ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ



จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อความสะดวก และสวยงาม
(เฉพาะหน้าจอใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์)
กรุณาคลิก จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อให้กรอบ
ค้นข้อความ ปรากฎที่ด้านซ้ายของหน้า

พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ สุตตันตปิฎกที่ ๐๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๑. พุทธวรรค ๑.ปฏิจจสมุปปาทสูตร

พระสุตตันตปิฎก
สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๑. นิทานสังยุต
๑. พุทธวรรค
หมวดว่าด้วยพระพุทธเจ้า
๑. ปฏิจจสมุปปาทสูตร
ว่าด้วยปฏิจจสมุปบาท

[๑] ข้าพเจ้า๑ ได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลาย
มาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มี
พระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปฏิจจสมุปบาทแก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๑. พุทธวรรค ๑. ปฏิจจสมุปปาทสูตร

ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
‘ภิกษุทั้งหลาย ปฏิจจสมุปบาท๑ เป็นอย่างไร
คือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ(ความเศร้าโศก) ปริเทวะ (ความ
คร่ำครวญ) ทุกข์(ความทุกข์กาย) โทมนัส(ความทุกข์ใจ) และอุปายาส(ความ
คับแค้นใจ) จึงมี
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท
อนึ่ง เพราะอวิชชาดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ สังขารจึงดับ
เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต] ๑. พุทธวรรค ๒. วิภังคสูตร

เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ
เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงดับ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้’๑
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาคแล้ว

ปฏิจจสมุปปาทสูตรที่ ๑ จบ

๒. วิภังคสูตร
ว่าด้วยการจำแนกปฏิจจสมุปบาท

[๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง จักจำแนกปฏิจจสมุปบาทแก่เธอทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต] ๑. พุทธวรรค ๒. วิภังคสูตร

‘ภิกษุทั้งหลาย ปฏิจจสมุปบาท เป็นอย่างไร
คือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงมี
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
ชราและมรณะ เป็นอย่างไร
คือ ความแก่ ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด ความมีผมหงอก ความมีหนัง
เหี่ยวย่น ความเสื่อมอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้น ๆ ของเหล่าสัตว์
นั้น ๆ นี้เรียกว่า ชรา มรณะ เป็นอย่างไร คือ ความจุติ ความเคลื่อนไป ความ
ทำลายไป ความหายไป ความตายกล่าวคือมฤตยู การทำกาละ ความแตกแห่งขันธ์
ความทอดทิ้งร่างกาย ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์ของเหล่าสัตว์นั้น ๆ จากหมู่สัตว์นั้น ๆ
นี้เรียกว่า มรณะ
ชราและมรณะ ดังพรรณนามาฉะนี้ เรียกว่า ชราและมรณะ
ชาติ เป็นอย่างไร
คือ ความเกิด ความเกิดพร้อม ความหยั่งลง ความบังเกิดเฉพาะ ความ
บังเกิดขึ้นเฉพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะ ในหมู่สัตว์นั้น ๆ ของ
เหล่าสัตว์นั้น ๆ นี้เรียกว่า ชาติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต] ๑. พุทธวรรค ๒. วิภังคสูตร

ภพ มีเท่าไร
ภพมี ๓ ประการนี้ คือ
๑. กามภพ (ภพที่เป็นกามาวจร)
๒. รูปภพ (ภพที่เป็นรูปาวจร)
๓. อรูปภพ (ภพที่เป็นอรูปาวจร)
นี้เรียกว่า ภพ
อุปาทาน มีเท่าไร
อุปาทานมี ๔ ประการนี้ คือ
๑. กามุปาทาน (ความยึดมั่นในกาม)
๒. ทิฏฐุปาทาน (ความยึดมั่นในทิฏฐิ)
๓. สีลัพพตุปาทาน (ความยึดมั่นในศีลพรต)
๔. อัตตวาทุปาทาน (ความยึดมั่นในวาทะว่ามีอัตตา)
นี้เรียกว่า อุปาทาน
ตัณหา มีเท่าไร
ตัณหามี ๖ ประการนี้ คือ
๑. รูปตัณหา (ความทะยานอยากได้รูป)
๒. สัททตัณหา (ความทะยานอยากได้เสียง)
๓. คันธตัณหา (ความทะยานอยากได้กลิ่น)
๔. รสตัณหา (ความทะยานอยากได้รส)
๕. โผฏฐัพพตัณหา (ความทะยานอยากได้โผฏฐัพพะ)
๖. ธัมมตัณหา (ความทะยานอยากได้ธรรมารมณ์)
นี้เรียกว่า ตัณหา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต] ๑. พุทธวรรค ๒. วิภังคสูตร

เวทนา มีเท่าไร
เวทนามี ๖ ประการนี้ คือ
๑. จักขุสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางตา)
๒. โสตสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางหู)
๓. ฆานสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางจมูก)
๔. ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางลิ้น)
๕. กายสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางกาย)
๖. มโนสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางใจ)
นี้เรียกว่า เวทนา

ผัสสะ มีเท่าไร
ผัสสะมี ๖ ประการนี้ คือ
๑. จักขุสัมผัส (ความกระทบทางตา)
๒. โสตสัมผัส (ความกระทบทางหู)
๓. ฆานสัมผัส (ความกระทบทางจมูก)
๔. ชิวหาสัมผัส (ความกระทบทางลิ้น)
๕. กายสัมผัส (ความกระทบทางกาย)
๖. มโนสัมผัส (ความกระทบทางใจ)
นี้เรียกว่า ผัสสะ
สฬายตนะ มีเท่าไร
สฬายตนะมี ๖ ประการนี้ คือ
๑. จักขวายตนะ (อายตนะคือตา)
๒. โสตายตนะ (อายตนะคือหู)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต] ๑. พุทธวรรค ๒. วิภังคสูตร

๓. ฆานายตนะ (อายตนะคือจมูก)
๔. ชิวหายตนะ (อายตนะคือลิ้น)
๕. กายายตนะ (อายตนะคือกาย)
๖. มนายตนะ (อายตนะคือใจ)
นี้เรียกว่า สฬายตนะ
นามรูป เป็นอย่างไร
คือ เวทนา(ความเสวยอารมณ์) สัญญา(ความจำได้หมายรู้) เจตนา(ความจงใจ)
ผัสสะ(ความกระทบ หรือสัมผัส) มนสิการ(ความกระทำไว้ในใจ) นี้เรียกว่า นาม
มหาภูต๑ ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูต ๔ นี้เรียกว่า รูป
นามและรูปดังพรรณนามาฉะนี้ เรียกว่า นามรูป
วิญญาณ มีเท่าไร
วิญญาณมี ๖ ประการนี้ คือ
๑. จักขุวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางตา)
๒. โสตวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางหู)
๓. ฆานวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางจมูก)
๔. ชิวหาวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางลิ้น)
๕. กายวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางกาย)
๖. มโนวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางใจ)
นี้เรียกว่า วิญญาณ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๑. พุทธวรรค ๒. ปฏิปทาสูตร

สังขารทั้งหลาย มีเท่าไร
สังขารมี ๓ ประการนี้ คือ
๑. กายสังขาร (สภาวะที่ปรุงแต่งกาย)
๒. วจีสังขาร (สภาวะที่ปรุงแต่งวาจา)
๓. จิตตสังขาร (สภาวะที่ปรุงแต่งใจ)
นี้เรียกว่า สังขารทั้งหลาย
อวิชชา เป็นอย่างไร
คือ ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย(เหตุเกิดแห่งทุกข์) ความไม่รู้ใน
ทุกขนิโรธ(ความดับแห่งทุกข์) ความไม่รู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา(ข้อปฏิบัติที่ให้ถึง
ความดับแห่งทุกข์) นี้เรียกว่า อวิชชา
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
ฯลฯ
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
อนึ่ง เพราะอวิชชาดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ สังขารจึงดับ
เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
ฯลฯ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้

วิภังคสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๑. พุทธวรรค ๓. ปฏิปทาสูตร

๓. ปฏิปทาสูตร
ว่าด้วยปฏิปทา

[๓] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงมิจฉาปฏิปทา(ข้อปฏิบัติผิด) และสัมมาปฏิปทา
(ข้อปฏิบัติถูก) แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว” ภิกษุ
เหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย มิจฉาปฏิปทา เป็นอย่างไร
คือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
ฯลฯ
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
นี้เรียกว่า มิจฉาปฏิปทา๑
ภิกษุทั้งหลาย สัมมาปฏิปทา เป็นอย่างไร
คือ เพราะอวิชชาดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ สังขารจึงดับ
เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
ฯลฯ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
นี้เรียกว่า สัมมาปฏิปทา”

ปฏิปทาสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต] ๑. พุทธวรรค ๔. วิปัสสีสูตร

๔. วิปัสสีสูตร
ว่าด้วยพระพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี

[๔] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี
ก่อนแต่ตรัสรู้เมื่อเป็นพระโพธิสัตว์ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ได้มีความคิดคำนึงอย่างนี้ว่า
‘โลก๑นี้ถึงความคับแค้น จึงเกิด แก่ ตาย จุติ และอุบัติ ก็บุคคลไม่รู้อุบายสลัดออก
จากทุกข์คือชราและมรณะนี้ เมื่อไรจึงจะพ้นจากทุกข์คือชราและมรณะนี้ได้’
จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรมี ชราและมรณะจึงมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย
ชราและมรณะจึงมี’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญา
ว่า ‘เมื่อชาติมี ชราและมรณะจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะจึงมี’
จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรมี ชาติจึงมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย ชาติ
จึงมี’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า ‘เมื่อภพมี
ชาติจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี’
จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรมี ภพจึงมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย ภพจึงมี’
เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า ‘เมื่ออุปาทานมี
ภพจึงมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี’
จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรมี อุปาทานจึงมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย
อุปาทานจึงมี’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า
‘เมื่อตัณหามี อุปาทานจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี’
จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรมี ตัณหาจึงมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย
ตัณหาจึงมี’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า
‘เมื่อเวทนามี ตัณหาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี’


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต] ๑. พุทธวรรค ๔. วิปัสสีสูตร

จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรมี เวทนาจึงมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย
เวทนาจึงมี’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า
‘เมื่อผัสสะมี เวทนาจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี’
จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรมี ผัสสะจึงมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย
ผัสสะจึงมี’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า
‘เมื่อสฬายตนะมี ผัสสะจึงมี เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี’
จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรมี สฬายตนะจึงมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย
สฬายตนะจึงมี’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า
‘เมื่อนามรูปมี สฬายตนะจึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี’
จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรมี นามรูปจึงมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย
นามรูปจึงมี’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า
‘เมื่อวิญญาณมี นามรูปจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี’
จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรมี วิญญาณจึงมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย
วิญญาณจึงมี’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า
‘เมื่อสังขารมี วิญญาณจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี‘๑
จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรมี สังขารทั้งหลายจึงมี เพราะอะไรเป็น
ปัจจัย สังขารทั้งหลายจึงมี’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วย
พระปัญญาว่า ‘เมื่ออวิชชามี สังขารทั้งหลายจึงมี เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขาร
ทั้งหลายจึงมี’


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต] ๑. พุทธวรรค ๔. วิปัสสีสูตร

อนึ่ง เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารทั้งหลายจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย
วิญญาณจึงมี ฯลฯ ดังพรรณนามาฉะนี้ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้
ด้วยประการฉะนี้
ภิกษุทั้งหลาย จักขุ๑ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่างในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย
ได้ฟังมาก่อนได้เกิดขึ้นแก่พระวิปัสสีโพธิสัตว์ว่า ‘สมุทัย(ความเกิดขึ้น) สมุทัย(ความ
เกิดขึ้น)’
จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี เพราะอะไรดับ
ชราและมรณะจึงดับ’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระ-
ปัญญาว่า ‘เมื่อชาติไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี เพราะชาติดับ ชราและมรณะจึงดับ’
จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรไม่มี ชาติจึงไม่มี เพราะอะไรดับ ชาติจึงดับ’
เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า ‘เมื่อภพไม่มี
ชาติจึงไม่มี เพราะภพดับ ชาติจึงดับ’
จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรไม่มี ภพจึงไม่มี เพราะอะไรดับ ภพจึงดับ’
เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า ‘เมื่ออุปาทาน
ไม่มี ภพจึงไม่มี เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ’
จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรไม่มี อุปาทานจึงไม่มี เพราะอะไรดับ
อุปาทานจึงดับ’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า
‘เมื่อตัณหาไม่มี อุปาทานจึงไม่มี เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ’
จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรไม่มี ตัณหาจึงไม่มี เพราะอะไรดับ ตัณหา
จึงดับ’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า ‘เมื่อ
เวทนาไม่มี ตัณหาจึงไม่มี เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ’
จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรไม่มี เวทนาจึงไม่มี เพราะอะไรดับ เวทนา
จึงดับ’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า ‘เมื่อ
ผัสสะไม่มี เวทนาจึงไม่มี เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ’


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต] ๑. พุทธวรรค ๔. วิปัสสีสูตร

จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรไม่มี ผัสสะจึงไม่มี เพราะอะไรดับ ผัสสะ
จึงดับ’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า ‘เมื่อ
สฬายตนะไม่มี ผัสสะจึงไม่มี เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ’
จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี เพราะอะไรดับ
สฬายตนะจึงดับ’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า
‘เมื่อนามรูปไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ’
จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรไม่มี นามรูปจึงไม่มี เพราะอะไรดับ
นามรูปจึงดับ’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า
‘เมื่อวิญญาณไม่มี นามรูปจึงไม่มี เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ’
จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรไม่มี วิญญาณจึงไม่มี เพราะอะไรดับ
วิญญาณจึงดับ’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า
‘เมื่อสังขารทั้งหลายไม่มี วิญญาณจึงไม่มี เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ’
จากนั้น ทรงพระดำริว่า ‘เมื่ออะไรไม่มี สังขารทั้งหลายจึงไม่มี เพราะอะไรดับ
สังขารจึงดับ’ เพราะทรงมนสิการโดยแยบคาย จึงได้ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาว่า
‘เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารทั้งหลายจึงไม่มี เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ’
อนึ่ง เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ฯลฯ
ดังพรรณนามาฉะนี้ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
ภิกษุทั้งหลาย จักขุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่างในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย
ได้ฟังมาก่อนได้เกิดขึ้นแก่พระวิปัสสีโพธิสัตว์ว่า ‘นิโรธ(ความดับ) นิโรธ(ความดับ)”

วิปัสสีสูตรที่ ๔ จบ
[พระพุทธเจ้าทั้ง ๗ พระองค์ ก็พึงขยายความอย่างนี้]


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๑. พุทธวรรค ๘.โกนาคมนสูตร

๕. สิขีสูตร
ว่าด้วยพระพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี

[๕] “ภิกษุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า
สิขี ... ”

สิขีสูตรที่ ๕ จบ

๖. เวสสภูสูตร
ว่าด้วยพระพุทธเจ้าพระนามว่าเวสสภู

[๖] “ภิกษุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า
เวสสภู ... ”

เวสสภูสูตรที่ ๖ จบ

๗. กกุสันธสูตร
ว่าด้วยพระพุทธเจ้าพระนามว่ากกุสันธะ

[๗] “ภิกษุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า
กกุสันธะ ... ”

กกุสันธสูตรที่ ๗ จบ

๘. โกนาคมนสูตร
ว่าด้วยพระพุทธเจ้าพระนามว่าโกนาคมนะ

[๘] “ภิกษุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า
โกนาคมนะ ... ”

โกนาคมนสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๑. พุทธวรรค ๑๐. โคตมสูตร

๙. กัสสปสูตร
ว่าด้วยพระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ

[๙] “ภิกษุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า
กัสสปะ ... ”

กัสสปสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. โคตมสูตร
ว่าด้วยพระพุทธเจ้าพระนามว่าโคตมะ

[๑๐] “ภิกษุทั้งหลาย ก่อนแต่ตรัสรู้ เมื่อเราเป็นโพธิสัตว์ยังไม่ได้ตรัสรู้ ได้มี
ความคิดคำนึงอย่างนี้ว่า ‘โลกนี้ถึงความคับแค้น จึงเกิด แก่ ตาย จุติ และอุบัติ
ก็บุคคลไม่รู้อุบายสลัดออกจากทุกข์ คือชราและมรณะนี้ เมื่อไรจึงจะพ้นจากทุกข์
คือ ชราและมรณะนี้ได้’
เรานั้นได้มีความคิดคำนึงอย่างนี้ว่า ‘เมื่ออะไรมี ชราและมรณะจึงมี เพราะอะไร
เป็นปัจจัย ชราและมรณะจึงมี’ เพราะมนสิการโดยแยบคาย จึงได้รู้แจ้งด้วยปัญญาว่า
‘เมื่อชาติมี ชราและมรณะจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะจึงมี’
จากนั้น จึงดำริว่า ‘เมื่ออะไรมี ชาติจึงมี ฯลฯ ภพ ... อุปาทาน ...
ตัณหา ... เวทนา ... ผัสสะ ... สฬายตนะ ... นามรูป ... วิญญาณ ... สังขาร
ทั้งหลายจึงมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย สังขารทั้งหลายจึงมี’ เพราะมนสิการโดย
แยบคาย จึงได้รู้แจ้งด้วยปัญญาว่า ‘เมื่ออวิชชามี สังขารทั้งหลายจึงมี เพราะ
อวิชชาเป็นปัจจัย สังขารทั้งหลายจึงมี’
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารทั้งหลายจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย
วิญญาณจึงมี ฯลฯ ดังพรรณนามาฉะนี้ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้
มีได้ด้วยประการฉะนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๑. พุทธวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ภิกษุทั้งหลาย จักขุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่างในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย
ได้ฟังมาก่อนได้เกิดขึ้นแก่เราว่า ‘สมุทัย สมุทัย’
จากนั้น จึงดำริว่า ‘เมื่ออะไรไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี เพราะอะไรดับ ชรา
และมรณะจึงดับ’ เพราะมนสิการโดยแยบคาย จึงได้รู้แจ้งด้วยปัญญาว่า ‘เมื่อชาติ
ไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี เพราะชาติดับ ชราและมรณะจึงดับ’
จากนั้น จึงดำริว่า ‘เมื่ออะไรไม่มี ชาติจึงไม่มี ฯลฯ ภพ ... อุปาทาน ...
ตัณหา ... เวทนา ... ผัสสะ ... สฬายตนะ ... นามรูป ... วิญญาณ ... สังขาร
ทั้งหลายจึงไม่มี เพราะอะไรดับ สังขารจึงดับ’ เพราะมนสิการโดยแยบคาย จึงได้
รู้แจ้งด้วยปัญญาว่า ‘เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารทั้งหลายจึงไม่มี เพราะอวิชชาดับ
สังขารจึงดับ’
อนึ่ง เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ฯลฯ
ดังพรรณนามาฉะนี้ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
ภิกษุทั้งหลาย จักขุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่างในธรรมทั้งหลายที่
ไม่เคยได้ฟังมาก่อนได้เกิดขึ้นแก่เราว่า ‘นิโรธ นิโรธ”

โคตมสูตรที่ ๑๐ จบ
พุทธวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฏิจจสมุปปาทสูตร ๒. วิภังคสูตร
๓. ปฏิปทาสูตร ๔. วิปัสสีสูตร
๕. สิขีสูตร ๖. เวสสภูสูตร
๗. กกุสันธสูตร ๘. โกนาคมนสูตร
๙. กัสสปสูตร ๑๐. โคตมสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๒. อาหารวรรค ๑. อาหารสูตร

๒. อาหารวรรค
หมวดว่าด้วยอาหาร

๑. อาหารสูตร
ว่าด้วยอาหาร

[๑๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย อาหาร ๔ อย่างนี้ เป็นไปเพื่อการดำรงอยู่ของหมู่สัตว์ผู้เกิดแล้ว
หรือเพื่ออนุเคราะห์หมู่สัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด๑
อาหาร ๔ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. กวฬิงการาหาร (อาหาร คือคำข้าว) ที่หยาบหรือละเอียด
๒. ผัสสาหาร (อาหาร คือผัสสะ)
๓. มโนสัญเจตนาหาร (อาหาร คือมโนสัญเจตนา)
๔. วิญญาณาหาร (อาหาร คือวิญญาณ)
อาหาร ๔ อย่างนี้ เป็นไปเพื่อการดำรงอยู่ของหมู่สัตว์ผู้เกิดแล้ว หรือเพื่อ
อนุเคราะห์หมู่สัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด
อาหาร ๔ อย่างนี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด
มีอะไรเป็นแดนเกิด


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๒. อาหารวรรค ๑. อาหารสูตร

อาหาร ๔ อย่างนี้ มีตัณหาเป็นเหตุ มีตัณหาเป็นเหตุเกิด มีตัณหาเป็นกำเนิด
มีตัณหาเป็นแดนเกิด
อนึ่ง ตัณหานี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไร
เป็นแดนเกิด
ตัณหามีเวทนาเป็นเหตุ มีเวทนาเป็นเหตุเกิด มีเวทนาเป็นกำเนิด มีเวทนา
เป็นแดนเกิด
เวทนานี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็น
แดนเกิด
เวทนามีผัสสะเป็นเหตุ มีผัสสะเป็นเหตุเกิด มีผัสสะเป็นกำเนิด มีผัสสะเป็น
แดนเกิด
ผัสสะนี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็น
แดนเกิด
ผัสสะมีสฬายตนะเป็นเหตุ มีสฬายตนะเป็นเหตุเกิด มีสฬายตนะเป็นกำเนิด
มีสฬายตนะเป็นแดนเกิด
สฬายตนะนี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็น
แดนเกิด
สฬายตนะมีนามรูปเป็นเหตุ มีนามรูปเป็นเหตุเกิด มีนามรูปเป็นกำเนิด
มีนามรูปเป็นแดนเกิด
นามรูปนี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็น
แดนเกิด
นามรูปมีวิญญาณเป็นเหตุ มีวิญญาณเป็นเหตุเกิด มีวิญญาณเป็นกำเนิด
มีวิญญาณเป็นแดนเกิด
วิญญาณนี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็น
แดนเกิด
วิญญาณมีสังขารเป็นเหตุ มีสังขารเป็นเหตุเกิด มีสังขารเป็นกำเนิด มีสังขาร
เป็นแดนเกิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๒. อาหารวรรค ๒.โมลิยผัคคุนสูตร

อนึ่ง สังขารเหล่านี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด
มีอะไรเป็นแดนเกิด
สังขารทั้งหลายมีอวิชชาเป็นเหตุ มีอวิชชาเป็นเหตุเกิด มีอวิชชาเป็นกำเนิด มี
อวิชชาเป็นแดนเกิด
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารทั้งหลายจึงมี เพราะสังขารเป็น
ปัจจัย วิญญาณจึงมี ฯลฯ ดังพรรณนามาฉะนี้ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้
มีได้ด้วยประการฉะนี้
อนึ่ง เพราะอวิชชานั้นดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ
วิญญาณจึงดับ ฯลฯ ดังพรรณนามาฉะนี้ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วย
ประการฉะนี้”

อาหารสูตรที่ ๑ จบ

๒. โมลิยผัคคุนสูตร
ว่าด้วยพระโมลิยผัคคุนะ

[๑๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย อาหาร ๔ อย่างนี้ เป็นไปเพื่อการดำรงอยู่ของหมู่สัตว์ผู้เกิดแล้ว
หรือเพื่ออนุเคราะห์หมู่สัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด๑
อาหาร ๔ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. กวฬิงการาหารที่หยาบหรือละเอียด
๒. ผัสสาหาร
๓. มโนสัญเจตนาหาร
๔. วิญญาณาหาร
อาหาร ๔ อย่างนี้ เป็นไปเพื่อการดำรงอยู่ของหมู่สัตว์ผู้เกิดแล้ว หรือเพื่อ
อนุเคราะห์หมู่สัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๒. อาหารวรรค ๒.โมลิยผัคคุนสูตร

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระโมลิยผัคคุนะได้ทูลถามพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใครหนอ ย่อมกลืนกินวิญญาณาหาร’
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสตอบว่า ‘ปัญหานี้ไม่สมควรถาม เรามิได้กล่าวว่า
‘ย่อมกลืนกิน’ ถ้าเราพึงกล่าวว่า ‘ย่อมกลืนกิน’ ในคำกล่าวนั้น ปัญหาที่สมควร
ถามก็คือ ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใครหนอย่อมกลืนกิน’ เมื่อเรามิได้กล่าวอย่างนั้น
ผู้ที่ถามอย่างนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วิญญาณาหารมีเพื่ออะไร’ ปัญหาของ
ผู้นั้นจึงเป็นปัญหาที่สมควรถาม ในปัญหานั้น คำตอบที่สมควรคือ ‘วิญญาณาหาร
เป็นปัจจัยเพื่อเกิดในภพใหม่ต่อไป เมื่อวิญญาณาหารนั้น เกิดแล้ว สฬายตนะจึงมี
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใครเล่าย่อมถูกต้อง”
“ปัญหานี้ไม่สมควรถาม เรามิได้กล่าวว่า ‘ย่อมถูกต้อง’ ถ้าเราพึงกล่าวว่า
‘ย่อมถูกต้อง” ในคำกล่าวนั้น ปัญหาที่สมควรถามก็คือ ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ใครเล่าย่อมถูกต้อง’ เมื่อเรามิได้กล่าวอย่างนั้น ผู้ที่ถามอย่างนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ เพราะอะไรเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี’ ปัญหาของผู้นั้นจึงเป็นปัญหาที่สมควร
ถาม ในปัญหานั้น คำตอบที่สมควรคือ ‘เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใครเล่าย่อมเสวยอารมณ์”
“ปัญหานี้ไม่สมควรถาม’ เรามิได้กล่าวว่า ‘ย่อมเสวยอารมณ์’ ถ้าเราพึง
กล่าวว่า ‘ย่อมเสวยอารมณ์’ ในคำกล่าวนั้น ปัญหาที่สมควรถามก็คือ ‘ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ใครหนอย่อมเสวยอารมณ์’ เมื่อเรามิได้กล่าวอย่างนั้น ผู้ที่ถามอย่างนี้ว่า
‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะอะไรเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี’ ปัญหาของผู้นั้นจึงเป็นปัญหา
ที่สมควรถาม ในปัญหานั้น คำตอบที่สมควรคือ ‘เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใครเล่าย่อมทะยานอยาก”
“ปัญหานี้ไม่สมควรถาม เรามิได้กล่าวว่า ‘ย่อมทะยานอยาก’ ถ้าเราพึง
กล่าวว่า ‘ย่อมทะยานอยาก’ ในคำกล่าวนั้น ปัญหาที่สมควรถามก็คือ ‘ข้าแต่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๒. อาหารวรรค ๓. สมณพราหมณสูตร

พระองค์ผู้เจริญ ใครเล่าย่อมทะยานอยาก’ เมื่อเรามิได้กล่าวอย่างนี้ ผู้ที่ถามอย่างนี้
ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะอะไรเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี’ ปัญหาของผู้นั้นจึงเป็น
ปัญหาที่สมควรถาม ในปัญหานั้น คำตอบที่สมควรคือ ‘เพราะเวทนาเป็นปัจจัย
ตัณหาจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใครเล่าย่อมถือมั่น”
“ปัญหานี้ไม่สมควรถาม เรามิได้กล่าวว่า ‘ย่อมถือมั่น’ ถ้าเราพึงกล่าวว่า
‘ย่อมถือมั่น’ ในคำกล่าวนั้นปัญหาที่สมควรถามก็คือ ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใครเล่า
ย่อมถือมั่น’ เมื่อเรามิได้กล่าวอย่างนี้ ผู้ที่ถามอย่างนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
เพราะอะไรเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี’ ปัญหาของผู้นั้นจึงเป็นปัญหาที่สมควรถาม
ในปัญหานั้น คำตอบที่สมควรคือ ‘เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี เพราะ
อุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี’ ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วย
ประการฉะนี้
ผัคคุนะ ก็เพราะผัสสายตนะทั้ง ๖ ดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ ผัสสะจึงดับ
เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับ
อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะ
ชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงดับ ความดับ
แห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้”

โมลิยผัคคุนสูตรที่ ๒ จบ

๓. สมณพราหมณสูตร
ว่าด้วยสมณพราหมณ์

[๑๓] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่รู้ชัดชราและมรณะ
ไม่รู้ชัดความเกิดแห่งชราและมรณะ ไม่รู้ชัดความดับแห่งชราและมรณะ ไม่รู้ชัดปฏิปทา
ที่ให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๒. อาหารวรรค ๔. ทุติยสมณพราหมณสูตร

ไม่รู้ชัดชาติ ฯลฯ ไม่รู้ชัดภพ ... อุปาทาน ... ตัณหา ... เวทนา ... ผัสสะ
สฬายตนะ ... นามรูป ... วิญญาณ ...
ไม่รู้ชัดสังขารทั้งหลาย ไม่รู้ชัดความเกิดแห่งสังขาร ไม่รู้ชัดความดับแห่งสังขาร
ไม่รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสังขาร สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ไม่จัดว่า
เป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือไม่จัดว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้น
ก็ไม่ทำให้แจ้งประโยชน์ของความเป็นสมณะ และประโยชน์ของความเป็นพราหมณ์
ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ชัดชราและมรณะ รู้ชัดความเกิด
แห่งชราและมรณะ รู้ชัดความดับแห่งชราและมรณะ รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับ
แห่งชราและมรณะ รู้ชัดชาติ ฯลฯ รู้ชัดภพ ... อุปาทาน ... ตัณหา ... เวทนา ...
ผัสสะ ... สฬายตนะ ... นามรูป ... วิญญาณ ...
รู้ชัดสังขารทั้งหลาย รู้ชัดความเกิดแห่งสังขาร รู้ชัดความดับแห่งสังขาร รู้ชัด
ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสังขาร สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น จัดว่าเป็นสมณะ
ในหมู่สมณะ และจัดว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้นก็ทำให้แจ้ง
ประโยชน์ของความเป็นสมณะ และประโยชน์ของความเป็นพราหมณ์ด้วยปัญญา
อันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”

สมณพราหมณสูตรที่ ๓ จบ

๔. ทุติยสมณพราหมณสูตร
ว่าด้วยสมณพราหมณ์ สูตรที่ ๒

[๑๔] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่รู้ชัดธรรมเหล่านี้
ไม่รู้ชัดความเกิดแห่งธรรมเหล่านี้ ไม่รู้ชัดความดับแห่งธรรมเหล่านี้ ไม่รู้ชัดปฏิปทา
ที่ให้ถึงความดับแห่งธรรมเหล่านี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๒. อาหารวรรค ๔. ทุติยสมณพราหมณสูตร

ไม่รู้ชัดธรรมเหล่าไหน ไม่รู้ชัดความเกิดแห่งธรรมเหล่าไหน ไม่รู้ชัดความดับ
แห่งธรรมเหล่าไหน ไม่รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งธรรมเหล่าไหน
คือ ไม่รู้ชัดชราและมรณะ ไม่รู้ชัดความเกิดแห่งชราและมรณะ ไม่รู้ชัดความดับ
แห่งชราและมรณะ ไม่รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ ไม่รู้ชัดชาติ ฯลฯ
ไม่รู้ชัดภพ ... อุปาทาน ... ตัณหา ... เวทนา ... ผัสสะ ... สฬายตนะ ... นามรูป
... วิญญาณ ...
ไม่รู้ชัดสังขารทั้งหลาย ไม่รู้ชัดความเกิดแห่งสังขาร ไม่รู้ชัดความดับแห่งสังขาร
ไม่รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสังขาร ไม่รู้ชัดธรรมเหล่านี้ ไม่รู้ชัดความเกิดแห่ง
ธรรมเหล่านี้ ไม่รู้ชัดความดับแห่งธรรมเหล่านี้ ไม่รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่ง
ธรรมเหล่านี้
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ไม่จัดว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือไม่จัดว่าเป็น
พราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้นก็ไม่ทำให้แจ้งประโยชน์ของความเป็นสมณะ
และประโยชน์ของความเป็นพราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ชัดธรรมเหล่านี้ รู้ชัดความเกิดแห่ง
ธรรมเหล่านี้ รู้ชัดความดับแห่งธรรมเหล่านี้ รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งธรรม
เหล่านี้
รู้ชัดธรรมเหล่าไหน รู้ชัดความเกิดแห่งธรรมเหล่าไหน รู้ชัดความดับแห่งธรรม
เหล่าไหน รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งธรรมเหล่าไหน
คือ รู้ชัดชราและมรณะ รู้ชัดความเกิดแห่งชราและมรณะ รู้ชัดความดับแห่งชรา
และมรณะ รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ รู้ชัดชาติ ฯลฯ
รู้ชัดภพ ... อุปาทาน ... ตัณหา ... เวทนา ... ผัสสะ ... สฬายตนะ ... นามรูป ...
วิญญาณ ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๒. อาหารวรรค ๕.กัจจานโคตตสูตร

รู้ชัดสังขารทั้งหลาย รู้ชัดความเกิดแห่งสังขาร รู้ชัดความดับแห่งสังขาร รู้ชัด
ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสังขาร รู้ชัดธรรมเหล่านี้ รู้ชัดความเกิดแห่งธรรมเหล่านี้
รู้ชัดความดับแห่งธรรมเหล่านี้ รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งธรรมเหล่านี้
ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นจัดว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ
และจัดว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้นก็ได้ทำให้แจ้งประโยชน์ของ
ความเป็นสมณะ และประโยชน์ของความเป็นพราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึง
อยู่ในปัจจุบัน”

ทุติยสมณพราหมณสูตรที่ ๔ จบ

๕. กัจจานโคตตสูตร
ว่าด้วยพระกัจจานโคตร

[๑๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ท่านพระกัจจานโคตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่พระองค์ตรัสว่า ‘สัมมาทิฏฐิ สัมมาทิฏฐิ’ นี้ ด้วยเหตุ
เพียงเท่าไรหนอจึงเรียกว่าสัมมาทิฏฐิ”
“กัจจานะ โดยมากโลกนี้อาศัยที่สุด ๒ อย่าง คือ (๑) ความมี (๒) ความไม่มี
ก็เมื่อบุคคลเห็นความเกิดขึ้นของโลกด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง
ความไม่มีในโลก ก็ไม่มี เมื่อบุคคลเห็นความดับแห่งโลกด้วยปัญญาอันชอบตาม
ความเป็นจริง ความมีในโลก ก็ไม่มี
กัจจานะ โดยมากโลกนี้ยังพัวพันอยู่ด้วยอุบายและความยึดมั่นอันเป็นเหตุที่
ใจเข้าไปตั้งมั่นถือมั่นและนอนเนื่อง แต่อริยสาวกไม่เข้าไปถือมั่นอุบายและความยึดมั่น
อันเป็นเหตุที่ใจเข้าไปตั้งมั่นถือมั่นและนอนเนื่องว่า ‘อัตตาของเรา’ ไม่เคลือบแคลง
ไม่สงสัยว่า ‘ทุกข์นั้นแล เมื่อเกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้น ทุกข์เมื่อดับ ย่อมดับไป’ อริยสาวก
นั้นมีญาณหยั่งรู้ในเรื่องนี้โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๒. อาหารวรรค ๖. ธัมมกถิกสูตร

กัจจานะ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ จัดว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ
ที่สุดอย่างที่ ๑ นี้ คือ สิ่งทั้งปวงมีอยู่ ที่สุดอย่างที่ ๒ นี้ คือ สิ่งทั้งปวง
ไม่มีอยู่ ตถาคตไม่เข้าไปใกล้ที่สุดทั้ง ๒ อย่างนี้ ย่อมแสดงธรรมโดยสายกลางว่า
‘เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ฯลฯ
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
อนึ่ง เพราะอวิชชาดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ
วิญญาณจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้”๑

กัจจานโคตตสูตรที่ ๕ จบ

๖. ธัมมกถิกสูตร๒
ว่าด้วยพระธรรมกถึก

[๑๖] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่พระองค์ตรัสว่า ‘ภิกษุเป็นธรรมกถึก ภิกษุเป็น
ธรรมกถึก’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุจึงเป็นธรรมกถึก”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุแสดงธรรมเพื่อความ
เบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับชราและมรณะ ควรเรียกได้ว่า ‘ภิกษุเป็น
ธรรมกถึก’
หากภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับชราและ
มรณะ ควรเรียกได้ว่า ‘ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม’
หากภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นเพราะความเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะดับ
เพราะไม่ยึดมั่นถือมั่นชราและมรณะ ควรเรียกได้ว่า ‘ภิกษุผู้บรรลุนิพพานในปัจจุบัน’


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๒. อาหารวรรค ๗. อเจลกัสสปสูตร

หากภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับชาติ ฯลฯ
ภพ ... อุปาทาน ... ตัณหา ... เวทนา ... ผัสสะ ... สฬายตนะ ... นามรูป ... วิญญาณ
... สังขารทั้งหลาย ... อวิชชา ควรเรียกได้ว่า ‘ภิกษุเป็นธรรมกถึก’
หากภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับอวิชชา
ควรเรียกได้ว่า ‘ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม’
หากภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นเพราะความเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะดับ
เพราะไม่ยึดมั่นถือมั่นอวิชชา ควรเรียกได้ว่า ‘ภิกษุผู้บรรลุนิพพานในปัจจุบัน”

ธัมมกถิกสูตรที่ ๖ จบ

๗. อเจลกัสสปสูตร
ว่าด้วยปริพาชกชื่ออเจลกัสสปะ

[๑๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตร
และจีวร๑ เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์ อเจลกัสสปะได้เห็นพระผู้มีพระภาค
กำลังเสด็จมาแต่ไกล ครั้นแล้วจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนา
ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้ทูล
ถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าพเจ้าขอถามเหตุบางอย่างกับท่านพระโคดม ถ้าท่านพระโคดมเปิดโอกาส
เพื่อตอบปัญหาแก่ข้าพเจ้า”
“กัสสปะ ยังไม่ใช่เวลาที่จะตอบปัญหาของท่าน เรากำลังเข้าไปสู่ละแวกบ้าน”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๒. อาหารวรรค ๗. อเจลกัสสปสูตร

แม้ครั้งที่ ๒ อเจลกัสสปะได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ‘ข้าพเจ้า
ขอถามเหตุบางอย่างกับท่านพระโคดม ถ้าท่านพระโคดมเปิดโอกาส เพื่อตอบปัญหา
แก่ข้าพเจ้า”
“กัสสปะ ยังไม่ใช่เวลาที่จะตอบปัญหาของท่าน เรากำลังเข้าไปสู่ละแวกบ้าน”
แม้ครั้งที่ ๓ ฯลฯ ‘เรากำลังเข้าไปสู่ละแวกบ้าน”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนั้นแล้ว อเจลกัสสปะได้กราบทูลว่า “ข้าพเจ้า
ไม่ประสงค์ที่จะถามท่านพระโคดมมากนัก”
“กัสสปะ จงถามปัญหาที่ท่านประสงค์เถิด”
“ท่านพระโคดม ทุกข์เป็นสิ่งที่ตนกระทำเองหรือ”
“อย่ากล่าวอย่างนั้น กัสสปะ”
“ท่านพระโคดม ทุกข์เป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้หรือ”
“อย่ากล่าวอย่างนั้น กัสสปะ”
“ท่านพระโคดม ทุกข์เป็นสิ่งที่ตนกระทำเองด้วย และคนอื่นกระทำให้ด้วยหรือ”
“อย่ากล่าวอย่างนั้น กัสสปะ”
“ท่านพระโคดม ทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุที่ตนกระทำเองก็มิใช่ และคนอื่น
กระทำให้ก็มิใช่หรือ”
“อย่ากล่าวอย่างนั้น กัสสปะ”
“ท่านพระโคดม ทุกข์ไม่มีหรือ”
“กัสสปะ ทุกข์ไม่มีก็มิใช่ ทุกข์มีอยู่”
“ถ้าอย่างนั้น ท่านพระโคดม ย่อมไม่รู้เห็นทุกข์หรือ”
“กัสสปะ เราไม่รู้เห็นทุกข์ก็มิใช่ เรานี่แหละที่รู้เห็นทุกข์โดยแท้”
“เมื่อข้าพเจ้าทูลถามว่า ‘ท่านพระโคดม ทุกข์เป็นสิ่งที่ตนกระทำเองหรือ
ท่านตรัสว่า ‘อย่ากล่าวอย่างนั้น กัสสปะ’
เมื่อข้าพเจ้าทูลถามว่า ‘ท่านพระโคดม ทุกข์เป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้หรือ’
ท่านตรัสว่า ‘อย่ากล่าวอย่างนั้น กัสสปะ’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๒. อาหารวรรค ๗. อเจลกัสสปสูตร

เมื่อข้าพเจ้าทูลถามว่า ‘ท่านพระโคดม ทุกข์เป็นสิ่งที่ตนกระทำเองด้วย และ
คนอื่นกระทำให้ด้วยหรือ’
ท่านตรัสว่า ‘อย่ากล่าวอย่างนั้น กัสสปะ’
เมื่อข้าพเจ้าทูลถามว่า ‘ท่านพระโคดม ทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุที่ตน
กระทำเองก็มิใช่ และคนอื่นกระทำให้ก็มิใช่หรือ’
ท่านตรัสว่า ‘อย่ากล่าวอย่างนั้น กัสสปะ’
เมื่อข้าพเจ้าทูลถามว่า ‘ท่านพระโคดม ทุกข์ไม่มีหรือ’
ท่านตรัสว่า ‘กัสสปะ ทุกข์ไม่มีก็มิใช่ ทุกข์มีอยู่’
เมื่อข้าพเจ้าทูลถามว่า ‘ถ้าอย่างนั้น ท่านพระโคดม ย่อมไม่รู้เห็นทุกข์หรือ’
ท่านตรัสว่า ‘กัสสปะ เราไม่รู้เห็นทุกข์ก็มิใช่ เรานี่แหละที่รู้เห็นทุกข์โดยแท้’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดตรัสบอกทุกข์แก่ข้าพเจ้า
ด้วยเถิด ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงทุกข์แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด”
“กัสสปะ เมื่อเบื้องต้นมี(วาทะ)ว่า ‘ผู้นั้นกระทำ ผู้นั้นเสวย(ทุกข์)’ ต่อมา
มีวาทะว่า ‘ทุกข์เป็นสิ่งที่ตนกระทำเอง’ อันนั้นเป็นสัสสตทิฏฐิ (ความเห็นว่าเที่ยง)
เมื่อมีผู้ถูกเวทนาเสียดแทง เบื้องต้นว่า ‘คนอื่นกระทำ คนอื่นเป็นผู้เสวย(ทุกข์)’
ต่อมามีวาทะว่า ‘ทุกข์คนอื่นกระทำให้’ อันนั้นเป็นอุจเฉททิฏฐิ(ความเห็นว่าขาดสูญ)
ตถาคตไม่เข้าไปใกล้ที่สุด ๒ อย่างนี้ ย่อมแสดงธรรมโดยสายกลางว่า ‘เพราะอวิชชา
เป็นปัจจัย สังขารทั้งหลายจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ฯลฯ ความ
เกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
อนึ่ง เพราะอวิชชานั้นดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ
วิญญาณจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว อเจลกัสสปะได้กราบทูลว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้ง
โดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ ฯลฯ ด้วยตั้งใจว่า ‘คนตาดี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๒. อาหารวรรค ๗. อเจลกัสสปสูตร

จักเห็นรูปได้’ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคพร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็น
สรณะ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์พึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบทในสำนักของ
พระผู้มีพระภาค”
“กัสสปะ ผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์ ประสงค์จะบรรพชาอุปสมบทในธรรมวินัยนี้
จะต้องอยู่ปริวาส๑ ๔ เดือน หลังจาก ๔ เดือนสิ้นสุดการอยู่ปริวาสแล้ว เมื่อภิกษุ
พอใจก็จะให้บรรพชาอุปสมบทเป็นภิกษุ อนึ่ง ในเรื่องนี้เราคำนึงถึงความแตกต่างระหว่าง
บุคคลด้วย”
เขากราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หากผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์ ประสงค์
จะบรรพชาอุปสมบทในธรรมวินัยนี้ จะต้องอยู่ปริวาส ๔ เดือน หลังจาก ๔ เดือน
สิ้นสุดการอยู่ปริวาสแล้ว เมื่อภิกษุพอใจก็จะให้บรรพชาอุปสมบทเป็นภิกษุ ข้าพระองค์
จักขออยู่ปริวาส ๔ ปี หลังจาก ๔ ปีสิ้นสุดการอยู่ปริวาสแล้ว เมื่อภิกษุพอใจก็จะ
ให้บรรพชาอุปสมบทเป็นภิกษุ”
อเจลกัสสปะได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาคแล้ว เมื่อบวชแล้ว
ไม่นาน หลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่
ไม่นานนัก ได้ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยม๒ อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์๓ที่
เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำ
เสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ อนึ่ง ท่านกัสสปะได้เป็นพระ-
อรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย

อเจลกัสสปสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๒. อาหารวรรค ๘. ติมพรุกขสูตร

๘. ติมพรุกขสูตร
ว่าด้วยปริพาชกชื่อติมพรุกขะ

[๑๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ปริพาชกชื่อติมพรุกขะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนา
ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถาม
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ท่านพระโคดม สุขและทุกข์เป็นสิ่งที่ตนกระทำเองหรือ”
“อย่ากล่าวอย่างนั้น ติมพรุกขะ”
“ท่านพระโคดม สุขและทุกข์เป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้หรือ”
“อย่ากล่าวอย่างนั้น ติมพรุกขะ”
“ท่านพระโคดม สุขและทุกข์เป็นสิ่งที่ตนกระทำเองด้วย และเป็นสิ่งที่คนอื่น
กระทำให้ด้วยหรือ”
“อย่ากล่าวอย่างนั้น ติมพรุกขะ”
“ท่านพระโคดม สุขและทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุที่ตนกระทำเองก็มิใช่ และ
คนอื่นกระทำให้ก็มิใช่หรือ”
“อย่ากล่าวอย่างนั้น ติมพรุกขะ”
“ท่านพระโคดม สุขและทุกข์ไม่มีหรือ”
“ติมพรุกขะ สุขและทุกข์ไม่มีก็มิใช่ สุขและทุกข์มีอยู่”
“ถ้าอย่างนั้น ท่านพระโคดม ย่อมไม่รู้เห็นสุขและทุกข์หรือ”
“ติมพรุกขะ เราไม่รู้เห็นสุขและทุกข์ก็มิใช่ เรานี่แหละที่รู้เห็นสุขและทุกข์โดยแท้”
“เมื่อข้าพเจ้าทูลถามว่า ‘ท่านพระโคดม สุขและทุกข์เป็นสิ่งที่ตนกระทำเองหรือ’
ท่านตรัสว่า ‘อย่ากล่าวอย่างนั้น ติมพรุกขะ’
เมื่อข้าพเจ้าทูลถามว่า ‘ท่านพระโคดม สุขและทุกข์เป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้หรือ’
ท่านตรัสว่า ‘อย่ากล่าวอย่างนั้น ติมพรุกขะ’
เมื่อข้าพเจ้าทูลถามว่า ‘ท่านพระโคดม สุขและทุกข์เป็นสิ่งที่ตนกระทำเองด้วย
และเป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้ด้วยหรือ’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๒. อาหารวรรค ๘. ติมพรุกขสูตร

ท่านตรัสว่า ‘อย่ากล่าวอย่างนั้น ติมพรุกขะ’
เมื่อข้าพเจ้าทูลถามว่า ‘ท่านพระโคดม สุขและทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุที่
ตนกระทำเองก็มิใช่ และคนอื่นกระทำให้ก็มิใช่หรือ’
ท่านตรัสว่า ‘อย่ากล่าวอย่างนั้น ติมพรุกขะ’
เมื่อข้าพเจ้าทูลถามว่า ‘ท่านพระโคดม สุขและทุกข์ไม่มีหรือ’
ท่านตรัสว่า ‘ติมพรุกขะ สุขและทุกข์ไม่มีก็มิใช่ สุขและทุกข์มีอยู่’
เมื่อข้าพเจ้าทูลถามว่า ‘ถ้าอย่างนั้น ท่านพระโคดม ย่อมไม่รู้เห็นสุขและทุกข์หรือ’
ท่านตรัสว่า ‘ติมพรุกขะ เราไม่รู้เห็นสุขและทุกข์ก็มิใช่ เรานี่แหละที่รู้เห็นสุข
และทุกข์โดยแท้’
ขอท่านพระโคดมโปรดตรัสบอกสุขและทุกข์แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด ขอท่านพระโคดม
โปรดแสดงสุขและทุกข์แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด”
“เมื่อเบื้องต้นมีวาทะว่า ‘นั้นเวทนา ผู้นั้นเสวยเวทนา’ แต่เราไม่กล่าว
อย่างนี้ว่า ‘สุขและทุกข์เป็นสิ่งที่ตนกระทำเอง’ เมื่อบุคคลถูกเวทนาเสียดแทงว่า
‘เวทนาเป็นอย่างหนึ่ง บุคคลผู้เสวยเวทนาก็อย่างหนึ่ง’ ทั้งเราไม่กล่าวอย่างนี้ว่า
‘สุขและทุกข์เป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้’ ตถาคตไม่เข้าไปใกล้ที่สุด ๒ อย่างนี้ ย่อม
แสดงธรรมโดยสายกลางว่า ‘เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารทั้งหลายจึงมี เพราะ
สังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วย
ประการฉะนี้
อนึ่ง เพราะอวิชชาดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ
วิญญาณจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ติมพรุกขปริพาชกได้กราบทูลว่า ‘ท่าน
พระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านพระโคดม พระภาษิต
ของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่าน
พระโคดมพร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมโปรดทรงจำ
ข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต’

ติมพรุกขสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๒. อาหารวรรค ๙. พาลปัณฑิตสูตร

๙. พาลปัณฑิตสูตร
ว่าด้วยคนพาลและบัณฑิต

[๑๙] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย กายของคนพาลนี้ ผู้ถูกอวิชชาขวางกั้น ประกอบด้วยตัณหา
เกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ กายและนามรูปภายนอกนี้๑ มีอยู่ทั้ง ๒ ส่วนอย่างนี้ เพราะ
อาศัยส่วนทั้ง ๒ นั้น ผัสสะจึงมี คนพาลถูกผัสสายตนะ ๖ หรืออายตนะอย่างใด
อย่างหนึ่งกระทบเข้า จึงเสวยสุขและทุกข์
กายของบัณฑิตนี้ ผู้ถูกอวิชชาขวางกั้น ประกอบด้วยตัณหา เกิดขึ้นแล้ว
อย่างนี้ กายและนามรูปภายนอกนี้ มีอยู่ทั้ง ๒ ส่วนอย่างนี้ เพราะอาศัยส่วน
ทั้ง ๒ นั้น ผัสสะจึงมี บัณฑิตถูกผัสสายตนะ ๖ หรืออายตนะอย่างใดอย่างหนึ่ง
กระทบเข้า จึงเสวยสุขและทุกข์
ในชน ๒ จำพวกนั้น มีอะไรเป็นความแปลกกัน เป็นความแตกต่างกัน
เป็นเหตุทำให้ต่างกัน ระหว่างบัณฑิตกับคนพาล
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของพวกข้าพระองค์ มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก
มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่ง ขอประทานวโรกาส เฉพาะ
พระผู้มีพระภาคเท่านั้นที่จะทรงอธิบายเนื้อความแห่งพระภาษิตนั้นให้แจ่มแจ้งได้
ภิกษุทั้งหลายได้ฟังจากพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้”
“ถ้าเช่นนั้น เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ
สนองพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๒. อาหารวรรค ๙. พาลปัณฑิตสูตร

“กายของคนพาลนี้ ผู้ถูกอวิชชาใดหุ้มห่อแล้ว และประกอบด้วยตัณหาใด
เกิดขึ้นแล้ว อวิชชานั้นแหละคนพาลยังละไม่ได้ และตัณหานั้นก็ยังไม่สิ้นไป
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะคนพาลไม่ได้ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ เพราะฉะนั้น
เมื่อตายไป คนพาลจึงเข้าถึงกาย๑ เมื่อยังมีการเข้าถึงกาย เขาจึงไม่พ้นไปจากชาติ
ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เราจึงกล่าวว่า ‘เขาไม่พ้น
จากทุกข์”
กายของบัณฑิต๒นี้ ผู้ถูกอวิชชาใดหุ้มห่อแล้ว และประกอบด้วยตัณหาใด
เกิดขึ้นแล้ว อวิชชานั้นแหละบัณฑิตละได้แล้ว และตัณหานั้นก็หมดสิ้นไปแล้ว
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะบัณฑิตได้ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ เพราะฉะนั้น
เมื่อตายไป บัณฑิตจึงไม่เข้าถึงกาย เมื่อไม่เข้าถึงกาย เขาจึงพ้นจากชาติ ชรา มรณะ
โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เราจึงกล่าวว่า ‘เขาพ้นจากทุกข์’
ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความแปลกกัน นี้เป็นความแตกต่างกัน นี้เป็นเหตุทำให้
ต่างกัน ระหว่างบัณฑิตกับคนพาล กล่าวคือการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์”

พาลปัณฑิตสูตรที่ ๙ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๒. อาหารวรรค ๑๐. ปัจจยสูตร

๑๐. ปัจจยสูตร
ว่าด้วยปัจจัย

[๒๐] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปฏิจจสมุปบาท และปฏิจจสมุปปันนธรรมแก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนอง
พระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ปฏิจจสมุปบาท เป็นอย่างไร
คือ เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี ตถาคตเกิดขึ้นก็ตาม ไม่เกิดขึ้น
ก็ตาม ธาตุอันนั้น คือ ความตั้งอยู่ตามธรรมดา ความเป็นไปตามธรรมดา ความ
ที่มีสิ่งนี้เป็นปัจจัยของสิ่งนี้ ก็คงตั้งอยู่อย่างนั้น ตถาคตรู้ บรรลุธาตุนั้น ครั้นรู้
บรรลุแล้วจึงบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย และกล่าวว่า
‘เธอทั้งหลายจงดูเถิด’
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะจึงมี ฯลฯ
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี ...
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี ...
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี ...
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี ...
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี ...
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี ...
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี ...
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี ...
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ...
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี ตถาคตเกิดขึ้นก็ตาม ไม่เกิดขึ้นก็ตาม
ธาตุอันนั้น คือ ความตั้งอยู่ตามธรรมดา ความเป็นไปตามธรรมดา ความที่มีสิ่งนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๒. อาหารวรรค ๑๐. ปัจจยสูตร

เป็นปัจจัยของสิ่งนี้ ก็คงตั้งอยู่อย่างนั้น ตถาคตรู้ บรรลุธาตุนั้น ครั้นรู้ บรรลุแล้ว
จึงบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย และกล่าวว่า ‘เธอ
ทั้งหลายจงดูเถิด’ ภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารทั้งหลายจึงมี
ในกระบวนการนี้ ตถตา (ความเป็นอย่างนั้น) อวิตถตา (ความไม่คลาดเคลื่อน)
อนัญญถตา (ความไม่เป็นอย่างอื่น) อิทัปปัจจยตา (ความที่มีสิ่งนี้เป็นปัจจัยของสิ่งนี้)
ดังพรรณนามาฉะนี้แล
นี้เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท
ปฏิจจสมุปปันนธรรม เป็นอย่างไร
คือ ชราและมรณะเป็นสภาวะไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันและกัน
เกิดขึ้น มีความสิ้นไป มีความเสื่อมไป มีความคลายไป มีความดับไปเป็นธรรมดา
ชาติเป็นสภาวะไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันและกันเกิดขึ้น มีความ
สิ้นไป มีความเสื่อมไป มีความคลายไป มีความดับไปเป็นธรรมดา
ภพเป็นสภาวะไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันและกันเกิดขึ้น มีความ
สิ้นไป มีความเสื่อมไป มีความคลายไป มีความดับไปเป็นธรรมดา
อุปาทาน ฯลฯ ตัณหา ... เวทนา ... ผัสสะ ... สฬายตนะ ... นามรูป ... วิญญาณ
... สังขารทั้งหลาย ...
อวิชชาเป็นสภาวะไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันและกันเกิดขึ้น มีความ
สิ้นไป มีความเสื่อมไป มีความคลายไป มีความดับไปเป็นธรรมดา
นี้เรียกว่า ปฏิจจสมุปปันนธรรม
เมื่อใดอริยสาวก๑เห็นปฏิจจสมุปบาท และปฏิจจสมุปปันนธรรมเหล่านี้ด้วยดี
ด้วยปัญญาอันชอบ๒ตามความเป็นจริง เมื่อนั้นอริยสาวกนั้น จักเข้าถึงที่สุดเบื้องต้น


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๒. อาหารวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ว่า ‘ในอดีตเราได้มีแล้วหรือ ในอดีตเราไม่ได้มีหรือหนอ ในอดีตเราได้เป็นอะไรหนอ
ในอดีตเราได้เป็นอย่างไรหนอ ในอดีตเราเป็นอะไร จึงได้เกิดเป็นอะไรอีก’ หรือว่า
จักเข้าถึงที่สุดเบื้องปลายว่า ‘ในอนาคต เราจักมีหรือ ในอนาคตเราจักไม่มีหรือ
ในอนาคตเราจักเป็นอย่างไรหนอ ในอนาคตเราจักเป็นอะไร จึงจักเกิดเป็นอะไรอีก’
หรือจักมีความสงสัยในปัจจุบันอันเป็นไปในภายใน ณ บัดนี้ว่า ‘เรามีหรือหนอ
เราไม่มีหรือหนอ เราเป็นอะไรหนอ เราเป็นอย่างไรหนอ สัตว์นี้มาจากไหนหนอ
เขาจักเป็นผู้ไปที่ไหนหนอ’ ข้อนี้เป็นไปไม่ได้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะอริยสาวกเห็นปฏิจจสมุปบาทและปฏิจจสมุปปันนธรรมเหล่านี้ด้วยดี
ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง”

ปัจจยสูตรที่ ๑๐ จบ
อาหารวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อาหารสูตร ๒. โมลิยผัคคุนสูตร
๓. สมณพราหมณสูตร ๔. ทุติยสมณพราหมณสูตร
๕. กัจจานโคตตสูตร ๖. ธัมมกถิกสูตร
๗. อเจลกัสสปสูตร ๘. ติมพรุกขสูตร
๙. พาลปัณฑิตสูตร ๑๐. ปัจจยสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๓. ทสพลวรรค ๑. ทสพลสูตร

๓. ทสพลวรรค
หมวดว่าด้วยทสพลญาณ

๑. ทสพลสูตร
ว่าด้วยทสพลญาณ

[๒๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตประกอบด้วยทสพลญาณ๑ และจตุเวสารัชชญาณ๒ จึงยืนยัน
ฐานะที่องอาจ๓ บันลือสีหนาท๔ในบริษัท๕ทั้งหลาย ประกาศพรหมจักร๖ให้เป็นไปว่า
“รูปเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นอย่างนี้ ความดับแห่งรูปเป็นอย่างนี้


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๓. ทสพลวรรค ๒. ทุติยทสพลสูตร

เวทนาเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาเป็นอย่างนี้ ความดับแห่งเวทนา
เป็นอย่างนี้
สัญญาเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาเป็นอย่างนี้ ความดับแห่งสัญญา
เป็นอย่างนี้
สังขารเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสังขารเป็นอย่างนี้ ความดับแห่งสังขาร
เป็นอย่างนี้
วิญญาณเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นอย่างนี้ ความดับแห่ง
วิญญาณเป็นอย่างนี้ เพราะเหตุนี้ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้
จึงเกิดขึ้น เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับไป สิ่งนี้จึงดับไป คือ เพราะ
อวิชชาเป็นปัจจัย สังขารทั้งหลายจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ฯลฯ
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
อนึ่ง เพราะอวิชชาดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ
วิญญาณจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้”

ทสพลสูตรที่ ๑ จบ

๒. ทุติยทสพลสูตร
ว่าด้วยทสพลญาณ สูตรที่ ๒

[๒๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตประกอบด้วยทสพลญาณ และจตุเวสารัชชญาณ
จึงยืนยันฐานะที่องอาจ บันลือสีหนาท ในบริษัททั้งหลาย ประกาศพรหมจักรให้เป็นไปว่า
‘รูปเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นอย่างนี้ ความดับแห่งรูปเป็นอย่างนี้
เวทนาเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาเป็นอย่างนี้ ความดับแห่งเวทนา
เป็นอย่างนี้
สัญญาเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาเป็นอย่างนี้ ความดับแห่งสัญญา
เป็นอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๓. ทสพลวรรค ๒. ทุติยทสพลสูตร

สังขารเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสังขารเป็นอย่างนี้ ความดับแห่งสังขารเป็น
อย่างนี้
วิญญาณเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นอย่างนี้ ความดับแห่ง
วิญญาณเป็นอย่างนี้ เพราะเหตุนี้ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้
จึงเกิดขึ้น เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับไป สิ่งนี้จึงดับไป คือ เพราะ
อวิชชาเป็นปัจจัย สังขารทั้งหลายจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ฯลฯ
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
อนึ่ง เพราะอวิชชาดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ
วิญญาณจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้ว เป็นธรรมเข้าใจง่าย เปิดเผย ประกาศ
ไว้แล้ว เป็นดุจผืนผ้าเก่าที่ตัดไว้แล้วอย่างนี้ กุลบุตรผู้บวชด้วยศรัทธา สมควรแท้เพื่อ
ปรารภความเพียรในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้ว เป็นธรรมเข้าใจง่าย เปิดเผย ประกาศ
ไว้แล้ว เป็นดุจผืนผ้าเก่าที่ตัดไว้แล้วอย่างนี้ว่า ‘เนื้อและเลือดในร่างกายจงเหือดแห้งไป
จะเหลืออยู่แต่หนัง เอ็น กระดูกก็ตามที ผลใดพึงบรรลุได้ด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ
ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษ (ถ้า)ไม่บรรลุผลนั้น ก็จักไม่
หยุดความเพียรของบุรุษ’
บุคคลผู้เกียจคร้าน เกลื่อนกล่นไปด้วยบาปอกุศลธรรมทั้งหลายย่อมอยู่เป็นทุกข์
และทำประโยชน์ของตนที่ยิ่งใหญ่ให้เสื่อมเสียไป ส่วนบุคคลผู้ปรารภความเพียร ผู้สงัด
จากบาปอกุศลธรรมทั้งหลายย่อมอยู่เป็นสุข และทำประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่ของตนให้
บริบูรณ์ได้ การบรรลุธรรมที่เลิศด้วยธรรมอันเลว หามีไม่ แต่การบรรลุธรรมที่
เลิศด้วยธรรมอันเลิศ ย่อมมีได้ พรหมจรรย์นี้ ผ่องใสและน่าดื่ม พระศาสดาก็ยังอยู่
เฉพาะหน้า เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายจงปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง
เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้งโดยตั้งใจว่า ‘บรรพชา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๓. ทสพลวรรค ๓. อุปนิสสูตร

ของเราทั้งหลายนี้ เป็นของไม่ต่ำทราม ไม่เป็นหมัน มีผล มีกำไร จักมีแก่เรา
ทั้งหลาย เราทั้งหลายบริโภคจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัช-
บริขารของชนเหล่าใด สักการะของชนเหล่านั้น จักมีผลมาก มีอานิสงส์มาก เพราะ
เราทั้งหลาย’ เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกดังพรรณนามาฉะนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้พิจารณาเห็นประโยชน์ของตน สมควรแท้ เพื่อที่จะ
ทำกิจของตนให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท หรือว่าบุคคลผู้พิจารณาเห็นประโยชน์
ของผู้อื่น สมควรแท้ เพื่อที่จะทำกิจของผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท หรือ
บุคคลผู้พิจารณาเห็นประโยชน์ทั้ง ๒ ฝ่าย สมควรแท้ที่จะทำกิจของทั้ง ๒ ฝ่าย
ให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท”

ทุติยทสพลสูตรที่ ๒ จบ

๓. อุปนิสสูตร
ว่าด้วยธรรมที่อาศัยกัน

[๒๓] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เราเมื่อรู้เห็น จึงกล่าวถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
เราเมื่อไม่รู้เห็น จึงไม่กล่าวถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
เมื่อรู้เห็นอะไร ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายจึงมี คือ เมื่อเรารู้เห็นอย่างนี้ว่า
‘รูปเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นอย่างนี้ ความดับแห่งรูปเป็นอย่างนี้
เวทนาเป็นอย่างนี้ ฯลฯ
สัญญาเป็นอย่างนี้ ฯลฯ
สังขารเป็นอย่างนี้ ฯลฯ
วิญญาณเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นอย่างนี้ ความดับแห่ง
วิญญาณเป็นอย่างนี้’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๓. ทสพลวรรค ๓. อุปนิสสูตร

เราเมื่อรู้เห็นอย่างนี้แล ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายจึงมี
เมื่อธรรมเป็นที่สิ้นไป๑ มีอยู่ ขยญาณ(ญาณในธรรมเป็นที่สิ้นไป) แม้ใด ย่อมมี
เรากล่าวว่าขยญาณแม้นั้นมีที่อาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย อะไรเล่าเป็นที่อาศัย
แห่งขยญาณ สิ่งนั้นควรเรียกว่า ‘วิมุตติ‘๒
เรากล่าวว่าแม้วิมุตติก็มีที่อาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย อะไรเล่าเป็นที่อาศัย
แห่งวิมุตติ สิ่งนั้นควรเรียกว่า ‘วิราคะ‘๓
เรากล่าวว่าแม้วิราคะก็มีที่อาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย อะไรเล่าเป็นที่อาศัย
แห่งวิราคะ สิ่งนั้นควรเรียกว่า ‘นิพพิทา‘๔
เรากล่าวว่าแม้นิพพิทาก็มีที่อาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย อะไรเล่าเป็นที่
อาศัยแห่งนิพพิทา สิ่งนั้นควรเรียกว่า ‘ยถาภูตญาณทัสสนะ‘๕
เรากล่าวว่าแม้ยถาภูตญาณทัสสนะก็มีที่อาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย อะไร
เล่าเป็นที่อาศัยแห่งยถาภูตญาณทัสสนะ สิ่งนั้นควรเรียกว่า ‘สมาธิ’
เรากล่าวว่าแม้สมาธิก็มีที่อาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย อะไรเล่าเป็นที่อาศัย
แห่งสมาธิ สิ่งนั้นควรเรียกว่า ‘สุข’
เรากล่าวว่าแม้สุขก็มีที่อาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย อะไรเล่าเป็นที่อาศัย
แห่งสุข สิ่งนั้นควรเรียกว่า ‘ปัสสัทธิ‘๖
เรากล่าวว่าแม้ปัสสัทธิก็มีที่อาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย อะไรเล่าเป็นที่
อาศัยแห่งปัสสัทธิ สิ่งนั้นควรเรียกว่า ‘ปีติ’


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๓. ทสพลวรรค ๓. อุปนิสสูตร

เรากล่าวว่าแม้ปีติก็มีที่อาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย อะไรเล่าเป็นที่อาศัย
แห่งปีติ สิ่งนั้นควรเรียกว่า ‘ปราโมทย์’
เรากล่าวว่าแม้ปราโมทย์ก็มีที่อาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย อะไรเล่าเป็นที่
อาศัยแห่งปราโมทย์ สิ่งนั้นควรเรียกว่า ‘ศรัทธา’
เรากล่าวว่าแม้ศรัทธาก็มีที่อาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย อะไรเล่าเป็นที่
อาศัยแห่งศรัทธา สิ่งนั้นควรเรียกว่า ‘ทุกข์’
เรากล่าวว่าแม้ทุกข์ก็มีที่อาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย อะไรเล่าเป็นที่อาศัย
แห่งทุกข์ สิ่งนั้นควรเรียกว่า ‘ชาติ’
เรากล่าวว่าแม้ชาติก็มีที่อาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย อะไรเล่าเป็นที่อาศัย
แห่งชาติ สิ่งนั้นควรเรียกว่า ‘ภพ’
เรากล่าวว่าแม้ภพก็มีที่อาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย อะไรเล่าเป็นที่อาศัย
แห่งภพ สิ่งนั้นควรเรียกว่า ‘อุปาทาน’
เรากล่าวว่าแม้อุปาทานก็มีที่อาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย อะไรเล่าเป็นที่
อาศัยแห่งอุปาทาน สิ่งนั้นควรเรียกว่า ‘ตัณหา’
เรากล่าวว่าแม้ตัณหาก็มีที่อาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย อะไรเล่าเป็นที่
อาศัยแห่งตัณหา สิ่งนั้นควรเรียกว่า ‘เวทนา’ ฯลฯ
สิ่งนั้นควรเรียกว่า ‘ผัสสะ’ ... สิ่งนั้นควรเรียกว่า ‘สฬายตนะ’ ... สิ่งนั้นควร
เรียกว่า ‘นามรูป’ ... สิ่งนั้นควรเรียกว่า ‘วิญญาณ’ ... สิ่งนั้นควรเรียกว่า ‘สังขาร
ทั้งหลาย’
เรากล่าวว่าแม้สังขารทั้งหลายก็มีที่อาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย อะไรเล่า
เป็นที่อาศัยแห่งสังขารทั้งหลาย สิ่งนั้นควรเรียกว่า ‘อวิชชา’
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนี้ สังขารทั้งหลายมีอวิชชาเป็นที่อาศัย วิญญาณมี
สังขารเป็นที่อาศัย นามรูปมีวิญญาณเป็นที่อาศัย สฬายตนะมีนามรูปเป็นที่อาศัย
ผัสสะมีสฬายตนะเป็นที่อาศัย เวทนามีผัสสะเป็นที่อาศัย ตัณหามีเวทนาเป็นที่อาศัย
อุปาทานมีตัณหาเป็นที่อาศัย ภพมีอุปาทานเป็นที่อาศัย ชาติมีภพเป็นที่อาศัย ทุกข์
มีชาติเป็นที่อาศัย ศรัทธามีทุกข์เป็นที่อาศัย ปราโมทย์มีศรัทธาเป็นที่อาศัย ปีติมี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๓. ทสพลวรรค ๔. อัญญติตถิยสูตร

ปราโมทย์เป็นที่อาศัย ปัสสัทธิมีปีติเป็นที่อาศัย สุขมีปัสสัทธิเป็นที่อาศัย สมาธิ
มีสุขเป็นที่อาศัย ยถาภูตญาณทัสสนะมีสมาธิเป็นที่อาศัย นิพพิทามียถาภูต-
ญาณทัสสนะเป็นที่อาศัย วิราคะมีนิพพิทาเป็นที่อาศัย วิมุตติมีวิราคะเป็นที่อาศัย
ขยญาณมีวิมุตติเป็นที่อาศัย
เมื่อฝนเม็ดใหญ่ตกบนยอดภูเขา น้ำนั้นไหลไปตามที่ลุ่ม ทำให้ซอกเขา ลำธาร
และห้วยเต็มเปี่ยม ซอกเขา ลำธารและห้วยทั้งหลายเต็มเปี่ยมแล้ว ทำหนองน้ำให้เต็ม
หนองน้ำเต็มเปี่ยมแล้ว ทำบึงให้เต็ม บึงเต็มแล้ว ทำแม่น้ำน้อยให้เต็ม แม่น้ำน้อย
เต็มแล้ว ทำแม่น้ำใหญ่ให้เต็ม แม่น้ำใหญ่เต็มแล้ว ก็ทำมหาสมุทรให้เต็ม แม้ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายมีอวิชชาเป็นที่อาศัย วิญญาณมีสังขารเป็นที่
อาศัย นามรูปมีวิญญาณเป็นที่อาศัย สฬายตนะมีนามรูปเป็นที่อาศัย ผัสสะมี
สฬายตนะเป็นที่อาศัย เวทนามีผัสสะเป็นที่อาศัย ตัณหามีเวทนาเป็นที่อาศัย
อุปาทานมีตัณหาเป็นที่อาศัย ภพมีอุปาทานเป็นที่อาศัย ชาติมีภพเป็นที่อาศัย ทุกข์
มีชาติเป็นที่อาศัย ศรัทธามีทุกข์เป็นที่อาศัย ปราโมทย์มีศรัทธาเป็นที่อาศัย ปีติมี
ปราโมทย์เป็นที่อาศัย ปัสสัทธิมีปีติเป็นที่อาศัย สุขมีปัสสัทธิเป็นที่อาศัย สมาธิมีสุข
เป็นที่อาศัย ยถาภูตญาณทัสสนะมีสมาธิเป็นที่อาศัย นิพพิทามียถาภูตญาณทัสสนะ
เป็นที่อาศัย วิราคะมีนิพพิทาเป็นที่อาศัย วิมุตติมีวิราคะเป็นที่อาศัย ขยญาณมี
วิมุตติเป็นที่อาศัย ฉันนั้นเหมือนกัน

อุปนิสสูตรที่ ๓ จบ

๔. อัญญติตถิยสูตร
ว่าด้วยอัญเดียรถีย์

[๒๔] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน ... เขตกรุงราชคฤห์
ครั้นในเวลาเช้า ท่านพระสารีบุตรครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไป
บิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์ ได้มีความคิดดังนี้ว่า “การเที่ยวไปบิณฑบาตยังกรุง
ราชคฤห์ยังเช้านัก ทางที่ดี เราพึงเข้าไปยังอารามของพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกเถิด”
ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรได้เข้าไปยังอารามของพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก
ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันกับพวกอัญเดียรถีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๓. ทสพลวรรค ๔. อัญญติตถิยสูตร

ปริพาชกนั้น แล้วนั่ง ณ ที่สมควร พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกนั้น ได้กล่าวกับท่าน
พระสารีบุตรดังนี้ว่า
“ท่านพระสารีบุตร มีสมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะพวกหนึ่งบัญญัติว่า ทุกข์
เป็นสิ่งที่ตนกระทำเอง อนึ่ง สมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะพวกหนึ่งบัญญัติว่า ทุกข์
เป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้ สมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะพวกหนึ่งบัญญัติว่า ทุกข์
เป็นสิ่งที่ตนกระทำเองด้วย และเป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้ด้วย อนึ่ง สมณพราหมณ์
ฝ่ายกรรมวาทะพวกหนึ่งบัญญัติว่า ทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุที่ตนกระทำเองก็มิใช่
และคนอื่นกระทำให้ก็มิใช่
ท่านพระสารีบุตร ก็ในวาทะเหล่านี้ พระสมณโคดมตรัสไว้อย่างไร ตรัสบอก
ไว้อย่างไร และพวกข้าพเจ้าจะตอบอย่างไร จึงจะชื่อว่าพูดตรงตามที่พระสมณโคดม
ตรัสไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระสมณโคดมด้วยคำเท็จ ชื่อว่ากล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผล
ทั้งไม่มีการคล้อยตามคำเช่นนั้นที่จะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้”
“ท่านทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘ทุกข์เป็นสภาวะที่อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น
อาศัยปัจจัยอะไร คืออาศัยผัสสะ บุคคลผู้กล่าวถ้อยคำเช่นนี้ จึงชื่อว่าเป็นผู้พูดตรงตาม
ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำเท็จ ชื่อว่ากล่าวแก้
อย่างสมเหตุสมผลทั้งไม่มีการคล้อยตามคำเช่นนั้นที่จะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้
ท่านทั้งหลาย ในวาทะทั้ง ๔ นั้น ทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะ
บัญญัติว่า เป็นสิ่งที่ตนกระทำเอง ก็เกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ทุกข์ที่พวกสมณ-
พราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะบัญญัติว่า เป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้ ก็เกิดขึ้นเพราะผัสสะ
เป็นปัจจัย ทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะบัญญัติว่า เป็นสิ่งที่ตนกระทำ
เองด้วย และเป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้ด้วย ก็เกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ทุกข์ที่
พวกสมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะบัญญัติว่า เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุที่ตนกระทำเอง
ก็มิใช่ และคนอื่นกระทำให้ก็มิใช่ ก็เกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัย
ท่านทั้งหลาย ในวาทะทั้ง ๔ นั้น เป็นไปไม่ได้เลยที่พวกสมณพราหมณ์ฝ่าย
กรรมวาทะบัญญัติว่า ทุกข์เป็นสิ่งที่ตนกระทำเอง จะเสวยทุกข์เว้นจากผัสสะ
เป็นไปไม่ได้เลยที่พวกสมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะบัญญัติว่า ทุกข์เป็นสิ่งที่คนอื่น
กระทำให้ จะเสวยทุกข์เว้นจากผัสสะ เป็นไปไม่ได้เลยที่พวกสมณพราหมณ์ฝ่าย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๓. ทสพลวรรค ๔. อัญญติตถิยสูตร

กรรมวาทะบัญญัติว่า ทุกข์เป็นสิ่งที่ตนกระทำเองด้วย และเป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้
ด้วย จะเสวยทุกข์เว้นจากผัสสะ เป็นไปไม่ได้เลยที่พวกสมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะ
บัญญัติว่า ทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุที่ตนกระทำเองก็มิใช่ และคนอื่นกระทำให้ก็
มิใช่ จะเสวยทุกข์เว้นจากผัสสะ”
ท่านพระอานนท์ได้ฟังท่านพระสารีบุตรสนทนาปราศรัยกับพวกอัญเดียรถีย์
ปริพาชกเหล่านั้น ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เที่ยวไปบิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์
กลับจากบิณฑบาต หลังจากฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง
ที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ครั้นแล้ว ได้กราบทูลคำสนทนา
ทั้งหมดของท่านพระสารีบุตรกับพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกนั้นแด่พระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ อานนท์ ตามที่สารีบุตรพยากรณ์นั้น
ชื่อว่าพึงพยากรณ์โดยชอบ เรากล่าวว่า ทุกข์เป็นสภาวะที่อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น อาศัย
ปัจจัยอะไร คืออาศัยผัสสะ บุคคลผู้กล่าวถ้อยคำเช่นนี้ จึงชื่อว่าเป็นผู้พูดตรง
ตามที่เรากล่าวไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยคำเท็จ ชื่อว่ากล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผล
ทั้งไม่มีการคล้อยตามคำเช่นนั้นที่จะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้
ในวาทะทั้ง ๔ นั้น ทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะบัญญัติว่า เป็น
สิ่งที่ตนกระทำเอง ก็เกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ฯลฯ ทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์
ฝ่ายกรรมวาทะบัญญัติว่า เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุที่ตนกระทำเองก็มิใช่ และคนอื่น
กระทำให้ก็มิใช่ ก็เกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัย
ในวาทะทั้ง ๔ นั้น เป็นไปไม่ได้เลยที่พวกสมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะ
บัญญัติว่า ทุกข์เป็นสิ่งที่ตนกระทำเอง จะเสวยทุกข์เว้นจากผัสสะ ฯลฯ เป็นไป
ไม่ได้ที่พวกสมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะบัญญัติว่า ทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุที่
ตนกระทำเองก็มิใช่ และคนอื่นกระทำให้ก็มิใช่ จะเสวยทุกข์เว้นจากผัสสะ
สมัยหนึ่ง เราอยู่ที่เวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์นี้แหละ
ครั้นในเวลาเช้า เราครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังกรุง
ราชคฤห์ อานนท์ เราได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘การเที่ยวไปบิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์
ยังเช้านัก ทางที่ดี เราพึงเข้าไปยังอารามของพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกเถิด’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๓. ทสพลวรรค ๔. อัญญติตถิยสูตร

ครั้งนั้น เราได้เข้าไปยังอารามของพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก ได้สนทนาปราศรัย
พอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันกับพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก แล้วนั่ง ณ ที่
สมควร พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกได้กล่าวคำนี้กับเราว่า
“ท่านพระโคดม สมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะพวกหนึ่งบัญญัติว่า ทุกข์เป็น
สิ่งที่ตนกระทำเอง อนึ่ง สมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะพวกหนึ่งบัญญัติว่า ทุกข์เป็น
สิ่งที่คนอื่นกระทำให้ สมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะพวกหนึ่งบัญญัติว่า ทุกข์เป็น
สิ่งที่ตนกระทำเองด้วย และเป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้ด้วย อนึ่ง สมณพราหมณ์ฝ่าย
กรรมวาทะพวกหนึ่งบัญญัติว่า ทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุที่ตนกระทำเองก็มิใช่
และคนอื่นกระทำให้ก็มิใช่
ก็ในวาทะเหล่านี้ ท่านพระโคดมตรัสไว้อย่างไร ตรัสบอกไว้อย่างไร และพวก
ข้าพเจ้าจะตอบว่าอย่างไร จึงจะชื่อว่าพูดตรงตามที่พระโคดมตรัสไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่
ท่านพระโคดมด้วยคำเท็จ ชื่อว่ากล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผล ทั้งไม่มีการคล้อยตาม
คำเช่นนั้นที่จะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้”
อานนท์ เมื่ออัญเดียรถีย์ปริพาชกกล่าวอย่างนี้แล้ว เราได้กล่าวว่า ‘ท่าน
ทั้งหลาย เรากล่าวว่า ทุกข์เป็นสภาวะที่อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น อาศัยปัจจัยอะไร คือ
อาศัยผัสสะ บุคคลผู้กล่าวถ้อยคำเช่นนี้ จึงชื่อว่าเป็นผู้พูดตรงตามที่เรากล่าวไว้
ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยคำเท็จ ชื่อว่ากล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผล ทั้งไม่มีการคล้อยตาม
คำเช่นนั้นที่จะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้’
ท่านทั้งหลาย ในวาทะทั้ง ๔ นั้น ทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ฝ่ายกรรม-
วาทะบัญญัติว่า เป็นสิ่งที่ตนกระทำเอง ก็เกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ทุกข์ที่
พวกสมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะบัญญัติว่า เป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้ ก็เกิดขึ้น
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะบัญญัติว่า เป็นสิ่ง
ที่ตนกระทำเองด้วย และเป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้ด้วย ก็เกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็น
ปัจจัย ทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะบัญญัติว่า เกิดขึ้นเพราะอาศัย
เหตุที่ตนกระทำเองก็มิใช่ และคนอื่นกระทำให้ก็ไม่ใช่ ก็เกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๓. ทสพลวรรค ๔. อัญญติตถิยสูตร

ท่านทั้งหลาย ในวาทะทั้ง ๔ นั้น เป็นไปไม่ได้ที่พวกสมณพราหมณ์ฝ่าย
กรรมวาทะบัญญัติว่า ทุกข์เป็นสิ่งที่ตนกระทำเอง จะเสวยทุกข์เว้นจากผัสสะ ฯลฯ
พวกสมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะ ฯลฯ พวกสมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะ ฯลฯ
พวกสมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะบัญญัติว่า ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุที่ตน
กระทำเองก็มิใช่ และคนอื่นกระทำให้ก็มิใช่ จะเสวยทุกข์เว้นจากผัสสะ
“พระพุทธเจ้าข้า น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ที่เนื้อความทั้งหมด พระผู้มี
พระภาคตรัสไว้ด้วยบท ๆ เดียว พึงมีหรือ ที่เนื้อความเหมือนอย่างนี้ เมื่อพระองค์
ตรัสโดยพิสดาร จะเป็นเนื้อความที่ลึกซึ้งด้วย จะเป็นกระแสความที่ลึกซึ้งด้วย”
“อานนท์ ถ้าเช่นนั้น เนื้อความในเรื่องนี้จงปรากฏชัดแก่เธอเองเถิด”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าใคร ๆ พึงถามข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ‘ท่านอานนท์
ชราและมรณะมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็น
แดนเกิด’ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้ พึงตอบอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย ชราและ
มรณะ มีชาติเป็นเหตุ มีชาติเป็นเหตุเกิด มีชาติเป็นกำเนิด มีชาติเป็นแดนเกิด’
ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้ ตอบอย่างนี้ พระพุทธเจ้าข้า’
ถ้าใคร ๆ พึงถามข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ‘ท่านพระอานนท์ ชาติมีอะไรเป็นเหตุ
มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด’ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้
พึงตอบอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย ชาติมีภพเป็นเหตุ มีภพเป็นเหตุเกิด มีภพเป็นกำเนิด
มีภพเป็นแดนเกิด’ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้ พึงตอบอย่างนี้ พระพุทธเจ้าข้า’
‘ถ้าใคร ๆ พึงถามข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ‘ท่านอานนท์ ภพมีอะไรเป็นเหตุ
มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด’ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้
พึงตอบอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย ภพมีอุปาทานเป็นเหตุ มีอุปาทานเป็นเหตุเกิด
มีอุปาทานเป็นกำเนิด มีอุปาทานเป็นแดนเกิด’ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้ พึงตอบ
อย่างนี้ พระพุทธเจ้าข้า’
ถ้าใคร ๆ พึงถามข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ‘ท่านอานนท์ อุปาทาน ฯลฯ ตัณหา
ฯลฯ เวทนา ฯลฯ ผัสสะมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด
มีอะไรเป็นแดนเกิด’ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้ พึงตอบอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย
ผัสสะมีสฬายตนะเป็นเหตุ มีสฬายตนะเป็นเหตุเกิด มีสฬายตนะเป็นกำเนิด มีสฬายตนะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต] ๓. ทสพลวรรค ๕. ภูมิชสูตร

เป็นแดนเกิด’ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้ พึงตอบอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย ก็เพราะ
ผัสสายตนะทั้ง ๖ นั้น ดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนา
จึงดับ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะ
อุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ
ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วย
ประการฉะนี้’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้ พึงตอบดังกล่าวมานี้แล”

อัญญติตถิยสูตรที่ ๔ จบ

๕. ภูมิชสูตร
ว่าด้วยพระภูมิชะ

[๒๕] พระผู้มีภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ท่านพระภูมิชะออกจากที่หลีกเร้นในเวลาเย็น เข้าไปหาท่านพระ-
สารีบุตรถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันกับท่าน
พระสารีบุตรแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ครั้นแล้ว ท่านพระภูมิชะได้ถามท่านพระสารีบุตร
ดังนี้ว่า
“ท่านพระสารีบุตร สมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะพวกหนึ่งบัญญัติว่า สุขและ
ทุกข์เป็นสิ่งที่ตนกระทำเอง
สมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะพวกหนึ่งบัญญัติว่า สุขและทุกข์เป็นสิ่งที่คนอื่น
กระทำให้
สมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะพวกหนึ่งบัญญัติว่า สุขและทุกข์เป็นสิ่งที่ตน
กระทำเองด้วย และเป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้ด้วย
สมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะพวกหนึ่งบัญญัติว่า สุขและทุกข์เกิดขึ้นเพราะ
อาศัยเหตุที่ตนกระทำเองก็มิใช่ และคนอื่นกระทำให้ก็มิใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต] ๓. ทสพลวรรค ๕. ภูมิชสูตร

ในวาทะเหล่านี้ พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลาย ตรัสไว้อย่างไร ตรัสบอกไว้
อย่างไร และเราทั้งหลายจะตอบอย่างไร จึงจะชื่อว่าพูดตรงตามที่พระผู้มีพระภาค
ตรัสไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำเท็จ ชื่อว่ากล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผล
ทั้งไม่มีการคล้อยตามคำเช่นนั้นที่จะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้”
“ท่านผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สุขและทุกข์เป็นสภาวะที่อาศัยปัจจัย
เกิดขึ้น อาศัยปัจจัยอะไร คืออาศัยผัสสะ บุคคลผู้กล่าวถ้อยคำเช่นนี้ จึงชื่อว่าเป็น
ผู้พูดตรงตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำเท็จ
ชื่อว่ากล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผล ทั้งไม่มีการคล้อยตามคำเช่นนั้นที่จะเป็นเหตุให้ถูก
ตำหนิได้
ในวาทะทั้ง ๔ นั้น สุขและทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะบัญญัติว่า
เป็นสิ่งที่ตนกระทำเอง ก็เกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัย สุขและทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์
ฝ่ายกรรมวาทะ ฯลฯ สุขและทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะ ฯลฯ สุข
และทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะบัญญัติว่า เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุที่
ตนกระทำเองก็มิใช่ และคนอื่นกระทำให้ก็มิใช่ ก็เกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัย
ในวาทะทั้ง ๔ นั้น เป็นไปไม่ได้ที่พวกสมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะบัญญัติว่า
สุขและทุกข์เป็นสิ่งที่ตนกระทำเอง จะเสวยสุขและทุกข์เว้นจากผัสสะ เป็นไปไม่ได้ที่
พวกสมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะ ฯลฯ เป็นไปไม่ได้ที่พวกสมณพราหมณ์ฝ่าย
กรรมวาทะบัญญัติว่า สุขและทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุที่ตนกระทำเองก็มิใช่ และ
คนอื่นกระทำให้ก็มิใช่ จะเสวยสุขและทุกข์เว้นจากผัสสะ”
ท่านพระอานนท์ได้ฟังการสนทนาปราศรัยของท่านพระสารีบุตรกับท่าน
พระภูมิชะแล้ว ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ครั้นแล้ว ได้กราบทูลคำสนทนาทั้งหมดของ
ท่านพระสารีบุตรกับท่านพระภูมิชะแด่พระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ อานนท์ ตามที่สารีบุตรพยากรณ์นั้นชื่อว่า
พึงพยากรณ์โดยชอบ เรากล่าวว่า สุขและทุกข์เป็นสภาวะที่อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น อาศัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต] ๓. ทสพลวรรค ๕. ภูมิชสูตร

ปัจจัยอะไร คืออาศัยผัสสะ บุคคลผู้กล่าวถ้อยคำเช่นนี้ จึงชื่อว่าเป็นผู้พูดตรงตามที่
เรากล่าวไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยคำเท็จ ชื่อว่ากล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผล ทั้งไม่มี
การคล้อยตามคำเช่นนั้นที่จะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้
ในวาทะทั้ง ๔ นั้น สุขและทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะบัญญัติว่า
เป็นสิ่งที่ตนกระทำเอง ก็เกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัย สมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะ
ฯลฯ สมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะ ฯลฯ สุขและทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ฝ่าย
กรรมวาทะบัญญัติว่า เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุที่ตนกระทำเองก็มิใช่ ที่คนอื่นกระทำให้
ก็มิใช่นั้น ก็เกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัย
ในวาทะทั้ง ๔ นั้น เป็นไปไม่ได้ที่พวกสมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะบัญญัติว่า
สุขและทุกข์เป็นสิ่งที่ตนกระทำเอง จะเสวยสุขและทุกข์เว้นจากผัสสะ สมณพราหมณ์
ฝ่ายกรรมวาทะ ฯลฯ สมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะ ฯลฯ สมณพราหมณ์ฝ่าย
กรรมวาทะบัญญัติว่า สุขและทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุที่ตนกระทำเองก็มิใช่ และ
คนอื่นกระทำให้ก็มิใช่ จะเสวยสุขและทุกข์เว้นจากผัสสะ
เมื่อกายมีอยู่ สุขและทุกข์ที่เป็นไปในภายใน จึงเกิดขึ้น เพราะความจงใจทางกาย
เป็นเหตุ หรือว่าเมื่อวาจามีอยู่ สุขและทุกข์ที่เป็นไปในภายใน จึงเกิดขึ้น เพราะความ
จงใจทางวาจาเป็นเหตุ หรือว่าเมื่อใจมีอยู่ สุขและทุกข์ที่เป็นไปในภายใน จึงเกิดขึ้น
เพราะความจงใจทางใจเป็นเหตุ และเพราะอวิชชาเป็นปัจจัยด้วย
บุคคลปรุงแต่งกายสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์ที่เป็นไปในภายในเกิด
ขึ้นด้วยตนเองบ้าง ปรุงแต่งกายสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์ที่เป็นไปใน
ภายในเกิดขึ้นเพราะคนอื่นบ้าง บุคคลรู้สึกตัวอยู่ ปรุงแต่งกายสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัย
ให้สุขและทุกข์ที่เป็นไปในภายในเกิดขึ้นบ้าง ไม่รู้สึกตัวอยู่ ปรุงแต่งกายสังขาร
ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์ที่เป็นไปในภายในเกิดขึ้นบ้าง
บุคคลปรุงแต่งวจีสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์ที่เป็นไปในภายในเกิดขึ้น
ด้วยตนเองบ้าง ปรุงแต่งวจีสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์ที่เป็นไปในภายใน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๓. ทสพลวรรค ๖. อุปวาณสูตร

เกิดขึ้นเพราะคนอื่นบ้าง บุคคลรู้สึกตัวอยู่ ฯลฯ บ้าง ไม่รู้สึกตัวอยู่ ปรุงแต่งวจี-
สังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์ที่เป็นไปในภายในเกิดขึ้นบ้าง
บุคคลปรุงแต่งมโนสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์ที่เป็นไปในภายในเกิดขึ้น
ด้วยตนเองบ้าง ปรุงแต่งมโนสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์ที่เป็นไปในภายใน
เกิดขึ้นเพราะคนอื่นบ้าง บุคคลรู้สึกตัวอยู่ ฯลฯ บ้าง ไม่รู้สึกตัวอยู่ ปรุงแต่งมโน-
สังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์ที่เป็นไปในภายในเกิดขึ้นบ้าง
อานนท์ อวิชชาแทรกอยู่แล้วในธรรมเหล่านี้ เพราะอวิชชานั้นแหละดับไปไม่
เหลือด้วยวิราคะ กายซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์ที่เป็นไปในภายในเกิดขึ้นนั้น จึงไม่มี
วาจาซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์ที่เป็นไปในภายในเกิดขึ้นนั้น จึงไม่มี มโนซึ่งเป็น
ปัจจัยให้สุขและทุกข์ที่เป็นไปในภายในเกิดขึ้นนั้น จึงไม่มี เขตไม่มี ฯลฯ วัตถุไม่มี
ฯลฯ อายตนะไม่มี ฯลฯ หรืออธิกรณ์ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์ที่เป็นไปในภายใน
เกิดขึ้นนั้น ไม่มี”

ภูมิชสูตรที่ ๕ จบ

๖. อุปวาณสูตร
ว่าด้วยพระอุปวาณะ

[๒๖] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ท่านพระอุปวาณะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมณพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติว่า ทุกข์เป็นสิ่งที่ตน
กระทำเอง สมณพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติว่า ทุกข์เป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้ สมณ-
พราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติว่า ทุกข์เป็นสิ่งที่ตนกระทำเองด้วย และเป็นสิ่งที่คนอื่น
กระทำให้ด้วย สมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่งบัญญัติว่า ทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุ
ที่ตนกระทำเองก็มิใช่ และคนอื่นกระทำให้ก็มิใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๓. ทสพลวรรค ๗. ปัจจยสูตร

ในวาทะเหล่านี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้อย่างไร ตรัสบอกไว้อย่างไร และข้าพระองค์
ทั้งหลายจะตอบอย่างไร จึงจะชื่อว่าพูดตรงตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ไม่ชื่อว่า
กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำเท็จ ชื่อว่ากล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผล ทั้งไม่มีการ
คล้อยตามคำเช่นนั้นที่จะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้”
“อุปวาณะ เรากล่าวว่าทุกข์เป็นสภาวะที่อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น อาศัยปัจจัย อะไร
คือ อาศัยผัสสะ บุคคลผู้กล่าวถ้อยคำเช่นนี้ จึงชื่อว่าพูดตรงตามที่เรากล่าวไว้ ไม่ชื่อว่า
กล่าวตู่เราด้วยคำเท็จ ชื่อว่ากล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผล ทั้งไม่มีการคล้อยตาม
คำเช่นนั้นที่จะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้
ในวาทะทั้ง ๔ นั้น ทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์บัญญัติว่า เป็นสิ่งที่ตนกระทำเอง
ก็เกิดขึ้น เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ ฯลฯ ทุกข์ที่พวก
สมณพราหมณ์ ฯลฯ ทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์เหล่านั้นบัญญัติว่าเกิดขึ้นเพราะ
อาศัยเหตุที่ตนกระทำเองก็มิใช่ และคนอื่นกระทำให้ก็มิใช่ ก็เกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็น
ปัจจัย
อุปวาณะ ในวาทะทั้ง ๔ นั้น เป็นไปไม่ได้ที่สมณพราหมณ์บัญญัติว่า ทุกข์เป็น
สิ่งที่ตนกระทำเอง จะเสวยทุกข์เว้นจากผัสสะ ฯลฯ เป็นไปไม่ได้ที่สมณพราหมณ์ ฯลฯ
เป็นไปไม่ได้ที่สมณพราหมณ์ ฯลฯ เป็นไปไม่ได้ที่สมณพราหมณ์บัญญัติว่า ทุกข์เกิดขึ้น
เพราะอาศัยเหตุที่ตนกระทำเองก็มิใช่ และคนอื่นกระทำให้ก็มิใช่ จะเสวยทุกข์เว้น
จากผัสสะ”

อุปวาณสูตรที่ ๖ จบ

๗. ปัจจยสูตร
ว่าด้วยปัจจัย

[๒๗] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารทั้งหลายจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ฯลฯ
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๓. ทสพลวรรค ๗. ปัจจยสูตร

ชราและมรณะ เป็นอย่างไร
คือ ความแก่ ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด ความมีผมหงอก ความมี
หนังเหี่ยวย่น ความเสื่อมอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ในหมู่สัตว์นั้น ๆ ของเหล่า
สัตว์นั้น ๆ นี้เรียกว่า ชรา
ความจุติ ความเคลื่อนไป ความทำลายไป ความหายไป ความตายกล่าวคือ
มฤตยู การทำกาละ ความแตกแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งร่างกาย ความขาดแห่ง
ชีวิตินทรีย์ของเหล่าสัตว์นั้น ๆ จากหมู่สัตว์นั้น ๆ นี้เรียกว่า มรณะ
ชราและมรณะ ดังพรรณนามาฉะนี้ นี้เรียกว่า ชราและมรณะ
เพราะชาติเกิด ชราและมรณะจึงเกิด เพราะชาติดับ ชราและมรณะจึงดับ
อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) ๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
๓. สัมมาวาจา (วาจาชอบ) ๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ)
๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) ๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ)
๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ) ๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ)

ชื่อว่าปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ
ชาติเป็นอย่างไร ฯลฯ ภพเป็นอย่างไร ... อุปาทานเป็นอย่างไร ... ตัณหาเป็น
อย่างไร ... เวทนาเป็นอย่างไร ... ผัสสะเป็นอย่างไร ... สฬายตนะเป็นอย่างไร ...
นามรูปเป็นอย่างไร ... วิญญาณเป็นอย่างไร
สังขารทั้งหลาย มีเท่าไร
สังขารมี ๓ ประการนี้ คือ
๑. กายสังขาร (สภาวะที่ปรุงแต่งกาย)
๒. วจีสังขาร (สภาวะที่ปรุงแต่งวาจา)
๓. จิตตสังขาร (สภาวะที่ปรุงแต่งใจ)
นี้เรียกว่า สังขารทั้งหลาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต] ๓. ทสพลวรรค ๘. ภิกขุสูตร

เพราะอวิชชาเกิด สังขารจึงเกิด เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ
อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
ชื่อว่าปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสังขาร
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดอริยสาวกรู้ชัดปัจจัยอย่างนี้ รู้ชัดความเกิดแห่งปัจจัย
อย่างนี้ รู้ชัดความดับแห่งปัจจัยอย่างนี้ รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งปัจจัย
อย่างนี้
เมื่อนั้นอริยสาวกนี้เราเรียกว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ๑บ้าง ผู้ถึงพร้อมด้วย
ทัศนะบ้าง ผู้ถึงสัทธรรมนี้บ้าง เห็นสัทธรรมนี้บ้าง ประกอบด้วยญาณอันเป็นเสขะบ้าง
ประกอบด้วยวิชชาอันเป็นเสขะบ้าง บรรลุกระแสแห่งธรรมบ้าง เป็นพระอริยะผู้มี
ปัญญาเพิกถอนกิเลสบ้าง ดำรงอยู่ใกล้ประตูอมตนิพพานบ้าง”

ปัจจยสูตรที่ ๗ จบ

๘. ภิกขุสูตร
ว่าด้วยภิกษุ

[๒๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ รู้ชัดชราและมรณะ รู้ชัดความเกิดแห่ง
ชราและมรณะ รู้ชัดความดับแห่งชราและมรณะ รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่ง
ชราและมรณะ รู้ชัดชาติ ฯลฯ รู้ชัดภพ ... รู้ชัดอุปาทาน ... รู้ชัดตัณหา ... รู้ชัดเวทนา
... รู้ชัดผัสสะ ... รู้ชัดสฬายตนะ ... รู้ชัดนามรูป ... รู้ชัดวิญญาณ ... รู้ชัดสังขารทั้งหลาย
รู้ชัดความเกิดแห่งสังขาร รู้ชัดความดับแห่งสังขาร รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับ
แห่งสังขาร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต] ๓. ทสพลวรรค ๘. ภิกขุสูตร

ชราและมรณะ เป็นอย่างไร
คือ ความแก่ ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด ความมีผมหงอก ความมีหนัง
เหี่ยวย่น ความเสื่อมอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ในหมู่สัตว์นั้น ๆ ของเหล่า
สัตว์นั้น ๆ นี้เรียกว่า ชรา
ความจุติ ความเคลื่อนไป ความทำลายไป ความหายไป ความตายกล่าว
คือมฤตยู การทำกาละ ความแตกแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งร่างกาย ความขาดแห่ง
ชีวิตินทรีย์ ของเหล่าสัตว์นั้น ๆ จากหมู่สัตว์นั้น ๆ นี้เรียกว่า มรณะ
ชราและมรณะ ดังพรรณนามาฉะนี้ นี้เรียกว่า ชราและมรณะ
เพราะชาติเกิด ชราและมรณะจึงเกิด เพราะชาติดับ ชราและมรณะจึงดับ
อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
ชื่อว่าปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ
ชาติเป็นอย่างไร ฯลฯ ภพเป็นอย่างไร ... อุปาทานเป็นอย่างไร ... ตัณหาเป็น
อย่างไร ... เวทนาเป็นอย่างไร ... ผัสสะเป็นอย่างไร ... สฬายตนะเป็นอย่างไร ...
นามรูปเป็นอย่างไร ... วิญญาณเป็นอย่างไร
สังขารทั้งหลาย มีเท่าไร
สังขารมี ๓ ประการนี้ คือ
๑. กายสังขาร
๒. วจีสังขาร
๓. จิตตสังขาร
นี้เรียกว่า สังขารทั้งหลาย
เพราะอวิชชาเกิด สังขารจึงเกิด เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ
อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
ชื่อว่าปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสังขาร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๓. ทสพลวรรค ๙. สมณพราหมณสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุรู้ชัดชราและมรณะอย่างนี้ รู้ชัดความเกิดแห่งชรา
และมรณะอย่างนี้ รู้ชัดความดับแห่งชราและมรณะอย่างนี้ รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความ
ดับแห่งชราและมรณะอย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดชาติอย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดภพ ... อุปาทาน ...
ตัณหา ... เวทนา ... ผัสสะ ... สฬายตนะ ... นามรูป ... วิญญาณ ... รู้ชัดสังขาร
ทั้งหลายอย่างนี้ รู้ชัดความเกิดแห่งสังขารอย่างนี้ รู้ชัดความดับแห่งสังขารอย่างนี้
รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสังขารอย่างนี้
เมื่อนั้น ภิกษุนี้เราเรียกว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิบ้าง ผู้ถึงพร้อมด้วยทัศนะ
บ้าง ผู้ถึงสัทธรรมนี้บ้าง เห็นสัทธรรมนี้บ้าง ประกอบด้วยญาณอันเป็นเสขะบ้าง
ประกอบด้วยวิชชาอันเป็นเสขะบ้าง บรรลุกระแสแห่งธรรมบ้าง เป็นพระอริยะผู้
มีปัญญาเพิกถอนกิเลสบ้าง ดำรงอยู่ใกล้ประตูอมตนิพพานบ้าง”

ภิกขุสูตรที่ ๘ จบ

๙. สมณพราหมณสูตร
ว่าด้วยสมณพราหมณ์

[๒๙] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่รู้ชัดชราและมรณะ
ไม่รู้ชัดความเกิดแห่งชราและมรณะ ไม่รู้ชัดความดับแห่งชราและมรณะ ไม่รู้ชัด
ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ ไม่รู้ชัดชาติ ฯลฯ ไม่รู้ชัดภพ ... อุปาทาน
... ตัณหา ... เวทนา ... ผัสสะ ... สฬายตนะ ... นามรูป ... วิญญาณ ... ไม่รู้ชัด
สังขารทั้งหลาย ไม่รู้ชัดความเกิดแห่งสังขาร ไม่รู้ชัดความดับแห่งสังขาร ไม่รู้ชัด
ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสังขาร
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ไม่จัดว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือไม่จัดว่า
เป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้นก็ไม่ทำให้แจ้งประโยชน์ของความ
เป็นสมณะ หรือประโยชน์ของความเป็นพราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ใน
ปัจจุบัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๓. ทสพลวรรค ๑๐. ทุติยสมณพราหมณสูตร

ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ชัดชราและมรณะ รู้ชัดความเกิด
แห่งชราและมรณะ รู้ชัดความดับแห่งชราและมรณะ รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับ
แห่งชราและมรณะ รู้ชัดชาติ” ฯลฯ รู้ชัดภพ ... อุปาทาน ... ตัณหา ... เวทนา ...
ผัสสะ ... สฬายตนะ ... นามรูป ... วิญญาณ ... รู้ชัดสังขารทั้งหลาย รู้ชัดความเกิด
แห่งสังขาร รู้ชัดความดับแห่งสังขาร รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสังขาร
ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น จัดว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ
และจัดว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้นก็ทำให้แจ้งประโยชน์ของ
ความเป็นสมณะ และประโยชน์ของความเป็นพราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึง
อยู่ในปัจจุบัน”

สมณพราหมณสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ทุติยสมณพราหมณสูตร
ว่าด้วยสมณพราหมณ์ สูตรที่ ๒

[๓๐] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่รู้ชัดชราและมรณะ
ไม่รู้ชัดความเกิดแห่งชราและมรณะ ไม่รู้ชัดความดับแห่งชราและมรณะ ไม่รู้ชัด
ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น จักก้าว
ล่วงชราและมรณะ ดำรงอยู่ ข้อนั้นเป็นไปไม่ได้
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่รู้ชัดชาติ ฯลฯ ไม่รู้ชัดภพ ...
อุปาทาน ... ตัณหา ... เวทนา ... ผัสสะ ... สฬายตนะ ... นามรูป ... วิญญาณ ...
ไม่รู้ชัดสังขารทั้งหลาย ไม่รู้ชัดความเกิดแห่งสังขาร ไม่รู้ชัดความดับแห่งสังขาร
ไม่รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสังขาร สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น จักก้าวล่วง
สังขารทั้งหลาย ดำรงอยู่ ข้อนั้นเป็นไปไม่ได้
ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ชัดชราและมรณะ รู้ชัดความเกิด
แห่งชราและมรณะ รู้ชัดความดับแห่งชราและมรณะ รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับ
แห่งชราและมรณะ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น จักก้าวล่วงชราและมรณะ ดำรงอยู่
ข้อนั้นเป็นไปได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๓. ทสพลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ชัดชาติ ฯลฯ รู้ชัดภพ ... อุปาทาน ...
ตัณหา ... เวทนา ... ผัสสะ ... สฬายตนะ ... นามรูป ... วิญญาณ ... รู้ชัดสังขารทั้งหลาย
รู้ชัดความเกิดแห่งสังขาร รู้ชัดความดับแห่งสังขาร รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่ง
สังขาร สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น จักก้าวล่วงสังขารทั้งหลายดำรงอยู่ ข้อนั้น
เป็นไปได้”

ทุติยสมณพราหมณสูตรที่ ๑๐ จบ
ทสพลวรรคที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ทสพลสูตร ๒. ทุติยทสพลสูตร
๓. อุปนิสสูตร ๔. อัญญติตถิยสูตร
๕. ภูมิชสูตร ๖. อุปวาณสูตร
๗. ปัจจยสูตร ๘. ภิกขุสูตร
๙. สมณพราหมณสูตร ๑๐. ทุติยสมณพราหมณสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๔. กฬารขัตติยวรรค ๑. ภูตสูตร

๔. กฬารขัตติยวรรค
หมวดว่าด้วยพระกฬารขัตติยะ

๑. ภูตสูตร
ว่าด้วยภูตะ๑

[๓๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่... เขตกรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกท่านพระสารีบุตรมาตรัสว่า ‘สารีบุตร
อชิตมาณพได้กล่าวคาถานี้ไว้ในอชิตปัญหา ปารายนวรรคว่า
พระอรหันตขีณาสพเหล่าใดผู้มีสังขาตธรรม๒
และพระเสขะเหล่าใดที่มีอยู่เป็นอันมากในที่นี้
ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ข้าพระองค์ทูลถามแล้ว
ขอพระองค์ผู้มีปัญญา โปรดตรัสบอกการดำเนินชีวิต
ของพระอรหันตขีณาสพ และพระเสขะเหล่านั้น๓
เธอพึงทราบเนื้อความแห่งคาถาที่กล่าวโดยย่อนี้ โดยพิสดารได้อย่างไร’
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้นิ่งอยู่ พระผู้มีพระภาค
จึงตรัสกับท่านพระสารีบุตรเป็นครั้งที่ ๒ ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๒ ท่านพระสารีบุตรก็ได้นิ่งอยู่
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสกับท่านพระสารีบุตรเป็นครั้งที่ ๓ ว่า ‘สารีบุตร อชิต-
มาณพ ได้กล่าวคาถานี้ไว้ในอชิตปัญหา ปารายนวรรคว่า
พระอรหันตขีณาสพเหล่าใดผู้มีสังขาตธรรม
และพระเสขะเหล่าใดที่มีอยู่เป็นอันมากในที่นี้


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๔. กฬารขัตติยวรรค ๑. ภูตสูตร

ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ข้าพระองค์ทูลถามแล้ว
ขอพระองค์ผู้มีปัญญา โปรดตรัสบอกการดำเนินชีวิต
ของพระอรหันตขีณาสพ และพระเสขะเหล่านั้น
เธอพึงทราบเนื้อความแห่งคาถาที่กล่าวโดยย่อนี้ โดยพิสดารได้อย่างไร’
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรก็ยังนิ่งอยู่ถึง ๓ ครั้ง
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า “สารีบุตร เธอเห็นหรือว่า นี้คือภูตะ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า
‘นี้คือภูตะ’ ครั้นเห็นอย่างนั้นแล้ว จึงปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด
เพื่อดับภูตะ บุคคลเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า ‘ภูตะนี้เกิดเพราะ
อาหารนั้น’ ครั้นเห็นอย่างนั้นแล้ว จึงปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด
เพื่อดับภูตะที่เกิดเพราะอาหารนั้น บุคคลเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริง
ว่า ‘ภูตะใดเกิดแล้ว ภูตะนั้นมีความดับเป็นธรรมดา เพราะความดับแห่งอาหารนั้น’
ครั้นเห็นอย่างนั้นแล้ว จึงปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด เพื่อดับภูตะ
ซึ่งมีความดับเป็นธรรมดาเพราะอาหารนั้นดับไป
บุคคลชื่อว่าเป็นเสขะด้วยการปฏิบัติอย่างนี้ พระพุทธเจ้าข้า
บุคคลชื่อว่ามีสังขาตธรรม เป็นอย่างไร
คือ บุคคลเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า ‘นี้คือภูตะ’ ครั้นเห็น
อย่างนั้นแล้ว จึงเป็นผู้หลุดพ้นเพราะความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ดับ เพราะไม่
ถือมั่นภูตะ บุคคลเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า ‘ภูตะนี้เกิดเพราะ
อาหารนั้น’ ครั้นเห็นอย่างนั้นแล้ว จึงเป็นผู้หลุดพ้นเพราะความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด
ดับ เพราะไม่ถือมั่นภูตะที่เกิดเพราะอาหารนั้น บุคคลเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตาม
ความเป็นจริงว่า ‘ภูตะใดเกิดแล้ว ภูตะนั้นมีความดับเป็นธรรมดา เพราะความดับ
แห่งอาหารนั้น’ ครั้นเห็นอย่างนั้นแล้ว จึงเป็นผู้หลุดพ้นเพราะความเบื่อหน่าย คลาย
กำหนัด ดับ เพราะไม่ถือมั่นภูตะที่มีความดับเป็นธรรมดา บุคคลชื่อว่ามีสังขาตธรรม
เป็นอย่างนี้ พระพุทธเจ้าข้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๔. กฬารขัตติยวรรค ๑. ภูตสูตร

คาถานี้อชิตมาณพกล่าวไว้ในอชิตปัญหา ปารายนวรรคว่า
พระอรหันตขีณาสพเหล่าใดผู้มีสังขาตธรรม
และพระเสขะเหล่าใดที่มีอยู่เป็นอันมากในที่นี้
ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ข้าพระองค์ทูลถามแล้ว
ขอพระองค์ผู้มีปัญญา โปรดตรัสบอกการดำเนินชีวิต
ของพระอรหันตขีณาสพ และพระเสขะเหล่านั้น
ข้าพระองค์รู้เนื้อความแห่งคาถาที่กล่าวไว้โดยย่อนี้ โดยพิสดารอย่างนี้”
“ดีละ ดีละ สารีบุตร บุคคลเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า
‘นี้คือภูตะ’ ครั้นเห็นอย่างนั้นแล้ว จึงปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด
เพื่อดับภูตะ บุคคลเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า ‘ภูตะนี้เกิดเพราะ
อาหารนั้น’ ครั้นเห็นอย่างนั้นแล้ว จึงปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด
เพื่อดับภูตะที่เกิดเพราะอาหารนั้น บุคคลเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริง
ว่า ‘ภูตะใดเกิดแล้ว ภูตะนั้นมีความดับเป็นธรรมดา เพราะความดับแห่งอาหารนั้น’
ครั้นเห็นอย่างนั้นแล้ว จึงปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด เพื่อดับภูตะที่
มีความดับเป็นธรรมดาเพราะอาหารนั้นดับไป
บุคคลชื่อว่าเป็นเสขะด้วยการปฏิบัติอย่างนี้”
บุคคลชื่อว่ามีสังขาตธรรม เป็นอย่างไร
คือ บุคคลเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า ‘นี้คือภูตะ’ ครั้นเห็น
อย่างนั้นแล้ว จึงเป็นผู้หลุดพ้นเพราะความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ดับ เพราะไม่
ถือมั่นภูตะ บุคคลเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า ‘ภูตะนี้เกิดเพราะ
อาหารนั้น’ ครั้นเห็นอย่างนั้นแล้ว จึงเป็นผู้หลุดพ้นเพราะความเบื่อหน่าย คลาย
กำหนัด ดับ เพราะไม่ถือมั่นภูตะที่เกิดเพราะอาหารนั้น บุคคลเห็นด้วยปัญญาโดยชอบ
ตามความเป็นจริงว่า ‘ภูตะใดเกิดแล้ว ภูตะนั้นมีความดับเป็นธรรมดา เพราะความ
ดับแห่งอาหารนั้น’ ครั้นเห็นอย่างนั้นแล้ว จึงเป็นผู้หลุดพ้นเพราะความเบื่อหน่าย
คลายกำหนัด ดับ เพราะไม่ถือมั่นภูตะที่มีความดับเป็นธรรมดา
บุคคลชื่อว่ามีสังขาตธรรมเป็นอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๔. กฬารขัตติยวรรค ๒. กฬารสูตร

คาถานี้อชิตมาณพกล่าวไว้ในอชิตปัญหา ปารายนวรรคว่า
พระอรหันตขีณาสพเหล่าใดผู้มีสังขาตธรรม
และพระเสขะเหล่าใดที่มีอยู่เป็นอันมากในที่นี้
ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ข้าพระองค์ทูลถามแล้ว
ขอพระองค์ผู้มีปัญญา โปรดตรัสบอกการดำเนินชีวิต
ของพระอรหันตขีณาสพ และพระเสขะเหล่านั้น
สารีบุตร เธอพึงเห็นเนื้อความแห่งคาถาที่กล่าวโดยย่อนี้ โดยพิสดารอย่างนี้แล”

ภูตสูตรที่ ๑ จบ

๒. กฬารสูตร
ว่าด้วยพระกฬาระ

[๓๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น พระกฬารขัตติยะเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัย
พอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับท่าน
พระสารีบุตรดังนี้ว่า ‘ท่านสารีบุตร พระโมลิยผัคคุนะได้บอกคืนสิกขา กลับมา
เป็นคฤหัสถ์แล้ว’
“ท่านโมลิยผัคคุนะนั้นคงไม่ได้ความพอใจในพระธรรมวินัยนี้กระมัง”
“ถ้าเช่นนั้น ท่านสารีบุตรคงได้ความพอใจในพระธรรมวินัยนี้กระมัง”
“ท่านผู้มีอายุ ผมไม่สงสัยเลย”
“ท่านผู้มีอายุ ก็ต่อไปเล่า ท่านไม่สงสัยหรือ”
“ท่านผู้มีอายุ ถึงต่อไปผมก็ไม่ลังเล”
ลำดับนั้น พระกฬารขัตติยะลุกจากอาสนะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๔. กฬารขัตติยวรรค ๒. กฬารสูตร

‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระสารีบุตรพยากรณ์อรหัตตผลว่า ‘เรารู้ชัดว่า
ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความ
เป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งให้เรียกภิกษุรูปหนึ่งมาตรัสว่า ‘มาเถิด
ภิกษุ เธอจงไปเรียกสารีบุตรมาตามคำของเราว่า ‘ท่านสารีบุตร พระศาสดารับสั่งให้
ท่านเข้าเฝ้า’ ภิกษุนั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่
แล้วเรียนว่า ‘ท่านสารีบุตร พระศาสดารับสั่งให้ท่านเข้าเฝ้า’ ท่านพระสารีบุตรรับคำแล้ว
จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า ‘สารีบุตร ได้ทราบว่าเธอพยากรณ์อรหัตตผล
ว่า ‘เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มี
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป จริงหรือ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์หาได้กล่าวเนื้อความโดยบท โดยพยัญชนะ
เช่นนี้ไม่”
“สารีบุตร กุลบุตรย่อมพยากรณ์อรหัตตผลโดยปริยาย(โดยอ้อม)อย่างใดอย่างหนึ่ง
เมื่อเป็นเช่นนั้น อรหัตตผลที่เธอพยากรณ์ไปแล้ว บุคคลพึงเห็นตามที่เธอพยากรณ์หรือ”
“แม้ข้าพระองค์ก็ได้กราบทูลไว้อย่างนี้มิใช่หรือว่า ‘ข้าพระองค์หาได้กล่าวเนื้อ
ความโดยบท โดยพยัญชนะเช่นนี้ไม่”
“ถ้ามีผู้ถามเธออย่างนี้ว่า ‘ท่านสารีบุตร ท่านรู้เห็นอย่างไร จึงพยากรณ์
อรหัตตผลว่า ‘ข้าพเจ้ารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำ
เสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ เมื่อถูกถามอย่างนี้ เธอพึง
พยากรณ์อย่างไร”
“ถ้ามีผู้ถามข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ‘ท่านสารีบุตร ท่านรู้เห็นอย่างไร จึงพยากรณ์
อรหัตตผลว่า ‘ข้าพเจ้ารู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำ
เสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้แล้ว
พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุ ชาติมีสิ่งใดเป็นเหตุ เมื่อต้นเหตุแห่งชาตินั้น
สิ้นไปแล้ว ข้าพเจ้าจึงรู้ว่า ‘ข้าพเจ้าเป็นผู้สิ้นแล้ว’ เพราะปัจจัยแห่งชาตินั้นสิ้นไปแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๔. กฬารขัตติยวรรค ๒. กฬารสูตร

ครั้นรู้ว่า ‘ข้าพเจ้าเป็นผู้สิ้นแล้ว ข้าพเจ้ารู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ เมื่อข้าพระองค์
ถูกถามอย่างนี้ ก็พึงพยากรณ์อย่างนี้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ถ้ามีผู้ถามเธออย่างนี้ว่า ‘ท่านสารีบุตร ก็ชาติมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็น
เหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด’ เมื่อถูกถามอย่างนี้ เธอพึงพยากรณ์
อย่างไร”
“ถ้ามีผู้ถามข้าพระองค์อย่างนี้ ข้าพระองค์พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ‘ชาติมีภพ
เป็นเหตุ มีภพเป็นเหตุเกิด มีภพเป็นกำเนิด มีภพเป็นแดนเกิด”
“ถ้ามีผู้ถามเธออย่างนี้ว่า ‘ท่านสารีบุตร ก็ภพเล่า มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็น
เหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด’ เมื่อถูกถามอย่างนี้ เธอพึงพยากรณ์
อย่างไร”
“ถ้ามีผู้ถามข้าพระองค์อย่างนี้ ข้าพระองค์พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ‘ภพมีอุปาทาน
เป็นเหตุ มีอุปาทานเป็นเหตุเกิด มีอุปาทานเป็นกำเนิด มีอุปาทานเป็นแดนเกิด”
“ถ้ามีผู้ถามเธออย่างนี้ว่า ‘ท่านสารีบุตร ก็อุปาทานเล่า มีอะไรเป็นเหตุ ฯลฯ
มีอะไรเป็นแดนเกิด’ เมื่อถูกถามอย่างนี้ เธอพึงพยากรณ์อย่างไร”
“ถ้ามีผู้ถามข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ‘ท่านสารีบุตร อุปาทานเล่า มีอะไรเป็นเหตุ
ฯลฯ มีอะไรเป็นแดนเกิด’ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้ พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ‘อุปาทาน
มีตัณหาเป็นเหตุ ฯลฯ มีตัณหาเป็นแดนเกิด”
“ถ้ามีผู้ถามเธออย่างนี้ว่า ‘ท่านสารีบุตร ก็ตัณหาเล่า มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไร
เป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด’ เมื่อถูกถามอย่างนี้ เธอพึง
พยากรณ์อย่างไร”
“ถ้ามีผู้ถามข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ‘ท่านสารีบุตร ตัณหาเล่ามีอะไรเป็นเหตุ
มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด’ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้
พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ‘ตัณหามีเวทนาเป็นเหตุ มีเวทนาเป็นเหตุเกิด มีเวทนาเป็น
กำเนิด มีเวทนาเป็นแดนเกิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๔. กฬารขัตติยวรรค ๒. กฬารสูตร

“ถ้ามีผู้ถามเธออย่างนี้ว่า ‘ท่านสารีบุตร ก็เวทนาเล่า มีอะไรเป็นเหตุ ฯลฯ มี
อะไรเป็นแดนเกิด’ เมื่อถูกถามอย่างนี้ เธอพึงพยากรณ์อย่างไร”
“ถ้ามีผู้ถามข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ‘ท่านสารีบุตร ก็เวทนาเล่ามีอะไรเป็นเหตุ
ฯลฯ มีอะไรเป็นแดนเกิด’ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้ พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ‘เวทนา
มีผัสสะเป็นเหตุ ฯลฯ มีผัสสะเป็นแดนเกิด”
“ถ้ามีผู้ถามเธออย่างนี้ว่า ‘ท่านสารีบุตร ท่านรู้เห็นอย่างไร ความเพลิดเพลิน
ในเวทนาจึงไม่ปรากฏ’ เมื่อถูกถามอย่างนี้ เธอพึงพยากรณ์อย่างไร”
“ถ้ามีผู้ถามข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ‘ท่านสารีบุตร ท่านรู้เห็นอย่างไร ความ
เพลิดเพลินในเวทนาจึงไม่ปรากฏ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้ พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า
เวทนามี ๓ ประการ

เวทนา ๓ ประการอะไรบ้าง คือ
๑. สุขเวทนา
๒. ทุกขเวทนา
๓. อทุกขมสุขเวทนา
เวทนาทั้ง ๓ ประการนี้ เป็นสภาวะไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์
ความเพลิดเพลินในเวทนาทั้งหลายจึงไม่ปรากฏ”
“ดีละ ดีละ สารีบุตร ตามที่เธอพยากรณ์ความข้อนั้นโดยย่อ ก็ได้ใจความ
ดังนี้ว่า ‘เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่งล้วนเป็นทุกข์ทั้งนั้น’
อนึ่ง ถ้ามีผู้ถามเธออย่างนี้ว่า ‘ท่านสารีบุตร เพราะความหลุดพ้นเช่นไร
ท่านจึงพยากรณ์อรหัตตผลว่า ‘ข้าพเจ้ารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ เมื่อถูกถาม
อย่างนี้ เธอพึงพยากรณ์อย่างไร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๔. กฬารขัตติยวรรค ๒. กฬารสูตร

“ถ้ามีผู้ถามข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ‘ท่านสารีบุตร เพราะความหลุดพ้นเช่นไร
ท่านจึงพยากรณ์อรหัตตผลว่า ‘ข้าพเจ้ารู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ ข้าพระองค์ถูก
ถามอย่างนี้ พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ‘อาสวะทั้งหลายไม่ครอบงำท่านผู้มีสติอยู่อย่างใด
เราก็เป็นผู้มีสติอยู่อย่างนั้น เพราะความหลุดพ้นในภายใน เพราะอุปาทานทั้งปวง
สิ้นไป ทั้งเราก็มิได้ดูหมิ่นตนเองด้วย’ เมื่อถูกถามอย่างนี้ ข้าพระองค์พึงพยากรณ์
อย่างนี้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ดีละ ดีละ สารีบุตร ตามที่เธอพยากรณ์ความข้อนั้นโดยย่อ ก็ได้ใจความ
ดังนี้ว่า ‘อาสวะเหล่าใดอันพระสมณะกล่าวแล้ว ข้าพเจ้าไม่สงสัย ไม่เคลือบแคลง
ในอาสวะเหล่านั้นว่า ‘อาสวะเหล่านั้น ข้าพเจ้าละได้แล้วหรือยัง”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาครั้นตรัสภาษิตนี้แล้ว ได้เสด็จลุกขึ้นจากที่ประทับ
เสด็จเข้าไปยังพระวิหาร
เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปยังพระวิหารได้ไม่นานนัก ท่านพระสารีบุตรได้
กล่าวกับภิกษุทั้งหลายในที่นั้นว่า “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคได้ตรัส
ถามปัญหาข้อแรกกับผม ซึ่งผมยังไม่เคยรู้มาก่อน ผมจึงทูลตอบปัญหาล่าช้าไป
ต่อเมื่อพระผู้มีพระภาคทรงอนุโมทนาปัญหาข้อแรกของผมแล้ว ผมจึงคิดได้ว่า
ถ้าพระผู้มีพระภาคจะพึงตรัสถามความข้อนั้นกับผมด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ
ตลอดทั้งวัน แม้ผมก็พึงทูลตอบความข้อนั้นถวายพระผู้มีพระภาคได้ด้วยบทอื่น ๆ
ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอดทั้งวัน
แม้ถ้าพระผู้มีพระภาคจะพึงตรัสถามความข้อนั้นกับผมด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยาย
อื่น ๆ ตลอดทั้งคืน แม้ผมก็พึงทูลตอบความข้อนั้นถวายพระผู้มีพระภาคได้ด้วยบท
อื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอดทั้งคืน
แม้ถ้าพระผู้มีพระภาคจะพึงตรัสถามความข้อนั้นกับผมด้วยบทอื่น ๆ ด้วย
ปริยายอื่น ๆ ตลอดทั้งคืนทั้งวัน แม้ผมก็พึงทูลตอบความข้อนั้นถวายพระผู้มี
พระภาคได้ด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอดทั้งคืนทั้งวัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๔. กฬารขัตติยวรรค ๒. กฬารสูตร

แม้ถ้าพระผู้มีพระภาคจะพึงตรัสถามความข้อนั้นกับผม ตลอด ๒ คืน ๒ วัน
ฯลฯ แม้ผมก็พึงทูลตอบความข้อนั้นถวายพระผู้มีพระภาคได้ ตลอด ๒ คืน ๒ วัน
ฯลฯ
แม้ถ้าพระผู้มีพระภาคจะพึงตรัสถามความข้อนั้นกับผม ตลอด ๓ คืน ๓ วัน
... แม้ผมก็พึงทูลตอบความข้อนั้นถวายพระผู้มีพระภาคได้ ตลอด ๓ คืน ๓ วัน ...
แม้ถ้าพระผู้มีพระภาคจะพึงตรัสถามความข้อนั้นกับผม ตลอด ๔ คืน ๔ วัน ...
แม้ผมก็พึงทูลตอบความข้อนั้นถวายพระผู้มีพระภาคได้ ตลอด ๔ คืน ๔ วัน ...
แม้ถ้าพระผู้มีพระภาคจะพึงตรัสถามความข้อนั้นกับผม ตลอด ๕ คืน
๕ วัน ... แม้ผมก็พึงทูลตอบความข้อนั้นถวายพระผู้มีพระภาคได้ ตลอด ๕ คืน
๕ วัน ...
แม้ถ้าพระผู้มีพระภาคจะพึงตรัสถามความข้อนั้นกับผม ตลอด ๖ คืน ๖ วัน ...
แม้ผมก็พึงทูลตอบความข้อนั้นถวายพระผู้มีพระภาคได้ ตลอด ๖ คืน ๖ วัน ...
แม้ถ้าพระผู้มีพระภาคจะพึงตรัสถามความข้อนั้นกับผมด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยาย
อื่น ๆ ตลอด ๗ คืน ๗ วัน แม้ผมก็พึงทูลตอบความข้อนั้นถวายพระผู้มีพระภาค
ได้ด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอด ๗ คืน ๗ วัน”
ลำดับนั้น พระกฬารขัตติยะลุกจากอาสนะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ท่านสารีบุตรบันลือสีหนาทว่า ‘ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มี
พระภาคได้ตรัสถามปัญหาข้อแรกกับผม ซึ่งผมยังไม่เคยรู้มาก่อน ผมจึงทูลตอบ
ปัญหาล่าช้าไป ต่อเมื่อพระผู้มีพระภาคทรงอนุโมทนาปัญหาข้อแรกของผมแล้ว
ผมจึงคิดได้ว่า ถ้าพระผู้มีพระภาคจะพึงตรัสถามความข้อนั้นกับผมด้วยบทอื่น ๆ
ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอดทั้งวัน แม้ผมก็พึงทูลตอบความข้อนั้นถวายพระผู้มีพระภาค
ได้ด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอดทั้งวัน
แม้ถ้าพระผู้มีพระภาคจะพึงตรัสถามความข้อนั้นกับผม ตลอดทั้งคืน ฯลฯ
แม้ถ้าพระผู้มีพระภาคจะพึงตรัสถามความข้อนั้นกับผม ตลอดทั้งคืนทั้งวัน ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๔. กฬารขัตติยวรรค ๓. กฬารสูตร

แม้ถ้าพระผู้มีพระภาคจะพึงตรัสถามความข้อนั้นกับผม ตลอด ๒ คืน ๒ วัน
... ตลอด ๓ คืน ๓ วัน ... ตลอด ๔ คืน ๔ วัน ... ตลอด ๕ คืน ๕ วัน ... ตลอด
๖ คืน ๖ วัน ...
แม้ถ้าพระผู้มีพระภาคจะพึงตรัสถามความข้อนั้นกับผมด้วยบทอื่น ๆ ด้วย
ปริยายอื่น ๆ ตลอด ๗ คืน ๗ วัน แม้ผมก็พึงทูลตอบความข้อนั้นถวายพระผู้มี
พระภาคได้ด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอด ๗ คืน ๗ วัน”
“ภิกษุ ก็เพราะธัมมธาตุอันสารีบุตรแทงตลอดดีแล้ว แม้จะถามความข้อนั้น
กับสารีบุตรด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอดทั้งวัน สารีบุตรก็คงตอบความ
ข้อนั้นแก่เราด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอดทั้งวัน
แม้ถ้าเราจะถามความข้อนั้นกับสารีบุตรด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอด
ทั้งคืน สารีบุตรก็คงตอบความข้อนั้น ตลอดทั้งคืน ฯลฯ
แม้ถ้าเราจะถามความข้อนั้นกับสารีบุตร ตลอดทั้งคืนทั้งวัน ... สารีบุตรก็คง
ตอบความข้อนั้นแก่เราได้ตลอดทั้งคืนทั้งวัน ...
แม้ถ้าเราจะถามความข้อนั้นกับสารีบุตร ตลอด ๒ คืน ๒ วัน ... สารีบุตรก็คง
ตอบความข้อนั้นแก่เราได้ ตลอด ๒ คืน ๒ วัน ...
แม้ถ้าเราจะถามความข้อนั้นกับสารีบุตรตลอด ๓ คืน ๓ วัน ... สารีบุตรก็คง
ตอบความข้อนั้นแก่เราได้ตลอด ๓ คืน ๓ วัน ...
แม้ถ้าเราจะถามความข้อนั้นกับสารีบุตร ตลอด ๔ คืน ๔ วัน ... สารีบุตรก็คง
ตอบความข้อนั้นแก่เราได้ ตลอด ๔ คืน ๔ วัน ...
แม้ถ้าเราจะถามความข้อนั้นกับสารีบุตร ตลอด ๕ คืน ๕ วัน ... สารีบุตรก็คง
ตอบความข้อนั้นแก่เราได้ ตลอด ๕ คืน ๕ วัน ...
แม้ถ้าเราจะถามความข้อนั้นกับสารีบุตร ตลอด ๖ คืน ๖ วัน ... สารีบุตรก็
คงตอบความข้อนั้นแก่เราได้ ตลอด ๖ คืน ๖ วัน ...
แม้ถ้าเราจะถามความข้อนั้นกับสารีบุตรด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ
ตลอด ๗ คืน ๗ วัน สารีบุตรก็คงตอบความข้อนั้นแก่เราได้ด้วยบทอื่น ๆ ด้วย
ปริยายอื่น ๆ ตลอด ๗ คืน ๗ วัน”

กฬารสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๔. กฬารขัตติยวรรค ๓. ญาณวัตถุสูตร

๓. ญาณวัตถุสูตร
ว่าด้วยญาณวัตถุ

[๓๓] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงญาณวัตถุ ๔๔ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
จงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มี
พระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ญาณวัตถุ ๔๔ อะไรบ้าง คือ
๑. ความรู้ในชราและมรณะ
๒. ความรู้ในความเกิดแห่งชราและมรณะ
๓. ความรู้ในความดับแห่งชราและมรณะ
๔. ความรู้ในปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ
๕. ความรู้ในชาติ
๖. ความรู้ในความเกิดแห่งชาติ
๗. ความรู้ในความดับแห่งชาติ
๘. ความรู้ในปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งชาติ
๙. ความรู้ในภพ
๑๐. ความรู้ในความเกิดแห่งภพ
๑๑. ความรู้ในความดับแห่งภพ
๑๒. ความรู้ในปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งภพ
๑๓. ความรู้ในอุปาทาน
๑๔. ความรู้ในความเกิดแห่งอุปาทาน
๑๕. ความรู้ในความดับแห่งอุปาทาน
๑๖. ความรู้ในปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งอุปาทาน
๑๗. ความรู้ในตัณหา
๑๘. ความรู้ในความเกิดแห่งตัณหา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๔. กฬารขัตติยวรรค ๓. ญาณวัตถุสูตร

๑๙. ความรู้ในความดับแห่งตัณหา
๒๐. ความรู้ในปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งตัณหา
๒๑. ความรู้ในเวทนา
๒๒. ความรู้ในความเกิดแห่งเวทนา
๒๓. ความรู้ในความดับแห่งเวทนา
๒๔. ความรู้ในปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งเวทนา
๒๕. ความรู้ในผัสสะ ... (๒๖-๒๘)
๒๙. ความรู้ในสฬายตนะ ... (๓๐-๓๒)
๓๓. ความรู้ในนามรูป ... (๓๔-๓๖)
๓๗. ความรู้ในวิญญาณ ... (๓๘-๔๐)
๔๑. ความรู้ในสังขารทั้งหลาย
๔๒. ความรู้ในความเกิดแห่งสังขาร
๔๓. ความรู้ในความดับแห่งสังขาร
๔๔. ความรู้ในปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสังขาร
เหล่านี้เรียกว่า ญาณวัตถุ ๔๔

ชราและมรณะ เป็นอย่างไร
คือ ความแก่ ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด ความมีผมหงอก ความมีหนัง
เหี่ยวย่น ความเสื่อมอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ในหมู่สัตว์นั้น ๆ ของเหล่า
สัตว์นั้น ๆ นี้เรียกว่า ชรา
ความจุติ ความเคลื่อนไป ความทำลายไป ความหายไป ความตายกล่าวคือ
มฤตยู การทำกาละ ความแตกแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งร่างกาย ความขาดแห่ง
ชีวิตินทรีย์ของเหล่าสัตว์นั้น ๆ จากหมู่สัตว์นั้น ๆ นี้เรียกว่า มรณะ
ชราและมรณะ ดังพรรณนามาฉะนี้ นี้เรียกว่า ชราและมรณะ
เพราะชาติเกิด ชราและมรณะจึงเกิด เพราะชาติดับ ชราและมรณะจึงดับ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๔. กฬารขัตติยวรรค ๓. ญาณวัตถุสูตร

อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
ชื่อว่าปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดชราและมรณะอย่างนี้ รู้ชัดความเกิด
แห่งชราและมรณะอย่างนี้ รู้ชัดความดับแห่งชราและมรณะอย่างนี้ รู้ชัดปฏิปทาที่ให้
ถึงความดับแห่งชราและมรณะอย่างนี้ นี้ชื่อว่าธัมมญาณของอริยสาวกนั้น เมื่อนั้น
อริยสาวกนั้นพิจารณานัยในอดีตและอนาคตด้วยธรรมนี้ ซึ่งตนเห็นแล้ว รู้แล้ว
ไม่ประกอบด้วยกาล อันตนได้บรรลุแล้ว อันตนหยั่งรู้แล้ว
สมณะหรือพราหมณ์ในอดีตเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็ได้รู้ชราและมรณะ ได้รู้ความเกิด
แห่งชราและมรณะ ได้รู้ความดับแห่งชราและมรณะ ได้รู้ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่ง
ชราและมรณะ เหมือนอย่างที่เรารู้ในบัดนี้เหมือนกันทั้งนั้น
สมณะหรือพราหมณ์ในอนาคตเหล่าใดเหล่าหนึ่งก็จักรู้ชราและมรณะ จักรู้
ความเกิดแห่งชราและมรณะ จักรู้ความดับชราและมรณะ จักรู้ปฏิปทาที่ให้ถึง
ความดับแห่งชราและมรณะ เหมือนอย่างที่เรารู้ในบัดนี้เหมือนกันทั้งนั้น นี้ชื่อว่า
อันวยญาณของอริยสาวกนั้น
ญาณ ๒ ประการนี้ คือ (๑) ธัมมญาณ๑ (๒) อันวยญาณ๒ของอริยสาวก
เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ผุดผ่อง อริยสาวกนี้เราเรียกว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิบ้าง


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๔. กฬารขัตติยวรรค ๓. ญาณวัตถุสูตร

ผู้ถึงพร้อมด้วยทัศนะบ้าง ผู้ถึงสัทธรรมนี้บ้าง เห็นสัทธรรมนี้บ้าง ประกอบด้วย
ญาณอันเป็นเสขะบ้าง ประกอบด้วยวิชชาอันเป็นเสขะบ้าง บรรลุกระแสแห่งธรรมบ้าง
เป็นพระอริยะผู้มีปัญญาเพิกถอนกิเลสบ้าง ดำรงอยู่ใกล้ประตูอมตนิพพานบ้าง
ชาติเป็นอย่างไร ฯลฯ ภพเป็นอย่างไร ... อุปาทานเป็นอย่างไร ... ตัณหาเป็น
อย่างไร ... เวทนาเป็นอย่างไร ...ผัสสะเป็นอย่างไร ... สฬายตนะเป็นอย่างไร ...
นามรูปเป็นอย่างไร ... วิญญาณเป็นอย่างไร ...

สังขารทั้งหลาย มีเท่าไร
สังขารมี ๓ ประการนี้ คือ
๑. กายสังขาร
๒. วจีสังขาร
๓. จิตตสังขาร
นี้เรียกว่าสังขารทั้งหลาย
เพราะอวิชชาเกิด สังขารจึงเกิด เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ
อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
ชื่อว่าปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสังขาร
เมื่อใดอริยสาวกรู้ชัดสังขารทั้งหลายอย่างนี้ รู้ชัดความเกิดแห่งสังขารอย่างนี้
รู้ชัดความดับแห่งสังขารอย่างนี้ รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสังขารอย่างนี้
นี้ชื่อว่าธัมมญาณของอริยสาวกนั้น เมื่อนั้นอริยสาวกนั้นพิจารณานัยในอดีตและ
อนาคตด้วยธรรมนี้ ซึ่งตนเห็นแล้ว รู้แล้ว ไม่ประกอบด้วยกาล อันตนได้บรรลุแล้ว
อันตนหยั่งรู้แล้ว
สมณะหรือพราหมณ์ในอดีตเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็ได้รู้สังขารทั้งหลาย ได้รู้ความ
เกิดแห่งสังขาร ได้รู้ความดับแห่งสังขาร ได้รู้ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสังขาร
เหมือนอย่างที่เรารู้ในบัดนี้เหมือนกันทั้งนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๔. กฬารขัตติยวรรค ๔. ทุติยญาณวัตถุสูตร

สมณะหรือพราหมณ์ในอนาคตเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็จักรู้สังขารทั้งหลาย จักรู้
ความเกิดแห่งสังขาร จักรู้ความดับแห่งสังขาร จักรู้ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่ง
สังขาร เหมือนอย่างที่เรารู้ในบัดนี้เหมือนกันทั้งนั้น นี้ชื่อว่าอันวยญาณของอริยสาวกนั้น
ภิกษุทั้งหลาย ญาณ ๒ ประการนี้ คือ (๑) ธัมมญาณ (๒) อันวยญาณ
ของอริยสาวก เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ผุดผ่อง อริยสาวกนี้เราเรียกว่า เป็นผู้ถึงพร้อม
ด้วยทิฏฐิบ้าง ผู้ถึงพร้อมด้วยทัศนะบ้าง ผู้ถึงสัทธรรมนี้บ้าง เห็นสัทธรรมนี้บ้าง
ประกอบด้วยญาณอันเป็นเสขะบ้าง ประกอบด้วยวิชชาอันเป็นเสขะบ้าง บรรลุ
กระแสแห่งธรรมบ้าง เป็นพระอริยะผู้มีปัญญาเพิกถอนกิเลสบ้าง ดำรงอยู่ใกล้ประตู
อมตนิพพานบ้าง”

ญาณวัตถุสูตรที่ ๓ จบ

๔. ทุติยญาณวัตถุสูตร
ว่าด้วยญาณวัตถุ สูตรที่ ๒

[๓๔] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงญาณวัตถุ ๗๗ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
จงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มี
พระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า

“ญาณวัตถุ ๗๗ ๑ อะไรบ้าง คือ
๑. ความรู้ว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะจึงมี
๒. ความรู้ว่า เมื่อชาติไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๔. กฬารขัตติยวรรค ๕. อวิชชาปัจยสูตร

๓. แม้ในอดีต ความรู้ว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะจึงมี
๔. ความรู้ว่า เมื่อชาติไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี
๕. แม้ในอนาคต ความรู้ว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะจึงมี
๖. ความรู้ว่า เมื่อชาติไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี
๗. ความรู้ว่า ธัมมฐิติญาณ๑ของชาตินั้น มีความสิ้นไป มีความเสื่อมไป
มีความคลายไป มีความดับไปเป็นธรรมดา
๘. ความรู้ว่า เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี ฯลฯ (๙-๑๔)
๑๕. ความรู้ว่า เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี ... (๑๖-๒๑)
๒๒. ความรู้ว่า เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี ... (๒๓-๒๘)
๒๙. ความรู้ว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี ... (๓๐-๓๕)
๓๖. ความรู้ว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี ... (๓๗-๔๒)
๔๓. ความรู้ว่า เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี ... (๔๔-๔๙)
๕๐. ความรู้ว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี ... (๕๑-๕๖)
๕๗. ความรู้ว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี ... (๕๘-๖๓)
๖๔. ความรู้ว่า เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ... (๖๕-๗๐)
๗๑. ความรู้ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
๗๒. ความรู้ว่า เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารจึงไม่มี
๗๓. แม้ในอดีต ความรู้ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
๗๔. ความรู้ว่า เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารจึงไม่มี
๗๕. แม้ในอนาคต ความรู้ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
๗๖. ความรู้ว่า เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารจึงไม่มี
๗๗. ความรู้ว่า ธัมมฐิติญาณของอวิชชานั้น มีความสิ้นไป มีความเสื่อมไป
มีความคลายไป มีความดับไปเป็นธรรมดา
ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เรียกว่า ญาณวัตถุ ๗๗”

ทุติยญาณวัตถุสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๔. กฬารขัตติยวรรค ๕. อวิชชาปัจยสูตร

๕. อวิชชาปัจจยสูตร
ว่าด้วยอวิชชาเป็นปัจจัย

[๓๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารทั้งหลายจึงมี เพราะสังขารเป็น
ปัจจัย วิญญาณจึงมี ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการ
ฉะนี้ ”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชราและมรณะเป็นอย่างไร ชราและมรณะนี้เป็นของใคร”
“ภิกษุ ปัญหานี้ไม่สมควรถาม ผู้ใดพึงกล่าวว่า ‘ชราและมรณะเป็นอย่างไร
ชราและมรณะนี้เป็นของใคร’ หรือพึงกล่าวว่า ‘ชราและมรณะเป็นอย่างอื่น ชราและ
มรณะนี้เป็นของผู้อื่น’ คำทั้งสองนั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะ
เท่านั้น เมื่อมีทิฏฐิว่า ‘ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน’ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์
ย่อมไม่มี หรือว่าเมื่อมีทิฏฐิว่า ‘ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน’ การอยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์ย่อมไม่มี ตถาคตไม่เข้าไปใกล้ที่สุด ๒ อย่างนี้ ย่อมแสดงธรรมโดยสาย
กลางว่า ‘เพราะชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะจึงมี”
“ชาติเป็นอย่างไร และชาตินี้เป็นของใคร”
“ปัญหานี้ไม่สมควรถาม ผู้ใดพึงกล่าวว่า ‘ชาติเป็นอย่างไร และชาตินี้เป็น
ของใคร’ หรือพึงกล่าวว่า ‘ชาติเป็นอย่างอื่น และชาตินี้เป็นของผู้อื่น’ คำทั้งสอง
นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น เมื่อมีทิฏฐิว่า ‘ชีวะกับ
สรีระเป็นอย่างเดียวกัน’ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี หรือว่าเมื่อมีทิฏฐิว่า
‘ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน’ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี ตถาคตไม่
เข้าไปใกล้ที่สุด ๒ อย่างนี้ ย่อมแสดงธรรมโดยสายกลางว่า ‘เพราะภพเป็นปัจจัย
ชาติจึงมี”
“ภพเป็นอย่างไร และภพนี้เป็นของใคร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๔. กฬารขัตติยวรรค ๕. อวิชชาปัจยสูตร

“ปัญหานี้ไม่สมควรถาม ผู้ใดพึงกล่าวว่า ‘ภพเป็นอย่างไร และภพนี้เป็น
ของใคร’ หรือพึงกล่าวว่า ‘ภพเป็นอย่างอื่น และภพนี้เป็นของผู้อื่น’ คำทั้งสอง
นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น เมื่อมีทิฏฐิว่า ‘ชีวะกับ
สรีระเป็นอย่างเดียวกัน’ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี หรือว่าเมื่อมีทิฏฐิว่า
‘ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน’ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี ตถาคตไม่
เข้าไปใกล้ที่สุด ๒ อย่างนี้ ย่อมแสดงธรรมโดยสายกลางว่า ‘เพราะอุปาทานเป็น
ปัจจัย ภพจึงมี’ ฯลฯ ‘เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี’ ... ‘เพราะเวทนา
เป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี’ ... ‘เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี’ ... ‘เพราะสฬายตนะ
เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี’ ... ‘เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี’ ... ‘เพราะ
วิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี’ ... ‘เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี”
“สังขารทั้งหลายเป็นอย่างไร และสังขารเหล่านี้เป็นของใคร”
“ปัญหานี้ไม่สมควรถาม ผู้ใดพึงกล่าวว่า ‘สังขารทั้งหลายเป็นอย่างไร และ
สังขารเหล่านี้ เป็นของใคร’ หรือพึงกล่าวว่า ‘สังขารทั้งหลายเป็นอย่างอื่น และ
สังขารเหล่านี้เป็นของผู้อื่น’ คำทั้งสองนั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่
พยัญชนะเท่านั้น เมื่อมีทิฏฐิว่า ‘ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน’ การอยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์ย่อมไม่มี หรือว่าเมื่อมีทิฏฐิว่า ‘ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน การอยู่
ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี ตถาคตไม่เข้าไปใกล้ที่สุด ๒ อย่างนี้ ย่อมแสดงธรรม
โดยสายกลางว่า ‘เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารทั้งหลายจึงมี”
“เพราะอวิชชาดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ ทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นข้าศึก
อันบุคคลเสพผิด ที่ดิ้นรนไปว่า ‘ชราและมรณะเป็นอย่างไร ชราและมรณะนี้เป็น
ของใคร หรือว่าชราและมรณะเป็นอย่างอื่น ชราและมรณะนี้เป็นของผู้อื่นว่า ‘ชีวะกับ
สรีระเป็นอย่างเดียวกัน ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน’ ทิฏฐิเหล่านั้นทั้งหมดอัน
อริยสาวกนั้นละได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอน
โคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
เพราะอวิชชาดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ ทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นข้าศึก
อันบุคคลเสพผิด ที่ดิ้นรนไปว่า ‘ชาติเป็นอย่างไร และชาตินี้เป็นของใคร หรือว่า
ชาติเป็นอย่างอื่น และชาตินี้เป็นของผู้อื่นว่า ‘ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน หรือว่า
ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน’ ทิฏฐิเหล่านั้นทั้งหมดอันอริยสาวกนั้นละได้เด็ดขาดแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๔. กฬารขัตติยวรรค ๖. ทุติยอวิชชาปัจจยสูตร

ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้
ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
เพราะอวิชชาดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ ทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นข้าศึก
อันบุคคลเสพผิด ที่ดิ้นรนไปว่า ‘ภพเป็นอย่างไร ฯลฯ อุปาทานเป็นอย่างไร ...
ตัณหาเป็นอย่างไร ... เวทนาเป็นอย่างไร ... ผัสสะเป็นอย่างไร ... สฬายตนะเป็น
อย่างไร ... นามรูปเป็นอย่างไร ... วิญญาณเป็นอย่างไร ...
เพราะอวิชชาดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ ทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นข้าศึก
อันบุคคลเสพผิด ที่ดิ้นรนไปว่า ‘สังขารทั้งหลายเป็นอย่างไร และสังขารเหล่านี้เป็น
ของใคร หรือว่าสังขารทั้งหลายเป็นอย่างอื่น และสังขารเหล่านี้เป็นของผู้อื่น ชีวะ
กับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน หรือว่าชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน’ ทิฏฐิเหล่านั้น
ทั้งหมดอันอริยสาวกนั้นละได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัด
รากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้”

อวิชชาปัจจยสูตรที่ ๕ จบ

๖. ทุติยอวิชชาปัจจยสูตร
ว่าด้วยอวิชชาเป็นปัจจัย สูตรที่ ๒

[๓๖] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารทั้งหลายจึงมี เพราะสังขารเป็น
ปัจจัย วิญญาณจึงมี ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
ผู้ใดพึงกล่าวว่า ‘ชราและมรณะเป็นอย่างไร ชราและมรณะนี้เป็นของใคร’ หรือ
พึงกล่าวว่า ‘ชราและมรณะเป็นอย่างอื่น ชราและมรณะนี้เป็นของผู้อื่น’ คำทั้งสอง
นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น เมื่อมีทิฏฐิว่า ‘ชีวะกับ
สรีระเป็นอย่างเดียวกัน’ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี หรือว่าเมื่อมีทิฏฐิว่า
‘ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน’ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี ตถาคตไม่
เข้าไปใกล้ที่สุด ๒ อย่างนี้ ย่อมแสดงธรรมโดยสายกลางว่า ‘เพราะชาติเป็นปัจจัย
ชราและมรณะจึงมี”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๔. กฬารขัตติยวรรค ๖. ทุติยอวิชชาปัจจยสูตร

ผู้ใดพึงกล่าวว่า ‘ชาติเป็นอย่างไร ... ภพเป็นอย่างไร ... อุปาทานเป็นอย่างไร ...
ตัณหาเป็นอย่างไร ... เวทนาเป็นอย่างไร ... ผัสสะเป็นอย่างไร ... สฬายตนะเป็นอย่างไร
... นามรูปเป็นอย่างไร ... วิญญาณเป็นอย่างไร’ ...
ผู้ใดพึงกล่าวว่า ‘สังขารทั้งหลายเป็นอย่างไร และสังขารเหล่านี้เป็นของใคร’
หรือพึงกล่าวว่า ‘สังขารทั้งหลายเป็นอย่างอื่น และสังขารเหล่านี้เป็นของผู้อื่น’
คำทั้งสองนั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น เมื่อมีทิฏฐิว่า
‘ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน’ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี หรือว่าเมื่อมี
ทิฏฐิว่า ‘ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน’ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี
ตถาคตไม่เข้าไปใกล้ที่สุด ๒ อย่างนี้ ย่อมแสดงธรรมโดยสายกลางว่า ‘เพราะอวิชชา
เป็นปัจจัย สังขารทั้งหลายจึงมี’
เพราะอวิชชาดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ ทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นข้าศึก
อันบุคคลเสพผิด ที่ดิ้นรนไปว่า ‘ชราและมรณะเป็นอย่างไร ชราและมรณะนี้เป็น
ของใคร หรือว่าชราและมรณะเป็นอย่างอื่น ชราและมรณะนี้เป็นของผู้อื่น ชีวะกับ
สรีระเป็นอย่างเดียวกัน หรือว่าชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน’ ทิฏฐิเหล่านั้น
ทั้งหมดอันอริยสาวกนั้นละได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูก
ตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
เพราะอวิชชาดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ ทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นข้าศึก
อันบุคคลเสพผิด ที่ดิ้นรนไปว่า ‘ชาติเป็นอย่างไร ฯลฯ ภพเป็นอย่างไร ... อุปาทาน
เป็นอย่างไร ... ตัณหาเป็นอย่างไร ... เวทนาเป็นอย่างไร ... ผัสสะเป็นอย่างไร ...
สฬายตนะเป็นอย่างไร ... นามรูปเป็นอย่างไร ... วิญญาณเป็นอย่างไร ... สังขาร
ทั้งหลายเป็นอย่างไร และสังขารเหล่านี้เป็นของใคร หรือว่าสังขารทั้งหลายเป็น
อย่างอื่น และสังขารเหล่านี้เป็นของผู้อื่น ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน หรือว่าชีวะ
กับสรีระเป็นคนละอย่างกัน’ ทิฏฐิเหล่านั้นทั้งหมดอันอริยสาวกนั้นละได้เด็ดขาดแล้ว
ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้
ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้”

ทุติยอวิชชาปัจจยสูตรที่ ๖ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๔. กฬารขัตติยวรรค ๘. เจตนาสูตร

๗. นตุมหสูตร
ว่าด้วย(กาย)ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย

[๓๗] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย กายนี้มิใช่ของเธอทั้งหลาย ทั้งมิใช่ของผู้อื่น กายนี้เธอทั้งหลาย
พึงเห็นว่าเป็นกรรมเก่า๑ ถูกปัจจัยปรุงแต่ง สำเร็จด้วยเจตนา เป็นที่ตั้งแห่งเวทนา
อริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมมนสิการปฏิจจสมุปบาทโดยแยบคายในกายนั้นว่า
‘เพราะเหตุนี้ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เพราะสิ่งนี้ไม่มี
สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับไป สิ่งนี้จึงดับไป คือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขาร
ทั้งหลายจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกอง
ทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้ อนึ่ง เพราะอวิชชาดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ
สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้
มีได้ด้วยประการฉะนี้”

นตุมหสูตรที่ ๗ จบ

๘. เจตนาสูตร
ว่าด้วยเจตนา

[๓๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุจงใจ ดำริ และนึกคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้นเป็นอารัมมณปัจจัย๒
เพื่อความตั้งมั่นแห่งวิญญาณ เมื่ออารัมมณปัจจัยมี ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงมี
เมื่อวิญญาณนั้นตั้งมั่นแล้ว เจริญขึ้นแล้ว ความบังเกิดแห่งภพใหม่ต่อไปจึงมี เมื่อ
ความบังเกิดแห่งภพใหม่ต่อไปมี ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
และอุปายาสจึงมีต่อไป ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๔. กฬารขัตติยวรรค ๙. ทุติยเจตนาสูตร

ภิกษุไม่จงใจ ไม่ดำริ แต่ยังนึกคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้นเป็นอารัมมณปัจจัย เพื่อความ
ตั้งมั่นแห่งวิญญาณ เมื่ออารัมมณปัจจัยมี ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงมี เมื่อวิญญาณ
นั้นตั้งมั่นแล้ว เจริญขึ้นแล้ว ความบังเกิดแห่งภพใหม่ต่อไปจึงมี เมื่อความบังเกิด
แห่งภพใหม่ต่อไปมี ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
จึงมีต่อไป ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
ภิกษุไม่จงใจ ไม่ดำริ และไม่นึกคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้นไม่เป็นอารัมมณปัจจัยเพื่อ
ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณ เมื่ออารัมมณปัจจัยไม่มี ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงไม่มี
เมื่อวิญญาณนั้นไม่ตั้งมั่นแล้ว ไม่เจริญขึ้นแล้ว ความบังเกิดแห่งภพใหม่ต่อไปจึงไม่มี
เมื่อความบังเกิดแห่งภพใหม่ต่อไปไม่มี ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัส และอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้”

เจตนาสูตรที่ ๘ จบ

๙. ทุติยเจตนาสูตร
ว่าด้วยเจตนา สูตรที่ ๒

[๓๙] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุจงใจ ดำริ และนึกคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้นเป็นอารัมมณปัจจัย
เพื่อความตั้งมั่นแห่งวิญญาณ เมื่ออารัมมณปัจจัยมี ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงมี
เมื่อวิญญาณนั้นตั้งมั่นแล้ว เจริญขึ้นแล้ว ความหยั่งลงแห่งนามรูปจึงมี เพราะนาม
รูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะ
เป็นปัจจัย เวทนาจึงมี ... ตัณหา ... อุปาทาน ... ภพ ... ชาติ ... ชรา มรณะ โสกะ
ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงมี ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้
ด้วยประการฉะนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๔. กฬารขัตติยวรรค ๑๐. ตติยเจตนาสูตร

ภิกษุไม่จงใจ ไม่ดำริ แต่ยังนึกคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้นเป็นอารัมมณปัจจัยเพื่อ
ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณ เมื่ออารัมมณปัจจัยมี ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงมี เมื่อ
วิญญาณนั้นตั้งมั่นแล้ว เจริญขึ้นแล้ว ความหยั่งลงแห่งนามรูปจึงมี เพราะนามรูป
เป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วย
ประการฉะนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่จงใจ ไม่ดำริ และไม่นึกคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้นไม่เป็น
อารัมมณปัจจัยเพื่อความตั้งมั่นแห่งวิญญาณ เมื่ออารัมมณปัจจัยไม่มี ความตั้งมั่น
แห่งวิญญาณจึงไม่มี เมื่อวิญญาณนั้นไม่ตั้งมั่นแล้ว ไม่เจริญขึ้นแล้ว ความหยั่งลง
แห่งนามรูปจึงไม่มี เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์
ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้”

ทุติยเจตนาสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ตติยเจตนาสูตร
ว่าด้วยเจตนา สูตรที่ ๓

[๔๐] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุจงใจ ดำริ และนึกคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้นเป็นอารัมมณปัจจัย
เพื่อความตั้งมั่นแห่งวิญญาณ เมื่ออารัมมณปัจจัยมี ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงมี
เมื่อวิญญาณนั้นตั้งมั่นแล้ว เจริญขึ้นแล้ว นติ๑ จึงมี เมื่อนติมี คติภพในการเวียนมา
จึงมี เมื่อคติภพในการเวียนมามี จุติและอุบัติจึงมี เมื่อจุติและอุบัติมี ชาติ ชรา
มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงมี ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์
ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
ภิกษุไม่จงใจ ไม่ดำริ แต่นึกคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้นเป็นอารัมมณปัจจัยเพื่อความ
ตั้งมั่นแห่งวิญญาณ เมื่ออารัมมณปัจจัยมี ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงมี เมื่อ
วิญญาณนั้นตั้งมั่นแล้ว เจริญขึ้นแล้ว นติจึงมี เมื่อนติมี คติภพในการเวียนมาจึงมี


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๔. กฬารขัตติยวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

เมื่อคติภพในการเวียนมามี จุติและอุบัติจึงมี เมื่อจุติและอุบัติมี ชาติ ชรา มรณะ
โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงมี ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้
มีได้ด้วยประการฉะนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่จงใจ ไม่ดำริ และไม่นึกคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้นไม่เป็น
อารัมมณปัจจัยเพื่อความตั้งมั่นแห่งวิญญาณ เมื่ออารัมมณปัจจัยไม่มี ความตั้งมั่น
แห่งวิญญาณจึงไม่มี เมื่อวิญญาณนั้นไม่ตั้งมั่นแล้ว ไม่เจริญขึ้นแล้ว นติจึงไม่มี
เมื่อนติไม่มี คติภพในการเวียนมาจึงไม่มี เมื่อคติภพในการเวียนมาไม่มี จุติและอุบัติ
จึงไม่มี เมื่อจุติและอุบัติไม่มี ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
และอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้”

ตติยเจตนาสูตรที่ ๑๐ จบ
กฬารขัตติยวรรคที่ ๔ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ภูตสูตร ๒. กฬารสูตร
๓. ญาณวัตถุสูตรร ๔. ทุติยญาณวัตถุสูตร
๕. อวิชชาปัจจยสูตรร ๖. ทุติยอวิชชาปัจจยสูตร
๗. นตุมหสูตรร ๘. เจตนาสูตร
๙. ทุติยเจตนาสูตรร ๑๐. ตติยเจตนาสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๕. คหปติวรรค ๑. ปัญจเวรภยสูตร

๕. คหปติวรรค
หมวดว่าด้วยคหบดี

๑. ปัญจเวรภยสูตร
ว่าด้วยภัยเวร ๕ ประการ

[๔๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี
ครั้งนั้นแล ท่านอนาถบิณฑิกคหบดี เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านอนาถบิณฑิก-
คหบดีดังนี้ว่า
“คหบดี เมื่อใดแล ภัยเวร ๕ ประการนี้ของอริยสาวกสงบแล้ว เมื่อนั้น อริย-
สาวกผู้ประกอบด้วยธรรมที่เป็นองค์แห่งโสดาปัตติผล ๔ ประการ และญายธรรม
อันประเสริฐ๑ ที่อริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา อริยสาวก
นั้นหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า ‘เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์
ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีเปรตวิสัยสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ วินิบาตสิ้นแล้ว เราเป็นโสดาบัน
มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้จะตรัสรู้ในภายหน้าอย่างแน่นอน’
ภัยเวร ๕ ประการสงบแล้ว เป็นอย่างไร คือ
๑. บุคคลผู้ฆ่าสัตว์ ย่อมประสบภัยเวรใด ซึ่งมีในชาตินี้บ้าง ชาติหน้าบ้าง
เสวยทุกข์โทมนัสทางใจบ้าง เพราะการฆ่าสัตว์เป็นปัจจัย ภัยเวรนั้น
ของอริยสาวกผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ สงบแล้วด้วยประการฉะนี้
๒. บุคคลผู้ลักทรัพย์ ย่อมประสบภัยเวรใด ซึ่งมีในชาตินี้บ้าง ชาติหน้าบ้าง
เสวยทุกข์โทมนัสทางใจบ้าง เพราะการลักทรัพย์เป็นปัจจัย ภัยเวรนั้น
ของอริยสาวกผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์สงบแล้ว ด้วยประการฉะนี้


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๕. คหปติวรรค ๑. ปัญจเวรภยสูตร

๓. บุคคลผู้ประพฤติผิดในกาม ย่อมประสบภัยเวรใด ซึ่งมีในชาตินี้บ้าง
ชาติหน้าบ้าง เสวยทุกข์โทมนัสทางใจบ้าง เพราะการประพฤติผิด
ในกามเป็นปัจจัย ภัยเวรนั้นของอริยสาวกผู้เว้นขาดจากการประพฤติ
ผิดในกามสงบแล้ว ด้วยประการฉะนี้
๔. บุคคลผู้พูดเท็จ ย่อมประสบภัยเวรใด ซึ่งมีในชาตินี้บ้าง ชาติหน้าบ้าง
เสวยทุกข์โทมนัสทางใจบ้าง เพราะการพูดเท็จเป็นปัจจัย ภัยเวรนั้น
ของอริยสาวกผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จสงบแล้ว ด้วยประการฉะนี้
๕. บุคคลผู้ตั้งอยู่ในความประมาท เพราะการเสพของมึนเมาคือสุรา
และเมรัย ย่อมประสบภัยเวรใด ซึ่งมีในชาตินี้บ้าง ชาติหน้าบ้าง
เสวยทุกข์โทมนัสทางใจบ้าง เพราะการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย
อันเป็นเหตุแห่งความประมาทเป็นปัจจัย ภัยเวรนั้นของอริยสาวกผู้
เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่ง
ความประมาทสงบแล้ว ด้วยประการฉะนี้ ภัยเวร ๕ ประการนี้ สงบแล้ว
อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรมที่เป็นองค์แห่งโสดาปัตติผล ๔ ประการ เป็น
อย่างไร คือ
๑. อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว
ในพระพุทธเจ้าว่า “แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วย
วิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้
อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ เป็นพระพุทธเจ้า
เป็นพระผู้มีพระภาค”๑


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๕. คหปติวรรค ๑. ปัญจเวรภยสูตร

๒. อริยสาวกผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า
“พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึง
เห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อม
เข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน”
๓. อริยสาวกผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า
“พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติ
ถูกทาง๑ ปฏิบัติสมควร ได้แก่ อริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย
ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญ
อันยอดเยี่ยมของโลก”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๕. คหปติวรรค ๑. ปัญจเวรภยสูตร

๔. อริยสาวกผู้ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะปรารถนา อันไม่ขาด ไม่ทะลุ
ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท อันวิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาและทิฏฐิ
ถูกต้องไม่ได้ เป็นไปเพื่อสมาธิ
อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรมที่เป็นองค์แห่งโสดาปัตติผล ๔ ประการนี้
ญายธรรมอันประเสริฐ ที่อริยสาวกเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา
เป็นอย่างไร คือ
คหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมมนสิการปฏิจจสมุปบาทโดยแยบคายว่า
‘เพราะเหตุนี้ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี
เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ
คือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
ฯลฯ
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
อนึ่ง เพราะอวิชชาดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ สังขารจึงดับ
เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
ฯลฯ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
ญายธรรมอันประเสริฐนี้ อริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา
คหบดี เมื่อใดแล ภัยเวร ๕ ประการนี้ของอริยสาวกสงบแล้ว เมื่อนั้นอริยสาวก
ผู้ประกอบด้วยธรรมที่เป็นองค์แห่งโสดาปัตติผล ๔ ประการ และญายธรรมอันประเสริฐ
ที่อริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา อริยสาวกนั้นหวังอยู่ พึง
พยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า ‘เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว
มีเปรตวิสัยสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ วินิบาตสิ้นแล้ว เราเป็นโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำ
เป็นธรรมดา เป็นผู้จะตรัสรู้ในภายหน้าอย่างแน่นอน”

ปัญจเวรภยสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๕. คหปติวรรค ๒. ทุติยปัญจเวรภยสูตร

๒. ทุติยปัญจเวรภยสูตร
ว่าด้วยภัยเวร ๕ ประการ สูตรที่ ๒

[๔๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภัยเวร ๕ ประการนี้ของอริยสาวกสงบแล้ว เมื่อนั้น
อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรมที่เป็นองค์แห่งโสดาปัตติผล ๔ ประการ และญายธรรม
อันประเสริฐ ที่อริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา อริยสาวกนั้น
หวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า ‘เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว ฯลฯ มีอันไม่
ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้จะตรัสรู้ในภายหน้าอย่างแน่นอน
ภัยเวร ๕ ประการสงบแล้ว เป็นอย่างไร คือ
๑. บุคคลผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ
๒. บุคคลผู้ลักทรัพย์ ฯลฯ
๓. บุคคลผู้ประพฤติผิดในกาม ฯลฯ
๔. บุคคลผู้พูดเท็จ ฯลฯ
๕. บุคคลผู้ตั้งอยู่ในความประมาท เพราะเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย
ฯลฯ
ภัยเวร ๕ ประการนี้สงบแล้ว
อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรมที่เป็นองค์แห่งโสดาปัตติผล ๔ ประการ เป็น
อย่างไร คือ
๑. อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว
ในพระพุทธเจ้า ฯลฯ
๒. ในพระธรรม ฯลฯ
๓. ในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. อริยสาวกผู้ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะปรารถนา ฯลฯ
อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรมที่เป็นองค์แห่งโสดาปัตติผล ๔ ประการนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต] ๕. คหปติวรรค ๓. ทุกขสูตร

ญายธรรมอันประเสริฐ ที่อริยสาวกเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา
เป็นอย่างไร คือ
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมมนสิการปฏิจจสมุปบาทโดย
แยบคาย ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ญายธรรมอันประเสริฐ ที่อริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอด
ดีแล้วด้วยปัญญา
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภัยเวร ๕ ประการนี้ของอริยสาวกสงบแล้ว เมื่อนั้น
อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรมที่เป็นองค์แห่งโสดาปัตติผล ๔ ประการนี้ และญาย-
ธรรมอันประเสริฐนี้ ที่อริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา อริยสาวก
นั้นหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า ‘เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์
ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีเปรตวิสัยสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ วินิบาตสิ้นแล้ว เราเป็นโสดาบัน
มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้จะตรัสรู้ในภายหน้าอย่างแน่นอน”

ทุติยปัญจเวรภยสูตรที่ ๒ จบ

๓. ทุกขสูตร๑
ว่าด้วยทุกข์

[๔๓] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความเกิดแห่งทุกข์ และความดับแห่งทุกข์
เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระ-
ดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ความเกิดแห่งทุกข์ เป็นอย่างไร
คือ เพราะอาศัยจักขุ(ตา)และรูป จักขุวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม
๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด เพราะเวทนาเป็นปัจจัย
ตัณหาจึงเกิด ความเกิดแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้แล


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต] ๕. คหปติวรรค ๓.ทุกขสูตร

เพราะอาศัยโสตะ(หู)และเสียง โสตวิญญาณจึงเกิด ฯลฯ เพราะอาศัยฆานะ(จมูก)
และกลิ่น ... เพราะอาศัยชิวหา(ลิ้น)และรส ... เพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะ...
เพราะอาศัยมโน(ใจ)และธรรมารมณ์ มโนวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม
๓ ประการ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด เพราะเวทนาเป็นปัจจัย
ตัณหาจึงเกิด
ความเกิดแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้แล
ความดับแห่งทุกข์ เป็นอย่างไร
คือ เพราะอาศัยจักขุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม
๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด เพราะเวทนาเป็นปัจจัย
ตัณหาจึงเกิด เพราะตัณหานั้นดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ อุปาทานจึงดับ เพราะ
อุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ
ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้
ด้วยประการฉะนี้
ความดับแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้แล
เพราะอาศัยโสตะและเสียง โสตวิญญาณจึงเกิด ฯลฯ เพราะอาศัยฆานะ
และกลิ่น ... เพราะอาศัยชิวหาและรส ... เพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะ ... เพราะ
อาศัยมโนและธรรมารมณ์ มโนวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม ๓ ประการ
เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหา
จึงเกิด เพราะตัณหานั้นดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ
ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ
ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการ
ฉะนี้
ภิกษุทั้งหลาย ความดับแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้แล

ทุกขสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๕. คหปติวรรค ๔. โลกสูตร

๔. โลกสูตร๑
ว่าด้วยโลก

[๔๔] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความเกิดและความดับแห่งโลก เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ
ความเกิดแห่งโลก๒ เป็นอย่างไร
คือ เพราะอาศัยจักขุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม
๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด เพราะเวทนาเป็นปัจจัย
ตัณหาจึงเกิด เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงเกิด เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย
ภพจึงเกิด เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงเกิด เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ
ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงเกิด
ความเกิดแห่งโลก เป็นอย่างนี้แล
เพราะอาศัยโสตะและเสียง ... เพราะอาศัยฆานะและกลิ่น ... เพราะอาศัย
ชิวหาและรส ... เพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะ ... เพราะอาศัยมโนและธรรมารมณ์
มโนวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะ
เป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด ฯลฯ เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ
ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงเกิด
ความเกิดแห่งโลก เป็นอย่างนี้แล
ความดับแห่งโลก เป็นอย่างไร
คือ เพราะอาศัยจักขุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม
๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด เพราะเวทนาเป็น
ปัจจัย ตัณหาจึงเกิด เพราะตัณหานั้นดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ อุปาทานจึงดับ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๕. คหปติวรรค ๕. ญาติกสูตร

เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วย
ประการฉะนี้
ความดับแห่งโลก เป็นอย่างนี้แล
เพราะอาศัยโสตะและเสียง ... เพราะอาศัยฆานะและกลิ่น ... เพราะอาศัย
ชิวหาและรส ... เพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะ ... เพราะอาศัยมโนและธรรมารมณ์
มโนวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะ
เป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงเกิด เพราะตัณหานั้น
ดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ฯลฯ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
ความดับแห่งโลก เป็นอย่างนี้แล”

โลกสูตรที่ ๔ จบ

๕. ญาติกสูตร๑
ว่าด้วยการแสดงธรรม ณ หมู่บ้านญาติกะ

[๔๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ตำหนักอิฐ ใกล้หมู่บ้านญาติกะ
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงหลีกเร้นอยู่ในที่สงัดได้ตรัสธรรมบรรยายนี้ว่า
“เพราะอาศัยจักขุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม
๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด เพราะเวทนาเป็น
ปัจจัย ตัณหาจึงเกิด เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงเกิด ฯลฯ ความเกิดขึ้น
แห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
เพราะอาศัยโสตะและเสียง ... เพราะอาศัยฆานะและกลิ่น ... เพราะอาศัย
ชิวหาและรส ... เพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะ ... เพราะอาศัยมโนและธรรมารมณ์


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๕. คหปติวรรค ๕. ญาติกสูตร

มโนวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็น
ปัจจัย เวทนาจึงเกิด เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงเกิด เพราะตัณหาเป็น
ปัจจัย อุปาทานจึงเกิด ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการ
ฉะนี้
เพราะอาศัยจักขุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม
๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด เพราะเวทนาเป็น
ปัจจัย ตัณหาจึงเกิด เพราะตัณหานั้นดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ อุปาทานจึงดับ เพราะ
อุปาทานดับ ภพจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
เพราะอาศัยโสตะและเสียง ฯลฯ เพราะอาศัยมโนและธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ
จึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนา
จึงเกิด เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงเกิด เพราะตัณหานั้นดับไปไม่เหลือด้วย
วิราคะ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์
ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งยืนแอบฟังพระผู้มีพระภาคอยู่ พระผู้มีพระภาคได้ทอด
พระเนตรเห็นภิกษุนั้นผู้ยืนแอบฟังอยู่ ได้ตรัสถามภิกษุนั้นดังนี้ว่า “ภิกษุ เธอได้ฟัง
ธรรมบรรยายนี้หรือไม่”
“ข้าพระองค์ได้ฟังอย่างนี้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุ เธอจงศึกษาธรรมบรรยายนี้ จงเล่าเรียนธรรมบรรยายนี้ จงทรงจำ
ธรรมบรรยายนี้ เพราะธรรมบรรยายนี้ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่ง
พรหมจรรย์”

ญาติกสูตรที่ ๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๕. คหปติวรรค ๖. อัญญตรพราหมณสูตร

๖.อัญญตรพราหมณสูตร
ว่าด้วยพราหมณ์ผู้หนึ่ง

[๔๖] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี
ครั้งนั้นแล พราหมณ์ผู้หนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนา
ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันกับพระผู้พระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ท่านพระโคดม คนนั้นทำเหตุ คนนั้นเสวยผลหรือหนอ”
“พราหมณ์ โวหารนี้ว่า ‘คนนั้นทำเหตุ คนนั้นเสวยผล’ นี้เป็นที่สุดอย่างหนึ่ง”
“ท่านพระโคดม ก็คนอื่นทำเหตุ คนอื่นเสวยผลหรือ”
“พราหมณ์ โวหารนี้ว่า ‘คนอื่นทำเหตุ คนอื่นเสวยผล’ นี้เป็นที่สุดอีก
อย่างหนึ่ง ตถาคตไม่เข้าไปใกล้ที่สุด ๒ อย่างนั้น ย่อมแสดงธรรมโดยสายกลางว่า
‘เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารทั้งหลายจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
ฯลฯ ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้ อนึ่ง เพราะอวิชชา
ดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ฯลฯ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์นั้นได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ว่า ‘ท่านพระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านพระโคดม
พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอท่านพระโคดมโปรดทรงจำ
ข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”

อัญญตรพราหมณสูตรที่ ๖ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๕. คหปติวรรค ๗. ชาณุสโสณิสูตร

๗. ชาณุสโสณิสูตร
ว่าด้วยชาณุสโสณิพราหมณ์

[๔๗] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี
ครั้งนั้นแล ชาณุสโสณิพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ
นั่ง ณ ที่สมควร ครั้นแล้ว ชาณุสโสณิพราหมณ์ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ท่านพระโคดม สิ่งทั้งปวงมีหรือ”
“พราหมณ์ โวหารนี้ว่า ‘สิ่งทั้งปวงมี’ นี้เป็นที่สุดอย่างหนึ่ง”
“ท่านพระโคดม ก็สิ่งทั้งปวงไม่มีหรือ”
“พราหมณ์ โวหารนี้ว่า ‘สิ่งทั้งปวงไม่มี’ นี้เป็นที่สุดอีกอย่างหนึ่ง
ตถาคตไม่เข้าไปใกล้ที่สุด ๒ อย่างนั้น ย่อมแสดงธรรมโดยสายกลางว่า
‘เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารทั้งหลายจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
อนึ่ง เพราะอวิชชาดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ
วิญญาณจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ชาณุสโสณิพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคว่า ‘ท่านพระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านพระ
โคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตั้งแต่
วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”

ชาณุสโสณิสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๕. คหปติวรรค ๘. โลกายติกสูตร

๘. โลกายติกสูตร
ว่าด้วยพราหมณ์ผู้รอบรู้คัมภีร์โลกายตะ๑

[๔๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี
ครั้งนั้นแล พราหมณ์ผู้รอบรู้คัมภีร์โลกายตะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ฯลฯ นั่ง ณ ที่สมควร ครั้นแล้ว พราหมณ์ผู้รอบรู้คัมภีร์โลกายตะ
ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ท่านพระโคดม สิ่งทั้งปวงมีหรือ”
“พราหมณ์ ข้อที่ว่า ‘สิ่งทั้งปวงมี’ นี้ เป็นโลกายตะข้อที่ ๑”
“ท่านพระโคดม ก็สิ่งทั้งปวงไม่มีหรือ”
“พราหมณ์ ข้อที่ว่า ‘สิ่งทั้งปวงไม่มี’ นี้ เป็นโลกายตะข้อที่ ๒”
“ท่านพระโคดม สิ่งทั้งปวงมีสภาพเป็นอย่างเดียวกันหรือ”
“พราหมณ์ ข้อที่ว่า ‘สิ่งทั้งปวงมีสภาพเป็นอย่างเดียวกัน’ นี้ เป็นโลกายตะ
ข้อที่ ๓”
“ท่านพระโคดม ก็สิ่งทั้งปวงมีสภาพต่างกันหรือ”
“พราหมณ์ ข้อที่ว่า ‘สิ่งทั้งปวงมีสภาพต่างกัน’ นี้ เป็นโลกายตะข้อที่ ๔
ตถาคตไม่เข้าไปใกล้ที่สุด ๒ อย่างนั้น ย่อมแสดงธรรมโดยสายกลางว่า
‘เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารทั้งหลายจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
อนึ่ง เพราะอวิชชาดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ
วิญญาณจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์ผู้รอบรู้คัมภีร์โลกายตะได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ‘ท่านพระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะ
ยิ่งนัก ท่านพระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ผู้ถึงสรณะ
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต’

โลกายติกสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๕. คหปติวรรค ๙. อริยสาวกสูตร

๙. อริยสาวกสูตร
ว่าด้วยอริยสาวก

[๔๙] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น ...
“ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ จึงไม่มีความสงสัยอย่างนี้ว่า ‘เมื่ออะไรมี
อะไรจึงมี เพราะอะไรเกิดขึ้น อะไรจึงเกิดขึ้น (เพราะอะไรมี สังขารทั้งหลายจึงมี
เพราะอะไรมี วิญญาณจึงมี) เมื่ออะไรมี นามรูปจึงมี เมื่ออะไรมี สฬายตนะจึงมี
เมื่ออะไรมี ผัสสะจึงมี เมื่ออะไรมี เวทนาจึงมี เมื่ออะไรมี ตัณหาจึงมี เมื่ออะไรมี
อุปาทานจึงมี เมื่ออะไรมี ภพจึงมี เมื่ออะไรมี ชาติจึงมี เมื่ออะไรมี ชราและ
มรณะจึงมี’
โดยที่แท้ อริยสาวกผู้ได้สดับ จึงมีญาณหยั่งรู้ในเรื่องนี้ โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นว่า
‘เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น (เมื่ออวิชชามี สังขารทั้งหลาย
จึงมี เมื่อสังขารทั้งหลายมี วิญญาณจึงมี) เมื่อวิญญาณมี นามรูปจึงมี เมื่อนามรูปมี
สฬายตนะจึงมี เมื่อสฬายตนะมี ผัสสะจึงมี เมื่อผัสสะมี เวทนาจึงมี เมื่อเวทนามี
ตัณหาจึงมี เมื่อตัณหามี อุปาทานจึงมี เมื่ออุปาทานมี ภพจึงมี ฯลฯ เมื่อชาติมี
ชราและมรณะจึงมี อริยสาวกนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘โลกนี้เกิดขึ้นอย่างนี้’
อริยสาวกผู้ได้สดับ จึงไม่มีความสงสัยอย่างนี้ว่า ‘เมื่ออะไรไม่มี อะไรจึงไม่มี
เพราะอะไรดับ อะไรจึงดับ (เมื่ออะไรไม่มี สังขารทั้งหลายจึงไม่มี เมื่ออะไรไม่มี
วิญญาณจึงไม่มี) เมื่ออะไรไม่มี นามรูปจึงไม่มี เมื่ออะไรไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี เมื่อ
อะไรไม่มี ผัสสะจึงไม่มี เมื่ออะไรไม่มี เวทนาจึงไม่มี เมื่ออะไรไม่มี ตัณหาจึงไม่มี
เมื่ออะไรไม่มี อุปาทานจึงไม่มี เมื่ออะไรไม่มี ภพจึงไม่มี เมื่ออะไรไม่มี ชาติจึงไม่มี
เมื่ออะไรไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี’
โดยที่แท้ อริสาวกผู้ได้สดับ จึงมีญาณหยั่งรู้ในเรื่องนี้ โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นว่า
‘เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ (เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารทั้งหลาย
จึงไม่มี เมื่อสังขารทั้งหลายไม่มี วิญญาณจึงไม่มี) เมื่อวิญญาณไม่มี นามรูปจึงไม่มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๕. คหปติวรรค ๑๐. ทุติยอริยสาวกสูตร

เมื่อนามรูปไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี ฯลฯ อุปาทานจึงไม่มี ... ภพจึงไม่มี ... ชาติจึงไม่มี
เมื่อชาติไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี อริยสาวกนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘โลกนี้ดับอย่างนี้’
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดความเกิดและความดับไปแห่งโลกตาม
ความเป็นจริงอย่างนี้ เมื่อนั้น อริยสาวกนี้ เราเรียกว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิบ้าง
ฯลฯ ดำรงอยู่ใกล้ประตูอมตนิพพานบ้าง”

อริยสาวกสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ทุติยอริยสาวกสูตร
ว่าด้วยอริยสาวก สูตรที่ ๒

[๕๐] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น ...
“ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ จึงไม่มีความสงสัยอย่างนี้ว่า ‘เมื่ออะไรมี
อะไรจึงมี เพราะอะไรเกิดขึ้น อะไรจึงเกิดขึ้น เมื่ออะไรมี สังขารทั้งหลายจึงมี เมื่ออะไรมี
วิญญาณจึงมี เมื่ออะไรมี นามรูปจึงมี เมื่ออะไรมี สฬายตนะจึงมี เมื่ออะไรมี ผัสสะ
จึงมี เมื่ออะไรมี เวทนาจึงมี เมื่ออะไรมี ตัณหาจึงมี เมื่ออะไรมี อุปาทานจึงมี
เมื่ออะไรมี ภพจึงมี เมื่ออะไรมี ชาติจึงมี เมื่ออะไรมี ชราและมรณะจึงมี’
โดยที่แท้ อริยสาวกผู้ได้สดับ จึงมีญาณหยั่งรู้ในเรื่องนี้ โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นว่า
‘เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่ออวิชชามี สังขารทั้ง
หลายจึงมี เมื่อสังขารทั้งหลายมี วิญญาณจึงมี เมื่อวิญญาณมี นามรูปจึงมี เมื่อ
นามรูปมี สฬายตนะจึงมี เมื่อสฬายตนะมี ผัสสะจึงมี เมื่อผัสสะมี เวทนาจึงมี เมื่อ
เวทนามี ตัณหาจึงมี เมื่อตัณหามี อุปาทานจึงมี เมื่ออุปาทานมี ภพจึงมี เมื่อภพมี
ชาติจึงมี เมื่อชาติมี ชราและมรณะจึงมี” อริยสาวกนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘โลกนี้เกิดขึ้น
อย่างนี้’
อริยสาวกผู้ได้สดับ จึงไม่มีความสงสัยอย่างนี้ว่า ‘เมื่ออะไรไม่มี อะไรจึงไม่มี
เพราะอะไรดับ อะไรจึงดับ เมื่ออะไรไม่มี สังขารทั้งหลายจึงไม่มี เมื่ออะไรไม่มี วิญญาณ
จึงไม่มี เมื่ออะไรไม่มี นามรูปจึงไม่มี เมื่ออะไรไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี เมื่ออะไรไม่มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๕. คหปติวรรค ๑๐. ทุติยอริยสาวกสูตร

ผัสสะจึงไม่มี เมื่ออะไรไม่มี เวทนาจึงไม่มี เมื่ออะไรไม่มี ตัณหาจึงไม่มี ฯลฯ
อุปาทาน ... ภพ ... ชาติ ... เมื่ออะไรไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี’
โดยที่แท้ อริสาวกผู้ได้สดับ จึงมีญาณหยั่งรู้ในเรื่องนี้ โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นว่า
‘เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารทั้งหลาย
จึงไม่มี เมื่อสังขารทั้งหลายไม่มี วิญญาณจึงไม่มี เมื่อวิญญาณไม่มี นามรูปจึงไม่มี
เมื่อนามรูปไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี ฯลฯ เมื่อชาติไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี’
อริยสาวกนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘โลกนี้ดับอย่างนี้’
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดความเกิดและความดับไปแห่งโลกตาม
ความเป็นจริงอย่างนี้ เมื่อนั้น อริยสาวกนี้ เราเรียกว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิบ้าง
ผู้ถึงพร้อมด้วยทัศนะบ้าง ผู้ถึงสัทธรรมนี้บ้าง เห็นสัทธรรมนี้บ้าง ประกอบด้วยญาณ
อันเป็นเสขะบ้าง ประกอบด้วยวิชชาอันเป็นเสขะบ้าง บรรลุกระแสแห่งธรรมบ้าง
เป็นพระอริยะมีปัญญาเพิกถอนกิเลสบ้าง ดำรงอยู่ใกล้ประตูอมตนิพพานบ้าง”

ทุติยอริยสาวกสูตรที่ ๑๐ จบ
คหปติวรรคที่ ๕ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปัญจเวรภยสูตร ๒. ทุติยปัญจเวรภยสูตร
๓. ทุกขสูตร ๔. โลกสูตร
๕. ญาติกสูตร ๖. อัญญตรพราหมณสูตร
๗. ชาณุสโสณิสูตร ๘. โลกายติกสูตร
๙. อริยสาวกสูตร ๑๐. ทุติยอริยสาวกสูตรv


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๖. ทุกขวรรค ๑. ปริวีมังสนสูตร

๖. ทุกขวรรค
หมวดว่าด้วยทุกข์

๑. ปริวีมังสนสูตร
ว่าด้วยการพิจารณา

[๕๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมา
ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาค
จึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุเมื่อพิจารณา จึงชื่อว่าพิจารณา
เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ ทุกประการ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาค
เป็นหลัก มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่ง ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เฉพาะพระผู้มีพระภาคเท่านั้นที่จะทรงอธิบายเนื้อความ
แห่งภาษิตนั้นให้แจ่มแจ้งได้ ภิกษุทั้งหลายฟังต่อจากพระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้”
“ถ้าเช่นนั้น เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ
สนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อพิจารณา ย่อมพิจารณาว่า ‘ชรา
และมรณะนี้ใด มีทุกข์หลายอย่างนับไม่ถ้วนเกิดขึ้นในโลก ชราและมรณะที่เป็นทุกข์
นี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิดหนอ เมื่อ
อะไรมี ชราและมรณะจึงมี เมื่ออะไรไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี’ เธอพิจารณาอยู่
จึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘ชราและมรณะนี้ใด มีทุกข์หลายอย่างนับไม่ถ้วนเกิดขึ้นในโลก ทุกข์นี้
มีชาติเป็นเหตุ มีชาติเป็นเหตุเกิด มีชาติเป็นกำเนิด มีชาติเป็นแดนเกิด เมื่อชาติมี


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๖. ทุกขวรรค ๑. ปริวีมังสนสูตร

ชราและมรณะจึงมี เมื่อชาติไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี” เธอรู้ชัดชราและมรณะ
รู้ชัดความเกิดแห่งชราและมรณะ รู้ชัดความดับแห่งชราและมรณะ รู้ชัดปฏิปทาอัน
เหมาะสมที่ให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ และเธอเป็นผู้ปฏิบัติอย่างนั้น ชื่อว่าผู้
มีปกติประพฤติตามธรรม เราเรียกภิกษุนี้ว่า เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความสิ้นทุกข์ เพื่อ
ความดับแห่งชราและมรณะโดยชอบ ทุกประการ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเมื่อพิจารณา ย่อมพิจารณาว่า ‘ชาตินี้ มีอะไรเป็นเหตุ
มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด เมื่ออะไรมี ชาติจึงมี
เมื่ออะไรไม่มี ชาติจึงไม่มี’ เธอพิจารณาอยู่ จึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘ชาติมีภพเป็นเหตุ
มีภพเป็นเหตุเกิด มีภพเป็นกำเนิด มีภพเป็นแดนเกิด เมื่อภพมี ชาติจึงมี เมื่อภพ
ไม่มี ชาติจึงไม่มี’ เธอรู้ชัดชาติ รู้ชัดความเกิดแห่งชาติ รู้ชัดความดับแห่งชาติ
รู้ชัดปฏิปทาอันเหมาะสมที่ให้ถึงความดับแห่งชาติ และเธอผู้ปฏิบัติอย่างนั้น ชื่อว่า
ผู้มีปกติประพฤติตามธรรม เราเรียกภิกษุนี้ว่า เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความสิ้นทุกข์เพื่อ
ความดับชาติโดยชอบ ทุกประการ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเมื่อพิจารณา ย่อมพิจารณาว่า ‘ภพนี้มีอะไรเป็นเหตุ
ฯลฯ
อุปาทานนี้มีอะไรเป็นเหตุ ...
ตัณหานี้มีอะไรเป็นเหตุ ...
เวทนานี้มีอะไรเป็นเหตุ ...
ผัสสะนี้มีอะไรเป็นเหตุ ...
สฬายตนะนี้มีอะไรเป็นเหตุ ...
นามรูปนี้มีอะไรเป็นเหตุ ...
วิญญาณนี้มีอะไรเป็นเหตุ ...
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเมื่อพิจารณา ย่อมพิจารณาว่า ‘สังขารเหล่านี้มีอะไร
เป็นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด เมื่ออะไรมี สังขาร
ทั้งหลายจึงมี เมื่ออะไรไม่มี สังขารทั้งหลายจึงไม่มี’ เธอพิจารณาอยู่ จึงรู้ชัดอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๖. ทุกขวรรค ๑. ปริวีมังสนสูตร

ว่า ‘สังขารทั้งหลายมีอวิชชาเป็นเหตุ มีอวิชชาเป็นเหตุเกิด มีอวิชชาเป็นกำเนิด
มีอวิชชาเป็นแดนเกิด เมื่ออวิชชามี สังขารทั้งหลายจึงมี เมื่ออวิชชาไม่มี สังขาร
ทั้งหลายจึงไม่มี’
ภิกษุนั้นรู้ชัดสังขารทั้งหลาย จึงรู้ชัดความเกิดแห่งสังขาร รู้ชัดความดับแห่ง
สังขาร รู้ชัดปฏิปทาอันเหมาะสมที่ให้ถึงความดับแห่งสังขาร และเธอผู้ปฏิบัติ
อย่างนั้น ชื่อว่าผู้มีปกติประพฤติตามธรรม
ภิกษุทั้งหลาย เราเรียกภิกษุนี้ว่า เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความสิ้นทุกข์ เพื่อความดับ
แห่งสังขารโดยชอบ ทุกประการ
บุรุษบุคคล๑นี้ตกอยู่ในอวิชชา ถ้าสังขารที่เป็นบุญปรุงแต่ง วิญญาณก็
ประกอบด้วยบุญ ถ้าสังขารที่เป็นบาปปรุงแต่ง วิญญาณก็ประกอบด้วยบาป
ถ้าสังขารที่เป็นอาเนญชาปรุงแต่ง วิญญาณก็ประกอบด้วยอาเนญชา ในกาลใด
ภิกษุละอวิชชาได้แล้ว วิชชาเกิดขึ้น ในกาลนั้น ภิกษุนั้นก็ไม่ปรุงแต่งปุญญาภิสังขาร๒
อปุญญาภิสังขาร๓และอาเนญชาภิสังขาร๔ เพราะกำจัดอวิชชาได้ เพราะมีวิชชา
เกิดขึ้น เมื่อไม่ปรุงแต่ง ไม่จงใจ ก็ไม่ถือมั่นอะไร ๆ ในโลก เมื่อไม่ถือมั่น ก็ไม่
สะดุ้งกลัว เมื่อไม่สะดุ้งกลัว ก็ปรินิพพานเฉพาะตน รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๖. ทุกขวรรค ๑. ปริวีมังสนสูตร

ถ้าภิกษุนั้นเสวยสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า ‘สุขเวทนานั้นไม่เที่ยง’ รู้ชัดว่า ‘ไม่น่า
หมกมุ่น’ รู้ชัดว่า ‘ไม่น่าเพลิดเพลิน’ ถ้าเธอเสวยทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่า ‘ทุกขเวทนา
นั้นไม่เที่ยง’ รู้ชัดว่า ‘ไม่น่าหมกมุ่น’ รู้ชัดว่า ‘ไม่น่าเพลิดเพลิน’ ถ้าเธอเสวย
อทุกขมสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า ‘อทุกขมสุขเวทนานั้นไม่เที่ยง’ รู้ชัดว่า ‘ไม่น่าหมกมุ่น’
รู้ชัดว่า ‘ไม่น่าเพลิดเพลิน’ ถ้าเธอเสวยสุขเวทนา ก็เป็นผู้ปราศจาก(กิเลส) เสวย
สุขเวทนานั้น ถ้าเธอเสวยทุกขเวทนา ก็เป็นผู้ปราศจาก(กิเลส) เสวยทุกขเวทนานั้น
ถ้าเธอเสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็เป็นผู้ปราศจาก(กิเลส) เสวยอทุกขมสุขเวทนานั้น
ภิกษุนั้นเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า ‘เราเสวยเวทนาที่มีกาย
เป็นที่สุด’ เมื่อเสวยเวทนาที่มีชีวิตเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า ‘เราเสวยเวทนาที่มีชีวิต
เป็นที่สุด’ รู้ชัดว่า ‘หลังจากตายแล้ว การเสวยอารมณ์ทั้งหมด ไม่น่าเพลิดเพลิน
จักเย็น จักเหลืออยู่เพียงสรีรธาตุในโลกนี้เท่านั้น’
เปรียบเหมือนบุรุษยกหม้อที่ร้อนออกจากเตาเผาหม้อ วางบนพื้นที่เรียบ
ไออุ่นที่หม้อนั้นพึงหายไป เหลืออยู่เพียงกระเบื้องหม้อเท่านั้น อุปมานี้ฉันใด อุปไมย
ก็ฉันนั้น ภิกษุเมื่อเสวยเวทนาที่มีกายเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า ‘เราเสวยเวทนาที่มีกาย
เป็นที่สุด’ เมื่อเสวยเวทนาที่มีชีวิตเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า ‘เราเสวยเวทนาที่มีชีวิตเป็น
ที่สุด’ รู้ชัดว่า ‘หลังจากตายแล้ว การเสวยอารมณ์ทั้งหมด ไม่น่าเพลิดเพลิน
จักเย็น จักเหลืออยู่เพียงสรีรธาตุในโลกนี้เท่านั้น’
เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ภิกษุผู้ขีณาสพพึงปรุงแต่ง
ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขารบ้างหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสังขารทั้งหลายไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะสังขารดับ
วิญญาณพึงปรากฏหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๖. ทุกขวรรค ๑. ปริวีมังสนสูตร

“อีกอย่างหนึ่ง เมื่อวิญญาณไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะวิญญาณดับ
นามรูปพึงปรากฏหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“อีกอย่างหนึ่ง เมื่อนามรูปไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะนามรูปดับ
สฬายตนะพึงปรากฏหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสฬายตนะไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะสฬายตนะดับ
ผัสสะพึงปรากฏหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“อีกอย่างหนึ่ง เมื่อผัสสะไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะผัสสะดับ เวทนาพึง
ปรากฏหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“อีกอย่างหนึ่ง เมื่อเวทนาไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะเวทนาดับ ตัณหา
พึงปรากฏหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“อีกอย่างหนึ่ง เมื่อตัณหาไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะตัณหาดับ อุปาทาน
พึงปรากฏหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“อีกอย่างหนึ่ง เมื่ออุปาทานไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะอุปาทานดับ ภพ
พึงปรากฏหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๖. ทุกขวรรค ๒. อุปาทานสูตร

“อีกอย่างหนึ่ง เมื่อภพไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะภพดับ ชาติพึง
ปรากฏหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“อีกอย่างหนึ่ง เมื่อชาติไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะชาติดับ ชราและมรณะ
พึงปรากฏหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ดีละ ดีละ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงสำคัญ จงเชื่อ น้อมใจเชื่อข้อความ
นั้นอย่างนั้นเถิด จงหมดความเคลือบแคลงสงสัยในข้อนั้นเถิด นั่นแลคือที่สุด
แห่งทุกข์”

ปริวีมังสนสูตรที่ ๑ จบ

๒. อุปาทานสูตร
ว่าด้วยความยึดมั่นถือมั่น

[๕๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค...
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุพิจารณาเห็นความพอใจเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลาย
ที่เป็นปัจจัยแห่งอุปาทาน ตัณหาย่อมเจริญ เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็น
ปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงมี ความเกิดขึ้นแห่ง
กองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
เปรียบเหมือนกองไฟใหญ่ที่สุมด้วยไม้ ๑๐ เล่มเกวียนบ้าง ๒๐ เล่มเกวียนบ้าง
๓๐ เล่มเกวียนบ้าง ๔๐ เล่มเกวียนบ้าง พึงลุกโพลง บุรุษใส่หญ้าแห้ง โคมัยแห้งและ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๖. ทุกขวรรค ๒. อุปาทานสูตร

ไม้แห้งเข้าไปในกองไฟนั้น ทุก ๆ ระยะ ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ กองไฟใหญ่นั้น ได้อาหาร๑
อย่างนั้น ได้เชื้อ๒อย่างนั้น พึงลุกโพลงตลอดกาลนาน อุปมานี้ฉันใด อุปไมย
ก็ฉันนั้น เมื่อภิกษุพิจารณาเห็นความพอใจเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายที่เป็นปัจจัยแห่ง
อุปาทาน ตัณหาย่อมเจริญ เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี ฯลฯ ความเกิดขึ้น
แห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
เมื่อภิกษุพิจารณาเห็นโทษเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายที่เป็นปัจจัยแห่งอุปาทาน
ตัณหาย่อมดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
และอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนกองไฟใหญ่ที่สุมด้วยไม้ ๑๐ เล่มเกวียนบ้าง
๒๐ เล่มเกวียนบ้าง ๓๐ เล่มเกวียนบ้าง ๔๐ เล่มเกวียนบ้าง พึงลุกโพลง บุรุษ
ไม่ใส่หญ้าแห้ง โคมัยแห้งและไม้แห้งเข้าไปในกองไฟนั้นทุก ๆ ระยะ ก็เมื่อเป็นอย่างนี้
กองไฟใหญ่นั้นไม่ได้อาหารอย่างนั้น ไม่ได้เชื้ออย่างนั้น พึงดับไป เพราะสิ้นเชื้อเก่า
และไม่เติมเชื้อใหม่ อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น เมื่อภิกษุพิจารณาเห็นโทษเนือง ๆ
ในธรรมทั้งหลายที่เป็นปัจจัยแห่งอุปาทาน ตัณหาย่อมดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทาน
จึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้”

อุปาทานสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๖. ทุกขวรรค ๓. สังโยชนสูตร

๓. สังโยชนสูตร
ว่าด้วยสังโยชน์

[๕๓] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค...
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุพิจารณาเห็นความพอใจเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายที่
เป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์๑ ตัณหาย่อมเจริญ เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็น
ปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงมี ความเกิดขึ้นแห่ง
กองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
เปรียบเหมือนประทีปน้ำมันพึงติดไฟได้ ก็เพราะอาศัยน้ำมันและไส้ บุรุษเติม
น้ำมันและใส่ไส้ในประทีปน้ำมันนั้นทุก ๆ ระยะ เมื่อเป็นอย่างนี้ ประทีปน้ำมันนั้น
ได้อาหารอย่างนั้น ได้เชื้ออย่างนั้น พึงลุกโพลงตลอดกาลนาน อุปมานี้ฉันใด อุปไมย
ก็ฉันนั้น เมื่อภิกษุพิจารณาเห็นความพอใจเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายที่เป็นปัจจัย
แห่งสังโยชน์ ตัณหาย่อมเจริญ ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทาน
จึงมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติ
เป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงมี ความเกิดขึ้น
แห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๖. ทุกขวรรค ๔. ทุติยสังโยชนสูตร

เมื่อภิกษุพิจารณาเห็นโทษเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายที่เป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์
ตัณหาย่อมดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
และอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนประทีปน้ำมันพึงติดไฟได้ ก็เพราะอาศัยน้ำมัน
และไส้ บุรุษไม่เติมน้ำมันและไม่ใส่ไส้ในประทีปน้ำมันนั้นทุก ๆ ระยะ เมื่อเป็นอย่างนี้
ประทีปน้ำมันนั้น ไม่ได้อาหารอย่างนั้น ไม่ได้เชื้ออย่างนั้น พึงดับไป เพราะสิ้น
เชื้อเก่าและไม่เติมเชื้อใหม่ อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น เมื่อภิกษุพิจารณาเห็นโทษ
เนือง ๆ ในธรรมทั้งหลาย ที่เป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์ ตัณหาย่อมดับ เพราะตัณหาดับ
อุปาทานจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้”

สังโยชนสูตรที่ ๓ จบ

๔. ทุติยสังโยชนสูตร
ว่าด้วยสังโยชน์ สูตรที่ ๒

[๕๔] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนประทีปน้ำมันพึงติดไฟได้ ก็เพราะอาศัยน้ำมัน
และไส้ บุรุษเติมน้ำมันและใส่ไส้ในประทีปน้ำมันนั้นทุก ๆ ระยะ เมื่อเป็นอย่างนี้
ประทีปน้ำมันนั้น ได้อาหารอย่างนั้น ได้เชื้ออย่างนั้น พึงลุกโพลงตลอดกาลนาน
อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น เมื่อภิกษุพิจารณาเห็นความพอใจเนือง ๆ ในธรรม
ที่เป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์ ตัณหาย่อมเจริญ เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๖. ทุกขวรรค ๕. มหารุกขสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนประทีปน้ำมันพึงติดไฟได้ ก็เพราะอาศัยน้ำมัน
และไส้ บุรุษไม่เติมน้ำมันและไม่ใส่ไส้ในประทีปน้ำมันนั้นทุก ๆ ระยะ เมื่อเป็นอย่างนี้
ประทีปน้ำมันนั้น ไม่ได้อาหารอย่างนั้น ไม่ได้เชื้ออย่างนั้น พึงดับไป เพราะสิ้นเชื้อเก่า
และไม่เติมเชื้อใหม่ อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น เมื่อภิกษุพิจารณาเห็นโทษเนือง ๆ
ในธรรมทั้งหลายที่เป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์ ตัณหาย่อมดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทาน
จึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้”

ทุติยสังโยชนสูตรที่ ๔ จบ

๕. มหารุกขสูตร
ว่าด้วยต้นไม้ใหญ่

[๕๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุพิจารณาเห็นความพอใจเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายที่
เป็นปัจจัยแห่งอุปาทาน ตัณหาย่อมเจริญ เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้
ด้วยประการฉะนี้
เปรียบเหมือนต้นไม้ใหญ่มีรากหยั่งลงและแผ่ขยายไปรอบ ๆ รากทั้งหมดนั้น
ย่อมดูดอาหารขึ้นไปข้างบน เมื่อเป็นอย่างนี้ ต้นไม้ใหญ่นั้นได้อาหารอย่างนั้น ได้สาร
อย่างนั้น พึงยืนต้นอยู่ได้ตลอดกาลนาน อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น เมื่อภิกษุ
พิจารณาเห็นความพอใจเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลาย ที่เป็นปัจจัยแห่งอุปาทาน
ตัณหาย่อมเจริญ เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย
ภพจึงมี ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
เมื่อภิกษุพิจารณาเห็นโทษเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายที่เป็นปัจจัยแห่งอุปาทาน
ตัณหาย่อมดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ฯลฯ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๐๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๖. ทุกขวรรค ๖. ทุติยมหารุกขสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้ใหญ่ (ยืนต้นอยู่อย่างนั้น) ทีนั้นบุรุษถือ
จอบและตะกร้าเดินมา ตัดต้นไม้ที่โคนต้นแล้ว ขุดลงไป ครั้นขุดลงไปแล้ว ก็ถอนราก
ใหญ่น้อย โดยที่สุดแม้เท่าก้านแฝกขึ้น บุรุษนั้นพึงตัดต้นไม้นั้นเป็นท่อนเล็กท่อน
ใหญ่แล้วพึงผ่า ครั้นผ่าแล้ว ทำให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยแล้วเกลี่ย ผึ่งลม ผึ่งแดด
ครั้นผึ่งลม ผึ่งแดดแล้ว เอาไฟเผา ครั้นเอาไฟเผาแล้ว ทำให้เป็นเขม่า ครั้นทำ
ให้เป็นเขม่าแล้ว พึงโปรยที่ลมแรงหรือลอยในแม่น้ำที่มีกระแสเชี่ยว เมื่อเป็นอย่างนี้
ต้นไม้ใหญ่นั้นถูกตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่
พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น เมื่อภิกษุพิจารณา
เห็นโทษเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายที่เป็นปัจจัยแห่งอุปาทาน ตัณหาย่อมดับ เพราะ
ตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์
ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้”

มหารุกขสูตรที่ ๕ จบ

๖. ทุติยมหารุกขสูตร
ว่าด้วยต้นไม้ใหญ่ สูตรที่ ๒

[๕๖] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้ใหญ่มีรากหยั่งลงและแผ่ขยายไปรอบ ๆ
รากทั้งหมดนั้นย่อมดูดอาหารขึ้นไปข้างบน เมื่อเป็นอย่างนี้ ต้นไม้ใหญ่นั้นได้อาหาร
อย่างนั้น ได้สารอย่างนั้น พึงยืนต้นอยู่ได้ตลอดกาลนาน อุปมานี้ฉันใด อุปไมย
ก็ฉันนั้น เมื่อภิกษุพิจารณาเห็นความพอใจเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายที่เป็นปัจจัย
แห่งอุปาทาน ตัณหาย่อมเจริญ เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี ฯลฯ
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้ใหญ่ (ยืนต้นอยู่อย่างนั้น) ทีนั้นบุรุษถือจอบ
และตะกร้าเดินมา ตัดต้นไม้ที่โคนต้นแล้ว ขุดลงไป ครั้นขุดลงไปแล้ว ก็ถอนราก
ใหญ่น้อยแม้เท่าก้านแฝกขึ้น ฯลฯ หรือลอยในแม่น้ำที่มีกระแสเชี่ยว เมื่อเป็น
อย่างนี้ ต้นไม้ใหญ่นั้นถูกตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๖. ทุกขวรรค ๗. ตรุณรุกขสุตร

เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น เมื่อ
ภิกษุพิจารณาเห็นโทษเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายที่เป็นปัจจัยแห่งอุปาทาน ตัณหาย่อมดับ
เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วย
ประการฉะนี้”

ทุติยมหารุกขสูตรที่ ๖ จบ

๗. ตรุณรุกขสูตร
ว่าด้วยต้นไม้อ่อน

[๕๗] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค...
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุพิจารณาเห็นความพอใจเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายที่
เป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์ ตัณหาย่อมเจริญ เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
เปรียบเหมือนต้นไม้อ่อน (ยืนต้นอยู่อย่างนั้น) บุรุษพึงถนอมรากพรวนดิน
รดน้ำสม่ำเสมอ เมื่อเป็นอย่างนี้ ต้นไม้อ่อนนั้นได้อาหารอย่างนั้น ได้สารอย่างนั้น
พึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น เมื่อภิกษุพิจารณา
เห็นความพอใจเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลาย ที่เป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์ ตัณหาย่อมเจริญ
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้
ด้วยประการฉะนี้
เมื่อภิกษุพิจารณาเห็นโทษเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายที่เป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์
ตัณหาย่อมดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์
ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้อ่อน (ยืนต้นอยู่อย่างนั้น) ทีนั้นบุรุษถือจอบ
และตะกร้าเดินมา ฯลฯ หรือลอยในแม่น้ำที่มีกระแสเชี่ยว เมื่อเป็นอย่างนี้ ต้นไม้อ่อน
นั้น ถูกตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่
ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น เมื่อภิกษุพิจารณาเห็น
โทษเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายที่เป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์ ตัณหาย่อมดับ เพราะตัณหาดับ
อุปาทานจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้”

ตรุณรุกขสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๖. ทุกขวรรค ๘. นามรูปสูตร

๘. นามรูปสูตร
ว่าด้วยนามรูป

[๕๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุพิจารณาเห็นความพอใจเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายที่
เป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์ นามรูปย่อมหยั่งลง เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี
ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
เปรียบเหมือนต้นไม้ใหญ่มีรากหยั่งลงและแผ่ขยายไปรอบ ๆ รากทั้งหมดนั้น
ย่อมดูดอาหารขึ้นไปข้างบน เมื่อเป็นอย่างนี้ ต้นไม้ใหญ่นั้นได้อาหารอย่างนั้น
ได้สารอย่างนั้น พึงยืนต้นอยู่ได้ตลอดกาลนาน อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น เมื่อภิกษุ
พิจารณาเห็นความพอใจเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายที่เป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์ นามรูปย่อม
หยั่งลง เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์
ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
เมื่อภิกษุพิจารณาเห็นโทษเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลาย ที่เป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์
นามรูปย่อมไม่หยั่งลง เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกอง
ทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้ใหญ่ (ยืนต้นอยู่อย่างนั้น) ทีนั้นบุรุษถือจอบ
และตะกร้าเดินมา ฯลฯ เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น เมื่อภิกษุ
พิจารณาเห็นโทษเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายที่เป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์ นามรูปย่อมไม่
หยั่งลง เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้
มีได้ด้วยประการฉะนี้”

นามรูปสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๖. ทุกขวรรค ๙. วิญญาณสูตร

๙. วิญญาณสูตร
ว่าด้วยวิญญาณ

[๕๙] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุพิจารณาเห็นความพอใจเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายที่
เป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์ วิญญาณย่อมหยั่งลง เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
เปรียบเหมือนต้นไม้ใหญ่มีรากหยั่งลงและแผ่ขยายไปรอบ ๆ ฯลฯ อุปมานี้
ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น เมื่อภิกษุพิจารณาเห็นความพอใจเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลาย
ที่เป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์ วิญญาณย่อมหยั่งลง เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูป
จึงมี ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
เมื่อภิกษุพิจารณาเห็นโทษเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายที่เป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์
วิญญาณย่อมไม่หยั่งลง เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่ง
กองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้ใหญ่ (ยืนต้นอยู่อย่างนั้น) ทีนั้นบุรุษถือจอบ
และตะกร้าเดินมา ฯลฯ เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น เมื่อภิกษุ
พิจารณาเห็นโทษเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายที่เป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์ วิญญาณย่อม
ไม่หยั่งลง เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้
มีได้ด้วยประการฉะนี้”

วิญญาณสูตรที่ ๙ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๖. ทุกขวรรค ๑๐. นิทานสูตร

๑๐. นิทานสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นต้นเหตุ

[๖๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวกุรุ ชื่อว่า
กัมมาสทัมมะ แคว้นกุรุ
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ปฏิจจสมุปบาทนี้เป็นธรรมลึกซึ้ง แต่ถึงอย่างนั้น
ก็ปรากฏแก่ข้าพระองค์เหมือนกับว่าเป็นธรรมง่าย ๆ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ อย่าพูดอย่างนั้น อานนท์ อย่าพูดอย่างนั้น
ปฏิจจสมุปบาทนี้ เป็นธรรมลึกซึ้ง สุดจะคาดคะเนได้ ก็เพราะไม่รู้ ไม่เข้าใจ
ไม่บรรลุธรรมนี้ หมู่สัตว์จึงยุ่ง เหมือนขอดด้ายของช่างหูก เป็นปมนุงนังเหมือน
กระจุกด้าย เหมือนหญ้ามุงกระต่ายและหญ้าปล้อง ไม่ข้ามพ้นอบาย๑ ทุคติ วินิบาต
สงสาร
เมื่อภิกษุพิจารณาเห็นความพอใจเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายที่เป็นปัจจัยแห่ง
อุปาทาน ตัณหาย่อมเจริญ เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี เพราะอุปาทาน
เป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา
มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงมี ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์
ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
เปรียบเหมือนต้นไม้ใหญ่มีรากหยั่งลงและแผ่ขยายไปรอบ ๆ รากทั้งหมดนั้น
ดูดอาหารขึ้นไปข้างบน เมื่อเป็นอย่างนี้ ต้นไม้ใหญ่นั้นได้อาหารอย่างนั้น ได้สารอย่างนั้น
พึงยืนต้นอยู่ได้ตลอดกาลนาน อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น เมื่อภิกษุพิจารณา
เห็นความพอใจเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายที่เป็นปัจจัยแห่งอุปาทาน ตัณหาย่อมเจริญ
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี ฯลฯ
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๖. ทุกขวรรค ๑๐. นิทานสูตร

เมื่อภิกษุพิจารณาเห็นโทษเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายที่เป็นปัจจัยแห่งอุปาทาน
ตัณหาย่อมดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ฯลฯ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
เปรียบเหมือนต้นไม้ใหญ่ (ยืนต้นอยู่อย่างนั้น) ทีนั้นบุรุษถือจอบและตะกร้าเดินมา
ตัดต้นไม้นั้นที่โคนต้นแล้ว ขุดลงไป ครั้นขุดลงไปแล้ว ก็ถอนรากใหญ่น้อยโดยที่สุด
แม้เท่าก้านแฝกขึ้น บุรุษนั้นพึงตัดต้นไม้นั้นเป็นท่อนเล็กท่อนใหญ่ ครั้นตัดต้นไม้นั้น
เป็นท่อนเล็กท่อนใหญ่แล้วพึงผ่า ครั้นผ่าแล้ว ทำให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยแล้วเกลี่ย
ผึ่งลม ผึ่งแดด ครั้นผึ่งลม ผึ่งแดดแล้ว เอาไฟเผา ครั้นเอาไฟเผาแล้ว ทำให้เป็น
เขม่า ครั้นทำให้เป็นเขม่าแล้ว พึงโปรยที่ลมแรง หรือลอยในแม่น้ำที่มีกระแสเชี่ยว
เมื่อเป็นอย่างนี้ ต้นไม้ใหญ่นั้นถูกตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคน
ไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น
เมื่อภิกษุพิจารณาเห็นโทษเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายที่เป็นปัจจัยแห่งอุปาทาน ตัณหา
ย่อมดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ
ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
จึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้”

นิทานสูตรที่ ๑๐ จบ
ทุกขวรรคที่ ๖ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปริวีมังสนสูตร ๒. อุปาทานสูตร
๓. สังโยชนสูตร ๔. ทุติยสังโยชนสูตร
๕. มหารุกขสูตร ๖. ทุติยมหารุกขสูตร
๗. ตรุณรุกขสูตร ๘. นามรูปสูตร
๙. วิญญาณสูตร ๑๐. นิทานสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๗. มหาวรรค ๑. อัสสุตวาสูตร

๗. มหาวรรค
หมวดว่าด้วยพระสูตรที่มีเนื้อหาสำคัญ

๑. อัสสุตวาสูตร
ว่าด้วยผู้ไม่ได้สดับ

[๖๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ๑ พึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง
หลุดพ้นบ้าง จากกายซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเหตุที่การประชุมก็ดี ความสิ้นไปก็ดี การยึดถือก็ดี การทอดทิ้งกาย
ซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ก็ดี ย่อมปรากฏ เพราะฉะนั้น ปุถุชนผู้ไม่ได้
สดับพึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง จากกายนั้น
ตถาคตเรียกสิ่งนี้ว่า ‘จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง’ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ไม่อาจ
เบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นไปจากจิตเป็นต้นนั้นได้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะจิตเป็นต้นนี้ ถูกรัดไว้ด้วยตัณหา ยึดถือว่าเป็นของเรา เป็นสิ่งที่ปุถุชน
ผู้ไม่ได้สดับยึดมั่นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’ ตลอดกาลนาน
เพราะฉะนั้น ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ จึงไม่อาจเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นไปจาก
จิตเป็นต้นนั้นได้


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๗. มหาวรรค ๑. อัสสุตวาสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ พึงยึดถือกายซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูต
ทั้ง ๔ นี้ โดยความเป็นอัตตายังประเสริฐกว่า ส่วนการยึดถือจิตโดยความเป็นอัตตา
ไม่ประเสริฐเลย
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะกายซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ เมื่อดำรงอยู่ ๑ ปีบ้าง ๒ ปีบ้าง
๓ ปีบ้าง ๔ ปีบ้าง ๕ ปีบ้าง ๑๐ ปีบ้าง ๒๐ ปีบ้าง ๓๐ ปีบ้าง ๔๐ ปีบ้าง ๕๐ ปีบ้าง
๑๐๐ ปีบ้าง หรือเกินกว่าบ้าง ก็ยังปรากฏ
ตถาคตเรียกสิ่งนี้ว่า ‘จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง’ จิตเป็นต้นนั้น ดวงหนึ่ง
เกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไปตลอดทั้งคืนและวัน เปรียบเหมือนลิงเมื่อเที่ยวไปในป่าเล็ก
และป่าใหญ่จับกิ่งไม้ ปล่อยกิ่งไม้นั้นแล้ว ย่อมจับกิ่งอื่น ปล่อยกิ่งนั้นแล้วย่อมจับ
กิ่งอื่นต่อไป ฉะนั้น ตถาคตจึงเรียกสิ่งนี้ว่า ‘จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง’
จิตเป็นต้นนั้น ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไปตลอดทั้งคืนและวัน
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมมนสิการปฏิจจสมุปบาทนั้นแหละโดย
แยบคาย ในกายและจิตนั้นว่า ‘เพราะเหตุนี้ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น
สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ คือ เพราะ
อวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ฯลฯ ความเกิด
ขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
อนึ่ง เพราะอวิชชาดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ
วิญญาณจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้’
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป
แม้ในเวทนา แม้ในสัญญา แม้ในสังขาร แม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลาย
กำหนัด เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’
รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

อัสสุตวาสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๗. มหาวรรค ๒. ทุติยอัสสุตวาสูตร

๒. ทุติยอัสสุตวาสูตร
ว่าด้วยผู้ไม่ได้สดับ สูตรที่ ๒

[๖๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ พึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง
หลุดพ้นบ้าง จากกายซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเหตุที่การประชุมก็ดี ความสิ้นไปก็ดี การยึดถือก็ดี การทอดทิ้งกายซึ่ง
เป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ก็ดี ย่อมปรากฏ เพราะฉะนั้น ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
พึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้างจากกายนั้น
ตถาคตเรียกสิ่งนี้ว่า ‘จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง’ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับไม่อาจ
เบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นไปจากจิตเป็นต้นนั้นได้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะจิตเป็นต้นนี้ ถูกรัดไว้ด้วยตัณหา ยึดถือว่าเป็นของเรา เป็นสิ่งที่ปุถุชน
ผู้ไม่ได้สดับยึดมั่นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’ ตลอดกาลนาน
เพราะฉะนั้น ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ จึงไม่อาจเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นไปจาก
จิตเป็นต้นนั้นได้
ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ พึงยึดถือกายซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูต
ทั้ง ๔ นี้ โดยความเป็นอัตตายังประเสริฐกว่า ส่วนการยึดถือจิตโดยความเป็นอัตตา
ไม่ประเสริฐเลย
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะกายซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ เมื่อดำรงอยู่ ๑ ปีบ้าง ๒ ปีบ้าง
๓ ปีบ้าง ๔ ปีบ้าง ๕ ปีบ้าง ๑๐ ปีบ้าง ๒๐ ปีบ้าง ๓๐ ปีบ้าง ๔๐ ปีบ้าง ๕๐ ปีบ้าง
๑๐๐ ปีบ้าง หรือเกินกว่าบ้าง ก็ยังปรากฏ
ตถาคตเรียกสิ่งนี้ว่า ‘จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง’ จิตเป็นต้นนั้น ดวงหนึ่ง
เกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไปตลอดทั้งคืนและวัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๗. มหาวรรค ๒. ทุติยอัสสุตวาสูตร

ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมมนสิการปฏิจจสมุปบาทนั้นแหละโดย
แยบคาย ในกายและจิตนั้นว่า ‘เพราะเหตุนี้ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น
สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ
สุขเวทนาเกิดขึ้น เพราะอาศัยผัสสะที่เป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนา
เพราะผัสสะที่เป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนานั้นแหละดับไป สุขเวทนาที่เกิดขึ้น
เพราะอาศัยผัสสะที่เป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนา ซึ่งเสวยอารมณ์อันเกิดจากผัสสะนั้น
ก็ดับระงับไป
ทุกขเวทนาเกิดขึ้น เพราะอาศัยผัสสะที่เป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา
เพราะผัสสะที่เป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนานั้นแหละดับไป ทุกขเวทนาที่เกิดขึ้น
เพราะอาศัยผัสสะที่เป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา ซึ่งเสวยอารมณ์อันเกิดจากผัสสะนั้น
ก็ดับระงับไป
อทุกขมสุขเวทนาเกิดขึ้น เพราะอาศัยผัสสะที่เป็นปัจจัยแห่งอทุกขมสุขเวทนา
เพราะผัสสะที่เป็นปัจจัยแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้นแหละดับไป อทุกขมสุขเวทนา
ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะที่เป็นปัจจัยแห่งอทุกขมสุขเวทนา ซึ่งเสวยอารมณ์อันเกิดจาก
ผัสสะนั้น ก็ดับระงับไป
ภิกษุทั้งหลาย เพราะไม้สองท่อนเสียดสีกันจึงเกิดความร้อนลุกเป็นไฟ แต่ถ้า
แยกไม้สองท่อนนั้นออกจากกัน ความร้อนที่เกิดจากการเสียดสีกันนั้น ก็จะดับมอดลง
แม้ฉันใด
สุขเวทนาเกิดขึ้น เพราะอาศัยผัสสะที่เป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนา
เพราะผัสสะที่เป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนานั้นแหละดับไป สุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะ
อาศัยผัสสะที่เป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนา ซึ่งเสวยอารมณ์อันเกิดจากผัสสะนั้น ก็ดับ
ระงับไป
ทุกขเวทนาเกิดขึ้น เพราะอาศัยผัสสะที่เป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา
เพราะผัสสะที่เป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนานั้นแหละดับไป ทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะ
อาศัยผัสสะที่เป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา ซึ่งเสวยอารมณ์อันเกิดจากผัสสะนั้น ก็ดับ
ระงับไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๗. มหาวรรค ๓. ปุตตมังสสูตร

อทุกขมสุขเวทนาเกิดขึ้น เพราะอาศัยผัสสะที่ปัจจัยแห่งอทุกขมสุขเวทนา
เพราะผัสสะที่เป็นปัจจัยแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้นแหละดับไป อทุกขมสุขเวทนา
ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะที่เป็นปัจจัยแห่งอทุกขมสุขเวทนา ซึ่งเสวยอารมณ์อันเกิด
จากผัสสะนั้น ก็ดับระงับไป ฉันนั้นเหมือนกัน
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในผัสสะ
แม้ในเวทนา แม้ในสัญญา แม้ในสังขาร แม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลาย
กำหนัด เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’
รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

ทุติยอัสสุตวาสูตรที่ ๒ จบ

๓. ปุตตมังสสูตร
ว่าด้วยเนื้อบุตร

[๖๓] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย อาหาร ๔ อย่างนี้ เป็นไปเพื่อความดำรงอยู่ของหมู่สัตว์
ผู้เกิดแล้ว หรือเพื่ออนุเคราะห์หมู่สัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด
อาหาร ๔ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. กวฬิงการาหาร ที่หยาบหรือละเอียด
๒. ผัสสาหาร
๓. มโนสัญเจตนาหาร
๔. วิญญาณาหาร
อาหาร ๔ อย่างนี้ เป็นไปเพื่อความดำรงอยู่ของหมู่สัตว์ผู้เกิดแล้ว หรือเพื่อ
อนุเคราะห์หมู่สัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๗. มหาวรรค ๓. ปุตตมังสสูตร

กวฬิงการาหาร จะพึงเห็นได้อย่างไร
คือ เปรียบเหมือนภรรยาสามีทั้งสอง ถือเอาเสบียงเล็กน้อย เดินทางกันดาร๑
เขาทั้งสองมีบุตรน้อย ๑ คนทั้งน่ารัก และน่าพอใจ ขณะที่พวกเขากำลังเดินทาง
กันดาร เสบียงที่มีเพียงเล็กน้อยได้หมดสิ้นไป แต่ทางกันดารของพวกเขายังไม่ผ่านไป
ยังเหลืออยู่ไกล ลำดับนั้น เขาทั้งสองตกลงกันว่า ‘เสบียงที่เหลืออยู่เล็กน้อย ได้หมด
สิ้นไปแล้ว แต่ทางกันดารยังเหลืออยู่ไกล ทางที่ดี พวกเราช่วยกันฆ่าบุตรน้อย ที่น่า
รักน่าพอใจคนนี้เสีย ทำเป็นเนื้อเค็มและเนื้อย่าง บริโภคเนื้อบุตร ก็จะข้ามพ้นทาง
กันดารที่เหลืออยู่ได้ เราทั้ง ๓ อย่าพินาศพร้อมกันเลย’ ต่อมา ภรรยาสามีทั้งสองนั้น
ก็ฆ่าบุตรน้อยที่น่ารักน่าพอใจคนนั้น ทำเป็นเนื้อเค็มและเนื้อย่าง บริโภคเนื้อบุตรนั้น
แหละจึงข้ามพ้นทางกันดารนั้นไปได้ พวกเขาบริโภคเนื้อบุตรไปพลาง ทุบอกไปพลาง
รำพันว่า ‘บุตรน้อยอยู่ที่ไหน บุตรน้อยอยู่ที่ไหน’
เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
คือ พวกเขาบริโภคเนื้อบุตรเป็นอาหาร เพื่อเล่น เพื่อความมัวเมา หรือเพื่อ
ตกแต่ง เพื่อประดับร่างกายหรือ”
“หามิได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“พวกเขาบริโภคอาหารที่ปรุงจากเนื้อบุตรเพียงเพื่อจะข้ามทางกันดารให้พ้นหรือ”
“ใช่ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น เรากล่าวว่า ‘บุคคลพึงเห็น
กวฬิงการาหาร (เปรียบเหมือนเนื้อบุตร)’ เมื่ออริยสาวกกำหนด๒รู้กวฬิงการาหาร
ได้แล้ว ก็เป็นอันกำหนดรู้ราคะซึ่งเกิดจากกามคุณ ๕ เมื่อกำหนดรู้ราคะซึ่งเกิดจาก
กามคุณ ๕ ได้แล้ว สังโยชน์ที่เป็นเครื่องชักนำอริยสาวกให้มาสู่โลกนี้อีก ก็ไม่มี


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๗. มหาวรรค ๓. ปุตตมังสสูตร

ผัสสาหาร จะพึงเห็นได้อย่างไร
คือ เปรียบเหมือนแม่โคที่ไม่มีหนังหุ้ม ถ้ายืนพิงฝาอยู่ ก็จะถูกฝูงสัตว์ที่อาศัย
ฝาเจาะกิน ถ้ายืนพิงต้นไม้อยู่ ก็จะถูกฝูงสัตว์ที่อาศัยต้นไม้เจาะกิน ถ้าลงไปยืน
แช่น้ำอยู่ ก็จะถูกฝูงสัตว์ที่อาศัยอยู่ในน้ำกัดกิน ถ้ายืนอยู่ในที่แจ้ง ก็จะถูกฝูงสัตว์
ที่อาศัยอยู่ในอากาศเกาะจิกกิน ไม่ว่าแม่โคตัวที่ไม่มีหนังหุ้มตัวนั้นจะไปอาศัยอยู่ใน
สถานที่ใด ๆ ก็ตาม ก็ถูกจำพวกสัตว์ที่อาศัยอยู่ในสถานที่นั้น ๆ กัดกินอยู่ร่ำไป
อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น เรากล่าวว่า ‘บุคคลพึงเห็นผัสสาหาร (เปรียบเหมือน
แม่โคที่ไม่มีหนังหุ้ม)’ เมื่ออริยสาวกกำหนดรู้ผัสสาหารได้แล้วก็เป็นอันกำหนดรู้
เวทนา ๓ ประการ เมื่อกำหนดรู้เวทนา ๓๑ ประการได้แล้ว เรากล่าวว่าไม่มีสิ่งใดที่
อริยสาวกพึงทำให้ยิ่งไปกว่านี้
มโนสัญเจตนาหาร จะพึงเห็นได้อย่างไร
คือ เปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง ลึกกว่าชั่วคน เต็มไปด้วยถ่านเพลิง ไม่มีเปลว
ไม่มีควัน ครั้งนั้นบุรุษคนหนึ่งต้องการมีชีวิตไม่อยากตาย รักสุขเกลียดทุกข์เดินมา
บุรุษมีกำลัง ๒ คนจับแขนของเขาคนละข้างฉุดไปลงหลุมถ่านเพลิง ทันใดนั้น เขามี
เจตนาปรารถนาตั้งใจจะไปให้ไกลจากหลุมถ่านเพลิง
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเขารู้ว่า ‘ถ้าเราจักตกหลุมถ่านเพลิงนี้ เราจักต้องตายหรือถึงทุกข์
ปางตาย เพราะเหตุนั้น’ อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น เรากล่าวว่า ‘บุคคลพึง
เห็นมโนสัญเจตนาหาร (เปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง)’ เมื่ออริยสาวกกำหนดรู้มโน-
สัญเจตนาหารได้แล้ว ก็เป็นอันกำหนดรู้ตัณหา ๓๒ ประการ เมื่อกำหนดรู้ตัณหา
๓ ประการได้แล้ว เรากล่าวว่าไม่มีสิ่งใดที่อริยสาวกพึงทำให้ยิ่งไปกว่านี้


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๗. มหาวรรค ๓. ปุตตมังสสูตร

วิญญาณาหาร จะพึงเห็นได้อย่างไร
คือ เปรียบเหมือนราชบุรุษทั้งหลายจับโจรผู้ประพฤติชั่วได้แล้ว จึงทูลแสดงแด่
พระราชาว่า ‘ขอเดชะ ผู้นี้เป็นโจรประพฤติชั่วต่อพระองค์ ขอจงทรงลงพระอาญา
ตามที่ทรงพระราชประสงค์แก่โจรผู้นี้เถิด’
พระราชามีพระกระแสรับสั่งว่า ‘ท่านทั้งหลาย จงไปช่วยกันประหารมัน
ด้วยหอก ๑๐๐ เล่มในเวลาเช้า’ ราชบุรุษทั้งหลายก็ช่วยกันประหารนักโทษคนนั้น
ด้วยหอก ๑๐๐ เล่มในเช้าวันนั้น
ต่อมาในเวลาเที่ยงวัน พระราชาทรงซักถามราชบุรุษทั้งหลายว่า ‘ท่านทั้งหลาย
นักโทษคนนั้นเป็นอย่างไรบ้าง’
ราชบุรุษทั้งหลายกราบทูลว่า ‘เขายังมีชีวิตอยู่ พระพุทธเจ้าข้า’ จึงมี
พระกระแสรับสั่งว่า ‘ท่านทั้งหลาย จงไปช่วยกันประหารมันด้วยหอก ๑๐๐ เล่ม
ในเวลาเที่ยงวัน’ ราชบุรุษทั้งหลายก็ช่วยกันประหารนักโทษคนนั้นด้วยหอก ๑๐๐ เล่ม
ในเวลาเที่ยงวัน
ต่อมาในเวลาเย็น พระราชาทรงซักถามราชบุรุษทั้งหลายอีกว่า ‘ท่านทั้งหลาย
นักโทษคนนั้นเป็นอย่างไรบ้าง’
ราชบุรุษทั้งหลายกราบทูลว่า ‘เขายังมีชีวิตอยู่ พระพุทธเจ้าข้า’ จึงมี
พระกระแสรับสั่งว่า ‘ท่านทั้งหลาย จงไปช่วยกันประหารมันด้วยหอก ๑๐๐ เล่ม
ในเวลาเย็น’
ราชบุรุษทั้งหลายก็ช่วยกันประหารนักโทษคนนั้นด้วยหอก ๑๐๐ เล่ม ในเวลาเย็น
เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
คือ เมื่อเขาถูกประหารด้วยหอก ๓๐๐ เล่มตลอดทั้งวัน จะพึงได้เสวยทุกข์-
โทมนัสซึ่งมีการประหารนั้นเป็นเหตุ มิใช่หรือ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๗. มหาวรรค ๔. อัตถิราคสูตร

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเขาถูกประหารแม้ด้วยหอก ๑ เล่ม ยังได้เสวย
ทุกข์โทมนัสซึ่งมีการประหารนั้นเป็นเหตุ ไม่ต้องพูดถึงเมื่อถูกประหารด้วยหอก
๓๐๐ เล่ม”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น เรากล่าวว่า ‘บุคคลพึงเห็น
วิญญาณาหาร (เปรียบเหมือนนักโทษประหาร)’ เมื่ออริยสาวก กำหนดรู้วิญญาณา-
หารได้แล้ว ก็เป็นอันกำหนดรู้นามรูปได้ เมื่อกำหนดรู้นามรูปได้แล้ว เรากล่าวว่า
ไม่มีสิ่งใดที่อริยสาวกพึงทำให้ยิ่งไปกว่านี้”

ปุตตมังสสูตรที่ ๓ จบ

๔. อัตถิราคสูตร
ว่าด้วยราคะมีอยู่

[๖๔] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย อาหาร ๔ อย่างนี้ เป็นไปเพื่อความดำรงอยู่ของหมู่สัตว์ผู้
เกิดแล้ว หรือเพื่ออนุเคราะห์หมู่สัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด
อาหาร ๔ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. กวฬิงการาหาร ที่หยาบหรือละเอียด
๒. ผัสสาหาร
๓. มโนสัญเจตนาหาร
๔. วิญญาณาหาร
อาหาร ๔ อย่างนี้ เป็นไปเพื่อความดำรงอยู่ของหมู่สัตว์ผู้เกิดแล้ว หรือเพื่อ
อนุเคราะห์หมู่สัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด
ถ้าราคะ(ความกำหนัด) นันทิ(ความเพลิดเพลิน) ตัณหา(ความทะยานอยาก)
มีอยู่ ในกวฬิงการาหาร วิญญาณจะตั้งอยู่งอกงามในกวฬิงการาหารนั้น ที่ใดวิญญาณ
ตั้งอยู่งอกงาม ที่นั้นย่อมมีนามรูปหยั่งลง ที่ใดมีนามรูปหยั่งลง ที่นั้นย่อมมีความเจริญ
แห่งสังขารทั้งหลาย ที่ใดมีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ที่นั้นย่อมมีการเกิดในภพ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๗. มหาวรรค ๔. อัตถิราคสูตร

ใหม่ต่อไป ที่ใดมีการเกิดในภพใหม่ต่อไป ที่นั้นย่อมมีชาติ ชราและมรณะต่อไป ที่ใด
มีชาติ ชราและมรณะต่อไป เรากล่าวว่าที่นั้นมีความโศก มีความกระวนกระวาย
และมีความคับแค้น
ถ้าราคะ นันทิ ตัณหา มีอยู่ในผัสสาหาร ...
ถ้าราคะ นันทิ ตัณหา มีอยู่ในมโนสัญเจตนาหาร ...
ถ้าราคะ นันทิ ตัณหา มีอยู่ในวิญญาณาหาร วิญญาณจะตั้งอยู่งอกงาม
ในวิญญาณาหารนั้น ที่ใดมีวิญญาณตั้งอยู่งอกงาม ที่นั้นย่อมมีนามรูปหยั่งลง
ที่ใดมีนามรูปหยั่งลง ที่นั้นย่อมมีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ที่ใดมีความเจริญ
แห่งสังขารทั้งหลาย ที่นั้นย่อมมีการเกิดในภพใหม่ต่อไป ที่ใดมีการเกิดในภพใหม่
ต่อไป ที่นั้นย่อมมีชาติ ชราและมรณะต่อไป ที่ใดมีชาติ ชราและมรณะต่อไป เรากล่าว
ว่า ที่นั้นมีความโศก มีความกระวนกระวายและมีความคับแค้น
เปรียบเหมือนเมื่อมีน้ำย้อม ครั่ง ขมิ้น สีเขียว หรือสีแดงอ่อน ช่างย้อมหรือ
จิตรกรพึงเขียนรูปภาพสตรีหรือรูปภาพบุรุษ ให้ได้สัดส่วนครบถ้วนลงบนแผ่นกระดานที่
ขัดดีแล้ว ฝาผนัง หรือแผ่นผ้า อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น ถ้าราคะ นันทิ ตัณหามี
อยู่ในกวฬิงการาหาร วิญญาณจะตั้งอยู่งอกงามในกวฬิงการาหารนั้น ที่ใดมีวิญญาณ
ตั้งอยู่งอกงาม ที่นั้นย่อมมีนามรูปหยั่งลง ที่ใดมีนามรูปหยั่งลง ที่นั้นย่อมมีความ
เจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ที่ใดมีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ที่นั้นย่อมมีการเกิด
ในภพใหม่ต่อไป ที่ใดมีการเกิดในภพใหม่ต่อไป ที่นั้นย่อมมีชาติ ชราและมรณะต่อไป
ที่ใดมีชาติ ชราและมรณะต่อไป เรากล่าวว่าที่นั้นมีความโศก มีความกระวนกระวาย
และมีความคับแค้น
ถ้าราคะ นันทิ ตัณหา มีอยู่ในผัสสาหาร ...
ถ้าราคะ นันทิ ตัณหา มีอยู่ในมโนสัญเจตนาหาร ...
ถ้าราคะ นันทิ ตัณหา มีอยู่ในวิญญาณาหาร วิญญาณจะตั้งอยู่งอกงาม
ในวิญญาณาหารนั้น ที่ใดมีวิญญาณตั้งอยู่งอกงาม ที่นั้นย่อมมีนามรูปหยั่งลง ที่ใด
มีนามรูปหยั่งลง ที่นั้นย่อมมีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ที่ใดมีความเจริญแห่ง
สังขารทั้งหลาย ที่นั้นย่อมมีการเกิดในภพใหม่ต่อไป ที่ใดมีการเกิดในภพใหม่ต่อไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๗. มหาวรรค ๔. อัตถิราคสูตร

ที่นั้นย่อมมีชาติ ชราและมรณะต่อไป เรากล่าวว่าที่นั้นมีความโศก มีความกระวน-
กระวาย และมีความคับแค้น
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าราคะ นันทิ ตัณหา ไม่มีในกวฬิงการาหาร วิญญาณจะ
ไม่ตั้งอยู่งอกงามในกวฬิงการาหารนั้น ที่ใดวิญญาณไม่ตั้งอยู่งอกงาม ที่นั้นย่อมไม่มี
นามรูปหยั่งลง ที่ใดไม่มีนามรูปหยั่งลง ที่นั้นย่อมไม่มีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย
ที่ใดไม่มีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ที่นั้นย่อมไม่มีการเกิดในภพใหม่ต่อไป ที่ใด
ไม่มีการเกิดในภพใหม่ต่อไป ที่นั้นย่อมไม่มีชาติ ชราและมรณะต่อไป ที่ใดไม่มีชาติ
ชราและมรณะต่อไป เรากล่าวว่าที่นั้นไม่มีความโศก ไม่มีความกระวนกระวาย และ
ไม่มีความคับแค้น
ถ้าราคะ นันทิ ตัณหา ไม่มีในผัสสาหาร ...
ถ้าราคะ นันทิ ตัณหา ไม่มีในมโนสัญเจตนาหาร ...
ถ้าราคะ นันทิ ตัณหา ไม่มีในวิญญาณาหาร วิญญาณจะไม่ตั้งอยู่งอกงามใน
วิญญาณาหารนั้น ที่ใดวิญญาณไม่ตั้งอยู่งอกงาม ที่นั้นย่อมไม่มีนามรูปหยั่งลง ที่ใด
ไม่มีนามรูปหยั่งลง ที่นั้นย่อมไม่มีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ที่ใดไม่มีความ
เจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ที่นั้นย่อมไม่มีการเกิดในภพใหม่ต่อไป ที่ใดไม่มีการเกิดใน
ภพใหม่ต่อไป ที่นั้นย่อมไม่มีชาติ ชราและมรณะต่อไป ที่ใดไม่มีชาติ ชราและมรณะต่อไป
เรากล่าวว่าที่นั้นไม่มีความโศก ไม่มีความกระวนกระวาย และไม่มีความคับแค้น
เปรียบเหมือนเรือนยอด๑ หรือศาลาเรือนยอด๒ มีหน้าต่างด้านทิศเหนือทิศใต้
หรือทิศตะวันออก พอดวงอาทิตย์ขึ้น แสงสว่างที่เข้าทางหน้าต่าง จะพึงส่องไปที่ไหน”
“ส่องไปที่ฝาด้านทิศตะวันตก พระพุทธเจ้าข้า”
“ถ้าไม่มีฝาด้านทิศตะวันตกเล่า แสงสว่างนั้นจะพึงส่องไปที่ไหน”
“ที่แผ่นดิน พระพุทธเจ้าข้า”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต] ๗. มหาวรรค ๕. นครสูตร

“ถ้าไม่มีแผ่นดินเล่า แสงสว่างนั้นจะพึงส่องไปที่ไหน”
“ที่น้ำ พระพุทธเจ้าข้า”
“ถ้าไม่มีน้ำเล่า แสงสว่างจะพึงส่องไปที่ไหน”
“ไม่มีที่ส่อง พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น ถ้าราคะ นันทิ ตัณหา ไม่มีใน
กวฬิงการาหาร ฯลฯ
ถ้าราคะ นันทิ ตัณหา ไม่มีในผัสสาหาร ...
ถ้าราคะ นันทิ ตัณหา ไม่มีในมโนสัญเจตนาหาร ...
ถ้าราคะ นันทิ ตัณหา ไม่มีในวิญญาณาหาร วิญญาณจะไม่ตั้งอยู่งอกงามใน
วิญญาณาหารนั้น ที่ใดวิญญาณไม่ตั้งอยู่งอกงาม ที่นั้นย่อมไม่มีนามรูปหยั่งลง ที่ใด
ไม่มีนามรูปหยั่งลง ที่นั้นย่อมไม่มีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ที่ใดไม่มีความ
เจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ที่นั้นย่อมไม่มีการเกิดในภพใหม่ต่อไป ที่ใดไม่มีการเกิดใน
ภพใหม่ต่อไป ที่นั้นย่อมไม่มีชาติ ชราและมรณะต่อไป ที่ใดไม่มีชาติ ชราและมรณะ
ต่อไป เรากล่าวว่าที่นั้นไม่มีความโศก ไม่มีความกระวนกระวาย และไม่มีความ
คับแค้น”

อัตถิราคสูตรที่ ๔ จบ

๕. นครสูตร
ว่าด้วยนคร

[๖๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย ก่อนแต่ตรัสรู้ เมื่อเราเป็นโพธิสัตว์ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ได้มีความ
คิดคำนึงอย่างนี้ว่า ‘โลกนี้ถึงความคับแค้น จึงเกิด แก่ ตาย จุติและอุบัติ ก็บุคคล
ไม่รู้อุบายสลัดออกจากทุกข์คือชราและมรณะนี้ เมื่อไรจึงจะพ้นจากทุกข์คือชราและ
มรณะนี้ได้’ เราได้ดำริว่า ‘เมื่ออะไรมี ชราและมรณะจึงมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย ชรา
และมรณะจึงมี’ เพราะมนสิการโดยแยบคาย เราจึงได้รู้แจ้งด้วยปัญญาว่า ‘เมื่อชาติมี
ชราและมรณะจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะจึงมี’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต] ๗. มหาวรรค ๕. นครสูตร

เราได้ดำริว่า ‘เมื่ออะไรมี ชาติจึงมี ฯลฯ ภพจึงมี ... อุปาทานจึงมี ... ตัณหา
จึงมี ... เวทนาจึงมี ... ผัสสะจึงมี... สฬายตนะจึงมี ... นามรูปจึงมี ... เพราะอะไร
เป็นปัจจัย นามรูปจึงมี’ เพราะมนสิการโดยแยบคาย เราจึงได้รู้แจ้งด้วยปัญญาว่า
‘เพราะวิญญาณมี นามรูปจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี’
เราได้ดำริว่า ‘เมื่ออะไรมี วิญญาณจึงมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี’
เพราะมนสิการโดยแยบคาย เราจึงได้รู้แจ้งด้วยปัญญาว่า ‘เพราะนามรูปมี วิญญาณ
จึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี’
เราได้ดำริว่า ‘วิญญาณนี้ย่อมกลับมา ไม่พ้นจากนามรูป ด้วยเหตุเพียงเท่านี้
โลกจึงเกิด แก่ ตาย จุติ และอุบัติ กล่าวคือ เพราะนามรูปเป็นปัจจัย วิญญาณ
จึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะ
จึงมี เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้
มีได้ด้วยประการฉะนี้
ภิกษุทั้งหลาย จักขุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่
เคยได้ฟังมาก่อนได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ‘สมุทัย สมุทัย’
เราได้ดำริว่า ‘เมื่ออะไรไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี เพราะอะไรดับ ชราและ
มรณะจึงดับ’ เพราะมนสิการโดยแยบคาย เราจึงได้รู้แจ้งด้วยปัญญาว่า ‘เมื่อชาติ
ไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี เพราะชาติดับ ชราและมรณะจึงดับ’
เราได้ดำริว่า ‘เพราะอะไรไม่มี ชาติจึงไม่มี ฯลฯ ภพจึงไม่มี ... อุปาทานจึง
ไม่มี ... ตัณหาจึงไม่มี ... เวทนาจึงไม่มี ... ผัสสะจึงไม่มี ... สฬายตนะจึงไม่มี ...
นามรูปจึงไม่มี ... เพราะอะไรดับ นามรูปจึงดับ’ เพราะมนสิการโดยแยบคาย เราจึงได้
รู้แจ้งด้วยปัญญาว่า ‘เพราะวิญญาณไม่มี นามรูปจึงไม่มี เพราะวิญญาณดับ นามรูป
จึงดับ’
เราได้ดำริว่า ‘เพราะอะไรไม่มี วิญญาณจึงไม่มี เพราะอะไรดับ วิญญาณจึงดับ’
เพราะมนสิการโดยแยบคาย เราจึงได้รู้แจ้งด้วยปัญญาว่า ‘เพราะนามรูปไม่มี
วิญญาณจึงไม่มี เพราะนามรูปดับ วิญญาณจึงดับ’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต] ๗. มหาวรรค ๕. นครสูตร

เราได้ดำริว่า ‘มรรคนี้เราได้บรรลุแล้วด้วยปัญญาเครื่องตรัสรู้ คือ เพราะนามรูป
ดับ วิญญาณจึงดับ เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะ
จึงดับ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้
ด้วยประการฉะนี้
ภิกษุทั้งหลาย จักขุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่
เคยได้ฟังมาก่อนได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ‘นิโรธ นิโรธ’
เปรียบเหมือนบุรุษเมื่อเที่ยวไปในป่าเล็ก ป่าใหญ่ พบทางเก่าที่คนสมัยก่อน
เคยใช้เดินไปมา เขาเดินตามทางนั้นไป พบนครเก่า ราชธานีโบราณซึ่งสมบูรณ์ด้วย
สวนดอกไม้ ป่าไม้ สระโบกขรณี เชิงเทิน ล้วนน่ารื่นรมย์ ที่คนสมัยก่อนเคยอยู่
อาศัย ต่อมาเขาได้กราบทูลพระราชา หรือเรียนแก่ราชมหาอำมาตย์ว่า ‘ขอเดชะ
ขอพระองค์โปรดทรงรับรู้เถิดพระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าเมื่อเที่ยวไปในป่าเล็ก
ป่าใหญ่ ได้พบทางเก่าที่คนสมัยก่อนเคยใช้เดินไปมา ข้าพระพุทธเจ้าเดินตามทาง
นั้นไป ขณะเดินอยู่ ก็ได้พบนครเก่า ราชธานีโบราณซึ่งสมบูรณ์ด้วยสวนดอกไม้ ป่าไม้
สระโบกขรณี เชิงเทิน ล้วนน่ารื่นรมย์ ที่คนสมัยก่อนเคยอยู่อาศัย ขอพระองค์โปรด
ให้สร้างพระนครนั้นเถิด พระพุทธเจ้าข้า’ หลังจากนั้น พระราชาหรือราชมหาอำมาตย์
จึงได้สร้างนครนั้นขึ้นมา ต่อมาพระนครนั้นได้มั่งคั่งอุดมสมบูรณ์ มีประชากรมาก
มีพลเมืองหนาแน่น ทั้งถึงความเจริญไพบูลย์ อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น เราได้
พบทางเก่า ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ เคยเสด็จพระดำเนิน
ทางเก่าที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ เคยเสด็จพระดำเนิน เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้คือทางเก่าที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ เคยเสด็จพระดำเนิน เราก็
ได้ดำเนินตามทางนั้น ได้รู้ชัดชราและมรณะ ได้รู้ชัดความเกิดแห่งชราและมรณะ
ได้รู้ชัดความดับแห่งชราและมรณะ และได้รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งชราและ
มรณะ เราได้ดำเนินไปตามทางนั้นแล้ว ขณะดำเนินไปได้รู้ชัดชาติ ฯลฯ ได้รู้ชัดภพ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต] ๗. มหาวรรค ๖. สัมมสสูตร

... ได้รู้ชัดอุปาทาน ... ได้รู้ชัดตัณหา ... ได้รู้ชัดเวทนา ... ได้รู้ชัดผัสสะ ... ได้รู้ชัด
สฬายตนะ ... ได้รู้ชัดนามรูป ... ได้รู้ชัดวิญญาณ ... เราได้ดำเนินตามทางนั้นแล้ว
ขณะดำเนินไป ได้รู้ชัดสังขารทั้งหลาย ได้รู้ชัดความเกิดแห่งสังขาร ได้รู้ชัดความ
ดับแห่งสังขาร ได้รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสังขาร ครั้นได้รู้ชัดอริยมรรค
มีองค์ ๘ นั้นแล้ว เราจึงบอกแก่ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา
ภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์นี้จึงได้บริบูรณ์ กว้างขวาง รู้จักกันโดยมาก มั่นคงดี
กระทั่งเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายประกาศได้ดีแล้ว”

นครสูตรที่ ๕ จบ

๖. สัมมสสูตร
ว่าด้วยการพิจารณาปัจจัยภายใน

[๖๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวกุรุ ชื่อว่ากัมมาสทัมมะ
แคว้นกุรุ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัส
เรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพิจารณาปัจจัยภายในกันบ้างหรือ”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสถามอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ย่อมพิจารณาปัจจัยภายใน”
“เธอพิจารณาปัจจัยภายในอย่างไร”
ลำดับนั้น ภิกษุรูปนั้นก็ได้ทูลเล่าถวายให้ทรงทราบ (แต่)ไม่เป็นที่พอพระทัย
ของพระผู้มีพระภาค
เมื่อเธอกราบทูลอย่างนั้นแล้ว ท่านพระอานนท์ก็ได้กราบทูลว่า “ข้าแต่พระ
ผู้มีพระภาค ถึงเวลาที่จะทรงแสดงเรื่องนี้แล้ว ข้าแต่พระสุคต ถึงเวลาที่จะทรงแสดง
เรื่องนี้แล้ว ภิกษุทั้งหลายได้ฟังปัจจัยภายในที่พระองค์ตรัสไว้แล้วก็จักทรงจำไว้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต] ๗. มหาวรรค ๖. สัมมสสูตร

“อานนท์ ถ้าเช่นนั้นเธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้น
ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อพิจารณา ย่อมพิจารณาปัจจัย
ภายในว่า ‘ชราและมรณะนี้ใด มีทุกข์หลายอย่างนับไม่ถ้วนเกิดขึ้นในโลก ชราและ
มรณะที่เป็นทุกข์นี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็น
แดนเกิด เมื่ออะไรมี ชราและมรณะจึงมี เมื่ออะไรไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี’
เธอพิจารณาอยู่ จึงรู้อย่างนี้ว่า ‘ชราและมรณะนี้ใด มีทุกข์หลายอย่างนับไม่ถ้วนเกิด
ขึ้นในโลก ชราและมรณะที่เป็นทุกข์นี้ มีอุปธิ๑เป็นเหตุ มีอุปธิเป็นเหตุเกิด มีอุปธิเป็น
กำเนิด มีอุปธิเป็นแดนเกิด เมื่ออุปธิมี ชราและมรณะจึงมี เมื่ออุปธิไม่มี ชราและ
มรณะจึงไม่มี’ เธอรู้ชัดชราและมรณะ รู้ชัดความเกิดแห่งชราและมรณะ รู้ชัดความ
ดับแห่งชราและมรณะ และรู้ชัดปฏิปทาอันเหมาะสมที่ให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ
และเธอผู้ปฏิบัติอย่างนั้น ชื่อว่าผู้มีปกติประพฤติตามธรรม เราเรียกภิกษุนี้ว่า เป็นผู้
ปฏิบัติเพื่อความสิ้นทุกข์ เพื่อความดับแห่งชราและมรณะโดยชอบทุกประการ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเมื่อพิจารณา ย่อมพิจารณาปัจจัยภายในว่า ‘อุปธินี้มี
อะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด เมื่ออะไรมี
อุปธิจึงมี เมื่ออะไรไม่มี อุปธิจึงไม่มี’ เธอพิจารณาอยู่จึงรู้อย่างนี้ว่า ‘อุปธิมีตัณหา
เป็นเหตุ มีตัณหาเป็นเหตุเกิด มีตัณหาเป็นกำเนิด มีตัณหาเป็นแดนเกิด เมื่อ
ตัณหามี อุปธิจึงมี เมื่อตัณหาไม่มี อุปธิจึงไม่มี’ เธอรู้ชัดอุปธิ รู้ชัดความเกิด
แห่งอุปธิ รู้ชัดความดับแห่งอุปธิ และรู้ชัดปฏิปทาอันเหมาะสมที่ให้ถึงความดับ
แห่งอุปธิ และเธอผู้ปฏิบัติอย่างนั้น ชื่อว่าผู้มีปกติประพฤติตามธรรม เราเรียก
ภิกษุนี้ว่า เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความสิ้นทุกข์ เพื่อความดับแห่งอุปธิโดยชอบทุกประการ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเมื่อพิจารณา ย่อมพิจารณาปัจจัยภายในว่า ‘ตัณหานี้
เมื่อเกิด ย่อมเกิดขึ้นในที่ไหน เมื่อตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่ไหน’ เธอพิจารณาอยู่จึงรู้
อย่างนี้ว่า ‘รูปที่เป็นปิยรูป๒ เป็นสาตรูป๓ใดมีอยู่ในโลก ตัณหาเมื่อเกิดขึ้นย่อม
เกิดขึ้นในรูปนั้น เมื่อตั้งอยู่ย่อมตั้งอยู่ในรูปนั้น ก็อะไรเล่าเป็นปิยรูป เป็นสาตรูปในโลก


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต] ๗. มหาวรรค ๖. สัมมสสูตร

คือ จักขุเป็นปิยรูป เป็นสาตรูปในโลก ฯลฯ โสตะเป็นปิยรูป เป็นสาตรูป
ในโลก ... ฆานะเป็นปิยรูป เป็นสาตรูปในโลก ... ชิวหาเป็นปิยรูป เป็นสาตรูป
ในโลก ... กายเป็นปิยรูป เป็นสาตรูปในโลก ... มโนเป็นปิยรูป เป็นสาตรูปในโลก
ตัณหานั้นเมื่อเกิดย่อมเกิดขึ้นในมโนนั้น เมื่อตั้งอยู่ย่อมตั้งอยู่ในมโนนั้น’
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีต ได้เห็นรูปที่เป็นปิยรูป เป็นสาตรูป
ในโลก โดยความเป็นของเที่ยง เป็นสุข เป็นอัตตา ไม่มีโรค เกษม สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าทำตัณหาให้เจริญ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดทำตัณหาให้
เจริญแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าทำอุปธิให้เจริญ สมณะหรือพราหมณ์
เหล่าใดทำอุปธิให้เจริญแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าทำทุกข์ให้เจริญ
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดทำทุกข์ให้เจริญ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าไม่พ้น
จากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เรากล่าวว่า
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นไม่พ้นจากทุกข์ไปได้
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคต จักเห็นรูปที่เป็นปิยรูป เป็น
สาตรูปในโลก โดยความเป็นของเที่ยง เป็นสุข เป็นอัตตา ไม่มีโรค เกษม สมณะ
หรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าจักทำตัณหาให้เจริญ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด
จักทำตัณหาให้เจริญ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าจักทำอุปธิให้เจริญ สมณะ
หรือพราหมณ์เหล่าใดจักทำอุปธิให้เจริญ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าจักทำ
ทุกข์ให้เจริญ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดจักทำทุกข์ให้เจริญ สมณะหรือพราหมณ์
เหล่านั้นชื่อว่าจักไม่พ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ
อุปายาส เรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นจักไม่พ้นจากทุกข์ไปได้
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบัน เห็นรูปที่เป็นปิยรูป เป็น
สาตรูปในโลก โดยความเป็นของเที่ยง เป็นสุข เป็นอัตตา ไม่มีโรค เกษม สมณะ
หรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าทำตัณหาให้เจริญ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดทำตัณหา
ให้เจริญ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าทำอุปธิให้เจริญ สมณะหรือพราหมณ์
เหล่าใดทำอุปธิให้เจริญ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าทำทุกข์ให้เจริญ สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่าใดทำทุกข์ให้เจริญ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าไม่พ้นจากชาติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต] ๗. มหาวรรค ๖. สัมมสสูตร

ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เรากล่าวว่า สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่านั้นไม่พ้นจากทุกข์ไปได้
เปรียบเหมือนขันสำริดใส่สุราสมบูรณ์ด้วยสี กลิ่นและรส แต่ขันใบนั้นเจือยาพิษ
ขณะนั้น มีบุรุษเดินฝ่าความร้อนอบอ้าวเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้ากระหายน้ำมา คนทั้งหลาย
จึงพูดกับเขาว่า ‘พ่อหนุ่ม ขันสำริดใส่สุราใบนี้ สมบูรณ์ด้วยสี กลิ่นและรสมีไว้สำหรับ
ท่าน แต่ว่ามันเจือยาพิษ ถ้าท่านต้องการก็จงดื่มเถิด เพราะเมื่อดื่ม สุรานั้นก็จักซึมซาบ
ด้วยสีบ้าง กลิ่นบ้าง รสบ้าง ก็แหละครั้นดื่มแล้ว ท่านจะตาย หรือถึงทุกข์ปางตาย
เพราะการดื่มนั้น’ บุรุษนั้นไม่ทันพิจารณาขันน้ำสำริดนั้น ก็รีบดื่มจนหมด เขาพึงตาย
หรือถึงทุกข์ปางตาย เพราะการดื่มนั้น
ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด
เหล่าหนึ่งในอดีต ได้เห็นรูปที่เป็นปิยรูปในโลก ฯลฯ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด
เหล่าหนึ่งในอนาคต ฯลฯ
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบัน เห็นรูปที่เป็นปิยรูป เป็น
สาตรูปในโลก โดยความเป็นของเที่ยง เป็นสุข เป็นอัตตา ไม่มีโรค เกษม สมณะ
หรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าทำตัณหาให้เจริญ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดทำตัณหา
ให้เจริญ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าทำอุปธิให้เจริญ สมณะหรือพราหมณ์
เหล่าใดทำอุปธิให้เจริญ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าทำทุกข์ให้เจริญ สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่าใดทำทุกข์ให้เจริญ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าไม่พ้นจากชาติ
ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เรากล่าวว่า สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่านั้นไม่พ้นจากทุกข์ไปได้
ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีต ได้เห็นรูปที่เป็นปิยรูป เป็น
สาตรูปในโลก โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นโรค เป็นภัย
สมณะหรือพรามหณ์เหล่านั้นชื่อว่าละตัณหาได้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด
ละตัณหาได้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าละอุปธิได้แล้ว สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่าใดละอุปธิได้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าละทุกข์ได้แล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดละทุกข์ได้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าพ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต] ๗. มหาวรรค ๖. สัมมสสูตร

ไปจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสได้แล้ว เรากล่าวว่า
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นพ้นจากทุกข์ได้แล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคต จักเห็นรูปที่เป็นปิยรูป เป็น
สาตรูปในโลก โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นโรค เป็นภัย
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าจักละตัณหาได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด
จักละตัณหาได้ ฯลฯ เรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นจักพ้นจากทุกข์ไปได้
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบัน เห็นรูปที่เป็นปิยรูป เป็น
สาตรูปในโลก โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นโรค เป็นภัย
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าละตัณหาได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดชื่อว่า
ละตัณหาได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าละอุปธิได้ สมณะหรือพราหมณ์
เหล่าใดละอุปธิได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าละทุกข์ได้ สมณะหรือพราหมณ์
เหล่าใดชื่อว่าละทุกข์ได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าพ้นไปจากชาติ ชรา
มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสได้ เรากล่าวว่า สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่านั้นพ้นจากทุกข์ไปได้
เปรียบเหมือนขันสำริดใส่สุราสมบูรณ์ด้วยสี กลิ่น และรส แต่ขันใบนั้นเจือ
ยาพิษ ขณะนั้นมีบุรุษเดินฝ่าความร้อนอบอ้าวเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้ากระหายน้ำมา
คนทั้งหลายจึงพูดกับเขาว่า ‘พ่อหนุ่ม ขันสำริดใส่สุราใบนี้ สมบูรณ์ด้วยสี กลิ่น
และรสมีไว้สำหรับท่าน แต่ว่ามันเจือยาพิษ ถ้าท่านต้องการก็จงดื่มเถิด เพราะเมื่อ
ดื่มสุรานั้นก็จักซึมซาบด้วยสีบ้าง กลิ่นบ้าง รสบ้าง ก็แหละครั้นดื่มแล้ว ท่านจะตาย
หรือถึงทุกข์ปางตาย เพราะการดื่มนั้น’ ลำดับนั้น บุรุษนั้นพึงคิดว่า ‘ความกระหาย
สุรานี้ เราอาจจะบรรเทาได้ด้วยน้ำดื่ม ฟองน้ำส้ม น้ำข้าวผสมเกลือหรือน้ำยาดอง
แต่เราจะไม่ดื่มสุราที่ให้ประโยชน์สุขแก่เรามาช้านานนั้นเลย’ เขาพิจารณาขันสำริด
นั้นแล้ว ก็ไม่ดื่ม เททิ้งไป เขาจึงไม่ตายหรือถึงทุกข์ปางตาย เพราะการดื่มนั้น
ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด
เหล่าหนึ่งในอดีต ได้เห็นรูปที่เป็นปิยรูป เป็นสาตรูปในโลก โดยความเป็นของ
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นโรค เป็นภัย สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น
ชื่อว่าละตัณหาได้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดละตัณหาได้แล้ว สมณะหรือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๗. มหาวรรค ๗. นฬกลาปิสูตร

พราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าละอุปธิได้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดละอุปธิได้แล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าละทุกข์ได้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดละ
ทุกข์ได้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าพ้นไปจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ
ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสได้แล้ว เรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น
พ้นจากทุกข์ได้แล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคต ฯลฯ
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบัน เห็นรูปที่เป็นปิยรูป เป็น
สาตรูปในโลก โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นโรค เป็นภัย
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าละตัณหาได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดละ
ตัณหาได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าละอุปธิได้ สมณะหรือพราหมณ์
เหล่าใดละอุปธิได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าละทุกข์ได้ สมณะหรือพราหมณ์
เหล่าใดละทุกข์ได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าพ้นไปจากชาติ ชรา มรณะ
โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสได้ เรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์
เหล่านั้นพ้นจากทุกข์ไปได้”

สัมมสสูตรที่ ๖ จบ

๗. นฬกลาปิสูตร
ว่าด้วยกำไม้อ้อ

[๖๗] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโกฏฐิตะพักอยู่ ณ ป่า
อิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี ครั้นถึงเวลาเย็น ท่านพระมหาโกฏฐิตะออก
จากที่หลีกเร้น เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่
บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันกับท่านพระสารีบุตรแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ท่านพระ-
มหาโกฏฐิตะได้ถามท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า
“ท่านสารีบุตร ชราและมรณะเป็นสิ่งที่ตนกระทำเอง เป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้
เป็นสิ่งที่ตนกระทำเองด้วย และเป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้ด้วย หรือว่าชราและมรณะ
เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุที่ตนกระทำเองก็มิใช่ และคนอื่นกระทำให้ก็มิใช่หรือ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๗. มหาวรรค ๗. นฬกลาปิสูตร

“ท่านโกฏฐิตะ ชราและมรณะเป็นสิ่งที่ตนกระทำเองก็มิใช่ เป็นสิ่งที่คนอื่น
กระทำให้ก็มิใช่ เป็นสิ่งที่ตนกระทำเองด้วยและเป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้ด้วยก็มิใช่
ทั้งชราและมรณะเกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุที่ตนกระทำเองก็มิใช่และคนอื่นกระทำให้ก็มิใช่
หามิได้ แต่เพราะชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะจึงมี”
“ท่านสารีบุตร ชาติเป็นสิ่งที่ตนกระทำเอง เป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้ เป็นสิ่ง
ที่ตนกระทำเองด้วย และเป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้ด้วย หรือว่าชาติเกิดขึ้นเพราะอาศัย
เหตุที่ตนกระทำเองก็มิใช่และคนอื่นกระทำให้ก็มิใช่หรือ”
“ท่านโกฏฐิตะ ชาติเป็นสิ่งที่ตนกระทำเองก็มิใช่ เป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้ก็มิใช่
เป็นสิ่งที่ตนกระทำเองด้วยและเป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้ด้วยก็มิใช่ ทั้งชาติเกิดขึ้น
เพราะอาศัยเหตุที่ตนกระทำเองก็มิใช่และคนอื่นกระทำให้ก็มิใช่หามิได้ แต่เพราะภพ
เป็นปัจจัย ชาติจึงมี”
“ท่านสารีบุตร ภพเป็นสิ่งที่ตนกระทำเอง ฯลฯ อุปาทานเป็นสิ่งที่ตนกระทำเอง ...
ตัณหาเป็นสิ่งที่ตนกระทำเอง ... เวทนาเป็นสิ่งที่ตนกระทำเอง ....
ผัสสะเป็นสิ่งที่ตนกระทำเอง ... สฬายตนะเป็นสิ่งที่ตนกระทำเอง ....
นามรูปเป็นสิ่งที่ตนกระทำเอง เป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้ เป็นสิ่งที่ตนกระทำเอง
ด้วยและเป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้ด้วย หรือว่านามรูปเกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุที่ตนกระทำ
เองก็มิใช่ และคนอื่นกระทำให้ก็มิใช่หรือ”
“ท่านโกฏฐิตะ นามรูปเป็นสิ่งที่ตนกระทำเองก็มิใช่ เป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้
ก็มิใช่ เป็นสิ่งที่ตนกระทำเองด้วยและเป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้ด้วยก็มิใช่ ทั้งนามรูป
เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุที่ตนกระทำเองก็มิใช่ และคนอื่นกระทำให้ก็มิใช่หามิได้ แต่
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี”
“ท่านสารีบุตร วิญญาณเป็นสิ่งที่ตนกระทำเอง เป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้ เป็นสิ่ง
ที่ตนกระทำเองด้วยและเป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้ด้วย หรือว่าวิญญาณเกิดขึ้นเพราะ
อาศัยเหตุที่ตนกระทำเองก็มิใช่ และคนอื่นกระทำให้ก็มิใช่หรือ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๗. มหาวรรค ๗. นฬกลาปิสูตร

“ท่านโกฏฐิตะ วิญญาณเป็นสิ่งที่ตนกระทำเองก็มิใช่ เป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้
ก็มิใช่ เป็นสิ่งที่ตนกระทำเองด้วยและเป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้ด้วยก็มิใช่ ทั้งวิญญาณ
เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุที่ตนกระทำเองก็มิใช่ และคนอื่นกระทำให้ก็มิใช่หามิได้ แต่เพราะ
นามรูปเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี”
“เราเพิ่งรู้ชัดภาษิตของท่านสารีบุตรเดี๋ยวนี้เอง”
“ท่านโกฏฐิตะ นามรูปเป็นสิ่งที่ตนกระทำเองก็มิใช่ เป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้
ก็มิใช่ เป็นสิ่งที่ตนกระทำเองด้วยและเป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้ด้วยก็มิใช่ ทั้งนามรูป
เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุที่ตนกระทำเองก็มิใช่ และคนอื่นกระทำให้ก็มิใช่หามิได้
แต่เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี”
“อนึ่ง เราเพิ่งรู้ภาษิตของท่านสารีบุตรเดี๋ยวนี้เอง”
“ท่านโกฏฐิตะ วิญญาณเป็นสิ่งที่ตนกระทำเองก็มิใช่ เป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้
ก็มิใช่ เป็นสิ่งที่ตนกระทำเองด้วยและเป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้ด้วยก็มิใช่ ทั้งวิญญาณ
เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุที่ตนกระทำเองก็มิใช่ และคนอื่นกระทำให้ก็มิใช่หามิได้ แต่
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี”
“ท่านสารีบุตร ผมจะเข้าใจเนื้อความแห่งภาษิตนี้ได้อย่างไร”
“ถ้าเช่นนั้น ผมจักเปรียบเทียบให้ท่านฟัง บุรุษทั้งหลายผู้มีความรู้ในโลกนี้
ย่อมรู้เนื้อความแห่งภาษิตได้แม้ด้วยการเปรียบเทียบ
เปรียบเหมือนไม้อ้อ ๒ กำ พึงตั้งอยู่ได้เพราะอาศัยกันและกัน อุปมานี้ฉันใด
อุปไมยก็ฉันนั้น เพราะนามรูปเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย
นามรูปจึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย
ผัสสะจึงมี ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
เปรียบเหมือนไม้อ้อทั้ง ๒ กำนั้น ถ้าดึงออกเสียกำหนึ่ง อีกกำหนึ่งก็ล้ม
ถ้าดึงออกอีกกำหนึ่ง อีกกำหนึ่งก็ล้ม อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น เพราะ
นามรูปดับ วิญญาณจึงดับ เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๗. มหาวรรค ๗. นฬกลาปิสูตร

สฬายตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์
ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้”
“ท่านสารีบุตร สุภาษิตตามที่ท่านกล่าวมานี้ เป็นสิ่งน่าอัศจรรย์จริง ไม่เคย
ปรากฏ ผมชื่นชมคำสุภาษิตของท่านสารีบุตรจำนวน ๓๖ เรื่องนี้”๑
“ท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด
เพื่อดับชราและมรณะ ควรเรียกว่า ‘ภิกษุธรรมกถึก’ ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อ
ความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับชราและมรณะ ควรเรียกว่า ‘ภิกษุผู้
ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม’ ถ้าภิกษุเป็นผู้หลุดพ้น เพราะความเบื่อหน่าย คลาย
กำหนัด ดับ เพราะไม่ถือมั่นชราและมรณะ ควรเรียกว่า ‘ภิกษุผู้บรรลุนิพพานใน
ปัจจุบัน’
ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับชาติ ฯลฯ
ภพ ... อุปาทาน ... ตัณหา ... เวทนา ... ผัสสะ ... สฬายตนะ ... นามรูป ... วิญญาณ
... สังขารทั้งหลาย ...
ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับอวิชชา
ควรเรียกว่า ‘ภิกษุธรรมกถึก’ ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลาย
กำหนัด เพื่อดับอวิชชา ควรเรียกว่า ‘ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม’ ถ้าภิกษุ
เป็นผู้หลุดพ้น เพราะความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ดับ เพราะไม่ถือมั่นอวิชชา
ควรเรียกว่า ‘ภิกษุผู้บรรลุนิพพานในปัจจุบัน”

นฬกลาปิสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๗. มหาวรรค ๘. โกสัมพิสูตร

๘. โกสัมพิสูตร
ว่าด้วยการสนทนาธรรม ณ กรุงโกสัมพี

[๖๘] สมัยหนึ่ง ท่านพระมุสิละ ท่านพระปวิฏฐะ ท่านพระนารทะ และท่านพระ
อานนท์พักอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี ครั้งนั้น ท่านพระปวิฏฐะได้ถาม
ท่านพระมุสิละว่า
“ท่านมุสิละ เว้นจากความเชื่อ เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังตามกันมา
เว้นจากการคิดตรองตามแนวเหตุผล เว้นจากการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว
ท่านมุสิละมีความรู้เฉพาะตนว่า ‘เพราะชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะจึงมีหรือ’
ท่านพระมุสิละได้ตอบว่า ‘ท่านปวิฏฐะ เว้นจากความเชื่อ เว้นจากความชอบใจ
เว้นจากการฟังตามกันมา เว้นจากการคิดตรองตามแนวเหตุผล เว้นจากการเข้าได้
กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว ผมรู้เห็นว่า ‘เพราะชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะจึงมี”
“ท่านมุสิละ เว้นจากความเชื่อ เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังตาม
กันมา เว้นจากการคิดตรองตามแนวเหตุผล เว้นจากการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจ
ไว้แล้ว ท่านมุสิละมีความรู้เฉพาะตนว่า ‘เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมีหรือ’ ฯลฯ
‘เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี’ ... ‘เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี’ ...
‘เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี’ ... ‘เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี’ ...
‘เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี’ ... ‘เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี’
... ‘เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี’ ... ‘เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี’
... ‘เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมีหรือ’
“ท่านปวิฏฐะ เว้นจากความเชื่อ เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังตาม
กันมา เว้นจากการคิดตรองตามแนวเหตุผล เว้นจากการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจ
ไว้แล้ว ผมรู้เห็นว่า ‘เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี”
“ท่านมุสิละ เว้นจากความเชื่อ เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังตาม
กันมา เว้นจากการคิดตรองตามแนวเหตุผล เว้นจากการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจ
ไว้แล้ว ท่านมุสิละมีความรู้เฉพาะตนว่า ‘เพราะชาติดับ ชรา และมรณะจึงดับหรือ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๗. มหาวรรค ๘. โกสัมพิสูตร

“ท่านปวิฏฐะ เว้นจากความเชื่อ เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังตาม
กันมา เว้นจากการคิดตรองตามแนวเหตุผล เว้นจากการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจ
ไว้แล้ว ผมรู้เห็นว่า “เพราะชาติดับ ชราและมรณะจึงดับ”
“ท่านมุสิละ เว้นจากความเชื่อ เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังตาม
กันมา เว้นจากการคิดตรองตามแนวเหตุผล เว้นจากการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจ
ไว้แล้ว ท่านมุสิละมีความรู้เฉพาะตนว่า ‘เพราะภพดับ ชาติจึงดับหรือ’ ฯลฯ ‘เพราะ
อุปาทานดับ ภพจึงดับ’ ... ‘เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ’ ... ‘เพราะเวทนาดับ
ตัณหาจึงดับ’ ... ‘เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ’ ... ‘เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ’
... ‘เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ’ ... ‘เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ’ ...
‘เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ’ ... ‘เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับหรือ”
“ท่านปวิฏฐะ เว้นจากความเชื่อ เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังตาม
กันมา เว้นจากการคิดตรองตามแนวเหตุผล เว้นจากการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจ
ไว้แล้ว ผมรู้เห็นว่า ‘เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ”
“ท่านมุสิละ เว้นจากความเชื่อ เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังตามกันมา
เว้นจากการคิดตรองตามแนวเหตุผล เว้นจากการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว
ท่านมุสิละมีความรู้เฉพาะตนว่า ‘ความดับแห่งภพเป็นนิพพานหรือ”
“ท่านปวิฏฐะ เว้นจากความเชื่อ เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังตาม
กันมา เว้นจากการคิดตรองตามแนวเหตุผล เว้นจากการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจ
ไว้แล้ว ผมรู้เห็นว่า ‘ความดับแห่งภพเป็นนิพพาน”๑
“ถ้าเช่นนั้น ท่านมุสิละก็เป็นพระอรหันตขีณาสพละสิ”
เมื่อท่านพระปวิฏฐะกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระมุสิละได้นิ่งเสีย
ลำดับนั้น ท่านพระนารทะได้กล่าวกับท่านพระปวิฏฐะว่า ‘ดีละ ท่านปวิฏฐะ
ผมพึงได้ปัญหานี้ ท่านจงถามปัญหานี้เถิด ผมจะตอบปัญหานี้แก่ท่าน”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๗. มหาวรรค ๘. โกสัมพิสูตร

“ท่านนารทะได้ปัญหานี้ ผมจะถามปัญหานี้กับท่าน และท่านจงตอบปัญหานี้
แก่ผม
ท่านนารทะ เว้นจากความเชื่อ เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังตามกันมา
เว้นจากการคิดตรองตามแนวเหตุผล เว้นจากการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว
ท่านนารทะมีความรู้เฉพาะตนว่า ‘เพราะชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะจึงมีหรือ”
“ท่านปวิฏฐะ เว้นจากความเชื่อ เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังตาม
กันมา เว้นจากการคิดตรองตามแนวเหตุผล เว้นจากการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจ
ไว้แล้ว ผมรู้เห็นว่า ‘เพราะชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะจึงมี”
“ท่านนารทะ เว้นจากความเชื่อ เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังตาม
กันมา เว้นจากการคิดตรองตามแนวเหตุผล เว้นจากการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจ
ไว้แล้ว ท่านนารทะมีความรู้เฉพาะตนว่า ‘เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี’ ฯลฯ
‘เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมีหรือ”
“ท่านปวิฏฐะ เว้นจากความเชื่อ เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังตาม
กันมา เว้นจากการคิดตรองตามแนวเหตุผล เว้นจากการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจ
ไว้แล้ว ผมรู้เห็นว่า ‘เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี”
“ท่านนารทะ เว้นจากความเชื่อ เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังตาม
กันมา เว้นจากการคิดตรองตามแนวเหตุผล เว้นจากการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจ
ไว้แล้ว ท่านนารทะมีความรู้เฉพาะตนว่า ‘เพราะชาติดับ ชราและมรณะจึงดับหรือ”
“ท่านปวิฏฐะ เว้นจากความเชื่อ เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังตาม
กันมา เว้นจากการคิดตรองตามแนวเหตุผล เว้นจากการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจ
ไว้แล้ว ผมรู้เห็นว่า ‘เพราะชาติดับ ชราและมรณะจึงดับ”
“ท่านนารทะ เว้นจากความเชื่อ เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังตาม
กันมา เว้นจากการคิดตรองตามแนวเหตุผล เว้นจากการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจ
ไว้แล้ว ท่านนารทะมีความรู้เฉพาะตนว่า ‘เพราะภพดับ ชาติจึงดับหรือ’ ฯลฯ
‘เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับหรือ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๗. มหาวรรค ๘. โกสัมพิสูตร

“ท่านปวิฏฐะ เว้นจากความเชื่อ เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังตาม
กันมา เว้นจากการคิดตรองตามแนวเหตุผล เว้นจากการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจ
ไว้แล้ว ผมรู้เห็นว่า ‘เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ”
“ท่านนารทะ เว้นจากความเชื่อ เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังตาม
กันมา เว้นจากการคิดตรองตามแนวเหตุผล เว้นจากการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจ
ไว้แล้ว ท่านนารทะมีความรู้เฉพาะตนว่า ‘ความดับแห่งภพเป็นนิพพานหรือ”
“ท่านปวิฏฐะ เว้นจากความเชื่อ เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังตาม
กันมา เว้นจากการคิดตรองตามแนวเหตุผล เว้นจากการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจ
ไว้แล้ว ผมรู้เห็นว่า ‘ความดับแห่งภพเป็นนิพพาน”
“ถ้าเช่นนั้น ท่านนารทะก็เป็นพระอรหันตขีณาสพละสิ”
“ท่านผู้มีอายุ ข้อว่า ‘ความดับแห่งภพเป็นนิพพาน’ ผมเห็นดีด้วยปัญญา
อันชอบตามความเป็นจริง แต่ผมไม่ใช่พระอรหันตขีณาสพ เปรียบเหมือนบ่อน้ำใน
ทางกันดารที่บ่อนั้นไม่มีเชือก ไม่มีคันโพง ทันใดนั้น มีบุรุษเดินฝ่าความร้อนอบอ้าว
เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้ากระหายน้ำมา เขามองดูบ่อน้ำนั้น ก็รู้ว่ามีน้ำ แต่สัมผัสด้วย
กายไม่ได้ อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น ข้อว่า ‘ความดับแห่งภพเป็นนิพพาน’
ผมก็เห็นดีด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง แต่ผมไม่ใช่พระอรหันตขีณาสพ”
เมื่อท่านพระนารทะกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้ถามพระปวิฏฐะว่า
‘ท่านพระปวิฏฐะชอบพูดอย่างนี้ ท่านพูดอะไรกับท่านพระนารทะบ้าง”
“ท่านอานนท์ ผมชอบพูดอย่างนี้ ผมไม่ได้พูดอะไรกับท่านพระนารทะ นอกจาก
กัลยาณธรรม นอกจากกุศลธรรม”

โกสัมพิสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๗. มหาวรรค ๙. อุปยันติสูตร

๙. อุปยันติสูตร
ว่าด้วยน้ำขึ้นน้ำลง

[๖๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมหาสมุทรน้ำขึ้น๑ก็ทำให้แม่น้ำใหญ่ขึ้นตาม แม่น้ำใหญ่
เมื่อขึ้นก็ทำให้แม่น้ำน้อยขึ้นตาม แม่น้ำน้อยเมื่อขึ้นก็ทำให้บึงใหญ่ขึ้นตาม บึงใหญ่
เมื่อขึ้นก็ทำให้บึงน้อยขึ้นตาม ฉันใด
อวิชชาเมื่อเกิดขึ้นก็ทำให้สังขารทั้งหลายเกิดขึ้นตาม สังขารทั้งหลายเมื่อเกิดขึ้น
ก็ทำให้วิญญาณเกิดขึ้นตาม วิญญาณเมื่อเกิดขึ้นก็ทำให้นามรูปเกิดขึ้นตาม นามรูป
เมื่อเกิดขึ้นก็ทำให้สฬายตนะเกิดขึ้นตาม สฬายตนะเมื่อเกิดขึ้นก็ทำให้ผัสสะเกิดขึ้นตาม
ผัสสะเมื่อเกิดขึ้นก็ทำให้เวทนาเกิดขึ้นตาม เวทนาเมื่อเกิดขึ้นก็ทำให้ตัณหาเกิดขึ้นตาม
ตัณหาเมื่อเกิดขึ้นก็ทำให้อุปาทานเกิดขึ้นตาม อุปาทานเมื่อเกิดขึ้นก็ทำให้ภพเกิดขึ้นตาม
ภพเมื่อเกิดขึ้นก็ทำให้ชาติเกิดขึ้นตาม ชาติเมื่อเกิดขึ้นก็ทำให้ชราและมรณะเกิดขึ้นตาม
ฉันนั้นเหมือนกัน
เมื่อมหาสมุทรน้ำลงก็ทำให้แม่น้ำใหญ่ลงตาม แม่น้ำใหญ่เมื่อลงก็ทำให้แม่น้ำ
น้อยลงตาม แม่น้ำน้อยเมื่อลงก็ทำให้บึงใหญ่ลงตาม บึงใหญ่เมื่อลงก็ทำให้บึงน้อย
ลงตาม ฉันใด
อวิชชาเมื่อไม่เกิดขึ้นก็ทำให้สังขารทั้งหลายไม่เกิดขึ้นตาม สังขารทั้งหลายเมื่อ
ไม่เกิดขึ้นก็ทำให้วิญญาณไม่เกิดขึ้นตาม วิญญาณเมื่อไม่เกิดขึ้นก็ทำให้นามรูปไม่


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๗. มหาวรรค ๑๐. สุสิมปริพพาชกสูตร

เกิดขึ้นตาม นามรูปเมื่อไม่เกิดขึ้นก็ทำให้สฬายตนะไม่เกิดขึ้นตาม สฬายตนะเมื่อ
ไม่เกิดขึ้นก็ทำให้ผัสสะไม่เกิดขึ้นตาม ผัสสะเมื่อไม่เกิดขึ้นก็ทำให้เวทนาไม่เกิดขึ้นตาม
เวทนาเมื่อไม่เกิดขึ้นก็ทำให้ตัณหาไม่เกิดขึ้นตาม ตัณหาเมื่อไม่เกิดขึ้นก็ทำให้อุปาทาน
ไม่เกิดขึ้นตาม อุปาทานเมื่อไม่เกิดขึ้นก็ทำให้ภพไม่เกิดขึ้นตาม ภพเมื่อไม่เกิดขึ้น
ก็ทำให้ชาติไม่เกิดขึ้นตาม ชาติเมื่อไม่เกิดขึ้นก็ทำให้ชราและมรณะไม่เกิดขึ้นตาม
ฉันนั้นเหมือนกัน”

อุปยันติสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. สุสิมปริพพาชกสูตร
ว่าด้วยสุสิมปริพาชก

[๗๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเป็นผู้ที่เทวดาและมนุษย์สักการะ เคารพ
นับถือ บูชา ประพฤติอ่อนน้อม ทรงได้รับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลาน-
ปัจจัยเภสัชบริขาร แม้ภิกษุสงฆ์ก็เป็นผู้ที่เทวดาและมนุษย์สักการะ เคารพ นับถือ
บูชา ประพฤติอ่อนน้อม ได้รับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัช-
บริขาร แต่พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกเป็นผู้ที่เทวดาและมนุษย์ไม่สักการะ ไม่เคารพ
ไม่นับถือ ไม่บูชา ไม่ประพฤติอ่อนน้อม ไม่ได้รับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ
คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
สมัยนั้น สุสิมปริพาชกพักอยู่ ณ กรุงราชคฤห์กับบริษัทปริพาชกจำนวนมาก
ครั้งนั้น บริษัททั้งหลายของสุสิมปริพาชกได้กล่าวกับสุสิมปริพาชก ดังนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๗. มหาวรรค ๑๐. สุสิมปริพพาชกสูตร

‘มาเถิดท่านสุสิมะ ท่านจงประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักพระสมณโคดม ท่าน
เรียนธรรมแล้ว พึงบอกสอนพวกข้าพเจ้า พวกข้าพเจ้าเรียนธรรมนั้นแล้ว จักบอก
แก่พวกคฤหัสถ์ เมื่อเป็นเช่นนั้น แม้พวกเราก็จักเป็นผู้ที่เทวดาและมนุษย์สักการะ
เคารพ นับถือ บูชา ประพฤติอ่อนน้อม จักได้รับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ
คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร’
สุสิมปริพาชกรับคำบริษัทของตนแล้วเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้
สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันกับท่านพระอานนท์แล้วนั่ง
ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า
“ท่านพระอานนท์ ผมปรารถนาจะประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้”
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์พาสุสิมปริพาชกเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สุสิมปริพาชกนี้กล่าวว่า ‘ท่านพระอานนท์ ผมปรารถนา
จะประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้”
“อานนท์ ถ้าอย่างนั้น เธอจงให้สุสิมะบวชเถิด”
สุสิมปริพาชกได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาคแล้ว
สมัยนั้น ภิกษุจำนวนมากพากันอวดอ้างอรหัตตผลในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าพระองค์ทั้งหลายรู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควร
ทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
ท่านสุสิมะได้ฟังมาว่า “ข่าวว่า ภิกษุจำนวนมากอวดอ้างอรหัตตผล ในสำนัก
พระผู้มีพระภาคว่า ‘ข้าพระองค์ทั้งหลายรู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๗. มหาวรรค ๑๐. สุสิมปริพพาชกสูตร

ครั้งนั้น ท่านสุสิมะเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็น
ที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามภิกษุเหล่านั้นว่า ‘ข่าวว่า
ท่านทั้งหลายอวดอ้างอรหัตตผลในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า ข้าพระองค์ทั้งหลาย
รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป จริงหรือ”
“จริง ท่านผู้มีอายุ”
“ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายรู้เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลาย
อย่าง คือคนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ แสดงให้
ปรากฏก็ได้หรือให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา ทะลุกำแพง(และ)ภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือน
ไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นหรือดำลงในแผ่นดินเหมือนไปในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำโดยที่น้ำไม่
แยกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ นั่งขัดสมาธิเหาะไปในอากาศเหมือนนกบินไปก็ได้
ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ อันมีฤทธิ์มากมีอานุภาพมากก็ได้ ใช้อำนาจ
ทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้บ้างหรือ”๑
“ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ”
“ท่านทั้งหลายรู้เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์ และ
เสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ ด้วยหูทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์บ้างหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ”
“ท่านทั้งหลายรู้เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมกำหนดรู้จิตของสัตว์และคนอื่นด้วยจิตของตน
คือจิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ชัดว่าจิตปราศจากราคะ
จิตมีโทสะ ก็รู้ชัดว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ชัดว่าจิตปราศจากโทสะ
จิตมีโมหะ ก็รู้ชัดว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ชัดว่าจิตปราศจากโมหะ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๗. มหาวรรค ๑๐. สุสิมปริพพาชกสูตร

จิตหดหู่ ก็รู้ชัดว่าจิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ชัดว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหัคคตะ
ก็รู้ชัดว่าจิตเป็นมหัคคตะ หรือจิตไม่เป็นมหัคคตะ ก็รู้ชัดว่าจิตไม่เป็นมหัคคตะ จิตมี
จิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ชัดว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ชัดว่าจิตไม่มี
จิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ชัดว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ชัด
ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น ก็รู้ชัดว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ชัด
ว่าจิตไม่หลุดพ้นบ้างหรือ”๑
“ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ”
“ท่านทั้งหลายรู้เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง
๒ ชาติบ้าง ๓ ชาติบ้าง ๔ ชาติบ้าง ๕ ชาติบ้าง ๑๐ ชาติบ้าง ๒๐ ชาติบ้าง
๓๐ ชาติบ้าง ๔๐ ชาติบ้าง ๕๐ ชาติบ้าง ๑๐๐ ชาติบ้าง ๑,๐๐๐ ชาติบ้าง
๑๐๐,๐๐๐ ชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอัน
มากบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า ‘ในภพโน้น เรามีชื่อ
อย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้น จุติ
จากภพนั้นก็ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ
มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้น จึงมาเกิดในภพนี้’
ท่านทั้งหลายย่อมระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไป และชีวประวัติ
อย่างนี้บ้างหรือ”๒
“ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ”
“ท่านทั้งหลายรู้เห็นอยู่อย่างนี้ เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำ
และชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์
รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย หมู่สัตว์ที่ประกอบกาย


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๗. มหาวรรค ๑๐. สุสิมปริพพาชกสูตร

ทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นผิด และชักชวนผู้อื่น
ให้ทำกรรมตามความเห็นผิด พวกเขาหลังจากตายแล้ว จะไปบังเกิดในอบาย ทุคติ
วินิบาต นรก แต่หมู่สัตว์ที่ประกอบกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต ไม่กล่าวร้าย
พระอริยะ มีความเห็นชอบ และชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นชอบ พวกเขา
หลังจากตายแล้ว จะไปบังเกิดในสุคติโลกสวรรค์’ ท่านทั้งหลายเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลัง
จุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์
อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมอย่างนี้บ้างหรือ”๑
“ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ”
“ท่านทั้งหลายรู้เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมถูกต้องอารุปปวิโมกข์๒อันสงบก้าวล่วงรูปทั้งหลาย
เสียได้ด้วยนามกายอยู่บ้างหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ”
“บัดนี้ คำตอบนี้ และการไม่เข้าถึงธรรมเหล่านี้ มีอยู่ในเรื่องนี้ เรื่องนี้เป็น
อย่างไรกันแน่”
“ท่านสุสิมะ พวกผมหลุดพ้นได้ด้วยปัญญา”
“ผมไม่เข้าใจเนื้อความแห่งคำที่ท่านทั้งหลายกล่าวโดยย่อนี้ได้โดยพิสดาร
ขอโอกาส ขอท่านทั้งหลายจงกล่าวเท่าที่ผมจะเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่ท่านทั้งหลาย
กล่าวโดยย่อนี้ได้โดยพิสดารเถิด”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๗. มหาวรรค ๑๐. สุสิมปริพพาชกสูตร

“ท่านจะเข้าใจหรือไม่ก็ตาม แต่พวกผมก็หลุดพ้นได้ด้วยปัญญา”
ครั้งนั้น ท่านสุสิมะลุกขึ้นจากอาสนะแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลคำที่ตนสนทนากับภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด
แด่พระผู้มีพระภาคแล้ว
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า “สุสิมะ ธัมมฐิติญาณ๑เกิดก่อน นิพพานญาณ๒
เกิดภายหลัง”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่เข้าใจเนื้อความแห่งพระดำรัสที่พระองค์
ตรัสโดยย่อนี้โดยพิสดารได้ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดตรัสโดย
ประการที่ข้าพระองค์จะพึงเข้าใจเนื้อความแห่งพระดำรัส ที่พระองค์ตรัสโดยย่อนี้ได้
โดยพิสดารด้วยเถิด”
“สุสิมะ เธอจะเข้าใจหรือไม่ก็ตาม ความจริงธัมมฐิติญาณเกิดก่อน นิพพาน-
ญาณเกิดภายหลัง เธอจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะพิจารณา
เห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๗. มหาวรรค ๑๐. สุสิมปริพพาชกสูตร

“เวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะพิจารณาเห็น
สิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“สัญญาเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“สังขารเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะพิจารณาเห็น
สิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๗. มหาวรรค ๑๐. สุสิมปริพพาชกสูตร

“สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะพิจารณาเห็น
สิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“สุสิมะ เพราะเหตุนั้น รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน
เป็นไปภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ไกลหรืออยู่ใกล้
รูปทั้งหมดนั้นเธอพึงเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา
เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา”
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นไปภายในหรือ
ภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ไกลหรืออยู่ใกล้ เวทนาทั้งหมดนั้น
เธอพึงเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น
นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ
สังขารอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นไปภายในหรือ
ภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ไกลหรืออยู่ใกล้ สังขารทั้งหมดนั้น
เธอพึงเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น
นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นไปภายใน
หรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ไกลหรืออยู่ใกล้ วิญญาณ
ทั้งหมดนั้นเธอพึงเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา
เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
สุสิมะ อริยสาวกผู้ได้สดับ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป แม้ใน
เวทนา แม้ในสัญญา แม้ในสังขาร แม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลาย
กำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า
‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำ
เสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๗. มหาวรรค ๑๐. สุสิมปริพพาชกสูตร

“เธอเห็นว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะจึงมีหรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เธอเห็นว่า เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมีหรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เธอเห็นว่า เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมีหรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เธอเห็นว่า เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมีหรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“สุสิมะ เธอเห็นว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมีหรือ ... เพราะผัสสะเป็น
ปัจจัย เวทนาจึงมี ... เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี... เพราะสังขารเป็น
ปัจจัย วิญญาณจึงมี...เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี...เพราะวิญญาณเป็น
ปัจจัย นามรูปจึงมี” .... เธอเห็นว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมีหรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เธอเห็นว่า เพราะชาติดับ ชราและมรณะจึงดับหรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เธอเห็นว่า เพราะภพดับ ชาติจึงดับหรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“สุสิมะ เธอเห็นว่า เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ... เพราะตัณหาดับ
อุปาทานจึงดับ ... เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ ... เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ ...
เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ ... เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ ... เพราะ
วิญญาณดับ นามรูปจึงดับ ... เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ... เพราะอวิชชาดับ
สังขารจึงดับหรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๗. มหาวรรค ๑๐. สุสิมปริพพาชกสูตร

“สุสิมะ เธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือคนเดียวแสดง
เป็นหลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ แสดงให้ปรากฏก็ได้หรือให้หายไป
ก็ได้ ทะลุฝา ทะลุกำแพง (และ)ภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นหรือ
ดำลงในแผ่นดินเหมือนไปในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำโดยที่น้ำไม่แยกเหมือนเดินบนแผ่นดิน
ก็ได้ นั่งขัดสมาธิเหาะไปในอากาศเหมือนนกบินไปก็ได้ ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์
ดวงอาทิตย์ อันมีฤทธิ์มากมีอานุภาพมากก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลก
ก็ได้บ้างหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์ และเสียงมนุษย์
ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ ด้วยหูทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์บ้างหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมกำหนดรู้จิตของสัตว์และคนอื่นด้วยจิตของตน คือ
จิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่าจิตมีราคะ ฯลฯ จิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ชัดว่าจิตไม่หลุดพ้นบ้างหรือ”๑
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ฯลฯ
ย่อมระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไป และชีวประวัติอย่างนี้บ้าง
หรือ”๒
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ ฯลฯ ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์
เหนือมนุษย์ รู้ชัดหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมอย่างนี้ บ้างหรือ”๓


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๗. มหาวรรค ๑๐. สุสิมปริพพาชกสูตร

“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมถูกต้องอารุปปวิโมกข์๑อันสงบก้าวล่วงรูปทั้งหลาย
เสียได้ ด้วยนามกายอยู่บ้างหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“สุสิมะ บัดนี้ คำตอบนี้ และการไม่เข้าถึงธรรมเหล่านี้ มีอยู่ในเรื่องนี้ เรื่องนี้
เป็นอย่างไรกันแน่”
ลำดับนั้น ท่านพระสุสิมะได้หมอบลงแทบพระบาทของพระผู้มีพระภาค
ด้วยเศียรเกล้า กราบทูลว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โทษได้ตกถึงข้าพระองค์
เพราะความโง่เขลาเบาปัญญา ข้าพระองค์บวชขโมยธรรมในธรรมวินัยที่พระองค์
ตรัสไว้ดีแล้วอย่างนี้ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงรับโทษของข้าพระองค์โดยความ
เป็นโทษ เพื่อความสำรวมต่อไปเถิด พระพุทธเจ้าข้า’
“สุสิมะ โทษได้ตกถึงเธอ เพราะความโง่เขลาเบาปัญญา เธอบวชขโมยธรรม
ในธรรมวินัยที่เรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้ เปรียบเหมือนราชบุรุษทั้งหลายจับโจรผู้
ประพฤติชั่วได้แล้ว จึงทูลแสดงแด่พระราชาว่า ‘ขอเดชะ ผู้นี้ประพฤติชั่วต่อ
พระองค์ ขอจงทรงลงพระอาญาตามที่ทรงพระประสงค์แก่โจรผู้นี้เถิด’ พระราชา
รับสั่งราชบุรุษผู้นั้นว่า ‘ท่านทั้งหลายจงไปเอาเชือกที่เหนียวมัดบุรุษนี้ไพล่หลังให้แน่น
แล้วเอามีดโกนโกนศีรษะ แห่ประจานไปตามถนน ตามทางสี่แยก ด้วยลั่นฆ้อง
กลองนำออกไปทางประตูด้านทิศทักษิณ(ทิศใต้) แล้วจงตัดศีรษะทางด้านทิศทักษิณ
ของตัวเมือง ราชบุรุษทั้งหลายก็เอาเชือกที่เหนียวมัดโจรผู้นั้นไพล่หลังให้แน่น
แล้วเอามีดโกนโกนศีรษะ แห่ประจานไปตามถนน ตามทางสี่แยก ด้วยลั่นฆ้องกลอง
นำออกไปทางประตูด้านทิศทักษิณ แล้วตัดศีรษะทางด้านทิศทักษิณของตัวเมือง ฉะนั้น’


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๗. มหาวรรค ๑๐. สุสิมปริพพาชกสูตร

เธอจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษนั้นพึงเสวยทุกข์และโทมนัส เพราะ
การกระทำความผิดนั้นบ้างหรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“สุสิมะ บุรุษนั้นต้องเสวยทุกข์และโทมนัส เพราะการกระทำความผิดนั้น
นับแต่การบวชของเธอผู้ขโมยธรรมในธรรมวินัยที่ตถาคตกล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้ ยังมี
ผลเป็นทุกข์และเผ็ดร้อนกว่าการเสวยทุกข์และโทมนัสนั้น ทั้งยังเป็นไปเพื่อวินิบาต
(ปราศจากความสุข) แต่เพราะเธอเห็นโทษโดยความเป็นโทษ แล้วแสดงคืนตาม
วิธีที่ถูกต้อง เรารับโทษนั้นของเธอ ผู้ใดเห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้วแสดงคืน
ตามวิธีที่ถูกต้อง ผู้นั้นจะได้สำรวมต่อไป ข้อนี้เป็นความเจริญในวินัยของพระอริยะ”

สุสิมปริพพาชกสูตรที่ ๑๐ จบ
มหาวรรคที่ ๗ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อัสสุตวาสูตร ๒. ทุติยอัสสุตวาสูตร
๓. ปุตตมังสสูตร ๔. อัตถิราคสูตร
๕. นครสูตร ๖. สัมมสสูตร
๗. นฬกลาปิสูตร ๘. โกสัมพิสูตร
๙. อุปยันติสูตร ๑๐. สุสิมปริพพาชกสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๘. สมณพราหมณวรรค ๑. ชรามรณสูตร

๘. สมณพราหมณวรรค
หมวดว่าด้วยสมณพราหมณ์

๑. ชรามรณสูตร
ว่าด้วยชราและมรณะ

[๗๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมา
ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาค
จึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่รู้ชัดชราและมรณะ
ไม่รู้ชัดความเกิดแห่งชราและมรณะ ไม่รู้ชัดความดับแห่งชราและมรณะ ไม่รู้ชัด
ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ไม่จัดว่า
เป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือไม่จัดว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้น
ก็ไม่ทำให้แจ้งประโยชน์ของความเป็นสมณะ หรือประโยชน์ของความเป็นพราหมณ์
ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ชัดชราและมรณะ ฯลฯ รู้ชัด
ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น จัดว่าเป็น
สมณะในหมู่สมณะ และจัดว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้นก็ทำให้
แจ้งประโยชน์ของความเป็นสมณะ และประโยชน์ของความเป็นพราหมณ์ด้วยปัญญา
อันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน” ( สุตตันตะเป็นอย่างเดียว)

ชรามรณสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๙. อันตรเปยยาล ๒-๑๑. ชาติสุตตาทิทสกะ รวมวรรคที่มีในสังยุต

๒-๑๑. ชาติสุตตาทิทสกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๑๐ สูตรมีชาติสูตรเป็นต้น

[๗๒] (๒) ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
ฯลฯ ไม่รู้ชัดชาติ ฯลฯ

(๓) ไม่รู้ชัดภพ ... สูตรที่ ๓ จบ
(๔) ไม่รู้ชัดอุปาทาน ... สูตรที่ ๔ จบ
(๕) ไม่รู้ชัดตัณหา ... สูตรที่ ๕ จบ
(๖) ไม่รู้ชัดเวทนา ... สูตรที่ ๖ จบ
(๗) ไม่รู้ชัดผัสสะ ... สูตรที่ ๗ จบ
(๘) ไม่รู้ชัดสฬายตนะ ... สูตรที่ ๘ จบ
(๙) ไม่รู้ชัดนามรูป ... สูตรที่ ๙ จบ
(๑๐) ไม่รู้ชัดวิญญาณ ... สูตรที่ ๑๐ จบ

(๑๑) สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่รู้ชัดสังขารทั้งหลาย ไม่รู้ชัดความ
เกิดแห่งสังขาร ไม่รู้ชัดความดับแห่งสังขาร ไม่รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสังขาร
ฯลฯ ทั้งท่านเหล่านั้นก็ทำให้แจ้ง ฯลฯ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”

สูตรที่ ๑๑ จบ
สมณพราหมณวรรคที่ ๘ จบ

รวมความที่มีในวรรคนี้
พระผู้มีพระภาคตรัสปัจจยาการ ๑๑
โดยจำแนกปัจจยาการหนึ่ง ๆ ตามแบบอริยสัจ ๔
สมณพราหมณวรรคที่ ๘ รวมอยู่ในนิทานสังยุต

รวมวรรคที่มีในสังยุตนี้ คือ

๑. พุทธวรรค ๒. อาหารวรรค
๓. ทสพลวรรค ๔. กฬารขัตติยวรรค
๕. คหปติวรรค ๖. ทุกขวรรค
๗. มหาวรรค ๘. สมณพราหมณวรรค


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๙. อันตรเปยยาล ๒-๑๑. ทุติยสัตถุสุตตาทิทสกะ

๙. อันตรเปยยาล
หมวดว่าด้วยพระสูตรที่มีเนื้อความละไว้ในระหว่าง

๑. สัตถุสูตร
ว่าด้วยศาสดา

[๗๓] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค...
“ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้เห็นชราและมรณะตามความเป็นจริง พึงแสวงหา
ศาสดา เพื่อรู้ชราและมรณะตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้เห็นความเกิดแห่งชราและ
มรณะตามความเป็นจริง พึงแสวงหาศาสดา เพื่อรู้ความเกิดแห่งชราและมรณะตาม
ความเป็นจริง เมื่อไม่รู้เห็นความดับแห่งชราและมรณะตามความเป็นจริง พึงแสวงหา
ศาสดา เพื่อรู้ความดับแห่งชราและมรณะตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้เห็นปฏิปทาที่
ให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะตามความเป็นจริง พึงแสวงหาศาสดา เพื่อรู้ปฏิปทา
ที่ให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะตามความเป็นจริง” (สุตตันตะเป็นอย่างเดียวกัน)

สัตถุสูตรที่ ๑ จบ
[เนื้อความที่ละไว้ทั้งหมดก็ขยายความเหมือนอย่างนี้]

๒-๑๑. ทุติยสัตถุสุตตาทิทสกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๑๐ สูตรมีทุติยสัตถุสูตรเป็นต้น

(๒) “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้เห็นชาติตามความเป็นจริง” ...
สูตรที่ ๒ จบ
(๓) “บุคคลเมื่อไม่รู้เห็นภพตามความเป็นจริง” ...
สูตรที่ ๓ จบ
(๔) “บุคคลเมื่อไม่รู้เห็นอุปาทานตามความเป็นจริง” ...
สูตรที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๙. อันตรเปยยาล ๒-๑๑. ทุติยสัตถุสุตตาทิทสกะ

(๕) “บุคคลเมื่อไม่รู้เห็นตัณหาตามความเป็นจริง” ...
สูตรที่ ๕ จบ
(๖) “บุคคลเมื่อไม่รู้เห็นเวทนาตามความเป็นจริง” ...
สูตรที่ ๖ จบ
(๗) “บุคคลเมื่อไม่รู้เห็นผัสสะตามความเป็นจริง” ...
สูตรที่ ๗ จบ
(๘) “บุคคลเมื่อไม่รู้เห็นสฬายตนะตามความเป็นจริง” ...
สูตรที่ ๘ จบ
(๙) “บุคคลเมื่อไม่รู้เห็นนามรูปตามความเป็นจริง” ...
สูตรที่ ๙ จบ
(๑๐) “บุคคลเมื่อไม่รู้เห็นวิญญาณตามความเป็นจริง” ...
สูตรที่ ๑๐ จบ
(๑๑) ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้เห็นสังขารทั้งหลายตามความเป็นจริง พึง
แสวงหาศาสดา เพื่อรู้สังขารทั้งหลายตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้เห็นความเกิดแห่ง
สังขารตามความเป็นจริง พึงแสวงหาศาสดา เพื่อรู้ความเกิดแห่งสังขารตามความ
เป็นจริง เมื่อไม่รู้เห็นความดับแห่งสังขารตามความเป็นจริง พึงแสวงหาศาสดา
เพื่อรู้ความดับแห่งสังขารตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้เห็นปฏิปทาที่ให้ถึงความดับ
แห่งสังขารตามความเป็นจริง พึงแสวงหาศาสดา เพื่อรู้ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่ง
สังขารตามความเป็นจริง”

สูตรที่ ๑๑ จบ
[บัณฑิตพึงกระทำกิจในอริยสัจ ๔ ทุก ๆ สูตร]


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๙. อันตรเปยยาล ๒-๑๒. ทุติยสัตถุสุตตาทิทสกะ

๒-๑๒. สิกขาสุตตาทิเปยยาลเอกาทสกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๑๑ สูตรที่ละไว้มีสิกขาสูตรเป็นต้น

(๒) “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้เห็นชราและมรณะตามความเป็นจริง
พึงกระทำการศึกษาเพื่อรู้ชราและมรณะตามความเป็นจริง”
สูตรที่ ๒ จบ
[เนื้อความที่ละไว้บัณฑิตพึงกระทำกิจในอริยสัจ ๔ ทุก ๆ สูตร]
(๓) “บุคคลเมื่อไม่รู้ชราและมรณะ ฯลฯ พึงกระทำความเพียร” ...
สูตรที่ ๓ จบ
(๔) “บุคคลเมื่อไม่รู้ชราและมรณะ ฯลฯ พึงกระทำความพอใจ” ...
สูตรที่ ๔ จบ
(๕) “บุคคลเมื่อไม่รู้ชราและมรณะ ฯลฯ พึงกระทำความอุตสาหะ” ...
สูตรที่ ๕ จบ
(๖) “บุคคลเมื่อไม่รู้ชราและมรณะ ฯลฯ พึงกระทำความความเพียรไม่
ถอยกลับ” ...
สูตรที่ ๖ จบ
(๗) “บุคคลเมื่อไม่รู้ชราและมรณะ ฯลฯ พึงกระทำความเพียรเครื่องเผา
กิเลส” ...
สูตรที่ ๗ จบ
(๘) “บุคคลเมื่อไม่รู้ชราและมรณะ ฯลฯ พึงกระทำความเพียรอย่างกล้าหาญ” ...
สูตรที่ ๘ จบ
(๙) “บุคคลเมื่อไม่รู้ชราและมรณะ ฯลฯ พึงกระทำความเพียรติดต่อ” ...
สูตรที่ ๙ จบ
(๑๐) “บุคคลเมื่อไม่รู้ชราและมรณะ ฯลฯ พึงตั้งสติ” ...
สูตรที่ ๑๐ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๙. อันตรเปยยาล รวมพระสูตรที่มีในเปยยาล

(๑๑) “บุคคลเมื่อไม่รู้ชราและมรณะ ฯลฯ พึงดำรงสัมปชัญญะ” ...
สูตรที่ ๑๑ จบ
(๑๒) “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ชราและมรณะ ฯลฯ พึงกระทำความไม่
ประมาท” ...
สูตรที่ ๑๒ จบ

อันตรเปยยาลที่ ๙ จบ

รวมพระสูตรที่มีในเปยยาลนี้ คือ

๑. สัตถุสูตร ๒. สิกขาสูตร
๓. โยคสูตร ๔. ฉันทสูตร
๕. อุสโสฬหิสูตร ๖. อัปปฏิวานิสูตร
๗. อาตัปปสูตร ๘. วิริยสูตร
๙. สาตัจจสูตร ๑๐. สติสูตร
๑๑. สัมปชัญญสูตร ๑๒. อัปปมาทสูตร

พระสูตรที่มีอันตรเปยยาล จบ

เบื้องต้นพระสูตรมี ๑๒ สูตร รวมทั้งพระสูตรที่ละไว้ในระหว่าง
เข้าเป็น ๑๓๒ สูตร พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้วด้วย(จำนวนตามแบบ)อริยสัจ ๔
รวมความในพระสูตรที่ละไว้ในระหว่าง จบ

นิทานสังยุต จบบริบูรณ์


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๒. อภิสมยสังยุต] ๑. นขสิขาสูตร

๒. อภิสมยสังยุต
๑. นขสิขาสูตร
ว่าด้วยฝุ่นติดปลายเล็บ

[๗๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงใช้ปลายพระนขาช้อนฝุ่นขึ้นมา
เล็กน้อย แล้วรับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
จะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ ฝุ่นเพียงเล็กน้อยที่เราใช้ปลายเล็บช้อนขึ้นมานี้ก็ดี
แผ่นดินใหญ่นี้ก็ดี อย่างไหนจะมากกว่ากัน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แผ่นดินใหญ่นี้แหละมีมากกว่า ส่วนฝุ่นที่พระองค์
ทรงใช้ปลายพระนขาช้อนขึ้นมามีเพียงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับแผ่นดินใหญ่แล้ว ฝุ่นที่
พระองค์ใช้ปลายพระนขาช้อนขึ้นมามีเพียงเล็กน้อย ไม่ถึงเศษหนึ่งส่วน ๑๐๐ ไม่ถึง
เศษหนึ่งส่วน ๑,๐๐๐ ไม่ถึงเศษหนึ่งส่วน ๑๐๐,๐๐๐”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น ความทุกข์ที่หมดสิ้นไปของ
บุคคลผู้เป็นอริยสาวกผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ผู้รู้แจ้ง นี้แหละมีมากกว่า ส่วนความ
ทุกข์ที่เหลือมีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับกองทุกข์ที่หมดสิ้นไปซึ่งมีในก่อน ความ
ทุกข์ที่ได้รับมากมายใน ๗ อัตภาพ มีประมาณน้อยไม่ถึงเศษหนึ่งส่วน ๑๐๐ ไม่ถึง
เศษหนึ่งส่วน ๑,๐๐๐ ไม่ถึงเศษหนึ่งส่วน ๑๐๐,๐๐๐
การตรัสรู้ธรรมมีประโยชน์ยิ่งใหญ่อย่างนี้ การได้ธรรมจักษุมีประโยชน์ยิ่งใหญ่
อย่างนี้”

นขสิขาสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๒. อภิสมยสังยุต] ๒. โปกขรณีสูตร

๒. โปกขรณีสูตร
ว่าด้วยสระโบกขรณี

[๗๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค...
“ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนสระโบกขรณียาว ๕๐ โยชน์ กว้าง ๕๐ โยชน์
ลึก ๕๐ โยชน์ มีน้ำเต็มเสมอขอบ กา(ก้ม)ดื่มกินได้ บุรุษพึงใช้ปลายหญ้าคาวิดน้ำ
ขึ้นจากสระโบกขรณี เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ น้ำที่บุรุษใช้
ปลายหญ้าคาวิดขึ้นก็ดี น้ำในสระโบกขรณีก็ดี อย่างไหนจะมากกว่ากัน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น้ำในสระโบกขรณีนี้แหละมีมากกว่า ส่วนน้ำที่บุรุษใช้
ปลายหญ้าคาวิดขึ้นมีปริมาณน้อย เมื่อเทียบกับน้ำในสระโบกขรณี น้ำที่บุรุษใช้
ปลายหญ้าคาวิดขึ้น ไม่ถึงเศษหนึ่งส่วน ๑๐๐ ไม่ถึงเศษหนึ่งส่วน ๑,๐๐๐ ไม่ถึง
เศษหนึ่งส่วน ๑๐๐,๐๐๐”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น ความทุกข์ที่หมดสิ้นไปของบุคคลผู้
เป็นอริยสาวกผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ผู้รู้แจ้ง นี้แหละมีมากกว่า ส่วนความทุกข์ที่เหลือ
มีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับกองทุกข์ที่หมดไปสิ้นไปซึ่งมีในก่อน ความทุกข์ที่
ได้รับมากมายใน ๗ อัตภาพ มีประมาณน้อย ไม่ถึงเศษหนึ่งส่วน ๑๐๐ ไม่ถึง
เศษหนึ่งส่วน ๑,๐๐๐ ไม่ถึงเศษหนึ่งส่วน ๑๐๐,๐๐๐
การตรัสรู้ธรรมมีประโยชน์ยิ่งใหญ่อย่างนี้ การได้ธรรมจักษุมีประโยชน์ยิ่งใหญ่
อย่างนี้”

โปกขรณีสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๒. อภิสมยสังยุต] ๔. ทุติยสัมเภชชอุทกสูตร

๓. สัมเภชชอุทกสูตร
ว่าด้วยแม่น้ำไหลมาบรรจบกัน

[๗๖] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค...
“ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำใหญ่เหล่านี้ คือ คงคา ยมุนา อจิรวดี
สรภู มหี ไหลมาบรรจบกัน บุรุษพึงวักน้ำ ๒ หยดหรือ ๓ หยดจากแม่น้ำ
เหล่านั้น เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ น้ำที่บุรุษวักขึ้น ๒ หยด
หรือ ๓ หยดก็ดี น้ำที่ไหลมาบรรจบกันก็ดี อย่างไหนจะมากกว่ากัน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น้ำที่ไหลมาบรรจบกันนี้แหละมีมากกว่า ส่วนน้ำที่
บุรุษวักขึ้น ๒ หยดหรือ ๓ หยดมีปริมาณน้อย เมื่อเทียบกับน้ำที่ไหลมาบรรจบกัน
น้ำ ๒ หยดหรือ ๓ หยดที่บุรุษวักขึ้นมีปริมาณน้อย ไม่ถึงเศษหนึ่งส่วน ๑๐๐ ไม่ถึง
เศษหนึ่งส่วน ๑,๐๐๐ ไม่ถึงเศษหนึ่งส่วน ๑๐๐,๐๐๐”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น ฯลฯ การได้ธรรมจักษุมีประโยชน์
ยิ่งใหญ่อย่างนี้”

สัมเภชชอุทกสูตรที่ ๓ จบ

๔. ทุติยสัมเภชชอุทกสูตร
ว่าด้วยแม่น้ำที่ไหลมาบรรจบกัน สูตรที่ ๒

[๗๗] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค...
“ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำใหญ่เหล่านี้ คือ คงคา ยมุนา อจิรวดี
สรภู มหี ไหลมาบรรจบกัน น้ำนั้นพึงเหือดแห้ง เหลืออยู่ ๒ หยดหรือ ๓ หยด
เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือน้ำที่ไหลมาบรรจบกันที่เหือดแห้งไป
ก็ดี หรือ น้ำ ๒ หยดหรือ ๓ หยดที่เหลืออยู่ก็ดี อย่างไหนจะมากกว่ากัน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๒. อภิสมยสังยุต] ๕. ปฐวีสูตร

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น้ำที่ไหลมาบรรจบกันซึ่งเหือดแห้งไปนี้แหละมากกว่า
ส่วนน้ำ ๒ หยดหรือ ๓ หยดที่เหลืออยู่มีปริมาณน้อย เมื่อเทียบกับน้ำที่ไหลมา
บรรจบกันที่เหือดแห้งไป น้ำ ๒ หยดหรือ ๓ หยดที่เหลืออยู่มีปริมาณน้อย ไม่ถึง
เศษหนึ่งส่วน ๑๐๐ ไม่ถึงเศษหนึ่งส่วน ๑,๐๐๐ ไม่ถึงเศษหนึ่งส่วน ๑๐๐,๐๐๐”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น ฯลฯ การได้ธรรมจักษุมีประโยชน์
ยิ่งใหญ่อย่างนี้”

ทุติยสัมเภชชอุทกสูตรที่ ๔ จบ

๕. ปฐวีสูตร
ว่าด้วยแผ่นดิน

[๗๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษวางก้อนดินเหนียวเท่าเมล็ดกระเบา ๗ ก้อน
ไว้บนแผ่นดินใหญ่ เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ ก้อนดินเหนียว
เท่าเมล็ดกระเบา ๗ ก้อนที่บุรุษวางไว้ก็ดี แผ่นดินใหญ่ก็ดี อย่างไหนจะมากกว่ากัน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แผ่นดินใหญ่นี้แหละมีมากกว่า ส่วนก้อนดินเหนียวเท่า
เมล็ดกระเบา ๗ ก้อน ที่บุรุษวางไว้มีจำนวนน้อย เมื่อเทียบกับแผ่นดินใหญ่ ก้อนดิน
เหนียวที่บุรุษวางไว้มีจำนวนน้อย ไม่ถึงเศษหนึ่งส่วน ๑๐๐ ไม่ถึงเศษหนึ่งส่วน ๑,๐๐๐
ไม่ถึงเศษหนึ่งส่วน ๑๐๐,๐๐๐”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น ฯลฯ การได้ธรรมจักษุมี
ประโยชน์ยิ่งใหญ่อย่างนี้”

ปฐวีสูตรที่ ๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๒. อภิสมยสังยุต] ๗. สมุททสูตร

๖. ทุติยปฐวีสูตร
ว่าด้วยแผ่นดิน สูตรที่ ๒

[๗๙] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแผ่นดินใหญ่ พึงหมดสิ้นไป เหลือก้อนดิน
เหนียวเท่าเมล็ดกระเบา ๗ ก้อน เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ
แผ่นดินใหญ่ที่หมดสิ้นไปก็ดี ก้อนดินเหนียวเท่าเมล็ดกระเบา ๗ ก้อนที่เหลืออยู่ก็ดี
อย่างไหนจะมากกว่ากัน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แผ่นดินใหญ่ที่หมดสิ้นไปนี้แหละมีมากกว่า ส่วนก้อน
ดินเหนียวเท่าเมล็ดกระเบา ๗ ก้อนที่เหลืออยู่มีจำนวนน้อย เมื่อเทียบกับแผ่นดิน
ใหญ่ที่หมดสิ้นไป ก้อนดินเหนียวเท่าเมล็ดกระเบา ๗ ก้อนที่เหลืออยู่มีจำนวนน้อย
ไม่ถึงเศษหนึ่งส่วน ๑๐๐ ไม่ถึงเศษหนึ่งส่วน ๑,๐๐๐ ไม่ถึงเศษหนึ่งส่วน ๑๐๐,๐๐๐”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น ฯลฯ การได้ธรรมจักษุมี
ประโยชน์ยิ่งใหญ่อย่างนี้”

ทุติยปฐวีสูตรที่ ๖ จบ

๗. สมุททสูตร
ว่าด้วยสมุทร

[๘๐] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค...
“ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษพึงวักน้ำ ๒ หยดหรือ ๓ หยดขึ้นจาก
มหาสมุทร เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ น้ำที่บุรุษวักขึ้น ๒ หยด
หรือ ๓ หยดก็ดี น้ำในมหาสมุทรก็ดี อย่างไหนจะมากกว่ากัน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น้ำในมหาสมุทรนี้แหละมีมากกว่า ส่วนน้ำที่บุรุษ
วักขึ้น ๒ หยดหรือ ๓ หยดมีปริมาณน้อย เมื่อเทียบกับน้ำในมหาสมุทร น้ำที่บุรุษ
วักขึ้น ๒ หยดหรือ ๓ หยด ไม่ถึงเศษหนึ่งส่วน ๑๐๐ ไม่ถึงเศษหนึ่งส่วน ๑,๐๐๐
ไม่ถึงเศษหนึ่งส่วน ๑๐๐,๐๐๐”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น ฯลฯ การได้ธรรมจักษุมี
ประโยชน์ยิ่งใหญ่อย่างนี้”

สมุททสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๒. อภิสมยสังยุต] ๙. ปัพพตสูตร

๘. ทุติยสมุททสูตร
ว่าด้วยสมุทร สูตรที่ ๒

[๘๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค...
“ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนน้ำในมหาสมุทรพึงเหือดแห้งไป เหลือน้ำอยู่
๒ หยดหรือ ๓ หยด เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ น้ำในมหาสมุทร
ที่เหือดแห้งไปก็ดี น้ำ ๒ หยดหรือ ๓ หยดที่เหลืออยู่ก็ดี อย่างไหนจะมากกว่ากัน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น้ำในมหาสมุทรที่เหือดแห้งไปนี้แหละมีมากกว่า
ส่วนน้ำ ๒ หยดหรือ ๓ หยดที่เหลืออยู่มีปริมาณน้อย เมื่อเทียบกับน้ำในมหาสมุทร
ที่เหือดแห้งไป น้ำ ๒ หยดหรือ ๓ หยดที่เหลืออยู่มีปริมาณน้อย ไม่ถึงเศษหนึ่ง
ส่วน ๑๐๐ ไม่ถึงเศษหนึ่งส่วน ๑,๐๐๐ ไม่ถึงเศษหนึ่งส่วน ๑๐๐,๐๐๐”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น ฯลฯ การได้ธรรมจักษุมี
ประโยชน์ยิ่งใหญ่อย่างนี้”

ทุติยสมุททสูตรที่ ๘ จบ

๙. ปัพพตสูตร
ว่าด้วยภูเขา

[๘๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค...
“ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษพึงวางก้อนหินเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาด ๗ ก้อน
ไว้บนขุนเขาหิมพานต์ เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ ก้อนหินเท่า
เมล็ดพันธุ์ผักกาด ๗ ก้อน ที่บุรุษวางไว้ก็ดี ขุนเขาหิมพานต์ก็ดี อย่างไหนจะมาก
กว่ากัน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขุนเขาหิมพานต์นี้แหละมีมากกว่า ส่วนก้อนหินเท่า
เมล็ดพันธุ์ผักกาด ๗ ก้อนที่บุรุษวางไว้มีจำนวนน้อย เมื่อเทียบกับขุนเขาหิมพานต์
ก้อนหินเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาด ๗ ก้อนที่บุรุษวางไว้มีจำนวนน้อย ไม่ถึงเศษหนึ่ง
ส่วน ๑๐๐ ไม่ถึงเศษหนึ่งส่วน ๑,๐๐๐ ไม่ถึงเศษหนึ่งส่วน ๑๐๐,๐๐๐”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น ฯลฯ การได้ธรรมจักษุมี
ประโยชน์ยิ่งใหญ่อย่างนี้”

ปัพพตสูตรที่ ๙ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๒. อภิสมยสังยุต] ๑๐. ทุติยปัพพตสูตร

๑๐. ทุติยปัพพตสูตร
ว่าด้วยภูเขา สูตรที่ ๒

[๘๓] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนขุนเขาหิมพานต์ที่ทลายกระจัดกระจายไป เหลือ
ก้อนหินเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาดอยู่ ๗ ก้อน เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่า
อย่างไร คือ ขุนเขาหิมพานต์ที่ทลายกระจัดกระจายไปก็ดี ก้อนหินเท่าเมล็ดพันธุ์
ผักกาด ๗ ก้อนที่เหลืออยู่ก็ดี อย่างไหนจะมากกว่ากัน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขุนเขาหิมพานต์ที่ทลายกระจัดกระจายไปนี้แหละมี
มากกว่า ส่วนก้อนหินเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาด ๗ ก้อนที่เหลืออยู่มีจำนวนน้อย
เมื่อเทียบกันกับขุนเขาหิมพานต์ที่ทลายกระจัดกระจายไป ก้อนหินเท่าเมล็ดพันธุ์
ผักกาด ๗ ก้อนที่เหลืออยู่มีจำนวนน้อย ไม่ถึงเศษหนึ่งส่วน ๑๐๐ ไม่ถึงเศษหนึ่ง
ส่วน ๑,๐๐๐ ไม่ถึงเศษหนึ่งส่วน ๑๐๐,๐๐๐”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น ความทุกข์ที่หมดสิ้นไปของ
บุคคลผู้เป็นอริยสาวกผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ผู้รู้แจ้งนี้แหละมีมากกว่า ส่วนความทุกข์
ที่เหลือมีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับกองทุกข์ที่หมดสิ้นไปซึ่งมีในก่อน ความทุกข์
ที่ได้รับมากมายใน ๗ อัตภาพมีประมาณน้อย ไม่ถึงเศษหนึ่งส่วน ๑๐๐ ไม่ถึง
เศษหนึ่งส่วน ๑,๐๐๐ ไม่ถึงเศษหนึ่งส่วน ๑๐๐,๐๐๐
การตรัสรู้ธรรมมีประโยชน์ยิ่งใหญ่อย่างนี้ การได้ธรรมจักษุมีประโยชน์ยิ่งใหญ่
อย่างนี้”

ทุติยปัพพตสูตรที่ ๑๐ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๒. อภิสมยสังยุต] รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑๑. ตติยปัพพตสูตร
ว่าด้วยภูเขา สูตรที่ ๓

[๘๔] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค...
“ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษวางก้อนหินเท่าเมล็ดถั่วเขียว ๗ ก้อน
ไว้บนขุนเขาสิเนรุ เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ ก้อนหินเท่าเมล็ด
ถั่วเขียว ๗ ก้อนที่บุรุษวางไว้ก็ดี ขุนเขาสิเนรุก็ดี อย่างไหนจะมากกว่ากัน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขุนเขาสิเนรุนี้แหละมีมากกว่า ส่วนก้อนหินเท่าเมล็ด
ถั่วเขียว ๗ ก้อนที่บุรุษวางไว้มีจำนวนน้อย เมื่อเทียบกับขุนเขาสิเนรุ ก้อนหิน
เท่าเมล็ดถั่วเขียว ๗ ก้อนที่บุรุษวางไว้ ไม่ถึงเศษหนึ่งส่วน ๑๐๐ ไม่ถึงเศษหนึ่ง
ส่วน ๑,๐๐๐ ไม่ถึงเศษหนึ่งส่วน ๑๐๐,๐๐๐”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น เมื่อเทียบกับการบรรลุ๑ ของบุคคล
ผู้เป็นอริยสาวกผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ การบรรลุคุณวิเศษของอัญเดียรถีย์ สมณพราหมณ์
และปริพาชกทั้งหลาย มีปริมาณน้อย ไม่ถึงเศษหนึ่งส่วน ๑๐๐ ไม่ถึงเศษหนึ่ง
ส่วน ๑,๐๐๐ ไม่ถึงเศษหนึ่งส่วน ๑๐๐,๐๐๐
บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ มีการบรรลุยิ่งใหญ่อย่างนี้ มีอภิญญายิ่งใหญ่อย่างนี้”

ตติยปัพพตสูตรที่ ๑๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. นขสิขาสูตร ๒. โปกขรณีสูตร
๓. สัมเภชชอุทกสูตร ๔. ทุติยสัมเภชชอุทกสูตร
๕. ปฐวีสูตร ๖. ทุติยปฐวีสูตร
๗. สมุททสูตร ๘. ทุติยสมุททสูตร
๙. ปัพพตสูตร ๑๐. ทุติยปัพพตสูตร
๑๑. ตติยปัพพตสูตร

อภิสมยสังยุต จบบริบูรณ์


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓.ธาตุสังยุต]
๑. นานัตตวรรค ๑. ธาตุนานัตตสูตร

๓. ธาตุสังยุต

๑. นานัตตวรรค
หมวดว่าด้วยความต่าง

๑. ธาตุนานัตตสูตร
ว่าด้วยความต่างแห่งธาตุ

[๘๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความต่างแห่งธาตุแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
จงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มี
พระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ความต่างแห่งธาตุ เป็นอย่างไร
คือ จักขุธาตุ (ธาตุคือจักขุปสาท) รูปธาตุ (ธาตุคือรูปารมณ์) จักขุวิญญาณธาตุ
(ธาตุคือจักขุวิญญาณ)
โสตธาตุ (ธาตุคือโสตปสาท) สัททธาตุ (ธาตุคือสัททารมณ์) โสตวิญญาณธาตุ
(ธาตุคือโสตวิญญาณ)
ฆานธาตุ (ธาตุคือฆานปสาท) คันธธาตุ (ธาตุคือคันธารมณ์) ฆานวิญญาณธาตุ
(ธาตุคือฆานวิญญาณ)
ชิวหาธาตุ (ธาตุคือชิวหาปสาท) รสธาตุ (ธาตุคือรสารมณ์) ชิวหาวิญญาณธาตุ
(ธาตุคือชิวหาวิญญาณ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๑. นานัตตวรรค ๒. ผัสสนานัตตสูตร

กายธาตุ (ธาตุคือกายปสาท) โผฏฐัพพธาตุ (ธาตุคือโผฏฐัพพารมณ์) กาย-
วิญญาณธาตุ (ธาตุคือกายวิญญาณ)
มโนธาตุ (ธาตุคือมโน) ธัมมธาตุ (ธาตุคือธรรมารมณ์) มโนวิญญาณธาตุ
(ธาตุคือมโนวิญญาณ)
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ‘ความต่างแห่งธาตุ”

ธาตุนานัตตสูตรที่ ๑ จบ

๒. ผัสสนานัตตสูตร
ว่าด้วยความต่างแห่งผัสสะ

[๘๖] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค...
“ภิกษุทั้งหลาย ความต่างแห่งผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ
ความต่างแห่งธาตุ เป็นอย่างไร
คือ จักขุธาตุ โสตธาตุ ฆานธาตุ ชิวหาธาตุ กายธาตุ มโนธาตุ
นี้เราเรียกว่า ความต่างแห่งธาตุ
ความต่างแห่งผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ เป็นอย่างไร
คือ จักขุสัมผัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุธาตุ ...
... เพราะอาศัยโสตธาตุ
... เพราะอาศัยฆานธาตุ
... เพราะอาศัยชิวหาธาตุ
... เพราะอาศัยกายธาตุ
มโนสัมผัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยมโนธาตุ
ภิกษุทั้งหลาย ความต่างแห่งผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุเป็น
อย่างนี้”

ผัสสนานัตตสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๑. นานัตตวรรค ๔. เวทนานานัตตสูตร

๓. โนผัสสนานัตตสูตร
ว่าด้วยธาตุที่ไม่อาศัยความต่างแห่งผัสสะ

[๘๗] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค...
“ภิกษุทั้งหลาย ความต่างแห่งผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ
ความต่างแห่งธาตุไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะ
ความต่างแห่งธาตุ เป็นอย่างไร
คือ จักขุธาตุ ฯลฯ มโนธาตุ
นี้เราเรียกว่า ความต่างแห่งธาตุ
ความต่างแห่งผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ ความต่างแห่ง
ธาตุไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะ เป็นอย่างไร
คือ จักขุสัมผัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุธาตุ จักขุธาตุไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัย
จักขุสัมผัส ฯลฯ มโนสัมผัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยมโนธาตุ มโนธาตุไม่เกิดขึ้นเพราะ
อาศัยมโนสัมผัส
ภิกษุทั้งหลาย ความต่างแห่งผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ
ความต่างแห่งธาตุไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะ เป็นอย่างนี้”

โนผัสสนานัตตสูตรที่ ๓ จบ

๔. เวทนานานัตตสูตร
ว่าด้วยความต่างแห่งเวทนา

[๘๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค...
“ภิกษุทั้งหลาย ความต่างแห่งผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ
ความต่างแห่งเวทนาเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะ
ความต่างแห่งธาตุ เป็นอย่างไร
คือ จักขุธาตุ ฯลฯ มโนธาตุ
นี้เราเรียกว่า ความต่างแห่งธาตุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๑. นานัตตวรรค ๕. ทุติยเวทนานานัตตสูตร

ความต่างแห่งผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ ความต่างแห่ง
เวทนาเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะ เป็นอย่างไร
คือ จักขุสัมผัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุธาตุ จักขุสัมผัสสชาเวทนาเกิดขึ้นเพราะ
อาศัยจักขุสัมผัส ฯลฯ
มโนสัมผัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยมโนธาตุ มโนสัมผัสสชาเวทนาเกิดขึ้นเพราะอาศัย
มโนสัมผัส
ภิกษุทั้งหลาย ความต่างแห่งผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ
ความต่างแห่งเวทนาเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะ เป็นอย่างนี้”

เวทนานานัตตสูตรที่ ๔ จบ

๕. ทุติยเวทนานานัตตสูตร
ว่าด้วยความต่างแห่งเวทนา สูตรที่ ๒

[๘๙] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค...
“ภิกษุทั้งหลาย ความต่างแห่งผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ
ความต่างแห่งเวทนาเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะ ความต่างแห่งผัสสะ
ไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งเวทนา ความต่างแห่งธาตุไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัย
ความต่างแห่งผัสสะ
ความต่างแห่งธาตุ เป็นอย่างไร
คือ จักขุธาตุ ฯลฯ มโนธาตุ
นี้เราเรียกว่า ความต่างแห่งธาตุ
ความต่างแห่งผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ ความต่าง
แห่งเวทนาเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะ ความต่างแห่งผัสสะไม่เกิดขึ้น
เพราะอาศัยความต่างแห่งเวทนา ความต่างแห่งธาตุไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัย
ความต่างแห่งผัสสะ เป็นอย่างไร
คือ จักขุสัมผัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุธาตุ จักขุสัมผัสสชาเวทนาเกิดขึ้นเพราะ
อาศัยจักขุสัมผัส จักขุสัมผัสไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุสัมผัสสชาเวทนา จักขุธาตุไม่
เกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุสัมผัส ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๑. นานัตตวรรค ๗. สัญญานานัตตสูตร

มโนสัมผัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยมโนธาตุ มโนสัมผัสสชาเวทนาเกิดขึ้นเพราะอาศัย
มโนสัมผัส มโนสัมผัสไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยมโนสัมผัสสชาเวทนา มโนธาตุไม่เกิดขึ้น
เพราะอาศัยมโนสัมผัส
ภิกษุทั้งหลาย ความต่างแห่งผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ
ความต่างแห่งเวทนาเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะ ความต่างแห่งผัสสะไม่
เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งเวทนา ความต่างแห่งธาตุไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัย
ความต่างแห่งผัสสะ เป็นอย่างนี้”

ทุติยเวทนานานัตตสูตรที่ ๕ จบ

๖. พาหิรธาตุนานัตตสูตร
ว่าด้วยความต่างแห่งธาตุภายนอก

[๙๐] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค...
“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความต่างแห่งธาตุแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
จงฟัง ...
ความต่างแห่งธาตุ เป็นอย่างไร
คือ รูปธาตุ สัททธาตุ คันธธาตุ รสธาตุ โผฏฐัพพธาตุ ธัมมธาตุ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ความต่างแห่งธาตุ”

พาหิรธาตุนานัตตสูตรที่ ๖ จบ

๗. สัญญานานัตตสูตร
ว่าด้วยความต่างแห่งสัญญา

[๙๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค...
“ภิกษุทั้งหลาย ความต่างแห่งสัญญา(ความจำได้)เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่าง
แห่งธาตุ ความต่างแห่งสังกัปปะ(ความดำริ)เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่ง
สัญญา ความต่างแห่งฉันทะ(ความพอใจ)เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสังกัปปะ
ความต่างแห่งปริฬาหะ(ความเร่าร้อน)เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งฉันทะ ความต่าง
แห่งปริเยสนา(การแสวงหา)เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริฬาหะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๑. นานัตตวรรค ๗. สัญญานานัตตสูตร

ความต่างแห่งธาตุ เป็นอย่างไร
คือ รูปธาตุ ฯลฯ ธัมมธาตุ
นี้เราเรียกว่า ความต่างแห่งธาตุ
ความต่างแห่งสัญญาเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ ความต่างแห่ง
สังกัปปะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา ความต่างแห่งฉันทะ เกิดขึ้น
เพราะอาศัยความต่างแห่งสังกัปปะ ความต่างแห่งปริฬาหะเกิดขึ้น เพราะอาศัย
ความต่างแห่งฉันทะ ความต่างแห่งปริเยสนาเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่ง
ปริฬาหะ เป็นอย่างไร
รูปสัญญา๑เกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปธาตุ รูปสังกัปปะ๒เกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปสัญญา
รูปฉันทะ๓เกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปสังกัปปะ รูปปริฬาหะ๔เกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปฉันทะ
รูปปริเยสนา๕เกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปปริฬาหะ ฯลฯ
ธัมมสัญญาเกิดขึ้นเพราะอาศัยธัมมธาตุ ธัมมสังกัปปะเกิดขึ้นเพราะอาศัย
ธัมมสัญญา ธัมมฉันทะเกิดขึ้นเพราะอาศัยธัมมสังกัปปะ ธัมมปริฬาหะเกิดขึ้น
เพราะอาศัยธัมมฉันทะ ธัมมปริเยสนาเกิดขึ้นเพราะอาศัยธัมมปริฬาหะ
ภิกษุทั้งหลาย ความต่างแห่งสัญญาเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ
ความต่างแห่งสังกัปปะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา ความต่างแห่งฉันทะ
เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสังกัปปะ ความต่างแห่งปริฬาหะเกิดขึ้นเพราะ
อาศัยความต่างแห่งฉันทะ ความต่างแห่งปริเยสนาเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่ง
ปริฬาหะเป็นอย่างนี้”

สัญญานานัตตสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๑. นานัตตวรรค ๘. โนปริเยสนานานัตตสูตร

๘. โนปริเยสนานานัตตสูตร
ว่าด้วยธาตุที่ไม่อาศัยความต่างแห่งปริเยสนา

[๙๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย ความต่างแห่งสัญญาเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ
ความต่างแห่งสังกัปปะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา ฯลฯ
ความต่างแห่งปริเยสนา ...
ความต่างแห่งปริฬาหะไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริเยสนา ความต่าง
แห่งฉันทะไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริฬาหะ ความต่างแห่งสังกัปปะไม่
เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งฉันทะ ความต่างแห่งสัญญาไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัย
ความต่างแห่งสังกัปปะ ความต่างแห่งธาตุไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา
ความต่างแห่งธาตุ เป็นอย่างไร
คือ รูปธาตุ ฯลฯ ธัมมธาตุ
นี้เราเรียกว่า ความต่างแห่งธาตุ
ความต่างแห่งสัญญาเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ ความต่างแห่งสังกัปปะ
เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา ฯลฯ
ความต่างแห่งปริเยสนา ...
ความต่างแห่งปริฬาหะไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริเยสนา
ความต่างแห่งฉันทะไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริฬาหะ ความต่างแห่ง
สังกัปปะไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งฉันทะ ความต่างแห่งสัญญาไม่
เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสังกัปปะ ความต่างแห่งธาตุไม่เกิดขึ้นเพราะ
อาศัยความต่างแห่งสัญญา เป็นอย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๑. นานัตตวรรค ๙. พาหิรผัสสนานัตตสูตร

คือ รูปสัญญาเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปธาตุ ฯลฯ
ธัมมสัญญาเกิดขึ้นเพราะอาศัยธัมมธาตุ ธัมมสังกัปปะเกิดขึ้นเพราะอาศัย
ธัมมสัญญา ฯลฯ
ธัมมปริเยสนา ...
ธัมมปริฬาหะไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยธัมมปริเยสนา ธัมมฉันทะไม่เกิดขึ้นเพราะ
อาศัยธัมมปริฬาหะ ธัมมสังกัปปะไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยธัมมฉันทะ ธัมมสัญญาไม่
เกิดขึ้นเพราะอาศัยธัมมสังกัปปะ ธัมมธาตุไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยธัมมสัญญา
ภิกษุทั้งหลาย ความต่างแห่งสัญญาเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ
ความต่างแห่งสังกัปปะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา ฯลฯ
ความต่างแห่งปริเยสนา ...
ความต่างแห่งปริฬาหะไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริเยสนา ฯลฯ
ความต่างแห่งสัญญา ...
ความต่างแห่งธาตุไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา เป็นอย่างนี้”

โนปริเยสนานานัตตสูตรที่ ๘ จบ

๙. พาหิรผัสสนานัตตสูตร
ว่าด้วยความต่างแห่งผัสสะเพราะอาศัยธาตุภายนอก

[๙๓] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค...
“ภิกษุทั้งหลาย ความต่างแห่งสัญญาเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ
ความต่างแห่งสังกัปปะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา ความต่างแห่งผัสสะ
เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสังกัปปะ ความต่างแห่งเวทนาเกิดขึ้นเพราะอาศัย
ความต่างแห่งผัสสะ ความต่างแห่งฉันทะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งเวทนา
ความต่างแห่งปริฬาหะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งฉันทะ ความต่างแห่งปริเยสนา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๑. นานัตตวรรค ๙. พาหิรผัสสนานัตตสูตร

เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริฬาหะ ความต่างแห่งลาภะเกิดขึ้นเพราะอาศัย
ความต่างแห่งปริเยสนา
ความต่างแห่งธาตุ เป็นอย่างไร
คือ รูปธาตุ ฯลฯ ธัมมธาตุ
นี้เราเรียกว่า ความต่างแห่งธาตุ
ความต่างแห่งสัญญาเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ ฯลฯ ความ
ต่างแห่งลาภะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริเยสนา เป็นอย่างไร
คือ รูปสัญญาเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปธาตุ รูปสังกัปปะเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปสัญญา
รูปสัมผัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปสังกัปปะ รูปสัมผัสสชาเวทนาเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูป
สัมผัส รูปฉันทะเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปสัมผัสสชาเวทนา รูปปริฬาหะเกิดขึ้นเพราะ
อาศัยรูปฉันทะ รูปปริเยสนาเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปปริฬาหะ รูปลาภะเกิดขึ้นเพราะ
อาศัยรูปปริเยสนา ฯลฯ ธัมมสัญญาเกิดขึ้นเพราะอาศัยธัมมธาตุ ธัมมสังกัปปะเกิด
ขึ้นเพราะอาศัยธัมมสัญญา ธัมมสัมผัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยธัมมสังกัปปะ ธัมมสัมผัสส-
ชาเวทนาเกิดขึ้นเพราะอาศัยธัมมสัมผัส ธัมมฉันทะเกิดขึ้นเพราะอาศัยธัมมสัมผัสส-
ชาเวทนา ธัมมปริฬาหะเกิดขึ้นเพราะอาศัยธัมมฉันทะ ธัมมปริเยสนาเกิดขึ้นเพราะ
อาศัยธัมมปริฬาหะ ธัมมลาภะเกิดขึ้นเพราะอาศัยธัมมปริเยสนา
ภิกษุทั้งหลาย ความต่างแห่งสัญญาเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ
ความต่างแห่งสังกัปปะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา ฯลฯ ความต่าง
แห่งลาภะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริเยสนาเป็นอย่างนี้”

พาหิรผัสสนานัตตสูตรที่ ๙ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๑. นานัตตวรรค ๑๐. ทุติยพาหิรผัสสนานัตตสูตร

๑๐. ทุติยพาหิรผัสสนานัตตสูตร
ว่าด้วยความต่างแห่งผัสสะเพราะอาศัยธาตุภายนอก สูตรที่ ๒

[๙๔] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค...
“ภิกษุทั้งหลาย ความต่างแห่งสัญญาเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ
ความต่างแห่งสังกัปปะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา ผัสสะ ... เวทนา...
ฉันทะ ... ปริฬาหะ ... ความต่างแห่งลาภะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริเยสนา
ความต่างแห่งปริเยสนาไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งลาภะ ความต่างแห่ง
ปริฬาหะไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริเยสนา ความต่างแห่งฉันทะไม่เกิดขึ้น
เพราะอาศัยความต่างแห่งปริฬาหะ ... เวทนา ... ผัสสะ ... สังกัปปะ ... ความต่าง
แห่งสัญญาไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสังกัปปะ ความต่างแห่งธาตุไม่เกิดขึ้น
เพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา
ความต่างแห่งธาตุ เป็นอย่างไร
คือ รูปธาตุ ฯลฯ ธัมมธาตุ
นี้เราเรียกว่า ความต่างแห่งธาตุ
ความต่างแห่งสัญญาเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ ความต่างแห่งสังกัปปะ
เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา ... ผัสสะ ... เวทนา ... ฉันทะ ... ปริฬาหะ ...
ปริเยสนา ... ความต่างแห่งลาภะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริเยสนา
ความต่างแห่งปริเยสนาไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งลาภะ ... ปริฬาหะ
... ฉันทะ ... เวทนา ... ความต่างแห่งผัสสะไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่าง
แห่งเวทนา ความต่างแห่งสัญญาไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสังกัปปะ
ความต่างแห่งธาตุไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา เป็นอย่างไร
คือ รูปสัญญาเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปธาตุ ฯลฯ ธัมมสัญญาเกิดขึ้นเพราะอาศัย
ธัมมธาตุ (ธัมมสังกัปปะ)เกิดขึ้นเพราะอาศัยธัมมสัญญา ฯลฯ ธัมมปริเยสนาเกิดขึ้น
เพราะอาศัยธัมมปริฬาหะ ธัมมลาภะเกิดขึ้นเพราะอาศัยธัมมปริเยสนา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๑. นานัตตวรรค ๑๐. ทุติยพาหิรผัสสนานัตตสูตร

ธัมมปริเยสนาไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยธัมมลาภะ ธัมมปริฬาหะไม่เกิดขึ้นเพราะ
อาศัยธัมมปริเยสนา ธัมมฉันทะไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยธัมมปริฬาหะ ธัมมสัมผัสสชา-
เวทนาไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยธัมมฉันทะ ธัมมสัมผัสไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยธัมม-
สัมผัสสชาเวทนา ธัมมสังกัปปะไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยธัมมสัมผัส ธัมมสัญญาไม่เกิด
ขึ้นเพราะอาศัยธัมมสังกัปปะ ธัมมธาตุไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยธัมมสัญญา
ภิกษุทั้งหลาย ความต่างแห่งสัญญาเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ
ความต่างแห่งสังกัปปะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา ผัสสะ ... เวทนา ...
ฉันทะ ... ปริฬาหะ ... ปริเยสนา ... ความต่างแห่งลาภะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่าง
แห่งปริเยสนา
ความต่างแห่งปริเยสนาไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งลาภะ ความต่างแห่ง
ปริฬาหะไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริเยสนา ความต่างแห่งฉันทะไม่เกิด
ขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริฬาหะ ความต่างแห่งเวทนาไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัย
ความต่างแห่งฉันทะ ความต่างแห่งผัสสะไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งเวทนา
ความต่างแห่งสังกัปปะไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะ ความต่างแห่ง
สัญญาไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสังกัปปะ ความต่างแห่งธาตุไม่เกิดขึ้น
เพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา เป็นอย่างนี้”

ทุติยพาหิรผัสสนานัตตสูตรที่ ๑๐ จบ
นานัตตวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ธาตุนานัตตสูตร ๒. ผัสสนานัตตสูตร
๓. โนผัสสนานัตตสูตร ๔. เวทนานานัตตสูตร
๕. ทุติยเวทนานานัตตสูตร ๖. พาหิรธาตุนานัตตตสูตร
๗. สัญญานานัตตสูตร ๘. โนปริเยสนานานัตตสูตร
๙. พาหิรผัสสนานัตตสูตร ๑๐. ทุติยพาหิรผัสสนานัตตสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต] ๒. ทุติยวรรค ๑. สัตตธาตุสูตร

๒. ทุติยวรรค
หมวดที่ ๒

๑. สัตตธาตุสูตร
ว่าด้วยธาตุ ๗

[๙๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย ธาตุมี ๗ ประการ ธาตุ ๗ ประการอะไรบ้าง คือ

๑. อาภาธาตุ๑ ๒. สุภธาตุ๒
๓. อากาสานัญจายตนธาตุ๓ ๔. วิญญาณัญจายตนธาตุ๔
๕. อากิญจัญญายตนธาตุ๕ ๖. เนวสัญญานาสัญญายตนธาตุ๖
๗. สัญญาเวทยิตนิโรธธาตุ๗

ธาตุมี ๗ ประการนี้


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต] ๒. ทุติยวรรค ๑. สัตตธาตุสูตร

ครั้นพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อาภาธาตุ สุภธาตุ อากาสานัญจายตนธาตุ
วิญญาณัญจายตนธาตุ อากิญจัญญายตนธาตุ เนวสัญญานาสัญญายตนธาตุ และ
สัญญาเวทยิตนิโรธธาตุ ธาตุเหล่านี้อาศัยอะไรจึงปรากฏได้”
“ภิกษุ อาภาธาตุอาศัยความมืดจึงปรากฏได้ สุภธาตุอาศัยความไม่งามจึง
ปรากฏได้ อากาสานัญจายตนธาตุอาศัยรูปสมาบัติจึงปรากฏได้ วิญญาณัญจายตน-
ธาตุอาศัยอากาสานัญจายตนสมาบัติจึงปรากฏได้ อากิญจัญญายตนธาตุอาศัย
วิญญาณัญจายตนสมาบัติจึงปรากฏได้ เนวสัญญานาสัญญายตนธาตุอาศัย
อากิญจัญญายตนสมาบัติจึงปรากฏได้ สัญญาเวทยิตนิโรธธาตุอาศัยนิโรธสมาบัติจึง
ปรากฏได้”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อาภาธาตุ สุภธาตุ อากาสานัญจายตนธาตุ
วิญญาณัญจายตนธาตุ อากิญจัญญายตนธาตุ เนวสัญญานาสัญญายตนธาตุ
และสัญญาเวทยิตนิโรธธาตุ บุคคลจะเข้าถึงธาตุเหล่านี้ได้อย่างไร”
“ภิกษุ อาภาธาตุ สุภธาตุ อากาสานัญจายตนธาตุ วิญญาณัญจายตนธาตุ
อากิญจัญญายตนธาตุ ธาตุเหล่านี้ เป็นสัญญาสมาบัติที่บุคคลจะเข้าถึงได้
เนวสัญญานาสัญญายตนธาตุ เป็นสังขาราวิเสสสมาบัติ๑ที่บุคคลจะเข้าถึงได้ สัญญา-
เวทยิตนิโรธธาตุ เป็นนิโรธสมาบัติที่บุคคลจะเข้าถึงได้”

สัตตธาตุสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต] ๒. ทุติยวรรค ๒. สนิทานสูตร

๒. สนิทานสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นต้นเหตุ

[๙๖] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย กามวิตกมีเหตุจึงเกิดขึ้น ไม่มีเหตุไม่เกิดขึ้น พยาบาทวิตก
มีเหตุจึงเกิดขึ้น ไม่มีเหตุไม่เกิดขึ้น วิหิงสาวิตกมีเหตุจึงเกิดขึ้น ไม่มีเหตุไม่เกิดขึ้น
กามวิตกมีเหตุจึงเกิดขึ้น ไม่มีเหตุไม่เกิดขึ้น พยาบาทวิตกมีเหตุจึงเกิดขึ้น
ไม่มีเหตุไม่เกิดขึ้น วิหิงสาวิตกมีเหตุจึงเกิดขึ้น ไม่มีเหตุไม่เกิดขึ้น เป็นอย่างไร
กามสัญญา(ความหมายรู้กาม) เกิดขึ้นเพราะอาศัยกามธาตุ กามสังกัปปะ
(ความดำริในกาม) เกิดขึ้นเพราะอาศัยกามสัญญา กามฉันทะ(ความพอใจในกาม)
เกิดขึ้นเพราะอาศัยกามสังกัปปะ กามปริฬาหะ(ความเร่าร้อนเพราะกาม) เกิดขึ้น
เพราะอาศัยกามฉันทะ กามปริเยสนา(การแสวงหากาม) เกิดขึ้นเพราะอาศัย
กามปริฬาหะ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เมื่อแสวงหากามปริเยสนา ย่อมปฏิบัติผิด ๓ ทาง
คือ ทางกาย ทางวาจา ทางใจ
พยาบาทสัญญา(ความหมายรู้พยาบาท) เกิดขึ้นเพราะอาศัยพยาบาทธาตุ
พยาบาทสังกัปปะ(ความดำริในพยาบาท) เกิดขึ้นเพราะอาศัยพยาบาทสัญญา...
พยาบาทฉันทะ(ความพอใจในพยาบาท) ... พยาบาทปริฬาหะ(ความเร่าร้อนเพราะ
พยาบาท) ... พยาบาทปริเยสนา (การแสวงหาพยาบาท)
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เมื่อแสวงหาพยาบาทปริเยสนา ย่อมปฏิบัติผิด ๓ ทาง คือ
ทางกาย ทางวาจา ทางใจ
วิหิงสาสัญญา (ความหมายรู้ความเบียดเบียน) เกิดขึ้นเพราะอาศัยวิหิงสาธาตุ
วิหิงสาสังกัปปะ(ความดำริในความเบียดเบียน) เกิดขึ้นเพราะอาศัยวิหิงสาสัญญา ...
วิหิงสาฉันทะ (ความพอใจในความเบียดเบียน) ... วิหิงสาปริฬาหะ (ความเร่าร้อน
เพราะความเบียดเบียน) ... วิหิงสาปริเยสนา (การแสวงหาความเบียดเบียน)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต] ๒. ทุติยวรรค ๒. สนิทานสูตร

ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เมื่อแสวงหาวิหิงสาปริเยสนา ย่อมปฏิบัติผิด ๓ ทาง คือ
ทางกาย ทางวาจา ทางใจ
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษวางคบหญ้าที่ไฟติดแล้วในป่าหญ้าแห้ง
หากเขาไม่รีบดับด้วยมือและด้วยเท้า เมื่อเป็นเช่นนี้ บรรดาสัตว์มีชีวิตที่อาศัยหญ้า
และไม้อยู่ พึงถึงความพินาศย่อยยับ อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น สมณะหรือ
พราหมณ์คนใดคนหนึ่ง ไม่รีบละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งอกุศล-
สัญญาที่เกิดขึ้นไม่สม่ำเสมอ สมณะหรือพราหมณ์นั้นย่อมอยู่เป็นทุกข์ มีความ
อึดอัด ความคับแค้น ความเร่าร้อน ในปัจจุบัน หลังจากตายแล้วพึงหวังทุคติได้
เนกขัมมวิตก(ความตรึกในการออกบวช) มีเหตุจึงเกิดขึ้น ไม่มีเหตุไม่เกิดขึ้น
อพยาบาทวิตก(ความตรึกในความไม่พยาบาท) มีเหตุจึงเกิดขึ้น ไม่มีเหตุไม่เกิดขึ้น
อวิหิงสาวิตก(ความตรึกในความไม่เบียดเบียน)มีเหตุจึงเกิดขึ้น ไม่มีเหตุไม่เกิดขึ้น
เนกขัมมวิตกมีเหตุจึงเกิดขึ้น ไม่มีเหตุไม่เกิดขึ้น อพยาบาทวิตกมีเหตุจึง
เกิดขึ้น ไม่มีเหตุไม่เกิดขึ้น อวิหิงสาวิตกมีเหตุจึงเกิดขึ้น ไม่มีเหตุไม่เกิดขึ้น
เป็นอย่างไร
คือ เนกขัมมสัญญาเกิดขึ้นเพราะอาศัยเนกขัมมธาตุ เนกขัมมสังกัปปะเกิดขึ้น
เพราะอาศัยเนกขัมมสัญญา เนกขัมมฉันทะเกิดขึ้นเพราะอาศัยเนกขัมมสังกัปปะ
เนกขัมมปริฬาหะเกิดขึ้นเพราะอาศัยเนกขัมมฉันทะ เนกขัมมปริเยสนาเกิดขึ้น
เพราะอาศัยเนกขัมมปริฬาหะ อริยสาวกผู้ได้สดับ เมื่อแสวงหาเนกขัมมปริเยสนา
ย่อมปฏิบัติชอบ ๓ ทาง คือ ทางกาย ทางวาจา ทางใจ
อพยาบาทสัญญาเกิดขึ้นเพราะอาศัยอพยาบาทธาตุ อพยาบาทสังกัปปะเกิด
ขึ้นเพราะอาศัยอพยาบาทสัญญา ... อพยาบาทฉันทะ ... อพยาบาทปริฬาหะ ...
อพยาบาทปริเยสนา
อริยสาวกผู้ได้สดับ เมื่อแสวงหาอพยาบาทปริเยสนา ย่อมปฏิบัติชอบ ๓ ทาง
คือ ทางกาย ทางวาจา ทางใจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๓. คิญชกาวสถสูตร

อวิหิงสาสัญญาเกิดขึ้นเพราะอาศัยอวิหิงสาธาตุ อวิหิงสาสังกัปปะเกิดขึ้น
เพราะอาศัยอวิหิงสาสัญญา อวิหิงสาฉันทะเกิดขึ้นเพราะอาศัยอวิหิงสาสังกัปปะ
อวิหิงสาปริฬาหะเกิดขึ้นเพราะอาศัยอวิหิงสาฉันทะ อวิหิงสาปริเยสนาเกิดขึ้นเพราะ
อาศัยอวิหิงสาปริฬาหะ อริยสาวกผู้ได้สดับ เมื่อแสวงหาอวิหิงสาปริเยสนา ย่อม
ปฏิบัติชอบ ๓ ทาง คือ ทางกาย ทางวาจา ทางใจ
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษวางคบหญ้าที่ไฟติดแล้วในป่าหญ้าแห้ง
เขารีบดับคบหญ้านั้นด้วยมือและด้วยเท้า เมื่อเป็นเช่นนี้ บรรดาสัตว์มีชีวิตที่อาศัย
หญ้าและไม้อยู่ จึงไม่ถึงความพินาศย่อยยับ อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น สมณะ
หรือพราหมณ์คนใดคนหนึ่ง รีบละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่ง
อกุศลสัญญาที่เกิดขึ้นไม่สม่ำเสมอ สมณะหรือพราหมณ์นั้นย่อมอยู่เป็นสุข ไม่มี
ความอึดอัด ความคับแค้น ความเร่าร้อน ในปัจจุบัน หลังจากตายแล้วพึงหวัง
สุคติได้”

สนิทานสูตรที่ ๒ จบ

๓. คิญชกาวสถสูตร
ว่าด้วยการแสดงธรรม ณ ตำหนักอิฐ

[๙๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ตำหนักอิฐ ใกล้หมู่บ้าน
ญาติกะ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย สัญญาเกิดขึ้นเพราะอาศัยธาตุ ทิฏฐิเกิดขึ้นเพราะอาศัยธาตุ
วิตกเกิดขึ้นเพราะอาศัยธาตุ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๓. คิญชกาวสถสูตร

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระกัจจานะได้ทูลถามพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทิฏฐิที่ว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในบุคคลที่มิใช่
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า๑ นี้ย่อมปรากฏเพราะอาศัยอะไร”
“กัจจานะ ธาตุคืออวิชชานี้ เป็นธาตุใหญ่ สัญญาที่เลว ทิฏฐิที่เลว วิตกที่เลว
เจตนาที่เลว ความปรารถนาที่เลว ความตั้งใจที่เลว บุคคลที่เลว วาจาที่เลว เกิดขึ้น
เพราะอาศัยธาตุที่เลว บุคคลที่เลวนั้น ย่อมบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย
จำแนก ทำให้ง่ายซึ่งธรรมที่เลว เรากล่าวว่า ความเกิดของบุคคลนั้นเลว
สัญญาที่ปานกลาง ทิฏฐิที่ปานกลาง วิตกที่ปานกลาง เจตนาที่ปานกลาง
ความปรารถนาที่ปานกลาง ความตั้งใจที่ปานกลาง บุคคลที่ปานกลาง วาจาที่
ปานกลาง เกิดขึ้นเพราะอาศัยธาตุที่ปานกลาง บุคคลที่ปานกลางนั้น ย่อมบอก
แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายซึ่งธรรมที่ปานกลาง
เรากล่าวว่า ความเกิดของบุคคลนั้นปานกลาง
กัจจานะ สัญญาที่ประณีต ทิฏฐิที่ประณีต วิตกที่ประณีต เจตนาที่ประณีต
ความปรารถนาที่ประณีต ความตั้งใจที่ประณีต บุคคลที่ประณีต วาจาที่ประณีต
เกิดขึ้นเพราะอาศัยธาตุที่ประณีต บุคคลที่ประณีตนั้น ย่อมบอก แสดง บัญญัติ
กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายซึ่งธรรมที่ประณีต เรากล่าวว่า ความเกิด
ของบุคคลนั้นประณีต”

คิญชกาวสถสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๔. หีนาธิมุตติกสูตร

๔. หีนาธิมุตติกสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้มีอัธยาศัยเลวและอัธยาศัยงาม

[๙๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือ
สัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยเลว คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยเลว
สัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยงาม คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยงาม
แม้ในอดีต สัตว์ทั้งหลายก็ได้คบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือ
สัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยเลว ได้คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยเลว
สัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยงาม ได้คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยงาม
แม้ในอนาคต สัตว์ทั้งหลายก็จักคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือ
สัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยเลว จักคบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยเลว สัตว์
ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยงาม จักคบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยงาม
ภิกษุทั้งหลาย แม้ในปัจจุบันนี้ สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุ
อย่างเดียวกัน คือสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยเลว คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีอัธยาศัยเลว สัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยงาม คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มี
อัธยาศัยงาม”

หีนาธิมุตติกสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต] ๒. ทุติยวรรค ๕. จังกมสูตร

๕. จังกมสูตร
ว่าด้วยการจงกรม

[๙๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุงราชคฤห์
สมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรกำลังเดินจงกรมอยู่กับภิกษุจำนวนมากในที่ไม่ไกลพระผู้มี
พระภาค ท่านพระมหาโมคคัลลานะก็กำลังเดินจงกรมอยู่กับภิกษุจำนวนมากในที่ไม่
ไกลพระผู้มีพระภาค ท่านพระมหากัสสปะก็กำลังเดินจงกรมอยู่กับภิกษุจำนวนมาก
ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค ท่านพระอนุรุทธะก็กำลังเดินจงกรมอยู่กับภิกษุจำนวนมาก
ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค ท่านพระปุณณมันตานีบุตรก็กำลังเดินจงกรมอยู่กับภิกษุ
จำนวนมากในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค ท่านพระอุบาลีก็กำลังเดินจงกรมอยู่กับภิกษุ
จำนวนมากในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค ท่านพระอานนท์ก็กำลังเดินจงกรมอยู่กับภิกษุ
จำนวนมากในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค แม้พระเทวทัตก็กำลังเดินจงกรมอยู่กับภิกษุ
จำนวนมากในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค

บุคคลผู้มีอัธยาศัยเหมือนกันจึงคบกันได้

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเห็นสารีบุตรกำลังเดินจงกรมอยู่กับภิกษุจำนวน
มากหรือไม่”
“เห็น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหมดนี้ล้วนมีปัญญามาก
เธอทั้งหลายเห็นมหาโมคคัลลานะกำลังเดินจงกรมอยู่กับภิกษุจำนวนมากหรือไม่”
“เห็น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหมดนี้ล้วนมีฤทธิ์มาก
เธอทั้งหลายเห็นมหากัสสปะกำลังเดินจงกรมอยู่กับภิกษุจำนวนมากหรือไม่”
“เห็น พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต] ๒. ทุติยวรรค ๕. จังกมสูตร

“ภิกษุทั้งหมดนี้ล้วนกล่าวเรื่องธุดงค์๑
เธอทั้งหลายเห็นอนุรุทธะกำลังเดินจงกรมอยู่กับภิกษุจำนวนมากหรือไม่”
“เห็น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหมดนี้ล้วนมีตาทิพย์
เธอทั้งหลายเห็นปุณณมันตานีบุตรกำลังเดินจงกรมอยู่กับภิกษุจำนวนมาก
หรือไม่”
“เห็น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหมดนี้ล้วนเป็นธรรมกถึก
เธอทั้งหลายเห็นอุบาลีกำลังเดินจงกรมอยู่กับภิกษุจำนวนมากหรือไม่”
“เห็น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหมดนี้ล้วนทรงวินัย
เธอทั้งหลายเห็นอานนท์กำลังเดินจงกรมอยู่กับภิกษุจำนวนมากหรือไม่”
“เห็น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหมดนี้ล้วนเป็นพหูสูต
เธอทั้งหลายเห็นเทวทัตกำลังเดินจงกรมอยู่กับภิกษุจำนวนมากหรือไม่”
“เห็น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหมดนี้ล้วนมีความปรารถนาชั่ว


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต] ๒. ทุติยวรรค ๖. สคาถาสูตร

สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัย
เลว คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยเลว สัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยงาม
คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยงาม
แม้ในอดีต สัตว์ทั้งหลายก็ได้คบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือ
สัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยเลว ได้คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยเลว
สัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยงาม ได้คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยงาม
แม้ในอนาคต สัตว์ทั้งหลายก็จักคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือ
สัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยเลว จักคบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยเลว
สัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยงาม จักคบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยงาม
ภิกษุทั้งหลาย แม้ในปัจจุบันนี้ สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุ
อย่างเดียวกัน คือสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยเลว คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีอัธยาศัยเลว สัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยงาม คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มี
อัธยาศัยงาม”

จังกมสูตรที่ ๕ จบ

๖. สคาถาสูตร
ว่าด้วยธรรมเทศนาที่มีคาถา

[๑๐๐] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...

สัตว์ผู้มีอัธยาศัยเหมือนกันจึงคบกันได้

“ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือ
สัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยเลว คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยเลว
แม้ในอดีต สัตว์ทั้งหลายได้คบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน
แม้ในอนาคต สัตว์ทั้งหลายจักคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต] ๒. ทุติยวรรค ๖. สคาถาสูตร

แม้ในปัจจุบันนี้ สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือ
สัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยเลว คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยเลว
เปรียบเหมือนคูถ(อุจจาระ)กับคูถรวมเข้ากันได้ มูตร(ปัสสาวะ)กับมูตรรวม
เข้ากันได้ เขฬะ(น้ำลาย) กับเขฬะรวมเข้ากันได้ ปุพโพ(น้ำหนอง)กับปุพโพรวมเข้ากันได้
โลหิต(เลือด)กับโลหิตรวมเข้ากันได้ อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น สัตว์ทั้งหลายคบค้า
สมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยเลว คบค้าสมาคม
กับสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยเลว
แม้ในอดีต ฯลฯ
แม้ในอนาคต ฯลฯ
แม้ในปัจจุบันนี้ สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือสัตว์
ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยเลว คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยเลว
สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือสัตว์ทั้งหลายผู้มี
อัธยาศัยงาม คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยงาม
แม้ในอดีต สัตว์ทั้งหลายได้คบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือ
สัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยงาม ได้คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยงาม
แม้ในอนาคต สัตว์ทั้งหลายจักคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือ
สัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยงาม จักคบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยงาม
แม้ในปัจจุบันนี้ สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือ
สัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยงาม คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยงาม
เปรียบเหมือนน้ำนมสดกับน้ำนมสดรวมเข้ากันได้ น้ำมันกับน้ำมันรวมเข้ากันได้
เนยใสกับเนยใสรวมเข้ากันได้ น้ำผึ้งกับน้ำผึ้งรวมเข้ากันได้ น้ำอ้อยกับน้ำอ้อยรวม
เข้ากันได้ อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุ
อย่างเดียวกัน คือสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยงาม คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มี
อัธยาศัยงาม
แม้ในอดีต ฯลฯ
แม้ในอนาคต ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๗. อัสสัทธสังสันทนสูตร

ภิกษุทั้งหลาย แม้ในปัจจุบันนี้ สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุ
อย่างเดียวกัน คือสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยงาม คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มี
อัธยาศัยงาม”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัส
คาถาประพันธ์ต่อไปว่า
“ป่าคือกิเลส เกิดเพราะการคลุกคลีกัน
ย่อมขาดไป เพราะการไม่คลุกคลีกัน
บุคคลเกาะท่อนไม้เล็กพึงจมลงในห้วงน้ำใหญ่ฉันใด
แม้สาธุชนอาศัยคนเกียจคร้านก็ย่อมจมลงฉันนั้น
เพราะฉะนั้น พึงเว้นคนเกียจคร้าน
ผู้มีความเพียรย่อหย่อนนั้นเสีย
พึงอยู่ร่วมกับบัณฑิตผู้สงัด เป็นอริยะ
มีใจเด็ดเดี่ยว เพ่งพินิจ ปรารภความเพียรเป็นนิจ”

สคาถาสูตรที่ ๖ จบ

๗. อัสสัทธสังสันทนสูตร
ว่าด้วยการคบค้าสมาคมกันของสัตว์ผู้ไม่มีศรัทธา

[๑๐๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาคได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือสัตว์
ทั้งหลายผู้ไม่มีศรัทธา คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีศรัทธา สัตว์ทั้งหลายผู้
ไม่มีหิริ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีหิริ สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีโอตตัปปะ
คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีโอตตัปปะ สัตว์ทั้งหลายผู้มีสุตะน้อย คบค้า
สมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสุตะน้อย สัตว์ทั้งหลายผู้เกียจคร้าน คบค้าสมาคมกับ
สัตว์ทั้งหลายผู้เกียจคร้าน สัตว์ทั้งหลายผู้มีสติหลงลืม คบค้าสมาคมกับสัตว์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๗. อัสสัทธสังสันทนสูตร

ทั้งหลายผู้มีสติหลงลืม สัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม คบค้าสมาคมกับสัตว์
ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม
แม้ในอดีต สัตว์ทั้งหลายได้คบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือสัตว์
ทั้งหลายผู้ไม่มีศรัทธา ได้คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีศรัทธา สัตว์ทั้งหลาย
ผู้ไม่มีหิริ ได้คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีหิริ สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีโอตตัปปะ
ได้คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีโอตตัปปะ สัตว์ทั้งหลายผู้มีสุตะน้อย ได้คบค้า
สมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสุตะน้อย สัตว์ทั้งหลายผู้เกียจคร้าน ได้คบค้าสมาคมกับ
สัตว์ทั้งหลายผู้เกียจคร้าน สัตว์ทั้งหลายผู้มีสติหลงลืม ได้คบค้าสมาคมกับสัตว์
ทั้งหลายผู้มีสติหลงลืม สัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม ได้คบค้าสมาคมกับสัตว์
ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม
แม้ในอนาคต สัตว์ทั้งหลายจักคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือ
สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีศรัทธา จักคบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีศรัทธา สัตว์ทั้งหลาย
ผู้ไม่มีหิริ จักคบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีหิริ สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีโอตตัปปะ
... กับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีโอตตัปปะ สัตว์ทั้งหลายผู้มีสุตะน้อย ... กับสัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีสุตะน้อย สัตว์ทั้งหลายผู้เกียจคร้าน ... กับสัตว์ทั้งหลายผู้เกียจคร้าน สัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีสติหลงลืม ... กับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสติหลงลืม สัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม
จักคบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม
แม้ในปัจจุบันนี้ สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือสัตว์
ทั้งหลายผู้ไม่มีศรัทธา คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีศรัทธา สัตว์ทั้งหลาย
ผู้ไม่มีหิริ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีหิริ ฯลฯ สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มี
โอตตัปปะ ... กับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีโอตตัปปะ สัตว์ทั้งหลายผู้มีสุตะน้อย ... กับสัตว์
ทั้งหลายผู้มีสุตะน้อย สัตว์ทั้งหลายผู้เกียจคร้าน ... กับสัตว์ทั้งหลายผู้เกียจคร้าน
สัตว์ทั้งหลายผู้มีสติหลงลืม ... กับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสติหลงลืม สัตว์ทั้งหลายผู้มี
ปัญญาทราม คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม
ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือสัตว์
ทั้งหลายผู้มีศรัทธา คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีศรัทธา สัตว์ทั้งหลายผู้มีหิริ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๘. อัสสัทธมูลกสูตร

คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีหิริ สัตว์ทั้งหลายผู้มีโอตตัปปะ คบค้าสมาคมกับ
สัตว์ทั้งหลายผู้มีโอตตัปปะ สัตว์ทั้งหลายผู้มีสุตะมาก คบค้าสมาคมกับสัตว์
ทั้งหลายผู้มีสุตะมาก สัตว์ทั้งหลายผู้ปรารภความเพียร คบค้าสมาคมกับสัตว์
ทั้งหลายผู้ปรารภความเพียร สัตว์ทั้งหลายผู้มีสติมั่นคง คบค้าสมาคมกับสัตว์
ทั้งหลายผู้มีสติมั่นคง สัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีปัญญา
แม้ในอดีต ฯลฯ
แม้ในอนาคต ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย แม้ในปัจจุบันนี้ สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกัน” ฯลฯ

อัสสัทธสังสันทนสูตรที่ ๗ จบ

๘. อัสสัทธมูลกสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้ไม่มีศรัทธาเป็นมูล

[๑๐๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือสัตว์
ทั้งหลายผู้ไม่มีศรัทธา คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีศรัทธา สัตว์ทั้งหลายผู้
ไม่มีหิริ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีหิริ สัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม
คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม
สัตว์ทั้งหลายผู้มีศรัทธา คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีศรัทธา สัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีหิริ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีหิริ สัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา คบค้าสมาคม
กับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา
แม้ในอดีต สัตว์ทั้งหลายได้คบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน ฯลฯ
แม้ในอนาคต สัตว์ทั้งหลายจักคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๘. อัสสัทธมูลกสูตร

แม้ในปัจจุบันนี้ สัตว์ทั้งหลายก็คบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือ
สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีศรัทธา คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีศรัทธา สัตว์ทั้งหลาย
ผู้ไม่มีหิริ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีหิริ สัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม
คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม
สัตว์ทั้งหลายผู้มีศรัทธา คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีศรัทธา สัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีหิริ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีหิริ สัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา คบค้าสมาคม
กับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา (๑)
สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มี
ศรัทธา คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีศรัทธา สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีโอตตัปปะ
คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีโอตตัปปะ สัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม
คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม
สัตว์ทั้งหลายผู้มีศรัทธา คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีศรัทธา สัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีโอตตัปปะ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีโอตตัปปะ สัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา
คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา ฯลฯ (พึงรู้ความพิสดารเหมือนวาระแรก) (๒)
สัตว์ทั้งหลาย ฯลฯ โดยธาตุอย่างเดียวกัน คือสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีศรัทธา
คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีศรัทธา สัตว์ทั้งหลายผู้มีสุตะน้อย คบค้า
สมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสุตะน้อย สัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม คบค้าสมาคม
กับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม
สัตว์ทั้งหลายผู้มีศรัทธา คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีศรัทธา สัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีสุตะมาก คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสุตะมาก สัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา
คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา ฯลฯ (๓)
สัตว์ทั้งหลาย ฯลฯ โดยธาตุอย่างเดียวกัน คือสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีศรัทธา
คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีศรัทธา สัตว์ทั้งหลายผู้เกียจคร้าน คบค้า
สมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้เกียจคร้าน สัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม คบค้าสมาคม
กับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๙. อหิริกมูลกสูตร

สัตว์ทั้งหลายผู้มีศรัทธา คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีศรัทธา สัตว์ทั้งหลาย
ผู้ปรารภความเพียร คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ปรารภความเพียร สัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีปัญญา คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา ฯลฯ (๔)
ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย ฯลฯ โดยธาตุอย่างเดียวกัน คือสัตว์ทั้งหลาย
ผู้ไม่มีศรัทธา คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีศรัทธา สัตว์ทั้งหลายผู้มีสติ
หลงลืม คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสติหลงลืม สัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม
คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม
สัตว์ทั้งหลายผู้มีศรัทธา คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีศรัทธา สัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีสติมั่นคง คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสติมั่นคง สัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา
คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา” ฯลฯ (๕)

อัสสัทธมูลกสูตรที่ ๘ จบ

๙. อหิริกมูลกสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้ไม่มีหิริเป็นมูล

[๑๐๓] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือสัตว์
ทั้งหลายผู้ไม่มีหิริ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีหิริ สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มี
โอตตัปปะ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีโอตตัปปะ สัตว์ทั้งหลายผู้มี
ปัญญาทราม คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม
สัตว์ทั้งหลายผู้มีหิริ(ความละอายต่อบาป) คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีหิริ สัตว์ทั้งหลายผู้มีโอตตัปปะ(ความเกรงกลัวต่อบาป) คบค้าสมาคมกับสัตว์
ทั้งหลายผู้มีโอตตัปปะ สัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มี
ปัญญา ฯลฯ (๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๙. อหิริกมูลกสูตร

สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีหิริ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีหิริ สัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีสุตะน้อย คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสุตะน้อย สัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา
ทราม คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม
สัตว์ทั้งหลายผู้มีหิริ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีหิริ สัตว์ทั้งหลายผู้มี
สุตะมาก คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสุตะมาก สัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา
คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา ฯลฯ (๒)
สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีหิริ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีหิริ สัตว์ทั้งหลาย
ผู้เกียจคร้าน คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้เกียจคร้าน สัตว์ทั้งหลายผู้มี
ปัญญาทราม คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม
สัตว์ทั้งหลายผู้มีหิริ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีหิริ สัตว์ทั้งหลาย
ผู้ปรารภความเพียร คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ปรารภความเพียร สัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีปัญญา คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา ฯลฯ (๓)
สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีหิริ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีหิริ สัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีสติหลงลืม คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสติหลงลืม สัตว์ทั้งหลายผู้มี
ปัญญาทราม คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม
สัตว์ทั้งหลายผู้มีหิริ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีหิริ สัตว์ทั้งหลายผู้มี
สติมั่นคง คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสติมั่นคง สัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา
คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา” ฯลฯ (๔)

อหิริกมูลกสูตรที่ ๙ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๑๐. อโนตตัปปมูลกสูตร

๑๐. อโนตตัปปมูลกสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้ไม่มีโอตตัปปะเป็นมูล

[๑๐๔] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือ
สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีโอตตัปปะ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีโอตตัปปะ
สัตว์ทั้งหลายผู้มีสุตะน้อย คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสุตะน้อย สัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีปัญญาทราม คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม
สัตว์ทั้งหลายผู้มีโอตตัปปะ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีโอตตัปปะ
สัตว์ทั้งหลายผู้มีสุตะมาก คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสุตะมาก สัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีปัญญา คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา ฯลฯ (๑)
สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีโอตตัปปะ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีโอตตัปปะ
สัตว์ทั้งหลายผู้เกียจคร้าน คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้เกียจคร้าน สัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีปัญญาทราม คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม
สัตว์ทั้งหลายผู้มีโอตตัปปะ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีโอตตัปปะ สัตว์
ทั้งหลายผู้ปรารภความเพียร คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ปรารภความเพียร
สัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา ฯลฯ (๒)
สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีโอตตัปปะ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีโอตตัปปะ
สัตว์ทั้งหลายผู้มีสติหลงลืม คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสติหลงลืม สัตว์
ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม
สัตว์ทั้งหลายผู้มีโอตตัปปะ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีโอตตัปปะ
สัตว์ทั้งหลายผู้มีสติมั่นคง คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสติมั่นคง สัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีปัญญา คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา” ฯลฯ (๓)

อโนตตัปปมูลกสูตรที่ ๑๐ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๑๑. อัปปัสสุตมูลกสุตร

๑๑. อัปปัสสุตมูลกสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้มีสุตะน้อยเป็นมูล

[๑๐๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือสัตว์
ทั้งหลายผู้มีสุตะน้อย คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสุตะน้อย สัตว์ทั้งหลาย
ผู้เกียจคร้าน คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้เกียจคร้าน สัตว์ทั้งหลายผู้มี
ปัญญาทราม คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม
สัตว์ทั้งหลายผู้มีสุตะมาก คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสุตะมาก สัตว์
ทั้งหลายผู้ปรารภความเพียร คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ปรารภความเพียร
สัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา ฯลฯ (๑)
สัตว์ทั้งหลายผู้มีสุตะน้อย คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสุตะน้อย สัตว์
ทั้งหลายผู้มีสติหลงลืม คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสติหลงลืม สัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีปัญญาทราม คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม สัตว์ทั้งหลายผู้มี
สุตะมาก คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสุตะมาก สัตว์ทั้งหลายผู้มีสติมั่นคง
คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสติมั่นคง สัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา คบค้าสมาคม
กับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา” ฯลฯ (๒)

อัปปัสสุตมูลกสูตรที่ ๑๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๑๒. กุสีตมูลกสูตร

๑๒. กุสีตมูลกสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้เกียจคร้านเป็นมูล

[๑๐๖] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือสัตว์
ทั้งหลายผู้เกียจคร้าน คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้เกียจคร้าน สัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีสติหลงลืม คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสติหลงลืม สัตว์ทั้งหลายผู้มี
ปัญญาทราม คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม สัตว์ทั้งหลายผู้ปรารภ
ความเพียร คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ปรารภความเพียร
สัตว์ทั้งหลายผู้มีสติมั่นคง คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสติมั่นคง สัตว์
ทั้งหลายผู้มีปัญญา คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา” ฯลฯ

กุสีตมูลกสูตรที่ ๑๒ จบ
[ส่วนที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน ในทุกแห่ง พึงทำเหมือนอย่างข้างต้น]
ทุติยวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สัตตธาตุสูตร ๒. สนิทานสูตร
๓. คิญชกาวสถสูตร ๔. หีนาธิมุตติกสูตร
๕. จังกมสูตร ๖. สคาถาสูตร
๗. อัสสัทธสังสันทนสูตร ๘. อัสสัทธมูลกสูตร
๙. อหิริกมูลกสูตร ๑๐. อโนตตัปปมูลกสูตร
๑๑. อัปปัสสุตมูลกสูตร ๑๒. กุสีตมูลกสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๓. กัมมปถวรรค ๑. อสมาหิตสูตร

๓. กัมมปถวรรค
หมวดว่าด้วยกรรมบถ

๑. อสมาหิตสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้มีจิตไม่มั่นคง

[๑๐๗] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือ
สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีศรัทธา คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีศรัทธา สัตว์
ทั้งหลายผู้ไม่มีหิริ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีหิริ สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มี
โอตตัปปะ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีโอตตัปปะ สัตว์ทั้งหลายผู้มีจิต
ไม่มั่นคง๑ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีจิตไม่มั่นคง สัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา
ทราม คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม
สัตว์ทั้งหลายผู้มีศรัทธา คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีศรัทธา สัตว์
ทั้งหลายผู้มีหิริ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีหิริ สัตว์ทั้งหลายผู้มีโอตตัปปะ
คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีโอตตัปปะ สัตว์ทั้งหลายผู้มีจิตมั่นคง คบค้าสมาคม
กับสัตว์ทั้งหลายผู้มีจิตมั่นคง สัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีปัญญา”

อสมาหิตสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๓. กัมมปถวรรค ๓. ปัญจสิกขาปทสูตร

๒. ทุสสีลสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้ทุศีล

[๑๐๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือสัตว์
ทั้งหลายผู้ไม่มีศรัทธา คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีศรัทธา สัตว์ทั้งหลายผู้
ไม่มีหิริ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีหิริ สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีโอตตัปปะ
คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีโอตตัปปะ สัตว์ทั้งหลายผู้ทุศีล คบค้าสมาคม
กับสัตว์ทั้งหลายผู้ทุศีล สัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีปัญญาทราม
สัตว์ทั้งหลายผู้มีศรัทธา คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีศรัทธา สัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีหิริ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีหิริ สัตว์ทั้งหลายผู้มีโอตตัปปะ คบค้าสมาคม
กับสัตว์ทั้งหลายผู้มีโอตตัปปะ สัตว์ทั้งหลายผู้มีศีล คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีศีล สัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา”

ทุสสีลสูตรที่ ๒ จบ

๓. ปัญจสิกขาปทสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้มีศีล ๕

[๑๐๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลาย
มาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มี
พระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือสัตว์
ทั้งหลายผู้ฆ่าสัตว์ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ฆ่าสัตว์ สัตว์ทั้งหลายผู้ลักทรัพย์
คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ลักทรัพย์ สัตว์ทั้งหลายผู้ประพฤติผิดในกาม คบค้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๓. กัมมปถวรรค ๔.สัตตกัมมปถสูตร

สมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ประพฤติผิดในกาม สัตว์ทั้งหลายผู้พูดเท็จ คบค้าสมาคม
กับสัตว์ทั้งหลายผู้พูดเท็จ สัตว์ทั้งหลายผู้เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุ
แห่งความประมาท คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย
อันเป็นเหตุแห่งความประมาท
สัตว์ทั้งหลายผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้เว้นขาด
จากการฆ่าสัตว์ สัตว์ทั้งหลายผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์ คบค้าสมาคมกับสัตว์
ทั้งหลายผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์ สัตว์ทั้งหลายผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม
คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม สัตว์ทั้งหลายผู้
เว้นขาดจากการพูดเท็จ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ
สัตว์ทั้งหลายผู้เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความ
ประมาท คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและ
เมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท”

ปัญจสิกขาปทสูตรที่ ๓ จบ

๔. สัตตกัมมปถสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้มีกรรมบถ ๗

[๑๑๐] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือสัตว์
ทั้งหลายผู้ฆ่าสัตว์ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ฆ่าสัตว์ สัตว์ทั้งหลายผู้ลักทรัพย์
คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ลักทรัพย์ สัตว์ทั้งหลายผู้ประพฤติผิดในกาม คบค้า
สมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ประพฤติผิดในกาม สัตว์ทั้งหลายผู้พูดเท็จ คบค้าสมาคมกับ
สัตว์ทั้งหลายผู้พูดเท็จ สัตว์ทั้งหลายผู้พูดส่อเสียด คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลาย
ผู้พูดส่อเสียด สัตว์ทั้งหลายผู้พูดคำหยาบ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้พูดคำหยาบ
สัตว์ทั้งหลายผู้พูดเพ้อเจ้อ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้พูดเพ้อเจ้อ
สัตว์ทั้งหลายผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ... สัตว์ทั้งหลายผู้เว้นขาดจากการ
ลักทรัพย์ ... สัตว์ทั้งหลายผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม ... สัตว์ทั้งหลาย
ผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ ... สัตว์ทั้งหลายผู้เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด คบค้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๓. กัมมปถวรรค ๕. ทสกัมมปถสูตร

สมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด สัตว์ทั้งหลายผู้เว้นขาดจาก
การพูดคำหยาบ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ
สัตว์ทั้งหลายผู้เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้เว้นขาด
จากการพูดเพ้อเจ้อ”

สัตตกัมมปถสูตรที่ ๔ จบ

๕. ทสกัมมปถสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้มีกรรมบถ ๑๐

[๑๑๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือสัตว์
ทั้งหลายผู้ฆ่าสัตว์ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ฆ่าสัตว์ สัตว์ทั้งหลายผู้ลักทรัพย์
... สัตว์ทั้งหลายผู้ประพฤติผิดในกาม ... สัตว์ทั้งหลายผู้พูดเท็จ ... สัตว์ทั้งหลายผู้
พูดส่อเสียด ... สัตว์ทั้งหลายผู้พูดคำหยาบ ... สัตว์ทั้งหลายผู้พูดเพ้อเจ้อ คบค้า
สมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้พูดเพ้อเจ้อ สัตว์ทั้งหลายผู้มีอภิชฌา (ความเพ่งเล็งอยาก
ได้ของคนอื่น)มาก คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีอภิชฌามาก สัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีจิตพยาบาท คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีจิตพยาบาท สัตว์ทั้งหลายผู้มี
มิจฉาทิฏฐิ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีมิจฉาทิฏฐิ
สัตว์ทั้งหลายผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้เว้นขาด
จากการฆ่าสัตว์ สัตว์ทั้งหลายผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์ ... สัตว์ทั้งหลายผู้เว้นขาด
จากการประพฤติผิดในกาม ... สัตว์ทั้งหลายผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ ... สัตว์
ทั้งหลายผู้เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด ... สัตว์ทั้งหลายผู้เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ
... สัตว์ทั้งหลายผู้เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้เว้น
ขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีอภิชฌามาก คบค้าสมาคมกับสัตว์
ทั้งหลายผู้ไม่มีอภิชฌามาก สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีจิตพยาบาท คบค้าสมาคมกับสัตว์
ทั้งหลายผู้ไม่มีจิตพยาบาท สัตว์ทั้งหลายผู้มีสัมมาทิฏฐิ คบค้าสมาคมกับสัตว์
ทั้งหลายผู้มีสัมมาทิฏฐิ”

ทสกัมมปถสูตรที่ ๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๓. กัมมปถวรรค ๗. ทสังคสูตร

๖. อัฏฐังคิกสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้ประกอบด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘

[๑๑๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือสัตว์
ทั้งหลายผู้มีมิจฉาทิฏฐิ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีมิจฉาทิฏฐิ สัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีมิจฉาสังกัปปะ ... สัตว์ทั้งหลายผู้มีมิจฉาวาจา ... สัตว์ทั้งหลายผู้มีมิจฉากัมมันตะ
... สัตว์ทั้งหลายผู้มีมิจฉาอาชีวะ ... สัตว์ทั้งหลายผู้มีมิจฉาวายามะ ... สัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีมิจฉาสติ ... สัตว์ทั้งหลายผู้มีมิจฉาสมาธิ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มี
มิจฉาสมาธิ
สัตว์ทั้งหลายผู้มีสัมมาทิฏฐิ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสัมมาทิฏฐิ
สัตว์ทั้งหลายผู้มีสัมมาสังกัปปะ ... สัตว์ทั้งหลายผู้มีสัมมาวาจา ... สัตว์ทั้งหลายผู้มี
สัมมากัมมันตะ ... สัตว์ทั้งหลายผู้มีสัมมาอาชีวะ ... สัตว์ทั้งหลายผู้มีสัมมาวายามะ
... สัตว์ทั้งหลายผู้มีสัมมาสติ ... สัตว์ทั้งหลายผู้มีสัมมาสมาธิ คบค้าสมาคมกับสัตว์
ทั้งหลายผู้มีสัมมาสมาธิ”

อัฏฐังคิกสูตรที่ ๖ จบ

๗. ทสังคสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐

[๑๑๓] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือสัตว์
ทั้งหลายผู้มีมิจฉาทิฏฐิ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีมิจฉาทิฏฐิ สัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีมิจฉาสังกัปปะ ... สัตว์ทั้งหลายผู้มีมิจฉาวาจา ... สัตว์ทั้งหลายผู้มีมิจฉากัมมันตะ
... สัตว์ทั้งหลายผู้มีมิจฉาอาชีวะ ... สัตว์ทั้งหลายผู้มีมิจฉาวายามะ ... สัตว์ทั้งหลาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๓. กัมมปถวรรค ๗. ทสังคสูตร

ผู้มีมิจฉาสติ ... สัตว์ทั้งหลายผู้มีมิจฉาสมาธิ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีมิจฉาสมาธิ สัตว์ทั้งหลายผู้มีมิจฉาญาณ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มี
มิจฉาญาณ๑ สัตว์ทั้งหลายผู้มีมิจฉาวิมุตติ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มี
มิจฉาวิมุตติ
สัตว์ทั้งหลายผู้มีสัมมาทิฏฐิ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสัมมาทิฏฐิ
สัตว์ทั้งหลายผู้มีสัมมาสังกัปปะ ... สัตว์ทั้งหลายผู้มีสัมมาวาจา ... สัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีสัมมากัมมันตะ ... สัตว์ทั้งหลายผู้มีสัมมาอาชีวะ ... สัตว์ทั้งหลายผู้มีสัมมา-
วายามะ ... สัตว์ทั้งหลายผู้มีสัมมาสติ ... สัตว์ทั้งหลายผู้มีสัมมาสมาธิ ... สัตว์
ทั้งหลายผู้มีสัมมาญาณ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสัมมาญาณ สัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีสัมมาวิมุตติคบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสัมมาวิมุตติ”

ทสังคสูตรที่ ๗ จบ
[ส่วนที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบันในที่ทุกแห่ง พึงทำเหมือนอย่างข้างต้น]

รวมพระสูตรในวรรคนี้ ๗ สูตร คือ

๑. อสมาหิตสูตร ๒. ทุสลีลสูตร
๓. ปัญจสิกขาปทสูตร ๔. สัตตกัมมปถสูตร
๕. ทสกัมมปถสูตร ๖. อัฏฐังคิกสูตร
๗. ทสังคสูตร

กัมมปถวรรคที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๔. จตุตถวรรค ๒. ปุพเพสัมโพธสูตร

๔. จตุตถวรรค
หมวดว่าด้วยธรรมะ สูตรละ ๔ ประการ
๑. จตุธาตุสูตร
ว่าด้วยธาตุ ๔

[๑๑๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย ธาตุมี ๔ ประการนี้ ธาตุ ๔ ประการอะไรบ้าง คือ

๑. ปฐวีธาตุ ๒. อาโปธาตุ
๓. เตโชธาตุ ๔. วาโยธาตุ

ภิกษุทั้งหลาย ธาตุมี ๔ ประการนี้”

จตุธาตุสูตรที่ ๑ จบ

๒. ปุพเพสัมโพธสูตร
ว่าด้วยความดำริก่อนตรัสรู้

[๑๑๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย ก่อนแต่ตรัสรู้ เมื่อเราเป็นโพธิสัตว์ยังไม่ได้ตรัสรู้ ได้มีความคิด
คำนึงอย่างนี้ว่า ‘อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษของปฐวีธาตุ อะไรเป็นเครื่องสลัดออก
จากปฐวีธาตุ
อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษของอาโปธาตุ อะไรเป็นเครื่องสลัดออกจากอาโปธาตุ
อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษของเตโชธาตุ อะไรเป็นเครื่องสลัดออกจากเตโชธาตุ
อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษของวาโยธาตุ อะไรเป็นเครื่องสลัดออกจากวาโยธาตุ’
เรานั้นได้มีความดำริว่า ‘สุขโสมนัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยปฐวีธาตุ’ นี้เป็นคุณ
ของปฐวีธาตุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๔. จตุตถวรรค ๒. ปุพเพสัมโพธสูตร

ปฐวีธาตุเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษของ
ปฐวีธาตุ
ธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะในปฐวีธาตุ นี้เป็นเครื่อง
สลัดออกจากปฐวีธาตุ
สุขโสมนัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยอาโปธาตุ ...
สุขโสมนัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยเตโชธาตุ ...
สุขโสมนัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยวาโยธาตุ ... นี้เป็นคุณของวาโยธาตุ
วาโยธาตุเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษ
ของวาโยธาตุ
ธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะในวาโยธาตุ นี้เป็นเครื่อง
สลัดออกจากวาโยธาตุ
ภิกษุทั้งหลาย ตราบใดเรายังไม่รู้คุณโดยความเป็นคุณ โทษโดยความเป็นโทษ
และเครื่องสลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออกจากธาตุ ๔ ประการนี้ ตามความ
เป็นจริง ตราบนั้นเราก็ปฏิญาณไม่ได้ว่า ‘เป็นผู้ได้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอัน
ยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้ง
สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์’
เมื่อใดเรารู้คุณโดยความเป็นคุณ โทษโดยความเป็นโทษ และเครื่องสลัดออก
โดยความเป็นเครื่องสลัดออกจากธาตุ ๔ ประการนี้ ตามความเป็นจริง เมื่อนั้น
เราจึงปฏิญาณได้ว่า ‘เป็นผู้ได้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้ง
เทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์’
อนึ่ง ญาณและทัสสนะ๑เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า วิมุตติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้
เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก”

ปุพเพสัมโพธสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต] ๔. จตุตถวรรค ๓. อจริงสูตร

๓. อจริงสูตร
ว่าด้วยการเที่ยวแสวงหาคุณโทษและเครื่องสลัดออกจากธาตุ ๔

[๑๑๖] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค...
“ภิกษุทั้งหลาย เราได้เที่ยวแสวงหาคุณของปฐวีธาตุ ได้พบคุณของปฐวีธาตุ
ได้เห็นคุณของปฐวีธาตุเท่าที่มีอยู่ด้วยปัญญา เราได้แสวงหาโทษของปฐวีธาตุ ได้พบ
โทษของปฐวีธาตุ ได้เห็นโทษของปฐวีธาตุเท่าที่มีอยู่ด้วยปัญญา เราได้เที่ยวแสวงหา
เครื่องสลัดออกจากปฐวีธาตุ ได้พบเครื่องสลัดออกจากปฐวีธาตุ ได้เห็นเครื่องสลัดออก
จากปฐวีธาตุเท่าที่มีอยู่ด้วยปัญญา
เราได้เที่ยวแสวงหาคุณของอาโปธาตุ ...
เราได้เที่ยวแสวงหาคุณของเตโชธาตุ ...
เราได้เที่ยวแสวงหาคุณของวาโยธาตุ ได้พบคุณของวาโยธาตุ ได้เห็นคุณของ
วาโยธาตุเท่าที่มีอยู่ด้วยปัญญา เราได้เที่ยวแสวงหาโทษของวาโยธาตุ ได้พบโทษของ
วาโยธาตุ เราได้เที่ยวแสวงหาเครื่องสลัดออกจากวาโยธาตุ ได้เห็นโทษของวาโยธาตุ
เท่าที่มีอยู่ด้วยปัญญา เราได้พบเครื่องสลัดออกจากวาโยธาตุ ได้เห็นเครื่องสลัด
ออกจากวาโยธาตุ เท่าที่มีอยู่ด้วยปัญญา
ภิกษุทั้งหลาย ตราบใดเรายังไม่รู้คุณโดยความเป็นคุณ โทษโดยความเป็นโทษ
และเครื่องสลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออกจากธาตุ ๔ ประการนี้ ตามความ
เป็นจริง ตราบนั้นเราก็ปฏิญาณไม่ได้ว่า ‘เป็นผู้ได้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอัน
ยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณ-
พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์’
เมื่อใดเรารู้คุณโดยความเป็นคุณ โทษโดยความเป็นโทษ และเครื่องสลัดออก
โดยความเป็นเครื่องสลัดออกจากธาตุ ๔ ประการนี้ ตามความเป็นจริง เมื่อนั้นเรา
จึงปฏิญาณได้ว่า ‘เป็นผู้ได้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก
มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์’
อนึ่ง ญาณและทัสสนะเกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า วิมุตติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้
เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก”

อจริงสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๔. จตุตถวรรค ๔. โนเจทังสูตร

๔. โนเจทังสูตร
ว่าด้วยคุณโทษและเครื่องสลัดออกจากธาตุ ๔

[๑๑๗] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค...
“ภิกษุทั้งหลาย ถ้าคุณของปฐวีธาตุจักไม่ได้มี สัตว์ทั้งหลายไม่พึงยินดีในปฐวีธาตุ
แต่เพราะคุณของปฐวีธาตุมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงยินดีในปฐวีธาตุ
ถ้าโทษของปฐวีธาตุจักไม่ได้มี สัตว์ทั้งหลายไม่พึงเบื่อหน่ายในปฐวีธาตุ แต่เพราะ
โทษของปฐวีธาตุมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในปฐวีธาตุ
ถ้าเครื่องสลัดออกจากปฐวีธาตุจักไม่ได้มี สัตว์ทั้งหลายไม่พึงสลัดตนออกจาก
ปฐวีธาตุ แต่เพราะเครื่องสลัดออกจากปฐวีธาตุมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงสลัดตน
ออกจากปฐวีธาตุ
ถ้าคุณของอาโปธาตุจักไม่ได้มี ...
ถ้าคุณของเตโชธาตุจักไม่ได้มี ...
ถ้าคุณของวาโยธาตุจักไม่ได้มี สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงยินดีในวาโยธาตุ แต่เพราะ
คุณของวาโยธาตุมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงยินดีในวาโยธาตุ
ถ้าโทษของวาโยธาตุจักไม่ได้มี สัตว์ทั้งหลายไม่พึงเบื่อหน่ายในวาโยธาตุ แต่เพราะ
โทษของวาโยธาตุมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในวาโยธาตุ
ถ้าเครื่องสลัดออกของวาโยธาตุจักไม่ได้มี สัตว์ทั้งหลายไม่พึงสลัดตนออกจาก
วาโยธาตุ แต่เพราะเครื่องสลัดออกจากวาโยธาตุมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงสลัดตน
ออกจากวาโยธาตุ
ภิกษุทั้งหลาย ตราบใดสัตว์เหล่านี้ยังไม่รู้คุณโดยความเป็นคุณ โทษโดยความ
เป็นโทษ และเครื่องสลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออกจากธาตุ ๔ ประการนี้
ตามความเป็นจริง ตราบนั้นสัตว์เหล่านี้ยังสลัดตนออกไม่ได้ พรากตนออกไม่ได้
ยังไม่หลุดพ้นไปจากโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก จากหมู่สัตว์พร้อมทั้ง
สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ มีใจเป็นอิสระอยู่ไม่ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๔. จตุตถวรรค ๕. เอกันตทุกขสูตร

เมื่อใดสัตว์เหล่านี้รู้คุณโดยความเป็นคุณ โทษโดยความเป็นโทษ และเครื่อง
สลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออกจากธาตุ ๔ ประการนี้ ตามความเป็นจริง
เมื่อนั้นสัตว์เหล่านี้ย่อมสลัดตนออกได้ พรากตนออกได้ หลุดพ้นไปจากโลกพร้อมทั้ง
เทวโลก มารโลก พรหมโลก จากหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์
มีใจเป็นอิสระอยู่ได้”

โนเจทังสูตรที่ ๔ จบ

๕. เอกันตทุกขสูตร
ว่าด้วยธาตุ ๔ มีทุกข์โดยส่วนเดียว

[๑๑๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค...
“ภิกษุทั้งหลาย ถ้าปฐวีธาตุนี้จักได้มีทุกข์โดยส่วนเดียว ถูกทุกข์ติดตาม มีทุกข์
หยั่งลง สุขไม่หยั่งลง สัตว์ทั้งหลายไม่พึงยินดีในปฐวีธาตุ แต่เพราะปฐวีธาตุมีสุข
ติดตาม มีสุขหยั่งลง มีทุกข์ไม่หยั่งลง ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงยินดีในปฐวีธาตุ
ถ้าอาโปธาตุนี้ ...
ถ้าเตโชธาตุนี้ ...
ถ้าวาโยธาตุนี้จักได้มีทุกข์โดยส่วนเดียว ถูกทุกข์ติดตาม มีทุกข์หยั่งลง มีสุข
ไม่หยั่งลง สัตว์ทั้งหลายไม่พึงยินดีในวาโยธาตุ แต่เพราะวาโยธาตุมีสุขติดตาม มีสุข
หยั่งลง มีทุกข์ไม่หยั่งลง ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงยินดีในวาโยธาตุ
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าปฐวีธาตุนี้จักได้มีสุขโดยส่วนเดียว มีสุขติดตาม มีสุขหยั่งลง
มีทุกข์ไม่หยั่งลง สัตว์ทั้งหลายไม่พึงเบื่อหน่ายในปฐวีธาตุ แต่เพราะปฐวีธาตุถูกทุกข์
ติดตาม มีทุกข์หยั่งลง มีสุขไม่หยั่งลง ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในปฐวีธาตุ
ถ้าอาโปธาตุนี้ ...
ถ้าเตโชธาตุนี้ ...
ถ้าวาโยธาตุนี้จักได้มีสุขโดยส่วนเดียว มีสุขติดตาม มีสุขหยั่งลง มีทุกข์ไม่
หยั่งลง สัตว์ทั้งหลายไม่พึงเบื่อหน่ายในวาโยธาตุ แต่เพราะวาโยธาตุถูกทุกข์ติดตาม
มีทุกข์หยั่งลง มีสุขไม่หยั่งลง ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในวาโยธาตุ”

เอกันตทุกขสูตรที่ ๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๔. จตุตถวรรค ๗. อุปปาทสูตร

๖. อภินันทสูตร
ว่าด้วยความชื่นชมธาตุ ๔

[๑๑๙] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค...
“ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดชื่นชมปฐวีธาตุ ผู้นั้นชื่อว่าชื่นชมทุกข์ ผู้ใดชื่นชมทุกข์
เรากล่าวว่า ผู้นั้นไม่หลุดพ้นจากทุกข์
ผู้ใดชื่นชมอาโปธาตุ ...
ผู้ใดชื่นชมเตโชธาตุ ...
ผู้ใดชื่นชมวาโยธาตุ ผู้นั้นชื่อว่าชื่นชมทุกข์ ผู้ใดชื่นชมทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้น
ไม่หลุดพ้นจากทุกข์
ภิกษุทั้งหลาย แต่ผู้ใดไม่ชื่นชมปฐวีธาตุ ผู้นั้นชื่อว่าไม่ชื่นชมทุกข์ ผู้ใดไม่
ชื่นชมทุกข์ เรากล่าวว่า ‘ผู้นั้นหลุดพ้นจากทุกข์’
ผู้ใดไม่ชื่นชมอาโปธาตุ ...
ผู้ใดไม่ชื่นชมเตโชธาตุ ...
ผู้ใดไม่ชื่นชมวาโยธาตุ ผู้นั้นชื่อว่าไม่ชื่นชมทุกข์ ผู้ใดไม่ชื่นชมทุกข์ เรากล่าวว่า
‘ผู้นั้นหลุดพ้นจากทุกข์”

อภินันทสูตรที่ ๖ จบ

๗. อุปปาทสูตร
ว่าด้วยความเกิดขึ้นแห่งธาตุ ๔ เป็นทุกข์

[๑๒๐] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค...
“ภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่ง
ปฐวีธาตุ นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นที่ตั้งแห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชรา
และมรณะ
ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งอาโปธาตุ ... แห่ง
เตโชธาตุ ... แห่งวาโยธาตุ นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นที่ตั้งแห่งโรค เป็นความ
ปรากฏแห่งชราและมรณะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๔. จตุตถวรรค ๘. สมณพราหมณสูตร

ภิกษุทั้งหลาย แต่ความดับ ความระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งปฐวีธาตุ นี้เป็น
ความดับแห่งทุกข์ ความระงับโรค ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชราและมรณะ
ความดับ ความระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งอาโปธาตุ ... แห่งเตโชธาตุ ...
แห่งวาโยธาตุ นี้เป็นความดับแห่งทุกข์ ความระงับโรค ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชรา
และมรณะ”

อุปปาทสูตรที่ ๗ จบ

๘. สมณพราหมณสูตร
ว่าด้วยสมณพราหมณ์

[๑๒๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค...
“ภิกษุทั้งหลาย ธาตุ ๔ ประการนี้ ธาตุ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ปฐวีธาตุ ๒. อาโปธาตุ
๓. เตโชธาตุ ๔. วาโยธาตุ

สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่รู้คุณโทษและเครื่องสลัดออกจากธาตุ
๔ ประการนี้ ตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ไม่จัดว่าเป็นสมณะ
ในหมู่สมณะ หรือไม่จัดว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้นก็ไม่ทำให้
แจ้งประโยชน์ของความเป็นสมณะ หรือประโยชน์ของความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญา
อันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้คุณ โทษ และ
เครื่องสลัดออกจากธาตุ ๔ ประการนี้ ตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์
เหล่านั้นจัดว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ และจัดว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่าน
เหล่านั้นก็ทำให้แจ้งประโยชน์ของความเป็นสมณะ และประโยชน์ของความเป็น
พราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”

สมณพราหมณสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๔. จตุตถวรรค ๑๐. ตติยสมณพราหมณสูตร

๙. ทุติยสมณพราหมณสูตร
ว่าด้วยสมณพราหมณ์ สูตรที่ ๒

[๑๒๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค...
“ภิกษุทั้งหลาย ธาตุ ๔ ประการนี้ ธาตุ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ปฐวีธาตุ ๒. อาโปธาตุ
๓. เตโชธาตุ ๔. วาโยธาตุ

สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งไม่รู้ชัดความเกิด ความตั้งอยู่ไม่ได้ คุณ
โทษ และเครื่องสลัดออกจากธาตุ ๔ ประการนี้ ตามความเป็นจริง ฯลฯ ด้วยปัญญา
อันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน” (เนื้อความโดยละเอียดพึงเทียบกับสูตรที่ ๘)

ทุติยสมณพราหมณสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ตติยสมณพราหมณสูตร
ว่าด้วยสมณพราหมณ์ สูตรที่ ๓

[๑๒๓] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค...
“ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งไม่รู้ชัดปฐวีธาตุ ความเกิด
แห่งปฐวี ความดับแห่งปฐวีธาตุ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งปฐวีธาตุ
ไม่รู้ชัดอาโปธาตุ ฯลฯ ไม่รู้ชัดเตโชธาตุ ... ไม่รู้ชัดวาโยธาตุ ความเกิดแห่ง
วาโยธาตุ ความดับแห่งวาโยธาตุ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งวาโยธาตุ สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่านั้น ไม่จัดว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือไม่จัดว่าเป็นพราหมณ์
ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้นก็ไม่ทำให้แจ้งประโยชน์ของความเป็นสมณะ และ
ประโยชน์ของความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดปฐวีธาตุ ความเกิด
แห่งปฐวีธาตุ ความดับแห่งปฐวีธาตุ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งปฐวีธาตุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๔. จตุตถวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดอาโปธาตุ ฯลฯ
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดเตโชธาตุ ...
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดวาโยธาตุ ความเกิดแห่งวาโยธาตุ
ความดับแห่งวาโยธาตุ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งวาโยธาตุ สมณะหรือพราหมณ์
เหล่านั้น จัดว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ และจัดว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์
ทั้งท่านเหล่านั้นก็ทำให้แจ้งประโยชน์ของความเป็นสมณะ และประโยชน์ของความ
เป็นพราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”

ตติยสมณพราหมณสูตรที่ ๑๐ จบ
จตุตถวรรค จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. จตุธาตุสูตร ๒. ปุพเพสัมโพธสูตร
๓. อจริงสูตร ๔. โนเจทังสูตร
๕. เอกันตทุกขสูตร ๖. อภินันทสูตร
๗. อุปปาทสูตร ๘. สมณพราหมณสูตร
๙. ทุติยสมณพราหมณสูตร ๑๐. ตติยสมณพราหมณสูตร

ธาตุสังยุต จบบริบูรณ์


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๔. อนมตัคคสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๑. ติณกัฏฐสูตร

๔. อนมตัคคสังยุต

๑. ปฐมวรรค
หมวดที่ ๑

๑. ติณกัฏฐสูตร
ว่าด้วยหญ้าและท่อนไม้

[๑๒๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมา
ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาค
จึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ที่สุดเบื้องต้น
ที่สุดเบื้องปลายไม่ปรากฏแก่เหล่าสัตว์ผู้ถูกอวิชชากีดขวาง ถูกตัณหาผูกไว้ วนเวียน
ท่องเที่ยวไป
เปรียบเหมือนบุรุษตัดหญ้า ท่อนไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ ในชมพูทวีปนี้แล้วรวมเป็น
กองเดียวกัน ครั้นรวมกันแล้ว จึงมัด มัดละ ๔ นิ้ว วางไว้ สมมติว่านี้เป็นมารดา
ของเรา นี้เป็นมารดาของมารดาของเรา มารดาของมารดาแห่งบุรุษนั้นไม่พึงสิ้นสุด
ส่วนหญ้า ท่อนไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ ในชมพูทวีปนี้พึงหมดสิ้นไป
ข้อนั้นเพราะเหตุไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๔. อนมตัคคสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๒. ปฐวีสูตร

เพราะว่าสงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ที่สุดเบื้องต้น ที่สุดเบื้องปลาย
ไม่ปรากฏแก่เหล่าสัตว์ผู้ถูกอวิชชากีดขวาง ถูกตัณหาผูกไว้ วนเวียนท่องเที่ยวไป
อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น เธอทั้งหลายเสวยความทุกข์ ได้รับความลำบาก
ได้รับความพินาศเต็มป่าช้า๑เป็นเวลายาวนาน
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนี้แหละจึงควรเบื่อหน่าย ควรคลายกำหนัด ควรเพื่อ
หลุดพ้นจากสังขารทั้งปวง”

ติณกัฏฐสูตรที่ ๑ จบ

๒. ปฐวีสูตร
ว่าด้วยแผ่นดิน

[๑๒๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ที่สุดเบื้องต้น
ที่สุดเบื้องปลายไม่ปรากฏแก่เหล่าสัตว์ผู้ถูกอวิชชากีดขวาง ถูกตัณหาผูกไว้ วนเวียน
ท่องเที่ยวไป
เปรียบเหมือนบุรุษพึงปั้นมหาปฐพีนี้ให้เป็นก้อน ก้อนละเท่าเมล็ดกระเบาแล้ว
วางไว้ สมมติว่านี้เป็นบิดาของเรา นี้เป็นบิดาของบิดาของเรา บิดาของบิดาแห่งบุรุษนั้น
ไม่พึงสิ้นสุด ส่วนมหาปฐพีนี้พึงหมดสิ้นไป
ข้อนั้นเพราะเหตุไร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๔. อนมตัคคสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๓. อัสสุสูตร

เพราะว่าสงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ที่สุดเบื้องต้น ที่สุดเบื้อง
ปลายไม่ปรากฏแก่เหล่าสัตว์ผู้ถูกอวิชชากีดขวาง ถูกตัณหาผูกไว้ วนเวียนท่องเที่ยวไป
อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น เธอทั้งหลายเสวยความทุกข์ เสวยความลำบาก
ได้รับความพินาศเต็มป่าช้าเป็นเวลายาวนาน
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนี้แหละจึงควรเบื่อหน่าย ควรคลายกำหนัด ควรเพื่อ
หลุดพ้นจากสังขารทั้งปวง”

ปฐวีสูตรที่ ๒ จบ

๓. อัสสุสูตร
ว่าด้วยน้ำตา

[๑๒๖] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ฯลฯ เธอทั้งหลาย
จะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร น้ำตาที่หลั่งไหลของเธอทั้งหลายผู้วนเวียนท่องเที่ยวไป
คร่ำครวญร้องไห้อยู่ เพราะประสบกับสิ่งที่ไม่พอใจ เพราะพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจ
โดยกาลนานนี้ กับน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ อย่างไหนจะมากกว่ากัน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายรู้ธรรมตามที่พระองค์ทรงแสดงแล้ว
น้ำตาที่หลั่งไหลของข้าพระองค์ทั้งหลายผู้วนเวียนท่องเที่ยวไป คร่ำครวญร้องไห้อยู่
เพราะประสบกับสิ่งที่ไม่พอใจ เพราะพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจ โดยกาลนานนี้
นี้แหละมากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย”
“ถูกละ ถูกละ เธอทั้งหลายรู้ธรรมตามที่เราแสดงแล้วอย่างนี้ ถูกต้องแล้ว
น้ำตาที่หลั่งไหลของเธอทั้งหลายผู้วนเวียนท่องเที่ยวไป คร่ำครวญร้องไห้อยู่ เพราะ
ประสบกับสิ่งที่ไม่น่าพอใจ เพราะพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจ โดยกาลนานนี้แหละ
มากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๔. อนมตัคคสังยุต] ๑. ปฐมวรรค ๔. ขีรสูตร

เธอทั้งหลายได้ประสบความตายของมารดามาช้านาน น้ำตาที่หลั่งไหลของเธอ
ทั้งหลายผู้ประสบความตายของมารดา คร่ำครวญร้องไห้อยู่ เพราะประสบกับสิ่งที่
ไม่น่าพอใจ เพราะพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจนี้แหละมากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทร
ทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย
เธอทั้งหลายได้ประสบความตายของบิดา ... ของพี่ชายน้องชาย ... ของพี่สาว
น้องสาว ... ของบุตร ... ของธิดา ... ความเสื่อมของญาติ ... ความเสื่อมแห่งโภคะ ...
ความเสื่อมเพราะโรคมาช้านาน น้ำตาที่หลั่งไหลของเธอทั้งหลายผู้ประสบความเสื่อม
เพราะโรค คร่ำครวญร้องไห้อยู่ เพราะประสบกับสิ่งที่ไม่น่าพอใจ เพราะพลัดพราก
จากสิ่งที่พอใจนี้แหละมากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่าสงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนี้แหละจึงควรเบื่อหน่าย ควรคลายกำหนัด ควรเพื่อ
หลุดพ้นจากสังขารทั้งปวง”

อัสสุสูตรที่ ๓ จบ

๔. ขีรสูตร
ว่าด้วยน้ำนม

[๑๒๗] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ฯลฯ เธอทั้งหลาย
จะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร น้ำนมของมารดาที่เธอทั้งหลายผู้วนเวียนท่องเที่ยวไป
โดยกาลนานนี้ดื่มแล้ว กับน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ อย่างไหนจะมากกว่ากัน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายรู้ธรรมตามที่พระองค์ทรงแสดงแล้ว
น้ำนมของมารดาที่ข้าพระองค์ทั้งหลายผู้วนเวียนท่องเที่ยวไปโดยกาลนานนี้ ดื่มแล้ว
นี้แหละมากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๔. อนมตัคคสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๕. ปัพพตสูตร

“ถูกละ ถูกละ เธอทั้งหลายรู้ธรรมตามที่เราแสดงแล้วอย่างนี้ ถูกต้องแล้ว
น้ำนมของมารดาที่เธอทั้งหลายผู้วนเวียนท่องเที่ยวไปโดยกาลนานนี้ดื่มแล้ว นี้แหละ
มากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่าสงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ฯลฯ ควรเพื่อหลุดพ้น” ...

ขีรสูตรที่ ๔ จบ

๕. ปัพพตสูตร
ว่าด้วยภูเขา

[๑๒๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี...
ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง ณ ที่
สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กัปหนึ่งนานเพียงไรหนอ”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสตอบว่า “ภิกษุ กัปหนึ่งนานนักหนา มิใช่เรื่องง่ายที่จะนับ
กัปนั้นว่า เท่านี้ปี เท่านี้ ๑๐๐ ปี เท่านี้ ๑,๐๐๐ ปี หรือว่าเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ ปี””
“พระองค์อาจอุปมาได้ไหม พระพุทธเจ้าข้า”
“อาจอุปมาได้ ภิกษุ เปรียบเหมือนภูเขาศิลาแท่งทึบลูกใหญ่ มีความยาว
๑ โยชน์ กว้าง ๑ โยชน์ สูง ๑ โยชน์ ไม่มีช่อง ไม่มีโพรง บุรุษพึงเอาผ้า
แคว้นกาสี๑ลูบภูเขานั้น ๑๐๐ ปีต่อครั้ง ภูเขาศิลาลูกใหญ่นั้นพึงหมดสิ้นไป เพราะ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๔. อนมตัคคสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๖. สาสปสูตร

ความพยายามนี้ ยังเร็วกว่า ส่วนกัปหนึ่งยังไม่หมดสิ้นไป กัปนานนักหนาอย่างนี้
บรรดากัปที่นานนักหนาอย่างนี้ เธอได้ท่องเที่ยวไป มิใช่ ๑ กัป มิใช่ ๑๐๐ กัป มิใช่
๑,๐๐๐ กัป มิใช่ ๑๐๐,๐๐๐ กัป
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่าสงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ฯลฯ
ภิกษุ เพราะเหตุนี้แหละจึงควรเบื่อหน่าย ควรคลายกำหนัด ควรเพื่อหลุดพ้น
จากสังขารทั้งปวง”

ปัพพตสูตรที่ ๕ จบ

๖. สาสปสูตร
ว่าด้วยเมล็ดผักกาด

[๑๒๙] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง ณ ที่
สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กัปหนึ่งนานเพียงไรหนอ”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสตอบว่า “ภิกษุ กัปหนึ่งนานนักหนา มิใช่เรื่องง่ายที่จะ
นับกัปนั้นว่า เท่านี้ปี ฯลฯ หรือว่าเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ ปี””
“พระองค์อาจอุปมาได้ไหม พระพุทธเจ้าข้า”
“อาจอุปมาได้ ภิกษุ เปรียบเหมือนนครที่สร้างด้วยเหล็ก๑มีความยาว ๑ โยชน์
กว้าง ๑ โยชน์ สูง ๑ โยชน์ เต็มด้วยเมล็ดผักกาด รวมกันเป็นกลุ่มก้อน บุรุษ
พึงหยิบเมล็ดผักกาดออกจากนครนั้น ๑๐๐ ปีต่อ ๑ เมล็ด เมล็ดผักกาดกองใหญ่นั้น
พึงหมดสิ้นไป เพราะความพยายามนี้ยังเร็วกว่า ส่วนกัปหนึ่ง ยังไม่หมดสิ้นไป


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๔. อนมตัคคสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๗. สาวกสูตร

กัปนานนักหนาอย่างนี้ บรรดากัปที่นานนักหนาอย่างนี้ เธอได้ท่องเที่ยวไป มิใช่ ๑ กัป
มิใช่ ๑๐๐ กัป มิใช่ ๑,๐๐๐ กัป มิใช่ ๑๐๐,๐๐๐ กัป
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่าสงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ฯลฯ ควรเพื่อหลุดพ้นจาก
สังขารทั้งปวง”

สาสปสูตรที่ ๖ จบ

๗. สาวกสูตร
ว่าด้วยพระสาวก

[๑๓๐] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
ครั้งนั้น ภิกษุจำนวนมากได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง ณ ที่
สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กัปทั้งหลายที่ผ่านพ้นไปแล้ว มากเท่าไรหนอ”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสตอบว่า “ภิกษุทั้งหลาย กัปทั้งหลายที่ผ่านพ้นไปแล้วมาก
นักหนา มิใช่เรื่องง่ายที่จะนับกัปเหล่านั้นว่า เท่านี้กัป เท่านี้ ๑๐๐ กัป เท่านี้ ๑,๐๐๐ กัป
หรือว่าเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ กัป”
“พระองค์อาจอุปมาได้ไหม พระพุทธเจ้าข้า”
“อาจอุปมาได้ ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนสาวก ๔ รูปในธรรมวินัยนี้
มีอายุ ๑๐๐ ปี มีชีวิตอยู่ ๑๐๐ ปี หากเธอเหล่านั้นพึงระลึกย้อนหลังไปได้ วันละ
๑๐๐,๐๐๐ กัป กัปที่เธอเหล่านั้นระลึกไปไม่ถึงยังมีอยู่ ต่อมาสาวก ๔ รูป มีอายุ
๑๐๐ ปี มีชีวิตอยู่ ๑๐๐ ปี พึงมรณภาพไปทุก ๑๐๐ ปี กัปที่ผ่านพ้นไปแล้วมาก
นักหนาอย่างนี้ มิใช่เรื่องง่ายที่จะนับกัปเหล่านั้นว่า เท่านี้กัป เท่านี้ ๑๐๐ กัป เท่านี้
๑,๐๐๐ กัป หรือว่าเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ กัป
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่าสงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ฯลฯ ควรเพื่อหลุดพ้น” ...

สาวกสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๔. อนมตัคคสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๘. คังคาสูตร

๘. คังคาสูตร
ว่าด้วยแม่น้ำคงคา

[๑๓๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้
เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น พราหมณ์คนหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ
ที่สมควร ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ กัปทั้งหลายที่ผ่านพ้นไปแล้วมากเท่าไรหนอ”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสตอบว่า “พราหมณ์ กัปทั้งหลายที่ผ่านพ้นไปแล้ว
มากนักหนา มิใช่เรื่องง่ายที่จะนับกัปเหล่านั้นว่า เท่านี้กัป เท่านี้ ๑๐๐ กัป เท่านี้
๑,๐๐๐ กัป หรือว่าเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ กัป”
“พระองค์อาจอุปมาได้ไหม พระพุทธเจ้าข้า”
“อาจอุปมาได้ พราหมณ์ เปรียบเหมือนแม่น้ำคงคานี้เริ่มต้นจากที่ใด และถึง
มหาสมุทร ณ ที่ใด เม็ดทรายในระหว่างนี้ง่ายที่จะนับได้ว่า เท่านี้เม็ด เท่านี้
๑๐๐ เม็ด เท่านี้ ๑,๐๐๐ เม็ด หรือว่าเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ เม็ด กัปทั้งหลายที่ผ่านพ้น
ไปแล้วมากกว่าเม็ดทรายเหล่านั้น มิใช่เรื่องง่ายที่จะนับกัปเหล่านั้นว่า เท่านี้กัป
เท่านี้ ๑๐๐ กัป เท่านี้ ๑,๐๐๐ กัป หรือว่าเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ กัป
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่าสงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ที่สุดเบื้องต้น ที่สุดเบื้องปลาย
ไม่ปรากฏแก่เหล่าสัตว์ผู้ถูกอวิชชากีดขวาง ถูกตัณหาผูกไว้ วนเวียนท่องเที่ยวไป
สัตว์เหล่านั้นก็เสวยความทุกข์ เสวยความลำบาก ได้รับความพินาศเต็มป่าช้าเป็น
เวลายาวนาน
พราหมณ์ เพราะเหตุนี้แหละจึงควรเบื่อหน่าย ควรคลายกำหนัด ควรเพื่อ
หลุดพ้นจากสังขารทั้งปวง”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์ผู้นั้นได้กราบทูลว่า “ท่าน
พระโคดม พระภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านพระโคดม พระ
ภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอท่านพระโคดม จงทรงจำข้า
พระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”

คังคาสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๔. อนมตัคคสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๑๐. ปุคคลสูตร

๙. ทัณฑสูตร
ว่าด้วยท่อนไม้

[๑๓๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ที่สุดเบื้องต้น
ที่สุดเบื้องปลายไม่ปรากฏแก่เหล่าสัตว์ผู้ถูกอวิชชากีดขวาง ถูกตัณหาผูกไว้ วนเวียน
ท่องเที่ยวไป ฯลฯ
เปรียบเหมือนท่อนไม้ที่บุคคลโยนขึ้นไปบนอากาศ บางคราวตกลงทางโคน
บางคราวก็ตกลงทางขวาง บางคราวก็ตกลงทางปลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็
ฉันนั้น สัตว์ทั้งหลายผู้ถูกอวิชชากีดขวาง ถูกตัณหาผูกไว้ วนเวียนท่องเที่ยวไป
บางคราวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น บางคราวก็จากโลกอื่นมาสู่โลกนี้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่าสงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ฯลฯ ควรเพื่อหลุดพ้น” ...

ทัณฑสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ปุคคลสูตร
ว่าด้วยบุคคล

[๑๓๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุง
ราชคฤห์ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย สงสารมีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ฯลฯ โครงกระดูก
ร่างกระดูก กองกระดูกของบุคคลคนหนึ่งผู้วนเวียนท่องเที่ยวไปตลอด ๑ กัป ถ้านำ
กระดูกนั้นนำมากองรวมกันได้ และกระดูกที่กองรวมกันไว้ ไม่สูญหายไป พึงใหญ่
เท่าภูเขาเวปุลละนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๔. อนมตัคคสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๑๐. ปุคคลสูตร

ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่าสงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ฯลฯ ควรเพื่อหลุดพ้น” ...
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา
ประพันธ์ต่อไปว่า
“เราผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ได้กล่าวไว้ว่า
กระดูกของบุคคลคนหนึ่งที่สะสมไว้ ๑ กัป
พึงกองสุมเท่าภูเขา ก็ภูเขาที่เรากล่าวถึงนั้น
คือ ภูเขาหลวงชื่อเวปุลละ อยู่ทิศเหนือของภูเขาคิชฌกูฏ
ซึ่งตั้งล้อมรอบกรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ
เมื่อใดบุคคลเห็นอริยสัจ คือ ทุกข์
เหตุเกิดแห่งทุกข์ ความดับทุกข์
และอริยมรรคมีองค์ ๘ อันยังสัตว์ให้ถึงความดับทุกข์
ด้วยปัญญาอันชอบ
เมื่อนั้น เขาท่องเที่ยวไป ๗ ชาติเป็นอย่างมาก
ก็จะทำที่สุดทุกข์ได้ เพราะสังโยชน์ทั้งปวงสิ้นไป”

ปุคคลสูตรที่ ๑๐ จบ
ปฐมวรรค จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ติณกัฏฐสูตร ๒. ปฐวีสูตร
๓. อัสสุสูตร ๔. ขีรสูตร
๕. ปัพพตสูตร ๖. สาสปสูตร
๗. สาวกสูตร ๘. คังคาสูตร
๙. ทัณฑสูตร ๑๐. ปุคคลสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๔. อนมตัคคสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๒. สุขิตสูตร

๒. ทุติยวรรค
หมวดที่ ๒

๑. ทุคคตสูตร
ว่าด้วยผู้มีความทุกข์

[๑๓๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น
พระผู้มีพระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ที่สุดเบื้องต้น
ที่สุดเบื้องปลายไม่ปรากฏแก่เหล่าสัตว์ผู้ถูกอวิชชากีดขวาง ถูกตัณหาผูกไว้ วนเวียน
ท่องเที่ยวไป เธอทั้งหลายเห็นบุคคลผู้มีความทุกข์มีมือและเท้าไม่สมประกอบ พึง
สันนิษฐานบุคคลนี้ว่า ‘แม้เราทั้งหลายก็เคยเสวยความทุกข์เช่นนี้มาแล้ว โดยกาลนาน’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่าสงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ฯลฯ ควรเพื่อหลุดพ้น” ...

ทุคคตสูตรที่ ๑ จบ

๒. สุขิตสูตร
ว่าด้วยผู้มีความสุข

[๑๓๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ... เธอทั้งหลายเห็น
บุคคลผู้เพียบพร้อมด้วยความสุข มีบริวารคอยรับใช้ พึงสันนิษฐานบุคคลนี้ว่า
‘แม้เราทั้งหลายก็เคยเสวยความสุขเช่นนี้มาแล้ว โดยกาลนาน’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่าสงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ฯลฯ ควรเพื่อหลุดพ้น” ...

สุขิตสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๔. อนมตัคคสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๓. ติงสมัตตสูตร

๓. ติงสมัตตสูตร
ว่าด้วยภิกษุ ๓๐ รูป

[๑๓๖] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน ... เขตกรุงราชคฤห์
ครั้งนั้น ภิกษุชาวเมืองปาวาประมาณ ๓๐ รูป ทั้งหมดล้วนเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร
เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร เป็นผู้นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เป็นผู้ทรงผ้าไตรจีวร
เป็นวัตร (แต่)ยังมีสังโยชน์๑ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร
ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคทรงดำริว่า ‘ภิกษุชาวเมืองปาวาประมาณ ๓๐ รูปนี้
ทั้งหมดล้วนเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร เป็นผู้นุ่งห่มผ้า
บังสุกุลเป็นวัตร เป็นผู้ทรงผ้าไตรจีวรเป็นวัตร (แต่)ยังมีสังโยชน์ ทางที่ดี เราพึง
แสดงธรรมให้ภิกษุเหล่านี้มีจิตหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น ขณะที่นั่งบนอาสนะ
นี้แหละ’ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“สงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ที่สุดเบื้องต้น ที่สุดเบื้องปลาย
ไม่ปรากฏแก่เหล่าสัตว์ผู้ถูกอวิชชากีดขวาง ถูกตัณหาผูกไว้ วนเวียนท่องเที่ยวไป
เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร โลหิตที่หลั่งไหลของเธอทั้งหลายผู้ถูกตัด
ศีรษะวนเวียนท่องเที่ยวไปโดยกาลนานนี้ กับน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ อย่างไหนจะ
มากกว่ากัน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายรู้ธรรมตามที่พระองค์ทรงแสดงแล้ว
โลหิตที่หลั่งไหลของข้าพระองค์ทั้งหลายผู้ถูกตัดศีรษะวนเวียนท่องเที่ยวไปโดยกาลนานนี้
นี้แหละมากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย”
“ถูกละ ถูกละ เธอทั้งหลายรู้ธรรมตามที่เราแสดงอย่างนี้ ถูกต้องแล้ว โลหิต
ที่หลั่งไหลของเธอทั้งหลายผู้ถูกตัดศีรษะวนเวียนท่องเที่ยวไปโดยกาลนานนี้ นี้แหละ
มากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย เมื่อเธอทั้งหลายเกิดเป็นโค


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๔. อนมตัคคสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๔. มาตุสูตร

ซึ่งถูกตัดศีรษะมาช้านาน โลหิตที่หลั่งไหลนี้แหละมากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทร
ทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย เมื่อเธอทั้งหลายเกิดเป็นกระบือ ซึ่งถูกตัดศีรษะมาช้านาน
โลหิตที่หลั่งไหลนี้แหละมากกว่า ฯลฯ เมื่อเธอทั้งหลายเกิดเป็นแกะ ฯลฯ เกิดเป็น
แพะ ฯลฯ เกิดเป็นเนื้อ ฯลฯ เกิดเป็นสุกร ฯลฯ เกิดเป็นไก่ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายถูกจับตัดศีรษะด้วยข้อหาว่าเป็นโจรฆ่าชาวบ้าน
มาช้านาน โลหิตที่หลั่งไหลนี้แหละมากกว่า ฯลฯ ถูกจับตัดศีรษะด้วยข้อหาว่า
เป็นโจรปล้นในทางเปลี่ยว ฯลฯ ถูกจับตัดศีรษะด้วยข้อหาว่าเป็นโจรประพฤติผิดใน
ภรรยาของผู้อื่นมาช้านาน โลหิตที่หลั่งไหลนี้แหละมากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทร
ทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่าสงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ฯลฯ ควรเพื่อหลุดพ้น” ...
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ-
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสเวยยากรณภาษิตนี้อยู่ จิตของ
ภิกษุชาวเมืองปาวาประมาณ ๓๐ รูป ก็หลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น

ติงสมัตตสูตรที่ ๓ จบ

๔. มาตุสูตร
ว่าด้วยผู้เคยเป็นมารดา

[๑๓๗] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ฯลฯ สัตว์ผู้ไม่เคย
เป็นมารดาโดยกาลนานนี้ มิใช่หาได้ง่ายเลย
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่าสงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ฯลฯ ควรเพื่อหลุดพ้น” ...

มาตุสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๔. อนมตัคคสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๗. ภคินิสูตร

๕. ปิตุสูตร
ว่าด้วยผู้เคยเป็นบิดา

[๑๓๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ฯลฯ สัตว์ผู้ไม่เคย
เป็นบิดาโดยกาลนานนี้ มิใช่หาได้ง่าย
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่าสงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ฯลฯ ควรเพื่อหลุดพ้น” ...

ปิตุสูตรที่ ๕ จบ

๖. ภาตุสูตร
ว่าด้วยผู้เคยเป็นพี่ชายน้องชาย

[๑๓๙] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ฯลฯ สัตว์ผู้ไม่เคย
เป็นพี่ชายน้องชายโดยกาลนานนี้ มิใช่หาได้ง่าย ฯลฯ ควรเพื่อหลุดพ้น” ...

ภาตุสูตรที่ ๖ จบ

๗. ภคินิสูตร
ว่าด้วยผู้เคยเป็นพี่สาวน้องสาว

[๑๔๐] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ฯลฯ สัตว์ผู้ไม่เคย
เป็นพี่สาวน้องสาวโดยกาลนานนี้ มิใช่หาได้ง่าย ฯลฯ ควรเพื่อหลุดพ้น” ...

ภคินิสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๔. อนมตัคคสังยุต] ๒. ทุติยวรรค ๙. ธีตุสูตร

๘. ปุตตสูตร
ว่าด้วยผู้เคยเป็นบุตร

[๑๔๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ฯลฯ สัตว์ผู้ไม่เคย
เป็นบุตรโดยกาลนานนี้ มิใช่หาได้ง่าย ฯลฯ ควรเพื่อหลุดพ้น” ...

ปุตตสูตรที่ ๘ จบ

๙. ธีตุสูตร
ว่าด้วยผู้เคยเป็นธิดา

[๑๔๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ที่สุดเบื้องต้น ที่สุด
เบื้องปลายไม่ปรากฏแก่เหล่าสัตว์ผู้ถูกอวิชชากีดขวาง ถูกตัณหาผูกไว้ วนเวียนท่อง
เที่ยวไป สัตว์ผู้ไม่เคยเป็นธิดาโดยกาลนานนี้ มิใช่หาได้ง่าย
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่าสงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ที่สุดเบื้องต้น ที่สุดเบื้องปลาย
ไม่ปรากฏแก่เหล่าสัตว์ผู้ถูกอวิชชากีดขวาง ถูกตัณหาผูกไว้ วนเวียนท่องเที่ยวไป
เธอทั้งหลายได้เสวยความทุกข์ เสวยความลำบาก ได้รับความพินาศ เต็มป่าช้า
เป็นเวลายาวนาน
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนี้แหละจึงควรเบื่อหน่าย ควรคลายกำหนัด ควรเพื่อ
หลุดพ้นจากสังขารทั้งปวง”

ธีตุสูตรที่ ๙ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๔. อนมตัคคสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๑๐. เวปุลลปัพพตสูตร

๑๐. เวปุลลปัพพตสูตร
ว่าด้วยภูเขาเวปุลละ

[๑๔๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุง
ราชคฤห์ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ที่สุดเบื้องต้น
ที่สุดเบื้องปลายไม่ปรากฏแก่เหล่าสัตว์ผู้ถูกอวิชชากีดขวาง ถูกตัณหาผูกไว้ วนเวียน
ท่องเที่ยวไป
เรื่องเคยมีมาแล้ว ภูเขาเวปุลละนี้ได้ชื่อว่าปาจีนวังสะ สมัยนั้นหมู่มนุษย์
ได้ชื่อว่าเผ่าติวรา มนุษย์เผ่าติวรามีอายุประมาณ ๔ หมื่นปี มนุษย์เผ่าติวรา
ขึ้นภูเขาปาจีนวังสะใช้เวลา ๔ วัน ลงก็ใช้เวลา ๔ วัน สมัยนั้น พระผู้มีพระภาค
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่ากกุสันธะเสด็จอุบัติขึ้นในโลก พระผู้มีพระภาค
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่ากกุสันธะ มีพระสาวกคู่หนึ่งเป็นคู่เลิศ คู่เจริญ
ชื่อว่าวิธูระ และสัญชีวะ
เธอทั้งหลายจงดูเถิด ชื่อภูเขาลูกนี้แหละหายไปแล้ว มนุษย์เหล่านั้นก็ตาย
ไปแล้ว และพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นก็ปรินิพพานแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงอย่างนี้ ไม่ยั่งยืนอย่างนี้ ไม่น่าชื่นใจ
อย่างนี้ เพราะเหตุนี้แหละจึงควรเบื่อหน่าย ควรคลายกำหนัด ควรเพื่อหลุดพ้นจาก
สังขารทั้งปวง
เรื่องเคยมีมาแล้ว ภูเขาเวปุลละนี้ได้ชื่อว่าวงกต สมัยนั้นหมู่มนุษย์ได้ชื่อว่า
เผ่าโรหิตัสสะ มนุษย์เผ่าโรหิตัสสะมีอายุประมาณ ๓ หมื่นปี มนุษย์เผ่าโรหิตัสสะ
ขึ้นภูเขาวงกตใช้เวลา ๓ วัน ลงก็ใช้เวลา ๓ วัน สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโกนาคมนะเสด็จอุบัติขึ้นในโลก พระผู้มีพระภาคอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโกนาคมนะ มีพระสาวกคู่หนึ่งเป็นคู่เลิศ คู่เจริญ ชื่อว่า
ภิยโยสะ และอุตตระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๔. อนมตัคคสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๑๐. เวปุลลปัพพตสูตร

เธอทั้งหลายจงดูเถิด ชื่อภูเขาลูกนี้แหละหายไปแล้ว มนุษย์เหล่านั้นก็ตาย
ไปแล้ว และพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นก็ปรินิพพานแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงอย่างนี้ ฯลฯ ควรเพื่อหลุดพ้น ...
เรื่องเคยมีมาแล้ว ภูเขาเวปุลละนี้ได้ชื่อว่าสุปัสสะ สมัยนั้น หมู่มนุษย์ได้ชื่อว่า
เผ่าสุปปิยา มนุษย์เผ่าสุปปิยามีอายุประมาณ ๒ หมื่นปี มนุษย์เผ่าสุปปิยาขึ้น
ภูเขาสุปัสสะใช้เวลา ๒ วัน ลงก็ใช้เวลา ๒ วัน สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะเสด็จอุบัติขึ้นในโลก พระผู้มีพระภาคอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ มีพระสาวกคู่หนึ่งเป็นคู่เลิศ คู่เจริญ ชื่อว่า
ติสสะ และภารทวาชะ
เธอทั้งหลายจงดูเถิด ชื่อภูเขาลูกนี้แหละหายไปแล้ว มนุษย์เหล่านั้นก็ตายไปแล้ว
และพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นก็ปรินิพพานแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงอย่างนี้ ไม่ยั่งยืนอย่างนี้ ฯลฯ ควรเพื่อ
หลุดพ้น ...
แต่ในบัดนี้ ภูเขาเวปุลละนี้ได้ชื่อว่าเวปุลละเหมือนเดิม ก็บัดนี้หมู่มนุษย์เหล่านี้
ได้ชื่อว่าเผ่ามาคธะ มนุษย์เผ่ามาคธะมีอายุน้อย นิดหน่อย ผู้ใดมีชีวิตอยู่นาน
ผู้นั้นมีอายุเพียง ๑๐๐ ปีเป็นเกณฑ์ จะต่ำกว่าหรือเกินกว่าก็มี มนุษย์เผ่ามาคธะ
ขึ้นภูเขาเวปุลละเพียงครู่เดียว ลงก็เพียงครู่เดียว และบัดนี้เราเป็นพระอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลก เรามีสาวกคู่หนึ่งเป็นคู่เลิศ คู่เจริญ ชื่อว่าสารีบุตรและ
โมคคัลลานะ
สมัยนั้น ภูเขานี้แหละจักหายไป มนุษย์เหล่านี้ก็จักตาย และเราก็จักปรินิพพาน
ภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงอย่างนี้ ไม่ยั่งยืนอย่างนี้ ไม่น่าชื่นใจ
อย่างนี้ เพราะเหตุนี้แหละจึงควรเบื่อหน่าย ควรคลายกำหนัด ควรเพื่อหลุดพ้นจาก
สังขารทั้งปวง”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา
ประพันธ์ต่อไปว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๔. อนมตัคคสังยุต]
๒. ทุติยวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

“ภูเขาปาจีนวังสะของหมู่มนุษย์เผ่าติวรา
ภูเขาวงกตของหมู่มนุษย์เผ่าโรหิตัสสะ
ภูเขาสุปัสสะของหมู่มนุษย์เผ่าสุปปิยา
และภูเขาเวปุลละของหมู่มนุษย์เผ่ามาคธะ
สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ
มีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเป็นธรรมดา
เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป
ความเข้าไปสงบระงับสังขารเหล่านั้นเป็นความสุข”

เวปุลลปัพพตสูตรที่ ๑๐ จบ
ทุติยวรรค จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ทุคคตสูตร ๒. สุขิตสูตร
๓. ติงสมัตตสูตร ๔. มาตุสูตร
๕. ปิตุสูตร ๖. ภาตุสูตร
๗. ภคินิสูตร ๘. ปุตตสูตร
๙. ธีตุสูตร ๑๐. เวปุลลปัพพตสูตร

อนมตัคคสังยุต จบบริบูรณ์


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕.กัสสปสังยุต] ๑. สันตุฏฐสูตร

๕. กัสสปสังยุต

๑. สันตุฏฐสูตร
ว่าด้วยความสันโดษ

[๑๔๔] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย กัสสปะนี้เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้ และกล่าว
สรรเสริญความสันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้ ทั้งไม่ประกอบการแสวงหาผิดที่ไม่สมควร
เพราะเหตุแห่งจีวร ไม่ได้จีวรก็ไม่กระวนกระวาย และได้จีวรแล้วก็ไม่ติดใจ ไม่หลง
ไม่พัวพัน มองเห็นโทษ มีปัญญาเครื่องสลัดออก ใช้สอยอยู่
กัสสปะนี้เป็นผู้สันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ และกล่าวสรรเสริญความ
สันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ ทั้งไม่ประกอบการแสวงหาผิดที่ไม่สมควร
เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต ไม่ได้บิณฑบาตก็ไม่กระวนกระวาย และได้บิณฑบาตแล้ว
ก็ไม่ติดใจ ไม่หลง ไม่พัวพัน มองเห็นโทษ มีปัญญาเครื่องสลัดออก บริโภคอยู่
กัสสปะนี้เป็นผู้สันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ และกล่าวสรรเสริญความ
สันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ ทั้งไม่ประกอบการแสวงหาผิดที่ไม่สมควร
เพราะเหตุแห่งเสนาสนะ ไม่ได้เสนาสนะก็ไม่กระวนกระวาย และได้เสนาสนะแล้วก็
ไม่ติดใจ ไม่หลง ไม่พัวพัน มองเห็นโทษ มีปัญญาเครื่องสลัดออก ใช้สอยอยู่
กัสสปะนี้เป็นผู้สันโดษด้วยคิลานปัจจัยเภสัชบริขารตามมีตามได้ และกล่าว
สรรเสริญความสันโดษด้วยคิลานปัจจัยเภสัชบริขารตามมีตามได้ ทั้งไม่ประกอบการ
แสวงหาผิดที่ไม่สมควร เพราะเหตุแห่งคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ไม่ได้คิลานปัจจัย
เภสัชบริขารก็ไม่กระวนกระวาย และได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารแล้วก็ไม่ติดใจ ไม่หลง
ไม่พัวพัน มองเห็นโทษ มีปัญญาเครื่องสลัดออก บริโภคอยู่
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลาย
จักเป็นผู้สันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้ และกล่าวสรรเสริญความสันโดษด้วยจีวรตามมี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๒. อโนตตัปปีสูตร

ตามได้ ทั้งไม่ประกอบการแสวงหาผิดที่ไม่สมควร เพราะเหตุแห่งจีวร ไม่ได้จีวรก็
ไม่กระวนกระวาย และได้จีวรแล้วก็ไม่ติดใจ ไม่หลง ไม่พัวพัน มองเห็นโทษ มีปัญญา
เครื่องสลัดออก ใช้สอยอยู่
[พึงทำอย่างนี้ทุกบท]
เราทั้งหลายจักเป็นผู้สันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ ฯลฯ จักเป็นผู้สันโดษ
ด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ ฯลฯ จักเป็นผู้สันโดษด้วยคิลานปัจจัยเภสัชบริขารตามมี
ตามได้ และกล่าวสรรเสริญความสันโดษด้วยคิลานปัจจัยเภสัชบริขารตามมีตามได้
ทั้งไม่ประกอบการแสวงหาผิดที่ไม่สมควร เพราะเหตุแห่งคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
ไม่ได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารก็ไม่กระวนกระวาย และได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
แล้วก็ไม่ติดใจ ไม่หลง ไม่พัวพัน มองเห็นโทษ มีปัญญาเครื่องสลัดออก จักบริโภค
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล เราจักกล่าวสอนเธอทั้งหลาย
ตามกัสสปะ หรือผู้ใดพึงเป็นผู้เช่นกัสสปะ เราจักกล่าวสอนให้ประพฤติตามผู้นั้น
และเธอทั้งหลายผู้ได้รับโอวาทแล้ว พึงปฏิบัติเพื่อความเป็นเช่นนั้น”

สันตุฏฐสูตรที่ ๑ จบ

๒. อโนตตัปปีสูตร
ว่าด้วยความไม่สะดุ้งกลัว

[๑๔๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัสสปะและท่านพระสารีบุตรอยู่ในป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
เขตกรุงพาราณสี ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่หลีกเร้นในเวลาเย็น เข้าไปหา
ท่านพระมหากัสสปะถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็น
ที่ระลึกถึงกันและกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า
“ท่านกัสสปะ ผมกล่าวว่า ภิกษุผู้ไม่มีความเพียรเครื่องเผากิเลส ไม่มีความ
สะดุ้งกลัว เป็นผู้ไม่ควรเพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน เพื่อบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ
อย่างยอดเยี่ยม ส่วนภิกษุผู้มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีความสะดุ้งกลัว เป็นผู้
ควรเพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน เพื่อบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะอย่างยอดเยี่ยม”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๒. อโนตตัปปีสูตร

ท่านพระมหากัสสปะถามว่า “ท่านผู้มีอายุ ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีความเพียร
เครื่องเผากิเลส ไม่มีความสะดุ้งกลัว เป็นผู้ไม่ควรเพื่อตรัสรู้ ไม่ควรเพื่อนิพพาน
ไม่ควรเพื่อบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะอย่างยอดเยี่ยม ด้วยเหตุเท่าไร และภิกษุ
ชื่อว่าเป็นผู้มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีความสะดุ้งกลัว เป็นผู้ควรเพื่อตรัสรู้ เพื่อ
นิพพาน เพื่อบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะอย่างยอดเยี่ยม ด้วยเหตุเท่าไร”
“ท่านผู้มีอายุ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ไม่ทำความเพียรเครื่องเผากิเลส โดยคิดว่า
‘บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น เมื่อเกิดขึ้นแก่เรา พึงเป็นไปเพื่อความพินาศ’ ไม่ทำ
ความเพียรเครื่องเผากิเลส โดยคิดว่า ‘บาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เมื่อเรายังละ
ไม่ได้ พึงเป็นไปเพื่อความพินาศ’ ไม่ทำความเพียรเครื่องเผากิเลส โดยคิดว่า ‘กุศล-
ธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น เมื่อไม่เกิดขึ้นแก่เรา พึงเป็นไปเพื่อความพินาศ’ ไม่ทำความ
เพียรเครื่องเผากิเลส โดยคิดว่า ‘กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เมื่อดับ พึงเป็นไป
เพื่อความพินาศ’
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีความเพียรเครื่องเผากิเลส เป็นอย่างนี้
ภิกษุชื่อว่าไม่มีความสะดุ้งกลัว เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ไม่สะดุ้งกลัว โดยคิดว่า ‘บาปอกุศลธรรมที่ยัง
ไม่เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อเกิดขึ้น พึงเป็นไปเพื่อความพินาศ’ ไม่สะดุ้งกลัว โดยคิดว่า
‘บาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เมื่อเรายังละไม่ได้ พึงเป็นไปเพื่อความพินาศ’
ไม่สะดุ้งกลัว โดยคิดว่า ‘กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อไม่เกิดขึ้น พึงเป็นไป
เพื่อความพินาศ’ ไม่สะดุ้งกลัว โดยคิดว่า ‘กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อดับ
พึงเป็นไปเพื่อความพินาศ’
ภิกษุชื่อว่าไม่มีความสะดุ้งกลัว เป็นอย่างนี้
ภิกษุเป็นผู้ไม่มีความเพียรเครื่องเผากิเลส ไม่มีความสะดุ้งกลัว เป็นผู้ไม่ควร
เพื่อตรัสรู้ ไม่ควรเพื่อนิพพาน ไม่ควรเพื่อบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะอย่าง
ยอดเยี่ยม เป็นอย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๒.อโนตตัปปีสูตร

ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีความเพียรเครื่องเผากิเลส เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ทำความเพียรเครื่องเผากิเลส โดยคิดว่า ‘บาป
อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อเกิดขึ้น พึงเป็นไปเพื่อความพินาศ’ ทำความ
เพียรเครื่องเผากิเลส โดยคิดว่า ‘บาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เมื่อยังละไม่ได้
พึงเป็นไปเพื่อความพินาศ’ ทำความเพียรเครื่องเผากิเลสโดยคิดว่า ‘กุศลธรรมที่ยังไม่
เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อไม่เกิดขึ้น พึงเป็นไปเพื่อความพินาศ’ ทำความเพียรเครื่องเผา
กิเลส โดยคิดว่า ‘กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อดับ พึงเป็นไปเพื่อความพินาศ’
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีความเพียรเครื่องเผากิเลส เป็นอย่างนี้
ภิกษุชื่อว่ามีความสะดุ้งกลัว เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมสะดุ้งกลัว โดยคิดว่า ‘บาปอกุศลธรรมที่ยัง
ไม่เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อเกิดขึ้น พึงเป็นไปเพื่อความพินาศ’ ย่อมสะดุ้งกลัว โดยคิดว่า
‘บาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เมื่อเรายังละไม่ได้ พึงเป็นไปเพื่อความพินาศ’
ย่อมสะดุ้งกลัว โดยคิดว่า ‘กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อไม่เกิดขึ้น พึงเป็นไป
เพื่อความพินาศ’ ย่อมสะดุ้งกลัว โดยคิดว่า ‘กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อดับ
พึงเป็นไปเพื่อความพินาศ’
ภิกษุชื่อว่ามีความสะดุ้งกลัว เป็นอย่างนี้
ภิกษุเป็นผู้มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีความสะดุ้งกลัว เป็นผู้ควรเพื่อตรัสรู้
ควรเพื่อนิพพาน ควรเพื่อบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ๑ อย่างยอดเยี่ยมเป็นอย่างนี้
แล”

อโนตตัปปีสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๓. จันทูปมาสูตร

๓. จันทูปมาสูตร
ว่าด้วยการเปรียบเทียบภิกษุกับดวงจันทร์

[๑๔๖] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นเหมือนดวงจันทร์ จงพรากกาย๑ พรากจิต
ออก เป็นผู้ใหม่เป็นนิจ๒ ไม่คะนอง๓ เข้าไปสู่ตระกูลทั้งหลายเถิด
เปรียบเหมือนบุรุษพึงพรากกายพรากจิต แลดูบ่อน้ำซึ่งคร่ำคร่า ภูเขาที่ขรุขระ
หรือแม่น้ำที่ขาดเป็นห้วง ๆ อุปมานี้ฉันใด อุปไมยนั้นก็ฉันนั้น เธอทั้งหลายก็จงเป็น
เหมือนดวงจันทร์จงพรากกายพรากจิตออก เป็นผู้ใหม่เป็นนิจ ไม่คะนอง เข้าไปสู่
ตระกูลทั้งหลาย
กัสสปะเปรียบเหมือนดวงจันทร์ พรากกายพรากจิตออก เป็นผู้ใหม่เป็นนิจ
ไม่คะนองเข้าไปสู่ตระกูลทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ภิกษุ
เช่นไรจึงสมควรเข้าไปสู่ตระกูล
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก
มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอประทานวโรกาส เฉพาะพระผู้มีพระภาคเท่านั้นที่จะทรงอธิบายเนื้อความแห่ง
ภาษิตนั้นให้แจ่มแจ้งได้ ภิกษุทั้งหลายฟังต่อจากพระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงโบกฝ่าพระหัตถ์ในอากาศ ตรัสว่า ‘ภิกษุ
ทั้งหลาย ฝ่ามือนี้ไม่ข้อง ไม่ยึด ไม่ติดในอากาศ ฉันใด จิตของภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง
ผู้เข้าไปสู่ตระกูล ไม่ข้อง ไม่ยึด ไม่ติดในตระกูลทั้งหลาย โดยคิดว่า ‘ผู้ปรารถนาลาภ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๓.จันทูปมาสูตร

จงได้ลาภ ส่วนผู้ปรารถนาบุญ จงทำบุญ’ ฉันนั้น ภิกษุเป็นผู้พอใจ ดีใจ ด้วยลาภ
อันเป็นของตน ฉันใด ก็จงเป็นผู้พอใจ ดีใจ ด้วยลาภของชนเหล่าอื่น ฉันนั้น ภิกษุ
เช่นนี้จึงสมควรเข้าไปสู่ตระกูล
จิตของกัสสปะผู้เข้าไปสู่ตระกูล ไม่ข้อง ไม่ยึด ไม่ติดในตระกูลทั้งหลาย โดย
คิดว่า ‘ผู้ปรารถนาลาภ จงได้ลาภ ส่วนผู้ปรารถนาบุญ จงทำบุญ’ กัสสปะเป็นผู้
พอใจ ดีใจ ด้วยลาภอันเป็นของตน ฉันใด ภิกษุเป็นผู้พอใจ ดีใจ ด้วยลาภของชน
เหล่าอื่น ฉันนั้น
เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ธรรมเทศนาของภิกษุเช่นไร ไม่บริสุทธิ์
ของภิกษุเช่นไรบริสุทธิ์”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก
มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอประทานวโรกาส เฉพาะพระผู้มีพระภาคเท่านั้นที่จะทรงอธิบายเนื้อความแห่ง
ภาษิตนั้นให้แจ่มแจ้งได้ ภิกษุทั้งหลายฟังต่อจากพระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้”
“ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้นเธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
‘ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ไฉนหนอ ชนทั้งหลายพึงฟังธรรม
ของเรา ครั้นฟังแล้ว พึงเลื่อมใสธรรม และผู้ที่เลื่อมใสแล้ว พึงทำอาการของผู้
ที่เลื่อมใสต่อเรา’ จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
ธรรมเทศนาของภิกษุเช่นนี้ชื่อว่าไม่บริสุทธิ์
ส่วนภิกษุรูปใดรูปหนึ่งมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาค
ตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียก
ให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ไฉนหนอ ชนทั้งหลาย
พึงฟังธรรมของเรา ครั้นฟังแล้ว พึงรู้ทั่วถึงธรรม และครั้นรู้ทั่วถึงแล้ว พึงปฏิบัติ
เพื่อความเป็นอย่างนั้น’ จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น เธออาศัยความที่ธรรมเป็น
ธรรมดีจึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น อาศัยความกรุณาจึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
อาศัยความเอ็นดูจึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น อาศัยความอนุเคราะห์จึงแสดงธรรม
แก่ชนเหล่าอื่น ด้วยประการฉะนี้
ธรรมเทศนาของภิกษุเช่นนี้ชื่อว่าบริสุทธิ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๔. กุลูปกสูตร

กัสสปะมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว
ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อม
เข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ไฉนหนอ ชนทั้งหลายพึงฟังธรรมของเรา
ครั้นฟังแล้ว พึงรู้ทั่วถึงธรรม และครั้นรู้ทั่วถึงแล้ว พึงปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น’
จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น เธออาศัยความที่ธรรมเป็นธรรมดีจึงแสดงธรรมแก่ชน
เหล่าอื่น อาศัยความกรุณาจึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น อาศัยความเอ็นดูจึงแสดง
ธรรมแก่ชนเหล่าอื่น อาศัยความอนุเคราะห์จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น ด้วยประการ
ฉะนี้
ภิกษุทั้งหลาย เราจักกล่าวสอนเธอทั้งหลายให้(ประพฤติ)ตามกัสสปะ หรือผู้
ใดพึงเป็นเช่นกัสสปะ เราจักกล่าวสอนให้ประพฤติตามผู้นั้น และเธอทั้งหลายผู้ได้รับ
โอวาทแล้ว พึงปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น”

จันทูปมาสูตรที่ ๓ จบ

๔. กุลูปกสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้เข้าไปสู่ตระกูล

[๑๔๗] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ภิกษุเช่นไร
สมควรเข้าไปสู่ตระกูล ภิกษุเช่นไรไม่สมควรเข้าไปสู่ตระกูล”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาค
เป็นหลัก” ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ขอชนทั้งหลายจงให้
เราเท่านั้น อย่าได้ไม่ให้เลย จงให้เรามาก ๆ อย่าให้น้อย จงให้ของประณีตแก่เราเท่านั้น
อย่าให้ของเศร้าหมอง จงรีบให้เรา อย่าให้ช้า จงให้เราโดยเคารพ อย่าให้โดยไม่
เคารพ’ จึงเข้าไปสู่ตระกูล เมื่อภิกษุนั้นมีความคิดอย่างนี้เข้าไปสู่ตระกูล ชนทั้งหลาย
ไม่ให้ ภิกษุจึงอึดอัดเพราะสาเหตุนั้น เธอเสวยทุกข์โทมนัสเพราะสาเหตุนั้น ชนทั้งหลาย
ให้น้อย ไม่ให้มาก ฯลฯ ให้ของเศร้าหมอง ไม่ให้ของประณีต ให้ช้า ไม่ให้เร็ว ภิกษุจึง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๔. กุลูปกสูตร

อึดอัดเพราะสาเหตุนั้น เธอเสวยทุกข์โทมนัสเพราะสาเหตุนั้น ชนทั้งหลายให้โดยไม่
เคารพ ไม่ให้โดยเคารพ ภิกษุจึงอึดอัดเพราะสาเหตุนั้น เธอเสวยทุกข์โทมนัส
เพราะสาเหตุนั้น
ภิกษุเช่นนี้ไม่สมควรเข้าไปสู่ตระกูล
ส่วนภิกษุรูปใดรูปหนึ่งมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราพึงได้ปัจจัย ๔ ในตระกูล
อื่น ๆ แต่ที่ไหน ขอชนทั้งหลายจงให้เราเท่านั้น อย่าได้ไม่ให้เลย จงให้เรามาก ๆ
อย่าให้น้อย จงให้ของประณีตแก่เราเท่านั้น อย่าให้ของเศร้าหมอง จงรีบให้เรา
อย่าให้ช้า จงให้เราโดยเคารพ อย่าให้โดยไม่เคารพ’ จึงเข้าไปสู่ตระกูล ถ้าเมื่อ
ภิกษุนั้นมีความคิดอย่างนี้เข้าไปสู่ตระกูล ชนทั้งหลายไม่ให้ ภิกษุไม่อึดอัดเพราะ
สาเหตุนั้น เธอไม่เสวยทุกข์โทมนัสเพราะสาเหตุนั้น ชนทั้งหลายให้น้อย ไม่ให้มาก
ภิกษุจึงไม่อึดอัดเพราะสาเหตุนั้น เธอไม่เสวยทุกข์โทมนัสเพราะสาเหตุนั้น ชนทั้งหลาย
ให้ของเศร้าหมอง ไม่ให้ของประณีต ... ให้ช้า ไม่ให้เร็ว ภิกษุไม่อึดอัดเพราะ
สาเหตุนั้น เธอไม่เสวยทุกข์โทมนัสเพราะสาเหตุนั้น ชนทั้งหลายให้โดยไม่เคารพ
ไม่ให้โดยเคารพ ภิกษุไม่อึดอัดเพราะสาเหตุนั้น เธอไม่เสวยทุกข์โทมนัสเพราะสาเหตุนั้น
ภิกษุเช่นนี้สมควรเข้าไปสู่ตระกูล
กัสสปะมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราพึงได้ปัจจัย ๔ ในตระกูลอื่น ๆ แต่ที่ไหน
ขอชนทั้งหลายจงให้เราเท่านั้น อย่าได้ไม่ให้เลย จงให้เรามาก ๆ อย่าให้น้อย’ ฯลฯ
จึงเข้าไปสู่ตระกูล ชนทั้งหลายไม่ให้ กัสสปะไม่อึดอัดเพราะสาเหตุนั้น เธอไม่เสวย
ทุกข์โทมนัสเพราะสาเหตุนั้น ชนทั้งหลายให้น้อย ไม่ให้มาก กัสสปะไม่อึดอัดเพราะ
สาเหตุนั้น เธอไม่เสวยทุกข์โทมนัสเพราะสาเหตุนั้น ชนทั้งหลายให้ของเศร้าหมอง
ไม่ให้ของประณีต กัสสปะไม่อึดอัดเพราะสาเหตุนั้น เธอไม่เสวยทุกข์โทมนัส ชนทั้งหลาย
ให้ช้า ไม่ให้เร็ว กัสสปะไม่อึดอัดเพราะสาเหตุนั้น เธอไม่เสวยทุกข์โทมนัสเพราะ
สาเหตุนั้น ชนทั้งหลายให้โดยไม่เคารพ ไม่ให้โดยเคารพ กัสสปะไม่อึดอัดเพราะ
สาเหตุนั้น เธอไม่เสวยทุกข์โทมนัสเพราะสาเหตุนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เราจักกล่าวสอนเธอทั้งหลายให้(ประพฤติ)ตามกัสสปะ หรือผู้
ใดพึงเป็นเช่นกัสสปะ เราจักกล่าวสอนให้ประพฤติตามผู้นั้น และเธอทั้งหลายผู้ได้รับ
โอวาทแล้วพึงปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น”

กุลูปกสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๕. ชิณณสูตร

๕. ชิณณสูตร
ว่าด้วยความแก่

[๑๔๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน ฯลฯ
ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระมหากัสสปะดังนี้ว่า
“กัสสปะ บัดนี้เธอแก่แล้ว ผ้าป่านบังสุกุลเหล่านี้ของเธอหนัก ไม่น่านุ่งห่ม
เพราะฉะนั้น เธอจงใช้สอยคหบดีจีวร๑ จงบริโภคโภชนะที่เขานิมนต์ และจงอยู่ใน
สำนักของเราเถิด”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญ
คุณแห่งการอยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณ
แห่งการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร เป็นผู้นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญ
คุณแห่งการนุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตรและกล่าวสรรเสริญ
คุณแห่งการทรงไตรจีวรเป็นวัตร เป็นผู้มักน้อย และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความมัก
น้อย เป็นผู้สันโดษ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสันโดษ สงัดจากหมู่ และ
กล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสงัดจากหมู่ ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ และกล่าวสรรเสริญคุณ
แห่งความไม่คลุกคลีด้วยหมู่ เป็นผู้ปรารภความเพียร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่ง
การปรารภความเพียร ตลอดกาลนาน”
“เธอพิจารณาเห็นอำนาจประโยชน์อะไรจึงเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร และกล่าว
สรรเสริญคุณแห่งการอยู่ป่าเป็นวัตร ตลอดกาลนาน
[ข้อความที่ละไว้เป็นอย่างเดียวกัน]


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๕. ชิณณสูตร

เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ... เป็นผู้นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ... เป็นผู้
ทรงไตรจีวรเป็นวัตร ... เป็นผู้มักน้อย ... เป็นผู้สันโดษ ... เป็นผู้สงัดจากหมู่ ...
ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ... เป็นผู้ปรารภความเพียร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการปรารภ
ความเพียร”
“ข้าพระองค์พิจารณาเห็นอำนาจประโยชน์ ๒ ประการ จึงเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร
และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการอยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ...
เป็นผู้นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ... เป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตร ... เป็นผู้มักน้อย ...
เป็นผู้สันโดษ ... เป็นผู้สงัดจากหมู่ ... ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ... เป็นผู้ปรารภความเพียร
และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการปรารภความเพียร ตลอดกาลนาน
คือ พิจารณาเห็นการอยู่เป็นสุขในปัจจุบันของตน๑ และอนุเคราะห์หมู่ชนใน
ภายหลังว่า ทำอย่างไรหมู่ชนในภายหลังพึงถึงการประพฤติตามแบบอย่างว่า ได้ยินว่า
พระพุทธเจ้าและพระพุทธสาวกที่ได้มีมาแล้ว ท่านเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร และกล่าว
สรรเสริญคุณแห่งการอยู่ป่าเป็นวัตร ตลอดกาลนาน ฯลฯ เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาต
เป็นวัตร ... เป็นผู้นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ... เป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตร ... เป็นผู้
มักน้อย ... เป็นผู้สันโดษ ... เป็นผู้สงัดจากหมู่ ... ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ... เป็นผู้ปรารภ
ความเพียร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการปรารภความเพียร อย่างนี้
ท่านเหล่านั้นจักปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น ข้อปฏิบัติของท่านเหล่านั้นจัก
เป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขตลอดกาลนาน
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์พิจารณาเห็นอำนาจประโยชน์ ๒ ประการนี้
จึงเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการอยู่ป่าเป็นวัตร ... เป็นผู้
เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ... เป็นผู้นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ... เป็นผู้ทรงไตรจีวร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๖. โอวาทสูตร

เป็นวัตร ... เป็นผู้มักน้อย ... เป็นผู้สันโดษ ... เป็นผู้สงัดจากหมู่ ... ไม่คลุกคลี
ด้วยหมู่ ... เป็นผู้ปรารภความเพียร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการปรารภความเพียร
ตลอดกาลนาน”
“ดีละ ดีละ กัสสปะ ได้ยินว่า เธอปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก
เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อ
ความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เพราะฉะนั้น เธอจงนุ่งห่มผ้าป่านบังสุกุล
ที่ใช้แล้ว๑ จงเที่ยวบิณฑบาต และจงอยู่ในป่าเถิด”

ชิณณสูตรที่ ๕ จบ

๖. โอวาทสูตร
ว่าด้วยการให้โอวาท

[๑๔๙] พระผู้มีพระภาคประทับ ณ พระเวฬุวัน ... เขตกรุงราชคฤห์ ...
ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาท แล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระมหากัสสปะดังนี้ว่า
“กัสสปะ เธอจงกล่าวสอนภิกษุ จงแสดงธรรมีกถาแก่ภิกษุทั้งหลายเถิด
เราหรือเธอพึงกล่าวสอน พึงแสดงธรรมีกถาแก่ภิกษุทั้งหลาย”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในบัดนี้ภิกษุทั้งหลายเป็นผู้ว่ายาก ประกอบด้วยธรรม
ที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก ไม่อดทน ไม่รับคำพร่ำสอนโดยเคารพ ข้าพระองค์ได้เห็นภิกษุ
ชื่อภัณฑะ สัทธิวิหาริกของพระอานนท์ และภิกษุชื่ออาภิชชิกะ สัทธิวิหาริกของ
พระอนุรุทธะ ในพระธรรมวินัยนี้ กล่าวล่วงเกินกันและกันด้วยสุตะว่า ‘มาเถิดภิกษุ
ใครจักกล่าวได้มากกว่ากัน ใครจักกล่าวได้ดีกว่ากัน และใครจักกล่าวได้นานกว่ากัน”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๖. โอวาทสูตร

ครั้งนั้น พระผู้พระภาครับสั่งเรียกภิกษุรูปหนึ่งมาตรัสว่า ‘มาเถิดภิกษุ เธอจง
เรียกภิกษุภัณฑะ สัทธิวิหาริกของอานนท์ และภิกษุอาภิชชิกะ สัทธิวิหาริกของ
อนุรุทธะมาตามคำของเรา ว่า ‘พระศาสดารับสั่งให้ท่านทั้ง ๒ เข้าเฝ้า’ ภิกษุนั้น
ทูลรับสนองพระดำรัสแล้วได้เข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นถึงที่อยู่ ได้กล่าวว่า ‘พระศาสดา
รับสั่งให้ท่านทั้ง ๒ เข้าเฝ้า”
ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว
นั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามภิกษุเหล่านั้นดังนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า เธอทั้งหลายได้กล่าวล่วงเกินกันและกันด้วยสุตะว่า
‘มาเถิดภิกษุ ใครจักกล่าวได้มากกว่ากัน ใครจักกล่าวได้ดีกว่ากัน ใครจักกล่าวได้
นานกว่ากัน จริงหรือ”
“จริง พระพุทธเจ้าข้า”
“เธอทั้งหลายรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วอย่างนี้หรือ เธอทั้งหลายจึงกล่าว
ล่วงเกินกันและกันด้วยสุตะอย่างนี้ว่า ‘มาเถิดภิกษุ ใครจักกล่าวได้มากกว่ากัน
ใครจักกล่าวได้ดีกว่ากัน ใครจักกล่าวได้นานกว่ากัน”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ได้ยินว่า ถ้าเธอทั้งหลายไม่รู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วอย่างนี้ แน่ะโมฆบุรุษ
เมื่อเป็นเช่นนั้น เธอทั้งหลายรู้เห็นอะไร บวชอยู่ในธรรมวินัยที่เรากล่าวดีแล้วอย่างนี้
ยังกล่าวล่วงเกินกันและกันด้วยสุตะไปทำไมเล่าว่า ‘มาเถิดภิกษุ ใครจักกล่าวได้มาก
กว่ากัน ใครจักกล่าวได้ดีกว่ากัน ใครจักกล่าวได้นานกว่ากัน”
ลำดับนั้น ภิกษุทั้ง ๒ รูปได้น้อมศีรษะลงแทบพระบาทพระผู้มีพระภาคแล้ว
กราบทูลว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายบวชในพระธรรมวินัยที่พระ
ผู้มีพระภาคตรัสดีแล้วอย่างนี้ ได้กล่าวล่วงเกินกันและกันด้วยสุตะเพราะความโง่เขลา
เบาปัญญาว่า ‘มาเถิดภิกษุ ใครจักกล่าวได้มากกว่ากัน ใครจักกล่าวได้ดีกว่ากัน
ใครจักกล่าวได้นานกว่ากัน’ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงให้อภัยโทษแก่ข้าพระองค์
ทั้งหลาย เพื่อสำรวมต่อไปด้วยเถิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๗. ทุติยโอวาทสูตร

“ภิกษุทั้งหลาย เอาเถิด การที่เธอทั้งหลายบวชในธรรมวินัยที่เรากล่าวดีแล้ว
อย่างนี้ ได้กล่าวล่วงเกินกันและกันด้วยสุตะเพราะความโง่เขลาเบาปัญญาว่า ‘มาเถิด
ภิกษุ ใครจักกล่าวได้มากกว่ากัน ใครจักกล่าวได้ดีกว่ากัน ใครจักกล่าวได้นาน
กว่ากัน’ เพราะเหตุที่เห็นความผิดเป็นความผิด แล้วแก้ไขให้ถูกต้อง ข้อนั้นเรายอม
รับเธอทั้งหลายได้ เพราะการที่บุคคลเห็นความเห็นผิดเป็นความผิดแล้ว แก้ไขให้ถูก
ต้องและสำรวมต่อไป นี้เป็นความเจริญในวินัยของพระอริยะ”

โอวาทสูตรที่ ๖ จบ

๗. ทุติยโอวาทสูตร
ว่าด้วยการให้โอวาท สูตรที่ ๒

[๑๕๐] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน เขตกรุงราชคฤห์ ...
ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ... พระผู้มี
พระภาคได้ตรัสกับท่านพระมหากัสสปะดังนี้ว่า
“กัสสปะ เธอจงกล่าวสอนภิกษุ จงแสดงธรรมีกถาแก่ภิกษุทั้งหลายเถิด
เราหรือเธอ พึงกล่าวสอน พึงแสดงธรรมีกถาแก่ภิกษุทั้งหลาย”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในบัดนี้ภิกษุทั้งหลายเป็นผู้ว่ายาก ประกอบด้วยธรรม
ที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก ไม่อดทน ไม่รับคำพร่ำสอนโดยเคารพ บุคคลบางคนไม่มี
ศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ ไม่มีวิริยะ ไม่มีปัญญา ในกุศลธรรมทั้งหลาย
คืนวันที่ผ่านมา เขาหวังได้แต่ความเสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลายเท่านั้น หวังความ
เจริญไม่ได้เลย
เปรียบเหมือนดวงจันทร์ข้างแรมย่อมอับแสง ไม่เต็มดวง ไร้รัศมี วัดความยาว
และความกว้างไม่ได้ ตลอดคืนวันที่ผ่านมา อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น บุคคล
บางคนไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ... ไม่มีโอตตัปปะ ... ไม่มีวิริยะ ... ไม่มีปัญญา
ในกุศลธรรมทั้งหลาย ตลอดคืนวันที่ผ่านมา เขาหวังได้แต่ความเสื่อมในกุศลธรรม
ทั้งหลายเท่านั้น หวังความเจริญไม่ได้เลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๗. ทุติยโอวาทสูตร

ข้อที่บุรุษบุคคลไม่มีศรัทธานี้ เป็นความเสื่อม ข้อที่บุรุษบุคคลไม่มีหิรินี้ เป็น
ความเสื่อม ข้อที่บุรุษบุคคลไม่มีโอตตัปปะนี้ เป็นความเสื่อม ข้อที่บุรุษบุคคล
เป็นคนเกียจคร้านนี้ เป็นความเสื่อม ข้อที่บุรุษบุคคลมีปัญญาทรามนี้ เป็นความ
เสื่อม ข้อที่บุรุษบุคคลเป็นผู้มักโกรธนี้ เป็นความเสื่อม ข้อที่บุรุษบุคคลผูกโกรธนี้
เป็นความเสื่อม ข้อที่ไม่มีภิกษุผู้กล่าวสอนนี้ เป็นความเสื่อม
บุคคลบางคนมีศรัทธา มีหิริ มีโอตตัปปะ มีวิริยะ มีปัญญาในกุศลธรรม
ทั้งหลาย ตลอดคืนวันที่ผ่านมา เขาหวังได้แต่ความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลาย
เท่านั้น หวังความเสื่อมไม่ได้เลย
เปรียบเหมือนดวงจันทร์ข้างขึ้น มีแสงเปล่งปลั่ง เต็มดวง มีรัศมีเจิดจ้า
วัดความยาวและความกว้างได้ ตลอดคืนวันที่ผ่านมา อุปมานี้ฉันใด อุปไมย
ก็ฉันนั้น บุคคลบางคนมีศรัทธา มีหิริ ... มีโอตตัปปะ ... มีวิริยะ ... มีปัญญา
ในกุศลธรรมทั้งหลาย ตลอดคืนวันที่ผ่านมา เขาหวังได้แต่ความเจริญในกุศลธรรม
ทั้งหลายเท่านั้น หวังความเสื่อมไม่ได้เลย
ข้อที่บุรุษบุคคลมีศรัทธานี้ ไม่เป็นความเสื่อม ข้อที่บุรุษบุคคลมีหิรินี้ ไม่เป็น
ความเสื่อม ข้อที่บุรุษบุคคลมีโอตตัปปะนี้ ไม่เป็นความเสื่อม ข้อที่บุรุษบุคคล
ปรารภความเพียรนี้ ไม่เป็นความเสื่อม ข้อที่บุรุษบุคคลมีปัญญานี้ ไม่เป็น
ความเสื่อม ข้อที่บุรุษบุคคลไม่เป็นผู้มักโกรธนี้ ไม่เป็นความเสื่อม ข้อที่บุรุษบุคคล
ไม่ผูกโกรธนี้ ไม่เป็นความเสื่อม ข้อที่มีภิกษุผู้กล่าวสอนนี้ ไม่เป็นความเสื่อม”
“ดีละ ดีละ กัสสปะ บุคคลบางคนไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ... ไม่มีโอตตัปปะ ...
ไม่มีวิริยะ ... ไม่มีปัญญาในกุศลธรรมทั้งหลาย ตลอดคืนวันที่ผ่านมา เขาหวังได้
แต่ความเสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลายเท่านั้น หวังความเจริญไม่ได้เลย
เปรียบเหมือนดวงจันทร์ข้างแรมย่อมอับแสง ไม่เต็มดวง ไร้รัศมี วัดความยาว
และความกว้างไม่ได้ ตลอดคืนวันที่ผ่านมา อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น บุคคล
บางคนไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ... ไม่มีโอตตัปปะ ... ไม่มีวิริยะ ... ไม่มีปัญญาในกุศล-
ธรรมทั้งหลาย ตลอดคืนวันที่ผ่านมา เขาหวังได้แต่ความเสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลาย
เท่านั้น หวังความเจริญไม่ได้เลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๘. ตติยโอวาทสูตร

ข้อที่บุรุษบุคคลไม่มีศรัทธานี้ เป็นความเสื่อม ข้อที่บุรุษบุคคลไม่มีหิริ ... ไม่มี
โอตตัปปะ ... เป็นคนเกียจคร้าน ... มีปัญญาทราม ... มักโกรธ ... ผูกโกรธ ...
ไม่มีภิกษุผู้กล่าวสอนนี้ เป็นความเสื่อม
บุคคลบางคนมีศรัทธา มีหิริ ... มีโอตตัปปะ ... มีวิริยะ ... มีปัญญาในกุศล
ธรรมทั้งหลาย ตลอดคืนวันที่ผ่านมา เขาหวังได้แต่ความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลาย
เท่านั้น หวังความเสื่อมไม่ได้เลย
เปรียบเหมือนดวงจันทร์ข้างขึ้น มีแสงเปล่งปลั่ง เต็มดวง มีรัศมีเจิดจ้า
วัดความยาวและความกว้างได้ ตลอดคืนวันที่ผ่านมา อุปมานี้ฉันใด อุปไมย
ก็ฉันนั้น บุคคลบางคนมีศรัทธา มีหิริ ... มีโอตตัปปะ ... มีวิริยะ ... มีปัญญา
ในกุศลธรรมทั้งหลาย ตลอดคืนวันที่ผ่านมา เขาหวังได้แต่ความเจริญในกุศลธรรม
ทั้งหลายเท่านั้น หวังความเสื่อมไม่ได้เลย
กัสสปะ ข้อที่บุรุษบุคคลมีศรัทธานี้ ไม่เป็นความเสื่อม ข้อที่บุรุษบุคคล
มีหิริ ฯลฯ มีโอตตัปปะ ฯลฯ ปรารภความเพียร ฯลฯ มีปัญญา ฯลฯ ไม่เป็นผู้
มักโกรธ ฯลฯ ไม่ผูกโกรธ ฯลฯ มีภิกษุผู้กล่าวสอนนี้ ไม่เป็นความเสื่อม”

ทุติยโอวาทสูตรที่ ๗ จบ

๘. ตติยโอวาทสูตร
ว่าด้วยการให้โอวาท สูตรที่ ๓

[๑๕๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
เขตกรุงราชคฤห์
ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระมหากัสสปะดังนี้ว่า
“กัสสปะ เธอจงกล่าวสอนภิกษุ จงแสดงธรรมีกถาแก่ภิกษุทั้งหลายเถิด
เราหรือเธอ พึงกล่าวสอน พึงแสดงธรรมีกถาแก่ภิกษุทั้งหลาย”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๘. ตติยโอวาทสูตร

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในบัดนี้ภิกษุทั้งหลายเป็นผู้ว่ายาก ประกอบด้วยธรรม
ที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก ไม่อดทน ไม่รับคำพร่ำสอนโดยเคารพ”
“กัสสปะ จริงอย่างนั้น ในครั้งก่อน ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระ เป็นผู้อยู่ป่า
เป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการอยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาต
เป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร เป็นผู้นุ่งห่มผ้า
บังสุกุลเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการนุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เป็นผู้
ทรงไตรจีวรเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการทรงไตรจีวรเป็นวัตร เป็นผู้
มักน้อย และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความมักน้อย เป็นผู้สันโดษ และกล่าว
สรรเสริญคุณแห่งความสันโดษ สงัดจากหมู่ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสงัด
จากหมู่ ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความไม่คลุกคลีด้วยหมู่
เป็นผู้ปรารภความเพียร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการปรารภความเพียร
บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุรูปใดเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณ
แห่งการอยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่ง
การเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร เป็นผู้นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณ
แห่งการนุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณ
แห่งการทรงไตรจีวรเป็นวัตร เป็นผู้มักน้อย และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความ
มักน้อย เป็นผู้สันโดษ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสันโดษ สงัดจากหมู่ และ
กล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสงัดจากหมู่ ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ และกล่าวสรรเสริญ
คุณแห่งความไม่คลุกคลีด้วยหมู่ เป็นผู้ปรารภความเพียร และกล่าวสรรเสริญ
คุณแห่งการปรารภความเพียร ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระย่อมนิมนต์เธอให้นั่งด้วย
คำว่า ‘มาเถิดภิกษุ ภิกษุรูปนี้ชื่อไร ช่างเจริญจริงหนอ ใคร่ต่อการศึกษาแท้ มาเถิด
ภิกษุ นี้อาสนะ นิมนต์ท่านนั่งเถิด’
เมื่อภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระกระทำสักการะอย่างนั้นในภิกษุรูปนั้น ภิกษุทั้งหลาย
ผู้เป็นนวกะ พากันคิดว่า ‘ทราบว่า ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร และกล่าว
สรรเสริญคุณแห่งการอยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ... เป็นผู้
นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ... เป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตร ... เป็นผู้มักน้อย ... เป็นผู้
สันโดษ ... สงัดจากหมู่ ... ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ... เป็นผู้ปรารภความเพียร และ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๘. ตติยโอวาทสูตร

กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการปรารภความเพียร ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระย่อมนิมนต์
ให้เธอนั่ง ด้วยคำว่า ‘มาเถิดภิกษุ ภิกษุรูปนี้ชื่อไร ช่างเจริญจริงหนอ ใคร่ต่อการ
ศึกษาแท้ มาเถิดภิกษุ นี้อาสนะ นิมนต์ท่านนั่งเถิด’ ภิกษุผู้เป็นนวกะเหล่านั้นย่อม
ปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น ข้อนั้น ย่อมมีเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่
เธอทั้งหลาย ตลอดกาลนาน
ในบัดนี้ ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระ ไม่เป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร และไม่กล่าวสรรเสริญ
คุณแห่งการอยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้ไม่เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร และไม่กล่าวสรรเสริญ
คุณแห่งการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร เป็นผู้ไม่นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร และไม่กล่าว
สรรเสริญคุณแห่งการนุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เป็นผู้ไม่ทรงไตรจีวรเป็นวัตร และ
ไม่กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการทรงไตรจีวรเป็นวัตร ไม่เป็นผู้มักน้อย และไม่กล่าว
สรรเสริญคุณแห่งความมักน้อย ไม่เป็นผู้สันโดษ และไม่กล่าวสรรเสริญคุณแห่ง
ความสันโดษ ไม่เป็นผู้สงัดจากหมู่ และไม่กล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสงัดจากหมู่
เป็นผู้คลุกคลีด้วยหมู่ และไม่กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ไม่ปรารภ
ความเพียร และไม่กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการปรารภความเพียร
บรรดาภิกษุผู้เป็นเถระเหล่านั้น ภิกษุรูปใดมีชื่อเสียง มียศ ได้จีวร บิณฑบาต
เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระย่อมนิมนต์ให้เธอนั่ง
ด้วยคำว่า ‘มาเถิดภิกษุ ภิกษุรูปนี้ชื่อไร ช่างเจริญจริงหนอ ปรารถนาแต่เพื่อนสพรหมจารี
ด้วยกันแท้ มาเถิดภิกษุ นี้อาสนะ นิมนต์ท่านนั่งเถิด”
เมื่อภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระกระทำสักการะอย่างนั้นในภิกษุรูปนั้น ภิกษุทั้งหลาย
ผู้เป็นนวกะ พากันคิดว่า ‘ทราบว่า ภิกษุรูปนี้มีชื่อเสียง มียศ ได้จีวร บิณฑบาต
เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระพากันนิมนต์ให้เธอ
นั่งด้วยคำว่า ‘มาเถิดภิกษุ ภิกษุรูปนี้ชื่อไร ช่างเจริญจริงหนอ ปรารถนาแต่เพื่อน
สพรหมจารีด้วยกันแท้ มาเถิดภิกษุ นี้อาสนะ นิมนต์ท่านนั่งเถิด’ ภิกษุผู้เป็นนวกะ
เหล่านั้นย่อมปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น ข้อนั้นย่อมมีเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อความทุกข์แก่เธอทั้งหลาย ตลอดกาลนาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๙. ฌานาภิญญสูตร

กัสสปะ แท้จริงบุคคลเมื่อจะกล่าวถึงคนใดคนหนึ่งให้ถูกต้อง ควรกล่าวว่า
ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ถูกอันตรายของผู้ประพฤติพรหมจรรย์เบียดเบียนแล้ว
ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ซึ่งมีความปรารถนาเกินประมาณ ถูกความปรารถนาการ
ประพฤติพรหมจรรย์เกินประมาณเบียดเบียนแล้ว บัดนี้ บุคคลเมื่อจะกล่าวถึงคนนั้น
ให้ถูกต้อง ควรกล่าวว่า ‘ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ถูกอันตรายของผู้ประพฤติพรหมจรรย์
เบียดเบียนแล้ว ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ซึ่งมีความปรารถนาเกินประมาณ ถูกความ
ปรารถนาการประพฤติพรหมจรรย์เกินประมาณเบียดเบียนแล้ว”

ตติยโอวาทสูตรที่ ๘ จบ

๙. ฌานาภิญญสูตร
ว่าด้วยฌานและอภิญญา

[๑๕๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย เราสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน
ที่มีวิตกวิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ได้ตราบเท่าที่เราต้องการ แม้กัสสปะ
ก็สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌานที่มีวิตกวิจาร ปีติและ
สุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ได้ตราบเท่าที่เธอต้องการเช่นกัน
เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป เราบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสในภายใน
มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่
ได้ตราบเท่าที่เราต้องการ เพราะวิตก วิจารสงบระงับไป แม้กัสสปะก็บรรลุทุติยฌาน
ฯลฯ อยู่ได้ตราบเท่าที่เธอต้องการเช่นกัน
เพราะปีติจางคลายไป เรามีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย
บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา
มีสติ อยู่เป็นสุขได้’ ตราบเท่าที่เราต้องการ เพราะปีติจางคลายไป แม้กัสสปะเป็น
ผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะ
ทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุขได้’ ตราบเท่าที่
เธอต้องการเช่นกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๙. ฌานาภิญญสูตร

เพราะละสุขและทุกข์ได้แล้ว เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน เราบรรลุ
จตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา อยู่ได้ตราบเท่าที่เรา
ต้องการ เพราะละสุขและทุกข์ได้แล้ว แม้กัสสปะก็บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อยู่ได้
ตราบเท่าที่เธอต้องการเช่นกัน
เราบรรลุอากาสานัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า ‘อากาศไม่มีที่สุด’ เพราะล่วง
รูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่มนสิการนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง อยู่ได้
ตราบเท่าที่เราต้องการ แม้กัสสปะก็บรรลุอากาสานัญจายตนะ ฯลฯ เพราะล่วง
รูปสัญญา ไม่มนสิการโดยประการทั้งปวง อยู่ได้ตราบเท่าที่เธอต้องการเช่นกัน
เราบรรลุวิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า ‘วิญญาณไม่มีที่สุด’ เพราะล่วง
อากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง อยู่ได้ตราบเท่าที่เราต้องการ แม้กัสสปะ
ก็บรรลุวิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า ‘วิญญาณไม่มีที่สุด’ เพราะล่วง
อากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง อยู่ได้ตราบเท่าที่เธอต้องการเช่นกัน
เราบรรลุอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ‘อะไรน้อยหนึ่งย่อมไม่มี’
เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง อยู่ได้ตราบเท่าที่เราต้องการ
แม้กัสสปะก็บรรลุ ฯลฯ อยู่ได้ตราบเท่าที่เธอต้องการเช่นกัน
เราบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการ
ทั้งปวง อยู่ได้ตราบเท่าที่เราต้องการ แม้กัสสปะก็บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ
ฯลฯ อยู่ได้ตราบเท่าที่เธอต้องการเช่นกัน
เราบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการ
ทั้งปวง อยู่ได้ตราบเท่าที่เราต้องการ แม้กัสสปะก็บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ ฯลฯ
เราแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือคนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคน
แสดงเป็นคนเดียวก็ได้ แสดงให้ปรากฏก็ได้ หรือให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา กำแพง (และ)
ภูเขา ไปได้ไม่ติดขัด เหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นหรือดำลงในแผ่นดินเหมือนไป
ในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำโดยที่น้ำไม่แยก เหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ นั่งขัดสมาธิเหาะไป
ในอากาศเหมือนนกบินไปก็ได้ ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์อันมีฤทธิ์มาก
มีอานุภาพมากก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้ตราบเท่าที่เราต้องการ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๙. ณานาภิญญสูตร

แม้กัสสปะก็แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้
ตราบเท่าที่เธอต้องการเช่นกัน
เราได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์ และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้
ด้วยหูทิพย์ ... ได้ตราบเท่าที่เราต้องการ แม้กัสสปะก็ได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ
เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ ฯลฯ
เรากำหนดรู้จิตของสัตว์และคนอื่นด้วยจิตของตน คือจิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ
หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ฯลฯ จิตปราศจากโทสะ
... จิตมีโมหะ ... จิตปราศจากโมหะ ... จิตหดหู่ ... จิตฟุ้งซ่าน ... จิตเป็นมหัคคตะ
จิตไม่เป็นมหัคคตะ จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ... หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ... จิตเป็น
สมาธิ ... จิตไม่เป็นสมาธิ ... จิตหลุดพ้น ... หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่
หลุดพ้นได้ตราบเท่าที่เราต้องการ แม้กัสสปะก็กำหนดรู้จิตของสัตว์และคนอื่นด้วย
จิตของตน คือจิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ ฯลฯ หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิต
ไม่หลุดพ้นตราบเท่าที่เธอต้องการ
เราระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ๓ ชาติบ้าง
๔ ชาติบ้าง ๕ ชาติบ้าง ๑๐ ชาติบ้าง ๒๐ ชาติบ้าง ๓๐ ชาติบ้าง ๔๐ ชาติบ้าง
๕๐ ชาติบ้าง ๑๐๐ ชาติบ้าง ๑,๐๐๐ ชาติบ้าง ๑๐๐,๐๐๐ ชาติบ้าง ตลอด
สังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏวิวัฏฏกัป
เป็นอันมากบ้างว่า ‘ในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร
เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้น ๆ เราจุติจากภพนั้นก็ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพ
นั้นเราก็มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุ
อย่างนั้น ๆ ครั้นจุติจากภพนั้นจึงมาเกิดในภพนี้’ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ
พร้อมทั้งลักษณะทั่วไป และชีวประวัติ ด้วยประการฉะนี้ได้ แม้กัสสปะก็ระลึกชาติ
ก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ฯลฯ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้ง
ลักษณะทั่วไปและชีวประวัติ ด้วยประการฉะนี้ได้ ตราบเท่าที่เธอต้องการ
เราเห็นหมู่สัตว์ซึ่งกำลังจุติ กำลังอุบัติ เลว ประณีต ผิวพรรณดี ผิวพรรณ
ทราม ไปดี ตกยาก ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็น
ไปตามกรรมว่า ‘ผู้เจริญทั้งหลาย หมู่สัตว์ที่ประกอบกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
กล่าวร้ายพระอริยะ และชักชวนผู้อื่นให้ทำตามความเห็นผิด พวกเขาหลังจาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๑๐. อุปัสสยสูตร

ตายแล้วจะไปบังเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก แต่สัตว์ที่ประกอบกายสุจริต
วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นชอบและชักชวนผู้อื่นให้ทำ
ตามความเห็นชอบ พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปบังเกิดในสุคติโลกสวรรค์’ เราเห็น
หมู่สัตว์ซึ่งกำลังจุติ กำลังอุบัติ เลว ประณีต ผิวพรรณดี ผิวพรรณทราม ไปดี
ตกยาก ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมด้วย
ประการฉะนี้ได้ ตราบเท่าที่เราต้องการ แม้กัสสปะก็เห็นหมู่สัตว์ซึ่งกำลังจุติ กำลังอุบัติ
ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ฯลฯ รู้ชัดหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมด้วยประการ
ฉะนี้ ได้ตราบเท่าที่เธอต้องการเช่นนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เรารู้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะ
อาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน แม้กัสสปะก็รู้แจ้ง
เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญา
อันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบันได้เช่นกัน”

ฌานาภิญญสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. อุปัสสยสูตร
ว่าด้วยพระมหากัสสปะแสดงธรรมในสำนักภิกษุณี

[๑๕๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัสสปะพักอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้นในเวลาเช้า ท่านพระอานนท์ครองอันตรวาสก
ถือบาตรและจีวรเข้าไปหาท่านพระมหากัสสปะถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวกับท่าน
พระมหากัสสปะดังนี้ว่า
“มาเถิดท่านกัสสปะผู้เจริญ เราจักไปยังสำนักของภิกษุณีแห่งหนึ่ง”
“ไปเถิดท่านอานนท์ ท่านเป็นผู้มีกิจมาก มีงานที่ต้องทำมาก”
แม้ครั้งที่ ๒ ท่านพระอานนท์ก็ได้กล่าวกับท่านพระมหากัสสปะว่า ‘มาเถิด
ท่านกัสสปะผู้เจริญ เราจักไปยังสำนักของภิกษุณีแห่งหนึ่ง”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๑๐. อุปัสสยสูตร

“ไปเถิดท่านอานนท์ ท่านเป็นผู้มีกิจมาก มีงานที่ต้องทำมาก”
แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระอานนท์ก็ได้กล่าวกับท่านพระมหากัสสปะว่า ‘มาเถิด
ท่านกัสสปะผู้เจริญ เราจักไปยังสำนักของภิกษุณีแห่งหนึ่ง”
ครั้นในเวลาเช้า ท่านพระมหากัสสปะครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร มีท่าน
พระอานนท์ติดตาม เข้าไปยังสำนักของภิกษุณีแห่งหนึ่งแล้ว จึงนั่งบนอาสนะที่เขา
จัดไว้ ลำดับนั้นภิกษุณีจำนวนมากเข้าไปหาท่านพระมหากัสสปะถึงที่อยู่ กราบท่าน
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ท่านพระมหากัสสปะได้ชี้แจงให้ภิกษุณีเหล่านั้นเห็นชัด ชวนใจ
ให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ด้วยธรรมีกถา ครั้นแล้วจึงลุกจากอาสนะหลีกไป
ครั้งนั้น ภิกษุณีชื่อถุลลติสสาไม่พอใจ จึงเปล่งวาจาแสดงความไม่พอใจว่า
‘เพราะเหตุไรเล่า พระคุณเจ้ามหากัสสปะจึงสำคัญธรรมที่ตนควรกล่าวต่อหน้า
พระอานนท์ผู้เป็นเจ้า ผู้เป็นมุนีปราดเปรื่อง เปรียบเหมือนพ่อค้าเข็มสำคัญว่า ควรขาย
เข็มในสำนักของช่างเข็ม(ผู้ชำนาญ) ฉันใด พระคุณเจ้ามหากัสสปะย่อมสำคัญธรรม
ที่ตนควรกล่าวต่อหน้าพระอานนท์ผู้เป็นเจ้า ผู้เป็นมุนีปราดเปรื่อง ฉันนั้นเหมือนกัน’
ท่านพระมหากัสสปะได้ยินภิกษุณีชื่อถุลลติสสากำลังกล่าววาจานี้ จึงได้กล่าว
กับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า ‘ท่านอานนท์ เราเป็นพ่อค้าเข็ม ท่านเป็นช่างเข็ม หรือ
เราเป็นช่างเข็ม ท่านเป็นพ่อค้าเข็ม”
“ขอประทานโทษท่านกัสสปะผู้เจริญ ชื่อว่ามาตุคามเป็นคนเขลา”
“หยุดเถิดท่านอานนท์ หมู่ของท่านอย่าด่วนสรุปเกินไปนัก
ท่านอานนท์ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ท่านถูกนำเข้าไปเปรียบในหมู่
ภิกษุเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคบ้างหรือว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เราสงัดจากกาม
และจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตกวิจาร ปีติและสุขอันเกิด
จากวิเวกอยู่ได้ตราบเท่าที่เราต้องการ แม้อานนท์ก็สงัดจากกามและจากอกุศลธรรม
ทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตกวิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ได้ตราบเท่าที่เธอ
ต้องการ”
“มิใช่อย่างนั้น ขอรับ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๑๐. อุปัสสยสูตร

“ท่านผู้มีอายุ ผมเองถูกนำเข้าไปเปรียบในหมู่ภิกษุเฉพาะพระพักตร์พระผู้มี
พระภาคว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เราสงัดจากกามและจากอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุ
ปฐมฌาน ที่มีวิตกวิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ได้ตราบเท่าที่เราต้องการ
แม้กัสสปะก็สงัดจากกามและจากอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ อยู่ได้
ตราบเท่าที่เธอต้องการ’
[อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ และอภิญญา ๕ มีข้อความที่ละไว้อย่างนี้] ๑
ท่านอานนท์ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ท่านถูกนำเข้าไปเปรียบในหมู่
ภิกษุเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคบ้างหรือว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เราทำให้แจ้ง
เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญา
อันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน แม้อานนท์ก็ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ใน
ปัจจุบันเช่นกัน”
“ไม่ใช่อย่างนั้น ขอรับ”
“ท่านผู้มีอายุ ผมเองถูกนำเข้าไปเปรียบในหมู่ภิกษุเฉพาะพระพักตร์พระผู้มี
พระภาคว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เราทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน แม้กัสสปะ
ก็ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป
ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบันได้เช่นกัน
ท่านผู้มีอายุ ผู้ใดสำคัญผมว่าควรปกปิดได้ด้วยอภิญญา ๖ ผู้นั้นก็ควร
สำคัญช้าง ๗ ศอก หรือ ๗ ศอกครึ่งว่าจะพึงปกปิดได้ด้วยใบตาล”
ภิกษุณีชื่อถุลลติสสาเคลื่อนจากพรหมจรรย์แล้ว

อุปัสสยสูตรที่ ๑๐ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๑๑. จีวรสูตร

๑๑. จีวรสูตร
ว่าด้วยจีวร

[๑๕๔] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัสสปะพักอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้
เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เที่ยวจาริกไปในทักขิณาคิรี-
ชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นสัทธิวิหาริกของท่านพระอานนท์ประมาณ
๓๐ รูป โดยมากยังเป็นเด็กหนุ่ม๑ บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ ครั้งนั้น
ท่านพระอานนท์เที่ยวจาริกไปตามชอบใจในทักขิณาคิรีชนบทแล้วกลับมายังพระเวฬุวัน
สถานที่ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ เข้าไปหาท่านพระมหากัสสปะถึงที่อยู่
ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่สมควร
ท่านพระมหากัสสปะได้กล่าวกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่านอานนท์
พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยอำนาจประโยชน์เท่าไรหนอ จึงทรงบัญญัติการขบฉัน
๓ หมวด๒ ในตระกูลทั้งหลายไว้”
“ท่านกัสสปะผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยอำนาจประโยชน์ ๓ ประการ
จึงได้ทรงบัญญัติการขบฉัน ๓ หมวดในตระกูลทั้งหลายไว้ คือ
๑. เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก
๒. เพื่อความอยู่ผาสุกของเหล่าภิกษุผู้มีศีลดีงาม
๓. เพื่ออนุเคราะห์ตระกูลมิให้เหล่าภิกษุผู้มีความปรารถนาชั่ว อาศัย
พรรคพวกทำลายสงฆ์ให้แตกกัน
พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยอำนาจประโยชน์ ๓ ประการนี้ จึงทรงบัญญัติ
การขบฉัน ๓ หมวดในตระกูลทั้งหลายไว้”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๑๑. จีวรสูตร

“ท่านอานนท์ เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านเที่ยวจาริกไปกับภิกษุใหม่เหล่านี้ ผู้ไม่
คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้ประมาณในโภชนะ ไม่ประกอบความเพียร
เครื่องตื่นอยู่ เพื่อประโยชน์อะไรเล่า ท่านเห็นจะเที่ยวไปเหยียบย่ำข้าวกล้า ชะรอย
จะเที่ยวไปเบียดเบียนตระกูล บริษัทของท่านดูร่อยหรอลง สัทธิวิหาริกของท่านซึ่ง
โดยมากเป็นผู้ใหม่ กระจัดกระจายไป ท่านนี้ยังเป็นเด็ก ไม่รู้จักประมาณ”
“ท่านกัสสปะผู้เจริญ เส้นผมทั้งหลายบนศีรษะของกระผมหงอกแล้วก็จริง
ถึงกระนั้นแม้ในวันนี้พวกกระผมก็ยังไม่พ้นจากการกล่าวว่าเป็นเด็ก”
“จริงอย่างนั้น ท่านอานนท์ ท่านเที่ยวจาริกไปกับภิกษุใหม่เหล่านี้ ผู้ไม่
คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้ประมาณในโภชนะ ไม่ประกอบความเพียร
เครื่องตื่นอยู่ ท่านเห็นจะเที่ยวไปเหยียบย่ำข้าวกล้า ชะรอยจะเที่ยวไปเบียดเบียน
ตระกูล บริษัทของท่านดูร่อยหรอลง สัทธิวิหาริกของท่านซึ่งโดยมากเป็นผู้ใหม่
กระจัดกระจายไป ท่านนี้ยังเป็นเด็ก ไม่รู้จักประมาณ”
ภิกษุณีชื่อถุลลนันทาได้ยินแล้วคิดว่า ‘ทราบว่าพระอานนท์ผู้เป็นเจ้า ผู้เป็น
มุนีปราดเปรื่อง ถูกพระคุณเจ้ามหากัสสปะรุกรานด้วยการกล่าวว่าเป็นเด็ก’
ครั้งนั้น ภิกษุณีชื่อถุลลนันทาไม่พอใจ จึงเปล่งวาจาแสดงความไม่พอใจว่า
‘พระคุณเจ้ามหากัสสปะเคยเป็นอัญเดียรถีย์ จึงสำคัญพระคุณเจ้าอานนท์ ผู้เป็นมุนี
ปราดเปรื่องว่าควรรุกรานด้วยการกล่าวว่าเป็นเด็ก’ ท่านพระมหากัสสปะได้ยินภิกษุณี
ชื่อถุลลนันทากล่าววาจานี้แล้ว
ลำดับนั้น ท่านพระมหากัสสปะจึงได้กล่าวกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า ‘เอาเถอะ
ท่านอานนท์ ภิกษุณีชื่อถุลลนันทาพูดอย่างผลุนผลันไม่ทันพิจารณา เพราะเราปลงผม
และหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ไม่รู้เลยว่า เรา
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรชิตอุทิศศาสดาอื่น นอกจากพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น เมื่อก่อน เราเป็นคฤหัสถ์ได้มีความคิดว่า ‘ฆราวาสช่าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๑๑. จีวรสูตร

คับแคบ๑ เป็นทางมาแห่งธุลี๒ บรรพชาปลอดโปร่ง ผู้อยู่ครองเรือนจะประพฤติ
พรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยส่วนเดียวประดุจสังข์ที่ขัดแล้ว ไม่ใช่ทำได้ง่าย
ทางที่ดีเราควรปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิต’ สมัยต่อมา เราได้ทำสังฆาฏิด้วยผ้าเก่า ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้า
กาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต อุทิศเฉพาะท่านผู้เป็นพระอรหันต์ในโลก
ผมนั้นเมื่อบวชแล้วขณะที่เดินทางไกล ได้พบพระผู้มีพระภาคซึ่งประทับนั่งอยู่
ที่พหุปุตตเจดีย์ ระหว่างกรุงราชคฤห์กับบ้านนาลันทา ครั้นพบแล้วผมได้มีความ
คิดว่า ‘เราพบพระศาสดา ก็เป็นอันพบพระผู้มีพระภาคด้วย เราพบพระสุคต
ก็เป็นอันพบพระผู้มีพระภาคด้วย เราพบพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็เป็นอันพบพระผู้มี
พระภาคด้วย’ ท่านผู้มีอายุ ผมนั้นได้น้อมศีรษะลงแทบพระบาทของพระผู้มีพระภาค
ณ ที่นั้นเอง กราบทูลว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเป็นศาสดาของ
ข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเป็นศาสดา
ของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก’

ประทานโอวาท ๓ ประการ

เมื่อผมกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับผมว่า ‘กัสสปะ
ผู้ใดยังไม่รู้จักสาวกผู้สมบูรณ์ด้วยจิตบริสุทธิ์อย่างนี้แล้ว พึงพูดว่า ‘รู้’ ยังไม่เห็น
พึงพูดว่า ‘เห็น’ แม้ศีรษะของผู้นั้นพึงแตก แต่เรารู้อยู่ จึงพูดว่า ‘รู้’ เห็นอยู่
จึงพูดว่า ‘เห็น’
เพราะเหตุนั้นแหละ กัสสปะ เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ‘เราจักเข้าไปตั้งหิริและ
โอตตัปปะอย่างแรงกล้าในภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระ ผู้เป็นนวกะ ผู้เป็นมัชฌิมะ’ เธอพึง
ศึกษาอย่างนี้


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๑๑. จีวรสูตร

เพราะเหตุนั้นแหละ กัสสปะ เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ‘เราจักฟังธรรมอย่างใด
อย่างหนึ่งซึ่งประกอบด้วยกุศล จักกระทำธรรมนั้นทั้งหมดให้เป็นประโยชน์ มนสิการ
ถึงธรรมนั้นทั้งหมด จักประมวลจิต๑มาทั้งหมด เงี่ยโสตสดับธรรม’ เธอพึงศึกษา
อย่างนี้
เพราะเหตุนั้นแหละ กัสสปะ เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ละกายคตาสติ
ที่ประกอบด้วยความยินดี๒’ เธอพึงศึกษาอย่างนี้
พระผู้มีพระภาคทรงโอวาทผมด้วยพระโอวาทนี้แล้ว เสด็จลุกจากอาสนะ
หลีกไป ผมเป็นหนี้บริโภค๓ก้อนข้าวของราษฎรถึง ๑ สัปดาห์ วันที่ ๘ อรหัตตผล
จึงเกิดขึ้น คราวนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จลงจากทางไปยังโคนต้นไม้แห่งหนึ่ง ผมจึง
ปูลาดผ้าสังฆาฏิที่ทำด้วยผ้าเก่าซ้อนเป็น ๔ ชั้นถวาย แล้วกราบทูลว่า ‘ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงประทับนั่งบนผ้าผืนนี้ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อความสุขแก่ข้าพระองค์ตลอดกาลนานเถิด’ พระผู้มีพระภาคก็ประทับนั่งบน
อาสนะที่ผมจัดถวาย แล้วตรัสกับผมว่า ‘กัสสปะ สังฆาฏิที่ทำด้วยผ้าเก่าของเธอ
ผืนนี้อ่อนนุ่ม’ ผมก็กราบทูลว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคได้โปรด
อนุเคราะห์ ทรงรับสังฆาฏิที่ทำด้วยผ้าเก่าของข้าพระองค์เถิด’ พระองค์ตรัสว่า
‘เธอจักทรงผ้าป่านบังสุกุลของเราที่ใช้สอยแล้วหรือ’ ผมก็กราบทูลว่า ‘ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักทรงผ้าป่านบังสุกุลที่ใช้สอยแล้วของพระผู้มีพระภาค’ ผมได้
ถวายผ้าสังฆาฏิที่ทำด้วยผ้าเก่าแด่พระผู้มีพระภาค และได้รับผ้าป่านบังสุกุลที่ใช้
สอยแล้วของพระผู้มีพระภาคมา
แท้จริงบุคคลเมื่อจะกล่าวถึงคนใดคนหนึ่งให้ถูกต้อง ควรกล่าวว่า ‘บุตรของ
พระผู้มีพระภาคเป็นผู้เกิดแต่อก เกิดแต่พระโอษฐ์ เกิดแต่พระธรรม อันพระธรรม


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๑๒. ปรัมมรณสูตร

เนรมิตแล้ว เป็นธรรมทายาท จึงรับผ้าป่านบังสุกุลที่ใช้สอยแล้ว’ บุคคลเมื่อจะ
กล่าวถึงคนนั้นให้ถูกต้อง ควรกล่าวกับผมว่า ‘บุตรของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้เกิด
แต่อก เกิดแต่พระโอษฐ์ เกิดแต่พระธรรม อันพระธรรมเนรมิตแล้ว เป็นธรรมทายาท
ได้รับผ้าป่านบังสุกุลที่ใช้สอยแล้ว’
ผมสงัดจากกามและจากอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตกวิจาร
ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ตราบเท่าที่ผมต้องการ ผม ฯลฯ ตราบเท่าที่ผม
ต้องการ
[อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ และอภิญญา ๕ มีข้อความที่ละไว้อย่างนี้]
ท่านผู้มีอายุ ผมทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ผู้ใดสำคัญ
ผมว่าควรปกปิดได้ด้วยอภิญญา ๖ ผู้นั้นก็ควรสำคัญช้าง ๗ ศอก หรือ ๗ ศอกครึ่ง
ว่าจะพึงปกปิดได้ด้วยใบตาล
ภิกษุณีชื่อถุลลนันทาเคลื่อนจากพรหมจรรย์แล้ว

จีวรสูตรที่ ๑๑ จบ

๑๒. ปรัมมรณสูตร๑
ว่าด้วยตถาคตตายไปแล้วเกิดอีกหรือไม่เกิด

[๑๕๕] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัสสปะและท่านพระสารีบุตรพักอยู่ ณ
ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่
หลีกเร้น ในเวลาเย็นเข้าไปหาท่านพระมหากัสสปะถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอ
เป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ครั้นท่านพระสารีบุตรนั่ง
เรียบร้อยแล้ว ได้ถามท่านพระมหากัสสปะดังนี้ว่า
“ท่านกัสสปะ หลังจากตายแล้ว ตถาคต๒เกิดอีกหรือ”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๑๒. ปรัมมรณสูตร

“ท่านผู้มีอายุ ข้อที่ว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกหรือ’ นี้พระผู้มี
พระภาคมิได้ทรงพยากรณ์ไว้”
“หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีกหรือ”
“แม้ข้อที่ว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีกหรือ’ นี้พระผู้มีพระภาคก็มิได้
ทรงพยากรณ์ไว้”
“หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีกหรือ”
“ข้อที่ว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีกหรือ’ นี้พระผู้มีพระภาค
ก็มิได้ทรงพยากรณ์ไว้”
“หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกก็มิใช่ ไม่เกิดอีกก็มิใช่หรือ”
“แม้ข้อที่ว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกก็มิใช่ ไม่เกิดอีกก็มิใช่หรือ’
นี้พระผู้มีพระภาคก็มิได้ทรงพยากรณ์ไว้”
“เพราะเหตุไร ข้อที่กล่าวถึงนั้น ๆ พระผู้มีพระภาคจึงมิได้ทรงพยากรณ์ไว้”
“เพราะข้อนั้นไม่มีประโยชน์ ไม่เป็นเบื้องต้นแห่งการประพฤติพรหมจรรย์
ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง
เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงมิได้ทรงพยากรณ์ไว้”
“ถ้าเช่นนั้น พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ไว้อย่างไรเล่า”
“พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ไว้ว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ
นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”๑
“เพราะเหตุไร ข้อนี้พระผู้มีพระภาคจึงทรงพยากรณ์ไว้”
“ท่านผู้มีอายุ เพราะข้อนั้นมีประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งการประพฤติพรหมจรรย์
เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง
เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงทรงพยากรณ์ไว้”

ปรัมมรณสูตรที่ ๑๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๑๓. สัทธัมมัปปฏิรูปกสูตร

๑๓. สัทธัมมัปปฏิรูปกสูตร
ว่าด้วยสัทธรรมปฏิรูป

[๑๕๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปะเข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้ เมื่อก่อนสิกขาบท
มีน้อย ภิกษุผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตผลมีมาก และอะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้ บัดนี้
สิกขาบทมีมาก แต่ภิกษุตั้งอยู่ในอรหัตตผลมีน้อย”
“กัสสปะ ข้อนั้นเป็นอย่างนี้ คือ เมื่อหมู่สัตว์เสื่อมลง สัทธรรมก็เสื่อมสูญไป
สิกขาบทจึงมีมาก และภิกษุตั้งอยู่ในอรหัตตผลจึงมีน้อย สัทธรรมปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้น
ในโลกตราบใด ตราบนั้นสัทธรรมก็ยังไม่เสื่อมสูญไป แต่เมื่อใดสัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้น
ในโลก เมื่อนั้นสัทธรรมย่อมเสื่อมสูญไป
ทองคำปลอมยังไม่เกิดขึ้นในโลกตราบใด ตราบนั้นทองคำแท้ก็ยังไม่หายไป
และเมื่อใดทองคำปลอมเกิดขึ้นในโลก เมื่อนั้นทองคำแท้จึงหายไปฉันใด สัทธรรม-
ปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้นในโลกตราบใด ตราบนั้นสัทธรรมก็ยังไม่เสื่อมสูญไป แต่เมื่อใด
สัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้นในโลก เมื่อนั้นสัทธรรมย่อมเสื่อมสูญไป ฉันนั้นเหมือนกัน
ปฐวีธาตุ(ธาตุดิน)ทำสัทธรรมให้เสื่อมสูญไปไม่ได้ อาโปธาตุ(ธาตุน้ำ) เตโชธาตุ
(ธาตุไฟ) วาโยธาตุ(ธาตุลม) ก็ทำสัทธรรมให้เสื่อมสูญไปไม่ได้ ที่แท้โมฆบุรุษในโลกนี้
ต่างหากเกิดขึ้นมาย่อมทำให้สัทธรรมเสื่อมสูญไป เปรียบเหมือนเรือจะอับปางก็เพราะ
ต้นหนเท่านั้น สัทธรรมย่อมไม่เสื่อมสูญไป ด้วยประการฉะนี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๑๓. สัทธัมมัปปฏิรูปกสูตร

สาเหตุที่ทำให้สัทธรรมเสื่อมสูญ

เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการนี้ เป็นไปเพื่อความเลือนหาย เพื่อความเสื่อมสูญไป
แห่งสัทธรรม เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการอะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพยำเกรง
ในพระศาสดา
๒. ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพยำเกรง
ในพระธรรม
๓. ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพยำเกรง
ในพระสงฆ์
๔. ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพยำเกรง
ในสิกขา
๕. ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพยำเกรง
ในสมาธิ
เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการนี้ เป็นไปเพื่อความเลือนหาย เพื่อความเสื่อมสูญไป
แห่งสัทธรรม

สาเหตุที่ทำให้สัทธรรมตั้งมั่น

กัสสปะ เหตุ ๕ ประการนี้ เป็นไปเพื่อความตั้งมั่น เพื่อความไม่เลือนหาย
เพื่อความไม่เสื่อมสูญไปแห่งสัทธรรม เหตุ ๕ ประการอะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ มีความเคารพ
ยำเกรงในพระศาสดา
๒. ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ มีความเคารพ
ยำเกรงในพระธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๑๓. สัทธัมมัปปฏิรูปกสูตร

๓. ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ มีความเคารพ
ยำเกรงในพระสงฆ์
๔. ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ มีความเคารพ
ยำเกรงในสิกขา
๕. ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ มีความเคารพ
ยำเกรงในสมาธิ
เหตุ ๕ ประการนี้ เป็นไปเพื่อความตั้งมั่น เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อความ
ไม่เสื่อมสูญไปแห่งสัทธรรม

สัทธัมมัปปฏิรูปกสูตรที่ ๑๓ จบ

กัสสปสังยุต จบบริบูรณ์

รวมพระสูตรที่มีในสังยุตนี้ คือ

๑. สันตุฏฐสูตร ๒. อโนตตัปปีสูตร
๓. จันทูปมาสูตร ๔. กุลูปกสูตร
๕. ชิณณสูตร ๖. โอวาทสูตร
๗. ทุติยโอวาทสูตร ๘. ตติยโอวาทสูตร
๙. ฌานาภิญญสูตร ๑๐. อุปัสสยสูตร
๑๑. จีวรสูตร ๑๒. ปรัมมรณสูตร
๑๓. สัทธัมมัปปฏิรูปกสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๖.ลาภสักการสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๑. ทารุณสูตร

๖. ลาภสักการสังยุต

๑. ปฐมวรรค
หมวดที่ ๑

๑. ทารุณสูตร
ว่าด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ

[๑๕๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมา
ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้
ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภ๑ สักการะ๒ และความสรรเสริญ๓เป็นสิ่งทารุณ เผ็ดร้อน
หยาบคาย เป็นอันตรายต่อการบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า
เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลายจักละลาภสักการะและ
ความสรรเสริญที่เกิดขึ้น ลาภสักการะและความสรรเสริญที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่
ครอบงำจิตของเราทั้งหลายตั้งอยู่’ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

ทารุณสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๖. ลาภสักการสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๒. พฬิสสูตร

๒. พฬิสสูตร
ว่าด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญเปรียบเหมือนเบ็ด

[๑๕๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ เผ็ดร้อน
หยาบคาย เป็นอันตรายต่อการบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่น
ยิ่งกว่า เปรียบเหมือนปลาบางตัวเห็นแก่เหยื่อ กลืนกินเบ็ดที่เกี่ยวเหยื่อซึ่งพรานเบ็ด
หย่อนลงในห้วงน้ำลึก มันกลืนกินเบ็ดของพรานเบ็ดอย่างนี้แล้ว ได้รับทุกข์ ถึงความ
พินาศ ถูกพรานเบ็ดทำได้ตามใจปรารถนาฉะนั้น”
คำว่า ‘พรานเบ็ด’ นี้ เป็นชื่อของมารใจบาป คำว่า ‘เบ็ด’ นี้ เป็นชื่อของลาภ
สักการะและความสรรเสริญ ภิกษุบางรูปยินดี พอใจลาภสักการะและความสรรเสริญ
ที่เกิดขึ้นแล้ว ภิกษุนี้เรากล่าวว่า กลืนกินเบ็ดของมาร ได้รับทุกข์ ถึงความพินาศ
ถูกมารใจบาปทำได้ตามใจปรารถนา
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย
เป็นอันตรายต่อการบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าอย่างนี้
เพราะฉะนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลายจักละลาภสักการะและความ
สรรเสริญที่เกิดขึ้น ลาภสักการะและความสรรเสริญที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิต
ของเราทั้งหลายตั้งอยู่’ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

พฬิสสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๖. ลาภสักการสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๓. กุมมสูตร

๓. กุมมสูตร
ว่าด้วยภิกษุติดลาภสักการะและความสรรเสริญเปรียบเหมือนเต่าถูกเชือกมัด

[๑๕๙] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ ต่อการ
บรรลุธรรม เรื่องเคยมีมาแล้ว มีตระกูลเต่าใหญ่อาศัยอยู่ในห้วงน้ำแห่งหนึ่งมานาน
ครั้งหนึ่ง เต่าตัวหนึ่งเข้าไปหาเต่าอีกตัวหนึ่งถึงที่อยู่พูดว่า ‘พ่อเต่า เจ้าอย่าได้ไปยัง
ท้องถิ่นนั้นนะ’
เต่าตัวนั้นได้ไปยังท้องถิ่นนั้นแล้ว ถูกนายพรานยิงด้วยลูกดอก ลำดับนั้นเต่า
ตัวที่ถูกยิงเข้าไปหาเต่าตัวนั้นถึงที่อยู่ เต่าตัวนั้นได้เห็นเต่าตัวที่ถูกยิงกำลังเดินมาแต่ไกล
จึงถามว่า
“พ่อเต่า เจ้าไม่ได้ไปท้องถิ่นนั้นหรือ”
“พ่อเต่า ฉันได้ไปท้องถิ่นนั้นมาแล้ว”
“พ่อเต่า เจ้าไม่บาดเจ็บ ไม่ถูกทุบตีดอกหรือ”
“ฉันไม่บาดเจ็บ ไม่ถูกทุบตี แต่ฉันมีเชือกเส้นหนึ่งติดหลังมานี้”
เต่าตัวนั้นกล่าวว่า “เอาเถอะพ่อเต่า เจ้าไม่บาดเจ็บ ไม่ถูกทุบตีก็ตามเถิด แต่บิดา
มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย ของเจ้าได้รับทุกข์ ถึงความพินาศ เพราะเชือกเส้นนี้แหละ
ไปเดี๋ยวนี้ เจ้าไม่ใช่พวกของเราแล้ว”
คำว่า ‘พราน’ นี้ เป็นชื่อของมารใจบาป คำว่า ‘ลูกดอก’ นี้ เป็นชื่อของลาภ
สักการะและความสรรเสริญ คำว่า ‘เชือก’ นี้ เป็นชื่อของนันทิราคะ
ภิกษุบางรูปยินดี พอใจลาภสักการะและความสรรเสริญที่เกิดขึ้นแล้ว ภิกษุ
นี้เราเรียกว่า ได้รับทุกข์ ถึงความพินาศ เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญ
อันเปรียบเหมือนลูกดอก ถูกมารใจบาปทำได้ตามใจปรารถนา
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ อย่างนี้
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

กุมมสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๖. ลาภสักการสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๕. มีฬหกสูตร

๔. ทีฆโลมิกสูตร
ว่าด้วยภิกษุติดลาภสักการะและความสรรเสริญ
เปรียบเหมือนแกะขนยาวถูกหนามเกี่ยว

[๑๖๐] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ ต่อการ
บรรลุธรรม เปรียบเหมือนแกะขนยาวเข้าไปสู่พงหนาม มันพึงติด ถูกหนาม
เกี่ยวเกาะ ได้รับทุกข์ถึงความพินาศในที่นั้น ๆ อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น ภิกษุ
บางรูปในธรรมวินัยนี้ ถูกลาภสักการะและความสรรเสริญครอบงำ ย่ำยีจิต เวลาเช้า
ครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังบ้านหรือนิคม เธอติดข้อง
ถูกปัจจัยเกี่ยวเกาะ ได้รับทุกข์ถึงความพินาศในที่นั้น ๆ
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ อย่างนี้
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

ทีฆโลมิกสูตรที่ ๔ จบ

๕. มีฬหกสูตร
ว่าด้วยภิกษุติดลาภสักการะและความสรรเสริญเปรียบเหมือน
แมลงวันกินคูถ

[๑๖๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ ต่อการ
บรรลุธรรม เปรียบเหมือนแมลงวันกินคูถเต็มท้องและเปื้อนคูถ และข้างหน้าของมัน
ยังมีคูถกองใหญ่ มันยังดูหมิ่นแมลงวันเหล่าอื่นว่า ‘เรากินคูถเต็มท้องและเปื้อนคูถ
เรายังมีคูถกองใหญ่อยู่ข้างหน้าอีก’ อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น ภิกษุบางรูปใน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๖. ลาภสักการสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๖. อสนิสูตร

ธรรมวินัยนี้ ถูกลาภสักการะและความสรรเสริญครอบงำ ย่ำยีจิต เวลาเช้า ครอง
อันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังบ้านหรือนิคม ฉัน(ภัตตาหาร) จนพอ
แก่ความต้องการ และทายกยังนิมนต์ให้ฉันในวันรุ่งขึ้น แม้อาหารของเธอจะเต็ม
บาตร เธอไปอารามแล้ว ยังพูดโอ้อวดท่ามกลางหมู่ภิกษุว่า ‘ผมฉันพอแก่ความ
ต้องการแล้ว ทายกยังนิมนต์ให้ฉันในวันรุ่งขึ้น อาหารของผมก็เต็มบาตร และยังจะ
ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารอีก ส่วนภิกษุเหล่าอื่น
มีบุญน้อย มีศักดิ์น้อย จึงไม่ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัช-
บริขาร’ เธอถูกลาภสักการะและความสรรเสริญครอบงำ ย่ำยีจิต จึงดูหมิ่นภิกษุเหล่าอื่น
ผู้มีศีลเป็นที่รัก การกระทำ ของโมฆบุรุษนั้นเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์ตลอด
กาลนาน
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ อย่างนี้
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

มีฬหกสูตรที่ ๕ จบ

๖. อสนิสูตร
ว่าด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญเปรียบเหมือนสายฟ้า

[๑๖๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ ต่อการ
บรรลุธรรม
สายฟ้าผ่าถูกใคร ลาภสักการะและความสรรเสริญ ย่อมติดตามพระเสขะ
ผู้ยังไม่บรรลุอรหัตตผล คำว่า ‘สายฟ้าผ่า’ นี้ เป็นชื่อของลาภสักการะและความ
สรรเสริญ
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ อย่างนี้
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

อสนิสูตรที่ ๖ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๖. ลาภสักการสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๙. เวรัมภสูตร

๗. ทิทธสูตร
ว่าด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญเปรียบเหมือนลูกศรอาบยาพิษ

[๑๖๓] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ ต่อการ
บรรลุธรรม
บุคคลยิงลูกศรอาบยาพิษถูกใคร ลาภสักการะและความสรรเสริญ ย่อมติดตาม
พระเสขะผู้ยังไม่บรรลุอรหัตตผล คำว่า ‘ลูกศร’ นี้ เป็นชื่อของลาภสักการะและความ
สรรเสริญ
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ อย่างนี้
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

ทิทธสูตรที่ ๗ จบ

๘. สิคาลสูตร
ว่าด้วยภิกษุติดลาภสักการะและความสรรเสริญ
เปรียบเหมือนสุนัขจิ้งจอกเป็นโรคเรื้อน

[๑๖๔] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ ต่อการ
บรรลุธรรม
เมื่อเช้าตรู่ เธอทั้งหลายได้เห็นสุนัขจิ้งจอกแก่ที่มาอาศัยอยู่หรือ”
“เห็น พระพุทธเจ้าข้า”
“สุนัขจิ้งจอกแก่นั้นเป็นโรคเรื้อน อยู่ในเรือนว่างก็ไม่ยินดี อยู่ที่โคนไม้ก็ไม่ยินดี
อยู่ในที่แจ้งก็ไม่ยินดี เดิน ยืน นั่ง นอนในที่ใด ๆ ก็เป็นทุกข์ในที่นั้น ๆ ภิกษุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๖. ลาภสักการสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๙. เวรัมภสูตร

บางรูปในธรรมวินัยนี้ก็เหมือนกัน ถูกลาภสักการะและความสรรเสริญครอบงำ ย่ำยีจิต
อยู่ในเรือนว่างก็ไม่ยินดี อยู่ที่โคนไม้ก็ไม่ยินดี อยู่ในที่แจ้งก็ไม่ยินดี เดิน ยืน นั่ง
นอนในที่ใด ๆ ก็เป็นทุกข์ในที่นั้น ๆ
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ อย่างนี้
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

สิคาลสูตรที่ ๘ จบ

๙. เวรัมภสูตร
ว่าด้วยภิกษุติดลาภสักการะและความสรรเสริญเปรียบเหมือน
นกถูกลมบ้าหมูพัด

[๑๖๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ ต่อการ
บรรลุธรรม
ลมบ้าหมูพัดอยู่บนอากาศ ซัดนกที่กำลังบินอยู่ในอากาศ เมื่อมันถูกลม
บ้าหมูซัด เท้าไปทางหนึ่ง ปีกไปทางหนึ่ง ศีรษะไปทางหนึ่ง ตัวไปทางหนึ่ง ภิกษุ
บางรูปในธรรมวินัยนี้ก็เหมือนกัน ถูกลาภสักการะและความสรรเสริญครอบงำ
ย่ำยีจิต เวลาเช้า ครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังบ้านหรือนิคม
ไม่รักษากายวาจาจิต ไม่ตั้งสติให้มั่นคง ไม่สำรวมอินทรีย์ เธอเห็นมาตุคามนุ่งห่ม
ไม่เรียบร้อยในที่นั้น ราคะก็รบกวนจิตของเธอเพราะเห็นมาตุคามนุ่งห่มไม่เรียบร้อย
เธอถูกราคะรบกวนจิต จึงบอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ ภิกษุพวกหนึ่งนำจีวร
ของเธอไป พวกหนึ่งนำบาตรไป พวกหนึ่งนำผ้านิสีทนะ๑ไป พวกหนึ่งนำกล่องเข็มไป
เปรียบเหมือนนกถูกลมบ้าหมูซัดไปฉะนั้น
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ อย่างนี้
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

เวรัมภสูตรที่ ๙ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๖. ลาภสักการสังยุต] ๑๐. สคาถกสูตร

๑๐. สคาถกสูตร
ว่าด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญมีอบายเป็นผล

[๑๖๖] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ ต่อการ
บรรลุธรรม
เราเห็นคนบางคนในโลกนี้ ถูกสักการะครอบงำ ย่ำยีจิตแล้ว หลังจากตายแล้ว
ก็เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก อนึ่ง เราเห็นคนบางคนในโลกนี้ ถูกความเสื่อม
สักการะครอบงำ ย่ำยีจิตแล้ว หลังจากตายแล้วก็เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
อนึ่ง เราเห็นคนบางคนในโลกนี้ถูกสักการะและความเสื่อมสักการะทั้งสองอย่าง
ครอบงำ ย่ำยีจิตแล้ว หลังจากตายแล้วก็เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ อย่างนี้
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
“สมาธิของภิกษุใด ผู้มีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท
ย่อมไม่หวั่นไหวด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ
(๑) ด้วยมีผู้สักการะ (๒) ด้วยไม่มีผู้สักการะ
ภิกษุผู้เข้าฌานมีความเพียรพิจารณาด้วยปัญญาที่สุขุม
ยินดีในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปาทานนั้น
นักปราชญ์ทั้งหลายเรียกว่า สัตบุรุษ”๑

สคาถกสูตรที่ ๑๐ จบ
ปฐมวรรค จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๖. ลาภสักการสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๑. สุวัณณปาติสูตร

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ทารุณสูตร ๒. พฬิสสูตร
๓. กุมมสูตร ๔. ทีฆโลมิกสูตร
๕. มีฬหกสูตร ๖. อสนิสูตร
๗. ทิทธสูตร ๘. สิคาลสูตร
๙. เวรัมภสูตร ๑๐. สคาถกสูตร

๒. ทุติยวรรค
หมวดที่ ๒

๑. สุวัณณปาติสูตร
ว่าด้วยถาดทองคำ

[๑๖๗] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ ต่อการ
บรรลุธรรม ...
เรากำหนดรู้ใจของบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะถาดทองคำ
เต็มด้วยผงเงินเป็นเหตุ ท่านผู้นี้ก็ไม่จงใจพูดเท็จ’ ต่อมาเราเห็นเขาถูกลาภสักการะ
และความสรรเสริญครอบงำ ย่ำยีจิตแล้ว ก็พูดเท็จทั้งที่รู้อยู่

สุวัณณปาติสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๖. ลาภสักการสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๓-๑๐. สุวัณณนิกขสุตตาทิอัฏฐกะ

๒. รูปิยปาติสูตร
ว่าด้วยถาดรูปิยะ

[๑๖๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ ต่อการ
บรรลุธรรม ...
เรากำหนดรู้ใจของบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะถาดทองคำ
เต็มด้วยผงทองคำเป็นเหตุ ท่านผู้นี้ก็ไม่จงใจพูดเท็จ’ ต่อมาเราเห็นเขาถูกลาภสักการะ
และความสรรเสริญครอบงำ ย่ำยีจิตแล้ว ก็พูดเท็จทั้งที่รู้อยู่
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ อย่างนี้
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

รูปิยปาติสูตรที่ ๒ จบ

๓-๑๐. สุวัณณนิกขสุตตาทิอัฏฐกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๘ สูตร มีสูตรว่าด้วยทองคำแท่งเป็นต้น

[๑๖๙] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย เรากำหนดรู้ใจของบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจอย่างนี้ว่า “แม้
เพราะทองคำแท่งเป็นเหตุ” ...
สูตรที่ ๓ จบ
๔. “แม้เพราะทองคำ ๑๐๐ แท่งเป็นเหตุ” ...
สูตรที่ ๔ จบ
๕. “แม้เพราะทองสิงคีเป็นเหตุ” ...
สูตรที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๗๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๖. ลาภสักการสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๑๐.ชนปทกัลยาณีสูตร

๖. “แม้เพราะทองสิงคี ๑๐๐ แท่งเป็นเหตุ” ...
สูตรที่ ๖ จบ
๗. “แม้เพราะแผ่นดินที่เต็มด้วยแร่ทองคำเป็นเหตุ” ...
สูตรที่ ๗ จบ
๘. “แม้เพราะเห็นแก่ของกำนัลเพียงเล็กน้อยเป็นเหตุ” ...
สูตรที่ ๘ จบ
๙. “แม้เพราะชีวิตเป็นเหตุ” ...
สูตรที่ ๙ จบ
๑๐. “แม้เพราะนางงามประจำแคว้นเป็นเหตุ ท่านผู้นี้ก็ไม่จงใจพูดเท็จ ต่อมา
เราเห็นเขาถูกลาภสักการะและความสรรเสริญครอบงำ ย่ำยีจิตแล้ว ก็พูดเท็จทั้งที่รู้อยู่
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ อย่างนี้
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

ชนปทกัลยาณีสูตรที่ ๑๐ จบ
ทุติยวรรค จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สุวัณณปาติสูตร ๒. รูปิยปาติสูตร
๓. สุวัณณนิกขสูตร ๔. สุวัณณนิกขสตสูตร
๕. สิงคินิกขสูตร ๖. สิงคินิกขสตสูตร
๗. ปฐวิสูตร ๘. อามิสกิญจิกขสูตร
๙. ชีวิตสูตร ๑๐. ชนปทกัลยาณีสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๖. ลาภสักการสังยุต]
๓. ตติยวรรค ๒. กัลยาณิสูตร

๓. ตติยวรรค
หมวดที่ ๓

๑. มาตุคามสูตร
ว่าด้วยมาตุคาม

[๑๗๐] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ ต่อการ
บรรลุธรรม ...
มาตุคามคนเดียวไม่สามารถครอบงำจิตของภิกษุรูปหนึ่ง แต่ลาภสักการะและ
ความสรรเสริญสามารถครอบงำจิตของภิกษุได้ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ อย่างนี้
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

มาตุคามสูตรที่ ๑ จบ

๒. กัลยาณิสูตร
ว่าด้วยนางงาม

[๑๗๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ ต่อการ
บรรลุธรรม ...
นางงามประจำแคว้นคนเดียวไม่สามารถครอบงำจิตของภิกษุรูปหนึ่ง แต่ลาภ
สักการะและความสรรเสริญสามารถครอบงำจิตของภิกษุได้ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ อย่างนี้
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

กัลยาณิสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๖. ลาภสักการสังยุต]
๓. ตติยวรรค ๓. เอกปุตตกสูตร

๓. เอกปุตตกสูตร
ว่าด้วยบุตรคนเดียว

[๑๗๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ ต่อการ
บรรลุธรรม ...
อุบาสิกาผู้มีศรัทธา เมื่อจะวิงวอนบุตรคนเดียวซึ่งเป็นที่น่ารักน่าพอใจโดย
ถูกต้อง พึงวิงวอนว่า ‘ลูกเอ๋ย ขอพ่อจงเป็นเช่นจิตตคหบดี๑ และหัตถกอาฬวก-
อุบาสก๒เถิด’
บรรดาอุบาสกสาวกของเรา คือ จิตตคหบดีและหัตถกอาฬวกอุบาสก เป็นผู้
ชั่งได้วัดได้(นางพึงวิงวอนอีกว่า) ถ้าพ่อออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ก็ขอให้เป็น
เช่นพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเถิด
บรรดาภิกษุผู้เป็นสาวกของเรา คือ สารีบุตรและโมคคัลลานะ เป็นผู้ชั่งได้วัดได้
(นางพึงวิงวอนต่อไปว่า) ลูกเอ๋ย ขอลาภสักการะและความสรรเสริญ จงอย่าครอบงำ
เจ้าผู้เป็นเสขะยังไม่บรรลุอรหัตตผลเลย ถ้าลาภสักการะและความสรรเสริญครอบงำ
ภิกษุผู้เป็นเสขะยังไม่บรรลุอรหัตตผล ก็ย่อมเป็นอันตรายแก่เธอ
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ อย่างนี้
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

เอกปุตตกสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๖. ลาภสักการสังยุต]
๓. ตติยวรรค ๔. เอกธีตสูตร

๔. เอกธีตุสูตร
ว่าด้วยธิดาคนเดียว

[๑๗๓] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ ต่อการ
บรรลุธรรม ...
อุบาสิกาผู้มีศรัทธาเมื่อจะวิงวอนธิดาคนเดียว ซึ่งเป็นที่น่ารักน่าพอใจโดยถูกต้อง
พึงวิงวอนว่า ‘ลูกเอ๋ย ขอเจ้าจงเป็นเช่นนางขุชชุตตราอุบาสิกา๑ และนางนันทมารดา๒
ชาวเมืองเวฬุกัณฑกะเถิด’
บรรดาอุบาสิกาผู้เป็นสาวิกาของเรา คือ ขุชชุตตราอุบาสิกา และนางนันท-
มารดา ชาวเมืองเวฬุกัณฑกะ เป็นผู้ชั่งได้วัดได้(นางพึงวิงวอนอีกว่า) ถ้าแม่ออกจาก
เรือนบวชเป็นบรรพชิต ก็ขอให้เป็นเช่นเขมาภิกษุณี๓ และอุบลวรรณาภิกษุณี๔เถิด
บรรดาภิกษุณีผู้เป็นสาวิกาของเรา เขมาภิกษุณีและอุบลวรรณาภิกษุณี เป็นผู้
ชั่งได้วัดได้ (นางพึงวิงวอนต่อไปว่า) ลูกเอ๋ย ขอลาภสักการะและความสรรเสริญ
จงอย่าครอบงำเจ้าผู้เป็นเสขะยังไม่บรรลุอรหัตตผลเลย ถ้าลาภสักการะและความ
สรรเสริญครอบงำภิกษุณีผู้เป็นเสขะยังไม่บรรลุอรหัตตผลก็ย่อมเป็นอันตรายแก่เธอ
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ อย่างนี้
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

เอกธีตุสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๖. ลาภสักการสังยุต]
๓. ตติยวรรค ๖. ทุติยสมณพราหมณสูตร

๕. สมณพราหมณสูตร
ว่าด้วยสมณพราหมณ์

[๑๗๔] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งไม่รู้ชัดคุณ โทษ และ
เครื่องสลัดออกจากลาภสักการะและความสรรเสริญตามความเป็นจริง สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่านั้น ไม่จัดว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือไม่จัดว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่
พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้นก็ไม่ทำให้แจ้งประโยชน์ของความเป็นสมณะและประโยชน์
ของความเป็นพราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดคุณ โทษ และเครื่องสลัดออก
จากลาภสักการะและความสรรเสริญตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น
จัดว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ และจัดว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้น
ก็ทำให้แจ้งประโยชน์ของความเป็นสมณะ และประโยชน์ของความเป็นพราหมณ์ด้วย
ปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”

สมณพราหมณสูตรที่ ๕ จบ

๖. ทุติยสมณพราหมณสูตร
ว่าด้วยสมณพราหมณ์ สูตรที่ ๒

[๑๗๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งไม่รู้ชัดความเกิด ความดับ
คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากลาภสักการะและความสรรเสริญตามความเป็นจริง
ฯลฯ (ท่านเหล่านั้น) รู้ชัด ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดความเกิด ความดับ
คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากลาภสักการะและความสรรเสริญตามความเป็นจริง
ฯลฯ เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”

ทุติยสมณพราหมณสูตรที่ ๖ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๖. ลาภสักการสังยุต]
๓. ตติยวรรค ๘. ฉวิสูตร

๗. ตติยสมณพราหมณสูตร
ว่าด้วยสมณพราหมณ์ สูตรที่ ๓

[๑๗๖] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งไม่รู้ชัดลาภสักการะ
และความสรรเสริญ ความเกิดแห่งลาภสักการะและความสรรเสริญ ความดับแห่ง
ลาภสักการะและความสรรเสริญ และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งลาภสักการะและ
ความสรรเสริญ ฯลฯ รู้ชัด ฯลฯ ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ใน
ปัจจุบัน”

ตติยสมณพราหมณสูตรที่ ๗ จบ

๘. ฉวิสูตร
ว่าด้วยผิว

[๑๗๗] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ลาภสักการะ
และความสรรเสริญย่อมตัดผิว ครั้นตัดผิวแล้วย่อมตัดหนัง ครั้นตัดหนังแล้วย่อม
ตัดเนื้อ ครั้นตัดเนื้อแล้วย่อมตัดเอ็น ครั้นตัดเอ็นแล้วย่อมตัดกระดูก ครั้นตัดกระดูก
แล้วก็ตั้งจดเยื่อในกระดูกอยู่
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ อย่างนี้
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

ฉวิสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๖. ลาภสักการสังยุต]
๓. ตติยวรรค ๑๐. ภิกขุสูตร

๙. รัชชุสูตร
ว่าด้วยเชือก

[๑๗๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ลาภสักการะ
และความสรรเสริญย่อมตัดผิว ครั้นตัดผิวแล้วย่อมตัดหนัง ครั้นตัดหนังแล้วย่อม
ตัดเนื้อ ครั้นตัดเนื้อแล้วย่อมตัดเอ็น ครั้นตัดเอ็นแล้วย่อมตัดกระดูก ครั้นตัดกระดูก
แล้วก็ตั้งจดเยื่อในกระดูกอยู่
เปรียบเหมือนบุรุษผู้ทรงพลัง เอาเชือกขนหางสัตว์อย่างเหนียวพันแข้ง แล้วสีไป
สีมา เชือกนั้นพึงตัดผิว ครั้นตัดผิวแล้วพึงตัดหนัง ครั้นตัดหนังแล้วพึงตัดเนื้อ
ครั้นตัดเนื้อแล้วพึงตัดเอ็น ครั้นตัดเอ็นแล้วพึงตัดกระดูก ครั้นตัดกระดูกแล้วก็ตั้ง
จดเยื่อในกระดูกอยู่ อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น ลาภสักการะและความสรรเสริญ
ย่อมตัดผิว ครั้นตัดผิวแล้วย่อมตัดหนัง ครั้นตัดหนังแล้วย่อมตัดเนื้อ ครั้นตัดเนื้อ
แล้วย่อมตัดเอ็น ครั้นตัดเอ็นแล้วย่อมตัดกระดูก ครั้นตัดกระดูกแล้วก็ตั้งจดเยื่อใน
กระดูกอยู่
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ อย่างนี้
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

รัชชุสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ภิกขุสูตร
ว่าด้วยภิกษุ

[๑๗๙] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่าลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นอันตราย
แม้แก่ภิกษุผู้เป็นอรหันตขีณาสพ
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ท่านพระอานนท์ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นอันตราย
แก่ภิกษุขีณาสพประเภทไหน’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๖. ลาภสักการสังยุต]
๓. ตติยวรรค ๑๐. ภิกขุสูตร

‘อานนท์ เราไม่กล่าวว่าลาภสักการะและความสรรเสริญ เป็นอันตรายแก่
เจโตวิมุตติอันไม่กำเริบของภิกษุขีณาสพนั้น แต่เรากล่าวว่าลาภสักการะและความ
สรรเสริญเป็นอันตรายแก่ธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันที่ภิกษุขีณาสพผู้ไม่ประมาท
มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่นั้น บรรลุแล้ว
อานนท์ ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย
เป็นอันตรายต่อการบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าอย่างนี้
เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลายจักละลาภสักการะและ
ความสรรเสริญที่เกิดขึ้น ลาภสักการะและความสรรเสริญที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่
ครอบงำจิตของเราทั้งหลายตั้งอยู่’ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

ภิกขุสูตรที่ ๑๐ จบ
ตติยวรรค จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. มาตุคามสูตร ๒. กัลยาณิสูตร
๓. เอกปุตตกสูตร ๔. เอกธีตุสูตร
๕. สมณพราหมณสูตร ๖. ทุติยสมณพราหมณสูตร
๗. ตติยสมณพราหมณสูตร ๘. ฉวิสูตร
๙. รัชชุสูตร ๑๐. ภิกขุสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๖. ลาภสักการสังยุต]
๔. จตุตถวรรค ๒. กุสลมูลสูตร

๔. จตุตถวรรค
หมวดที่ ๔

๑. ภินทิสูตร
ว่าด้วยการทำลาย

[๑๘๐] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ เทวทัต
ถูกลาภสักการะและความสรรเสริญครอบงำ ย่ำยีจิตแล้ว จึงทำลายสงฆ์
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ อย่างนี้
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

ภินทิสูตรที่ ๑ จบ

๒. กุสลมูลสูตร
ว่าด้วยกุศลมูล

[๑๘๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ
กุศลมูล๑ของเทวทัตผู้ถูกลาภสักการะและความสรรเสริญครอบงำ ย่ำยีจิต ถึงความ
ขาดสูญแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ อย่างนี้
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

กุศลมูลสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๖. ลาภสักการสังยุต]
๔. จตุตถวรรค ๔. สุกกธัมมสูตร

๓. กุสลธัมมสูตร
ว่าด้วยกุศลธรรม

[๑๘๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ กุศลธรรม
ของเทวทัตผู้ถูกลาภสักการะและความสรรเสริญครอบงำ ย่ำยีจิต ถึงความขาดสูญแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ อย่างนี้
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

กุสลธัมมสูตรที่ ๓ จบ

๔. สุกกธัมมสูตร
ว่าด้วยธรรมขาว

[๑๘๓] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ ธรรม
ฝ่ายดี (ขาว) ของเทวทัตผู้ถูกลาภสักการะและความสรรเสริญครอบงำ ย่ำยีจิต
ถึงความขาดสูญแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ อย่างนี้
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

สุกกธัมมสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๖. ลาภสักการสังยุต]
๔. จตุตถวรรค ๕. อจิรปักกันตสูตร

๕. อจิรปักกันตสูตร
ว่าด้วยการหลีกไปไม่นาน

[๑๘๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุง
ราชคฤห์ เมื่อพระเทวทัตหลีกไปไม่นาน ณ ที่นั้น พระผู้พระภาคทรงปรารภพระเทวทัต
ได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเกิดแก่เทวทัตเพื่อฆ่าตนเอง
เพื่อความเสื่อม
ต้นกล้วยเผล็ดผลเพื่อฆ่าตนเอง เพื่อความเสื่อม ฉันใด ลาภสักการะและ
ความสรรเสริญเกิดแก่เทวทัตเพื่อฆ่าตนเอง เพื่อความเสื่อม ฉันนั้น
ต้นไผ่ออกขุยเพื่อฆ่าตนเอง เพื่อความเสื่อม ฉันใด ลาภสักการะและความ
สรรเสริญเกิดแก่เทวทัตเพื่อฆ่าตนเอง เพื่อความเสื่อม ฉันนั้น
ต้นอ้อออกดอกเพื่อฆ่าตนเอง เพื่อความเสื่อม ฉันใด ลาภสักการะและความ
สรรเสริญเกิดแก่เทวทัตเพื่อฆ่าตนเอง เพื่อความเสื่อม ฉันนั้น
แม่ม้าอัสดรตั้งครรภ์เพื่อฆ่าตนเอง เพื่อความเสื่อม ฉันใด ลาภสักการะและ
ความสรรเสริญเกิดแก่เทวทัตเพื่อฆ่าตนเอง เพื่อความเสื่อม ฉันนั้น
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ อย่างนี้
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
“ผลกล้วยฆ่าต้นกล้วย ขุยไผ่ฆ่าต้นไผ่
ดอกอ้อฆ่าต้นอ้อ ลูกม้าอัสดรฆ่าแม่ม้า ฉันใด
สักการะย่อมฆ่าคนชั่ว ฉันนั้น”๑

อจิรปักกันตสูตรที่ ๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๖. ลาภสักการสังยุต]
๔. จตุตถวรรค ๖. ปัญจรถสูตร

๖. ปัญจรถสตสูตร
ว่าด้วยราชรถ ๕๐๐

[๑๘๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น อชาตศัตรูราชกุมารเสด็จโดยราชรถ ๕๐๐ คัน ไปบำรุง
พระเทวทัตทั้งเวลาเย็นเวลาเช้า และรับสั่งให้นำภัตตาหารที่สมควรไปพระราชทาน
๕๐๐ สำรับ ครั้งนั้น ภิกษุเป็นจำนวนมากเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อชาตศัตรูราชกุมารเสด็จโดยราชรถ ๕๐๐ คัน ไปบำรุง
พระเทวทัต ทั้งเวลาเย็นเวลาเช้า และรับสั่งให้นำภัตตาหารที่สมควรไปพระราชทาน
๕๐๐ สำรับ”
“ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอย่ายินดีลาภสักการะและความสรรเสริญของ
เทวทัตเลย แม้อชาตศัตรูราชกุมารจักเสด็จโดยราชรถ ๕๐๐ คัน ไปบำรุงเทวทัต
ทั้งเวลาเย็นเวลาเช้า และจักรับสั่งให้นำภัตตาหารที่สมควรไปพระราชทาน ๕๐๐ สำรับ
เพียงใด เทวทัตก็พึงหวังความเสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลายเพียงนั้น หวังความเจริญ
ไม่ได้
เปรียบเหมือนสุนัขดุที่เขาขยี้ดี (ดีหมีดีปลา) ใส่ในจมูก เมื่อเป็นเช่นนี้ มันก็ยิ่ง
ดุร้ายกว่าเดิมหลายเท่า อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น อชาตศัตรูราชกุมารจักเสด็จ
โดยราชรถ ๕๐๐ คัน ไปบำรุงเทวทัตทั้งเวลาเย็นเวลาเช้า และจักรับสั่งให้นำภัตตาหาร
ที่สมควรไปพระราชทาน ๕๐๐ สำรับ เพียงใด เทวทัตก็พึงหวังความเสื่อมในกุศลธรรม
ทั้งหลายเพียงนั้น หวังความเจริญไม่ได้
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ อย่างนี้
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

ปัญจรถสตสูตรที่ ๖ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๖. ลาภสักการสังยุต]
๔. จตุตถวรรค ๘-๑๓. ปิตุสุตตาทิฉักกะ

๗. มาตุสูตร
ว่าด้วยมารดา

[๑๘๖] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ เผ็ดร้อน
หยาบคาย เป็นอันตรายต่อการบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า
เรากำหนดรู้ใจของบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุแห่งมารดา
ท่านผู้นี้ก็ไม่จงใจพูดเท็จ’ ต่อมา เราเห็นเขาถูกลาภสักการะและความสรรเสริญ
ครอบงำ ย่ำยีจิตแล้ว ก็พูดเท็จทั้งที่รู้อยู่
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย
เป็นอันตรายต่อการบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า เพราะเหตุ
นั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลายจักละลาภสักการะและความ
สรรเสริญที่เกิดขึ้น ลาภสักการะและความสรรเสริญที่เกิดขึ้นแล้ว ก็จักไม่ครอบงำจิต
ของเราทั้งหลายตั้งอยู่’ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

มาตุสูตรที่ ๗ จบ

๘-๑๓. ปิตุสุตตาทิฉักกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๖ สูตรมีปิตุสูตรเป็นต้น

[๑๘๗] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ เผ็ดร้อน
หยาบคาย เป็นอันตรายต่อการบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า
เรากำหนดรู้ใจของบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุแห่ง
บิดา’ ฯลฯ
สูตรที่ ๘ จบ
๙. “แม้เพราะเหตุแห่งพี่ชายน้องชาย” ...
สูตรที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๖. ลาภสักการสังยุต]
๔. จตุตถวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑๐. “แม้เพราะเหตุแห่งพี่สาวน้องสาว” ...
สูตรที่ ๑๐ จบ
๑๑. “แม้เพราะเหตุแห่งบุตร” ...
สูตรที่ ๑๑ จบ
๑๒. “แม้เพราะเหตุแห่งธิดา” ...
สูตรที่ ๑๒ จบ
๑๓. “เรากำหนดรู้ใจของบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะ
เหตุแห่งปชาบดี ท่านผู้นี้ก็ไม่จงใจพูดเท็จ’ ต่อมา เราเห็นเขาถูกลาภสักการะและ
ความสรรเสริญครอบงำ ย่ำยีจิตแล้ว ก็พูดเท็จทั้งที่รู้อยู่
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ เผ็ดร้อน
หยาบคาย เป็นอันตรายต่อการบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า
เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลายจักละลาภสักการะและ
ความสรรเสริญที่เกิดขึ้น ลาภสักการะและความสรรเสริญที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่
ครอบงำจิตของเราทั้งหลายตั้งอยู่’ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

ปชาปติสูตรที่ ๑๓ จบ
จตุตถวรรค จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ภินทิสูตร ๒. กุสลมูลสูตร
๓. กุสลธัมมสูตร ๔. สุกกธัมมสูตร
๕. อจิรปักกันตสูตร ๖. ปัญจรถสตสูตร
๗. มาตุสูต ๘. ปิตุสูตร
๙. ภาตุสูตร ๑๐. ภคินิสูตร
๑๑. ปุตตสูต ๑๒. ธีตุสูตร
๑๓. ปชาปติสูตร

ลาภสักการสังยุต จบบริบูรณ์


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๗.ราหุลสังยุต] ๑. ปฐมวรรค ๑. จักขุสูตร

๗. ราหุลสังยุต

๑. ปฐมวรรค
หมวดที่ ๑

๑. จักขุสูตร
ว่าด้วยจักษุ

[๑๘๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระราหุลเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดง
ธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ซึ่งข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว จะพึงหลีกออกไปอยู่คนเดียว
ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เถิด”
“ราหุล เธอจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร จักขุ(ตา) เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะพิจารณา
เห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“โสตะ(หู)เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ...
“ฆานะ(จมูก)เที่ยงหรือไม่เที่ยง”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๗.ราหุลสังยุต] ๑. ปฐมวรรค ๑. จักขุสูตร

“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ...
“ชิวหา(ลิ้น)เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ...
“กายเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ...
“มโน(ใจ)เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะพิจารณา
เห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“ราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ ฯลฯ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโสตะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในฆานะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหา
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า
‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่น เพื่อความ
เป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
[พึงย่อพระสูตรทั้ง ๑๐ เช่นนี้]

จักขุสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๗. ราหุลสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๓. วิญญาณสูตร

๒. รูปสูตร
ว่าด้วยรูป

[๑๘๙] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ราหุล เธอจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“เสียง ... กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะ ... ธรรมารมณ์ เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ...
“ราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อม
เบื่อหน่ายแม้ในเสียง ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกลิ่น ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรส ย่อม
เบื่อหน่ายแม้ในโผฏฐัพพะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมารมณ์ เมื่อเบื่อหน่ายย่อม
คลายกำหนัด ฯลฯ รู้ชัดว่า” ...

รูปสูตรที่ ๒ จบ

๓. วิญญาณสูตร
ว่าด้วยวิญญาณ

[๑๙๐] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ราหุล เธอจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร จักขุวิญญาณ (ความรู้อารมณ์
ทางตา) เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“โสตวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางหู) ... ฆานวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทาง
จมูก) ... ชิวหาวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางลิ้น) ... กายวิญญาณ (ความรู้อารมณ์
ทางกาย) ... มโนวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางใจ) เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๗. ราหุลสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๔. สัมผัสสสูตร

“ราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุวิญญาณ
ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโสตวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในฆานวิญญาณ ย่อม
เบื่อหน่ายแม้ในชิวหาวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกายวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในมโนวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด ฯลฯ รู้ชัดว่า” ...

วิญญาณสูตรที่ ๓ จบ

๔. สัมผัสสสูตร
ว่าด้วยสัมผัส

[๑๙๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ราหุล เธอจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร จักขุสัมผัสเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“โสตสัมผัส ... ฆานสัมผัส ... ชิวหาสัมผัส ... กายสัมผัส ... มโนสัมผัส
เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุสัมผัส
ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโสตสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในฆานสัมผัส ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในชิวหาสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกายสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโนสัมผัส
เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด ฯลฯ รู้ชัดว่า” ...

สัมผัสสสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๗. ราหุลสังยุต] ๑. ปฐมวรรค ๖. สัญญาสูตร

๕. เวทนาสูตร
ว่าด้วยเวทนา

[๑๙๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ราหุล เธอจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร จักขุสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิด
แต่จักขุสัมผัส) เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“โสตสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาที่เกิดแต่โสตสัมผัส) ... ฆานสัมผัสสชาเวทนา
(เวทนาที่เกิดแต่ฆานสัมผัส) ... ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาที่เกิดแต่ชิวหาสัมผัส) ...
กายสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาที่เกิดแต่กายสัมผัส) ... มโนสัมผัสสชาเวทนา
(เวทนาที่เกิดแต่มโนสัมผัส) เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุสัมผัสสชา-
เวทนา ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโสตสัมผัสสชาเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน
ฆานสัมผัสสชาเวทนา ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหาสัมผัสสชาเวทนา ... ย่อมเบื่อ
หน่ายแม้ในกายสัมผัสสชาเวทนา ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโนสัมผัสสชาเวทนา
ฯลฯ รู้ชัดว่า” ...

เวทนาสูตรที่ ๕ จบ

๖. สัญญาสูตร
ว่าด้วยสัญญา

[๑๙๓] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ราหุล เธอจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปสัญญา (ความหมายรู้รูป) เที่ยง
หรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“สัททสัญญา (ความหมายรู้เสียง) ... คันธสัญญา (ความหมายรู้กลิ่น) ...
รสสัญญา (ความหมายรู้รส) ... โผฏฐัพพสัญญา (ความหมายรู้โผฏฐัพพะ) ...
ธัมมสัญญา (ความหมายรู้อารมณ์ทางใจ) เที่ยงหรือไม่เที่ยง”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๗. ราหุลสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๗.สัญเจตนาสูตร

“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูปสัญญา ฯลฯ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัททสัญญา ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในคันธสัญญา ... ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในรสสัญญา ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโผฏฐัพพสัญญา ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน
ธัมมสัญญา ฯลฯ รู้ชัดว่า” ...

สัญญาสูตรที่ ๖ จบ

๗. สัญเจตนาสูตร
ว่าด้วยสัญเจตนา

[๑๙๔] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ราหุล เธอจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปสัญเจตนา (ความจำนงรูป) เที่ยง
หรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“สัททสัญเจตนา (ความจำนงเสียง) ... คันธสัญเจตนา (ความจำนงกลิ่น) ...
รสสัญเจตนา (ความจำนงรส) ... โผฏฐัพพสัญเจตนา (ความจำนงโผฏฐัพพะ) ...
ธัมมสัญเจตนา (ความจำนงธรรมารมณ์) เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูปสัญเจตนา
ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัททสัญเจตนา ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในคันธสัญเจตนา ...
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรสสัญเจตนา ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโผฏฐัพพสัญเจตนา ...
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธัมมสัญเจตนา ฯลฯ รู้ชัดว่า” ...

สัญเจตนาสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๗. ราหุลสังยุต] ๑. ปฐมวรรค ๙. ธาตุสูตร

๘. ตัณหาสูตร
ว่าด้วยตัณหา

[๑๙๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ราหุล เธอจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปตัณหาเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“สัททตัณหา ... คันธตัณหา ... รสตัณหา ... โผฏฐัพพตัณหา ... ธัมมตัณหา
เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูปตัณหา
ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัททตัณหา ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในคันธตัณหา ... ย่อม
เบื่อหน่ายแม้ในรสตัณหา ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโผฏฐัพพตัณหา ... ย่อมเบื่อ
หน่ายแม้ในธัมมตัณหา ฯลฯ รู้ชัดว่า” ...

ตัณหาสูตรที่ ๘ จบ

๙. ธาตุสูตร
ว่าด้วยธาตุ

[๑๙๖] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ราหุล เธอจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ปฐวีธาตุเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“อาโปธาตุ ... เตโชธาตุ ... วาโยธาตุ ... อากาสธาตุ ... วิญญาณธาตุ เที่ยง
หรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในปฐวีธาตุ ฯลฯ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในอาโปธาตุ ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเตโชธาตุ ... ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในวาโยธาตุ ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในอากาสธาตุ ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ-
ธาตุ ฯลฯ รู้ชัดว่า” ...

ธาตุสูตรที่ ๙ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๗. ราหุลสังยุต] ๑. ปฐมวรรค  ๑๐. ขันธสูตร

๑๐. ขันธสูตร
ว่าด้วยขันธ์

[๑๙๗] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ราหุล เธอจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“เวทนา ... สัญญา ... สังขารทั้งหลาย ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะพิจารณา
เห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“ราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ฯลฯ ย่อม
เบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน
สังขารทั้งหลาย ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัด
ว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อ
ความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

ขันธสูตรที่ ๑๐ จบ
ปฐมวรรค จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. จักขุสูตร ๒. รูปสูตร
๓. วิญญาณสูตร ๔. สัมผัสสูตร
๕. เวทนาสูตร ๖. สัญญาสูตร
๗. สัญเจตนาสูตร ๘. ตัณหาสูตร
๙. ธาตุสูตร ๑๐. ขันธสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๗. ราหุลสังยุต] ๒. ทุติยวรรค ๑. จักขุสูตร

๒. ทุติยวรรค
หมวดที่ ๒

๑. จักขุสูตร
ว่าด้วยจักษุ

[๑๙๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระราหุลได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่าน
พระราหุลดังนี้ว่า
“ราหุล เธอจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร จักขุเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะพิจารณา
เห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“โสตะ ฯลฯ ฆานะ ... ชิวหา ... กาย ... มโนเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะพิจารณา
เห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๗. ราหุลสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๒-๑๐.รูปาทิสุตตนวกะ

“ราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ ฯลฯ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโสตะ ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในฆานะ ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหา
... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกาย ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลาย
กำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’
รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
[พึงย่อพระสูตรทั้ง ๑๐ เช่นนี้]

จักขุสูตรที่ ๑ จบ

๒-๑๐. รูปาทิสุตตนวกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๙ สูตรมีรูปสูตรเป็นต้น

[๑๙๙] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ราหุล เธอจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ... ธรรมารมณ์” ...
สูตรที่ ๒ จบ
“จักขุวิญญาณ ฯลฯ โสตวิญญาณ ... ฆานวิญญาณ ... ชิวหาวิญญาณ ...
กายวิญญาณ ... มโนวิญญาณ” ...
สูตรที่ ๓ จบ
“จักขุสัมผัส ฯลฯ โสตสัมผัส... ฆานสัมผัส... ชิวหาสัมผัส... กายสัมผัส...
มโนสัมผัส” ...
สูตรที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๗. ราหุลสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๒-๑๐.รูปาทิสุตตนวกะ

“จักขุสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ โสตสัมผัสสชาเวทนา ... ฆานสัมผัสสชาเวทนา ...
ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา ... กายสัมผัสสชาเวทนา... มโนสัมผัสสชาเวทนา” ...
สูตรที่ ๕ จบ
“รูปสัญญา ฯลฯ สัททสัญญา... คันธสัญญา... รสสัญญา... โผฏฐัพพสัญญา ...
ธัมมสัญญา” ...
สูตรที่ ๖ จบ
“รูปสัญเจตนา (ความจำนงรูป) ฯลฯ สัททสัญเจตนา (ความจำนงเสียง) ...
คันธสัญเจตนา (ความจำนงกลิ่น) ... รสสัญเจตนา (ความจำนงรส) ... โผฏฐัพพ-
สัญเจตนา (ความจำนงโผฏฐัพพะ) ... ธัมมสัญเจตนา (ความจำนงธรรมารมณ์) ” ...
สูตรที่ ๗ จบ
“รูปตัณหา ฯลฯ สัททตัณหา... คันธตัณหา... รสตัณหา... โผฏฐัพพตัณหา...
ธัมมตัณหา” ...
สูตรที่ ๘ จบ
“ปฐวีธาตุ ฯลฯ อาโปธาตุ ... เตโชธาตุ ... วาโยธาตุ ... อากาสธาตุ ...
วิญญาณธาตุ” ...
สูตรที่ ๙ จบ
“ราหุล รูป ฯลฯ เวทนา ... สัญญา ... สังขารทั้งหลาย ... วิญญาณเที่ยงหรือ
ไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“ราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ รู้ชัดว่า ฯลฯ ไม่มีกิจอื่นเพื่อความ
เป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

ขันธสูตรที่ ๑๐ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๗. ราหุลสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๑๑. อนุสยสูตร

๑๑. อนุสยสูตร
ว่าด้วยอนุสัย

[๒๐๐] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
ครั้งนั้น ท่านพระราหุลเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้เห็นอย่างไร อหังการ๑ มมังการ๒ และ
มานานุสัย๓ จึงไม่มีในกายที่มีวิญญาณครองนี้ และในสรรพนิมิตภายนอก”
“ราหุล รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นไปภายใน
หรือภายนอก หยาบ หรือละเอียด เลว หรือประณีต อยู่ไกล หรืออยู่ใกล้ รูป
ทั้งหมดนั้น อริยสาวกเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่
ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา”
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ... สังขารเหล่าใด
เหล่าหนึ่ง ...
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นไปภายใน
หรือภายนอก หยาบ หรือละเอียด เลว หรือประณีต อยู่ไกล หรืออยู่ใกล้ วิญญาณ
ทั้งหมดนั้น อริยสาวกเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๗. ราหุลสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๑๒. อปคตสูตร

ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา”
ราหุล เมื่อบุคคลรู้เห็นอย่างนี้ อหังการ มมังการและมานานุสัย จึงไม่มีในกาย
ที่มีวิญญาณครองนี้ และในสรรพนิมิตภายนอก”

อนุสยสูตรที่ ๑๑ จบ

๑๒. อปคตสูตร
ว่าด้วยปราศจากอหังการ มมังการและมานะ

[๒๐๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
ครั้งนั้น ท่านพระราหุลเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้เห็นอย่างไร ใจจึงปราศจากอหังการ มมังการ
และมานะ ในกายที่มีวิญญาณครองนี้ และในสรรพนิมิตภายนอก ก้าวล่วงส่วนแห่ง
มานะ สงบระงับ หลุดพ้นดีแล้ว”
“ราหุล รูปอย่างใดอย่างหนึ่งทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นไปภายใน
หรือภายนอก หยาบ หรือละเอียด เลว หรือประณีต อยู่ไกล หรืออยู่ใกล้ รูป
ทั้งหมดนั้น อริยสาวกเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่
ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา” เป็นผู้หลุดพ้นเพราะไม่ยึดมั่นถือมั่น
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ... สังขารเหล่าใด
เหล่าหนึ่ง ... วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่งทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นไป
ภายใน หรือภายนอก หยาบ หรือละเอียด เลว หรือประณีต อยู่ไกล หรืออยู่ใกล้
วิญญาณทั้งหมดนั้น อริยสาวกเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๓๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๗. ราหุลสังยุต]
๒. ทุติยวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ เป็นผู้หลุดพ้นเพราะไม่
ยึดมั่นถือมั่น
ราหุล เมื่อบุคคลรู้เห็นอย่างนี้ ใจจึงปราศจากอหังการ มมังการ และมานะ
ในกายที่มีวิญญาณครองนี้ และในสรรพนิมิตภายนอก ก้าวล่วงส่วนแห่งมานะ
สงบระงับ หลุดพ้นดีแล้ว”

อปคตสูตรที่ ๑๒ จบ
ทุติยวรรค จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. จักขุสูตร ๒. รูปสูตร
๓. วิญญาณสูตร ๔. สัมผัสสสูตร
๕. เวทนาสูตร ๖. สัญญาสูตร
๗. สัญเจตนาสูตร ๘. ตัณหาสูตร
๙. ธาตุสูตร ๑๐. ขันธสูตร
๑๑. อนุสยสูตร ๑๒. อปคตสูตร

ราหุลสังยุต จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๓๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๘. ลักขณสังยุต] ๑. ปฐมวรรค ๑. อัฏฐิสูตร

๘. ลักขณสังยุต
๑. ปฐมวรรค
หมวดที่ ๑

๑. อัฏฐิสูตร
ว่าด้วยเปรตมีแต่โครงกระดูก๑

[๒๐๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น ท่านพระลักขณะกับท่านพระมหาโมคคัลลานะพักอยู่บน
ภูเขาคิชฌกูฏ ครั้นเวลาเช้า พระมหาโมคคัลลานะครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร
เข้าไปหาท่านพระลักขณะถึงที่อยู่ เชิญชวนว่า ‘ท่านพระลักขณะมาเถิด พวกเราจะ
เข้าไปบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ด้วยกัน’ ท่านพระลักขณะรับคำแล้ว
ขณะที่ท่านพระมหาโมคคัลลานะกำลังลงจากภูเขาคิชฌกูฏถึงสถานที่แห่งหนึ่ง
ได้แสดงอาการแย้ม
ลำดับนั้น ท่านพระลักขณะถามท่านพระมหาโมคคัลลานะว่า ‘ท่านโมคคัลลานะ
อะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้ท่านแสดงอาการแย้ม’
“ท่านลักขณะ ยังไม่ถึงเวลาตอบปัญหานี้ เมื่อเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคจึงถาม
ปัญหานี้เถิด”
ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะและท่านพระมหาโมคคัลลานะ เที่ยวบิณฑบาตใน
กรุงราชคฤห์ กลับจากบิณฑบาต หลังจากฉันภัตตาหารเสร็จ จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ครั้นแล้วท่านพระลักขณะ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๘. ลักขณสังยุต] ๑. ปฐมวรรค ๒. เปสิสูตร

ได้กล่าวกับท่านพระมหาโมคคัลลานะว่า “ท่านมหาโมคคัลลานะ เมื่อท่านลงจาก
ภูเขาคิชฌกูฏ ในกรุงราชคฤห์นี้ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้แสดงอาการแย้ม อะไรเป็นเหตุ
เป็นปัจจัยให้ท่านแสดงอาการแย้ม”
“ท่านผู้มีอายุ เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นอัฏฐิสังขลิกเปรต (เปรต
มีแต่โครงกระดูก) ลอยขึ้นสู่กลางอากาศ ฝูงแร้ง นกกา นกเหยี่ยวพากันโฉบอยู่ขวักไขว่
จิกทึ้งยื้อแย่งเนื้อที่ติดอยู่ตามระหว่างซี่โครงสะบัดไปมาจนมันร้องครวญคราง กระผม
มีความรู้สึกว่า ‘อัศจรรย์จริงหนอ ไม่เคยปรากฏ ที่มีสัตว์เช่นนี้ มียักษ์เช่นนี้ มีการ
ได้อัตภาพเช่นนี้อยู่”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย
สาวกทั้งหลายที่มีจักษุมีญาณก็ยังมีอยู่ เพราะสาวกที่รู้ที่เห็นนี้เป็นพยานได้ เมื่อก่อน
เราก็ได้เห็นอัฏฐิสังขลิกเปรตนั้น แต่ไม่พยากรณ์ เพราะการพยากรณ์๑นั้น จะไม่เป็น
ประโยชน์เกื้อกูล ซ้ำจะเป็นทุกข์ยาวนาน แก่ผู้ที่ไม่เชื่อเรา
ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้นเคยเป็นคนฆ่าโคในกรุงราชคฤห์ เพราะผลกรรมนั้น
จึงตกนรกหมกไหม้อยู่หลายปี หลายร้อยปี หลายพันปี หลายแสนปีแล้วได้มีอัตภาพ
เช่นนี้ เพราะเศษกรรมนั้นที่ยังเหลือ”
[พระสูตรทุกสูตรที่ละไว้มีความเต็มเหมือนสูตรนี้]

อัฏฐิสูตรที่ ๑ จบ

๒. เปสิสูตร
ว่าด้วยเปรตมีแต่ร่างชิ้นเนื้อ๒

[๒๐๓] “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นมังสเปสิเปรต(เปรต
มีแต่ร่างชิ้นเนื้อ)ลอยขึ้นสู่กลางอากาศ ฝูงแร้ง นกกา นกเหยี่ยวพากันโฉบอยู่ขวักไขว่
จิกทึ้งยื้อแย่งเปรตนั้นสะบัดไปมาจนมันร้องครวญคราง ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้นเคยเป็นคนฆ่าโคในกรุงราชคฤห์” ฯลฯ

เปสิสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๘. ลักขณสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๕. อสิโลมสูตร

๓. ปิณฑสูตร
ว่าด้วยเปรตร่างก้อนเนื้อ๑

[๒๐๔] “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นมังสปิณฑเปรต
(เปรต ร่างก้อนเนื้อ) ลอยขึ้นสู่กลางอากาศ ฝูงแร้ง นกกา นกเหยี่ยวพากันโฉบอยู่ขวักไขว่
จิกทึ้งยื้อแย่งเปรตนั้นสะบัดไปมาจนมันร้องครวญคราง ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้นเคยเป็นคนฆ่านกในกรุงราชคฤห์” ฯลฯ

ปิณฑสูตรที่ ๓ จบ

๔. นิจฉวิสูตร
ว่าด้วยเปรตร่างไม่มีผิวหนังเพศชาย๒

[๒๐๕] “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นนิจฉวิเปรต(เปรตร่าง
ไม่มีผิวหนัง)เพศชาย ลอยขึ้นสู่กลางอากาศ ฝูงแร้ง นกกา นกเหยี่ยวพากันโฉบอยู่
ขวักไขว่จิกทึ้งยื้อแย่งเปรตนั้นสะบัดไปมาจนมันร้องครวญคราง ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้นเคยเป็นคนฆ่าแกะในกรุงราชคฤห์” ฯลฯ

นิจฉวิสูตรที่ ๔ จบ

๕. อสิโลมสูตร
ว่าด้วยเปรตร่างมีขนเป็นดาบเพศชาย๓

[๒๐๖] “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นอสิโลมเปรต(เปรตร่าง
มีขนเป็นดาบ)เพศชาย ลอยขึ้นสู่กลางอากาศ (ขน)ดาบเหล่านั้นของมันหลุดลอยขึ้นไป
แล้วกลับตกลงที่ร่างของมันเองจนมันร้องครวญคราง ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้นเคยเป็นคนฆ่าหมูในกรุงราชคฤห์” ฯลฯ

อสิโลมสูตรที่ ๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๘. ลักขณสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๘. สูจิโลมสูตร

๖. สัตติสูตร
ว่าด้วยเปรตร่างมีขนเป็นหอกเพศชาย๑

[๒๐๗] “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นสัตติโลมเปรต(เปรตมี
ขนเป็นหอก)เพศชาย ลอยขึ้นสู่กลางอากาศ (ขน)หอกเหล่านั้นของมันหลุดลอยขึ้น
ไปแล้วกลับตกลงมาที่ร่างของมันเองจนมันร้องครวญคราง ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้นเคยเป็นพรานล่าเนื้อในกรุงราชคฤห์” ฯลฯ

สัตติสูตรที่ ๖ จบ

๗. อุสุโลมสูตร
ว่าด้วยเปรตร่างมีขนเป็นลูกศรเพศชาย๒

[๒๐๘] “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นอุสุโลมเปรต(เปรตร่าง
มีขนเป็นลูกศร)เพศชาย ลอยขึ้นสู่กลางอากาศ (ขน)ลูกศรเหล่านั้นของมันหลุดลอย
ขึ้นไปแล้วกลับตกลงมาที่ร่างของมันเองจนมันร้องครวญคราง ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้นเคยเป็นเพชฌฆาตในกรุงราชคฤห์” ฯลฯ

อุสุโลมสูตรที่ ๗ จบ

๘. สูจิโลมสูตร
ว่าด้วยเปรตมีร่างถูกเข็มทิ่มแทงเพศชาย๓

[๒๐๙] “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นสูจิโลมเปรต(เปรตร่าง
มีขนเป็นเข็ม)เพศชาย ลอยขึ้นสู่กลางอากาศ (ขน)เข็มเหล่านั้นของมันหลุดลอยขึ้น
ไปแล้วกลับตกลงมาที่ร่างของมันเองจนมันร้องครวญคราง ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้นเคยเป็นนายสารถีในกรุงราชคฤห์” ฯลฯ

สูจิโลมสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๘. ลักขณสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๑๐. กุมภัณฑสูตร

๙. ทุติยสูจิโลมสูตร
ว่าด้วยเปรตมีร่างถูกเข็มทิ่มแทงเพศชาย สูตรที่ ๒ (๑)

[๒๑๐] “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นสูจิเปรต(เปรตร่างถูก
เข็มทิ่มแทง)เพศชาย ลอยขึ้นสู่กลางอากาศ เข็มเหล่านั้นแทงเข้าไปในศีรษะของมันทะลุ
ออกทางปาก แทงเข้าไปในปากทะลุออกทางอก แทงเข้าไปในอกทะลุออกทางท้อง
แทงเข้าไปในท้องทะลุออกทางขาอ่อนทั้ง ๒ แทงเข้าไปในขาอ่อนทะลุออกทางแข้ง
ทั้ง ๒ แทงเข้าไปในแข้งทะลุออกทางเท้าทั้ง ๒ จนมันร้องครวญคราง ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้นเคยเป็นคนพูดส่อเสียดในกรุงราชคฤห์” ฯลฯ

ทุติยสูจิโลมสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. กุมภัณฑสูตร
ว่าด้วยเปรตมีอัณฑะโตเท่าหม้อ๒

[๒๑๑] “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นกุมภัณฑเปรต(เปรต
อัณฑะโตเท่าหม้อ)เพศชาย ลอยขึ้นสู่กลางอากาศ เมื่อเปรตนั้นเดินไปก็ยกอัณฑะ
เหล่านั้นขึ้นพาดไว้บนบ่า เมื่อนั่งก็นั่งทับอัณฑะเหล่านั้น ฝูงแร้ง นกกา นกเหยี่ยว
พากันโฉบอยู่ขวักไขว่จิกทึ้งยื้อแย่งเปรตนั้นสะบัดไปมาจนมันร้องครวญคราง ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้นเคยเป็นผู้พิพากษาโกงชาวบ้านในกรุงราชคฤห์” ฯลฯ

กุมภัณฑสูตรที่ ๑๐ จบ
ปฐมวรรค จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อัฏฐิสูตร ๒. เปสิสูตร
๓. ปิณฑสูตร ๔. นิจฉวิสูตร
๕. อสิโลมสูตร ๖. สัตติสูตร
๗. อุสุโลมสูตร ๘. สูจิโลมสูตร
๙. ทุติยสูจิโลมสูตร ๑๐. กุมภัณฑสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๘. ลักขณสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๒. คูถขาทสูตร

๒. ทุติยวรรค
หมวดที่ ๒

๑. สสีสกสูตร
ว่าด้วยเปรตจมหลุมคูถท่วมศีรษะเพศชาย๑

[๒๑๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
เขตกรุงราชคฤห์ “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นเปรตจมหลุมคูถ
จนท่วมศีรษะเพศชาย ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้นเคยเป็นชู้กับภรรยาของผู้อื่นในกรุงราชคฤห์” ฯลฯ

สสีสกสูตรที่ ๑ จบ

๒. คูถขาทสูตร
ว่าด้วยเปรตกินคูถเพศชาย๒

[๒๑๓] “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นเปรตผู้จมหลุมคูถ
ท่วมศีรษะ กำลังใช้มือทั้ง ๒ กอบคูถกินเพศชาย ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้นเคยเป็นพราหมณ์ในกรุงราชคฤห์ พราหมณ์นั้นนิมนต์
พระภิกษุสงฆ์ในพระศาสนาของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้าให้ฉันภัตตาหารแล้ว เทคูถ
ลงใส่รางจนเต็ม สั่งให้คนบอกเวลาอาหารว่า ‘ขอท่านผู้เจริญทั้งหลายจงฉันอาหาร
และนำไปให้พอแก่ความต้องการเถิด” ฯลฯ

คูถขาทสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๘. ลักขณสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๔. มังคุลิตถีสูตร

๓. นิจฉวิตถีสูตร
ว่าด้วยเปรตร่างไม่มีผิวหนังเพศหญิง๑

[๒๑๔] “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นนิจฉวิเปรตเพศหญิง
ลอยขึ้นสู่กลางอากาศ ฝูงแร้ง นกกา นกเหยี่ยวพากันโฉบอยู่ขวักไขว่จิกทึ้งยื้อแย่ง
เปรตนั้นสะบัดไปมาจนมันร้องครวญคราง ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เปรตหญิงตนนั้นเคยประพฤตินอกใจสามีในกรุงราชคฤห์” ฯลฯ

นิจฉวิตถีสูตรที่ ๓ จบ

๔. มังคุลิตถีสูตร
ว่าด้วยเปรตรูปร่างน่าเกลียดเพศหญิง๒

[๒๑๕] “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นมังคุลิเปรตกลิ่นเหม็น
เพศหญิงลอยขึ้นสู่กลางอากาศ ฝูงแร้ง นกกา นกเหยี่ยวพากันโฉบอยู่ขวักไขว่จิกทึ้ง
ยื้อแย่งเปรตนั้นสะบัดไปมาจนมันร้องครวญคราง ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เปรตหญิงตนนั้นเคยเป็นแม่มดในกรุงราชคฤห์” ฯลฯ

มังคุลิตถีสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๘. ลักขณสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๗. ปาปภิกขุสูตร

๕. โอกิลินีสูตร
ว่าด้วยเปรตร่างถูกไฟลวกเพศหญิง๑

[๒๑๖] “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นโอกิลินีเปรตเพศหญิง
ถูกถ่านเพลิงเผารอบตัวจนสุกเยิ้ม หยาดน้ำไหลหยดลง ลอยขึ้นสู่กลางอากาศจน
มันร้องครวญคราง ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เปรตหญิงตนนั้นเคยเป็นพระอัครมเหสีของพระเจ้ากาลิงคะ นางขี้หึง
เอากระทะมีถ่านไฟคลอกหญิงร่วมสามี” ฯลฯ

โอกิลินีสูตรที่ ๕ จบ

๖. อสีสกสูตร
ว่าด้วยเปรตศีรษะขาด๒

[๒๑๗] “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นอสีสกพันธเปรตลอย
ขึ้นสู่กลางอากาศ ตาและปากของมันอยู่ที่อก ฝูงแร้ง นกกา นกเหยี่ยวพากันโฉบอยู่
ขวักไขว่จิกทึ้งยื้อแย่งเปรตนั้นสะบัดไปมาจนมันร้องครวญคราง ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้นเคยเป็นเพชฌฆาตฆ่าโจรชื่อหาริกะในกรุงราชคฤห์” ฯลฯ

อสีสกสูตรที่ ๖ จบ

๗. ปาปภิกขุสูตร
ว่าด้วยเปรตมีรูปเป็นภิกษุชั่ว๓

[๒๑๘] “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นภิกษุเปรตลอยขึ้นสู่
กลางอากาศ สังฆาฏิ บาตร ประคตเอว และร่างกายของมัน ถูกไฟติดลุกโชนจนมัน
ร้องครวญคราง ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้นเคยเป็นภิกษุชั่วในพระศาสนาของพระกัสสปสัมมา-
สัมพุทธเจ้า” ฯลฯ

ปาปภิกขุสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๘. ลักขณสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๑๐. ปาปสามเณรสูตร

๘. ปาปภิกขุนีสูตร
ว่าด้วยเปรตมีรูปเป็นภิกษุณีชั่ว๑

[๒๑๙] “ได้เห็นภิกษุณีเปรตลอยขึ้นสู่กลางอากาศ สังฆาฏิของมันถูกไฟติด
ลุกโชน” ฯลฯ

ปาปภิกขุนีสูตรที่ ๘ จบ

๙. ปาปสิกขมานาสูตร
ว่าด้วยเปรตมีรูปเป็นสิกขมานาชั่ว๒

[๒๒๐] “ได้เห็นสิกขมานาเปรตลอยขึ้นสู่กลางอากาศ สังฆาฏิของมันถูกไฟติด
ลุกโชน จนมันร้องครวญคราง ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้นเคยเป็นสิกขมานาชั่ว” ฯลฯ

ปาปสิกขมานาสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ปาปสามเณรสูตร
ว่าด้วยเปรตมีรูปเป็นสามเณรชั่ว๓

[๒๒๑] “ได้เห็นสามเณรเปรตลอยขึ้นสู่กลางอากาศ สังฆาฏิของมันถูกไฟติด
ลุกโชน จนมันร้องครวญคราง ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้นเคยเป็นสามเณรชั่ว” ฯลฯ

ปาปสามเณรสูตรที่ ๑๐ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๘. ลักขณสังยุต]
๒. ทุติยวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑๑. ปาปสามเณรีสูตร
ว่าด้วยเปรตมีรูปเป็นสามเณรีชั่ว๑

[๒๒๒] “ท่าน เมื่อกระผมลงมาจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นสามเณรีเปรตลอย
ขึ้นสู่กลางอากาศ สังฆาฏิ บาตร ประคตเอว และร่างกายของมัน ถูกไฟติดลุกโชนจน
มันร้องครวญคราง กระผมมีความรู้สึกว่า ‘น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ที่มีสัตว์
เช่นนี้ มียักษ์เช่นนี้ มีการได้อัตภาพเช่นนี้อยู่’ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่ง
เรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย สาวกทั้งหลายที่มีจักษุมีญาณก็ยัง
มีอยู่ เพราะสาวกที่รู้ที่เห็นนี้เป็นพยานได้ เมื่อก่อนเราก็เห็นสามเณรีเปรตนั้น แต่ไม่
พยากรณ์ เพราะการพยากรณ์นั้น จะไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล ซ้ำจะเป็นทุกข์ยาวนาน
แก่ผู้ที่ไม่เชื่อเรา
ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้นเคยเป็นสามเณรีชั่วในพระศาสนาของพระกัสสปสัมมา-
สัมพุทธเจ้า เพราะผลกรรมนั้น สามเณรีนั้นจึงตกนรกหมกไหม้อยู่หลายปี หลาย
ร้อยปี หลายพันปี หลายแสนปีแล้ว ได้รับอัตภาพเช่นนี้ เพราะเศษกรรมนั้น
ที่ยังเหลือ”

ปาปสามเณรีสูตรที่ ๑๑ จบ
ทุติยวรรค จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สสีสกสูตร ๒. คูถขาทสูตร
๓. นิจฉวิตถีสูตร ๔. มังคุลิตถีสูตร
๕. โอกิลินีสูตร ๖. อสีสกสูตร
๗. ปาปภิกขุสูตร ๘. ปาปภิกขุนีสูตร
๙. ปาปสิกขมานาสูตร ๑๐. ปาปสามเณรสูตร
๑๑. ปาปสามเณรีสูตร

ลักขณสังยุต จบบริบูรณ์


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๙.โอปัมมสังยุต] ๑.กูฏสูตร ๒. นขสิขสูตร

๙. โอปัมมสังยุต
๑. กูฏสูตร
ว่าด้วยเรือนยอด

[๒๒๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย กลอนเรือนยอดอย่างใดอย่างหนึ่ง กลอนเรือนยอดเหล่านั้น
ทั้งหมดไปรวมที่ยอด เมื่อรื้อยอดเรือน กลอนเหล่านั้นทั้งหมดย่อมถึงการรื้อด้วย
ฉันใด
อกุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง อกุศลธรรมเหล่านั้นทั้งหมด ล้วนมีอวิชชา
เป็นมูล มีอวิชชาเป็นแหล่งรวม เมื่ออวิชชาถูกถอน อกุศลธรรมเหล่านั้นทั้งหมด
ย่อมถึงการเพิกถอน ฉันนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลาย
จักเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่’ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

กูฏสูตรที่ ๑ จบ

๒. นขสิขสูตร
ว่าด้วยฝุ่นติดปลายเล็บ

[๒๒๔] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงใช้ปลายพระนขาช้อนฝุ่นขึ้นมาเล็กน้อยแล้วรับสั่ง
เรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่า
อย่างไร คือ ฝุ่นเล็กน้อยที่เราใช้ปลายเล็บช้อนขึ้นมานี้ กับมหาปฐพีนี้ อย่างไหน
มากกว่ากัน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มหาปฐพีนี้นั้นแหละมีมากกว่า ฝุ่นเล็กน้อยที่พระองค์
ทรงใช้ปลายพระนขาช้อนขึ้นมานี้มีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับมหาปฐพีแล้ว ฝุ่นที่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๓๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๙. โอปัมมสังยุต] ๓. กุลสูตร

พระองค์ทรงใช้ปลายพระนขาช้อนขึ้นมามีเพียงเล็กน้อย นับไม่ได้ เทียบเคียงกันไม่ได้
ไม่ถึงส่วนเสี้ยว”
“เหล่าสัตว์ที่กลับมาเกิดในหมู่มนุษย์มีน้อย เหล่าสัตว์ที่ไปเกิดในกำเนิดอื่นนอกจาก
มนุษย์มีมากกว่า ก็ฉันนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลาย
จักเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่’ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

นขสิขสูตรที่ ๒ จบ

๓. กุลสูตร
ว่าด้วยตระกูล

[๒๒๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย ตระกูลเหล่าใดเหล่าหนึ่งมีสตรีมาก มีบุรุษน้อย ตระกูล
เหล่านั้นย่อมถูกพวกโจรผู้ใช้หม้อเป็นเครื่องมือปล้นได้ง่าย ฉันใด เมตตาเจโตวิมุตติ๑
ที่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งไม่เจริญแล้ว ไม่ทำให้มากแล้ว ภิกษุรูปนั้นย่อมถูกพวกอมนุษย์
กำจัดได้ง่าย ฉันนั้น
ตระกูลเหล่าใดเหล่าหนึ่งมีสตรีน้อย มีบุรุษมาก ตระกูลเหล่านั้นย่อมถูกพวก
โจรผู้ใช้หม้อเป็นเครื่องมือปล้นได้ยาก ฉันใด เมตตาเจโตวิมุตติที่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง
เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ภิกษุรูปนั้นย่อมถูกพวกอมนุษย์กำจัดได้ยาก ฉันนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลาย
จักเจริญเมตตาเจโตวิมุตติ จักทำให้มาก ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ทำให้
ตั้งมั่น สั่งสม ปรารภดี’ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

กุลสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๙. โอปัมมสังยุต] ๕. สัตติสูตร

๔. โอกขาสูตร
ว่าด้วยการให้ทาน

[๒๒๖] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย บุคคลใดพึงให้ทานประมาณ ๑๐๐ หม้อใหญ่ในเวลาเช้า
บุคคลใดพึงให้ทานประมาณ ๑๐๐ หม้อใหญ่ในเวลาเที่ยง บุคคลใดพึงให้ทาน
ประมาณ ๑๐๐ หม้อใหญ่ในเวลาเย็น บุคคลใดพึงเจริญเมตตาจิตในเวลาเช้าอย่างน้อย
เพียงขณะการหยดน้ำนมโค๑ บุคคลใดพึงเจริญเมตตาจิตในเวลาเที่ยงอย่างน้อยเพียง
ขณะการหยดน้ำนมโค หรือบุคคลใดพึงเจริญเมตตาจิตในเวลาเย็นอย่างน้อยเพียง
ขณะการหยดน้ำนมโค การเจริญเมตตาจิตนี้มีผลมากกว่าทานที่บุคคลให้แล้ว ๓ ครั้ง
ในวันหนึ่งนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลายจัก
เจริญเมตตาเจโตวิมุตติ จักทำให้มาก ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ทำให้ตั้งมั่น
สั่งสม ปรารภดี’ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

โอกขาสูตรที่ ๔ จบ

๕. สัตติสูตร
ว่าด้วยหอก

[๒๒๗] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย หอกที่มีใบคม ถ้าบุรุษพึงมากล่าวว่า ‘เราจักเอาฝ่ามือหรือ
กำมือ งอ พับ ม้วน หอกที่มีใบคม’ เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
บุรุษนั้นผู้สามารถจะเอาฝ่ามือหรือกำมือ งอ พับ ม้วน หอกที่มีใบคมโน้นได้หรือ”
“เป็นไปไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๙. โอปัมมสังยุต] ๖. ธนุคคหสูตร

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะว่าการที่จะเอาฝ่ามือหรือกำมือ งอ พับ ม้วน
หอกที่มีใบคมโน้น ทำไม่ได้ง่าย และบุรุษนั้นพึงได้รับความเหน็ดเหนื่อยลำบากถ่ายเดียว
ฉันใด”
“ภิกษุทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุตติที่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเจริญ ทำให้มาก ทำให้
เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ทำให้ตั้งมั่น สั่งสม ปรารภดี ถ้าอมนุษย์จะพึงบันดาลจิต
ของภิกษุนั้นให้ฟุ้งซ่าน อมนุษย์นั้นแหละพึงได้รับความเหน็ดเหนื่อย ลำบาก ฉันนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลายจัก
เจริญเมตตาเจโตวิมุตติ จักทำให้มาก ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ทำให้ตั้งมั่น
สั่งสม ปรารภดี’ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

สัตติสูตรที่ ๕ จบ

๖. ธนุคคหสูตร
ว่าด้วยการจับลูกธนู

[๒๒๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนายขมังธนู ๔ คน ผู้ยิงธนูแม่นยำศึกษามาดีแล้ว
ผู้ชำนาญช่ำชองฝึกซ้อมมาดียืนอยู่ในทิศทั้ง ๔ ถ้าบุรุษพึงมากล่าวว่า ‘เราจักจับ
ลูกธนูที่นายขมังธนู ๔ คน ผู้ยิงธนูแม่นยำศึกษามาดีแล้ว ผู้ชำนาญช่ำชองฝึกซ้อม
มาดียิงมาจากทิศทั้ง ๔ ไม่ให้ตกถึงพื้นดินนำมา’ เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้น
ว่าอย่างไร ควรจะกล่าวได้ไหมว่า ‘บุรุษผู้มีความเร็ว ประกอบด้วยความเร็วอย่าง
ยอดเยี่ยม”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพียงแต่บุรุษจับลูกธนูที่นายขมังธนูคนเดียวผู้ยิงธนู
แม่นยำศึกษามาดีแล้ว ผู้ชำนาญช่ำชองฝึกซ้อมมาดียิงมา ไม่ให้ตกถึงพื้นดิน นำมา
เท่านั้น ก็ควรกล่าวได้ว่า ‘บุรุษผู้มีความเร็ว ประกอบด้วยความเร็วอย่างยอดเยี่ยม’
ไม่จำต้องกล่าวถึงนายขมังธนูทั้ง ๔ คนผู้ยิงธนูแม่นยำศึกษามาดีแล้ว ผู้ชำนาญ
ช่ำชองฝึกซ้อมมาดีเลย”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๓๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๙. โอปัมมสังยุต] ๗. อาณิสูตร

“เปรียบเหมือนความเร็วของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์เร็วกว่าความเร็วของ
บุรุษนั้น ความเร็วของเทวดาที่ไปข้างหน้าดวงจันทร์และดวงอาทิตย์เร็วกว่าความเร็ว
ของบุรุษและของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ ฉะนั้น
เปรียบเหมือนอายุสังขารสิ้นไปเร็วยิ่งกว่าความเร็วของบุรุษ ความเร็วของดวง
จันทร์และดวงอาทิตย์ ความเร็วของเทวดาที่ไปข้างหน้าดวงจันทร์และดวงอาทิตย์
เหล่านั้น ฉะนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลาย
จักเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่’ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

ธนุคคหสูตรที่ ๖ จบ

๗. อาณิสูตร
ว่าด้วยลิ่ม

[๒๒๙] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ได้มีตะโพนชื่ออานกะของพวกกษัตริย์ผู้มี
พระนามว่าทสารหะ เมื่อตะโพนแตก พวกกษัตริย์ทสารหะได้ตอกลิ่มอื่นลงไป ต่อมา
ไม้โครงเก่าของตะโพนชื่ออานกะก็หายไปเหลือแต่โครงลิ่ม ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย ในอนาคต เมื่อผู้อื่นกล่าวสูตรที่ตถาคตกล่าวไว้ล้ำลึก มีเนื้อความ
ลึกซึ้ง เป็นโลกุตตรธรรม ประกอบด้วยความว่าง ภิกษุทั้งหลายจักไม่ตั้งใจฟังให้ดี
ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อรู้ทั่วถึง และไม่ให้ความสำคัญธรรมว่า ควรเรียน
ควรท่องจำให้ขึ้นใจ ฉันนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๓๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๙. โอปัมมสังยุต] ๘. คลิงครสูตร

แต่เมื่อผู้อื่นกล่าวสูตรที่ท่านผู้เชี่ยวชาญได้รจนาไว้ เป็นบทกวี มีอักษรวิจิตร
มีพยัญชนะวิจิตร อยู่ภายนอก๑ เป็นสาวกภาษิต๒ ภิกษุเหล่านั้นกลับตั้งใจฟังด้วยดี
เงี่ยหูฟัง เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อรู้ทั่วถึง และจักสำคัญธรรมว่า ควรเรียน ควรท่องจำ
ให้ขึ้นใจ๓ ฉันใด แต่เมื่อผู้อื่นกล่าวสูตรที่ตถาคตกล่าวไว้ล้ำลึก มีเนื้อความลึกซึ้ง
เป็นโลกุตตรธรรม ประกอบด้วยความว่าง ก็จักอันตรธานไป ฉันนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ‘เมื่อผู้อื่น
กล่าวสูตรที่ตถาคตกล่าวไว้ล้ำลึก มีเนื้อความลึกซึ้ง เป็นโลกุตตรธรรม ประกอบด้วย
ความว่าง เราทั้งหลายจักตั้งใจฟังด้วยดี เงี่ยหูฟัง เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อรู้ทั่วถึง และให้
ความสำคัญธรรมว่า ควรเรียน ควรท่องจำให้ขึ้นใจ’ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

อาณิสูตรที่ ๗ จบ

๘. กลิงครสูตร
ว่าด้วยหมอนท่อนไม้

[๒๓๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน
เขตกรุงเวสาลี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัส
เรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ในปัจจุบันพวกกษัตริย์ลิจฉวีทรงใช้พระเขนยไม้หนุนพระเศียร
และพระบาท เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียรในการศึกษาศิลปะ พระเจ้าอชาตศัตรู
เวเทหิบุตร กษัตริย์แคว้นมคธ ไม่ทรงได้ช่อง ได้โอกาสของกษัตริย์ลิจฉวีเหล่านั้น


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๙. โอปัมมสังยุต] ๙. นาคสูตร

แต่ในอนาคตพวกกษัตริย์ลิจฉวีจักเป็นกษัตริย์สุขุมาลชาติ มีฝ่าพระหัตถ์และ
พระบาทอ่อนนุ่ม บรรทมบนที่บรรทมมีพระเขนยหนาอ่อนนุ่ม จนดวงอาทิตย์ขึ้น
พระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร กษัตริย์แคว้นมคธจักทรงได้ช่อง ได้โอกาสของ
กษัตริย์ลิจฉวีเหล่านั้น
ในปัจจุบัน ภิกษุทั้งหลายใช้หมอนไม้หนุนศีรษะและเท้า เป็นผู้ไม่ประมาท
มีความเพียรเครื่องเผากิเลส ในการบำเพ็ญเพียรอยู่ มารผู้มีบาปจึงไม่ได้ช่องไม่ได้
โอกาสของภิกษุเหล่านั้น
แต่ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักเป็นสุขุมาลชาติ มีฝ่ามือและเท้าอ่อนนุ่ม
นอนบนที่นอนมีหมอนหนาอ่อนนุ่ม จนดวงอาทิตย์ขึ้น มารผู้มีบาปจักได้ช่อง
ได้โอกาสของเธอทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลาย
จักใช้หมอนไม้หนุนศีรษะและเท้า เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียรเครื่องเผากิเลส
ในการบำเพ็ญเพียรอยู่’ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

กลิงครสูตรที่ ๘ จบ

๙. นาคสูตร
ว่าด้วยช้าง

[๒๓๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุนวกะรูปหนึ่งเข้าไปสู่ตระกูลเกินเวลา ภิกษุ
ทั้งหลายจึงกล่าวตักเตือนเธอว่า ‘ท่านอย่าเข้าไปสู่ตระกูลเกินเวลาเลย’ เธอถูก
ภิกษุทั้งหลายกล่าวตักเตือน จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ภิกษุผู้เป็นเถระเหล่านี้จักสำคัญตน
ว่า ควรเข้าไปสู่ตระกูล ทำไมเราจักเข้าไปไม่ได้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๓๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๙. โอปัมมสังยุต] ๙. นาคสูตร

ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายจำนวนมากเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุนวกะรูปหนึ่งในพระธรรมวินัยนี้ เข้าไปสู่ตระกูล
เกินเวลา เธอถูกภิกษุทั้งหลายกล่าวตักเตือน จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ภิกษุผู้เป็นเถระ
เหล่านี้จักสำคัญตนว่า ควรเข้าไปสู่ตระกูล ทำไมเราจักเข้าไปไม่ได้”
“ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว มีสระใหญ่ที่ชายป่าแห่งหนึ่ง ช้างทั้งหลาย
อาศัยสระนั้นอยู่ ช้างเหล่านั้นลงสู่สระนั้นแล้ว ใช้งวงถอนเหง้าและรากบัวขึ้น ล้างให้
ดีแล้ว เคี้ยวกินเหง้าและรากบัวที่ไม่มีโคลนตม อย่างเอร็ดอร่อย การกระทำอย่างนั้น
ย่อมมี(ประโยชน์)ต่อผิวพรรณและกำลังของช้างเหล่านั้น ช้างเหล่านั้นจึงไม่ถึงความ
ตายหรือทุกข์ปางตายเพราะการกินนั้น ส่วนลูกช้างเล็ก ๆ ทำตามช้างใหญ่เหล่านั้น
เหมือนกัน พวกมันลงสู่สระนั้นแล้ว ใช้งวงถอนเหง้าและรากบัวขึ้น (แต่)ไม่ล้างให้ดี
ไม่เคี้ยวให้ละเอียด กลืนทั้งโคลนตม การกระทำอย่างนั้นย่อมไม่มี(ประโยชน์) ต่อ
ผิวพรรณและกำลังของลูกช้างเหล่านั้น ลูกช้างเหล่านั้นจึงถึงความตายหรือทุกข์
ปางตาย เพราะการกินนั้น
ภิกษุผู้เป็นเถระในธรรมวินัยนี้ก็เหมือนกัน เวลาเช้าครองอันตรวาสกถือบาตร
และจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังบ้านหรือนิคม กล่าวธรรมในที่นั้น คฤหัสถ์ทั้งหลายผู้
เลื่อมใส ทำอาการของผู้เสื่อมใสแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายไม่กำหนัด ไม่หมกมุ่น
ไม่พัวพัน มีปกติเห็นโทษ มีปัญญาเครื่องสลัดออก บริโภคลาภนั้น การกระทำอย่างนั้น
ย่อมมี(ประโยชน์)ต่อผิวพรรณและกำลังของภิกษุผู้เป็นเถระเหล่านั้น เธอทั้งหลาย
จึงไม่ถึงความตายหรือทุกข์ปางตายเพราะการบริโภคนั้น ส่วนภิกษุทั้งหลายผู้ทำ
ตามภิกษุผู้เป็นเถระเหล่านั้นเหมือนกัน เวลาเช้าครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร
เข้าไปบิณฑบาตยังบ้านหรือนิคม กล่าวธรรมในที่นั้น คฤหัสถ์ทั้งหลายผู้เลื่อมใส
ทำอาการของผู้เลื่อมใสแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายกำหนัด หมกมุ่น พัวพัน
มีปกติไม่เห็นโทษ ไม่มีปัญญาเครื่องสลัดออก บริโภคลาภนั้น การกระทำอย่างนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๓๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๙. โอปัมมสังยุต] ๑๐. พิฬารสูตร

ย่อมไม่มี(ประโยชน์)ต่อผิวพรรณและกำลัง๑ของภิกษุนวกะเหล่านั้น เธอทั้งหลายจึง
ถึงความตายหรือทุกข์ปางตายเพราะการบริโภคนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลายจักไม่
กำหนัด ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพัน มีปกติเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออกบริโภค
ลาภนั้น’ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

นาคสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. พิฬารสูตร
ว่าด้วยแมว

[๒๓๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเที่ยวไปในตระกูลเกินเวลา ภิกษุทั้งหลายจึงกล่าวตักเตือน
เธอว่า ‘ท่านอย่าเที่ยวไปในตระกูลเกินเวลาเลย’ เธอถูกภิกษุทั้งหลายกล่าวตักเตือน
(แต่)ยังไม่เลิก ลำดับนั้น ภิกษุจำนวนมากเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุรูปหนึ่งในพระธรรมวินัยนี้เที่ยวไปในตระกูลเกิน
เวลา ภิกษุทั้งหลายกล่าวตักเตือนเธอว่า ‘ท่านอย่าเที่ยวไปในตระกูลเกินเวลา’ เธอ
ถูกภิกษุทั้งหลายกล่าวตักเตือนจึงไม่พอใจ”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๙. โอปัมมสังยุต] ๑๐. พิฬารสูตร

“ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ได้มีแมวยืนคอยจับลูกหนูอยู่ที่กองหยาก
เยื่อข้างทางระบายคูถจากบ้าน ระหว่างเรือนสองหลังต่อกัน ด้วยคิดว่า ‘ลูกหนูนี้จัก
ไปหาเหยื่อในที่ใด เราจักจับมันกินในที่นั้น’ ต่อมา ลูกหนูออกไปหาเหยื่อ แมวก็จับ
ลูกหนูนั้นแล้วรีบกัดกลืนลงไป ลูกหนูก็กัดทั้งไส้ใหญ่และไส้น้อยของแมวนั้น แมวนั้น
จึงถึงความตายหรือทุกข์ปางตายเพราะการกินนั้น
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ก็เหมือนกัน เวลาเช้าครองอันตรวาสกถือบาตรและ
จีวร ไม่รักษากายวาจาจิต ไม่ตั้งสติให้มั่นคง ไม่สำรวมอินทรีย์เข้าไปบิณฑบาตยัง
บ้านหรือนิคม เธอเห็นมาตุคามนุ่งห่มไม่เรียบร้อยในที่นั้น ราคะก็รบกวนจิตของเธอ
เพราะเห็นมาตุคามนุ่งห่มไม่เรียบร้อย เธอถูกราคะรบกวนจิต จึงถึงความตายหรือ
ทุกข์ปางตาย การที่เธอบอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์นั้น จัดเป็นความตายใน
วินัยของพระอริยะ การที่เธอต้องอาบัติเศร้าหมองอย่างใดอย่างหนึ่ง (และ) การประพฤติ
วัตรเพื่อออกจากอาบัติตามที่ต้องนั้น จัดเป็นทุกข์ปางตาย
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลาย
จักรักษากายวาจาจิต ตั้งสติให้มั่นคง สำรวมอินทรีย์ เข้าไปบิณฑบาตยังบ้านหรือ
นิคม’ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

พิฬารสูตรที่ ๑๐ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๙. โอปัมมสังยุต] ๑๒. ทุติยสิคาคสูตร

๑๑. สิคาลสูตร
ว่าด้วยสุนัขจิ้งจอก

[๒๓๓] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเช้าตรู่ เธอทั้งหลายได้เห็นสุนัขจิ้งจอกแก่ที่มาอาศัยอยู่หรือ”
“เห็น พระพุทธเจ้าข้า”
“สุนัขจิ้กจอกแก่นั้นเป็นโรคเรื้อน มันอยากจะไปทางไหนก็ไปทางนั้น อยากจะ
ยืนที่ไหน ๆ ก็ยืนที่นั่น ๆ อยากจะนั่งที่ไหน ๆ ก็นั่งที่นั่น ๆ อยากจะนอนที่ไหน ๆ
ก็นอนที่นั่น ๆ ลมเย็น ๆ ย่อมพัดโชยให้มัน
ข้อที่ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ผู้ปฏิญาณว่าเป็นศากยบุตร ได้อัตภาพเช่นนี้
เป็นการดียิ่งนัก
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลาย
จักไม่ประมาท’ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

สิคาลสูตรที่ ๑๑ จบ

๑๒. ทุติยสิคาลสูตร
ว่าด้วยสุนัขจิ้งจอก สูตรที่ ๒

[๒๓๔] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเช้าตรู่ เธอทั้งหลายได้เห็นสุนัขจิ้งจอกแก่ที่มาอาศัยอยู่
หรือ”
“เห็น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย ความกตัญญูกตเวทีบางอย่างยังมีในสุนัขจิ้กจอกแก่นั้น แต่
ความกตัญญูกตเวทีบางอย่างไม่พึงมีในภิกษุบางรูปผู้ปฏิญาณว่าเป็นศากยบุตรใน
ธรรมวินัยนี้เลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๓๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๙. โอปัมมสังยุต] รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลาย
จักเป็นผู้กตัญญูกตเวที และอุปการะแม้เพียงเล็กน้อยที่บุคคลอื่นกระทำในเราทั้งหลาย
จักไม่เสื่อมสูญไป’ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

ทุติยสิคาลสูตรที่ ๑๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในสังยุตนี้ คือ

๑. กูฏสูตร ๒. นขสิขสูตร
๓. กุลสูตร ๔. โอกขาสูตร
๕. สัตติสูตร ๖. ธนุคคหสูตร
๗. อาณิสูตร ๘. กลิงครสูตร
๙. นาคสูตร ๑๐. พิฬารสูตร
๑๑. สิคาลสูตร ๑๒. ทุติยสิคาลสูตร

โอปัมมสังยุต จบบริบูรณ์


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑๐. ภิกขุสังยุต] ๑. โกลิตสูตร

๑๐. ภิกขุสังยุต

๑. โกลิตสูตร
ว่าด้วยพระโกลิตะ

[๒๓๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าว
ว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย” ภิกษุทั้งหลายรับคำท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้ว ท่านจึง
ได้กล่าวดังนี้ว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อกระผมหลีกเร้นอยู่ในที่สงัดแห่งนี้ ได้เกิดความคิด
ปริวิตกว่า ‘ที่เรียกว่า ‘ดุษณีภาพอันประเสริฐ ดุษณีภาพอันประเสริฐ’ ดุษณีภาพ
อันประเสริฐเป็นอย่างไร’ ผมได้มีความคิดว่า ‘เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ได้บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสภายใน มีภาวะที่จิตเป็น
หนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ นี้เรียกว่า
‘ดุษณีภาพอันประเสริฐ’ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว ผมนั้นบรรลุทุติยฌาน
มีความผ่องใสภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและ
สุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ กระผมนั้นเมื่ออยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญาและมนสิการ
อันเกิดร่วมกับวิตกย่อมฟุ้งขึ้นได้
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาผมด้วยฤทธิ์ ได้ตรัสว่า ‘โมคคัลลานะ
โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ อย่าประมาทดุษณีภาพอันประเสริฐ เธอจงรวมจิตตั้งไว้
ในดุษณีภาพอันประเสริฐ ทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้นในดุษณีภาพอันประเสริฐ ตั้งจิต
มั่นไว้ในดุษณีภาพอันประเสริฐ’ ต่อมา เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว ผมนั้นบรรลุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๓๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑๐. ภิกขุสังยุต] ๒. อุปติสสสูตร

ทุติยฌานมีความผ่องใสภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่
ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่
ผู้มีอายุทั้งหลาย แท้จริงบุคคลเมื่อจะกล่าวถึงคนใดคนหนึ่งให้ถูกต้อง ควรกล่าว
ว่า ‘สาวกผู้ที่พระศาสดาทรงอนุเคราะห์ ได้บรรลุความรู้อันยิ่งใหญ่’ บุคคลเมื่อจะกล่าว
ถึงผมให้ถูกต้อง ควรกล่าวว่า ‘สาวกผู้ที่พระศาสดาทรงอนุเคราะห์ได้บรรลุความรู้
อันยิ่งใหญ่๑”

โกลิตสูตรที่ ๑ จบ

๒. อุปติสสสูตร
ว่าด้วยพระอุปติสสะ

[๒๓๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ณ ที่นั้น ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย”
ภิกษุทั้งหลายรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านจึงได้กล่าวดังนี้ว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อกระผมหลีกเร้นอยู่ในที่สงัดแห่งนี้ ได้เกิดความคิด
ปริวิตกว่า ‘โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสพึงเกิดขึ้นแก่เรา เพราะความ
แปรผันเป็นอย่างอื่นแห่งสัตว์หรือสังขารใด สัตว์หรือสังขารบางอย่างนั้นยังมีอยู่ใน
โลกหรือ’ ผมได้มีความคิดว่า ‘โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสไม่พึง
บังเกิดขึ้นแก่เรา เพราะความแปรผันเป็นอย่างอื่นแห่งสัตว์หรือสังขารที่ไม่มีอยู่ในโลก
สัตว์หรือสังขารอย่างนั้นไม่มีอยู่ในโลก”
เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้ถามท่านพระ-
สารีบุตรว่า ‘ท่านพระสารีบุตร โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสไม่พึง
เกิดขึ้นแก่ท่าน เพราะความแปรผันเป็นอย่างอื่นแม้แห่งพระศาสดาหรือ’


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑๐. ภิกขุสังยุต] ๓. ฆฏสูตร

“ท่านผู้มีอายุ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสไม่พึงเกิดขึ้นแก่ผม
เพราะความแปรผันเป็นอย่างอื่นแม้แห่งพระศาสดา แต่ผมมีความคิดว่า ‘ท่านผู้เจริญ
พระศาสดาผู้มีศักดิ์ใหญ่ มีฤทธานุภาพมาก อันตรธานไปแล้ว ถ้าพระองค์พึงดำรง
อยู่ตลอดกาลนาน ข้อนั้นพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขแก่ชนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์
ชาวโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล และเพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย”
“จริงอย่างนั้น ท่านพระสารีบุตรได้ถอนอหังการ๑ มมังการ๒ และมานานุสัย๓
หมดสิ้นมานานแล้ว เพราะฉะนั้น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จึงไม่
เกิดขึ้นแก่ท่านพระสารีบุตร เพราะความแปรผันเป็นอย่างอื่นแม้แห่งพระศาสดา”

อุปติสสสูตรที่ ๒ จบ

๓. ฆฏสูตร
ว่าด้วยหม้อ

[๒๓๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโมคคัลลานะอยู่
ในวิหารหลังเดียวกัน ในพระเวฬุวันสถานที่ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้นใน
เวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่หลีกเร้น เข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึง
ที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันกับท่านพระมหา-
โมคคัลลานะแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับท่านพระมหาโมคคัลลานะดังนี้ว่า
“ท่านโมคคัลลานะ อินทรีย์ของท่านผ่องใสยิ่งนัก ผิวหน้าของท่านบริสุทธิ์
ผุดผ่อง ชะรอยวันนี้ ท่านจะอยู่ด้วยวิหารธรรมอันละเอียด”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑๐. ภิกขุสังยุต] ๓. ฆฏสูตร

“ท่านผู้มีอายุ วันนี้ผมอยู่ด้วยวิหารธรรมอันหยาบ แต่ผมได้มีการสนทนาธรรม”
“ท่านได้สนทนาธรรมกับใคร”
“ผมได้สนทนาธรรมกับพระผู้มีพระภาค”
“เดี๋ยวนี้ พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ไกลนัก ท่านไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคด้วยฤทธิ์หรือ
หรือว่าพระองค์เสด็จมาหาท่านด้วยฤทธิ์”
“ผมไม่ได้ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคด้วยฤทธิ์ แม้พระองค์ก็ไม่ได้เสด็จมาหาผม
ด้วยฤทธิ์ แต่ผมมีตาทิพย์และหูทิพย์อันหมดจดเท่าพระผู้มีพระภาค๑ แม้พระผู้มี
พระภาคก็ทรงมีทิพพจักขุและทิพพโสตธาตุอันหมดจดเท่าผม”
“ท่านได้สนทนาธรรมกับพระผู้มีภาคว่าอย่างไร”
“ผมได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่พระองค์ตรัสว่า
‘ผู้ปรารภความเพียร ผู้ปรารภความเพียร’ ด้วยเหตุเท่าไรหนอ ภิกษุจึงชื่อว่าเป็น
ผู้ปรารภความเพียร’ เมื่อผมทูลถามอย่างนี้ แม้พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับผมว่า
‘โมคคัลลานะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปรารภความเพียรอยู่ด้วยตั้งสัตยาธิษฐาน
ว่า ‘เนื้อและเลือดในร่างกายจงเหือดแห้งไปจะเหลืออยู่แต่หนัง เอ็น กระดูกก็ตามทีเถิด
ผลอันใดพึงบรรลุได้ด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความ
บากบั่นของบุรุษ (ถ้า)ไม่บรรลุผลนั้นแล้วก็จักไม่หยุดความเพียร ภิกษุชื่อว่าป็นผู้
ปรารภความเพียรเป็นอย่างนี้’ ผมได้สนทนาธรรมกับพระผู้มีพระภาคอย่างนี้


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑๐. ภิกขุสังยุต] ๔. นวสูตร

เปรียบเหมือนก้อนหินเล็ก ๆ ที่บุคคลเอาไปวางเทียบกับขุนเขาหิมพานต์ ฉันใด
ผมเมื่อเปรียบเทียบกับท่านก็ฉันนั้น แท้จริง ท่านเป็นผู้มีฤทธานุภาพมาก เมื่อปรารถนา
พึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัปแล”
“ท่านผู้มีอายุ เปรียบเหมือนก้อนเกลือเล็ก ๆ ที่บุคคลเอาไปวางเทียบกับหม้อ
เกลือใหญ่ฉันใด ผมเมื่อเปรียบเทียบกับท่านก็ฉันนั้น แท้จริง ท่านเป็นผู้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงชมเชย สรรเสริญ ยกย่องโดยอเนกปริยายเป็นต้นว่า
“ภิกษุผู้ถึงฝั่งพระนิพพาน ผู้ยอดเยี่ยมด้วยปัญญา
ศีลและอุปสมะ คือสารีบุตร นี้แหละ”
พระมหาเถระผู้ประเสริฐทั้ง ๒ นั้น เพลิดเพลินคำสนทนาที่เป็นสุภาษิตของกัน
และกันด้วยประการฉะนี้

ฆฏสูตรที่ ๓ จบ

๔. นวสูตร
ว่าด้วยผู้ใหม่

[๒๓๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ภิกษุนวกะรูปหนึ่งกลับจากบิณฑบาตหลัง
จากฉันเสร็จเข้าไปยังวิหาร มีความขวนขวายน้อยนิ่งเฉยอยู่ ไม่ช่วยเหลือภิกษุ
ทั้งหลายในเวลาทำจีวร ครั้งนั้น ภิกษุจำนวนมากเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุนวกะรูปหนึ่งในพระธรรมวินัยนี้กลับจากบิณฑบาต
หลังจากฉันเสร็จเข้าไปยังวิหาร มีความขวนขวายน้อยนิ่งเฉยอยู่ ไม่ช่วยเหลือภิกษุ
ทั้งหลายในเวลาทำจีวร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๓๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑๐. ภิกขุสังยุต] ๔. นวสูตร

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุรูปหนึ่งมาตรัสว่า ‘ภิกษุ เธอจง
ไปบอกภิกษุนั้นตามคำของเราว่า ‘ผู้มีอายุ พระศาสดารับสั่งให้ท่านเข้าเฝ้า’ ภิกษุนั้น
ทูลรับสนองพระดำรัสแล้วเข้าไปหาภิกษุนั้น ได้กล่าวว่า ‘ผู้มีอายุ พระศาสดารับสั่ง
ให้ท่านเข้าเฝ้า’ เธอรับคำภิกษุนั้นแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับภิกษุนั้นว่า ‘ภิกษุ ได้ยินว่า
เธอกลับจากบิณฑบาตหลังจากฉันเสร็จเข้าไปยังวิหาร มีความขวนขวายน้อยนิ่งเฉยอยู่
ไม่ช่วยเหลือภิกษุทั้งหลายในเวลาทำจีวรจริงหรือ’
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้าพระองค์ก็ทำกิจของตน”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงรู้ความคิดปริวิตกทางจิตของภิกษุนั้น จึงรับสั่ง
เรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอย่าโทษภิกษุนี้เลย ภิกษุนี้
มีปกติได้ฌาน ๔ อันเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันที่อาศัยอธิจิตตามปรารถนา
ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ได้ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยม๑ อันเป็นที่สุดแห่ง
พรหมจรรย์ที่เหล่ากุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญา
อันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
“บุคคลปรารภความเพียรย่อหย่อน
กำลังน้อยไม่พึงบรรลุนิพพาน
อันเป็นเหตุปลดเปลื้องกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งปวงได้


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑๐. ภิกขุสังยุต] ๕. สุชาตสูตร

ส่วนภิกษุหนุ่มรูปนี้เป็นอุดมบุรุษ
ชนะมารพร้อมทั้งกองทัพได้แล้ว
ทรงไว้ซึ่งอัตภาพสุดท้าย”

นวสูตรที่ ๔ จบ

๕. สุชาตสูตร
ว่าด้วยพระสุชาต

[๒๓๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระสุชาตเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นท่านกำลังเดินมาแต่ไกล แล้วรับสั่ง
เรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรนี้ย่อมงามด้วยสมบัติ ๒ ประการ คือ
๑. มีรูปงาม น่าดู น่าชม ประกอบด้วยผิวพรรณงามยิ่งนัก
๒. ได้ทำให้แจ้งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่า
กุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญา
อันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
“ภิกษุนี้งามด้วยใจที่ซื่อตรง
เป็นผู้หลุดพ้น พรากได้แล้ว ดับแล้ว
เพราะไม่ถือมั่น ชนะมารพร้อมทั้งกองทัพได้แล้ว
ทรงไว้ซึ่งอัตภาพสุดท้าย”

สุชาตสูตรที่ ๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑๐. ภิกขุสังยุต] ๖. ลกุณฏกภัททิยสูตร

๖. ลกุณฏกภัททิยสูตร
ว่าด้วยพระลกุณฏภัททิยะ๑

[๒๔๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระลกุณฏกภัททิยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นท่านกำลังเดินมาแต่ไกล
แล้วรับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเห็นภิกษุผู้มีผิวพรรณไม่งาม ไม่น่าดู เตี้ย เป็นผู้ถูก
ภิกษุทั้งหลายดูแคลน ที่กำลังเดินมานั้นหรือ”
“เห็น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุนั้นมีฤทธานุภาพมาก อนึ่ง สมาบัติที่เธอไม่เคยเข้า เธอก็เข้าได้โดยง่าย
และเธอได้ทำให้แจ้งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ที่เหล่ากุลบุตร
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
“สัตว์ทั้งหลาย จำพวกหงส์ นกกระเรียน นกยูง
ช้าง เนื้อฟาน ทั้งหมด ย่อมกลัวราชสีห์
ความสมดุลกันทางกายไม่มี ฉันใด
บรรดาหมู่มนุษย์ก็ฉันนั้น ถ้าคนหนุ่มมีปัญญา
เขาก็ย่อมเป็นใหญ่ในหมู่มนุษย์นั้น
ไม่เหมือนคนพาล ซึ่งถือกายเป็นใหญ่”

ลกุณฏกภัททิยสูตรที่ ๖ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑๐. ภิกขุสังยุต] ๗. วิสาขสูตร

๗. วิสาขสูตร
ว่าด้วยพระวิสาขะ

[๒๔๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลาป่ามหาวัน เขตกรุง
เวสาลี สมัยนั้น ท่านพระวิสาขปัญจาลบุตร ได้ชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายในศาลาเป็น
ที่บำรุงเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบ
ชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา ประกอบด้วยวาจาไพเราะ สละสลวยปราศจาก
โทษ นับเนื่องเข้าในวาจาที่ให้เข้าใจเนื้อความ๑ ไม่อิงอาศัย๒
ครั้นในเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคทรงออกจากที่หลีกเร้น เสด็จเข้าไปยังศาลา
เป็นที่บำรุง ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้ รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
‘ภิกษุทั้งหลาย ใครหนอได้ชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายในศาลาเป็นที่บำรุงเห็นชัด ชวนใจ
ให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ด้วยธรรมีกถา ประกอบด้วยวาจาไพเราะ สละสลวยปราศจากโทษ นับเนื่องเข้าใน
วาจาที่ให้เข้าใจเนื้อความ ไม่อิงอาศัย’
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระวิสาขปัญจาลบุตร ได้ชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลาย
ในศาลาเป็นที่บำรุงเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญ
แกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา ประกอบด้วยวาจาไพเราะ
สละสลวยปราศจากโทษ นับเนื่องเข้าในวาจาที่ให้เข้าใจเนื้อความ ไม่อิงอาศัย”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระวิสาขปัญจาลบุตรมาตรัสว่า
“ดีละ ดีละ วิสาขะ เธอได้ชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นชัด ฯลฯ ด้วยธรรมีกถา นับเนื่อง
เข้าในวาจาที่ให้เข้าใจเนื้อความ ไม่อิงอาศัย ดีนักแล”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑๐. ภิกขุสังยุต] ๘. นันทสูตร

พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
ชนทั้งหลายจะไม่รู้จักคนผู้ไม่พูด
ว่ามีเชื้อเป็นพาลหรือเป็นบัณฑิต
แต่ย่อมรู้จักคนผู้พูด ผู้แสดงอมตบท
บุคคลพึงกล่าวธรรม พึงยังธรรมให้โชติช่วง
ถือเอาธงชัยของฤาษี
ฤาษีทั้งหลายมีสุภาษิตเป็นธงชัย
ธรรมนั่นแหละเป็นธงชัยของฤาษี๑”

วิสาขสูตรที่ ๗ จบ

๘. นันทสูตร
ว่าด้วยพระนันทะ

[๒๔๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระนันทะผู้เป็นโอรสของพระมาตุจฉา๒
ของพระผู้มีพระภาค ห่มจีวรที่ทุบแล้วทุบอีก หยอดนัยน์ตา และถือบาตรมีสีกาววาว
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาค
ได้ตรัสว่า
“นันทะ ข้อที่เธอห่มจีวรที่ทุบแล้วทุบอีก หยอดนัยน์ตาและถือบาตรมีสี
กาววาว ไม่สมควรแก่เธอผู้เป็นกุลบุตรซึ่งออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา
ข้อที่เธอพึงเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร เป็นผู้นุ่งห่มผ้า
บังสุกุลเป็นวัตร และไม่มุ่งหวังในกามทั้งหลายอยู่อย่างนี้ จึงสมควรแก่เธอผู้เป็น
กุลบุตรซึ่งออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑๐. ภิกขุสังยุต] ๙. ติสสสูตร

พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
“เมื่อไร เราจะได้เห็นนันทะอยู่ป่าเป็นวัตร
นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร
ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยโภชนะที่ระคนกัน๑
ไม่มุ่งหวังในกามทั้งหลาย”
ต่อมา ท่านพระนันทะได้เป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร
เป็นผู้นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร และไม่มุ่งหวังในกามทั้งหลายอยู่

นันทสูตรที่ ๘ จบ

๙. ติสสสูตร
ว่าด้วยพระติสสะ

[๒๔๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระติสสะผู้เป็นโอรสของพระ-
ปิตุจฉาของพระผู้มีพระภาค เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว
นั่งเป็นทุกข์เสียใจ หลั่งน้ำตาอยู่ ณ ที่สมควร
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระติสสะดังนี้ว่า “ติสสะ ทำไม
เธอจึงนั่งเป็นทุกข์เสียใจ หลั่งน้ำตาอยู่”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ จริงอย่างนั้น ภิกษุทั้งหลายได้รุมว่ากล่าวเสียดแทงข้า
พระองค์”
“จริงอย่างนั้น ติสสะ เธอเป็นผู้ว่ากล่าวเขาฝ่ายเดียว แต่เธอไม่อดทนต่อ
ถ้อยคำที่เขาว่ากล่าว ข้อที่เธอเป็นผู้ว่ากล่าวเขาฝ่ายเดียว แต่ไม่อดทนต่อถ้อยคำ
ที่เขาว่ากล่าวนั้น ไม่สมควรแก่เธอผู้เป็นกุลบุตรซึ่งออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
ด้วยศรัทธา ข้อที่เธอเป็นผู้ว่ากล่าวเขาด้วยและอดทนต่อถ้อยคำที่เขาว่ากล่าวได้ด้วย
นั่นแหละจึงสมควรแก่เธอผู้เป็นกุลบุตรซึ่งออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑๐. ภิกขุสังยุต] ๑๐. เถรนามกสูตร

พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา
ประพันธ์ต่ออีกไปว่า
“เธอจะโกรธทำไม อย่าโกรธเลย ติสสะ
ความไม่โกรธเป็นธรรมประเสริฐสำหรับเธอ
แท้จริง บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์
ก็เพื่อกำจัดความโกรธ ความถือตัว
และความลบหลู่คุณท่าน”

ติสสสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. เถรนามกสูตร
ว่าด้วยพระเถรนามกะ

[๒๔๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้
เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น พระเถรนามกะมีปกติอยู่ผู้เดียว และมีปกติ
กล่าวสรรเสริญการอยู่ผู้เดียว เธอเข้าหมู่บ้านบิณฑบาตผู้เดียว กลับผู้เดียว นั่งในที่ลับ
ผู้เดียว และอธิษฐานจงกรมผู้เดียว
ลำดับนั้น ภิกษุจำนวนมากเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ พระเถรนามกะรูปหนึ่งในพระธรรมวินัยนี้ มีปกติอยู่ผู้เดียว และมีปกติกล่าว
สรรเสริญการอยู่ผู้เดียว’
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุรูปหนึ่งมาตรัสว่า “มาเถิดภิกษุ
เธอจงไปเรียกพระเถรนามกะตามคำของเราว่า ‘ท่านเถระ พระศาสดารับสั่งให้ท่าน
เข้าเฝ้า’ ภิกษุนั้นทูลรับสนองพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้วเข้าไปหาท่าน
พระเถระถึงที่อยู่ แล้วกล่าวว่า ‘ท่านเถระ พระศาสดารับสั่งให้ท่านเข้าเฝ้า’
ท่านพระเถระรับคำภิกษุนั้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๓๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑๐. ภิกขุสังยุต] ๑๐. เถรนามกสูตร

แล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านเถระดังนี้ว่า ‘เถระ ได้ยินว่า
เธอมีปกติอยู่ผู้เดียว และมีปกติกล่าวสรรเสริญการอยู่ผู้เดียว จริงหรือ”
“จริง พระพุทธเจ้าข้า”
“ไฉนเธอจึงมีปกติอยู่ผู้เดียว และมีปกติกล่าวสรรเสริญการอยู่ผู้เดียว”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์เข้าหมู่บ้านบิณฑบาตผู้เดียว
กลับผู้เดียว นั่งในที่ลับผู้เดียว อธิษฐานจงกรมผู้เดียว ข้าพระองค์มีปกติอยู่ผู้เดียว
และมีปกติกล่าวสรรเสริญการอยู่ผู้เดียว อย่างนี้”
“การอยู่ผู้เดียวนี้มีอยู่ เรามิได้กล่าวว่าไม่มี แต่การอยู่ผู้เดียวของเธอ เป็นอัน
บริบูรณ์โดยพิสดารกว่าด้วยประการใด เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดีด้วยประการนั้น เรา
จักกล่าว” ท่านพระเถระทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า
“การอยู่ผู้เดียวที่บริบูรณ์โดยพิสดารกว่า เป็นอย่างไร
เถระ ในเรื่องนี้ สิ่งใด๑ ที่ล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็ละได้แล้ว สิ่งใดยังไม่มาถึง สิ่งนั้น
ก็สละเสีย และความกำหนัดด้วยความพอใจในการได้อัตภาพในปัจจุบัน ก็ถูกกำจัด
ด้วยดีแล้ว การอยู่ผู้เดียวที่บริบูรณ์โดยพิสดารกว่า เป็นอย่างนี้”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา
ประพันธ์ต่ออีกไปว่า
“เราเรียกนรชนผู้ครอบงำธรรมทั้งปวง๒ ผู้รู้ทุกอย่าง
มีปัญญาดี ไม่แปดเปื้อนในธรรมทั้งปวง๓
ละสิ่งทั้งปวงได้แล้ว หลุดพ้นแล้ว
ในเพราะธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา
ว่าเป็นผู้มีปกติอยู่ผู้เดียว”

เถรนามกสูตรที่ ๑๐ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑๐. ภิกขุสังยุต] ๑๑. มหากัปปินสูตร

๑๑. มหากัปปินสูตร
ว่าด้วยพระมหากัปปินะ

[๒๔๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระมหากัปปินะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง
ที่ประทับ พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นท่านพระมหากัปปินะกำลังเดินมา
แต่ไกล จึงรับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสถามว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเห็นภิกษุผู้ขาวโปร่ง จมูกโด่ง กำลังเดินมานั่นหรือ”
“เห็น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุนั่นมีฤทธานุภาพมาก อนึ่ง สมาบัติที่เธอไม่เคยเข้า เธอก็เข้าได้โดยง่าย
เธอได้ทำให้แจ้งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ที่เหล่ากุลบุตร
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ใน
ปัจจุบัน”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา
ประพันธ์ต่ออีกไปว่า
“ในหมู่ชนที่ถือตระกูลเป็นใหญ่
กษัตริย์จัดว่าเป็นผู้ประเสริฐที่สุด
ส่วนท่านผู้เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
จัดว่าเป็นผู้ประเสริฐที่สุด ในหมู่เทวดาและมนุษย์๑
ดวงอาทิตย์ส่องแสงเจิดจ้าในกลางวัน
ดวงจันทร์ส่องแสงเจิดจ้าในกลางคืน
กษัตริย์ผู้ทรงเครื่องรบย่อมสง่างาม
พราหมณ์ผู้เพ่งฌาน ย่อมรุ่งเรือง
ส่วนพระพุทธเจ้าย่อมรุ่งโรจน์ด้วยพระเดชานุภาพตลอดทั้งวันและ
คืน”

มหากัปปินสูตรที่ ๑๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑๐. ภิกขุสังยุต] ๑๒. สหายกสูตร

๑๒. สหายกสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้เป็นเพื่อนกัน

[๒๔๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุผู้เป็นเพื่อนกัน ๒ รูป ซึ่งเป็นสัทธิวิหาริก
ของท่านพระมหากัปปินะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ พระผู้มีพระภาค
ได้ทอดพระเนตรเห็นเธอทั้งสองกำลังเดินมาแต่ไกล จึงรับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมา
ตรัสถามว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเห็นภิกษุผู้เป็นเพื่อนกัน ๒ รูป ซึ่งเป็นสัทธิวิหาริก
ของพระมหากัปปินะกำลังเดินมานั้นหรือ”
“เห็น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุ ๒ รูปนั่นมีฤทธานุภาพมาก อนึ่ง สมาบัติที่เธอทั้งสองไม่เคยเข้า เธอ
ทั้งสองก็เข้าได้โดยง่าย เธอทั้งสองได้ทำให้แจ้งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่ง
พรหมจรรย์ที่เหล่ากุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วย
ปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา
ประพันธ์อีกต่อไปว่า
“ภิกษุเหล่านี้เป็นเพื่อนกันมานาน และมีความรู้เสมอกัน
สัทธรรมของเธอทั้งหลายเทียบเคียงได้ในธรรมที่พระพุทธเจ้า
ประกาศแล้ว
เธอทั้งหลายอันกัปปินะแนะนำดีแล้วในธรรม
ที่พระอริยเจ้าประกาศแล้ว ชนะมารพร้อมทั้งกองทัพได้
ทรงไว้ซึ่งอัตภาพสุดท้าย”

สหายกสูตรที่ ๑๒ จบ
ภิกขุสังยุต จบบริบูรณ์


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑๐. ภิกขุสังยุต]
รวมพระสูตรที่มีในสังยุต รวมสังยุตที่มีในนิทานสังยุต

รวมพระสูตรที่มีในสังยุตนี้ คือ

๑. โกลิตสูตร ๒. อุปติสสสูตร
๓. ฆฏสูต ๔. นวสูตร
๕. สุชาตสูตร ๖. ลกุณฏกภัททิยสูตร
๗. วิสาขสูตร ๘. นันทสูตร
๙. ติสสสูตร ๑๐. เถรนามกสูตร
๑๑. มหากัปปินสูตร ๑๒. สหายกสูตร

นิทานวรรคที่ ๒ จบ

รวมสังยุตที่มีในนิทานสังยุตนี้ คือ

๑. นิทานสังยุต ๒. อภิสมยสังยุต
๓. ธาตุสังยุต ๔. อนมตัคคสังยุต
๕. กัสสปสังยุต ๖. ลาภสักการสังยุต
๗. ราหุลสังยุต ๘. ลักขณสังยุต
๙. โอปัมมสังยุต ๑๐. ภิกขุสังยุต

รวมเรียกว่าวรรคที่ ๒
นิทานวรรคสังยุต จบบริบูรณ์


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ สุตตันตปิฎกที่ ๐๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค จบ





eXTReMe Tracker