีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่เว้นขาดจากการรับธัญญาหารดิบมี
จำนวนมากกว่า ฯลฯ

อามกธัญญสูตรที่ ๔ จบ

๕. อามกมังสสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่เว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ

[๑๑๕๕] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เว้นขาดจากการรับ
เนื้อดิบมีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่เว้นขาดจากการรับเนื้อดิบมีจำนวนมากกว่า ฯลฯ

อามกมังสสูตรที่ ๕ จบ

๖. กุมาริกสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่เว้นขาดจากการรับสตรีและกุมารี

[๑๑๕๖] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เว้นขาดจากการรับ
สตรีและกุมารีมีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่เว้นขาดจากการรับสตรีและกุมารีมีจำนวน
มากกว่า ฯลฯ

กุมาริกสูตรที่ ๖ จบ

๗. ทาสีทาสสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่เว้นขาดจากการรับทาสหญิงและทาสชาย

[๑๑๕๗] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เว้นขาดจากการรับ
ทาสหญิงและทาสชายมีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่เว้นขาดจากการรับทาสหญิงและ
ทาสชายมีจำนวนมากกว่า ฯลฯ

ทาสีทาสสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๙. ตติยอามกธัญญเปยยาลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๘. อเชฬกสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่เว้นขาดจากการรับแพะและแกะ

[๑๑๕๘] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เว้นขาดจากการรับ
แพะและแกะมีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่เว้นขาดจากการรับแพะและแกะมีจำนวน
มากกว่า ฯลฯ

อเชฬกสูตรที่ ๘ จบ

๙. กุกกุฏสูกรสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่เว้นขาดจากการรับไก่และสุกร

[๑๑๕๙] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เว้นขาดจากการรับ
ไก่และสุกรมีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่เว้นขาดจากการรับไก่และสุกรมีจำนวนมาก
กว่า ฯลฯ

กุกกุฏสูกรสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. หัตถิควัสสสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่เว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า ฯ

[๑๑๖๐] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เว้นขาดจากการรับ
ช้าง โค ม้า และลามีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่เว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า
และลามีจำนวนมากกว่า ฯลฯ

หัตถิควัสสสูตรที่ ๑๐ จบ

ตติยอามกธัญญเปยยาลวรรคที่ ๙ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. นัจจคีตสูตร ๒. อุจจาสยนสูตร
๓. ชาตรูปรชตสูตร ๔. อามกธัญญสูตร
๕. อามกมังสสูตร ๖. กุมาริกสูตร
๗. ทาสีทาสสูตร ๘. อเชฬกสูตร
๙. กุกกุฏสูกรสูตร ๑๐. หัตถิควัสสสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๑๐. จตุตถอามกธัญญเปยยาลวรรค ๓. ทูเตยยสูตร

๑๐. จตุตถอามกธัญญเปยยาลวรรค
หมวดว่าด้วยอามกธัญญเปยยาลที่ ๔
๑. เขตตวัตถุสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่เว้นขาดจากการรับเรือกสวน ไร่นา และที่ดิน

[๑๑๖๑] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เว้นขาดจากการรับ
เรือกสวน ไร่นา และที่ดินมีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่เว้นขาดจากการรับเรือกสวน
ไร่นา และที่ดินมีจำนวนมากกว่า ฯลฯ

เขตตวัตถุสูตรที่ ๑ จบ

๒. กยวิกกยสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่เว้นขาดจากการซื้อการขาย

[๑๑๖๒] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เว้นขาดจากการซื้อ
ขายมีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่เว้นขาดจากการซื้อขายมีจำนวนมากกว่า ฯลฯ

กยวิกกยสูตรที่ ๒ จบ

๓. ทูเตยยสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่เว้นขาดจากการทำหน้าที่เป็นตัวแทน ฯ

[๑๑๖๓] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เว้นขาดจากการทำ
หน้าที่เป็นตัวแทนและผู้สื่อสารมีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่เว้นขาดจากการทำ
หน้าที่เป็นตัวแทนและผู้สื่อสารมีจำนวนมากกว่า ฯลฯ

ทูเตยยสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๑๐. จตุตถอามกธัญญเปยยาลวรรค ๖-๑๑. เฉทนาทิสูตร

๔. ตุลากูฏสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่เว้นขาดจากการโกงด้วยตาชั่ง ฯ

[๑๑๖๔] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เว้นขาดจากการโกง
ด้วยตาชั่ง ด้วยของปลอม และด้วยเครื่องตวงวัดมีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่เว้นขาด
จากการโกงด้วยตาชั่ง ด้วยของปลอม และด้วยเครื่องตวงวัดมีจำนวนมากกว่า ฯลฯ

ตุลากูฏสูตรที่ ๔ จบ

๕. อุกโกฏนสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่เว้นขาดจากการรับสินบน ฯ

[๑๑๖๕] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เว้นขาดจากการรับ
สินบน การล่อลวง และการตลบตะแลงมีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่เว้นขาดจาก
การรับสินบน การล่อลวง และการตลบตะแลงมีจำนวนมากกว่า ฯลฯ

อุกโกฏนสูตรที่ ๕ จบ

๖-๑๑. เฉทนาทิสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่เว้นขาดจากการตัดเป็นต้น

[๑๑๖๖-๑๑๗๑] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่เว้นขาดจาก
การตัด(อวัยวะ) การฆ่า การจองจำ การตีชิงวิ่งราว การปล้น และการกรรโชกมี
จำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่เว้นขาดจากการตัด(อวัยวะ) การฆ่า การจองจำ การตีชิง
วิ่งราว การปล้น และการกรรโชกมีจำนวนมากกว่า
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะไม่ได้เห็นอริยสัจ ๔ ประการ
อริยสัจ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า :๖๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๑๐. จตุตถอามกธัญญเปยยาลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”

เฉทนาทิสูตรที่ ๖-๑๑ จบ
จตุตถอามกธัญญเปยยาลวรรคที่ ๑๐ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. เขตตวัตถุสูตร ๒. กยวิกกยสูตร
๓. ทูเตยยสูตร ๔. ตุลากูฏสูตร
๕. อุกโกฏนสูตร ๖. เฉทนสูตร
๗. วธนสูตร ๘. พันธนสูตร
๙. วิปราโมสสูตร ๑๐. อาโลปสูตร
๑๑. สหสาการสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๑๑. ปัญจคติเปยยาลวรรค ๒. มนุสสจุติติรัจฉานสูตร

๑๑. ปัญจคติเปยยาลวรรค
หมวดว่าด้วยปัญจคติเปยยาล
๑. มนุสสจุตินิรยสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปเกิดในนรก

[๑๑๗๒] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงใช้ปลายพระนขาช้อนฝุ่นขึ้นมาเล็กน้อย
แล้ว รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจ
ความข้อนั้นว่าอย่างไร ฝุ่นเล็กน้อยนี้ที่เราใช้ปลายเล็บช้อนขึ้นมา กับแผ่นดินใหญ่นี้
อย่างไหนจะมากกว่ากัน”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แผ่นดินใหญ่นี้แลมากกว่า
ฝุ่นที่พระองค์ทรงใช้ปลายพระนขาช้อนขึ้นมามีเพียงเล็กน้อย ฝุ่นเล็กน้อยที่พระองค์
ทรงใช้ปลายพระนขาช้อนขึ้นมา เมื่อเทียบกับแผ่นใหญ่แล้ว คำนวณไม่ได้ เทียบ
เคียงกันไม่ได้ หรือไม่ถึงส่วนเสี้ยว”
“ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากมนุษย์กลับมาเกิดใน
หมู่มนุษย์มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่จุติจากมนุษย์แล้วไปเกิดในนรกมีจำนวนมากกว่า ฯลฯ

มนุสสจุตินิรยสูตรที่ ๑ จบ

๒. มนุสสจุติติรัจฉานสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปเกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน

[๑๑๗๓] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากมนุษย์กลับ
มาเกิดในหมู่มนุษย์มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่จุติจากมนุษย์แล้วไปเกิดในกำเนิดสัตว์
ดิรัจฉานมีจำนวนมากกว่า ฯลฯ

มนุสสจุติติรัจฉานสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๑๑. ปัญจคติเปยยาลวรรค ๑๙-๒๑. ติรัจฉานมนุสสนิรยาทิสูตร

๓. มนุสสจุติเปตติวิสยสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปเกิดในภูมิแห่งเปรต

[๑๑๗๔] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ทั้งหลายที่จุติจาก
มนุษย์แล้วกลับมาเกิดในหมู่มนุษย์มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่จุติจากมนุษย์แล้วไป
เกิดในภูมิแห่งเปรตมีจำนวนมากกว่า ฯลฯ

มนุสสจุติเปตติวิสยสูตรที่ ๓ จบ

๔-๖. มนุสสจุติเทวนิรยาทิสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปเกิดเป็นเทวดาและเกิดในนรกเป็นต้น

[๑๑๗๕-๑๑๗๗] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจาก
มนุษย์แล้วไปเกิดในหมู่เทวดามีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปเกิดในนรก
ฯลฯ เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ เกิดในภูมิแห่งเปรตมีจำนวนมากกว่า ฯลฯ

มนุสสจุติเทวนิรยาทิสูตรที่ ๔-๖ จบ

๗-๙. เทวจุตินิรยาทิสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่จุติจากเทวดาไปเกิดในนรกเป็นต้น

[๑๑๗๘-๑๑๘๐] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากเทวดา
มาเกิดในหมู่เทวดามีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่จุติจากเทวดาไปเกิดในนรก ฯลฯ
เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ เกิดในภูมิแห่งเปรตมีจำนวนมากกว่า ฯลฯ

เทวจุตินิรยาทิสูตรที่ ๗-๙ จบ

๑๐-๑๒. เทวมนุสสนิรยสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่จุติจากเทวดามาเกิดเป็นมนุษย์และเกิดในนรก ฯ

[๑๑๘๑-๑๑๘๓] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากเทวดา
มาเกิดในหมู่มนุษย์มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่จุติจากเทวดาไปเกิดในนรก ฯลฯ เกิด
ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ เกิดในภูมิแห่งเปรตมีจำนวนมากกว่า ฯลฯ

เทวมนุสสนิรยสูตรที่ ๑๐-๑๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๑๑. ปัญจคติเปยยาลวรรค ๑๙-๒๑. ติรัจฉานมนุสสนิรยาทิสูตร

๑๓-๑๕. นิรยมนุสสนิรยาทิสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่จุติจากนรกมาเกิดเป็นมนุษย์และเกิดในนรกเป็นต้น

[๑๑๘๔-๑๑๘๖] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากนรก
มาเกิดในหมู่มนุษย์มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่จุติจากนรกกลับมาเกิดในนรก ฯลฯ
เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ เกิดในภูมิแห่งเปรตมีจำนวนมากกว่า ฯลฯ

นิรยมนุสสนิรยาทิสูตรที่ ๑๓-๑๕ จบ

๑๖-๑๘. นิรยเทวนิรยาทิสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่จุติจากนรกไปเกิดเป็นเทวดาและเกิดในนรกเป็นต้น

[๑๑๘๗-๑๑๘๙] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากนรก
ไปเกิดในหมู่เทวดามีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่จุติจากนรกกลับมาเกิดในนรก ฯลฯ
เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ เกิดในภูมิแห่งเปรตมีจำนวนมากกว่า ฯลฯ

นิรยเทวนิรยาทิสูตรที่ ๑๖-๑๘ จบ

๑๙-๒๑. ติรัจฉานมนุสสนิรยาทิสูตร
ว่าด้วยสัตว์ดิรัจฉานที่จุติมาเกิดเป็นมนุษย์และเกิดในนรกเป็นต้น

[๑๑๙๐-๑๑๙๒] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากกำเนิด
สัตว์ดิรัจฉานมาเกิดในหมู่มนุษย์มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่จุติจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
ไปเกิดในนรก ฯลฯ เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ เกิดในภูมิแห่งเปรตมีจำนวน
มากกว่า ฯลฯ

ติรัจฉานมนุสสนิรยาทิสูตรที่ ๑๙-๒๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๑๑. ปัญจคติเปยยาลวรรค ๓๐. เปตติเทวเปตติวิสยสูตร

๒๒-๒๔. ติรัจฉานเทวนิรยาทิสูตร
ว่าด้วยสัตว์ดิรัจฉานที่จุติไปเกิดเป็นเทวดาและเกิดในนรกเป็นต้น

[๑๑๙๓-๑๑๙๕] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจาก
กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานไปเกิดในหมู่เทวดามีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่จุติจากกำเนิดสัตว์
ดิรัจฉานไปเกิดในนรก ฯลฯ เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ เกิดในภูมิแห่ง
เปรตมีจำนวนมากกว่า ฯลฯ

ติรัจฉานเทวนิรยาทิสูตรที่ ๒๒-๒๔ จบ

๒๕-๒๗. เปตติมนุสสนิรยาทิสูตร
ว่าด้วยเปรตที่จุติมาเกิดเป็นมนุษย์และเกิดในนรกเป็นต้น

[๑๑๙๖-๑๑๙๘] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากภูมิ
แห่งเปรตมาเกิดในหมู่มนุษย์มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่จุติจากภูมิแห่งเปรตไปเกิดใน
นรก ฯลฯ เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ เกิดในภูมิแห่งเปรตมีจำนวนมากกว่า ฯลฯ

เปตติมนุสสนิรยาทิสูตรที่ ๒๕-๒๗ จบ

๒๘-๒๙. เปตติเทวนิรยาทิสูตร
ว่าด้วยเปรตที่จุติไปเกิดเป็นเทวดาและเกิดในนรกเป็นต้น

[๑๑๙๙-๑๒๐๐] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากภูมิ
แห่งเปรตไปเกิดในหมู่เทวดามีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่จุติจากภูมิแห่งเปรตไปเกิดใน
นรกมีจำนวนมากกว่า ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากภูมิแห่งเปรตไปเกิดใน
หมู่เทวดามีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่จุติจากภูมิแห่งเปรตไปเกิดในกำเนิดสัตว์
ดิรัจฉานมีจำนวนมากกว่า ฯลฯ

เปตติเทวนิรยาทิสูตรที่ ๒๘-๒๙ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๑๑. ปัญจคติเปยยาล ๓๐. เปตติเทวเปตติวิสยสูตร วรรครวมพระสูตรที่มีในวรรค

๓๐. เปตติเทวเปตติวิสยสูตร
ว่าด้วยเปรตที่จุติไปเกิดเป็นเทวดาและเกิดในภูมิแห่งเปรต

[๑๒๐๑] “ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากภูมิแห่งเปรต
ไปเกิดในหมู่เทวดามีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่จุติจากภูมิแห่งเปรตกลับมาเกิดในภูมิ
แห่งเปรตมีจำนวนมากกว่า
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะไม่เห็นอริยสัจ ๔ ประการ
อริยสัจ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ทุกขอริยสัจ ๒. ทุกขสมุทยอริยสัจ
๓. ทุกขนิโรธอริยสัจ ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ

ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

เปตติเทวเปตติวิสยสูตรที่ ๓๐ จบ
ปัญจคติเปยยาลวรรคที่ ๑๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. มนุสสจุตินิรยสูตร ๒. มนุสสจุติติรัจฉานสูตร
๓. มนุสสจุติเปตติวิสยสูตร ๔-๖. มนุสสจุติเทวนิรยาทิสูตร
๗-๙. เทวจุตินิรยาทิสูตร ๑๐-๑๒. เทวมนุสสนิรยสูตร
๑๓-๑๕. นิรยมนุสสนิรยาทิสูตร ๑๖-๑๘. นิรยเทวนิรยาทิสูตร
๑๙-๒๑. ติรัจฉานมนุสสนิรยาทิสูตร ๒-๒๔. ติรัจฉานเทวนิรยาทิสูตร
๒๕-๒๗. เปตติมนุสสนิรยาทิสูตร ๒๘-๒๙. เปตติเทวนิรยาทิสูตร
๓๐. เปตติเทวเปตติวิสยสูตร

สัจจสังยุตที่ ๑๒ จบ มหาวรรคที่ ๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]
๑๑. ปัญจคติเปยยาล รวมสังยุตที่มีในมหาวารวรรค

รวมสังยุตที่มีในมหาวารวรรคนี้ คือ

๑. มัคคสังยุต ๒. โพชฌังคสังยุต
๓. สติปัฏฐานสังยุต ๔. อินทริยสังยุต
๕. สัมมัปปธานสังยุต ๖. พลสังยุต
๗. อิทธิปาทสังยุต ๘. อนุรุทธสังยุต
๙. ฌานสังยุต ๑๐. อานาปานสังยุต
๑๑. โสตาปัตติสังยุต ๑๒. สัจจสังยุต

มหาวารวรรคสังยุต จบ
สังยุตตนิกาย จบบริบูรณ์


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎกที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค จบ





eXTReMe Tracker