ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ



จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อความสะดวก และสวยงาม
(เฉพาะหน้าจอใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์)
กรุณาคลิก จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อให้กรอบ
ค้นข้อความ ปรากฎที่ด้านซ้ายของหน้า

พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖-๒ สุตตันตปิฎกที่ ๐๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

พระสุตตันตปิฎก
สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๑. นานัตตวรรค ๔. เวทนานานัตตสูตร

๓. โนผัสสนานัตตสูตร
ว่าด้วยธาตุที่ไม่อาศัยความต่างแห่งผัสสะ

[๘๗] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค...
“ภิกษุทั้งหลาย ความต่างแห่งผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ
ความต่างแห่งธาตุไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะ
ความต่างแห่งธาตุ เป็นอย่างไร
คือ จักขุธาตุ ฯลฯ มโนธาตุ
นี้เราเรียกว่า ความต่างแห่งธาตุ
ความต่างแห่งผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ ความต่างแห่ง
ธาตุไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะ เป็นอย่างไร
คือ จักขุสัมผัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุธาตุ จักขุธาตุไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัย
จักขุสัมผัส ฯลฯ มโนสัมผัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยมโนธาตุ มโนธาตุไม่เกิดขึ้นเพราะ
อาศัยมโนสัมผัส
ภิกษุทั้งหลาย ความต่างแห่งผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ
ความต่างแห่งธาตุไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะ เป็นอย่างนี้”

โนผัสสนานัตตสูตรที่ ๓ จบ

๔. เวทนานานัตตสูตร
ว่าด้วยความต่างแห่งเวทนา

[๘๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค...
“ภิกษุทั้งหลาย ความต่างแห่งผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ
ความต่างแห่งเวทนาเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะ
ความต่างแห่งธาตุ เป็นอย่างไร
คือ จักขุธาตุ ฯลฯ มโนธาตุ
นี้เราเรียกว่า ความต่างแห่งธาตุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๑. นานัตตวรรค ๕. ทุติยเวทนานานัตตสูตร

ความต่างแห่งผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ ความต่างแห่ง
เวทนาเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะ เป็นอย่างไร
คือ จักขุสัมผัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุธาตุ จักขุสัมผัสสชาเวทนาเกิดขึ้นเพราะ
อาศัยจักขุสัมผัส ฯลฯ
มโนสัมผัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยมโนธาตุ มโนสัมผัสสชาเวทนาเกิดขึ้นเพราะอาศัย
มโนสัมผัส
ภิกษุทั้งหลาย ความต่างแห่งผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ
ความต่างแห่งเวทนาเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะ เป็นอย่างนี้”

เวทนานานัตตสูตรที่ ๔ จบ

๕. ทุติยเวทนานานัตตสูตร
ว่าด้วยความต่างแห่งเวทนา สูตรที่ ๒

[๘๙] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค...
“ภิกษุทั้งหลาย ความต่างแห่งผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ
ความต่างแห่งเวทนาเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะ ความต่างแห่งผัสสะ
ไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งเวทนา ความต่างแห่งธาตุไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัย
ความต่างแห่งผัสสะ
ความต่างแห่งธาตุ เป็นอย่างไร
คือ จักขุธาตุ ฯลฯ มโนธาตุ
นี้เราเรียกว่า ความต่างแห่งธาตุ
ความต่างแห่งผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ ความต่าง
แห่งเวทนาเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะ ความต่างแห่งผัสสะไม่เกิดขึ้น
เพราะอาศัยความต่างแห่งเวทนา ความต่างแห่งธาตุไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัย
ความต่างแห่งผัสสะ เป็นอย่างไร
คือ จักขุสัมผัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุธาตุ จักขุสัมผัสสชาเวทนาเกิดขึ้นเพราะ
อาศัยจักขุสัมผัส จักขุสัมผัสไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุสัมผัสสชาเวทนา จักขุธาตุไม่
เกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุสัมผัส ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๑. นานัตตวรรค ๗. สัญญานานัตตสูตร

มโนสัมผัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยมโนธาตุ มโนสัมผัสสชาเวทนาเกิดขึ้นเพราะอาศัย
มโนสัมผัส มโนสัมผัสไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยมโนสัมผัสสชาเวทนา มโนธาตุไม่เกิดขึ้น
เพราะอาศัยมโนสัมผัส
ภิกษุทั้งหลาย ความต่างแห่งผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ
ความต่างแห่งเวทนาเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะ ความต่างแห่งผัสสะไม่
เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งเวทนา ความต่างแห่งธาตุไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัย
ความต่างแห่งผัสสะ เป็นอย่างนี้”

ทุติยเวทนานานัตตสูตรที่ ๕ จบ

๖. พาหิรธาตุนานัตตสูตร
ว่าด้วยความต่างแห่งธาตุภายนอก

[๙๐] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค...
“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความต่างแห่งธาตุแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
จงฟัง ...
ความต่างแห่งธาตุ เป็นอย่างไร
คือ รูปธาตุ สัททธาตุ คันธธาตุ รสธาตุ โผฏฐัพพธาตุ ธัมมธาตุ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ความต่างแห่งธาตุ”

พาหิรธาตุนานัตตสูตรที่ ๖ จบ

๗. สัญญานานัตตสูตร
ว่าด้วยความต่างแห่งสัญญา

[๙๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค...
“ภิกษุทั้งหลาย ความต่างแห่งสัญญา(ความจำได้)เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่าง
แห่งธาตุ ความต่างแห่งสังกัปปะ(ความดำริ)เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่ง
สัญญา ความต่างแห่งฉันทะ(ความพอใจ)เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสังกัปปะ
ความต่างแห่งปริฬาหะ(ความเร่าร้อน)เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งฉันทะ ความต่าง
แห่งปริเยสนา(การแสวงหา)เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริฬาหะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๑. นานัตตวรรค ๗. สัญญานานัตตสูตร

ความต่างแห่งธาตุ เป็นอย่างไร
คือ รูปธาตุ ฯลฯ ธัมมธาตุ
นี้เราเรียกว่า ความต่างแห่งธาตุ
ความต่างแห่งสัญญาเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ ความต่างแห่ง
สังกัปปะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา ความต่างแห่งฉันทะ เกิดขึ้น
เพราะอาศัยความต่างแห่งสังกัปปะ ความต่างแห่งปริฬาหะเกิดขึ้น เพราะอาศัย
ความต่างแห่งฉันทะ ความต่างแห่งปริเยสนาเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่ง
ปริฬาหะ เป็นอย่างไร
รูปสัญญา๑เกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปธาตุ รูปสังกัปปะ๒เกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปสัญญา
รูปฉันทะ๓เกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปสังกัปปะ รูปปริฬาหะ๔เกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปฉันทะ
รูปปริเยสนา๕เกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปปริฬาหะ ฯลฯ
ธัมมสัญญาเกิดขึ้นเพราะอาศัยธัมมธาตุ ธัมมสังกัปปะเกิดขึ้นเพราะอาศัย
ธัมมสัญญา ธัมมฉันทะเกิดขึ้นเพราะอาศัยธัมมสังกัปปะ ธัมมปริฬาหะเกิดขึ้น
เพราะอาศัยธัมมฉันทะ ธัมมปริเยสนาเกิดขึ้นเพราะอาศัยธัมมปริฬาหะ
ภิกษุทั้งหลาย ความต่างแห่งสัญญาเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ
ความต่างแห่งสังกัปปะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา ความต่างแห่งฉันทะ
เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสังกัปปะ ความต่างแห่งปริฬาหะเกิดขึ้นเพราะ
อาศัยความต่างแห่งฉันทะ ความต่างแห่งปริเยสนาเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่ง
ปริฬาหะเป็นอย่างนี้”

สัญญานานัตตสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๑. นานัตตวรรค ๘. โนปริเยสนานานัตตสูตร

๘. โนปริเยสนานานัตตสูตร
ว่าด้วยธาตุที่ไม่อาศัยความต่างแห่งปริเยสนา

[๙๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย ความต่างแห่งสัญญาเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ
ความต่างแห่งสังกัปปะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา ฯลฯ
ความต่างแห่งปริเยสนา ...
ความต่างแห่งปริฬาหะไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริเยสนา ความต่าง
แห่งฉันทะไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริฬาหะ ความต่างแห่งสังกัปปะไม่
เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งฉันทะ ความต่างแห่งสัญญาไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัย
ความต่างแห่งสังกัปปะ ความต่างแห่งธาตุไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา
ความต่างแห่งธาตุ เป็นอย่างไร
คือ รูปธาตุ ฯลฯ ธัมมธาตุ
นี้เราเรียกว่า ความต่างแห่งธาตุ
ความต่างแห่งสัญญาเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ ความต่างแห่งสังกัปปะ
เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา ฯลฯ
ความต่างแห่งปริเยสนา ...
ความต่างแห่งปริฬาหะไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริเยสนา
ความต่างแห่งฉันทะไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริฬาหะ ความต่างแห่ง
สังกัปปะไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งฉันทะ ความต่างแห่งสัญญาไม่
เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสังกัปปะ ความต่างแห่งธาตุไม่เกิดขึ้นเพราะ
อาศัยความต่างแห่งสัญญา เป็นอย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๑. นานัตตวรรค ๙. พาหิรผัสสนานัตตสูตร

คือ รูปสัญญาเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปธาตุ ฯลฯ
ธัมมสัญญาเกิดขึ้นเพราะอาศัยธัมมธาตุ ธัมมสังกัปปะเกิดขึ้นเพราะอาศัย
ธัมมสัญญา ฯลฯ
ธัมมปริเยสนา ...
ธัมมปริฬาหะไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยธัมมปริเยสนา ธัมมฉันทะไม่เกิดขึ้นเพราะ
อาศัยธัมมปริฬาหะ ธัมมสังกัปปะไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยธัมมฉันทะ ธัมมสัญญาไม่
เกิดขึ้นเพราะอาศัยธัมมสังกัปปะ ธัมมธาตุไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยธัมมสัญญา
ภิกษุทั้งหลาย ความต่างแห่งสัญญาเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ
ความต่างแห่งสังกัปปะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา ฯลฯ
ความต่างแห่งปริเยสนา ...
ความต่างแห่งปริฬาหะไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริเยสนา ฯลฯ
ความต่างแห่งสัญญา ...
ความต่างแห่งธาตุไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา เป็นอย่างนี้”

โนปริเยสนานานัตตสูตรที่ ๘ จบ

๙. พาหิรผัสสนานัตตสูตร
ว่าด้วยความต่างแห่งผัสสะเพราะอาศัยธาตุภายนอก

[๙๓] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค...
“ภิกษุทั้งหลาย ความต่างแห่งสัญญาเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ
ความต่างแห่งสังกัปปะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา ความต่างแห่งผัสสะ
เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสังกัปปะ ความต่างแห่งเวทนาเกิดขึ้นเพราะอาศัย
ความต่างแห่งผัสสะ ความต่างแห่งฉันทะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งเวทนา
ความต่างแห่งปริฬาหะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งฉันทะ ความต่างแห่งปริเยสนา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๑. นานัตตวรรค ๙. พาหิรผัสสนานัตตสูตร

เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริฬาหะ ความต่างแห่งลาภะเกิดขึ้นเพราะอาศัย
ความต่างแห่งปริเยสนา
ความต่างแห่งธาตุ เป็นอย่างไร
คือ รูปธาตุ ฯลฯ ธัมมธาตุ
นี้เราเรียกว่า ความต่างแห่งธาตุ
ความต่างแห่งสัญญาเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ ฯลฯ ความ
ต่างแห่งลาภะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริเยสนา เป็นอย่างไร
คือ รูปสัญญาเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปธาตุ รูปสังกัปปะเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปสัญญา
รูปสัมผัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปสังกัปปะ รูปสัมผัสสชาเวทนาเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูป
สัมผัส รูปฉันทะเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปสัมผัสสชาเวทนา รูปปริฬาหะเกิดขึ้นเพราะ
อาศัยรูปฉันทะ รูปปริเยสนาเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปปริฬาหะ รูปลาภะเกิดขึ้นเพราะ
อาศัยรูปปริเยสนา ฯลฯ ธัมมสัญญาเกิดขึ้นเพราะอาศัยธัมมธาตุ ธัมมสังกัปปะเกิด
ขึ้นเพราะอาศัยธัมมสัญญา ธัมมสัมผัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยธัมมสังกัปปะ ธัมมสัมผัสส-
ชาเวทนาเกิดขึ้นเพราะอาศัยธัมมสัมผัส ธัมมฉันทะเกิดขึ้นเพราะอาศัยธัมมสัมผัสส-
ชาเวทนา ธัมมปริฬาหะเกิดขึ้นเพราะอาศัยธัมมฉันทะ ธัมมปริเยสนาเกิดขึ้นเพราะ
อาศัยธัมมปริฬาหะ ธัมมลาภะเกิดขึ้นเพราะอาศัยธัมมปริเยสนา
ภิกษุทั้งหลาย ความต่างแห่งสัญญาเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ
ความต่างแห่งสังกัปปะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา ฯลฯ ความต่าง
แห่งลาภะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริเยสนาเป็นอย่างนี้”

พาหิรผัสสนานัตตสูตรที่ ๙ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๑. นานัตตวรรค ๑๐. ทุติยพาหิรผัสสนานัตตสูตร

๑๐. ทุติยพาหิรผัสสนานัตตสูตร
ว่าด้วยความต่างแห่งผัสสะเพราะอาศัยธาตุภายนอก สูตรที่ ๒

[๙๔] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค...
“ภิกษุทั้งหลาย ความต่างแห่งสัญญาเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ
ความต่างแห่งสังกัปปะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา ผัสสะ ... เวทนา...
ฉันทะ ... ปริฬาหะ ... ความต่างแห่งลาภะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริเยสนา
ความต่างแห่งปริเยสนาไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งลาภะ ความต่างแห่ง
ปริฬาหะไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริเยสนา ความต่างแห่งฉันทะไม่เกิดขึ้น
เพราะอาศัยความต่างแห่งปริฬาหะ ... เวทนา ... ผัสสะ ... สังกัปปะ ... ความต่าง
แห่งสัญญาไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสังกัปปะ ความต่างแห่งธาตุไม่เกิดขึ้น
เพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา
ความต่างแห่งธาตุ เป็นอย่างไร
คือ รูปธาตุ ฯลฯ ธัมมธาตุ
นี้เราเรียกว่า ความต่างแห่งธาตุ
ความต่างแห่งสัญญาเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ ความต่างแห่งสังกัปปะ
เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา ... ผัสสะ ... เวทนา ... ฉันทะ ... ปริฬาหะ ...
ปริเยสนา ... ความต่างแห่งลาภะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริเยสนา
ความต่างแห่งปริเยสนาไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งลาภะ ... ปริฬาหะ
... ฉันทะ ... เวทนา ... ความต่างแห่งผัสสะไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่าง
แห่งเวทนา ความต่างแห่งสัญญาไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสังกัปปะ
ความต่างแห่งธาตุไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา เป็นอย่างไร
คือ รูปสัญญาเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปธาตุ ฯลฯ ธัมมสัญญาเกิดขึ้นเพราะอาศัย
ธัมมธาตุ (ธัมมสังกัปปะ)เกิดขึ้นเพราะอาศัยธัมมสัญญา ฯลฯ ธัมมปริเยสนาเกิดขึ้น
เพราะอาศัยธัมมปริฬาหะ ธัมมลาภะเกิดขึ้นเพราะอาศัยธัมมปริเยสนา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๑. นานัตตวรรค ๑๐. ทุติยพาหิรผัสสนานัตตสูตร

ธัมมปริเยสนาไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยธัมมลาภะ ธัมมปริฬาหะไม่เกิดขึ้นเพราะ
อาศัยธัมมปริเยสนา ธัมมฉันทะไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยธัมมปริฬาหะ ธัมมสัมผัสสชา-
เวทนาไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยธัมมฉันทะ ธัมมสัมผัสไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยธัมม-
สัมผัสสชาเวทนา ธัมมสังกัปปะไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยธัมมสัมผัส ธัมมสัญญาไม่เกิด
ขึ้นเพราะอาศัยธัมมสังกัปปะ ธัมมธาตุไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยธัมมสัญญา
ภิกษุทั้งหลาย ความต่างแห่งสัญญาเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ
ความต่างแห่งสังกัปปะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา ผัสสะ ... เวทนา ...
ฉันทะ ... ปริฬาหะ ... ปริเยสนา ... ความต่างแห่งลาภะเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่าง
แห่งปริเยสนา
ความต่างแห่งปริเยสนาไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งลาภะ ความต่างแห่ง
ปริฬาหะไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริเยสนา ความต่างแห่งฉันทะไม่เกิด
ขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริฬาหะ ความต่างแห่งเวทนาไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัย
ความต่างแห่งฉันทะ ความต่างแห่งผัสสะไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งเวทนา
ความต่างแห่งสังกัปปะไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะ ความต่างแห่ง
สัญญาไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสังกัปปะ ความต่างแห่งธาตุไม่เกิดขึ้น
เพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา เป็นอย่างนี้”

ทุติยพาหิรผัสสนานัตตสูตรที่ ๑๐ จบ
นานัตตวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ธาตุนานัตตสูตร ๒. ผัสสนานัตตสูตร
๓. โนผัสสนานัตตสูตร ๔. เวทนานานัตตสูตร
๕. ทุติยเวทนานานัตตสูตร ๖. พาหิรธาตุนานัตตตสูตร
๗. สัญญานานัตตสูตร ๘. โนปริเยสนานานัตตสูตร
๙. พาหิรผัสสนานัตตสูตร ๑๐. ทุติยพาหิรผัสสนานัตตสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต] ๒. ทุติยวรรค ๑. สัตตธาตุสูตร

๒. ทุติยวรรค
หมวดที่ ๒

๑. สัตตธาตุสูตร
ว่าด้วยธาตุ ๗

[๙๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย ธาตุมี ๗ ประการ ธาตุ ๗ ประการอะไรบ้าง คือ

๑. อาภาธาตุ๑ ๒. สุภธาตุ๒
๓. อากาสานัญจายตนธาตุ๓ ๔. วิญญาณัญจายตนธาตุ๔
๕. อากิญจัญญายตนธาตุ๕ ๖. เนวสัญญานาสัญญายตนธาตุ๖
๗. สัญญาเวทยิตนิโรธธาตุ๗

ธาตุมี ๗ ประการนี้


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต] ๒. ทุติยวรรค ๑. สัตตธาตุสูตร

ครั้นพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อาภาธาตุ สุภธาตุ อากาสานัญจายตนธาตุ
วิญญาณัญจายตนธาตุ อากิญจัญญายตนธาตุ เนวสัญญานาสัญญายตนธาตุ และ
สัญญาเวทยิตนิโรธธาตุ ธาตุเหล่านี้อาศัยอะไรจึงปรากฏได้”
“ภิกษุ อาภาธาตุอาศัยความมืดจึงปรากฏได้ สุภธาตุอาศัยความไม่งามจึง
ปรากฏได้ อากาสานัญจายตนธาตุอาศัยรูปสมาบัติจึงปรากฏได้ วิญญาณัญจายตน-
ธาตุอาศัยอากาสานัญจายตนสมาบัติจึงปรากฏได้ อากิญจัญญายตนธาตุอาศัย
วิญญาณัญจายตนสมาบัติจึงปรากฏได้ เนวสัญญานาสัญญายตนธาตุอาศัย
อากิญจัญญายตนสมาบัติจึงปรากฏได้ สัญญาเวทยิตนิโรธธาตุอาศัยนิโรธสมาบัติจึง
ปรากฏได้”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อาภาธาตุ สุภธาตุ อากาสานัญจายตนธาตุ
วิญญาณัญจายตนธาตุ อากิญจัญญายตนธาตุ เนวสัญญานาสัญญายตนธาตุ
และสัญญาเวทยิตนิโรธธาตุ บุคคลจะเข้าถึงธาตุเหล่านี้ได้อย่างไร”
“ภิกษุ อาภาธาตุ สุภธาตุ อากาสานัญจายตนธาตุ วิญญาณัญจายตนธาตุ
อากิญจัญญายตนธาตุ ธาตุเหล่านี้ เป็นสัญญาสมาบัติที่บุคคลจะเข้าถึงได้
เนวสัญญานาสัญญายตนธาตุ เป็นสังขาราวิเสสสมาบัติ๑ที่บุคคลจะเข้าถึงได้ สัญญา-
เวทยิตนิโรธธาตุ เป็นนิโรธสมาบัติที่บุคคลจะเข้าถึงได้”

สัตตธาตุสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต] ๒. ทุติยวรรค ๒. สนิทานสูตร

๒. สนิทานสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นต้นเหตุ

[๙๖] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย กามวิตกมีเหตุจึงเกิดขึ้น ไม่มีเหตุไม่เกิดขึ้น พยาบาทวิตก
มีเหตุจึงเกิดขึ้น ไม่มีเหตุไม่เกิดขึ้น วิหิงสาวิตกมีเหตุจึงเกิดขึ้น ไม่มีเหตุไม่เกิดขึ้น
กามวิตกมีเหตุจึงเกิดขึ้น ไม่มีเหตุไม่เกิดขึ้น พยาบาทวิตกมีเหตุจึงเกิดขึ้น
ไม่มีเหตุไม่เกิดขึ้น วิหิงสาวิตกมีเหตุจึงเกิดขึ้น ไม่มีเหตุไม่เกิดขึ้น เป็นอย่างไร
กามสัญญา(ความหมายรู้กาม) เกิดขึ้นเพราะอาศัยกามธาตุ กามสังกัปปะ
(ความดำริในกาม) เกิดขึ้นเพราะอาศัยกามสัญญา กามฉันทะ(ความพอใจในกาม)
เกิดขึ้นเพราะอาศัยกามสังกัปปะ กามปริฬาหะ(ความเร่าร้อนเพราะกาม) เกิดขึ้น
เพราะอาศัยกามฉันทะ กามปริเยสนา(การแสวงหากาม) เกิดขึ้นเพราะอาศัย
กามปริฬาหะ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เมื่อแสวงหากามปริเยสนา ย่อมปฏิบัติผิด ๓ ทาง
คือ ทางกาย ทางวาจา ทางใจ
พยาบาทสัญญา(ความหมายรู้พยาบาท) เกิดขึ้นเพราะอาศัยพยาบาทธาตุ
พยาบาทสังกัปปะ(ความดำริในพยาบาท) เกิดขึ้นเพราะอาศัยพยาบาทสัญญา...
พยาบาทฉันทะ(ความพอใจในพยาบาท) ... พยาบาทปริฬาหะ(ความเร่าร้อนเพราะ
พยาบาท) ... พยาบาทปริเยสนา (การแสวงหาพยาบาท)
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เมื่อแสวงหาพยาบาทปริเยสนา ย่อมปฏิบัติผิด ๓ ทาง คือ
ทางกาย ทางวาจา ทางใจ
วิหิงสาสัญญา (ความหมายรู้ความเบียดเบียน) เกิดขึ้นเพราะอาศัยวิหิงสาธาตุ
วิหิงสาสังกัปปะ(ความดำริในความเบียดเบียน) เกิดขึ้นเพราะอาศัยวิหิงสาสัญญา ...
วิหิงสาฉันทะ (ความพอใจในความเบียดเบียน) ... วิหิงสาปริฬาหะ (ความเร่าร้อน
เพราะความเบียดเบียน) ... วิหิงสาปริเยสนา (การแสวงหาความเบียดเบียน)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต] ๒. ทุติยวรรค ๒. สนิทานสูตร

ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เมื่อแสวงหาวิหิงสาปริเยสนา ย่อมปฏิบัติผิด ๓ ทาง คือ
ทางกาย ทางวาจา ทางใจ
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษวางคบหญ้าที่ไฟติดแล้วในป่าหญ้าแห้ง
หากเขาไม่รีบดับด้วยมือและด้วยเท้า เมื่อเป็นเช่นนี้ บรรดาสัตว์มีชีวิตที่อาศัยหญ้า
และไม้อยู่ พึงถึงความพินาศย่อยยับ อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น สมณะหรือ
พราหมณ์คนใดคนหนึ่ง ไม่รีบละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งอกุศล-
สัญญาที่เกิดขึ้นไม่สม่ำเสมอ สมณะหรือพราหมณ์นั้นย่อมอยู่เป็นทุกข์ มีความ
อึดอัด ความคับแค้น ความเร่าร้อน ในปัจจุบัน หลังจากตายแล้วพึงหวังทุคติได้
เนกขัมมวิตก(ความตรึกในการออกบวช) มีเหตุจึงเกิดขึ้น ไม่มีเหตุไม่เกิดขึ้น
อพยาบาทวิตก(ความตรึกในความไม่พยาบาท) มีเหตุจึงเกิดขึ้น ไม่มีเหตุไม่เกิดขึ้น
อวิหิงสาวิตก(ความตรึกในความไม่เบียดเบียน)มีเหตุจึงเกิดขึ้น ไม่มีเหตุไม่เกิดขึ้น
เนกขัมมวิตกมีเหตุจึงเกิดขึ้น ไม่มีเหตุไม่เกิดขึ้น อพยาบาทวิตกมีเหตุจึง
เกิดขึ้น ไม่มีเหตุไม่เกิดขึ้น อวิหิงสาวิตกมีเหตุจึงเกิดขึ้น ไม่มีเหตุไม่เกิดขึ้น
เป็นอย่างไร
คือ เนกขัมมสัญญาเกิดขึ้นเพราะอาศัยเนกขัมมธาตุ เนกขัมมสังกัปปะเกิดขึ้น
เพราะอาศัยเนกขัมมสัญญา เนกขัมมฉันทะเกิดขึ้นเพราะอาศัยเนกขัมมสังกัปปะ
เนกขัมมปริฬาหะเกิดขึ้นเพราะอาศัยเนกขัมมฉันทะ เนกขัมมปริเยสนาเกิดขึ้น
เพราะอาศัยเนกขัมมปริฬาหะ อริยสาวกผู้ได้สดับ เมื่อแสวงหาเนกขัมมปริเยสนา
ย่อมปฏิบัติชอบ ๓ ทาง คือ ทางกาย ทางวาจา ทางใจ
อพยาบาทสัญญาเกิดขึ้นเพราะอาศัยอพยาบาทธาตุ อพยาบาทสังกัปปะเกิด
ขึ้นเพราะอาศัยอพยาบาทสัญญา ... อพยาบาทฉันทะ ... อพยาบาทปริฬาหะ ...
อพยาบาทปริเยสนา
อริยสาวกผู้ได้สดับ เมื่อแสวงหาอพยาบาทปริเยสนา ย่อมปฏิบัติชอบ ๓ ทาง
คือ ทางกาย ทางวาจา ทางใจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๓. คิญชกาวสถสูตร

อวิหิงสาสัญญาเกิดขึ้นเพราะอาศัยอวิหิงสาธาตุ อวิหิงสาสังกัปปะเกิดขึ้น
เพราะอาศัยอวิหิงสาสัญญา อวิหิงสาฉันทะเกิดขึ้นเพราะอาศัยอวิหิงสาสังกัปปะ
อวิหิงสาปริฬาหะเกิดขึ้นเพราะอาศัยอวิหิงสาฉันทะ อวิหิงสาปริเยสนาเกิดขึ้นเพราะ
อาศัยอวิหิงสาปริฬาหะ อริยสาวกผู้ได้สดับ เมื่อแสวงหาอวิหิงสาปริเยสนา ย่อม
ปฏิบัติชอบ ๓ ทาง คือ ทางกาย ทางวาจา ทางใจ
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษวางคบหญ้าที่ไฟติดแล้วในป่าหญ้าแห้ง
เขารีบดับคบหญ้านั้นด้วยมือและด้วยเท้า เมื่อเป็นเช่นนี้ บรรดาสัตว์มีชีวิตที่อาศัย
หญ้าและไม้อยู่ จึงไม่ถึงความพินาศย่อยยับ อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น สมณะ
หรือพราหมณ์คนใดคนหนึ่ง รีบละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่ง
อกุศลสัญญาที่เกิดขึ้นไม่สม่ำเสมอ สมณะหรือพราหมณ์นั้นย่อมอยู่เป็นสุข ไม่มี
ความอึดอัด ความคับแค้น ความเร่าร้อน ในปัจจุบัน หลังจากตายแล้วพึงหวัง
สุคติได้”

สนิทานสูตรที่ ๒ จบ

๓. คิญชกาวสถสูตร
ว่าด้วยการแสดงธรรม ณ ตำหนักอิฐ

[๙๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ตำหนักอิฐ ใกล้หมู่บ้าน
ญาติกะ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย สัญญาเกิดขึ้นเพราะอาศัยธาตุ ทิฏฐิเกิดขึ้นเพราะอาศัยธาตุ
วิตกเกิดขึ้นเพราะอาศัยธาตุ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๓. คิญชกาวสถสูตร

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระกัจจานะได้ทูลถามพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทิฏฐิที่ว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในบุคคลที่มิใช่
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า๑ นี้ย่อมปรากฏเพราะอาศัยอะไร”
“กัจจานะ ธาตุคืออวิชชานี้ เป็นธาตุใหญ่ สัญญาที่เลว ทิฏฐิที่เลว วิตกที่เลว
เจตนาที่เลว ความปรารถนาที่เลว ความตั้งใจที่เลว บุคคลที่เลว วาจาที่เลว เกิดขึ้น
เพราะอาศัยธาตุที่เลว บุคคลที่เลวนั้น ย่อมบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย
จำแนก ทำให้ง่ายซึ่งธรรมที่เลว เรากล่าวว่า ความเกิดของบุคคลนั้นเลว
สัญญาที่ปานกลาง ทิฏฐิที่ปานกลาง วิตกที่ปานกลาง เจตนาที่ปานกลาง
ความปรารถนาที่ปานกลาง ความตั้งใจที่ปานกลาง บุคคลที่ปานกลาง วาจาที่
ปานกลาง เกิดขึ้นเพราะอาศัยธาตุที่ปานกลาง บุคคลที่ปานกลางนั้น ย่อมบอก
แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายซึ่งธรรมที่ปานกลาง
เรากล่าวว่า ความเกิดของบุคคลนั้นปานกลาง
กัจจานะ สัญญาที่ประณีต ทิฏฐิที่ประณีต วิตกที่ประณีต เจตนาที่ประณีต
ความปรารถนาที่ประณีต ความตั้งใจที่ประณีต บุคคลที่ประณีต วาจาที่ประณีต
เกิดขึ้นเพราะอาศัยธาตุที่ประณีต บุคคลที่ประณีตนั้น ย่อมบอก แสดง บัญญัติ
กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายซึ่งธรรมที่ประณีต เรากล่าวว่า ความเกิด
ของบุคคลนั้นประณีต”

คิญชกาวสถสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๔. หีนาธิมุตติกสูตร

๔. หีนาธิมุตติกสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้มีอัธยาศัยเลวและอัธยาศัยงาม

[๙๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือ
สัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยเลว คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยเลว
สัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยงาม คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยงาม
แม้ในอดีต สัตว์ทั้งหลายก็ได้คบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือ
สัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยเลว ได้คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยเลว
สัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยงาม ได้คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยงาม
แม้ในอนาคต สัตว์ทั้งหลายก็จักคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือ
สัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยเลว จักคบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยเลว สัตว์
ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยงาม จักคบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยงาม
ภิกษุทั้งหลาย แม้ในปัจจุบันนี้ สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุ
อย่างเดียวกัน คือสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยเลว คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีอัธยาศัยเลว สัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยงาม คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มี
อัธยาศัยงาม”

หีนาธิมุตติกสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต] ๒. ทุติยวรรค ๕. จังกมสูตร

๕. จังกมสูตร
ว่าด้วยการจงกรม

[๙๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุงราชคฤห์
สมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรกำลังเดินจงกรมอยู่กับภิกษุจำนวนมากในที่ไม่ไกลพระผู้มี
พระภาค ท่านพระมหาโมคคัลลานะก็กำลังเดินจงกรมอยู่กับภิกษุจำนวนมากในที่ไม่
ไกลพระผู้มีพระภาค ท่านพระมหากัสสปะก็กำลังเดินจงกรมอยู่กับภิกษุจำนวนมาก
ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค ท่านพระอนุรุทธะก็กำลังเดินจงกรมอยู่กับภิกษุจำนวนมาก
ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค ท่านพระปุณณมันตานีบุตรก็กำลังเดินจงกรมอยู่กับภิกษุ
จำนวนมากในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค ท่านพระอุบาลีก็กำลังเดินจงกรมอยู่กับภิกษุ
จำนวนมากในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค ท่านพระอานนท์ก็กำลังเดินจงกรมอยู่กับภิกษุ
จำนวนมากในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค แม้พระเทวทัตก็กำลังเดินจงกรมอยู่กับภิกษุ
จำนวนมากในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค

บุคคลผู้มีอัธยาศัยเหมือนกันจึงคบกันได้

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเห็นสารีบุตรกำลังเดินจงกรมอยู่กับภิกษุจำนวน
มากหรือไม่”
“เห็น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหมดนี้ล้วนมีปัญญามาก
เธอทั้งหลายเห็นมหาโมคคัลลานะกำลังเดินจงกรมอยู่กับภิกษุจำนวนมากหรือไม่”
“เห็น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหมดนี้ล้วนมีฤทธิ์มาก
เธอทั้งหลายเห็นมหากัสสปะกำลังเดินจงกรมอยู่กับภิกษุจำนวนมากหรือไม่”
“เห็น พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต] ๒. ทุติยวรรค ๕. จังกมสูตร

“ภิกษุทั้งหมดนี้ล้วนกล่าวเรื่องธุดงค์๑
เธอทั้งหลายเห็นอนุรุทธะกำลังเดินจงกรมอยู่กับภิกษุจำนวนมากหรือไม่”
“เห็น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหมดนี้ล้วนมีตาทิพย์
เธอทั้งหลายเห็นปุณณมันตานีบุตรกำลังเดินจงกรมอยู่กับภิกษุจำนวนมาก
หรือไม่”
“เห็น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหมดนี้ล้วนเป็นธรรมกถึก
เธอทั้งหลายเห็นอุบาลีกำลังเดินจงกรมอยู่กับภิกษุจำนวนมากหรือไม่”
“เห็น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหมดนี้ล้วนทรงวินัย
เธอทั้งหลายเห็นอานนท์กำลังเดินจงกรมอยู่กับภิกษุจำนวนมากหรือไม่”
“เห็น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหมดนี้ล้วนเป็นพหูสูต
เธอทั้งหลายเห็นเทวทัตกำลังเดินจงกรมอยู่กับภิกษุจำนวนมากหรือไม่”
“เห็น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหมดนี้ล้วนมีความปรารถนาชั่ว


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต] ๒. ทุติยวรรค ๖. สคาถาสูตร

สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัย
เลว คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยเลว สัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยงาม
คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยงาม
แม้ในอดีต สัตว์ทั้งหลายก็ได้คบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือ
สัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยเลว ได้คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยเลว
สัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยงาม ได้คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยงาม
แม้ในอนาคต สัตว์ทั้งหลายก็จักคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือ
สัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยเลว จักคบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยเลว
สัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยงาม จักคบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยงาม
ภิกษุทั้งหลาย แม้ในปัจจุบันนี้ สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุ
อย่างเดียวกัน คือสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยเลว คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีอัธยาศัยเลว สัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยงาม คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มี
อัธยาศัยงาม”

จังกมสูตรที่ ๕ จบ

๖. สคาถาสูตร
ว่าด้วยธรรมเทศนาที่มีคาถา

[๑๐๐] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...

สัตว์ผู้มีอัธยาศัยเหมือนกันจึงคบกันได้

“ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือ
สัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยเลว คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยเลว
แม้ในอดีต สัตว์ทั้งหลายได้คบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน
แม้ในอนาคต สัตว์ทั้งหลายจักคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต] ๒. ทุติยวรรค ๖. สคาถาสูตร

แม้ในปัจจุบันนี้ สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือ
สัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยเลว คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยเลว
เปรียบเหมือนคูถ(อุจจาระ)กับคูถรวมเข้ากันได้ มูตร(ปัสสาวะ)กับมูตรรวม
เข้ากันได้ เขฬะ(น้ำลาย) กับเขฬะรวมเข้ากันได้ ปุพโพ(น้ำหนอง)กับปุพโพรวมเข้ากันได้
โลหิต(เลือด)กับโลหิตรวมเข้ากันได้ อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น สัตว์ทั้งหลายคบค้า
สมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยเลว คบค้าสมาคม
กับสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยเลว
แม้ในอดีต ฯลฯ
แม้ในอนาคต ฯลฯ
แม้ในปัจจุบันนี้ สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือสัตว์
ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยเลว คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยเลว
สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือสัตว์ทั้งหลายผู้มี
อัธยาศัยงาม คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยงาม
แม้ในอดีต สัตว์ทั้งหลายได้คบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือ
สัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยงาม ได้คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยงาม
แม้ในอนาคต สัตว์ทั้งหลายจักคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือ
สัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยงาม จักคบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยงาม
แม้ในปัจจุบันนี้ สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือ
สัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยงาม คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยงาม
เปรียบเหมือนน้ำนมสดกับน้ำนมสดรวมเข้ากันได้ น้ำมันกับน้ำมันรวมเข้ากันได้
เนยใสกับเนยใสรวมเข้ากันได้ น้ำผึ้งกับน้ำผึ้งรวมเข้ากันได้ น้ำอ้อยกับน้ำอ้อยรวม
เข้ากันได้ อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุ
อย่างเดียวกัน คือสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยงาม คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มี
อัธยาศัยงาม
แม้ในอดีต ฯลฯ
แม้ในอนาคต ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๗. อัสสัทธสังสันทนสูตร

ภิกษุทั้งหลาย แม้ในปัจจุบันนี้ สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุ
อย่างเดียวกัน คือสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยงาม คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มี
อัธยาศัยงาม”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัส
คาถาประพันธ์ต่อไปว่า
“ป่าคือกิเลส เกิดเพราะการคลุกคลีกัน
ย่อมขาดไป เพราะการไม่คลุกคลีกัน
บุคคลเกาะท่อนไม้เล็กพึงจมลงในห้วงน้ำใหญ่ฉันใด
แม้สาธุชนอาศัยคนเกียจคร้านก็ย่อมจมลงฉันนั้น
เพราะฉะนั้น พึงเว้นคนเกียจคร้าน
ผู้มีความเพียรย่อหย่อนนั้นเสีย
พึงอยู่ร่วมกับบัณฑิตผู้สงัด เป็นอริยะ
มีใจเด็ดเดี่ยว เพ่งพินิจ ปรารภความเพียรเป็นนิจ”

สคาถาสูตรที่ ๖ จบ

๗. อัสสัทธสังสันทนสูตร
ว่าด้วยการคบค้าสมาคมกันของสัตว์ผู้ไม่มีศรัทธา

[๑๐๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาคได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือสัตว์
ทั้งหลายผู้ไม่มีศรัทธา คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีศรัทธา สัตว์ทั้งหลายผู้
ไม่มีหิริ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีหิริ สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีโอตตัปปะ
คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีโอตตัปปะ สัตว์ทั้งหลายผู้มีสุตะน้อย คบค้า
สมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสุตะน้อย สัตว์ทั้งหลายผู้เกียจคร้าน คบค้าสมาคมกับ
สัตว์ทั้งหลายผู้เกียจคร้าน สัตว์ทั้งหลายผู้มีสติหลงลืม คบค้าสมาคมกับสัตว์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๗. อัสสัทธสังสันทนสูตร

ทั้งหลายผู้มีสติหลงลืม สัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม คบค้าสมาคมกับสัตว์
ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม
แม้ในอดีต สัตว์ทั้งหลายได้คบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือสัตว์
ทั้งหลายผู้ไม่มีศรัทธา ได้คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีศรัทธา สัตว์ทั้งหลาย
ผู้ไม่มีหิริ ได้คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีหิริ สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีโอตตัปปะ
ได้คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีโอตตัปปะ สัตว์ทั้งหลายผู้มีสุตะน้อย ได้คบค้า
สมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสุตะน้อย สัตว์ทั้งหลายผู้เกียจคร้าน ได้คบค้าสมาคมกับ
สัตว์ทั้งหลายผู้เกียจคร้าน สัตว์ทั้งหลายผู้มีสติหลงลืม ได้คบค้าสมาคมกับสัตว์
ทั้งหลายผู้มีสติหลงลืม สัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม ได้คบค้าสมาคมกับสัตว์
ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม
แม้ในอนาคต สัตว์ทั้งหลายจักคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือ
สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีศรัทธา จักคบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีศรัทธา สัตว์ทั้งหลาย
ผู้ไม่มีหิริ จักคบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีหิริ สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีโอตตัปปะ
... กับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีโอตตัปปะ สัตว์ทั้งหลายผู้มีสุตะน้อย ... กับสัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีสุตะน้อย สัตว์ทั้งหลายผู้เกียจคร้าน ... กับสัตว์ทั้งหลายผู้เกียจคร้าน สัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีสติหลงลืม ... กับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสติหลงลืม สัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม
จักคบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม
แม้ในปัจจุบันนี้ สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือสัตว์
ทั้งหลายผู้ไม่มีศรัทธา คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีศรัทธา สัตว์ทั้งหลาย
ผู้ไม่มีหิริ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีหิริ ฯลฯ สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มี
โอตตัปปะ ... กับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีโอตตัปปะ สัตว์ทั้งหลายผู้มีสุตะน้อย ... กับสัตว์
ทั้งหลายผู้มีสุตะน้อย สัตว์ทั้งหลายผู้เกียจคร้าน ... กับสัตว์ทั้งหลายผู้เกียจคร้าน
สัตว์ทั้งหลายผู้มีสติหลงลืม ... กับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสติหลงลืม สัตว์ทั้งหลายผู้มี
ปัญญาทราม คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม
ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือสัตว์
ทั้งหลายผู้มีศรัทธา คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีศรัทธา สัตว์ทั้งหลายผู้มีหิริ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๘. อัสสัทธมูลกสูตร

คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีหิริ สัตว์ทั้งหลายผู้มีโอตตัปปะ คบค้าสมาคมกับ
สัตว์ทั้งหลายผู้มีโอตตัปปะ สัตว์ทั้งหลายผู้มีสุตะมาก คบค้าสมาคมกับสัตว์
ทั้งหลายผู้มีสุตะมาก สัตว์ทั้งหลายผู้ปรารภความเพียร คบค้าสมาคมกับสัตว์
ทั้งหลายผู้ปรารภความเพียร สัตว์ทั้งหลายผู้มีสติมั่นคง คบค้าสมาคมกับสัตว์
ทั้งหลายผู้มีสติมั่นคง สัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีปัญญา
แม้ในอดีต ฯลฯ
แม้ในอนาคต ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย แม้ในปัจจุบันนี้ สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกัน” ฯลฯ

อัสสัทธสังสันทนสูตรที่ ๗ จบ

๘. อัสสัทธมูลกสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้ไม่มีศรัทธาเป็นมูล

[๑๐๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือสัตว์
ทั้งหลายผู้ไม่มีศรัทธา คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีศรัทธา สัตว์ทั้งหลายผู้
ไม่มีหิริ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีหิริ สัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม
คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม
สัตว์ทั้งหลายผู้มีศรัทธา คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีศรัทธา สัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีหิริ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีหิริ สัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา คบค้าสมาคม
กับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา
แม้ในอดีต สัตว์ทั้งหลายได้คบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน ฯลฯ
แม้ในอนาคต สัตว์ทั้งหลายจักคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๘. อัสสัทธมูลกสูตร

แม้ในปัจจุบันนี้ สัตว์ทั้งหลายก็คบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือ
สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีศรัทธา คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีศรัทธา สัตว์ทั้งหลาย
ผู้ไม่มีหิริ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีหิริ สัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม
คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม
สัตว์ทั้งหลายผู้มีศรัทธา คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีศรัทธา สัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีหิริ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีหิริ สัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา คบค้าสมาคม
กับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา (๑)
สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มี
ศรัทธา คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีศรัทธา สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีโอตตัปปะ
คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีโอตตัปปะ สัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม
คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม
สัตว์ทั้งหลายผู้มีศรัทธา คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีศรัทธา สัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีโอตตัปปะ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีโอตตัปปะ สัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา
คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา ฯลฯ (พึงรู้ความพิสดารเหมือนวาระแรก) (๒)
สัตว์ทั้งหลาย ฯลฯ โดยธาตุอย่างเดียวกัน คือสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีศรัทธา
คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีศรัทธา สัตว์ทั้งหลายผู้มีสุตะน้อย คบค้า
สมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสุตะน้อย สัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม คบค้าสมาคม
กับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม
สัตว์ทั้งหลายผู้มีศรัทธา คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีศรัทธา สัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีสุตะมาก คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสุตะมาก สัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา
คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา ฯลฯ (๓)
สัตว์ทั้งหลาย ฯลฯ โดยธาตุอย่างเดียวกัน คือสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีศรัทธา
คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีศรัทธา สัตว์ทั้งหลายผู้เกียจคร้าน คบค้า
สมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้เกียจคร้าน สัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม คบค้าสมาคม
กับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๙. อหิริกมูลกสูตร

สัตว์ทั้งหลายผู้มีศรัทธา คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีศรัทธา สัตว์ทั้งหลาย
ผู้ปรารภความเพียร คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ปรารภความเพียร สัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีปัญญา คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา ฯลฯ (๔)
ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย ฯลฯ โดยธาตุอย่างเดียวกัน คือสัตว์ทั้งหลาย
ผู้ไม่มีศรัทธา คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีศรัทธา สัตว์ทั้งหลายผู้มีสติ
หลงลืม คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสติหลงลืม สัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม
คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม
สัตว์ทั้งหลายผู้มีศรัทธา คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีศรัทธา สัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีสติมั่นคง คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสติมั่นคง สัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา
คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา” ฯลฯ (๕)

อัสสัทธมูลกสูตรที่ ๘ จบ

๙. อหิริกมูลกสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้ไม่มีหิริเป็นมูล

[๑๐๓] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือสัตว์
ทั้งหลายผู้ไม่มีหิริ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีหิริ สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มี
โอตตัปปะ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีโอตตัปปะ สัตว์ทั้งหลายผู้มี
ปัญญาทราม คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม
สัตว์ทั้งหลายผู้มีหิริ(ความละอายต่อบาป) คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีหิริ สัตว์ทั้งหลายผู้มีโอตตัปปะ(ความเกรงกลัวต่อบาป) คบค้าสมาคมกับสัตว์
ทั้งหลายผู้มีโอตตัปปะ สัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มี
ปัญญา ฯลฯ (๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๑๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๙. อหิริกมูลกสูตร

สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีหิริ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีหิริ สัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีสุตะน้อย คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสุตะน้อย สัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา
ทราม คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม
สัตว์ทั้งหลายผู้มีหิริ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีหิริ สัตว์ทั้งหลายผู้มี
สุตะมาก คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสุตะมาก สัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา
คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา ฯลฯ (๒)
สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีหิริ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีหิริ สัตว์ทั้งหลาย
ผู้เกียจคร้าน คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้เกียจคร้าน สัตว์ทั้งหลายผู้มี
ปัญญาทราม คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม
สัตว์ทั้งหลายผู้มีหิริ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีหิริ สัตว์ทั้งหลาย
ผู้ปรารภความเพียร คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ปรารภความเพียร สัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีปัญญา คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา ฯลฯ (๓)
สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีหิริ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีหิริ สัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีสติหลงลืม คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสติหลงลืม สัตว์ทั้งหลายผู้มี
ปัญญาทราม คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม
สัตว์ทั้งหลายผู้มีหิริ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีหิริ สัตว์ทั้งหลายผู้มี
สติมั่นคง คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสติมั่นคง สัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา
คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา” ฯลฯ (๔)

อหิริกมูลกสูตรที่ ๙ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๑๐. อโนตตัปปมูลกสูตร

๑๐. อโนตตัปปมูลกสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้ไม่มีโอตตัปปะเป็นมูล

[๑๐๔] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือ
สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีโอตตัปปะ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีโอตตัปปะ
สัตว์ทั้งหลายผู้มีสุตะน้อย คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสุตะน้อย สัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีปัญญาทราม คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม
สัตว์ทั้งหลายผู้มีโอตตัปปะ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีโอตตัปปะ
สัตว์ทั้งหลายผู้มีสุตะมาก คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสุตะมาก สัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีปัญญา คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา ฯลฯ (๑)
สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีโอตตัปปะ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีโอตตัปปะ
สัตว์ทั้งหลายผู้เกียจคร้าน คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้เกียจคร้าน สัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีปัญญาทราม คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม
สัตว์ทั้งหลายผู้มีโอตตัปปะ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีโอตตัปปะ สัตว์
ทั้งหลายผู้ปรารภความเพียร คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ปรารภความเพียร
สัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา ฯลฯ (๒)
สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีโอตตัปปะ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีโอตตัปปะ
สัตว์ทั้งหลายผู้มีสติหลงลืม คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสติหลงลืม สัตว์
ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม
สัตว์ทั้งหลายผู้มีโอตตัปปะ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีโอตตัปปะ
สัตว์ทั้งหลายผู้มีสติมั่นคง คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสติมั่นคง สัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีปัญญา คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา” ฯลฯ (๓)

อโนตตัปปมูลกสูตรที่ ๑๐ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๑๑. อัปปัสสุตมูลกสุตร

๑๑. อัปปัสสุตมูลกสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้มีสุตะน้อยเป็นมูล

[๑๐๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือสัตว์
ทั้งหลายผู้มีสุตะน้อย คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสุตะน้อย สัตว์ทั้งหลาย
ผู้เกียจคร้าน คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้เกียจคร้าน สัตว์ทั้งหลายผู้มี
ปัญญาทราม คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม
สัตว์ทั้งหลายผู้มีสุตะมาก คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสุตะมาก สัตว์
ทั้งหลายผู้ปรารภความเพียร คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ปรารภความเพียร
สัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา ฯลฯ (๑)
สัตว์ทั้งหลายผู้มีสุตะน้อย คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสุตะน้อย สัตว์
ทั้งหลายผู้มีสติหลงลืม คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสติหลงลืม สัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีปัญญาทราม คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม สัตว์ทั้งหลายผู้มี
สุตะมาก คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสุตะมาก สัตว์ทั้งหลายผู้มีสติมั่นคง
คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสติมั่นคง สัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา คบค้าสมาคม
กับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา” ฯลฯ (๒)

อัปปัสสุตมูลกสูตรที่ ๑๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๑๒. กุสีตมูลกสูตร

๑๒. กุสีตมูลกสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้เกียจคร้านเป็นมูล

[๑๐๖] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือสัตว์
ทั้งหลายผู้เกียจคร้าน คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้เกียจคร้าน สัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีสติหลงลืม คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสติหลงลืม สัตว์ทั้งหลายผู้มี
ปัญญาทราม คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม สัตว์ทั้งหลายผู้ปรารภ
ความเพียร คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ปรารภความเพียร
สัตว์ทั้งหลายผู้มีสติมั่นคง คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสติมั่นคง สัตว์
ทั้งหลายผู้มีปัญญา คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา” ฯลฯ

กุสีตมูลกสูตรที่ ๑๒ จบ
[ส่วนที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน ในทุกแห่ง พึงทำเหมือนอย่างข้างต้น]
ทุติยวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สัตตธาตุสูตร ๒. สนิทานสูตร
๓. คิญชกาวสถสูตร ๔. หีนาธิมุตติกสูตร
๕. จังกมสูตร ๖. สคาถาสูตร
๗. อัสสัทธสังสันทนสูตร ๘. อัสสัทธมูลกสูตร
๙. อหิริกมูลกสูตร ๑๐. อโนตตัปปมูลกสูตร
๑๑. อัปปัสสุตมูลกสูตร ๑๒. กุสีตมูลกสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๓. กัมมปถวรรค ๑. อสมาหิตสูตร

๓. กัมมปถวรรค
หมวดว่าด้วยกรรมบถ

๑. อสมาหิตสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้มีจิตไม่มั่นคง

[๑๐๗] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือ
สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีศรัทธา คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีศรัทธา สัตว์
ทั้งหลายผู้ไม่มีหิริ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีหิริ สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มี
โอตตัปปะ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีโอตตัปปะ สัตว์ทั้งหลายผู้มีจิต
ไม่มั่นคง๑ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีจิตไม่มั่นคง สัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา
ทราม คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม
สัตว์ทั้งหลายผู้มีศรัทธา คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีศรัทธา สัตว์
ทั้งหลายผู้มีหิริ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีหิริ สัตว์ทั้งหลายผู้มีโอตตัปปะ
คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีโอตตัปปะ สัตว์ทั้งหลายผู้มีจิตมั่นคง คบค้าสมาคม
กับสัตว์ทั้งหลายผู้มีจิตมั่นคง สัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีปัญญา”

อสมาหิตสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๓. กัมมปถวรรค ๓. ปัญจสิกขาปทสูตร

๒. ทุสสีลสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้ทุศีล

[๑๐๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือสัตว์
ทั้งหลายผู้ไม่มีศรัทธา คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีศรัทธา สัตว์ทั้งหลายผู้
ไม่มีหิริ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีหิริ สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีโอตตัปปะ
คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีโอตตัปปะ สัตว์ทั้งหลายผู้ทุศีล คบค้าสมาคม
กับสัตว์ทั้งหลายผู้ทุศีล สัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาทราม คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีปัญญาทราม
สัตว์ทั้งหลายผู้มีศรัทธา คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีศรัทธา สัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีหิริ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีหิริ สัตว์ทั้งหลายผู้มีโอตตัปปะ คบค้าสมาคม
กับสัตว์ทั้งหลายผู้มีโอตตัปปะ สัตว์ทั้งหลายผู้มีศีล คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีศีล สัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา”

ทุสสีลสูตรที่ ๒ จบ

๓. ปัญจสิกขาปทสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้มีศีล ๕

[๑๐๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลาย
มาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มี
พระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือสัตว์
ทั้งหลายผู้ฆ่าสัตว์ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ฆ่าสัตว์ สัตว์ทั้งหลายผู้ลักทรัพย์
คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ลักทรัพย์ สัตว์ทั้งหลายผู้ประพฤติผิดในกาม คบค้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๓. กัมมปถวรรค ๔.สัตตกัมมปถสูตร

สมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ประพฤติผิดในกาม สัตว์ทั้งหลายผู้พูดเท็จ คบค้าสมาคม
กับสัตว์ทั้งหลายผู้พูดเท็จ สัตว์ทั้งหลายผู้เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุ
แห่งความประมาท คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย
อันเป็นเหตุแห่งความประมาท
สัตว์ทั้งหลายผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้เว้นขาด
จากการฆ่าสัตว์ สัตว์ทั้งหลายผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์ คบค้าสมาคมกับสัตว์
ทั้งหลายผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์ สัตว์ทั้งหลายผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม
คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม สัตว์ทั้งหลายผู้
เว้นขาดจากการพูดเท็จ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ
สัตว์ทั้งหลายผู้เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความ
ประมาท คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและ
เมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท”

ปัญจสิกขาปทสูตรที่ ๓ จบ

๔. สัตตกัมมปถสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้มีกรรมบถ ๗

[๑๑๐] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือสัตว์
ทั้งหลายผู้ฆ่าสัตว์ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ฆ่าสัตว์ สัตว์ทั้งหลายผู้ลักทรัพย์
คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ลักทรัพย์ สัตว์ทั้งหลายผู้ประพฤติผิดในกาม คบค้า
สมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ประพฤติผิดในกาม สัตว์ทั้งหลายผู้พูดเท็จ คบค้าสมาคมกับ
สัตว์ทั้งหลายผู้พูดเท็จ สัตว์ทั้งหลายผู้พูดส่อเสียด คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลาย
ผู้พูดส่อเสียด สัตว์ทั้งหลายผู้พูดคำหยาบ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้พูดคำหยาบ
สัตว์ทั้งหลายผู้พูดเพ้อเจ้อ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้พูดเพ้อเจ้อ
สัตว์ทั้งหลายผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ... สัตว์ทั้งหลายผู้เว้นขาดจากการ
ลักทรัพย์ ... สัตว์ทั้งหลายผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม ... สัตว์ทั้งหลาย
ผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ ... สัตว์ทั้งหลายผู้เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด คบค้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๓. กัมมปถวรรค ๕. ทสกัมมปถสูตร

สมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด สัตว์ทั้งหลายผู้เว้นขาดจาก
การพูดคำหยาบ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ
สัตว์ทั้งหลายผู้เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้เว้นขาด
จากการพูดเพ้อเจ้อ”

สัตตกัมมปถสูตรที่ ๔ จบ

๕. ทสกัมมปถสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้มีกรรมบถ ๑๐

[๑๑๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือสัตว์
ทั้งหลายผู้ฆ่าสัตว์ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้ฆ่าสัตว์ สัตว์ทั้งหลายผู้ลักทรัพย์
... สัตว์ทั้งหลายผู้ประพฤติผิดในกาม ... สัตว์ทั้งหลายผู้พูดเท็จ ... สัตว์ทั้งหลายผู้
พูดส่อเสียด ... สัตว์ทั้งหลายผู้พูดคำหยาบ ... สัตว์ทั้งหลายผู้พูดเพ้อเจ้อ คบค้า
สมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้พูดเพ้อเจ้อ สัตว์ทั้งหลายผู้มีอภิชฌา (ความเพ่งเล็งอยาก
ได้ของคนอื่น)มาก คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีอภิชฌามาก สัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีจิตพยาบาท คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีจิตพยาบาท สัตว์ทั้งหลายผู้มี
มิจฉาทิฏฐิ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีมิจฉาทิฏฐิ
สัตว์ทั้งหลายผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้เว้นขาด
จากการฆ่าสัตว์ สัตว์ทั้งหลายผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์ ... สัตว์ทั้งหลายผู้เว้นขาด
จากการประพฤติผิดในกาม ... สัตว์ทั้งหลายผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ ... สัตว์
ทั้งหลายผู้เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด ... สัตว์ทั้งหลายผู้เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ
... สัตว์ทั้งหลายผู้เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้เว้น
ขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีอภิชฌามาก คบค้าสมาคมกับสัตว์
ทั้งหลายผู้ไม่มีอภิชฌามาก สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีจิตพยาบาท คบค้าสมาคมกับสัตว์
ทั้งหลายผู้ไม่มีจิตพยาบาท สัตว์ทั้งหลายผู้มีสัมมาทิฏฐิ คบค้าสมาคมกับสัตว์
ทั้งหลายผู้มีสัมมาทิฏฐิ”

ทสกัมมปถสูตรที่ ๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๓. กัมมปถวรรค ๗. ทสังคสูตร

๖. อัฏฐังคิกสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้ประกอบด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘

[๑๑๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือสัตว์
ทั้งหลายผู้มีมิจฉาทิฏฐิ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีมิจฉาทิฏฐิ สัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีมิจฉาสังกัปปะ ... สัตว์ทั้งหลายผู้มีมิจฉาวาจา ... สัตว์ทั้งหลายผู้มีมิจฉากัมมันตะ
... สัตว์ทั้งหลายผู้มีมิจฉาอาชีวะ ... สัตว์ทั้งหลายผู้มีมิจฉาวายามะ ... สัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีมิจฉาสติ ... สัตว์ทั้งหลายผู้มีมิจฉาสมาธิ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มี
มิจฉาสมาธิ
สัตว์ทั้งหลายผู้มีสัมมาทิฏฐิ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสัมมาทิฏฐิ
สัตว์ทั้งหลายผู้มีสัมมาสังกัปปะ ... สัตว์ทั้งหลายผู้มีสัมมาวาจา ... สัตว์ทั้งหลายผู้มี
สัมมากัมมันตะ ... สัตว์ทั้งหลายผู้มีสัมมาอาชีวะ ... สัตว์ทั้งหลายผู้มีสัมมาวายามะ
... สัตว์ทั้งหลายผู้มีสัมมาสติ ... สัตว์ทั้งหลายผู้มีสัมมาสมาธิ คบค้าสมาคมกับสัตว์
ทั้งหลายผู้มีสัมมาสมาธิ”

อัฏฐังคิกสูตรที่ ๖ จบ

๗. ทสังคสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐

[๑๑๓] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน คือสัตว์
ทั้งหลายผู้มีมิจฉาทิฏฐิ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีมิจฉาทิฏฐิ สัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีมิจฉาสังกัปปะ ... สัตว์ทั้งหลายผู้มีมิจฉาวาจา ... สัตว์ทั้งหลายผู้มีมิจฉากัมมันตะ
... สัตว์ทั้งหลายผู้มีมิจฉาอาชีวะ ... สัตว์ทั้งหลายผู้มีมิจฉาวายามะ ... สัตว์ทั้งหลาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๓. กัมมปถวรรค ๗. ทสังคสูตร

ผู้มีมิจฉาสติ ... สัตว์ทั้งหลายผู้มีมิจฉาสมาธิ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีมิจฉาสมาธิ สัตว์ทั้งหลายผู้มีมิจฉาญาณ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มี
มิจฉาญาณ๑ สัตว์ทั้งหลายผู้มีมิจฉาวิมุตติ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มี
มิจฉาวิมุตติ
สัตว์ทั้งหลายผู้มีสัมมาทิฏฐิ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสัมมาทิฏฐิ
สัตว์ทั้งหลายผู้มีสัมมาสังกัปปะ ... สัตว์ทั้งหลายผู้มีสัมมาวาจา ... สัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีสัมมากัมมันตะ ... สัตว์ทั้งหลายผู้มีสัมมาอาชีวะ ... สัตว์ทั้งหลายผู้มีสัมมา-
วายามะ ... สัตว์ทั้งหลายผู้มีสัมมาสติ ... สัตว์ทั้งหลายผู้มีสัมมาสมาธิ ... สัตว์
ทั้งหลายผู้มีสัมมาญาณ คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสัมมาญาณ สัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีสัมมาวิมุตติคบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีสัมมาวิมุตติ”

ทสังคสูตรที่ ๗ จบ
[ส่วนที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบันในที่ทุกแห่ง พึงทำเหมือนอย่างข้างต้น]

รวมพระสูตรในวรรคนี้ ๗ สูตร คือ

๑. อสมาหิตสูตร ๒. ทุสลีลสูตร
๓. ปัญจสิกขาปทสูตร ๔. สัตตกัมมปถสูตร
๕. ทสกัมมปถสูตร ๖. อัฏฐังคิกสูตร
๗. ทสังคสูตร

กัมมปถวรรคที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๔. จตุตถวรรค ๒. ปุพเพสัมโพธสูตร

๔. จตุตถวรรค
หมวดว่าด้วยธรรมะ สูตรละ ๔ ประการ
๑. จตุธาตุสูตร
ว่าด้วยธาตุ ๔

[๑๑๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย ธาตุมี ๔ ประการนี้ ธาตุ ๔ ประการอะไรบ้าง คือ

๑. ปฐวีธาตุ ๒. อาโปธาตุ
๓. เตโชธาตุ ๔. วาโยธาตุ

ภิกษุทั้งหลาย ธาตุมี ๔ ประการนี้”

จตุธาตุสูตรที่ ๑ จบ

๒. ปุพเพสัมโพธสูตร
ว่าด้วยความดำริก่อนตรัสรู้

[๑๑๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย ก่อนแต่ตรัสรู้ เมื่อเราเป็นโพธิสัตว์ยังไม่ได้ตรัสรู้ ได้มีความคิด
คำนึงอย่างนี้ว่า ‘อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษของปฐวีธาตุ อะไรเป็นเครื่องสลัดออก
จากปฐวีธาตุ
อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษของอาโปธาตุ อะไรเป็นเครื่องสลัดออกจากอาโปธาตุ
อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษของเตโชธาตุ อะไรเป็นเครื่องสลัดออกจากเตโชธาตุ
อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษของวาโยธาตุ อะไรเป็นเครื่องสลัดออกจากวาโยธาตุ’
เรานั้นได้มีความดำริว่า ‘สุขโสมนัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยปฐวีธาตุ’ นี้เป็นคุณ
ของปฐวีธาตุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๔. จตุตถวรรค ๒. ปุพเพสัมโพธสูตร

ปฐวีธาตุเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษของ
ปฐวีธาตุ
ธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะในปฐวีธาตุ นี้เป็นเครื่อง
สลัดออกจากปฐวีธาตุ
สุขโสมนัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยอาโปธาตุ ...
สุขโสมนัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยเตโชธาตุ ...
สุขโสมนัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยวาโยธาตุ ... นี้เป็นคุณของวาโยธาตุ
วาโยธาตุเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษ
ของวาโยธาตุ
ธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะในวาโยธาตุ นี้เป็นเครื่อง
สลัดออกจากวาโยธาตุ
ภิกษุทั้งหลาย ตราบใดเรายังไม่รู้คุณโดยความเป็นคุณ โทษโดยความเป็นโทษ
และเครื่องสลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออกจากธาตุ ๔ ประการนี้ ตามความ
เป็นจริง ตราบนั้นเราก็ปฏิญาณไม่ได้ว่า ‘เป็นผู้ได้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอัน
ยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้ง
สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์’
เมื่อใดเรารู้คุณโดยความเป็นคุณ โทษโดยความเป็นโทษ และเครื่องสลัดออก
โดยความเป็นเครื่องสลัดออกจากธาตุ ๔ ประการนี้ ตามความเป็นจริง เมื่อนั้น
เราจึงปฏิญาณได้ว่า ‘เป็นผู้ได้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้ง
เทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์’
อนึ่ง ญาณและทัสสนะ๑เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า วิมุตติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้
เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก”

ปุพเพสัมโพธสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต] ๔. จตุตถวรรค ๓. อจริงสูตร

๓. อจริงสูตร
ว่าด้วยการเที่ยวแสวงหาคุณโทษและเครื่องสลัดออกจากธาตุ ๔

[๑๑๖] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค...
“ภิกษุทั้งหลาย เราได้เที่ยวแสวงหาคุณของปฐวีธาตุ ได้พบคุณของปฐวีธาตุ
ได้เห็นคุณของปฐวีธาตุเท่าที่มีอยู่ด้วยปัญญา เราได้แสวงหาโทษของปฐวีธาตุ ได้พบ
โทษของปฐวีธาตุ ได้เห็นโทษของปฐวีธาตุเท่าที่มีอยู่ด้วยปัญญา เราได้เที่ยวแสวงหา
เครื่องสลัดออกจากปฐวีธาตุ ได้พบเครื่องสลัดออกจากปฐวีธาตุ ได้เห็นเครื่องสลัดออก
จากปฐวีธาตุเท่าที่มีอยู่ด้วยปัญญา
เราได้เที่ยวแสวงหาคุณของอาโปธาตุ ...
เราได้เที่ยวแสวงหาคุณของเตโชธาตุ ...
เราได้เที่ยวแสวงหาคุณของวาโยธาตุ ได้พบคุณของวาโยธาตุ ได้เห็นคุณของ
วาโยธาตุเท่าที่มีอยู่ด้วยปัญญา เราได้เที่ยวแสวงหาโทษของวาโยธาตุ ได้พบโทษของ
วาโยธาตุ เราได้เที่ยวแสวงหาเครื่องสลัดออกจากวาโยธาตุ ได้เห็นโทษของวาโยธาตุ
เท่าที่มีอยู่ด้วยปัญญา เราได้พบเครื่องสลัดออกจากวาโยธาตุ ได้เห็นเครื่องสลัด
ออกจากวาโยธาตุ เท่าที่มีอยู่ด้วยปัญญา
ภิกษุทั้งหลาย ตราบใดเรายังไม่รู้คุณโดยความเป็นคุณ โทษโดยความเป็นโทษ
และเครื่องสลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออกจากธาตุ ๔ ประการนี้ ตามความ
เป็นจริง ตราบนั้นเราก็ปฏิญาณไม่ได้ว่า ‘เป็นผู้ได้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอัน
ยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณ-
พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์’
เมื่อใดเรารู้คุณโดยความเป็นคุณ โทษโดยความเป็นโทษ และเครื่องสลัดออก
โดยความเป็นเครื่องสลัดออกจากธาตุ ๔ ประการนี้ ตามความเป็นจริง เมื่อนั้นเรา
จึงปฏิญาณได้ว่า ‘เป็นผู้ได้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก
มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์’
อนึ่ง ญาณและทัสสนะเกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า วิมุตติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้
เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก”

อจริงสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๔. จตุตถวรรค ๔. โนเจทังสูตร

๔. โนเจทังสูตร
ว่าด้วยคุณโทษและเครื่องสลัดออกจากธาตุ ๔

[๑๑๗] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค...
“ภิกษุทั้งหลาย ถ้าคุณของปฐวีธาตุจักไม่ได้มี สัตว์ทั้งหลายไม่พึงยินดีในปฐวีธาตุ
แต่เพราะคุณของปฐวีธาตุมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงยินดีในปฐวีธาตุ
ถ้าโทษของปฐวีธาตุจักไม่ได้มี สัตว์ทั้งหลายไม่พึงเบื่อหน่ายในปฐวีธาตุ แต่เพราะ
โทษของปฐวีธาตุมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในปฐวีธาตุ
ถ้าเครื่องสลัดออกจากปฐวีธาตุจักไม่ได้มี สัตว์ทั้งหลายไม่พึงสลัดตนออกจาก
ปฐวีธาตุ แต่เพราะเครื่องสลัดออกจากปฐวีธาตุมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงสลัดตน
ออกจากปฐวีธาตุ
ถ้าคุณของอาโปธาตุจักไม่ได้มี ...
ถ้าคุณของเตโชธาตุจักไม่ได้มี ...
ถ้าคุณของวาโยธาตุจักไม่ได้มี สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงยินดีในวาโยธาตุ แต่เพราะ
คุณของวาโยธาตุมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงยินดีในวาโยธาตุ
ถ้าโทษของวาโยธาตุจักไม่ได้มี สัตว์ทั้งหลายไม่พึงเบื่อหน่ายในวาโยธาตุ แต่เพราะ
โทษของวาโยธาตุมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในวาโยธาตุ
ถ้าเครื่องสลัดออกของวาโยธาตุจักไม่ได้มี สัตว์ทั้งหลายไม่พึงสลัดตนออกจาก
วาโยธาตุ แต่เพราะเครื่องสลัดออกจากวาโยธาตุมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงสลัดตน
ออกจากวาโยธาตุ
ภิกษุทั้งหลาย ตราบใดสัตว์เหล่านี้ยังไม่รู้คุณโดยความเป็นคุณ โทษโดยความ
เป็นโทษ และเครื่องสลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออกจากธาตุ ๔ ประการนี้
ตามความเป็นจริง ตราบนั้นสัตว์เหล่านี้ยังสลัดตนออกไม่ได้ พรากตนออกไม่ได้
ยังไม่หลุดพ้นไปจากโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก จากหมู่สัตว์พร้อมทั้ง
สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ มีใจเป็นอิสระอยู่ไม่ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๔. จตุตถวรรค ๕. เอกันตทุกขสูตร

เมื่อใดสัตว์เหล่านี้รู้คุณโดยความเป็นคุณ โทษโดยความเป็นโทษ และเครื่อง
สลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออกจากธาตุ ๔ ประการนี้ ตามความเป็นจริง
เมื่อนั้นสัตว์เหล่านี้ย่อมสลัดตนออกได้ พรากตนออกได้ หลุดพ้นไปจากโลกพร้อมทั้ง
เทวโลก มารโลก พรหมโลก จากหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์
มีใจเป็นอิสระอยู่ได้”

โนเจทังสูตรที่ ๔ จบ

๕. เอกันตทุกขสูตร
ว่าด้วยธาตุ ๔ มีทุกข์โดยส่วนเดียว

[๑๑๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค...
“ภิกษุทั้งหลาย ถ้าปฐวีธาตุนี้จักได้มีทุกข์โดยส่วนเดียว ถูกทุกข์ติดตาม มีทุกข์
หยั่งลง สุขไม่หยั่งลง สัตว์ทั้งหลายไม่พึงยินดีในปฐวีธาตุ แต่เพราะปฐวีธาตุมีสุข
ติดตาม มีสุขหยั่งลง มีทุกข์ไม่หยั่งลง ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงยินดีในปฐวีธาตุ
ถ้าอาโปธาตุนี้ ...
ถ้าเตโชธาตุนี้ ...
ถ้าวาโยธาตุนี้จักได้มีทุกข์โดยส่วนเดียว ถูกทุกข์ติดตาม มีทุกข์หยั่งลง มีสุข
ไม่หยั่งลง สัตว์ทั้งหลายไม่พึงยินดีในวาโยธาตุ แต่เพราะวาโยธาตุมีสุขติดตาม มีสุข
หยั่งลง มีทุกข์ไม่หยั่งลง ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงยินดีในวาโยธาตุ
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าปฐวีธาตุนี้จักได้มีสุขโดยส่วนเดียว มีสุขติดตาม มีสุขหยั่งลง
มีทุกข์ไม่หยั่งลง สัตว์ทั้งหลายไม่พึงเบื่อหน่ายในปฐวีธาตุ แต่เพราะปฐวีธาตุถูกทุกข์
ติดตาม มีทุกข์หยั่งลง มีสุขไม่หยั่งลง ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในปฐวีธาตุ
ถ้าอาโปธาตุนี้ ...
ถ้าเตโชธาตุนี้ ...
ถ้าวาโยธาตุนี้จักได้มีสุขโดยส่วนเดียว มีสุขติดตาม มีสุขหยั่งลง มีทุกข์ไม่
หยั่งลง สัตว์ทั้งหลายไม่พึงเบื่อหน่ายในวาโยธาตุ แต่เพราะวาโยธาตุถูกทุกข์ติดตาม
มีทุกข์หยั่งลง มีสุขไม่หยั่งลง ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในวาโยธาตุ”

เอกันตทุกขสูตรที่ ๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๔. จตุตถวรรค ๗. อุปปาทสูตร

๖. อภินันทสูตร
ว่าด้วยความชื่นชมธาตุ ๔

[๑๑๙] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค...
“ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดชื่นชมปฐวีธาตุ ผู้นั้นชื่อว่าชื่นชมทุกข์ ผู้ใดชื่นชมทุกข์
เรากล่าวว่า ผู้นั้นไม่หลุดพ้นจากทุกข์
ผู้ใดชื่นชมอาโปธาตุ ...
ผู้ใดชื่นชมเตโชธาตุ ...
ผู้ใดชื่นชมวาโยธาตุ ผู้นั้นชื่อว่าชื่นชมทุกข์ ผู้ใดชื่นชมทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้น
ไม่หลุดพ้นจากทุกข์
ภิกษุทั้งหลาย แต่ผู้ใดไม่ชื่นชมปฐวีธาตุ ผู้นั้นชื่อว่าไม่ชื่นชมทุกข์ ผู้ใดไม่
ชื่นชมทุกข์ เรากล่าวว่า ‘ผู้นั้นหลุดพ้นจากทุกข์’
ผู้ใดไม่ชื่นชมอาโปธาตุ ...
ผู้ใดไม่ชื่นชมเตโชธาตุ ...
ผู้ใดไม่ชื่นชมวาโยธาตุ ผู้นั้นชื่อว่าไม่ชื่นชมทุกข์ ผู้ใดไม่ชื่นชมทุกข์ เรากล่าวว่า
‘ผู้นั้นหลุดพ้นจากทุกข์”

อภินันทสูตรที่ ๖ จบ

๗. อุปปาทสูตร
ว่าด้วยความเกิดขึ้นแห่งธาตุ ๔ เป็นทุกข์

[๑๒๐] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค...
“ภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่ง
ปฐวีธาตุ นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นที่ตั้งแห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชรา
และมรณะ
ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งอาโปธาตุ ... แห่ง
เตโชธาตุ ... แห่งวาโยธาตุ นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นที่ตั้งแห่งโรค เป็นความ
ปรากฏแห่งชราและมรณะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๔. จตุตถวรรค ๘. สมณพราหมณสูตร

ภิกษุทั้งหลาย แต่ความดับ ความระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งปฐวีธาตุ นี้เป็น
ความดับแห่งทุกข์ ความระงับโรค ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชราและมรณะ
ความดับ ความระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งอาโปธาตุ ... แห่งเตโชธาตุ ...
แห่งวาโยธาตุ นี้เป็นความดับแห่งทุกข์ ความระงับโรค ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชรา
และมรณะ”

อุปปาทสูตรที่ ๗ จบ

๘. สมณพราหมณสูตร
ว่าด้วยสมณพราหมณ์

[๑๒๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค...
“ภิกษุทั้งหลาย ธาตุ ๔ ประการนี้ ธาตุ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ปฐวีธาตุ ๒. อาโปธาตุ
๓. เตโชธาตุ ๔. วาโยธาตุ

สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่รู้คุณโทษและเครื่องสลัดออกจากธาตุ
๔ ประการนี้ ตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ไม่จัดว่าเป็นสมณะ
ในหมู่สมณะ หรือไม่จัดว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้นก็ไม่ทำให้
แจ้งประโยชน์ของความเป็นสมณะ หรือประโยชน์ของความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญา
อันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้คุณ โทษ และ
เครื่องสลัดออกจากธาตุ ๔ ประการนี้ ตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์
เหล่านั้นจัดว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ และจัดว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่าน
เหล่านั้นก็ทำให้แจ้งประโยชน์ของความเป็นสมณะ และประโยชน์ของความเป็น
พราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”

สมณพราหมณสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๔. จตุตถวรรค ๑๐. ตติยสมณพราหมณสูตร

๙. ทุติยสมณพราหมณสูตร
ว่าด้วยสมณพราหมณ์ สูตรที่ ๒

[๑๒๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค...
“ภิกษุทั้งหลาย ธาตุ ๔ ประการนี้ ธาตุ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ปฐวีธาตุ ๒. อาโปธาตุ
๓. เตโชธาตุ ๔. วาโยธาตุ

สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งไม่รู้ชัดความเกิด ความตั้งอยู่ไม่ได้ คุณ
โทษ และเครื่องสลัดออกจากธาตุ ๔ ประการนี้ ตามความเป็นจริง ฯลฯ ด้วยปัญญา
อันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน” (เนื้อความโดยละเอียดพึงเทียบกับสูตรที่ ๘)

ทุติยสมณพราหมณสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ตติยสมณพราหมณสูตร
ว่าด้วยสมณพราหมณ์ สูตรที่ ๓

[๑๒๓] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค...
“ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งไม่รู้ชัดปฐวีธาตุ ความเกิด
แห่งปฐวี ความดับแห่งปฐวีธาตุ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งปฐวีธาตุ
ไม่รู้ชัดอาโปธาตุ ฯลฯ ไม่รู้ชัดเตโชธาตุ ... ไม่รู้ชัดวาโยธาตุ ความเกิดแห่ง
วาโยธาตุ ความดับแห่งวาโยธาตุ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งวาโยธาตุ สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่านั้น ไม่จัดว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือไม่จัดว่าเป็นพราหมณ์
ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้นก็ไม่ทำให้แจ้งประโยชน์ของความเป็นสมณะ และ
ประโยชน์ของความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดปฐวีธาตุ ความเกิด
แห่งปฐวีธาตุ ความดับแห่งปฐวีธาตุ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งปฐวีธาตุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๔. จตุตถวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดอาโปธาตุ ฯลฯ
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดเตโชธาตุ ...
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดวาโยธาตุ ความเกิดแห่งวาโยธาตุ
ความดับแห่งวาโยธาตุ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งวาโยธาตุ สมณะหรือพราหมณ์
เหล่านั้น จัดว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ และจัดว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์
ทั้งท่านเหล่านั้นก็ทำให้แจ้งประโยชน์ของความเป็นสมณะ และประโยชน์ของความ
เป็นพราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”

ตติยสมณพราหมณสูตรที่ ๑๐ จบ
จตุตถวรรค จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. จตุธาตุสูตร ๒. ปุพเพสัมโพธสูตร
๓. อจริงสูตร ๔. โนเจทังสูตร
๕. เอกันตทุกขสูตร ๖. อภินันทสูตร
๗. อุปปาทสูตร ๘. สมณพราหมณสูตร
๙. ทุติยสมณพราหมณสูตร ๑๐. ตติยสมณพราหมณสูตร

ธาตุสังยุต จบบริบูรณ์


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๔. อนมตัคคสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๑. ติณกัฏฐสูตร

๔. อนมตัคคสังยุต

๑. ปฐมวรรค
หมวดที่ ๑

๑. ติณกัฏฐสูตร
ว่าด้วยหญ้าและท่อนไม้

[๑๒๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมา
ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาค
จึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ที่สุดเบื้องต้น
ที่สุดเบื้องปลายไม่ปรากฏแก่เหล่าสัตว์ผู้ถูกอวิชชากีดขวาง ถูกตัณหาผูกไว้ วนเวียน
ท่องเที่ยวไป
เปรียบเหมือนบุรุษตัดหญ้า ท่อนไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ ในชมพูทวีปนี้แล้วรวมเป็น
กองเดียวกัน ครั้นรวมกันแล้ว จึงมัด มัดละ ๔ นิ้ว วางไว้ สมมติว่านี้เป็นมารดา
ของเรา นี้เป็นมารดาของมารดาของเรา มารดาของมารดาแห่งบุรุษนั้นไม่พึงสิ้นสุด
ส่วนหญ้า ท่อนไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ ในชมพูทวีปนี้พึงหมดสิ้นไป
ข้อนั้นเพราะเหตุไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๔. อนมตัคคสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๒. ปฐวีสูตร

เพราะว่าสงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ที่สุดเบื้องต้น ที่สุดเบื้องปลาย
ไม่ปรากฏแก่เหล่าสัตว์ผู้ถูกอวิชชากีดขวาง ถูกตัณหาผูกไว้ วนเวียนท่องเที่ยวไป
อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น เธอทั้งหลายเสวยความทุกข์ ได้รับความลำบาก
ได้รับความพินาศเต็มป่าช้า๑เป็นเวลายาวนาน
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนี้แหละจึงควรเบื่อหน่าย ควรคลายกำหนัด ควรเพื่อ
หลุดพ้นจากสังขารทั้งปวง”

ติณกัฏฐสูตรที่ ๑ จบ

๒. ปฐวีสูตร
ว่าด้วยแผ่นดิน

[๑๒๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ที่สุดเบื้องต้น
ที่สุดเบื้องปลายไม่ปรากฏแก่เหล่าสัตว์ผู้ถูกอวิชชากีดขวาง ถูกตัณหาผูกไว้ วนเวียน
ท่องเที่ยวไป
เปรียบเหมือนบุรุษพึงปั้นมหาปฐพีนี้ให้เป็นก้อน ก้อนละเท่าเมล็ดกระเบาแล้ว
วางไว้ สมมติว่านี้เป็นบิดาของเรา นี้เป็นบิดาของบิดาของเรา บิดาของบิดาแห่งบุรุษนั้น
ไม่พึงสิ้นสุด ส่วนมหาปฐพีนี้พึงหมดสิ้นไป
ข้อนั้นเพราะเหตุไร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๔. อนมตัคคสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๓. อัสสุสูตร

เพราะว่าสงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ที่สุดเบื้องต้น ที่สุดเบื้อง
ปลายไม่ปรากฏแก่เหล่าสัตว์ผู้ถูกอวิชชากีดขวาง ถูกตัณหาผูกไว้ วนเวียนท่องเที่ยวไป
อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น เธอทั้งหลายเสวยความทุกข์ เสวยความลำบาก
ได้รับความพินาศเต็มป่าช้าเป็นเวลายาวนาน
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนี้แหละจึงควรเบื่อหน่าย ควรคลายกำหนัด ควรเพื่อ
หลุดพ้นจากสังขารทั้งปวง”

ปฐวีสูตรที่ ๒ จบ

๓. อัสสุสูตร
ว่าด้วยน้ำตา

[๑๒๖] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ฯลฯ เธอทั้งหลาย
จะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร น้ำตาที่หลั่งไหลของเธอทั้งหลายผู้วนเวียนท่องเที่ยวไป
คร่ำครวญร้องไห้อยู่ เพราะประสบกับสิ่งที่ไม่พอใจ เพราะพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจ
โดยกาลนานนี้ กับน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ อย่างไหนจะมากกว่ากัน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายรู้ธรรมตามที่พระองค์ทรงแสดงแล้ว
น้ำตาที่หลั่งไหลของข้าพระองค์ทั้งหลายผู้วนเวียนท่องเที่ยวไป คร่ำครวญร้องไห้อยู่
เพราะประสบกับสิ่งที่ไม่พอใจ เพราะพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจ โดยกาลนานนี้
นี้แหละมากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย”
“ถูกละ ถูกละ เธอทั้งหลายรู้ธรรมตามที่เราแสดงแล้วอย่างนี้ ถูกต้องแล้ว
น้ำตาที่หลั่งไหลของเธอทั้งหลายผู้วนเวียนท่องเที่ยวไป คร่ำครวญร้องไห้อยู่ เพราะ
ประสบกับสิ่งที่ไม่น่าพอใจ เพราะพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจ โดยกาลนานนี้แหละ
มากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๔. อนมตัคคสังยุต] ๑. ปฐมวรรค ๔. ขีรสูตร

เธอทั้งหลายได้ประสบความตายของมารดามาช้านาน น้ำตาที่หลั่งไหลของเธอ
ทั้งหลายผู้ประสบความตายของมารดา คร่ำครวญร้องไห้อยู่ เพราะประสบกับสิ่งที่
ไม่น่าพอใจ เพราะพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจนี้แหละมากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทร
ทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย
เธอทั้งหลายได้ประสบความตายของบิดา ... ของพี่ชายน้องชาย ... ของพี่สาว
น้องสาว ... ของบุตร ... ของธิดา ... ความเสื่อมของญาติ ... ความเสื่อมแห่งโภคะ ...
ความเสื่อมเพราะโรคมาช้านาน น้ำตาที่หลั่งไหลของเธอทั้งหลายผู้ประสบความเสื่อม
เพราะโรค คร่ำครวญร้องไห้อยู่ เพราะประสบกับสิ่งที่ไม่น่าพอใจ เพราะพลัดพราก
จากสิ่งที่พอใจนี้แหละมากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่าสงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนี้แหละจึงควรเบื่อหน่าย ควรคลายกำหนัด ควรเพื่อ
หลุดพ้นจากสังขารทั้งปวง”

อัสสุสูตรที่ ๓ จบ

๔. ขีรสูตร
ว่าด้วยน้ำนม

[๑๒๗] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ฯลฯ เธอทั้งหลาย
จะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร น้ำนมของมารดาที่เธอทั้งหลายผู้วนเวียนท่องเที่ยวไป
โดยกาลนานนี้ดื่มแล้ว กับน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ อย่างไหนจะมากกว่ากัน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายรู้ธรรมตามที่พระองค์ทรงแสดงแล้ว
น้ำนมของมารดาที่ข้าพระองค์ทั้งหลายผู้วนเวียนท่องเที่ยวไปโดยกาลนานนี้ ดื่มแล้ว
นี้แหละมากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๔. อนมตัคคสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๕. ปัพพตสูตร

“ถูกละ ถูกละ เธอทั้งหลายรู้ธรรมตามที่เราแสดงแล้วอย่างนี้ ถูกต้องแล้ว
น้ำนมของมารดาที่เธอทั้งหลายผู้วนเวียนท่องเที่ยวไปโดยกาลนานนี้ดื่มแล้ว นี้แหละ
มากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่าสงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ฯลฯ ควรเพื่อหลุดพ้น” ...

ขีรสูตรที่ ๔ จบ

๕. ปัพพตสูตร
ว่าด้วยภูเขา

[๑๒๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี...
ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง ณ ที่
สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กัปหนึ่งนานเพียงไรหนอ”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสตอบว่า “ภิกษุ กัปหนึ่งนานนักหนา มิใช่เรื่องง่ายที่จะนับ
กัปนั้นว่า เท่านี้ปี เท่านี้ ๑๐๐ ปี เท่านี้ ๑,๐๐๐ ปี หรือว่าเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ ปี””
“พระองค์อาจอุปมาได้ไหม พระพุทธเจ้าข้า”
“อาจอุปมาได้ ภิกษุ เปรียบเหมือนภูเขาศิลาแท่งทึบลูกใหญ่ มีความยาว
๑ โยชน์ กว้าง ๑ โยชน์ สูง ๑ โยชน์ ไม่มีช่อง ไม่มีโพรง บุรุษพึงเอาผ้า
แคว้นกาสี๑ลูบภูเขานั้น ๑๐๐ ปีต่อครั้ง ภูเขาศิลาลูกใหญ่นั้นพึงหมดสิ้นไป เพราะ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๔. อนมตัคคสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๖. สาสปสูตร

ความพยายามนี้ ยังเร็วกว่า ส่วนกัปหนึ่งยังไม่หมดสิ้นไป กัปนานนักหนาอย่างนี้
บรรดากัปที่นานนักหนาอย่างนี้ เธอได้ท่องเที่ยวไป มิใช่ ๑ กัป มิใช่ ๑๐๐ กัป มิใช่
๑,๐๐๐ กัป มิใช่ ๑๐๐,๐๐๐ กัป
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่าสงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ฯลฯ
ภิกษุ เพราะเหตุนี้แหละจึงควรเบื่อหน่าย ควรคลายกำหนัด ควรเพื่อหลุดพ้น
จากสังขารทั้งปวง”

ปัพพตสูตรที่ ๕ จบ

๖. สาสปสูตร
ว่าด้วยเมล็ดผักกาด

[๑๒๙] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง ณ ที่
สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กัปหนึ่งนานเพียงไรหนอ”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสตอบว่า “ภิกษุ กัปหนึ่งนานนักหนา มิใช่เรื่องง่ายที่จะ
นับกัปนั้นว่า เท่านี้ปี ฯลฯ หรือว่าเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ ปี””
“พระองค์อาจอุปมาได้ไหม พระพุทธเจ้าข้า”
“อาจอุปมาได้ ภิกษุ เปรียบเหมือนนครที่สร้างด้วยเหล็ก๑มีความยาว ๑ โยชน์
กว้าง ๑ โยชน์ สูง ๑ โยชน์ เต็มด้วยเมล็ดผักกาด รวมกันเป็นกลุ่มก้อน บุรุษ
พึงหยิบเมล็ดผักกาดออกจากนครนั้น ๑๐๐ ปีต่อ ๑ เมล็ด เมล็ดผักกาดกองใหญ่นั้น
พึงหมดสิ้นไป เพราะความพยายามนี้ยังเร็วกว่า ส่วนกัปหนึ่ง ยังไม่หมดสิ้นไป


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๔. อนมตัคคสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๗. สาวกสูตร

กัปนานนักหนาอย่างนี้ บรรดากัปที่นานนักหนาอย่างนี้ เธอได้ท่องเที่ยวไป มิใช่ ๑ กัป
มิใช่ ๑๐๐ กัป มิใช่ ๑,๐๐๐ กัป มิใช่ ๑๐๐,๐๐๐ กัป
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่าสงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ฯลฯ ควรเพื่อหลุดพ้นจาก
สังขารทั้งปวง”

สาสปสูตรที่ ๖ จบ

๗. สาวกสูตร
ว่าด้วยพระสาวก

[๑๓๐] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
ครั้งนั้น ภิกษุจำนวนมากได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง ณ ที่
สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กัปทั้งหลายที่ผ่านพ้นไปแล้ว มากเท่าไรหนอ”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสตอบว่า “ภิกษุทั้งหลาย กัปทั้งหลายที่ผ่านพ้นไปแล้วมาก
นักหนา มิใช่เรื่องง่ายที่จะนับกัปเหล่านั้นว่า เท่านี้กัป เท่านี้ ๑๐๐ กัป เท่านี้ ๑,๐๐๐ กัป
หรือว่าเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ กัป”
“พระองค์อาจอุปมาได้ไหม พระพุทธเจ้าข้า”
“อาจอุปมาได้ ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนสาวก ๔ รูปในธรรมวินัยนี้
มีอายุ ๑๐๐ ปี มีชีวิตอยู่ ๑๐๐ ปี หากเธอเหล่านั้นพึงระลึกย้อนหลังไปได้ วันละ
๑๐๐,๐๐๐ กัป กัปที่เธอเหล่านั้นระลึกไปไม่ถึงยังมีอยู่ ต่อมาสาวก ๔ รูป มีอายุ
๑๐๐ ปี มีชีวิตอยู่ ๑๐๐ ปี พึงมรณภาพไปทุก ๑๐๐ ปี กัปที่ผ่านพ้นไปแล้วมาก
นักหนาอย่างนี้ มิใช่เรื่องง่ายที่จะนับกัปเหล่านั้นว่า เท่านี้กัป เท่านี้ ๑๐๐ กัป เท่านี้
๑,๐๐๐ กัป หรือว่าเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ กัป
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่าสงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ฯลฯ ควรเพื่อหลุดพ้น” ...

สาวกสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๔. อนมตัคคสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๘. คังคาสูตร

๘. คังคาสูตร
ว่าด้วยแม่น้ำคงคา

[๑๓๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้
เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น พราหมณ์คนหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ
ที่สมควร ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ กัปทั้งหลายที่ผ่านพ้นไปแล้วมากเท่าไรหนอ”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสตอบว่า “พราหมณ์ กัปทั้งหลายที่ผ่านพ้นไปแล้ว
มากนักหนา มิใช่เรื่องง่ายที่จะนับกัปเหล่านั้นว่า เท่านี้กัป เท่านี้ ๑๐๐ กัป เท่านี้
๑,๐๐๐ กัป หรือว่าเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ กัป”
“พระองค์อาจอุปมาได้ไหม พระพุทธเจ้าข้า”
“อาจอุปมาได้ พราหมณ์ เปรียบเหมือนแม่น้ำคงคานี้เริ่มต้นจากที่ใด และถึง
มหาสมุทร ณ ที่ใด เม็ดทรายในระหว่างนี้ง่ายที่จะนับได้ว่า เท่านี้เม็ด เท่านี้
๑๐๐ เม็ด เท่านี้ ๑,๐๐๐ เม็ด หรือว่าเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ เม็ด กัปทั้งหลายที่ผ่านพ้น
ไปแล้วมากกว่าเม็ดทรายเหล่านั้น มิใช่เรื่องง่ายที่จะนับกัปเหล่านั้นว่า เท่านี้กัป
เท่านี้ ๑๐๐ กัป เท่านี้ ๑,๐๐๐ กัป หรือว่าเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ กัป
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่าสงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ที่สุดเบื้องต้น ที่สุดเบื้องปลาย
ไม่ปรากฏแก่เหล่าสัตว์ผู้ถูกอวิชชากีดขวาง ถูกตัณหาผูกไว้ วนเวียนท่องเที่ยวไป
สัตว์เหล่านั้นก็เสวยความทุกข์ เสวยความลำบาก ได้รับความพินาศเต็มป่าช้าเป็น
เวลายาวนาน
พราหมณ์ เพราะเหตุนี้แหละจึงควรเบื่อหน่าย ควรคลายกำหนัด ควรเพื่อ
หลุดพ้นจากสังขารทั้งปวง”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์ผู้นั้นได้กราบทูลว่า “ท่าน
พระโคดม พระภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านพระโคดม พระ
ภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอท่านพระโคดม จงทรงจำข้า
พระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”

คังคาสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๔. อนมตัคคสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๑๐. ปุคคลสูตร

๙. ทัณฑสูตร
ว่าด้วยท่อนไม้

[๑๓๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ที่สุดเบื้องต้น
ที่สุดเบื้องปลายไม่ปรากฏแก่เหล่าสัตว์ผู้ถูกอวิชชากีดขวาง ถูกตัณหาผูกไว้ วนเวียน
ท่องเที่ยวไป ฯลฯ
เปรียบเหมือนท่อนไม้ที่บุคคลโยนขึ้นไปบนอากาศ บางคราวตกลงทางโคน
บางคราวก็ตกลงทางขวาง บางคราวก็ตกลงทางปลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็
ฉันนั้น สัตว์ทั้งหลายผู้ถูกอวิชชากีดขวาง ถูกตัณหาผูกไว้ วนเวียนท่องเที่ยวไป
บางคราวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น บางคราวก็จากโลกอื่นมาสู่โลกนี้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่าสงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ฯลฯ ควรเพื่อหลุดพ้น” ...

ทัณฑสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ปุคคลสูตร
ว่าด้วยบุคคล

[๑๓๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุง
ราชคฤห์ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย สงสารมีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ฯลฯ โครงกระดูก
ร่างกระดูก กองกระดูกของบุคคลคนหนึ่งผู้วนเวียนท่องเที่ยวไปตลอด ๑ กัป ถ้านำ
กระดูกนั้นนำมากองรวมกันได้ และกระดูกที่กองรวมกันไว้ ไม่สูญหายไป พึงใหญ่
เท่าภูเขาเวปุลละนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๔. อนมตัคคสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๑๐. ปุคคลสูตร

ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่าสงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ฯลฯ ควรเพื่อหลุดพ้น” ...
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา
ประพันธ์ต่อไปว่า
“เราผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ได้กล่าวไว้ว่า
กระดูกของบุคคลคนหนึ่งที่สะสมไว้ ๑ กัป
พึงกองสุมเท่าภูเขา ก็ภูเขาที่เรากล่าวถึงนั้น
คือ ภูเขาหลวงชื่อเวปุลละ อยู่ทิศเหนือของภูเขาคิชฌกูฏ
ซึ่งตั้งล้อมรอบกรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ
เมื่อใดบุคคลเห็นอริยสัจ คือ ทุกข์
เหตุเกิดแห่งทุกข์ ความดับทุกข์
และอริยมรรคมีองค์ ๘ อันยังสัตว์ให้ถึงความดับทุกข์
ด้วยปัญญาอันชอบ
เมื่อนั้น เขาท่องเที่ยวไป ๗ ชาติเป็นอย่างมาก
ก็จะทำที่สุดทุกข์ได้ เพราะสังโยชน์ทั้งปวงสิ้นไป”

ปุคคลสูตรที่ ๑๐ จบ
ปฐมวรรค จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ติณกัฏฐสูตร ๒. ปฐวีสูตร
๓. อัสสุสูตร ๔. ขีรสูตร
๕. ปัพพตสูตร ๖. สาสปสูตร
๗. สาวกสูตร ๘. คังคาสูตร
๙. ทัณฑสูตร ๑๐. ปุคคลสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๔. อนมตัคคสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๒. สุขิตสูตร

๒. ทุติยวรรค
หมวดที่ ๒

๑. ทุคคตสูตร
ว่าด้วยผู้มีความทุกข์

[๑๓๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น
พระผู้มีพระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ที่สุดเบื้องต้น
ที่สุดเบื้องปลายไม่ปรากฏแก่เหล่าสัตว์ผู้ถูกอวิชชากีดขวาง ถูกตัณหาผูกไว้ วนเวียน
ท่องเที่ยวไป เธอทั้งหลายเห็นบุคคลผู้มีความทุกข์มีมือและเท้าไม่สมประกอบ พึง
สันนิษฐานบุคคลนี้ว่า ‘แม้เราทั้งหลายก็เคยเสวยความทุกข์เช่นนี้มาแล้ว โดยกาลนาน’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่าสงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ฯลฯ ควรเพื่อหลุดพ้น” ...

ทุคคตสูตรที่ ๑ จบ

๒. สุขิตสูตร
ว่าด้วยผู้มีความสุข

[๑๓๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ... เธอทั้งหลายเห็น
บุคคลผู้เพียบพร้อมด้วยความสุข มีบริวารคอยรับใช้ พึงสันนิษฐานบุคคลนี้ว่า
‘แม้เราทั้งหลายก็เคยเสวยความสุขเช่นนี้มาแล้ว โดยกาลนาน’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่าสงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ฯลฯ ควรเพื่อหลุดพ้น” ...

สุขิตสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๔. อนมตัคคสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๓. ติงสมัตตสูตร

๓. ติงสมัตตสูตร
ว่าด้วยภิกษุ ๓๐ รูป

[๑๓๖] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน ... เขตกรุงราชคฤห์
ครั้งนั้น ภิกษุชาวเมืองปาวาประมาณ ๓๐ รูป ทั้งหมดล้วนเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร
เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร เป็นผู้นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เป็นผู้ทรงผ้าไตรจีวร
เป็นวัตร (แต่)ยังมีสังโยชน์๑ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร
ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคทรงดำริว่า ‘ภิกษุชาวเมืองปาวาประมาณ ๓๐ รูปนี้
ทั้งหมดล้วนเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร เป็นผู้นุ่งห่มผ้า
บังสุกุลเป็นวัตร เป็นผู้ทรงผ้าไตรจีวรเป็นวัตร (แต่)ยังมีสังโยชน์ ทางที่ดี เราพึง
แสดงธรรมให้ภิกษุเหล่านี้มีจิตหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น ขณะที่นั่งบนอาสนะ
นี้แหละ’ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“สงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ที่สุดเบื้องต้น ที่สุดเบื้องปลาย
ไม่ปรากฏแก่เหล่าสัตว์ผู้ถูกอวิชชากีดขวาง ถูกตัณหาผูกไว้ วนเวียนท่องเที่ยวไป
เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร โลหิตที่หลั่งไหลของเธอทั้งหลายผู้ถูกตัด
ศีรษะวนเวียนท่องเที่ยวไปโดยกาลนานนี้ กับน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ อย่างไหนจะ
มากกว่ากัน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายรู้ธรรมตามที่พระองค์ทรงแสดงแล้ว
โลหิตที่หลั่งไหลของข้าพระองค์ทั้งหลายผู้ถูกตัดศีรษะวนเวียนท่องเที่ยวไปโดยกาลนานนี้
นี้แหละมากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย”
“ถูกละ ถูกละ เธอทั้งหลายรู้ธรรมตามที่เราแสดงอย่างนี้ ถูกต้องแล้ว โลหิต
ที่หลั่งไหลของเธอทั้งหลายผู้ถูกตัดศีรษะวนเวียนท่องเที่ยวไปโดยกาลนานนี้ นี้แหละ
มากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย เมื่อเธอทั้งหลายเกิดเป็นโค


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๔. อนมตัคคสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๔. มาตุสูตร

ซึ่งถูกตัดศีรษะมาช้านาน โลหิตที่หลั่งไหลนี้แหละมากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทร
ทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย เมื่อเธอทั้งหลายเกิดเป็นกระบือ ซึ่งถูกตัดศีรษะมาช้านาน
โลหิตที่หลั่งไหลนี้แหละมากกว่า ฯลฯ เมื่อเธอทั้งหลายเกิดเป็นแกะ ฯลฯ เกิดเป็น
แพะ ฯลฯ เกิดเป็นเนื้อ ฯลฯ เกิดเป็นสุกร ฯลฯ เกิดเป็นไก่ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายถูกจับตัดศีรษะด้วยข้อหาว่าเป็นโจรฆ่าชาวบ้าน
มาช้านาน โลหิตที่หลั่งไหลนี้แหละมากกว่า ฯลฯ ถูกจับตัดศีรษะด้วยข้อหาว่า
เป็นโจรปล้นในทางเปลี่ยว ฯลฯ ถูกจับตัดศีรษะด้วยข้อหาว่าเป็นโจรประพฤติผิดใน
ภรรยาของผู้อื่นมาช้านาน โลหิตที่หลั่งไหลนี้แหละมากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทร
ทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่าสงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ฯลฯ ควรเพื่อหลุดพ้น” ...
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ-
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสเวยยากรณภาษิตนี้อยู่ จิตของ
ภิกษุชาวเมืองปาวาประมาณ ๓๐ รูป ก็หลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น

ติงสมัตตสูตรที่ ๓ จบ

๔. มาตุสูตร
ว่าด้วยผู้เคยเป็นมารดา

[๑๓๗] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ฯลฯ สัตว์ผู้ไม่เคย
เป็นมารดาโดยกาลนานนี้ มิใช่หาได้ง่ายเลย
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่าสงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ฯลฯ ควรเพื่อหลุดพ้น” ...

มาตุสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๔. อนมตัคคสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๗. ภคินิสูตร

๕. ปิตุสูตร
ว่าด้วยผู้เคยเป็นบิดา

[๑๓๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ฯลฯ สัตว์ผู้ไม่เคย
เป็นบิดาโดยกาลนานนี้ มิใช่หาได้ง่าย
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่าสงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ฯลฯ ควรเพื่อหลุดพ้น” ...

ปิตุสูตรที่ ๕ จบ

๖. ภาตุสูตร
ว่าด้วยผู้เคยเป็นพี่ชายน้องชาย

[๑๓๙] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ฯลฯ สัตว์ผู้ไม่เคย
เป็นพี่ชายน้องชายโดยกาลนานนี้ มิใช่หาได้ง่าย ฯลฯ ควรเพื่อหลุดพ้น” ...

ภาตุสูตรที่ ๖ จบ

๗. ภคินิสูตร
ว่าด้วยผู้เคยเป็นพี่สาวน้องสาว

[๑๔๐] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ฯลฯ สัตว์ผู้ไม่เคย
เป็นพี่สาวน้องสาวโดยกาลนานนี้ มิใช่หาได้ง่าย ฯลฯ ควรเพื่อหลุดพ้น” ...

ภคินิสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๔. อนมตัคคสังยุต] ๒. ทุติยวรรค ๙. ธีตุสูตร

๘. ปุตตสูตร
ว่าด้วยผู้เคยเป็นบุตร

[๑๔๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ฯลฯ สัตว์ผู้ไม่เคย
เป็นบุตรโดยกาลนานนี้ มิใช่หาได้ง่าย ฯลฯ ควรเพื่อหลุดพ้น” ...

ปุตตสูตรที่ ๘ จบ

๙. ธีตุสูตร
ว่าด้วยผู้เคยเป็นธิดา

[๑๔๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ที่สุดเบื้องต้น ที่สุด
เบื้องปลายไม่ปรากฏแก่เหล่าสัตว์ผู้ถูกอวิชชากีดขวาง ถูกตัณหาผูกไว้ วนเวียนท่อง
เที่ยวไป สัตว์ผู้ไม่เคยเป็นธิดาโดยกาลนานนี้ มิใช่หาได้ง่าย
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่าสงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ที่สุดเบื้องต้น ที่สุดเบื้องปลาย
ไม่ปรากฏแก่เหล่าสัตว์ผู้ถูกอวิชชากีดขวาง ถูกตัณหาผูกไว้ วนเวียนท่องเที่ยวไป
เธอทั้งหลายได้เสวยความทุกข์ เสวยความลำบาก ได้รับความพินาศ เต็มป่าช้า
เป็นเวลายาวนาน
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนี้แหละจึงควรเบื่อหน่าย ควรคลายกำหนัด ควรเพื่อ
หลุดพ้นจากสังขารทั้งปวง”

ธีตุสูตรที่ ๙ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๔. อนมตัคคสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๑๐. เวปุลลปัพพตสูตร

๑๐. เวปุลลปัพพตสูตร
ว่าด้วยภูเขาเวปุลละ

[๑๔๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุง
ราชคฤห์ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้มีเบื้องต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ ที่สุดเบื้องต้น
ที่สุดเบื้องปลายไม่ปรากฏแก่เหล่าสัตว์ผู้ถูกอวิชชากีดขวาง ถูกตัณหาผูกไว้ วนเวียน
ท่องเที่ยวไป
เรื่องเคยมีมาแล้ว ภูเขาเวปุลละนี้ได้ชื่อว่าปาจีนวังสะ สมัยนั้นหมู่มนุษย์
ได้ชื่อว่าเผ่าติวรา มนุษย์เผ่าติวรามีอายุประมาณ ๔ หมื่นปี มนุษย์เผ่าติวรา
ขึ้นภูเขาปาจีนวังสะใช้เวลา ๔ วัน ลงก็ใช้เวลา ๔ วัน สมัยนั้น พระผู้มีพระภาค
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่ากกุสันธะเสด็จอุบัติขึ้นในโลก พระผู้มีพระภาค
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่ากกุสันธะ มีพระสาวกคู่หนึ่งเป็นคู่เลิศ คู่เจริญ
ชื่อว่าวิธูระ และสัญชีวะ
เธอทั้งหลายจงดูเถิด ชื่อภูเขาลูกนี้แหละหายไปแล้ว มนุษย์เหล่านั้นก็ตาย
ไปแล้ว และพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นก็ปรินิพพานแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงอย่างนี้ ไม่ยั่งยืนอย่างนี้ ไม่น่าชื่นใจ
อย่างนี้ เพราะเหตุนี้แหละจึงควรเบื่อหน่าย ควรคลายกำหนัด ควรเพื่อหลุดพ้นจาก
สังขารทั้งปวง
เรื่องเคยมีมาแล้ว ภูเขาเวปุลละนี้ได้ชื่อว่าวงกต สมัยนั้นหมู่มนุษย์ได้ชื่อว่า
เผ่าโรหิตัสสะ มนุษย์เผ่าโรหิตัสสะมีอายุประมาณ ๓ หมื่นปี มนุษย์เผ่าโรหิตัสสะ
ขึ้นภูเขาวงกตใช้เวลา ๓ วัน ลงก็ใช้เวลา ๓ วัน สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโกนาคมนะเสด็จอุบัติขึ้นในโลก พระผู้มีพระภาคอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโกนาคมนะ มีพระสาวกคู่หนึ่งเป็นคู่เลิศ คู่เจริญ ชื่อว่า
ภิยโยสะ และอุตตระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๔. อนมตัคคสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๑๐. เวปุลลปัพพตสูตร

เธอทั้งหลายจงดูเถิด ชื่อภูเขาลูกนี้แหละหายไปแล้ว มนุษย์เหล่านั้นก็ตาย
ไปแล้ว และพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นก็ปรินิพพานแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงอย่างนี้ ฯลฯ ควรเพื่อหลุดพ้น ...
เรื่องเคยมีมาแล้ว ภูเขาเวปุลละนี้ได้ชื่อว่าสุปัสสะ สมัยนั้น หมู่มนุษย์ได้ชื่อว่า
เผ่าสุปปิยา มนุษย์เผ่าสุปปิยามีอายุประมาณ ๒ หมื่นปี มนุษย์เผ่าสุปปิยาขึ้น
ภูเขาสุปัสสะใช้เวลา ๒ วัน ลงก็ใช้เวลา ๒ วัน สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะเสด็จอุบัติขึ้นในโลก พระผู้มีพระภาคอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ มีพระสาวกคู่หนึ่งเป็นคู่เลิศ คู่เจริญ ชื่อว่า
ติสสะ และภารทวาชะ
เธอทั้งหลายจงดูเถิด ชื่อภูเขาลูกนี้แหละหายไปแล้ว มนุษย์เหล่านั้นก็ตายไปแล้ว
และพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นก็ปรินิพพานแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงอย่างนี้ ไม่ยั่งยืนอย่างนี้ ฯลฯ ควรเพื่อ
หลุดพ้น ...
แต่ในบัดนี้ ภูเขาเวปุลละนี้ได้ชื่อว่าเวปุลละเหมือนเดิม ก็บัดนี้หมู่มนุษย์เหล่านี้
ได้ชื่อว่าเผ่ามาคธะ มนุษย์เผ่ามาคธะมีอายุน้อย นิดหน่อย ผู้ใดมีชีวิตอยู่นาน
ผู้นั้นมีอายุเพียง ๑๐๐ ปีเป็นเกณฑ์ จะต่ำกว่าหรือเกินกว่าก็มี มนุษย์เผ่ามาคธะ
ขึ้นภูเขาเวปุลละเพียงครู่เดียว ลงก็เพียงครู่เดียว และบัดนี้เราเป็นพระอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลก เรามีสาวกคู่หนึ่งเป็นคู่เลิศ คู่เจริญ ชื่อว่าสารีบุตรและ
โมคคัลลานะ
สมัยนั้น ภูเขานี้แหละจักหายไป มนุษย์เหล่านี้ก็จักตาย และเราก็จักปรินิพพาน
ภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงอย่างนี้ ไม่ยั่งยืนอย่างนี้ ไม่น่าชื่นใจ
อย่างนี้ เพราะเหตุนี้แหละจึงควรเบื่อหน่าย ควรคลายกำหนัด ควรเพื่อหลุดพ้นจาก
สังขารทั้งปวง”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา
ประพันธ์ต่อไปว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๔. อนมตัคคสังยุต]
๒. ทุติยวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

“ภูเขาปาจีนวังสะของหมู่มนุษย์เผ่าติวรา
ภูเขาวงกตของหมู่มนุษย์เผ่าโรหิตัสสะ
ภูเขาสุปัสสะของหมู่มนุษย์เผ่าสุปปิยา
และภูเขาเวปุลละของหมู่มนุษย์เผ่ามาคธะ
สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ
มีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเป็นธรรมดา
เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป
ความเข้าไปสงบระงับสังขารเหล่านั้นเป็นความสุข”

เวปุลลปัพพตสูตรที่ ๑๐ จบ
ทุติยวรรค จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ทุคคตสูตร ๒. สุขิตสูตร
๓. ติงสมัตตสูตร ๔. มาตุสูตร
๕. ปิตุสูตร ๖. ภาตุสูตร
๗. ภคินิสูตร ๘. ปุตตสูตร
๙. ธีตุสูตร ๑๐. เวปุลลปัพพตสูตร

อนมตัคคสังยุต จบบริบูรณ์


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕.กัสสปสังยุต] ๑. สันตุฏฐสูตร

๕. กัสสปสังยุต

๑. สันตุฏฐสูตร
ว่าด้วยความสันโดษ

[๑๔๔] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย กัสสปะนี้เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้ และกล่าว
สรรเสริญความสันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้ ทั้งไม่ประกอบการแสวงหาผิดที่ไม่สมควร
เพราะเหตุแห่งจีวร ไม่ได้จีวรก็ไม่กระวนกระวาย และได้จีวรแล้วก็ไม่ติดใจ ไม่หลง
ไม่พัวพัน มองเห็นโทษ มีปัญญาเครื่องสลัดออก ใช้สอยอยู่
กัสสปะนี้เป็นผู้สันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ และกล่าวสรรเสริญความ
สันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ ทั้งไม่ประกอบการแสวงหาผิดที่ไม่สมควร
เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต ไม่ได้บิณฑบาตก็ไม่กระวนกระวาย และได้บิณฑบาตแล้ว
ก็ไม่ติดใจ ไม่หลง ไม่พัวพัน มองเห็นโทษ มีปัญญาเครื่องสลัดออก บริโภคอยู่
กัสสปะนี้เป็นผู้สันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ และกล่าวสรรเสริญความ
สันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ ทั้งไม่ประกอบการแสวงหาผิดที่ไม่สมควร
เพราะเหตุแห่งเสนาสนะ ไม่ได้เสนาสนะก็ไม่กระวนกระวาย และได้เสนาสนะแล้วก็
ไม่ติดใจ ไม่หลง ไม่พัวพัน มองเห็นโทษ มีปัญญาเครื่องสลัดออก ใช้สอยอยู่
กัสสปะนี้เป็นผู้สันโดษด้วยคิลานปัจจัยเภสัชบริขารตามมีตามได้ และกล่าว
สรรเสริญความสันโดษด้วยคิลานปัจจัยเภสัชบริขารตามมีตามได้ ทั้งไม่ประกอบการ
แสวงหาผิดที่ไม่สมควร เพราะเหตุแห่งคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ไม่ได้คิลานปัจจัย
เภสัชบริขารก็ไม่กระวนกระวาย และได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารแล้วก็ไม่ติดใจ ไม่หลง
ไม่พัวพัน มองเห็นโทษ มีปัญญาเครื่องสลัดออก บริโภคอยู่
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลาย
จักเป็นผู้สันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้ และกล่าวสรรเสริญความสันโดษด้วยจีวรตามมี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๒. อโนตตัปปีสูตร

ตามได้ ทั้งไม่ประกอบการแสวงหาผิดที่ไม่สมควร เพราะเหตุแห่งจีวร ไม่ได้จีวรก็
ไม่กระวนกระวาย และได้จีวรแล้วก็ไม่ติดใจ ไม่หลง ไม่พัวพัน มองเห็นโทษ มีปัญญา
เครื่องสลัดออก ใช้สอยอยู่
[พึงทำอย่างนี้ทุกบท]
เราทั้งหลายจักเป็นผู้สันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ ฯลฯ จักเป็นผู้สันโดษ
ด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ ฯลฯ จักเป็นผู้สันโดษด้วยคิลานปัจจัยเภสัชบริขารตามมี
ตามได้ และกล่าวสรรเสริญความสันโดษด้วยคิลานปัจจัยเภสัชบริขารตามมีตามได้
ทั้งไม่ประกอบการแสวงหาผิดที่ไม่สมควร เพราะเหตุแห่งคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
ไม่ได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารก็ไม่กระวนกระวาย และได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
แล้วก็ไม่ติดใจ ไม่หลง ไม่พัวพัน มองเห็นโทษ มีปัญญาเครื่องสลัดออก จักบริโภค
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล เราจักกล่าวสอนเธอทั้งหลาย
ตามกัสสปะ หรือผู้ใดพึงเป็นผู้เช่นกัสสปะ เราจักกล่าวสอนให้ประพฤติตามผู้นั้น
และเธอทั้งหลายผู้ได้รับโอวาทแล้ว พึงปฏิบัติเพื่อความเป็นเช่นนั้น”

สันตุฏฐสูตรที่ ๑ จบ

๒. อโนตตัปปีสูตร
ว่าด้วยความไม่สะดุ้งกลัว

[๑๔๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัสสปะและท่านพระสารีบุตรอยู่ในป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
เขตกรุงพาราณสี ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่หลีกเร้นในเวลาเย็น เข้าไปหา
ท่านพระมหากัสสปะถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็น
ที่ระลึกถึงกันและกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า
“ท่านกัสสปะ ผมกล่าวว่า ภิกษุผู้ไม่มีความเพียรเครื่องเผากิเลส ไม่มีความ
สะดุ้งกลัว เป็นผู้ไม่ควรเพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน เพื่อบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ
อย่างยอดเยี่ยม ส่วนภิกษุผู้มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีความสะดุ้งกลัว เป็นผู้
ควรเพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน เพื่อบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะอย่างยอดเยี่ยม”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๒. อโนตตัปปีสูตร

ท่านพระมหากัสสปะถามว่า “ท่านผู้มีอายุ ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีความเพียร
เครื่องเผากิเลส ไม่มีความสะดุ้งกลัว เป็นผู้ไม่ควรเพื่อตรัสรู้ ไม่ควรเพื่อนิพพาน
ไม่ควรเพื่อบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะอย่างยอดเยี่ยม ด้วยเหตุเท่าไร และภิกษุ
ชื่อว่าเป็นผู้มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีความสะดุ้งกลัว เป็นผู้ควรเพื่อตรัสรู้ เพื่อ
นิพพาน เพื่อบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะอย่างยอดเยี่ยม ด้วยเหตุเท่าไร”
“ท่านผู้มีอายุ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ไม่ทำความเพียรเครื่องเผากิเลส โดยคิดว่า
‘บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น เมื่อเกิดขึ้นแก่เรา พึงเป็นไปเพื่อความพินาศ’ ไม่ทำ
ความเพียรเครื่องเผากิเลส โดยคิดว่า ‘บาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เมื่อเรายังละ
ไม่ได้ พึงเป็นไปเพื่อความพินาศ’ ไม่ทำความเพียรเครื่องเผากิเลส โดยคิดว่า ‘กุศล-
ธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น เมื่อไม่เกิดขึ้นแก่เรา พึงเป็นไปเพื่อความพินาศ’ ไม่ทำความ
เพียรเครื่องเผากิเลส โดยคิดว่า ‘กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เมื่อดับ พึงเป็นไป
เพื่อความพินาศ’
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีความเพียรเครื่องเผากิเลส เป็นอย่างนี้
ภิกษุชื่อว่าไม่มีความสะดุ้งกลัว เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ไม่สะดุ้งกลัว โดยคิดว่า ‘บาปอกุศลธรรมที่ยัง
ไม่เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อเกิดขึ้น พึงเป็นไปเพื่อความพินาศ’ ไม่สะดุ้งกลัว โดยคิดว่า
‘บาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เมื่อเรายังละไม่ได้ พึงเป็นไปเพื่อความพินาศ’
ไม่สะดุ้งกลัว โดยคิดว่า ‘กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อไม่เกิดขึ้น พึงเป็นไป
เพื่อความพินาศ’ ไม่สะดุ้งกลัว โดยคิดว่า ‘กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อดับ
พึงเป็นไปเพื่อความพินาศ’
ภิกษุชื่อว่าไม่มีความสะดุ้งกลัว เป็นอย่างนี้
ภิกษุเป็นผู้ไม่มีความเพียรเครื่องเผากิเลส ไม่มีความสะดุ้งกลัว เป็นผู้ไม่ควร
เพื่อตรัสรู้ ไม่ควรเพื่อนิพพาน ไม่ควรเพื่อบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะอย่าง
ยอดเยี่ยม เป็นอย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๒.อโนตตัปปีสูตร

ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีความเพียรเครื่องเผากิเลส เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ทำความเพียรเครื่องเผากิเลส โดยคิดว่า ‘บาป
อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อเกิดขึ้น พึงเป็นไปเพื่อความพินาศ’ ทำความ
เพียรเครื่องเผากิเลส โดยคิดว่า ‘บาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เมื่อยังละไม่ได้
พึงเป็นไปเพื่อความพินาศ’ ทำความเพียรเครื่องเผากิเลสโดยคิดว่า ‘กุศลธรรมที่ยังไม่
เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อไม่เกิดขึ้น พึงเป็นไปเพื่อความพินาศ’ ทำความเพียรเครื่องเผา
กิเลส โดยคิดว่า ‘กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อดับ พึงเป็นไปเพื่อความพินาศ’
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีความเพียรเครื่องเผากิเลส เป็นอย่างนี้
ภิกษุชื่อว่ามีความสะดุ้งกลัว เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมสะดุ้งกลัว โดยคิดว่า ‘บาปอกุศลธรรมที่ยัง
ไม่เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อเกิดขึ้น พึงเป็นไปเพื่อความพินาศ’ ย่อมสะดุ้งกลัว โดยคิดว่า
‘บาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เมื่อเรายังละไม่ได้ พึงเป็นไปเพื่อความพินาศ’
ย่อมสะดุ้งกลัว โดยคิดว่า ‘กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อไม่เกิดขึ้น พึงเป็นไป
เพื่อความพินาศ’ ย่อมสะดุ้งกลัว โดยคิดว่า ‘กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อดับ
พึงเป็นไปเพื่อความพินาศ’
ภิกษุชื่อว่ามีความสะดุ้งกลัว เป็นอย่างนี้
ภิกษุเป็นผู้มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีความสะดุ้งกลัว เป็นผู้ควรเพื่อตรัสรู้
ควรเพื่อนิพพาน ควรเพื่อบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ๑ อย่างยอดเยี่ยมเป็นอย่างนี้
แล”

อโนตตัปปีสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๓. จันทูปมาสูตร

๓. จันทูปมาสูตร
ว่าด้วยการเปรียบเทียบภิกษุกับดวงจันทร์

[๑๔๖] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นเหมือนดวงจันทร์ จงพรากกาย๑ พรากจิต
ออก เป็นผู้ใหม่เป็นนิจ๒ ไม่คะนอง๓ เข้าไปสู่ตระกูลทั้งหลายเถิด
เปรียบเหมือนบุรุษพึงพรากกายพรากจิต แลดูบ่อน้ำซึ่งคร่ำคร่า ภูเขาที่ขรุขระ
หรือแม่น้ำที่ขาดเป็นห้วง ๆ อุปมานี้ฉันใด อุปไมยนั้นก็ฉันนั้น เธอทั้งหลายก็จงเป็น
เหมือนดวงจันทร์จงพรากกายพรากจิตออก เป็นผู้ใหม่เป็นนิจ ไม่คะนอง เข้าไปสู่
ตระกูลทั้งหลาย
กัสสปะเปรียบเหมือนดวงจันทร์ พรากกายพรากจิตออก เป็นผู้ใหม่เป็นนิจ
ไม่คะนองเข้าไปสู่ตระกูลทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ภิกษุ
เช่นไรจึงสมควรเข้าไปสู่ตระกูล
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก
มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอประทานวโรกาส เฉพาะพระผู้มีพระภาคเท่านั้นที่จะทรงอธิบายเนื้อความแห่ง
ภาษิตนั้นให้แจ่มแจ้งได้ ภิกษุทั้งหลายฟังต่อจากพระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงโบกฝ่าพระหัตถ์ในอากาศ ตรัสว่า ‘ภิกษุ
ทั้งหลาย ฝ่ามือนี้ไม่ข้อง ไม่ยึด ไม่ติดในอากาศ ฉันใด จิตของภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง
ผู้เข้าไปสู่ตระกูล ไม่ข้อง ไม่ยึด ไม่ติดในตระกูลทั้งหลาย โดยคิดว่า ‘ผู้ปรารถนาลาภ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๓.จันทูปมาสูตร

จงได้ลาภ ส่วนผู้ปรารถนาบุญ จงทำบุญ’ ฉันนั้น ภิกษุเป็นผู้พอใจ ดีใจ ด้วยลาภ
อันเป็นของตน ฉันใด ก็จงเป็นผู้พอใจ ดีใจ ด้วยลาภของชนเหล่าอื่น ฉันนั้น ภิกษุ
เช่นนี้จึงสมควรเข้าไปสู่ตระกูล
จิตของกัสสปะผู้เข้าไปสู่ตระกูล ไม่ข้อง ไม่ยึด ไม่ติดในตระกูลทั้งหลาย โดย
คิดว่า ‘ผู้ปรารถนาลาภ จงได้ลาภ ส่วนผู้ปรารถนาบุญ จงทำบุญ’ กัสสปะเป็นผู้
พอใจ ดีใจ ด้วยลาภอันเป็นของตน ฉันใด ภิกษุเป็นผู้พอใจ ดีใจ ด้วยลาภของชน
เหล่าอื่น ฉันนั้น
เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ธรรมเทศนาของภิกษุเช่นไร ไม่บริสุทธิ์
ของภิกษุเช่นไรบริสุทธิ์”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก
มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอประทานวโรกาส เฉพาะพระผู้มีพระภาคเท่านั้นที่จะทรงอธิบายเนื้อความแห่ง
ภาษิตนั้นให้แจ่มแจ้งได้ ภิกษุทั้งหลายฟังต่อจากพระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้”
“ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้นเธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
‘ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ไฉนหนอ ชนทั้งหลายพึงฟังธรรม
ของเรา ครั้นฟังแล้ว พึงเลื่อมใสธรรม และผู้ที่เลื่อมใสแล้ว พึงทำอาการของผู้
ที่เลื่อมใสต่อเรา’ จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
ธรรมเทศนาของภิกษุเช่นนี้ชื่อว่าไม่บริสุทธิ์
ส่วนภิกษุรูปใดรูปหนึ่งมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาค
ตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียก
ให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ไฉนหนอ ชนทั้งหลาย
พึงฟังธรรมของเรา ครั้นฟังแล้ว พึงรู้ทั่วถึงธรรม และครั้นรู้ทั่วถึงแล้ว พึงปฏิบัติ
เพื่อความเป็นอย่างนั้น’ จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น เธออาศัยความที่ธรรมเป็น
ธรรมดีจึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น อาศัยความกรุณาจึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
อาศัยความเอ็นดูจึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น อาศัยความอนุเคราะห์จึงแสดงธรรม
แก่ชนเหล่าอื่น ด้วยประการฉะนี้
ธรรมเทศนาของภิกษุเช่นนี้ชื่อว่าบริสุทธิ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๔. กุลูปกสูตร

กัสสปะมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว
ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อม
เข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ไฉนหนอ ชนทั้งหลายพึงฟังธรรมของเรา
ครั้นฟังแล้ว พึงรู้ทั่วถึงธรรม และครั้นรู้ทั่วถึงแล้ว พึงปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น’
จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น เธออาศัยความที่ธรรมเป็นธรรมดีจึงแสดงธรรมแก่ชน
เหล่าอื่น อาศัยความกรุณาจึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น อาศัยความเอ็นดูจึงแสดง
ธรรมแก่ชนเหล่าอื่น อาศัยความอนุเคราะห์จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น ด้วยประการ
ฉะนี้
ภิกษุทั้งหลาย เราจักกล่าวสอนเธอทั้งหลายให้(ประพฤติ)ตามกัสสปะ หรือผู้
ใดพึงเป็นเช่นกัสสปะ เราจักกล่าวสอนให้ประพฤติตามผู้นั้น และเธอทั้งหลายผู้ได้รับ
โอวาทแล้ว พึงปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น”

จันทูปมาสูตรที่ ๓ จบ

๔. กุลูปกสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้เข้าไปสู่ตระกูล

[๑๔๗] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ภิกษุเช่นไร
สมควรเข้าไปสู่ตระกูล ภิกษุเช่นไรไม่สมควรเข้าไปสู่ตระกูล”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาค
เป็นหลัก” ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ขอชนทั้งหลายจงให้
เราเท่านั้น อย่าได้ไม่ให้เลย จงให้เรามาก ๆ อย่าให้น้อย จงให้ของประณีตแก่เราเท่านั้น
อย่าให้ของเศร้าหมอง จงรีบให้เรา อย่าให้ช้า จงให้เราโดยเคารพ อย่าให้โดยไม่
เคารพ’ จึงเข้าไปสู่ตระกูล เมื่อภิกษุนั้นมีความคิดอย่างนี้เข้าไปสู่ตระกูล ชนทั้งหลาย
ไม่ให้ ภิกษุจึงอึดอัดเพราะสาเหตุนั้น เธอเสวยทุกข์โทมนัสเพราะสาเหตุนั้น ชนทั้งหลาย
ให้น้อย ไม่ให้มาก ฯลฯ ให้ของเศร้าหมอง ไม่ให้ของประณีต ให้ช้า ไม่ให้เร็ว ภิกษุจึง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๔. กุลูปกสูตร

อึดอัดเพราะสาเหตุนั้น เธอเสวยทุกข์โทมนัสเพราะสาเหตุนั้น ชนทั้งหลายให้โดยไม่
เคารพ ไม่ให้โดยเคารพ ภิกษุจึงอึดอัดเพราะสาเหตุนั้น เธอเสวยทุกข์โทมนัส
เพราะสาเหตุนั้น
ภิกษุเช่นนี้ไม่สมควรเข้าไปสู่ตระกูล
ส่วนภิกษุรูปใดรูปหนึ่งมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราพึงได้ปัจจัย ๔ ในตระกูล
อื่น ๆ แต่ที่ไหน ขอชนทั้งหลายจงให้เราเท่านั้น อย่าได้ไม่ให้เลย จงให้เรามาก ๆ
อย่าให้น้อย จงให้ของประณีตแก่เราเท่านั้น อย่าให้ของเศร้าหมอง จงรีบให้เรา
อย่าให้ช้า จงให้เราโดยเคารพ อย่าให้โดยไม่เคารพ’ จึงเข้าไปสู่ตระกูล ถ้าเมื่อ
ภิกษุนั้นมีความคิดอย่างนี้เข้าไปสู่ตระกูล ชนทั้งหลายไม่ให้ ภิกษุไม่อึดอัดเพราะ
สาเหตุนั้น เธอไม่เสวยทุกข์โทมนัสเพราะสาเหตุนั้น ชนทั้งหลายให้น้อย ไม่ให้มาก
ภิกษุจึงไม่อึดอัดเพราะสาเหตุนั้น เธอไม่เสวยทุกข์โทมนัสเพราะสาเหตุนั้น ชนทั้งหลาย
ให้ของเศร้าหมอง ไม่ให้ของประณีต ... ให้ช้า ไม่ให้เร็ว ภิกษุไม่อึดอัดเพราะ
สาเหตุนั้น เธอไม่เสวยทุกข์โทมนัสเพราะสาเหตุนั้น ชนทั้งหลายให้โดยไม่เคารพ
ไม่ให้โดยเคารพ ภิกษุไม่อึดอัดเพราะสาเหตุนั้น เธอไม่เสวยทุกข์โทมนัสเพราะสาเหตุนั้น
ภิกษุเช่นนี้สมควรเข้าไปสู่ตระกูล
กัสสปะมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราพึงได้ปัจจัย ๔ ในตระกูลอื่น ๆ แต่ที่ไหน
ขอชนทั้งหลายจงให้เราเท่านั้น อย่าได้ไม่ให้เลย จงให้เรามาก ๆ อย่าให้น้อย’ ฯลฯ
จึงเข้าไปสู่ตระกูล ชนทั้งหลายไม่ให้ กัสสปะไม่อึดอัดเพราะสาเหตุนั้น เธอไม่เสวย
ทุกข์โทมนัสเพราะสาเหตุนั้น ชนทั้งหลายให้น้อย ไม่ให้มาก กัสสปะไม่อึดอัดเพราะ
สาเหตุนั้น เธอไม่เสวยทุกข์โทมนัสเพราะสาเหตุนั้น ชนทั้งหลายให้ของเศร้าหมอง
ไม่ให้ของประณีต กัสสปะไม่อึดอัดเพราะสาเหตุนั้น เธอไม่เสวยทุกข์โทมนัส ชนทั้งหลาย
ให้ช้า ไม่ให้เร็ว กัสสปะไม่อึดอัดเพราะสาเหตุนั้น เธอไม่เสวยทุกข์โทมนัสเพราะ
สาเหตุนั้น ชนทั้งหลายให้โดยไม่เคารพ ไม่ให้โดยเคารพ กัสสปะไม่อึดอัดเพราะ
สาเหตุนั้น เธอไม่เสวยทุกข์โทมนัสเพราะสาเหตุนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เราจักกล่าวสอนเธอทั้งหลายให้(ประพฤติ)ตามกัสสปะ หรือผู้
ใดพึงเป็นเช่นกัสสปะ เราจักกล่าวสอนให้ประพฤติตามผู้นั้น และเธอทั้งหลายผู้ได้รับ
โอวาทแล้วพึงปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น”

กุลูปกสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๕. ชิณณสูตร

๕. ชิณณสูตร
ว่าด้วยความแก่

[๑๔๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน ฯลฯ
ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระมหากัสสปะดังนี้ว่า
“กัสสปะ บัดนี้เธอแก่แล้ว ผ้าป่านบังสุกุลเหล่านี้ของเธอหนัก ไม่น่านุ่งห่ม
เพราะฉะนั้น เธอจงใช้สอยคหบดีจีวร๑ จงบริโภคโภชนะที่เขานิมนต์ และจงอยู่ใน
สำนักของเราเถิด”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญ
คุณแห่งการอยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณ
แห่งการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร เป็นผู้นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญ
คุณแห่งการนุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตรและกล่าวสรรเสริญ
คุณแห่งการทรงไตรจีวรเป็นวัตร เป็นผู้มักน้อย และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความมัก
น้อย เป็นผู้สันโดษ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสันโดษ สงัดจากหมู่ และ
กล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสงัดจากหมู่ ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ และกล่าวสรรเสริญคุณ
แห่งความไม่คลุกคลีด้วยหมู่ เป็นผู้ปรารภความเพียร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่ง
การปรารภความเพียร ตลอดกาลนาน”
“เธอพิจารณาเห็นอำนาจประโยชน์อะไรจึงเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร และกล่าว
สรรเสริญคุณแห่งการอยู่ป่าเป็นวัตร ตลอดกาลนาน
[ข้อความที่ละไว้เป็นอย่างเดียวกัน]


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๕. ชิณณสูตร

เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ... เป็นผู้นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ... เป็นผู้
ทรงไตรจีวรเป็นวัตร ... เป็นผู้มักน้อย ... เป็นผู้สันโดษ ... เป็นผู้สงัดจากหมู่ ...
ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ... เป็นผู้ปรารภความเพียร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการปรารภ
ความเพียร”
“ข้าพระองค์พิจารณาเห็นอำนาจประโยชน์ ๒ ประการ จึงเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร
และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการอยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ...
เป็นผู้นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ... เป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตร ... เป็นผู้มักน้อย ...
เป็นผู้สันโดษ ... เป็นผู้สงัดจากหมู่ ... ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ... เป็นผู้ปรารภความเพียร
และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการปรารภความเพียร ตลอดกาลนาน
คือ พิจารณาเห็นการอยู่เป็นสุขในปัจจุบันของตน๑ และอนุเคราะห์หมู่ชนใน
ภายหลังว่า ทำอย่างไรหมู่ชนในภายหลังพึงถึงการประพฤติตามแบบอย่างว่า ได้ยินว่า
พระพุทธเจ้าและพระพุทธสาวกที่ได้มีมาแล้ว ท่านเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร และกล่าว
สรรเสริญคุณแห่งการอยู่ป่าเป็นวัตร ตลอดกาลนาน ฯลฯ เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาต
เป็นวัตร ... เป็นผู้นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ... เป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตร ... เป็นผู้
มักน้อย ... เป็นผู้สันโดษ ... เป็นผู้สงัดจากหมู่ ... ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ... เป็นผู้ปรารภ
ความเพียร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการปรารภความเพียร อย่างนี้
ท่านเหล่านั้นจักปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น ข้อปฏิบัติของท่านเหล่านั้นจัก
เป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขตลอดกาลนาน
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์พิจารณาเห็นอำนาจประโยชน์ ๒ ประการนี้
จึงเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการอยู่ป่าเป็นวัตร ... เป็นผู้
เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ... เป็นผู้นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ... เป็นผู้ทรงไตรจีวร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๖. โอวาทสูตร

เป็นวัตร ... เป็นผู้มักน้อย ... เป็นผู้สันโดษ ... เป็นผู้สงัดจากหมู่ ... ไม่คลุกคลี
ด้วยหมู่ ... เป็นผู้ปรารภความเพียร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการปรารภความเพียร
ตลอดกาลนาน”
“ดีละ ดีละ กัสสปะ ได้ยินว่า เธอปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก
เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อ
ความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เพราะฉะนั้น เธอจงนุ่งห่มผ้าป่านบังสุกุล
ที่ใช้แล้ว๑ จงเที่ยวบิณฑบาต และจงอยู่ในป่าเถิด”

ชิณณสูตรที่ ๕ จบ

๖. โอวาทสูตร
ว่าด้วยการให้โอวาท

[๑๔๙] พระผู้มีพระภาคประทับ ณ พระเวฬุวัน ... เขตกรุงราชคฤห์ ...
ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาท แล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระมหากัสสปะดังนี้ว่า
“กัสสปะ เธอจงกล่าวสอนภิกษุ จงแสดงธรรมีกถาแก่ภิกษุทั้งหลายเถิด
เราหรือเธอพึงกล่าวสอน พึงแสดงธรรมีกถาแก่ภิกษุทั้งหลาย”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในบัดนี้ภิกษุทั้งหลายเป็นผู้ว่ายาก ประกอบด้วยธรรม
ที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก ไม่อดทน ไม่รับคำพร่ำสอนโดยเคารพ ข้าพระองค์ได้เห็นภิกษุ
ชื่อภัณฑะ สัทธิวิหาริกของพระอานนท์ และภิกษุชื่ออาภิชชิกะ สัทธิวิหาริกของ
พระอนุรุทธะ ในพระธรรมวินัยนี้ กล่าวล่วงเกินกันและกันด้วยสุตะว่า ‘มาเถิดภิกษุ
ใครจักกล่าวได้มากกว่ากัน ใครจักกล่าวได้ดีกว่ากัน และใครจักกล่าวได้นานกว่ากัน”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๖. โอวาทสูตร

ครั้งนั้น พระผู้พระภาครับสั่งเรียกภิกษุรูปหนึ่งมาตรัสว่า ‘มาเถิดภิกษุ เธอจง
เรียกภิกษุภัณฑะ สัทธิวิหาริกของอานนท์ และภิกษุอาภิชชิกะ สัทธิวิหาริกของ
อนุรุทธะมาตามคำของเรา ว่า ‘พระศาสดารับสั่งให้ท่านทั้ง ๒ เข้าเฝ้า’ ภิกษุนั้น
ทูลรับสนองพระดำรัสแล้วได้เข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นถึงที่อยู่ ได้กล่าวว่า ‘พระศาสดา
รับสั่งให้ท่านทั้ง ๒ เข้าเฝ้า”
ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว
นั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามภิกษุเหล่านั้นดังนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า เธอทั้งหลายได้กล่าวล่วงเกินกันและกันด้วยสุตะว่า
‘มาเถิดภิกษุ ใครจักกล่าวได้มากกว่ากัน ใครจักกล่าวได้ดีกว่ากัน ใครจักกล่าวได้
นานกว่ากัน จริงหรือ”
“จริง พระพุทธเจ้าข้า”
“เธอทั้งหลายรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วอย่างนี้หรือ เธอทั้งหลายจึงกล่าว
ล่วงเกินกันและกันด้วยสุตะอย่างนี้ว่า ‘มาเถิดภิกษุ ใครจักกล่าวได้มากกว่ากัน
ใครจักกล่าวได้ดีกว่ากัน ใครจักกล่าวได้นานกว่ากัน”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ได้ยินว่า ถ้าเธอทั้งหลายไม่รู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วอย่างนี้ แน่ะโมฆบุรุษ
เมื่อเป็นเช่นนั้น เธอทั้งหลายรู้เห็นอะไร บวชอยู่ในธรรมวินัยที่เรากล่าวดีแล้วอย่างนี้
ยังกล่าวล่วงเกินกันและกันด้วยสุตะไปทำไมเล่าว่า ‘มาเถิดภิกษุ ใครจักกล่าวได้มาก
กว่ากัน ใครจักกล่าวได้ดีกว่ากัน ใครจักกล่าวได้นานกว่ากัน”
ลำดับนั้น ภิกษุทั้ง ๒ รูปได้น้อมศีรษะลงแทบพระบาทพระผู้มีพระภาคแล้ว
กราบทูลว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายบวชในพระธรรมวินัยที่พระ
ผู้มีพระภาคตรัสดีแล้วอย่างนี้ ได้กล่าวล่วงเกินกันและกันด้วยสุตะเพราะความโง่เขลา
เบาปัญญาว่า ‘มาเถิดภิกษุ ใครจักกล่าวได้มากกว่ากัน ใครจักกล่าวได้ดีกว่ากัน
ใครจักกล่าวได้นานกว่ากัน’ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงให้อภัยโทษแก่ข้าพระองค์
ทั้งหลาย เพื่อสำรวมต่อไปด้วยเถิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๗. ทุติยโอวาทสูตร

“ภิกษุทั้งหลาย เอาเถิด การที่เธอทั้งหลายบวชในธรรมวินัยที่เรากล่าวดีแล้ว
อย่างนี้ ได้กล่าวล่วงเกินกันและกันด้วยสุตะเพราะความโง่เขลาเบาปัญญาว่า ‘มาเถิด
ภิกษุ ใครจักกล่าวได้มากกว่ากัน ใครจักกล่าวได้ดีกว่ากัน ใครจักกล่าวได้นาน
กว่ากัน’ เพราะเหตุที่เห็นความผิดเป็นความผิด แล้วแก้ไขให้ถูกต้อง ข้อนั้นเรายอม
รับเธอทั้งหลายได้ เพราะการที่บุคคลเห็นความเห็นผิดเป็นความผิดแล้ว แก้ไขให้ถูก
ต้องและสำรวมต่อไป นี้เป็นความเจริญในวินัยของพระอริยะ”

โอวาทสูตรที่ ๖ จบ

๗. ทุติยโอวาทสูตร
ว่าด้วยการให้โอวาท สูตรที่ ๒

[๑๕๐] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน เขตกรุงราชคฤห์ ...
ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ... พระผู้มี
พระภาคได้ตรัสกับท่านพระมหากัสสปะดังนี้ว่า
“กัสสปะ เธอจงกล่าวสอนภิกษุ จงแสดงธรรมีกถาแก่ภิกษุทั้งหลายเถิด
เราหรือเธอ พึงกล่าวสอน พึงแสดงธรรมีกถาแก่ภิกษุทั้งหลาย”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในบัดนี้ภิกษุทั้งหลายเป็นผู้ว่ายาก ประกอบด้วยธรรม
ที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก ไม่อดทน ไม่รับคำพร่ำสอนโดยเคารพ บุคคลบางคนไม่มี
ศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ ไม่มีวิริยะ ไม่มีปัญญา ในกุศลธรรมทั้งหลาย
คืนวันที่ผ่านมา เขาหวังได้แต่ความเสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลายเท่านั้น หวังความ
เจริญไม่ได้เลย
เปรียบเหมือนดวงจันทร์ข้างแรมย่อมอับแสง ไม่เต็มดวง ไร้รัศมี วัดความยาว
และความกว้างไม่ได้ ตลอดคืนวันที่ผ่านมา อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น บุคคล
บางคนไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ... ไม่มีโอตตัปปะ ... ไม่มีวิริยะ ... ไม่มีปัญญา
ในกุศลธรรมทั้งหลาย ตลอดคืนวันที่ผ่านมา เขาหวังได้แต่ความเสื่อมในกุศลธรรม
ทั้งหลายเท่านั้น หวังความเจริญไม่ได้เลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๗. ทุติยโอวาทสูตร

ข้อที่บุรุษบุคคลไม่มีศรัทธานี้ เป็นความเสื่อม ข้อที่บุรุษบุคคลไม่มีหิรินี้ เป็น
ความเสื่อม ข้อที่บุรุษบุคคลไม่มีโอตตัปปะนี้ เป็นความเสื่อม ข้อที่บุรุษบุคคล
เป็นคนเกียจคร้านนี้ เป็นความเสื่อม ข้อที่บุรุษบุคคลมีปัญญาทรามนี้ เป็นความ
เสื่อม ข้อที่บุรุษบุคคลเป็นผู้มักโกรธนี้ เป็นความเสื่อม ข้อที่บุรุษบุคคลผูกโกรธนี้
เป็นความเสื่อม ข้อที่ไม่มีภิกษุผู้กล่าวสอนนี้ เป็นความเสื่อม
บุคคลบางคนมีศรัทธา มีหิริ มีโอตตัปปะ มีวิริยะ มีปัญญาในกุศลธรรม
ทั้งหลาย ตลอดคืนวันที่ผ่านมา เขาหวังได้แต่ความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลาย
เท่านั้น หวังความเสื่อมไม่ได้เลย
เปรียบเหมือนดวงจันทร์ข้างขึ้น มีแสงเปล่งปลั่ง เต็มดวง มีรัศมีเจิดจ้า
วัดความยาวและความกว้างได้ ตลอดคืนวันที่ผ่านมา อุปมานี้ฉันใด อุปไมย
ก็ฉันนั้น บุคคลบางคนมีศรัทธา มีหิริ ... มีโอตตัปปะ ... มีวิริยะ ... มีปัญญา
ในกุศลธรรมทั้งหลาย ตลอดคืนวันที่ผ่านมา เขาหวังได้แต่ความเจริญในกุศลธรรม
ทั้งหลายเท่านั้น หวังความเสื่อมไม่ได้เลย
ข้อที่บุรุษบุคคลมีศรัทธานี้ ไม่เป็นความเสื่อม ข้อที่บุรุษบุคคลมีหิรินี้ ไม่เป็น
ความเสื่อม ข้อที่บุรุษบุคคลมีโอตตัปปะนี้ ไม่เป็นความเสื่อม ข้อที่บุรุษบุคคล
ปรารภความเพียรนี้ ไม่เป็นความเสื่อม ข้อที่บุรุษบุคคลมีปัญญานี้ ไม่เป็น
ความเสื่อม ข้อที่บุรุษบุคคลไม่เป็นผู้มักโกรธนี้ ไม่เป็นความเสื่อม ข้อที่บุรุษบุคคล
ไม่ผูกโกรธนี้ ไม่เป็นความเสื่อม ข้อที่มีภิกษุผู้กล่าวสอนนี้ ไม่เป็นความเสื่อม”
“ดีละ ดีละ กัสสปะ บุคคลบางคนไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ... ไม่มีโอตตัปปะ ...
ไม่มีวิริยะ ... ไม่มีปัญญาในกุศลธรรมทั้งหลาย ตลอดคืนวันที่ผ่านมา เขาหวังได้
แต่ความเสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลายเท่านั้น หวังความเจริญไม่ได้เลย
เปรียบเหมือนดวงจันทร์ข้างแรมย่อมอับแสง ไม่เต็มดวง ไร้รัศมี วัดความยาว
และความกว้างไม่ได้ ตลอดคืนวันที่ผ่านมา อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น บุคคล
บางคนไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ... ไม่มีโอตตัปปะ ... ไม่มีวิริยะ ... ไม่มีปัญญาในกุศล-
ธรรมทั้งหลาย ตลอดคืนวันที่ผ่านมา เขาหวังได้แต่ความเสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลาย
เท่านั้น หวังความเจริญไม่ได้เลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๘. ตติยโอวาทสูตร

ข้อที่บุรุษบุคคลไม่มีศรัทธานี้ เป็นความเสื่อม ข้อที่บุรุษบุคคลไม่มีหิริ ... ไม่มี
โอตตัปปะ ... เป็นคนเกียจคร้าน ... มีปัญญาทราม ... มักโกรธ ... ผูกโกรธ ...
ไม่มีภิกษุผู้กล่าวสอนนี้ เป็นความเสื่อม
บุคคลบางคนมีศรัทธา มีหิริ ... มีโอตตัปปะ ... มีวิริยะ ... มีปัญญาในกุศล
ธรรมทั้งหลาย ตลอดคืนวันที่ผ่านมา เขาหวังได้แต่ความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลาย
เท่านั้น หวังความเสื่อมไม่ได้เลย
เปรียบเหมือนดวงจันทร์ข้างขึ้น มีแสงเปล่งปลั่ง เต็มดวง มีรัศมีเจิดจ้า
วัดความยาวและความกว้างได้ ตลอดคืนวันที่ผ่านมา อุปมานี้ฉันใด อุปไมย
ก็ฉันนั้น บุคคลบางคนมีศรัทธา มีหิริ ... มีโอตตัปปะ ... มีวิริยะ ... มีปัญญา
ในกุศลธรรมทั้งหลาย ตลอดคืนวันที่ผ่านมา เขาหวังได้แต่ความเจริญในกุศลธรรม
ทั้งหลายเท่านั้น หวังความเสื่อมไม่ได้เลย
กัสสปะ ข้อที่บุรุษบุคคลมีศรัทธานี้ ไม่เป็นความเสื่อม ข้อที่บุรุษบุคคล
มีหิริ ฯลฯ มีโอตตัปปะ ฯลฯ ปรารภความเพียร ฯลฯ มีปัญญา ฯลฯ ไม่เป็นผู้
มักโกรธ ฯลฯ ไม่ผูกโกรธ ฯลฯ มีภิกษุผู้กล่าวสอนนี้ ไม่เป็นความเสื่อม”

ทุติยโอวาทสูตรที่ ๗ จบ

๘. ตติยโอวาทสูตร
ว่าด้วยการให้โอวาท สูตรที่ ๓

[๑๕๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
เขตกรุงราชคฤห์
ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระมหากัสสปะดังนี้ว่า
“กัสสปะ เธอจงกล่าวสอนภิกษุ จงแสดงธรรมีกถาแก่ภิกษุทั้งหลายเถิด
เราหรือเธอ พึงกล่าวสอน พึงแสดงธรรมีกถาแก่ภิกษุทั้งหลาย”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๘. ตติยโอวาทสูตร

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในบัดนี้ภิกษุทั้งหลายเป็นผู้ว่ายาก ประกอบด้วยธรรม
ที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก ไม่อดทน ไม่รับคำพร่ำสอนโดยเคารพ”
“กัสสปะ จริงอย่างนั้น ในครั้งก่อน ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระ เป็นผู้อยู่ป่า
เป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการอยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาต
เป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร เป็นผู้นุ่งห่มผ้า
บังสุกุลเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการนุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เป็นผู้
ทรงไตรจีวรเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการทรงไตรจีวรเป็นวัตร เป็นผู้
มักน้อย และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความมักน้อย เป็นผู้สันโดษ และกล่าว
สรรเสริญคุณแห่งความสันโดษ สงัดจากหมู่ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสงัด
จากหมู่ ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความไม่คลุกคลีด้วยหมู่
เป็นผู้ปรารภความเพียร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการปรารภความเพียร
บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุรูปใดเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณ
แห่งการอยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่ง
การเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร เป็นผู้นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณ
แห่งการนุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณ
แห่งการทรงไตรจีวรเป็นวัตร เป็นผู้มักน้อย และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความ
มักน้อย เป็นผู้สันโดษ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสันโดษ สงัดจากหมู่ และ
กล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสงัดจากหมู่ ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ และกล่าวสรรเสริญ
คุณแห่งความไม่คลุกคลีด้วยหมู่ เป็นผู้ปรารภความเพียร และกล่าวสรรเสริญ
คุณแห่งการปรารภความเพียร ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระย่อมนิมนต์เธอให้นั่งด้วย
คำว่า ‘มาเถิดภิกษุ ภิกษุรูปนี้ชื่อไร ช่างเจริญจริงหนอ ใคร่ต่อการศึกษาแท้ มาเถิด
ภิกษุ นี้อาสนะ นิมนต์ท่านนั่งเถิด’
เมื่อภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระกระทำสักการะอย่างนั้นในภิกษุรูปนั้น ภิกษุทั้งหลาย
ผู้เป็นนวกะ พากันคิดว่า ‘ทราบว่า ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร และกล่าว
สรรเสริญคุณแห่งการอยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ... เป็นผู้
นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ... เป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตร ... เป็นผู้มักน้อย ... เป็นผู้
สันโดษ ... สงัดจากหมู่ ... ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ... เป็นผู้ปรารภความเพียร และ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๘. ตติยโอวาทสูตร

กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการปรารภความเพียร ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระย่อมนิมนต์
ให้เธอนั่ง ด้วยคำว่า ‘มาเถิดภิกษุ ภิกษุรูปนี้ชื่อไร ช่างเจริญจริงหนอ ใคร่ต่อการ
ศึกษาแท้ มาเถิดภิกษุ นี้อาสนะ นิมนต์ท่านนั่งเถิด’ ภิกษุผู้เป็นนวกะเหล่านั้นย่อม
ปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น ข้อนั้น ย่อมมีเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่
เธอทั้งหลาย ตลอดกาลนาน
ในบัดนี้ ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระ ไม่เป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร และไม่กล่าวสรรเสริญ
คุณแห่งการอยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้ไม่เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร และไม่กล่าวสรรเสริญ
คุณแห่งการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร เป็นผู้ไม่นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร และไม่กล่าว
สรรเสริญคุณแห่งการนุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เป็นผู้ไม่ทรงไตรจีวรเป็นวัตร และ
ไม่กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการทรงไตรจีวรเป็นวัตร ไม่เป็นผู้มักน้อย และไม่กล่าว
สรรเสริญคุณแห่งความมักน้อย ไม่เป็นผู้สันโดษ และไม่กล่าวสรรเสริญคุณแห่ง
ความสันโดษ ไม่เป็นผู้สงัดจากหมู่ และไม่กล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสงัดจากหมู่
เป็นผู้คลุกคลีด้วยหมู่ และไม่กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ไม่ปรารภ
ความเพียร และไม่กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการปรารภความเพียร
บรรดาภิกษุผู้เป็นเถระเหล่านั้น ภิกษุรูปใดมีชื่อเสียง มียศ ได้จีวร บิณฑบาต
เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระย่อมนิมนต์ให้เธอนั่ง
ด้วยคำว่า ‘มาเถิดภิกษุ ภิกษุรูปนี้ชื่อไร ช่างเจริญจริงหนอ ปรารถนาแต่เพื่อนสพรหมจารี
ด้วยกันแท้ มาเถิดภิกษุ นี้อาสนะ นิมนต์ท่านนั่งเถิด”
เมื่อภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระกระทำสักการะอย่างนั้นในภิกษุรูปนั้น ภิกษุทั้งหลาย
ผู้เป็นนวกะ พากันคิดว่า ‘ทราบว่า ภิกษุรูปนี้มีชื่อเสียง มียศ ได้จีวร บิณฑบาต
เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระพากันนิมนต์ให้เธอ
นั่งด้วยคำว่า ‘มาเถิดภิกษุ ภิกษุรูปนี้ชื่อไร ช่างเจริญจริงหนอ ปรารถนาแต่เพื่อน
สพรหมจารีด้วยกันแท้ มาเถิดภิกษุ นี้อาสนะ นิมนต์ท่านนั่งเถิด’ ภิกษุผู้เป็นนวกะ
เหล่านั้นย่อมปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น ข้อนั้นย่อมมีเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อความทุกข์แก่เธอทั้งหลาย ตลอดกาลนาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๙. ฌานาภิญญสูตร

กัสสปะ แท้จริงบุคคลเมื่อจะกล่าวถึงคนใดคนหนึ่งให้ถูกต้อง ควรกล่าวว่า
ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ถูกอันตรายของผู้ประพฤติพรหมจรรย์เบียดเบียนแล้ว
ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ซึ่งมีความปรารถนาเกินประมาณ ถูกความปรารถนาการ
ประพฤติพรหมจรรย์เกินประมาณเบียดเบียนแล้ว บัดนี้ บุคคลเมื่อจะกล่าวถึงคนนั้น
ให้ถูกต้อง ควรกล่าวว่า ‘ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ถูกอันตรายของผู้ประพฤติพรหมจรรย์
เบียดเบียนแล้ว ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ซึ่งมีความปรารถนาเกินประมาณ ถูกความ
ปรารถนาการประพฤติพรหมจรรย์เกินประมาณเบียดเบียนแล้ว”

ตติยโอวาทสูตรที่ ๘ จบ

๙. ฌานาภิญญสูตร
ว่าด้วยฌานและอภิญญา

[๑๕๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย เราสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน
ที่มีวิตกวิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ได้ตราบเท่าที่เราต้องการ แม้กัสสปะ
ก็สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌานที่มีวิตกวิจาร ปีติและ
สุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ได้ตราบเท่าที่เธอต้องการเช่นกัน
เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป เราบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสในภายใน
มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่
ได้ตราบเท่าที่เราต้องการ เพราะวิตก วิจารสงบระงับไป แม้กัสสปะก็บรรลุทุติยฌาน
ฯลฯ อยู่ได้ตราบเท่าที่เธอต้องการเช่นกัน
เพราะปีติจางคลายไป เรามีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย
บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา
มีสติ อยู่เป็นสุขได้’ ตราบเท่าที่เราต้องการ เพราะปีติจางคลายไป แม้กัสสปะเป็น
ผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะ
ทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุขได้’ ตราบเท่าที่
เธอต้องการเช่นกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๙. ฌานาภิญญสูตร

เพราะละสุขและทุกข์ได้แล้ว เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน เราบรรลุ
จตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา อยู่ได้ตราบเท่าที่เรา
ต้องการ เพราะละสุขและทุกข์ได้แล้ว แม้กัสสปะก็บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อยู่ได้
ตราบเท่าที่เธอต้องการเช่นกัน
เราบรรลุอากาสานัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า ‘อากาศไม่มีที่สุด’ เพราะล่วง
รูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่มนสิการนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง อยู่ได้
ตราบเท่าที่เราต้องการ แม้กัสสปะก็บรรลุอากาสานัญจายตนะ ฯลฯ เพราะล่วง
รูปสัญญา ไม่มนสิการโดยประการทั้งปวง อยู่ได้ตราบเท่าที่เธอต้องการเช่นกัน
เราบรรลุวิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า ‘วิญญาณไม่มีที่สุด’ เพราะล่วง
อากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง อยู่ได้ตราบเท่าที่เราต้องการ แม้กัสสปะ
ก็บรรลุวิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า ‘วิญญาณไม่มีที่สุด’ เพราะล่วง
อากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง อยู่ได้ตราบเท่าที่เธอต้องการเช่นกัน
เราบรรลุอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ‘อะไรน้อยหนึ่งย่อมไม่มี’
เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง อยู่ได้ตราบเท่าที่เราต้องการ
แม้กัสสปะก็บรรลุ ฯลฯ อยู่ได้ตราบเท่าที่เธอต้องการเช่นกัน
เราบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการ
ทั้งปวง อยู่ได้ตราบเท่าที่เราต้องการ แม้กัสสปะก็บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ
ฯลฯ อยู่ได้ตราบเท่าที่เธอต้องการเช่นกัน
เราบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการ
ทั้งปวง อยู่ได้ตราบเท่าที่เราต้องการ แม้กัสสปะก็บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ ฯลฯ
เราแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือคนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคน
แสดงเป็นคนเดียวก็ได้ แสดงให้ปรากฏก็ได้ หรือให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา กำแพง (และ)
ภูเขา ไปได้ไม่ติดขัด เหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นหรือดำลงในแผ่นดินเหมือนไป
ในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำโดยที่น้ำไม่แยก เหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ นั่งขัดสมาธิเหาะไป
ในอากาศเหมือนนกบินไปก็ได้ ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์อันมีฤทธิ์มาก
มีอานุภาพมากก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้ตราบเท่าที่เราต้องการ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๙. ณานาภิญญสูตร

แม้กัสสปะก็แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้
ตราบเท่าที่เธอต้องการเช่นกัน
เราได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์ และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้
ด้วยหูทิพย์ ... ได้ตราบเท่าที่เราต้องการ แม้กัสสปะก็ได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ
เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ ฯลฯ
เรากำหนดรู้จิตของสัตว์และคนอื่นด้วยจิตของตน คือจิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ
หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ฯลฯ จิตปราศจากโทสะ
... จิตมีโมหะ ... จิตปราศจากโมหะ ... จิตหดหู่ ... จิตฟุ้งซ่าน ... จิตเป็นมหัคคตะ
จิตไม่เป็นมหัคคตะ จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ... หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ... จิตเป็น
สมาธิ ... จิตไม่เป็นสมาธิ ... จิตหลุดพ้น ... หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่
หลุดพ้นได้ตราบเท่าที่เราต้องการ แม้กัสสปะก็กำหนดรู้จิตของสัตว์และคนอื่นด้วย
จิตของตน คือจิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ ฯลฯ หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิต
ไม่หลุดพ้นตราบเท่าที่เธอต้องการ
เราระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ๓ ชาติบ้าง
๔ ชาติบ้าง ๕ ชาติบ้าง ๑๐ ชาติบ้าง ๒๐ ชาติบ้าง ๓๐ ชาติบ้าง ๔๐ ชาติบ้าง
๕๐ ชาติบ้าง ๑๐๐ ชาติบ้าง ๑,๐๐๐ ชาติบ้าง ๑๐๐,๐๐๐ ชาติบ้าง ตลอด
สังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏวิวัฏฏกัป
เป็นอันมากบ้างว่า ‘ในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร
เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้น ๆ เราจุติจากภพนั้นก็ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพ
นั้นเราก็มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุ
อย่างนั้น ๆ ครั้นจุติจากภพนั้นจึงมาเกิดในภพนี้’ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ
พร้อมทั้งลักษณะทั่วไป และชีวประวัติ ด้วยประการฉะนี้ได้ แม้กัสสปะก็ระลึกชาติ
ก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ฯลฯ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้ง
ลักษณะทั่วไปและชีวประวัติ ด้วยประการฉะนี้ได้ ตราบเท่าที่เธอต้องการ
เราเห็นหมู่สัตว์ซึ่งกำลังจุติ กำลังอุบัติ เลว ประณีต ผิวพรรณดี ผิวพรรณ
ทราม ไปดี ตกยาก ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็น
ไปตามกรรมว่า ‘ผู้เจริญทั้งหลาย หมู่สัตว์ที่ประกอบกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
กล่าวร้ายพระอริยะ และชักชวนผู้อื่นให้ทำตามความเห็นผิด พวกเขาหลังจาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๑๐. อุปัสสยสูตร

ตายแล้วจะไปบังเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก แต่สัตว์ที่ประกอบกายสุจริต
วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นชอบและชักชวนผู้อื่นให้ทำ
ตามความเห็นชอบ พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปบังเกิดในสุคติโลกสวรรค์’ เราเห็น
หมู่สัตว์ซึ่งกำลังจุติ กำลังอุบัติ เลว ประณีต ผิวพรรณดี ผิวพรรณทราม ไปดี
ตกยาก ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมด้วย
ประการฉะนี้ได้ ตราบเท่าที่เราต้องการ แม้กัสสปะก็เห็นหมู่สัตว์ซึ่งกำลังจุติ กำลังอุบัติ
ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ฯลฯ รู้ชัดหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมด้วยประการ
ฉะนี้ ได้ตราบเท่าที่เธอต้องการเช่นนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เรารู้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะ
อาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน แม้กัสสปะก็รู้แจ้ง
เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญา
อันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบันได้เช่นกัน”

ฌานาภิญญสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. อุปัสสยสูตร
ว่าด้วยพระมหากัสสปะแสดงธรรมในสำนักภิกษุณี

[๑๕๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัสสปะพักอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้นในเวลาเช้า ท่านพระอานนท์ครองอันตรวาสก
ถือบาตรและจีวรเข้าไปหาท่านพระมหากัสสปะถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวกับท่าน
พระมหากัสสปะดังนี้ว่า
“มาเถิดท่านกัสสปะผู้เจริญ เราจักไปยังสำนักของภิกษุณีแห่งหนึ่ง”
“ไปเถิดท่านอานนท์ ท่านเป็นผู้มีกิจมาก มีงานที่ต้องทำมาก”
แม้ครั้งที่ ๒ ท่านพระอานนท์ก็ได้กล่าวกับท่านพระมหากัสสปะว่า ‘มาเถิด
ท่านกัสสปะผู้เจริญ เราจักไปยังสำนักของภิกษุณีแห่งหนึ่ง”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๑๐. อุปัสสยสูตร

“ไปเถิดท่านอานนท์ ท่านเป็นผู้มีกิจมาก มีงานที่ต้องทำมาก”
แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระอานนท์ก็ได้กล่าวกับท่านพระมหากัสสปะว่า ‘มาเถิด
ท่านกัสสปะผู้เจริญ เราจักไปยังสำนักของภิกษุณีแห่งหนึ่ง”
ครั้นในเวลาเช้า ท่านพระมหากัสสปะครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร มีท่าน
พระอานนท์ติดตาม เข้าไปยังสำนักของภิกษุณีแห่งหนึ่งแล้ว จึงนั่งบนอาสนะที่เขา
จัดไว้ ลำดับนั้นภิกษุณีจำนวนมากเข้าไปหาท่านพระมหากัสสปะถึงที่อยู่ กราบท่าน
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ท่านพระมหากัสสปะได้ชี้แจงให้ภิกษุณีเหล่านั้นเห็นชัด ชวนใจ
ให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ด้วยธรรมีกถา ครั้นแล้วจึงลุกจากอาสนะหลีกไป
ครั้งนั้น ภิกษุณีชื่อถุลลติสสาไม่พอใจ จึงเปล่งวาจาแสดงความไม่พอใจว่า
‘เพราะเหตุไรเล่า พระคุณเจ้ามหากัสสปะจึงสำคัญธรรมที่ตนควรกล่าวต่อหน้า
พระอานนท์ผู้เป็นเจ้า ผู้เป็นมุนีปราดเปรื่อง เปรียบเหมือนพ่อค้าเข็มสำคัญว่า ควรขาย
เข็มในสำนักของช่างเข็ม(ผู้ชำนาญ) ฉันใด พระคุณเจ้ามหากัสสปะย่อมสำคัญธรรม
ที่ตนควรกล่าวต่อหน้าพระอานนท์ผู้เป็นเจ้า ผู้เป็นมุนีปราดเปรื่อง ฉันนั้นเหมือนกัน’
ท่านพระมหากัสสปะได้ยินภิกษุณีชื่อถุลลติสสากำลังกล่าววาจานี้ จึงได้กล่าว
กับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า ‘ท่านอานนท์ เราเป็นพ่อค้าเข็ม ท่านเป็นช่างเข็ม หรือ
เราเป็นช่างเข็ม ท่านเป็นพ่อค้าเข็ม”
“ขอประทานโทษท่านกัสสปะผู้เจริญ ชื่อว่ามาตุคามเป็นคนเขลา”
“หยุดเถิดท่านอานนท์ หมู่ของท่านอย่าด่วนสรุปเกินไปนัก
ท่านอานนท์ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ท่านถูกนำเข้าไปเปรียบในหมู่
ภิกษุเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคบ้างหรือว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เราสงัดจากกาม
และจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตกวิจาร ปีติและสุขอันเกิด
จากวิเวกอยู่ได้ตราบเท่าที่เราต้องการ แม้อานนท์ก็สงัดจากกามและจากอกุศลธรรม
ทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตกวิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ได้ตราบเท่าที่เธอ
ต้องการ”
“มิใช่อย่างนั้น ขอรับ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๑๐. อุปัสสยสูตร

“ท่านผู้มีอายุ ผมเองถูกนำเข้าไปเปรียบในหมู่ภิกษุเฉพาะพระพักตร์พระผู้มี
พระภาคว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เราสงัดจากกามและจากอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุ
ปฐมฌาน ที่มีวิตกวิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ได้ตราบเท่าที่เราต้องการ
แม้กัสสปะก็สงัดจากกามและจากอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ อยู่ได้
ตราบเท่าที่เธอต้องการ’
[อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ และอภิญญา ๕ มีข้อความที่ละไว้อย่างนี้] ๑
ท่านอานนท์ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ท่านถูกนำเข้าไปเปรียบในหมู่
ภิกษุเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคบ้างหรือว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เราทำให้แจ้ง
เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญา
อันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน แม้อานนท์ก็ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ใน
ปัจจุบันเช่นกัน”
“ไม่ใช่อย่างนั้น ขอรับ”
“ท่านผู้มีอายุ ผมเองถูกนำเข้าไปเปรียบในหมู่ภิกษุเฉพาะพระพักตร์พระผู้มี
พระภาคว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เราทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน แม้กัสสปะ
ก็ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป
ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบันได้เช่นกัน
ท่านผู้มีอายุ ผู้ใดสำคัญผมว่าควรปกปิดได้ด้วยอภิญญา ๖ ผู้นั้นก็ควร
สำคัญช้าง ๗ ศอก หรือ ๗ ศอกครึ่งว่าจะพึงปกปิดได้ด้วยใบตาล”
ภิกษุณีชื่อถุลลติสสาเคลื่อนจากพรหมจรรย์แล้ว

อุปัสสยสูตรที่ ๑๐ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๑๑. จีวรสูตร

๑๑. จีวรสูตร
ว่าด้วยจีวร

[๑๕๔] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัสสปะพักอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้
เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เที่ยวจาริกไปในทักขิณาคิรี-
ชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นสัทธิวิหาริกของท่านพระอานนท์ประมาณ
๓๐ รูป โดยมากยังเป็นเด็กหนุ่ม๑ บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ ครั้งนั้น
ท่านพระอานนท์เที่ยวจาริกไปตามชอบใจในทักขิณาคิรีชนบทแล้วกลับมายังพระเวฬุวัน
สถานที่ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ เข้าไปหาท่านพระมหากัสสปะถึงที่อยู่
ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่สมควร
ท่านพระมหากัสสปะได้กล่าวกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่านอานนท์
พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยอำนาจประโยชน์เท่าไรหนอ จึงทรงบัญญัติการขบฉัน
๓ หมวด๒ ในตระกูลทั้งหลายไว้”
“ท่านกัสสปะผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยอำนาจประโยชน์ ๓ ประการ
จึงได้ทรงบัญญัติการขบฉัน ๓ หมวดในตระกูลทั้งหลายไว้ คือ
๑. เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก
๒. เพื่อความอยู่ผาสุกของเหล่าภิกษุผู้มีศีลดีงาม
๓. เพื่ออนุเคราะห์ตระกูลมิให้เหล่าภิกษุผู้มีความปรารถนาชั่ว อาศัย
พรรคพวกทำลายสงฆ์ให้แตกกัน
พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยอำนาจประโยชน์ ๓ ประการนี้ จึงทรงบัญญัติ
การขบฉัน ๓ หมวดในตระกูลทั้งหลายไว้”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๑๑. จีวรสูตร

“ท่านอานนท์ เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านเที่ยวจาริกไปกับภิกษุใหม่เหล่านี้ ผู้ไม่
คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้ประมาณในโภชนะ ไม่ประกอบความเพียร
เครื่องตื่นอยู่ เพื่อประโยชน์อะไรเล่า ท่านเห็นจะเที่ยวไปเหยียบย่ำข้าวกล้า ชะรอย
จะเที่ยวไปเบียดเบียนตระกูล บริษัทของท่านดูร่อยหรอลง สัทธิวิหาริกของท่านซึ่ง
โดยมากเป็นผู้ใหม่ กระจัดกระจายไป ท่านนี้ยังเป็นเด็ก ไม่รู้จักประมาณ”
“ท่านกัสสปะผู้เจริญ เส้นผมทั้งหลายบนศีรษะของกระผมหงอกแล้วก็จริง
ถึงกระนั้นแม้ในวันนี้พวกกระผมก็ยังไม่พ้นจากการกล่าวว่าเป็นเด็ก”
“จริงอย่างนั้น ท่านอานนท์ ท่านเที่ยวจาริกไปกับภิกษุใหม่เหล่านี้ ผู้ไม่
คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้ประมาณในโภชนะ ไม่ประกอบความเพียร
เครื่องตื่นอยู่ ท่านเห็นจะเที่ยวไปเหยียบย่ำข้าวกล้า ชะรอยจะเที่ยวไปเบียดเบียน
ตระกูล บริษัทของท่านดูร่อยหรอลง สัทธิวิหาริกของท่านซึ่งโดยมากเป็นผู้ใหม่
กระจัดกระจายไป ท่านนี้ยังเป็นเด็ก ไม่รู้จักประมาณ”
ภิกษุณีชื่อถุลลนันทาได้ยินแล้วคิดว่า ‘ทราบว่าพระอานนท์ผู้เป็นเจ้า ผู้เป็น
มุนีปราดเปรื่อง ถูกพระคุณเจ้ามหากัสสปะรุกรานด้วยการกล่าวว่าเป็นเด็ก’
ครั้งนั้น ภิกษุณีชื่อถุลลนันทาไม่พอใจ จึงเปล่งวาจาแสดงความไม่พอใจว่า
‘พระคุณเจ้ามหากัสสปะเคยเป็นอัญเดียรถีย์ จึงสำคัญพระคุณเจ้าอานนท์ ผู้เป็นมุนี
ปราดเปรื่องว่าควรรุกรานด้วยการกล่าวว่าเป็นเด็ก’ ท่านพระมหากัสสปะได้ยินภิกษุณี
ชื่อถุลลนันทากล่าววาจานี้แล้ว
ลำดับนั้น ท่านพระมหากัสสปะจึงได้กล่าวกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า ‘เอาเถอะ
ท่านอานนท์ ภิกษุณีชื่อถุลลนันทาพูดอย่างผลุนผลันไม่ทันพิจารณา เพราะเราปลงผม
และหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ไม่รู้เลยว่า เรา
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรชิตอุทิศศาสดาอื่น นอกจากพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น เมื่อก่อน เราเป็นคฤหัสถ์ได้มีความคิดว่า ‘ฆราวาสช่าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๑๑. จีวรสูตร

คับแคบ๑ เป็นทางมาแห่งธุลี๒ บรรพชาปลอดโปร่ง ผู้อยู่ครองเรือนจะประพฤติ
พรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยส่วนเดียวประดุจสังข์ที่ขัดแล้ว ไม่ใช่ทำได้ง่าย
ทางที่ดีเราควรปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิต’ สมัยต่อมา เราได้ทำสังฆาฏิด้วยผ้าเก่า ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้า
กาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต อุทิศเฉพาะท่านผู้เป็นพระอรหันต์ในโลก
ผมนั้นเมื่อบวชแล้วขณะที่เดินทางไกล ได้พบพระผู้มีพระภาคซึ่งประทับนั่งอยู่
ที่พหุปุตตเจดีย์ ระหว่างกรุงราชคฤห์กับบ้านนาลันทา ครั้นพบแล้วผมได้มีความ
คิดว่า ‘เราพบพระศาสดา ก็เป็นอันพบพระผู้มีพระภาคด้วย เราพบพระสุคต
ก็เป็นอันพบพระผู้มีพระภาคด้วย เราพบพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็เป็นอันพบพระผู้มี
พระภาคด้วย’ ท่านผู้มีอายุ ผมนั้นได้น้อมศีรษะลงแทบพระบาทของพระผู้มีพระภาค
ณ ที่นั้นเอง กราบทูลว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเป็นศาสดาของ
ข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเป็นศาสดา
ของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก’

ประทานโอวาท ๓ ประการ

เมื่อผมกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับผมว่า ‘กัสสปะ
ผู้ใดยังไม่รู้จักสาวกผู้สมบูรณ์ด้วยจิตบริสุทธิ์อย่างนี้แล้ว พึงพูดว่า ‘รู้’ ยังไม่เห็น
พึงพูดว่า ‘เห็น’ แม้ศีรษะของผู้นั้นพึงแตก แต่เรารู้อยู่ จึงพูดว่า ‘รู้’ เห็นอยู่
จึงพูดว่า ‘เห็น’
เพราะเหตุนั้นแหละ กัสสปะ เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ‘เราจักเข้าไปตั้งหิริและ
โอตตัปปะอย่างแรงกล้าในภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระ ผู้เป็นนวกะ ผู้เป็นมัชฌิมะ’ เธอพึง
ศึกษาอย่างนี้


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๑๑. จีวรสูตร

เพราะเหตุนั้นแหละ กัสสปะ เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ‘เราจักฟังธรรมอย่างใด
อย่างหนึ่งซึ่งประกอบด้วยกุศล จักกระทำธรรมนั้นทั้งหมดให้เป็นประโยชน์ มนสิการ
ถึงธรรมนั้นทั้งหมด จักประมวลจิต๑มาทั้งหมด เงี่ยโสตสดับธรรม’ เธอพึงศึกษา
อย่างนี้
เพราะเหตุนั้นแหละ กัสสปะ เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ละกายคตาสติ
ที่ประกอบด้วยความยินดี๒’ เธอพึงศึกษาอย่างนี้
พระผู้มีพระภาคทรงโอวาทผมด้วยพระโอวาทนี้แล้ว เสด็จลุกจากอาสนะ
หลีกไป ผมเป็นหนี้บริโภค๓ก้อนข้าวของราษฎรถึง ๑ สัปดาห์ วันที่ ๘ อรหัตตผล
จึงเกิดขึ้น คราวนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จลงจากทางไปยังโคนต้นไม้แห่งหนึ่ง ผมจึง
ปูลาดผ้าสังฆาฏิที่ทำด้วยผ้าเก่าซ้อนเป็น ๔ ชั้นถวาย แล้วกราบทูลว่า ‘ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงประทับนั่งบนผ้าผืนนี้ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อความสุขแก่ข้าพระองค์ตลอดกาลนานเถิด’ พระผู้มีพระภาคก็ประทับนั่งบน
อาสนะที่ผมจัดถวาย แล้วตรัสกับผมว่า ‘กัสสปะ สังฆาฏิที่ทำด้วยผ้าเก่าของเธอ
ผืนนี้อ่อนนุ่ม’ ผมก็กราบทูลว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคได้โปรด
อนุเคราะห์ ทรงรับสังฆาฏิที่ทำด้วยผ้าเก่าของข้าพระองค์เถิด’ พระองค์ตรัสว่า
‘เธอจักทรงผ้าป่านบังสุกุลของเราที่ใช้สอยแล้วหรือ’ ผมก็กราบทูลว่า ‘ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักทรงผ้าป่านบังสุกุลที่ใช้สอยแล้วของพระผู้มีพระภาค’ ผมได้
ถวายผ้าสังฆาฏิที่ทำด้วยผ้าเก่าแด่พระผู้มีพระภาค และได้รับผ้าป่านบังสุกุลที่ใช้
สอยแล้วของพระผู้มีพระภาคมา
แท้จริงบุคคลเมื่อจะกล่าวถึงคนใดคนหนึ่งให้ถูกต้อง ควรกล่าวว่า ‘บุตรของ
พระผู้มีพระภาคเป็นผู้เกิดแต่อก เกิดแต่พระโอษฐ์ เกิดแต่พระธรรม อันพระธรรม


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๑๒. ปรัมมรณสูตร

เนรมิตแล้ว เป็นธรรมทายาท จึงรับผ้าป่านบังสุกุลที่ใช้สอยแล้ว’ บุคคลเมื่อจะ
กล่าวถึงคนนั้นให้ถูกต้อง ควรกล่าวกับผมว่า ‘บุตรของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้เกิด
แต่อก เกิดแต่พระโอษฐ์ เกิดแต่พระธรรม อันพระธรรมเนรมิตแล้ว เป็นธรรมทายาท
ได้รับผ้าป่านบังสุกุลที่ใช้สอยแล้ว’
ผมสงัดจากกามและจากอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตกวิจาร
ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ตราบเท่าที่ผมต้องการ ผม ฯลฯ ตราบเท่าที่ผม
ต้องการ
[อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ และอภิญญา ๕ มีข้อความที่ละไว้อย่างนี้]
ท่านผู้มีอายุ ผมทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ผู้ใดสำคัญ
ผมว่าควรปกปิดได้ด้วยอภิญญา ๖ ผู้นั้นก็ควรสำคัญช้าง ๗ ศอก หรือ ๗ ศอกครึ่ง
ว่าจะพึงปกปิดได้ด้วยใบตาล
ภิกษุณีชื่อถุลลนันทาเคลื่อนจากพรหมจรรย์แล้ว

จีวรสูตรที่ ๑๑ จบ

๑๒. ปรัมมรณสูตร๑
ว่าด้วยตถาคตตายไปแล้วเกิดอีกหรือไม่เกิด

[๑๕๕] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัสสปะและท่านพระสารีบุตรพักอยู่ ณ
ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่
หลีกเร้น ในเวลาเย็นเข้าไปหาท่านพระมหากัสสปะถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอ
เป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ครั้นท่านพระสารีบุตรนั่ง
เรียบร้อยแล้ว ได้ถามท่านพระมหากัสสปะดังนี้ว่า
“ท่านกัสสปะ หลังจากตายแล้ว ตถาคต๒เกิดอีกหรือ”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๑๒. ปรัมมรณสูตร

“ท่านผู้มีอายุ ข้อที่ว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกหรือ’ นี้พระผู้มี
พระภาคมิได้ทรงพยากรณ์ไว้”
“หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีกหรือ”
“แม้ข้อที่ว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีกหรือ’ นี้พระผู้มีพระภาคก็มิได้
ทรงพยากรณ์ไว้”
“หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีกหรือ”
“ข้อที่ว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีกหรือ’ นี้พระผู้มีพระภาค
ก็มิได้ทรงพยากรณ์ไว้”
“หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกก็มิใช่ ไม่เกิดอีกก็มิใช่หรือ”
“แม้ข้อที่ว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกก็มิใช่ ไม่เกิดอีกก็มิใช่หรือ’
นี้พระผู้มีพระภาคก็มิได้ทรงพยากรณ์ไว้”
“เพราะเหตุไร ข้อที่กล่าวถึงนั้น ๆ พระผู้มีพระภาคจึงมิได้ทรงพยากรณ์ไว้”
“เพราะข้อนั้นไม่มีประโยชน์ ไม่เป็นเบื้องต้นแห่งการประพฤติพรหมจรรย์
ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง
เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงมิได้ทรงพยากรณ์ไว้”
“ถ้าเช่นนั้น พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ไว้อย่างไรเล่า”
“พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ไว้ว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ
นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”๑
“เพราะเหตุไร ข้อนี้พระผู้มีพระภาคจึงทรงพยากรณ์ไว้”
“ท่านผู้มีอายุ เพราะข้อนั้นมีประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งการประพฤติพรหมจรรย์
เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง
เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงทรงพยากรณ์ไว้”

ปรัมมรณสูตรที่ ๑๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๑๓. สัทธัมมัปปฏิรูปกสูตร

๑๓. สัทธัมมัปปฏิรูปกสูตร
ว่าด้วยสัทธรรมปฏิรูป

[๑๕๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปะเข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้ เมื่อก่อนสิกขาบท
มีน้อย ภิกษุผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตผลมีมาก และอะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้ บัดนี้
สิกขาบทมีมาก แต่ภิกษุตั้งอยู่ในอรหัตตผลมีน้อย”
“กัสสปะ ข้อนั้นเป็นอย่างนี้ คือ เมื่อหมู่สัตว์เสื่อมลง สัทธรรมก็เสื่อมสูญไป
สิกขาบทจึงมีมาก และภิกษุตั้งอยู่ในอรหัตตผลจึงมีน้อย สัทธรรมปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้น
ในโลกตราบใด ตราบนั้นสัทธรรมก็ยังไม่เสื่อมสูญไป แต่เมื่อใดสัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้น
ในโลก เมื่อนั้นสัทธรรมย่อมเสื่อมสูญไป
ทองคำปลอมยังไม่เกิดขึ้นในโลกตราบใด ตราบนั้นทองคำแท้ก็ยังไม่หายไป
และเมื่อใดทองคำปลอมเกิดขึ้นในโลก เมื่อนั้นทองคำแท้จึงหายไปฉันใด สัทธรรม-
ปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้นในโลกตราบใด ตราบนั้นสัทธรรมก็ยังไม่เสื่อมสูญไป แต่เมื่อใด
สัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้นในโลก เมื่อนั้นสัทธรรมย่อมเสื่อมสูญไป ฉันนั้นเหมือนกัน
ปฐวีธาตุ(ธาตุดิน)ทำสัทธรรมให้เสื่อมสูญไปไม่ได้ อาโปธาตุ(ธาตุน้ำ) เตโชธาตุ
(ธาตุไฟ) วาโยธาตุ(ธาตุลม) ก็ทำสัทธรรมให้เสื่อมสูญไปไม่ได้ ที่แท้โมฆบุรุษในโลกนี้
ต่างหากเกิดขึ้นมาย่อมทำให้สัทธรรมเสื่อมสูญไป เปรียบเหมือนเรือจะอับปางก็เพราะ
ต้นหนเท่านั้น สัทธรรมย่อมไม่เสื่อมสูญไป ด้วยประการฉะนี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๑๓. สัทธัมมัปปฏิรูปกสูตร

สาเหตุที่ทำให้สัทธรรมเสื่อมสูญ

เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการนี้ เป็นไปเพื่อความเลือนหาย เพื่อความเสื่อมสูญไป
แห่งสัทธรรม เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการอะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพยำเกรง
ในพระศาสดา
๒. ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพยำเกรง
ในพระธรรม
๓. ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพยำเกรง
ในพระสงฆ์
๔. ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพยำเกรง
ในสิกขา
๕. ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพยำเกรง
ในสมาธิ
เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการนี้ เป็นไปเพื่อความเลือนหาย เพื่อความเสื่อมสูญไป
แห่งสัทธรรม

สาเหตุที่ทำให้สัทธรรมตั้งมั่น

กัสสปะ เหตุ ๕ ประการนี้ เป็นไปเพื่อความตั้งมั่น เพื่อความไม่เลือนหาย
เพื่อความไม่เสื่อมสูญไปแห่งสัทธรรม เหตุ ๕ ประการอะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ มีความเคารพ
ยำเกรงในพระศาสดา
๒. ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ มีความเคารพ
ยำเกรงในพระธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต] ๑๓. สัทธัมมัปปฏิรูปกสูตร

๓. ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ มีความเคารพ
ยำเกรงในพระสงฆ์
๔. ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ มีความเคารพ
ยำเกรงในสิกขา
๕. ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ มีความเคารพ
ยำเกรงในสมาธิ
เหตุ ๕ ประการนี้ เป็นไปเพื่อความตั้งมั่น เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อความ
ไม่เสื่อมสูญไปแห่งสัทธรรม

สัทธัมมัปปฏิรูปกสูตรที่ ๑๓ จบ

กัสสปสังยุต จบบริบูรณ์

รวมพระสูตรที่มีในสังยุตนี้ คือ

๑. สันตุฏฐสูตร ๒. อโนตตัปปีสูตร
๓. จันทูปมาสูตร ๔. กุลูปกสูตร
๕. ชิณณสูตร ๖. โอวาทสูตร
๗. ทุติยโอวาทสูตร ๘. ตติยโอวาทสูตร
๙. ฌานาภิญญสูตร ๑๐. อุปัสสยสูตร
๑๑. จีวรสูตร ๑๒. ปรัมมรณสูตร
๑๓. สัทธัมมัปปฏิรูปกสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๖.ลาภสักการสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๑. ทารุณสูตร

๖. ลาภสักการสังยุต

๑. ปฐมวรรค
หมวดที่ ๑

๑. ทารุณสูตร
ว่าด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ

[๑๕๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมา
ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้
ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภ๑ สักการะ๒ และความสรรเสริญ๓เป็นสิ่งทารุณ เผ็ดร้อน
หยาบคาย เป็นอันตรายต่อการบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า
เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลายจักละลาภสักการะและ
ความสรรเสริญที่เกิดขึ้น ลาภสักการะและความสรรเสริญที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่
ครอบงำจิตของเราทั้งหลายตั้งอยู่’ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

ทารุณสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๖. ลาภสักการสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๒. พฬิสสูตร

๒. พฬิสสูตร
ว่าด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญเปรียบเหมือนเบ็ด

[๑๕๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ เผ็ดร้อน
หยาบคาย เป็นอันตรายต่อการบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่น
ยิ่งกว่า เปรียบเหมือนปลาบางตัวเห็นแก่เหยื่อ กลืนกินเบ็ดที่เกี่ยวเหยื่อซึ่งพรานเบ็ด
หย่อนลงในห้วงน้ำลึก มันกลืนกินเบ็ดของพรานเบ็ดอย่างนี้แล้ว ได้รับทุกข์ ถึงความ
พินาศ ถูกพรานเบ็ดทำได้ตามใจปรารถนาฉะนั้น”
คำว่า ‘พรานเบ็ด’ นี้ เป็นชื่อของมารใจบาป คำว่า ‘เบ็ด’ นี้ เป็นชื่อของลาภ
สักการะและความสรรเสริญ ภิกษุบางรูปยินดี พอใจลาภสักการะและความสรรเสริญ
ที่เกิดขึ้นแล้ว ภิกษุนี้เรากล่าวว่า กลืนกินเบ็ดของมาร ได้รับทุกข์ ถึงความพินาศ
ถูกมารใจบาปทำได้ตามใจปรารถนา
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย
เป็นอันตรายต่อการบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าอย่างนี้
เพราะฉะนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลายจักละลาภสักการะและความ
สรรเสริญที่เกิดขึ้น ลาภสักการะและความสรรเสริญที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิต
ของเราทั้งหลายตั้งอยู่’ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

พฬิสสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๖. ลาภสักการสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๓. กุมมสูตร

๓. กุมมสูตร
ว่าด้วยภิกษุติดลาภสักการะและความสรรเสริญเปรียบเหมือนเต่าถูกเชือกมัด

[๑๕๙] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ ต่อการ
บรรลุธรรม เรื่องเคยมีมาแล้ว มีตระกูลเต่าใหญ่อาศัยอยู่ในห้วงน้ำแห่งหนึ่งมานาน
ครั้งหนึ่ง เต่าตัวหนึ่งเข้าไปหาเต่าอีกตัวหนึ่งถึงที่อยู่พูดว่า ‘พ่อเต่า เจ้าอย่าได้ไปยัง
ท้องถิ่นนั้นนะ’
เต่าตัวนั้นได้ไปยังท้องถิ่นนั้นแล้ว ถูกนายพรานยิงด้วยลูกดอก ลำดับนั้นเต่า
ตัวที่ถูกยิงเข้าไปหาเต่าตัวนั้นถึงที่อยู่ เต่าตัวนั้นได้เห็นเต่าตัวที่ถูกยิงกำลังเดินมาแต่ไกล
จึงถามว่า
“พ่อเต่า เจ้าไม่ได้ไปท้องถิ่นนั้นหรือ”
“พ่อเต่า ฉันได้ไปท้องถิ่นนั้นมาแล้ว”
“พ่อเต่า เจ้าไม่บาดเจ็บ ไม่ถูกทุบตีดอกหรือ”
“ฉันไม่บาดเจ็บ ไม่ถูกทุบตี แต่ฉันมีเชือกเส้นหนึ่งติดหลังมานี้”
เต่าตัวนั้นกล่าวว่า “เอาเถอะพ่อเต่า เจ้าไม่บาดเจ็บ ไม่ถูกทุบตีก็ตามเถิด แต่บิดา
มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย ของเจ้าได้รับทุกข์ ถึงความพินาศ เพราะเชือกเส้นนี้แหละ
ไปเดี๋ยวนี้ เจ้าไม่ใช่พวกของเราแล้ว”
คำว่า ‘พราน’ นี้ เป็นชื่อของมารใจบาป คำว่า ‘ลูกดอก’ นี้ เป็นชื่อของลาภ
สักการะและความสรรเสริญ คำว่า ‘เชือก’ นี้ เป็นชื่อของนันทิราคะ
ภิกษุบางรูปยินดี พอใจลาภสักการะและความสรรเสริญที่เกิดขึ้นแล้ว ภิกษุ
นี้เราเรียกว่า ได้รับทุกข์ ถึงความพินาศ เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญ
อันเปรียบเหมือนลูกดอก ถูกมารใจบาปทำได้ตามใจปรารถนา
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ อย่างนี้
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

กุมมสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๖. ลาภสักการสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๕. มีฬหกสูตร

๔. ทีฆโลมิกสูตร
ว่าด้วยภิกษุติดลาภสักการะและความสรรเสริญ
เปรียบเหมือนแกะขนยาวถูกหนามเกี่ยว

[๑๖๐] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ ต่อการ
บรรลุธรรม เปรียบเหมือนแกะขนยาวเข้าไปสู่พงหนาม มันพึงติด ถูกหนาม
เกี่ยวเกาะ ได้รับทุกข์ถึงความพินาศในที่นั้น ๆ อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น ภิกษุ
บางรูปในธรรมวินัยนี้ ถูกลาภสักการะและความสรรเสริญครอบงำ ย่ำยีจิต เวลาเช้า
ครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังบ้านหรือนิคม เธอติดข้อง
ถูกปัจจัยเกี่ยวเกาะ ได้รับทุกข์ถึงความพินาศในที่นั้น ๆ
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ อย่างนี้
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

ทีฆโลมิกสูตรที่ ๔ จบ

๕. มีฬหกสูตร
ว่าด้วยภิกษุติดลาภสักการะและความสรรเสริญเปรียบเหมือน
แมลงวันกินคูถ

[๑๖๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ ต่อการ
บรรลุธรรม เปรียบเหมือนแมลงวันกินคูถเต็มท้องและเปื้อนคูถ และข้างหน้าของมัน
ยังมีคูถกองใหญ่ มันยังดูหมิ่นแมลงวันเหล่าอื่นว่า ‘เรากินคูถเต็มท้องและเปื้อนคูถ
เรายังมีคูถกองใหญ่อยู่ข้างหน้าอีก’ อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น ภิกษุบางรูปใน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๖. ลาภสักการสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๖. อสนิสูตร

ธรรมวินัยนี้ ถูกลาภสักการะและความสรรเสริญครอบงำ ย่ำยีจิต เวลาเช้า ครอง
อันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังบ้านหรือนิคม ฉัน(ภัตตาหาร) จนพอ
แก่ความต้องการ และทายกยังนิมนต์ให้ฉันในวันรุ่งขึ้น แม้อาหารของเธอจะเต็ม
บาตร เธอไปอารามแล้ว ยังพูดโอ้อวดท่ามกลางหมู่ภิกษุว่า ‘ผมฉันพอแก่ความ
ต้องการแล้ว ทายกยังนิมนต์ให้ฉันในวันรุ่งขึ้น อาหารของผมก็เต็มบาตร และยังจะ
ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารอีก ส่วนภิกษุเหล่าอื่น
มีบุญน้อย มีศักดิ์น้อย จึงไม่ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัช-
บริขาร’ เธอถูกลาภสักการะและความสรรเสริญครอบงำ ย่ำยีจิต จึงดูหมิ่นภิกษุเหล่าอื่น
ผู้มีศีลเป็นที่รัก การกระทำ ของโมฆบุรุษนั้นเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์ตลอด
กาลนาน
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ อย่างนี้
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

มีฬหกสูตรที่ ๕ จบ

๖. อสนิสูตร
ว่าด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญเปรียบเหมือนสายฟ้า

[๑๖๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ ต่อการ
บรรลุธรรม
สายฟ้าผ่าถูกใคร ลาภสักการะและความสรรเสริญ ย่อมติดตามพระเสขะ
ผู้ยังไม่บรรลุอรหัตตผล คำว่า ‘สายฟ้าผ่า’ นี้ เป็นชื่อของลาภสักการะและความ
สรรเสริญ
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ อย่างนี้
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

อสนิสูตรที่ ๖ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๖. ลาภสักการสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๙. เวรัมภสูตร

๗. ทิทธสูตร
ว่าด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญเปรียบเหมือนลูกศรอาบยาพิษ

[๑๖๓] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ ต่อการ
บรรลุธรรม
บุคคลยิงลูกศรอาบยาพิษถูกใคร ลาภสักการะและความสรรเสริญ ย่อมติดตาม
พระเสขะผู้ยังไม่บรรลุอรหัตตผล คำว่า ‘ลูกศร’ นี้ เป็นชื่อของลาภสักการะและความ
สรรเสริญ
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ อย่างนี้
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

ทิทธสูตรที่ ๗ จบ

๘. สิคาลสูตร
ว่าด้วยภิกษุติดลาภสักการะและความสรรเสริญ
เปรียบเหมือนสุนัขจิ้งจอกเป็นโรคเรื้อน

[๑๖๔] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ ต่อการ
บรรลุธรรม
เมื่อเช้าตรู่ เธอทั้งหลายได้เห็นสุนัขจิ้งจอกแก่ที่มาอาศัยอยู่หรือ”
“เห็น พระพุทธเจ้าข้า”
“สุนัขจิ้งจอกแก่นั้นเป็นโรคเรื้อน อยู่ในเรือนว่างก็ไม่ยินดี อยู่ที่โคนไม้ก็ไม่ยินดี
อยู่ในที่แจ้งก็ไม่ยินดี เดิน ยืน นั่ง นอนในที่ใด ๆ ก็เป็นทุกข์ในที่นั้น ๆ ภิกษุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๖. ลาภสักการสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๙. เวรัมภสูตร

บางรูปในธรรมวินัยนี้ก็เหมือนกัน ถูกลาภสักการะและความสรรเสริญครอบงำ ย่ำยีจิต
อยู่ในเรือนว่างก็ไม่ยินดี อยู่ที่โคนไม้ก็ไม่ยินดี อยู่ในที่แจ้งก็ไม่ยินดี เดิน ยืน นั่ง
นอนในที่ใด ๆ ก็เป็นทุกข์ในที่นั้น ๆ
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ อย่างนี้
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

สิคาลสูตรที่ ๘ จบ

๙. เวรัมภสูตร
ว่าด้วยภิกษุติดลาภสักการะและความสรรเสริญเปรียบเหมือน
นกถูกลมบ้าหมูพัด

[๑๖๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ ต่อการ
บรรลุธรรม
ลมบ้าหมูพัดอยู่บนอากาศ ซัดนกที่กำลังบินอยู่ในอากาศ เมื่อมันถูกลม
บ้าหมูซัด เท้าไปทางหนึ่ง ปีกไปทางหนึ่ง ศีรษะไปทางหนึ่ง ตัวไปทางหนึ่ง ภิกษุ
บางรูปในธรรมวินัยนี้ก็เหมือนกัน ถูกลาภสักการะและความสรรเสริญครอบงำ
ย่ำยีจิต เวลาเช้า ครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังบ้านหรือนิคม
ไม่รักษากายวาจาจิต ไม่ตั้งสติให้มั่นคง ไม่สำรวมอินทรีย์ เธอเห็นมาตุคามนุ่งห่ม
ไม่เรียบร้อยในที่นั้น ราคะก็รบกวนจิตของเธอเพราะเห็นมาตุคามนุ่งห่มไม่เรียบร้อย
เธอถูกราคะรบกวนจิต จึงบอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ ภิกษุพวกหนึ่งนำจีวร
ของเธอไป พวกหนึ่งนำบาตรไป พวกหนึ่งนำผ้านิสีทนะ๑ไป พวกหนึ่งนำกล่องเข็มไป
เปรียบเหมือนนกถูกลมบ้าหมูซัดไปฉะนั้น
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ อย่างนี้
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

เวรัมภสูตรที่ ๙ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๖. ลาภสักการสังยุต] ๑๐. สคาถกสูตร

๑๐. สคาถกสูตร
ว่าด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญมีอบายเป็นผล

[๑๖๖] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ ต่อการ
บรรลุธรรม
เราเห็นคนบางคนในโลกนี้ ถูกสักการะครอบงำ ย่ำยีจิตแล้ว หลังจากตายแล้ว
ก็เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก อนึ่ง เราเห็นคนบางคนในโลกนี้ ถูกความเสื่อม
สักการะครอบงำ ย่ำยีจิตแล้ว หลังจากตายแล้วก็เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
อนึ่ง เราเห็นคนบางคนในโลกนี้ถูกสักการะและความเสื่อมสักการะทั้งสองอย่าง
ครอบงำ ย่ำยีจิตแล้ว หลังจากตายแล้วก็เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ อย่างนี้
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
“สมาธิของภิกษุใด ผู้มีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท
ย่อมไม่หวั่นไหวด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ
(๑) ด้วยมีผู้สักการะ (๒) ด้วยไม่มีผู้สักการะ
ภิกษุผู้เข้าฌานมีความเพียรพิจารณาด้วยปัญญาที่สุขุม
ยินดีในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปาทานนั้น
นักปราชญ์ทั้งหลายเรียกว่า สัตบุรุษ”๑

สคาถกสูตรที่ ๑๐ จบ
ปฐมวรรค จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๖. ลาภสักการสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๑. สุวัณณปาติสูตร

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ทารุณสูตร ๒. พฬิสสูตร
๓. กุมมสูตร ๔. ทีฆโลมิกสูตร
๕. มีฬหกสูตร ๖. อสนิสูตร
๗. ทิทธสูตร ๘. สิคาลสูตร
๙. เวรัมภสูตร ๑๐. สคาถกสูตร

๒. ทุติยวรรค
หมวดที่ ๒

๑. สุวัณณปาติสูตร
ว่าด้วยถาดทองคำ

[๑๖๗] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ ต่อการ
บรรลุธรรม ...
เรากำหนดรู้ใจของบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะถาดทองคำ
เต็มด้วยผงเงินเป็นเหตุ ท่านผู้นี้ก็ไม่จงใจพูดเท็จ’ ต่อมาเราเห็นเขาถูกลาภสักการะ
และความสรรเสริญครอบงำ ย่ำยีจิตแล้ว ก็พูดเท็จทั้งที่รู้อยู่

สุวัณณปาติสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๖. ลาภสักการสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๓-๑๐. สุวัณณนิกขสุตตาทิอัฏฐกะ

๒. รูปิยปาติสูตร
ว่าด้วยถาดรูปิยะ

[๑๖๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ ต่อการ
บรรลุธรรม ...
เรากำหนดรู้ใจของบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะถาดทองคำ
เต็มด้วยผงทองคำเป็นเหตุ ท่านผู้นี้ก็ไม่จงใจพูดเท็จ’ ต่อมาเราเห็นเขาถูกลาภสักการะ
และความสรรเสริญครอบงำ ย่ำยีจิตแล้ว ก็พูดเท็จทั้งที่รู้อยู่
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ อย่างนี้
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

รูปิยปาติสูตรที่ ๒ จบ

๓-๑๐. สุวัณณนิกขสุตตาทิอัฏฐกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๘ สูตร มีสูตรว่าด้วยทองคำแท่งเป็นต้น

[๑๖๙] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย เรากำหนดรู้ใจของบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจอย่างนี้ว่า “แม้
เพราะทองคำแท่งเป็นเหตุ” ...
สูตรที่ ๓ จบ
๔. “แม้เพราะทองคำ ๑๐๐ แท่งเป็นเหตุ” ...
สูตรที่ ๔ จบ
๕. “แม้เพราะทองสิงคีเป็นเหตุ” ...
สูตรที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๗๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๖. ลาภสักการสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๑๐.ชนปทกัลยาณีสูตร

๖. “แม้เพราะทองสิงคี ๑๐๐ แท่งเป็นเหตุ” ...
สูตรที่ ๖ จบ
๗. “แม้เพราะแผ่นดินที่เต็มด้วยแร่ทองคำเป็นเหตุ” ...
สูตรที่ ๗ จบ
๘. “แม้เพราะเห็นแก่ของกำนัลเพียงเล็กน้อยเป็นเหตุ” ...
สูตรที่ ๘ จบ
๙. “แม้เพราะชีวิตเป็นเหตุ” ...
สูตรที่ ๙ จบ
๑๐. “แม้เพราะนางงามประจำแคว้นเป็นเหตุ ท่านผู้นี้ก็ไม่จงใจพูดเท็จ ต่อมา
เราเห็นเขาถูกลาภสักการะและความสรรเสริญครอบงำ ย่ำยีจิตแล้ว ก็พูดเท็จทั้งที่รู้อยู่
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ อย่างนี้
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

ชนปทกัลยาณีสูตรที่ ๑๐ จบ
ทุติยวรรค จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สุวัณณปาติสูตร ๒. รูปิยปาติสูตร
๓. สุวัณณนิกขสูตร ๔. สุวัณณนิกขสตสูตร
๕. สิงคินิกขสูตร ๖. สิงคินิกขสตสูตร
๗. ปฐวิสูตร ๘. อามิสกิญจิกขสูตร
๙. ชีวิตสูตร ๑๐. ชนปทกัลยาณีสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๖. ลาภสักการสังยุต]
๓. ตติยวรรค ๒. กัลยาณิสูตร

๓. ตติยวรรค
หมวดที่ ๓

๑. มาตุคามสูตร
ว่าด้วยมาตุคาม

[๑๗๐] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ ต่อการ
บรรลุธรรม ...
มาตุคามคนเดียวไม่สามารถครอบงำจิตของภิกษุรูปหนึ่ง แต่ลาภสักการะและ
ความสรรเสริญสามารถครอบงำจิตของภิกษุได้ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ อย่างนี้
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

มาตุคามสูตรที่ ๑ จบ

๒. กัลยาณิสูตร
ว่าด้วยนางงาม

[๑๗๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ ต่อการ
บรรลุธรรม ...
นางงามประจำแคว้นคนเดียวไม่สามารถครอบงำจิตของภิกษุรูปหนึ่ง แต่ลาภ
สักการะและความสรรเสริญสามารถครอบงำจิตของภิกษุได้ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ อย่างนี้
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

กัลยาณิสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๖. ลาภสักการสังยุต]
๓. ตติยวรรค ๓. เอกปุตตกสูตร

๓. เอกปุตตกสูตร
ว่าด้วยบุตรคนเดียว

[๑๗๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ ต่อการ
บรรลุธรรม ...
อุบาสิกาผู้มีศรัทธา เมื่อจะวิงวอนบุตรคนเดียวซึ่งเป็นที่น่ารักน่าพอใจโดย
ถูกต้อง พึงวิงวอนว่า ‘ลูกเอ๋ย ขอพ่อจงเป็นเช่นจิตตคหบดี๑ และหัตถกอาฬวก-
อุบาสก๒เถิด’
บรรดาอุบาสกสาวกของเรา คือ จิตตคหบดีและหัตถกอาฬวกอุบาสก เป็นผู้
ชั่งได้วัดได้(นางพึงวิงวอนอีกว่า) ถ้าพ่อออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ก็ขอให้เป็น
เช่นพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเถิด
บรรดาภิกษุผู้เป็นสาวกของเรา คือ สารีบุตรและโมคคัลลานะ เป็นผู้ชั่งได้วัดได้
(นางพึงวิงวอนต่อไปว่า) ลูกเอ๋ย ขอลาภสักการะและความสรรเสริญ จงอย่าครอบงำ
เจ้าผู้เป็นเสขะยังไม่บรรลุอรหัตตผลเลย ถ้าลาภสักการะและความสรรเสริญครอบงำ
ภิกษุผู้เป็นเสขะยังไม่บรรลุอรหัตตผล ก็ย่อมเป็นอันตรายแก่เธอ
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ อย่างนี้
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

เอกปุตตกสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๖. ลาภสักการสังยุต]
๓. ตติยวรรค ๔. เอกธีตสูตร

๔. เอกธีตุสูตร
ว่าด้วยธิดาคนเดียว

[๑๗๓] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ ต่อการ
บรรลุธรรม ...
อุบาสิกาผู้มีศรัทธาเมื่อจะวิงวอนธิดาคนเดียว ซึ่งเป็นที่น่ารักน่าพอใจโดยถูกต้อง
พึงวิงวอนว่า ‘ลูกเอ๋ย ขอเจ้าจงเป็นเช่นนางขุชชุตตราอุบาสิกา๑ และนางนันทมารดา๒
ชาวเมืองเวฬุกัณฑกะเถิด’
บรรดาอุบาสิกาผู้เป็นสาวิกาของเรา คือ ขุชชุตตราอุบาสิกา และนางนันท-
มารดา ชาวเมืองเวฬุกัณฑกะ เป็นผู้ชั่งได้วัดได้(นางพึงวิงวอนอีกว่า) ถ้าแม่ออกจาก
เรือนบวชเป็นบรรพชิต ก็ขอให้เป็นเช่นเขมาภิกษุณี๓ และอุบลวรรณาภิกษุณี๔เถิด
บรรดาภิกษุณีผู้เป็นสาวิกาของเรา เขมาภิกษุณีและอุบลวรรณาภิกษุณี เป็นผู้
ชั่งได้วัดได้ (นางพึงวิงวอนต่อไปว่า) ลูกเอ๋ย ขอลาภสักการะและความสรรเสริญ
จงอย่าครอบงำเจ้าผู้เป็นเสขะยังไม่บรรลุอรหัตตผลเลย ถ้าลาภสักการะและความ
สรรเสริญครอบงำภิกษุณีผู้เป็นเสขะยังไม่บรรลุอรหัตตผลก็ย่อมเป็นอันตรายแก่เธอ
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ อย่างนี้
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

เอกธีตุสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๖. ลาภสักการสังยุต]
๓. ตติยวรรค ๖. ทุติยสมณพราหมณสูตร

๕. สมณพราหมณสูตร
ว่าด้วยสมณพราหมณ์

[๑๗๔] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งไม่รู้ชัดคุณ โทษ และ
เครื่องสลัดออกจากลาภสักการะและความสรรเสริญตามความเป็นจริง สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่านั้น ไม่จัดว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือไม่จัดว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่
พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้นก็ไม่ทำให้แจ้งประโยชน์ของความเป็นสมณะและประโยชน์
ของความเป็นพราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดคุณ โทษ และเครื่องสลัดออก
จากลาภสักการะและความสรรเสริญตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น
จัดว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ และจัดว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้น
ก็ทำให้แจ้งประโยชน์ของความเป็นสมณะ และประโยชน์ของความเป็นพราหมณ์ด้วย
ปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”

สมณพราหมณสูตรที่ ๕ จบ

๖. ทุติยสมณพราหมณสูตร
ว่าด้วยสมณพราหมณ์ สูตรที่ ๒

[๑๗๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งไม่รู้ชัดความเกิด ความดับ
คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากลาภสักการะและความสรรเสริญตามความเป็นจริง
ฯลฯ (ท่านเหล่านั้น) รู้ชัด ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดความเกิด ความดับ
คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากลาภสักการะและความสรรเสริญตามความเป็นจริง
ฯลฯ เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”

ทุติยสมณพราหมณสูตรที่ ๖ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๖. ลาภสักการสังยุต]
๓. ตติยวรรค ๘. ฉวิสูตร

๗. ตติยสมณพราหมณสูตร
ว่าด้วยสมณพราหมณ์ สูตรที่ ๓

[๑๗๖] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งไม่รู้ชัดลาภสักการะ
และความสรรเสริญ ความเกิดแห่งลาภสักการะและความสรรเสริญ ความดับแห่ง
ลาภสักการะและความสรรเสริญ และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งลาภสักการะและ
ความสรรเสริญ ฯลฯ รู้ชัด ฯลฯ ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ใน
ปัจจุบัน”

ตติยสมณพราหมณสูตรที่ ๗ จบ

๘. ฉวิสูตร
ว่าด้วยผิว

[๑๗๗] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ลาภสักการะ
และความสรรเสริญย่อมตัดผิว ครั้นตัดผิวแล้วย่อมตัดหนัง ครั้นตัดหนังแล้วย่อม
ตัดเนื้อ ครั้นตัดเนื้อแล้วย่อมตัดเอ็น ครั้นตัดเอ็นแล้วย่อมตัดกระดูก ครั้นตัดกระดูก
แล้วก็ตั้งจดเยื่อในกระดูกอยู่
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ อย่างนี้
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

ฉวิสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๖. ลาภสักการสังยุต]
๓. ตติยวรรค ๑๐. ภิกขุสูตร

๙. รัชชุสูตร
ว่าด้วยเชือก

[๑๗๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ลาภสักการะ
และความสรรเสริญย่อมตัดผิว ครั้นตัดผิวแล้วย่อมตัดหนัง ครั้นตัดหนังแล้วย่อม
ตัดเนื้อ ครั้นตัดเนื้อแล้วย่อมตัดเอ็น ครั้นตัดเอ็นแล้วย่อมตัดกระดูก ครั้นตัดกระดูก
แล้วก็ตั้งจดเยื่อในกระดูกอยู่
เปรียบเหมือนบุรุษผู้ทรงพลัง เอาเชือกขนหางสัตว์อย่างเหนียวพันแข้ง แล้วสีไป
สีมา เชือกนั้นพึงตัดผิว ครั้นตัดผิวแล้วพึงตัดหนัง ครั้นตัดหนังแล้วพึงตัดเนื้อ
ครั้นตัดเนื้อแล้วพึงตัดเอ็น ครั้นตัดเอ็นแล้วพึงตัดกระดูก ครั้นตัดกระดูกแล้วก็ตั้ง
จดเยื่อในกระดูกอยู่ อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น ลาภสักการะและความสรรเสริญ
ย่อมตัดผิว ครั้นตัดผิวแล้วย่อมตัดหนัง ครั้นตัดหนังแล้วย่อมตัดเนื้อ ครั้นตัดเนื้อ
แล้วย่อมตัดเอ็น ครั้นตัดเอ็นแล้วย่อมตัดกระดูก ครั้นตัดกระดูกแล้วก็ตั้งจดเยื่อใน
กระดูกอยู่
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ อย่างนี้
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

รัชชุสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ภิกขุสูตร
ว่าด้วยภิกษุ

[๑๗๙] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่าลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นอันตราย
แม้แก่ภิกษุผู้เป็นอรหันตขีณาสพ
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ท่านพระอานนท์ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นอันตราย
แก่ภิกษุขีณาสพประเภทไหน’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๖. ลาภสักการสังยุต]
๓. ตติยวรรค ๑๐. ภิกขุสูตร

‘อานนท์ เราไม่กล่าวว่าลาภสักการะและความสรรเสริญ เป็นอันตรายแก่
เจโตวิมุตติอันไม่กำเริบของภิกษุขีณาสพนั้น แต่เรากล่าวว่าลาภสักการะและความ
สรรเสริญเป็นอันตรายแก่ธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันที่ภิกษุขีณาสพผู้ไม่ประมาท
มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่นั้น บรรลุแล้ว
อานนท์ ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย
เป็นอันตรายต่อการบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าอย่างนี้
เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลายจักละลาภสักการะและ
ความสรรเสริญที่เกิดขึ้น ลาภสักการะและความสรรเสริญที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่
ครอบงำจิตของเราทั้งหลายตั้งอยู่’ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

ภิกขุสูตรที่ ๑๐ จบ
ตติยวรรค จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. มาตุคามสูตร ๒. กัลยาณิสูตร
๓. เอกปุตตกสูตร ๔. เอกธีตุสูตร
๕. สมณพราหมณสูตร ๖. ทุติยสมณพราหมณสูตร
๗. ตติยสมณพราหมณสูตร ๘. ฉวิสูตร
๙. รัชชุสูตร ๑๐. ภิกขุสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๖. ลาภสักการสังยุต]
๔. จตุตถวรรค ๒. กุสลมูลสูตร

๔. จตุตถวรรค
หมวดที่ ๔

๑. ภินทิสูตร
ว่าด้วยการทำลาย

[๑๘๐] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ เทวทัต
ถูกลาภสักการะและความสรรเสริญครอบงำ ย่ำยีจิตแล้ว จึงทำลายสงฆ์
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ อย่างนี้
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

ภินทิสูตรที่ ๑ จบ

๒. กุสลมูลสูตร
ว่าด้วยกุศลมูล

[๑๘๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ
กุศลมูล๑ของเทวทัตผู้ถูกลาภสักการะและความสรรเสริญครอบงำ ย่ำยีจิต ถึงความ
ขาดสูญแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ อย่างนี้
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

กุศลมูลสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๖. ลาภสักการสังยุต]
๔. จตุตถวรรค ๔. สุกกธัมมสูตร

๓. กุสลธัมมสูตร
ว่าด้วยกุศลธรรม

[๑๘๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ กุศลธรรม
ของเทวทัตผู้ถูกลาภสักการะและความสรรเสริญครอบงำ ย่ำยีจิต ถึงความขาดสูญแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ อย่างนี้
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

กุสลธัมมสูตรที่ ๓ จบ

๔. สุกกธัมมสูตร
ว่าด้วยธรรมขาว

[๑๘๓] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ ธรรม
ฝ่ายดี (ขาว) ของเทวทัตผู้ถูกลาภสักการะและความสรรเสริญครอบงำ ย่ำยีจิต
ถึงความขาดสูญแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ อย่างนี้
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

สุกกธัมมสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๖. ลาภสักการสังยุต]
๔. จตุตถวรรค ๕. อจิรปักกันตสูตร

๕. อจิรปักกันตสูตร
ว่าด้วยการหลีกไปไม่นาน

[๑๘๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุง
ราชคฤห์ เมื่อพระเทวทัตหลีกไปไม่นาน ณ ที่นั้น พระผู้พระภาคทรงปรารภพระเทวทัต
ได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเกิดแก่เทวทัตเพื่อฆ่าตนเอง
เพื่อความเสื่อม
ต้นกล้วยเผล็ดผลเพื่อฆ่าตนเอง เพื่อความเสื่อม ฉันใด ลาภสักการะและ
ความสรรเสริญเกิดแก่เทวทัตเพื่อฆ่าตนเอง เพื่อความเสื่อม ฉันนั้น
ต้นไผ่ออกขุยเพื่อฆ่าตนเอง เพื่อความเสื่อม ฉันใด ลาภสักการะและความ
สรรเสริญเกิดแก่เทวทัตเพื่อฆ่าตนเอง เพื่อความเสื่อม ฉันนั้น
ต้นอ้อออกดอกเพื่อฆ่าตนเอง เพื่อความเสื่อม ฉันใด ลาภสักการะและความ
สรรเสริญเกิดแก่เทวทัตเพื่อฆ่าตนเอง เพื่อความเสื่อม ฉันนั้น
แม่ม้าอัสดรตั้งครรภ์เพื่อฆ่าตนเอง เพื่อความเสื่อม ฉันใด ลาภสักการะและ
ความสรรเสริญเกิดแก่เทวทัตเพื่อฆ่าตนเอง เพื่อความเสื่อม ฉันนั้น
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ อย่างนี้
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
“ผลกล้วยฆ่าต้นกล้วย ขุยไผ่ฆ่าต้นไผ่
ดอกอ้อฆ่าต้นอ้อ ลูกม้าอัสดรฆ่าแม่ม้า ฉันใด
สักการะย่อมฆ่าคนชั่ว ฉันนั้น”๑

อจิรปักกันตสูตรที่ ๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๖. ลาภสักการสังยุต]
๔. จตุตถวรรค ๖. ปัญจรถสูตร

๖. ปัญจรถสตสูตร
ว่าด้วยราชรถ ๕๐๐

[๑๘๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น อชาตศัตรูราชกุมารเสด็จโดยราชรถ ๕๐๐ คัน ไปบำรุง
พระเทวทัตทั้งเวลาเย็นเวลาเช้า และรับสั่งให้นำภัตตาหารที่สมควรไปพระราชทาน
๕๐๐ สำรับ ครั้งนั้น ภิกษุเป็นจำนวนมากเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อชาตศัตรูราชกุมารเสด็จโดยราชรถ ๕๐๐ คัน ไปบำรุง
พระเทวทัต ทั้งเวลาเย็นเวลาเช้า และรับสั่งให้นำภัตตาหารที่สมควรไปพระราชทาน
๕๐๐ สำรับ”
“ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอย่ายินดีลาภสักการะและความสรรเสริญของ
เทวทัตเลย แม้อชาตศัตรูราชกุมารจักเสด็จโดยราชรถ ๕๐๐ คัน ไปบำรุงเทวทัต
ทั้งเวลาเย็นเวลาเช้า และจักรับสั่งให้นำภัตตาหารที่สมควรไปพระราชทาน ๕๐๐ สำรับ
เพียงใด เทวทัตก็พึงหวังความเสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลายเพียงนั้น หวังความเจริญ
ไม่ได้
เปรียบเหมือนสุนัขดุที่เขาขยี้ดี (ดีหมีดีปลา) ใส่ในจมูก เมื่อเป็นเช่นนี้ มันก็ยิ่ง
ดุร้ายกว่าเดิมหลายเท่า อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น อชาตศัตรูราชกุมารจักเสด็จ
โดยราชรถ ๕๐๐ คัน ไปบำรุงเทวทัตทั้งเวลาเย็นเวลาเช้า และจักรับสั่งให้นำภัตตาหาร
ที่สมควรไปพระราชทาน ๕๐๐ สำรับ เพียงใด เทวทัตก็พึงหวังความเสื่อมในกุศลธรรม
ทั้งหลายเพียงนั้น หวังความเจริญไม่ได้
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ อย่างนี้
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

ปัญจรถสตสูตรที่ ๖ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๖. ลาภสักการสังยุต]
๔. จตุตถวรรค ๘-๑๓. ปิตุสุตตาทิฉักกะ

๗. มาตุสูตร
ว่าด้วยมารดา

[๑๘๖] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ เผ็ดร้อน
หยาบคาย เป็นอันตรายต่อการบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า
เรากำหนดรู้ใจของบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุแห่งมารดา
ท่านผู้นี้ก็ไม่จงใจพูดเท็จ’ ต่อมา เราเห็นเขาถูกลาภสักการะและความสรรเสริญ
ครอบงำ ย่ำยีจิตแล้ว ก็พูดเท็จทั้งที่รู้อยู่
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย
เป็นอันตรายต่อการบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า เพราะเหตุ
นั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลายจักละลาภสักการะและความ
สรรเสริญที่เกิดขึ้น ลาภสักการะและความสรรเสริญที่เกิดขึ้นแล้ว ก็จักไม่ครอบงำจิต
ของเราทั้งหลายตั้งอยู่’ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

มาตุสูตรที่ ๗ จบ

๘-๑๓. ปิตุสุตตาทิฉักกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๖ สูตรมีปิตุสูตรเป็นต้น

[๑๘๗] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ เผ็ดร้อน
หยาบคาย เป็นอันตรายต่อการบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า
เรากำหนดรู้ใจของบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุแห่ง
บิดา’ ฯลฯ
สูตรที่ ๘ จบ
๙. “แม้เพราะเหตุแห่งพี่ชายน้องชาย” ...
สูตรที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๖. ลาภสักการสังยุต]
๔. จตุตถวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑๐. “แม้เพราะเหตุแห่งพี่สาวน้องสาว” ...
สูตรที่ ๑๐ จบ
๑๑. “แม้เพราะเหตุแห่งบุตร” ...
สูตรที่ ๑๑ จบ
๑๒. “แม้เพราะเหตุแห่งธิดา” ...
สูตรที่ ๑๒ จบ
๑๓. “เรากำหนดรู้ใจของบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะ
เหตุแห่งปชาบดี ท่านผู้นี้ก็ไม่จงใจพูดเท็จ’ ต่อมา เราเห็นเขาถูกลาภสักการะและ
ความสรรเสริญครอบงำ ย่ำยีจิตแล้ว ก็พูดเท็จทั้งที่รู้อยู่
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ เผ็ดร้อน
หยาบคาย เป็นอันตรายต่อการบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า
เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลายจักละลาภสักการะและ
ความสรรเสริญที่เกิดขึ้น ลาภสักการะและความสรรเสริญที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่
ครอบงำจิตของเราทั้งหลายตั้งอยู่’ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

ปชาปติสูตรที่ ๑๓ จบ
จตุตถวรรค จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ภินทิสูตร ๒. กุสลมูลสูตร
๓. กุสลธัมมสูตร ๔. สุกกธัมมสูตร
๕. อจิรปักกันตสูตร ๖. ปัญจรถสตสูตร
๗. มาตุสูต ๘. ปิตุสูตร
๙. ภาตุสูตร ๑๐. ภคินิสูตร
๑๑. ปุตตสูต ๑๒. ธีตุสูตร
๑๓. ปชาปติสูตร

ลาภสักการสังยุต จบบริบูรณ์


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๗.ราหุลสังยุต] ๑. ปฐมวรรค ๑. จักขุสูตร

๗. ราหุลสังยุต

๑. ปฐมวรรค
หมวดที่ ๑

๑. จักขุสูตร
ว่าด้วยจักษุ

[๑๘๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระราหุลเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดง
ธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ซึ่งข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว จะพึงหลีกออกไปอยู่คนเดียว
ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เถิด”
“ราหุล เธอจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร จักขุ(ตา) เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะพิจารณา
เห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“โสตะ(หู)เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ...
“ฆานะ(จมูก)เที่ยงหรือไม่เที่ยง”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๗.ราหุลสังยุต] ๑. ปฐมวรรค ๑. จักขุสูตร

“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ...
“ชิวหา(ลิ้น)เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ...
“กายเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ...
“มโน(ใจ)เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะพิจารณา
เห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“ราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ ฯลฯ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโสตะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในฆานะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหา
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า
‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่น เพื่อความ
เป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
[พึงย่อพระสูตรทั้ง ๑๐ เช่นนี้]

จักขุสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๗. ราหุลสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๓. วิญญาณสูตร

๒. รูปสูตร
ว่าด้วยรูป

[๑๘๙] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ราหุล เธอจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“เสียง ... กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะ ... ธรรมารมณ์ เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ...
“ราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อม
เบื่อหน่ายแม้ในเสียง ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกลิ่น ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรส ย่อม
เบื่อหน่ายแม้ในโผฏฐัพพะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมารมณ์ เมื่อเบื่อหน่ายย่อม
คลายกำหนัด ฯลฯ รู้ชัดว่า” ...

รูปสูตรที่ ๒ จบ

๓. วิญญาณสูตร
ว่าด้วยวิญญาณ

[๑๙๐] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ราหุล เธอจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร จักขุวิญญาณ (ความรู้อารมณ์
ทางตา) เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“โสตวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางหู) ... ฆานวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทาง
จมูก) ... ชิวหาวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางลิ้น) ... กายวิญญาณ (ความรู้อารมณ์
ทางกาย) ... มโนวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางใจ) เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๗. ราหุลสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๔. สัมผัสสสูตร

“ราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุวิญญาณ
ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโสตวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในฆานวิญญาณ ย่อม
เบื่อหน่ายแม้ในชิวหาวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกายวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในมโนวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด ฯลฯ รู้ชัดว่า” ...

วิญญาณสูตรที่ ๓ จบ

๔. สัมผัสสสูตร
ว่าด้วยสัมผัส

[๑๙๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ราหุล เธอจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร จักขุสัมผัสเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“โสตสัมผัส ... ฆานสัมผัส ... ชิวหาสัมผัส ... กายสัมผัส ... มโนสัมผัส
เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุสัมผัส
ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโสตสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในฆานสัมผัส ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในชิวหาสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกายสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโนสัมผัส
เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด ฯลฯ รู้ชัดว่า” ...

สัมผัสสสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๗. ราหุลสังยุต] ๑. ปฐมวรรค ๖. สัญญาสูตร

๕. เวทนาสูตร
ว่าด้วยเวทนา

[๑๙๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ราหุล เธอจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร จักขุสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิด
แต่จักขุสัมผัส) เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“โสตสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาที่เกิดแต่โสตสัมผัส) ... ฆานสัมผัสสชาเวทนา
(เวทนาที่เกิดแต่ฆานสัมผัส) ... ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาที่เกิดแต่ชิวหาสัมผัส) ...
กายสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาที่เกิดแต่กายสัมผัส) ... มโนสัมผัสสชาเวทนา
(เวทนาที่เกิดแต่มโนสัมผัส) เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุสัมผัสสชา-
เวทนา ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโสตสัมผัสสชาเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน
ฆานสัมผัสสชาเวทนา ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหาสัมผัสสชาเวทนา ... ย่อมเบื่อ
หน่ายแม้ในกายสัมผัสสชาเวทนา ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโนสัมผัสสชาเวทนา
ฯลฯ รู้ชัดว่า” ...

เวทนาสูตรที่ ๕ จบ

๖. สัญญาสูตร
ว่าด้วยสัญญา

[๑๙๓] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ราหุล เธอจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปสัญญา (ความหมายรู้รูป) เที่ยง
หรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“สัททสัญญา (ความหมายรู้เสียง) ... คันธสัญญา (ความหมายรู้กลิ่น) ...
รสสัญญา (ความหมายรู้รส) ... โผฏฐัพพสัญญา (ความหมายรู้โผฏฐัพพะ) ...
ธัมมสัญญา (ความหมายรู้อารมณ์ทางใจ) เที่ยงหรือไม่เที่ยง”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๗. ราหุลสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๗.สัญเจตนาสูตร

“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูปสัญญา ฯลฯ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัททสัญญา ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในคันธสัญญา ... ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในรสสัญญา ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโผฏฐัพพสัญญา ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน
ธัมมสัญญา ฯลฯ รู้ชัดว่า” ...

สัญญาสูตรที่ ๖ จบ

๗. สัญเจตนาสูตร
ว่าด้วยสัญเจตนา

[๑๙๔] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ราหุล เธอจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปสัญเจตนา (ความจำนงรูป) เที่ยง
หรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“สัททสัญเจตนา (ความจำนงเสียง) ... คันธสัญเจตนา (ความจำนงกลิ่น) ...
รสสัญเจตนา (ความจำนงรส) ... โผฏฐัพพสัญเจตนา (ความจำนงโผฏฐัพพะ) ...
ธัมมสัญเจตนา (ความจำนงธรรมารมณ์) เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูปสัญเจตนา
ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัททสัญเจตนา ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในคันธสัญเจตนา ...
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรสสัญเจตนา ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโผฏฐัพพสัญเจตนา ...
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธัมมสัญเจตนา ฯลฯ รู้ชัดว่า” ...

สัญเจตนาสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๗. ราหุลสังยุต] ๑. ปฐมวรรค ๙. ธาตุสูตร

๘. ตัณหาสูตร
ว่าด้วยตัณหา

[๑๙๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ราหุล เธอจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปตัณหาเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“สัททตัณหา ... คันธตัณหา ... รสตัณหา ... โผฏฐัพพตัณหา ... ธัมมตัณหา
เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูปตัณหา
ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัททตัณหา ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในคันธตัณหา ... ย่อม
เบื่อหน่ายแม้ในรสตัณหา ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโผฏฐัพพตัณหา ... ย่อมเบื่อ
หน่ายแม้ในธัมมตัณหา ฯลฯ รู้ชัดว่า” ...

ตัณหาสูตรที่ ๘ จบ

๙. ธาตุสูตร
ว่าด้วยธาตุ

[๑๙๖] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ราหุล เธอจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ปฐวีธาตุเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“อาโปธาตุ ... เตโชธาตุ ... วาโยธาตุ ... อากาสธาตุ ... วิญญาณธาตุ เที่ยง
หรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในปฐวีธาตุ ฯลฯ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในอาโปธาตุ ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเตโชธาตุ ... ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในวาโยธาตุ ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในอากาสธาตุ ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ-
ธาตุ ฯลฯ รู้ชัดว่า” ...

ธาตุสูตรที่ ๙ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๗. ราหุลสังยุต] ๑. ปฐมวรรค  ๑๐. ขันธสูตร

๑๐. ขันธสูตร
ว่าด้วยขันธ์

[๑๙๗] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ราหุล เธอจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“เวทนา ... สัญญา ... สังขารทั้งหลาย ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะพิจารณา
เห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“ราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ฯลฯ ย่อม
เบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน
สังขารทั้งหลาย ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัด
ว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อ
ความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

ขันธสูตรที่ ๑๐ จบ
ปฐมวรรค จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. จักขุสูตร ๒. รูปสูตร
๓. วิญญาณสูตร ๔. สัมผัสสูตร
๕. เวทนาสูตร ๖. สัญญาสูตร
๗. สัญเจตนาสูตร ๘. ตัณหาสูตร
๙. ธาตุสูตร ๑๐. ขันธสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๗. ราหุลสังยุต] ๒. ทุติยวรรค ๑. จักขุสูตร

๒. ทุติยวรรค
หมวดที่ ๒

๑. จักขุสูตร
ว่าด้วยจักษุ

[๑๙๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระราหุลได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่าน
พระราหุลดังนี้ว่า
“ราหุล เธอจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร จักขุเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะพิจารณา
เห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“โสตะ ฯลฯ ฆานะ ... ชิวหา ... กาย ... มโนเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะพิจารณา
เห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๗. ราหุลสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๒-๑๐.รูปาทิสุตตนวกะ

“ราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ ฯลฯ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโสตะ ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในฆานะ ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหา
... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกาย ... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลาย
กำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’
รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
[พึงย่อพระสูตรทั้ง ๑๐ เช่นนี้]

จักขุสูตรที่ ๑ จบ

๒-๑๐. รูปาทิสุตตนวกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๙ สูตรมีรูปสูตรเป็นต้น

[๑๙๙] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ราหุล เธอจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ... ธรรมารมณ์” ...
สูตรที่ ๒ จบ
“จักขุวิญญาณ ฯลฯ โสตวิญญาณ ... ฆานวิญญาณ ... ชิวหาวิญญาณ ...
กายวิญญาณ ... มโนวิญญาณ” ...
สูตรที่ ๓ จบ
“จักขุสัมผัส ฯลฯ โสตสัมผัส... ฆานสัมผัส... ชิวหาสัมผัส... กายสัมผัส...
มโนสัมผัส” ...
สูตรที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๒๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๗. ราหุลสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๒-๑๐.รูปาทิสุตตนวกะ

“จักขุสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ โสตสัมผัสสชาเวทนา ... ฆานสัมผัสสชาเวทนา ...
ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา ... กายสัมผัสสชาเวทนา... มโนสัมผัสสชาเวทนา” ...
สูตรที่ ๕ จบ
“รูปสัญญา ฯลฯ สัททสัญญา... คันธสัญญา... รสสัญญา... โผฏฐัพพสัญญา ...
ธัมมสัญญา” ...
สูตรที่ ๖ จบ
“รูปสัญเจตนา (ความจำนงรูป) ฯลฯ สัททสัญเจตนา (ความจำนงเสียง) ...
คันธสัญเจตนา (ความจำนงกลิ่น) ... รสสัญเจตนา (ความจำนงรส) ... โผฏฐัพพ-
สัญเจตนา (ความจำนงโผฏฐัพพะ) ... ธัมมสัญเจตนา (ความจำนงธรรมารมณ์) ” ...
สูตรที่ ๗ จบ
“รูปตัณหา ฯลฯ สัททตัณหา... คันธตัณหา... รสตัณหา... โผฏฐัพพตัณหา...
ธัมมตัณหา” ...
สูตรที่ ๘ จบ
“ปฐวีธาตุ ฯลฯ อาโปธาตุ ... เตโชธาตุ ... วาโยธาตุ ... อากาสธาตุ ...
วิญญาณธาตุ” ...
สูตรที่ ๙ จบ
“ราหุล รูป ฯลฯ เวทนา ... สัญญา ... สังขารทั้งหลาย ... วิญญาณเที่ยงหรือ
ไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“ราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ รู้ชัดว่า ฯลฯ ไม่มีกิจอื่นเพื่อความ
เป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

ขันธสูตรที่ ๑๐ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๗. ราหุลสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๑๑. อนุสยสูตร

๑๑. อนุสยสูตร
ว่าด้วยอนุสัย

[๒๐๐] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
ครั้งนั้น ท่านพระราหุลเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้เห็นอย่างไร อหังการ๑ มมังการ๒ และ
มานานุสัย๓ จึงไม่มีในกายที่มีวิญญาณครองนี้ และในสรรพนิมิตภายนอก”
“ราหุล รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นไปภายใน
หรือภายนอก หยาบ หรือละเอียด เลว หรือประณีต อยู่ไกล หรืออยู่ใกล้ รูป
ทั้งหมดนั้น อริยสาวกเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่
ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา”
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ... สังขารเหล่าใด
เหล่าหนึ่ง ...
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นไปภายใน
หรือภายนอก หยาบ หรือละเอียด เลว หรือประณีต อยู่ไกล หรืออยู่ใกล้ วิญญาณ
ทั้งหมดนั้น อริยสาวกเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๗. ราหุลสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๑๒. อปคตสูตร

ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา”
ราหุล เมื่อบุคคลรู้เห็นอย่างนี้ อหังการ มมังการและมานานุสัย จึงไม่มีในกาย
ที่มีวิญญาณครองนี้ และในสรรพนิมิตภายนอก”

อนุสยสูตรที่ ๑๑ จบ

๑๒. อปคตสูตร
ว่าด้วยปราศจากอหังการ มมังการและมานะ

[๒๐๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
ครั้งนั้น ท่านพระราหุลเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้เห็นอย่างไร ใจจึงปราศจากอหังการ มมังการ
และมานะ ในกายที่มีวิญญาณครองนี้ และในสรรพนิมิตภายนอก ก้าวล่วงส่วนแห่ง
มานะ สงบระงับ หลุดพ้นดีแล้ว”
“ราหุล รูปอย่างใดอย่างหนึ่งทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นไปภายใน
หรือภายนอก หยาบ หรือละเอียด เลว หรือประณีต อยู่ไกล หรืออยู่ใกล้ รูป
ทั้งหมดนั้น อริยสาวกเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่
ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา” เป็นผู้หลุดพ้นเพราะไม่ยึดมั่นถือมั่น
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ... สังขารเหล่าใด
เหล่าหนึ่ง ... วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่งทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นไป
ภายใน หรือภายนอก หยาบ หรือละเอียด เลว หรือประณีต อยู่ไกล หรืออยู่ใกล้
วิญญาณทั้งหมดนั้น อริยสาวกเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๓๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๗. ราหุลสังยุต]
๒. ทุติยวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ เป็นผู้หลุดพ้นเพราะไม่
ยึดมั่นถือมั่น
ราหุล เมื่อบุคคลรู้เห็นอย่างนี้ ใจจึงปราศจากอหังการ มมังการ และมานะ
ในกายที่มีวิญญาณครองนี้ และในสรรพนิมิตภายนอก ก้าวล่วงส่วนแห่งมานะ
สงบระงับ หลุดพ้นดีแล้ว”

อปคตสูตรที่ ๑๒ จบ
ทุติยวรรค จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. จักขุสูตร ๒. รูปสูตร
๓. วิญญาณสูตร ๔. สัมผัสสสูตร
๕. เวทนาสูตร ๖. สัญญาสูตร
๗. สัญเจตนาสูตร ๘. ตัณหาสูตร
๙. ธาตุสูตร ๑๐. ขันธสูตร
๑๑. อนุสยสูตร ๑๒. อปคตสูตร

ราหุลสังยุต จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๓๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๘. ลักขณสังยุต] ๑. ปฐมวรรค ๑. อัฏฐิสูตร

๘. ลักขณสังยุต
๑. ปฐมวรรค
หมวดที่ ๑

๑. อัฏฐิสูตร
ว่าด้วยเปรตมีแต่โครงกระดูก๑

[๒๐๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น ท่านพระลักขณะกับท่านพระมหาโมคคัลลานะพักอยู่บน
ภูเขาคิชฌกูฏ ครั้นเวลาเช้า พระมหาโมคคัลลานะครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร
เข้าไปหาท่านพระลักขณะถึงที่อยู่ เชิญชวนว่า ‘ท่านพระลักขณะมาเถิด พวกเราจะ
เข้าไปบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ด้วยกัน’ ท่านพระลักขณะรับคำแล้ว
ขณะที่ท่านพระมหาโมคคัลลานะกำลังลงจากภูเขาคิชฌกูฏถึงสถานที่แห่งหนึ่ง
ได้แสดงอาการแย้ม
ลำดับนั้น ท่านพระลักขณะถามท่านพระมหาโมคคัลลานะว่า ‘ท่านโมคคัลลานะ
อะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้ท่านแสดงอาการแย้ม’
“ท่านลักขณะ ยังไม่ถึงเวลาตอบปัญหานี้ เมื่อเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคจึงถาม
ปัญหานี้เถิด”
ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะและท่านพระมหาโมคคัลลานะ เที่ยวบิณฑบาตใน
กรุงราชคฤห์ กลับจากบิณฑบาต หลังจากฉันภัตตาหารเสร็จ จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ครั้นแล้วท่านพระลักขณะ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๘. ลักขณสังยุต] ๑. ปฐมวรรค ๒. เปสิสูตร

ได้กล่าวกับท่านพระมหาโมคคัลลานะว่า “ท่านมหาโมคคัลลานะ เมื่อท่านลงจาก
ภูเขาคิชฌกูฏ ในกรุงราชคฤห์นี้ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้แสดงอาการแย้ม อะไรเป็นเหตุ
เป็นปัจจัยให้ท่านแสดงอาการแย้ม”
“ท่านผู้มีอายุ เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นอัฏฐิสังขลิกเปรต (เปรต
มีแต่โครงกระดูก) ลอยขึ้นสู่กลางอากาศ ฝูงแร้ง นกกา นกเหยี่ยวพากันโฉบอยู่ขวักไขว่
จิกทึ้งยื้อแย่งเนื้อที่ติดอยู่ตามระหว่างซี่โครงสะบัดไปมาจนมันร้องครวญคราง กระผม
มีความรู้สึกว่า ‘อัศจรรย์จริงหนอ ไม่เคยปรากฏ ที่มีสัตว์เช่นนี้ มียักษ์เช่นนี้ มีการ
ได้อัตภาพเช่นนี้อยู่”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย
สาวกทั้งหลายที่มีจักษุมีญาณก็ยังมีอยู่ เพราะสาวกที่รู้ที่เห็นนี้เป็นพยานได้ เมื่อก่อน
เราก็ได้เห็นอัฏฐิสังขลิกเปรตนั้น แต่ไม่พยากรณ์ เพราะการพยากรณ์๑นั้น จะไม่เป็น
ประโยชน์เกื้อกูล ซ้ำจะเป็นทุกข์ยาวนาน แก่ผู้ที่ไม่เชื่อเรา
ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้นเคยเป็นคนฆ่าโคในกรุงราชคฤห์ เพราะผลกรรมนั้น
จึงตกนรกหมกไหม้อยู่หลายปี หลายร้อยปี หลายพันปี หลายแสนปีแล้วได้มีอัตภาพ
เช่นนี้ เพราะเศษกรรมนั้นที่ยังเหลือ”
[พระสูตรทุกสูตรที่ละไว้มีความเต็มเหมือนสูตรนี้]

อัฏฐิสูตรที่ ๑ จบ

๒. เปสิสูตร
ว่าด้วยเปรตมีแต่ร่างชิ้นเนื้อ๒

[๒๐๓] “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นมังสเปสิเปรต(เปรต
มีแต่ร่างชิ้นเนื้อ)ลอยขึ้นสู่กลางอากาศ ฝูงแร้ง นกกา นกเหยี่ยวพากันโฉบอยู่ขวักไขว่
จิกทึ้งยื้อแย่งเปรตนั้นสะบัดไปมาจนมันร้องครวญคราง ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้นเคยเป็นคนฆ่าโคในกรุงราชคฤห์” ฯลฯ

เปสิสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๘. ลักขณสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๕. อสิโลมสูตร

๓. ปิณฑสูตร
ว่าด้วยเปรตร่างก้อนเนื้อ๑

[๒๐๔] “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นมังสปิณฑเปรต
(เปรต ร่างก้อนเนื้อ) ลอยขึ้นสู่กลางอากาศ ฝูงแร้ง นกกา นกเหยี่ยวพากันโฉบอยู่ขวักไขว่
จิกทึ้งยื้อแย่งเปรตนั้นสะบัดไปมาจนมันร้องครวญคราง ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้นเคยเป็นคนฆ่านกในกรุงราชคฤห์” ฯลฯ

ปิณฑสูตรที่ ๓ จบ

๔. นิจฉวิสูตร
ว่าด้วยเปรตร่างไม่มีผิวหนังเพศชาย๒

[๒๐๕] “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นนิจฉวิเปรต(เปรตร่าง
ไม่มีผิวหนัง)เพศชาย ลอยขึ้นสู่กลางอากาศ ฝูงแร้ง นกกา นกเหยี่ยวพากันโฉบอยู่
ขวักไขว่จิกทึ้งยื้อแย่งเปรตนั้นสะบัดไปมาจนมันร้องครวญคราง ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้นเคยเป็นคนฆ่าแกะในกรุงราชคฤห์” ฯลฯ

นิจฉวิสูตรที่ ๔ จบ

๕. อสิโลมสูตร
ว่าด้วยเปรตร่างมีขนเป็นดาบเพศชาย๓

[๒๐๖] “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นอสิโลมเปรต(เปรตร่าง
มีขนเป็นดาบ)เพศชาย ลอยขึ้นสู่กลางอากาศ (ขน)ดาบเหล่านั้นของมันหลุดลอยขึ้นไป
แล้วกลับตกลงที่ร่างของมันเองจนมันร้องครวญคราง ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้นเคยเป็นคนฆ่าหมูในกรุงราชคฤห์” ฯลฯ

อสิโลมสูตรที่ ๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๘. ลักขณสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๘. สูจิโลมสูตร

๖. สัตติสูตร
ว่าด้วยเปรตร่างมีขนเป็นหอกเพศชาย๑

[๒๐๗] “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นสัตติโลมเปรต(เปรตมี
ขนเป็นหอก)เพศชาย ลอยขึ้นสู่กลางอากาศ (ขน)หอกเหล่านั้นของมันหลุดลอยขึ้น
ไปแล้วกลับตกลงมาที่ร่างของมันเองจนมันร้องครวญคราง ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้นเคยเป็นพรานล่าเนื้อในกรุงราชคฤห์” ฯลฯ

สัตติสูตรที่ ๖ จบ

๗. อุสุโลมสูตร
ว่าด้วยเปรตร่างมีขนเป็นลูกศรเพศชาย๒

[๒๐๘] “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นอุสุโลมเปรต(เปรตร่าง
มีขนเป็นลูกศร)เพศชาย ลอยขึ้นสู่กลางอากาศ (ขน)ลูกศรเหล่านั้นของมันหลุดลอย
ขึ้นไปแล้วกลับตกลงมาที่ร่างของมันเองจนมันร้องครวญคราง ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้นเคยเป็นเพชฌฆาตในกรุงราชคฤห์” ฯลฯ

อุสุโลมสูตรที่ ๗ จบ

๘. สูจิโลมสูตร
ว่าด้วยเปรตมีร่างถูกเข็มทิ่มแทงเพศชาย๓

[๒๐๙] “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นสูจิโลมเปรต(เปรตร่าง
มีขนเป็นเข็ม)เพศชาย ลอยขึ้นสู่กลางอากาศ (ขน)เข็มเหล่านั้นของมันหลุดลอยขึ้น
ไปแล้วกลับตกลงมาที่ร่างของมันเองจนมันร้องครวญคราง ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้นเคยเป็นนายสารถีในกรุงราชคฤห์” ฯลฯ

สูจิโลมสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๘. ลักขณสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๑๐. กุมภัณฑสูตร

๙. ทุติยสูจิโลมสูตร
ว่าด้วยเปรตมีร่างถูกเข็มทิ่มแทงเพศชาย สูตรที่ ๒ (๑)

[๒๑๐] “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นสูจิเปรต(เปรตร่างถูก
เข็มทิ่มแทง)เพศชาย ลอยขึ้นสู่กลางอากาศ เข็มเหล่านั้นแทงเข้าไปในศีรษะของมันทะลุ
ออกทางปาก แทงเข้าไปในปากทะลุออกทางอก แทงเข้าไปในอกทะลุออกทางท้อง
แทงเข้าไปในท้องทะลุออกทางขาอ่อนทั้ง ๒ แทงเข้าไปในขาอ่อนทะลุออกทางแข้ง
ทั้ง ๒ แทงเข้าไปในแข้งทะลุออกทางเท้าทั้ง ๒ จนมันร้องครวญคราง ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้นเคยเป็นคนพูดส่อเสียดในกรุงราชคฤห์” ฯลฯ

ทุติยสูจิโลมสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. กุมภัณฑสูตร
ว่าด้วยเปรตมีอัณฑะโตเท่าหม้อ๒

[๒๑๑] “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นกุมภัณฑเปรต(เปรต
อัณฑะโตเท่าหม้อ)เพศชาย ลอยขึ้นสู่กลางอากาศ เมื่อเปรตนั้นเดินไปก็ยกอัณฑะ
เหล่านั้นขึ้นพาดไว้บนบ่า เมื่อนั่งก็นั่งทับอัณฑะเหล่านั้น ฝูงแร้ง นกกา นกเหยี่ยว
พากันโฉบอยู่ขวักไขว่จิกทึ้งยื้อแย่งเปรตนั้นสะบัดไปมาจนมันร้องครวญคราง ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้นเคยเป็นผู้พิพากษาโกงชาวบ้านในกรุงราชคฤห์” ฯลฯ

กุมภัณฑสูตรที่ ๑๐ จบ
ปฐมวรรค จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อัฏฐิสูตร ๒. เปสิสูตร
๓. ปิณฑสูตร ๔. นิจฉวิสูตร
๕. อสิโลมสูตร ๖. สัตติสูตร
๗. อุสุโลมสูตร ๘. สูจิโลมสูตร
๙. ทุติยสูจิโลมสูตร ๑๐. กุมภัณฑสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๘. ลักขณสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๒. คูถขาทสูตร

๒. ทุติยวรรค
หมวดที่ ๒

๑. สสีสกสูตร
ว่าด้วยเปรตจมหลุมคูถท่วมศีรษะเพศชาย๑

[๒๑๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
เขตกรุงราชคฤห์ “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นเปรตจมหลุมคูถ
จนท่วมศีรษะเพศชาย ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้นเคยเป็นชู้กับภรรยาของผู้อื่นในกรุงราชคฤห์” ฯลฯ

สสีสกสูตรที่ ๑ จบ

๒. คูถขาทสูตร
ว่าด้วยเปรตกินคูถเพศชาย๒

[๒๑๓] “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นเปรตผู้จมหลุมคูถ
ท่วมศีรษะ กำลังใช้มือทั้ง ๒ กอบคูถกินเพศชาย ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้นเคยเป็นพราหมณ์ในกรุงราชคฤห์ พราหมณ์นั้นนิมนต์
พระภิกษุสงฆ์ในพระศาสนาของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้าให้ฉันภัตตาหารแล้ว เทคูถ
ลงใส่รางจนเต็ม สั่งให้คนบอกเวลาอาหารว่า ‘ขอท่านผู้เจริญทั้งหลายจงฉันอาหาร
และนำไปให้พอแก่ความต้องการเถิด” ฯลฯ

คูถขาทสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๘. ลักขณสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๔. มังคุลิตถีสูตร

๓. นิจฉวิตถีสูตร
ว่าด้วยเปรตร่างไม่มีผิวหนังเพศหญิง๑

[๒๑๔] “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นนิจฉวิเปรตเพศหญิง
ลอยขึ้นสู่กลางอากาศ ฝูงแร้ง นกกา นกเหยี่ยวพากันโฉบอยู่ขวักไขว่จิกทึ้งยื้อแย่ง
เปรตนั้นสะบัดไปมาจนมันร้องครวญคราง ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เปรตหญิงตนนั้นเคยประพฤตินอกใจสามีในกรุงราชคฤห์” ฯลฯ

นิจฉวิตถีสูตรที่ ๓ จบ

๔. มังคุลิตถีสูตร
ว่าด้วยเปรตรูปร่างน่าเกลียดเพศหญิง๒

[๒๑๕] “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นมังคุลิเปรตกลิ่นเหม็น
เพศหญิงลอยขึ้นสู่กลางอากาศ ฝูงแร้ง นกกา นกเหยี่ยวพากันโฉบอยู่ขวักไขว่จิกทึ้ง
ยื้อแย่งเปรตนั้นสะบัดไปมาจนมันร้องครวญคราง ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เปรตหญิงตนนั้นเคยเป็นแม่มดในกรุงราชคฤห์” ฯลฯ

มังคุลิตถีสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๘. ลักขณสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๗. ปาปภิกขุสูตร

๕. โอกิลินีสูตร
ว่าด้วยเปรตร่างถูกไฟลวกเพศหญิง๑

[๒๑๖] “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นโอกิลินีเปรตเพศหญิง
ถูกถ่านเพลิงเผารอบตัวจนสุกเยิ้ม หยาดน้ำไหลหยดลง ลอยขึ้นสู่กลางอากาศจน
มันร้องครวญคราง ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เปรตหญิงตนนั้นเคยเป็นพระอัครมเหสีของพระเจ้ากาลิงคะ นางขี้หึง
เอากระทะมีถ่านไฟคลอกหญิงร่วมสามี” ฯลฯ

โอกิลินีสูตรที่ ๕ จบ

๖. อสีสกสูตร
ว่าด้วยเปรตศีรษะขาด๒

[๒๑๗] “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นอสีสกพันธเปรตลอย
ขึ้นสู่กลางอากาศ ตาและปากของมันอยู่ที่อก ฝูงแร้ง นกกา นกเหยี่ยวพากันโฉบอยู่
ขวักไขว่จิกทึ้งยื้อแย่งเปรตนั้นสะบัดไปมาจนมันร้องครวญคราง ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้นเคยเป็นเพชฌฆาตฆ่าโจรชื่อหาริกะในกรุงราชคฤห์” ฯลฯ

อสีสกสูตรที่ ๖ จบ

๗. ปาปภิกขุสูตร
ว่าด้วยเปรตมีรูปเป็นภิกษุชั่ว๓

[๒๑๘] “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นภิกษุเปรตลอยขึ้นสู่
กลางอากาศ สังฆาฏิ บาตร ประคตเอว และร่างกายของมัน ถูกไฟติดลุกโชนจนมัน
ร้องครวญคราง ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้นเคยเป็นภิกษุชั่วในพระศาสนาของพระกัสสปสัมมา-
สัมพุทธเจ้า” ฯลฯ

ปาปภิกขุสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๘. ลักขณสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๑๐. ปาปสามเณรสูตร

๘. ปาปภิกขุนีสูตร
ว่าด้วยเปรตมีรูปเป็นภิกษุณีชั่ว๑

[๒๑๙] “ได้เห็นภิกษุณีเปรตลอยขึ้นสู่กลางอากาศ สังฆาฏิของมันถูกไฟติด
ลุกโชน” ฯลฯ

ปาปภิกขุนีสูตรที่ ๘ จบ

๙. ปาปสิกขมานาสูตร
ว่าด้วยเปรตมีรูปเป็นสิกขมานาชั่ว๒

[๒๒๐] “ได้เห็นสิกขมานาเปรตลอยขึ้นสู่กลางอากาศ สังฆาฏิของมันถูกไฟติด
ลุกโชน จนมันร้องครวญคราง ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้นเคยเป็นสิกขมานาชั่ว” ฯลฯ

ปาปสิกขมานาสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ปาปสามเณรสูตร
ว่าด้วยเปรตมีรูปเป็นสามเณรชั่ว๓

[๒๒๑] “ได้เห็นสามเณรเปรตลอยขึ้นสู่กลางอากาศ สังฆาฏิของมันถูกไฟติด
ลุกโชน จนมันร้องครวญคราง ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้นเคยเป็นสามเณรชั่ว” ฯลฯ

ปาปสามเณรสูตรที่ ๑๐ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๘. ลักขณสังยุต]
๒. ทุติยวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑๑. ปาปสามเณรีสูตร
ว่าด้วยเปรตมีรูปเป็นสามเณรีชั่ว๑

[๒๒๒] “ท่าน เมื่อกระผมลงมาจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นสามเณรีเปรตลอย
ขึ้นสู่กลางอากาศ สังฆาฏิ บาตร ประคตเอว และร่างกายของมัน ถูกไฟติดลุกโชนจน
มันร้องครวญคราง กระผมมีความรู้สึกว่า ‘น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ที่มีสัตว์
เช่นนี้ มียักษ์เช่นนี้ มีการได้อัตภาพเช่นนี้อยู่’ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่ง
เรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย สาวกทั้งหลายที่มีจักษุมีญาณก็ยัง
มีอยู่ เพราะสาวกที่รู้ที่เห็นนี้เป็นพยานได้ เมื่อก่อนเราก็เห็นสามเณรีเปรตนั้น แต่ไม่
พยากรณ์ เพราะการพยากรณ์นั้น จะไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล ซ้ำจะเป็นทุกข์ยาวนาน
แก่ผู้ที่ไม่เชื่อเรา
ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้นเคยเป็นสามเณรีชั่วในพระศาสนาของพระกัสสปสัมมา-
สัมพุทธเจ้า เพราะผลกรรมนั้น สามเณรีนั้นจึงตกนรกหมกไหม้อยู่หลายปี หลาย
ร้อยปี หลายพันปี หลายแสนปีแล้ว ได้รับอัตภาพเช่นนี้ เพราะเศษกรรมนั้น
ที่ยังเหลือ”

ปาปสามเณรีสูตรที่ ๑๑ จบ
ทุติยวรรค จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สสีสกสูตร ๒. คูถขาทสูตร
๓. นิจฉวิตถีสูตร ๔. มังคุลิตถีสูตร
๕. โอกิลินีสูตร ๖. อสีสกสูตร
๗. ปาปภิกขุสูตร ๘. ปาปภิกขุนีสูตร
๙. ปาปสิกขมานาสูตร ๑๐. ปาปสามเณรสูตร
๑๑. ปาปสามเณรีสูตร

ลักขณสังยุต จบบริบูรณ์


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๙.โอปัมมสังยุต] ๑.กูฏสูตร ๒. นขสิขสูตร

๙. โอปัมมสังยุต
๑. กูฏสูตร
ว่าด้วยเรือนยอด

[๒๒๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย กลอนเรือนยอดอย่างใดอย่างหนึ่ง กลอนเรือนยอดเหล่านั้น
ทั้งหมดไปรวมที่ยอด เมื่อรื้อยอดเรือน กลอนเหล่านั้นทั้งหมดย่อมถึงการรื้อด้วย
ฉันใด
อกุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง อกุศลธรรมเหล่านั้นทั้งหมด ล้วนมีอวิชชา
เป็นมูล มีอวิชชาเป็นแหล่งรวม เมื่ออวิชชาถูกถอน อกุศลธรรมเหล่านั้นทั้งหมด
ย่อมถึงการเพิกถอน ฉันนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลาย
จักเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่’ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

กูฏสูตรที่ ๑ จบ

๒. นขสิขสูตร
ว่าด้วยฝุ่นติดปลายเล็บ

[๒๒๔] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงใช้ปลายพระนขาช้อนฝุ่นขึ้นมาเล็กน้อยแล้วรับสั่ง
เรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่า
อย่างไร คือ ฝุ่นเล็กน้อยที่เราใช้ปลายเล็บช้อนขึ้นมานี้ กับมหาปฐพีนี้ อย่างไหน
มากกว่ากัน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มหาปฐพีนี้นั้นแหละมีมากกว่า ฝุ่นเล็กน้อยที่พระองค์
ทรงใช้ปลายพระนขาช้อนขึ้นมานี้มีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับมหาปฐพีแล้ว ฝุ่นที่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๓๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๙. โอปัมมสังยุต] ๓. กุลสูตร

พระองค์ทรงใช้ปลายพระนขาช้อนขึ้นมามีเพียงเล็กน้อย นับไม่ได้ เทียบเคียงกันไม่ได้
ไม่ถึงส่วนเสี้ยว”
“เหล่าสัตว์ที่กลับมาเกิดในหมู่มนุษย์มีน้อย เหล่าสัตว์ที่ไปเกิดในกำเนิดอื่นนอกจาก
มนุษย์มีมากกว่า ก็ฉันนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลาย
จักเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่’ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

นขสิขสูตรที่ ๒ จบ

๓. กุลสูตร
ว่าด้วยตระกูล

[๒๒๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย ตระกูลเหล่าใดเหล่าหนึ่งมีสตรีมาก มีบุรุษน้อย ตระกูล
เหล่านั้นย่อมถูกพวกโจรผู้ใช้หม้อเป็นเครื่องมือปล้นได้ง่าย ฉันใด เมตตาเจโตวิมุตติ๑
ที่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งไม่เจริญแล้ว ไม่ทำให้มากแล้ว ภิกษุรูปนั้นย่อมถูกพวกอมนุษย์
กำจัดได้ง่าย ฉันนั้น
ตระกูลเหล่าใดเหล่าหนึ่งมีสตรีน้อย มีบุรุษมาก ตระกูลเหล่านั้นย่อมถูกพวก
โจรผู้ใช้หม้อเป็นเครื่องมือปล้นได้ยาก ฉันใด เมตตาเจโตวิมุตติที่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง
เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ภิกษุรูปนั้นย่อมถูกพวกอมนุษย์กำจัดได้ยาก ฉันนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลาย
จักเจริญเมตตาเจโตวิมุตติ จักทำให้มาก ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ทำให้
ตั้งมั่น สั่งสม ปรารภดี’ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

กุลสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๙. โอปัมมสังยุต] ๕. สัตติสูตร

๔. โอกขาสูตร
ว่าด้วยการให้ทาน

[๒๒๖] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย บุคคลใดพึงให้ทานประมาณ ๑๐๐ หม้อใหญ่ในเวลาเช้า
บุคคลใดพึงให้ทานประมาณ ๑๐๐ หม้อใหญ่ในเวลาเที่ยง บุคคลใดพึงให้ทาน
ประมาณ ๑๐๐ หม้อใหญ่ในเวลาเย็น บุคคลใดพึงเจริญเมตตาจิตในเวลาเช้าอย่างน้อย
เพียงขณะการหยดน้ำนมโค๑ บุคคลใดพึงเจริญเมตตาจิตในเวลาเที่ยงอย่างน้อยเพียง
ขณะการหยดน้ำนมโค หรือบุคคลใดพึงเจริญเมตตาจิตในเวลาเย็นอย่างน้อยเพียง
ขณะการหยดน้ำนมโค การเจริญเมตตาจิตนี้มีผลมากกว่าทานที่บุคคลให้แล้ว ๓ ครั้ง
ในวันหนึ่งนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลายจัก
เจริญเมตตาเจโตวิมุตติ จักทำให้มาก ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ทำให้ตั้งมั่น
สั่งสม ปรารภดี’ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

โอกขาสูตรที่ ๔ จบ

๕. สัตติสูตร
ว่าด้วยหอก

[๒๒๗] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย หอกที่มีใบคม ถ้าบุรุษพึงมากล่าวว่า ‘เราจักเอาฝ่ามือหรือ
กำมือ งอ พับ ม้วน หอกที่มีใบคม’ เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
บุรุษนั้นผู้สามารถจะเอาฝ่ามือหรือกำมือ งอ พับ ม้วน หอกที่มีใบคมโน้นได้หรือ”
“เป็นไปไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๙. โอปัมมสังยุต] ๖. ธนุคคหสูตร

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะว่าการที่จะเอาฝ่ามือหรือกำมือ งอ พับ ม้วน
หอกที่มีใบคมโน้น ทำไม่ได้ง่าย และบุรุษนั้นพึงได้รับความเหน็ดเหนื่อยลำบากถ่ายเดียว
ฉันใด”
“ภิกษุทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุตติที่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเจริญ ทำให้มาก ทำให้
เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ทำให้ตั้งมั่น สั่งสม ปรารภดี ถ้าอมนุษย์จะพึงบันดาลจิต
ของภิกษุนั้นให้ฟุ้งซ่าน อมนุษย์นั้นแหละพึงได้รับความเหน็ดเหนื่อย ลำบาก ฉันนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลายจัก
เจริญเมตตาเจโตวิมุตติ จักทำให้มาก ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ทำให้ตั้งมั่น
สั่งสม ปรารภดี’ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

สัตติสูตรที่ ๕ จบ

๖. ธนุคคหสูตร
ว่าด้วยการจับลูกธนู

[๒๒๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนายขมังธนู ๔ คน ผู้ยิงธนูแม่นยำศึกษามาดีแล้ว
ผู้ชำนาญช่ำชองฝึกซ้อมมาดียืนอยู่ในทิศทั้ง ๔ ถ้าบุรุษพึงมากล่าวว่า ‘เราจักจับ
ลูกธนูที่นายขมังธนู ๔ คน ผู้ยิงธนูแม่นยำศึกษามาดีแล้ว ผู้ชำนาญช่ำชองฝึกซ้อม
มาดียิงมาจากทิศทั้ง ๔ ไม่ให้ตกถึงพื้นดินนำมา’ เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้น
ว่าอย่างไร ควรจะกล่าวได้ไหมว่า ‘บุรุษผู้มีความเร็ว ประกอบด้วยความเร็วอย่าง
ยอดเยี่ยม”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพียงแต่บุรุษจับลูกธนูที่นายขมังธนูคนเดียวผู้ยิงธนู
แม่นยำศึกษามาดีแล้ว ผู้ชำนาญช่ำชองฝึกซ้อมมาดียิงมา ไม่ให้ตกถึงพื้นดิน นำมา
เท่านั้น ก็ควรกล่าวได้ว่า ‘บุรุษผู้มีความเร็ว ประกอบด้วยความเร็วอย่างยอดเยี่ยม’
ไม่จำต้องกล่าวถึงนายขมังธนูทั้ง ๔ คนผู้ยิงธนูแม่นยำศึกษามาดีแล้ว ผู้ชำนาญ
ช่ำชองฝึกซ้อมมาดีเลย”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๓๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๙. โอปัมมสังยุต] ๗. อาณิสูตร

“เปรียบเหมือนความเร็วของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์เร็วกว่าความเร็วของ
บุรุษนั้น ความเร็วของเทวดาที่ไปข้างหน้าดวงจันทร์และดวงอาทิตย์เร็วกว่าความเร็ว
ของบุรุษและของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ ฉะนั้น
เปรียบเหมือนอายุสังขารสิ้นไปเร็วยิ่งกว่าความเร็วของบุรุษ ความเร็วของดวง
จันทร์และดวงอาทิตย์ ความเร็วของเทวดาที่ไปข้างหน้าดวงจันทร์และดวงอาทิตย์
เหล่านั้น ฉะนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลาย
จักเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่’ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

ธนุคคหสูตรที่ ๖ จบ

๗. อาณิสูตร
ว่าด้วยลิ่ม

[๒๒๙] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ได้มีตะโพนชื่ออานกะของพวกกษัตริย์ผู้มี
พระนามว่าทสารหะ เมื่อตะโพนแตก พวกกษัตริย์ทสารหะได้ตอกลิ่มอื่นลงไป ต่อมา
ไม้โครงเก่าของตะโพนชื่ออานกะก็หายไปเหลือแต่โครงลิ่ม ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย ในอนาคต เมื่อผู้อื่นกล่าวสูตรที่ตถาคตกล่าวไว้ล้ำลึก มีเนื้อความ
ลึกซึ้ง เป็นโลกุตตรธรรม ประกอบด้วยความว่าง ภิกษุทั้งหลายจักไม่ตั้งใจฟังให้ดี
ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อรู้ทั่วถึง และไม่ให้ความสำคัญธรรมว่า ควรเรียน
ควรท่องจำให้ขึ้นใจ ฉันนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๓๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๙. โอปัมมสังยุต] ๘. คลิงครสูตร

แต่เมื่อผู้อื่นกล่าวสูตรที่ท่านผู้เชี่ยวชาญได้รจนาไว้ เป็นบทกวี มีอักษรวิจิตร
มีพยัญชนะวิจิตร อยู่ภายนอก๑ เป็นสาวกภาษิต๒ ภิกษุเหล่านั้นกลับตั้งใจฟังด้วยดี
เงี่ยหูฟัง เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อรู้ทั่วถึง และจักสำคัญธรรมว่า ควรเรียน ควรท่องจำ
ให้ขึ้นใจ๓ ฉันใด แต่เมื่อผู้อื่นกล่าวสูตรที่ตถาคตกล่าวไว้ล้ำลึก มีเนื้อความลึกซึ้ง
เป็นโลกุตตรธรรม ประกอบด้วยความว่าง ก็จักอันตรธานไป ฉันนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ‘เมื่อผู้อื่น
กล่าวสูตรที่ตถาคตกล่าวไว้ล้ำลึก มีเนื้อความลึกซึ้ง เป็นโลกุตตรธรรม ประกอบด้วย
ความว่าง เราทั้งหลายจักตั้งใจฟังด้วยดี เงี่ยหูฟัง เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อรู้ทั่วถึง และให้
ความสำคัญธรรมว่า ควรเรียน ควรท่องจำให้ขึ้นใจ’ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

อาณิสูตรที่ ๗ จบ

๘. กลิงครสูตร
ว่าด้วยหมอนท่อนไม้

[๒๓๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน
เขตกรุงเวสาลี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัส
เรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ในปัจจุบันพวกกษัตริย์ลิจฉวีทรงใช้พระเขนยไม้หนุนพระเศียร
และพระบาท เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียรในการศึกษาศิลปะ พระเจ้าอชาตศัตรู
เวเทหิบุตร กษัตริย์แคว้นมคธ ไม่ทรงได้ช่อง ได้โอกาสของกษัตริย์ลิจฉวีเหล่านั้น


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๙. โอปัมมสังยุต] ๙. นาคสูตร

แต่ในอนาคตพวกกษัตริย์ลิจฉวีจักเป็นกษัตริย์สุขุมาลชาติ มีฝ่าพระหัตถ์และ
พระบาทอ่อนนุ่ม บรรทมบนที่บรรทมมีพระเขนยหนาอ่อนนุ่ม จนดวงอาทิตย์ขึ้น
พระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร กษัตริย์แคว้นมคธจักทรงได้ช่อง ได้โอกาสของ
กษัตริย์ลิจฉวีเหล่านั้น
ในปัจจุบัน ภิกษุทั้งหลายใช้หมอนไม้หนุนศีรษะและเท้า เป็นผู้ไม่ประมาท
มีความเพียรเครื่องเผากิเลส ในการบำเพ็ญเพียรอยู่ มารผู้มีบาปจึงไม่ได้ช่องไม่ได้
โอกาสของภิกษุเหล่านั้น
แต่ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักเป็นสุขุมาลชาติ มีฝ่ามือและเท้าอ่อนนุ่ม
นอนบนที่นอนมีหมอนหนาอ่อนนุ่ม จนดวงอาทิตย์ขึ้น มารผู้มีบาปจักได้ช่อง
ได้โอกาสของเธอทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลาย
จักใช้หมอนไม้หนุนศีรษะและเท้า เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียรเครื่องเผากิเลส
ในการบำเพ็ญเพียรอยู่’ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

กลิงครสูตรที่ ๘ จบ

๙. นาคสูตร
ว่าด้วยช้าง

[๒๓๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุนวกะรูปหนึ่งเข้าไปสู่ตระกูลเกินเวลา ภิกษุ
ทั้งหลายจึงกล่าวตักเตือนเธอว่า ‘ท่านอย่าเข้าไปสู่ตระกูลเกินเวลาเลย’ เธอถูก
ภิกษุทั้งหลายกล่าวตักเตือน จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ภิกษุผู้เป็นเถระเหล่านี้จักสำคัญตน
ว่า ควรเข้าไปสู่ตระกูล ทำไมเราจักเข้าไปไม่ได้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๓๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๙. โอปัมมสังยุต] ๙. นาคสูตร

ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายจำนวนมากเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุนวกะรูปหนึ่งในพระธรรมวินัยนี้ เข้าไปสู่ตระกูล
เกินเวลา เธอถูกภิกษุทั้งหลายกล่าวตักเตือน จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ภิกษุผู้เป็นเถระ
เหล่านี้จักสำคัญตนว่า ควรเข้าไปสู่ตระกูล ทำไมเราจักเข้าไปไม่ได้”
“ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว มีสระใหญ่ที่ชายป่าแห่งหนึ่ง ช้างทั้งหลาย
อาศัยสระนั้นอยู่ ช้างเหล่านั้นลงสู่สระนั้นแล้ว ใช้งวงถอนเหง้าและรากบัวขึ้น ล้างให้
ดีแล้ว เคี้ยวกินเหง้าและรากบัวที่ไม่มีโคลนตม อย่างเอร็ดอร่อย การกระทำอย่างนั้น
ย่อมมี(ประโยชน์)ต่อผิวพรรณและกำลังของช้างเหล่านั้น ช้างเหล่านั้นจึงไม่ถึงความ
ตายหรือทุกข์ปางตายเพราะการกินนั้น ส่วนลูกช้างเล็ก ๆ ทำตามช้างใหญ่เหล่านั้น
เหมือนกัน พวกมันลงสู่สระนั้นแล้ว ใช้งวงถอนเหง้าและรากบัวขึ้น (แต่)ไม่ล้างให้ดี
ไม่เคี้ยวให้ละเอียด กลืนทั้งโคลนตม การกระทำอย่างนั้นย่อมไม่มี(ประโยชน์) ต่อ
ผิวพรรณและกำลังของลูกช้างเหล่านั้น ลูกช้างเหล่านั้นจึงถึงความตายหรือทุกข์
ปางตาย เพราะการกินนั้น
ภิกษุผู้เป็นเถระในธรรมวินัยนี้ก็เหมือนกัน เวลาเช้าครองอันตรวาสกถือบาตร
และจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังบ้านหรือนิคม กล่าวธรรมในที่นั้น คฤหัสถ์ทั้งหลายผู้
เลื่อมใส ทำอาการของผู้เสื่อมใสแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายไม่กำหนัด ไม่หมกมุ่น
ไม่พัวพัน มีปกติเห็นโทษ มีปัญญาเครื่องสลัดออก บริโภคลาภนั้น การกระทำอย่างนั้น
ย่อมมี(ประโยชน์)ต่อผิวพรรณและกำลังของภิกษุผู้เป็นเถระเหล่านั้น เธอทั้งหลาย
จึงไม่ถึงความตายหรือทุกข์ปางตายเพราะการบริโภคนั้น ส่วนภิกษุทั้งหลายผู้ทำ
ตามภิกษุผู้เป็นเถระเหล่านั้นเหมือนกัน เวลาเช้าครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร
เข้าไปบิณฑบาตยังบ้านหรือนิคม กล่าวธรรมในที่นั้น คฤหัสถ์ทั้งหลายผู้เลื่อมใส
ทำอาการของผู้เลื่อมใสแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายกำหนัด หมกมุ่น พัวพัน
มีปกติไม่เห็นโทษ ไม่มีปัญญาเครื่องสลัดออก บริโภคลาภนั้น การกระทำอย่างนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๓๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๙. โอปัมมสังยุต] ๑๐. พิฬารสูตร

ย่อมไม่มี(ประโยชน์)ต่อผิวพรรณและกำลัง๑ของภิกษุนวกะเหล่านั้น เธอทั้งหลายจึง
ถึงความตายหรือทุกข์ปางตายเพราะการบริโภคนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลายจักไม่
กำหนัด ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพัน มีปกติเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออกบริโภค
ลาภนั้น’ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

นาคสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. พิฬารสูตร
ว่าด้วยแมว

[๒๓๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเที่ยวไปในตระกูลเกินเวลา ภิกษุทั้งหลายจึงกล่าวตักเตือน
เธอว่า ‘ท่านอย่าเที่ยวไปในตระกูลเกินเวลาเลย’ เธอถูกภิกษุทั้งหลายกล่าวตักเตือน
(แต่)ยังไม่เลิก ลำดับนั้น ภิกษุจำนวนมากเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุรูปหนึ่งในพระธรรมวินัยนี้เที่ยวไปในตระกูลเกิน
เวลา ภิกษุทั้งหลายกล่าวตักเตือนเธอว่า ‘ท่านอย่าเที่ยวไปในตระกูลเกินเวลา’ เธอ
ถูกภิกษุทั้งหลายกล่าวตักเตือนจึงไม่พอใจ”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๙. โอปัมมสังยุต] ๑๐. พิฬารสูตร

“ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ได้มีแมวยืนคอยจับลูกหนูอยู่ที่กองหยาก
เยื่อข้างทางระบายคูถจากบ้าน ระหว่างเรือนสองหลังต่อกัน ด้วยคิดว่า ‘ลูกหนูนี้จัก
ไปหาเหยื่อในที่ใด เราจักจับมันกินในที่นั้น’ ต่อมา ลูกหนูออกไปหาเหยื่อ แมวก็จับ
ลูกหนูนั้นแล้วรีบกัดกลืนลงไป ลูกหนูก็กัดทั้งไส้ใหญ่และไส้น้อยของแมวนั้น แมวนั้น
จึงถึงความตายหรือทุกข์ปางตายเพราะการกินนั้น
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ก็เหมือนกัน เวลาเช้าครองอันตรวาสกถือบาตรและ
จีวร ไม่รักษากายวาจาจิต ไม่ตั้งสติให้มั่นคง ไม่สำรวมอินทรีย์เข้าไปบิณฑบาตยัง
บ้านหรือนิคม เธอเห็นมาตุคามนุ่งห่มไม่เรียบร้อยในที่นั้น ราคะก็รบกวนจิตของเธอ
เพราะเห็นมาตุคามนุ่งห่มไม่เรียบร้อย เธอถูกราคะรบกวนจิต จึงถึงความตายหรือ
ทุกข์ปางตาย การที่เธอบอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์นั้น จัดเป็นความตายใน
วินัยของพระอริยะ การที่เธอต้องอาบัติเศร้าหมองอย่างใดอย่างหนึ่ง (และ) การประพฤติ
วัตรเพื่อออกจากอาบัติตามที่ต้องนั้น จัดเป็นทุกข์ปางตาย
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลาย
จักรักษากายวาจาจิต ตั้งสติให้มั่นคง สำรวมอินทรีย์ เข้าไปบิณฑบาตยังบ้านหรือ
นิคม’ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

พิฬารสูตรที่ ๑๐ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๙. โอปัมมสังยุต] ๑๒. ทุติยสิคาคสูตร

๑๑. สิคาลสูตร
ว่าด้วยสุนัขจิ้งจอก

[๒๓๓] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเช้าตรู่ เธอทั้งหลายได้เห็นสุนัขจิ้งจอกแก่ที่มาอาศัยอยู่หรือ”
“เห็น พระพุทธเจ้าข้า”
“สุนัขจิ้กจอกแก่นั้นเป็นโรคเรื้อน มันอยากจะไปทางไหนก็ไปทางนั้น อยากจะ
ยืนที่ไหน ๆ ก็ยืนที่นั่น ๆ อยากจะนั่งที่ไหน ๆ ก็นั่งที่นั่น ๆ อยากจะนอนที่ไหน ๆ
ก็นอนที่นั่น ๆ ลมเย็น ๆ ย่อมพัดโชยให้มัน
ข้อที่ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ผู้ปฏิญาณว่าเป็นศากยบุตร ได้อัตภาพเช่นนี้
เป็นการดียิ่งนัก
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลาย
จักไม่ประมาท’ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

สิคาลสูตรที่ ๑๑ จบ

๑๒. ทุติยสิคาลสูตร
ว่าด้วยสุนัขจิ้งจอก สูตรที่ ๒

[๒๓๔] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ...
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเช้าตรู่ เธอทั้งหลายได้เห็นสุนัขจิ้งจอกแก่ที่มาอาศัยอยู่
หรือ”
“เห็น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย ความกตัญญูกตเวทีบางอย่างยังมีในสุนัขจิ้กจอกแก่นั้น แต่
ความกตัญญูกตเวทีบางอย่างไม่พึงมีในภิกษุบางรูปผู้ปฏิญาณว่าเป็นศากยบุตรใน
ธรรมวินัยนี้เลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๓๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๙. โอปัมมสังยุต] รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลาย
จักเป็นผู้กตัญญูกตเวที และอุปการะแม้เพียงเล็กน้อยที่บุคคลอื่นกระทำในเราทั้งหลาย
จักไม่เสื่อมสูญไป’ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

ทุติยสิคาลสูตรที่ ๑๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในสังยุตนี้ คือ

๑. กูฏสูตร ๒. นขสิขสูตร
๓. กุลสูตร ๔. โอกขาสูตร
๕. สัตติสูตร ๖. ธนุคคหสูตร
๗. อาณิสูตร ๘. กลิงครสูตร
๙. นาคสูตร ๑๐. พิฬารสูตร
๑๑. สิคาลสูตร ๑๒. ทุติยสิคาลสูตร

โอปัมมสังยุต จบบริบูรณ์


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑๐. ภิกขุสังยุต] ๑. โกลิตสูตร

๑๐. ภิกขุสังยุต

๑. โกลิตสูตร
ว่าด้วยพระโกลิตะ

[๒๓๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าว
ว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย” ภิกษุทั้งหลายรับคำท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้ว ท่านจึง
ได้กล่าวดังนี้ว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อกระผมหลีกเร้นอยู่ในที่สงัดแห่งนี้ ได้เกิดความคิด
ปริวิตกว่า ‘ที่เรียกว่า ‘ดุษณีภาพอันประเสริฐ ดุษณีภาพอันประเสริฐ’ ดุษณีภาพ
อันประเสริฐเป็นอย่างไร’ ผมได้มีความคิดว่า ‘เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ได้บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสภายใน มีภาวะที่จิตเป็น
หนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ นี้เรียกว่า
‘ดุษณีภาพอันประเสริฐ’ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว ผมนั้นบรรลุทุติยฌาน
มีความผ่องใสภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและ
สุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ กระผมนั้นเมื่ออยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญาและมนสิการ
อันเกิดร่วมกับวิตกย่อมฟุ้งขึ้นได้
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาผมด้วยฤทธิ์ ได้ตรัสว่า ‘โมคคัลลานะ
โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ อย่าประมาทดุษณีภาพอันประเสริฐ เธอจงรวมจิตตั้งไว้
ในดุษณีภาพอันประเสริฐ ทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้นในดุษณีภาพอันประเสริฐ ตั้งจิต
มั่นไว้ในดุษณีภาพอันประเสริฐ’ ต่อมา เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว ผมนั้นบรรลุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๓๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑๐. ภิกขุสังยุต] ๒. อุปติสสสูตร

ทุติยฌานมีความผ่องใสภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่
ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่
ผู้มีอายุทั้งหลาย แท้จริงบุคคลเมื่อจะกล่าวถึงคนใดคนหนึ่งให้ถูกต้อง ควรกล่าว
ว่า ‘สาวกผู้ที่พระศาสดาทรงอนุเคราะห์ ได้บรรลุความรู้อันยิ่งใหญ่’ บุคคลเมื่อจะกล่าว
ถึงผมให้ถูกต้อง ควรกล่าวว่า ‘สาวกผู้ที่พระศาสดาทรงอนุเคราะห์ได้บรรลุความรู้
อันยิ่งใหญ่๑”

โกลิตสูตรที่ ๑ จบ

๒. อุปติสสสูตร
ว่าด้วยพระอุปติสสะ

[๒๓๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ณ ที่นั้น ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย”
ภิกษุทั้งหลายรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านจึงได้กล่าวดังนี้ว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อกระผมหลีกเร้นอยู่ในที่สงัดแห่งนี้ ได้เกิดความคิด
ปริวิตกว่า ‘โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสพึงเกิดขึ้นแก่เรา เพราะความ
แปรผันเป็นอย่างอื่นแห่งสัตว์หรือสังขารใด สัตว์หรือสังขารบางอย่างนั้นยังมีอยู่ใน
โลกหรือ’ ผมได้มีความคิดว่า ‘โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสไม่พึง
บังเกิดขึ้นแก่เรา เพราะความแปรผันเป็นอย่างอื่นแห่งสัตว์หรือสังขารที่ไม่มีอยู่ในโลก
สัตว์หรือสังขารอย่างนั้นไม่มีอยู่ในโลก”
เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้ถามท่านพระ-
สารีบุตรว่า ‘ท่านพระสารีบุตร โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสไม่พึง
เกิดขึ้นแก่ท่าน เพราะความแปรผันเป็นอย่างอื่นแม้แห่งพระศาสดาหรือ’


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑๐. ภิกขุสังยุต] ๓. ฆฏสูตร

“ท่านผู้มีอายุ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสไม่พึงเกิดขึ้นแก่ผม
เพราะความแปรผันเป็นอย่างอื่นแม้แห่งพระศาสดา แต่ผมมีความคิดว่า ‘ท่านผู้เจริญ
พระศาสดาผู้มีศักดิ์ใหญ่ มีฤทธานุภาพมาก อันตรธานไปแล้ว ถ้าพระองค์พึงดำรง
อยู่ตลอดกาลนาน ข้อนั้นพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขแก่ชนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์
ชาวโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล และเพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย”
“จริงอย่างนั้น ท่านพระสารีบุตรได้ถอนอหังการ๑ มมังการ๒ และมานานุสัย๓
หมดสิ้นมานานแล้ว เพราะฉะนั้น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จึงไม่
เกิดขึ้นแก่ท่านพระสารีบุตร เพราะความแปรผันเป็นอย่างอื่นแม้แห่งพระศาสดา”

อุปติสสสูตรที่ ๒ จบ

๓. ฆฏสูตร
ว่าด้วยหม้อ

[๒๓๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโมคคัลลานะอยู่
ในวิหารหลังเดียวกัน ในพระเวฬุวันสถานที่ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้นใน
เวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่หลีกเร้น เข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึง
ที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันกับท่านพระมหา-
โมคคัลลานะแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับท่านพระมหาโมคคัลลานะดังนี้ว่า
“ท่านโมคคัลลานะ อินทรีย์ของท่านผ่องใสยิ่งนัก ผิวหน้าของท่านบริสุทธิ์
ผุดผ่อง ชะรอยวันนี้ ท่านจะอยู่ด้วยวิหารธรรมอันละเอียด”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑๐. ภิกขุสังยุต] ๓. ฆฏสูตร

“ท่านผู้มีอายุ วันนี้ผมอยู่ด้วยวิหารธรรมอันหยาบ แต่ผมได้มีการสนทนาธรรม”
“ท่านได้สนทนาธรรมกับใคร”
“ผมได้สนทนาธรรมกับพระผู้มีพระภาค”
“เดี๋ยวนี้ พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ไกลนัก ท่านไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคด้วยฤทธิ์หรือ
หรือว่าพระองค์เสด็จมาหาท่านด้วยฤทธิ์”
“ผมไม่ได้ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคด้วยฤทธิ์ แม้พระองค์ก็ไม่ได้เสด็จมาหาผม
ด้วยฤทธิ์ แต่ผมมีตาทิพย์และหูทิพย์อันหมดจดเท่าพระผู้มีพระภาค๑ แม้พระผู้มี
พระภาคก็ทรงมีทิพพจักขุและทิพพโสตธาตุอันหมดจดเท่าผม”
“ท่านได้สนทนาธรรมกับพระผู้มีภาคว่าอย่างไร”
“ผมได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่พระองค์ตรัสว่า
‘ผู้ปรารภความเพียร ผู้ปรารภความเพียร’ ด้วยเหตุเท่าไรหนอ ภิกษุจึงชื่อว่าเป็น
ผู้ปรารภความเพียร’ เมื่อผมทูลถามอย่างนี้ แม้พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับผมว่า
‘โมคคัลลานะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปรารภความเพียรอยู่ด้วยตั้งสัตยาธิษฐาน
ว่า ‘เนื้อและเลือดในร่างกายจงเหือดแห้งไปจะเหลืออยู่แต่หนัง เอ็น กระดูกก็ตามทีเถิด
ผลอันใดพึงบรรลุได้ด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความ
บากบั่นของบุรุษ (ถ้า)ไม่บรรลุผลนั้นแล้วก็จักไม่หยุดความเพียร ภิกษุชื่อว่าป็นผู้
ปรารภความเพียรเป็นอย่างนี้’ ผมได้สนทนาธรรมกับพระผู้มีพระภาคอย่างนี้


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑๐. ภิกขุสังยุต] ๔. นวสูตร

เปรียบเหมือนก้อนหินเล็ก ๆ ที่บุคคลเอาไปวางเทียบกับขุนเขาหิมพานต์ ฉันใด
ผมเมื่อเปรียบเทียบกับท่านก็ฉันนั้น แท้จริง ท่านเป็นผู้มีฤทธานุภาพมาก เมื่อปรารถนา
พึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัปแล”
“ท่านผู้มีอายุ เปรียบเหมือนก้อนเกลือเล็ก ๆ ที่บุคคลเอาไปวางเทียบกับหม้อ
เกลือใหญ่ฉันใด ผมเมื่อเปรียบเทียบกับท่านก็ฉันนั้น แท้จริง ท่านเป็นผู้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงชมเชย สรรเสริญ ยกย่องโดยอเนกปริยายเป็นต้นว่า
“ภิกษุผู้ถึงฝั่งพระนิพพาน ผู้ยอดเยี่ยมด้วยปัญญา
ศีลและอุปสมะ คือสารีบุตร นี้แหละ”
พระมหาเถระผู้ประเสริฐทั้ง ๒ นั้น เพลิดเพลินคำสนทนาที่เป็นสุภาษิตของกัน
และกันด้วยประการฉะนี้

ฆฏสูตรที่ ๓ จบ

๔. นวสูตร
ว่าด้วยผู้ใหม่

[๒๓๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ภิกษุนวกะรูปหนึ่งกลับจากบิณฑบาตหลัง
จากฉันเสร็จเข้าไปยังวิหาร มีความขวนขวายน้อยนิ่งเฉยอยู่ ไม่ช่วยเหลือภิกษุ
ทั้งหลายในเวลาทำจีวร ครั้งนั้น ภิกษุจำนวนมากเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุนวกะรูปหนึ่งในพระธรรมวินัยนี้กลับจากบิณฑบาต
หลังจากฉันเสร็จเข้าไปยังวิหาร มีความขวนขวายน้อยนิ่งเฉยอยู่ ไม่ช่วยเหลือภิกษุ
ทั้งหลายในเวลาทำจีวร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๓๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑๐. ภิกขุสังยุต] ๔. นวสูตร

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุรูปหนึ่งมาตรัสว่า ‘ภิกษุ เธอจง
ไปบอกภิกษุนั้นตามคำของเราว่า ‘ผู้มีอายุ พระศาสดารับสั่งให้ท่านเข้าเฝ้า’ ภิกษุนั้น
ทูลรับสนองพระดำรัสแล้วเข้าไปหาภิกษุนั้น ได้กล่าวว่า ‘ผู้มีอายุ พระศาสดารับสั่ง
ให้ท่านเข้าเฝ้า’ เธอรับคำภิกษุนั้นแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับภิกษุนั้นว่า ‘ภิกษุ ได้ยินว่า
เธอกลับจากบิณฑบาตหลังจากฉันเสร็จเข้าไปยังวิหาร มีความขวนขวายน้อยนิ่งเฉยอยู่
ไม่ช่วยเหลือภิกษุทั้งหลายในเวลาทำจีวรจริงหรือ’
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้าพระองค์ก็ทำกิจของตน”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงรู้ความคิดปริวิตกทางจิตของภิกษุนั้น จึงรับสั่ง
เรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอย่าโทษภิกษุนี้เลย ภิกษุนี้
มีปกติได้ฌาน ๔ อันเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันที่อาศัยอธิจิตตามปรารถนา
ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ได้ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยม๑ อันเป็นที่สุดแห่ง
พรหมจรรย์ที่เหล่ากุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญา
อันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
“บุคคลปรารภความเพียรย่อหย่อน
กำลังน้อยไม่พึงบรรลุนิพพาน
อันเป็นเหตุปลดเปลื้องกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งปวงได้


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑๐. ภิกขุสังยุต] ๕. สุชาตสูตร

ส่วนภิกษุหนุ่มรูปนี้เป็นอุดมบุรุษ
ชนะมารพร้อมทั้งกองทัพได้แล้ว
ทรงไว้ซึ่งอัตภาพสุดท้าย”

นวสูตรที่ ๔ จบ

๕. สุชาตสูตร
ว่าด้วยพระสุชาต

[๒๓๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระสุชาตเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นท่านกำลังเดินมาแต่ไกล แล้วรับสั่ง
เรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรนี้ย่อมงามด้วยสมบัติ ๒ ประการ คือ
๑. มีรูปงาม น่าดู น่าชม ประกอบด้วยผิวพรรณงามยิ่งนัก
๒. ได้ทำให้แจ้งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่า
กุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญา
อันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
“ภิกษุนี้งามด้วยใจที่ซื่อตรง
เป็นผู้หลุดพ้น พรากได้แล้ว ดับแล้ว
เพราะไม่ถือมั่น ชนะมารพร้อมทั้งกองทัพได้แล้ว
ทรงไว้ซึ่งอัตภาพสุดท้าย”

สุชาตสูตรที่ ๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑๐. ภิกขุสังยุต] ๖. ลกุณฏกภัททิยสูตร

๖. ลกุณฏกภัททิยสูตร
ว่าด้วยพระลกุณฏภัททิยะ๑

[๒๔๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระลกุณฏกภัททิยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นท่านกำลังเดินมาแต่ไกล
แล้วรับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเห็นภิกษุผู้มีผิวพรรณไม่งาม ไม่น่าดู เตี้ย เป็นผู้ถูก
ภิกษุทั้งหลายดูแคลน ที่กำลังเดินมานั้นหรือ”
“เห็น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุนั้นมีฤทธานุภาพมาก อนึ่ง สมาบัติที่เธอไม่เคยเข้า เธอก็เข้าได้โดยง่าย
และเธอได้ทำให้แจ้งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ที่เหล่ากุลบุตร
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
“สัตว์ทั้งหลาย จำพวกหงส์ นกกระเรียน นกยูง
ช้าง เนื้อฟาน ทั้งหมด ย่อมกลัวราชสีห์
ความสมดุลกันทางกายไม่มี ฉันใด
บรรดาหมู่มนุษย์ก็ฉันนั้น ถ้าคนหนุ่มมีปัญญา
เขาก็ย่อมเป็นใหญ่ในหมู่มนุษย์นั้น
ไม่เหมือนคนพาล ซึ่งถือกายเป็นใหญ่”

ลกุณฏกภัททิยสูตรที่ ๖ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑๐. ภิกขุสังยุต] ๗. วิสาขสูตร

๗. วิสาขสูตร
ว่าด้วยพระวิสาขะ

[๒๔๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลาป่ามหาวัน เขตกรุง
เวสาลี สมัยนั้น ท่านพระวิสาขปัญจาลบุตร ได้ชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายในศาลาเป็น
ที่บำรุงเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบ
ชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา ประกอบด้วยวาจาไพเราะ สละสลวยปราศจาก
โทษ นับเนื่องเข้าในวาจาที่ให้เข้าใจเนื้อความ๑ ไม่อิงอาศัย๒
ครั้นในเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคทรงออกจากที่หลีกเร้น เสด็จเข้าไปยังศาลา
เป็นที่บำรุง ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้ รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
‘ภิกษุทั้งหลาย ใครหนอได้ชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายในศาลาเป็นที่บำรุงเห็นชัด ชวนใจ
ให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ด้วยธรรมีกถา ประกอบด้วยวาจาไพเราะ สละสลวยปราศจากโทษ นับเนื่องเข้าใน
วาจาที่ให้เข้าใจเนื้อความ ไม่อิงอาศัย’
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระวิสาขปัญจาลบุตร ได้ชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลาย
ในศาลาเป็นที่บำรุงเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญ
แกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา ประกอบด้วยวาจาไพเราะ
สละสลวยปราศจากโทษ นับเนื่องเข้าในวาจาที่ให้เข้าใจเนื้อความ ไม่อิงอาศัย”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระวิสาขปัญจาลบุตรมาตรัสว่า
“ดีละ ดีละ วิสาขะ เธอได้ชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นชัด ฯลฯ ด้วยธรรมีกถา นับเนื่อง
เข้าในวาจาที่ให้เข้าใจเนื้อความ ไม่อิงอาศัย ดีนักแล”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑๐. ภิกขุสังยุต] ๘. นันทสูตร

พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
ชนทั้งหลายจะไม่รู้จักคนผู้ไม่พูด
ว่ามีเชื้อเป็นพาลหรือเป็นบัณฑิต
แต่ย่อมรู้จักคนผู้พูด ผู้แสดงอมตบท
บุคคลพึงกล่าวธรรม พึงยังธรรมให้โชติช่วง
ถือเอาธงชัยของฤาษี
ฤาษีทั้งหลายมีสุภาษิตเป็นธงชัย
ธรรมนั่นแหละเป็นธงชัยของฤาษี๑”

วิสาขสูตรที่ ๗ จบ

๘. นันทสูตร
ว่าด้วยพระนันทะ

[๒๔๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระนันทะผู้เป็นโอรสของพระมาตุจฉา๒
ของพระผู้มีพระภาค ห่มจีวรที่ทุบแล้วทุบอีก หยอดนัยน์ตา และถือบาตรมีสีกาววาว
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาค
ได้ตรัสว่า
“นันทะ ข้อที่เธอห่มจีวรที่ทุบแล้วทุบอีก หยอดนัยน์ตาและถือบาตรมีสี
กาววาว ไม่สมควรแก่เธอผู้เป็นกุลบุตรซึ่งออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา
ข้อที่เธอพึงเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร เป็นผู้นุ่งห่มผ้า
บังสุกุลเป็นวัตร และไม่มุ่งหวังในกามทั้งหลายอยู่อย่างนี้ จึงสมควรแก่เธอผู้เป็น
กุลบุตรซึ่งออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑๐. ภิกขุสังยุต] ๙. ติสสสูตร

พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
“เมื่อไร เราจะได้เห็นนันทะอยู่ป่าเป็นวัตร
นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร
ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยโภชนะที่ระคนกัน๑
ไม่มุ่งหวังในกามทั้งหลาย”
ต่อมา ท่านพระนันทะได้เป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร
เป็นผู้นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร และไม่มุ่งหวังในกามทั้งหลายอยู่

นันทสูตรที่ ๘ จบ

๙. ติสสสูตร
ว่าด้วยพระติสสะ

[๒๔๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระติสสะผู้เป็นโอรสของพระ-
ปิตุจฉาของพระผู้มีพระภาค เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว
นั่งเป็นทุกข์เสียใจ หลั่งน้ำตาอยู่ ณ ที่สมควร
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระติสสะดังนี้ว่า “ติสสะ ทำไม
เธอจึงนั่งเป็นทุกข์เสียใจ หลั่งน้ำตาอยู่”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ จริงอย่างนั้น ภิกษุทั้งหลายได้รุมว่ากล่าวเสียดแทงข้า
พระองค์”
“จริงอย่างนั้น ติสสะ เธอเป็นผู้ว่ากล่าวเขาฝ่ายเดียว แต่เธอไม่อดทนต่อ
ถ้อยคำที่เขาว่ากล่าว ข้อที่เธอเป็นผู้ว่ากล่าวเขาฝ่ายเดียว แต่ไม่อดทนต่อถ้อยคำ
ที่เขาว่ากล่าวนั้น ไม่สมควรแก่เธอผู้เป็นกุลบุตรซึ่งออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
ด้วยศรัทธา ข้อที่เธอเป็นผู้ว่ากล่าวเขาด้วยและอดทนต่อถ้อยคำที่เขาว่ากล่าวได้ด้วย
นั่นแหละจึงสมควรแก่เธอผู้เป็นกุลบุตรซึ่งออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑๐. ภิกขุสังยุต] ๑๐. เถรนามกสูตร

พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา
ประพันธ์ต่ออีกไปว่า
“เธอจะโกรธทำไม อย่าโกรธเลย ติสสะ
ความไม่โกรธเป็นธรรมประเสริฐสำหรับเธอ
แท้จริง บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์
ก็เพื่อกำจัดความโกรธ ความถือตัว
และความลบหลู่คุณท่าน”

ติสสสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. เถรนามกสูตร
ว่าด้วยพระเถรนามกะ

[๒๔๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้
เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น พระเถรนามกะมีปกติอยู่ผู้เดียว และมีปกติ
กล่าวสรรเสริญการอยู่ผู้เดียว เธอเข้าหมู่บ้านบิณฑบาตผู้เดียว กลับผู้เดียว นั่งในที่ลับ
ผู้เดียว และอธิษฐานจงกรมผู้เดียว
ลำดับนั้น ภิกษุจำนวนมากเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ พระเถรนามกะรูปหนึ่งในพระธรรมวินัยนี้ มีปกติอยู่ผู้เดียว และมีปกติกล่าว
สรรเสริญการอยู่ผู้เดียว’
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุรูปหนึ่งมาตรัสว่า “มาเถิดภิกษุ
เธอจงไปเรียกพระเถรนามกะตามคำของเราว่า ‘ท่านเถระ พระศาสดารับสั่งให้ท่าน
เข้าเฝ้า’ ภิกษุนั้นทูลรับสนองพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้วเข้าไปหาท่าน
พระเถระถึงที่อยู่ แล้วกล่าวว่า ‘ท่านเถระ พระศาสดารับสั่งให้ท่านเข้าเฝ้า’
ท่านพระเถระรับคำภิกษุนั้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า :๓๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑๐. ภิกขุสังยุต] ๑๐. เถรนามกสูตร

แล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านเถระดังนี้ว่า ‘เถระ ได้ยินว่า
เธอมีปกติอยู่ผู้เดียว และมีปกติกล่าวสรรเสริญการอยู่ผู้เดียว จริงหรือ”
“จริง พระพุทธเจ้าข้า”
“ไฉนเธอจึงมีปกติอยู่ผู้เดียว และมีปกติกล่าวสรรเสริญการอยู่ผู้เดียว”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์เข้าหมู่บ้านบิณฑบาตผู้เดียว
กลับผู้เดียว นั่งในที่ลับผู้เดียว อธิษฐานจงกรมผู้เดียว ข้าพระองค์มีปกติอยู่ผู้เดียว
และมีปกติกล่าวสรรเสริญการอยู่ผู้เดียว อย่างนี้”
“การอยู่ผู้เดียวนี้มีอยู่ เรามิได้กล่าวว่าไม่มี แต่การอยู่ผู้เดียวของเธอ เป็นอัน
บริบูรณ์โดยพิสดารกว่าด้วยประการใด เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดีด้วยประการนั้น เรา
จักกล่าว” ท่านพระเถระทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า
“การอยู่ผู้เดียวที่บริบูรณ์โดยพิสดารกว่า เป็นอย่างไร
เถระ ในเรื่องนี้ สิ่งใด๑ ที่ล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็ละได้แล้ว สิ่งใดยังไม่มาถึง สิ่งนั้น
ก็สละเสีย และความกำหนัดด้วยความพอใจในการได้อัตภาพในปัจจุบัน ก็ถูกกำจัด
ด้วยดีแล้ว การอยู่ผู้เดียวที่บริบูรณ์โดยพิสดารกว่า เป็นอย่างนี้”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา
ประพันธ์ต่ออีกไปว่า
“เราเรียกนรชนผู้ครอบงำธรรมทั้งปวง๒ ผู้รู้ทุกอย่าง
มีปัญญาดี ไม่แปดเปื้อนในธรรมทั้งปวง๓
ละสิ่งทั้งปวงได้แล้ว หลุดพ้นแล้ว
ในเพราะธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา
ว่าเป็นผู้มีปกติอยู่ผู้เดียว”

เถรนามกสูตรที่ ๑๐ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑๐. ภิกขุสังยุต] ๑๑. มหากัปปินสูตร

๑๑. มหากัปปินสูตร
ว่าด้วยพระมหากัปปินะ

[๒๔๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระมหากัปปินะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง
ที่ประทับ พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นท่านพระมหากัปปินะกำลังเดินมา
แต่ไกล จึงรับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสถามว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเห็นภิกษุผู้ขาวโปร่ง จมูกโด่ง กำลังเดินมานั่นหรือ”
“เห็น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุนั่นมีฤทธานุภาพมาก อนึ่ง สมาบัติที่เธอไม่เคยเข้า เธอก็เข้าได้โดยง่าย
เธอได้ทำให้แจ้งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ที่เหล่ากุลบุตร
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ใน
ปัจจุบัน”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา
ประพันธ์ต่ออีกไปว่า
“ในหมู่ชนที่ถือตระกูลเป็นใหญ่
กษัตริย์จัดว่าเป็นผู้ประเสริฐที่สุด
ส่วนท่านผู้เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
จัดว่าเป็นผู้ประเสริฐที่สุด ในหมู่เทวดาและมนุษย์๑
ดวงอาทิตย์ส่องแสงเจิดจ้าในกลางวัน
ดวงจันทร์ส่องแสงเจิดจ้าในกลางคืน
กษัตริย์ผู้ทรงเครื่องรบย่อมสง่างาม
พราหมณ์ผู้เพ่งฌาน ย่อมรุ่งเรือง
ส่วนพระพุทธเจ้าย่อมรุ่งโรจน์ด้วยพระเดชานุภาพตลอดทั้งวันและ
คืน”

มหากัปปินสูตรที่ ๑๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑๐. ภิกขุสังยุต] ๑๒. สหายกสูตร

๑๒. สหายกสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้เป็นเพื่อนกัน

[๒๔๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุผู้เป็นเพื่อนกัน ๒ รูป ซึ่งเป็นสัทธิวิหาริก
ของท่านพระมหากัปปินะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ พระผู้มีพระภาค
ได้ทอดพระเนตรเห็นเธอทั้งสองกำลังเดินมาแต่ไกล จึงรับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมา
ตรัสถามว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเห็นภิกษุผู้เป็นเพื่อนกัน ๒ รูป ซึ่งเป็นสัทธิวิหาริก
ของพระมหากัปปินะกำลังเดินมานั้นหรือ”
“เห็น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุ ๒ รูปนั่นมีฤทธานุภาพมาก อนึ่ง สมาบัติที่เธอทั้งสองไม่เคยเข้า เธอ
ทั้งสองก็เข้าได้โดยง่าย เธอทั้งสองได้ทำให้แจ้งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่ง
พรหมจรรย์ที่เหล่ากุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วย
ปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา
ประพันธ์อีกต่อไปว่า
“ภิกษุเหล่านี้เป็นเพื่อนกันมานาน และมีความรู้เสมอกัน
สัทธรรมของเธอทั้งหลายเทียบเคียงได้ในธรรมที่พระพุทธเจ้า
ประกาศแล้ว
เธอทั้งหลายอันกัปปินะแนะนำดีแล้วในธรรม
ที่พระอริยเจ้าประกาศแล้ว ชนะมารพร้อมทั้งกองทัพได้
ทรงไว้ซึ่งอัตภาพสุดท้าย”

สหายกสูตรที่ ๑๒ จบ
ภิกขุสังยุต จบบริบูรณ์


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑๐. ภิกขุสังยุต]
รวมพระสูตรที่มีในสังยุต รวมสังยุตที่มีในนิทานสังยุต

รวมพระสูตรที่มีในสังยุตนี้ คือ

๑. โกลิตสูตร ๒. อุปติสสสูตร
๓. ฆฏสูต ๔. นวสูตร
๕. สุชาตสูตร ๖. ลกุณฏกภัททิยสูตร
๗. วิสาขสูตร ๘. นันทสูตร
๙. ติสสสูตร ๑๐. เถรนามกสูตร
๑๑. มหากัปปินสูตร ๑๒. สหายกสูตร

นิทานวรรคที่ ๒ จบ

รวมสังยุตที่มีในนิทานสังยุตนี้ คือ

๑. นิทานสังยุต ๒. อภิสมยสังยุต
๓. ธาตุสังยุต ๔. อนมตัคคสังยุต
๕. กัสสปสังยุต ๖. ลาภสักการสังยุต
๗. ราหุลสังยุต ๘. ลักขณสังยุต
๙. โอปัมมสังยุต ๑๐. ภิกขุสังยุต

รวมเรียกว่าวรรคที่ ๒
นิทานวรรคสังยุต จบบริบูรณ์


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ สุตตันตปิฎกที่ ๐๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค จบ





eXTReMe Tracker