ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ



จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อความสะดวก และสวยงาม
(เฉพาะหน้าจอใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์)
กรุณาคลิก จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อให้กรอบ
ค้นข้อความ ปรากฎที่ด้านซ้ายของหน้า

พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ สุตตันตปิฎกที่ ๐๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๑. นฬวรรค ๑. โอฆตรณสูตร

พระสุตตันตปิฎก
สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๑. เทวตาสังยุต
๑. นฬวรรค
หมวดว่าด้วยต้นอ้อ
๑. โอฆตรณสูตร
ว่าด้วยการข้ามโอฆะ

[๑] ข้าพเจ้า๑ได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้นเมื่อราตรีผ่านไป๒ เทวดาองค์หนึ่งมีวรรณะ
งดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วพระเชตวัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร๓ ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้นิรทุกข์ พระองค์ทรงข้ามโอฆะ๔ ได้อย่างไร”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๑. นฬวรรค ๑. โอฆตรณสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ผู้มีอายุ เราเองเมื่อไม่พัก๑ ไม่เพียร๒ จึงข้าม
โอฆะได้”
เทวดาทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ก็พระองค์เมื่อไม่พักไม่เพียรทรง
ข้ามโอฆะได้อย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ผู้มีอายุ เมื่อใดเรานั้นยังพักอยู่ เมื่อนั้นเราก็
ยังจมอยู่ เมื่อใดเรายังเพียรอยู่ เมื่อนั้นเราก็ยังลอยอยู่แน่นอน เราไม่พักไม่เพียร
อย่างนี้แล จึงข้ามโอฆะได้”
เทวดานั้นได้กล่าวคาถานี้ว่า
นานจริงหนอ ข้าพเจ้าจึงได้พบพราหมณ์
ผู้ดับกิเลสได้สิ้นแล้ว ผู้ไม่พักไม่เพียรอยู่
ก็ข้ามตัณหาอันเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวในโลก๓ได้
เทวดานั้นได้กล่าวคาถานี้แล้ว พระศาสดาทรงพอพระทัยแล้ว ครั้งนั้น เทวดา
คิดว่า “พระศาสดาของเราทรงพอพระทัยแล้ว” จึงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค
กระทำประทักษิณ๔แล้วหายตัวไป๕ ณ ที่นั้นเอง

โอฆตรณสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๑. นฬวรรค ๒. นิโมกขสูตร

๒. นิโมกขสูตร
ว่าด้วยทางหลุดพ้น

[๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้นเมื่อราตรีผ่านไป เทวดาองค์หนึ่งมีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้
สว่างทั่วพระเชตวัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่
ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พระองค์
ทรงทราบนิโมกข์(ทางหลุดพ้น) ปโมกข์(ความหลุดพ้น) และวิเวก(ความสงัด)๑ของ
สัตว์ทั้งหลายหรือไม่”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ผู้มีอายุ เราทราบนิโมกข์ ปโมกข์ และวิเวก
ของสัตว์ทั้งหลาย”
เทวดาทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พระองค์ทรงทราบนิโมกข์ ปโมกข์
และวิเวกของสัตว์ทั้งหลายอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
ผู้มีอายุ เพราะความสิ้นไปแห่งภพ
อันมีความเพลิดเพลินเป็นมูล
เพราะความสิ้นไปแห่งสัญญาและวิญญาณ
เพราะความดับ เพราะความสงบแห่งเวทนาทั้งหลาย
เราจึงทราบนิโมกข์ ปโมกข์ และวิเวกของสัตว์ทั้งหลาย อย่างนี้แล

นิโมกขสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๑. นฬวรรค ๓. อุปนียสูตร

๓. อุปนียสูตร
ว่าด้วยชีวิตถูกชรานำเข้าไป

[๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
เทวดานั้นยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
ชีวิตถูกชรานำเข้าไป อายุจึงสั้น
ผู้ที่ถูกชรานำเข้าไปแล้วไม่มีเครื่องต้านทาน
บุคคลพิจารณาเห็นภัยนี้ในมรณะ
ควรทำบุญที่นำความสุขมาให้
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ชีวิตถูกชรานำเข้าไป อายุจึงสั้น
ผู้ที่ถูกชรานำเข้าไปแล้วไม่มีเครื่องต้านทาน
บุคคลพิจารณาเห็นภัยนี้ในมรณะ
ควรละโลกามิส มุ่งสู่สันติ๑เถิด

อุปนียสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๑. นฬวรรค ๔. อัจเจนติสูตร

๔. อัจเจนติสูตร
ว่าด้วยกาลที่ล่วงเลยไป

[๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
เทวดานั้นยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
กาล๑ล่วงเลยไป คืนผ่านพ้นไป
ช่วงแห่งวัย๒ละไปตามลำดับ
บุคคลพิจารณาเห็นภัยนี้ในมรณะ
ควรทำบุญที่นำความสุขมาให้
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
กาลล่วงเลยไป คืนผ่านพ้นไป
ช่วงแห่งวัยละไปตามลำดับ
บุคคลพิจารณาเห็นภัยนี้ในมรณะ
ควรละโลกามิส มุ่งสู่สันติเถิด๓

อัจเจนติสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๑. นฬวรรค ๕. กติฉินทสูตร

๕. กติฉินทสูตร
ว่าด้วยบุคคลตัดอะไรจึงข้ามโอฆะได้

[๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
เทวดานั้นยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
บุคคลควรตัดธรรมเท่าไร
ควรละธรรมเท่าไร
ควรบำเพ็ญธรรมเท่าไรให้ยิ่งขึ้นไป
ภิกษุก้าวล่วงธรรมเป็นเครื่องข้องเท่าไร
พระองค์จึงตรัสว่า ข้ามโอฆะได้
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
บุคคลควรตัดธรรม ๕ ประการ๑
ควรละธรรม ๕ ประการ๒
ควรเจริญธรรม ๕ ประการ๓ ให้ยิ่งขึ้นไป
ภิกษุก้าวล่วงธรรมเป็นเครื่องข้อง ๕ ประการ๔ได้แล้ว
เราจึงกล่าวว่า ข้ามโอฆะได้๕

กติฉินทสูตรที่ ๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๑. นฬวรรค ๗. อัปปฏิวิทิตสูตร

๖. ชาครสูตร
ว่าด้วยความตื่น

[๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
เทวดานั้นยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
เมื่อธรรมทั้งหลายตื่นอยู่ ธรรมประเภทไหนชื่อว่าหลับอยู่
เมื่อธรรมทั้งหลายหลับแล้ว ธรรมประเภทไหนชื่อว่าตื่นอยู่
บุคคลหมักหมมธุลีคือกิเลสเพราะธรรมประเภทไหน
บุคคลบริสุทธิ์เพราะธรรมประเภทไหน
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
เมื่ออินทรีย์ ๕ ตื่นอยู่ นิวรณ์ ๕ ชื่อว่าหลับอยู่
เมื่อนิวรณ์ ๕ หลับแล้ว อินทรีย์ ๕ ชื่อว่าตื่นอยู่
บุคคลหมักหมมธุลีคือกิเลสเพราะนิวรณ์ ๕
บุคคลบริสุทธิ์เพราะอินทรีย์ ๕

ชาครสูตรที่ ๖ จบ

๗. อัปปฏิวิทิตสูตร
ว่าด้วยผู้ไม่รู้แจ้งธรรม

[๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
เทวดานั้นยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
บุคคลเหล่าใดยังไม่รู้แจ้งธรรม๑
ย่อมถูกชักนำไปในวาทะของคนเหล่าอื่น๒


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๑. นฬวรรค ๘. สุสัมมุฏฐสูตร

บุคคลเหล่านั้นหลับอยู่ยังไม่ตื่น
บัดนี้เป็นกาลที่บุคคลเหล่านั้นควรจะตื่น
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
บุคคลเหล่าใดรู้แจ้งธรรมแล้ว
ย่อมไม่ถูกชักนำไปในวาทะของคนเหล่าอื่น
บุคคลเหล่านั้นผู้รู้ดี รู้ชอบ
ย่อมดำเนินไปอย่างสม่ำเสมอในที่ที่ไม่สม่ำเสมอ๑

อัปปฏิวิทิตสูตรที่ ๗ จบ

๘. สุสัมมุฏฐสูตร
ว่าด้วยผู้ลืมเลือนธรรม

[๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
เทวดานั้นยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
บุคคลผู้ลืมเลือนธรรม
ย่อมถูกชักนำไปในวาทะของคนเหล่าอื่น
บุคคลเหล่านั้นหลับอยู่ยังไม่ตื่น
บัดนี้เป็นกาลที่บุคคลเหล่านั้นควรจะตื่น
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
บุคคลผู้ไม่ลืมเลือนธรรม
ย่อมไม่ถูกชักนำไปในวาทะของคนเหล่าอื่น
บุคคลเหล่านั้นผู้รู้ดี รู้ชอบ
ย่อมดำเนินไปอย่างสม่ำเสมอในที่ที่ไม่สม่ำเสมอ

สุสัมมุฏฐสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๑. นฬวรรค ๙. มานกามสูตร

๙. มานกามสูตร
ว่าด้วยผู้มีมานะ

[๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
เทวดานั้นยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
บุคคลในโลกนี้ผู้มีมานะ(ความถือตัว)
ย่อมไม่มีการฝึกตนเอง
บุคคลผู้มีจิตไม่มั่นคงย่อมไม่มีความรู้๑
บุคคลผู้ไม่ประมาทอยู่ในป่าคนเดียว
ก็ไม่ถึงจุดจบแห่งความตาย๒
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
บุคคลละมานะได้แล้ว มีใจมั่นคงดี
มีใจดี หลุดพ้นในธรรมทั้งปวง๓
เขาไม่ประมาท อยู่ในป่าคนเดียว
ก็ถึงจุดจบแห่งความตายได้

มานกามสูตรที่ ๙ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๑. นฬวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑๐. อรัญญสูตร
ว่าด้วยป่า

[๑๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
เทวดานั้นยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ในป่า ผู้สงบ
ประพฤติธรรมอันประเสริฐ ฉันอาหารมื้อเดียว
เพราะเหตุอะไร ผิวพรรณจึงผ่องใส
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
ภิกษุทั้งหลายไม่เศร้าโศกถึงอดีต
ไม่คิดถึงอนาคต กำหนดอยู่กับปัจจุบัน
เพราะเหตุนั้น ผิวพรรณจึงผ่องใส
เพราะคิดถึงอนาคต เศร้าโศกถึงอดีต
ด้วยเหตุนี้ ภิกษุทั้งหลายผู้เขลาจึงซูบซีด
เหมือนต้นอ้อสดที่ถูกถอนขึ้นแล้ว ฉะนั้น

อรัญญสูตรที่ ๑๐ จบ
นฬวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. โอฆตรณสูตร ๒. นิโมกขสูตร
๓. อุปนียสูตร ๔. อัจเจนติสูตร
๕. กติฉินทสูตร ๖. ชาครสูตร
๗. อัปปฏิวิทิตสูตร ๘. สุสัมมุฏฐสูตร
๙. มานกามสูตร ๑๐. อรัญญสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๒. นันทนวรรค ๑. นันทนสูตร

๒. นันทนวรรค
หมวดว่าด้วยสวนนันทนวัน
๑. นันทนสูตร
ว่าด้วยสวนนันทนวัน

[๑๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลาย
มาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาค
จึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว เทวดาชั้นดาวดึงส์องค์หนึ่งมีเหล่านางอัปสร
แวดล้อม เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ อันเป็นทิพย์ ได้รับการบำรุงบำเรออยู่
ในสวนนันทนวัน ในเวลานั้น ได้กล่าวคาถานี้ว่า
เทวดาเหล่าใดยังไม่เคยเห็นสวนนันทนวัน
อันเป็นที่อยู่ของพวกนรเทพผู้มียศ ชั้นไตรทศ
เทวดาเหล่านั้นยังไม่รู้จักความสุข
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเทวดาองค์หนึ่งกล่าวอย่างนี้แล้ว อีกองค์หนึ่งได้กล่าวคาถา
ตอบเทวดานั้นว่า
เทวดาผู้เขลา ท่านไม่รู้จักถ้อยคำ
ของพระอรหันต์ทั้งหลายว่า สังขาร๑ทั้งปวง ไม่เที่ยง
มีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเป็นธรรมดา
เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป
ความสงบระงับสังขารเหล่านั้นเป็นความสุข

นันทนสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๒. นันทนวรรค ๒. นันทติสูตร

๒. นันทติสูตร
ว่าด้วยความยินดี

[๑๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
เทวดานั้นยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
คนมีบุตรย่อมยินดีเพราะบุตร
คนมีโคย่อมยินดีเพราะโคเหมือนกัน
เพราะอุปธิ๑ทำให้นรชนยินดี
ฉะนั้นคนที่ไร้อุปธิจึงไม่ยินดี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
คนมีบุตรย่อมเศร้าโศกเพราะบุตร
คนมีโคย่อมเศร้าโศกเพราะโคเหมือนกัน
เพราะอุปธิทำให้นรชนเศร้าโศก
ฉะนั้นคนที่ไร้อุปธิจึงไม่เศร้าโศก

นันทติสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๒. นันทนวรรค ๔. ขัตติยสูตร

๓. นัตถิปุตตสมสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เสมอด้วยบุตรไม่มี

[๑๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
เทวดานั้นยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
ความรักเสมอด้วยบุตรไม่มี
ทรัพย์เสมอด้วยโคไม่มี
แสงสว่างเสมอด้วยดวงอาทิตย์ไม่มี
แหล่งน้ำทั้งหลายมีสมุทรเป็นยอดเยี่ยม
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ความรักเสมอด้วยตนไม่มี
ทรัพย์เสมอด้วยข้าวเปลือกไม่มี
แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี
ฝนจัดเป็นแหล่งน้ำอันยอดเยี่ยม

นัตถิปุตตสมสูตรที่ ๓ จบ

๔. ขัตติยสูตร
ว่าด้วยกษัตริย์

[๑๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
เทวดานั้นยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
บรรดาสัตว์สองเท้า กษัตริย์ประเสริฐที่สุด
บรรดาสัตว์สี่เท้า โคพลิพัทประเสริฐที่สุด
บรรดาภรรยา ภรรยาที่เป็นกุมารีประเสริฐที่สุด
บรรดาบุตร บุตรที่เกิดก่อนประเสริฐที่สุด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๒. นันทนวรรค ๕. สณมานสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
บรรดาสัตว์สองเท้า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประเสริฐที่สุด
บรรดาสัตว์สี่เท้า สัตว์อาชาไนยประเสริฐที่สุด
บรรดาภรรยา ภรรยาผู้เชื่อฟังดีประเสริฐที่สุด
บรรดาบุตร บุตรผู้เชื่อฟังประเสริฐที่สุด

ขัตติยสูตรที่ ๔ จบ

๕. สณมานสูตร
ว่าด้วยเสียงป่าครวญ

[๑๕] เทวดากล่าวว่า
เมื่อฝูงนกพากันพักร้อนอยู่ในเวลาเที่ยงวัน
ป่าใหญ่ส่งเสียงประหนึ่งว่าครวญครางอยู่
เสียงครวญครางแห่งป่าใหญ่นั้น
ปรากฏเป็นสิ่งที่น่ากลัวแก่ข้าพเจ้า๑
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
เมื่อฝูงนกพากันพักร้อนอยู่ในเวลาเที่ยงวัน
ป่าใหญ่ส่งเสียงประหนึ่งว่าครวญครางอยู่
เสียงครวญครางแห่งป่าใหญ่นั้น
ปรากฏเป็นสิ่งที่น่ายินดีแก่เรา๑

สณมานสูตรที่ ๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๒. นันทนวรรค ๗. ทุกกรสูตร

๖. นิททาตันทิสูตร
ว่าด้วยความหลับและความเกียจคร้าน

[๑๖] เทวดากล่าวว่า
อริยมรรค๑ ไม่ปรากฏแก่เหล่าสัตว์ในโลกนี้
เพราะความหลับ ความเกียจคร้าน การบิดกาย
ความไม่ยินดีและความเมาอาหาร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
เพราะใช้ความเพียรกำจัดความหลับ
ความเกียจคร้าน การบิดกาย
ความไม่ยินดีและความเมาอาหารนั้น
อริยมรรค๒จึงบริสุทธิ์ได้

นิททาตันทิสูตรที่ ๖ จบ

๗. ทุกกรสูตร
ว่าด้วยสมณธรรมที่ทำได้ยาก
[๑๗] เทวดากล่าวว่า
สมณธรรม คนไม่ฉลาดทำได้ยาก อดทนได้ยาก
เพราะสมณธรรมนั้นมีความคับแคบมาก
สำหรับคนพาลที่อาศัยอยู่


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๒. นันทนวรรค ๘. หิริสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
คนพาลประพฤติสมณธรรมเป็นเวลานาน
หากไม่ห้ามจิต เขาตกอยู่ในอำนาจแห่งความดำริ
ก็จะพึงติดขัดในทุกบท๑
หากภิกษุยับยั้งความวิตกในใจไว้ได้
เหมือนเต่าหดอวัยวะไว้ในกระดองของตน
ก็จะไม่มีตัณหาและทิฏฐิอาศัย ไม่เบียดเบียนสัตว์อื่น
ดับสนิทแล้ว ไม่พึงว่าร้ายใคร

ทุกกรสูตรที่ ๗ จบ

๘. หิริสูตร
ว่าด้วยหิริ

[๑๘] เทวดากล่าวว่า
คนผู้กีดกัน(อกุศลธรรม)ได้ด้วยหิริ มีอยู่น้อยในโลก
ภิกษุใดหลบหลีกนินทาได้ ตื่นตัวอยู่
เหมือนม้าชั้นดีหลบแส้ได้
ภิกษุเช่นนั้นมีอยู่น้อย๒
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ภิกษุเหล่าใดผู้กีดกัน(อกุศลธรรม)ได้ด้วยหิริ
มีสติ ประพฤติธรรมอยู่ทุกเมื่อ ถึงที่สุดแห่งทุกข์๓
ย่อมดำเนินไปอย่างสม่ำเสมอในที่ที่ไม่สม่ำเสมอ
ภิกษุเหล่านั้นมีอยู่น้อย

หิริสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๒. นันทนวรรค ๙. กุฏิกาสูตร

๙. กุฏิกาสูตร
ว่าด้วยกระท่อม

[๑๙] เทวดาทูลถามว่า
ท่านไม่มีกระท่อมหรือ
ท่านไม่มีรังหรือ
ท่านไม่มีผู้สืบสกุลหรือ
ท่านเป็นผู้หลุดพ้นจากเครื่องผูกแล้วหรือ
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
แน่นอน เราไม่มีกระท่อม
แน่นอน เราไม่มีรัง
แน่นอน เราไม่มีผู้สืบสกุล
แน่นอน เราเป็นผู้หลุดพ้นจากเครื่องผูกแล้ว
เทวดาทูลถามว่า
กระท่อมที่ข้าพเจ้ากล่าวกับท่าน คืออะไร
รังที่ข้าพเจ้ากล่าวกับท่าน คืออะไร
ผู้สืบสกุลที่ข้าพเจ้ากล่าวกับท่าน คืออะไร
เครื่องผูกที่ข้าพเจ้ากล่าวกับท่าน คืออะไร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
กระท่อมที่ท่านกล่าวกับเรา คือมารดา
รังที่ท่านกล่าวกับเรา คือภรรยา
ผู้สืบสกุลที่ท่านกล่าวกับเรา คือบุตร
เครื่องผูกที่ท่านกล่าวกับเรา คือตัณหา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๒. นันทนวรรค ๑๐. สมิทธิสูตร

เทวดากล่าวว่า
ดีจริง ท่านไม่มีกระท่อม
ดีจริง ท่านไม่มีรัง
ดีจริง ท่านไม่มีผู้สืบสกุล
ดีจริง ท่านเป็นผู้หลุดพ้นจากเครื่องผูกแล้ว

กุฏิกาสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. สมิทธิสูตร
ว่าด้วยพระสมิทธิ

[๒๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ตโปทาราม เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น
ท่านพระสมิทธิลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ ไปที่แม่น้ำตโปทาเพื่อสรงน้ำ เสร็จแล้วขึ้นมา มีจีวร
ผืนเดียว๑ได้ยืนรอให้ตัวแห้งอยู่ ครั้นเมื่อราตรีผ่านไป เทวดาองค์หนึ่งมีวรรณะงดงาม
ยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วแม่น้ำตโปทา เข้าไปหาท่านพระสมิทธิถึงที่อยู่แล้วยืนอยู่
ในอากาศได้กล่าวกับท่านพระสมิทธิด้วยคาถาว่า
ภิกษุ ท่านไม่บริโภคแต่ยังขออยู่
ท่านบริโภคแล้วก็ต้องไม่ขอเลย
ภิกษุ ท่านบริโภคแล้วจงขอเถิด
กาล๒อย่าได้ล่วงท่านไปเลย


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๒. นันทนวรรค ๑๐. สมิทธิสูตร

ท่านพระสมิทธิกล่าวว่า
ข้าพเจ้ายังไม่รู้จักกาลเลย
เพราะกาลถูกปกปิดอยู่ยังไม่ปรากฏ
ฉะนั้น ถึงข้าพเจ้าไม่บริโภคแต่ก็ยังขออยู่
กาล๑อย่าได้ล่วงข้าพเจ้าไปเลย
ครั้งนั้น เทวดานั้นลงมายืนอยู่ที่พื้นดินแล้วได้กล่าวกับท่านพระสมิทธิว่า
“ภิกษุ ท่านเป็นนักบวชที่ยังหนุ่มแน่นมีผมดำสนิท อยู่ในวัยแรกรุ่นอันเจริญ
ไม่เพลิดเพลินในกามทั้งหลาย ขอท่านจงบริโภคกามทั้งหลายอันเป็นของมนุษย์เถิด
อย่าละกามที่เห็นเฉพาะหน้าแล้ววิ่งไปหากามอันมีอยู่ตามกาล๒เลย”
ท่านพระสมิทธิกล่าวว่า “เทวดา ข้าพเจ้ามิได้ละกามที่เห็นเฉพาะหน้าแล้ววิ่ง
ไปหากามอันมีอยู่ตามกาลเลย ข้าพเจ้าละกามอันมีอยู่ตามกาลแล้ววิ่งไปหาธรรม
ที่เห็นเฉพาะหน้า กามทั้งหลายอันมีอยู่ตามกาลพระผู้มีพระภาคตรัสว่า มีทุกข์มาก
มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษยิ่งนัก ธรรมนี้เป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัด
ด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชน
พึงรู้เฉพาะตน”
เทวดากล่าวว่า “ภิกษุ ก็กามทั้งหลายอันมีอยู่ตามกาลพระผู้มีพระภาคตรัสว่า
มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษยิ่งนัก เป็นอย่างไร ธรรมนี้เป็นธรรม
ที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อม
เข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน เป็นอย่างไร”
ท่านพระสมิทธิกล่าวว่า “เทวดา ข้าพเจ้าเองเป็นพระใหม่ บวชมาไม่นาน
เพิ่งมาสู่พระธรรมวินัยนี้ ข้าพเจ้าไม่อาจจะบอกท่านโดยพิสดารได้ พระผู้มีพระภาค
พระองค์นั้น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ ตโปทาราม เขต
กรุงราชคฤห์ ท่านจงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วทูลถามข้อความนั้นเถิด พึงจำ
ข้อความนั้นตามที่พระองค์ทรงเฉลยเถิด”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๒. นันทนวรรค ๑๐. สมิทธิสูตร

เทวดากล่าวว่า “ภิกษุ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น พวกเทวดาผู้มีศักดิ์ใหญ่
ทั้งหลายเหล่าอื่นแวดล้อมอยู่ พวกข้าพเจ้าจะเข้าไปเฝ้าไม่ได้ง่ายนัก หากท่านเข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วทูลถามเนื้อความนี้ แม้พวกข้าพเจ้าก็จะมาฟังธรรมด้วย”
ท่านพระสมิทธิรับคำของเทวดานั้นแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ข้าพระองค์ลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ไปที่แม่น้ำตโปทา
เพื่อสรงน้ำ เสร็จแล้วขึ้นมา มีจีวรผืนเดียวได้ยืนรอให้ตัวแห้งอยู่ ครั้นเมื่อราตรี
ผ่านไป เทวดาองค์หนึ่งมีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วแม่น้ำตโปทา
เข้ามาหาข้าพระองค์ถึงที่อยู่แล้วยืนอยู่ในอากาศ ได้กล่าวคาถานี้ว่า
ภิกษุ ท่านไม่บริโภคแต่ยังขออยู่
ท่านบริโภคแล้วก็ต้องไม่ขอเลย
ภิกษุ ท่านบริโภคแล้วจงขอเถิด
กาลอย่าได้ล่วงท่านไปเลย
เมื่อเทวดากล่าวอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์ได้กล่าวกับเทวดานั้นด้วยคาถาว่า
ข้าพเจ้ายังไม่รู้จักกาลเลย
เพราะกาลถูกปกปิดอยู่ยังไม่ปรากฏ
ฉะนั้น ถึงข้าพเจ้าไม่บริโภคแต่ก็ยังขออยู่
กาลอย่าได้ล่วงข้าพเจ้าไปเลย
ครั้งนั้น เทวดานั้นลงมายืนอยู่ที่พื้นดินแล้วได้กล่าวกับข้าพระองค์ดังนี้ว่า
“ภิกษุ ท่านเป็นนักบวชที่ยังหนุ่มแน่นมีผมดำสนิท อยู่ในวัยแรกรุ่นอันเจริญ
ไม่เพลิดเพลินในกามทั้งหลาย ขอท่านจงบริโภคกามทั้งหลายอันเป็นของมนุษย์เถิด
อย่าละกามที่เห็นเฉพาะหน้าแล้ววิ่งไปหากามอันมีอยู่ตามกาลเลย”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๒. นันทนวรรค ๑๐. สมิทธิสูตร

เมื่อเทวดานั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์จึงได้กล่าวกับเทวดานั้นดังนี้ว่า
“เทวดา ข้าพเจ้ามิได้ละกามที่เห็นเฉพาะหน้าแล้ววิ่งไปหากามอันมีอยู่ตามกาลเลย
ข้าพเจ้าละกามอันมีอยู่ตามกาลแล้ววิ่งไปหาธรรมที่เห็นเฉพาะหน้า กามทั้งหลาย
อันมีอยู่ตามกาลพระผู้มีพระภาคตรัสว่า มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้
มีโทษยิ่งนัก ธรรมนี้เป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน”
เมื่อข้าพระองค์กล่าวอย่างนี้แล้ว เทวดานั้นได้กล่าวกับข้าพระองค์ดังนี้ว่า
“ภิกษุ ก็กามทั้งหลายอันมีอยู่ตามกาลพระผู้มีพระภาคตรัสว่า มีทุกข์มาก มีความ
คับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษยิ่งนัก เป็นอย่างไร ธรรมนี้เป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึง
เห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน เป็นอย่างไร”
เมื่อเทวดากล่าวอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์ได้กล่าวกับเทวดานั้นดังนี้ว่า “เทวดา
ข้าพเจ้าเองเป็นพระใหม่ บวชมาไม่นาน เพิ่งมาสู่พระธรรมวินัยนี้ ข้าพเจ้าไม่อาจจะ
บอกท่านโดยพิสดารได้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ประทับอยู่ ณ ตโปทาราม เขตกรุงราชคฤห์ ท่านจงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
แล้วทูลถามข้อความนั้นเถิด พึงจำข้อความนั้นตามที่พระองค์ทรงเฉลยเถิด”
เมื่อข้าพระองค์กล่าวอย่างนี้แล้ว เทวดานั้นได้กล่าวกับข้าพระองค์ดังนี้ว่า
“ภิกษุ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น พวกเทวดาผู้มีศักดิ์ใหญ่ทั้งหลายเหล่าอื่น
แวดล้อมอยู่ พวกข้าพเจ้าจะเข้าไปเฝ้าไม่ได้ง่ายนัก หากท่านเข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคแล้วทูลถามข้อความนี้แทน แม้พวกข้าพเจ้าก็จะมาฟังธรรมด้วย ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ถ้าคำของเทวดานั้นเป็นจริง เทวดานั้นก็พึงมาใกล้ตโปทารามนี้”
เมื่อท่านพระสมิทธิกราบทูลอย่างนี้แล้ว เทวดานั้นได้กล่าวกับท่านพระสมิทธิ
ดังนี้ว่า “ทูลถามเถิด ทูลถามเถิด ภิกษุ ข้าพเจ้าตามมาถึงที่นี้แล้ว”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๒. นันทนวรรค ๑๐. สมิทธิสูตร

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสบอกเทวดานั้น ด้วยคาถาทั้งหลายว่า
สัตว์ทั้งหลายมีความหมายรู้ในสิ่งที่เรียกขาน๑
ติดอยู่ในสิ่งที่เรียกขาน๒
ไม่กำหนดรู้สิ่งที่เรียกขาน
จึงตกอยู่ใต้อำนาจแห่งความตาย
ส่วนภิกษุกำหนดรู้สิ่งที่เรียกขานแล้ว๓
ไม่กำหนดหมายสิ่งที่เรียกขาน
เพราะสิ่งที่เรียกขานนั้นไม่มีแก่ภิกษุนั้น
ฉะนั้น เหตุที่จะเรียกขานท่านจึงไม่มี
ยักษ์๔ ถ้าท่านรู้ชัดก็จงบอกมาเถิด
เทวดานั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่รู้ทั่วถึงเนื้อความ
แห่งพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้อย่างย่อนี้โดยพิสดารได้ ขอประทานวโรกาส
ขอพระผู้มีพระภาคได้โปรดตรัสให้ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งพระดำรัสที่พระองค์
ตรัสไว้อย่างย่อนี้โดยพิสดารเถิด”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๒. นันทนวรรค ๑๐. สมิทธิสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสคาถานี้ว่า
บุคคลใดถือตัวว่าเราเสมอเขา
เราเลิศกว่าเขา หรือเราด้อยกว่าเขา
บุคคลนั้นก็พึงทะเลาะกับเขา เพราะความถือตัวนั้น
บุคคลผู้ไม่หวั่นไหวในความถือตัวทั้ง ๓ นั้น
ย่อมไม่มีความถือตัวว่าเราเสมอเขา
เราเลิศกว่าเขา หรือเราด้อยกว่าเขา
ยักข์ ถ้าท่านรู้ชัดก็จงบอกมาเถิด
เทวดานั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่รู้ทั่วถึงเนื้อความ
แห่งพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้อย่างย่อนี้โดยพิสดารได้ ขอประทานวโรกาส
ขอพระผู้มีพระภาคได้โปรดตรัสให้ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งพระดำรัสที่พระองค์
ตรัสไว้อย่างย่อนี้โดยพิสดารเถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสคาถานี้ว่า
บุคคลละบัญญัติได้แล้ว ไม่เข้าถึงวิมาน๑
ตัดตัณหาในนามรูปนี้ได้แล้ว
เทวดาและมนุษย์ในโลกนี้ หรือในโลกอื่น
ในสวรรค์ หรือในสถานที่อยู่อาศัยของสัตว์ทุกจำพวก๒
ถึงจะเที่ยวค้นหาก็ไม่พบบุคคลนั้น
ผู้ตัดกิเลสเครื่องผูกได้แล้ว ไร้ทุกข์หมดความกระหาย


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๒. นันทนวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ยักข์ ถ้าท่านรู้ชัดก็จงบอกมาเถิด
เทวดานั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงเนื้อความ
แห่งพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้อย่างย่อนี้โดยพิสดารอย่างนี้ว่า
บุคคลไม่ควรทำบาปทางกาย ทางวาจา
หรือทางใจ ทางใดทางหนึ่งในโลกทั้งปวง
ควรละกามทั้งหลาย มีสติสัมปชัญญะ
ไม่พึงเสวยทุกข์อันประกอบด้วยสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์”

สมิทธิสูตรที่ ๑๐ จบ
นันทนวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. นันทนสูตร ๒. นันทติสูตร
๓. นัตถิปุตตสมสูตร ๔. ขัตติยสูตร
๕. สณมานสูตร ๖. นิททาตันทิสูตร
๗. ทุกกรสูตร ๘. หิริสูตร
๙. กุฏิกาสูตร ๑๐. สมิทธิสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]๓. สัตติวรรค ๑. สัตติสูตร

๓. สัตติวรรค
หมวดว่าด้วยหอก

๑. สัตติสูตร
ว่าด้วยหอก

[๒๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
เทวดานั้นยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มี
พระภาคว่า
ภิกษุพึงอยู่อย่างมีสติ เพื่อละกามราคะ
เหมือนบุคคลถูกแทงด้วยหอก มุ่งถอนหอกออก
เหมือนบุคคลถูกไฟไหม้อยู่บนศีรษะ มุ่งดับไฟ ฉะนั้น
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ภิกษุพึงอยู่อย่างมีสติ เพื่อละสักกายทิฏฐิ
เหมือนบุคคลถูกแทงด้วยหอก มุ่งถอนหอกออก
เหมือนบุคคลถูกไฟไหม้อยู่บนศีรษะ มุ่งดับไฟ ฉะนั้น๑

สัตติสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต] ๓. สัตติวรรค ๓. ชฏาสูตร

๒. ผุสติสูตร
ว่าด้วยการถูกต้อง

[๒๒] เทวดากล่าวว่า
วิบากกรรมย่อมไม่ถูกต้องบุคคลผู้ไม่ถูกต้อง๑
แต่ถูกต้องบุคคลผู้ถูกต้องเท่านั้น
เพราะฉะนั้น วิบากกรรมจึงถูกต้องบุคคลผู้ถูกต้อง
ผู้ประทุษร้ายบุคคลผู้ไม่ประทุษร้าย
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ผู้ใดประทุษร้ายบุคคลผู้ไม่ประทุษร้าย
ซึ่งเป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน๒
บาปย่อมกลับมาถึงผู้นั้น ซึ่งเป็นคนพาลอย่างแน่แท้
ดุจผงธุลีอันละเอียดที่บุคคลซัดไปทวนลมแล้ว ฉะนั้น๓

ผุสติสูตรที่ ๒ จบ

๓. ชฏาสูตร
ว่าด้วยความยุ่ง

[๒๓] เทวดาทูลถามว่า
หมู่สัตว์ยุ่งทั้งภายใน ยุ่งทั้งภายนอก
ถูกความยุ่งพาให้นุงนังแล้ว ข้าแต่พระโคดม
เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์ว่า
ใครพึงแก้ความยุ่งนี้ได้


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๓. สัตติวรรค ๔. มโนนิวารณสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
นรชนผู้มีปัญญา เห็นภัยในสังสารวัฏ
ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญจิตและปัญญา๑
มีความเพียร มีปัญญาเครื่องบริหาร
นั้นพึงแก้ความยุ่งนี้ได้
บุคคลเหล่าใดกำจัดราคะ โทสะ และอวิชชาได้แล้ว
บุคคลเหล่านั้นสิ้นอาสวะแล้ว เป็นพระอรหันต์
พวกเขาแก้ความยุ่งได้แล้ว
นาม๒ก็ดี รูปก็ดี ปฏิฆสัญญาก็ดี
รูปสัญญาก็ดี๓ ดับไม่เหลือในที่ใด
ความยุ่งนั้นก็ย่อมขาดหายไปในที่นั้น๔

ชฏาสูตรที่ ๓ จบ

๔. มโนนิวารณสูตร
ว่าด้วยการห้ามใจ

[๒๔] เทวดากราบทูลว่า
บุคคลห้ามใจจากอารมณ์ใด ๆ ได้
ทุกข์เพราะอารมณ์นั้น ๆ ย่อมไม่มาถึงเขา
เขาห้ามใจจากอารมณ์ทั้งปวงได้
ย่อมพ้นจากทุกข์ เพราะอารมณ์ทั้งปวง


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๓. สัตติวรรค ๕. อรหันตสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
บุคคลไม่พึงห้ามใจจากอารมณ์ทั้งปวง
ไม่พึงห้ามใจที่ถึงความสำรวม๑
บาปเกิดขึ้นจากอารมณ์ใด ๆ
พึงห้ามใจจากอารมณ์นั้นๆ

มโนนิวารณสูตรที่ ๔ จบ

๕. อรหันตสูตร
ว่าด้วยพระอรหันต์

[๒๕] เทวดากล่าวว่า
ภิกษุใดเป็นพระอรหันต์ ทำกิจเสร็จแล้ว
สิ้นอาสวะแล้ว เหลือแต่ร่างกายในชาติสุดท้าย
ภิกษุนั้นกล่าวว่า ‘เราพูด’ ดังนี้บ้าง
กล่าวว่า ‘คนทั้งหลายพูดกับเรา’ ดังนี้บ้าง
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ภิกษุใดเป็นพระอรหันต์ ทำกิจเสร็จแล้ว
สิ้นอาสวะแล้ว เหลือแต่ร่างกายในชาติสุดท้าย
ภิกษุนั้นกล่าวว่า ‘เราพูด’ ดังนี้บ้าง
กล่าวว่า ‘คนทั้งหลายพูดกับเรา’ ดังนี้บ้าง


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๓. สัตติวรรค ๕. อรหันตสูตร

ภิกษุนั้นเป็นผู้ฉลาด ทราบคำพูดที่รู้กันในโลก
เธอกล่าวตามสมมติที่เขาพูดกัน
เทวดานั้นทูลถามว่า
ภิกษุใดเป็นพระอรหันต์ ทำกิจเสร็จแล้ว
สิ้นอาสวะแล้ว เหลือแต่ร่างกายในชาติสุดท้าย
ภิกษุนั้นยังติดมานะอยู่หรือหนอ
จึงกล่าวว่า ‘เราพูด’ ดังนี้บ้าง
กล่าวว่า ‘คนทั้งหลายพูดกับเรา’ ดังนี้บ้าง
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
กิเลสเครื่องผูกทั้งหลายไม่มีแก่ภิกษุผู้ละมานะได้แล้ว
มานะและกิเลสเครื่องผูกทั้งปวงอันภิกษุนั้นกำจัดได้แล้ว
ภิกษุผู้มีปัญญาดีล่วงพ้นความถือตัวได้แล้ว
ภิกษุนั้นกล่าวว่า ‘เราพูด’ ดังนี้บ้าง
กล่าวว่า ‘คนทั้งหลายพูดกับเรา’ ดังนี้บ้าง
ภิกษุนั้นเป็นผู้ฉลาด ทราบคำพูดที่รู้กันในโลก
เธอกล่าวตามสมมติที่เขาพูดกัน

อรหันตสูตรที่ ๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๓. สัตติวรรค ๖. ปัชโชตสูตร

๖. ปัชโชตสูตร
ว่าด้วยแสงสว่าง

[๒๖] เทวดาทูลถามว่า
โลกรุ่งเรืองเพราะแสงสว่างเหล่าใด
แสงสว่างเหล่านั้นมีอยู่เท่าไรในโลก
พวกข้าพระองค์มาเพื่อทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
จะรู้แสงสว่างนั้นได้อย่างไร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ในโลกมีแสงสว่างอยู่ ๔ อย่าง
อย่างที่ ๕ ไม่มีในโลกนี้ คือ
(๑) ดวงอาทิตย์ส่องสว่างในกลางวัน
(๒) ดวงจันทร์ส่องสว่างในกลางคืน
(๓) ไฟส่องสว่างทั้งกลางวันและกลางคืนทุกหนทุกแห่ง
(๔) พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประเสริฐกว่าแสงสว่างทั้งหลาย
แสงสว่างนี้๑เป็นแสงสว่างอย่างยอดเยี่ยม

ปัชโชตสูตรที่ ๖ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๓. สัตติวรรค ๘. มหัทธนสูตร

๗. สรสูตร
ว่าด้วยความแล่นไป

[๒๗] เทวดาทูลถามว่า
ความแล่นไปจะหยุดที่ไหน
วัฏฏะไม่หมุนวนที่ไหน
นามและรูปดับไม่เหลือที่ไหน
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
ดิน น้ำ ไฟ ลม ตั้งอยู่ไม่ได้ที่ใด
ความแล่นไปย่อมหยุดที่นี้
วัฏฏะไม่หมุนวนที่นี้
นามและรูปดับไม่เหลือที่นี้

สรสูตรที่ ๗ จบ

๘. มหัทธนสูตร
ว่าด้วยผู้มีทรัพย์มาก

[๒๘] เทวดาทูลถามว่า
กษัตริย์ทั้งหลายมีทรัพย์มาก มีโภคะมาก
ทั้งมีแว่นแคว้น ไม่รู้จักพอในกามทั้งหลาย
ต่างแข่งขันกันและกัน
เมื่อกษัตริย์เหล่านั้นพากันขวนขวาย
วิ่งไปตามกระแสแห่งภพ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๓. สัตติวรรค ๙. จตุจักกสูตร

บุคคลเหล่าไหนเล่าไม่มีความขวนขวาย
ละความโกรธและตัณหาในโลกได้
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
บุคคลทั้งหลายสละเรือน สละลูก
และสละสัตว์เลี้ยงอันเป็นที่รัก บวช
กำจัดราคะ โทสะ และอวิชชาได้
สิ้นอาสวะแล้ว เป็นพระอรหันต์
บุคคลเหล่านี้เป็นผู้ไม่มีความขวนขวายในโลก

มหัทธนสูตรที่ ๘ จบ

๙. จตุจักกสูตร
ว่าด้วยสรีรยนต์ ๔ ล้อ

[๒๙] เทวดาทูลถามว่า
ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า สรีรยนต์ ๔ ล้อ๑
มีประตู ๙ ประตู๒ เต็มไปด้วยของไม่สะอาด
ถูกโลภะประกอบไว้ เป็นเหมือนเปือกตม
สรีรยนต์นั้นจักแล่นไปได้อย่างไร๓


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๓. สัตติวรรค ๑๐. เอณิชังฆสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
เพราะตัดชะเนาะ๑ เชือกหนัง๒
ตัดความปรารถนาและความโลภอันเลวทราม
และเพราะถอนตัณหาพร้อมทั้งรากได้
สรีรยนต์นั้นจักแล่นไปได้อย่างนี้๓

จตุจักกสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. เอณิชังฆสูตร
ว่าด้วยพระผู้มีพระชงฆ์เหมือนเนื้อทราย

[๓๐] เทวดากล่าวว่า
พวกข้าพระองค์พากันมาเฝ้า ขอทูลถามพระองค์
ผู้มีพระชงฆ์เหมือนเนื้อทราย มีพระวรกายสมส่วน
มีความเพียร ฉันพระกระยาหารน้อย ไม่มีความโลเล
เป็นเหมือนราชสีห์และช้างเที่ยวไปตามลำพัง
ไม่มีความห่วงในกามทั้งหลาย
ว่า บุคคลหลุดพ้นจากทุกข์ได้อย่างไร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๓. สัตติวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
กามคุณ๑ ๕ มีใจเป็นที่ ๖
บัณฑิตประกาศไว้ชัดแล้วในโลก
บุคคลละความพอใจในนามรูป๒นี้
ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ได้อย่างนี้

เอณิชังฆสูตรที่ ๑๐ จบ
สัตติวรรคที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สัตติสูตร ๒. ผุสติสูตร
๓. ชฏาสูตร ๔. มโนนิวารณสูตร
๕. อรหันตสูตร ๖. ปัชโชตสูตร
๗. สรสูตร ๘. มหัทธนสูตร
๙. จตุจักกสูตร ๑๐. เอณิชังฆสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๔. สตุลลปกายิกวรรค ๑. สัพภิสูตร

๔. สตุลลปกายิกวรรค
หมวดว่าด้วยพวกเทวดาสตุลลปกายิกา

๑. สัพภิสูตร
ว่าด้วยสัตบุรุษ

[๓๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้นเมื่อราตรีผ่านไป พวกเทวดาสตุลลปกายิกา๑
จำนวนมากมีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วพระเชตวัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร
เทวดาองค์หนึ่งยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มี
พระภาคว่า
บุคคลควรสมาคมกับพวกสัตบุรุษเท่านั้น
ควรทำความสนิทสนมกับพวกสัตบุรุษ
บุคคลรู้แจ้งสัทธรรม๒ของพวกสัตบุรุษแล้ว
ย่อมเป็นผู้ประเสริฐ ไม่เป็นผู้ตกต่ำ
ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
บุคคลควรสมาคมกับพวกสัตบุรุษเท่านั้น
ควรทำความสนิทสนมกับพวกสัตบุรุษ
บุคคลรู้แจ้งสัทธรรมของพวกสัตบุรุษแล้วย่อมได้ปัญญา
หาได้ปัญญาจากคนอันธพาลอื่นไม่


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๔. สตุลลปกายิกวรรค ๑. สัพภิสูตร

ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
บุคคลควรสมาคมกับพวกสัตบุรุษเท่านั้น
ควรทำความสนิทสนมกับพวกสัตบุรุษ
บุคคลรู้แจ้งสัทธรรมของพวกสัตบุรุษแล้ว
ย่อมไม่เศร้าโศกในท่ามกลางคนผู้เศร้าโศก
ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
บุคคลควรสมาคมกับพวกสัตบุรุษเท่านั้น
ควรทำความสนิทสนมกับพวกสัตบุรุษ
บุคคลรู้แจ้งสัทธรรมของพวกสัตบุรุษแล้ว
ย่อมรุ่งเรืองในท่ามกลางแห่งญาติ
ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
บุคคลควรสมาคมกับพวกสัตบุรุษเท่านั้น
ควรทำความสนิทสนมกับพวกสัตบุรุษ
สัตว์ทั้งหลายรู้แจ้งสัทธรรมของพวกสัตบุรุษแล้ว ย่อมไปสู่สุคติ
ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
บุคคลควรสมาคมกับพวกสัตบุรุษเท่านั้น
ควรทำความสนิทสนมกับพวกสัตบุรุษ
สัตว์ทั้งหลายรู้แจ้งสัทธรรมของพวกสัตบุรุษแล้ว
ย่อมดำรงอยู่ได้ตลอดไป
ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระ-
ผู้มีพระภาค คำของใครหนอเป็นสุภาษิต”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “คำของพวกท่านทั้งหมดเป็นสุภาษิตโดยอ้อม แต่ขอ
พวกท่านจงฟังคำของเราบ้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๔. สตุลลปกายิกวรรค ๒. มัจฉริสูตร

บุคคลควรสมาคมกับพวกสัตบุรุษเท่านั้น
ควรทำความสนิทสนมกับพวกสัตบุรุษ
บุคคลรู้แจ้งสัทธรรมของพวกสัตบุรุษแล้ว
ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสคาถานี้แล้ว เทวดาเหล่านั้นมีใจยินดีถวายอภิวาท
พระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วหายตัวไป ณ ที่นั้นนั่นเอง

สัพภิสูตรที่ ๑ จบ

๒. มัจฉริสูตร
ว่าด้วยคนตระหนี่

[๓๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้นเมื่อราตรีผ่านไป พวกเทวดาสตุลล-
ปกายิกาจำนวนมากมีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วพระเชตวัน เข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร
เทวดาองค์หนึ่งยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มี-
พระภาคว่า
เพราะความตระหนี่และความประมาท
บุคคลจึงให้ทานอย่างนี้ไม่ได้
บุคคลผู้หวังบุญรู้แจ้งอยู่จึงให้ทานได้
ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้กล่าวคาถาเหล่านี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
คนตระหนี่กลัวสิ่งใดแล้วไม่ให้ทาน
สิ่งนั้นนั่นเองเป็นภัยแก่เขาผู้ไม่ให้
ความหิวและความกระหายที่คนตระหนี่กลัว
ย่อมถูกต้องเขานั่นเองซึ่งเป็นคนเขลา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๔. สตุลลปกายิกวรรค ๒. มัจฉริสูตร

ทั้งในโลกนี้และในโลกหน้า
ฉะนั้น บุคคลควรกำจัดความตระหนี่
ครอบงำมลทินแล้วให้ทานเถิด
เพราะบุญเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายในโลกหน้า
ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้กล่าวคาถาเหล่านี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
คนเหล่าใดเมื่อของมีน้อยก็แบ่งให้
เหมือนคนเดินทางไกลแบ่งของให้เพื่อนร่วมทาง
เมื่อคนเหล่าอื่นตาย คนเหล่านั้นชื่อว่าไม่ตาย
ธรรมนี้เป็นธรรมเก่าแก่
คนพวกหนึ่งเมื่อมีของน้อยก็แบ่งให้ได้
พวกหนึ่งมีของมากกลับแบ่งให้ไม่ได้
ทักษิณาที่ให้จากของน้อย นับว่าเท่ากับของเป็นพัน
ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้กล่าวคาถาเหล่านี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
พวกคนพาลเมื่อจะให้ทานก็ให้ยาก
เมื่อจะทำงานก็ทำยาก
พวกอสัตบุรุษย่อมไม่ทำตามธรรมของสัตบุรุษ
เพราะธรรมของสัตบุรุษดำเนินตามได้แสนยาก
ฉะนั้น การไปจากโลกนี้ของพวกสัตบุรุษ
และอสัตบุรุษจึงแตกต่างกัน
พวกอสัตบุรุษพากันลงนรก
ส่วนพวกสัตบุรุษพากันขึ้นสวรรค์
ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระ-
ผู้มีพระภาค คำของใครหนอเป็นสุภาษิต”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๔. สตุลลปกายิกวรรค ๒. มัจฉริสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “คำของพวกท่านทั้งหมดเป็นสุภาษิตโดยอ้อม แต่ขอ
พวกท่านจงฟังคำของเราบ้าง
แม้บุคคลใดประพฤติตนให้ยุ่งยากเลี้ยงดูภรรยา
และเมื่อของมีน้อยก็ให้ได้
บุคคลนั้นชื่อว่าประพฤติธรรม
เมื่อบุรุษ ๑๐๐,๐๐๐ คน บูชาภิกษุ ๑,๐๐๐ รูป
การบูชาของบุรุษเหล่านั้น
จึงมีค่าไม่เท่าเสี้ยวหนึ่งของบุคคลเช่นนั้น
ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
เพราะเหตุไร การบูชาอันใหญ่หลวงนี้
จึงมีค่าไม่เท่าส่วนแห่งทานที่บุคคลให้ด้วยความเหมาะสม
เมื่อบุรุษ ๑๐๐,๐๐๐ คน บูชาภิกษุ ๑,๐๐๐ รูป
การบูชาของบุรุษเหล่านั้น
จึงมีค่าไม่เท่าเสี้ยวหนึ่งของบุคคลเช่นนั้น ได้อย่างไร
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสตอบเทวดานั้นด้วยคาถาว่า
บุคคลพวกหนึ่งดำรงอยู่ในความไม่เหมาะสม
ทำร้ายเขา ฆ่าเขา หรือทำให้เขาเศร้าโศกแล้วจึงให้ทาน
ทักษิณานั้นจัดเป็นทักษิณาอันมีหน้านองด้วยน้ำตา
เป็นไปกับด้วยอาชญา จึงมีค่าไม่เท่าส่วนแห่งทาน
ที่ให้ด้วยความเหมาะสม
เมื่อบุรุษ ๑๐๐,๐๐๐ คน บูชาภิกษุ ๑,๐๐๐ รูป
การบูชาของบุรุษเหล่านั้น
จึงมีค่าไม่เท่าเสี้ยวหนึ่งของบุคคลเช่นนั้น ได้อย่างนี้

มัจฉริสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๔. สตุลลปกายิกวรรค ๓. สาธุสูตร

๓. สาธุสูตร
ว่าด้วยผลสำเร็จแห่งทาน

[๓๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้นเมื่อราตรีผ่านไป พวกเทวดาสตุลลปกายิกาจำนวนมากมีวรรณะงดงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วพระเชตวัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร
เทวดาองค์หนึ่งยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้เปล่งอุทานนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ทานให้ประโยชน์สำเร็จได้จริง
แม้เมื่อของมีน้อย ทานก็ให้ประโยชน์สำเร็จได้
เพราะความตระหนี่และความประมาท
บุคคลจึงให้ทานอย่างนี้ไม่ได้
บุคคลผู้หวังบุญรู้แจ้งอยู่จึงให้ทานได้
ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้เปล่งอุทานนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ทานให้ประโยชน์สำเร็จได้จริง
อนึ่ง แม้เมื่อของมีน้อย ทานก็ให้ประโยชน์สำเร็จได้
คนพวกหนึ่งเมื่อของมีน้อยก็แบ่งให้ได้
พวกหนึ่งมีของมากกลับแบ่งให้ไม่ได้
ทักษิณาที่ให้จากของน้อย นับว่าเท่ากับของเป็นพัน
ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้เปล่งอุทานนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ทานให้ประโยชน์สำเร็จได้จริง
แม้เมื่อของมีน้อย ทานก็ให้ประโยชน์สำเร็จได้
อนึ่ง ทานที่ให้แม้ด้วยศรัทธาก็ให้ประโยชน์สำเร็จได้
นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่า ทานกับการรบเสมอกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๔. สตุลลปกายิกวรรค ๓. สาธุสูตร

พวกวีรบุรุษแม้มีน้อยก็เอาชนะคนขี้ขลาดที่มากกว่าได้
ถ้าบุคคลมีศรัทธา ย่อมให้สิ่งของแม้มีน้อยได้
เพราะเหตุนั้น ทายกนี้จึงเป็นผู้มีความสุขในโลกหน้า
ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้เปล่งอุทานนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ทานให้ประโยชน์สำเร็จได้จริง
แม้เมื่อของมีน้อย ทานก็ให้ประโยชน์สำเร็จได้
ทานที่ให้แม้ด้วยศรัทธาก็ให้ประโยชน์สำเร็จได้
อนึ่ง ทานที่ให้แม้แก่บุคคลผู้ได้ธรรม๑แล้วก็ยิ่งเป็นการดี
บุคคลใดให้ทานแก่บุคคลผู้ได้ธรรมแล้ว
ผู้มีความขยันหมั่นเพียรอันตนบรรลุแล้ว
บุคคลนั้นข้ามพ้นนรกแห่งยมราชได้แล้วเข้าถึงฐานะอันเป็นทิพย์
ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้เปล่งอุทานนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ทานให้ประโยชน์สำเร็จได้จริง
แม้เมื่อของมีน้อย ทานก็ให้ประโยชน์สำเร็จได้
ทานที่ให้แม้ด้วยศรัทธาก็ให้ประโยชน์สำเร็จได้
ทานที่ให้แก่บุคคลผู้ได้ธรรมแล้วก็ยิ่งเป็นการดี
อนึ่ง แม้ทานที่บุคคลเลือกให้ก็เป็นทานให้ประโยชน์สำเร็จได้
ทานที่บุคคลเลือกให้ พระสุคตทรงสรรเสริญแล้ว
บุคคลเหล่าใด ควรแก่ทักษิณามีอยู่ในโลกคือหมู่สัตว์นี้
ทานทั้งหลายที่บุคคลเลือกให้แล้วในบุคคลเหล่านั้นย่อมมีผลมาก
เหมือนพืชทั้งหลายที่บุคคลหว่านลงในนาชั้นดี ฉะนั้น


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๔. สตุลลปกายิกวรรค ๓. สาธุสูตร

ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้เปล่งอุทานนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ทานให้ประโยชน์สำเร็จได้จริง
แม้เมื่อของมีน้อย ทานก็ให้ประโยชน์สำเร็จได้
ทานที่ให้แม้ด้วยศรัทธาก็ยังประโยชน์ให้สำเร็จได้
ทานที่ให้แก่บุคคลผู้ได้ธรรมแล้วก็ยิ่งเป็นการดี
ทานที่บุคคลเลือกให้ก็ยิ่งเป็นการดี
อนึ่ง ความสำรวมแม้ในสัตว์ทั้งหลายก็ยิ่งเป็นการดี
บุคคลใดไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย
ไม่ทำบาปเพราะคำติเตียนจากผู้อื่น
บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญบุคคลนั้น ซึ่งเป็นคนกลัวบาป
แต่ไม่สรรเสริญบุคคลผู้กล้าในการทำบาปนั้น
สัตบุรุษทั้งหลายย่อมไม่ทำบาป เพราะกลัวบาปอย่างแท้จริง
ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระ-
ผู้มีพระภาค คำของใครหนอเป็นสุภาษิต”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “คำพูดของพวกท่านทั้งหมดเป็นสุภาษิตโดยอ้อม แต่ขอ
พวกท่านจงฟังคำของเราบ้าง
ความจริง ทานที่ให้ด้วยศรัทธาบัณฑิตสรรเสริญมาก
แต่บทแห่งธรรม๑ประเสริฐกว่าทาน
เพราะว่าสัตบุรุษทั้งหลายผู้มีปัญญา
ในกาลก่อนก็ดี ในกาลก่อนโน้นก็ดี ได้บรรลุนิพพานนั่นเอง

สาธุสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๔. สตุลลปกายิกวรรค ๔. นสันติสูตร

๔. นสันติสูตร
ว่าด้วยความไม่มี

[๓๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้นเมื่อราตรีผ่านไป พวกเทวดาสตุลลปกายิกา
จำนวนมากมีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วพระเชตวัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร
เทวดาองค์หนึ่งยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
ในหมู่มนุษย์ กามที่น่าใคร่ซึ่งคนเกาะเกี่ยวมัวเมาอยู่
จนไม่บรรลุนิพพานอันเป็นเหตุไม่หวนกลับมาสู่แดนมัจจุอีก
กามนั้นจะชื่อว่าเที่ยงแท้หามีไม่
ความลำบากเกิดจากฉันทะ ทุกข์เกิดจากฉันทะ
เพราะกำจัดฉันทะได้ จึงกำจัดความลำบากได้
เพราะกำจัดความลำบากได้ จึงกำจัดทุกข์ได้
อารมณ์อันงามทั้งหลายในโลก ยังไม่จัดเป็นกาม
ความกำหนัดที่เกิดจากความดำริเป็นกามของบุรุษ
อารมณ์อันงามทั้งหลายมีอยู่ในโลกอย่างนั้นเอง
ฉะนั้น บุคคลผู้มีปัญญาทั้งหลายจึงกำจัดฉันทะในอารมณ์เหล่านั้น
บุคคลควรละความโกรธ สละมานะ
ก้าวล่วงสังโยชน์๑ได้หมดทุกอย่าง


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๔. สตุลลปกายิกวรรค ๔. นสันติสูตร

ความทุกข์ย่อมไม่รุมเร้าคนนั้น ผู้ไม่ติดอยู่ในนามรูป
ผู้ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล๑
ภิกษุละบัญญัติแล้ว ไม่เข้าถึงวิมาน
ตัดตัณหาในนามรูปนี้ได้แล้ว
เทวดาและมนุษย์ในโลกนี้ก็ดี ในโลกอื่นก็ดี
ในสวรรค์ก็ดี ในสถานที่อันเป็นที่อาศัยแห่งสัตว์ทั้งปวงก็ดี
พากันเที่ยวค้นหาก็ไม่พบภิกษุนั้น
ผู้ตัดเครื่องผูกขาดแล้ว ไม่มีความทุกข์ ไม่มีตัณหา
(ท่านพระโมฆราชทูลถามว่า)
หากเทวดาและมนุษย์เหล่าใดในโลกนี้หรือในโลกอื่น
ไม่ได้เห็นภิกษุนั้นผู้อุดมกว่านรชน
ผู้บำเพ็ญประโยชน์เพื่อนรชน ผู้หลุดพ้นอย่างนั้น
นอบน้อมภิกษุนั้นอยู่
เทวดาและมนุษย์เหล่านั้นบัณฑิตควรสรรเสริญหรือ
(พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ภิกษุโมฆราช)
เทวดาและมนุษย์แม้เหล่านั้นบัณฑิตควรสรรเสริญ
เทวดาและมนุษย์เหล่าใดนอบน้อมภิกษุผู้หลุดพ้นอย่างนั้น
เทวดาและมนุษย์แม้เหล่านั้นรู้ธรรมแล้ว ละวิจิกิจฉาได้
เป็นผู้ข้ามพ้นธรรมเป็นเครื่องข้องได้

นสันติสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๔. สตุลลปกายิกวรรค ๕. อุชฌานสัญญิสูตร

๕. อุชฌานสัญญิสูตร
ว่าด้วยพวกเทวดาผู้มุ่งหมายจะเพ่งโทษ

[๓๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้นเมื่อราตรีผ่านไป พวกเทวดาผู้มุ่งหมาย
จะเพ่งโทษจำนวนมากมีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วพระเชตวัน
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ยืนอยู่ในอากาศ
เทวดาองค์หนึ่งยืนอยู่ในอากาศได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
บุคคลใด ตนเป็นอย่างหนึ่ง
กลับประกาศให้เขารู้อีกอย่างหนึ่ง
บุคคลนั้นชื่อว่าลวงเขาบริโภคโดยความเป็นขโมย
เหมือนพรานนกลวงจับนก ฉะนั้น
ความจริง บุคคลทำกรรมใด ควรพูดถึงกรรมนั้น
ไม่ทำกรรมใด ก็ไม่ควรพูดถึงกรรมนั้น
บัณฑิตทั้งหลายรู้จักบุคคลผู้ไม่ทำ ดีแต่พูด
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ใคร ๆ ไม่อาจดำเนินปฏิปทานี้
ด้วยเหตุสักว่าพูด หรือฟังอย่างเดียว
ผู้มีปัญญาทั้งหลายมีความเพียรเพ่งพินิจ
ย่อมพ้นจากเครื่องผูกของมารด้วยปฏิปทาอันมั่นคงนี้
ผู้มีปัญญาทั้งหลายทราบความเป็นไปของโลก
รู้ชัด ดับกิเลสได้แล้ว ข้ามพ้นตัณหาเป็นเครื่องข้องในโลกแล้ว
ย่อมไม่พูดโดยแท้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๔. สตุลลปกายิกวรรค ๕. อุชฌานสัญญิสูตร

ครั้งนั้น เทวดาเหล่านั้นลงมายืนอยู่บนพื้นดิน หมอบลงแทบพระยุคลบาท
ของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้าแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ได้กระทำความผิดเพราะความโง่เขลาเบาปัญญา
พวกข้าพระองค์ได้สำคัญผิดว่าพระผู้มีพระภาคอันพวกเราพึงรุกราน ขอพระผู้มี
พระภาคโปรดอภัยโทษแก่พวกข้าพระองค์ เพื่อสำรวมต่อไปเถิด พระพุทธเจ้าข้า”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแย้มพระโอษฐ์แล้ว
ครั้งนั้น เทวดาเหล่านั้นผู้เพ่งโทษโดยประมาณยิ่ง กลับขึ้นไปบนอากาศ เทวดา
องค์หนึ่งได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
เมื่อเราขอโทษอยู่ หากบุคคลใดไม่ยอมยกโทษให้
ยังมีความโกรธอยู่ภายใน มีความแค้นเคืองหนัก
บุคคลนั้น ชื่อว่าย่อมผูกเวร
หากว่าในโลกนี้ โทษไม่มี ความผิดไม่มี
และเวรทั้งหลายไม่สงบ
บุคคลในโลกนี้พึงเป็นผู้ฉลาดได้อย่างไร
ใครบ้างไม่มีโทษ ใครบ้างไม่มีความผิด
ใครบ้างไม่ถึงความหลงใหล
ในโลกนี้ ใครเป็นผู้มีปัญญา เป็นผู้มีสติในกาลทุกเมื่อเล่า
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
พระตถาคตพระองค์นั้นผู้ตรัสรู้แล้ว
ผู้อนุเคราะห์แก่สัตว์ทั้งปวง ไม่มีโทษ ไม่มีความผิด
พระตถาคตพระองค์นั้น ไม่ถึงความหลงใหล
พระตถาคตพระองค์นั้นเป็นผู้มีปัญญา เป็นผู้มีสติในกาลทุกเมื่อ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๔. สตุลลปกายิกวรรค ๖. สัทธาสูตร

เมื่อพวกท่านขอโทษอยู่ หากบุคคลใดไม่ยอมยกโทษให้
ยังมีความโกรธอยู่ภายใน มีความแค้นเคืองหนัก
บุคคลนั้น ชื่อว่าย่อมผูกเวร
เราไม่ชอบใจเวรนั้น จึงยกโทษให้แก่ท่านทั้งหลาย

อุชฌานสัญญิสูตรที่ ๕ จบ

๖. สัทธาสูตร
ว่าด้วยศรัทธา

[๓๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้นเมื่อราตรีผ่านไป พวกเทวดาสตุลล-
ปกายิกาจำนวนมากมีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วพระเชตวัน เข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร
เทวดาองค์หนึ่งยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มี
พระภาคว่า
ศรัทธาเป็นเพื่อนของบุรุษ
หากว่าความไม่มีศรัทธาไม่ตั้งอยู่
เพราะเหตุนั้น ยศและเกียรติย่อมมีแก่เขา
อนึ่ง ผู้นั้นละทิ้งร่างกายแล้วย่อมไปสู่สวรรค์
ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้กล่าวคาถาเหล่านี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
บุคคลควรละความโกรธ สละมานะ
ก้าวล่วงสังโยชน์ได้หมดทุกอย่าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๔. สตุลลปกายิกวรรค ๗. สมยสูตร

เพราะว่ากิเลสเป็นเครื่องข้องย่อมไม่รุมเร้าบุคคลนั้น
ผู้ไม่ติดอยู่ในนามรูป ผู้ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
คนพาลมีปัญญาทราม
ประกอบความประมาทอยู่เสมอ
ส่วนคนฉลาดรักษาความไม่ประมาทไว้
เหมือนคนรักษาทรัพย์อันประเสริฐ ฉะนั้น
ท่านทั้งหลายอย่าประกอบความประมาท
และอย่าประกอบความเชยชมยินดีในกามเลย
เพราะว่าผู้ไม่ประมาทแล้ว เพ่งพินิจอยู่
ย่อมได้รับความสุขอย่างยิ่ง๑

สัทธาสูตรที่ ๖ จบ

๗. สมยสูตร
ว่าด้วยพวกเทวดาประชุมกัน

[๓๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่ามหาวัน เขตกรุงกบิลพัสดุ์
แคว้นสักกะ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป ล้วนเป็นพระอรหันต์
อนึ่ง พวกเทวดาจากโลกธาตุทั้งสิบประชุมกันเป็นอันมากเพื่อจะเฝ้าพระผู้มีพระภาค
และภิกษุสงฆ์


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๔. สตุลลปกายิกวรรค ๗. สมยสูตร

ครั้งนั้น เทวดา ๔ องค์ที่เกิดในหมู่พรหมชั้นสุทธาวาสได้มีความดำริอย่างนี้ว่า
“พระผู้มีพระภาคพระองค์นี้ ประทับอยู่ ณ ป่ามหาวัน เขตกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้น
สักกะ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป ล้วนเป็นพระอรหันต์ อนึ่ง
พวกเทวดาจากโลกธาตุทั้งสิบประชุมกันเป็นอันมากเพื่อจะเฝ้าพระผู้มีพระภาคและ
ภิกษุสงฆ์ ทางที่ดีแม้เราทั้งหลายควรเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ” แล้วกล่าว
คาถาเฉพาะตนในสำนักของพระผู้มีพระภาค
ครั้งนั้น เทวดาเหล่านั้นหายตัวไปจากหมู่พรหมชั้นสุทธาวาสมาปรากฏอยู่
เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาค เหมือนบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้า
ฉะนั้น ครั้งนั้น เทวดาเหล่านั้นถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร
เทวดาองค์หนึ่งยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มี
พระภาคว่า
การประชุมใหญ่ได้มีแล้วในป่าใหญ่
พวกเทวดามาประชุมพร้อมกันแล้ว
พวกข้าพระองค์พากันมาสู่ที่ประชุมอันเป็นธรรมนี้
เพื่อจะเยี่ยมเยียนหมู่ภิกษุผู้ที่ใคร ๆ ให้พ่ายแพ้ไม่ได้
ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
ในที่ประชุมนั้น ภิกษุทั้งหลายตั้งจิตไว้มั่น
ทำจิตตนเองให้ตรง ภิกษุเหล่านั้นเป็นบัณฑิต
ย่อมรักษาอินทรีย์ทั้งหลาย
เหมือนนายสารถีถือบังเหียนม้า บังคับให้วิ่งไปตามทาง ฉะนั้น
ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
ภิกษุเหล่านั้นตัดกิเลสดุจตะปูตรึงจิต๑ได้แล้ว
ตัดกิเลสดุจลิ่มสลัก๒ได้แล้ว


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๔. สตุลลปกายิกวรรค ๘. สกลิกสูตร

และถอนกิเลสดุจเสาเขื่อน๑ได้แล้ว
จึงไม่หวั่นไหว เป็นผู้หมดจด ปราศจากมลทิน
มีจักษุ๒ ฝึกตนดีแล้ว เป็นผู้ประเสริฐ ประพฤติธรรมอยู่
ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
บุคคลทั้งหลายผู้ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ
จักไม่ไปสู่อบายภูมิ ละร่างกายอันเป็นของมนุษย์แล้ว
จักบังเกิดเป็นเทวดาโดยสมบูรณ์

สมยสูตรที่ ๗ จบ

๘. สกลิกสูตร
ว่าด้วยสะเก็ดหิน

[๓๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ มัททกุจฉิ สถานที่พระราชทานอภัย
แก่หมู่เนื้อ เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น สะเก็ดหินกระทบพระบาทของผู้มีพระภาค
ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคทรงมีทุกขเวทนาทางพระวรกายที่กล้าแข็งอย่างหนัก


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๔. สตุลลปกายิกวรรค ๘. สกลิกสูตร

เผ็ดร้อน อันไม่สบายพระทัย ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคมีพระสติสัมปชัญญะ
ทรงอดกลั้นทุกขเวทนานั้นไว้ได้ ไม่ทรงเดือดร้อน
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ปูผ้าสังฆาฏิ ๔ ชั้น ทรงสำเร็จสีหไสยา
(การนอนดุจราชสีห์) โดยพระปรัศว์เบื้องขวา ทรงซ้อนพระบาทเหลื่อมพระบาท
มีพระสติสัมปชัญญะ
ครั้นเมื่อราตรีผ่านไป พวกเทวดาสตุลลปกายิกาประมาณ ๗๐๐ องค์ มีวรรณะ
งดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วมัททกุจฉิ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร
เทวดาองค์หนึ่งยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้วได้เปล่งอุทานนี้ในสำนักของพระผู้มี-
พระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระสมณโคดมเป็นบุรุษดุจนาค๑จริง ก็แลพระ-
สมณโคดมมีพระสติสัมปชัญญะ ทรงอดกลั้นทุกขเวทนาทางพระวรกายที่กล้าแข็ง
อย่างหนัก เผ็ดร้อน อันไม่สบายพระทัย ที่เกิดขึ้นแล้วไว้ได้ เพราะความที่พระองค์
เป็นบุรุษดุจนาค ไม่ทรงเดือดร้อน”
ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้เปล่งอุทานนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระสมณโคดมเป็นบุรุษดุจราชสีห์จริง ก็แลพระสมณโคดม
มีพระสติสัมปชัญญะ ทรงอดกลั้นทุกขเวทนาทางพระวรกายที่กล้าแข็งอย่างหนัก
เผ็ดร้อน อันไม่สบายพระทัย ที่เกิดขึ้นแล้วไว้ได้ เพราะความที่พระองค์เป็นบุรุษ
ดุจราชสีห์ ไม่ทรงเดือดร้อน”
ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้เปล่งอุทานนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระสมณโคดมเป็นบุรุษอาชาไนยจริง ก็แลพระสมณโคดม
มีพระสติสัมปชัญญะ ทรงอดกลั้นทุกขเวทนาทางพระวรกายที่กล้าแข็งอย่างหนัก
เผ็ดร้อนอันไม่สบายพระทัย ที่เกิดขึ้นแล้วไว้ได้ เพราะความที่พระองค์เป็นบุรุษ
อาชาไนยไม่ทรงเดือดร้อน”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๔. สตุลลปกายิกวรรค ๘. สกลิกสูตร

ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้เปล่งอุทานนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระสมณโคดมเป็นบุรุษผู้องอาจจริง ก็แลพระสมณโคดมมี
พระสติสัมปชัญญะ ทรงอดกลั้นทุกขเวทนาทางพระวรกายที่กล้าแข็งอย่างหนัก เผ็ดร้อน
อันไม่สบายพระทัย ที่เกิดขึ้นแล้วไว้ได้ เพราะความที่พระองค์เป็นบุรุษผู้องอาจ ไม่ทรง
เดือดร้อน”
ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้เปล่งอุทานนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระสมณโคดมเป็นบุรุษผู้ใฝ่ธุระจริง ก็แลพระสมณโคดม
มีพระสติสัมปชัญญะ ทรงอดกลั้นทุกขเวทนาทางพระวรกายที่กล้าแข็งอย่างหนัก
เผ็ดร้อน อันไม่สบายพระทัย ที่เกิดขึ้นแล้วไว้ได้ เพราะความที่พระองค์เป็นบุรุษผู้
ใฝ่ธุระ ไม่ทรงเดือดร้อน”
ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้เปล่งอุทานนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระสมณโคดมเป็นบุรุษผู้ฝึกแล้วจริง ก็แลพระสมณโคดม
มีพระสติสัมปชัญญะ ทรงอดกลั้นทุกขเวทนาทางพระวรกายที่กล้าแข็งอย่างหนัก
เผ็ดร้อน อันไม่สบายพระทัย ที่เกิดขึ้นแล้วไว้ได้ เพราะความที่พระองค์เป็นบุรุษ
ผู้ฝึกแล้ว ไม่ทรงเดือดร้อน”
ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้เปล่งอุทานนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
“ท่านจงดูสมาธิ๑ที่พระสมณโคดมทรงเจริญดีแล้ว จงดูจิตที่พระสมณโคดมทรงให้
หลุดพ้นดีแล้ว๒ จิตที่เป็นไปตามราคะพระสมณโคดมก็ไม่ให้น้อมไปถึงแล้ว จิตที่
เป็นไปตามโทสะพระสมณโคดมก็ไม่ให้หวนกลับมาแล้ว และจิตของพระสมณโคดม
ไม่ต้องตั้งใจข่มและคอยห้ามปราม บุคคลใดพึงสำคัญพระสมณโคดมเป็นบุรุษดุจนาค


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๔. สตุลลปกายิกวรรค ๘. สกลิกสูตร

เป็นบุรุษดุจราชสีห์ เป็นบุรุษอาชาไนย เป็นบุรุษผู้องอาจ เป็นบุรุษผู้ใฝ่ธุระ และ
เป็นบุรุษผู้ฝึกแล้วเห็นปานนี้ว่า เป็นผู้ที่ตนจะล่วงเกินได้ บุคคลนั้นจะเป็นอะไรเล่า
นอกเสียจากผู้ไม่มีทัสสนะ๑”
(เทวดานั้นครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ได้กล่าวคาถาทั้งหลายเหล่านี้ว่า)
พราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ทรงเวททั้ง ๕๒ มีตบะ
ประพฤติธรรมอยู่อย่างสม่ำเสมอตั้ง ๑๐๐ ปี
แต่จิตของพราหมณ์เหล่านั้นก็ไม่หลุดพ้นโดยชอบ
เพราะพราหมณ์เหล่านั้นมีสภาพจิตต่ำ
จึงไม่ถึงจุดจบ๓(แห่งความตาย)
พราหมณ์เหล่านั้นถูกตัณหาครอบงำแล้ว
เกี่ยวข้องด้วยศีลพรต ประพฤติตบะอันเศร้าหมองอยู่ตั้ง ๑๐๐ ปี
แต่จิตของพราหมณ์เหล่านั้นก็ไม่หลุดพ้นแล้วโดยชอบ
เพราะพราหมณ์เหล่านั้นมีสภาพจิตต่ำ จึงไม่ถึงจุดจบ
บุคคลผู้มีมานะ ย่อมไม่มีการฝึกตนเอง
บุคคลผู้มีจิตไม่มั่นคง ย่อมไม่มีความรู้
บุคคลผู้ประมาทอยู่ในป่าคนเดียว
ก็ไม่ถึงจุดจบแห่งความตาย


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๔. สตุลลปกายิกวรรค ๙. ปฐมปัชชุนนธีตุสูตร

บุคคลละมานะได้แล้ว มีใจมั่นคงดี
มีใจดี หลุดพ้นในธรรมทั้งปวง
เขาไม่ประมาทอยู่ในป่าคนเดียว
ก็ถึงจุดจบแห่งความตายได้

สกลิกสูตรที่ ๘ จบ

๙. ปฐมปัชชุนนธีตุสูตร
ว่าด้วยธิดาของท้าวปัชชุนนะ สูตรที่ ๑

[๓๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตกรุง
เวสาลี ครั้นเมื่อราตรีผ่านไป ธิดาของท้าวปัชชุนนะ ชื่อโกกนทา มีวรรณะงดงาม
ยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วป่ามหาวัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ในสำนักของพระผู้มี
พระภาคว่า
หม่อมฉัน ชื่อโกกนทา เป็นธิดาของท้าวปัชชุนนะ
ขอถวายอภิวาทพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เลิศกว่าสัตว์
ผู้เสด็จอยู่ในป่า ใกล้กรุงเวสาลี
หม่อมฉันได้ฟังสุนทรพจน์ในกาลก่อนว่า
ธรรม พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีพระจักษุตรัสรู้แล้วโดยลำดับ
บัดนี้เมื่อพระสุคตผู้เป็นมุนี ทรงแสดง(ธรรม)อยู่
หม่อมฉันจึงรู้ชัด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๔. สตุลลปกายิกวรรค ๑๐. ทุติยปัชชุนนธีตุสูตร

ชนเหล่าใดมีปัญญาทราม
เที่ยวติเตียนธรรมอันประเสริฐ
ชนเหล่านั้นย่อมบังเกิดในนรกชื่อโรรุวะอันทารุณ
เสวยทุกข์ตลอดกาลนาน
ชนเหล่าใดมีความอดทน
และมีความสงบ เข้าถึงธรรมอันประเสริฐ
ชนเหล่านั้นละร่างกายอันเป็นของมนุษย์แล้ว
จักบังเกิดเป็นเทวดาโดยสมบูรณ์

ปฐมปัชชุนนธีตุสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ทุติยปัชชุนนธีตุสูตร
ว่าด้วยธิดาของท้าวปัชชุนนะ สูตรที่ ๒

[๔๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตกรุง
เวสาลี ครั้นเมื่อราตรีผ่านไป ธิดาของท้าวปัชชุนนะ ชื่อจูฬโกกนทา มีวรรณะงดงาม
ยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วป่ามหาวัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ในสำนักของพระผู้มี
พระภาคว่า
ธิดาของท้าวปัชชุนนะ ชื่อโกกนทา
มีวรรณะสว่างดุจสายฟ้า มาแล้วในที่นี้
นอบน้อมพระพุทธเจ้า และพระธรรม
ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ซึ่งมีประโยชน์
หม่อมฉันพึงจำแนกธรรมนั้นโดยปริยายแม้มาก
ธรรมเช่นนี้มีอยู่โดยปริยาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๔. สตุลลปกายิกวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ธรรมมีประมาณเท่าใดที่หม่อมฉันศึกษาแล้วด้วยใจ
หม่อมฉันจักกล่าวอรรถแห่งธรรมประมาณเท่านั้นโดยย่อ
บุคคลไม่ควรทำกรรมชั่วอะไร ๆ
ทางกาย ทางวาจา หรือทางใจในโลกทั้งปวง
บุคคลมีสติสัมปชัญญะ ละกามทั้งหลายได้แล้ว
ไม่พึงประสบทุกข์ ซึ่งประกอบด้วยสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์

ทุติยปัชชุนนธีตุสูตรที่ ๑๐ จบ
สตุลลปกายิกวรรคที่ ๔ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สัพภิสูตร ๒. มัจฉริสูตร
๓. สาธุสูตร ๔. นสันติสูตร
๕. อุชฌานสัญญิสูตร ๖. สัทธาสูตร
๗. สมยสูตร ๘. สกลิกสูตร
๙. ปฐมปัชชุนนธีตุสูตร ๑๐. ทุติยปัชชุนนธีตุสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๕. อาทิตตวรรค ๑. อาทิตตสูตร

๕. อาทิตตวรรค
หมวดว่าด้วยสิ่งที่เป็นของร้อน

๑. อาทิตตสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นของร้อน

[๔๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้นเมื่อราตรีผ่านไป เทวดาองค์หนึ่งมีวรรณะ
งดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วพระเชตวัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ในสำนักของพระผู้มี
พระภาคว่า
เมื่อเรือนถูกไฟไหม้แล้ว
เจ้าของเรือนขนเอาภาชนะใดออกไปได้
ภาชนะนั้นย่อมเป็นประโยชน์แก่เขา
ส่วนสิ่งของที่มิได้ขนออกไปย่อมถูกไฟไหม้ ฉันใด
โลกถูกชราและมรณะเผาแล้ว ก็ฉันนั้น
ควรนำออกด้วยการให้ทาน
เพราะทานที่บุคคลให้แล้ว ชื่อว่านำออกดีแล้ว
ทานที่บุคคลให้แล้วนั้นย่อมมีผลคือความสุข
ที่ยังมิได้ให้ ย่อมไม่มีผลอย่างนั้น
โจรยังปล้นเอาไปได้ พระราชายังริบเอาไปได้
ไฟยังไหม้ได้หรือสูญหายไปได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๕. อาทิตตวรรค ๒. กินททสูตร

อนึ่ง บุคคลจำต้องละร่างกาย
พร้อมด้วยสิ่งของเครื่องอาศัยเพราะการตายจากไป
ผู้มีปัญญารู้ชัดดังนี้แล้ว ควรใช้สอยและให้ทาน
ครั้นให้ทานและใช้สอยตามควรแล้วจะไม่ถูกติเตียน
ย่อมเข้าถึงสถานที่อันเป็นแดนสวรรค์

อาทิตตสูตรที่ ๑ จบ

๒. กินททสูตร
ว่าด้วยให้อะไร ชื่อว่าให้อะไร

[๔๒] เทวดาทูลถามว่า
บุคคลให้อะไร ชื่อว่าให้กำลัง
ให้อะไร ชื่อว่าให้วรรณะ
ให้อะไร ชื่อว่าให้ความสุข
ให้อะไร ชื่อว่าให้จักษุ
และใคร ชื่อว่าให้ทุกสิ่งทุกอย่าง
ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์
ขอพระองค์ได้โปรดตรัสบอกแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
บุคคลให้ข้าว ชื่อว่าให้กำลัง
ให้ผ้า ชื่อว่าให้วรรณะ
ให้ยานพาหนะ ชื่อว่าให้ความสุข
ให้ประทีป ชื่อว่าให้จักษุ
และผู้ให้ที่พักอาศัย ชื่อว่าให้ทุกสิ่งทุกอย่าง
ส่วนผู้ที่พร่ำสอนธรรม ชื่อว่าให้อมตะ

กินททสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๕. อาทิตตวรรค ๔. เอกมูลสูตร

๓. อันนสูตร
ว่าด้วยข้าว

[๔๓] เทวดากล่าวว่า
เทวดาและมนุษย์ทั้งสองพวก
ต่างก็พอใจข้าวด้วยกันทั้งนั้น
ส่วนผู้ที่ไม่พอใจข้าว ชื่อว่ายักษ์โดยแท้
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ชนเหล่าใดมีใจเลื่อมใสให้ข้าวนั้นด้วยศรัทธา
ข้าวนั้นเองย่อมค้ำชูชนเหล่านั้นทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
เพราะเหตุนั้น บุคคลพึงกำจัดความตระหนี่
ครอบงำมลทินแล้วให้ทานเถิด
เพราะบุญเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายในโลกหน้า

อันนสูตรที่ ๓ จบ

๔. เอกมูลสูตร
ว่าด้วยบาดาลมีรากอันเดียว

[๔๔] เทวดากล่าวว่า
บาดาลมีรากอันเดียว๑ มีวนเวียน ๒ อย่าง๒
มีมลทิน ๓ ประการ๓ มีเครื่องลาด ๕ ประการ๔
เป็นทะเลหมุนไปได้ทั้ง ๑๒ ด้าน๕ฤาษีข้ามพ้นได้แล้ว

เอกมูลสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๕. อาทิตตวรรค ๖. อัจฉราสูตร

๕. อโนมิยสูตร
ว่าด้วยพระนามไม่ต่ำต้อย

[๔๕] เทวดากล่าวว่า
เชิญท่านทั้งหลายดูพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ผู้มีพระนามไม่ต่ำต้อย๑ ทรงเห็นประโยชน์อันละเอียดอ่อน
ให้ซึ่งปัญญา ไม่ทรงข้องอยู่ในอาลัยคือกาม
ตรัสรู้ธรรมทุกอย่าง มีพระปรีชา ดำเนินไปในทางอันประเสริฐ
ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่

อโนมิยสูตรที่ ๕ จบ

๖. อัจฉราสูตร
ว่าด้วยนางอัปสร

[๔๖] เทวดาทูลถามว่า
ราวป่าน่าหลงใหล กึกก้องไปด้วยหมู่นางอัปสร
เป็นป่าที่หมู่ปีศาจอาศัยอยู่ จักออกไปได้อย่างไร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
ทางนั้นชื่อว่าเป็นทางตรง ทิศนั้นชื่อว่าไม่มีภัย
รถชื่อว่าไม่มีเสียงดัง ประกอบด้วยล้อคือธรรม
หิริเป็นฝาประทุนของรถนั้น สติเป็นเกราะกั้นของรถนั้น
เรากล่าวธรรม มีสัมมาทิฏฐินำหน้าว่าเป็นนายสารถี
ยานชนิดนี้มีอยู่แก่ผู้ใด จะเป็นสตรีหรือบุรุษก็ตาม
ผู้นั้นไปใกล้นิพพานด้วยยานนี้แล

อัจฉราสูตรที่ ๖ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๕. อาทิตตวรรค ๘. เชตวนสูตร

๗. วนโรปสูตร
ว่าด้วยการปลูกป่า

[๔๗] เทวดาทูลถามว่า
บุญย่อมเจริญ ทั้งกลางวันและกลางคืน
ตลอดกาลทุกเมื่อ แก่ชนเหล่าไหน
ชนเหล่าไหนดำรงอยู่ในธรรม
สมบูรณ์ด้วยศีลแล้ว ย่อมไปสู่สวรรค์
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
ชนเหล่าใดปลูกสวนอันน่ารื่นรมย์๑
ปลูกป่า สร้างสะพาน ขุดสระน้ำ บ่อน้ำ
และให้ที่พักอาศัย
บุญย่อมเจริญแก่ชนเหล่านั้น
ทั้งกลางวันและกลางคืนตลอดกาลทุกเมื่อ
ชนเหล่านั้นดำรงอยู่ในธรรม สมบูรณ์ด้วยศีลแล้ว
ย่อมไปสู่สวรรค์อย่างแน่นอน

วนโรปสูตรที่ ๗ จบ

๘. เชตวนสูตร
ว่าด้วยพระเชตวันวิหาร

[๔๘] อนาถบิณฑิกเทพบุตรได้กล่าวคาถาเหล่านี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
พระเชตวันนี้นั้นมีหมู่ฤาษีพำนักอยู่
พระผู้เป็นธรรมราชาก็ประทับอยู่
เป็นสถานที่ให้เกิดปีติแก่ข้าพระองค์


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๕. อาทิตตวรรค ๙. มัจฉริสูตร

การงาน ๑ วิชชา ๑ ธรรม ๑ ศีล ๑ ชีวิตอันสูงสุด ๑๑
สัตว์ทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์ด้วยธรรม ๕ ประการนี้
หาใช่บริสุทธิ์ด้วยโคตรหรือด้วยทรัพย์ไม่
เพราะเหตุนั้นแหละ คนฉลาดเมื่อเห็นประโยชน์ตน
ควรเลือกเฟ้นธรรมโดยแยบคายเถิด
เพราะเมื่อเลือกเฟ้นเช่นนี้ ย่อมหมดจดได้ในธรรมเหล่านั้น
พระสารีบุตรเท่านั้นเป็นผู้ยอดเยี่ยมกว่าภิกษุผู้ถึงฝั่ง
ด้วยปัญญา ศีล และความสงบ๒

เชตวนสูตรที่ ๘ จบ

๙. มัจฉริสูตร
ว่าด้วยคนตระหนี่

[๔๙] เทวดาทูลถามว่า
คนเหล่าใดในโลกนี้ เป็นคนตระหนี่เหนียวแน่น
บริภาษผู้อื่น ทำอันตรายแก่คนเหล่าอื่นผู้ให้อยู่
วิบากของคนเหล่านั้นจะเป็นเช่นไร
และภพหน้าจะเป็นเช่นไร
ข้าพระองค์มาเพื่อทูลถามพระผู้มีพระภาค
ว่าจะรู้ข้อความนั้นได้อย่างไร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๕. อาทิตตวรรค ๙. มัจฉริสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
คนเหล่าใดในโลกนี้ เป็นคนตระหนี่เหนียวแน่น
บริภาษผู้อื่น ทำอันตรายแก่คนเหล่าอื่นผู้ให้อยู่
คนเหล่านั้นย่อมบังเกิดในนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน หรือยมโลก
ถ้าพวกเขามาเกิดเป็นมนุษย์ ก็เกิดในตระกูลคนยากจน
ซึ่งจะหาท่อนผ้า อาหาร ความยินดี และความสนุกสนานได้ยาก
คนพาลเหล่านั้น ต้องการสิ่งใดจากผู้อื่น
พวกเขาย่อมไม่ได้แม้สิ่งนั้น
นั่นเป็นวิบากในภพนี้ และภพหน้าก็ยังเป็นทุคติอีกด้วย
เทวดาทูลถามว่า
ข้อนี้ข้าพระองค์เข้าใจอย่างนี้
ข้าแต่พระโคดม ข้าพระองค์ขอทูลถามข้ออื่น
คนเหล่าใดในโลกนี้ ได้ความเป็นมนุษย์แล้ว
รู้เจรจาปราศรัย ปราศจากความตระหนี่
เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์
เป็นผู้มีความเคารพอย่างแรงกล้า
วิบากของคนเหล่านั้นจะเป็นเช่นไร และภพหน้าจะเป็นเช่นไร
ข้าพระองค์มาเพื่อทูลถามพระผู้มีพระภาค
ว่าจะรู้ข้อความนั้นได้อย่างไร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
คนเหล่าใดในโลกนี้ ได้ความเป็นมนุษย์แล้ว
รู้เจรจาปราศรัย ปราศจากความตระหนี่
เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์
เป็นผู้มีความเคารพอย่างแรงกล้า
คนเหล่านั้นย่อมปรากฏในสวรรค์ซึ่งเป็นที่อุบัติของพวกเขา
ถ้าพวกเขามาเกิดเป็นมนุษย์ ก็เกิดในตระกูลที่มั่งคั่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๕. อาทิตตวรรค ๑๐. ฆฏิการสูตร

ซึ่งจะหาท่อนผ้า อาหาร ความยินดี และความสนุกสนานได้ไม่ยาก
บันเทิงใจอยู่ในโภคทรัพย์ที่ผู้อื่นหาสะสมไว้
เหมือนเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี
นั่นเป็นวิบากในภพนี้ ทั้งภพหน้าก็เป็นสุคติอีกด้วย

มัจฉริสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ฆฏิการสูตร
ว่าด้วยฆฏิการเทพบุตร

[๕๐] ฆฏิการเทพบุตรกราบทูลว่า
ภิกษุ ๗ รูป ผู้บังเกิดในพรหมโลกชั้นอวิหา
เป็นผู้หลุดพ้น สิ้นราคะและโทสะแล้ว
ข้ามพ้นตัณหาที่ซ่านไปในโลกได้
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า
ภิกษุเหล่านั้นคือใครบ้าง
ได้ข้ามพ้นเปือกตม คือบ่วงความตาย
ที่ใคร ๆ ข้ามได้แสนยาก
ละทิ้งกายมนุษย์๑แล้วก้าวล่วงโยคะอันเป็นทิพย์๒ได้
ฆฏิการเทพบุตรทูลตอบว่า
ภิกษุ ๓ รูปเหล่านี้ คือ ท่านอุปกะ
ท่านผลคัณฑะ และท่านปุกกุสาติ
ภิกษุอีก ๔ รูป คือ ท่านภัททิยะ ท่านขัณฑเทวะ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๕. อาทิตตวรรค ๑๐. ฆฏิการสูตร

ท่านพหุทันตี และท่านสิงคิยะ
ภิกษุเหล่านั้นละทิ้งกายมนุษย์แล้ว
ก้าวล่วงโยคะอันเป็นทิพย์ได้
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า
ท่านผู้ฉลาดมักกล่าวสรรเสริญภิกษุเหล่านั้น
ผู้ละบ่วงแห่งมารได้แล้ว
ภิกษุเหล่านั้นรู้ธรรมของใครเล่า
จึงตัดเครื่องผูกคือภพได้
ฆฏิการเทพบุตรทูลตอบว่า
ท่านเหล่านั้นรู้ธรรมของผู้ใด
จึงตัดเครื่องผูกคือภพได้
ผู้นั้นมิใช่ใครอื่นนอกจากพระผู้มีพระภาค
(และ) นอกจากคำสั่งสอนของพระองค์
ท่านเหล่านั้นรู้ธรรมเป็นที่ดับไม่เหลือ
แห่งนามรูปแล้ว จึงตัดเครื่องผูกคือภพได้
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า
ท่านกล่าววาจาลึกซึ้ง
ที่รู้ได้ยาก เข้าใจให้ดีได้ยาก
ท่านรู้ธรรมของใคร จึงกล่าววาจาเช่นนี้ได้
ฆฏิการเทพบุตรทูลตอบว่า
เมื่อก่อนข้าพระองค์เป็นช่างหม้อ
ปั้นหม้ออยู่ในแคว้นเวภฬิงคะ เป็นผู้เลี้ยงดูมารดาและบิดา
เป็นอุบาสกของพระกัสสปพุทธเจ้า เว้นขาดจากเมถุนธรรม
ประพฤติพรหมจรรย์ ไม่มีอามิส
ได้เคยเป็นคนหมู่บ้านเดียวกันกับพระองค์
ทั้งเคยเป็นสหายของพระองค์ในกาลก่อน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๕. อาทิตตวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ข้าพระองค์รู้จักภิกษุ ๗ รูปเหล่านี้
ผู้หลุดพ้นแล้ว สิ้นราคะและโทสะแล้ว
ข้ามพ้นตัณหาที่ซ่านไปในโลกได้
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
นายช่างหม้อ จริงอย่างที่ท่านพูดนั่นแหละ
เมื่อก่อนนั้นท่านเคยเป็นช่างหม้อ
ปั้นหม้ออยู่ในแคว้นเวภฬิงคะ เป็นผู้เลี้ยงดูมารดาและบิดา
เป็นอุบาสกของพระกัสสปพุทธเจ้า เว้นขาดจากเมถุนธรรม
ประพฤติพรหมจรรย์ ไม่มีอามิส
ได้เคยเป็นคนหมู่บ้านเดียวกันกับเรา
ทั้งเคยเป็นสหายของเราในกาลก่อน
พระสังคีติกาจารย์กล่าวว่า
สหายเก่าทั้งสอง ผู้เคยอบรมตนมาแล้ว
เหลือไว้แต่ร่างกายในชาติสุดท้าย
ได้มาพบกันด้วยอาการอย่างนี้๑

ฆฏิการสูตรที่ ๑๐ จบ
อาทิตตวรรคที่ ๕ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อาทิตตสูตร ๒. กินททสูตร
๓. อันนสูตร ๔. เอกมูลสูตร
๕. อโนมิยสูตร ๖. อัจฉราสูตร
๗. วนโรปสูตร ๘. เชตวนสูตร
๙. มัจฉริสูตร ๑๐. ฆฏิการสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๖. ชราวรรค ๒. อชรสาสูตร

๖. ชราวรรค
หมวดว่าด้วยชรา
๑. ชราสูตร
ว่าด้วยชรา

[๕๑] เทวดาทูลถามว่า
อะไรเล่ายังประโยชน์ให้สำเร็จตราบเท่าชรา (ความแก่)
อะไรเล่าตั้งมั่นแล้วยังประโยชน์ให้สำเร็จ
อะไรเล่าเป็นรัตนะของคนทั้งหลาย
อะไรเล่าโจรลักไปไม่ได้
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
ศีลยังประโยชน์ให้สำเร็จตราบเท่าชรา
ศรัทธาตั้งมั่นแล้วยังประโยชน์ให้สำเร็จ
ปัญญาเป็นรัตนะของคนทั้งหลาย
บุญโจรลักไปไม่ได้

ชราสูตรที่ ๑ จบ

๒. อชรสาสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ไม่ชำรุด

[๕๒] เทวดาทูลถามว่า
อะไรเล่าที่ไม่ชำรุด๑ยังประโยชน์ให้สำเร็จ
อะไรเล่าตั้งมั่นแล้วยังประโยชน์ให้สำเร็จ
อะไรเล่าเป็นรัตนะของคนทั้งหลาย
อะไรเล่าโจรลักไปไม่ได้


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต] ๖. ชราวรรค ๓. มิตตสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
ศีลที่ไม่ชำรุดยังประโยชน์ให้สำเร็จ
ศรัทธาตั้งมั่นแล้วยังประโยชน์ให้สำเร็จ
ปัญญาเป็นรัตนะของคนทั้งหลาย
บุญโจรลักไปไม่ได้

อชรสาสูตรที่ ๒ จบ

๓. มิตตสูตร
ว่าด้วยมิตร

[๕๓] เทวดาทูลถามว่า
อะไรเล่าเป็นมิตรของคนเดินทาง
อะไรเล่าเป็นมิตรในเรือนของตน
อะไรเล่าเป็นมิตรของคนผู้มีประโยชน์๑เกิดขึ้น
อะไรเล่าเป็นมิตรติดตามตนไปถึงภพหน้า
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
พวกหมู่เกวียนเป็นมิตรของคนเดินทาง
มารดาเป็นมิตรในเรือนของตน
สหายเป็นมิตรของคนผู้มีประโยชน์เกิดขึ้นเนือง ๆ
บุญที่ตนเองทำไว้แล้วเป็นมิตรติดตามตนไปถึงภพหน้า

มิตตสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต] ๖. ชราวรรค ๕. ปฐมชนสูตร

๔. วัตถุสูตร
ว่าด้วยที่พึ่ง

[๕๔] เทวดาทูลถามว่า
อะไรเล่าเป็นที่พึ่งของมนุษย์ทั้งหลาย
อะไรเล่าเป็นเพื่อนที่ยอดเยี่ยมในโลกนี้
หมู่สัตว์ที่มีชีวิตอยู่บนพื้นดินอาศัยอะไรเล่าเลี้ยงชีพ
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
บุตรเป็นที่พึ่งของมนุษย์ทั้งหลาย
ภรรยาเป็นเพื่อนที่ยอดเยี่ยมในโลกนี้
หมู่สัตว์ที่มีชีวิตอยู่บนพื้นดินอาศัยฝนเลี้ยงชีพ

วัตถุสูตรที่ ๔ จบ

๕. ปฐมชนสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ทำคนให้เกิด สูตรที่ ๑

[๕๕] เทวดาทูลถามว่า
อะไรเล่าทำคนให้เกิด
อะไรเล่าของคนนั้นย่อมพล่านไป
อะไรเล่าเวียนว่ายในสงสาร
อะไรเล่าเป็นภัยใหญ่ของคนนั้น
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
ตัณหาทำคนให้เกิด
จิตของคนนั้นย่อมพล่านไป
สัตว์เวียนว่ายในสงสาร
ทุกข์เป็นภัยใหญ่ของคนนั้น

ปฐมชนสูตรที่ ๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต] ๖. ชราวรรค ๗. ตติยชนสูตร

๖. ทุติยชนสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ทำคนให้เกิด สูตรที่ ๒

[๕๖] เทวดาทูลถามว่า
อะไรเล่าทำคนให้เกิด
อะไรเล่าของคนนั้นย่อมพล่านไป
อะไรเล่าเวียนว่ายในสงสาร
สัตว์ย่อมไม่หลุดพ้นจากอะไร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
ตัณหาทำคนให้เกิด
จิตของคนนั้นย่อมพล่านไป
สัตว์เวียนว่ายในสงสาร
สัตว์ย่อมไม่หลุดพ้นจากทุกข์

ทุติยชนสูตรที่ ๖ จบ

๗. ตติยชนสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ทำคนให้เกิด สูตรที่ ๓

[๕๗] เทวดาทูลถามว่า
อะไรเล่าทำคนให้เกิด
อะไรเล่าของคนนั้นย่อมพล่านไป
อะไรเล่าเวียนว่ายในสงสาร
อะไรเล่าเป็นที่ไปในเบื้องหน้าของคนนั้น
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
ตัณหาทำคนให้เกิด
จิตของคนนั้นย่อมพล่านไป
สัตว์เวียนว่ายในสงสาร
กรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้าของคนนั้น

ตติยชนสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต] ๖. ชราวรรค ๙. ทุติยสูตร

๘. อุปปถสูตร
ว่าด้วยทางผิด

[๕๘] เทวดาทูลถามว่า
อะไรเล่าบัณฑิตกล่าวว่า เป็นทางผิด
อะไรเล่าสิ้นไปตามคืนและวัน
อะไรเล่าเป็นมลทินของพรหมจรรย์
อะไรเล่ามิใช่น้ำ แต่เป็นเครื่องชำระล้าง
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
ราคะบัณฑิตกล่าวว่า เป็นทางผิด
วัยสิ้นไปตามคืนและวัน
หญิงเป็นมลทินของพรหมจรรย์ หมู่สัตว์นี้ข้องอยู่ในหญิงนั่น
ตบะและพรหมจรรย์นั้นมิใช่น้ำ แต่เป็นเครื่องชำระล้าง

อุปปถสูตรที่ ๘ จบ

๙. ทุติยสูตร
ว่าด้วยเพื่อน

[๕๙] เทวดาทูลถามว่า
อะไรเล่าเป็นเพื่อนของบุรุษ
อะไรเล่าย่อมปกครองบุรุษนั้น
และสัตว์ยินดีในอะไร จึงพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
ศรัทธาเป็นเพื่อนของบุรุษ
ปัญญาย่อมปกครองบุรุษนั้น
สัตว์ยินดีในนิพพาน จึงพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้

ทุติยสูตรที่ ๙ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๖. ชราวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑๐. กวิสูตร
ว่าด้วยกวี

[๖๐] เทวดาทูลถามว่า
อะไรเล่าเป็นต้นเหตุของคาถา
อะไรเล่าเป็นเครื่องปรากฏของคาถาเหล่านั้น
คาถาอาศัยอะไรเล่า อะไรเล่าเป็นที่อาศัยของคาถา
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
ฉันท์เป็นต้นเหตุของคาถา
อักขระเป็นเครื่องปรากฏของคาถาเหล่านั้น
คาถาอาศัยชื่อ กวีเป็นที่อาศัยของคาถา

กวิสูตรที่ ๑๐ จบ
ชราวรรคที่ ๖ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ชราสูตร ๒. อชรสาสูตร
๓. มิตตสูตร ๔. วัตถุสูตร
๕. ปฐมชนสูตร ๖. ทุติยชนสูตร
๗. ตติยชนสูตร ๘. อุปปถสูตร
๙. ทุติยสูตร ๑๐. กวิสูตร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต] ๗. อัทธวรรค ๒. จิตตสูตร

๗. อัทธวรรค
หมวดว่าด้วยสิ่งครอบงำ
๑. นามสูตร
ว่าด้วยชื่อ

[๖๑] เทวดาทูลถามว่า
อะไรเล่าครอบงำสิ่งทั้งปวง
อะไรเล่าไม่มีสิ่งทั้งปวงยิ่งกว่า
อะไรเล่าเป็นธรรมอย่างหนึ่งที่สิ่งทั้งปวงตกอยู่ในอำนาจ
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
ชื่อครอบงำสิ่งทั้งปวง
ชื่อไม่มีสิ่งทั้งปวงยิ่งกว่า
ชื่อเป็นธรรมอย่างหนึ่งที่สิ่งทั้งปวงตกอยู่ในอำนาจ

นามสูตรที่ ๑ จบ

๒. จิตตสูตร
ว่าด้วยจิต

[๖๒] เทวดาทูลถามว่า
โลก๑ถูกอะไรนำไป ถูกอะไรผลักไสไป
อะไรเล่าเป็นธรรมอย่างหนึ่งที่โลกทั้งหมดตกอยู่ในอำนาจ
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
โลกถูกจิตนำไป ถูกจิตผลักไสไป
จิตเป็นธรรมอย่างหนึ่งที่โลกทั้งหมดตกอยู่ในอำนาจ

จิตตสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๗. อัทธวรรค ๔. สัญโญชนสูตร

๓. ตัณหาสูตร
ว่าด้วยตัณหา

[๖๓] เทวดาทูลถามว่า
โลกถูกอะไรนำไป ถูกอะไรผลักไสไป
อะไรเล่าเป็นธรรมอย่างหนึ่งที่โลกทั้งหมดตกอยู่ในอำนาจ
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
โลกถูกตัณหานำไป ถูกตัณหาผลักไสไป
ตัณหาเป็นธรรมอย่างหนึ่งที่โลกทั้งหมดตกอยู่ในอำนาจ

ตัณหาสูตรที่ ๓ จบ

๔. สัญโญชนสูตร
ว่าด้วยเครื่องประกอบไว้

[๖๔] เทวดาทูลถามว่า
โลกมีอะไรเล่าเป็นเครื่องประกอบไว้
อะไรเล่าเป็นเหตุเที่ยวไปของโลกนั้น
เพราะละอะไรได้เล่า พระองค์จึงตรัสว่า นิพพาน
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
โลกมีความเพลิดเพลินเป็นเครื่องประกอบไว้
วิตกเป็นเหตุเที่ยวไปของโลกนั้น
เพราะละตัณหาได้ เราจึงกล่าวว่า นิพพาน

สัญโญชนสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๗. อัทธวรรค ๖. อัพภาหตสูตร

๕. พันธนสูตร
ว่าด้วยเครื่องผูก

[๖๕] เทวดาทูลถามว่า
โลกมีอะไรเล่าเป็นเครื่องผูกไว้
อะไรเล่าเป็นเหตุเที่ยวไปของโลกนั้น
เพราะละอะไรได้เล่า จึงตัดเครื่องผูกได้หมด
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
โลกมีความเพลิดเพลินเป็นเครื่องผูกไว้
วิตกเป็นเหตุเที่ยวไปของโลกนั้น
เพราะละตัณหาได้ จึงตัดเครื่องผูกได้หมด

พันธนสูตรที่ ๕ จบ

๖. อัพภาหตสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ถูกกำจัด

[๖๖] เทวดาทูลถามว่า
โลกถูกอะไรเล่ากำจัด ถูกอะไรเล่าล้อมไว้
ถูกลูกศรคืออะไรเล่าเสียบไว้
ถูกอะไรเล่าเผาให้ร้อนตลอดกาลทุกเมื่อ
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
โลกถูกมัจจุกำจัด ถูกชราล้อมไว้
ถูกลูกศรคือตัณหาเสียบไว้
ถูกความอยากเผาให้ร้อนตลอดกาลทุกเมื่อ

อัพภาหตสูตรที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต] ๗. อัทธวรรค ๘. ปิหิตสูตร

๗. อุฑฑิตสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ถูกดัก

[๖๗] เทวดาทูลถามว่า
โลกถูกอะไรเล่าดักไว้ ถูกอะไรเล่าล้อมไว้
ถูกอะไรเล่าปิดไว้ ตั้งอยู่ในอะไรเล่า
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
โลกถูกตัณหาดักไว้ ถูกชราล้อมไว้
ถูกมัจจุปิดไว้ ตั้งอยู่ในความทุกข์

อุฑฑิตสูตรที่ ๗ จบ

๘. ปิหิตสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ถูกปิดไว้

[๖๘] เทวดาทูลถามว่า
โลกถูกอะไรเล่าปิดไว้ ตั้งอยู่ในอะไรเล่า
ถูกอะไรเล่าดักไว้ ถูกอะไรเล่าล้อมไว้
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
โลกถูกมัจจุปิดไว้ ตั้งอยู่ในความทุกข์
ถูกตัณหาดักไว้ ถูกชราล้อมไว้

ปิหิตสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต] ๗. อัทธวรรค ๑๐. โลกสูตร

๙. อิจฉาสูตร
ว่าด้วยความอยาก

[๖๙] เทวดาทูลถามว่า
โลกถูกอะไรเล่าผูกไว้
เพราะกำจัดอะไรออกไป จึงพ้นได้
เพราะละอะไรได้เล่า จึงตัดเครื่องผูกได้ทั้งหมด
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
โลกถูกความอยากผูกไว้
เพราะกำจัดความอยากออกไป จึงพ้นได้
เพราะละความอยาก จึงตัดเครื่องผูกได้ทั้งหมด

อิจฉาสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. โลกสูตร
ว่าด้วยโลก

[๗๐] เทวดาทูลถามว่า
เมื่ออะไรเกิด โลกจึงเกิด
โลกทำความเชยชิดในอะไร โลกยึดถืออะไร
โลกเดือดร้อนเพราะอะไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๗. อัทธวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
เมื่ออายตนะ ๖ เกิด โลกจึงเกิด
โลกทำความเชยชิดในอายตนะ ๖
โลกยึดถืออายตนะ ๖ นั่นแล
โลกเดือดร้อนเพราะอายตนะ ๖

โลกสูตรที่ ๑๐ จบ
อัทธวรรคที่ ๗ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. นามสูตร ๒. จิตตสูตร
๓. ตัณหาสูตร ๔. สัญโญชนสูตร
๕. พันธนสูตร ๖. อัพภาหตสูตร
๗. อุฑฑิตสูตร ๘. ปิหิตสูตร
๙. อิจฉาสูตร ๑๐. โลกสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต] ๘. ฆัตวาวรรค ๒. รถสูตร

๘. ฆัตวาวรรค
หมวดว่าด้วยการฆ่า
๑. ฆัตวาสูตร
ว่าด้วยการฆ่า

[๗๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
เทวดานั้นยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
บุคคลฆ่าอะไรได้จึงอยู่เป็นสุข
ฆ่าอะไรได้จึงไม่เศร้าโศก ข้าแต่พระโคดม
พระองค์ทรงพอพระทัยการฆ่าธรรมอย่างหนึ่ง คืออะไร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
บุคคลฆ่าความโกรธได้จึงอยู่เป็นสุข
ฆ่าความโกรธได้จึงไม่เศร้าโศก เทวดา
พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญการฆ่าความโกรธ
ซึ่งมีรากเป็นพิษ๑ มียอดหวาน
เพราะบุคคลฆ่าความโกรธนั้นได้แล้ว จึงไม่เศร้าโศก

ฆัตวาสูตรที่ ๑ จบ

๒. รถสูตร
ว่าด้วยรถ

[๗๒] เทวดาทูลถามว่า
อะไรเล่าเป็นเครื่องปรากฏของรถ
อะไรเล่าเป็นเครื่องปรากฏของไฟ
อะไรเล่าเป็นเครื่องปรากฏของรัฐ
อะไรเล่าเป็นเครื่องปรากฏของหญิง


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต] ๘. ฆัตวาวรรค ๓. วิตตสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
ธงเป็นเครื่องปรากฏของรถ
ควันเป็นเครื่องปรากฏของไฟ
พระราชาเป็นเครื่องปรากฏของรัฐ
ภัสดาเป็นเครื่องปรากฏของหญิง๑

รถสูตรที่ ๒ จบ

๓. วิตตสูตร
ว่าด้วยทรัพย์เครื่องปลื้มใจ

[๗๓] เทวดาทูลถามว่า
อะไรเล่าเป็นทรัพย์เครื่องปลื้มใจที่ประเสริฐของบุรุษในโลกนี้
อะไรเล่าที่บุคคลประพฤติดีแล้วนำความสุขมาให้
อะไรเล่าเป็นรสที่ดีกว่ารสทั้งหลาย
บุคคลมีความเป็นอยู่อย่างไร นักปราชญ์ทั้งหลาย
จึงกล่าวว่ามีชีวิตประเสริฐ
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
ศรัทธาเป็นทรัพย์เครื่องปลื้มใจที่ประเสริฐของบุรุษในโลกนี้
ธรรม๒ ที่บุคคลประพฤติดีแล้วนำความสุขมาให้
สัจจะเท่านั้นเป็นรสที่ดีกว่ารสทั้งหลาย
บุคคลมีความเป็นอยู่ด้วยปัญญา นักปราชญ์ทั้งหลาย
จึงกล่าวว่ามีชีวิตประเสริฐ

วิตตสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต] ๘. ฆัตวาวรรค ๔. วุฏฐิสูตร

๔. วุฏฐิสูตร
ว่าด้วยฝน

[๗๔] เทวดาทูลถามว่า
บรรดาสิ่งที่งอกขึ้น อะไรเล่าประเสริฐ
บรรดาสิ่งที่ตกลงไป อะไรเล่าประเสริฐ
บรรดาสัตว์ที่เดินได้ สัตว์ประเภทใดประเสริฐ
บรรดาชนผู้พูด ใครเป็นผู้ประเสริฐ
เทวดาองค์หนึ่งกล่าวแก้ว่า
บรรดาสิ่งที่งอกขึ้น พืชประเสริฐ
บรรดาสิ่งที่ตกลงไป ฝนประเสริฐ
บรรดาสัตว์ที่เดินได้ โคเป็นสัตว์ประเสริฐ
บรรดาชนผู้พูด บุตรเป็นผู้ประเสริฐ
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
บรรดาสิ่งที่งอกขึ้น ความรู้ประเสริฐ
บรรดาสิ่งที่ตกลงไป ความไม่รู้ประเสริฐ
บรรดาสัตว์ที่เดินได้ พระสงฆ์เป็นผู้ประเสริฐ
บรรดาชนผู้พูด พระพุทธเจ้าเป็นผู้ประเสริฐ

วุฏฐิสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต] ๘. ฆัตวาวรรค ๖. นชีรติสูตร

๕. ภีตสูตร
ว่าด้วยผู้กลัว

[๗๕] เทวดาทูลถามว่า
หมู่ชนเป็นอันมากในโลกนี้ยังจะกลัวอะไรอีกเล่า
เพราะพระพุทธเจ้าตรัสบอกทางไว้แล้วด้วยเหตุหลากหลาย๑
ข้าแต่พระโคดมผู้มีปัญญาดุจแผ่นดิน
ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์ถึงเหตุนั้น
บุคคลตั้งอยู่ในธรรมอะไร จึงไม่กลัวปรโลก
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
บุคคลผู้ตั้งวาจาและใจไว้โดยชอบ
มิได้ทำบาปทางกาย อยู่ครองเรือนที่มีข้าวและน้ำมาก
เป็นผู้มีศรัทธา ๑ เป็นผู้อ่อนโยน ๑
มีปกติเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ๑ รู้เจรจาปราศรัย ๑
ผู้ตั้งอยู่ในธรรม ๔ ประการนี้ ชื่อว่าผู้ตั้งอยู่ในธรรม
ผู้นั้นจึงจะไม่กลัวปรโลก

ภีตสูตรที่ ๕ จบ

๖. นชีรติสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ไม่ทรุดโทรม

[๗๖] เทวดาทูลถามว่า
อะไรเล่าย่อมทรุดโทรม
อะไรเล่าย่อมไม่ทรุดโทรม
อะไรเล่าท่านเรียกว่าทางผิด


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๘. ฆัตวาวรรค ๗. อิสสรสูตร

อะไรเล่าเป็นอันตรายต่อธรรม
อะไรเล่าสิ้นไปตามคืนและวัน
อะไรเล่าเป็นมลทินของพรหมจรรย์
อะไรเล่ามิใช่น้ำ แต่เป็นเครื่องชำระล้าง
ในโลกมีช่องกี่ช่อง ที่จิตตั้งอยู่ไม่ได้
ข้าพระองค์มาเพื่อทูลถามพระผู้มีพระภาค
ว่าจะรู้ข้อความนั้นได้อย่างไร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
รูปของสัตว์ทั้งหลายย่อมทรุดโทรม
ชื่อและโคตรย่อมไม่ทรุดโทรม
ราคะท่านเรียกว่าทางผิด
ความโลภเป็นอันตรายต่อธรรม
วัยสิ้นไปตามคืนและวัน
หญิงเป็นมลทินของพรหมจรรย์ หมู่สัตว์นี้ข้องอยู่ในหญิงนั่น
ตบะและพรหมจรรย์นั้นมิใช่น้ำ แต่เป็นเครื่องชำระล้าง
ในโลกมีช่องอยู่ ๖ ช่อง ที่จิตตั้งอยู่ไม่ได้ คือ
ความเกียจคร้าน ๑ ความประมาท ๑ ความไม่ขยัน ๑
ความไม่สำรวม ๑ ความมักหลับ ๑ ความอ้างเลสไม่ทำงาน ๑
พึงเว้นช่องทั้ง ๖ เสีย โดยประการทั้งปวงเถิด

นชีรติสูตรที่ ๖ จบ

๗. อิสสรสูตร
ว่าด้วยความเป็นใหญ่

[๗๗] เทวดาทูลถามว่า
อะไรเล่าเป็นใหญ่ในโลก
อะไรเล่าเป็นสิ่งสูงสุดบรรดาภัณฑะทั้งหลาย
อะไรเล่าเป็นดังสนิมศัสตราในโลก
อะไรเล่าเป็นเสนียดจัญไรในโลก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๘. ฆัตวาวรรค ๙. ปาเถยยสูตร

ใครนำของไปย่อมถูกห้าม แต่ใครนำของไปกลับเป็นที่รัก
ใครมาบ่อย ๆ บัณฑิตย่อมยินดี
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
อำนาจเป็นใหญ่ในโลก
หญิงเป็นสิ่งสูงสุดบรรดาภัณฑะทั้งหลาย
ความโกรธเป็นดังสนิมศัสตราในโลก
พวกโจรเป็นเสนียดจัญไรในโลก
โจรนำของไปย่อมถูกห้าม แต่สมณะนำของไปกลับเป็นที่รัก
สมณะมาบ่อย ๆ บัณฑิตย่อมยินดี

อิสสรสูตรที่ ๗ จบ

๘. กามสูตร
ว่าด้วยผู้ต้องการประโยชน์

[๗๘] เทวดาทูลถามว่า
กุลบุตรผู้ต้องการประโยชน์
ไม่ควรให้อะไรเล่า ไม่ควรสละอะไรเล่า
อะไรเล่าที่ดีควรปล่อย แต่ที่ไม่ดีไม่ควรปล่อย
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
บุรุษไม่ควรให้ตน ไม่ควรสละตน
วาจาที่ดีควรปล่อย แต่วาจาที่ไม่ดีไม่ควรปล่อย

กามสูตรที่ ๘ จบ

๙. ปาเถยยสูตร
ว่าด้วยเสบียง

[๗๙] เทวดาทูลถามว่า
อะไรเล่ารวบรวมไว้ซึ่งเสบียง
อะไรเล่าเป็นบ่อเกิดแห่งโภคทรัพย์ทั้งหลาย
อะไรเล่าผลักไสนรชนไป อะไรเล่าละได้ยากในโลก
สัตว์เป็นอันมากติดอยู่ในอะไรเล่า เหมือนนกติดบ่วง ฉะนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๘. ฆัตวาวรรค ๑๐. ปัชโชตสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
ศรัทธารวบรวมไว้ซึ่งเสบียง
สิริเป็นบ่อเกิดแห่งโภคทรัพย์ทั้งหลาย
ความอยากผลักไสนรชนไป
ความอยากละได้ยากในโลก
สัตว์เป็นอันมากติดอยู่ในความอยาก เหมือนนกติดบ่วง ฉะนั้น

ปาเถยยสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ปัชโชตสูตร
ว่าด้วยแสงสว่าง

[๘๐] เทวดาทูลถามว่า
อะไรเล่าเป็นแสงสว่างในโลก
อะไรเล่าเป็นธรรมเครื่องตื่นอยู่ในโลก
อะไรเล่าเป็นสหายในการทำงานของผู้เป็นอยู่
อะไรเล่าเป็นเครื่องสืบต่อชีวิตของเขา
อะไรเล่าย่อมเลี้ยงบุคคลผู้เกียจคร้านและไม่เกียจคร้าน
ดุจมารดาเลี้ยงดูบุตร
หมู่สัตว์ที่มีชีวิตอยู่บนแผ่นดิน อาศัยอะไรเลี้ยงชีพ
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก
สติเป็นธรรมเครื่องตื่นอยู่ในโลก
ฝูงโคเป็นสหายในการทำงานของผู้เป็นอยู่
ไถเป็นเครื่องสืบต่อชีวิตของเขา
ฝนย่อมเลี้ยงบุคคลผู้เกียจคร้านและไม่เกียจคร้าน
ดุจมารดาเลี้ยงดูบุตร
หมู่สัตว์ที่มีชีวิตอยู่บนแผ่นดิน อาศัยฝนเลี้ยงชีพ

ปัชโชตสูตรที่ ๑๐ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]
๘. ฆัตวาวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑๑. อรณสูตร
ว่าด้วยข้าศึก

[๘๑] เทวดาทูลถามว่า
คนเหล่าไหนไม่เป็นข้าศึกในโลกนี้
พรหมจรรย์ที่อยู่จบแล้วของคนเหล่าไหนไม่เสื่อม
คนเหล่าไหนกำหนดรู้ความอยากได้ในโลกนี้
ความเป็นไทย่อมมีแก่คนเหล่าไหนทุกเมื่อ
มารดาและบิดาหรือพี่น้องไหว้บุคคลนั้นผู้ตั้งมั่น(ในศีล) คือใครเล่า
กษัตริย์ทั้งหลายอภิวาทใครในโลกนี้ แม้จะมีชาติต่ำ
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
สมณะทั้งหลายในธรรมวินัยไม่เป็นข้าศึกในโลกนี้
พรหมจรรย์ที่อยู่จบแล้วของสมณะทั้งหลายย่อมไม่เสื่อม
สมณะทั้งหลายย่อมกำหนดรู้ความอยากได้
ความเป็นไทย่อมมีแก่สมณะทั้งหลายทุกเมื่อ
มารดาและบิดาหรือพี่น้องไหว้บุคคลนั้นผู้ตั้งมั่น(ในศีล) คือสมณะ
กษัตริย์ทั้งหลายอภิวาทสมณะในโลกนี้ ผู้มีชาติต่ำ

อรณสูตรที่ ๑๑ จบ
ฆัตวาวรรคที่ ๘ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ฆัตวาสูตร ๒. รถสูตร
๓. วิตตสูตร ๔. วุฏฐิสูตร
๕. ภีตสูตร ๖. นชีรติสูตร
๗. อิสสรสูตร ๘. กามสูตร
๙. ปาเถยยสูตร ๑๐. ปัชโชตสูตร
๑๑. อรณสูตร

เทวตาสังยุต จบบริบูรณ์


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๒. เทวปุตตสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๑. ปฐมกัสสปสูตร

๒. เทวปุตตสังยุต
๑. ปฐมวรรค
หมวดที่ ๑
๑. ปฐมกัสสปสูตร
ว่าด้วยกัสสปเทพบุตร สูตรที่ ๑

[๘๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้นเมื่อราตรีผ่านไป กัสสปเทพบุตรมีวรรณะ
งดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วพระเชตวัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระผู้มี
พระภาคทรงประกาศภิกษุ แต่ไม่ทรงประกาศคำสั่งสอนสำหรับภิกษุ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “กัสสปเทพบุตร ถ้าอย่างนั้น การประกาศคำสั่งสอนนั้น
จงปรากฏแก่ท่าน ณ ที่นี้เถิด”
กัสสปเทพบุตรกราบทูลว่า
บุคคลพึงศึกษาคำสุภาษิต๑
ศึกษาการเข้าไปนั่งใกล้สมณะ
ศึกษาการนั่งในที่สงัดแต่ผู้เดียว
และศึกษาการสงบระงับจิต
กัสสปเทพบุตรได้กล่าวดังนี้ พระศาสดาทรงพอพระทัยแล้ว ลำดับนั้น
กัสสปเทพบุตรทราบว่า “พระศาสดาของเราทรงพอพระทัยแล้ว” จึงถวายอภิวาท
พระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง

ปฐมกัสสปสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๒. เทวปุตตสังยุต] ๑. ปฐมวรรค ๓. มาฆสูตร

๒. ทุติยกัสสปสูตร
ว่าด้วยกัสสปเทพบุตร สูตรที่ ๒

[๘๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
กัสสปเทพบุตรยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มี
พระภาคว่า
ถ้าภิกษุหวังการบรรลุธรรมที่เป็นหัวใจ๑
มีธรรมที่เป็นหัวใจเป็นอานิสงส์
เธอพึงเป็นผู้มีฌาน มีจิตหลุดพ้น
รู้ความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งโลก๒
มีใจดี ไม่มีตัณหาและทิฏฐิอาศัย๓

ทุติยกัสสปสูตรที่ ๒ จบ

๓. มาฆสูตร
ว่าด้วยมาฆเทพบุตร

[๘๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้นเมื่อราตรีผ่านไป มาฆเทพบุตรมีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่าง
ทั่วพระเชตวัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่
สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
บุคคลฆ่าอะไรได้จึงอยู่เป็นสุข
ฆ่าอะไรได้จึงไม่เศร้าโศก ข้าแต่พระโคดม
พระองค์ทรงพอพระทัยการฆ่าธรรมอย่างหนึ่ง คืออะไร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๒. เทวปุตตสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๔. มาคธสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
บุคคลฆ่าความโกรธได้จึงอยู่เป็นสุข
ฆ่าความโกรธได้จึงไม่เศร้าโศก ท้าววัตรภู๑
พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญการฆ่าความโกรธ
ซึ่งมีรากเป็นพิษ มียอดหวาน
เพราะบุคคลฆ่าความโกรธนั้นได้แล้ว จึงไม่เศร้าโศก

มาฆสูตรที่ ๓ จบ

๔. มาคธสูตร
ว่าด้วยมาคธเทพบุตร

[๘๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
มาคธเทพบุตรยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วย
คาถาว่า
โลกรุ่งเรืองเพราะแสงสว่างเหล่าใด
แสงสว่างเหล่านั้นมีอยู่เท่าไรในโลก
พวกข้าพระองค์มาเพื่อทูลถามพระผู้มีพระภาค
ว่าจะรู้แสงสว่างนั้นได้อย่างไร๒
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ในโลกมีแสงสว่างอยู่ ๔ อย่าง
อย่างที่ ๕ ไม่มีในโลกนี้ คือ
(๑) ดวงอาทิตย์ส่องสว่างในกลางวัน
(๒) ดวงจันทร์ส่องสว่างในกลางคืน
(๓) ไฟส่องสว่างทั้งกลางวันและกลางคืนทุกหนทุกแห่ง
(๔) พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประเสริฐกว่าแสงสว่างทั้งหลาย
แสงสว่างนี้เป็นแสงสว่างอย่างยอดเยี่ยม๓

มาคธสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๒. เทวปุตตสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๕. ทามลิสูตร

๕. ทามลิสูตร
ว่าด้วยทามลิเทพบุตร

[๘๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้นเมื่อราตรีผ่านไป ทามลิเทพบุตรมีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้
สว่างทั่วพระเชตวัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่
ณ ที่สมควร ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
พราหมณ์ผู้ไม่เกียจคร้านพึงทำความเพียรนี้
เพราะละกามทั้งหลายได้ (และ) เพราะความเพียรนั้น
เขาจึงไม่หวังภพ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ทามลิเทพบุตร กิจไม่มีแก่พราหมณ์๑
เพราะพราหมณ์ทำกิจเสร็จแล้ว
ตราบใดบุคคลยังไม่ได้ท่าจอดในแม่น้ำทั้งหลาย
ตราบนั้นเขายังต้องเพียรด้วยตัวเองทุกอย่าง
แต่เมื่อได้ท่าจอดแล้ว ยืนอยู่บนบก
เขาเป็นผู้ถึงฝั่งแล้วจึงไม่ต้องเพียรอีก
ทามลิเทพบุตร นี้เป็นข้ออุปมาสำหรับพราหมณ์
ผู้สิ้นอาสวะแล้ว ผู้มีปัญญาเครื่องบริหาร ผู้มีฌาน
เพราะเขาถึงที่สุดแห่งชาติและมรณะ
เป็นผู้ถึงฝั่งแล้วจึงไม่ต้องเพียร

ทามลิสูตรที่ ๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๒. เทวปุตตสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๖. กามทสูตร

๖. กามทสูตร
ว่าด้วยกามทเทพบุตร

[๘๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
กามทเทพบุตรยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค สมณธรรมบำเพ็ญได้ยาก ข้าแต่พระผู้มีพระภาค สมณธรรม
บำเพ็ญได้ยากยิ่ง”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
กามทเทพบุตร ชนทั้งหลายผู้ตั้งมั่นในศีล
ของพระเสขะ ผู้ตั้งตนไว้มั่นคงแล้ว
ย่อมบำเพ็ญสมณธรรมที่บำเพ็ญได้ยาก
ความสันโดษ๑ย่อมนำความสุขมาให้
แก่บุคคลผู้ออกจากเรือนบวช
กามทเทพบุตรกราบทูลว่า
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค
สิ่งที่ได้ยากนี้ คือ ความสันโดษ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
กามทเทพบุตร ชนเหล่าใด
ยินดีในความสงบทางใจ
มีใจยินดีในการอบรมจิตทั้งกลางวันและกลางคืน
ชนเหล่านั้นย่อมได้แม้สิ่งที่ได้ยาก


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๒. เทวปุตตสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๖. กามทสูตร

กามทเทพบุตรกราบทูลว่า
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค
สิ่งที่ตั้งมั่นได้ยากนี้ คือ จิต
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
กามทเทพบุตร ชนเหล่าใด
ยินดีในความสงบแห่งอินทรีย์
ชนเหล่านั้นย่อมตั้งจิตที่ตั้งมั่นได้ยากให้ตั้งมั่นได้
กามทเทพบุตร พระอริยะเหล่านั้นตัดข่ายแห่งมัจจุได้แล้ว
กามทเทพบุตรกราบทูลว่า
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค
ทางที่ไปได้ยาก คือ ทางที่ไม่สม่ำเสมอ๑
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
กามทเทพบุตร อริยบุคคลทั้งหลาย
ย่อมไปได้แม้ในทางที่ไปได้ยาก ซึ่งเป็นทางที่ไม่สม่ำเสมอ
ส่วนผู้ไม่ใช่อริยบุคคลย่อมดิ่งศีรษะ
ตกลงไปในทางที่ไม่สม่ำเสมอ
ทางนั้นสม่ำเสมอสำหรับอริยบุคคลทั้งหลาย
เพราะอริยบุคคลทั้งหลาย เป็นผู้สม่ำเสมอในทางที่ไม่สม่ำเสมอ

กามทสูตรที่ ๖ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๒. เทวปุตตสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๘. ตายนสูตร

๗. ปัญจาลจัณฑสูตร
ว่าด้วยปัญจาลจัณฑเทพบุตร

[๘๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ปัญจาลจัณฑเทพบุตรยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของ
พระผู้มีพระภาคว่า
แม้ในที่คับขัน๑ผู้มีปัญญาดุจแผ่นดินก็ยังได้โอกาส๒
ผู้ใดบรรลุฌาน ผู้นั้นเป็นผู้ตื่น
เป็นผู้หลีกออกได้อย่างองอาจ เป็นมุนี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า (ปัญจาลจัณฑะ)
ชนเหล่าใดแม้อยู่ในที่คับขัน
แต่กลับได้สติเพื่อการบรรลุธรรม คือ นิพพาน
ชนเหล่านั้นตั้งมั่นดีแล้วโดยชอบ

ปัญจาลจัณฑสูตรที่ ๗ จบ

๘. ตายนสูตร
ว่าด้วยตายนเทพบุตร

[๘๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้นเมื่อราตรีผ่านไป ตายนเทพบุตรผู้เคยเป็นเจ้าลัทธิมาก่อน มีวรรณะ
งดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วพระเชตวัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มี
พระภาคว่า


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๒. เทวปุตตสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๘. ตายนสูตร

พราหมณ์ ท่านจงพยายามตัดกระแส๑
จงบรรเทากามเสียเถิด
เพราะหากมุนีไม่ละกาม
ย่อมเข้าถึงความมีจิตแน่วแน่๒ไม่ได้
ถ้าบุคคลจะทำความเพียร
พึงทำความเพียรนั้นจริงๆ
พึงบากบั่นทำความเพียรนั้นให้มั่นคง
เพราะว่าการบรรพชาที่ปฏิบัติย่อหย่อน
ย่อมโปรยธุลีคือกิเลสให้แปดเปื้อนยิ่งขึ้น
ความชั่วไม่ทำเสียเลยดีกว่า
เพราะทำแล้วย่อมเดือดร้อนภายหลัง
ความดีใดทำแล้วไม่เดือดร้อนภายหลัง
ทำความดีนั้นดีกว่า
หญ้าคาที่บุคคลจับไม่ดี
ย่อมบาดมือแน่นอน ฉันใด
ความเป็นสมณะที่บุคคลปฏิบัติไม่ดี
ย่อมฉุดเข้าไปในนรก ฉันนั้น
กรรมที่ย่อหย่อนอย่างใดอย่างหนึ่ง วัตรที่เศร้าหมอง
และพรหมจรรย์ที่พึงระลึกถึงด้วยความระแวงสงสัย
ทั้ง ๓ นั้นไม่มีผลมาก๓
ตายนเทพบุตรครั้นกล่าวดังนี้แล้ว ได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค กระทำ
ประทักษิณแล้วหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๒. เทวปุตตสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๘. ตายนสูตร

ครั้นเมื่อราตรีนั้นล่วงไปแล้ว พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อคืนนี้ ตายนเทพบุตรผู้เคยเป็นเจ้าลัทธิมาก่อน มีวรรณะงดงาม
ยิ่งนัก เมื่อราตรีผ่านไป เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วพระเชตวัน เข้ามาหาเราถึงที่อยู่ อภิวาท
แล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของเราว่า
พราหมณ์ ท่านจงพยายามตัดกระแส
จงบรรเทากามเสียเถิด
เพราะหากมุนีไม่ละกาม
ย่อมเข้าถึงความมีจิตแน่วแน่ไม่ได้
ถ้าบุคคลจะทำความเพียร
พึงทำความเพียรนั้นจริงๆ
พึงบากบั่นทำความเพียรนั้นให้มั่นคง
เพราะว่าการบรรพชาที่ปฏิบัติย่อหย่อน
ย่อมโปรยธุลีคือกิเลสให้แปดเปื้อนยิ่งขึ้น
ความชั่วไม่ทำเสียเลยดีกว่า
เพราะทำแล้วย่อมเดือดร้อนภายหลัง
ความดีใดทำแล้วไม่เดือดร้อนภายหลัง
ทำความดีนั้นดีกว่า
หญ้าคาที่บุคคลจับไม่ดี
ย่อมบาดมือแน่นอน ฉันใด
ความเป็นสมณะที่บุคคลปฏิบัติไม่ดี
ย่อมฉุดเข้าไปในนรก ฉันนั้น
กรรมที่ย่อหย่อนอย่างใดอย่างหนึ่ง วัตรที่เศร้าหมอง
และพรหมจรรย์ที่พึงระลึกถึงด้วยความระแวงสงสัย
ทั้ง ๓ นั้นไม่มีผลมาก
ตายนเทพบุตรครั้นกล่าวดังนี้แล้วได้อภิวาทเรา กระทำประทักษิณแล้วหาย
ตัวไป ณ ที่นั้นเอง เธอทั้งหลาย จงศึกษา เล่าเรียน ทรงจำตายนคาถาไว้ ภิกษุ
ทั้งหลาย ตายนคาถาประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์๑”

ตายนสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๒. เทวปุตตสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๙. จันทิมสูตร

๙. จันทิมสูตร
ว่าด้วยจันทิมเทพบุตร

[๙๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
สมัยนั้น จันทิมเทพบุตรถูกอสุรินทราหูเข้าจับตัวไว้ ครั้งนั้น จันทิมเทพบุตร
ระลึกถึงพระผู้มีพระภาค ได้กล่าวคาถานี้ในเวลานั้นว่า
ข้าแต่พระพุทธเจ้าผู้แกล้วกล้า
ขอความนอบน้อมจงมีแด่พระองค์
พระองค์เป็นผู้หลุดพ้นแล้วจากกิเลสทั้งปวง
ข้าพระองค์ตกอยู่ในภาวะคับขัน
ขอพระองค์จงเป็นสรณะแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงปรารภจันทิมเทพบุตร ได้ตรัสกับอสุรินทราหู
ด้วยพระคาถาว่า
จันทิมเทพบุตรถึงตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์เป็นสรณะ
ราหู ท่านจงปล่อยจันทิมเทพบุตรเสียเถิด
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นผู้อนุเคราะห์สัตว์โลก
ลำดับนั้น อสุรินทราหูปล่อยจันทิมเทพบุตรแล้ว ก็เร่งรีบเข้าไปหาท้าวเวปจิตติ
จอมอสูรถึงที่อยู่ เป็นผู้เศร้าสลดใจ เกิดขนพองสยองเกล้า ได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควร
ท้าวเวปจิตติจอมอสูรได้กล่าวกับอสุรินทราหูผู้ยืนอยู่ ณ ที่สมควร ด้วยคาถาว่า
ราหู ทำไมท่านจึงรีบปล่อยจันทิมเทพบุตรเสียเล่า
ทำไมท่านจึงเศร้าสลดใจ มายืนกลัวอยู่เล่า
อสุรินทราหูกล่าวว่า
ข้าพเจ้าถูกขับด้วยคาถาของพระพุทธเจ้า
หากข้าพเจ้าไม่ปล่อยจันทิมเทพบุตร
ศีรษะของข้าพเจ้าพึงแตก ๗ เสี่ยง
มีชีวิตอยู่ก็จะไม่ได้รับความสุขเลย

จันทิมสูตรที่ ๙ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๒. เทวปุตตสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๑๐. สุริยสูตร

๑๐. สุริยสูตร
ว่าด้วยสุริยเทพบุตร

[๙๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
สมัยนั้น สุริยเทพบุตรถูกอสุรินทราหูเข้าจับตัวไว้ ครั้งนั้น สุริยเทพบุตรระลึกถึง
พระผู้มีพระภาค ได้กล่าวคาถานี้ในเวลานั้นว่า
ข้าแต่พระพุทธเจ้าผู้แกล้วกล้า
ขอความนอบน้อมจงมีแด่พระองค์
พระองค์เป็นผู้หลุดพ้นแล้วจากกิเลสทั้งปวง
ข้าพระองค์ตกอยู่ในภาวะคับขัน
ขอพระองค์จงเป็นสรณะแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด๑
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงปรารภสุริยเทพบุตร ได้ตรัสกับอสุรินทราหู
ด้วยพระคาถาว่า
สุริยเทพบุตรถึงตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์เป็นสรณะ
ราหู ท่านจงปล่อยสุริยเทพบุตรเสียเถิด
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นผู้อนุเคราะห์สัตว์โลก
สุริยเทพบุตรเป็นผู้ส่องแสง ทำความสว่างในที่มืดมิด
มีสัณฐานเป็นวงกลม มีเดชสูง
ท่านอย่าอมสุริยเทพบุตรผู้เที่ยวไปในอากาศเลย
ราหู ท่านจงปล่อยสุริยเทพบุตรผู้เป็นบุตรของเราเสียเถิด
ลำดับนั้น อสุรินทราหูปล่อยสุริยเทพบุตรแล้วก็เร่งรีบเข้าไปหาท้าวเวปจิตติ
จอมอสูรถึงที่อยู่ เป็นผู้เศร้าสลดใจ เกิดขนพองสยองเกล้า ได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๒. เทวปุตตสังยุต]
๑. ปฐมวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ท้าวเวปจิตติจอมอสูรได้กล่าวกับอสุรินทราหูผู้ยืนอยู่ ณ ที่สมควร ด้วยคาถาว่า
ราหู ทำไมท่านจึงรีบปล่อยสุริยเทพบุตรเสียเล่า
ทำไมท่านจึงเศร้าสลดใจ มายืนกลัวอยู่เล่า
อสุรินทราหูกล่าวว่า
ข้าพเจ้าถูกขับด้วยคาถาของพระพุทธเจ้า
หากข้าพเจ้าไม่พึงปล่อยสุริยเทพบุตร
ศีรษะของข้าพเจ้าพึงแตก ๗ เสี่ยง
มีชีวิตอยู่ก็จะไม่ได้รับความสุขเลย๑

สุริยสูตรที่ ๑๐ จบ
วรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมกัสสปสูตร ๒. ทุติยกัสสปสูตร
๓. มาฆสูตร ๔. มาคธสูตร
๕. ทามลิสูตร ๖. กามทสูตร
๗. ปัญจาลจัณฑสูตร ๘. ตายนสูตร
๙. จันทิมสูตร ๑๐. สุริยสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๒. เทวปุตตสังยุต]
๒. อนาถปิณฑิกวรรค ๑. จันทิมสสูตร

๒. อนาถปิณฑิกวรรค
หมวดว่าด้วยอนาถบิณฑิกเทพบุตร
๑. จันทิมสสูตร
ว่าด้วยจันทิมสเทพบุตร

[๙๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้นเมื่อราตรีผ่านไป จันทิมสเทพบุตรมีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้
สว่างทั่วพระเชตวัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่
ณ ที่สมควร ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
ชนเหล่าใดบรรลุฌาน
มีจิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น มีปัญญา มีสติ
ชนเหล่านั้นจักถึงความสวัสดี
ดุจเนื้อทรายในซอกเขาที่ปราศจากริ้นและยุง ฉะนั้น
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ชนเหล่าใดบรรลุฌาน
ไม่ประมาท ละกิเลสได้
ชนเหล่านั้นจักถึงฝั่ง
ดุจปลาทำลายข่ายได้แล้วว่ายไป ฉะนั้น

จันทิมสสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๒. เทวปุตตสังยุต]
๒.อนาถปิณฑิกวรรค ๓. ทีฆลัฏฐิสูตร

๒. เวณฑุสูตร
ว่าด้วยเวณฑุเทพบุตร

[๙๓] เวณฑุเทพบุตรยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของ
พระผู้มีพระภาคว่า
ชนเหล่าใดนั่งใกล้พระสุคต
มอบตนไว้ในศาสนาของพระโคดม
ไม่ประมาท ตามศึกษาอยู่
ชนเหล่านั้นถึงความสุขแล้วจริง
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า (เวณฑุ)
ชนเหล่าใดเป็นผู้เพ่งพินิจ
ตามศึกษาในบทคำสอนที่เรากล่าวไว้แล้ว
ชนเหล่านั้นไม่ประมาทตลอดเวลา
ไม่พึงไปสู่อำนาจแห่งมัจจุ

เวณฑุสูตรที่ ๒ จบ

๓. ทีฆลัฏฐิสูตร
ว่าด้วยทีฆลัฏฐิเทพบุตร

[๙๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
เขตกรุงราชคฤห์ ครั้นเมื่อราตรีผ่านไป ทีฆลัฏฐิเทพบุตรมีวรรณะงดงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วพระเวฬุวัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๒. เทวปุตตสังยุต]
๒. อนาถปิณฑิกวรรค ๔. นันทนสูตร

ถ้าภิกษุหวังการบรรลุธรรมที่เป็นหัวใจ
มีธรรมที่เป็นหัวใจเป็นอานิสงส์
เธอพึงเป็นผู้มีฌาน มีจิตหลุดพ้น
รู้ความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งโลก
มีใจดี ไม่มีตัณหาและทิฏฐิอาศัย๑

ทีฆลัฏฐิสูตรที่ ๓ จบ

๔. นันทนสูตร
ว่าด้วยนันทนเทพบุตร

[๙๕] นันทนเทพบุตรยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ด้วยคาถาว่า
ข้าแต่พระโคดม ผู้มีปัญญาดุจแผ่นดิน
ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์ถึงญาณทัสสนะ๒
อันไม่มีสิ่งใดขวางกั้นของพระผู้มีพระภาค
บัณฑิตทั้งหลายเรียกบุคคล
ประเภทใดว่าเป็นผู้มีศีล
ประเภทใดว่าเป็นผู้มีปัญญา
บุคคลประเภทใดล่วงทุกข์ได้
เทวดาทั้งหลายบูชาบุคคลประเภทใด


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๒. เทวปุตตสังยุต]
๒. อนาถปิณฑิกวรรค ๕. จันทนสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
บุคคลใดมีศีล มีปัญญา อบรมตนดีแล้ว
มีจิตตั้งมั่น ยินดีในฌาน มีสติ
ละความเศร้าโศกได้หมดสิ้น สิ้นอาสวะแล้ว
เหลือไว้แต่ร่างกายในชาติสุดท้าย
บัณฑิตทั้งหลายเรียกบุคคลประเภทนั้นว่า
เป็นผู้มีศีล เป็นผู้มีปัญญา
บุคคลประเภทนั้นล่วงทุกข์ได้แล้ว
เทวดาทั้งหลายบูชาบุคคลประเภทนั้น

นันทนสูตรที่ ๔ จบ

๕. จันทนสูตร
ว่าด้วยจันทนเทพบุตร

[๙๖] จันทนเทพบุตรยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ด้วยคาถาว่า
บุคคลผู้ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน
จะข้ามโอฆะได้อย่างไร
ใครไม่จมในห้วงน้ำลึกซึ่งไม่มีที่พึ่ง ไม่มีที่ยึดเหนี่ยว
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล มีปัญญา
มีจิตตั้งมั่นดี ปรารภความเพียร
อุทิศกายและใจตลอดกาลทุกเมื่อ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๒. เทวปุตตสังยุต]
๒. อนาถปิณฑิกวรรค ๖. วาสุทัตตสูตร

ย่อมข้ามโอฆะที่ข้ามได้ยาก
เขาเว้นขาดแล้วจากกามสัญญา๑ล่วงรูปสังโยชน์ได้๒
มีความกำหนัดด้วยความเพลิดเพลินสิ้นแล้ว
ย่อมไม่จมในห้วงน้ำลึก

จันทนสูตรที่ ๕ จบ

๖. วาสุทัตตสูตร
ว่าด้วยวาสุทัตตเทพบุตร

[๙๗] วาสุทัตตเทพบุตรยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ในสำนัก
ของพระผู้มีพระภาคว่า
ภิกษุพึงอยู่อย่างมีสติ เพื่อละกามราคะ
เหมือนบุคคลถูกแทงด้วยหอก มุ่งถอนหอกออก
เหมือนบุคคลถูกไฟไหม้อยู่บนศีรษะ มุ่งดับไฟ ฉะนั้น
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ภิกษุพึงอยู่อย่างมีสติ เพื่อละสักกายทิฏฐิ
เหมือนบุคคลถูกแทงด้วยหอก มุ่งถอนหอกออก
เหมือนบุคคลถูกไฟไหม้อยู่บนศีรษะ มุ่งดับไฟ ฉะนั้น๓

วาสุทัตตสูตรที่ ๖ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๒. เทวปุตตสังยุต]
๒. อนาถปิณฑิกวรรค ๘. กกุธสูตร

๗. สุพรหมสูตร
ว่าด้วยสุพรหมเทพบุตร

[๙๘] สุพรหมเทพบุตรยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ด้วยคาถานี้ว่า
จิตนี้สะดุ้งอยู่เป็นนิตย์ ใจนี้หวาดเสียวอยู่เป็นนิตย์
เมื่อกิจทั้งหลายยังไม่เกิดขึ้นก็ดี เกิดขึ้นแล้วก็ดี
ถ้าความไม่สะดุ้งกลัวมีอยู่
พระองค์ผู้ที่ข้าพระองค์ทูลถามแล้ว
ขอจงตรัสบอกข้อความนั้นแก่ข้าพระองค์
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
นอกจากปัญญาเครื่องตรัสรู้ ความเพียรเครื่องเผากิเลส
ความสำรวมอินทรีย์ และการสละทุกสิ่งทุกอย่าง
เรายังไม่เห็นความสวัสดีแห่งสัตว์ทั้งหลายเลย
สุพรหมเทพบุตรได้กราบทูลดังนี้แล้ว ฯลฯ หายตัวไป ณ ที่นั้นเอง

สุพรหมสูตรที่ ๗ จบ

๘. กกุธสูตร
ว่าด้วยกกุธเทพบุตร

[๙๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระอัญชนวัน สถานที่พระราชทาน
อภัยแก่หมู่เนื้อ เขตเมืองสาเกต ครั้นเมื่อราตรีผ่านไป กกุธเทพบุตรมีวรรณะงดงาม
ยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วพระอัญชนวัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระสมณะ พระองค์ทรงยินดีอยู่หรือ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๒. เทวปุตตสังยุต]
๒. อนาถปิณฑิกวรรค ๘. กกุธสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อาวุโส เราได้อะไรเล่า”
“ข้าแต่พระสมณะ ถ้าอย่างนั้น พระองค์ทรงเศร้าโศกอยู่หรือ”
“อาวุโส เราเสื่อมเสียอะไรเล่า”
“ข้าแต่พระสมณะ ถ้าอย่างนั้น พระองค์ไม่ทรงยินดีเลย ไม่ทรงเศร้าโศกเลยหรือ”
“เป็นเช่นนั้น อาวุโส”
กกุธเทพบุตรกราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นภิกษุ
พระองค์ไม่ทรงมีความทุกข์บ้างหรือ
ไม่ทรงมีความเพลิดเพลินบ้างหรือ
ความไม่ยินดีไม่ครอบงำพระองค์ผู้อยู่ผู้เดียวหรือ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ยักษ์ เราไม่มีความทุกข์และความเพลิดเพลิน
อนึ่ง ความไม่ยินดีก็ไม่ครอบงำเราผู้อยู่ผู้เดียว
กกุธเทพบุตรกราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นภิกษุ
ทำไมพระองค์จึงไม่มีความทุกข์ ไม่มีความเพลิดเพลิน
ทำไมความไม่ยินดีจึงไม่ครอบงำพระองค์ผู้อยู่ผู้เดียว
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ผู้มีความทุกข์เท่านั้นจึงมีความเพลิดเพลิน
ผู้มีความเพลิดเพลินเท่านั้นจึงมีความทุกข์
(ส่วน)ภิกษุเป็นผู้ไม่มีความเพลิดเพลิน เป็นผู้ไม่มีความทุกข์
ท่านจงรู้อย่างนี้เถิด อาวุโส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๒. เทวปุตตสังยุต]
๒. อนาถปิณฑิกวรรค ๙. อุตตรสูตร

กกุธเทพบุตรกราบทูลว่า
นานจริงหนอ ข้าพระองค์จึงจะพบเห็นภิกษุ
ผู้เป็นพราหมณ์ ผู้ดับสนิทแล้ว ไม่มีความเพลิดเพลิน
ไม่มีความทุกข์ ผู้ข้ามพ้นเครื่องข้องในโลกได้แล้ว

กกุธสูตรที่ ๘ จบ

๙. อุตตรสูตร
ว่าด้วยอุตตรเทพบุตร

[๑๐๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงราชคฤห์
อุตตรเทพบุตรยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มี
พระภาคว่า
ชีวิตถูกชรานำเข้าไป อายุจึงสั้น
ผู้ที่ถูกชรานำเข้าไปแล้ว ไม่มีเครื่องต้านทาน
บุคคลพิจารณาเห็นภัยนี้ในมรณะ
ควรทำบุญที่นำความสุขมาให้๑
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ชีวิตถูกชรานำเข้าไป อายุจึงสั้น
ผู้ที่ถูกชรานำเข้าไปแล้ว ไม่มีเครื่องต้านทาน
บุคคลพิจารณาเห็นภัยนี้ในมรณะ
ควรละโลกามิส มุ่งสู่สันติเถิด๒

อุตตรสูตรที่ ๙ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๒. เทวปุตตสังยุต]
๒. อนาถปิณฑิกวรรค ๑๐. อนาถปิณฑิกสูตร

๑๐. อนาถปิณฑิกสูตร
ว่าด้วยอนาถบิณฑิกเทพบุตร

[๑๐๑] อนาถบิณฑิกเทพบุตรยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้ว ได้กล่าวคาถาเหล่านี้
ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
พระเชตวันนี้นั้นมีหมู่ฤาษีพำนักอยู่
พระผู้เป็นธรรมราชาก็ประทับอยู่
เป็นสถานที่ให้เกิดปีติแก่ข้าพระองค์
การงาน ๑ วิชชา ๑ ธรรม ๑ ศีล ๑ ชีวิตอันสูงสุด ๑
สัตว์ทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์ด้วยธรรม ๕ ประการนี้
หาใช่บริสุทธิ์ด้วยโคตรหรือด้วยทรัพย์ไม่
เพราะเหตุนั้นแหละ คนฉลาดเมื่อเห็นประโยชน์ตน
ควรเลือกเฟ้นธรรมโดยแยบคายเถิด
เพราะเมื่อเลือกเฟ้นเช่นนี้ ย่อมหมดจดได้ในธรรมเหล่านั้น
พระสารีบุตรเท่านั้นเป็นผู้ยอดเยี่ยมกว่าภิกษุผู้ถึงฝั่ง
ด้วยปัญญา ศีล และความสงบ๑
อนาถบิณฑิกเทพบุตรได้กราบทูลดังนี้แล้ว ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค
กระทำประทักษิณแล้วหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค เมื่อราตรีนั้นล่วงไปแล้ว รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลาย
มาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อคืนนี้เทพบุตรองค์หนึ่งมีวรรณะงดงามยิ่งนัก เมื่อราตรี
ผ่านไป เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วพระเชตวัน เข้ามาหาเราถึงที่อยู่ อภิวาทเราแล้วยืนอยู่
ณ ที่สมควร ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ในสำนักของเราว่า
พระเชตวันนี้นั้นมีหมู่ฤาษีพำนักอยู่
พระผู้เป็นธรรมราชาก็ประทับอยู่
เป็นสถานที่ให้เกิดปีติแก่ข้าพระองค์


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๒. เทวปุตตสังยุต]
๒. อนาถปิณฑิกวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

การงาน ๑ วิชชา ๑ ธรรม ๑ ศีล ๑ ชีวิตอันสูงสุด ๑
สัตว์ทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์ด้วยธรรม ๕ ประการนี้
หาใช่บริสุทธิ์ด้วยโคตรหรือด้วยทรัพย์ไม่
เพราะเหตุนั้นแหละ คนฉลาดเมื่อเห็นประโยชน์ตน
ควรเลือกเฟ้นธรรมโดยแยบคายเถิด
เพราะเมื่อเลือกเฟ้นเช่นนี้ ย่อมหมดจดได้ในธรรมเหล่านั้น
พระสารีบุตรเท่านั้นเป็นผู้ยอดเยี่ยมกว่าภิกษุผู้ถึงฝั่ง
ด้วยปัญญา ศีล และความสงบ
ภิกษุทั้งหลาย เทพบุตรนั้นได้กล่าวดังนี้ อภิวาทเรา กระทำประทักษิณแล้ว
หายตัวไป ณ ที่นั้นเอง”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เทพบุตรนั้นเห็นจะเป็นอนาถบิณฑิก-
เทพบุตรแน่นอน อนาถบิณฑิกคหบดีได้เลื่อมใสยิ่งนักในท่านพระสารีบุตร”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ อานนท์ เธอคิดถูกแล้ว เทพบุตรนั้น
คืออนาถบิณฑิกเศรษฐีนั่นเอง”

อนาถปิณฑิกสูตรที่ ๑๐ จบ
อนาถปิณฑิกวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. จันทิมสสูตร ๒. เวณฑุสูตร
๓. ทีฆลัฏฐิสูตร ๔. นันทนสูตร
๕. จันทนสูตร ๖. วาสุทัตตสูตร
๗. สุพรหมสูตร ๘. กกุธสูตร
๙. อุตตรสูตร ๑๐. อนาถปิณฑิกสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๒. เทวปุตตสังยุต]
๓. นานติตถิยวรรค ๑. สิวสูตร

๓. นานาติตถิยวรรค
หมวดว่าด้วยเทพบุตรผู้เป็นสาวกของเดียรถีย์ต่าง ๆ
๑. สิวสูตร
ว่าด้วยสิวเทพบุตร

[๑๐๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้นเมื่อราตรีผ่านไป สิวเทพบุตรมีวรรณะงดงาม
ยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วพระเชตวัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ในสำนักของพระผู้มี
พระภาคว่า
บุคคลควรสมาคมกับพวกสัตบุรุษเท่านั้น
ควรทำความสนิทสนมกับพวกสัตบุรุษ
บุคคลรู้แจ้งสัทธรรมของพวกสัตบุรุษแล้ว
ย่อมเป็นผู้ประเสริฐ ไม่เป็นผู้ตกต่ำ
บุคคลควรสมาคมกับพวกสัตบุรุษเท่านั้น
ควรทำความสนิทสนมกับพวกสัตบุรุษ
บุคคลรู้แจ้งสัทธรรมของพวกสัตบุรุษแล้วย่อมได้ปัญญา
หาได้ปัญญาจากคนอันธพาลอื่นไม่
บุคคลควรสมาคมกับพวกสัตบุรุษเท่านั้น
ควรทำความสนิทสนมกับพวกสัตบุรุษ
บุคคลรู้แจ้งสัทธรรมของพวกสัตบุรุษแล้ว
ย่อมไม่เศร้าโศกในท่ามกลางคนผู้เศร้าโศก
บุคคลควรสมาคมกับพวกสัตบุรุษเท่านั้น
ควรทำความสนิทสนมกับพวกสัตบุรุษ
บุคคลรู้แจ้งสัทธรรมของพวกสัตบุรุษแล้ว
ย่อมรุ่งเรืองในท่ามกลางแห่งญาติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๒. เทวปุตตสังยุต]
๓. นานติตถิยวรรค ๒. เขมสูตร

บุคคลควรสมาคมกับพวกสัตบุรุษเท่านั้น
ควรทำความสนิทสนมกับพวกสัตบุรุษ
สัตว์ทั้งหลายรู้แจ้งสัทธรรมของพวกสัตบุรุษแล้ว ย่อมไปสู่สุคติ
บุคคลควรสมาคมกับพวกสัตบุรุษเท่านั้น
ควรทำความสนิทสนมกับพวกสัตบุรุษ
สัตว์ทั้งหลายรู้แจ้งสัทธรรมของพวกสัตบุรุษแล้ว
ย่อมดำรงอยู่ได้ตลอดไป๑
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสตอบสิวเทพบุตรด้วยคาถาว่า
บุคคลควรสมาคมกับพวกสัตบุรุษเท่านั้น
ควรทำความสนิทสนมกับพวกสัตบุรุษ
บุคคลรู้แจ้งสัทธรรมของพวกสัตบุรุษแล้ว
ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง๒

สิวสูตรที่ ๑ จบ

๒. เขมสูตร
ว่าด้วยเขมเทพบุตร

[๑๐๓] เขมเทพบุตรยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้ว ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ในสำนัก
ของพระผู้มีพระภาคว่า
คนพาลผู้มีปัญญาทรามประพฤติตนเป็นเหมือนศัตรู
ย่อมทำกรรมอันลามกซึ่งให้ผลเผ็ดร้อน
บุคคลทำกรรมใดแล้วย่อมเดือดร้อนในภายหลัง
และมีหน้านองด้วยน้ำตา ร้องไห้อยู่ ได้รับผลกรรมใด
กรรมที่ทำแล้วนั้นเป็นกรรมไม่ดี


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๒. เทวปุตตสังยุต]
๓. นานติตถิยวรรค ๓. เสรีสูตร

บุคคลทำกรรมใดแล้วไม่เดือดร้อนในภายหลัง
มีจิตใจแช่มชื่นเบิกบานได้รับผลกรรมใด
กรรมที่ทำแล้วนั้นเป็นกรรมดี
บุคคลรู้ว่ากรรมใดเป็นประโยชน์แก่ตน
ควรรีบลงมือกระทำกรรมนั้นทันที
อย่าพยายามเป็นนักปราชญ์เจ้าความคิด
ด้วยความคิดอย่างพ่อค้าเกวียนเลย
พ่อค้าเกวียนเลี่ยงหนทางสายใหญ่ที่ไม่ขรุขระ
ใช้หนทางที่ขรุขระ จนเพลาเกวียนหัก ซบเซาอยู่ ฉันใด
บุคคลหลีกจากธรรม ประพฤติตามอธรรม ก็ฉันนั้น
เป็นคนเขลา ดำเนินไปสู่ทางแห่งความตาย ซบเซาอยู่
เหมือนพ่อค้าเกวียนมีเพลาเกวียนหักแล้ว ฉะนั้น

เขมสูตรที่ ๒ จบ

๓. เสรีสูตร
ว่าด้วยเสรีเทพบุตร

[๑๐๔] เสรีเทพบุตรยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระ
ภาคด้วยคาถาว่า
เทวดาและมนุษย์ทั้งสองพวก
ต่างก็พอใจข้าวด้วยกันทั้งนั้น
ส่วนผู้ที่ไม่พอใจข้าว ชื่อว่ายักษ์โดยแท้๑


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๒. เทวปุตตสังยุต]
๓. นานติตถิยวรรค ๓. เสรีสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ชนเหล่าใดมีใจเลื่อมใสให้ข้าวนั้นด้วยศรัทธา
ข้าวนั้นเองย่อมค้ำชูชนเหล่านั้นทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
เพราะเหตุนั้น บุคคลพึงกำจัดความตระหนี่
ครอบงำมลทินแล้วให้ทานเถิด
เพราะบุญเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายในโลกหน้า
เสรีเทพบุตรกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ
พระผู้มีพระภาคตรัสเรื่องนี้ไว้ดียิ่งนักว่า
ชนเหล่าใดมีใจเลื่อมใส ให้ข้าวนั้นด้วยศรัทธา
ข้าวนั้นเองย่อมค้ำชูชนเหล่านั้นทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
เพราะเหตุนั้น บุคคลพึงกำจัดความตระหนี่
ครอบงำมลทินแล้วให้ทานเถิด
เพราะบุญเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายในโลกหน้า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องเคยมีมาแล้ว ข้าพระองค์ได้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน
มีนามว่าเสรี เป็นทายก เป็นทานบดี เป็นผู้กล่าวชมคุณแห่งทาน ข้าพระองค์ได้
ให้ทานแก่สมณพราหมณ์ คนกำพร้า คนเดินทางไกล วณิพกและยาจกทั้งหลาย
ที่ประตูทั้ง ๔ ด้าน ครั้นต่อมาพวกฝ่ายในพากันเข้าไปหาข้าพระองค์แล้ว ได้กล่าว
ดังนี้ว่า ‘พระองค์ทรงให้ทาน แต่พวกหม่อมฉันไม่ได้ให้ทานเลย เป็นการชอบที่พวก
หม่อมฉันจะได้อาศัยใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ให้ทานและทำบุญบ้าง’ ข้าพระองค์
ได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘เราเองเป็นทายก เป็นทานบดี เป็นผู้กล่าวชมคุณแห่งทาน
เมื่อมีผู้พูดว่า ‘พวกหม่อมฉันจะให้ทาน’ เราจะว่าอะไรได้’ ข้าพระองค์จึงมอบ
ประตูด้านที่ ๑ ให้พวกฝ่ายในไป พวกฝ่ายในก็พากันให้ทานที่ประตูนั้น ทานของ
ข้าพระองค์จึงลดไป
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้นต่อมาพวกกษัตริย์พากันเข้าไปหาข้าพระองค์ได้
ตรัสดังนี้ว่า ‘พระองค์ทรงให้ทาน พวกฝ่ายในก็ให้ทาน พวกหม่อมฉันไม่ได้ให้ทาน
เป็นการชอบที่พวกหม่อมฉันจะได้อาศัยใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ให้ทานและทำบุญ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๒. เทวปุตตสังยุต]
๓. นานติตถิยวรรค ๓. เสรีสูตร

บ้าง’ ข้าพระองค์ได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘เราเองก็เป็นทายก เป็นทานบดี เป็นผู้กล่าวชม
คุณแห่งทาน เมื่อมีผู้พูดว่า ‘พวกหม่อมฉันจะให้ทาน’ เราจะว่าอะไรได้’ ข้าพระองค์
จึงมอบประตูด้านที่ ๒ ให้แก่พวกกษัตริย์ไป พวกกษัตริย์ก็พากันให้ทานที่ประตูนั้น
ทานของข้าพระองค์จึงลดไป
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้นต่อมาพวกพลกาย(ข้าราชการฝ่ายทหาร) เข้าไป
หาข้าพระองค์ได้กล่าวดังนี้ว่า ‘พระองค์ก็ทรงให้ทาน พวกฝ่ายในก็ให้ทาน พวก
กษัตริย์ก็ทรงให้ทาน พวกหม่อมฉันมิได้ให้ทาน เป็นการชอบที่พวกหม่อมฉันจะได้
อาศัยใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ให้ทานและทำบุญบ้าง’ ข้าพระองค์ได้มีความคิด
ดังนี้ว่า ‘เราเองก็เป็นทายก เป็นทานบดี เป็นผู้กล่าวชมคุณแห่งทาน เมื่อมีผู้พูดว่า
‘พวกหม่อมฉันจะให้ทาน’ เราจะว่าอะไรได้’ ข้าพระองค์จึงมอบประตูด้านที่ ๓ ให้พวก
พลกายไป พวกพลกายก็พากันให้ทานที่ประตูนั้น ทานของข้าพระองค์จึงลดไป
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้นต่อมามีพวกพราหมณคหบดีเข้าไปหาข้าพระองค์
ได้กล่าวดังนี้ว่า ‘พระองค์ก็ทรงให้ทาน พวกฝ่ายในก็ให้ทาน พวกกษัตริย์ก็ทรง
ให้ทาน พวกพลกายก็ให้ทาน แต่พวกหม่อมฉันมิได้ให้ทาน เป็นการชอบที่พวก
หม่อมฉันจะได้อาศัยใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ให้ทานและทำบุญบ้าง’ ข้าพระองค์
ได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘เราเองก็เป็นทายก เป็นทานบดี เป็นผู้กล่าวชมคุณแห่งทาน’
เมื่อมีผู้พูดว่า ‘พวกหม่อมฉันจะให้ทาน’ เราจะว่าอะไรได้’ ข้าพระองค์จึงมอบประตู
ด้านที่ ๔ ให้พวกพราหมณคหบดีไป พวกพราหมณคหบดีก็พากันให้ทานที่ประตูนั้น
ทานของข้าพระองค์จึงลดไป
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกบุรุษทั้งหลายต่างพากันไปหาข้าพระองค์ ได้กล่าว
ดังนี้ว่า ‘บัดนี้พระองค์จะไม่ทรงให้ทานในที่ไหน ๆ อีกหรือ’ เมื่อเขากล่าวอย่างนี้
ข้าพระองค์ได้กล่าวกับบุรุษเหล่านั้นดังนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น ในชนบท
ภายนอก ที่ใดมีรายได้ดีเกิดขึ้น พวกท่านจงรวบรวมส่งเข้าไปในวังกึ่งหนึ่ง อีกกึ่งหนึ่ง
พวกท่านจงให้ทานแก่สมณพราหมณ์ คนกำพร้า คนเดินทางไกล วณิพก และยาจก
ทั้งหลายในชนบทนั้นเถิด’ ข้าพระองค์จึงยังไม่ถึงที่สุดแห่งบุญที่ได้ทำไว้ตลอดกาลนาน
อย่างนี้ (ที่สุด)แห่งกุศลธรรมที่ได้ทำไว้ตลอดกาลนานอย่างนี้ว่า ‘บุญเท่านี้(พอแล้ว)’
ว่า ‘ผลของบุญเท่านี้(พอแล้ว)’ หรือว่า ‘บุญเท่านี้(พอแล้ว)ที่เราพึงดำรงอยู่ในสวรรค์’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๒. เทวปุตตสังยุต]
๓. นานติตถิยวรรค ๔. ฆฏิการสูตร

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ พระผู้มีพระภาคตรัส
เรื่องนี้ไว้ดียิ่งนักว่า
ชนเหล่าใดมีใจเลื่อมใส ให้ข้าวนั้นด้วยศรัทธา
ข้าวนั้นเองย่อมค้ำชูชนเหล่านั้นทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
เพราะเหตุนั้น บุคคลพึงกำจัดความตระหนี่
ครอบงำมลทินแล้วให้ทานเถิด
เพราะบุญเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายในโลกหน้า”

เสรีสูตรที่ ๓ จบ

๔. ฆฏิการสูตร
ว่าด้วยฆฏิการเทพบุตร

[๑๐๕] ฆฏิการเทพบุตรยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ในสำนัก
ของพระผู้มีพระภาคว่า
ภิกษุ ๗ รูป ผู้บังเกิดในพรหมโลกชั้นอวิหา
เป็นผู้หลุดพ้น สิ้นราคะและโทสะแล้ว
ข้ามพ้นตัณหาที่ซ่านไปในโลกได้
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ภิกษุเหล่านั้น คือใครบ้าง
ได้ข้ามพ้นเปือกตม คือบ่วงความตาย
ที่ใคร ๆ ข้ามได้แสนยาก
ละทิ้งกายมนุษย์แล้วก้าวล่วงโยคะอันเป็นทิพย์ได้
ฆฏิการเทพบุตรกราบทูลว่า
ภิกษุ ๓ รูปเหล่านี้ คือ ท่านอุปกะ
ท่านผลคัณฑะ และท่านปุกกุสาติ
ภิกษุอีก ๔ รูป คือ ท่านภัททิยะ ท่านขัณฑเทวะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๒. เทวปุตตสังยุต]
๓. นานติตถิยวรรค ๔. ฆฏิการสูตร

ท่านพหุทันตี และท่านสิงคิยะ
ภิกษุเหล่านั้นละทิ้งกายมนุษย์แล้ว
ก้าวล่วงโยคะอันเป็นทิพย์ได้
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า
ท่านผู้ฉลาดมักกล่าวสรรเสริญภิกษุเหล่านั้น
ผู้ละบ่วงมารได้แล้ว
ภิกษุเหล่านั้นรู้ธรรมของใครเล่า
จึงตัดเครื่องผูกคือภพได้
ฆฏิการเทพบุตรทูลตอบว่า
ท่านเหล่านั้นรู้ธรรมของผู้ใด
จึงตัดเครื่องผูกคือภพได้
ผู้นั้นมิใช่ใครอื่นนอกจากพระผู้มีพระภาค
(และ) นอกจากคำสั่งสอนของพระองค์
ท่านเหล่านั้นรู้ธรรมเป็นที่ดับไม่เหลือแห่งนามรูปแล้ว
จึงตัดเครื่องผูกคือภพได้
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า
ท่านกล่าววาจาลึกซึ้ง
ที่รู้ได้ยาก เข้าใจให้ดีได้ยาก
ท่านรู้ธรรมของใคร จึงกล่าววาจาเช่นนี้ได้
ฆฏิการเทพบุตรทูลตอบว่า
เมื่อก่อนข้าพระองค์เป็นช่างหม้อ
ปั้นหม้ออยู่ในแคว้นเวภฬิงคะ เป็นผู้เลี้ยงดูมารดาและบิดา
เป็นอุบาสกของพระกัสสปพุทธเจ้า เว้นขาดจากเมถุนธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๒. เทวปุตตสังยุต]
๓. นานติตถิยวรรค ๔. ฆฏิการสูตร

ประพฤติพรหมจรรย์ ไม่มีอามิส
ได้เคยเป็นคนหมู่บ้านเดียวกันกับพระองค์
ทั้งเคยเป็นสหายของพระองค์ในกาลก่อน
ข้าพระองค์รู้จักภิกษุ ๗ รูปเหล่านี้
ผู้หลุดพ้นแล้ว สิ้นราคะและโทสะแล้ว
ข้ามพ้นตัณหาที่ซ่านไปในโลกได้
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
นายช่างหม้อ จริงอย่างที่ท่านพูดนั่นแหละ
เมื่อก่อนนั้นท่านเคยเป็นช่างหม้อ
ปั้นหม้ออยู่ในแคว้นเวภฬิงคะ เป็นผู้เลี้ยงดูมารดาและบิดา
เป็นอุบาสกของพระกัสสปพุทธเจ้า เว้นขาดจากเมถุนธรรม
ประพฤติพรหมจรรย์ ไม่มีอามิส
ได้เคยเป็นคนหมู่บ้านเดียวกันกับเรา
ทั้งเคยเป็นสหายของเราในกาลก่อน
พระสังคีติกาจารย์กล่าวว่า
สหายเก่าทั้งสอง ผู้เคยอบรมตนมาแล้ว
เหลือไว้แต่ร่างกายในชาติสุดท้าย
ได้มาพบกันด้วยอาการอย่างนี้๑

ฆฏิการสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๒. เทวปุตตสังยุต]
๓. นานติตถิยวรรค ๕. ชันตุสูตร

๕. ชันตุสูตร
ว่าด้วยชันตุเทพบุตร

[๑๐๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง ภิกษุจำนวนมากอยู่ในกุฎีป่า ข้างภูเขาหิมพานต์ แคว้นโกศล เป็นผู้
ฟุ้งซ่าน ถือตัว โลเล ปากกล้า พูดพร่ำเพรื่อ หลงลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ
มีจิตกวัดแกว่ง ไม่สำรวมอินทรีย์
ครั้นในวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ ชันตุเทพบุตรเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นถึงที่อยู่ ได้กล่าว
กับภิกษุเหล่านั้นด้วยคาถาทั้งหลายว่า
ในกาลก่อน พวกภิกษุสาวกของพระโคดม
เป็นอยู่เรียบง่าย ไม่มักมากการแสวงหาบิณฑบาต
ไม่มักมากที่นอนที่นั่ง
ท่านรู้ว่าสิ่งทั้งปวงในโลกเป็นของไม่เที่ยง
จึงกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
ส่วนท่านเหล่านี้ ทำตนเป็นคนเลี้ยงยาก
กิน ๆ แล้วก็นอนเหมือนคนที่โกงชาวบ้าน
หมกมุ่นอยู่ในเรือนของคนอื่น
ข้าพเจ้าทำอัญชลีต่อสงฆ์แล้ว
ขอพูดกับท่านบางพวกในที่นี้ว่า
พวกท่านถูกเขาทอดทิ้งแล้ว เป็นคนอนาถาเหมือนเปรต
ข้าพเจ้ากล่าวหมายเอาบุคคลพวกที่ประมาทอยู่
ส่วนท่านเหล่าใดไม่ประมาท
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมท่านเหล่านั้น๑

ชันตุสูตรที่ ๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๒. เทวปุตตสังยุต]
๓. นานติตถิยวรรค ๖. โรหิตัสสสูตร

๖. โรหิตัสสสูตร
ว่าด้วยโรหิตัสสเทพบุตร

[๑๐๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
โรหิตัสสเทพบุตรยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์สามารถหรือหนอที่จะทรงรู้ ทรงเห็น หรือทรง
ถึงที่สุดแห่งโลกที่สัตว์ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติด้วยการไป”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “เทพบุตร เราไม่กล่าวที่สุดแห่งโลกที่สัตว์ไม่เกิด
ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติว่า ‘พึงรู้ พึงเห็น พึงถึงได้’ ด้วยการไป”
โรหิตัสสเทพบุตรกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคย
ปรากฏ พระผู้มีพระภาคตรัสเรื่องนี้ไว้ดียิ่งนักว่า เทพบุตร เราไม่กล่าวที่สุด
แห่งโลกที่สัตว์ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติว่า ‘พึงรู้ พึงเห็น พึงถึงได้’
ด้วยการไป
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องเคยมีแล้ว ข้าพระองค์เป็นฤาษีชื่อโรหิตัสสะ
เป็นบุตรของผู้ใหญ่บ้านเปรียบได้กับนายขมังธนู มีฤทธิ์ เหาะได้ ความเร็วของ
ข้าพระองค์นั้นเปรียบได้กับนายขมังธนู ผู้ยิงธนูแม่นยำ ศึกษามาดีแล้ว ผู้เชี่ยวชาญ
ช่ำชอง ฝึกซ้อมมาดี พึงยิงลูกศรเบาให้ผ่านเงาตาลด้านขวางไปได้โดยไม่ยาก ฉะนั้น
การย่างเท้าแต่ละก้าวของข้าพระองค์เปรียบได้กับระยะทางจากทะเลด้านตะวันออก
ถึงทะเลด้านตะวันตก ฉะนั้น ความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘เราจักถึงที่สุดแห่งโลก
ด้วยการไป’ เกิดแก่ข้าพระองค์นั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นั้นเพียบพร้อม
ด้วยความเร็วและการย่างเท้าอย่างนี้ เว้นจากการกิน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม
การถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ การหลับ และการบรรเทาความเหน็ดเหนื่อย มีอายุ
๑๐๐ ปี ดำรงชีพอยู่ได้ตั้ง ๑๐๐ ปี ดำเนินไปได้ตั้ง ๑๐๐ ปี ยังไม่ถึงที่สุดแห่งโลก
ก็ตายเสียก่อนในระหว่างทาง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๒. เทวปุตตสังยุต]
๓. นานติตถิยวรรค ๖. โรหิตัสสสูตร

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ พระผู้มีพระภาคตรัส
เรื่องนี้ไว้ดียิ่งนักว่า เทพบุตร เราไม่กล่าวที่สุดแห่งโลกที่สัตว์ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย
ไม่จุติ ไม่อุบัติว่า ‘พึงรู้ พึงเห็น พึงถึงได้’ ด้วยการไป”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เทพบุตร เราไม่กล่าวที่สุดแห่งโลกที่สัตว์ไม่เกิด
ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติว่า ‘พึงรู้ พึงเห็น พึงถึงได้’ ด้วยการไป เราไม่
กล่าวว่า การที่บุคคลยังไม่ถึงที่สุดแห่งโลกจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
อนึ่ง เราบัญญัติโลก๑ ความเกิดแห่งโลก๒ ความดับแห่งโลก๓ และข้อปฏิบัติ
ที่ให้ถึงความดับแห่งโลก๔ ในร่างกายที่มีประมาณวาหนึ่ง มีสัญญา มีใจนี้เอง
ไม่ว่าเวลาไหน ที่สุดแห่งโลก
ใครก็ถึงไม่ได้ด้วยการไป
และเมื่อยังไม่ถึงที่สุดแห่งโลก
ย่อมไม่มีการเปลื้องตนจากทุกข์
เพราะเหตุนั้นแล ผู้รู้แจ้งโลก มีปัญญาดี
ถึงที่สุดแห่งโลก อยู่จบพรหมจรรย์
สงบระงับ รู้ที่สุดแห่งโลก
ย่อมไม่หวังทั้งโลกนี้และโลกหน้า๕”

โรหิตัสสสูตรที่ ๖ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๒. เทวปุตตสังยุต]
๓. นานติตถิยวรรค ๘. นันทิวิสาลสูตร

๗. นันทสูตร
ว่าด้วยนันทเทพบุตร

[๑๐๘] นันทเทพบุตรยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของ
พระผู้มีพระภาคว่า
กาลล่วงเลยไป คืนผ่านพ้นไป
ช่วงแห่งวัยละไปตามลำดับ
บุคคลพิจารณาเห็นภัยนี้ในมรณะ
ควรทำบุญที่นำความสุขมาให้
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
กาลล่วงเลยไป คืนผ่านพ้นไป
ช่วงแห่งวัยละไปตามลำดับ
บุคคลพิจารณาเห็นภัยนี้ในมรณะ
ควรละโลกามิส มุ่งสู่สันติเถิด๑

นันทสูตรที่ ๗ จบ

๘. นันทิวิสาลสูตร
ว่าด้วยนันทิวิสาลเทพบุตร

[๑๐๙] นันทิวิสาลเทพบุตรยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคด้วยคาถาว่า
ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า สรีรยนต์ ๔ ล้อ๒
มีประตู ๙ ประตู เต็มไปด้วยของไม่สะอาด


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๒. เทวปุตตสังยุต]
๓. นานติตถิยวรรค ๙. สุสิมสูตร

ถูกโลภะประกอบไว้ เป็นเหมือนเปือกตม
สรีรยนต์นั้นจักแล่นไปได้อย่างไร๑
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
เพราะตัดชะเนาะ เชือกหนัง
ตัดความปรารถนาและความโลภอันเลวทราม
และเพราะถอนตัณหาพร้อมทั้งรากได้
สรีรยนต์นั้นจักแล่นไปได้อย่างนี้๒

นันทิวิสาลสูตรที่ ๘ จบ

๙. สุสิมสูตร
ว่าด้วยสุสิมเทพบุตร

[๑๑๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “อานนท์
เธอชอบสารีบุตรหรือไม่”
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใครเล่าที่ไม่ใช่คนพาล
ไม่ใช่คนมุทะลุ ไม่ใช่คนงมงาย ไม่ใช่คนมีจิตวิปลาส จะไม่ชอบท่านพระสารีบุตร
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระสารีบุตร เป็นบัณฑิต มีปัญญามาก มีปัญญา
หนาแน่น มีปัญญาร่าเริง มีปัญญาแล่นไป มีปัญญาเฉียบแหลม มีปัญญาชำแรก
กิเลส มักน้อย สันโดษ เป็นผู้สงัด ไม่คลุกคลี ปรารภความเพียร เข้าใจพูด
อดทนต่อถ้อยคำ เป็นผู้ทักท้วง ตำหนิคนทำชั่ว ใครเล่าที่ไม่ใช่คนพาล ไม่ใช่คน
มุทะลุ ไม่ใช่คนงมงาย ไม่ใช่คนมีจิตวิปลาส จะไม่ชอบท่านพระสารีบุตร”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๒. เทวปุตตสังยุต]
๓. นานติตถิยวรรค ๙. สุสิมสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ ข้อนี้เป็นอย่างนั้น อานนท์ ข้อนี้เป็น
อย่างนั้น ใครเล่าที่ไม่ใช่คนพาล ไม่ใช่คนมุทะลุ ไม่ใช่คนงมงาย ไม่ใช่คนมีจิตวิปลาส
จะไม่ชอบสารีบุตร อานนท์ สารีบุตรเป็นบัณฑิต มีปัญญามาก มีปัญญาหนาแน่น
มีปัญญาร่าเริง มีปัญญาแล่นไป มีปัญญาเฉียบแหลม มีปัญญาชำแรกกิเลส มักน้อย
สันโดษ เป็นผู้สงัด ไม่คลุกคลี ปรารภความเพียร เข้าใจพูด อดทนต่อถ้อยคำ
เป็นผู้ทักท้วง ตำหนิคนทำชั่ว ใครเล่าที่ไม่ใช่คนพาล ไม่ใช่คนมุทะลุ ไม่ใช่คนงมงาย
ไม่ใช่คนมีจิตวิปลาส จะไม่ชอบสารีบุตร”
ครั้งนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคและท่านพระอานนท์ กำลังกล่าวสรรเสริญคุณ
ของท่านพระสารีบุตรอยู่ สุสิมเทพบุตรผู้มีเทพบุตรบริษัทจำนวนมากแวดล้อมแล้ว
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้ว
ได้กราบทูลดังนี้ว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคตเจ้า
ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ใครเล่าที่ไม่ใช่คนพาล ไม่ใช่คนมุทะลุ ไม่ใช่คนงมงาย ไม่ใช่คน
มีจิตวิปลาส จะไม่ชอบท่านพระสารีบุตร ท่านพระสารีบุตรเป็นบัณฑิต ฯลฯ ตำหนิ
คนทำชั่ว ใครเล่าที่ไม่ใช่คนพาล ไม่ใช่คนมุทะลุ ไม่ใช่คนงมงาย ไม่ใช่คนมีจิตวิปลาส
จะไม่ชอบท่านพระสารีบุตร
เพราะว่าข้าพระองค์เข้าไปหาเทพบุตรบริษัทใดๆ ก็ได้ยินเสียง(พูด)อย่างหนาหู
ว่า “ท่านพระสารีบุตรเป็นบัณฑิต มีปัญญามาก มีปัญญาหนาแน่น มีปัญญาร่าเริง
มีปัญญาแล่นไป มีปัญญาเฉียบแหลม มีปัญญาชำแรกกิเลส มักน้อย สันโดษ เป็นผู้
สงัด ไม่คลุกคลี ปรารภความเพียร เข้าใจพูด อดทนต่อถ้อยคำ เป็นผู้ทักท้วง
ตำหนิคนทำชั่ว ใครเล่าที่ไม่ใช่คนพาล ไม่ใช่คนมุทะลุ ไม่ใช่คนงมงาย ไม่ใช่คนมี
จิตวิปลาส จะไม่ชอบท่านพระสารีบุตร”
ครั้งนั้น เทพบุตรบริษัทของสุสิมเทพบุตร เมื่อสุสิมเทพบุตรกำลังกล่าว
สรรเสริญคุณของท่านพระสารีบุตรอยู่ ต่างปลื้มปีติเบิกบานใจ เกิดปีติโสมนัส
มีรัศมีวรรณะเปล่งปลั่งปรากฏอยู่ ดุจแก้วมณีและแก้วไพฑูรย์อันงดงามตามธรรมชาติ
ถูกนายช่างเจียระไนดีแล้ว แปดเหลี่ยม วางไว้บนผ้ากัมพลสีเหลือง ส่องแสง
แพรวพราวสุกสกาวอยู่ ฉะนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๒. เทวปุตตสังยุต]
๓. นานติตถิยวรรค ๙. สุสิมสูตร

เทพบุตรบริษัทของสุสิมเทพบุตร เมื่อสุสิมเทพบุตรกำลังกล่าวสรรเสริญคุณ
ของท่านพระสารีบุตรอยู่ ต่างปลื้มปีติเบิกบานใจ เกิดปีติโสมนัส มีรัศมีวรรณะ
เปล่งปลั่งปรากฏอยู่ ดุจทองแท่งชมพูนุท๑เป็นของที่บุตรนายช่างทองผู้ขยันใส่เบ้า
หลอมไล่มลทิน จนสิ้นราคีแล้ว วางไว้บนผ้ากัมพลสีเหลือง ส่องแสงแพรวพราว
สุกสกาวอยู่ ฉะนั้น
เทพบุตรบริษัทของสุสิมเทพบุตร ฯลฯ มีรัศมีวรรณะเปล่งปลั่งปรากฏอยู่
ดุจดาวศุกร์ เมื่ออากาศปลอดโปร่งปราศจากหมู่เมฆในฤดูสารทกาล ส่องแสง
แพรวพราวสุกสกาวอยู่ในเวลาใกล้รุ่ง ฉะนั้น
เทพบุตรบริษัทของสุสิมเทพบุตร เมื่อสุสิมเทพบุตรกำลังกล่าวสรรเสริญคุณ
ของท่านพระสารีบุตรอยู่ ต่างปลื้มปีติเบิกบานใจ เกิดปีติโสมนัส มีรัศมีวรรณะ
เปล่งปลั่งปรากฏอยู่ ดุจดวงอาทิตย์ เมื่ออากาศปลอดโปร่งปราศจากหมู่เมฆในฤดู
สารทกาล พวยพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้า ขจัดความมืดที่มีอยู่ในอากาศทั้งปวง ส่องแสง
แพรวพราวสุกสกาวอยู่ ฉะนั้น
ครั้งนั้น สุสิมเทพบุตรได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาค ปรารภ
ท่านพระสารีบุตรว่า
ท่านพระสารีบุตร ใคร ๆ ก็รู้จักดีว่าเป็นบัณฑิต
ไม่ใช่คนมักโกรธ มีความมักน้อย สงบเสงี่ยม
ฝึกแล้ว มีคุณงามความดี อันพระศาสดาทรงสรรเสริญ
เป็นผู้แสวงหาคุณอันยิ่ง
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสคาถาตอบสุสิมเทพบุตร ปรารภท่านพระสารีบุตรว่า
สารีบุตร ใคร ๆ ก็รู้จักดีว่าเป็นบัณฑิต
ไม่ใช่คนมักโกรธ มีความมักน้อย สงบเสงี่ยม
ฝึกฝนอบรมดีแล้ว รอเวลาอยู่๒

สุสิมสูตรที่ ๙ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๒. เทวปุตตสังยุต]
๓. นานติตถิยวรรค ๑๐. นานาติตถิยสาวกสูตร

๑๐. นานาติตถิยสาวกสูตร
ว่าด้วยเทพบุตรผู้เป็นสาวกของเดียรถีย์ต่าง ๆ

[๑๑๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อ
กระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้นเมื่อราตรีผ่านไป พวกเทพบุตรผู้เป็นสาวกของ
เดียรถีย์ต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก คือ อสมเทพบุตร สหลีเทพบุตร นิกเทพบุตร
อาโกฏกเทพบุตร เวฏัมพรีเทพบุตร มาณวคามิยเทพบุตร มีวรรณะงดงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วพระเวฬุวัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับถวายอภิวาท
แล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร
อสมเทพบุตรยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มี
พระภาค ปรารภปูรณะ กัสสปะว่า
ท่านปูรณะ กัสสปะมองไม่เห็นบาปหรือบุญของตน
ในเพราะการตัด การฆ่า การโบย การเสื่อมทรัพย์
ท่านจึงบอกให้เบาใจเสีย
สมควรที่จะยกย่องท่านว่าเป็นศาสดาในโลกนี้
ลำดับนั้น สหลีเทพบุตรได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาค ปรารภ
มักขลิ โคศาลต่อไปว่า
ท่านมักขลิ โคศาล สำรวมตนดีแล้ว
ด้วยการกีดกันบาปด้วยตบะ
ละวาจาที่ก่อให้เกิดการทะเลาะวิวาทกัน
เป็นผู้สม่ำเสมอ งดเว้นจากสิ่งที่มีโทษ
พูดจริง เป็นผู้คงที่ ไม่ทำบาปแน่นอน
ลำดับนั้น นิกเทพบุตรได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาค ปรารภ
นิครนถ์ นาฏบุตรต่อไปว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๒. เทวปุตตสังยุต]
๓. นานติตถิยวรรค ๑๐. นานาติตถิยสาวกสูตร

ท่านนิครนถ์ นาฏบุตร เป็นผู้กีดกันบาป
มีปัญญาเครื่องบริหาร เห็นภัยในสังสารวัฏ
เป็นผู้ระมัดระวังทั้ง ๔ ยาม๑
เปิดเผยสิ่งที่ตนเห็นแล้วและฟังแล้ว
เป็นผู้ไม่หยาบช้าแน่นอน
ลำดับนั้น อาโกฏกเทพบุตรได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาค
ปรารภพวกเดียรถีย์ต่าง ๆ ต่อไปอีกว่า
ท่านปกุธะ กัจจายนะ ท่านนิครนถ์ นาฏบุตร
ท่านมักขลิ โคศาล และท่านปูรณะ กัสสปะเหล่านี้
ล้วนแต่เป็นครูของหมู่คณะ บรรลุความเป็นสมณะ๒
ท่านเหล่านั้นเป็นผู้ไม่ไกลจากสัตบุรุษแน่นอน
ลำดับนั้น เวฏัมพรีเทพบุตรได้กล่าวตอบอาโกฏกเทพบุตรด้วยคาถาว่า
ในกาลไหน ๆ สุนัขจิ้งจอกสัตว์เล็ก ๆ ชั้นเลว
จะแสดงจริตกริยาให้เสมอราชสีห์ไม่ได้เลย
ครูของหมู่คณะเป็นคนเปลือย มักพูดคำเท็จ
มีพฤติกรรมน่าระแวงสงสัย จะเทียบกับสัตบุรุษไม่ได้เลย
ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเข้าสิงเวฏัมพรีเทพบุตรแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ในสำนัก
ของพระผู้มีพระภาคว่า
สัตว์เหล่าใดประกอบด้วยการกีดกันบาปด้วยตบะ
รักษาความสงบสงัด ติดอยู่ในรูป เพลิดเพลินในเทวโลก
สัตว์เหล่านั้น ชื่อว่าสั่งสอนโดยชอบเพื่อปรโลกโดยแท้


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๒. เทวปุตตสังยุต]
๓. นานติตถิยวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า “นี้คือมารผู้มีบาป” จึงได้ตรัสตอบ
มารผู้มีบาปด้วยคาถาว่า
รูปใด ๆ จะอยู่ในโลกนี้หรือโลกหน้า
และแม้จะอยู่ในอากาศ มีรัศมีรุ่งเรืองก็ตามที
นมุจิมาร รูปทั้งหมดนั้นท่านก็สรรเสริญแล้ววางดักไว้
เหมือนบุคคลใช้เหยื่อล่อฆ่าปลา ฉะนั้น
ลำดับนั้น มาณวคามิยเทพบุตรได้กล่าวคาถาเหล่านี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาค
ปรารภพระผู้มีพระภาคว่า
คนพูดกันว่า บรรดาภูเขาในกรุงราชคฤห์
ภูเขาวิปุละเยี่ยมที่สุด
บรรดาภูเขาที่ตั้งอยู่ในป่าหิมพานต์ ภูเขาเสตบรรพตเยี่ยมที่สุด
บรรดาสิ่งที่ลอยอยู่ในอากาศ ดวงอาทิตย์เยี่ยมที่สุด
บรรดาห้วงน้ำทั้งหลาย สมุทรเยี่ยมที่สุด
บรรดาดวงดาวทั้งหลาย ดวงจันทร์เยี่ยมที่สุด
บัณฑิตกล่าวว่า พระพุทธเจ้าเลิศกว่ามนุษย์และเทวดา

นานาติตถิยสาวกสูตรที่ ๑๐ จบ
นานาติตถิยวรรคที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สิวสูตร ๒. เขมสูตร
๓. เสรีสูตร ๔. ฆฏิการสูตร
๕. ชันตุสูตร ๖. โรหิตัสสสูตร
๗. นันทสูตร ๘. นันทิวิสาลสูตร
๙. สุสิมสูตร ๑๐. นานาติตถิยสาวกสูตร

เทวปุตตสังยุต จบบริบูรณ์


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต] ๑. ปฐมวรรค ๑. ทหรสูตร

๓. โกสลสังยุต
๑. ปฐมวรรค
หมวดที่ ๑
๑. ทหรสูตร
ว่าด้วยสิ่งเล็กน้อย

[๑๑๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลได้เสด็จเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ทรงสนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่
ระลึกถึงกันแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่สมควรได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระโคดม
ผู้เจริญทรงยืนยันหรือไม่ว่าเป็นผู้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “มหาบพิตร ก็บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้องก็
พึงกล่าวว่า ‘พระตถาคตได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว’ เพราะว่าอาตม-
ภาพได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว”
พระเจ้าปเสนทิโกศลทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
แม้สมณพราหมณ์บางพวก เป็นเจ้าหมู่ เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ เป็นผู้มีชื่อเสียง
มีเกียรติยศ เป็นเจ้าลัทธิ คนจำนวนมากยกย่องว่าเป็นคนดี คือ ท่านปูรณะ กัสสปะ
ท่านมักขลิ โคศาล ท่านนิครนถ์ นาฏบุตร ท่านสัญชัย เวลัฏฐบุตร ท่านปกุธะ
กัจจายนะ ท่านอชิตะ เกสกัมพล สมณพราหมณ์เหล่านั้นเมื่อถูกข้าพระองค์ถามว่า
‘ท่านทั้งหลายยืนยันตนหรือว่า ‘เป็นผู้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ’ ก็ไม่ยืนยัน
ว่า ‘เป็นผู้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ’ ส่วนพระโคดมผู้เจริญยังทรงเป็นหนุ่ม
โดยพระชาติและยังทรงเป็นผู้ใหม่โดยบรรพชา ทำไมจึงกล้ายืนยันตนเล่า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “มหาบพิตร สิ่ง ๔ อย่างนี้ ไม่ควรดูถูกดูหมิ่น
ว่าเล็กน้อย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต] ๑. ปฐมวรรค ๑. ทหรสูตร

สิ่ง ๔ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. กษัตริย์ ไม่ควรดูถูกดูหมิ่น ว่ายังทรงพระเยาว์
๒. งู ไม่ควรดูถูกดูหมิ่น ว่าตัวเล็ก
๓. ไฟ ไม่ควรดูถูกดูหมิ่น ว่าเล็กน้อย
๔. ภิกษุ ไม่ควรดูถูกดูหมิ่น ว่ายังหนุ่ม
สิ่ง ๔ อย่างนี้แล ไม่ควรดูถูกดูหมิ่น ว่าเล็กน้อย
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา-
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
นรชนไม่ควรดูถูกดูหมิ่นกษัตริย์ผู้ถึงพร้อมด้วยชาติตระกูล
ผู้เป็นอภิชาติ๑ ผู้มียศ ว่ายังทรงพระเยาว์
เพราะพระองค์ได้เสวยราชสมบัติแล้ว
เป็นกษัตริย์จอมมนุษย์ ทรงพิโรธแล้ว
จะลงพระราชอาชญาอย่างหนักแก่เขาได้
ฉะนั้นบุคคลเมื่อจะรักษาชีวิตของตน
พึงหลีกเลี่ยงการดูถูกดูหมิ่นกษัตริย์นั้น
นรชนเห็นงูที่บ้านหรือที่ป่าก็ตาม
ไม่ควรดูถูกดูหมิ่น ว่าตัวเล็ก
เพราะงูเป็นสัตว์มีพิษไม่ว่าจะมีวรรณะสูงและต่ำ๒
งูนั้นพึงฉกกัดชายหญิงผู้เขลาในกาลบางคราว
ฉะนั้นบุคคลเมื่อจะรักษาชีวิตของตน
พึงหลีกเลี่ยงการดูถูกดูหมิ่นงูนั้น


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต] ๑. ปฐมวรรค ๑. ทหรสูตร

นรชนไม่ควรดูถูกดูหมิ่นไฟที่กินเชื้อมาก
ลุกเป็นเปลว ไหม้ดำเป็นทาง ว่าเล็กน้อย
เพราะไฟนั้นได้เชื้อแล้วก็กลายเป็นกองไฟใหญ่
พึงลามไหม้ชายหญิงผู้เขลาในกาลบางคราว
ฉะนั้นบุคคลเมื่อจะรักษาชีวิตของตน
พึงหลีกเลี่ยงการดูถูกดูหมิ่นไฟนั้น
อนึ่ง ป่าใดที่ถูกไฟไหม้จนดำแล้ว
เมื่อวันคืนล่วงไปๆ พันธุ์หญ้าหรือต้นไม้ยังงอกขึ้นที่ป่านั้นได้
ส่วนผู้ใดถูกเดชภิกษุผู้มีศีลแผดเผา
บุตรธิดาและปศุสัตว์ของผู้นั้นย่อมพินาศ
ทายาทของเขาก็ย่อมไม่ได้รับทรัพย์มรดก
เขาเป็นผู้ไม่มีเครือญาติ ไม่มีทายาท
ย่อมเป็นเหมือนตาลยอดด้วน
เพราะฉะนั้น บุคคลผู้เป็นบัณฑิต
เมื่อพิจารณาเห็นกษัตริย์ผู้มียศ งู ไฟ
และภิกษุผู้มีศีลว่าเป็นประโยชน์แก่ตน
พึงประพฤติโดยชอบทีเดียว
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พระเจ้าปเสนทิโกศลได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระโคดมผู้เจริญ
ทรงประกาศธรรมโดยปริยายเป็นอันมาก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ
เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยตั้งใจว่า ‘คนมี
ตาดีจักเห็นรูปได้’ ฉะนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค
พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่า
เป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”

ทหรสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต] ๑. ปฐมวรรค ๒. ปุริสสูตร

๒. ปุริสสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ไม่เกิดประโยชน์แก่บุรุษ

[๑๑๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมเหล่าไหนเมื่อเกิดขึ้นภายใน(จิต)ของบุรุษ ย่อมเกิดขึ้น
เพื่อไม่เป็นประโยชน์ เพื่อความทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่ผาสุก”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “มหาบพิตร ธรรม ๓ ประการ เมื่อเกิดขึ้น
ภายใน(จิต)ของบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อไม่เป็นประโยชน์ เพื่อความทุกข์ เพื่อความ
อยู่ไม่ผาสุก
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. โลภธรรม (ธรรมคือโลภะ) เมื่อเกิดขึ้นภายใน(จิต)ของบุรุษ ย่อม
เกิดขึ้นเพื่อไม่เป็นประโยชน์ เพื่อความทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่ผาสุก
๒. โทสธรรม (ธรรมคือโทสะ) เมื่อเกิดขึ้นภายใน(จิต)ของบุรุษ ย่อม
เกิดขึ้นเพื่อไม่เป็นประโยชน์ เพื่อความทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่ผาสุก
๓. โมหธรรม (ธรรมคือโมหะ) เมื่อเกิดขึ้นภายใน(จิต)ของบุรุษ ย่อม
เกิดขึ้นเพื่อไม่เป็นประโยชน์ เพื่อความทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่ผาสุก
ธรรม ๓ ประการนี้แล เมื่อเกิดขึ้นภายใน(จิต)ของบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อไม่เป็น
ประโยชน์ เพื่อความทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่ผาสุก”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ฯลฯ จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
โลภะ โทสะ และโมหะเกิดขึ้นภายในตน
ย่อมทำร้ายบุรุษผู้มีจิตเลวทราม
เหมือนขุยไผ่กำจัดต้นไผ่ ฉะนั้น๑

ปุริสสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๓. ชรามรณสูตร

๓. ชรามรณสูตร
ว่าด้วยชราและมรณะ

[๑๑๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระเจ้าปเสนทิโกศลประทับนั่ง ณ ที่สมควรแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คนเกิดมาแล้วที่พ้นจากชราและมรณะมีบ้างหรือไม่”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “มหาบพิตร คนเกิดมาแล้วที่จะพ้นจากชราและ
มรณะไม่มีเลย แม้ขัตติยมหาศาลซึ่งเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทอง
และเงินมากมาย มีทรัพย์เครื่องปลื้มใจมากมาย มีทรัพย์และธัญชาติมากมาย
ก็ไม่พ้นจากชราและมรณะ
แม้พราหมณมหาศาล ฯลฯ
แม้คหบดีมหาศาลซึ่งเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทองและเงิน
มากมาย มีทรัพย์เครื่องปลื้มใจมากมาย มีทรัพย์และธัญชาติมากมาย ก็ไม่พ้น
จากชราและมรณะ
แม้ภิกษุทุกรูปซึ่งเป็นพระอรหันต์ สิ้นอาสวะแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่
ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์
แล้ว หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ ร่างกายนี้แม้ของพระอรหันต์เหล่านั้น ก็เป็นสภาพ
แตกดับต้องทอดทิ้งเป็นธรรมดา”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ฯลฯ จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
ราชรถอันวิจิตรย่อมชำรุด
แม้สรีระก็ย่อมเข้าถึงชรา
แต่ว่าธรรมของสัตบุรุษหาเข้าถึงชราไม่
สัตบุรุษกับสัตบุรุษเท่านั้นจึงรู้กันได้

ชรามรณสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต] ๑. ปฐมวรรค ๔. ปิยสูตร

๔. ปิยสูตร
ว่าด้วยผู้รักตน

[๑๑๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระเจ้าปเสนทิโกศลประทับนั่ง ณ ที่สมควรแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วันนี้ข้าพระองค์หลีกเร้นอยู่ในที่สงัด เกิดความ
คิดคำนึงอย่างนี้ว่า ‘ชนเหล่าไหนหนอชื่อว่ารักตน ชนเหล่าไหนชื่อว่าไม่รักตน’
ข้าพระองค์ได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘ก็ชนเหล่าใดประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่รักตน แม้ชนเหล่านั้นจะกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เรารักตน’ ก็ตาม
ชนเหล่านั้นก็ชื่อว่าไม่รักตน’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะชนผู้ไม่รักกันทำความเสียหายใดให้แก่ผู้ไม่รักกันได้ ชนเหล่านั้นก็ทำ
ความเสียหายนั้นให้แก่ตนเองได้ ฉะนั้นชนเหล่านั้นจึงชื่อว่าไม่รักตน ส่วนชนเหล่าใด
ประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ชนเหล่านั้นชื่อว่ารักตน แม้ชนเหล่านั้น
จะกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เราไม่รักตน’ ก็ตาม ชนเหล่านั้นก็ชื่อว่ารักตน
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะชนผู้ที่รักกันทำความเจริญใดให้แก่ผู้ที่รักกันได้ ชนเหล่านั้นก็ทำความ
เจริญนั้นให้แก่ตนเองได้ ฉะนั้นชนเหล่านั้นจึงชื่อว่ารักตน”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มหาบพิตร ข้อนี้เป็นอย่างนั้น มหาบพิตร ข้อนี้
เป็นอย่างนั้น เพราะว่าชนบางพวกประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่รักตน แม้ชนเหล่านั้นจะกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เรารักตน’ ก็ตาม
ชนเหล่านั้นก็ชื่อว่าไม่รักตน
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะชนผู้ไม่รักกันทำความเสียหายใดให้แก่ผู้ไม่รักกันได้ ชนเหล่านั้นก็ทำ
ความเสียหายนั้นให้แก่ตนเองได้ ฉะนั้นชนเหล่านั้นจึงชื่อว่าไม่รักตน ส่วนชนบางพวก
ประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ชนเหล่านั้นชื่อว่ารักตน แม้ชนเหล่านั้นจะกล่าว
อย่างนี้ว่า ‘เราไม่รักตน’ ก็ตาม ชนเหล่านั้นก็ชื่อว่ารักตน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต] ๑. ปฐมวรรค ๔. ปิยสูตร

ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะชนผู้รักกันทำความเจริญใดให้แก่ผู้ที่ตนรักได้ ชนเหล่านั้นก็ทำความ
เจริญนั้นแก่ตนเองได้ ฉะนั้นชนเหล่านั้นจึงชื่อว่ารักตน”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ฯลฯ จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
ถ้าบุคคลรู้ว่ารักตน ก็ไม่พึงชักนำตนไปในทางชั่ว
เพราะความสุขนั้นบุคคลผู้มักทำชั่วจะไม่ได้โดยง่าย
เมื่อบุคคลถูกความตายครอบงำ
ก็จะต้องละทิ้งภพมนุษย์ไป
ก็อะไรเล่าเป็นสมบัติของเขา
และเขาจะนำอะไรไปได้
อนึ่ง อะไรเล่าจะติดตามเขาไป
ดุจเงาติดตามตัวไป ฉะนั้น
สัตว์ผู้จะต้องตายในโลกนี้
ทำกรรมอันใด คือบุญและบาปทั้ง ๒ ประการ
บุญและบาปนั้นแลเป็นสมบัติของเขา
ทั้งเขาจะนำเอาบุญและบาปนั้นไปได้
อนึ่ง บุญและบาปนั้นย่อมติดตามเขาไป
ดุจเงาติดตามตัวไป ฉะนั้น
เพราะฉะนั้น บุคคลควรทำกรรมดี
สะสมไว้เป็นสมบัติในโลกหน้า
เพราะบุญเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายในโลกหน้า

ปิยสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๕. อัตตรักขิตสูตร

๕. อัตตรักขิตสูตร
ว่าด้วยผู้รักษาตน

[๑๑๖] พระเจ้าปเสนทิโกศลประทับนั่ง ณ ที่สมควรแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์หลีกเร้นอยู่ในที่สงัด เกิดความ
คิดคำนึงอย่างนี้ว่า ‘ชนเหล่าไหนหนอชื่อว่ารักษาตน ชนเหล่าไหนชื่อว่าไม่รักษาตน’
ข้าพระองค์ได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘ก็ชนบางพวกประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่รักษาตน’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะการรักษาเช่นนั้นเป็นการรักษาภายนอก มิใช่เป็นการรักษาภายใน ฉะนั้น
ชนเหล่านั้นจึงชื่อว่าไม่รักษาตน ส่วนชนบางพวกประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต
มโนสุจริต ชนเหล่านั้นชื่อว่ารักษาตน แม้ว่าพลช้าง พลม้า พลรถหรือพลเดินเท้า
ไม่รักษาเขาก็ตาม ชนเหล่านั้นก็ชื่อว่ารักษาตน
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะการรักษาเช่นนั้นเป็นการรักษาภายใน มิใช่เป็นการรักษาภายนอก ฉะนั้น
ชนเหล่านั้นจึงชื่อว่ารักษาตน”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มหาบพิตร ข้อนี้เป็นอย่างนั้น มหาบพิตร ข้อนี้
เป็นอย่างนั้น ก็ชนบางพวกประพฤติกายทุจริต ฯลฯ ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่รักษาตน
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะการรักษาเช่นนั้นเป็นการรักษาภายนอก มิใช่เป็นการรักษาภายใน ฉะนั้น
ชนเหล่านั้นจึงชื่อว่าไม่รักษาตน ส่วนชนบางพวกประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต
มโนสุจริต ชนเหล่านั้นชื่อว่ารักษาตน แม้ว่าพลช้าง พลม้า พลรถ หรือพลเดินเท้า
ไม่รักษาเขาก็ตาม ชนเหล่านั้นก็ชื่อว่ารักษาตน
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะการรักษาเช่นนั้นเป็นการรักษาภายใน มิใช่เป็นการรักษาภายนอก ฉะนั้น
ชนเหล่านั้นจึงชื่อว่ารักษาตน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต] ๑. ปฐมวรรค ๖. อัปปกสูตร

พระผู้มีพระภาค ฯลฯ จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
การสำรวมกายเป็นการดี
การสำรวมวาจาเป็นการดี
การสำรวมใจเป็นการดี
การสำรวมในที่ทั้งปวงเป็นการดี
บุคคลสำรวมในที่ทั้งปวงแล้วมีความละอายต่อบาป
เรากล่าวว่ารักษาตน

อัตตรักขิตสูตรที่ ๕ จบ

๖. อัปปกสูตร
ว่าด้วยสัตว์มีจำนวนน้อย

[๑๑๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระเจ้าปเสนทิโกศลประทับนั่ง ณ ที่สมควรแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์หลีกเร้นอยู่ในที่สงัด เกิดความคิดคำนึง
อย่างนี้ว่า ‘สัตว์เหล่าใดได้โภคะมากมายแล้ว ไม่มัวเมา ไม่ประมาท ไม่ติดอยู่ในกาม
และไม่ประพฤติผิดในสัตว์ทั้งหลาย สัตว์เหล่านั้นมีจำนวนน้อยในโลก ส่วนสัตว์
เหล่าใดได้โภคะมากมายแล้ว มัวเมา ประมาท ติดอยู่ในกามและประพฤติผิด
ในสัตว์ทั้งหลาย สัตว์เหล่านั้นมีจำนวนมากในโลก”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มหาบพิตร ข้อนี้เป็นอย่างนั้น มหาบพิตร ข้อนี้
เป็นอย่างนั้น สัตว์เหล่าใดได้โภคะมากมายแล้ว ไม่มัวเมา ไม่ประมาท ไม่ติดอยู่
ในกามและไม่ประพฤติผิดในสัตว์ทั้งหลาย สัตว์เหล่านั้นมีจำนวนน้อยในโลก
ส่วนสัตว์เหล่าใดได้โภคะมากมายแล้ว มัวเมา ประมาท ติดอยู่ในกามและประพฤติ
ผิดในสัตว์ทั้งหลาย สัตว์เหล่านั้นมีจำนวนมากในโลก”
พระผู้มีพระภาค ฯลฯ จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้กำหนัดกล้าในโภคะที่น่าใคร่
มักมาก หมกมุ่นในกาม ไม่รู้สึกตัวว่าละเมิด
เหมือนพวกเนื้อไม่รู้สึกตัวว่ามีบ่วงที่เขาดักไว้
ผลเผ็ดร้อนย่อมมีแก่สัตว์พวกนั้นในภายหลัง
เพราะกรรมนั้นมีวิบากเลวทราม

อัปปกสูตรที่ ๖ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๗. อัตถกรณสูตร

๗. อัตถกรณสูตร
ว่าด้วยการกระทำสิ่งที่เป็นประโยชน์

[๑๑๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระเจ้าปเสนทิโกศลประทับนั่ง ณ ที่สมควรแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้นั่งพิจารณาคดี เห็นขัตติยมหาศาลบ้าง
พราหมณมหาศาลบ้าง คหบดีมหาศาลบ้าง ซึ่งเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก
มีทองและเงินมากมาย มีทรัพย์เครื่องปลื้มใจมากมาย มีทรัพย์และธัญชาติมากมาย
กล่าวเท็จทั้งที่รู้อยู่ เพราะกามเป็นเหตุ เพราะกามเป็นเค้ามูล เพราะกามเป็นตัวการณ์
หม่อมฉันได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘บัดนี้ ไม่สมควรที่เราจะพิจารณาคดี (เพราะ)บัดนี้
ราชโอรสนามว่าวิฑูฑภะผู้มีหน้าชื่นบาน จักมาพิจารณาคดี”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มหาบพิตร ข้อนี้เป็นอย่างนั้น มหาบพิตร ข้อนี้
เป็นอย่างนั้น ขัตติยมหาศาล พราหมณมหาศาล คหบดีมหาศาล แม้บางพวก
เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทองและเงินมากมาย มีทรัพย์เครื่องปลื้มใจ
มากมาย มีทรัพย์และธัญชาติมากมาย กล่าวเท็จทั้งที่รู้อยู่ เพราะกามเป็นเหตุ
เพราะกามเป็นเค้ามูล เพราะกามเป็นตัวการณ์ ข้อนั้นจักมีเพื่อสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
เกื้อกูล เพื่อความทุกข์แก่พวกเขาตลอดกาลนาน”
พระผู้มีพระภาค ฯลฯ จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้กำหนัดกล้าในโภคะที่น่าใคร่
มักมาก หมกมุ่นในกาม ไม่รู้สึกตัวว่าละเมิด
เหมือนฝูงปลาไม่รู้สึกตัวว่ามีเครื่องดักที่เขาดักไว้ ฉะนั้น
ผลเผ็ดร้อนย่อมมีแก่สัตว์พวกนั้นในภายหลัง
เพราะกรรมนั้นมีวิบากเลวทราม

อัตถกรณสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต] ๑. ปฐมวรรค ๘. มัลลิกาสูตร

๘. มัลลิกาสูตร
ว่าด้วยเรื่องพระนางมัลลิกาเทวี

[๑๑๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
สมัยนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลกับพระนางมัลลิกาเทวีได้ประทับ ณ ปราสาท
อันประเสริฐชั้นบน ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ตรัสถามพระนางมัลลิกาเทวี
ดังนี้ว่า “มัลลิกา ใครอื่นซึ่งเป็นที่รักยิ่งกว่าตนของเธอมีบ้างไหม”
พระนางมัลลิกาเทวีได้ทูลสนองว่า “ขอเดชะใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ใครอื่นซึ่ง
เป็นที่รักยิ่งกว่าตนของหม่อมฉันไม่มีเลย และใครอื่นซึ่งเป็นที่รักยิ่งกว่าตนของ
พระองค์มีอยู่หรือ”
พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสว่า “มัลลิกา ใครอื่นซึ่งเป็นที่รักยิ่งกว่าตนของเรา
ไม่มีเลย”
ต่อมา พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จลงจากปราสาทเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง
ที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วันนี้ข้าพระองค์อยู่ที่ปราสาทอันประเสริฐชั้นบนกับ
พระนางมัลลิกาเทวี ได้พูดกับพระนางมัลลิกาเทวีดังนี้ว่า ‘มัลลิกา ใครอื่นซึ่งเป็น
ที่รักยิ่งกว่าตนของเธอมีบ้างไหม’ เมื่อข้าพระองค์ถามแล้วอย่างนี้ พระนางมัลลิกา
เทวีได้ตอบข้าพระองค์ดังนี้ว่า ‘ขอเดชะใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ใครอื่นซึ่งเป็นที่รัก
ยิ่งกว่าตนของหม่อมฉันไม่มี และใครอื่นซึ่งเป็นที่รักยิ่งกว่าตนของพระองค์มีอยู่หรือ”
เมื่อพระนางมัลลิกาเทวีกล่าวอย่างนี้ ข้าพระองค์ได้พูดกับพระนางมัลลิกาเทวีดังนี้ว่า
“มัลลิกา ใครอื่นซึ่งเป็นที่รักยิ่งกว่าตนของเราไม่มี”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงได้ตรัสคาถานี้ในเวลานั้นว่า
บุคคลตั้งใจค้นหาทั่วทุกทิศ
ก็ไม่พบใครที่ไหนซึ่งเป็นที่รักยิ่งกว่าตนเลย
สัตว์เหล่าอื่นก็รักตนมากเช่นนั้นเหมือนกัน
เพราะฉะนั้น ผู้รักตนจึงไม่ควรเบียดเบียนผู้อื่น

มัลลิกาสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต] ๑. ปฐมวรรค ๙. ยัญญสูตร

๙. ยัญญสูตร
ว่าด้วยการบูชายัญ

[๑๒๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
สมัยนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ตระเตรียมการบูชามหายัญ คือ โคตัวผู้ ๕๐๐ ตัว
ลูกโคตัวผู้ ๕๐๐ ตัว ลูกโคตัวเมีย ๕๐๐ ตัว แพะ ๕๐๐ ตัว และแกะ ๕๐๐ ตัว
ถูกนำไปผูกไว้ที่หลักเพื่อบูชายัญ แม้ข้าราชบริพารของพระเจ้าปเสนทิโกศลนั้น
ผู้เป็นทาส คนใช้หรือกรรมกรที่มีอยู่ แม้ชนเหล่านั้นก็ถูกอาชญาคุกคาม ถูกภัย
คุกคาม ร้องไห้น้ำตานองหน้า กระทำบริกรรมอยู่
ครั้นเวลาเช้า ภิกษุจำนวนมากครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร๑เข้าไป
บิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี กลับจากบิณฑบาต ภายหลังจากฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่งอยู่ ณ ที่สมควรได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วันนี้ พระเจ้าปเสนทิโกศลได้
ตระเตรียมการบูชามหายัญ คือ โคตัวผู้ ๕๐๐ ตัว ลูกโคตัวผู้ ๕๐๐ ตัว ลูกโค
ตัวเมีย ๕๐๐ ตัว แพะ ๕๐๐ ตัว และแกะ ๕๐๐ ตัว ถูกนำไปผูกไว้ที่หลักเพื่อ
บูชายัญ แม้ข้าราชบริพารของพระเจ้าปเสนทิโกศลนั้น ผู้เป็นทาส คนใช้หรือ
กรรมกรที่มีอยู่ แม้ชนเหล่านั้นก็ถูกอาชญาคุกคาม ถูกภัยคุกคาม ร้องไห้น้ำตา
นองหน้า กระทำบริกรรมอยู่”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงได้ตรัสคาถาเหล่านี้
ในเวลานั้นว่า
มหายัญที่มีกิริยามากเหล่านั้น คือ
อัสวเมธ บุรุษเมธ สัมมาปาสะ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต] ๑. ปฐมวรรค ๑๐. พันธนสูตร

วาชเปยยะ นิรัคคฬะ๑ไม่มีผลมาก
(เพราะ)พระอริยะผู้ปฏิบัติชอบแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
ย่อมไม่เกี่ยวข้องกับยัญที่มีการฆ่าแพะ
แกะ โค และสัตว์ชนิดต่าง ๆ
ส่วนยัญใด ไม่มีกิริยา เอื้ออำนวยประโยชน์
ประชาชนบูชาตระกูลทุกเมื่อ
คือ ไม่มีการฆ่าแพะ แกะ โค และสัตว์ชนิดต่าง ๆ
พระอริยะผู้ปฏิบัติชอบ แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
ย่อมเกี่ยวข้องกับยัญนั้น
นักปราชญ์พึงบูชายัญนั้น ที่มีผลมาก
เพราะเมื่อบูชายัญนั้นนั่นแหละ
ย่อมมีแต่ความดี ไม่มีความชั่ว
ยัญย่อมแพร่หลาย และเทวดาก็ยังเลื่อมใส๒

ยัญญสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. พันธนสูตร
ว่าด้วยเครื่องจองจำ

[๑๒๑] สมัยนั้น หมู่มหาชนถูกพระเจ้าปเสนทิโกศลให้จองจำไว้แล้ว บางพวก
ถูกจองจำด้วยเชือก บางพวกถูกจองจำด้วยขื่อคา บางพวกถูกจองจำด้วยโซ่ตรวน
ครั้นเวลาเช้า ภิกษุจำนวนมากครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร เข้าไปบิณฑบาต
ยังกรุงสาวัตถี กลับจากบิณฑบาต ภายหลังจากฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว เข้าไปเฝ้า


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต]
๑. ปฐมวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่งอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วันนี้หมู่มหาชนถูกพระเจ้าปเสนทิ-
โกศลให้จองจำไว้แล้ว บางพวกถูกจองจำด้วยเชือก บางพวกถูกจองจำด้วยขื่อคา
บางพวกถูกจองจำด้วยโซ่ตรวน”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงได้ตรัสคาถาเหล่านี้
ในเวลานั้นว่า
นักปราชญ์ทั้งหลายไม่ได้กล่าวถึงเครื่องจองจำ
ที่ทำด้วยเหล็ก ทำด้วยไม้และทำด้วยหญ้า
ว่าเป็นเครื่องจองจำที่มั่นคง
แต่กล่าวถึงความกำหนัดยินดีนักในเครื่องประดับแก้วมณี
และความอาลัยในบุตรและภรรยาทั้งหลาย
ว่าเป็นเครื่องจองจำที่มั่นคง
นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวถึงเครื่องจองจำ
ที่มีความกำหนัดยินดีนักในเครื่องประดับแก้วมณีเป็นต้นนั้น
ที่ต่ำ หย่อน แก้ได้ยาก ว่าเป็นเครื่องจองจำที่มั่นคง
ธีรชนตัดเครื่องจองจำแม้เช่นนั้นได้แล้วออกบวช
เป็นผู้ไม่มีความอาลัย ละกามสุขเสียได้๑

พันธนสูตรที่ ๑๐ จบ
วรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ทหรสูตร ๒. ปุริสสูตร
๓. ชรามรณสูตร ๔. ปิยสูตร
๕. อัตตรักขิตสูตร ๖. อัปปกสูตร
๗. อัตถกรณสูตร ๘. มัลลิกาสูตร
๙. ยัญญสูตร ๑๐. พันธนสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๑. สัตตชฎิลสูตร

๒. ทุติยวรรค
หมวดที่ ๒
๑. สัตตชฏิลสูตร
ว่าด้วยชฎิล ๗ คน

[๑๒๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ บุพพาราม ปราสาทของ
นางวิสาขามิคารมาตา เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ในเวลาเย็น พระผู้มีพระภาค
เสด็จออกจากที่หลีกเร้นแล้ว ประทับนั่งที่นอกซุ้มประตู ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิ-
โกศลเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว ประทับนั่ง ณ
ที่สมควร
สมัยนั้น ชฎิล ๗ คน นิครนถ์ ๗ คน อเจลก ๗ คน เอกสาฎก ๗ คน
ปริพาชก ๗ คน ผู้มีขนรักแร้ เล็บ และขนยาว ถือเครื่องบริขารต่าง ๆ เดินผ่านไป
ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค ทันใดนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จลุกจากที่ประทับ
ทรงห่มพระภูษาเฉวียงพระอังสาข้างหนึ่ง ทรงจดพระชานุมณฑลเบื้องขวา ณ
พื้นแผ่นดิน ประนมมือไปทางชฎิล ๗ คน นิครนถ์ ๗ คน อเจลก ๗ คน เอกสาฎก
๗ คน ปริพาชก ๗ คน เหล่านั้นแล้วทรงประกาศพระนาม ๓ ครั้งว่า ‘ท่านเจ้าข้า
ข้าพเจ้าคือพระราชาปเสนทิโกศล ฯลฯ ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าคือพระราชาปเสนทิโกศล”
ลำดับนั้น เมื่อชฎิล ๗ คน นิครนถ์ ๗ คน อเจลก ๗ คน เอกสาฎก ๗ คน
ปริพาชก ๗ คน เหล่านั้นเดินผ่านไปได้ไม่นาน พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควรแล้วได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกนักบวชเหล่านั้น คงเป็นพระ-
อรหันต์ หรือท่านผู้บรรลุอรหัตตมรรคเหล่าใดเหล่าหนึ่งในโลก”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มหาบพิตร พระองค์เป็นคฤหัสถ์บริโภคกาม
ครอบครองเรือน บรรทมเบียดพระโอรสและพระชายา ทาจุรณจันทน์อันนำมาจาก
แคว้นกาสี ทรงมาลาของหอมและเครื่องลูบไล้ ยินดีเงินทอง ยากที่จะรู้เรื่องนี้ว่า
คนพวกนี้เป็นพระอรหันต์ หรือว่าคนพวกนี้บรรลุอรหัตตมรรค’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๑. สัตตชฏิลสูตร

มหาบพิตร ศีลพึงรู้ได้ด้วยการอยู่ร่วมกัน ศีลนั้นจะพึงรู้ได้ด้วยกาลนาน ไม่ใช่
ด้วยกาลเล็กน้อย ผู้ใส่ใจจึงจะรู้ได้ ผู้ไม่ใส่ใจรู้ไม่ได้ ผู้มีปัญญาจึงจะรู้ได้ ผู้ไม่มี
ปัญญารู้ไม่ได้
มหาบพิตร ความสะอาดจะพึงรู้ได้ด้วยการเจรจา๑ ความสะอาดนั้นจะพึงรู้ได้
ด้วยกาลนาน ไม่ใช่ด้วยกาลเล็กน้อย ผู้ใส่ใจจึงจะรู้ได้ ผู้ไม่ใส่ใจรู้ไม่ได้ ผู้มีปัญญา
จึงจะรู้ได้ ผู้ไม่มีปัญญารู้ไม่ได้
มหาบพิตร กำลัง๒จะพึงรู้ได้ในคราวมีอันตราย กำลังนั้นจะพึงรู้ได้ด้วยกาลนาน
ไม่ใช่ด้วยกาลเล็กน้อย ผู้ใส่ใจจึงจะรู้ได้ ผู้ไม่ใส่ใจรู้ไม่ได้ ผู้มีปัญญาจึงจะรู้ได้ ผู้ไม่มี
ปัญญารู้ไม่ได้
มหาบพิตร ปัญญาจะพึงรู้ได้ด้วยการสนทนา ปัญญานั้นจะพึงรู้ได้ด้วยกาลนาน
ไม่ใช่ด้วยกาลเล็กน้อย ผู้ใส่ใจจึงจะรู้ได้ ผู้ไม่ใส่ใจรู้ไม่ได้ ผู้มีปัญญาจึงจะรู้ได้ ผู้ไม่มี
ปัญญารู้ไม่ได้”
พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง
ไม่เคยปรากฏ พระผู้มีพระภาคตรัสเรื่องนี้ไว้ดียิ่งนักว่า มหาบพิตร พระองค์เป็น
คฤหัสถ์ บริโภคกาม ฯลฯ ยากที่จะรู้เรื่องนี้ ฯลฯ ผู้มีปัญญาจึงจะรู้ได้ ผู้ไม่มี
ปัญญารู้ไม่ได้”
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นักบวชเหล่านั้นเป็นคนของข้าพระองค์ เป็นบุรุษ
สอดแนม เป็นสายลับ เที่ยวสอดแนมไปยังชนบทแล้วพากันกลับมา ข้าพระองค์
จะรู้เรื่องราวหลังจากที่คนเหล่านั้นสืบมา บัดนี้คนเหล่านั้นคงจะชำระล้างละอองธุลี
นั้นแล้ว อาบสะอาดดี ลูบไล้ผิวดีแล้ว โกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้าขาว เอิบอิ่ม
เพียบพร้อมด้วยกามคุณ ๕ บำเรอข้าพระองค์อยู่”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบความนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถาเหล่านี้
ในเวลานั้นว่า


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๒. ปัญจราชสูตร

คนผู้รู้ดี ไม่ควรไว้วางใจใครเพราะผิวพรรณและรูปร่าง
ไม่ควรไว้วางใจใครเพราะการเห็นกันชั่วครู่เดียว
เพราะว่านักบวชผู้ไม่สำรวมทั้งหลายย่อมเที่ยวไปในโลกนี้
ด้วยเครื่องบริขารของเหล่านักบวชผู้สำรวมดีแล้ว
นักบวชเหล่านั้นผู้ไม่บริสุทธิ์ในภายใน
งามแต่ภายนอก แวดล้อมด้วยบริวารท่องเที่ยวอยู่ในโลก
ดุจตุ้มหูดินและเหรียญโลหะครึ่งมาสกหุ้มด้วยทองคำปลอมไว้

สัตตชฏิลสูตรที่ ๑ จบ

๒. ปัญจราชสูตร
ว่าด้วยพระราชา ๕ พระองค์

[๑๒๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
สมัยนั้น พระราชา ๕ พระองค์ มีพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงเป็นประมุขผู้
เอิบอิ่มเพียบพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ได้รับบำเรออยู่ มีคำถามเกิดขึ้นในระหว่างการ
สนทนากันว่า “อะไรเป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย”
บรรดาพระราชาเหล่านั้น บางพระองค์ตรัสอย่างนี้ว่า “รูปเป็นยอดแห่งกาม
ทั้งหลาย”
บางพระองค์ตรัสอย่างนี้ว่า “เสียงเป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย”
บางพระองค์ตรัสอย่างนี้ว่า “กลิ่นเป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย”
บางพระองค์ตรัสอย่างนี้ว่า “รสเป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย”
บางพระองค์ตรัสอย่างนี้ว่า “โผฏฐัพพะเป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย”
ในขณะนั้น พระราชาเหล่านั้นไม่อาจจะตกลงกันได้ พระเจ้าปเสนทิโกศล
จึงได้ตรัสกับพระราชาเหล่านั้นดังนี้ว่า “มาเถิดท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย พวกเราจัก
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ทูลถามความข้อนี้กับพระองค์ พระองค์ทรงพยากรณ์
แก่พวกเราอย่างใด พวกเราก็พึงจำคำพยากรณ์นั้นไว้อย่างนั้น” พระราชาเหล่านั้น
ทรงรับพระดำรัสของพระเจ้าปเสนทิโกศลแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๒. ปัญจราชสูตร

ต่อมา พระราชา ๕ พระองค์นั้น มีพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงเป็นประมุข
เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร
พระเจ้าปเสนทิโกศลได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายในที่นี้ เป็นราชาทั้ง ๕ องค์ เอิบอิ่ม
เพียบพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ได้รับบำเรออยู่ มีคำถามเกิดขึ้นในระหว่างการสนทนา
กันว่า ‘อะไรเป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย’
บางพระองค์ตรัสอย่างนี้ว่า ‘รูปเป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย’
บางพระองค์ตรัสอย่างนี้ว่า ‘เสียงเป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย’
บางพระองค์ตรัสอย่างนี้ว่า ‘กลิ่นเป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย’
บางพระองค์ตรัสอย่างนี้ว่า ‘รสเป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย’
บางพระองค์ตรัสอย่างนี้ว่า ‘โผฏฐัพพะเป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย’ ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ อะไรเป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มหาบพิตร ที่สุดแห่งความพอใจนั่นแหละ อาตมภาพ
กล่าวว่า เป็นยอดในกามคุณ ๕ รูปเหล่าใดเป็นที่พอใจของคนบางคน รูปเหล่านั้น
ไม่เป็นที่พอใจของคนบางคน เขาพอใจ มีความดำริเต็มรอบด้วยรูปเหล่าใด รูปอื่น
จากรูปเหล่านั้นจะยิ่งกว่า หรือประณีตกว่า เขาก็ไม่ปรารถนา รูปเหล่านั้นเป็นรูปที่ดี
ยิ่งสำหรับเขา รูปเหล่านั้นเป็นรูปยอดเยี่ยมสำหรับเขา
มหาบพิตร เสียงเหล่าใด...
มหาบพิตร กลิ่นเหล่าใด...
มหาบพิตร รสเหล่าใด...
มหาบพิตร โผฏฐัพพะเหล่าใดเป็นที่พอใจของคนบางคน โผฏฐัพพะเหล่านั้น
ไม่เป็นที่พอใจของคนบางคน เขาพอใจ มีความดำริเต็มรอบด้วยโผฏฐัพพะเหล่าใด
โผฏฐัพพะอื่นจากโผฏฐัพพะเหล่านั้นจะยิ่งกว่า หรือประณีตกว่า เขาก็ไม่ปรารถนา
โผฏฐัพพะเหล่านั้นเป็นโผฏฐัพพะที่ดียิ่งสำหรับเขา โผฏฐัพพะเหล่านั้นเป็นโผฏฐัพพะ
ยอดเยี่ยมสำหรับเขา”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๓. โทณปากสูตร

สมัยนั้น จันทนังคลิกอุบาสกนั่งอยู่ในบริษัทนั้น ลำดับนั้น จันทนังคลิกอุบาสก
ลุกจากที่นั่ง ห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมมือไปทางที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เหตุอย่างหนึ่งปรากฏ
แก่ข้าพระองค์ ข้าแต่พระสุคต เหตุอย่างหนึ่งปรากฏแก่ข้าพระองค์”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “จันทนังคลิกะ เหตุนั้นจงปรากฏแก่ท่านเถิด”
ลำดับนั้น จันทนังคลิกอุบาสกได้สรรเสริญพระผู้มีพระภาคเฉพาะพระพักตร์
ด้วยคาถาที่สมควรแก่เหตุนั้นว่า
ดอกปทุมชื่อโกกนุท บานในเวลาเช้า
ยังไม่สิ้นกลิ่น ยังหอมอยู่ ฉันใด
ท่านจงดูพระอังคีรส ผู้ไพโรจน์อยู่
ดุจดวงอาทิตย์รุ่งโรจน์อยู่ในอากาศ ฉันนั้น
ลำดับนั้น พระราชา ๕ พระองค์นั้น ทรงให้จันทนังคลิกอุบาสกห่มผ้า ๕ ผืน
ทันใดนั้น จันทนังคลิกอุบาสกก็ถวายให้พระผู้มีพระภาคทรงห่มผ้า ๕ ผืนเหล่านั้น

ปัญจราชสูตรที่ ๒ จบ

๓. โทณปากสูตร
ว่าด้วยการหุงข้าวสารทะนานหนึ่ง

[๑๒๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
สมัยนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสวยพระกระยาหารที่หุงด้วยข้าวสารทะนานหนึ่ง
ทรงอึดอัด เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง
ณ ที่สมควร
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่าพระเจ้าปเสนทิโกศลเสวยแล้วทรงอึดอัด
จึงได้ตรัสคาถานี้ในเวลานั้นว่า
มนุษย์ผู้มีสติอยู่ทุกเมื่อ
รู้จักประมาณในโภชนะที่ได้แล้ว
ย่อมมีเวทนาเบาบาง
เขาย่อมแก่ช้า อายุก็ยั่งยืน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๔. ปฐมสังคามสูตร

สมัยนั้น มาณพชื่อสุทัสสนะ ยืนอยู่เบื้องพระปฤษฎางค์ของพระเจ้าปเสนทิ-
โกศล พระเจ้าปเสนทิโกศลรับสั่งเรียกสุทัสสนมาณพมาตรัสว่า “มานี่สุทัสสนะ
เจ้าจงเรียนคาถาในสำนักของพระผู้มีพระภาค แล้วจงกล่าวในเวลาที่เราเสวยกระยาหาร
อนึ่ง เราจะให้ค่าอาหารแก่เจ้าวันละ ๑๐๐ กหาปณะ”
สุทัสสนมาณพรับสนองพระดำรัสพระเจ้าปเสนทิโกศลว่า “เป็นพระมหากรุณา
อย่างยิ่ง พระเจ้าข้า” แล้วเรียนคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคแล้วกล่าว
ในเวลาที่พระเจ้าปเสนทิโกศลเสวยพระกระยาหารว่า
มนุษย์ผู้มีสติอยู่ทุกเมื่อ
รู้จักประมาณในโภชนะที่ได้แล้ว
ย่อมมีเวทนาเบาบาง
เขาย่อมแก่ช้า อายุก็ยั่งยืน
ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงดำรงอยู่ได้โดยเสวยพระกระยาหารทะนานหนึ่ง
เป็นอย่างมากเรื่อยมา ต่อมาพระเจ้าปเสนทิโกศล มีพระวรกายกระปรี้กระเปร่า
ทรงลูบพระวรกายด้วยฝ่าพระหัตถ์ ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า “พระผู้มีพระภาค
พระองค์นั้นทรงอนุเคราะห์เราด้วยประโยชน์ทั้งสอง คือ ประโยชน์ในปัจจุบันและ
ประโยชน์ในภายหน้าอย่างแท้จริง”

โทณปากสูตรที่ ๓ จบ

๔. ปฐมสังคามสูตร
ว่าด้วยสงคราม สูตรที่ ๑

[๑๒๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น พระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธ ทรงจัดจตุรงคินี-
เสนา๑ ยกไปรุกรานพระเจ้าปเสนทิโกศลทางแคว้นกาสี พระเจ้าปเสนทิโกศลทรง
สดับข่าวว่า “พระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธ ทรงจัดจตุรงคินี-
เสนายกมารุกรานเราทางแคว้นกาสี” จึงทรงจัดจตุรงคินีเสนา ยกออกไปต่อสู้กับ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๔. ปฐมสังคามสูตร

พระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธ ป้องกันแคว้นกาสี ครั้งนั้น
พระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธ กับพระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงทำ
สงครามต่อกัน
สงครามครั้งนั้น พระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธ ทรงชนะ
พระเจ้าปเสนทิโกศล ฝ่ายพระเจ้าปเสนทิโกศลผู้พ่ายแพ้ ก็เสด็จล่าทัพกลับกรุง
สาวัตถี ราชธานีของพระองค์
ครั้นเวลาเช้า ภิกษุจำนวนมากครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร เข้าไป
บิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี กลับจากบิณฑบาต ภายหลังจากฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธ
ทรงจัดจตุรงคินีเสนา ยกมารุกรานพระเจ้าปเสนทิโกศลทางแคว้นกาสี พระเจ้า
ปเสนทิโกศลทรงสดับข่าวว่า ‘พระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธ
ทรงจัดจตุรงคินีเสนา ยกมารุกรานเราทางแคว้นกาสี จึงทรงจัดจตุรงคินีเสนา
ยกออกไปต่อสู้กับพระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธ ป้องกันแคว้น
กาสี ครั้งนั้น พระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธ กับพระเจ้าปเสนทิ-
โกศลทรงทำสงครามต่อกัน
สงครามครั้งนั้น พระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธ ทรงชนะ
พระเจ้าปเสนทิโกศล ฝ่ายพระเจ้าปเสนทิโกศลผู้พ่ายแพ้ ก็เสด็จล่าทัพกลับกรุง
สาวัตถี ราชธานีของพระองค์”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร
ผู้ครองแคว้นมคธ มีมิตรเลว มีสหายเลว มีเพื่อนเลว ฝ่ายพระเจ้าปเสนทิโกศล
เป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี วันนี้ พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงพ่ายแพ้มาแล้ว
อย่างนี้ จักบรรทมเป็นทุกข์ตลอดราตรีนี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๕. ทุติยสังคามสูตร

พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ฯลฯ จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
ผู้ชนะย่อมก่อเวร ผู้พ่ายแพ้ย่อมนอนเป็นทุกข์
ผู้ละทั้งความชนะและความพ่ายแพ้ได้แล้ว
มีใจสงบ ย่อมนอนเป็นสุข๑

ปฐมสังคามสูตรที่ ๔ จบ

๕. ทุติยสังคามสูตร
ว่าด้วยสงคราม สูตรที่ ๒

[๑๒๖] ครั้งนั้น พระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธ ทรงจัด
จตุรงคินีเสนา ยกไปรุกรานพระเจ้าปเสนทิโกศลทางแคว้นกาสี พระเจ้าปเสนทิโกศล
ทรงสดับข่าวว่า “พระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธ ทรงจัดจตุรงคินี-
เสนา ยกมารุกรานเราทางแคว้นกาสี” จึงทรงจัดจตุรงคินีเสนา ยกออกไปต่อสู้กับ
พระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธ ป้องกันแคว้นกาสี ครั้งนั้น พระเจ้า
อชาตศัตรู เวเทหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธ กับพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงทำสงคราม
ต่อกัน
สงครามครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงชนะพระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร
ผู้ครองแคว้นมคธ และได้จับเป็นเชลยศึก ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลได้มี
พระดำริดังนี้ว่า “ถึงแม้พระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธนี้ จะ
ประทุษร้ายเราผู้มิได้ประทุษร้าย แต่เธอก็ยังเป็นหลานของเรา ทางที่ดีเราควรยึด
พลช้าง พลม้า พลรถ และพลเดินเท้าทั้งหมดของพระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร
ผู้ครองแคว้นมคธแล้วปล่อยพระองค์ให้รอดชีวิตไป”
ครั้นเวลาเช้า ภิกษุจำนวนมากครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร เที่ยวไป
บิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี กลับจากบิณฑบาต ภายหลังจากฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๕. ทุติยสังคามสูตร

ภิกษุทั้งหลายได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
พระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธ ทรงจัดจตุรงคินีเสนา ยกมา
รุกรานพระเจ้าปเสนทิโกศลทางแคว้นกาสี พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงสดับข่าวว่า
‘พระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธ ทรงจัดจตุรงคินีเสนา ยกมา
รุกรานเราทางแคว้นกาสี’ จึงทรงจัดจตุรงคินีเสนา ยกออกไปต่อสู้กับพระเจ้าอชาต-
ศัตรู เวเทหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธ ป้องกันแคว้นกาสี ครั้งนั้น พระเจ้าอชาตศัตรู
เวเทหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธ กับพระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงทำสงครามต่อกัน
สงครามครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงชนะพระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร
ผู้ครองแคว้นมคธ และได้จับเป็นเชลยศึก ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลได้มีพระดำริ
ดังนี้ว่า ‘ถึงแม้พระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธนี้ จะประทุษร้ายเรา
ผู้มิได้ประทุษร้าย แต่เธอก็ยังเป็นหลานของเรา ทางที่ดีเราควรยึดพลช้าง พลม้า
พลรถและพลเดินเท้าทั้งหมดของพระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธ
แล้วปล่อยพระองค์ให้รอดชีวิตไป’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงยึดพลช้าง พลม้า
พลรถ และพลเดินเท้าทั้งหมดของพระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธ
แล้วทรงปล่อยพระองค์ให้รอดชีวิตไป”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถาเหล่านี้
ในเวลานั้นว่า
คนจะแย่งชิงได้ เท่าที่การแย่งชิงนั้นจะเป็นไปได้
แต่เมื่อใดคนเหล่าอื่นมาแย่งชิงบ้าง
เมื่อนั้นผู้แย่งชิงนั้นก็กลับถูกเขาแย่งชิงไป
เพราะว่าบาปยังไม่ให้ผลเพียงใด
คนพาลย่อมสำคัญบาปว่าเป็นของดีเพียงนั้น
แต่เมื่อใดบาปให้ผล เมื่อนั้นคนพาลย่อมประสบทุกข์
ผู้ฆ่าย่อมได้รับการฆ่าตอบ ผู้ชนะย่อมได้รับการชนะตอบ
ผู้ด่าย่อมได้รับการด่าตอบ และผู้โกรธย่อมได้รับการโกรธตอบ
เพราะเมื่อกรรมให้ผล ผู้แย่งชิงนั้นย่อมถูกเขาแย่งชิงไป

ทุติยสังคามสูตรที่ ๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต] ๒. ทุติยวรรค ๖. ธีตุสูตร

๖. ธีตุสูตร
ว่าด้วยพระธิดา

[๑๒๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่สมควร ลำดับนั้น บุรุษคนหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระเจ้า
ปเสนทิโกศล ถึงที่ประทับแล้วกราบทูล ณ ที่ใกล้พระกรรณของพระเจ้าปเสนทิโกศล
ว่า “ขอเดชะใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท พระนางมัลลิกาเทวีประสูติพระธิดาแล้ว” เมื่อ
ราชบุรุษกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ไม่ทรงเบิกบานพระทัย
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า “พระเจ้าปเสนทิโกศลไม่ทรงเบิกบาน
พระทัย” จึงได้ตรัสคาถาเหล่านี้ในเวลานั้นว่า
มหาบพิตรผู้เป็นใหญ่กว่าปวงชน
แท้จริง แม้หญิงบางคนก็ยังดีกว่า
ขอพระองค์จงชุบเลี้ยงไว้เถิด
หญิงผู้มีปัญญา มีศีล บำรุงแม่ผัวพ่อผัวดุจเทวดา
จงรักภักดีต่อสามี ยังมีอยู่
บุรุษที่เกิดจากหญิงนั้นย่อมแกล้วกล้า เป็นใหญ่ในทิศได้
บุตรของภรรยาดีเช่นนั้น ก็ครองราชสมบัติได้

ธีตุสูตรที่ ๖ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๗. ปฐมอัปปมาทสูตร

๗. ปฐมอัปปมาทสูตร
ว่าด้วยความไม่ประมาท สูตรที่ ๑

[๑๒๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระเจ้าปเสนทิโกศลประทับนั่ง ณ ที่สมควรแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมอย่างหนึ่งที่ยึดประโยชน์ทั้งสองไว้ได้ คือ
ประโยชน์ในปัจจุบัน และประโยชน์ในภายหน้า มีอยู่หรือ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “มหาบพิตร ธรรมอย่างหนึ่งที่ยึดประโยชน์ทั้งสอง
ไว้ได้ คือ ประโยชน์ในปัจจุบันนี้ และประโยชน์ในภายหน้า มีอยู่”
พระเจ้าปเสนทิโกศลทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมอย่างหนึ่งที่ยึด
ประโยชน์ทั้งสองไว้ได้ คือ ประโยชน์ในปัจจุบันนี้ และประโยชน์ในภายหน้า คืออะไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “มหาบพิตร ธรรมอย่างหนึ่งที่ยึดประโยชน์ในปัจจุบัน
และประโยชน์ในภายหน้าไว้ได้ คือ ความไม่ประมาท รอยเท้าของสัตว์ทั้งหลายที่
สัญจรไปบนแผ่นดินชนิดใดชนิดหนึ่ง รอยเท้าเหล่านั้นทั้งหมดย่อมรวมลงในรอย
เท้าช้าง บัณฑิตกล่าวว่า รอยเท้าช้างเป็นเลิศกว่ารอยเท้าเหล่านั้น เพราะเป็นรอยใหญ่
ฉันใด มหาบพิตร ธรรมอย่างหนึ่งที่ยึดประโยชน์ทั้งสองไว้ได้ คือประโยชน์ในปัจจุบัน
และประโยชน์ในภายหน้า คือ ความไม่ประมาท ก็ฉันนั้น”
พระผู้มีพระภาค ฯลฯ จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
บุคคลเมื่อปรารถนาอายุ ความไม่มีโรค
วรรณะ สวรรค์ ความเกิดในตระกูลสูง
และความยินดีอย่างโอฬารต่อ ๆ ไป
พึงทำความไม่ประมาท

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๘. ทุติยอัปปมาทสูตร

บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญ
ความไม่ประมาทในการทำบุญ
บัณฑิตผู้ไม่ประมาทย่อมบรรลุประโยชน์ทั้งสอง
ธีรชนท่านเรียกว่า บัณฑิต
เพราะยึดประโยชน์ทั้งสองไว้ได้ คือ
ประโยชน์ในปัจจุบัน และประโยชน์ในภายหน้า

ปฐมอัปปมาทสูตรที่ ๗ จบ

๘. ทุติยอัปปมาทสูตร
ว่าด้วยความไม่ประมาท สูตรที่ ๒

[๑๒๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระเจ้าปเสนทิโกศลประทับนั่ง ณ ที่สมควรแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความคิดคำนึงเกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์ผู้หลีกเร้นอยู่
ในที่สงัดอย่างนี้ว่า “ธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้วนั่นแล เป็นธรรมสำหรับ
ผู้มีมิตรดี๑ มีสหายดี๒ มีเพื่อนดี๓ ไม่ใช่สำหรับผู้มีมิตรเลว มีสหายเลว มีเพื่อนเลว”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มหาบพิตร ข้อนี้เป็นอย่างนั้น มหาบพิตร ข้อนี้
เป็นอย่างนั้น ธรรมที่อาตมภาพกล่าวไว้ดีแล้วนั่นแล เป็นธรรมสำหรับผู้มีมิตรดี
มีสหายดี มีเพื่อนดี ไม่ใช่สำหรับผู้มีมิตรเลว มีสหายเลว มีเพื่อนเลว มหาบพิตร
ครั้งหนึ่ง อาตมภาพอยู่ที่นิคมของหมู่เจ้าศากยะ ชื่อว่านครกะ ในแคว้นสักกะ
ครั้งนั้น ภิกษุอานนท์เข้าไปหาอาตมภาพถึงที่อยู่ อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
มหาบพิตรได้กล่าวกับอาตมภาพว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความเป็นผู้มีมิตรดี
มีสหายดี มีเพื่อนดี เป็นพรหมจรรย์ กึ่งหนึ่ง”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๘. ทุติยอัปปมาทสูตร

อาตมภาพกล่าวว่า “อย่ากล่าวอย่างนั้น อานนท์ อย่ากล่าวอย่างนั้น อานนท์
ที่จริง ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี เป็นพรหมจรรย์๑ทั้งหมดทีเดียว
อานนท์ ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรค
มีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค
มีองค์ ๘ ให้มาก อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก (ความสงัด) อาศัยวิราคะ (ความ
คลายกำหนัด) อาศัยนิโรธ (ความดับ) น้อมไปในโวสสัคคะ (ความ
สละ)
๒. เจริญสัมมาสังกัปปะ ...
๓. เจริญสัมมาวาจา ...
๔. เจริญสัมมากัมมันตะ ...
๕. เจริญสัมมาอาชีวะ ...
๖. เจริญสัมมาวายามะ ...
๗. เจริญสัมมาสติ ...
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค
มีองค์ ๘ ให้มากอย่างนี้แล
อนึ่ง ข้อที่ว่าความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี เป็นพรหมจรรย์
ทั้งหมดทีเดียวนั้น พึงทราบโดยปริยายนี้ ด้วยว่า เหล่าสัตว์ผู้มีชาติ(ความเกิด)
เป็นธรรมดา ย่อมพ้นจากชาติ ผู้มีชรา(ความแก่)เป็นธรรมดา ย่อมพ้นจากชรา
ผู้มีมรณะ(ความตาย)เป็นธรรมดา ย่อมพ้นจากมรณะ ผู้มีโสกะ(ความเศร้าโศก)


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๘. ทุติยอัปปมาทสูตร

ปริเทวะ(ความคร่ำครวญ) ทุกข์(ความทุกข์กาย) โทมนัส(ความทุกข์ใจ) และอุปายาส
(ความคับแค้นใจ)เป็นธรรมดา ย่อมพ้นจากโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส
เพราะอาศัยเราผู้เป็นมิตรดี
อานนท์ ข้อที่ว่าความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี เป็นพรหมจรรย์
ทั้งหมดทีเดียวนั้น พึงทราบโดยปริยายนี้๑แล’
เพราะเหตุนั้นแล มหาบพิตร พระองค์พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราจักเป็นผู้
มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พระองค์ผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงอาศัย
ธรรมอย่างหนึ่งนี้ คือความไม่ประมาทในกุศลธรรม ทั้งหลายอยู่เถิด
มหาบพิตร เมื่อพระองค์ไม่ประมาท อาศัยความไม่ประมาทอยู่ นางสนมผู้
ตามเสด็จจักมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘พระราชาเป็นผู้ไม่ประมาท อาศัยความไม่ประมาทอยู่
เอาเถิด แม้พวกเราก็จักเป็นผู้ไม่ประมาท อาศัยความไม่ประมาทอยู่’
มหาบพิตร เมื่อพระองค์ไม่ประมาท อาศัยความไม่ประมาทอยู่ แม้พระบรม-
วงศานุวงศ์ ผู้ตามเสด็จจักมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘พระราชาเป็นผู้ไม่ประมาท อาศัย
ความไม่ประมาทอยู่ เอาเถิด แม้พวกเราก็จักเป็นผู้ไม่ประมาท อาศัยความไม่
ประมาทอยู่’
มหาบพิตร เมื่อพระองค์ไม่ประมาท อาศัยความไม่ประมาทอยู่ แม้กองทัพ
ก็จักมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘พระราชาเป็นผู้ไม่ประมาท อาศัยความไม่ประมาทอยู่
เอาเถิด แม้พวกเราก็จักเป็นผู้ไม่ประมาท อาศัยความไม่ประมาทอยู่’
มหาบพิตร เมื่อพระองค์ไม่ประมาท อาศัยความไม่ประมาทอยู่ แม้ชาวนิคม
ชาวชนบทก็จักมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘พระราชาเป็นผู้ไม่ประมาท อาศัยความไม่
ประมาทอยู่ เอาเถิด แม้พวกเราก็จักเป็นผู้ไม่ประมาท อาศัยความไม่ประมาทอยู่’


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๙. ปฐมอปุตตกสูตร

มหาบพิตร เมื่อพระองค์ไม่ประมาท อาศัยความไม่ประมาทอยู่ แม้พระองค์
เองก็จักเป็นผู้ได้รับการคุ้มครอง รักษาแล้ว แม้ท้องพระคลังก็จักเป็นอันได้รับการ
คุ้มครอง รักษาแล้ว”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ฯลฯ จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
เมื่อปรารถนาโภคะยิ่ง ๆ ขึ้นไป
บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญความไม่ประมาทในการทำบุญ
บัณฑิตผู้ไม่ประมาทย่อมบรรลุประโยชน์ทั้งสอง
ธีรชนท่านเรียกว่า บัณฑิต
เพราะบรรลุประโยชน์ทั้งสอง คือ
ประโยชน์ในปัจจุบันและประโยชน์ในภายหน้า

ทุติยอัปปมาทสูตรที่ ๘ จบ

๙. ปฐมอปุตตกสูตร
ว่าด้วยทรัพย์ที่ไม่มีบุตร สูตรที่ ๑

[๑๓๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแต่ยังวัน
ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับพระเจ้าปเสนทิ-
โกศลดังนี้ว่า “เชิญเถิด มหาบพิตร พระองค์เสด็จมาจากไหนแต่ยังวัน”
พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คหบดีผู้เป็นเศรษฐี
ในกรุงสาวัตถีนี้ ถึงแก่กรรมแล้ว ข้าพระองค์ให้ขนทรัพย์สมบัติที่ไม่มีบุตรนั้นมาไว้
ในพระราชวังแล้วจึงมาเข้าเฝ้า เฉพาะเงินเท่านั้นมี ๘,๐๐๐,๐๐๐ ส่วนเครื่องเงินนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๙. ปฐมอปุตตกสูตร

ไม่ต้องพูดถึง อนึ่ง คหบดีผู้เป็นเศรษฐีนั้นได้บริโภคอาหารเช่นนี้ คือ บริโภค
ปลายข้าวกับน้ำผักดอง ได้ใช้ผ้าเครื่องนุ่งห่มเช่นนี้ คือ นุ่งห่มผ้าเนื้อหยาบที่ตัด
เป็นสามชิ้นเย็บติดกัน ได้ใช้ยานพาหนะเช่นนี้ คือ ใช้รถเก่า ๆ กั้นร่มทำด้วยใบไม้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มหาบพิตร ข้อนี้เป็นอย่างนั้น มหาบพิตร ข้อนี้
เป็นอย่างนั้น อสัตบุรุษได้โภคะมากมายแล้ว ไม่ทำตนให้มีความสุขสำราญ ไม่ทำ
มารดาและบิดาให้ได้รับความสุขสำราญ ไม่ทำบุตรและภรรยาให้ได้รับความสุขสำราญ
ไม่ทำทาสและกรรมกรให้ได้รับความสุขสำราญ ไม่ทำมิตรและอำมาตย์๑ให้ได้รับ
ความสุขสำราญ ไม่ตั้งทักษิณาอันมีผลในเบื้องบน มีผลอันดี มีวิบากเป็นสุข
และเป็นไปเพื่อสวรรค์ไว้ในสมณพราหมณ์ทั้งหลาย โภคะเหล่านั้นของเขาที่มิได้ใช้
สอยโดยชอบอย่างนี้ พระราชาทั้งหลายริบไปบ้าง โจรทั้งหลายปล้นไปบ้าง ไฟ
ไหม้บ้าง น้ำพัดไปบ้าง ทายาททั้งหลายผู้ไม่เป็นที่รักนำไปบ้าง เมื่อเป็นเช่นนี้
โภคะเหล่านั้นของเขาที่มิได้ใช้สอยโดยชอบ ย่อมเสียไปเปล่าโดยไม่มีการใช้สอย
มหาบพิตร ในถิ่นอมนุษย์ มีสระโบกขรณีซึ่งมีน้ำใส เย็น จืดสนิท ใสสะอาด
มีท่าน้ำดี น่ารื่นรมย์ น้ำนั้นคนไม่ตักเอาไป ไม่ดื่ม ไม่อาบ หรือไม่ทำตามที่ต้องการ
เมื่อเป็นเช่นนี้ น้ำที่ไม่ได้ใช้สอยโดยชอบนั้น พึงเสียไปเปล่าโดยไม่มีการใช้สอย
แม้ฉันใด มหาบพิตร อสัตบุรุษได้โภคะมากมายแล้ว ไม่ทำตนให้ได้รับความสุข
สำราญ ฯลฯ เมื่อเป็นเช่นนี้ โภคะเหล่านั้นของเขาที่มิได้ใช้สอยโดยชอบ ย่อมเสีย
ไปเปล่าโดยไม่มีการใช้สอย ฉันนั้นเหมือนกัน
มหาบพิตร ส่วนสัตบุรุษได้โภคะมากมายแล้ว ทำตนให้ได้รับความสุขสำราญ
ทำมารดาและบิดาให้ได้รับความสุขสำราญ ทำบุตรและภรรยาให้ได้รับความสุขสำราญ
ทำทาสและกรรมกรให้ได้รับความสุขสำราญ ทำมิตรและอำมาตย์ให้ได้รับความสุข
สำราญ ตั้งทักษิณาอันมีผลในเบื้องบน มีผลอันดี มีวิบากเป็นสุข เป็นไปเพื่อสวรรค์


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๙. ปฐมอปุตตกสูตร

ไว้ในสมณพราหมณ์ทั้งหลาย โภคะเหล่านั้นของเขาที่ใช้สอยโดยชอบอยู่อย่างนี้
พระราชาทั้งหลายก็ริบไปไม่ได้ โจรทั้งหลายก็ปล้นเอาไปไม่ได้ ไฟก็ไหม้ไม่ได้
น้ำก็พัดไปไม่ได้ ทายาททั้งหลายผู้ไม่เป็นที่รักก็นำไปไม่ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ โภคะ
เหล่านั้นของเขาที่ใช้สอยอยู่โดยชอบ ย่อมมีการใช้สอย ไม่เสียไปเปล่า
มหาบพิตร ในที่ไม่ไกลจากหมู่บ้าน หรือนิคม มีสระโบกขรณี ซึ่งมีน้ำใส
เย็น จืดสนิท ใสสะอาด มีท่าน้ำดี น่ารื่นรมย์ น้ำนั้นคนตักไปบ้าง ดื่มบ้าง อาบบ้าง
ทำตามที่ต้องการบ้าง เมื่อเป็นเช่นนี้ น้ำที่ใช้สอยอยู่โดยชอบนั้น ชื่อว่ามีการใช้สอย
ไม่เสียไปเปล่า แม้ฉันใด มหาบพิตร สัตบุรุษได้โภคะมากมายแล้ว ทำตนให้ได้รับ
ความสุขสำราญ ฯลฯ เมื่อเป็นเช่นนี้ โภคะเหล่านั้นของเขาที่ใช้สอยอยู่โดยชอบ
ย่อมมีการใช้สอย ไม่เสียไปเปล่า ฉันนั้นเหมือนกัน”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ฯลฯ จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
น้ำเย็นในถิ่นอมนุษย์ที่ไม่ได้ใช้สอย
ย่อมเหือดแห้งไป ฉันใด
ทรัพย์ที่คนชั่วได้แล้ว ตนเองไม่ได้ใช้
และไม่ให้คนอื่นใช้ ก็เสียไปเปล่า ฉันนั้น
ส่วนวิญญูชนผู้มีปัญญานั้น ได้โภคะแล้ว
ย่อมใช้สอยและประกอบกิจการงาน
เขาเป็นคนอาจหาญ เลี้ยงดูหมู่ญาติ ไม่ถูกติเตียน
ย่อมเข้าถึงแดนสวรรค์

ปฐมอปุตตกสูตรที่ ๙ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๑๐. ทุติยอปุตตกสูตร

๑๐. ทุติยอปุตตกสูตร
ว่าด้วยทรัพย์ที่ไม่มีบุตร สูตรที่ ๒

[๑๓๑] ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลได้เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแต่ยังวัน
ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับพระเจ้า
ปเสนทิโกศลดังนี้ว่า “เชิญเถิด มหาบพิตร พระองค์เสด็จมาจากไหนแต่ยังวัน”
พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คหบดีผู้เป็นเศรษฐี
ในกรุงสาวัตถีนี้ ถึงแก่กรรมแล้ว ข้าพระองค์ให้ขนทรัพย์สมบัติที่ไม่มีบุตรนั้นมาไว้
ในพระราชวังแล้วก็มาเข้าเฝ้า เฉพาะเงินเท่านั้นมี ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ ส่วนเครื่องเงินนั้น
ไม่ต้องพูดถึง อนึ่ง คหบดีผู้เป็นเศรษฐีนั้น ได้บริโภคอาหารเช่นนี้ คือ บริโภคปลายข้าว
กับน้ำผักดอง ได้ใช้ผ้าเครื่องนุ่งห่มเช่นนี้ คือ นุ่งห่มผ้าเนื้อหยาบที่ตัดเป็นสามชิ้น
เย็บติดกัน ได้ใช้ยานพาหนะเช่นนี้ คือ ใช้รถเก่า ๆ กั้นร่มทำด้วยใบไม้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มหาบพิตร ข้อนี้เป็นอย่างนั้น มหาบพิตร ข้อนี้
เป็นอย่างนั้น เรื่องเคยมีมาแล้ว คหบดีผู้เป็นเศรษฐีนั้น ได้สั่งให้จัดเตรียม
บิณฑบาตถวายพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าพระนามว่าตครสิขีว่า ‘ท่านทั้งหลาย จงถวาย
อาหารบิณฑบาตแก่สมณะ’ แล้วลุกจากอาสนะเดินจากไป ภายหลังได้มีความ
เสียดายว่า ‘อาหารบิณฑบาตนี้ให้ทาสหรือกรรมกรบริโภคยังดีกว่า’ นอกจากนี้
เขายังปลิดชีวิตบุตรน้อยคนเดียวของพี่ชาย เพราะทรัพย์สมบัติเป็นเหตุอีกด้วย
มหาบพิตร ด้วยผลของกรรมที่คหบดีผู้เป็นเศรษฐีนั้น สั่งให้จัดเตรียมอาหาร
บิณฑบาตถวายพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าพระนามว่าตครสิขี เขาจึงบังเกิดในสุคติโลก
สวรรค์ ๗ ครั้ง ด้วยเศษผลของกรรมนั้นเหมือนกัน ได้เป็นเศรษฐีในกรุงสาวัตถีนี้
แหละถึง ๗ ครั้ง
มหาบพิตร ด้วยผลของกรรมที่คหบดีผู้เป็นเศรษฐีนั้นถวายอาหารบิณฑบาตแล้ว
ภายหลังได้มีความเสียดายว่า ‘อาหารบิณฑบาตนี้ให้ทาสหรือกรรมกรบริโภค

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๑๐. ทุติยอปุตตกสูตร

ยังดีกว่า’ เขาจึงไม่คิดอยากบริโภคอาหารอันมากมาย ไม่คิดอยากใช้ผ้าเครื่องนุ่งห่ม
อันมากมาย ไม่คิดอยากใช้ยานพาหนะอย่างโอ่อ่า ไม่คิดอยากบริโภคกาม-
คุณ ๕ ที่ดี ๆ
มหาบพิตร อนึ่ง ด้วยผลของกรรมที่คหบดีผู้เศรษฐีนั้นปลิดชีวิตบุตรน้อย
คนเดียวของพี่ชาย เพราะทรัพย์สมบัติเป็นเหตุ เขาจึงถูกไฟเผาอยู่ในนรกหลายปี
หลายร้อยปี หลายพันปี หลายแสนปี ด้วยเศษผลของกรรมนั้นเหมือนกัน
ทรัพย์สมบัติที่ไม่มีบุตรรับเอา จึงถูกขนเข้าคลังหลวงนี้เป็นครั้งที่ ๗
มหาบพิตร ก็บุญเก่าของคหบดี ผู้เป็นเศรษฐีนั้นหมดสิ้นแล้ว และบุญใหม่ก็
ไม่ได้สะสมไว้ ในวันนี้ คหบดีผู้เป็นเศรษฐีนั้นถูกไฟเผาอยู่ในมหาโรรุวนรก”
พระเจ้าปเสนทิโกศลทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คหบดีผู้เป็นเศรษฐี
บังเกิดในมหาโรรุวนรกอย่างนั้นหรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อย่างนั้น มหาบพิตร คหบดีผู้เป็นเศรษฐี
บังเกิดในมหาโรรุวนรกแล้ว”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ฯลฯ จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
ข้าวเปลือก ทรัพย์ เงินทอง
สิ่งของที่หวงแหนอย่างใดอย่างหนึ่ง
หรือทาส กรรมกร คนรับใช้
และผู้อาศัยที่มีอยู่ ทั้งหมดนั้นเขานำไปไม่ได้
จำต้องละทิ้งไว้ทั้งหมด
อนึ่ง บุคคลทำกรรมใดทางกาย
ทางวาจา หรือทางใจ
กรรมนั้นแลเป็นสมบัติของเขา
ทั้งเขาจะนำกรรมนั้นไปได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต]
๒. ทุติยวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

อนึ่งกรรมนั้นย่อมติดตามเขาไป
ดุจเงาติดตามตัวไป ฉะนั้น
เพราะฉะนั้น บุคคลควรทำกรรมดี
สะสมไว้เป็นสมบัติในโลกหน้า
เพราะบุญเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายในโลกหน้า

ทุติยอปุตตกสูตรที่ ๑๐ จบ
วรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้คือ

๑. สัตตชฏิลสูตร ๒. ปัญจราชสูตร
๓. โฑณปากสูตร ๔. ปฐมสังคามสูตร
๕. ทุติยสังคามสูตร ๖. ธีตุสูตร
๗. ปฐมอัปปมาทสูตร ๘. ทุติยอัปปมาทสูตร
๙. ปฐมอปุตตกสูตร ๑๐. ทุติยอปุตตกสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต] ๓. ตติยวรรค ๑. ปุคคลสูตร

๓. ตติยวรรค
หมวดที่ ๓
๑. ปุคคลสูตร
ว่าด้วยบุคคล ๔ ประเภท

[๑๓๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลได้เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับพระเจ้า
ประเสนทิโกศลผู้ประทับนั่ง ณ ที่สมควรดังนี้ว่า “มหาบพิตร บุคคล ๔ จำพวก๑นี้
มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้มืดมาและมืดไป
๒. บุคคลผู้มืดมาแต่สว่างไป
๓. บุคคลผู้สว่างมาแต่มืดไป
๔. บุคคลผู้สว่างมาและสว่างไป
บุคคลผู้มืดมาและมืดไป เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เกิดในตระกูลต่ำ คือ ตระกูลจัณฑาล ตระกูล
ช่างสาน ตระกูลนายพราน ตระกูลช่างรถ หรือตระกูลคนเทขยะ เป็นตระกูล
ยากจน มีข้าว น้ำและสิ่งของเครื่องใช้น้อย เป็นไปอย่างฝืดเคือง เป็นแหล่งที่หา
ของกินและเครื่องนุ่งห่มได้ยาก และเขามีผิวพรรณหม่นหมอง ไม่น่าดู ต่ำเตี้ย
มีความเจ็บป่วยมาก ตาบอด เป็นง่อย เป็นคนกระจอก หรือเป็นโรคอัมพาต
มักไม่ได้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่อง
ประทีป และเขายังประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต หลังจากตายแล้วจะไป
เกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต] ๓. ตติยวรรค ๑. ปุคคลสูตร

อุปมาเหมือนบุรุษไปจากความมืดสู่ความมืดมิด หรือไปจากความมืดมัว
สู่ความมืดมัว หรือไปจากสายเลือดชั่วสู่สายเลือดชั่ว แม้ฉันใด มหาบพิตร ตถาคต
กล่าวว่า บุคคลนี้มีอุปไมยฉันนั้น บุคคลผู้มืดมาและมืดไป เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้มืดมาแต่สว่างไป เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เกิดในตระกูลต่ำ คือ ตระกูลจัณฑาล ตระกูล
ช่างสาน ตระกูลนายพราน ตระกูลช่างรถ หรือตระกูลคนเทขยะ เป็นตระกูล
ยากจน มีข้าว น้ำและสิ่งของเครื่องใช้น้อย เป็นไปอย่างฝืดเคือง เป็นแหล่งที่หา
ของกินและเครื่องนุ่งห่มได้ยาก และเขามีผิวพรรณหม่นหมอง ไม่น่าดู ต่ำเตี้ย
มีความเจ็บป่วยมาก ตาบอด เป็นง่อย เป็นคนกระจอก หรือเป็นโรคอัมพาต
มักไม่ได้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และ
เครื่องประทีป แต่เขาประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต หลังจากตายแล้ว
จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
อุปมาเหมือนบุรุษขึ้นจากแผ่นดินสู่บัลลังก์ หรือขึ้นจากบัลลังก์สู่หลังม้า หรือ
ขึ้นจากหลังม้าสู่คอช้าง หรือขึ้นจากคอช้างสู่ปราสาท แม้ฉันใด มหาบพิตร ตถาคต
กล่าวว่า บุคคลนี้มีอุปไมยฉันนั้น บุคคลผู้มืดมาแต่สว่างไป เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้สว่างมาแต่มืดไป เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เกิดในตระกูลสูง คือ ตระกูลขัตติยมหาศาล ตระกูล
พราหมณมหาศาล หรือตระกูลคหบดีมหาศาล เป็นตระกูลมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก
มีโภคะมาก มีทองและเงินมาก มีเครื่องใช้ที่น่าปลื้มใจมากมาย มีทรัพย์และธัญชาติ
มากมาย และเขามีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส มีผิวพรรณผุดผ่องยิ่งนัก ได้ข้าว น้ำ
ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีป แต่เขา
ประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ
วินิบาต นรก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต] ๓. ตติยวรรค ๑. ปุคคลสูตร

อุปมาเหมือนบุรุษลงจากปราสาทสู่คอช้าง หรือลงจากคอช้างสู่หลังม้า หรือลง
จากหลังม้าสู่บัลลังก์ หรือลงจากบัลลังก์สู่พื้นดิน หรือลงจากพื้นดินเข้าสู่ที่มืด
แม้ฉันใด มหาบพิตร ตถาคตกล่าวว่า บุคคลนี้มีอุปไมยฉันนั้น บุคคลผู้สว่างมา
แต่มืดไป เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้สว่างมาและสว่างไป เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เกิดในตระกูลสูง คือ ตระกูลขัตติยมหาศาล ตระกูล
พราหมณมหาศาล หรือตระกูลคหบดีมหาศาล เป็นตระกูลมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก
มีโภคะมาก มีทองและเงินมาก มีเครื่องใช้ที่น่าปลื้มใจมากมาย มีทรัพย์และธัญชาติ
มากมาย และเขามีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส มีผิวพรรณผุดผ่องยิ่งนัก ได้ข้าว น้ำ
ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีป และเขาก็
ประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรค์
อุปมาเหมือนบุรุษก้าวไปด้วยดีจากบัลลังก์สู่บัลลังก์ หรือก้าวไปด้วยดีจากหลัง
ม้าสู่หลังม้า หรือก้าวไปด้วยดีจากคอช้างสู่คอช้าง หรือก้าวไปด้วยดีจากปราสาทสู่
ปราสาท แม้ฉันใด มหาบพิตร ตถาคตกล่าวว่า บุคคลนี้มีอุปไมยฉันนั้น บุคคล
ผู้สว่างมาและสว่างไป เป็นอย่างนี้แล
มหาบพิตร บุคคล ๔ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
มหาบพิตร บุรุษเข็ญใจไม่มีศรัทธา
เป็นคนตระหนี่เหนียวแน่น มีความดำริชั่ว
เป็นมิจฉาทิฏฐิ ไม่มีความเอื้อเฟื้อ
ด่าบริภาษสมณะ หรือพราหมณ์ หรือวณิพกอื่น ๆ
เขาเป็นคนไม่มีประโยชน์ เป็นคนมักโกรธ
ย่อมห้ามคนที่กำลังจะให้สิ่งของเครื่องใช้แก่คนที่กำลังขอ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต] ๓. ตติยวรรค ๑. ปุคคลสูตร

มหาบพิตรผู้เป็นใหญ่กว่าปวงชน
คนเช่นนั้นเมื่อตายแล้วย่อมเข้าถึงนรกอันโหดร้าย
บุคคลประเภทนี้ ชื่อว่าผู้มืดมาและมืดไป
มหาบพิตร บุรุษเข็ญใจ แต่มีศรัทธา
ไม่มีความตระหนี่ มีความดำริประเสริฐ
มีใจไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมให้ทาน
ย่อมลุกรับสมณะ หรือพราหมณ์ หรือวณิพกอื่น ๆ
ย่อมสำเหนียกในจรรยาอันเรียบร้อย
ไม่ห้ามคนที่กำลังจะให้สิ่งของเครื่องใช้แก่คนที่กำลังขอ
มหาบพิตรผู้เป็นใหญ่กว่าปวงชน
คนเช่นนั้นเมื่อตายแล้ว ย่อมเข้าถึงไตรทิพยสถาน
บุคคลประเภทนี้ ชื่อว่าผู้มืดมาแต่สว่างไป
มหาบพิตร บุรุษมั่งมี แต่ไม่มีศรัทธา
เป็นคนตระหนี่เหนียวแน่น มีความดำริชั่ว
เป็นมิจฉาทิฏฐิ ไม่มีความเอื้อเฟื้อ
ด่าบริภาษสมณะ หรือพราหมณ์ หรือวณิพกอื่น ๆ
เขาเป็นคนไม่มีประโยชน์ เป็นคนมักโกรธ
ย่อมห้ามคนที่กำลังจะให้สิ่งของเครื่องใช้แก่คนที่กำลังขอ
มหาบพิตรผู้เป็นใหญ่กว่าปวงชน
คนเช่นนั้นเมื่อตายแล้วย่อมเข้าถึงนรกอันโหดร้าย
บุคคลประเภทนี้ ชื่อว่าผู้สว่างมาและมืดไป
มหาบพิตร บุรุษมั่งมี ทั้งมีศรัทธา
ไม่มีความตระหนี่ มีความดำริประเสริฐ
มีใจไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมให้ทาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต] ๓. ตติยวรรค ๒. อัยยิกาสูตร

ย่อมลุกรับสมณะ หรือพราหมณ์ หรือวณิพกอื่น ๆ
ย่อมสำเหนียกในจรรยาอันเรียบร้อย
ไม่ห้ามคนที่กำลังจะให้สิ่งของเครื่องใช้แก่คนที่กำลังขอ
มหาบพิตรผู้เป็นใหญ่กว่าปวงชน
คนเช่นนั้นเมื่อตายแล้ว ย่อมเข้าถึงไตรทิพยสถาน
บุคคลประเภทนี้ ชื่อว่าผู้สว่างมาและสว่างไป

ปุคคลสูตรที่ ๑ จบ

๒. อัยยิกาสูตร
ว่าด้วยพระอัยยิกาของพระเจ้าปเสนทิโกศล

[๑๓๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลได้เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
แต่ยังวัน ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับ
พระเจ้าปเสนทิโกศลผู้ประทับนั่ง ณ ที่สมควรดังนี้ว่า “เชิญเถิดมหาบพิตร พระองค์
เสด็จมาจากไหนแต่ยังวัน”
พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระอัยยิกาของ
ข้าพระองค์ ทรงพระชรา แก่เฒ่า เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัย มีพระชนม์ ๑๒๐ ชันษา
ได้ทิวงคตเสียแล้ว พระองค์เป็นที่รัก เป็นที่พอใจของข้าพระองค์มาก พระพุทธเจ้าข้า
หากข้าพระองค์ใช้ช้างแก้วแลกแล้วจะพึงได้สมหวังว่า ‘ขอพระอัยยิกาของเรา
อย่าได้ทิวงคตเลย’ ข้าพระองค์ก็พึงให้แม้ซึ่งช้างแก้วเพื่อให้ได้สมหวังว่า ‘ขอพระ
อัยยิกาของเราอย่าได้ทิวงคตเลย’
หากข้าพระองค์ใช้ม้าแก้วแลกแล้วจะพึงได้สมหวังว่า ‘ขอพระอัยยิกาของเรา
อย่าได้ทิวงคตเลย’ ข้าพระองค์ก็พึงให้แม้ซึ่งม้าแก้วเพื่อให้ได้สมหวังว่า ‘ขอพระ
อัยยิกาของเราอย่าได้ทิวงคตเลย’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต] ๓. ตติยวรรค ๒. อัยยิกาสูตร

หากข้าพระองค์ใช้บ้านส่วยแลกแล้วจะพึงได้สมหวังว่า ‘ขอพระอัยยิกาของเรา
อย่าได้ทิวงคตเลย’ ข้าพระองค์ก็พึงให้แม้ซึ่งบ้านส่วยเพื่อให้ได้สมหวังว่า ‘ขอพระ
อัยยิกาของเราอย่าได้ทิวงคตเลย’
หากข้าพระองค์ใช้ชนบทแลกแล้วจะพึงได้สมหวังว่า ‘ขอพระอัยยิกาของเรา
อย่าได้ทิวงคตเลย’ ข้าพระองค์ก็พึงให้แม้ซึ่งชนบทเพื่อให้ได้สมหวังว่า ‘ขอพระอัยยิกา
ของเราอย่าได้ทิวงคตเลย’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ พระผู้มีพระภาคตรัส
เรื่องนี้ไว้ดียิ่งนักว่า ‘สัตว์ทั้งปวงมีความตายเป็นธรรมดา มีความตายเป็นที่สุด
ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มหาบพิตร ข้อนี้เป็นอย่างนั้น มหาบพิตร ข้อนี้
เป็นอย่างนั้น สัตว์ทั้งปวงมีความตายเป็นธรรมดา มีความตายเป็นที่สุด ไม่ล่วงพ้น
ความตายไปได้ มหาบพิตร ภาชนะดินชนิดใดชนิดหนึ่ง ทั้งดิบและสุก ภาชนะดิน
เหล่านั้นทั้งหมด มีความแตกเป็นธรรมดา มีความแตกเป็นที่สุด ไม่พ้นความแตก
ไปได้ แม้ฉันใด มหาบพิตร สัตว์ทั้งปวงก็มีความตายเป็นธรรมดา มีความตาย
เป็นที่สุด ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ ฉันนั้นเหมือนกัน”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ฯลฯ จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
สัตว์ทั้งปวงจักตาย เพราะชีวิตมีความตายเป็นที่สุด
สัตว์ทั้งหลายจักไปตามกรรม เข้าถึงผลบุญและบาป
คือ ผู้ทำบาปจักไปนรก ส่วนผู้ทำบุญจักไปสวรรค์
เพราะฉะนั้น บุคคลควรทำกรรมดี
สะสมไว้เป็นสมบัติในโลกหน้า
เพราะบุญเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายในโลกหน้า

อัยยิกาสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต] ๓. ตติยวรรค ๓. โลกสูตร

๓. โลกสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ไม่เกิดประโยชน์แก่ชาวโลก

[๑๓๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระเจ้าปเสนทิโกศลประทับนั่ง ณ ที่สมควรแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมเท่าไรหนอ เมื่อเกิดขึ้นแก่ชาวโลกย่อมเกิดขึ้น
เพื่อไม่เป็นประโยชน์ เพื่อความทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่ผาสุก”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มหาบพิตร ธรรม ๓ ประการ เมื่อเกิดขึ้นแก่ชาวโลก
ย่อมเกิดขึ้นเพื่อไม่เป็นประโยชน์ เพื่อความทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่ผาสุก
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. โลภธรรม เมื่อเกิดขึ้นแก่ชาวโลกย่อมเกิดขึ้นเพื่อไม่เป็นประโยชน์
เพื่อความทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่ผาสุก
๒. โทสธรรม เมื่อเกิดขึ้นแก่ชาวโลกย่อมเกิดขึ้นเพื่อไม่เป็นประโยชน์
เพื่อความทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่ผาสุก
๓. โมหธรรม เมื่อเกิดขึ้นแก่ชาวโลกย่อมเกิดขึ้นเพื่อไม่เป็นประโยชน์
เพื่อความทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่ผาสุก
มหาบพิตร ธรรม ๓ ประการนี้แล เมื่อเกิดขึ้นแก่ชาวโลกย่อมเกิดขึ้นเพื่อไม่
เป็นประโยชน์ เพื่อความทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่ผาสุก”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ฯลฯ จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
โลภะ โทสะ และโมหะเกิดขึ้นภายในตน
ย่อมทำร้ายบุรุษผู้มีจิตเลวทราม
ดุจขุยไผ่กำจัดต้นไผ่ ฉะนั้น๑

โลกสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต]
๓. ตติยวรรค ๔. อิสสัตถสูตร

๔. อิสสัตถสูตร
ว่าด้วยทานที่ประกอบด้วยองค์ ๕ มีผลมาก

[๑๓๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระเจ้าปเสนทิโกศลประทับนั่ง ณ ที่สมควรแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลควรให้ทาน ณ ที่ไหน”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “มหาบพิตร จิตเลื่อมใสในที่ใดล่ะ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทานที่ให้ในที่ไหนจึงมีผลมาก”
“มหาบพิตร บุคคลควรให้ทานในที่ไหน นั่นประการหนึ่ง และทานที่ให้ในที่ไหน
จึงมีผลมาก นั่นประการหนึ่ง ทานที่ให้แก่ผู้มีศีลมีผลมาก ทานที่ให้ในผู้ทุศีลไม่มีผลมาก
ด้วยเหตุนั้น อาตมภาพจักย้อนถามพระองค์ในปัญหาข้อนั้นบ้าง พระองค์พอพระทัย
อย่างใดพึงชี้แจงอย่างนั้น พระองค์จะทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร ณ ที่นี้
การยุทธ์พึงปรากฏเฉพาะพระพักตร์ของพระองค์ สงครามพึงประชิดกัน ถ้ากษัตริย์
หนุ่มเป็นผู้ไม่ได้ศึกษา ไม่ได้ฝึกปรือ ไม่มีความชำนาญ ไม่ได้ประลองการยิง เป็นคน
ขลาด หวาดสะดุ้ง มักวิ่งหนี มาอาสา พระองค์พึงชุบเลี้ยงคนนั้นหรือ และพระองค์
พึงต้องการคนเช่นนั้นหรือ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่พึงชุบเลี้ยงคนนั้น และข้าพระองค์
ไม่ต้องการคนเช่นนั้นเลย”
“ถ้าพราหมณ์หนุ่มเป็นผู้ไม่ได้ศึกษา ฯลฯ มาอาสา ฯลฯ ถ้าแพศย์หนุ่มเป็น
ผู้ไม่ได้ศึกษา ฯลฯ มาอาสา ฯลฯ ถ้าศูทรหนุ่มเป็นผู้ไม่ได้ศึกษา ฯลฯ มาอาสา
พระองค์พึงชุบเลี้ยงคนนั้นหรือ และพระองค์พึงต้องการคนเช่นนั้นหรือ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่พึงชุบเลี้ยงคนนั้น และข้าพระองค์
ไม่ต้องการคนเช่นนั้นเลย”
“มหาบพิตร พระองค์จะทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร ณ ที่นี้การยุทธ์
พึงปรากฏเฉพาะพระพักตร์ของพระองค์ สงครามพึงประชิดกัน ถ้ากษัตริย์หนุ่มเป็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต]
๓. ตติยวรรค ๔. อิสสัตถสูตร

ผู้ศึกษาดีแล้ว ได้ฝึกปรือแล้ว มีความชำนาญ ได้ฝึกการยิงมาแล้ว ไม่เป็นคน
ขลาด ไม่หวาดสะดุ้ง ไม่หลบหนี มาอาสา พระองค์พึงชุบเลี้ยงคนนั้นหรือ
และพระองค์พึงต้องการคนเช่นนั้นหรือ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์พึงชุบเลี้ยงคนนั้น และข้าพระองค์พึง
ต้องการคนเช่นนั้น”
“ถ้าพราหมณ์หนุ่มเป็นผู้ศึกษาดีแล้ว ฯลฯ มาอาสา ฯลฯ ถ้าแพศย์หนุ่ม
เป็นผู้ศึกษาดีแล้ว ฯลฯ มาอาสา ฯลฯ ถ้าศูทรหนุ่มเป็นผู้ศึกษาดีแล้ว ฯลฯ
มาอาสา พระองค์พึงชุบเลี้ยงคนนั้นหรือ และพระองค์พึงต้องการคนเช่นนั้นหรือ”
“ฉันนั้นนั่นแล มหาบพิตร แม้หากว่ากุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
จากตระกูลใด และกุลบุตรนั้นเป็นผู้ละองค์ ๕ เป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ทานที่ให้
แล้วในกุลบุตรนั้นจากตระกูลนั้น ย่อมมีผลมาก”
องค์ ๕ อะไรบ้างอันกุลบุตรนั้นละได้ คือ
๑. กามฉันทะ (ความพอใจในกาม) อันกุลบุตรนั้นละได้
๒. พยาบาท (ความคิดปองร้าย) อันกุลบุตรนั้นละได้
๓. ถีนมิทธะ (ความหดหู่และเซื่องซึม) อันกุลบุตรนั้นละได้
๔. อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ) อันกุลบุตรนั้นละได้
๕. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) อันกุลบุตรนั้นละได้
องค์ ๕ นี้แลอันกุลบุตรนั้นละได้
กุลบุตรนั้นเป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อะไรบ้าง
คือ กุลบุตรนั้น
๑. เป็นผู้ประกอบด้วยสีลขันธ์ของพระอเสขะ
๒. เป็นผู้ประกอบด้วยสมาธิขันธ์ของพระอเสขะ
๓. เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาขันธ์ของพระอเสขะ
๔. เป็นผู้ประกอบด้วยวิมุตติขันธ์ของพระอเสขะ
๕. เป็นผู้ประกอบด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ของพระอเสขะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต]
๓. ตติยวรรค ๔. อิสสัตถสูตร

กุลบุตรนั้นเป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ทานที่ให้แล้วในกุลบุตรผู้ละองค์ ๕
ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ย่อมมีผลมาก”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ฯลฯ จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
ศิลปะธนู กำลัง และความเพียร๑มีอยู่ในชายใด
พระราชาผู้ทรงการยุทธ์พึงชุบเลี้ยงชายหนุ่มผู้เช่นนั้น
ไม่พึงชุบเลี้ยงชายหนุ่มผู้ไม่กล้าหาญ
เพราะเหตุแห่งชาติ ฉันใด
ธรรมคือขันติและโสรัจจะ๒ตั้งอยู่ในบุคคลใด
บุคคลพึงบูชาบุคคลนั้นผู้มีปัญญา
มีความประพฤติเยี่ยงพระอริยะ
แม้มีชาติตระกูลต่ำ ฉันนั้นเหมือนกัน
บุคคลพึงสร้างอาศรมอันเป็นที่รื่นรมย์
อาราธนาพระพหูสูตทั้งหลายให้อยู่ ณ ที่นั้น
พึงสร้างบ่อน้ำไว้ในป่าที่กันดารน้ำ
และสร้างสะพานในที่เป็นหล่ม
พึงถวายข้าว น้ำ ของเคี้ยว ผ้าและเสนาสนะ
ในท่านผู้ซื่อตรงทั้งหลาย ด้วยใจอันเลื่อมใส
เมฆมีสายฟ้าแลบแปลบปลาบ
มียอดตั้งร้อย คำรามอยู่ ตกรดแผ่นดิน
ทำที่ดอนและที่ลุ่มให้เต็ม แม้ฉันใด


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต]
๓. ตติยวรรค ๕. ปัพพโตปมสูตร

ทายกผู้มีศรัทธา เป็นบัณฑิตได้ฟังแล้ว
ตกแต่งโภชนาหาร เลี้ยงวณิพกด้วยข้าวน้ำให้อิ่มหนำ
เที่ยวไปในโรงทาน สั่งว่า ท่านทั้งหลายจงให้ ท่านทั้งหลายจงให้
และทายกนั้นบันลือเสียงเหมือนเมฆคำราม
เมื่อฝนกำลังตก สายธารแห่งบุญอันไพบูลย์นั้น
ย่อมหลั่งรดทายกผู้ให้ ฉันนั้น

อิสสัตถสูตรที่ ๔ จบ

๕. ปัพพโตปมสูตร
ว่าด้วยชราและมรณะเป็นประดุจภูเขา

[๑๓๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลได้เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแต่
ยังวัน ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับพระเจ้า
ปเสนทิโกศลผู้ประทับนั่ง ณ ที่สมควรดังนี้ว่า “เชิญเถิดมหาบพิตร พระองค์เสด็จ
มาจากไหนแต่ยังวัน”
พระเจ้าประเสนทิโกศลกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กษัตราธิราชผู้ได้
มูรธาภิเษกแล้ว มัวเมาเพราะความเป็นใหญ่ ถูกความกำหนัดในกามกลุ้มรุมแล้ว
ผู้ถึงซึ่งความมั่นคงในชนบท ชนะปฐพีมณฑลใหญ่แล้วครอบครองอยู่ มีราช-
กรณียกิจอันใด บัดนี้ ข้าพระองค์ก็ขวนขวายในราชกรณียกิจอันนั้น”
“มหาบพิตร พระองค์จะทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร ณ ที่นี้ ราชบุรุษ
ของพระองค์ผู้ควรเชื่อถือ มีวาจาเป็นหลักฐาน มาจากทิศตะวันออก เข้ามาเฝ้า
พระองค์แล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า ‘ขอเดชะใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ข้าพระองค์
มาจากทิศตะวันออก ณ ที่นั้นได้เห็นภูเขาใหญ่สูงเทียมเมฆกำลังกลิ้งบดสัตว์ทั้งปวง
พระเจ้าข้า ขอพระองค์ทรงกระทำสิ่งที่พึงกระทำเถิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต]
๓. ตติยวรรค ๕. ปัพพโตปมสูตร

ลำดับนั้น บุรุษคนที่ ๒ ผู้ควรเชื่อถือ มีวาจาเป็นหลักฐาน มาจากทิศ
ตะวันตก ฯลฯ
ต่อจากนั้น บุรุษคนที่ ๓ ผู้ควรเชื่อถือ มีวาจาเป็นหลักฐาน มาจากทิศเหนือ
ฯลฯ
ต่อจากนั้น บุรุษคนที่ ๔ ผู้ควรเชื่อถือ มีวาจาเป็นหลักฐาน มาจากทิศใต้
เข้ามาเฝ้าพระองค์แล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า ‘ขอเดชะใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ข้าพระองค์
มาจากทิศใต้ ณ ที่นั้น ได้เห็นภูเขาใหญ่สูงเทียมเมฆกำลังกลิ้งบดสัตว์ทั้งปวง
พระเจ้าข้า ขอพระองค์ทรงกระทำสิ่งที่พึงกระทำเถิด’ เมื่อมหาภัยร้ายกาจ ที่จะทำ
ให้มนุษย์สิ้นชีวิต อันใหญ่หลวงเห็นปานนี้ บังเกิดขึ้นแล้วแก่พระองค์ อะไรเล่าจะเป็น
กิจที่พระองค์ควรกระทำในฐานะเป็นมนุษย์ที่หาได้ยาก”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อมหาภัยร้ายกาจ ที่จะทำให้มนุษย์สิ้นชีวิต อันใหญ่
หลวงเห็นปานนี้ บังเกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์ อะไรเล่าจะเป็นกิจที่ข้าพระองค์ควรกระทำ
ในฐานะเป็นมนุษย์ที่หาได้ยาก นอกจากปฏิบัติธรรมให้เสมอต้นเสมอปลาย สร้างบุญ
กุศลเอาไว้”
“มหาบพิตร อาตมภาพขอถวายพระพรให้ทรงทราบ ชราและมรณะย่อม
ครอบงำพระองค์ เมื่อชราและมรณะครอบงำพระองค์อยู่ อะไรเล่าจะเป็นกิจที่พระองค์
ควรกระทำ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อชราและมรณะครอบงำข้าพระองค์อยู่ อะไรเล่า
จะเป็นกิจที่ข้าพระองค์ควรกระทำ นอกจากปฏิบัติธรรมให้เสมอต้นเสมอปลาย
สร้างบุญกุศลเอาไว้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กษัตราธิราชผู้ได้มูรธาภิเษกแล้ว มัวเมา
เพราะความเป็นใหญ่ ถูกความกำหนัดในกามกลุ้มรุมแล้ว ผู้ถึงความมั่นคงในชนบท
ผู้ชนะปฐพีมณฑลใหญ่แล้วครอบครองอยู่ ทรงทำการรบด้วยพลช้างเหล่าใด เมื่อชรา
และมรณะครอบงำอยู่ ก็ไม่ใช่คติ ไม่ใช่วิสัยที่จะทำการรบด้วยพลช้างแม้เหล่านั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต]
๓. ตติยวรรค ๕. ปัพพโตปมสูตร

กษัตราธิราชผู้ได้มูรธาภิเษกแล้ว ฯลฯ ผู้ชนะปฐพีมณฑลใหญ่แล้วครอบครองอยู่
ทรงทำการรบด้วยพลม้าเหล่าใด ฯลฯ รบด้วยพลรถเหล่าใด ฯลฯ รบด้วยพลเดิน
เท้าแม้เหล่าใด เมื่อชราและมรณะครอบงำอยู่ ก็ไม่ใช่คติ ไม่ใช่วิสัยที่จะทำการรบ
ด้วยพลเดินเท้าแม้เหล่านั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในราชตระกูลนี้ มหาอำมาตย์
ผู้มีมนตร์ ซึ่งสามารถจะใช้มนตร์ทำลายข้าศึกที่ยกทัพมา ก็มีอยู่เหมือนกัน แต่เมื่อ
ชราและมรณะครอบงำอยู่ ก็ไม่ใช่คติ ไม่ใช่วิสัยที่จะทำการรบด้วยมนตร์แม้เหล่านั้น
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนึ่ง ในราชตระกูลนี้ เงินทองทั้งที่อยู่ในพื้นดิน ทั้งที่อยู่ใน
อากาศซึ่งพวกข้าพระองค์สามารถจะใช้เป็นเครื่องมือยุแหย่ให้ข้าศึกที่ยกทัพมาแตกกัน
ก็มีอยู่เป็นอันมาก แต่เมื่อชราและมรณะครอบงำก็ไม่ใช่คติ ไม่ใช่วิสัยที่จะทำการรบ
ด้วยทรัพย์แม้เหล่านั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็แลเมื่อชราและมรณะครอบงำอยู่
อะไรเล่าจะเป็นกิจที่ข้าพระองค์ควรกระทำ นอกจากปฏิบัติธรรมให้เสมอต้นเสมอปลาย
สร้างบุญกุศลเอาไว้”
“มหาบพิตร ข้อนี้เป็นอย่างนั้น มหาบพิตร ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ก็เมื่อชราและ
มรณะครอบงำอยู่ อะไรเล่าจะเป็นกิจที่พระองค์ควรกระทำนอกจากปฏิบัติธรรมให้
เสมอต้นเสมอปลาย สร้างบุญกุศลเอาไว้”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ฯลฯ จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
ภูเขาใหญ่ล้วนแล้วด้วยศิลา สูงจดท้องฟ้า
กลิ้งบดสัตว์มาโดยรอบทั้ง ๔ ทิศ แม้ฉันใด
ชราและมรณะก็ฉันนั้น
ย่อมครอบงำสัตว์ทั้งหลาย คือ พวกกษัตริย์
พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คนจัณฑาล และคนเทขยะ
ไม่เว้นใคร ๆ ไว้เลย ย่อมย่ำยีเหล่าสัตว์ทั้งสิ้น
ณ ที่นั้น ไม่มียุทธภูมิสำหรับพลช้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต]
๓. ตติยวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

(พลม้า) พลรถ พลเดินเท้า
และไม่อาจจะเอาชนะแม้ด้วยมนตร์หรือด้วยทรัพย์
เพราะฉะนั้น บุคคลผู้เป็นบัณฑิต มีปัญญา
เมื่อเห็นประโยชน์ตน พึงตั้งศรัทธาไว้ในพระพุทธเจ้า
พระธรรม และพระสงฆ์
ผู้ใดมีปกติประพฤติธรรมทางกาย ทางวาจา ทางใจ
บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญผู้นั้นในโลกนี้โดยแท้
ผู้นั้นละโลกนี้ไปแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์

ปัพพโตปมสูตรที่ ๕ จบ
วรรคที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปุคคลสูตร ๒. อัยยิกาสูตร
๓. โลกสูตร ๔. อิสสัตถสูตร
๕. ปัพพโตปมสูตร

พระสูตรว่าด้วยกุศล ๕ สูตรนี้ พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐทรงแสดงไว้แล้ว

โกสลสังยุต จบบริบูรณ์


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔. มารสังยุต] ๑. ปฐมวรรค ๑. ตโปกัมมสูตร

๔. มารสังยุต
๑. ปฐมวรรค
หมวดที่ ๑
๑. ตโปกัมมสูตร
ว่าด้วยการบำเพ็ญตบะ

[๑๓๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคแรกตรัสรู้ประทับอยู่ที่ต้นอชปาลนิโครธใกล้ฝั่ง
แม้น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลา ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด
เกิดความรำพึงอย่างนี้ว่า “เราเป็นผู้พ้นแล้วหนอจากทุกกรกิริยานั้น เราเป็นผู้
พ้นดีแล้วหนอจากทุกกรกิริยาอันไม่ประกอบด้วยประโยชน์นั้น เราเป็นผู้บรรลุโพธิ-
ญาณแล้ว”
ครั้งนั้น มารผู้มีบาปได้ทราบความรำพึงของพระผู้มีพระภาคด้วยใจ จึงเข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
มาณพทั้งหลายบริสุทธิ์ได้
ด้วยการบำเพ็ญตบะใด
ท่านหลีกจากการบำเพ็ญตบะนั้นแล้ว
เป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ สำคัญว่าเป็นผู้บริสุทธิ์
ท่านพลาดจากทางแห่งความบริสุทธิ์แล้ว
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า “นี้คือมารผู้มีบาป” จึงตรัสกับมาร
ผู้มีบาปด้วยพระคาถาว่า
เรารู้แล้วว่าตบะอื่นๆ อย่างใดอย่างหนึ่ง
ไม่ประกอบด้วยประโยชน์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔.มารสังยุต] ๑.ปฐมวรรค ๒. นาคสูตร

ตบะทั้งปวงหาอำนวยประโยชน์ให้ไม่
ดุจไม้พายหรือไม้ถ่อ ไม่อำนวยประโยชน์บนบก ฉะนั้น
จึงเจริญมรรค คือ ศีล สมาธิ และปัญญา เพื่อตรัสรู้
เป็นผู้บรรลุความบริสุทธิ์อย่างยอดเยี่ยมแล้ว
มารผู้กระทำซึ่งที่สุด เราได้กำจัดท่านเสียแล้ว
ครั้งนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์เสียใจว่า “พระผู้มีพระภาคทรงรู้จักเรา พระสุคต
ทรงรู้จักเรา” จึงหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง

ตโปกัมมสูตรที่ ๑ จบ

๒. นาคสูตร
ว่าด้วยมารแปลงกายเป็นพญาช้าง

[๑๓๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคแรกตรัสรู้ประทับอยู่ที่ต้นอชปาลนิโครธใกล้ฝั่ง
แม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลา สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่งในที่กลางแจ้ง
ในราตรีอันมืดมิด และฝนกำลังตกประปรายอยู่
ครั้งนั้น มารผู้มีบาปต้องการจะให้ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง ความขนพอง
สยองเกล้าเกิดขึ้นแก่พระผู้มีพระภาค จึงแปลงกายเป็นพญาช้างใหญ่ เข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ พญาช้างนั้นมีศีรษะเหมือนก้อนหินใหญ่สีดำสนิท มีงา
ทั้งสองสีเหมือนเงินยวง มีงวงเหมือนงอนไถใหญ่
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า “นี้คือมารผู้มีบาป” จึงตรัสกับมาร
ผู้มีบาปด้วยพระคาถาว่า
ท่านแปลงกายทั้งที่งามและไม่งาม
ท่องเที่ยวอยู่ตลอดกาลอันยาวนาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔. มารสังยุต] ๑. ปฐมวรรค ๓. สุภสูตร

มารผู้มีบาปเอ๋ย พอกันทีสำหรับการแปลงกายของท่าน
มารผู้กระทำซึ่งที่สุด เราได้กำจัดท่านเสียแล้ว
ครั้งนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์เสียใจว่า “พระผู้มีพระภาคทรงรู้จักเรา พระสุคต
ทรงรู้จักเรา” จึงหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง

นาคสูตรที่ ๒ จบ

๓. สุภสูตร
ว่าด้วยร่างกายที่งาม

[๑๓๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคแรกตรัสรู้ประทับอยู่ที่ต้นอชปาลนิโครธใกล้ฝั่ง
แม้น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลา สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่งในที่กลางแจ้ง
ในราตรีอันมืดมิด และฝนกำลังตกประปรายอยู่
ครั้งนั้น มารผู้มีบาปต้องการจะให้ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง ความขนพอง
สยองเกล้าเกิดขึ้นแก่พระผู้มีพระภาค จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้ว
แสดงเพศต่าง ๆ หลากหลาย ทั้งที่งามและไม่งาม ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า “นี้คือมารผู้มีบาป” จึงตรัสกับมาร
ผู้มีบาปด้วยพระคาถาว่า
ท่านแปลงกายทั้งที่งามและไม่งาม
ท่องเที่ยวอยู่ตลอดกาลอันยาวนาน
มารผู้มีบาปเอ๋ย พอกันทีสำหรับการแปลงกายของท่าน
มารผู้กระทำซึ่งที่สุด เราได้กำจัดท่านเสียแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔. มารสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๔. ปฐมมารปาสสูตร

ชนเหล่าใดสำรวมกาย วาจา ใจดีแล้ว
ชนเหล่านั้นย่อมไม่ตกอยู่ในอำนาจของมาร
ชนเหล่านั้นย่อมไม่เดินตามหลังมาร
ครั้งนั้น มารผู้มีบาป ฯลฯ จึงหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง

สุภสูตรที่ ๓ จบ

๔. ปฐมมารปาสสูตร
ว่าด้วยบ่วงแห่งมาร สูตรที่ ๑

[๑๔๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุง
พาราณสี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย วิมุตติ(ความหลุดพ้น) อันยอดเยี่ยมเราบรรลุแล้ว วิมุตติอัน
ยอดเยี่ยมเรากระทำให้แจ้งแล้ว เพราะมนสิการโดยแยบคาย เพราะตั้งความเพียรไว้
ชอบโดยแยบคาย แม้เธอทั้งหลายก็จงบรรลุวิมุตติอันยอดเยี่ยม จงกระทำวิมุตติ
อันยอดเยี่ยมให้แจ้ง เพราะมนสิการโดยแยบคาย เพราะตั้งความเพียรไว้ชอบโดย
แยบคายเถิด”
ครั้งนั้น มารผู้มีบาปได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
ท่านได้ถูกบ่วงแห่งมาร ทั้งที่เป็นของทิพย์
ทั้งที่เป็นของมนุษย์ คล้องไว้แล้ว
ท่านได้ถูกเครื่องผูกของมารผูกไว้แล้ว
สมณะ ท่านไม่พ้นจากเราไปได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔. มารสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๕. ทุติยมารปาสสูตร

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า “นี้คือมารผู้มีบาป” จึงตรัสกับมาร
ผู้มีบาปด้วยพระคาถาว่า
เราได้พ้นแล้วจากบ่วงแห่งมาร
ทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์
เราได้พ้นแล้วจากเครื่องผูกของมาร
มารผู้กระทำซึ่งที่สุด เราได้กำจัดท่านเสียแล้ว
ครั้งนั้น มารผู้มีบาป ฯลฯ จึงหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง

ปฐมมารปาสสูตรที่ ๔ จบ

๕. ทุติยมารปาสสูตร
ว่าด้วยบ่วงแห่งมาร สูตรที่ ๒

[๑๔๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุง
พาราณสี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เราพ้นแล้วจากบ่วงทั้งปวง ทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของ
มนุษย์ แม้พวกเธอก็พ้นแล้วจากบ่วงทั้งปวง ทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์
พวกเธอจงจาริกไป เพื่อประโยชน์สุขแก่ชนจำนวนมาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก
เพื่อประโยชน์เกื้อกูล และความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย พวกเธออย่าได้
ไปโดยทางเดียวกันสองรูป จงแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามใน
ท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔. มารสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๕. ทุติยมารปาสสูตร

พยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน สัตว์ทั้งหลายผู้มีกิเลสดุจธุลีในตาน้อยมีอยู่
ย่อมเสื่อมเพราะไม่ได้ฟังธรรม จักมีผู้รู้ธรรม ภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็จักไปยังตำบล
อุรุเวลาเสนานิคมเพื่อแสดงธรรม”
ครั้งนั้น มารผู้มีบาปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้กราบทูลพระ
ผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
ท่านได้ถูกบ่วงทั้งปวง ทั้งที่เป็นของทิพย์
ทั้งที่เป็นของมนุษย์ คล้องไว้แล้ว
ท่านได้ถูกเครื่องพันธนาการมากมายผูกไว้แล้ว
สมณะ ท่านไม่พ้นจากเราไปได้
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า “นี้คือมารผู้มีบาป” จึงตรัสกับมาร
ผู้มีบาปด้วยพระคาถาว่า
เราได้พ้นแล้วจากบ่วงทั้งปวง
ทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์
เราได้พ้นแล้วจากเครื่องพันธนาการมากมาย
มารผู้กระทำซึ่งที่สุด เราได้กำจัดท่านเสียแล้ว๑
ครั้งนั้น มารผู้มีบาป ฯลฯ จึงหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง

ทุติยมารปาสสูตรที่ ๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔. มารสังยุต] ๑. ปฐมวรรค ๖. สัปปสูตร

๖. สัปปสูตร
ว่าด้วยมารแปลงกายเป็นพญางู

[๑๔๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่งในที่กลางแจ้ง ในราตรีอัน
มืดมิด และฝนกำลังตกประปรายอยู่
ครั้งนั้น มารผู้มีบาปต้องการจะให้ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง ความขนพอง
สยองเกล้าเกิดขึ้นแก่พระผู้มีพระภาค จึงแปลงกายเป็นพญางูใหญ่ เข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ พญางูนั้นมีกายเหมือนเรือลำใหญ่ที่ขุดด้วยซุงทั้งต้น มีพังพาน
เหมือนเสื่อลำแพนผืนใหญ่สำหรับปูตากแป้งของช่างทำสุรา มีนัยน์ตาเหมือนถาด
สำริดใบใหญ่ของพระเจ้าโกศล มีลิ้นแลบออกจากปากเหมือนสายฟ้าแลบในขณะที่
เมฆกำลังกระหึ่ม มีเสียงหายใจเข้าหายใจออกเหมือนเสียงสูบของช่างทองที่กำลัง
พ่นลมอยู่ ฉะนั้น
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า “นี้คือมารผู้มีบาป” จึงตรัสกับมาร
ผู้มีบาปด้วยพระคาถาว่า
มุนีใดอาศัยเรือนว่างอยู่
มุนีนั้นสำรวมตนได้แล้ว
เขาสละความอาลัยในอัตภาพนั้นเที่ยวไป
เพราะการสละความอาลัยในอัตภาพแล้วเที่ยวไปนั้น
เหมาะสมแก่ผู้เช่นนั้น
สัตว์ที่สัญจรไปมาก็มาก สิ่งที่น่ากลัวก็มาก
อนึ่ง เหลือบและสัตว์เลื้อยคลานก็ชุกชุม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔. มารสังยุต] ๑. ปฐมวรรค ๗. สุปติสูตร

แต่มหามุนีผู้อยู่ในเรือนว่าง
ไม่หวั่นไหวเพราะสิ่งที่น่ากลัวเหล่านั้นแม้เพียงขนลุก
ถึงแม้ท้องฟ้าจะแตก แผ่นดินจะไหว
สัตว์ทั้งหลายจะสะดุ้งกลัวกันก็ตามที
ถึงแม้หอกจะจ่ออยู่ที่อกก็ตามเถิด
พระพุทธเจ้าทั้งหลายก็ไม่ทรงป้องกันตัว
ครั้งนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์เสียใจว่า “พระผู้มีพระภาคทรงรู้จักเรา พระสุคต
ทรงรู้จักเรา” จึงหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง

สัปปสูตรที่ ๖ จบ

๗. สุปติสูตร
ว่าด้วยการบรรทม

[๑๔๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จจงกรมอยู่ในที่กลางแจ้งเกือบตลอด
ราตรี ในเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรี ทรงล้างพระบาทแล้วเสด็จเข้าพระวิหาร ทรงสำเร็จ
สีหไสยาโดยพระปรัศว์เบื้องขวา ทรงซ้อนพระบาทเหลื่อมพระบาท มีพระสติสัมปชัญญะ
ทรงทำความหมายรู้ที่จะเสด็จลุกขึ้นไว้ในพระทัย
ครั้งนั้น มารผู้มีบาปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้วได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
ท่านหลับหรือ ทำไมท่านยังหลับอยู่เล่า
ท่านหลับเหมือนตายเชียวหรือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔. มารสังยุต] ๑. ปฐมวรรค ๘. นันทนสูตร

ท่านหลับโดยคิดว่า ‘เราได้เรือนว่าง’ อย่างนั้นหรือ
เมื่อดวงอาทิตย์ขึ้นสูงแล้ว ทำไมท่านยังหลับอยู่เล่า
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า “นี้คือมารผู้มีบาป” จึงตรัสกับมาร
ผู้มีบาปด้วยพระคาถาว่า
ผู้ไม่มีตัณหาดุจตาข่ายซึ่งซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ
ที่จะนำไปสู่ภพไหน ๆ ถึงหลับอยู่ก็ชื่อว่าตื่น
เพราะอุปธิทั้งปวง๑สิ้นไป
เรื่องอะไรของท่านในเรื่องนี้เล่า มาร
ครั้งนั้น มารผู้มีบาป ฯลฯ จึงหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง

สุปติสูตรที่ ๗ จบ

๘. นันทนสูตร
ว่าด้วยความยินดี

[๑๔๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น มารผู้มีบาปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง
ที่ประทับแล้วได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
คนมีบุตรย่อมยินดีเพราะบุตร
คนมีโคย่อมยินดีเพราะโคเหมือนกัน
เพราะอุปธิทำให้นรชนยินดี
ฉะนั้นคนที่ไร้อุปธิจึงไม่ยินดี


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔. มารสังยุต] ๑. ปฐมวรรค ๙. ปฐมอายุสูตร

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า “นี้คือมารผู้มีบาป” จึงตรัสกับมาร
ผู้มีบาปด้วยพระคาถาว่า
คนมีบุตรย่อมเศร้าโศกเพราะบุตร
คนมีโคย่อมเศร้าโศกเพราะโคเหมือนกัน
เพราะอุปธิทำให้นรชนเศร้าโศก
ฉะนั้นคนที่ไร้อุปธิจึงไม่เศร้าโศก๑
ครั้งนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์เสียใจว่า “พระผู้มีพระภาคทรงรู้จักเรา พระสุคต
ทรงรู้จักเรา” จึงหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง

นันทนสูตรที่ ๘ จบ

๙. ปฐมอายุสูตร
ว่าด้วยอายุ สูตรที่ ๑

[๑๔๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
เขตกรุงราชคฤห์ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัส
เรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย อายุของมนุษย์ทั้งหลายนี้น้อยนัก จำต้องไปสู่สัมปรายภพ
ควรทำกุศล ควรประพฤติพรหมจรรย์ สัตว์ผู้เกิดมาแล้วจะไม่ตายไม่มี ภิกษุ
ทั้งหลาย คนที่มีชีวิตอยู่ได้นานก็อยู่ได้เพียง ๑๐๐ ปี หรือจะอยู่เกินไปบ้างก็มีน้อย”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔. มารสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๑๐. ทุติยอายุสูตร

ครั้งนั้น มารผู้มีบาปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้วได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
มนุษย์ทั้งหลายมีอายุยืนยาว
คนดีไม่ควรดูหมิ่นอายุนั้นเลย
ควรทำตัวเหมือนเด็กอ่อนที่คอยแต่จะดื่มนม ฉะนั้น
ความตายยังมาไม่ถึงหรอก
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า “นี้คือมารผู้มีบาป” จึงตรัสกับมาร
ผู้มีบาปด้วยพระคาถาว่า
มนุษย์ทั้งหลายมีอายุน้อย
คนดีควรดูหมิ่นอายุนั้น
ควรทำตัวเหมือนคนที่ถูกไฟไหม้ศีรษะ ฉะนั้น
ความตายที่จะมาไม่ถึงไม่มี
ครั้งนั้น มารผู้มีบาป ฯลฯ จึงหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง

ปฐมอายุสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ทุติยอายุสูตร
ว่าด้วยอายุ สูตรที่ ๒

[๑๔๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน ฯลฯ เขตกรุง
ราชคฤห์ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค ฯลฯ ได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย อายุของมนุษย์ทั้งหลายนี้น้อยนัก จำต้องไปสู่สัมปรายภพ
ควรทำกุศล ควรประพฤติพรหมจรรย์ สัตว์ผู้เกิดมาแล้วจะไม่ตายไม่มี ภิกษุ
ทั้งหลาย คนที่มีชีวิตอยู่ได้นานก็อยู่ได้เพียง ๑๐๐ ปี หรือจะอยู่เกินไปบ้างก็มีน้อย”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔. มารสังยุต]
๑. ปฐมวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ครั้งนั้น มารผู้มีบาปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้ว ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
วันคืนไม่ล่วงไป ชีวิตไม่ดับไป
อายุหมุนตามสัตว์ทั้งหลาย
ดุจกงล้อหมุนตามทูบรถ ฉะนั้น
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า “นี้คือมารผู้มีบาป” จึงตรัสกับมาร
ผู้มีบาปด้วยพระคาถาว่า
วันคืนล่วงไป ชีวิตดับไป
อายุของสัตว์ทั้งหลายสิ้นไป
เหมือนน้ำในแม่น้ำน้อยสิ้นไป ฉะนั้น๑
ครั้งนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์เสียใจว่า “พระผู้มีพระภาคทรงรู้จักเรา พระสุคต
ทรงรู้จักเรา” จึงหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง

ทุติยอายุสูตรที่ ๑๐ จบ
วรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ตโปกัมมสูตร ๒. นาคสูตร
๓. สุภสูตร ๔. ปฐมมารปาสสูตร
๕. ทุติยมารปาสสูตร ๖. สัปปสูตร
๗. สุปติสูตร ๘. นันทนสูตร
๙. ปฐมอายุสูตร ๑๐. ทุติยอายุสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔. มารสังยุต] ๒. ทุติยวรรค ๒. สีหสูตร

๒. ทุติยวรรค
หมวดที่ ๒
๑. ปาสาณสูตร
ว่าด้วยมารกลิ้งศิลา

[๑๔๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุง
ราชคฤห์ สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่งในที่กลางแจ้งในราตรีอันมืดมิด
และฝนกำลังตกประปรายอยู่ ครั้งนั้น มารผู้มีบาปต้องการจะให้ความกลัว
ความหวาดสะดุ้ง ความขนพองสยองเกล้าเกิดขึ้นแก่พระผู้มีพระภาค จึงเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้วกลิ้งศิลาขนาดใหญ่ลงไปในที่ใกล้พระผู้มีพระภาค
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า “นี้คือมารผู้มีบาป” จึงตรัสกับมาร
ผู้มีบาปด้วยพระคาถาว่า
ถึงแม้ว่าท่านจะกลิ้งภูเขาคิชฌกูฏมาทั้งลูก
พระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้หลุดพ้นแล้วโดยชอบ
ก็ไม่มีความหวั่นไหว
ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์เสียใจว่า “พระผู้มีพระภาคทรงรู้จักเรา
พระสุคตทรงรู้จักเรา” จึงหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง

ปาสาณสูตรที่ ๑ จบ

๒. สีหสูตร
ว่าด้วยราชสีห์

[๑๔๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคมีบริษัทหมู่ใหญ่
แวดล้อม ทรงแสดงธรรมอยู่
ครั้งนั้น มารผู้มีบาปได้มีความคิดดังนี้ว่า “พระสมณโคดมนี้ มีบริษัทหมู่ใหญ่
แวดล้อม แสดงธรรมอยู่ ทางที่ดีเราพึงเข้าไปหาพระสมณโคดมถึงที่ประทับ เพื่อให้
บริษัทหลงเข้าใจผิดเถิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔. มารสังยุต] ๒. ทุติยวรรค ๒. สัหสูตร

ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้กราบทูล
ผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
ทำไมท่านจึงกล้าบันลือดุจราชสีห์
ในท่ามกลางบริษัท
คนที่พอจะต่อสู้กับท่านได้ก็ยังมี
ท่านเข้าใจว่า เป็นผู้ชนะแล้วหรือ
พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถาว่า
พระตถาคตทั้งหลาย
ผู้เป็นมหาวีระ บรรลุทสพลญาณ๑
ข้ามตัณหาอันเป็นเหตุซ่านไปในโลกได้แล้ว
จึงกล้าบันลือในท่ามกลางบริษัท
ครั้งนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์เสียใจว่า “พระผู้มีพระภาคทรงรู้จักเรา พระสุคต
ทรงรู้จักเรา” จึงหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง

สีหสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔. มารสังยุต] ๒. ทุติยวรรค ๓. สกลิกสูตร

๓. สกลิกสูตร
ว่าด้วยสะเก็ดหิน

[๑๔๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ มัททกุจฉิ สถานที่พระราชทานอภัย
แก่หมู่เนื้อ เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น สะเก็ดหินกระทบพระบาทของพระผู้มีพระภาค
ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคทรงมีทุกขเวทนาทางพระวรกายที่กล้าแข็งอย่างหนัก
เผ็ดร้อน อันไม่สบายพระทัย ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคมีพระสติสัมปชัญญะ
ทรงอดกลั้นทุกขเวทนานั้นไว้ได้ ไม่ทรงเดือดร้อน
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ปูผ้าสังฆาฏิ ๔ ชั้น ทรงสำเร็จสีหไสยา
โดยพระปรัศว์เบื้องขวา ทรงซ้อนพระบาทเหลื่อมพระบาท มีพระสติสัมปชัญญะ
ครั้งนั้น มารผู้มีบาปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้วทูลถามพระผู้มี
พระภาคด้วยคาถาว่า
ท่านนอนด้วยความซึมเซา
หรือมัวเมาคิดกาพย์กลอนอะไรอยู่
ประโยชน์ของท่านมีไม่มาก
ท่านอยู่ ณ ที่นอนที่นั่งอันสงัดแต่ผู้เดียว
ตั้งหน้าแต่จะหลับ ทำไมท่านยังหลับอยู่เล่า
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า
เราไม่ได้นอนด้วยความซึมเซา
ทั้งมิได้มัวเมาคิดกาพย์กลอนอะไรอยู่หรอก
เราบรรลุประโยชน์แล้ว ปราศจากความเศร้าโศก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔. มารสังยุต] ๒. ทุติยวรรค ๓. สกลิกสูตร

อยู่ ณ ที่นอนที่นั่งอันสงัดแต่ผู้เดียว
นอนคำนึงถึงสัตว์ทั้งปวงด้วยความเอ็นดู
ลูกศรเสียบอกของชนเหล่าใด
ร้อยหทัยให้ลุ่มหลงอยู่ แม้ชนเหล่านั้นในโลกนี้
ทั้ง ๆ ที่มีลูกศรเสียบอกอยู่ ก็ยังหลับได้
ทำไมเราผู้ปราศจากลูกศรแล้ว จะหลับไม่ได้เล่า
เราเดินไป๑ก็ไม่หวาดหวั่น ถึงหลับอยู่ก็มิได้กลัวเกรง
กลางคืนและกลางวันไม่ทำให้เราเดือดร้อน
เราไม่พบเห็นความเสื่อมอะไร ๆ ในโลก
ฉะนั้น เราจึงนอนคำนึงถึงสัตว์ทั้งปวงด้วยความเอ็นดู
ครั้งนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์เสียใจว่า “พระผู้มีพระภาคทรงรู้จักเรา พระสุคต
ทรงรู้จักเรา” จึงหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง

สกลิกสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔. มารสังยุต] ๒. ทุติยวรรค ๔. ปฏิรูปสูตร

๔. ปฏิรูปสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่สมควร

[๑๕๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ หมู่บ้านพราหมณ์ชื่อเอกสาลา
แคว้นโกศล สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคมีคฤหัสถ์บริษัทหมู่ใหญ่แวดล้อม ทรงแสดง
ธรรมอยู่
ครั้งนั้น มารผู้มีบาปได้มีความคิดดังนี้ว่า “พระสมณโคดมนี้มีคฤหัสถ์บริษัท
หมู่ใหญ่แวดล้อม แสดงธรรมอยู่ ทางที่ดีเราพึงเข้าไปหาพระสมณโคดมถึงที่ประทับ
เพื่อให้บริษัทหลงเข้าใจผิดเถิด”
ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
ท่านพร่ำสอนธรรมใดแก่ผู้อื่น
ธรรมนั้นไม่สมควรแก่ท่านเลย
เมื่อท่านกล่าวสอนธรรมนั้น
อย่าได้ข้องในความยินดียินร้าย
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
พระสัมพุทธเจ้าทรงมีจิตเกื้อกูลอนุเคราะห์
ทรงพร่ำสอนธรรมใดแก่ผู้อื่น
ตถาคตหลุดพ้นจากความยินดียินร้ายในธรรมนั้นแล้ว
ครั้งนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์เสียใจว่า “พระผู้มีพระภาคทรงรู้จักเรา พระสุคต
ทรงรู้จักเรา” จึงหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง

ปฏิรูปสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔. มารสังยุต] ๒. ทุติยวรรค ๕. มานสสูตร

๕. มานสสูตร
ว่าด้วยบ่วงใจ

[๑๕๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น มารผู้มีบาปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับแล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
บ่วงนี้เที่ยวไปในอากาศ
มีในใจ สัญจรไปอยู่
เราจักคล้องท่านด้วยบ่วงนั้น
สมณะ ท่านไม่พ้นจากเราไปได้๑
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
เราปราศจากความพอใจในอารมณ์เหล่านี้
คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ซึ่งเป็นที่รื่นรมย์ใจ
มารผู้กระทำซึ่งที่สุด เราได้กำจัดท่านเสียแล้ว๒
ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์เสียใจว่า “พระผู้มีพระภาคทรงรู้จักเรา พระสุคต
ทรงรู้จักเรา” จึงหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง

มานสสูตรที่ ๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔. มารสังยุต] ๒. ทุติยวรรค ๖. ปัตตสูตร

๖. ปัตตสูตร
ว่าด้วยเรื่องบาตร

[๑๕๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับ
เอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา
ที่เกี่ยวกับอุปาทานขันธ์ ๕ ภิกษุเหล่านั้นต่างใส่ใจให้สำเร็จประโยชน์ น้อมนึกมา
ด้วยความเต็มใจ เงี่ยโสตสดับธรรมอยู่
ครั้งนั้น มารผู้มีบาปได้มีความคิดดังนี้ว่า “พระสมณโคดมนี้ทรงชี้แจงให้ภิกษุ
ทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า
ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาที่เกี่ยวกับอุปาทานขันธ์ ๕ ภิกษุเหล่านั้น
ต่างใส่ใจให้สำเร็จประโยชน์ น้อมนึกมาด้วยความเต็มใจ เงี่ยโสตสดับธรรมอยู่ ทางที่
ดีเราพึงเข้าไปหาพระสมณโคดมถึงที่ประทับ เพื่อให้บริษัทหลงเข้าใจผิดเถิด”
สมัยนั้น ภิกษุเหล่านั้นได้วางบาตรส่วนใหญ่ไว้ในที่กลางแจ้ง ลำดับนั้น มาร
ผู้มีบาปแปลงกายเป็นโคพลิพัทเดินไปยังที่วางบาตร ภิกษุรูปหนึ่งจึงบอกกับภิกษุ
อีกรูปหนึ่งว่า “ภิกษุ ภิกษุ โคพลิพัทนั่นกำลังจะทำบาตรแตก” เมื่อภิกษุนั้นพูด
อย่างนั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า “นั่นไม่ใช่โคพลิพัท นั่นคือมารผู้มีบาป
มาเพื่อลวงให้เธอหลงเข้าใจผิด”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า “นี้คือมารผู้มีบาป” จึงตรัสกับมาร
ผู้มีบาปด้วยพระคาถาว่า
อริยสาวกย่อมเบื่อหน่ายรูป
เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ
อย่างนี้ว่า ‘เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ของเรา’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔. มารสังยุต] ๒. ทุติยวรรค ๗. อายตนสูตร

แม้มารและเสนามารแสวงหาอยู่ในที่ทุกแห่ง
ก็ไม่พบอริยสาวกผู้เบื่อหน่ายแล้วอย่างนี้
ผู้มีอัตภาพอันเกษม และล่วงพ้นสังโยชน์ทั้งปวง
ลำดับนั้น มารผู้มีบาป ฯลฯ จึงหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง

ปัตตสูตรที่ ๖ จบ

๗. อายตนสูตร
ว่าด้วยอายตนะ ๖

[๑๕๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน
เขตกรุงเวสาลี สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้
อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ด้วยธรรมีกถา ที่เกี่ยวกับผัสสายตนะ ๖ ภิกษุเหล่านั้นต่างใส่ใจให้สำเร็จประโยชน์
น้อมนึกมาด้วยความเต็มใจ เงี่ยโสตสดับธรรมอยู่
ครั้งนั้น มารผู้มีบาปได้มีความคิดดังนี้ว่า “พระสมณโคดมนี้แลทรงชี้แจงให้
ภิกษุทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า
ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาที่เกี่ยวกับผัสสายตนะ ๖ ภิกษุเหล่านั้น
ต่างใส่ใจให้สำเร็จประโยชน์ น้อมนึกมาด้วยความเต็มใจ เงี่ยโสตสดับธรรมอยู่ ทางที่
ดีเราพึงเข้าไปหาพระสมณโคดมถึงที่ประทับ เพื่อให้บริษัทหลงเข้าใจผิดเถิด”
ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้วได้ร้องเสียงดัง
น่าสะพรึงกลัว ประดุจแผ่นดินจะถล่มในที่ใกล้พระผู้มีพระภาค ลำดับนั้น ภิกษุ
รูปหนึ่งจึงกล่าวกับภิกษุอีกรูปหนึ่งอย่างนี้ว่า “ภิกษุ ภิกษุ แผ่นดินนี่จะถล่มทลาย
เสียละกระมัง” เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคจึงตรัสกับภิกษุนั้นว่า
“ภิกษุ แผ่นดินนี้ไม่ถล่มหรอก ภิกษุทั้งหลาย นั้นคือมารผู้มีบาป มาเพื่อลวงให้
พวกเธอหลงเข้าใจผิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔. มารสังยุต] ๒. ทุติยวรรค ๘. ปิณฑสูตร

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า “นี้คือมารผู้มีบาป” จึงตรัสกับมาร
ผู้มีบาปด้วยพระคาถาว่า
รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
และธรรมารมณ์ทั้งสิ้นนี้ เป็นโลกามิสอันแรงกล้า
ชาวโลกพากันหมกมุ่นอยู่ในอารมณ์เหล่านี้
ส่วนสาวกของพระพุทธเจ้า มีสติ
ข้ามพ้นโลกามิสนั้น ทั้งข้ามพ้นบ่วงแห่งมารได้แล้ว
รุ่งเรืองอยู่ดุจดวงอาทิตย์ ฉะนั้น
ลำดับนั้น มารผู้มีบาป ฯลฯ จึงหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง

อายตนสูตรที่ ๗ จบ

๘. ปิณฑสูตร
ว่าด้วยเรื่องบิณฑบาต

[๑๕๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ หมู่บ้านพราหมณ์ชื่อปัญจ-
สาลา แคว้นมคธ สมัยนั้น ที่หมู่บ้านพราหมณ์ชื่อปัญจสาลา มีงานนักขัตฤกษ์
แจกของแก่พวกเด็ก ๆ ครั้นรุ่งเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตร
และจีวร เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังหมู่บ้านพราหมณ์ชื่อปัญจสาลา สมัยนั้น
พราหมณคหบดีชาวปัญจสาลาถูกมารผู้มีบาปเข้าดลใจ ด้วยประสงค์ว่า “พระ-
สมณโคดมอย่าได้อาหารบิณฑบาตเลย”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปยังหมู่บ้านพราหมณ์ชื่อปัญจสาลา
เพื่อบิณฑบาตด้วยบาตรเปล่าอย่างใด ก็เสด็จกลับมาด้วยบาตรเปล่าอย่างนั้น ลำดับนั้น
มารผู้มีบาปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “สมณะ ท่านได้อาหารบิณฑบาตบ้างไหม”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “มารผู้มีบาป ท่านทำให้เราไม่ได้อาหารบิณฑบาต
มิใช่หรือ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔. มารสังยุต] ๒. ทุติยวรรค ๙. กัสสกสูตร

มารผู้มีบาปกราบทูลว่า “ถ้าอย่างนั้น ขอพระผู้มีพระภาคจงเสด็จเข้าไปยัง
หมู่บ้านพราหมณ์ชื่อปัญจสาลาเพื่อบิณฑบาตใหม่อีกครั้ง ข้าพระองค์จักกระทำ
พระผู้มีพระภาคให้ได้อาหารบิณฑบาต พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
มารขัดขวางตถาคต ได้ประสบสิ่งมิใช่บุญแล้ว
มารผู้มีบาป ท่านเข้าใจว่า
‘บาปย่อมไม่ให้ผลแก่เรา’ อย่างนั้นหรือ
พวกเราไม่มีกิเลสเครื่องกังวล
อยู่สุขสบายจริงหนอ พวกเราจักมีปีติเป็นภักษา
ดุจเทพชั้นอาภัสสร ฉะนั้น
ครั้งนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์เสียใจว่า “พระผู้มีพระภาคทรงรู้จักเรา พระสุคต
ทรงรู้จักเรา” จึงหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง

ปิณฑสูตรที่ ๘ จบ

๙. กัสสกสูตร
ว่าด้วยมารแปลงกายเป็นชาวนา

[๑๕๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับ
เอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา
ที่ประกอบด้วยนิพพาน ภิกษุเหล่านั้นต่างใส่ใจให้สำเร็จประโยชน์ น้อมนึกมา
ด้วยความเต็มใจ เงี่ยโสตสดับธรรมอยู่
ครั้งนั้น มารผู้มีบาปได้มีความคิดดังนี้ว่า “พระสมณโคดมนี้ทรงชี้แจงให้ภิกษุ
ทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า
ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาที่ประกอบด้วยนิพพาน ฯลฯ ทางที่ดีเรา
พึงเข้าไปหาพระสมณโคดมถึงที่ประทับเพื่อลวงบริษัทให้หลงเข้าใจผิดเถิด” ครั้งนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔. มารสังยุต] ๒. ทุติยวรรค ๙. กัสสกสูตร

มารผู้มีบาปจึงแปลงกายเป็นชาวนาแบกไถใหญ่ ถือประตักด้ามยาว ผมยาวรุงรัง
นุ่งผ้าเนื้อหยาบ เท้าทั้งสองเปื้อนโคลน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ทูล
ถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระสมณะ ท่านเห็นโคพลิพัทบ้างไหม”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “มารผู้มีบาป ท่านต้องการอะไรเกี่ยวกับโคพลิพัท
ทั้งหลายเล่า”
มารกราบทูลว่า “ข้าแต่พระสมณะ จักขุ(ตา) เป็นของเรา รูปเป็นของเรา
อายตนะคือวิญญาณอันเกิดจากจักขุสัมผัส(ความกระทบทางตา) เป็นของเรา ท่านจะ
หนีเราไปไหนพ้น
โสตะ(หู) เป็นของเรา สัททะ(เสียง) เป็นของเรา ฯลฯ
ฆานะ(จมูก) เป็นของเรา คันธะ(กลิ่น) เป็นของเรา ฯลฯ
ชิวหา(ลิ้น) เป็นของเรา รสเป็นของเรา ฯลฯ
กายเป็นของเรา โผฏฐัพพะ(สัมผัสทางกาย) เป็นของเรา ฯลฯ
มโน(ใจ) เป็นของเรา ธรรมารมณ์เป็นของเรา อายตนะคือวิญญาณอันเกิดจาก
มโนสัมผัส(ความกระทบทางใจ) เป็นของเรา ท่านจะหนีเราไปไหนพ้น”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มารผู้มีบาป จักขุเป็นของท่าน รูปเป็นของท่าน
อายตนะคือวิญญาณอันเกิดจากจักขุสัมผัสเป็นของท่านโดยแท้ แต่ในที่ใดไม่มีจักขุ
ไม่มีรูป ไม่มีอายตนะคือวิญญาณอันเกิดจากจักขุสัมผัส ที่นั้นมิใช่ทางดำเนินของท่าน
โสตะเป็นของท่าน สัททะเป็นของท่าน อายตนะคือวิญญาณอันเกิดจาก
โสตสัมผัส(ความกระทบทางหู) เป็นของท่าน แต่ในที่ใดไม่มีโสตะ ไม่มีสัททะ ไม่มี
อายตนะคือวิญญาณอันเกิดจากโสตสัมผัส ที่นั้นมิใช่ทางดำเนินของท่าน
ฆานะเป็นของท่าน คันธะเป็นของท่าน อายตนะคือวิญญาณอันเกิดจาก
ฆานสัมผัส(ความกระทบทางจมูก) เป็นของท่าน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔.มารสังยุต] ๒.ทุติยวรรค ๙. กัสสกสูตร

ชิวหาเป็นของท่าน รสเป็นของท่าน อายตนะคือวิญญาณอันเกิดจากชิวหา-
สัมผัส(ความกระทบทางลิ้น) เป็นของท่าน ฯลฯ
กายเป็นของท่าน โผฏฐัพพะเป็นของท่าน อายตนะคือวิญญาณอันเกิดจาก
กายสัมผัส(ความกระทบทางกาย) เป็นของท่าน ฯลฯ
มโนเป็นของท่าน ธรรมารมณ์ทั้งหลายเป็นของท่าน อายตนะคือวิญญาณ
อันเกิดจากมโนสัมผัส(ความกระทบทางใจ) เป็นของท่าน แต่ในที่ใดไม่มีมโน ไม่มี
ธรรมารมณ์ ไม่มีอายตนะคือวิญญาณอันเกิดจากมโนสัมผัส ที่นั้นมิใช่ทางดำเนิน
ของท่าน”
มารกราบทูลว่า
ชนเหล่าใดกล่าวถึงสิ่งใดว่า ‘นี้ของเรา’
ทั้งยังกล่าวว่า ‘ของเรา’
ถ้าใจของท่านยังฝังอยู่ในสิ่งนั้น
สมณะ ท่านก็จะไม่พ้นจากเราไปได้
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
ชนเหล่าใดกล่าวถึงสิ่งใด สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา
ชนเหล่าใดกล่าว ชนเหล่านั้นไม่ใช่เรา
มารผู้มีบาป ท่านจงรู้อย่างนี้
ท่านย่อมไม่เห็นแม้ทางของเรา
ลำดับนั้น มารผู้มีบาป ฯลฯ จึงหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง

กัสสกสูตรที่ ๙ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔. มารสังยุต] ๒. ทุติยวรรค ๑๐. รัชชสูตร

๑๐. รัชชสูตร
ว่าด้วยมารอัญเชิญพระผู้มีพระภาคให้เสวยราชสมบัติ

[๑๕๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กระท่อมกลางป่า
ในหิมวันตประเทศ แคว้นโกศล ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด
เกิดความรำพึงอย่างนี้ว่า “เราจะสามารถเสวยราชสมบัติโดยธรรม โดยที่ไม่
เบียดเบียนเอง ไม่ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ไม่ทำให้เขาเสื่อมเอง ไม่ใช้ผู้อื่นทำเขา
ให้เสื่อม ไม่ทำเขาให้เศร้าโศกเอง ไม่ใช้ผู้อื่นทำเขาให้เศร้าโศก หรือไม่หนอ”
ครั้งนั้น มารผู้มีบาปทราบความรำพึงของพระผู้มีพระภาคด้วยใจแล้ว เข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ขอพระผู้มี
พระภาคจงเสวยราชสมบัติเถิด พระพุทธเจ้าข้า ขอพระสุคตจงเสวยราชสมบัติ
โดยธรรม โดยที่ไม่เบียดเบียนเอง ไม่ใช้ผู้อื่นให้เบียดเบียน ไม่ทำเขาให้เสื่อมเอง
ไม่ใช้ผู้อื่นทำเขาให้เสื่อม ไม่ทำเขาให้เศร้าโศกเอง ไม่ใช้ผู้อื่นทำเขาให้เศร้าโศก”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มารผู้มีบาป ท่านเห็นอะไรของเรา ทำไมจึงพูดกับเรา
อย่างนี้ว่า ‘ขอพระผู้มีพระภาคจงเสวยราชสมบัติเถิด พระพุทธเจ้าข้า ขอพระสุคต
จงเสวยราชสมบัติโดยธรรม โดยไม่เบียดเบียนเอง ไม่ใช้ผู้อื่นให้เบียดเบียน ไม่ทำ
เขาให้เสื่อมเอง ไม่ใช้ผู้อื่นทำเขาให้เสื่อม ไม่ทำเขาให้เศร้าโศกเอง ไม่ใช้ผู้อื่น
ทำเขาให้เศร้าโศก”
มารกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อิทธิบาท ๔ ประการ พระองค์
ทรงเจริญ ทำให้มาก ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนือง ๆ สั่งสมแล้ว
ปรารภเสมอดีแล้ว ก็เมื่อพระองค์ทรงพระประสงค์พึงอธิษฐานภูเขาหลวงชื่อว่าหิมพานต์
ให้เป็นทองคำล้วน ภูเขานั้นก็เป็นทองคำล้วนได้จริง”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๑๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔. มารสังยุต]
๒. ทุติยวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

พระผู้มีพระภาคตรัสกับมารด้วยพระคาถาว่า
ภูเขาทองคำล้วนทั้งลูก ถึงสองเท่า
ก็ยังไม่จุใจสำหรับบุคคลคนหนึ่ง
บุคคลทราบดังนี้แล้ว พึงประพฤติสงบ
ผู้ใดเห็นทุกข์มีกามเป็นต้นเหตุแล้ว
ผู้นั้นจะพึงน้อมไปในกามได้อย่างไร
บุคคลทราบอุปธิ๑ว่าเป็นเครื่องข้องในโลกแล้ว
พึงศึกษาเพื่อกำจัดอุปธินั้น
ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์เสียใจว่า “พระผู้มีพระภาคทรงรู้จักเรา พระสุคต
ทรงรู้จักเรา” จึงหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง

รัชชสูตรที่ ๑๐ จบ
วรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปาสาณสูตร ๒. สีหสูตร
๓. สกลิกสูตร ๔. ปฏิรูปสูตร
๕. มานสสูตร ๖. ปัตตสูตร
๗. อายตนสูตร ๘. ปิณฑสูตร
๙. กัสสกสูตร ๑๐. รัชชสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔. มารสังยุต] ๓. ตติยวรรค ๑. สัมพหุลสูตร

๓. ตติยวรรค
หมวดที่ ๓
๑. สัมพหุลสูตร
ว่าด้วยภิกษุหลายรูป

[๑๕๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นครศิลาวดี แคว้นสักกะ สมัยนั้น
ภิกษุหลายรูปเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ใกล้พระผู้มี
พระภาค
ครั้งนั้น มารผู้มีบาปแปลงกายเป็นพราหมณ์ สวมชฎาใหญ่ นุ่งหนังเสือ
เป็นคนแก่ หลังโกง หายใจเสียงดังครืดคราด ถือไม้เท้าทำด้วยไม้มะเดื่อ เข้าไปหา
ภิกษุเหล่านั้นถึงที่อยู่แล้วจึงกล่าวกับภิกษุเหล่านั้นดังนี้ว่า “บรรพชิตผู้เจริญทั้งหลาย
พวกท่านเป็นนักบวชที่ยังหนุ่มแน่น มีผมดำสนิท อยู่ในวัยแรกรุ่นอันเจริญ แต่ไม่
เพลิดเพลินในกามคุณทั้งหลาย ขอพวกท่านจงบริโภคกามทั้งหลายอันเป็นของมนุษย์
พวกท่านอย่าละกามที่เห็นเฉพาะหน้าวิ่งไปหากามทิพย์อันมีอยู่ตามกาลเลย”
ภิกษุเหล่านั้นตอบว่า “พราหมณ์ พวกข้าพเจ้ามิได้ละกามที่เห็นเฉพาะหน้า
แล้ววิ่งไปหากามทิพย์อันมีอยู่ตามกาลเลย แต่พวกข้าพเจ้าละกามทิพย์อันมีอยู่ตาม
กาลแล้ววิ่งไปหาธรรมที่เห็นเฉพาะหน้า พราหมณ์ เพราะว่ากามทั้งหลายอันมีอยู่
ตามกาล พระผู้มีพระภาคตรัสว่ามีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษ
ยิ่งนัก ส่วนธรรมนี้เป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน” เมื่อภิกษุ
เหล่านั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว มารผู้มีบาปจึงสั่นศีรษะ แลบลิ้น ทำหน้าผากให้ย่น
เป็น ๓ รอย ยันไม้เท้าจากไป
ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
พระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๒๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔. มารสังยุต] ๓. ตติยวรรค ๑. สัมพหุลสูตร

พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจ
อยู่ในที่ใกล้พระองค์ ณ ที่นี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีพราหมณ์คนหนึ่งสวมชฎาใหญ่
นุ่งหนังเสือ เป็นคนแก่ หลังโกง หายใจเสียงดังครืดคราด ถือไม้เท้าทำด้วยไม้มะเดื่อ
เข้ามาหาพวกข้าพระองค์ถึงที่อยู่ ได้กล่าวกับพวกข้าพระองค์ดังนี้ว่า ‘บรรพชิต
ผู้เจริญทั้งหลาย พวกท่านเป็นนักบวชที่ยังหนุ่มแน่น มีผมดำสนิท อยู่ในวัยแรกรุ่น
อันเจริญ แต่ไม่เพลิดเพลินในกามทั้งหลาย ขอพวกท่านจงบริโภคกามทั้งหลาย
อันเป็นของมนุษย์ พวกท่านอย่าละกามที่เห็นเฉพาะหน้าแล้ววิ่งไปหากามทิพย์อันมี
อยู่ตามกาลเลย’
เมื่อพราหมณ์กล่าวอย่างนี้แล้ว พวกข้าพระองค์ได้กล่าวกับพราหมณ์นั้นว่า
‘พราหมณ์ พวกข้าพเจ้ามิได้ละกามที่เห็นเฉพาะหน้าแล้ววิ่งไปหากามทิพย์อันมีอยู่
ตามกาลเลย แต่พวกข้าพเจ้าละกามทิพย์อันมีอยู่ตามกาลแล้ววิ่งไปหาธรรมที่เห็น
เฉพาะหน้า เพราะว่ากามทั้งหลายอันมีอยู่ตามกาล พระผู้มีพระภาคตรัสว่ามี
ทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษยิ่งนัก ส่วนธรรมนี้เป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติ
จะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน’ เมื่อข้าพระองค์กล่าวอย่างนี้แล้ว พราหมณ์นั้นสั่นศีรษะ
แลบลิ้น ทำหน้าผากให้ย่นเป็น ๓ รอย ยันไม้เท้าจากไป”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย นั่นมิใช่พราหมณ์ นั่นคือมารผู้มีบาป
มาเพื่อลวงพวกเธอให้หลงเข้าใจผิด”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงตรัสพระคาถานี้
ในเวลานั้นว่า
ผู้ใดเห็นทุกข์มีกามเป็นต้นเหตุแล้ว
ผู้นั้นจะพึงน้อมไปในกามได้อย่างไร
บุคคลทราบอุปธิว่าเป็นเครื่องข้องในโลกแล้ว
พึงศึกษาเพื่อกำจัดอุปธินั้น๑

สัมพหุลสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔. มารสังยุต] ๓. ตติยวรรค ๒. สมิทธิสูตร

๒. สมิทธิสูตร
ว่าด้วยพระสมิทธิ

[๑๕๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นครศิลาวดี แคว้นสักกะ สมัยนั้น
ท่านพระสมิทธิเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ในที่ใกล้พระผู้มี
พระภาค
ครั้งนั้น ท่านพระสมิทธิหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด เกิดความคิดคำนึงอย่างนี้ว่า
“เป็นลาภของเราหนอที่เราได้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นพระศาสดาของเรา
เป็นลาภของเราหนอที่เราได้บวชในพระธรรมวินัย อันพระศาสดาตรัสไว้ดีแล้วอย่างนี้
เป็นลาภของเราหนอที่เราได้เพื่อนพรหมจารี ผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม” ครั้งนั้น
มารผู้มีบาปทราบความคิดคำนึงของท่านพระสมิทธิด้วยใจแล้ว เข้าไปหาท่านพระ
สมิทธิถึงที่อยู่แล้วทำเสียงดังน่าสะพรึงกลัว น่าหวาดเสียว ประดุจแผ่นดินจะถล่ม
ณ ที่ใกล้ท่านพระสมิทธิ
ลำดับนั้น ท่านพระสมิทธิเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นผู้
ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ในที่ใกล้พระองค์ ณ ที่นี้ ข้าพระองค์
หลีกเร้นอยู่ในที่สงัดเกิดความคิดคำนึงอย่างนี้ว่า ‘เป็นลาภของเราหนอที่เราได้พระ-
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นพระศาสดาของเรา เป็นลาภของเราหนอที่เราได้บวช
ในพระธรรมวินัย อันพระศาสดาตรัสไว้ดีแล้วอย่างนี้ เป็นลาภของเราหนอที่เราได้
เพื่อนพรหมจารี ผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม’ เสียงดังน่าสะพรึงกลัว น่าหวาดเสียว
ประดุจแผ่นดินจะถล่ม ได้มีแล้วในที่ใกล้ข้าพระองค์”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สมิทธิ นั่นมิใช่แผ่นดินจะถล่ม นั่นคือมารผู้มีบาป
มาเพื่อลวงให้เธอหลงเข้าใจผิด เธอจงไปเถิดสมิทธิ จงเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร
อุทิศกายและใจอยู่ในที่นั้นเถิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๒๐๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔. มารสังยุต] ๓. ตติยวรรค ๒. สมิทธิสูตร

ท่านพระสมิทธิรับพระดำรัสแล้วลุกขึ้นจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค
กระทำประทักษิณแล้วจากไป
แม้ในครั้งที่ ๒ ท่านพระสมิทธิเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกาย
และใจอยู่ในที่นั้นนั่นเอง
แม้ในครั้งที่ ๒ ท่านพระสมิทธิหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด เกิดความคิดคำนึง
อย่างนี้ว่า ฯลฯ
แม้ในครั้งที่ ๒ มารผู้มีบาปทราบความคิดคำนึงของท่านพระสมิทธิด้วยใจ
จึงทำเสียงดังน่าสะพรึงกลัว น่าหวาดเสียว ประดุจแผ่นดินจะถล่ม ณ ที่ใกล้ท่าน
พระสมิทธิ
ลำดับนั้น ท่านพระสมิทธิทราบว่า “นี้คือมารผู้มีบาป” จึงกล่าวกับมาร
ผู้มีบาปด้วยคาถาว่า
เราออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา
เรารู้สติและปัญญาแล้ว อนึ่ง จิตก็ตั้งมั่นดีแล้ว
ท่านบันดาลรูปร่างให้น่ากลัวแค่ไหน
ก็ทำให้เราหวั่นไหวไม่ได้
ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์เสียใจว่า “ภิกษุสมิทธิรู้จักเรา” จึงหายตัวไป
ณ ที่นั้นเอง

สมิทธิสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔. มารสังยุต] ๓. ตติยวรรค ๓. โคธิกสูตร

๓. โคธิกสูตร
ว่าด้วยพระโคธิกะ

[๑๕๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น ท่านพระโคธิกะอยู่ที่วิหารกาฬศิลาข้างภูเขาอิสิคิลิ
ครั้งนั้น ท่านพระโคธิกะเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่
ได้บรรลุเจโตวิมุตติชั่วคราว๑ ภายหลังท่านพระโคธิกะเสื่อมจากเจโตวิมุตติชั่วคราวนั้น
แม้ครั้งที่ ๒ ท่านพระโคธิกะเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่
ได้บรรลุเจโตวิมุตติชั่วคราว แม้ครั้งที่ ๒ ท่านก็เสื่อมจากเจโตวิมุตติชั่วคราวนั้น
แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระโคธิกะเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่
ได้บรรลุเจโตวิมุตติชั่วคราว แม้ในครั้งที่ ๓ ท่านก็เสื่อมจากเจโตวิมุตติชั่วคราวนั้น
แม้ครั้งที่ ๔ ท่านพระโคธิกะเป็นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ ได้บรรลุเจโตวิมุตติชั่วคราว
แม้ในครั้งที่ ๔ ท่านก็เสื่อมจากเจโตวิมุตติชั่วคราวนั้น
แม้ครั้งที่ ๕ ท่านพระโคธิกะเป็นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ ได้บรรลุเจโตวิมุตติชั่วคราว
แม้ในครั้งที่ ๕ ท่านก็เสื่อมจากเจโตวิมุตติชั่วคราวนั้น
แม้ครั้งที่ ๖ ท่านพระโคธิกะเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่
ได้บรรลุเจโตวิมุตติชั่วคราว แม้ในครั้งที่ ๖ ท่านก็เสื่อมจากเจโตวิมุตติชั่วคราวนั้น
แม้ครั้งที่ ๗ ท่านพระโคธิกะเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่
ก็ได้บรรลุเจโตวิมุตติชั่วคราวนั้นอีก
ครั้งนั้น ท่านพระโคธิกะได้มีความคิดดังนี้ว่า “เราได้เสื่อมจากเจโตวิมุตติชั่วคราว
๖ ครั้งแล้ว ทางที่ดีเราพึงนำศัสตรามา๒”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔. มารสังยุต] ๓. ตติยวรรค ๓. โคธิกสูตร

ลำดับนั้น มารผู้มีบาปทราบความคิดคำนึงของท่านพระโคธิกะด้วยใจแล้ว
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
ข้าแต่พระมหาวีระผู้มีปัญญามาก
ผู้รุ่งเรืองด้วยฤทธิ์และยศ
ผู้ก้าวล่วงเวรและภัยทั้งปวง ผู้มีพระจักษุ
ข้าพระองค์ขอถวายอภิวาทพระยุคลบาท
ข้าแต่พระมหาวีระผู้ทรงไว้ซึ่งความรุ่งเรือง
สาวกของพระองค์ถูกมรณะครอบงำแล้ว
มุ่งหวังความตายอยู่
ขอพระองค์จงทรงห้ามสาวกของพระองค์นั้นเถิด
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้ปรากฏในหมู่ชน
สาวกของพระองค์ยินดีในพระศาสนา
มีใจยังไม่ได้บรรลุ๑ ยังเป็นพระเสขะอยู่
จะพึงมรณะได้อย่างไร
ขณะนั้น ท่านพระโคธิกะได้นำศัสตรามา ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า
“นี้คือมารผู้มีบาป” จึงได้ตรัสกับมารผู้มีบาปด้วยพระคาถาว่า
นักปราชญ์ทั้งหลายทำอย่างนี้แล
ย่อมไม่ห่วงใยชีวิต
พระโคธิกะถอนตัณหาพร้อมทั้งราก
ปรินิพพานแล้ว
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “มาเถิด ภิกษุ
ทั้งหลาย เราจักไปยังวิหารกาฬศิลา ข้างภูเขาอิสิคิลิ ซึ่งเป็นสถานที่ที่โคธิกกุลบุตร
นำศัสตรามา” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
ต่อมา พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปยังวิหารกาฬศิลา ข้างภูเขาอิสิคิลิ พร้อม
ด้วยภิกษุจำนวนมาก ได้ทอดพระเนตรเห็นท่านพระโคธิกะนอนคอบิดอยู่บนเตียง


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔. มารสังยุต] ๓. ตติยวรรค ๓. โคธิกสูตร

แต่ไกลเทียว ก็สมัยนั้น กลุ่มควันกลุ่มหมอกลอยไปทางทิศตะวันออก ทิศตะวันตก
ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง และทิศเฉียง
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายเห็นกลุ่มควันกลุ่มหมอกลอยไปทางทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ
ทิศใต้ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง และทิศเฉียงหรือไม่” เมื่อภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนอง
พระดำรัสแล้ว จึงตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย นั่นแลคือมารผู้มีบาป ค้นหาวิญญาณ๑
ของโคธิกกุลบุตรด้วยคิดว่า ‘วิญญาณของโคธิกกุลบุตรสถิตอยู่ ณ ที่ไหน’ ภิกษุ
ทั้งหลาย โคธิกกุลบุตรไม่มีวิญญาณสถิตอยู่ ปรินิพพานแล้ว”
ครั้งนั้น มารผู้มีบาปถือพิณสีเหลืองเหมือนผลมะตูมสุก เข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
ข้าพระองค์ค้นหาทั้งทิศเบื้องบน
ทิศเบื้องล่าง ทิศเบื้องขวาง
คือทั้งทิศใหญ่และทิศเฉียง ก็ไม่พบ
ท่านพระโคธิกะนั้นไป ณ ที่ไหนเล่า
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
นักปราชญ์ผู้ใดสมบูรณ์ด้วยปัญญา
มีปกติเพ่งพินิจ ยินดีในฌานทุกเมื่อ
พากเพียรอยู่ตลอดวันและคืน ไม่เสียดายชีวิต
ชนะกองทัพมัจจุแล้ว ไม่กลับมาสู่ภพใหม่
นักปราชญ์นั้น คือโคธิกกุลบุตร
ได้ถอนตัณหาพร้อมทั้งราก ปรินิพพานแล้ว
พิณได้พลัดตกจากรักแร้
ของมารผู้มีความเศร้าโศก
ในลำดับนั้น มารผู้เป็นยักษ์นั้นเสียใจ
จึงหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง

โคธิกสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔. มารสังยุต]
๓. ตติยวรรค ๔. สัตตวัสสานุพันธสูตร

๔. สัตตวัสสานุพันธสูตร
ว่าด้วยมารหาโอกาสทำลายพระพุทธเจ้าตลอด ๗ ปี

[๑๖๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ต้นอชปาลนิโครธ ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา
ตำบลอุรุเวลา สมัยนั้น มารผู้มีบาปติดตามพระผู้มีพระภาค คอยหาโอกาส
ตลอด ๗ ปี ก็ยังไม่ได้โอกาส ภายหลังมารผู้มีบาปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง
ที่ประทับแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
ท่านถูกความเศร้าโศกทับถมหรือ
จึงมาซบเซาอยู่ในป่าอย่างนี้
ท่านเสื่อมจากทรัพย์สมบัติหรือ
หรือว่ากำลังปรารถนาอะไรอยู่
ท่านได้ทำความเสียหายร้ายแรงอะไรไว้ในหมู่บ้านหรือ
เพราะเหตุไรท่านจึงไม่เป็นมิตรกับชนทั้งปวงเล่า
หรือว่าท่านเป็นมิตรกับใคร ๆ ไม่ได้
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ท่านผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของบุคคลผู้ประมาท
เราขุดรากของความเศร้าโศกได้หมดแล้ว
ไม่มีความเสียหาย ไม่เศร้าโศก เพ่งพินิจอยู่
เราตัดความติดแน่นคือความโลภในภพทั้งปวง
ไม่มีอาสวะ เพ่งพินิจอยู่
มารกราบทูลว่า
ชนเหล่าใดกล่าวถึงสิ่งใดว่า ‘นี้ของเรา’
ทั้งยังกล่าวว่า ‘ของเรา’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๒๐๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔. มารสังยุต]
๓. ตติยวรรค ๔. สัตตวัสสานุพันธสูตร

ถ้าใจของท่านยังฝังอยู่ในสิ่งนั้น
สมณะ ท่านก็จะไม่พ้นจากเราไปได้๑
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ชนเหล่าใดกล่าวถึงสิ่งใด สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา
ชนเหล่าใดกล่าว ชนเหล่านั้นไม่ใช่เรา
มารผู้มีบาป ท่านจงรู้อย่างนี้
ท่านย่อมไม่เห็นแม้ทางของเรา๒
มารกราบทูลว่า
ถ้าท่านรู้จักทางอันปลอดภัย
เป็นที่ให้ถึงอมตะ ก็จงจากไปคนเดียวเถิด
จะต้องพร่ำสอนคนอื่นทำไมเล่า
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ชนเหล่าใดเป็นผู้มุ่งไปสู่ฝั่ง
ชนเหล่านั้นย่อมถามถึงนิพพานอันมิใช่ที่อยู่ของมาร
เราถูกชนเหล่านั้นถามก็จักบอกเขาว่า
สิ่งใดเป็นความจริง สิ่งนั้นไม่มีอุปธิ
มารกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีสระโบกขรณีในที่ไม่ไกลบ้านหรือ
นิคม ในสระนั้นมีปูอยู่ ครั้งนั้น เด็กชายหรือเด็กหญิงจำนวนมากออกจากบ้านหรือ
นิคมนั้นแล้ว เข้าไปยังสระโบกขรณีนั้น จับปูนั้นขึ้นจากน้ำวางไว้บนบก ปูนั้นก็ชูก้าม
ทั้งสองออก เด็กชายหรือเด็กหญิงเหล่านั้นพึงริด พึงหัก พึงทำลายก้ามนั้นทุก ๆ
ก้ามด้วยไม้หรือก้อนหิน ก็เมื่อเป็นอย่างนั้น ปูนั้นถูกริดก้าม ถูกหักก้าม ถูกทำลาย


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔. มารสังยุต] ๓. ตติยวรรค ๕. มารธีตุสูตร

ก้ามหมดแล้ว ย่อมไม่อาจไต่ลงไปสู่สระโบกขรณีนั้นเหมือนแต่ก่อน ฉันใด อารมณ์
แม้ทุกชนิดอันเป็นวิสัยของมาร ที่ทำให้สัตว์เสพติด ทำให้สัตว์ดิ้นรน อารมณ์นั้น
ทั้งหมดอันพระผู้มีพระภาคตัดรอน หักราน ย่ำยีหมดแล้ว บัดนี้ ข้าพระองค์ผู้
คอยหาโอกาส ย่อมไม่อาจเข้าไปใกล้พระผู้มีพระภาคได้อีก ฉันนั้น”
ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาปได้ภาษิตคาถาอันเป็นที่ตั้งแห่งความเบื่อหน่ายเหล่านี้
ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
กาเห็นก้อนหินมีสีเหมือนมันข้น
จึงบินโฉบลงด้วยคิดว่า
‘เราพึงได้อาหารโอชะในที่นี้เป็นแน่’
ความยินดีพึงเกิดขึ้นโดยแท้
กาไม่ได้ความยินดีในที่นั้น
จึงโผบินไปจากที่นั้น ข้าแต่พระโคดม
ข้าพระองค์ ก็เหมือนกามาพบก้อนหิน ฉะนั้น
ขอจากไปก่อน

สัตตวัสสานุพันธสูตรที่ ๔ จบ

๕. มารธีตุสูตร
ว่าด้วยธิดามาร

[๑๖๑] ครั้งนั้น มารผู้มีบาปครั้นกล่าวคาถาอันเป็นที่ตั้งแห่งความเบื่อหน่าย
เหล่านี้ ในสำนักของพระผู้มีพระภาคแล้ว จึงหลีกจากที่นั้นไปนั่งขัดสมาธิที่พื้นดิน
ไม่ไกลจากพระผู้มีพระภาค เป็นผู้นิ่ง เก้อเขิน คอตก ก้มหน้า ซบเซา หมดปฏิภาณ
ใช้ไม้เขี่ยพื้นดินอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๒๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔. มารสังยุต] ๓. ตติยวรรค ๕. มารธีตุสูตร

ครั้งนั้น ธิดามาร คือ นางตัณหา นางอรดี และนางราคา เข้าไปหามาร
ผู้มีบาปถึงที่อยู่แล้ว กล่าวกับมารผู้มีบาปด้วยคาถาว่า
ท่านพ่อ ท่านเสียใจด้วยเหตุไร
หรือเศร้าโศกถึงบุรุษคนไหน
พวกดิฉันจักใช้บ่วงคือราคะนำมาถวาย
เหมือนบุคคลคล้องช้างป่านำมา ฉะนั้น
บุรุษนั้นจักตกอยู่ในอำนาจของท่านพ่อ
มารกล่าวว่า
บุรุษนั้นเป็นพระอรหันต์
เป็นพระสุคตในโลก ก้าวล่วงบ่วงแห่งมารได้แล้ว
ใคร ๆ พึงนำมาด้วยราคะไม่ได้ง่าย ๆ
เพราะฉะนั้น เราจึงเศร้าโศกมาก
ครั้งนั้น ธิดามาร คือ นางตัณหา นางอรดี และนางราคา เข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับแล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระสมณะ พวก
หม่อมฉันจะขอปรนนิบัติพระยุคลบาทของพระองค์”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคไม่ทรงใส่พระทัยถึงคำของธิดามารนั้น เนื่องจาก
พระองค์ทรงหลุดพ้น เพราะธรรมเป็นที่สิ้นอุปธิอันยอดเยี่ยมแล้ว
ต่อมา ธิดามาร คือ นางตัณหา นางอรดี และนางราคา พากันจากไป ณ
ที่สมควรแล้วปรึกษากันอย่างนี้ว่า “พวกบุรุษมีความประสงค์ต่าง ๆ กัน ทางที่ดี
พวกเราควรเนรมิตเพศเป็นสาววัยรุ่น คนละหนึ่งร้อย”
ลำดับนั้น ธิดามาร คือ นางตัณหา นางอรดี และนางราคา จึงเนรมิตเพศเป็น
สาววัยรุ่นคนละหนึ่งร้อย เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้วกราบทูลดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระสมณะ พวกหม่อมฉันจะขอปรนนิบัติพระยุคลบาทของพระองค์”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๒๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔. มารสังยุต] ๓. ตติยวรรค ๕. มารธีตุสูตร

พระผู้มีพระภาคไม่ทรงใส่พระทัยถึงคำของธิดามารนั้น เนื่องจากพระองค์ทรง
หลุดพ้น เพราะธรรมเป็นที่สิ้นอุปธิอันยอดเยี่ยมแล้ว
ต่อมา ธิดามาร คือ นางตัณหา นางอรดี และนางราคา พากันจากไป ณ
ที่สมควรแล้วปรึกษากันอย่างนี้ว่า “พวกบุรุษมีความประสงค์ต่าง ๆ กัน ทางที่ดี
พวกเราควรเนรมิตเพศเป็นผู้หญิงที่ยังไม่เคยคลอดบุตรคนละหนึ่งร้อย”
ลำดับนั้น ธิดามาร คือ นางตัณหา นางอรดี และนางราคา เนรมิตเพศ
เป็นหญิงที่ยังไม่เคยคลอดบุตรคนละหนึ่งร้อย เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
แล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า “ข้าแต่พระสมณะ พวกหม่อมฉันจะขอปรนนิบัติพระยุคลบาท
ของพระองค์”
แม้ถึงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคก็มิได้ทรงใส่พระทัยถึงเลย เนื่องจากพระองค์
ทรงหลุดพ้น เพราะธรรมเป็นที่สิ้นอุปธิอันยอดเยี่ยมแล้ว
ฝ่ายนางตัณหา นางอรดี และนางราคา พากันจากไป ณ ที่สมควรแล้ว
ปรึกษากันอย่างนี้ว่า “พวกบุรุษมีความประสงค์ต่าง ๆ กัน ทางที่ดีพวกเราควร
เนรมิตเพศเป็นหญิงคลอดบุตรแล้วคราวเดียวคนละหนึ่งร้อย”
ลำดับนั้น นางตัณหา ฯลฯ จึงเนรมิตเพศเป็นหญิงคลอดบุตรแล้วคราวเดียว
คนละหนึ่งร้อย เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ เนื่องจากพระองค์ทรง
หลุดพ้น เพราะธรรมเป็นที่สิ้นอุปธิอันยอดเยี่ยมแล้ว
ต่อมา นางตัณหา ฯลฯ จึงเนรมิตเพศเป็นหญิงที่คลอดบุตรแล้ว ๒ คราว
คนละหนึ่งร้อย เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ เนื่องจากพระองค์ทรง
หลุดพ้น เพราะธรรมเป็นที่สิ้นอุปธิอันยอดเยี่ยมแล้ว
ลำดับนั้น นางตัณหา ฯลฯ จึงเนรมิตเพศเป็นหญิงกลางคนคนละหนึ่งร้อย
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ เนื่องจากพระองค์ทรงหลุดพ้น เพราะ
ธรรมเป็นที่สิ้นอุปธิอันยอดเยี่ยมแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๒๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔. มารสังยุต] ๓. ตติยวรรค ๕. มารธีตุสูตร

ลำดับนั้น นางตัณหา ฯลฯ จึงเนรมิตเพศเป็นหญิงแก่คนละหนึ่งร้อย เข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ เนื่องจากพระองค์ทรงหลุดพ้น เพราะธรรม
เป็นที่สิ้นอุปธิอันยอดเยี่ยมแล้ว
ลำดับนั้น ธิดามาร คือ นางตัณหา นางอรดี และนางราคา พากันจากไป ณ
ที่สมควรแล้วพูดกันว่า “เรื่องนี้จริงดังบิดาของเราได้พูดไว้ว่า
บุรุษนั้นเป็นพระอรหันต์
เป็นพระสุคตในโลก ก้าวล่วงบ่วงแห่งมารได้แล้ว
ใคร ๆ พึงนำมาด้วยราคะไม่ได้ง่าย ๆ
เพราะฉะนั้น เราจึงเศร้าโศกมาก
อนึ่ง ถ้าพวกเราพึงเล้าโลมสมณะหรือพราหมณ์ใดที่ยังไม่หมดราคะ ด้วยความ
พยายามอย่างนี้ หทัยของสมณะหรือพราหมณ์นั้นพึงแตก โลหิตอุ่น ๆ พึงพุ่งออก
จากปาก หรือเขาพึงบ้า หรือว่ามีจิตฟุ้งซ่าน เหมือนอย่างต้นอ้อสดถูกลมพัดขาด
เหี่ยวเฉาแห้งไป แม้ฉันใด สมณะหรือพราหมณ์นั้นพึงหงอยเหงา ซูบซีดเหี่ยวแห้งไป
ฉันนั้นเหมือนกัน”
ครั้นแล้ว ธิดามาร คือ นางตัณหา นางอรดี และนางราคา พากันเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร นางตัณหาธิดามารยืนอยู่ ณ
ที่สมควรแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
ท่านถูกความเศร้าโศกทับถมหรือ
จึงมาซบเซาอยู่ในป่าอย่างนี้
ท่านเสื่อมจากทรัพย์สมบัติหรือ
หรือว่ากำลังปรารถนาอะไรอยู่
ท่านได้ทำความเสียหายร้ายแรงอะไรไว้ในหมู่บ้านหรือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๒๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔. มารสังยุต] ๓. ตติยวรรค ๕. มารธีตุสูตร

เพราะเหตุไรท่านจึงไม่เป็นมิตรกับชนทั้งปวงเล่า
หรือว่าท่านเป็นมิตรกับใคร ๆ ไม่ได้๑
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
เราชนะเสนามารคือรูปที่น่ารัก
และรูปที่น่าพอใจแล้ว เพ่งพินิจอยู่ผู้เดียว ได้รู้ความสุข
เพราะเหตุนั้นเราจึงไม่เป็นมิตรกับชนทั้งปวง
เพราะความเป็นมิตรกับใคร ๆ ไม่สำเร็จประโยชน์แก่เรา
ลำดับนั้น นางอรดีธิดามาร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
ภิกษุในศาสนานี้มากไปด้วยวิหารธรรมอย่างไหน
จึงข้ามโอฆะทั้ง ๕๒ ได้
บัดนี้ ท่านข้ามโอฆะที่ ๖๓ ได้แล้วหรือ
บุคคลเพ่งฌานอย่างไหนมาก
กามสัญญาทั้งหลายจับยึดเขาไม่ได้ จึงห่างเหินไป
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
บุคคลมีกายอันสงบ มีจิตหลุดพ้นดีแล้ว
เป็นผู้ไม่มีอะไร ๆ เป็นเครื่องปรุงแต่ง
มีสติ ไม่มีความอาลัย รู้ทั่วธรรม
มีปกติเพ่งพินิจอยู่ด้วยฌานที่ ๔ อันหาวิตกมิได้
ย่อมไม่กำเริบ ไม่ซ่านไป ไม่เป็นผู้ย่อท้อ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔. มารสังยุต] ๓. ตติยวรรค ๕. มารธีตุสูตร

ภิกษุในศาสนานี้มากไปด้วยวิหารธรรมอย่างนี้
จึงข้ามโอฆะทั้ง ๕ ได้
บัดนี้ เธอข้ามโอฆะที่ ๖ ได้แล้ว
ภิกษุผู้เพ่งฌานอย่างนี้มาก
กามสัญญาทั้งหลายจับยึดเธอไม่ได้ จึงห่างเหินไป
ลำดับนั้น นางราคาธิดามาร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
พระศาสดาผู้นำหมู่สงฆ์
ได้ตัดตัณหาขาดแล้ว และชนผู้มีศรัทธาเป็นอันมาก
จักประพฤติตามได้แน่
พระศาสดาพระองค์นี้เป็นผู้ไม่มีความอาลัย
ตัดขาดจากมือมัจจุราชได้แล้ว
จักนำหมู่ชนเป็นอันมากไปสู่ฝั่งได้แน่
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
พระตถาคตทั้งหลายผู้เป็นมหาวีระ
ย่อมนำสัตว์ไปด้วยพระสัทธรรม
เมื่อพระตถาคตนำไปอยู่โดยธรรม
ความริษยาจะมีแก่ท่านผู้รู้ได้อย่างไร
ลำดับนั้น ธิดามาร คือ นางตัณหา นางอรดี และนางราคา พากันเข้าไปหา
มารผู้มีบาปถึงที่อยู่ มารผู้มีบาปเห็นธิดามาร คือ นางตัณหา นางอรดี และนางราคา
มาแต่ไกล จึงได้กล่าวคาถาทั้งหลายว่า
พวกเธอช่างโง่เขลา พากันทำลายภูเขาด้วยก้านบัว
ขุดภูเขาด้วยเล็บ เคี้ยวเหล็กด้วยฟัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๒๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔. มารสังยุต]
๓. ตติยวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

พวกเธออาศัยพระโคดมหาที่พึ่ง
จะเป็นดุจคนวางหินไว้บนศีรษะแล้วเจาะหาที่พึ่งในบาดาล ฉะนั้น
พวกเธอเหมือนเอาหนามมายอกอก(พ่อ) จงหลีกไปเสียเถิด
(พระธรรมสังคาหกาจารย์กล่าวว่า)
พระศาสดาได้ขับไล่นางตัณหา นางอรดี และนางราคา
ผู้มีรูปน่าทัศนายิ่ง ซึ่งได้มาในที่นั้นให้หนีไป
ดุจลมพัดปุยนุ่น ฉะนั้น

มารธีตุสูตรที่ ๕ จบ
วรรคที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สัมพหุลสูตร ๒. สมิทธิสูตร
๓. โคธิกสูตร ๔. สัตตวัสสานุพันธสูตร
๕. มารธีตุสูตร

พระสูตรว่าด้วยมาร ๕ สูตรนี้ พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐทรงแสดงไว้แล้ว

มารสังยุต จบบริบูรณ์


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๕. ภิกขุนีสังยุต] ๑. อาฬวิกาสูตร

๕. ภิกขุนีสังยุต
๑. อาฬวิกาสูตร
ว่าด้วยอาฬวิกาภิกษุณี

[๑๖๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้นเวลาเช้า อาฬวิกาภิกษุณีครองอันตรวาสก
ถือบาตรและจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี กลับจากบิณฑบาต ภายหลังจากฉัน
ภัตตาหารเสร็จแล้ว ต้องการวิเวก(ความสงัด) จึงเข้าไปในป่าอันธวัน ลำดับนั้น
มารผู้มีบาปประสงค์จะให้อาฬวิกาภิกษุณีเกิดความกลัว ความหวาดสะดุ้ง ความขนพอง
สยองเกล้า และประสงค์จะให้เคลื่อนจากวิเวก จึงเข้าไปหาอาฬวิกาภิกษุณีถึงที่อยู่
ได้กล่าวกับอาฬวิกาภิกษุณีด้วยคาถาว่า
ในโลกไม่มีเครื่องสลัดออก(จากทุกข์)
ท่านจักทำอะไรด้วยวิเวกเล่า
ท่านจงเสพความยินดีในกามเถิด
อย่าได้มีความเสียใจในภายหลังเลย
ลำดับนั้น อาฬวิกาภิกษุณีได้มีความคิดดังนี้ว่า “นี่ใครหนอมากล่าวคาถา
จะเป็นมนุษย์หรืออมนุษย์กันแน่” อาฬวิกาภิกษุณีได้มีความคิดดังนี้อีกว่า “นี่คือมาร
ผู้มีบาป ประสงค์จะให้เราเกิดความกลัว ความหวาดสะดุ้ง ความขนพองสยองเกล้า
และประสงค์จะให้เคลื่อนจากวิเวก จึงกล่าวคาถา” อาฬวิกาภิกษุณีทราบว่า “นี่คือ
มารผู้มีบาป” จึงได้กล่าวกับมารผู้มีบาปด้วยคาถาว่า
ในโลกนี้มีเครื่องสลัดออก(จากทุกข์)
เราสัมผัสดีแล้วด้วยปัญญา
มารผู้มีบาป ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของผู้ประมาท
ท่านไม่รู้จักทางนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๒๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๕. ภิกขุนีสังยุต] ๒. โสมาสูตร

กามทั้งหลายเปรียบด้วยหอกและหลาว
กองกามทั้งหลายนั้นประหนึ่งผีร้าย
ท่านกล่าวความยินดีในกามใด
ความไม่ยินดีนั้นได้มีแล้วแก่เรา
ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์เสียใจว่า “อาฬวิกาภิกษุณีรู้จักเรา” จึงหายตัว
ไป ณ ที่นั้นเอง

อาฬวิกาสูตรที่ ๑ จบ

๒. โสมาสูตร
ว่าด้วยโสมาภิกษุณี

[๑๖๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้นเวลาเช้า โสมาภิกษุณีครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร เข้าไป
บิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี กลับจากบิณฑบาต ภายหลังจากฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว
เข้าไปยังป่าอันธวันเพื่อพักกลางวัน ถึงป่าอันธวันแล้วจึงนั่งพักกลางวันที่โคนต้นไม้
แห่งหนึ่ง
ลำดับนั้น มารผู้มีบาปประสงค์จะให้โสมาภิกษุณีเกิดความกลัว ความหวาด
สะดุ้ง ความขนพองสยองเกล้า และประสงค์จะให้เคลื่อนจากสมาธิ จึงเข้าไปหา
โสมาภิกษุณีถึงที่นั่งพักแล้ว ได้กล่าวกับโสมาภิกษุณีด้วยคาถาว่า
ฐานะใดอันประเสริฐอย่างยิ่ง
คือพระอรหัตซึ่งฤาษีทั้งหลายพึงบรรลุ
อันบุคคลเหล่าอื่นให้สำเร็จได้ยาก
ท่านเป็นหญิงมีปัญญาแค่ ๒ นิ้ว๑
ไม่สามารถจะบรรลุฐานะนั้นได้๒
ลำดับนั้น โสมาภิกษุณีได้มีความคิดดังนี้ว่า “นี่ใครหนอมากล่าวคาถา จะเป็น
มนุษย์หรืออมนุษย์กันแน่” ทันใดนั้น โสมาภิกษุณีได้มีความคิดดังนี้อีกว่า “นี่คือ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๕. ภิกขุนีสังยุต] ๓. กีสาโคตมีสูตร

มารผู้มีบาป ประสงค์จะให้เราเกิดความกลัว ความหวาดสะดุ้ง ความขนพอง
สยองเกล้า และประสงค์จะให้เคลื่อนจากสมาธิ จึงกล่าวคาถา”
ครั้งนั้นแล โสมาภิกษุณีทราบว่า “นี่คือมารผู้มีบาป” จึงได้กล่าวกับมารผู้มีบาป
ด้วยคาถาว่า
เมื่อจิตตั้งมั่นดี เมื่อญาณเป็นไปอยู่
เมื่อเห็นแจ้งธรรมโดยชอบ
ความเป็นหญิงจะทำอะไรเราได้
ผู้ใดมีความคิดเห็นแน่นอนอย่างนี้ว่า
เราเป็นสตรีหรือว่าเราเป็นบุรุษ
ผู้ที่ยังมีความเกาะเกี่ยวว่าเรา มีอยู่
มารควรจะกล่าวกับผู้นั้นเถิด๑
ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์เสียใจว่า “โสมาภิกษุณีรู้จักเรา” จึงหายตัวไป
ณ ที่นั้นเอง

โสมาสูตรที่ ๒ จบ

๓. กีสาโคตมีสูตร
ว่าด้วยกีสาโคตมีภิกษุณี

[๑๖๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้นเวลาเช้า กีสาโคตมีภิกษุณีครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร เข้าไป
บิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี กลับจากบิณฑบาต ภายหลังจากฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว
เข้าไปยังป่าอันธวันเพื่อพักกลางวัน ถึงป่าอันธวันแล้วจึงนั่งพักกลางวันที่โคนต้นไม้
แห่งหนึ่ง ลำดับนั้น มารผู้มีบาปประสงค์จะให้กีสาโคตมีภิกษุณีเกิดความกลัว ความ
หวาดสะดุ้ง ความขนพองสยองเกล้า และประสงค์จะให้เคลื่อนจากสมาธิ จึงเข้าไป
หากีสาโคตมีภิกษุณีถึงที่นั่งพักแล้ว ได้กล่าวกับกีสาโคตมีภิกษุณีด้วยคาถาว่า


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๕. ภิกขุนีสังยุต] ๔. วิชยาสูตร

บุตรท่านตายแล้ว มาอยู่กลางป่าคนเดียว
เหมือนคนที่ร้องไห้อยู่โดดเดี่ยว
กำลังแสวงหาบุรุษหรืออย่างไร
ลำดับนั้น กีสาโคตมีภิกษุณีได้มีความคิดดังนี้ว่า “นี่ใครหนอมากล่าวคาถา
จะเป็นมนุษย์หรืออมนุษย์กันแน่” ทันใดนั้น กีสาโคตมีภิกษุณีได้มีความคิดดังนี้อีกว่า
“นี่คือมารผู้มีบาป ประสงค์จะให้เราเกิดความกลัว ความหวาดสะดุ้ง ความขนพอง
สยองเกล้า และประสงค์จะให้เคลื่อนจากสมาธิ จึงกล่าวคาถา”
ครั้งนั้นแล กีสาโคตมีภิกษุณีทราบว่า “นี่คือมารผู้มีบาป” จึงได้กล่าวกับมาร
ผู้มีบาปด้วยคาถาว่า
บุตรเราตายมานานแล้ว
บุรุษทั้งหลายก็มีความตายนี้เป็นที่สุดเหมือนกัน
เราไม่เศร้าโศก ไม่ร้องไห้ ไม่กลัวความตายนั้นหรอก
ท่านผู้มีอายุ เรากำจัดความเพลิดเพลินในสิ่งทั้งปวง
ทำลายความมืด ชนะกองทัพมัจจุแล้ว อยู่อย่างไม่มีอาสวะ
ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์เสียใจว่า “กีสาโคตมีภิกษุณีรู้จักเรา” จึงหายตัว
ไป ณ ที่นั้นเอง

กีสาโคตมีสูตรที่ ๓ จบ

๔. วิชยาสูตร
ว่าด้วยวิชยาภิกษุณี

[๑๖๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้นเวลาเช้า วิชยาภิกษุณีครองอันตรวาสก ฯลฯ จึงนั่งพักกลางวันที่โคนต้น
ไม้แห่งหนึ่ง ลำดับนั้น มารผู้มีบาปประสงค์จะให้วิชยาภิกษุณีเกิดความกลัว ความ
หวาดสะดุ้ง ความขนพองสยองเกล้า และประสงค์จะให้เคลื่อนจากสมาธิ จึงเข้าไป
หาวิชยาภิกษุณีถึงที่นั่งพักแล้ว ได้กล่าวกับวิชยาภิกษุณีด้วยคาถาว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๒๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๕. ภิกขุนีสังยุต] ๔. วิชยาสูตร

เธอยังสาวมีรูปงาม และฉันเองก็ยังหนุ่มแน่น
มาเถิดน้องนาง เรามาร่วมบรรเลงดนตรีเครื่องห้า๑
ให้สำเริงสำราญกันเถิด
ลำดับนั้น วิชยาภิกษุณีได้มีความคิดดังนี้ว่า “นี่ใครหนอมากล่าวคาถา จะเป็น
มนุษย์หรืออมนุษย์กันแน่” ทันใดนั้น วิชยาภิกษุณีได้มีความคิดดังนี้อีกว่า “นี่คือมาร
ผู้มีบาป ประสงค์จะให้เราเกิดความกลัว ความหวาดสะดุ้ง ความขนพองสยองเกล้า
และประสงค์จะให้เคลื่อนจากสมาธิ จึงกล่าวคาถา”
ครั้งนั้นแล วิชยาภิกษุณีทราบว่า “นี่คือมารผู้มีบาป” จึงได้กล่าวกับมาร
ผู้มีบาปด้วยคาถาว่า
มาร รูป เสียง กลิ่น รส
และโผฏฐัพพะซึ่งเป็นที่รื่นรมย์ใจ
เราขอมอบให้ท่านผู้เดียว เราไม่ต้องการสิ่งนั้น
เราอึดอัดระอาด้วยกายเน่านี้
ที่มีแต่จะแตกทำลายเปื่อยพังไป
กามตัณหาเราถอนได้แล้ว
ความมืดในสัตว์ทั้งหลายที่อยู่ในรูปภพ
ที่ดำรงอยู่ในอรูปภพและในสมาบัติอันสงบทั้งปวง
เราก็กำจัดได้หมดแล้ว
ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์เสียใจว่า “วิชยาภิกษุณีรู้จักเรา” จึงหายตัวไป
ณ ที่นั้นเอง

วิชยาสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๕. ภิกขุนีสังยุต] ๕. อุปปลวัณณาสูตร

๕. อุปปลวัณณาสูตร
ว่าด้วยอุบลวรรณาภิกษุณี

[๑๖๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้นเวลาเช้า อุบลวรรณาภิกษุณีครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร ฯลฯ
ได้ยืนอยู่ที่โคนต้นสาละซึ่งมีดอกบานสะพรั่งต้นหนึ่ง ลำดับนั้น มารผู้มีบาปประสงค์
จะให้อุบลวรรณาภิกษุณีเกิดความกลัว ความหวาดสะดุ้ง ความขนพองสยองเกล้า
และประสงค์จะให้เคลื่อนจากสมาธิ จึงเข้าไปหาอุบลวรรณาภิกษุณีถึงที่ยืนอยู่
ได้กล่าวกับอุบลวรรณาภิกษุณีด้วยคาถาว่า
ภิกษุณี ท่านเข้าไปใกล้ต้นสาละ
ซึ่งมีดอกบานสะพรั่งถึงยอดแล้ว
ยืนอยู่แต่ผู้เดียวที่โคนต้นสาละนั้น
อนึ่ง ผิวพรรณของท่านไม่เป็นสองรองใคร
ท่านไม่กลัวความสามหาวของพวกนักเลงเจ้าชู้หรือ๑
ลำดับนั้น อุบลวรรณาภิกษุณีได้มีความคิดดังนี้ว่า “นี่ใครหนอมากล่าวคาถา
จะเป็นมนุษย์หรืออมนุษย์กันแน่” ทันใดนั้น อุบลวรรณาภิกษุณีได้มีความคิดดังนี้
อีกว่า “นี่คือมารผู้มีบาป ประสงค์จะให้เราเกิดความกลัว ฯลฯ จึงกล่าวคาถา”
ครั้งนั้นแล อุบลวรรณาภิกษุณีทราบว่า “นี่คือมารผู้มีบาป” จึงได้กล่าวกับมาร
ผู้มีบาปด้วยคาถาว่า
แม้นักเลงตั้งแสนมาในที่นี้ เราก็ไม่สะดุ้ง
แม้เพียงขนของเราก็ไม่หวั่นไหว ไม่สั่นสะเทือน
มาร เราแม้ผู้เดียวก็ไม่กลัวท่าน
เรานี้จะหายตัวไปหรือเข้าท้องท่าน
แม้จะยืนอยู่ ณ ระหว่างดวงตา ท่านก็ไม่เห็นเรา


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๕. ภิกขุนีสังยุต] ๖. จาลาสูตร

เราเป็นผู้ชำนาญในจิต เจริญอิทธิบาทดีแล้ว
พ้นจากเครื่องผูกทุกชนิด
เราไม่กลัวท่านหรอก ท่านผู้มีอายุ
ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์เสียใจว่า “อุบลวรรณาภิกษุณีรู้จักเรา” จึงหาย
ตัวไป ณ ที่นั้นเอง

อุปปลวัณณาสูตรที่ ๕ จบ

๖. จาลาสูตร
ว่าด้วยจาลาภิกษุณี

[๑๖๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้นเวลาเช้า จาลาภิกษุณีครองอันตรวาสก ฯลฯ จึงนั่งพักกลางวันที่โคน
ต้นไม้แห่งหนึ่ง ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเข้าไปหาจาลาภิกษุณีถึงที่อยู่ได้ถามจาลา-
ภิกษุณีดังนี้ว่า “ภิกษุณี ท่านไม่ชอบใจอะไร”
จาลาภิกษุณีตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ เราไม่ชอบความเกิดเลย”
มารผู้มีบาปกล่าวด้วยคาถาว่า
เพราะเหตุไร ท่านจึงไม่ชอบความเกิด
ผู้เกิดมาแล้วย่อมเสพกาม ใครให้ท่านยึดถือเรื่องนี้
อย่าเลยภิกษุณี ท่านจงชอบความเกิดเถิด
จาลาภิกษุณีกล่าวด้วยคาถาว่า
ความตายย่อมมีแก่ผู้ที่เกิดมาแล้ว
ผู้ที่เกิดมาแล้วย่อมประสบทุกข์
คือ การจองจำ การฆ่า ความเศร้าหมอง
เพราะฉะนั้น เราจึงไม่ชอบความเกิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๒๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๕. ภิกขุนีสังยุต] ๗. อุปจาลาสูตร

พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเหตุก้าวล่วงความเกิด
ทรงให้เราตั้งอยู่ในสัจจะเพื่อละทุกข์ทั้งปวง
สัตว์เหล่าใดเข้าถึงรูปภพและดำรงอยู่ในอรูปภพ
สัตว์เหล่านั้นเมื่อยังไม่รู้ความดับจึงต้องมาสู่ภพอีก
ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์เสียใจว่า “จาลาภิกษุณีรู้จักเรา” จึงหายตัวไป
ณ ที่นั้นเอง

จาลาสูตรที่ ๖ จบ

๗. อุปจาลาสูตร
ว่าด้วยอุปจาลาภิกษุณี

[๑๖๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้นเวลาเช้า อุปจาลาภิกษุณีครองอันตรวาสก ฯลฯ จึงนั่งพักกลางวันที่โคน
ต้นไม้แห่งหนึ่ง ลำดับนั้น มารผู้มีบาป ฯลฯ ได้ถามอุปจาลาภิกษุณีดังนี้ว่า “ภิกษุณี
ทำไมท่านจึงอยากจะเกิด”
อุปจาลาภิกษุณีตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ เราไม่อยากเกิดในที่ไหน ๆ”
มารผู้มีบาป กล่าวด้วยคาถาว่า
ท่านจงตั้งจิตไว้ในพวกเทพชั้นดาวดึงส์
ชั้นยามา ชั้นดุสิต ชั้นนิมมานรดี
และชั้นปรนิมมิตวสวัตดีเถิด
ท่านจักได้เสวยความยินดี
อุปจาลาภิกษุณี กล่าวด้วยคาถาว่า
พวกเทพชั้นดาวดึงส์ ชั้นยามา
ชั้นดุสิต ชั้นนิมมานรดี และชั้นปรนิมมิตวสวัตดี
ยังผูกพันด้วยเครื่องผูกคือกาม
จำต้องกลับมาสู่อำนาจมารอีก
โลกทั้งหมดเร่าร้อน โลกทั้งหมดคุกรุ่น
โลกทั้งหมดลุกโพลง โลกทั้งหมดสั่นสะเทือน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๒๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๕. ภิกขุนีสังยุต] ๘. สีสุปจาลาสูตร

ใจของเรายินดีแน่วแน่ในนิพพาน ซึ่งไม่สั่นสะเทือน
ไม่หวั่นไหว ที่ปุถุชนเสพไม่ได้ มิใช่คติของมาร
ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์เสียใจว่า “อุปจาลาภิกษุณีรู้จักเรา” จึงหายตัว
ไป ณ ที่นั้นเอง

อุปจาลาสูตรที่ ๗ จบ

๘. สีสุปจาลาสูตร
ว่าด้วยสีสุปจาลาภิกษุณี

[๑๖๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น สีสุปจาลาภิกษุณีครองอันตรวาสก ฯลฯ จึงนั่งพักกลางวันที่โคนต้นไม้
แห่งหนึ่ง ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเข้าไปหาสีสุปจาลาภิกษุณีถึงที่นั่งพัก ได้ถามสีสุป-
จาลาภิกษุณีดังนี้ว่า “ภิกษุณี ท่านชอบใจลัทธิของใคร”
สีสุปจาลาภิกษุณีตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ เราไม่ชอบใจลัทธิของใครเลย”
มารผู้มีบาปกล่าวด้วยคาถาว่า
ท่านเป็นคนโล้น เจาะจงใคร
จึงปรากฏตัวเหมือนสมณะ
แต่ทำไมท่านจึงไม่ชอบใจลัทธิ
ท่านประพฤติเรื่องนี้ เพราะความงมงายหรือไร
สีสุปจาลาภิกษุณีกล่าวด้วยคาถาว่า
เจ้าลัทธิภายนอกพระศาสนานี้
ย่อมจมอยู่ในทิฏฐิทั้งหลาย
เราไม่ชอบใจธรรมของพวกเขา
พวกเขาเป็นคนไม่ฉลาดในธรรม
พระพุทธเจ้าผู้เสด็จอุบัติในศากยตระกูล
ไม่มีบุคคลอื่นเปรียบ ทรงครอบงำสิ่งทั้งปวง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๒๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๕. ภิกขุนีสังยุต] ๙. เสลาสูตร

บรรเทาเสียซึ่งมาร ไม่ปราชัยในที่ทุกสถาน
พ้นแล้วจากกิเลสทั้งปวง ไม่มีตัณหาและทิฏฐิอาศัย
มีพระจักษุ ทรงเห็นธรรมทั้งปวง
บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นกรรมทุกอย่าง
หลุดพ้นเพราะธรรมเป็นที่สิ้นอุปธิแล้ว
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นศาสดาของเรา
เราชอบใจคำสอนของพระองค์
ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์เสียใจว่า “สีสุปจาลาภิกษุณีรู้จักเรา” จึงหาย
ตัวไป ณ ที่นั้นเอง

สีสุปจาลาสูตรที่ ๘ จบ

๙. เสลาสูตร
ว่าด้วยเสลาภิกษุณี

[๑๗๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้นเวลาเช้า เสลาภิกษุณีครองอันตรวาสก ฯลฯ จึงนั่งพักกลางวันที่โคน
ต้นไม้แห่งหนึ่ง ลำดับนั้น มารผู้มีบาปประสงค์จะให้เสลาภิกษุณีเกิดความกลัว
ความหวาดสะดุ้ง ความขนพองสยองเกล้า ฯลฯ ได้กล่าวกับเสลาภิกษุณีด้วย
คาถาว่า
ใครสร้างร่างกายนี้ ผู้สร้างร่างกายอยู่ที่ไหน
ร่างกายเกิดขึ้นที่ไหน ร่างกายดับที่ไหน
ลำดับนั้น เสลาภิกษุณีได้มีความคิดดังนี้ว่า “นี่ใครหนอมากล่าวคาถา จะเป็น
มนุษย์หรืออมนุษย์กันแน่” ทันใดนั้น เสลาภิกษุณีได้มีความคิดดังนี้อีกว่า “นี่คือ
มารผู้มีบาป ประสงค์จะให้เราเกิดความกลัว ความหวาดสะดุ้ง ความขนพองสยองเกล้า
และประสงค์จะให้เคลื่อนจากสมาธิ จึงกล่าวคาถา”
ครั้งนั้นแล เสลาภิกษุณีทราบว่า “นี่คือมารผู้มีบาป” จึงได้กล่าวกับมารผู้มี
บาปด้วยคาถาว่า
ร่างกายนี้ตนเองก็ไม่ได้สร้าง ผู้อื่นก็ไม่ได้สร้าง
อาศัยเหตุจึงเกิด เพราะเหตุดับจึงดับ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๒๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๕. ภิกขุนีสังยุต] ๑๐. วชิราสูตร

พืชชนิดใดชนิดหนึ่งที่บุคคลหว่านลงในนา
อาศัยเหตุ ๒ ประการ คือรสดินและยางพืช
จึงงอกขึ้น ฉันใด
ขันธ์ ธาตุ และอายตนะ ๖ เหล่านี้
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน อาศัยเหตุจึงเกิด เพราะเหตุดับจึงดับ
ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์เสียใจว่า “เสลาภิกษุณีรู้จักเรา” จึงหายตัวไป
ณ ที่นั้นเอง

เสลาสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. วชิราสูตร
ว่าด้วยวชิราภิกษุณี

[๑๗๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้นเวลาเช้า วชิราภิกษุณีครองอันตรวาสก ถือบาตร
และจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี กลับจากบิณฑบาต ภายหลังจากฉัน
ภัตตาหารเสร็จแล้ว เข้าไปยังป่าอันธวันเพื่อพักกลางวัน ถึงป่าอันธวันแล้ว จึงนั่งพัก
กลางวันที่โคนต้นไม้แห่งหนึ่ง
ลำดับนั้น มารผู้มีบาปประสงค์จะให้วชิราภิกษุณีเกิดความกลัว ความหวาด
สะดุ้ง ความขนพองสยองเกล้า และประสงค์จะให้เคลื่อนจากสมาธิ จึงเข้าไปหา
วชิราภิกษุณีถึงที่นั่งพักแล้วได้กล่าวกับวชิราภิกษุณีด้วยคาถาว่า
ใครสร้างสัตว์นี้ ผู้สร้างสัตว์อยู่ที่ไหน
สัตว์เกิดขึ้นที่ไหน สัตว์ดับที่ไหน
ลำดับนั้น วชิราภิกษุณีได้มีความคิดดังนี้ว่า “นี่ใครหนอมากล่าวคาถา จะเป็น
มนุษย์หรืออมนุษย์กันแน่” ทันใดนั้น วชิราภิกษุณีได้มีความคิดดังนี้อีกว่า “นี่คือมาร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๒๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๕. ภิกขุนีสังยุต] รวมพระสูตรที่มีในสังยุต

ผู้มีบาป ประสงค์จะให้เราเกิดความกลัว ความหวาดสะดุ้ง ความขนพองสยองเกล้า
และประสงค์จะให้เคลื่อนจากสมาธิ จึงกล่าวคาถา”
ครั้งนั้นแล วชิราภิกษุณีทราบว่า “นี่คือมารผู้มีบาป” จึงได้กล่าวกับมาร
ผู้มีบาปด้วยคาถาว่า
มารเอ๋ย ทิฏฐิของเจ้าเชื่อว่าอะไรเป็นสัตว์
กองแห่งสังขารล้วน ๆ นี้
บัณฑิตจะเรียกว่าสัตว์ไม่ได้เลย
เมื่อขันธ์ทั้งหลายมีอยู่ การสมมติว่าสัตว์ก็มีได้
เหมือนคำว่ารถมีได้เพราะประกอบส่วนต่าง ๆ เข้าด้วยกัน
อนึ่ง ทุกข์เท่านั้นเกิดขึ้น
ทุกข์เท่านั้นดำรงอยู่และแปรผันไป
นอกจากทุกข์ ไม่มีสิ่งอื่นเกิดขึ้น
นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรอื่นดับไป๑
ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์เสียใจว่า “วชิราภิกษุณีรู้จักเรา” จึงหายตัวไป
ณ ที่นั้นเอง

วชิราสูตรที่ ๑๐ จบ
ภิกขุนีสังยุต จบบริบูรณ์

รวมพระสูตรที่มีในสังยุตนี้ คือ

๑. อาฬวิกาสูตร ๒. โสมาสูตร
๓. กีสาโคตมีสูตร ๔. วิชยาสูตร
๕. อุปปลวัณณาสูตร ๖. จาลาสูตร
๗. อุปจาลาสูตร ๘. สีสุปจาลาสูตร
๙. เสลาสูตร ๑๐. วชิราสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๖. พรหมสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๑. พรหมายาจนสูตร

๖. พรหมสังยุต
๑. ปฐมวรรค
หมวดที่ ๑
๑. พรหมายาจนสูตร
ว่าด้วยท้าวมหาพรหมอาราธนาพระพุทธเจ้าแสดงธรรม

[๑๗๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคแรกตรัสรู้ประทับอยู่ที่โคนต้นอชปาลนิโครธ ใกล้ฝั่ง
แม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลา ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด
เกิดความรำพึงอย่างนี้ว่า “ธรรม๑ที่เราได้บรรลุแล้วนี้ ลึกซึ้ง เห็นได้ยากรู้ตามได้ยาก
สงบ ประณีต ไม่เป็นวิสัยแห่งตรรกะ ละเอียด บัณฑิตจึงจะรู้ได้ สำหรับหมู่ประชาผู้
รื่นรมย์ด้วยอาลัย๒ ยินดีในอาลัย เพลิดเพลินในอาลัย ฐานะนี้ย่อมเป็นสิ่งที่เห็นได้ยาก
กล่าวคือหลักอิทัปปัจจยตา หลักปฏิจจสมุปบาท ถึงแม้ฐานะนี้ก็เป็นสิ่งที่เห็นได้ยากนัก
กล่าวคือความสงบแห่งสังขารทั้งปวง ความสลัดอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา วิราคะ
นิโรธ นิพพาน ก็ถ้าเราจะพึงแสดงธรรม และผู้อื่นจะไม่เข้าใจซึ้งต่อเรา ข้อนั้นก็จะ
พึงเป็นความเหน็ดเหนื่อยเปล่าแก่เรา จะพึงเป็นความลำบากเปล่าแก่เรา
อนึ่งเล่า อนัจฉริยคาถาเหล่านี้ที่ไม่เคยทรงสดับมาก่อน ได้ปรากฏแจ่มแจ้ง
แก่พระผู้มีพระภาคว่า
บัดนี้ เรายังไม่ควรประกาศธรรม
ที่เราได้บรรลุด้วยความลำบาก


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๖. พรหมสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๑. พรหมายาจนสูตร

เพราะธรรมนี้ ไม่ใช่สิ่งที่ผู้ถูกราคะ
และโทสะครอบงำ จะรู้ได้ง่าย
แต่เป็นสิ่งพาทวนกระแส๑ ละเอียด
ลึกซึ้ง รู้เห็นได้ยาก ประณีต ผู้กำหนัดด้วยราคะ
ถูกกองโมหะหุ้มห่อไว้ จักรู้เห็นไม่ได้
เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงพิจารณาเห็นดังนี้ พระทัยก็น้อมไปเพื่อการขวนขวายน้อย
มิได้น้อมไปเพื่อแสดงธรรม
ครั้งนั้น ท้าวสหัมบดีพรหมทราบความรำพึงของพระผู้มีพระภาคด้วยใจแล้ว
ได้มีความคิดดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญทั้งหลาย โลกจะฉิบหายหนอ โลกจะพินาศหนอ
เพราะพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงน้อมพระทัยไปเพื่อการขวนขวายน้อย
มิได้น้อมพระทัยไปเพื่อแสดงธรรม” จึงหายตัวจากพรหมโลก มาปรากฏอยู่ ณ
เบื้องพระพักตร์พระผู้มีพระภาค เหมือนบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้า
ฉะนั้น แล้วห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง คุกเข่าเบื้องขวาลงบนแผ่นดิน ประนมมือ
ไปทางที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ได้กราบทูลดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอพระผู้มีพระภาคได้โปรดแสดงธรรม ขอพระสุคตได้โปรดแสดงธรรม เพราะสัตว์
ทั้งหลายผู้มีกิเลสดุจธุลีในตาน้อยมีอยู่ สัตว์เหล่านั้นย่อมเสื่อมเพราะไม่ได้สดับธรรม
เพราะจักมีผู้รู้ธรรม”
ท้าวสหัมบดีพรหมกราบทูลดังนี้แล้ว ได้กล่าวคาถาอื่นอีกว่า
ในกาลก่อนธรรมที่ไม่บริสุทธิ์
อันคนผู้มีมลทินคิดค้นไว้ ปรากฏในแค้วมคธ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๖. พรหมสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๑. พรหมายาจนสูตร

พระองค์โปรดทรงเปิดประตูอมตะนั้นเถิด
ขอเหล่าสัตว์จงฟังธรรมที่พระสัมพุทธเจ้าผู้ปราศจากมลทิน
ได้ตรัสรู้แล้วตามลำดับ
ข้าแต่พระองค์ผู้มีปัญญาดี มีพระสมันตจักษุ
บุรุษผู้ยืนอยู่บนยอดเขาศิลาล้วน
พึงเห็นหมู่ชนได้โดยรอบ ฉันใด
พระองค์ผู้หมดความเศร้าโศกแล้ว ก็ฉันนั้น
เสด็จขึ้นสู่ปราสาทคือธรรมแล้ว
จักได้เห็นหมู่ชนผู้ตกอยู่ในความเศร้าโศก
และถูกชาติ ชราครอบงำได้ชัดเจน
ข้าแต่พระองค์ผู้แกล้วกล้า ผู้ชนะสงคราม
ผู้นำหมู่ ผู้ไม่มีหนี้ ขอพระองค์โปรดลุกขึ้นเสด็จจาริกไปในโลก
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ขอพระองค์โปรดจงทรงแสดงธรรม
เพราะจักมีผู้รู้ธรรม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบคำทูลอาราธนาของพรหม และเพราะ
ความมีพระมหากรุณาในหมู่สัตว์ ทรงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ๑ เมื่อพระผู้มี
พระภาคทรงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ ได้ทรงเห็นสัตว์ทั้งหลายผู้มีกิเลสดุจธุลีในตา
น้อย มีกิเลสดุจธุลีในตามาก มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการ
ทราม สอนให้รู้ได้ง่าย สอนให้รู้ได้ยาก บางพวกมักเห็นปรโลกและโทษว่าน่ากลัวก็มี
บางพวกมักไม่เห็นปรโลกและโทษว่าน่ากลัวก็มี


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๖. พรหมสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๑. พรหมายาจนสูตร

มีอุปมาเหมือนในกออุบล ในกอปทุม ในกอปุณฑริก ดอกอุบล ดอกปทุม
ดอกปุณฑริก บางดอกที่เกิดในน้ำ เจริญในน้ำ ยังไม่พ้นน้ำ จมอยู่ในน้ำ มีน้ำเลี้ยงอยู่
ดอกอุบล ดอกปทุม ดอกปุณฑริก บางดอกที่เกิดในน้ำ เจริญในน้ำ อยู่เสมอน้ำ
ดอกอุบล ดอกปทุม ดอกปุณฑริก บางดอกที่เกิดในน้ำ เจริญในน้ำ ขึ้นพ้นน้ำ
ไม่แตะน้ำ ฉันใด
พระผู้มีพระภาคทรงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ ได้เห็นสัตว์ทั้งหลายผู้มีกิเลสดุจ
ธุลีในตาน้อย มีกิเลสดุจธุลีในตามาก มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี
มีอาการทราม สอนให้รู้ได้ง่าย สอนให้รู้ได้ยาก บางพวกมักเห็นปรโลกและโทษว่า
เป็นสิ่งที่น่ากลัวก็มี บางพวกมักไม่เห็นปรโลกและโทษว่าเป็นสิ่งที่น่ากลัวก็มี ฉันนั้น
ครั้นทรงเห็นแล้ว ได้ตรัสตอบท้าวสหัมบดีพรหมด้วยพระคาถาว่า
สัตว์ทั้งหลายเหล่าใดจะฟัง จงปล่อยศรัทธาเถิด
เราได้เปิดประตูอมตะแก่สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นแล้ว
ท่านพรหม เพราะเราสำคัญว่าจะลำบาก
จึงมิได้แสดงธรรมที่ประณีตคล่องแคล่ว ในหมู่มนุษย์
ลำดับนั้น ท้าวสหัมบดีพรหมคิดว่า “พระผู้มีพระภาคได้ทรงประทานโอกาส
แก่เรา เพื่อจะทรงแสดงธรรมแล้ว” จึงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค กระทำ
ประทักษิณแล้วหายตัวไป ณ ที่นั้นแล๑

พรหมายาจนสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๖. พรหมสังยุต] ๑. ปฐมวรรค ๒. คารวสูตร

๒. คารวสูตร
ว่าด้วยพระพุทธเจ้าทรงสักการะเคารพธรรม

[๑๗๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคแรกตรัสรู้ประทับอยู่ที่ใต้ต้นอชปาลนิโครธ ใกล้ฝั่ง
แม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลา ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด
เกิดความรำพึงอย่างนี้ว่า “บุคคลผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรง ย่อมอยู่เป็นทุกข์ เราพึง
สักการะ เคารพ อาศัยสมณะหรือพราหมณ์คนไหนหนอแลอยู่”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้มีพระดำริดังนี้ว่า “เราพึงสักการะ เคารพ
อาศัยสมณะหรือพราหมณ์อื่นอยู่ เพื่อความบริบูรณ์แห่งสีลขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์
แต่เราไม่เห็นสมณะหรือพราหมณ์อื่นในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก
และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ที่มีศีลสมบูรณ์กว่าเรา ที่เรา
จะพึงสักการะ เคารพ อาศัยอยู่
เราพึงสักการะ เคารพ อาศัยสมณะหรือพราหมณ์อื่นอยู่ เพื่อความบริบูรณ์
แห่งสมาธิขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ แต่เราไม่เห็นสมณะหรือพราหมณ์อื่นในโลก พร้อมทั้ง
เทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์
ที่มีสมาธิสมบูรณ์กว่าเรา ที่เราพึงสักการะ เคารพ อาศัยอยู่
เราพึงสักการะ เคารพ อาศัยสมณะหรือพราหมณ์อื่นอยู่ เพื่อความบริบูรณ์
แห่งปัญญาขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ แต่เราไม่เห็นสมณะหรือพราหมณ์อื่นในโลก พร้อมทั้ง
เทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์
ที่มีปัญญาสมบูรณ์กว่าเรา ที่เราพึงสักการะ เคารพ อาศัยอยู่
เราพึงสักการะ เคารพ อาศัยสมณะหรือพราหมณ์อื่นอยู่ เพื่อความบริบูรณ์
แห่งวิมุตติขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ แต่เราไม่เห็นสมณะหรือพราหมณ์อื่นในโลก พร้อมทั้ง
เทวโลก ฯลฯ ที่มีวิมุตติสมบูรณ์กว่าเรา ที่เราพึงสักการะ เคารพ อาศัยอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๒๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๖. พรหมสังยุต] ๑. ปฐมวรรค ๒. คารวสูตร

เราพึงสักการะ เคารพ อาศัยสมณะหรือพราหมณ์อื่นอยู่ เพื่อความบริบูรณ์
แห่งวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ แต่เราไม่เห็นสมณะหรือพราหมณ์อื่น
ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์
เทวดาและมนุษย์ที่มีวิมุตติญาณทัสสนะสมบูรณ์กว่าเรา ที่เราพึงสักการะ เคารพ
อาศัยอยู่ ทางที่ดีเราพึงสักการะ เคารพธรรมที่เราตรัสรู้แล้วนั่นแลอยู่
ครั้งนั้น ท้าวสหัมบดีพรหมทราบความรำพึงของพระผู้มีพระภาคด้วยใจแล้ว
หายตัวจากพรหมโลกมาปรากฏ ณ เบื้องพระพักตร์พระผู้มีพระภาค เหมือนบุรุษ
ผู้มีกำลังเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้า ฉะนั้น
ครั้งนั้นแล ท้าวสหัมบดีพรหมห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมมือไปทางที่
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระผู้มี
พระภาค ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในอดีต ทรงสักการะ เคารพ อาศัยธรรมอยู่
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคตทรงสักการะ เคารพ
อาศัยธรรมอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ในปัจจุบัน ก็ขอจงสักการะ เคารพ อาศัยธรรมอยู่เถิด”
ท้าวสหัมบดีพรหมกราบทูลดังนี้แล้ว จึงได้กล่าวคาถาอื่นต่อไปอีกว่า
พระสัมพุทธเจ้าในอดีต
พระสัมพุทธเจ้าในอนาคต
และพระสัมพุทธเจ้าพระองค์ใดในปัจจุบัน
ผู้ขจัดความเศร้าโศกของสัตว์เป็นจำนวนมากให้พินาศไป
ทุกพระองค์นั้น ล้วนเคารพพระสัทธรรมอยู่
นี้เป็นธรรมดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
เพราะเหตุนั้นแล กุลบุตรผู้ใฝ่ประโยชน์
มุ่งหวังความเป็นใหญ่ ระลึกถึงคำสอน
ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พึงเคารพพระสัทธรรม๑

คารวสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๖. พรหมสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๓. พรหมเทวสูตร

๓. พรหมเทวสูตร
ว่าด้วยพระพรหมเทพ

[๑๗๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น บุตรของนางพราหมณีคนหนึ่ง ชื่อพรหมเทพ
ออกบวชในสำนักของพระผู้มีพระภาค
ครั้งนั้น ท่านพระพรหมเทพหลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร
อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนักก็ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่ง
พรหมจรรย์๑ ที่เหล่ากุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว๒
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป” ก็แลท่าน
พระพรหมเทพเป็นพระอรหันต์รูปหนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย
ครั้นเวลาเช้า ท่านพระพรหมเทพครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไป
บิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี เที่ยวบิณฑบาตในกรุงสาวัตถีตามลำดับตรอกแล้วเข้าไป
ยังที่อยู่แห่งมารดาของตน สมัยนั้น นางพราหมณีมารดาของท่านพระพรหมเทพ
ถือการบูชาด้วยก้อนข้าวแก่พรหมเป็นนิตย์ ครั้งนั้น ท้าวสหัมบดีพรหมดำริว่า
“นางพราหมณีผู้มารดาของท่านพระพรหมเทพนี้ ถือการบูชาด้วยก้อนข้าวแก่พรหม
เป็นนิตย์ ทางที่ดีเราพึงเข้าไปหานางแล้วทำให้สลดใจ” ลำดับนั้น ท้าวสหัมบดี
พรหมยืนอยู่ในอากาศ ได้กล่าวกับนางพราหมณีมารดาของท่านพระพรหมเทพ
ด้วยคาถาทั้งหลายว่า
นางพราหมณี ท่านถือการบูชา
ด้วยก้อนข้าว แก่พรหมใดเป็นนิตย์


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๖. พรหมสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๓. พรหมเทวสูตร

พรหมโลกของพรหมนั้นอยู่ไกลจากที่นี้
นางพราหมณี อาหารของพรหมไม่ใช่เช่นนี้
ท่านไม่รู้จักทางของพรหม ทำไมจึงบ่นถึงพรหม
นางพราหมณี ก็ท่านพระพรหมเทพของท่านนั้น
เป็นผู้ไร้อุปธิ๑ ถึงความเป็นอติเทพ
ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล เห็นภัยเนือง ๆ ไม่เลี้ยงดูผู้อื่น
ท่านพระพรหมเทพผู้เข้าสู่เรือนของท่านเพื่อบิณฑบาต
เป็นผู้สมควรแก่ก้อนข้าวที่บุคคลพึงนำมาบูชา
ผู้ถึงฝั่งแห่งเวท อบรมตนแล้ว
ควรแก่ทักษิณาของมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย
ลอยบาปแล้ว ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิฉาบทา
เป็นคนเยือกเย็น กำลังเที่ยวแสวงหาอาหารอยู่
อดีตและอนาคตไม่มีแก่ท่านพระพรหมเทพนั้น
ท่านพระพรหมเทพเป็นผู้สงบระงับ ปราศจากควัน
ไม่มีทุกข์ ไม่มีความหวัง วางอาชญาแล้ว
ในปุถุชนผู้ยังมีความหวาดหวั่นและในพระขีณาสพผู้มั่นคง
ขอท่านพระพรหมเทพนั้นจงบริโภคบิณฑบาตอันเลิศ
สำหรับบูชาพรหมของท่าน
ท่านพระพรหมเทพซึ่งเป็นผู้ปราศจากเสนามาร
มีจิตสงบระงับ ฝึกตนแล้ว
เที่ยวไปเหมือนช้างประเสริฐ ไม่หวั่นไหว
เป็นภิกษุมีศีลดี มีจิตพ้นวิเศษแล้ว
ขอท่านพระพรหมเทพนั้น จงบริโภคบิณฑบาตอันเลิศ
สำหรับบูชาพรหมของท่าน


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๖. พรหมสังยุต] ๑. ปฐมวรรค ๔. พกสูตร

ท่านจงเป็นผู้เลื่อมใสในท่านพระพรหมเทพนั้น
เป็นผู้ไม่หวั่นไหว ตั้งทักษิณาไว้ในท่านผู้เป็นทักขิไณยบุคคล๑
นางพราหมณี ท่านเห็นมุนีผู้ข้ามโอฆะได้แล้ว
จงทำบุญอันจะนำความสุขมาให้สืบ ๆ ไป
ท่านจงเป็นผู้เลื่อมใสในท่านพระพรหมเทพนั้น
เป็นผู้ไม่หวั่นไหว ตั้งทักษิณาไว้ในท่านผู้เป็นทักขิไณยบุคคล
นางพราหมณี ท่านเห็นมุนีผู้ข้ามโอฆะได้แล้ว
จงทำบุญอันจะนำความสุขมาให้สืบ ๆ ไป

พรหมเทวสูตรที่ ๓ จบ

๔. พกสูตร
ว่าด้วยพกพรหม

[๑๗๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น พกพรหมได้เกิดทิฏฐิชั่วเช่นนี้ว่า “ฐานะ
แห่งพรหมนี้เที่ยง ยั่งยืน ติดต่อกัน คงที่ มีความไม่เคลื่อนเป็นธรรมดา ไม่เกิด ไม่แก่
ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติ อนึ่ง เครื่องสลัดออก(จากทุกข์)อันยิ่งอย่างอื่นนอกจากฐานะ
แห่งพรหมนี้ไม่มี”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๖. พรหมสังยุต] ๑. ปฐมวรรค ๔. พกสูตร

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบความคิดคำนึงของพกพรหมด้วยพระทัยแล้ว
ทรงหายพระองค์จากพระเชตวันแล้วไปปรากฏในพรหมโลกนั้น เปรียบเหมือนบุรุษ
ผู้มีกำลังเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้า ฉะนั้น พกพรหมได้เห็นพระผู้มีพระภาคกำลัง
เสด็จมาแต่ไกล ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์
ขอพระองค์จงเสด็จมาเถิด ขอรับเสด็จ นาน ๆ พระองค์จะมีเวลาเสด็จมา ณ ที่นี้
ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ก็ฐานะแห่งพรหมนี้เที่ยง ยั่งยืน ติดต่อกัน คงที่ มีความไม่
เคลื่อนเป็นธรรมดา ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติ อนึ่ง เครื่องสลัดออก(จาก
ทุกข์)อันยิ่ง อย่างอื่นนอกจากฐานะแห่งพรหมนี้ไม่มี”
เมื่อพกพรหมกล่าวเช่นนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับพกพรหมดังนี้ว่า
“ท่านผู้เจริญทั้งหลาย พกพรหมถึงความโง่เขลาแล้วหนอ พกพรหมถึงความโง่เขลา
แล้วหนอ พกพรหมกล่าวฐานะแห่งพรหมที่เป็นของไม่เที่ยงว่าเที่ยง กล่าวฐานะ
แห่งพรหมที่ไม่ยั่งยืนว่ายั่งยืน กล่าวฐานะแห่งพรหมที่ไม่ติดต่อกันว่าติดต่อกัน
กล่าวฐานะแห่งพรหมที่ไม่คงที่ว่าคงที่ กล่าวฐานะแห่งพรหมที่มีความเคลื่อนเป็น
ธรรมดาว่ามีความไม่เคลื่อนเป็นธรรมดา และกล่าวฐานะแห่งพรหมอันเป็นที่เกิด
แก่ ตาย จุติและอุบัติแห่งตนว่า ฐานะแห่งพรหมนี้ ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ
ไม่อุบัติ อนึ่ง ย่อมกล่าวเครื่องสลัดออก(จากทุกข์)อันยิ่งอย่างอื่นซึ่งมีอยู่ว่าไม่มี
พกพรหมกราบทูลว่า
ข้าแต่พระโคดม พวกข้าพระองค์ ๗๒ องค์
บังเกิดในพรหมโลกนี้ เพราะบุญกรรม
มีอำนาจให้เป็นไป ล่วงชาติและชราได้แล้ว
การอุบัติในพรหมโลก ซึ่งถึงฝั่งแห่งเวทนี้เป็นที่สุดแล้ว
ชนมิใช่น้อยย่อมปรารถนาเป็นดังพวกข้าพระองค์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๒๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๖. พรหมสังยุต] ๑. ปฐมวรรค ๔. พกสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
พกพรหม ท่านสำคัญอายุใดว่ายาว
ก็อายุนั้นสั้น ไม่ยาวเลย
พรหม เรารู้อายุ ๑๐๐,๐๐๐ นิรัพพุท๑ของท่านได้ดี
พกพรหมกราบทูลว่า
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พระองค์ตรัสว่า
เราเป็นผู้มีปกติเห็นไม่มีที่สิ้นสุด
ล่วงชาติชราและความเศร้าโศกได้แล้ว
อะไรเป็นศีลวัตรเก่าแก่ของข้าพระองค์หนอ
ขอพระองค์จงตรัสบอกศีลวัตร
ซึ่งข้าพระองค์ควรรู้แจ้งด้วยเถิด
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
๑. ข้อที่ท่านให้มนุษย์เป็นอันมาก
ผู้กระหายน้ำซึ่งถูกแดดแผดเผาในฤดูร้อนได้ดื่มน้ำ
นั้นเป็นศีลวัตรเก่าแก่ของท่าน
เรายังระลึกได้อยู่ ประดุจหลับแล้วตื่นขึ้น ฉะนั้น
๒. ข้อที่ท่านช่วยปลดเปลื้องประชุมชน
ซึ่งถูกโจรจับที่ตระกูลเอณิ๒


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๖. พรหมสังยุต] ๑. ปฐมวรรค ๔. พกสูตร

นั้นเป็นศีลวัตรเก่าแก่ของท่าน
เรายังระลึกได้อยู่ ประดุจหลับแล้วตื่นขึ้น ฉะนั้น
๓. ข้อที่ท่านข่มขี่ด้วยกำลังแล้วช่วยปลดเปลื้องเรือ
ซึ่งถูกนาคผู้ร้ายจับไว้ในกระแสของแม่น้ำคงคา
เพราะความเอ็นดูในหมู่มนุษย์
นั้นเป็นศีลวัตรเก่าแก่ของท่าน
เรายังระลึกได้อยู่ ประดุจหลับแล้วตื่นขึ้น ฉะนั้น
๔. เราได้เป็นอันเตวาสิกของท่าน
นามว่ากัปปมาณพ เราได้เข้าใจท่านแล้วว่า
มีความรู้ดี มีวัตร ข้อนั้นเป็นศีลวัตรเก่าแก่ของท่าน
เรายังระลึกได้อยู่ ประดุจหลับแล้วตื่นขึ้น ฉะนั้น
พกพรหมกราบทูลว่า
พระองค์ทรงทราบอายุนี้ของข้าพระองค์แน่แท้
แม้สิ่งอื่นพระองค์ก็ทรงทราบได้
เพราะพระองค์เป็นพระพุทธเจ้า
ฉะนั้น อานุภาพอันรุ่งโรจน์ของพระองค์นี้
จึงยังพรหมโลกให้สว่างไสว ตั้งอยู่

พกสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๖. พรหมสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๕. อปราทิฏฐิสูตร

๕. อปราทิฏฐิสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิอีกอย่างหนึ่ง

[๑๗๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น พรหมองค์หนึ่งได้เกิดทิฏฐิชั่วเช่นนี้ว่า
“สมณะหรือพราหมณ์ที่จะพึงมาในพรหมโลกนี้ได้ไม่มีเลย” ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค
ทรงทราบความคิดคำนึงของพรหมนั้นด้วยพระทัยแล้ว ทรงหายพระองค์จาก
พระเชตวันแล้วไปปรากฏในพรหมโลกนั้น เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนออก
หรือคู้แขนเข้า ฉะนั้น ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่งขัดสมาธิในอากาศเบื้องบน
พรหมนั้น เข้าเตโชธาตุกสิณแล้ว
ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้มีความคิดดังนี้ว่า “บัดนี้ พระผู้มี
พระภาคประทับอยู่ ณ ที่ไหนหนอ” ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้เห็นพระผู้มี
พระภาคประทับนั่งขัดสมาธิในอากาศเบื้องบนพรหมนั้น ทรงเข้าเตโชธาตุกสิณอยู่
ด้วยทิพยจักขุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุมนุษย์ ได้หายตัวจากพระเชตวันไปปรากฏใน
พรหมโลกนั้น เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้า ฉะนั้น ลำดับนั้น
ท่านพระมหาโมคคัลลานะอาศัยทิศตะวันออก นั่งขัดสมาธิในอากาศเบื้องบนของ
พรหมนั้น(แต่) ต่ำกว่าพระผู้มีพระภาค เข้าเตโชธาตุกสิณแล้ว
ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปะได้มีความคิดดังนี้ว่า “บัดนี้ พระผู้มีพระภาค
ประทับอยู่ ณ ที่ไหนหนอ” ท่านพระมหากัสสปะได้เห็นพระผู้มีพระภาคด้วยทิพพ-
จักขุ ฯลฯ ได้หายตัวจากพระเชตวันไปปรากฏในพรหมโลกนั้นเปรียบเหมือนบุรุษ
ผู้มีกำลัง ฯลฯ ฉะนั้น ลำดับนั้น ท่านพระมหากัสสปะอาศัยทิศใต้นั่งขัดสมาธิใน
อากาศเบื้องบนของพรหมนั้น (แต่)ต่ำกว่าพระผู้มีพระภาค เข้าเตโชธาตุกสิณแล้ว
ต่อมา ท่านพระมหากัปปินะได้มีความคิดดังนี้ว่า “บัดนี้ พระผู้มีพระภาค
ประทับอยู่ ณ ที่ไหนหนอ” ลำดับนั้น ท่านพระมหากัปปินะได้เห็นพระผู้มีพระภาค
ด้วยทิพพจักขุ ฯลฯ ได้หายตัวจากพระเชตวันไปปรากฏในพรหมโลกนั้น เปรียบเหมือน
บุรุษผู้มีกำลัง ฯลฯ ฉะนั้น ลำดับนั้น ท่านพระมหากัปปินะอาศัยทิศตะวันตก นั่งขัด
สมาธิในอากาศเบื้องบนพรหมนั้น (แต่)ต่ำกว่าพระผู้มีพระภาค เข้าเตโชธาตุกสิณแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๒๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๖. พรหมสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๕. อปราทิฏฐิสูตร

ลำดับนั้น ท่านพระอนุรุทธะได้มีความคิดดังนี้ว่า “บัดนี้ พระผู้มีพระภาค
ประทับอยู่ ณ ที่ไหนหนอ” ท่านพระอนุรุทธะได้เห็นพระผู้มีพระภาคด้วยทิพพจักขุ
ฯลฯ ได้หายตัวจากพระเชตวันไปปรากฏในพรหมโลกนั้น เปรียบเหมือนบุรุษผู้มี
กำลัง ฯลฯ ฉะนั้น ลำดับนั้น ท่านพระอนุรุทธะอาศัยทิศเหนือนั่งขัดสมาธิใน
อากาศเบื้องบนของพรหมนั้น (แต่)ต่ำกว่าพระผู้มีพระภาค เข้าเตโชธาตุกสิณแล้ว
ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวกับพรหมนั้นด้วยคาถาว่า
ผู้มีอายุ แม้ในวันนี้ท่านก็ยังมีทิฏฐิเหมือนครั้งก่อนหรือ
ท่านยังเห็นพระรัศมีอันปภัสสร(ของพระผู้มีพระภาค)
ก้าวล่วงรัศมีอื่นในพรหมโลกหรือ
พรหมนั้นตอบว่า
ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์
ข้าพเจ้ามิได้มีทิฏฐิเหมือนครั้งก่อน
ข้าพเจ้าเห็นพระรัศมีอันปภัสสร(ของพระผู้มีพระภาค)
ก้าวล่วงรัศมีอื่นในพรหมโลกอยู่
ในวันนี้ข้าพเจ้าจะพึงกล่าวว่า
‘เราเป็นผู้เที่ยง เป็นผู้คงที่’ ได้อย่างไร
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคให้พรหมนั้นสลดใจแล้ว ทรงหายพระองค์จาก
พรหมโลกนั้นไปปรากฏในพระเชตวัน เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนออก
หรือคู้แขนเข้า ฉะนั้น ลำดับนั้น พรหมได้เรียกพรหมปาริสัชชะองค์หนึ่งมากล่าวว่า
“มาเถิดท่านผู้นิรทุกข์ ท่านจงเข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะจนถึงที่อยู่ จงกล่าว
กับท่านพระมหาโมคคัลลานะอย่างนี้ว่า ‘ท่านพระมหาโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ มีอยู่
หรือหนอที่สาวกทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น แม้เหล่าอื่นซึ่งมีฤทธิ์มาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๒๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๖. พรหมสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๕. อปราทิฏฐิสูตร

อย่างนี้ มีอานุภาพมากอย่างนี้ เหมือนอย่างท่านพระมหาโมคคัลลานะ ท่านพระ
กัสสปะ ท่านพระกัปปินะ และท่านพระอนุรุทธะ”
พรหมปาริสัชชะนั้นรับคำของพรหมนั้นว่า “อย่างนั้น ท่านผู้นิรทุกข์” ได้หาย
ตัวจากพรหมโลกนั้นไปปรากฏข้างหน้าท่านพระมหาโมคคัลลานะ เปรียบเหมือน
บุรุษผู้มีกำลัง ฯลฯ ฉะนั้น ครั้งนั้น พรหมปาริสัชชะนั้นอภิวาทท่านพระมหา-
โมคคัลลานะแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับท่านพระมหาโมคคัลลานะดังนี้ว่า
“ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ มีอยู่หรือหนอ ฯลฯ และท่านพระอนุรุทธะ”
ลำดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวกับพรหมปาริสัชชะด้วยคาถาว่า
สาวกทั้งหลายของพระพุทธเจ้า
ผู้ได้วิชชา ๓๑ บรรลุอิทธิวิธิญาณ
ฉลาดในเจโตปริยญาณ
สิ้นอาสวะแล้ว เป็นพระอรหันต์ มีอยู่มาก
ลำดับนั้น พรหมปาริสัชชะนั้นชื่นชมยินดีภาษิตของท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้ว
เข้าไปหาพรหมนั้นถึงที่อยู่ ได้กล่าวกับพรหมนั้นว่า “ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านพระมหา-
โมคคัลลานะกล่าวอย่างนี้ว่า
สาวกทั้งหลายของพระพุทธเจ้า
ผู้ได้วิชชา ๓ บรรลุอิทธิวิธิญาณ
ฉลาดในเจโตปริยญาณ
สิ้นอาสวะแล้ว เป็นพระอรหันต์ มีอยู่มาก”
พรหมปาริสัชชะได้กล่าวคำนี้แล้ว พรหมมีใจยินดีชื่นชมภาษิตของพรหม-
ปาริสัชชะนั้น

อปราทิฏฐิสูตรที่ ๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๖. พรหมสังยุต] ๑. ปฐมวรรค ๖. ปมาทสูตร

๖. ปมาทสูตร
ว่าด้วยผู้ประมาท

[๑๗๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคทรงหลีกเร้นประทับพักผ่อนอยู่ในที่พักกลางวัน
ครั้งนั้น สุพรหมปัจเจกพรหม และสุทธาวาสปัจเจกพรหมเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ได้ยืนพิงบานประตูคนละข้าง ลำดับนั้น สุพรหมปัจเจกพรหมได้กล่าว
กับสุทธาวาสปัจเจกพรหมดังนี้ว่า “ท่านผู้นิรทุกข์ ไม่ใช่เวลาอันควรที่จะเข้าเฝ้า
พระผู้มีพระภาคก่อน พระผู้มีพระภาคทรงหลีกเร้นประทับพักผ่อนอยู่ในที่พักกลางวัน
ก็พรหมโลกโน้นบริบูรณ์และเบิกบานแล้ว แต่พรหมในพรหมโลกนั้นย่อมอยู่ด้วยความ
ประมาท มาเถิด พวกเราจักเข้าไปพรหมโลก พึงให้พรหมนั้นสลดใจ” สุทธาวาส-
ปัจเจกพรหมได้รับคำของสุพรหมปัจเจกพรหมว่า “อย่างนั้น ท่านผู้นิรทุกข์”
ครั้งนั้น สุพรหมปัจเจกพรหมและสุทธาวาสปัจเจกพรหม ได้หายตัวจาก
เบื้องพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคไปปรากฏในพรหมโลกนั้น เปรียบเหมือนบุรุษ
ผู้มีกำลัง ฯลฯ ฉะนั้น พรหมนั้นได้เห็นพรหมเหล่านั้นกำลังมาแต่ไกลเทียว ได้กล่าว
กับพรหมเหล่านั้นว่า “ท่านผู้นิรทุกข์ เชิญเถิด พวกท่านมาจากไหนกันหรือ”
พรหมเหล่านั้นกล่าวว่า “ท่านผู้นิรทุกข์ พวกเรามาจากสำนักของพระผู้มี
พระภาค ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น อนึ่ง ท่านจะไปสู่ที่บำรุง
ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าบ้างไหมล่ะ”
เมื่อพรหมทั้ง ๒ นั้นกล่าวแล้วเช่นนี้ พรหมนั้นอดกลั้นคำนั้นไม่ได้ จึงเนรมิต
ตนเป็น ๑,๐๐๐ แล้วได้กล่าวคำนี้กับสุพรหมปัจเจกพรหมว่า “ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านเห็น
อิทธานุภาพเห็นปานนี้ของเราหรือไม่”
สุพรหมปัจเจกพรหมกล่าวว่า “เราเห็นอิทธานุภาพเห็นปานนี้ของท่านแล้ว”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๒๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๖. พรหมสังยุต] ๑. ปฐมวรรค ๖. ปมาทสูตร

พรหมนั้นกล่าวว่า “เรานั้นเป็นผู้มีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีอานุภาพมากอย่างนี้
จักไปสู่ที่บำรุงของสมณะหรือพราหมณ์อื่นทำไม”
ลำดับนั้น สุพรหมปัจเจกพรหมเนรมิตตนเป็น ๒,๐๐๐ องค์ แล้วได้กล่าวคำนี้
กับพรหมว่า “ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านเห็นอิทธานุภาพเห็นปานนี้ของเราหรือไม่”
พรหมนั้นกล่าวว่า “เราเห็นอิทธานุภาพเห็นปานนี้ของท่านแล้ว”
สุพรหมปัจเจกพรหมกล่าวว่า “พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเท่านั้น มีฤทธิ์
มากกว่า และมีอานุภาพยิ่งใหญ่กว่าท่านและเราด้วย ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านพึงไปสู่
ที่บำรุงของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเถิด”
ครั้งนั้น พรหมนั้นได้กล่าวกับสุพรหมปัจเจกพรหมด้วยคาถาว่า
ข้าแต่พรหม วิมานของเราผู้มีฌานนี้นั้นมีรูปครุฑ ๓๐๐ รูป
มีรูปหงส์ ๔๐๐ รูป มีรูปมฤคที่เหมือนเสือโคร่ง ๕๐๐ รูป
ย่อมรุ่งโรจน์ส่องสว่างอยู่ในทิศเหนือ
สุพรหมปัจเจกพรหมและสุทธาวาสปัจเจกพรหมกล่าวว่า
วิมานของท่านนั้นถึงจะรุ่งโรจน์
ส่องสว่างอยู่ในทิศเหนือก็จริง
เพราะเห็นโทษในรูป(และ)เพราะเห็นรูปอันหวั่นไหวอยู่ทุกเมื่อ
พระศาสดาผู้มีพระปัญญาดี จึงไม่ทรงยินดีในรูป
ครั้งนั้น สุพรหมปัจเจกพรหมและสุทธาวาสปัจเจกพรหม ให้พรหมนั้นสลดใจ
แล้วหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง อนึ่ง พรหมนั้นสมัยต่อมาได้ไปสู่ที่บำรุงของพระผู้มี
พระภาคผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว

ปมาทสูตรที่ ๖ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๖. พรหมสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๘. กตโมรกติสสกสูตร

๗. โกกาลิกสูตร
ว่าด้วยโกกาลิกภิกษุ

[๑๗๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคทรงหลีกเร้นประทับพักผ่อนอยู่ในที่พักกลางวัน
ครั้งนั้น สุพรหมปัจเจกพรหมและสุทธาวาสปัจเจกพรหมเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ได้ยืนพิงบานประตูคนละข้าง ลำดับนั้น สุพรหมปัจเจกพรหมปรารภ
โกกาลิกภิกษุ ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
ใครผู้มีปัญญาในโลกนี้
จะพึงประเมินพระขีณาสพผู้มีคุณอันประมาณมิได้
เราเห็นว่าผู้นั้นมีปัญญาทึบยังเป็นปุถุชนอยู่
บังอาจประเมินพระขีณาสพผู้มีคุณอันประมาณมิได้

โกกาลิกสูตรที่ ๗ จบ

๘. กตโมรกติสสกสูตร
ว่าด้วยกตโมรกติสสกภิกษุ

[๑๗๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคทรงหลีกเร้นประทับพักผ่อนอยู่ในที่พักกลางวัน
ครั้งนั้น สุพรหมปัจเจกพรหมและสุทธาวาสปัจเจกพรหมเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ได้ยืนพิงบานประตูคนละข้าง ลำดับนั้น สุทธาวาสปัจเจกพรหมปรารภ
กตโมรกติสสกภิกษุ ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
ใครผู้มีปัญญาในโลกนี้
จะพึงประเมินพระขีณาสพผู้มีคุณอันประมาณมิได้
เราเห็นว่าผู้นั้นมีปัญญาทึบยังเป็นปุถุชนอยู่
บังอาจประเมินพระขีณาสพผู้มีคุณอันประมาณมิได้

กตโมรกติสสกสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๖. พรหมสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๙. ตุทุพรหมสูตร

๙. ตุทุพรหมสูตร
ว่าด้วยตุทุปัจเจกพรหม

[๑๘๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
สมัยนั้น โกกาลิกภิกษุอาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ครั้นเมื่อราตรีผ่านไป
ตุทุปัจเจกพรหมมีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วพระเชตวัน เข้าไปหา
โกกาลิกภิกษุจนถึงที่อยู่ ยืนอยู่กลางอากาศได้กล่าวกับโกกาลิกภิกษุดังนี้ว่า “ท่าน
โกกาลิกะ ท่านจงทำจิตให้เลื่อมใสในท่านพระสารีบุตรและท่านพระโมคคัลลานะเถิด
เพราะท่านพระสารีบุตรและท่านพระโมคคัลลานะ เป็นผู้มีศีลเป็นที่รัก”
โกกาลิกภิกษุถามว่า “ผู้มีอายุ ท่านเป็นใคร”
ตุทุปัจเจกพรหมตอบว่า “เราเป็นตุทุปัจเจกพรหม”
โกกาลิกภิกษุกล่าวว่า “ผู้มีอายุ ท่านได้รับพยากรณ์จากพระผู้มีพระภาคว่า
เป็นอนาคามีแล้วมิใช่หรือ เมื่อเป็นเช่นนี้ ทำไมท่านจึงมาที่นี้อีก ท่านจงเห็นว่า
ความผิดนี้ของท่านมีอยู่เถิด”
ตุทุปัจเจกพรหมได้กล่าวว่า
ผรุสวาจา (คำหยาบ) เป็นเหมือนผึ่ง
เครื่องตัดตนของคนพาลผู้กล่าวคำชั่ว
ย่อมเกิดที่ปากของบุรุษ
ผู้ใดสรรเสริญคนที่ควรติเตียน
หรือติเตียนคนที่ควรสรรเสริญ
ผู้นั้นชื่อว่าสั่งสมความผิดไว้ด้วยปาก
ย่อมไม่ประสบความสุข เพราะความผิดนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๒๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๖. พรหมสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๑๐. โกกาลิกสูตร

การปราชัยด้วยทรัพย์
ในการเล่นการพนันจนหมดตัวนี้
เป็นความผิดเพียงเล็กน้อย
แต่การที่บุคคลมีใจประทุษร้าย
ในบุคคลผู้ดำเนินไปดีแล้วนี้เท่านั้น
เป็นความผิดมากกว่า
บุคคลผู้ตั้งวาจาและใจอันชั่ว ติเตียนพระอริยะ
ย่อมเข้าถึงนรกสิ้น ๑๓๖,๐๐๐ นิรัพพุทกัป๑
กับอีก ๕ อัพพุทกัป๒

ตุทุพรหมสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. โกกาลิกสูตร
ว่าด้วยโกกาลิกภิกษุ

[๑๘๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น โกกาลิกภิกษุเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ท่านพระสารีบุตรและท่านพระโมคคัลลานะเป็นผู้มีความปรารถนาชั่ว ตกอยู่ในอำนาจ
ความปรารถนาชั่ว”
เมื่อโกกาลิกภิกษุกล่าวอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับโกกาลิกภิกษุดังนี้ว่า
“โกกาลิกะ เธออย่ากล่าวอย่างนั้น โกกาลิกะ เธออย่ากล่าวอย่างนั้น เธอจงทำจิต
ให้เลื่อมใสในสารีบุตรและโมคคัลลานะเถิด เพราะสารีบุตรและโมคคัลลานะ เป็นผู้มี
ศีลเป็นที่รัก”
แม้ครั้งที่ ๒ โกกาลิกภิกษุกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
แม้พระผู้มีพระภาคทรงเป็นที่ตั้งแห่งศรัทธาของข้าพระองค์ ทรงมีพระพุทธพจน์ที่


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๖. พรหมสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๑๐. โกกาลิกสูตร

ข้าพระองค์เชื่อถือได้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ท่านพระสารีบุตรและท่านพระโมคคัลลานะ
ก็ยังเป็นผู้ปรารถนาชั่ว ตกอยู่ในอำนาจความปรารถนาชั่ว”
แม้ครั้งที่ ๒ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับโกกาลิกภิกษุดังนี้ว่า “โกกาลิกะ
เธออย่ากล่าวอย่างนั้น โกกาลิกะ เธออย่ากล่าวอย่างนั้น เธอจงทำจิตให้เลื่อมใสใน
สารีบุตรและโมคคัลลานะเถิด เพราะสารีบุตรและโมคคัลลานะ เป็นผู้มีศีลเป็นที่รัก”
แม้ครั้งที่ ๓ โกกาลิกภิกษุก็กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ ฯลฯ ตกอยู่ใน
อำนาจความปรารถนาชั่ว”
แม้ครั้งที่ ๓ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับโกกาลิกภิกษุว่า “ ฯลฯ เพราะสารีบุตร
และโมคคัลลานะ เป็นผู้มีศีลเป็นที่รัก”
ครั้งนั้น โกกาลิกภิกษุลุกขึ้นจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคกระทำ
ประทักษิณแล้วจากไป
เมื่อโกกาลิกภิกษุจากไปไม่นาน ร่างกายก็มีตุ่มขนาดเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาด
เกิดขึ้นทั่วร่าง ตุ่มเหล่านั้นโตเท่าเมล็ดพันธ์ผักกาด แล้วก็โตขึ้นเท่าเมล็ดถั่วเขียว
โตเท่าเมล็ดถั่วดำ โตเท่าเมล็ดพุทรา โตเท่าเมล็ดกระเบา โตเท่าผลมะขามป้อม
โตเท่าผลมะตูมอ่อน โตเท่าผลมะตูมแก่ แล้วก็แตกเยิ้ม หนองและเลือดหลั่งออกมา
ครั้งนั้น โกกาลิกภิกษุได้มรณภาพเพราะอาพาธนั้นเอง แล้วไปเกิดในปทุมนรก
เพราะมีจิตผูกอาฆาตในท่านพระสารีบุตรและท่านพระโมคคัลลานะ
ครั้นเมื่อราตรีผ่านไป ท้าวสหัมบดีพรหมมีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้
สว่างทั่วพระเชตวัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่
ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โกกาลิก-
ภิกษุมรณภาพแล้ว ไปเกิดในปทุมนรกเพราะมีจิตผูกอาฆาตในท่านพระสารีบุตรและ
ท่านพระโมคคัลลานะ” ครั้นท้าวสหัมบดีพรหมกราบทูลดังนี้แล้ว ถวายอภิวาทพระ
ผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง
ครั้นราตรีนั้นผ่านไป พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย คืนนี้เมื่อราตรีผ่านไป ท้าวสหัมบดีพรหมมีวรรณะงดงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วพระเชตวัน เข้ามาหาเราถึงที่อยู่อภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๒๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๖. พรหมสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๑๐. โกกาลิกสูตร

ได้กล่าวกับเราดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โกกาลิกภิกษุมรณภาพแล้ว ไปเกิดใน
ปทุมนรก เพราะมีจิตผูกอาฆาตในท่านพระสารีบุตรและท่านพระโมคคัลลานะ”
ภิกษุทั้งหลาย ท้าวสหัมบดีพรหมกล่าวคำนี้แล้วอภิวาทเรา กระทำประทักษิณ
แล้วหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ประมาณอายุในปทุมนรกนานเท่าไรหนอ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ ประมาณอายุในปทุมนรกนานนัก
ประมาณอายุในปทุมนรกนั้น ยากที่จะน้บได้ว่า ‘ประมาณปีเท่านี้ ประมาณ ๑๐๐ ปี
เท่านี้ ประมาณ ๑,๐๐๐ ปีเท่านี้ ประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ ปีเท่านี้”
ภิกษุทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์พอจะยกอุปมาได้หรือไม่
พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ได้ภิกษุ” แล้วตรัสว่า “ภิกษุ หนึ่งเกวียนเมล็ดงา
ของชาวโกศลมีอัตรา ๒๐ ขารี๑ ล่วงไปแล้ว ๑๐๐,๐๐๐ ปี บุรุษจึงนำเมล็ดงาออก
จากเกวียนนั้นหนึ่งเมล็ด เมล็ดงาหนึ่งเกวียนของชาวโกศลซึ่งมีอัตรา ๒๐ ขารีนั้น
จะพึงหมดไปโดยทำนองนี้เร็วกว่า แต่ว่า ๑ อัพพุทนรก๒หาหมดไปไม่


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๖. พรหมสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๑๐. โกกาลิกสูตร

๒๐ อัพพุทนรก เป็น ๑ นิรัพพุทนรก
๒๐ นิรัพพุทนรก เป็น ๑ อพัพพนรก
๒๐ อพัพพนรก เป็น ๑ อุหหนรก
๒๐ อุหหนรก เป็น ๑ อัฏฏนรก
๒๐ อัฏฏนรก เป็น ๑ กุมุทนรก
๒๐ กุมุทนรก เป็น ๑ โสคันธิกนรก
๒๐ โสคันธิกนรก เป็น ๑ อุปปลนรก
๒๐ อุปปลนรก เป็น ๑ ปุณฑริกนรก
๒๐ ปุณฑริกนรก เป็น ๑ ปทุมนรก

โกกาลิกภิกษุไปเกิดในปทุมนรกแล้ว เพราะมีจิตผูกอาฆาตในสารีบุตรและ
โมคคัลลานะ”
พระผู้มีภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์
ต่อไปอีกว่า
ผรุสวาจา (คำหยาบ) เป็นเหมือนผึ่ง
เครื่องตัดตนของคนพาลผู้กล่าวคำชั่ว
ย่อมเกิดที่ปากของบุรุษ
ผู้ใดสรรเสริญคนที่ควรติเตียน
หรือติเตียนคนที่ควรสรรเสริญ
ผู้นั้นชื่อว่าสั่งสมความผิดไว้ด้วยปาก
ย่อมไม่ประสบความสุข เพราะความผิดนั้น
การปราชัยด้วยทรัพย์
ในการเล่นการพนันจนหมดตัวนี้
เป็นความผิดเพียงเล็กน้อย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๒๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๖. พรหมสังยุต]
๑. ปฐมวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

แต่การที่บุคคลมีใจประทุษร้าย
ในบุคคลผู้ดำเนินไปดีแล้วนี้เท่านั้น
เป็นความผิดมากกว่า
บุคคลผู้ตั้งวาจาและใจอันชั่ว ติเตียนพระอริยะ
ย่อมเข้าถึงนรกสิ้น ๑๓๖,๐๐๐ นิรัพพุทกัป
กับอีก ๕ อัพพุทกัป๑

โกกาลิกสูตรที่ ๑๐ จบ
วรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. พรหมายาจนสูตร ๒. คารวสูตร
๓. พรหมเทวสูตร ๔. พกสูตร
๕. อปราทิฏฐิสูตร ๖. ปมาทสูตร
๗. โกกาลิกสูตร ๘. กตโมรกติสสกสูตร
๙. ตุทุพรหมสูตร ๑๐. โกกาลิกสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๖. พรหมสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๑. สนังกุมารสูตร

๒. ทุติยวรรค
หมวดที่ ๒
๑. สนังกุมารสูตร
ว่าด้วยสนังกุมารพรหม

[๑๘๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำสัปปินี เขตกรุงราชคฤห์
ครั้นเมื่อราตรีผ่านไป สนังกุมารพรหมมีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างทั่ว
ฝั่งแม่น้ำสัปปินี เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่
ณ ที่สมควร ได้กล่าวคาถานี้ในที่ประทับของพระผู้มีพระภาคว่า
ในหมู่ชนที่ถือตระกูลเป็นใหญ่
กษัตริย์จัดว่าประเสริฐที่สุด
ส่วนท่านผู้เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ๑
จัดว่าประเสริฐที่สุดในหมู่เทวดาและมนุษย์๒
สนังกุมารพรหมครั้นกราบทูลคำนี้แล้ว พระศาสดาทรงพอพระทัย ครั้งนั้น
สนังกุมารพรหมทราบว่า “พระศาสดาของเราทรงพอพระทัยแล้ว” จึงถวายอภิวาท
พระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง

สนังกุมารสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๖. พรหมสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๓. อันธกวินทสูตร

๒. เทวทัตตสูตร
ว่าด้วยพระเทวทัต

[๑๘๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุงราชคฤห์
เมื่อพระเทวทัตจากไปไม่นาน ครั้นเมื่อราตรีผ่านไป ท้าวสหัมบดีพรหมมีวรรณะ
งดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วภูเขาคิชฌกูฏ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร ปรารภพระเทวทัต ได้กล่าวคาถานี้
ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนผลกล้วยฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ฆ่าต้นไผ่ ดอกอ้อฆ่าต้นอ้อ
ลูกม้าอัสดรฆ่าแม่ม้า ฉะนั้น๑

เทวทัตตสูตรที่ ๒ จบ

๓. อันธกวินทสูตร
ว่าด้วยเรื่องอันธกวินทคาม

[๑๘๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อันธกวินทคาม แคว้นมคธ
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่งอยู่ในที่แจ้ง ในราตรีอันมืดมิดและฝนกำลังตก
ประปรายอยู่ ครั้นเมื่อราตรีผ่านไป ท้าวสหัมบดีพรหมมีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมี
ให้สว่างทั่วอันธกวินทคาม เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
ภิกษุพึงอาศัยที่นอนและที่นั่งอันสงัด
พึงประพฤติเพื่อความหลุดพ้นจากสังโยชน์


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๖. พรหมสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๓. อันธกวินทสูตร

ถ้าภิกษุไม่ประสบความยินดีในที่นั้น
พึงมีสติ มีปัญญาเครื่องบริหาร อยู่ในท่ามกลางสงฆ์
ภิกษุเมื่อเที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตระกูล
พึงมีปัญญาเครื่องบริหาร คุ้มครองอินทรีย์
พึงอาศัยที่นอนที่นั่งอันสงัด
พ้นจากภัย๑ น้อมไปในอภัย๒
ภิกษุถึงนั่งอยู่ในที่ที่มีสัตว์เลื้อยคลานอันน่ากลัว
สายฟ้าแลบแปลบปลาบ ฉวัดเฉวียน
ฝนตกในราตรีอันมืดมิด
ก็ปราศจากความขนพองสยองเกล้า
ข้าพระองค์กลัวมุสาวาท จึงไม่อาจคำนวณด้วยใจ
ของข้าพระองค์ได้ว่า ‘เรื่องนี้ข้าพระองค์ได้เห็นแล้วแน่’
ข้าพระองค์ไม่กล่าวว่า ‘ในเรื่องนี้เป็นอย่างนี้ ในเรื่องนี้เป็นอย่างนี้’
ในพรหมจรรย์หนึ่ง๓มีพระขีณาสพผู้ละความตายได้ ๑,๐๐๐ รูป
พระเสขะมากกว่า ๕๐๐ รูปไป
๑๐ รูปบ้าง ๑๐๐ รูปบ้าง
และผู้ถึงกระแสนิพพานทั้งหมดไม่ไปสู่ดิรัจฉานภูมิ
ส่วนหมู่สัตว์นอกนี้ล้วนเป็นผู้มีส่วนได้รับผลบุญ

อันธกวินทสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๖. พรหมสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๔. อรุณวตีสูตร

๔. อรุณวตีสูตร
ว่าด้วยเรื่องเมืองอรุณวดี

[๑๘๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ฯลฯ เขตกรุงสาวัตถี ณ
ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุ
เหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เรื่องเคยมีมาแล้ว มีพระราชาพระนามว่าอรุณ ราชธานีของพระเจ้าอรุณ ชื่อว่า
อรุณวดี พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี ทรงเข้าไปอาศัย
อรุณวดีราชธานีประทับอยู่ อนึ่ง พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนาม
ว่าสิขี ได้มีคู่พระสาวกนามว่าอภิภูและสัมภวะ เป็นคู่พระสาวกชั้นดีเลิศ
ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า
สิขี รับสั่งเรียกอภิภูภิกษุมาตรัสว่า ‘พราหมณ์ มาเถิด เราจักเข้าไปพรหมโลก
ชั้นใดชั้นหนึ่งชั่วเวลาหนึ่ง จนกว่าจะถึงเวลาฉันภัตตาหาร’ ภิกษุทั้งหลาย อภิภูภิกษุ
ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี และ
อภิภูภิกษุได้หายตัวจากอรุณวดีราชธานีไปปรากฏในพรหมโลกนั้น เปรียบเหมือน
บุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้า ฉะนั้น
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี รับสั่ง
เรียกอภิภูภิกษุมาตรัสว่า ‘พราหมณ์ ธรรมีกถาจงปรากฏชัดแก่พรหม พรหมบริษัท
และพรหมปาริสัชชะทั้งหลายเถิด’
อภิภูภิกษุทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว ได้ชี้แจงให้พรหม พรหมบริษัท และ
พรหมปาริสัชชะทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญ
แกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๒๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๖. พรหมสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๔. อรุณวตีสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่าในกาลนั้น พรหม พรหมบริษัท และพรหมปาริสัชชะ
ทั้งหลาย ยกโทษติเตียนโพนทะนาว่า ‘ท่านผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ
ก็เมื่อพระศาสดาประทับอยู่เฉพาะหน้า เพราะเหตุไร พระสาวกจึงแสดงธรรม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี ตรัสกับ
อภิภูภิกษุว่า ‘ดูก่อนพราหมณ์ พรหม พรหมบริษัท และพรหมปาริสัชชะเหล่านั้น
พากันติเตียนว่า ‘ท่านผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ก็เมื่อพระศาสดา
ประทับอยู่เฉพาะหน้า เพราะเหตุไร พระสาวกจึงแสดงธรรม’ พราหมณ์ ถ้าอย่างนั้น
เธอจงให้พรหม พรหมบริษัท และพรหมปาริสัชชะทั้งหลายสลดใจให้ยิ่งขึ้นไปกว่า’
อภิภูภิกษุทูลรับสนองพระดำรัสแล้วปรากฏกายแสดงธรรมบ้าง ไม่ปรากฏกาย
แสดงธรรมบ้าง ปรากฏกายท่อนล่าง ไม่ปรากฏกายท่อนบนแสดงธรรมบ้าง
ปรากฏกายท่อนบน ไม่ปรากฏกายท่อนล่างแสดงธรรมบ้าง
ภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่าในกาลนั้น พรหม พรหมบริษัท และพรหมปาริสัชชะ
ทั้งหลายได้มีจิตอัศจรรย์เกิดขึ้นว่า ‘น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ท่านผู้เจริญ
ทั้งหลาย ความที่สมณะเป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก’
ครั้งนั้น อภิภูภิกษุได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระนามว่าสิขี ดังนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ย่อมทราบ ข้าพระองค์เป็น
ผู้กล่าววาจาเห็นปานนี้ ในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ว่า ‘ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เราอยู่ที่
พรหมโลกสามารถยังหมื่นโลกธาตุให้รู้แจ้งด้วยเสียงได้’
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี ตรัสว่า ‘พราหมณ์
เป็นกาลของเธอ พราหมณ์ เป็นกาลของเธอ ที่เธอยืนอยู่ที่พรหมโลกพึงยังหมื่น
โลกธาตุให้รู้แจ้งด้วยเสียงได้’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๒๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๖. พรหมสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๔. อรุณวตีสูตร

อภิภูภิกษุทูลรับสนองพระดำรัสแล้วยืนอยู่ในพรหมโลกได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า
ท่านทั้งหลายจงปรารภความเพียร
จงทำความเพียรอย่าหยุดยั้ง
จงประกอบความเพียรในพระพุทธศาสนา
จงกำจัดกองทัพแห่งมัจจุ
เหมือนช้างกำจัดเรือนต้นอ้อ ฉะนั้น
ผู้ที่ไม่ประมาทอยู่ในพระธรรมวินัยนี้
ละการเวียนว่ายตายเกิดแล้ว จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า
สิขีและอภิภูภิกษุ ยังพรหม พรหมบริษัท และพรหมปาริสัชชะทั้งหลายให้สลดใจแล้ว
ได้หายตัวจากพรหมโลกนั้นไปปรากฏในอรุณวดีราชธานี ฯลฯ ครั้งนั้น พระผู้มี
พระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
‘ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออภิภูภิกษุยืนอยู่ในพรหมโลก กล่าวคาถาทั้งหลายอยู่ เธอทั้งหลาย
ได้ยินหรือไม่’
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ‘เมื่ออภิภูภิกษุอยู่ในพรหมโลก กล่าวคาถาทั้งหลายอยู่
ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ยินแล้ว พระพุทธเจ้าข้า’
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี ตรัสถามว่า ‘ภิกษุ
ทั้งหลาย ก็เมื่ออภิภูภิกษุยืนอยู่ในพรหมโลก กล่าวคาถาทั้งหลายอยู่ เธอทั้งหลาย
ได้ยินว่าอย่างไร’
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่ออภิภูภิกษุยืนอยู่ใน
พรหมโลก กล่าวคาถาทั้งหลายอยู่ ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ยินอย่างนี้ว่า
ท่านทั้งหลาย จงปรารภความเพียร
จงทำความเพียรอย่าหยุดยั้ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๒๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๖. พรหมสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๕. ปรินิพพานสูตร

จงประกอบความเพียรในพระพุทธศาสนา
จงกำจัดกองทัพแห่งมัจจุ
เหมือนช้างกำจัดเรือนต้นอ้อ ฉะนั้น
ผู้ที่ไม่ประมาทอยู่ในพระธรรมวินัยนี้
ละการเวียนว่ายตายเกิดแล้ว จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
เมื่ออภิภูภิกษุยืนกล่าวคาถาทั้งหลายอยู่ในพรหมโลก ข้าพระองค์ทั้งหลายได้
ยินแล้วอย่างนี้’
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี ตรัสว่า “ดีละ ดีละ
ภิกษุทั้งหลาย ดีนัก ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออภิภูภิกษุยืนกล่าวคาถาทั้งหลายอยู่ใน
พรหมโลก เธอทั้งหลายได้ยินแล้ว”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชม
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค

อรุณวตีสูตรที่ ๔ จบ

๕. ปรินิพพานสูตร
ว่าด้วยการปรินิพพาน

[๑๘๖] สมัยหนึ่ง ในเวลาใกล้ปรินิพพาน พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ระหว่าง
ต้นไม้สาละทั้งคู่ ป่าสาลวัน สถานที่แวะพักของมัลลกษัตริย์ทั้งหลาย เขตกรุง
กุสินารา ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย บัดนี้ เราขอเตือนพวกเธอว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา
พวกเธอจงทำหน้าที่ให้สมบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด” นี้เป็นพระวาจาครั้งสุดท้าย
ของพระตถาคต ต่อจากนั้น พระผู้มีพระภาค

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๒๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๖. พรหมสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๕. ปรินิพพานสูตร

ทรงเข้าปฐมฌาน ออกจากปฐมฌาน
ทรงเข้าทุติยฌาน ออกจากทุติยฌาน
ทรงเข้าตติยฌาน ออกจากตติยฌาน
ทรงเข้าจตุตถฌาน ออกจากจตุตถฌาน
ทรงเข้าอากาสานัญจายตนสมาบัติ ออกจากอากาสานัญจายตนสมาบัติ
ทรงเข้าวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ออกจากวิญญาณัญจายตนสมาบัติ
ทรงเข้าอากิญจัญญายตนสมาบัติ ออกจากอากิญจัญญายตนสมาบัติ
ทรงเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ออกจากเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ
ทรงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธ
ทรงเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ออกจากเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ
ทรงเข้าอากิญจัญญายตนสมาบัติ ออกจากอากิญจัญญายตนสมาบัติ
ทรงเข้าวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ออกจากวิญญาณัญจายตนสมาบัติ
ทรงเข้าอากาสานัญจายตนสมาบัติ ออกจากอากาสานัญจายตนสมาบัติ
ทรงเข้าจตุตถฌาน ออกจากจตุตถฌาน
ทรงเข้าตติยฌาน ออกจากตติยฌาน
ทรงเข้าทุติยฌาน ออกจากทุติยฌาน
ทรงเข้าปฐมฌาน ออกจากปฐมฌาน
ทรงเข้าทุติยฌาน ออกจากทุติยฌาน
ทรงเข้าตติยฌาน ออกจากตติยฌาน
ทรงเข้าจตุตถฌาน ออกจากจตุตถฌานแล้วได้ปรินิพพานในลำดับ๑

เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จปรินิพพาน ท้าวสหัมบดีพรหมได้กล่าวคาถา พร้อมกับ
การเสด็จปรินิพพานว่า
สรรพสัตว์จะต้องทอดทิ้งร่างกายไว้ในโลก
พระศาสดาผู้หาใครเปรียบเทียบไม่ได้ในโลก


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๖. พรหมสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๕. ปรินิพพานสูตร

ผู้เข้าถึงสภาวะตามเป็นจริง ผู้บรรลุพลธรรม๑
ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบเช่นนี้ ก็ยังเสด็จปรินิพพานได้
เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จปรินิพพาน ท้าวสักกะจอมเทพได้ตรัสคาถา พร้อมกับ
การเสด็จปรินิพพานว่า
สังขารทั้งหลายล้วนไม่เที่ยง
มีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเป็นธรรมดา
เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป
ความสงบระงับสังขารเหล่านั้นเป็นความสุข
เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จปรินิพพาน ท่านพระอานนท์ได้กล่าวคาถา พร้อม
กับการเสด็จปรินิพพานว่า
เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
มีพระอาการอันล้ำเลิศทุกอย่าง๒เสด็จปรินิพพานแล้ว
ในกาลนั้น ได้เกิดเหตุน่าอัศจรรย์ ขนพองสยองเกล้า
เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จปรินิพพาน ท่านพระอนุรุทธะได้กล่าวคาถา พร้อมกับ
การเสด็จปรินิพพานว่า
ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก
ของพระผู้มีพระภาคผู้มีพระทัยมั่นคง ผู้คงที่ ไม่มีแล้ว


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๖. พรหมสังยุต]
๒. ทุติยวรรค รวมพระสูตรที่มีในสังยุต

พระมุนีผู้ไม่หวั่นไหว มุ่งใฝ่สันติ๑
มีพระจักษุ เสด็จปรินิพพานแล้ว
พระองค์ผู้มีพระทัย ไม่หดหู่
ทรงอดกลั้นเวทนาไว้ได้ มีพระทัยหลุดพ้นแล้ว
ดุจดวงประทีปที่โชติช่วงดับไป ฉะนั้น๒

ปรินิพพานสูตรที่ ๕ จบ
วรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สนังกุมารสูตร ๒. เทวทัตตสูตร
๓. อันธกวินทสูตร ๔. อรุณวตีสูตร
๕. ปรินิพพานสูตร

พรหมสังยุต จบบริบูรณ์

รวมพระสูตรที่มีในสังยุตนี้ คือ

๑. พรหมายาจนสูตร ๒. คารวสูตร
๓. พรหมเทวสูตร ๔. พกสูตร
๕. อปราทิฏฐิสูตร ๖. ปมาทสูตร
๗. โกกาลิกสูต ๘. กตโมรกติสสกสูตร
๙. ตุทุพรหมสูตร ๑๐. โกกาลิกสูตร
๑๑. สนังกุมารสูตร ๑๒. เทวทัตตสูตร
๑๓. อันธกวินทสูตร ๑๔. อรุณวตีสูตร
๑๕. ปรินิพพานสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]
๑. อรหันตวรรค ๑. ธนัญชานีสูตร

๗. พราหมณสังยุต
๑. อรหันตวรรค
หมวดว่าด้วยพระอรหันต์
๑. ธนัญชานีสูตร
ว่าด้วยธนัญชานีพราหมณี

[๑๘๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น นางพราหมณีชื่อธนัญชานี ของพราหมณ์ภารทวาชโคตร
คนหนึ่ง เป็นผู้เลื่อมใสอย่างยิ่งในพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ครั้งนั้น
นางธนัญชานีพราหมณี กำลังนำภัตรเข้าไปเพื่อพราหมณ์ภารทวาชโคตร ก้าวเท้า
พลาดจึงเปล่งอุทาน ๓ ครั้งว่า
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
เมื่อนางธนัญชานีพราหมณีกล่าวอย่างนี้แล้ว พราหมณ์ภารทวาชโคตรได้กล่าว
กับนางธนัญชานีพราหมณีดังนี้ว่า “ก็หญิงถ่อยคนนี้กล่าวคุณของสมณะโล้นนั้น
อย่างนี้ อย่างนี้ ไม่ว่าในที่ไหน ๆ หญิงถ่อย บัดนี้ เราจักยกวาทะของพระศาสดานั้น
ของเจ้าบ้างละ”
นางธนัญชานีพราหมณีกล่าวว่า “พราหมณ์ ฉันยังไม่เห็นบุคคลผู้จะพึงยก
วาทะของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นในโลก พร้อมทั้งเทวโลก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๒๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]
๑. อรหันตวรรค ๑. ธนัญชานีสูตร

มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ท่านจงไป
เถิด ไปแล้วก็จักรู้เอง”
ครั้งนั้น พราหมณ์ภารทวาชโคตรโกรธ ไม่พอใจ จึงเข้าไปหาพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ
ที่สมควร ได้กล่าวกับพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
บุคคลกำจัดอะไรได้จึงอยู่เป็นสุข
กำจัดอะไรได้จึงไม่เศร้าโศก ข้าแต่พระโคดม
พระองค์ทรงพอพระทัยการกำจัดธรรมอย่างหนึ่ง คืออะไร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
บุคคลกำจัดความโกรธได้จึงอยู่เป็นสุข
กำจัดความโกรธได้จึงไม่เศร้าโศก พราหมณ์
พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญการกำจัดความโกรธ
ซึ่งมีรากเป็นพิษ มียอดหวาน
เพราะบุคคลกำจัดความโกรธนั้นได้แล้ว จึงไม่เศร้าโศก
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์ภารทวาชโคตรได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจน
ไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก
พระโคดมผู้เจริญทรงประกาศธรรมโดยปริยายเป็นอันมาก เปรียบเหมือนบุคคล
หงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด
ด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’ ฉะนั้น ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระโคดมผู้เจริญ
พร้อมทั้งพระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอข้าพระองค์พึงได้บรรพชาอุปสมบท
ในสำนักของพระโคดมผู้เจริญเถิด”
พราหมณ์ภารทวาชโคตรได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคแล้ว
อนึ่ง ท่านพระภารทวาชะอุปสมบทแล้วไม่นาน หลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๒๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]
๑. อรหันตวรรค ๒. อักโกสสูตร

มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนักก็ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยม
อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์๑ ที่เหล่ากุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ
ต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว๒ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
อนึ่ง ท่านพระภารทวาชะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย

ธนัญชานีสูตรที่ ๑ จบ

๒. อักโกสสูตร
ว่าด้วยอักโกสกภารทวาชพราหมณ์

[๑๘๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้
เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ อักโกสกภารทวาชพราหมณ์ได้สดับมาว่า “ได้ยินว่า
พราหมณ์ภารทวาชโคตร ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในสำนักของพระสมณ-
โคดมแล้ว” จึงโกรธ ไม่พอใจ เข้าไปหาพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้ว ด่าบริภาษ
พระผู้มีพระภาคด้วยวาจาหยาบคาย อันมิใช่วาจาของสัตบุรุษ
เมื่ออักโกสกภารทวาชพราหมณ์กล่าวอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถาม
อักโกสกภารทวาชพราหมณ์ดังนี้ว่า “พราหมณ์ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
มิตร อำมาตย์๓ ญาติและสาโลหิต๔ ผู้เป็นแขกของท่าน มาเยือนท่านบ้างไหม”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]
๑. อรหันตวรรค ๒. อักโกสสูตร

อักโกสกภารทวาชพราหมณ์ตอบว่า “พระโคดมผู้เจริญ มิตร อำมาตย์ ญาติ
และสาโลหิต ผู้เป็นแขกของข้า พระองค์ มาเยือนบ้างเป็นบางคราว”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “พราหมณ์ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
ท่านเคยจัดของเคี้ยวของบริโภคหรือของควรลิ้ม เพื่อต้อนรับมิตร อำมาตย์ ญาติ
และสาโลหิต ผู้เป็นแขกเหล่านั้นบ้างหรือไม่”
อักโกสกภารทวาชพราหมณ์ตอบว่า “พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์จัด
ของเคี้ยวของบริโภคหรือของควรลิ้มเพื่อต้อนรับมิตร อำมาตย์ ญาติและสาโลหิต
ผู้เป็นแขกเหล่านั้นเป็นบางคราว”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “พราหมณ์ ถ้ามิตร อำมาตย์ ญาติและสาโลหิต
ผู้เป็นแขกเหล่านั้นไม่รับ ของเคี้ยวของบริโภคหรือของควรลิ้มนั้นจะเป็นของใคร”
อักโกสกภารทวาชพราหมณ์ตอบว่า “พระโคดมผู้เจริญ ถ้ามิตร อำมาตย์
ญาติและสาโลหิตผู้เป็นแขกเหล่านั้นไม่รับ ของเคี้ยวของบริโภคหรือของควรลิ้มนั้น
ก็เป็นของข้าพระองค์อย่างเดิม”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ ข้อนี้ก็เหมือนกัน ท่านด่าเราผู้ไม่ด่าอยู่
ท่านโกรธต่อเราผู้ไม่โกรธอยู่ ท่านมาทะเลาะกับเราผู้ไม่ทะเลาะอยู่ เราไม่รับคำด่า
เป็นต้นของท่านนั้น พราหมณ์ ดังนั้น คำด่าเป็นต้นนั้น จึงเป็นของท่านผู้เดียว
พราหมณ์ ผู้ใดด่าตอบต่อบุคคลผู้ด่าอยู่ โกรธตอบต่อบุคคลผู้โกรธอยู่ ทะเลาะ
ตอบต่อบุคคลผู้ทะเลาะอยู่ ผู้นั้นเรากล่าวว่า ย่อมบริโภคด้วยกัน ย่อมกระทำตอบโต้
ต่อกัน แต่เรานั้นไม่บริโภคด้วยกัน ไม่กระทำตอบโต้กับท่านเป็นอันขาด พราหมณ์
ดังนั้น คำด่าเป็นต้นนั้น จึงเป็นของท่านผู้เดียว”
อักโกสกภารทวาชพราหมณ์กล่าวว่า “บริษัทพร้อมด้วยพระราชา ย่อมทราบ
พระโคดมผู้เจริญอย่างนี้ว่า ‘พระสมณโคดมเป็นพระอรหันต์’ ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น
พระโคดมผู้เจริญยังโกรธอยู่หรือ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๒๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]
๑. อรหันตวรรค ๒. อักโกสสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
บุคคลผู้ไม่โกรธ ฝึกตนแล้ว
มีความเป็นอยู่อย่างสม่ำเสมอ หลุดพ้นแล้วเพราะรู้ชอบ
สงบ คงที่ จักมีความโกรธแต่ที่ไหนเล่า
ผู้ใดโกรธตอบต่อบุคคลผู้โกรธ
ผู้นั้นย่อมเลวกว่าผู้โกรธ เพราะการโกรธตอบนั้น
บุคคลผู้ไม่โกรธตอบต่อบุคคลผู้โกรธ
ชื่อว่าชนะสงครามที่ชนะได้ยาก
ผู้ใดรู้ว่าผู้อื่นโกรธ เป็นผู้มีสติ สงบใจไว้ได้
ผู้นั้นชื่อว่าประพฤติประโยชน์ของคนทั้ง ๒ ฝ่าย
คือฝ่ายตนและฝ่ายผู้อื่น
เมื่อผู้นั้นรักษาประโยชน์ของคนทั้ง ๒ ฝ่าย๑
คือฝ่ายตนและฝ่ายผู้อื่น
ชนทั้งหลายผู้ไม่ฉลาดในธรรม๒ย่อมเข้าใจว่าเป็นคนโง่
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว อักโกสกภารทวาชพราหมณ์ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจน
ไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก
ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระโคดมผู้เจริญ พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ
ขอข้าพระองค์พึงได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระโคดมผู้เจริญเถิด”
อักโกสกภารทวาชพราหมณ์ได้บรรพชาอุปสมบท ในสำนักของพระผู้มี
พระภาคแล้ว อนึ่ง ท่านพระอักโกสกภารทวาชะอุปสมบทแล้วไม่นาน หลีกออกไป


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]
๑. อรหันตวรรค ๓. อสุรินทกสูตร

อยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนักก็ทำให้แจ้ง
ซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรออกจากเรือนบวช
เป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน รู้ชัดว่า
“ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความ
เป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
อนึ่ง ท่านพระอักโกสกภารทวาชะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในบรรดาพระ-
อรหันต์ทั้งหลาย

อักโกสสูตรที่ ๒ จบ

๓. อสุรินทกสูตร
ว่าด้วยอสุรินทกพราหมณ์

[๑๘๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้
เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ อสุรินทกภารทวาชพราหมณ์ได้สดับมาว่า “ได้ยินว่า
พราหมณ์ภารทวาชโคตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในสำนักของพระสมณโคดมแล้ว”
จึงโกรธ ไม่พอใจ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้ว ด่า บริภาษพระผู้มี
พระภาคด้วยวาจาหยาบคาย อันมิใช่วาจาของสัตบุรุษ เมื่ออสุรินทกภารทวาชพราหมณ์
กล่าวอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ทรงนิ่งเสีย ลำดับนั้น อสุรินทกภารทวาช-
พราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระสมณะ เราชนะท่านแล้ว พระสมณะ
เราชนะท่านแล้ว”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ชนพาลกล่าววาจาหยาบคาย ย่อมเข้าใจว่าตนเองชนะ
แต่ความอดกลั้นได้เป็นความชนะของบัณฑิตผู้รู้แจ้ง
ผู้ใดโกรธตอบต่อบุคคลผู้โกรธ
ผู้นั้นย่อมเลวกว่าผู้โกรธ เพราะการโกรธตอบนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๒๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]
๑. อรหันตวรรค ๔. พิลังคิกสูตร

บุคคลผู้ไม่โกรธตอบต่อบุคคลผู้โกรธ
ชื่อว่าชนะสงครามที่ชนะได้ยาก
ผู้ใดรู้ว่าผู้อื่นโกรธ เป็นผู้มีสติ สงบใจไว้ได้
ผู้นั้นชื่อว่าประพฤติประโยชน์ของคนทั้ง ๒ ฝ่าย
คือฝ่ายตนและฝ่ายผู้อื่น
เมื่อผู้นั้นรักษาประโยชน์ของคนทั้ง ๒ ฝ่าย
คือฝ่ายตนและฝ่ายผู้อื่น
ชนทั้งหลายผู้ไม่ฉลาดในธรรมย่อมเข้าใจว่าเป็นคนโง่
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว อสุรินทกภารทวาชพราหมณ์ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจน
ไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ”
อนึ่ง ท่านพระอสุรินทกภารทวาชะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในบรรดาพระ-
อรหันต์ทั้งหลาย

อสุรินทกสูตรที่ ๓ จบ

๔. พิลังคิกสูตร
ว่าด้วยพิลังคิกพราหมณ์

[๑๙๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้
เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ พิลังคิกภารทวาชพราหมณ์ได้สดับมาว่า “ได้ยินว่า
พราหมณ์ภารทวาชโคตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในสำนักของพระสมณโคดม”
จึงโกรธ ไม่พอใจ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้วได้ยืนนิ่งอยู่ ณ ที่สมควร
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบความคิดคำนึงของพิลังคิกภารทวาช-
พราหมณ์ด้วยพระทัยแล้ว ได้ตรัสกับพิลังคิกภารทวาชพราหมณ์ด้วยพระคาถาว่า
ผู้ใดประทุษร้ายต่อบุคคลผู้ไม่ประทุษร้าย
ซึ่งเป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๒๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]
๑. อรหันตวรรค ๕. อหิงสกสูตร

บาปย่อมกลับมาถึงบุคคลนั้นซึ่งเป็นคนพาลอย่างแน่แท้
ดุจผงธุลีอันละเอียดที่บุคคลซัดไปทวนลมแล้ว ฉะนั้น๑
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พิลังคิกภารทวาชพราหมณ์ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจน
ไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ
ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระโคดมผู้เจริญ พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ
ขอข้าพระองค์พึงได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระโคดมผู้เจริญเถิด”
พิลังคิกภารทวาชพราหมณ์ได้บรรพชาอุปสมบท ในสำนักของพระผู้มีพระภาค
แล้ว ฯลฯ ก็ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่า
กุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึง
อยู่ในปัจจุบัน รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว
ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
อนึ่ง ท่านพระพิลังคิกภารทวาชะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในบรรดาพระอรหันต์
ทั้งหลาย

พิลังคิกสูตรที่ ๔ จบ

๕. อหิงสกสูตร
ว่าด้วยอหิงสกภารทวาชพราหมณ์

[๑๙๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น อหิงสกภารทวาชพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์ชื่ออหิงสกะ
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์ชื่ออหิงสกะ”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]
๑. อรหันตวรรค ๖. ชฏาสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ถ้าท่านชื่ออหิงสกะ ท่านก็ไม่ควรเบียดเบียนผู้อื่น
ผู้ใดไม่เบียดเบียนผู้อื่น ทางกาย ทางวาจา และทางใจ
ผู้นั้นจึงจะชื่ออหิงสกะโดยแท้
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว อหิงสกภารทวาชพราหมณ์ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจน
ไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ”
อนึ่ง ท่านพระอหิงสกภารทวาชะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในบรรดาพระอรหันต์
ทั้งหลาย

อหิงสกสูตรที่ ๕ จบ

๖. ชฏาสูตร
ว่าด้วยชฏาพราหมณ์

[๑๙๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ชฏาภารทวาชพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนา
ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควรได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
หมู่สัตว์ยุ่งทั้งภายใน ยุ่งทั้งภายนอก
ถูกความยุ่งพาให้นุงนังแล้ว ข้าแต่พระโคดม
เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์ว่า
ใครพึงแก้ความยุ่งนี้ได้
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
นรชนผู้มีปัญญาเห็นภัยในสังสารวัฏ
ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญจิตและปัญญา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๒๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]
๑.อรหันตวรรค ๗. สุทธิกสูตร

มีความเพียร มีปัญญาเครื่องบริหาร
นั้นพึงแก้ความยุ่งนี้ได้
บุคคลเหล่าใดกำจัดราคะ โทสะ และอวิชชาได้แล้ว
บุคคลเหล่านั้น สิ้นอาสวะแล้ว เป็นพระอรหันต์
พวกเขาแก้ความยุ่งได้แล้ว
นามก็ดี รูปก็ดี ปฏิฆสัญญาก็ดี
รูปสัญญาก็ดี ดับไม่เหลือในที่ใด
ความยุ่งนั้นก็ย่อมขาดหายไปในที่นั้น๑
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ชฏาภารทวาชพราหมณ์ได้กราบทูลพระ
ผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ”
อนึ่ง ท่านพระชฏาภารทวาชะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในบรรดาพระอรหันต์
ทั้งหลาย

ชฏาสูตรที่ ๖ จบ

๗. สุทธิกสูตร
ว่าด้วยสุทธิกภารทวาชพราหมณ์

[๑๙๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น สุทธิกภารทวาชพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
พราหมณ์บางคนในโลกแม้เป็นผู้มีศีล
บำเพ็ญตบะอยู่ ก็ยังหมดจดไม่ได้
พราหมณ์ผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะเท่านั้น
จึงจะหมดจดได้
ส่วนหมู่สัตว์อื่นนอกจากนี้จะหมดจดไม่ได้เลย


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]
๑. อรหันตวรรค ๘. อัคคิกสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
พราหมณ์ ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า
บุคคลถึงจะเป็นพราหมณ์โดยกำเนิด
สาธยายมนตร์เป็นอันมาก แต่เป็นผู้เน่าและสกปรกภายใน
อาศัยการโกหกเลี้ยงชีพ ไม่จัดว่าเป็นพราหมณ์
ส่วนกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คนจัณฑาล
และคนเทขยะ ผู้ปรารภความเพียร อุทิศกายและใจอยู่
มีความบากบั่นอยู่เป็นนิตย์ ย่อมถึงความหมดจดอย่างยิ่งได้
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว สุทธิกภารทวาชพราหมณ์ได้กราบทูลดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่พระโคดม
ผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ”
อนึ่ง ท่านพระสุทธิกภารทวาชะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในบรรดาพระอรหันต์
ทั้งหลาย

สุทธิกสูตรที่ ๗ จบ

๘. อัคคิกสูตร
ว่าด้วยอัคคิกพราหมณ์

[๑๙๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้
เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น อัคคิกภารทวาชพราหมณ์ปรุงข้าวปายาส
ด้วยเนยใสด้วยคิดว่า “เราจักบูชาไฟ จักบำเรอการบูชาไฟ”
ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร เสด็จเข้า
ไปบิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์ เสด็จไปบิณฑบาตตามลำดับตรอก เข้าไปถึงที่อยู่ของ
อัคคิกภารทวาชพราหมณ์แล้วได้ประทับยืนอยู่ ณ ที่สมควร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๒๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]
๑. อรหันตวรรค ๘. อัคคิกสูตร

อัคคิกภารทวาชพราหมณ์ได้เห็นพระผู้มีพระภาคประทับยืนบิณฑบาตอยู่
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
บุคคลผู้เป็นพราหมณ์โดยกำเนิด
จบไตรเพท๑เป็นพหูสูต
พราหมณ์ผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะนั้น
จึงควรบริโภคข้าวปายาสนี้
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
บุคคลถึงจะเป็นพราหมณ์โดยกำเนิด
สาธยายมนตร์เป็นอันมาก แต่เป็นผู้เน่าและสกปรกภายใน
เป็นผู้แวดล้อมไปด้วยความโกหก ไม่จัดว่าเป็นพราหมณ์
มุนีผู้บรรลุอภิญญา คือรู้ปุพเพนิวาสญาณอย่างแจ่มแจ้ง
เห็นสวรรค์และอบาย ทั้งบรรลุความสิ้นชาติ๒แล้ว
เพราะวิชชา ๓ เหล่านี้ จึงเป็นพราหมณ์ผู้จบไตรเพท
มุนีผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะนั้น จึงควรบริโภคข้าวปายาสนี้
อัคคิกภารทวาชพราหมณ์กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “พระโคดมผู้เจริญ ขอเชิญ
บริโภคเถิด พระองค์เป็นพราหมณ์”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
การที่เรากล่าวคาถามิใช่เพื่ออาหาร
พราหมณ์ นี้ไม่ใช่ธรรมเนียมของผู้เห็นธรรม
พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่รับอาหารที่ได้มาเพราะการกล่าวคาถา
พราหมณ์ เมื่อธรรมเนียมมีอยู่ จึงมีการประพฤติอย่างนี้


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]
๑. อรหันตวรรค ๙. สุนทริกสูตร

ท่านจงบำรุงด้วยข้าวและน้ำ และด้วยปัจจัยอื่น
แก่พระขีณาสพ ผู้ประกอบด้วยคุณทั้งปวง
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ผู้มีความคะนองอันสงบแล้ว
เพราะศาสนานั้นเป็นเขตบุญของผู้แสวงบุญ
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว อัคคิกภารทวาชพราหมณ์ได้กราบทูล
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่
พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ”
อนึ่ง ท่านพระอัคคิกภารทวาชะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในบรรดาพระอรหันต์
ทั้งหลาย

อัคคิกสูตรที่ ๘ จบ

๙. สุนทริกสูตร
ว่าด้วยสุนทริกภารทวาชพราหมณ์

[๑๙๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำสุนทริกา แคว้นโกศล
สมัยนั้น สุนทริกภารทวาชพราหมณ์บูชาไฟ บำเรอการบูชาไฟอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำสุนทริกา
ครั้นบูชาแล้วลุกขึ้นจากที่นั่งเหลียวดูทิศทั้ง ๔ โดยรอบด้วยคิดว่า “ใครหนอ ควรบริโภค
ข้าวปายาสอันเหลือจากการบูชานี้”
สุนทริกภารทวาชพราหมณ์ ได้เห็นพระผู้มีพระภาคทรงห่มผ้าคลุมพระวรกาย
ตลอดพระเศียรประทับนั่งที่โคนต้นไม้แห่งหนึ่ง ครั้นเห็นแล้วมือซ้ายถือข้าวปายาสที่
เหลือจากการบูชาไฟ มือขวาถือคนโทน้ำ เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเปิดผ้าที่คลุมพระเศียรออก เพราะได้ยินเสียงเดินเข้า
มาของสุนทริกภารทวาชพราหมณ์
ครั้งนั้น สุนทริกภารทวาชพราหมณ์กล่าวว่า “นี้สมณะโล้น นี้สมณะโล้น”
แล้วต้องการจะกลับจากที่นั้นทีเดียว ลำดับนั้น สุนทริกภารทวาชพราหมณ์ได้มี
ความคิดดังนี้ว่า “พราหมณ์บางพวกในโลกนี้ เป็นผู้โล้นก็มี ทางที่ดีเราพึงเข้าไปหา
สมณะโล้นนั้นแล้วถามถึงชาติ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๒๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]
๑. อรหันตวรรค ๙. สุนทริกสูตร

ลำดับนั้น สุนทริกภารทวาชพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
แล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ท่านเป็นชาติอะไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ท่านอย่าถามถึงชาติ แต่จงถามถึงความประพฤติเถิด
ไฟย่อมเกิดจากไม้ บุคคลถึงแม้เกิดในตระกูลต่ำก็เป็นมุนีได้
มีความทรงจำ เป็นผู้เฉลียวฉลาด๑
กีดกันอกุศลธรรมได้ด้วยหิริ ฝึกตนด้วยสัจจะ๒
ประกอบแล้วด้วยทมะ ถึงที่สุดเวท อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ผู้ใดน้อมการบูชาเข้าไปบูชามุนีนั้น
ผู้นั้นชื่อว่าบูชาพระทักขิไณยบุคคลถูกกาล
สุนทริกภารทวาชพราหมณ์กราบทูลว่า
การบูชานี้ของข้าพระองค์จะเป็นอันบูชาดีแล้ว
เป็นการเซ่นสรวงดีแล้วเป็นแน่
ที่ข้าพระองค์ได้พบบุคคลผู้ถึงที่สุดเวทเช่นนั้น
ความจริง เพราะข้าพระองค์ไม่พบบุคคลเช่นพระองค์
ชนอื่นจึงได้บริโภคข้าวปายาสอันเหลือจากการบูชา
สุนทริกภารทวาชพราหมณ์กราบทูลว่า “พระโคดมผู้เจริญ เชิญบริโภคเถิด
พระองค์เป็นพราหมณ์”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
การที่เรากล่าวคาถามิใช่เพื่ออาหาร
พราหมณ์ นี้ไม่ใช่ธรรมเนียมของผู้เห็นธรรม
พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่รับอาหารที่ได้มาเพราะการกล่าวคาถา
พราหมณ์ เมื่อธรรมเนียมมีอยู่ จึงมีการประพฤติอย่างนี้


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]
๑. อรหันตวรรค ๙. สุนทริกสูตร

ท่านจงบำรุงด้วยข้าวและน้ำ และด้วยปัจจัยอื่น
แก่พระขีณาสพ ผู้ประกอบด้วยคุณทั้งปวง
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ผู้มีความคะนองอันสงบแล้ว
เพราะศาสนานั้นเป็นเขตบุญของผู้แสวงบุญ๑
ลำดับนั้น สุนทริกภารทวาชพราหมณ์กราบทูลว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
ถ้าเช่นนั้น ข้าพระองค์จะให้ข้าวปายาสอันเหลือจากการบูชานี้แก่ใคร”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ เรายังไม่เห็นบุคคลในโลก พร้อมทั้งเทวโลก
มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ซึ่งจะ
บริโภคข้าวปายาสที่เหลือจากการบูชานี้แล้ว พึงให้ถึงความย่อยไปโดยชอบ นอกจาก
ตถาคตหรือสาวกของตถาคต พราหมณ์ ถ้าอย่างนั้น ท่านจงทิ้งข้าวปายาสที่เหลือ
จากการบูชานั้น ณ ที่ปราศจากของเขียว หรือจงทิ้งให้จมลงไปในน้ำที่ไม่มีตัวสัตว์”
ลำดับนั้น สุนทริกภารทวาชพราหมณ์ทิ้งข้าวปายาสอันเหลือจากการบูชานั้น
ให้จมลงไปในน้ำที่ไม่มีตัวสัตว์ ครั้งนั้น ข้าวปายาสที่เหลือจากการบูชานั้น ที่สุนทริก-
ภารทวาชพราหมณ์เทลงแล้วในน้ำย่อมมีเสียงดังจี่จี่ และเดือดเป็นควันคลุ้ง เหมือน
ผาลที่ร้อนตลอดทั้งวัน อันบุคคลจุ่มลงในน้ำย่อมมีเสียงดังจี่จี่ และเดือดเป็นควันคลุ้ง
ฉะนั้น
ลำดับนั้น สุนทริกภารทวาชพราหมณ์ประหลาดใจเกิดขนลุกชูชัน เข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควร
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับสุนทริกภารทวาชพราหมณ์ผู้ยืนอยู่ ณ ที่สมควร
ด้วยพระคาถาทั้งหลายว่า
พราหมณ์ ท่านกำลังเผาไม้อยู่ อย่าสำคัญว่าบริสุทธิ์
ก็การเผาไม้นี้เป็นของภายนอก
ผู้ฉลาดทั้งหลายไม่กล่าวความบริสุทธิ์ด้วยการเผาไม้นั้น


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]
๑. อรหันตวรรค ๙. สุนทริกสูตร

พราหมณ์ เราเลิกการเผาไม้ที่บุคคลพึงปรารถนา
ความบริสุทธิ์ด้วยการเผาไม้ซึ่งเป็นของภายนอก
ยังไฟ๑ให้โพลงภายในตนทีเดียว
เราเป็นพระอรหันต์ มีไฟอันโพลงแล้วเป็นนิตย์
มีจิตตั้งไว้ชอบแล้วเป็นนิตย์ ประพฤติพรหมจรรย์อยู่
พราหมณ์ มานะเป็นดุจภาระคือหาบของท่าน
ความโกรธเป็นดุจควัน มุสาวาทเป็นดุจเถ้า
ลิ้นเป็นดุจภาชนะเครื่องบูชา หทัยเป็นดุจที่ตั้งกองไฟ
ตนที่ฝึกดีแล้ว เป็นความรุ่งเรืองของบุรุษ
พราหมณ์ บุคคลผู้ถึงเวททั้งหลายนั่นแล
อาบในห้วงน้ำคือธรรมของสัตบุรุษทั้งหลาย
มีท่าคือศีล ไม่ขุ่นมัว อันสัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญแล้ว
มีตัวไม่เปียก ย่อมข้ามถึงฝั่ง๒
พราหมณ์ สัจจะ ธรรม ความสำรวม๓ พรหมจรรย์
การถึงธรรมอันประเสริฐ อาศัยในท่ามกลาง
ท่านจงทำความนอบน้อมในพระขีณาสพผู้ซื่อตรงทั้งหลาย
เรากล่าวคนนั้นว่า ผู้มีธรรมเป็นสาระ
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว สุนทริกภารทวาชพราหมณ์ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจน
ไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ”
อนึ่ง ท่านพระสุนทริกภารทวาชะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในบรรดาพระอรหันต์
ทั้งหลาย

สุนทริกสูตรที่ ๙ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]
๑. อรหันตวรรค ๑๐. พหุธิติสูตร

๑๐. พหุธิติสูตร
ว่าด้วยความสุขเป็นอันมาก

[๑๙๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ราวป่าแห่งหนึ่ง แคว้น
โกศล สมัยนั้น โคพลิพัท ๑๔ ตัวของพราหมณ์ภารทวาชโคตรคนหนึ่งได้หายไป
ครั้งนั้น พราหมณ์ภารทวาชโคตรเที่ยวแสวงหาโคพลิพัทเหล่านั้นอยู่ เข้าไปถึง
ราวป่านั้น ได้พบพระผู้มีพระภาคประทับนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งพระกายตรง ดำรงสติไว้
เฉพาะหน้า อยู่ในราวป่านั้นแล้วเข้าไปหาพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้กล่าวคาถา
เหล่านี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
โคพลิพัท ๑๔ ตัว ของพระสมณะนี้ไม่มีแน่
แต่ของเราหายไปได้ ๖๐ วันเข้าวันนี้
เพราะเหตุนั้น พระสมณะนี้จึงมีความสุข
ต้นงาทั้งหลายที่ไม่งาม
มีเพียงใบสองใบ ในไร่ของพระสมณะนี้ไม่มีแน่
เพราะเหตุนั้น พระสมณะนี้จึงมีความสุข
หนูทั้งหลายในฉางข้าวเปล่า ที่รบกวนพระสมณะนี้
ด้วยการยกหูชูหางขึ้นกระโดดโลดเต้นไม่มีแน่
เพราะเหตุนั้น พระสมณะนี้จึงมีความสุข
เครื่องลาดของพระสมณะนี้ใช้ตั้งเจ็ดเดือน
ที่จะเกลื่อนกล่นด้วยสัตว์เล็กสัตว์น้อยทั้งหลายที่บังเกิดขึ้นไม่มีแน่
เพราะเหตุนั้น พระสมณะนี้จึงมีความสุข
หญิงหม้ายมีลูกสาว ๗ คน
มีลูกชายหนึ่งคนหรือสองคน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๒๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]
๑. อรหันตวรรค ๑๐. พหุธิติสูตร

แต่ของพระสมณะนี้ไม่มีแน่
เพราะเหตุนั้น พระสมณะนี้จึงมีความสุข
แมลงวันตัวลาย ชอบไต่ตอมคนหลับ
ที่จะไต่ตอมพระสมณะนี้ไม่มีแน่
เพราะเหตุนั้น พระสมณะนี้จึงมีความสุข
ในเวลาใกล้รุ่ง เจ้าหนี้ทั้งหลาย
ที่จะตามทวงหนี้พระสมณะนี้ว่า
‘ท่านทั้งหลายจงให้ ท่านทั้งหลายจงให้’ ไม่มีแน่
เพราะเหตุนั้น พระสมณะนี้จึงมีความสุข
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระคาถาว่า
พราหมณ์ โคพลิพัท ๑๔ ตัวของเราไม่มีเลย
แต่ของท่านหายไปได้ ๖๐ วันเข้าวันนี้
เพราะเหตุนั้น เราจึงมีความสุข
ต้นงาทั้งหลายที่ไม่งาม
มีเพียงใบสองใบ ในไร่ของเราไม่มีเลย
เพราะเหตุนั้น เราจึงมีความสุข
หนูทั้งหลายในฉางข้าวเปล่า ที่จะรบกวนเรา
ด้วยการยกหูชูหางขึ้นกระโดดโลดเต้นไม่มีเลย
พราหมณ์ เพราะเหตุนั้น เราจึงมีความสุข
เครื่องลาดของเราใช้ตั้งเจ็ดเดือน ที่จะเกลื่อนกล่น
ด้วยสัตว์เล็กสัตว์น้อยทั้งหลายที่บังเกิดขึ้นไม่มีเลย
เพราะเหตุนั้น เราจึงมีความสุข

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๒๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]
๑. อรหันตวรรค ๑๐. พหุธิติสูตร

หญิงหม้ายมีลูกสาว ๗ คน
มีลูกชายหนึ่งคนหรือสองคน
แต่ของเราไม่มีเลย
เพราะเหตุนั้น เราจึงมีความสุข
แมลงวันตัวลาย ชอบไต่ตอมคนหลับ
ที่จะไต่ตอมเราไม่มีเลย
เพราะเหตุนั้น เราจึงมีความสุข
พราหมณ์ ในเวลาใกล้รุ่ง
เจ้าหนี้ทั้งหลาย ที่จะตามทวงหนี้เราว่า
‘ท่านทั้งหลายจงให้ ท่านทั้งหลายจงให้’ ไม่มีเลย
เพราะเหตุนั้น เราจึงมีความสุข
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์ภารทวาชโคตรได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจน
ไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก
พระโคดมผู้เจริญทรงประกาศธรรมโดยปริยายเป็นอันมาก เปรียบเหมือนบุคคล
หงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด
ด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’ ฉะนั้น ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระสมณโคดม
ผู้เจริญ พร้อมทั้งพระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะ ข้าพระองค์พึงได้บรรพชา
อุปสมบทในสำนักของพระโคดมผู้เจริญ”
พราหมณ์ภารทวาชโคตรได้บรรพชาอุปสมบท ในสำนักของพระผู้มีพระภาคแล้ว
ท่านพระภารทวาชะอุปสมบทแล้วไม่นาน หลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท
มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนักก็ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๒๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]
๑. อรหันตวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ
ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหม-
จรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
อนึ่ง ท่านพระภารทวาชะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย

พหุธิติสูตรที่ ๑๐ จบ
อรหันตวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ธนัญชานีสูตร ๒. อักโกสสูตร
๓. อสุรินทกสูตร ๔. พิลังคิกสูตร
๕. อหิงสกสูตร ๖. ชฏาสูตร
๗. สุทธิกสูตร ๘. อัคคิกสูตร
๙. สุนทริกสูตร ๑๐. พหุธิติสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]
๒. อุปาสกวรรค ๑. กสิภารทวาชสูตร

๒. อุปาสกวรรค
หมวดว่าด้วยอุบาสก
๑. กสิภารทวาชสูตร
ว่าด้วยกสิภารทวาชพราหมณ์

[๑๙๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ หมู่บ้านพราหมณ์ชื่อเอกนาลา
ทักขิณาคีรีชนบท แคว้นมคธ สมัยนั้น กสิภารทวาชพราหมณ์ประกอบไถจำนวน
๕๐๐ ในฤดูหว่านข้าว ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตร
และจีวร เสด็จเข้าไปยังที่ทำการงานของกสิภารทวาชพราหมณ์
สมัยนั้น กสิภารทวาชพราหมณ์กำลังเลี้ยงอาหารกันอยู่ ครั้งนั้น พระผู้มี
พระภาคเสด็จเข้าไปยังสถานที่เลี้ยงอาหารของเขาแล้วประทับยืนอยู่ ณ ที่สมควร
กสิภารทวาชพราหมณ์ได้เห็นพระผู้มีพระภาคประทับยืนบิณฑบาตอยู่ ได้กราบทูล
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระสมณะ ข้าพระองค์ไถและหว่าน ครั้นไถและหว่านแล้ว จึงบริโภค
ข้าแต่พระสมณะ แม้พระองค์ก็จงไถและหว่าน ครั้นไถและหว่านแล้ว จงบริโภคเถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ แม้เราก็ไถและหว่านเหมือนกัน ครั้นไถ
และหว่านแล้วก็บริโภค”
กสิภารทวาชพราหมณ์กราบทูลว่า “ข้าพระองค์ไม่เห็นแอก ไถ ผาล ประตัก
หรือโคพลิพัททั้งหลายของท่าน เมื่อเป็นเช่นนี้ พระโคดมผู้เจริญยังกล่าวอย่างนี้ว่า
‘พราหมณ์ แม้เราก็ไถและหว่าน ครั้นไถและหว่านแล้วก็บริโภค”
ครั้งนั้น กสิภารทวาชพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
พระองค์ยืนยันว่าเป็นชาวนา
แต่ข้าพระองค์ไม่เห็นการไถของพระองค์
พระองค์ผู้เป็นชาวนา ข้าพระองค์ถามแล้วขอจงตรัสบอก
ข้าพระองค์จะรู้การไถของพระองค์นั้นได้อย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๒๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]
๒. อุปาสกวรรค ๑. กสิภารทวาชสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ศรัทธาเป็นพืช ความเพียรเป็นฝน
ปัญญาของเราเป็นแอกและไถ หิริเป็นงอนไถ
ใจเป็นเชือก สติของเราเป็นผาลและประตัก
เราคุ้มครองกาย คุ้มครองวาจาได้แล้ว
สำรวมในการบริโภคอาหาร
เราดายหญ้า [คือวาจาสับปลับ] ด้วยคำสัตย์
โสรัจจะของเราช่วยทำงานให้สำเร็จ
ความเพียรของเราช่วยนำธุระไปให้ถึงความเกษมจากโยคะ
นำไปไม่ถอยหลัง นำไปถึงที่ ซึ่งบุคคลไปแล้วไม่เศร้าโศก
เราทำนาอย่างนี้ นาที่เราทำนั้นมีผลเป็นอมตะ๑
บุคคลครั้นทำนาอย่างนี้แล้ว ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวง
กสิภารทวาชพราหมณ์กราบทูลว่า “พระโคดมผู้เจริญ ผู้เป็นชาวนา ขอจง
บริโภคผลที่เป็นอมตะที่ท่านไถเถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
การที่เรากล่าวคาถามิใช่เพื่ออาหาร
พราหมณ์ นี้ไม่ใช่ธรรมเนียมของผู้เห็นธรรม
พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่รับอาหารที่ได้มาเพราะการกล่าวคาถา
พราหมณ์ เมื่อธรรมเนียมมีอยู่ จึงมีการประพฤติอย่างนี้
ท่านจงบำรุงด้วยข้าวและน้ำ และด้วยปัจจัยอื่น
แก่พระขีณาสพ ผู้ประกอบด้วยคุณทั้งปวง


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]
๒. อุปาสกวรรค ๒. อุทยสูตร

ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ผู้มีความคะนองอันสงบแล้ว
เพราะศาสนานั้นเป็นเขตบุญของผู้แสวงบุญ๑
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว กสิภารทวาชพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้
มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก
ฯลฯ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระโคดมผู้เจริญ พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ
ขอพระโคดมผู้เจริญโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้
เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”

กสิภารทวาชสูตรที่ ๑ จบ

๒. อุทยสูตร
ว่าด้วยอุทยพราหมณ์

[๑๙๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร เสด็จเข้า
ไปยังที่อยู่ของอุทยพราหมณ์ ลำดับนั้น อุทยพราหมณ์ตักข้าวใส่บาตรถวายจนเต็ม
แม้ครั้งที่ ๒ ในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและ
จีวร เสด็จเข้าไปยังที่อยู่ของอุทยพราหมณ์ ฯลฯ ลำดับนั้น อุทยพราหมณ์ก็ตักข้าว
ใส่บาตรถวายจนเต็ม
แม้ครั้งที่ ๓ ในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและ
จีวร เสด็จเข้าไปยังที่อยู่ของอุทยพราหมณ์ ฯลฯ ลำดับนั้น อุทยพราหมณ์ก็ตักข้าว
ใส่บาตรถวายจนเต็มแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระสมณโคดมนี้ติด
ในรสจึงเสด็จมาบ่อย ๆ”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]
๒. อุปาสกวรรค ๒. อุทยสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
กสิกรย่อมหว่านพืชบ่อย ๆ
ฝนย่อมตกบ่อย ๆ ชาวนาย่อมไถนาบ่อยๆ
แว่นแคว้นย่อมสมบูรณ์ด้วยธัญชาติบ่อย ๆ
ผู้ขอย่อมขอบ่อย ๆ ทานบดีย่อมให้บ่อย ๆ
ครั้นให้บ่อย ๆ แล้ว ก็เข้าถึงสวรรค์บ่อย ๆ
ผู้ต้องการน้ำนมย่อมรีดน้ำนมบ่อย ๆ
ลูกโคย่อมเข้าหาแม่โคบ่อย ๆ
บุคคลย่อมลำบากและดิ้นรนบ่อย ๆ
คนเขลาย่อมเข้าถึงครรภ์บ่อย ๆ
สัตว์ย่อมเกิดและตายบ่อย ๆ
บุคคลทั้งหลายย่อมนำซากศพไปป่าช้าบ่อย ๆ
ส่วนผู้มีปัญญาดุจแผ่นดินย่อมไม่เกิดบ่อย ๆ
เพราะได้มรรคแล้วไม่มีภพใหม่อีกต่อไป
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว อุทยพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอพระโคดม
ผู้เจริญโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจน
ตลอดชีวิต”

อุทยสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]
๒. อุปาสกวรรค ๓. เทวหิตสูตร

๓. เทวหิตสูตร
ว่าด้วยเทวหิตพราหมณ์

[๑๙๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคทรงพระประชวร
ด้วยโรคลม ท่านพระอุปวาณะเป็นอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาค ครั้งนั้น พระผู้มี
พระภาครับสั่งเรียกท่านพระอุปวาณะมาตรัสว่า “อุปวาณะ เอาเถิด เธอจงจัดหา
น้ำร้อนสำหรับเรา”
ท่านพระอุปวาณะทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว ครองอันตรวาสก ถือบาตรและ
จีวร เข้าไปยังที่อยู่ของเทวหิตพราหมณ์แล้วยืนนิ่งอยู่ ณ ที่สมควร
เทวหิตพราหมณ์ได้เห็นท่านพระอุปวาณะยืนนิ่งอยู่ ณ ที่สมควรแล้ว ได้
กล่าวกับท่านพระอุปวาณะด้วยคาถาว่า
ท่านเป็นสมณะโล้น ครองผ้าสังฆาฏิยืนนิ่งอยู่
ท่านปรารถนาอะไร แสวงหาอะไร มาเพื่อขออะไร
ท่านพระอุปวาณะตอบว่า
พระสุคตมุนีเป็นพระอรหันต์ในโลก
ทรงพระประชวรด้วยโรคลม
พราหมณ์ ถ้าท่านมีน้ำร้อน
ขอท่านจงถวายแด่พระสุคตมุนีด้วยเถิด
อาตมภาพปรารถนาจะนำไปถวายพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ผู้ควรบูชาสักการะ และนับถือกว่าบรรดาพระอริยบุคคล
ที่ควรบูชาสักการะ และนับถือเหล่านั้น
ครั้งนั้น เทวหิตพราหมณ์ให้บุรุษถือกาน้ำร้อนและห่อน้ำอ้อยตามไปถวายท่าน
พระอุปวาณะ ลำดับนั้น ท่านพระอุปวาณะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้ว
ทูลให้สรงสนาน และใช้น้ำร้อนละลายน้ำอ้อยแล้วถวายพระผู้มีพระภาค

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๒๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]
๒. อุปาสกวรรค ๔. มหาสาลสูตร

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงหายจากพระอาการประชวร ต่อมาเทวหิต-
พราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ
พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
บุคคลพึงให้ไทยธรรม ณ ที่ไหน
ทานที่บุคคลให้ ณ ที่ไหน มีผลมาก
ทักษิณาสำเร็จผลอย่างไรแก่บุคคลผู้บูชาอย่างไร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
มุนีผู้บรรลุอภิญญา คือรู้ปุพเพนิวาสญาณอย่างแจ่มแจ้ง
เห็นสวรรค์และอบาย ทั้งบรรลุความสิ้นชาติ๑แล้ว
บุคคลพึงให้ไทยธรรมในมุนีนี้ ทานที่ให้แล้วในมุนีนี้มีผลมาก
ทักษิณาสำเร็จผลอย่างนี้แก่บุคคลผู้บูชาอย่างนี้แล
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว เทวหิตพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่
พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอพระโคดมผู้
เจริญโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”

เทวหิตสูตรที่ ๓ จบ

๔. มหาสาลสูตร
ว่าด้วยพราหมณมหาศาล

[๒๐๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น พราหมณมหาศาลคนหนึ่ง เป็นผู้เศร้าหมอง นุ่งผ้าเศร้าหมอง เข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่
ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับพราหมณมหาศาลนั้น
ดังนี้ว่า “พราหมณ์ ทำไมท่านจึงดูเศร้าหมอง นุ่งห่มก็เศร้าหมอง”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]
๒. อุปาสกวรรค ๔. มหาสาลสูตร

พราหมณมหาศาลกราบทูลว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ บุตรของข้าพระองค์
๔ คนในบ้านนี้ คบคิดกับภรรยาแล้วขับข้าพระองค์ออกจากเรือน”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ ถ้าอย่างนั้น ท่านจงเรียนคาถานี้ เมื่อหมู่
มหาชนประชุมกันที่สภา และเมื่อพวกบุตรมาประชุมกันพร้อมแล้ว จงกล่าวว่า
เราหลงชื่นชมและปรารถนาความเจริญแก่บุตรเหล่าใด
บุตรเหล่านั้นคบคิดกับภรรยารุมว่าเรา ดุจสุนัขรุมเห่าสุกร
ได้ยินว่า บุตรเหล่านั้นเป็นอสัตบุรุษผู้ลามก
ร้องเรียกเราว่าพ่อ ๆ
บุตรเหล่านั้นเหมือนยักษ์แปลงร่างมาเกิดเป็นบุตร
ละทิ้งเราผู้ล่วงเข้าปัจฉิมวัยไว้
บุตรเหล่านั้นกำจัดคนแก่ผู้ไม่มีสมบัติ
ออกจากที่อาศัยหากิน ดุจม้าแก่ที่เจ้าของปล่อยทิ้ง ฉะนั้น
บิดาของบุตรผู้เป็นพาล เป็นผู้เฒ่า ต้องขอเขากินในเรือนผู้อื่น
ว่ากันว่า ไม้เท้าของเรายังดีกว่า
พวกบุตรที่ไม่เชื่อฟังจะดีอะไร
เพราะไม้เท้าใช้ป้องกันโคหรือสุนัขดุ ๆ ได้
ในที่มืดใช้ยันไปข้างหน้าได้ ในที่ลึกใช้หยั่งควานเอาได้
พลาดแล้วช่วยพยุงไว้ได้ด้วยอานุภาพไม้เท้า
ครั้งนั้น พราหมณมหาศาลนั้นเรียนคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคแล้ว
เมื่อหมู่มหาชนประชุมกันที่สภา และเมื่อพวกบุตรมาประชุมกันพร้อมแล้ว จึงได้
กล่าวว่า
เราหลงชื่นชมและปรารถนาความเจริญแก่บุตรเหล่าใด
บุตรเหล่านั้นคบคิดกับภรรยารุมว่าเรา ดุจสุนัขรุมเห่าสุกร
ได้ยินว่า บุตรเหล่านั้นเป็นอสัตบุรุษผู้ลามก
ร้องเรียกเราว่าพ่อ ๆ
บุตรเหล่านั้นเหมือนยักษ์แปลงร่างมาเกิดเป็นบุตร
ละทิ้งเราผู้ล่วงเข้าปัจฉิมวัยไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๒๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]
๒. อุปาสกวรรค ๔. มหาสาลสูตร

บุตรเหล่านั้นกำจัดคนแก่ผู้ไม่มีสมบัติ
ออกจากที่อาศัยหากินดุจม้าแก่ที่เจ้าของปล่อยทิ้ง ฉะนั้น
บิดาของบุตรผู้เป็นพาล เป็นผู้เฒ่า ต้องขอเขากินในเรือนผู้อื่น
ว่ากันว่า ไม้เท้าของเรายังดีกว่า
พวกบุตรที่ไม่เชื่อฟังจะดีอะไร
เพราะไม้เท้าใช้ป้องกันโคหรือสุนัขดุ ๆ ได้
ในที่มืดใช้ยันไปข้างหน้าได้ ในที่ลึกใช้หยั่งควานเอาได้
พลาดแล้วยังช่วยพยุงไว้ได้ด้วยอานุภาพไม้เท้า
ลำดับนั้น พวกบุตรนำพราหมณมหาศาลนั้นไปยังเรือน ให้อาบน้ำแล้ว
ให้นุ่งห่มผ้าคู่หนึ่ง พราหมณมหาศาลนั้นถือผ้าคู่หนึ่งไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควรแล้ว
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพเจ้าชื่อว่าเป็น
พราหมณ์ แสวงหาทรัพย์สำหรับอาจารย์ มาให้อาจารย์ ขอพระโคดมผู้เจริญ ผู้เป็น
อาจารย์ของข้าพเจ้า จงรับส่วนของอาจารย์เถิด” พระผู้มีพระภาคทรงรับด้วยความ
อนุเคราะห์
ครั้งนั้น พราหมณมหาศาลนั้นได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอพระโคดมผู้เจริญโปรดทรงจำ
ข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”

มหาสาลสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]
๒. อุปาสกวรรค ๕. มานัตถัทธสูตร

๕. มานัตถัทธสูตร
ว่าด้วยมานัตถัทธพราหมณ์

[๒๐๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
สมัยนั้น พราหมณ์ชื่อมานัตถัทธะ(กระด้างเพราะถือตัว) พำนักอยู่ในกรุงสาวัตถี
เขาไม่ไหว้มารดา บิดา อาจารย์ และพี่ชายเลย สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคมีบริษัท
หมู่ใหญ่แวดล้อม ทรงแสดงธรรมอยู่
ครั้งนั้น มานัตถัทธพราหมณ์ได้มีความคิดดังนี้ว่า “พระสมณโคดมนี้มีบริษัท
หมู่ใหญ่แวดล้อมทรงแสดงธรรมอยู่ ทางที่ดีเราจะเข้าไปเฝ้าพระสมณโคดมถึงที่ประทับ
ถ้าพระสมณโคดมจักทักทายเรา เราก็จักทักทายท่าน ถ้าพระสมณโคดมไม่ทักทายเรา
เราก็จักไม่ทักทายท่าน”
ลำดับนั้น มานัตถัทธพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้วยืน
นิ่งอยู่ ณ ที่สมควร ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคไม่ทรงทักทาย มานัตถัทธพราหมณ์
ต้องการจะกลับจากที่นั้นด้วยคิดว่า “พระสมณโคดมนี้ไม่รู้อะไร”
ทีนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบความคิดคำนึงของมานัตถัทธพราหมณ์ด้วย
พระทัยแล้ว ได้ตรัสกับมานัตถัทธพราหมณ์ด้วยพระคาถาว่า
พราหมณ์ ในโลกนี้ใครที่ยังมีมานะไม่ดีเลย
บุคคลมาด้วยประโยชน์ใด พึงเพิ่มพูนประโยชน์นั้นไว้
ครั้งนั้น มานัตถัทธพราหมณ์คิดว่า “พระสมณโคดมทรงทราบจิตของเรา”
จึงหมอบลงด้วยศีรษะที่ใกล้พระยุคลบาทพระผู้มีพระภาค ณ ที่นั้นเอง จุมพิตพระ
ยุคลบาทพระผู้มีพระภาคและนวดด้วยมือ ประกาศชื่อว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
ข้าพระองค์ชื่อมานัตถัทธะ ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์ชื่อมานัตถัทธะ”
ครั้งนั้น บริษัทนั้นเกิดประหลาดใจว่า “น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ
มานัตถัทธพราหมณ์นี้ไม่ไหว้มารดา บิดา อาจารย์ และพี่ชาย แต่พระสมณโคดม
ทรงทำคนเช่นนี้ให้ทำการนอบน้อมได้เป็นอย่างดียิ่ง”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๒๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]
๒. อุปาสกวรรค ๕. มานัตถัทธสูตร

ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสกับมานัตถัทธพราหมณ์ว่า “พอละ พราหมณ์
เชิญลุกขึ้นนั่งบนที่นั่งของตนเถิด เพราะท่านมีจิตเลื่อมใสในเราแล้ว”
ลำดับนั้น มานัตถัทธพราหมณ์นั่งบนที่นั่งของตนแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มี
พระภาคด้วยคาถาว่า
บุคคลไม่ควรทำมานะในใคร
ควรมีความเคารพในใคร พึงยำเกรงในใคร
บูชาใครด้วยดีแล้วจึงจะเป็นการดี
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
บุคคลไม่ควรทำมานะในมารดา
บิดา พี่ชาย และในอาจารย์เป็นที่ ๔
พึงมีความเคารพในบุคคลเหล่านั้น
พึงยำเกรงในบุคคลเหล่านั้น
บูชาบุคคลเหล่านั้นด้วยดีแล้วจึงเป็นการดี
บุคคลพึงทำลายมานะ
ไม่ควรกระด้าง พึงนอบน้อมพระอรหันต์ ผู้เยือกเย็น
ทำกิจเสร็จแล้ว ไม่มีอาสวะ ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่านั้น
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว มานัตถัทธพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอพระ
โคดมผู้เจริญโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
จนตลอดชีวิต”

มานัตถัทธสูตรที่ ๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]
๒. อุปาสกวรรค ๖. ปัจจนีกสูตร

๖. ปัจจนีกสูตร
ว่าด้วยปัจจนีกสาตพราหมณ์

[๒๐๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น พราหมณ์ชื่อปัจจนีกสาตะ พำนัก
อยู่ในกรุงสาวัตถี ได้มีความคิดดังนี้ว่า “ทางที่ดีเราพึงเข้าไปเฝ้าพระสมณโคดมถึงที่
ประทับเถิด พระสมณโคดมจักตรัสคำใด ๆ เราก็จักคัดค้านคำนั้น ๆ”
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จจงกรมอยู่ในที่กลางแจ้ง ลำดับนั้น ปัจจนีกสาต-
พราหมณ์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ เดินตามพระผู้มีพระภาคซึ่งกำลัง
เสด็จจงกรมอยู่ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ขอพระองค์จงตรัสสมณธรรมเถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ผู้ตั้งใจจะคัดค้าน มีจิตเศร้าหมอง
มากไปด้วยความแข่งดี จะไม่รู้ชัดคำสุภาษิต
ส่วนบุคคลใดกำจัดความแข่งดี ความไม่มีจิตเลื่อมใส
และถอนความอาฆาตออกแล้วฟังอยู่
บุคคลนั้นจึงจะรู้คำสุภาษิตได้
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ปัจจนีกสาตพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก
ฯลฯ ขอพระโคดมผู้เจริญโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้
เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”

ปัจจนีกสูตรที่ ๖ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]
๒. อุปาสกวรรค ๗. นวกัมมิกสูตร

๗. นวกัมมิกสูตร
ว่าด้วยนวกัมมิกภารทวาชพราหมณ์

[๒๐๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ราวป่าแห่งหนึ่ง แคว้น
โกศล สมัยนั้น นวกัมมิกภารทวาชพราหมณ์ให้คนทำงานอยู่ในราวป่านั้น เขาได้เห็น
พระผู้มีพระภาคซึ่งประทับนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งพระกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า
ที่โคนไม้สาละแห่งหนึ่ง ได้มีความคิดดังนี้ว่า “เราให้คนทำงานอยู่ในราวป่าจึงยินดี
ส่วนพระสมณะนี้ให้คนทำอะไรอยู่จึงยินดี”
ลำดับนั้น นวกัมมิกภารทวาชพราหมณ์จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้ว
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
ภิกษุ ท่านทำงานอะไร จึงอยู่ในป่าไม้สาละ
พระโคดมอยู่ในป่าแต่ผู้เดียว ได้ความยินดีอะไรหรือ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
เราไม่ได้ทำงานอะไรในป่าหรอก
ป่าคือกิเลสอันเป็นข้าศึกถูกเราถอนรากเหง้าหมดแล้ว
เราไม่มีป่าคือกิเลส ปราศจากลูกศรคือกิเลส
ละความไม่ยินดี ยินดีอยู่ในป่าแต่ผู้เดียว
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว นวกัมมิกภารทวาชพราหมณ์ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจน
ไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก
ฯลฯ ขอพระโคดมผู้เจริญโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่
วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”

นวกัมมิกสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]
๒. อุปาสกวรรค ๘. กัฏฐหารสูตร

๘. กัฏฐหารสูตร
ว่าด้วยคนหาฟืน

[๒๐๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ราวป่าแห่งหนึ่ง แคว้น
โกศล สมัยนั้น มาณพหลายคนซึ่งเป็นศิษย์ของพราหมณ์ภารทวาชโคตรคนหนึ่ง
เป็นคนหาฟืน พากันเข้าไปยังราวป่านั้นแล้วได้เห็นพระผู้มีพระภาคประทับนั่งคู้บัลลังก์
ตั้งพระกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า อยู่ในราวป่านั้น จึงเข้าไปหาพราหมณ์-
ภารทวาชโคตรถึงที่อยู่ ได้กล่าวกับพราหมณ์ภารทวาชโคตรดังนี้ว่า “ขอท่าน
พึงทราบ พระสมณโคดมประทับนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งพระกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า
อยู่ในราวป่า”
ลำดับนั้น พราหมณ์ภารทวาชโคตรพร้อมด้วยมาณพเหล่านั้นเข้าไปยังราวป่า
นั้นแล้ว ได้เห็นพระผู้มีพระภาคประทับนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งพระกายตรง ดำรงสติไว้
เฉพาะหน้าเช่นนั้นจริง จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้วได้กราบทูลด้วย
คาถาว่า
ภิกษุ ท่านเข้าไปสู่ป่าที่ว่างเปล่าปราศจากคน
ในป่าหนาทึบน่าหวาดเสียวนัก มีกายไม่ไหวหวั่น
มีประโยชน์อันงาม เพ่งพินิจอย่างดีหนอ
ท่านเป็นมุนีอาศัยป่า อยู่ในป่าแต่ผู้เดียว
ซึ่งไม่มีเสียงขับร้อง และเสียงบรรเลง
การที่ท่านมีใจยินดี อยู่ในป่าแต่ผู้เดียวนี้
ปรากฏเป็นข้อน่าอัศจรรย์แก่ข้าพเจ้า
ข้าพเจ้าปรารถนาไตรทิพย์อันยอดเยี่ยม๑
จึงอยากเป็นสหายกับท้าวมหาพรหมผู้เป็นอธิบดีของโลก
เหตุไรท่านจึงชอบใจป่าที่ปราศจากคน
ท่านทำความเพียรอยู่ที่นี้เพื่อจะบังเกิดเป็นพรหมหรือ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]
๒. อุปาสกวรรค ๘. กัฏฐหารสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ความมุ่งหวัง๑หรือความเพลิดเพลินอย่างใดอย่างหนึ่ง
ในอารมณ์หลายชนิดซึ่งมีอยู่ประจำทุกเมื่อนานาประการ
หรือตัณหาอันเป็นเหตุให้กระชับแน่นทั้งปวงนั้น
ซึ่งมีความไม่รู้เป็นมูลรากก่อให้เกิดต่อ ๆ ไป
เราทำให้สิ้นสุดพร้อมทั้งรากแล้ว
เรานั้นจึงไม่มีความมุ่งหวัง ไม่มีตัณหาอาศัย
ไม่มีตัณหาเข้ามาใกล้ มีปกติเห็นหมดจดในธรรมทั้งปวง
บรรลุสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม๒ ประเสริฐสุดแล้ว
เราจึงควรแก่ความเป็นพรหม แกล้วกล้า เพ่งพินิจอยู่๓
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์ภารทวาชโคตรได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจน
ไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก
ฯลฯ ขอพระโคดมผู้เจริญโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่
วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”

กัฏฐหารสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]
๒. อุปาสกวรรค ๙. มาตุโปสกสูตร

๙. มาตุโปสกสูตร
ว่าด้วยมาตุโปสกพราหมณ์

[๒๐๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น มาตุโปสกพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนา
ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์แสวงหาภิกษาโดยธรรม
ได้มาแล้วก็เลี้ยงมารดาและบิดา ข้าพระองค์ทำเช่นนี้ ชื่อว่าทำกิจที่ควรทำหรือไม่”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ชอบยิ่งนัก พราหมณ์ ท่านทำดังนี้ชื่อว่าได้ทำกิจที่
ควรทำแท้ ด้วยว่าผู้ใดแสวงหาภิกษาโดยธรรมได้มาแล้วก็เลี้ยงมารดาและบิดา ผู้นั้น
ย่อมประสบบุญเป็นอันมาก”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
บุคคลใดเลี้ยงมารดาและบิดาโดยชอบธรรม
เพราะการบำรุงเลี้ยงมารดาและบิดาเช่นนี้
บัณฑิตย่อมสรรเสริญบุคคลนั้นขณะที่ยังอยู่ในโลก
ครั้นจากโลกนี้ไปแล้ว ย่อมบันเทิงในโลกสวรรค์
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว มาตุโปสกพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะ
ยิ่งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ
ขอพระโคดมผู้เจริญโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้
เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”

มาตุโปสกสูตรที่ ๙ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]
๒. อุปาสกวรรค ๑๐. ภิกขกสูตร

๑๐. ภิกขกสูตร
ว่าด้วยภิกขกพราหมณ์

[๒๐๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ภิกขกพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนา
ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นคนขอ พระองค์ก็
เป็นผู้ขอ ในเรื่องนี้เราจะมีอะไรแตกต่างกัน”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
บุคคลขอคนเหล่าอื่นอยู่
ย่อมไม่เป็นภิกษุด้วยเหตุมีประมาณเพียงใด
ผู้สมาทานธรรมผิด๑ก็ไม่เป็นภิกษุด้วยเหตุมีประมาณเพียงนั้น
ผู้ใดในโลกนี้ละบุญและบาปได้แล้ว
ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยการพิจารณา๒
ผู้นั้นแลจัดว่าเป็นภิกษุ
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกขกพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ
ขอพระโคดมผู้เจริญโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้
เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”

ภิกขกสูตรที่ ๑๐ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]
๒. อุปาสกวรรค ๑๑. สังครวสูตร

๑๑. สังครวสูตร
ว่าด้วยสังครวพราหมณ์

[๒๐๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
สมัยนั้น สังครวพราหมณ์อาศัยอยู่ในกรุงสาวัตถี มีลัทธิถือความบริสุทธิ์
ด้วยน้ำ ปรารถนาความบริสุทธิ์ด้วยน้ำ ถือการลงอาบน้ำชำระร่างกายทั้งเวลาเย็น
และเวลาเช้าเป็นประจำ ครั้นเวลาเช้า ท่านพระอานนท์ครองอันตรวาสก ถือบาตร
และจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี กลับมาจากบิณฑบาต ภายหลังจากฉัน
ภัตตาหารเสร็จแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วจึงนั่ง
ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สังครว-
พราหมณ์อาศัยอยู่ในกรุงสาวัตถี เขามีลัทธิถือความบริสุทธิ์ด้วยน้ำ ปรารถนาความ
บริสุทธิ์ด้วยน้ำ ถือการลงอาบน้ำชำระร่างกายทั้งเวลาเย็นและเวลาเช้าเป็นประจำ
ข้าพระองค์ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดอนุเคราะห์เสด็จเข้าไปหา
สังครวพราหมณ์ถึงที่อยู่ด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์
โดยดุษณีภาพ
ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร เสด็จเข้า
ไปหาสังครวพราหมณ์ถึงที่อยู่แล้วประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว
ลำดับนั้น สังครวพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนา
ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มี
พระภาคตรัสถามสังครวพราหมณ์ว่า “พราหมณ์ เขาพูดกันว่า ท่านได้ชื่อว่าถือ
ความบริสุทธิ์ด้วยน้ำ ปรารถนาความบริสุทธิ์ด้วยน้ำ ท่านถือการลงอาบน้ำชำระ
ร่างกายทั้งเวลาเย็นและเวลาเช้าเป็นประจำ จริงหรือ”
สังครวพราหมณ์กราบทูลว่า “จริงอย่างนั้น พระโคดมผู้เจริญ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๒๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]
๒. อุปาสกวรรค ๑๑. สังครวสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “พราหมณ์ ท่านเห็นอำนาจประโยชน์อะไร จึงได้
ชื่อว่ามีลัทธิถือความบริสุทธิ์ด้วยน้ำ ปรารถนาความบริสุทธิ์ด้วยน้ำ ถือการลง
อาบน้ำชำระร่างกายทั้งเวลาเย็นและเวลาเช้าเป็นประจำเล่า”
สังครวพราหมณ์ทูลตอบว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ บาปกรรมใดที่
ข้าพระองค์ทำเวลากลางวัน ข้าพระองค์ก็ลอยบาปกรรมนั้นด้วยการอาบน้ำเวลาเย็น
บาปกรรมใดที่ข้าพระองค์ทำเวลากลางคืน ข้าพระองค์ก็ลอยบาปกรรมนั้นด้วยการ
อาบน้ำเวลาเช้า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์เห็นอำนาจประโยชน์นี้ จึงได้
ชื่อว่ามีลัทธิถือความบริสุทธ์ด้วยน้ำ ปรารถนาความบริสุทธิ์ด้วยน้ำ ถือการลง
อาบน้ำชำระร่างกายทั้งเวลาเย็นและเวลาเช้าเป็นประจำ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
พราหมณ์ บุคคลผู้ถึงเวททั้งหลายนั่นแล
อาบในห้วงน้ำคือธรรมของสัตบุรุษทั้งหลาย
มีท่าคือศีล ไม่ขุ่นมัว อันสัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญแล้ว
มีตัวไม่เปียก ย่อมข้ามถึงฝั่ง๑
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว สังครวพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่
พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอพระโคดม
ผู้เจริญโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจน
ตลอดชีวิต”

สังครวสูตรที่ ๑๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]
๒. อุปาสกวรรค ๑๒. โขมทุสสสูตร

๑๒. โขมทุสสสูตร
ว่าด้วยชาวโขมทุสสนิคม

[๒๐๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของเจ้าศากยะชื่อโขมทุสสะ
แคว้นสักกะ ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร
เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังโขมทุสสนิคม สมัยนั้น พราหมณ์และคหบดีชาวโขมทุสสนิคม
ประชุมกันอยู่ในสภาด้วยกรณียกิจบางอย่าง และฝนก็กำลังตกประปรายอยู่ ลำดับนั้น
พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปยังสภานั้น
พวกพราหมณ์และคหบดีชาวโขมทุสสนิคม ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จมาแต่ไกล
จึงได้กล่าวดังนี้ว่า “คนพวกไหนชื่อว่าสมณะโล้น และคนพวกไหนรู้จักธรรมของสภา”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับพราหมณ์และคหบดีชาวโขมทุสสนิคม
ด้วยพระคาถาว่า
ที่ใดไม่มีสัตบุรุษ ที่นั้นไม่ชื่อว่าสภา
คนเหล่าใดไม่กล่าวธรรม คนเหล่านั้นไม่ชื่อว่าสัตบุรุษ
เพราะพวกสัตบุรุษละราคะ โทสะ และโมหะได้แล้ว
จึงกล่าวธรรมอยู่๑
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์และคหบดีชาวโขมทุสสนิคมได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]
๒. อุปาสกวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะ
ยิ่งนัก พระโคดมผู้เจริญทรงประกาศธรรมโดยปริยายเป็นอันมาก เหมือนบุคคล
หงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด
ด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’ ฉะนั้น พวกข้าพระองค์เหล่านี้ขอถึงพระโคดม
ผู้เจริญ พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอพระโคดมผู้เจริญโปรดทรงจำ
พวกข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”

โขมทุสสสูตรที่ ๑๒ จบ
อุปาสกวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. กสิภารทวาชสูตร ๒. อุทยสูตร
๓. เทวหิตสูตร ๔. มหาสาลสูตร
๕. มานัตถัทธสูตร ๖. ปัจจนีกสูตร
๗. นวกัมมิกสูตร ๘. กัฏฐหารสูตร
๙. มาตุโปสกสูตร ๑๐. ภิกขกสูตร
๑๑. สังครวสูตร ๑๒. โขมทุสสสูตร

พราหมณสังยุต จบบริบูรณ์


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๘. วังคีสสังยุต]๑. นิกขันตสูตร

๘. วังคีสสังยุต
๑. นิกขันตสูตร
ว่าด้วยผู้ออกบวช

[๒๐๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง ท่านพระวังคีสะอยู่ที่อัคคาฬวเจดีย์ เขตเมืองอาฬวี กับท่านพระ
นิโครธกัปปะผู้เป็นอุปัชฌาย์ สมัยนั้น ท่านพระวังคีสะยังเป็นภิกษุใหม่บวชได้ไม่นาน
ถูกใช้ให้เฝ้าวิหาร
ครั้งนั้น สตรีจำนวนมากพากันประดับประดาร่างกายอย่างสวยงาม เข้าไปยัง
อารามเที่ยวดูที่อยู่ของภิกษุทั้งหลาย ในขณะนั้น ท่านพระวังคีสะเกิดความไม่ยินดี
เพราะได้เห็นสตรีเหล่านั้น ความกำหนัดรบกวนจิต
ลำดับนั้น ท่านพระวังคีสะได้มีความคิดดังนี้ว่า “ไม่ใช่ลาภของเราเลย ไม่ใช่
ลาภของเราเลย เราได้ชั่วหนอ เราไม่ได้ดีหนอที่เราเกิดความไม่ยินดี ความกำหนัด
รบกวนจิต เหตุที่จะให้คนอื่นช่วยบรรเทาความไม่ยินดี ทำความยินดีให้เกิดขึ้น
แก่เรานั้น เราจะได้จากที่ไหน ทางที่ดีเราพึงบรรเทาความไม่ยินดี ทำความยินดีให้
เกิดขึ้นแก่ตนด้วยตนเองเถิด”
ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะบรรเทาความไม่ยินดีแล้ว ทำความยินดีให้เกิดขึ้น
แก่ตนด้วยตนเองแล้ว จึงกล่าวคาถาเหล่านี้ในเวลานั้นว่า
ความตรึกกับความคะนองอย่างเลวทรามเหล่านี้
กำลังเข้าครอบงำเราผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
บุตรของคนสูงศักดิ์ได้ศึกษาวิชายิงธนูคราวละมาก ๆ
อย่างเชี่ยวชาญ ยิงลูกธนู ๑,๐๐๐ ลูก ไปรอบ ๆ ตัว
ถึงแม้หญิงจะมามากกว่าลูกธนูจำนวนนั้น
ก็จะเบียดเบียนเราผู้ตั้งมั่นในธรรมของตนไม่ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๓๐๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๘. วังคีสสังยุต] ๒. อรติสูตร

เพราะว่า เราได้สดับทางเป็นที่ให้ถึงนิพพานนี้
เบื้องพระพักตร์ของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ดวงอาทิตย์
ใจของเรายินดีแล้วในทางนั้นแน่นอน
มารผู้มีบาป ถ้าท่านยังเข้ามาหาเราผู้อยู่ด้วยอาการอย่างนี้
เราก็จะทำให้ท่านมองไม่เห็นทางของเรา๑

นิกขันตสูตรที่ ๑ จบ

๒. อรติสูตร
ว่าด้วยความไม่ยินดี

[๒๑๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระวังคีสะอยู่ที่อัคคาฬวเจดีย์ เขตเมืองอาฬวี
กับท่านพระนิโครธกัปปะผู้เป็นอุปัชฌาย์ สมัยนั้น ท่านพระนิโครธกัปปะกลับจาก
บิณฑบาต ภายหลังจากฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว เข้าไปยังวิหาร แล้วออกมาใน
เวลาเย็นบ้าง ในเวลาภิกขาจารในวันรุ่งขึ้นบ้าง
สมัยนั้น ท่านพระวังคีสะเกิดความไม่ยินดี ความกำหนัดรบกวนจิต ลำดับนั้น
ท่านพระวังคีสะได้มีความคิดดังนี้ว่า “ไม่ใช่ลาภของเราเลย ไม่ใช่ลาภของเราเลย
เราได้ชั่วหนอ เราไม่ได้ดีหนอที่เราเกิดความไม่ยินดี ความกำหนัดรบกวนจิต เหตุที่
จะให้คนอื่นช่วยบรรเทาความไม่ยินดี ทำความยินดีให้เกิดขึ้นแก่เรานั้น เราจะได้จาก
ที่ไหน ทางที่ดีเราพึงบรรเทาความไม่ยินดี ทำความยินดีให้เกิดขึ้นแก่ตนด้วยตนเองเถิด”
ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะบรรเทาความไม่ยินดีแล้ว ทำความยินดีให้เกิดขึ้นแก่
ตนด้วยตนเองแล้ว จึงกล่าวคาถาเหล่านี้ในเวลานั้นว่า
ผู้ใดละความยินดี ความไม่ยินดี
และความตรึกเกี่ยวกับบ้านเรือนได้ทั้งหมด


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๘. วังคีสสังยุต] ๒. อรติสูตร

หมดตัณหา ไม่มีกิเลส ไม่พึงก่อตัณหาดุจป่าในที่ไหน ๆ
ผู้นั้นชื่อว่าเป็นภิกษุ
รูปอย่างใดอย่างหนึ่งในโลกนี้
ทั้งที่อาศัยแผ่นดิน อยู่ในอากาศ อันนับเนื่องในภพ ๓
ล้วนไม่เที่ยง คร่ำคร่าไปทั้งนั้น
ท่านผู้รู้ทั้งหลายรู้แจ้งอย่างนี้แล้ว มีตนหลุดพ้นเที่ยวไป
เหล่าปุถุชนที่มีจิตหมกมุ่นในอุปธิทั้งหลาย
คือ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ
ท่านจงเป็นผู้ไม่หวั่นไหว กำจัดความพอใจในกามคุณ ๕ นี้
ผู้ใดไม่ติดอยู่ในกามคุณ ๕ นี้
บัณฑิตทั้งหลายเรียกผู้นั้นว่าเป็นมุนี
ถ้ามิจฉาวิตกที่อิงอาศัยทิฏฐิ ๖๐ ประการ๑
ซึ่งเป็นธรรมที่ไม่ตั้งมั่นในกาลไหน ๆ
ผู้ใดไม่พึงเป็นไปในอำนาจกิเลสด้วยอำนาจมิจฉาวิตกเหล่านั้น
ทั้งไม่ชอบกล่าวคำหยาบคาย ผู้นั้นชื่อว่าเป็นภิกษุ
ภิกษุผู้เป็นบัณฑิต มีจิตมั่นคงมานาน ไม่ลวงโลก
มีปัญญาเครื่องบริหาร หมดความทะเยอทะยาน
เป็นมุนี ได้บรรลุสันติบท ดับกิเลสแล้ว รอเวลาอยู่๒

อรติสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๘. วังคีสสังยุต] ๓. เปสลาติมัญญนาสูตร

๓. เปสลาติมัญญนาสูตร
ว่าด้วยการนึกดูหมิ่นภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก

[๒๑๑] สมัยหนึ่ง ท่านพระวังคีสะอยู่ที่อัคคาฬวเจดีย์ เขตเมืองอาฬวี กับท่าน
พระนิโครธกัปปะผู้เป็นอุปัชฌาย์ สมัยนั้น ท่านพระวังคีสะนึกดูหมิ่นภิกษุทั้งหลาย
ผู้มีศีลเป็นที่รักเหล่าอื่น เพราะปฏิภาณของตน ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะได้มีความคิด
ดังนี้ว่า “ไม่ใช่ลาภของเราเลย ไม่ใช่ลาภของเราเลย เราได้ชั่วหนอ เราไม่ได้ดีหนอ
ที่เราดูหมิ่นภิกษุทั้งหลาย ผู้มีศีลเป็นที่รักเหล่าอื่น เพราะปฏิภาณของตน”
ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะให้ความเดือดร้อนเกิดขึ้นแก่ตนด้วยตนเองแล้ว จึงกล่าว
คาถาเหล่านี้ในเวลานั้นว่า
ท่านผู้เป็นสาวกของพระโคดม
ท่านจงละความเย่อหยิ่ง
และจงละทางแห่งความเย่อหยิ่งให้หมด
เพราะผู้ที่หมกมุ่นอยู่ในทางแห่งความเย่อหยิ่ง
จะต้องเดือดร้อนเป็นเวลานาน
หมู่สัตว์ที่ยังลบหลู่คุณท่าน
ถูกความเย่อหยิ่งกำจัดแล้ว ย่อมตกนรก
เหล่าปุถุชนที่ถูกความเย่อหยิ่งกำจัดแล้ว
เกิดในนรก ย่อมเศร้าโศกตลอดกาลนาน
บางครั้ง ภิกษุปฏิบัติชอบแล้ว
ชนะกิเลสได้ด้วยมรรค ไม่เศร้าโศกเลย
ยังกลับได้เกียรติคุณและความสุข
บัณฑิตทั้งหลายเรียกภิกษุผู้ปฏิบัติชอบเช่นนั้นว่าเป็นผู้เห็นธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๓๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๘. วังคีสสังยุต] ๔. อานันทสูตร

เพราะเหตุนั้น ภิกษุในพระศาสนานี้
ไม่ควรมีกิเลสเครื่องตรึงใจ ๕ อย่าง
ควรมีแต่ความเพียรชอบ ละนิวรณ์ได้แล้ว เป็นผู้บริสุทธิ์
ทั้งละความเย่อหยิ่งได้หมด สงบระงับแล้ว
ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ด้วยวิชชา๑

เปสลาติมัญญนาสูตรที่ ๓ จบ

๔. อานันทสูตร
ว่าด้วยพระอานนท์

[๒๑๒] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้นเวลาเช้า ท่านพระอานนท์ครองอันตรวาสก
ถือบาตรและจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี มีท่านพระวังคีสะเป็นปัจฉาสมณะ
สมัยนั้น ท่านพระวังคีสะเกิดความไม่ยินดี ความกำหนัดรบกวนจิต
ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะได้กล่าวกับท่านพระอานนท์ด้วยคาถาว่า
ท่านผู้เป็นสาวกของพระโคดม
กระผมถูกกามราคะแผดเผา
จิตของกระผมเร่าร้อน
ดังกระผมจะขอโอกาส ขอท่านโปรดอนุเคราะห์
ช่วยบอกเหตุที่ดับราคะให้ด้วย
ท่านพระอานนท์กล่าวว่า
จิตของท่านเร่าร้อน เพราะความสำคัญผิด
ท่านจงละทิ้งนิมิตว่างาม ซึ่งประกอบด้วยราคะ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๘. วังคีสสังยุต] ๕. สุภาสิตสูตร

ท่านจงดูสังขารทั้งหลาย โดยความเป็นของแปรผัน
โดยความเป็นทุกข์ และอย่าดูโดยความเป็นอัตตา
จงดับราคะแรงกล้า อย่าถูกราคะเผาผลาญบ่อย ๆ เลย
ท่านจงอบรมจิต ให้มีอารมณ์เดียว
ให้ตั้งมั่นดี ด้วยการพิจารณาเห็นว่าไม่งาม
จงอบรมกายคตาสติ และจงเป็นผู้เบื่อหน่ายให้มาก
ท่านจงอบรมความไม่มีนิมิต และจงถอนมานานุสัย
จากนั้น ท่านจักเป็นผู้สงบ เที่ยวไป เพราะละมานะได้๑

อานันทสูตรที่ ๔ จบ

๕. สุภาสิตสูตร
ว่าด้วยวาจาสุภาษิต

[๒๑๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย วาจาประกอบด้วยองค์ ๔ เป็นสุภาษิต ไม่เป็นทุพภาษิต ไม่มี
โทษ และวิญญูชนทั้งหลายไม่ติเตียน
วาจาประกอบด้วยองค์ ๔ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. กล่าวแต่วาจาสุภาษิตอย่างเดียว ไม่กล่าววาจาทุพภาษิต
๒. กล่าวแต่วาจาที่เป็นธรรมอย่างเดียว ไม่กล่าววาจาที่ไม่เป็นธรรม


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๘. วังคีสสังยุต] ๕. สุภาสิตสูตร

๓. กล่าวแต่วาจาอันเป็นที่รักอย่างเดียว ไม่กล่าววาจาอันไม่เป็นที่รัก
๔. กล่าวแต่วาจาจริงอย่างเดียว ไม่กล่าววาจาเหลาะแหละ
ภิกษุทั้งหลาย วาจาประกอบด้วยองค์ ๔ เหล่านี้แล เป็นสุภาษิต ไม่เป็น
ทุพภาษิต ไม่มีโทษ และวิญญูชนทั้งหลายไม่ติเตียน”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
สัตบุรุษทั้งหลายกล่าววาจาสุภาษิตว่าเป็นวาจาสูงสุด
บุคคลพึงกล่าววาจาที่เป็นธรรม
ไม่พึงกล่าววาจาที่ไม่เป็นธรรมเป็นที่สอง
บุคคลพึงกล่าววาจาอันเป็นที่รัก
ไม่พึงกล่าววาจาอันไม่เป็นที่รักเป็นที่สาม
บุคคลพึงกล่าววาจาจริง
ไม่พึงกล่าววาจาเท็จเป็นที่สี่
ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะลุกขึ้นจากอาสนะ ห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมมือ
ไปทางที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระ
ผู้มีพระภาค เนื้อความนี้ย่อมปรากฏแก่ข้าพระองค์ ข้าแต่พระสุคต เนื้อความนี้
ย่อมปรากฏแก่ข้าพระองค์”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เนื้อความนั้นจงปรากฏแก่เธอเถิด วังคีสะ”
ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะได้ทูลสรรเสริญพระผู้มีพระภาค ด้วยคาถาทั้งหลาย
อันสมควร ณ ที่เฉพาะพระพักตร์ว่า
บุคคลพึงกล่าวแต่วาจา
ที่ไม่เป็นเหตุทำให้ตนเดือดร้อน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๓๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๘. วังคีสสังยุต] ๖. สารีปุตตสูตร

และไม่เป็นเหตุเบียดเบียนชนอื่น
วาจานั้นแลเป็นสุภาษิต
บุคคลพึงกล่าวแต่วาจาอันเป็นที่รัก
ที่ชนทั้งหลายชื่นชอบ ไม่พึงพูดหยาบคายต่อชนเหล่าอื่น
พึงพูดแต่วาจาอันเป็นที่รัก
คำสัตย์แลเป็นวาจาไม่ตาย
ธรรมนี้เป็นของเก่า
สัตบุรุษทั้งหลายตั้งมั่นแล้วในคำสัตย์
ทั้งที่เป็นอรรถและเป็นธรรม
พระพุทธเจ้าตรัสพระวาจาใด อันเกษม
เพื่อบรรลุนิพพาน เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์
พระวาจานั้นแล สูงสุดกว่าวาจาทั้งหลาย๑

สุภาสิตสูตรที่ ๕ จบ

๖. สารีปุตตสูตร
ว่าด้วยพระสารีบุตร

[๒๑๔] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลาย
เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจ
ให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา ด้วยวาจาชาวเมือง ที่สละสลวย ไม่หยาบคาย ให้รู้
ความหมายได้ ส่วนภิกษุเหล่านั้นต่างก็ใส่ใจให้สำเร็จประโยชน์ น้อมนึกมาด้วย
ความเต็มใจ เงี่ยโสตสดับธรรมอยู่


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๘. วังคีสสังยุต] ๖. สารีปุตตสูตร

ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะได้มีความคิดดังนี้ว่า “ท่านพระสารีบุตรนี้ชี้แจงให้
ภิกษุทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า
ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา ด้วยวาจาชาวเมือง ที่สละสลวย ไม่หยาบคาย
ให้รู้ความหมายได้ ส่วนภิกษุเหล่านั้นต่างก็ใส่ใจให้สำเร็จประโยชน์ น้อมนึกมาด้วย
ความเต็มใจ เงี่ยโสตสดับธรรมอยู่ ทางที่ดีเราควรสรรเสริญท่านพระสารีบุตรด้วย
คาถาทั้งหลายอันสมควร ณ ที่เฉพาะหน้าเถิด”
ลำดับนั้น ท่านพระวังคีสะลุกขึ้นจากอาสนะ ห่มผ้าเฉวียงบ่า ประนมมือไป
ทางที่ท่านพระสารีบุตรอยู่ ได้กล่าวกับท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า “ท่านพระสารีบุตร
เนื้อความนี้ย่อมปรากฏแก่ข้าพเจ้า ท่านพระสารีบุตร เนื้อความนี้ย่อมปรากฏแก่
ข้าพเจ้า”
ท่านพระสารีบุตรกล่าวกับท่านพระวังคีสะว่า “เนื้อความนั้นจงปรากฏแก่ท่านเถิด
ท่านวังคีสะ”
ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะได้สรรเสริญท่านพระสารีบุตร ด้วยคาถาทั้งหลาย
อันสมควร ณ ที่เฉพาะหน้าว่า
ท่านพระสารีบุตร เป็นนักปราชญ์
มีปัญญาลึกซึ้ง ฉลาดในทางและมิใช่ทาง
มีปัญญามาก แสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย
แสดงโดยย่อก็ได้ โดยพิสดารก็ได้
เสียงที่เปล่งออกไพเราะ เหมือนเสียงนกสาลิกา
ปฏิภาณก็ปรากฏ
เมื่อท่านแสดงธรรมนั้นอยู่
ภิกษุทั้งหลายฟังเสียงอันไพเราะ
ก็มีจิตร่าเริงเบิกบานด้วยเสียงที่น่ายินดี
น่าฟัง ไพเราะจับใจ จึงตั้งใจฟัง๑

สารีปุตตสูตรที่ ๖ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๘. วังคีสสังยุต] ๗. ปวารณาสูตร

๗. ปวารณาสูตร
ว่าด้วยการปวารณา

[๒๑๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงประทับอยู่ ณ บุพพาราม ปราสาท
ของนางวิสาขามิคารมาตา เขตกรุงสาวัตถี พร้อมกับภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ประมาณ
๕๐๐ รูป ล้วนแต่เป็นพระอรหันต์ สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคทรงมีภิกษุสงฆ์
แวดล้อม ประทับนั่งในที่กลางแจ้ง เพื่อทรงปวารณาในวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงตรวจดูภิกษุสงฆ์ผู้นั่งสงบเงียบ จึงรับสั่งเรียก
ภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เราขอปวารณาต่อเธอทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจะไม่ติเตียนกรรมอะไร ๆ อันเป็นไปทางกายหรือทางวาจาของเราบ้างหรือ”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรลุกขึ้นจากอาสนะ
ห่มผ้าเฉวียงบ่า ประนมมือไปทางที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายติเตียนกรรมอะไร ๆ
อันเป็นไปทางพระกายหรือทางพระวาจาของพระผู้มีพระภาคไม่ได้เลย เพราะว่า
พระผู้มีพระภาคทรงทำทางที่ยังไม่อุบัติให้อุบัติ ทรงทำทางที่ยังไม่เกิดให้เกิด ทรงบอก
ทางที่ยังไม่มีผู้บอก เป็นผู้ทรงรู้ทาง ทรงรู้แจ้งทาง ทรงฉลาดในทาง ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ สาวกทั้งหลายในบัดนี้เป็นผู้เดินตามทาง บัดนี้ ข้าพระองค์ขอปวารณาต่อ
พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคจะไม่ทรงติเตียนกรรมอะไร ๆ อันเป็นไปทางกาย
หรือทางวาจาของข้าพระองค์บ้างหรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สารีบุตร เราติเตียนกรรมอะไร ๆ อันเป็นไปทางกาย
หรือทางวาจาของเธอไม่ได้เลย เธอเป็นบัณฑิต มีปัญญามาก มีปัญญากว้างขวาง
มีปัญญาร่าเริง มีปัญญาแล่นไป มีปัญญาเฉียบแหลม มีปัญญาชำแรกกิเลส๑ สารีบุตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๘. วังคีสสังยุต] ๗. ปวารณาสูตร

โอรสองค์ใหญ่ของพระเจ้าจักรพรรดิยังจักรอันพระราชบิดาทรงให้เป็นไปแล้วให้เป็น
ไปตามได้โดยชอบ ฉันใด เธอก็ฉันนั้นเหมือนกัน ยังธรรมจักรอันยอดเยี่ยม อันเรา
ให้เป็นไปแล้วให้เป็นไปตามได้โดยชอบแท้จริง”
ท่านพระสารีบุตรจึงกราบทูลอีกว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หากว่าพระผู้มี
พระภาคไม่ทรงติเตียนกรรมอะไร ๆ อันเป็นไปทางกายหรือทางวาจาของข้าพระองค์
พระผู้มีพระภาคจะไม่ทรงติเตียนกรรมอะไร ๆ อันเป็นไปทางกายหรือทางวาจาของ
ภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านี้บ้างหรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สารีบุตร เราไม่ติเตียนกรรมอะไร ๆ อันเป็นไปทาง
กายหรือทางวาจาของภิกษุ ๕๐๐ รูปแม้เหล่านี้ เพราะบรรดาภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านี้
ภิกษุ ๖๐ รูปเป็นผู้ได้วิชชา ๓ อีก ๖๐ รูปได้อภิญญา ๖ อีก ๖๐ รูปได้อุภโตภาค-
วิมุตติ๑ ส่วนที่เหลือเป็นผู้ได้ปัญญาวิมุตติ”
ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะลุกขึ้นจากอาสนะ ห่มผ้าเฉวียงบ่า ประนมมือไปทาง
ที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระผู้มี
พระภาค เนื้อความนี้ย่อมปรากฏแก่ข้าพระองค์ ข้าแต่พระสุคต เนื้อความนี้ย่อม
ปรากฏแก่ข้าพระองค์”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เนื้อความนั้นจงปรากฏแก่เธอเถิด วังคีสะ”
ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะได้ทูลสรรเสริญพระผู้มีพระภาค ด้วยคาถาทั้งหลาย
อันสมควร ณ ที่เฉพาะพระพักตร์ว่า
ในวัน ๑๕ ค่ำซึ่งเป็นวันวิสุทธิปวารณา
วันนี้ มีภิกษุ ๕๐๐ รูปมาประชุมกัน
ล้วนเป็นผู้ตัดกิเลสเครื่องผูกคือสังโยชน์ได้ขาด


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๘. วังคีสสังยุต] ๘. ปโรสหัสสสูตร

ไม่มีทุกข์ สิ้นภพสิ้นชาติแล้ว
เป็นผู้แสวงหาคุณธรรมอันประเสริฐ
พระเจ้าจักรพรรดิมีหมู่อำมาตย์แวดล้อม
เสด็จประพาสแผ่นดินอันไพศาล
มีมหาสมุทรสาครเป็นขอบเขตนี้ ฉันใด
สาวกทั้งหลายมีวิชชา ๓ ละมัจจุได้แล้ว
พากันแวดล้อมพระผู้มีพระภาคผู้ทรงชนะสงคราม
ทรงนำหมู่ เป็นผู้ยอดเยี่ยม ก็ฉันนั้น
สาวกทั้งปวงล้วนเป็นบุตรของพระผู้มีพระภาค
ในสาวกนี้ไม่มีความว่างเปล่า(จากคุณธรรม)เลย
ข้าพระองค์พึงถวายอภิวาทพระองค์
ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งดวงอาทิตย์
ซึ่งทรงทำลายลูกศรคือตัณหาได้แล้ว๑

ปวารณาสูตรที่ ๗ จบ

๘. ปโรสหัสสสูตร
ว่าด้วยภิกษุกว่า ๑,๐๐๐ รูป

[๒๑๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี พร้อมกับภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ๑,๒๕๐ รูป
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไป
ปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา
อันประกอบด้วยนิพพาน ส่วนภิกษุเหล่านั้นต่างก็ใส่ใจให้สำเร็จประโยชน์ น้อมนึก
มาด้วยความเต็มใจ เงี่ยโสตสดับธรรมอยู่


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๘. วังคีสสังยุต] ๘. ปโรสหัสสสูตร

ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะได้มีความคิดดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคนี้ทรงชี้แจงให้
ภิกษุทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า
ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาอันประกอบด้วยนิพพาน ส่วนภิกษุเหล่านั้น
ต่างก็ใส่ใจให้สำเร็จประโยชน์ น้อมนึกมาด้วยความเต็มใจ เงี่ยโสตสดับธรรมอยู่
ทางที่ดีเราควรจะสรรเสริญพระผู้มีพระภาค ด้วยคาถาทั้งหลายอันสมควร ณ ที่เฉพาะ
พระพักตร์เถิด”
ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะลุกขึ้นจากอาสนะ ห่มผ้าเฉวียงบ่า ประนมมือไปทาง
ที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระผู้มี
พระภาค เนื้อความนี้ย่อมปรากฏแก่ข้าพระองค์ ข้าแต่พระสุคต เนื้อความนี้ย่อม
ปรากฏแก่ข้าพระองค์”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เนื้อความนั้นจงปรากฏแก่เธอเถิด วังคีสะ”
ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะได้ทูลสรรเสริญพระผู้มีพระภาค ด้วยคาถาทั้งหลาย
อันสมควร ณ ที่เฉพาะพระพักตร์ว่า
ภิกษุกว่า ๑,๐๐๐ รูป เข้าไปเฝ้าพระสุคต
ผู้ทรงแสดงพระธรรมอันปราศจากธุลี
คือนิพพานอันไม่มีภัยแต่ที่ไหน
ภิกษุทั้งหลายฟังธรรมอันปราศจากมลทิน
ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีหมู่ภิกษุแวดล้อมทรงงดงามจริง
พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่านาคะ
เป็นพระฤๅษีผู้สูงสุดกว่าฤๅษีทั้งหลาย
ทรงโปรยฝนอมตธรรม ให้ตกรดพระสาวกทั้งหลาย
ข้าแต่พระมหาวีระเจ้า วังคีสะสาวกของพระองค์
ประสงค์จะเฝ้าพระศาสดาจึงออกจากที่พักกลางวัน
มาถวายบังคมพระยุคลบาทของพระองค์๑


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๘. วังคีสสังยุต] ๘. ปโรสหัสสสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “วังคีสะ คาถาเหล่านี้เธอตรึกตรองไว้ก่อนแล้ว
หรือปรากฏแก่เธอโดยฉับพลันทันที”
ท่านพระวังคีสะทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คาถาเหล่านี้ข้าพระองค์
มิได้ตรึกตรองไว้ก่อนเลย แต่ปรากฏแก่ข้าพระองค์โดยฉับพลันทันที”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “วังคีสะ ขอให้คาถาที่เธอไม่ได้ตรึกตรองไว้ก่อนเหล่านี้
จงปรากฏแก่เธอยิ่ง ๆ ขึ้นไปเถิด”
ท่านพระวังคีสะทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว ได้ทูลสรรเสริญพระผู้มีพระภาคด้วย
คาถาทั้งหลาย ซึ่งตนไม่ได้ตรึกตรองไว้ก่อน ยิ่งขึ้นไปอีกว่า
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงครอบงำทางเป็นที่เกิดขึ้นแห่งมาร
ทรงทำลายกิเลสเครื่องตรึงใจดุจตะปู
ท่านทั้งหลายจงดูพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้ทรงทำการปลดเปลื้องกิเลสเป็นเครื่องผูก
ผู้อันตัณหา มานะและทิฏฐิอิงอาศัยไม่ได้
ผู้ทรงจำแนกธรรมเป็นส่วน ๆ ได้นั้น
ความจริง พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ได้ตรัสทางไว้หลายอย่างเพื่อถอนโอฆกิเลส
หากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสทางอมตะนั้นไว้แล้ว
ภิกษุทั้งหลายผู้เห็นธรรม ก็ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทำแสงสว่างให้เกิด ทรงรู้แจ่มแจ้ง
ได้เห็นนิพพานเป็นเหตุล่วงพ้นวิญญาณฐิติได้ทั้งหมด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๓๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๘. วังคีสสังยุต] ๙. โกณฑัญญสูตร

ครั้นทรงรู้และทำให้แจ้งจึงได้แสดงธรรมอันเลิศ
แก่ภิกษุผู้เดินทางไกล ๑๐ รูป
เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงธรรมไว้ดีอย่างนี้
ท่านผู้รู้แจ้งธรรมทั้งหลายจะมีความประมาทได้อย่างไร
เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุผู้ไม่ประมาทในคำสอนของพระผู้มีพระภาค
พระองค์นั้น พึงตั้งใจศึกษาทุกเมื่อ๑

ปโรสหัสสสูตรที่ ๘ จบ

๙. โกณฑัญญสูตร
ว่าด้วยพระอัญญาโกณฑัญญะ

[๒๑๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้
เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระอัญญาโกณฑัญญะได้เข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ซึ่งท่านไม่ได้เข้าเฝ้านานแล้ว ได้หมอบลงแทบพระยุคลบาท
ของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า จุมพิตพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคแล้ว
นวดเฟ้นด้วยมือทั้งสองและประกาศชื่อว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ชื่อว่า
โกณฑัญญะ ข้าแต่พระสุคต ข้าพระองค์ชื่อว่าโกณฑัญญะ พระพุทธเจ้าข้า”
ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะได้มีความคิดดังนี้ว่า “ท่านพระอัญญาโกณฑัญญะนี้
นาน ๆ จึงจะได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ได้หมอบลงแทบพระยุคลบาทของพระผู้มี
พระภาคด้วยเศียรเกล้า จุมพิตพระยุคลบาทแล้ว นวดเฟ้นด้วยมือทั้งสองและประกาศ
ชื่อว่า ‘ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ชื่อว่าโกณฑัญญะ ข้าแต่พระสุคต
ข้าพระองค์ชื่อว่าโกณฑัญญะ’ ทางที่ดีเราควรสรรเสริญท่านพระอัญญาโกณฑัญญะ
ด้วยคาถาทั้งหลายอันสมควร ณ ที่เฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเถิด”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๘. วังคีสสังยุต] ๑๐. โมคคัลลานสูตร

ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะลุกขึ้นจากอาสนะ ประนมมือไปทางที่พระผู้มีพระภาค
ประทับอยู่ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เนื้อความนี้
ย่อมปรากฏแก่ข้าพระองค์ ข้าแต่พระสุคต เนื้อความนี้ย่อมปรากฏแก่ข้าพระองค์”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เนื้อความนั้นจงปรากฏแก่เธอเถิด วังคีสะ”
ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะได้สรรเสริญท่านพระอัญญาโกณฑัญญะ ด้วยคาถา
ทั้งหลายอันสมควร ณ ที่เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า
ท่านพระอัญญาโกณฑัญญเถระ ผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้า
ได้มีความบากบั่นอย่างแรงกล้า
ได้วิเวกซึ่งเป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขเป็นประจำ
เป็นผู้ไม่ประมาท ศึกษาอยู่ ได้บรรลุสิ่งที่พระสาวก
ผู้ทำตามคำสอนของพระศาสดาจะพึงบรรลุได้ทุกรูป
ท่านพระอัญญาโกณฑัญญเถระมีอานุภาพมาก
ได้บรรลุวิชชา ๓ ฉลาดในเจโตปริยญาณ
เป็นพุทธทายาท ถวายอภิวาทพระยุคลบาทของพระศาสดาอยู่๑

โกณฑัญญสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. โมคคัลลานสูตร
ว่าด้วยพระโมคคัลลานะ

[๒๑๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ วิหารกาฬศิลา ข้างภูเขา
อิสิคิลิ เขตกรุงราชคฤห์ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป ล้วนแต่
เป็นพระอรหันต์ ได้ยินว่า ท่านพระมหาโมคคัลลานะใช้จิตของท่านตามพิจารณาจิต
ของภิกษุเหล่านั้นที่หลุดพ้น ไม่มีอุปธิ
ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะได้มีความคิดดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคนี้ประทับอยู่
ณ วิหารกาฬศิลา ข้างภูเขาอิสิคิลิ เขตกรุงราชคฤห์ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๘. วังคีสสังยุต] ๑๐. โมคคัลลานสูตร

ประมาณ ๕๐๐ รูป ล้วนแต่เป็นพระอรหันต์ ท่านพระมหาโมคคัลลานะใช้จิตของ
ท่านตามพิจารณาจิตของภิกษุเหล่านั้นที่หลุดพ้น ไม่มีอุปธิ ทางที่ดีเราควรสรรเสริญ
ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ด้วยคาถาทั้งหลายอันสมควร ณ ที่เฉพาะพระพักตร์ของ
พระผู้มีพระภาคเถิด”
ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะลุกขึ้นจากอาสนะ ห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมมือ
ไปทางที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระ
ผู้มีพระภาค เนื้อความนี้ย่อมปรากฏแก่ข้าพระองค์ ข้าแต่พระสุคต เนื้อความนี้ย่อม
ปรากฏแก่ข้าพระองค์”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เนื้อความนั้นจงปรากฏแก่เธอเถิด วังคีสะ”
ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะได้สรรเสริญท่านพระมหาโมคคัลลานะ ด้วยคาถา
ทั้งหลายอันสมควร ณ ที่เฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคว่า
พระสาวกทั้งหลายผู้บรรลุวิชชา ๓ ละมัจจุได้
พากันแวดล้อมพระมหามุนีผู้ถึงฝั่งแห่งทุกข์
ประทับนั่งที่ข้างภูเขา
ท่านพระมหาโมคคัลลานะผู้มีฤทธิ์มาก
ใช้จิตพิจารณากำหนดรู้จิตของพระขีณาสพเหล่านั้น
ที่หลุดพ้น ไม่มีอุปธิได้
พระขีณาสพเหล่านั้นพากันแวดล้อมพระมหามุนีโคดม
ผู้ทรงสมบูรณ์ด้วยสมบัติทุกประการ
ทรงถึงฝั่งแห่งทุกข์ เพียบพร้อมด้วยพระคุณมากอย่าง๑

โมคคัลลานสูตรที่ ๑๐ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๘. วังคีสสังยุต] ๑๑. คัคคราสูตร

๑๑. คัคคราสูตร
ว่าด้วยเรื่องเกิดขึ้นที่สระโบกขรณีชื่อคัคครา

[๒๑๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ฝั่งสระโบกขรณี ชื่อคัคครา
เขตกรุงจัมปา พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป อุบาสกประมาณ
๗๐๐ คน อุบาสิกาประมาณ ๗๐๐ คน และเทวดาหลายพันองค์ ได้ยินว่า
พระผู้มีพระภาคมีพระวรรณะและมีพระยศรุ่งเรืองกว่าภิกษุ อุบาสก อุบาสิกา และ
เทวดาเหล่านั้นทั้งหมด
ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะได้มีความคิดดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคนี้ประทับอยู่ที่
ฝั่งสระโบกขรณี ชื่อคัคครา เขตกรุงจัมปา พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป
อุบาสกประมาณ ๗๐๐ คน อุบาสิกาประมาณ ๗๐๐ คน และเทวดาหลายพันองค์
ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคมีพระวรรณะและมีพระยศรุ่งเรืองกว่าภิกษุ อุบาสก
อุบาสิกาและเทวดาเหล่านั้นทั้งหมด ทางที่ดีเราควรสรรเสริญพระผู้มีพระภาค
ด้วยคาถาทั้งหลายอันสมควร ณ ที่เฉพาะพระพักตร์เถิด”
ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะลุกขึ้นจากอาสนะ ห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมมือ
ไปทางที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระผู้มีพระภาค เนื้อความนี้ย่อมปรากฏแก่ข้าพระองค์ ข้าแต่พระสุคต เนื้อความนี้
ย่อมปรากฏแก่ข้าพระองค์”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เนื้อความนั้นจงปรากฏแก่เธอเถิด วังคีสะ”
ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะได้ทูลสรรเสริญพระผู้มีพระภาค ด้วยคาถาอันสมควร
ณ ที่เฉพาะพระพักตร์ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๓๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๘. วังคีสสังยุต] ๑๒. วังคีสสูตร

ข้าแต่พระมหามุนีอังคีรส
พระองค์ไพโรจน์ล่วงโลกทั้งหมดด้วยพระยศ
เหมือนดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ที่ปราศจากมลทิน
สว่างจ้าอยู่บนท้องฟ้าที่ปราศจากเมฆหมอก๑

คัคคราสูตรที่ ๑๑ จบ

๑๒. วังคีสสูตร
ว่าด้วยพระวังคีสะ

[๒๒๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระวังคีสะอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ท่านพระวังคีสะบรรลุอรหัตแล้วไม่นาน
เสวยวิมุตติสุขอยู่ ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ในเวลานั้นว่า
ในกาลก่อน เราเป็นผู้มัวเมากาพย์กลอน
ได้เที่ยวไปแล้วทุกบ้านทุกเมือง
ต่อมา เราได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ศรัทธาก็เกิดขึ้นแก่เรา
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ได้ทรงแสดงธรรม คือ ขันธ์ อายตนะ ธาตุ แก่เรา
เราได้ฟังพระธรรมของพระองค์แล้วจึงบวช
พระมุนีได้ตรัสรู้พระโพธิญาณ
เพื่อประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก
แก่ภิกษุและภิกษุณีทั้งหลายผู้ได้บรรลุ ได้เห็นนิยามธรรม๒


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๘. วังคีสสังยุต] รวมพระสูตรที่มีในสังยุต

การมาในสำนักของพระพุทธเจ้าของเราเป็นการมาดีแล้ว
วิชชา ๓ อันเราได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสอนของพระพุทธเจ้าเราได้ทำแล้ว
เรารู้ขันธสันดานอันเราเคยอยู่ในกาลก่อน
ทิพพจักขุญาณ เราทำให้หมดจดแล้ว
เราเป็นผู้สำเร็จวิชชา ๓ บรรลุอิทธิวิธิญาณ ฉลาดในเจโตปริยญาณ

วังคีสสูตรที่ ๑๒ จบ
วังคีสสังยุต จบบริบูรณ์

รวมพระสูตรที่มีในสังยุตนี้ คือ

๑. นิกขันตสูตร ๒. อรติสูตร
๓. เปสลาติมัญญนาสูตร ๔. อานันทสูตร
๕. สุภาสิตสูตร ๖. สารีปุตตสูตร
๗. ปวารณาสูตร ๘. ปโรสหัสสสูตร
๙. โกณฑัญญสูตร ๑๐. โมคคัลลานสูตร
๑๑. คัคคราสูตร ๑๒. วังคีสสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๙. วนสังยุต] ๑. วิเวกสูตร

๙. วนสังยุต
๑. วิเวกสูตร
ว่าด้วยความสงัด

[๒๒๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ ณ ราวป่าแห่งหนึ่ง แคว้นโกศล สมัยนั้น ภิกษุ
นั้นพักผ่อนอยู่ในที่พักกลางวัน ตรึกถึงอกุศลวิตกอันเลวทราม ซึ่งอิงอาศัยการ
ครองเรือน
ครั้งนั้น เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ในราวป่านั้น มีความอนุเคราะห์หวังดีต่อภิกษุนั้น
ประสงค์จะให้เธอสลดใจ จึงเข้าไปหาภิกษุนั้นถึงที่อยู่แล้วกล่าวกับภิกษุนั้นด้วยคาถาว่า
ท่านต้องการความสงัดจึงเข้าป่า
ส่วนใจของท่านกลับพล่านไปภายนอก
ท่านป็นคน จงกำจัดความพอใจในคน
แต่นั้นท่านปราศจากความกำหนัดแล้ว จักมีความสุข
ท่านมีสติ ทำไมไม่ละความยินดีเล่า
เราเตือนให้ท่านระลึกถึงธรรมของสัตบุรุษ
เพราะธุลีคือกิเลสประดุจบาดาลข้ามได้ยาก
ความกำหนัดในกามอย่าได้ครอบงำท่านเลย
นกที่เปื้อนฝุ่น ย่อมสลัดละอองธุลีที่แปดเปื้อนให้ตกไป ฉันใด
ภิกษุผู้มีความเพียร มีสติ ย่อมสลัดละอองธุลีคือกิเลส
ที่แปดเปื้อนให้ตกไป ฉันนั้น
ลำดับนั้น ภิกษุนั้นถูกเทวดานั้นทำให้สลดใจ เกิดความสลดใจแล้ว

วิเวกสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๙. วนสังยุต] ๒. อุปัฏฐานสูตร

๒. อุปัฏฐานสูตร
ว่าด้วยเทวดาเตือนภิกษุผู้เข้าพักผ่อนในที่พักกลางวัน

[๒๒๒] สมัยหนึ่ง ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ ณ ราวป่าแห่งหนึ่ง แคว้นโกศล
สมัยนั้นภิกษุนั้นนอนหลับในที่พักกลางวัน
ครั้งนั้น เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ในราวป่านั้น มีความอนุเคราะห์หวังดีต่อภิกษุ
นั้นประสงค์จะให้เธอสลดใจ จึงเข้าไปหาภิกษุนั้นถึงที่อยู่แล้วได้กล่าวกับภิกษุนั้นด้วย
คาถาว่า
ท่านจงลุกขึ้นเถิดภิกษุ จะนอนทำไม
มีประโยชน์อะไรด้วยความหลับ
ท่านเร่าร้อนเพราะกิเลส ถูกลูกศรเสียบแทงดิ้นรนอยู่
มัวหลับอยู่ทำไม
ท่านออกบวชด้วยศรัทธาใด
จงเพิ่มพูนศรัทธานั้นเถิด
อย่าตกไปสู่อำนาจแห่งความหลับเลย
ภิกษุนั้นกล่าวคาถาเหล่านี้ว่า
คนเขลาหมกมุ่นอยู่ในกามารมณ์เหล่าใด
กามารมณ์เหล่านั้นไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน
ความหลับจะพึงแผดเผาบรรพชิตผู้พ้นแล้ว
ผู้ไม่เกี่ยวข้องในกามารมณ์ซึ่งจะยังสัตว์ให้ติดอยู่ ได้อย่างไร
เพราะกำจัดฉันทราคะได้ และเพราะก้าวล่วงอวิชชาได้
ญาณนั้นจึงบริสุทธิ์อย่างยิ่ง
ความหลับจะแผดเผาบรรพชิต ได้อย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๓๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๙. วนสังยุต] ๓. กัสสปโคตตสูตร

ความหลับจะพึงแผดเผาบรรพชิตผู้ไม่มีความเศร้าโศก
ไม่มีความคับแค้นใจ เพราะทำลายอวิชชาได้ด้วยวิชชา
และเพราะสิ้นอาสวะแล้ว ได้อย่างไร
ความหลับจะพึงแผดเผาบรรพชิต
ผู้ปรารภความเพียร อุทิศกายและใจอยู่
มีความเพียรมั่นคงเป็นนิตย์ ผู้หวังนิพพานอยู่ ได้อย่างไร

อุปัฏฐานสูตรที่ ๒ จบ

๓. กัสสปโคตตสูตร
ว่าด้วยพระกัสสปโคตร

[๒๒๓] สมัยหนึ่ง ท่านพระกัสสปโคตรอยู่ ณ ราวป่าแห่งหนึ่ง แคว้นโกศล
สมัยนั้น ท่านพักผ่อนอยู่ในที่พักกลางวัน ได้กล่าวสอนนายพรานเนื้อคนหนึ่ง
ครั้งนั้น เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ในราวป่านั้น มีความอนุเคราะห์หวังดีต่อท่านพระกัสสปโคตร
ประสงค์จะให้ท่านสลดใจ จึงเข้าไปหาแล้วได้กล่าวกับท่านพระกัสสปโคตรด้วยคาถาว่า
ภิกษุผู้กล่าวสอนนายพรานเนื้อ
ซึ่งเที่ยวไปตามซอกเขา ผู้มีปัญญาน้อย
ไม่รู้เหตุผล ในเวลาไม่ควร
ย่อมปรากฏแก่เราประดุจคนเขลา
เขาเป็นคนโง่ ถึงฟังธรรมอยู่ก็ไม่เข้าใจเนื้อความนั้น
ถึงมีประทีปสว่างอยู่ก็ไม่เห็น
เมื่อท่านกล่าวธรรมอยู่ ย่อมไม่รู้เนื้อความ
ข้าแต่ท่านกัสสปะ ถึงแม้ท่านถือประทีปอันสว่างตั้ง ๑๐ ดวง
เขาก็จักไม่เห็นรูป เพราะเขาไม่มีจักษุ
ลำดับนั้น ท่านพระกัสสปโคตรถูกเทวดานั้นทำให้สลดใจ เกิดความสลดใจแล้ว

กัสสปโคตตสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๙. วนสังยุต] ๔. สัมพหุลสูตร

๔. สัมพหุลสูตร
ว่าด้วยภิกษุหลายรูป

[๒๒๔] สมัยหนึ่ง ภิกษุหลายรูปอยู่ ณ ราวป่าแห่งหนึ่ง แคว้นโกศล ครั้งนั้น
ภิกษุเหล่านั้นอยู่จำพรรษาถ้วนไตรมาสแล้ว ก็หลีกไปสู่ที่จาริก ครั้งนั้น เทวดาผู้สิง
สถิตอยู่ในราวป่านั้น เมื่อไม่เห็นภิกษุเหล่านั้นก็คร่ำครวญถึง ได้กล่าวคาถานี้ใน
เวลานั้นว่า
ความเยื่อใยย่อมปรากฏเหมือนความไม่ยินดี
เพราะเห็นอาสนะมากมายเงียบสงัด
สาวกของพระสมณโคดมเหล่านั้น
ผู้มีถ้อยคำไพเราะ เป็นพหูสูต ไปที่ไหนกัน
เมื่อเทวดานั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว เทวดาอีกองค์หนึ่งได้กล่าวกับเทวดานั้นด้วย
คาถาว่า
ภิกษุทั้งหลายไม่ติดในที่อยู่
เที่ยวไปเป็นหมู่ เหมือนฝูงวานร
ไปสู่แคว้นมคธและแคว้นโกศล
บางพวกก็ไปสู่แคว้นวัชชี

สัมพหุลสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๙. วนสังยุต] ๖. อนุรุทธสูตร

๕. อานันทสูตร
ว่าด้วยพระอานนท์

[๒๒๕] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ ราวป่าแห่งหนึ่ง แคว้นโกศล
สมัยนั้น ท่านพระอานนท์อยู่รับแขกฝ่ายคฤหัสถ์มากเกินเวลา ครั้งนั้น เทวดาผู้สิง
สถิตอยู่ในราวป่านั้น มีความอนุเคราะห์หวังดีต่อท่านพระอานนท์ ประสงค์จะให้
ท่านสลดใจ จึงเข้าไปหาท่านถึงที่อยู่แล้วได้กล่าวกับท่านพระอานนท์ด้วยคาถาว่า
ท่านพระอานนท์โคตมโคตร
ท่านจงเข้าไปยังสุมทุมพุ่มไม้ กำหนดนิพพานไว้ในใจ
เพ่งฌานไปเถิดและอย่าประมาท
เสียงวิพากษ์วิจารณ์ของคนจะช่วยอะไรท่านได้๑

อานันทสูตรที่ ๕ จบ

๖. อนุรุทธสูตร
ว่าด้วยพระอนุรุทธะ

[๒๒๖] สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธะอยู่ ณ ราวป่าแห่งหนึ่ง แคว้นโกศล
ครั้งนั้น เทวดาชั้นดาวดึงส์องค์หนึ่งชื่อชาลินี เคยเป็นภรรยาเก่าของท่านพระอนุรุทธะ
เข้าไปหาท่านพระอนุรุทธะถึงที่อยู่แล้วได้กล่าวกับท่านพระอนุรุทธะด้วยคาถาว่า
ท่านจงตั้งจิตของท่านไว้ในหมู่เทพชั้นดาวดึงส์
ซึ่งพรั่งพร้อมด้วยอารมณ์อันน่าใคร่ทั้งปวง
ที่ท่านเคยอยู่มาในกาลก่อน
ท่านผู้อันหมู่เทพยกย่องแวดล้อมเป็นบริวารจะงดงาม


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๙. วนสังยุต] ๖. อนุรุทธสูตร

ท่านพระอนุรุทธะกล่าวคาถานี้ว่า
เหล่านางเทพกัญญาผู้มีคติอันเลว
ดำรงมั่นอยู่ในสักกายทิฏฐิ
สัตว์ทั้งหลายผู้มีคติอันเลวแม้เหล่านั้น
ก็ยังมีนางเทพกัญญาปรารถนา
เทวดานั้นกล่าวด้วยคาถานี้ว่า
เทพเหล่าใดยังไม่เคยเห็นสวนนันทนวัน
อันเป็นที่อยู่ของพวกนรเทพ ผู้มียศ ชั้นไตรทศ
เทพเหล่านั้นยังไม่รู้จักความสุข
ท่านพระอนุรุทธะกล่าวด้วยคาถานี้ว่า
เทวดาผู้เขลา ท่านไม่รู้แจ้งถ้อยคำ
ของพระอรหันต์ทั้งหลายว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง
มีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเป็นธรรมดา
เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป
ความสงบระงับสังขารเหล่านั้นเป็นความสุข
บัดนี้ การกลับไปอยู่ในสวรรค์ของเราไม่มีอีกต่อไป
ตัณหาดุจตาข่ายในหมู่เทพของเราไม่มี
การเวียนว่ายตายเกิดสิ้นไปแล้ว บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีกต่อไป

อนุรุทธสูตรที่ ๖ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๙. วนสังยุต] ๘. กุลฆรณีสูตร

๗. นาคทัตตสูตร
ว่าด้วยพระนาคทัตตะ

[๒๒๗] สมัยหนึ่ง ท่านพระนาคทัตตะอยู่ ณ ราวป่าแห่งหนึ่ง แคว้นโกศล
สมัยนั้น ท่านพระนาคทัตตะเข้าไปยังหมู่บ้านแต่เช้า และกลับมาหลังเที่ยง ครั้งนั้น
เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ในราวป่านั้น มีความอนุเคราะห์หวังดีต่อท่านพระนาคทัตตะประสงค์
จะให้ท่านสลดใจ จึงเข้าไปหาท่านพระนาคทัตตะถึงที่อยู่แล้วได้กล่าวกับท่านพระ-
นาคทัตตะด้วยคาถาว่า
ท่านพระนาคทัตตะ ท่านเข้าไปยังหมู่บ้านตอนเช้า
และกลับมาตอนกลางวัน
ท่านเที่ยวไปเกินเวลา คลุกคลีกับคฤหัสถ์
พลอยร่วมสุขร่วมทุกข์กับเขา เรากลัวว่าท่านพระนาคทัตตะ
จะคะนองสุดฤทธิ์ จะพัวพันในตระกูลทั้งหลาย
ท่านอย่าตกไปสู่อำนาจของมัจจุราชผู้มีกำลัง
ผู้กระทำชีวิตให้สิ้นสุดเลย
ลำดับนั้น ท่านพระนาคทัตตะถูกเทวดานั้นทำให้สลดใจ เกิดความสลดใจแล้ว

นาคทัตตสูตรที่ ๗ จบ

๘. กุลฆรณีสูตร
ว่าด้วยหญิงแม่เรือนในตระกูล

[๒๒๘] สมัยหนึ่ง ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ ณ ราวป่าแห่งหนึ่ง แคว้นโกศล สมัยนั้น
ภิกษุนั้นไปอยู่คลุกคลีในตระกูลแห่งหนึ่งเกินเวลา ครั้งนั้น เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ใน
ราวป่านั้น มีความอนุเคราะห์หวังดีต่อภิกษุนั้น ประสงค์จะให้ท่านสลดใจ จึงเนรมิต
เพศเป็นหญิงแม่เรือนในตระกูลนั้น เข้าไปหาภิกษุนั้นถึงที่อยู่แล้วได้กล่าวกับภิกษุนั้น
ด้วยคาถาว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๓๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๙. วนสังยุต] ๙. วัชชีปุตตสูตร

ชนทั้งหลายต่างประชุมสนทนากันที่ใกล้ฝั่งแม่น้ำ
ในศาลาที่พัก ในสภาและข้าง ๆ ถนน
พวกเขาต่างพูดถึงดิฉันและท่านอย่างไรหนอ
ภิกษุนั้นกล่าวคาถานี้ว่า
แท้จริง เสียงที่เป็นข้าศึกมีมาก
ท่านผู้มีตบะต้องอดทน ไม่ต้องเก้อเขินด้วยเหตุนั้น
เพราะว่าสัตว์หาได้เศร้าหมองด้วยเหตุนั้นไม่
แต่ผู้ใดมักสะดุ้งเพราะเสียง ประดุจเนื้อทรายในป่า
นักปราชญ์เรียกผู้นั้นว่ามีใจเบา
วัตรของเขาย่อมไม่สมบูรณ์

กุลฆรณีสูตรที่ ๘ จบ

๙. วัชชีปุตตสูตร
ว่าด้วยภิกษุวัชชีบุตร

[๒๒๙] สมัยหนึ่ง ภิกษุวัชชีบุตรรูปหนึ่งอยู่ ณ ราวป่าแห่งหนึ่ง เขตกรุงเวสาลี
สมัยนั้น ในกรุงเวสาลี ได้มีการละเล่นมหรสพตลอดทั้งคืน ครั้งนั้น ภิกษุนั้นได้ฟัง
เสียงดนตรีที่บุคคลบรรเลงก้องกังวานอยู่ในกรุงเวสาลี คร่ำครวญอยู่ ได้กล่าวคาถานี้
ในเวลานั้นว่า
เราอยู่ในป่าคนเดียว
ดุจท่อนไม้ที่เขาทิ้งไว้ในป่า ฉะนั้น
ใครหนอจะเลวกว่าเราในราตรีเช่นนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๓๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๙. วนสังยุต] ๑๐. สัชฌายสูตร

ลำดับนั้น เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ในราวป่านั้น มีความอนุเคราะห์หวังดีต่อท่าน
ประสงค์จะให้ภิกษุนั้นสลดใจ จึงเข้าไปหาภิกษุนั้นถึงที่อยู่แล้วได้กล่าวกับภิกษุนั้น
ด้วยคาถาว่า
ท่านอยู่ในป่าคนเดียว
ดุจท่อนไม้ที่เขาทิ้งไว้ในป่า ฉะนั้น
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเป็นอันมากยังรักท่านอยู่
ดุจสัตว์นรกยินดีต่อผู้ที่จะไปสวรรค์ ฉะนั้น๑
ลำดับนั้น ภิกษุนั้นถูกเทวดาทำให้สลดใจ เกิดความสลดใจแล้ว

วัชชีปุตตสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. สัชฌายสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้สาธยายธรรม

[๒๓๐] สมัยหนึ่ง ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ ณ ราวป่าแห่งหนึ่ง แคว้นโกศล สมัยนั้น
ภิกษุนั้นเมื่อก่อนสาธยายมากจนเกินเวลา สมัยต่อมา ท่านขวนขวายน้อย อยู่เฉย ๆ
ปล่อยให้เวลาล่วงเลยไป ครั้งนั้น เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ในราวป่านั้นไม่ได้ฟังธรรมของ
ภิกษุนั้น จึงเข้าไปหาภิกษุนั้นถึงที่อยู่แล้วได้กล่าวกับภิกษุนั้นด้วยคาถาว่า
ภิกษุ เพราะเหตุไร ท่านเมื่ออยู่ร่วม
กับภิกษุทั้งหลาย จึงไม่สาธยายบทแห่งธรรม
เพราะบุคคลฟังธรรมแล้ว ย่อมเลื่อมใส
และสรรเสริญในปัจจุบัน
ภิกษุนั้นได้กล่าวคาถานี้ว่า
ความพอใจในบทแห่งธรรมทั้งหลาย
ได้มีแล้วในกาลก่อน จนถึงเวลาที่เรามาอยู่ร่วม


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๙. วนสังยุต] ๑๑. อโยนิโสมนสิการสูตร

กับบุคคลผู้ปราศจากราคะ
และเพราะตั้งแต่เรามาอยู่ร่วมกับบุคคลผู้ปราศจากราคะ
สัตบุรุษทั้งหลายรู้ทั่วถึงรูป เสียง กลิ่น รส
และโผฏฐัพพะ อย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว
จึงได้กล่าวถึงการปล่อยวางอารมณ์นั้น ๆ

สัชฌายสูตรที่ ๑๐ จบ

๑๑. อโยนิโสมนสิการสูตร
ว่าด้วยการมนสิการโดยไม่แยบคาย

[๒๓๑] สมัยหนึ่ง ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ ณ ราวป่าแห่งหนึ่ง แคว้นโกศล สมัยนั้น
ท่านพักผ่อนอยู่ในที่พักกลางวัน ตรึกถึงอกุศลวิตกอันเลวทราม คือ กามวิตก
(ความตรึกเกี่ยวกับกาม) พยาบาทวิตก(ความตรึกเกี่ยวกับพยาบาท) และวิหิงสาวิตก
(ความตรึกเกี่ยวกับวิหิงสา) ครั้งนั้น เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ในราวป่านั้นมีความ
อนุเคราะห์หวังดีต่อภิกษุนั้น ประสงค์จะให้ภิกษุนั้นสลดใจ จึงเข้าไปหาภิกษุนั้นถึง
ที่อยู่แล้วได้กล่าวกับภิกษุนั้นด้วยคาถาว่า
ท่านถูกวิตกเกาะกิน เพราะมนสิการโดยไม่แยบคาย
ท่านจงละการมนสิการโดยไม่แยบคาย
และจงใคร่ครวญโดยแยบคายเถิด
ท่านปรารภพระศาสดา พระธรรม พระสงฆ์
และศีลของตนแล้ว จะบรรลุความปราโมทย์ ปีติ
และความสุขโดยไม่ต้องสงสัย
แต่นั้น ท่านมากไปด้วยความปราโมทย์
จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
ลำดับนั้น ภิกษุนั้นถูกเทวดาทำให้สลดใจ เกิดความสลดใจแล้ว

อโยนิโสมนสิการสูตรที่ ๑๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๙. วนสังยุต] ๑๓. ปากดินทริยสูตร

๑๒. มัชฌัณหิกสูตร
ว่าด้วยเวลาเที่ยงวัน

[๒๓๒] สมัยหนึ่ง ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ ณ ราวป่าแห่งหนึ่ง แคว้นโกศล ครั้งนั้น
เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ในราวป่านั้น เข้าไปหาภิกษุนั้นถึงที่อยู่แล้วได้กล่าวคาถานี้ใน
สำนักของภิกษุนั้นว่า
เมื่อฝูงนกพากันพักร้อนอยู่ในเวลาเที่ยงวัน
ป่าใหญ่ส่งเสียงประหนึ่งว่าครวญครางอยู่
เสียงครวญครางแห่งป่าใหญ่นั้น
ปรากฏเป็นสิ่งที่น่ากลัวแก่ข้าพเจ้า๑
ภิกษุนั้นกล่าวคาถานี้ว่า
เมื่อฝูงนกพากันพักร้อนอยู่ในเวลาเที่ยงวัน
ป่าใหญ่ส่งเสียงประหนึ่งว่าครวญครางอยู่
เสียงครวญครางแห่งป่าใหญ่นั้น
ปรากฏเป็นสิ่งที่น่ายินดีแก่เรา๑

มัชฌัณหิกสูตรที่ ๑๒ จบ

๑๓. ปากตินทริยสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้ไม่สำรวมอินทรีย์

[๒๓๓] สมัยหนึ่ง ภิกษุจำนวนมากอยู่ ณ ราวป่าแห่งหนึ่ง แคว้นโกศล
เป็นผู้ฟุ้งซ่าน ถือตัว โลเล ปากกล้า พูดจาพร่ำเพรื่อ หลงลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ
มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตกวัดแกว่ง ไม่สำรวมอินทรีย์ ครั้งนั้น เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ในราว
ป่านั้น มีความอนุเคราะห์หวังดีต่อภิกษุเหล่านั้น ประสงค์จะให้ภิกษุเหล่านั้นสลดใจ
จึงเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นถึงที่อยู่ ได้กล่าวกับภิกษุเหล่านั้นด้วยคาถาว่า


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๙. วนสังยุต] ๑๓. ปากตินทริยสูตร

ในกาลก่อน พวกภิกษุสาวกของพระโคดม
เป็นอยู่เรียบง่าย ไม่มักมากการแสวงหาบิณฑบาต
ไม่มักมากแสวงหาที่นอนที่นั่ง
ท่านรู้ว่าสิ่งทั้งปวงในโลกเป็นของไม่เที่ยง
จึงกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
ส่วนท่านเหล่านี้ทำตนเป็นคนเลี้ยงยาก
กิน ๆ แล้วก็นอน เหมือนคนที่โกงชาวบ้าน
หมกมุ่นอยู่ในเรือนของคนอื่น
ข้าพเจ้าทำอัญชลีต่อสงฆ์แล้ว
ขอพูดกับท่านบางพวกในที่นี้ว่า
พวกท่านถูกเขาทอดทิ้งแล้ว เป็นคนอนาถาเหมือนเปรต
ข้าพเจ้ากล่าวหมายเอาบุคคลพวกที่ประมาทอยู่
ส่วนท่านเหล่าใดไม่ประมาท
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมท่านเหล่านั้น๑
ลำดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นถูกเทวดานั้นทำให้สลดใจ เกิดความสลดใจแล้ว

ปากตินทริยสูตรที่ ๑๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๙. วนสังยุต] ๑๔. ปทุมปุปผสูตร

๑๔. ปทุมปุปผสูตร
ว่าด้วยดอกบัว

[๒๓๔] สมัยหนึ่ง ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ ณ ราวป่าแห่งหนึ่ง แคว้นโกศล สมัยนั้น
ภิกษุนั้นกลับจากบิณฑบาต ภายหลังจากฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว ลงสู่สระโบกขรณี
สูดดมกลิ่นดอกบัว ครั้งนั้น เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ในราวป่านั้น มีความอนุเคราะห์หวังดี
ต่อภิกษุนั้น ประสงค์จะให้ภิกษุนั้นสลดใจ จึงเข้าไปหาภิกษุนั้นถึงที่อยู่แล้วได้กล่าว
กับภิกษุนั้นด้วยคาถาว่า
ท่านสูดดมกลิ่นดอกบัว
ที่เกิดในน้ำ ซึ่งใคร ๆ ไม่ได้ถวายแล้ว
นี้เป็นองค์อันหนึ่งแห่งความเป็นขโมย
ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านเป็นผู้ขโมยกลิ่น
ภิกษุนั้นได้กล่าวด้วยคาถาว่า
เราไม่ได้นำไป เราไม่ได้หัก
เราเพียงแต่ดมกลิ่นดอกบัวที่เกิดในน้ำห่าง ๆ
เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านจะเรียกเราว่า
เป็นผู้ขโมยกลิ่น ด้วยเหตุอะไรเล่า
ส่วนบุคคลที่ขุดเหง้าบัว หักดอกบัวปุณฑริก
เป็นผู้มีการงานอันไม่บริสุทธิ์อย่างนี้
ทำไมท่านจึงไม่เรียกเขาว่าเป็นขโมยเล่า
เทวดากล่าวด้วยคาถาว่า
บุรุษผู้มีบาปหนา แปดเปื้อนด้วยกิเลส
มีราคะเป็นต้นเกินเหตุ
เราไม่พูดถึงคนนั้น แต่เราควรจะกล่าวกับท่าน
บาปประมาณเท่าปลายขนเนื้อทราย
ย่อมปรากฏประดุจเท่าก้อนเมฆในนภากาศ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๓๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๙. วนสังยุต] รวมพระสูตรที่มีในสังยุต

แก่บุรุษผู้ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน
ผู้มักแสวงหาความสะอาด๑เป็นนิตย์
ภิกษุนั้นกล่าวด้วยคาถาว่า
ยักษ์ ท่านต้องรู้จักเราแน่
และท่านคงอนุเคราะห์เรา
ยักษ์ ท่านเห็นกรรมเช่นนี้ในกาลใด
ขอท่านพึงกล่าวในกาลนั้นอีกเถิด
เทวดากล่าวด้วยคาถาว่า
เราไม่ได้อาศัยท่านเป็นอยู่เลย
และเราก็ไม่ได้มีความเจริญเพราะท่าน
ภิกษุ ท่านนั่นแหละ พึงไปสู่สุคติด้วยกรรมที่ท่านพึงรู้เถิด
ลำดับนั้น ภิกษุนั้นถูกเทวดานั้นทำให้สลดใจ เกิดความสลดใจแล้ว

ปทุมปุปผสูตรที่ ๑๔ จบ
วนสังยุต จบบริบูรณ์

รวมพระสูตรที่มีในสังยุตนี้ คือ

๑. วิเวกสูตร ๒. อุปัฏฐานสูตร
๓. กัสสปโคตตสูตร ๔. สัมพหุลสูตร
๕. อานันทสูตร ๖. อนุรุทธสูตร
๗. นาคทัตตสูตร ๘. กุลฆรณีสูตร
๙. วัชชีปุตตสูตร ๑๐. สัชฌายสูตร
๑๑. อโยนิโสมนสิการสูตร ๑๒. มัชฌัณหิกสูตร
๑๓. ปากตินทริยสูตร ๑๔. ปทุมปุปผสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๐. ยักขสังยุต] ๑. อินทกสูตร

๑๐. ยักขสังยุต
๑. อินทกสูตร
ว่าด้วยอินทกยักษ์

[๒๓๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาอินทกูฏ ซึ่งเป็นภพของอินทก-
ยักษ์ เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น อินทกยักษ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
ผู้รู้ทั้งหลายกล่าวว่า รูปไม่ใช่ชีวะ
สัตว์นี้จะมีร่างกายนี้ได้อย่างไรหนอ
กระดูกและก้อนเนื้อมาจากไหน
สัตว์นี้จะอยู่ในครรภ์ได้อย่างไร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
รูปนี้เป็นกลละ๑ก่อน
จากกลละเกิดเป็นอัพพุทะ๒
จากอัพพุทะเกิดเป็นเปสิ (ชิ้นเนื้อเล็ก)
จากเปสิเกิดเป็นฆนะ (เป็นก้อน)
จากฆนะเกิดเป็นปุ่ม ๕ ปุ่ม๓ ต่อจากนั้น
ผม ขนและเล็บ จึงเกิดขึ้น


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๐. ยักขสังยุต] ๒. สักกสูตร

มารดาของสัตว์ผู้อยู่ในครรภ์นั้น
บริโภคข้าวน้ำโภชนาหารอย่างใด
สัตว์ผู้อยู่ในครรภ์มารดานั้น
ก็ยังอัตภาพให้เป็นไปในครรภ์
ด้วยข้าวน้ำโภชนาหารอย่างนั้น

อินทกสูตรที่ ๑ จบ

๒. สักกสูตร
ว่าด้วยสักกยักษ์

[๒๓๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่บนภูเขาคิชกูฏ เขตกรุง
ราชคฤห์ ครั้งนั้น สักกยักษ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้วได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
การสั่งสอนคนอื่นนั้น ไม่เหมาะแก่สมณะเช่นท่าน
ผู้ละกิเลสเครื่องร้อยรัดได้หมดแล้ว ผู้พ้นวิเศษแล้ว๑
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
สักกะ ธรรมเครื่องอยู่ร่วมกัน
ย่อมเกิดด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง
คนมีปัญญาไม่ควรทำใจหวั่นไหวไปตามเหตุนั้น
ถ้าคนมีใจผ่องใสแล้วสั่งสอนคนอื่น
บุคคลนั้นย่อมไม่เป็นผู้เกี่ยวข้องด้วยเหตุนั้น
นอกจากจะอนุเคราะห์เอ็นดู

สักกสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๐. ยักขสังยุต] ๓. สูจิโลมสูตร

๓. สูจิโลมสูตร
ว่าด้วยสูจิโลมยักษ์

[๒๓๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่บนเตียงชนิดมีเท้าตรึงติดกับ
แม่แคร่ อันเป็นภพของสูจิโลมยักษ์ ใกล้หมู่บ้านคยา สมัยนั้น ขรยักษ์และสูจิโลมยักษ์
เดินผ่านไปในที่ไม่ไกลจากพระผู้มีพระภาค
ครั้งนั้น ขรยักษ์ได้พูดกับสูจิโลมยักษ์ดังนี้ว่า “นั่นสมณะ”
สูจิโลมยักษ์กล่าวว่า “นั่นไม่ใช่สมณะ นั่นเป็นสมณะน้อย แต่จะเป็นสมณะ
หรือสมณะน้อย เราพอจะรู้ได้”
ลำดับนั้น สูจิโลมยักษ์เข้าไปหาพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้ว ได้เข้าไป
เหนี่ยวพระวรกายของพระองค์ พระผู้มีพระภาคทรงถอยพระวรกายไปเล็กน้อย
ต่อจากนั้น สูจิโลมยักษ์ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ท่านกลัวเราไหม
สมณะ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ผู้มีอายุ เราไม่กลัวท่านหรอก แต่สัมผัสของ
ท่านหยาบกร้าน”
สูจิโลมยักษ์ทูลถามว่า “สมณะ เราจักถามปัญหากับท่าน ถ้าท่านไม่พยากรณ์
ตอบแก่เรา เราจักทำจิตของท่านให้พลุ่งพล่าน จักฉีกหัวใจของท่าน หรือจักจับ
ที่เท้าแล้วเหวี่ยงไปยังฝั่งแม่น้ำคงคาข้างโน้น”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ผู้มีอายุ เราไม่เห็นใครเลยในโลก พร้อมทั้ง
เทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์
ที่จะพึงทำจิตของเราให้พลุ่งพล่าน ฉีกหัวใจของเรา หรือจับเราที่เท้าแล้วเหวี่ยงไปยัง
ฝั่งแม่น้ำคงคาข้างโน้นได้ เชิญท่านถามตามที่ท่านต้องการเถิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๓๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๐. ยักขสังยุต] ๓. สูจิโลมสูตร

สูจิโลมยักษ์จึงทูลถามด้วยคาถานี้ว่า
ราคะและโทสะมีอะไรเป็นเหตุ
ความไม่ยินดี๑ความยินดี๒
และความขนพองสยองเกล้า๓ เกิดจากอะไร
ความตรึกในใจเกิดจากอะไร
ย่อมผูกจิตไว้ได้เหมือนพวกเด็กผูกตีนกาไว้ ฉะนั้น
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
ราคะและโทสะมีอัตภาพนี้เป็นเหตุ
ความไม่ยินดี ความยินดี
และความขนพองสยองเกล้าเกิดจากอัตภาพนี้
ความตรึกในใจเกิดจากอัตภาพนี้
ย่อมผูกจิตไว้เหมือนพวกเด็กผูกตีนกาไว้ ฉะนั้น
อกุศลวิตกเป็นอันมาก
เกิดจากความเยื่อใยคือตัณหา
เกิดขึ้นในตนแล้วแผ่ซ่านไปในวัตถุกามทั้งหลาย
เหมือนย่านไทรเกิดจากลำต้นไทรแล้วแผ่ซ่านไปในป่า ฉะนั้น
ชนเหล่าใดรู้อัตภาพนั้นว่าเกิดจากสิ่งใด
ชนเหล่านั้นย่อมบรรเทาเหตุเกิดนั้นเสียได้
ยักษ์ ท่านจงฟัง ชนเหล่านั้นย่อมข้ามห้วงแห่งกิเลสนี้
ซึ่งข้ามได้ยาก อันตนไม่เคยข้ามเพื่อความไม่มีภพใหม่ต่อไป๔

สูจิโลมสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๐. ยักขสังยุต] ๔. มณิภัททสูตร

๔. มณิภัททสูตร
ว่าด้วยมณิภัททยักษ์

[๒๓๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เจดีย์ชื่อมณิมาฬกะ อันเป็น
ภพของมณิภัททยักษ์ ในแคว้นมคธ ครั้งนั้น มณิภัททยักษ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
ความเจริญย่อมมีแก่คนมีสติทุกเมื่อ
คนมีสติย่อมได้รับความสุข
ความดีย่อมมีแก่คนมีสติเป็นนิตย์
และคนมีสติย่อมหลุดพ้นจากเวร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ความเจริญย่อมมีแก่คนมีสติทุกเมื่อ
คนมีสติย่อมได้รับความสุข
ความดีย่อมมีแก่คนมีสติเป็นนิตย์
แต่คนมีสติยังไม่หลุดพ้นจากเวร
ส่วนผู้ใดมีใจยินดีในความไม่เบียดเบียนตลอดทั้งวันและคืน
และเป็นผู้มีส่วนแห่งเมตตาในสรรพสัตว์
ผู้นั้นย่อมไม่มีเวรกับใคร ๆ

มณิภัททสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๐. ยักขสังยุต] ๕. สานุสูตร

๕. สานุสูตร
ว่าด้วยสามเณรสานุ

[๒๓๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น บุตรของอุบาสิกาคนหนึ่งชื่อสานุ
ถูกยักษ์เข้าสิง ครั้งนั้น อุบาสิกานั้นได้คร่ำครวญกล่าวคาถาเหล่านี้ว่า
ฉันได้สดับคำของพระอรหันต์ทั้งหลายว่า
‘ชนเหล่าใดเข้าอยู่จำอุโบสถอันประกอบ
ด้วยองค์ ๘ ประการด้วยดี ตลอดดิถีที่ ๑๔ ที่ ๑๕
และที่ ๘ แห่งปักษ์ ทั้งตลอดปาฏิหาริยปักษ์
ประพฤติพรหมจรรย์อยู่
ยักษ์ทั้งหลายย่อมเข้าสิงชนเหล่านั้นไม่ได้’ เป็นการถูกต้องแล้ว
บัดนี้ ฉันเห็นแล้ว ในวันนี้ยักษ์เข้าสิงสามเณรสานุ
ยักษ์กล่าวว่า
ท่านได้สดับคำของพระอรหันต์ทั้งหลายว่า
‘ชนเหล่าใดเข้าอยู่จำอุโบสถอันประกอบ
ด้วยองค์ ๘ ประการด้วยดี ตลอดดิถีที่ ๑๔ ที่ ๑๕
และที่ ๘ แห่งปักษ์ ทั้งตลอดปาฏิหาริยปักษ์
ประพฤติพรหมจรรย์อยู่
ยักษ์ทั้งหลายย่อมเข้าสิงชนเหล่านั้นไม่ได้’ เป็นการถูกต้องแล้ว
ท่านจงบอกสานุผู้ฟื้นขึ้นแล้วว่า ยักษ์สั่งคำนี้ไว้ว่า
ท่านอย่าได้กระทำกรรมอันลามกทั้งในที่แจ้งและในที่ลับ
ถ้าท่านจักกระทำหรือกำลังกระทำกรรมอันลามก
ถึงท่านจะเหาะหนีไปก็ไม่พ้นจากความทุกข์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๓๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๐. ยักขสังยุต] ๕. สานุสูตร

สามเณรสานุฟื้นขึ้นแล้วกล่าวว่า
โยมแม่ ญาติและมิตรทั้งหลาย
ย่อมร้องไห้ถึงคนที่ตายแล้ว
หรือยังมีชีวิตอยู่แต่ไม่ปรากฏ
ท่านยังเห็นฉันซึ่งมีชีวิตอยู่แท้ ๆ
เพราะเหตุไรจึงร้องไห้ถึงฉันเล่า
อุบาสิกากล่าวว่า
ลูกเอ๋ย ญาติและมิตรทั้งหลาย
ย่อมร้องไห้ถึงคนที่ตายแล้ว
หรือยังมีชีวิตอยู่แต่ไม่ปรากฏ
แต่คนใดละกามแล้วยังคิดจะกลับมาในกามนี้อีก
ลูกเอ๋ย ญาติและมิตรทั้งหลายย่อมร้องไห้ถึงคนนั้น
เพราะเขาเป็นอยู่ต่อไปอีกก็เหมือนตายแล้ว
พ่อ เรายกท่านขึ้นจากการครองเรือนที่รุ่มร้อนแล้ว
ท่านยังปรารถนาจะตกลงไปสู่การครองเรือนอีก
พ่อ เรายกท่านขึ้นจากเหวแล้ว
ท่านยังปรารถนาจะตกลงไปสู่เหวอีกหรือ
เราจะโพนทะนาแก่ใครเล่าว่า
ขอท่านจงช่วยกัน ขอความเจริญจงมีแก่ท่าน
ดุจสิ่งของที่ขนออกแล้วจากเรือนที่ไฟไหม้
แต่ท่านปรารถนาจะเผามันอีก

สานุสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๐. ยักขสังยุต] ๗. ปุนัพพสุสูตร

๖. ปิยังกรสูตร
ว่าด้วยปิยังกรยักษ์

[๒๔๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธะอยู่ในพระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ท่านพระอนุรุทธะลุกขึ้นในเวลาใกล้รุ่งแล้ว
สวดบทแแห่งธรรมทั้งหลายอยู่ ครั้งนั้น นางยักษิณีผู้เป็นมารดาของปิยังกระ ปลอบบุตร
น้อยอย่างนี้ว่า
ปิยังกระ อย่าส่งเสียงไปเลย
ภิกษุกำลังสวดบทแห่งธรรมทั้งหลายอยู่
อนึ่ง เรารู้แจ้งบทแห่งธรรมแล้วปฏิบัติ
ข้อนั้นจะเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่เรา
ปิยังกระกล่าวว่า
เราไม่เบียดเบียนสัตว์มีชีวิตทั้งหลาย
ไม่กล่าวเท็จทั้งที่รู้อยู่
ศึกษาทำตนให้เป็นคนมีศีลดี
จึงจะพ้นจากกำเนิดปีศาจ๑

ปิยังกรสูตรที่ ๖ จบ

๗. ปุนัพพสุสูตร
ว่าด้วยปุนัพพสุยักษ์

[๒๔๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้ภิกษุ
ทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบ
ชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาอันประกอบด้วยนิพพาน ส่วนภิกษุเหล่านั้นต่าง
ก็ใส่ใจให้สำเร็จประโยชน์ น้อมนึกมาด้วยความเต็มใจ เงี่ยโสตสดับธรรมอยู่ ครั้งนั้น
นางยักษิณีผู้เป็นมารดาของปุนัพพสุ ปลอบบุตรน้อยอย่างนี้ว่า


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๐. ยักขสังยุต] ๗. ปุนัพพสุสูตร

ลูกอุตรา เจ้าจงนิ่งเถิด
ลูกปุนัพพสุ เจ้าจงนิ่งเถิด
จนกว่าแม่จะฟังพระธรรมของพระพุทธเจ้า
ผู้ประเสริฐ ผู้เป็นพระศาสดา
พระผู้มีพระภาคตรัสนิพพาน
อันเป็นเครื่องเปลื้องตนจากกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งปวง
เวลาที่ปรารถนาในธรรมนี้จะล่วงเลยแม่ไป
ลูกของตนเป็นที่รักในโลก
สามีของตนเป็นที่รักในโลก
แต่ความปรารถนาในธรรมนี้
เป็นที่รักของแม่ยิ่งกว่าลูกและสามีนั้น
เพราะว่าลูกหรือสามีที่รัก
จะพึงปลดเปลื้องแม่จากทุกข์ไม่ได้
ส่วนการฟังธรรมย่อมปลดเปลื้องสัตว์ทั้งหลายจากทุกข์ได้
เมื่อโลกถูกทุกข์ครอบงำอยู่ ประกอบแล้วด้วยชราและมรณะ
เราต้องการฟังธรรมที่ทำให้ตรัสรู้เพื่อจะพ้นจากชราและมรณะ
ลูกปุนัพพสุ เจ้าจงนิ่งเถิด
ปุนัพพสุพูดว่า
แม่ เราจักไม่พูด อุตรานี้ก็จักนิ่ง
ท่านจงใส่ใจถึงธรรมอย่างเดียว
การฟังพระสัทธรรมจงเป็นความสุข
แม่ เราไม่รู้พระสัทธรรม จึงได้เที่ยวไปลำบาก
พระพุทธเจ้าพระองค์นี้เป็นผู้ทำความสว่างให้
แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายผู้ลุ่มหลง
พระองค์เหลือแต่พระสรีระในชาติสุดท้าย
มีพระจักษุ แสดงธรรมอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๓๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๐. ยักขสังยุต] ๘. สุทัตตสูตร

ยักษิณีพูดว่า
น่าชื่นชมนัก บุตรผู้นอนบนอกเป็นคนฉลาด
บุตรของเราย่อมรักใคร่พระธรรมของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ
ปุนัพพสุ เจ้าจงมีความสุขเถิด
วันนี้เราเป็นผู้ก้าวขึ้นไปดีแล้ว๑
เราและเจ้าเห็นอริยสัจแล้ว
แม้อุตราก็จงฟังคำของเรา

ปุนัพพสุสูตรที่ ๗ จบ

๘. สุทัตตสูตร
ว่าด้วยคหบดีชื่อสุทัตตะ

[๒๔๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าสีตวัน เขตกรุง
ราชคฤห์ สมัยนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีไปยังกรุงราชคฤห์ ด้วยกรณียกิจ
บางอย่าง ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีได้สดับว่า “ได้ยินว่า พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้น
แล้วในโลก” ในขณะนั้นเอง ก็ปรารถนาจะเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคขึ้นมาทันที
ครั้งนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีได้มีความคิดดังนี้ว่า “วันนี้ไม่ใช่กาลที่จะเข้าเฝ้า
พระผู้มีพระภาค รอไว้พรุ่งนี้ก่อน เราจึงจะเข้าเฝ้า” ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีนอนรำพึงถึง
พระพุทธเจ้าเข้าใจว่า “สว่างแล้ว” จึงลุกขึ้นในตอนกลางคืนถึง ๓ ครั้ง ลำดับนั้น
ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีเดินไปทางประตูป่าช้า พวกอมนุษย์ทั้งหลายก็เปิดประตูให้
ครั้นเมื่อท่านอนาถบิณฑิกคหบดีออกไปจากเมือง แสงสว่างก็หายไป ความมืด
ปรากฏขึ้น ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง และความขนพองสยองเกล้าก็เกิดขึ้นตามมา
ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีจึงใคร่จะรีบกลับจากที่นั้น ครั้งนั้น สิวกยักษ์หายตัวไปได้
ส่งเสียงให้ได้ยินว่า


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๐. ยักขสังยุต] ๘. สุทัตตสูตร

ช้าง ๑๐๐,๐๐๐ เชือก ม้า ๑๐๐,๐๐๐ ตัว
รถเทียมด้วยม้าอัสดร ๑๐๐,๐๐๐ คัน
หญิงสาวที่ประดับตุ้มหูอัญมณี ๑๐๐,๐๐๐ คน
ยังไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖๑ แห่งการก้าวเท้าไปข้างหน้าก้าวหนึ่ง
ท่านจงก้าวไปเถิดคหบดี ท่านจงก้าวไปเถิดคหบดี
การก้าวไปของท่านประเสริฐ การถอยหลังไม่ประเสริฐเลย
ครั้งนั้น ความมืดได้หายไป แสงสว่างก็ปรากฏขึ้นแก่ท่านอนาถบิณฑิกคหบดี
ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง และความขนพองสยองเกล้าก็ระงับไป
แม้ครั้งที่ ๒ แสงสว่างก็หายไป ความมืดก็ปรากฏขึ้นแก่ท่านอนาถบิณฑิก-
คหบดี ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง และความขนพองสยองเกล้าก็บังเกิดขึ้น
ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีจึงใคร่ที่จะกลับจากที่นั้นอีก แม้ครั้งที่ ๒ สิวกยักษ์หายตัว
ไปได้ส่งเสียงให้ได้ยินว่า
ช้าง ๑๐๐,๐๐๐ เชือก ม้า ๑๐๐,๐๐๐ ตัว
ฯลฯ
ยังไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งการก้าวเท้าไปข้างหน้าก้าวหนึ่ง
ท่านจงก้าวไปเถิดคหบดี ท่านจงก้าวไปเถิดคหบดี
การก้าวไปของท่านประเสริฐ การถอยหลังไม่ประเสริฐเลย
ครั้งนั้น ความมืดก็หายไป แสงสว่างก็ปรากฏขึ้นแก่ท่านอนาถบิณฑิกคหบดี
ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง และความขนพองสยองเกล้าก็ระงับไป


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๐. ยักขสังยุต] ๘. สุทัตตสูตร

แม้ครั้งที่ ๓ แสงสว่างก็หายไป ความมืดก็ปรากฏขึ้นแก่ท่านอนาถบิณฑิก-
คหบดี ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง และความขนพองสยองเกล้าก็บังเกิดขึ้น
ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีจึงใคร่ที่จะกลับจากที่นั้นอีก แม้ครั้งที่ ๓ สิวกยักษ์หายตัวไป
ได้ส่งเสียงให้ได้ยินว่า
ช้าง ๑๐๐,๐๐๐ เชือก ม้า ๑๐๐,๐๐๐ ตัว
ฯลฯ
ยังไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งการก้าวเท้าไปข้างหน้าก้าวหนึ่ง
ท่านจงก้าวไปเถิดคหบดี ท่านจงก้าวไปเถิดคหบดี
การก้าวไปของท่านประเสริฐ การถอยหลังไม่ประเสริฐเลย
ครั้งนั้น ความมืดก็หายไป แสงสว่างก็ปรากฏขึ้นแก่ท่านอนาถบิณฑิกคหบดี
ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง และความขนพองสยองเกล้าก็ระงับไป ครั้งนั้น ท่าน
อนาถบิณฑิกคหบดีเดินเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงป่าสีตวัน
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จลุกขึ้นในเวลาเช้าตรู่แล้ว เสด็จจงกรมอยู่ในที่
กลางแจ้ง พระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นท่านอนาถบิณฑิกคหบดีผู้มาแต่ไกล ครั้นแล้ว
เสด็จลงจากที่จงกรม ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว ได้ตรัสกับท่านอนาถ-
บิณฑิกคหบดีดังนี้ว่า “มาเถิด สุทัตตะ” ครั้งนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีคิดว่า
“พระผู้มีพระภาคทรงทักเราโดยชื่อ” จึงร่าเริงดีใจหมอบลงแทบพระยุคลบาทของ
พระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้าในที่นั้นเองแล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้เจริญ พระองค์ประทับอยู่เป็นสุขหรือ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
พราหมณ์ผู้ดับกิเลสแล้ว
ย่อมอยู่เป็นสุขทุกเมื่อ ไม่ติดอยู่ในกาม๑


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๐. ยักขสังยุต] ๙. ปฐมสุกกาสูตร

เป็นคนเยือกเย็น ไม่มีอุปกิเลส
ตัดกิเลสเครื่องข้องทุกอย่าง
พึงกำจัดความกระวนกระวายในใจ
เข้าถึงความสงบ ย่อมอยู่เป็นสุข๑

สุทัตตสูตรที่ ๘ จบ

๙. ปฐมสุกกาสูตร
ว่าด้วยสุกกาภิกษุณี สูตรที่ ๑

[๒๔๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้
เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น ภิกษุณีชื่อสุกกามีบริษัทหมู่ใหญ่แวดล้อม
แสดงธรรมอยู่ ครั้งนั้น ยักษ์ผู้เลื่อมใสอย่างยิ่งในสุกกาภิกษุณี จากถนนนี้ไปยัง
ถนนโน้น จากตรอกนี้ไปยังตรอกโน้น ในกรุงราชคฤห์ ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ในเวลานั้นว่า
พวกมนุษย์ในกรุงราชคฤห์เหล่านี้
ทำอะไรกัน มัวดื่มน้ำผึ้ง นอนอยู่
ไม่เข้าไปนั่งใกล้สุกกาภิกษุณีผู้แสดงอมตบทอยู่
ส่วนพวกคนที่มีปัญญา เข้าใจดื่มอมตบทนั้น
ซึ่งเป็นธรรมไม่นำกลับหลัง ทำผู้ฟังให้ชุ่มชื่น
มีโอชะ ดุจบุคคลเดินทางไกลดื่มน้ำฝน๒

ปฐมสุกกาสูตรที่ ๙ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๐. ยักขสังยุต] ๑๑. จีราสูตร

๑๐. ทุติยสุกกาสูตร
ว่าด้วยสุกกาภิกษุณี สูตรที่ ๒

[๒๔๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้
เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น อุบาสกคนหนึ่งได้ถวายโภชนาหารแก่สุกกา-
ภิกษุณี ครั้งนั้น ยักษ์ผู้เลื่อมใสอย่างยิ่งในสุกกาภิกษุณี จากถนนนี้ไปยังถนนโน้น
จากตรอกนี้ไปยังตรอกโน้น ในกรุงราชคฤห์ ได้กล่าวคาถานี้ในเวลานั้นว่า
อุบาสกนี้มีปัญญา
ถวายโภชนาหารแก่สุกกาภิกษุณี
ผู้หลุดพ้นแล้วจากกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งปวง
ได้ประสบบุญมากหนอ

ทุติยสุกกาสูตรที่ ๑๐ จบ

๑๑. จีราสูตร
ว่าด้วยจีราภิกษุณี

[๒๔๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้
เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น อุบาสกคนหนึ่งได้ถวายจีวรแก่จีราภิกษุณี
ครั้งนั้น ยักษ์ผู้เลื่อมใสอย่างยิ่งในจีราภิกษุณี จากถนนนี้ไปยังถนนโน้น จากตรอกนี้
ไปยังตรอกโน้น ในกรุงราชคฤห์ ได้กล่าวคาถานี้ในเวลานั้นว่า
อุบาสกนี้มีปัญญา
ถวายจีวรแก่จีราภิกษุณี
ผู้หลุดพ้นแล้วจากกิเลสเครื่องประกอบทั้งปวง
ได้ประสบบุญมากหนอ

จีราสูตรที่ ๑๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๐. ยักขสังยุต] ๑๒. อาฬวกสูตร

๑๒. อาฬวกสูตร
ว่าด้วยอาฬวกยักษ์

[๒๔๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในภพของอาฬวกยักษ์ เขตเมืองอาฬวี
ครั้งนั้น อาฬวกยักษ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้กล่าวกับพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า “ท่านจงออกมา สมณะ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีแล้ว ผู้มีอายุ” แล้วก็เสด็จออกมา
อาฬวกยักษ์กล่าวว่า “ท่านจงเข้าไป สมณะ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีแล้ว ผู้มีอายุ” แล้วก็เสด็จเข้าไป
แม้ครั้งที่ ๒ อาฬวกยักษ์ได้กล่าวกับพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ท่านจงออกมา
สมณะ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีแล้ว ผู้มีอายุ” แล้วก็เสด็จออกมา
อาฬวกยักษ์กล่าวว่า “ท่านจงเข้าไป สมณะ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีแล้ว ผู้มีอายุ” แล้วก็เสด็จเข้าไป
แม้ครั้งที่ ๓ อาฬวกยักษ์ได้กล่าวกับพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ท่านจงออกมา
สมณะ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีแล้ว ผู้มีอายุ” แล้วก็เสด็จออกมา
อาฬวกยักษ์กล่าวว่า “ท่านจงเข้าไป สมณะ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีแล้ว ผู้มีอายุ” แล้วก็เสด็จเข้าไป
แม้ครั้งที่ ๔ อาฬวกยักษ์ได้กล่าวกับพระผู้มีพระภาคดังนี้อีกว่า “ท่านจงออกมา
สมณะ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ผู้มีอายุ เราจักไม่ออกไปละ ท่านจะทำอะไรก็จง
ทำเถิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๓๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๐. ยักขสังยุต] ๑๒. อาฬวกสูตร

อาฬวกยักษ์ได้กล่าวว่า “สมณะ เราจักถามปัญหากับท่าน ถ้าท่านไม่
พยากรณ์ตอบแก่เรา เราจักทำจิตของท่านให้พลุ่งพล่าน จักฉีกหัวใจของท่าน
หรือจักจับที่เท้าแล้วเหวี่ยงไปยังฝั่งแม่น้ำคงคาข้างโน้น”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ผู้มีอายุ เราไม่เห็นใครเลยในโลก พร้อมทั้งเทวโลก
มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ที่จะพึง
ทำจิตของเราให้พลุ่งพล่านได้ ฉีกหัวใจของเรา หรือจับเราที่เท้าแล้วเหวี่ยงไปยัง
ฝั่งแม่น้ำคงคาข้างโน้นได้ เชิญท่านถามตามที่ท่านต้องการเถิด”
อาฬวกยักษ์ถามว่า
อะไรเล่าเป็นทรัพย์เครื่องปลื้มใจ
ที่ประเสริฐ ของบุรุษในโลกนี้
อะไรเล่าที่บุคคลประพฤติดีแล้ว นำความสุขมาให้
อะไรเล่ามีรสล้ำเลิศกว่ารสทั้งหลาย
นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวถึงชีวิต
ของผู้เป็นอยู่อย่างไร ว่าประเสริฐสุด
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
ศรัทธาเป็นทรัพย์เครื่องปลื้มใจ
ที่ประเสริฐ ของบุรุษในโลกนี้
ธรรม๑ที่บุคคลประพฤติดีแล้ว นำความสุขมาให้
ความสัตย์แลมีรสล้ำเลิศกว่ารสทั้งหลาย
นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวถึงชีวิต
ของผู้เป็นอยู่ด้วยปัญญา ว่าประเสริฐสุด


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๐. ยักขสังยุต] ๑๒. อาฬวกสูตร

อาฬวกยักษ์ถามว่า
บุคคลข้ามโอฆะ๑ได้อย่างไรเล่า
ข้ามอรรณพ๑ได้อย่างไรเล่า
ล่วงทุกข์ได้อย่างไรเล่า บริสุทธิ์ได้อย่างไรเล่า
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
บุคคลข้ามโอฆะได้ด้วยศรัทธา
ข้ามอรรณพได้ด้วยความไม่ประมาท
ล่วงทุกข์ได้ด้วยความเพียร บริสุทธิ์ได้ด้วยปัญญา
อาฬวกยักษ์ถามว่า
บุคคลได้ปัญญาอย่างไรเล่า
ทำอย่างไรเล่าจึงจะหาทรัพย์ได้
บุคคลได้เกียรติยศอย่างไรเล่า
ทำอย่างไรเล่าจึงจะผูกมิตรไว้ได้
บุคคลละโลกนี้แล้วไปสู่โลกหน้า
ทำอย่างไรเล่าจึงจะไม่เศร้าโศก
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
บุคคลเชื่อธรรมของพระอรหันต์
เพื่อบรรลุนิพพาน ไม่ประมาท
มีความรอบคอบ ฟังด้วยดี ย่อมได้ปัญญา
บุคคลผู้ทำการเหมาะเจาะไม่ทอดธุระ
ขยันหมั่นเพียร ย่อมหาทรัพย์ได้
บุคคลย่อมได้เกียรติยศเพราะความสัตย์
บุคคลเมื่อให้ย่อมผูกมิตรไว้ได้


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๐. ยักขสังยุต] รวมพระสูตรที่มีในสังยุต

บุคคลอยู่ครองเรือนประกอบด้วยศรัทธา
มีธรรม ๔ ประการนี้ คือ สัจจะ ธรรม๑ ธิติ จาคะ
ละโลกนี้ไปแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก
เชิญท่านถามสมณพราหมณ์เป็นอันมากเหล่าอื่นดูชิว่า
ในโลกนี้มีอะไรที่จะยิ่งไปกว่าสัจจะ ทมะ๑ ขันติ จาคะ เล่า
อาฬวกยักษ์กราบทูลว่า
ทำไมเล่า ข้าพระองค์จึงต้องถามสมณพราหมณ์
เป็นอันมากในบัดนี้
วันนี้ ข้าพระองค์รู้ชัดถึงประโยชน์ในภายหน้า
พระพุทธเจ้าเสด็จมาถึงเมืองอาฬวี
เพื่อประโยชน์แก่ข้าพระองค์โดยแท้
วันนี้ ข้าพระองค์รู้ชัดถึงทานที่บุคคลให้ในที่ใดมีผลมาก
ข้าพระองค์จักเที่ยวจากบ้านไปยังบ้าน
จากเมืองไปยังเมือง นอบน้อมพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
และพระธรรมซึ่งมีส่วนชักนำให้เป็นคนดี

อาฬวกสูตรที่ ๑๒ จบ
ยักขสังยุต จบบริบูรณ์

รวมพระสูตรที่มีในสังยุตนี้ คือ

๑. อินทกสูตร ๒. สักกสูตร
๓. สูจิโลมสูตร ๔. มณิภัททสูตร
๕. สานุสูตร ๖. ปิยังกรสูตร
๗. ปุนัพพสุสูตร ๘. สุทัตตสูตร
๙. ปฐมสุกกาสูตร ๑๐. ทุติยสุกกาสูตร
๑๑. จีราสูตร ๑๒. อาฬวกสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต] ๑. ปฐมวรรค ๑. สุวีรสูตร

๑๑. สักกสังยุต
๑. ปฐมวรรค
หมวดที่ ๑
๑. สุวีรสูตร
ว่าด้วยสุวีรเทพบุตร

[๒๔๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมา
ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาค
จึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว พวกอสูรได้รบกับพวกเทพ ครั้งนั้น
ท้าวสักกะจอมเทพรับสั่งเรียกสุวีรเทพบุตรมาตรัสว่า ‘สุวีระ พวกอสูรเหล่านี้กำลัง
พากันมารบกับพวกเทพ ท่านจงไปป้องกันพวกอสูรไว้เถิด’ สุวีรเทพบุตรรับพระบัญชา
ของท้าวสักกะจอมเทพแล้วก็เผลอลืมเสีย
แม้ครั้งที่ ๒ ท้าวสักกะจอมเทพก็รับสั่งเรียกสุวีรเทพบุตรมาตรัสว่า ‘สุวีระ
พวกอสูรเหล่านั้นกำลังพากันมารบกับพวกเทพ ท่านจงไปป้องกันพวกอสูรไว้เถิด’
แม้ครั้งที่ ๒ สุวีรเทพบุตรรับพระบัญชาของท้าวสักกะจอมเทพแล้วก็เผลอลืมเสีย
แม้ครั้งที่ ๓ ท้าวสักกะจอมเทพก็รับสั่งเรียกสุวีรเทพบุตรมาตรัสว่า ‘สุวีระ
พวกอสูรเหล่านั้นกำลังพากันมารบกับพวกเทพ ท่านจงไปป้องกันพวกอสูรไว้เถิด’
แม้ครั้งที่ ๓ สุวีรเทพบุตรรับพระบัญชาของท้าวสักกะจอมเทพแล้วก็เผลอลืมเสีย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๓๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต] ๑. ปฐมวรรค ๑. สุวีรสูตร

ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพได้ตรัสกับสุวีรเทพบุตรด้วยคาถาว่า
บุคคลไม่ขยัน ไม่พยายาม
แต่ประสบความสุขได้ ณ ที่ใด
สุวีระ ท่านจงไป ณ ที่นั้น
และจงพาเราไปให้ถึงที่นั้นด้วยเถิด
สุวีรเทพบุตรกราบทูลว่า
บุคคลผู้เกียจคร้าน ไม่ขยัน
ทั้งยังไม่ใช้ใคร ๆ ให้ช่วยทำกิจทั้งหลาย
เขาพรั่งพร้อมด้วยกามทุกอย่าง ข้าแต่ท้าวสักกะ
ขอพระองค์จงตรัสบอกฐานะอันประเสริฐนั้น
แก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด
ท้าวสักกะตรัสตอบว่า
บุคคลผู้เกียจคร้าน ไม่ขยัน
ประสบความสุขที่สุดได้ ณ ที่ใด
สุวีระ ท่านจงไป ณ ที่นั้น
และจงพาเราไปให้ถึงที่นั้นด้วยเถิด
สุวีรเทพบุตรกราบทูลว่า
ข้าแต่ท้าวสักกะ ผู้ประเสริฐกว่าเทพ
ข้าพระองค์ทั้งหลายจะพึงได้ความสุขใด
โดยไม่ต้องทำการงาน ข้าแต่ท้าวสักกะ
ขอพระองค์จงตรัสบอกความสุขอันประเสริฐนั้น
ที่ไม่มีความเศร้าโศก ไม่มีความคับแค้นใจ
แก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๓๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต] ๑. ปฐมวรรค ๒. สุสิมสูตร

ท้าวสักกะตรัสว่า
ถ้าความสุขจะมีได้โดยไม่ต้องทำการงาน
ไม่ว่าในที่ไหน ๆ ใคร ๆ ก็ดำรงชีพอยู่ไม่ได้
เพราะนั่นเป็นทางแห่งนิพพาน
สุวีระ ท่านจงไป ณ ที่นั้น
และจงพาเราไปให้ถึงที่นั้นด้วยเถิด
ภิกษุทั้งหลาย ก็ท้าวสักกะจอมเทพนั้นอาศัยผลบุญของพระองค์เป็นอยู่ เสวย
ราชสมบัติอันมีความเป็นใหญ่ยิ่งด้วยความเป็นใหญ่แห่งเทพชั้นดาวดึงส์ ยังมา
พรรณนาคุณแห่งความเพียรคือความขยันได้ ข้อที่พวกเธอบวชในธรรมวินัยที่เรา
กล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้ ขยันหมั่นเพียร พยายามเพื่อบรรลุมรรคผลที่ยังไม่บรรลุ
เพื่อได้มรรคผลที่ยังไม่ได้ เพื่อทำให้แจ้งมรรคผลที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้จะพึงงดงาม
ในธรรมวินัยนี้โดยแท้”

สุวีรสูตรที่ ๑ จบ

๒. สุสิมสูตร
ว่าด้วยสุสิมเทพบุตร

[๒๔๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว พวกอสูรได้รบกับพวกเทพ ครั้งนั้น
ท้าวสักกะจอมเทพรับสั่งเรียกสุสิมเทพบุตรมาตรัสว่า ‘สุสิมะ พวกอสูรเหล่านี้กำลัง
พากันมารบกับพวกเทพ ท่านจงไปป้องกันพวกอสูรไว้เถิด’ สุสิมเทพบุตรรับพระบัญชา
ของท้าวสักกะจอมเทพแล้วก็เผลอลืมเสีย
แม้ครั้งที่ ๒ ท้าวสักกะจอมเทพรับสั่งเรียกสุสิมเทพบุตรมาตรัส ฯลฯ แล้วก็
เผลอลืมเสีย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๓๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต] ๑. ปฐมวรรค ๒. สุสิมสูตร

แม้ครั้งที่ ๓ ท้าวสักกะจอมเทพรับสั่งเรียกสุสิมเทพบุตรมาตรัสว่า ‘สุสิมะ
พวกอสูรเหล่านี้กำลังพากันมารบกับพวกเทพ ท่านจงไปป้องกันพวกอสูรไว้เถิด’
แม้ครั้งที่ ๓ สุสิมเทพบุตรรับพระบัญชาของท้าวสักกะจอมเทพแล้วก็เผลอลืมเสีย
ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพได้ตรัสกับสุสิมเทพบุตรด้วยคาถาว่า
บุคคลไม่ขยัน ไม่พยายาม
แต่ประสบความสุขได้ ณ ที่ใด
สุสิมะ ท่านจงไป ณ ที่นั้น
และจงพาเราไปให้ถึงที่นั้นด้วยเถิด
สุสิมเทพบุตรกราบทูลว่า
บุคคลผู้เกียจคร้าน ไม่ขยัน
ทั้งยังไม่ใช้ใคร ๆ ให้ช่วยทำกิจทั้งหลายอีกด้วย
เขาพรั่งพร้อมด้วยกามทุกอย่าง ข้าแต่ท้าวสักกะ
ขอพระองค์จงตรัสบอกฐานะอันประเสริฐนั้น
แก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด
ท้าวสักกะตรัสว่า
บุคคลผู้เกียจคร้าน ไม่ขยัน
ประสบความสุขที่สุดได้ ณ ที่ใด
สุสิมะ ท่านจงไป ณ ที่นั้น
และจงพาเราไปให้ถึงที่นั้นด้วยเถิด
สุสิมเทพบุตรกราบทูลว่า
ข้าแต่ท้าวสักกะ ผู้ประเสริฐกว่าเทพ
ข้าพระองค์ทั้งหลายจะพึงได้ความสุขใด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๓๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต] ๑. ปฐมวรรค ๓. ธชัคคสูตร

โดยไม่ต้องทำการงานเลย ข้าแต่ท้าวสักกะ
ขอพระองค์จงตรัสบอกความสุขอันประเสริฐนั้น
ที่ไม่มีความเศร้าโศก ไม่มีความคับแค้นใจ
แก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด
ท้าวสักกะตรัสว่า
ถ้าความสุขจะมีได้โดยไม่ต้องทำการงาน
ไม่ว่าในที่ไหน ๆ ใคร ๆ ก็ดำรงชีพอยู่ไม่ได้
เพราะนั่นเป็นทางแห่งนิพพาน
สุสิมะ ท่านจงไป ณ ที่นั้น
และจงพาเราไปให้ถึงที่นั้นด้วยเถิด
ภิกษุทั้งหลาย ก็ท้าวสักกะจอมเทพนั้นอาศัยผลบุญของพระองค์เป็นอยู่
เสวยราชสมบัติอันมีความเป็นใหญ่ยิ่งด้วยความเป็นใหญ่แห่งเทพชั้นดาวดึงส์ ยังมา
พรรณนาคุณแห่งความเพียรคือความขยันได้ ข้อที่พวกเธอบวชในธรรมวินัยที่เรา
กล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้ ขยันหมั่นเพียร พยายามเพื่อบรรลุมรรคผลที่ยังไม่บรรลุ
เพื่อได้มรรคผลที่ยังไม่ได้ เพื่อทำให้แจ้งมรรคผลที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้จะพึงงดงาม
ในธรรมวินัยนี้โดยแท้”

สุสิมสูตรที่ ๒ จบ

๓. ธชัคคสูตร
ว่าด้วยเรื่องยอดธง

[๒๔๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัส
ว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้
ตรัสเรื่องนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๓๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต] ๑. ปฐมวรรค ๓. ธชัคคสูตร

“ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว สงครามระหว่างเทพกับอสูรประชิดกัน
ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพรับสั่งกับเทพชั้นดาวดึงส์ว่า
‘ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ถ้าความกลัว ความหวาดสะดุ้ง หรือความขนพอง
สยองเกล้า จะพึงเกิดขึ้นแก่พวกเทพผู้ไปในสงคราม สมัยนั้น พวกท่านพึงแลดูยอด
ธงของเรา เพราะว่า เมื่อพวกท่านแลดูยอดธงของเราอยู่ ความกลัว ความหวาด
สะดุ้ง หรือความขนพองสยองเกล้าที่จักเกิดขึ้นก็จักหายไป
ถ้าพวกท่านไม่แลดูยอดธงของเรา ทีนั้น พวกท่านพึงแลดูยอดธงของท้าว
ปชาบดีเทวราชเถิด เพราะว่า เมื่อพวกท่านแลดูยอดธงของท้าวปชาบดีเทวราชอยู่
ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง หรือความขนพองสยองเกล้าที่จักเกิดขึ้นก็จักหายไป
ถ้าพวกท่านไม่แลดูยอดธงของท้าวปชาบดีเทวราช ทีนั้น พวกท่านก็พึงแลดู
ยอดธงของท้าววรุณเทวราชเถิด เพราะว่า เมื่อพวกท่านแลดูยอดธงของท้าววรุณ-
เทวราชอยู่ ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง หรือความขนพองสยองเกล้าที่จักเกิดขึ้น
ก็จักหายไป
ถ้าพวกท่านไม่แลดูยอดธงของท้าววรุณเทวราช ทีนั้น พวกท่านพึงแลดู
ยอดธงของท้าวอีสานเทวราชเถิด เพราะว่า เมื่อพวกท่านแลดูยอดธงของท้าว-
อีสานเทวราชอยู่ ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง หรือความขนพองสยองเกล้า
ที่จักเกิดขึ้นก็จักหายไป
เมื่อพวกเทพแลดูยอดธงของท้าวสักกะจอมเทพก็ดี แลดูยอดธงของท้าวปชา-
บดีเทวราชก็ดี แลดูยอดธงของท้าววรุณเทวราชก็ดี แลดูยอดธงของท้าวอีสาน-
เทวราชก็ดี ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง หรือความขนพองสยองเกล้า ที่จักเกิดขึ้น
พึงหายไปบ้าง ไม่หายไปบ้าง
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่า ท้าวสักกะจอมเทพยังไม่ปราศจากราคะ ไม่ปราศจากโทสะ
ไม่ปราศจากโมหะ เป็นผู้มีความกลัว มีความหวาดสะดุ้ง หนีไปอยู่
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนเรากล่าวอย่างนี้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย หากว่าความกลัว
ความหวาดสะดุ้ง หรือความขนพองสยองเกล้า พึงบังเกิดแก่พวกเธอผู้อยู่ในป่า
อยู่ที่โคนไม้ หรืออยู่ในเรือนว่าง ทีนั้น พวกเธอพึงระลึกถึงเราเนือง ๆ เท่านั้นว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๓๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต] ๑. ปฐมวรรค ๓. ธชัคคสูตร

‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วย
พระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก
เป็นสารถีฝึกผู้ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค๑ ภิกษุทั้งหลาย เพราะว่า เมื่อพวกเธอระลึก
ถึงเราเนือง ๆ อยู่ ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง หรือความขนพองสยองเกล้า
ที่จักเกิดขึ้นก็จักหายไป


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต] ๑. ปฐมวรรค ๓. ธชัคคสูตร

ถ้าพวกเธอไม่ระลึกถึงเราเนือง ๆ ทีนั้น พวกเธอพึงระลึกถึงพระธรรมเนือง ๆ
ว่าพระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง
ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้
เฉพาะตน
ภิกษุทั้งหลาย เพราะว่า เมื่อพวกเธอระลึกถึงพระธรรมอยู่เนือง ๆ ความกลัว
ความหวาดสะดุ้ง หรือความขนพองสยองเกล้าที่จักเกิดขึ้นก็จักหายไป
ถ้าพวกเธอไม่ระลึกถึงพระธรรมเนือง ๆ ทีนั้น พวกเธอพึงระลึกถึงพระสงฆ์
เนือง ๆ ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติ
ถูกทาง ปฏิบัติสมควร ได้แก่ อริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล พระสงฆ์สาวกของ
พระผู้มีพระภาคนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่
ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก เพราะว่า เมื่อพวก
เธอระลึกถึงพระสงฆ์อยู่เนือง ๆ ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง หรือความขนพอง
สยองเกล้าที่จักเกิดขึ้นก็จักหายไป
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่า พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้ปราศจากราคะ ปราศจาก
โทสะ ปราศจากโมหะ เป็นผู้ไม่มีความกลัว ไม่หวาดเสียว ไม่สะดุ้ง ไม่หนีไป”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอยู่ในป่าก็ดี
อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี
พึงระลึกถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเถิด
ความกลัวไม่พึงมีแก่เธอทั้งหลาย
ถ้าเธอทั้งหลายไม่ระลึกถึงพระพุทธเจ้า
ผู้เจริญที่สุดในโลก ผู้องอาจกว่านรชน
ทีนั้น เธอทั้งหลายพึงระลึกถึงพระธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๓๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๔. เวปจิตติสูตร

ซึ่งเป็นเหตุนำออกจากทุกข์
ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ดีแล้ว
ถ้าเธอทั้งหลายไม่ระลึกถึงพระธรรม
ซึ่งเป็นเหตุนำออกจากทุกข์
ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ดีแล้ว
ทีนั้น เธอทั้งหลายพึงระลึกถึงพระสงฆ์
ผู้เป็นนาบุญ ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายระลึกถึง
พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์อยู่
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี
ความขนพองสยองเกล้าก็ดี จักไม่มีเลย

ธชัคคสูตรที่ ๓ จบ

๔. เวปจิตติสูตร
ว่าด้วยท้าวเวปจิตติ

[๒๕๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ฯลฯ พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว สงครามระหว่างเทพกับอสูรประชิดกัน
ครั้งนั้น ท้าวเวปจิตติจอมอสูรรับสั่งกับพวกอสูรว่า ‘ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ถ้าเมื่อ
สงครามระหว่างเทพกับอสูรประชิดกัน พวกอสูรพึงชนะ พวกเทพพึงพ่ายแพ้
เพราะเหตุนั้น ท่านทั้งหลายพึงจองจำท้าวสักกะจอมเทพด้วยเครื่องจองจำทั้ง ๕๑
รวมทั้งเครื่องผูกคอ แล้วพึงนำมายังเมืองอสูรในสำนักของเรา’
ฝ่ายท้าวสักกะจอมเทพรับสั่งกับเทพชั้นดาวดึงส์ทั้งหลายว่า ‘ท่านผู้นิรทุกข์
ทั้งหลาย ถ้าเมื่อสงครามระหว่างเทพกับอสูรประชิดกัน พวกเทพพึงชนะ พวกอสูร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๔. เวปจิตติสูตร

พึงพ่ายแพ้ เพราะเหตุนั้น ท่านทั้งหลายพึงจองจำท้าวเวปจิตติจอมอสูร ด้วยเครื่อง
จองจำทั้ง ๕ รวมทั้งเครื่องผูกคอ แล้วพึงนำมายังสภาชื่อสุธรรมา ในสำนักของเรา’
สงครามครั้งนั้น พวกเทพชนะ พวกอสูรพ่ายแพ้ ต่อมาเทพชั้นดาวดึงส์ได้
จองจำท้าวเวปจิตติจอมอสูรด้วยเครื่องจองจำทั้ง ๕ รวมทั้งเครื่องผูกคอ แล้วนำมา
ยังสภาชื่อสุธรรมา ในสำนักของท้าวสักกะจอมเทพ ได้ยินว่า ท้าวเวปจิตติจอมอสูร
ถูกจองจำด้วยเครื่องจองจำทั้ง ๕ รวมทั้งเครื่องผูกคอ ได้ด่าบริภาษท้าวสักกะ
จอมเทพ ซึ่งกำลังเสด็จเข้าและออกยังสภาชื่อสุธรรมา ด้วยวาจาหยาบคาย อันมิใช่
วาจาของสัตบุรุษ
ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น มาตลีเทพบุตรผู้สงเคราะห์ ได้ทูลถามท้าวสักกะ
จอมเทพด้วยคาถาว่า
ข้าแต่ท้าวสักกมฆวาน
พระองค์ได้ทรงสดับถ้อยคำอันหยาบคาย
ต่อหน้าของท้าวเวปจิตติจอมอสูร
ยังทรงอดทนได้เพราะความกลัว
หรือเพราะไม่มีกำลัง พระเจ้าข้า
ท้าวสักกะตรัสตอบว่า
เราอดทนถ้อยคำอันหยาบคาย
ของท้าวเวปจิตติได้เพราะความกลัว
หรือเพราะไม่มีกำลังก็หาไม่
ด้วยว่า วิญญูชนเช่นเราจะพึงโต้ตอบกับคนพาลทำไม
มาตลีเทพบุตรกราบทูลว่า
พวกคนพาลพึงทำลายได้ทุกสิ่งทุกอย่าง
ถ้าเราไม่กีดกันไว้เสียก่อน
เพราะฉะนั้น ธีรชนพึงกีดกันพวกคนพาลไว้
ด้วยอาชญาอย่างรุนแรง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๓๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๔. เวปจิตติสูตร

ท้าวสักกะตรัสว่า
ผู้ใดรู้ว่าคนอื่นโกรธ เป็นผู้มีสติ สงบใจไว้ได้
เราเห็นว่า การสงบใจไว้ได้ของผู้นั้น
เป็นการกีดกันพวกคนพาลไว้ได้
มาตลีเทพบุตรกราบทูลว่า
ข้าแต่ท้าววาสวะ ข้าพระองค์เห็นคุณ
และโทษในความอดกลั้นนี้ว่า
เมื่อใด คนพาลย่อมเข้าใจบุคคลนั้นว่า
ผู้นี้ย่อมอดกลั้นต่อเราเพราะความกลัว
เมื่อนั้น คนมีปัญญาทราม ก็ยิ่งข่มขี่ผู้นั้น
เหมือนโคตัวที่มีกำลังข่มขี่โคตัวที่แพ้ให้หนีไป ฉะนั้น
ท้าวสักกะตรัสว่า
บุคคลจะเข้าใจว่า คนนี้อดกลั้นต่อเราได้
เพราะความกลัว หรือไม่ก็ตามที
ประโยชน์ทั้งหลายของตนเป็นอย่างยิ่ง
ประโยชน์อื่นที่ยิ่งกว่าขันติไม่มี
บุคคลใดเป็นคนแข็งแรง
อดกลั้นต่อผู้อ่อนแรงกว่าได้
ความอดกลั้นของบุคคลนั้น
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่าเป็นขันติอย่างยิ่ง
เพราะว่าบุคคลผู้อ่อนแรงจำต้องอดทนอยู่เอง
กำลังของบุคคลใดไม่เข้มแข็ง
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวถึงกำลังของบุคคลนั้นว่า ไม่ใช่กำลัง
เพราะว่าไม่มีบุคคลใดกล่าวโต้ตอบบุคคลผู้มีกำลัง
และมีธรรมคุ้มครองแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๓๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๕. สุภาสิตชยสูตร

ผู้ใดโกรธตอบต่อบุคคลผู้โกรธ
ผู้นั้นย่อมเลวกว่าผู้โกรธ เพราะการโกรธตอบนั้น
บุคคลผู้ไม่โกรธตอบต่อบุคคลผู้โกรธ
ชื่อว่าชนะสงครามที่ชนะได้ยาก
ผู้ใดรู้ว่าผู้อื่นโกรธ เป็นผู้มีสติ สงบใจไว้ได้
ผู้นั้นชื่อว่าประพฤติประโยชน์ของคนทั้ง ๒ ฝ่าย
คือฝ่ายตนและฝ่ายผู้อื่น
เมื่อผู้นั้นรักษาประโยชน์ของคนทั้ง ๒ ฝ่าย
คือฝ่ายตนและฝ่ายผู้อื่น
ชนทั้งหลายผู้ไม่ฉลาดในธรรมย่อมเข้าใจว่าเป็นคนโง่
ภิกษุทั้งหลาย ก็ท้าวสักกะจอมเทพนั้นอาศัยผลบุญของพระองค์เป็นอยู่
เสวยราชสมบัติอันมีความเป็นใหญ่ยิ่งด้วยความเป็นใหญ่แห่งเทพชั้นดาวดึงส์ ยังมา
พรรณนาคุณของขันติและโสรัจจะไว้ ก็ข้อที่พวกเธอบวชในธรรมวินัยที่เรากล่าว
ชอบแล้ว เป็นผู้อดทนและสงบเสงี่ยมได้ นี้จะพึงงดงามในธรรมวินัยนี้โดยแท้”

เวปจิตติสูตรที่ ๔ จบ

๕. สุภาสิตชยสูตร
ว่าด้วยการแข่งขันคำสุภาษิต

[๒๕๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น ฯลฯ พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัส
เรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว สงครามระหว่างเทพกับอสูรประชิดกัน
ครั้งนั้น ท้าวเวปจิตติจอมอสูรได้กล่าวกับท้าวสักกะจอมเทพดังนี้ว่า ‘ท่านจอมเทพ
เราจงมาชนะกันด้วยการกล่าวคำสุภาษิตเถิด’ ท้าวสักกะจอมเทพตรัสว่า ‘ท่านท้าว-
เวปจิตติ ตกลงตามนั้น พวกเรามาเอาชนะกันด้วยการกล่าวคำสุภาษิต’ ครั้งนั้น
พวกเทพและพวกอสูรได้ร่วมกันตั้งผู้ตัดสินโดยมีกติกาว่า ‘ผู้ตัดสินเหล่านี้จะต้องรู้
ทั่วถึงคำสุภาษิต และคำทุพภาษิต’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๓๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๕. สุภาสิตชยสูตร

ลำดับนั้น ท้าวเวปจิตติจอมอสูรได้กล่าวกับท้าวสักกะจอมเทพดังนี้ว่า
‘ท่านจอมเทพ ท่านจงตรัสคาถาขึ้นก่อน’ เมื่อท้าวเวปจิตติกล่าวเช่นนี้ ท้าวสักกะ
จอมเทพได้ตรัสกับท้าวเวปจิตติจอมอสูรว่า ‘ท่านท้าวเวปจิตติ ท่านเป็นเทพใน
เทวโลกนี้มาก่อน ฉะนั้น ขอให้ท่านจงกล่าวคาถาก่อน เมื่อท้าวสักกะตรัสเช่นนี้แล้ว
ท้าวเวปจิตติจอมอสูรได้กล่าวคาถานี้ว่า
พวกคนพาลพึงทำลายได้ทุกสิ่งทุกอย่าง
ถ้าเราไม่กีดกันไว้เสียก่อน
เพราะฉะนั้น ธีรชนพึงกีดกันพวกคนพาลไว้
ด้วยอาชญาอย่างรุนแรง
เมื่อท้าวเวปจิตติจอมอสูรได้กล่าวคาถานี้แล้ว พวกอสูรพากันอนุโมทนา
พวกเทพต่างก็พากันนิ่งเฉย ลำดับนั้น ท้าวเวปจิตติจอมอสูรได้กล่าวกับท้าวสักกะ
จอมเทพว่า ‘ท่านจอมเทพ ท่านจงกล่าวคาถาเถิด’ เมื่อท้าวเวปจิตติกล่าวเช่นนี้แล้ว
ท้าวสักกะจอมเทพได้กล่าวคาถานี้ว่า
ผู้ใดรู้ว่าผู้อื่นโกรธ เป็นผู้มีสติ สงบใจไว้ได้
เราเห็นว่า การสงบใจไว้ได้ของผู้นั้น
เป็นการกีดกันพวกคนพาลไว้ได้
เมื่อท้าวสักกะจอมเทพได้กล่าวคาถานี้แล้ว พวกเทพก็พากันอนุโมทนา พวกอสูร
ก็พากันนิ่งเฉย ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพได้ตรัสกับท้าวเวปจิตติจอมอสูรดังนี้ว่า
‘ท้าวเวปจิตติ ท่านจงกล่าวคาถาต่อไปเถิด’ เมื่อท้าวสักกะตรัสเช่นนี้ ท้าวเวปจิตติ
จอมอสูรได้กล่าวคาถานี้ว่า
ท่านท้าววาสวะ ข้าพเจ้าเห็นคุณ
และโทษในความอดกลั้นนี้ว่า
เมื่อใด คนพาลเข้าใจบุคคลนั้นว่า
ผู้นี้ย่อมอดกลั้นต่อเราเพราะความกลัว
เมื่อนั้น คนมีปัญญาทรามก็ยิ่งข่มขี่ผู้นั้น
เหมือนโคตัวที่มีกำลังข่มขี่โคตัวที่แพ้ให้หนีไป ฉะนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๓๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๕. สุภาสิตชยสูตร

เมื่อท้าวเวปจิตติจอมอสูรกล่าวคาถานี้แล้ว พวกอสูรพากันอนุโมทนา พวกเทพ
ต่างก็นิ่งเฉย ลำดับนั้น ท้าวเวปจิตติจอมอสูรได้กล่าวกับท้าวสักกะจอมเทพดังนี้ว่า
‘ท่านจอมเทพ ท่านจงกล่าวคาถาต่อไปเถิด’ เมื่อท้าวเวปจิตติจอมอสูรกล่าวเช่นนี้
ท้าวสักกะจอมเทพได้ตรัสคาถาเหล่านี้ว่า
บุคคลจะเข้าใจว่าผู้นี้อดกลั้นต่อเราได้
เพราะความกลัวหรือไม่ก็ตามที
ประโยชน์ทั้งหลายของตนเป็นอย่างยิ่ง
ประโยชน์ที่ยิ่งกว่าขันติไม่มี
บุคคลใดเป็นคนแข็งแรง
อดกลั้นต่อผู้อ่อนแรงกว่าได้
ความอดกลั้นของบุคคลนั้น
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่าเป็นขันติอย่างยิ่ง
เพราะว่าบุคคลผู้แข็งแรงจำต้องอดทนอยู่เอง
กำลังของบุคคลใดไม่เข้มแข็ง
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวถึงกำลังของบุคคลนั้นว่า ไม่ใช่กำลัง
เพราะว่าไม่มีบุคคลใดกล่าวโต้ตอบบุคคลผู้มีกำลัง
และมีธรรมคุ้มครองแล้ว
ผู้ใดโกรธตอบต่อบุคคลผู้โกรธ
ผู้นั้นย่อมเลวกว่าผู้โกรธ เพราะการโกรธตอบนั้น
บุคคลผู้ไม่โกรธตอบต่อบุคคลผู้โกรธ
ชื่อว่าชนะสงครามที่ชนะได้ยาก
ผู้ใดรู้ว่าผู้อื่นโกรธ เป็นผู้มีสติ สงบใจไว้ได้
ผู้นั้นชื่อว่าประพฤติประโยชน์ของคนทั้ง ๒ ฝ่าย
คือฝ่ายตนและฝ่ายผู้อื่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๓๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต] ๑. ปฐมวรรค ๖. กุลาวกสูตร

เมื่อผู้นั้นรักษาประโยชน์ของคนทั้ง ๒ ฝ่าย
คือฝ่ายตนและฝ่ายผู้อื่น
ชนทั้งหลายผู้ไม่ฉลาดในธรรมย่อมเข้าใจว่าเป็นคนโง่
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อท้าวสักกะจอมเทพได้ตรัสคาถาเหล่านี้แล้ว พวกเทพพากัน
อนุโมทนา พวกอสูรต่างก็นิ่งเฉย ครั้งนั้น ผู้ตัดสินทั้งของพวกเทพและพวกอสูรได้
กล่าวดังนี้ว่า ‘ท้าวเวปจิตติจอมอสูรตรัสคาถาทั้งหลายแล้ว แต่คาถาเหล่านั้นมีความ
เกี่ยวข้องกับอาชญา มีความเกี่ยวข้องกับศัสตรา เพราะเหตุนั้น จึงยังมีความ
ทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาท ส่วนท้าวสักกะจอมเทพตรัสคาถาทั้งหลายแล้ว
คาถาเหล่านั้นก็ไม่เกี่ยวข้องกับอาชญา ไม่เกี่ยวข้องกับศัสตรา เพราะเหตุนั้น จึงไม่มี
ความทะเลาะ ไม่มีความแก่งแย่ง ไม่มีความวิวาท ท้าวสักกะจอมเทพชนะเพราะได้
กล่าวคำสุภาษิต ชัยชนะด้วยการกล่าวคำสุภาษิต ได้เป็นของท้าวสักกะจอมเทพ
ด้วยประการฉะนี้”

สุภาสิตชยสูตรที่ ๕ จบ

๖. กุลาวกสูตร
ว่าด้วยรังนก

[๒๕๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว สงครามระหว่างเทพกับอสูรประชิดกัน
สงครามครั้งนั้นพวกอสูรเป็นฝ่ายชนะ พวกเทพเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ พวกเทพผู้พ่ายแพ้
ต่างพากันหนีไปทางทิศเหนือ พวกอสูรได้ชวนกันไล่ติดตามพวกเทพเหล่านั้นไปทันที
ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพได้ตรัสกับมาตลีสังคาหกเทพบุตรด้วยคาถาว่า
มาตลี เธอจงหลีกเลี่ยงรังนกในป่างิ้ว
โดยบ่ายหน้ารถกลับ
ถึงเราจะต้องสละชีวิตให้พวกอสูรก็ตามที
ขออย่าให้นกเหล่านี้พลัดพรากจากรังเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๓๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๗. นทุพภิยสูตร

ภิกษุทั้งหลาย มาตลีสังคาหกเทพบุตรรับพระดำรัสของท้าวสักกะจอมเทพว่า
‘ขอความเจริญจงมีแด่พระองค์’ แล้วให้รถซึ่งเทียมด้วยม้าอาชาไนย ๑,๐๐๐ ตัว
หันกลับ ครั้งนั้น พวกอสูรคิดว่า ‘บัดนี้ รถซึ่งเทียมด้วยม้าอาชาไนย ๑,๐๐๐ ตัว
ของท้าวสักกะจอมเทพหันกลับมาแล้ว พวกเทพคงจักทำสงครามกับพวกอสูร
เป็นครั้งที่ ๒ อีกแน่’ พวกอสูรต่างตกใจหนีกลับเข้าไปยังเมืองอสูร ชัยชนะครั้งนี้
เป็นชัยชนะเพราะธรรมอย่างแท้จริงของท้าวสักกะจอมเทพ ด้วยประการฉะนี้

กุลาวกสูตรที่ ๖ จบ

๗. นทุพภิยสูตร
ว่าด้วยการไม่ประทุษร้าย

[๒๕๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ท้าวสักกะจอมเทพทรงหลีกเร้นประทับ
พักผ่อนอยู่ในที่พักเกิดความรำพึงอย่างนี้ว่า ‘เราไม่ควรประทุษร้ายแม้แก่ผู้ที่เป็น
ข้าศึกต่อเรา’ ครั้งนั้น ท้าวเวปจิตติจอมอสูรได้ทราบความรำพึงของท้าวสักกะ
จอมเทพด้วยใจของตนแล้ว เข้าไปหาท้าวสักกะจอมเทพจนถึงที่ประทับ ท้าวสักกะ
จอมเทพได้ทอดพระเนตรเห็นท้าวเวปจิตติจอมอสูรมาแต่ไกลทีเดียว จึงได้ตรัสกับ
ท้าวเวปจิตติจอมอสูรดังนี้ว่า ‘หยุดเถิด ท่านท้าวเวปจิตติ ท่านถูกจับแล้ว’
ท้าวเวปจิตติถามว่า ‘ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านละทิ้งความคิดครั้งก่อนของท่าน
แล้วหรือ’ ท้าวสักกะตรัสว่า ‘ท่านท้าวเวปจิตติ ขอให้ท่านจงสาบานเพื่อที่จะไม่
ประทุษร้ายต่อเรา’
ท้าวเวปจิตติกล่าวคาถาว่า
ท่านท้าวสุชัมบดี บาปของคนพูดเท็จ
บาปของคนผู้ติเตียนพระอริยะ
บาปของคนผู้ประทุษร้ายต่อมิตร
และบาปของคนอกตัญญู
จงถูกต้องผู้ประทุษร้ายท่านเถิด

นทุพภิยสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๘. เวโรจนอสุรินทสูตร

๘. เวโรจนอสุรินทสูตร
ว่าด้วยท้าวเวโรจนะจอมอสูร

[๒๕๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคทรงหลีกเร้นประทับ
พักผ่อนอยู่ในที่พักกลางวัน ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพกับท้าวเวโรจนะจอมอสูร
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ แล้วได้ยืนพิงบานประตูคนละข้าง ลำดับนั้น
ท้าวเวโรจนะจอมอสูรได้กล่าวคาถานี้ ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
บุรุษควรพยายามไปจนกว่าประโยชน์จะสำเร็จ
ประโยชน์อันงดงามอยู่ที่ความสำเร็จ
นี่เป็นถ้อยคำของเวโรจนะ
ท้าวสักกะจอมเทพตรัสว่า
บุรุษควรพยายามไปจนกว่าประโยชน์จะสำเร็จ
ประโยชน์ทั้งหลายอันงดงามอยู่ที่ความสำเร็จ
ประโยชน์อื่นที่ยิ่งกว่าขันติไม่มี
ท้าวเวโรจนะจอมอสูรกล่าวว่า
สรรพสัตว์มีความต้องการในสิ่งนั้น ๆ ตามสมควร
ส่วนการบริโภคของสรรพสัตว์ มีการปรุงแต่งเป็นอย่างดี
ประโยชน์ทั้งหลายอันงดงามอยู่ที่ความสำเร็จ
นี้เป็นถ้อยคำของเวโรจนะ
ท้าวสักกะจอมเทพตรัสว่า
สรรพสัตว์มีความต้องการในสิ่งนั้น ๆ ตามสมควร
ส่วนการบริโภคของสรรพสัตว์ มีการปรุงแต่งเป็นอย่างดี
ประโยชน์ทั้งหลายอันงดงามอยู่ที่ความสำเร็จ
ประโยชน์อื่นที่ยิ่งกว่าขันติไม่มี

เวโรจนอสุรินทสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๙. อารัญญกสูตร

๙. อารัญญกสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้อยู่ในป่า

[๒๕๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ฤๅษีผู้มีศีล มีกัลยาณธรรมจำนวนมากอาศัย
อยู่ในกุฎีที่มุงด้วยใบไม้ในราวป่า ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพกับท้าวเวปจิตติ
จอมอสูร เข้าไปหาฤๅษีผู้มีศีล มีกัลยาณธรรมเหล่านั้นถึงที่อยู่ ครั้งนั้น ท้าวเวปจิตติ
จอมอสูร ทรงฉลองพระบาทหนาหลายชั้น ทรงพระขรรค์ มีผู้กั้นฉัตรให้ เข้าไปสู่
อาศรมทางประตูพิเศษ เข้าไปใกล้ฤๅษีผู้มีศีล มีกัลยาณธรรมเหล่านั้นห่างไม่ถึงวา
ส่วนท้าวสักกะจอมเทพทรงถอดฉลองพระบาท ประทานพระขรรค์ให้แก่ผู้อื่น รับสั่ง
ให้ลดฉัตร เสด็จเข้าไปทางอาศรมโดยทางประตูเข้าออก ประคองอัญชลีนอบน้อม
ฤๅษีผู้มีศีล มีกัลยาณธรรมเหล่านั้นแล้วอยู่ใต้ลม ครั้งนั้น ฤๅษีผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม
เหล่านั้น ได้กล่าวกับท้าวสักกะจอมเทพด้วยคาถาว่า
กลิ่นของฤๅษีผู้ประพฤติพรตมานาน
ย่อมฟุ้งจากกายไปตามลม
ท้าวสหัสนัยน์๑ พระองค์จงถอยไปจากที่นี้
ท้าวเทวราช กลิ่นของพวกฤๅษี ไม่สะอาด
ท้าวสักกะตรัสตอบว่า
กลิ่นของพวกฤๅษีผู้ประพฤติพรตมานาน
ย่อมฟุ้งจากกายไปตามลม
ท่านเจ้าข้า พวกข้าพเจ้าต่างก็มุ่งหวังกลิ่นนี้
เหมือนคนมุ่งหวังระเบียบดอกไม้อันวิจิตรบนศีรษะ ฉะนั้น
พวกเทพหามีความสำคัญในกลิ่น
ของผู้มีศีลนี้ว่า เป็นสิ่งปฏิกูลไม่

อารัญญกสูตรที่ ๙ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๑๐. สมุททกสูตร

๑๐. สมุททกสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้อยู่ใกล้ฝั่งสมุทร

[๒๕๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น ฯลฯ พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัส
เรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ฤๅษีผู้มีศีล มีกัลยาณธรรมจำนวนมาก
อาศัยอยู่ในกุฎีที่มุงด้วยใบไม้ใกล้ฝั่งสมุทร สมัยนั้น สงครามระหว่างพวกเทพกับ
อสูรประชิดกัน ครั้งนั้น ฤๅษีผู้มีศีล มีกัลยาณธรรมเหล่านั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า
‘พวกเทพดำรงอยู่ในธรรม พวกอสูรไม่ดำรงอยู่ในธรรม ภัยจากพวกอสูรพึงเกิด
แก่พวกเรา ทางที่ดีพวกเราพึงเข้าไปหาท้าวสมพรจอมอสูรแล้วขออภัยท่านเถิด’
ครั้งนั้น ฤๅษีผู้มีศีล มีกัลยาณธรรมเหล่านั้น ได้หายตัวจากกุฎีที่มุงด้วยใบไม้
ใกล้ฝั่งสมุทรไปปรากฏอยู่ตรงหน้าท้าวสมพรจอมอสูร เหมือนบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขน
ออกหรือคู้แขนเข้า ฉะนั้น ครั้งนั้น ฤๅษีผู้มีศีล มีกัลยาณธรรมเหล่านั้น ได้กล่าว
กับท้าวสมพรจอมอสูรด้วยคาถาว่า
พวกฤๅษีมาขออภัยกับท่านท้าวสมพร
การให้ภัยหรือให้อภัย ท่านกระทำได้โดยแท้
ท้าวสมพรจอมอสูรได้กล่าวว่า
ไม่มีการให้อภัยแก่พวกฤๅษี
ผู้ชั่วช้า ผู้คบหาท้าวสักกะ
เราให้ภัยเท่านั้นแก่พวกท่านผู้ขออภัย
พวกฤๅษีกล่าวว่า
ท่านให้ภัยเท่านั้นแก่พวกเราผู้ขออภัย
พวกเราขอรับเอาแต่อภัยอย่างเดียว
ส่วนภัยจงเป็นของท่านเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๓๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต]
๑. ปฐมวรรค รวมพระสูตรในวรรค

บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น
คนทำดีย่อมได้ดี ทำชั่วย่อมได้ชั่ว
พ่อ ท่านหว่านพืชลงไปแล้ว ท่านจักต้องเสวยผลของมัน
ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น ฤๅษีผู้มีศีล มีกัลยาณธรรมเหล่านั้น ได้สาปแช่งท้าว
สมพรจอมอสูรแล้วหายตัวไปต่อหน้าท้าวสมพรจอมอสูร ไปปรากฏอยู่ ณ กุฎีที่
มุงด้วยใบไม้ใกล้ฝั่งสมุทร เหมือนบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้า ฉะนั้น
ครั้งนั้น ท้าวสมพรจอมอสูรถูกฤๅษีผู้มีศีล มีกัลยาณธรรมสาปแช่งแล้ว ได้ยินว่า
ในคืนนั้น ตกใจหวาดหวั่นถึงสามครั้ง

สมุททกสูตรที่ ๑๐ จบ
วรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สุวีรสูตร ๒. สุสิมสูตร
๓. ธชัคคสูตร ๔. เวปจิตติสูตร
๕. สุภาสิตชยสูตร ๖. กุลาวกสูตร
๗. นทุพภิยสูตร ๘. เวโรจนอสุรินทสูตร
๙. อารัญญกสูตร ๑๐. สมุททกสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๑. ปฐมเทวสูตร

๒. ทุติยวรรค
หมวดที่ ๒
๑. ปฐมเทวสูตร
ว่าด้วยเทพ สูตรที่ ๑

[๒๕๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น ฯลฯ พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัส
เรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน
ได้สมาทานวัตตบท ๗ ประการอย่างบริบูรณ์ เพราะสมาทานวัตตบท ๗ ประการ
จึงได้เป็นท้าวสักกะ
วัตตบท ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เราพึงเลี้ยงมารดาและบิดาตลอดชีวิต
๒. เราพึงประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูลตลอดชีวิต
๓. เราพึงพูดจาแต่คำอ่อนหวานตลอดชีวิต
๔. เราไม่พึงพูดคำส่อเสียดตลอดชีวิต
๕. เราพึงมีใจปราศจากความตระหนี่ที่เป็นมลทิน อยู่ครองเรือน มีการ
บริจาคเป็นประจำ มีมือชุ่มเป็นนิตย์ ยินดีในการเสียสละ ควรที่ผู้
อื่นจะขอ ยินดีในการแจกจ่ายทานตลอดชีวิต
๖. เราพึงพูดแต่คำสัตย์ตลอดชีวิต
๗. เราไม่พึงโกรธตลอดชีวิต ถ้าแม้ความโกรธพึงเกิดขึ้นแก่เรา เราก็จะ
กำจัดโดยฉับพลันทันที
ภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน
ได้สมาทานวัตตบท ๗ ประการนี้อย่างบริบูรณ์ เพราะสมาทานวัตตบท ๗ ประการ
จึงได้เป็นท้าวสักกะ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๓๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๒. ทุติยเทวสูตร

พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา-
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
เทพชั้นดาวดึงส์กล่าวถึงนรชนผู้เลี้ยงมารดาและบิดา
มีปกติประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูล
เจรจาแต่คำอ่อนหวาน สมานมิตร ละคำส่อเสียด
ประกอบในอุบายกำจัดความตระหนี่ มีวาจาสัตย์
ครอบงำความโกรธได้นั้นแลว่า เป็นสัตบุรุษ

ปฐมเทวสูตรที่ ๑ จบ

๒. ทุติยเทวสูตร
ว่าด้วยเทพ สูตรที่ ๒

[๒๕๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาตรัสว่า ฯลฯ พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน
เป็นมาณพชื่อมฆะ เพราะเหตุนั้น จึงได้พระนามว่า ‘ท้าวมฆวาน’
ภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน ได้ให้
ทานมาก่อน เพราะเหตุนั้น จึงได้พระนามว่า ‘ท้าวปุรินททะ’
ภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน ได้ให้
ทานโดยเคารพ เพราะเหตุนั้น จึงได้พระนามว่า ‘ท้าวสักกะ’
ภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน ได้ให้
ที่พักอาศัย เพราะเหตุนั้น จึงได้พระนามว่า ‘ท้าววาสวะ’
ภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกะจอมเทพ ทรงคิดเนื้อความได้ตั้งพันโดยครู่เดียว
เพราะเหตุนั้น จึงได้พระนามว่า ‘ท้าวสหัสนัยน์’
ภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกะจอมเทพ ทรงมีนางอสุรกัญญานามว่าสุชา เป็น
ปชาบดี เพราะเหตุนั้น จึงได้พระนามว่า ‘ท้าวสุชัมบดี’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๓๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๒. ทุติยเทวสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกะจอมเทพ เสวยราชสมบัติอันมีความเป็นใหญ่ยิ่งด้วย
ความเป็นใหญ่แห่งเทพชั้นดาวดึงส์ เพราะเหตุนั้น จึงได้พระนามว่า ‘ท้าวเทวานมินทะ’
ภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน
ได้สมาทานวัตตบท ๗ ประการอย่างบริบูรณ์ เพราะสมาทานวัตตบท ๗ ประการจึง
ได้เป็นท้าวสักกะ
วัตตบท ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เราพึงเลี้ยงมารดาและบิดาตลอดชีวิต
๒. เราพึงประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูลตลอดชีวิต
๓. เราพึงพูดจาแต่คำอ่อนหวานตลอดชีวิต
๔. เราไม่พึงพูดคำส่อเสียดตลอดชีวิต
๕. เราพึงมีใจปราศจากความตระหนี่ที่เป็นมลทิน อยู่ครองเรือน มีการ
บริจาคเป็นประจำ มีมือชุ่มเป็นนิตย์ ยินดีในการเสียสละ ควรที่ผู้
อื่นจะขอ ยินดีในการแจกจ่ายทานตลอดชีวิต
๖. เราพึงพูดแต่คำสัตย์ตลอดชีวิต
๗. เราไม่พึงโกรธตลอดชีวิต ถ้าแม้ความโกรธพึงเกิดขึ้นแก่เรา เราก็จะ
กำจัดโดยฉับพลันทันที
ภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน
ได้สมาทานวัตตบท ๗ ประการนี้อย่างบริบูรณ์ เพราะสมาทานวัตตบท ๗ ประการ
จึงได้เป็นท้าวสักกะ”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ฯลฯ จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
เทพชั้นดาวดึงส์กล่าวถึงนรชนผู้เลี้ยงมารดาและบิดา
มีปกติประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูล
เจรจาแต่คำอ่อนหวาน สมานมิตร ละคำส่อเสียด
ประกอบในอุบายกำจัดความตระหนี่ มีวาจาสัตย์
ครอบงำความโกรธได้นั้นแลว่า เป็นสัตบุรุษ

ทุติยเทวสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๓. ตติยเทวสูตร

๓. ตติยเทวสูตร
ว่าด้วยเทพ สูตรที่ ๓

[๒๕๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน
เขตกรุงเวสาลี ครั้งนั้น เจ้าลิจฉวีนามว่ามหาลี เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคทรงเห็นท้าวสักกะจอมเทพหรือ
พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มหาลี ตถาคตเห็นท้าวสักกะจอมเทพ”
เจ้ามหาลีได้กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ผู้ที่พระองค์ทรงเห็นนั้น
คงเป็นรูปจำลองของท้าวสักกะเป็นแน่ เพราะว่าท้าวสักกะจอมเทพยากที่ใคร ๆ จะ
เห็นได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“มหาลี ตถาคตรู้จักท้าวสักกะด้วย รู้ธรรมที่ทำให้เป็นท้าวสักกะด้วย ทั้งยังรู้
ถึงธรรมที่ท้าวสักกะสมาทานแล้วได้เป็นท้าวสักกะด้วย
มหาลี ท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน เป็นมาณพ
ชื่อมฆะ เพราะเหตุนั้น จึงได้พระนามว่า ‘ท้าวมฆวาน’
มหาลี ท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน ได้ให้ทาน
มาก่อน เพราะเหตุนั้น จึงได้พระนามว่า ‘ท้าวปุรินททะ’
มหาลี ท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน ได้ให้ทาน
โดยเคารพ เพราะเหตุนั้น จึงได้พระนามว่า ‘ท้าวสักกะ’
มหาลี ท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน ได้ให้ที่พัก
อาศัย เพราะเหตุนั้น จึงได้พระนามว่า ‘ท้าววาสวะ’
มหาลี ท้าวสักกะจอมเทพ ทรงคิดเนื้อความตั้งพันได้โดยครู่เดียว เพราะเหตุนั้น
จึงได้พระนามว่า ‘ท้าวสหัสนัยน์’
มหาลี ท้าวสักกะจอมเทพ ทรงมีนางอสุรกัญญานามว่าสุชา เป็นปชาบดี
เพราะเหตุนั้น จึงได้พระนามว่า ‘ท้าวสุชัมบดี’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๓๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๓. ตติยเทวสูตร

มหาลี ท้าวสักกะจอมเทพ เสวยราชสมบัติอันมีความเป็นใหญ่ยิ่งด้วยความ
เป็นใหญ่แห่งเทพชั้นดาวดึงส์ เพราะเหตุนั้น จึงได้พระนามว่า ‘ท้าวเทวานมินทะ’
มหาลี ท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน ได้สมาทาน
วัตตบท ๗ ประการนี้อย่างบริบูรณ์ เพราะสมาทานวัตตบท ๗ ประการ จึงได้เป็น
ท้าวสักกะ
วัตตบท ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เราพึงเลี้ยงมารดาและบิดาตลอดชีวิต
๒. เราพึงประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูลตลอดชีวิต
๓. เราพึงพูดจาแต่คำอ่อนหวานตลอดชีวิต
๔. เราไม่พึงพูดคำส่อเสียดตลอดชีวิต
๕. เราพึงมีใจปราศจากความตระหนี่ที่เป็นมลทิน อยู่ครองเรือน มีการ
บริจาคเป็นประจำ มีมือชุ่มเป็นนิตย์ ยินดีในการเสียสละ ควรที่ผู้
อื่นจะขอ ยินดีในการแจกจ่ายทานตลอดชีวิต
๖. เราพึงพูดคำสัตย์ตลอดชีวิต
๗. เราไม่พึงโกรธตลอดชีวิต ถ้าแม้ความโกรธพึงเกิดขึ้นแก่เรา เราก็จะ
กำจัดโดยฉับพลันทันที
มหาลี ท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน ได้สมาทาน
วัตตบท ๗ ประการนี้ครบบริบูรณ์ เพราะสมาทานวัตตบท ๗ ประการ จึงได้เป็น
ท้าวสักกะ”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ฯลฯ จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
เทพชั้นดาวดึงส์กล่าวถึงนรชนผู้เลี้ยงมารดาและบิดา
มีปกติประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูล
เจรจาแต่คำอ่อนหวาน สมานมิตร ละคำส่อเสียด
ประกอบในอุบายกำจัดความตระหนี่ มีวาจาสัตย์
ครอบงำความโกรธได้นั้นแลว่า เป็นสัตบุรุษ

ตติยเทวสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต] ๒. ทุติยวรรค ๔. ทฬิททสูตร

๔. ทฬิททสูตร
ว่าด้วยผู้ขัดสน

[๒๖๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
เขตกรุงราชคฤห์ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัส
เรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ในกรุงราชคฤห์นี้เอง ได้มีบุรุษคนหนึ่งเป็น
คนขัดสน เป็นคนกำพร้า เป็นคนยากไร้ แต่เขายึดมั่นศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ
และปัญญา ในธรรมวินัยที่เราประกาศแล้ว หลังจากตายแล้วจึงเข้าถึงสุคติโลก-
สวรรค์ คือ ความเป็นสหายของเทพชั้นดาวดึงส์ เทพบุตรองค์นั้นรุ่งเรืองกว่าเทพ
เหล่าอื่นด้วยรัศมีและยศ ได้ยินว่า ในกาลครั้งนั้น พวกเทพชั้นดาวดึงส์พากัน
กล่าวโทษ ติเตียนว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ
เทพบุตรองค์นี้เมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน เป็นคนขัดสน เป็นคนกำพร้า
เป็นคนยากไร้ หลังจากตายแล้วจึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ คือ ความเป็นสหายของ
เทพชั้นดาวดึงส์ ย่อมรุ่งเรืองกว่าเทพเหล่าอื่นด้วยรัศมีและยศ”
ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพรับสั่งกับเทพชั้นดาวดึงส์ว่า ‘ท่านผู้
นิรทุกข์ ท่านทั้งหลายอย่ากล่าวโทษต่อเทพบุตรนี้เลย เทพบุตรนี้ เมื่อครั้งยังเป็น
มนุษย์ในกาลก่อน ยึดมั่นศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา ในธรรมวินัยที่พระ
ตถาคตประกาศแล้ว หลังจากตายแล้วจึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ คือ ความเป็นสหาย
ของเทพชั้นดาวดึงส์ ย่อมรุ่งเรืองกว่าเทพเหล่าอื่นด้วยรัศมีและยศ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๓๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๕. รามเณยยกสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อทรงยินดีกับพวกเทพชั้น
ดาวดึงส์ จึงได้ตรัสคาถาเหล่านี้ ในเวลานั้นว่า
ผู้ใดมีศรัทธาในพระตถาคตตั้งมั่นไม่หวั่นไหว
มีศีลงาม เป็นศีลที่พระอริยะชอบใจ๑และสรรเสริญ
มีความเลื่อมใสในพระสงฆ์ และมีความเห็นตรง๒
บัณฑิตทั้งหลายเรียกผู้นั้นว่า เป็นคนไม่ขัดสน
ชีวิตของเขาก็ไม่สูญเปล่า
เพราะฉะนั้น บุคคลผู้มีปัญญา เมื่อระลึกถึง
คำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ควรหมั่นประกอบศรัทธา
ศีล ความเลื่อมใส๓ และการเห็นธรรม๔”

ทฬิททสูตรที่ ๔ จบ

๕. รามเณยยกสูตร
ว่าด้วยสถานที่น่ารื่นรมย์

[๒๖๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วประทับยืนอยู่ ณ ที่สมควรได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า “สถานที่เช่นไรหนอเป็นสถานที่น่ารื่นรมย์”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต] ๒. ทุติยวรรค ๖. ยชมานสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสด้วยพระคาถาว่า
อารามอันวิจิตร ป่าอันวิจิตร
สระโบกขรณีที่สร้างอย่างดี
ยังไม่ถึงเศษ ๑ ส่วน ๑๖ แห่งภูมิสถานอันรื่นรมย์ของมนุษย์
พระอรหันต์ทั้งหลายอยู่ในที่ใด เป็นบ้านหรือเป็นป่า
เป็นที่ลุ่มหรือเป็นที่ดอนก็ตาม
ที่นั้นเป็นภูมิสถานที่น่ารื่นรมย์๑

รามเณยยกสูตรที่ ๕ จบ

๖. ยชมานสูตร
ว่าด้วยการบูชา

[๒๖๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น
ท้าวสักกะจอมเทพเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วประทับ
ยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
เมื่อมนุษย์ทั้งหลายผู้เป็นสัตว์
ปรารถนาบุญ บูชาอยู่ ทำบุญซึ่งให้เกิดผล
ทานที่ให้แล้วในที่ไหนมีผลมาก พระพุทธเจ้าข้า๒
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ท่านผู้ปฏิบัติดี ๔ จำพวก
ท่านผู้ตั้งอยู่ในผล ๔ จำพวก


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต] ๒. ทุติยวรรค ๗. วันทนาสูตร

นั่นคือพระสงฆ์ เป็นผู้ปฏิบัติตรง
ตั้งมั่นอยู่ในศีล สมาธิ และปัญญา
เมื่อมนุษย์ทั้งหลายผู้เป็นสัตว์
ปรารถนาบุญ บูชาอยู่ ทำบุญซึ่งให้เกิดผล
ทานที่ให้แล้วในพระสงฆ์มีผลมาก๑

ยชมานสูตรที่ ๖ จบ

๗. วันทนาสูตร
ว่าด้วยการถวายบังคม

[๒๖๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคทรงหลีกเร้นประทับพักผ่อนอยู่ใน
ที่พักกลางวัน ขณะนั้น ท้าวสักกะจอมเทพและท้าวสหัมบดีพรหมเสด็จเข้าไปเฝ้า
ถึงที่ประทับ ได้ประทับยืนพิงบานประตูคนละข้าง ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพ
ได้ตรัสคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้แกล้วกล้า ผู้ชนะสงครามแล้ว
ทรงปลงภาระลงแล้ว๒ ผู้ไม่มีหนี้
ขอพระองค์โปรดลุกขึ้น เสด็จจาริกไปในโลก
อนึ่ง ดวงพระทัยของพระองค์หลุดพ้นดีแล้ว
เหมือนดวงจันทร์ในวันเพ็ญ ฉะนั้น


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๘. ปฐมสักกนมัสสนสูตร

ท้าวสหัมบดีพรหมตรัสค้านว่า “จอมเทพ พระองค์ไม่ควรถวายบังคม
พระตถาคตอย่างนี้เลย แต่ควรจะถวายบังคมพระตถาคตอย่างนี้ว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้แกล้วกล้า
ผู้ชนะสงคราม ผู้นำหมู่ ผู้ไม่มีหนี้
ขอพระองค์โปรดลุกขึ้น เสด็จจาริกไปในโลก
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ขอพระองค์
จงทรงแสดงธรรมโปรดสัตว์โลกเถิด เพราะจักมีผู้รู้ธรรม๑”

วันทนสูตรที่ ๗ จบ

๘. ปฐมสักกนมัสสนสูตร
ว่าด้วยการนอบน้อมของท้าวสักกะ สูตรที่ ๑

[๒๖๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ณ ที่นั้น ฯลฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมี
มาแล้ว ท้าวสักกะจอมเทพตรัสกับมาตลีสังคาหกเทพบุตรว่า ‘สหายมาตลี ท่านจง
จัดเตรียมรถซึ่งเทียมด้วยม้าอาชาไนย ๑,๐๐๐ ตัว เราจะไปยังพื้นที่อุทยานเพื่อชมภูมิภาค
อันงดงาม’
มาตลีสังคาหกเทพบุตรทูลรับพระดำรัสแล้ว จัดเตรียมรถซึ่งเทียมด้วยม้า
อาชาไนย ๑,๐๐๐ ตัว เสร็จแล้วกราบทูลแก่ท้าวสักกะจอมเทพว่า ‘ข้าแต่พระองค์
ผู้นิรทุกข์ รถซึ่งเทียมด้วยม้าอาชาไนย ๑,๐๐๐ ตัว สำหรับพระองค์จัดเตรียมไว้
เสร็จแล้ว ขอพระองค์ทรงทราบกาลอันควรในบัดนี้เถิด’
ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพขณะเสด็จลงจากเวชยันต์ปราสาท ทรงประนมมือ
นอบน้อมทิศใหญ่ทั้ง ๔ ด้วยดี ครั้งนั้น มาตลีสังคาหกเทพบุตรได้กราบทูลท้าว
สักกะจอมเทพด้วยคาถาว่า


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๘. ปฐมสักกนมัสสนสูตร

พราหมณ์ทั้งหลายผู้จบไตรเพท
กษัตริย์ทั้งหลาย ณ ภูมิภาคทั้งหมด
ท้าวมหาราชทั้ง ๔ และทวยเทพผู้มียศชั้นไตรทศ
ย่อมนอบน้อมพระองค์
ข้าแต่ท้าวสักกะ เมื่อเป็นเช่นนั้น
พระองค์ทรงนอบน้อมท่านผู้ควรบูชาคนใด
ท่านผู้ควรบูชาคนนั้น คือใครเล่า
ท้าวสักกะตรัสว่า
พราหมณ์ทั้งหลายผู้จบไตรเภท
กษัตริย์ทั้งหลาย ณ ภูมิภาคทั้งหมด
ท้าวมหาราชทั้ง ๔ และทวยเทพผู้มียศชั้นชาวไตรทศ
ย่อมนอบน้อมท่านผู้ใด ซึ่งเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล
มีจิตตั้งมั่นตลอดกาลนาน ผู้บวชแล้วโดยชอบ
มีพรหมจรรย์เป็นเบื้องหน้า
คฤหัสถ์เหล่าใดเป็นผู้ทำบุญ
มีศีล เป็นอุบาสก เลี้ยงดูภรรยาโดยธรรม
มาตลี เรานอบน้อมคฤหัสถ์และนักบวชเหล่านั้น
มาตลีสังคาหกเทพบุตรกราบทูลว่า
ข้าแต่ท้าวสักกะ ได้ยินว่า
พระองค์ทรงนอบน้อมบุคคลเหล่าใด
บุคคลเหล่านั้นเป็นผู้ประเสริฐที่สุดในโลก
ข้าแต่ท้าววาสวะ พระองค์ทรงนอบน้อมบุคคลเหล่าใด
แม้ข้าพระองค์ก็ขอนอบน้อมบุคคลเหล่านั้นเหมือนกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๓๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๙. ทุติยสักกนมัสสนสูตร

ท้าวมฆวาสุชัมบดีเทวราช ผู้เป็นประมุข
ครั้นตรัสดังนี้แล้ว ทรงนอบน้อมทิศทั้ง ๔
เสด็จขึ้นราชรถกลับไป”

ปฐมสักกนมัสสนสูตรที่ ๘ จบ

๙. ทุติยสักกนมัสสนสูตร
ว่าด้วยการนอบน้อมของท้าวสักกะ สูตรที่ ๒

[๒๖๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ท้าวสักกะจอมเทพรับสั่งกับมาตลีสังคาหก-
เทพบุตรว่า ‘สหายมาตลี ท่านจงจัดเตรียมรถซึ่งเทียมด้วยม้าอาชาไนย ๑,๐๐๐ ตัว
เราจะไปยังพื้นที่อุทยานเพื่อชมภูมิภาคอันงดงาม’
มาตลีสังคาหกเทพบุตรทูลรับพระดำรัสแล้ว จัดเตรียมรถม้าซึ่งเทียมด้วย
ม้าอาชาไนย ๑,๐๐๐ ตัว เสร็จแล้วกราบทูลแก่ท้าวสักกะจอมเทพว่า ‘ข้าแต่พระองค์
ผู้นิรทุกข์ รถซึ่งเทียมด้วยม้าอาชาไนย ๑,๐๐๐ ตัว สำหรับพระองค์ จัดเตรียมไว้
เสร็จแล้ว ขอพระองค์ทรงทราบกาลอันควรในบัดนี้เถิด’
ได้ทราบว่า ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพขณะเสด็จลงจากเวชยันต์ปราสาท
ทรงประนมมือนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอยู่ ครั้งนั้น มาตลีสังคาหกเทพบุตรได้ทูล
ถามท้าวสักกะจอมเทพด้วยคาถาว่า
ข้าแต่ท้าววาสวะ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ย่อมนอบน้อมพระองค์เท่านั้น ข้าแต่ท้าวสักกะ
เมื่อเป็นเช่นนั้น พระองค์ทรงนอบน้อมท่านผู้ควรบูชาคนใด
ท่านผู้ควรบูชาคนนั้น คือใครเล่า
ท้าวสักกะตรัสตอบว่า
มาตลี พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใด
ในโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๓๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๙. ทุติยสักกนมัสสนสูตร

เรานอบน้อมพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ผู้เป็นศาสดา ผู้มีพระนามไม่ต่ำต้อย
มาตลี บุคคลเหล่าใดกำจัดราคะ โทสะ
และอวิชชาได้แล้ว บุคคลเหล่านั้นสิ้นอาสวะแล้ว
เป็นพระอรหันต์ เรานอบน้อมบุคคลเหล่านั้น
มาตลี บุคคลเหล่าใดกำจัดราคะ โทสะ
ก้าวล่วงอวิชชาได้ แต่ยังเป็นพระเสขะอยู่
ยินดีในธรรมอันเป็นเครื่องปราศจากการสั่งสม
เป็นผู้ไม่ประมาท ตามศึกษาอยู่
เรานอบน้อมบุคคลเหล่านั้น
มาตลีสังคาหกเทพบุตรกราบทูลว่า
ข้าแต่ท้าวสักกะ ได้ยินว่า
พระองค์ทรงนอบน้อมบุคคลเหล่าใด
บุคคลเหล่านั้นเป็นผู้ประเสริฐที่สุดในโลก
ข้าแต่ท้าววาสวะ พระองค์ทรงนอบน้อมบุคคลเหล่าใด
แม้ข้าพระองค์ก็ขอนอบน้อมบุคคลเหล่านั้นเหมือนกัน
ท้าวมฆวาสุชัมบดีเทวราช ผู้เป็นประมุข
ครั้นตรัสดังนี้แล้ว ทรงนอบน้อมพระผู้มีพระภาค
เสด็จขึ้นราชรถกลับไป”

ทุติยสักกนมัสสนสูตรที่ ๙ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๑๐. ตติยสักกนมัสสนสูตร

๑๐. ตติยสักกนมัสสนสูตร
ว่าด้วยการนอบน้อมของท้าวสักกะ สูตรที่ ๓

[๒๖๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ท้าวสักกะจอมเทพได้ตรัสกับมาตลีสังคาหก-
เทพบุตรว่า ‘สหายมาตลี ท่านจงจัดเตรียมรถซึ่งเทียมด้วยม้าอาชาไนย ๑,๐๐๐ ตัว
เราจะไปยังพื้นที่อุทยานเพื่อชมภูมิภาคอันงดงาม’
มาตลีสังคาหกเทพบุตรทูลรับพระดำรัสแล้ว จัดเตรียมรถซึ่งเทียมด้วยม้า
อาชาไนย ๑,๐๐๐ ตัว เสร็จแล้วกราบทูลแก่ท้าวสักกะจอมเทพว่า ‘ข้าแต่พระองค์
ผู้นิรทุกข์ รถซึ่งเทียมด้วยม้าอาชาไนย ๑,๐๐๐ ตัว สำหรับพระองค์จัดเตรียมไว้
เสร็จแล้ว ขอพระองค์ทรงทราบกาลอันควรในบัดนี้เถิด’
ได้ทราบว่า ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพขณะเสด็จลงจากเวชยันต์ปราสาท
ทรงประนมมือนอบน้อมภิกษุสงฆ์อยู่ ครั้งนั้น มาตลีสังคาหกเทพบุตรได้ทูลถามท้าว
สักกะจอมเทพด้วยคาถาว่า
นรชนผู้นอนทับกายอันเปื่อยเน่าเหล่านี้
นอบน้อมพระองค์เท่านั้น พวกเขาจมอยู่ในซากศพ๑
เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยความหิวและความกระหาย
ข้าแต่ท้าววาสวะ เพราะเหตุไรหนอ
พระองค์จึงทรงโปรดปรานท่านผู้ไม่มีเรือนเหล่านั้น
ขอพระองค์ตรัสบอกมรรยาทของฤๅษีทั้งหลาย
ข้าพระองค์ขอฟังพระดำรัสของพระองค์ พระเจ้าข้า


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๑๐. ตติยสักกนมัสสนสูตร

ท้าวสักกะตรัสตอบว่า
มาตลี เราโปรดปรานมรรยาท
ของท่านผู้รู้ที่ไม่มีเรือนเหล่านั้น
เพราะท่านเหล่านั้นเป็นผู้ไม่มีความห่วงใย
ในบ้านที่ท่านจากไป
บุคคลผู้จะเก็บข้าวเปลือก
ของท่านเหล่านั้นไว้ในฉางก็ไม่มี
จะเก็บไว้ในหม้อก็ไม่มี จะเก็บไว้ในกระเช้าก็ไม่มี
ท่านเหล่านั้นมีวัตรงาม
แสวงหาอาหารที่ผู้อื่นทำเสร็จแล้ว
เยียวยาอัตภาพด้วยอาหารนั้น
ท่านเหล่านั้นเป็นนักปราชญ์
กล่าวคำสุภาษิต เป็นผู้สงบ ประพฤติสม่ำเสมอ
มาตลี พวกเทวดายังโกรธกับอสูร
และสัตว์เป็นอันมากยังโกรธซึ่งกันและกัน
เมื่อเขายังโกรธกัน แต่ท่านเหล่านั้นไม่โกรธ
ดับ(ความโกรธ)เสียได้ในบุคคลผู้มีอาชญาในตน
เมื่อชนทั้งหลายยังมีความถือมั่น
ท่านเหล่านั้นไม่ถือมั่น
มาตลี เราจึงนอบน้อมท่านเหล่านั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๓๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต]
๒. ทุติยวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

มาตลีสังคาหกเทพบุตรกราบทูลว่า
ข้าแต่ท้าวสักกะ ได้ยินว่า
พระองค์ทรงนอบน้อมบุคคลเหล่าใด
บุคคลเหล่านั้นเป็นผู้ประเสริฐที่สุดในโลก
ข้าแต่ท้าววาสวะ พระองค์ทรงนอบน้อมบุคคลเหล่าใด
แม้ข้าพระองค์ก็ขอนอบน้อมบุคคลเหล่านั้นเหมือนกัน
ท้าวมฆวาสุชัมบดีเทวราช ผู้เป็นประมุข
ครั้นตรัสดังนี้แล้ว ทรงนอบน้อมภิกษุสงฆ์
เสด็จขึ้นราชรถกลับไป”

ตติยสักกนมัสสนสูตรที่ ๑๐ จบ
วรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมเทวสูตร ๒. ทุติยเทวสูตร
๓. ตติยเทวสูตร ๔. ทฬิททสูตร
๕. รามเณยยกสูตร ๖. ยชมานสูตร
๗. วันทนาสูตร ๘. ปฐมสักกนมัสสนสูตร
๙. ทุติยสักกนมัสสนสูตร ๑๐. ตติยสักกนมัสสนสูตร


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต] ๓. ตติยวรรค ๑. ฆัตวาสูตร

๓. ตติยวรรค
หมวดที่ ๓
๑. ฆัตวาสูตร
ว่าด้วยการฆ่า

[๒๖๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพเสด็จเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วประทับยืนอยู่ ณ ที่
สมควร ท้าวสักกะจอมเทพได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
บุคคลฆ่าอะไรได้จึงอยู่เป็นสุข
ฆ่าอะไรได้จึงไม่เศร้าโศก ข้าแต่พระโคดม
พระองค์ทรงพอพระทัยการฆ่าธรรมอย่างหนึ่ง คืออะไร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
บุคคลฆ่าความโกรธได้จึงอยู่เป็นสุข
ฆ่าความโกรธได้จึงไม่เศร้าโศก ท้าววาสวะ
พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญการฆ่าความโกรธ
ซึ่งมีรากเป็นพิษ มียอดหวาน
เพราะบุคคลฆ่าความโกรธนั้นได้แล้ว จึงไม่เศร้าโศก๑

ฆัตวาสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต]
๓. ตติยวรรค ๒. ทุพพัณณิยสูตร

๒. ทุพพัณณิยสูตร
ว่าด้วยยักษ์ผู้มีผิวพรรณไม่งาม

[๒๖๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ยักษ์ตนหนึ่งมี
ผิวพรรณไม่งาม ต่ำเตี้ย นั่งอยู่บนที่ประทับของท้าวสักกะจอมเทพ ได้ยินว่า ณ
ที่นั้น พวกเทพชั้นดาวดึงส์พากันกล่าวโทษตำหนิติเตียนว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย
น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ยักษ์ตนนี้มีผิวพรรณไม่งาม ต่ำเตี้ย นั่งอยู่บน
ที่ประทับของท้าวสักกะจอมเทพ’ พวกเทพชั้นดาวดึงส์กล่าวโทษตำหนิติเตียนด้วย
ประการใด ๆ ยักษ์ตนนั้นกลับเป็นผู้มีรูปงาม ทั้งน่าดูน่าชม และน่าเลื่อมใสยิ่งขึ้นกว่าเดิม
ด้วยประการนั้น ๆ
ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น พวกเทพชั้นดาวดึงส์พากันเข้าไปเฝ้าท้าวสักกะจอม
เทพถึงที่ประทับ ได้กราบทูลท้าวสักกะจอมเทพดังนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์
ขอประทานวโรกาส ยักษ์ตนหนึ่งมีผิวพรรณไม่งาม ต่ำเตี้ย นั่งอยู่บนที่ประทับของ
พระองค์ ได้ยินว่า ณ ที่นั้นพวกเทพชั้นดาวดึงส์พากันกล่าวโทษตำหนิติเตียนว่า
‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ยักษ์ตนนี้มีผิวพรรณไม่งาม
ต่ำเตี้ย นั่งอยู่บนที่ประทับของท้าวสักกะจอมเทพ’ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พวกเทพ
ชั้นดาวดึงส์กล่าวโทษตำหนิติเตียนด้วยประการใด ๆ ยักษ์ตนนั้นกลับเป็นผู้มีรูปงาม
ทั้งน่าชมและน่าเลื่อมใสยิ่งกว่าเดิม ด้วยประการนั้น ๆ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์
ยักษ์ตนนั้นคงเป็นผู้มีความโกรธเป็นอาหารเป็นแน่ทีเดียวพระเจ้าข้า’
ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพ เสด็จเข้าไปหายักษ์ผู้มีความโกรธ
เป็นอาหารนั้นจนถึงที่อยู่แล้วประนมมือไปทางที่ยักษ์ตนนั้นอยู่ ประกาศพระนาม ๓
ครั้งว่า ‘ท่านผู้นิรทุกข์ เราคือท้าวสักกะจอมเทพ ... ท่านผู้นิรทุกข์ เราคือท้าวสักกะ
จอมเทพ ... ภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกะจอมเทพทรงประกาศพระนามด้วยประการใด ๆ
ยักษ์ตนนั้นกลับมีผิวพรรณไม่งามและต่ำเตี้ยยิ่งกว่าเดิม ยักษ์ตนนั้นเป็นผู้มีผิวพรรณ
ไม่งาม และต่ำเตี้ยยิ่งกว่าเดิมแล้วได้หายตัวไป ณ ที่นั้นเอง’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๓๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต]
๓. ตติยวรรค ๓. สัมพริมายาสูตร

ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพประทับนั่งบนที่ประทับของพระองค์แล้ว เมื่อจะ
ทรงทำให้พวกเทพชั้นดาวดึงส์ยินดี จึงตรัสคาถาเหล่านี้ในเวลานั้นว่า
เราเป็นผู้มีจิตไม่ถูกโทสะกระทบกระทั่ง
เป็นผู้ที่ใคร ๆ จะชักนำไปไม่ได้ง่าย
เราไม่โกรธใครมานานแล้ว ความโกรธไม่ฝังอยู่ในใจเรา
ถึงเราโกรธก็ไม่กล่าวคำหยาบ และคำไม่ชอบเป็นอันขาด
เราเห็นประโยชน์ตน จึงบังคับตนได้”

ทุพพัณณิยสูตรที่ ๒ จบ

๓. สัมพริมายาสูตร
ว่าด้วยมายาของจอมอสูร

[๒๖๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ท้าวเวปจิตติจอมอสูรเจ็บไข้ ได้รับทุกข์
เจ็บไข้หนัก ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพเสด็จไปเยี่ยมท้าวเวปจิตติจอมอสูรถึงที่อยู่
ตรัสถามถึงความเจ็บไข้ ท้าวเวปจิตติจอมอสูรเห็นท้าวสักกะจอมเทพกำลังเสด็จมา
แต่ไกลเทียวได้กล่าวกับท้าวสักกะจอมเทพว่า ‘ท่านจอมเทพ ขอจงช่วยรักษาข้าพเจ้า
ด้วยเถิด’
ท้าวสักกะตรัสว่า ‘ท่านท้าวเวปจิตติ ขอเชิญบอกมายาของจอมอสูรให้
ข้าพเจ้าทราบก่อน’
ท้าวเวปจิตติกล่าวว่า ‘ท่านผู้นิรทุกข์ ข้าพเจ้ายังบอกท่านไม่ได้ จนกว่าจะได้
สอบถามพวกอสูรดูก่อน’
ลำดับนั้น ท้าวเวปจิตติจอมอสูรสอบถามพวกอสูรว่า ‘ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย
เราจะบอกมายาของจอมอสูรให้ท้าวสักกะจอมเทพทราบ’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๓๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต] ๓. ตติยวรรค ๔. อัจจยสูตร

พวกอสูรทูลว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พระองค์อย่าตรัสบอกมายาของ
จอมอสูรแก่ท้าวสักกะจอมเทพเลย’
ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น ท้าวเวปจิตติจอมอสูรได้กล่าวกับท้าวสักกะจอมเทพ
ด้วยคาถาว่า
ท่านท้าวมฆวาสุชัมบดีเทวราช
บุคคลผู้มีมายาย่อมเข้าถึงนรกครบ ๑๐๐ ปี
เหมือนจอมอสูร ฉะนั้น”

สัมพริมายาสูตรที่ ๓ จบ

๔. อัจจยสูตร
ว่าด้วยโทษ

[๒๗๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ภิกษุ ๒ รูปได้โต้เถียงกัน ในการ
โต้เถียงกันนั้น ภิกษุรูปหนึ่งได้พูดล่วงเกิน ครั้งนั้น ภิกษุผู้พูดล่วงเกินนั้นขอโทษ
ในที่อยู่ของภิกษุนั้น แต่ภิกษุนั้นไม่ยกโทษให้ ลำดับนั้น ภิกษุจำนวนมาก
พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่งอยู่ ณ ที่สมควร
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส
ภิกษุ ๒ รูปโต้เถียงกัน ในการโต้เถียงกันนั้น ภิกษุรูปหนึ่งได้พูดล่วงเกิน ลำดับนั้น
ภิกษุผู้พูดล่วงเกินขอโทษในที่อยู่ของภิกษุนั้น แต่ภิกษุนั้นไม่ยกโทษให้ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒ จำพวกนี้ คือ
๑. ผู้ไม่เห็นโทษว่าเป็นโทษ
๒. ผู้ไม่ยกโทษให้ตามสมควรแก่ธรรมเมื่อผู้อื่นขอโทษ
คนพาล ๒ จำพวกนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต ๒ จำพวกนี้ คือ
๑. ผู้เห็นโทษว่าเป็นโทษ
๒. ผู้ยกโทษให้ตามสมควรแก่ธรรมเมื่อผู้อื่นขอโทษ
บัณฑิต ๒ จำพวกนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๓๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต] ๓. ตติยวรรค ๕. อักโกธสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ท้าวสักกะจอมเทพเมื่อจะทรงยังเทพชั้น
ดาวดึงส์ให้พลอยยินดี ณ เทวสภาชื่อสุธรรมา จึงได้ตรัสคาถานี้ในเวลานั้นว่า
ขอความโกรธจงตกอยู่ในอำนาจของท่านทั้งหลาย
ขอความเสื่อมคลายในมิตตธรรมอย่าได้มีแก่ท่านทั้งหลาย
ท่านทั้งหลายอย่าได้ติเตียนผู้ที่ไม่ควรติเตียน๑
และอย่าได้พูดคำส่อเสียดเลย
ความโกรธเป็นดุจภูเขา ย่ำยีคนเลว ฉะนี้แล”

อัจจยสูตรที่ ๔ จบ

๕. อักโกธสูตร
ว่าด้วยความไม่โกรธ

[๒๗๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัส
เรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ท้าวสักกะจอมเทพเมื่อจะทรงทำให้เทพ
ชั้นดาวดึงส์ยินดี ณ เทวสภาชื่อสุธรรมา จึงได้ตรัสคาถานี้ในเวลานั้นว่า
ความโกรธอย่าได้ครอบงำท่านทั้งหลาย
และท่านทั้งหลายอย่าได้โกรธตอบต่อบุคคลผู้โกรธ
ความไม่โกรธและความไม่เบียดเบียน๒
ย่อมมีในท่านผู้ประเสริฐทุกเมื่อ
ความโกรธเป็นดุจภูเขา ย่ำยีคนเลว ฉะนี้แล”

อักโกธสูตรที่ ๕ จบ
วรรคที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต]
๓. ตติยวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ฆัตวาสูตร ๒. ทุพพัณณิยสูตร
๓. สัมพริมายาสูตร ๔. อัจจยสูตร
๕. อักโกธสูตร

พระสูตรว่าด้วยท้าวสักกะ ๕ สูตรนี้ พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐทรงแสดงไว้แล้ว

สักกสังยุต จบบริบูรณ์
สคาถวรรคที่ ๑ จบ

รวมสังยุตที่มีในสคาถวรรคนี้ คือ

๑. เทวตาสังยุต ๒. เทวปุตตสังยุต
๓. โกสลสังยุต ๔. มารสังยุต
๕. ภิกขุนีสังยุต ๖. พรหมสังยุต
๗. พราหมณสังยุต ๘. วังคีสสังยุต
๙. วนสังยุต ๑๐. ยักขสังยุต
๑๑. สักกสังยุต

สคาถวรรคสังยุต จบบริบูรณ์


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ สุตตันตปิฎกที่ ๐๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค จบ





eXTReMe Tracker