ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ



จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อความสะดวก และสวยงาม
(เฉพาะหน้าจอใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์)
กรุณาคลิก จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อให้กรอบ
ค้นข้อความ ปรากฎที่ด้านซ้ายของหน้า

พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘-๑ สุตตันตปิฎกที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๑. อนิจจวรรค ๑. อัชฌัตตานิจจสูตร

พระสุตตันตปิฎก
สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๑. สฬายตนสังยุต
๑. ปฐมปัณณาสก์
๑. อนิจจวรรค
หมวดว่าด้วยสิ่งที่ไม่เที่ยง
๑. อัชฌัตตานิจจสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายในไม่เที่ยง

[๑] ข้าพเจ้า๑ ได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลาย
มาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาค
จึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย จักขุ (ตา) ไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์
สิ่งนั้นเป็นอนัตตา (ไม่ใช่อัตตา) สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วย
ปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่
อัตตาของเรา’


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๑. อนิจจวรรค ๑. อัชฌัตตานิจจสูตร

โสตะ (หู) ไม่เที่ยง ฯลฯ
ฆานะ (จมูก) ไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง ฯลฯ
ชิวหา (ลิ้น) ไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็น
อนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความ
เป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
กายไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง ฯลฯ
มโน (ใจ) ไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็น
อนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความ
เป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโสตะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในฆานะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหา
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัดจิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัด
ว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว๑ ทำกิจที่ควรทำ๒ เสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”๓

อัชฌัตตานิจจสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๑. อนิจจวรรค ๓. อัชฌัตตานัตตสูตร

๒. อัชฌัตตทุกขสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายในเป็นทุกข์

[๒] “ภิกษุทั้งหลาย จักขุเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใด
เป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้
ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
โสตะเป็นทุกข์ ฯลฯ
ฆานะเป็นทุกข์ ฯลฯ
ชิวหาเป็นทุกข์ ฯลฯ
กายเป็นทุกข์ ฯลฯ
มโนเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้น
เธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา
เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

อัชฌัตตทุกขสูตรที่ ๒ จบ

๓. อัชฌัตตานัตตสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายในเป็นอนัตตา

[๓] “ภิกษุทั้งหลาย จักขุเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลาย
พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็น
นั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
โสตะเป็นอนัตตา ฯลฯ
ฆานะเป็นอนัตตา ฯลฯ
ชิวหาเป็นอนัตตา ฯลฯ
กายเป็นอนัตตา ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๑. อนิจจวรรค ๔. พาหิรานิจจสูตร

มโนเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอัน
ชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตา
ของเรา’
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

อัชฌัตตานัตตสูตรที่ ๓ จบ

๔. พาหิรานิจจสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายนอกไม่เที่ยง

[๔] “ภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์
สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ
ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
สัททะ (เสียง) ฯลฯ
คันธะ (กลิ่น) ฯลฯ
รส ฯลฯ
โผฏฐัพพะ (สิ่งที่ถูกต้องกาย) ฯลฯ
ธรรมารมณ์๑ ไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้น
เป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตาม
ความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ฯลฯ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมารมณ์ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลาย
กำหนัดจิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติ
สิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็น
อย่างนี้อีกต่อไป”

พาหิรานิจจสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๑. อนิจจวรรค ๖. พาหิรานัตตสูตร

๕. พาหิรทุกขสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายนอกเป็นทุกข์

[๕] “ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็น
อนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
สัททะ ฯลฯ
คันธะ ฯลฯ
รส ฯลฯ
โผฏฐัพพะ ฯลฯ
ธรรมารมณ์เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา
สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่
ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจ
อื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

พาหิรทุกขสูตรที่ ๕ จบ

๖. พาหิรานัตตสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายนอกเป็นอนัตตา

[๖] “ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลาย
พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็น
นั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
สัททะ ฯลฯ
คันธะ ฯลฯ
รส ฯลฯ
โผฏฐัพพะ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๑. อนิจจวรรค ๗. อัชฌัตตานิจจาตีตานาคตสูตร

ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วย
ปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่
อัตตาของเรา’
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

พาหิรานัตตสูตรที่ ๖ จบ

๗. อัชฌัตตานิจจาตีตานาคตสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายในทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตไม่เที่ยง

[๗] “ภิกษุทั้งหลาย จักขุทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตไม่เที่ยง ไม่ต้องกล่าวถึง
จักขุที่เป็นปัจจุบัน อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่เยื่อใยจักขุที่เป็นอดีต
ไม่ยินดีจักขุที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อ
ดับจักขุที่เป็นปัจจุบัน
โสตะ ... ไม่เที่ยง ฯลฯ
ฆานะ ... ไม่เที่ยง ฯลฯ
ชิวหาทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตไม่เที่ยง ไม่ต้องกล่าวถึงชิวหาที่เป็นปัจจุบัน
อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่เยื่อใยชิวหาที่เป็นอดีต ไม่ยินดีชิวหาที่เป็น
อนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับชิวหาที่เป็น
ปัจจุบัน
กาย ... ไม่เที่ยง ฯลฯ
มโน ... ไม่เที่ยง ไม่ต้องกล่าวถึงมโนที่เป็นปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่เยื่อใยมโนที่เป็นอดีต
ไม่ยินดีมโนที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ
มโนที่เป็นปัจจุบัน”

อัชฌัตตานิจจาตีตานาคตสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๑. อนิจจวรรค ๙. อัชฌัตตานัตตาตีตานาคตสูตร

๘. อัชฌัตตทุกขาตีตานาคตสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายในทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตเป็นทุกข์

[๘] “ภิกษุทั้งหลาย จักขุทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตเป็นทุกข์ ไม่ต้องกล่าวถึง
จักขุที่เป็นปัจจุบัน อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่เยื่อใยจักขุที่เป็นอดีต
ไม่ยินดีจักขุที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ
จักขุที่เป็นปัจจุบัน
โสตะ ... เป็นทุกข์ ฯลฯ
ฆานะ ... เป็นทุกข์ ฯลฯ
ชิวหาทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตเป็นทุกข์ ไม่ต้องกล่าวถึงชิวหาที่เป็นปัจจุบัน
อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่เยื่อใยชิวหาที่เป็นอดีต ไม่ยินดีชิวหาที่
เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับชิวหาที่
เป็นปัจจุบัน
กาย ... เป็นทุกข์ ฯลฯ
มโนทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตเป็นทุกข์ ไม่ต้องกล่าวถึงมโนที่เป็นปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่เยื่อใยมโนที่เป็นอดีต
ไม่ยินดีมโนที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อ
ดับมโนที่เป็นปัจจุบัน”

อัชฌัตตทุกขาตีตานาคตสูตรที่ ๘ จบ

๙. อัชฌัตตานัตตาตีตานาคตสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายในทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตเป็นอนัตตา

[๙] “ภิกษุทั้งหลาย จักขุทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตเป็นอนัตตา ไม่ต้องกล่าว
ถึงจักขุที่เป็นปัจจุบัน อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่เยื่อใยจักขุที่เป็น
อดีต ไม่ยินดีจักขุที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด
เพื่อดับจักขุที่เป็นปัจจุบัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๑. อนิจจวรรค ๑๐. พาหิรานิจจาตีตานาคตสูตร

โสตะ ... เป็นอนัตตา ฯลฯ
ฆานะ ... เป็นอนัตตา ฯลฯ
ชิวหาทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตเป็นอนัตตา ไม่ต้องกล่าวถึงชิวหาที่เป็นปัจจุบัน
อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่เยื่อใยชิวหาที่เป็นอดีต ไม่ยินดีชิวหาที่เป็น
อนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับชิวหาที่เป็น
ปัจจุบัน
กาย ... เป็นอนัตตา ฯลฯ
มโนทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตเป็นอนัตตา ไม่ต้องกล่าวถึงมโนที่เป็นปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่เยื่อใยมโนที่เป็น
อดีต ไม่ยินดีมโนที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด
เพื่อดับมโนที่เป็นปัจจุบัน”

อัชฌัตตานัตตาตีตานาคตสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. พาหิรานิจจาตีตานาคตสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายนอกทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตไม่เที่ยง

[๑๐] “ภิกษุทั้งหลาย รูปทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตไม่เที่ยง ไม่ต้องกล่าวถึงรูป
ที่เป็นปัจจุบัน อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่เยื่อใยรูปที่เป็นอดีต ไม่ยินดี
รูปที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับรูปที่เป็น
ปัจจุบัน
สัททะ ฯลฯ
คันธะ ฯลฯ
รส ฯลฯ
โผฏฐัพพะ ฯลฯ
ธรรมารมณ์ที่เป็นอดีตและอนาคตไม่เที่ยง ไม่ต้องกล่าวถึงธรรมารมณ์ที่เป็น
ปัจจุบัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๑. อนิจจวรรค ๑๒. พาหิรานัตตาตีตานาคตสูตร

ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่เยื่อใยธรรมารมณ์ที่
เป็นอดีต ไม่ยินดีธรรมารมณ์ที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อ
คลายกำหนัด เพื่อดับธรรมารมณ์ที่เป็นปัจจุบัน”

พาหิรานิจจาตีตานาคตสูตรที่ ๑๐ จบ

๑๑. พาหิรทุกขาตีตานาคตสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายนอกทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตเป็นทุกข์

[๑๑] “ภิกษุทั้งหลาย รูปทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตเป็นทุกข์ ไม่ต้องกล่าวถึง
รูปที่เป็นปัจจุบัน อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่เยื่อใยรูปที่เป็นอดีต
ไม่ยินดีรูปที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ
รูปที่เป็นปัจจุบัน ฯลฯ

พาหิรทุกขาตีตานาคตสูตรที่ ๑๑ จบ

๑๒. พาหิรานัตตาตีตานาคตสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายนอกทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตเป็นอนัตตา

[๑๒] “ภิกษุทั้งหลาย รูปทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตเป็นอนัตตา ไม่ต้องกล่าว
ถึงรูปที่เป็นปัจจุบัน อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่เยื่อใยรูปที่เป็น
อดีต ไม่ยินดีรูปที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด
เพื่อดับรูปที่เป็นปัจจุบัน
สัททะ ฯลฯ
คันธะ ฯลฯ
รส ฯลฯ
โผฏฐัพพะ ฯลฯ
ธรรมารมณ์ทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตเป็นอนัตตา ไม่ต้องกล่าวถึงธรรมารมณ์
ที่เป็นปัจจุบัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๑. อนิจจวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่เยื่อใยธรรมารมณ์ที่
เป็นอดีต ไม่ยินดีธรรมารมณ์ที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อ
คลายกำหนัด เพื่อดับธรรมารมณ์ที่เป็นปัจจุบัน”

พาหิรานัตตาตีตานาคตสูตรที่ ๑๒ จบ
อนิจจวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อัชฌัตตานิจจสูตร ๒. อัชฌัตตทุกขสูตร
๓. อัชฌัตตานัตตสูตร ๔. พาหิรานิจจสูตร
๕. พาหิรทุกขสูตร ๖. พาหิรานัตตสูตร
๗. อัชฌัตตานิจจาตีตานาคตสูตร ๘. อัชฌัตตทุกขาตีตานาคตสูตร
๙. อัชฌัตตานัตตาตีตานาคตสูตร ๑๐. พาหิรานิจจาตีตานาคตสูตร
๑๑. พาหิรทุกขาตีตานาคตสูตร ๑๒. พาหิรานัตตาตีตานาคตสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๒. ยมกวรรค ๑. ปฐมปุพเพสัมโพธสูตร

๒. ยมกวรรค
หมวดว่าด้วยคู่
๑. ปฐมปุพเพสัมโพธสูตร
ว่าด้วยความดำริก่อนตรัสรู้ สูตรที่ ๑

[๑๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อก่อนเราเป็นโพธิสัตว์ยังไม่ได้ตรัสรู้
ได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘อะไรหนอเป็นคุณ๑ อะไรเป็นโทษ๒ของจักขุ (ตา) อะไรเป็น
เครื่องสลัดออกจากจักขุ ฯลฯ โสตะ (หู) ฯลฯ ฆานะ (จมูก) ฯลฯ ชิวหา (ลิ้น) ฯลฯ
กาย อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษของมโน (ใจ) อะไรเป็นเครื่องสลัดออกจากมโน
ภิกษุทั้งหลาย เรานั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยจักขุเกิดขึ้น
นี้เป็นคุณของจักขุ สภาพที่จักขุไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา นี้
เป็นโทษของจักขุ ธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะ๓ ในจักขุ
นี้เป็นเครื่องสลัดออกจากจักขุ
สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยโสตะ ฯลฯ
สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยฆานะ ฯลฯ
สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยชิวหาเกิดขึ้น นี้เป็นคุณของชิวหา สภาพที่ชิวหาไม่
เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษของชิวหา ธรรมเป็นที่กำจัด
ฉันทราคะ๔ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะในชิวหา นี้เป็นเครื่องสลัดออกจากชิวหา


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๒. ยมกวรรค ๒. ทุติยปุพเพสัมโพธสูตร

สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยกาย ฯลฯ
สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยมโน นี้เป็นคุณของมโน สภาพที่มโนไม่เที่ยง เป็นทุกข์
มีความแปรผันเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษของมโน ธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรม
เป็นที่ละฉันทราคะในมโน นี้เป็นเครื่องสลัดออกจากมโน’
ภิกษุทั้งหลาย ตราบใดเรายังไม่รู้คุณโดยความเป็นคุณ โทษโดยความเป็นโทษ
และเครื่องสลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออกจากอายตนะภายใน ๖ ประการนี้
ตามความเป็นจริงอย่างนี้ ตราบนั้นเราก็ยังไม่ยืนยันว่า ‘เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิ-
ญาณอันยอดเยี่ยมในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อม
ทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์’
แต่เมื่อใดเรารู้คุณโดยความเป็นคุณ โทษโดยความเป็นโทษ เครื่องสลัดออกโดย
ความเป็นเครื่องสลัดออกจากอายตนะภายใน ๖ ประการนี้ตามความเป็นจริงอย่างนี้
เมื่อนั้นเราจึงยืนยันว่า ‘เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลกพร้อมทั้ง
เทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์’
อนึ่ง ญาณทัสสนะ๑ เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ‘วิมุตติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้
เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก”

ปฐมปุพเพสัมโพธสูตรที่ ๑ จบ

๒. ทุติยปุพเพสัมโพธสูตร
ว่าด้วยความดำริก่อนตรัสรู้ สูตรที่ ๒

[๑๔] “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อก่อนเราเป็นโพธิสัตว์ยังไม่ได้ตรัสรู้ ได้มีความคิด
ดังนี้ว่า ‘อะไรหนอเป็นคุณ อะไรเป็นโทษของรูป อะไรเป็นเครื่องสลัดออกจากรูป
อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษของสัททะ อะไรเป็นเครื่องสลัดออกจากสัททะ ฯลฯ
คันธะ ฯลฯ รส ฯลฯ โผฏฐัพพะ อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษของธรรมารมณ์
อะไรเป็นเครื่องสลัดออกจากธรรมารมณ์’


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๒. ยมกวรรค ๒. ทุติยปุพเพสัมโพธสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เรานั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยรูปเกิดขึ้น
นี้เป็นคุณของรูป สภาพที่รูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา นี้
เป็นโทษของรูป ธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะในรูป นี้เป็น
เครื่องสลัดออกจากรูป
สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยสัททะ ฯลฯ คันธะ ฯลฯ รส ฯลฯ โผฏฐัพพะ
ฯลฯ
สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยธรรมารมณ์เกิดขึ้น นี้เป็นคุณของธรรมารมณ์ สภาพ
ที่ธรรมารมณ์ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษของ
ธรรมารมณ์ ธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะในธรรมารมณ์
นี้เป็นเครื่องสลัดออกจากธรรมารมณ์’
ภิกษุทั้งหลาย ตราบใดเรายังไม่รู้คุณโดยความเป็นคุณ โทษโดยความเป็นโทษ
และเครื่องสลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออกจากอายตนะภายนอก ๖ ประการนี้
ตามความเป็นจริงอย่างนี้ ตราบนั้นเราก็ยังไม่ยืนยันว่า ‘เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิ
ญาณอันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์
พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์’
แต่เมื่อใด เรารู้คุณโดยความเป็นคุณ โทษโดยความเป็นโทษ เครื่องสลัดออก
โดยความเป็นเครื่องสลัดออกจากอายตนะภายนอก ๖ ประการนี้ตามความเป็นจริง
อย่างนี้ เมื่อนั้นเราจึงยืนยันว่า ‘เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลก
พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา
และมนุษย์’
อนึ่ง ญาณทัสสนะเกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ‘วิมุตติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็น
ชาติสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก”

ทุติยปุพเพสัมโพธสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๒. ยมกวรรค ๓. ปฐมอัสสาทปริเยสนสูตร

๓. ปฐมอัสสาทปริเยสนสูตร
ว่าด้วยการแสวงหาคุณของอายตนะ สูตรที่ ๑

[๑๕] “ภิกษุทั้งหลาย เราได้เที่ยวแสวงหาคุณของจักขุ ได้พบคุณของจักขุแล้ว
คุณของจักขุมีประมาณเท่าใด เราเห็นคุณประมาณเท่านั้นดีแล้วด้วยปัญญา เราได้
เที่ยวแสวงหาโทษของจักขุ ได้พบโทษของจักขุแล้ว โทษของจักขุมีประมาณเท่าใด
เราเห็นโทษประมาณเท่านั้นดีแล้วด้วยปัญญา
เราได้เที่ยวแสวงหาเครื่องสลัดออกจากจักขุ ได้พบเครื่องสลัดออกจากจักขุแล้ว
เครื่องสลัดออกจากจักขุมีประมาณเท่าใด เราเห็นเครื่องสลัดออกประมาณเท่านั้น
ดีแล้วด้วยปัญญา
เราได้เที่ยวแสวงหาคุณของโสตะ ฯลฯ
เราได้เที่ยวแสวงหาคุณของฆานะ ฯลฯ
เราได้เที่ยวแสวงหาคุณของชิวหา ได้พบคุณของชิวหาแล้ว คุณของชิวหามี
ประมาณเท่าใด เราเห็นคุณประมาณเท่านั้นดีแล้วด้วยปัญญา
เราได้เที่ยวแสวงหาโทษของชิวหา ได้พบโทษของชิวหาแล้ว โทษของชิวหามี
ประมาณเท่าใด เราเห็นโทษประมาณเท่านั้นดีแล้วด้วยปัญญา
เราได้เที่ยวแสวงหาเครื่องสลัดออกจากชิวหา ได้พบเครื่องสลัดออกจากชิวหาแล้ว
เครื่องสลัดออกจากชิวหามีประมาณเท่าใด เราเห็นเครื่องสลัดออกประมาณเท่านั้น
ดีแล้วด้วยปัญญา ฯลฯ
เราได้เที่ยวแสวงหาคุณของมโน ได้พบคุณของมโนแล้ว คุณของมโนมี
ประมาณเท่าใด เราเห็นคุณประมาณเท่านั้นดีแล้วด้วยปัญญา
เราได้เที่ยวแสวงหาโทษของมโน ได้พบโทษของมโนแล้ว โทษของมโนมี
ประมาณเท่าใด เราเห็นโทษประมาณเท่านั้นดีแล้วด้วยปัญญา
เราได้เที่ยวแสวงหาเครื่องสลัดออกจากมโน ได้พบเครื่องสลัดออกจากมโนแล้ว
เครื่องสลัดออกจากมโนมีประมาณเท่าใด เราเห็นเครื่องสลัดออกประมาณเท่านั้น
ดีแล้วด้วยปัญญา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๒. ยมกวรรค ๔. ทุติยอัสสาทปริเยสนสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ตราบใดเรายังไม่รู้คุณโดยความเป็นคุณ โทษโดยความเป็นโทษ
และเครื่องสลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออกจากอายตนะภายใน ๖ ประการนี้
ตามความเป็นจริง ฯลฯ รู้ ... อนึ่ง ญาณทัสสนะเกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ‘วิมุตติ
ของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก”

ปฐมอัสสาทปริเยสนสูตรที่ ๓ จบ

๔. ทุติยอัสสาทปริเยสนสูตร
ว่าด้วยการแสวงหาคุณของอายตนะ สูตรที่ ๒

[๑๖] “ภิกษุทั้งหลาย เราได้เที่ยวแสวงหาคุณของรูป ได้พบคุณของรูปแล้ว
คุณของรูปมีประมาณเท่าใด เราเห็นคุณประมาณเท่านั้นดีแล้วด้วยปัญญา
เราได้เที่ยวแสวงหาโทษของรูป พบโทษของรูปแล้ว โทษของรูปมีประมาณ
เท่าใด เราเห็นโทษประมาณเท่านั้นดีแล้วด้วยปัญญา
เราได้เที่ยวแสวงหาเครื่องสลัดออกจากรูป ได้พบเครื่องสลัดออกจากรูปแล้ว
เครื่องสลัดออกจากรูปมีประมาณเท่าใด เราเห็นเครื่องสลัดออกประมาณเท่านั้น
ดีแล้วด้วยปัญญา
เราได้เที่ยวแสวงหาคุณของสัททะ ฯลฯ
เราได้เที่ยวแสวงหาคุณของคันธะ ฯลฯ
เราได้เที่ยวแสวงหาคุณของรส ฯลฯ
เราได้เที่ยวแสวงหาคุณของโผฏฐัพพะ ฯลฯ
เราได้เที่ยวแสวงหาคุณของธรรมารมณ์ ได้พบคุณของธรรมารมณ์แล้ว คุณ
ของธรรมารมณ์มีประมาณเท่าใด เราเห็นคุณมีประมาณเท่านั้นดีแล้วด้วยปัญญา
เราได้เที่ยวแสวงหาโทษของธรรมารมณ์ ได้พบโทษของธรรมารมณ์แล้ว โทษ
ของธรรมารมณ์มีประมาณเท่าใด เราเห็นโทษประมาณเท่านั้นดีแล้วด้วยปัญญา
เราได้เที่ยวแสวงหาเครื่องสลัดออกจากธรรมารมณ์ ได้พบเครื่องสลัดออก
จากธรรมารมณ์แล้ว เครื่องสลัดออกจากธรรมารมณ์มีประมาณเท่าใด เราเห็น
เครื่องสลัดออกประมาณเท่านั้นดีแล้วด้วยปัญญา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๒. ยมกวรรค ๕. ปฐมโนเจอัสสาทสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ตราบใดเรายังไม่รู้คุณโดยความเป็นคุณ โทษโดยความเป็นโทษ
เครื่องสลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออกจากอายตนะภายนอก ๖ ประการนี้
ตามความเป็นจริง ฯลฯ รู้ ... อนึ่ง ญาณทัสสนะเกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ‘วิมุตติของ
เราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก”

ทุติยอัสสาทปริเยสนสูตรที่ ๔ จบ

๕. ปฐมโนเจอัสสาทสูตร
ว่าด้วยการปฏิเสธคุณของอายตนะ สูตรที่ ๑

[๑๗] “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าคุณของจักขุจักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงติดใจ
ในจักขุ แต่เพราะคุณของจักขุมีอยู่ ฉะนั้นสัตว์ทั้งหลายจึงติดใจในจักขุ
ถ้าโทษของจักขุจักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงเบื่อหน่ายในจักขุ แต่
เพราะโทษของจักขุมีอยู่ ฉะนั้นสัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในจักขุ
ถ้าเครื่องสลัดออกจากจักขุจักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงสลัดออกจากจักขุ
แต่เพราะเครื่องสลัดออกจากจักขุมีอยู่ ฉะนั้นสัตว์ทั้งหลายจึงสลัดออกจากจักขุ
ถ้าคุณของโสตะจักไม่มีแล้ว ... ถ้าคุณของฆานะจักไม่มีแล้ว ... ถ้าคุณของ
ชิวหาจักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงติดใจในชิวหา แต่เพราะคุณของชิวหามีอยู่
ฉะนั้นสัตว์ทั้งหลายจึงติดใจในชิวหา
ถ้าโทษของชิวหาจักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงเบื่อหน่ายในชิวหา แต่
เพราะโทษของชิวหามีอยู่ ฉะนั้นสัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในชิวหา
ถ้าเครื่องสลัดออกจากชิวหาจักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงสลัดออกจาก
ชิวหา แต่เพราะเครื่องสลัดออกจากชิวหามีอยู่ ฉะนั้นสัตว์ทั้งหลายจึงสลัดออกจาก
ชิวหา
ถ้าคุณของกายจักไม่มีแล้ว ... ถ้าคุณของมโนจักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่
พึงติดใจในมโน แต่เพราะคุณของมโนมีอยู่ ฉะนั้นสัตว์ทั้งหลายจึงติดใจในมโน
ถ้าโทษของมโนจักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงเบื่อหน่ายในมโน แต่เพราะ
โทษของมโนมีอยู่ ฉะนั้นสัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในมโน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๒. ยมกวรรค ๖. ทุติยโนเจอัสสาทปริเยสนสูตร

ถ้าเครื่องสลัดออกจากมโนจักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงสลัดออกจากมโน
แต่เพราะเครื่องสลัดออกจากมโนมีอยู่ ฉะนั้นสัตว์ทั้งหลายจึงสลัดออกจากมโน
ภิกษุทั้งหลาย ตราบใดสัตว์ทั้งหลายยังไม่รู้คุณโดยความเป็นคุณ โทษโดย
ความเป็นโทษ และเครื่องสลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออกจากอายตนะภายใน
๖ ประการนี้ตามความเป็นจริง ตราบนั้นสัตว์ทั้งหลายจะออกไป หลุดไป พ้นไป
จากโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก จากหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์
เทวดาและมนุษย์ มีใจปราศจากแดน๑ อยู่ไม่ได้เลย
แต่เมื่อใดสัตว์ทั้งหลายรู้คุณโดยความเป็นคุณ โทษโดยความเป็นโทษ และ
เครื่องสลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออกจากอายตนะภายใน ๖ ประการนี้ตาม
ความเป็นจริง เมื่อนั้นสัตว์ทั้งหลายจึงออกไป หลุดไป พ้นไป จากโลกพร้อมทั้ง
เทวโลก มารโลก พรหมโลก จากหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์
มีใจปราศจากแดนอยู่ได้”

ปฐมโนเจอัสสาทสูตรที่ ๕ จบ

๖. ทุติยโนเจอัสสาทสูตร
ว่าด้วยการปฏิเสธคุณของอายตนะ สูตรที่ ๒

[๑๘] “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าคุณของรูปจักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงติดใจ
ในรูป แต่เพราะคุณของรูปมีอยู่ ฉะนั้นสัตว์ทั้งหลายจึงติดใจในรูป
ถ้าโทษของรูปจักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงเบื่อหน่ายในรูป แต่เพราะ
โทษของรูปมีอยู่ ฉะนั้นสัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในรูป
ถ้าเครื่องสลัดออกจากรูปจักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงสลัดออกจากรูป
แต่เพราะเครื่องสลัดออกจากรูปมีอยู่ ฉะนั้นสัตว์ทั้งหลายจึงสลัดออกจากรูป
ถ้าคุณของสัททะ ฯลฯ ของคันธะ ฯลฯ ของรส ฯลฯ ของโผฏฐัพพะ ฯลฯ
ถ้าคุณของธรรมารมณ์จักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงติดใจในธรรมารมณ์
แต่เพราะคุณของธรรมารมณ์มีอยู่ ฉะนั้นสัตว์ทั้งหลายจึงติดใจในธรรมารมณ์


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๒. ยมกวรรค ๗. ปฐมาภินันทสูตร

ถ้าโทษของธรรมารมณ์จักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงเบื่อหน่ายในธรรมารมณ์
แต่เพราะโทษของธรรมารมณ์มีอยู่ ฉะนั้นสัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในธรรมารมณ์
ถ้าเครื่องสลัดออกจากธรรมารมณ์จักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงสลัดออก
จากธรรมารมณ์ เพราะเครื่องสลัดออกจากธรรมารมณ์มีอยู่ ฉะนั้นสัตว์ทั้งหลายจึง
สลัดออกจากธรรมารมณ์
ภิกษุทั้งหลาย ตราบใดสัตว์ทั้งหลายยังไม่รู้คุณโดยความเป็นคุณ โทษโดย
ความเป็นโทษ เครื่องสลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออกจากอายตนะภายนอก ๖
ประการนี้ ตามความเป็นจริง เมื่อนั้น สัตว์ทั้งหลายจะออกไป หลุดไป พ้นไป
จากโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก จากหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์
เทวดาและมนุษย์ มีใจปราศจากแดนอยู่ไม่ได้เลย
แต่เมื่อใดสัตว์ทั้งหลายรู้คุณโดยความเป็นคุณ โทษโดยความเป็นโทษ เครื่อง
สลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออกจากอายตนะภายใน ๖ ประการนี้ ตาม
ความเป็นจริง เมื่อนั้นสัตว์ทั้งหลายจึงออกไป หลุดไป พ้นไป จากโลกพร้อมทั้ง
เทวโลก มารโลก พรหมโลก จากหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และ
มนุษย์ มีใจปราศจากแดนอยู่ได้”

ทุติยโนเจอัสสาทสูตรที่ ๖ จบ

๗. ปฐมาภินันทสูตร
ว่าด้วยผู้เพลิดเพลินอายตนะ สูตรที่ ๑

[๑๙] “ภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่เพลิดเพลินจักขุ ชื่อว่าเพลิดเพลินทุกข์ ผู้ที่
เพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่า ‘พ้นจากทุกข์ไม่ได้’
ผู้ที่เพลิดเพลินโสตะ ฯลฯ
ผู้ที่เพลิดเพลินฆานะ ฯลฯ
ผู้ที่เพลิดเพลินชิวหา ชื่อว่าเพลิดเพลินทุกข์ ผู้ที่เพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่า
‘พ้นจากทุกข์ไม่ได้’
ผู้ที่เพลิดเพลินกาย ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๒. ยมกวรรค ๘. ทุติยาภินันทสูตร

ผู้ที่เพลิดเพลินมโน ชื่อว่าเพลิดเพลินทุกข์ ผู้ที่เพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่า
‘พ้นจากทุกข์ไม่ได้’
ภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่ไม่เพลิดเพลินจักขุ ชื่อว่าไม่เพลิดเพลินทุกข์ ผู้ที่ไม่
เพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่า ‘พ้นจากทุกข์ได้’
ผู้ที่ไม่เพลิดเพลินโสตะ ฯลฯ
ผู้ที่ไม่เพลิดเพลินฆานะ ฯลฯ
ผู้ที่ไม่เพลิดเพลินชิวหา ชื่อว่าไม่เพลิดเพลินทุกข์ ผู้ที่ไม่เพลิดเพลินทุกข์ เรา
กล่าวว่า ‘พ้นจากทุกข์ได้’
ผู้ที่ไม่เพลิดเพลินกาย ฯลฯ
ผู้ที่ไม่เพลิดเพลินมโน ชื่อว่าไม่เพลิดเพลินทุกข์ ผู้ที่ไม่เพลิดเพลินทุกข์ เรา
กล่าวว่า ‘พ้นจากทุกข์ได้”

ปฐมาภินันทสูตรที่ ๗ จบ

๘. ทุติยาภินันทสูตร
ว่าด้วยผู้เพลิดเพลินอายตนะ สูตรที่ ๒

[๒๐] “ภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่เพลิดเพลินรูป ชื่อว่าเพลิดเพลินทุกข์ ผู้ที่
เพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่า ‘พ้นจากทุกข์ไม่ได้’
ผู้ที่เพลิดเพลินสัททะ ฯลฯ คันธะ ฯลฯ รส ฯลฯ โผฏฐัพพะ ฯลฯ
ผู้ที่เพลิดเพลินธรรมารมณ์ ชื่อว่าเพลิดเพลินทุกข์ ผู้ที่เพลิดเพลินทุกข์ เรา
กล่าวว่า ‘พ้นจากทุกข์ไม่ได้’
ภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่ไม่เพลิดเพลินรูป ชื่อว่าไม่เพลิดเพลินทุกข์ ผู้ที่ไม่เพลิดเพลิน
ทุกข์ เรากล่าวว่า ‘พ้นจากทุกข์ได้’
ผู้ที่ไม่เพลิดเพลินสัททะ ฯลฯ คันธะ ฯลฯ รส ฯลฯ โผฏฐัพพะ ฯลฯ
ผู้ที่ไม่เพลิดเพลินธรรมารมณ์ ชื่อว่าไม่เพลิดเพลินทุกข์ ผู้ที่ไม่เพลิดเพลินทุกข์
เรากล่าวว่า ‘พ้นจากทุกข์ได้”

ทุติยาภินันทสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๒. ยมกวรรค ๑๐. ทุติยทุกขุปปาทสูตร

๙. ปฐมทุกขุปปาทสูตร
ว่าด้วยความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ สูตรที่ ๑

[๒๑] “ภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความ
ปรากฏแห่งจักขุ นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความ
ปรากฏแห่งชราและมรณะ
ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งโสตะ ฯลฯ แห่ง
ฆานะ ฯลฯ แห่งชิวหา ฯลฯ แห่งกาย ฯลฯ
ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งมโน นี้เป็นความ
เกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งจักขุ นี้
เป็นความดับแห่งทุกข์ เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชรา
และมรณะ
ความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งโสตะ ฯลฯ แห่งฆานะ ฯลฯ
แห่งชิวหา ฯลฯ แห่งกาย ฯลฯ
ความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งมโน นี้เป็นความดับแห่งทุกข์
เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชราและมรณะ”

ปฐมทุกขุปปาทสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ทุติยทุกขุปปาทสูตร
ว่าด้วยความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ สูตรที่ ๒

[๒๒] “ภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความ
ปรากฏแห่งรูป นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความ
ปรากฏแห่งชราและมรณะ
ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งสัททะ ฯลฯ
แห่งคันธะ ฯลฯ แห่งรส ฯลฯ แห่งโผฏฐัพพะ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๒. ยมกวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งธรรมารมณ์ นี้
เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและ
มรณะ
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งรูป นี้
เป็นความดับแห่งทุกข์ เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชรา
และมรณะ
ความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งสัททะ ฯลฯ แห่งคันธะ ฯลฯ
แห่งรส ฯลฯ แห่งโผฏฐัพพะ ฯลฯ
ความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งธรรมารมณ์ นี้เป็นความดับ
แห่งทุกข์ เป็นความสงบแห่งโรค เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชราและมรณะ”

ทุติยทุกขุปปาทสูตรที่ ๑๐ จบ
ยมกวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมปุพเพสัมโพธสูตร ๒. ทุติยปุพเพสัมโพธสูตร
๓. ปฐมอัสสาทปริเยสนสูตร ๔. ทุติยอัสสาทปริเยสนสูตร
๕. ปฐมโนเจอัสสาทสูตร ๖. ทุติยโนเจอัสสาทสูตร
๗. ปฐมาภินันทสูตร ๘. ทุติยาภินันทสูตร
๙. ปฐมทุกขุปปาทสูตร ๑๐. ทุติยทุกขุปปาทสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๓. สัพพวรรค ๒. ปหานสูตร

๓. สัพพวรรค
หมวดว่าด้วยสิ่งทั้งปวง
๑. สัพพสูตร
ว่าด้วยสิ่งทั้งปวง

[๒๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสิ่งทั้งปวงแก่เธอทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงฟัง
ก็อะไรเล่าชื่อว่าสิ่งทั้งปวง
คือ (๑) จักขุกับรูป (๒) โสตะกับสัททะ (๓) ฆานะกับคันธะ (๔) ชิวหากับรส
(๕) กายกับโผฏฐัพพะ (๖) มโนกับธรรมารมณ์
นี้เราเรียกว่า ‘สิ่งทั้งปวง’
ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าจักบอกเลิกสิ่งทั้งปวงแล้ว
บัญญัติสิ่งอื่นแทน’ คำพูดของผู้นั้นคงเป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ครั้นถูกถามเข้าก็คง
ตอบไม่ได้และถึงความลำบากอย่างยิ่ง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเขาถูกถามในสิ่ง
อันมิใช่วิสัย๑”

สัพพสูตรที่ ๑ จบ

๒. ปหานสูตร
ว่าด้วยธรรมเพื่อละสิ่งทั้งปวง

[๒๔] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรม เพื่อละสิ่งทั้งปวงแก่เธอทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมเพื่อละสิ่งทั้งปวง เป็นอย่างไร
คือ จักขุเป็นสิ่งที่ควรละ รูปเป็นสิ่งที่ควรละ จักขุวิญญาณเป็นสิ่งที่ควรละ
จักขุสัมผัสเป็นสิ่งที่ควรละ แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่
ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่งที่ควรละ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๓. สัพพวรรค ๓. อภิญญาปริญญาปหานสูตร

โสตะเป็นสิ่งที่ควรละ ฯลฯ
ฆานะเป็นสิ่งที่ควรละ ฯลฯ
ชิวหาเป็นสิ่งที่ควรละ รสเป็นสิ่งที่ควรละ ชิวหาวิญญาณเป็นสิ่งที่ควรละ
ชิวหาสัมผัสเป็นสิ่งที่ควรละ แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุข
มิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่งที่ควรละ
กายเป็นสิ่งที่ควรละ ฯลฯ
มโน๑เป็นสิ่งที่ควรละ ธรรมารมณ์เป็นสิ่งที่ควรละ มโนวิญญาณ๒เป็นสิ่งที่
ควรละ มโนสัมผัส๓เป็นสิ่งที่ควรละ แม้ความเสวยอารมณ์๔ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือ
มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่งที่ควรละ
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเพื่อละสิ่งทั้งปวง เป็นอย่างนี้แล”

ปหานสูตรที่ ๒ จบ

๓. อภิญญาปริญญาปหานสูตร
ว่าด้วยธรรมเพื่อรู้ยิ่งกำหนดรู้แล้วละสิ่งทั้งปวง

[๒๕] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเพื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละสิ่งทั้งปวงแก่
เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมเพื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละสิ่งทั้งปวง เป็นอย่างไร
คือ จักขุเป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละ รูปเป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้
แล้วละ จักขุวิญญาณเป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละ จักขุสัมผัสเป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง
กำหนดรู้แล้วละ แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่
เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละ ฯลฯ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๓. สัพพวรรค ๔. ปฐมอปริชานนสูตร

ชิวหาเป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละ รสเป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละ
ชิวหาวิญญาณเป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละ ชิวหาสัมผัสเป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง กำหนด
รู้แล้วละ แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะ
ชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละ
กายเป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละ ฯลฯ
มโนเป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละ ธรรมารมณ์เป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง
กำหนดรู้แล้วละ มโนวิญญาณเป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละ มโนสัมผัสเป็น
สิ่งที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละ แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุข
มิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละ
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเพื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละสิ่งทั้งปวง เป็นอย่างนี้แล”

อภิญญาปริญญาปหานสูตรที่ ๓ จบ

๔. ปฐมอปริชานนสูตร
ว่าด้วยผู้ไม่กำหนดรู้สิ่งทั้งปวง สูตรที่ ๑

[๒๖] “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด
ไม่ละสิ่งทั้งปวง เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์
บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละสิ่งทั้งปวงอะไรเล่า
เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์
คือ บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละจักขุ เป็นผู้ไม่ควร
เพื่อความสิ้นทุกข์ บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละรูป
เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด
ไม่ละจักขุวิญญาณ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้
ไม่คลายกำหนัด ไม่ละจักขุสัมผัส เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง
ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิ
ใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์
ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๓. สัพพวรรค ๔. ปฐมอปริชานนสูตร

บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละชิวหา เป็นผู้ไม่ควร
เพื่อความสิ้นทุกข์ ... รส ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ ฯลฯ ชิวหาสัมผัส ฯลฯ บุคคล
เมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข
หรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นผู้ไม่ควร
เพื่อความสิ้นทุกข์ ... กาย ฯลฯ
บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละมโน เป็นผู้ไม่ควร
เพื่อความสิ้นทุกข์ ... ธรรมารมณ์ ฯลฯ มโนวิญญาณ ฯลฯ มโนสัมผัส ฯลฯ
บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละแม้ความเสวยอารมณ์ที่
เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นผู้ไม่
ควรเพื่อความสิ้นทุกข์
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละสิ่ง
ทั้งปวงนี้แล เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุคคลเมื่อรู้ยิ่ง๑ กำหนดรู้๒ คลายกำหนัด๓ ละสิ่งทั้งปวง
ได้ เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์
อนึ่ง บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัด ละสิ่งทั้งปวงอะไรเล่าได้
เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์
คือ บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัด ละจักขุได้ เป็นผู้ควรเพื่อความ
สิ้นทุกข์ บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัด ละรูปได้ เป็นผู้ควรเพื่อความ
สิ้นทุกข์ บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัด ละจักขุวิญญาณได้ เป็นผู้ควร
เพื่อความสิ้นทุกข์ บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัด ละจักขุสัมผัสได้ เป็น
ผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัด ละแม้ความ
เสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยได้
ก็เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ ฯลฯ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๓. สัพพวรรค ๕. ทุติยอปริชานนสูตร

บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัด ละชิวหาได้ เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้น
ทุกข์ ... รส ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ ฯลฯ ชิวหาสัมผัส ฯลฯ บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนด
รู้ คลายกำหนัด ละแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่
เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัยได้ ก็เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ ... กาย ฯลฯ
บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัด ละมโนได้ เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์
... ธรรมารมณ์ ฯลฯ มโนวิญญาณ ฯลฯ มโนสัมผัส ฯลฯ บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนด
รู้ คลายกำหนัด ละแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่
เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยได้ ก็เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัด ละสิ่งทั้งปวงนี้แลได้
เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์”

ปฐมอปริชานนสูตรที่ ๔ จบ

๕. ทุติยอปริชานนสูตร
ว่าด้วยผู้ไม่กำหนดรู้สิ่งทั้งปวง สูตรที่ ๒

[๒๗] “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด
ไม่ละสิ่งทั้งปวง เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์
บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละสิ่งทั้งปวงอะไรเล่า
เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์
คือ จักขุ รูป จักขุวิญญาณ และธรรมที่พึงรู้แจ้งทางจักขุวิญญาณ ฯลฯ
ชิวหา รส ชิวหาวิญญาณ และธรรมที่พึงรู้แจ้งทางชิวหาวิญญาณ
กาย โผฏฐัพพะ กายวิญญาณ และธรรมที่พึงรู้แจ้งทางกายวิญญาณ
มโน ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ และธรรมที่พึงรู้แจ้งทางมโนวิญญาณ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละสิ่ง
ทั้งปวงนี้แล เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๓. สัพพวรรค ๖. อาทิตตสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัด ละสิ่งทั้งปวงได้
เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์
อนึ่ง บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัด ละสิ่งทั้งปวงอะไรเล่าได้ เป็นผู้
ควรเพื่อความสิ้นทุกข์
คือ จักขุ รูป จักขุวิญญาณ และธรรมที่พึงรู้แจ้งทางจักขุวิญญาณ ฯลฯ
ชิวหา รส ชิวหาวิญญาณ และธรรมที่พึงรู้แจ้งทางชิวหาวิญญาณ
กาย โผฏฐัพพะ กายวิญญาณ และธรรมที่พึงรู้แจ้งทางกายวิญญาณ
มโน ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ และธรรมที่พึงรู้แจ้งทางมโนวิญญาณ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัด ละสิ่งทั้งปวงนี้แลได้
เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์”

ทุติยอปริชานนสูตรที่ ๕ จบ

๖. อาทิตตสูตร๑
ว่าด้วยสิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน

[๒๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ตำบลคยาสีสะ ริมฝั่งแม่น้ำคยา
พร้อมกับภิกษุ ๑,๐๐๐ รูป ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลาย
มาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน ก็อะไรเล่าชื่อว่าสิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน
คือ จักขุเป็นของร้อน รูปเป็นของร้อน จักขุวิญญาณเป็นของร้อน จักขุสัมผัส
เป็นของร้อน แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้น
เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นของร้อน ร้อนเพราะอะไร เรากล่าวว่า ‘ร้อนเพราะ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๓. สัพพวรรค ๖. อทิตตสูตร

ไฟคือราคะ เพราะไฟคือโทสะ เพราะไฟคือโมหะ ร้อนเพราะชาติ (ความเกิด) เพราะ
ชรา (ความแก่) เพราะมรณะ (ความตาย) เพราะโสกะ (ความเศร้าโศก) เพราะ
ปริเทวะ (ความคร่ำครวญ) เพราะทุกข์ (ความทุกข์กาย) เพราะโทมนัส (ความ
ทุกข์ใจ) เพราะอุปายาส (ความคับแค้นใจ)’ ฯลฯ
ชิวหาเป็นของร้อน รสเป็นของร้อน ชิวหาวิญญาณเป็นของร้อน ชิวหาสัมผัส
เป็นของร้อน แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้น
เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นของร้อน ร้อนเพราะอะไร เรากล่าวว่า ‘ร้อนเพราะ
ไฟคือราคะ เพราะไฟคือโทสะ เพราะไฟคือโมหะ ร้อนเพราะชาติ เพราะชรา เพราะ
มรณะ เพราะโสกะ เพราะปริเทวะ เพราะทุกข์ เพราะโทมนัส เพราะอุปายาส’ ฯลฯ
มโนเป็นของร้อน ธรรมารมณ์เป็นของร้อน มโนวิญญาณเป็นของร้อน
มโนสัมผัสเป็นของร้อน แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่
ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นของร้อน ร้อนเพราะอะไร เรากล่าวว่า
‘ร้อนเพราะไฟคือราคะ เพราะไฟคือโทสะ เพราะไฟคือโมหะ ร้อนเพราะชาติ เพราะชรา
เพราะมรณะ เพราะโสกะ เพราะปริเทวะ เพราะทุกข์ เพราะโทมนัส เพราะอุปายาส’
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน
จักขุสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุข
มิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในความ
เสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิต
หลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสอาทิตตสูตรนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นก็มีใจยินดี ต่างชื่นชม
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค เมื่อพระองค์ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้อยู่ ภิกษุ ๑,๐๐๐
รูปนั้นก็มีจิตหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น

อาทิตตสูตรที่ ๖ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๓. สัพพวรรค ๗. อันธภูตสูตร

๗. อันธภูตสูตร
ว่าด้วยสิ่งทั้งปวงเป็นของมืดมน

[๒๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
เขตกรุงราชคฤห์ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นของมืดมน ก็อะไรเล่าชื่อว่าสิ่งทั้งปวงเป็นของ
มืดมน
คือ จักขุเป็นของมืดมน รูปเป็นของมืดมน จักขุวิญญาณเป็นของมืดมน
จักขุสัมผัสเป็นของมืดมน แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่
ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นของมืดมน มืดมนเพราะอะไร เรา
กล่าวว่า ‘มืดมนเพราะชาติ เพราะชรา เพราะมรณะ เพราะโสกะ เพราะปริเทวะ
เพราะทุกข์ เพราะโทมนัส เพราะอุปายาส’ ฯลฯ
ชิวหาเป็นของมืดมน รสเป็นของมืดมน ชิวหาวิญญาณเป็นของมืดมน
ชิวหาสัมผัสเป็นของมืดมน แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่
ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นของมืดมน มืดมนเพราะอะไร
เรากล่าวว่า ‘มืดมนเพราะชาติ เพราะชรา เพราะมรณะ เพราะโสกะ เพราะปริเทวะ
เพราะทุกข์ เพราะโทมนัส เพราะอุปายาส’
กายเป็นของมืดมน ฯลฯ
มโนเป็นของมืดมน ธรรมารมณ์เป็นของมืดมน มโนวิญญาณเป็นของมืดมน
มโนสัมผัสเป็นของมืดมน แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่
ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นของมืดมน มืดมนเพราะอะไร เรา
กล่าวว่า ‘มืดมนเพราะชาติ เพราะชรา เพราะมรณะ เพราะโสกะ เพราะปริเทวะ
เพราะทุกข์ เพราะโทมนัส เพราะอุปายาส’
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๓. สัพพวรรค ๘. สมุคฆาตสารุปปสูตร

จักขุสัมผัส ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่
สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’
รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

อันธภูตสูตรที่ ๗ จบ

๘. สมุคฆาตสารุปปสูตร
ว่าด้วยปฏิปทาอันสมควรแก่การเพิกถอนความกำหนดหมาย

[๓๐] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปฏิปทาอันสมควรแก่การเพิกถอนความ
กำหนดหมาย๑ ทั้งปวงแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว
ปฏิปทาอันสมควรแก่การเพิกถอนความกำหนดหมายทั้งปวง เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่กำหนดหมายจักขุ ไม่กำหนดหมายในจักขุ ไม่
กำหนดหมายเพราะจักขุ ไม่กำหนดหมายว่า ‘จักขุของเรา’
ไม่กำหนดหมายรูป ไม่กำหนดหมายในรูป ไม่กำหนดหมายเพราะรูป ไม่
กำหนดหมายว่า ‘รูปของเรา’
ไม่กำหนดหมายจักขุวิญญาณ ไม่กำหนดหมายในจักขุวิญญาณ ไม่กำหนด
หมายเพราะจักขุวิญญาณ ไม่กำหนดหมายว่า ‘จักขุวิญญาณของเรา’
ไม่กำหนดหมายจักขุสัมผัส ไม่กำหนดหมายในจักขุสัมผัส ไม่กำหนดหมาย
เพราะจักขุสัมผัส ไม่กำหนดหมายว่า ‘จักขุสัมผัสของเรา’
ไม่กำหนดหมายแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่
เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่กำหนดหมายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข
หรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่กำหนดหมาย


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๓. สัพพวรรค ๘. สมุคฆาตสารุปปสูตร

แม้เพราะความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะ
จักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่กำหนดหมายว่า ‘ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์
หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยนั้นของเรา’ ฯลฯ
ไม่กำหนดหมายชิวหา ไม่กำหนดหมายในชิวหา ไม่กำหนดหมายเพราะชิวหา
ไม่กำหนดหมายว่า ‘ชิวหาของเรา’
ไม่กำหนดหมายรส ไม่กำหนดหมายในรส ไม่กำหนดหมายเพราะรส ไม่
กำหนดหมายว่า ‘รสของเรา’
ไม่กำหนดหมายชิวหาวิญญาณ ไม่กำหนดหมายในชิวหาวิญญาณ ไม่
กำหนดหมายเพราะชิวหาวิญญาณ ไม่กำหนดหมายว่า ‘ชิวหาวิญญาณของเรา’
ไม่กำหนดหมายชิวหาสัมผัส ไม่กำหนดหมายในชิวหาสัมผัส ไม่กำหนดหมาย
เพราะชิวหาสัมผัส ไม่กำหนดหมายว่า ‘ชิวหาสัมผัสของเรา’
ไม่กำหนดหมายแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่
เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่กำหนดหมายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่เป็น
สุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่กำหนดหมาย
แม้เพราะความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะ
ชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่กำหนดหมายว่า ‘ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์
หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัยนั้นของเรา’ ฯลฯ
ไม่กำหนดหมายมโน ไม่กำหนดหมายในมโน ไม่กำหนดหมายเพราะมโน
ไม่กำหนดหมายว่า ‘มโนของเรา’
ไม่กำหนดหมายธรรมารมณ์ ไม่กำหนดหมายในธรรมารมณ์ ไม่กำหนด
หมายเพราะธรรมารมณ์ ไม่กำหนดหมายว่า ‘ธรรมารมณ์ของเรา’
ไม่กำหนดหมายมโนวิญญาณ ไม่กำหนดหมายในมโนวิญญาณ ไม่กำหนด
หมายเพราะมโนวิญญาณ ไม่กำหนดหมายว่า ‘มโนวิญญาณของเรา’
ไม่กำหนดหมายมโนสัมผัส ไม่กำหนดหมายในมโนสัมผัส ไม่กำหนดหมาย
เพราะมโนสัมผัส ไม่กำหนดหมายว่า ‘มโนสัมผัสของเรา’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๓. สัพพวรรค ๙. ปฐมสมุคฆาตสัปปายสูตร

ไม่กำหนดหมายแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่
เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่กำหนดหมายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข
หรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่กำหนดหมาย
แม้เพราะความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะ
มโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่กำหนดหมายว่า ‘ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์
หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยนั้นของเรา’
ไม่กำหนดหมายสิ่งทั้งปวง ไม่กำหนดหมายในสิ่งทั้งปวง ไม่กำหนดหมาย
เพราะสิ่งทั้งปวง ไม่กำหนดหมายว่า ‘สิ่งทั้งปวงของเรา’
ภิกษุผู้ไม่กำหนดหมายอยู่อย่างนี้ย่อมไม่ถือมั่นอะไร ๆ ในโลก เมื่อไม่ถือมั่น
ย่อมไม่สะดุ้งกลัว เมื่อไม่สะดุ้งกลัว ย่อมดับเฉพาะตนเอง รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
อีกต่อไป’
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาอันสมควรแก่การเพิกถอนความกำหนดหมายทั้งปวง
เป็นอย่างนี้แล”

สมุคฆาตสารุปปสูตรที่ ๘ จบ

๙. ปฐมสมุคฆาตสัปปายสูตร
ว่าด้วยปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่การเพิกถอน
ความกำหนดหมาย สูตรที่ ๑

[๓๑] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปฏิปทาอันเป็นสัปปายะ๑แก่การเพิกถอน
ความกำหนดหมายทั้งปวงแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่การเพิกถอนความกำหนดหมายทั้งปวงนั้น เป็น
อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่กำหนดหมายจักขุ ไม่กำหนดหมายในจักขุ ไม่
กำหนดหมายเพราะจักขุ ไม่กำหนดหมายว่า ‘จักขุของเรา’ ไม่กำหนดหมายรูป


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๓. สัพพวรรค ๙. ปฐมสมุคฆาตสัปปายสูตร

ฯลฯ ไม่กำหนดหมายจักขุวิญญาณ ... ไม่กำหนดหมายจักขุสัมผัส ... ไม่กำหนด
หมายแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะ
จักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่กำหนดหมายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์
หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่กำหนดหมายแม้เพราะ
ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัส
เป็นปัจจัย ไม่กำหนดหมายว่า ‘ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุข
มิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยนั้นของเรา’
ภิกษุกำหนดหมายสิ่งใด กำหนดหมายในสิ่งใด กำหนดหมายเพราะสิ่งใด
กำหนดหมายว่า ‘สิ่งใดของเรา’ สิ่งนั้นย่อมเป็นโดยอาการอื่นจากที่กำหนดหมายนั้น
คือ สัตว์โลกข้องอยู่ในภพ มีความเปลี่ยนแปลงโดยอาการอื่น ก็ยังยินดีภพอยู่นั่นเอง
ฯลฯ
ไม่กำหนดหมายชิวหา ไม่กำหนดหมายในชิวหา ไม่กำหนดหมายเพราะชิวหา
ไม่กำหนดหมายว่า ‘ชิวหาของเรา’ ไม่กำหนดหมายรส ฯลฯ ไม่กำหนดหมาย
ชิวหาวิญญาณ ... ไม่กำหนดหมายชิวหาสัมผัส ... ไม่กำหนดหมายแม้ความเสวย
อารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย
ไม่กำหนดหมายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่
เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่กำหนดหมายแม้เพราะความเสวยอารมณ์ที่
เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่
กำหนดหมายว่า ‘ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิด
ขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัยนั้นของเรา’
ภิกษุกำหนดหมายสิ่งใด กำหนดหมายในสิ่งใด กำหนดหมายเพราะสิ่งใด
กำหนดหมายว่า ‘สิ่งใดของเรา’ สิ่งนั้นย่อมเป็นโดยอาการอื่นจากที่กำหนดหมายนั้น
คือ สัตว์โลกข้องอยู่ในภพ มีความเปลี่ยนแปลงโดยอาการอื่น ก็ยังยินดีภพอยู่นั่นเอง
ฯลฯ
ไม่กำหนดหมายมโน ไม่กำหนดหมายในมโน ไม่กำหนดหมายเพราะมโน ไม่
กำหนดหมายว่า ‘มโนของเรา’ ไม่กำหนดหมายธรรมารมณ์ ฯลฯ ไม่กำหนดหมาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๓. สัพพวรรค ๑๐. ทุติยสมุคฆาตสัปปายสูตร

มโนวิญญาณ ... ไม่กำหนดหมายมโนสัมผัส ... ไม่กำหนดหมายแม้ความเสวย
อารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย
ไม่กำหนดหมายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้น
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่กำหนดหมายแม้เพราะความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข
หรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่กำหนดหมาย
ว่า ‘ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะ
มโนสัมผัสเป็นปัจจัยนั้นของเรา’
อนึ่ง ภิกษุกำหนดหมายสิ่งใด กำหนดหมายในสิ่งใด กำหนดหมายเพราะสิ่งใด
กำหนดหมายว่า ‘สิ่งใดของเรา’ สิ่งนั้นย่อมเป็นโดยอาการอื่นจากที่กำหนดหมายนั้น
คือ สัตว์โลกข้องอยู่ในภพ มีความเปลี่ยนแปลงโดยอาการอื่น ก็ยังยินดีภพอยู่นั่นเอง
ไม่กำหนดหมายแม้ขันธ์ ธาตุ และอายตนะเท่าที่มีอยู่ ไม่กำหนดหมายใน
ขันธ์ ธาตุ และอายตนะ ไม่กำหนดหมายแม้เพราะขันธ์ ธาตุ และอายตนะ ไม่
กำหนดหมายว่า ‘ขันธ์ ธาตุ และอายตนะนั้นของเรา’
ภิกษุผู้ไม่กำหนดหมายอยู่อย่างนี้ย่อมไม่ถือมั่นอะไร ๆ ในโลก เมื่อไม่ถือมั่น
ก็ไม่สะดุ้งกลัว เมื่อไม่สะดุ้งกลัว ย่อมดับเฉพาะตนเอง รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่
จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีก
ต่อไป’
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่การเพิกถอนความกำหนดหมาย
ทั้งปวง เป็นอย่างนี้แล”

ปฐมสมุคฆาตสัปปายสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ทุติยสมุคฆาตสัปปายสูตร
ว่าด้วยปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่การเพิกถอน
ความกำหนดหมาย สูตรที่ ๒

[๓๒] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่การเพิกถอน
ความกำหนดหมายทั้งปวงแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๓. สัพพวรรค ๑๐. ทุติยสมุคฆาตสัปปายสูตร

ปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่การเพิกถอนความกำหนดหมายทั้งปวง เป็น
อย่างไร
เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร จักขุเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“รูป ฯลฯ จักขุวิญญาณ ฯลฯ จักขุสัมผัส เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะ
จักขุสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“ชิวหาเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๓. สัพพวรรค ๑๐. ทุติยสมุคฆาตสัปปายสูตร

“รส ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ ฯลฯ ชิวหาสัมผัส ฯลฯ แม้ความเสวยอารมณ์
ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือ
ไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“ธรรมารมณ์ ฯลฯ มโนวิญญาณ ฯลฯ มโนสัมผัส เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะ
มโนสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน
จักขุสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุข
มิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรส ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้
ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหา-
สัมผัสเป็นปัจจัย
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมารมณ์ ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในมโนวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโนสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในความ
เสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๓. สัพพวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อ
จิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่การเพิกถอนความกำหนดหมาย
ทั้งปวง เป็นอย่างนี้แล”

ทุติยสมุคฆาตสัปปายสูตรที่ ๑๐ จบ
สัพพวรรคที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สัพพสูตร ๒. ปหานสูตร
๓. อภิญญาปริญญาปหานสูตร ๔. ปฐมอปริชานนสูตร
๕. ทุติยอปริชานนสูตร ๖. อาทิตตสูตร
๗. อันธภูตสูตร ๘. สมุคฆาตสารุปปสูตร
๙. ปฐมสมุคฆาตสัปปายสูตร ๑๐. ทุติยสมุคฆาตสัปปายสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๔. ชาติธัมมวรรค ๑-๑๐. ชาติธัมมาทิสุตตทสกะ

๔. ชาติธัมมวรรค
หมวดว่าด้วยสิ่งทั้งปวงมีความเกิดเป็นธรรมดา
๑-๑๐. ชาติธัมมาทิสุตตทสกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๑๐ สูตร มีชาติธัมมสูตรเป็นต้น

[๓๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
(สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี) ณ ที่นั้น ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความเกิดเป็นธรรมดา
ก็อะไรเล่าชื่อว่าสิ่งทั้งปวงมีความเกิดเป็นธรรมดา
คือ จักขุมีความเกิดเป็นธรรมดา รูป ฯลฯ จักขุวิญญาณ ฯลฯ จักขุสัมผัส
มีความเกิดเป็นธรรมดา แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่
ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยก็มีความเกิดเป็นธรรมดา ฯลฯ
ชิวหา ฯลฯ รส ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ ฯลฯ ชิวหาสัมผัสมีความเกิดเป็น
ธรรมดา แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้น
เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัยก็มีความเกิดเป็นธรรมดา
กาย ฯลฯ
มโนมีความเกิดเป็นธรรมดา ธรรมารมณ์มีความเกิดเป็นธรรมดา มโนวิญญาณ
มีความเกิดเป็นธรรมดา มโนสัมผัสมีความเกิดเป็นธรรมดา แม้ความเสวยอารมณ์
ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็มีความ
เกิดเป็นธรรมดา
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ ...
แม้ในรูป ฯลฯ แม้ในจักขุวิญญาณ ฯลฯ แม้ในจักขุสัมผัส ฯลฯ
รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

สูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๔. ชาติธัมมวรรค ๑-๑๐. ชาติธัมมาทิสุตตทสกะ

[๓๔] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความแก่เป็นธรรมดา ฯลฯ (ย่อ)
สูตรที่ ๒ จบ
[๓๕] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ฯลฯ (ย่อ)
สูตรที่ ๓ จบ
[๓๖] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความตายเป็นธรรมดา ฯลฯ (ย่อ)
สูตรที่ ๔ จบ
[๓๗] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความเศร้าโศกเป็นธรรมดา ฯลฯ (ย่อ)
สูตรที่ ๕ จบ
[๓๘] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา ฯลฯ (ย่อ)
สูตรที่ ๖ จบ
[๓๙] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความสิ้นไปเป็นธรรมดา ฯลฯ (ย่อ)
สูตรที่ ๗ จบ
[๔๐] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ฯลฯ (ย่อ)
สูตรที่ ๘ จบ
[๔๑] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ฯลฯ (ย่อ)
สูตรที่ ๙ จบ
[๔๒] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา
ก็อะไรเล่าชื่อว่าสิ่งทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา
คือ จักขุมีความดับไปเป็นธรรมดา รูปมีความดับไปเป็นธรรมดา จักขุวิญญาณ
มีความดับไปเป็นธรรมดา จักขุสัมผัสมีความดับไปเป็นธรรมดา แม้ความเสวยอารมณ์
ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยก็มีความ
ดับไปเป็นธรรมดา ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๔. ชาติธัมมวรรค ๑-๑๐. ชาติธัมมาทิสุตตทสกะ

ชิวหามีความดับไปเป็นธรรมดา รสมีความดับไปเป็นธรรมดา ชิวหาวิญญาณ
มีความดับไปเป็นธรรมดา ชิวหาสัมผัสมีความดับไปเป็นธรรมดา แม้ความเสวย
อารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย
ก็มีความดับไปเป็นธรรมดา ฯลฯ
มโนมีความดับไปเป็นธรรมดา ธรรมารมณ์มีความดับไปเป็นธรรมดา มโน-
วิญญาณมีความดับไปเป็นธรรมดา แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือ
มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็มีความดับไปเป็นธรรมดา
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ
ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

นิโรธธัมมสูตรที่ ๑๐ จบ
ชาติธัมมวรรคที่ ๔ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ชาติธัมมสูตร ๒. ชราธัมมสูตร
๓. พยาธิธัมมสูตร ๔. มรณธัมมสูตร
๕. โสกธัมมสูตร ๖. สังกิเลสิกธัมมสูตร
๗. ขยธัมมสูตร ๘. วยธัมมสูตร
๙. สมุทยธัมมสูตร ๑๐. นิโรธธัมมสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๕. สัพพอนิจจวรรค ๑-๙. อนิจจทิสุตตนวกะ

๕. สัพพอนิจจวรรค
หมวดว่าด้วยสิ่งทั้งปวงไม่เที่ยง
๑-๙. อนิจจาทิสุตตนวกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๙ สูตร มีอนิจจสูตรเป็นต้น

[๔๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
(สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี) ณ ที่นั้น ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงไม่เที่ยง
ก็อะไรเล่าชื่อว่าสิ่งทั้งปวงไม่เที่ยง
คือ จักขุไม่เที่ยง รูปไม่เที่ยง จักขุวิญญาณไม่เที่ยง จักขุสัมผัสไม่เที่ยง แม้
ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัส
เป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยง ฯลฯ
ชิวหาไม่เที่ยง รสไม่เที่ยง ชิวหาวิญญาณไม่เที่ยง ชิวหาสัมผัสไม่เที่ยง แม้
ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัส
เป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยง
กายไม่เที่ยง ฯลฯ
มโนไม่เที่ยง ธรรมารมณ์ไม่เที่ยง มโนวิญญาณไม่เที่ยง มโนสัมผัสไม่เที่ยง
แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัส
เป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยง
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน
จักขุสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่
ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๕. สัพพอนิจจวรรค ๑-๙. อนิจจทิสุตตนวกะ

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมารมณ์ ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในมโนวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโนสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในความเสวย
อารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อ
จิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
อีกต่อไป”
สูตรที่ ๑ จบ
[๔๔] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นทุกข์ ฯลฯ
สูตรที่ ๒ จบ
[๔๕] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นอนัตตา ฯลฯ
สูตรที่ ๓ จบ
[๔๖] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรรู้ยิ่ง ฯลฯ
สูตรที่ ๔ จบ
[๔๗] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรกำหนดรู้ ฯลฯ
สูตรที่ ๕ จบ
[๔๘] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรละ ฯลฯ
สูตรที่ ๖ จบ
[๔๙] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรทำให้แจ้ง ฯลฯ
สูตรที่ ๗ จบ
[๕๐] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรรู้ยิ่งแล้วกำหนดรู้ ฯลฯ
สูตรที่ ๘ จบ
[๕๑] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงถูกประทุษร้าย ฯลฯ
สูตรที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๕. สัพพอนิจจวรรค ๑๐. อุปัสสัฏฐสูตร

๑๐. อุปัสสัฏฐสูตร
ว่าด้วยสิ่งทั้งปวงถูกเบียดเบียน

[๕๒] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงถูกเบียดเบียน
ก็อะไรเล่าชื่อว่าสิ่งทั้งปวงถูกเบียดเบียน
คือ จักขุถูกเบียดเบียน รูปถูกเบียดเบียน จักขุวิญญาณถูกเบียดเบียน
จักขุสัมผัสถูกเบียดเบียน แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่
ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็ถูกเบียดเบียน ฯลฯ
ชิวหาถูกเบียดเบียน รสถูกเบียดเบียน ชิวหาวิญญาณถูกเบียดเบียน
ชิวหาสัมผัสถูกเบียดเบียน แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่
ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ก็ถูกเบียดเบียน
กายถูกเบียดเบียน ฯลฯ
มโนถูกเบียดเบียน ธรรมารมณ์ถูกเบียดเบียน มโนวิญญาณถูกเบียดเบียน
มโนสัมผัสถูกเบียดเบียน แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่
ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็ถูกเบียดเบียน
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน
จักขุสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่
ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมารมณ์ ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในมโนวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโนสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในความเสวย
อารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อ
จิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
อีกต่อไป”

อุปัสสัฏฐสูตรที่ ๑๐ จบ
สัพพอนิจจวรรคที่ ๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๑. ปฐมปัณณาสก์ ๕. สัพพอนิจจวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อนิจจสูตร ๒. ทุกขสูตร
๓. อนัตตาสูตร ๔. อภิญเญยยสูตร
๕. ปริญเญยยสูตร ๖. ปหาตัพพสูตร
๗. สัจฉิกาตัพพสูตร ๘. อภิญเญยยปริญเญยยสูตร
๙. อุปัททุตสูตร ๑๐. อุปัสสัฏฐสูตร

ปฐมปัณณาสก์ในสฬายตนวรรค จบบริบูรณ์

รวมวรรคที่มีในปฐมปัณณาสก์นี้ คือ

๑. อนิจจวรรค ๒. ยมกวรรค
๓. สัพพวรร ๔. ชาติธัมมวรรค
๕. สัพพอนิจจวรรค


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๑.อวิชชาวรรค ๑. อวิชชาปหานสูตร

๒. ทุติยปัณณาสก์
๑. อวิชชาวรรค
หมวดว่าด้วยอวิชชา
๑. อวิชชาปหานสูตร
ว่าด้วยการละอวิชชา

[๕๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร๑ ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
บุคคลเมื่อรู้เห็นอย่างไรจึงจะละอวิชชา๒ได้ วิชชา๓จึงจะเกิดขึ้น”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ บุคคลเมื่อรู้เห็นจักขุโดยความไม่เที่ยง
จึงจะละอวิชชาได้ วิชชาจึงจะเกิดขึ้น เมื่อรู้เห็นรูปโดยความไม่เที่ยงจึงจะละอวิชชาได้
วิชชาจึงจะเกิดขึ้น เมื่อรู้เห็นจักขุวิญญาณ ... จักขุสัมผัส ... เมื่อรู้เห็นแม้ความ
เสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย
โดยความไม่เที่ยงจึงจะละอวิชชาได้ วิชชาจึงจะเกิดขึ้น
เมื่อรู้เห็นโสตะ ... ฆานะ ... ชิวหา ... กาย ... มโนโดยความไม่เที่ยงจึงจะละ
อวิชชาได้ วิชชาจึงจะเกิดขึ้น เมื่อรู้เห็นธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส แม้
ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัส
เป็นปัจจัยโดยความไม่เที่ยง จึงจะละอวิชชาได้ วิชชาจึงจะเกิดขึ้น
ภิกษุ บุคคลเมื่อรู้เห็นอย่างนี้แลจึงจะละอวิชชาได้ วิชชาจึงจะเกิดขึ้น”

อวิชชาปหานสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๑.อวิชชาวรรค ๓. สัญโญชนสมุคฆาตสูตร

๒. สัญโญชนปหานสูตร
ว่าด้วยการละสังโยชน์

[๕๔] ภิกษุทั้งหลายได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
บุคคลเมื่อรู้เห็นอย่างไรจึงจะละสังโยชน์๑ได้”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เห็นจักขุโดยความ
ไม่เที่ยงจึงจะละสังโยชน์ได้ เมื่อรู้เห็นรูปโดยความไม่เที่ยงจึงจะละสังโยชน์ได้ เมื่อรู้
เห็นจักขุวิญญาณโดยความไม่เที่ยงจึงจะละสังโยชน์ได้ เมื่อรู้เห็นจักขุสัมผัสโดย
ความไม่เที่ยงจึงจะละสังโยชน์ได้ เมื่อรู้เห็นแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์
หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยโดยความไม่เที่ยงจึงจะละ
สังโยชน์ได้
เมื่อรู้เห็นโสตะ ... ฆานะ ... ชิวหา ... กาย ... มโน ... ธรรมารมณ์ ...
มโนวิญญาณ ... มโนสัมผัส ... แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่
สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยโดยความไม่เที่ยงจึงจะละสังโยชน์ได้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เห็นอย่างนี้แลจึงจะละสังโยชน์ได้”

สัญโญชนปหานสูตรที่ ๒ จบ

๓. สัญโญชนสมุคฆาตสูตร
ว่าด้วยการถอนสังโยชน์

[๕๕] ภิกษุทั้งหลายได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
บุคคลเมื่อรู้เห็นอย่างไรจึงจะถอนสังโยชน์ได้”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๑.อวิชชาวรรค ๕. อาสวสมุคฆาตสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เห็นจักขุโดยความ
เป็นอนัตตาจึงจะถอนสังโยชน์ได้ เมื่อรู้เห็นรูปโดยความเป็นอนัตตา ... จักขุวิญญาณ
... จักขุสัมผัส ... เมื่อรู้เห็นแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่
ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยโดยความเป็นอนัตตาจึงจะถอนสังโยชน์ได้
เมื่อรู้เห็นโสตะ ... ฆานะ... ชิวหา ... กาย ... มโน ... ธรรมารมณ์ ... มโน-
วิญญาณ ... มโนสัมผัส ... เมื่อรู้เห็นแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือ
มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยจึงจะถอนสังโยชน์ได้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เห็นอย่างนี้แลจึงจะถอนสังโยชน์ได้”

สัญโญชนสมุคฆาตสูตรที่ ๓ จบ

๔. อาสวปหานสูตร
ว่าด้วยการละอาสวะ

[๕๖] ภิกษุทั้งหลายได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
บุคคลเมื่อรู้เห็นอย่างไรจึงจะละอาสวะ๑ได้” ฯลฯ

อาสวปหานสูตรที่ ๔ จบ

๕. อาสวสมุคฆาตสูตร
ว่าด้วยการถอนอาสวะ

[๕๗] ภิกษุทั้งหลายได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
บุคคลเมื่อรู้เห็นอย่างไรจึงจะถอนอาสวะได้” ฯลฯ

อาสวสมุคฆาตสูตรที่ ๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๑.อวิชชาวรรค ๗. อนุสยสมุคฆาตสูตร

๖. อนุสยปหานสูตร
ว่าด้วยการละอนุสัย

[๕๘] ภิกษุทั้งหลายได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
บุคคลเมื่อรู้เห็นอย่างไรจึงจะละอนุสัย๑ได้” ฯลฯ

อนุสยปหานสูตรที่ ๖ จบ

๗. อนุสยสมุคฆาตสูตร
ว่าด้วยการถอนอนุสัย

[๕๙] ภิกษุทั้งหลายได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
บุคคลเมื่อรู้เห็นอย่างไรจึงจะถอนอนุสัยได้”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เห็นจักขุโดยความ
เป็นอนัตตาจึงจะถอนอนุสัยได้ ฯลฯ
บุคคลเมื่อรู้เห็นโสตะ ... ฆานะ ... ชิวหา ... กาย ... มโน ... ธรรมารมณ์ ...
มโนวิญญาณ ... มโนสัมผัส ... บุคคลเมื่อรู้เห็นแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือ
ทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยโดยความเป็นอนัตตาจึง
จะถอนอนุสัยได้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เห็นอย่างนี้แลจึงจะถอนอนุสัยได้”

อนุสยสมุคฆาตสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๑.อวิชชาวรรค ๘. สัพพุปาทานปริญญาสูตร

๘. สัพพุปาทานปริญญาสูตร
ว่าด้วยธรรมเพื่อกำหนดรู้อุปาทานทั้งปวง

[๖๐] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเพื่อกำหนดรู้อุปาทานทั้งปวง๑แก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมเพื่อกำหนดรู้อุปาทานทั้งปวง เป็นอย่างไร
คือ เพราะอาศัยจักขุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม ๓
ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด อริยสาวกผู้ได้สดับเห็น
อยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้
ในจักขุวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา เมื่อ
เบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เพราะหลุดพ้น
จึงรู้ชัดว่า ‘เรากำหนดรู้อุปาทานได้แล้ว’
เพราะอาศัยโสตะและสัททะ โสตวิญญาณจึงเกิด ฯลฯ
เพราะอาศัยฆานะและคันธะ ฯลฯ
เพราะอาศัยชิวหาและรส ฯลฯ
เพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะ ฯลฯ
เพราะอาศัยมโนและธรรมารมณ์ มโนวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม
๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด อริยสาวกผู้ได้สดับ
เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมารมณ์ ย่อม
เบื่อหน่ายแม้ในมโนวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโนสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้
ในเวทนา เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น
เพราะหลุดพ้นจึงรู้ชัดว่า ‘เรากำหนดรู้อุปาทานได้แล้ว’
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเพื่อกำหนดรู้อุปาทานทั้งปวงเป็นอย่างนี้แล”

สัพพุปาทานปริญญาสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๑.อวิชชาวรรค ๑๐. ทุติยสัพพุปาทานปริยาทานสูตร

๙. ปฐมสัพพุปาทานปริยาทานสูตร
ว่าด้วยธรรมเพื่อครอบงำอุปาทานทั้งปวง สูตรที่ ๑

[๖๑] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเพื่อครอบงำอุปาทานทั้งปวงแก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมเพื่อครอบงำอุปาทานทั้งปวง เป็นอย่างไร
คือ เพราะอาศัยจักขุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม ๓
ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด อริยสาวกผู้ได้สดับเห็น
อยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้
ในจักขุวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา เมื่อ
เบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เพราะหลุดพ้น
จึงรู้ชัดว่า ‘เราครอบงำอุปาทานได้แล้ว’ ฯลฯ
เพราะอาศัยชิวหาและรส ชิวหาวิญญาณจึงเกิด ฯลฯ เพราะอาศัยมโนและ
ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อม
เบื่อหน่ายแม้ในมโน ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมารมณ์ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ-
วิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา เมื่อ
เบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เพราะหลุดพ้น
จึงรู้ชัดว่า ‘เราครอบงำอุปาทานได้แล้ว’
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเพื่อครอบงำอุปาทานทั้งปวงเป็นอย่างนี้แล”

ปฐมสัพพุปาทานปริยาทานสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ทุติยสัพพุปาทานปริยาทานสูตร
ว่าด้วยธรรมเพื่อครอบงำอุปาทานทั้งปวง สูตรที่ ๒

[๖๒] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเพื่อครอบงำอุปาทานทั้งปวงแก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๑.อวิชชาวรรค ๑๐. ทุติยสัพพุปาทานปริยาทานสูตร

ธรรมเพื่อครอบงำอุปาทานทั้งปวง เป็นอย่างไร
เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร จักขุเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“รูป ฯลฯ จักขุวิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“จักขุสัมผัสเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะ
จักขุสัมผัสเป็นปัจจัยเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“โสตะ ... ฆานะ ... ชิวหา ... กาย ... มโน ... ธรรมารมณ์ ... มโนวิญญาณ
... มโนสัมผัส แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้น
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๑.อวิชชาวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุสัมผัส ย่อม
เบื่อหน่ายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้น
เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน
รส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหาวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหาสัมผัส ย่อม
เบื่อหน่ายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้น
เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน ย่อมเบื่อหน่ายแม้
ในธรรมารมณ์ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโนวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโนสัมผัส
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิด
ขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลาย
กำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ...
ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเพื่อครอบงำอุปาทานทั้งปวง เป็นอย่างนี้แล”

ทุติยสัพพุปาทานปริยาทานสูตรที่ ๑๐ จบ
อวิชชาวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อวิชชาปหานสูตร ๒. สัญโญชนปหานสูตร
๓. สัญโญชนสมุคฆาตสูตร ๔. อาสวปหานสูตร
๕. อาสวสมุคฆาตสูตร ๖. อนุสยปหานสูตร
๗. อนุสยสมุคฆาตสูตร ๘. สัพพุปาทานปริญญาสูตร
๙. ปฐมสัพพุปาทานปริยาทานสูตร ๑๐. ทุติยสัพพุปาทานปริยาทานสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๒. มิคชาลวรรค ๑. ปฐมมิคชาลสูตร

๒. มิคชาลวรรค
หมวดว่าด้วยพระมิคชาละ
๑. ปฐมมิคชาลสูตร
ว่าด้วยพระมิคชาละ สูตรที่ ๑

[๖๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ท่านพระมิคชาละเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง ณ
ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า
‘มีปกติอยู่ผู้เดียว มีปกติอยู่ผู้เดียว’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุจึงชื่อว่ามีปกติ
อยู่ผู้เดียว อนึ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่าไรจึงชื่อว่ามีปกติอยู่กับเพื่อน”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “มิคชาละ รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุเพลิดเพลิน
เชยชม ยึดติดรูปนั้นอยู่ เมื่อเธอเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดรูปนั้น ความเพลิดเพลิน๑
ย่อมเกิดขึ้น เมื่อมีความเพลิดเพลิน ก็มีความกำหนัด เมื่อมีความกำหนัด ก็มี
ความเกี่ยวข้อง ภิกษุผู้ประกอบด้วยความเพลิดเพลินและความเกี่ยวข้อง เราเรียกว่า
‘ผู้มีปกติอยู่กับเพื่อน’ ฯลฯ
รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้
ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดธรรมารมณ์นั้นอยู่
เมื่อเธอเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดธรรมารมณ์นั้น ความเพลิดเพลินย่อมเกิดขึ้น
เมื่อมีความเพลิดเพลิน ก็มีความกำหนัด เมื่อมีความกำหนัด ก็มีความเกี่ยว
ข้อง ภิกษุผู้ประกอบด้วยความเพลิดเพลินและความเกี่ยวข้อง เราเรียกว่า ‘ผู้มี
ปกติอยู่กับเพื่อน’ ภิกษุผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ ถึงจะใช้สอยเสนาสนะที่เป็นป่าโปร่ง


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๒. มิคชาลวรรค ๑. ปฐมมิคชาลสูตร

และป่าทึบ๑อันสงัด มีเสียงน้อย มีเสียงอึกทึกน้อย ปราศจากการสัญจรไปมาของ
ผู้คน ควรเป็นที่ทำการลับของมนุษย์ สมควรเป็นที่หลีกเร้นก็จริง ถึงอย่างนั้น เราก็
ยังเรียกว่า ‘ผู้มีปกติอยู่กับเพื่อน’ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเขายังละตัณหาที่เป็น
เพื่อนนั้นไม่ได้ ฉะนั้นเราจึงเรียกว่า ‘ผู้มีปกติอยู่กับเพื่อน’
รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่
พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดรูปนั้นอยู่ เมื่อเธอ
ไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดรูปนั้น ความเพลิดเพลินย่อมดับไป เมื่อไม่มี
ความเพลิดเพลิน ก็ไม่มีความกำหนัด เมื่อไม่มีความกำหนัด ก็ไม่มีความเกี่ยวข้อง
ภิกษุผู้ไม่ประกอบด้วยความเพลิดเพลินและความเกี่ยวข้อง เราเรียกว่า ‘ผู้มีปกติ
อยู่ผู้เดียว’ ฯลฯ
รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ... มีอยู่ ฯลฯ
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่
พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดธรรมารมณ์นั้นอยู่
เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดธรรมารมณ์นั้น ความเพลิดเพลิน
ย่อมดับไป เมื่อไม่มีความเพลิดเพลิน ก็ไม่มีความกำหนัด เมื่อไม่มีความกำหนัด
ก็ไม่มีความเกี่ยวข้อง ภิกษุผู้ไม่ประกอบด้วยความเพลิดเพลินและความเกี่ยวข้อง
เราเรียกว่า ‘ผู้มีปกติอยู่ผู้เดียว’
ภิกษุผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ แม้จะอยู่รายล้อมไปด้วยภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก
อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา พวกเดียรถีย์๒ สาวกของเดียรถีย์
ในละแวกบ้านก็จริง ถึงอย่างนั้น เราก็เรียกว่า ‘ผู้มีปกติอยู่ผู้เดียว’
(มิคชาละ ภิกษุผู้อยู่อย่างนี้ เราเรียกว่า ‘ผู้มีปกติอยู่ผู้เดียว‘) ข้อนั้นเพราะ
เหตุไร เพราะเธอละตัณหาที่เป็นเพื่อนนั้นได้แล้ว ฉะนั้นเราจึงเรียกว่า ‘ผู้มีปกติอยู่
ผู้เดียว”

ปฐมมิคชาลสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๒. มิคชาลวรรค ๒. ทุติยมิคชาลสูตร

๒. ทุติยมิคชาลสูตร
ว่าด้วยพระมิคชาละ สูตรที่ ๒

[๖๔] ครั้งนั้น ท่านพระมิคชาละเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ
นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ซึ่ง
ข้าพระองค์ได้ฟังแล้วจะพึงหลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท๑ มีความเพียร อุทิศ
กายและใจอยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มิคชาละ รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่
น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุยังเพลิดเพลิน เชยชม
ยึดติดรูปนั้นอยู่ เมื่อเธอเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดรูปนั้น ความเพลิดเพลิน
ย่อมเกิดขึ้น เรากล่าวว่า ‘เพราะความเพลิดเพลินเกิด ทุกข์จึงเกิด’ ฯลฯ
รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้นมีอยู่ ฯลฯ
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชัก
ให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุยังเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดธรรมารมณ์นั้น
อยู่ เมื่อเธอเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดธรรมารมณ์นั้น ความเพลิดเพลินย่อม
เกิดขึ้น เรากล่าวว่า ‘เพราะความเพลิดเพลินเกิด ทุกข์จึงเกิด’
รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่
พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดรูปนั้นอยู่ เมื่อ
เธอไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดรูปนั้น ความเพลิดเพลินย่อมดับไป เรา
กล่าวว่า ‘เพราะความเพลิดเพลินดับ ทุกข์จึงดับ’ ฯลฯ
รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ... มีอยู่ ฯลฯ
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้
ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดธรรมารมณ์
นั้นอยู่ เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดธรรมารมณ์นั้น ความ
เพลิดเพลินย่อมดับไป เรากล่าวว่า ‘เพราะความเพลิดเพลินดับ ทุกข์จึงดับ”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๒. มิคชาลวรรค ๓. ปฐมสมิทธิมารปัญหาสูตร

ครั้งนั้น ท่านพระมิคชาละชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วลุกขึ้น
จากอาสนะ ถวายอภิวาท กระทำประทักษิณ๑แล้วจากไป ต่อมา ท่านพระมิคชาละ
หลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนัก
ได้ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยม๒อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์๓ที่เหล่ากุลบุตรออก
จากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป” อนึ่ง ท่านพระมิคชาละได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง
ในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย

ทุติยมิคชาลสูตรที่ ๒ จบ

๓. ปฐมสมิทธิมารปัญหาสูตร
ว่าด้วยพระสมิทธิทูลถามปัญหาเรื่องมาร สูตรที่ ๑

[๖๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้
เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระสมิทธิเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง
ที่ประทับ ฯลฯ ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์
ตรัสว่า ‘มาร มาร‘๔ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอจึงชื่อว่ามารหรือการบัญญัติว่ามาร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “สมิทธิ จักขุ รูป จักขุวิญญาณ ธรรมที่พึงรู้
แจ้งทางจักขุวิญญาณมีอยู่ในที่ใด มารหรือการบัญญัติว่ามารก็มีอยู่ในที่นั้น
โสตะ สัททะ โสตวิญญาณ ธรรมที่พึงรู้แจ้งทางโสตวิญญาณมีอยู่ในที่ใด
มารหรือการบัญญัติว่ามารก็มีอยู่ในที่นั้น


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๒. มิคชาลวรรค ๕. สมิทธิทุกขปัญหาสูตร

ฆานะ คันธะ ฆานวิญญาณ ธรรมที่พึงรู้แจ้งทางฆานวิญญาณมีอยู่ในที่ใด
มารหรือการบัญญัติว่ามารก็มีอยู่ในที่นั้น
ชิวหา รส ชิวหาวิญญาณ ธรรมที่พึงรู้แจ้งทางชิวหาวิญญาณมีอยู่ในที่ใด
มารหรือการบัญญัติว่ามารก็มีอยู่ในที่นั้น
กาย โผฏฐัพพะ กายวิญญาณ ธรรมที่พึงรู้แจ้งทางกายวิญญาณมีอยู่ในที่ใด
มารหรือการบัญญัติว่ามารก็มีอยู่ในที่นั้น
มโน ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ ธรรมที่พึงรู้แจ้งทางมโนวิญญาณมีอยู่ในที่ใด
มารหรือการบัญญัติว่ามารก็มีอยู่ในที่นั้น
สมิทธิ ส่วนจักขุ รูป จักขุวิญญาณ ธรรมที่พึงรู้แจ้งทางจักขุวิญญาณไม่มี
ในที่ใดมารหรือการบัญญัติว่ามารก็ไม่มีในที่นั้น
โสตะ ฯลฯ ฆานะ ฯลฯ ชิวหา รส ชิวหาวิญญาณ ธรรมที่พึงรู้แจ้งทาง
ชิวหาวิญญาณไม่มีในที่ใด มารหรือการบัญญัติว่ามารก็ไม่มีในที่นั้น กาย ฯลฯ
มโน ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ ธรรมที่พึงรู้แจ้งทางมโนวิญญาณไม่มีในที่ใด
มารหรือการบัญญัติว่ามารก็ไม่มีในที่นั้น”

ปฐมสมิทธิมารปัญหาสูตรที่ ๓ จบ

๔. สมิทธิสัตตปัญหาสูตร
ด้วยพระสมิทธิทูลถามปัญหาเรื่องสัตว์

[๖๖] “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า ‘สัตว์ สัตว์’ ด้วยเหตุเพียง
เท่าไรหนอจึงชื่อว่าสัตว์หรือการบัญญัติว่าสัตว์” ฯลฯ

สมิทธิสัตตปัญหาสูตรที่ ๔ จบ

๕. สมิทธิทุกขปัญหาสูตร
ว่าด้วยพระสมิทธิทูลถามปัญหาเรื่องทุกข์

[๖๗] “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า ‘ทุกข์ ทุกข์’ ด้วยเหตุเพียง
เท่าไรหนอจึงชื่อว่าทุกข์หรือการบัญญัติว่าทุกข์” ฯลฯ

สมิทธิทุกขปัญหาสูตรที่ ๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๒. มิคชาลวรรค ๗. อุปเสนอาสีวิสสูตร

๖. สมิทธิโลกปัญหาสูตร
ว่าด้วยพระสมิทธิทูลถามปัญหาเรื่องโลก

[๖๘] “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า ‘โลก โลก’ ด้วยเหตุเพียง
เท่าไรหนอจึงชื่อว่าโลก๑หรือการบัญญัติว่าโลก”
“สมิทธิ จักขุ รูป จักขุวิญญาณ ธรรมที่พึงรู้แจ้งทางจักขุวิญญาณมีอยู่ในที่ใด
โลกหรือการบัญญัติว่าโลกก็มีอยู่ในที่นั้น ฯลฯ
ชิวหา ฯลฯ มโน ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ ธรรมที่พึงรู้แจ้งทางมโนวิญญาณ
มีอยู่ในที่ใด โลกหรือการบัญญัติว่าโลกก็มีอยู่ในที่นั้น
สมิทธิ ส่วนจักขุ รูป จักขุวิญญาณ ธรรมที่พึงรู้แจ้งทางจักขุวิญญาณไม่มี
ในที่ใด โลกหรือการบัญญัติว่าโลกก็ไม่มีในที่นั้น ฯลฯ ชิวหา ฯลฯ มโน ธรรมารมณ์
มโนวิญญาณ ธรรมที่พึงรู้แจ้งทางมโนวิญญาณไม่มีในที่ใด โลกหรือการบัญญัติว่า
โลกก็ไม่มีในที่นั้น”

สมิทธิโลกปัญหาสูตรที่ ๖ จบ

๗. อุปเสนอาสีวิสสูตร
ว่าด้วยพระอุปเสนะถูกพิษงู

[๖๙] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระอุปเสนะอยู่ที่เงื้อมเขาชื่อสัปป-
โสณฑิกะ ป่าสีตวัน เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น งูตัวหนึ่งได้หล่นลงมาที่กายของท่าน
พระอุปเสนะ ครั้งนั้น ท่านเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “มาเถิด ท่านทั้งหลาย
ช่วยกันยกกายของกระผมนี้ขึ้นเตียงแล้วหามออกไปข้างนอก ก่อนที่กายนี้จะเรี่ย
รายในที่นี้เหมือนกำแกลบ”
เมื่อท่านพระอุปเสนะกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรก็ได้กล่าวกับท่านว่า
“พวกเรายังไม่เห็นกายของท่านอุปเสนะเป็นอย่างอื่นหรืออินทรีย์ของท่านแปรผันไปเลย
เมื่อเป็นเช่นนี้ท่านอุปเสนะยังพูดว่า ‘มาเถิด ท่านทั้งหลายช่วยกันยกกายของกระผม
นี้ขึ้นเตียงแล้วหามออกไปข้างนอก ก่อนที่กายนี้จะเรี่ยรายในที่นี้เหมือนกำแกลบ”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๒. มิคชาลวรรค ๘. อุปวาณสันทิฏฐิกสูตร

ท่านพระอุปเสนะกล่าวว่า “ท่านสารีบุตร ผู้ใดพึงมีความคิดว่า ‘เราเป็นจักขุ’
หรือ ‘จักขุเป็นของเรา’ ฯลฯ ‘เราเป็นชิวหา’ หรือ ‘ชิวหาเป็นของเรา’ ฯลฯ
‘เราเป็นมโน’ หรือ ‘มโนเป็นของเรา’ ท่านสารีบุตร ความที่กายของผู้นั้นเป็นอย่าง
อื่นหรือความที่อินทรีย์ของผู้นั้นแปรผันพึงมีอย่างแน่นอน กระผมไม่มีความนึกคิด
เลยว่า ‘เราเป็นจักขุ’ หรือ ‘จักขุเป็นของเรา’ ฯลฯ ‘เราเป็นชิวหา’ หรือ ‘ชิวหา
เป็นของเรา’ ... ‘เราเป็นมโน’ หรือ ‘มโนเป็นของเรา’ ท่านสารีบุตร ความที่กาย
ของกระผมเป็นอย่างอื่นหรือความที่อินทรีย์ของกระผมแปรผัน จักมีได้อย่างไร”
จริงอย่างนั้น ท่านพระอุปเสนะได้ถอนอหังการ๑ มมังการ๒ และมานานุสัย (กิเลส
ที่นอนเนื่องคือความถือตัว) ได้เด็ดขาดนานมาแล้ว ฉะนั้นท่านพระอุปเสนะจึงไม่มี
ความคิดว่า “เราเป็นจักขุ” หรือ “จักขุเป็นของเรา” ฯลฯ “เราเป็นชิวหา” หรือ
“ชิวหาเป็นของเรา” ฯลฯ “เราเป็นมโน” หรือ “มโนเป็นของเรา”
ต่อมา ภิกษุเหล่านั้นได้ยกกายของท่านพระอุปเสนะขึ้นเตียงแล้วหามออกไปข้าง
นอก ขณะนั้น กายของท่านพระอุปเสนะก็เรี่ยรายในที่นั้นเองเหมือนกำแกลบ

อุปเสนอาสีวิสสูตรที่ ๗ จบ

๘. อุปวาณสันทิฏฐิกสูตร
ว่าด้วยพระอุปวาณะทูลถามธรรมที่พึงเห็นเอง

[๗๐] ครั้งนั้น ท่านพระอุปวาณะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ
นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์
ตรัสว่า ‘ธรรมเป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ธรรมเป็นธรรมที่ผู้
ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระธรรมจึงชื่อว่าเป็น
ธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล๓ ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๒. มิคชาลวรรค ๘. อุปวาณสันทิฏฐิกสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อุปวาณะ ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทางตา
แล้วเป็นผู้เสวยรูป เสวยความกำหนัดในรูป และรู้ชัดถึงความกำหนัดในรูปใน
ภายในซึ่งมีอยู่ว่า ‘ความกำหนัดในรูปในภายในของเรามีอยู่’ การที่ภิกษุเห็นรูป
ทางตาแล้วเป็นผู้เสวยรูป เสวยความกำหนัดในรูป และรู้ชัดถึงความกำหนัดในรูป
ในภายในซึ่งมีอยู่ว่า ‘ความกำหนัดในรูปในภายในของเรามีอยู่’ อย่างนี้แล อุปวาณะ
ธรรมจึงชื่อว่าเป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุลิ้มรสทางลิ้นแล้วเป็นผู้เสวยรส เสวยความกำหนัดใน
รส และรู้ชัดถึงความกำหนัดในรสในภายในซึ่งมีอยู่ว่า ‘ความกำหนัดในรสใน
ภายในของเรามีอยู่’ การที่ภิกษุลิ้มรสทางลิ้นแล้วเป็นผู้เสวยรส เสวยความกำหนัด
ในรส และรู้ชัดถึงความกำหนัดในรสในภายในซึ่งมีอยู่ว่า ‘ความกำหนัดในรสใน
ภายในของเรามีอยู่’ อย่างนี้แล อุปวาณะ ธรรมจึงชื่อว่าเป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึง
เห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้วเป็นผู้เสวยธรรมารมณ์ เสวย
ความกำหนัดในธรรมารมณ์ และรู้ชัดถึงความกำหนัดในธรรมารมณ์ในภายในซึ่งมีอยู่
ว่า ‘ความกำหนัดในธรรมารมณ์ในภายในของเรามีอยู่’ การที่ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์
ทางใจแล้วเป็นผู้เสวยธรรมารมณ์ เสวยความกำหนัดในธรรมารมณ์ และรู้ชัดถึง
ความกำหนัดในธรรมารมณ์ในภายในซึ่งมีอยู่ว่า ‘ความกำหนัดในธรรมารมณ์ใน
ภายในของเรามีอยู่’ อย่างนี้แล อุปวาณะ ธรรมจึงชื่อว่าเป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึง
เห็นชัดด้วยตนเอง ฯลฯ อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ฯลฯ
ส่วนภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทางตาแล้วเป็นผู้เสวยรูป แต่ไม่เสวยความ
กำหนัดในรูป และรู้ชัดถึงความกำหนัดในรูปในภายในซึ่งไม่มีว่า ‘ความกำหนัดใน
รูปในภายในของเราไม่มี’ การที่ภิกษุเห็นรูปทางตาแล้วเป็นผู้เสวยรูป แต่ไม่เสวย
ความกำหนัดในรูป และรู้ชัดถึงความกำหนัดในรูปในภายในซึ่งไม่มีว่า ‘ความกำหนัด
ในรูปในภายในของเราไม่มี’ อย่างนี้แล อุปวาณะ ธรรมจึงชื่อว่าเป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติ
จะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๒. มิคชาลวรรค ๙. ปฐมฉผัสสายตนสูตร

อีกประการหนึ่ง ภิกษุลิ้มรสทางลิ้นแล้วเป็นผู้เสวยรส แต่ไม่เสวยความกำหนัด
ในรส และรู้ชัดถึงความกำหนัดในรสในภายในซึ่งไม่มีว่า ‘ความกำหนัดในรสในภายใน
ของเราไม่มี’ ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้วเป็นผู้เสวยธรรมารมณ์ แต่
ไม่เสวยความกำหนัดในธรรมารมณ์ และรู้ชัดถึงความกำหนัดในธรรมารมณ์ใน
ภายในซึ่งไม่มีว่า ‘ความกำหนัดในธรรมารมณ์ในภายในของเราไม่มี’ การที่ภิกษุ
รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้วเป็นผู้เสวยธรรมารมณ์ แต่ไม่เสวยความกำหนัดใน
ธรรมารมณ์ และรู้ชัดถึงความกำหนัดในธรรมารมณ์ในภายในซึ่งไม่มีว่า ‘ความ
กำหนัดในภายในของเราไม่มี’ อย่างนี้แล อุปวาณะ ธรรมจึงชื่อว่าเป็นธรรมอันผู้
ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อม
เข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน”

อุปวาณสันทิฏฐิกสูตรที่ ๘ จบ

๙. ปฐมฉผัสสายตนสูตร
ว่าด้วยผัสสายตนะ ๖ ประการ สูตรที่ ๑

[๗๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบางรูปไม่รู้ชัดถึงความ
เกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากผัสสายตนะ๑ ๖ ประการตาม
ความเป็นจริง เธอชื่อว่าประพฤติพรหมจรรย์ยังไม่จบ เป็นผู้ไกลจากธรรมวินัยนี้”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์พินาศย่อยยับแล้วในศาสนานี้ เพราะ
ข้าพระองค์ไม่รู้ชัดถึงความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจาก
ผัสสายตนะ ๖ ประการตามความเป็นจริง”
“ภิกษุ เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เธอพิจารณาเห็นจักขุว่า ‘นั่นของเรา
เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเราหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๒. มิคชาลวรรค ๑๐. ทุติยฉผัสสายตนสูตร

“ดีละ ภิกษุ ในข้อนี้จักขุที่เธอพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เรา
ไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ จักเป็นอันเธอเห็นดีแล้วด้วยปัญญาอันชอบตาม
ความเป็นจริง นี้แลคือที่สุดแห่งทุกข์ ฯลฯ เธอพิจารณาเห็นชิวหาว่า ‘นั่นของเรา
เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา‘หรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ดีละ ภิกษุ ในข้อนี้ชิวหาที่เธอพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา
เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ จักเป็นอันเธอเห็นดีแล้วด้วยปัญญาอันชอบ
ตามความเป็นจริง นี้แลคือที่สุดแห่งทุกข์ ฯลฯ เธอพิจารณาเห็นมโนว่า ‘นั่นของเรา
เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา‘หรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ดีละ ภิกษุ ในข้อนี้มโนที่เธอพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เรา
ไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ จักเป็นอันเธอเห็นดีแล้วด้วยปัญญาอันชอบตาม
ความเป็นจริง นี้แลคือที่สุดแห่งทุกข์”

ปฐมฉผัสสายตนสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ทุติยฉผัสสายตนสูตร
ว่าด้วยผัสสายตนะ ๖ ประการ สูตรที่ ๒

[๗๒] “ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุบางรูปไม่รู้ชัดถึงความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และเครื่องสลัดออกจากผัสสายตนะ ๖ ประการตามความเป็นจริง เธอประพฤติ
พรหมจรรย์ยังไม่จบ เป็นผู้ไกลจากธรรมวินัยนี้”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์พินาศย่อยยับแล้วในศาสนานี้ เพราะ
ข้าพระองค์ไม่รู้ชัดถึงความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจาก
ผัสสายตนะ ๖ ประการตามความเป็นจริง”
“ภิกษุ เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เธอพิจารณาเห็นจักขุว่า ‘นั่นไม่ใช่
ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา‘หรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๒. มิคชาลวรรค ๑๑. ตติยฉผัสสายตนสูตร

“ดีละ ภิกษุ ในข้อนี้จักขุที่เธอพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เรา
ไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ จักเป็นอันเธอเห็นดีแล้วด้วยปัญญาอันชอบตาม
ความเป็นจริง ด้วยการเห็นอย่างนี้ ผัสสายตนะที่ ๑ นี้จักเป็นอันเธอละได้แล้วเพื่อ
ไม่ให้ผัสสายตนะนั้นเกิดอีกต่อไป” ฯลฯ
“เธอพิจารณาเห็นชิวหาว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตา
ของเรา‘หรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ดีละ ภิกษุ ในข้อนี้ชิวหาที่เธอพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา
เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ จักเป็นอันเธอเห็นดีแล้วด้วยปัญญาอันชอบ
ตามความเป็นจริง ด้วยการเห็นอย่างนี้ ผัสสายตนะที่ ๔ นี้จักเป็นอันเธอละได้แล้ว
เพื่อไม่ให้ผัสสายตนะนั้นเกิดอีกต่อไป” ฯลฯ
“เธอพิจารณาเห็นมโนว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตา
ของเรา‘หรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ดีละ ภิกษุ ในข้อนี้มโนที่เธอพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เรา
ไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ จักเป็นอันเธอเห็นดีแล้วด้วยปัญญาอันชอบตาม
ความเป็นจริง ด้วยการเห็นอย่างนี้ ผัสสายตนะที่ ๖ นี้จักเป็นอันเธอละได้แล้วเพื่อ
ไม่ให้ผัสสายตนะนั้นเกิดอีกต่อไป”

ทุติยฉผัสสายตนสูตรที่ ๑๐ จบ

๑๑. ตติยฉผัสสายตนสูตร
ว่าด้วยผัสสายตนะ ๖ ประการ สูตรที่ ๓

[๗๓] “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบางรูปไม่รู้ชัดถึงความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และเครื่องสลัดออกจากผัสสายตนะ ๖ ประการตามความเป็นจริง เธอประพฤติ
พรหมจรรย์ยังไม่จบ เป็นผู้ไกลจากธรรมวินัยนี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๒. มิคชาลวรรค ๑๑. ตติยฉผัสสายตนสูตร

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์พินาศย่อยยับแล้วในศาสนานี้ เพราะ
ข้าพระองค์ไม่รู้ชัดถึงความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจาก
ผัสสายตนะ ๖ ประการตามความเป็นจริง”
“ภิกษุ เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร จักขุเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะพิจารณา
เห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“โสตะ ... ฆานะ ... ชิวหา ... กาย ... มโนเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะพิจารณา
เห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุ อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ ย่อม
เบื่อหน่ายแม้ในโสตะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในฆานะ ฯลฯ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลาย
กำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้น
แล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มี
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

ตติยฉผัสสายตนสูตรที่ ๑๑ จบ
มิคชาลวรรคที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๒. มิคชาลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมมิคชาลสูตร ๒. ทุติยมิคชาลสูตร
๓. ปฐมสมิทธิมารปัญหาสูตร ๔. สมิทธิสัตตปัญหาสูตร
๕. สมิทธิทุกขปัญหาสูตร ๖. สมิทธิโลกปัญหาสูตร
๗. อุปเสนอาสีวิสสูตร ๘. อุปวาณสันทิฏฐิกสูตร
๙. ปฐมฉผัสสายตนสูตร ๑๐. ทุติยฉผัสสายตนสูตร
๑๑. ตติยฉผัสสายตนสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๓. คิลานวรรค ๑. ปฐมคิลานสูตร

๓. คิลานวรรค
หมวดว่าด้วยภิกษุผู้อาพาธ
๑. ปฐมคิลานสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้อาพาธ สูตรที่ ๑

[๗๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง ณ
ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในวิหารโน้น
มีภิกษุใหม่รูปหนึ่ง ไม่มีใครรู้จัก อาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์โปรด
เสด็จไปเยี่ยมภิกษุนั้นถึงที่อยู่ด้วยเถิด”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงสดับว่าภิกษุใหม่เป็นไข้ ทรงทราบว่า “เป็นภิกษุ
ที่ไม่มีใครรู้จัก” จึงเสด็จเข้าไปเยี่ยมภิกษุนั้นถึงที่อยู่ ภิกษุนั้นได้เห็นพระผู้มีพระภาค
กำลังเสด็จมาแต่ไกลจึงลุกขึ้นจากเตียง ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับภิกษุ
นั้นดังนี้ว่า “อย่าเลยภิกษุ เธออย่าลุกจากเตียงเลย เราจักนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้
นั้น” พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนพุทธอาสน์๑ที่ปูลาดไว้แล้ว ได้ตรัสถามภิกษุนั้น
ว่า “ภิกษุ เธอยังสบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ ทุกขเวทนาทุเลาลง ไม่กำเริบ
ขึ้นหรืออาการทุเลาปรากฏ อาการกำเริบไม่ปรากฏหรือ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้ ทุกขเวทนาของ
ข้าพระองค์กำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ อาการทุเลาไม่
ปรากฏ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุ เธอไม่รำคาญ ทุรนทุรายบ้างหรือ”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๓. คิลานวรรค ๑. ปฐมคิลานสูตร

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความจริง ข้าพระองค์รำคาญ ทุรนทุรายมาก
พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุ เธอติเตียนตนเองโดยศีลได้หรือไม่”
“ข้าพระองค์ติเตียนตนเองโดยศีลไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุ ถ้าเธอติเตียนตนเองโดยศีลไม่ได้แล้ว เมื่อเป็นเช่นนั้น เธอจะรำคาญ
ทุรนทุรายไปทำไม”
“ข้าพระองค์ยังไม่รู้ทั่วถึงธรรมที่พระองค์ทรงแสดงเพื่อความหมดจดแห่งศีลเลย
พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุ ถ้าเธอยังไม่รู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงเพื่อความหมดจดแห่งศีลแล้ว เมื่อ
เป็นเช่นนั้น เธอจะรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วประพฤติเพื่ออะไร”
“ข้าพระองค์จะรู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว เพื่อคลายความ
กำหนัด พระพุทธเจ้าข้า”
“ดีละ ดีละ ภิกษุ ดีแล้ว ภิกษุ ที่เธอรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วเพื่อคลาย
ความกำหนัด เพราะว่าธรรมที่เราแสดงแล้วล้วนมีความมุ่งหมายเพื่อคลายความ
กำหนัด ภิกษุ เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร จักขุเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“โสตะ ฯลฯ ฆานะ ... ชิวหา ... กาย ... มโนเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะพิจารณา
เห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๓. คิลานวรรค ๒. ทุติยคิลานสูตร

“ภิกษุ อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ ฯลฯ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด
จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว
ฯลฯ ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุนั้นก็มีใจยินดีชื่นชมพระภาษิตของ
พระผู้มีพระภาค เมื่อพระองค์ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้อยู่ ธรรมจักษุ๑อันปราศจากธุลี๒
ปราศจากมลทินได้เกิดแก่ภิกษุนั้นว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้น
ทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา”

ปฐมคิลานสูตรที่ ๑ จบ

๒. ทุติยคิลานสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้อาพาธ สูตรที่ ๒

[๗๕] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ในวิหารโน้นมีภิกษุใหม่รูปหนึ่ง ไม่มีใครรู้จัก อาพาธ ได้รับทุกข์
เป็นไข้หนัก ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์โปรด
เสด็จไปเยี่ยมภิกษุนั้นถึงที่อยู่ด้วยเถิด”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงสดับว่าภิกษุใหม่เป็นไข้ ทรงทราบว่า “เป็นภิกษุ
ที่ไม่มีใครรู้จัก” จึงเสด็จไปเยี่ยมภิกษุนั้นถึงที่อยู่ ภิกษุนั้นได้เห็นพระผู้มีพระภาค
กำลังเสด็จมาแต่ไกลจึงลุกขึ้นจากเตียง ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับภิกษุนั้น
ดังนี้ว่า “อย่าเลยภิกษุ เธออย่าลุกจากเตียงเลย เราจักนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้นั้น”
พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว ได้ตรัสถามภิกษุนั้นว่า “ภิกษุ
เธอยังสบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ ทุกขเวทนาทุเลาลง ไม่กำเริบขึ้นหรือ
อาการทุเลาปรากฏ อาการกำเริบไม่ปรากฏหรือ”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๓. คิลานวรรค ๒. ทุติยคิลานสูตร

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้ ฯลฯ ข้าพระองค์
ติเตียนตนเองโดยศีลไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุ ถ้าเธอติเตียนตนเองโดยศีลไม่ได้แล้ว เมื่อเป็นเช่นนั้น เธอจะรำคาญ
ทุรนทุรายไปทำไม”
“ข้าพระองค์ยังไม่รู้ทั่วถึงธรรมที่พระองค์ทรงแสดงเพื่อความหมดจดแห่งศีลเลย
พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุ ถ้าเธอยังไม่รู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงเพื่อความหมดจดแห่งศีลแล้ว เมื่อ
เป็นเช่นนั้น เธอจะรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วประพฤติเพื่ออะไร”
“ข้าพระองค์จะรู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วเพื่อความดับสนิท
โดยไม่ยึดมั่น พระพุทธเจ้าข้า”
“ดีละ ดีละ ภิกษุ ดีแล้ว ภิกษุ ที่เธอรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วเพื่อความ
ดับสนิทโดยไม่ยึดมั่น เพราะว่าธรรมที่เราแสดงแล้วล้วนมีความมุ่งหมายเพื่อความ
ดับสนิทโดยไม่ยึดมั่น ภิกษุ เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร จักขุเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“โสตะ ... ฆานะ ... ชิวหา ... กาย ... มโน ... มโนวิญญาณ ... มโนสัมผัส
... แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัส
เป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะพิจารณา
เห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๓. คิลานวรรค ๓. ราธอนิจจสูตร

“ภิกษุ อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ ฯลฯ แม้
ในมโน ฯลฯ แม้ในมโนวิญญาณ ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโนสัมผัส ย่อม
เบื่อหน่ายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้น
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด
จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
อีกต่อไป”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุนั้นมีใจยินดีชื่นชมพระภาษิตของพระ
ผู้มีพระภาค เมื่อพระองค์ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้อยู่ จิตของภิกษุนั้นก็หลุดพ้นจาก
อาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น

ทุติยคิลานสูตรที่ ๒ จบ

๓. ราธอนิจจสูตร
ว่าด้วยทรงแสดงอนิจจธรรมแก่พระราธะ

[๗๖] ครั้งนั้นแล ท่านพระราธะ ฯลฯ นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระ
ผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาค
โปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ซึ่งข้าพระองค์ได้ฟังแล้วจะพึงหลีกออกไปอยู่
คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ราธะ สิ่งใดไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้น
ก็อะไรเล่าชื่อว่าไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้น
คือ จักขุไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในจักขุนั้น รูปไม่เที่ยง เธอพึงละ
ความพอใจในรูปนั้น จักขุวิญญาณ ... จักขุสัมผัส ... แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็น
สุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยง เธอ
พึงละความพอใจในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้น
เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยนั้น ฯลฯ ชิวหา ... กาย ... มโนไม่เที่ยง เธอพึงละ
ความพอใจในมโนนั้น ธรรมารมณ์ ... มโนวิญญาณ ... มโนสัมผัส ... แม้ความ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๓. คิลานวรรค ๕. ราธอนัตตสูตร

เสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย
ก็ไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุข
มิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยนั้น
ราธะ สิ่งใดไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้น”

ราธอนิจจสูตรที่ ๓ จบ

๔. ราธทุกขสูตร
ว่าด้วยทรงแสดงทุกขธรรมแก่พระราธะ

[๗๗] “ราธะ สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้น
ก็อะไรเล่าชื่อว่าเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้น
คือ จักขุเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในจักขุนั้น รูปเป็นทุกข์ เธอพึงละ
ความพอใจในรูปนั้น จักขุวิญญาณ ... จักขุสัมผัส ... แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็น
สุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นทุกข์ เธอ
พึงละความพอใจในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้น
เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยนั้น ฯลฯ มโน ... ธรรมารมณ์ ... มโนวิญญาณ ...
มโนสัมผัส ... แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้น
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในความเสวยอารมณ์ที่
เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยนั้น
ราธะ สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้น”

ราธทุกขสูตรที่ ๔ จบ

๕. ราธอนัตตสูตร
ว่าด้วยทรงแสดงอนัตตธรรมแก่พระราธะ

[๗๘] “ราธะ สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๓. คิลานวรรค ๖. ปฐมอวิชชาปหานสูตร

ก็อะไรเล่าชื่อว่าเป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้น
คือ จักขุเป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจในจักขุนั้น รูปเป็นอนัตตา เธอพึง
ละความพอใจในรูปนั้น จักขุวิญญาณ ... จักขุสัมผัส ... เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย
ฯลฯ มโน ... ธรรมารมณ์ ... มโนวิญญาณ ... มโนสัมผัส ... แม้ความเสวย
อารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็
เป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุข
มิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยนั้น
ราธะ สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้น”

ราธอนัตตสูตรที่ ๕ จบ

๖. ปฐมอวิชชาปหานสูตร
ว่าด้วยการละอวิชชา สูตรที่ ๑

[๗๙] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง
ณ ที่สมควรแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุละ
อวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น เพราะละธรรมอย่างหนึ่งใด ธรรมอย่างหนึ่งนั้นมีอยู่หรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ ภิกษุละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น
เพราะละธรรมอย่างหนึ่งใด ธรรมอย่างหนึ่งนั้นมีอยู่”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น เพราะละธรรม
อย่างหนึ่งใด ธรรมอย่างหนึ่งนั้นคืออะไร”
“ภิกษุ ภิกษุละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น เพราะละธรรมอย่างหนึ่งใด ธรรม
อย่างหนึ่งนั้นคืออวิชชา”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุเมื่อรู้เห็นอย่างไรจึงละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น”
“ภิกษุ ภิกษุเมื่อรู้เห็นจักขุโดยความไม่เที่ยงจึงละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น
เมื่อรู้เห็นรูป ฯลฯ จักขุวิญญาณ ฯลฯ จักขุสัมผัส ... เมื่อรู้เห็นแม้ความเสวย
อารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๓. คิลานวรรค ๗. ทุติยอวิชชาปหานสูตร

โดยความไม่เที่ยงจึงละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น ฯลฯ เมื่อรู้เห็นมโนโดยความไม่
เที่ยงจึงละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น เมื่อรู้เห็นธรรม ฯลฯ มโนวิญญาณ ฯลฯ
มโนสัมผัส ... เมื่อรู้เห็นแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่
ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความไม่เที่ยงจึงละอวิชชาได้ วิชชาจึง
เกิดขึ้น
ภิกษุ ภิกษุเมื่อรู้เห็นอย่างนี้แลจึงละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น”

ปฐมอวิชชาปหานสูตรที่ ๖ จบ

๗. ทุติยอวิชชาปหานสูตร
ว่าด้วยการละอวิชชา สูตรที่ ๒

[๘๐] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น เพราะละธรรมอย่างหนึ่ง
ใด ธรรมอย่างหนึ่งนั้นมีอยู่หรือ”
“ภิกษุ ภิกษุละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น เพราะละธรรมอย่างหนึ่งใด ธรรม
อย่างหนึ่งนั้นมีอยู่”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น เพราะละธรรม
อย่างหนึ่งใด ธรรมอย่างหนึ่งนั้นคืออะไร”
“ภิกษุละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น เพราะละธรรมอย่างหนึ่งใด ธรรมอย่าง
หนึ่งนั้นคืออวิชชา”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุเมื่อรู้เห็นอย่างไรจึงละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น”
“ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้สดับว่า ‘ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น’ ครั้นเธอได้สดับ
อย่างนี้ว่า ‘ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น’ ก็รู้ยิ่งธรรมทั้งปวง ครั้นรู้ยิ่งธรรมทั้งปวงแล้ว
ก็กำหนดรู้ธรรมทั้งปวง ครั้นกำหนดรู้ธรรมทั้งปวงแล้วก็เห็นนิมิตทั้งปวงโดยอาการ
อื่น เห็นจักขุโดยอาการอื่น เห็นรูป ฯลฯ จักขุวิญญาณ ฯลฯ จักขุสัมผัส ... เห็น
แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๓. คิลานวรรค ๘. สัมพหุลภิกขุสูตร

เป็นปัจจัยโดยอาการอื่น ฯลฯ เห็นมโนโดยอาการอื่น ฯลฯ ธรรมารมณ์ ฯลฯ
มโนวิญญาณ ฯลฯ มโนสัมผัส ... เห็นแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์
หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยโดยอาการอื่น
ภิกษุ ภิกษุเมื่อรู้เห็นอย่างนี้แลจึงละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น”

ทุติยอวิชชาปหานสูตรที่ ๗ จบ

๘. สัมพหุลภิกขุสูตร
ว่าด้วยภิกษุหลายรูป

[๘๑] ครั้งนั้นแล ภิกษุหลายรูปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ
นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวก
อัญเดียรถีย์ปริพาชกในโลกนี้ถามข้าพระองค์ทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
พวกท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดมเพื่อต้องการอะไร’ ข้าพระองค์ทั้งหลาย
ถูกถามอย่างนี้จึงตอบอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย
พวกเราประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อกำหนดรู้ทุกข์’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายถูกถามอย่างนี้ จึงตอบอย่างนี้ ชื่อว่า
พูดตรงตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำเท็จหรือ
ชื่อว่ากล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผลหรือ ไม่มีบ้างหรือที่คำกล่าวเช่นนั้นและคำที่กล่าว
ต่อ ๆ กันมาจะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้
จึงตอบอย่างนี้ ชื่อว่าพูดตรงตามคำที่เราพูดไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยคำเท็จ ชื่อว่า
กล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผล ไม่มีที่คำกล่าวเช่นนั้นและคำที่กล่าวต่อ ๆ กันมาจะ
เป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเธอทั้งหลายประพฤติพรหมจรรย์ในเราเพื่อกำหนดรู้
ทุกข์ ถ้าพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกจะพึงถามเธอทั้งหลายว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ทุกข์
ที่พวกท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดมเพื่อกำหนดรู้นั้นเป็นอย่างไร’
เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้ พึงตอบอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า
‘ผู้มีอายุ จักขุเป็นทุกข์ พวกเราประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อกำหนด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๗๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๓. คิลานวรรค ๙. โลกปัญหาสูตร

รู้จักขุที่เป็นทุกข์นั้น รูป ฯลฯ แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุข
มิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นทุกข์ พวกเราประพฤติพรหมจรรย์
ในพระผู้มีพระภาคเพื่อกำหนดรู้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่
ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยที่เป็นทุกข์นั้น ฯลฯ มโนเป็นทุกข์ ฯลฯ
แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัส
เป็นปัจจัยก็เป็นทุกข์ พวกเราประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อกำหนดรู้
ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัส
เป็นปัจจัยที่เป็นทุกข์นั้น ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อนี้แลคือทุกข์ พวกเราประพฤติ
พรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่อกำหนดรู้ทุกข์นั้น’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้ พึงตอบอัญเดียรถีย์ปริพาชก
เหล่านั้นอย่างนี้”

สัมพหุลภิกขุสูตรที่ ๘ จบ

๙. โลกปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องโลก

[๘๒] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง
ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์
ตรัสว่า ‘โลก โลก’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอจึงตรัสว่า ‘โลก’ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ ที่เราเรียกว่า ‘โลก’ เพราะจะต้องแตกสลาย
ก็อะไรเล่าแตกสลาย
คือ จักขุแตกสลาย รูปแตกสลาย จักขุวิญญาณแตกสลาย จักขุสัมผัสแตก
สลาย แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะ
จักขุสัมผัสเป็นปัจจัยก็แตกสลาย ฯลฯ ชิวหาแตกสลาย ฯลฯ มโนแตกสลาย ฯลฯ
ธรรมารมณ์แตกสลาย ฯลฯ มโนวิญญาณแตกสลาย ฯลฯ มโนสัมผัสแตกสลาย
แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์ หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะ
มโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็แตกสลาย
ภิกษุ ที่เราเรียกว่า ‘โลก’ เพราะจะต้องแตกสลาย”

โลกปัญหาสูตรที่ ๙ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๓. คิลานวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑๐. ผัคคุนปัญหาสูตร
ว่าด้วยพระผัคคุนะทูลถามปัญหา

[๘๓] ครั้งนั้นแล ท่านพระผัคคุนะ ฯลฯ นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถาม
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลเมื่อจะบัญญัติพระพุทธเจ้า
ทั้งหลายในอดีตผู้ตัดธรรมเครื่องเนิ่นช้า๑ ผู้ตัดทาง๒ได้แล้ว ผู้ครอบงำวัฏฏะได้แล้ว
ผู้ล่วงพ้นทุกข์ทั้งปวงได้แล้ว ปรินิพพานแล้ว พึงบัญญัติด้วยจักขุใด จักขุนั้นมีอยู่หรือ
ฯลฯ บุคคลเมื่อจะบัญญัติพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ... ปรินิพพานแล้ว พึงบัญญัติด้วย
ชิวหาใด ชิวหานั้นมีอยู่หรือ ฯลฯ บุคคลเมื่อจะบัญญัติพระพุทธเจ้าทั้งหลายใน
อดีตผู้ตัดธรรมเครื่องเนิ่นช้า ผู้ตัดทางได้แล้ว ผู้ครอบงำวัฏฏะได้แล้ว ผู้ล่วงพ้น
ทุกข์ทั้งปวงได้แล้ว ปรินิพพานแล้ว พึงบัญญัติด้วยมโนใด มโนนั้นมีอยู่หรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ผัคคุนะ บุคคลเมื่อจะบัญญัติพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ในอดีตผู้ตัดธรรมเครื่องเนิ่นช้า ผู้ตัดทางได้แล้ว ผู้ครอบงำวัฏฏะได้แล้ว ผู้ล่วงพ้น
ทุกข์ทั้งปวงได้แล้ว ปรินิพพานแล้ว พึงบัญญัติด้วยจักขุใด จักขุนั้นไม่มีเลย ฯลฯ
บุคคลเมื่อจะบัญญัติพระพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีตผู้ตัดธรรมเครื่องเนิ่นช้า ผู้ตัดทางได้
แล้ว ผู้ครอบงำวัฏฏะได้แล้ว ผู้ล่วงพ้นทุกข์ทั้งปวงได้แล้ว ปรินิพพานแล้ว พึงบัญญัติ
ด้วยชิวหาใด ชิวหานั้นไม่มีเลย ฯลฯ บุคคลเมื่อจะบัญญัติพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ในอดีตผู้ตัดธรรมเครื่องเนิ่นช้า ผู้ตัดทางได้แล้ว ผู้ครอบงำวัฏฏะได้แล้ว ผู้ล่วงพ้น
ทุกข์ทั้งปวงได้แล้ว ปรินิพพานแล้ว พึงบัญญัติด้วยมโนใด มโนนั้นไม่มีเลย”

ผัคคุนปัญหาสูตรที่ ๑๐ จบ
คิลานวรรคที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมคิลานสูตร ๒. ทุติยคิลานสูตร
๓. ราธอนิจจสูตร ๔. ราธทุกขสูตร
๕. ราธอนัตตสูตร ๖. ปฐมอวิชชาปหานสูตร
๗. ทุติยอวิชชาปหานสูตร ๘. สัมพหุลภิกขุสูตร
๙. โลกปัญหาสูตร ๑๐. ผัคคุนปัญหาสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๔. ฉันนวรรค ๑. ปโลกธัมมสูตร

๔. ฉันนวรรค
หมวดว่าด้วยพระฉันนะ
๑. ปโลกธัมมสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่มีความแตกสลายเป็นธรรมดา

[๘๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง ณ
ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า
‘โลก โลก’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอจึงตรัสว่า ‘โลก’ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ สิ่งใดมีความแตกสลายเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นเราเรียกว่า ‘โลก’ ในอริยวินัย
ก็อะไรเล่าชื่อว่ามีความแตกสลายเป็นธรรมดา
คือ จักขุมีความแตกสลายเป็นธรรมดา รูปมีความแตกสลายเป็นธรรมดา
จักขุวิญญาณมีความแตกสลายเป็นธรรมดา จักขุสัมผัสมีความแตกสลายเป็นธรรมดา
แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัส
เป็นปัจจัยก็มีความแตกสลายเป็นธรรมดา ฯลฯ
ชิวหามีความแตกสลายเป็นธรรมดา รสมีความแตกสลายเป็นธรรมดา ชิวหา-
วิญญาณมีความแตกสลายเป็นธรรมดา ชิวหาสัมผัสมีความแตกสลายเป็นธรรมดา
แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัส
เป็นปัจจัยก็มีความแตกสลายเป็นธรรมดา ฯลฯ
มโนมีความแตกสลายเป็นธรรมดา ธรรมารมณ์มีความแตกสลายเป็นธรรมดา
มโนวิญญาณมีความแตกสลายเป็นธรรมดา มโนสัมผัสมีความแตกสลายเป็นธรรมดา
แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัส
เป็นปัจจัยก็มีความแตกสลายเป็นธรรมดา
อานนท์ สิ่งใดมีความแตกสลายเป็นธรรมดา นี้เราเรียกว่า ‘โลก’ ในอริยวินัย”

ปโลกธัมมสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๔. ฉันนวรรค ๓. สังขิตตธัมมสูตร

๒. สุญญตโลกสูตร
ว่าด้วยโลกว่าง

[๘๕] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ ฯลฯ ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่พระองค์ตรัสว่า ‘โลกว่าง โลกว่าง’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร
หนอจึงตรัสว่า ‘โลกว่าง’ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ เพราะว่างจากอัตตาหรือจากสิ่งที่เนื่อง
ด้วยอัตตา ฉะนั้นจึงเรียกว่า ‘โลกว่าง’
ก็อะไรเล่าชื่อว่าว่างจากอัตตาหรือจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา
คือ จักขุว่างจากอัตตาหรือจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา รูปว่างจากอัตตาหรือ
จากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา จักขุวิญญาณว่างจากอัตตาหรือจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา
จักขุสัมผัสว่างจากอัตตาหรือจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา ฯลฯ แม้ความเสวยอารมณ์
ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็ว่างจาก
อัตตาหรือจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา
อานนท์ เพราะว่างจากอัตตา หรือจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา ฉะนั้นเราจึง
เรียกว่า ‘โลกว่าง’

สุญญตโลกสูตรที่ ๒ จบ

๓. สังขิตตธัมมสูตร
ว่าด้วยธรรมโดยย่อ

[๘๖] ท่านพระอานนท์นั่ง ณ ที่สมควร แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรด
แสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ซึ่งข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว จะพึงหลีกออกไปอยู่คน
เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร จักขุเที่ยง
หรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๔. ฉันนวรรค ๓. สังขิตตธัมมสูตร

“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“จักขุวิญญาณ ฯลฯ จักขุสัมผัส ฯลฯ แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือ
ทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“ชิวหาเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“ชิวหาวิญญาณ ฯลฯ ชิวหาสัมผัส ฯลฯ แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข
หรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๔. ฉันนวรรค ๔. ฉันนสูตร

“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะพิจารณา
เห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“อานนท์ อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ ย่อม
เบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน
จักขุสัมผัส ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือ
มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’
รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

สังขิตตธัมมสูตรที่ ๓ จบ

๔. ฉันนสูตร
ว่าด้วยพระฉันนะ๑

[๘๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้
เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น ท่านพระสารีบุตร ท่านพระมหาจุนทะ
และท่านพระฉันนะอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ ครั้งนั้น ท่านพระฉันนะอาพาธ ได้รับทุกข์
เป็นไข้หนัก ต่อมาในเวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่หลีกเร้น๒ แล้วเข้าไปหา
ท่านพระมหาจุนทะถึงที่อยู่ ได้กล่าวกับท่านพระมหาจุนทะดังนี้ว่า “มาเถิดท่าน
จุนทะ เราเข้าไปถามอาการอาพาธของท่านพระฉันนะกันเถิด” ท่านพระมหาจุนทะ
รับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว
ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาจุนทะเข้าไปหาท่านพระฉันนะ
ถึงที่อยู่ นั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้ถามท่านพระฉันนะดังนี้ว่า


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๔. ฉันนวรรค ๔. ฉันนสูตร

“ท่านฉันนะ ท่านยังสบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ ทุกขเวทนาทุเลาลง ไม่
กำเริบขึ้นหรือ อาการทุเลาปรากฏ อาการกำเริบไม่ปรากฏหรือ”๑
ท่านพระฉันนะกล่าวว่า “ท่านสารีบุตร กระผมไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้
ทุกขเวทนาของกระผมกำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ อาการ
ทุเลาไม่ปรากฏ คนที่แข็งแรงใช้เหล็กที่แหลมคมทิ่มแทงศีรษะแม้ฉันใด ลมอันแรง
กล้าเสียดแทงศีรษะของกระผมก็ฉันนั้นเหมือนกัน ผู้มีอายุ กระผมไม่สบาย จะ
เป็นอยู่ไม่ได้ ฯลฯ อาการทุเลาไม่ปรากฏ คนที่แข็งแรงใช้เชือกหนังที่เหนียวขันที่
ศีรษะแม้ฉันใด ลมอันแรงกล้าเสียดแทงศีรษะของกระผมก็ฉันนั้นเหมือนกัน กระผม
ไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้ ฯลฯ อาการทุเลาไม่ปรากฏ คนฆ่าโคหรือลูกมือคนฆ่าโค
ผู้ชำนาญใช้มีดแล่เนื้อที่คมกรีดท้องแม้ฉันใด ลมอันแรงกล้าเสียดแทงท้องของกระผม
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน กระผมไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้ ฯลฯ อาการทุเลาไม่ปรากฏ
คนที่แข็งแรง ๒ คนจับแขนคนที่อ่อนแอกว่าคนละข้างย่างให้ร้อนบนหลุมถ่านเพลิง
แม้ฉันใด อาการเร่าร้อนในกายของกระผมก็มีมากอย่างยิ่งฉันนั้นเหมือนกัน ผู้มีอายุ
กระผมไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้ ทุกขเวทนากำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการ
กำเริบปรากฏ อาการทุเลาไม่ปรากฏ ท่านสารีบุตร กระผม จักนำศัสตรา๒มา
กระผมไม่อยากมีชีวิตอยู่”
ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า “ท่านฉันนะอย่านำศัสตรามา ท่านจงรักษาตัวให้
อยู่ต่อไปเถิด พวกเราอยากให้ท่านรักษาตัวอยู่ต่อไป ถ้าท่านฉันนะไม่มีโภชนะที่
เป็นสัปปายะ ผมจักแสวงหามาให้ ถ้าท่านฉันนะไม่มีเภสัชที่เป็นสัปปายะ ผมก็
จักแสวงหามาให้ ถ้าท่านฉันนะไม่มีพวกอุปัฏฐากผู้เหมาะสม ผมจักอุปัฏฐากเอง
ท่านฉันนะอย่านำศัสตรามาเลย ขอท่านฉันนะจงรักษาตัวให้อยู่ต่อไปเถิด พวกเรา
อยากให้ท่านฉันนะรักษาตัวอยู่ต่อไป”
“ท่านสารีบุตร โภชนะที่เป็นสัปปายะของกระผมไม่ใช่ไม่มี โภชนะที่เป็น
สัปปายะของกระผมมีอยู่ เภสัชที่เป็นสัปปายะของกระผมไม่ใช่ไม่มี เภสัชที่เป็น


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๔. ฉันนวรรค ๔. ฉันนสูตร

สัปปายะของกระผมมีอยู่ พวกอุปัฏฐากที่เหมาะสมของกระผมไม่ใช่ไม่มี พวก
อุปัฏฐากที่เหมาะสมของกระผมมีอยู่ อีกประการหนึ่ง กระผมก็ปรนนิบัติพระ
ศาสดาด้วยความเต็มใจมาตลอดทีเดียว ไม่ใช่ปรนนิบัติด้วยความไม่เต็มใจ ขอ
ท่านสารีบุตรจงจำข้อความนี้ไว้อย่างนี้เถิดว่า ‘ข้อที่พระสาวกปรนนิบัติพระศาสดา
ด้วยความเต็มใจ ไม่ใช่ปรนนิบัติด้วยความไม่เต็มใจ นี้เป็นการสมควรแก่พระสาวก
ฉันนภิกษุจักนำศัตรามาจึงไม่ควรถูกติเตียน”
“พวกเราขอถามปัญหาบางข้อกับท่านฉันนะ ถ้าท่านฉันนะจะให้โอกาสตอบ
ปัญหา”
“ท่านสารีบุตร นิมนต์ถามเถิด ผมฟังแล้วจักบอกให้รู้”
“ท่านฉันนะ ท่านพิจารณาเห็นจักขุ จักขุวิญญาณ และธรรมที่พึงรู้แจ้ง
ทางจักขุวิญญาณว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’ ฯลฯ ท่าน
พิจารณาเห็นชิวหา ชิวหาวิญญาณ และธรรมที่พึงรู้แจ้งทางชิวหาวิญญาณว่า
‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’ ฯลฯ ท่านพิจารณาเห็นมโน
มโนวิญญาณ และธรรมที่พึงรู้แจ้งทางมโนวิญญาณว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น
นั่นเป็นอัตตาของเรา’ หรือ”
“ท่านสารีบุตร กระผมพิจารณาเห็นจักขุ จักขุวิญญาณ และธรรมที่พึงรู้แจ้ง
ทางจักขุวิญญาณว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ฯลฯ
กระผมพิจารณาเห็นชิวหา ชิวหาวิญญาณ และธรรมที่พึงรู้แจ้งทางชิวหาวิญญาณว่า
‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ฯลฯ กระผมพิจารณาเห็นมโน
มโนวิญญาณ และธรรมที่พึงรู้แจ้งทางมโนวิญญาณว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น
นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา”
“ท่านฉันนะ ท่านพิจารณาเห็นอะไร รู้อะไรในจักขุ ในจักขุวิญญาณ และใน
ธรรมที่พึงรู้แจ้งทางจักขุวิญญาณจึงพิจารณาเห็นจักขุ จักขุวิญญาณ และธรรมที่พึง
รู้แจ้งทางจักขุวิญญาณว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
ฯลฯ ท่านฉันนะ ท่านพิจารณาเห็นอะไร รู้อะไรในชิวหา ในชิวหาวิญญาณ
และในธรรมที่พึงรู้แจ้งทางชิวหาวิญญาณจึงพิจารณาเห็นชิวหา ชิวหาวิญญาณ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๔. ฉันนวรรค ๔. ฉันนสูตร

และธรรมที่พึงรู้แจ้งทางชิวหาวิญญาณว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่
อัตตาของเรา’ ฯลฯ ท่านฉันนะ ท่านเห็นอะไร รู้อะไรในมโน ในมโนวิญญาณ
และในธรรมที่พึงรู้แจ้งทางมโนวิญญาณจึงพิจารณาเห็นมโน มโนวิญญาณ และธรรม
ที่พึงรู้แจ้งทางมโนวิญญาณว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา”
“ท่านสารีบุตร กระผมพิจารณาเห็นความดับ รู้ความดับในจักขุ ในจักขุ-
วิญญาณ และในธรรมที่พึงรู้แจ้งทางจักขุวิญญาณจึงพิจารณาเห็นจักขุ จักขุวิญญาณ
และธรรมที่พึงรู้แจ้งทางจักขุวิญญาณว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่
อัตตาของเรา’ ฯลฯ ท่านสารีบุตร กระผมพิจารณาเห็นความดับ รู้ความดับในชิวหา
ในชิวหาวิญญาณ และในธรรมที่พึงรู้แจ้งทางชิวหาวิญญาณจึงพิจารณาเห็นชิวหา
ชิวหาวิญญาณ และธรรมที่พึงรู้แจ้งทางชิวหาวิญญาณว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่
เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ฯลฯ ท่านสารีบุตร กระผมพิจารณาเห็นความดับ
รู้ความดับในมโน ในมโนวิญญาณ และในธรรมที่พึงรู้แจ้งทางมโนวิญญาณจึง
พิจารณาเห็นมโน มโนวิญญาณ และธรรมที่พึงรู้แจ้งทางมโนวิญญาณว่า ‘นั่นไม่
ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา”
เมื่อท่านพระฉันนะกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระมหาจุนทะได้กล่าวกับท่านพระ
ฉันนะดังนี้ว่า “ท่านฉันนะ เพราะเหตุนี้แล แม้การเห็นนี้ ก็เป็นคำสอนของพระผู้
มีพระภาคพระองค์นั้น ท่านพึงใส่ใจให้ดีตลอดกาลเป็นนิตย์ บุคคลผู้มีตัณหา มานะ
และทิฏฐิอาศัยอยู่ ย่อมมีความหวั่นไหว บุคคลผู้ไม่มีตัณหา มานะ และทิฏฐิอาศัยอยู่
ย่อมไม่มีความหวั่นไหว เมื่อไม่มีความหวั่นไหว ก็มีความสงบ๑ เมื่อมีความสงบ ก็
ไม่มีความน้อมไป๒ เมื่อไม่มีความน้อมไป การมาและการไป๓ก็ไม่มี เมื่อไม่มีการมา
และการไป ความตายและความเกิดก็ไม่มี เมื่อไม่มีความตายและความเกิด โลกนี้


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๔. ฉันนวรรค ๕. ปุณณสูตร

โลกหน้าก็ไม่มี ระหว่างโลกทั้งสองก็ไม่มี นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์” ครั้นท่าน
พระสารีบุตรและท่านพระมหาจุนทะสอนท่านพระฉันนะด้วยโอวาทนี้แล้วก็ลุกขึ้น
จากอาสนะแล้วจากไป ต่อมาท่านพระฉันนะก็ได้นำศัสตรามา๑เมื่อท่านทั้งสองจาก
ไปไม่นาน
ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ท่านฉันนะได้นำศัสตรามา ท่านมีคติเป็นอย่างไร มีอภิสัมปรายภพเป็น
อย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “สารีบุตร ฉันนภิกษุได้บอกว่าจะไม่ถูกติเตียน
ไว้ต่อหน้าเธอแล้วมิใช่หรือ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีหมู่บ้านชาววัชชีชื่อปุพพวิชชนะ ในหมู่บ้านนั้น
ตระกูลที่เป็นมิตร ตระกูลที่เป็นสหายเป็นตระกูลที่ท่านฉันนะเข้าไปอาศัยก็มีอยู่”
“สารีบุตร ตระกูลที่เป็นมิตรตระกูลที่เป็นสหายเหล่านั้น เป็นตระกูลที่
ฉันนภิกษุเข้าไปอาศัยมีอยู่ แต่เราไม่กล่าวว่า ‘ฉันนภิกษุมีตระกูลที่ตนพึงเข้าไป
อาศัยด้วยเหตุเพียงเท่านี้’ เธอจงจำข้อความนี้ไว้อย่างนี้เถิดว่า ‘เรากล่าวถึงภิกษุที่
ละกายนี้เข้าถือกายอื่น ว่ามีตระกูลที่ตนพึงเข้าไปอาศัย’ ตระกูลนั้นไม่มีสำหรับ
ฉันนภิกษุ ฉันนภิกษุนำศัสตรามาจึงไม่ควรถูกติเตียน”

ฉันนสูตรที่ ๔ จบ

๕. ปุณณสูตร
ว่าด้วยพระปุณณะ

[๘๘] ครั้งนั้น ท่านพระปุณณะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ
นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ
ประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ซึ่งข้า
พระองค์ได้ฟังแล้ว จะพึงหลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศ
กายและใจอยู่เถิด”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๔. ฉันนวรรค ๕. ปุณณสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ปุณณะ รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่
น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุยังเพลิดเพลิน เชยชม
ยึดติดรูปนั้นอยู่ เมื่อเธอเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดรูปนั้น ความเพลิดเพลินย่อม
เกิดขึ้น เรากล่าวว่า ‘เพราะความเพลิดเพลินเกิด ทุกข์จึงเกิด’ ฯลฯ
รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ... มีอยู่ ฯลฯ
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชัก
ให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุยังเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดธรรมารมณ์นั้น
อยู่ เมื่อเธอเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดธรรมารมณ์นั้น ความเพลิดเพลินย่อมเกิดขึ้น
เรากล่าวว่า ‘เพราะความเพลิดเพลินเกิด ทุกข์จึงเกิด’
รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่
พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดรูปนั้นอยู่ เมื่อ
เธอไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดรูปนั้น ความเพลิดเพลินย่อมดับไป เรากล่าว
ว่า ‘เพราะความเพลิดเพลินดับ ทุกข์จึงดับ’ ฯลฯ
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้
ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดธรรมารมณ์
นั้นอยู่ เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดธรรมารมณ์นั้น ความ
เพลิดเพลินย่อมดับ เรากล่าวว่า ‘เพราะความเพลิดเพลินดับ ทุกข์จึงดับ’
ปุณณะ เรากล่าวสอนด้วยโอวาทอย่างย่อนี้ เธอจักอยู่ในชนบทไหน”
ท่านพระปุณณะกราบทูลดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักอยู่
ในชนบทชื่อว่าสุนาปรันตะ”
“ปุณณะ พวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทเป็นคนดุร้ายนัก พวกมนุษย์ชาว
สุนาปรันตชนบทเป็นคนหยาบคายนัก ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักด่า
บริภาษเธอในที่นั้น เธอจักคิดอย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักด่า บริภาษ
ข้าพระองค์ในที่นั้น ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้ว่า ‘มนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบท

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๔. ฉันนวรรค ๕. ปุณณสูตร

เหล่านี้ดีหนอ มนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทเหล่านี้ดีจริงหนอ ที่ไม่ประหารเราด้วย
ฝ่ามือ’ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้ ข้าแต่พระสุคต
ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้”
“ปุณณะ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหารเธอด้วยฝ่ามือ ใน
เรื่องนี้เธอจักคิดอย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหาร
ข้าพระองค์ด้วยฝ่ามือ ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้ว่า ‘มนุษย์ชาวสุนาปรันต-
ชนบทเหล่านี้ดีหนอ มนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทเหล่านี้ดีจริงหนอ ที่ไม่ประหารเรา
ด้วยก้อนดิน’ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้ ข้าแต่
พระสุคต ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้”
“ปุณณะ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหารเธอด้วยก้อนดิน ใน
เรื่องนี้เธอจักคิดอย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหารข้าพระ
องค์ด้วยก้อนดิน ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้ว่า ‘มนุษย์ชาวสุนาปรันต-
ชนบทเหล่านี้ดีหนอ มนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทเหล่านี้ดีจริงหนอ ที่ไม่ประหาร
เราด้วยท่อนไม้’ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้ ข้าแต่
พระสุคต ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้”
“ปุณณะ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหารเธอด้วยท่อนไม้ ใน
เรื่องนี้เธอจักคิดอย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหาร
ข้าพระองค์ด้วยท่อนไม้ ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้ว่า ‘มนุษย์ชาวสุนาปรันต-
ชนบทเหล่านี้ดีหนอ มนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทเหล่านี้ดีจริงหนอ ที่ไม่ประหาร
เราด้วยศัสตรา’ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้ ข้าแต่
พระสุคต ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้”
“ปุณณะ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหารเธอด้วยศัสตรา ใน
เรื่องนี้เธอจักคิดอย่างไร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๔. ฉันนวรรค ๕. ปุณณสูตร

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหาร
ข้าพระองค์ด้วยศัสตรา ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้ว่า ‘มนุษย์ชาวสุนาปรันต-
ชนบทเหล่านี้ดีหนอ มนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทเหล่านี้ดีจริงหนอ ที่ไม่ปลงชีวิต
ของเราด้วยศัสตราที่คม’ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้
ข้าแต่พระสุคต ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้”
“ปุณณะ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักปลงชีวิตเธอด้วยศัสตราที่คม
ในเรื่องนี้เธอจักคิดอย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักปลงชีวิต
ข้าพระองค์ด้วยศัสตราที่คม ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้ว่า ‘พระสาวกทั้งหลาย
ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นอึดอัด ระอา รังเกียจอยู่ด้วยร่างกายและชีวิต
แสวงหาศัสตราเครื่องปลงชีวิตก็มีอยู่ เราได้ศัสตราเครื่องปลงชีวิตที่ไม่ได้แสวงหา
เลย’ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้ ข้าแต่พระสุคต ใน
เรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้”
“ดีละ ดีละ ปุณณะ เธอประกอบด้วยความข่มใจและความสงบใจ๑นี้จักสามารถ
อยู่ในสุนาปรันตชนบทได้ ปุณณะ เธอรู้เวลาอันสมควรในบัดนี้”
ครั้งนั้น ท่านพระปุณณะชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วลุก
ขึ้นจากอาสนะ ถวายอภิวาท กระทำประทักษิณ เก็บงำเสนาสนะเรียบร้อยแล้ว
ถือบาตร และจีวรหลีกจาริกไปทางสุนาปรันตชนบท เมื่อจาริกไปโดยลำดับก็ถึง
สุนาปรันตชนบท ได้ยินว่า ท่านพระปุณณะอยู่ที่สุนาปรันตชนบทนั้น ครั้งนั้น
ระหว่างพรรษานั้นท่านให้ชาวสุนาปรันตชนบทแสดงตนเป็นอุบาสกประมาณ ๕๐๐
คน และอุบาสิกาประมาณ ๕๐๐ คน ระหว่างพรรษานั้นเหมือนกันท่านได้บรรลุ
วิชชา ๓ และนิพพานแล้ว
ครั้งนั้นแล ภิกษุหลายรูปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง ณ
ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กุลบุตรชื่อ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๔. ฉันนวรรค ๖. พาหิยสูตร

ปุณณะที่พระองค์ทรงสั่งสอนด้วยพระโอวาทอย่างย่อนั้นตายไปแล้ว เขามีคติเป็นอย่างไร
มีอภิสัมปรายภพเป็นอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรชื่อปุณณะเป็นบัณฑิต
ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งไม่เบียดเบียนเราเพราะเหตุแห่งธรรม ภิกษุทั้งหลาย
กุลบุตรชื่อปุณณะปรินิพพานแล้ว”

ปุณณสูตรที่ ๕ จบ

๖. พาหิยสูตร
ว่าด้วยพระพาหิยะ

[๘๙] ครั้งนั้น ท่านพระพาหิยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง
ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทาน
วโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ซึ่งข้าพระองค์
ได้ฟังแล้วจะพึงหลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจ
อยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พาหิยะ เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร จักขุ
เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะพิจารณา
เห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๔. ฉันนวรรค ๖. พาหิยสูตร

“จักขุวิญญาณ ฯลฯ จักขุสัมผัส ฯลฯ แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือ
ทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะพิจารณา
เห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“พาหิยะ อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ ย่อม
เบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน
จักขุสัมผัส ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือ
มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’
รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
ครั้งนั้น ท่านพระพาหิยะชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว ลุกขึ้น
จากอาสนะ ถวายอภิวาท กระทำประทักษิณแล้วจากไป ต่อมาท่านพระพาหิยะ
หลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนัก
ได้ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ที่เหล่ากุลบุตรออกจาก
เรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน รู้
ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป” อนึ่ง ท่านพระพาหิยะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง
ในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย

พาหิยสูตรที่ ๖ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๔. ฉันนวรรค ๗. ปฐมเอชาสูตร

๗. ปฐมเอชาสูตร
ว่าด้วยความหวั่นไหว สูตรที่ ๑

[๙๐] “ภิกษุทั้งหลาย ความหวั่นไหว๑เป็นโรค ความหวั่นไหวเป็นหัวฝี ความ
หวั่นไหวเป็นลูกศร เพราะเหตุนั้นแล ตถาคตจึงเป็นผู้ไม่หวั่นไหว ปราศจากลูกศรอยู่
เพราะเหตุนั้นแล ถ้าภิกษุหวังว่า ‘เราพึงเป็นผู้ไม่หวั่นไหว ปราศจากลูกศรอยู่’
เธอไม่พึงกำหนดหมายจักขุ ไม่พึงกำหนดหมายในจักขุ ไม่พึงกำหนดหมาย
เพราะจักขุ ไม่พึงกำหนดหมายว่า ‘จักขุของเรา’
ไม่พึงกำหนดหมายรูป ไม่พึงกำหนดหมายในรูป ไม่พึงกำหนดหมายเพราะรูป
ไม่พึงกำหนดหมายว่า ‘รูปของเรา’
ไม่พึงกำหนดหมายจักขุวิญญาณ ไม่พึงกำหนดหมายในจักขุวิญญาณ ไม่พึง
กำหนดหมายเพราะจักขุวิญญาณ ไม่พึงกำหนดหมายว่า ‘จักขุวิญญาณของเรา’
ไม่พึงกำหนดหมายจักขุสัมผัส ไม่พึงกำหนดหมายในจักขุสัมผัส ไม่พึง
กำหนดหมายเพราะจักขุสัมผัส ไม่พึงกำหนดหมายว่า ‘จักขุสัมผัสของเรา’
ไม่พึงกำหนดหมายแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์
ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงกำหนดหมายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่
เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึง
กำหนดหมายแม้เพราะความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่
เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงกำหนดหมายว่า ‘ความเสวยอารมณ์ที่
เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยนั้นของเรา’
ไม่พึงกำหนดหมายโสตะ ฯลฯ
ไม่พึงกำหนดหมายฆานะ ฯลฯ
ไม่พึงกำหนดหมายชิวหา ไม่พึงกำหนดหมายในชิวหา ไม่พึงกำหนดหมาย
เพราะชิวหา ไม่พึงกำหนดหมายว่า ‘ชิวหาของเรา’
ไม่พึงกำหนดหมายรส ฯลฯ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๔. ฉันนวรรค ๗. ปฐมเอชาสูตร

ไม่พึงกำหนดหมายชิวหาวิญญาณ ฯลฯ
ไม่พึงกำหนดหมายชิวหาสัมผัส ฯลฯ
ไม่พึงกำหนดหมายแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์
ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงกำหนดหมายแม้ในความเสวยอารมณ์
ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึง
กำหนดหมายแม้เพราะความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่
เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงกำหนดหมายว่า ‘ความเสวยอารมณ์ที่
เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัยนั้นของเรา’
ไม่พึงกำหนดหมายกาย ฯลฯ
ไม่พึงกำหนดหมายมโน ไม่พึงกำหนดหมายในมโน ไม่พึงกำหนดหมายเพราะมโน
ไม่พึงกำหนดหมายว่า ‘มโนของเรา’
ไม่พึงกำหนดหมายธรรมารมณ์ ฯลฯ
มโนวิญญาณ ฯลฯ
มโนสัมผัส ฯลฯ
ไม่พึงกำหนดหมายแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์
ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงกำหนดหมายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่
เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึง
กำหนดหมายแม้เพราะความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่
เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงกำหนดหมายว่า ‘ความเสวยอารมณ์ที่
เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยนั้นของเรา’
ไม่พึงกำหนดหมายสิ่งทั้งปวง ไม่พึงกำหนดหมายในสิ่งทั้งปวง ไม่พึงกำหนด
หมายเพราะสิ่งทั้งปวง ไม่พึงกำหนดหมายว่า ‘สิ่งทั้งปวงของเรา’
ภิกษุผู้ไม่กำหนดหมายอยู่อย่างนี้ย่อมไม่ถือมั่นอะไร ๆ ในโลก เมื่อไม่ถือมั่นย่อม
ไม่สะดุ้งกลัว เมื่อไม่สะดุ้งกลัวย่อมดับเฉพาะตนเอง รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

ปฐมเอชาสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๔. ฉันนวรรค ๘. ทุติยเอชาสูตร

๘. ทุติยเอชาสูตร
ว่าด้วยความหวั่นไหว สูตรที่ ๒

[๙๑] “ภิกษุทั้งหลาย ความหวั่นไหวเป็นโรค ความหวั่นไหวเป็นหัวฝี ความ
หวั่นไหวเป็นลูกศร เพราะเหตุนั้นแล ตถาคตจึงเป็นผู้ไม่หวั่นไหว ปราศจากลูกศรอยู่
เพราะเหตุนั้นแล ถ้าภิกษุหวังว่า ‘เราพึงเป็นผู้ไม่หวั่นไหว ปราศจากลูกศรอยู่’
เธอไม่พึงกำหนดหมายจักขุ ไม่พึงกำหนดหมายในจักขุ ไม่พึงกำหนดหมาย
เพราะจักขุ ไม่พึงกำหนดหมายว่า ‘จักขุของเรา’
ไม่พึงกำหนดหมายรูป ฯลฯ
จักขุวิญญาณ ฯลฯ
จักขุสัมผัส ฯลฯ
ไม่พึงกำหนดหมายแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์
ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงกำหนดหมายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่
เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึง
กำหนดหมายแม้เพราะความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่
เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงกำหนดหมายว่า ‘ความเสวยอารมณ์ที่เป็น
สุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยนั้นของเรา’
บุคคลกำหนดหมายสิ่งใด กำหนดหมายในสิ่งใด กำหนดหมายเพราะสิ่งใด
กำหนดหมายว่า ‘สิ่งใดของเรา’ สิ่งนั้นย่อมเป็นโดยอาการอื่นจากที่กำหนดหมาย
นั้น คือ สัตว์โลกข้องอยู่ในภพ มีความเปลี่ยนแปลงโดยอาการอื่น ก็ยังยินดีภพ
อยู่นั่นเอง ฯลฯ
ไม่พึงกำหนดหมายชิวหา ไม่พึงกำหนดหมายในชิวหา ไม่พึงกำหนดหมาย
เพราะชิวหา ไม่พึงกำหนดหมายว่า ‘ชิวหาของเรา’
ไม่พึงกำหนดหมายรส ฯลฯ
ชิวหาวิญญาณ ฯลฯ
ชิวหาสัมผัส ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๔. ฉันนวรรค ๘. ทุติยเอชาสูตร

ไม่พึงกำหนดหมายแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์
ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงกำหนดหมายแม้ในความเสวยอารมณ์
ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึง
กำหนดหมายแม้เพราะความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่
เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงกำหนดหมายว่า ‘ความเสวยอารมณ์ที่เป็น
สุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัยนั้นของเรา’
บุคคลกำหนดหมายสิ่งใด กำหนดหมายในสิ่งใด กำหนดหมายเพราะสิ่งใด
กำหนดหมายว่า ‘สิ่งใดของเรา’ สิ่งนั้นย่อมเป็นโดยอาการอื่นจากที่กำหนดหมาย
นั้น คือ สัตว์โลกข้องอยู่ในภพ มีความเปลี่ยนแปลงโดยอาการอื่น ก็ยังยินดีภพ
อยู่นั่นเอง ฯลฯ
ไม่พึงกำหนดหมายมโน ไม่พึงกำหนดหมายในมโน ไม่พึงกำหนดหมายเพราะมโน
ไม่พึงกำหนดหมายว่า ‘มโนของเรา’
ไม่พึงกำหนดหมายธรรมารมณ์ ฯลฯ
มโนวิญญาณ ฯลฯ
มโนสัมผัส ฯลฯ
ไม่พึงกำหนดหมายแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์
ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงกำหนดหมายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่
เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึง
กำหนดหมายแม้เพราะความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่
เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงกำหนดหมายว่า ‘ความเสวยอารมณ์ที่
เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยนั้นของเรา’
บุคคลกำหนดหมายสิ่งใด กำหนดหมายในสิ่งใด กำหนดหมายเพราะสิ่งใด
กำหนดหมายว่า ‘สิ่งใดของเรา’ สิ่งนั้นย่อมเป็นโดยอาการอื่นจากที่กำหนดหมาย
นั้น คือ สัตว์โลกข้องอยู่ในภพ มีความเปลี่ยนแปลงโดยอาการอื่น ก็ยังยินดีภพ
อยู่นั่นเอง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๔. ฉันนวรรค ๑๐. ทุติยทวยสูตร

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่พึงกำหนดหมายแม้ขันธ์ ธาตุ และอายตนะเท่าที่มีอยู่
ไม่พึงกำหนดหมายในขันธ์ ธาตุ และอายตนะเท่าที่มีอยู่ ไม่พึงกำหนดหมายเพราะ
ขันธ์ ธาตุ และอายตนะเท่าที่มีอยู่ ไม่พึงกำหนดหมายว่า ‘ขันธ์ ธาตุ และ
อายตนะเท่าที่มีอยู่นั้นของเรา’
บุคคลผู้ไม่กำหนดหมายอยู่อย่างนี้ย่อมไม่ถือมั่นอะไร ๆ ในโลก เมื่อไม่ถือมั่นก็
ไม่สะดุ้งกลัว เมื่อไม่สะดุ้งกลัว ย่อมดับเฉพาะตนเอง รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

ทุติยเอชาสูตรที่ ๘ จบ

๙. ปฐมทวยสูตร
ว่าด้วยธรรมคู่กัน สูตรที่ ๑

[๙๒] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมคู่กันแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
จงฟัง
ก็อะไรเล่าชื่อว่าธรรมคู่กัน
คือ (๑) จักขุกับรูป (๒) โสตะกับสัททะ (๓) ฆานะกับคันธะ (๔) ชิวหากับรส
(๕) กายกับโผฏฐัพพะ (๖) มโนกับธรรมารมณ์
นี้เรียกว่าธรรมคู่กัน
ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าจักบอกเลิกธรรมคู่กันนั้น
แล้วบัญญัติธรรมคู่กันอย่างอื่นแทน’ คำพูดของผู้นั้นคงเป็นเพียงคำพูดเท่านั้น
ครั้นถูกถามเข้าก็คงตอบไม่ได้ และพึงถึงความลำบากอย่างยิ่ง ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเขาถูกถามในสิ่งอันมิใช่วิสัย”

ปฐมทวยสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ทุติยทวยสูตร
ว่าด้วยธรรมคู่กัน สูตรที่ ๒

[๙๓] “ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยธรรมคู่กันวิญญาณจึงเกิดขึ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๔. ฉันนวรรค ๑๐. ทุติยทวยสูตร

เพราะอาศัยธรรมคู่กัน วิญญาณจึงเกิดขึ้น อย่างไร
คือ เพราะอาศัยจักขุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิดขึ้น จักขุไม่เที่ยง มีความ
แปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น รูปไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
ธรรมคู่กันนี้ หวั่นไหวและเสื่อม ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
จักขุวิญญาณไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น แม้เหตุปัจจัยเพื่อ
ความเกิดขึ้นแห่งจักขุวิญญาณก็ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น ก็
จักขุวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยง ที่ไหนจักเที่ยงเล่า
ความประจวบ ความประชุม ความพร้อมเพรียงกันแห่งธรรม ๓ ประการนี้
เรียกว่าจักขุสัมผัส แม้จักขุสัมผัสก็ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งจักขุสัมผัสก็ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดย
อาการอื่น ก็จักขุสัมผัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยง ที่ไหนจักเที่ยงเล่า
บุคคลถูกผัสสะกระทบแล้วย่อมรู้สึก ถูกผัสสะกระทบแล้วย่อมคิดได้ ถูกผัสสะ
กระทบแล้วย่อมจำได้ แม้ธรรมเหล่านี้ก็หวั่นไหว และเสื่อม ไม่เที่ยง มีความแปรผัน
มีภาวะโดยอาการอื่น ฯลฯ
เพราะอาศัยชิวหาและรส ชิวหาวิญญาณจึงเกิดขึ้น ชิวหาไม่เที่ยง มีความ
แปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น รสไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
ธรรมคู่กันนี้ หวั่นไหวและเสื่อม ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
ชิวหาวิญญาณก็ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น แม้เหตุปัจจัยเพื่อ
ความเกิดขึ้นแห่งชิวหาวิญญาณก็ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น ก็
ชิวหาวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยง ที่ไหนจักเที่ยงเล่า
ความประจวบ ความประชุม ความพร้อมเพรียงกันแห่งธรรม ๓ ประการนี้
เรียกว่าชิวหาสัมผัส แม้ชิวหาสัมผัสก็ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งชิวหาสัมผัสก็ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะ
โดยอาการอื่น ก็ชิวหาสัมผัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยง ที่ไหนจักเที่ยงเล่า
บุคคลถูกผัสสะกระทบแล้วย่อมรู้สึก ถูกผัสสะกระทบแล้วย่อมคิดได้ ถูก
ผัสสะกระทบแล้วย่อมจำได้ แม้ธรรมเหล่านี้ก็หวั่นไหวและเสื่อม ไม่เที่ยง มีความ
แปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๔. ฉันนวรรค ๑๐. ทุติยทวยสูตร

เพราะอาศัยมโนและธรรมารมณ์ มโนวิญญาณจึงเกิดขึ้น มโนไม่เที่ยง มี
ความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น ธรรมารมณ์ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะ
โดยอาการอื่น ธรรมคู่กันนี้หวั่นไหวและเสื่อม ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะ
โดยอาการอื่น มโนวิญญาณไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น แม้
เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งมโนวิญญาณก็ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดย
อาการอื่น ก็มโนวิญญาณที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยง ที่ไหนจักเที่ยงเล่า
ความประจวบ ความประชุม ความพร้อมเพรียงกันแห่งธรรม ๓ ประการนี้
เรียกว่ามโนสัมผัส แม้มโนสัมผัสก็ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งมโนสัมผัสก็ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดย
อาการอื่น ก็มโนสัมผัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยง ที่ไหนจักเที่ยงเล่า
บุคคลถูกผัสสะกระทบแล้วย่อมรู้สึก ถูกผัสสะกระทบแล้วย่อมคิดได้ ถูก
ผัสสะกระทบแล้วย่อมจำได้ แม้ธรรมเหล่านี้ก็หวั่นไหวและเสื่อม ไม่เที่ยง มีความ
แปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยธรรมคู่กันนี้แล วิญญาณจึงเกิดขึ้น”

ทุติยทวยสูตรที่ ๑๐ จบ
ฉันนวรรคที่ ๔ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปโลกธัมมสูตร ๒. สุญญตโลกสูตร
๓. สังขิตตธัมมสูตร ๔. ฉันนสูตร
๕. ปุณณสูตร ๖. พาหิยสูตร
๗. ปฐมเอชาสูตร ๘. ทุติยเอชาสูตร
๙. ปฐมทวยสูตร ๑๐. ทุติยทวยสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๕. ฉฬวรรค ๑. อทันตอคุตตสูตร

๕. ฉฬวรรค
หมวดว่าด้วยอายตนะ ๖ ประการ
๑. อทันตอคุตตสูตร
ว่าด้วยการไม่ฝึกไม่คุ้มครองอายตนะ

[๙๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะ ๖ ประการนี้ที่บุคคล
ไม่ฝึก ไม่คุ้มครอง ไม่รักษา ไม่สำรวมแล้ว ย่อมนำทุกข์มีประมาณยิ่งมาให้
ผัสสายตนะ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ผัสสายตนะคือจักขุที่บุคคลไม่ฝึก ไม่คุ้มครอง ไม่รักษา ไม่สำรวมแล้ว
ย่อมนำทุกข์มีประมาณยิ่งมาให้ ฯลฯ
๔. ผัสสายตนะคือชิวหาที่บุคคลไม่ฝึก ไม่คุ้มครอง ไม่รักษา ไม่สำรวมแล้ว
ย่อมนำทุกข์มีประมาณยิ่งมาให้ ฯลฯ
๖. ผัสสายตนะคือมโนที่บุคคลไม่ฝึก ไม่คุ้มครอง ไม่รักษา ไม่สำรวมแล้ว
ย่อมนำทุกข์มีประมาณยิ่งมาให้
ภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะ ๖ ประการนี้แลที่บุคคลไม่ฝึก ไม่คุ้มครอง ไม่รักษา
ไม่สำรวมแล้วย่อมนำทุกข์มีประมาณยิ่งมาให้
ภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะ ๖ ประการนี้ที่บุคคลฝึกดี คุ้มครองดี รักษาดี
สำรวมดีแล้วย่อมนำสุขมีประมาณยิ่งมาให้
ผัสสายตนะ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ผัสสายตนะคือจักขุที่บุคคลฝึกดี คุ้มครองดี รักษาดี สำรวมดีแล้ว
ย่อมนำสุขมีประมาณยิ่งมาให้ ฯลฯ
๔. ผัสสายตนะคือชิวหาที่บุคคลฝึกดี คุ้มครองดี รักษาดี สำรวมดีแล้ว
ย่อมนำสุขมีประมาณยิ่งมาให้ ฯลฯ
๖. ผัสสายตนะคือมโนที่บุคคลฝึกดี คุ้มครองดี รักษาดี สำรวมดีแล้ว
ย่อมนำสุขมีประมาณยิ่งมาให้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๕. ฉฬวรรค ๑. อทันตอคุตตสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะ ๖ ประการนี้แลที่บุคคลฝึกดี คุ้มครองดี รักษาดี
สำรวมดีแล้วย่อมนำสุขยิ่งมาให้”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้วจึงได้ตรัสคาถา
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
“ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่สำรวมผัสสายตนะ ๖ ประการ
นั่นแลในอายตนะ ๖ ประการใด ย่อมประสบทุกข์
ส่วนบุคคลเหล่าใดได้การสำรวมอายตนะ ๖ ประการนั้น
บุคคลเหล่านั้นมีศรัทธาเป็นเพื่อน เป็นผู้ไม่ชุ่มด้วยราคะอยู่
บุคคลเห็นรูปที่น่าชอบใจหรือเห็นรูปที่ไม่น่าชอบใจแล้ว
พึงบรรเทาทางของราคะในรูปที่น่าชอบใจ
และไม่พึงเสียใจว่า ‘รูปของเราไม่น่ารัก’
ได้ยินเสียงที่น่ารักและไม่น่ารักแล้ว
ไม่พึงกระหายในเสียงที่น่ารัก
และพึงบรรเทาความไม่ชอบใจในเสียงที่ไม่น่ารัก
และไม่พึงเสียใจว่า ‘เสียงของเราไม่น่ารัก’
ได้ดมกลิ่นหอมที่น่าชอบใจ
และได้ดมกลิ่นเหม็นที่ไม่น่าชอบใจแล้ว
พึงบรรเทาความหงุดหงิดในกลิ่นที่ไม่น่าชอบใจ
และไม่พึงพอใจในกลิ่นที่น่าชอบใจ
ได้ลิ้มรสที่ไม่อร่อยและอร่อย
และลิ้มรสที่ไม่อร่อยในบางคราวแล้ว
ไม่พึงติดใจลิ้มรสที่อร่อย
และไม่ควรยินร้ายในรสที่ไม่อร่อย
ถูกผัสสะที่เป็นสุขกระทบแล้วไม่พึงมัวเมา
แม้ถูกผัสสะที่เป็นทุกข์กระทบแล้วก็ไม่พึงหวั่นไหว
ควรวางเฉยผัสสะทั้งสองทั้งที่เป็นสุขและเป็นทุกข์
ไม่ควรยินดี ไม่ควรยินร้ายกับผัสสะอะไร ๆ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๕. ฉฬวรรค ๒. มาลุกยปุตตสูตร

นรชนทั้งหลายผู้ต่ำทราม
มีปปัญจสัญญา (ความหมายรู้ในกิเลสเครื่องเนิ่นช้า)
ปรุงแต่งอยู่ เป็นสัตว์ที่มีสัญญา วนเวียนอยู่
ก็บุคคลบรรเทาใจที่อาศัยเรือน๑ ๕ ทั้งปวงแล้ว
ย่อมเปลี่ยนจิตให้ประกอบด้วยเนกขัมมะ
ในกาลใดที่บุคคลอบรมใจดีแล้ว
ในอารมณ์ ๖ ประการอย่างนี้
ในกาลนั้นจิตของเขาถูกสุขสัมผัสหรือทุกขสัมผัสกระทบแล้ว
ย่อมไม่หวั่นไหวในที่ไหน ๆ
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายครอบงำราคะและโทสะได้แล้ว
ย่อมเป็นผู้ถึงจุดจบ๒แห่งความเกิดและความตาย”

อทันตอคุตตสูตรที่ ๑ จบ

๒. มาลุกยปุตตสูตร
ว่าด้วยพระมาลุกยบุตร

[๙๕] ครั้งนั้น ท่านพระมาลุกยบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ฯลฯ นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ซึ่งข้า
พระองค์ได้ฟังแล้ว จะพึงหลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกาย
และใจอยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มาลุกยบุตร ในการขอโอวาทของเธอนี้ ในบัดนี้
เราจักบอกพวกภิกษุหนุ่มอย่างไรว่าเธอเป็นภิกษุผู้ชรา สูงอายุ เป็นผู้เฒ่า ล่วงกาล
มามาก ผ่านวัยมามาก ขอโอวาทโดยย่อ”
ท่านพระมาลุกยบุตรกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็น
ผู้ชรา สูงอายุ เป็นผู้เฒ่า ล่วงกาลมามาก ผ่านวัยมามากก็จริง ถึงกระนั้น
ขอพระผู้มีพระภาคผู้สุคตโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อเถิด ทำอย่างไร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๕. ฉฬวรรค ๒. มาลุกยปุตตสูตร

ข้าพระองค์พึงรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค พึงเป็นผู้สืบต่อ
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค”
“มาลุกยบุตร เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปที่จะพึงรู้แจ้งทางตาเหล่าใด
เธอไม่ได้เห็น ไม่เคยเห็นแล้ว ย่อมไม่เห็น (ทั้งการกำหนด) ว่า ‘เราพึงเห็น’ ก็ไม่
มีแก่เธอ เธอจะมีความพอใจ กำหนัด หรือรักใคร่ในรูปเหล่านั้นหรือ”
“ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหูเหล่าใด เธอไม่ได้ฟัง ไม่เคยฟังแล้ว ย่อมไม่ฟัง ทั้งการ
กำหนดว่า ‘เราพึงฟัง’ ก็ไม่มีแก่เธอ เธอจะมีความพอใจ กำหนัด หรือรักใคร่ใน
เสียงเหล่านั้นหรือ”
“ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูกเหล่าใด เธอไม่ได้ดม ไม่เคยดมแล้ว ย่อมไม่ดม
ทั้งการกำหนดว่า ‘เราพึงดม’ ก็ไม่มีแก่เธอ เธอจะมีความพอใจ กำหนัด หรือ
รักใคร่ในกลิ่นเหล่านั้นหรือ”
“ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้นเหล่าใด เธอไม่ได้ลิ้ม ไม่เคยลิ้มแล้ว ย่อมไม่ลิ้ม ทั้งการ
กำหนดว่า ‘เราพึงลิ้ม’ ก็ไม่มีแก่เธอ เธอจะมีความพอใจ กำหนัด หรือรักใคร่
ในรสเหล่านั้นหรือ”
“ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกายเหล่าใด เธอไม่ได้ถูกต้อง ไม่เคยถูกต้อง ย่อม
ไม่ถูกต้อง ทั้งการกำหนดว่า ‘เราพึงถูกต้อง’ ก็ไม่มีแก่เธอ เธอจะมีความพอใจ
กำหนัด หรือรักใคร่ในโผฏฐัพพะเหล่านั้นหรือ”
“ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจเหล่าใด เธอไม่ได้รู้แจ้งไม่เคยรู้แจ้งแล้ว ย่อม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๕. ฉฬวรรค ๒. มาลุกยปุตตสูตร

ไม่รู้แจ้ง ทั้งการกำหนดว่า ‘เราพึงรู้แจ้ง’ ก็ไม่มีแก่เธอ เธอจะมีความพอใจ
กำหนัด หรือรักใคร่ในธรรมารมณ์เหล่านั้นหรือ”
“ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“มาลุกยบุตร บรรดาธรรมเหล่านี้ คือ รูปที่เธอเห็น เสียงที่เธอฟัง
อารมณ์ที่เธอทราบ และธรรมที่เธอพึงรู้แจ้ง ในรูปที่เห็นจักเป็นเพียงสักว่าเห็น
ในเสียงที่ฟังจักเป็นเพียงสักว่าฟัง ในอารมณ์ที่ทราบจักเป็นเพียงสักว่าทราบ ใน
ธรรมที่รู้แจ้งจักเป็นเพียงสักว่ารู้แจ้ง
เมื่อใดบรรดาธรรมทั้งหลาย คือ รูปที่เธอเห็น เสียงที่เธอฟัง อารมณ์ที่เธอ
ทราบ และธรรมที่เธอพึงรู้แจ้ง ในรูปที่เห็นจักเป็นเพียงสักว่าเห็น ในเสียงที่ฟังจัก
เป็นเพียงสักว่าฟัง ในอารมณ์ที่ทราบจักเป็นเพียงสักว่าทราบ ในธรรมที่รู้แจ้งจัก
เป็นเพียงสักว่ารู้แจ้ง เมื่อนั้นเธอจักไม่ถูกสิ่งนั้นครอบงำ
เมื่อใดเธอจักไม่ถูกสิ่งนั้นครอบงำ เมื่อนั้นเธอจักไม่พัวพันในสิ่งนั้น
เมื่อใดเธอจักไม่พัวพันในสิ่งนั้น เมื่อนั้นเธอจักไม่มีในโลกนี้ ไม่มีในโลกอื่น
ไม่มีในระหว่างโลกทั้งสอง นี้เป็นที่สุดแห่งทุกข์”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งธรรมที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงแสดงแล้วอย่างย่อโดยพิสดารอย่างนี้ว่า
‘เพราะเห็นรูปจึงหลงลืมสติ
เมื่อใส่ใจนิมิตที่น่ารัก
ก็มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งติดใจอารมณ์นั้นอยู่
เวทนาที่เกิดจากรูปจำนวนมากก็เจริญแก่เขา
และจิตของเขาก็ถูกอภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ
เมื่อเขาสั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้
บัณฑิตกล่าวว่า ยังห่างไกลนิพพาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๕. ฉฬวรรค ๒. มาลุกยปุตตสูตร

เพราะฟังเสียงจึงหลงลืมสติ
เมื่อใส่ใจนิมิตที่น่ารัก
ก็มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งติดใจอารมณ์นั้นอยู่
เวทนาที่เกิดจากเสียงจำนวนมากก็เจริญแก่เขา
และจิตของเขาก็ถูกอภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ
เมื่อเขาสั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้
บัณฑิตกล่าวว่า ยังห่างไกลนิพพาน
เพราะดมกลิ่นจึงหลงลืมสติ
เมื่อใส่ใจนิมิตที่น่ารัก
ก็มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งติดใจอารมณ์นั้นอยู่
เวทนาที่เกิดจากกลิ่นจำนวนมากก็เจริญแก่เขา
และจิตของเขาก็ถูกอภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ
เมื่อเขาสั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้
บัณฑิตกล่าวว่า ยังห่างไกลนิพพาน
เพราะลิ้มรสจึงหลงลืมสติ
บุคคลเมื่อใส่ใจนิมิตที่น่ารัก
ก็มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งติดใจอารมณ์นั้นอยู่
เวทนาที่เกิดจากรสจำนวนมากก็เจริญแก่เขา
และจิตของเขาก็ถูกอภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ
เมื่อเขาสั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้
บัณฑิตกล่าวว่า ยังห่างไกลนิพพาน
เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะจึงหลงลืมสติ
เมื่อใส่ใจนิมิตที่น่ารัก
ก็มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งติดใจอารมณ์นั้นอยู่
เวทนาที่เกิดจากโผฏฐัพพะจำนวนมากก็เจริญแก่เขา
และจิตของเขาก็ถูกอภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ
เมื่อเขาสั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้
บัณฑิตกล่าวว่า ยังห่างไกลนิพพาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๕. ฉฬวรรค ๒. มาลุกยปุตตสูตร

เพราะรู้ธรรมารมณ์จึงหลงลืมสติ
เมื่อใส่ใจนิมิตที่น่ารัก
ก็มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งติดใจอารมณ์นั้นอยู่
เวทนาที่เกิดจากธรรมารมณ์จำนวนมากก็เจริญแก่เขา
และจิตของเขาก็ถูกอภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ
เมื่อเขาสั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้
บัณฑิตกล่าวว่า ยังห่างไกลนิพพาน
บุคคลนั้นเห็นรูปแล้วมีสติไม่กำหนัดในรูป
มีจิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่ติดใจอารมณ์นั้นอยู่
เมื่อเขาเห็นรูปและเสวยเวทนาอยู่
ทุกข์ย่อมสิ้นไปไม่ถูกสั่งสมไว้ ฉันใด
เขาก็เป็นผู้มีสติเที่ยวไป ฉันนั้น
เมื่อเขาไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้
บัณฑิตกล่าวว่า อยู่ใกล้นิพพาน
บุคคลนั้นฟังเสียงแล้วมีสติไม่กำหนัดในเสียง
มีจิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่ติดใจอารมณ์นั้นอยู่
เมื่อเขาฟังเสียงและเสวยเวทนาอยู่
ทุกข์ย่อมสิ้นไปไม่ถูกสั่งสมไว้ ฉันใด
เขาเป็นผู้มีสติเที่ยวไป ฉันนั้น
เมื่อเขาไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้
บัณฑิตกล่าวว่า อยู่ใกล้นิพพาน
บุคคลนั้นดมกลิ่นแล้วมีสติไม่กำหนัดในกลิ่น
มีจิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่ติดใจอารมณ์นั้นอยู่
เมื่อเขาดมกลิ่นและเสวยเวทนาอยู่
ทุกข์ย่อมสิ้นไปไม่ถูกสั่งสมไว้ ฉันใด
เขาเป็นผู้มีสติเที่ยวไป ฉันนั้น
เมื่อเขาไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้
บัณฑิตกล่าวว่า อยู่ใกล้นิพพาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๐๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๕. ฉฬวรรค ๒. มาลุกยปุตตสูตร

บุคคลนั้นลิ้มรสแล้วมีสติไม่กำหนัดในรส
มีจิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่ติดใจอารมณ์นั้นอยู่
เมื่อเขาลิ้มรสและเสวยเวทนาอยู่ ฯลฯ
เมื่อเขาไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้
บัณฑิตกล่าวว่า อยู่ใกล้นิพพาน
บุคคลนั้นถูกต้องผัสสะแล้วมีสติไม่กำหนัดในผัสสะ
มีจิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่ติดใจอารมณ์นั้นอยู่
เมื่อเขาถูกต้องผัสสะและเสวยเวทนาอยู่ ฯลฯ
เมื่อเขาไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้
บัณฑิตกล่าวว่า อยู่ใกล้นิพพาน
บุคคลนั้นรู้ธรรมารมณ์แล้ว
มีสติไม่กำหนัดในธรรมารมณ์
มีจิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่ติดใจอารมณ์นั้นอยู่
เมื่อเขารู้ธรรมารมณ์และเสวยเวทนาอยู่
ทุกข์ย่อมสิ้นไปไม่ถูกสั่งสมไว้ ฉันใด
เขาเป็นผู้มีสติเที่ยวไป ฉันนั้น
เมื่อเขาไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้
บัณฑิตกล่าวว่า อยู่ใกล้นิพพาน’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งธรรมที่พระผู้มีพระภาค
ทรงแสดงแล้วอย่างย่อโดยพิสดารอย่างนี้”
“ดีละ ดีละ มาลุกยบุตร ดีแล้วที่เธอรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งธรรมที่เราแสดง
แล้วอย่างย่อโดยพิสดารอย่างนี้ว่า
‘เพราะเห็นรูปจึงหลงลืมสติ
เมื่อใส่ใจนิมิตที่น่ารัก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๕. ฉฬวรรค ๒. มาลุกยปุตตสูตร

ก็มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งติดใจอารมณ์นั้นอยู่
เวทนาที่เกิดจากรูปจำนวนมากก็เจริญแก่เขา
และจิตของเขาก็ถูกอภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ
เมื่อเขาสั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้
เรากล่าวว่า ยังห่างไกลนิพพาน ฯลฯ
บุคคลนั้นรู้ธรรมารมณ์แล้ว
มีสติไม่กำหนัดในธรรมารมณ์
มีจิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่ติดใจอารมณ์นั้นอยู่
เมื่อเขารู้ธรรมารมณ์และเสวยเวทนาอยู่
ทุกข์ย่อมสิ้นไปไม่ถูกสั่งสมไว้ ฉันใด
เขาเป็นผู้มีสติเที่ยวไป ฉันนั้น
เมื่อเขาไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้
เรากล่าวว่า อยู่ใกล้นิพพาน’
มาลุกยบุตร เธอพึงเห็นเนื้อความแห่งธรรมที่เราแสดงแล้วอย่างย่อโดย
พิสดารอย่างนี้เถิด”
ครั้งนั้น ท่านพระมาลุกยบุตรชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ลุก
ขึ้นจากอาสนะ ถวายอภิวาท กระทำประทักษิณแล้วจากไป ต่อมา ท่านพระ
มาลุกยบุตรก็หลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่
ไม่นานนักได้ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ที่เหล่า
กุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึง
อยู่ในปัจจุบัน รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว
ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
อนึ่ง ท่านพระมาลุกยบุตรได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์
ทั้งหลาย

มาลุกยปุตตสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๕. ฉฬวรรค ๓. ปริหานธัมมสูตร

๓. ปริหานธัมมสูตร
ว่าด้วยปริหานธรรม

[๙๖] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปริหานธรรม๑ อปริหานธรรม และ
อภิภายตนะ ๖ ประการแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ปริหานธรรม เป็นอย่างไร
คือ ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีความดำริซ่านไป เกื้อกูลแก่สังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้น
แก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะเห็นรูปทางตา ถ้าภิกษุให้กิเลสนั้นอาศัยอยู่ ไม่ละ
ไม่บรรเทา ไม่ทำให้หมดสิ้นไป ไม่ให้ถึงความไม่มีอีก ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า ‘เรา
กำลังเสื่อมจากกุศลธรรม นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นความเสื่อม’ ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีความดำริซ่านไป เกื้อกูลแก่สังโยชน์
ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุ เพราะลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีความดำริซ่านไป เกื้อกูลแก่สังโยชน์
ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุ เพราะรู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจ ถ้าภิกษุให้กิเลสนั้นอาศัยอยู่
ไม่ละ ไม่บรรเทา ไม่ทำให้หมดสิ้นไป ไม่ให้ถึงความไม่มีอีก ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า
‘เรากำลังเสื่อมจากกุศลธรรม นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นความเสื่อม’
ปริหานธรรมเป็นอย่างนี้แล
อปริหานธรรม เป็นอย่างไร
คือ ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีความดำริซ่านไป เกื้อกูลแก่สังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้น
แก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะเห็นรูปทางตา ถ้าภิกษุไม่ให้กิเลสนั้นอาศัยอยู่ ละ
บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีก ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า ‘เราไม่เสื่อม
จากกุศลธรรม นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นความไม่เสื่อม’ ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีความดำริซ่านไป เกื้อกูลแก่สังโยชน์
ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุ เพราะลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีความดำริซ่านไป เกื้อกูลแก่สังโยชน์
ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุ เพราะรู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจ ถ้าภิกษุไม่ให้กิเลสนั้น อาศัยอยู่
ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีก ข้อนั้นภิกษุ พึงทราบว่า ‘เราไม่
เสื่อมจากกุศลธรรม นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นความไม่เสื่อม’
อปริหานธรรมเป็นอย่างนี้แล


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๕. ฉฬวรรค ๔. ปมาทวิหารีสูตร

อภิภายตนะ ๖ ประการ เป็นอย่างไร
คือ ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีความดำริซ่านไป เกื้อกูลแก่สังโยชน์ย่อมไม่เกิดขึ้น
แก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะเห็นรูปทางตา ภิกษุทั้งหลาย ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า
‘อายตนะนี้เราครอบงำได้แล้ว นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นอภิภายตนะ’ ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีความดำริซ่านไป เกื้อกูลแก่สังโยชน์
ย่อมไม่เกิดขึ้นแก่ภิกษุ เพราะรู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจ ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า
‘อายตนะนี้เราครอบงำได้แล้ว นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นอภิภายตนะ’
ภิกษุทั้งหลาย อายตนะเหล่านี้ เราเรียกว่า อภิภายตนะ ๖ ประการ”

ปริหานธัมมสูตรที่ ๓ จบ

๔. ปมาทวิหารีสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้อยู่ด้วยความประมาท

[๙๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงภิกษุผู้อยู่ด้วยความ
ประมาทและภิกษุผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาทแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ภิกษุผู้อยู่ด้วยความประมาท เป็นอย่างไร
คือ เมื่อภิกษุไม่สำรวมจักขุนทรีย์อยู่ จิตย่อมซ่านไปในรูปทั้งหลายที่พึงรู้แจ้ง
ทางตา เมื่อเธอมีจิตซ่านไปแล้ว ปราโมทย์ (ความบันเทิงใจ) ก็ไม่มี เมื่อไม่มีปราโมทย์
ปีติ (ความอิ่มใจ) ก็ไม่มี เมื่อไม่มีปีติ ปัสสัทธิ (ความสงบกายสงบใจ) ก็ไม่มี เมื่อ
ไม่มีปัสสัทธิ ภิกษุนั้นย่อมอยู่ลำบาก จิตของเธอผู้อยู่ลำบากย่อมไม่ตั้งมั่น เมื่อจิต
ไม่ตั้งมั่น ธรรมทั้งหลาย๑ก็ไม่ปรากฏ เพราะธรรมทั้งหลายไม่ปรากฏ เธอย่อม
นับว่า ‘เป็นผู้อยู่ด้วยความประมาท’ แท้จริง ฯลฯ
เมื่อภิกษุไม่สำรวมชิวหินทรีย์อยู่ จิตย่อมซ่านไปในรสทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งทาง
ลิ้น เมื่อเธอมีจิตซ่านไปแล้ว ฯลฯ เธอย่อมนับว่า ‘เป็นผู้อยู่ด้วยความประมาท’
แท้จริง ฯลฯ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๕. ฉฬวรรค ๕. สังวรสูตร

เมื่อภิกษุไม่สำรวมมนินทรีย์อยู่ จิตย่อมซ่านไปในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้ง
ทางใจ เมื่อเธอมีจิตซ่านไปแล้ว ปราโมทย์ก็ไม่มี เมื่อไม่มีปราโมทย์ ปีติก็ไม่มี
เมื่อไม่มีปีติ ปัสสัทธิก็ไม่มี เมื่อไม่มีปัสสัทธิ เธอย่อมอยู่ลำบาก จิตของภิกษุผู้
อยู่ลำบากย่อมไม่ตั้งมั่น เมื่อจิตไม่ตั้งมั่น ธรรมทั้งหลายก็ไม่ปรากฏ เพราะธรรม
ทั้งหลายไม่ปรากฏ ภิกษุนั้นย่อมนับว่า ‘เป็นผู้อยู่ด้วยความประมาท’ แท้จริง
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ด้วยความประมาทเป็นอย่างนี้แล
ภิกษุผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท เป็นอย่างไร
คือ เมื่อภิกษุสำรวมจักขุนทรีย์อยู่ จิตย่อมไม่ซ่านไปในรูปทั้งหลายที่พึงรู้แจ้ง
ทางตา เมื่อเธอมีจิตไม่ซ่านไปแล้ว ปราโมทย์ก็เกิด เมื่อเกิดปราโมทย์ ปีติก็เกิด
เมื่อใจเกิดปีติ กายก็สงบ ภิกษุผู้มีกายสงบ ย่อมอยู่สบาย จิตของเธอผู้อยู่สบาย
ย่อมตั้งมั่น เมื่อจิตตั้งมั่น ธรรมทั้งหลายก็ปรากฏ เพราะธรรมทั้งหลายปรากฏ
เธอย่อมนับว่า ‘เป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท’ แท้จริง ฯลฯ
เมื่อภิกษุสำรวมชิวหินทรีย์อยู่ จิตย่อมไม่ซ่านไป ฯลฯ เธอย่อมนับว่า
‘เป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท’ แท้จริง ฯลฯ
เมื่อภิกษุสำรวมมนินทรีย์อยู่ จิตย่อมไม่ซ่านไปในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจ
เมื่อเธอมีจิตไม่ซ่านไปแล้ว ปราโมทย์ก็เกิด เมื่อเกิดปราโมทย์ ปีติก็เกิด เมื่อเกิด
ปีติ กายก็สงบ ภิกษุผู้มีกายสงบย่อมอยู่สบาย จิตของเธอผู้อยู่สบายย่อมตั้งมั่น
เมื่อจิตตั้งมั่น ธรรมทั้งหลายก็ปรากฏ เพราะธรรมทั้งหลายปรากฏ เธอย่อมนับว่า
‘เป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท’ แท้จริง
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาทเป็นอย่างนี้แล”

ปมาทวิหารีสูตรที่ ๔ จบ

๕. สังวรสูตร
ว่าด้วยความสำรวม

[๙๘] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความสำรวมและไม่สำรวมแก่เธอทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงฟัง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๐๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๕. ฉฬวรรค ๕. สังวรสูตร

ความไม่สำรวม เป็นอย่างไร
คือ รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชัก
ให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดรูปนั้นอยู่ ข้อนี้
ภิกษุพึงทราบว่า ‘เรากำลังเสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
เป็นความเสื่อม’ ฯลฯ
รสที่พึงรู้แจ้งทางชิวหาวิญญาณ ... มีอยู่ ฯลฯ
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุยังเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติด
ธรรมารมณ์นั้นอยู่ ข้อนี้ภิกษุพึงทราบว่า ‘เรากำลังเสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย
นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นความเสื่อม’
ภิกษุทั้งหลาย ความไม่สำรวมเป็นอย่างนี้แล
ความสำรวม เป็นอย่างไร
คือ รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่
พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดรูปนั้นอยู่ ข้อนี้
ภิกษุพึงทราบว่า ‘เราไม่เสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
เป็นความไม่เสื่อม’ ฯลฯ
รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ... มีอยู่ ฯลฯ
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติด
ธรรมารมณ์นั้นอยู่ ข้อนี้ภิกษุพึงทราบว่า ‘เราไม่เสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย นี้
พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นความไม่เสื่อม’
ภิกษุทั้งหลาย ความสำรวมเป็นอย่างนี้แล”

สังวรสูตรที่ ๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๕. ฉฬวรรค ๗. ปฏิสัลลานสูตร

๖. สมาธิสูตร
ว่าด้วยสมาธิ

[๙๙] “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิเถิด ภิกษุผู้มีจิตตั้งมั่นย่อม
รู้ชัดตามความเป็นจริง รู้ชัดอะไรเล่าตามความเป็นจริง คือ
รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘จักขุไม่เที่ยง’ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘รูป
ไม่เที่ยง’ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘จักขุวิญญาณไม่เที่ยง’ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
‘จักขุสัมผัสไม่เที่ยง’ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข
หรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยง’ ฯลฯ
รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘มโนไม่เที่ยง’ ฯลฯ ธรรมารมณ์ ฯลฯ มโน-
วิญญาณ ฯลฯ มโนสัมผัส ฯลฯ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘แม้ความเสวย
อารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย
ก็ไม่เที่ยง’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิเถิด ภิกษุผู้มีจิตตั้งมั่นย่อมรู้ชัด
ตามความเป็นจริง”

สมาธิสูตรที่ ๖ จบ

๗. ปฏิสัลลานสูตร
ว่าด้วยการหลีกเร้น

[๑๐๐] “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายหลีกเร้นแล้ว จงประกอบความเพียรเถิด
ภิกษุผู้หลีกเร้นแล้วย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริง รู้ชัดอะไรเล่าตามความเป็นจริง คือ
รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘จักขุไม่เที่ยง’ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘รูปไม่
เที่ยง’ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘จักขุวิญญาณไม่เที่ยง’ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
‘จักขุสัมผัสไม่เที่ยง’ ฯลฯ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็น
สุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยง’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๕. ฉฬวรรค ๘. ปฐมนตุมหากสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายหลีกเร้นแล้ว จงประกอบความเพียรเถิด ภิกษุผู้
หลีกเร้นแล้วย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริง”

ปฏิสัลลานสูตรที่ ๗ จบ

๘. ปฐมนตุมหากสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย สูตรที่ ๑

[๑๐๑] “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละสิ่งนั้น
สิ่งที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข
ก็อะไรเล่าชื่อว่าสิ่งที่ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย
จักขุไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละจักขุนั้น จักขุที่เธอทั้งหลายละ
ได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข
รูปไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละรูปนั้น รูปที่เธอทั้งหลายละได้แล้ว
นั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข
จักขุวิญญาณไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละจักขุวิญญาณนั้น จักขุ-
วิญญาณที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข
จักขุสัมผัสไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละจักขุสัมผัสนั้น จักขุสัมผัส
ที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข
แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะ
จักขุสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละความเสวยอารมณ์ที่
เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยนั้น ความ
เสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย
ที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข ฯลฯ
ชิวหาไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละชิวหานั้น ชิวหาที่เธอทั้งหลาย
ละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๕. ฉฬวรรค ๘. ปฐมนตุมหากสูตร

รสไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละรสนั้น รสที่เธอทั้งหลายละได้
แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข
ชิวหาวิญญาณไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละชิวหาวิญญาณนั้น
ชิวหาวิญญาณที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข
ชิวหาสัมผัสไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละชิวหาสัมผัสนั้น ชิวหา-
สัมผัสที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข แม้
ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัส
เป็นปัจจัยก็ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข
หรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัยนั้น ความเสวย
อารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย
ที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข ฯลฯ
มโนไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละมโนนั้น มโนที่เธอทั้งหลายละได้
แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข
ธรรมารมณ์ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละธรรมารมณ์นั้น
ธรรมารมณ์ที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข
มโนวิญญาณไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละมโนวิญญาณนั้น มโน-
วิญญาณที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข
มโนสัมผัสไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละมโนสัมผัสนั้น มโนสัมผัส
ที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข
แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะ
มโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละความเสวยอารมณ์ที่
เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยนั้น ความ
เสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็น
ปัจจัยที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๕. ฉฬวรรค ๙. ทุติยนตุมหากสูตร

เปรียบเหมือนคนพึงนำหญ้า ไม้ กิ่งไม้ และใบไม้ที่มีอยู่ในเชตวันนี้ไป เผา หรือ
จัดการไปตามเรื่อง เธอทั้งหลายจะพึงมีความคิดอย่างนี้บ้างไหมว่า ‘คนนำเรา
ทั้งหลายไป เผา หรือจัดการไปตามเรื่อง”
“ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะหญ้าเป็นต้นนั้นไม่ใช่อัตตาหรือสิ่งที่เนื่องด้วย
อัตตา”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักขุไม่ใช่ของเธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละจักขุนั้น จักขุที่เธอทั้งหลายละได้แล้วจักเป็นไปเพื่อ
ประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข รูปไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย ฯลฯ จักขุวิญญาณ ฯลฯ
จักขุสัมผัส ฯลฯ แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่
เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละ
ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัส
เป็นปัจจัยนั้น ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้น
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์
เกื้อกูลเพื่อความสุข”

ปฐมนตุมหากสูตรที่ ๘ จบ

๙. ทุติยนตุมหากสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย สูตรที่ ๒

[๑๐๒] “ภิกษุทั้งหลาย แม้สิ่งใดที่ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละ
สิ่งนั้น สิ่งที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข
ก็อะไรเล่าชื่อว่าสิ่งที่ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย
จักขุไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละจักขุนั้น จักขุที่เธอทั้งหลายละ
ได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๕. ฉฬวรรค ๑๐. อุทกสูตร

รูปไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละรูปนั้น รูปที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น
จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข
จักขุวิญญาณไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละจักขุวิญญาณนั้น จักขุ-
วิญญาณที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข
จักขุสัมผัสไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละจักขุสัมผัสนั้น จักขุสัมผัส
ที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข ฯลฯ
แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะ
มโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละความเสวยอารมณ์ที่
เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยนั้น ความ
เสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย
ที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข
ภิกษุทั้งหลาย แม้สิ่งใดที่ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละสิ่งนั้น
สิ่งที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข”

ทุติยนตุมหากสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. อุทกสูตร
ว่าด้วยอุทกดาบส

[๑๐๓] “ภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่าอุทกดาบส รามบุตรกล่าววาจาอย่างนี้ว่า
‘เรา เป็นผู้ถึงเวทแน่นอน เราเป็นผู้ชนะวัฏฏะทั้งปวงแน่นอน รากเหง้าแห่งทุกข์ที่
ใคร ๆ ขุดไม่ได้ เราขุดได้แล้วแน่นอน’ อุทกดาบส รามบุตร ยังเป็นผู้ไม่ถึงเวท
แต่กล่าวว่า ‘เราเป็นผู้ถึงเวท’ ยังเป็นผู้ไม่ชนะวัฏฏะทั้งปวง แต่กล่าวว่า ‘เราชนะ
วัฏฏะทั้งปวง’ ยังขุดรากเหง้าแห่งทุกข์ไม่ได้ แต่กล่าวว่า ‘เราขุดรากเหง้าแห่งทุกข์
ได้แล้ว’
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อจะกล่าวเรื่องนั้นให้ถูกต้อง ควรกล่าวว่า ‘เราเป็น
ผู้ถึงเวทแน่นอน เราเป็นผู้ชนะวัฏฏะทั้งปวงแน่นอน รากเหง้าแห่งทุกข์ที่ใคร ๆ ขุด
ไม่ได้ เราขุดได้แล้วแน่นอน’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๕. ฉฬวรรค ๑๐. อุทกสูตร

ภิกษุเป็นผู้ถึงเวท อย่างไร
คือ ภิกษุย่อมรู้ชัดถึงความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออก
จากผัสสายตนะ ๖ ประการตามความเป็นจริง
ภิกษุเป็นผู้ถึงเวทอย่างนี้แล
ภิกษุเป็นผู้ชนะวัฏฏะทั้งปวง อย่างไร
คือ ภิกษุรู้ชัดถึงความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจาก
ผัสสายตนะ ๖ ประการตามความเป็นจริงแล้ว เป็นผู้หลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น
ภิกษุเป็นผู้ชนะวัฏฏะทั้งปวงอย่างนี้แล
รากเหง้าแห่งทุกข์ที่ใคร ๆ ขุดไม่ได้ ภิกษุขุดได้แล้ว อย่างไร
คือ คำว่า คัณฑะ นี้ เป็นชื่อของกายนี้ ซึ่งประกอบขึ้นจากมหาภูตรูป ๔
เกิดจากมารดาบิดา เจริญวัยเพราะข้าวสุกและขนมกุมมาส๑ ไม่เที่ยงแท้ ต้องอบ
ต้องนวดเฟ้น มีอันแตกกระจัดกระจายไปเป็นธรรมดา
คำว่า คัณฑมูล นี้เป็นชื่อของตัณหา ภิกษุละตัณหาได้แล้ว ตัดรากถอนโคน
เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อ
ไปไม่ได้
รากเหง้าแห่งทุกข์ที่ใคร ๆ ขุดไม่ใด้ ภิกษุขุดได้แล้วอย่างนี้แล
ได้ยินว่าอุทกดาบส รามบุตรกล่าววาจาอย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ถึงเวทแน่นอน เรา
เป็นผู้ชนะวัฏฏะทั้งปวงแน่นอน รากเหง้าแห่งทุกข์ที่ใคร ๆ ขุดไม่ได้ เราขุดได้แล้ว
แน่นอน’ อุทกดาบส รามบุตรยังเป็นผู้ไม่ถึงเวท แต่กล่าวว่า ‘เราเป็นผู้ถึงเวท’
ยังไม่ชนะวัฏฏะทั้งปวง แต่กล่าวว่า ‘เราชนะวัฏฏะทั้งปวง’ ยังขุดรากเหง้าแห่งทุกข์
ไม่ได้ แต่กล่าวว่า ‘เราขุดรากเหง้าแห่งทุกข์ได้แล้ว’
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้เมื่อจะกล่าวเรื่องนั้นให้ถูกต้อง ควรกล่าว
ว่า ‘เราเป็นผู้ถึงเวทแน่นอน เราชนะวัฏฏะทั้งปวงแน่นอน รากเหง้าแห่งทุกข์ที่ใคร ๆ
ขุดไม่ได้ เราขุดได้แล้วแน่นอน”

อุทกสูตรที่ ๑๐ จบ
ฉฬวรรคที่ ๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๒. ทุติยปัณณาสก์ ๕. ฉฬวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อทันตอคุตตสูตร ๒. มาลุกยปุตตสูตร
๓. ปริหานธัมมสูตร ๔. ปมาทวิหารีสูตร
๕. สังวรสูตร ๖. สมาธิสูตร
๗. ปฏิสัลลานสูตร ๘. ปฐมนตุมหากสูตร
๙. ทุติยนตุมหากสูตร ๑๐. อุทกสูตร

ทุติยปัณณาสก์ในสฬายตนวรรค จบบริบูรณ์

รวมวรรคที่มีในทุติยปัณณาสก์นี้ คือ

๑. อวิชชาวรรค ๒. มิคชาลวรรค
๓. คิลานวรรค ๔. ฉันนวรรค
๕. ฉฬวรรค

ทุติยปัณณาสก์ จบ
๑๐๐ สูตรแรกจบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๑. โยคักเขมิกวรรค ๑. โยคักเขมิสูตร

๓. ตติยปัณณาสก์
๑. โยคักเขมิวรรค
หมวดว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้บุคคลมีความเกษมจากโยคะ
๑. โยคักเขมิสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้บุคคลมีความเกษมจากโยคะ

[๑๐๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมบรรยาย๑ที่เป็นเหตุ
ให้บุคคลมีความเกษมจากโยคะ๒แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมบรรยายที่เป็นเหตุให้บุคคลมีความเกษมจากโยคะ เป็นอย่างไร
คือ รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่
พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ตถาคตละรูปเหล่านั้นได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาล
ที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ตถาคต
ได้บอกความเพียรที่ควรประกอบ๓เพื่อละรูปเหล่านั้น เพราะเหตุนั้นบัณฑิตจึง
กล่าวว่า ‘ตถาคตเป็นผู้มีความเกษมจากโยคะ’ ฯลฯ
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชัก
ให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ตถาคตละธรรมารมณ์นั้นได้แล้ว ตัดรากถอนโคน
เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อ
ไปไม่ได้ ตถาคตได้บอกความเพียรที่ควรประกอบเพื่อละธรรมารมณ์นั้น เพราะ
เหตุนั้นบัณฑิตจึงกล่าวว่า ‘ตถาคตเป็นผู้มีความเกษมจากโยคะ’
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมบรรยายที่เป็นเหตุให้บุคคลมีความเกษมจากโยคะเป็น
อย่างนี้แล”

โยคักเขมิสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๑. โยคักเขมิกวรรค ๒. อุปาทายสูตร

๒. อุปาทายสูตร
ว่าด้วยสุขทุกข์อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น

[๑๐๕] “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะอาศัยอะไร สุขและทุกข์ภายใน
จึงเกิดขึ้น”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก”
“เมื่อมีจักขุ เพราะอาศัยจักขุ สุขและทุกข์ภายในจึงเกิดขึ้น ฯลฯ
เมื่อมีชิวหา เพราะอาศัยชิวหา สุขและทุกข์ภายในจึงเกิดขึ้น ฯลฯ
เมื่อมีมโน เพราะอาศัยมโน สุขและทุกข์ภายในจึงเกิดขึ้น
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร จักขุเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา สุขและทุกข์ภายใน
พึงเกิดขึ้น เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้นหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“ชิวหาเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา สุขและทุกข์ภายใน
พึงเกิดขึ้น เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้นหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“มโนเที่ยงหรือไม่เที่ยง”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๑. โยคักเขมิกวรรค ๓. ทุกขสมุทยสูตร

“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา สุขและทุกข์ภายใน
พึงเกิดขึ้น เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้นหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ
ฯลฯ แม้ในชิวหา ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’
รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

อุปาทายสูตรที่ ๒ จบ

๓. ทุกขสมุทยสูตร
ว่าด้วยความเกิดแห่งทุกข์

[๑๐๖] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความเกิดและความดับแห่งทุกข์๑ เธอ
ทั้งหลายจงฟัง
ความเกิดแห่งทุกข์ เป็นอย่างไร
คือ เพราะอาศัยจักขุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม ๓
ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด เพราะเวทนาเป็นปัจจัย
ตัณหาจึงเกิด
ความเกิดแห่งทุกข์เป็นอย่างนี้แล ฯลฯ
เพราะอาศัยชิวหาและรส ชิวหาวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม ๓
ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด เพราะเวทนาเป็นปัจจัย
ตัณหาจึงเกิด


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๑. โยคักเขมิกวรรค ๓. ทุกขสมุทยสูตร

ความเกิดแห่งทุกข์เป็นอย่างนี้แล ฯลฯ
เพราะอาศัยมโนและธรรมารมณ์ มโนวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่ง
ธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด เพราะเวทนา
เป็นปัจจัย ตัณหาจึงเกิด
ความเกิดแห่งทุกข์เป็นอย่างนี้แล
ความดับแห่งทุกข์ เป็นอย่างไร
คือ เพราะอาศัยจักขุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม ๓
ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด เพราะเวทนาเป็นปัจจัย
ตัณหาจึงเกิด เพราะตัณหานั้นแลดับไม่เหลือด้วยวิราคะ๑ อุปาทานจึงดับ เพราะ
อุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติ (ความเกิด) จึงดับ เพราะชาติดับ
ชรา (ความแก่) มรณะ (ความตาย) โสกะ (ความเศร้าโศก) ปริเทวะ (ความ
คร่ำครวญ) ทุกข์ (ความทุกข์กาย) โทมนัส (ความทุกข์ใจ) และอุปายาส (ความ
คับแค้นใจ) จึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้มีได้ด้วยประการฉะนี้
ความดับแห่งทุกข์เป็นอย่างนี้แล ฯลฯ
เพราะอาศัยชิวหาและรส ชิวหาวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม ๓
ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด เพราะเวทนาเป็นปัจจัย
ตัณหาจึงเกิด เพราะตัณหานั้นแลดับไม่เหลือด้วยวิราคะ อุปาทานจึงดับ เพราะ
อุปาทานดับ ภพจึงดับ ฯลฯ
ความดับแห่งทุกข์เป็นอย่างนี้แล ฯลฯ
เพราะอาศัยมโนและธรรมารมณ์ มโนวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่ง
ธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด เพราะเวทนา
เป็นปัจจัย ตัณหาจึงเกิด เพราะตัณหานั้นแลดับไม่เหลือด้วยวิราคะ อุปาทานจึง
ดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา
มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์
ทั้งมวลนี้มีได้ด้วยประการฉะนี้
ภิกษุทั้งหลาย ความดับแห่งทุกข์เป็นอย่างนี้แล”

ทุกขสมุทยสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๑. โยคักเขมิกวรรค ๔. โลกสมุทยสูตร

๔. โลกสมุทยสูตร
ว่าด้วยความเกิดแห่งโลก

[๑๐๗] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความเกิดและความดับแห่งโลก๑ เธอ
ทั้งหลายจงฟัง
ความเกิดแห่งโลก เป็นอย่างไร
คือ เพราะอาศัยจักขุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม ๓
ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด เพราะเวทนาเป็นปัจจัย
ตัณหาจึงเกิด เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงเกิด เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย
ภพจึงเกิด เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงเกิด เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ
ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงเกิด
ความเกิดแห่งโลกเป็นอย่างนี้แล ฯลฯ
เพราะอาศัยชิวหาและรส ชิวหาวิญญาณจึงเกิด ฯลฯ
เพราะอาศัยมโนและธรรมารมณ์ มโนวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม
๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด เพราะเวทนาเป็นปัจจัย
ตัณหาจึงเกิด เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงเกิด เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย
ภพจึงเกิด เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงเกิด เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ
ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงเกิด
ความเกิดแห่งโลกเป็นอย่างนี้แล
ความดับแห่งโลก เป็นอย่างไร
คือ เพราะอาศัยจักขุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม ๓
ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด เพราะเวทนาเป็นปัจจัย
ตัณหาจึงเกิด เพราะตัณหานั้นแลดับไม่เหลือด้วยวิราคะ อุปาทานจึงดับ เพราะ
อุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๑. โยคักเขมิกวรรค ๕. เสยโยหมัสมิสูตร

ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้
มีได้ด้วยประการฉะนี้
ความดับแห่งโลกเป็นอย่างนี้แล ฯลฯ
เพราะอาศัยชิวหาและรส ชิวหาวิญญาณจึงเกิด ฯลฯ
เพราะอาศัยมโนและธรรมารมณ์ มโนวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่ง
ธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด เพราะเวทนา
เป็นปัจจัย ตัณหาจึงเกิด เพราะตัณหานั้นแลดับไม่เหลือด้วยวิราคะ อุปาทานจึงดับ
ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้มีได้ด้วยประการฉะนี้
ภิกษุทั้งหลาย ความดับแห่งโลกเป็นอย่างนี้แล”

โลกสมุทยสูตรที่ ๔ จบ

๕. เสยโยหมัสมิสูตร
ว่าด้วยความถือตัวว่าเราเลิศกว่าเขา

[๑๐๘] “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะยึดมั่นอะไร เพราะถือมั่นอะไร
ความถือตัวว่า ‘เราเลิศกว่าเขา’ ความถือตัวว่า ‘เราเสมอเขา’ หรือความถือตัวว่า
‘เราด้อยกว่าเขา’ จึงมี”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาค
เป็นหลัก”
“เมื่อมีจักขุ เพราะยึดมั่นจักขุ เพราะถือมั่นจักขุ ความถือตัวว่า ‘เราเลิศ
กว่าเขา’ ความถือตัวว่า ‘เราเสมอเขา’ หรือความถือตัวว่า ‘เราด้อยกว่าเขา’ จึงมี
ฯลฯ
เมื่อมีชิวหา ฯลฯ เมื่อมีมโน เพราะยึดมั่นมโน เพราะถือมั่นมโน ความ
ถือตัวว่า ‘เราเลิศกว่าเขา’ ความถือตัวว่า ‘เราเสมอเขา’ หรือความถือตัวว่า
‘เราด้อยกว่าเขา’ จึงมี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๑. โยคักเขมิกวรรค ๕. เสยโยหมัสมิสูตร

เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร จักขุเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ยึดมั่นสิ่งนั้น
ความถือตัวว่า ‘เราเลิศกว่าเขา’ ความถือตัวว่า ‘เราเสมอเขา’ หรือความถือตัวว่า
‘เราด้อยกว่าเขา’ จะพึงมีหรือ”
“ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“ชิวหาเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“มโนเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ยึดมั่นสิ่งนั้น
ความถือตัวว่า ‘เราเลิศกว่าเขา’ ความถือตัวว่า ‘เราเสมอเขา’ หรือความถือตัวว่า
‘เราด้อยกว่าเขา’ จะพึงมีหรือ”
“ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ
ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหา ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน เมื่อเบื่อหน่าย
ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า
‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จ
แล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

เสยโยหมัสมิสูตรที่ ๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๑. โยคักเขมิกวรรค ๗. อุปาทานิยสูตร

๖. สัญโญชนิยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์

[๑๐๙] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์และสังโยชน์
เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์ เป็นอย่างไร และสังโยชน์ เป็นอย่างไร
คือ จักขุชื่อว่าธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์ ฉันทราคะในจักขุนั้นชื่อว่าสังโยชน์
ฯลฯ ชิวหาชื่อว่าธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์ ฯลฯ มโนชื่อว่าธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์
ฉันทราคะในมโนนั้นชื่อว่าสังโยชน์
ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เราเรียกว่า ธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์
นี้เราเรียกว่า สังโยชน์”

สัญโญชนิยสูตรที่ ๖ จบ

๗. อุปาทานิยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เกื้อกูลแก่อุปาทาน

[๑๑๐] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่เกื้อกูลแก่อุปาทานและอุปาทาน
เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่เกื้อกูลแก่อุปาทาน เป็นอย่างไร และอุปาทาน เป็นอย่างไร
คือ จักขุชื่อว่าธรรมที่เกื้อกูลแก่อุปาทาน ฉันทราคะในจักขุนั้นชื่อว่าอุปาทาน
ฯลฯ ชิวหาชื่อว่าธรรมที่เกื้อกูลแก่อุปาทาน ฯลฯ มโนชื่อว่าธรรมที่เกื้อกูลแก่
อุปาทาน ฉันทราคะในมโนนั้นชื่อว่าอุปาทาน
ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เราเรียกว่า ธรรมที่เกื้อกูลแก่อุปาทาน
นี้เราเรียกว่า อุปาทาน”

อุปาทานิยสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๑. โยคักเขมิกวรรค ๙. พาหิรายตนปริชานนสูตร

๘. อัชฌัตติกายตนปริชานนสูตร
ว่าด้วยการกำหนดรู้อายตนะภายใน

[๑๑๑] “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด
ไม่ละจักขุ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ ... โสตะ ฯลฯ ฆานะ ฯลฯ ชิวหา ฯลฯ
กาย ฯลฯ บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละมโน เป็นผู้
ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัด ละจักขุได้ เป็น
ผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ ฯลฯ ชิวหา ฯลฯ กาย ฯลฯ บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้
คลายกำหนัด ละมโนได้ เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์”

อัชฌัตติกายตนปริชานนสูตรที่ ๘ จบ

๙. พาหิรายตนปริชานนสูตร
ว่าด้วยการกำหนดรู้อายตนะภายนอก

[๑๑๒] “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด
ไม่ละรูป เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ ... สัททะ ฯลฯ คันธะ ... รส ... โผฏฐัพพะ
... บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละธรรมารมณ์ เป็นผู้
ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัด ละรูปได้
เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ ... สัททะ ฯลฯ คันธะ ... รส ... โผฏฐัพพะ ...
บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัด ละธรรมารมณ์ได้ เป็นผู้ควรเพื่อความ
สิ้นทุกข์”

พาหิรายตนปริชานนสูตรที่ ๙ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๑. โยคักเขมิกวรรค ๑๐. อุปัสสุติสูตร

๑๐. อุปัสสุติสูตร
ว่าด้วยการแอบฟังธรรม

[๑๑๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระตำหนักอิฐในหมู่บ้าน
ญาติกะ๑ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงหลีกเร้นอยู่ในที่สงัดได้ตรัสธรรมบรรยายนี้ว่า
“เพราะอาศัยจักขุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม ๓
ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด เพราะเวทนาเป็นปัจจัย
ตัณหาจึงเกิด เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงเกิด เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย
ภพจึงเกิด เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงเกิด เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ
โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงเกิด ความเกิดแห่งกองทุกข์
ทั้งมวลนี้มีได้ด้วยประการฉะนี้ ฯลฯ
เพราะอาศัยชิวหาและรส ชิวหาวิญญาณจึงเกิด ฯลฯ
เพราะอาศัยมโนและธรรมารมณ์ มโนวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่ง
ธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด เพราะเวทนา
เป็นปัจจัย ตัณหาจึงเกิด เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงเกิด เพราะ
อุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงเกิด เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงเกิด เพราะชาติเป็น
ปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงเกิด ความ
เกิดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้มีได้ด้วยประการฉะนี้
เพราะอาศัยจักขุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม ๓
ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด เพราะเวทนาเป็นปัจจัย
ตัณหาจึงเกิด
เพราะตัณหานั้นแลดับไม่เหลือด้วยวิราคะ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ
ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ
ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้มีได้ด้วย
ประการฉะนี้ ฯลฯ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๑. โยคักเขมิกวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

เพราะอาศัยชิวหาและรส ชิวหาวิญญาณจึงเกิด ฯลฯ เพราะอาศัยมโนและ
ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงเกิด
เพราะตัณหานั้นแลดับไม่เหลือด้วยวิราคะ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ
ภพจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้มีได้ด้วยประการฉะนี้”
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งยืนแอบฟังพระผู้มีพระภาคอยู่ พระผู้มีพระภาคได้
ทอดพระเนตรเห็นภิกษุนั้นผู้ยืนแอบฟังอยู่ ได้ตรัสถามภิกษุนั้นดังนี้ว่า “ภิกษุ เธอ
ได้ฟังธรรมบรรยายนี้หรือไม่”
ภิกษุนั้นกราบทูลว่า “ได้ฟัง พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุ เธอจงศึกษาธรรมบรรยายนี้ เธอจงเล่าเรียนธรรมบรรยายนี้ เธอ
จงทรงจำธรรมบรรยายนี้ไว้เถิด เพราะว่าธรรมบรรยายนี้ ประกอบด้วยประโยชน์
เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์”

อุปัสสุติสูตรที่ ๑๐ จบ
โยคักเขมิวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. โยคักเขมิสูตร ๒. อุปาทายสูตร
๓. ทุกขสมุทยสูตร ๔. โลกสมุทยสูตร
๕. เสยโยหมัสมิสูตร ๖. สัญโญชนิยสูตร
๗. อุปาทานิยสูตร ๘. อัชฌัตติกายตนปริชานนสูตร
๙. พาหิรายตนปริชานนสูตร ๑๐. อุปัสสุติสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๒. โลกกามคุณวรรค ๑. ปฐมมารปาสสูตร

๒. โลกกามคุณวรรค
หมวดว่าด้วยโลกและกามคุณ
๑. ปฐมมารปาสสูตร
ว่าด้วยบ่วงมาร สูตรที่ ๑

[๑๑๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่า
ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้า
ภิกษุยังเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติด รูปนั้นอยู่ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ‘ไปสู่ที่อยู่ของ
มาร ไปสู่อำนาจของมาร ถูกบ่วงมารคล้องไว้ ถูกเครื่องผูกของมารมัดไว้ ถูกมาร
ใจบาปทำได้ตามใจปรารถนา’ ฯลฯ
รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชัก
ให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุยังเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดธรรมารมณ์
นั้นอยู่ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ‘ไปสู่ที่อยู่ของมาร ไปสู่อำนาจของมาร ถูกบ่วงมาร
คล้องไว้ ถูกเครื่องผูกของมารมัดไว้ ถูกมารใจบาปทำได้ตามใจปรารถนา’
รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่
พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดรูปนั้นอยู่ ภิกษุนี้
เรากล่าวว่า ‘ไม่ไปสู่ที่อยู่ของมาร ไม่ไปสู่อำนาจของมาร ไม่ถูกบ่วงมารคล้องไว้
พ้นจากเครื่องผูกของมาร ไม่ถูกมารใจบาปทำได้ตามใจปรารถนา’ ฯลฯ
รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้นที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่
พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดรสนั้นอยู่ ภิกษุนี้
เรากล่าวว่า ‘ไม่ไปสู่ที่อยู่ของมาร ไม่ไปสู่อำนาจของมาร ไม่ถูกบ่วงมารคล้องไว้
พ้นจากเครื่องผูกของมาร ไม่ถูกมารใจบาปทำได้ตามใจปรารถนา’ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๒. โลกกามคุณวรรค ๒. ทุติยมารปาสสูตร

ยึดติดธรรมารมณ์นั้นอยู่ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ‘ไม่ไปสู่ที่อยู่ของมาร ไม่ไปสู่อำนาจ
ของมาร ไม่ถูกบ่วงมารคล้องไว้ พ้นจากเครื่องผูกของมาร ไม่ถูกมารใจบาปทำได้
ตามใจปรารถนา”

ปฐมมารปาสสูตรที่ ๑ จบ

๒. ทุติยมารปาสสูตร
ว่าด้วยบ่วงมาร สูตรที่ ๒

[๑๑๕] “ภิกษุทั้งหลาย รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติด
รูปนั้นอยู่ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ‘พัวพันอยู่ในรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ไปสู่ที่อยู่ของมาร
ไปสู่อำนาจของมาร ฯลฯ ถูกมารใจบาปทำได้ตามใจปรารถนา’ ฯลฯ
รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชัก
ให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดธรรมารมณ์นั้นอยู่
ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ‘พัวพันอยู่ในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจ ไปสู่ที่อยู่ของมาร
ไปสู่อำนาจของมาร ฯลฯ ถูกมารใจบาปทำได้ตามใจปรารถนา’
ภิกษุทั้งหลาย รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวน
ให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึด
ติดรูปนั้นอยู่ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ‘พ้นแล้วจากรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ไม่ไปสู่ที่อยู่ของ
มาร ไม่ไปสู่อำนาจของมาร ฯลฯ ไม่ถูกมารใจบาปทำได้ตามใจปรารถนา’ ฯลฯ
รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่
ยึดติดธรรมารมณ์นั้นอยู่ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ‘พ้นแล้วจากธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้ง
ทางใจ ไม่ไปสู่ที่อยู่ของมาร ไม่ไปสู่อำนาจของมาร ฯลฯ ไม่ถูกมารใจบาปทำได้ตาม
ใจปรารถนา”

ทุติยมารปาสสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๒. โลกกามคุณวรรค ๓. โลกันตคมนสูตร

๓. โลกันตคมนสูตร
ว่าด้วยการถึงที่สุดแห่งโลก

[๑๑๖] “ภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวว่า ‘ที่สุดแห่งโลก๑บุคคลพึงรู้ พึงเห็น
พึงถึงด้วยการไป’ แต่เราก็ไม่กล่าวว่าบุคคลยังไม่ถึงที่สุดแห่งโลก๒แล้ว จะทำที่สุด
แห่งทุกข์ได้” ครั้นตรัสดังนี้แล้วก็เสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เข้าไปยังพระวิหาร
ลำดับนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จจากไปไม่นาน ภิกษุเหล่านั้นจึงได้ปรึกษากันว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลายทรงแสดงอุทเทส๓ นี้โดย
ย่อว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวว่า ‘ที่สุดแห่งโลก บุคคลพึงรู้ พึงเห็น พึงถึงด้วย
การไป’ แต่เราก็ไม่กล่าวว่าบุคคลยังไม่ถึงที่สุดแห่งโลกแล้ว จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้’
ไม่ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เข้าไปยังพระวิหาร
ใครหนอจะพึงจำแนกเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่
ทรงจำแนกไว้โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้”
ลำดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นมีความเห็นร่วมกันว่า “ท่านอานนท์นี้แลพระศาสดา
ทรงสรรเสริญแล้วและเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็ยกย่อง และท่านสามารถจะ
จำแนกเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรงจำแนกไว้
โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้ ทางที่ดี พวกเราควรจะเข้าไปหาท่านอานนท์ถึงที่อยู่
แล้วเรียนถามเนื้อความนี้กับท่าน”
ครั้นแล้วภิกษุเหล่านั้นจึงเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัย
พอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้เรียนว่า
“ท่านอานนท์ พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลายทรงแสดงอุทเทสนี้โดยย่อว่า
‘ภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวว่า ‘ที่สุดแห่งโลก บุคคลพึงรู้ พึงเห็น พึงถึงด้วยการไป’
แต่เราก็ไม่กล่าวว่าบุคคลยังไม่ถึงที่สุดแห่งโลกแล้ว จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้’ ไม่ทรง


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๒. โลกกามคุณวรรค ๓. โลกันตคมนสูตร

จำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เข้าไปยังพระวิหาร เมื่อ
พระผู้มีพระภาคเสด็จจากไปไม่นาน พวกกระผมจึงได้ปรึกษากันว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย
พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลายทรงแสดงอุทเทสนี้โดยย่อว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เรา
ไม่กล่าวว่า ‘ที่สุดแห่งโลกบุคคลพึงรู้ พึงเห็น พึงถึงด้วยการไป’ แต่เราก็ไม่กล่าว
ว่าบุคคลยังไม่ถึงที่สุดแห่งโลกแล้ว จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้’ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความ
ไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เข้าไปยังพระวิหาร ใครหนอจะพึงจำแนก
เนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรงจำแนกไว้โดย
พิสดารนี้ให้พิสดารได้
ผู้มีอายุ พวกกระผมได้มีความเห็นร่วมกันว่า ‘ท่านอานนท์นี้แลพระศาสดา
ทรงสรรเสริญแล้วและเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็ยกย่อง และท่านสามารถจะ
จำแนกเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรงจำแนกไว้
โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้ ทางที่ดี พวกเราควรจะเข้าไปหาท่านอานนท์ถึงที่อยู่
แล้วเรียนถามเนื้อความนี้กับท่าน’ ขอท่านอานนท์จงจำแนกเถิด”
ท่านพระอานนท์กล่าวว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อพระศาสดาประทับอยู่เฉพาะ
หน้าท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายละเลยพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเสีย
สำคัญเนื้อความนี้ว่าควรถามผม เปรียบเหมือนบุรุษผู้ต้องการแก่นไม้ แสวงหา
แก่นไม้ เที่ยวแสวงหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นมีอยู่ ก็มองข้ามรากและลำต้น
ไปเสีย สำคัญกิ่งและใบว่าเป็นแก่นไม้ที่ตนแสวงหา ผู้มีอายุทั้งหลาย แท้จริง พระ
ผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นผู้มีพระจักษุ๑ มีพระญาณ มีพระธรรม๒ เป็นผู้ประเสริฐ๓


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๒. โลกกามคุณวรรค ๓. โลกันตคมนสูตร

ตรัสบอกได้๑ ทรงให้เป็นไปได้๒ ทรงแสดงประโยชน์๓ ประทานอมตธรรม๔ เป็นเจ้าของ
ธรรม๕ เป็นพระตถาคต ทรงรู้ธรรมที่ควรรู้ ทรงเห็นธรรมที่ควรเห็น ก็เวลานี้แล
เป็นเวลาสมควรที่ท่านทั้งหลายพึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วทูลถามเนื้อความนี้
พึงทรงจำเนื้อความนั้นไว้ตามที่พระผู้มีพระภาคทรงตอบแก่ท่านทั้งหลาย”
ภิกษุเหล่านั้นเรียนว่า “ท่านอานนท์ พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีพระจักษุ
มีพระญาณ มีพระธรรม เป็นผู้ประเสริฐ ตรัสบอกได้ ทรงให้เป็นไปได้ ทรง
แสดงประโยชน์ ประทานอมตธรรม เป็นเจ้าของธรรม เป็นพระตถาคตทรงรู้ธรรม
ที่ควรรู้ ทรงเห็นธรรมที่ควรเห็น ก็เวลานี้แลเป็นเวลาสมควรที่พวกกระผมพึงเข้า
ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วทูลถามเนื้อความนี้ และทรงจำเนื้อความนั้นไว้ตามที่พระ
ผู้มีพระภาคทรงตอบแก่พวกกระผมอย่างแน่นอน ท่านอานนท์เองพระศาสดาทรง
สรรเสริญและเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็ยกย่อง และท่านสามารถจะจำแนก
เนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรงจำแนกไว้โดย
พิสดารนี้ให้พิสดารได้ ถ้าท่านอานนท์ไม่มีความหนักใจแล้ว ขอจงจำแนกเถิด”
ท่านพระอานนท์กล่าวว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น ขอท่านทั้งหลายจงฟัง
จงใส่ใจให้ดี ผมจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว ท่านพระอานนท์จึงได้กล่าว
เรื่องนี้ว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคของท่านทั้งหลายทรงแสดงอุทเทสโดยย่อ
ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวว่า ‘ที่สุดแห่งโลกบุคคลพึงรู้ พึงเห็น พึงถึงด้วย
การไป’ แต่เราก็ไม่กล่าวว่าบุคคลยังไม่ถึงที่สุดแห่งโลกแล้วจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้’
ไม่ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดารเสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เข้าไปยังพระวิหาร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๒. โลกกามคุณวรรค ๓. โลกันตคมนสูตร

ผู้มีอายุทั้งหลาย ผมย่อมรู้เนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้
โดยย่อไม่ทรงจำแนกไว้โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้ ผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลมีความ
หมายรู้และกำหนดหมายโลกว่าเป็นโลกด้วยธรรมใด นี้เรียกว่าโลกในอริยวินัย
บุคคลมีความหมายรู้และกำหนดหมายโลกว่าเป็นโลกด้วยธรรมอะไรเล่า
คือ บุคคลมีความหมายรู้และกำหนดหมายโลกว่าเป็นโลกด้วยจักขุ ... ด้วย
โสตะ ... ด้วยฆานะ บุคคลมีความหมายรู้และกำหนดหมายโลกว่าเป็นโลกด้วยชิวหา
... ด้วยกาย บุคคลมีความหมายรู้และกำหนดหมายในโลกว่าเป็นโลกด้วยมโน ผู้มี
อายุทั้งหลาย เหตุที่บุคคลมีความหมายรู้และกำหนดหมายโลกว่าเป็นโลก นี้เรียกว่า
โลกในอริยวินัย
ผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคของท่านทั้งหลายทรงแสดงอุทเทสโดยย่อว่า
‘ภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวว่า ‘ที่สุดแห่งโลกบุคคลพึงรู้ พึงเห็น พึงถึงด้วยการไป’
แต่เราก็ไม่กล่าวว่าบุคคลยังไม่ถึงที่สุดแห่งโลกแล้วจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้’ ไม่ทรง
จำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เข้าไปยังพระวิหาร
ผู้มีอายุทั้งหลาย ผมย่อมรู้เนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้
โดยย่อ ไม่ทรงจำแนกไว้โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้อย่างนี้ ก็ท่านทั้งหลายเมื่อหวัง
อยู่พึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วทูลถามเนื้อความนี้เถิด ขอท่านทั้งหลายพึง
ทรงจำเนื้อความนั้นไว้ตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสตอบแก่ท่านทั้งหลายเถิด”
ภิกษุเหล่านั้นกล่าวรับคำท่านพระอานนท์แล้วลุกขึ้นจากอาสนะเข้าไปเฝ้าพระ
ผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคของข้าพระองค์ทั้งหลาย
ทรงแสดงอุทเทสโดยย่อว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวว่า ‘ที่สุดแห่งโลกบุคคล
พึงรู้ พึงเห็น พึงถึงด้วยการไป’ แต่เราก็ไม่กล่าวว่าบุคคลยังไม่ถึงที่สุดแห่งโลก
แล้วจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้’ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดารเสด็จลุกขึ้นจาก
พุทธอาสน์เข้าไปยังพระวิหาร
เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงจากไปไม่นาน ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ปรึกษากันว่า
‘ผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลายทรงแสดงอุทเทสไว้โดยย่อว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๒. โลกกามคุณวรรค ๔. กามคุณสูตร

‘ภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวว่า ที่สุดแห่งโลกบุคคลพึงรู้ พึงเห็น พึงถึงด้วยการไป’
แต่เราก็ไม่กล่าวว่าบุคคลยังไม่ถึงที่สุดแห่งโลกแล้วจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้’ ไม่ทรง
จำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เข้าไปยังพระวิหาร ใคร
หนอจะพึงจำแนกเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่
ทรงจำแนกไว้โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เหล่านั้นได้มีความเห็นร่วมกันว่า ‘ท่าน
อานนท์นี้แลพระศาสดาทรงสรรเสริญและเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็ยกย่อง และ
ท่านสามารถจะจำแนกเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ
ไม่ทรงจำแนกไว้โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้ ทางที่ดี พวกเราควรจะเข้าไปหาท่าน
อานนท์ถึงที่อยู่แล้วเรียนถามเนื้อความนี้กับท่าน’
ครั้นแล้วข้าพระองค์ทั้งหลายจึงเข้าไปหาท่านอานนท์ถึงที่อยู่แล้วเรียนถาม
เนื้อความดังนี้ ท่านอานนท์ได้จำแนกเนื้อความอย่างชัดเจนแก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย
ด้วยอาการเหล่านี้ ด้วยบทเหล่านี้ ด้วยพยัญชนะเหล่านี้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อานนท์เป็นบัณฑิต มีปัญญามาก
แม้หากเธอทั้งหลายจะพึงถามเนื้อความนี้กับเรา ถึงเราเองก็พึงตอบเนื้อความนั้น
อย่างที่อานนท์ได้ตอบแล้วนั่นเอง นี้แลเป็นเนื้อความแห่งอุทเทสนั้น และเธอ
ทั้งหลายพึงทรงจำเนื้อความนั้นไว้อย่างนั้นเถิด”

โลกันตคมนสูตรที่ ๓ จบ

๔. กามคุณสูตร
ว่าด้วยกามคุณ

[๑๑๗] “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อก่อนเราเป็นโพธิสัตว์ยังไม่ได้ตรัสรู้ ได้มีความ
คิดดังนี้ว่า ‘กามคุณ๑ ๕ ประการที่ใจของเราเคยสัมผัส ล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว
แปรผันไปแล้ว จิตของเราเมื่อเกิด พึงเกิดขึ้นในกามคุณ ๕ ประการที่เป็นปัจจุบันมาก
หรือที่เป็นอนาคตน้อย’


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๒. โลกกามคุณวรรค ๔. กามคุณสูตร

เรานั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘กามคุณ ๕ ประการที่ใจของเราเคยสัมผัส ล่วง
ไปแล้ว ดับไปแล้ว แปรผันไปแล้ว เราผู้ต้องการประโยชน์ตน พึงทำความ
ไม่ประมาทในกามคุณ ๕ นั้นและทำให้สติเป็นเครื่องรักษาจิต’
เพราะเหตุนั้นแล กามคุณ ๕ แม้ที่ใจของเธอทั้งหลายเคยสัมผัส ก็ล่วงไปแล้ว
ดับไปแล้ว แปรผันไปแล้ว จิตของเธอทั้งหลายเมื่อเกิด พึงเกิดขึ้นในกามคุณ ๕
ประการที่เป็นปัจจุบันมากหรือที่เป็นอนาคตน้อย
เพราะเหตุนั้นแล กามคุณ ๕ แม้ที่ใจของเธอทั้งหลายเคยสัมผัส ก็ล่วงไปแล้ว
ดับไปแล้ว แปรผันไปแล้ว เธอทั้งหลายผู้ต้องการประโยชน์ตน พึงทำความไม่
ประมาทในกามคุณ ๕ นั้นและทำให้สติเป็นเครื่องรักษาจิต
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล บุคคลพึงรู้อายตนะ คือ พึงรู้อายตนะว่า
‘จักขุดับในที่ใด รูปสัญญา (ความหมายรู้ในรูป) ก็ดับในที่นั้น ฯลฯ พึงรู้อายตนะว่า
‘ชิวหาดับในที่ใด รสสัญญา (ความหมายรู้ในรส) ก็ดับในที่นั้น ฯลฯ พึงรู้อายตนะ
ว่า ‘มโนดับในที่ใด ธรรมสัญญา (ความหมายรู้ในธรรมารมณ์) ก็ดับในที่นั้น”
พระผู้มีพระภาคครั้นตรัสดังนี้แล้วก็เสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เข้าไปยังพระวิหาร
ลำดับนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จจากไปไม่นาน ภิกษุเหล่านั้นจึงได้ปรึกษา
กันว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลายทรงแสดงอุทเทสนี้โดย
ย่อว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล บุคคลพึงรู้อายตนะ คือ พึงรู้อายตนะว่า
‘จักขุดับในที่ใด รูปสัญญาก็ดับในที่นั้น ฯลฯ พึงรู้อายตนะว่า ‘ชิวหาดับในที่ใด
รสสัญญาก็ดับในที่นั้น ฯลฯ พึงรู้อายตนะว่า ‘มโนดับในที่ใด ธรรมสัญญาก็ดับ
ในที่นั้น’ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เข้าไป
ยังพระวิหาร ใครหนอจะพึงจำแนกเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรง
แสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรงจำแนกไว้โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้”
ลำดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นมีความเห็นร่วมกันว่า “ท่านอานนท์นี้แลพระศาสดา
ทรงสรรเสริญและเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็ยกย่อง และท่านสามารถจะจำแนก
เนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรงจำแนกไว้โดย
พิสดารนี้ให้พิสดารได้ ทางที่ดี พวกเราควรจะเข้าไปหาท่านอานนท์ถึงที่อยู่แล้ว
เรียนถามเนื้อความนี้กับท่าน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๒. โลกกามคุณวรรค ๔. กามคุณสูตร

ครั้นแล้วภิกษุเหล่านั้นจึงเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัย
พอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้เรียนว่า
“ท่านอานนท์ พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลายทรงแสดงอุทเทสนี้โดยย่อว่า
‘ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล บุคคลพึงรู้อายตนะ คือ พึงรู้อายตนะว่า ‘จักขุดับ
ในที่ใด รูปสัญญาก็ดับในที่นั้น ฯลฯ พึงรู้อายตนะว่า ‘ชิวหาดับในที่ใด รสสัญญา
ก็ดับในที่นั้น ฯลฯ พึงรู้อายตนะว่า ‘มโนดับในที่ใด ธรรมสัญญาก็ดับในที่นั้น’
ไม่ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เข้าไปยังพระวิหาร
ผู้มีอายุ เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จจากไปไม่นาน พวกกระผมจึงได้ปรึกษา
กันว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลายทรงแสดงอุทเทสนี้โดย
ย่อว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล บุคคลพึงรู้อายตนะ คือ พึงรู้อายตนะว่า
‘จักขุดับในที่ใด รูปสัญญาก็ดับในที่นั้น ฯลฯ พึงรู้อายตนะว่า ‘ชิวหาดับในที่ใด
รสสัญญาก็ดับในที่นั้น ฯลฯ พึงรู้อายตนะว่า ‘มโนดับในที่ใด ธรรมสัญญาก็ดับ
ในที่นั้น’ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เข้าไป
ยังพระวิหาร ใครหนอจะพึงจำแนกเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรง
แสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรงจำแนกไว้โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้
ผู้มีอายุ พวกกระผมได้มีความเห็นร่วมกันว่า ‘ท่านอานนท์นี้แลพระศาสดา
ทรงสรรเสริญและเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็ยกย่อง และท่านสามารถจะจำแนก
เนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรงจำแนกไว้โดย
พิสดารนี้ให้พิสดารได้ ทางที่ดี พวกเราควรจะเข้าไปหาท่านอานนท์ถึงที่อยู่ แล้ว
เรียนถามเนื้อความนี้กับท่าน’ ขอท่านอานนท์จงจำแนกเถิด”
ท่านพระอานน์กล่าวว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อพระศาสดาประทับอยู่เฉพาะ
หน้าท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายละเลยพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเสีย
สำคัญเนื้อความนี้ว่าควรถามผม เปรียบเหมือนบุรุษผู้ต้องการแก่นไม้ แสวงหา
แก่นไม้ เที่ยวแสวงหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่ ฯลฯ ถ้าท่านอานนท์ไม่มีความ
หนักใจแล้ว ขอจงจำแนกเถิด”
ท่านพระอานนท์กล่าวว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น ขอท่านทั้งหลายจงฟัง
จงใส่ใจให้ดี ผมจักกล่าว”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๒. โลกกามคุณวรรค ๔. กามคุณสูตร

ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว ท่านพระอานนท์จึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคของท่านทั้งหลายทรงแสดงอุทเทสโดยย่อ
ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล บุคคลพึงรู้อายตนะ คือ พึงรู้อายตนะว่า
‘จักขุดับในที่ใด รูปสัญญาก็ดับในที่นั้น ฯลฯ พึงรู้อายตนะว่า ‘มโนดับในที่ใด
ธรรมสัญญาก็ดับในที่นั้น’ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจาก
พุทธอาสน์เข้าไปยังพระวิหาร
ผู้มีอายุทั้งหลาย ผมย่อมรู้เนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง
ไว้โดยย่อ ไม่ทรงจำแนกไว้โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้ พระดำรัสว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย
เพราะเหตุนั้นแล บุคคลพึงรู้อายตนะ คือ พึงรู้อายตนะว่า ‘จักขุดับในที่ใด รูปสัญญา
ก็ดับในที่นั้น ฯลฯ พึงรู้อายตนะว่า ‘มโนดับในที่ใด ธรรมสัญญาก็ดับในที่นั้น’
ตรัสหมายถึงความดับอายตนะ ๖ ประการ
ผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุทเทสไว้โดยย่อว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย
เพราะเหตุนั้นแล บุคคลพึงรู้อายตนะ คือ พึงรู้อายตนะว่า ‘จักขุดับในที่ใด รูป-
สัญญาก็ดับในที่นั้น ฯลฯ พึงรู้อายตนะว่า ‘มโนดับในที่ใด ธรรมสัญญาก็ดับในที่นั้น’
ไม่ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เข้าไปยังพระวิหาร
ผู้มีอายุทั้งหลาย ผมย่อมรู้เนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้
โดยย่อ ไม่ทรงจำแนกไว้โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้อย่างนี้ ก็ท่านทั้งหลายเมื่อหวัง
อยู่พึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วทูลถามเนื้อความนี้เถิด ขอท่านทั้งหลายพึง
ทรงจำเนื้อความนั้นไว้ตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสตอบแก่ท่านทั้งหลายเถิด”
ภิกษุเหล่านั้นกล่าวรับคำท่านพระอานนท์แล้ว ลุกขึ้นจากอาสนะเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคของข้าพระองค์ทั้งหลายทรงแสดง
อุทเทสโดยย่อว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล บุคคลพึงรู้อายตนะ คือ พึง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๒. โลกกามคุณวรรค ๔. กามคุณสูตร

รู้อายตนะว่า ‘จักขุดับในที่ใด รูปสัญญาก็ดับในที่นั้น ฯลฯ พึงรู้อายตนะว่า
‘ชิวหาดับในที่ใด รสสัญญาก็ดับในที่นั้น ฯลฯ พึงรู้อายตนะว่า ‘มโนดับในที่ใด
ธรรมสัญญาก็ดับในที่นั้น’ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจาก
พุทธอาสน์เข้าไปยังพระวิหาร
เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จจากไปไม่นาน ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ปรึกษากันว่า
‘ผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลายทรงแสดงอุทเทสไว้โดยย่อว่า
‘ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล บุคคลพึงรู้อายตนะ คือ พึงรู้อายตนะว่า ‘จักขุดับ
ในที่ใด รูปสัญญาก็ดับในที่นั้น ฯลฯ พึงรู้อายตนะว่า ‘มโนดับในที่ใด ธรรมสัญญา
ก็ดับในที่นั้น’ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์
เข้าไปยังพระวิหาร ใครหนอจะพึงจำแนกเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาค
ทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรงจำแนกไว้โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เหล่านั้นได้มีความเห็นร่วมกันว่า ‘ท่าน
อานนท์นี้แลพระศาสดาทรงสรรเสริญและเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็ยกย่อง และ
ท่านสามารถจะจำแนกเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ
ไม่ทรงจำแนกไว้โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้ ทางที่ดี พวกเราควรจะเข้าไปหาท่าน
อานนท์ถึงที่อยู่แล้ว เรียนถามเนื้อความนี้กับท่าน’
ครั้นแล้วข้าพระองค์ทั้งหลายจึงเข้าไปหาท่านอานนท์ถึงที่อยู่แล้วเรียนถาม
เนื้อความนี้ ท่านอานนท์ได้จำแนกเนื้อความอย่างชัดเจนแก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย
ด้วยอาการเหล่านี้ ด้วยบทเหล่านี้ ด้วยพยัญชนะเหล่านี้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อานนท์เป็นบัณฑิต มีปัญญามาก
แม้หากเธอทั้งหลายจะพึงถามเนื้อความนี้กับเรา ถึงเราเองก็พึงตอบเนื้อความนั้น
อย่างที่อานนท์ได้ตอบแล้วนั่นเอง นี้แลเป็นเนื้อความแห่งอุทเทสนั้น และเธอ
ทั้งหลายพึงทรงจำเนื้อความนั้นไว้อย่างนั้นเถิด”

กามคุณสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๒. โลกกามคุณวรรค ๕. สักกปัญหสูตร

๕. สักกปัญหสูตร
ว่าด้วยท้าวสักกะทูลถามปัญหา

[๑๑๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุง
ราชคฤห์ ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วประทับยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ไม่
ปรินิพพานในปัจจุบัน อนึ่ง อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้
ปรินิพพานในปัจจุบัน”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ท่านจอมเทพ รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุยังเพลิดเพลิน
เชยชม ยึดติดรูปนั้นอยู่ เมื่อเธอเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดรูปนั้น วิญญาณที่
อาศัยตัณหานั้น ความยึดมั่นตัณหานั้นก็มีอยู่ ภิกษุผู้ยังมีอุปาทาน (ความยึดมั่น)
ย่อมไม่ปรินิพพาน ฯลฯ
รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชัก
ให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุยังเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดธรรมารมณ์นั้น
อยู่ เมื่อเธอเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดธรรมารมณ์นั้น วิญญาณที่อาศัยตัณหานั้น
ความยึดมั่นตัณหานั้นก็มีอยู่ ภิกษุผู้ยังมีอุปาทานย่อมไม่ปรินิพพาน
ท่านจอมเทพ นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ไม่ปรินิพพาน
ในปัจจุบัน
รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่
พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดรูปนั้นอยู่ เมื่อ
เธอไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดรูปนั้นอยู่ วิญญาณที่อาศัยตัณหานั้นก็ไม่มี
ความยึดมั่นตัณหานั้นก็ไม่มี ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทานย่อมปรินิพพาน ฯลฯ
รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๒. โลกกามคุณวรรค ๖. ปัญจสิขสูตร

ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติด
ธรรมารมณ์นั้น เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดธรรมารมณ์นั้น
วิญญาณที่อาศัยตัณหานั้นก็ไม่มี ความยึดมั่นตัณหานั้นก็ไม่มี ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทาน
ย่อมปรินิพพาน
ท่านจอมเทพ นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ปรินิพพานใน
ปัจจุบัน”

สักกปัญหสูตรที่ ๕ จบ

๖. ปัญจสิขสูตร
ว่าด้วยปัญจสิขเทพบุตร

[๑๑๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุง
ราชคฤห์ ครั้งนั้น คันธัพพเทพบุตรนามว่าปัญจสิขะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง
ที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้
ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน อนึ่ง อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้
ปรินิพพานในปัจจุบัน”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ปัญจสิขะ รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ฯลฯ ธรรมารมณ์
ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้
กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุยังเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดธรรมารมณ์นั้นอยู่ เมื่อเธอ
เพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดธรรมารมณ์นั้น วิญญาณที่อาศัยตัณหานั้นความยึดมั่น
ตัณหานั้นก็มีอยู่ ภิกษุผู้ยังมีอุปาทานย่อมไม่ปรินิพพาน
ปัญจสิขะ นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ไม่ปรินิพพานใน
ปัจจุบัน
รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๒. โลกกามคุณวรรค ๗. สารีปุตตสัทธิวิหาริกสูตร

ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติด
ธรรมารมณ์นั้นอยู่ เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดธรรมารมณ์นั้น
วิญญาณที่อาศัยตัณหานั้นก็ไม่มี ความยึดมั่นตัณหานั้นก็ไม่มี ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทาน
ย่อมปรินิพพาน
ปัญจสิขะ นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ปรินิพพานในปัจจุบัน”

ปัญจสิขสูตรที่ ๖ จบ

๗. สารีปุตตสัทธิวิหาริกสูตร
ว่าด้วยสัทธิวิหาริกของพระสารีบุตร

[๑๒๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปหาท่านพระสารีบุตร
ถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ
ที่สมควร ได้กล่าวกับท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า “ท่านสารีบุตร ภิกษุผู้เป็น
สัทธิวิหาริกบอกคืนสิกขา กลับมาเป็นคฤหัสถ์แล้ว”
ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า “ผู้มีอายุ ภิกษุไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
ไม่รู้ประมาณในการบริโภคอาหาร ไม่ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนือง ๆ ย่อมเ
ป็นอย่างนี้ เป็นไปไม่ได้เลย๑ที่ภิกษุนั้นไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้
ประมาณในการบริโภคอาหาร ไม่ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนือง ๆ จักสืบ
ต่อพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์ได้จนตลอดชีวิต เป็นไปได้๒ที่ภิกษุนั้นคุ้มครอง
ทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้ประมาณในการบริโภคอาหาร ประกอบความเพียร
เครื่องตื่นอยู่เนือง ๆ จักสืบต่อพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์ได้จนตลอดชีวิต


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๒. โลกกามคุณวรรค ๗. สารีปุตตสัทธิวิหาริกสูตร

ภิกษุชื่อว่าคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทางตาแล้ว ไม่รวบถือ๑ ไม่แยกถือ๒ ปฏิบัติ
เพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ (อินทรีย์คือจักขุ) ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้ว ก็จะพึงเป็นเหตุให้ถูก
ธรรมที่เป็นบาปอกุศลคืออภิชฌา (ความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา) และโทมนัส (ความ
ทุกข์ใจ) ครอบงำได้ จึงรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์
ภิกษุฟังเสียงทางหู ฯลฯ
ดมกลิ่นทางจมูก ฯลฯ
ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ
ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ฯลฯ
รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์
(อินทรีย์คือมโน) ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้ว ก็จะพึงเป็นเหตุให้ถูกธรรมที่เป็นบาปอกุศล
คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จึงรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์
ภิกษุชื่อว่าคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายเป็นอย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่ารู้ประมาณในการบริโภคอาหาร เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาโดยแยบคายแล้วฉันอาหาร ไม่ใช่เพื่อเล่น
ไม่ใช่เพื่อมัวเมา ไม่ใช่เพื่อประดับ ไม่ใช่เพื่อตกแต่ง แต่เพียงเพื่อความดำรงอยู่ได้
แห่งกายนี้ เพื่อให้กายนี้เป็นไปได้ เพื่อกำจัดความเบียดเบียน เพื่ออนุเคราะห์
พรหมจรรย์ ด้วยคิดเห็นว่า ‘เราจักกำจัดเวทนาเก่า และจักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น
ความดำเนินไปแห่งกาย ความไม่มีโทษและการอยู่ผาสุก จักมีแก่เรา’
ภิกษุชื่อว่ารู้ประมาณในการบริโภคอาหารเป็นอย่างนี้แล


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๒. โลกกามคุณวรรค ๘. ราหุโลวาทสูตร

ภิกษุชื่อว่าประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนือง ๆ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมทั้งหลายที่เป็นตัวขัดขวาง
ด้วยการจงกรม ด้วยการนั่ง ตลอดวัน ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมทั้งหลายที่เป็น
ตัวขัดขวางด้วยการจงกรม ด้วยการนั่ง ตลอดปฐมยามแห่งราตรี นอนดุจราชสีห์
โดยข้างเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ หมายใจว่าจะลุกขึ้นตลอด
มัชฌิมยามแห่งราตรี ลุกขึ้นชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมทั้งหลายที่เป็นตัวขัดขวาง
ด้วยการจงกรม ด้วยการนั่ง ตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี
ภิกษุชื่อว่าประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนือง ๆ เป็นอย่างนี้แล
เพราะเหตุนั้นแล ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราจักเป็นผู้คุ้มครองทวารใน
อินทรีย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ประมาณในการบริโภคอาหาร เป็นผู้ประกอบความเพียร
เครื่องตื่นอยู่เนือง ๆ’
ผู้มีอายุ ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้แล”

สารีปุตตสัทธิวิหาริกสูตรที่ ๗ จบ

๘. ราหุโลวาทสูตร
ว่าด้วยการประทานโอวาทแก่พระราหุล

[๑๒๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงหลีกเร้นอยู่
ในที่สงัด ทรงเกิดความรำพึงขึ้นอย่างนี้ว่า “ธรรมเป็นเครื่องบ่มวิมุตติ๑ของราหุล
แก่กล้าแล้ว ทางที่ดี เราพึงแนะนำราหุลในธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะให้ยิ่งขึ้นไป” ครั้น


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๒. โลกกามคุณวรรค ๘. ราหุโลวาทสูตร

เวลาเช้าพระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร๑ เสด็จเข้าไปยังกรุง
สาวัตถีเพื่อบิณฑบาต เสด็จกลับจากบิณฑบาต ภายหลังเสวยพระกระยาหารเสร็จ
แล้ว รับสั่งเรียกท่านพระราหุลมาตรัสว่า “ราหุล เธอจงถือผ้านิสีทนะ๒ เราจัก
เข้าไปยังป่าอันธวันเพื่อพักผ่อนกลางวัน” ท่านพระราหุลทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
ได้ถือผ้านิสีทนะตามเสด็จพระผู้มีพระภาคไปเบื้องพระปฤษฎางค์
สมัยนั้น เทวดาหลายพันตนก็ติดตามพระผู้มีพระภาคไปด้วยคิดว่า “วันนี้
พระผู้มีพระภาคจักทรงแนะนำท่านพระราหุลในธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะให้ยิ่งขึ้นไป” ต่อมา
พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปสู่ป่าอันธวัน ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ซึ่งพระราหุลปูลาด
ถวายที่โคนต้นไม้แห่งหนึ่ง ฝ่ายท่านพระราหุลถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง
ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสกับท่านพระราหุลดังนี้ว่า
“ราหุล เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร จักขุเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๒. โลกกามคุณวรรค ๘. ราหุโลวาทสูตร

“จักขุวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“จักขุสัมผัสเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“แม้เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย
เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะพิจารณา
เห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“ชิวหาเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“รสเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ชิวหาวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ชิวหาสัมผัสเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“แม้เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย
เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๒. โลกกามคุณวรรค ๘. ราหุโลวาทสูตร

“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะพิจารณา
เห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“มโนเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะพิจารณา
เห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“ธรรมารมณ์เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“มโนวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“มโนสัมผัสเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“แม้เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย
เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๒. โลกกามคุณวรรค ๘. ราหุโลวาทสูตร

“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะพิจารณา
เห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“ราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ ย่อม
เบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน
จักขุสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณที่เกิดขึ้นเพราะ
จักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน
ชิวหาวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหาสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา
สัญญา สังขาร วิญญาณที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมารมณ์ ฯลฯ ย่อมเบื่อ
หน่ายแม้ในเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อ
จิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระราหุลมีใจยินดีชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค เมื่อพระองค์ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้อยู่ จิตของท่านพระ
ราหุลก็หลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น และธรรมจักษุ๑อันปราศจากธุลี ปราศ
จากมลทินได้เกิดแก่เทวดาหลายพันตนว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา”

ราหุโลวาทสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๒. โลกกามคุณวรรค ๑๐. อุปาทานิยธัมมสูตร

๙. สัญโญชนิยธัมมสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์

[๑๒๒] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์และสังโยชน์
เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์ เป็นอย่างไร และสังโยชน์ เป็นอย่างไร
คือ รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชัก
ให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ เหล่านี้เราเรียกว่า ธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์
ฉันทราคะในรูปนั้นชื่อว่าสังโยชน์ ฯลฯ
รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชัก
ให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ เหล่านี้เราเรียกว่า ธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์
ฉันทราคะในธรรมารมณ์นั้นชื่อว่าสังโยชน์”

สัญโญชนิยธัมมสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. อุปาทานิยธัมมสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เกื้อกูลแก่อุปาทาน

[๑๒๓] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่เกื้อกูลแก่อุปาทานและอุปาทาน
เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่เกื้อกูลแก่อุปาทาน เป็นอย่างไร และอุปาทาน เป็นอย่างไร
คือ รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่
พาใจให้กำหนัดมีอยู่ เหล่านี้เราเรียกว่า ธรรมที่เกื้อกูลแก่อุปาทาน
ฉันทราคะในรูปนั้นชื่อว่าอุปาทาน ฯลฯ
รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๒. โลกกามคุณวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชัก
ให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ เหล่านี้เราเรียกว่า ธรรมที่เกื้อกูลแก่อุปาทาน
ฉันทราคะในธรรมารมณ์นั้นชื่อว่าอุปาทาน”

อุปาทานิยธัมมสูตรที่ ๑๐ จบ
โลกกามคุณวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมมารปาสสูตร ๒. ทุติยมารปาสสูตร
๓. โลกันตคมนสูตร ๔. กามคุณสูตร
๕. สักกปัญหสูตร ๖. ปัญจสิขสูตร
๗. สารีปุตตสัทธิวิหาริกสูตร ๘. ราหุโลวาทสูตร
๙. สัญโญชนิยธัมมสูตร ๑๐. อุปาทานิยธัมมสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๓. คหปติวรรค ๑. เวสาลีสูตร

๓. คหปติวรรค
หมวดว่าด้วยคหบดี
๑. เวสาลีสูตร
ว่าด้วยคหบดีชาวเมืองเวสาลี

[๑๒๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน
เขตกรุงเวสาลี ครั้งนั้น อุคคคหบดีชาวเมืองเวสาลีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ฯลฯ นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้
ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน อนึ่ง อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้
ปรินิพพานในปัจจุบัน”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “คหบดี รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่
น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุยังเพลิดเพลิน เชยชม
ยึดติดรูปนั้นอยู่ เมื่อเธอเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดรูปนั้น วิญญาณที่อาศัย
ตัณหานั้น ความยึดมั่นตัณหานั้นก็มีอยู่ ภิกษุผู้ยังมีอุปาทาน (ความยึดมั่น) ย่อม
ไม่ปรินิพพาน ฯลฯ
รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชัก
ให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุยังเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดธรรมารมณ์นั้น
อยู่ เมื่อเธอเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดธรรมารมณ์นั้นอยู่ วิญญาณที่อาศัยตัณหา
นั้น ความยึดมั่นตัณหานั้นก็มีอยู่ ภิกษุผู้ยังมีอุปาทานย่อมไม่ปรินิพพาน
คหบดี นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน
รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่
พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดรูปนั้นอยู่ เมื่อ
เธอไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดรูปนั้น วิญญาณที่อาศัยตัณหานั้นก็ไม่มี
ความยึดมั่นตัณหานั้นก็ไม่มี ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทานย่อมปรินิพพาน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๓. คหปติวรรค ๓. นาฬันทสูตร

รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชัก
ให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติด
ธรรมารมณ์นั้นอยู่ เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดธรรมารมณ์นั้น
วิญญาณที่อาศัยตัณหานั้นก็ไม่มี ความยึดมั่นตัณหานั้นก็ไม่มี ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทาน
ย่อมปรินิพพาน
คหบดี นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ปรินิพพานในปัจจุบัน”

เวสาลีสูตรที่ ๑ จบ

๒. วัชชีสูตร
ว่าด้วยคหบดีชาวแคว้นวัชชี

[๑๒๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ หัตถิคาม แคว้นวัชชี
ครั้งนั้น อุคคคหบดีชาวบ้านหัตถิคามเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ
นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้
ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน อนึ่ง อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้
ปรินิพพานในปัจจุบัน”
(สูตรนี้ พึงให้พิสดารเหมือนสูตรก่อน)
“คหบดี นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ปรินิพพานในปัจจุบัน”

วัชชีสูตรที่ ๒ จบ

๓. นาฬันทสูตร
ว่าด้วยคหบดีชาวเมืองนาฬันทา

[๑๒๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปาวาริกัมพวัน เขตเมือง
นาฬันทา ครั้งนั้น อุบาลีคหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง ณ
ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๓. คหปติวรรค ๔. ภารทวาชสูตร

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้
ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน อนึ่ง อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้
ปรินิพพานในปัจจุบัน”
(สูตรนี้ พึงให้พิสดารเหมือนสูตรก่อน)
“คหบดี นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ปรินิพพานในปัจจุบัน”

นาฬันทสูตรที่ ๓ จบ

๔. ภารทวาชสูตร
ว่าด้วยพระปิณโฑลภารทวาชะ

[๑๒๗] สมัยหนึ่ง ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุง
โกสัมพี ครั้งนั้น พระเจ้าอุเทนเสด็จเข้าไปหาท่านพระปิณโฑลภารทวาชะถึงที่อยู่
ได้ทรงสนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว ประทับนั่ง ณ
ที่สมควร ได้ตรัสถามท่านพระปิณโฑลภารทวาชะดังนี้ว่า
“ท่านภารทวาชะ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ภิกษุหนุ่มเหล่านี้ผู้แรกรุ่น
มีผมดำสนิท หนุ่มแน่น อยู่ในปฐมวัย ยังไม่หมดความร่าเริงในกามทั้งหลาย
ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์จนตลอดชีวิต และปฏิบัติอยู่ได้นาน”
ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะถวายพระพรว่า
“ขอถวายพระพร มหาบพิตร พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระ
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นตรัสไว้ดังนี้ว่า
‘มาเถิด ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงตั้งจิตไว้ในสตรีทั้งหลายคราวมารดาว่า
เป็นมารดา ตั้งจิตไว้ในสตรีทั้งหลายคราวพี่สาวน้องสาวว่าเป็นพี่สาวน้องสาว ตั้งจิต
ไว้ในสตรีทั้งหลายคราวธิดาว่าเป็นธิดา’
นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ภิกษุหนุ่มเหล่านี้ผู้แรกรุ่น มีผมดำสนิท หนุ่มแน่น
อยู่ในปฐมวัย ยังไม่หมดความร่าเริงในกามทั้งหลาย ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์
บริบูรณ์จนตลอดชีวิต และปฏิบัติอยู่ได้นาน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๓. คหปติวรรค ๔. ภารทวาชสูตร

“ท่านภารทวาชะ จิตเป็นธรรมชาติโลเลนัก บางครั้งเกิดความโลภในสตรี
ทั้งหลายคราวมารดาบ้าง บางครั้งเกิดความโลภในสตรีทั้งหลายคราวพี่สาวน้องสาว
บ้าง บางครั้งเกิดความโลภในสตรีทั้งหลายคราวธิดาบ้าง
มีอยู่หรือ ท่านภารทวาชะ อย่างอื่นที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ภิกษุหนุ่มเหล่านี้
ผู้แรกรุ่น มีผมดำสนิท ฯลฯ และปฏิบัติอยู่ได้นาน”
“ขอถวายพระพร มหาบพิตร พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระ
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นตรัสไว้ดังนี้ว่า
‘มาเถิด ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงพิจารณากายนี้ขึ้นเบื้องบนแต่พื้นเท้า
ขึ้นไป พิจารณาลงเบื้องล่างแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มด้วยของ
ไม่สะอาดมีประการต่าง ๆ ว่า
‘ในร่างกายนี้มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก
ไต๑ หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม๒ ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่
อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก
ไขข้อ มูตร๓’


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๓. คหปติวรรค ๔. ภารทวาชสูตร

แม้นี้แลก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ภิกษุหนุ่มเหล่านี้ผู้แรกรุ่น มีผมดำสนิท ฯลฯ
และปฏิบัติอยู่ได้นาน”
“ท่านภารทวาชะ ภิกษุเหล่าใดได้อบรมกาย อบรมศีล อบรมจิต อบรม
ปัญญาแล้ว การอบรมกายเป็นต้นนั้นไม่ใช่กิจที่ภิกษุเหล่านั้นจะทำได้ยาก
ส่วนภิกษุเหล่าใดยังไม่ได้อบรมกาย ไม่ได้อบรมศีล ไม่ได้อบรมจิต ไม่ได้
อบรมปัญญา การเจริญอสุภกัมมัฏฐานนั้นเป็นกิจที่ภิกษุเหล่านั้นทำได้ยาก
บางครั้งเมื่อบุคคลตั้งใจว่า ‘เราจักใส่ใจโดยความเป็นของไม่งาม’ (แต่อารมณ์)
กลับปรากฏโดยความเป็นของงามก็มี
มีอยู่หรือ ท่านภารทวาชะ อย่างอื่นที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ภิกษุหนุ่มเหล่านี้
ผู้แรกรุ่น มีผมดำสนิท ฯลฯ และปฏิบัติอยู่ได้นาน”
“ขอถวายพระพร มหาบพิตร พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงห็น เป็นพระ
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นตรัสไว้ดังนี้ว่า
‘มาเถิด ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
อยู่เถิด เธอทั้งหลายเห็นรูปทางตาแล้วอย่ารวบถือ อย่าแยกถือ จงปฏิบัติเพื่อ
สำรวมจักขุนทรีย์ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วจะเป็นเหตุให้ถูกธรรมที่เป็นบาปอกุศลคืออภิชฌา
และโทมนัสครอบงำได้ จงรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียง
ทางหู ฯลฯ ดมกลิ่นทางจมูก ฯลฯ ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย
ฯลฯ รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้วอย่ารวบถือ อย่าแยกถือ จงปฏิบัติเพื่อสำรวม
มนินทรีย์ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วจะเป็นเหตุให้ถูกธรรมที่เป็นบาปอกุศลคืออภิชฌาและ
โทมนัสครอบงำได้ จงรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์’
แม้นี้แลก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ภิกษุหนุ่มเหล่านี้ผู้แรกรุ่น มีผมดำสนิท หนุ่ม
แน่น อยู่ในปฐมวัย ยังไม่หมดความร่าเริงในกามทั้งหลาย ประพฤติพรหมจรรย์
บริสุทธิ์บริบูรณ์จนตลอดชีวิต และปฏิบัติอยู่ได้นาน”
“ท่านภารทวาชะ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้
ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นตรัสเรื่องนี้ไว้ดียิ่งนัก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๓. คหปติวรรค ๕. โสณสูตร

นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ภิกษุหนุ่มเหล่านี้ผู้แรกรุ่น มีผมดำสนิท หนุ่มแน่น
อยู่ในปฐมวัย ยังไม่หมดความร่าเริงในกามทั้งหลาย ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์
บริบูรณ์จนตลอดชีวิต และปฏิบัติอยู่ได้นาน
สมัยใดแม้ข้าพเจ้าเอง ไม่ได้รักษากาย วาจา ใจ ไม่ตั้งสติไว้มั่น ไม่สำรวม
อินทรีย์ เข้าไปภายในวัง สมัยนั้น ความโลภก็ครอบงำข้าพเจ้ายิ่งนัก
แต่สมัยใดข้าพเจ้าได้รักษากาย วาจา ใจ ตั้งสติไว้มั่น สำรวมอินทรีย์
เข้าไปภายในวัง สมัยนั้น ความโลภก็ไม่ครอบงำข้าพเจ้า
ท่านภารทวาชะ ภาษิตของท่านชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านภารทวาชะ ภาษิต
ของท่านชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านภารทวาชะประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการ
ต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลง
ทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’ ท่านภารทวาชะ
ข้าพเจ้านี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็น
สรณะ ขอท่านภารทวาชะจงจำข้าพเจ้าว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตั้งแต่วันนี้เป็นต้น
ไปจนตลอดชีวิต”

ภารทวาชสูตรที่ ๔ จบ

๕. โสณสูตร
ว่าด้วยโสณคหบดีบุตร

[๑๒๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อ
กระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น บุตรคหบดีชื่อโสณะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้
ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน อนึ่ง อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้
ปรินิพพานในปัจจุบัน”
(สูตรนี้พึงให้พิสดารเหมือนสูตรก่อน)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๓. คหปติวรรค ๖. โฆสิตสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โสณะ นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลก
นี้ปรินิพพานในปัจจุบัน”

โสณสูตรที่ ๕ จบ

๖. โฆสิตสูตร
ว่าด้วยโฆสิตคหบดี

[๑๒๙] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี ครั้งนั้น
โฆสิตคหบดีเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ฯลฯ นั่ง ณ ที่สมควร ได้เรียน
ถามท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่านอานนท์ผู้เจริญ ที่พระผู้มีพระภาคตรัส
ว่า ‘ธาตุต่าง ๆ ธาตุต่าง ๆ ‘ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
ธาตุต่าง ๆ”
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “คหบดี จักขุธาตุ รูปที่น่าพอใจ และจักขุวิญญาณ
มีอยู่ เพราะอาศัยผัสสะซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา (ความรู้สึกสุข) สุขเวทนาจึงเกิด
จักขุธาตุ รูปที่ไม่น่าพอใจ และจักขุวิญญาณมีอยู่ เพราะอาศัยผัสสะซึ่งเป็น
ที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา (ความรู้สึกทุกข์) ทุกขเวทนาจึงเกิด
จักขุธาตุ รูปเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา และจักขุวิญญาณมีอยู่ เพราะอาศัยผัสสะ
ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา (ความรู้สึกมิใช่สุขมิใช่ทุกข์) อทุกขมสุขเวทนา
จึงเกิด ฯลฯ
ชิวหาธาตุ รสที่น่าพอใจ และชิวหาวิญญาณมีอยู่ เพราะอาศัยผัสสะซึ่งเป็น
ที่ตั้งแห่งสุขเวทนา สุขเวทนาจึงเกิด
ชิวหาธาตุ รสที่ไม่น่าพอใจ และชิวหาวิญญาณมีอยู่ เพราะอาศัยผัสสะซึ่ง
เป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ทุกขเวทนาจึงเกิด
ชิวหาธาตุ รสที่น่าพอใจ และชิวหาวิญญาณมีอยู่ เพราะอาศัยผัสสะซึ่งเป็น
ที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา อทุกขมสุขเวทนาจึงเกิด ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๓. คหปติวรรค ๗. หาลิททกานิสูตร

มโนธาตุ ธรรมารมณ์ที่น่าพอใจ และมโนวิญญาณมีอยู่ เพราะอาศัยผัสสะ
ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา สุขเวทนาจึงเกิด
มโนธาตุ ธรรมารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ และมโนวิญญาณมีอยู่ เพราะอาศัยผัสสะ
ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ทุกขเวทนาจึงเกิด
มโนธาตุ ธรรมารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา และมโนวิญญาณมีอยู่ เพราะอาศัย
ผัสสะซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา อทุกขมสุขเวทนาจึงเกิด
คหบดี ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่าธาตุต่าง ๆ”

โฆสิตสูตรที่ ๖ จบ

๗. หาลิททกานิสูตร
ว่าด้วยหาลิททกานิคหบดี

[๑๓๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัจจานะอยู่ที่เรือนตระกูลใกล้ภูเขาสังปวัตตะ
แคว้นอวันตี ครั้งนั้นแล หาลิททกานิคหบดีเข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะถึงที่อยู่
ฯลฯ นั่ง ณ ที่สมควร ได้เรียนถามท่านพระมหากัจจานะดังนี้ว่า
“ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดังนี้ว่า ‘เพราะอาศัยธาตุต่าง ๆ
ผัสสะต่าง ๆ จึงเกิด เพราะอาศัยผัสสะต่าง ๆ เวทนาต่าง ๆ จึงเกิด’ เพราะอาศัย
ธาตุต่าง ๆ ผัสสะต่าง ๆ จึงเกิด เพราะอาศัยผัสสะต่าง ๆ เวทนาต่าง ๆ จึงเกิด
เป็นอย่างไร”
ท่านพระมหากัจจานะตอบว่า “คหบดี คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทาง
ตาแล้วรู้ชัดว่า ‘รูปอย่างนี้ น่าพอใจ’
เพราะอาศัยจักขุวิญญาณและผัสสะซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา สุขเวทนาจึงเกิด
อนึ่ง ภิกษุเห็นรูปทางตาอย่างนั้นแล้วรู้ชัดว่า ‘รูปอย่างนี้ไม่น่าพอใจ’
เพราะอาศัยจักขุวิญญาณและผัสสะซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ทุกขเวทนา
จึงเกิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๓. คหปติวรรค ๗. หาลิททกานิสูตร

อนึ่ง ภิกษุเห็นรูปทางตาอย่างนั้นแล้วรู้ชัดว่า ‘รูปอย่างนี้เป็นที่ตั้งแห่ง
อุเบกขา’
เพราะอาศัยจักขุวิญญาณและผัสสะซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา อทุกขม-
สุขเวทนาจึงเกิด
อีกประการหนึ่ง ภิกษุฟังเสียงทางหู ฯลฯ
ดมกลิ่นทางจมูก ฯลฯ
ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ
ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ฯลฯ
รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้วรู้ชัดว่า ‘ธรรมารมณ์อย่างนี้น่าพอใจ’
เพราะอาศัยมโนวิญญาณและผัสสะซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา สุขเวทนา
จึงเกิด
อนึ่ง ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจอย่างนั้นแล้วรู้ชัดว่า ‘ธรรมารมณ์อย่างนี้
ไม่น่าพอใจ’
เพราะอาศัยมโนวิญญาณและผัสสะซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ทุกขเวทนาจึง
เกิด
อนึ่ง ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจอย่างนั้นแล้วรู้ชัดว่า ‘ธรรมารมณ์อย่างนี้
เป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา’
เพราะอาศัยมโนวิญญาณและผัสสะซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา อทุกขม-
สุขเวทนาจึงเกิด
คหบดี เพราะอาศัยธาตุต่าง ๆ ผัสสะต่าง ๆ จึงเกิด เพราะอาศัยผัสสะ
ต่าง ๆ เวทนาต่าง ๆ จึงเกิดเป็นอย่างนี้แล”

หาลิททกานิสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๓. คหปติวรรค ๘. นกุลปิตุสูตร

๘. นกุลปิตุสูตร
ว่าด้วยนกุลปิตุคหบดี

[๑๓๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เภสกฬาวัน อันเป็นที่พระ
ราชทานอภัยแก่หมู่เนื้อ เขตกรุงสุงสุมารคิระ แคว้นภัคคะ ครั้งนั้น นกุลปิตุคหบดี
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระ
ผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้
ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน อนึ่ง อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้
ปรินิพพานในปัจจุบัน”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “คหบดี รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่า
ใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุยังเพลิดเพลิน
เชยชม ยึดติดรูปนั้นอยู่ เมื่อเธอเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดรูปนั้น วิญญาณ
ที่อาศัยตัณหานั้น ความยึดมั่นตัณหานั้นก็มีอยู่ ภิกษุผู้ยังมีอุปาทานย่อมไม่
ปรินิพพาน ฯลฯ
รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุยังเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดธรรมารมณ์
นั้นอยู่ เมื่อเธอเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดธรรมารมณ์นั้น วิญญาณที่อาศัย
ตัณหานั้น ความยึดมั่นตัณหานั้นก็มีอยู่ ภิกษุผู้ยังมีอุปาทานย่อมไม่ปรินิพพาน
คหบดี นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน
รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่
พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดรูปนั้นอยู่ เมื่อ
เธอไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดรูปนั้น วิญญาณที่อาศัยตัณหานั้นก็ไม่มี
ความยึดมั่นตัณหานั้นก็ไม่มี ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทานย่อมปรินิพพาน ฯลฯ
รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๓. คหปติวรรค ๙. โลหิจจสูตร

ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติด
ธรรมารมณ์นั้นอยู่ เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดธรรมารมณ์นั้น
วิญญาณที่อาศัยตัณหานั้นก็ไม่มี ความยึดมั่นตัณหานั้นก็ไม่มี ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทาน
ย่อมปรินิพพาน
คหบดี นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ปรินิพพานในปัจจุบัน”

นกุลปิตุสูตรที่ ๘ จบ

๙. โลหิจจสูตร
ว่าด้วยโลหิจจพราหมณ์

[๑๓๒] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัจจานะอยู่ ณ กุฎีป่า เขตเมืองมักกรกฏะ
แคว้นอวันตี ครั้งนั้น มาณพผู้หาฟืนซึ่งเป็นศิษย์ของโลหิจจพราหมณ์จำนวนมาก
เข้าไปยังกุฎีป่าของท่านพระมหากัจจานะ เที่ยวเดินไปมารอบ ๆ กุฎี เล่นกระโดด
ปล้ำกัน ส่งเสียงอื้ออึงเซ็งแซ่ว่า
“สมณะศีรษะโล้นเหล่านี้ เป็นคนรับใช้ เป็นคนวรรณะต่ำ (กัณหโคตร) เกิด
จากบาทของท้าวมหาพรหมอันชาวภารตะ๑เหล่านี้สักการะ เคารพ นับถือ บูชา
นอบน้อม”
ลำดับนั้น ท่านพระมหากัจจานะออกจากที่อยู่แล้วได้กล่าวกับมาณพเหล่านั้น
ดังนี้ว่า
“มาณพทั้งหลาย เธอทั้งหลายอย่าได้ส่งเสียงดัง เราจักกล่าวธรรมแก่เธอ
ทั้งหลาย”
เมื่อท่านพระมหากัจจานะกล่าวอย่างนี้แล้ว มาณพเหล่านั้นก็นิ่งเฉย ลำดับนั้น
ท่านพระมหากัจจานะได้กล่าวกับมาณพเหล่านั้นด้วยคาถาทั้งหลายว่า


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๓. คหปติวรรค ๙. โลหิจจสูตร

“พราหมณ์เหล่าใดระลึกถึงธรรมดั้งเดิมได้
พราหมณ์เหล่านั้นเป็นผู้มีศีลสูงสุด เก่าแก่กว่า
พราหมณ์เหล่านั้นคุ้มครอง รักษาทวารทั้งหลายดีแล้ว
เพราะครอบงำความโกรธได้
พราหมณ์เหล่าใดระลึกถึงธรรมดั้งเดิมได้
พราหมณ์เหล่านั้นเป็นผู้ยินดีในธรรมและฌาน๑
อนึ่ง พราหมณ์ทั้งหลายละเลยธรรมเหล่านี้
สำคัญว่า ‘เราสาธยายมนตร์’ เมาเพราะโคตร
ถูกความโกรธครอบงำ มีอาชญาในตนมาก
ประพฤติผิดในสัตว์ทั้งหลายทั้งที่สะดุ้งกลัวและไม่สะดุ้งกลัว
จึงประพฤติไม่สม่ำเสมอ
การสมาทานวัตรทั้งปวง คือ การไม่กิน
การนอนบนพื้นดิน การอาบน้ำเวลาเช้า
และพระเวท ๓ ของพราหมณ์ผู้ไม่คุ้มครองทวารย่อมไร้ผล
เหมือนคนได้ทรัพย์เครื่องปลื้มใจในความฝันฉะนั้น
หนังเสือที่หยาบ การมุ่นผม การไม่ชำระฟัน
มนตร์ ศีลและพรตเป็นตบะ (ของพราหมณ์)
การหลอกลวง ไม้เท้าที่คด และการใช้น้ำลูบหน้า
ข้อวัตรที่พรรณนามาเหล่านี้
พวกพราหมณ์ทำเพราะต้องการอามิส
ส่วนจิตที่ตั้งมั่นดีแล้วย่อมผ่องใส ไม่ขุ่นมัว
อ่อนโยนในสัตว์ทั้งปวง นั้นเป็นทางเพื่อถึงความเป็นพรหม”
ลำดับนั้น มาณพเหล่านั้นโกรธเคือง ไม่พอใจ ได้เข้าไปหาโลหิจจพราหมณ์
ถึงที่อยู่แล้วกล่าวกับโลหิจจพราหมณ์ดังนี้ว่า “ขอท่านผู้เจริญโปรดทราบ พระ
มหากัจจานะข้อนขอด คัดค้านมนตร์ของพราหมณ์ทั้งหลายโดยส่วนเดียว” เมื่อ
มาณพเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้แล้วโลหิจจพราหมณ์ก็โกรธเคือง ไม่พอใจ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๓. คหปติวรรค ๙. โลหิจจสูตร

ทีนั้น โลหิจจพราหมณ์ได้มีความคิดดังนี้ว่า
“เป็นการไม่สมควรเลยที่เราจะพึงด่า เหน็บแนม บริภาษพระมหากัจจานะ
เพราะฟังคำของพวกมาณพแต่ฝ่ายเดียวเท่านั้น ทางที่ดี เราควรเข้าไปถาม”
ต่อมา โลหิจจพราหมณ์กับมาณพเหล่านั้นเข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะถึง
ที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่
สมควร ได้เรียนถามท่านพระมหากัจจานะดังนี้ว่า “ท่านกัจจานะ มาณพผู้หาฟืน
ซึ่งเป็นศิษย์ของข้าพเจ้าจำนวนมากได้มาในที่นี้หรือ”
ท่านพระมหากัจจานะตอบว่า “พราหมณ์ มาณพผู้หาฟืนซึ่งเป็นศิษย์ของ
ท่านจำนวนมาก ได้มาในที่นี้”
“ท่านกัจจานะได้สนทนาอะไรบ้างกับมาณพเหล่านั้น”
“พราหมณ์ อาตมภาพได้สนทนาบางอย่างกับมาณพเหล่านั้นเหมือนกัน”
“ท่านกัจจานะได้สนทนากับมาณพเหล่านั้นอย่างไร”
“พราหมณ์ อาตมภาพได้สนทนากับมาณพเหล่านั้นอย่างนี้ว่า
‘พราหมณ์เหล่าใดระลึกถึงธรรมดั้งเดิมของพราหมณ์ได้
พราหมณ์เหล่านั้นเป็นผู้มีศีลสูงสุด เก่าแก่กว่า
ฯลฯ
อ่อนโยนในสัตว์ทั้งปวง นั้นเป็นทางเพื่อถึงความเป็นพรหม’
พราหมณ์ อาตมภาพได้สนทนากับมาณพเหล่านั้นอย่างนี้แล”
“ท่านกัจจานะได้กล่าวว่า ‘บุคคลชื่อว่าไม่คุ้มครองทวาร’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร
หนอ บุคคลจึงชื่อว่าไม่คุ้มครองทวาร”
“พราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้เห็นรูปทางตาแล้วย่อมยินดีในรูปที่น่ารัก
ย่อมยินร้ายในรูปที่ไม่น่ารัก เป็นผู้ไม่ตั้งมั่นกายคตาสติ มีปริตตจิต๑อยู่ และไม่รู้ชัด


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๓. คหปติวรรค ๙. โลหิจจสูตร

เจโตวิมุตติ๑และปัญญาวิมุตติ๒ตามความเป็นจริง อันเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือแห่ง
ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นที่เกิดขึ้นแล้วแก่บุคคลนั้น
ฟังเสียงทางหู ฯลฯ
ดมกลิ่นทางจมูก ฯลฯ
ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ
ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ฯลฯ
รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้วย่อมยินดีในธรรมารมณ์ที่น่ารัก ย่อมยินร้าย
ในธรรมารมณ์ที่ไม่น่ารัก เป็นผู้ไม่ตั้งมั่นกายคตาสติ มีปริตตจิตอยู่ และไม่รู้ชัด
เจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติตามความเป็นจริง อันเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือแห่ง
ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นที่เกิดขึ้นแล้วแก่บุคคลนั้น
พราหมณ์ บุคคลชื่อว่าไม่คุ้มครองทวารเป็นอย่างนี้แล”
พราหมณ์กล่าวว่า “ท่านกัจจานะ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ท่าน
กัจจานะเรียกบุคคลผู้ไม่คุ้มครองทวารแล้วแลว่า ‘ไม่คุ้มครองทวาร’ ท่านกัจจานะ
ได้กล่าวว่า ‘บุคคลชื่อว่าคุ้มครองทวาร’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ บุคคลจึงชื่อว่า
คุ้มครองทวาร”
“พราหมณ์ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปทางตาแล้ว ย่อมไม่ยินดีใน
รูปที่น่ารัก ไม่ยินร้ายในรูปที่ไม่น่ารัก เป็นผู้ตั้งมั่นกายคตาสติ มีอัปปมาณจิต๓อยู่
และรู้ชัดเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติตามความเป็นจริง อันเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือ
แห่งธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นที่เกิดขึ้นแล้วแก่ภิกษุนั้น
ฟังเสียงทางหู ฯลฯ
ดมกลิ่นทางจมูก ฯลฯ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๓. คหปติวรรค ๑๐. เวรหัญจานิสูตร

ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ
ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ฯลฯ
รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ย่อมไม่ยินดีในธรรมารมณ์ที่น่ารัก ไม่ยินร้าย
ในธรรมารมณ์ที่ไม่น่ารัก เป็นผู้ตั้งมั่นกายคตาสติ มีอัปปมาณจิตอยู่ และรู้ชัด
เจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติตามความเป็นจริง อันเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือแห่ง
ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นที่เกิดขึ้นแล้วแก่ภิกษุนั้น
พราหมณ์ บุคคลชื่อว่าคุ้มครองทวารเป็นอย่างนี้แล”
“ท่านกัจจานะ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ท่านกัจจานะเรียกบุคคลผู้
คุ้มครองทวารแล้วแลว่า ‘คุ้มครองทวาร’
“ท่านกัจจานะ ภาษิตของท่านชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านกัจจานะ ภาษิตของ
ท่านชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านกัจจานะประกาศธรรมโดยประการต่าง ๆ เปรียบ
เหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตาม
ประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’ ข้าพเจ้านี้ ขอถึงพระผู้มีพระภาค
พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอท่านกัจจานะจงจำข้าพเจ้าว่าเป็น
อุบาสกผู้ถึงสรณะตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต อนึ่ง ขอท่านกัจจานะจงเข้า
ไปสู่โลหิจจตระกูลเหมือนดังที่เข้าไปสู่ตระกูลอุบาสกทั้งหลายในเมืองมักกรกฏะเถิด
เหล่ามาณพหรือมาณวิกาในโลหิจจตระกูลจักไหว้ ลุกรับ ถวายอาสนะหรือน้ำแก่
ท่าน ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุขแก่พวกเขาตลอดกาลนาน”

โลหิจจสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. เวรหัญจานิสูตร
ว่าด้วยเวรหัญจานีพราหมณี

[๑๓๓] สมัยหนึ่ง ท่านพระอุทายีอยู่ ณ สวนมะม่วงของโตเทยยพราหมณ์
เขตเมืองกามัณฑะ ครั้งนั้น มาณพผู้เป็นศิษย์ของพราหมณีเวรหัญจานิโคตร
เข้าไปหาท่านพระอุทายีถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่
ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
๓. ตติยปัณณาสก์ ๓. คหปติวรรค ๑๐. เวรหัญจานิสูตร

ท่านพระอุทายีได้ชี้แจงให้มาณพนั้นเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ
เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา
ครั้งนั้น มาณพผู้ที่พระอุทายีชี้แจงให้เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ
เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว ลุกขึ้น
จากอาสนะเข้าไปหาพราหมณีเวรหัญจานิโคตรถึงที่อยู่ แล้วได้กล่าวกับพราหมณี
เวรหัญจานิโคตรดังนี้ว่า
“ขอแม่เจ้าผู้เจริญโปรดทราบ พระอุทายีแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น
มีความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้ง
อรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน”
พราหมณีเวรหัญจานิโคตรกล่าวว่า “พ่อมาณพ ถ้าเช่นนั้น เธอจงนิมนต์
พระอุทายีตามคำของฉัน เพื่อฉันภัตตาหารในวันพรุ่งนี้”
มาณพนั้นรับคำแล้วเข้าไปหาท่านพระอุทายีถึงที่อยู่ ได้กราบเรียนท่านพระ
อุทายีดังนี้ว่า “นัยว่า ขอท่านพระอุทายี โปรดรับภัตตาหารของพราหมณี
เวรหัญจานิโคตรผู้เป็นภรรยาของอาจารย์ของพวกกระผมในวันพรุ่งนี้เถิด”
ท่านพระอุทายีรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ ครั้นคืนนั้นผ่านไป ตอนเช้า ท่าน
พระอุทายีครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังนิเวศน์ของพราหมณี
เวรหัญจานิโคตร นั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้แล้ว
ลำดับนั้น พราหมณีเวรหัญจานิโคตรได้นำของขบฉันอันประณีตประเคนท่าน
พระอุทายีให้อิ่มหนำด้วยตนเอง เมื่อท่านพระอุทายีฉันเสร็จวางมือจากบาตรแล้ว
จึงสวมรองเท้านั่งคลุมศีรษะบนอาสนะสูง ได้กล่าวกับท่านพระอุทายีดังนี้ว่า “ท่าน
จงกล่าวสมณธรรมสิ”
ท่านพระอุทายีกล่าวว่า “ยังมีเวลา น้องหญิง” ลุกขึ้นจากอาสนะแล้วจากไป
แม้ครั้งที่ ๒ มาณพนั้นก็เข้าไปหาท่านพระอุทายีถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัย
พอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ท่านพระอุทายีได้ชี้แจง
ให้มาณพนั้นเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า
ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๑๖๕ }


>>>>> หน้าต่อไป >>>>>





eXTReMe Tracker