ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ



จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อความสะดวก และสวยงาม
(เฉพาะหน้าจอใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์)
กรุณาคลิก จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อให้กรอบ
ค้นข้อความ ปรากฎที่ด้านซ้ายของหน้า

พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ สุตตันตปิฎกที่ ๐๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๑. นกุลปิตุสูตร

พระสุตตันตปิฎก
สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๑. ขันธสังยุต
มูลปัณณาสก์
๑. นกุลปิตุวรรค
หมวดว่าด้วยนกุลปิตาคหบดี
๑. นกุลปิตุสูตร
ว่าด้วยนกุลปิตาคหบดี

[๑] ข้าพเจ้า๑ได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เภสกฬาวัน สถานที่พระราชทาน
อภัยแก่หมู่เนื้อ เขตกรุงสุงสุมารคิระ แคว้นภัคคะ ครั้งนั้น นกุลปิตาคหบดีเข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร๒ ได้กราบ
ทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นผู้ชรา สูงอายุ เป็นผู้เฒ่า ล่วงกาล
มามาก ผ่านวัยมามาก มีกายกระสับกระส่าย เจ็บป่วยประจำ พระผู้มีพระภาค


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๑. นกุลปิตุสูตร

และภิกษุทั้งหลายผู้เป็นที่เจริญใจ ข้าพระองค์ก็ไม่ได้เห็นเป็นนิตย์ ขอพระผู้มี
พระภาคโปรดโอวาท โปรดสั่งสอนข้าพระองค์ด้วยพระดำรัสที่เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อความสุขแก่ข้าพระองค์ตลอดกาลนานเถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “คหบดี เรื่องนี้เป็นอย่างนั้น คหบดี เรื่องนี้เป็น
อย่างนั้น ความจริง กายนี้กระสับกระส่าย เป็นดังฟองไข่ มีเปลือกหุ้มไว้ อนึ่ง
บุคคลผู้บริหารกายนี้อยู่ พึงรับรองความไม่มีโรคได้แม้เพียงครู่เดียว จะมีอะไรเล่า
นอกจากความโง่เขลา เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เมื่อเรามีกาย
กระสับกระส่ายอยู่ จิตจักไม่กระสับกระส่าย’ ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้”
ลำดับนั้น นกุลปิตาคหบดีชื่นชม ยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ลุกจาก
อาสนะ ถวายอภิวาท กระทำประทักษิณ๑ แล้วเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่
อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ท่านพระสารีบุตรได้ถามนกุลปิตาคหบดีดังนี้ว่า
“คหบดี อินทรีย์ของท่านผ่องใสยิ่งนัก สีหน้าก็บริสุทธิ์ผุดผ่อง วันนี้ ท่านได้ฟัง
ธรรมีกถาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคหรือไม่”
นกุลปิตาคหบดีตอบว่า “ท่านผู้เจริญ ทำไมจะไม่เป็นอย่างนี้เล่า บัดนี้ พระ
ผู้มีพระภาคทรงหลั่งอมตธรรมรดกระผมด้วยธรรมีกถา”
“คหบดี พระผู้มีพระภาคทรงหลั่งอมตธรรมรดท่านด้วยธรรมีกถาอย่างไร”
“ท่านผู้เจริญ กระผมเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว
นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นผู้ชรา สูงอายุ
เป็นผู้เฒ่า ล่วงกาลมามาก ผ่านวัยมามาก มีกายกระสับกระส่าย เจ็บป่วยประจำ
พระผู้มีพระภาคและภิกษุทั้งหลายผู้เป็นที่เจริญใจ ข้าพระองค์ก็ไม่ได้เห็นเป็นนิตย์
ขอพระผู้มีพระภาคโปรดโอวาท โปรดสั่งสอนข้าพระองค์ด้วยพระดำรัสที่เป็นไปเพื่อ
ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ข้าพระองค์ตลอดกาลนานเถิด’
เมื่อกระผมกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับกระผมดังนี้ว่า
‘คหบดี เรื่องนี้เป็นอย่างนั้น คหบดี เรื่องนี้เป็นอย่างนั้น ความจริง กายนี้


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๑. นกุลปิตุสูตร

กระสับกระส่าย เป็นดังฟองไข่ มีเปลือกหุ้มไว้ อนึ่ง บุคคลผู้บริหารกายนี้อยู่
พึงรับรองความไม่มีโรคได้แม้เพียงครู่เดียว จะมีอะไรเล่า นอกจากความโง่เขลา
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เมื่อเรามีกายกระสับกระส่ายอยู่ จิต
จักไม่กระสับกระส่าย’ ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้
ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคทรงหลั่งอมตธรรมรดกระผมด้วยธรรมีกถา
อย่างนี้”
“คหบดี ก็ท่านไม่ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคให้ยิ่งขึ้นหรือว่า ‘ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร บุคคลจึงชื่อว่าเป็นผู้มีกายกระสับกระส่าย และชื่อว่า
มีจิตกระสับกระส่าย และด้วยเหตุเพียงเท่าไร บุคคลจึงชื่อว่าเป็นผู้มีกายกระสับ
กระส่าย แต่ไม่ชื่อว่ามีจิตกระสับกระส่าย”
“ท่านผู้เจริญ แม้กระผมมาจากที่ไกลก็เพื่อจะทราบเนื้อความแห่งพระภาษิต
นั้นในสำนักท่านพระสารีบุตร ขอโอกาส เฉพาะท่านพระสารีบุตรเท่านั้นที่จะ
อธิบายเนื้อความแห่งพระภาษิตนั้นให้แจ่มแจ้ง”
“คหบดี ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”

สักกายทิฏฐิ ๒๐

นกุลปิตาคหบดีรับคำแล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า
“คหบดี บุคคลชื่อว่าเป็นผู้มีกายกระสับกระส่าย และมีจิตกระสับกระส่าย
เป็นอย่างไร
คือ ปุถุชน๑ในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ๒ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของ
พระอริยะ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาด
ในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ พิจารณาเห็นรูปโดย


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๑. นกุลปิตุสูตร

ความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป พิจารณาเห็นรูปในอัตตา หรือ
พิจารณาเห็นอัตตาในรูป ดำรงอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า ‘เราเป็นรูป รูปเป็นของเรา’
เมื่อเขาดำรงอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า ‘เราเป็นรูป รูปเป็นของเรา’ รูปนั้นแปรผัน
เป็นอย่างอื่น เพราะรูปแปรผันและเป็นอย่างอื่น โสกะ (ความเศร้าโศก) ปริเทวะ
(ความคร่ำครวญ) ทุกข์ (ความทุกข์กาย) โทมนัส (ความทุกข์ใจ) และอุปายาส
(ความคับแค้นใจ) จึงเกิดขึ้นแก่เขา
พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีเวทนา
พิจารณาเห็นเวทนาในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในเวทนา ดำรงอยู่ด้วยความ
ยึดมั่นว่า ‘เราเป็นเวทนา เวทนาเป็นของเรา’ เมื่อเขาดำรงอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า
‘เราเป็นเวทนา เวทนาเป็นของเรา’ เวทนานั้นแปรผันเป็นอย่างอื่น เพราะเวทนา
แปรผันและเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงเกิดขึ้นแก่เขา
พิจารณาเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีสัญญา
พิจารณาเห็นสัญญาในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในสัญญา ดำรงอยู่ด้วย
ความยึดมั่นว่า ‘เราเป็นสัญญา สัญญาเป็นของเรา’ เมื่อเขาดำรงอยู่ด้วยความ
ยึดมั่นว่า ‘เราเป็นสัญญา สัญญาเป็นของเรา’ สัญญานั้นแปรผันเป็นอย่างอื่น
เพราะสัญญาแปรผันและเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
จึงเกิดขึ้นแก่เขา
พิจารณาเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีสังขาร พิจารณา
เห็นสังขารในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในสังขาร ดำรงอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า
‘เราเป็นสังขาร สังขารเป็นของเรา’ เมื่อเขาดำรงอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า ‘เราเป็น
สังขาร สังขารเป็นของเรา’ สังขารนั้นแปรผันเป็นอย่างอื่น เพราะสังขารแปรผัน
และเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงเกิดขึ้นแก่เขา
พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณ
พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ ดำรงอยู่ด้วย
ความยึดมั่นว่า ‘เราเป็นวิญญาณ วิญญาณเป็นของเรา’ เมื่อเขาดำรงอยู่ด้วยความ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๑. นกุลปิตุสูตร

ยึดมั่นว่า ‘เราเป็นวิญญาณ วิญญาณเป็นของเรา’ วิญญาณนั้นแปรผันเป็นอย่างอื่น
เพราะวิญญาณแปรผันและเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
จึงเกิดขึ้นแก่เขา
คหบดี บุคคลชื่อว่าเป็นผู้มีกายกระสับกระส่าย และมีจิตกระสับกระส่าย
เป็นอย่างนี้แล
บุคคลแม้ชื่อว่าเป็นผู้มีกายกระสับกระส่าย แต่ไม่ชื่อว่ามีจิตกระสับกระส่าย
เป็นอย่างไร
คือ พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ผู้ได้สดับ ได้เห็นพระอริยะ ฉลาดใน
ธรรมของพระอริยะ ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาด
ในธรรมของสัตบุรุษ ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ไม่พิจารณาเห็นรูปโดย
ความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป ไม่พิจารณาเห็นรูปในอัตตา หรือ
ไม่พิจารณาเห็นอัตตาในรูป ไม่ดำรงอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า ‘เราเป็นรูป รูปเป็น
ของเรา’ เมื่อพระอริยสาวกนั้นไม่ดำรงอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า ‘เราเป็นรูป รูปเป็น
ของเรา’ รูปนั้นแปรผันเป็นอย่างอื่น เพราะรูปแปรผันและเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ
ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงไม่เกิดขึ้นแก่พระอริยสาวกนั้น
ไม่พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีเวทนา
ไม่พิจารณาเห็นเวทนาในอัตตา หรือไม่พิจารณาเห็นอัตตาในเวทนา ไม่ดำรงอยู่
ด้วยความยึดมั่นว่า ‘เราเป็นเวทนา เวทนาเป็นของเรา’ เมื่อพระอริยสาวกนั้นไม่
ดำรงอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า ‘เราเป็นเวทนา เวทนาเป็นของเรา’ เวทนานั้นแปรผัน
เป็นอย่างอื่น เพราะเวทนาแปรผันและเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
และอุปายาสจึงไม่เกิดขึ้นแก่พระอริยสาวกนั้น
ไม่พิจารณาเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีสัญญา
ไม่พิจารณาเห็นสัญญาในอัตตา หรือไม่พิจารณาเห็นอัตตาในสัญญา ไม่ดำรงอยู่
ด้วยความยึดมั่นว่า ‘เราเป็นสัญญา สัญญาเป็นของเรา’ เมื่อพระอริยสาวกนั้นไม่
ดำรงอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า ‘เราเป็นสัญญา สัญญาเป็นของเรา’ สัญญานั้น
แปรผันเป็นอย่างอื่น เพราะสัญญาแปรผันและเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัส และอุปายาสจึงไม่เกิดขึ้นแก่พระอริยสาวกนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๒. เทวทหสูตร

ไม่พิจารณาเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีสังขาร
ไม่พิจารณาเห็นสังขารในอัตตา หรือไม่พิจารณาเห็นอัตตาในสังขาร ไม่ดำรงอยู่
ด้วยความยึดมั่นว่า ‘เราเป็นสังขาร สังขารเป็นของเรา’ เมื่อพระอริยสาวกนั้นไม่
ดำรงอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า ‘เราเป็นสังขาร สังขารเป็นของเรา’ สังขารนั้นแปรผัน
เป็นอย่างอื่น เพราะสังขารแปรผันและเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
และอุปายาสจึงไม่เกิดขึ้นแก่พระอริยสาวกนั้น
ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณ
ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา หรือไม่พิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ ไม่ดำรง
อยู่ด้วยความยึดมั่นว่า ‘เราเป็นวิญญาณ วิญญาณเป็นของเรา’ เมื่อพระอริยสาวก
นั้นไม่ดำรงอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า ‘เราเป็นวิญญาณ วิญญาณเป็นของเรา’ วิญญาณ
นั้นแปรผันเป็นอย่างอื่น เพราะวิญญาณแปรผันและเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัส และอุปายาสจึงไม่เกิดขึ้นแก่พระอริยสาวกนั้น
คหบดี บุคคลแม้ชื่อว่าเป็นผู้มีกายกระสับกระส่าย แต่ไม่ชื่อว่ามีจิตกระสับ
กระส่าย เป็นอย่างนี้แล”
ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวอย่างนี้แล้ว นกุลปิตาคหบดีมีใจยินดี ชื่นชมภาษิต
ของท่านพระสารีบุตร

นกุลปิตุสูตรที่ ๑ จบ

๒. เทวทหสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่เทวทหนิคม

[๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เทวทหนิคมของเจ้าศากยะทั้งหลาย
แคว้นสักกะ ครั้งนั้น ภิกษุจำนวนมากผู้ต้องการจะไปยังปัจฉาภูมชนบท เข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายต้องการจะไป
ยังปัจฉาภูมชนบทเพื่ออยู่อาศัย”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๒. เทวทหสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายบอกลาสารีบุตร
แล้วหรือ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายยังไม่ได้บอกลาท่านพระสารีบุตร”
“ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงไปบอกลาสารีบุตรเสียก่อน สารีบุตรเป็นผู้
อนุเคราะห์๑เพื่อนภิกษุผู้ประพฤติพรหมจรรย์”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว
สมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรนั่งอยู่ในมณฑปเล็ก ๆ ซึ่งมีตะไคร่น้ำขึ้นปกคลุม
แห่งหนึ่ง ในที่ไม่ไกลจากพระผู้มีพระภาค ลำดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นชื่นชม ยินดี
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาท กระทำประทักษิณแล้ว
พากันเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ
พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า
“ท่านพระสารีบุตร พวกกระผมต้องการจะไปยังปัจฉาภูมชนบทเพื่ออยู่อาศัย พวก
กระผมกราบทูลลาพระศาสดาแล้ว”
ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็กษัตริย์ผู้เป็นบัณฑิต๒บ้าง
พราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิต๓บ้าง คหบดีผู้เป็นบัณฑิต๔บ้าง สมณะผู้เป็นบัณฑิต๕บ้าง
ผู้จะถามปัญหากับภิกษุผู้ไปยังประเทศต่าง ๆ มีอยู่ หากคนผู้เป็นบัณฑิตใคร่รู้๖


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๒. เทวทหสูตร

ถามว่า ‘พระศาสดาของพวกท่านมีวาทะอย่างไร ตรัสสอนอย่างไร’ ธรรมทั้งหลาย
อันพวกท่านได้ฟังดี เรียนดี ใส่ใจดี ทรงจำดี รู้แจ้งดีแล้วด้วยปัญญาบ้างหรือ’
พวกท่านเมื่อกล่าวอย่างไร จึงจะชื่อว่าเป็นผู้พูดตรงตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้
ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำเท็จ ชื่อว่ากล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผล ไม่มี
คำกล่าวเช่นนั้นและการคล้อยตามที่จะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้”
“ท่านขอรับ แม้พวกกระผมมาจากที่ไกลก็เพื่อจะรู้เนื้อความแห่งพระภาษิต
นั้นในสำนักท่านสารีบุตร ขอโอกาส เฉพาะท่านสารีบุตรเท่านั้นที่จะอธิบายเนื้อ
ความแห่งพระภาษิตนั้นให้แจ่มแจ้ง”
“ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น ท่านทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี ผมจัก
กล่าว”
ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า
“ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็กษัตริย์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง พราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง
คหบดีผู้เป็นบัณฑิตบ้าง สมณะผู้เป็นบัณฑิตบ้าง ผู้จะถามปัญหากับภิกษุผู้ไปยัง
ประเทศต่าง ๆ มีอยู่ หากคนผู้เป็นบัณฑิตใคร่รู้ถามว่า ‘พระศาสดาของพวกท่าน
มีวาทะอย่างไร ตรัสสอนอย่างไร’
ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้พึงตอบอย่างนี้ว่า ‘พระศาสดาของเรามีปกติตรัส
สอนให้กำจัดฉันทราคะ๑’
แม้เมื่อท่านทั้งหลายได้ตอบไปอย่างนี้ ก็จะพึงมีกษัตริย์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง
พราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง คหบดีผู้เป็นบัณฑิตบ้าง สมณะผู้เป็นบัณฑิตบ้าง
ถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไป หากคนผู้เป็นบัณฑิตใคร่รู้ถามว่า ‘ก็พระศาสดาของพวกท่าน
มีปกติตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะในสิ่งไรเล่า’
ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้พึงตอบอย่างนี้ว่า ‘พระศาสดามีปกติตรัสสอนให้
กำจัดฉันทราคะในรูป ... ในเวทนา ... ในสัญญา ... ในสังขาร พระศาสดา
มีปกติตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะในวิญญาณ’


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๒. เทวทหสูตร

แม้เมื่อท่านทั้งหลายได้ตอบไปอย่างนี้ ก็จะพึงมีกษัตริย์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง
พราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง คหบดีผู้เป็นบัณฑิตบ้าง สมณะผู้เป็นบัณฑิตบ้าง
ถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไป หากคนผู้เป็นบัณฑิตใคร่รู้ถามว่า ‘ก็พระศาสดาของพวก
ท่านทรงเห็นโทษอะไรจึงตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะในรูป ... ในเวทนา ... ในสัญญา
... ในสังขาร จึงตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะในวิญญาณ’
ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้พึงตอบอย่างนี้ว่า ‘เมื่อบุคคลยังไม่ปราศจาก
ความกำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความ
กระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจากความทะยานอยากในรูป เพราะ
รูปนั้นแปรผันและเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงเกิดขึ้น
เมื่อบุคคลยังไม่ปราศจากความกำหนัด ... ในเวทนา ...
เมื่อบุคคลยังไม่ปราศจากความกำหนัด ... ในสัญญา ...
เมื่อบุคคลยังไม่ปราศจากความกำหนัด ฯลฯ ไม่ปราศจากความทะยาน
อยากในสังขาร เพราะสังขารเหล่านั้นแปรผันและเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัส และอุปายาสจึงเกิดขึ้น
เมื่อบุคคลยังไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจาก
ความรัก ไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจาก
ความทะยานอยากในวิญญาณ เพราะวิญญาณนั้นแปรผันและเป็นอย่างอื่น โสกะ
ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงเกิดขึ้น
พระศาสดาของพวกเรา ทรงเห็นโทษนี้แลจึงตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะในรูป
... ในเวทนา ... ในสัญญา ... ในสังขาร จึงตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะในวิญญาณ’
แม้เมื่อท่านทั้งหลายได้ตอบไปอย่างนี้ ก็จะพึงมีกษัตริย์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง
พราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง คหบดีผู้เป็นบัณฑิตบ้าง สมณะผู้เป็นบัณฑิตบ้าง
ถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไป หากคนผู้เป็นบัณฑิตใคร่รู้ถามว่า ‘ก็พระศาสดาของพวกท่าน
ทรงเห็นอานิสงส์อะไรจึงตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะในรูป ... ในเวทนา ... ในสัญญา
... ในสังขาร จึงตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะในวิญญาณ’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๓. หลิททิกานิสูตร

ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้ พึงตอบอย่างนี้ว่า ‘เมื่อบุคคลปราศจากความ
กำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความกระหาย
ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความทะยานอยากในรูป เพราะรูปนั้นแปรผัน
และเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงไม่เกิดขึ้น
เมื่อบุคคลปราศจากความกำหนัด ... ในเวทนา ...
เมื่อบุคคลปราศจากความกำหนัด ... ในสัญญา ...
เมื่อบุคคลปราศจากความกำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจากความรัก
ปราศจากความกระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความทะยานอยากใน
สังขาร เพราะสังขารเหล่านั้นแปรผันและเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
และอุปายาสจึงไม่เกิดขึ้น
เมื่อบุคคลปราศจากความกำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจากความรัก
ปราศจากความกระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความทะยานอยากใน
วิญญาณ เพราะวิญญาณนั้นแปรผันและเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
และอุปายาสจึงไม่เกิดขึ้น
พระศาสดาของพวกเราทรงเห็นอานิสงส์นี้แลจึงตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะ
ในรูป ... ในเวทนา ... ในสัญญา ... ในสังขาร จึงตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะ
ในวิญญาณ’
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อบุคคลเข้าถึงอกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ จักมีการอยู่
เป็นสุข ไม่ลำบาก ไม่คับแค้น ไม่เดือดร้อนในปัจจุบันนี้ และหลังจากตายแล้วพึง
หวังได้๑ สุคติ พระผู้มีพระภาคก็จะไม่ทรงสรรเสริญการละอกุศลธรรมทั้งหลายไว้
แต่เมื่อบุคคลเข้าถึงอกุศลธรรมทั้งหลายอยู่จึงมีการอยู่เป็นทุกข์ ลำบาก คับแค้นใจ
เดือดร้อน ในปัจจุบันนี้ทีเดียว และหลังจากตายแล้วพึงหวังได้ทุคติ ฉะนั้น พระผู้มี
พระภาคจึงทรงสรรเสริญการละอกุศลธรรมทั้งหลายไว้


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๓. หลิททิกานิสูตร

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อบุคคลเข้าถึงกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ก็จักมีการอยู่
เป็นทุกข์ เดือดร้อน๑ คับแค้นใจ เร่าร้อน๒ ในปัจจุบันทีเดียว และหลังจากตาย
แล้วพึงหวังได้ทุคติ พระผู้มีพระภาคก็จะไม่ทรงสรรเสริญความถึงพร้อมกุศลธรรม
ทั้งหลายไว้ แต่เมื่อบุคคลเข้าถึงกุศลธรรมทั้งหลาย จึงมีการอยู่เป็นสุข ไม่เดือดร้อน
ไม่คับแค้นใจ ไม่เร่าร้อนในปัจจุบันนี้ทีเดียว และหลังจากตายแล้วพึงหวังได้สุคติ
ฉะนั้น พระผู้พระภาคจึงทรงสรรเสริญความถึงพร้อมกุศลธรรมทั้งหลายไว้”
ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดี ต่างชื่นชม
ภาษิตของท่านพระสารีบุตร

เทวทหสูตรที่ ๒ จบ

๓. หลิททิกานิสูตร
ว่าด้วยหลิททิกานิคหบดี

[๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัจจานะอยู่ ณ ภูเขาที่มีหน้าผาสูงชัน เขตเมืองกุรรฆระ
แคว้นอวันตี ครั้งนั้น คหบดีชื่อหลิททิกานิเข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะถึงที่อยู่
อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามท่านพระมหากัจจานะดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้ในมาคัณฑิยปัญหาอันมาในอัฏฐกวรรคว่า
‘บุคคลละที่อยู่๓แล้ว ไม่เที่ยวซ่านไปหาที่อาศัย๔
มุนีไม่ทำความเยื่อใยในบ้าน ว่างจากกามทั้งหลาย
ไม่มุ่งหวังอัตภาพต่อไป ไม่พึงกล่าวถ้อยคำขัดแย้งกัน‘๕
ข้าแต่ท่านมหากัจจานะผู้เจริญ เนื้อความแห่งพระภาษิตที่พระผู้มีพระภาค
ตรัสไว้โดยย่อนี้ พึงทราบโดยพิสดารอย่างไร”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๓. หลิททิกานิสูตร

ท่านพระมหากัจจานะตอบว่า “คหบดี รูปธาตุเป็นที่อาศัยแห่งวิญญาณ
วิญญาณที่ผูกพันกับราคะในรูปธาตุ ตรัสเรียกว่า ‘ผู้เที่ยวซ่านไปหาที่อยู่’
เวทนาธาตุเป็นที่อาศัยแห่งวิญญาณ วิญญาณที่ผูกพันกับราคะในเวทนาธาตุ
ตรัสเรียกว่า ‘ผู้เที่ยวซ่านไปหาที่อยู่’
สัญญาธาตุเป็นที่อาศัยแห่งวิญญาณ วิญญาณที่ผูกพันกับราคะในสัญญาธาตุ
ตรัสเรียกว่า ‘ผู้เที่ยวซ่านไปหาที่อยู่’
สังขารธาตุเป็นที่อาศัยแห่งวิญญาณ วิญญาณที่ผูกพันกับราคะในสังขารธาตุ
ตรัสเรียกว่า ‘ผู้เที่ยวซ่านไปหาที่อยู่’
คหบดี บุคคลผู้เที่ยวซ่านไปหาที่อยู่ เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้ไม่เที่ยวซ่านไปหาที่อยู่ เป็นอย่างไร
คือ ความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก
อุบายและความยึดมั่นอันเป็นเหตุที่ใจเข้าไปตั้งมั่นถือมั่นและนอนเนื่องในรูปธาตุ
พระตถาคตทรงละได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคน
ไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ฉะนั้น บัณฑิตจึงเรียกพระ
ตถาคตว่า ‘ผู้ไม่ทรงเที่ยวซ่านไปหาที่อยู่’
ความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก อุบาย
และความยึดมั่นอันเป็นเหตุที่ใจเข้าไปตั้งมั่นถือมั่นและนอนเนื่องในเวทนาธาตุ ฯลฯ
ในสัญญาธาตุ ฯลฯ ในสังขารธาตุ ฯลฯ
ความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก อุบาย
และความยึดมั่นอันเป็นเหตุที่ใจเข้าไปตั้งมั่นถือมั่นและนอนเนื่องในวิญญาณธาตุ
พระตถาคตทรงละได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคน
ไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ฉะนั้น บัณฑิตจึงเรียกพระ
ตถาคตว่า ‘ผู้ไม่ทรงเที่ยวซ่านไปหาที่อยู่’
คหบดี บุคคลผู้ไม่เที่ยวซ่านไปหาที่อยู่ เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้เที่ยวซ่านไปหาที่อาศัย เป็นอย่างไร
คือ ความเที่ยวซ่านไปหาและความผูกพันกับที่อาศัย คือรูปนิมิต ตรัสเรียกว่า
‘ผู้เที่ยวซ่านไปหาที่อาศัย’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๓. หลิททิกานิสูตร

ความเที่ยวซ่านไปหาและความผูกพันกับที่อาศัย คือสัททนิมิต ฯลฯ คันธนิมิต
... รสนิมิต ... โผฏฐัพพนิมิต ... ธัมมนิมิต ตรัสเรียกว่า ‘ผู้เที่ยวซ่านไปหาที่อาศัย’
คหบดี บุคคลผู้เที่ยวซ่านไปหาที่อาศัย เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้ไม่เที่ยวซ่านไปหาที่อาศัย เป็นอย่างไร
คือ ความซ่านไปหาและความผูกพันกับที่อาศัย คือรูปนิมิต พระตถาคต
ทรงละได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว
เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ฉะนั้น บัณฑิตจึงเรียกพระตถาคตว่า
‘ผู้ไม่ทรงเที่ยวซ่านไปหาที่อาศัย’
ความซ่านไปหาและความผูกพันกับที่อาศัย คือสัททนิมิต ... คันธนิมิต ...
รสนิมิต ... โผฏฐัพพนิมิต ... ธัมมนิมิต พระตถาคตละได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน
เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไป
ไม่ได้ ฉะนั้น บัณฑิตจึงเรียกพระตถาคตว่า ‘ผู้ไม่ทรงเที่ยวซ่านไปหาที่อาศัย’
คหบดี บุคคลผู้ไม่เที่ยวซ่านไปหาที่อาศัย เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้เกิดความเยื่อใยในบ้าน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ เกี่ยวข้องอยู่กับคฤหัสถ์ เพลิดเพลิน
ร่วมกัน เศร้าโศกร่วมกัน เมื่อพวกเขาสุข ก็สุขด้วย เมื่อพวกเขาทุกข์ ก็ทุกข์ด้วย
เมื่อพวกเขามีกิจที่ควรทำเกิดขึ้น ก็ลงมือช่วยเหลือด้วยตนเอง
คหบดี บุคคลผู้เกิดความเยื่อใยในบ้าน เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้ไม่เกิดความเยื่อใยในบ้าน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ ไม่เกี่ยวข้องอยู่กับคฤหัสถ์ ไม่
เพลิดเพลินร่วมกัน ไม่เศร้าโศกร่วมกัน เมื่อพวกเขาสุข ก็มิได้สุขด้วย เมื่อพวก
เขาทุกข์ ก็มิได้ทุกข์ด้วย เมื่อพวกเขามีกิจที่ควรทำเกิดขึ้น ก็ไม่ลงมือช่วยเหลือ
ด้วยตนเอง
คหบดี บุคคลผู้ไม่เกิดความเยื่อใยในบ้าน เป็นอย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๓. หลิททิกานิสูตร

บุคคลผู้ไม่ว่างจากกามทั้งหลาย เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ ไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจาก
ความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจากความ
เร่าร้อน ไม่ปราศจากความทะยานอยากในกามทั้งหลาย
คหบดี บุคคลผู้ไม่ว่างจากกามทั้งหลาย เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้ว่างจากกามทั้งหลาย เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ ปราศจากความกำหนัด ปราศจาก
ความพอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความกระหาย ปราศจากความเร่าร้อน
ปราศจากความทะยานอยากในกามทั้งหลาย
คหบดี บุคคลผู้ว่างจากกามทั้งหลาย เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้มุ่งหวังอัตภาพต่อไป เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ มีความมุ่งหวังอย่างนี้ว่า ‘ในอนาคตกาล
เราพึงมีรูปอย่างนี้ ... ในอนาคตกาล เราพึงมีเวทนาอย่างนี้ ... ในอนาคตกาล
เราพึงมีสัญญาอย่างนี้ ... ในอนาคตกาล เราพึงมีสังขารอย่างนี้ ... ในอนาคตกาล
เราพึงมีวิญญาณอย่างนี้’
คหบดี บุคคลผู้มุ่งหวังอัตภาพต่อไป เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้ไม่มุ่งหวังอัตภาพต่อไป เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ ไม่มีความมุ่งหวังอย่างนี้ว่า ‘ในอนาคตกาล
เราพึงมีรูปอย่างนี้ ... ในอนาคตกาล เราพึงมีเวทนาอย่างนี้ ... ในอนาคตกาล
เราพึงมีสัญญาอย่างนี้ ... ในอนาคตกาล เราพึงมีสังขารอย่างนี้ ... ในอนาคตกาล
เราพึงมีวิญญาณอย่างนี้’
คหบดี บุคคลผู้ไม่มุ่งหวังอัตภาพต่อไป เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้กล่าวถ้อยคำขัดแย้งกัน เป็นอย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๓. หลิททิกานิสูตร

คือ ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้กล่าวถ้อยคำเห็นปานนี้ว่า ‘ท่าน
ไม่รู้พระธรรมวินัยนี้ เรารู้พระธรรมวินัยนี้ ท่านรู้พระธรรมวินัยนี้ได้อย่างไร ท่าน
ปฏิบัติผิด เราปฏิบัติถูก คำที่ควรกล่าวก่อน ท่านก็กล่าวทีหลัง คำที่ควรกล่าว
ทีหลัง ท่านก็กล่าวก่อน คำของเรามีประโยชน์ คำของท่านไม่มีประโยชน์ ข้อที่
ท่านเคยปฏิบัติมาผิดเสียแล้ว เรากล่าวหาท่าน ท่านจงแก้ข้อกล่าวหาเสีย เราข่ม
ท่านได้แล้ว หรือหากท่านสามารถก็จงแก้ไขเถิด’
คหบดี บุคคลผู้กล่าวถ้อยคำขัดแย้งกัน เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้ไม่กล่าวถ้อยคำขัดแย้ง เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่กล่าวถ้อยคำเห็นปานนี้ว่า
‘ท่านไม่รู้พระธรรมวินัยนี้ เรารู้พระธรรมวินัยนี้ ท่านรู้พระธรรมวินัยนี้ได้อย่างไร
ท่านปฏิบัติผิด เราปฏิบัติถูก คำที่ควรกล่าวก่อน ท่านก็กล่าวทีหลัง คำที่ควร
กล่าวทีหลัง ท่านก็กล่าวก่อน คำของเรามีประโยชน์ คำของท่านไม่มีประโยชน์
ข้อที่ท่านเคยปฏิบัติมาผิดเสียแล้ว เรากล่าวหาท่าน ท่านจงแก้ข้อกล่าวหาเสีย
เราข่มท่านได้แล้ว หรือหากท่านสามารถก็จงแก้ไขเถิด’
คหบดี บุคคลผู้ไม่กล่าวถ้อยคำขัดแย้งกัน เป็นอย่างนี้แล
คหบดี พระภาษิตที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ในมาคัณฑิยปัญหา อันมาใน
อัฏฐกวรรคว่า
‘บุคคลละที่อยู่แล้ว ไม่เที่ยวซ่านไปหาที่อาศัย
มุนีไม่ทำความเยื่อใยในบ้าน ว่างจากกามทั้งหลาย
ไม่มุ่งหวังอัตภาพต่อไป ไม่พึงกล่าวถ้อยคำขัดแย้งกัน’
คหบดี เนื้อความแห่งพระภาษิตที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยย่อ พึงทราบ
โดยพิสดารอย่างนี้แล”

หลิททิกานิสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๔. ทุติยหลิททิกานิสูตร

๔. ทุติยหลิททิกานิสูตร
ว่าด้วยหลิททิกานิคหบดี สูตรที่ ๒

[๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัจจานะอยู่ ณ ภูเขาที่มีหน้าผาสูงชัน เขตเมือง
กุรรฆระ แคว้นอวันตี ครั้งนั้น คหบดีชื่อหลิททิกานิเข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะ
ถึงที่อยู่ อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามท่านพระมหากัจจานะดังนี้ว่า
“ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้ในสักกปัญหา๑ว่า ‘สมณ-
พราหมณ์ ผู้หลุดพ้นเพราะสิ้นตัณหาเท่านั้นจึงจะมีความสำเร็จขั้นสูงสุด๒ มีความ
เกษมจากโยคะ๓ขั้นสูงสุด มีพรหมจรรย์๔ขั้นสูงสุด มีจุดหมาย๕ขั้นสูงสุด เป็นผู้
ประเสริฐสุดกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย’ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เนื้อความแห่งพระ
ภาษิตที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยย่อนี้ พึงทราบโดยพิสดารอย่างไร”
พระมหากัจจานะได้กล่าวว่า “คหบดี ความพอใจ ความกำหนัด ความ
เพลิดเพลิน ความทะยานอยาก อุบายและความยึดมั่นอันเป็นเหตุที่ใจเข้าไปตั้งมั่น
ถือมั่นและนอนเนื่องในรูปธาตุ ท่านกล่าวว่า ‘จิตหลุดพ้นดีแล้ว’ เพราะความสิ้นไป
คลายกำหนัด ดับ สละ ปล่อยวางความพอใจเป็นต้นเหล่านั้น
ความพอใจ ความกำหนัด ... ในเวทนาธาตุ ฯลฯ ในสัญญาธาตุ ฯลฯ
ในสังขารธาตุ ฯลฯ
ความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก อุบาย
และความยึดมั่นอันเป็นเหตุที่ใจเข้าไปตั้งมั่นถือมั่นและนอนเนื่องในวิญญาณธาตุ
ท่านกล่าวว่า ‘จิตหลุดพ้นดีแล้ว’ เพราะความสิ้นไป คลายกำหนัด ดับ สละ
ปล่อยวางความพอใจเป็นต้นเหล่านั้น
คหบดี พระภาษิตที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ในสักกปัญหาว่า ‘สมณพราหมณ์
ผู้หลุดพ้นเพราะสิ้นตัณหาเท่านั้นจึงจะมีความสำเร็จขั้นสูงสุด มีความเกษมจากโยคะ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๕. สมาธิสูตร

ขั้นสูงสุด มีพรหมจรรย์ขั้นสูงสุด มีจุดหมายขั้นสูงสุด เป็นผู้ประเสริฐสุดกว่า
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย’
คหบดี เนื้อความแห่งพระภาษิตที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยย่อนี้ พึงทราบ
โดยพิสดารอย่างนี้แล”

ทุติยหลิททิกานิสูตรที่ ๔ จบ

๕. สมาธิสูตร
ว่าด้วยสมาธิ

[๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลาย
มาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มี
พระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิเถิด ภิกษุผู้มีจิตตั้งมั่น ย่อมรู้ชัด
ตามความเป็นจริง
รู้ชัดอะไรเล่าตามความเป็นจริง
คือ ภิกษุรู้ชัดความเกิดและความดับแห่งรูป ความเกิดและความดับแห่งเวทนา
ความเกิดและความดับแห่งสัญญา ความเกิดและความดับแห่งสังขาร ความเกิดและ
ความดับแห่งวิญญาณ
อะไรเป็นความเกิดแห่งรูป อะไรเป็นความเกิดแห่งเวทนา อะไรเป็น
ความเกิดแห่งสัญญา อะไรเป็นความเกิดแห่งสังขาร อะไรเป็นความเกิดแห่ง
วิญญาณ
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เพลิดเพลิน เชยชม ยึดติด
ภิกษุเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดอะไรเล่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๖. ปฏิสัลลานสูตร

คือ ภิกษุเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดรูป เมื่อเธอเพลิดเพลิน เชยชม ยึด
ติดรูป ความเพลิดเพลินจึงเกิดขึ้น ความเพลิดเพลินในรูปเป็นอุปาทาน เพราะ
อุปาทานของภิกษุนั้นเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะ
ชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
จึงมี ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้มีได้ด้วยประการอย่างนี้
ภิกษุเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดเวทนา ฯลฯ
ภิกษุเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดสัญญา ฯลฯ
ภิกษุเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดสังขาร ฯลฯ
ภิกษุเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดวิญญาณ เมื่อเธอเพลิดเพลิน เชยชม ยึด
ติดวิญญาณ ความเพลิดเพลินจึงเกิดขึ้น ความเพลิดเพลินในวิญญาณเป็นอุปาทาน
เพราะอุปาทานของภิกษุนั้นเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี ฯลฯ
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้มีได้ด้วยประการอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งรูป นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งเวทนา นี้
เป็นความเกิดขึ้นแห่งสัญญา นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งสังขาร นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่ง
วิญญาณ
อะไรเป็นความดับแห่งรูป ... แห่งเวทนา ฯลฯ แห่งสัญญา ฯลฯ
แห่งสังขาร อะไรเป็นความดับแห่งวิญญาณ
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติด
ภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดอะไรเล่า
คือ ภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดรูป เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม
ไม่ยึดติดรูป ความเพลิดเพลินในรูปจึงดับ เพราะความเพลิดเพลินของภิกษุนั้นดับ
อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวล
นี้มีได้ด้วยประการอย่างนี้
ภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดเวทนา เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่
เชยชม ไม่ยึดติดเวทนา ความเพลิดเพลินในเวทนาจึงดับ เพราะความเพลิดเพลิน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๖. ปฏิสัลลานสูตร

ของภิกษุนั้นดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ฯลฯ ความดับ
แห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้มีได้ด้วยประการอย่างนี้
ภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดสัญญา ฯลฯ
ภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดสังขาร เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม
ไม่ยึดติดสังขาร ความเพลิดเพลินในสังขารจึงดับ เพราะความเพลิดเพลินของภิกษุ
นั้นดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกอง
ทุกข์ทั้งมวลนี้มีได้ด้วยประการอย่างนี้
ภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดวิญญาณ เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่
เชยชม ไม่ยึดติดวิญญาณ ความเพลิดเพลินในวิญญาณจึงดับ เพราะความ
เพลิดเพลินของภิกษุนั้นดับ อุปาทานจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้
มีได้ด้วยประการอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความดับแห่งรูป นี้เป็นความดับแห่งเวทนา นี้เป็น
ความดับแห่งสัญญา นี้เป็นความดับแห่งสังขาร นี้เป็นความดับแห่งวิญญาณ”

สมาธิสูตรที่ ๕ จบ

๖. ปฏิสัลลานสูตร
ว่าด้วยการหลีกเร้น

[๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงประกอบความเพียร
ในที่สงัด ภิกษุผู้หลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริง
รู้ชัดอะไรเล่าตามความเป็นจริง
คือ ภิกษุรู้ชัดความเกิดและความดับแห่งรูป ความเกิดและความดับแห่งเวทนา
ความเกิดและความดับแห่งสัญญา ความเกิดและความดับแห่งสังขาร ความเกิด
และความดับแห่งวิญญาณ (พึงเพิ่มข้อความที่เหลือให้พิสดารเหมือนในสูตรที่ ๑)

ปฏิสัลลานสูตรที่ ๖ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๗. อุปาทาปริตัสสนาสูตร

๗. อุปาทาปริตัสสนาสูตร
ว่าด้วยความสะดุ้งเพราะถือมั่น

[๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความสะดุ้งเพราะถือมั่น
และความไม่สะดุ้งเพราะไม่ถือมั่นแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี
เราจักกล่าว”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ความสะดุ้งเพราะถือมั่น เป็นอย่างไร
คือ ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของ
พระอริยะ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาด
ในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ พิจารณาเห็นรูปโดย
ความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป พิจารณาเห็นรูปในอัตตา หรือ
พิจารณาเห็นอัตตาในรูป รูปของเขาแปรผันเป็นอย่างอื่น เพราะรูปแปรผันและ
เป็นอย่างอื่น วิญญาณจึงหมุนเวียนไปตามความแปรผันแห่งรูป ความสะดุ้ง
และความเกิดขึ้นแห่งธรรมที่เกิดจากความหมุนเวียนไปตามความแปรผันแห่งรูป ก็
ครอบงำจิตของปุถุชนนั้นตั้งอยู่ เพราะจิตถูกครอบงำ ปุถุชนนั้นจึงหวาดกลัว
ลำบากใจ ห่วงใย และสะดุ้งเพราะถือมั่น
พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีเวทนา
พิจารณาเห็นเวทนาในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในเวทนา เวทนาของเขา
แปรผันเป็นอย่างอื่น เพราะเวทนาแปรผันและเป็นอย่างอื่น วิญญาณจึงหมุนเวียนไป
ตามความแปรผันแห่งเวทนา ความสะดุ้งและความเกิดขึ้นแห่งธรรมที่เกิดจากความ
หมุนเวียนไปตามความแปรผันแห่งเวทนา ก็ครอบงำจิตของปุถุชนนั้นตั้งอยู่ เพราะ
จิตถูกครอบงำ ปุถุชนนั้นจึงหวาดกลัว ลำบากใจ ห่วงใย และสะดุ้งเพราะถือมั่น
พิจารณาเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๗. อุปาทาปริตัสสนาสูตร

พิจารณาเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีสังขาร
พิจารณาเห็นสังขารในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในสังขาร สังขารของเขาแปรผัน
เป็นอย่างอื่น เพราะสังขารแปรผันและเป็นอย่างอื่น วิญญาณจึงหมุนเวียนไปตาม
ความแปรผันแห่งสังขาร ความสะดุ้งและความเกิดขึ้นแห่งธรรมที่เกิดจากความ
หมุนเวียนไปตามความแปรผันแห่งสังขาร ก็ครอบงำจิตของปุถุชนนั้นตั้งอยู่ เพราะ
จิตถูกครอบงำ ปุถุชนนั้นจึงหวาดกลัว ลำบากใจ ห่วงใย และสะดุ้งเพราะถือมั่น
พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณ
พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ วิญญาณของ
เขาแปรผันเป็นอย่างอื่น เพราะวิญญาณแปรผันและเป็นอย่างอื่น วิญญาณจึง
หมุนเวียนไปตามความแปรผันแห่งวิญญาณ ความสะดุ้งและความเกิดขึ้นแห่งธรรม
ที่เกิดจากความหมุนเวียนไปตามความแปรผันแห่งวิญญาณ ก็ครอบงำจิตของ
ปุถุชนนั้นตั้งอยู่ เพราะจิตถูกครอบงำ ปุถุชนนั้นจึงหวาดกลัว ลำบากใจ ห่วงใย
และสะดุ้งเพราะถือมั่น
ภิกษุทั้งหลาย ความสะดุ้งเพราะถือมั่น เป็นอย่างนี้แล
ความไม่สะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ผู้ได้สดับ ได้เห็นพระอริยะ ฉลาดในธรรมของ
พระอริยะ ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดในธรรม
ของสัตบุรุษ ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ไม่พิจารณาเห็นรูปโดยความ
เป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป ไม่พิจารณาเห็นรูปในอัตตา หรือไม่
พิจารณาเห็นอัตตาในรูป รูปของอริยสาวกนั้นแปรผันเป็นอย่างอื่น เพราะรูป
แปรผันและเป็นอย่างอื่น วิญญาณจึงไม่หมุนเวียนไปตามความแปรผันแห่งรูป
ความสะดุ้งและความเกิดขึ้นแห่งธรรมที่เกิดจากความหมุนเวียนไปตามความแปรผัน
แห่งรูป ก็ไม่ครอบงำจิตของอริยสาวกนั้นตั้งอยู่ เพราะจิตไม่ถูกครอบงำ อริยสาวก
นั้นจึงไม่หวาดกลัว ไม่ลำบากใจ ไม่ห่วงใย และไม่สะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๗. อุปาทาปริตัสสนาสูตร

ไม่พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีเวทนา
ไม่พิจารณาเห็นเวทนาในอัตตา หรือไม่พิจารณาเห็นอัตตาในเวทนา เวทนาของ
อริยสาวกนั้นแปรผันเป็นอย่างอื่น เพราะเวทนาแปรผันและเป็นอย่างอื่น วิญญาณ
จึงไม่หมุนเวียนไปตามความแปรผันแห่งเวทนา ความสะดุ้งและความเกิดขึ้นแห่ง
ธรรมที่เกิดจากความหมุนเวียนไปตามความแปรผันแห่งเวทนา ก็ไม่ครอบงำจิต
ของอริยสาวกนั้นตั้งอยู่ เพราะจิตไม่ถูกครอบงำ อริยสาวกนั้นจึงไม่หวาดกลัว ไม่
ลำบากใจ ไม่ห่วงใย และไม่สะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น
ไม่พิจารณาเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ
ไม่พิจารณาเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีสังขาร
ไม่พิจารณาเห็นสังขารในอัตตา หรือไม่พิจารณาเห็นอัตตาในสังขาร สังขารของ
อริยสาวกนั้นแปรผันเป็นอย่างอื่น เพราะสังขารแปรผันและเป็นอย่างอื่น วิญญาณ
จึงไม่หมุนเวียนไปตามความแปรผันแห่งสังขาร ความสะดุ้งและความเกิดขึ้นแห่ง
ธรรมที่เกิดจากความหมุนเวียนไปตามความแปรผันแห่งสังขาร ก็ไม่ครอบงำจิตของ
อริยสาวกนั้นตั้งอยู่ เพราะจิตไม่ถูกครอบงำ อริยสาวกนั้นจึงไม่หวาดกลัว ไม่
ลำบากใจ ไม่ห่วงใย และไม่สะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น
ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณ
ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา หรือไม่พิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ วิญญาณ
ของอริยสาวกนั้นแปรผันเป็นอย่างอื่น เพราะวิญญาณแปรผันและเป็นอย่างอื่น
วิญญาณจึงไม่หมุนเวียนไปตามความแปรผันแห่งวิญญาณ ความสะดุ้งและความ
เกิดขึ้นแห่งธรรมที่เกิดจากความหมุนเวียนไปตามความแปรผันแห่งวิญญาณ ก็ไม่
ครอบงำจิตของอริยสาวกนั้นตั้งอยู่ เพราะจิตไม่ถูกครอบงำ อริยสาวกนั้นจึงไม่
หวาดกลัว ไม่ลำบากใจ ไม่ห่วงใย และไม่สะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น
ภิกษุทั้งหลาย ความไม่สะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น เป็นอย่างนี้แล”

อุปาทาปริตัสสนาสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๘. ทุติยอุปาทานปริตัสสนาสูตร

๘. ทุติยอุปาทาปริตัสสนาสูตร
ว่าด้วยความสะดุ้งเพราะถือมั่น สูตรที่ ๒

[๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความสะดุ้งเพราะถือมั่น
และความไม่สะดุ้งเพราะไม่ถือมั่นแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ
ความสะดุ้งเพราะถือมั่น เป็นอย่างไร
คือ ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ พิจารณาเห็นรูปว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น
นั่นเป็นอัตตาของเรา’ รูปของเขาแปรผันเป็นอย่างอื่น เพราะรูปแปรผันและเป็น
อย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงเกิดขึ้นแก่เขา
พิจารณาเห็นเวทนาว่า ‘นั่นของเรา ฯลฯ
พิจารณาเห็นสัญญาว่า ‘นั่นของเรา ฯลฯ
พิจารณาเห็นสังขารว่า ‘นั่นของเรา ฯลฯ
พิจารณาเห็นวิญญาณว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’
วิญญาณของเขาแปรผันเป็นอย่างอื่น เพราะวิญญาณแปรผันและเป็นอย่างอื่น โสกะ
ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงเกิดขึ้นแก่เขา
ภิกษุทั้งหลาย ความสะดุ้งเพราะถือมั่น เป็นอย่างนี้แล
ความไม่สะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ผู้ได้สดับ พิจารณาเห็นรูปว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา
เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ รูปของอริยสาวกนั้นแปรผันเป็นอย่างอื่น
เพราะรูปแปรผันและเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึง
ไม่เกิดขึ้นแก่อริยสาวกนั้น
พิจารณาเห็นเวทนาว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา ฯลฯ
พิจารณาเห็นสัญญาว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา ฯลฯ
พิจารณาเห็นสังขารว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๙. กาลัตตยอนิตตสูตร

พิจารณาเห็นวิญญาณว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตา
ของเรา’ วิญญาณของอริยสาวกนั้นแปรผันเป็นอย่างอื่น เพราะวิญญาณแปรผัน
และเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงไม่เกิดขึ้นแก่
อริยสาวกนั้น
ภิกษุทั้งหลาย ความไม่สะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น เป็นอย่างนี้แล”

ทุติยอุปาทาปริตัสสนาสูตรที่ ๘ จบ

๙. กาลัตตยอนิจจสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ไม่เที่ยงใน ๓ กาล

[๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอดีตและอนาคต ไม่เที่ยง
ไม่จำต้องกล่าวถึงรูปที่เป็นปัจจุบันเลย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่
อาลัยในรูปที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินรูปที่เป็นอนาคต ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย
เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับรูปที่เป็นปัจจุบัน
เวทนาที่เป็นอดีตและอนาคต ไม่เที่ยง ฯลฯ
สัญญาที่เป็นอดีตและอนาคต ไม่เที่ยง ฯลฯ
สังขารที่เป็นอดีตและอนาคต ไม่เที่ยง ไม่จำต้องกล่าวถึงสังขารที่เป็นปัจจุบัน
เลย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่อาลัยในสังขารที่เป็นอดีต ไม่
เพลิดเพลินสังขารที่เป็นอนาคต ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด
เพื่อดับสังขารที่เป็นปัจจุบัน
วิญญาณที่เป็นอดีตและอนาคต ไม่เที่ยง ไม่จำต้องกล่าวถึงวิญญาณที่เป็น
ปัจจุบันเลย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่อาลัยในวิญญาณที่เป็นอดีต
ไม่เพลิดเพลินวิญญาณที่เป็นอนาคต ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด
เพื่อดับวิญญาณที่เป็นปัจจุบัน”

กาลัตตยอนิจจสูตรที่ ๙ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๑๑. กาลัตตยอนัตตสูตร

๑๐. กาลัตตยทุกขสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นทุกข์ใน ๓ กาล

[๑๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นทุกข์
ไม่จำต้องกล่าวถึงรูปที่เป็นปัจจุบันเลย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่
อาลัยในรูปที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินรูปที่เป็นอนาคต ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย
เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับรูปที่เป็นปัจจุบัน
เวทนาที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นทุกข์ ฯลฯ
สัญญาที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นทุกข์ ฯลฯ
สังขารที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นทุกข์ ฯลฯ
วิญญาณที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นทุกข์ ไม่จำต้องกล่าวถึงวิญญาณที่เป็น
ปัจจุบันเลย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่อาลัยในวิญญาณที่เป็นอดีต
ไม่เพลิดเพลินวิญญาณที่เป็นอนาคต ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด
เพื่อดับวิญญาณที่เป็นปัจจุบัน”

กาลัตตยทุกขสูตรที่ ๑๐ จบ

๑๑. กาลัตตยอนัตตสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นอนัตตาใน ๓ กาล

[๑๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นอนัตตา
ไม่จำต้องกล่าวถึงรูปที่เป็นปัจจุบันเลย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่
อาลัยในรูปที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินรูปที่เป็นอนาคต ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย
เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับรูปที่เป็นปัจจุบัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

เวทนาที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นอนัตตา ฯลฯ
สัญญาที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นอนัตตา ฯลฯ
สังขารที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นอนัตตา ฯลฯ
วิญญาณที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นอนัตตา ไม่จำต้องกล่าวถึงวิญญาณที่
เป็นปัจจุบันเลย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่อาลัยในวิญญาณที่เป็น
อดีต ไม่เพลิดเพลินวิญญาณที่เป็นอนาคต ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลาย
กำหนัด เพื่อดับวิญญาณที่เป็นปัจจุบัน”

กาลัตตยอนัตตสูตรที่ ๑๑ จบ
นกุลปิตุวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. นกุลปิตุสูตร ๒. เทวทหสูตร
๓. หลิททิกานิสูตร ๔. ทุติยหลิททิกานิสูตร
๕. สมาธิสูตร ๖. ปฏิสัลลานสูตร
๗. อุปาทาปริตัสสนาสูตร ๘. ทุติยอุปาทาปริตัสสนาสูตร
๙. กาลัตตยอนิจจสูตร ๑๐. กาลัตตยทุกขสูตร
๑๑. กาลัตตยอนัตตสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๒. อนิจจวรรค ๑. อนิจจสูตร

๒. อนิจจวรรค
หมวดว่าด้วยสิ่งที่ไม่เที่ยง
๑. อนิจจสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ไม่เที่ยง

[๑๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลาย
มาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขาร
ไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขาร
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด
จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว๑ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว๒ ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่าง
นี้อีกต่อไป๓”

อนิจจสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๒. อนิจจวรรค ๓. อนันตสูตร

๒. ทุกขสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นทุกข์

[๑๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นทุกข์ เวทนาเป็นทุกข์
สัญญาเป็นทุกข์ สังขารเป็นทุกข์ วิญญาณเป็นทุกข์
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจ
อื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

ทุกขสูตรที่ ๒ จบ

๓. อนัตตสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นอนัตตา

[๑๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา เวทนาเป็นอนัตตา
สัญญาเป็นอนัตตา สังขารเป็นอนัตตา วิญญาณเป็นอนัตตา
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขาร
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด
จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
อีกต่อไป”

อนัตตสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๒. อนิจจวรรค ๕. ยังทุกขสูตร

๔. ยทนิจจสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ไม่เที่ยง

[๑๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น
เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลาย
พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็น
นั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
เวทนาไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา
สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง
อย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
สัญญาไม่เที่ยง ฯลฯ
สังขารไม่เที่ยง ฯลฯ
วิญญาณไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็น
อนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความ
เป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจ
อื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”๑

ยทนิจจสูตรที่ ๔ จบ

๕. ยังทุกขสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นทุกข์

[๑๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้น
เป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตาม
ความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๒. อนิจจวรรค ๖. ยทนัตตาสูตร

เวทนาเป็นทุกข์ ฯลฯ
สัญญาเป็นทุกข์ ฯลฯ
สังขารเป็นทุกข์ ฯลฯ
วิญญาณเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้น
เธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา
เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”๑

ยังทุกขสูตรที่ ๕ จบ

๖. ยทนัตตาสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นอนัตตา

[๑๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา
สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่
ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
เวทนาเป็นอนัตตา ฯลฯ
สัญญาเป็นอนัตตา ฯลฯ
สังขารเป็นอนัตตา ฯลฯ
วิญญาณเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วย
ปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่
ใช่อัตตาของเรา’
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจ
อื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”๒

ยทนัตตาสูตรที่ ๖ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๒. อนิจจวรรค ๘. สเหตุทุกขสูตร

๗. สเหตุอนิจจสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ไม่เที่ยงพร้อมทั้งเหตุปัจจัย

[๑๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง แม้เหตุปัจจัยที่ให้รูป
เกิดขึ้นก็ไม่เที่ยง รูปเกิดจากสิ่งที่ไม่เที่ยง ที่ไหนจักเที่ยงเล่า
เวทนาไม่เที่ยง แม้เหตุปัจจัยที่ให้เวทนาเกิดขึ้นก็ไม่เที่ยง เวทนาเกิดจากสิ่งที่
ไม่เที่ยง ที่ไหนจักเที่ยงเล่า
สัญญาไม่เที่ยง ฯลฯ
สังขารไม่เที่ยง แม้เหตุปัจจัยที่ให้สังขารเกิดขึ้นก็ไม่เที่ยง สังขารเกิดจากสิ่งที่
ไม่เที่ยง ที่ไหนจักเที่ยงเล่า
วิญญาณไม่เที่ยง แม้เหตุปัจจัยที่ให้วิญญาณเกิดขึ้นก็ไม่เที่ยง วิญญาณเกิด
จากสิ่งที่ไม่เที่ยง ที่ไหนจักเที่ยงเล่า
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจ
อื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”๑

สเหตุอนิจจสูตรที่ ๗ จบ

๘. สเหตุทุกขสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นทุกข์พร้อมทั้งเหตุปัจจัย

[๑๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นทุกข์ แม้เหตุปัจจัยที่ให้รูป
เกิดขึ้นก็เป็นทุกข์ รูปเกิดจากสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ไหนจักมีสุขเล่า
เวทนาเป็นทุกข์ ฯลฯ
สัญญาเป็นทุกข์ ฯลฯ
สังขารเป็นทุกข์ ฯลฯ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๒. อนิจจวรรค ๑๐. อานันทสูตร

วิญญาณเป็นทุกข์ แม้เหตุปัจจัยที่ให้วิญญาณเกิดขึ้นก็เป็นทุกข์ วิญญาณเกิด
จากสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ไหนจักมีสุขเล่า
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจ
อื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”๑

สเหตุทุกขสูตรที่ ๘ จบ

๙. สเหตุอนัตตสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นอนัตตาพร้อมทั้งเหตุปัจจัย

[๒๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา แม้เหตุปัจจัยที่ให้
รูปเกิดขึ้นก็เป็นอนัตตา รูปเกิดจากสิ่งที่เป็นอนัตตา ที่ไหนจักมีอัตตาเล่า
เวทนาเป็นอนัตตา ฯลฯ
สัญญาเป็นอนัตตา ฯลฯ
สังขารเป็นอนัตตา ฯลฯ
วิญญาณเป็นอนัตตา แม้เหตุปัจจัยที่ให้วิญญาณเกิดขึ้นก็เป็นอนัตตา วิญญาณ
เกิดจากสิ่งที่เป็นอนัตตา ที่ไหนจักมีอัตตาเล่า
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”๒

สเหตุอนัตตสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. อานันทสูตร
ว่าด้วยพระอานนท์

[๒๑] เรื่องเกิดขึ้นที่อารามในกรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๒. อนิจจวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ความดับพระองค์ตรัสเรียกว่า ‘นิโรธ’ ความดับแห่งธรรมเหล่าไหน พระองค์ตรัส
เรียกว่า ‘นิโรธ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ รูปไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มี
ความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา ความดับแห่งรูปนั้น เรา
เรียกว่า ‘นิโรธ’
เวทนาไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็น
ธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไป
เป็นธรรมดา ความดับแห่งเวทนานั้น เราเรียกว่า ‘นิโรธ’
สัญญาไม่เที่ยง ฯลฯ
สังขารไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็น
ธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไป
เป็นธรรมดา ความดับแห่งสังขารนั้น เราเรียกว่า ‘นิโรธ’
วิญญาณไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็น
ธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไป
เป็นธรรมดา ความดับแห่งวิญญาณนั้น เราเรียกว่า ‘นิโรธ”

อานันทสูตรที่ ๑๐ จบ
อนิจจวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อนิจจสูตร ๒. ทุกขสูตร
๓. อนัตตสูตร ๔. ยทนิจจสูตร
๕. ยังทุกขสูตร ๖. ยทนัตตาสูตร
๗. สเหตุอนิจจสูตร ๘. สเหตุทุกขสูตร
๙. สเหตุอนัตตสูตร ๑๐. อานันทสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๓. ภารวรรค ๑. ภารสูตร

๓. ภารวรรค
หมวดว่าด้วยภาระ
๑. ภารสูตร
ว่าด้วยภาระ

[๒๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงภาระ ผู้แบกภาระ
การถือภาระ และการวางภาระแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ
ภาระ เป็นอย่างไร
คือ ควรกล่าวได้ว่า ภาระนั้น ได้แก่ อุปาทานขันธ์ (กองอันเป็นที่ตั้งแห่ง
ความยึดมั่น) ๕ ประการ
อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป)
๒. เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา)
๓. สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา)
๔. สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร)
๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ)
นี้เรียกว่า ภาระ
ผู้แบกภาระ เป็นอย่างไร
คือ ควรกล่าวได้ว่า ผู้แบกภาระนั้น ได้แก่ บุคคลผู้มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้
นี้เรียกว่า ผู้แบกภาระ
การถือภาระ เป็นอย่างไร
คือ ตัณหาอันทำให้เกิดอีก ประกอบด้วยความเพลิดเพลินและความกำหนัด
มีปกติให้เพลิดเพลินในอารมณ์นั้น ๆ ได้แก่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๓. ภารวรรค ๒. ปริญญาสูตร

๑. กามตัณหา (ความทะยานอยากในกาม)
๒. ภวตัณหา (ความทะยานอยากในภพ)
๓. วิภวตัณหา (ความทะยานอยากในวิภพ)
นี้เรียกว่า การถือภาระ
การวางภาระ เป็นอย่างไร
คือ ความดับตัณหาไม่เหลือด้วยวิราคะ ความสละ ความสละคืน ความพ้น
ความไม่อาลัยในตัณหา
นี้เรียกว่า การวางภาระ”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา-
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
“ขันธ์ ๕ คือภาระ บุคคลคือผู้แบกภาระ
การถือภาระเป็นทุกข์ในโลก การวางภาระเป็นสุขในโลก
บุคคลวางภาระหนักได้แล้ว ไม่ถือภาระอื่นไว้
ถอนตัณหาพร้อมทั้งราก สิ้นความอยาก ดับสนิทแล้ว”

ภารสูตรที่ ๑ จบ

๒. ปริญญาสูตร
ว่าด้วยการกำหนดรู้

[๒๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ควรกำหนดรู้
และการกำหนดรู้ เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เป็นอย่างไร
คือ รูปเป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้ เวทนาเป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้ สัญญา
เป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้ สังขารเป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้ วิญญาณเป็นธรรมที่ควร
กำหนดรู้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๓. ภารวรรค ๓. อภิชานสูตร

เหล่านี้เรียกว่า ธรรมที่ควรกำหนดรู้
การกำหนดรู้ เป็นอย่างไร
คือ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ
นี้เรียกว่า การกำหนดรู้”

ปริญญาสูตรที่ ๒ จบ

๓. อภิชานสูตร
ว่าด้วยผู้รู้ยิ่ง

[๒๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้
ไม่คลายกำหนัด ไม่ละรูป เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์
บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละเวทนา เป็นผู้ไม่
ควรเพื่อความสิ้นทุกข์
บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ... สัญญา ฯลฯ
บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละสังขาร เป็นผู้ไม่
ควรเพื่อความสิ้นทุกข์
บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละวิญญาณ เป็นผู้ไม่
ควรเพื่อความสิ้นทุกข์
ภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง๑ กำหนดรู้๒ คลายกำหนัด๓ ละรูปได้ เป็น
ผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์
บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง ... เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๓. ภารวรรค ๔. ฉันทราคสูตร

บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัด ละวิญญาณได้ เป็นผู้ควรเพื่อความ
สิ้นทุกข์”

อภิชานสูตรที่ ๓ จบ

๔. ฉันทราคสูตร
ว่าด้วยการละฉันทราคะ

[๒๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละฉันทราคะในรูป
ด้วยการละอย่างนี้ เธอทั้งหลายจักละรูปนั้นได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน เหมือน
ต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
เธอทั้งหลายจงละฉันทราคะในเวทนา ด้วยการละอย่างนี้ เธอทั้งหลายจักละ
เวทนานั้นได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว
เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
เธอทั้งหลายจงละฉันทราคะในสัญญา ด้วยการละอย่างนี้ เธอทั้งหลายจักละ
สัญญานั้นได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว
เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
เธอทั้งหลายจงละฉันทราคะในสังขาร ด้วยการละอย่างนี้ เธอทั้งหลายจักละ
สังขารนั้นได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว
เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
เธอทั้งหลายจงละฉันทราคะในวิญญาณ ด้วยการละอย่างนี้ เธอทั้งหลายจัก
ละวิญญาณนั้นได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไป
แล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้”๑

ฉันทราคสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๓. ภารวรรค ๕. อัสสาทสูตร

๕. อัสสาทสูตร
ว่าด้วยคุณของขันธ์

[๒๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อก่อนเราเป็นโพธิสัตว์ ยังไม่ได้
ตรัสรู้ ได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘อะไรหนอเป็นคุณ๑ อะไรเป็นโทษ๒ อะไรเป็นเครื่อง
สลัดออกจากรูป
อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นเครื่องสลัดออกจากเวทนา
อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นเครื่องสลัดออกจากสัญญา
อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นเครื่องสลัดออกจากสังขาร
อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นเครื่องสลัดออกจากวิญญาณ’
ภิกษุทั้งหลาย เรานั้นได้มีความคิดต่อไปดังนี้ว่า ‘สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยรูป
เกิดขึ้น นี้เป็นคุณของรูป สภาพที่รูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา
นี้เป็นโทษของรูป ธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะ๓ ในรูป
นี้เป็นเครื่องสลัดออกจากรูป
สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยเวทนาเกิดขึ้น นี้เป็นคุณของเวทนา สภาพที่เวทนา
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษของเวทนา ธรรมเป็นที่
กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะในเวทนา นี้เป็นเครื่องสลัดออกจากเวทนา
สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยสัญญาเกิดขึ้น ฯลฯ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๓. ภารวรรค ๕. อัสสาทสูตร

สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยสังขารเกิดขึ้น นี้เป็นคุณของสังขาร สภาพที่สังขาร
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษของสังขาร ธรรมเป็นที่
กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะในสังขาร นี้เป็นเครื่องสลัดออกจากสังขาร
สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยวิญญาณเกิดขึ้น นี้เป็นคุณของวิญญาณ สภาพที่
วิญญาณไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษของวิญญาณ
ธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะในวิญญาณ นี้เป็นเครื่องสลัด
ออกจากวิญญาณ
ภิกษุทั้งหลาย ตราบใด เรายังไม่รู้คุณโดยความเป็นคุณ โทษโดยความเป็นโทษ
และเครื่องสลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออกจากอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้
ตามความเป็นจริงอย่างนี้ ตราบนั้น เราก็ยังไม่ยืนยันว่า ‘เป็นผู้ตรัสรู้โดยชอบซึ่ง
สัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ใน
หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์’
แต่เมื่อใดเรารู้ชัดคุณโดยความเป็นคุณ โทษโดยความเป็นโทษ เครื่องสลัด
ออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออกจากอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ ตามความเป็น
จริงอย่างนี้ เมื่อนั้นเราจึงจะยืนยันว่า ‘เป็นผู้ตรัสรู้โดยชอบซึ่งสัมมาสัมโพธิญาณ
อันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้ง
สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์’
อนึ่ง ญาณทัสสนะ๑ เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ‘วิมุตติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้
เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก”๒

อัสสาทสูตรที่ ๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๓. ภารวรรค ๖. ทุติยอัสสาทสูตร

๖. ทุติยอัสสาทสูตร
ว่าด้วยคุณของขันธ์ สูตรที่ ๒

[๒๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราได้เที่ยวแสวงหาคุณของรูป ได้
พบคุณของรูปแล้ว คุณของรูปมีประมาณเท่าใด เราเห็นคุณประมาณเท่านั้นดีแล้ว
ด้วยปัญญา
เราได้เที่ยวแสวงหาโทษของรูป ได้พบโทษของรูปแล้ว โทษของรูปมีประมาณ
เท่าใด เราเห็นโทษประมาณเท่านั้นดีแล้วด้วยปัญญา
เราได้เที่ยวแสวงหาเครื่องสลัดออกจากรูป ได้พบเครื่องสลัดออกจากรูปแล้ว
เครื่องสลัดออกจากรูปมีประมาณเท่าใด เราเห็นเครื่องสลัดออกจากรูปประมาณ
เท่านั้นดีแล้วด้วยปัญญา
เราได้เที่ยวแสวงหาคุณของเวทนา ฯลฯ
เราได้เที่ยวแสวงหาคุณของสัญญา ฯลฯ
เราได้เที่ยวแสวงหาคุณของสังขาร ฯลฯ
เราได้เที่ยวแสวงหาคุณของวิญญาณ ได้พบคุณของวิญญาณแล้ว คุณของ
วิญญาณมีประมาณเท่าใด เราเห็นคุณประมาณเท่านั้นดีแล้วด้วยปัญญา
เราได้เที่ยวแสวงหาโทษของวิญญาณ ได้พบโทษของวิญญาณแล้ว โทษของ
วิญญาณมีประมาณเท่าใด เราเห็นโทษประมาณเท่านั้นดีแล้วด้วยปัญญา
เราได้เที่ยวแสวงหาเครื่องสลัดออกจากวิญญาณ ได้พบเครื่องสลัดออกจาก
วิญญาณแล้ว โทษของวิญญาณมีประมาณเท่าใด เราเห็นโทษประมาณเท่านั้นดี
แล้วด้วยปัญญา
ภิกษุทั้งหลาย ตราบใด เรายังไม่รู้ชัดคุณโดยความเป็นคุณ โทษโดยความ
เป็นโทษ และเครื่องสลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออกจากอุปาทานขันธ์ ๕
ประการนี้ตามความเป็นจริง ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๓. ภารวรรค ๗. ตติยอัสสาทสูตร

อนึ่ง ญาณทัสสนะเกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ‘วิมุตติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็น
ชาติสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก”๑

ทุติยอัสสาทสูตรที่ ๖ จบ

๗. ตติยอัสสาทสูตร
ว่าด้วยคุณของขันธ์ สูตรที่ ๓

[๒๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าคุณของรูปจักไม่มีแล้ว สัตว์
ทั้งหลายก็ไม่พึงติดใจในรูป แต่เพราะคุณของรูปมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึง
ติดใจในรูป
ถ้าโทษของรูปจักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงเบื่อหน่ายในรูป แต่เพราะ
โทษของรูปมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในรูป
ถ้าเครื่องสลัดออกจากรูปจักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงสลัดออกจากรูป
แต่เพราะเครื่องสลัดออกจากรูปมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงสลัดออกจากรูป
ถ้าคุณของเวทนาจักไม่มีแล้ว ฯลฯ
ถ้าคุณของสัญญาจักไม่มีแล้ว ฯลฯ
ถ้าคุณของสังขารจักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงติดใจในสังขาร แต่เพราะ
คุณของสังขารมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงติดใจในสังขาร
ถ้าโทษของสังขารจักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงเบื่อหน่ายในสังขาร แต่
เพราะโทษของสังขารมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในสังขาร
ถ้าเครื่องสลัดออกจากสังขารจักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงสลัดออกจากสังขาร
แต่เพราะเครื่องสลัดออกจากสังขารมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงสลัดออกจากสังขาร
ถ้าคุณของวิญญาณจักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงติดใจในวิญญาณ แต่
เพราะคุณของวิญญาณมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงติดใจในวิญญาณ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๓. ภารวรรค ๘. อภินันทนสูตร

ถ้าโทษของวิญญาณจักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงเบื่อหน่ายในวิญญาณ
แต่เพราะโทษของวิญญาณมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในวิญญาณ
ถ้าเครื่องสลัดออกจากวิญญาณจักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงสลัดออก
จากวิญญาณ แต่เพราะเครื่องสลัดออกจากวิญญาณมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึง
สลัดออกจากวิญญาณ
ภิกษุทั้งหลาย ตราบใด สัตว์ทั้งหลายยังไม่รู้ชัดคุณโดยความเป็นคุณ โทษ
โดยความเป็นโทษ และเครื่องสลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออกจากอุปาทาน-
ขันธ์ ๕ ประการนี้ตามความเป็นจริง ตราบนั้น สัตว์ทั้งหลายจะออกไป หลุดไป
พ้นไป มีใจปราศจากแดน๑อยู่ไม่ได้เลยในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก
ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์
แต่เมื่อใด สัตว์ทั้งหลายรู้ชัดคุณโดยความเป็นคุณ โทษโดยความเป็นโทษ
เครื่องสลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออกจากอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ตาม
ความเป็นจริง เมื่อนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงออกไป หลุดไป พ้นไป มีใจปราศจาก
แดนอยู่ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณ-
พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์”๒

ตติยอัสสาทสูตรที่ ๗ จบ

๘. อภินันทนสูตร
ว่าด้วยความเพลิดเพลินขันธ์

[๒๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่เพลิดเพลินรูป ชื่อว่าเพลิดเพลินทุกข์
ผู้ที่เพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่า ‘พ้นจากทุกข์ไม่ได้’
ผู้ที่เพลิดเพลินเวทนา ...
ผู้ที่เพลิดเพลินสัญญา ...
ผู้ที่เพลิดเพลินสังขาร ...


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๓. ภารวรรค ๙. อุปปาทสูตร

ผู้ที่เพลิดเพลินวิญญาณ ชื่อว่าเพลิดเพลินทุกข์ ผู้ที่เพลิดเพลินทุกข์ เรา
กล่าวว่า ‘พ้นจากทุกข์ไม่ได้’
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ที่ไม่เพลิดเพลินรูป ชื่อว่าไม่เพลิดเพลินทุกข์ ผู้ที่ไม่
เพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่า ‘พ้นจากทุกข์ได้’
ผู้ที่ไม่เพลิดเพลินเวทนา ...
ผู้ที่ไม่เพลิดเพลินสัญญา ...
ผู้ที่ไม่เพลิดเพลินสังขาร ...
ผู้ที่ไม่เพลิดเพลินวิญญาณ ชื่อว่าไม่เพลิดเพลินทุกข์ ผู้ที่ไม่เพลิดเพลินทุกข์
เรากล่าวว่า ‘พ้นจากทุกข์ได้”๑

อภินันทนสูตรที่ ๘ จบ

๙. อุปปาทสูตร
ว่าด้วยความเกิดขึ้นแห่งขันธ์

[๓๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความ
บังเกิด ความปรากฏแห่งรูป นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค
เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ
ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งเวทนา ... แห่ง
สัญญา ... แห่งสังขาร ...
ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งวิญญาณ นี้เป็น
ความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งรูป นี้
เป็นความดับแห่งทุกข์ เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชรา
และมรณะ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๓. ภารวรรค ๑๐. อฆมูลสูตร

ความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งเวทนา ... แห่งสัญญา ...
แห่งสังขาร ...
ความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งวิญญาณ นี้เป็นความดับ
แห่งทุกข์ เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชราและมรณะ”๑

อุปปาทสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. อฆมูลสูตร
ว่าด้วยมูลเหตุแห่งทุกข์

[๓๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงทุกข์ และมูลเหตุแห่ง
ทุกข์แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ทุกข์ เป็นอย่างไร
คือ ทุกข์คือรูป ทุกข์คือเวทนา ทุกข์คือสัญญา ทุกข์คือสังขาร ทุกข์คือ
วิญญาณ
นี้เรียกว่า ทุกข์
มูลเหตุแห่งทุกข์ เป็นอย่างไร
คือ ตัณหาอันทำให้เกิดอีก ประกอบด้วยความเพลิดเพลินและความกำหนัด
มีปกติให้เพลิดเพลินในอารมณ์นั้น ๆ ได้แก่
๑. กามตัณหา
๒. ภวตัณหา
๓. วิภวตัณหา
นี้เรียกว่า มูลเหตุแห่งทุกข์”

อฆมูลสูตรที่ ๑๐ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๓. ภารวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑๑. ปภังคุสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่แตกสลาย

[๓๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสิ่งที่แตกสลาย และสิ่ง
ที่ไม่แตกสลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
อะไรเล่าเป็นสิ่งที่แตกสลาย และ อะไรเป็นสิ่งที่ไม่แตกสลาย
คือ รูปจัดเป็นสิ่งที่แตกสลาย ส่วนความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่
ไม่ได้แห่งรูปนั้น จัดเป็นสิ่งที่ไม่แตกสลาย
เวทนาจัดเป็นสิ่งที่แตกสลาย ส่วนความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่
ไม่ได้แห่งเวทนานั้น จัดเป็นสิ่งที่ไม่แตกสลาย
สัญญาจัดเป็นสิ่งที่แตกสลาย ...
สังขารจัดเป็นสิ่งที่แตกสลาย ส่วนความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่
ไม่ได้แห่งสังขารเหล่านั้น จัดเป็นสิ่งที่ไม่แตกสลาย
วิญญาณจัดเป็นสิ่งที่แตกสลาย ส่วนความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่
ไม่ได้แห่งวิญญาณนั้น จัดเป็นสิ่งที่ไม่แตกสลาย”

ปภังคุสูตรที่ ๑๑ จบ
ภารวรรคที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ภารสูตร ๒. ปริญญาสูตร
๓. อภิชานสูตร ๔. ฉันทราคสูตร
๕. อัสสาทสูต ๖. ทุติยอัสสาทสูตร
๗. ตติยอัสสาทสูตร ๘. อภินันทนสูตร
๙. อุปปาทสูตร ๑๐. อฆมูลสูตร
๑๑. ปภังคุสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๔. นตุมหากวรรค ๑. นตุมหากวรรค

๔. นตุมหากวรรค
หมวดว่าด้วยสิ่งที่ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย
๑. นตุมหากสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย

[๓๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอ
ทั้งหลายจงละสิ่งนั้น สิ่งที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อความสุข
ก็อะไรเล่าชื่อว่าสิ่งที่ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย
คือ รูปไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละรูปนั้น รูปที่เธอทั้งหลายละ
ได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข
เวทนาไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละเวทนานั้น เวทนาที่เธอ
ทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข
สัญญาไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย ...
สังขารไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละสังขารนั้น สังขารที่เธอ
ทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข
วิญญาณไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละวิญญาณนั้น วิญญาณที่
เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข
เปรียบเหมือนคนพึงนำหญ้า ไม้ กิ่งไม้ และใบไม้ ที่มีอยู่ในเชตวันนี้ไป เผา
หรือจัดการไปตามเรื่อง เธอทั้งหลายจะพึงมีความคิดอย่างนี้บ้างไหมว่า ‘คนนำเรา
ทั้งหลายไป เผา หรือจัดการไปตามเรื่อง”
“ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๔. นตุมหากวรรค ๒. ทุติยนตุมหากสูตร

“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะหญ้าเป็นต้นนั้นไม่ใช่อัตตาหรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน รูปไม่ใช่ของเธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละรูปนั้น รูปที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อ
ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข
เวทนาไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละเวทนานั้น เวทนาที่เธอ
ทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข
สัญญาไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย ...
สังขารไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย ...
วิญญาณไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละวิญญาณนั้น วิญญาณที่
เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข”๑

นตุมหากสูตรที่ ๑ จบ

๒. ทุติยนตุมหากสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย สูตรที่ ๒

[๓๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอ
ทั้งหลายจงละสิ่งนั้น สิ่งที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อความสุข
ก็อะไรเล่าชื่อว่าสิ่งที่ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย
คือ รูปไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละรูปนั้น รูปที่เธอทั้งหลายละ
ได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๔. นตุมหากวรรค ๓. อัญญตรภิกขุสูตร

เวทนาไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย ...
สัญญาไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย ...
สังขารไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย ...
วิญญาณไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละวิญญาณนั้น วิญญาณที่
เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข”๑

ทุติยนตุมหากสูตรที่ ๒ จบ

๓. อัญญตรภิกขุสูตร
ว่าด้วยภิกษุรูปหนึ่งทูลถามปัญหา

[๓๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อซึ่ง
ข้าพระองค์ได้ฟังแล้วจะพึงหลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร
อุทิศกายและใจอยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ บุคคลครุ่นคิดถึงสิ่งใด ก็ถึงการนับเข้ากับสิ่งนั้น
ไม่ครุ่นคิดถึงสิ่งใด ก็ไม่ถึงการนับเข้ากับสิ่งนั้น”
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์เข้าใจแล้ว ข้าแต่พระสุคต ข้าพระองค์
เข้าใจแล้ว”
“ภิกษุ ก็เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวอย่างย่อโดยพิสดารได้อย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าบุคคลครุ่นคิดถึงรูป ก็ถึงการนับเข้ากับรูปนั้น ถ้า
ครุ่นคิดถึงเวทนา ... ถ้าครุ่นคิดถึงสัญญา ... ถ้าครุ่นคิดถึงสังขาร ... ถ้า
ครุ่นคิดถึงวิญญาณ ก็ถึงการนับเข้ากับวิญญาณนั้น


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๔. นตุมหากวรรค ๓. อัญญตรภิกขุสูตร

ถ้าบุคคลไม่ครุ่นคิดถึงรูป ก็ไม่ถึงการนับเข้ากับรูปนั้น ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงเวทนา
... ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงสัญญา ... ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงสังขาร ... ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงวิญญาณ
ก็ไม่ถึงการนับเข้ากับวิญญาณนั้น
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เข้าใจเนื้อความแห่งพระภาษิตที่พระผู้มีพระ
ภาคตรัสไว้อย่างย่อโดยพิสดารได้อย่างนี้”
“ดีละ ดีละ ภิกษุ เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้อย่างย่อโดย
พิสดารได้ดีแล้ว ถ้าบุคคลครุ่นคิดถึงรูป ก็ถึงการนับเข้ากับรูปนั้น ฯลฯ
ถ้าบุคคลไม่ครุ่นคิดถึงรูป ก็ไม่ถึงการนับเข้ากับรูปนั้น ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงเวทนา
... ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงสัญญา ... ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงสังขาร ... ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงวิญญาณ
ก็ไม่ถึงการนับเข้ากับวิญญาณนั้น
ภิกษุ เธอพึงเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้อย่างย่อโดยพิสดารอย่างนี้”
ครั้งนั้น ภิกษุนั้นชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วลุกจากอาสนะ
ถวายอภิวาท กระทำประทักษิณแล้วจากไป
ต่อมา ภิกษุนั้นหลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศ
กายและใจอยู่ ไม่นานนักก็ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยม๑ อันเป็นที่สุดแห่ง
พรหมจรรย์๒ ที่เหล่ากุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
อนึ่ง ภิกษุนั้นได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย๓

อัญญตรภิกขุสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๔. นตุมหากวรรค ๔. ทุติยอัญญตรภิกขุสูตร

๔. ทุติยอัญญตรภิกขุสูตร
ว่าด้วยภิกษุรูปหนึ่งทูลถามปัญหา สูตรที่ ๒

[๓๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง
ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ
ประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อซึ่ง
ข้าพระองค์ได้ฟังแล้วจะพึงหลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร
อุทิศกายและใจอยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ บุคคลครุ่นคิดถึงสิ่งใด ก็หมกมุ่นถึงสิ่งนั้น
หมกมุ่นถึงสิ่งใด ก็ถึงการนับเข้ากับสิ่งนั้น ไม่ครุ่นคิดถึงสิ่งใด ก็ไม่หมกมุ่นถึงสิ่งนั้น
ไม่หมกมุ่นถึงสิ่งใด ก็ไม่ถึงการนับเข้ากับสิ่งนั้น”
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์เข้าใจแล้ว ข้าแต่พระสุคต ข้าพระองค์
เข้าใจแล้ว”
“ภิกษุ ก็เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้อย่างย่อโดยพิสดารได้อย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าบุคคลครุ่นคิดถึงรูป ก็หมกมุ่นถึงรูปนั้น หมกมุ่น
ถึงรูปใด ก็ถึงการนับเข้ากับรูปนั้น ถ้าครุ่นคิดถึงเวทนา ... ถ้าครุ่นคิดถึงสัญญา ...
ถ้าครุ่นคิดถึงสังขาร ... ถ้าครุ่นคิดถึงวิญญาณ ก็หมกมุ่นถึงวิญญาณนั้น หมกมุ่น
ถึงวิญญาณใด ก็ถึงการนับเข้ากับวิญญาณนั้น
ถ้าบุคคลไม่ครุ่นคิดถึงรูป ก็ไม่หมกมุ่นถึงรูปนั้น ไม่หมกมุ่นถึงรูปใด ก็ไม่ถึง
การนับเข้ากับรูปนั้น ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงเวทนา ... ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงสัญญา ... ถ้าไม่
ครุ่นคิดถึงสังขาร ... ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงวิญญาณ ก็ไม่หมกมุ่นถึงวิญญาณนั้น ไม่
หมกมุ่นถึงวิญญาณใด ก็ไม่ถึงการนับเข้ากับวิญญาณนั้น
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เข้าใจเนื้อความแห่งพระภาษิตที่พระผู้มี
พระภาคตรัสไว้อย่างย่อโดยพิสดารได้อย่างนี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๔. นตุมหากวรรค ๕. อานันทสูตรสูตร

“ดีละ ดีละ ภิกษุ เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้อย่างย่อโดย
พิสดารได้ดีแล้ว ถ้าบุคคลครุ่นคิดถึงรูป ก็หมกมุ่นถึงรูปนั้น หมกมุ่นถึงรูปใด
ก็ถึงการนับเข้ากับรูปนั้น ถ้าครุ่นคิดถึงเวทนา ... ถ้าครุ่นคิดถึงสัญญา ...
ถ้าครุ่นคิดถึงสังขาร ... ถ้าครุ่นคิดถึงวิญญาณ ก็หมกมุ่นถึงวิญญาณนั้น หมกมุ่น
ถึงวิญญาณใด ก็ถึงการนับเข้ากับวิญญาณนั้น
ภิกษุ ถ้าบุคคลไม่ครุ่นคิดถึงรูป ก็ไม่หมกมุ่นถึงรูปนั้น ไม่หมกมุ่นถึงรูปใด
ก็ไม่ถึงการนับเข้ากับรูปนั้น ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงเวทนา ... ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงสัญญา ...
ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงสังขาร ... ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงวิญญาณ ก็ไม่หมกมุ่นถึงวิญญาณนั้น
ไม่หมกมุ่นถึงวิญญาณใด ก็ไม่ถึงการนับเข้ากับวิญญาณนั้น
ภิกษุ เธอพึงเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวอย่างย่อโดยพิสดารอย่างนี้”
ฯลฯ
อนึ่ง ภิกษุนั้นได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย

ทุติยอัญญตรภิกขุสูตรที่ ๔ จบ

๕. อานันทสูตร
ว่าด้วยพระอานนท์

[๓๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้นในเวลาเย็น ท่านพระอานนท์ออกจากที่หลีกเร้น เข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า
“อานนท์ ถ้าภิกษุทั้งหลายพึงถามเธออย่างนี้ว่า ‘ท่านอานนท์ ความเกิดขึ้น
แห่งธรรมเหล่าไหนปรากฏ ความเสื่อมไปแห่งธรรมเหล่าไหนปรากฏ เมื่อธรรม
เหล่าไหนตั้งอยู่ ความแปร๑ปรากฏ’ เธอถูกถามอย่างนี้จะพึงตอบอย่างไร”
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าภิกษุทั้งหลายพึง
ถามข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ‘ท่านอานนท์ ความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่าไหนปรากฏ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๔. นตุมหากวรรค ๖.ทุติยอานันทสูตร

ความเสื่อมไปแห่งธรรมเหล่าไหนปรากฏ เมื่อธรรมเหล่าไหนตั้งอยู่ ความแปร
ปรากฏ’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้ พึงตอบอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้
มีอายุทั้งหลาย ความเกิดขึ้นแห่งรูปปรากฏ ความเสื่อมไปแห่งรูปปรากฏ เมื่อรูป
ตั้งอยู่ ความแปรปรากฏ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา ... แห่งสัญญา ... แห่งสังขาร ...
ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณปรากฏ ความเสื่อมไปแห่งวิญญาณปรากฏ เมื่อวิญญาณ
ตั้งอยู่ ความแปรปรากฏ ความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านี้ปรากฏ ความเสื่อมไปแห่ง
ธรรมเหล่านี้ปรากฏ เมื่อธรรมเหล่านี้ตั้งอยู่ ความแปรปรากฏ’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้ พึงตอบอย่างนี้”
“ดีละ ดีละ อานนท์ ความเกิดขึ้นแห่งรูปปรากฏ ความเสื่อมไปแห่งรูปปรากฏ
เมื่อรูปตั้งอยู่ ความแปรปรากฏ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา ... แห่งสัญญา ...
แห่งสังขาร ... ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณปรากฏ ความเสื่อมไปแห่งวิญญาณปรากฏ
เมื่อวิญญาณตั้งอยู่ ความแปรปรากฏ ความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านี้ปรากฏ
ความเสื่อมไปแห่งธรรมเหล่านี้ปรากฏ เมื่อธรรมเหล่านี้ตั้งอยู่ ความแปรปรากฏ
อานนท์ เธอถูกถามอย่างนี้ พึงตอบอย่างนี้”

อานันทสูตรที่ ๕ จบ

๖. ทุติยอานันทสูตร
ว่าด้วยพระอานนท์ สูตรที่ ๒

[๓๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระอานนท์ผู้นั่ง ณ ที่สมควรดังนี้ว่า “อานนท์
ถ้าภิกษุทั้งหลายพึงถามเธออย่างนี้ว่า ‘ท่านอานนท์ ความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่า
ไหนปรากฏแล้ว ความเสื่อมไปแห่งธรรมเหล่าไหนปรากฏแล้ว เมื่อธรรมเหล่าไหน
ตั้งอยู่ ความแปรปรากฏแล้ว
ความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่าไหนจักปรากฏ ความเสื่อมไปแห่งธรรมเหล่าไหน
จักปรากฏ เมื่อธรรมเหล่าไหนตั้งอยู่ ความแปรจักปรากฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๔. นตุมหากวรรค ๖.ทุติยอานันทสูตร

ความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่าไหนปรากฏ ความเสื่อมไปแห่งธรรมเหล่าไหนปรากฏ
เมื่อธรรมเหล่าไหนตั้งอยู่ ความแปรปรากฏ’
อานนท์ เธอถูกถามอย่างนี้ จะพึงตอบอย่างไร”
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าภิกษุทั้งหลายพึง
ถามข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ‘ท่านอานนท์ ความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่าไหนปรากฏแล้ว
ความเสื่อมไปแห่งธรรมเหล่าไหนปรากฏแล้ว เมื่อธรรมเหล่าไหนตั้งอยู่ ความแปร
ปรากฏแล้ว
ความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่าไหนจักปรากฏ ความเสื่อมไปแห่งธรรมเหล่าไหน
จักปรากฏ เมื่อธรรมเหล่าไหนตั้งอยู่ ความแปรจักปรากฏ
ความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่าไหนปรากฏ ความเสื่อมไปแห่งธรรมเหล่าไหนปรากฏ
เมื่อธรรมเหล่าไหนตั้งอยู่ ความแปรปรากฏ’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้ พึงตอบอย่างนี้ว่า
‘ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย รูปใดล่วงไป ดับไป แปรผันไปแล้ว ความเกิดขึ้น
แห่งรูปนั้นปรากฏแล้ว ความเสื่อมไปแห่งรูปนั้นปรากฏแล้ว เมื่อรูปนั้นตั้งอยู่
ความแปรปรากฏแล้ว
เวทนาใดล่วงไป ดับไป แปรผันไปแล้ว ความเกิดขึ้นแห่งเวทนานั้นปรากฏแล้ว
ความเสื่อมไปแห่งเวทนานั้นปรากฏแล้ว เมื่อเวทนานั้นตั้งอยู่ ความแปรปรากฏแล้ว
สัญญาใดล่วงไป ...
สังขารเหล่าใดล่วงไป ดับไป แปรผันไปแล้ว ความเกิดขึ้นแห่งสังขารเหล่านั้น
ปรากฏแล้ว ความเสื่อมไปแห่งสังขารเหล่านั้นปรากฏแล้ว เมื่อสังขารเหล่านั้นตั้งอยู่
ความแปรปรากฏแล้ว
วิญญาณใดล่วงไป ดับไป แปรผันไปแล้ว ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณนั้น
ปรากฏแล้ว ความเสื่อมไปแห่งวิญญาณนั้นปรากฏแล้ว เมื่อวิญญาณนั้นตั้งอยู่
ความแปรปรากฏแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๔. นตุมหากวรรค ๖.ทุติยอานันทสูตร

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านี้ปรากฏแล้ว ความเสื่อม
ไปแห่งธรรมเหล่านี้ปรากฏแล้ว เมื่อธรรมเหล่านี้ตั้งอยู่ ความแปรปรากฏแล้ว
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย รูปใดยังไม่เกิด ยังไม่ปรากฏ ความเกิดขึ้นแห่งรูปนั้น
จักปรากฏ ความเสื่อมไปแห่งรูปนั้นจักปรากฏ เมื่อรูปนั้นตั้งอยู่ ความแปรจักปรากฏ
เวทนาใดยังไม่เกิด ยังไม่ปรากฏ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนานั้นจักปรากฏ
ความเสื่อมไปแห่งเวทนานั้นจักปรากฏ เมื่อเวทนานั้นตั้งอยู่ ความแปรจักปรากฏ
สัญญาใดยังไม่เกิด ...
สังขารเหล่าใดยังไม่เกิด ยังไม่ปรากฏ ความเกิดขึ้นแห่งสังขารเหล่านั้นจัก
ปรากฏ เมื่อสังขารเหล่านั้นตั้งอยู่ ความแปรจักปรากฏ
วิญญาณใดยังไม่เกิด ยังไม่ปรากฏ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณนั้นจักปรากฏ
ความเสื่อมไปแห่งวิญญาณนั้นจักปรากฏ เมื่อวิญญาณนั้นตั้งอยู่ ความแปรจักปรากฏ
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านี้จักปรากฏ ความเสื่อม
ไปแห่งธรรมเหล่านี้จักปรากฏ เมื่อธรรมเหล่านี้ตั้งอยู่ ความแปรจักปรากฏ
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย รูปใดเกิดแล้ว ปรากฏแล้ว ความเกิดขึ้นแห่งรูปนั้น
ปรากฏ ความเสื่อมไปแห่งรูปนั้นปรากฏ เมื่อรูปนั้นตั้งอยู่ ความแปรปรากฏ
เวทนาใดเกิดแล้ว ปรากฏแล้ว ...
สัญญาใดเกิดแล้ว ปรากฏแล้ว ...
สังขารเหล่าใดเกิดแล้ว ปรากฏแล้ว ความเกิดขึ้นแห่งสังขารเหล่านั้นปรากฏ
ความเสื่อมไปแห่งสังขารเหล่านั้นปรากฏ เมื่อสังขารเหล่านั้นตั้งอยู่ ความแปร
ปรากฏ
วิญญาณใดเกิดแล้ว ปรากฏแล้ว ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณนั้นปรากฏ
ความเสื่อมไปแห่งวิญญาณนั้นปรากฏ เมื่อวิญญาณนั้นตั้งอยู่ ความแปรปรากฏ
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านี้ปรากฏ ความเสื่อมไป
แห่งธรรมเหล่านี้ปรากฏ เมื่อธรรมเหล่านี้ตั้งอยู่ ความแปรปรากฏ’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้ พึงตอบอย่างนี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๔. นตุมหากวรรค ๖.ทุติยอานันทสูตร

“ดีละ ดีละ อานนท์ รูปใดล่วงไป ดับไป แปรผันไปแล้ว ความเกิดขึ้น
แห่งรูปนั้นปรากฏแล้ว ความเสื่อมไปแห่งรูปนั้นปรากฏแล้ว เมื่อรูปนั้นตั้งอยู่
ความแปรปรากฏแล้ว
เวทนาใด ...
สัญญาใด ...
สังขารเหล่าใด ...
วิญญาณใดล่วงไป ดับไป แปรผันไปแล้ว ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณนั้นปรากฏ
แล้ว ความเสื่อมไปแห่งวิญญาณนั้นปรากฏแล้ว เมื่อวิญญาณนั้นตั้งอยู่ ความแปร
ปรากฏแล้ว
อานนท์ ความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านี้ปรากฏแล้ว ความเสื่อมไปแห่งธรรม
เหล่านี้ปรากฏแล้ว เมื่อธรรมเหล่านี้ตั้งอยู่ ความแปรปรากฏแล้ว
อานนท์ รูปใดยังไม่เกิด ยังไม่ปรากฏ ความเกิดขึ้นแห่งรูปนั้นจักปรากฏ
ความเสื่อมไปแห่งรูปนั้นจักปรากฏ เมื่อรูปนั้นตั้งอยู่ ความแปรจักปรากฏ
เวทนาใด ฯลฯ
สัญญาใด ฯลฯ
สังขารเหล่าใด ฯลฯ
วิญญาณใด ยังไม่เกิด ยังไม่ปรากฏ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณนั้นจักปรากฏ
ความเสื่อมไปแห่งวิญญาณนั้นจักปรากฏ เมื่อวิญญาณนั้นตั้งอยู่ ความแปรจักปรากฏ
อานนท์ ความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านี้จักปรากฏ ความเสื่อมไปแห่งธรรม
เหล่านี้จักปรากฏ เมื่อธรรมเหล่านี้ตั้งอยู่ ความแปรจักปรากฏ
อานนท์ รูปใดเกิดแล้ว ปรากฏแล้ว ความเกิดขึ้นแห่งรูปนั้นปรากฏ ความ
เสื่อมไปแห่งรูปปรากฏ เมื่อรูปนั้นตั้งอยู่ ความแปรปรากฏ
เวทนาใดเกิดแล้ว ปรากฏแล้ว ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๔. นตุมหากวรรค ๗. อนุธัมมสูตร

สัญญาใด ฯลฯ
สังขารเหล่าใด ฯลฯ
วิญญาณใดเกิดแล้ว ปรากฏแล้ว ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณนั้นปรากฏ
ความเสื่อมไปแห่งวิญญาณนั้นปรากฏ เมื่อวิญญาณนั้นตั้งอยู่ ความแปรปรากฏ
อานนท์ ความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านี้ปรากฏ ความเสื่อมไปแห่งธรรมเหล่านี้
ปรากฏ เมื่อธรรมเหล่านี้ตั้งอยู่ ความแปรปรากฏ
อานนท์ เธอถูกถามอย่างนี้ พึงตอบอย่างนี้”

ทุติยอานันทสูตรที่ ๖ จบ

๗. อนุธัมมสูตร
ว่าด้วยผู้มีธรรมอันเหมาะสม

[๓๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
มีธรรมอันเหมาะสม คือ พึงเป็นผู้มากด้วยความเบื่อหน่ายในรูป มากด้วยความ
เบื่อหน่ายในเวทนา มากด้วยความเบื่อหน่ายในสัญญา มากด้วยความเบื่อหน่าย
ในสังขาร มากด้วยความเบื่อหน่ายในวิญญาณอยู่ เมื่อเธอเป็นผู้มากด้วยความ
เบื่อหน่ายในรูป ... ในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา ฯลฯ ในสังขาร เป็นผู้มากด้วย
ความเบื่อหน่ายในวิญญาณอยู่ ก็จะกำหนดรู้รูป ... เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ
สังขาร ฯลฯ กำหนดรู้วิญญาณ เธอเมื่อกำหนดรู้รูป ... เวทนา ฯลฯ สัญญา
ฯลฯ สังขาร เมื่อกำหนดรู้วิญญาณ ย่อมพ้นจากรูป ย่อมพ้นจากเวทนา ย่อม
พ้นจากสัญญา ย่อมพ้นจากสังขาร ย่อมพ้นจากวิญญาณ เรากล่าวว่า ‘ย่อมพ้น
จากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส และย่อมพ้น
จากทุกข์’

อนุธัมมสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๔. นตุมหากวรรค ๙.ตติยอนุธัมมสูตร

๘. ทุติยอนุธัมมสูตร
ว่าด้วยผู้มีธรรมอันเหมาะสม สูตรที่ ๒

[๔๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
มีธรรมอันเหมาะสม คือ พึงเป็นผู้พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูป ... ในเวทนา ฯลฯ
ในสัญญา ฯลฯ ในสังขาร พึงเป็นผู้พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในวิญญาณอยู่
เมื่อเธอพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูป ... ในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา ฯลฯ
ในสังขาร พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในวิญญาณอยู่ ก็จะกำหนดรู้รูป ... เวทนา
ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร กำหนดรู้วิญญาณ เมื่อเธอกำหนดรู้รูป ... เวทนา
ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร กำหนดรู้วิญญาณ ย่อมพ้นจากรูป ย่อมพ้นจากเวทนา
ย่อมพ้นจากสัญญา ย่อมพ้นจากสังขาร ย่อมพ้นจากวิญญาณ เรากล่าวว่า ‘ย่อม
พ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส และ
ย่อมพ้นจากทุกข์”

ทุติยอนุธัมมสูตรที่ ๘ จบ

๙. ตติยอนุธัมมสูตร
ว่าด้วยผู้มีธรรมอันเหมาะสม สูตรที่ ๓

[๔๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
มีธรรมอันเหมาะสม คือ พึงเป็นผู้พิจารณาเห็นทุกข์ในรูป ... ในเวทนา ฯลฯ
ในสัญญา ฯลฯ ในสังขาร พึงเป็นผู้พิจารณาเห็นทุกข์ในวิญญาณอยู่ เมื่อเธอ
พิจารณาเห็นทุกข์ในรูป ... ในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา ฯลฯ ในสังขาร
พิจารณาเห็นทุกข์ในวิญญาณอยู่ ก็จะกำหนดรู้รูป ... เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ
สังขาร กำหนดรู้วิญญาณ เมื่อเธอกำหนดรู้รูป ... เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ รวมพระสูตรที่มีในวรรค

สังขาร กำหนดรู้วิญญาณ ย่อมพ้นจากรูป ย่อมพ้นจากเวทนา ย่อมพ้นจากสัญญา
ย่อมพ้นจากสังขาร ย่อมพ้นจากวิญญาณ เรากล่าวว่า ‘ย่อมพ้นจากชาติ ชรา มรณะ
โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส และย่อมพ้นจากทุกข์”

ตติยอนุธัมมสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. จตุตถอนุธัมมสูตร
ว่าด้วยผู้มีธรรมอันเหมาะสม สูตรที่ ๔

[๔๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
มีธรรมอันเหมาะสม คือ พึงเป็นผู้พิจารณาเห็นอนัตตาในรูป ... ในเวทนา ฯลฯ
ในสัญญา ฯลฯ ในสังขาร พึงเป็นผู้พิจารณาเห็นอนัตตาในวิญญาณอยู่ เมื่อเธอ
พิจารณาเห็นอนัตตาในรูป ... ในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา ฯลฯ ในสังขาร
พิจารณาเห็นอนัตตาในวิญญาณอยู่ ก็จะกำหนดรู้รูป ... เวทนา ฯลฯ สัญญา
ฯลฯ สังขาร กำหนดรู้วิญญาณ เมื่อเธอกำหนดรู้รูป ... เวทนา ฯลฯ สัญญา
ฯลฯ สังขาร กำหนดรู้วิญญาณ ย่อมพ้นจากรูป ย่อมพ้นจากเวทนา ย่อมพ้น
จากสัญญา ย่อมพ้นจากสังขาร ย่อมพ้นจากวิญญาณ เรากล่าวว่า ‘ย่อมพ้นจากชาติ
ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส และย่อมพ้นจากทุกข์”

จตุตถอนุธัมมสูตรที่ ๑๐ จบ
นตุมหากวรรคที่ ๔ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. นตุมหากสูตร ๒. ทุติยนตุมหากสูตร
๓. อัญญตรภิกขุสูตร ๔. ทุติยอัญญตรภิกขุสูตร
๕. อานันทสูตร ๖. ทุติยอานันทสูตร
๗. อนุธัมมสูตร ๘. ทุติยอนุธัมมสูตร
๙. ตติยอนุธัมมสูตร ๑๐. จตุตถอนุธัมมสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๕. อัตตทีปวรรค ๑. อัตตทีปสูตร

๕. อัตตทีปวรรค
หมวดว่าด้วยการมีตนเป็นเกาะ
๑. อัตตทีปสูตร
ว่าด้วยการมีตนเป็นเกาะ

[๔๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมีตนเป็นเกาะ๑ มี
ตนเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง จงมีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่ง
อื่นเป็นที่พึ่งเลย
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็น
ที่พึ่งอยู่ เธอทั้งหลายผู้มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง
ควรพิจารณาถึงกำเนิดว่า ‘โสกะ (ความเศร้าโศก) ปริเทวะ (ความคร่ำครวญ) ทุกข์
(ความทุกข์กาย) โทมนัส (ความทุกข์ใจ) และอุปายาส (ความคับแค้นใจ) เกิดขึ้น
อย่างไร มีอะไรเป็นแดนเกิด’
โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เกิดขึ้นอย่างไร มีอะไร
เป็นแดนเกิด
คือ ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของ
พระอริยะ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาด
ในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ พิจารณาเห็นรูปโดย
ความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป พิจารณาเห็นรูปในอัตตา หรือ
พิจารณาเห็นอัตตาในรูป รูปของเขาแปรผันเป็นอย่างอื่น เพราะรูปแปรผันและ
เป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงเกิดขึ้นแก่เขา


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๕. อัตตทีปวรรค ๑. อัตตทีปสูตร

พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีเวทนา
พิจารณาเห็นเวทนาในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในเวทนา เวทนาของเขา
แปรผันเป็นอย่างอื่น เพราะเวทนาแปรผันและเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัส และอุปายาสจึงเกิดขึ้นแก่เขา
พิจารณาเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ
พิจารณาเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ
พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณ
พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ วิญญาณของ
เขาแปรผันเป็นอย่างอื่น เพราะวิญญาณแปรผันและเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัส และอุปายาสจึงเกิดขึ้นแก่เขา
ภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อภิกษุรู้ว่ารูปไม่เที่ยง แปรผันไป คลายไป ดับไป เห็น
ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘รูปในกาลก่อนและรูปทั้งปวงในบัดนี้
ล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา’ ก็จะละโสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัส และอุปายาสได้ เพราะละโสกะเป็นต้นเหล่านั้นได้จึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง
ก็อยู่เป็นสุข ภิกษุผู้อยู่เป็นสุข เรากล่าวว่า ‘ผู้ดับกิเลสแล้วด้วยองค์ธรรมนั้น’
ก็เมื่อภิกษุรู้ว่าเวทนาไม่เที่ยง แปรผันไป คลายไป ดับไป เห็นด้วยปัญญา
อันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘เวทนาในกาลก่อนและเวทนาทั้งปวงในบัดนี้
ล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา’ ก็จะละโสกะ ปริเทวะ
ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสได้ เพราะละโสกะเป็นต้นเหล่านั้นได้จึงไม่สะดุ้ง เมื่อ
ไม่สะดุ้ง ก็อยู่เป็นสุข ภิกษุผู้อยู่เป็นสุข เรากล่าวว่า ‘ผู้ดับกิเลสแล้วด้วยองค์
ธรรมนั้น’
ก็เมื่อภิกษุรู้ว่าสัญญาไม่เที่ยง ...
ก็เมื่อภิกษุรู้ว่าสังขารไม่เที่ยง แปรผันไป คลายไป ดับไป เห็นด้วยปัญญา
อันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘สังขารในกาลก่อนและสังขารทั้งปวงในบัดนี้
ล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา’ ก็จะละโสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัส และอุปายาสได้ เพราะละโสกะเป็นต้นเหล่านั้นได้จึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง
ก็อยู่เป็นสุข ภิกษุผู้อยู่เป็นสุข เรากล่าวว่า ‘ผู้ดับกิเลสแล้วด้วยองค์ธรรมนั้น’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๕. อัตตทีปวรรค ๒. ปฏิปทาสูตร

ก็เมื่อภิกษุรู้ว่าวิญญาณไม่เที่ยง แปรผันไป คลายไป ดับไป เห็นด้วย
ปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘วิญญาณในกาลก่อนและวิญญาณ
ทั้งปวงในบัดนี้ ล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา’ ก็จะละโสกะ
ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสได้ เพราะละโสกะเป็นต้นเหล่านั้นได้ จึงไม่สะดุ้ง
เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมอยู่เป็นสุข ภิกษุผู้อยู่เป็นสุข เรากล่าวว่า ‘ผู้ดับกิเลสแล้วด้วย
องค์ธรรมนั้น”

อัตตทีปสูตรที่ ๑ จบ

๒. ปฏิปทาสูตร
ว่าด้วยปฏิปทา

[๔๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปฏิปทาที่ให้ถึงสักกาย-
สมุทัย (เหตุเกิดแห่งสักกายะ๑) และปฏิปทาที่ให้ถึงสักกายนิโรธ (ความดับแห่ง
สักกายะ) แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ปฏิปทาที่ให้ถึงสักกายสมุทัย เป็นอย่างไร
คือ ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของ
พระอริยะ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาด
ในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ พิจารณาเห็นรูปโดย
ความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป พิจารณาเห็นรูปในอัตตา หรือ
พิจารณาเห็นอัตตาในรูป
พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ
พิจารณาเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ
พิจารณาเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ
พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณ
พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๕. อัตตทีปวรรค ๓. อนิจจสูตร

นี้เรียกว่า ปฏิปทาที่ให้ถึงสักกายสมุทัย
คำว่า ‘ปฏิปทาที่ให้ถึงสักกายสมุทัย‘ ดังกล่าวมานี้ เราเรียกว่า ‘การพิจารณา
เห็นที่ให้ถึงทุกขสมุทัย’ นี้เป็นใจความในข้อนี้
ปฏิปทาที่ให้ถึงสักกายนิโรธ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ผู้ได้สดับ ได้เห็นพระอริยะ ฉลาดในธรรมของ
พระอริยะ ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดในธรรม
ของสัตบุรุษ ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ไม่พิจารณาเห็นรูปโดยความ
เป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป ไม่พิจารณาเห็นรูปในอัตตา หรือไม่
พิจารณาเห็นอัตตาในรูป
ไม่พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ
ไม่พิจารณาเห็นสัญญา ฯลฯ
ไม่พิจารณาเห็นสังขาร ฯลฯ
ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณ
ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา หรือไม่พิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ
นี้เรียกว่า ปฏิปทาที่ให้ถึงสักกายนิโรธ
คำว่า ‘ปฏิปทาที่ให้ถึงสักกายนิโรธ‘ ดังกล่าวมานี้ เราเรียกว่า ‘การพิจารณา
เห็นที่ให้ถึงทุกขนิโรธ’ นี้เป็นใจความในข้อนี้”

ปฏิปทาสูตรที่ ๒ จบ

๓. อนิจจสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ไม่เที่ยง

[๔๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น
เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลาย
พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๕. อัตตทีปวรรค ๓. อนิจจสูตร

เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ เมื่อเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้
จิตย่อมคลายกำหนัด หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น
เวทนาไม่เที่ยง ฯลฯ
สัญญาไม่เที่ยง ฯลฯ
สังขารไม่เที่ยง ฯลฯ
วิญญาณไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็น
อนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความ
เป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ เมื่อ
เห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ จิตย่อมคลายกำหนัด หลุดพ้น
จากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าจิตของภิกษุคลายกำหนัดจากรูปธาตุ ก็เป็นจิตที่หลุดพ้น
แล้วจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น
ถ้าจิตของภิกษุคลายกำหนัดจากเวทนาธาตุ ฯลฯ
ถ้าจิตของภิกษุคลายกำหนัดจากสัญญาธาตุ ฯลฯ
ถ้าจิตของภิกษุคลายกำหนัดจากสังขารธาตุ ฯลฯ
ถ้าจิตของภิกษุคลายกำหนัดจากวิญญาณธาตุ ก็เป็นจิตที่หลุดพ้นแล้วจาก
อาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น เพราะหลุดพ้นจึงตั้งมั่น เพราะตั้งมั่นจึงสันโดษ
เพราะสันโดษจึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้งย่อมดับไปเอง ภิกษุนั้นรู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
อีกต่อไป”๑

อนิจจสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๕. อัตตทีปวรรค ๔.ทุติยอนิจจสูตร

๔. ทุติยอนิจจสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ไม่เที่ยง สูตรที่ ๒

[๔๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น
เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลาย
พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็น
นั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
เวทนาไม่เที่ยง ฯลฯ
สัญญาไม่เที่ยง ฯลฯ
สังขารไม่เที่ยง ฯลฯ
วิญญาณไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็น
อนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความ
เป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
เมื่อเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ การตามเห็นส่วน
เบื้องต้น (อดีต) ก็ไม่มี เมื่อการตามเห็นส่วนเบื้องต้นไม่มี การตามเห็นส่วนเบื้อง
ปลาย (อนาคต) ก็ไม่มี เมื่อการตามเห็นส่วนเบื้องปลายไม่มี ความยึดมั่นอย่าง
แรงกล้าก็ไม่มี เมื่อความยึดมั่นอย่างแรงกล้าไม่มี จิตก็คลายกำหนัดในรูป ฯลฯ
ในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา ฯลฯ ในสังขาร จิตก็คลายกำหนัดในวิญญาณ
หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น เพราะหลุดพ้นจึงตั้งมั่น เพราะตั้งมั่น
จึงสันโดษ เพราะสันโดษจึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้งย่อมดับไปเอง ภิกษุนั้นรู้ชัดว่า
‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อ
ความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

ทุติยอนิจจสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๕. อัตตทีปวรรค ๕. สมนุปัสสนาสูตร

๕. สมนุปัสสนาสูตร
ว่าด้วยการพิจารณาเห็น

[๔๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
เมื่อพิจารณา ก็พิจารณาเห็นตนเป็นไปต่าง ๆ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด
พิจารณาเห็นอุปาทานขันธ์ (กองอันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น) ทั้ง ๕ ประการ
หรืออุปาทานขันธ์ประการใดประการหนึ่ง
อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ เป็นอย่างไร
คือ ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของ
พระอริยะ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาด
ในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ
๑. พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป
พิจารณาเห็นรูปในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในรูป
๒. พิจารณาเห็นเวทนา ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นสัญญา ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นสังขาร ฯลฯ
๕. พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามี
วิญญาณ พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตา
ในวิญญาณ
การพิจารณาเห็นอย่างนี้ จัดว่าผู้นั้นยึดมั่นถือมั่นว่า ‘เราเป็น’ เมื่อผู้นั้น
ยึดมั่นถือมั่นว่า ‘เราเป็น’ ย่อมเกิดอินทรีย์ ๕ ประการ คือ
๑. จักขุนทรีย์ (อินทรีย์คือจักขุปสาท)
๒. โสตินทรีย์ (อินทรีย์คือโสตปสาท)
๓. ฆานินทรีย์ (อินทรีย์คือฆานปสาท)
๔. ชิวหินทรีย์ (อินทรีย์คือชิวหาปสาท)
๕. กายินทรีย์ (อินทรีย์คือกายปสาท)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๕. อัตตทีปวรรค ๖. ขันธสูตร

ภิกษุทั้งหลาย มโนมีอยู่ ธรรม๑ทั้งหลายมีอยู่ อวิชชาธาตุ๒มีอยู่ เมื่อปุถุชน
ผู้ไม่ได้สดับถูกความเสวยอารมณ์ซึ่งเกิดจากอวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว เขาก็มีความ
ยึดมั่นถือมั่นว่า ‘เราเป็น’ บ้าง ‘เราเป็นนี้’ บ้าง ‘เราจักเป็น’ บ้าง ‘เราจักไม่เป็น’
บ้าง ‘เราจักมีรูป’ บ้าง ‘เราจักไม่มีรูป’ บ้าง ‘เราจักมีสัญญา’ บ้าง ‘เราจักไม่มี
สัญญา’ บ้าง ‘เราจักมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่’ บ้าง
ภิกษุทั้งหลาย ก็อินทรีย์ ๕ ประการ ตั้งอยู่ได้เพราะการพิจารณาเห็นนั้นแล
เมื่อเป็นเช่นนี้ อริยสาวกผู้ได้สดับ ก็ละอวิชชาในอินทรีย์เหล่านั้น วิชชา๓จึงเกิดขึ้น
เพราะอวิชชาคลายไป เพราะวิชชาเกิดขึ้น อริยสาวกนั้นจึงไม่มีความยึดมั่นถือมั่นว่า
‘เราเป็น’ บ้าง ‘เราเป็นนี้’ บ้าง ‘เราจักเป็น’ บ้าง ‘เราจักไม่เป็น’ บ้าง ‘เราจัก
มีรูป’ บ้าง ‘เราจักไม่มีรูป’ บ้าง ‘เราจักมีสัญญา’ บ้าง ‘เราจักไม่มีสัญญา’ บ้าง
‘เราจักมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่’ บ้าง”

สมนุปัสสนาสูตรที่ ๕ จบ

๖. ขันธสูตร
ว่าด้วยขันธ์

[๔๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงขันธ์ ๕ ประการ และ
อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ เธอทั้งหลายจงฟัง

ขันธ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน
ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกล
หรือใกล้ก็ตาม นี้เรียกว่า รูปขันธ์


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๕. อัตตทีปวรรค ๖. ขันธสูตร

๒. เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ
๓. สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ
๔. สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน
ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกล
หรือใกล้ก็ตาม นี้เรียกว่า สังขารขันธ์
๕. วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน
ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกล
หรือใกล้ก็ตาม นี้เรียกว่า วิญญาณขันธ์
ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เรียกว่า ขันธ์ ๕ ประการ

อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน
ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกล
หรือใกล้ก็ตาม ประกอบด้วยอาสวะ เกื้อกูลแก่อุปาทาน นี้เรียกว่า
รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป)
๒. เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ ไกลหรือใกล้ก็ตาม ประกอบด้วย
อาสวะ เกื้อกูลแก่อุปาทาน นี้เรียกว่า เวทนูปาทานขันธ์
(อุปาทานขันธ์คือเวทนา)
๓. สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ ไกลหรือใกล้ก็ตาม ประกอบด้วย
อาสวะ เกื้อกูลแก่อุปาทาน นี้เรียกว่า สัญญูปาทานขันธ์
(อุปาทานขันธ์คือสัญญา)
๔. สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ฯลฯ ประกอบด้วยอาสวะ เกื้อกูลแก่
อุปาทาน นี้เรียกว่า สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร)
๕. วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ
ไกลหรือใกล้ก็ตาม ประกอบด้วยอาสวะ เกื้อกูลแก่อุปาทาน
นี้เรียกว่า วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ)
ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เรียกว่า อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ”

ขันธสูตรที่ ๖ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๕. อัตตทีปวรรค ๗. โสณสูตร

๗. โสณสูตร
ว่าด้วยโสณคหบดีบุตร

[๔๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น บุตรของคหบดีชื่อโสณะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ฯลฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับโสณคหบดีบุตรดังนี้ว่า
“โสณะ ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง พิจารณาเห็นว่า ‘เราเลิศ
กว่าเขา’ หรือพิจารณาเห็นว่า ‘เราเสมอเขา’ หรือพิจารณาเห็นว่า ‘เราด้อยกว่าเขา’
ด้วยรูปที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ที่เป็นเช่นนี้มิใช่อะไร
นอกจากการไม่เห็นความเป็นจริง
พิจารณาเห็นว่า ‘เราเลิศกว่าเขา’ หรือพิจารณาเห็นว่า ‘เราเสมอเขา’ หรือ
พิจารณาเห็นว่า ‘เราด้อยกว่าเขา’ ด้วยเวทนาที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผัน
เป็นธรรมดา ที่เป็นเช่นนี้มิใช่อะไร นอกจากการไม่เห็นความเป็นจริง
พิจารณาเห็นว่า ... ด้วยสัญญาที่ไม่เที่ยง ฯลฯ
พิจารณาเห็นว่า ‘เราเลิศกว่าเขา’ หรือพิจารณาเห็นว่า ‘เราเสมอเขา’ หรือ
พิจารณาเห็นว่า ‘เราด้อยกว่าเขา’ ด้วยสังขารที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผัน
เป็นธรรมดา ที่เป็นเช่นนี้มิใช่อะไร นอกจากการไม่เห็นความเป็นจริง
พิจารณาเห็นว่า ‘เราเลิศกว่าเขา’ หรือพิจารณาเห็นว่า ‘เราเสมอเขา’ หรือ
พิจารณาเห็นว่า ‘เราด้อยกว่าเขา’ ด้วยวิญญาณที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความ
แปรผันเป็นธรรมดา ที่เป็นเช่นนี้มิใช่อะไร นอกจากการไม่เห็นความเป็นจริง
โสณะ ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่พิจารณาเห็นว่า ‘เรา
เลิศกว่าเขา’ บ้าง ไม่พิจารณาเห็นว่า ‘เราเสมอเขา’ บ้าง ไม่พิจารณาเห็นว่า
‘เราด้อยกว่าเขา’ บ้าง ด้วยรูปที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา
ที่เป็นเช่นนี้มิใช่อะไร นอกจากการเห็นความเป็นจริง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๕. อัตตทีปวรรค ๗. โสณสูตร

ไม่พิจารณาเห็นว่า ... ด้วยเวทนาที่ไม่เที่ยง ฯลฯ
ไม่พิจารณาเห็นว่า ... ด้วยสัญญาที่ไม่เที่ยง ฯลฯ
ไม่พิจารณาเห็นว่า ... ด้วยสังขารที่ไม่เที่ยง ฯลฯ
ไม่พิจารณาเห็นว่า ‘เราเลิศกว่าเขา’ บ้าง ไม่พิจารณาเห็นว่า ‘เราเสมอเขา’
บ้าง ไม่พิจารณาเห็นว่า ‘เราด้อยกว่าเขา’ บ้าง ด้วยวิญญาณที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์
มีความแปรผันเป็นธรรมดา ที่เป็นเช่นนี้มิใช่อะไร นอกจากการเห็นความเป็นจริง
โสณะ เธอจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“เวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๕. อัตตทีปวรรค ๘. ทุติยโสณสูตร

“โสณะ เพราะเหตุนั้นแล รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต
และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือ
ใกล้ก็ตาม รูปทั้งหมดนั้นเธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ...
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือ
ภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ก็ตาม วิญญาณ
ทั้งหมดนั้นเธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่
ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
โสณะ อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อม
เบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขาร
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด
จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
อีกต่อไป”๑

โสณสูตรที่ ๗ จบ

๘. ทุติยโสณสูตร
ว่าด้วยโสณคหบดีบุตร สูตรที่ ๒

[๕๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น บุตรของคหบดีชื่อโสณะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับโสณ-
คหบดีบุตรดังนี้ว่า


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๕. อัตตทีปวรรค ๘. ทุติยโสณสูตร

“โสณะ ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่รู้ชัดรูป ไม่รู้ชัดความ
เกิดขึ้นแห่งรูป ไม่รู้ชัดความดับแห่งรูป ไม่รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งรูป
ไม่รู้ชัดเวทนา ไม่รู้ชัดความเกิดขึ้นแห่งเวทนา ไม่รู้ชัดความดับแห่งเวทนา
ไม่รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งเวทนา
ไม่รู้ชัดสัญญา ฯลฯ
ไม่รู้ชัดสังขาร ไม่รู้ชัดความเกิดขึ้นแห่งสังขาร ไม่รู้ชัดความดับแห่งสังขาร
ไม่รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสังขาร
ไม่รู้ชัดวิญญาณ ไม่รู้ชัดความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ ไม่รู้ชัดความดับแห่งวิญญาณ
ไม่รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นเราไม่จัดว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือไม่จัด
ว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้นก็ไม่ทำให้แจ้งประโยชน์แห่งความ
เป็นสมณะหรือประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ใน
ปัจจุบัน
โสณะ ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ชัดรูป รู้ชัดความเกิด
ขึ้นแห่งรูป รู้ชัดความดับแห่งรูป รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งรูป
รู้ชัดเวทนา ...
รู้ชัดสัญญา ...
รู้ชัดสังขาร ...
รู้ชัดวิญญาณ รู้ชัดความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ รู้ชัดความดับแห่งวิญญาณ รู้ชัด
ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นเราจัดว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ และจัดว่าเป็น
พราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้นก็ทำให้แจ้งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ
หรือประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”

ทุติยโสณสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๕. อัตตทีปวรรค ๙. นันทิกขยสูตร

๙. นันทิกขยสูตร
ว่าด้วยการสิ้นความเพลิดเพลิน

[๕๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเห็นรูปที่ไม่เที่ยงนั่นแลว่า ‘ไม่
เที่ยง’ ความเห็นนั้นของเธอเป็นสัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) เมื่อเธอเห็นโดยชอบ
ก็ย่อมเบื่อหน่าย เพราะสิ้นความเพลิดเพลินจึงสิ้นความกำหนัด เพราะสิ้นความ
กำหนัดจึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นทั้งความเพลิดเพลินและความกำหนัด
จิตจึงหลุดพ้น เราเรียกว่า ‘หลุดพ้นดีแล้ว’
ภิกษุเห็นเวทนาที่ไม่เที่ยงนั่นแลว่า ‘ไม่เที่ยง’ ความเห็นนั้นของเธอเป็นสัมมา-
ทิฏฐิ เมื่อเธอเห็นโดยชอบ ก็ย่อมเบื่อหน่าย เพราะสิ้นความเพลิดเพลินจึงสิ้น
ความกำหนัด เพราะสิ้นความกำหนัดจึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นทั้งความ
เพลิดเพลินและความกำหนัด จิตจึงหลุดพ้น เราเรียกว่า ‘หลุดพ้นดีแล้ว’
ภิกษุเห็นสัญญาที่ไม่เที่ยงนั่นแลว่า ‘ไม่เที่ยง’ ฯลฯ
ภิกษุเห็นสังขารที่ไม่เที่ยงนั่นแลว่า ‘ไม่เที่ยง’ ความเห็นนั้นของเธอเป็น
สัมมาทิฏฐิ เมื่อเธอเห็นโดยชอบ ก็ย่อมเบื่อหน่าย เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน
จึงสิ้นความกำหนัด เพราะสิ้นความกำหนัดจึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นทั้ง
ความเพลิดเพลินและความกำหนัด จิตจึงหลุดพ้น เราเรียกว่า ‘หลุดพ้นดีแล้ว’
ภิกษุเห็นวิญญาณที่ไม่เที่ยงนั่นแลว่า ‘ไม่เที่ยง’ ความเห็นของเธอนั้นเป็น
สัมมาทิฏฐิ เมื่อเธอเห็นโดยชอบ ก็ย่อมเบื่อหน่าย เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน
จึงสิ้นความกำหนัด เพราะสิ้นความกำหนัดจึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้น
ทั้งความเพลิดเพลินและความกำหนัด จิตจึงหลุดพ้น เราเรียกว่า ‘หลุดพ้นดีแล้ว”

นันทิกขยสูตรที่ ๙ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๕. อัตตทีปวรรค ๑๐. ทุติยนันทิกขยสูตร

๑๐. ทุติยนันทิกขยสูตร
ว่าด้วยการสิ้นความเพลิดเพลิน สูตรที่ ๒

[๕๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมนสิการรูปโดยแยบคาย
และจงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งรูปตามความเป็นจริง เมื่อภิกษุมนสิการรูป
โดยแยบคาย และพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งรูปตามความเป็นจริง ก็ย่อม
เบื่อหน่ายในรูป เพราะสิ้นความเพลิดเพลินจึงสิ้นความกำหนัด เพราะสิ้นความ
กำหนัดจึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นทั้งความเพลิดเพลินและความกำหนัด
จิตจึงหลุดพ้น เราเรียกว่า ‘หลุดพ้นดีแล้ว’
เธอทั้งหลายจงมนสิการเวทนาโดยแยบคาย และจงพิจารณาเห็นความไม่
เที่ยงแห่งเวทนาตามความเป็นจริง เมื่อภิกษุมนสิการเวทนาโดยแยบคาย และ
พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งเวทนาตามความเป็นจริง ก็ย่อมเบื่อหน่ายในเวทนา
เพราะสิ้นความเพลิดเพลินจึงสิ้นความกำหนัด เพราะสิ้นความกำหนัดจึงสิ้นความ
เพลิดเพลิน เพราะสิ้นทั้งความเพลิดเพลินและความกำหนัด จิตจึงหลุดพ้น
เราเรียกว่า ‘หลุดพ้นดีแล้ว’
เธอทั้งหลายจงมนสิการสัญญาโดยแยบคาย ฯลฯ
เธอทั้งหลายจงมนสิการสังขารโดยแยบคาย และจงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง
แห่งสังขารตามความเป็นจริง เมื่อภิกษุมนสิการสังขารโดยแยบคาย และพิจารณา
เห็นความไม่เที่ยงแห่งสังขารตามความเป็นจริง ก็ย่อมเบื่อหน่ายในสังขาร เพราะสิ้น
ความเพลิดเพลินจึงสิ้นความกำหนัด เพราะสิ้นความกำหนัดจึงสิ้นความเพลิดเพลิน
เพราะสิ้นทั้งความเพลิดเพลินและความกำหนัด จิตจึงหลุดพ้น เราเรียกว่า ‘หลุดพ้น
ดีแล้ว’
เธอทั้งหลายจงมนสิการวิญญาณโดยแยบคาย และจงพิจารณาเห็นความไม่
เที่ยงแห่งวิญญาณตามความเป็นจริง เมื่อภิกษุมนสิการวิญญาณโดยแยบคาย และ
พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งวิญญาณตามความเป็นจริง ก็ย่อมเบื่อหน่ายในวิญญาณ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๕. อัตตทีปวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

เพราะสิ้นความเพลิดเพลินจึงสิ้นความกำหนัด เพราะสิ้นความกำหนัดจึงสิ้นความ
เพลิดเพลิน เพราะสิ้นทั้งความเพลิดเพลินและความกำหนัด จิตจึงหลุดพ้น เรา
เรียกว่า ‘หลุดพ้นดีแล้ว’

ทุติยนันทิกขยสูตรที่ ๑๐ จบ
อัตตทีปวรรคที่ ๕ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อัตตทีปสูตร ๒. ปฏิปทาสูตร
๓. อนิจจสูตร ๔. ทุติยอนิจจสูตร
๕. สมนุปัสสนาสูตร ๖. ขันธสูตร
๗. โสณสูตร ๘. ทุติยโสณสูตร
๙. นันทิกขยสูตร ๑๐. ทุติยนันทิกขยสูตร

มูลปัณณาสก์ จบบริบูรณ์

รวมวรรคที่มีในมูลปัณณาสก์นี้ คือ

๑. นกุลปิตุวรรค ๒. อนิจจวรรค
๓. ภารวรรค ๔. นตุมหากวรรค
๕. อัตตทีปวรรค

รวม ๕ วรรค เรียกว่า ปฐมปัณณาสก์


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๑. อุปยสูตร

มัชฌิมปัณณาสก์
๑. อุปยวรรค
หมวดว่าด้วยความเข้าถึง
๑. อุปยสูตร
ว่าด้วยความเข้าถึง

[๕๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ความเข้าถึง๑ ไม่ใช่ความหลุดพ้น
ความไม่เข้าถึง เป็นความหลุดพ้น
ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณที่เข้าถึงรูป เมื่อตั้งอยู่ ก็พึงมีรูปเป็นอารมณ์ มีรูป
เป็นที่ตั้ง เข้าไปเสพเสวยความเพลิดเพลินตั้งอยู่ ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ได้
ฯลฯ
วิญญาณที่เข้าถึงสังขาร เมื่อตั้งอยู่ ก็พึงมีสังขารเป็นอารมณ์ มีสังขารเป็นที่ตั้ง
เข้าไปเสพเสวยความเพลิดเพลินตั้งอยู่ ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ได้
ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้เลยที่ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เราจักบัญญัติการมา
การไป การจุติ การอุบัติ หรือความเจริญงอกงามไพบูลย์แห่งวิญญาณ เว้นจากรูป
เวทนา สัญญา สังขาร’
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าความกำหนัดในรูปธาตุ ภิกษุละได้แล้ว เพราะละความ
กำหนัดได้ อารมณ์จึงขาดสูญ ที่ตั้งแห่งวิญญาณก็ไม่มี
ถ้าความกำหนัดในเวทนาธาตุ ...
ถ้าความกำหนัดในสัญญาธาตุ ...
ถ้าความกำหนัดในสังขารธาตุ ...


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๒. พีชสูตร

ถ้าความกำหนัดในวิญญาณธาตุ ภิกษุละได้แล้ว เพราะละความกำหนัดได้
อารมณ์จึงขาดสูญ ที่ตั้งแห่งวิญญาณก็ไม่มี วิญญาณที่ไม่มีที่ตั้งนั้น ก็ไม่งอกงาม
ไม่ปรุงแต่ง๑ หลุดพ้นไป เพราะหลุดพ้นจึงตั้งมั่น เพราะตั้งมั่นจึงสันโดษ เพราะ
สันโดษจึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้งย่อมดับไปเอง ภิกษุนั้นรู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
อีกต่อไป”

อุปยสูตรที่ ๑ จบ

๒. พีชสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยพืช

[๕๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พืช ๕ ชนิดนี้ คือ
๑. พืชเกิดจากเหง้า ๒. พืชเกิดจากลำต้น
๓. พืชเกิดจากตา ๔. พืชเกิดจากยอด
๕. พืชเกิดจากเมล็ด
ภิกษุทั้งหลาย ก็พืช ๕ ชนิดนี้ ไม่แตกหัก ไม่เสียหาย ไม่ถูกลมและแดด
ทำลาย มีแก่นสาร ถูกเก็บไว้อย่างดี แต่ไม่มีดิน ไม่มีน้ำ พืช ๕ ชนิดนี้พึงถึง
ความเจริญงอกงามไพบูลย์ได้หรือ”
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า “ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย ก็พืช ๕ ชนิดนี้ ไม่แตกหัก ฯลฯ ถูกเก็บไว้อย่างดี และมีดิน
มีน้ำ พืช ๕ ชนิดนี้พึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ได้หรือ”
“ได้ พระพุทธเจ้าข้า”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๒. พีชสูตร

“ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเห็นวิญญาณฐิติ ๔๑ เหมือนปฐวีธาตุ พึงเห็น
ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลินเหมือนอาโปธาตุ พึงเห็นวิญญาณพร้อม
ด้วยอาหาร๒ เหมือนพืช ๕ ชนิด
วิญญาณที่เข้าถึงรูป เมื่อตั้งอยู่ ก็พึงมีรูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็นที่ตั้ง เข้าไป
เสพเสวยความเพลิดเพลินตั้งอยู่ ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ได้
วิญญาณที่เข้าถึงเวทนา เมื่อตั้งอยู่ ฯลฯ เข้าไปเสพเสวยความเพลิดเพลิน
ตั้งอยู่ ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ได้
วิญญาณที่เข้าถึงสัญญา ฯลฯ
วิญญาณที่เข้าถึงสังขาร เมื่อตั้งอยู่ ก็พึงมีสังขารเป็นอารมณ์ มีสังขารเป็นที่ตั้ง
เข้าไปเสพเสวยความเพลิดเพลินตั้งอยู่ ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ได้
ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้ที่ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เราจักบัญญัติการมา การไป
การจุติ การอุบัติ หรือความเจริญงอกงามไพบูลย์แห่งวิญญาณ เว้นจากรูป เวทนา
สัญญา สังขาร’
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าความกำหนัดในรูปธาตุ ภิกษุละได้แล้ว เพราะละความ
กำหนัดได้ อารมณ์จึงขาดสูญ ที่ตั้งแห่งวิญญาณก็ไม่มี
ถ้าความกำหนัดในเวทนาธาตุ ...
ถ้าความกำหนัดในสัญญาธาตุ ...
ถ้าความกำหนัดในสังขารธาตุ ...
ถ้าความกำหนัดในวิญญาณธาตุ ภิกษุละได้แล้ว เพราะละความกำหนัดได้
อารมณ์จึงขาดสูญ ที่ตั้งแห่งวิญญาณก็ไม่มี วิญญาณที่ไม่มีที่ตั้งนั้น ก็ไม่งอกงาม


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๓. อุทานสูตร

ไม่ปรุงแต่งปฏิสนธิ หลุดพ้นไป เพราะหลุดพ้นจึงตั้งมั่น เพราะตั้งมั่นจึงสันโดษ
เพราะสันโดษจึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้งย่อมดับไปเอง ภิกษุนั้นรู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว
ฯลฯ ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

พีชสูตรที่ ๒ จบ

๓. อุทานสูตร
ว่าด้วยการเปล่งอุทาน

[๕๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคทรงเปล่งอุทานว่า “ภิกษุผู้น้อมใจไปอย่างนี้ว่า ‘ถ้าเราไม่พึงมี
แม้บริขารของเราก็ไม่พึงมี ถ้ากรรมสังขาร (การปรุงแต่งกรรม) จักไม่ได้มีแล้ว
ปฏิสนธิของเราก็จักไม่มี’ พึงตัดโอรัมภาคิยสังโยชน์(สังโยชน์เบื้องต่ำ)ได้”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ภิกษุผู้น้อมใจไปอย่างนี้ว่า ‘ถ้าเราไม่พึงมี
แม้บริขารของเราก็ไม่พึงมี ถ้ากรรมสังขารจักไม่ได้มีแล้ว ปฏิสนธิของเราก็จักไม่มี’
พึงตัดโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้อย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ
ฯลฯ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา
พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป พิจารณาเห็นรูปในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในรูป
... เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา
พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณ พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา หรือพิจารณา
เห็นอัตตาในวิญญาณ
เธอไม่รู้ชัดรูปที่ไม่เที่ยงตามความเป็นจริงว่า ‘รูปไม่เที่ยง’ ไม่รู้ชัดเวทนาที่ไม่
เที่ยงตามความเป็นจริงว่า ‘เวทนาไม่เที่ยง’ ไม่รู้ชัดสัญญาที่ไม่เที่ยงตามความเป็น
จริงว่า ‘สัญญาไม่เที่ยง’ ไม่รู้ชัดสังขารที่ไม่เที่ยงตามความเป็นจริงว่า ‘สังขารไม่เที่ยง’
ไม่รู้ชัดวิญญาณที่ไม่เที่ยงตามความเป็นจริงว่า ‘วิญญาณไม่เที่ยง’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๓. อุทานสูตร

เธอไม่รู้ชัดรูปที่เป็นทุกข์ตามความเป็นจริงว่า ‘รูปเป็นทุกข์’ ... เวทนาที่เป็น
ทุกข์ ... สัญญาที่เป็นทุกข์ ... สังขารที่เป็นทุกข์ ... ไม่รู้ชัดวิญญาณที่เป็นทุกข์
ตามความเป็นจริงว่า ‘วิญญาณเป็นทุกข์’
เธอไม่รู้ชัดรูปที่เป็นอนัตตาตามความเป็นจริงว่า ‘รูปเป็นอนัตตา’ ... เวทนาที่
เป็นอนัตตา ... สัญญาที่เป็นอนัตตา ... สังขารที่เป็นอนัตตา ... ไม่รู้ชัดวิญญาณ
ที่เป็นอนัตตาตามความเป็นจริงว่า ‘วิญญาณเป็นอนัตตา’
เธอไม่รู้ชัดรูปที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งตามความเป็นจริงว่า ‘รูปถูกปัจจัยปรุงแต่ง’
... เวทนาที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ... สัญญาที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ... สังขารที่ถูกปัจจัย
ปรุงแต่ง ... ไม่รู้ชัดวิญญาณที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งตามความเป็นจริงว่า ‘วิญญาณถูก
ปัจจัยปรุงแต่ง’
เธอไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘รูปจักมี’ ... ‘เวทนาจักมี’ ... ‘สัญญาจักมี’
... ‘สังขารจักมี’ ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘วิญญาณจักมี’
ภิกษุ ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับ ได้เห็นพระอริยะ ฉลาดในธรรมของพระอริยะ
ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ
ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ไม่พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา ...
ไม่พิจารณาเห็นเวทนา ... ไม่พิจารณาเห็นสัญญา ... ไม่พิจารณาเห็นสังขาร ...
ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา
เธอรู้ชัดรูปที่ไม่เที่ยงตามความเป็นจริงว่า ‘รูปไม่เที่ยง’ ... ‘เวทนาไม่เที่ยง’ ...
‘สัญญาไม่เที่ยง’ ... ‘สังขารไม่เที่ยง’ รู้ชัดวิญญาณที่ไม่เที่ยงตามความเป็นจริงว่า
‘วิญญาณไม่เที่ยง’
รู้ชัดรูปที่เป็นทุกข์ ... รู้ชัดวิญญาณที่เป็นทุกข์ ...
รู้ชัดรูปที่เป็นอนัตตา ... รู้ชัดวิญญาณที่เป็นอนัตตา ...
รู้ชัดรูปที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ... รู้ชัดวิญญาณที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งตามความเป็น
จริงว่า ‘วิญญาณถูกปัจจัยปรุงแต่ง’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๓. อุทานสูตร

รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘รูปจักมี’ ... ‘เวทนาจักมี’ ... ‘สัญญาจักมี’ ...
‘สังขารจักมี’ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘วิญญาณจักมี’
เพราะความไม่มีรูป เพราะความไม่มีเวทนา เพราะความไม่มีสัญญา เพราะ
ความไม่มีสังขาร เพราะความไม่มีวิญญาณ ภิกษุนั้นเมื่อน้อมใจไปอย่างนี้ว่า ‘ถ้า
เราไม่พึงมี แม้บริขารของเราก็ไม่พึงมี ถ้ากรรมสังขารจักไม่ได้มีแล้ว ปฏิสนธิของ
เราก็จักไม่มี’ พึงตัดโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้อย่างนี้”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุผู้น้อมใจไปอย่างนี้ พึงตัดโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้
ก็เมื่อภิกษุรู้ เห็นอย่างไร อาสวะทั้งหลายจึงจะสิ้นไปตามลำดับ”
“ภิกษุ ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ย่อมสะดุ้งในที่ไม่ควรสะดุ้ง ก็ปุถุชนผู้ไม่
ได้สดับ ย่อมสะดุ้งอย่างนี้ว่า ‘ถ้าเราไม่พึงมี แม้บริขารของเราก็ไม่พึงมี ถ้ากรรม-
สังขารจักไม่ได้มีแล้ว ปฏิสนธิของเราก็จักไม่มี’
ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับ ไม่สะดุ้งในที่ไม่ควรสะดุ้ง ก็อริยสาวกผู้ได้สดับ
ไม่สะดุ้งอย่างนี้ว่า ‘ถ้าเราไม่พึงมี แม้บริขารของเราก็ไม่พึงมี ถ้ากรรมสังขารจัก
ไม่ได้มีแล้ว ปฏิสนธิของเราก็จักไม่มี’
วิญญาณที่เข้าถึงรูปก็ดี เมื่อตั้งอยู่ ก็พึงมีรูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็นที่ตั้ง
เข้าไปเสพเสวยความเพลิดเพลินตั้งอยู่ ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ได้
วิญญาณที่เข้าถึงเวทนาก็ดี ฯลฯ
วิญญาณที่เข้าถึงสัญญาก็ดี ฯลฯ
วิญญาณที่เข้าถึงสังขารก็ดี เมื่อตั้งอยู่ ก็พึงมีสังขารเป็นอารมณ์ มีสังขาร
เป็นที่ตั้ง เข้าไปเสพเสวยความเพลิดเพลินตั้งอยู่ ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ได้
ภิกษุ เป็นไปไม่ได้เลยที่ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เราจักบัญญัติการมา การไป
การจุติ การอุบัติ หรือความเจริญงอกงามไพบูลย์แห่งวิญญาณ เว้นจากรูป เวทนา
สัญญา สังขาร’
ภิกษุ ถ้าความกำหนัดในรูปธาตุ ภิกษุละได้แล้ว เพราะละความกำหนัดได้
อารมณ์จึงขาดสูญ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๘๐ }


ระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๔.อุปาทานปริปวัตตนสูตร

ถ้าความกำหนัดในเวทนาธาตุ ...
ถ้าความกำหนัดในสัญญาธาตุ ...
ถ้าความกำหนัดในสังขารธาตุ ...
ถ้าความกำหนัดในวิญญาณธาตุ ภิกษุละได้แล้ว เพราะละความกำหนัดได้
อารมณ์จึงขาดสูญ ที่ตั้งแห่งวิญญาณก็ไม่มี วิญญาณที่ไม่มีที่ตั้งนั้น ก็ไม่งอกงาม
ไม่ปรุงแต่งปฏิสนธิ หลุดพ้นไป เพราะหลุดพ้นจึงตั้งมั่น เพราะตั้งมั่นจึงสันโดษ
เพราะสันโดษจึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้งย่อมดับไปเอง ภิกษุนั้นรู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว
ฯลฯ ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
ภิกษุ เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างนี้ อาสวะทั้งหลายจึงสิ้นไปตามลำดับ”

อุทานสูตรที่ ๓ จบ

๔. อุปาทานปริปวัตตนสูตร
ว่าด้วยอุปาทานขันธ์เวียนรอบ

[๕๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้
อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป)
๒. เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา)
๓. สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา)
๔. สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร)
๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ)

ตราบใด เรายังไม่รู้ชัดอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ โดยเวียนรอบ ๔ ครั้ง
ตามความเป็นจริง ตราบนั้น เราก็ไม่ยืนยันว่า ‘เป็นผู้ตรัสรู้โดยชอบซึ่งสัมมาสัมโพธิ-
ญาณอันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้ง
สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๔. อุปาทานปริปวัตตนสูตร

แต่เมื่อใด เรารู้ชัดอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ โดยเวียนรอบ ๔ ครั้งตาม
ความเป็นจริง เมื่อนั้น เราจึงจะยืนยันว่า ‘เป็นผู้ตรัสรู้โดยชอบซึ่งสัมมาสัมโพธิ-
ญาณอันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก ฯลฯ เทวดาและมนุษย์’
เวียนรอบ ๔ ครั้ง เป็นอย่างไร
คือ เรารู้ชัดรูป ความเกิดขึ้นแห่งรูป ความดับแห่งรูป ปฏิปทาที่ให้ถึง
ความดับแห่งรูป ... เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ เรารู้ชัดวิญญาณ
ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ ความดับแห่งวิญญาณ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ
รูป เป็นอย่างไร
คือ มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔
นี้เรียกว่า รูป
เพราะความเกิดขึ้นแห่งอาหาร ความเกิดขึ้นแห่งรูปจึงมี เพราะความดับแห่ง
อาหาร ความดับแห่งรูปจึงมี
อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งรูป คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดรูป ความเกิดขึ้นแห่งรูป ความดับ
แห่งรูป และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งรูปอย่างนี้แล้วปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย
เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับรูป สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าปฏิบัติดีแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดปฏิบัติดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่า
มั่นคงในธรรมวินัยนี้
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดรูป ความเกิดขึ้นแห่งรูป ความดับ
แห่งรูป และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งรูปอย่างนี้ เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะ
ความเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะดับไป เพราะไม่ยึดมั่นถือมั่นรูป สมณะ
หรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าหลุดพ้นดีแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดหลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อ
ว่าหมดกิเลสโดยสิ้นเชิง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๔. อุปาทานปริปวัตตนสูตร

สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดหมดกิเลสโดยสิ้นเชิง สมณะหรือพราหมณ์
เหล่านั้นชื่อว่าไม่มีวัฏฏะเพื่อความปรากฏอีก
เวทนา เป็นอย่างไร
คือ เวทนา ๖ ประการนี้ ได้แก่
๑. จักขุสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากจักขุสัมผัส)
๒. โสตสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากโสตสัมผัส)
๓. ฆานสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากฆานสัมผัส)
๔. ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากชิวหาสัมผัส)
๕. กายสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากกายสัมผัส)
๖. มโนสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากมโนสัมผัส)
นี้เรียกว่า เวทนา
เพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาจึงมี เพราะความดับ
แห่งผัสสะ ความดับแห่งเวทนาจึงมี
อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งเวทนา คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดเวทนา ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา
ความดับแห่งเวทนา และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งเวทนาอย่างนี้แล้วปฏิบัติเพื่อ
ความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับเวทนา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น
ชื่อว่าปฏิบัติดีแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดปฏิบัติดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่า
มั่นคงในธรรมวินัยนี้
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดเวทนา ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา
ความดับแห่งเวทนา และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งเวทนาอย่างนี้ ฯลฯ สมณะ
หรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าไม่มีวัฏฏะเพื่อความปรากฏอีก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๔. อุปาทานปริปวัตตนสูตร

สัญญา เป็นอย่างไร
คือ สัญญา ๖ ประการนี้ ได้แก่
๑. รูปสัญญา (ความหมายรู้รูป)
๒. สัททสัญญา (ความหมายรู้เสียง)
๓. คันธสัญญา (ความหมายรู้กลิ่น)
๔. รสสัญญา (ความหมายรู้รส)
๕. โผฏฐัพพสัญญา (ความหมายรู้โผฏฐัพพะ)
๖. ธัมมสัญญา (ความหมายรู้ธรรมารมณ์)
นี้เรียกว่า สัญญา
เพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาจึงมี เพราะความดับ
แห่งผัสสะ ความดับแห่งสัญญาจึงมี
อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสัญญา คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดสัญญาอย่างนี้ ฯลฯ
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าไม่มีวัฏฏะเพื่อความปรากฏอีก
สังขาร เป็นอย่างไร
คือ เจตนา ๖ ประการนี้ ได้แก่
๑. รูปสัญเจตนา (ความจำนงรูป)
๒. สัททสัญเจตนา (ความจำนงเสียง)
๓. คันธสัญเจตนา (ความจำนงกลิ่น)
๔. รสสัญเจตนา (ความจำนงรส)
๕. โผฏฐัพพสัญเจตนา (ความจำนงโผฏฐัพพะ)
๖. ธัมมสัญเจตนา (ความจำนงธรรมารมณ์)
นี้เรียกว่า สังขาร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๔. อุปาทานปริปวัตตนสูตร

เพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ ความเกิดขึ้นแห่งสังขารจึงมี เพราะความดับ
แห่งผัสสะ ความดับแห่งสังขารจึงมี
อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสังขาร คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดสังขาร ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร
ความดับแห่งสังขาร และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสังขารอย่างนี้แล้วปฏิบัติเพื่อ
ความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับสังขารทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์
เหล่านั้นชื่อว่าปฏิบัติดีแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดปฏิบัติดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่า
มั่นคงในธรรมวินัยนี้
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดสังขาร ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร
ความดับแห่งสังขาร และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสังขารอย่างนี้แล้ว เป็นผู้หลุดพ้น
เพราะความเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะดับไป ไม่ยึดมั่นถือมั่นสังขาร
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าหลุดพ้นดีแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดหลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อ
ว่าหมดกิเลสโดยสิ้นเชิง
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดหมดกิเลสโดยสิ้นเชิง สมณะหรือพราหมณ์
เหล่านั้นชื่อว่าไม่มีวัฏฏะเพื่อความปรากฏอีก
วิญญาณ เป็นอย่างไร
คือ วิญญาณ ๖ ประการนี้ ได้แก่
๑. จักขุวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางตา)
๒. โสตวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางหู)
๓. ฆานวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางจมูก)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๔. อุปาทานปริปวัตตนสูตร

๔. ชิวหาวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางลิ้น)
๕. กายวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางกาย)
๖. มโนวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางใจ)
นี้เรียกว่า วิญญาณ
เพราะความเกิดขึ้นแห่งนามรูป ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณจึงมี เพราะความ
ดับแห่งนามรูป ความดับแห่งวิญญาณจึงมี
อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดวิญญาณ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ
ความดับแห่งวิญญาณ และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งวิญญาณอย่างนี้แล้วปฏิบัติ
เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับวิญญาณ สมณะหรือพราหมณ์
เหล่านั้นชื่อว่าปฏิบัติดีแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดปฏิบัติดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่า
มั่นคงในธรรมวินัยนี้
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดวิญญาณ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ
ความดับแห่งวิญญาณ และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งวิญญาณอย่างนี้แล้วเป็น
ผู้หลุดพ้นเพราะความเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะดับไป ไม่ยึดมั่นถือมั่น
วิญญาณ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าหลุดพ้นดีแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดหลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อ
ว่าหมดกิเลสโดยสิ้นเชิง
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดหมดกิเลสโดยสิ้นเชิง สมณะหรือพราหมณ์
เหล่านั้นชื่อว่าไม่มีวัฏฏะเพื่อความปรากฏอีก”

อุปาทานปริปวัตตนสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๕. สัตตัฏฐานสูตร

๕. สัตตัฏฐานสูตร
ว่าด้วยฐานะ ๗ ประการ

[๕๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลาย
มาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มี
พระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ฉลาดในฐานะ ๗ ประการ ผู้เพ่งพินิจโดยวิธี ๓ วิธี
เราเรียกว่า ‘อุดมบุรุษ ผู้หมดกิเลสโดยสิ้นเชิง อยู่จบพรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้’
ภิกษุผู้ฉลาดในฐานะ ๗ ประการ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. รู้ชัดรูป ความเกิดขึ้นแห่งรูป ความดับแห่งรูป ปฏิปทาที่ให้ถึง
ความดับแห่งรูป คุณแห่งรูป โทษแห่งรูป และเครื่องสลัดออก
จากรูป
๒. รู้ชัดเวทนา ฯลฯ
๓. รู้ชัดสัญญา ฯลฯ
๔. รู้ชัดสังขาร ฯลฯ
๕. รู้ชัดวิญญาณ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ ความดับแห่งวิญญาณ
ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ คุณแห่งวิญญาณ โทษ
แห่งวิญญาณ และเครื่องสลัดออกจากวิญญาณ
รูป เป็นอย่างไร
คือ มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔
นี้เรียกว่า รูป
เพราะความเกิดขึ้นแห่งอาหาร ความเกิดขึ้นแห่งรูปจึงมี เพราะความดับแห่ง
อาหาร ความดับแห่งรูปจึงมี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๕. สัตตัฏฐานสูตร

อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งรูป คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยรูปเกิดขึ้น นี้เป็นคุณของรูป สภาพที่รูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์
มีความแปรผันเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษของรูป ธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรม
เป็นที่ละฉันทราคะในรูป นี้เป็นเครื่องสลัดออกจากรูป
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดรูป ความเกิดขึ้นแห่งรูป ความดับ
แห่งรูป ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งรูป คุณแห่งรูป โทษแห่งรูป และเครื่องสลัด
ออกจากรูปอย่างนี้แล้วปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับรูป
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าปฏิบัติดีแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดปฏิบัติดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่า
มั่นคงในธรรมวินัยนี้
ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดรูป ความเกิดขึ้นแห่งรูป
ความดับแห่งรูป ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งรูป คุณแห่งรูป โทษแห่งรูป และ
เครื่องสลัดออกจากรูปอย่างนี้แล้วเป็นผู้หลุดพ้นเพราะความเบื่อหน่าย เพราะคลาย
กำหนัด เพราะดับไป เพราะไม่ถือมั่นรูป สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าหลุด
พ้นดีแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดหลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น
ชื่อว่าหมดกิเลสโดยสิ้นเชิง
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดหมดกิเลสโดยสิ้นเชิง สมณะหรือพราหมณ์
เหล่านั้นชื่อว่าไม่มีวัฏฏะเพื่อความปรากฏอีก
เวทนา เป็นอย่างไร
คือ เวทนา ๖ ประการนี้ ได้แก่
๑. จักขุสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ ๖. มโนสัมผัสสชาเวทนา
นี้เรียกว่า เวทนา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๕. สัตตัฏฐานสูตร

เพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาจึงมี เพราะความดับ
แห่งผัสสะ ความดับแห่งเวทนาจึงมี
อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งเวทนา คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยเวทนาเกิดขึ้น นี้เป็นคุณแห่งเวทนา สภาพที่เวทนา
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งเวทนา ธรรมเป็นที่
กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะในเวทนา นี้เป็นเครื่องสลัดออกจากเวทนา
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดเวทนา ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา
ความดับแห่งเวทนา ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งเวทนา คุณแห่งเวทนา โทษ
แห่งเวทนา และเครื่องสลัดออกจากเวทนาอย่างนี้แล้วปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย
เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับเวทนา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าปฏิบัติดีแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดปฏิบัติดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่า
มั่นคงในธรรมวินัยนี้
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดเวทนา ฯลฯ
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าไม่มีวัฏฏะเพื่อความปรากฏอีก
สัญญา เป็นอย่างไร
คือ สัญญา ๖ ประการนี้ ได้แก่

๑. รูปสัญญา ๒. สัททสัญญา
๓. คันธสัญญา ๔. รสสัญญา
๕. โผฏฐัพพสัญญา ๖. ธัมมสัญญา

นี้เรียกว่า สัญญา
เพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาจึงมี เพราะความดับ
แห่งผัสสะ ความดับแห่งสัญญาจึงมี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๕. สัตตัฏฐานสูตร

อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสัญญา คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
ฯลฯ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าไม่มีวัฏฏะเพื่อความปรากฏอีก
สังขาร เป็นอย่างไร
คือ เจตนา ๖ ประการนี้ ได้แก่
๑. รูปสัญเจตนา ฯลฯ ๖. ธัมมสัญเจตนา
นี้เรียกว่า สังขาร
เพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ ความเกิดขึ้นแห่งสังขารจึงมี เพราะความดับ
แห่งผัสสะ ความดับแห่งสังขารจึงมี
อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสังขาร คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยสังขารเกิดขึ้น นี้เป็นคุณแห่งสังขาร สภาพที่สังขาร
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งสังขาร ธรรมเป็นที่
กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะในสังขารทั้งหลาย นี้เป็นเครื่องสลัดออก
จากสังขาร
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดสังขาร ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร
ความดับแห่งสังขาร ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสังขาร ฯลฯ ปฏิบัติเพื่อความ
เบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับสังขาร สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่า
ปฏิบัติดีแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดปฏิบัติดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่า
มั่นคงในธรรมวินัยนี้ ฯลฯ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าไม่มีวัฏฏะเพื่อความ
ปรากฏอีก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๕. สัตตัฏฐานสูตร

วิญญาณ เป็นอย่างไร
คือ วิญญาณ ๖ ประการนี้ ได้แก่

๑. จักขุวิญญาณ ๒. โสตวิญญาณ
๓. ฆานวิญญาณ ๔. ชิวหาวิญญาณ
๕. กายวิญญาณ ๖. มโนวิญญาณ

นี้เรียกว่า วิญญาณ
เพราะความเกิดขึ้นแห่งนามรูป ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณจึงมี เพราะความ
ดับแห่งนามรูป ความดับแห่งวิญญาณจึงมี
อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยวิญญาณเกิดขึ้น นี้เป็นคุณแห่งวิญญาณ สภาพที่
วิญญาณไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งวิญญาณ
ธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะในวิญญาณ นี้เป็นเครื่องสลัด
ออกจากวิญญาณ
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดวิญญาณ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ
ความดับแห่งวิญญาณ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ คุณแห่งวิญญาณ
โทษแห่งวิญญาณ เครื่องสลัดออกจากวิญญาณอย่างนี้แล้วปฏิบัติเพื่อความ
เบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับวิญญาณ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น
ชื่อว่าปฏิบัติดีแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดปฏิบัติดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่า
มั่นคงในธรรมวินัยนี้
ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดรู้ชัดวิญญาณ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ
ความดับแห่งวิญญาณ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ คุณแห่งวิญญาณ
โทษแห่งวิญญาณ และเครื่องสลัดออกจากวิญญาณอย่างนี้แล้วเป็นผู้หลุดพ้น
เพราะความเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะดับ เพราะไม่ถือมั่นวิญญาณ
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าหลุดพ้นดีแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๖.สัมมาสัมพุทธสูตร

สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดหลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อ
ว่าหมดกิเลสโดยสิ้นเชิง
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดหมดกิเลสโดยสิ้นเชิง สมณะหรือพราหมณ์
เหล่านั้นชื่อว่าไม่มีวัฏฏะเพื่อความปรากฏอีก
ภิกษุชื่อว่าผู้ฉลาดในฐานะ ๗ ประการ เป็นอย่างนี้
ภิกษุผู้เพ่งพินิจโดยวิธี ๓ วิธี เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เพ่งพินิจเป็นธาตุ
๒. เพ่งพินิจเป็นอายตนะ
๓. เพ่งพินิจเป็นปฏิจจสมุปบาท
ภิกษุชื่อว่าผู้เพ่งพินิจโดยวิธี ๓ วิธี เป็นอย่างนี้
ภิกษุผู้ฉลาดในฐานะ ๗ ประการ ผู้เพ่งพินิจโดยวิธี ๓ วิธี เราเรียกว่า
‘อุดมบุรุษ ผู้หมดกิเลสโดยสิ้นเชิง อยู่จบพรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้”

สัตตัฏฐานสูตรที่ ๕ จบ

๖. สัมมาสัมพุทธสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

[๕๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
หลุดพ้นแล้วเพราะเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะดับ เพราะไม่ถือมั่นรูป
บัณฑิตจึงเรียกว่า ‘พระสัมมาสัมพุทธเจ้า’
แม้ภิกษุผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา หลุดพ้นเพราะเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด
เพราะดับ เพราะไม่ถือมั่นรูป เราก็เรียกว่า ‘ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๖.สัมมาสัมพุทธสูตร

พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าหลุดพ้นแล้วเพราะเบื่อหน่าย เพราะ
คลายกำหนัด เพราะดับ เพราะไม่ถือมั่นเวทนา บัณฑิตจึงเรียกว่า ‘พระสัมมา-
สัมพุทธเจ้า’
แม้ภิกษุผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา หลุดพ้นเพราะเบื่อหน่าย ฯลฯ เราก็เรียกว่า
‘ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา’
พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าหลุดพ้นแล้วเพราะเบื่อหน่าย เพราะ
คลายกำหนัด เพราะดับ เพราะไม่ถือมั่นสัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ
บัณฑิตจึงเรียกว่า ‘‘พระสัมมาสัมพุทธเจ้า’
แม้ภิกษุผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา หลุดพ้นเพราะเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด
เพราะดับ เพราะไม่ถือมั่นวิญญาณ เราก็เรียกว่า ‘ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา’
ในเรื่องนั้นจะผิดแผกแตกต่างกันอย่างไร คือ ระหว่างพระตถาคตอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้ากับภิกษุผู้หลุดพ้นด้วยปัญญามีอะไรต่างกัน”
ภิกษุทั้งหลายพากันกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระ
ภาคเป็นที่พึ่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เฉพาะพระผู้มีพระภาค
เท่านั้นที่จะทรงอธิบายเนื้อความแห่งพระภาษิตนั้นให้แจ่มแจ้ง ภิกษุทั้งหลายฟังต่อ
จากพระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้นเธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจ
ให้ดี เราจักกล่าว”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทำทางที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
ทำให้รู้จักทางที่ใคร ๆ ไม่รู้จัก บอกทางที่ยังไม่มีใครบอก เป็นผู้รู้จักทาง รู้แจ้งทาง
ฉลาดในทาง ภิกษุทั้งหลาย ส่วนเหล่าสาวกในบัดนี้ เป็นผู้ดำเนินไปตามทางอยู่
เป็นผู้ตามมาในภายหลัง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๗. อนันตตลักขณสูตร

นี้แล เป็นความผิดแผกแตกต่างกัน ระหว่างพระตถาคตอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้ากับภิกษุผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา”
สัมมาสัมพุทธสูตรที่ ๖ จบ

๗. อนัตตลักขณสูตร๑
ว่าด้วยลักษณะแห่งอนัตตา

[๕๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
เขตกรุงพาราณสี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกพระปัญจวัคคีย์มาตรัสว่า
ฯลฯ แล้วได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา ถ้ารูปนี้จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ รูปนี้ไม่พึงเป็น
ไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในรูปว่า ‘รูปของเราจงเป็นอย่างนี้ รูปของเราอย่า
ได้เป็นอย่างนั้น’ ก็เพราะรูปเป็นอนัตตา ฉะนั้น รูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และ
บุคคลย่อมไม่ได้ในรูปว่า ‘รูปของเราจงเป็นอย่างนี้ รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้น’
เวทนาเป็นอนัตตา ถ้าเวทนานี้จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ เวทนานี้ไม่พึงเป็นไป
เพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในเวทนาว่า ‘เวทนาของเราจงเป็นอย่างนี้ เวทนาของ
เราอย่าได้เป็นอย่างนั้น’ ก็เพราะเวทนาเป็นอนัตตา ฉะนั้น เวทนาจึงเป็นไปเพื่อ
อาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในเวทนาว่า ‘เวทนาของเราจงเป็นอย่างนี้ เวทนาของ
เราอย่าได้เป็นอย่างนั้น’
สัญญาเป็นอนัตตา ฯลฯ
สังขารเป็นอนัตตา ถ้าสังขารนี้จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ สังขารนี้ไม่พึงเป็นไป
เพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสังขารว่า ‘สังขารของเราจงเป็นอย่างนี้ สังขารของ
เราอย่าได้เป็นอย่างนั้น’ ก็เพราะสังขารเป็นอนัตตา ฉะนั้น สังขารจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๗. อนันตตลักขณสูตร

และบุคคลย่อมไม่ได้ในสังขารว่า ‘สังขารของเราจงเป็นอย่างนี้ สังขารของเราอย่า
ได้เป็นอย่างนั้น’
วิญญาณเป็นอนัตตา ถ้าวิญญาณนี้จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ วิญญาณนี้ไม่พึง
เป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในวิญญาณว่า ‘วิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้
วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้น’ ก็เพราะวิญญาณเป็นอนัตตา ฉะนั้น
วิญญาณจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในวิญญาณว่า ‘วิญญาณของ
เราจงเป็นอย่างนี้ วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้น’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือ
ไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๘. มหาลิสูตร

“ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต
และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือ
ใกล้ก็ตาม รูปทั้งหมดนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง
อย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ ไกลหรือ
ใกล้ก็ตาม เวทนาทั้งหมดนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็น
จริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ
สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ ไกลหรือ
ใกล้ก็ตาม สังขารทั้งหมดนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความจริง
อย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายใน
หรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ก็ตาม วิญญาณ
ทั้งหมดนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขาร
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด
จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
อีกต่อไป”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสอนัตตลักขณสูตรนี้จบแล้ว พระปัญจวัคคีย์มีใจยินดี
ต่างชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสเวยยากรณภาษิต
นี้อยู่ พระปัญจวัคคีย์ก็มีจิตหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น

อนัตตลักขณสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๘. มหาลิสูตร

๘. มหาลิสูตร
ว่าด้วยเจ้ามหาลิ

[๖๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขต
กรุงเวสาลี ครั้งนั้น เจ้าลิจฉวีพระนามว่ามหาลิเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ฯลฯ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านปูรณะ กัสสปะกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ความเศร้าหมอง
ของสัตว์ทั้งหลาย ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย สัตว์ทั้งหลายไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย เศร้าหมอง
เอง ความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย สัตว์ทั้งหลายไม่มีเหตุ ไม่มี
ปัจจัย บริสุทธิ์เอง’ ในเรื่องนี้พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มหาลิ ความเศร้าหมองของสัตว์ทั้งหลาย มีเหตุ
มีปัจจัย สัตว์ทั้งหลายมีเหตุ มีปัจจัย จึงเศร้าหมอง ความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย
มีเหตุ มีปัจจัย สัตว์ทั้งหลายมีเหตุ มีปัจจัย จึงบริสุทธิ์”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เหตุปัจจัยเพื่อความเศร้าหมองของสัตว์ทั้งหลาย
เป็นอย่างไร สัตว์ทั้งหลายมีเหตุ มีปัจจัย เศร้าหมองอย่างไร”
“มหาลิ หากรูปนี้จักได้เป็นทุกข์ส่วนเดียว มีแต่ทุกข์ติดตาม หยั่งลงสู่ความ
ทุกข์ ไม่หยั่งลงสู่ความสุขบ้างแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงติดใจในรูป แต่เพราะรูป
เป็นสุข มีสุขติดตาม หยั่งลงสู่ความสุข ไม่หยั่งลงสู่ความทุกข์เสมอไป ฉะนั้น
สัตว์ทั้งหลายจึงติดใจในรูป เพราะกำหนัดจึงถูกรูปผูกไว้ เพราะถูกรูปผูกไว้จึง
เศร้าหมอง นี้เป็นเหตุ เป็นปัจจัยเพื่อความเศร้าหมองของสัตว์ทั้งหลาย สัตว์
ทั้งหลายมีเหตุ มีปัจจัยจึงเศร้าหมองอย่างนี้
หากเวทนานี้จักได้เป็นทุกข์ส่วนเดียว มีแต่ทุกข์ติดตาม หยั่งลงสู่ความทุกข์
ไม่หยั่งลงสู่ความสุขบ้างแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงติดใจในเวทนา แต่เพราะเวทนา
เป็นสุข มีสุขติดตาม หยั่งลงสู่ความสุข ไม่หยั่งลงสู่ความทุกข์เสมอไป ฉะนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๙. อาทิตตสูตร

สัตว์ทั้งหลายจึงติดใจในเวทนา เพราะกำหนัดจึงถูกเวทนาผูกไว้ เพราะถูกเวทนา
ผูกไว้จึงเศร้าหมอง นี้เป็นเหตุ เป็นปัจจัยเพื่อความเศร้าหมองแห่งสัตว์ทั้งหลาย
สัตว์ทั้งหลายมีเหตุ มีปัจจัยจึงเศร้าหมองอย่างนี้
หากสัญญานี้ ฯลฯ
หากสังขารนี้จักได้เป็นทุกข์ส่วนเดียว มีแต่ทุกข์ติดตาม หยั่งลงสู่ความทุกข์
ไม่หยั่งลงสู่ความสุขบ้างแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงติดใจในสังขาร แต่เพราะสังขาร
เป็นสุข มีสุขติดตาม หยั่งลงสู่ความสุข ไม่หยั่งลงสู่ความทุกข์เสมอไป ฉะนั้น
สัตว์ทั้งหลายจึงติดใจในสังขาร เพราะกำหนัดจึงถูกสังขารผูกไว้ เพราะถูกสังขาร
ผูกไว้จึงเศร้าหมอง นี้เป็นเหตุ เป็นปัจจัยเพื่อความเศร้าหมองของสัตว์ทั้งหลาย
สัตว์ทั้งหลายมีเหตุ มีปัจจัยจึงเศร้าหมองอย่างนี้
หากวิญญาณนี้จักได้เป็นทุกข์ส่วนเดียว มีแต่ทุกข์ติดตาม หยั่งลงสู่ความทุกข์
ไม่หยั่งลงสู่ความสุขบ้างแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงติดใจในวิญญาณ แต่เพราะ
วิญญาณเป็นสุข มีสุขติดตาม หยั่งลงสู่ความสุข ไม่หยั่งลงสู่ความทุกข์เสมอไป
ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงติดใจในวิญญาณ เพราะกำหนัดจึงถูกวิญญาณผูกไว้ เพราะ
ถูกวิญญาณผูกไว้จึงเศร้าหมอง นี้เป็นเหตุ เป็นปัจจัยเพื่อความเศร้าหมองของสัตว์
ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายมีเหตุ มีปัจจัยจึงเศร้าหมองอย่างนี้”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ส่วนเหตุปัจจัยเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลายเป็น
อย่างไร สัตว์ทั้งหลายมีเหตุ มีปัจจัยบริสุทธิ์อย่างไร”
“มหาลิ หากรูปนี้จักได้เป็นสุขส่วนเดียว มีแต่สุขติดตาม หยั่งลงสู่ความสุข
ไม่หยั่งลงสู่ความทุกข์บ้างแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงเบื่อหน่ายในรูป แต่เพราะรูป
เป็นทุกข์ มีทุกข์ติดตาม หยั่งลงสู่ความทุกข์ ไม่หยั่งลงสู่ความสุขเสมอไป ฉะนั้น
สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในรูป เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลาย
กำหนัดจึงบริสุทธิ์ นี้เป็นเหตุ เป็นปัจจัยเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย สัตว์
ทั้งหลายมีเหตุ มีปัจจัยจึงบริสุทธิ์อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๙. อาทิตตสูตร

หากเวทนานี้จักได้เป็นสุขส่วนเดียว ฯลฯ
หากสัญญานี้จักได้เป็นสุขส่วนเดียว ฯลฯ
หากสังขารนี้จักได้เป็นสุขส่วนเดียว ฯลฯ
หากวิญญาณนี้จักได้เป็นสุขส่วนเดียว มีแต่สุขติดตาม หยั่งลงสู่ความสุข ไม่
หยั่งลงสู่ความทุกข์บ้างแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงเบื่อหน่ายในวิญญาณ แต่เพราะ
วิญญาณเป็นทุกข์ มีทุกข์ติดตาม หยั่งลงสู่ความทุกข์ ไม่หยั่งลงสู่ความสุขเสมอไป
ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัดจึงบริสุทธิ์ นี้เป็นเหตุ เป็นปัจจัยเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์
ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายมีเหตุ มีปัจจัยจึงบริสุทธิ์อย่างนี้”

มหาลิสูตรที่ ๘ จบ

๙. อาทิตตสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นของร้อน

[๖๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ณ ที่นั้นแล ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นของร้อน
เวทนาเป็นของร้อน สัญญาเป็นของร้อน สังขารเป็นของร้อน วิญญาณเป็นของร้อน
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ... ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในสังขาร ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัดจิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัด
ว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อ
ความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

อาทิตตสูตรที่ ๙ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๑๐. นิรุตติปถสูตร

๑๐. นิรุตติปถสูตร
ว่าด้วยหลักภาษา

[๖๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ณ ที่นั้นแล ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย หลักการ ๓
ประการนี้ คือ (๑) หลักภาษา (๒) หลักการตั้งชื่อ (๓) หลักการบัญญัติ ไม่ได้
ถูกทอดทิ้ง ไม่เคยถูกทอดทิ้ง ย่อมไม่ถูกทอดทิ้ง จักไม่ถูกทอดทิ้ง ไม่ถูกสมณ-
พราหมณ์ผู้เป็นวิญญูชนคัดค้านแล้ว
หลักการ ๓ ประการ เป็นอย่างไร คือ
๑.รูปใดล่วงไป ดับไป แปรผันไปแล้ว เรียกรูปนั้นว่า ‘ได้มีแล้ว’
ตั้งชื่อรูปนั้นว่า ‘ได้มีแล้ว’ บัญญัติรูปนั้นว่า ‘ได้มีแล้ว’ (แต่) ไม่
เรียกรูปนั้นว่า ‘มีอยู่’ ไม่เรียกรูปนั้นว่า ‘จักมี’
เวทนาใดล่วงไป ดับไป แปรผันไปแล้ว เรียกเวทนานั้นว่า
‘ได้มีแล้ว’ ตั้งชื่อเวทนานั้นว่า ‘ได้มีแล้ว’ บัญญัติเวทนานั้นว่า
‘ได้มีแล้ว’ (แต่) ไม่เรียกเวทนานั้นว่า ‘มีอยู่’ ไม่เรียกเวทนานั้นว่า
‘จักมี’
สัญญาใด ฯลฯ
สังขารเหล่าใดล่วงไป ดับไป แปรผันไปแล้ว เรียกสังขารนั้นว่า
‘ได้มีแล้ว’ ตั้งชื่อสังขารนั้นว่า ‘ได้มีแล้ว’ บัญญัติสังขารเหล่านั้นว่า
‘ได้มีแล้ว’ (แต่) ไม่เรียกสังขารเหล่านั้นว่า ‘มีอยู่’ ไม่เรียกสังขาร
เหล่านั้นว่า ‘จักมี’
วิญญาณใดล่วงไป ดับไป แปรผันไปแล้ว เรียกวิญญาณนั้นว่า
‘ได้มีแล้ว’ ตั้งชื่อวิญญาณนั้นว่า ‘ได้มีแล้ว’ บัญญัติวิญญาณนั้นว่า
‘ได้มีแล้ว’ (แต่) ไม่เรียกวิญญาณนั้นว่า ‘มีอยู่’ ไม่เรียกวิญญาณ
นั้นว่า ‘จักมี’
๒. รูปยังไม่เกิด ยังไม่ปรากฏ เรียกรูปนั้นว่า ‘จักมี’ ตั้งชื่อรูปนั้นว่า
‘จักมี’ และบัญญัติรูปนั้นว่า ‘จักมี’ (แต่) ไม่เรียกรูปนั้นว่า ‘มีอยู่’
ไม่เรียกรูปนั้นว่า ‘ได้มีแล้ว’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๑๐. นิรุตติปถสูตร

เวทนาใดยังไม่เกิด ยังไม่ปรากฏ เรียกเวทนานั้นว่า ‘จักมี’
ตั้งชื่อเวทนานั้นว่า ‘จักมี’ และบัญญัติเวทนานั้นว่า ‘จักมี’ (แต่)
ไม่เรียกเวทนานั้นว่า ‘มีอยู่’ ไม่เรียกเวทนานั้นว่า ‘ได้มีแล้ว
สัญญาใด ฯลฯ
สังขารเหล่าใดยังไม่เกิด ยังไม่ปรากฏ เรียกสังขารเหล่านั้นว่า
‘จักมี’ ตั้งชื่อสังขารเหล่านั้นว่า ‘จักมี’ และบัญญัติสังขารเหล่านั้นว่า
‘จักมี’ (แต่) ไม่เรียกสังขารเหล่านั้นว่า ‘มีอยู่’ ไม่เรียกสังขาร
เหล่านั้นว่า ‘ได้มีแล้ว’
วิญญาณใดยังไม่เกิด ยังไม่ปรากฏ เรียกวิญญาณนั้นว่า ‘จักมี’
ตั้งชื่อวิญญาณนั้นว่า ‘จักมี’ และบัญญัติวิญญาณนั้นว่า ‘จักมี’ (แต่)
ไม่เรียกวิญญาณนั้นว่า ‘มีอยู่’ ไม่เรียกวิญญาณนั้นว่า ‘มีแล้ว’
๓. รูปใดเกิดแล้ว ปรากฏแล้ว เรียกรูปนั้นว่า ‘มีอยู่’ ตั้งชื่อรูปนั้นว่า
‘มีอยู่’ และบัญญัติรูปนั้นว่า ‘มีอยู่’ (แต่) ไม่เรียกรูปนั้นว่า ‘ได้มีแล้ว’
ไม่เรียกรูปนั้นว่า ‘จักมี’
เวทนาใดเกิดแล้ว ปรากฏแล้ว เรียกเวทนานั้นว่า ‘มีอยู่’ ตั้ง
ชื่อเวทนานั้นว่า ‘มีอยู่’ และบัญญัติเวทนานั้นว่า ‘มีอยู่’ (แต่) ไม่
เรียกเวทนานั้นว่า ‘ได้มีแล้ว’ ไม่เรียกเวทนานั้นว่า ‘จักมี’
สัญญาใด ฯลฯ
สังขารเหล่าใดเกิดแล้ว ปรากฏแล้ว เรียกสังขารเหล่านั้นว่า
‘มีอยู่’ ตั้งชื่อสังขารเหล่านั้นว่า ‘มีอยู่’ และบัญญัติสังขารเหล่านั้น
ว่า ‘มีอยู่’ (แต่) ไม่เรียกสังขารเหล่านั้นว่า ‘ได้มีแล้ว’ ไม่เรียก
สังขารเหล่านั้นว่า ‘จักมี’
วิญญาณใดเกิดแล้ว ปรากฏแล้ว เรียกวิญญาณนั้นว่า ‘มีอยู่’
ตั้งชื่อวิญญาณนั้นว่า ‘มีอยู่’ และบัญญัติวิญญาณนั้นว่า ‘มีอยู่’ (แต่)
ไม่เรียกวิญญาณนั้นว่า ‘ได้มีแล้ว’ ไม่เรียกวิญญาณนั้นว่า ‘จักมี’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ภิกษุทั้งหลาย หลักการ ๓ ประการ คือ (๑) หลักภาษา (๒) หลักการตั้งชื่อ
(๓) หลักการบัญญัติ ไม่ได้ถูกทอดทิ้ง ไม่เคยถูกทอดทิ้ง ย่อมไม่ถูกทอดทิ้ง จัก
ไม่ถูกทอดทิ้ง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้เป็นวิญญูชนคัดค้านแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย แม้ชนชาวอุกกลชนบท กับชนชาววัสสภัญญชนบททั้ง ๒ พวก
นั้นเป็นผู้มีอเหตุกวาทะ๑ เป็นผู้มีอกิริยวาทะ๒ เป็นผู้มีนัตถิกวาทะ๓ ก็ได้สำคัญว่า
หลักการ ๓ ประการ คือ (๑) หลักภาษา (๒) หลักการตั้งชื่อ (๓) หลักการบัญญัติ
ไม่ควรติเตียน ไม่ควรคัดค้าน ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะกลัวถูกนินทา ใส่โทษ
และถูกคัดค้าน”

นิรุตติปถสูตรที่ ๑๐ จบ
อุปยวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อุปยสูตร ๒. พีชสูตร
๓. อุทานสูต ๔. อุปาทานปริปวัตตนสูตร
๕. สัตตัฏฐานสูตร ๖. สัมมาสัมพุทธสูตร
๗. อนัตตลักขณสูต ๘. มหาลิสูตร
๙. อาทิตตสูตร ๑๐. นิรุตติปถสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๒. อรหันตวรรค ๑. อุปาทิยมานสูตร

๒. อรหันตวรรค
หมวดว่าด้วยพระอรหันต์
๑. อุปาทิยมานสูตร
ว่าด้วยผู้ยึดมั่นขันธ์

[๖๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง
ที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมแก่
ข้าพระองค์โดยย่อ ซึ่งข้าพระองค์ได้ฟังแล้วจะพึงหลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท
มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ บุคคลเมื่อยึดมั่น๑ ก็ถูกมารผูกมัดไว้ เมื่อ
ไม่ยึดมั่นก็พ้นจากมารผู้มีบาป”
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์เข้าใจแล้ว ข้าแต่พระสุคต ข้าพระองค์
เข้าใจแล้ว”
“ภิกษุ ก็เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้อย่างย่อโดยพิสดารได้อย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลเมื่อยึดมั่นรูปก็ถูกมารผูกมัดไว้ เมื่อไม่ยึดมั่น
ก็พ้นจากมารผู้มีบาป เมื่อยึดมั่นเวทนาก็ถูกมารผูกมัดไว้ เมื่อไม่ยึดมั่นก็พ้นจาก
มารผู้มีบาป เมื่อยึดมั่นสัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ เมื่อยึดมั่นวิญญาณก็ถูกมาร
ผูกมัดไว้ เมื่อไม่ยึดมั่นก็พ้นจากมารผู้มีบาป ข้าพระองค์เข้าใจเนื้อความแห่ง
พระภาษิตที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้อย่างย่อโดยพิสดารได้อย่างนี้”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๒. อรหันตวรรค ๒. มัญญมานสูตร

“ดีละ ดีละ ภิกษุ ดีแท้ ภิกษุ เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้
อย่างย่อโดยพิสดารได้ดีแล้ว บุคคลเมื่อยึดมั่นรูปก็ถูกมารผูกมัดไว้ เมื่อไม่ยึดมั่นก็
พ้นจากมารผู้มีบาป เมื่อยึดมั่นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร เมื่อยึดมั่น
วิญญาณก็ถูกมารผูกมัดไว้ เมื่อไม่ยึดมั่นก็พ้นจากมารผู้มีบาป
ภิกษุ เธอพึงทราบเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้อย่างย่อโดยพิสดารอย่างนี้”
ครั้งนั้น ภิกษุนั้นชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ลุกจากอาสนะ
ถวายอภิวาท กระทำประทักษิณแล้วจากไป ต่อมา ภิกษุนั้นก็หลีกออกไปอยู่คนเดียว
ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนักได้ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์
ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือน บวชเป็น
บรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน รู้ชัดว่า “ชาติ
สิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็น
อย่างนี้อีกต่อไป”
อนึ่ง ภิกษุนั้นได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย

อุปาทิยมานสูตรที่ ๑ จบ

๒. มัญญมานสูตร
ว่าด้วยผู้กำหนดหมายขันธ์

[๖๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดง
ธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ฯลฯ มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ บุคคลเมื่อกำหนดหมาย๑ ก็ถูกมารผูกมัดไว้
เมื่อไม่กำหนดหมายก็พ้นจากมารผู้มีบาป”
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์เข้าใจแล้ว ข้าแต่พระสุคต ข้าพระองค์
เข้าใจแล้ว”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๒. อรหันตวรรค ๓. อภินันทมานสูตร

“ภิกษุ ก็เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้อย่างย่อโดยพิสดารได้อย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลเมื่อกำหนดหมายรูป ก็ถูกมารผูกมัดไว้ เมื่อ
ไม่กำหนดหมายก็พ้นจากมารผู้มีบาป เมื่อกำหนดหมายเวทนา ... สัญญา ...
สังขาร ... เมื่อกำหนดหมายวิญญาณก็ถูกมารผูดมัดไว้ เมื่อไม่กำหนดหมายก็พ้น
จากมารผู้มีบาป ... ข้าพระองค์เข้าใจเนื้อความแห่งพระภาษิตที่พระผู้มีพระภาค
ตรัสไว้อย่างย่อโดยพิสดารได้อย่างนี้”
“ดีละ ดีละ ภิกษุ ดีแท้ ภิกษุ เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวแล้ว
อย่างย่อโดยพิสดารได้ดีแล้ว บุคคลเมื่อกำหนดหมายรูป ก็ถูกมารผูกมัดไว้ เมื่อ
ไม่กำหนดหมายก็พ้นจากมารผู้มีบาป เมื่อกำหนดหมายเวทนา ... สัญญา ...
สังขาร ... เมื่อกำหนดหมายวิญญาณก็ถูกมารผูกมัดไว้ เมื่อไม่กำหนดหมาย ก็
พ้นจากมารผู้มีบาป
ภิกษุ เธอพึงทราบเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้อย่างย่อโดยพิสดารอย่างนี้”
ฯลฯ
อนึ่ง ภิกษุนั้นได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย

มัญญมานสูตรที่ ๒ จบ

๓. อภินันทมานสูตร
ว่าด้วยผู้เพลิดเพลินขันธ์

[๖๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรด
แสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ฯลฯ อุทิศกายและใจอยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ บุคคลเมื่อเพลิดเพลิน๑ ก็ถูกมารผูกมัดไว้
เมื่อไม่เพลิดเพลินก็พ้นจากมารผู้มีบาป”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๒. อรหันตวรรค ๔. อนิจจสูตร

“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์เข้าใจแล้ว ข้าแต่พระสุคต ข้าพระองค์
เข้าใจแล้ว”
“ภิกษุ ก็เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้อย่างย่อโดยพิสดารได้อย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลเมื่อเพลิดเพลินรูป ก็ถูกมารผูกมัดไว้ เมื่อไม่
เพลิดเพลินก็พ้นจากมารผู้มีบาป เมื่อเพลิดเพลินเวทนา ... สัญญา ... สังขาร ...
เมื่อเพลิดเพลินวิญญาณ ก็ถูกมารผูกมัดไว้ เมื่อไม่ยึดมั่นก็พ้นจากมารผู้มีบาป
ข้าพระองค์เข้าใจเนื้อความแห่งพระภาษิตที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้อย่างย่อโดย
พิสดารได้อย่างนี้”
“ดีละ ดีละ ภิกษุ ดีแท้ ภิกษุ เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวแล้ว
อย่างย่อโดยพิสดารได้ดีแล้ว บุคคลเมื่อเพลิดเพลินรูป ก็ถูกมารผูกมัดไว้ เมื่อไม่
เพลิดเพลินก็พ้นจากมารผู้มีบาป เมื่อเพลิดเพลินเวทนา ... สัญญา ... สังขาร ...
เมื่อเพลิดเพลินวิญญาณ ก็ถูกมารผูกมัดไว้ เมื่อไม่เพลิดเพลินก็พ้นจากมารผู้มีบาป
ภิกษุ เธอพึงทราบเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้อย่างย่อโดยพิสดารอย่างนี้”
ฯลฯ
อนึ่ง ภิกษุนั้นได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย

อภินันทมานสูตรที่ ๓ จบ

๔. อนิจจสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ไม่เที่ยง

[๖๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรด
แสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ฯลฯ มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เถิด”
“ภิกษุ สิ่งใดไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจ๑ ในสิ่งนั้น”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๒. อรหันตวรรค ๕. ทุกขสูตร

“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์เข้าใจแล้ว ข้าแต่พระสุคต ข้าพระองค์
เข้าใจแล้ว”
“ภิกษุ ก็เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้อย่างย่อโดยพิสดารได้อย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ รูปไม่เที่ยง ข้าพระองค์พึงละความพอใจในรูปนั้น
เวทนา ... สัญญา ...สังขาร ... วิญญาณไม่เที่ยง ข้าพระองค์พึงละความพอใจ
ในวิญญาณนั้น ข้าพระองค์เข้าใจเนื้อความแห่งพระภาษิตที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้
อย่างย่อโดยพิสดารได้อย่างนี้”
“ดีละ ดีละ ภิกษุ ดีแท้ ภิกษุ เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้
อย่างย่อโดยพิสดารได้ดีแล้ว รูปไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในรูปนั้น เวทนา ...
สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในวิญญาณนั้น
ภิกษุ เธอพึงทราบเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้อย่างย่อโดยพิสดารอย่างนี้”
ฯลฯ
อนึ่ง ภิกษุนั้นได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย

อนิจจสูตรที่ ๔ จบ

๕. ทุกขสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นทุกข์

[๖๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรด
แสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ฯลฯ มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้น”
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์เข้าใจแล้ว ข้าแต่พระสุคต ข้าพระองค์
เข้าใจแล้ว”
“ภิกษุ ก็เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้อย่างย่อโดยพิสดารได้อย่างไร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๒. อรหันตวรรค ๖. อนัตตสูตร

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ รูปเป็นทุกข์ ข้าพระองค์พึงละความพอใจในรูปนั้น
เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเป็นทุกข์ ข้าพระองค์พึงละความพอใจ
ในวิญญาณนั้น ข้าพระองค์เข้าใจเนื้อความแห่งพระภาษิตที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้
อย่างย่อโดยพิสดารได้อย่างนี้”
“ดีละ ดีละ ภิกษุ ดีแท้ ภิกษุ เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้
อย่างย่อโดยพิสดารได้ดีแล้ว รูปเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในรูปนั้น เวทนา ...
สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในวิญญาณนั้น
ภิกษุ เธอพึงทราบเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้อย่างย่อโดยพิสดารอย่างนี้”
ฯลฯ
อนึ่ง ภิกษุนั้นได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย

ทุกขสูตรที่ ๕ จบ

๖. อนัตตสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นอนัตตา

[๖๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรด
แสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ฯลฯ มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจใน
สิ่งนั้น”
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์เข้าใจแล้ว ข้าแต่พระสุคต ข้าพระองค์
เข้าใจแล้ว”
“ภิกษุ ก็เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้อย่างย่อโดยพิสดารได้อย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ รูปเป็นอนัตตา ข้าพระองค์พึงละความพอใจในรูปนั้น
เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเป็นอนัตตา ข้าพระองค์พึงละความ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๐๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๒. อรหันตวรรค ๗. อนัตตนิยสูตร

พอใจในวิญญาณนั้น ข้าพระองค์เข้าใจเนื้อความแห่งพระภาษิตที่พระผู้มีพระภาค
ตรัสไว้อย่างย่อโดยพิสดารได้อย่างนี้”
“ดีละ ดีละ ภิกษุ ดีแท้ ภิกษุ เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้
อย่างย่อโดยพิสดารได้ดีแล้ว รูปเป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจในรูปนั้น เวทนา ...
สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจในวิญญาณนั้น
ภิกษุ เธอพึงทราบเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้อย่างย่อโดยพิสดารอย่างนี้”
ฯลฯ
อนึ่ง ภิกษุนั้นได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย

อนัตตสูตรที่ ๖ จบ

๗. อนัตตนิยสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ไม่เนื่องด้วยอัตตา

[๖๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรด
แสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ฯลฯ มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ สิ่งใดไม่เนื่องด้วยอัตตา เธอพึงละความ
พอใจในสิ่งนั้น”
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์เข้าใจแล้ว ข้าแต่พระสุคต ข้าพระองค์
เข้าใจแล้ว”
“ภิกษุ ก็เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้อย่างย่อโดยพิสดารได้อย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ รูปไม่ใช่สิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา ข้าพระองค์พึงละความ
พอใจในรูปนั้น เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณไม่ใช่สิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา
ข้าพระองค์พึงละความพอใจในวิญญาณนั้น ข้าพระองค์เข้าใจเนื้อความแห่งพระ
ภาษิตที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้อย่างย่อโดยพิสดารได้อย่างนี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๒. อรหันตวรรค ๘. รชนียสัณฐิตสูตร

“ดีละ ดีละ ภิกษุ ดีแท้ ภิกษุ เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้
อย่างย่อโดยพิสดารได้ดีแล้ว รูปไม่ใช่สิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา เธอพึงละความพอใจ
ในรูปนั้น เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณไม่ใช่สิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา
เธอพึงละความพอใจในวิญญาณนั้น
ภิกษุ เธอพึงทราบเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้อย่างย่อโดยพิสดารอย่างนี้”
ฯลฯ
อนึ่ง ภิกษุนั้นได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย

อนัตตนิยสูตรที่ ๗ จบ

๘. รชนียสัณฐิตสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่จูงใจให้กำหนัด

[๗๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรด
แสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ฯลฯ มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ สิ่งใดจูงใจให้กำหนัด เธอพึงละความพอใจ
ในสิ่งนั้น”
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์เข้าใจแล้ว ข้าแต่พระสุคต ข้าพระองค์
เข้าใจแล้ว”
“ภิกษุ ก็เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้อย่างย่อโดยพิสดารได้อย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ รูปเป็นสิ่งจูงใจให้กำหนัด ข้าพระองค์พึงละความ
พอใจในรูปนั้น เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเป็นสิ่งจูงใจให้กำหนัด
ข้าพระองค์พึงละความพอใจในวิญญาณนั้น ข้าพระองค์เข้าใจเนื้อความแห่งพระ
ภาษิตที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้อย่างย่อโดยพิสดารได้อย่างนี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๒. อรหันตวรรค ๙. ราธสูตร

“ดีละ ดีละ ภิกษุ ดีแท้ ภิกษุ เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้
อย่างย่อโดยพิสดารได้ดีแล้ว รูปเป็นสิ่งจูงใจให้กำหนัด เธอพึงละความพอใจในรูปนั้น
เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเป็นสิ่งจูงใจให้กำหนัด เธอพึงละ
ความพอใจในวิญญาณนั้น
ภิกษุ เธอพึงทราบเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้อย่างย่อโดยพิสดารอย่างนี้”
ฯลฯ
อนึ่ง ภิกษุนั้นได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย

รชนียสัณฐิตสูตรที่ ๘ จบ

๙. ราธสูตร
ว่าด้วยพระราธะ

[๗๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ท่านพระราธะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ทูลถาม
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างไรจึงจะไม่มี
อหังการ๑ มมังการ๒ และมานานุสัยในกายที่มีวิญญาณนี้ และในนิมิตทั้งปวงใน
ภายนอก”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ราธะ รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต
อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต
ไกลหรือใกล้ก็ตาม รูปทั้งหมดนั้นอริยสาวกพิจารณาเห็นด้วยปัญญาอันชอบตาม
ความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ...


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๒. อรหันตวรรค ๑๐. สุราธสูตร

วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ ไกล
หรือใกล้ก็ตาม วิญญาณทั้งหมดนั้นอริยสาวกพิจารณาเห็นด้วยปัญญาอันชอบตาม
ความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
ราธะ เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างนี้จึงจะไม่มีอหังการ มมังการ และมานานุสัย
ในกายที่มีวิญญาณนี้ และในนิมิตทั้งปวงในภายนอก”
ฯลฯ
อนึ่ง ท่านพระราธะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย

ราธสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. สุราธสูตร
ว่าด้วยพระสุราธะ

[๗๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ท่านพระสุราธะ ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างไร ใจจึงจะปราศจากอหังการ มมังการ และมานานุสัย
ในกายที่มีวิญญาณนี้ และในนิมิตทั้งปวงในภายนอก ก้าวล่วงมานะด้วยดี สงบระงับ
หลุดพ้นดีแล้ว”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “สุราธะ รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต
อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ ไกลหรือใกล้ก็ตาม รูปทั้งหมดนั้นอริยสาวกพิจารณา
เห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น
นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ เป็นผู้หลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๒. อรหันตวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ ไกล
หรือใกล้ก็ตาม วิญญาณทั้งหมดนั้นอริยสาวกพิจารณาเห็นด้วยปัญญาอันชอบตาม
ความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
เป็นผู้หลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น
สุราธะ เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างนี้ ใจจึงจะปราศจากอหังการ มมังการ และ
มานานุสัยในกายที่มีวิญญาณนี้ และในนิมิตทั้งปวงในภายนอก ก้าวล่วงมานะด้วยดี
สงบระงับ หลุดพ้นดีแล้ว”
ฯลฯ
อนึ่ง ท่านพระสุราธะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย

สุราธสูตรที่ ๑๐ จบ
อรหันตวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อุปาทิยมานสูตร ๒. มัญญมานสูตร
๓. อภินันทมานสูตร ๔. อนิจจสูตร
๕. ทุกขสูตร ๖. อนัตตสูตร
๗. อนัตตนิยสูตร ๘. รชนียสัณฐิตสูตร
๙. ราธสูตร ๑๐. สุราธสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๒. สมุทยสูตร

๓. ขัชชนียวรรค
หมวดว่าด้วยผู้ถูกเคี้ยวกิน
๑. อัสสาทสูตร
ว่าด้วยคุณของขันธ์

[๗๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ไม่รู้ชัดคุณ โทษ
และเครื่องสลัดออกจากรูปตามความเป็นจริง ... เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ...
ไม่รู้ชัดคุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากวิญญาณตามความเป็นจริง
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับ รู้ชัดคุณ โทษ และเครื่องสลัดออก
จากรูป ... เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... รู้ชัดคุณ โทษ และเครื่องสลัด
ออกจากวิญญาณตามความเป็นจริง”

อัสสาทสูตรที่ ๑ จบ

๒. สมุทยสูตร
ว่าด้วยความเกิดขึ้นแห่งขันธ์

[๗๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ไม่รู้ชัดความเกิดขึ้น
ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากรูปตามความเป็นจริง ... เวทนา ...
สัญญา ... สังขาร ... ไม่รู้ชัดความเกิดขึ้น ความดับ คุณ โทษ และเครื่อง
สลัดออกจากวิญญาณตามความเป็นจริง
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับ รู้ชัดความเกิดขึ้น ความดับ คุณ โทษ
และเครื่องสลัดออกจากรูป ... เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... รู้ชัดความเกิดขึ้น
ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากวิญญาณตามความเป็นจริง”

สมุทยสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๔. อรหันตสูตร

๓. ทุติยสมุทยสูตร
ว่าด้วยความเกิดขึ้นแห่งขันธ์ สูตรที่ ๒

[๗๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ รู้ชัดความเกิดขึ้น
ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากรูปตามความเป็นจริง ... เวทนา ...
สัญญา ... สังขาร ... รู้ชัดความเกิดขึ้น ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัด
ออกจากวิญญาณตามความเป็นจริง”

ทุติยสมุทยสูตรที่ ๓ จบ

๔. อรหันตสูตร
ว่าด้วยพระอรหันต์

[๗๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น
เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลาย
พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็น
นั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
เวทนา ...
สัญญา ...
สังขาร ...
วิญญาณไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็น
อนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความ
เป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ...
แม้ในเวทนา ... แม้ในสัญญา ... แม้ในสังขาร ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๔. อรหันตสูตร

เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุด
พ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
ภิกษุทั้งหลาย พระอรหันต์ทั้งหลายเป็นผู้เลิศ ประเสริฐที่สุดในโลกกว่าสัตว์
ในสัตตาวาสและภวัคคภพ”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา-
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
“พระอรหันต์ทั้งหลายมีความสุข๑หนอ
เพราะท่านไม่มีตัณหา ตัดอัสมิมานะได้เด็ดขาด
ทำลายข่ายคือโมหะได้แล้ว
พระอรหันต์เหล่านั้นถึงความไม่หวั่นไหว๒
มีจิตไม่ขุ่นมัว ไม่แปดเปื้อนในโลก
เป็นผู้ประเสริฐ ไม่มีอาสวะ เป็นสัตบุรุษ
เป็นพุทธบุตร พุทธโอรส กำหนดรู้ขันธ์ ๕
มีสัทธรรม ๗ ประการเป็นโคจร๓ ควรสรรเสริญ
ท่านเป็นวีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่
สมบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗ ประการ๔
สำเหนียกแล้วในไตรสิกขา


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๕. ทุติยอรหันตสูตร

ละความกลัวและความสะดุ้งกลัวได้เด็ดขาดแล้ว
ย่อมเที่ยวไปโดยลำดับ
ท่านมหานาคผู้สมบูรณ์ด้วยองค์ ๑๐
มีจิตตั้งมั่น๑ ประเสริฐที่สุดในโลก
เพราะท่านเหล่านั้นไม่มีตัณหา มีอเสขญาณ๒ เกิดขึ้นแล้ว
มีร่างกายนี้เป็นร่างสุดท้าย
ไม่ต้องอาศัยผู้อื่นในคุณที่เป็นแก่นสารแห่งพรหมจรรย์
ท่านเหล่านั้นไม่หวั่นไหวในส่วนทั้งหลาย๓
พ้นจากภพใหม่ถึงทันตภูมิ๔ ชนะเด็ดขาดแล้วในโลก
ท่านเหล่านั้นไม่มีความเพลิดเพลินอยู่
ในส่วนเบื้องบน ท่ามกลาง และเบื้องล่าง
เป็นพุทธะผู้ยอดเยี่ยมในโลก ย่อมบันลือสีหนาท”

อรหันตสูตรที่ ๔ จบ

๕. ทุติยอรหันตสูตร
ว่าด้วยพระอรหันต์ สูตรที่ ๒

[๗๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น
เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลาย


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๖. สีหสูตร

พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่
เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ...
แม้ในเวทนา ... แม้ในสัญญา ... แม้ในสังขาร ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ
เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิต
หลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
ภิกษุทั้งหลาย พระอรหันต์ทั้งหลายเป็นผู้เลิศ ประเสริฐที่สุดในโลกกว่าสัตว์
ในสัตตาวาสและภวัคคภพ”

ทุติยอรหันตสูตรที่ ๕ จบ

๖. สีหสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยพญาราชสีห์

[๗๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เวลาเย็น พญาราชสีห์ออกจากที่
อาศัยบิดกายชำเลืองดูรอบ ๆ ทั้ง ๔ ทิศ บันลือสีหนาท ๓ ครั้ง แล้วหลีกไปหา
เหยื่อ โดยมากพวกสัตว์ดิรัจฉานทุกหมู่เหล่าได้ยินเสียงพญาราชสีห์บันลือสีหนาท
ย่อมถึงความกลัว หวาดหวั่น และสะดุ้ง สัตว์พวกที่อาศัยอยู่ในโพรงก็หลบเข้า
โพรง พวกที่อาศัยอยู่ในน้ำก็ดำลงในน้ำ พวกที่อาศัยอยู่ในป่าก็หนีเข้าป่า พวก
สัตว์ปีกก็บินขึ้นสู่อากาศ แม้พญาช้างของพระมหากษัตริย์ ซึ่งผูกไว้ด้วยเชือกอย่าง
มั่นคงในหมู่บ้าน ตำบล และเมืองหลวง ก็ตัดทำลายเครื่องผูกเหล่านั้นจนขาด
ตกใจกลัว ถ่ายมูตรคูถ หนีไปทางใดทางหนึ่ง
ภิกษุทั้งหลาย พญาราชสีห์มีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีศักดิ์มากอย่างนี้ มีอานุภาพ
มากอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๖. สีหสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ตถาคต๑ อุบัติขึ้นในโลกเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วย
ตนเองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่
ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า
เป็นพระผู้มีพระภาค๒ แสดงธรรมว่า ‘รูปเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็น
อย่างนี้ ความดับแห่งรูปเป็นอย่างนี้ เวทนาเป็นอย่างนี้ ... สัญญาเป็นอย่างนี้ ...
สังขารเป็นอย่างนี้ ... วิญญาณเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นอย่างนี้
ความดับแห่งวิญญาณเป็นอย่างนี้’
เมื่อนั้น แม้เทพทั้งหลายที่มีอายุยืน มีวรรณะงดงาม มีความสุขมาก สถิตอยู่
ในวิมานสูงเป็นเวลานาน ได้สดับธรรมเทศนาของตถาคตแล้ว โดยมากต่าง
ก็ถึงความกลัว หวาดหวั่น และสะดุ้งว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้ยินว่า พวกเรา
เป็นผู้ไม่เที่ยง แต่ได้สำคัญตนว่า ‘เที่ยง’ เป็นผู้ไม่ยั่งยืน แต่ได้สำคัญตนว่า ‘ยั่งยืน’
เป็นผู้ไม่คงที่ แต่ได้สำคัญตนว่า ‘คงที่’ ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้ยินว่า ถึงพวก
เราก็ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงที่ เกี่ยวเนื่องอยู่ในสักกายะ๓
ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตก็อย่างนั้นเหมือนกัน มีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีศักดิ์มาก
อย่างนี้ มีอานุภาพมากอย่างนี้กว่าโลกพร้อมทั้งเทวโลก”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา-
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๗. ขัชชนียสูตร

“เมื่อใด พระพุทธเจ้า ผู้เป็นศาสดา
หาบุคคลเปรียบเทียบมิได้๑ ตรัสรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งแล้ว
ทรงประกาศธรรมจักร๒ คือ สักกายะ
ความดับแห่งสักกายะ และอริยมรรคมีองค์ ๘
ที่ให้ถึงความดับทุกข์แก่โลกพร้อมทั้งเทวโลก

เมื่อนั้น แม้พวกเทพที่มีอายุยืน มีวรรณะ มียศ
ฟังคำของตถาคตผู้เป็นอรหันต์ หลุดพ้นแล้ว ผู้คงที่
ต่างก็หวาดหวั่นถึงความสะดุ้ง ดุจเนื้อกลัวราชสีห์ด้วยคิดว่า
‘ท่านผู้เจริญ ทราบว่าพวกเราเป็นผู้ไม่เที่ยง ยังไม่ก้าวล่วงสักกายะ”

สีหสูตรที่ ๖ จบ

๗. ขัชชนียสูตร
ว่าด้วยผู้ถูกเคี้ยวกิน

[๗๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด
เหล่าหนึ่ง เมื่อระลึกก็ระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น
ทั้งหมดระลึกถึงอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ ประการ หรืออุปาทานขันธ์ประการใดประการหนึ่ง
อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ เป็นอย่างไร
คือ เมื่อระลึกก็ระลึกถึงรูปอย่างนี้ว่า ‘ในอดีตกาล เรามีรูปอย่างนี้’ เมื่อระลึก
ก็ระลึกถึงเวทนาอย่างนี้ว่า ‘ในอดีตกาล เรามีเวทนาอย่างนี้’ เมื่อระลึกก็ระลึกถึง


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๗. ขัชชนียสูตร

สัญญาอย่างนี้ว่า ‘ในอดีตกาล เรามีสัญญาอย่างนี้’ เมื่อระลึกก็ระลึกถึงสังขาร
อย่างนี้ว่า ‘ในอดีตกาล เรามีสังขารอย่างนี้’ เมื่อระลึกก็ระลึกถึงวิญญาณอย่างนี้ว่า
‘ในอดีตกาล เรามีวิญญาณอย่างนี้’
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอะไรจึงเรียกว่ารูป เพราะสลายไปจึงเรียกว่า ‘รูป’
สลายไปเพราะอะไร สลายไปเพราะหนาวบ้าง ร้อนบ้าง หิวบ้าง กระหายบ้าง
เพราะสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานบ้าง เพราะสลายไป
จึงเรียกว่า ‘รูป’
เพราะอะไรจึงเรียกว่าเวทนา เพราะเสวยจึงเรียกว่า ‘เวทนา’ เสวยอะไร เสวย
อารมณ์สุขบ้าง ทุกข์บ้าง มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง เพราะเสวยจึงเรียกว่า ‘เวทนา’
เพราะอะไรจึงเรียกว่าสัญญา เพราะจำได้หมายรู้จึงเรียกว่า ‘สัญญา’ จำได้
หมายรู้อะไร จำได้หมายรู้สีเขียวบ้าง สีเหลืองบ้าง สีแดงบ้าง สีขาวบ้าง เพราะ
จำได้หมายรู้จึงเรียกว่า ‘สัญญา’
เพราะอะไรจึงเรียกว่าสังขาร เพราะปรุงแต่งสังขตธรรมจึงเรียกว่า ‘สังขาร’
ปรุงแต่งสังขตธรรมอะไร ปรุงแต่งสังขตธรรม คือ รูปโดยความเป็นรูป เวทนา
โดยความเป็นเวทนา สัญญาโดยความเป็นสัญญา สังขารโดยความเป็นสังขาร
วิญญาณโดยความเป็นวิญญาณ เพราะปรุงแต่งสังขตธรรมจึงเรียกว่า ‘สังขาร’
เพราะอะไรจึงเรียกว่าวิญญาณ เพราะรู้แจ้งจึงเรียกว่า ‘วิญญาณ’ รู้แจ้งอะไร
รู้แจ้งรสเปรี้ยวบ้าง รสขมบ้าง รสเผ็ดบ้าง รสหวานบ้าง รสขื่นบ้าง รสไม่ขื่นบ้าง
รสเค็มบ้าง รสไม่เค็มบ้าง เพราะรู้แจ้งจึงเรียกว่า ‘วิญญาณ’
ภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น อริยสาวกผู้ได้สดับพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ‘บัดนี้
เราถูกรูปเคี้ยวกินอยู่ แม้ในอดีตกาล เราก็ถูกรูปเคี้ยวกินแล้ว เหมือนกับที่ถูกรูป
ที่เป็นปัจจุบันเคี้ยวกินอยู่ในเวลานี้ ก็เราเองพึงชื่นชมรูปที่เป็นอนาคต แม้ใน
อนาคตกาล เราก็พึงถูกรูปเคี้ยวกิน เหมือนกับที่ถูกรูปที่เป็นปัจจุบันเคี้ยวกินอยู่ใน
เวลานี้ เธอพิจารณาเห็นอย่างนี้แล้ว ไม่มีความอาลัยในรูปที่เป็นอดีต ไม่ชื่นชมรูป
ที่เป็นอนาคต ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับรูปที่เป็นปัจจุบัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๗. ขัชชนียสูตร

บัดนี้ เราถูกเวทนาเคี้ยวกินอยู่ แม้ในอดีตกาล เราก็ถูกเวทนาเคี้ยวกินแล้ว
เหมือนกับที่ถูกเวทนาที่เป็นปัจจุบันเคี้ยวกินอยู่ในเวลานี้ ก็เราเองพึงชื่นชมเวทนาที่
เป็นอนาคต แม้ในอนาคตกาล เราก็พึงถูกเวทนาเคี้ยวกิน เหมือนกับที่ถูกเวทนา
ที่เป็นปัจจุบันเคี้ยวกินอยู่ในเวลานี้ เธอพิจารณาเห็นอย่างนี้แล้ว ไม่มีความอาลัย
ในเวทนาที่เป็นอดีต ไม่ชื่นชมเวทนาที่เป็นอนาคต ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย
เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับเวทนาที่เป็นปัจจุบัน
บัดนี้ เราถูกสัญญาเคี้ยวกินอยู่ ฯลฯ
บัดนี้ เราถูกสังขารเคี้ยวกินอยู่ แม้ในอดีตกาล เราก็ถูกสังขารเคี้ยวกินแล้ว
เหมือนกับที่ถูกสังขารที่เป็นปัจจุบันเคี้ยวกินอยู่ในเวลานี้ ก็เราเองพึงชื่นชมสังขารที่
เป็นอนาคต แม้ในอนาคตกาล เราก็พึงถูกสังขารเคี้ยวกิน เหมือนกับที่ถูกสังขาร
ที่เป็นปัจจุบันเคี้ยวกินอยู่ในเวลานี้ เธอพิจารณาเห็นอย่างนี้แล้ว ไม่มีความอาลัย
ในสังขารที่เป็นอดีต ไม่ชื่นชมสังขารที่เป็นอนาคต ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย
เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับสังขารที่เป็นปัจจุบัน
บัดนี้ เราถูกวิญญาณเคี้ยวกินอยู่ แม้ในอดีตกาล เราก็ถูกวิญญาณเคี้ยวกิน
แล้ว เหมือนกับที่ถูกวิญญาณที่เป็นปัจจุบันเคี้ยวกินอยู่ในเวลานี้ ก็เราเองพึงชื่นชม
วิญญาณที่เป็นอนาคต แม้ในอนาคตกาล เราก็พึงถูกวิญญาณเคี้ยวกิน เหมือน
กับที่ถูกวิญญาณที่เป็นปัจจุบันเคี้ยวกินอยู่ในเวลานี้ เธอพิจารณาเห็นอย่างนี้แล้ว
ไม่มีความอาลัยในวิญญาณที่เป็นอดีต ไม่ชื่นชมวิญญาณที่เป็นอนาคต ปฏิบัติเพื่อ
ความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับวิญญาณที่เป็นปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือ
ไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๗. ขัชชนียสูตร

“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต
และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือ
ใกล้ก็ตาม รูปทั้งหมดนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง
อย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ...
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ ไกล
หรือใกล้ก็ตาม วิญญาณทั้งหมดนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตาม
ความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกนี้ เราเรียกว่า ทำให้พินาศ ไม่ก่อ ละทิ้ง ไม่ถือมั่น
เรี่ยราย ไม่รวบรวมไว้ ทำให้มอด ไม่ก่อให้ลุกโพลงขึ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๗. ขัชชนียสูตร

อริยสาวกทำอะไรให้พินาศ ไม่ก่ออะไร
คือ ทำรูปให้พินาศ ไม่ก่อรูป ... เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... ทำ
วิญญาณให้พินาศ ไม่ก่อวิญญาณ
ละทิ้งอะไร ไม่ถือมั่นอะไร
คือ ละทิ้งรูป ไม่ถือมั่นรูป ... เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... ละทิ้งวิญญาณ
ไม่ถือมั่นวิญญาณ
เรี่ยรายอะไร ไม่รวบรวมอะไรไว้
คือ เรี่ยรายรูป ไม่รวบรวมรูปไว้ ... เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ...
เรี่ยรายวิญญาณ ไม่รวบรวมวิญญาณไว้
ทำอะไรให้มอด ไม่ก่ออะไรให้ลุกโพลงขึ้น
คือ ทำรูปให้มอด ไม่ก่อวิญญาณให้ลุกโพลงขึ้น ... เวทนา ... สัญญา ...
สังขาร ... ทำวิญญาณให้มอด ไม่ก่อวิญญาณให้ลุกโพลงขึ้น
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ...
แม้ในเวทนา ... แม้ในสัญญา ... แม้ในสังขาร ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ
เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิต
หลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้ เราเรียกว่า ไม่ก่อ ไม่ทำให้พินาศ แต่เป็นผู้ทำให้
พินาศได้แล้วดำรงอยู่ ไม่ละทิ้ง ไม่ถือมั่น แต่เป็นผู้ละทิ้งได้แล้วดำรงอยู่ ไม่เรี่ยราย
ไม่รวบรวมไว้ แต่เป็นผู้เรี่ยรายได้แล้วดำรงอยู่ ไม่ทำให้มอด ไม่ก่อให้ลุกโพลงขึ้น
แต่เป็นผู้ทำให้มอดได้แล้วดำรงอยู่
อริยสาวกไม่ก่ออะไร ไม่ทำอะไรให้พินาศ แต่เป็นผู้ทำให้พินาศได้แล้ว
ดำรงอยู่
คือ ไม่ก่อรูป ไม่ทำรูปให้พินาศ แต่เป็นผู้ทำให้พินาศได้แล้วดำรงอยู่ ... เวทนา
... สัญญา ... สังขาร ... ไม่ก่อวิญญาณ ไม่ทำวิญญาณให้พินาศ แต่เป็นผู้
ทำให้พินาศได้แล้วดำรงอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๘.ปิณโฑลยสูตร

ไม่ละทิ้ง ไม่ถือมั่นอะไร แต่เป็นผู้ละทิ้งได้แล้วดำรงอยู่
คือ ไม่ละทิ้งรูป ไม่ถือมั่นรูป แต่เป็นผู้ละทิ้งได้แล้วดำรงอยู่ ... เวทนา ...
สัญญา ... สังขาร ... ไม่ละทิ้งวิญญาณ ไม่ถือมั่นวิญญาณ แต่เป็นผู้ละทิ้งได้
แล้วดำรงอยู่
ไม่เรี่ยรายอะไร ไม่รวบรวมอะไรไว้ แต่เป็นผู้เรี่ยรายได้แล้วดำรงอยู่
คือ ไม่เรี่ยรายรูป ไม่รวบรวมรูปไว้ แต่เป็นผู้เรี่ยรายได้แล้วดำรงอยู่ ... เวทนา
... สัญญา ... สังขาร ... ไม่เรี่ยรายวิญญาณ ไม่รวบรวมวิญญาณไว้ แต่เป็นผู้
เรี่ยรายได้แล้วดำรงอยู่
ไม่ทำอะไรให้มอด ไม่ก่ออะไรให้ลุกโพลงขึ้น แต่เป็นผู้ทำให้มอดได้
แล้วดำรงอยู่
คือ ไม่ทำรูปให้มอด ไม่ก่อรูปให้ลุกโพลงขึ้น แต่เป็นผู้ทำให้มอดได้แล้วดำรงอยู่
... เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... ไม่ทำวิญญาณให้มอด ไม่ก่อวิญญาณให้
ลุกโพลงขึ้น แต่เป็นผู้ทำให้มอดได้แล้วดำรงอยู่
ภิกษุทั้งหลาย เทพทั้งหลายพร้อมทั้งอินทร์ พรหม และท้าวปชาบดี
ย่อมนมัสการภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วอย่างนี้ แต่ที่ไกลทีเดียวว่า
‘ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุรุษอาชาไนย ขอความนอบน้อมจงมีแด่ท่าน
ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุรุษสูงสุด ขอความนอบน้อมจงมีแด่ท่าน
ที่พวกเราไม่รู้ว่า ท่านอาศัยอารมณ์อะไรเล่า ถึงเข้าฌานอยู่”

ขัชชนียสูตรที่ ๗ จบ

๘. ปิณโฑลยสูตร
ว่าด้วยการเที่ยวบิณฑบาตเลี้ยงชีพ

[๘๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตกรุง
กบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงขับไล่ภิกษุสงฆ์เพราะ
เหตุบางอย่างแล้ว เวลาเช้า ทรงครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๘.ปิณโฑลยสูตร

บิณฑบาตยังกรุงกบิลพัสดุ์ เสด็จกลับจากบิณฑบาต ภายหลังเสวยพระกระยาหาร
เสร็จแล้ว เข้าไปยังป่ามหาวัน เพื่อประทับพักผ่อนกลางวัน ครั้นเสด็จถึงแล้ว ได้
ประทับนั่ง ณ โคนต้นมะตูมหนุ่ม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ทรงเกิดความรำพึงว่า
“เราเองได้ขับไล่ภิกษุสงฆ์ไปแล้ว ในภิกษุเหล่านี้ มีพวกภิกษุใหม่บวชยังไม่นาน
เพิ่งมาสู่ธรรมวินัยนี้ เมื่อภิกษุเหล่านั้นไม่เห็นเราก็จะพึงเป็นอื่น เปลี่ยนแปลงไป
เหมือนลูกโคน้อย ๆ เมื่อไม่เห็นแม่ก็จะพึงเป็นอื่น เปลี่ยนแปลงไปฉะนั้น และ
เหมือนพืชที่ยังอ่อน ๆ ขาดน้ำพึงเหี่ยวเฉาไปฉะนั้น ทางที่ดี เราพึงอนุเคราะห์
ภิกษุสงฆ์ในบัดนี้ เหมือนกับที่เคยอนุเคราะห์มาแล้วในครั้งก่อน ๆ เถิด”
ขณะนั้น ท้าวสหัมบดีพรหมได้ทราบความรำพึงของพระผู้มีพระภาคด้วยใจ
ของตนแล้วจึงหายตัวจากพรหมโลกมาปรากฏเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาค
เหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้าฉะนั้น ครั้นแล้วท้าวเธอห่มผ้า
เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมมือมาทางพระผู้มีพระภาคกราบทูลดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เรื่องนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต เรื่องนี้เป็น
อย่างนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคได้ทรงขับไล่ภิกษุสงฆ์ไปแล้ว ใน
ภิกษุเหล่านี้ มีพวกภิกษุใหม่บวชยังไม่นาน เพิ่งมาสู่พระธรรมวินัยนี้ เมื่อภิกษุ
เหล่านั้น ไม่เห็นพระผู้มีพระภาคก็จะพึงเป็นอื่น เปลี่ยนแปลงไป เหมือนลูกโคน้อย ๆ
เมื่อไม่เห็นแม่ก็จะพึงเป็นอื่น เปลี่ยนแปลงไปฉะนั้น และเหมือนพืชที่ยังอ่อน ๆ
ขาดน้ำพึงเหี่ยวเฉาไปฉะนั้น ขอพระผู้มีพระภาคโปรดชื่นชมภิกษุสงฆ์ โปรดพร่ำสอน
ภิกษุสงฆ์ โปรดอนุเคราะห์ภิกษุสงฆ์ในบัดนี้ เหมือนกับที่เคยอนุเคราะห์มาแล้ว
ในครั้งก่อน ๆ เถิด พระพุทธเจ้าข้า”๑
พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ ลำดับนั้น ท้าวสหัมบดีพรหม
ทราบว่าพระผู้มีพระภาคทรงรับอาราธนาแล้วจึงถวายอภิวาท กระทำประทักษิณ
แล้วหายตัวไป ณ ที่นั้นนั่นเอง
ต่อมา พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้นในเวลาเย็น ได้เสด็จเข้าไปยัง
นิโครธาราม ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว ทรงบันดาลด้วยอิทธาภิสังขาร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๘.ปิณโฑลยสูตร

ให้ภิกษุเหล่านั้นเกรงกลัวเข้าไปเฝ้าทีละรูปบ้าง สองรูปบ้าง ต่างถวายอภิวาท
พระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสกับภิกษุเหล่านั้น
ดังนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย การที่ภิกษุทุศีลเที่ยวบิณฑบาตเลี้ยงชีพนี้เป็นการกระทำที่
ต่ำทราม การที่ภิกษุทุศีลประพฤติเช่นนี้ ย่อมถูกชาวโลกด่าว่า ‘เจ้าคนนี้อุ้มบาตร
เที่ยวขอชาวโลกมาเลี้ยงชีพ’
กุลบุตรต่างเป็นผู้ตระหนักในเหตุ อาศัยความตระหนักในเหตุจึงเข้ามาใช้ชีวิต
เที่ยวขอก้อนข้าวนี้ มิใช่ถูกพระราชารับสั่งให้นำไปจองจำ มิใช่ถูกพวกโจรนำไปกักขัง
มิใช่เป็นลูกหนี้ มิใช่ตกอยู่ในห้วงอันตราย มิใช่จะยึดเป็นอาชีพ แท้ที่จริง กุลบุตร
เหล่านั้นเข้ามาบวชด้วยเหตุผลว่า ‘พวกเราต่างถูกชาติ (ความเกิด) ชรา (ความแก่)
มรณะ (ความตาย) โสกะ (ความเศร้าโศก) ปริเทวะ (ความคร่ำครวญ) ทุกข์
(ความทุกข์กาย) โทมนัส (ความทุกข์ใจ) และอุปายาส (ความคับแค้นใจ) ทับถม
ครอบงำ จมปลักอยู่ในทุกข์ สาละวนอยู่กับทุกข์ ทำอย่างไรเล่า การทำที่สุดแห่ง
กองทุกข์ทั้งมวลนี้ จะพึงปรากฏได้’
กุลบุตรนี้เป็นผู้บวชด้วยเหตุผลตามที่กล่าวมาแล้วนี้ แต่แล้วกุลบุตรนั้นกลับ
เกิดความละโมบ กำหนัดยินดีอย่างแรงกล้าในกาม มีจิตพยาบาท คิดประทุษร้าย
ลงลืมสติ ไม่รู้สึกตัว มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตกระสับกระส่าย ไม่สำรวมอินทรีย์
บุคคลผู้เสื่อมจากโภคะของคฤหัสถ์ และไม่สามารถบำเพ็ญประโยชน์สำหรับ
ความเป็นสมณะให้บริบูรณ์ได้ เราเรียกว่า เป็นเหมือนท่อนไม้ที่ถูกทิ้งไว้ในป่าช้า
ไฟไหม้ทั้ง ๒ ข้าง ตรงกลางเปื้อนคูถ ย่อมไม่อำนวยประโยชน์เป็นเครื่องเรือน๑
ทั้งไม่อำนวยประโยชน์เป็นอุปกรณ์ในป่า๒
ภิกษุทั้งหลาย อกุศลวิตก ๓ ประการ คือ
๑. กามวิตก (ความตรึกในกาม)
๒. พยาบาทวิตก (ความตรึกในพยาบาท)
๓. วิหิงสาวิตก (ความตรึกในการเบียดเบียน)


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๘.ปิณโฑลยสูตร

อกุศลวิตก ๓ ประการนี้ดับไม่เหลือที่ไหน
คือ เมื่อบุคคลมีจิตตั้งมั่นดีแล้วในสติปัฏฐาน ๔ ประการ หรือเจริญอนิมิตต-
สมาธิ อกุศลวิตก ๓ ประการ ย่อมดับโดยไม่เหลือ อนิมิตตสมาธิควรแท้ที่
บุคคลจะเจริญ อนิมิตตสมาธิที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มี
อานิสงส์มาก
ภิกษุทั้งหลาย ทิฏฐิ ๒ ประการนี้ คือ
๑. ภวทิฏฐิ (ความเห็นในภพ)
๒. วิภวทิฏฐิ (ความเห็นในวิภพ)
อริยสาวกผู้ได้สดับพิจารณาเห็นในทิฏฐิ ๒ ประการนั้นเช่นนี้ว่า ‘เรายึดถือ
สิ่งใดอยู่ พึงเป็นผู้ไม่มีโทษ สิ่งนั้นมีอยู่ในโลกบ้างไหม’ เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘เรา
ยึดถือสิ่งใดอยู่ พึงเป็นผู้ไม่มีโทษ สิ่งนั้นไม่มีในโลกเลย ก็เราเมื่อยึดถือ พึงยึดถือรูป
เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนั่นเอง เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมีแก่เรา
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ
ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงมี ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้จึงมีด้วย
ประการอย่างนี้’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือ
ไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๙. ปาลิเลยยสูตร

“เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยง หรือไม่เที่ยง” ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ
รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

ปิณโฑลยสูตรที่ ๘ จบ

๙. ปาลิเลยยสูตร
ว่าด้วยป่าปาลิเลยยกะ

[๘๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี
ครั้นในเวลาเช้า ทรงครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยัง
กรุงโกสัมพี เสด็จกลับจากบิณฑบาต ภายหลังเสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว ทรง
เก็บงำเสนาสนะด้วยพระองค์เองถือบาตรและจีวร ไม่ได้ทรงรับสั่งพวกอุปัฏฐาก
ไม่ได้ตรัสอำลาภิกษุสงฆ์ เสด็จจาริกไปพระองค์เดียวไม่มีผู้ติดตาม
ลำดับนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จจากไปไม่นาน ได้เข้าไป
หาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ แล้วได้กล่าวกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่านอานนท์
พระผู้มีพระภาคทรงเก็บงำเสนาสนะด้วยพระองค์เองถือบาตรและจีวร ไม่ได้ทรงรับ
สั่งพวกอุปัฏฐาก ไม่ได้ตรัสอำลาภิกษุสงฆ์ เสด็จจาริกไปพระองค์เดียวไม่มีผู้ติดตาม”
ท่านพระอานนท์ได้ตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ สมัยใด พระผู้มีพระภาคทรงเก็บงำ
เสนาสนะด้วยพระองค์เองถือบาตรและจีวร ไม่ได้ทรงรับสั่งพวกอุปัฏฐาก ไม่ได้
ตรัสอำลาภิกษุสงฆ์ เสด็จจาริกไปพระองค์เดียวไม่มีผู้ติดตาม สมัยนั้น พระผู้มี
พระภาคมีพระประสงค์จะประทับอยู่เพียงลำพัง จึงไม่ควรที่ใคร ๆ จะพึงติดตาม”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปโดยลำดับ ถึงป่าปาลิเลยยกะ ทราบว่า
ณ ที่นั้นพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โคนไม้รังอันงาม
ต่อมา ภิกษุจำนวนมากเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัย
พอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้พากันกล่าวกับ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๙. ปาลิเลยยสูตร

ท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่านอานนท์ นานมาแล้วที่พวกผมได้ฟังธรรมีกถาเฉพาะ
พระพักตร์พระผู้มีพระภาค ท่านอานนท์ พวกผมปรารถนาที่จะฟังธรรมีกถาเฉพาะ
พระพักตร์พระผู้มีพระภาค”
ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์พร้อมด้วยภิกษุเหล่านั้นพากันเข้าไปเฝ้าพระผู้
มีพระภาค ณ โคนไม้รังอันงามในป่าปาลิเลยยกะ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้ภิกษุเหล่านั้นเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ
เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งได้เกิดความคิดคำนึงอย่างนี้ว่า “เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างไร
อาสวะทั้งหลายจึงสิ้นไปโดยลำดับ”
พระผู้มีพระภาคทรงทราบความคิดคำนึงของภิกษุนั้นด้วยพระทัยจึงรับสั่งเรียก
ภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เราได้แสดงธรรมโดยการวิจัย (การเลือกเฟ้น) แสดง
สติปัฏฐาน ๔ ประการโดยการวิจัย แสดงสัมมัปปธาน ๔ ประการโดยการวิจัย
แสดงอิทธิบาท ๔ ประการโดยการวิจัย แสดงอินทรีย์ ๕ ประการโดยการวิจัย
แสดงพละ ๕ ประการโดยการวิจัย แสดงโพชฌงค์ ๗ ประการโดยการวิจัย
แสดงอริยมรรคมีองค์ ๘ โดยการวิจัย ภิกษุทั้งหลาย เราได้แสดงธรรมโดยการ
วิจัยเช่นนี้ ธรรมอันเราแสดงแล้วโดยการวิจัยเช่นนี้ แต่ก็มีภิกษุบางรูปในธรรมวินัย
นี้ยังเกิดความคิดคำนึงว่า ‘เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างไร อาสวะทั้งหลายจึงสิ้นไปโดย
ลำดับ’
เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างไร อาสวะทั้งหลายจึงสิ้นไปโดยลำดับ
คือ ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของ
พระอริยะ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาด
ในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ พิจารณาเห็นรูปโดย
ความเป็นอัตตา ก็การพิจารณาเห็นนั้นจัดเป็นสังขาร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๙. ปาลิเลยยสูตร

สังขารนั้นมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มี
อะไรเป็นแดนเกิด
คือ สังขารนั้นเกิดจากตัณหาที่เกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ผู้ถูกความเสวย
อารมณ์ที่เกิดจากอวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว เพราะเหตุนั้น แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง
ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น แม้ตัณหานั้นก็ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น แม้เวทนานั้น ... แม้ผัสสะนั้น ... แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง
ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น
เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างนี้ อาสวะทั้งหลายจึงสิ้นไปโดยลำดับ
ปุถุชนไม่พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา แต่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป
ก็การพิจารณาเห็นนั้นจัดเป็นสังขาร
สังขารนั้นมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มี
อะไรเป็นแดนเกิด
คือ สังขารนั้นเกิดจากตัณหาที่เกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ผู้ถูกความเสวย
อารมณ์ที่เกิดจากอวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว เพราะเหตุนั้น แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง
ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น แม้ตัณหานั้น ... แม้เวทนานั้น ... แม้ผัสสะนั้น
... แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น
เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างนี้ อาสวะทั้งหลายจึงสิ้นไปโดยลำดับ
ปุถุชนไม่พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป
แต่พิจารณาเห็นรูปในอัตตา ก็การพิจารณาเห็นนั้นจัดเป็นสังขาร
สังขารนั้นมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มี
อะไรเป็นแดนเกิด
คือ สังขารนั้นเกิดจากตัณหาที่เกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ผู้ถูกความเสวย
อารมณ์ที่เกิดจากอวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว เพราะเหตุนั้น แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง
ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น แม้ตัณหานั้น ... แม้เวทนานั้น ... แม้ผัสสะนั้น
... แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๙. ปาลิเลยยสูตร

เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างนี้ อาสวะทั้งหลายจึงสิ้นไปโดยลำดับ
ปุถุชนไม่พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป
ไม่พิจารณาเห็นรูปในอัตตา แต่พิจารณาเห็นอัตตาในรูป ก็การพิจารณาเห็นนั้นจัด
เป็นสังขาร
สังขารนั้นมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มี
อะไรเป็นแดนเกิด
คือ สังขารนั้นเกิดจากตัณหาที่เกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ผู้ถูกความเสวย
อารมณ์ที่เกิดจากอวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว เพราะเหตุนั้น แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง
ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น แม้ตัณหานั้น ... แม้เวทนานั้น ... แม้ผัสสะนั้น
... แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น
เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างนี้ อาสวะทั้งหลายจึงสิ้นไปโดยลำดับ
ปุถุชนไม่พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป
ไม่พิจารณาเห็นรูปในอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาในรูป แต่พิจารณาเห็นเวทนา
โดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีเวทนา พิจารณาเห็นเวทนาในอัตตา
พิจารณาเห็นอัตตาในเวทนา พิจารณาเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ
พิจารณาเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีสังขาร พิจารณา
เห็นสังขารในอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาในสังขาร พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความ
เป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณ พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา
พิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ ก็การพิจารณาเห็นนั้นจัดเป็นสังขาร
สังขารนั้นมีอะไรเป็นเหตุ ฯลฯ มีอะไรเป็นแดนเกิด
คือ สังขารนั้นเกิดจากตัณหาที่เกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ผู้ถูกความเสวย
อารมณ์ที่เกิดจากอวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว เพราะเหตุนั้น แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง
ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น แม้ตัณหานั้น ... แม้เวทนานั้น ... แม้ผัสสะนั้น
... แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๙. ปาลิเลยยสูตร

เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างนี้ อาสวะทั้งหลายจึงสิ้นไปโดยลำดับ
ปุถุชนไม่พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นเวทนา ... ไม่
พิจารณาเห็นสัญญา ... ไม่พิจารณาเห็นสังขาร ... ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณโดย
ความเป็นอัตตา แต่มีทิฏฐิ (ความเห็น) อย่างนี้ว่า ‘อัตตากับโลกเป็นอย่างเดียวกัน
เรานั้นละโลกนี้ไปแล้ว จักเป็นผู้เที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร’ ก็สัสสตทิฏฐิ
(ความเห็นว่าเที่ยง) นั้นจัดเป็นสังขาร
สังขารนั้นมีอะไรเป็นเหตุ ฯลฯ
เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างนี้ อาสวะทั้งหลายจึงสิ้นไปโดยลำดับ
ปุถุชนไม่พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นเวทนา ... ไม่
พิจารณาเห็นสัญญา ... ไม่พิจารณาเห็นสังขาร ... ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณโดย
ความเป็นอัตตา ทั้งไม่มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตากับโลกเป็นอย่างเดียวกัน เรานั้น
ละโลกนี้ไปแล้วจักเป็นผู้เที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร’ แต่มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า
‘ถ้าเราไม่พึงมี แม้บริขารของเราก็ไม่พึงมี ถ้าเราจักไม่ได้มีแล้ว แม้บริขารของเรา
ก็จักไม่มี’ ก็อุจเฉททิฏฐิ (ความเห็นว่าขาดสูญ) นั้นจัดเป็นสังขาร
สังขารนั้นมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มี
อะไรเป็นแดนเกิด
คือ สังขารนั้นเกิดจากตัณหาที่เกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ผู้ถูกความเสวย
อารมณ์ที่เกิดจากอวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว เพราะเหตุนั้น แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง
ฯลฯ
เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างนี้ อาสวะทั้งหลายจึงสิ้นไปโดยลำดับ
ปุถุชนไม่พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นเวทนา ... ไม่
พิจารณาเห็นสัญญา ... ไม่พิจารณาเห็นสังขาร ... ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณโดย
ความเป็นอัตตา ฯลฯ ไม่พิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ ทั้งไม่มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า
‘อัตตากับโลกเป็นอย่างเดียวกัน เรานั้นละโลกนี้ไปแล้วจักเป็นผู้เที่ยงแท้ ยั่งยืน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๑๐. ปุณณมสูตร

คงทน ไม่ผันแปร’ ทั้งไม่มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ถ้าเราไม่พึงมี แม้บริขารของเราก็ไม่พึงมี
ถ้าเราจักไม่ได้มีแล้ว แม้บริขารของเราก็จักไม่มี’ แต่ยังมีความสงสัย เคลือบแคลง
ไม่แน่ใจในสัทธรรม ก็ความเป็นผู้สงสัย เคลือบแคลง ไม่แน่ใจในสัทธรรมนั้นจัด
เป็นสังขาร
สังขารนั้นมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มี
อะไรเป็นแดนเกิด
คือ สังขารนั้นเกิดจากตัณหาที่เกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ผู้ถูกความเสวย
อารมณ์ที่เกิดจากอวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว เพราะเหตุนั้น แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง
ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น แม้ตัณหานั้นก็ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น แม้เวทนานั้นก็ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น
แม้ผัสสะนั้นก็ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง
ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างนี้ อาสวะทั้งหลายจึงสิ้นไปโดยลำดับ”

ปาลิเลยยสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ปุณณมสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาในคืนดวงจันทร์เต็มดวง

[๘๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปราสาทของนางวิสาขา-
มิคารมาตา ในบุพพาราม เขตกรุงสาวัตถี พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ สมัยนั้น
ในวันอุโบสถขึ้น ๑๕ ค่ำ คืนดวงจันทร์เต็มดวง พระผู้มีพระภาคทรงมีภิกษุสงฆ์
แวดล้อม ประทับนั่งในที่แจ้ง
ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งลุกจากอาสนะ ห่มผ้าเฉวียงบ่าประนมมือไปทางที่
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอทูลถามเหตุอย่างหนึ่งกับพระองค์ ถ้าพระผู้มีพระภาคทรง
ประทานวโรกาสที่จะตอบปัญหาแก่ข้าพระองค์”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๑๐. ปุณณมสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ ถ้าเช่นนั้น เธอจงนั่งบนอาสนะของตน
แล้วถามปัญหาที่เธอต้องการจะถามเถิด”
ภิกษุนั้นทูลรับพระดำรัสแล้วนั่งบนอาสนะของตนได้ทูลถามปัญหากับพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ใช่ไหม คือ

๑. รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป)
๒. เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา)
๓. สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา)
๔. สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร)
๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ)”

“ภิกษุ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้แล คือ
๑. รูปูปาทานขันธ์ ฯลฯ ๕. วิญญาณูปาทานขันธ์”

มูลเหตุแห่งอุปาทานขันธ์ ๕ ประการ

ภิกษุนั้นชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า “สาธุ พระพุทธเจ้าข้า”
แล้วได้ทูลถามปัญหายิ่งขึ้นไปว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้
มีอะไรเป็นมูลเหตุ”
“ภิกษุ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ มีฉันทะเป็นมูลเหตุ” ฯลฯ
“อุปาทานกับอุปาทานขันธ์ ๕ ประการเป็นอย่างเดียวกัน หรือว่าอุปาทาน
เป็นอย่างอื่นนอกจากอุปาทานขันธ์ ๕ ประการ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุ อุปาทานกับอุปาทานขันธ์ ๕ ประการเป็นอย่างเดียวกันก็มิใช่ ทั้ง
อุปาทานเป็นอย่างอื่นนอกจากอุปาทานขันธ์ ๕ ประการก็มิใช่ แต่ฉันทราคะใน
อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนั้นเป็นตัวอุปาทาน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๑๐. ปุณณมสูตร

ฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕ ประการ
ภิกษุนั้น ฯลฯ ได้ทูลถามปัญหายิ่งขึ้นไปว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็
ฉันทราคะต่าง ๆ ในอุปาทานขันธ์ ๕ ประการ จะพึงมีได้หรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พึงมีได้ ภิกษุ” แล้วได้ตรัสต่อไปว่า “ภิกษุ
บุคคลบางคนในโลกนี้มีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘ในอนาคตกาล ขอเราพึงมีรูปเช่นนี้
มีเวทนาเช่นนี้ มีสัญญาเช่นนี้ มีสังขารเช่นนี้ มีวิญญาณเช่นนี้’
ภิกษุ ฉันทราคะต่าง ๆ ในอุปาทานขันธ์ ๕ ประการ จะพึงมีได้อย่างนี้แล”

เหตุที่เรียกว่าขันธ์

ภิกษุนั้นชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า “สาธุ พระพุทธเจ้าข้า”
แล้วได้ทูลถามปัญหายิ่งขึ้นไปว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร ขันธ์
จึงชื่อว่าขันธ์”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต
อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต
ไกลหรือใกล้ก็ตาม นี้เรียกว่า รูปขันธ์
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ...
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายใน
หรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ก็ตาม นี้เรียกว่า
วิญญาณขันธ์
ภิกษุ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ขันธ์จึงชื่อว่าขันธ์”

เหตุปัจจัยแห่งขันธ์

ภิกษุนั้นชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า “สาธุ พระพุทธเจ้าข้า”
แล้วได้ทูลถามปัญหายิ่งขึ้นไปว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๑๐. ปุณณมสูตร

ทำให้รูปขันธ์ปรากฏ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้เวทนาขันธ์ปรากฏ อะไรเป็น
เหตุเป็นปัจจัยทำให้สัญญาขันธ์ปรากฏ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้สังขารขันธ์
ปรากฏ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้วิญญาณขันธ์ปรากฏ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ มหาภูตรูป ๔ เป็นเหตุเป็นปัจจัย
ทำให้รูปขันธ์ปรากฏ ผัสสะเป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้เวทนาขันธ์ปรากฏ ผัสสะเป็น
เหตุเป็นปัจจัยทำให้สัญญาขันธ์ปรากฏ ผัสสะเป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้สังขารขันธ์
ปรากฏ นามรูปเป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้วิญญาณขันธ์ปรากฏ”

เหตุเกิดสักกายทิฏฐิ

ภิกษุนั้นชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า “สาธุ พระพุทธเจ้าข้า”
แล้วได้ทูลถามปัญหายิ่งขึ้นไปว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สักกายทิฏฐิมีได้อย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็น
พระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ
ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของ
สัตบุรุษ พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป พิจารณา
เห็นรูปในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในรูป ... เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ...
พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณ
พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ
ภิกษุ สักกายทิฏฐิมีได้อย่างนี้”

เหตุไม่มีสักกายทิฏฐิ

ภิกษุนั้นชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า “สาธุ พระพุทธเจ้าข้า”
แล้วได้ทูลถามปัญหายิ่งขึ้นไปว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สักกายทิฏฐิมีไม่ได้อย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ผู้ได้สดับ ได้
เห็นพระอริยะ ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ
ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๑๐. ปุณณมสูตร

ไม่พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป ไม่พิจารณา
เห็นรูปในอัตตา หรือไม่พิจารณาเห็นอัตตาในรูป ไม่พิจารณาเห็นเวทนา ... ไม่
พิจารณาเห็นสัญญา ... ไม่พิจารณาเห็นสังขาร ... ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณโดย
ความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณ ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณใน
อัตตา หรือไม่พิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ
ภิกษุ สักกายทิฏฐิมีไม่ได้อย่างนี้”

คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากอุปาทานขันธ์

ภิกษุนั้นชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า “สาธุ พระพุทธเจ้าข้า”
แล้วได้ทูลถามปัญหายิ่งขึ้นไปว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ
อะไรเป็นเครื่องสลัดออกจากรูป ... เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... อะไรเป็นคุณ
อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นเครื่องสลัดออกจากวิญญาณ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยรูปเกิดขึ้น นี้
เป็นคุณของรูป สภาพที่รูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา นี้เป็น
โทษของรูป ธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะในรูป นี้เป็น
เครื่องสลัดออกจากรูป
สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยเวทนาเกิดขึ้น ... อาศัยสัญญาเกิดขึ้น ... อาศัย
สังขารเกิดขึ้น ... สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยวิญญาณเกิดขึ้น นี้เป็นคุณของวิญญาณ
สภาพที่วิญญาณไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษของ
วิญญาณ ธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะในวิญญาณ นี้เป็น
เครื่องสลัดออกจากวิญญาณ”

ความไม่มีอหังการ มมังการ และมานานุสัย

ภิกษุนั้นชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า “สาธุ พระพุทธเจ้าข้า”
แล้วได้ทูลถามปัญหายิ่งขึ้นไปว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างไรจึง
จะไม่มีอหังการ มมังการ และมานานุสัยในกายที่มีวิญญาณนี้ และในนิมิตทั้งปวง
ในภายนอก”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๑๐. ปุณณมสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต
อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต
ไกลหรือใกล้ก็ตาม ภิกษุนั้นพิจารณาเห็นรูปทั้งหมดนั้นด้วยปัญญาอันชอบตาม
ความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ...
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายใน
.หรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ก็ตาม ภิกษุนั้น
พิจารณาเห็นวิญญาณทั้งหมดนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
ภิกษุ เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างนี้จึงจะไม่มีอหังการ มมังการ และมานานุสัย
ในกายที่มีวิญญาณนี้ และในนิมิตทั้งปวงในภายนอก”

กรรมที่อนัตตากระทำถูกต้องอัตตา

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งได้เกิดความคิดคำนึงอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญทั้งหลาย
ได้ยินว่า รูปเป็นอนัตตา เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเป็นอนัตตา
เพราะเหตุนั้น กรรมที่ถูกอนัตตากระทำจักถูกต้องอัตตาได้อย่างไร”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบความคิดคำนึงของภิกษุนั้นด้วยพระทัยแล้ว
ได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปได้ที่โมฆบุรุษบางคนในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่รู้แจ้ง
ตกอยู่ในอำนาจอวิชชา มีใจถูกตัณหาครอบงำ จะพึงเข้าใจสัตถุศาสน์ว่าเป็นคำ
สอนที่ควรคิดให้ตระหนักว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้ยินว่า รูปเป็นอนัตตา เวทนา
... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเป็นอนัตตา เพราะเหตุนั้น กรรมที่ถูกอนัตตา
กระทำจักถูกต้องอัตตาได้อย่างไร’
ภิกษุทั้งหลาย เราได้แนะนำเธอทั้งหลายไว้แล้วด้วยการสอบถามในธรรม
เหล่านั้นในบาลีนั้น ๆ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๑๐. ปุณณมสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือ
ไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“เพราะเหตุนั้นแล ฯลฯ อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ...
ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
มีภิกษุทูลถามปัญหากับพระผู้มีพระภาคในเรื่องต่อไปนี้ คือ
๑. เรื่องขันธ์ ๕
๒. เรื่องมูลเหตุแห่งขันธ์ ๕
๓. เรื่องฉันทราคะ
๔. เรื่องชื่อของขันธ์ ๕
๕. เรื่องเหตุปัจจัยแห่งการบัญญัติขันธ์ ๕
๖. เรื่องสักกายทิฏฐิ
๗. เรื่องเหตุไม่มีสักกายทิฏฐิ
๘. เรื่องคุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากขันธ์ ๕
๙. เรื่องไม่มีอหังการ มมังการ และมานานุสัย
๑๐. เรื่องกรรมที่อนัตตากระทำถูกต้องอัตตา
รวมปัญหาที่ทูลถาม ๑๐ ข้อด้วยกัน

ปุณณมสูตรที่ ๑๐ จบ
ขัชชนียวรรคที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อัสสาทสูตร ๒. สมุทยสูตร
๓. ทุติยสมุทยสูตร ๔. อรหันตสูตร
๕. ทุติยอรหันตสูตร ๖. สีหสูตร
๗. ขัชชนียสูตร ๘. ปิณโฑลยสูตร
๙. ปาลิเลยยสูตร ๑๐. ปุณณมสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๔. เถรวรรค ๑. อนันทสูตร

๔. เถรวรรค
หมวดว่าด้วยพระเถระ
๑. อานันทสูตร
ว่าด้วยพระอานนท์

[๘๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ณ ที่นั้น ท่านพระอานนท์ได้เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “ท่านผู้มีอายุ
ทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว ท่านพระอานนท์จึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า
“ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านพระปุณณมันตานีบุตรมีอุปการะมากแก่พวกเรา
ผู้เป็นภิกษุใหม่ ท่านกล่าวสอนพวกเราด้วยโอวาทอย่างนี้ว่า ‘ท่านอานนท์ เพราะ
ถือมั่น ตัณหา มานะ ทิฏฐิว่า ‘เรามี’ จึงมี เพราะไม่ถือมั่น ตัณหา มานะ ทิฏฐิว่า
‘เรามี’ จึงไม่มี
เพราะถือมั่นอะไร ตัณหา มานะ ทิฏฐิว่า ‘เรามี’ จึงมี เพราะไม่ถือมั่นอะไร
ตัณหา มานะ ทิฏฐิว่า ‘เรามี’ จึงไม่มี
คือ เพราะถือมั่นรูป ตัณหา มานะ ทิฏฐิว่า ‘เรามี’ จึงมี เพราะไม่ถือมั่นรูป
ตัณหา มานะ ทิฏฐิว่า ‘เรามี’ จึงไม่มี ... เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ...
เพราะถือมั่นวิญญาณ ตัณหา มานะ ทิฏฐิว่า ‘เรามี’ จึงมี เพราะไม่ถือมั่นวิญญาณ
ตัณหา มานะ ทิฏฐิว่า ‘เรามี’ จึงไม่มี
ท่านอานนท์ สตรีหรือบุรุษแรกรุ่น ผู้ชอบแต่งตัว มองดูเงาหน้าของตนใน
กระจกหรือภาชนะน้ำที่ใสสะอาดบริสุทธิ์ เพราะอาศัย(กระจกหรือภาชนะน้ำนั้น)จึง
เห็น เพราะไม่อาศัยจึงไม่เห็น แม้ฉันใด ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะถือมั่นรูป
ตัณหา มานะ ทิฏฐิว่า ‘เรามี’ จึงมี เพราะไม่ถือมั่นรูป ตัณหา มานะ ทิฏฐิว่า
‘เรามี’ จึงไม่มี ... เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... เพราะถือมั่นวิญญาณ ตัณหา
มานะ ทิฏฐิว่า ‘เรามี’ จึงมี เพราะไม่ถือมั่นวิญญาณ ตัณหา มานะ ทิฏฐิว่า ‘เรามี’
จึงไม่มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๔. เถรวรรค ๒. ติสสสูตร

ท่านอานนท์ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง’
‘ไม่เที่ยง ขอรับ’
‘เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง’
‘ไม่เที่ยง ขอรับ’
‘เพราะเหตุนั้นแล ฯลฯ พระอริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า
... ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านพระปุณณมันตานีบุตรเป็นผู้มีอุปการะมากแก่พวก
เราผู้เป็นภิกษุใหม่ ท่านสอนพวกเราด้วยโอวาทนี้ เพราะฟังธรรมเทศนานี้ของท่าน
พระปุณณมันตานีบุตร ผมจึงได้บรรลุธรรม”

อานันทสูตรที่ ๑ จบ

๒. ติสสสูตร
ว่าด้วยพระติสสะ

[๘๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
สมัยนั้น ท่านพระติสสะโอรสพระปิตุจฉาของพระผู้มีพระภาค บอกแก่ภิกษุ
จำนวนมากอย่างนี้ว่า “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ร่างกายของกระผมอ่อนเปลี้ยประดุจ
คนเมา กระผมรู้สึกมืดทุกด้าน แม้ธรรมทั้งหลายก็ไม่ปรากฏ ถีนมิทธะครอบงำ
จิตของกระผม กระผมไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ และยังมีความสงสัยในธรรมทั้ง
หลายอยู่”
ครั้งนั้น ภิกษุจำนวนมากเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ท่านพระติสสะโอรสพระปิตุจฉาของพระผู้มีพระภาค บอกแก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้ว่า
‘ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ร่างกายของกระผมอ่อนเปลี้ยประดุจคนเมา กระผมรู้สึกมืด
ทุกด้าน แม้ธรรมทั้งหลายก็ไม่ปรากฏ ถีนมิทธะครอบงำจิตของกระผม กระผมไม่
ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ และยังมีความสงสัยในธรรมทั้งหลายอยู่”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๔. เถรวรรค ๒. ติสสสูตร

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุรูปหนึ่งมาตรัสว่า “ภิกษุ เธอ
จงไปเรียกติสสภิกษุมาตามคำของเรา”
ภิกษุนั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว เข้าไปหาท่านพระติสสะถึงที่อยู่แล้วได้บอกว่า
“ท่านติสสะ พระศาสดารับสั่งให้ท่านเข้าเฝ้า”
ท่านพระติสสะรับคำแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ติสสะ ทราบว่า เธอได้บอกแก่ภิกษุจำนวน
มากว่า ‘ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ร่างกายของกระผมอ่อนเปลี้ยประดุจคนเมา ฯลฯ
และยังมีความสงสัยในธรรมทั้งหลายอยู่’ จริงหรือ”
ท่านพระติสสะทูลตอบว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
“ติสสะ เธอจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เมื่อบุคคลผู้ยังไม่ปราศจากความ
กำหนัด ไม่ปราศจาก ความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความกระหาย
ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจากความทะยานอยากในรูป เพราะรูปนั้นแปร
ผันและเป็นอย่างอื่น โสกะ (ความเศร้าโศก) ปริเทวะ (ความคร่ำครวญ) ทุกข์
(ความทุกข์กาย) โทมนัส (ความทุกข์ใจ) และอุปายาส (ความคับแค้นใจ) จึงเกิดขึ้น
ใช่ไหม”
“ใช่ พระพุทธเจ้าข้า”
“ดีละ ดีละ ติสสะ เรื่องนี้เป็นอย่างนั้น เมื่อบุคคลผู้ยังไม่ปราศจากความ
กำหนัด ... ในรูป ... ในสัญญา ... ในสังขาร เพราะสังขารเหล่านั้นแปรผัน
และเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงเกิดขึ้นใช่ไหม”
“ใช่ พระพุทธเจ้าข้า”
“ดีละ ดีละ ติสสะ เรื่องนี้เป็นอย่างนั้น เมื่อบุคคลผู้ยังไม่ปราศจากความ
กำหนัด ... ในสังขาร ... เมื่อบุคคลผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจาก
ความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจากความ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๔. เถรวรรค ๒. ติสสสูตร

เร่าร้อน ไม่ปราศจากความทะยานอยากในวิญญาณ เพราะวิญญาณนั้นแปรผัน
และเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงเกิดขึ้นใช่ไหม”
“ใช่ พระพุทธเจ้าข้า”
“ดีละ ดีละ ติสสะ เรื่องนี้เป็นอย่างนั้น เมื่อบุคคลผู้ยังไม่ปราศจากความ
กำหนัด ... ในวิญญาณ ฯลฯ ติสสะ เธอจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เมื่อ
บุคคลผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจากความรัก ปราศ
จากความกระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความทะยานอยากในรูป
เพราะรูปนั้นแปรผันและเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
จึงเกิดขึ้น ใช่ไหม”
“ไม่ใช่ พระพุทธเจ้าข้า”
“ดีละ ดีละ ติสสะ เรื่องนี้เป็นอย่างนั้น เมื่อบุคคลผู้ปราศจากความกำหนัด ...
ในรูป ... ในเวทนา ... ในสัญญา ... ในสังขาร ... เมื่อบุคคลผู้ปราศจาก
ความกำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความกระหาย
ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความทะยานอยากในวิญญาณ เพราะวิญญาณ
นั้นแปรผันและเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงเกิดขึ้น
ใช่ไหม”
“ไม่ใช่ พระพุทธเจ้าข้า”
“ดีละ ดีละ ติสสะ เรื่องนี้เป็นอย่างนั้น เมื่อบุคคลผู้ปราศจากความกำหนัด ...
ในวิญญาณ ... ติสสะ เธอจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“เพราะเหตุนั้นแล ฯลฯ อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ...
ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๔. เถรวรรค ๒. ติสสสูตร

ติสสะ เปรียบเหมือนบุรุษ ๒ คน คนหนึ่งไม่ฉลาดในหนทาง คนหนึ่ง
ฉลาดในหนทาง บุรุษผู้ไม่ฉลาดในหนทางพึงถามทางกับบุรุษผู้ฉลาดในหนทาง
บุรุษผู้ฉลาดในหนทางพึงตอบว่า ‘ผู้เจริญ ท่านไปตามทางนี้อีกสักครู่ก็จักพบทาง
๒ แพร่ง ในทาง ๒ แพร่งนั้น ท่านจงละทางซ้าย ไปทางขวาเถิด ไปตามทาง
นั้นอีกสักครู่ก็จักพบราวป่าหนาทึบ ไปตามทางนั้นอีกสักครู่ก็จักพบที่ลุ่มใหญ่มีเปือกตม
ไปตามทางนั้นอีกสักครู่ก็จักพบบึงที่ลึก ไปตามทางนั้นอีกสักครู่ก็จักพบพื้นที่ราบ
น่ารื่นรมย์’
ติสสะ อุปมานี้เรายกมาเพื่อให้เข้าใจเนื้อความแจ่มชัด ในอุปมานั้นมีอธิบาย
ดังนี้
คำว่า บุรุษผู้ไม่ฉลาดในหนทาง นี้เป็นคำเรียกปุถุชน
คำว่า บุรุษผู้ฉลาดในหนทาง นี้เป็นคำเรียกตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
คำว่า ทาง ๒ แพร่ง นี้เป็นคำเรียกวิจิกิจฉา
คำว่า ทางซ้าย นี้เป็นคำเรียกมิจฉามรรคมีองค์ ๘ คือ (๑) มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ
(๘) มิจฉาสมาธิ
คำว่า ทางขวา นี้เป็นคำเรียกอริยมรรคมีองค์ ๘ คือ (๑) สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ
(๘) สัมมาสมาธิ
คำว่า ราวป่าหนาทึบ นี้เป็นคำเรียกอวิชชา
คำว่า ที่ลุ่มใหญ่มีเปือกตม นี้เป็นคำเรียกกามทั้งหลาย
คำว่า บึงที่ลึก นี้เป็นคำเรียกความโกรธและความคับแค้นใจ
คำว่า พื้นที่ราบน่ารื่นรมย์ นี้เป็นคำเรียกนิพพาน
ติสสะ เธอจงยินดี ติสสะ เธอจงยินดีตามโอวาทที่เรากล่าวสอน ตามความ
อนุเคราะห์ที่เราอนุเคราะห์ ตามคำพร่ำสอนที่เราพร่ำสอนเถิด”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระติสสะมีใจยินดีชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค

ติสสสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๔. เถรวรรค ๓. ยมกสูตร

๓. ยมกสูตร
ว่าด้วยพระยมกะ

[๘๕] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ภิกษุยมกะเกิดทิฏฐิชั่วเช่นนี้ว่า “เรารู้
ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้ว่า ‘ภิกษุขีณาสพหลังจากตายแล้วย่อม
ขาดสูญ พินาศ ไม่เกิดอีก”
ภิกษุจำนวนมากได้ยินว่า “ภิกษุยมกะเกิดทิฏฐิชั่วเช่นนี้ว่า ‘เรารู้ทั่วถึงธรรม
ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้ว่า ‘ภิกษุขีณาสพหลังจากตายแล้วย่อมขาดสูญ พินาศ
ไม่เกิดอีก”
ต่อมา ภิกษุเหล่านั้นเข้าไปหาท่านพระยมกะถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอ
เป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามท่านพระยมกะว่า
“ท่านยมกะ ทราบว่า ท่านเกิดทิฏฐิชั่วเช่นนี้ว่า ‘เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาค
ทรงแสดงไว้ว่า ‘ภิกษุขีณาสพหลังจากตายแล้วย่อมขาดสูญ พินาศ ไม่เกิดอีก’
จริงหรือ”
ท่านพระยมกะตอบว่า “จริง ขอรับ”
“ท่านยมกะ ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนั้น อย่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาค เพราะ
การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย เพราะพระผู้มีพระภาคไม่พึงตรัสอย่างนี้ว่า
‘ภิกษุขีณาสพหลังจากตายแล้วย่อมขาดสูญ พินาศ ไม่เกิดอีก”
ท่านพระยมกะถูกภิกษุเหล่านั้นว่ากล่าวแม้อย่างนี้ ก็ยังยึดทิฏฐิชั่วนั้นอย่าง
มั่นคงกล่าวว่า “เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้ว่า ‘ภิกษุขีณาสพ
หลังจากตายแล้วย่อมขาดสูญ พินาศ ไม่เกิดอีก”
ภิกษุเหล่านั้นไม่สามารถจะให้ท่านพระยมกะคลายทิฏฐิชั่วนั้นได้จึงพากันลุก
จากอาสนะเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่แล้วกล่าวว่า “ข้าแต่ท่านสารีบุตร
พระยมกะเกิดทิฏฐิชั่วเช่นนี้ว่า ‘เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้ว่า
‘ภิกษุขีณาสพหลังจากตายแล้วย่อมขาดสูญ พินาศ ไม่เกิดอีก’ ขอโอกาส
ขอท่านพระสารีบุตรโปรดอาศัยความอนุเคราะห์เข้าไปหาภิกษุยมกะถึงที่อยู่เถิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๔. เถรวรรค ๓. ยมกสูตร

ท่านพระสารีบุตรรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ
ครั้นในเวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่หลีกเร้นแล้วเข้าไปหาท่านพระ
ยมกะถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ
ที่สมควร ได้ถามท่านพระยมกะดังนี้ว่า “ท่านยมกะ ทราบว่า ท่านเกิดทิฏฐิชั่ว
เช่นนี้ว่า ‘เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้ว่า ‘ภิกษุขีณาสพหลังจาก
ตายแล้วย่อมขาดสูญ พินาศ ไม่เกิดอีก’ จริงหรือ”
ท่านพระยมกะตอบว่า “จริง ขอรับ ผมรู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรง
แสดงไว้ว่า ‘ภิกษุขีณาสพหลังจากตายแล้วย่อมขาดสูญ พินาศ ไม่เกิดอีก”
“ท่านยมกะ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง ขอรับ” ฯลฯ
“เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง ขอรับ”
“เพราะเหตุนั้นแล ฯลฯ พระอริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ...
ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
ท่านยมกะ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ท่านพิจารณาเห็นรูปว่า
‘เป็นตถาคต๑’ หรือ”
“ไม่ใช่ ขอรับ”
“ท่านพิจารณาเห็นเวทนาว่า ‘เป็นตถาคต’ หรือ”
“ไม่ใช่ ขอรับ”
“ท่านพิจารณาเห็นสัญญา ... สังขาร ... วิญญาณว่า ‘เป็นตถาคต’ หรือ”
“ไม่ใช่ ขอรับ”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๔. เถรวรรค ๓. ยมกสูตร

“ท่านยมกะ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ท่านพิจารณาเห็นว่า
‘ตถาคตมีในรูป’ หรือ”
“ไม่ใช่ ขอรับ”
“ท่านพิจารณาเห็นว่า ‘ตถาคตมีนอกจากรูป’ หรือ”
“ไม่ใช่ ขอรับ”
“ท่านพิจารณาเห็นว่า ‘ตถาคตมีในเวทนา’ หรือ”
“ไม่ใช่ ขอรับ”
“... ในเวทนา ฯลฯ นอกจากเวทนา ฯลฯ ในสัญญา ... นอกจากสัญญา
... ในสังขารทั้งหลาย ... นอกจากสังขารทั้งหลาย ...
“ท่านพิจารณาเห็นว่า ‘ตถาคตมีในวิญญาณ’ หรือ”
“ไม่ใช่ ขอรับ”
“ท่านพิจารณาเห็นว่า ‘ตถาคตมีนอกจากวิญญาณ’ หรือ”
“ไม่ใช่ ขอรับ”
“ท่านยมกะ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ท่านพิจารณาเห็นรูป ...
เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณว่า ‘เป็นตถาคต’ หรือ”
“ไม่ใช่ ขอรับ”
“ท่านยมกะ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ท่านพิจารณาเห็นว่า
‘ตถาคตนี้ไม่มีรูป’ ... ไม่มีเวทนา ... ไม่มีสัญญา ... ไม่มีสังขาร ... ไม่มี
วิญญาณหรือ”
“ไม่ใช่ ขอรับ”
“ท่านยมกะ แท้จริง ท่านจะค้นหาตถาคตในขันธ์ ๕ ประการนี้ในปัจจุบัน
ไม่ได้เลย ควรหรือที่ท่านจะกล่าวว่า ‘เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง
ไว้ว่า ‘ภิกษุขีณาสพหลังจากตายแล้วย่อมขาดสูญ พินาศ ไม่เกิดอีก”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๔. เถรวรรค ๓. ยมกสูตร

“ท่านสารีบุตร เมื่อก่อนผมไม่รู้จึงได้เกิดทิฏฐิชั่วเช่นนั้น แต่บัดนี้ เพราะฟัง
ธรรมเทศนานี้ของท่านสารีบุตร ผมจึงละทิฏฐิชั่วนั้นได้แล้ว และได้บรรลุธรรม”
“ท่านยมกะ ถ้าชนทั้งหลายพึงถามท่านอย่างนี้ว่า ‘ท่านยมกะ ภิกษุอรหันต-
ขีณาสพ หลังจากตายแล้วเป็นอะไร ท่านถูกถามอย่างนี้จะพึงตอบอย่างไร”
“ท่านผู้มีอายุ ถ้าพวกเขาถามอย่างนี้ว่า ‘ภิกษุอรหันตขีณาสพหลังจากตาย
แล้วเป็นอะไร’ ผมถูกถามอย่างนี้จะพึงตอบอย่างนี้ว่า ‘รูปไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง
สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นดับไปแล้ว ตั้งอยู่ไม่ได้ เวทนา ... สัญญา ...
สังขาร ... วิญญาณไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์
สิ่งนั้นดับไปแล้ว ตั้งอยู่ไม่ได้ ท่านผู้มีอายุ ผมถูกถามอย่างนี้พึงตอบอย่างนี้”
“ดีละ ดีละ ท่านยมกะ ถ้าอย่างนั้น ผมจะยกอุปมาให้ท่านฟัง เพื่อเข้าใจ
เนื้อความนั้นชัดเจนขึ้น เปรียบเหมือนคหบดีหรือบุตรคหบดีผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก
มีโภคะมาก และมีการอารักขาอย่างกวดขัน เกิดมีบุรุษคนหนึ่งมุ่งความพินาศ
ความไม่เป็นประโยชน์ และความไม่ปลอดภัย อยากจะปลิดชีวิตเขาเสีย เขาจึง
มีความคิดว่า ‘คหบดีหรือบุตรคหบดีผู้นี้เป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก
และเขามีการอารักขาอย่างกวดขัน การที่จะอุกอาจปลิดชีวิตเขามิใช่ทำได้ง่าย
ทางที่ดี เราควรใช้อุบายปลิดชีวิตเสีย’
เขาพึงเข้าไปหาคหบดีหรือบุตรคหบดีนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ผมจะขอรับใช้ท่าน’
คหบดีหรือบุตรคหบดีพึงรับเขาไว้ เขารับใช้อย่างดี คือ มีปกติตื่นก่อน นอนทีหลัง
คอยฟังคำสั่ง ประพฤติตนให้เป็นที่พอใจ พูดแต่คำไพเราะ คหบดีหรือบุตรคหบดี
นั้นเชื่อว่าเขาเป็นมิตรสหาย และไว้ใจเขา เมื่อใด บุรุษนั้นคิดว่า ‘คหบดีหรือบุตร
คหบดีนี้ไว้ใจเราแล้ว’ เมื่อนั้น เขารู้ว่าคหบดีหรือบุตรคหบดีอยู่ในที่ลับ จึงใช้ศัสตรา
อันคมปลิดชีวิตเสีย
ท่านยมกะ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
ในกาลใด บุรุษนั้นเข้าไปหาคหบดีหรือบุตรคหบดีโน้นแล้วกล่าวว่า ‘ผมจะ
ขอรับใช้ท่าน’ แม้ในกาลนั้น เขาก็ชื่อว่าเป็นผู้ฆ่านั่นเอง แต่คหบดีหรือบุตรคหบดี
นั้นก็ไม่รู้จักบุรุษผู้ฆ่าว่า ‘เป็นผู้ฆ่าตน’ แม้ในกาลใด บุรุษนั้นรับใช้อย่างดี คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๔. เถรวรรค ๓. ยมกสูตร

มีปกติตื่นก่อน นอนทีหลัง คอยฟังคำสั่ง ประพฤติตนให้เป็นที่พอใจ พูดแต่คำไพเราะ
แม้ในกาลนั้น เขาก็ชื่อว่าเป็นผู้ฆ่านั่นเอง แต่คหบดีหรือบุตรคหบดีนั้นก็ไม่รู้จักบุรุษ
ผู้ฆ่าว่า ‘เป็นผู้ฆ่าตน’ แม้ในกาลใด บุรุษนั้นรู้ว่าคหบดีหรือบุตรคหบดีอยู่ในที่ลับ
จึงใช้ศัสตราอันคมปลิดชีวิตเสีย แม้ในกาลนั้น เขาก็ชื่อว่าเป็นผู้ฆ่านั่นเอง แต่
คหบดีหรือบุตรคหบดีนั้นก็ไม่รู้จักบุรุษผู้ฆ่าว่า ‘เป็นผู้ฆ่าตน’ หรือ”
“อย่างนั้น ขอรับ”
“ท่านยมกะ อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของ
พระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำใน
ธรรมของสัตบุรุษ พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป
พิจารณาเห็นรูปในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในรูป ... เวทนา ... สัญญา ...
สังขาร ... พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ หรือพิจารณาเห็น
อัตตาในวิญญาณ
เขาไม่รู้ชัดรูปที่ไม่เที่ยงตามความเป็นจริงว่า ‘รูปไม่เที่ยง’ ไม่รู้ชัดเวทนาที่ไม่
เที่ยงตามความเป็นจริงว่า ‘เวทนาไม่เที่ยง’ ไม่รู้ชัดสัญญาที่ไม่เที่ยงตามความเป็น
จริงว่า ‘สัญญาไม่เที่ยง’ ไม่รู้ชัดสังขารที่ไม่เที่ยงตามความเป็นจริงว่า ‘สังขารไม่เที่ยง’
ไม่รู้ชัดวิญญาณที่ไม่เที่ยงตามความเป็นจริงว่า ‘วิญญาณไม่เที่ยง’
ไม่รู้ชัดรูปที่เป็นทุกข์ตามความเป็นจริงว่า ‘รูปเป็นทุกข์’ ... เวทนาที่เป็นทุกข์
... สัญญาที่เป็นทุกข์ ... สังขารที่เป็นทุกข์ ... ไม่รู้ชัดวิญญาณที่เป็นทุกข์ตาม
ความเป็นจริงว่า ‘วิญญาณเป็นทุกข์’
ไม่รู้ชัดรูปที่เป็นอนัตตาตามความเป็นจริงว่า ‘รูปเป็นอนัตตา’ ... เวทนาที่
เป็นอนัตตา ... สัญญาที่เป็นอนัตตา ... สังขารที่เป็นอนัตตา ... ไม่รู้ชัด
วิญญาณที่เป็นอนัตตาตามความเป็นจริงว่า ‘วิญญาณเป็นอนัตตา’
ไม่รู้ชัดรูปที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งตามความเป็นจริงว่า ‘รูปถูกปัจจัยปรุงแต่ง’ ...
เวทนาที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ... สัญญาที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ... สังขารที่ถูกปัจจัย
ปรุงแต่ง ... ไม่รู้ชัดวิญญาณที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งตามความเป็นจริงว่า ‘วิญญาณถูก
ปัจจัยปรุงแต่ง’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๔. เถรวรรค ๓. ยมกสูตร

ไม่รู้ชัดรูปที่เป็นผู้ฆ่าตามความเป็นจริงว่า ‘รูปเป็นผู้ฆ่า’ ... เวทนาที่เป็นผู้ฆ่า ...
สัญญาที่เป็นผู้ฆ่า ... สังขารที่เป็นผู้ฆ่า ... ไม่รู้ชัดวิญญาณที่เป็นผู้ฆ่าตามความ
เป็นจริงว่า ‘วิญญาณเป็นผู้ฆ่า’
เขาเข้าไปยึดมั่นรูปว่า ‘เป็นอัตตาของเรา’ ... เวทนา ... สัญญา ... สังขาร
... เข้าไปยึดมั่นวิญญาณว่า ‘เป็นอัตตาของเรา’ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ที่
ปุถุชนนั้นเข้าไปยึดมั่น ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์ตลอด
กาลนาน
ท่านผู้มีอายุ ส่วนพระอริยสาวกผู้ได้สดับ ได้เห็นพระอริยะ ฉลาดในธรรม
ของพระอริยะ ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ฯลฯ ได้รับการแนะนำใน
ธรรมของสัตบุรุษ ไม่พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่า
มีรูป ไม่พิจารณาเห็นรูปในอัตตา หรือไม่พิจารณาเห็นอัตตาในรูป ไม่พิจารณา
เห็นเวทนา ... ไม่พิจารณาเห็นสัญญา ... ไม่พิจารณาเห็นสังขาร ...
ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณ
ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา หรือไม่พิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ
เขารู้ชัดรูปที่ไม่เที่ยงตามความเป็นจริงว่า ‘รูปไม่เที่ยง’ รู้ชัดเวทนาที่ไม่เที่ยง ...
สัญญาที่ไม่เที่ยง ... สังขารที่ไม่เที่ยง ... รู้ชัดวิญญาณที่ไม่เที่ยงตามความเป็นจริงว่า
‘วิญญาณไม่เที่ยง’
รู้ชัดรูปที่เป็นทุกข์ตามความเป็นจริงว่า ‘รูปเป็นทุกข์’ รู้ชัดเวทนาที่เป็นทุกข์
... สัญญาที่เป็นทุกข์ ... สังขารที่เป็นทุกข์ ... รู้ชัดวิญญาณที่เป็นทุกข์ตามความ
เป็นจริงว่า ‘วิญญาณเป็นทุกข์’
รู้ชัดรูปที่เป็นอนัตตาตามความเป็นจริงว่า ‘รูปเป็นอนัตตา’ รู้ชัดเวทนาที่เป็น
อนัตตา ... สัญญาที่เป็นอนัตตา ... สังขารที่เป็นอนัตตา ... รู้ชัดวิญญาณที่
เป็นอนัตตาตามความเป็นจริงว่า ‘วิญญาณเป็นอนัตตา’
รู้ชัดรูปที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งตามความเป็นจริงว่า ‘รูปถูกปัจจัยปรุงแต่ง’ รู้ชัด
เวทนาที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ... สัญญาที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ... สังขารที่ถูกปัจจัย
ปรุงแต่ง ... รู้ชัดวิญญาณที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งตามความเป็นจริงว่า ‘วิญญาณถูก
ปัจจัยปรุงแต่ง’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๔. เถรวรรค ๔. อนุราธสูตร

รู้ชัดรูปที่เป็นผู้ฆ่าตามความเป็นจริงว่า ‘รูปเป็นผู้ฆ่า’ รู้ชัดเวทนาที่เป็นผู้ฆ่า ...
สัญญาที่เป็นผู้ฆ่า ... รู้ชัดสังขารที่เป็นผู้ฆ่าตามความเป็นจริงว่า ‘สังขารเป็นผู้ฆ่า’
รู้ชัดวิญญาณที่เป็นผู้ฆ่าตามความเป็นจริงว่า ‘วิญญาณเป็นผู้ฆ่า’
เขาไม่เข้าไปยึดมั่นรูปว่า ‘รูปเป็นอัตตาของเรา’ ... เวทนา ... สัญญา ... สังขาร
... ไม่เข้าไปยึดมั่นวิญญาณว่า ‘วิญญาณเป็นอัตตาของเรา’ อุปาทานขันธ์ ๕
ประการนี้ที่พระอริยสาวกนั้นไม่เข้าไปยึดมั่น ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อ
ความสุขตลอดกาลนาน”
“ข้าแต่ท่านสารีบุตร ข้อที่เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายผู้เช่นกับท่านเป็นผู้อนุเคราะห์
มุ่งประโยชน์ ว่ากล่าว พร่ำสอน ย่อมเป็นอย่างนั้น และเพราะได้ฟังธรรมเทศนา
นี้ของท่านสารีบุตร จิตของผมจึงหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น”

ยมกสูตรที่ ๓ จบ

๔. อนุราธสูตร๑
ว่าด้วยพระอนุราธะ

[๘๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน
เขตกรุงเวสาลี สมัยนั้น ท่านพระอนุราธะอยู่ที่กุฎีป่า ไม่ไกลจากพระผู้มีพระภาค
ครั้งนั้น อัญเดียรถีย์ปริพาชกจำนวนมากเข้าไปหาท่านพระอนุราธะถึงที่อยู่
ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร
ได้ถามท่านพระอนุราธะดังนี้ว่า “ท่านอนุราธะ พระตถาคตเป็นอุดมบุรุษ เป็น
บรมบุรุษ ทรงบรรลุธรรมที่ควรบรรลุอย่างยอดเยี่ยม เมื่อจะทรงบัญญัติข้อนั้น
ย่อมทรงบัญญัติในฐานะ ๔ ประการนี้ คือ
๑. หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก
๒. หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก
๓. หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก
๔. หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่
หรือ”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๔. เถรวรรค ๔. อนุราธสูตร

เมื่ออัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นถามอย่างนี้แล้ว ท่านพระอนุราธะได้ตอบว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย พระตถาคตเป็นอุดมบุรุษ เป็นบรมบุรุษ ทรงบรรลุธรรมที่ควร
บรรลุอย่างยอดเยี่ยม เมื่อจะทรงบัญญัติข้อนั้น ย่อมทรงบัญญัติเว้นจากฐานะ ๔
ประการนี้ คือ
๑. หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก
๒. หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก
๓. หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก
๔. หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่”
เมื่อท่านพระอนุราธะตอบอย่างนี้แล้ว อัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นได้กล่าว
กับท่านพระอนุราธะดังนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้คงจักเป็นพระใหม่บวชได้ไม่
นาน หรือเป็นพระเถระแต่โง่ ไม่ฉลาด” ทีนั้น พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกกล่าว
รุกรานท่านพระอนุราธะด้วยวาทะว่าเป็นพระใหม่และวาทะว่าเป็นพระโง่ พากันลุก
จากอาสนะแล้วจากไป
ครั้นเมื่อพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกจากไปไม่นาน ท่านพระอนุราธะได้มีความ
คิดว่า “ถ้าอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นพึงถามปัญหากับเรายิ่งขึ้นไป เราจะ
พยากรณ์แก่อัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างไร จึงจะชื่อว่าพูดตรงตามที่พระผู้มี
พระภาคตรัสไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำเท็จ ชื่อว่ากล่าวแก้อย่าง
สมเหตุสมผล ไม่มีคำกล่าวเช่นนั้นและการคล้อยตามที่จะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้”

พระอนุราธะทูลถามปัญหาพระผู้มีพระภาค

ต่อมา ท่านพระอนุราธะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง
ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ
ประทานวโรกาส ข้าพระองค์อยู่ที่กุฎีป่า ไม่ไกลจากพระผู้มีพระภาค ครั้งนั้น
อัญเดียรถีย์ปริพาชกจำนวนมากเข้าไปหาข้าพระองค์ถึงที่อยู่ ฯลฯ ได้ถาม
ข้าพระองค์ดังนี้ว่า ‘ท่านอนุราธะ พระตถาคตเป็นอุดมบุรุษ เป็นบรมบุรุษ ทรง
บรรลุธรรมที่ควรบรรลุอย่างยอดเยี่ยม เมื่อจะทรงบัญญัติข้อนั้น ย่อมทรงบัญญัติ
ในฐานะ ๔ ประการนี้ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๔. เถรวรรค ๔. อนุราธสูตร

๑. หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก
๒. หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก
๓. หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก
๔. หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่
หรือ’
เมื่อพวกอัญเดียรดีย์ปริพาชกถามอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์ได้ตอบดังนี้ว่า
‘ผู้มีอายุทั้งหลาย พระตถาคตเป็นอุดมบุรุษ เป็นบรมบุรุษ ทรงบรรลุธรรมที่
ควรบรรลุอย่างยอดเยี่ยม เมื่อจะทรงบัญญัติข้อนั้น ย่อมทรงบัญญัติเว้นจากฐานะ ๔
ประการนี้ คือ
๑. หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก ฯลฯ
๔. หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’
เมื่อข้าพระองค์ตอบอย่างนี้แล้ว อัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นได้กล่าวกับ
ข้าพระองค์ดังนี้ว่า ‘ภิกษุรูปนี้คงจักเป็นพระใหม่บวชได้ไม่นาน หรือเป็นพระเถระ
แต่โง่ไม่ฉลาด’ ทีนั้น อัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นกล่าวรุกรานข้าพระองค์ด้วยวาทะ
ว่าเป็นพระใหม่และด้วยวาทะว่าเป็นพระโง่ พากันลุกจากอาสนะแล้วจากไป
เมื่ออัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นจากไปไม่นาน ข้าพระองค์ได้มีความคิดว่า
‘ถ้าพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นพึงถามปัญหากับเรายิ่งขึ้นไป เราจะพยากรณ์
แก่อัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างไร จึงจะชื่อว่าพูดตรงตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้
ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำเท็จ ชื่อว่ากล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผล ไม่มี
คำกล่าวเช่นนั้นและการคล้อยตามที่จะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อนุราธะ เธอจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
ท่านพระอนุราธะกราบทูลว่า “ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๔. เถรวรรค ๔. อนุราธสูตร

“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“เพราะเหตุนั้นแล ฯลฯ อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ...
ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
“อนุราธะ เธอจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เธอพิจารณาเห็นรูปว่า ‘เป็น
ตถาคต’ หรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เธอพิจารณาเห็นเวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณว่า ‘เป็นตถาคต’
หรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“อนุราธะ เธอจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เธอพิจารณาเห็นว่า ‘ตถาคต
มีในรูป’ หรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เธอพิจารณาเห็นว่า ‘ตถาคตมีนอกจากรูป’ หรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
เธอพิจารณาเห็นว่า ‘ตถาคตมีในเวทนา ฯลฯ นอกจากเวทนา ฯลฯ ในสัญญา
... ในสังขาร ... นอกจากสังขาร ... ในวิญญาณ’ หรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เธอพิจารณาเห็นว่า ‘ตถาคตมีนอกจากวิญญาณ’ หรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๔. เถรวรรค ๕. วักกลิสูตร

“อนุราธะ เธอจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เธอพิจารณาเห็นรูป ... เวทนา
... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณว่า ‘เป็นตถาคต’ หรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“อนุราธะ เธอจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เธอพิจารณาเห็นว่า ‘ตถาคต
นี้ไม่มีรูป’ ... ไม่มีเวทนา... ไม่มีสัญญา ... ไม่มีสังขาร พิจารณาเห็นว่า
‘ตถาคตไม่มีวิญญาณ’ หรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“อนุราธะ แท้จริง เธอจะค้นหาตถาคตโดยจริงโดยแท้ในขันธ์ ๕ ประการนี้
ในปัจจุบันไม่ได้เลย ควรหรือที่เธอจะตอบว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย พระตถาคตเป็น
อุดมบุรุษ เป็นบรมบุรุษ ทรงบรรลุธรรมที่ควรบรรลุอย่างยอดเยี่ยม เมื่อจะทรง
บัญญัติข้อนั้น ย่อมทรงบัญญัติเว้นจากฐานะ ๔ ประการนี้ คือ
๑. หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก
๒. หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก
๓. หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก
๔. หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่
หรือ”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“ดีละ ดีละ อนุราธะ ทั้งในกาลก่อนและในบัดนี้ เราย่อมบัญญัติทุกข์และ
ความดับทุกข์เท่านั้น”

อนุราธสูตรที่ ๔ จบ

๕. วักกลิสูตร
ว่าด้วยพระวักกลิ

[๘๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้
เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น ท่านพระวักกลิอาพาธ ได้รับทุกข์
เป็นไข้หนัก พักอยู่ที่โรงช่างหม้อ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๔. เถรวรรค ๕. วักกลิสูตร

ครั้งนั้น ท่านพระวักกลิเรียกภิกษุผู้อุปัฏฐากทั้งหลายมากล่าวว่า “มาเถิด
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พวกท่านจงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทพระยุคลบาทด้วยเศียรเกล้าตามคำของผมว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ภิกษุวักกลิอาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ท่านขอถวายอภิวาทพระยุคลบาทของ
พระองค์ด้วยเศียรเกล้า’ และขอพวกท่านจงกราบทูลอย่างนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดอาศัยความอนุเคราะห์เสด็จ
ไปเยี่ยมภิกษุวักกลิถึงที่อยู่เถิด”
ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ภิกษุวักกลิอาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ท่านขอถวายอภิวาทพระยุคลบาทของ
พระองค์ด้วยเศียรเกล้า และฝากมากราบทูลอย่างนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดอาศัยความอนุเคราะห์เสด็จไปเยี่ยม
ภิกษุวักกลิถึงที่อยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ
ต่อมา พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร ได้เสด็จ
เข้าไปเยี่ยมท่านพระวักกลิถึงที่อยู่ ท่านพระวักกลิได้เห็นพระผู้มีพระภาคกำลังเสด็จ
มาแต่ไกลจึงลุกขึ้นจากเตียง
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระวักกลิดังนี้ว่า “อย่าเลย วักกลิ
เธออย่าลุกจากเตียงเลย เราจักนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้นั้น”
พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว ได้ตรัสถามว่า “วักกลิ
เธอยังสบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ ทุกขเวทนาทุเลาลง ไม่กำเริบขึ้นหรือ
อาการทุเลาปรากฏ อาการกำเริบไม่ปรากฏหรือ”
ท่านพระวักกลิกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่สบาย
จะเป็นอยู่ไม่ได้ ทุกขเวทนามีแต่กำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ
อาการทุเลาไม่ปรากฏ พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๔. เถรวรรค ๕. วักกลิสูตร

“วักกลิ เธอไม่รำคาญ ไม่ทุรนทุรายบ้างหรือ’
“ความจริง ข้าพระองค์รำคาญ ทุรนทุรายมาก พระพุทธเจ้าข้า’
“วักกลิ เธอติเตียนตนเองโดยศีลได้หรือไม่’
“ข้าพระองค์ติเตียนตนเองโดยศีลไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าข้า’
“วักกลิ ถ้าเธอติเตียนตนเองโดยศีลไม่ได้แล้ว เมื่อเป็นเช่นนั้น เธอจะรำคาญ
ทุรนทุรายไปทำไม’
“ข้าพระองค์ประสงค์จะเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคนานแล้ว แต่ร่างกายของ
ข้าพระองค์ไม่มีกำลังพอที่จะเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคได้ พระพุทธเจ้าข้า’
“อย่าเลย วักกลิ จะมีประโยชน์อะไรด้วยร่างกายอันเปื่อยเน่าที่เธอเห็นอยู่นี้
ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม ความจริง
เมื่อเห็นธรรมก็ชื่อว่าเห็นเรา เมื่อเห็นเราก็ชื่อว่าเห็นธรรม
วักกลิ เธอจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง’
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า’
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข’
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า’
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“เวทนา .... สัญญา .... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง’
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า’ ฯลฯ
“ ... นั่นเป็นอัตตาของเรา’
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๔. เถรวรรค ๕. วักกลิสูตร

“เพราะเหตุนั้นแล ฯลฯ อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ...
ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
ครั้นพระผู้มีพระภาคตรัสสอนท่านพระวักกลิด้วยพระโอวาทนี้แล้วทรงลุกจาก
พุทธอาสน์เสด็จไปทางภูเขาคิชฌกูฏ
ลำดับนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จจากไปไม่นาน ท่านพระวักกลิได้เรียก
ภิกษุผู้อุปัฏฐากทั้งหลายมากล่าวว่า “มาเถิด ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย จงช่วยอุ้มผม
ขึ้นเตียงแล้วหามไปยังวิหารกาฬสิลาข้างภูเขาอิสิคิลิ ทำไมพระอย่างผมจะพึงสำคัญ
ตนว่าควรมรณภาพในละแวกบ้านเล่า’
ภิกษุผู้อุปัฏฐากเหล่านั้นรับคำแล้วอุ้มท่านพระวักกลิขึ้นเตียง หามไปยังวิหาร
กาฬสิลาข้างภูเขาอิสิคิลิ
ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏตลอดคืนและวันที่ยังเหลือ
อยู่นั้น เมื่อราตรี๑ผ่านไป เทวดา ๒ องค์ มีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมี
ให้สว่างทั่วภูเขาคิชฌกูฏ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ยืนอยู่
ณ ที่สมควร ครั้นแล้วเทวดาองค์หนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ พระวักกลิคิดเพื่อหลุดพ้น’
เทวดาอีกองค์หนึ่งได้กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระวักกลินั้นหลุดพ้น
ดีแล้ว จักหลุดพ้นได้แน่’
เทวดาเหล่านั้นได้กราบทูลดังนี้แล้ว ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค กระทำ
ประทักษิณแล้ว หายตัวไป ณ ที่นั้นนั่นเอง
ครั้นราตรีนั้นผ่านไป พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“มาเถิดภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเข้าไปหาภิกษุวักกลิถึงที่อยู่แล้วบอกว่า
‘ท่านวักกลิ ท่านจงฟังพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคและคำของเทวดา ๒ องค์
เมื่อคืนนี้ เมื่อราตรีผ่านไป เทวดา ๒ องค์ มีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้
สว่างทั่วภูเขาคิชฌกูฏ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๔. เถรวรรค ๕. วักกลิสูตร

ยืนอยู่ ณ ที่สมควร ครั้นแล้วเทวดาองค์หนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระวักกลิคิดเพื่อหลุดพ้น’ เทวดาอีกองค์หนึ่งได้กราบทูลว่า
‘ข้าแต่พระองค์ผู้จริญ พระวักกลินั้นหลุดพ้นดีแล้ว จักหลุดพ้นได้แน่’ ทั้งพระผู้มี
พระภาคได้ตรัสถึงท่านว่า ‘อย่ากลัวเลยวักกลิ อย่ากลัวเลยวักกลิ ความตายอัน
ไม่ต่ำช้าจักมีแก่เธอ การทำกาละ (ตาย) จะไม่เลวทราม’
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว เข้าไปหาท่านพระวักกลิถึงที่อยู่แล้ว
ได้บอกว่า “ท่านวักกลิ ท่านจงฟังพระดำรัสของพระผู้มีพระภาค และคำของเทวดา
๒ องค์เถิด’
ลำดับนั้น ท่านพระวักกลิได้เรียกภิกษุผู้อุปัฏฐากทั้งหลายมากล่าวว่า “มาเถิด
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย จงช่วยอุ้มผมลงจากเตียง ทำไมพระอย่างผมจะพึงสำคัญตน
ว่าควรนั่งบนอาสนะสูงแล้วฟังคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเล่า’
ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้วก็ช่วยกันอุ้มท่านพระวักกลิลงจากเตียง ภิกษุทั้งหลาย
กล่าวว่า “ท่านผู้มีอายุ เมื่อคืนนี้ เมื่อราตรีผ่านไป เทวดา ๒ องค์ ฯลฯ ยืนอยู่
ณ ที่สมควร ครั้นแล้วเทวดาองค์หนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ‘ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ พระวักกลิคิดเพื่อหลุดพ้น’ เทวดาอีกองค์หนึ่งได้กราบทูลว่า
‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระวักกลินั้นหลุดพ้นดีแล้ว จักหลุดพ้นได้แน่’ ทั้งพระผู้มี
พระภาคได้ตรัสถึงท่านว่า ‘อย่ากลัวเลยวักกลิ อย่ากลัวเลยวักกลิ ความตายอัน
ไม่ต่ำช้าจักมีแก่เธอ การทำกาละจะไม่เลวทราม”
ท่านพระวักกลิกล่าวว่า “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น พวกท่านจงถวาย
อภิวาทพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้าตามคำของผมว่า ‘ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุวักกลิอาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก เธอขอถวายอภิวาท
พระยุคลบาทของพระองค์ด้วยเศียรเกล้า’ และขอพวกท่านจงกราบทูลอย่างนี้ว่า
‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่เคลือบแคลงรูปที่ไม่เที่ยง ไม่สงสัยว่า ‘สิ่งใด
ไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์’ ไม่สงสัยว่า ‘สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผัน
เป็นธรรมดา ความพอใจ ความกำหนัด หรือความรักใคร่ในสิ่งนั้นไม่มีแก่เรา’
ไม่เคลือบแคลงเวทนาที่ไม่เที่ยง ไม่สงสัยว่า ‘สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์’
ไม่สงสัยว่า ‘สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ความพอใจ
ความกำหนัด หรือความรักใคร่ในสิ่งนั้นไม่มีแก่เรา’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๔. เถรวรรค ๕. วักกลิสูตร

ไม่เคลือบแคลงสัญญาที่ไม่เที่ยง ไม่สงสัยว่า ‘สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์’
ไม่สงสัยว่า ‘สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ความพอใจ
ความกำหนัด หรือความรักใคร่ในสิ่งนั้นไม่มีแก่เรา’
ไม่เคลือบแคลงสังขารที่ไม่เที่ยง ไม่สงสัยว่า ‘สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์’
ไม่สงสัยว่า ‘สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ความพอใจ
ความกำหนัด หรือความรักใคร่ในสิ่งนั้นไม่มีแก่เรา’
ไม่เคลือบแคลงวิญญาณที่ไม่เที่ยง ไม่สงสัยว่า ‘สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์’
ไม่สงสัยว่า ‘สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ความพอใจ
ความกำหนัด หรือความรักใคร่ในสิ่งนั้นไม่มีแก่เรา”
ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้วก็จากไป เมื่อภิกษุเหล่านั้นจากไปไม่นาน ท่านพระ
วักกลิก็ได้นำศัสตรามา๑
ต่อมา ภิกษุเหล่านั้นเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ นั่ง ณ ที่สมควร
แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุวักกลิอาพาธ
ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก เธอขอถวายอภิวาทพระยุคลบาทของพระองค์ด้วยเศียรเกล้า
และฝากมากราบทูลอย่างนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่เคลือบแคลง
รูปที่ไม่เที่ยง ไม่สงสัยว่า ‘สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์’ ไม่สงสัยว่า ‘สิ่งใดไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ความพอใจ ความกำหนัด หรือความรัก
ใคร่ในสิ่งนั้นไม่มีแก่เรา’
ไม่เคลือบแคลงเวทนาที่ไม่เที่ยง ... สัญญา ... สังขาร ... ไม่เคลือบแคลง
วิญญาณที่ไม่เที่ยง ไม่สงสัยว่า ‘สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์’ ไม่สงสัยว่า ‘สิ่ง
ใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ความพอใจ ความกำหนัด
หรือความรักใคร่ในสิ่งนั้นไม่มีแก่เรา”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “มาเถิด ภิกษุ
ทั้งหลาย เราจะไปยังวิหารกาฬสิลาข้างภูเขาอิสิคิลิ ซึ่งเป็นสถานที่ที่วักกลิกุลบุตร
ได้นำศัสตรามา” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๔. เถรวรรค ๖. อัสสซิสูตร

ต่อมา พระผู้มีพระภาคเสด็จไปยังวิหารกาฬสิลาข้างภูเขาอิสิคิลิพร้อมด้วย
ภิกษุจำนวนมาก ได้ทอดพระเนตรเห็นท่านพระวักกลินอนคอบิดอยู่บนเตียงแต่ไกล
เทียว
สมัยนั้น ปรากฏกลุ่มควันกลุ่มหมอกลอยไปทางทิศตะวันออก ทิศตะวันตก
ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง และทิศเฉียง ลำดับนั้นเอง พระผู้มี
พระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายมองเห็น
กลุ่มควันกลุ่มหมอกลอยไปทางทิศตะวันออก ฯลฯ และทิศเฉียงหรือไม่”
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า “เห็น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย นั่นแลคือมารผู้มีบาป ค้นหาวิญญาณของวักกลิกุลบุตรด้วย
คิดว่า ‘วิญญาณของวักกลิกุลบุตรสถิตอยู่ที่ไหน’ ภิกษุทั้งหลาย วักกลิกุลบุตรไม่
มีวิญญาณสถิตอยู่ ปรินิพพานแล้ว”

วักกลิสูตรที่ ๕ จบ

๖. อัสสชิสูตร
ว่าด้วยพระอัสสชิ

[๘๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้
เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น ท่านพระอัสสชิอาพาธ ได้รับทุกข์
เป็นไข้หนัก พักอยู่ที่กัสสปการาม
ครั้งนั้น ท่านพระอัสสชิเรียกภิกษุผู้อุปัฏฐากทั้งหลายมากล่าวว่า “มาเถิด
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พวกท่านจงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทพระยุคลบาทด้วยเศียรเกล้าตามคำของผมว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ภิกษุอัสสชิอาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ท่านขอถวายอภิวาทพระยุคลบาทของ
พระองค์ด้วยเศียรเกล้า’ และขอพวกท่านจงกราบทูลอย่างนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดอาศัยความอนุเคราะห์เสด็จ
ไปเยี่ยมภิกษุอัสสชิถึงที่อยู่เถิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๔. เถรวรรค ๖. อัสสซิสูตร

ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ภิกษุอัสสชิอาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ท่านขอถวายอภิวาทพระยุคลบาทของ
พระองค์ด้วยเศียรเกล้า และฝากมากราบทูลอย่างนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ
ประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดอาศัยความอนุเคราะห์เสด็จไปเยี่ยม
ภิกษุอัสสชิถึงที่อยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ
ครั้นในเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้นแล้ว เข้าไปเยี่ยม
ท่านพระอัสสชิถึงที่อยู่ ท่านพระอัสสชิได้เห็นพระผู้มีพระภาคกำลังเสด็จมาแต่ไกล
จึงลุกขึ้นจากเตียง
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระอัสสชิดังนี้ว่า “อย่าเลย อัสสชิ
เธออย่าลุกจากเตียงเลย เราจักนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้นั้น”
พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว ได้ตรัสถามว่า “อัสสชิ
เธอยังสบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ ฯลฯ อาการทุเลาปรากฏ อาการกำเริบ
ไม่ปรากฏหรือ”
ท่านพระอัสสชิกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่สบาย จะ
เป็นอยู่ไม่ได้ ทุกขเวทนามีแต่กำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ
อาการทุเลาไม่ปรากฏ พระพุทธเจ้าข้า”
“อัสสชิ เธอไม่รำคาญ ไม่ทุรนทุรายบ้างหรือ”
“ความจริง ข้าพระองค์รำคาญ ทุรนทุรายมาก พระพุทธเจ้าข้า”
“อัสสชิ เธอติเตียนตนเองโดยศีลได้หรือไม่”
“ข้าพระองค์ติเตียนตนเองโดยศีลไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าข้า”
“อัสสชิ ถ้าเธอติเตียนตนเองโดยศีลไม่ได้แล้ว เมื่อเป็นเช่นนั้น เธอจะรำคาญ
ทุรนทุรายไปทำไม”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๔. เถรวรรค ๖. อัสสซิสูตร

“เมื่อก่อน ข้าพระองค์ระงับกายสังขาร (ลมหายใจเข้าออก) บรรเทาความ
ป่วยไข้อยู่จึงไม่ได้สมาธิ เมื่อข้าพระองค์ไม่ได้สมาธิจึงคิดอย่างนี้ว่า ‘เรายังไม่เสื่อม
จากสมาธินั้นหรือ’ พระพุทธเจ้าข้า”
“อัสสชิ สมณพราหมณ์ทั้งหลายที่มีสมาธิเป็นแก่นสาร มีสมาธิเป็นคุณแห่ง
สมณะ เมื่อไม่ได้สมาธินั้นจึงคิดว่า ‘เรายังไม่เสื่อมจากสมาธินั้นหรือ’
อัสสชิ เธอจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“เพราะเหตุนั้นแล ฯลฯ อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ...
ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป
ถ้าอริยสาวกนั้นเสวยสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า ‘สุขเวทนานั้นไม่เที่ยง’ รู้ชัดว่า
‘ไม่น่าหมกมุ่น’ รู้ชัดว่า‘ไม่น่าเพลิดเพลิน’ ถ้าเธอเสวยทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่า
‘ทุกขเวทนานั้นไม่เที่ยง’ รู้ชัดว่า ‘ไม่น่าหมกมุ่น’ รู้ชัดว่า ‘ไม่น่าเพลิดเพลิน’ ถ้า
เธอเสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า ‘อทุกขมสุขเวทนานั้นไม่เที่ยง’ ฯลฯ รู้ชัดว่า
‘ไม่น่าเพลิดเพลิน’
ถ้าเธอเสวยสุขเวทนา ก็เป็นผู้ปราศจาก (กิเลส) เสวยสุขเวทนานั้น ถ้าเธอ
เสวยทุกขเวทนา ก็เป็นผู้ปราศจาก (กิเลส) เสวยทุกขเวทนานั้น ถ้าเธอเสวย
อทุกขมสุขเวทนา ก็เป็นผู้ปราศจาก (กิเลส) เสวยอทุกขมสุขเวทนานั้น
ถ้าอริยสาวกนั้นเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า ‘เราเสวยเวทนามีกาย
เป็นที่สุด’ ถ้าอริยสาวกเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า ‘เราเสวยเวทนามี
ชีวิตเป็นที่สุด’ หลังจากตายไปก็รู้ชัดว่า ‘ความเสวยอารมณ์ทั้งปวงไม่น่าเพลิดเพลิน
จักเย็นในโลกนี้ทีเดียว’
อัสสชิ เพราะอาศัยน้ำมันและไส้ ตะเกียงน้ำมันจึงติดอยู่ได้ เพราะสิ้นน้ำมัน
และไส้ ตะเกียงน้ำมันนั้นจึงหมดเชื้อดับไป แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๔. เถรวรรค ๗. เขมกสูตร

เมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า ‘เราเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด’ เมื่อเสวย
เวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า ‘เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด’ หลังจากตายไป
ก็รู้ชัดว่า ‘ความเสวยอารมณ์ทั้งปวงไม่น่าเพลิดเพลิน จักเย็นในโลกนี้ทีเดียว”๑

อัสสชิสูตรที่ ๖ จบ

๗. เขมกสูตร
ว่าด้วยพระเขมกะ

[๘๙] สมัยหนึ่ง พระเถระจำนวนมากอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี
สมัยนั้น ท่านพระเขมกะอาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก พักอยู่ที่พทริการาม
ครั้นในเวลาเย็น พระเถระทั้งหลายออกจากที่หลีกเร้นแล้ว เรียกท่านพระ
ทาสกะมากล่าวว่า “มาเถิด ท่านทาสกะ ท่านจงเข้าไปหาภิกษุเขมกะถึงที่อยู่แล้ว
บอกว่า ‘ท่านเขมกะ พระเถระทั้งหลายถามถึงท่านว่า ‘เธอยังสบายดีหรือ ยังพอ
เป็นอยู่ได้หรือ ทุกขเวทนาทุเลาลง ไม่กำเริบขึ้นหรือ อาการทุเลาปรากฏ อาการ
กำเริบไม่ปรากฏหรือ'’
ท่านพระทาสกะรับคำแล้วเข้าไปหาท่านพระเขมกะถึงที่อยู่ได้กล่าวว่า ‘ท่าน
เขมกะ พระเถระทั้งหลายถามถึงท่านว่า ‘เธอยังสบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ
ทุกขเวทนาทุเลาลง ไม่กำเริบขึ้นหรือ อาการทุเลาปรากฏ อาการกำเริบไม่ปรากฏหรือ”
ท่านพระเขมกะตอบว่า ‘ท่านผู้มีอายุ ผมไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้ ทุกขเวทนา
มีแต่กำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ อาการทุเลาไม่ปรากฏ”
ครั้งนั้น ท่านพระทาสกะเข้าไปหาพระเถระทั้งหลายถึงที่อยู่แล้วเรียนว่า
“ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเขมกะกล่าวว่า ‘ผมไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้ ทุกข-
เวทนามีแต่กำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ อาการทุเลาไม่
ปรากฏ”
“มาเถิด ท่านทาสกะ ท่านจงเข้าไปหาภิกษุเขมกะถึงที่อยู่แล้วบอกว่า ‘ท่าน
เขมกะ พระเถระทั้งหลายฝากมาถามว่า ‘ท่านผู้มีอายุ อุปาทานขันธ์ ๕
ประการนี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว ได้แก่


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๔. เถรวรรค ๗. เขมกสูตร

๑. รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป)
๒. เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา)
๓. สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา)
๔. สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร)
๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ)
ท่านเขมกะพิจารณาเห็นอัตตา หรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตาอะไร ๆ ในอุปาทาน-
ขันธ์ ๕ ประการนี้”
ท่านพระทาสกะรับคำแล้วเข้าไปหาท่านพระเขมกะถึงที่อยู่ ฯลฯ ท่านเขมกะ
พระเถระทั้งหลายฝากมาถามว่า ‘ท่านผู้มีอายุ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้
ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว ได้แก่
๑. รูปูปาทานขันธ์ ฯลฯ ๕. วิญญาณูปาทานขันธ์
ท่านเขมกะพิจารณาเห็นอัตตา หรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตาอะไร ๆ ในอุปาทาน-
ขันธ์ ๕ ประการนี้’
“ท่านผู้มีอายุ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว
ได้แก่
๑. รูปูปาทานขันธ์ ฯลฯ ๕. วิญญาณูปาทานขันธ์
ผมไม่พิจารณาเห็นอัตตา หรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตาอะไร ๆ ในอุปาทานขันธ์ ๕
ประการนี้เลย”
ครั้งนั้น ท่านพระทาสกะเข้าไปหาพระเถระทั้งหลายถึงที่อยู่แล้วเรียนว่า
“ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเขมกะกล่าวว่า ‘อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ที่
พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว ได้แก่
๑. รูปูปาทานขันธ์ ฯลฯ ๕. วิญญาณูปาทานขันธ์
ผมไม่พิจารณาเห็นอัตตา หรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตาอะไร ๆ ในอุปาทานขันธ์ ๕
ประการนี้เลย”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๔. เถรวรรค ๗. เขมกสูตร

“มาเถิด ท่านทาสกะ ท่านจงเข้าไปหาภิกษุเขมกะถึงที่อยู่แล้วบอกว่า ‘ท่าน
เขมกะ พระเถระทั้งหลายฝากมาถามว่า ‘อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ที่พระผู้มี
พระภาคตรัสไว้แล้ว ได้แก่
๑. รูปูปาทานขันธ์ ฯลฯ ๕. วิญญาณูปาทานขันธ์
ทราบว่า หากท่านเขมกะไม่พิจารณาเห็นอัตตา หรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา
อะไร ๆ ในอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้เลย ถ้าเช่นนั้น ท่านเขมกะก็เป็นพระอรหันต-
ขีณาสพ”
ท่านพระทาสกะรับคำแล้วเข้าไปหาท่านพระเขมกะถึงที่อยู่ ฯลฯ ท่านเขมกะ
พระเถระทั้งหลายฝากมาถามว่า ‘อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ ที่พระผู้มีพระภาค
ตรัสไว้แล้ว ได้แก่
๑. รูปูปาทานขันธ์ ฯลฯ ๕. วิญญาณูปาทานขันธ์
ทราบว่า หากท่านเขมกะไม่พิจารณาเห็นอัตตา หรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา
อะไร ๆ ในอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้เลย ถ้าเช่นนั้น ท่านเขมกะก็เป็นพระอรหันต-
ขีณาสพ”
“ท่านผู้มีอายุ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว ได้แก่
๑. รูปูปาทานขันธ์ ฯลฯ ๕. วิญญาณูปาทานขันธ์
ผมไม่พิจารณาเห็นอัตตา หรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตาอะไร ๆ ในอุปาทานขันธ์
๕ ประการนี้ และผมก็ไม่ได้เป็นพระอรหันตขีณาสพ แต่ผมเข้าใจว่า ‘เรามี’ ใน
อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ และผมก็ไม่ได้พิจารณาเห็นว่า ‘เราเป็นอย่างนี้”
ครั้งนั้น ท่านพระทาสกะเข้าไปหาพระเถระทั้งหลายถึงที่อยู่แล้วเรียนว่า
“ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเขมกะกล่าวว่า ‘อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ที่
พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว ได้แก่
๑. รูปูปาทานขันธ์ ฯลฯ ๕. วิญญาณูปาทานขันธ์
ผมไม่พิจารณาเห็นอัตตา หรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตาอะไร ๆ ในอุปาทานขันธ์ ๕
ประการนี้เลย และผมก็ไม่ได้เป็นพระอรหันตขีณาสพ แต่ผมเข้าใจว่า ‘เรามี’ ใน
อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ และผมก็ไม่ได้พิจารณาเห็นว่า ‘เราเป็นอย่างนี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๔. เถรวรรค ๗. เขมกสูตร

“มาเถิด ท่านทาสกะ ท่านจงเข้าไปหาภิกษุเขมกะถึงที่อยู่แล้วบอกว่า ‘ท่าน
เขมกะ พระเถระทั้งหลายฝากมาถามว่า ‘คำที่ท่านกล่าวว่า ‘เรามี’ นั้นคืออย่างไร
ท่านกล่าวว่า ‘เรามีรูป’ กล่าวว่า ‘เรามีนอกจากรูป’ ท่านกล่าวว่า ‘เรามีเวทนา ...
สัญญา ... สังขาร ... ท่านกล่าวว่า ‘เรามีวิญญาณ’ กล่าวว่า ‘เรามีนอกจาก
วิญญาณ’ ท่านเขมกะ คำที่ท่านกล่าวว่า ‘เรามี’ นั้นคืออย่างไร”
ท่านพระทาสกะรับคำแล้วเข้าไปหาท่านพระเขมกะถึงที่อยู่ได้กล่าวว่า ‘ท่าน
เขมกะ พระเถระทั้งหลายฝากมาถามว่า ‘คำที่ท่านกล่าวว่า ‘เรามี’ นั้นคืออย่างไร
ท่านกล่าวว่า ‘เรามีรูป’ กล่าวว่า ‘เรามีนอกจากรูป’ ท่านกล่าวว่า ‘เรามีเวทนา ...
สัญญา ... สังขาร ... ท่านกล่าวว่า ‘เรามีวิญญาณ’ กล่าวว่า ‘เรามีนอกจาก
วิญญาณ’ ท่านเขมกะ คำที่ท่านกล่าวว่า ‘เรามี’ นั้นคืออย่างไร”
“พอทีเถิด ท่านทาสกะ การเดินไปเดินมาบ่อย ๆ นี้จะมีประโยชน์อะไร
ท่านจงหยิบไม้เท้ามา ผมจักเข้าไปหาพระเถระทั้งหลายเอง”
ลำดับนั้น ท่านพระเขมกะยันไม้เท้าเข้าไปหาพระเถระทั้งหลายถึงที่อยู่ ได้
สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร
ครั้นแล้ว พระเถระทั้งหลายได้ถามว่า “ท่านเขมกะ คำที่ท่านกล่าวว่า ‘เรามี’
นั้นคืออย่างไร ท่านกล่าวว่า ‘เรามีรูป’ กล่าวว่า ‘เรามีนอกจากรูป’ ท่านกล่าวว่า
‘เรามีเวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... ท่านกล่าวว่า ‘เรามีวิญญาณ’ กล่าวว่า
‘เรามีนอกจากวิญญาณ’ ท่านเขมกะ คำที่ท่านกล่าวว่า ‘เรามี’ นั้นคืออย่างไร”
“ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ผมไม่ได้กล่าวว่า ‘เรามีรูป’ ทั้งไม่ได้กล่าวว่า ‘เรามี
นอกจากรูป’ ผมไม่ได้กล่าวว่า ‘เรามีเวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ’
ทั้งไม่ได้กล่าวว่า ‘เรามีนอกจากวิญญาณ’ แต่ผมเข้าใจว่า ‘เรามี’ ในอุปาทานขันธ์
๕ ประการ และผมก็ไม่ได้พิจารณาเห็นว่า ‘เราเป็นอย่างนี้’
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เปรียบเหมือนกลิ่นดอกอุบลก็ดี ดอกปทุมก็ดี ดอก
บุณฑริกก็ดี ผู้ที่กล่าวว่า ‘กลิ่นของใบ’ ว่า ‘กลิ่นของสี’ หรือว่า ‘กลิ่นของเกสร’
อย่างนี้ ชื่อว่ากล่าวถูกต้องหรือ”
“ไม่ถูกต้อง ท่านผู้มีอายุ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๔. เถรวรรค ๗. เขมกสูตร

“ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อจะตอบให้ถูกต้อง ควรตอบอย่างไร”
“ท่านผู้มีอายุ เมื่อจะตอบให้ถูกต้อง ควรตอบว่า ‘กลิ่นของดอก”
“ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ผมไม่ได้กล่าวว่า ‘เรามีรูป’ ทั้งไม่ได้กล่าวว่า ‘เรามี
นอกจากรูป’ ผมไม่ได้กล่าวว่า ‘เรามีเวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ’
ทั้งไม่ได้กล่าวว่า ‘เรามีนอกจากวิญญาณ’ แต่ผมเข้าใจว่า ‘เรามี’ ในอุปาทานขันธ์
๕ ประการ และผมก็ไม่ได้พิจารณาเห็นว่า ‘เราเป็นอย่างนี้’
โอรัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องต่ำ) ๕ ประการพระอริยสาวกละได้แล้วก็
จริง แต่ท่านก็ยังถอนมานะ ฉันทะ และอนุสัยอย่างละเอียดในอุปาทานขันธ์ ๕
ประการว่า ‘เรามี’ ไม่ได้ ต่อมา ท่านพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความ
เสื่อมไปในอุปาทานขันธ์ ๕ ประการว่า ‘รูปเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็น
อย่างนี้ ความดับแห่งรูปเป็นอย่างนี้ เวทนาเป็นอย่างนี้ ... สัญญาเป็นอย่างนี้ ...
สังขารเป็นอย่างนี้ ... วิญญาณเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นอย่างนี้
ความดับแห่งวิญญาณเป็นอย่างนี้’ เมื่อท่านพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความ
เสื่อมไปในอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้อยู่ ถึงแม้ท่านจะยังถอนมานะ ฉันทะ
และอนุสัยอย่างละเอียดในอุปาทานขันธ์ ๕ ประการว่า ‘เรามี’ ไม่ได้ แต่มานะ ฉันทะ
และอนุสัยก็ถูกเพิกถอนขึ้นได้
ผ้าสกปรกเปื้อนมลทิน เจ้าของผ้ามอบผ้านั้นให้แก่ช่างซักผ้า ช่างซักผ้าขยี้
ผ้านั้นในน้ำด่างเกลือ น้ำด่างขี้เถ้า หรือในโคมัยแล้ว ซักในน้ำสะอาด ผ้านั้น
สะอาดก็จริง แต่ผ้านั้นก็ยังไม่หมดกลิ่นน้ำด่างเกลือ กลิ่นน้ำด่างขี้เถ้า หรือกลิ่น
โคมัยที่ติดอยู่ ช่างซักผ้ามอบผ้านั้นคืนให้เจ้าของไป เจ้าของเก็บผ้านั้นใส่ไว้ในหีบ
อบด้วยกลิ่น แม้ผ้านั้นจะยังไม่หมดกลิ่นน้ำด่างเกลือ กลิ่นน้ำด่างขี้เถ้า หรือกลิ่น
โคมัยที่ติดอยู่ แต่กลิ่นนั้นก็หายไป แม้ฉันใด ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการ พระอริยสาวกละได้แล้วก็จริง แต่ท่านก็
ยังถอนมานะ ฉันทะ และอนุสัยอย่างละเอียดในอุปาทานขันธ์ ๕ ประการว่า ‘เรามี’
ไม่ได้ ต่อมา ท่านพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในอุปาทาน-
ขันธ์ ๕ ประการว่า ‘รูปเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นอย่างนี้ ความดับ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๔. เถรวรรค ๘. ฉันนสูตร

แห่งรูปเป็นอย่างนี้ เวทนาเป็นอย่างนี้ ... สัญญาเป็นอย่างนี้ ... สังขารเป็นอย่างนี้
... วิญญาณเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นอย่างนี้ ความดับแห่ง
วิญญาณเป็นอย่างนี้’ เมื่อท่านพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปใน
อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้อยู่ ถึงแม้ท่านจะยังถอนมานะ ฉันทะ และอนุสัย
อย่างละเอียดในอุปาทานขันธ์ ๕ ประการว่า ‘เรามี’ ไม่ได้ แต่มานะ ฉันทะ
และอนุสัยก็ถูกเพิกถอนขึ้นได้”
เมื่อท่านพระเขมกะกล่าวอย่างนี้แล้ว พระเถระทั้งหลายได้กล่าวว่า “พวกผม
ไม่ได้ถามมุ่งเบียดเบียนท่านเลย แต่ท่านเขมกะสามารถบอก แสดง บัญญัติ กำหนด
เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ซึ่งคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นโดยพิสดาร
ตามที่ท่านบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายแล้วโดยพิสดาร”
ท่านพระเขมกะได้กล่าวอย่างนี้แล้ว พระเถระทั้งหลายมีใจยินดี ต่างชื่นชม
ภาษิตของท่านเขมกะ ก็เมื่อท่านพระเขมกะกล่าวเวยยากรณภาษิตนี้อยู่ จิตของ
พระเถระประมาณ ๖๐ รูปและของท่านพระเขมกะ ก็หลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่
ถือมั่น

เขมกสูตรที่ ๗ จบ

๘. ฉันนสูตร
ว่าด้วยพระฉันนะ

[๙๐] สมัยหนึ่ง พระเถระจำนวนมากอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขต
กรุงพาราณสี ครั้นในเวลาเย็น ท่านพระฉันนะออกจากที่หลีกเร้นแล้ว ถือลูกดาล
เดินเข้าออกวิหารกล่าวว่า “ขอท่านทั้งหลาย จงตักเตือน พร่ำสอน แสดง
ธรรมีกถาแก่ผม พอที่ผมจะเห็นธรรมได้”
เมื่อท่านพระฉันนะกล่าวอย่างนี้แล้ว พระเถระทั้งหลายได้กล่าวกับท่านว่า
“ท่านฉันนะ รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง
รูปเป็นอนัตตา เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเป็นอนัตตา สังขาร
ทั้งปวงไม่เที่ยง ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๔. เถรวรรค ๘. ฉันนสูตร

ลำดับนั้น ท่านพระฉันนะได้มีความคิดว่า “แม้เราก็มีความคิดว่า ‘รูป
ไม่เที่ยง เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณไม่เที่ยง รูปเป็นอนัตตา
เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเป็นอนัตตา สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง
ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา’ ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่
ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สละอุปธิทั้งปวง เป็นที่
สิ้นตัณหา เป็นที่สำรอกราคะ เป็นที่ดับ(ทุกข์) เป็นที่ดับ(ตัณหา) ความสะดุ้งกลัว
และอุปาทานก็เกิดขึ้น ใจจึงท้อถอย เมื่อเป็นเช่นนี้ อะไรเล่าเป็นอัตตาของเรา
แต่ความคิดอย่างนี้ย่อมไม่มีแก่ผู้เห็นธรรม ใครเล่าจะแสดงธรรมแก่เรา พอที่เรา
จะเห็นธรรมได้”
ลำดับนั้น ท่านพระฉันนะได้มีความคิดต่อไปว่า “ท่านอานนท์นี้อยู่ ณ
โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี ซึ่งพระศาสดาทรงสรรเสริญและเพื่อนพรหมจารี
ทั้งหลายผู้เป็นวิญญูชนก็ยกย่อง จะสามารถแสดงธรรมแก่เรา พอที่เราจะเห็นธรรมได้
อนึ่ง เราก็มีความคุ้นเคยในท่านอานนท์มาก ทางที่ดี เราควรเข้าไปหาท่านอานนท์
ถึงที่อยู่”
ต่อมา ท่านพระฉันนะเก็บงำเสนาสนะแล้ว ถือบาตรและจีวร เข้าไปหาท่าน
พระอานนท์ถึงโฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ
พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กล่าวว่า
“ท่านอานนท์ สมัยหนึ่ง ผมอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี
ครั้นในเวลาเย็น ผมออกจากที่หลีกเร้น ถือลูกดาลเดินเข้าออกวิหารได้กล่าวว่า
‘ขอท่านทั้งหลาย จงตักเตือน พร่ำสอน แสดงธรรมีกถาแก่ผม พอที่ผมจะเห็น
ธรรมได้’ เมื่อผมกล่าวอย่างนี้แล้ว พระเถระทั้งหลายได้กล่าวว่า ‘ฉันนะ รูปไม่เที่ยง
เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณไม่เที่ยง รูปเป็นอนัตตา ฯลฯ
วิญญาณเป็นอนัตตา สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา’
ท่านผู้มีอายุ ผมได้มีความคิดว่า ‘แม้เราก็มีความคิดว่า ‘รูปไม่เที่ยง ฯลฯ
วิญญาณไม่เที่ยง รูปเป็นอนัตตา เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ
เป็นอนัตตา สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา’ ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ จิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๔. เถรวรรค ๘. ฉันนสูตร

ของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง
เป็นที่สละอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่สำรอกราคะ เป็นที่ดับ(ทุกข์) เป็นที่ดับ
(ตัณหา) ความสะดุ้งกลัวและอุปาทานก็เกิดขึ้น ใจจึงท้อถอย เมื่อเป็นเช่นนี้ อะไรเล่าเป็น
อัตตาของเรา แต่ความคิดอย่างนี้ย่อมไม่มีแก่ผู้เห็นธรรม ใครเล่าจะแสดงธรรม
แก่เรา พอที่เราจะเห็นธรรมได้’
ท่านผู้มีอายุ ผมได้มีความคิดต่อไปว่า ‘ท่านอานนท์นี้อยู่ ณ โฆสิตาราม
เขตกรุงโกสัมพี ซึ่งพระศาสดาทรงสรรเสริญและเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายผู้เป็น
วิญญูชนก็ยกย่อง จะสามารถแสดงธรรมแก่เรา พอที่เราจะเห็นธรรมได้ อนึ่ง เรา
ก็มีความคุ้นเคยในท่านอานนท์มาก ทางที่ดี เราควรเข้าไปหาท่านอานนท์ถึงที่อยู่’
ขอท่านอานนท์จงตักเตือน พร่ำสอน แสดงธรรมีกถาแก่ผม พอที่ผมจะเห็นธรรม
ได้เถิด”
ท่านพระอานนท์กล่าวว่า “แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ผมก็พอใจยินดีกับท่านฉันนะ
ท่านฉันนะได้ทำความเห็นให้ชัดแจ้ง ทำลายความดื้อดึงแล้ว ท่านฉันนะ ท่านจงเงี่ย
โสตลง ท่านสมควรจะรู้ธรรมได้อย่างแจ่มแจ้ง”
ลำดับนั้น ปีติและปราโมทย์อย่างยิ่ง ได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระฉันนะด้วยเหตุ
เพียงเท่านั้นว่า “เราสมควรจะรู้ธรรมได้อย่างแจ่มแจ้ง”
ท่านพระอานนท์กล่าวว่า “ท่านฉันนะ ผมได้สดับคำนี้มาเฉพาะพระพักตร์
ของพระผู้มีพระภาคผู้ตรัสสอนภิกษุกัจจานโคตรอยู่ว่า ‘กัจจานะ โดยมาก โลกนี้
อาศัยที่สุด ๒ อย่าง คือ (๑) ความมี (๒) ความไม่มี
ก็เมื่อบุคคลเห็นความเกิดขึ้นของโลกด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง
ความไม่มีในโลกก็ไม่มี เมื่อบุคคลเห็นความดับของโลกด้วยปัญญาอันชอบตาม
ความเป็นจริง ความมีในโลกก็ไม่มี
กัจจานะ โดยมาก โลกนี้พัวพันอยู่ด้วยอุบายและความยึดมั่นอันเป็นเหตุ
ถือมั่น แต่อริยสาวกนี้ไม่เข้าไปยึดมั่นอุบายและความยึดมั่นอันเป็นเหตุที่ใจเข้าไปตั้ง
มั่นถือมั่นและนอนเนื่องว่า ‘อัตตาของเรา’ ไม่เคลือบแคลง ไม่สงสัยว่า ‘ทุกข์นั่น
แลเมื่อเกิดย่อมเกิดขึ้น ทุกข์เมื่อดับย่อมดับไป’ อริยสาวกนั้นมีญาณหยั่งรู้ในเรื่อง
นี้โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๔. เถรวรรค ๙. ราหุลสูตร

กัจจานะ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ จัดว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ
กัจจานะ ที่สุดอย่างที่ ๑ นี้ คือ สิ่งทั้งปวงมีอยู่ ที่สุดอย่างที่ ๒ นี้ คือ
สิ่งทั้งปวงไม่มี ตถาคตไม่เข้าไปใกล้ที่สุดทั้ง ๒ นี้แสดงธรรมโดยสายกลางว่า
‘เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ฯลฯ
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้มีได้ด้วยประการอย่างนี้ เพราะอวิชชานั่นแลดับ
ไม่เหลือด้วยวิราคะ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ฯลฯ ความ
ดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้มีได้ด้วยประการอย่างนี้”
ท่านพระฉันนะกล่าวว่า “ท่านอานนท์ ข้อที่เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายผู้เช่น
กับท่านเป็นผู้อนุเคราะห์ มุ่งประโยชน์ ว่ากล่าว พร่ำสอน ย่อมเป็นอย่างนั้น
และเพราะได้ฟังธรรมเทศนานี้ของท่านอานนท์ ผมจึงได้บรรลุธรรม”

ฉันนสูตรที่ ๘ จบ

๙. ราหุลสูตร
ว่าด้วยพระราหุล

[๙๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ท่านพระราหุลเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างไร จึงจะไม่มีอหังการ มมังการ และมานานุสัยในกายที่มี
วิญญาณนี้ และในนิมิตทั้งปวงในภายนอก”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ราหุล รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต
อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต
ไกลหรือใกล้ก็ตาม บุคคลเห็นรูปทั้งหมดนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง
อย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๗๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๔. เถรวรรค ๑๐. ทุติยราหุลสูตร

วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายใน
หรือภายนอก ฯลฯ บุคคลเห็นวิญญาณทั้งหมดนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความ
เป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
ราหุล เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างนี้ จึงจะไม่มีอหังการ มมังการ และมานานุสัย
ในกายที่มีวิญญาณนี้ และในนิมิตทั้งปวงในภายนอก”

ราหุลสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ทุติยราหุลสูตร
ว่าด้วยพระราหุล สูตรที่ ๒

[๙๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ท่านพระราหุลนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อ
บุคคลรู้ เห็นอย่างไร ใจจึงจะปราศจากอหังการ มมังการ และมานานุสัยในกาย
ที่มีวิญญาณนี้ และในนิมิตทั้งปวงในภายนอก ก้าวล่วงมานะด้วยดี สงบระงับ
หลุดพ้นดีแล้ว”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ราหุล รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต
อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด ฯลฯ ไกลหรือ
ใกล้ก็ตาม บุคคลเห็นรูปทั้งหมดนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะ
ไม่ถือมั่น
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ...
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายใน
หรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ก็ตาม บุคคล
เห็นวิญญาณทั้งหมดนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่
ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะไม่ถือมั่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๔. เถรวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ราหุล เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างนี้ ใจจึงจะปราศจากอหังการ มมังการ และ
มานานุสัยในกายที่มีวิญญาณนี้ และในนิมิตทั้งปวงในภายนอก ก้าวล่วงมานะด้วยดี
สงบระงับ หลุดพ้นดีแล้ว”

ทุติยราหุลสูตรที่ ๑๐ จบ
เถรวรรคที่ ๔ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อานันทสูตร ๒. ติสสสูตร
๓. ยมกสูตร ๔. อนุราธสูตร
๕. วักกลิสูตร ๖. อัสสชิสูตร
๗. เขมกสูตร ๘. ฉันนสูตร
๙. ราหุลสูตร ๑๐. ทุติยราหุลสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๕. ปุปผวรรค ๑. นทีสูตร

๕. ปุปผวรรค
หมวดว่าด้วยอุปมาด้วยดอกไม้
๑. นทีสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยแม่น้ำ

[๙๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำไหลลงจากภูเขา พัด(หญ้า
ใบไม้ และท่อนไม้เป็นต้น)ไปในภายใต้ ไหลไปไกล มีกระแสเชี่ยว ที่ฝั่งทั้ง ๒
ของแม่น้ำนั้น ถ้าแม้ต้นเลาทั้งหลายพึงเกิด ต้นเลาเหล่านั้นก็จะลู่ไปตามแม่น้ำนั้น
ถ้าแม้หญ้าคาทั้งหลายพึงเกิด หญ้าคาเหล่านั้นก็จะลู่ไปตามแม่น้ำนั้น ถ้าแม้หญ้า
มุงกระต่ายทั้งหลายพึงเกิด หญ้ามุงกระต่ายเหล่านั้นก็จะลู่ไปตามแม่น้ำนั้น ถ้าแม้
หญ้าคมบางทั้งหลายพึงเกิด หญ้าคมบางเหล่านั้นก็จะลู่ไปตามแม่น้ำนั้น ถ้าต้นไม้
ทั้งหลายพึงเกิด ต้นไม้เหล่านั้นก็จะลู่ไปตามแม่น้ำนั้น บุรุษถูกกระแสน้ำพัดไปอยู่
ถ้าพึงจับต้นเลา ต้นเลาก็จะหลุดไป เขาพึงถึงความพินาศ เพราะต้นเลานั้นหลุดไป
ถ้าพึงจับหญ้าคา หญ้ามุงกระต่าย หญ้าคมบาง หรือต้นไม้ หญ้าคาเป็นต้นเหล่านั้น
ก็พึงหลุดไป เขาพึงถึงความพินาศ เพราะหญ้าคาเป็นต้นนั้นหลุดไป แม้ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่
ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็น
สัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ
พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป พิจารณาเห็นรูป
ในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในรูป รูปของเขานั้นย่อยยับไป เขาก็ถึงความพินาศ
เพราะรูปนั้นย่อยยับไป
พิจารณาเห็นเวทนา ... สัญญา ... สังขาร ...
พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณ
พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ วิญญาณของ
เขานั้นย่อยยับไป เขาก็ถึงความพินาศ เพราะวิญญาณนั้นย่อยยับไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๕. ปุปผวรรค ๒. ปุปผสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่
เที่ยง”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล ฯลฯ อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ
รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

นทีสูตรที่ ๑ จบ

๒. ปุปผสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยดอกไม้

[๙๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ณ ที่นั้นแล ฯลฯ “ภิกษุทั้งหลาย เราไม่ขัดแย้งกับโลก แต่โลกขัดแย้งกับเรา
ผู้กล่าวเป็นธรรมไม่ขัดแย้งกับใคร ๆ ในโลก สิ่งใดที่บัณฑิตในโลกสมมติว่าไม่มี แม้
เราก็กล่าวสิ่งนั้นว่า ‘ไม่มี’ สิ่งใดที่บัณฑิตในโลกสมมติว่ามี แม้เราก็กล่าวสิ่งนั้นว่า ‘มี’
ก็อะไรเล่าชื่อว่าสิ่งที่บัณฑิตในโลกสมมติว่าไม่มี เราก็กล่าวว่า ‘ไม่มี‘
คือ รูปที่เที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร ที่บัณฑิตในโลกสมมติว่าไม่มี
แม้เราก็กล่าวรูปนั้นว่า ‘ไม่มี’
เวทนา ...
สัญญา ...
สังขาร ...
วิญญาณที่เที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร ที่บัณฑิตในโลกสมมติว่าไม่มี
แม้เราก็กล่าววิญญาณนั้นว่า ‘ไม่มี’
นี้แลชื่อว่าสิ่งที่บัณฑิตในโลกสมมติว่าไม่มี แม้เราก็กล่าวว่า ‘ไม่มี’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๕. ปุปผวรรค ๒. ปุปผสูตร

อะไรเล่าชื่อว่าสิ่งที่บัณฑิตในโลกสมมติว่ามี เราก็กล่าวว่า ‘มี‘
คือ รูปที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ผันแปร ที่บัณฑิตในโลกสมมติว่ามี แม้เราก็
กล่าวรูปนั้นว่า ‘มี’
เวทนา ...
สัญญา ...
สังขาร ...
วิญญาณที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ผันแปร ที่บัณฑิตในโลกสมมติว่ามี แม้เราก็
กล่าววิญญาณนั้นว่า ‘มี’
นี้แลชื่อว่าสิ่งที่บัณฑิตในโลกสมมติว่ามี แม้เราก็กล่าวว่า ‘มี’
โลกธรรม๑มีอยู่ในโลก ตถาคตตรัสรู้ รู้แจ้งโลกธรรมนั้นแล้ว จึงบอก๒ แสดง๓
บัญญัติ๔ กำหนด๕ เปิดเผย๖ จำแนก๗ ทำให้ง่าย๘
ก็อะไรเล่าชื่อว่าโลกธรรมในโลก ที่ตถาคตตรัสรู้ รู้แจ้งแล้ว จึงบอก แสดง
บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย
คือ รูปจัดเป็นโลกธรรมในโลก ที่ตถาคตตรัสรู้ ฯลฯ ทำให้ง่าย
บุคคลใด เมื่อตถาคตบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก
ทำให้ง่ายอยู่อย่างนี้ ยังไม่รู้ ไม่เห็น เราจะทำอะไรกับบุคคลผู้โง่เขลา เป็นปุถุชน
คนบอด ไม่มีดวงตา ไม่รู้ ไม่เห็นนั้นได้


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๕. ปุปผวรรค ๓. เผณปิณฑูปมสูตร

เวทนา ...
สัญญา ...
สังขาร ...
วิญญาณจัดเป็นโลกธรรมในโลกที่ตถาคตตรัสรู้ รู้แจ้งแล้ว จึงบอก แสดง
บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย
บุคคลใด เมื่อตถาคตบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก
ทำให้ง่ายอยู่อย่างนี้ ยังไม่รู้ ไม่เห็น เราจะทำอะไรกับบุคคลผู้โง่เขลา เป็นปุถุชน
คนบอด ไม่มีดวงตา ไม่รู้ ไม่เห็นนั้นได้
ภิกษุทั้งหลาย ดอกอุบลก็ดี ดอกปทุมก็ดี ดอกบุณฑริกก็ดี เกิดในน้ำ
เจริญในน้ำ โผล่พ้นน้ำแล้วตั้งอยู่ แต่ไม่ติดน้ำ แม้ฉันใด ตถาคตก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เกิดในโลก เจริญในโลก ครอบงำโลกอยู่ แต่ไม่ติดโลก”

ปุปผสูตรที่ ๒ จบ

๓. เผณปิณฑูปมสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยกลุ่มฟองน้ำ

[๙๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ฝั่งแม่น้ำคงคา เขตเมือง
อยุชฌา ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคานี้พึงพัดฟองน้ำกลุ่มใหญ่มา บุรุษผู้มีตาดีก็จะพึง
เห็น เพ่ง พิจารณาฟองน้ำกลุ่มใหญ่นั้นโดยแยบคายได้ เมื่อเขาเห็น เพ่ง
พิจารณาฟองน้ำกลุ่มใหญ่นั้นโดยแยบคาย ฟองน้ำก็จะพึงปรากฏเป็นของว่าง เปล่า
หาสาระมิได้เลย สาระในฟองน้ำจะมีได้อย่างไร แม้ฉันใด รูปอย่างใดอย่างหนึ่งก็
ฉันนั้นเหมือนกัน ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ ไกลหรือใกล้ก็ตาม
ภิกษุเห็น เพ่ง พิจารณารูปนั้นโดยแยบคาย เมื่อเธอเห็น เพ่ง พิจารณารูปนั้น
โดยแยบคาย รูปก็จะปรากฏเป็นของว่าง เปล่า หาสาระมิได้เลย สาระในรูปจะมี
ได้อย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๕. ปุปผวรรค ๓. เผณปิณฑูปมสูตร

เมื่อฝนเม็ดใหญ่ตกในสารทฤดู ฟองน้ำเกิดขึ้นและดับไปบนผิวน้ำ บุรุษผู้มี
ตาดีก็พึงเห็น เพ่ง พิจารณาฟองน้ำนั้นโดยแยบคายได้ เมื่อเขาเห็น เพ่ง พิจารณา
ฟองน้ำนั้นโดยแยบคาย ฟองน้ำก็จะพึงปรากฏเป็นของว่าง เปล่า หาสาระมิได้เลย
สาระในฟองน้ำนั้นจะมีได้อย่างไร แม้ฉันใด เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่งก็ฉันนั้นเหมือน
กัน ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ ไกลหรือใกล้ก็ตาม ภิกษุเห็น เพ่ง
พิจารณาเวทนานั้นโดยแยบคาย เมื่อเธอเห็น เพ่ง พิจารณาเวทนานั้นโดยแยบคาย
เวทนาก็จะปรากฏเป็นของว่าง เปล่า หาสาระมิได้เลย สาระในเวทนาจะมีได้อย่างไร
เมื่อเดือนสุดท้ายแห่งฤดูร้อนยังอยู่ พยับแดดระยิบระยับในเวลาเที่ยง บุรุษ
ผู้มีตาดีก็จะพึงเห็น เพ่ง พิจารณาพยับแดดนั้นโดยแยบคายได้ เมื่อเขาเห็น เพ่ง
พิจารณาพยับแดดนั้นโดยแยบคาย พยับแดดก็จะปรากฏเป็นของว่าง เปล่า ฯลฯ
สาระในพยับแดดจะมีได้อย่างไร แม้ฉันใด สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่งก็ฉันนั้น
เหมือนกัน ฯลฯ
บุรุษผู้ต้องการแก่นไม้เที่ยวเสาะแสวงหาแก่นไม้ ถือขวานที่คมเข้าไปสู่ป่า
เขาเห็นต้นกล้วยใหญ่ ตรง กำลังรุ่น ไม่มีแก่นในป่านั้นจึงตัดโคน ตัดปลาย แล้ว
ปอกกาบออก เขาปอกกาบออกแล้ว ไม่ได้แม้กระพี้ในต้นกล้วยนั้น จะได้แก่นแต่
ที่ไหนเล่า บุรุษผู้มีตาดีก็จะเห็น เพ่ง พิจารณาต้นกล้วยนั้นโดยแยบคายได้ เมื่อ
เขาเห็น เพ่ง พิจารณาต้นกล้วยนั้นโดยแยบคาย ต้นกล้วยก็จะพึงปรากฏเป็นของว่าง
เปล่า หาแก่นมิได้เลย แก่นในต้นกล้วยจะมีได้อย่างไร แม้ฉันใด สังขารเหล่าใด
เหล่าหนึ่งก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ ไกลหรือใกล้
ก็ตาม ภิกษุเห็น เพ่ง พิจารณาสังขารนั้นโดยแยบคาย เมื่อเธอเห็น เพ่ง
พิจารณาสังขารนั้นโดยแยบคาย สังขารก็จะปรากฏเป็นของว่าง เปล่า หาสาระ
มิได้เลย สาระในสังขารทั้งหลายจะมีได้อย่างไร
นักมายากลหรือลูกมือนักมายากลแสดงมายากลที่ทางใหญ่ ๔ แพร่ง บุรุษ
ผู้มีตาดีก็จะพึงเห็น เพ่ง พิจารณามายากลนั้นโดยแยบคายได้ เมื่อเขาเห็น เพ่ง
พิจารณามายากลนั้นโดยแยบคาย มายากลก็จะพึงปรากฏเป็นของว่าง เปล่า หา
สาระมิได้เลย สาระในมายากลจะมีได้อย่างไร แม้ฉันใด วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ ไกลหรือใกล้ก็ตาม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๕. ปุปผวรรค ๓. เผณปิณฑูปมสูตร

ภิกษุเห็น เพ่ง พิจารณาวิญญาณนั้นโดยแยบคาย เมื่อเธอเห็น เพ่ง พิจารณา
วิญญาณนั้นโดยแยบคาย วิญญาณก็จะปรากฏเป็นของว่าง เปล่า หาสาระมิได้เลย
สาระในวิญญาณจะมีได้อย่างไร
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ... แม้ในสัญญา ... แม้ในสังขาร ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อม
หลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ฯลฯ ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา-
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
“พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์
ทรงแสดงแล้วว่า ‘รูปอุปมาด้วยกลุ่มฟองน้ำ
เวทนาอุปมาด้วยฟองน้ำ สัญญาอุปมาด้วยพยับแดด
สังขารอุปมาด้วยต้นกล้วย และวิญญาณอุปมาด้วยมายากล
ภิกษุเพ่งพิจารณาเห็นขันธ์ ๕ นั้นโดยแยบคายด้วยประการใด ๆ
ขันธ์ ๕ นั้น ก็ปรากฏเป็นของว่างเปล่าด้วยประการนั้นๆ
การละธรรม ๓ ประการซึ่งพระพุทธเจ้า
ผู้ทรงมีปัญญาดุจแผ่นดิน ทรงปรารภกายนี้ แสดงไว้แล้ว
ท่านทั้งหลาย จงดูรูปที่บุคคลทิ้งแล้ว
เมื่อใด อายุ ไออุ่น และวิญญาณละกายนี้
เมื่อนั้น กายนี้ก็ถูกทอดทิ้ง นอนเป็นเหยื่อของสัตว์อื่น
ปราศจากเจตนา ความสืบต่อเป็นเช่นนี้
นี้เป็นมายากลสำหรับหลอกลวงคนโง่
ขันธ์ ๕ เปรียบเหมือนเพชฌฆาต
เราบอกแล้ว สาระในขันธ์ ๕ นี้ไม่มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๕. ปุปผวรรค ๔. โคมยปิณฑสูตร

ภิกษุผู้ปรารภความเพียร มีสติ มีสัมปชัญญะ
พึงพิจารณาขันธ์ทั้งหลายอย่างนี้ทั้งกลางวันและกลางคืน
ภิกษุเมื่อปรารถนาบทอันไม่จุติ๑
พึงละสังโยชน์๒ทั้งปวง ทำที่พึ่งแก่ตน
ประพฤติดุจบุคคลถูกไฟไหม้ศีรษะฉะนั้น”

เผณปิณฑูปมสูตรที่ ๓ จบ

๔. โคมยปิณฑสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยก้อนโคมัย

[๙๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ รูปอย่างใดอย่างหนึ่งที่จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน
ไม่ผันแปร เที่ยงเสมออยู่อย่างนั้น มีอยู่หรือ
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่งที่จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร เที่ยงเสมอ
อยู่อย่างนั้น มีอยู่หรือ
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ
สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่งที่จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร เที่ยงเสมอ
อยู่อย่างนั้น มีอยู่หรือ
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่งที่จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร เที่ยง
เสมออยู่อย่างนั้น มีอยู่หรือ”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๕. ปุปผวรรค ๔. โคมยปิณฑสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ รูปอย่างใดอย่างหนึ่งที่จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน
คงทน ไม่ผันแปร เที่ยงเสมออยู่อย่างนั้น ไม่มีเลย
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ...
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่งที่จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร เที่ยง
เสมออยู่อย่างนั้น ไม่มีเลย”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงหยิบก้อนโคมัย (มูลโค) เล็ก ๆ ขึ้นมาแล้ว
ตรัสว่า “ภิกษุ การได้อัตภาพแม้ประมาณเท่านี้ที่จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่
ผันแปร เที่ยงเสมออยู่อย่างนั้น ไม่มี ถ้าแม้การได้อัตภาพประมาณเท่านี้ จักเที่ยงแท้
ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปรแล้วไซร้ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อความสิ้น
ทุกข์โดยชอบนี้ ก็จะไม่พึงปรากฏ แต่เพราะการได้อัตภาพแม้ประมาณเท่านี้ที่จัก
เที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร ไม่มี ฉะนั้น การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์
เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบจึงปรากฏ
ภิกษุ เรื่องเคยมีมาแล้ว เราได้เป็นพระราชามหากษัตริย์ผู้ได้รับมูรธาภิเษก
มีเมือง ๘๔,๐๐๐ เมือง ซึ่งมีกุสาวดีราชธานีเป็นเมืองหลวง
มีปราสาท ๘๔,๐๐๐ องค์ ซึ่งมีธรรมปราสาทเป็นปราสาทหลวง
มีเรือนยอด ๘๔,๐๐๐ หลัง ซึ่งมีเรือนยอดมหาพยูหะเป็นเรือนยอดหลวง
มีบัลลังก์ ๘๔,๐๐๐ บัลลังก์ ทำด้วยงา ทำด้วยแก่นจันทน์แดง ประดับ
ด้วยทองและเงิน ลาดด้วยผ้าโกเชาว์ ลาดด้วยผ้ากำพลขาว ลาดด้วยเครื่องลาด
ทำด้วยขนแกะ มีเครื่องลาดอย่างดีทำด้วยหนังชะมด มีเพดานสีแดง มีหมอน
สีแดงทั้ง ๒ ข้าง
มีช้างต้น ๘๔,๐๐๐ ช้าง ซึ่งมีเครื่องประดับทำด้วยทอง มีธงทำด้วยทอง
คลุมด้วยข่ายทอง มีพญาช้างอุโบสถเป็นหัวหน้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๕. ปุปผวรรค ๔. โคมยปิณฑสูตร

มีม้าต้น ๘๔,๐๐๐ ม้า ซึ่งมีเครื่องประดับทำด้วยทอง คลุมด้วยข่ายทอง
มีม้าวลาหกอัศวราชเป็นหัวหน้า
มีรถทรง ๘๔,๐๐๐ คัน มีเครื่องประดับทำด้วยทอง มีธงทำด้วยทอง คลุม
ด้วยข่ายทอง มีเวชยันตราชรถเป็นประธาน
มีแก้ว ๘๔,๐๐๐ ดวง มีแก้วมณีเป็นประธาน
มีพระสนม ๘๔,๐๐๐ นาง มีพระนางสุภัททาเทวีเป็นหัวหน้า
มีกษัตริย์ ๘๔,๐๐๐ พระองค์ตามเสด็จ มีขุนพลแก้วเป็นประมุข
มีแม่โคนม ๘๔,๐๐๐ ตัว ผูกด้วยเชือกป่าน แขวนกระดิ่งสำริด
มีผ้า ๘๔,๐๐๐ โกฏิ คือผ้าเปลือกไม้เนื้อละเอียด ผ้าไหมเนื้อละเอียด
ผ้าขนสัตว์เนื้อละเอียด ผ้าฝ้ายเนื้อละเอียด
มีภาชนะทอง ๘๔,๐๐๐ สำรับ ซึ่งชนทั้งหลายใส่อาหารนำมาทั้งในเวลาเย็น
และในเวลาเช้า
ภิกษุ ก็บรรดาเมือง ๘๔,๐๐๐ เมืองนั้น เมืองที่เราครองในสมัยนั้นมีเมือง
เดียวเท่านั้น คือกุสาวดีราชธานี
บรรดาปราสาท ๘๔,๐๐๐ องค์นั้น ปราสาทที่เราครองในสมัยนั้นมีหลัง
เดียวเท่านั้น คือธรรมปราสาท
บรรดาเรือนยอด ๘๔,๐๐๐ หลังนั้น เรือนยอดที่เราครองในสมัยนั้นมีหลัง
เดียวเท่านั้น คือเรือนยอดมหาพยูหะ
บรรดาบัลลังก์ ๘๔,๐๐๐ บัลลังก์นั้น บัลลังก์ที่เรานั่งในสมัยนั้นมีบัลลังก์
เดียวเท่านั้น คือบัลลังก์ที่ทำด้วยงา ทำด้วยแก่นจันทน์แดง ทำด้วยทอง ทำด้วยเงิน
บรรดาช้างต้น ๘๔,๐๐๐ ช้างนั้น ช้างที่เราทรงในสมัยนั้นมีช้างเดียวเท่านั้น
คือพญาช้างอุโบสถ
บรรดาม้าต้น ๘๔,๐๐๐ ม้านั้น ม้าที่เราทรงในสมัยนั้นมีม้าเดียวเท่านั้น
คือม้าวลาหกอัศวราช

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๕. ปุปผวรรค ๕. นขสิขาสูตร

บรรดาราชรถ ๘๔,๐๐๐ คันนั้น ราชรถที่เราทรงในสมัยนั้นมีคันเดียวเท่านั้น
คือเวชยันตราชรถ
บรรดาพระสนม ๘๔,๐๐๐ นางนั้น พระสนมที่เรายกย่องในสมัยนั้นมีนาง
เดียวเท่านั้น คือนางขัตติยานีหรือนางเวลามิกา๑
บรรดาผ้า ๘๔,๐๐๐ โกฏินั้น ผ้าที่เราทรงในสมัยนั้นมีคู่เดียวเท่านั้น คือ
ผ้าเปลือกไม้เนื้อละเอียด ผ้าไหมเนื้อละเอียด ผ้าขนสัตว์เนื้อละเอียด หรือผ้าฝ้าย
เนื้อละเอียด
บรรดาภาชนะทอง ๘๔,๐๐๐ สำรับนั้น ภาชนะทองซึ่งใส่ข้าวสุกที่หุงจาก
ข้าวสาร ๑ ทะนานเป็นอย่างมากและแกงกับอันพอเหมาะแก่ข้าวนั้นที่เราบริโภคมี
สำรับเดียวเท่านั้น
ภิกษุ สังขารทั้งปวงนั้น ล่วงไป ดับไป แปรผันไปแล้ว ด้วยประการดังนี้
สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงอย่างนี้ สังขารทั้งหลายไม่ยั่งยืนอย่างนี้ สังขารทั้งหลายไม่
น่าเบาใจอย่างนี้ ก็สังขารทั้งปวงมีลักษณะที่ไม่เที่ยงอย่างนี้ ควรทีเดียวที่จะ
เบื่อหน่าย คลายกำหนัด พ้นไปจากสังขารทั้งปวง”

โคมยปิณฑสูตรที่ ๔ จบ

๕. นขสิขาสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยฝุ่นที่ปลายเล็บ

[๙๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุนั้นนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ รูปอย่างใดอย่างหนึ่งที่จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร เที่ยงเสมอ
อยู่อย่างนั้น มีอยู่หรือ
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่งที่จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร เที่ยงเสมอ
อยู่อย่างนั้น มีอยู่หรือ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๕. ปุปผวรรค ๕. นขสิขาสูตร

สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ
สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่งที่จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร เที่ยงเสมอ
อยู่อย่างนั้น มีอยู่หรือ
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่งที่จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร เที่ยง
เสมออยู่อย่างนั้น มีอยู่หรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ รูปอย่างใดอย่างหนึ่งที่จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน
คงทน ไม่ผันแปร เที่ยงเสมออยู่อย่างนั้น ไม่มีเลย
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ...
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่งที่จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร เที่ยง
เสมออยู่อย่างนั้น ไม่มีเลย”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงช้อนฝุ่นนิดหน่อยด้วยปลายพระนขาแล้ว ตรัส
กับภิกษุนั้นว่า “ภิกษุ รูปแม้ประมาณเท่านี้ที่จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน
ไม่ผันแปร เที่ยงเสมออยู่อย่างนั้น ไม่มี ถ้ารูปแม้ประมาณเท่านี้ จักเที่ยงแท้
ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปรแล้ว การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อความสิ้นทุกข์โดย
ชอบนี้ ก็จะไม่พึงปรากฏ แต่เพราะรูปแม้ประมาณเท่านี้ที่จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน
คงทน ไม่ผันแปร ไม่มี ฉะนั้น การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อความสิ้นทุกข์
โดยชอบจึงปรากฏ
เวทนาแม้ประมาณเท่านี้ที่จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร เที่ยงเสมอ
อยู่อย่างนั้น ไม่มี ถ้าเวทนาแม้ประมาณเท่านี้ จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่
ผันแปรแล้ว การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบนี้ ก็จะไม่พึง
ปรากฏ แต่เพราะเวทนาแม้ประมาณเท่านี้ที่จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร
ไม่มี ฉะนั้น การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบจึงปรากฏ
สัญญาแม้ประมาณเท่านี้ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๕. ปุปผวรรค ๖. สุทธิกสูตร

สังขารแม้ประมาณเท่านี้ที่จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร เที่ยงเสมอ
อยู่อย่างนั้น ไม่มี ถ้าสังขารแม้ประมาณเท่านี้ จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร
แล้ว การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบนี้ ก็จะไม่พึงปรากฏ
แต่เพราะสังขารแม้ประมาณเท่านี้ที่จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร ไม่มี ฉะนั้น
การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบจึงปรากฏ
วิญญาณแม้ประมาณเท่านี้ที่จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร เที่ยง
เสมออยู่อย่างนั้น ไม่มี ถ้าวิญญาณแม้ประมาณเท่านี้ จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน
ไม่ผันแปรแล้ว การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบนี้ ก็จะไม่พึง
ปรากฏ แต่เพราะวิญญาณแม้ประมาณเท่านี้ที่จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร
ไม่มี ฉะนั้น การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบจึงปรากฏ
ภิกษุ เธอจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“เพราะเหตุนั้นแล ฯลฯ อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ...
ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

นขสิขาสูตรที่ ๕ จบ

๖. สุทธิกสูตร
ว่าด้วยขันธ์ล้วนๆ

[๙๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุนั้นนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ รูปอย่างใดอย่างหนึ่งที่จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร เที่ยงเสมอ
อยู่อย่างนั้น มีอยู่หรือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๕. ปุปผวรรค ๗. คัททูลพัทธสูตร

เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ...
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่งที่จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร เที่ยง
เสมออยู่อย่างนั้น มีอยู่หรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ รูปอย่างใดอย่างหนึ่งที่จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน
คงทน ไม่ผันแปร เที่ยงเสมออยู่อย่างนั้น ไม่มีเลย
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ...
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่งที่จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร เที่ยง
เสมออยู่อย่างนั้น ไม่มีเลย”

สุทธิกสูตรที่ ๖ จบ

๗. คัททูลพัทธสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยสุนัขถูกล่าม

[๙๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สงสาร (การเวียนว่ายตายเกิด) นี้
มีเบื้องต้นเบื้องปลายที่ใคร ๆ รู้ไม่ได้ เบื้องต้นเบื้องปลายไม่ปรากฏแก่สัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องปิดกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไป
มหาสมุทรยังมีเวลาเหือดแห้งไป มีอยู่ไม่ได้ แต่เราก็มิได้กล่าวว่า สัตว์
ทั้งหลายผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องปิดกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปอยู่
จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
ขุนเขาสิเนรุยังมีเวลาถูกไฟเผาพินาศไป มีอยู่ไม่ได้ แต่เราก็มิได้กล่าวว่า
สัตว์ทั้งหลายผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องปิดกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยว
ไปอยู่ จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๕. ปุปผวรรค ๗. คัททูลพัทธสูตร

แผ่นดินใหญ่ยังมีเวลาถูกไฟเผาพินาศไป มีอยู่ไม่ได้ แต่เราก็มิได้กล่าวว่า
สัตว์ทั้งหลายผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องปิดกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยว
ไปอยู่ จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
สุนัขที่เขาผูกไว้ด้วยเชือก ล่ามไว้ที่หลักหรือเสาที่แข็งแรง วิ่งวนเวียนหลัก
หรือเสานั้นเอง แม้ฉันใด ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่ได้เห็นพระอริยะ ...
ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา ...
พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา ... สัญญา ... พิจารณาเห็นสังขารโดยความ
เป็นอัตตา ... พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามี
วิญญาณ พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ
ปุถุชนนั้นแล่นวนเวียนอยู่กับรูป ... เวทนา ... สัญญา ... สังขาร แล่นวนเวียน
อยู่กับวิญญาณ เมื่อเขาแล่นวนเวียนอยู่กับรูป ... เวทนา ... สัญญา ... สังขาร
เมื่อแล่นวนเวียนอยู่กับวิญญาณ เรากล่าวว่า ไม่พ้นจากรูป ไม่พ้นจากเวทนา ไม่
พ้นจากสัญญา ไม่พ้นจากสังขาร ไม่พ้นจากวิญญาณ ไม่พ้นจากชาติ ชรา
มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส และชื่อว่าไม่พ้นจากทุกข์’
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับ ได้เห็นพระอริยะ ... ได้รับการ
แนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ไม่พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา ... ไม่
พิจารณาเห็นเวทนา ... ไม่พิจารณาเห็นสัญญา ... ไม่พิจารณาเห็นสังขาร ...
ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณ
ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา หรือไม่พิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ อริยสาวก
นั้นไม่แล่นวนเวียนอยู่กับรูป ... เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ไม่แล่นวนเวียน
อยู่กับวิญญาณ เมื่อเธอไม่แล่นวนเวียนอยู่กับรูป ... เวทนา ... สัญญา ... สังขาร
ไม่แล่นวนเวียนอยู่กับวิญญาณ ย่อมพ้นจากรูป ย่อมพ้นจากเวทนา ย่อมพ้นจาก
สัญญา ย่อมพ้นจากสังขาร ย่อมพ้นจากวิญญาณ เรากล่าวว่า ‘ย่อมพ้นจากชาติ
ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส และย่อมพ้นจากทุกข์”

คัททูลพัทธสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๕. ปุปผวรรค ๘. ทุติยคัททูลพัทธสูตร

๘. ทุติยคัททูลพัทธสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยสุนัขถูกล่าม สูตรที่ ๒

[๑๐๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้มีเบื้องต้นเบื้องปลายที่ใคร ๆ
รู้ไม่ได้ เบื้องต้นเบื้องปลายไม่ปรากฏแก่สัตว์ทั้งหลายผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องปิดกั้น
มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไป
สุนัขที่เขาผูกไว้ด้วยเชือก ล่ามไว้ที่หลักหรือเสาที่แข็งแรง ถ้าแม้สุนัขนั้นเดิน
ก็เดินใกล้หลักหรือเสานั้นเอง ถ้าแม้สุนัขนั้นยืน ก็ยืนใกล้หลักหรือเสานั้นเอง ถ้า
แม้สุนัขนั้นหมอบ ก็หมอบใกล้หลักหรือเสานั้นเอง ถ้าแม้สุนัขนั้นนอน ก็นอนใกล้
หลักหรือเสานั้นเอง แม้ฉันใด ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาเห็น
รูปว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’ ... เวทนา ... สัญญา ...
สังขาร ... พิจารณาเห็นวิญญาณว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’
ปุถุชนนั้น ถ้าแม้เขาเดินก็เดินใกล้อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้เอง ถ้าแม้เขายืนก็
ยืนใกล้อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้เอง ถ้าแม้เขานั่งก็นั่งใกล้อุปาทานขันธ์ ๕
ประการนี้เอง ถ้าแม้เขานอนก็นอนใกล้อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้เอง

ความเศร้าหมองและความผ่องแผ้วแห่งจิต

ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายควรพิจารณาจิตของตนเนือง ๆ
ว่า ‘จิตนี้เศร้าหมองแล้วด้วยราคะ โทสะ โมหะ เป็นเวลานาน’ สัตว์ทั้งหลาย
เศร้าหมองเพราะจิตเศร้าหมอง สัตว์ทั้งหลายบริสุทธิ์เพราะจิตผ่องแผ้ว ภาพ
จิตรกรรมที่เขาเขียนไว้ เธอทั้งหลายเห็นแล้วหรือ”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “เห็นแล้ว พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย แม้ภาพจิตรกรรมที่เขาเขียนไว้นั้น จิตรกรก็คิดด้วยจิตนั่นเอง
จิตนั่นเองวิจิตรกว่าภาพจิตรกรรมที่เขาเขียนไว้นั้น เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลาย
ควรพิจารณาจิตของตนเนือง ๆ ว่า ‘จิตนี้เศร้าหมองแล้วด้วยราคะ โทสะ โมหะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๕. ปุปผวรรค ๙. วาสิชฏิสูตร

เป็นเวลานาน’ สัตว์ทั้งหลายเศร้าหมองเพราะจิตเศร้าหมอง สัตว์ทั้งหลายบริสุทธิ์
เพราะจิตผ่องแผ้ว
เราไม่พิจารณาเห็นสัตว์อื่นแม้เพียงหมู่เดียวซึ่งวิจิตรเหมือนอย่างสัตว์ดิรัจฉาน
นี้เลย สัตว์ดิรัจฉานแม้เหล่านั้นจิตรกรก็คิดด้วยจิตนั่นเอง จิตนั่นเองวิจิตรกว่า
สัตว์ดิรัจฉานแม้เหล่านั้น เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายควรพิจารณาจิตของตนเนือง ๆ
ว่า ‘จิตนี้เศร้าหมองแล้วด้วยราคะ โทสะ โมหะ เป็นเวลานาน’ สัตว์ทั้งหลาย
เศร้าหมองเพราะจิตเศร้าหมอง สัตว์ทั้งหลายบริสุทธิ์เพราะจิตผ่องแผ้ว
ภิกษุทั้งหลาย ช่างย้อมหรือจิตรกร เมื่อมีเครื่องย้อมก็ดี ครั่งก็ดี ขมิ้นก็ดี
สีเขียวก็ดี สีแดงก็ดี พึงเขียนรูปสตรีหรือรูปบุรุษมีอวัยวะน้อยใหญ่ครบทุกส่วน
ลงบนแผ่นกระดาน ฝา หรือแผ่นผ้าที่เกลี้ยงเกลา แม้ฉันใด ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อจะให้เกิด ก็ให้รูปนั่นเองเกิด ... เวทนา ... สัญญา ... สังขาร
... เมื่อจะให้เกิด ก็ให้วิญญาณนั่นเองเกิด
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่
เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล ฯลฯ อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ
รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

ทุติยคัททูลพัทธสูตรที่ ๘ จบ

๙. วาสิชฏสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยด้ามมีด

[๑๐๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะของ
บุคคลผู้รู้อยู่ เห็นอยู่ มิได้กล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะของบุคคลผู้ไม่รู้ ไม่เห็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๕. ปุปผวรรค ๙. วาสิชฏิสูตร

เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างไร ความสิ้นไปแห่งอาสวะจึงมี
คือ เมื่อบุคคลรู้ เห็นอยู่ว่า ‘รูปเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นดังนี้
ความดับแห่งรูปเป็นดังนี้ เวทนาเป็นดังนี้ ... สัญญาเป็นดังนี้ ... สังขารเป็นดังนี้ ...
วิญญาณเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นดังนี้ ความดับแห่งวิญญาณเป็น
ดังนี้’
เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างนี้ ความสิ้นไปแห่งอาสวะจึงมี
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไม่ประกอบภาวนาอยู่เนือง ๆ ถึงจะมีความ
ปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘ทำอย่างไรหนอ จิตของเราจึงจะหลุดพ้นจากอาสวะเพราะ
ไม่ถือมั่น’ ก็จริง ถึงอย่างนั้น จิตของเธอก็ไม่หลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่นได้
เลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร ข้อนั้นพึงกล่าวได้ว่า ‘เพราะเธอไม่ได้เจริญ’
เพราะเธอไม่ได้เจริญอะไร
คือ เพราะเธอไม่ได้เจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ ไม่ได้เจริญสัมมัปปธาน
๔ ประการ ไม่ได้เจริญอิทธิบาท ๔ ประการ ไม่ได้เจริญอินทรีย์ ๕ ประการ
ไม่ได้เจริญพละ ๕ ประการ ไม่ได้เจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ ไม่ได้เจริญอริยมรรค
มีองค์ ๘
ไข่ไก่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟอง ไข่เหล่านั้น แม่ไก่ไม่ทับ ไม่กก
ไม่ฟักให้ดี แม่ไก่นั้นถึงจะมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘ทำอย่างไรหนอ ลูกของเรา
จึงจะทำลายกระเปาะไข่ด้วยปลายเล็บเท้า หรือด้วยจะงอยปากออกมาโดยความ
สวัสดี’ ก็จริง ถึงอย่างนั้น ลูกไก่เหล่านั้นก็ไม่สามารถทำลายกระเปาะไข่ด้วยปลาย
เล็บเท้าหรือด้วยจะงอยปากออกมาโดยความสวัสดีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
ไข่ไก่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟองนั้น แม่ไก่ไม่ทับ ไม่กก ไม่ฟักให้ดี แม้ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อไม่ประกอบภาวนาอยู่เนือง ๆ ถึงจะมีความปรารถนา
อย่างนี้ว่า ‘ทำอย่างไรหนอ จิตของเราจึงจะหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น’ ก็จริง
ถึงอย่างนั้น จิตของเธอก็ไม่หลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่นได้เลย ข้อนั้นเพราะ
เหตุไร ข้อนั้นพึงกล่าวได้ว่า ‘เพราะเธอไม่ได้เจริญ’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๕. ปุปผวรรค ๙. วาสิชฏิสูตร

เพราะเธอไม่ได้เจริญอะไร
คือ เพราะเธอไม่ได้เจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ ไม่ได้เจริญสัมมัปปธาน ๔
ประการ ไม่ได้เจริญอิทธิบาท ๔ ประการ ไม่ได้เจริญอินทรีย์ ๕ ประการ ไม่
ได้เจริญพละ ๕ ประการ ไม่ได้เจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ ไม่ได้เจริญอริยมรรค
มีองค์ ๘
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุประกอบภาวนาอยู่เนือง ๆ ถึงจะไม่มีความ
ปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘ทำอย่างไรหนอ จิตของเราจึงจะหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่
ถือมั่น’ ก็จริง ถึงอย่างนั้น จิตของเธอก็หลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่นได้ ข้อ
นั้นเพราะเหตุไร ข้อนั้นพึงกล่าวได้ว่า ‘เพราะเธอได้เจริญ’
เพราะเธอได้เจริญอะไร
คือ เพราะเธอได้เจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ ได้เจริญสัมมัปปธาน
๔ ประการ ได้เจริญอิทธิบาท ๔ ประการ ได้เจริญอินทรีย์ ๕ ประการ ได้เจริญ
พละ ๕ ประการ ได้เจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ ได้เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘
ไข่ไก่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟอง ไข่เหล่านั้น แม่ไก่ทับ กก ฟักไว้ดี
แม่ไก่นั้นถึงจะไม่มีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘ทำอย่างไรหนอ ลูกของเราจึงจะ
ทำลายกระเปาะไข่ด้วยปลายเล็บเท้า หรือด้วยจะงอยปาก ออกมาโดยความสวัสดี’
ก็จริง ถึงอย่างนั้น ลูกไก่เหล่านั้นก็สามารถทำลายกระเปาะไข่ด้วยปลายเล็บเท้า
หรือด้วยจะงอยปาก ออกมาโดยความสวัสดีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะไข่ไก่
๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟองนั้น แม่ไก่ทับ กก ฟักไว้ดีแล้ว แม้ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันเมื่อภิกษุประกอบภาวนาอยู่เนือง ๆ ถึงจะไม่มีความปรารถนา
อย่างนี้ว่า ‘ทำอย่างไรหนอ จิตของเราจึงจะหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น’ ก็จริง
ถึงอย่างนั้น จิตของเธอก็หลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่นได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
ข้อนั้นพึงกล่าวได้ว่า ‘เพราะเธอได้เจริญ’
เพราะเธอได้เจริญอะไร
คือ เพราะเธอได้เจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ ได้เจริญสัมมัปปธาน ๔
ประการ ได้เจริญอิทธิบาท ๔ ประการ ได้เจริญอินทรีย์ ๕ ประการ ได้เจริญ
พละ ๕ ประการ ได้เจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ ได้เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๕. ปุปผวรรค ๑๐. อนิจจสัญญาสูตร

รอยนิ้วมือ หรือรอยนิ้วหัวแม่มือปรากฏอยู่ที่ด้ามมีดของช่างไม้หรือลูกมือ
ของช่างไม้ แต่ช่างไม้หรือลูกมือของช่างไม้นั้น หารู้ไม่ว่า ‘วันนี้ ด้ามมีดของเรา
สึกไปประมาณเท่านี้ เมื่อวานนี้ สึกไปประมาณเท่านี้ วันก่อน ๆ สึกไปประมาณ
เท่านี้’ ที่แท้เมื่อด้ามมีดสึกไปแล้ว ช่างไม้หรือลูกมือของช่างไม้นั้น ก็รู้ว่า ‘สึกไปแล้ว’
แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันเมื่อประกอบภาวนาอยู่เนือง ๆ หารู้ไม่ว่า ‘วันนี้
อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นไปประมาณเท่านี้ เมื่อวานนี้ สิ้นไปประมาณเท่านี้
วันก่อน ๆ สิ้นไปประมาณเท่านี้’ ก็จริง ถึงอย่างนั้น เมื่ออาสวะสิ้นไปแล้ว เธอก็รู้ว่า
‘สิ้นไปแล้ว’
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรือเดินสมุทรที่ผูกด้วยเครื่องผูกคือหวายจอดอยู่ในน้ำ
ตลอดฤดูฝน พอถึงฤดูหนาวเขาก็เข็นขึ้นบก เครื่องผูกเหล่านั้นต้องลมและแดด
ถูกฝนตกรด ย่อมผุเปื่อยไปโดยง่าย แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อ
ประกอบภาวนาอยู่เนือง ๆ สังโยชน์ทั้งหลาย ก็เสื่อมสิ้นไปโดยง่ายเช่นกัน”๑

วาสิชฏสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. อนิจจสัญญาสูตร
ว่าด้วยอนิจจสัญญา

[๑๐๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญา (ความหมายรู้ว่า
ไม่เที่ยง) ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมครอบงำกามราคะ (ความติดใจใน
กามคุณ) รูปราคะ (ความติดใจในรูปธรรม) ภวราคะ (ความติดใจในภพ) และอวิชชา
(ความไม่รู้จริง) ทั้งปวงได้ ถอนอัสมิมานะ (ความถือตัวว่าเป็นเรา) ทั้งปวงได้
ในสารทฤดู ชาวนาเมื่อไถนาด้วยไถคันใหญ่ ย่อมไถทำลายราก (หญ้า) ที่
เกี่ยวเนื่องทุกชนิด แม้ฉันใด อนิจจสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน ย่อมครอบงำกามราคะ รูปราคะ ภวราคะ และอวิชชาทั้งปวงได้
ถอนอัสมิมานะทั้งปวงได้


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๕. ปุปผวรรค ๑๐. อนิจจสัญญาสูตร

คนเกี่ยวหญ้ามุงกระต่าย เกี่ยวเสร็จแล้ว จับปลาย เขย่า ฟาด สลัดออก
แม้ฉันใด อนิจจสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ถอนอัสมิมานะทั้งปวงได้
เมื่อพวงมะม่วงขาดจากขั้ว บรรดามะม่วงเหล่านั้น มะม่วงที่ยังติดอยู่ที่ขั้ว
ทั้งหมดก็หลุดไปตามพวงมะม่วงนั้น แม้ฉันใด อนิจจสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้
มากแล้ว ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ ถอนอัสมิมานะทั้งปวงได้
กลอนของเรือนยอดทั้งหมดทอดไปถึงยอด รวมลงที่ยอด ยอดเรือนชาวโลก
กล่าวว่าเลิศกว่ากลอนเหล่านั้น แม้ฉันใด อนิจจสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ ถอนอัสมิมานะทั้งปวงได้
กลิ่นหอมที่เกิดจากรากชนิดใดชนิดหนึ่ง กฤษณาชาวโลกกล่าวว่าเลิศกว่า
กลิ่นหอมที่เกิดจากรากเหล่านั้น แม้ฉันใด อนิจจสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มาก
แล้ว ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ ถอนอัสมิมานะทั้งปวงได้
กลิ่นหอมที่เกิดจากแก่นชนิดใดชนิดหนึ่ง จันทน์แดงชาวโลกกล่าวว่าเลิศกว่า
กลิ่นหอมที่เกิดจากแก่นเหล่านั้น แม้ฉันใด อนิจจสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มาก
แล้ว ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ ถอนอัสมิมานะทั้งปวงได้
กลิ่นหอมที่เกิดจากดอกชนิดใดชนิดหนึ่ง ดอกมะลิชาวโลกกล่าวว่าเลิศกว่า
กลิ่นหอมที่เกิดจากดอกเหล่านั้น แม้ฉันใด อนิจจสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มาก
แล้ว ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ ถอนอัสมิมานะทั้งปวงได้
พระราชาผู้มีอำนาจน้อยทั้งปวง ย่อมคล้อยตามพระเจ้าจักรพรรดิ พระเจ้า
จักรพรรดิชาวโลกกล่าวว่าเลิศกว่าพระราชาผู้มีอำนาจน้อยเหล่านั้น แม้ฉันใด
อนิจจสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ ถอนอัสมิ-
มานะทั้งปวงได้
แสงสว่างของดวงดาวทั้งหมด ไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งแสงสว่างของดวงจันทร์
แสงสว่างของดวงจันทร์ชาวโลกกล่าวว่าเลิศกว่าแสงสว่างของดวงดาวเหล่านั้น แม้
ฉันใด อนิจจสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ถอนอัสมิมานะทั้งปวงได้
ในสารทฤดู เมื่อฝนขาดหาย ปราศจากเมฆ ดวงอาทิตย์อุทัยขึ้นสู่ท้องฟ้า
กำจัดความมืดที่มีอยู่ในอากาศทั้งหมด ย่อมส่องแสง แผดแสง และแจ่มกระจ่าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๕. ปุปผวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

แม้ฉันใด อนิจจสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อม
ครอบงำกามราคะ รูปราคะ ภวราคะ และอวิชชาทั้งปวงได้ ถอนอัสมิมานะทั้งปวงได้
อนิจจสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงครอบงำกามราคะ
ทั้งปวงได้ ฯลฯ ถอนอัสมิมานะทั้งปวงได้
คือ อนิจจสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ว่า ‘รูปเป็นดังนี้
ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นดังนี้ ความดับแห่งรูปเป็นดังนี้ เวทนาเป็นดังนี้ ... สัญญาเป็นดังนี้
... สังขารเป็นดังนี้ ... วิญญาณเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นดังนี้
ความดับแห่งวิญญาณเป็นดังนี้
ภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อม
ครอบงำกามราคะ รูปราคะ ภวราคะ และอวิชชาทั้งปวงได้ ถอนอัสมิมานะทั้งปวงได้”

อนิจจสัญญาสูตรที่ ๑๐ จบ
ปุปผวรรคที่ ๕ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. นทีสูตร ๒. ปุปผสูตร
๓. เผณปิณฑูปมสูตร ๔. โคมยปิณฑสูตร
๕. นขสิขาสูตร ๖. สุทธิกสูตร
๗. คัททูลพัทธสูตร ๘. ทุติยคัททูลพัทธสูตร
๙. วาสิชฏสูตร ๑๐. อนิจจสัญญาสูตร

มัชฌิมปัณณาสก์ จบบริบูรณ์

รวมวรรคที่มีในมัชฌิมปัณณาสก์นี้ คือ

๑. อุปยวรรค ๒. อรหันตวรรค
๓. ขัชชนียวรรค ๔. เถรวรรค
๕. ปุปผวรรค

รวม ๕ วรรค เรียกว่า ทุติยปัณณาสก์


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๑. อันตวรรค ๑. อันตสูตร

จูฬปัณณาสก์
๑. อันตวรรค
หมวดว่าด้วยที่สุด
๑. อันตสูตร
ว่าด้วยที่สุด

[๑๐๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ที่สุด ๔ อย่าง คือ
๑. ที่สุดคือสักกายะ (กายของตน)
๒. ที่สุดคือเหตุเกิดแห่งสักกายะ
๓. ที่สุดคือความดับแห่งสักกายะ
๔. ที่สุดคือปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสักกายะ
ที่สุดคือสักกายะ เป็นอย่างไร
คือ ควรกล่าวได้ว่า ‘ที่สุดคือสักกายะนั้น ได้แก่ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ’
อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป)
๒. เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา)
๓. สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา)
๔. สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร)
๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ)
นี้เรียกว่า ที่สุดคือสักกายะ
ที่สุดคือเหตุเกิดแห่งสักกายะ เป็นอย่างไร
คือ ตัณหาอันทำให้เกิดอีก ประกอบด้วยความเพลิดเพลิน และความกำหนัด
มีปกติเพลิดเพลินยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ ได้แก่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๑. อันตวรรค ๒. ทุกขสูตร

๑. กามตัณหา (ความทะยานอยากในกาม)
๒. ภวตัณหา (ความทะยานอยากในภพ)
๓. วิภวตัณหา (ความทะยานอยากในวิภพ)
นี้เรียกว่า ที่สุดคือเหตุเกิดแห่งสักกายะ
ที่สุดคือความดับแห่งสักกายะ เป็นอย่างไร
คือ ความดับตัณหาไม่เหลือด้วยวิราคะ ความสละ ความสละคืน ความพ้น
ความไม่อาลัยในตัณหา
นี้เรียกว่า ที่สุดคือความดับแห่งสักกายะ
ที่สุดคือปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสักกายะ เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล ได้แก่

๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) ๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) ๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ)
๕. สัมมาอาชีวะ(เลี้ยงชีพชอบ) ๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ)
๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ) ๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ)

นี้เรียกว่า ที่สุดคือปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสักกายะ
ภิกษุทั้งหลาย ที่สุด ๔ อย่าง เหล่านี้แล”

อันตสูตรที่ ๑ จบ

๒. ทุกขสูตร
ว่าด้วยทุกข์

[๑๐๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงทุกข์ ทุกขสมุทัย
(เหตุเกิดทุกข์) ทุกขนิโรธ(ความดับทุกข์) และทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา(ข้อปฏิบัติ
ที่ให้ถึงความดับทุกข์) เธอทั้งหลายจงฟัง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๑. อันตวรรค ๒. ทุกขสูตร

ทุกข์ เป็นอย่างไร
คือ ควรกล่าวได้ว่า ‘ทุกข์นั้น ได้แก่ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ’
อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปูปาทานขันธ์ ฯลฯ ๕. วิญญาณูปาทานขันธ์
นี้เรียกว่า ทุกข์
ทุกขสมุทัย เป็นอย่างไร
คือ ตัณหาอันทำให้เกิดอีก ประกอบด้วยความเพลิดเพลินและความกำหนัด
มีปกติเพลิดเพลินยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ ได้แก่
๑. กามตัณหา
๒. ภวตัณหา
๓. วิภวตัณหา
นี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย
ทุกขนิโรธ เป็นอย่างไร
คือ ความดับตัณหาไม่เหลือด้วยวิราคะ ความสละ ความสละคืน ความพ้น
ความไม่อาลัยในตัณหา
นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”

ทุกขสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๑. อันตวรรค ๓. สักกายสูตร

๓. สักกายสูตร
ว่าด้วยสักกายะ

[๑๐๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสักกายะ เหตุเกิดแห่ง
สักกายะ ความดับแห่งสักกายะ และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสักกายะ เธอ
ทั้งหลายจงฟัง
สักกายะ เป็นอย่างไร
คือ ควรกล่าวได้ว่า ‘สักกายะนั้น ได้แก่ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ’
อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปูปาทานขันธ์ ฯลฯ ๕. วิญญาณูปาทานขันธ์
นี้เรียกว่า สักกายะ
เหตุเกิดแห่งสักกายะ เป็นอย่างไร
คือ ตัณหาอันทำให้เกิดอีก ประกอบด้วยความเพลิดเพลินและความกำหนัด
มีปกติเพลิดเพลินยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ คือ
๑. กามตัณหา
๒. ภวตัณหา
๓. วิภวตัณหา
นี้เรียกว่า เหตุเกิดแห่งสักกายะ
ความดับแห่งสักกายะ เป็นอย่างไร
คือ ความดับตัณหาไม่เหลือด้วยวิราคะ ความสละ ความสละคืน ความพ้น
ความไม่อาลัยในตัณหา
นี้เรียกว่า ความดับแห่งสักกายะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๑. อันตวรรค ๔. ปริญเญยยสูตร

ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสักกายะ เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ
ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้เรียกว่า ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสักกายะ”

สักกายสูตรที่ ๓ จบ

๔. ปริญเญยยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ควรกำหนดรู้

[๑๐๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ควรกำหนดรู้
ความกำหนดรู้ และบุคคลผู้กำหนดรู้ เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เป็นอย่างไร
คือ รูปเป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้
เวทนา ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้
เหล่านี้เรียกว่า ธรรมที่ควรกำหนดรู้
ความกำหนดรู้ เป็นอย่างไร
คือ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ
นี้เรียกว่า ความกำหนดรู้
บุคคลผู้กำหนดรู้ เป็นอย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๑. อันตวรรค ๕. สมณสูตร

คือ ควรกล่าวได้ว่า บุคคลผู้กำหนดรู้นั้น คือพระอรหันต์ ได้แก่ ท่าน
ผู้มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้
นี้เรียกว่า บุคคลผู้กำหนดรู้”

ปริญเญยยสูตรที่ ๔ จบ

๕. สมณสูตร
ว่าด้วยสมณะ

[๑๐๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้
อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปูปาทานขันธ์ ฯลฯ ๕. วิญญาณูปาทานขันธ์
ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งไม่รู้ชัดคุณ โทษ และ
เครื่องสลัดออกจากอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ตามความเป็นจริง สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่านั้นไม่จัดว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ และไม่จัดว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่
พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้นก็ไม่ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะหรือ
ประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดคุณ โทษ
และเครื่องสลัดออกจากอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ตามความเป็นจริง สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่านั้นจัดว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ และจัดว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่
พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้นก็ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะหรือ
ประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”๑

สมณสูตรที่ ๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๑. อันตวรรค ๗. โสตาปันนสูตร

๖. ทุติยสมณสูตร
ว่าด้วยสมณะ สูตรที่ ๒

[๑๐๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้
อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปูปาทานขันธ์ ฯลฯ ๕. วิญญาณูปาทานขันธ์
ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่รู้ชัดความเกิด
ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้
ตามความเป็นจริง ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัด ... ทั้งท่าน
เหล่านั้นก็ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะหรือประโยชน์แห่งความเป็น
พราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”

ทุติยสมณสูตรที่ ๖ จบ

๗. โสตาปันนสูตร
ว่าด้วยพระโสดาบัน

[๑๐๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้
อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปูปาทานขันธ์ ฯลฯ ๕. วิญญาณูปาทานขันธ์
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดอริยสาวกรู้ชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และ
เครื่องสลัดออกจากอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ตามความเป็นจริง เมื่อนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๑. อันตวรรค ๘. อรหันตสูตร

อริยสาวกนี้เราเรียกว่า เป็นโสดาบัน๑ ไม่มีทางตกต่ำ๒ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จ
สัมโพธิ๓ในวันข้างหน้า”

โสตาปันนสูตรที่ ๗ จบ

๘. อรหันตสูตร
ว่าด้วยพระอรหันต์

[๑๑๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้
อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปูปาทานขันธ์ ฯลฯ ๕. วิญญาณูปาทานขันธ์
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุรู้ชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่อง
สลัดออกจากอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ตามความเป็นจริง เป็นผู้หลุดพ้น
เพราะไม่ถือมั่น เมื่อนั้น ภิกษุนี้เราเรียกว่า ภิกษุผู้เป็นอรหันตขีณาสพ อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตน
โดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว๔ หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ”

อรหันตสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๑. อันตวรรค ๑๐. ทุติยฉันทปหานสูตร

๙. ฉันทปหานสูตร
ว่าด้วยการละความพอใจ

[๑๑๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละความพอใจ
ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยากในรูป เมื่อเป็นเช่นนี้ รูปนั้นก็
จักเป็นอันเธอทั้งหลายละได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดราก
ถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ... ในเวทนา ฯลฯ
ในสัญญา ... ในสังขาร ... เธอทั้งหลายจงละความพอใจ ความกำหนัด ความ
เพลินเพลิน ความทะยานอยากในวิญญาณ เมื่อเป็นเช่นนี้ วิญญาณนั้นก็จักเป็น
อันเธอทั้งหลายละได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคน
ไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้”

ฉันทปหานสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ทุติยฉันทปหานสูตร
ว่าด้วยการละความพอใจ สูตรที่ ๒

[๑๑๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละความพอใจ
ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก อุบายและความยึดมั่นอัน
เป็นเหตุที่ใจเข้าไปตั้งมั่นถือมั่นและนอนเนื่องในรูป เมื่อเป็นเช่นนี้ รูปนั้นก็จักเป็น
อันเธอทั้งหลายละได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคน
ไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ... ในเวทนา ... ในสัญญา ...
เธอทั้งหลายจงละความพอใจ ... ในสังขาร ฯลฯ เมื่อเป็นเช่นนี้สังขารนั้นก็จักเป็น
อันเธอทั้งหลายละได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคน
ไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ เธอทั้งหลายจงละความพอใจ
ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก อุบายและความยึดมั่นอัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๑. อันตวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

เป็นเหตุที่ใจเข้าไปตั้งมั่นถือมั่นและนอนเนื่องในวิญญาณ เมื่อเป็นเช่นนี้ วิญญาณ
นั้นก็จักเป็นอันเธอทั้งหลายละได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัด
รากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้”

ทุติยฉันทปหานสูตรที่ ๑๐ จบ
อันตวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อันตสูตร ๒. ทุกขสูตร
๓. สักกายสูตร ๔. ปริญเญยยสูตร
๕. สมณสูตร ๖. ทุติยสมณสูตร
๗. โสตาปันนสูตร ๘. อรหันตสูตร
๙. ฉันทปหานสูตร ๑๐. ทุติยฉันทปหานสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๒. ธัมมกถิกวรรค ๓. ธัมมกถิกสูตร

๒. ธัมมกถิกวรรค
หมวดว่าด้วยพระธรรมกถึก
๑. อวิชชาสูตร
ว่าด้วยอวิชชา

[๑๑๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง
ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่
พระองค์ตรัสว่า ‘อวิชชา อวิชชา’ อวิชชาเป็นอย่างไร และด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ
บุคคลจึงเป็นผู้ตกอยู่ในอวิชชา”๑
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ไม่รู้ชัดรูป
ไม่รู้ชัดความเกิดแห่งรูป ไม่รู้ชัดความดับแห่งรูป ไม่รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับ
แห่งรูป ไม่รู้ชัดเวทนา ... ไม่รู้ชัดสัญญา ... ไม่รู้ชัดสังขาร ... ไม่รู้ชัดวิญญาณ
ไม่รู้ชัดความเกิดแห่งวิญญาณ ไม่รู้ชัดความดับแห่งวิญญาณ ไม่รู้ชัดปฏิปทาที่ให้
ถึงความดับแห่งวิญญาณ
ภิกษุ นี้เราเรียกว่า อวิชชา และด้วยเหตุเพียงเท่านี้ บุคคลจึงเป็นผู้ตกอยู่
ในอวิชชา”

อวิชชาสูตรที่ ๑ จบ

๒. วิชชาสูตร
ว่าด้วยวิชชา

[๑๑๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุนั้น นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระ
องค์ผู้เจริญ ที่พระองค์ตรัสว่า ‘วิชชา วิชชา’ วิชชาเป็นอย่างไร และด้วยเหตุ
เพียงเท่าไรหนอ บุคคลจึงเป็นผู้มีวิชชา”๒


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๒. ธัมมกถิกวรรค ๓. ธัมมกถิกสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ผู้ได้สดับ รู้ชัดรูป
รู้ชัดความเกิดแห่งรูป ฯลฯ รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งรูป ... เวทนา ...
สัญญา ... รู้ชัดสังขาร ฯลฯ รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ
ภิกษุ นี้เราเรียกว่า วิชชา และด้วยเหตุเพียงเท่านี้ บุคคลจึงเป็นผู้มีวิชชา”

วิชชาสูตรที่ ๒ จบ

๓. ธัมมกถิกสูตร
ว่าด้วยพระธรรมกถึก

[๑๑๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุนั้น นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้พระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระ
องค์ผู้เจริญ ที่พระองค์ตรัสว่า ‘ภิกษุเป็นธรรมกถึก ภิกษุเป็นธรรมกถึก’ ด้วย
เหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุจึงเป็นพระธรรมกถึก”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ หากภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย
เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับรูป ควรเรียกได้ว่า ‘ภิกษุเป็นธรรมกถึก’ หากภิกษุ
เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับรูป ควรเรียกได้ว่า
‘ภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม’ หากภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นเพราะความ
เบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะดับ ไม่ถือมั่นรูป ควรเรียกได้ว่า
‘ภิกษุเป็นผู้บรรลุนิพพานในปัจจุบัน’
หากภิกษุ ... เวทนา ฯลฯ
หากภิกษุ ... สัญญา ...
หากภิกษุ ... สังขาร ...
หากภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับวิญญาณ
ควรเรียกได้ว่า ‘ภิกษุเป็นธรรมกถึก’ หากภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย
เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับวิญญาณ ควรเรียกได้ว่า ‘ภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติธรรม
สมควรแก่ธรรม’ หากภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นเพราะความเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด
เพราะดับ ไม่ถือมั่นวิญญาณ ควรเรียกได้ว่า ‘ภิกษุเป็นผู้บรรลุนิพพานในปัจจุบัน”

ธัมมกถิกสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๒. ธัมมกถิกวรรค ๔. ทุติยธัมมกถิกสูตร

๔. ทุติยธัมมกถิกสูตร
ว่าด้วยพระธรรมกถึก สูตรที่ ๒

[๑๑๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุนั้นนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ที่พระองค์ตรัสว่า ‘ภิกษุเป็นธรรมกถึก ภิกษุเป็นธรรมกถึก’
ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุจึงเป็นพระธรรมกถึก ด้วยเหตุเพียงเท่าไร ภิกษุจึง
เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ด้วยเหตุเพียงเท่าไร ภิกษุจึงเป็นผู้บรรลุ
นิพพานในปัจจุบัน’
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ หากภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย
เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับรูป ควรเรียกได้ว่า ‘ภิกษุเป็นธรรมกถึก’ หากภิกษุ
เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับรูป ควรเรียกได้ว่า
‘ภิกษุ เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม’ หากภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นเพราะความเบื่อหน่าย
เพราะคลายกำหนัด เพราะดับ ไม่ถือมั่นรูป ควรเรียกได้ว่า ‘ภิกษุเป็นผู้บรรลุ
นิพพานในปัจจุบัน’
หากภิกษุ ... เวทนา ฯลฯ
หากภิกษุ ... สัญญา ...
หากภิกษุ ... สังขาร ...
หากภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับวิญญาณ
ควรเรียกได้ว่า ‘ภิกษุเป็นธรรมกถึก’ หากภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย
เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับวิญญาณ ควรเรียกได้ว่า ‘ภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติธรรม
สมควรแก่ธรรม’ หากภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นเพราะความเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด
เพราะดับ ไม่ถือมั่นวิญญาณ ควรเรียกได้ว่า ‘ภิกษุเป็นผู้บรรลุนิพพานในปัจจุบัน’

ทุติยธัมมกถิกสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๒. ธัมมกถิกวรรค ๕. พันธนสูตร

๕. พันธนสูตร
ว่าด้วยเครื่องพันธนาการ

[๑๑๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้
เห็นพระอริยะ ฯลฯ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ พิจารณาเห็นรูปโดย
ความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป พิจารณาเห็นรูปในอัตตา หรือ
พิจารณาเห็นอัตตาในรูป
นี้เรียกว่า ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ถูกเครื่องพันธนาการคือรูปจองจำไว้ ถูก
เครื่องพันธนาการทั้งภายในและภายนอกจองจำไว้ มองไม่เห็นฝั่งนี้๑ มองไม่เห็น
ฝั่งโน้น๒ ถูกจองจำจนแก่ ถูกจองจำจนตาย ถูกจองจำจากโลกนี้จนถึงโลกหน้า
พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ อัตตาในเวทนา
นี้เรียกว่า ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ถูกเครื่องพันธนาการคือเวทนาจองจำไว้ ถูก
เครื่องพันธนาการทั้งภายในและภายนอกจองจำไว้ มองไม่เห็นฝั่งนี้ มองไม่เห็นฝั่งโน้น
ถูกจองจำจนแก่ ถูกจองจำจนตาย ถูกจองจำจากโลกนี้จนถึงโลกหน้า
พิจารณาเห็นสัญญา ...
พิจารณาเห็นสังขาร ...
พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ
นี้เรียกว่า ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ถูกเครื่องพันธนาการคือวิญญาณจองจำไว้ ถูก
เครื่องพันธนาการทั้งภายในและภายนอกจองจำไว้ มองไม่เห็นฝั่งนี้ มองไม่เห็นฝั่งโน้น
ถูกจองจำจนแก่ ถูกจองจำจนตาย ถูกจองจำจากโลกนี้จนถึงโลกหน้า
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับ ได้เห็นพระอริยะ ฯลฯ ได้รับการ
แนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ไม่พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณา
เห็นอัตตาว่ามีรูป ไม่พิจารณาเห็นรูปในอัตตา หรือไม่พิจารณาเห็นอัตตาในรูป


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๒. ธัมมกถิกวรรค ๖. ปริปุจฉิตสูตร

นี้เรียกว่า อริยสาวกผู้ได้สดับ ไม่ถูกเครื่องพันธนาการคือรูปจองจำไว้ ไม่ถูก
เครื่องพันธนาการทั้งภายในและภายนอกจองจำไว้ มองเห็นฝั่งนี้ มองเห็นฝั่งโน้น
เรากล่าวว่า ‘เธอพ้นแล้วจากทุกข์’ ฯลฯ
ไม่พิจารณาเห็นเวทนา ...
ไม่พิจารณาเห็นสัญญา ...
ไม่พิจารณาเห็นสังขาร ...
ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณ โดยความเป็นอัตตา ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า อริยสาวกผู้ได้สดับ ไม่ถูกเครื่องพันธนาการคือ
วิญญาณจองจำไว้ ไม่ถูกเครื่องพันธนาการทั้งภายในและภายนอกจองจำไว้ มอง
เห็นฝั่งนี้ มองเห็นฝั่งโน้น เรากล่าวว่า ‘เธอพ้นแล้วจากทุกข์”

พันธนสูตรที่ ๕ จบ

๖. ปริปุจฉิตสูตร
ว่าด้วยการสอบถาม

[๑๑๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อ
นั้นว่าอย่างไร เธอทั้งหลายพิจารณาเห็นรูปว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็น
อัตตาของเรา’ หรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ดีละ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเห็นรูปนั้นด้วยปัญญาอันชอบตาม
ความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ...
เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... เธอทั้งหลายพิจารณาเห็นวิญญาณว่า ‘นั่นของเรา
เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’ หรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๒. ธัมมกถิกวรรค ๗. ทุติยปริปุจฉิตสูตร

“ดีละ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเห็นวิญญาณนั้นด้วยปัญญาอันชอบ
ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

ปริปุจฉิตสูตรที่ ๖ จบ

๗. ทุติยปริปุจฉิตสูตร
ว่าด้วยการสอบถาม สูตรที่ ๒

[๑๑๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อ
นั้นว่าอย่างไร เธอทั้งหลายพิจารณาเห็นรูปว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น
นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ หรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ดีละ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเห็นรูปนั้นด้วยปัญญาอันชอบตาม
ความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ...
เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... เธอทั้งหลายพิจารณาเห็นวิญญาณว่า ‘นั่นไม่ใช่
ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ หรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ดีละ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเห็นวิญญาณนั้นด้วยปัญญาอันชอบ
ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

ทุติยปริปุจฉิตสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๒. ธัมมกถิกวรรค ๙. อุปาทานิยสูตร

๘. สัญโญชนิยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์

[๑๒๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์
และสังโยชน์ เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์ เป็นอย่างไร สังโยชน์ เป็นอย่างไร
คือ รูปเป็นธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์ ฉันทราคะในรูปนั้นเป็นสังโยชน์
เวทนา ฯลฯ
สัญญา ...
สังขาร ...
วิญญาณเป็นธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์ ฉันทราคะในวิญญาณนั้นเป็นสังโยชน์
ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เราเรียกว่า ธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์
นี้เรียกว่า สังโยชน์”๑

สัญโญชนิยสูตรที่ ๘ จบ

๙. อุปาทานิยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เกื้อกูลแก่อุปาทาน

[๑๒๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่เกื้อกูลแก่อุปาทาน
และอุปาทาน เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่เกื้อกูลแก่อุปาทาน เป็นอย่างไร อุปาทาน เป็นอย่างไร
คือ รูปเป็นธรรมที่เกื้อกูลแก่อุปาทาน ฉันทราคะในรูปนั้นเป็นอุปาทาน


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๒. ธัมมกถิกวรรค ๑๐. สีลวันตสูตร

เวทนา ฯลฯ
สัญญา ...
สังขาร ...
วิญญาณเป็นธรรมที่เกื้อกูลแก่อุปาทาน ฉันทราคะในวิญญาณนั้นเป็นอุปาทาน
ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เราเรียกว่า ธรรมที่เกื้อกูลแก่อุปาทาน
นี้เราเรียกว่า อุปาทาน”๑

อุปาทานิยสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. สีลวันตสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ภิกษุผู้มีศีลควรมนสิการโดยแยบคาย

[๑๒๒] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโกฏฐิตะ อยู่ ณ ป่า
อิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี ครั้งนั้น ท่านพระมหาโกฏฐิตะออกจากที่
หลีกเร้นในเวลาเย็น เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ฯลฯ ได้ถามดังนี้ว่า
“ท่านสารีบุตร ธรรมเหล่าไหนอันภิกษุผู้มีศีลควรมนสิการโดยแยบคาย
ขอรับ”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ท่านโกฏฐิตะ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการอัน
ภิกษุผู้มีศีลควรมนสิการโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นโรค เป็นดุจหัวฝี เป็นดุจลูกศร เป็นของลำบาก เป็นอาพาธ เป็นอย่างอื่น
(บังคับไม่ได้) เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญ เป็นอนัตตา
อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป)
๒. เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา)
๓. สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา)
๔. สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร)
๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ)


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๒. ธัมมกถิกวรรค ๑๐. สีลวันตสูตร

อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้อันภิกษุผู้มีศีลควรมนสิการโดยแยบคาย โดย
ความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดุจหัวฝี เป็นดุจลูกศร เป็นของลำบาก
เป็นอาพาธ เป็นอย่างอื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญ เป็นอนัตตา เป็นไป
ได้ที่อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้อันภิกษุผู้มีศีลมนสิการโดยแยบคาย โดยความ
เป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นอนัตตา พึงทำให้แจ้งโสดาปัตติผล”
“ท่านสารีบุตร ธรรมเหล่าไหนอันภิกษุผู้เป็นโสดาบันควรมนสิการโดย
แยบคาย ขอรับ”
“ท่านโกฏฐิตะ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้อันภิกษุแม้ผู้เป็นโสดาบัน
ก็ควรมนสิการโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นอนัตตา เป็นไป
ได้ที่ภิกษุผู้เป็นโสดาบันมนสิการอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้โดยแยบคาย โดย
ความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นอนัตตา พึงทำให้แจ้งสกทาคามิผล”
“ท่านสารีบุตร ธรรมเหล่าไหนอันภิกษุแม้ผู้เป็นสกทาคามีควรมนสิการโดย
แยบคาย ขอรับ”
“ท่านโกฏฐิตะ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้อันภิกษุแม้ผู้เป็นสกทาคามี
ก็ควรมนสิการโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นอนัตตา เป็นไป
ได้ที่ภิกษุผู้เป็นสกทาคามีมนสิการอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้โดยแยบคาย โดย
ความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นอนัตตา พึงทำให้แจ้งอนาคามิผล”
“ท่านสารีบุตร ธรรมเหล่าไหนอันภิกษุผู้เป็นอนาคามีควรมนสิการโดยแยบคาย
ขอรับ”
“ท่านโกฏฐิตะ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้อันภิกษุแม้ผู้เป็นอนาคามีก็ควร
มนสิการโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นอนัตตา เป็นไปได้ที่
ภิกษุผู้เป็นอนาคามีมนสิการอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้โดยแยบคาย โดยความ
เป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นอนัตตา พึงทำให้แจ้งอรหัตตผล”
“ท่านสารีบุตร ธรรมเหล่าไหนอันภิกษุผู้เป็นอรหันต์ควรมนสิการโดย
แยบคาย ขอรับ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๒. ธัมมกถิกวรรค ๑๑. สุตวันตสูตร

“ท่านโกฏฐิตะ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้อันภิกษุแม้ผู้เป็นอรหันต์ก็ควร
มนสิการโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดุจหัวฝี
เป็นดุจลูกศร เป็นของลำบาก เป็นอาพาธ เป็นอย่างอื่น เป็นของทรุดโทรม
เป็นของสูญ เป็นอนัตตา
ท่านโกฏฐิตะ กิจที่จะพึงทำให้ยิ่งขึ้นไป หรือการสั่งสมกิจที่ทำแล้ว ย่อมไม่มี
แก่ภิกษุผู้เป็นอรหันต์ อนึ่ง ธรรมเหล่านี้ที่ภิกษุผู้เป็นอรหันต์เจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน และเพื่อสติสัมปชัญญะ”

สีลวันตสูตรที่ ๑๐ จบ

๑๑. สุตวันตสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ภิกษุผู้ได้สดับควรมนสิการโดยแยบคาย

[๑๒๓] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโกฏฐิตะ อยู่ ณ ป่า
อิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี ครั้งนั้น ท่านพระมหาโกฏฐิตะออกจากที่
หลีกเร้นในเวลาเย็น เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ฯลฯ ได้ถามดังนี้ว่า
“ท่านสารีบุตร ธรรมเหล่าไหนอันภิกษุผู้ได้สดับควรมนสิการโดยแยบคาย
ขอรับ”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ท่านโกฏฐิตะ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการอันภิกษุ
ผู้ได้สดับควรมนสิการโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นอนัตตา
อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปูปาทานขันธ์ ฯลฯ ๕. วิญญาณูปาทานขันธ์
ท่านโกฏฐิตะ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้อันภิกษุผู้ได้สดับควรมนสิการ
โดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นอนัตตา เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้ได้
สดับมนสิการอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้โดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง
ฯลฯ เป็นอนัตตา พึงทำให้แจ้งโสดาปัตติผล”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๒. ธัมมกถิกวรรค ๑๒. กัปปสูตร

“ท่านสารีบุตร ธรรมเหล่าไหนอันภิกษุผู้เป็นโสดาบันควรมนสิการโดย
แยบคาย ขอรับ”
“ท่านโกฏฐิตะ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้อันภิกษุแม้ผู้เป็นโสดาบันก็ควร
มนสิการโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นอนัตตา เป็นไปได้ที่
ภิกษุผู้เป็นโสดาบันมนสิการอุปาทานขันธ์ ๕ ประการโดยแยบคาย โดยความเป็น
ของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นอนัตตา พึงทำให้แจ้งสกทาคามิผล ฯลฯ อนาคามิผล ฯลฯ
อรหัตตผล”
“ท่านสารีบุตร ธรรมเหล่าไหนอันภิกษุผู้เป็นอรหันต์ควรมนสิการโดย
แยบคาย ขอรับ”
“ท่านโกฏฐิตะ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้อันภิกษุแม้ผู้เป็นอรหันต์ก็ควร
มนสิการโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดุจหัวฝี
เป็นดุจลูกศร เป็นความคับแค้น เป็นอาพาธ เป็นอย่างอื่น เป็นของทรุดโทรม
เป็นของสูญ เป็นอนัตตา
ท่านโกฏฐิตะ กิจที่จะพึงทำให้ยิ่งขึ้นไป หรือการสั่งสมกิจที่ทำแล้ว ย่อมไม่มี
แก่ภิกษุผู้อรหันต์ อนึ่ง ธรรมเหล่านี้ที่ภิกษุผู้เป็นอรหันต์เจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน และเพื่อสติสัมปชัญญะ”

สุตวันตสูตรที่ ๑๑ จบ

๑๒. กัปปสูตร
ว่าด้วยพระกัปปะ

[๑๒๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ท่านพระกัปปะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง ณ ที่
สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้
เห็นอย่างไร จึงจะไม่มีอหังการ มมังการ และมานานุสัยในกายที่มีวิญญาณนี้
และในนิมิตทั้งปวงในภายนอก”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๒. ธัมมกถิกวรรค ๑๓. ทุติยกัปปสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “กัปปะ รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต
อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต
ไกลหรือใกล้ก็ตาม บุคคลเห็นรูปทั้งหมดนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง
อย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ...
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายใน
หรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ก็ตาม บุคคล
เห็นวิญญาณทั้งหมดนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา
เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา‘๑
กัปปะ เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างนี้ จึงจะไม่มีอหังการ มมังการ และมานานุสัย
ในกายที่มีวิญญาณนี้ และในนิมิตทั้งปวงในภายนอก”

กัปปสูตรที่ ๑๒ จบ

๑๓. ทุติยกัปปสูตร
ว่าด้วยพระกัปปะ สูตรที่ ๒

[๑๒๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ท่านพระกัปปะ นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างไร ใจจึงจะปราศจากอหังการ มมังการ
และมานานุสัยในกายที่มีวิญญาณนี้ และในนิมิตทั้งปวงในภายนอก ก้าวล่วงมานะ
ด้วยดี สงบระงับ หลุดพ้นดีแล้ว”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “กัปปะ รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต
อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ บุคคลเห็นรูปทั้งหมดนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความ
เป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ เป็นผู้
หลุดพ้นแล้ว เพราะไม่ถือมั่น”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๒. ธัมมกถิกวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ...
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายใน
หรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ก็ตาม บุคคล
เห็นวิญญาณทั้งหมดนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่
ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะไม่ถือมั่น
กัปปะ เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างนี้ ใจจึงจะปราศจากอหังการ มมังการ และ
มานานุสัยในกายที่มีวิญญาณนี้ และในนิมิตทั้งปวงในภายนอก ก้าวล่วงมานะด้วยดี
สงบระงับ หลุดพ้นดีแล้ว”

ทุติยกัปปสูตรที่ ๑๓ จบ
ธัมมกถิกวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อวิชชาสูตร ๒. วิชชาสูตร
๓. ธัมมกถิกสูตร ๔. ทุติยธัมมกถิกสูตร
๕. พันธนสูตร ๖. ปริปุจฉิตสูตร
๗. ทุติยปริปุจฉิตสูตร ๘. สัญโญชนิยสูตร
๙. อุปาทานิยสูตร ๑๐. สีลวันตสูตร
๑๑. สุตวันตสูตร ๑๒. กัปปสูตร
๑๓. ทุติยกัปปสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๓. อวิชชาวรรค ๑. สมุทยธัมมสูตร

๓. อวิชชาวรรค
หมวดว่าด้วยอวิชชา
๑. สมุทยธัมมสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา

[๑๒๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ได้ทูลถาม
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่พระองค์ตรัสว่า ‘อวิชชา อวิชชา’
อวิชชาเป็นอย่างไร และด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ บุคคลจึงเป็นผู้ตกอยู่ในอวิชชา”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ไม่รู้ชัดรูปที่
มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาตามความเป็นจริงว่า ‘รูปมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา’
ไม่รู้ชัดรูปที่มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดาตามความเป็นจริงว่า ‘รูปมีความเสื่อมไป
เป็นธรรมดา’ ไม่รู้ชัดรูปที่มีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเป็นธรรมดาตามความเป็น
จริงว่า ‘รูปมีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเป็นธรรมดา’
ไม่รู้ชัดเวทนาที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาตามความเป็นจริงว่า ‘เวทนามีความ
เกิดขึ้นเป็นธรรมดา’ ไม่รู้ชัดเวทนาที่มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดาตามความเป็นจริงว่า
‘เวทนามีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา’ ไม่รู้ชัดเวทนาที่มีความเกิดขึ้นและความเสื่อม
ไปเป็นธรรมดา ฯลฯ
ไม่รู้ชัดสัญญาที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ฯลฯ
ไม่รู้ชัดสังขารที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาตามความเป็นจริงว่า ‘สังขารมีความ
เกิดขึ้นเป็นธรรมดา’ ไม่รู้ชัดสังขารที่มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดาตามความเป็นจริงว่า
‘สังขารมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา’ ไม่รู้ชัดสังขารที่มีความเกิดขึ้นและความเสื่อม
ไปเป็นธรรมดาตามความเป็นจริงว่า ‘สังขารมีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเป็น
ธรรมดา’
ไม่รู้ชัดวิญญาณที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาตามความเป็นจริงว่า ‘วิญญาณมี
ความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา’ ไม่รู้ชัดวิญญาณที่มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดาตามความ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๓. อวิชชาวรรค ๑. สมุทยธัมมสูตร

เป็นจริงว่า ‘วิญญาณมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา’ ไม่รู้ชัดวิญญาณที่มีความเกิดขึ้น
และความเสื่อมไปเป็นธรรมดาตามความเป็นจริงว่า ‘วิญญาณมีความเกิดขึ้นและ
ความเสื่อมไปเป็นธรรมดา’
ภิกษุ นี้เราเรียกว่า อวิชชา และด้วยเหตุเพียงเท่านี้ บุคคลจึงเป็นผู้ตกอยู่
ในอวิชชา”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสตอบอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปนั้นได้ทูลถามว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ที่พระองค์ตรัสว่า ‘วิชชา วิชชา’ วิชชาเป็นอย่างไร และด้วยเหตุ
เพียงเท่าไร บุคคลจึงเป็นผู้มีวิชชา”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ผู้ได้สดับ รู้ชัด
รูปที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาตามความเป็นจริงว่า ‘รูปมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา’
รู้ชัดรูปที่มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดาตามความเป็นจริงว่า ‘รูปมีความเสื่อมไปเป็น
ธรรมดา’ รู้ชัดรูปที่มีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเป็นธรรมดาตามความเป็นจริงว่า
‘รูปมีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเป็นธรรมดา’
รู้ชัดเวทนาที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาตามความเป็นจริงว่า ‘เวทนามีความ
เกิดขึ้นเป็นธรรมดา’ รู้ชัดเวทนาที่มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดาตามความเป็นจริงว่า
‘เวทนามีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา’ รู้ชัดเวทนาที่มีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป
เป็นธรรมดาตามความเป็นจริงว่า ‘เวทนามีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเป็นธรรมดา’
รู้ชัดสัญญาที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ฯลฯ
รู้ชัดสังขารที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาตามความเป็นจริงว่า ‘สังขารมีความ
เกิดขึ้นเป็นธรรมดา’ รู้ชัดสังขารที่มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดาตามความเป็นจริงว่า
‘สังขารมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา’ รู้ชัดสังขารที่มีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป
เป็นธรรมดาว่า ‘สังขารมีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเป็นธรรมดา’
รู้ชัดวิญญาณที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาตามความเป็นจริงว่า ‘วิญญาณมี
ความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา’ รู้ชัดวิญญาณที่มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดาตามความ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๓. อวิชชาวรรค ๒. ทุติยสมุทยธัมมสูตร

เป็นจริงว่า ‘วิญญาณมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา’ รู้ชัดวิญญาณที่มีความเกิดขึ้น
และความเสื่อมไปเป็นธรรมดาตามความเป็นจริงว่า ‘วิญญาณมีความเกิดขึ้นและ
ความเสื่อมไปเป็นธรรมดา’
ภิกษุ นี้เราเรียกว่า วิชชา และด้วยเหตุเพียงเท่านี้ บุคคลจึงเป็นผู้มีวิชชา”

สมุทยธัมมสูตรที่ ๑ จบ

๒. ทุติยสมุทยธัมมสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สูตรที่ ๒

[๑๒๗] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโกฏฐิตะอยู่ ณ ป่า
อิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี ครั้งนั้น ท่านพระมหาโกฏฐิตะออกจากที่
หลีกเร้นในเวลาเย็น ฯลฯ นั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า
“ท่านสารีบุตร ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘อวิชชา อวิชชา’ อวิชชาเป็นอย่างไร
และด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ บุคคลจึงเป็นผู้ตกอยู่ในอวิชชา”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ไม่รู้ชัด
รูปที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาตามความเป็นจริงว่า ‘รูปมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา’
ไม่รู้ชัดรูปที่มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดาตามความเป็นจริง ฯลฯ ไม่รู้ชัดรูปที่มี
ความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเป็นธรรมดาตามความเป็นจริงว่า ‘รูปมีความเกิดขึ้น
และความเสื่อมไปเป็นธรรมดา’
ไม่รู้ชัดเวทนาที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ฯลฯ เวทนาที่มีความเสื่อมไป
เป็นธรรมดา ฯลฯ ไม่รู้ชัด ... ตามความเป็นจริงว่า ‘เวทนามีความเกิดขึ้นและ
ความเสื่อมไปเป็นธรรมดา’
ไม่รู้ชัดสัญญาที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ฯลฯ
ไม่รู้ชัดสังขารที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ฯลฯ ไม่รู้ชัดสังขารที่มีความ
เสื่อมไปเป็นธรรมดา ฯลฯ ไม่รู้ชัดสังขารที่มีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเป็น
ธรรมดาตามความเป็นจริงว่า ‘สังขารทั้งหลายมีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเป็น
ธรรมดา’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๓. อวิชชาวรรค ๓. ตติยสมุทยธัมมสูตร

ไม่รู้ชัดวิญญาณที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ฯลฯ ไม่รู้ชัดวิญญาณที่มีความ
เสื่อมไปเป็นธรรมดา ฯลฯ ไม่รู้ชัดวิญญาณที่มีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเป็น
ธรรมดาตามความเป็นจริงว่า ‘วิญญาณมีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเป็นธรรมดา’
ท่านผู้มีอายุ นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อวิชชา และด้วยเหตุเพียงเท่านี้ บุคคล
จึงเป็นผู้ตกอยู่ในอวิชชา”

ทุติยสมุทยธัมมสูตรที่ ๒ จบ

๓. ตติยสมุทยธัมมสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สูตรที่ ๓

[๑๒๘] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโกฏฐิตะ อยู่ ณ ป่า
อิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี ท่านพระมหาโกฏฐิตะนั่ง ณ ที่สมควร
ได้ถามท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า “ท่านสารีบุตร ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘วิชชา
วิชชา’ วิชชาเป็นอย่างไร และด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ บุคคลจึงเป็นผู้มีวิชชา”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ผู้ได้
สดับ รู้ชัดรูปที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาตามความเป็นจริงว่า ‘รูปมีความเกิดขึ้น
เป็นธรรมดา’ รู้ชัดรูปที่มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ฯลฯ รู้ชัดรูปที่มีความเกิดขึ้น
และความเสื่อมไปเป็นธรรมดาตามความเป็นจริงว่า ‘รูปมีความเกิดขึ้นและความ
เสื่อมไปเป็นธรรมดา’
รู้ชัดเวทนาที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ฯลฯ เวทนาที่มีความเกิดขึ้นและ
ความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ฯลฯ
รู้ชัดสัญญาที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ฯลฯ
รู้ชัดสังขารที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ฯลฯ สังขารที่มีความเสื่อมไปเป็น
ธรรมดา ฯลฯ รู้ชัดสังขารที่มีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเป็นธรรมดาตาม
ความเป็นจริงว่า ‘สังขารทั้งหลายมีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเป็นธรรมดา’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๓. อวิชชาวรรค ๕. ทุติยอัสสาทสูตร

รู้ชัดวิญญาณที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ฯลฯ วิญญาณที่มีความเสื่อมไป
เป็นธรรมดา ฯลฯ รู้ชัดวิญญาณที่มีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเป็นธรรมดา
ตามความเป็นจริงว่า ‘วิญญาณมีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเป็นธรรมดา’
ท่านผู้มีอายุ นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า วิชชา และด้วยเหตุเพียงเท่านี้ บุคคล
จึงเป็นผู้มีวิชชา”

ตติยสมุทยธัมมสูตรที่ ๓ จบ

๔. อัสสาทสูตร
ว่าด้วยคุณของขันธ์

[๑๒๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงพาราณสีเหมือนกัน
ท่านพระมหาโกฏฐิตะ นั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า
“ท่านสารีบุตร ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘อวิชชา อวิชชา’ อวิชชาเป็นอย่างไร
และด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ บุคคลจึงเป็นผู้ตกอยู่ในอวิชชา”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ไม่รู้ชัดคุณ
โทษ และเครื่องสลัดออกจากรูปตามความเป็นจริง ... เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ
สังขาร ฯลฯ ไม่รู้ชัดคุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากวิญญาณตามความเป็นจริง
ท่านผู้มีอายุ นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อวิชชา และด้วยเหตุเพียงเท่านี้ บุคคล
จึงเป็นผู้ตกอยู่ในอวิชชา”

อัสสาทสูตรที่ ๔ จบ

๕. ทุติยอัสสาทสูตร
ว่าด้วยคุณของขันธ์ สูตรที่ ๒

[๑๓๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงพาราณสีเหมือนกัน
ท่านพระมหาโกฏฐิตะ นั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า
“ท่านสารีบุตร ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘วิชชา วิชชา’ วิชชาเป็นอย่างไร และ
ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ บุคคลจึงเป็นผู้มีวิชชา”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๓. อวิชชาวรรค ๖. สมุทยสูตร

ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้
ผู้ได้สดับ รู้ชัดคุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากรูปตามความเป็นจริง ... เวทนา
ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... รู้ชัดคุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากวิญญาณ
ตามความเป็นจริง
ท่านผู้มีอายุ นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า วิชชา และด้วยเหตุเพียงเท่านี้ บุคคล
จึงเป็นผู้มีวิชชา”

ทุติยอัสสาทสูตรที่ ๕ จบ

๖. สมุทยสูตร
ว่าด้วยความเกิดแห่งขันธ์

[๑๓๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงพาราณสีเหมือนกัน
ท่านพระมหาโกฏฐิตะ นั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า
“ท่านสารีบุตร ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘อวิชชา อวิชชา’ อวิชชาเป็นอย่างไร
และด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ บุคคลจึงเป็นผู้ตกอยู่ในอวิชชา”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ไม่รู้ชัด
ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากรูปตามความเป็นจริง ...
เวทนา ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... ไม่รู้ชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และเครื่องสลัดออกจากวิญญาณตามความเป็นจริง
ท่านผู้มีอายุ นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อวิชชา และด้วยเหตุเพียงเท่านี้ บุคคล
จึงเป็นผู้ตกอยู่ในอวิชชา”

สมุทยสูตรที่ ๖ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๓. อวิชชาวรรค ๘. โกฏฐิตสูตร

๗. ทุติยสมุทยสูตร
ว่าด้วยความเกิดแห่งขันธ์ สูตรที่ ๒

[๑๓๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงพาราณสีเหมือนกัน
ท่านพระมหาโกฏฐิตะ นั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า
“ท่านสารีบุตร ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘วิชชา วิชชา’ วิชชาเป็นอย่างไร และ
ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ บุคคลจึงเป็นผู้มีวิชชา”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้
ผู้ได้สดับ รู้ชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากรูปตาม
ความเป็นจริง ... เวทนา ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... รู้ชัดความเกิด ความดับ
คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากวิญญาณตามความเป็นจริง
ท่านผู้มีอายุ นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า วิชชา และด้วยเหตุเพียงเท่านี้ บุคคล
จึงเป็นผู้มีวิชชา”

ทุติยสมุทยสูตรที่ ๗ จบ

๘. โกฏฐิตสูตร
ว่าด้วยพระโกฏฐิตะ

[๑๓๓] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโกฏฐิตะอยู่ ณ ป่า
อิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรออกจากผลสมาบัติ
ในเวลาเย็น ฯลฯ นั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามท่านพระมหาโกฏฐิตะดังนี้ว่า
“ท่านโกฏฐิตะ ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘อวิชชา อวิชชา’ อวิชชาเป็นอย่างไร
และด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ บุคคลจึงเป็นผู้ตกอยู่ในอวิชชา”
ท่านพระมหาโกฏฐิตะตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ไม่รู้ชัด
คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากรูปตามความเป็นจริง ... เวทนา ฯลฯ สัญญา
... สังขาร ... ไม่รู้ชัดคุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากวิญญาณตามความเป็นจริง
ท่านผู้มีอายุ นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อวิชชา และด้วยเหตุเพียงเท่านี้
บุคคลจึงเป็นผู้ตกอยู่ในอวิชชา”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๓. อวิชชาวรรค ๙. ทุติยโกฏฐิตสูตร

เมื่อท่านพระมหาโกฏฐิตะตอบอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงได้ถามว่า
“ท่านโกฏฐิตะ ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘วิชชา วิชชา’ วิชชาเป็นอย่างไร และ
ด้วยเหตุเพียงเท่าไร บุคคลจึงเป็นผู้มีวิชชา”
ท่านพระมหาโกฏฐิตะตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้
ผู้ได้สดับ รู้ชัดคุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากรูปตามความเป็นจริง ... เวทนา
ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... รู้ชัดคุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากวิญญาณ
ตามความเป็นจริง
ท่านผู้มีอายุ นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า วิชชา และด้วยเหตุเพียงเท่านี้ บุคคล
จึงเป็นผู้มีวิชชา”

โกฏฐิตสูตรที่ ๘ จบ

๙. ทุติยโกฏฐิตสูตร
ว่าด้วยพระโกฏฐิตะ สูตรที่ ๒

[๑๓๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงพาราณสีเหมือนกัน
ท่านพระสารีบุตรนั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามท่านพระมหาโกฏฐิตะดังนี้ว่า
“ท่านโกฏฐิตะ ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘อวิชชา อวิชชา’ อวิชชาเป็นอย่างไร
และด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ บุคคลจึงเป็นผู้ตกอยู่ในอวิชชา”
ท่านพระมหาโกฏฐิตะตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ไม่รู้ชัด
ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากรูปตามความเป็นจริง ...
เวทนา ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... ไม่รู้ชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และเครื่องสลัดออกจากวิญญาณตามความเป็นจริง
ท่านผู้มีอายุ นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อวิชชา และด้วยเหตุเพียงเท่านี้
บุคคลจึงเป็นผู้ตกอยู่ในอวิชชา”
เมื่อท่านพระมหาโกฏฐิตะตอบอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงได้ถามว่า
“ท่านโกฏฐิตะ ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘วิชชา วิชชา’ วิชชาเป็นอย่างไร และ
ด้วยเหตุเพียงเท่าไร บุคคลจึงเป็นผู้มีวิชชา”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๓. อวิชชาวรรค ๑๐. ตติยโกฏฐิตสูตร

ท่านพระมหาโกฏฐิตะตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ พระอริยสาวกในพระธรรมวินัย
นี้ผู้ได้สดับ รู้ชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากรูปตาม
ความเป็นจริง ... เวทนา ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... รู้ชัดความเกิด ความดับ
คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากวิญญาณตามความเป็นจริง
ท่านผู้มีอายุ นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า วิชชา และด้วยเหตุเพียงเท่านี้ บุคคล
จึงเป็นผู้มีวิชชา”

ทุติยโกฏฐิตสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ตติยโกฏฐิตสูตร
ว่าด้วยพระโกฏฐิตะ สูตรที่ ๓

[๑๓๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงพาราณสีเหมือนกัน
ท่านพระสารีบุตรนั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามท่านพระมหาโกฏฐิตะดังนี้ว่า
“ท่านโกฏฐิตะ ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘อวิชชา อวิชชา’ อวิชชาเป็นอย่างไร
และด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ บุคคลจึงเป็นผู้ตกอยู่ในอวิชชา”
ท่านพระมหาโกฏฐิตะตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ไม่รู้ชัด
รูป ไม่รู้ชัดความเกิดแห่งรูป ไม่รู้ชัดความดับแห่งรูป ไม่รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความ
ดับแห่งรูป ไม่รู้ชัดเวทนา ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... ไม่รู้ชัดวิญญาณ ไม่รู้ชัด
ความเกิดแห่งวิญญาณ ไม่รู้ชัดความดับแห่งวิญญาณ ไม่รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความ
ดับแห่งวิญญาณ
ท่านผู้มีอายุ นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อวิชชา และด้วยเหตุเพียงเท่านี้
บุคคลจึงเป็นผู้ตกอยู่ในอวิชชา”
เมื่อท่านพระมหาโกฏฐิตะตอบอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงได้ถามว่า
“ท่านโกฏฐิตะ ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘วิชชา วิชชา’ วิชชาเป็นอย่างไร และ
ด้วยเหตุเพียงเท่าไร บุคคลจึงเป็นผู้มีวิชชา”
ท่านพระมหาโกฏฐิตะตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้
ผู้ได้สดับ ย่อมรู้ชัดรูป รู้ชัดความเกิดแห่งรูป รู้ชัดความดับแห่งรูป รู้ชัดปฏิปทาที่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๓. อวิชชาวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ให้ถึงความดับแห่งรูป ... เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... รู้ชัดวิญญาณ รู้ชัด
ความเกิดแห่งวิญญาณ รู้ชัดความดับแห่งวิญญาณ รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับ
แห่งวิญญาณ
ท่านผู้มีอายุ นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า วิชชา และด้วยเหตุเพียงเท่านี้ บุคคล
จึงเป็นผู้มีวิชชา”

ตติยโกฏฐิตสูตรที่ ๑๐ จบ
อวิชชาวรรคที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สมุทยธัมมสูตร ๒. ทุติยสมุทยธัมมสูตร
๓. ตติยสมุทยธัมมสูตร ๔. อัสสาทสูตร
๕. ทุติยอัสสาทสูตร ๖. สมุทยสูตร
๗. ทุติยสมุทยสูตร ๘. โกฏฐิตสูตร
๙. ทุติยโกฏฐิตสูตร ๑๐. ตติยโกฏฐิตสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๔. กุกกุฬวรรค ๒. อนิจจสูตร

๔. กุกกุฬวรรค
หมวดว่าด้วยสิ่งที่เป็นของร้อน
๑. กุกกุฬสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นของร้อน

[๑๓๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นของร้อน เวทนาเป็นของร้อน
สัญญาเป็นของร้อน สังขารเป็นของร้อน วิญญาณเป็นของร้อน
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขาร
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด
จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
อีกต่อไป”

กุกกุฬสูตรที่ ๑ จบ

๒. อนิจจสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ไม่เที่ยง

[๑๓๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละ
ฉันทะในสิ่งนั้น
ก็อะไรเล่าไม่เที่ยง
คือ รูปไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละฉันทะในรูปนั้น
เวทนาไม่เที่ยง ฯลฯ
สัญญา ...
สังขาร ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๔. กุกกุฬวรรค ๔. ตติยอนิจจสูตร

วิญญาณไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละฉันทะในวิญญาณนั้น
ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละฉันทะในสิ่งนั้น”

อนิจจสูตรที่ ๒ จบ

๓. ทุติยอนิจจสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ไม่เที่ยง สูตรที่ ๒

[๑๓๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละ
ราคะในสิ่งนั้น
ก็อะไรเล่าไม่เที่ยง
คือ รูปไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละราคะในรูปนั้น
เวทนาไม่เที่ยง ฯลฯ
สัญญา ...
สังขาร ...
วิญญาณไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละราคะในวิญญาณนั้น
ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละราคะในสิ่งนั้น”

ทุติยอนิจจสูตรที่ ๓ จบ

๔. ตติยอนิจจสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ไม่เที่ยง สูตรที่ ๓

[๑๓๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละ
ฉันทราคะในสิ่งนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๔. กุกกุฬวรรค ๖. ทุติยทุกขสูตร

ก็อะไรเล่าไม่เที่ยง
คือ รูปไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะในรูปนั้น
เวทนาไม่เที่ยง ฯลฯ
สัญญา ...
สังขาร ...
วิญญาณไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะในวิญญาณนั้น
ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะในสิ่งนั้น”

ตติยอนิจจสูตรที่ ๔ จบ

๕. ทุกขสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นทุกข์

[๑๔๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละ
ฉันทะในสิ่งนั้น ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละฉันทะในสิ่งนั้น”

ทุกขสูตรที่ ๕ จบ

๖. ทุติยทุกขสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นทุกข์ สูตรที่ ๒

[๑๔๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละ
ราคะในสิ่งนั้น ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละราคะในสิ่งนั้น”

ทุติยทุกขสูตรที่ ๖ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๔. กุกกุฬวรรค ๘. อนัตตสูตร

๗. ตติยทุกขสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นทุกข์ สูตรที่ ๓

[๑๔๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละ
ฉันทราคะในสิ่งนั้น ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะในสิ่งนั้น”

ตติยทุกขสูตรที่ ๗ จบ

๘. อนัตตสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นอนัตตา

[๑๔๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละ
ฉันทะในสิ่งนั้น
ก็อะไรเล่าเป็นอนัตตา
คือ รูปเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละฉันทะในรูปนั้น
เวทนาเป็นอนัตตา ฯลฯ
สัญญา ...
สังขาร ...
วิญญาณเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละฉันทะในวิญญาณนั้น
ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละฉันทะในสิ่งนั้น”

อนัตตสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๔. กุกกุฬวรรค ๑๐. ตติยอนัตตสูตร

๙. ทุติยอนัตตสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นอนัตตา สูตรที่ ๒

[๑๔๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละ
ราคะในสิ่งนั้น
ก็อะไรเล่าเป็นอนัตตา
คือ รูปเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละราคะในรูปนั้น
เวทนาเป็นอนัตตา ฯลฯ
สัญญา ...
สังขาร ...
วิญญาณเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละราคะในวิญญาณนั้น
ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละราคะในสิ่งนั้น”

ทุติยอนัตตสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ตติยอนัตตสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นอนัตตา สูตรที่ ๓

[๑๔๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละ
ฉันทราคะในสิ่งนั้น
ก็อะไรเล่าเป็นอนัตตา
คือ รูปเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะในรูปนั้น
เวทนาเป็นอนัตตา ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๔. กุกกุฬวรรค ๑๒. อนิจจานุปัสสีสูตร

สัญญา ...
สังขาร ...
วิญญาณเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะในวิญญาณนั้น
ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะในสิ่งนั้น’

ตติยอนัตตสูตรที่ ๑๐ จบ

๑๑. นิพพิทาพหุลสูตร
ว่าด้วยผู้มากด้วยความเบื่อหน่าย

[๑๔๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้บวชด้วยศรัทธา มีธรรม
อันเหมาะสม คือ พึงเป็นผู้มากด้วยความเบื่อหน่ายในรูปอยู่ ... ในเวทนา ...
ในสัญญา ... ในสังขาร พึงเป็นผู้มากด้วยความเบื่อหน่ายในวิญญาณอยู่
ผู้ใดมากด้วยความเบื่อหน่ายในรูปอยู่ ... ในเวทนา ... ในสัญญา ... ในสังขาร
มากด้วยความเบื่อหน่ายในวิญญาณอยู่ ก็จะกำหนดรู้รูป ... เวทนา ... สัญญา ...
สังขาร กำหนดรู้วิญญาณ ผู้นั้นเมื่อกำหนดรู้รูป กำหนดรู้เวทนา กำหนดรู้สัญญา
กำหนดรู้สังขาร กำหนดรู้วิญญาณ ย่อมพ้นจากรูป ย่อมพ้นจากเวทนา ย่อมพ้น
จากสัญญา ย่อมพ้นจากสังขาร ย่อมพ้นจากวิญญาณ เรากล่าวว่า ‘ย่อมพ้นจากชาติ
ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส และย่อมพ้นจากทุกข์’

นิพพิทาพหุลสูตรที่ ๑๑ จบ

๑๒. อนิจจานุปัสสีสูตร
ว่าด้วยผู้พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง

[๑๔๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้บวชด้วยศรัทธา มีธรรม
อันเหมาะสม คือ พึงเป็นผู้พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูปอยู่ ฯลฯ ในเวทนา ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๔. กุกกุฬวรรค ๑๔. อนัตตานุปัสสีสูตร

ในสัญญา ... ในสังขาร พึงเป็นผู้พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในวิญญาณอยู่ ฯลฯ
เรากล่าวว่า ‘ ... และย่อมพ้นจากทุกข์’

อนิจจานุปัสสีสูตรที่ ๑๒ จบ

๑๓. ทุกขานุปัสสีสูตร
ว่าด้วยผู้พิจารณาเห็นทุกข์

[๑๔๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้บวชด้วยศรัทธา มีธรรม
อันเหมาะสม คือ พึงเป็นผู้พิจารณาเห็นทุกข์ในรูปอยู่ ฯลฯ ในเวทนา ... ในสัญญา
... ในสังขาร พึงเป็นผู้พิจารณาเห็นทุกข์ในวิญญาณอยู่ ฯลฯ เรากล่าวว่า ‘ ...
และย่อมพ้นจากทุกข์’

ทุกขานุปัสสีสูตรที่ ๑๓ จบ

๑๔. อนัตตานุปัสสีสูตร
ว่าด้วยผู้พิจารณาเห็นอนัตตา

[๑๔๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้บวชด้วยศรัทธา มีธรรม
อันเหมาะสม คือ พึงเป็นผู้พิจารณาเห็นอนัตตาในรูปอยู่ ฯลฯ ในเวทนา ...
ในสัญญา ... ในสังขาร พึงเป็นผู้พิจารณาเห็นอนัตตาในวิญญาณอยู่
ผู้ใดพิจารณาเห็นอนัตตาในรูป ฯลฯ ในเวทนา ... ในสัญญา ... ในสังขาร
พิจารณาเห็นอนัตตาในวิญญาณอยู่ ก็จะกำหนดรู้รูป ฯลฯ เวทนา ... สัญญา ...
สังขาร กำหนดรู้วิญญาณ ผู้นั้นเมื่อกำหนดรู้รูป กำหนดรู้เวทนา กำหนดรู้สัญญา
กำหนดรู้สังขาร กำหนดรู้วิญญาณ ย่อมพ้นจากรูป ย่อมพ้นจากเวทนา ย่อมพ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๔. กุกกุฬวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

จากสัญญา ย่อมพ้นจากสังขาร ย่อมพ้นจากวิญญาณ เรากล่าวว่า ‘ย่อมพ้น
จากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส และย่อมพ้น
จากทุกข์’

อนัตตานุปัสสีสูตรที่ ๑๔ จบ
กุกกุฬวรรคที่ ๔ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. กุกกุฬสูตร ๒. อนิจจสูตร
๓. ทุติยอนิจจสูตร ๔. ตติยอนิจจสูตร
๕. ทุกขสูตร ๖. ทุติยทุกขสูตร
๗. ตติยทุกขสูตร ๘. อนัตตสูตร
๙. ทุติยอนัตตสูตร ๑๐. ตติยอนัตตสูตร
๑๑. นิพพิทาพหุลสูตร ๑๒. อนิจจานุปัสสีสูตร
๑๓. ทุกขานุปัสสีสูตร ๑๔. อนัตตานุปัสสีสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๕. ทิฏฐิวรรค ๑. อัชฌัตตสูตร

๕. ทิฏฐิวรรค
หมวดว่าด้วยทิฏฐิ
๑. อัชฌัตตสูตร
ว่าด้วยสุขและทุกข์ในภายใน

[๑๕๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะอาศัยอะไร
สุขและทุกข์ในภายในจึงเกิดขึ้น”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป เพราะอาศัยรูป สุขและทุกข์ในภายในจึงเกิดขึ้น
เมื่อมีเวทนา ฯลฯ
เมื่อมีสัญญา ...
เมื่อมีสังขาร ...
เมื่อมีวิญญาณ เพราะอาศัยวิญญาณ สุขและทุกข์ในภายในจึงเกิดขึ้น
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่
เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า’
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้น
สุขและทุกข์ในภายในจะพึงเกิดขึ้นหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๕. ทิฏฐิวรรค ๒. เอตังมมสูตร

“เวทนา ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้น
สุขและทุกข์ในภายในจะพึงเกิดขึ้นหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มี
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”๑

อัชฌัตตสูตรที่ ๑ จบ

๒. เอตังมมสูตร
ว่าด้วยการพิจารณาเห็นว่านั่นของเรา

[๑๕๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะอาศัยอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร บุคคลจึงพิจารณาเห็นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตา
ของเรา”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป เพราะอาศัยรูป เพราะยึดมั่นรูป บุคคลจึง
พิจารณาเห็นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’
เมื่อมีเวทนา ฯลฯ
เมื่อมีสัญญา ...
เมื่อมีสังขาร ...


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๕. ทิฏฐิวรรค ๓. โสอัตตาสูตร

เมื่อมีวิญญาณ เพราะอาศัยวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ บุคคลจึง
พิจารณาเห็นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่
เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้น บุคคลจะพึง
พิจารณาเห็นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’ หรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เวทนา ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้น บุคคลจะพึง
พิจารณาเห็นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’ หรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มี
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

เอตังมมสูตรที่ ๒ จบ

๓. โสอัตตาสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าอัตตากับโลกเป็นอย่างเดียวกัน

[๑๕๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะอาศัยอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘อัตตากับโลกเป็นอย่างเดียวกัน เรา
นั้นละโลกนี้ไปแล้ว จักเป็นผู้เที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน มีความไม่แปรผันเป็นธรรมดา”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๕. ทิฏฐิวรรค ๓. โสอัตตาสูตร

ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป เพราะอาศัยรูป เพราะยึดมั่นรูป ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘อัตตากับโลกเป็นอย่างเดียวกัน เรานั้นละโลกนี้ไปแล้ว จักเป็นผู้เที่ยงแท้
ยั่งยืน คงทน มีความไม่แปรผันเป็นธรรมดา’
เมื่อมีเวทนา ฯลฯ
เมื่อมีสัญญา ...
เมื่อมีสังขาร ...
เมื่อมีวิญญาณ เพราะอาศัยวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘อัตตากับโลกเป็นอย่างเดียวกัน เรานั้นละโลกนี้ไปแล้ว จักเป็นผู้เที่ยงแท้
ยั่งยืน คงทน มีความไม่แปรผันเป็นธรรมดา’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่
เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้น
ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘อัตตากับโลกเป็นอย่างเดียวกัน เรานั้นละโลก
นี้ไปแล้ว จักเป็นผู้เที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน มีความไม่แปรผันเป็นธรรมดา”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เวทนา ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๕. ทิฏฐิวรรค ๔. โนจเมสิยาสูตร

“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้น
ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘อัตตากับโลกเป็นอย่างเดียวกัน เรานั้นละโลก
นี้ไปแล้ว จักเป็นผู้เที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน มีความไม่แปรผันเป็นธรรมดา”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มี
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

โสอัตตาสูตรที่ ๓ จบ

๔. โนจเมสิยาสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าเราไม่พึงมี

[๑๕๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะอาศัยอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘ถ้าเราไม่พึงมี แม้บริขารของเราก็ไม่
พึงมี ถ้าเราจักไม่ได้มีแล้ว แม้บริขารของเราก็จักไม่มี”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป เพราะอาศัยรูป เพราะยึดมั่นรูป ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘ถ้าเราไม่พึงมี แม้บริขารของเราก็ไม่พึงมี ถ้าเราจักไม่ได้มีแล้ว
แม้บริขารของเราก็จักไม่มี’
เมื่อมีเวทนา ฯลฯ
เมื่อมีสัญญา ...
เมื่อมีสังขาร ...
เมื่อมีวิญญาณ เพราะอาศัยวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ ทิฏฐิอย่างนี้
จึงเกิดขึ้นว่า ‘ถ้าเราไม่พึงมี แม้บริขารของเราก็ไม่พึงมี ถ้าเราจักไม่ได้มีแล้ว
แม้บริขารของเราก็จักไม่มี’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๕. ทิฏฐิวรรค ๔. โนจเมสิยาสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่
เที่ยง’
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้น
ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘ถ้าเราไม่พึงมี แม้บริขารของเราก็ไม่พึงมี ถ้า
เราจักไม่ได้มีแล้ว แม้บริขารของเราก็จักไม่มี”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เวทนา ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้น
ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘ถ้าเราไม่พึงมี แม้บริขารของเราก็ไม่พึงมี ถ้า
เราจักไม่ได้มีแล้ว แม้บริขารของเราก็จักไม่มี”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มี
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

โนจเมสิยาสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๕. ทิฏฐิวรรค ๕. มิจฉาทิฏฐิสูตร

๕. มิจฉาทิฏฐิสูตร
ว่าด้วยมิจฉาทิฏฐิ

[๑๕๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะอาศัยอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร มิจฉาทิฏฐิ(เห็นผิด) จึงเกิดขึ้น”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป เพราะอาศัยรูป เพราะยึดมั่นรูป มิจฉาทิฏฐิจึงเกิดขึ้น
เมื่อมีเวทนา ฯลฯ
เมื่อมีสัญญา ...
เมื่อมีสังขาร ...
เมื่อมีวิญญาณ เพราะอาศัยวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ มิจฉาทิฏฐิจึง
เกิดขึ้น
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่
เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง ฯลฯ เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้น มิจฉาทิฏฐิจะพึงเกิดขึ้นหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เวทนา ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๕. ทิฏฐิวรรค ๖. สักกายทิฏฐิสูตร

“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้น
มิจฉาทิฏฐิจะพึงเกิดขึ้นหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มี
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

มิจฉาทิฏฐิสูตรที่ ๕ จบ

๖. สักกายทิฏฐิสูตร
ว่าด้วยสักกายทิฏฐิ

[๑๕๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะอาศัยอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร สักกายทิฏฐิ(ความเห็นว่าเป็นตัวของตน) จึงเกิดขึ้น”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป เพราะอาศัยรูป เพราะยึดมั่นรูป สักกายทิฏฐิจึง
เกิดขึ้น
เมื่อมีเวทนา ฯลฯ
เมื่อมีสัญญา ...
เมื่อมีสังขาร ...
เมื่อมีวิญญาณ เพราะอาศัยวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ สักกายทิฏฐิจึง
เกิดขึ้น
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่
เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๕. ทิฏฐิวรรค ๗. อัตตานุทิฏฐิสูตร

“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง ฯลฯ เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้น สักกายทิฏฐิจะพึงเกิดขึ้นหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เวทนา ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง ฯลฯ เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้น สักกายทิฏฐิจะพึงเกิดขึ้นหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มี
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

สักกายทิฏฐิสูตรที่ ๖ จบ

๗. อัตตานุทิฏฐิสูตร
ว่าด้วยอัตตานุทิฏฐิ

[๑๕๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะอาศัยอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร อัตตานุทิฏฐิ(ความเห็นว่าเป็นอัตตา) จึงเกิดขึ้น”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป เพราะอาศัยรูป เพราะยึดมั่นรูป อัตตานุทิฏฐิจึง
เกิดขึ้น
เมื่อมีเวทนา ฯลฯ
เมื่อมีสัญญา ...
เมื่อมีสังขาร ...
เมื่อมีวิญญาณ เพราะอาศัยวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ อัตตานุทิฏฐิจึง
เกิดขึ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๕. ทิฏฐิวรรค ๘. อภินิเวสสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่
เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง ฯลฯ เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้น อัตตานุทิฏฐิจะพึงเกิดขึ้นหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เวทนา ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง ฯลฯ เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้น อัตตานุทิฏฐิจะพึงเกิดขึ้นหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มี
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

อัตตานุทิฏฐิสูตรที่ ๗ จบ

๘. อภินิเวสสูตร
ว่าด้วยความยึดมั่น

[๑๕๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะอาศัยอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ความพัวพันด้วยสังโยชน์และความยึดมั่นจึงเกิดขึ้น”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป เพราะอาศัยรูป เพราะยึดมั่นรูป ความพัวพัน
ด้วยสังโยชน์และความยึดมั่นจึงเกิดขึ้น
เมื่อมีเวทนา ฯลฯ
เมื่อมีสัญญา ...
เมื่อมีสังขาร ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๕. ทิฏฐิวรรค ๙. ทุติยอภินิเวสสูตร

เมื่อมีวิญญาณ เพราะอาศัยวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ ความพัวพัน
ด้วยสังโยชน์และความยึดมั่นจึงเกิดขึ้น
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่
เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง ฯลฯ เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้น ความพัวพันด้วยสังโยชน์และ
ความยึดมั่นจะพึงเกิดขึ้นหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เวทนา ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง ฯลฯ เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้น ความพัวพันด้วยสังโยชน์และ
ความยึดมั่นจะพึงเกิดขึ้นหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มี
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

อภินิเวสสูตรที่ ๘ จบ

๙. ทุติยอภินิเวสสูตร
ว่าด้วยความยึดมั่น สูตรที่ ๒

[๑๕๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะอาศัยอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ความพัวพันและความหมกมุ่นด้วยสังโยชน์และความยึดมั่นจึง
เกิดขึ้น”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๕. ทิฏฐิวรรค ๑๐. อานันทสูตร

“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป เพราะอาศัยรูป เพราะยึดมั่นรูป ความพัวพัน
และความหมกมุ่นด้วยสังโยชน์และความยึดมั่นจึงเกิดขึ้น
เมื่อมีเวทนา ฯลฯ
เมื่อมีสัญญา ...
เมื่อมีสังขาร ...
เมื่อมีวิญญาณ เพราะอาศัยวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ ความพัวพัน
และความหมกมุ่นด้วยสังโยชน์และความยึดมั่นจึงเกิดขึ้น
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่
เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง ฯลฯ เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้น ความพัวพันและความหมกมุ่น
ด้วยสังโยชน์และความยึดมั่นจะพึงเกิดขึ้นหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มี
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

ทุติยอภินิเวสสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. อานันทสูตร
ว่าด้วยพระอานนท์

[๑๕๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส
ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ซึ่งข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว
จะพึงหลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เถิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๕. ทิฏฐิวรรค ๑๐. อานันทสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เธอจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูป
เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“เวทนา ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“อานนท์ เพราะเหตุนั้น รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และ
ปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้
ก็ตาม รูปทั้งหมดนั้นเธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ...
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายใน
หรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ก็ตาม วิญญาณ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๕. ทิฏฐิวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ทั้งหมดนั้นเธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่
ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
อานนท์ อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อม
เบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขาร
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด
จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

อานันทสูตรที่ ๑๐ จบ
ทิฏฐิวรรคที่ ๕ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อัชฌัตตสูตร ๒. เอตังมมสูตร
๓. โสอัตตาสูตร ๔. โนจเมสิยาสูตร
๕. มิจฉาทิฏฐิสูตร ๖. สักกายทิฏฐิสูตร
๗. อัตตานุทิฏฐิสูตร ๘. อภินิเวสสูตร
๙. ทุติยอภินิเวสสูตร ๑๐. อานันทสูตร

อุปริปัณณาสก์ จบบริบูรณ์

รวมวรรคที่มีในอุปริปัณณาสก์นี้ คือ

๑. อันตวรรค ๒. ธัมมกถิกวรรค
๓. อวิชชาวรรค ๔. กุกกุฬวรรค
๕. ทิฏฐิวรรค

รวม ๕ วรรค เรียกว่า ตติยปัณณาสก์
ขันธสังยุต จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๒. ราธสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๑. มารสูตร

๒. ราธสังยุต
๑. ปฐมวรรค
หมวดที่ ๑
๑. มารสูตร
ว่าด้วยมาร

[๑๖๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ท่านพระราธะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว
นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่พระองค์ตรัสว่า ‘มาร มาร’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ
พระองค์จึงตรัสว่า ‘มาร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ราธะ เมื่อมีรูป จึงมีมาร มีผู้ทำให้ตาย
หรือมีผู้ตาย เพราะฉะนั้น เธอจงเห็นรูปว่า ‘เป็นมาร เป็นผู้ทำให้ตาย เป็นผู้ตาย
เป็นโรค เป็นดุจหัวฝี เป็นดุจลูกศร เป็นของลำบาก เป็นเหตุเกิดแห่งของลำบาก’
บุคคลเหล่าใดเห็นรูปนั้นอย่างนี้ บุคคลเหล่านั้นชื่อว่าย่อมเห็นชอบ
เมื่อมีเวทนา ฯลฯ
เมื่อมีสัญญา ...
เมื่อมีสังขาร ...
เมื่อมีวิญญาณ จึงมีมาร มีผู้ทำให้ตาย หรือมีผู้ตาย เพราะฉะนั้น เธอจง
เห็นวิญญาณว่า ‘เป็นมาร เป็นผู้ทำให้ตาย เป็นผู้ตาย เป็นโรค เป็นดุจหัวฝี
เป็นดุจลูกศร เป็นของลำบาก เป็นเหตุเกิดแห่งของลำบาก’ บุคคลเหล่าใดเห็น
วิญญาณนั้นอย่างนี้ บุคคลเหล่านั้นชื่อว่าย่อมเห็นชอบ”
“ก็ความเห็นชอบมีประโยชน์อย่างไร พระพุทธเจ้าข้า”
“ราธะ ความเห็นชอบมีประโยชน์ทำให้เบื่อหน่าย”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๒. ราธสังยุต] ๑. ปฐมวรรค๒. สัตตสูตร

“ก็ความเบื่อหน่ายมีประโยชน์อย่างไร พระพุทธเจ้าข้า”
“ความเบื่อหน่ายมีประโยชน์ทำให้คลายกำหนัด”
“ก็ความคลายกำหนัดมีประโยชน์อย่างไร พระพุทธเจ้าข้า”
“ความคลายกำหนัดมีประโยชน์ทำให้หลุดพ้น”
“ก็ความหลุดพ้นมีประโยชน์อย่างไร พระพุทธเจ้าข้า”
“ความหลุดพ้นมีประโยชน์ทำให้นิพพาน”
“ก็นิพพานเล่ามีประโยชน์อย่างไร พระพุทธเจ้าข้า”
“ราธะ เธอถามมากเกินไปแล้ว เธอไม่อาจกำหนดขอบเขตของปัญหาได้
เพราะกุลบุตรย่อมอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ที่หยั่งลงสู่นิพพาน มีนิพพานเป็นจุด
มุ่งหมาย มีนิพพานเป็นที่สุด”

มารสูตรที่ ๑ จบ

๒. สัตตสูตร
ว่าด้วยสัตว์

[๑๖๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระราธะเข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่พระองค์ตรัสว่า ‘สัตว์ สัตว์’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ
พระองค์จึงตรัสว่า ‘สัตว์”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ราธะ บุคคลผู้ข้องติดอยู่ในความพอใจ ความ
กำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยากในรูป เพราะฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า
‘สัตว์’ ... ในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา ... ในสังขาร ... บุคคลผู้ข้องติดอยู่ในความพอใจ
ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยากในวิญญาณ เพราะฉะนั้น
เราจึงกล่าวว่า ‘สัตว์’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๒. ราธสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๓. ภวเนตติสูตร

ราธะ พวกเด็กชายหรือเด็กหญิงเล่นเรือนฝุ่นอยู่ เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความ
กำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความกระหาย
ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจากความทะยานอยากในเรือนฝุ่นเหล่านั้นอยู่เพียงใด
พวกเขาก็อาลัย อยากเล่น หวงแหน ยึดถือเรือนฝุ่นทั้งหลายอยู่เพียงนั้น
แต่เมื่อใด พวกเด็กชายหรือเด็กหญิง เป็นผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจาก
ความพอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความกระหาย ปราศจากความเร่าร้อน
ปราศจากความทะยานอยากในเรือนฝุ่นเหล่านั้น เมื่อนั้น พวกเขาย่อมรื้อ ยื้อแย่ง
ทำลาย ทำเรือนฝุ่นเหล่านั้นให้เล่นไม่ได้ด้วยมือและเท้า แม้ฉันใด แม้เธอทั้งหลาย
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จงรื้อ แยก กระจายออก ทำรูปให้ยินดีไม่ได้ ปฏิบัติเพื่อ
ความสิ้นตัณหา เธอทั้งหลายจงรื้อ แยก กระจายออก ทำเวทนาให้ยินดีไม่ได้
ปฏิบัติเพื่อความสิ้นตัณหา ... สัญญา ... เธอทั้งหลายจงรื้อ แยก กระจายออก
ทำสังขารให้ยินดีไม่ได้ ปฏิบัติเพื่อสิ้นตัณหา เธอทั้งหลายจงรื้อ แยก กระจายออก
ทำวิญญาณให้ยินดีไม่ได้ ปฏิบัติเพื่อความสิ้นตัณหา ราธะ ก็ความสิ้นตัณหา จัด
เป็นนิพพาน”

สัตตสูตรที่ ๒ จบ

๓. ภวเนตติสูตร
ว่าด้วยกิเลสเป็นเหตุนำไปสู่ภพ

[๑๖๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ท่านพระราธะนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ที่พระองค์ตรัสว่า ‘กิเลสเป็นเหตุนำไปสู่ภพ’ กิเลสเป็นเหตุนำไป
สู่ภพเป็นอย่างไร ความดับกิเลสเป็นเหตุนำไปสู่ภพเป็นอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ราธะ ความพอใจ ความกำหนัด ความ
เพลิดเพลิน ความทะยานอยาก อุบายและความยึดมั่นอันเป็นเหตุที่ใจเข้าไป
ตั้งมั่นถือมั่นและนอนเนื่องในรูป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๒. ราธสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๔. ปริญเญยยสูตร

นี้เรากล่าวว่า กิเลสเป็นเหตุนำไปสู่ภพ เพราะดับกิเลสเหล่านั้น จึงจัดเป็น
ความดับกิเลสเป็นเหตุนำไปสู่ภพ
ความพอใจ ฯลฯ ในเวทนา ... ในสัญญา ... ในสังขาร ...
ความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก อุบาย
และความยึดมั่นอันเป็นเหตุที่ใจเข้าไปตั้งมั่นถือมั่นและนอนเนื่องในวิญญาณ
นี้เรากล่าวว่า กิเลสเป็นเหตุนำไปสู่ภพ เพราะดับกิเลสเหล่านั้น จึงจัดเป็น
ความดับกิเลสเป็นเหตุนำไปสู่ภพ”

ภวเนตติสูตรที่ ๓ จบ

๔. ปริญเญยยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ควรกำหนดรู้

[๑๖๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ท่านพระราธะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว
นั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ราธะ เราจักแสดงธรรมที่ควรกำหนดรู้ ความกำหนดรู้ และบุคคลผู้กำหนดรู้
เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
ท่านพระราธะรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสว่า
“ราธะ ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เป็นอย่างไร
คือ รูปเป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้ เวทนาเป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้ สัญญา
เป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้ สังขารเป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้ วิญญาณเป็นธรรมที่ควร
กำหนดรู้
เหล่านี้เราเรียกว่า ธรรมที่ควรกำหนดรู้
ความกำหนดรู้ เป็นอย่างไร
คือ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ
นี้เรียกว่า ความกำหนดรู้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๒. ราธสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๕. สมณสูตร

บุคคลผู้กำหนดรู้ เป็นอย่างไร
คือ ควรกล่าวได้ว่า บุคคลผู้กำหนดรู้นั้น คือพระอรหันต์ ได้แก่ ท่านผู้
มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้
นี้เรียกว่า บุคคลผู้กำหนดรู้”

ปริญเญยยสูตรที่ ๔ จบ

๕. สมณสูตร
ว่าด้วยสมณะ

[๑๖๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระราธะผู้นั่ง ณ ที่สมควร ดังนี้ว่า “ราธะ
อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้
อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป)
๒. เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา)
๓. สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา)
๔. สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร)
๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ)
ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งไม่รู้ชัดคุณ โทษ และเครื่องสลัดออก
จากอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นก็
ไม่ได้รับยกย่องว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือไม่ได้รับยกย่องว่าเป็นพราหมณ์ใน
หมู่พราหมณ์ อนึ่ง ท่านเหล่านั้นจะทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะหรือ
ประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบันไม่ได้
ราธะ ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดคุณ โทษ และเครื่อง
สลัดออกจากอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๒. ราธสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๗. โสตาปันนสูตร

เหล่านั้นก็ได้รับยกย่องว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือได้รับยกย่องว่าเป็นพราหมณ์
ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้นก็จะทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ
หรือประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบันได้”

สมณสูตรที่ ๕ จบ

๖. ทุติยสมณสูตร
ว่าด้วยสมณะ สูตรที่ ๒

[๑๖๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระราธะผู้นั่ง ณ ที่สมควร ดังนี้ว่า “ราธะ
อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้
อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปูปาทานขันธ์ ๒. เวทนูปาทานขันธ์
๓. สัญญูปาทานขันธ์ ๔. สังขารูปาทานขันธ์
๕. วิญญาณูปาทานขันธ์
ราธะ ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่รู้ชัดความเกิด ความดับ
คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ตามความเป็นจริง
ฯลฯ ก็จะทำให้แจ้ง ... ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบันได้”

ทุติยสมณสูตรที่ ๖ จบ

๗. โสตาปันนสูตร
ว่าด้วยพระโสดาบัน

[๑๖๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระราธะผู้นั่ง ณ ที่สมควร ดังนี้ว่า “ราธะ
อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๒. ราธสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๘. อรหันตสูตร

อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปูปาทานขันธ์ ฯลฯ ๕. วิญญาณูปาทานขันธ์
เพราะเหตุที่อริยสาวกรู้ชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัด
ออกจากอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ตามความเป็นจริง
ราธะ นี้เราเรียกว่า อริยสาวกผู้เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความ
แน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”

โสตาปันนสูตรที่ ๗ จบ

๘. อรหันตสูตร
ว่าด้วยพระอรหันต์

[๑๖๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระราธะผู้นั่ง ณ ที่สมควร ดังนี้ว่า “ราธะ
อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้
อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปูปาทานขันธ์ ฯลฯ ๕. วิญญาณูปาทานขันธ์
เพราะเหตุที่ภิกษุรู้ชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออก
จากอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ตามความเป็นจริง จึงเป็นผู้หลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น
ราธะ นี้เราเรียกว่า เป็นภิกษุอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว
สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ”

อรหันตสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๒. ราธสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๑๐. ทุติยฉันทราคสูตร

๙. ฉันทราคสูตร
ว่าด้วยความพอใจและความกำหนัด

[๑๖๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสกับท่านพระราธะผู้นั่ง ณ ที่สมควร ดังนี้ว่า “ราธะ
เธอจงละความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยากในรูป
เมื่อเป็นเช่นนี้ รูปนั้นจักเป็นอันเธอละได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาล
ที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
เธอจงละความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก
ในเวทนา เมื่อเป็นเช่นนี้ เวทนานั้นก็จักเป็นอันเธอละได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน
เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อ
ไปไม่ได้ ... ในสัญญา ฯลฯ
เธอจงละความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก
ในสังขาร เมื่อเป็นเช่นนี้ สังขารเหล่านั้นก็จักเป็นอันเธอละได้เด็ดขาด ตัดรากถอน
โคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้น
ต่อไปไม่ได้
เธอจงละความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก
ในวิญญาณ เมื่อเป็นเช่นนี้ วิญญาณนั้นก็จักเป็นอันเธอละได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน
เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อ
ไปไม่ได้”

ฉันทราคสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ทุติยฉันทราคสูตร
ว่าด้วยความพอใจและความกำหนัด สูตรที่ ๒

[๑๖๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระราธะผู้นั่ง ณ ที่สมควรดังนี้ว่า “ราธะ
เธอจงละความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก อุบาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๒. ราธสังยุต]
๑. ปฐมวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

และความยึดมั่นอันเป็นเหตุที่ใจเข้าไปตั้งมั่นถือมั่นและนอนเนื่องในรูป เมื่อเป็นเช่นนี้
รูปนั้นก็จักเป็นอันเธอละได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดราก
ถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
เธอจงละความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก
อุบายและความยึดมั่นอันเป็นเหตุที่ใจเข้าไปตั้งมั่นถือมั่นและนอนเนื่องในเวทนา
เมื่อเป็นเช่นนี้ เวทนานั้นก็จักเป็นอันเธอละได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน เหมือน
ต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ...
ในสัญญา ฯลฯ
เธอจงละความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก
อุบายและความยึดมั่นอันเป็นเหตุที่ใจเข้าไปตั้งมั่นถือมั่นและนอนเนื่องในสังขาร
เมื่อเป็นเช่นนี้ สังขารนั้นก็จักเป็นอันเธอละได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน เหมือน
ต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
เธอจงละความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก
อุบายและความยึดมั่นอันเป็นเหตุที่ใจเข้าไปตั้งมั่นถือมั่นและนอนเนื่องในวิญญาณ
เมื่อเป็นเช่นนี้ วิญญาณนั้นก็จักเป็นอันเธอละได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน เหมือน
ต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้”

ทุติยฉันทราคสูตรที่ ๑๐ จบ
ปฐมวรรค จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. มารสูตร ๒. สัตตสูตร
๓. ภวเนตติสูตร ๔. ปริญเญยยสูตร
๕. สมณสูตร ๖. ทุติยสมณสูตร
๗. โสตาปันนสูตร ๘. อรหันตสูตร
๙. ฉันทราคสูตร ๑๐. ทุติยฉันทราคสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๒. ราธสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๒. มารธัมมสูตร

๒. ทุติยวรรค
หมวดที่ ๒
๑. มารสูตร
ว่าด้วยมาร

[๑๗๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ท่านพระราธะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ที่พระองค์ตรัสว่า ‘มาร มาร’ มารเป็นอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ราธะ รูปเป็นมาร เวทนาเป็นมาร สัญญา
เป็นมาร สังขารเป็นมาร วิญญาณเป็นมาร
ราธะ อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อม
เบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขาร
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด
จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
อีกต่อไป”

มารสูตรที่ ๑ จบ

๒. มารธัมมสูตร
ว่าด้วยธรรมของมาร

[๑๗๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ท่านพระราธะนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ที่พระองค์ตรัสว่า ‘ธรรมของมาร ธรรมของมาร’ ธรรมของมาร
เป็นอย่างไร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๒. ราธสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๔. อนิจจธัมมสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ราธะ รูปเป็นธรรมของมาร เวทนาเป็นธรรม
ของมาร สัญญาเป็นธรรมของมาร สังขารเป็นธรรมของมาร วิญญาณเป็นธรรม
ของมาร
ราธะ อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่นเพื่อ
ความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

มารธัมมสูตรที่ ๒ จบ

๓. อนิจจสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ไม่เที่ยง

[๑๗๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ท่านพระราธะนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ที่พระองค์ตรัสว่า ‘สิ่งที่ไม่เที่ยง สิ่งที่ไม่เที่ยง’ สิ่งที่ไม่เที่ยง
เป็นอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ราธะ รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง
สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง
ราธะ อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่นเพื่อ
ความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

อนิจจสูตรที่ ๓ จบ

๔. อนิจจธัมมสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่มีความไม่เที่ยงเป็นธรรมดา

[๑๗๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ท่านพระราธะนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ที่พระองค์ตรัสว่า ‘สิ่งที่มีความไม่เที่ยงเป็นธรรมดา สิ่งที่มีความ
ไม่เที่ยงเป็นธรรมดา’ สิ่งที่มีความไม่เที่ยงเป็นธรรมดาเป็นอย่างไร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๒. ราธสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๖. ทุกขธัมมสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ราธะ รูปมีความไม่เที่ยงเป็นธรรมดา เวทนา
มีความไม่เที่ยงเป็นธรรมดา สัญญามีความไม่เที่ยงเป็นธรรมดา สังขารมีความไม่
เที่ยงเป็นธรรมดา วิญญาณมีความไม่เที่ยงเป็นธรรมดา
ราธะ อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่นเพื่อ
ความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

อนิจจธัมมสูตรที่ ๔ จบ

๕. ทุกขสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นทุกข์

[๑๗๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ท่านพระราธะนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ที่พระองค์ตรัสว่า ‘ทุกข์ ทุกข์’ ทุกข์เป็นอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ราธะ รูปเป็นทุกข์ เวทนาเป็นทุกข์ สัญญา
เป็นทุกข์ สังขารเป็นทุกข์ วิญญาณเป็นทุกข์
ราธะ อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่นเพื่อ
ความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

ทุกขสูตรที่ ๕ จบ

๖. ทุกขธัมมสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่มีทุกข์เป็นธรรมดา

[๑๗๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ท่านพระราธะนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ที่พระองค์ตรัสว่า ‘สิ่งที่มีทุกข์เป็นธรรมดา สิ่งที่มีทุกข์เป็นธรรมดา’
สิ่งที่มีทุกข์เป็นธรรมดาเป็นอย่างไร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๒. ราธสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๘. อนัตตธัมมสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ราธะ รูปมีทุกข์เป็นธรรมดา เวทนามีทุกข์
เป็นธรรมดา สัญญามีทุกข์เป็นธรรมดา สังขารมีทุกข์เป็นธรรมดา วิญญาณมี
ทุกข์เป็นธรรมดา
ราธะ อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่นเพื่อ
ความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

ทุกขธัมมสูตรที่ ๖ จบ

๗. อนัตตสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นอนัตตา

[๑๗๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ท่านพระราธะนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ที่พระองค์ตรัสว่า ‘อนัตตา อนัตตา’ อนัตตาเป็นอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ราธะ รูปเป็นอนัตตา เวทนาเป็นอนัตตา
สัญญาเป็นอนัตตา สังขารเป็นอนัตตา วิญญาณเป็นอนัตตา
ราธะ อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่นเพื่อ
ความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

อนัตตสูตรที่ ๗ จบ

๘. อนัตตธัมมสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่มีอนัตตาเป็นธรรมดา

[๑๗๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ท่านพระราธะนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ที่พระองค์ตรัสว่า ‘สิ่งที่มีอนัตตาเป็นธรรมดา สิ่งที่มีอนัตตาเป็น
ธรรมดา’ สิ่งที่มีอนัตตาเป็นธรรมดาเป็นอย่างไร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๒. ราธสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๙. ขยธัมมสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ราธะ รูปมีอนัตตาเป็นธรรมดา เวทนามี
อนัตตาเป็นธรรมดา สัญญามีอนัตตาเป็นธรรมดา สังขารมีอนัตตาเป็นธรรมดา
วิญญาณมีอนัตตาเป็นธรรมดา
ราธะ อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่นเพื่อ
ความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

อนัตตธัมมสูตรที่ ๘ จบ

๙. ขยธัมมสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา

[๑๗๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ท่านพระราธะนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ที่พระองค์ตรัสว่า ‘สิ่งที่มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา สิ่งที่มีความสิ้น
ไปเป็นธรรมดา’ สิ่งที่มีความสิ้นไปเป็นธรรมดาเป็นอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ราธะ รูปมีความสิ้นไปเป็นธรรมดา เวทนามี
ความสิ้นไปเป็นธรรมดา สัญญามีความสิ้นไปเป็นธรรมดา สังขารมีความสิ้นไป
เป็นธรรมดา วิญญาณมีความสิ้นไปเป็นธรรมดา
ราธะ อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่นเพื่อ
ความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

ขยธัมมสูตรที่ ๙ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๒. ราธสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๑๑. สมุทยธัมมสูตร

๑๐. วยธัมมสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา

[๑๗๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ท่านพระราธะนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ที่พระองค์ตรัสว่า ‘สิ่งที่มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา สิ่งที่มีความ
เสื่อมไปเป็นธรรมดา’ สิ่งที่มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดาเป็นอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ราธะ รูปมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา เวทนา
มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา สัญญามีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา สังขารมีความ
เสื่อมไปเป็นธรรมดา วิญญาณมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา
ราธะ อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่นเพื่อ
ความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

วยธัมมสูตรที่ ๑๐ จบ

๑๑. สมุทยธัมมสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา

[๑๘๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ท่านพระราธะนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ที่พระองค์ตรัสว่า ‘สิ่งที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งที่มีความ
เกิดขึ้นเป็นธรรมดา’ สิ่งที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาเป็นอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ราธะ รูปมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา เวทนามี
ความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สัญญามีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สังขารมีความเกิดขึ้น
เป็นธรรมดา วิญญาณมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
ราธะ อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่นเพื่อ
ความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

สมุทยธัมมสูตรที่ ๑๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๒. ราธสังยุต]
๒. ทุติยวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑๒. นิโรธธัมมสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่มีความดับไปเป็นธรรมดา

[๑๘๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ท่านพระราธะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ที่พระองค์ตรัสว่า ‘สิ่งที่มีความดับไปเป็นธรรมดา สิ่งที่มีความดับไปเป็นธรรมดา’
สิ่งที่มีความดับไปเป็นธรรมดาเป็นอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ราธะ รูปมีความดับไปเป็นธรรมดา เวทนามี
ความดับไปเป็นธรรมดา สัญญามีความดับไปเป็นธรรมดา สังขารมีความดับไป
เป็นธรรมดา วิญญาณมีความดับไปเป็นธรรมดา
ราธะ อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่นเพื่อ
ความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

นิโรธธัมมสูตรที่ ๑๒ จบ
ทุติยวรรค จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. มารสูตร ๒. มารธัมมสูตร
๓. อนิจจสูตร ๔. อนิจจธัมมสูตร
๕. ทุกขสูตร ๖. ทุกขธัมมสูตร
๗. อนัตตสูตร ๘. อนัตตธัมมสูตร
๙. ขยธัมมสูตร ๑๐. วยธัมมสูตร
๑๑. สมุทยธัมมสูตร ๑๒. นิโรธธัมมสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๒. ราธสังยุต]
๓. อายาจนวรรค ๑. มารสูตร

๓. อายาจนวรรค
หมวดว่าด้วยการอาราธนา
๑-๑๑. มาราทิสุตตเอกาทสกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๑๑ สูตร มีมารสูตรเป็นต้น
๑.มารสูตร
ว่าด้วยมาร

[๑๘๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ท่านพระราธะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ซึ่ง
ข้าพระองค์ได้ฟังแล้วจะพึงหลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร
อุทิศกายและใจอยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ราธะ สิ่งใดเป็นมาร เธอพึงละฉันทะ ราคะ ฉันทราคะ
ในสิ่งนั้น
ก็อะไรเล่าเป็นมาร
คือ รูปเป็นมาร เธอพึงละฉันทะ ราคะ ฉันทราคะในรูปนั้น
เวทนาเป็นมาร เธอพึงละฉันทะ ... ในเวทนานั้น
สัญญาเป็นมาร เธอพึงละฉันทะ ... ในสัญญานั้น
สังขารเป็นมาร เธอพึงละฉันทะ ... ในสังขารนั้น
วิญญาณเป็นมาร เธอพึงละฉันทะ ราคะ ฉันทราคะในวิญญาณนั้น
ราธะ สิ่งใดเป็นมาร เธอพึงละฉันทะ ราคะ ฉันทราคะในสิ่งนั้น”

มารสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๒. ราธสังยุต]
๓. อายาจนวรรค ๕. ทุกขสูตร

๒. มารธัมมสูตร
ว่าด้วยธรรมของมาร

[๑๘๓] “ราธะ สิ่งใดเป็นธรรมของมาร๑ เธอพึงละฉันทะ ราคะ ฉันทราคะ
ในสิ่งนั้น ฯลฯ

มารธัมมสูตรที่ ๒ จบ

๓. อนิจจสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ไม่เที่ยง

[๑๘๔] “ราธะ สิ่งใดไม่เที่ยง ฯลฯ

อนิจจสูตรที่ ๓ จบ

๔. อนิจจธัมมสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่มีความไม่เที่ยงเป็นธรรมดา

[๑๘๕] “ราธะ สิ่งใดมีความไม่เที่ยงเป็นธรรมดา ฯลฯ

อนิจจธัมมสูตรที่ ๔ จบ

๕. ทุกขสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นทุกข์

[๑๘๖] “ราธะ สิ่งใดเป็นทุกข์ ฯลฯ

ทุกขสูตรที่ ๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๒. ราธสังยุต]
๓. อายาจนวรรค ๑๐. วยธัมมสูตร

๖. ทุกขธัมมสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่มีทุกข์เป็นธรรมดา

[๑๘๗] “ราธะ สิ่งใดมีทุกข์เป็นธรรมดา ฯลฯ

ทุกขธัมมสูตรที่ ๖ จบ

๗. อนัตตสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นอนัตตา

[๑๘๘] “ราธะ สิ่งใดเป็นอนัตตา ฯลฯ

อนัตตสูตรที่ ๗ จบ

๘. อนัตตธัมมสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่มีอนัตตาเป็นธรรมดา

[๑๘๙] “ราธะ สิ่งใดมีอนัตตาเป็นธรรมดา ฯลฯ

อนัตตธัมมสูตรที่ ๘ จบ

๙. ขยธัมมสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา

[๑๙๐] “ราธะ สิ่งใดมีความสิ้นไปเป็นธรรมดา ฯลฯ

ขยธัมมสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. วยธัมมสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา

[๑๙๑] “ราธะ สิ่งใดมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ฯลฯ

วยธัมมสูตรที่ ๑๐ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๒. ราธสังยุต]
๓. อายาจนวรรค ๑๒. นิโรธธัมมสูตร

๑๑. สมุทยธัมมสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา

[๑๙๒] “ราธะ สิ่งใดมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา เธอพึงละฉันทะ ราคะ
ฉันทราคะในสิ่งนั้น ฯลฯ

สมุทยธัมมสูตรที่ ๑๑ จบ

๑๒. นิโรธธัมมสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่มีความดับไปเป็นธรรมดา

[๑๙๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ท่านพระราธะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ได้กราบ
ทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มี
พระภาคโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ซึ่งข้าพระองค์ได้ฟังแล้วจะพึงหลีก
ออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ราธะ สิ่งใดมีความดับไปเป็นธรรมดา เธอพึงละฉันทะ
ราคะ ฉันทราคะในสิ่งนั้น
ก็อะไรเล่ามีความดับไปเป็นธรรมดา
คือ รูปมีความดับไปเป็นธรรมดา เธอพึงละฉันทะ ราคะ ฉันทราคะในรูปนั้น
เวทนามีความดับไปเป็นธรรมดา ฯลฯ
สัญญา ...
สังขาร ...
วิญญาณมีความดับไปเป็นธรรมดา เธอพึงละฉันทะ ราคะ ฉันทราคะใน
วิญญาณนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๒. ราธสังยุต]
๓. อายาจนวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ราธะ สิ่งใดมีความดับไปเป็นธรรมดา เธอพึงละฉันทะ ราคะ ฉันทราคะใน
สิ่งนั้น”

นิโรธธัมมสูตรที่ ๑๒ จบ
อายาจนวรรคที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. มารสูตร ๒. มารธัมมสูตร
๓. อนิจจสูตร ๔. อนิจจธัมมสูตร
๕. ทุกขสูตร ๖. ทุกขธัมมสูตร
๗. อนัตตสูตร ๘. อนัตตธัมมสูตร
๙. ขยธัมมสูตร ๑๐. วยธัมมสูตร
๑๑. สมุทยธัมมสูตร ๑๒. นิโรธธัมมสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๒. ราธสังยุต]
๔. อุปนิสินนวรรค ๒. มารธัมมสูตร

๔. อุปนิสินนวรรค
หมวดว่าด้วยผู้เข้าไปนั่งใกล้
๑-๑๑. มาราทิสุตตเอกาทสกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๑๑ สูตร มีมารสูตรเป็นต้น
๑. มารสูตร
ว่าด้วยมาร

[๑๙๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระราธะผู้นั่ง ณ ที่สมควร ดังนี้ว่า “ราธะ
สิ่งใดเป็นมาร เธอพึงละฉันทะ ราคะ ฉันทราคะในสิ่งนั้น
ก็อะไรเล่าเป็นมาร
คือ รูปเป็นมาร เธอพึงละฉันทะ ราคะ ฉันทราคะในรูปนั้น ฯลฯ
วิญญาณเป็นมาร เธอพึงละฉันทะ ราคะ ฉันทราคะในวิญญาณนั้น
ราธะ สิ่งใดเป็นมาร เธอพึงละฉันทะ ราคะ ฉันทราคะในสิ่งนั้น”

มารสูตรที่ ๑ จบ

๒. มารธัมมสูตร
ว่าด้วยธรรมของมาร

[๑๙๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ราธะ สิ่งใดเป็นธรรมของมาร เธอพึงละฉันทะ ราคะ ฉันทราคะในสิ่งนั้น ฯลฯ

มารธัมมสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๒. ราธสังยุต]
๔. อุปนิสินนวรรค ๗. อนัตตสูตร

๓. อนิจจสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ไม่เที่ยง

[๑๙๖] “ราธะ สิ่งใดไม่เที่ยง ฯลฯ

อนิจจสูตรที่ ๓ จบ

๔. อนิจจธัมมสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่มีความไม่เที่ยงเป็นธรรมดา

[๑๙๗] “ราธะ สิ่งใดมีความไม่เที่ยงเป็นธรรมดา ฯลฯ

อนิจจธัมมสูตรที่ ๔ จบ

๕. ทุกขสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นทุกข์

[๑๙๘] “ราธะ สิ่งใดเป็นทุกข์ ฯลฯ

ทุกขสูตรที่ ๕ จบ

๖. ทุกขธัมมสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่มีทุกข์เป็นธรรมดา

[๑๙๙] “ราธะ สิ่งใดมีทุกข์เป็นธรรมดา ฯลฯ

ทุกขธัมมสูตรที่ ๖ จบ

๗. อนัตตสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นอนัตตา

[๒๐๐] “ราธะ สิ่งใดเป็นอนัตตา ฯลฯ

อนัตตสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๒. ราธสังยุต]
๔. อุปนิสินนวรรค ๑๑. สมุทยธัมมสูตร

๘. อนัตตธัมมสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่มีอนัตตาเป็นธรรมดา

[๒๐๑] “ราธะ สิ่งใดมีอนัตตาเป็นธรรมดา ฯลฯ

อนัตตธัมมสูตรที่ ๘ จบ

๙. ขยธัมมสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา

[๒๐๒] “ราธะ สิ่งใดมีความสิ้นไปเป็นธรรมดา ฯลฯ

ขยธัมมสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. วยธัมมสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา

[๒๐๓] “ราธะ สิ่งใดมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ฯลฯ

วยธัมมสูตรที่ ๑๐ จบ

๑๑. สมุทยธัมมสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา

[๒๐๔] “ราธะ สิ่งใดมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา เธอพึงละฉันทะ ราคะ
ฉันทราคะในสิ่งนั้น ฯลฯ

สมุทยธัมมสูตรที่ ๑๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๒. ราธสังยุต]
๔. อุปนิสินนวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑๒. นิโรธธัมมสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่มีความดับไปเป็นธรรมดา

[๒๐๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระราธะผู้นั่ง ณ ที่สมควร ดังนี้ว่า “ราธะ
สิ่งใดมีความดับไปเป็นธรรมดา เธอพึงละฉันทะ ราคะ ฉันทราคะในสิ่งนั้น
ก็อะไรเล่ามีความดับไปเป็นธรรมดา
คือ รูปมีความดับไปเป็นธรรมดา เธอพึงละฉันทะ ราคะ ฉันทราคะในรูปนั้น
เวทนา ฯลฯ
สัญญา ...
สังขาร ...
วิญญาณมีความดับไปเป็นธรรมดา เธอพึงละฉันทะ ราคะ ฉันทราคะใน
วิญญาณนั้น
ราธะ สิ่งใดมีความดับไปเป็นธรรมดา เธอพึงละฉันทะ ราคะ ฉันทราคะใน
สิ่งนั้น”

นิโรธธัมมสูตรที่ ๑๒ จบ
อุปนิสินนวรรคที่ ๔ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. มารสูตร ๒. มารธัมมสูตร
๓. อนิจจสูตร ๔. อนิจจธัมมสูตร
๕. ทุกขสูตร ๖. ทุกขธัมมสูตร
๗. อนัตตสูตร ๘. อนัตตธัมมสูตร
๙. ขยธัมมสูตร ๑๐. วยธัมมสูตร
๑๑. สมุทยธัมมสูตร ๑๒. นิโรธธัมมสูตร

ราธสังยุต จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๑. โสตาปัตติวรรค ๑. วาตสูตร

๓. ทิฏฐิสังยุต
๑. โสตาปัตติวรรค
หมวดว่าด้วยโสดาปัตติมรรค
๑. วาตสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าลมไม่พัดเป็นต้น

[๒๐๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน เขต
กรุงสาวัตถี ฯลฯ ได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘ลมไม่พัด แม่น้ำไม่ไหล สตรีมีครรภ์
ไม่คลอด ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ไม่ขึ้นหรือไม่ตก มั่นคงดุจเสาระเนียด”
ภิกษุเหล่านั้นทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาค
เป็นที่พึ่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เฉพาะพระผู้มีพระภาค
เท่านั้นที่จะทรงอธิบายเนื้อความแห่งพระภาษิตนั้นให้แจ่มแจ้งได้ ภิกษุทั้งหลายฟัง
ต่อจากพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เธอทั้งหลายจงฟัง จง
ใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘ลมไม่พัด แม่น้ำไม่ไหล สตรีมีครรภ์ไม่คลอด ดวงจันทร์และ
ดวงอาทิตย์ไม่ขึ้นหรือไม่ตก มั่นคงดุจเสาระเนียด’
เมื่อมีเวทนา ฯลฯ
เมื่อมีสัญญา ...
เมื่อมีสังขาร ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๑. โสตาปัตติวรรค ๑. วาตสูตร

เมื่อมีวิญญาณ เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘ลมไม่พัด แม่น้ำไม่ไหล สตรีมีครรภ์ไม่คลอด ดวงจันทร์และ
ดวงอาทิตย์ไม่ขึ้นหรือไม่ตก มั่นคงดุจเสาระเนียด’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่
เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น
ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘ลมไม่พัด แม่น้ำไม่ไหล สตรีมีครรภ์ไม่คลอด
ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ไม่ขึ้นหรือไม่ตก มั่นคงดุจเสาระเนียด”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯลฯ สัญญาเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯลฯ สังขาร
เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯลฯ วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น
ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘ลมไม่พัด แม่น้ำไม่ไหล สตรีมีครรภ์ไม่คลอด
ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ไม่ขึ้นหรือไม่ตก มั่นคงดุจเสาระเนียด”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“แม้สิ่งที่บุคคลได้เห็น ฟัง ทราบ รู้ ถึง แสวงหา ใคร่ครวญด้วยใจ
เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๑. โสตาปัตติวรรค ๒. เอตังมมสูตร

“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น
ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘ลมไม่พัด แม่น้ำไม่ไหล สตรีมีครรภ์ไม่คลอด
ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ไม่ขึ้นหรือไม่ตก มั่นคงดุจเสาระเนียด”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่อริยสาวกละความสงสัยในฐานะ ๖ ประการนี้ได้
ฉะนั้น จึงละความสงสัยแม้ในทุกข์ ละความสงสัยแม้ในเหตุเกิดแห่งทุกข์ ละความ
สงสัยแม้ในความดับแห่งทุกข์ ละความสงสัยแม้ในปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่ง
ทุกข์ได้
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า อริยสาวกผู้เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มี
ความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”

วาตสูตรที่ ๑ จบ

๒. เอตังมมสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่านั่นของเรา

[๒๐๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตา
ของเรา”
ภิกษุเหล่านั้นทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย
มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป เพราะถือมั่นรูป เพราะ
ยึดมั่นรูป ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๑. โสตาปัตติวรรค ๒. เอตังมมสูตร

เมื่อมีเวทนา ฯลฯ
เมื่อมีสัญญา ...
เมื่อมีสังขาร ...
เมื่อมีวิญญาณ เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่
เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯลฯ
“เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘นั่นของเรา
เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“แม้สิ่งที่บุคคลได้เห็น ฟัง ทราบ รู้ ถึง แสวงหา ใคร่ครวญด้วยใจ
เที่ยงหรือไม่เที่ยง’
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น
ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่อริยสาวกละความสงสัยในฐานะ ๖ ประการนี้ได้
ฉะนั้น จึงละความสงสัยแม้ในทุกข์ ฯลฯ ละความสงสัยแม้ในปฏิปทาที่ให้ถึง
ความดับแห่งทุกข์ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๑. โสตาปัตติวรรค ๓. โสอัตตาสูตร

ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า อริยสาวกผู้เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มี
ความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”

เอตังมมสูตรที่ ๒ จบ

๓. โสอัตตาสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าอัตตากับโลกเป็นอย่างเดียวกัน

[๒๐๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘อัตตากับโลกเป็นอย่างเดียวกัน เรา
นั้นละโลกนี้ไปแล้วจักเป็นผู้เที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน มีความไม่แปรผันเป็นธรรมดา”
ภิกษุเหล่านั้นทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘อัตตา ฯลฯ มีความไม่แปรผันเป็นธรรมดา’
เมื่อมีเวทนา ฯลฯ
เมื่อมีสัญญา ...
เมื่อมีสังขาร ...
เมื่อมีวิญญาณ เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘อัตตากับโลกเป็นอย่างเดียวกัน เรานั้นละโลกนี้ไปแล้วจักเป็นผู้เที่ยงแท้
ยั่งยืน คงทน มีความไม่แปรผันเป็นธรรมดา’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่
เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึง
เกิดขึ้นหรือว่า ‘อัตตา ฯลฯ มีความไม่แปรผันเป็นธรรมดา”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๑. โสตาปัตติวรรค ๔. โนจเมสิยาสูตร

“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึง
เกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘อัตตา ฯลฯ มีความไม่แปรผันเป็นธรรมดา”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“แม้สิ่งที่บุคคลได้เห็น ฟัง ทราบ รู้ ถึง แสวงหา ใคร่ครวญด้วยใจ
เที่ยงหรือไม่เที่ยง’'
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างว่า ‘อัตตากับโลก
เป็นอย่างเดียวกัน เรานั้นละโลกนี้ไปแล้วจักเป็นผู้เที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน มีความ
ไม่แปรผันเป็นธรรมดา’
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่อริยสาวกละความสงสัยในฐานะ ๖ ประการนี้ได้
ฉะนั้น จึงละความสงสัยแม้ในทุกข์ ฯลฯ ละความสงสัยแม้ในปฏิปทาที่ให้ถึง
ความดับแห่งทุกข์ได้
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า อริยสาวกผู้เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มี
ความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”

โสอัตตาสูตรที่ ๓ จบ

๔. โนจเมสิยาสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าเราไม่พึงมี

[๒๐๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘ถ้าเราไม่พึงมี แม้บริขารของเราก็ไม่พึงมี
ถ้าเราจักไม่ได้มีแล้ว แม้บริขารของเราก็จักไม่มี”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๑. โสตาปัตติวรรค ๔. โนจเมสิยาสูตร

ภิกษุเหล่านั้นทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป เพราะถือมั่นรูป เพราะ
ยึดมั่นรูป ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘ถ้าเราไม่พึงมี แม้บริขารของเราก็ไม่พึงมี ถ้า
เราจักไม่ได้มีแล้ว แม้บริขารของเราก็จักไม่มี’
เมื่อมีเวทนา ...
เมื่อมีสัญญา ...
เมื่อมีสังขาร ...
เมื่อมีวิญญาณ เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘ถ้าเราไม่พึงมี แม้บริขารของเราก็ไม่พึงมี ถ้าเราจักไม่ได้มีแล้ว แม้
บริขารของเราก็จักไม่มี’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่
เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘ถ้าเราไม่
พึงมี แม้บริขารของเราก็ไม่พึงมี ถ้าเราจักไม่ได้มีแล้ว แม้บริขารของเราก็จักไม่มี”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘ถ้าเราไม่
พึงมี แม้บริขารของเราก็ไม่พึงมี ถ้าเราจักไม่ได้มีแล้ว แม้บริขารของเราก็จักไม่มี”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“แม้สิ่งที่บุคคลได้เห็น ฟัง ทราบ รู้ ถึง แสวงหา ใคร่ครวญด้วยใจ
เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๑. โสตาปัตติวรรค ๕. นัตถิทินนสูตร

“ฯลฯ เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘ถ้าเราไม่
พึงมี แม้บริขารของเราก็ไม่พึงมี ถ้าเราจักไม่ได้มีแล้ว บริขารของเราก็จักไม่มี”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่อริยสาวกละความสงสัยในฐานะ ๖ ประการนี้ได้
ฉะนั้น จึงละความสงสัยแม้ในทุกข์ ฯลฯ ละความสงสัยแม้ในปฏิปทาที่ให้ถึง
ความดับแห่งทุกข์ได้
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า อริยสาวกผู้เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความ
แน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”

โนจเมสิยาสูตรที่ ๔ จบ

๕. นัตถิทินนสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าทานที่ให้แล้วไม่มีผลเป็นต้น

[๒๑๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้ว
ไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วก็ไม่มี โลกนี้ไม่มี
โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มีคุณ บิดาไม่มีคุณ โอปปาติกสัตว์๑ไม่มี สมณพราหมณ์
ผู้ประพฤติปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนให้
ผู้อื่นรู้แจ้งก็ไม่มีในโลก๒ บุรุษคือประชุมแห่งมหาภูตรูปทั้ง ๔ เมื่อตายไป ธาตุดิน
ไปตามธาตุดิน ธาตุน้ำไปตามธาตุน้ำ ธาตุไฟไปตามธาตุไฟ ธาตุลมไปตามธาตุลม
อินทรีย์ทั้งหลายย่อมผันแปรไปเป็นอากาศธาตุ บุรุษทั้งหลายมีเตียงเป็นที่ ๕๓
นำศพไป รอยเท้าปรากฏเพียงแค่ป่าช้า กลายเป็นกระดูกขาวโพลนดุจสีนกพิราบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๑. โสตาปัตติวรรค ๖. กโรโตสูตร

การเซ่นสรวงสิ้นสุดลงแค่เถ้าถ่าน คนเขลาบัญญัติทานนี้ไว้ คำที่คนบางพวกย้ำว่า
มีผลนั้นว่างเปล่า เท็จ ไร้สาระ หลังจากตายไป ไม่ว่าคนเขลาและคนฉลาดย่อม
ขาดสูญ ไม่เกิดอีก”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล ฯลฯ หลังจากตายไป
ไม่ว่าคนเขลาและคนฉลาดย่อมขาดสูญ ไม่เกิดอีก’
เมื่อมีเวทนา ฯลฯ
เมื่อมีสัญญา ...
เมื่อมีสังขาร ...
เมื่อมีวิญญาณ เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล ฯลฯ หลังจากตายไป
ไม่ว่าคนเขลาและคนฉลาดย่อมขาดสูญ ไม่เกิดอีก’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่
เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น
ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล
ฯลฯ หลังจากตายไป ไม่ว่าคนเขลาและคนฉลาดย่อมขาดสูญ ไม่เกิดอีก”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เวทนา ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๑. โสตาปัตติวรรค ๖. กโรโตสูตร

“ฯลฯ เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘ทานที่ให้
แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล ... หลังจากตายไป ไม่ว่าคนเขลาและคน
ฉลาดย่อมขาดสูญ ไม่เกิดอีก”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“แม้สิ่งที่บุคคลได้เห็น ฟัง ทราบ รู้ ถึง แสวงหา ใคร่ครวญด้วยใจ
เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘ทานที่ให้
แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล ฯลฯ คำที่คนบางพวกย้ำว่ามีผลนั้นว่างเปล่า เท็จ
ไร้สาระ หลังจากตายไป ไม่ว่าคนเขลาและคนฉลาดย่อมขาดสูญ ไม่เกิดอีก”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่อริยสาวกละความสงสัยในฐานะ ๖ ประการนี้ได้
ฉะนั้น จึงละความสงสัยแม้ในทุกข์ ฯลฯ ละความสงสัยแม้ในปฏิปทาที่ให้ถึง
ความดับแห่งทุกข์ได้
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า อริยสาวกผู้เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มี
ความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”

นัตถิทินนสูตรที่ ๕ จบ

๖. กโรโตสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าเมื่อบุคคลทำเองเป็นต้น

[๒๑๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำ ตัดเอง
ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ทำให้เศร้าโศกเอง ใช้ให้ผู้อื่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๑. โสตาปัตติวรรค ๖. กโรโตสูตร

ทำให้เศร้าโศก ทำให้ลำบากเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้ลำบาก ดิ้นรนเอง ใช้ให้ผู้อื่น
ทำให้ดิ้นรน ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ตัดช่องย่องเบา ปล้น ทำโจรกรรมในบ้านหลังเดียว
ดักซุ่มที่ทางเปลี่ยว เป็นชู้ พูดเท็จ ผู้ทำ(เช่นนั้น) ไม่จัดว่าทำบาป
แม้หากบุคคลจะใช้จักรมีคมดุจมีดโกนสังหารเหล่าสัตว์ในปฐพีนี้ ให้เป็นลาน
ตากเนื้อ ให้เป็นกองเดียวกัน เขาย่อมไม่มีบาปที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มีบาปมาถึงเขา
แม้หากบุคคลจะไปยังฝั่งขวาแห่งแม่น้ำคงคา ฆ่าเอง ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ตัดเอง
ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน เขาย่อมไม่มีบาปที่เกิดจาก
กรรมนั้น ไม่มีบาปมาถึงเขา
แม้หากบุคคลจะไปยังฝั่งซ้ายแห่งแม่น้ำคงคา ให้เอง ใช้ให้ผู้อื่นให้ บูชาเอง
ใช้ให้ผู้อื่นบูชา เขาย่อมไม่มีบุญที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มีบุญมาถึงเขา ไม่มีบุญที่
เกิดจากการให้ทาน จากการฝึกอินทรีย์ จากการสำรวม จากการพูดคำสัตย์ ไม่
มีบุญมาถึงเขา‘๑
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย
มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำ ฯลฯ ย่อมไม่มีบุญ ... ไม่มีบุญมาถึงเขา’
เมื่อมีเวทนา ฯลฯ
เมื่อมีสัญญา ...
เมื่อมีสังขาร ...
เมื่อมีวิญญาณ เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำ ฯลฯ ย่อมไม่มีบุญ ... ไม่มีบุญมาถึงเขา’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่
เที่ยง’'
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า’'


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๑. โสตาปัตติวรรค ๖. กโรโตสูตร

“ฯลฯ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึง
เกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำ ฯลฯ ย่อมไม่มีบุญ ... ไม่มี
บุญมาถึงเขา”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เวทนา ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘เมื่อ
บุคคลทำเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำ ฯลฯ ย่อมไม่มีบุญ ... ไม่มีบุญมาถึงเขา”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“แม้สิ่งที่บุคคลได้เห็น ฟัง ทราบ รู้ ถึง แสวงหา ใคร่ครวญด้วยใจ
เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘เมื่อ
บุคคลทำเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำ ฯลฯ ย่อมไม่มีบุญ ... ไม่มีบุญมาถึงเขา”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่อริยสาวกละความสงสัยในฐานะ ๖ ประการนี้ได้
ฉะนั้น จึงละความสงสัยแม้ในทุกข์ ฯลฯ ละความสงสัยแม้ในปฏิปทาที่ให้ถึง
ความดับแห่งทุกข์ได้
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า อริยสาวกผู้เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มี
ความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”

กโรโตสูตรที่ ๖ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๑. โสตาปัตติวรรค ๗. เหตุสูตร

๗. เหตุสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าไม่มีเหตุเป็นต้น

[๒๑๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘ความเศร้าหมองของสัตว์ทั้งหลาย ไม่
มีเหตุ ไม่มีปัจจัย สัตว์ทั้งหลายไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย เศร้าหมองเอง ความ
บริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย สัตว์ทั้งหลายไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย
บริสุทธิ์เอง ไม่มีกำลัง ไม่มีความเพียร ไม่มีความสามารถของบุรุษ ไม่มีความ
พยายามของบุรุษ สัตว์ ปาณะ ภูตะ ชีวะ๑ทั้งปวง ล้วนไม่มีอำนาจ ไม่มีกำลัง
ไม่มีความเพียร ผันแปรไปตามโชคชะตาตามสถานภาพทางสังคมและตามลักษณะ
เฉพาะของตน เสวยสุขและทุกข์ในอภิชาติ๒ทั้ง ๖ เท่านั้น”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘ ... ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ฯลฯ เสวยสุขและทุกข์ในอภิชาติทั้ง ๖
เท่านั้น’
เมื่อมีเวทนา ฯลฯ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๑. โสตาปัตติวรรค ๗. เหตุสูตร

เมื่อมีสัญญา ...
เมื่อมีสังขาร ...
เมื่อมีวิญญาณ เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘... ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ฯลฯ เสวยสุขและทุกข์ในอภิชาติทั้ง ๖
เท่านั้น’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่
เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึง
เกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘... ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ฯลฯ เสวยสุขและทุกข์ในอภิชาติทั้ง ๖
เท่านั้น”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เวทนา ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ... ไม่มีเหตุ
ไม่มีปัจจัย ฯลฯ เสวยสุขและทุกข์ในอภิชาติทั้ง ๖ เท่านั้น”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“แม้สิ่งที่บุคคลได้เห็น ฟัง ทราบ รู้ ถึง แสวงหา ใคร่ครวญด้วยใจ
เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘... ไม่มีเหตุ
ไม่มีปัจจัย ฯลฯ เสวยสุขและทุกข์ในอภิชาติทั้ง ๖ เท่านั้น”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๑. โสตาปัตติวรรค ๘. มหาทิฏฐิสูตร

“ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่อริยสาวกละความสงสัยในฐานะ ๖ ประการนี้ได้
ฉะนั้น จึงละความสงสัยแม้ในทุกข์ ฯลฯ ละความสงสัยแม้ในปฏิปทาที่ให้ถึง
ความดับแห่งทุกข์ได้
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า อริยสาวกผู้เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มี
ความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”

เหตุสูตรที่ ๗ จบ

๘. มหาทิฏฐิสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิหลายประการ

[๒๑๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘สภาวะ ๗ กองนี้ไม่มีผู้สร้าง ไม่มีผู้
บันดาล ไม่มีผู้เนรมิต ไม่มีผู้ให้เนรมิต ยั่งยืน มั่นคงดุจยอดภูเขา ดุจเสาระเนียด
ไม่หวั่นไหว ไม่แปรผัน ไม่กระทบกระทั่งกัน ไม่ก่อให้เกิดสุขหรือทุกข์ หรือทั้งสุข
และทุกข์แก่กันและกัน
สภาวะ ๗ กอง อะไรบ้าง คือ

๑. กองแห่งธาตุดิน ๒. กองแห่งธาตุน้ำ
๓. กองแห่งธาตุไฟ ๔. กองแห่งธาตุลม
๕. กองสุข ๖. กองทุกข์
๗. กองชีวะ

สภาวะ ๗ กองนี้ไม่มีผู้สร้าง ไม่มีผู้บันดาล ไม่มีผู้เนรมิต ไม่มีผู้ให้เนรมิต
ยั่งยืน มั่นคงดุจยอดภูเขา ดุจเสาระเนียด ไม่หวั่นไหว ไม่แปรผัน ไม่กระทบกระทั่งกัน
ไม่ก่อให้เกิดสุขหรือทุกข์ หรือทั้งสุขและทุกข์แก่กันและกัน ใครก็ตามแม้จะเอา
ศัสตราคมตัดศีรษะใคร ก็ไม่ชื่อว่าใครปลงชีวิตใครได้ เพราะเป็นเพียงศัสตราแทรก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๑. โสตาปัตติวรรค ๘. มหาทิฏฐิสูตร

ผ่านไประหว่างสภาวะ ๗ กองเท่านั้นเอง อนึ่ง กำเนิดที่เป็นประธาน ๑,๔๐๖,๖๐๐
กรรม ๕๐๐ กรรม ๕ กรรม ๓ กรรมกึ่ง๑ ปฏิปทา ๖๒ อันตรกัป ๖๒ อภิชาติ
๖ ปุริสภูมิ๒ ๘ อาชีวก ๔,๙๐๐ ปริพาชก ๔,๙๐๐ นาควาส ๔,๙๐๐ อินทรีย์
๒,๐๐๐ นรก ๓,๐๐๐ รโชธาตุ๓ ๓๖ สัญญีครรภ์ ๗ อสัญญีครรภ์ ๗ นิคัณฐีครรภ์๔
๗ เทวดา ๗ มนุษย์ ๗ ปีศาจ ๗ สระ ๗ ตาไม้ไผ่ ๗ ตาไม้ไผ่ ๗๐๐ เหวใหญ่
๗ เหวน้อย ๗๐๐ มหาสุบิน ๗ สุบิน ๗๐๐ มหากัป๕ ๘,๔๐๐,๐๐๐ เหล่านี้
ที่คนพาลและบัณฑิตพากันเที่ยวเวียนว่ายไปแล้ว จักทำที่สุดทุกข์ได้เอง ไม่มีความ
สมหวังในความปรารถนาว่า ‘เราจักอบรมกรรมที่ยังไม่ให้ผลให้อำนวยผล หรือ
สัมผัสกรรมที่ให้ผลแล้ว จักทำให้หมดสิ้นไปด้วยศีล พรต ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้
ไม่มีสุขทุกข์ที่ทำให้สิ้นสุดลงได้ (จำนวนเท่านั้นเท่านี้) เหมือนตวงด้วยทะนาน
สงสารที่จะทำให้สิ้นสุดไม่มีเลย ไม่มีความเสื่อมและความเจริญ ไม่มีการเลื่อนขึ้น
สูงหรือเลื่อนลงต่ำ พวกคนพาลและบัณฑิตพากันเที่ยวเวียนว่ายไปแล้ว เสวยสุข
และทุกข์เอง เหมือนกลุ่มด้ายที่ถูกขว้างไปย่อมคลี่หมดไปเอง ฉะนั้น”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๑. โสตาปัตติวรรค ๘. มหาทิฏฐิสูตร

ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป ทิฏฐิอย่างนี้
จึงเกิดขึ้นว่า ‘สภาวะ ๗ กองนี้ไม่มีผู้สร้าง ไม่มีผู้บันดาล ฯลฯ เสวยสุขและ
ทุกข์เอง ...
เมื่อมีเวทนา ฯลฯ
เมื่อมีสัญญา ...
เมื่อมีสังขาร ...
เมื่อมีวิญญาณ เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ ทิฏฐิอย่างนี้
จึงเกิดขึ้นว่า ‘สภาวะ ๗ กองนี้ไม่มีผู้สร้าง ไม่มีผู้บันดาล ฯลฯ เสวยสุขและ
ทุกข์เอง ...
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่
เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะถือมั่นสิ่งนั้น
ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘สภาวะ ๗ กองนี้ไม่มีผู้สร้าง ไม่มีผู้บันดาล
ฯลฯ เสวยสุขและทุกข์เอง ... ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เวทนา ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ เพราะถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘สภาวะ ๗
กองนี้ไม่มีผู้สร้าง ไม่มีผู้บันดาล ฯลฯ เสวยสุขและทุกข์เอง ... ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๑. โสตาปัตติวรรค ๙. สัสสตทิฏฐิสูตร

“แม้สิ่งที่บุคคลได้เห็น ฟัง ทราบ รู้ ถึง แสวงหา ใคร่ครวญด้วยใจ
เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘สภาวะ
๗ กองนี้ไม่มีผู้สร้าง ไม่มีผู้บันดาล ฯลฯ เสวยสุขและทุกข์เอง ... ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่อริยสาวกละความสงสัยในฐานะ ๖ ประการ
นี้ได้ ฉะนั้น จึงละความสงสัยแม้ในทุกข์ ฯลฯ ละความสงสัยแม้ในปฏิปทาที่ให้
ถึงความดับแห่งทุกข์ได้
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า อริยสาวกผู้เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มี
ความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”

มหาทิฏฐิสูตรที่ ๘ จบ

๙. สัสสตทิฏฐิสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าโลกเที่ยง

[๒๑๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘โลกเที่ยง”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘โลกเที่ยง’
เมื่อมีเวทนา ฯลฯ
เมื่อมีสัญญา ...
เมื่อมีสังขาร ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๑. โสตาปัตติวรรค ๙. สัสสตทิฏฐิสูตร

เมื่อมีวิญญาณ เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘โลกเที่ยง’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่
เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึง
เกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘โลกเที่ยง”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เวทนา ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘โลกเที่ยง’'
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“แม้สิ่งที่บุคคลได้เห็น ฟัง ทราบ รู้ ถึง แสวงหา ใคร่ครวญด้วยใจ
เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น
ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘โลกเที่ยง”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่อริยสาวกละความสงสัยในฐานะ ๖ ประการนี้ได้
ฉะนั้น จึงละความสงสัยแม้ในทุกข์ ฯลฯ ละความสงสัยแม้ในปฏิปทาที่ให้ถึง
ความดับแห่งทุกข์ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๑. โสตาปัตติวรรค ๑๐. อสัสสตทิฏฐิสูตร

ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า อริยสาวกผู้เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มี
ความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”

สัสสตทิฏฐิสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. อสัสสตทิฏฐิสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าโลกไม่เที่ยง

[๒๑๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘โลกไม่เที่ยง”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป ฯลฯ เมื่อมีเวทนา ... เมื่อมีสัญญา ... เมื่อมีสังขาร
...เมื่อมีวิญญาณ ฯลฯ เวทนา ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยง
หรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘โลกไม่
เที่ยง”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“แม้สิ่งที่บุคคลได้เห็น ฟัง ทราบ รู้ ถึง แสวงหา ใคร่ครวญด้วยใจ
เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘โลกไม่
เที่ยง”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๑. โสตาปัตติวรรค ๑๒. อนันตวาสูตร

“ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่อริยสาวกละความสงสัยในฐานะ ๖ ประการนี้ได้
ฉะนั้น จึงละความสงสัยแม้ในทุกข์ ฯลฯ ละความสงสัยแม้ในปฏิปทาที่ให้ถึง
ความดับแห่งทุกข์ได้
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า อริยสาวกผู้เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มี
ความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”

อสัสสตทิฏฐิสูตรที่ ๑๐ จบ

๑๑. อันตวาสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าโลกมีที่สุด

[๒๑๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘โลกมีที่สุด”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ ... มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”

อันตวาสูตรที่ ๑๑ จบ

๑๒. อนันตวาสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าโลกไม่มีที่สุด

[๒๑๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘โลกไม่มีที่สุด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๑. โสตาปัตติวรรค ๑๔. อัญญังชีวังอัญญังสรีรังสูตร

ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ ... มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”

อนันตวาสูตรที่ ๑๒ จบ

๑๓. ตังชีวังตังสรีรังสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน

[๒๑๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘ชีวะ๑กับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย
มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ ... มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”

ตังชีวังตังสรีรังสูตรที่ ๑๓ จบ

๑๔. อัญญังชีวังอัญญังสรีรังสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน

[๒๑๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๑. โสตาปัตติวรรค ๑๖.นโหติตถาคโตสูตร

ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ ... มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”

อัญญังชีวังอัญญังสรีรังสูตรที่ ๑๔ จบ

๑๕. โหติตถาคโตสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าหลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก

[๒๒๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ ... มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”

โหติตถาคโตสูตรที่ ๑๕ จบ

๑๖. นโหติตถาคโตสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าหลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก

[๒๒๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย
มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ ... มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”

นโหติตถาคโตสูตรที่ ๑๖ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๑. โสตาปัตติวรรค ๑๘. เนวโหตินนโหติตถาคโตสูตร

๑๗. โหติจนจโหติตถาคโตสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าหลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก

[๒๒๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและ
ไม่เกิดอีก”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ ... มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”

โหติจนจโหติตถาคโตสูตรที่ ๑๗ จบ

๑๘. เนวโหตินนโหติตถาคโตสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าหลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ ฯ

[๒๒๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิด
อีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๑. โสตาปัตติวรรค ๑๘. เนวโหตินนโหติตถาคโตสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่
เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะ
พึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีก
ก็มิใช่”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“แม้สิ่งที่บุคคลได้เห็น ฟัง ทราบ รู้ ถึง แสวงหา ใคร่ครวญด้วยใจ
เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น
ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่
จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่อริยสาวกละความสงสัยในฐานะ ๖ ประการนี้ได้
ฉะนั้น จึงละความสงสัยแม้ในทุกข์ ละความสงสัยแม้ในเหตุเกิดแห่งทุกข์ ละความ
สงสัยแม้ในความดับแห่งทุกข์ ละความสงสัยแม้ในปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่ง
ทุกข์ได้
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า อริยสาวกผู้เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มี
ความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”

เนวโหตินนโหติตถาคโตสูตรที่ ๑๘ จบ
โสตาปัตติวรรคที่ ๑ จบ
การตอบปัญหา ๑๘ ข้อจบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๑. โสตาปัตติวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. วาตสูตร ๒. เอตังมมสูตร
๓. โสอัตตาสูตร ๔. โนจเมสิยาสูตร
๕. นัตถิทินนสูตร ๖. กโรโตสูตร
๗. เหตุสูตร ๘. มหาทิฏฐิสูตร
๙. สัสสตทิฏฐิสูตร ๑๐. อสัสสตทิฏฐิสูตร
๑๑. อันตวาสูตร ๑๒. อนันตวาสูตร
๑๓. ตังชีวังตังสรีรังสูตร ๑๔. อัญญังชีวังอัญญังสรีรังสูตร
๑๕. โหติตถาคโตสูตร ๑๖. นโหติตถาคโตสูตร
๑๗. โหติจนจโหติตถาคโตสูตร ๑๘. เนวโหตินนโหติตถาคโตสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๒. ทุติยคมนวรรค ๑. วาตสูตร

๒. ทุติยคมนวรรค
หมวดว่าด้วยการไปที่ ๒
๑. วาตสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าลมไม่พัดเป็นต้น

[๒๒๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘ลมไม่พัด แม่น้ำไม่ไหล สตรีมีครรภ์
ไม่คลอด ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ไม่ขึ้นหรือไม่ตก มั่นคงดุจเสาระเนียด”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป ทิฏฐิอย่างนี้
จึงเกิดขึ้นว่า ‘ลมไม่พัด ฯลฯ มั่นคงดุจเสาระเนียด’
เมื่อมีเวทนา ฯลฯ
เมื่อมีสัญญา ...
เมื่อมีสังขาร ...
เมื่อมีวิญญาณ เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘ลมไม่พัด ฯลฯ มั่นคงดุจเสาระเนียด’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่
เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึง
เกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘ลมไม่พัด ฯลฯ มั่นคงดุจเสาระเนียด”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๒. ทุติยคมนวรรค ๑๘. เนวโหตินนโหติสูตร

“ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการอย่างนี้ เมื่อมีทุกข์ เพราะถือมั่นทุกข์ เพราะ
ยึดมั่นทุกข์ ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘ลมไม่พัด ฯลฯ มั่นคงดุจเสาระเนียด’
เวทนา ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง’
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึง
เกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘ลมไม่พัด ฯลฯ มั่นคงดุจเสาระเนียด”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการอย่างนี้ เมื่อมีทุกข์ เพราะถือมั่นทุกข์ เพราะ
ยึดมั่นทุกข์ ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘ลมไม่พัด แม่น้ำไม่ไหล สตรีมีครรภ์ไม่คลอด
ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ไม่ขึ้นหรือไม่ตก มั่นคงดุจเสาระเนียด”

วาตสูตรที่ ๑ จบ

[๒๒๕ - ๒๔๐] (พึงขยายการตอบปัญหาทั้ง ๑๘ ข้อให้พิสดาร เหมือนใน
วรรคก่อน)

โหติจนจโหติตถาคโตสูตรที่ ๑๗ จบ

๑๘. เนวโหตินนโหติสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าหลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ ฯ

[๒๔๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิด
อีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๒. ทุติยคมนวรรค ๑๘. เนวโหตินนโหติสูตร

“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’
เมื่อมีเวทนา ฯลฯ
เมื่อมีสัญญา ...
เมื่อมีสังขาร ...
เมื่อมีวิญญาณ เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่
เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะ
พึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีก
ก็มิใช่”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการอย่างนี้ เมื่อมีทุกข์ เพราะถือมั่นทุกข์ เพราะ
ยึดมั่นทุกข์ ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่
จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่”
เวทนา ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะ
พึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิด
อีกก็มิใช่”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๒. ทุติยคมนวรรค ๑๙. รูปีอัตตาสูตร

“ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการอย่างนี้ เมื่อมีทุกข์ เพราะถือมั่นทุกข์ เพราะ
ยึดมั่นทุกข์ ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่
จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่”

เนวโหตินนโหติสูตรที่ ๑๘ จบ

๑๙. รูปีอัตตาสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าอัตตาที่มีรูป

[๒๔๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว อัตตาที่มีรูปไม่
สลายไป”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป เพราะถือมั่นรูป เพราะ
ยึดมั่นรูป ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว อัตตาที่มีรูปไม่สลายไป’
เมื่อมีเวทนา ฯลฯ
เมื่อมีสัญญา ...
เมื่อมีสังขาร ...
เมื่อมีวิญญาณ เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว อัตตาที่มีรูปไม่สลายไป’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่
เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๒. ทุติยคมนวรรค ๒๐. อรูปีอัตตาสูตร

“ฯลฯ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึง
เกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘หลังจากตายแล้ว อัตตาที่มีรูปไม่สลายไป”
ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการอย่างนี้ เมื่อมีทุกข์ เพราะถือมั่นทุกข์ เพราะ
ยึดมั่นทุกข์ ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว อัตตาที่มีรูปไม่สลายไป’
เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึง
เกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘หลังจากตายแล้ว อัตตาที่มีรูปไม่สลายไป”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการอย่างนี้ เมื่อมีทุกข์ เพราะถือมั่นทุกข์ เพราะ
ยึดมั่นทุกข์ ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว อัตตาที่มีรูปไม่สลายไป”

รูปีอัตตาสูตรที่ ๑๙ จบ

๒๐. อรูปีอัตตาสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าอัตตาที่ไม่มีรูป

[๒๔๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว อัตตาที่ไม่มีรูปไม่
สลายไป’ ฯลฯ

อรูปีอัตตาสูตรที่ ๒๐ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๒. ทุติยคมนวรรค ๒๔. เอกันตทุกขีสูตร

๒๑. รูปีจอรูปีจอัตตาสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าอัตตาที่มีรูปและไม่มีรูป

[๒๔๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “หลังจากตายแล้ว อัตตาทั้งที่มีรูปและไม่มีรูปไม่
สลายไป ฯลฯ

รูปีจอรูปีจอัตตาสูตรที่ ๒๑ จบ

๒๒. เนวรูปีนารูปีอัตตาสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าอัตตาที่มีรูปก็มิใช่ ไม่มีรูปก็มิใช่

[๒๔๕] “หลังจากตายแล้ว อัตตาจะว่ามีรูปก็มิใช่ จะว่าไม่มีรูปก็มิใช่ไม่
สลายไป ...

เนวรูปีนารูปีอัตตาสูตรที่ ๒๒ จบ

๒๓. เอกันตสุขีสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าอัตตาที่มีสุขโดยส่วนเดียว

[๒๔๖] “หลังจากตายแล้ว อัตตาที่มีสุขโดยส่วนเดียวไม่สลายไป ...

เอกันตสุขีสูตรที่ ๒๓ จบ

๒๔. เอกันตทุกขีสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าอัตตาที่มีทุกข์โดยส่วนเดียว

[๒๔๗] “หลังจากตายแล้ว อัตตาที่มีทุกข์โดยส่วนเดียวไม่สลายไป ...

เอกันตทุกขีสูตรที่ ๒๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๒. ทุติยคมนวรรค ๒๖. อทุกขมสุขีสูตร

๒๕. สุขทุกขีสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าอัตตาที่มีทั้งสุขและทุกข์

[๒๔๘] “หลังจากตายแล้ว อัตตาที่มีทั้งสุขและทุกข์ไม่สลายไป ...

สุขทุกขีสูตรที่ ๒๕ จบ

๒๖. อทุกขมสุขีสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าอัตตาที่ไม่มีทั้งทุกข์และสุข

[๒๔๙] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “หลังจากตายแล้ว อัตตาที่มีทั้งสุข
และทุกข์ไม่สลายไปหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว อัตตาที่ไม่มีทั้งทุกข์และสุขไม่สลายไป’
เมื่อมีเวทนา ฯลฯ
เมื่อมีสัญญา ...
เมื่อมีสังขาร ...
เมื่อมีวิญญาณ เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ ทิฏฐิอย่างนี้
จึงเกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว อัตตาที่ไม่มีทั้งทุกข์และสุขไม่สลายไป’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่
เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึง
เกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘หลังจากตายแล้ว อัตตาที่ไม่มีทั้งทุกข์และสุขไม่สลายไป”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๒. ทุติยคมนวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

“ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการอย่างนี้ เมื่อมีทุกข์ เพราะถือมั่นทุกข์ เพราะ
ยึดมั่นทุกข์ ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว อัตตาที่ไม่มีทั้งทุกข์และ
สุขไม่สลายไป’
เวทนา ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึง
เกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘หลังจากตายแล้ว อัตตาที่ไม่มีทั้งทุกข์และสุขไม่สลายไป”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการอย่างนี้ เมื่อมีทุกข์ เพราะถือมั่นทุกข์ เพราะ
ยึดมั่นทุกข์ ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว อัตตาที่ไม่มีทั้งทุกข์และ
สุขไม่สลายไป”

อทุกขมสุขีสูตรที่ ๒๖ จบ
ทุติยคมนวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. วาตสูตร ฯลฯ ๑๘. เนวโหตินนโหติสูตร
๑๙. รูปีอัตตาสูตร ๒๐. อรูปีอัตตาสูตร
๒๑. รูปีจอรูปีจอัตตาสูตร ๒๒. เนวรูปีนารูปีอัตตาสูตร
๒๓. เอกันตสุขีสูตร ๒๔. เอกันตทุกขีสูตร
๒๕. สุขทุกขีสูตร ๒๖. อทุกขมสุขีสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๓. ตติยคมนวรรค

๓. ตติยคมนวรรค
หมวดว่าด้วยการไปที่ ๓
๑. นวาตสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าลมไม่พัดเป็นต้น

[๒๕๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘ลมไม่พัด แม่น้ำไม่ไหล สตรีมีครรภ์
ไม่คลอด ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ไม่ขึ้นหรือไม่ตก มั่นคงดุจเสาระเนียด”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘ลมไม่พัด ฯลฯ มั่นคงดุจเสาระเนียด’
เมื่อมีเวทนา ฯลฯ
เมื่อมีสัญญา ...
เมื่อมีสังขาร ...
เมื่อมีวิญญาณ เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘ลมไม่พัด ฯลฯ มั่นคงดุจเสาระเนียด’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่
เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึง
เกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘ลมไม่พัด ฯลฯ มั่นคงดุจเสาระเนียด”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๓. ตติยคมนวรรค ๒๖. อทุกขมสุขีสูตร

“ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการอย่างนี้ สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ เมื่อมีสิ่งนั้น
เพราะถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘ลมไม่พัด แม่น้ำไม่ไหล สตรีมีครรภ์
ไม่คลอด ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ไม่ขึ้นหรือไม่ตก มั่นคงดุจเสาระเนียด’
เวทนา ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึง
เกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘ลมไม่พัด ฯลฯ มั่นคงดุจเสาระเนียด”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการอย่างนี้ สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ เมื่อมีสิ่งนั้น
เพราะถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘ลมไม่พัด ฯลฯ มั่นคงดุจเสาระเนียด”

นวาตสูตรที่ ๑ จบ

[๒๕๑ - ๒๗๔] (พึงเพิ่มสูตรอีก ๒๔ สูตร เข้ามาให้เต็ม เหมือนในทุติยวรรค)

สุขทุกขีสูตรที่ ๒๕ จบ

๒๖. อทุกขมสุขีสูตร
ว่าด้วยอัตตาที่ไม่มีทั้งทุกข์และสุข

[๒๗๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว อัตตาที่ไม่มีทั้งทุกข์
และสุขไม่สลายไป”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว อัตตาที่ไม่มีทั้งทุกข์และสุขไม่สลายไป’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๓. ตติยคมนวรรค ๒๖. อทุกขมสุขีสูตร

เมื่อมีเวทนา ฯลฯ
เมื่อมีสัญญา ...
เมื่อมีสังขาร ...
เมื่อมีวิญญาณ เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว อัตตาที่ไม่มีทั้งทุกข์และสุขไม่สลายไป’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึง
เกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘หลังจากตายแล้ว อัตตาที่ไม่มีทั้งทุกข์และสุขไม่สลายไป”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการอย่างนี้ สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ เมื่อมีสิ่งนั้น
เพราะถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว อัตตาที่ไม่มีทั้งทุกข์
และสุขไม่สลายไป’
เวทนา ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึง
เกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘หลังจากตายแล้ว อัตตาที่ไม่มีทั้งทุกข์และสุขไม่สลายไป”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการอย่างนี้ สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ เมื่อมีสิ่งนั้น
เพราะถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว อัตตาที่ไม่มีทั้ง
ทุกข์และสุขไม่สลายไป”

อทุกขมสุขีสูตรที่ ๒๖ จบ
ตติยคมนวรรคที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๔. จตุตถคมนวรรค ๑. นวาตสูตร

๔. จตุตถคมนวรรค
หมวดว่าด้วยการไปที่ ๔
๑. นวาตสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าลมไม่พัดเป็นต้น

[๒๗๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘ลมไม่พัด แม่น้ำไม่ไหล สตรีมีครรภ์
ไม่คลอด ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ไม่ขึ้นหรือไม่ตก มั่นคงดุจเสาระเนียด”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘ลมไม่พัด ฯลฯ มั่นคงดุจเสาระเนียด’
เมื่อมีเวทนา ฯลฯ
เมื่อมีสัญญา ...
เมื่อมีสังขาร ...
เมื่อมีวิญญาณ เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘ลมไม่พัด ฯลฯ มั่นคงดุจเสาระเนียด’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่
เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๔. จตุตถคมนวรรค ๑. นวาตสูตร

“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“เวทนา ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต
และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือ
ใกล้ก็ตาม รูปทั้งหมดนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง
อย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ...
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายใน
หรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ก็ตาม วิญญาณ
ทั้งหมดนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่น
ไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจ
อื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

นวาตสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๔. จตุตถคมนวรรค ๒๖. อทุกขมสุขีสูตร

[๒๗๗-๓๐๐] (พึงเพิ่มสูตรอีก ๒๔ สูตร เข้ามาให้เต็ม เหมือนในทุติยวรรค)

สุขทุกขีสูตรที่ ๒๕ จบ

๒๖. อทุกขมสุขีสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าอัตตาที่ไม่มีทั้งทุกข์และสุข

[๓๐๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว อัตตาที่ไม่มีทั้งทุกข์
และสุขไม่สลายไป”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว อัตตาที่ไม่มีทั้งทุกข์และสุขไม่สลายไป’
เมื่อมีเวทนา ฯลฯ
เมื่อมีสัญญา ...
เมื่อมีสังขาร ...
เมื่อมีวิญญาณ เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว อัตตาที่ไม่มีทั้งทุกข์และสุขไม่สลายไป’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือ
ไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๔. จตุตถคมนวรรค ๒๖. อทุกขมสุขีสูตร

“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“เวทนา ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต
และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือ
ใกล้ก็ตาม รูปทั้งหมดนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง
อย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ...
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายใน
หรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ก็ตาม วิญญาณ
ทั้งหมดนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่น
ไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขาร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๔. จตุตถคมนวรรค ๒๖. อทุกขมสุขีสูตร

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด
จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
อีกต่อไป”

อทุกขมสุขีสูตรที่ ๒๖ จบ

ในวรรคก่อนมีการตอบปัญหา ๑๘ ข้อ
พึงขยายพระสูตร ๒๖ สูตร ในทุติยคมนวรรคให้พิสดาร
พึงขยายพระสูตร ๒๖ สูตร ในตติยคมนวรรคให้พิสดาร
พึงขยายพระสูตร ๒๖ สูตร ในจตุตถคมนวรรคให้พิสดาร

ทิฏฐิสังยุต จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๔. โอกกันตสังยุต] ๑. จักขุสูตร

๔. โอกกันตสังยุต
๑. จักขุสูตร
ว่าด้วยจักขุ

[๓๐๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย จักขุ (ตา) ไม่เที่ยง มีความแปรผัน
มีภาวะโดยอาการอื่น
โสตะ (หู) ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
ฆานะ (จมูก) ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
ชิวหา (ลิ้น) ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
กายไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
มโน (ใจ) ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดศรัทธาเชื่อมั่นธรรมเหล่านี้อย่างนี้ ผู้นี้เราเรียกว่า ‘สัทธานุสารี๑
ก้าวลงสู่อริยมรรค หยั่งลงสู่ภูมิของสัตบุรุษ ผ่านภูมิของปุถุชนได้แล้ว ไม่ควรทำ
กรรมที่ทำแล้วไปเกิดในนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน หรือภูมิแห่งเปรต ไม่สมควร
ตายตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้งโสดาปัตติผล’
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ของผู้ใดประจักษ์ชัดโดยยิ่งด้วยปัญญาอย่างนี้ ผู้
นี้เราเรียกว่า ‘ธัมมานุสารี๒ ก้าวลงสู่อริยมรรค หยั่งลงสู่ภูมิของสัตบุรุษ ผ่านภูมิ
ของปุถุชนได้แล้ว ไม่ควรทำกรรมที่ทำแล้วไปเกิดในนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
หรือภูมิแห่งเปรต ไม่สมควรตายตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้งโสดาปัตติผล’


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๔. โอกกันตสังยุต ] ๒. รูปสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดรู้เห็นธรรมเหล่านี้อย่างนี้ ผู้นี้เราเรียกว่า ‘เป็นโสดาบัน
ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”

จักขุสูตรที่ ๑ จบ

๒. รูปสูตร
ว่าด้วยรูป

[๓๐๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง มีความแปรผัน มี
ภาวะโดยอาการอื่น
สัททะ(เสียง)ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
คันธะ(กลิ่น)ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
รสไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
โผฏฐัพพะ (สิ่งที่ถูกต้องกาย) ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
ธรรมารมณ์ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดศรัทธาเชื่อมั่นธรรมเหล่านี้อย่างนี้ ผู้นี้เราเรียกว่า
‘สัทธานุสารี ก้าวลงสู่อริยมรรค หยั่งลงสู่ภูมิของสัตบุรุษ ผ่านภูมิของปุถุชนได้
แล้ว ไม่ควรทำกรรมที่ทำแล้วไปเกิดในนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน หรือภูมิแห่งเปรต
ไม่สมควรตายตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้งโสดาปัตติผล’
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ของผู้ใดประจักษ์ชัดโดยยิ่งด้วยปัญญาอย่างนี้ ผู้
นี้เราเรียกว่า‘ธัมมานุสารี ก้าวลงสู่อริยมรรค หยั่งลงสู่ภูมิของสัตบุรุษ ผ่านภูมิ
ของปุถุชนได้แล้ว ไม่ควรทำกรรมที่ทำแล้วไปเกิดในนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
หรือภูมิแห่งเปรต ไม่สมควรตายตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้งโสดาปัตติผล’
ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดรู้เห็นธรรมเหล่านี้อย่างนี้ ผู้นี้เราเรียกว่า ‘เป็นโสดาบัน
ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’

รูปสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๔. โอกกันตสังยุต] ๔.สัมผัสสสูตร

๓. วิญญาณสูตร
ว่าด้วยวิญญาณ

[๓๐๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย จักขุวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางตา)
ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
โสตวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางหู) ฯลฯ
ฆานวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางจมูก) ...
ชิวหาวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางลิ้น) ...
กายวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางกาย) ...
มโนวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางใจ) ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะ
โดยอาการอื่น
ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใด ฯลฯ ตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้งโสดาปัตติผล
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ของผู้ใด ฯลฯ ตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้ง
โสดาปัตติผล
ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใด ฯลฯ จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”

วิญญาณสูตรที่ ๓ จบ

๔. สัมผัสสสูตร
ว่าด้วยสัมผัส

[๓๐๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย จักขุสัมผัส (ความกระทบทางตา)
ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
โสตสัมผัส (ความกระทบทางหู) ฯลฯ
ฆานสัมผัส (ความกระทบทางจมูก) ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๔. โอกกันตสังยุต] ๕. สัมผัสสชาสูตร

ชิวหาสัมผัส (ความกระทบทางลิ้น) ...
กายสัมผัส (ความกระทบทางกาย) ...
มโนสัมผัส (ความกระทบทางใจ) ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดย
อาการอื่น
ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดศรัทธาเชื่อมั่นธรรมเหล่านี้อย่างนี้ ผู้นี้เราเรียกว่า
‘สัทธานุสารี ฯลฯ จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”

สัมผัสสสูตรที่ ๔ จบ

๕. สัมผัสสชาสูตร
ว่าด้วยสัมผัสสชาเวทนา

[๓๐๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย จักขุสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิด
จากสัมผัสทางตา) ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
โสตสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางหู) ฯลฯ
ฆานสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางจมูก) ...
ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางลิ้น) ...
กายสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางกาย) ...
มโนสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางใจ) ไม่เที่ยง มีความแปรผัน
มีภาวะโดยอาการอื่น
ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดศรัทธาเชื่อมั่นธรรมเหล่านี้อย่างนี้ ผู้นี้เราเรียกว่า
‘สัทธานุสารี ฯลฯ จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”

สัมผัสสชาสูตรที่ ๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๔. โอกกันตสังยุต] ๗. รูปสัญเจตนาสูตร

๖. รูปสัญญาสูตร
ว่าด้วยรูปสัญญา

[๓๐๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปสัญญา (ความหมายรู้รูป) ไม่เที่ยง
มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
สัททสัญญา (ความหมายรู้เสียง) ฯลฯ
คันธสัญญา (ความหมายรู้กลิ่น) ...
รสสัญญา (ความหมายรู้รส) ...
โผฏฐัพพสัญญา (ความหมายรู้โผฏฐัพพะ) ...
ธัมมสัญญา (ความหมายรู้ธรรมารมณ์) ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มี
ภาวะโดยอาการอื่น
ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดศรัทธาเชื่อมั่นธรรมเหล่านี้อย่างนี้ ผู้นี้เราเรียกว่า
‘สัทธานุสารี ฯลฯ จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’

รูปสัญญาสูตรที่ ๖ จบ

๗. รูปสัญเจตนาสูตร
ว่าด้วยรูปสัญเจตนา

[๓๐๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปสัญเจตนา (ความจำนงรูป) ไม่
เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
สัททสัญเจตนา (ความจำนงเสียง) ฯลฯ
คันธสัญเจตนา (ความจำนงกลิ่น) ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๔. โอกกันตสังยุต] ๘. รูปตัณหาสูตร

รสสัญเจตนา (ความจำนงรส) ...
โผฏฐัพพสัญเจตนา (ความจำนงโผฏฐัพพะ) ...
ธัมมสัญเจตนา (ความจำนงธรรมารมณ์) ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มี
ภาวะโดยอาการอื่น
ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดศรัทธาเชื่อมั่นธรรมเหล่านี้อย่างนี้ ผู้นี้เราเรียกว่า
‘สัทธานุสารี ฯลฯ จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”

รูปสัญเจตนาสูตรที่ ๗ จบ

๘. รูปตัณหาสูตร
ว่าด้วยรูปตัณหา

[๓๐๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปตัณหา (ความทะยานอยากในรูป)
ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
สัททตัณหา (ความทะยานอยากในเสียง) ฯลฯ
คันธตัณหา (ความทะยานอยากในกลิ่น) ...
รสตัณหา (ความทะยานอยากในรส) ...
โผฏฐัพพตัณหา (ความทะยานอยากในโผฏฐัพพะ) ...
ธัมมตัณหา (ความทะยานอยากในธรรมารมณ์) ไม่เที่ยง มีความแปรผัน
มีภาวะโดยอาการอื่น
ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดศรัทธาเชื่อมั่นธรรมเหล่านี้อย่างนี้ ผู้นี้เราเรียกว่า
‘สัทธานุสารี ฯลฯ จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’'

รูปตัณหาสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๔. โอกกันตสังยุต] ๑๐. ขันธสูตร

๙. ปฐวีธาตุสูตร
ว่าด้วยปฐวีธาตุ

[๓๑๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) ไม่เที่ยง มี
ความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ) ฯลฯ
เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) ...
วาโยธาตุ (ธาตุลม) ...
อากาสธาตุ (ธาตุอากาศ) ...
วิญญาณธาตุ (ธาตุวิญญาณ) ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดศรัทธาเชื่อมั่นธรรมเหล่านี้อย่างนี้ ผู้นี้เราเรียกว่า
‘สัทธานุสารี ฯลฯ จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”

ปฐวีธาตุสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ขันธสูตร
ว่าด้วยขันธ์

[๓๑๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง มีความแปรผัน มี
ภาวะโดยอาการอื่น
เวทนาไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
สัญญา ฯลฯ
สังขารไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
วิญญาณไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๔. โอกกันตสังยุต]
รวมพระสูตรที่มีในสังยุต

ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดศรัทธาเชื่อมั่นธรรมเหล่านี้อย่างนี้ ผู้นี้เราเรียกว่า
‘สัทธานุสารี ก้าวลงสู่อริยมรรค หยั่งลงสู่ภูมิของสัตบุรุษ ผ่านภูมิของปุถุชน
ได้แล้ว ไม่ควรทำกรรมที่ทำแล้วไปเกิดในนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน หรือภูมิแห่ง
เปรต ไม่สมควรตายตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้งโสดาปัตติผล’
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ของผู้ใดประจักษ์ชัดโดยยิ่งด้วยปัญญาอย่างนี้ ผู้
นี้เราเรียกว่า ‘ธัมมานุสารี ก้าวลงสู่อริยมรรค หยั่งลงสู่ภูมิของสัตบุรุษ ผ่านภูมิ
ของปุถุชนได้แล้ว ไม่ควรทำกรรมที่ทำแล้วไปเกิดในนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
หรือภูมิแห่งเปรต ไม่สมควรตายตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้งโสดาปัตติผล’
ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดรู้เห็นธรรมเหล่านี้อย่างนี้ ผู้นี้เราเรียกว่า ‘อริยสาวกผู้
เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”

ขันธสูตรที่ ๑๐ จบ
โอกกันตสังยุต จบ

รวมพระสูตรที่มีในสังยุตนี้ คือ

๑. จักขุสูตร ๒. รูปสูตร
๓. วิญญาณสูตร ๔. สัมผัสสสูตร
๕. สัมผัสสชาสูตร ๖. รูปสัญญาสูตร
๗. รูปสัญเจตนาสูตร ๘. รูปตัณหาสูตร
๙. ปฐวีธาตุสูตร ๑๐. ขันธสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [ ๕. อุปปาทสังยุต] ๑. จักขุสูตร

๕. อุปปาทสังยุต
๑. จักขุสูตร
ว่าด้วยจักขุ

[๓๑๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความ
บังเกิด ความปรากฏแห่งจักขุ นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค
เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ
ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ... แห่งโสตะ ฯลฯ
ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ... แห่งฆานะ ...
ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ... แห่งชิวหา ...
ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ... แห่งกาย ...
ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งมโน นี้เป็นความ
เกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งจักขุ นี้
เป็นความดับแห่งทุกข์ เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชรา
และมรณะ
ความดับ ... แห่งโสตะ ฯลฯ
ความดับ ... แห่งฆานะ ...
ความดับ ... แห่งชิวหา ...
ความดับ ... แห่งกาย ...
ความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งมโน นี้เป็นความดับแห่งทุกข์
เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชราและมรณะ”๑

จักขุสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๕. อุปปาทสังยุต] ๓. วิญญาณสูตร

๒. รูปสูตร
ว่าด้วยรูป

[๓๑๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความ
บังเกิด ความปรากฏแห่งรูป นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค
เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ
ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ... แห่งสัททะ ฯลฯ แห่งคันธะ ... แห่งรส ...
แห่งโผฏฐัพพะ ...
ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งธรรมารมณ์ นี้
เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและ
มรณะ
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งรูป นี้
เป็นความดับแห่งทุกข์ เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชรา
และมรณะ
ความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งสัททะ ฯลฯ แห่งคันธะ ...
แห่งรส ... แห่งโผฏฐัพพะ ...
ความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งธรรมารมณ์ นี้เป็นความดับ
แห่งทุกข์ เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชราและมรณะ”๑

รูปสูตรที่ ๒ จบ

๓. วิญญาณสูตร
ว่าด้วยวิญญาณ

[๓๑๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ...
แห่งจักขุวิญญาณ ฯลฯ เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ ฯลฯ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๕. อุปปาทสังยุต] ๕. สัมผัสสชาสูตร

ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ... แห่งมโนวิญญาณ ฯลฯ เป็นความปรากฏ
แห่งชราและมรณะ
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนความดับ ... แห่งจักขุวิญญาณ ฯลฯ เป็นความตั้งอยู่
ไม่ได้แห่งชราและมรณะ ฯลฯ
ความดับ ... แห่งมโนวิญญาณ ฯลฯ เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชราและมรณะ”

วิญญาณสูตรที่ ๓ จบ

๔. สัมผัสสสูตร
ว่าด้วยสัมผัส

[๓๑๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ...
แห่งจักขุสัมผัส ฯลฯ เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ ฯลฯ
ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ... แห่งมโนสัมผัส ฯลฯ เป็นความปรากฏแห่ง
ชราและมรณะ
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนความดับ ... แห่งจักขุสัมผัส ฯลฯ เป็นความตั้งอยู่ไม่
ได้แห่งชราและมรณะ ฯลฯ
ความดับ ... แห่งมโนสัมผัส ... เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชราและมรณะ”

สัมผัสสสูตรที่ ๔ จบ

๕. สัมผัสสชาสูตร
ว่าด้วยสัมผัสสชาเวทนา

[๓๑๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ...
แห่งจักขุสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๕. อุปปาทสังยุต] ๖. สัญญาสูตร

ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งมโนสัมผัสสชา-
เวทนา นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏ
แห่งชราและมรณะ
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนความดับ ความสงบระงับ ... แห่งจักขุสัมผัสสชาเวทนา
ฯลฯ เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชราและมรณะ ฯลฯ
ความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งมโนสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ
นี้เป็นความดับแห่งทุกข์ เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชรา
และมรณะ”

สัมผัสสชาสูตรที่ ๕ จบ

๖. สัญญาสูตร
ว่าด้วยสัญญา

[๓๑๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ...
แห่งรูปสัญญา ฯลฯ เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ ฯลฯ
ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งธัมมสัญญา นี้
เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและ
มรณะ
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนความดับ ... แห่งรูปสัญญา ฯลฯ เป็นความตั้งอยู่ไม่
ได้แห่งชราและมรณะ ฯลฯ
ความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งธัมมสัญญา นี้เป็นความดับ
แห่งทุกข์ เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชราและมรณะ”

สัญญาสูตรที่ ๖ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๕. อุปปาทสังยุต]
๘. ตัณหาสูตร

๗. สัญเจตนาสูตร
ว่าด้วยสัญเจตนา

[๓๑๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ...
แห่งรูปสัญเจตนา ฯลฯ เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ ฯลฯ
ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งธัมมสัญเจตนา
นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและ
มรณะ
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนความดับ ... แห่งรูปสัญเจตนา ฯลฯ เป็นความตั้งอยู่
ไม่ได้แห่งชราและมรณะ ฯลฯ
ความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งธัมมสัญเจตนา นี้เป็นความ
ดับแห่งทุกข์ เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชราและมรณะ”

สัญเจตนาสูตรที่ ๗ จบ

๘. ตัณหาสูตร
ว่าด้วยตัณหา

[๓๑๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ...
แห่งรูปตัณหา ฯลฯ เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ ฯลฯ
ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งธัมมตัณหา นี้
เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและ
มรณะ
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนความดับ ... แห่งรูปตัณหา ฯลฯ เป็นความตั้งอยู่ไม่
ได้แห่งชราและมรณะ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๕. อุปปาทสังยุต] ๙. ธาตุสูตร

ความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งธัมมตัณหา นี้เป็นความดับ
แห่งทุกข์ เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชราและมรณะ”

ตัณหาสูตรที่ ๘ จบ

๙. ธาตุสูตร
ว่าด้วยธาตุ

[๓๒๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความ
บังเกิด ความปรากฏแห่งปฐวีธาตุ ฯลฯ เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ ...
แห่งอาโปธาตุ ฯลฯ แห่งเตโชธาตุ ... แห่งวาโยธาตุ ... แห่งอากาสธาตุ ...
ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งวิญญาณธาตุ นี้
เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและ
มรณะ
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนความดับ ... แห่งปฐวีธาตุ ฯลฯ เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้
แห่งชราและมรณะ
ความดับ ... แห่งอาโปธาตุ ฯลฯ
ความดับ ... แห่งเตโชธาตุ ...
ความดับ ... แห่งวาโยธาตุ ...
ความดับ ... แห่งอากาสธาตุ ...
ความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งวิญญาณธาตุ นี้เป็นความดับ
แห่งทุกข์ เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชราและมรณะ”

ธาตุสูตรที่ ๙ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๕. อุปปาทสังยุต] รวมพระสูตรที่มีในสังยุต

๑๐. ขันธสูตร
ว่าด้วยขันธ์

[๓๒๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความ
บังเกิด ความปรากฏแห่งรูป นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค
เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ
ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ... แห่งเวทนา ฯลฯ แห่งสัญญา ... แห่ง
สังขาร ...
ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งวิญญาณ นี้เป็น
ความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งรูป นี้
เป็นความดับแห่งทุกข์ เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชรา
และมรณะ
ความดับ ความสงบระงับ ... แห่งเวทนา ฯลฯ แห่งสัญญา ... แห่ง
สังขาร ...
ความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งวิญญาณ นี้เป็นความดับ
แห่งทุกข์ เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชราและมรณะ”

ขันธสูตรที่ ๑๐ จบ
อุปปาทสังยุต จบ

รวมพระสูตรที่มีในสังยุตนี้ คือ

๑. จักขุสูตร ๒. รูปสูตร
๓. วิญญาณสูตร ๔. สัมผัสสสูตร
๕. สัมผัสสชาสูตร ๖. สัญญาสูตร
๗. สัญเจตนาสูตร ๘. ตัณหาสูตร
๙. ธาตุสูตร ๑๐. ขันธสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๖. กิเลสสังยุต] ๑. จักขุสูตร

๖. กิเลสสังยุต
๑. จักขุสูตร
ว่าด้วยจักขุ

[๓๒๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ฉันทราคะในจักขุ นี้เป็นความ
เศร้าหมองแห่งจิต
ฉันทราคะในโสตะ นี้เป็นความเศร้าหมองแห่งจิต
ฉันทราคะในฆานะ นี้เป็นความเศร้าหมองแห่งจิต
ฉันทราคะในชิวหา นี้เป็นความเศร้าหมองแห่งจิต
ฉันทราคะในกาย นี้เป็นความเศร้าหมองแห่งจิต
ฉันทราคะในมโน นี้เป็นความเศร้าหมองแห่งจิต
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุละความเศร้าหมองแห่งจิตในฐานะ ๖ ประการนี้ได้
เมื่อนั้น จิตของเธอที่น้อมไปในเนกขัมมะ๑ อันเนกขัมมะอบรมแล้ว ควรแก่การงาน
ปรากฏในธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันรู้ยิ่ง”

จักขุสูตรที่ ๑ จบ

๒. รูปสูตร
ว่าด้วยรูป

[๓๒๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ฉันทราคะในรูป นี้เป็นความ
เศร้าหมองแห่งจิต


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๖. กิเลสสังยุต] ๓. วิญญาณสูตร

ฉันทราคะในสัททะ ฯลฯ
ฉันทราคะในคันธะ ...
ฉันทราคะในรส ...
ฉันทราคะในโผฏฐัพพะ ...
ฉันทราคะในธรรมารมณ์ นี้เป็นความเศร้าหมองแห่งจิต
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุละความเศร้าหมองแห่งจิตในฐานะ ๖ ประการนี้ได้
เมื่อนั้น จิตของเธอที่น้อมไปในเนกขัมมะ อันเนกขัมมะอบรมแล้ว ควรแก่การงาน
ปรากฏในธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันรู้ยิ่ง”

รูปสูตรที่ ๒ จบ

๓. วิญญาณสูตร
ว่าด้วยวิญญาณ

[๓๒๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ฉันทราคะในจักขุวิญญาณ นี้เป็น
ความเศร้าหมองแห่งจิต
ฉันทราคะในโสตวิญญาณ ฯลฯ
ฉันทราคะในฆานวิญญาณ ...
ฉันทราคะในชิวหาวิญญาณ ...
ฉันทราคะในกายวิญญาณ ...
ฉันทราคะในมโนวิญญาณ นี้เป็นความเศร้าหมองแห่งจิต
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุละความเศร้าหมองแห่งจิตในฐานะ ๖ ประการนี้ได้
เมื่อนั้น จิตของเธอที่น้อมไปในเนกขัมมะ อันเนกขัมมะอบรมแล้ว ควรแก่การงาน
ปรากฏในธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันรู้ยิ่ง”

วิญญาณสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๖. กิเลสสังยุต] ๕. สัมผัสสชาสูตร

๔. สัมผัสสสูตร
ว่าด้วยสัมผัส

[๓๒๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ฉันทราคะในจักขุสัมผัส นี้เป็น
ความเศร้าหมองแห่งจิต
ฉันทราคะในโสตสัมผัส ฯลฯ
ฉันทราคะในฆานสัมผัส ...
ฉันทราคะในชิวหาสัมผัส ...
ฉันทราคะในกายสัมผัส ...
ฉันทราคะในมโนสัมผัส นี้เป็นความเศร้าหมองแห่งจิต
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุ ฯลฯ ในธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันรู้ยิ่ง”

สัมผัสสสูตรที่ ๔ จบ

๕. สัมผัสสชาสูตร
ว่าด้วยสัมผัสสชาเวทนา

[๓๒๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ฉันทราคะในจักขุสัมผัสสชาเวทนา
นี้เป็นความเศร้าหมองแห่งจิต
ฉันทราคะในโสตสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ
ฉันทราคะในฆานสัมผัสสชาเวทนา ...
ฉันทราคะในชิวหาสัมผัสสชาเวทนา ...
ฉันทราคะในกายสัมผัสสชาเวทนา ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๖. กิเลสสังยุต] ๗. สัญเจตนาสูตร

ฉันทราคะในมโนสัมผัสสชาเวทนา นี้เป็นความเศร้าหมองแห่งจิต
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุ ฯลฯ ในธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันรู้ยิ่ง”

สัมผัสสชาสูตรที่ ๕ จบ

๖. สัญญาสูตร
ว่าด้วยสัญญา

[๓๒๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ฉันทราคะในรูปสัญญา นี้เป็นความ
เศร้าหมองแห่งจิต
ฉันทราคะในสัททสัญญา ฯลฯ
ฉันทราคะในคันธสัญญา ...
ฉันทราคะในรสสัญญา ...
ฉันทราคะในโผฏฐัพพสัญญา ...
ฉันทราคะในธัมมสัญญา นี้เป็นความเศร้าหมองแห่งจิต
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุ ฯลฯ ในธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันรู้ยิ่ง”

สัญญาสูตรที่ ๖ จบ

๗. สัญเจตนาสูตร
ว่าด้วยสัญเจตนา

[๓๒๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ฉันทราคะในรูปสัญเจตนา นี้เป็น
ความเศร้าหมองแห่งจิต
ฉันทราคะในสัททสัญเจตนา ฯลฯ
ฉันทราคะในคันธสัญเจตนา ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๖. กิเลสสังยุต] ๙. ธาตุสูตร

ฉันทราคะในรสสัญเจตนา ...
ฉันทราคะในโผฏฐัพพสัญเจตนา ...
ฉันทราคะในธัมมสัญเจตนา นี้เป็นความเศร้าหมองแห่งจิต
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุ ฯลฯ ในธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันรู้ยิ่ง”

สัญเจตนาสูตรที่ ๗ จบ

๘. ตัณหาสูตร
ว่าด้วยตัณหา

[๓๒๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ฉันทราคะในรูปตัณหา นี้เป็นความ
เศร้าหมองแห่งจิต
ฉันทราคะในสัททตัณหา ฯลฯ
ฉันทราคะในคันธตัณหา ...
ฉันทราคะในรสตัณหา ...
ฉันทราคะในโผฏฐัพพตัณหา ...
ฉันทราคะในธัมมตัณหา นี้เป็นความเศร้าหมองแห่งจิต
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุ ฯลฯ ในธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันรู้ยิ่ง”

ตัณหาสูตรที่ ๘ จบ

๙. ธาตุสูตร
ว่าด้วยธาตุ

[๓๓๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ฉันทราคะในปฐวีธาตุ นี้เป็นความ
เศร้าหมองแห่งจิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๖. กิเลสสังยุต] ๑๐. ขันธสูตร

ฉันทราคะในอาโปธาตุ ฯลฯ
ฉันทราคะในเตโชธาตุ ...
ฉันทราคะในวาโยธาตุ ...
ฉันทราคะในอากาสธาตุ ...
ฉันทราคะในวิญญาณธาตุ นี้เป็นความเศร้าหมองแห่งจิต
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุละความเศร้าหมองแห่งจิตในฐานะ ๖ ประการนี้ได้
เมื่อนั้น จิตของเธอที่น้อมไปในเนกขัมมะ อันเนกขัมมะอบรมแล้ว ควรแก่การงาน
ปรากฏในธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันรู้ยิ่ง”

ธาตุสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ขันธสูตร
ว่าด้วยขันธ์

[๓๓๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ฉันทราคะในรูป นี้เป็นความ
เศร้าหมองแห่งจิต ฯลฯ
ฉันทราคะในวิญญาณ นี้เป็นความเศร้าหมองแห่งจิต
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุละความเศร้าหมองแห่งจิตในฐานะ ๖ ประการนี้ได้
เมื่อนั้น จิตของเธอที่น้อมไปในเนกขัมมะ อันเนกขัมมะอบรมแล้ว ควรแก่การงาน
ปรากฏในธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันรู้ยิ่ง”

ขันธสูตรที่ ๑๐ จบ
กิเลสสังยุต จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๖. กิเลสสังยุต] รวมพระสูตรที่มีในสังยุต

รวมพระสูตรที่มีในสังยุตนี้ คือ

๑. จักขุสูตร ๒. รูปสูตร
๓. วิญญาณสูตร ๔. สัมผัสสสูตร
๕. สัมผัสสชาสูตร ๖. สัญญาสูตร
๗. สัญเจตนาสูตร ๘. ตัณหาสูตร
๙. ธาตุสูตร ๑๐. ขันธสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [ ๗. สารีปุตตสังยุต] ๑. วิเวกชสูตร

๗. สารีปุตตสังยุต
๑. วิเวกชสูตร
ว่าด้วยปฐมฌานมีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก

[๓๓๒] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้นในเวลาเช้า ท่านพระสารีบุตรครอง
อันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี กลับจากบิณฑบาต
ภายหลังฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว เข้าไปยังป่าอันธวันเพื่อพักกลางวัน ถึงป่าอันธวัน
แล้วนั่งพักอยู่ที่โคนไม้แห่งหนึ่ง
ต่อมาเวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่หลีกเร้นแล้ว เข้าไปยังพระเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ท่านพระอานนท์ได้เห็นท่านพระสารีบุตรกำลังเดิน
มาแต่ไกลจึงถามว่า “ท่านสารีบุตร อินทรีย์ของท่านผ่องใสยิ่งนัก สีหน้า
ก็บริสุทธิ์ผุดผ่อง วันนี้ ท่านสารีบุตรอยู่ด้วยวิหารธรรมอะไร”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ วันนี้ ผมสงัดจากกาม และอกุศล-
ธรรมทั้งหลายแล้วเข้าปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่‘๑
ผมนั้นไม่ได้คิดว่า ‘เราเข้าปฐมฌานอยู่ หรือเข้าปฐมฌานแล้ว หรือออกจาก
ปฐมฌานแล้ว”
อันที่จริง ท่านพระสารีบุตรถอนอหังการ มมังการ และมานานุสัยออกได้
นานแล้ว ฉะนั้น ท่านพระสารีบุตรจึงไม่คิดว่า “เราเข้าปฐมฌานอยู่ หรือเข้า
ปฐมฌานแล้ว หรือออกจากปฐมฌานแล้ว”

วิเวกชสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๗. สารีปุตตสังยุต] ๓. ปีติสูตร

๒. อวิตักกสูตร
ว่าด้วยทุติยฌานไม่มีวิตก

[๓๓๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ท่านพระอานนท์ได้เห็น ฯลฯ จึงถามว่า “ท่านสารีบุตร อินทรีย์ของท่าน
ผ่องใสยิ่งนัก สีหน้าก็บริสุทธิ์ผุดผ่อง วันนี้ ท่านสารีบุตรอยู่ด้วยวิหารธรรมอะไร”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป วันนี้
ผมเข้าทุติยฌานมีความผ่องใสในจิตภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น๑ ไม่มีวิตก
ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขเกิดจากสมาธิอยู่‘๒ ผมนั้นไม่ได้คิดว่า ‘เราเข้าทุติยฌานอยู่
หรือเข้าทุติยฌานแล้ว หรือออกจากทุติยฌานแล้ว”
อันที่จริง ท่านพระสารีบุตรถอนอหังการ มมังการ และมานานุสัยออกได้
นานแล้ว ฉะนั้น ท่านจึงไม่คิดว่า “เราเข้าทุติยฌานอยู่ หรือเข้าทุติยฌานแล้ว
หรือออกจากทุติยฌานแล้ว”

อวิตักกสูตรที่ ๒ จบ

๓. ปีติสูตร
ว่าด้วยตติยฌานที่มีปีติ

[๓๓๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ท่านพระอานนท์ได้เห็น ฯลฯ จึงถามว่า “ท่านสารีบุตร อินทรีย์ของท่าน
ผ่องใสยิ่งนัก สีหน้าบริสุทธิ์ผุดผ่อง วันนี้ ท่านสารีบุตรอยู่ด้วยวิหารธรรมอะไร”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๗. สารีปุตตสังยุต] ๔. อุเปกขาสูตร

ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ เพราะปีติจางคลายไป วันนี้ ผมมี
อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกายอยู่ เข้าตติยฌานที่พระอริยะ
ทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข‘๑ ผมนั้นไม่ได้คิดว่า ‘เราเข้า
ตติยฌานอยู่ หรือเข้าตติยฌานแล้ว หรือออกจากตติยฌานแล้ว”
อันที่จริง ท่านพระสารีบุตรถอนอหังการ มมังการ และมานานุสัยออกได้
นานแล้ว ฉะนั้น ท่านจึงไม่คิดว่า “เราเข้าตติยฌานอยู่ หรือเข้าตติยฌานแล้ว
หรือออกจากตติยฌานแล้ว”

ปีติสูตรที่ ๓ จบ

๔. อุเปกขาสูตร
ว่าด้วยจตุตถฌานที่มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา

[๓๓๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ท่านพระอานนท์ได้เห็น ฯลฯ จึงถามว่า “ท่านสารีบุตร อินทรีย์ของท่าน
ผ่องใสยิ่งนัก สีหน้าก็บริสุทธิ์ผุดผ่อง วันนี้ ท่านสารีบุตรอยู่ด้วยวิหารธรรมอะไร”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะ
โสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว วันนี้ ผมเข้าจตุตถฌานไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่๒ ผมนั้นไม่ได้คิดว่า ‘เราเข้าจตุตถฌานอยู่ หรือเข้า
จตุตถฌานแล้ว หรือออกจากจตุตถฌานแล้ว”
อันที่จริง ท่านพระสารีบุตรถอนอหังการ มมังการ และมานานุสัยออกได้
นานแล้ว ฉะนั้น ท่านจึงไม่คิดว่า “เราเข้าจตุตถฌานอยู่ หรือเข้าจตุตถฌานแล้ว
หรือออกจากจตุตถฌานแล้ว”

อุเปกขาสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๗. สารีปุตตสังยุต]
๗. อากิญจัญญายตนสูตร

๕. อากาสานัญจายตนสูตร
ว่าด้วยอากาสานัญจายตนฌาน

[๓๓๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ท่านพระอานนท์ได้เห็น ฯลฯ
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ วันนี้ ผมเข้าอากาสานัญจายตนฌาน
(ฌานอันกำหนดอากาศคือช่องว่างหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์) อยู่โดยกำหนดว่า
‘อากาศหาที่สุดมิได้’ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญา
โดยประการทั้งปวงอยู่๑ ฯลฯ หรือออกจากอากาสานัญจายตนฌานแล้ว”

อากาสานัญจายตนสูตรที่ ๕ จบ

๖. วิญญาณัญจายตนสูตร
ว่าด้วยวิญญาณัญจายตนฌาน

[๓๓๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ท่านพระอานนท์ได้เห็น ฯลฯ
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ วันนี้ ผมล่วงอากาสานัญจายตน-
ฌานโดยประการทั้งปวงเข้าวิญญาณัญจายตนฌาน (ฌานอันกำหนดวิญญาณหา
ที่สุดมิได้เป็นอารมณ์) โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้‘๒ ฯลฯ หรือออก
จากวิญญาณัญจายตนฌานแล้ว”

วิญญาณัญจายตนสูตรที่ ๖ จบ

๗. อากิญจัญญายตนสูตร
ว่าด้วยอากิญจัญญายตนฌาน

[๓๓๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตร ฯลฯ ได้ตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ วันนี้ ผมล่วง
วิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวงเข้าอากิญจัญญายตนฌาน (ฌานอัน


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๗. สารีปุตตสังยุต] ๙. นิโรธสมาปัตติสูตร

กำหนดภาวะที่ไม่มีอะไร ๆ เป็นอารมณ์) โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร‘๑ ฯลฯ หรือ
ออกจากอากิญจัญญายตนฌานแล้ว”

อากิญจัญญายตนสูตรที่ ๗ จบ

๘. เนวสัญญานาสัญญายตนสูตร
ว่าด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน

[๓๓๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตร ฯลฯ ได้ตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ วันนี้ ผมล่วง
วิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวงเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน (ฌาน
อันเข้าถึงภาวะมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่)๒ ฯลฯ หรือออกจากเนวสัญญา-
นาสัญญายตนฌานแล้ว”

เนวสัญญานาสัญญายตนสูตรที่ ๘ จบ

๙. นิโรธสมาปัตติสูตร
ว่าด้วยนิโรธสมาบัติ

[๓๔๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้นในเวลาเช้า ท่านพระสารีบุตรครอง
อันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี กลับจากบิณฑบาต
ภายหลังฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว เข้าไปยังป่าอันธวันเพื่อพักกลางวัน ถึงป่าอันธวัน
แล้วนั่งพักอยู่ที่โคนไม้แห่งหนึ่ง
ต่อมาเวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่หลีกเร้นแล้วเข้าไปยังพระเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ท่านพระอานนท์ได้เห็นท่านพระสารีบุตรกำลังเดิน
มาแต่ไกลจึงถามว่า “ท่านสารีบุตร อินทรีย์ของท่านผ่องใสยิ่งนัก สีหน้าก็บริสุทธิ์
ผุดผ่อง วันนี้ ท่านสารีบุตรอยู่ด้วยวิหารธรรมอะไร”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๗. สารีปุตตสังยุต] ๑๐. สุจิมุขีสูตร

ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ วันนี้ ผมล่วงเนวสัญญานาสัญญา-
ยตนฌานโดยประการทั้งปวงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ (สมาบัติที่ดับสัญญาและเวทนา)
อยู่ ผมนั้นไม่ได้คิดว่า ‘เราเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ หรือเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธแล้ว
หรือว่าออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธแล้ว”
อันที่จริง ท่านพระสารีบุตรถอนอหังการ มมังการ และมานานุสัยออกได้
นานแล้ว ฉะนั้น ท่านจึงไม่คิดว่า “เราเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ หรือเข้าสัญญา-
เวทยิตนิโรธแล้ว หรือออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธแล้ว”

นิโรธสมาปัตติสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. สุจิมุขีสูตร
ว่าด้วยสุจิมุขีปริพาชิกา

[๓๔๑] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้
เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้นในเวลาเช้า ท่านพระสารีบุตรครองอันตรวาสก
ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์ อาศัยเชิงฝาแห่งหนึ่งฉันบิณฑบาต
นั้น ครั้งนั้น ปริพาชิกาชื่อสุจิมุขี เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ แล้วได้ถามว่า
“สมณะ ทำไมท่านจึงก้มหน้าฉันเล่า”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “น้องหญิง เรามิได้ก้มหน้าฉัน”
“สมณะ ถ้าอย่างนั้น ท่านเงยหน้าฉันหรือ”
“น้องหญิง เรามิได้เงยหน้าฉัน”
“สมณะ ถ้าอย่างนั้น ท่านมองดูทิศใหญ่ฉันหรือ”
“น้องหญิง เรามิได้มองดูทิศใหญ่ฉัน”
“สมณะ ถ้าอย่างนั้น ท่านมองดูทิศน้อยฉันหรือ”
“น้องหญิง เรามิได้มองดูทิศน้อยฉัน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๗. สารีปุตตสังยุต] ๑๐. สุจิมุขีสูตร

“ดิฉันถามว่า ‘สมณะ ทำไมท่านจึงก้มหน้าฉันเล่า’ ท่านก็ตอบว่า ‘เรามิได้
ก้มหน้าฉัน’
ดิฉันถามว่า ‘ถ้าอย่างนั้น ท่านเงยหน้าฉันหรือ’ ท่านก็ตอบว่า ‘เรามิได้เงย
หน้าฉัน’
ดิฉันถามว่า ‘ถ้าอย่างนั้น ท่านมองดูทิศใหญ่ฉันหรือ’ ท่านก็ตอบว่า ‘เรา
มิได้มองดูทิศใหญ่ฉัน’
ดิฉันถามว่า ‘ถ้าอย่างนั้น ท่านมองดูทิศน้อยฉันหรือ’ ท่านก็ตอบว่า ‘เรา
มิได้มองดูทิศน้อยฉัน’
สมณะ ก็บัดนี้ ท่านฉันอย่างไรเล่า”
“น้องหญิง ก็สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งเลี้ยงชีวิตด้วยมิจฉาชีพเพราะ
ดิรัจฉานวิชา๑ คือวิชาดูพื้นที่๒ สมณพราหมณ์เหล่านี้ เรียกได้ว่า ก้มหน้าฉัน
สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งเลี้ยงชีวิตด้วยมิจฉาชีพเพราะเดรัจฉานวิชา
คือ วิชาดูดาวดูฤกษ์ สมณพราหมณ์เหล่านี้ เรียกได้ว่า เงยหน้าฉัน
สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งเลี้ยงชีวิตด้วยมิจฉาชีพเพราะทำหน้าที่เป็น
ตัวแทนและผู้สื่อสาร สมณพราหมณ์เหล่านี้ เรียกได้ว่า มองดูทิศใหญ่ฉัน
สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งเลี้ยงชีวิตด้วยมิจฉาชีพเพราะเดรัจฉานวิชา
คือวิชาดูอวัยวะ สมณพราหมณ์เหล่านี้ เรียกได้ว่า มองดูทิศน้อยฉัน
น้องหญิง เรานั้นมิได้เลี้ยงชีวิตด้วยมิจฉาชีพเพราะเดรัจฉานวิชาคือวิชาดู
พื้นที่ มิได้เลี้ยงชีวิตด้วยมิจฉาชีพเพราะเดรัจฉานวิชาคือวิชาดูดาวดูฤกษ์ มิได้เลี้ยง
ชีวิตด้วยมิจฉาชีพเพราะทำหน้าที่เป็นตัวแทนและผู้สื่อสาร มิได้เลี้ยงชีวิตด้วย
มิจฉาชีพเพราะเดรัจฉานวิชาคือวิชาดูอวัยวะ (แต่)เราแสวงหาภิกษาโดยชอบธรรม
แล้วจึงฉัน”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๗. สารีปุตตสังยุต]
รวมพระสูตรที่มีในสังยุต

ลำดับนั้น สุจิมุขีปริพาชิกาเข้าไปในกรุงราชคฤห์แล้ว ประกาศตามถนนสาย
หนึ่งไปยังอีกสายหนึ่ง ตามตรอกหนึ่งไปยังอีกตรอกหนึ่งอย่างนี้ว่า “ท่าน
สมณศากยบุตรทั้งหลายฉันอาหารที่ได้มาโดยชอบธรรม ไม่มีโทษ ขอเชิญท่าน
ทั้งหลายถวายบิณฑบาตแก่สมณศากยบุตรทั้งหลายเถิด”

สุจิมุขีสูตรที่ ๑๐ จบ
สารีปุตตสังยุต จบ

รวมพระสูตรที่มีในสังยุตนี้ คือ

๑. วิเวกชสูตร ๒. อวิตักกสูตร
๓. ปีติสูตร ๔. อุเปกขาสูตร
๕. อากาสานัญจายตนสูตร ๖. วิญญาณัญจายตนสูตร
๗. อากิญจัญญายตนสูตร ๘. เนวสัญญานาสัญญายตนสูตร
๙. นิโรธสมาปัตติสูตร ๑๐. สุจิมุขีสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๘. นาคสังยุต] ๒.ปณีตตรสูตร

๘. นาคสังยุต
๑. สุทธิกสูตร
ว่าด้วยกำเนิดนาคล้วน ๆ

[๓๔๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย กำเนิดของนาค ๔ ประเภทนี้
กำเนิดของนาค ๔ ประเภท อะไรบ้าง คือ
๑. นาคที่เป็นอัณฑชะ (เกิดในไข่)
๒. นาคที่เป็นชลาพุชะ (เกิดในครรภ์)
๓. นาคที่เป็นสังเสทชะ (เกิดในเถ้าไคลหรือที่ชื้นแฉะ)
๔. นาคที่เป็นโอปปาติกะ (เกิดผุดขึ้น)
ภิกษุทั้งหลาย กำเนิดของนาค ๔ ประเภทนี้”

สุทธิกสูตรที่ ๑ จบ

๒. ปณีตตรสูตร
ว่าด้วยกำเนิดนาคที่ประณีตกว่ากัน

[๓๔๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย กำเนิดของนาค ๔ ประเภทนี้
กำเนิดของนาค ๔ ประเภท อะไรบ้าง คือ
๑. นาคที่เป็นอัณฑชะ ๒. นาคที่เป็นชลาพุชะ
๓. นาคที่เป็นสังเสทชะ ๔. นาคที่เป็นโอปปาติกะ
ในนาค ๔ ประเภทนั้น นาคที่เป็นชลาพุชะ สังเสทชะ และโอปปาติกะ
ประณีตกว่านาคที่เป็นอัณฑชะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๘. นาคสังยุต] ๓. อุโปสถสูตร

นาคที่เป็นสังเสทชะ และโอปปาติกะ ประณีตกว่านาคที่เป็นอัณฑชะและ
ชลาพุชะ
นาคที่เป็นโอปปาติกะประณีตกว่านาคที่เป็นอัณฑชะ ชลาพุชะ และสังเสทชะ
ภิกษุทั้งหลาย กำเนิดของนาค ๔ ประเภทนี้”

ปณีตตรสูตรที่ ๒ จบ

๓. อุโปสถสูตร
ว่าด้วยอุโบสถ

[๓๔๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้นาคที่เป็นอัณฑชะบางพวก
ในโลกนี้รักษาอุโบสถและสละกายได้”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ นาคที่เป็นอัณฑชะบางพวกในโลกนี้มี
ความคิดอย่างนี้ว่า ‘เมื่อก่อน พวกเราได้เป็นผู้มีปกติกระทำกรรมทั้ง ๒ (๑) ด้วยกาย
วาจา และใจ พวกเรานั้นมีปกติกระทำกรรมทั้ง ๒ ด้วยกาย วาจา และใจ
หลังจากตายแล้วจึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกนาคที่เป็นอัณฑชะ ถ้าวันนี้
พวกเราพึงประพฤติสุจริตด้วยกาย วาจา และใจ เมื่อทำได้อย่างนี้ พวกเราหลัง
จากตายแล้วก็จะพึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เชิญพวกเราประพฤติสุจริตด้วยกาย วาจา
และใจในบัดนี้เถิด’
ภิกษุ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้นาคที่เป็นอัณฑชะบางพวกในโลกนี้รักษา
อุโบสถและสละกายได้”

อุโปสถสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๘. นาคสังยุต] ๕. ตติยอุโปสถสูตร

๔. ทุติยอุโปสถสูตร
ว่าด้วยอุโบสถ สูตรที่ ๒

[๓๔๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง ณ
ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ
เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้นาคที่เป็นชลาพุชะบางพวกในโลกนี้รักษาอุโบสถและสละกายได้
(พึงขยายข้อความที่เหลือทั้งหมดให้พิสดาร)
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้นาคที่เป็น
ชลาพุชะบางพวกในโลกนี้รักษาอุโบสถและสละกายได้”

ทุติยอุโปสถสูตรที่ ๔ จบ

๕. ตติยอุโปสถสูตร
ว่าด้วยอุโบสถ สูตรที่ ๓

[๓๔๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุนั้น นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้นาคที่เป็นสังเสทชะบางพวกใน
โลกนี้รักษาอุโบสถและสละกายได้ (พึงขยายข้อความที่เหลือทั้งหมดให้พิสดาร)
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้นาคที่เป็น
สังเสทชะบางพวกในโลกนี้รักษาอุโบสถและสละกายได้”

ตติยอุโปสถสูตรที่ ๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๘. นาคสังยุต] ๗. สุตสูตร

๖. จตุตถอุโปสถสูตร
ว่าด้วยอุโบสถ สูตรที่ ๔

[๓๔๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุนั้น นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระ
องค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้นาคที่เป็นโอปปาติกะบางพวกในโลก
นี้รักษาอุโบสถและสละกายได้”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ นาคที่เป็นโอปปาติกะบางพวกในโลกนี้มี
ความคิดอย่างนี้ว่า ‘เมื่อก่อน พวกเราได้เป็นผู้มีปกติกระทำกรรมทั้ง ๒ ด้วยกาย
วาจา และใจ พวกเรานั้นมีปกติกระทำกรรมทั้ง ๒ ด้วยกาย วาจา และใจ
หลังจากตายแล้วจึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกนาคที่เป็นโอปปาติกะ ถ้าวันนี้
พวกเราพึงประพฤติสุจริตด้วยกาย วาจา และใจ เมื่อทำได้อย่างนี้ หลังจากตายแล้ว
พวกเราก็จะพึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เชิญพวกเราประพฤติสุจริตด้วยกาย วาจา
และใจในบัดนี้เถิด’
ภิกษุ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้นาคที่เป็นโอปปาติกะบางพวกในโลกนี้
รักษาอุโบสถและสละกายได้”

จตุตถอุโปสถสูตรที่ ๖ จบ

๗. สุตสูตร
ว่าด้วยเรื่องที่ได้ฟังมา

[๓๔๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุนั้น นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจาก
ตายแล้วจะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกนาคที่เป็นอัณฑชะ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๘. นาคสังยุต] ๙. ตติยสุตสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีปกติ
กระทำกรรมทั้ง ๒ ด้วยกาย วาจา และใจ เขาได้ฟังมาว่า ‘พวกนาคที่เป็น
อัณฑชะมีอายุยืน มีผิวพรรณงาม มีความสุขมาก’ จึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า
‘ไฉนหนอ หลังจากตายแล้วขอเราพึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกนาคที่เป็น
อัณฑชะ’ หลังจากตายแล้วจึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกนาคที่เป็นอัณฑชะ’
ภิกษุ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจะ
เข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกนาคที่เป็นอัณฑชะ”

สุตสูตรที่ ๗ จบ

๘. ทุติยสุตสูตร
ว่าด้วยเรื่องที่ได้ฟังมา สูตรที่ ๒

[๓๔๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุนั้น นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระ
องค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจากตาย
แล้วจะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกนาคที่เป็นชลาพุชะ ฯลฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคน
ในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกนาคที่เป็นชลาพุชะ”

ทุติยสุตสูตรที่ ๘ จบ

๙. ตติยสุตสูตร
ว่าด้วยเรื่องที่ได้ฟังมา สูตรที่ ๓

[๓๕๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุนั้น นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจาก
ตายแล้วจะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกนาคที่เป็นสังเสทชะ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๘. นาคสังยุต]
๑๑-๒๐. อัณฑชาทานูปการสุตตทสกะ

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคน
ในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกนาคที่เป็นสังเสทชะ”

ตติยสุตสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. จตุตถสุตสูตร
ว่าด้วยเรื่องที่ได้ฟังมา สูตรที่ ๔

[๓๕๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุนั้น นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระ
องค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจากตาย
แล้วจะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกนาคที่เป็นโอปปาติกะ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีปกติ
กระทำกรรมทั้ง ๒ ด้วยกาย วาจา และใจ เขาได้ฟังมาว่า ‘พวกนาคที่เป็น
โอปปาติกะ มีอายุยืน มีผิวพรรณงาม มีความสุขมาก’ จึงมีความปรารถนา
อย่างนี้ว่า ‘ไฉนหนอ หลังจากตายแล้วขอเราพึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวก
นาคที่เป็นโอปปาติกะ’ หลังจากตายแล้วจึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกนาคที่
เป็นโอปปาติกะ
ภิกษุ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจะ
เข้าถึงการอยู่ร่วมกับพวกนาคที่เป็นโอปปาติกะ”

จตุตถสุตสูตรที่ ๑๐ จบ

๑๑-๒๐. อัณฑชทานูปการสุตตทสกะ
ว่าด้วยความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกนาคที่เป็นอัณฑชะ ๑๐ สูตร

[๓๕๒-๓๖๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุนั้น นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระ
องค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจากตาย
แล้วจะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกนาคที่เป็นอัณฑชะ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๘. นาคสังยุต]
๒๑-๕๐. ชลาพุชาทิทานูปการสุตตติงสกะ

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีปกติ
กระทำกรรมทั้ง ๒ ด้วยกาย วาจา และใจ เขาได้ฟังมาว่า ‘พวกนาคที่เป็น
อัณฑชะมีอายุยืน มีผิวพรรณงาม มีความสุขมาก’ จึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า
‘ไฉนหนอ หลังจากตายแล้วขอเราพึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกนาคที่เป็น
อัณฑชะ’ จึงให้ข้าว หลังจากตายแล้วจึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกนาคที่
เป็นอัณฑชะ
ภิกษุ นี้แล เป็นเหตุ ฯลฯ จะเข้าถึง ฯลฯ จึงให้น้ำ ... ให้ผ้า ... ให้ยาน
... ให้ดอกไม้ ... ให้ของหอม ... ให้เครื่องลูบไล้ ... ให้ที่นอน ... ให้ที่พัก ...
ให้เครื่องประทีป หลังจากตายแล้วจึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกนาคที่เป็น
อัณฑชะ
ภิกษุ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจากตายแล้ว
เข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกนาคที่เป็นอัณฑชะ”

อัณฑชทานูปการสุตตทสกะที่ ๑๑-๒๐ จบ

๒๑-๕๐. ชลาพุชาทิทานูปการสุตตติงสกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๓๐ สูตร มีชลาพุชทานูปการสูตรเป็นต้น

[๓๖๒-๓๙๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุนั้น นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระ
องค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจากตาย
แล้วจะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกนาคที่เป็นชลาพุชะ ฯลฯ พวกนาคที่เป็น
สังเสทชะ ... จะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกนาคที่เป็นโอปปาติกะ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีปกติ
กระทำกรรมทั้ง ๒ ด้วยกาย วาจา และใจ เขาได้ฟังมาว่า ‘พวกนาคที่เป็น
โอปปาติกะมีอายุยืน มีผิวพรรณงาม มีความสุขมาก’ จึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า
‘ไฉนหนอ หลังจากตายแล้วขอเราพึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกนาคที่เป็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๘. นาคสังยุต] รวมพระสูตรที่มีในสังยุต

โอปปาติกะ’ จึงให้ข้าว ฯลฯ ให้น้ำ ... ให้ผ้า ... ให้ยาน ... ให้ดอกไม้ ... ให้ของหอม
... ให้เครื่องลูบไล้ ... ให้ที่นอน ... ให้ที่พัก ... ให้เครื่องประทีป หลังจาก
ตายแล้วจึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกนาคที่เป็นโอปปาติกะ”
ภิกษุ นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะเข้า
ถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกนาคที่เป็นโอปปาติกะ
(พึงเพิ่มสูตรคราวละ ๑๐ สูตร ที่ละไว้นี้เข้ามาให้เต็ม การตอบปัญหาทั้ง ๔๐
ในกำเนิด ๔ ก็พึงเพิ่มเข้ามาให้เต็มอย่างนี้ เมื่อรวมพระสูตรทั้ง ๑๐ กับสูตร
ก่อน ๆ เข้าด้วยกันจึงมี ๕๐ สูตร)

ชลาพุชาทิทานูปการสุตตติงสกะที่ ๒๑-๕๐ จบ
นาคสังยุต จบ

รวมพระสูตรที่มีในสังยุตนี้ คือ

๑. สุทธิกสูตร ๒. ปณีตตรสูตร
๓. อุโปสถสูตร ๔. ทุติยอุโปสถสูตร
๕. ตติยอุโปสถสูตร ๖. จตุตถอุโปสถสูตร
๗. สุตสูตร ๘. ทุติยสุตสูตร
๙. ตติยสุตสูตร ๑๐. จตุตถสุตสูตร
๑๑-๒๐. อัณฑชทานูปการสุตตทสกะ
๒๑-๕๐. ชลาพุชาทิทานูปการสุตตติงสกะ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๙. สุปัณณสังยุต] ๑. สุทธิกสูตร

๙. สุปัณณสังยุต
๑. สุทธิกสูตร
ว่าด้วยกำเนิดครุฑล้วน ๆ

[๓๙๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย กำเนิดของครุฑ ๔ ประเภทนี้
กำเนิดของครุฑ ๔ ประเภท อะไรบ้าง คือ
๑. ครุฑที่เป็นอัณฑชะ (เกิดในไข่)
๒. ครุฑที่เป็นชลาพุชะ (เกิดในครรภ์)
๓. ครุฑที่เป็นสังเสทชะ (เกิดในเถ้าไคลหรือที่ชื้นแฉะ)
๔. ครุฑที่เป็นโอปปาติกะ (เกิดผุดขึ้น)
ภิกษุทั้งหลาย กำเนิดของครุฑ ๔ ประเภทนี้”

สุทธิกสูตรที่ ๑ จบ

๒. หรันติสูตร
ว่าด้วยครุฑฉุดนาค

[๓๙๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย กำเนิดของครุฑ ๔ ประเภทนี้
กำเนิดของครุฑ ๔ ประเภท อะไรบ้าง คือ
๑. ครุฑที่เป็นอัณฑชะ ๒. ครุฑที่เป็นชลาพุชะ
๓. ครุฑที่เป็นสังเสทชะ ๔. ครุฑที่เป็นโอปปาติกะ
ภิกษุทั้งหลาย กำเนิดของครุฑ ๔ ประเภทนี้
ในครุฑ ๔ จำพวกนั้น ครุฑที่เป็นอัณฑชะ นำนาคที่เป็นอัณฑชะไปได้ แต่
นำนาคที่เป็นชลาพุชะ สังเสทชะ และโอปปาติกะไปไม่ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๙. สุปัณณสังยุต] ๓. ทวยการีสูตร

ครุฑที่เป็นชลาพุชะ นำนาคที่เป็นอัณฑชะ และชลาพุชะไปได้ แต่นำนาคที่
เป็นสังเสทชะ และโอปปาติกะไปไม่ได้
ครุฑที่เป็นสังเสทชะ นำนาคที่เป็นอัณฑชะ ชลาพุชะ และสังเสทชะไปได้
แต่นำนาคที่เป็นโอปปาติกะไปไม่ได้
ส่วนครุฑที่เป็นโอปปาติกะ นำนาคที่เป็นอัณฑชะ ชลาพุชะ สังเสทชะ และ
โอปปาติกะไปได้
ภิกษุทั้งหลาย กำเนิดของครุฑ ๔ ประเภทนี้”

หรันติสูตรที่ ๒ จบ

๓. ทวยการีสูตร
ว่าด้วยผู้มีปกติกระทำกรรมทั้ง ๒

[๓๙๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ
ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ
เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจะเข้าถึงความเป็นผู้
อยู่ร่วมกับพวกครุฑที่เป็นอัณฑชะ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีปกติ
กระทำกรรมทั้ง ๒ ด้วยกาย วาจา และใจ เขาได้ฟังมาว่า ‘พวกครุฑที่เป็น
อัณฑชะมีอายุยืน มีผิวพรรณงาม มีความสุขมาก’ จึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า
‘ไฉนหนอ หลังจากตายแล้วขอเราพึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกครุฑที่เป็น
อัณฑชะ’ หลังจากตายแล้วจึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกครุฑที่เป็นอัณฑชะ
ภิกษุ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจะ
เข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกครุฑที่เป็นอัณฑชะ”

ทวยการีสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๙. สุปัณณสังยุต]
๑๗-๔๖. ชลาพุชทานูปการสูตร

๔-๖. ทุติยาทิทวยการีสุตตัตติกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๓ สูตร มีทุติยทวยการีสูตรเป็นต้น

[๓๙๕-๓๙๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุนั้น นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระ
องค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจากตาย
แล้วจะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกครุฑที่เป็นชลาพุชะ ฯลฯ พวกครุฑที่เป็น
สังเสทชะ ฯลฯ จะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกครุฑที่เป็นโอปปาติกะ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีปกติ
กระทำกรรมทั้ง ๒ ด้วยกาย วาจา และใจ เขาได้ฟังมาว่า ‘พวกครุฑที่เป็น
โอปปาติกะมีอายุยืน มีผิวพรรณงาม มีความสุขมาก’ จึงมีความปรารถนาว่า
‘ไฉนหนอ หลังจากตายแล้วขอเราพึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกครุฑที่เป็น
โอปปาติกะ’ หลังจากตายแล้วจึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกครุฑที่เป็น
โอปปาติกะ
ภิกษุ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจะ
เข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกครุฑที่เป็นโอปปาติกะ”

ทุติยาทิทวยการีสุตตัตติกะที่ ๔-๖ จบ

๗-๑๖. อัณฑชทานูปการสุตตทสกะ
ว่าด้วยความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกครุฑที่เป็นอัณฑชะ ๑๐ สูตร

[๓๙๘-๔๐๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุนั้น นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจาก
ตายแล้วจะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกครุฑที่เป็นอัณฑชะ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๙. สุปัณณสังยุต]
๑๗-๔๖. ชลาพุชทานูปการสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีปกติ
กระทำกรรมทั้ง ๒ ด้วยกาย วาจา และใจ เขาได้ฟังมาว่า ‘พวกครุฑที่เป็น
อัณฑชะมีอายุยืน มีผิวพรรณงาม มีความสุขมาก’ จึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า
‘ไฉนหนอ หลังจากตายแล้วขอเราพึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกครุฑที่เป็น
อัณฑชะ’ จึงให้ข้าว ฯลฯ ให้น้ำ ... ให้ผ้า ... ให้ยาน ... ให้ดอกไม้ ... ให้ของหอม
... ให้เครื่องลูบไล้ ... ให้ที่นอน ... ให้ที่พัก ... ให้เครื่องประทีป หลังจาก
ตายแล้วจึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกครุฑที่เป็นอัณฑชะ
ภิกษุ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจะ
เข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกครุฑที่เป็นอัณฑชะ”

อัณฑชทานูปการสุตตทสกะที่ ๗-๑๖ จบ

๑๗-๔๖. ชลาพุชทานูปการสูตร
ว่าด้วยความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกครุฑที่เป็นชลาพุชะ

[๔๐๘-๔๓๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุนั้น นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจาก
ตายแล้วจะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกครุฑที่เป็นชลาพุชะ ฯลฯ พวกครุฑที่
เป็นสังเสทชะ ฯลฯ จะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกครุฑที่เป็นโอปปาติกะ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีปกติกระทำ
กรรมทั้ง ๒ ด้วยกาย วาจา และใจ เขาได้ฟังมาว่า ‘พวกครุฑที่เป็นโอปปาติกะมี
อายุยืน มีผิวพรรณงาม มีความสุขมาก’ จึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘ไฉนหนอ
หลังจากตายแล้วขอเราพึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกครุฑที่เป็นโอปปาติกะ’
จึงให้ข้าว ฯลฯ ให้น้ำ ... ให้ผ้า ... ให้ยาน ... ให้ดอกไม้ ... ให้ของหอม ...
ให้เครื่องลูบไล้ ... ให้ที่นอน ... ให้ที่พัก ... ให้เครื่องประทีป หลังจากตาย
แล้วจึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกครุฑที่เป็นโอปปาติกะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๙. สุปัณณสังยุต] รวมพระสูตรที่มีในสังยุต

ภิกษุ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจะ
เข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกครุฑที่เป็นโอปปาติกะ”

ชลาพุชทานูปการสูตรที่ ๑๗-๔๖ จบ
(ด้วยการรวบรวมอย่างนี้จึงมีพระสูตร ๔๖ สูตร)
สุปัณณสังยุต จบ

รวมพระสูตรที่มีในสังยุตนี้ คือ

๑. สุทธิกสูตร ๒. หรันติสูตร
๓. ทวยการีสูตร ๔-๖. ทุติยาทิทวยการีสุตตัตติกะ
๗-๑๖. อัณฑชทานูปการสุตตทสกะ
๑๗-๔๖. ชลาพุชทานูปการสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๐. คันธัพพกายสังยุต] ๒.สุจริตสูตร

๑๐. คันธัพพกายสังยุต
๑. สุทธิกสูตร
ว่าด้วยเทพผู้นับเนื่องในหมู่คันธัพพเทพล้วน ๆ

[๔๓๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ฯลฯ ได้ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจัก
แสดงเทพทั้งหลายผู้นับเนื่องในหมู่คันธัพพเทพแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
เทพทั้งหลายผู้นับเนื่องในหมู่คันธัพพเทพ เป็นอย่างไร
คือ เทพทั้งหลายสถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่รากก็มี สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่
แก่นก็มี สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่กระพี้ก็มี สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่เปลือกก็มี สถิต
อยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่สะเก็ดก็มี สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ใบก็มี สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่น
ที่ดอกก็มี สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ผลก็มี สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่รสก็มี สถิตอยู่ที่
ต้นไม้มีกลิ่นที่กลิ่นก็มี
ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เราเรียกว่าเทพทั้งหลายผู้นับเนื่องในหมู่คันธัพพเทพ”

สุทธิกสูตรที่ ๑ จบ

๒. สุจริตสูตร
ว่าด้วยสุจริต

[๔๓๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง ณ
ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ
เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจะเข้าถึงความเป็นผู้
อยู่ร่วมกับเทพทั้งหลายผู้นับเนื่องในหมู่คันธัพพเทพ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้ประพฤติสุจริตทางกาย
วาจา และใจ เขาได้ฟังมาว่า ‘เทพทั้งหลายผู้นับเนื่องในหมู่คันธัพพเทพ มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๐. คันธัพพสังยุต] ๓. มูลคันธทาตาสูตร

อายุยืน มีผิวพรรณงาม มีความสุขมาก’ จึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘ไฉนหนอ
หลังจากตายแล้วขอเราพึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพทั้งหลายผู้นับเนื่องในหมู่
คันธัพพเทพ’ หลังจากตายแล้วจึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพทั้งหลายผู้
นับเนื่องในหมู่คันธัพพเทพ
ภิกษุ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจะ
เข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพทั้งหลายผู้นับเนื่องในหมู่คันธัพพเทพ”

สุจริตสูตรที่ ๒ จบ

๓. มูลคันธทาตาสูตร
ว่าด้วยผู้ให้ต้นไม้มีกลิ่นที่ราก

[๔๔๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว
นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ
เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจะเข้าถึงความเป็นผู้
อยู่ร่วมกับเทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ราก”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้ประพฤติสุจริต
ทางกาย วาจา และใจ เขาได้ฟังมาว่า ‘เทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ราก
มีอายุยืน มีผิวพรรณงาม มีความสุขมาก’ จึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘ไฉนหนอ
หลังจากตายแล้วขอเราพึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้
มีกลิ่นที่ราก’ จึงให้ต้นไม้มีกลิ่นที่ราก หลังจากตายแล้วจึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วม
กับเทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ราก
ภิกษุ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจะ
เข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ราก”

มูลคันธทาตาสูตรที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๐. คันธัพพสังยุต]
๔-๑๒. สารคันธาทิทาตาสุตตนวกะ

๔-๑๒. สารคันธาทิทาตาสุตตนวกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๙ สูตร มีสารคันธทาตาสูตรเป็นต้น

[๔๔๑-๔๔๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุนั้น นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจาก
ตายแล้วจะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่แก่น
ฯลฯ
เทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่กระพี้ ...
เทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่เปลือก ...
เทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่สะเก็ด ...
เทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ใบ ...
เทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ดอก ...
เทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ผล ...
เทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่รส ...
จะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่กลิ่น”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้ประพฤติสุจริต
ทางกาย วาจา และใจ เขาได้ฟังมาว่า ‘เทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่น
ที่แก่น มีอายุยืน มีผิวพรรณงาม มีความสุขมาก’ จึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า
‘ไฉนหนอ หลังจากตายแล้วขอเราพึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพทั้งหลายผู้
สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่แก่น’ ฯลฯ
เทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่กระพี้ ...
เทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่เปลือก ...
เทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่สะเก็ด ...
เทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ใบ ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๐. คันธัพพสังยุต]
๑๓-๒๒. มูลคันธทานูปการสุตตทสกะ

เทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ดอก ...
เทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ผล ...
เทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่รส ...
จะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่กลิ่น’
จึงให้ต้นไม้มีกลิ่นที่แก่น ฯลฯ ให้ต้นไม้มีกลิ่นที่กระพี้ ... ให้ต้นไม้มีกลิ่นที่
เปลือก ... ให้ต้นไม้มีกลิ่นที่สะเก็ด ... ให้ต้นไม้มีกลิ่นที่ใบ ... ให้ต้นไม้มีกลิ่นที่ดอก
... ให้ต้นไม้มีกลิ่นที่ผล ... ให้ต้นไม้มีกลิ่นที่รส ... ให้ต้นไม้มีกลิ่นที่กลิ่น หลังจาก
ตายแล้วจึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่กลิ่น
ภิกษุ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจะ
เข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่กลิ่น”

สารคันธาทิทาตาสุตตนวกะที่ ๔-๑๒ จบ

๑๓-๒๒. มูลคันธทานูปการสุตตทสกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๑๐ สูตร มีมูลคันธทานูปการสูตรเป็นต้น

[๔๕๐-๔๕๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุนั้น นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจาก
ตายแล้วจะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ราก”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้ประพฤติสุจริต
ทางกาย วาจา และใจ เขาได้ฟังมาว่า ‘เทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่น
ที่ราก มีอายุยืน มีผิวพรรณงาม มีความสุขมาก’ จึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า
‘ไฉนหนอ หลังจากตายแล้ว ขอเราพึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพทั้งหลาย
ผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ราก’ จึงให้ข้าว ฯลฯ ให้น้ำ ... ให้ผ้า ... ให้ยาน ...
ให้ดอกไม้ ... ให้ของหอม ... ให้เครื่องลูบไล้ ... ให้ที่นอน ... ให้ที่พัก ...
ให้เครื่องประทีป หลังจากตายแล้วจึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพทั้งหลาย
ผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ราก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๐. คันธัพพสังยุต]
๒๓-๑๑๒. สารคันธาทิทานูปการสุตตนวุติกะ

ภิกษุ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจะ
เข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ราก”

มูลคันธทานูปการสุตตทสกะที่ ๑๓-๒๒ จบ

๒๓-๑๑๒. สารคันธาทิทานูปการสุตตนวุติกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๙๐ สูตร มีสารคันธทานูปการสูตรเป็นต้น

[๔๖๐-๕๔๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุนั้น นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจากตาย
แล้วจะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่แก่น ฯลฯ
เทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่กระพี้ ...
เทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่เปลือก ...
เทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่สะเก็ด ...
เทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ใบ ...
เทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ดอก ...
เทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ผล ...
เทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่รส ...
จะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่กลิ่น”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้ประพฤติสุจริต
ทางกาย วาจา และใจ เขาได้ฟังมาว่า ‘เทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่กลิ่น
มีอายุยืน มีผิวพรรณงาม มีความสุขมาก’ จึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘ไฉนหนอ
หลังจากตายแล้วขอเราพึงเข้าถึงการอยู่ร่วมกับเทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่น
ที่กลิ่น’ จึงให้ข้าว ฯลฯ ให้น้ำ ... ให้ผ้า ... ให้ยาน ... ให้ดอกไม้ ... ให้ของหอม
... ให้เครื่องลูบไล้ ... ให้ที่นอน ... ให้ที่พัก ... ให้เครื่องประทีป หลังจาก
ตายแล้วจึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่กลิ่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๐. คันธัพพสังยุต]
รวมพระสูตรที่มีในสังยุต

ภิกษุ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจะ
เข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่กลิ่น”

สารคันธาทิทานูปการสุตตนวุติกะที่ ๒๓-๑๑๒ จบ
(ด้วยการรวบรวมเข้าเป็นหมวดเดียวกันอย่างนี้ จึงมีพระสูตร ๑๑๒ สูตร)
คันธัพพกายสังยุต จบ

รวมพระสูตรที่มีในสังยุตนี้ คือ

๑. สุทธิกสูตร ๒. สุจริตสูตร
๓. มูลคันธทาตาสูตร ๔-๑๒. สารคันธาทิทาตาสุตตนวกะ
๑๓-๒๒. มูลคันธทานูปการสุตตทสกะ
๒๓-๑๑๒. สารคันธาทิทานูปการสุตตนวุติกะ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [ ๑๑. วลาหกสังยุต ] ๒. สุจริตสูตร

๑๑. วลาหกสังยุต
๑. เทสนาสูตร
ว่าด้วยทรงแสดงเทพพวกวลาหก

[๕๕๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงเทพพวกวลาหกแก่
เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ
เทพพวกวลาหก เป็นอย่างไร
คือ เทพทั้งหลายที่เป็นสีตวลาหกก็มี ที่เป็นอุณหวลาหกก็มี ที่เป็นอัพภ-
วลาหกก็มี ที่เป็นวาตวลาหกก็มี ที่เป็นวัสสวลาหกก็มี
ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เราเรียกว่า เทพพวกวลาหก”

เทสนาสูตรที่ ๑ จบ

๒. สุจริตสูตร
ว่าด้วยสุจริต

[๕๕๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว
นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไร
หนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจะเข้าถึงความ
เป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพทั้งหลายผู้นับเนื่องในหมู่เทพพวกวลาหก”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้ประพฤติสุจริต
ทางกาย วาจา และใจ เขาได้ฟังมาว่า ‘เทพทั้งหลายผู้นับเนื่องในหมู่วลาหก มี
อายุยืน มีผิวพรรณงาม มีความสุขมาก’ จึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘ไฉนหนอ
หลังจากตายแล้วขอเราพึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพทั้งหลายผู้นับเนื่องใน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๑. วลาหกสังยุต]
๓-๑๒. สีตวลาหกทานูปการสุตตทสกะ

หมู่เทพพวกวลาหก’ จึงให้ข้าว ฯลฯ ให้น้ำ ... ให้ผ้า ... ให้ยาน ... ให้ดอกไม้
... ให้ของหอม ... ให้เครื่องลูบไล้ ... ให้ที่นอน ... ให้ที่พัก ... ให้เครื่องประทีป
หลังจากตายแล้วจึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพทั้งหลายผู้นับเนื่องในหมู่เทพ
พวกวลาหก
ภิกษุ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจะ
เข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพทั้งหลายผู้นับเนื่องในหมู่เทพพวกวลาหก”

สุจริตสูตรที่ ๒ จบ

๓-๑๒ สีตวลาหกทานูปการสุตตทสกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๑๐ สูตร มีสีตวลาหกทานูปการสูตรเป็นต้น

[๕๕๒-๕๖๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุนั้น นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจาก
ตายแล้วจะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพพวกสีตวลาหก”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้ประพฤติสุจริตทางกาย
วาจา และใจ เขาได้ฟังมาว่า ‘เทพพวกสีตวลาหก มีอายุยืน มีผิวพรรณงาม มี
ความสุขมาก’ จึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘ไฉนหนอ หลังจากตายแล้ว ขอเรา
พึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพพวกสีตวลาหก’ จึงให้ข้าว ฯลฯ ให้น้ำ ... ให้ผ้า
... ให้ยาน ... ให้ดอกไม้ ... ให้ของหอม ... ให้เครื่องลูบไล้ ... ให้ที่นอน ... ให้ที่พัก
... ให้เครื่องประทีป หลังจากตายแล้วจึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพพวก
สีตวลาหก
ภิกษุ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจะ
เข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพพวกสีตวลาหก”

สีตวลาหกทานูปการสุตตทสกะที่ ๓-๑๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๑. วลาหกสังยุต] ๕๓. สีตวลาหกสูตร

๑๓-๕๒. อุณหวลาหกทานูปการสูตร
ว่าด้วยความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพพวกอุณหวลาหก

[๕๖๒-๖๐๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุนั้น นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจาก
ตายแล้วจะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพพวกอุณหวลาหก จะเข้าถึงความเป็นผู้
อยู่ร่วมกับเทพพวกอัพภวลาหก จะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพพวกวาตวลาหก
จะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพพวกวัสสวลาหก”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้ประพฤติสุจริต
ทางกาย วาจา และใจ เขาได้ฟังมาว่า ‘เทพพวกวัสสวลาหก มีอายุยืน มีผิว
พรรณงาม มีความสุขมาก’ จึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘ไฉนหนอ หลังจาก
ตายแล้วขอเราพึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพพวกวัสสวลาหก’ จึงให้ข้าว ฯลฯ
ให้น้ำ ... ให้ผ้า ... ให้ยาน ... ให้ดอกไม้ ... ให้ของหอม ... ให้เครื่องลูบไล้ ...
ให้ที่นอน ... ให้ที่พัก ... ให้เครื่องประทีป หลังจากตายแล้วจึงเข้าถึงความเป็น
ผู้อยู่ร่วมกับเทพพวกวัสสวลาหก
ภิกษุ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจะ
เข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพพวกวัสสวลาหก”

อุณหวลาหกทานูปการสูตรที่ ๑๓-๕๒ จบ

๕๓. สีตวลาหกสูตร
ว่าด้วยเทพพวกสีตวลาหก

[๖๐๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุนั้น นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มีความหนาวในกาลบางคราว”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๑. วลาหกสังยุต] ๕๕. อัพภวลาหกสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ เทพพวกสีตวลาหกมีอยู่ เมื่อใด เทพ
เหล่านั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทำอย่างไรหนอ พวกเราพึงยินดีด้วยความยินดีของ
ตนเอง’ เมื่อนั้น เพราะอาศัยความตั้งใจของเทพเหล่านั้น ความหนาวจึงมี
ภิกษุ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มีความหนาวในกาลบางคราว”

สีตวลาหกสูตรที่ ๕๓ จบ

๕๔. อุณหวลาหกสูตร
ว่าด้วยเทพพวกอุณหวลาหก

[๖๐๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุนั้น นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มีความร้อนในกาลบางคราว”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ เทพพวกอุณหวลาหกมีอยู่ เมื่อใด
เทพเหล่านั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทำอย่างไรหนอ พวกเราพึงยินดีด้วยความยินดี
ของตนเอง’ เมื่อนั้น เพราะอาศัยความตั้งใจของเทพเหล่านั้น ความร้อนจึงมี
ภิกษุ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มีความร้อนในกาลบางคราว”

อุณหวลาหกสูตรที่ ๕๔ จบ

๕๕. อัพภวลาหกสูตร
ว่าด้วยเทพพวกอัพภวลาหก

[๖๐๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุนั้น นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มีหมอกในกาลบางคราว”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๑. วลาหกสังยุต] ๕๗. วัสสวลาหกสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ เทพพวกอัพภวลาหกมีอยู่ เมื่อใด
เทพเหล่านั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทำอย่างไรหนอ พวกเราพึงยินดีด้วยความยินดี
ของตนเอง’ เมื่อนั้น เพราะอาศัยความตั้งใจของเทพเหล่านั้น หมอกจึงมี
ภิกษุ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มีหมอกในกาลบางคราว”

อัพภวลาหกสูตรที่ ๕๕ จบ

๕๖. วาตวลาหกสูตร
ว่าด้วยเทพพวกวาตวลาหก

[๖๐๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุนั้น นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มีลมในกาลบางคราว”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ เทพพวกวาตวลาหกมีอยู่ เมื่อใด เทพ
เหล่านั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทำอย่างไรหนอ พวกเราพึงยินดีด้วยความยินดีของ
ตนเอง’ เมื่อนั้น เพราะอาศัยความตั้งใจของเทพเหล่านั้น ลมจึงมี
ภิกษุ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มีลมในกาลบางคราว”

วาตวลาหกสูตรที่ ๕๖ จบ

๕๗. วัสสวลาหกสูตร
ว่าด้วยเทพพวกวัสสวลาหก

[๖๐๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุนั้น นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มีฝนในกาลบางคราว”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๑. วลาหกสังยุต] รวมพระสูตรที่มีในสังยุต

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ เทพพวกวัสสวลาหกมีอยู่ เมื่อใด เทพ
เหล่านั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทำอย่างไรหนอ พวกเราพึงยินดีด้วยความยินดีของตนเอง’
เมื่อนั้น เพราะอาศัยความตั้งใจของเทพเหล่านั้น ฝนจึงมี
ภิกษุ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มีฝนในกาลบางคราว”

วัสสวลาหกสูตรที่ ๕๗ จบ
วลาหกสังยุต จบ

รวมพระสูตรที่มีในสังยุตนี้ คือ

๑. เทสนาสูตร ๒. สุจริตสูตร
๓-๑๒. สีตวลาหกทานูปการสุตตทสกะ
๑๓-๕๒. อุณหวลาหกทานูปการสูตร ๕๓. สีตวลาหกสูตร
๕๔. อุณหวลาหกสูตร ๕๕. อัพภวลาหกสูตร
๕๖. วาตวลาหกสูตร ๕๗. วัสสวลาหกสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๒. วัจฉโคตตสังยุต] ๑. รูปอัญญาณสูตร

๑๒. วัจฉโคตตสังยุต
๑. รูปอัญญาณสูตร
ว่าด้วยความไม่รู้ในรูป

[๖๐๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ปริพาชกชื่อวัจฉโคตรเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึก
ถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ทิฏฐิหลายอย่าง
เหล่านี้เกิดขึ้นในโลกว่า ‘โลกเที่ยงหรือโลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุดหรือโลกไม่มีที่สุด
ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกันหรือชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน หลังจากตายแล้ว
ตถาคตเกิดอีกหรือหลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้ว ตถาคต
เกิดอีกและไม่เกิดอีก หรือหลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิด
อีกก็มิใช่”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “วัจฉะ เพราะความไม่รู้ในรูป เพราะความไม่รู้
ในเหตุเกิดแห่งรูป เพราะความไม่รู้ในความดับแห่งรูป เพราะความไม่รู้ในปฏิปทา
ที่ให้ถึงความดับแห่งรูป ทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้จึงเกิดขึ้นในโลกว่า ‘โลกเที่ยงหรือ
โลกไม่เที่ยง ฯลฯ หรือหลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิด
อีกก็มิใช่’
วัจฉะ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้เกิดขึ้นในโลกว่า
‘โลกเที่ยงหรือโลกไม่เที่ยง ฯลฯ หรือหลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่
จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่”

รูปอัญญาณสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๒. วัจฉโคตตสังยุต]
๓. สัญญาอัญญาณสูตร

๒. เวทนาอัญญาณสูตร
ว่าด้วยความไม่รู้ในเวทนา

[๖๐๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
วัจฉโคตรปริพาชกนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้
เกิดขึ้นในโลกว่า ‘โลกเที่ยงหรือโลกไม่เที่ยง ฯลฯ หรือหลังจากตายแล้วตถาคตจะ
ว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “วัจฉะ เพราะความไม่รู้ในเวทนา เพราะความ
ไม่รู้ในเหตุเกิดแห่งเวทนา เพราะความไม่รู้ในความดับแห่งเวทนา เพราะความไม่รู้
ในปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งเวทนา ทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้จึงเกิดขึ้นในโลกว่า
‘โลกเที่ยงหรือโลกไม่เที่ยง ฯลฯ หรือหลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่
จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’
วัจฉะ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้เกิดขึ้นในโลกว่า
‘โลกเที่ยงหรือโลกไม่เที่ยง ฯลฯ หรือหลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่
จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่”

เวทนาอัญญาณสูตรที่ ๒ จบ

๓. สัญญาอัญญาณสูตร
ว่าด้วยความไม่รู้ในสัญญา

[๖๐๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
วัจฉโคตรปริพาชกนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้
เกิดขึ้นในโลกว่า ‘โลกเที่ยงหรือโลกไม่เที่ยง ฯลฯ หรือหลังจากตายแล้วตถาคตจะ
ว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๒. วัจฉโคตตสังยุต]
๔. สังขารอัญญาณสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “วัจฉะ เพราะความไม่รู้ในสัญญา เพราะความ
ไม่รู้ในเหตุเกิดแห่งสัญญา เพราะความไม่รู้ในความดับแห่งสัญญา เพราะความไม่
รู้ในปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสัญญา ทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้จึงเกิดขึ้นในโลกว่า
‘โลกเที่ยงหรือโลกไม่เที่ยง ฯลฯ หรือหลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่
จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’
วัจฉะ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้เกิดขึ้นในโลกว่า
‘โลกเที่ยงหรือโลกไม่เที่ยง ฯลฯ หรือหลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่
จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่”

สัญญาอัญญาณสูตรที่ ๓ จบ

๔. สังขารอัญญาณสูตร
ว่าด้วยความไม่รู้ในสังขาร

[๖๑๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
วัจฉโคตรปริพาชกนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้
เกิดขึ้นในโลกว่า ‘โลกเที่ยงหรือโลกไม่เที่ยง ฯลฯ หรือหลังจากตายแล้วตถาคตจะ
ว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “วัจฉะ เพราะความไม่รู้ในสังขาร เพราะความ
ไม่รู้ในเหตุเกิดแห่งสังขาร เพราะความไม่รู้ในความดับแห่งสังขาร เพราะความไม่รู้
ในปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสังขาร ทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้จึงเกิดขึ้นในโลกว่า
‘โลกเที่ยงหรือโลกไม่เที่ยง ฯลฯ หรือหลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่
จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’
วัจฉะ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้เกิดขึ้นในโลกว่า
‘โลกเที่ยงหรือโลกไม่เที่ยง ฯลฯ หรือหลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่
จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่”

สังขารอัญญาณสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๒. วัจฉโคตตสังยุต]
๖-๑๐. รูปอทัสสนาทิสุตตปัญจกะ

๕. วิญญาณอัญญาณสูตร
ว่าด้วยความไม่รู้ในวิญญาณ

[๖๑๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
วัจฉโคตรปริพาชกนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้
เกิดขึ้นในโลกว่า ‘โลกเที่ยงหรือโลกไม่เที่ยง ฯลฯ หรือหลังจากตายแล้วตถาคตจะ
ว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “วัจฉะ เพราะความไม่รู้ในวิญญาณ เพราะ
ความไม่รู้ในเหตุเกิดแห่งวิญญาณ เพราะความไม่รู้ในความดับแห่งวิญญาณ เพราะ
ความไม่รู้ในปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ ทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้จึงเกิดขึ้น
ในโลกว่า ‘โลกเที่ยงหรือโลกไม่เที่ยง ฯลฯ หรือหลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิด
อีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’
วัจฉะ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้เกิดขึ้นในโลกว่า
‘โลกเที่ยงหรือโลกไม่เที่ยง ฯลฯ หรือหลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่
จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่”

วิญญาณอัญญาณสูตรที่ ๕ จบ

๖-๑๐. รูปอทัสสนาทิสุตตปัญจกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๕ สูตร มีรูปอทัสสนสูตรเป็นต้น

[๖๑๒-๖๑๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
วัจฉโคตรปริพาชกนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้
เกิดขึ้นในโลกว่า ‘โลกเที่ยงหรือโลกไม่เที่ยง ฯลฯ หรือหลังจากตายแล้วตถาคตจะ
ว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “วัจฉะ เพราะความไม่เห็นในรูป ฯลฯ เพราะ
ความไม่เห็นในปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งรูป ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๒. วัจฉโคตตสังยุต]
๑๑-๑๕. รูปอนภิสมยาทิสุตตปัญจกะ

เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“วัจฉะ เพราะความไม่เห็นในเวทนา ฯลฯ
เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“วัจฉะ เพราะความไม่เห็นในสัญญา ฯลฯ
เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“วัจฉะ เพราะความไม่เห็นในสังขาร ฯลฯ
เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“วัจฉะ เพราะความไม่เห็นในวิญญาณ ฯลฯ เพราะความไม่เห็นในปฏิปทา
ที่ให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ ฯลฯ

รูปอทัสสนาทิสุตตปัญจกะที่ ๖-๑๐ จบ

๑๑-๑๕. รูปอนภิสมยาทิสุตตปัญจกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๕ สูตร มีรูปอนภิสมยสูตรเป็นต้น

[๖๑๗-๖๒๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า “วัจฉะ เพราะความไม่รู้แจ้งในรูป ฯลฯ เพราะ
ความไม่รู้แจ้งในปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งรูป ฯลฯ
เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“วัจฉะ เพราะความไม่รู้แจ้งในเวทนา ฯลฯ
เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“วัจฉะ เพราะความไม่รู้แจ้งในสัญญา ฯลฯ
เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“วัจฉะ เพราะความไม่รู้แจ้งในสังขาร ฯลฯ
เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“วัจฉะ เพราะความไม่รู้แจ้งในวิญญาณ ฯลฯ

รูปอนภิสมยาทิสุตตปัญจกะที่ ๑๑-๑๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๒. วัจฉโคตตสังยุต]
๒๑-๒๕. รูปอัปปฏิเวธาทิสุตตปัญจกะ

๑๖-๒๐. รูปอนนุโพธาทิสุตตปัญจกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๕ สูตร มีรูปอนนุโพธสูตรเป็นต้น

[๖๒๒-๖๒๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
วัจฉโคตรปริพาชกนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ฯลฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “วัจฉะ เพราะความไม่รู้เท่าทันในรูป ฯลฯ
เพราะความไม่รู้เท่าทันในปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งรูป ฯลฯ
เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“วัจฉะ เพราะความไม่รู้เท่าทันในเวทนา ฯลฯ
เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“วัจฉะ เพราะความไม่รู้เท่าทันในสัญญา ฯลฯ
เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“วัจฉะ เพราะความไม่รู้เท่าทันในสังขาร ฯลฯ
เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“วัจฉะ เพราะความไม่รู้เท่าทันในวิญญาณ ฯลฯ เพราะความไม่รู้เท่าทันใน
ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ ฯลฯ

รูปอนนุโพธาทิสุตตปัญจกะที่ ๑๖-๒๐ จบ

๒๑-๒๕. รูปอัปปฏิเวธาทิสุตตปัญจกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๕ สูตร มีรูปอัปปฏิเวธสูตรเป็นต้น

[๖๒๗-๖๓๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
วัจฉโคตรปริพาชกทูลถามว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุ
เป็นปัจจัย ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๒. วัจฉโคตตสังยุต]
๓๖-๔๐. รูปอัปปัจจุปลักขณาทิสุตตปัญจกะ

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “วัจฉะ เพราะความไม่แทงตลอดในรูป ฯลฯ
เพราะความไม่แทงตลอดในวิญญาณ ฯลฯ

รูปอัปปฏิเวธาทิสุตตปัญจกะที่ ๒๑-๒๕ จบ

๒๖-๓๐. รูปอสัลลักขณาทิสุตตปัญจกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๕ สูตร มีรูปอสัลลักขณสูตรเป็นต้น

[๖๓๒-๖๓๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “วัจฉะ เพราะความไม่กำหนดในรูป ฯลฯ เพราะ
ความไม่กำหนดในวิญญาณ ฯลฯ

รูปอสัลลักขณาทิสุตตปัญจกะที่ ๒๖-๓๐ จบ

๓๑-๓๕. รูปอนุปลักขณาทิสุตตปัญจกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๕ สูตร มีรูปอนุปลักขณสูตรเป็นต้น

[๖๓๗-๖๔๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “วัจฉะ เพราะความไม่เข้าไปกำหนดในรูป ฯลฯ
เพราะความไม่เข้าไปกำหนดในวิญญาณ ฯลฯ

รูปอนุปลักขณาทิสุตตปัญจกะที่ ๓๑-๓๕ จบ

๓๖-๔๐. รูปอัปปัจจุปลักขณาทิสุตตปัญจกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๕ สูตร มีรูปอัปปัจจุปลักขณสูตรเป็นต้น

[๖๔๒-๖๔๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “วัจฉะ เพราะความไม่เข้าไปกำหนดเฉพาะในรูป ฯลฯ
เพราะความไม่เข้าไปกำหนดเฉพาะในวิญญาณ ฯลฯ

รูปอัปปัจจุปลักขณาทิสุตตปัญจกะที่ ๓๖-๔๐ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๒. วัจฉโคตตสังยุต]
๕๑-๕๔. รูปอัปปัจจักขกัมมาทิสุตตจตุกกะ

๔๑-๔๕. รูปอสมเปกขณาทิสุตตปัญจกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๕ สูตร มีรูปอสมเปกขณสูตรเป็นต้น

[๖๔๗-๖๕๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “วัจฉะ เพราะความไม่เพ่งในรูป ฯลฯ เพราะ
ความไม่เพ่งในวิญญาณ ฯลฯ

รูปอสมเปกขณาทิสุตตปัญจกะที่ ๔๑-๔๕ จบ

๔๖-๕๐. รูปอัปปัจจุเปกขณาทิสุตตปัญจกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๕ สูตร มีรูปอัปปัจจุเปกขณสูตรเป็นต้น

[๖๕๒-๖๕๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “วัจฉะ เพราะความไม่เข้าไปเพ่งเฉพาะในรูป ฯลฯ
เพราะความไม่เข้าไปเพ่งเฉพาะในวิญญาณ ฯลฯ

รูปอัปปัจจุเปกขณาทิสุตตปัญจกะที่ ๔๖-๕๐ จบ

๕๑-๕๔. รูปอัปปัจจักขกัมมาทิสุตตจตุกกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๔ สูตร มีรูปอัปปัจจักขกัมมสูตรเป็นต้น

[๖๕๗-๖๖๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น วัจฉโคตรปริพาชกเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนา
ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูล
ถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็น
ปัจจัยให้ทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้เกิดขึ้นในโลกว่า ‘โลกเที่ยงหรือโลกไม่เที่ยง ฯลฯ
หรือหลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๒. วัจฉโคตตสังยุต]
๕๕. วิญญาณอัปปัจจักขกัมมสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “วัจฉะ เพราะความไม่เห็นประจักษ์ในรูป
เพราะความไม่เห็นประจักษ์ในเหตุเกิดแห่งรูป เพราะความไม่เห็นประจักษ์ในความ
ดับแห่งรูป เพราะความไม่เห็นประจักษ์ในปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งรูป ฯลฯ
เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“วัจฉะ เพราะความไม่เห็นประจักษ์ในเวทนา ฯลฯ เพราะความไม่เห็น
ประจักษ์ในปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งเวทนา ฯลฯ
เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“วัจฉะ เพราะความไม่เห็นประจักษ์ในสัญญา ฯลฯ เพราะความไม่เห็น
ประจักษ์ในปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสัญญา ฯลฯ
เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“วัจฉะ เพราะความไม่เห็นประจักษ์ในสังขาร ฯลฯ เพราะความไม่เห็น
ประจักษ์ในปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสังขาร ฯลฯ

รูปอัปปัจจักขกัมมาทิสุตตจตุกกะที่ ๕๑-๕๔ จบ

๕๕. วิญญาณอัปปัจจักขกัมมสูตร
ว่าด้วยความไม่เห็นประจักษ์ในวิญญาณ

[๖๖๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า “วัจฉะ เพราะความไม่เห็นประจักษ์ในวิญญาณ
เพราะความไม่เห็นประจักษ์ในเหตุเกิดแห่งวิญญาณ เพราะความไม่เห็นประจักษ์ใน
ความดับแห่งวิญญาณ เพราะความไม่เห็นประจักษ์ในปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่ง
วิญญาณ ทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้จึงเกิดขึ้นในโลกว่า ‘โลกเที่ยงหรือโลกไม่เที่ยง ฯลฯ
หรือหลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’
วัจฉะ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้เกิดขึ้นในโลกว่า
‘โลกเที่ยงหรือโลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุดหรือโลกไม่มีที่สุด ชีวะกับสรีระเป็นอย่าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๒. วัจฉโคตตสังยุต]
รวมพระสูตรที่มีในสังยุต

เดียวกันหรือชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก หรือ
หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก
หรือหลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่”

วิญญาณอัปปัจจักขกัมมสูตรที่ ๕๕ จบ
(ด้วยการรวบรวมเข้าเป็นหมวดเดียวกันจึงมีพระสูตร ๕๕ สูตร)
วัจฉโคตตสังยุต จบ

รวมพระสูตรที่มีในสังยุตนี้ คือ

๑. รูปอัญญาณสูตร
๒. เวทนาอัญญาณสูตร
๓. สัญญาอัญญาณสูตร
๔. สังขารอัญญาณสูตร
๕. วิญญาณอัญญาณสูตร
๖-๑๐. รูปอทัสสนาทิสุตตปัญจกะ
๑๑-๑๕. รูปอนภิสมยาทิสุตตปัญจกะ
๑๖-๒๐. รูปอนนุโพธาทิสุตตปัญจกะ
๒๑-๒๕. รูปอัปปฏิเวธาทิสุตตปัญจกะ
๒๖-๓๐. รูปอสัลลักขณาทิสุตตปัญจกะ
๓๑-๓๕. รูปอนุปลักขณาทิสุตตปัญจกะ
๓๖-๔๐. รูปอัปปัจจุปลักขณาทิสุตตปัญจกะ
๔๑-๔๕. รูปอสมเปกขณาทิสุตตปัญจกะ
๔๖-๕๐. รูปอัปปัจจุเปกขณาทิสุตตปัญจกะ
๕๑-๕๔. รูปอัปปัจจักขกัมมาทิสุตตจตุกกะ
๕๕. วิญญาณอัปปัจจักขกัมมสูตร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต]
๑. สมาธิมูลกสมาปัตติสูตร

๑๓. ฌานสังยุต
๑. สมาธิมูลกสมาปัตติสูตร
ว่าด้วยการเข้าสมาธิอันเป็นมูล

[๖๖๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้
บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
แต่ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ
๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ๑ แต่ไม่
ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
และไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ
๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
และฉลาดในการเข้าสมาธิ
ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
และฉลาดในการเข้าสมาธิ เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นประธาน สูงสุด และยิ่งใหญ่ที่สุด
ภิกษุทั้งหลาย นมสดจากแม่โค นมส้มจากนมสด เนยข้นจากนมส้ม เนยใส
จากเนยข้น ยอดเนยใสจากเนยใส ยอดเนยใสชาวโลกถือว่าเป็นเลิศในบรรดานมสด
เป็นต้นนั้น แม้ฉันใด บุคคลผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และฉลาด


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต] ๒. สมาธิมูลกฐิติสูตร

ในการเข้าสมาธิ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นประธาน สูงสุด
และยิ่งใหญ่ที่สุด”

สมาธิมูลกสมาปัตติสูตรที่ ๑ จบ

๒. สมาธิมูลกฐิติสูตร
ว่าด้วยการตั้งอยู่ในสมาธิอันเป็นมูล

[๖๖๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้
บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
แต่ไม่ฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ
๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ๑
แต่ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
และไม่ฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ
๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
และฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ
ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และ
ฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นประธาน สูงสุด และยิ่งใหญ่ที่สุด
ภิกษุทั้งหลาย นมสดจากแม่โค นมส้มจากนมสด เนยข้นจากนมส้ม เนยใส
จากเนยข้น ยอดเนยใสจากเนยใส ยอดเนยใสชาวโลกถือว่าเป็นเลิศในบรรดานมสด


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต] ๓. สมาธิมูลกวุฏฐานสูตร

เป็นต้นนั้น แม้ฉันใด บุคคลผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และฉลาด
ในการตั้งอยู่ในสมาธิ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นประธาน
สูงสุด และยิ่งใหญ่ที่สุด”

สมาธิมูลกฐิติสูตรที่ ๒ จบ

๓. สมาธิมูลกวุฏฐานสูตร
ว่าด้วยการออกจากสมาธิอันเป็นมูล

[๖๖๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้
บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
แต่ไม่ฉลาดในการออกจากสมาธิ
๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาธิ๑
แต่ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
และไม่ฉลาดในการออกจากสมาธิ
๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
และฉลาดในการออกจากสมาธิ
ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
และฉลาดในการออกจากสมาธิ เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นประธาน สูงสุด และ
ยิ่งใหญ่ที่สุด


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต] ๔. สมาธิมูลกกัลลิตสูตร

ภิกษุทั้งหลาย นมสดจากแม่โค นมส้มจากนมสด เนยข้นจากนมส้ม เนยใส
จากเนยข้น ยอดเนยใสจากเนยใส ฯลฯ และยิ่งใหญ่ที่สุด”

สมาธิมูลกวุฏฐานสูตรที่ ๓ จบ

๔. สมาธิมูลกกัลลิตสูตร
ว่าด้วยความพร้อมในสมาธิอันเป็นมูล

[๖๖๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้
บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
แต่ไม่ฉลาดในความพร้อมในสมาธิ
๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในความพร้อมในสมาธิ๑
แต่ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
และไม่ฉลาดในความพร้อมในสมาธิ
๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
และฉลาดในความพร้อมในสมาธิ
ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
และฉลาดในความพร้อมในสมาธิ เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นประธาน สูงสุด และ
ยิ่งใหญ่ที่สุด
ภิกษุทั้งหลาย นมสดจากแม่โค นมส้มจากนมสด เนยข้นจากนมส้ม เนยใส
จากเนยข้น ยอดเนยใสจากเนยใส ฯลฯ และยิ่งใหญ่ที่สุด”

สมาธิมูลกกัลลิตสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต]
๕. สมาธิมูลกอารัมมณสูตร

๕. สมาธิมูลกอารัมมณสูตร
ว่าด้วยอารมณ์ในสมาธิอันเป็นมูล

[๖๖๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้
บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
แต่ไม่ฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ
๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ
แต่ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
และไม่ฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ
๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
และฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ
ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และ
ฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นประธาน สูงสุด และยิ่งใหญ่ที่สุด
ภิกษุทั้งหลาย นมสดจากแม่โค ฯลฯ และยิ่งใหญ่ที่สุด”

สมาธิมูลกอารัมมณสูตรที่ ๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต] ๖. สมาธิมูลกโคจรสูตร

๖. สมาธิมูลกโคจรสูตร
ว่าด้วยโคจรในสมาธิอันเป็นมูล

[๖๖๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้
บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
แต่ไม่ฉลาดในโคจรในสมาธิ
๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในโคจรในสมาธิ๑ แต่ไม่
ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
และไม่ฉลาดในโคจรในสมาธิ
๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
และฉลาดในโคจรในสมาธิ
ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และ
ฉลาดในโคจรในสมาธิ เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นประธาน สูงสุด และยิ่งใหญ่ที่สุด
ภิกษุทั้งหลาย นมสดจากแม่โค ฯลฯ และยิ่งใหญ่ที่สุด”

สมาธิมูลกโคจรสูตรที่ ๖ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต]
๗. สมาธิมูลกอภินีหารสูตร

๗. สมาธิมูลกอภินีหารสูตร
ว่าด้วยอภินิหารในสมาธิอันเป็นมูล

[๖๖๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้
บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
แต่ไม่ฉลาดในอภินิหารในสมาธิ
๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในอภินิหารในสมาธิ๑
แต่ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
และไม่ฉลาดในอภินิหารในสมาธิ
๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
และฉลาดในอภินิหารในสมาธิ
ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และ
ฉลาดในอภินิหารในสมาธิ เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นประธาน สูงสุด และยิ่งใหญ่ที่สุด
ภิกษุทั้งหลาย นมสดจากแม่โค ฯลฯ และยิ่งใหญ่ที่สุด”

สมาธิมูลกอภินีหารสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต]
๙. สมาธิมูลกสาตัจจการีสูตร

๘. สมาธิมูลกสักกัจจการีสูตร
ว่าด้วยผู้ทำโดยเคารพในสมาธิอันเป็นมูล

[๖๖๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้
บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
แต่ไม่ทำโดยเคารพในสมาธิ
๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำโดยเคารพในสมาธิ แต่ไม่
ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
และไม่ทำโดยเคารพในสมาธิ
๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
และทำโดยเคารพในสมาธิ
ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และ
ทำโดยเคารพในสมาธิ เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นประธาน สูงสุด และยิ่งใหญ่ที่สุด
ภิกษุทั้งหลาย นมสดจากแม่โค ฯลฯ และยิ่งใหญ่ที่สุด”

สมาธิมูลกสักกัจจการีสูตรที่ ๘ จบ

๙. สมาธิมูลกสาตัจจการีสูตร
ว่าด้วยผู้ทำความเพียรต่อเนื่องในสมาธิอันเป็นมูล

[๖๗๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้
บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
แต่ไม่ทำความเพียรต่อเนื่องในสมาธิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต]
๑๐. สมาธิมูลกสัปปายการีสูตร

๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำความเพียรต่อเนื่องในสมาธิ
แต่ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
และไม่ทำความเพียรต่อเนื่องในสมาธิ
๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
และทำความเพียรต่อเนื่องในสมาธิ
ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
และทำความเพียรต่อเนื่องในสมาธิ เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นประธาน สูงสุด
และยิ่งใหญ่ที่สุด
ภิกษุทั้งหลาย นมสดจากแม่โค ฯลฯ และยิ่งใหญ่ที่สุด”

สมาธิมูลกสาตัจจการีสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. สมาธิมูลกสัปปายการีสูตร
ว่าด้วยผู้ทำสัปปายะในสมาธิอันเป็นมูล

[๖๗๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้
บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
แต่ไม่ทำสัปปายะในสมาธิ
๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำสัปปายะในสมาธิ แต่ไม่
ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
และไม่ทำสัปปายะในสมาธิ
๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
และทำสัปปายะในสมาธิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต] ๑๑. สมาปัตติมูลกฐิติสูตร

ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และ
ทำสัปปายะในสมาธิ เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นประธาน สูงสุด และยิ่งใหญ่ที่สุด
ภิกษุทั้งหลาย นมสดจากแม่โค ฯลฯ และยิ่งใหญ่ที่สุด”

สมาธิมูลกสัปปายการีสูตรที่ ๑๐ จบ
(สมาธิมูลกะ จบ)

๑๑. สมาปัตติมูลกฐิติสูตร
ว่าด้วยการเข้าและการตั้งอยู่ในสมาธิอันเป็นมูล

[๖๗๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้
บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ แต่ไม่
ฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ
๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ
แต่ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ
๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ
และไม่ฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ
๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ และ
ฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ
ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการเข้าสมาธิ และฉลาด
ในการตั้งอยู่ในสมาธิ เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นประธาน สูงสุด และยิ่งใหญ่ที่สุด
ภิกษุทั้งหลาย นมสดจากแม่โค ฯลฯ และยิ่งใหญ่ที่สุด”

สมาปัตติมูลกฐิติสูตรที่ ๑๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต]
๑๓. สมาปัตติมูลกกัลลิตสูตร

๑๒. สมาปัตติมูลกวุฏฐานสูตร
ว่าด้วยการเข้าและการออกจากสมาธิอันเป็นมูล

[๖๗๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้
บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ แต่ไม่
ฉลาดในการออกจากสมาธิ
๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาธิ
แต่ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ
๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ
และไม่ฉลาดในการออกจากสมาธิ
๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ และ
ฉลาดในการออกจากสมาธิ
ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลผู้ได้ฌาน ฯลฯ และยิ่งใหญ่ที่สุด”

สมาปัตติมูลกวุฏฐานสูตรที่ ๑๒ จบ

๑๓. สมาปัตติมูลกกัลลิตสูตร
ว่าด้วยการเข้าและความพร้อมในสมาธิอันเป็นมูล

[๖๗๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้
บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ แต่ไม่
ฉลาดในความพร้อมในสมาธิ
๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในความพร้อมในสมาธิ
แต่ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต]
๑๔. สมาปัตติมูลกอารัมมณสูตร

๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ
และไม่ฉลาดในความพร้อมในสมาธิ
๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ และ
ฉลาดในความพร้อมในสมาธิ
ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น ฯลฯ และยิ่งใหญ่ที่สุด”

สมาปัตติมูลกกัลลิตสูตรที่ ๑๓ จบ

๑๔. สมาปัตติมูลกอารัมมณสูตร
ว่าด้วยการเข้าและอารมณ์ในสมาธิอันเป็นมูล

[๖๗๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้
บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ แต่ไม่
ฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ
๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ แต่
ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ
๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ
และไม่ฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ
๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ และ
ฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ
ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น ฯลฯ และยิ่งใหญ่ที่สุด”

สมาปัตติมูลกอารัมมณสูตรที่ ๑๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต]
๑๖. สมาปัตติมูลกอภินีหารสูตร

๑๕. สมาปัตติมูลกโคจรสูตร
ว่าด้วยการเข้าและโคจรในสมาธิอันเป็นมูล

[๖๗๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้
บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ แต่ไม่
ฉลาดในโคจรในสมาธิ
๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในโคจรในสมาธิ แต่ไม่
ฉลาดในการเข้าสมาธิ
๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ
และไม่ฉลาดในโคจรในสมาธิ
๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ และ
ฉลาดในโคจรในสมาธิ
ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น ฯลฯ และยิ่งใหญ่ที่สุด”

สมาปัตติมูลกโคจรสูตรที่ ๑๕ จบ

๑๖. สมาปัตติมูลกอภินีหารสูตร
ว่าด้วยการเข้าและอภินิหารในสมาธิอันเป็นมูล

[๖๗๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้
บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ แต่ไม่
ฉลาดในอภินิหารในสมาธิ
๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในอภินิหารในสมาธิ
แต่ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต]
๑๗. สมาปัตติมูลกสักกัจจสูตร

๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ
และไม่ฉลาดในอภินิหารในสมาธิ
๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ และ
ฉลาดในอภินิหารในสมาธิ
ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น ฯลฯ และยิ่งใหญ่ที่สุด”

สมาปัตติมูลกอภินีหารสูตรที่ ๑๖ จบ

๑๗. สมาปัตติมูลกสักกัจจสูตร
ว่าด้วยการเข้าและความเคารพในสมาธิอันเป็นมูล

[๖๗๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้
บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ แต่ไม่
ทำโดยเคารพในสมาธิ
๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำโดยเคารพในสมาธิ แต่ไม่
ฉลาดในการเข้าสมาธิ
๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ
และไม่ทำโดยเคารพในสมาธิ
๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ และ
ทำโดยเคารพในสมาธิ
ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น ฯลฯ และยิ่งใหญ่ที่สุด”

สมาปัตติมูลกสักกัจจสูตรที่ ๑๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต]
๑๙. สมาปัตติมูลกสัปปายการีสูตร

๑๘. สมาปัตติมูลกสาตัจจสูตร
ว่าด้วยการเข้าและความเพียรต่อเนื่องในสมาธิอันเป็นมูล

[๖๗๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้
บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ แต่ไม่
ทำความเพียรต่อเนื่องในสมาธิ
๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำความเพียรต่อเนื่องในสมาธิ
แต่ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ
๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ
และไม่ทำความเพียรต่อเนื่องในสมาธิ
๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ และ
ทำความเพียรต่อเนื่องในสมาธิ
ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น ฯลฯ และยิ่งใหญ่ที่สุด

สมาปัตติมูลกสาตัจจสูตรที่ ๑๘ จบ

๑๙. สมาปัตติมูลกสัปปายการีสูตร
ว่าด้วยการเข้าและผู้ทำสัปปายะในสมาธิอันเป็นมูล

[๖๘๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้
บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ แต่ไม่ทำ
สัปปายะในสมาธิ
๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำสัปปายะในสมาธิ แต่ไม่
ฉลาดในการเข้าสมาธิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต]
๒๐-๒๗. ฐิติมูลกวุฏฐานสุตตาทิอัฏฐกะ

๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ
และไม่ทำสัปปายะในสมาธิ
๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ และทำ
สัปปายะในสมาธิ
ภิกษุทั้งหลาย ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการเข้า
สมาธิ และทำสัปปายะในสมาธิ เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นประธาน สูงสุด และ
ยิ่งใหญ่ที่สุด
ภิกษุทั้งหลาย นมสดจากแม่โค นมส้มจากนมสด เนยข้นจากนมส้ม เนยใส
จากเนยข้น ยอดเนยใสจากเนยใส ยอดเนยใสชาวโลกถือว่าเป็นเลิศในบรรดานมสด
เป็นต้นนั้น แม้ฉันใด บุคคลผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการเข้าสมาธิ และทำสัปปายะใน
สมาธิ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นประธาน สูงสุด และ
ยิ่งใหญ่ที่สุด”

สมาปัตติมูลกสัปปายการีสูตรที่ ๑๙ จบ
(สมาปัตติมูลกะ จบ)

๒๐-๒๗. ฐิติมูลกวุฏฐานสุตตาทิอัฏฐกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๘ สูตร มีฐิติมูลกวุฏฐานสูตรเป็นต้น

[๖๘๑-๖๘๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้
บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ
แต่ไม่ฉลาดในการออกจากสมาธิ
๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาธิ
แต่ไม่ฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ
๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ
และไม่ฉลาดในการออกจากสมาธิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๔๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต]
๒๘-๓๔. วุฏฐานมูลกกัลลิตสุตตาทิสัตตกะ

๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ
และฉลาดในการออกจากสมาธิ
ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น ฯลฯ และยิ่งใหญ่ที่สุด

ฐิติมูลกวุฏฐานสุตตาทิอัฏฐกะที่ ๒๐-๒๗ จบ
(พึงขยายพระสูตรทั้ง ๘ สูตร จนถึงฐิติมูลกสัปปายการีสูตรที่ ๒๗ ให้เต็ม
เหมือนสูตรต้น ฐิติมูลกะ จบ)

๒๘-๓๔. วุฏฐานมูลกกัลลิตสุตตาทิสัตตกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๗ สูตร มีวุฏฐานมูลกกัลลิตสูตรเป็นต้น

[๖๘๙-๖๙๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้
บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาธิ
แต่ไม่ฉลาดในความพร้อมในสมาธิ
๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในความพร้อมในสมาธิ
แต่ไม่ฉลาดในการออกจากสมาธิ
๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการออกจากสมาธิ
และไม่ฉลาดในความพร้อมในสมาธิ
๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาธิ
และฉลาดในความพร้อมในสมาธิ
ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น ฯลฯ และยิ่งใหญ่ที่สุด
วุฏฐานมูลกกัลลิตสุตตาทิสัตตกะที่ ๒๘-๓๔ จบ
(พึงขยายพระสูตรทั้ง ๗ สูตร จนถึงวุฏฐานมูลกสัปปายการีสูตรที่ ๓๔
ให้เต็มเหมือนสูตรต้น วุฏฐานมูลกะ จบ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๔๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต]
๔๑-๔๕. อารัมมณมูลกโคจรสุตตาทิปัญจกะ

๓๕-๔๐. กัลลิตมูลกอารัมมณสุตตาทิฉักกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๖ สูตร มีกัลลิตมูลกอารัมมณสูตรเป็นต้น

[๖๙๖-๗๐๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “...
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในความพร้อมในสมาธิ
แต่ไม่ฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ
๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ แต่
ไม่ฉลาดในความพร้อมในสมาธิ
๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในความพร้อมในสมาธิ
และไม่ฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ
๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในความพร้อมในสมาธิ
และฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ
ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลผู้ได้ฌาน ฯลฯ สูงสุด และยิ่งใหญ่ที่สุด

กัลลิตมูลกอารัมมณสุตตาทิฉักกะที่ ๓๕-๔๐ จบ
(พึงขยายพระสูตรอีก ๖ สูตร จนถึงกัลลิตมูลกสัปปายการีสูตรที่ ๔๐ ให้
เต็มเหมือนสูตรต้น กัลลิตมูลกะ จบ)

๔๑-๔๕. อารัมมณมูลกโคจรสุตตาทิปัญจกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๕ สูตร มีอารัมมณมูลกโคจรสูตรเป็นต้น

[๗๐๒-๗๐๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “...
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ แต่
ไม่ฉลาดในโคจรในสมาธิ
๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในโคจรในสมาธิ แต่
ไม่ฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๔๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต]
๔๖-๔๙. โคจรมูลกอภินีหารสุตตาทิจตุกกะ

๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ
และไม่ฉลาดในโคจรในสมาธิ
๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ
และฉลาดในโคจรในสมาธิ
ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลผู้ได้ฌาน ฯลฯ สูงสุด และยิ่งใหญ่ที่สุด

อารัมมณมูลกโคจรสุตตาทิปัญจกะที่ ๔๑-๔๕ จบ
(พึงขยายพระสูตรทั้ง ๕ สูตร จนถึงอารัมมณมูลกสัปปายการีสูตรที่ ๔๕
ให้เต็มเหมือนสูตรต้น ๆ อารัมมณมูลกะ จบ)

๔๖-๔๙. โคจรมูลกอภินีหารสุตตาทิจตุกกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๔ สูตร มีโคจรมูลกอภินีหารสูตรเป็นต้น

[๗๐๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “...
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในโคจรในสมาธิ แต่ไม่
ฉลาดในอภินิหารในสมาธิ
๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในอภินิหารในสมาธิ
แต่ไม่ฉลาดในโคจรในสมาธิ
๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในโคจรในสมาธิ
และไม่ฉลาดในอภินิหารในสมาธิ
๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในโคจรในสมาธิ และ
ฉลาดในอภินิหารในสมาธิ
ภิกษุทั้งหลาย นมสดจากแม่โค นมส้มจากนมสด เนยข้นจากนมส้ม เนยใส
จากเนยข้น ยอดเนยใสจากเนยใส ยอดเนยใสชาวโลกถือว่าเป็นเลิศในบรรดานมสด
เป็นต้นนั้น แม้ฉันใด บุคคลผู้ได้ฌานที่ฉลาดในโคจรในสมาธิ และฉลาดใน
อภินิหารในสมาธิ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ สูงสุด และยิ่งใหญ่ที่สุด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๔๐๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต]
๕๓-๕๒. อภินีหารมูลกสัสกัจจสุตตาทิติกะ

[๗๐๘] “...
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในโคจรสมาธิ แต่ไม่ทำ
โดยเคารพในสมาธิ ฯลฯ พึงเพิ่มข้อความที่เหลือให้พิสดาร
[๗๐๙] “...
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในโคจรในสมาธิ แต่ไม่
ทำความเพียรต่อเนื่องในสมาธิ ฯลฯ
[๗๑๐] “...
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในโคจรในสมาธิ แต่ไม่ทำ
สัปปายะในสมาธิ ฯลฯ

โคจรมูลกอภินีหารสุตตาทิจตุกกะที่ ๔๖-๔๙ จบ
(โคจรมูลกะ จบ)

๕๐-๕๒. อภินีหารมูลกสักกัจจสุตตาทิติกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๓ สูตร มีอภินีหารมูลกสักกัจจสูตรเป็นต้น

[๗๑๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “...
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในอภินิหารในสมาธิ
แต่ไม่ทำโดยเคารพในสมาธิ
๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำโดยเคารพในสมาธิ แต่ไม่
ฉลาดในอภินิหารในสมาธิ
๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในอภินิหารในสมาธิ
และไม่ทำโดยเคารพในสมาธิ
๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในอภินิหารในสมาธิ
และทำโดยเคารพในสมาธิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๔๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต]
๕๓-๕๔. สักกัจจมูลกสาตัจจการีสุตตาทิทุกะ

ภิกษุทั้งหลาย ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลผู้ได้ฌาน ฯลฯ และยิ่งใหญ่
ที่สุด
[๗๑๒] “...
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในอภินิหารในสมาธิ
แต่ไม่ทำความเพียรต่อเนื่องในสมาธิ ฯลฯ
[๗๑๓] “...
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในอภินิหารในสมาธิ
แต่ไม่ทำสัปปายะในสมาธิ ฯลฯ

อภินีหารมูลกสักกัจจสุตตาทิติกะที่ ๕๐-๕๒ จบ
(อภินีหารมูลกะ จบ)

๕๓-๕๔. สักกัจจมูลกสาตัจจการีสุตตาทิทุกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๒ สูตร มีสักกัจจมูลกสาตัจจการีสูตรเป็นต้น

[๗๑๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “...
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำโดยเคารพในสมาธิ แต่ไม่
ทำความเพียรต่อเนื่องในสมาธิ
๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำความเพียรต่อเนื่องในสมาธิ
แต่ไม่ทำโดยเคารพในสมาธิ
๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ทำโดยเคารพในสมาธิ
และไม่ทำความเพียรต่อเนื่องในสมาธิ
๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำโดยเคารพในสมาธิและ
ทำความเพียรต่อเนื่องในสมาธิ
ภิกษุทั้งหลาย ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลผู้ได้ฌาน ฯลฯ สูงสุด
และยิ่งใหญ่ที่สุด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๔๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต]
๕๕. สาตัจจมูลกสัปปายการีสูตร

[๗๑๕] “...
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำโดยเคารพในสมาธิ แต่ไม่ทำ
สัปปายะในสมาธิ ฯลฯ

สักกัจจมูลกสาตัจจการีสุตตาทิทุกะที่ ๕๓-๕๔ จบ

๕๕. สาตัจจมูลกสัปปายการีสูตร
ว่าด้วยความเพียรต่อเนื่องและผู้ทำสัปปายะในสมาธิอันเป็นมูล

[๗๑๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้
บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำความเพียรต่อเนื่องในสมาธิ
แต่ไม่ทำสัปปายะในสมาธิ
๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำสัปปายะในสมาธิ แต่ไม่
ทำความเพียรต่อเนื่องในสมาธิ
๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ทำความเพียรต่อเนื่องในสมาธิ
และไม่ทำสัปปายะในสมาธิ
๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำความเพียรต่อเนื่องในสมาธิ
และทำสัปปายะในสมาธิ
ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลผู้ได้ฌานที่ทำความเพียรต่อเนื่องในสมาธิ
และทำสัปปายะในสมาธิ เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นประธาน สูงสุด และยิ่งใหญ่ที่สุด
ภิกษุทั้งหลาย นมสดจากแม่โค นมส้มจากนมสด เนยข้นจากนมส้ม เนยใส
จากเนยข้น ยอดเนยใสจากเนยใส ยอดเนยใสชาวโลกถือว่าเป็นเลิศในบรรดานมสด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๔๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต] รวมพระสูตรที่มีในสังยุต

เป็นต้นนั้น แม้ฉันใด บุคคลผู้ได้ฌานที่ทำความเพียรต่อเนื่องในสมาธิ และทำ
สัปปายะในสมาธิ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นประธาน สูงสุด
และยิ่งใหญ่ที่สุด”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระดำรัสนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดี ต่างชื่นชม
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วแล

สาตัจจมูลกสัปปายการีสูตรที่ ๕๕ จบ
(พึงขยายความพระสูตรทั้ง ๕๕ นี้ให้พิสดาร)
ฌานสังยุต จบ

รวมพระสูตรที่มีในสังยุตนี้ คือ

๑. สมาธิมูลกสมาปัตติสูตร ๒. สมาธิมูลกฐิติสูตร
๓. สมาธิมูลกวุฏฐานสูตร ๔. สมาธิมูลกกัลลิตสูตร
๕. สมาธิมูลกอารัมมณสูตร ๖. สมาธิมูลกโคจรสูตร
๗. สมาธิมูลกอภินีหารสูตร ๘. สมาธิมูลกสักกัจจการีสูตร
๙. สมาธิมูลกสาตัจจการีสูตร ๑๐. สมาธิมูลกสัปปายการีสูตร
๑๑. สมาปัตติมูลกฐิติสูตร ๑๒. สมาปัตติมูลกวุฏฐานสูตร
๑๓. สมาปัตติมูลกกัลลิตสูตร ๑๔. สมาปัตติมูลกอารัมมณสูตร
๑๕. สมาปัตติมูลกโคจรสูตร ๑๖. สมาปัตติมูลกอภินีหารสูตร
๑๗. สมาปัตติมูลกสักกัจจสูตร ๑๘. สมาปัตติมูลกสาตัจจสูตร
๑๙. สมาปัตติมูลกสัปปายการีสูตร
๒๐-๒๗. ฐิติมูลกวุฏฐานสุตตาทิอัฏฐกะ
๒๘-๓๔. วุฏฐานมูลกกัลลิตสุตตาทิสัตตกะ
๓๕-๔๐. กัลลิตมูลกอารัมมณสุตตาทิฉักกะ
๔๑-๔๕. อารัมมณมูลกโคจรสุตตาทิปัญจกะ
๔๖-๔๙. โคจรมูลกอภินีหารสุตตาทิจตุกกะ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต]
รวมสังยุตที่มีในขันธวารวรรค

๕๐-๕๒. อภินีหารมูลกสักกัจจสุตตาทิติกะ
๕๓-๕๔. สักกัจจมูลกสาตัจจการีสุตตาทิทุกะ
๕๕. สาตัจจมูลกสัปปายการีสูตร

ขันธวารวรรคที่ ๓ จบ

รวมสังยุตที่มีในขันธวารวรรคนี้ คือ

๑. ขันธสังยุต ๒. ราธสังยุต
๓. ทิฏฐิสังยุต ๔. โอกกันตสังยุต
๕. อุปปาทสังยุต ๖. กิเลสสังยุต
๗. สารีปุตตสังยุต ๘. นาคสังยุต
๙. สุปัณณสังยุต ๑๐. คันธัพพกายสังยุต
๑๑. วลาหกสังยุต ๑๒. วัจฉโคตตสังยุต
๑๓. ฌานสังยุต

ขันธวารวรรคสังยุต จบบริบูรณ์


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ สุตตันตปิฎกที่ ๐๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค จบ





eXTReMe Tracker