ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ



จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อความสะดวก และสวยงาม
(เฉพาะหน้าจอใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์)
กรุณาคลิก จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อให้กรอบ
ค้นข้อความ ปรากฎที่ด้านซ้ายของหน้า

พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗-๓ สุตตันตปิฎกที่ ๐๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค

พระสุตตันตปิฎก
สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๒. ราธสังยุต]
๓. อายาจนวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ราธะ สิ่งใดมีความดับไปเป็นธรรมดา เธอพึงละฉันทะ ราคะ ฉันทราคะใน
สิ่งนั้น”

นิโรธธัมมสูตรที่ ๑๒ จบ
อายาจนวรรคที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. มารสูตร ๒. มารธัมมสูตร
๓. อนิจจสูตร ๔. อนิจจธัมมสูตร
๕. ทุกขสูตร ๖. ทุกขธัมมสูตร
๗. อนัตตสูตร ๘. อนัตตธัมมสูตร
๙. ขยธัมมสูตร ๑๐. วยธัมมสูตร
๑๑. สมุทยธัมมสูตร ๑๒. นิโรธธัมมสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๒. ราธสังยุต]
๔. อุปนิสินนวรรค ๒. มารธัมมสูตร

๔. อุปนิสินนวรรค
หมวดว่าด้วยผู้เข้าไปนั่งใกล้
๑-๑๑. มาราทิสุตตเอกาทสกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๑๑ สูตร มีมารสูตรเป็นต้น
๑. มารสูตร
ว่าด้วยมาร

[๑๙๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระราธะผู้นั่ง ณ ที่สมควร ดังนี้ว่า “ราธะ
สิ่งใดเป็นมาร เธอพึงละฉันทะ ราคะ ฉันทราคะในสิ่งนั้น
ก็อะไรเล่าเป็นมาร
คือ รูปเป็นมาร เธอพึงละฉันทะ ราคะ ฉันทราคะในรูปนั้น ฯลฯ
วิญญาณเป็นมาร เธอพึงละฉันทะ ราคะ ฉันทราคะในวิญญาณนั้น
ราธะ สิ่งใดเป็นมาร เธอพึงละฉันทะ ราคะ ฉันทราคะในสิ่งนั้น”

มารสูตรที่ ๑ จบ

๒. มารธัมมสูตร
ว่าด้วยธรรมของมาร

[๑๙๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ราธะ สิ่งใดเป็นธรรมของมาร เธอพึงละฉันทะ ราคะ ฉันทราคะในสิ่งนั้น ฯลฯ

มารธัมมสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๒. ราธสังยุต]
๔. อุปนิสินนวรรค ๗. อนัตตสูตร

๓. อนิจจสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ไม่เที่ยง

[๑๙๖] “ราธะ สิ่งใดไม่เที่ยง ฯลฯ

อนิจจสูตรที่ ๓ จบ

๔. อนิจจธัมมสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่มีความไม่เที่ยงเป็นธรรมดา

[๑๙๗] “ราธะ สิ่งใดมีความไม่เที่ยงเป็นธรรมดา ฯลฯ

อนิจจธัมมสูตรที่ ๔ จบ

๕. ทุกขสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นทุกข์

[๑๙๘] “ราธะ สิ่งใดเป็นทุกข์ ฯลฯ

ทุกขสูตรที่ ๕ จบ

๖. ทุกขธัมมสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่มีทุกข์เป็นธรรมดา

[๑๙๙] “ราธะ สิ่งใดมีทุกข์เป็นธรรมดา ฯลฯ

ทุกขธัมมสูตรที่ ๖ จบ

๗. อนัตตสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นอนัตตา

[๒๐๐] “ราธะ สิ่งใดเป็นอนัตตา ฯลฯ

อนัตตสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๒. ราธสังยุต]
๔. อุปนิสินนวรรค ๑๑. สมุทยธัมมสูตร

๘. อนัตตธัมมสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่มีอนัตตาเป็นธรรมดา

[๒๐๑] “ราธะ สิ่งใดมีอนัตตาเป็นธรรมดา ฯลฯ

อนัตตธัมมสูตรที่ ๘ จบ

๙. ขยธัมมสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา

[๒๐๒] “ราธะ สิ่งใดมีความสิ้นไปเป็นธรรมดา ฯลฯ

ขยธัมมสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. วยธัมมสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา

[๒๐๓] “ราธะ สิ่งใดมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ฯลฯ

วยธัมมสูตรที่ ๑๐ จบ

๑๑. สมุทยธัมมสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา

[๒๐๔] “ราธะ สิ่งใดมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา เธอพึงละฉันทะ ราคะ
ฉันทราคะในสิ่งนั้น ฯลฯ

สมุทยธัมมสูตรที่ ๑๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๒. ราธสังยุต]
๔. อุปนิสินนวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑๒. นิโรธธัมมสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่มีความดับไปเป็นธรรมดา

[๒๐๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระราธะผู้นั่ง ณ ที่สมควร ดังนี้ว่า “ราธะ
สิ่งใดมีความดับไปเป็นธรรมดา เธอพึงละฉันทะ ราคะ ฉันทราคะในสิ่งนั้น
ก็อะไรเล่ามีความดับไปเป็นธรรมดา
คือ รูปมีความดับไปเป็นธรรมดา เธอพึงละฉันทะ ราคะ ฉันทราคะในรูปนั้น
เวทนา ฯลฯ
สัญญา ...
สังขาร ...
วิญญาณมีความดับไปเป็นธรรมดา เธอพึงละฉันทะ ราคะ ฉันทราคะใน
วิญญาณนั้น
ราธะ สิ่งใดมีความดับไปเป็นธรรมดา เธอพึงละฉันทะ ราคะ ฉันทราคะใน
สิ่งนั้น”

นิโรธธัมมสูตรที่ ๑๒ จบ
อุปนิสินนวรรคที่ ๔ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. มารสูตร ๒. มารธัมมสูตร
๓. อนิจจสูตร ๔. อนิจจธัมมสูตร
๕. ทุกขสูตร ๖. ทุกขธัมมสูตร
๗. อนัตตสูตร ๘. อนัตตธัมมสูตร
๙. ขยธัมมสูตร ๑๐. วยธัมมสูตร
๑๑. สมุทยธัมมสูตร ๑๒. นิโรธธัมมสูตร

ราธสังยุต จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๑. โสตาปัตติวรรค ๑. วาตสูตร

๓. ทิฏฐิสังยุต
๑. โสตาปัตติวรรค
หมวดว่าด้วยโสดาปัตติมรรค
๑. วาตสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าลมไม่พัดเป็นต้น

[๒๐๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน เขต
กรุงสาวัตถี ฯลฯ ได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘ลมไม่พัด แม่น้ำไม่ไหล สตรีมีครรภ์
ไม่คลอด ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ไม่ขึ้นหรือไม่ตก มั่นคงดุจเสาระเนียด”
ภิกษุเหล่านั้นทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาค
เป็นที่พึ่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เฉพาะพระผู้มีพระภาค
เท่านั้นที่จะทรงอธิบายเนื้อความแห่งพระภาษิตนั้นให้แจ่มแจ้งได้ ภิกษุทั้งหลายฟัง
ต่อจากพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เธอทั้งหลายจงฟัง จง
ใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘ลมไม่พัด แม่น้ำไม่ไหล สตรีมีครรภ์ไม่คลอด ดวงจันทร์และ
ดวงอาทิตย์ไม่ขึ้นหรือไม่ตก มั่นคงดุจเสาระเนียด’
เมื่อมีเวทนา ฯลฯ
เมื่อมีสัญญา ...
เมื่อมีสังขาร ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๑. โสตาปัตติวรรค ๑. วาตสูตร

เมื่อมีวิญญาณ เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘ลมไม่พัด แม่น้ำไม่ไหล สตรีมีครรภ์ไม่คลอด ดวงจันทร์และ
ดวงอาทิตย์ไม่ขึ้นหรือไม่ตก มั่นคงดุจเสาระเนียด’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่
เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น
ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘ลมไม่พัด แม่น้ำไม่ไหล สตรีมีครรภ์ไม่คลอด
ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ไม่ขึ้นหรือไม่ตก มั่นคงดุจเสาระเนียด”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯลฯ สัญญาเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯลฯ สังขาร
เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯลฯ วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น
ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘ลมไม่พัด แม่น้ำไม่ไหล สตรีมีครรภ์ไม่คลอด
ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ไม่ขึ้นหรือไม่ตก มั่นคงดุจเสาระเนียด”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“แม้สิ่งที่บุคคลได้เห็น ฟัง ทราบ รู้ ถึง แสวงหา ใคร่ครวญด้วยใจ
เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๑. โสตาปัตติวรรค ๒. เอตังมมสูตร

“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น
ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘ลมไม่พัด แม่น้ำไม่ไหล สตรีมีครรภ์ไม่คลอด
ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ไม่ขึ้นหรือไม่ตก มั่นคงดุจเสาระเนียด”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่อริยสาวกละความสงสัยในฐานะ ๖ ประการนี้ได้
ฉะนั้น จึงละความสงสัยแม้ในทุกข์ ละความสงสัยแม้ในเหตุเกิดแห่งทุกข์ ละความ
สงสัยแม้ในความดับแห่งทุกข์ ละความสงสัยแม้ในปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่ง
ทุกข์ได้
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า อริยสาวกผู้เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มี
ความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”

วาตสูตรที่ ๑ จบ

๒. เอตังมมสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่านั่นของเรา

[๒๐๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตา
ของเรา”
ภิกษุเหล่านั้นทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย
มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป เพราะถือมั่นรูป เพราะ
ยึดมั่นรูป ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๑. โสตาปัตติวรรค ๒. เอตังมมสูตร

เมื่อมีเวทนา ฯลฯ
เมื่อมีสัญญา ...
เมื่อมีสังขาร ...
เมื่อมีวิญญาณ เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่
เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯลฯ
“เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘นั่นของเรา
เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“แม้สิ่งที่บุคคลได้เห็น ฟัง ทราบ รู้ ถึง แสวงหา ใคร่ครวญด้วยใจ
เที่ยงหรือไม่เที่ยง’
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น
ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่อริยสาวกละความสงสัยในฐานะ ๖ ประการนี้ได้
ฉะนั้น จึงละความสงสัยแม้ในทุกข์ ฯลฯ ละความสงสัยแม้ในปฏิปทาที่ให้ถึง
ความดับแห่งทุกข์ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๑. โสตาปัตติวรรค ๓. โสอัตตาสูตร

ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า อริยสาวกผู้เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มี
ความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”

เอตังมมสูตรที่ ๒ จบ

๓. โสอัตตาสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าอัตตากับโลกเป็นอย่างเดียวกัน

[๒๐๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘อัตตากับโลกเป็นอย่างเดียวกัน เรา
นั้นละโลกนี้ไปแล้วจักเป็นผู้เที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน มีความไม่แปรผันเป็นธรรมดา”
ภิกษุเหล่านั้นทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘อัตตา ฯลฯ มีความไม่แปรผันเป็นธรรมดา’
เมื่อมีเวทนา ฯลฯ
เมื่อมีสัญญา ...
เมื่อมีสังขาร ...
เมื่อมีวิญญาณ เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘อัตตากับโลกเป็นอย่างเดียวกัน เรานั้นละโลกนี้ไปแล้วจักเป็นผู้เที่ยงแท้
ยั่งยืน คงทน มีความไม่แปรผันเป็นธรรมดา’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่
เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึง
เกิดขึ้นหรือว่า ‘อัตตา ฯลฯ มีความไม่แปรผันเป็นธรรมดา”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๑. โสตาปัตติวรรค ๔. โนจเมสิยาสูตร

“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึง
เกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘อัตตา ฯลฯ มีความไม่แปรผันเป็นธรรมดา”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“แม้สิ่งที่บุคคลได้เห็น ฟัง ทราบ รู้ ถึง แสวงหา ใคร่ครวญด้วยใจ
เที่ยงหรือไม่เที่ยง’'
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างว่า ‘อัตตากับโลก
เป็นอย่างเดียวกัน เรานั้นละโลกนี้ไปแล้วจักเป็นผู้เที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน มีความ
ไม่แปรผันเป็นธรรมดา’
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่อริยสาวกละความสงสัยในฐานะ ๖ ประการนี้ได้
ฉะนั้น จึงละความสงสัยแม้ในทุกข์ ฯลฯ ละความสงสัยแม้ในปฏิปทาที่ให้ถึง
ความดับแห่งทุกข์ได้
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า อริยสาวกผู้เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มี
ความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”

โสอัตตาสูตรที่ ๓ จบ

๔. โนจเมสิยาสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าเราไม่พึงมี

[๒๐๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘ถ้าเราไม่พึงมี แม้บริขารของเราก็ไม่พึงมี
ถ้าเราจักไม่ได้มีแล้ว แม้บริขารของเราก็จักไม่มี”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๑. โสตาปัตติวรรค ๔. โนจเมสิยาสูตร

ภิกษุเหล่านั้นทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป เพราะถือมั่นรูป เพราะ
ยึดมั่นรูป ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘ถ้าเราไม่พึงมี แม้บริขารของเราก็ไม่พึงมี ถ้า
เราจักไม่ได้มีแล้ว แม้บริขารของเราก็จักไม่มี’
เมื่อมีเวทนา ...
เมื่อมีสัญญา ...
เมื่อมีสังขาร ...
เมื่อมีวิญญาณ เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘ถ้าเราไม่พึงมี แม้บริขารของเราก็ไม่พึงมี ถ้าเราจักไม่ได้มีแล้ว แม้
บริขารของเราก็จักไม่มี’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่
เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘ถ้าเราไม่
พึงมี แม้บริขารของเราก็ไม่พึงมี ถ้าเราจักไม่ได้มีแล้ว แม้บริขารของเราก็จักไม่มี”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘ถ้าเราไม่
พึงมี แม้บริขารของเราก็ไม่พึงมี ถ้าเราจักไม่ได้มีแล้ว แม้บริขารของเราก็จักไม่มี”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“แม้สิ่งที่บุคคลได้เห็น ฟัง ทราบ รู้ ถึง แสวงหา ใคร่ครวญด้วยใจ
เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๑. โสตาปัตติวรรค ๕. นัตถิทินนสูตร

“ฯลฯ เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘ถ้าเราไม่
พึงมี แม้บริขารของเราก็ไม่พึงมี ถ้าเราจักไม่ได้มีแล้ว บริขารของเราก็จักไม่มี”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่อริยสาวกละความสงสัยในฐานะ ๖ ประการนี้ได้
ฉะนั้น จึงละความสงสัยแม้ในทุกข์ ฯลฯ ละความสงสัยแม้ในปฏิปทาที่ให้ถึง
ความดับแห่งทุกข์ได้
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า อริยสาวกผู้เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความ
แน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”

โนจเมสิยาสูตรที่ ๔ จบ

๕. นัตถิทินนสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าทานที่ให้แล้วไม่มีผลเป็นต้น

[๒๑๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้ว
ไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วก็ไม่มี โลกนี้ไม่มี
โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มีคุณ บิดาไม่มีคุณ โอปปาติกสัตว์๑ไม่มี สมณพราหมณ์
ผู้ประพฤติปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนให้
ผู้อื่นรู้แจ้งก็ไม่มีในโลก๒ บุรุษคือประชุมแห่งมหาภูตรูปทั้ง ๔ เมื่อตายไป ธาตุดิน
ไปตามธาตุดิน ธาตุน้ำไปตามธาตุน้ำ ธาตุไฟไปตามธาตุไฟ ธาตุลมไปตามธาตุลม
อินทรีย์ทั้งหลายย่อมผันแปรไปเป็นอากาศธาตุ บุรุษทั้งหลายมีเตียงเป็นที่ ๕๓
นำศพไป รอยเท้าปรากฏเพียงแค่ป่าช้า กลายเป็นกระดูกขาวโพลนดุจสีนกพิราบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๑. โสตาปัตติวรรค ๖. กโรโตสูตร

การเซ่นสรวงสิ้นสุดลงแค่เถ้าถ่าน คนเขลาบัญญัติทานนี้ไว้ คำที่คนบางพวกย้ำว่า
มีผลนั้นว่างเปล่า เท็จ ไร้สาระ หลังจากตายไป ไม่ว่าคนเขลาและคนฉลาดย่อม
ขาดสูญ ไม่เกิดอีก”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล ฯลฯ หลังจากตายไป
ไม่ว่าคนเขลาและคนฉลาดย่อมขาดสูญ ไม่เกิดอีก’
เมื่อมีเวทนา ฯลฯ
เมื่อมีสัญญา ...
เมื่อมีสังขาร ...
เมื่อมีวิญญาณ เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล ฯลฯ หลังจากตายไป
ไม่ว่าคนเขลาและคนฉลาดย่อมขาดสูญ ไม่เกิดอีก’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่
เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น
ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล
ฯลฯ หลังจากตายไป ไม่ว่าคนเขลาและคนฉลาดย่อมขาดสูญ ไม่เกิดอีก”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เวทนา ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๑. โสตาปัตติวรรค ๖. กโรโตสูตร

“ฯลฯ เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘ทานที่ให้
แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล ... หลังจากตายไป ไม่ว่าคนเขลาและคน
ฉลาดย่อมขาดสูญ ไม่เกิดอีก”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“แม้สิ่งที่บุคคลได้เห็น ฟัง ทราบ รู้ ถึง แสวงหา ใคร่ครวญด้วยใจ
เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘ทานที่ให้
แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล ฯลฯ คำที่คนบางพวกย้ำว่ามีผลนั้นว่างเปล่า เท็จ
ไร้สาระ หลังจากตายไป ไม่ว่าคนเขลาและคนฉลาดย่อมขาดสูญ ไม่เกิดอีก”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่อริยสาวกละความสงสัยในฐานะ ๖ ประการนี้ได้
ฉะนั้น จึงละความสงสัยแม้ในทุกข์ ฯลฯ ละความสงสัยแม้ในปฏิปทาที่ให้ถึง
ความดับแห่งทุกข์ได้
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า อริยสาวกผู้เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มี
ความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”

นัตถิทินนสูตรที่ ๕ จบ

๖. กโรโตสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าเมื่อบุคคลทำเองเป็นต้น

[๒๑๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำ ตัดเอง
ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ทำให้เศร้าโศกเอง ใช้ให้ผู้อื่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๑. โสตาปัตติวรรค ๖. กโรโตสูตร

ทำให้เศร้าโศก ทำให้ลำบากเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้ลำบาก ดิ้นรนเอง ใช้ให้ผู้อื่น
ทำให้ดิ้นรน ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ตัดช่องย่องเบา ปล้น ทำโจรกรรมในบ้านหลังเดียว
ดักซุ่มที่ทางเปลี่ยว เป็นชู้ พูดเท็จ ผู้ทำ(เช่นนั้น) ไม่จัดว่าทำบาป
แม้หากบุคคลจะใช้จักรมีคมดุจมีดโกนสังหารเหล่าสัตว์ในปฐพีนี้ ให้เป็นลาน
ตากเนื้อ ให้เป็นกองเดียวกัน เขาย่อมไม่มีบาปที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มีบาปมาถึงเขา
แม้หากบุคคลจะไปยังฝั่งขวาแห่งแม่น้ำคงคา ฆ่าเอง ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ตัดเอง
ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน เขาย่อมไม่มีบาปที่เกิดจาก
กรรมนั้น ไม่มีบาปมาถึงเขา
แม้หากบุคคลจะไปยังฝั่งซ้ายแห่งแม่น้ำคงคา ให้เอง ใช้ให้ผู้อื่นให้ บูชาเอง
ใช้ให้ผู้อื่นบูชา เขาย่อมไม่มีบุญที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มีบุญมาถึงเขา ไม่มีบุญที่
เกิดจากการให้ทาน จากการฝึกอินทรีย์ จากการสำรวม จากการพูดคำสัตย์ ไม่
มีบุญมาถึงเขา‘๑
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย
มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำ ฯลฯ ย่อมไม่มีบุญ ... ไม่มีบุญมาถึงเขา’
เมื่อมีเวทนา ฯลฯ
เมื่อมีสัญญา ...
เมื่อมีสังขาร ...
เมื่อมีวิญญาณ เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำ ฯลฯ ย่อมไม่มีบุญ ... ไม่มีบุญมาถึงเขา’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่
เที่ยง’'
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า’'


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๑. โสตาปัตติวรรค ๖. กโรโตสูตร

“ฯลฯ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึง
เกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำ ฯลฯ ย่อมไม่มีบุญ ... ไม่มี
บุญมาถึงเขา”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เวทนา ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘เมื่อ
บุคคลทำเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำ ฯลฯ ย่อมไม่มีบุญ ... ไม่มีบุญมาถึงเขา”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“แม้สิ่งที่บุคคลได้เห็น ฟัง ทราบ รู้ ถึง แสวงหา ใคร่ครวญด้วยใจ
เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘เมื่อ
บุคคลทำเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำ ฯลฯ ย่อมไม่มีบุญ ... ไม่มีบุญมาถึงเขา”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่อริยสาวกละความสงสัยในฐานะ ๖ ประการนี้ได้
ฉะนั้น จึงละความสงสัยแม้ในทุกข์ ฯลฯ ละความสงสัยแม้ในปฏิปทาที่ให้ถึง
ความดับแห่งทุกข์ได้
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า อริยสาวกผู้เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มี
ความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”

กโรโตสูตรที่ ๖ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๑. โสตาปัตติวรรค ๗. เหตุสูตร

๗. เหตุสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าไม่มีเหตุเป็นต้น

[๒๑๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘ความเศร้าหมองของสัตว์ทั้งหลาย ไม่
มีเหตุ ไม่มีปัจจัย สัตว์ทั้งหลายไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย เศร้าหมองเอง ความ
บริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย สัตว์ทั้งหลายไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย
บริสุทธิ์เอง ไม่มีกำลัง ไม่มีความเพียร ไม่มีความสามารถของบุรุษ ไม่มีความ
พยายามของบุรุษ สัตว์ ปาณะ ภูตะ ชีวะ๑ทั้งปวง ล้วนไม่มีอำนาจ ไม่มีกำลัง
ไม่มีความเพียร ผันแปรไปตามโชคชะตาตามสถานภาพทางสังคมและตามลักษณะ
เฉพาะของตน เสวยสุขและทุกข์ในอภิชาติ๒ทั้ง ๖ เท่านั้น”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘ ... ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ฯลฯ เสวยสุขและทุกข์ในอภิชาติทั้ง ๖
เท่านั้น’
เมื่อมีเวทนา ฯลฯ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๑. โสตาปัตติวรรค ๗. เหตุสูตร

เมื่อมีสัญญา ...
เมื่อมีสังขาร ...
เมื่อมีวิญญาณ เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘... ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ฯลฯ เสวยสุขและทุกข์ในอภิชาติทั้ง ๖
เท่านั้น’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่
เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึง
เกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘... ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ฯลฯ เสวยสุขและทุกข์ในอภิชาติทั้ง ๖
เท่านั้น”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เวทนา ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ... ไม่มีเหตุ
ไม่มีปัจจัย ฯลฯ เสวยสุขและทุกข์ในอภิชาติทั้ง ๖ เท่านั้น”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“แม้สิ่งที่บุคคลได้เห็น ฟัง ทราบ รู้ ถึง แสวงหา ใคร่ครวญด้วยใจ
เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘... ไม่มีเหตุ
ไม่มีปัจจัย ฯลฯ เสวยสุขและทุกข์ในอภิชาติทั้ง ๖ เท่านั้น”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๑. โสตาปัตติวรรค ๘. มหาทิฏฐิสูตร

“ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่อริยสาวกละความสงสัยในฐานะ ๖ ประการนี้ได้
ฉะนั้น จึงละความสงสัยแม้ในทุกข์ ฯลฯ ละความสงสัยแม้ในปฏิปทาที่ให้ถึง
ความดับแห่งทุกข์ได้
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า อริยสาวกผู้เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มี
ความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”

เหตุสูตรที่ ๗ จบ

๘. มหาทิฏฐิสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิหลายประการ

[๒๑๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘สภาวะ ๗ กองนี้ไม่มีผู้สร้าง ไม่มีผู้
บันดาล ไม่มีผู้เนรมิต ไม่มีผู้ให้เนรมิต ยั่งยืน มั่นคงดุจยอดภูเขา ดุจเสาระเนียด
ไม่หวั่นไหว ไม่แปรผัน ไม่กระทบกระทั่งกัน ไม่ก่อให้เกิดสุขหรือทุกข์ หรือทั้งสุข
และทุกข์แก่กันและกัน
สภาวะ ๗ กอง อะไรบ้าง คือ

๑. กองแห่งธาตุดิน ๒. กองแห่งธาตุน้ำ
๓. กองแห่งธาตุไฟ ๔. กองแห่งธาตุลม
๕. กองสุข ๖. กองทุกข์
๗. กองชีวะ

สภาวะ ๗ กองนี้ไม่มีผู้สร้าง ไม่มีผู้บันดาล ไม่มีผู้เนรมิต ไม่มีผู้ให้เนรมิต
ยั่งยืน มั่นคงดุจยอดภูเขา ดุจเสาระเนียด ไม่หวั่นไหว ไม่แปรผัน ไม่กระทบกระทั่งกัน
ไม่ก่อให้เกิดสุขหรือทุกข์ หรือทั้งสุขและทุกข์แก่กันและกัน ใครก็ตามแม้จะเอา
ศัสตราคมตัดศีรษะใคร ก็ไม่ชื่อว่าใครปลงชีวิตใครได้ เพราะเป็นเพียงศัสตราแทรก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๑. โสตาปัตติวรรค ๘. มหาทิฏฐิสูตร

ผ่านไประหว่างสภาวะ ๗ กองเท่านั้นเอง อนึ่ง กำเนิดที่เป็นประธาน ๑,๔๐๖,๖๐๐
กรรม ๕๐๐ กรรม ๕ กรรม ๓ กรรมกึ่ง๑ ปฏิปทา ๖๒ อันตรกัป ๖๒ อภิชาติ
๖ ปุริสภูมิ๒ ๘ อาชีวก ๔,๙๐๐ ปริพาชก ๔,๙๐๐ นาควาส ๔,๙๐๐ อินทรีย์
๒,๐๐๐ นรก ๓,๐๐๐ รโชธาตุ๓ ๓๖ สัญญีครรภ์ ๗ อสัญญีครรภ์ ๗ นิคัณฐีครรภ์๔
๗ เทวดา ๗ มนุษย์ ๗ ปีศาจ ๗ สระ ๗ ตาไม้ไผ่ ๗ ตาไม้ไผ่ ๗๐๐ เหวใหญ่
๗ เหวน้อย ๗๐๐ มหาสุบิน ๗ สุบิน ๗๐๐ มหากัป๕ ๘,๔๐๐,๐๐๐ เหล่านี้
ที่คนพาลและบัณฑิตพากันเที่ยวเวียนว่ายไปแล้ว จักทำที่สุดทุกข์ได้เอง ไม่มีความ
สมหวังในความปรารถนาว่า ‘เราจักอบรมกรรมที่ยังไม่ให้ผลให้อำนวยผล หรือ
สัมผัสกรรมที่ให้ผลแล้ว จักทำให้หมดสิ้นไปด้วยศีล พรต ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้
ไม่มีสุขทุกข์ที่ทำให้สิ้นสุดลงได้ (จำนวนเท่านั้นเท่านี้) เหมือนตวงด้วยทะนาน
สงสารที่จะทำให้สิ้นสุดไม่มีเลย ไม่มีความเสื่อมและความเจริญ ไม่มีการเลื่อนขึ้น
สูงหรือเลื่อนลงต่ำ พวกคนพาลและบัณฑิตพากันเที่ยวเวียนว่ายไปแล้ว เสวยสุข
และทุกข์เอง เหมือนกลุ่มด้ายที่ถูกขว้างไปย่อมคลี่หมดไปเอง ฉะนั้น”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๑. โสตาปัตติวรรค ๘. มหาทิฏฐิสูตร

ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป ทิฏฐิอย่างนี้
จึงเกิดขึ้นว่า ‘สภาวะ ๗ กองนี้ไม่มีผู้สร้าง ไม่มีผู้บันดาล ฯลฯ เสวยสุขและ
ทุกข์เอง ...
เมื่อมีเวทนา ฯลฯ
เมื่อมีสัญญา ...
เมื่อมีสังขาร ...
เมื่อมีวิญญาณ เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ ทิฏฐิอย่างนี้
จึงเกิดขึ้นว่า ‘สภาวะ ๗ กองนี้ไม่มีผู้สร้าง ไม่มีผู้บันดาล ฯลฯ เสวยสุขและ
ทุกข์เอง ...
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่
เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะถือมั่นสิ่งนั้น
ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘สภาวะ ๗ กองนี้ไม่มีผู้สร้าง ไม่มีผู้บันดาล
ฯลฯ เสวยสุขและทุกข์เอง ... ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เวทนา ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ เพราะถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘สภาวะ ๗
กองนี้ไม่มีผู้สร้าง ไม่มีผู้บันดาล ฯลฯ เสวยสุขและทุกข์เอง ... ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๑. โสตาปัตติวรรค ๙. สัสสตทิฏฐิสูตร

“แม้สิ่งที่บุคคลได้เห็น ฟัง ทราบ รู้ ถึง แสวงหา ใคร่ครวญด้วยใจ
เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘สภาวะ
๗ กองนี้ไม่มีผู้สร้าง ไม่มีผู้บันดาล ฯลฯ เสวยสุขและทุกข์เอง ... ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่อริยสาวกละความสงสัยในฐานะ ๖ ประการ
นี้ได้ ฉะนั้น จึงละความสงสัยแม้ในทุกข์ ฯลฯ ละความสงสัยแม้ในปฏิปทาที่ให้
ถึงความดับแห่งทุกข์ได้
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า อริยสาวกผู้เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มี
ความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”

มหาทิฏฐิสูตรที่ ๘ จบ

๙. สัสสตทิฏฐิสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าโลกเที่ยง

[๒๑๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘โลกเที่ยง”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘โลกเที่ยง’
เมื่อมีเวทนา ฯลฯ
เมื่อมีสัญญา ...
เมื่อมีสังขาร ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๑. โสตาปัตติวรรค ๙. สัสสตทิฏฐิสูตร

เมื่อมีวิญญาณ เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘โลกเที่ยง’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่
เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึง
เกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘โลกเที่ยง”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เวทนา ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘โลกเที่ยง’'
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“แม้สิ่งที่บุคคลได้เห็น ฟัง ทราบ รู้ ถึง แสวงหา ใคร่ครวญด้วยใจ
เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น
ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘โลกเที่ยง”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่อริยสาวกละความสงสัยในฐานะ ๖ ประการนี้ได้
ฉะนั้น จึงละความสงสัยแม้ในทุกข์ ฯลฯ ละความสงสัยแม้ในปฏิปทาที่ให้ถึง
ความดับแห่งทุกข์ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๑. โสตาปัตติวรรค ๑๐. อสัสสตทิฏฐิสูตร

ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า อริยสาวกผู้เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มี
ความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”

สัสสตทิฏฐิสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. อสัสสตทิฏฐิสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าโลกไม่เที่ยง

[๒๑๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘โลกไม่เที่ยง”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป ฯลฯ เมื่อมีเวทนา ... เมื่อมีสัญญา ... เมื่อมีสังขาร
...เมื่อมีวิญญาณ ฯลฯ เวทนา ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยง
หรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘โลกไม่
เที่ยง”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“แม้สิ่งที่บุคคลได้เห็น ฟัง ทราบ รู้ ถึง แสวงหา ใคร่ครวญด้วยใจ
เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘โลกไม่
เที่ยง”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๑. โสตาปัตติวรรค ๑๒. อนันตวาสูตร

“ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่อริยสาวกละความสงสัยในฐานะ ๖ ประการนี้ได้
ฉะนั้น จึงละความสงสัยแม้ในทุกข์ ฯลฯ ละความสงสัยแม้ในปฏิปทาที่ให้ถึง
ความดับแห่งทุกข์ได้
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า อริยสาวกผู้เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มี
ความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”

อสัสสตทิฏฐิสูตรที่ ๑๐ จบ

๑๑. อันตวาสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าโลกมีที่สุด

[๒๑๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘โลกมีที่สุด”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ ... มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”

อันตวาสูตรที่ ๑๑ จบ

๑๒. อนันตวาสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าโลกไม่มีที่สุด

[๒๑๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘โลกไม่มีที่สุด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๑. โสตาปัตติวรรค ๑๔. อัญญังชีวังอัญญังสรีรังสูตร

ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ ... มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”

อนันตวาสูตรที่ ๑๒ จบ

๑๓. ตังชีวังตังสรีรังสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน

[๒๑๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘ชีวะ๑กับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย
มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ ... มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”

ตังชีวังตังสรีรังสูตรที่ ๑๓ จบ

๑๔. อัญญังชีวังอัญญังสรีรังสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน

[๒๑๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๑. โสตาปัตติวรรค ๑๖.นโหติตถาคโตสูตร

ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ ... มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”

อัญญังชีวังอัญญังสรีรังสูตรที่ ๑๔ จบ

๑๕. โหติตถาคโตสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าหลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก

[๒๒๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ ... มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”

โหติตถาคโตสูตรที่ ๑๕ จบ

๑๖. นโหติตถาคโตสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าหลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก

[๒๒๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย
มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ ... มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”

นโหติตถาคโตสูตรที่ ๑๖ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๑. โสตาปัตติวรรค ๑๘. เนวโหตินนโหติตถาคโตสูตร

๑๗. โหติจนจโหติตถาคโตสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าหลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก

[๒๒๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและ
ไม่เกิดอีก”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ ... มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”

โหติจนจโหติตถาคโตสูตรที่ ๑๗ จบ

๑๘. เนวโหตินนโหติตถาคโตสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าหลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ ฯ

[๒๒๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิด
อีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๑. โสตาปัตติวรรค ๑๘. เนวโหตินนโหติตถาคโตสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่
เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะ
พึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีก
ก็มิใช่”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“แม้สิ่งที่บุคคลได้เห็น ฟัง ทราบ รู้ ถึง แสวงหา ใคร่ครวญด้วยใจ
เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น
ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่
จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่อริยสาวกละความสงสัยในฐานะ ๖ ประการนี้ได้
ฉะนั้น จึงละความสงสัยแม้ในทุกข์ ละความสงสัยแม้ในเหตุเกิดแห่งทุกข์ ละความ
สงสัยแม้ในความดับแห่งทุกข์ ละความสงสัยแม้ในปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่ง
ทุกข์ได้
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า อริยสาวกผู้เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มี
ความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”

เนวโหตินนโหติตถาคโตสูตรที่ ๑๘ จบ
โสตาปัตติวรรคที่ ๑ จบ
การตอบปัญหา ๑๘ ข้อจบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๑. โสตาปัตติวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. วาตสูตร ๒. เอตังมมสูตร
๓. โสอัตตาสูตร ๔. โนจเมสิยาสูตร
๕. นัตถิทินนสูตร ๖. กโรโตสูตร
๗. เหตุสูตร ๘. มหาทิฏฐิสูตร
๙. สัสสตทิฏฐิสูตร ๑๐. อสัสสตทิฏฐิสูตร
๑๑. อันตวาสูตร ๑๒. อนันตวาสูตร
๑๓. ตังชีวังตังสรีรังสูตร ๑๔. อัญญังชีวังอัญญังสรีรังสูตร
๑๕. โหติตถาคโตสูตร ๑๖. นโหติตถาคโตสูตร
๑๗. โหติจนจโหติตถาคโตสูตร ๑๘. เนวโหตินนโหติตถาคโตสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๒. ทุติยคมนวรรค ๑. วาตสูตร

๒. ทุติยคมนวรรค
หมวดว่าด้วยการไปที่ ๒
๑. วาตสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าลมไม่พัดเป็นต้น

[๒๒๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘ลมไม่พัด แม่น้ำไม่ไหล สตรีมีครรภ์
ไม่คลอด ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ไม่ขึ้นหรือไม่ตก มั่นคงดุจเสาระเนียด”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป ทิฏฐิอย่างนี้
จึงเกิดขึ้นว่า ‘ลมไม่พัด ฯลฯ มั่นคงดุจเสาระเนียด’
เมื่อมีเวทนา ฯลฯ
เมื่อมีสัญญา ...
เมื่อมีสังขาร ...
เมื่อมีวิญญาณ เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘ลมไม่พัด ฯลฯ มั่นคงดุจเสาระเนียด’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่
เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึง
เกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘ลมไม่พัด ฯลฯ มั่นคงดุจเสาระเนียด”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๒. ทุติยคมนวรรค ๑๘. เนวโหตินนโหติสูตร

“ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการอย่างนี้ เมื่อมีทุกข์ เพราะถือมั่นทุกข์ เพราะ
ยึดมั่นทุกข์ ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘ลมไม่พัด ฯลฯ มั่นคงดุจเสาระเนียด’
เวทนา ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง’
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึง
เกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘ลมไม่พัด ฯลฯ มั่นคงดุจเสาระเนียด”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการอย่างนี้ เมื่อมีทุกข์ เพราะถือมั่นทุกข์ เพราะ
ยึดมั่นทุกข์ ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘ลมไม่พัด แม่น้ำไม่ไหล สตรีมีครรภ์ไม่คลอด
ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ไม่ขึ้นหรือไม่ตก มั่นคงดุจเสาระเนียด”

วาตสูตรที่ ๑ จบ

[๒๒๕ - ๒๔๐] (พึงขยายการตอบปัญหาทั้ง ๑๘ ข้อให้พิสดาร เหมือนใน
วรรคก่อน)

โหติจนจโหติตถาคโตสูตรที่ ๑๗ จบ

๑๘. เนวโหตินนโหติสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าหลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ ฯ

[๒๔๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิด
อีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๒. ทุติยคมนวรรค ๑๘. เนวโหตินนโหติสูตร

“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’
เมื่อมีเวทนา ฯลฯ
เมื่อมีสัญญา ...
เมื่อมีสังขาร ...
เมื่อมีวิญญาณ เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่
เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะ
พึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีก
ก็มิใช่”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการอย่างนี้ เมื่อมีทุกข์ เพราะถือมั่นทุกข์ เพราะ
ยึดมั่นทุกข์ ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่
จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่”
เวทนา ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะ
พึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิด
อีกก็มิใช่”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๒. ทุติยคมนวรรค ๑๙. รูปีอัตตาสูตร

“ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการอย่างนี้ เมื่อมีทุกข์ เพราะถือมั่นทุกข์ เพราะ
ยึดมั่นทุกข์ ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่
จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่”

เนวโหตินนโหติสูตรที่ ๑๘ จบ

๑๙. รูปีอัตตาสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าอัตตาที่มีรูป

[๒๔๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว อัตตาที่มีรูปไม่
สลายไป”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป เพราะถือมั่นรูป เพราะ
ยึดมั่นรูป ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว อัตตาที่มีรูปไม่สลายไป’
เมื่อมีเวทนา ฯลฯ
เมื่อมีสัญญา ...
เมื่อมีสังขาร ...
เมื่อมีวิญญาณ เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว อัตตาที่มีรูปไม่สลายไป’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่
เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๒. ทุติยคมนวรรค ๒๐. อรูปีอัตตาสูตร

“ฯลฯ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึง
เกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘หลังจากตายแล้ว อัตตาที่มีรูปไม่สลายไป”
ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการอย่างนี้ เมื่อมีทุกข์ เพราะถือมั่นทุกข์ เพราะ
ยึดมั่นทุกข์ ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว อัตตาที่มีรูปไม่สลายไป’
เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึง
เกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘หลังจากตายแล้ว อัตตาที่มีรูปไม่สลายไป”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการอย่างนี้ เมื่อมีทุกข์ เพราะถือมั่นทุกข์ เพราะ
ยึดมั่นทุกข์ ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว อัตตาที่มีรูปไม่สลายไป”

รูปีอัตตาสูตรที่ ๑๙ จบ

๒๐. อรูปีอัตตาสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าอัตตาที่ไม่มีรูป

[๒๔๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว อัตตาที่ไม่มีรูปไม่
สลายไป’ ฯลฯ

อรูปีอัตตาสูตรที่ ๒๐ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๒. ทุติยคมนวรรค ๒๔. เอกันตทุกขีสูตร

๒๑. รูปีจอรูปีจอัตตาสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าอัตตาที่มีรูปและไม่มีรูป

[๒๔๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “หลังจากตายแล้ว อัตตาทั้งที่มีรูปและไม่มีรูปไม่
สลายไป ฯลฯ

รูปีจอรูปีจอัตตาสูตรที่ ๒๑ จบ

๒๒. เนวรูปีนารูปีอัตตาสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าอัตตาที่มีรูปก็มิใช่ ไม่มีรูปก็มิใช่

[๒๔๕] “หลังจากตายแล้ว อัตตาจะว่ามีรูปก็มิใช่ จะว่าไม่มีรูปก็มิใช่ไม่
สลายไป ...

เนวรูปีนารูปีอัตตาสูตรที่ ๒๒ จบ

๒๓. เอกันตสุขีสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าอัตตาที่มีสุขโดยส่วนเดียว

[๒๔๖] “หลังจากตายแล้ว อัตตาที่มีสุขโดยส่วนเดียวไม่สลายไป ...

เอกันตสุขีสูตรที่ ๒๓ จบ

๒๔. เอกันตทุกขีสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าอัตตาที่มีทุกข์โดยส่วนเดียว

[๒๔๗] “หลังจากตายแล้ว อัตตาที่มีทุกข์โดยส่วนเดียวไม่สลายไป ...

เอกันตทุกขีสูตรที่ ๒๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๒. ทุติยคมนวรรค ๒๖. อทุกขมสุขีสูตร

๒๕. สุขทุกขีสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าอัตตาที่มีทั้งสุขและทุกข์

[๒๔๘] “หลังจากตายแล้ว อัตตาที่มีทั้งสุขและทุกข์ไม่สลายไป ...

สุขทุกขีสูตรที่ ๒๕ จบ

๒๖. อทุกขมสุขีสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าอัตตาที่ไม่มีทั้งทุกข์และสุข

[๒๔๙] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “หลังจากตายแล้ว อัตตาที่มีทั้งสุข
และทุกข์ไม่สลายไปหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว อัตตาที่ไม่มีทั้งทุกข์และสุขไม่สลายไป’
เมื่อมีเวทนา ฯลฯ
เมื่อมีสัญญา ...
เมื่อมีสังขาร ...
เมื่อมีวิญญาณ เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ ทิฏฐิอย่างนี้
จึงเกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว อัตตาที่ไม่มีทั้งทุกข์และสุขไม่สลายไป’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่
เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึง
เกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘หลังจากตายแล้ว อัตตาที่ไม่มีทั้งทุกข์และสุขไม่สลายไป”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๒. ทุติยคมนวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

“ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการอย่างนี้ เมื่อมีทุกข์ เพราะถือมั่นทุกข์ เพราะ
ยึดมั่นทุกข์ ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว อัตตาที่ไม่มีทั้งทุกข์และ
สุขไม่สลายไป’
เวทนา ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึง
เกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘หลังจากตายแล้ว อัตตาที่ไม่มีทั้งทุกข์และสุขไม่สลายไป”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการอย่างนี้ เมื่อมีทุกข์ เพราะถือมั่นทุกข์ เพราะ
ยึดมั่นทุกข์ ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว อัตตาที่ไม่มีทั้งทุกข์และ
สุขไม่สลายไป”

อทุกขมสุขีสูตรที่ ๒๖ จบ
ทุติยคมนวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. วาตสูตร ฯลฯ ๑๘. เนวโหตินนโหติสูตร
๑๙. รูปีอัตตาสูตร ๒๐. อรูปีอัตตาสูตร
๒๑. รูปีจอรูปีจอัตตาสูตร ๒๒. เนวรูปีนารูปีอัตตาสูตร
๒๓. เอกันตสุขีสูตร ๒๔. เอกันตทุกขีสูตร
๒๕. สุขทุกขีสูตร ๒๖. อทุกขมสุขีสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๓. ตติยคมนวรรค

๓. ตติยคมนวรรค
หมวดว่าด้วยการไปที่ ๓
๑. นวาตสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าลมไม่พัดเป็นต้น

[๒๕๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘ลมไม่พัด แม่น้ำไม่ไหล สตรีมีครรภ์
ไม่คลอด ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ไม่ขึ้นหรือไม่ตก มั่นคงดุจเสาระเนียด”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘ลมไม่พัด ฯลฯ มั่นคงดุจเสาระเนียด’
เมื่อมีเวทนา ฯลฯ
เมื่อมีสัญญา ...
เมื่อมีสังขาร ...
เมื่อมีวิญญาณ เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘ลมไม่พัด ฯลฯ มั่นคงดุจเสาระเนียด’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่
เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึง
เกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘ลมไม่พัด ฯลฯ มั่นคงดุจเสาระเนียด”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๓. ตติยคมนวรรค ๒๖. อทุกขมสุขีสูตร

“ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการอย่างนี้ สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ เมื่อมีสิ่งนั้น
เพราะถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘ลมไม่พัด แม่น้ำไม่ไหล สตรีมีครรภ์
ไม่คลอด ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ไม่ขึ้นหรือไม่ตก มั่นคงดุจเสาระเนียด’
เวทนา ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึง
เกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘ลมไม่พัด ฯลฯ มั่นคงดุจเสาระเนียด”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการอย่างนี้ สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ เมื่อมีสิ่งนั้น
เพราะถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘ลมไม่พัด ฯลฯ มั่นคงดุจเสาระเนียด”

นวาตสูตรที่ ๑ จบ

[๒๕๑ - ๒๗๔] (พึงเพิ่มสูตรอีก ๒๔ สูตร เข้ามาให้เต็ม เหมือนในทุติยวรรค)

สุขทุกขีสูตรที่ ๒๕ จบ

๒๖. อทุกขมสุขีสูตร
ว่าด้วยอัตตาที่ไม่มีทั้งทุกข์และสุข

[๒๗๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว อัตตาที่ไม่มีทั้งทุกข์
และสุขไม่สลายไป”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว อัตตาที่ไม่มีทั้งทุกข์และสุขไม่สลายไป’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๓. ตติยคมนวรรค ๒๖. อทุกขมสุขีสูตร

เมื่อมีเวทนา ฯลฯ
เมื่อมีสัญญา ...
เมื่อมีสังขาร ...
เมื่อมีวิญญาณ เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว อัตตาที่ไม่มีทั้งทุกข์และสุขไม่สลายไป’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึง
เกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘หลังจากตายแล้ว อัตตาที่ไม่มีทั้งทุกข์และสุขไม่สลายไป”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการอย่างนี้ สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ เมื่อมีสิ่งนั้น
เพราะถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว อัตตาที่ไม่มีทั้งทุกข์
และสุขไม่สลายไป’
เวทนา ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึง
เกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘หลังจากตายแล้ว อัตตาที่ไม่มีทั้งทุกข์และสุขไม่สลายไป”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการอย่างนี้ สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ เมื่อมีสิ่งนั้น
เพราะถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว อัตตาที่ไม่มีทั้ง
ทุกข์และสุขไม่สลายไป”

อทุกขมสุขีสูตรที่ ๒๖ จบ
ตติยคมนวรรคที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๔. จตุตถคมนวรรค ๑. นวาตสูตร

๔. จตุตถคมนวรรค
หมวดว่าด้วยการไปที่ ๔
๑. นวาตสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าลมไม่พัดเป็นต้น

[๒๗๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘ลมไม่พัด แม่น้ำไม่ไหล สตรีมีครรภ์
ไม่คลอด ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ไม่ขึ้นหรือไม่ตก มั่นคงดุจเสาระเนียด”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘ลมไม่พัด ฯลฯ มั่นคงดุจเสาระเนียด’
เมื่อมีเวทนา ฯลฯ
เมื่อมีสัญญา ...
เมื่อมีสังขาร ...
เมื่อมีวิญญาณ เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘ลมไม่พัด ฯลฯ มั่นคงดุจเสาระเนียด’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่
เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๔. จตุตถคมนวรรค ๑. นวาตสูตร

“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“เวทนา ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต
และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือ
ใกล้ก็ตาม รูปทั้งหมดนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง
อย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ...
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายใน
หรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ก็ตาม วิญญาณ
ทั้งหมดนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่น
ไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจ
อื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

นวาตสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๔. จตุตถคมนวรรค ๒๖. อทุกขมสุขีสูตร

[๒๗๗-๓๐๐] (พึงเพิ่มสูตรอีก ๒๔ สูตร เข้ามาให้เต็ม เหมือนในทุติยวรรค)

สุขทุกขีสูตรที่ ๒๕ จบ

๒๖. อทุกขมสุขีสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าอัตตาที่ไม่มีทั้งทุกข์และสุข

[๓๐๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว อัตตาที่ไม่มีทั้งทุกข์
และสุขไม่สลายไป”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว อัตตาที่ไม่มีทั้งทุกข์และสุขไม่สลายไป’
เมื่อมีเวทนา ฯลฯ
เมื่อมีสัญญา ...
เมื่อมีสังขาร ...
เมื่อมีวิญญาณ เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว อัตตาที่ไม่มีทั้งทุกข์และสุขไม่สลายไป’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือ
ไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๔. จตุตถคมนวรรค ๒๖. อทุกขมสุขีสูตร

“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“เวทนา ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต
และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือ
ใกล้ก็ตาม รูปทั้งหมดนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง
อย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ...
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายใน
หรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ก็ตาม วิญญาณ
ทั้งหมดนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่น
ไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขาร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๔. จตุตถคมนวรรค ๒๖. อทุกขมสุขีสูตร

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด
จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
อีกต่อไป”

อทุกขมสุขีสูตรที่ ๒๖ จบ

ในวรรคก่อนมีการตอบปัญหา ๑๘ ข้อ
พึงขยายพระสูตร ๒๖ สูตร ในทุติยคมนวรรคให้พิสดาร
พึงขยายพระสูตร ๒๖ สูตร ในตติยคมนวรรคให้พิสดาร
พึงขยายพระสูตร ๒๖ สูตร ในจตุตถคมนวรรคให้พิสดาร

ทิฏฐิสังยุต จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๔. โอกกันตสังยุต] ๑. จักขุสูตร

๔. โอกกันตสังยุต
๑. จักขุสูตร
ว่าด้วยจักขุ

[๓๐๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย จักขุ (ตา) ไม่เที่ยง มีความแปรผัน
มีภาวะโดยอาการอื่น
โสตะ (หู) ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
ฆานะ (จมูก) ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
ชิวหา (ลิ้น) ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
กายไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
มโน (ใจ) ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดศรัทธาเชื่อมั่นธรรมเหล่านี้อย่างนี้ ผู้นี้เราเรียกว่า ‘สัทธานุสารี๑
ก้าวลงสู่อริยมรรค หยั่งลงสู่ภูมิของสัตบุรุษ ผ่านภูมิของปุถุชนได้แล้ว ไม่ควรทำ
กรรมที่ทำแล้วไปเกิดในนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน หรือภูมิแห่งเปรต ไม่สมควร
ตายตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้งโสดาปัตติผล’
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ของผู้ใดประจักษ์ชัดโดยยิ่งด้วยปัญญาอย่างนี้ ผู้
นี้เราเรียกว่า ‘ธัมมานุสารี๒ ก้าวลงสู่อริยมรรค หยั่งลงสู่ภูมิของสัตบุรุษ ผ่านภูมิ
ของปุถุชนได้แล้ว ไม่ควรทำกรรมที่ทำแล้วไปเกิดในนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
หรือภูมิแห่งเปรต ไม่สมควรตายตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้งโสดาปัตติผล’


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๔. โอกกันตสังยุต ] ๒. รูปสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดรู้เห็นธรรมเหล่านี้อย่างนี้ ผู้นี้เราเรียกว่า ‘เป็นโสดาบัน
ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”

จักขุสูตรที่ ๑ จบ

๒. รูปสูตร
ว่าด้วยรูป

[๓๐๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง มีความแปรผัน มี
ภาวะโดยอาการอื่น
สัททะ(เสียง)ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
คันธะ(กลิ่น)ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
รสไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
โผฏฐัพพะ (สิ่งที่ถูกต้องกาย) ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
ธรรมารมณ์ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดศรัทธาเชื่อมั่นธรรมเหล่านี้อย่างนี้ ผู้นี้เราเรียกว่า
‘สัทธานุสารี ก้าวลงสู่อริยมรรค หยั่งลงสู่ภูมิของสัตบุรุษ ผ่านภูมิของปุถุชนได้
แล้ว ไม่ควรทำกรรมที่ทำแล้วไปเกิดในนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน หรือภูมิแห่งเปรต
ไม่สมควรตายตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้งโสดาปัตติผล’
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ของผู้ใดประจักษ์ชัดโดยยิ่งด้วยปัญญาอย่างนี้ ผู้
นี้เราเรียกว่า‘ธัมมานุสารี ก้าวลงสู่อริยมรรค หยั่งลงสู่ภูมิของสัตบุรุษ ผ่านภูมิ
ของปุถุชนได้แล้ว ไม่ควรทำกรรมที่ทำแล้วไปเกิดในนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
หรือภูมิแห่งเปรต ไม่สมควรตายตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้งโสดาปัตติผล’
ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดรู้เห็นธรรมเหล่านี้อย่างนี้ ผู้นี้เราเรียกว่า ‘เป็นโสดาบัน
ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’

รูปสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๔. โอกกันตสังยุต] ๔.สัมผัสสสูตร

๓. วิญญาณสูตร
ว่าด้วยวิญญาณ

[๓๐๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย จักขุวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางตา)
ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
โสตวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางหู) ฯลฯ
ฆานวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางจมูก) ...
ชิวหาวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางลิ้น) ...
กายวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางกาย) ...
มโนวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางใจ) ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะ
โดยอาการอื่น
ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใด ฯลฯ ตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้งโสดาปัตติผล
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ของผู้ใด ฯลฯ ตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้ง
โสดาปัตติผล
ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใด ฯลฯ จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”

วิญญาณสูตรที่ ๓ จบ

๔. สัมผัสสสูตร
ว่าด้วยสัมผัส

[๓๐๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย จักขุสัมผัส (ความกระทบทางตา)
ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
โสตสัมผัส (ความกระทบทางหู) ฯลฯ
ฆานสัมผัส (ความกระทบทางจมูก) ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๔. โอกกันตสังยุต] ๕. สัมผัสสชาสูตร

ชิวหาสัมผัส (ความกระทบทางลิ้น) ...
กายสัมผัส (ความกระทบทางกาย) ...
มโนสัมผัส (ความกระทบทางใจ) ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดย
อาการอื่น
ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดศรัทธาเชื่อมั่นธรรมเหล่านี้อย่างนี้ ผู้นี้เราเรียกว่า
‘สัทธานุสารี ฯลฯ จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”

สัมผัสสสูตรที่ ๔ จบ

๕. สัมผัสสชาสูตร
ว่าด้วยสัมผัสสชาเวทนา

[๓๐๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย จักขุสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิด
จากสัมผัสทางตา) ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
โสตสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางหู) ฯลฯ
ฆานสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางจมูก) ...
ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางลิ้น) ...
กายสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางกาย) ...
มโนสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางใจ) ไม่เที่ยง มีความแปรผัน
มีภาวะโดยอาการอื่น
ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดศรัทธาเชื่อมั่นธรรมเหล่านี้อย่างนี้ ผู้นี้เราเรียกว่า
‘สัทธานุสารี ฯลฯ จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”

สัมผัสสชาสูตรที่ ๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๔. โอกกันตสังยุต] ๗. รูปสัญเจตนาสูตร

๖. รูปสัญญาสูตร
ว่าด้วยรูปสัญญา

[๓๐๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปสัญญา (ความหมายรู้รูป) ไม่เที่ยง
มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
สัททสัญญา (ความหมายรู้เสียง) ฯลฯ
คันธสัญญา (ความหมายรู้กลิ่น) ...
รสสัญญา (ความหมายรู้รส) ...
โผฏฐัพพสัญญา (ความหมายรู้โผฏฐัพพะ) ...
ธัมมสัญญา (ความหมายรู้ธรรมารมณ์) ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มี
ภาวะโดยอาการอื่น
ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดศรัทธาเชื่อมั่นธรรมเหล่านี้อย่างนี้ ผู้นี้เราเรียกว่า
‘สัทธานุสารี ฯลฯ จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’

รูปสัญญาสูตรที่ ๖ จบ

๗. รูปสัญเจตนาสูตร
ว่าด้วยรูปสัญเจตนา

[๓๐๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปสัญเจตนา (ความจำนงรูป) ไม่
เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
สัททสัญเจตนา (ความจำนงเสียง) ฯลฯ
คันธสัญเจตนา (ความจำนงกลิ่น) ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๔. โอกกันตสังยุต] ๘. รูปตัณหาสูตร

รสสัญเจตนา (ความจำนงรส) ...
โผฏฐัพพสัญเจตนา (ความจำนงโผฏฐัพพะ) ...
ธัมมสัญเจตนา (ความจำนงธรรมารมณ์) ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มี
ภาวะโดยอาการอื่น
ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดศรัทธาเชื่อมั่นธรรมเหล่านี้อย่างนี้ ผู้นี้เราเรียกว่า
‘สัทธานุสารี ฯลฯ จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”

รูปสัญเจตนาสูตรที่ ๗ จบ

๘. รูปตัณหาสูตร
ว่าด้วยรูปตัณหา

[๓๐๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปตัณหา (ความทะยานอยากในรูป)
ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
สัททตัณหา (ความทะยานอยากในเสียง) ฯลฯ
คันธตัณหา (ความทะยานอยากในกลิ่น) ...
รสตัณหา (ความทะยานอยากในรส) ...
โผฏฐัพพตัณหา (ความทะยานอยากในโผฏฐัพพะ) ...
ธัมมตัณหา (ความทะยานอยากในธรรมารมณ์) ไม่เที่ยง มีความแปรผัน
มีภาวะโดยอาการอื่น
ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดศรัทธาเชื่อมั่นธรรมเหล่านี้อย่างนี้ ผู้นี้เราเรียกว่า
‘สัทธานุสารี ฯลฯ จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’'

รูปตัณหาสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๔. โอกกันตสังยุต] ๑๐. ขันธสูตร

๙. ปฐวีธาตุสูตร
ว่าด้วยปฐวีธาตุ

[๓๑๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) ไม่เที่ยง มี
ความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ) ฯลฯ
เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) ...
วาโยธาตุ (ธาตุลม) ...
อากาสธาตุ (ธาตุอากาศ) ...
วิญญาณธาตุ (ธาตุวิญญาณ) ไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดศรัทธาเชื่อมั่นธรรมเหล่านี้อย่างนี้ ผู้นี้เราเรียกว่า
‘สัทธานุสารี ฯลฯ จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”

ปฐวีธาตุสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ขันธสูตร
ว่าด้วยขันธ์

[๓๑๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง มีความแปรผัน มี
ภาวะโดยอาการอื่น
เวทนาไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
สัญญา ฯลฯ
สังขารไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น
วิญญาณไม่เที่ยง มีความแปรผัน มีภาวะโดยอาการอื่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๔. โอกกันตสังยุต]
รวมพระสูตรที่มีในสังยุต

ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดศรัทธาเชื่อมั่นธรรมเหล่านี้อย่างนี้ ผู้นี้เราเรียกว่า
‘สัทธานุสารี ก้าวลงสู่อริยมรรค หยั่งลงสู่ภูมิของสัตบุรุษ ผ่านภูมิของปุถุชน
ได้แล้ว ไม่ควรทำกรรมที่ทำแล้วไปเกิดในนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน หรือภูมิแห่ง
เปรต ไม่สมควรตายตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้งโสดาปัตติผล’
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ของผู้ใดประจักษ์ชัดโดยยิ่งด้วยปัญญาอย่างนี้ ผู้
นี้เราเรียกว่า ‘ธัมมานุสารี ก้าวลงสู่อริยมรรค หยั่งลงสู่ภูมิของสัตบุรุษ ผ่านภูมิ
ของปุถุชนได้แล้ว ไม่ควรทำกรรมที่ทำแล้วไปเกิดในนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
หรือภูมิแห่งเปรต ไม่สมควรตายตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้งโสดาปัตติผล’
ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดรู้เห็นธรรมเหล่านี้อย่างนี้ ผู้นี้เราเรียกว่า ‘อริยสาวกผู้
เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”

ขันธสูตรที่ ๑๐ จบ
โอกกันตสังยุต จบ

รวมพระสูตรที่มีในสังยุตนี้ คือ

๑. จักขุสูตร ๒. รูปสูตร
๓. วิญญาณสูตร ๔. สัมผัสสสูตร
๕. สัมผัสสชาสูตร ๖. รูปสัญญาสูตร
๗. รูปสัญเจตนาสูตร ๘. รูปตัณหาสูตร
๙. ปฐวีธาตุสูตร ๑๐. ขันธสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [ ๕. อุปปาทสังยุต] ๑. จักขุสูตร

๕. อุปปาทสังยุต
๑. จักขุสูตร
ว่าด้วยจักขุ

[๓๑๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความ
บังเกิด ความปรากฏแห่งจักขุ นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค
เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ
ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ... แห่งโสตะ ฯลฯ
ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ... แห่งฆานะ ...
ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ... แห่งชิวหา ...
ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ... แห่งกาย ...
ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งมโน นี้เป็นความ
เกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งจักขุ นี้
เป็นความดับแห่งทุกข์ เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชรา
และมรณะ
ความดับ ... แห่งโสตะ ฯลฯ
ความดับ ... แห่งฆานะ ...
ความดับ ... แห่งชิวหา ...
ความดับ ... แห่งกาย ...
ความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งมโน นี้เป็นความดับแห่งทุกข์
เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชราและมรณะ”๑

จักขุสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๕. อุปปาทสังยุต] ๓. วิญญาณสูตร

๒. รูปสูตร
ว่าด้วยรูป

[๓๑๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความ
บังเกิด ความปรากฏแห่งรูป นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค
เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ
ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ... แห่งสัททะ ฯลฯ แห่งคันธะ ... แห่งรส ...
แห่งโผฏฐัพพะ ...
ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งธรรมารมณ์ นี้
เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและ
มรณะ
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งรูป นี้
เป็นความดับแห่งทุกข์ เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชรา
และมรณะ
ความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งสัททะ ฯลฯ แห่งคันธะ ...
แห่งรส ... แห่งโผฏฐัพพะ ...
ความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งธรรมารมณ์ นี้เป็นความดับ
แห่งทุกข์ เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชราและมรณะ”๑

รูปสูตรที่ ๒ จบ

๓. วิญญาณสูตร
ว่าด้วยวิญญาณ

[๓๑๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ...
แห่งจักขุวิญญาณ ฯลฯ เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ ฯลฯ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๕. อุปปาทสังยุต] ๕. สัมผัสสชาสูตร

ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ... แห่งมโนวิญญาณ ฯลฯ เป็นความปรากฏ
แห่งชราและมรณะ
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนความดับ ... แห่งจักขุวิญญาณ ฯลฯ เป็นความตั้งอยู่
ไม่ได้แห่งชราและมรณะ ฯลฯ
ความดับ ... แห่งมโนวิญญาณ ฯลฯ เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชราและมรณะ”

วิญญาณสูตรที่ ๓ จบ

๔. สัมผัสสสูตร
ว่าด้วยสัมผัส

[๓๑๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ...
แห่งจักขุสัมผัส ฯลฯ เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ ฯลฯ
ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ... แห่งมโนสัมผัส ฯลฯ เป็นความปรากฏแห่ง
ชราและมรณะ
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนความดับ ... แห่งจักขุสัมผัส ฯลฯ เป็นความตั้งอยู่ไม่
ได้แห่งชราและมรณะ ฯลฯ
ความดับ ... แห่งมโนสัมผัส ... เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชราและมรณะ”

สัมผัสสสูตรที่ ๔ จบ

๕. สัมผัสสชาสูตร
ว่าด้วยสัมผัสสชาเวทนา

[๓๑๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ...
แห่งจักขุสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๕. อุปปาทสังยุต] ๖. สัญญาสูตร

ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งมโนสัมผัสสชา-
เวทนา นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏ
แห่งชราและมรณะ
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนความดับ ความสงบระงับ ... แห่งจักขุสัมผัสสชาเวทนา
ฯลฯ เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชราและมรณะ ฯลฯ
ความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งมโนสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ
นี้เป็นความดับแห่งทุกข์ เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชรา
และมรณะ”

สัมผัสสชาสูตรที่ ๕ จบ

๖. สัญญาสูตร
ว่าด้วยสัญญา

[๓๑๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ...
แห่งรูปสัญญา ฯลฯ เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ ฯลฯ
ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งธัมมสัญญา นี้
เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและ
มรณะ
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนความดับ ... แห่งรูปสัญญา ฯลฯ เป็นความตั้งอยู่ไม่
ได้แห่งชราและมรณะ ฯลฯ
ความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งธัมมสัญญา นี้เป็นความดับ
แห่งทุกข์ เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชราและมรณะ”

สัญญาสูตรที่ ๖ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๕. อุปปาทสังยุต]
๘. ตัณหาสูตร

๗. สัญเจตนาสูตร
ว่าด้วยสัญเจตนา

[๓๑๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ...
แห่งรูปสัญเจตนา ฯลฯ เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ ฯลฯ
ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งธัมมสัญเจตนา
นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและ
มรณะ
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนความดับ ... แห่งรูปสัญเจตนา ฯลฯ เป็นความตั้งอยู่
ไม่ได้แห่งชราและมรณะ ฯลฯ
ความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งธัมมสัญเจตนา นี้เป็นความ
ดับแห่งทุกข์ เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชราและมรณะ”

สัญเจตนาสูตรที่ ๗ จบ

๘. ตัณหาสูตร
ว่าด้วยตัณหา

[๓๑๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ...
แห่งรูปตัณหา ฯลฯ เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ ฯลฯ
ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งธัมมตัณหา นี้
เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและ
มรณะ
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนความดับ ... แห่งรูปตัณหา ฯลฯ เป็นความตั้งอยู่ไม่
ได้แห่งชราและมรณะ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๕. อุปปาทสังยุต] ๙. ธาตุสูตร

ความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งธัมมตัณหา นี้เป็นความดับ
แห่งทุกข์ เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชราและมรณะ”

ตัณหาสูตรที่ ๘ จบ

๙. ธาตุสูตร
ว่าด้วยธาตุ

[๓๒๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความ
บังเกิด ความปรากฏแห่งปฐวีธาตุ ฯลฯ เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ ...
แห่งอาโปธาตุ ฯลฯ แห่งเตโชธาตุ ... แห่งวาโยธาตุ ... แห่งอากาสธาตุ ...
ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งวิญญาณธาตุ นี้
เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและ
มรณะ
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนความดับ ... แห่งปฐวีธาตุ ฯลฯ เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้
แห่งชราและมรณะ
ความดับ ... แห่งอาโปธาตุ ฯลฯ
ความดับ ... แห่งเตโชธาตุ ...
ความดับ ... แห่งวาโยธาตุ ...
ความดับ ... แห่งอากาสธาตุ ...
ความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งวิญญาณธาตุ นี้เป็นความดับ
แห่งทุกข์ เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชราและมรณะ”

ธาตุสูตรที่ ๙ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๕. อุปปาทสังยุต] รวมพระสูตรที่มีในสังยุต

๑๐. ขันธสูตร
ว่าด้วยขันธ์

[๓๒๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความ
บังเกิด ความปรากฏแห่งรูป นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค
เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ
ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ... แห่งเวทนา ฯลฯ แห่งสัญญา ... แห่ง
สังขาร ...
ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งวิญญาณ นี้เป็น
ความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งรูป นี้
เป็นความดับแห่งทุกข์ เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชรา
และมรณะ
ความดับ ความสงบระงับ ... แห่งเวทนา ฯลฯ แห่งสัญญา ... แห่ง
สังขาร ...
ความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งวิญญาณ นี้เป็นความดับ
แห่งทุกข์ เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชราและมรณะ”

ขันธสูตรที่ ๑๐ จบ
อุปปาทสังยุต จบ

รวมพระสูตรที่มีในสังยุตนี้ คือ

๑. จักขุสูตร ๒. รูปสูตร
๓. วิญญาณสูตร ๔. สัมผัสสสูตร
๕. สัมผัสสชาสูตร ๖. สัญญาสูตร
๗. สัญเจตนาสูตร ๘. ตัณหาสูตร
๙. ธาตุสูตร ๑๐. ขันธสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๖. กิเลสสังยุต] ๑. จักขุสูตร

๖. กิเลสสังยุต
๑. จักขุสูตร
ว่าด้วยจักขุ

[๓๒๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ฉันทราคะในจักขุ นี้เป็นความ
เศร้าหมองแห่งจิต
ฉันทราคะในโสตะ นี้เป็นความเศร้าหมองแห่งจิต
ฉันทราคะในฆานะ นี้เป็นความเศร้าหมองแห่งจิต
ฉันทราคะในชิวหา นี้เป็นความเศร้าหมองแห่งจิต
ฉันทราคะในกาย นี้เป็นความเศร้าหมองแห่งจิต
ฉันทราคะในมโน นี้เป็นความเศร้าหมองแห่งจิต
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุละความเศร้าหมองแห่งจิตในฐานะ ๖ ประการนี้ได้
เมื่อนั้น จิตของเธอที่น้อมไปในเนกขัมมะ๑ อันเนกขัมมะอบรมแล้ว ควรแก่การงาน
ปรากฏในธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันรู้ยิ่ง”

จักขุสูตรที่ ๑ จบ

๒. รูปสูตร
ว่าด้วยรูป

[๓๒๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ฉันทราคะในรูป นี้เป็นความ
เศร้าหมองแห่งจิต


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๖. กิเลสสังยุต] ๓. วิญญาณสูตร

ฉันทราคะในสัททะ ฯลฯ
ฉันทราคะในคันธะ ...
ฉันทราคะในรส ...
ฉันทราคะในโผฏฐัพพะ ...
ฉันทราคะในธรรมารมณ์ นี้เป็นความเศร้าหมองแห่งจิต
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุละความเศร้าหมองแห่งจิตในฐานะ ๖ ประการนี้ได้
เมื่อนั้น จิตของเธอที่น้อมไปในเนกขัมมะ อันเนกขัมมะอบรมแล้ว ควรแก่การงาน
ปรากฏในธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันรู้ยิ่ง”

รูปสูตรที่ ๒ จบ

๓. วิญญาณสูตร
ว่าด้วยวิญญาณ

[๓๒๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ฉันทราคะในจักขุวิญญาณ นี้เป็น
ความเศร้าหมองแห่งจิต
ฉันทราคะในโสตวิญญาณ ฯลฯ
ฉันทราคะในฆานวิญญาณ ...
ฉันทราคะในชิวหาวิญญาณ ...
ฉันทราคะในกายวิญญาณ ...
ฉันทราคะในมโนวิญญาณ นี้เป็นความเศร้าหมองแห่งจิต
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุละความเศร้าหมองแห่งจิตในฐานะ ๖ ประการนี้ได้
เมื่อนั้น จิตของเธอที่น้อมไปในเนกขัมมะ อันเนกขัมมะอบรมแล้ว ควรแก่การงาน
ปรากฏในธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันรู้ยิ่ง”

วิญญาณสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๖. กิเลสสังยุต] ๕. สัมผัสสชาสูตร

๔. สัมผัสสสูตร
ว่าด้วยสัมผัส

[๓๒๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ฉันทราคะในจักขุสัมผัส นี้เป็น
ความเศร้าหมองแห่งจิต
ฉันทราคะในโสตสัมผัส ฯลฯ
ฉันทราคะในฆานสัมผัส ...
ฉันทราคะในชิวหาสัมผัส ...
ฉันทราคะในกายสัมผัส ...
ฉันทราคะในมโนสัมผัส นี้เป็นความเศร้าหมองแห่งจิต
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุ ฯลฯ ในธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันรู้ยิ่ง”

สัมผัสสสูตรที่ ๔ จบ

๕. สัมผัสสชาสูตร
ว่าด้วยสัมผัสสชาเวทนา

[๓๒๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ฉันทราคะในจักขุสัมผัสสชาเวทนา
นี้เป็นความเศร้าหมองแห่งจิต
ฉันทราคะในโสตสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ
ฉันทราคะในฆานสัมผัสสชาเวทนา ...
ฉันทราคะในชิวหาสัมผัสสชาเวทนา ...
ฉันทราคะในกายสัมผัสสชาเวทนา ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๖. กิเลสสังยุต] ๗. สัญเจตนาสูตร

ฉันทราคะในมโนสัมผัสสชาเวทนา นี้เป็นความเศร้าหมองแห่งจิต
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุ ฯลฯ ในธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันรู้ยิ่ง”

สัมผัสสชาสูตรที่ ๕ จบ

๖. สัญญาสูตร
ว่าด้วยสัญญา

[๓๒๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ฉันทราคะในรูปสัญญา นี้เป็นความ
เศร้าหมองแห่งจิต
ฉันทราคะในสัททสัญญา ฯลฯ
ฉันทราคะในคันธสัญญา ...
ฉันทราคะในรสสัญญา ...
ฉันทราคะในโผฏฐัพพสัญญา ...
ฉันทราคะในธัมมสัญญา นี้เป็นความเศร้าหมองแห่งจิต
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุ ฯลฯ ในธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันรู้ยิ่ง”

สัญญาสูตรที่ ๖ จบ

๗. สัญเจตนาสูตร
ว่าด้วยสัญเจตนา

[๓๒๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ฉันทราคะในรูปสัญเจตนา นี้เป็น
ความเศร้าหมองแห่งจิต
ฉันทราคะในสัททสัญเจตนา ฯลฯ
ฉันทราคะในคันธสัญเจตนา ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๖. กิเลสสังยุต] ๙. ธาตุสูตร

ฉันทราคะในรสสัญเจตนา ...
ฉันทราคะในโผฏฐัพพสัญเจตนา ...
ฉันทราคะในธัมมสัญเจตนา นี้เป็นความเศร้าหมองแห่งจิต
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุ ฯลฯ ในธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันรู้ยิ่ง”

สัญเจตนาสูตรที่ ๗ จบ

๘. ตัณหาสูตร
ว่าด้วยตัณหา

[๓๒๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ฉันทราคะในรูปตัณหา นี้เป็นความ
เศร้าหมองแห่งจิต
ฉันทราคะในสัททตัณหา ฯลฯ
ฉันทราคะในคันธตัณหา ...
ฉันทราคะในรสตัณหา ...
ฉันทราคะในโผฏฐัพพตัณหา ...
ฉันทราคะในธัมมตัณหา นี้เป็นความเศร้าหมองแห่งจิต
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุ ฯลฯ ในธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันรู้ยิ่ง”

ตัณหาสูตรที่ ๘ จบ

๙. ธาตุสูตร
ว่าด้วยธาตุ

[๓๓๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ฉันทราคะในปฐวีธาตุ นี้เป็นความ
เศร้าหมองแห่งจิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๖. กิเลสสังยุต] ๑๐. ขันธสูตร

ฉันทราคะในอาโปธาตุ ฯลฯ
ฉันทราคะในเตโชธาตุ ...
ฉันทราคะในวาโยธาตุ ...
ฉันทราคะในอากาสธาตุ ...
ฉันทราคะในวิญญาณธาตุ นี้เป็นความเศร้าหมองแห่งจิต
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุละความเศร้าหมองแห่งจิตในฐานะ ๖ ประการนี้ได้
เมื่อนั้น จิตของเธอที่น้อมไปในเนกขัมมะ อันเนกขัมมะอบรมแล้ว ควรแก่การงาน
ปรากฏในธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันรู้ยิ่ง”

ธาตุสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ขันธสูตร
ว่าด้วยขันธ์

[๓๓๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ฉันทราคะในรูป นี้เป็นความ
เศร้าหมองแห่งจิต ฯลฯ
ฉันทราคะในวิญญาณ นี้เป็นความเศร้าหมองแห่งจิต
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุละความเศร้าหมองแห่งจิตในฐานะ ๖ ประการนี้ได้
เมื่อนั้น จิตของเธอที่น้อมไปในเนกขัมมะ อันเนกขัมมะอบรมแล้ว ควรแก่การงาน
ปรากฏในธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันรู้ยิ่ง”

ขันธสูตรที่ ๑๐ จบ
กิเลสสังยุต จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๖. กิเลสสังยุต] รวมพระสูตรที่มีในสังยุต

รวมพระสูตรที่มีในสังยุตนี้ คือ

๑. จักขุสูตร ๒. รูปสูตร
๓. วิญญาณสูตร ๔. สัมผัสสสูตร
๕. สัมผัสสชาสูตร ๖. สัญญาสูตร
๗. สัญเจตนาสูตร ๘. ตัณหาสูตร
๙. ธาตุสูตร ๑๐. ขันธสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [ ๗. สารีปุตตสังยุต] ๑. วิเวกชสูตร

๗. สารีปุตตสังยุต
๑. วิเวกชสูตร
ว่าด้วยปฐมฌานมีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก

[๓๓๒] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้นในเวลาเช้า ท่านพระสารีบุตรครอง
อันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี กลับจากบิณฑบาต
ภายหลังฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว เข้าไปยังป่าอันธวันเพื่อพักกลางวัน ถึงป่าอันธวัน
แล้วนั่งพักอยู่ที่โคนไม้แห่งหนึ่ง
ต่อมาเวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่หลีกเร้นแล้ว เข้าไปยังพระเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ท่านพระอานนท์ได้เห็นท่านพระสารีบุตรกำลังเดิน
มาแต่ไกลจึงถามว่า “ท่านสารีบุตร อินทรีย์ของท่านผ่องใสยิ่งนัก สีหน้า
ก็บริสุทธิ์ผุดผ่อง วันนี้ ท่านสารีบุตรอยู่ด้วยวิหารธรรมอะไร”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ วันนี้ ผมสงัดจากกาม และอกุศล-
ธรรมทั้งหลายแล้วเข้าปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่‘๑
ผมนั้นไม่ได้คิดว่า ‘เราเข้าปฐมฌานอยู่ หรือเข้าปฐมฌานแล้ว หรือออกจาก
ปฐมฌานแล้ว”
อันที่จริง ท่านพระสารีบุตรถอนอหังการ มมังการ และมานานุสัยออกได้
นานแล้ว ฉะนั้น ท่านพระสารีบุตรจึงไม่คิดว่า “เราเข้าปฐมฌานอยู่ หรือเข้า
ปฐมฌานแล้ว หรือออกจากปฐมฌานแล้ว”

วิเวกชสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๗. สารีปุตตสังยุต] ๓. ปีติสูตร

๒. อวิตักกสูตร
ว่าด้วยทุติยฌานไม่มีวิตก

[๓๓๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ท่านพระอานนท์ได้เห็น ฯลฯ จึงถามว่า “ท่านสารีบุตร อินทรีย์ของท่าน
ผ่องใสยิ่งนัก สีหน้าก็บริสุทธิ์ผุดผ่อง วันนี้ ท่านสารีบุตรอยู่ด้วยวิหารธรรมอะไร”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป วันนี้
ผมเข้าทุติยฌานมีความผ่องใสในจิตภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น๑ ไม่มีวิตก
ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขเกิดจากสมาธิอยู่‘๒ ผมนั้นไม่ได้คิดว่า ‘เราเข้าทุติยฌานอยู่
หรือเข้าทุติยฌานแล้ว หรือออกจากทุติยฌานแล้ว”
อันที่จริง ท่านพระสารีบุตรถอนอหังการ มมังการ และมานานุสัยออกได้
นานแล้ว ฉะนั้น ท่านจึงไม่คิดว่า “เราเข้าทุติยฌานอยู่ หรือเข้าทุติยฌานแล้ว
หรือออกจากทุติยฌานแล้ว”

อวิตักกสูตรที่ ๒ จบ

๓. ปีติสูตร
ว่าด้วยตติยฌานที่มีปีติ

[๓๓๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ท่านพระอานนท์ได้เห็น ฯลฯ จึงถามว่า “ท่านสารีบุตร อินทรีย์ของท่าน
ผ่องใสยิ่งนัก สีหน้าบริสุทธิ์ผุดผ่อง วันนี้ ท่านสารีบุตรอยู่ด้วยวิหารธรรมอะไร”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๗. สารีปุตตสังยุต] ๔. อุเปกขาสูตร

ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ เพราะปีติจางคลายไป วันนี้ ผมมี
อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกายอยู่ เข้าตติยฌานที่พระอริยะ
ทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข‘๑ ผมนั้นไม่ได้คิดว่า ‘เราเข้า
ตติยฌานอยู่ หรือเข้าตติยฌานแล้ว หรือออกจากตติยฌานแล้ว”
อันที่จริง ท่านพระสารีบุตรถอนอหังการ มมังการ และมานานุสัยออกได้
นานแล้ว ฉะนั้น ท่านจึงไม่คิดว่า “เราเข้าตติยฌานอยู่ หรือเข้าตติยฌานแล้ว
หรือออกจากตติยฌานแล้ว”

ปีติสูตรที่ ๓ จบ

๔. อุเปกขาสูตร
ว่าด้วยจตุตถฌานที่มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา

[๓๓๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ท่านพระอานนท์ได้เห็น ฯลฯ จึงถามว่า “ท่านสารีบุตร อินทรีย์ของท่าน
ผ่องใสยิ่งนัก สีหน้าก็บริสุทธิ์ผุดผ่อง วันนี้ ท่านสารีบุตรอยู่ด้วยวิหารธรรมอะไร”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะ
โสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว วันนี้ ผมเข้าจตุตถฌานไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่๒ ผมนั้นไม่ได้คิดว่า ‘เราเข้าจตุตถฌานอยู่ หรือเข้า
จตุตถฌานแล้ว หรือออกจากจตุตถฌานแล้ว”
อันที่จริง ท่านพระสารีบุตรถอนอหังการ มมังการ และมานานุสัยออกได้
นานแล้ว ฉะนั้น ท่านจึงไม่คิดว่า “เราเข้าจตุตถฌานอยู่ หรือเข้าจตุตถฌานแล้ว
หรือออกจากจตุตถฌานแล้ว”

อุเปกขาสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๗. สารีปุตตสังยุต]
๗. อากิญจัญญายตนสูตร

๕. อากาสานัญจายตนสูตร
ว่าด้วยอากาสานัญจายตนฌาน

[๓๓๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ท่านพระอานนท์ได้เห็น ฯลฯ
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ วันนี้ ผมเข้าอากาสานัญจายตนฌาน
(ฌานอันกำหนดอากาศคือช่องว่างหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์) อยู่โดยกำหนดว่า
‘อากาศหาที่สุดมิได้’ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญา
โดยประการทั้งปวงอยู่๑ ฯลฯ หรือออกจากอากาสานัญจายตนฌานแล้ว”

อากาสานัญจายตนสูตรที่ ๕ จบ

๖. วิญญาณัญจายตนสูตร
ว่าด้วยวิญญาณัญจายตนฌาน

[๓๓๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ท่านพระอานนท์ได้เห็น ฯลฯ
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ วันนี้ ผมล่วงอากาสานัญจายตน-
ฌานโดยประการทั้งปวงเข้าวิญญาณัญจายตนฌาน (ฌานอันกำหนดวิญญาณหา
ที่สุดมิได้เป็นอารมณ์) โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้‘๒ ฯลฯ หรือออก
จากวิญญาณัญจายตนฌานแล้ว”

วิญญาณัญจายตนสูตรที่ ๖ จบ

๗. อากิญจัญญายตนสูตร
ว่าด้วยอากิญจัญญายตนฌาน

[๓๓๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตร ฯลฯ ได้ตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ วันนี้ ผมล่วง
วิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวงเข้าอากิญจัญญายตนฌาน (ฌานอัน


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๗. สารีปุตตสังยุต] ๙. นิโรธสมาปัตติสูตร

กำหนดภาวะที่ไม่มีอะไร ๆ เป็นอารมณ์) โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร‘๑ ฯลฯ หรือ
ออกจากอากิญจัญญายตนฌานแล้ว”

อากิญจัญญายตนสูตรที่ ๗ จบ

๘. เนวสัญญานาสัญญายตนสูตร
ว่าด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน

[๓๓๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตร ฯลฯ ได้ตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ วันนี้ ผมล่วง
วิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวงเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน (ฌาน
อันเข้าถึงภาวะมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่)๒ ฯลฯ หรือออกจากเนวสัญญา-
นาสัญญายตนฌานแล้ว”

เนวสัญญานาสัญญายตนสูตรที่ ๘ จบ

๙. นิโรธสมาปัตติสูตร
ว่าด้วยนิโรธสมาบัติ

[๓๔๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้นในเวลาเช้า ท่านพระสารีบุตรครอง
อันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี กลับจากบิณฑบาต
ภายหลังฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว เข้าไปยังป่าอันธวันเพื่อพักกลางวัน ถึงป่าอันธวัน
แล้วนั่งพักอยู่ที่โคนไม้แห่งหนึ่ง
ต่อมาเวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่หลีกเร้นแล้วเข้าไปยังพระเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ท่านพระอานนท์ได้เห็นท่านพระสารีบุตรกำลังเดิน
มาแต่ไกลจึงถามว่า “ท่านสารีบุตร อินทรีย์ของท่านผ่องใสยิ่งนัก สีหน้าก็บริสุทธิ์
ผุดผ่อง วันนี้ ท่านสารีบุตรอยู่ด้วยวิหารธรรมอะไร”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๗. สารีปุตตสังยุต] ๑๐. สุจิมุขีสูตร

ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ วันนี้ ผมล่วงเนวสัญญานาสัญญา-
ยตนฌานโดยประการทั้งปวงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ (สมาบัติที่ดับสัญญาและเวทนา)
อยู่ ผมนั้นไม่ได้คิดว่า ‘เราเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ หรือเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธแล้ว
หรือว่าออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธแล้ว”
อันที่จริง ท่านพระสารีบุตรถอนอหังการ มมังการ และมานานุสัยออกได้
นานแล้ว ฉะนั้น ท่านจึงไม่คิดว่า “เราเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ หรือเข้าสัญญา-
เวทยิตนิโรธแล้ว หรือออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธแล้ว”

นิโรธสมาปัตติสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. สุจิมุขีสูตร
ว่าด้วยสุจิมุขีปริพาชิกา

[๓๔๑] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้
เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้นในเวลาเช้า ท่านพระสารีบุตรครองอันตรวาสก
ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์ อาศัยเชิงฝาแห่งหนึ่งฉันบิณฑบาต
นั้น ครั้งนั้น ปริพาชิกาชื่อสุจิมุขี เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ แล้วได้ถามว่า
“สมณะ ทำไมท่านจึงก้มหน้าฉันเล่า”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “น้องหญิง เรามิได้ก้มหน้าฉัน”
“สมณะ ถ้าอย่างนั้น ท่านเงยหน้าฉันหรือ”
“น้องหญิง เรามิได้เงยหน้าฉัน”
“สมณะ ถ้าอย่างนั้น ท่านมองดูทิศใหญ่ฉันหรือ”
“น้องหญิง เรามิได้มองดูทิศใหญ่ฉัน”
“สมณะ ถ้าอย่างนั้น ท่านมองดูทิศน้อยฉันหรือ”
“น้องหญิง เรามิได้มองดูทิศน้อยฉัน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๗. สารีปุตตสังยุต] ๑๐. สุจิมุขีสูตร

“ดิฉันถามว่า ‘สมณะ ทำไมท่านจึงก้มหน้าฉันเล่า’ ท่านก็ตอบว่า ‘เรามิได้
ก้มหน้าฉัน’
ดิฉันถามว่า ‘ถ้าอย่างนั้น ท่านเงยหน้าฉันหรือ’ ท่านก็ตอบว่า ‘เรามิได้เงย
หน้าฉัน’
ดิฉันถามว่า ‘ถ้าอย่างนั้น ท่านมองดูทิศใหญ่ฉันหรือ’ ท่านก็ตอบว่า ‘เรา
มิได้มองดูทิศใหญ่ฉัน’
ดิฉันถามว่า ‘ถ้าอย่างนั้น ท่านมองดูทิศน้อยฉันหรือ’ ท่านก็ตอบว่า ‘เรา
มิได้มองดูทิศน้อยฉัน’
สมณะ ก็บัดนี้ ท่านฉันอย่างไรเล่า”
“น้องหญิง ก็สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งเลี้ยงชีวิตด้วยมิจฉาชีพเพราะ
ดิรัจฉานวิชา๑ คือวิชาดูพื้นที่๒ สมณพราหมณ์เหล่านี้ เรียกได้ว่า ก้มหน้าฉัน
สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งเลี้ยงชีวิตด้วยมิจฉาชีพเพราะเดรัจฉานวิชา
คือ วิชาดูดาวดูฤกษ์ สมณพราหมณ์เหล่านี้ เรียกได้ว่า เงยหน้าฉัน
สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งเลี้ยงชีวิตด้วยมิจฉาชีพเพราะทำหน้าที่เป็น
ตัวแทนและผู้สื่อสาร สมณพราหมณ์เหล่านี้ เรียกได้ว่า มองดูทิศใหญ่ฉัน
สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งเลี้ยงชีวิตด้วยมิจฉาชีพเพราะเดรัจฉานวิชา
คือวิชาดูอวัยวะ สมณพราหมณ์เหล่านี้ เรียกได้ว่า มองดูทิศน้อยฉัน
น้องหญิง เรานั้นมิได้เลี้ยงชีวิตด้วยมิจฉาชีพเพราะเดรัจฉานวิชาคือวิชาดู
พื้นที่ มิได้เลี้ยงชีวิตด้วยมิจฉาชีพเพราะเดรัจฉานวิชาคือวิชาดูดาวดูฤกษ์ มิได้เลี้ยง
ชีวิตด้วยมิจฉาชีพเพราะทำหน้าที่เป็นตัวแทนและผู้สื่อสาร มิได้เลี้ยงชีวิตด้วย
มิจฉาชีพเพราะเดรัจฉานวิชาคือวิชาดูอวัยวะ (แต่)เราแสวงหาภิกษาโดยชอบธรรม
แล้วจึงฉัน”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๗. สารีปุตตสังยุต]
รวมพระสูตรที่มีในสังยุต

ลำดับนั้น สุจิมุขีปริพาชิกาเข้าไปในกรุงราชคฤห์แล้ว ประกาศตามถนนสาย
หนึ่งไปยังอีกสายหนึ่ง ตามตรอกหนึ่งไปยังอีกตรอกหนึ่งอย่างนี้ว่า “ท่าน
สมณศากยบุตรทั้งหลายฉันอาหารที่ได้มาโดยชอบธรรม ไม่มีโทษ ขอเชิญท่าน
ทั้งหลายถวายบิณฑบาตแก่สมณศากยบุตรทั้งหลายเถิด”

สุจิมุขีสูตรที่ ๑๐ จบ
สารีปุตตสังยุต จบ

รวมพระสูตรที่มีในสังยุตนี้ คือ

๑. วิเวกชสูตร ๒. อวิตักกสูตร
๓. ปีติสูตร ๔. อุเปกขาสูตร
๕. อากาสานัญจายตนสูตร ๖. วิญญาณัญจายตนสูตร
๗. อากิญจัญญายตนสูตร ๘. เนวสัญญานาสัญญายตนสูตร
๙. นิโรธสมาปัตติสูตร ๑๐. สุจิมุขีสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๘. นาคสังยุต] ๒.ปณีตตรสูตร

๘. นาคสังยุต
๑. สุทธิกสูตร
ว่าด้วยกำเนิดนาคล้วน ๆ

[๓๔๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย กำเนิดของนาค ๔ ประเภทนี้
กำเนิดของนาค ๔ ประเภท อะไรบ้าง คือ
๑. นาคที่เป็นอัณฑชะ (เกิดในไข่)
๒. นาคที่เป็นชลาพุชะ (เกิดในครรภ์)
๓. นาคที่เป็นสังเสทชะ (เกิดในเถ้าไคลหรือที่ชื้นแฉะ)
๔. นาคที่เป็นโอปปาติกะ (เกิดผุดขึ้น)
ภิกษุทั้งหลาย กำเนิดของนาค ๔ ประเภทนี้”

สุทธิกสูตรที่ ๑ จบ

๒. ปณีตตรสูตร
ว่าด้วยกำเนิดนาคที่ประณีตกว่ากัน

[๓๔๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย กำเนิดของนาค ๔ ประเภทนี้
กำเนิดของนาค ๔ ประเภท อะไรบ้าง คือ
๑. นาคที่เป็นอัณฑชะ ๒. นาคที่เป็นชลาพุชะ
๓. นาคที่เป็นสังเสทชะ ๔. นาคที่เป็นโอปปาติกะ
ในนาค ๔ ประเภทนั้น นาคที่เป็นชลาพุชะ สังเสทชะ และโอปปาติกะ
ประณีตกว่านาคที่เป็นอัณฑชะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๘. นาคสังยุต] ๓. อุโปสถสูตร

นาคที่เป็นสังเสทชะ และโอปปาติกะ ประณีตกว่านาคที่เป็นอัณฑชะและ
ชลาพุชะ
นาคที่เป็นโอปปาติกะประณีตกว่านาคที่เป็นอัณฑชะ ชลาพุชะ และสังเสทชะ
ภิกษุทั้งหลาย กำเนิดของนาค ๔ ประเภทนี้”

ปณีตตรสูตรที่ ๒ จบ

๓. อุโปสถสูตร
ว่าด้วยอุโบสถ

[๓๔๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้นาคที่เป็นอัณฑชะบางพวก
ในโลกนี้รักษาอุโบสถและสละกายได้”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ นาคที่เป็นอัณฑชะบางพวกในโลกนี้มี
ความคิดอย่างนี้ว่า ‘เมื่อก่อน พวกเราได้เป็นผู้มีปกติกระทำกรรมทั้ง ๒ (๑) ด้วยกาย
วาจา และใจ พวกเรานั้นมีปกติกระทำกรรมทั้ง ๒ ด้วยกาย วาจา และใจ
หลังจากตายแล้วจึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกนาคที่เป็นอัณฑชะ ถ้าวันนี้
พวกเราพึงประพฤติสุจริตด้วยกาย วาจา และใจ เมื่อทำได้อย่างนี้ พวกเราหลัง
จากตายแล้วก็จะพึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เชิญพวกเราประพฤติสุจริตด้วยกาย วาจา
และใจในบัดนี้เถิด’
ภิกษุ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้นาคที่เป็นอัณฑชะบางพวกในโลกนี้รักษา
อุโบสถและสละกายได้”

อุโปสถสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๘. นาคสังยุต] ๕. ตติยอุโปสถสูตร

๔. ทุติยอุโปสถสูตร
ว่าด้วยอุโบสถ สูตรที่ ๒

[๓๔๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง ณ
ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ
เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้นาคที่เป็นชลาพุชะบางพวกในโลกนี้รักษาอุโบสถและสละกายได้
(พึงขยายข้อความที่เหลือทั้งหมดให้พิสดาร)
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้นาคที่เป็น
ชลาพุชะบางพวกในโลกนี้รักษาอุโบสถและสละกายได้”

ทุติยอุโปสถสูตรที่ ๔ จบ

๕. ตติยอุโปสถสูตร
ว่าด้วยอุโบสถ สูตรที่ ๓

[๓๔๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุนั้น นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้นาคที่เป็นสังเสทชะบางพวกใน
โลกนี้รักษาอุโบสถและสละกายได้ (พึงขยายข้อความที่เหลือทั้งหมดให้พิสดาร)
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้นาคที่เป็น
สังเสทชะบางพวกในโลกนี้รักษาอุโบสถและสละกายได้”

ตติยอุโปสถสูตรที่ ๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๘. นาคสังยุต] ๗. สุตสูตร

๖. จตุตถอุโปสถสูตร
ว่าด้วยอุโบสถ สูตรที่ ๔

[๓๔๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุนั้น นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระ
องค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้นาคที่เป็นโอปปาติกะบางพวกในโลก
นี้รักษาอุโบสถและสละกายได้”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ นาคที่เป็นโอปปาติกะบางพวกในโลกนี้มี
ความคิดอย่างนี้ว่า ‘เมื่อก่อน พวกเราได้เป็นผู้มีปกติกระทำกรรมทั้ง ๒ ด้วยกาย
วาจา และใจ พวกเรานั้นมีปกติกระทำกรรมทั้ง ๒ ด้วยกาย วาจา และใจ
หลังจากตายแล้วจึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกนาคที่เป็นโอปปาติกะ ถ้าวันนี้
พวกเราพึงประพฤติสุจริตด้วยกาย วาจา และใจ เมื่อทำได้อย่างนี้ หลังจากตายแล้ว
พวกเราก็จะพึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เชิญพวกเราประพฤติสุจริตด้วยกาย วาจา
และใจในบัดนี้เถิด’
ภิกษุ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้นาคที่เป็นโอปปาติกะบางพวกในโลกนี้
รักษาอุโบสถและสละกายได้”

จตุตถอุโปสถสูตรที่ ๖ จบ

๗. สุตสูตร
ว่าด้วยเรื่องที่ได้ฟังมา

[๓๔๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุนั้น นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจาก
ตายแล้วจะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกนาคที่เป็นอัณฑชะ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๘. นาคสังยุต] ๙. ตติยสุตสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีปกติ
กระทำกรรมทั้ง ๒ ด้วยกาย วาจา และใจ เขาได้ฟังมาว่า ‘พวกนาคที่เป็น
อัณฑชะมีอายุยืน มีผิวพรรณงาม มีความสุขมาก’ จึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า
‘ไฉนหนอ หลังจากตายแล้วขอเราพึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกนาคที่เป็น
อัณฑชะ’ หลังจากตายแล้วจึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกนาคที่เป็นอัณฑชะ’
ภิกษุ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจะ
เข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกนาคที่เป็นอัณฑชะ”

สุตสูตรที่ ๗ จบ

๘. ทุติยสุตสูตร
ว่าด้วยเรื่องที่ได้ฟังมา สูตรที่ ๒

[๓๔๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุนั้น นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระ
องค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจากตาย
แล้วจะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกนาคที่เป็นชลาพุชะ ฯลฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคน
ในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกนาคที่เป็นชลาพุชะ”

ทุติยสุตสูตรที่ ๘ จบ

๙. ตติยสุตสูตร
ว่าด้วยเรื่องที่ได้ฟังมา สูตรที่ ๓

[๓๕๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุนั้น นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจาก
ตายแล้วจะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกนาคที่เป็นสังเสทชะ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๘. นาคสังยุต]
๑๑-๒๐. อัณฑชาทานูปการสุตตทสกะ

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคน
ในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกนาคที่เป็นสังเสทชะ”

ตติยสุตสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. จตุตถสุตสูตร
ว่าด้วยเรื่องที่ได้ฟังมา สูตรที่ ๔

[๓๕๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุนั้น นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระ
องค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจากตาย
แล้วจะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกนาคที่เป็นโอปปาติกะ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีปกติ
กระทำกรรมทั้ง ๒ ด้วยกาย วาจา และใจ เขาได้ฟังมาว่า ‘พวกนาคที่เป็น
โอปปาติกะ มีอายุยืน มีผิวพรรณงาม มีความสุขมาก’ จึงมีความปรารถนา
อย่างนี้ว่า ‘ไฉนหนอ หลังจากตายแล้วขอเราพึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวก
นาคที่เป็นโอปปาติกะ’ หลังจากตายแล้วจึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกนาคที่
เป็นโอปปาติกะ
ภิกษุ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจะ
เข้าถึงการอยู่ร่วมกับพวกนาคที่เป็นโอปปาติกะ”

จตุตถสุตสูตรที่ ๑๐ จบ

๑๑-๒๐. อัณฑชทานูปการสุตตทสกะ
ว่าด้วยความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกนาคที่เป็นอัณฑชะ ๑๐ สูตร

[๓๕๒-๓๖๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุนั้น นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระ
องค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจากตาย
แล้วจะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกนาคที่เป็นอัณฑชะ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๘. นาคสังยุต]
๒๑-๕๐. ชลาพุชาทิทานูปการสุตตติงสกะ

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีปกติ
กระทำกรรมทั้ง ๒ ด้วยกาย วาจา และใจ เขาได้ฟังมาว่า ‘พวกนาคที่เป็น
อัณฑชะมีอายุยืน มีผิวพรรณงาม มีความสุขมาก’ จึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า
‘ไฉนหนอ หลังจากตายแล้วขอเราพึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกนาคที่เป็น
อัณฑชะ’ จึงให้ข้าว หลังจากตายแล้วจึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกนาคที่
เป็นอัณฑชะ
ภิกษุ นี้แล เป็นเหตุ ฯลฯ จะเข้าถึง ฯลฯ จึงให้น้ำ ... ให้ผ้า ... ให้ยาน
... ให้ดอกไม้ ... ให้ของหอม ... ให้เครื่องลูบไล้ ... ให้ที่นอน ... ให้ที่พัก ...
ให้เครื่องประทีป หลังจากตายแล้วจึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกนาคที่เป็น
อัณฑชะ
ภิกษุ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจากตายแล้ว
เข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกนาคที่เป็นอัณฑชะ”

อัณฑชทานูปการสุตตทสกะที่ ๑๑-๒๐ จบ

๒๑-๕๐. ชลาพุชาทิทานูปการสุตตติงสกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๓๐ สูตร มีชลาพุชทานูปการสูตรเป็นต้น

[๓๖๒-๓๙๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุนั้น นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระ
องค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจากตาย
แล้วจะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกนาคที่เป็นชลาพุชะ ฯลฯ พวกนาคที่เป็น
สังเสทชะ ... จะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกนาคที่เป็นโอปปาติกะ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีปกติ
กระทำกรรมทั้ง ๒ ด้วยกาย วาจา และใจ เขาได้ฟังมาว่า ‘พวกนาคที่เป็น
โอปปาติกะมีอายุยืน มีผิวพรรณงาม มีความสุขมาก’ จึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า
‘ไฉนหนอ หลังจากตายแล้วขอเราพึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกนาคที่เป็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๘. นาคสังยุต] รวมพระสูตรที่มีในสังยุต

โอปปาติกะ’ จึงให้ข้าว ฯลฯ ให้น้ำ ... ให้ผ้า ... ให้ยาน ... ให้ดอกไม้ ... ให้ของหอม
... ให้เครื่องลูบไล้ ... ให้ที่นอน ... ให้ที่พัก ... ให้เครื่องประทีป หลังจาก
ตายแล้วจึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกนาคที่เป็นโอปปาติกะ”
ภิกษุ นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะเข้า
ถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกนาคที่เป็นโอปปาติกะ
(พึงเพิ่มสูตรคราวละ ๑๐ สูตร ที่ละไว้นี้เข้ามาให้เต็ม การตอบปัญหาทั้ง ๔๐
ในกำเนิด ๔ ก็พึงเพิ่มเข้ามาให้เต็มอย่างนี้ เมื่อรวมพระสูตรทั้ง ๑๐ กับสูตร
ก่อน ๆ เข้าด้วยกันจึงมี ๕๐ สูตร)

ชลาพุชาทิทานูปการสุตตติงสกะที่ ๒๑-๕๐ จบ
นาคสังยุต จบ

รวมพระสูตรที่มีในสังยุตนี้ คือ

๑. สุทธิกสูตร ๒. ปณีตตรสูตร
๓. อุโปสถสูตร ๔. ทุติยอุโปสถสูตร
๕. ตติยอุโปสถสูตร ๖. จตุตถอุโปสถสูตร
๗. สุตสูตร ๘. ทุติยสุตสูตร
๙. ตติยสุตสูตร ๑๐. จตุตถสุตสูตร
๑๑-๒๐. อัณฑชทานูปการสุตตทสกะ
๒๑-๕๐. ชลาพุชาทิทานูปการสุตตติงสกะ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๙. สุปัณณสังยุต] ๑. สุทธิกสูตร

๙. สุปัณณสังยุต
๑. สุทธิกสูตร
ว่าด้วยกำเนิดครุฑล้วน ๆ

[๓๙๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย กำเนิดของครุฑ ๔ ประเภทนี้
กำเนิดของครุฑ ๔ ประเภท อะไรบ้าง คือ
๑. ครุฑที่เป็นอัณฑชะ (เกิดในไข่)
๒. ครุฑที่เป็นชลาพุชะ (เกิดในครรภ์)
๓. ครุฑที่เป็นสังเสทชะ (เกิดในเถ้าไคลหรือที่ชื้นแฉะ)
๔. ครุฑที่เป็นโอปปาติกะ (เกิดผุดขึ้น)
ภิกษุทั้งหลาย กำเนิดของครุฑ ๔ ประเภทนี้”

สุทธิกสูตรที่ ๑ จบ

๒. หรันติสูตร
ว่าด้วยครุฑฉุดนาค

[๓๙๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย กำเนิดของครุฑ ๔ ประเภทนี้
กำเนิดของครุฑ ๔ ประเภท อะไรบ้าง คือ
๑. ครุฑที่เป็นอัณฑชะ ๒. ครุฑที่เป็นชลาพุชะ
๓. ครุฑที่เป็นสังเสทชะ ๔. ครุฑที่เป็นโอปปาติกะ
ภิกษุทั้งหลาย กำเนิดของครุฑ ๔ ประเภทนี้
ในครุฑ ๔ จำพวกนั้น ครุฑที่เป็นอัณฑชะ นำนาคที่เป็นอัณฑชะไปได้ แต่
นำนาคที่เป็นชลาพุชะ สังเสทชะ และโอปปาติกะไปไม่ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๙. สุปัณณสังยุต] ๓. ทวยการีสูตร

ครุฑที่เป็นชลาพุชะ นำนาคที่เป็นอัณฑชะ และชลาพุชะไปได้ แต่นำนาคที่
เป็นสังเสทชะ และโอปปาติกะไปไม่ได้
ครุฑที่เป็นสังเสทชะ นำนาคที่เป็นอัณฑชะ ชลาพุชะ และสังเสทชะไปได้
แต่นำนาคที่เป็นโอปปาติกะไปไม่ได้
ส่วนครุฑที่เป็นโอปปาติกะ นำนาคที่เป็นอัณฑชะ ชลาพุชะ สังเสทชะ และ
โอปปาติกะไปได้
ภิกษุทั้งหลาย กำเนิดของครุฑ ๔ ประเภทนี้”

หรันติสูตรที่ ๒ จบ

๓. ทวยการีสูตร
ว่าด้วยผู้มีปกติกระทำกรรมทั้ง ๒

[๓๙๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ
ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ
เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจะเข้าถึงความเป็นผู้
อยู่ร่วมกับพวกครุฑที่เป็นอัณฑชะ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีปกติ
กระทำกรรมทั้ง ๒ ด้วยกาย วาจา และใจ เขาได้ฟังมาว่า ‘พวกครุฑที่เป็น
อัณฑชะมีอายุยืน มีผิวพรรณงาม มีความสุขมาก’ จึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า
‘ไฉนหนอ หลังจากตายแล้วขอเราพึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกครุฑที่เป็น
อัณฑชะ’ หลังจากตายแล้วจึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกครุฑที่เป็นอัณฑชะ
ภิกษุ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจะ
เข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกครุฑที่เป็นอัณฑชะ”

ทวยการีสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๙. สุปัณณสังยุต]
๑๗-๔๖. ชลาพุชทานูปการสูตร

๔-๖. ทุติยาทิทวยการีสุตตัตติกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๓ สูตร มีทุติยทวยการีสูตรเป็นต้น

[๓๙๕-๓๙๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุนั้น นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระ
องค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจากตาย
แล้วจะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกครุฑที่เป็นชลาพุชะ ฯลฯ พวกครุฑที่เป็น
สังเสทชะ ฯลฯ จะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกครุฑที่เป็นโอปปาติกะ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีปกติ
กระทำกรรมทั้ง ๒ ด้วยกาย วาจา และใจ เขาได้ฟังมาว่า ‘พวกครุฑที่เป็น
โอปปาติกะมีอายุยืน มีผิวพรรณงาม มีความสุขมาก’ จึงมีความปรารถนาว่า
‘ไฉนหนอ หลังจากตายแล้วขอเราพึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกครุฑที่เป็น
โอปปาติกะ’ หลังจากตายแล้วจึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกครุฑที่เป็น
โอปปาติกะ
ภิกษุ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจะ
เข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกครุฑที่เป็นโอปปาติกะ”

ทุติยาทิทวยการีสุตตัตติกะที่ ๔-๖ จบ

๗-๑๖. อัณฑชทานูปการสุตตทสกะ
ว่าด้วยความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกครุฑที่เป็นอัณฑชะ ๑๐ สูตร

[๓๙๘-๔๐๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุนั้น นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจาก
ตายแล้วจะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกครุฑที่เป็นอัณฑชะ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๙. สุปัณณสังยุต]
๑๗-๔๖. ชลาพุชทานูปการสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีปกติ
กระทำกรรมทั้ง ๒ ด้วยกาย วาจา และใจ เขาได้ฟังมาว่า ‘พวกครุฑที่เป็น
อัณฑชะมีอายุยืน มีผิวพรรณงาม มีความสุขมาก’ จึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า
‘ไฉนหนอ หลังจากตายแล้วขอเราพึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกครุฑที่เป็น
อัณฑชะ’ จึงให้ข้าว ฯลฯ ให้น้ำ ... ให้ผ้า ... ให้ยาน ... ให้ดอกไม้ ... ให้ของหอม
... ให้เครื่องลูบไล้ ... ให้ที่นอน ... ให้ที่พัก ... ให้เครื่องประทีป หลังจาก
ตายแล้วจึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกครุฑที่เป็นอัณฑชะ
ภิกษุ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจะ
เข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกครุฑที่เป็นอัณฑชะ”

อัณฑชทานูปการสุตตทสกะที่ ๗-๑๖ จบ

๑๗-๔๖. ชลาพุชทานูปการสูตร
ว่าด้วยความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกครุฑที่เป็นชลาพุชะ

[๔๐๘-๔๓๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุนั้น นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจาก
ตายแล้วจะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกครุฑที่เป็นชลาพุชะ ฯลฯ พวกครุฑที่
เป็นสังเสทชะ ฯลฯ จะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกครุฑที่เป็นโอปปาติกะ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีปกติกระทำ
กรรมทั้ง ๒ ด้วยกาย วาจา และใจ เขาได้ฟังมาว่า ‘พวกครุฑที่เป็นโอปปาติกะมี
อายุยืน มีผิวพรรณงาม มีความสุขมาก’ จึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘ไฉนหนอ
หลังจากตายแล้วขอเราพึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกครุฑที่เป็นโอปปาติกะ’
จึงให้ข้าว ฯลฯ ให้น้ำ ... ให้ผ้า ... ให้ยาน ... ให้ดอกไม้ ... ให้ของหอม ...
ให้เครื่องลูบไล้ ... ให้ที่นอน ... ให้ที่พัก ... ให้เครื่องประทีป หลังจากตาย
แล้วจึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกครุฑที่เป็นโอปปาติกะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๙. สุปัณณสังยุต] รวมพระสูตรที่มีในสังยุต

ภิกษุ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจะ
เข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกครุฑที่เป็นโอปปาติกะ”

ชลาพุชทานูปการสูตรที่ ๑๗-๔๖ จบ
(ด้วยการรวบรวมอย่างนี้จึงมีพระสูตร ๔๖ สูตร)
สุปัณณสังยุต จบ

รวมพระสูตรที่มีในสังยุตนี้ คือ

๑. สุทธิกสูตร ๒. หรันติสูตร
๓. ทวยการีสูตร ๔-๖. ทุติยาทิทวยการีสุตตัตติกะ
๗-๑๖. อัณฑชทานูปการสุตตทสกะ
๑๗-๔๖. ชลาพุชทานูปการสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๐. คันธัพพกายสังยุต] ๒.สุจริตสูตร

๑๐. คันธัพพกายสังยุต
๑. สุทธิกสูตร
ว่าด้วยเทพผู้นับเนื่องในหมู่คันธัพพเทพล้วน ๆ

[๔๓๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ฯลฯ ได้ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจัก
แสดงเทพทั้งหลายผู้นับเนื่องในหมู่คันธัพพเทพแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
เทพทั้งหลายผู้นับเนื่องในหมู่คันธัพพเทพ เป็นอย่างไร
คือ เทพทั้งหลายสถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่รากก็มี สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่
แก่นก็มี สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่กระพี้ก็มี สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่เปลือกก็มี สถิต
อยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่สะเก็ดก็มี สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ใบก็มี สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่น
ที่ดอกก็มี สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ผลก็มี สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่รสก็มี สถิตอยู่ที่
ต้นไม้มีกลิ่นที่กลิ่นก็มี
ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เราเรียกว่าเทพทั้งหลายผู้นับเนื่องในหมู่คันธัพพเทพ”

สุทธิกสูตรที่ ๑ จบ

๒. สุจริตสูตร
ว่าด้วยสุจริต

[๔๓๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง ณ
ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ
เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจะเข้าถึงความเป็นผู้
อยู่ร่วมกับเทพทั้งหลายผู้นับเนื่องในหมู่คันธัพพเทพ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้ประพฤติสุจริตทางกาย
วาจา และใจ เขาได้ฟังมาว่า ‘เทพทั้งหลายผู้นับเนื่องในหมู่คันธัพพเทพ มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๐. คันธัพพสังยุต] ๓. มูลคันธทาตาสูตร

อายุยืน มีผิวพรรณงาม มีความสุขมาก’ จึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘ไฉนหนอ
หลังจากตายแล้วขอเราพึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพทั้งหลายผู้นับเนื่องในหมู่
คันธัพพเทพ’ หลังจากตายแล้วจึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพทั้งหลายผู้
นับเนื่องในหมู่คันธัพพเทพ
ภิกษุ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจะ
เข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพทั้งหลายผู้นับเนื่องในหมู่คันธัพพเทพ”

สุจริตสูตรที่ ๒ จบ

๓. มูลคันธทาตาสูตร
ว่าด้วยผู้ให้ต้นไม้มีกลิ่นที่ราก

[๔๔๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว
นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ
เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจะเข้าถึงความเป็นผู้
อยู่ร่วมกับเทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ราก”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้ประพฤติสุจริต
ทางกาย วาจา และใจ เขาได้ฟังมาว่า ‘เทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ราก
มีอายุยืน มีผิวพรรณงาม มีความสุขมาก’ จึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘ไฉนหนอ
หลังจากตายแล้วขอเราพึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้
มีกลิ่นที่ราก’ จึงให้ต้นไม้มีกลิ่นที่ราก หลังจากตายแล้วจึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วม
กับเทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ราก
ภิกษุ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจะ
เข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ราก”

มูลคันธทาตาสูตรที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๐. คันธัพพสังยุต]
๔-๑๒. สารคันธาทิทาตาสุตตนวกะ

๔-๑๒. สารคันธาทิทาตาสุตตนวกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๙ สูตร มีสารคันธทาตาสูตรเป็นต้น

[๔๔๑-๔๔๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุนั้น นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจาก
ตายแล้วจะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่แก่น
ฯลฯ
เทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่กระพี้ ...
เทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่เปลือก ...
เทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่สะเก็ด ...
เทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ใบ ...
เทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ดอก ...
เทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ผล ...
เทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่รส ...
จะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่กลิ่น”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้ประพฤติสุจริต
ทางกาย วาจา และใจ เขาได้ฟังมาว่า ‘เทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่น
ที่แก่น มีอายุยืน มีผิวพรรณงาม มีความสุขมาก’ จึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า
‘ไฉนหนอ หลังจากตายแล้วขอเราพึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพทั้งหลายผู้
สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่แก่น’ ฯลฯ
เทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่กระพี้ ...
เทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่เปลือก ...
เทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่สะเก็ด ...
เทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ใบ ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๐. คันธัพพสังยุต]
๑๓-๒๒. มูลคันธทานูปการสุตตทสกะ

เทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ดอก ...
เทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ผล ...
เทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่รส ...
จะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่กลิ่น’
จึงให้ต้นไม้มีกลิ่นที่แก่น ฯลฯ ให้ต้นไม้มีกลิ่นที่กระพี้ ... ให้ต้นไม้มีกลิ่นที่
เปลือก ... ให้ต้นไม้มีกลิ่นที่สะเก็ด ... ให้ต้นไม้มีกลิ่นที่ใบ ... ให้ต้นไม้มีกลิ่นที่ดอก
... ให้ต้นไม้มีกลิ่นที่ผล ... ให้ต้นไม้มีกลิ่นที่รส ... ให้ต้นไม้มีกลิ่นที่กลิ่น หลังจาก
ตายแล้วจึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่กลิ่น
ภิกษุ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจะ
เข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่กลิ่น”

สารคันธาทิทาตาสุตตนวกะที่ ๔-๑๒ จบ

๑๓-๒๒. มูลคันธทานูปการสุตตทสกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๑๐ สูตร มีมูลคันธทานูปการสูตรเป็นต้น

[๔๕๐-๔๕๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุนั้น นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจาก
ตายแล้วจะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ราก”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้ประพฤติสุจริต
ทางกาย วาจา และใจ เขาได้ฟังมาว่า ‘เทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่น
ที่ราก มีอายุยืน มีผิวพรรณงาม มีความสุขมาก’ จึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า
‘ไฉนหนอ หลังจากตายแล้ว ขอเราพึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพทั้งหลาย
ผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ราก’ จึงให้ข้าว ฯลฯ ให้น้ำ ... ให้ผ้า ... ให้ยาน ...
ให้ดอกไม้ ... ให้ของหอม ... ให้เครื่องลูบไล้ ... ให้ที่นอน ... ให้ที่พัก ...
ให้เครื่องประทีป หลังจากตายแล้วจึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพทั้งหลาย
ผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ราก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๐. คันธัพพสังยุต]
๒๓-๑๑๒. สารคันธาทิทานูปการสุตตนวุติกะ

ภิกษุ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจะ
เข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ราก”

มูลคันธทานูปการสุตตทสกะที่ ๑๓-๒๒ จบ

๒๓-๑๑๒. สารคันธาทิทานูปการสุตตนวุติกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๙๐ สูตร มีสารคันธทานูปการสูตรเป็นต้น

[๔๖๐-๕๔๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุนั้น นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจากตาย
แล้วจะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่แก่น ฯลฯ
เทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่กระพี้ ...
เทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่เปลือก ...
เทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่สะเก็ด ...
เทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ใบ ...
เทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ดอก ...
เทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ผล ...
เทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่รส ...
จะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่กลิ่น”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้ประพฤติสุจริต
ทางกาย วาจา และใจ เขาได้ฟังมาว่า ‘เทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่กลิ่น
มีอายุยืน มีผิวพรรณงาม มีความสุขมาก’ จึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘ไฉนหนอ
หลังจากตายแล้วขอเราพึงเข้าถึงการอยู่ร่วมกับเทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่น
ที่กลิ่น’ จึงให้ข้าว ฯลฯ ให้น้ำ ... ให้ผ้า ... ให้ยาน ... ให้ดอกไม้ ... ให้ของหอม
... ให้เครื่องลูบไล้ ... ให้ที่นอน ... ให้ที่พัก ... ให้เครื่องประทีป หลังจาก
ตายแล้วจึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่กลิ่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๐. คันธัพพสังยุต]
รวมพระสูตรที่มีในสังยุต

ภิกษุ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจะ
เข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพทั้งหลายผู้สถิตอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่กลิ่น”

สารคันธาทิทานูปการสุตตนวุติกะที่ ๒๓-๑๑๒ จบ
(ด้วยการรวบรวมเข้าเป็นหมวดเดียวกันอย่างนี้ จึงมีพระสูตร ๑๑๒ สูตร)
คันธัพพกายสังยุต จบ

รวมพระสูตรที่มีในสังยุตนี้ คือ

๑. สุทธิกสูตร ๒. สุจริตสูตร
๓. มูลคันธทาตาสูตร ๔-๑๒. สารคันธาทิทาตาสุตตนวกะ
๑๓-๒๒. มูลคันธทานูปการสุตตทสกะ
๒๓-๑๑๒. สารคันธาทิทานูปการสุตตนวุติกะ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [ ๑๑. วลาหกสังยุต ] ๒. สุจริตสูตร

๑๑. วลาหกสังยุต
๑. เทสนาสูตร
ว่าด้วยทรงแสดงเทพพวกวลาหก

[๕๕๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงเทพพวกวลาหกแก่
เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ
เทพพวกวลาหก เป็นอย่างไร
คือ เทพทั้งหลายที่เป็นสีตวลาหกก็มี ที่เป็นอุณหวลาหกก็มี ที่เป็นอัพภ-
วลาหกก็มี ที่เป็นวาตวลาหกก็มี ที่เป็นวัสสวลาหกก็มี
ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เราเรียกว่า เทพพวกวลาหก”

เทสนาสูตรที่ ๑ จบ

๒. สุจริตสูตร
ว่าด้วยสุจริต

[๕๕๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว
นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไร
หนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจะเข้าถึงความ
เป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพทั้งหลายผู้นับเนื่องในหมู่เทพพวกวลาหก”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้ประพฤติสุจริต
ทางกาย วาจา และใจ เขาได้ฟังมาว่า ‘เทพทั้งหลายผู้นับเนื่องในหมู่วลาหก มี
อายุยืน มีผิวพรรณงาม มีความสุขมาก’ จึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘ไฉนหนอ
หลังจากตายแล้วขอเราพึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพทั้งหลายผู้นับเนื่องใน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๑. วลาหกสังยุต]
๓-๑๒. สีตวลาหกทานูปการสุตตทสกะ

หมู่เทพพวกวลาหก’ จึงให้ข้าว ฯลฯ ให้น้ำ ... ให้ผ้า ... ให้ยาน ... ให้ดอกไม้
... ให้ของหอม ... ให้เครื่องลูบไล้ ... ให้ที่นอน ... ให้ที่พัก ... ให้เครื่องประทีป
หลังจากตายแล้วจึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพทั้งหลายผู้นับเนื่องในหมู่เทพ
พวกวลาหก
ภิกษุ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจะ
เข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพทั้งหลายผู้นับเนื่องในหมู่เทพพวกวลาหก”

สุจริตสูตรที่ ๒ จบ

๓-๑๒ สีตวลาหกทานูปการสุตตทสกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๑๐ สูตร มีสีตวลาหกทานูปการสูตรเป็นต้น

[๕๕๒-๕๖๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุนั้น นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจาก
ตายแล้วจะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพพวกสีตวลาหก”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้ประพฤติสุจริตทางกาย
วาจา และใจ เขาได้ฟังมาว่า ‘เทพพวกสีตวลาหก มีอายุยืน มีผิวพรรณงาม มี
ความสุขมาก’ จึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘ไฉนหนอ หลังจากตายแล้ว ขอเรา
พึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพพวกสีตวลาหก’ จึงให้ข้าว ฯลฯ ให้น้ำ ... ให้ผ้า
... ให้ยาน ... ให้ดอกไม้ ... ให้ของหอม ... ให้เครื่องลูบไล้ ... ให้ที่นอน ... ให้ที่พัก
... ให้เครื่องประทีป หลังจากตายแล้วจึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพพวก
สีตวลาหก
ภิกษุ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจะ
เข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพพวกสีตวลาหก”

สีตวลาหกทานูปการสุตตทสกะที่ ๓-๑๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๑. วลาหกสังยุต] ๕๓. สีตวลาหกสูตร

๑๓-๕๒. อุณหวลาหกทานูปการสูตร
ว่าด้วยความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพพวกอุณหวลาหก

[๕๖๒-๖๐๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุนั้น นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจาก
ตายแล้วจะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพพวกอุณหวลาหก จะเข้าถึงความเป็นผู้
อยู่ร่วมกับเทพพวกอัพภวลาหก จะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพพวกวาตวลาหก
จะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพพวกวัสสวลาหก”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้ประพฤติสุจริต
ทางกาย วาจา และใจ เขาได้ฟังมาว่า ‘เทพพวกวัสสวลาหก มีอายุยืน มีผิว
พรรณงาม มีความสุขมาก’ จึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘ไฉนหนอ หลังจาก
ตายแล้วขอเราพึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพพวกวัสสวลาหก’ จึงให้ข้าว ฯลฯ
ให้น้ำ ... ให้ผ้า ... ให้ยาน ... ให้ดอกไม้ ... ให้ของหอม ... ให้เครื่องลูบไล้ ...
ให้ที่นอน ... ให้ที่พัก ... ให้เครื่องประทีป หลังจากตายแล้วจึงเข้าถึงความเป็น
ผู้อยู่ร่วมกับเทพพวกวัสสวลาหก
ภิกษุ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจะ
เข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพพวกวัสสวลาหก”

อุณหวลาหกทานูปการสูตรที่ ๑๓-๕๒ จบ

๕๓. สีตวลาหกสูตร
ว่าด้วยเทพพวกสีตวลาหก

[๖๐๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุนั้น นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มีความหนาวในกาลบางคราว”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๑. วลาหกสังยุต] ๕๕. อัพภวลาหกสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ เทพพวกสีตวลาหกมีอยู่ เมื่อใด เทพ
เหล่านั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทำอย่างไรหนอ พวกเราพึงยินดีด้วยความยินดีของ
ตนเอง’ เมื่อนั้น เพราะอาศัยความตั้งใจของเทพเหล่านั้น ความหนาวจึงมี
ภิกษุ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มีความหนาวในกาลบางคราว”

สีตวลาหกสูตรที่ ๕๓ จบ

๕๔. อุณหวลาหกสูตร
ว่าด้วยเทพพวกอุณหวลาหก

[๖๐๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุนั้น นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มีความร้อนในกาลบางคราว”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ เทพพวกอุณหวลาหกมีอยู่ เมื่อใด
เทพเหล่านั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทำอย่างไรหนอ พวกเราพึงยินดีด้วยความยินดี
ของตนเอง’ เมื่อนั้น เพราะอาศัยความตั้งใจของเทพเหล่านั้น ความร้อนจึงมี
ภิกษุ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มีความร้อนในกาลบางคราว”

อุณหวลาหกสูตรที่ ๕๔ จบ

๕๕. อัพภวลาหกสูตร
ว่าด้วยเทพพวกอัพภวลาหก

[๖๐๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุนั้น นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มีหมอกในกาลบางคราว”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๑. วลาหกสังยุต] ๕๗. วัสสวลาหกสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ เทพพวกอัพภวลาหกมีอยู่ เมื่อใด
เทพเหล่านั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทำอย่างไรหนอ พวกเราพึงยินดีด้วยความยินดี
ของตนเอง’ เมื่อนั้น เพราะอาศัยความตั้งใจของเทพเหล่านั้น หมอกจึงมี
ภิกษุ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มีหมอกในกาลบางคราว”

อัพภวลาหกสูตรที่ ๕๕ จบ

๕๖. วาตวลาหกสูตร
ว่าด้วยเทพพวกวาตวลาหก

[๖๐๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุนั้น นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มีลมในกาลบางคราว”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ เทพพวกวาตวลาหกมีอยู่ เมื่อใด เทพ
เหล่านั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทำอย่างไรหนอ พวกเราพึงยินดีด้วยความยินดีของ
ตนเอง’ เมื่อนั้น เพราะอาศัยความตั้งใจของเทพเหล่านั้น ลมจึงมี
ภิกษุ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มีลมในกาลบางคราว”

วาตวลาหกสูตรที่ ๕๖ จบ

๕๗. วัสสวลาหกสูตร
ว่าด้วยเทพพวกวัสสวลาหก

[๖๐๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุนั้น นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มีฝนในกาลบางคราว”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๑. วลาหกสังยุต] รวมพระสูตรที่มีในสังยุต

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ เทพพวกวัสสวลาหกมีอยู่ เมื่อใด เทพ
เหล่านั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทำอย่างไรหนอ พวกเราพึงยินดีด้วยความยินดีของตนเอง’
เมื่อนั้น เพราะอาศัยความตั้งใจของเทพเหล่านั้น ฝนจึงมี
ภิกษุ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มีฝนในกาลบางคราว”

วัสสวลาหกสูตรที่ ๕๗ จบ
วลาหกสังยุต จบ

รวมพระสูตรที่มีในสังยุตนี้ คือ

๑. เทสนาสูตร ๒. สุจริตสูตร
๓-๑๒. สีตวลาหกทานูปการสุตตทสกะ
๑๓-๕๒. อุณหวลาหกทานูปการสูตร ๕๓. สีตวลาหกสูตร
๕๔. อุณหวลาหกสูตร ๕๕. อัพภวลาหกสูตร
๕๖. วาตวลาหกสูตร ๕๗. วัสสวลาหกสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๒. วัจฉโคตตสังยุต] ๑. รูปอัญญาณสูตร

๑๒. วัจฉโคตตสังยุต
๑. รูปอัญญาณสูตร
ว่าด้วยความไม่รู้ในรูป

[๖๐๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ปริพาชกชื่อวัจฉโคตรเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึก
ถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ทิฏฐิหลายอย่าง
เหล่านี้เกิดขึ้นในโลกว่า ‘โลกเที่ยงหรือโลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุดหรือโลกไม่มีที่สุด
ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกันหรือชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน หลังจากตายแล้ว
ตถาคตเกิดอีกหรือหลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้ว ตถาคต
เกิดอีกและไม่เกิดอีก หรือหลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิด
อีกก็มิใช่”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “วัจฉะ เพราะความไม่รู้ในรูป เพราะความไม่รู้
ในเหตุเกิดแห่งรูป เพราะความไม่รู้ในความดับแห่งรูป เพราะความไม่รู้ในปฏิปทา
ที่ให้ถึงความดับแห่งรูป ทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้จึงเกิดขึ้นในโลกว่า ‘โลกเที่ยงหรือ
โลกไม่เที่ยง ฯลฯ หรือหลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิด
อีกก็มิใช่’
วัจฉะ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้เกิดขึ้นในโลกว่า
‘โลกเที่ยงหรือโลกไม่เที่ยง ฯลฯ หรือหลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่
จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่”

รูปอัญญาณสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๒. วัจฉโคตตสังยุต]
๓. สัญญาอัญญาณสูตร

๒. เวทนาอัญญาณสูตร
ว่าด้วยความไม่รู้ในเวทนา

[๖๐๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
วัจฉโคตรปริพาชกนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้
เกิดขึ้นในโลกว่า ‘โลกเที่ยงหรือโลกไม่เที่ยง ฯลฯ หรือหลังจากตายแล้วตถาคตจะ
ว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “วัจฉะ เพราะความไม่รู้ในเวทนา เพราะความ
ไม่รู้ในเหตุเกิดแห่งเวทนา เพราะความไม่รู้ในความดับแห่งเวทนา เพราะความไม่รู้
ในปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งเวทนา ทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้จึงเกิดขึ้นในโลกว่า
‘โลกเที่ยงหรือโลกไม่เที่ยง ฯลฯ หรือหลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่
จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’
วัจฉะ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้เกิดขึ้นในโลกว่า
‘โลกเที่ยงหรือโลกไม่เที่ยง ฯลฯ หรือหลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่
จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่”

เวทนาอัญญาณสูตรที่ ๒ จบ

๓. สัญญาอัญญาณสูตร
ว่าด้วยความไม่รู้ในสัญญา

[๖๐๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
วัจฉโคตรปริพาชกนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้
เกิดขึ้นในโลกว่า ‘โลกเที่ยงหรือโลกไม่เที่ยง ฯลฯ หรือหลังจากตายแล้วตถาคตจะ
ว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๒. วัจฉโคตตสังยุต]
๔. สังขารอัญญาณสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “วัจฉะ เพราะความไม่รู้ในสัญญา เพราะความ
ไม่รู้ในเหตุเกิดแห่งสัญญา เพราะความไม่รู้ในความดับแห่งสัญญา เพราะความไม่
รู้ในปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสัญญา ทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้จึงเกิดขึ้นในโลกว่า
‘โลกเที่ยงหรือโลกไม่เที่ยง ฯลฯ หรือหลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่
จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’
วัจฉะ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้เกิดขึ้นในโลกว่า
‘โลกเที่ยงหรือโลกไม่เที่ยง ฯลฯ หรือหลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่
จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่”

สัญญาอัญญาณสูตรที่ ๓ จบ

๔. สังขารอัญญาณสูตร
ว่าด้วยความไม่รู้ในสังขาร

[๖๑๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
วัจฉโคตรปริพาชกนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้
เกิดขึ้นในโลกว่า ‘โลกเที่ยงหรือโลกไม่เที่ยง ฯลฯ หรือหลังจากตายแล้วตถาคตจะ
ว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “วัจฉะ เพราะความไม่รู้ในสังขาร เพราะความ
ไม่รู้ในเหตุเกิดแห่งสังขาร เพราะความไม่รู้ในความดับแห่งสังขาร เพราะความไม่รู้
ในปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสังขาร ทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้จึงเกิดขึ้นในโลกว่า
‘โลกเที่ยงหรือโลกไม่เที่ยง ฯลฯ หรือหลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่
จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’
วัจฉะ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้เกิดขึ้นในโลกว่า
‘โลกเที่ยงหรือโลกไม่เที่ยง ฯลฯ หรือหลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่
จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่”

สังขารอัญญาณสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๒. วัจฉโคตตสังยุต]
๖-๑๐. รูปอทัสสนาทิสุตตปัญจกะ

๕. วิญญาณอัญญาณสูตร
ว่าด้วยความไม่รู้ในวิญญาณ

[๖๑๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
วัจฉโคตรปริพาชกนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้
เกิดขึ้นในโลกว่า ‘โลกเที่ยงหรือโลกไม่เที่ยง ฯลฯ หรือหลังจากตายแล้วตถาคตจะ
ว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “วัจฉะ เพราะความไม่รู้ในวิญญาณ เพราะ
ความไม่รู้ในเหตุเกิดแห่งวิญญาณ เพราะความไม่รู้ในความดับแห่งวิญญาณ เพราะ
ความไม่รู้ในปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ ทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้จึงเกิดขึ้น
ในโลกว่า ‘โลกเที่ยงหรือโลกไม่เที่ยง ฯลฯ หรือหลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิด
อีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’
วัจฉะ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้เกิดขึ้นในโลกว่า
‘โลกเที่ยงหรือโลกไม่เที่ยง ฯลฯ หรือหลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่
จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่”

วิญญาณอัญญาณสูตรที่ ๕ จบ

๖-๑๐. รูปอทัสสนาทิสุตตปัญจกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๕ สูตร มีรูปอทัสสนสูตรเป็นต้น

[๖๑๒-๖๑๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
วัจฉโคตรปริพาชกนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้
เกิดขึ้นในโลกว่า ‘โลกเที่ยงหรือโลกไม่เที่ยง ฯลฯ หรือหลังจากตายแล้วตถาคตจะ
ว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “วัจฉะ เพราะความไม่เห็นในรูป ฯลฯ เพราะ
ความไม่เห็นในปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งรูป ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๒. วัจฉโคตตสังยุต]
๑๑-๑๕. รูปอนภิสมยาทิสุตตปัญจกะ

เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“วัจฉะ เพราะความไม่เห็นในเวทนา ฯลฯ
เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“วัจฉะ เพราะความไม่เห็นในสัญญา ฯลฯ
เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“วัจฉะ เพราะความไม่เห็นในสังขาร ฯลฯ
เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“วัจฉะ เพราะความไม่เห็นในวิญญาณ ฯลฯ เพราะความไม่เห็นในปฏิปทา
ที่ให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ ฯลฯ

รูปอทัสสนาทิสุตตปัญจกะที่ ๖-๑๐ จบ

๑๑-๑๕. รูปอนภิสมยาทิสุตตปัญจกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๕ สูตร มีรูปอนภิสมยสูตรเป็นต้น

[๖๑๗-๖๒๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า “วัจฉะ เพราะความไม่รู้แจ้งในรูป ฯลฯ เพราะ
ความไม่รู้แจ้งในปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งรูป ฯลฯ
เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“วัจฉะ เพราะความไม่รู้แจ้งในเวทนา ฯลฯ
เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“วัจฉะ เพราะความไม่รู้แจ้งในสัญญา ฯลฯ
เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“วัจฉะ เพราะความไม่รู้แจ้งในสังขาร ฯลฯ
เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“วัจฉะ เพราะความไม่รู้แจ้งในวิญญาณ ฯลฯ

รูปอนภิสมยาทิสุตตปัญจกะที่ ๑๑-๑๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๒. วัจฉโคตตสังยุต]
๒๑-๒๕. รูปอัปปฏิเวธาทิสุตตปัญจกะ

๑๖-๒๐. รูปอนนุโพธาทิสุตตปัญจกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๕ สูตร มีรูปอนนุโพธสูตรเป็นต้น

[๖๒๒-๖๒๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
วัจฉโคตรปริพาชกนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ฯลฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “วัจฉะ เพราะความไม่รู้เท่าทันในรูป ฯลฯ
เพราะความไม่รู้เท่าทันในปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งรูป ฯลฯ
เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“วัจฉะ เพราะความไม่รู้เท่าทันในเวทนา ฯลฯ
เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“วัจฉะ เพราะความไม่รู้เท่าทันในสัญญา ฯลฯ
เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“วัจฉะ เพราะความไม่รู้เท่าทันในสังขาร ฯลฯ
เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“วัจฉะ เพราะความไม่รู้เท่าทันในวิญญาณ ฯลฯ เพราะความไม่รู้เท่าทันใน
ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ ฯลฯ

รูปอนนุโพธาทิสุตตปัญจกะที่ ๑๖-๒๐ จบ

๒๑-๒๕. รูปอัปปฏิเวธาทิสุตตปัญจกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๕ สูตร มีรูปอัปปฏิเวธสูตรเป็นต้น

[๖๒๗-๖๓๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
วัจฉโคตรปริพาชกทูลถามว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุ
เป็นปัจจัย ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๒. วัจฉโคตตสังยุต]
๓๖-๔๐. รูปอัปปัจจุปลักขณาทิสุตตปัญจกะ

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “วัจฉะ เพราะความไม่แทงตลอดในรูป ฯลฯ
เพราะความไม่แทงตลอดในวิญญาณ ฯลฯ

รูปอัปปฏิเวธาทิสุตตปัญจกะที่ ๒๑-๒๕ จบ

๒๖-๓๐. รูปอสัลลักขณาทิสุตตปัญจกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๕ สูตร มีรูปอสัลลักขณสูตรเป็นต้น

[๖๓๒-๖๓๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “วัจฉะ เพราะความไม่กำหนดในรูป ฯลฯ เพราะ
ความไม่กำหนดในวิญญาณ ฯลฯ

รูปอสัลลักขณาทิสุตตปัญจกะที่ ๒๖-๓๐ จบ

๓๑-๓๕. รูปอนุปลักขณาทิสุตตปัญจกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๕ สูตร มีรูปอนุปลักขณสูตรเป็นต้น

[๖๓๗-๖๔๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “วัจฉะ เพราะความไม่เข้าไปกำหนดในรูป ฯลฯ
เพราะความไม่เข้าไปกำหนดในวิญญาณ ฯลฯ

รูปอนุปลักขณาทิสุตตปัญจกะที่ ๓๑-๓๕ จบ

๓๖-๔๐. รูปอัปปัจจุปลักขณาทิสุตตปัญจกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๕ สูตร มีรูปอัปปัจจุปลักขณสูตรเป็นต้น

[๖๔๒-๖๔๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “วัจฉะ เพราะความไม่เข้าไปกำหนดเฉพาะในรูป ฯลฯ
เพราะความไม่เข้าไปกำหนดเฉพาะในวิญญาณ ฯลฯ

รูปอัปปัจจุปลักขณาทิสุตตปัญจกะที่ ๓๖-๔๐ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๒. วัจฉโคตตสังยุต]
๕๑-๕๔. รูปอัปปัจจักขกัมมาทิสุตตจตุกกะ

๔๑-๔๕. รูปอสมเปกขณาทิสุตตปัญจกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๕ สูตร มีรูปอสมเปกขณสูตรเป็นต้น

[๖๔๗-๖๕๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “วัจฉะ เพราะความไม่เพ่งในรูป ฯลฯ เพราะ
ความไม่เพ่งในวิญญาณ ฯลฯ

รูปอสมเปกขณาทิสุตตปัญจกะที่ ๔๑-๔๕ จบ

๔๖-๕๐. รูปอัปปัจจุเปกขณาทิสุตตปัญจกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๕ สูตร มีรูปอัปปัจจุเปกขณสูตรเป็นต้น

[๖๕๒-๖๕๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “วัจฉะ เพราะความไม่เข้าไปเพ่งเฉพาะในรูป ฯลฯ
เพราะความไม่เข้าไปเพ่งเฉพาะในวิญญาณ ฯลฯ

รูปอัปปัจจุเปกขณาทิสุตตปัญจกะที่ ๔๖-๕๐ จบ

๕๑-๕๔. รูปอัปปัจจักขกัมมาทิสุตตจตุกกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๔ สูตร มีรูปอัปปัจจักขกัมมสูตรเป็นต้น

[๖๕๗-๖๖๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น วัจฉโคตรปริพาชกเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนา
ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูล
ถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็น
ปัจจัยให้ทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้เกิดขึ้นในโลกว่า ‘โลกเที่ยงหรือโลกไม่เที่ยง ฯลฯ
หรือหลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๒. วัจฉโคตตสังยุต]
๕๕. วิญญาณอัปปัจจักขกัมมสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “วัจฉะ เพราะความไม่เห็นประจักษ์ในรูป
เพราะความไม่เห็นประจักษ์ในเหตุเกิดแห่งรูป เพราะความไม่เห็นประจักษ์ในความ
ดับแห่งรูป เพราะความไม่เห็นประจักษ์ในปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งรูป ฯลฯ
เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“วัจฉะ เพราะความไม่เห็นประจักษ์ในเวทนา ฯลฯ เพราะความไม่เห็น
ประจักษ์ในปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งเวทนา ฯลฯ
เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“วัจฉะ เพราะความไม่เห็นประจักษ์ในสัญญา ฯลฯ เพราะความไม่เห็น
ประจักษ์ในปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสัญญา ฯลฯ
เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“วัจฉะ เพราะความไม่เห็นประจักษ์ในสังขาร ฯลฯ เพราะความไม่เห็น
ประจักษ์ในปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสังขาร ฯลฯ

รูปอัปปัจจักขกัมมาทิสุตตจตุกกะที่ ๕๑-๕๔ จบ

๕๕. วิญญาณอัปปัจจักขกัมมสูตร
ว่าด้วยความไม่เห็นประจักษ์ในวิญญาณ

[๖๖๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า “วัจฉะ เพราะความไม่เห็นประจักษ์ในวิญญาณ
เพราะความไม่เห็นประจักษ์ในเหตุเกิดแห่งวิญญาณ เพราะความไม่เห็นประจักษ์ใน
ความดับแห่งวิญญาณ เพราะความไม่เห็นประจักษ์ในปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่ง
วิญญาณ ทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้จึงเกิดขึ้นในโลกว่า ‘โลกเที่ยงหรือโลกไม่เที่ยง ฯลฯ
หรือหลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’
วัจฉะ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้เกิดขึ้นในโลกว่า
‘โลกเที่ยงหรือโลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุดหรือโลกไม่มีที่สุด ชีวะกับสรีระเป็นอย่าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๒. วัจฉโคตตสังยุต]
รวมพระสูตรที่มีในสังยุต

เดียวกันหรือชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก หรือ
หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก
หรือหลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่”

วิญญาณอัปปัจจักขกัมมสูตรที่ ๕๕ จบ
(ด้วยการรวบรวมเข้าเป็นหมวดเดียวกันจึงมีพระสูตร ๕๕ สูตร)
วัจฉโคตตสังยุต จบ

รวมพระสูตรที่มีในสังยุตนี้ คือ

๑. รูปอัญญาณสูตร
๒. เวทนาอัญญาณสูตร
๓. สัญญาอัญญาณสูตร
๔. สังขารอัญญาณสูตร
๕. วิญญาณอัญญาณสูตร
๖-๑๐. รูปอทัสสนาทิสุตตปัญจกะ
๑๑-๑๕. รูปอนภิสมยาทิสุตตปัญจกะ
๑๖-๒๐. รูปอนนุโพธาทิสุตตปัญจกะ
๒๑-๒๕. รูปอัปปฏิเวธาทิสุตตปัญจกะ
๒๖-๓๐. รูปอสัลลักขณาทิสุตตปัญจกะ
๓๑-๓๕. รูปอนุปลักขณาทิสุตตปัญจกะ
๓๖-๔๐. รูปอัปปัจจุปลักขณาทิสุตตปัญจกะ
๔๑-๔๕. รูปอสมเปกขณาทิสุตตปัญจกะ
๔๖-๕๐. รูปอัปปัจจุเปกขณาทิสุตตปัญจกะ
๕๑-๕๔. รูปอัปปัจจักขกัมมาทิสุตตจตุกกะ
๕๕. วิญญาณอัปปัจจักขกัมมสูตร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต]
๑. สมาธิมูลกสมาปัตติสูตร

๑๓. ฌานสังยุต
๑. สมาธิมูลกสมาปัตติสูตร
ว่าด้วยการเข้าสมาธิอันเป็นมูล

[๖๖๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้
บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
แต่ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ
๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ๑ แต่ไม่
ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
และไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ
๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
และฉลาดในการเข้าสมาธิ
ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
และฉลาดในการเข้าสมาธิ เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นประธาน สูงสุด และยิ่งใหญ่ที่สุด
ภิกษุทั้งหลาย นมสดจากแม่โค นมส้มจากนมสด เนยข้นจากนมส้ม เนยใส
จากเนยข้น ยอดเนยใสจากเนยใส ยอดเนยใสชาวโลกถือว่าเป็นเลิศในบรรดานมสด
เป็นต้นนั้น แม้ฉันใด บุคคลผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และฉลาด


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต] ๒. สมาธิมูลกฐิติสูตร

ในการเข้าสมาธิ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นประธาน สูงสุด
และยิ่งใหญ่ที่สุด”

สมาธิมูลกสมาปัตติสูตรที่ ๑ จบ

๒. สมาธิมูลกฐิติสูตร
ว่าด้วยการตั้งอยู่ในสมาธิอันเป็นมูล

[๖๖๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้
บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
แต่ไม่ฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ
๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ๑
แต่ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
และไม่ฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ
๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
และฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ
ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และ
ฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นประธาน สูงสุด และยิ่งใหญ่ที่สุด
ภิกษุทั้งหลาย นมสดจากแม่โค นมส้มจากนมสด เนยข้นจากนมส้ม เนยใส
จากเนยข้น ยอดเนยใสจากเนยใส ยอดเนยใสชาวโลกถือว่าเป็นเลิศในบรรดานมสด


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต] ๓. สมาธิมูลกวุฏฐานสูตร

เป็นต้นนั้น แม้ฉันใด บุคคลผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และฉลาด
ในการตั้งอยู่ในสมาธิ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นประธาน
สูงสุด และยิ่งใหญ่ที่สุด”

สมาธิมูลกฐิติสูตรที่ ๒ จบ

๓. สมาธิมูลกวุฏฐานสูตร
ว่าด้วยการออกจากสมาธิอันเป็นมูล

[๖๖๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้
บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
แต่ไม่ฉลาดในการออกจากสมาธิ
๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาธิ๑
แต่ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
และไม่ฉลาดในการออกจากสมาธิ
๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
และฉลาดในการออกจากสมาธิ
ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
และฉลาดในการออกจากสมาธิ เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นประธาน สูงสุด และ
ยิ่งใหญ่ที่สุด


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต] ๔. สมาธิมูลกกัลลิตสูตร

ภิกษุทั้งหลาย นมสดจากแม่โค นมส้มจากนมสด เนยข้นจากนมส้ม เนยใส
จากเนยข้น ยอดเนยใสจากเนยใส ฯลฯ และยิ่งใหญ่ที่สุด”

สมาธิมูลกวุฏฐานสูตรที่ ๓ จบ

๔. สมาธิมูลกกัลลิตสูตร
ว่าด้วยความพร้อมในสมาธิอันเป็นมูล

[๖๖๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้
บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
แต่ไม่ฉลาดในความพร้อมในสมาธิ
๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในความพร้อมในสมาธิ๑
แต่ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
และไม่ฉลาดในความพร้อมในสมาธิ
๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
และฉลาดในความพร้อมในสมาธิ
ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
และฉลาดในความพร้อมในสมาธิ เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นประธาน สูงสุด และ
ยิ่งใหญ่ที่สุด
ภิกษุทั้งหลาย นมสดจากแม่โค นมส้มจากนมสด เนยข้นจากนมส้ม เนยใส
จากเนยข้น ยอดเนยใสจากเนยใส ฯลฯ และยิ่งใหญ่ที่สุด”

สมาธิมูลกกัลลิตสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต]
๕. สมาธิมูลกอารัมมณสูตร

๕. สมาธิมูลกอารัมมณสูตร
ว่าด้วยอารมณ์ในสมาธิอันเป็นมูล

[๖๖๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้
บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
แต่ไม่ฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ
๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ
แต่ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
และไม่ฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ
๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
และฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ
ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และ
ฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นประธาน สูงสุด และยิ่งใหญ่ที่สุด
ภิกษุทั้งหลาย นมสดจากแม่โค ฯลฯ และยิ่งใหญ่ที่สุด”

สมาธิมูลกอารัมมณสูตรที่ ๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต] ๖. สมาธิมูลกโคจรสูตร

๖. สมาธิมูลกโคจรสูตร
ว่าด้วยโคจรในสมาธิอันเป็นมูล

[๖๖๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้
บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
แต่ไม่ฉลาดในโคจรในสมาธิ
๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในโคจรในสมาธิ๑ แต่ไม่
ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
และไม่ฉลาดในโคจรในสมาธิ
๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
และฉลาดในโคจรในสมาธิ
ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และ
ฉลาดในโคจรในสมาธิ เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นประธาน สูงสุด และยิ่งใหญ่ที่สุด
ภิกษุทั้งหลาย นมสดจากแม่โค ฯลฯ และยิ่งใหญ่ที่สุด”

สมาธิมูลกโคจรสูตรที่ ๖ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต]
๗. สมาธิมูลกอภินีหารสูตร

๗. สมาธิมูลกอภินีหารสูตร
ว่าด้วยอภินิหารในสมาธิอันเป็นมูล

[๖๖๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้
บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
แต่ไม่ฉลาดในอภินิหารในสมาธิ
๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในอภินิหารในสมาธิ๑
แต่ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
และไม่ฉลาดในอภินิหารในสมาธิ
๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
และฉลาดในอภินิหารในสมาธิ
ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และ
ฉลาดในอภินิหารในสมาธิ เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นประธาน สูงสุด และยิ่งใหญ่ที่สุด
ภิกษุทั้งหลาย นมสดจากแม่โค ฯลฯ และยิ่งใหญ่ที่สุด”

สมาธิมูลกอภินีหารสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต]
๙. สมาธิมูลกสาตัจจการีสูตร

๘. สมาธิมูลกสักกัจจการีสูตร
ว่าด้วยผู้ทำโดยเคารพในสมาธิอันเป็นมูล

[๖๖๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้
บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
แต่ไม่ทำโดยเคารพในสมาธิ
๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำโดยเคารพในสมาธิ แต่ไม่
ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
และไม่ทำโดยเคารพในสมาธิ
๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
และทำโดยเคารพในสมาธิ
ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และ
ทำโดยเคารพในสมาธิ เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นประธาน สูงสุด และยิ่งใหญ่ที่สุด
ภิกษุทั้งหลาย นมสดจากแม่โค ฯลฯ และยิ่งใหญ่ที่สุด”

สมาธิมูลกสักกัจจการีสูตรที่ ๘ จบ

๙. สมาธิมูลกสาตัจจการีสูตร
ว่าด้วยผู้ทำความเพียรต่อเนื่องในสมาธิอันเป็นมูล

[๖๗๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้
บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
แต่ไม่ทำความเพียรต่อเนื่องในสมาธิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต]
๑๐. สมาธิมูลกสัปปายการีสูตร

๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำความเพียรต่อเนื่องในสมาธิ
แต่ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
และไม่ทำความเพียรต่อเนื่องในสมาธิ
๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
และทำความเพียรต่อเนื่องในสมาธิ
ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
และทำความเพียรต่อเนื่องในสมาธิ เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นประธาน สูงสุด
และยิ่งใหญ่ที่สุด
ภิกษุทั้งหลาย นมสดจากแม่โค ฯลฯ และยิ่งใหญ่ที่สุด”

สมาธิมูลกสาตัจจการีสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. สมาธิมูลกสัปปายการีสูตร
ว่าด้วยผู้ทำสัปปายะในสมาธิอันเป็นมูล

[๖๗๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้
บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
แต่ไม่ทำสัปปายะในสมาธิ
๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำสัปปายะในสมาธิ แต่ไม่
ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
และไม่ทำสัปปายะในสมาธิ
๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ
และทำสัปปายะในสมาธิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต] ๑๑. สมาปัตติมูลกฐิติสูตร

ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และ
ทำสัปปายะในสมาธิ เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นประธาน สูงสุด และยิ่งใหญ่ที่สุด
ภิกษุทั้งหลาย นมสดจากแม่โค ฯลฯ และยิ่งใหญ่ที่สุด”

สมาธิมูลกสัปปายการีสูตรที่ ๑๐ จบ
(สมาธิมูลกะ จบ)

๑๑. สมาปัตติมูลกฐิติสูตร
ว่าด้วยการเข้าและการตั้งอยู่ในสมาธิอันเป็นมูล

[๖๗๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้
บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ แต่ไม่
ฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ
๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ
แต่ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ
๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ
และไม่ฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ
๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ และ
ฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ
ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการเข้าสมาธิ และฉลาด
ในการตั้งอยู่ในสมาธิ เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นประธาน สูงสุด และยิ่งใหญ่ที่สุด
ภิกษุทั้งหลาย นมสดจากแม่โค ฯลฯ และยิ่งใหญ่ที่สุด”

สมาปัตติมูลกฐิติสูตรที่ ๑๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต]
๑๓. สมาปัตติมูลกกัลลิตสูตร

๑๒. สมาปัตติมูลกวุฏฐานสูตร
ว่าด้วยการเข้าและการออกจากสมาธิอันเป็นมูล

[๖๗๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้
บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ แต่ไม่
ฉลาดในการออกจากสมาธิ
๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาธิ
แต่ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ
๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ
และไม่ฉลาดในการออกจากสมาธิ
๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ และ
ฉลาดในการออกจากสมาธิ
ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลผู้ได้ฌาน ฯลฯ และยิ่งใหญ่ที่สุด”

สมาปัตติมูลกวุฏฐานสูตรที่ ๑๒ จบ

๑๓. สมาปัตติมูลกกัลลิตสูตร
ว่าด้วยการเข้าและความพร้อมในสมาธิอันเป็นมูล

[๖๗๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้
บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ แต่ไม่
ฉลาดในความพร้อมในสมาธิ
๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในความพร้อมในสมาธิ
แต่ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต]
๑๔. สมาปัตติมูลกอารัมมณสูตร

๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ
และไม่ฉลาดในความพร้อมในสมาธิ
๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ และ
ฉลาดในความพร้อมในสมาธิ
ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น ฯลฯ และยิ่งใหญ่ที่สุด”

สมาปัตติมูลกกัลลิตสูตรที่ ๑๓ จบ

๑๔. สมาปัตติมูลกอารัมมณสูตร
ว่าด้วยการเข้าและอารมณ์ในสมาธิอันเป็นมูล

[๖๗๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้
บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ แต่ไม่
ฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ
๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ แต่
ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ
๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ
และไม่ฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ
๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ และ
ฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ
ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น ฯลฯ และยิ่งใหญ่ที่สุด”

สมาปัตติมูลกอารัมมณสูตรที่ ๑๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต]
๑๖. สมาปัตติมูลกอภินีหารสูตร

๑๕. สมาปัตติมูลกโคจรสูตร
ว่าด้วยการเข้าและโคจรในสมาธิอันเป็นมูล

[๖๗๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้
บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ แต่ไม่
ฉลาดในโคจรในสมาธิ
๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในโคจรในสมาธิ แต่ไม่
ฉลาดในการเข้าสมาธิ
๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ
และไม่ฉลาดในโคจรในสมาธิ
๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ และ
ฉลาดในโคจรในสมาธิ
ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น ฯลฯ และยิ่งใหญ่ที่สุด”

สมาปัตติมูลกโคจรสูตรที่ ๑๕ จบ

๑๖. สมาปัตติมูลกอภินีหารสูตร
ว่าด้วยการเข้าและอภินิหารในสมาธิอันเป็นมูล

[๖๗๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้
บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ แต่ไม่
ฉลาดในอภินิหารในสมาธิ
๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในอภินิหารในสมาธิ
แต่ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต]
๑๗. สมาปัตติมูลกสักกัจจสูตร

๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ
และไม่ฉลาดในอภินิหารในสมาธิ
๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ และ
ฉลาดในอภินิหารในสมาธิ
ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น ฯลฯ และยิ่งใหญ่ที่สุด”

สมาปัตติมูลกอภินีหารสูตรที่ ๑๖ จบ

๑๗. สมาปัตติมูลกสักกัจจสูตร
ว่าด้วยการเข้าและความเคารพในสมาธิอันเป็นมูล

[๖๗๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้
บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ แต่ไม่
ทำโดยเคารพในสมาธิ
๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำโดยเคารพในสมาธิ แต่ไม่
ฉลาดในการเข้าสมาธิ
๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ
และไม่ทำโดยเคารพในสมาธิ
๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ และ
ทำโดยเคารพในสมาธิ
ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น ฯลฯ และยิ่งใหญ่ที่สุด”

สมาปัตติมูลกสักกัจจสูตรที่ ๑๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต]
๑๙. สมาปัตติมูลกสัปปายการีสูตร

๑๘. สมาปัตติมูลกสาตัจจสูตร
ว่าด้วยการเข้าและความเพียรต่อเนื่องในสมาธิอันเป็นมูล

[๖๗๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้
บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ แต่ไม่
ทำความเพียรต่อเนื่องในสมาธิ
๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำความเพียรต่อเนื่องในสมาธิ
แต่ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ
๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ
และไม่ทำความเพียรต่อเนื่องในสมาธิ
๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ และ
ทำความเพียรต่อเนื่องในสมาธิ
ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น ฯลฯ และยิ่งใหญ่ที่สุด

สมาปัตติมูลกสาตัจจสูตรที่ ๑๘ จบ

๑๙. สมาปัตติมูลกสัปปายการีสูตร
ว่าด้วยการเข้าและผู้ทำสัปปายะในสมาธิอันเป็นมูล

[๖๘๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้
บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ แต่ไม่ทำ
สัปปายะในสมาธิ
๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำสัปปายะในสมาธิ แต่ไม่
ฉลาดในการเข้าสมาธิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต]
๒๐-๒๗. ฐิติมูลกวุฏฐานสุตตาทิอัฏฐกะ

๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ
และไม่ทำสัปปายะในสมาธิ
๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ และทำ
สัปปายะในสมาธิ
ภิกษุทั้งหลาย ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการเข้า
สมาธิ และทำสัปปายะในสมาธิ เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นประธาน สูงสุด และ
ยิ่งใหญ่ที่สุด
ภิกษุทั้งหลาย นมสดจากแม่โค นมส้มจากนมสด เนยข้นจากนมส้ม เนยใส
จากเนยข้น ยอดเนยใสจากเนยใส ยอดเนยใสชาวโลกถือว่าเป็นเลิศในบรรดานมสด
เป็นต้นนั้น แม้ฉันใด บุคคลผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการเข้าสมาธิ และทำสัปปายะใน
สมาธิ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นประธาน สูงสุด และ
ยิ่งใหญ่ที่สุด”

สมาปัตติมูลกสัปปายการีสูตรที่ ๑๙ จบ
(สมาปัตติมูลกะ จบ)

๒๐-๒๗. ฐิติมูลกวุฏฐานสุตตาทิอัฏฐกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๘ สูตร มีฐิติมูลกวุฏฐานสูตรเป็นต้น

[๖๘๑-๖๘๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้
บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ
แต่ไม่ฉลาดในการออกจากสมาธิ
๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาธิ
แต่ไม่ฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ
๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ
และไม่ฉลาดในการออกจากสมาธิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๔๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต]
๒๘-๓๔. วุฏฐานมูลกกัลลิตสุตตาทิสัตตกะ

๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ
และฉลาดในการออกจากสมาธิ
ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น ฯลฯ และยิ่งใหญ่ที่สุด

ฐิติมูลกวุฏฐานสุตตาทิอัฏฐกะที่ ๒๐-๒๗ จบ
(พึงขยายพระสูตรทั้ง ๘ สูตร จนถึงฐิติมูลกสัปปายการีสูตรที่ ๒๗ ให้เต็ม
เหมือนสูตรต้น ฐิติมูลกะ จบ)

๒๘-๓๔. วุฏฐานมูลกกัลลิตสุตตาทิสัตตกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๗ สูตร มีวุฏฐานมูลกกัลลิตสูตรเป็นต้น

[๖๘๙-๖๙๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้
บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาธิ
แต่ไม่ฉลาดในความพร้อมในสมาธิ
๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในความพร้อมในสมาธิ
แต่ไม่ฉลาดในการออกจากสมาธิ
๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการออกจากสมาธิ
และไม่ฉลาดในความพร้อมในสมาธิ
๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาธิ
และฉลาดในความพร้อมในสมาธิ
ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น ฯลฯ และยิ่งใหญ่ที่สุด
วุฏฐานมูลกกัลลิตสุตตาทิสัตตกะที่ ๒๘-๓๔ จบ
(พึงขยายพระสูตรทั้ง ๗ สูตร จนถึงวุฏฐานมูลกสัปปายการีสูตรที่ ๓๔
ให้เต็มเหมือนสูตรต้น วุฏฐานมูลกะ จบ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๔๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต]
๔๑-๔๕. อารัมมณมูลกโคจรสุตตาทิปัญจกะ

๓๕-๔๐. กัลลิตมูลกอารัมมณสุตตาทิฉักกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๖ สูตร มีกัลลิตมูลกอารัมมณสูตรเป็นต้น

[๖๙๖-๗๐๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “...
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในความพร้อมในสมาธิ
แต่ไม่ฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ
๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ แต่
ไม่ฉลาดในความพร้อมในสมาธิ
๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในความพร้อมในสมาธิ
และไม่ฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ
๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในความพร้อมในสมาธิ
และฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ
ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลผู้ได้ฌาน ฯลฯ สูงสุด และยิ่งใหญ่ที่สุด

กัลลิตมูลกอารัมมณสุตตาทิฉักกะที่ ๓๕-๔๐ จบ
(พึงขยายพระสูตรอีก ๖ สูตร จนถึงกัลลิตมูลกสัปปายการีสูตรที่ ๔๐ ให้
เต็มเหมือนสูตรต้น กัลลิตมูลกะ จบ)

๔๑-๔๕. อารัมมณมูลกโคจรสุตตาทิปัญจกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๕ สูตร มีอารัมมณมูลกโคจรสูตรเป็นต้น

[๗๐๒-๗๐๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “...
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ แต่
ไม่ฉลาดในโคจรในสมาธิ
๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในโคจรในสมาธิ แต่
ไม่ฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๔๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต]
๔๖-๔๙. โคจรมูลกอภินีหารสุตตาทิจตุกกะ

๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ
และไม่ฉลาดในโคจรในสมาธิ
๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ
และฉลาดในโคจรในสมาธิ
ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลผู้ได้ฌาน ฯลฯ สูงสุด และยิ่งใหญ่ที่สุด

อารัมมณมูลกโคจรสุตตาทิปัญจกะที่ ๔๑-๔๕ จบ
(พึงขยายพระสูตรทั้ง ๕ สูตร จนถึงอารัมมณมูลกสัปปายการีสูตรที่ ๔๕
ให้เต็มเหมือนสูตรต้น ๆ อารัมมณมูลกะ จบ)

๔๖-๔๙. โคจรมูลกอภินีหารสุตตาทิจตุกกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๔ สูตร มีโคจรมูลกอภินีหารสูตรเป็นต้น

[๗๐๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “...
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในโคจรในสมาธิ แต่ไม่
ฉลาดในอภินิหารในสมาธิ
๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในอภินิหารในสมาธิ
แต่ไม่ฉลาดในโคจรในสมาธิ
๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในโคจรในสมาธิ
และไม่ฉลาดในอภินิหารในสมาธิ
๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในโคจรในสมาธิ และ
ฉลาดในอภินิหารในสมาธิ
ภิกษุทั้งหลาย นมสดจากแม่โค นมส้มจากนมสด เนยข้นจากนมส้ม เนยใส
จากเนยข้น ยอดเนยใสจากเนยใส ยอดเนยใสชาวโลกถือว่าเป็นเลิศในบรรดานมสด
เป็นต้นนั้น แม้ฉันใด บุคคลผู้ได้ฌานที่ฉลาดในโคจรในสมาธิ และฉลาดใน
อภินิหารในสมาธิ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ สูงสุด และยิ่งใหญ่ที่สุด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๔๐๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต]
๕๓-๕๒. อภินีหารมูลกสัสกัจจสุตตาทิติกะ

[๗๐๘] “...
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในโคจรสมาธิ แต่ไม่ทำ
โดยเคารพในสมาธิ ฯลฯ พึงเพิ่มข้อความที่เหลือให้พิสดาร
[๗๐๙] “...
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในโคจรในสมาธิ แต่ไม่
ทำความเพียรต่อเนื่องในสมาธิ ฯลฯ
[๗๑๐] “...
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในโคจรในสมาธิ แต่ไม่ทำ
สัปปายะในสมาธิ ฯลฯ

โคจรมูลกอภินีหารสุตตาทิจตุกกะที่ ๔๖-๔๙ จบ
(โคจรมูลกะ จบ)

๕๐-๕๒. อภินีหารมูลกสักกัจจสุตตาทิติกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๓ สูตร มีอภินีหารมูลกสักกัจจสูตรเป็นต้น

[๗๑๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “...
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในอภินิหารในสมาธิ
แต่ไม่ทำโดยเคารพในสมาธิ
๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำโดยเคารพในสมาธิ แต่ไม่
ฉลาดในอภินิหารในสมาธิ
๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในอภินิหารในสมาธิ
และไม่ทำโดยเคารพในสมาธิ
๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในอภินิหารในสมาธิ
และทำโดยเคารพในสมาธิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๔๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต]
๕๓-๕๔. สักกัจจมูลกสาตัจจการีสุตตาทิทุกะ

ภิกษุทั้งหลาย ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลผู้ได้ฌาน ฯลฯ และยิ่งใหญ่
ที่สุด
[๗๑๒] “...
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในอภินิหารในสมาธิ
แต่ไม่ทำความเพียรต่อเนื่องในสมาธิ ฯลฯ
[๗๑๓] “...
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในอภินิหารในสมาธิ
แต่ไม่ทำสัปปายะในสมาธิ ฯลฯ

อภินีหารมูลกสักกัจจสุตตาทิติกะที่ ๕๐-๕๒ จบ
(อภินีหารมูลกะ จบ)

๕๓-๕๔. สักกัจจมูลกสาตัจจการีสุตตาทิทุกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๒ สูตร มีสักกัจจมูลกสาตัจจการีสูตรเป็นต้น

[๗๑๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “...
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำโดยเคารพในสมาธิ แต่ไม่
ทำความเพียรต่อเนื่องในสมาธิ
๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำความเพียรต่อเนื่องในสมาธิ
แต่ไม่ทำโดยเคารพในสมาธิ
๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ทำโดยเคารพในสมาธิ
และไม่ทำความเพียรต่อเนื่องในสมาธิ
๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำโดยเคารพในสมาธิและ
ทำความเพียรต่อเนื่องในสมาธิ
ภิกษุทั้งหลาย ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลผู้ได้ฌาน ฯลฯ สูงสุด
และยิ่งใหญ่ที่สุด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๔๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต]
๕๕. สาตัจจมูลกสัปปายการีสูตร

[๗๑๕] “...
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำโดยเคารพในสมาธิ แต่ไม่ทำ
สัปปายะในสมาธิ ฯลฯ

สักกัจจมูลกสาตัจจการีสุตตาทิทุกะที่ ๕๓-๕๔ จบ

๕๕. สาตัจจมูลกสัปปายการีสูตร
ว่าด้วยความเพียรต่อเนื่องและผู้ทำสัปปายะในสมาธิอันเป็นมูล

[๗๑๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้
บุคคลผู้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำความเพียรต่อเนื่องในสมาธิ
แต่ไม่ทำสัปปายะในสมาธิ
๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำสัปปายะในสมาธิ แต่ไม่
ทำความเพียรต่อเนื่องในสมาธิ
๓. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ทำความเพียรต่อเนื่องในสมาธิ
และไม่ทำสัปปายะในสมาธิ
๔. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำความเพียรต่อเนื่องในสมาธิ
และทำสัปปายะในสมาธิ
ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลผู้ได้ฌานที่ทำความเพียรต่อเนื่องในสมาธิ
และทำสัปปายะในสมาธิ เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นประธาน สูงสุด และยิ่งใหญ่ที่สุด
ภิกษุทั้งหลาย นมสดจากแม่โค นมส้มจากนมสด เนยข้นจากนมส้ม เนยใส
จากเนยข้น ยอดเนยใสจากเนยใส ยอดเนยใสชาวโลกถือว่าเป็นเลิศในบรรดานมสด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๔๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต] รวมพระสูตรที่มีในสังยุต

เป็นต้นนั้น แม้ฉันใด บุคคลผู้ได้ฌานที่ทำความเพียรต่อเนื่องในสมาธิ และทำ
สัปปายะในสมาธิ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นประธาน สูงสุด
และยิ่งใหญ่ที่สุด”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระดำรัสนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดี ต่างชื่นชม
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วแล

สาตัจจมูลกสัปปายการีสูตรที่ ๕๕ จบ
(พึงขยายความพระสูตรทั้ง ๕๕ นี้ให้พิสดาร)
ฌานสังยุต จบ

รวมพระสูตรที่มีในสังยุตนี้ คือ

๑. สมาธิมูลกสมาปัตติสูตร ๒. สมาธิมูลกฐิติสูตร
๓. สมาธิมูลกวุฏฐานสูตร ๔. สมาธิมูลกกัลลิตสูตร
๕. สมาธิมูลกอารัมมณสูตร ๖. สมาธิมูลกโคจรสูตร
๗. สมาธิมูลกอภินีหารสูตร ๘. สมาธิมูลกสักกัจจการีสูตร
๙. สมาธิมูลกสาตัจจการีสูตร ๑๐. สมาธิมูลกสัปปายการีสูตร
๑๑. สมาปัตติมูลกฐิติสูตร ๑๒. สมาปัตติมูลกวุฏฐานสูตร
๑๓. สมาปัตติมูลกกัลลิตสูตร ๑๔. สมาปัตติมูลกอารัมมณสูตร
๑๕. สมาปัตติมูลกโคจรสูตร ๑๖. สมาปัตติมูลกอภินีหารสูตร
๑๗. สมาปัตติมูลกสักกัจจสูตร ๑๘. สมาปัตติมูลกสาตัจจสูตร
๑๙. สมาปัตติมูลกสัปปายการีสูตร
๒๐-๒๗. ฐิติมูลกวุฏฐานสุตตาทิอัฏฐกะ
๒๘-๓๔. วุฏฐานมูลกกัลลิตสุตตาทิสัตตกะ
๓๕-๔๐. กัลลิตมูลกอารัมมณสุตตาทิฉักกะ
๔๑-๔๕. อารัมมณมูลกโคจรสุตตาทิปัญจกะ
๔๖-๔๙. โคจรมูลกอภินีหารสุตตาทิจตุกกะ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑๓. ฌานสังยุต]
รวมสังยุตที่มีในขันธวารวรรค

๕๐-๕๒. อภินีหารมูลกสักกัจจสุตตาทิติกะ
๕๓-๕๔. สักกัจจมูลกสาตัจจการีสุตตาทิทุกะ
๕๕. สาตัจจมูลกสัปปายการีสูตร

ขันธวารวรรคที่ ๓ จบ

รวมสังยุตที่มีในขันธวารวรรคนี้ คือ

๑. ขันธสังยุต ๒. ราธสังยุต
๓. ทิฏฐิสังยุต ๔. โอกกันตสังยุต
๕. อุปปาทสังยุต ๖. กิเลสสังยุต
๗. สารีปุตตสังยุต ๘. นาคสังยุต
๙. สุปัณณสังยุต ๑๐. คันธัพพกายสังยุต
๑๑. วลาหกสังยุต ๑๒. วัจฉโคตตสังยุต
๑๓. ฌานสังยุต

ขันธวารวรรคสังยุต จบบริบูรณ์


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ สุตตันตปิฎกที่ ๐๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค จบ





eXTReMe Tracker