ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ



จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อความสะดวก และสวยงาม
(เฉพาะหน้าจอใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์)
กรุณาคลิก จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อให้กรอบ
ค้นข้อความ ปรากฎที่ด้านซ้ายของหน้า

พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ สุตตันตปิฎกที่ ๐๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๑. เทวทหสูตร

พระสุตตันตปิฎก
มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๑. เทวทหวรรค
หมวดว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่เทวทหนิคม
๑. เทวทหสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่เทวทหนิคม

วาทะของนิครนถ์

[๑] ข้าพเจ้า๑ได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของเจ้าศากยะชื่อเทวทหะ
แคว้นสักกะ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้
ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า
‘บุรุษบุคคลนี้เสวยสุขบ้าง เสวยทุกข์บ้าง เสวยอทุกขมสุขบ้าง ทั้งหมดนั้น
เพราะเหตุแห่งกรรมที่ทำไว้ในชาติก่อน เพราะกรรมเก่าสิ้นสุดด้วยตบะ(การบำเพ็ญ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๑. เทวทหสูตร

เพียรอย่างหนัก) เพราะไม่ทำกรรมใหม่ จึงไม่ตกอยู่ใต้อำนาจ(แห่งกรรม)ต่อไป
เพราะไม่เป็นไปตามอำนาจแห่งกรรมต่อไป กรรมจึงสิ้นไป เพราะกรรมสิ้นไป
ทุกข์จึงสิ้นไป เพราะทุกข์สิ้นไป เวทนาจึงสิ้นไป เพราะเวทนาสิ้นไป ทุกข์ทั้งปวง
จึงจักเป็นอันสลายไป‘๑ นิครนถ์ทั้งหลาย๒เป็นผู้มีวาทะอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย เราเข้าไปหานิครนถ์ทั้งหลายผู้มีวาทะอย่างนี้ แล้วถาม
อย่างนี้ว่า ‘นิครนถ์ผู้มีอายุทั้งหลาย ได้ยินว่า ท่านทั้งหลายมีวาทะอย่างนี้
มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘บุรุษบุคคลนี้เสวยสุขบ้าง เสวยทุกข์บ้าง เสวยอทุกขมสุขบ้าง
ทั้งหมดนั้น เพราะเหตุแห่งกรรมที่ทำไว้ในชาติก่อน เพราะกรรมเก่าสิ้นสุดด้วยตบะ
เพราะไม่ทำกรรมใหม่ จึงไม่ตกอยู่ใต้อำนาจ(แห่งกรรม)ต่อไป เพราะไม่เป็นไปตาม
อำนาจแห่งกรรมต่อไป กรรมจึงสิ้นไป เพราะกรรมสิ้นไป ทุกข์จึงสิ้นไป เพราะ
ทุกข์สิ้นไป เวทนาจึงสิ้นไป เพราะเวทนาสิ้นไป ทุกข์ทั้งปวงจึงจักเป็นอันสลายไป’
จริงหรือ’ นิครนถ์เหล่านั้นถูกเราถามอย่างนี้แล้ว ก็ยังปฏิญญาว่า ‘ใช่’
เราจึงถามนิครนถ์เหล่านั้นอย่างนี้ว่า ‘นิครนถ์ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย
ทราบหรือว่า ‘เราทั้งหลายได้มีแล้วในชาติก่อน มิใช่ไม่ได้มีแล้ว’
นิครนถ์เหล่านั้นตอบว่า ‘ไม่ทราบ ท่านผู้มีอายุ’
‘นิครนถ์ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายทราบหรือว่า ‘เราทั้งหลายได้ทำ
บาปกรรมไว้ในชาติก่อน มิใช่ไม่ได้ทำไว้’
‘ไม่ทราบ ท่านผู้มีอายุ’
‘นิครนถ์ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายทราบหรือว่า ‘เราทั้งหลายได้ทำ
บาปกรรมไว้อย่างนั้นบ้าง อย่างนี้บ้าง’
‘ไม่ทราบ ท่านผู้มีอายุ’


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๑. เทวทหสูตร

‘นิครนถ์ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายทราบหรือว่า ‘ทุกข์ประมาณเท่านี้
สลายไปแล้ว ทุกข์ประมาณเท่านี้เราพึงให้สลายไป หรือเมื่อทุกข์ประมาณเท่านี้
สลายไปแล้ว ทุกข์ทั้งปวงจึงจักเป็นอันสลายไป’
‘ไม่ทราบ ท่านผู้มีอายุ’
‘นิครนถ์ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายทราบการละอกุศลธรรมและการ
บำเพ็ญกุศลธรรมในปัจจุบันหรือ’
‘ไม่ทราบ ท่านผู้มีอายุ’
[๒] ‘นิครนถ์ผู้มีอายุทั้งหลาย ได้ยินว่า ท่านทั้งหลายไม่ทราบดังนี้ว่า ‘เรา
ทั้งหลายได้มีแล้วในชาติก่อน มิใช่ไม่ได้มีแล้ว’
ไม่ทราบว่า ‘เราทั้งหลายได้ทำบาปกรรมไว้ในชาติก่อน มิใช่ไม่ได้ทำไว้’
ไม่ทราบว่า ‘เราทั้งหลายได้ทำบาปกรรมไว้อย่างนั้นบ้าง อย่างนี้บ้าง’
ไม่ทราบว่า ‘ทุกข์ประมาณเท่านี้สลายไปแล้ว ทุกข์ประมาณเท่านี้เราพึงให้สลายไป
หรือเมื่อทุกข์ประมาณเท่านี้สลายไปแล้ว ทุกข์ทั้งปวงจึงจักเป็นอันสลายไป’
ท่านทั้งหลายไม่ทราบการละอกุศลธรรมและการบำเพ็ญกุศลธรรมในปัจจุบัน
เมื่อเป็นเช่นนี้ นิครนถ์ผู้มีอายุทั้งหลายจึงไม่ควรพยากรณ์ว่า ‘บุรุษบุคคลนี้เสวยสุข
บ้าง เสวยทุกข์บ้าง เสวยอทุกขมสุขบ้าง ทั้งหมดนั้น เพราะเหตุแห่งกรรมที่ทำไว้
ในชาติก่อน เพราะกรรมเก่าสิ้นสุดด้วยตบะ เพราะไม่ทำกรรมใหม่ จึงไม่ตกอยู่ใต้
อำนาจ(แห่งกรรม)ต่อไป เพราะไม่เป็นไปตามอำนาจแห่งกรรมต่อไป กรรมจึงสิ้นไป
เพราะกรรมสิ้นไป ทุกข์จึงสิ้นไป เพราะทุกข์สิ้นไป เวทนาจึงสิ้นไป เพราะเวทนา
สิ้นไป ทุกข์ทั้งปวงจึงจักเป็นอันสลายไป’
นิครนถ์ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายพึงทราบว่า ‘เราทั้งหลายได้มีแล้ว
ในชาติก่อน มิใช่ไม่ได้มีแล้ว’
พึงทราบว่า ‘เราทั้งหลายได้ทำบาปกรรมไว้ในชาติก่อน มิใช่ไม่ได้ทำไว้’
พึงทราบว่า ‘เราทั้งหลายได้ทำบาปกรรมไว้อย่างนั้นบ้าง อย่างนี้บ้าง’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๑. เทวทหสูตร

พึงทราบว่า ‘ทุกข์ประมาณเท่านี้สลายไปแล้ว ทุกข์ประมาณเท่านี้เราพึงให้
สลายไป หรือเมื่อทุกข์ประมาณเท่านี้สลายไปแล้ว ทุกข์ทั้งปวงจึงจักเป็นอันสลายไป’
ท่านทั้งหลายพึงทราบการละอกุศลธรรมและการบำเพ็ญกุศลธรรมในปัจจุบัน๑
เมื่อเป็นเช่นนี้ นิครนถ์ผู้มีอายุทั้งหลายจึงควรพยากรณ์ว่า ‘บุรุษบุคคลนี้เสวย
สุขบ้าง เสวยทุกข์บ้าง เสวยอทุกขมสุขบ้าง ทั้งหมดนั้น เพราะเหตุแห่งกรรมที่
ทำไว้ในชาติก่อน เพราะกรรมเก่าสิ้นสุดด้วยตบะ เพราะไม่ทำกรรมใหม่ จึงไม่ตก
อยู่ใต้อำนาจ(แห่งกรรม)ต่อไป เพราะไม่เป็นไปตามอำนาจแห่งกรรมต่อไป กรรม
จึงสิ้นไป เพราะกรรมสิ้นไป ทุกข์จึงสิ้นไป เพราะทุกข์สิ้นไป เวทนาจึงสิ้นไป
เพราะเวทนาสิ้นไป ทุกข์ทั้งปวงจึงจักเป็นอันสลายไป’
[๓] นิครนถ์ผู้มีอายุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษถูกยิงด้วยลูกศรอาบยาพิษ
อย่างร้ายแรง เพราะเหตุแห่งการถูกลูกศรแทง บุรุษนั้นพึงเสวยทุกขเวทนากล้า
เผ็ดร้อน มิตรอำมาตย์ ญาติสาโลหิต๒ของเขาจึงหาหมอผ่าตัดมารักษา หมอ
ผ่าตัดนั้นใช้มีดผ่าปากแผลของบุรุษนั้น เพราะเหตุแห่งการใช้มีดผ่าปากแผล บุรุษ
นั้นพึงเสวยทุกขเวทนากล้า เผ็ดร้อน หมอผ่าตัดนั้นจึงใช้เครื่องมือตรวจหาลูกศร
(ในแผล)ของเขา เพราะเหตุแห่งการตรวจหาลูกศร บุรุษนั้นพึงเสวยทุกขเวทนา
กล้า เผ็ดร้อน หมอผ่าตัดนั้นจึงถอนลูกศรออก เพราะเหตุแห่งการถอนลูกศรออก
บุรุษนั้นพึงเสวยทุกขเวทนากล้า เผ็ดร้อน หมอผ่าตัดนั้นใส่ยาถอนพิษที่ปากแผล
เพราะเหตุแห่งการใส่ยาถอนพิษที่ปากแผล บุรุษนั้นพึงเสวยทุกขเวทนากล้า เผ็ดร้อน
ต่อมา เพราะบาดแผลหาย มีผิวหนังเรียบสนิท บุรุษนั้นจึงหายโรค มีความสุข
มีความเสรี อยู่ตามลำพังได้ เดินได้ตามปรารถนา เขาคิดอย่างนี้ว่า ‘เมื่อก่อนเรา
ถูกยิงด้วยลูกศรอาบยาพิษอย่างร้ายแรง เพราะเหตุแห่งการถูกลูกศรแทง เรานั้น


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๑. เทวทหสูตร

ได้เสวยทุกขเวทนากล้า เผ็ดร้อน มิตรอำมาตย์ ญาติสาโลหิตของเราจึงหาหมอ
ผ่าตัดมารักษา หมอผ่าตัดนั้นใช้มีดผ่าปากแผลของเรา เพราะเหตุแห่งการใช้มีด
ผ่าปากแผล เรานั้นได้เสวยทุกขเวทนากล้า เผ็ดร้อน หมอผ่าตัดนั้นจึงใช้เครื่องมือ
ตรวจหาลูกศร(ในแผล)ของเรา เพราะเหตุแห่งการตรวจหาลูกศร เรานั้นได้เสวย
ทุกขเวทนากล้า เผ็ดร้อน หมอผ่าตัดนั้นได้ถอนลูกศรออก เพราะเหตุแห่งการ
ถอนลูกศรออก เรานั้นได้เสวยทุกขเวทนากล้า เผ็ดร้อน หมอผ่าตัดนั้นใส่ยาถอน
พิษที่ปากแผล เพราะเหตุแห่งการใส่ยาถอนพิษที่ปากแผล เรานั้นได้เสวย
ทุกขเวทนากล้า เผ็ดร้อน บัดนี้ เพราะบาดแผลหาย มีผิวหนังเรียบสนิท เรานั้น
จึงหายโรค มีความสุข มีความเสรี อยู่ตามลำพังได้ เดินได้ตามปรารถนา’ แม้ฉันใด
นิครนถ์ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายพึงทราบว่า ‘เราทั้งหลายได้มีแล้ว
ในชาติก่อน มิใช่ไม่ได้มีแล้ว’
พึงทราบว่า ‘เราทั้งหลายได้ทำบาปกรรมไว้ในชาติก่อน มิใช่ไม่ได้ทำไว้’
พึงทราบว่า ‘เราทั้งหลายได้ทำบาปกรรมไว้อย่างนั้นบ้าง อย่างนี้บ้าง’
พึงทราบว่า ‘ทุกข์ประมาณเท่านี้สลายไปแล้ว ทุกข์ประมาณเท่านี้เราพึงให้
สลายไป หรือเมื่อทุกข์ประมาณเท่านี้สลายไปแล้ว ทุกข์ทั้งปวงจึงจักเป็นอันสลายไป’
ท่านทั้งหลายพึงทราบการละอกุศลธรรมและการบำเพ็ญกุศลธรรมในปัจจุบัน
เมื่อเป็นเช่นนี้ นิครนถ์ผู้มีอายุทั้งหลายจึงควรพยากรณ์ว่า ‘บุรุษบุคคลนี้เสวยสุขบ้าง
เสวยทุกข์บ้าง เสวยอทุกขมสุขบ้าง ทั้งหมดนั้น เพราะเหตุแห่งกรรมที่ทำไว้ใน
ชาติก่อน เพราะกรรมเก่าสิ้นสุดด้วยตบะ เพราะไม่ทำกรรมใหม่ จึงไม่ตกอยู่ใต้
อำนาจ(แห่งกรรม)ต่อไป เพราะไม่เป็นไปตามอำนาจแห่งกรรมต่อไป กรรมจึงสิ้นไป
เพราะกรรมสิ้นไป ทุกข์จึงสิ้นไป เพราะทุกข์สิ้นไป เวทนาจึงสิ้นไป เพราะเวทนาสิ้นไป
ทุกข์ทั้งปวงจึงจักเป็นอันสลายไป’ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
นิครนถ์ผู้มีอายุทั้งหลาย แต่เพราะเหตุที่ท่านทั้งหลายไม่ทราบว่า ‘เรา
ทั้งหลายได้มีแล้วในชาติก่อน มิใช่ไม่ได้มีแล้ว’
ไม่ทราบว่า ‘เราทั้งหลายได้ทำบาปกรรมไว้ในชาติก่อน มิใช่ไม่ได้ทำไว้’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๑. เทวทหสูตร

ไม่ทราบว่า ‘เราทั้งหลายได้ทำบาปกรรมไว้อย่างนั้นบ้าง อย่างนี้บ้าง’
ไม่ทราบว่า ‘ทุกข์ประมาณเท่านี้สลายไปแล้ว ทุกข์ประมาณเท่านี้เราพึงให้
สลายไป หรือเมื่อทุกข์ประมาณเท่านี้สลายไปแล้ว ทุกข์ทั้งปวงจึงจักเป็นอัน
สลายไป’
ท่านทั้งหลายไม่ทราบการละอกุศลธรรมและการบำเพ็ญกุศลธรรมทั้งหลายใน
ปัจจุบัน ฉะนั้น นิครนถ์ผู้มีอายุทั้งหลายจึงไม่ควรพยากรณ์ว่า ‘บุรุษบุคคลนี้เสวย
สุขบ้าง เสวยทุกข์บ้าง เสวยอทุกขมสุขบ้าง ทั้งหมดนั้น เพราะเหตุแห่งกรรมที่
ทำไว้ในชาติก่อน เพราะกรรมเก่าสิ้นสุดด้วยตบะ เพราะไม่ทำกรรมใหม่ จึงไม่ตก
อยู่ใต้อำนาจ(แห่งกรรม)ต่อไป เพราะไม่เป็นไปตามอำนาจแห่งกรรมต่อไป กรรม
จึงสิ้นไป เพราะกรรมสิ้นไป ทุกข์จึงสิ้นไป เพราะทุกข์สิ้นไป เวทนาจึงสิ้นไป
เพราะเวทนาสิ้นไป ทุกข์ทั้งปวงจึงจักเป็นอันสลายไป’
[๔] ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรากล่าวอย่างนี้แล้ว นิครนถ์เหล่านั้นได้กล่าวกับ
เราว่า ‘ท่านผู้มีอายุ นิครนถ์ นาฏบุตรเป็นสัพพัญญู(ผู้รู้ธรรมทั้งปวง) เห็นสิ่งทั้งปวง
ปฏิญญาญาณทัสสนะ๑อย่างเบ็ดเสร็จว่า ‘เมื่อเราเดิน ยืน หลับ และตื่นอยู่
ญาณทัสสนะได้ปรากฏต่อเนื่องตลอดไป’ นิครนถ์ นาฏบุตรนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า
‘นิครนถ์ผู้มีอายุทั้งหลาย บาปกรรมที่ท่านทั้งหลายทำไว้ในชาติก่อนมีอยู่ ท่าน
ทั้งหลายจงสลัดบาปกรรมนั้น ด้วยปฏิปทาที่ทำได้ยากเผ็ดร้อนนี้ การที่ท่าน
ทั้งหลายสำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจ ในบัดนี้นั้น ชื่อว่าเป็นการไม่กระทำ
บาปกรรมต่อไป เพราะกรรมเก่าสิ้นสุดด้วยตบะ เพราะไม่ทำกรรมใหม่ จึงไม่ตก
อยู่ใต้อำนาจ(แห่งกรรม)ต่อไป เพราะไม่เป็นไปตามอำนาจแห่งกรรมต่อไป กรรม
จึงสิ้นไป เพราะกรรมสิ้นไป ทุกข์จึงสิ้นไป เพราะทุกข์สิ้นไป เวทนาจึงสิ้นไป
เพราะเวทนาสิ้นไป ทุกข์ทั้งปวงจึงจักเป็นอันสลายไป’ คำที่นิครนถ์ นาฏบุตร
กล่าวแล้วนั้นถูกใจ และชอบใจข้าพเจ้าทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าทั้งหลาย
จึงมีใจยินดี‘๒


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๑. เทวทหสูตร

[๕] ภิกษุทั้งหลาย เมื่อนิครนถ์เหล่านั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว เราได้กล่าวกับ
นิครนถ์เหล่านั้นว่า
‘นิครนถ์ผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้มีผล ๒ อย่างในปัจจุบัน
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ศรัทธา (ความเชื่อ)
๒. รุจิ (ความชอบใจ)
๓. อนุสสวะ (การฟังตามกันมา)
๔. อาการปริวิตก (ความตรึกตามอาการ)
๕. ทิฏฐินิชฌานขันติ (ความเข้ากันได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้)

นิครนถ์ผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ มีผล ๒ อย่างในปัจจุบัน๑
บรรดาธรรมทั้ง ๕ ประการนั้น นิครนถ์ผู้มีอายุทั้งหลายมีความเชื่อ มี
ความชอบใจ มีการฟังตามกันมา มีความตรึกตามอาการ มีความเข้ากันได้กับ
ทฤษฎีที่พินิจไว้ ในศาสดาผู้มีวาทะที่เป็นส่วนอดีต อย่างไร’
ภิกษุทั้งหลาย เรามีวาทะอย่างนี้ ก็ไม่พิจารณาเห็นการโต้ตอบวาทะอันชอบ
ธรรมแม้สักนิดในนิครนถ์ทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง เรากล่าวกับนิครนถ์เหล่านั้นอย่างนี้ว่า
‘นิครนถ์ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือสมัยใด
ท่านทั้งหลายมีความพยายามอย่างแรงกล้า มีความเพียรอย่างแรงกล้า สมัยนั้น
ท่านทั้งหลายพึงเสวยทุกขเวทนากล้า เผ็ดร้อน ซึ่งเกิดจากความเพียรพยายาม
อย่างแรงกล้า แต่สมัยใด ท่านทั้งหลายไม่มีความพยายามอย่างแรงกล้า ไม่มี
ความเพียรอย่างแรงกล้า สมัยนั้น ท่านทั้งหลายก็ไม่พึงเสวยทุกขเวทนากล้า เผ็ด
ร้อน ซึ่งเกิดจากความเพียรพยายามอย่างแรงกล้า’


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๑. เทวทหสูตร

นิครนถ์เหล่านั้นรับว่า ‘ท่านพระโคดม สมัยใด ข้าพเจ้าทั้งหลายมีความ
พยายามอย่างแรงกล้า มีความเพียรอย่างแรงกล้า สมัยนั้น ข้าพเจ้าทั้งหลายก็
เสวยทุกขเวทนากล้า เผ็ดร้อน ซึ่งเกิดจากความเพียรพยายามอย่างแรงกล้า แต่
สมัยใด ข้าพเจ้าทั้งหลายไม่มีความพยายามอย่างแรงกล้า ไม่มีความเพียรอย่างแรงกล้า
สมัยนั้น ข้าพเจ้าทั้งหลายก็ไม่เสวยทุกขเวทนากล้า เผ็ดร้อน ซึ่งเกิดจากความ
เพียรพยายามอย่างแรงกล้า’
[๖] เรากล่าวดังนี้ว่า ‘นิครนถ์ผู้มีอายุทั้งหลาย ได้ยินว่า สมัยใด ท่าน
ทั้งหลายมีความพยายามอย่างแรงกล้า มีความเพียรอย่างแรงกล้า สมัยนั้น ท่าน
ทั้งหลายพึงเสวยทุกขเวทนากล้า เผ็ดร้อน ซึ่งเกิดจากความเพียรพยายามอย่าง
แรงกล้า แต่สมัยใด ท่านทั้งหลายไม่มีความพยายามอย่างแรงกล้า ไม่มีความ
เพียรอย่างแรงกล้า สมัยนั้น ท่านทั้งหลายก็ไม่พึงเสวยทุกขเวทนากล้า เผ็ดร้อน
ซึ่งเกิดจากความเพียรพยายามอย่างแรงกล้า เมื่อเป็นเช่นนี้ นิครนถ์ผู้มีอายุ
ทั้งหลายจึงไม่ควรพยากรณ์ว่า ‘บุรุษบุคคลนี้เสวยสุขบ้าง เสวยทุกข์บ้าง เสวย
อทุกขมสุขบ้าง ทั้งหมดนั้น เพราะเหตุแห่งกรรมที่ทำไว้ในชาติก่อน เพราะกรรม
เก่าสิ้นสุดด้วยตบะ เพราะไม่ทำกรรมใหม่ จึงไม่ตกอยู่ใต้อำนาจ(แห่งกรรม)ต่อไป
เพราะไม่เป็นไปตามอำนาจแห่งกรรมต่อไป กรรมจึงสิ้นไป เพราะกรรมสิ้นไป
ทุกข์จึงสิ้นไป เพราะทุกข์สิ้นไป เวทนาจึงสิ้นไป เพราะเวทนาสิ้นไป ทุกข์ทั้งปวง
จึงจักเป็นอันสลายไป’
นิครนถ์ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าสมัยใด ท่านทั้งหลายมีความพยายามอย่าง
แรงกล้า มีความเพียรอย่างแรงกล้า สมัยนั้น ทุกขเวทนากล้า เผ็ดร้อน ซึ่งเกิด
จากความเพียรพยายามอย่างแรงกล้า พึงหยุดได้เอง แต่สมัยใด ท่านทั้งหลาย
ไม่มีความพยายามอย่างแรงกล้า ไม่มีความเพียรอย่างแรงกล้า สมัยนั้น ทุกขเวทนา
กล้า เผ็ดร้อน ซึ่งเกิดจากความเพียรพยายามอย่างแรงกล้า พึงหยุดได้เอง เมื่อ
เป็นเช่นนี้ นิครนถ์ผู้มีอายุทั้งหลายจึงควรพยากรณ์ว่า ‘บุรุษบุคคลนี้เสวยสุขบ้าง
เสวยทุกข์บ้าง เสวยอทุกขมสุขบ้าง ทั้งหมดนั้น เพราะเหตุแห่งกรรมที่ทำไว้ใน
ชาติก่อน เพราะกรรมเก่าสิ้นสุดด้วยตบะ เพราะไม่ทำกรรมใหม่ จึงไม่ตกอยู่ใต้
อำนาจ(แห่งกรรม)ต่อไป เพราะไม่เป็นไปตามอำนาจแห่งกรรมต่อไป กรรมจึงสิ้นไป
เพราะกรรมสิ้นไป ทุกข์จึงสิ้นไป เพราะทุกข์สิ้นไป เวทนาจึงสิ้นไป เพราะเวทนา
สิ้นไป ทุกข์ทั้งปวงจึงจักเป็นอันสลายไป’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๑. เทวทหสูตร

นิครนถ์ผู้มีอายุทั้งหลาย แต่เพราะเหตุที่สมัยใด ท่านทั้งหลายมีความ
พยายามอย่างแรงกล้า มีความเพียรอย่างแรงกล้า สมัยนั้น ท่านทั้งหลายพึง
เสวยทุกขเวทนากล้า เผ็ดร้อน ซึ่งเกิดจากความเพียรพยายามอย่างแรงกล้า แต่
สมัยใด ท่านทั้งหลายไม่มีความพยายามอย่างแรงกล้า ไม่มีความเพียรอย่างแรงกล้า
สมัยนั้น ท่านทั้งหลายก็ไม่พึงเสวยทุกขเวทนากล้า เผ็ดร้อน ซึ่งเกิดจากความ
เพียรพยายามอย่างแรงกล้า ท่านทั้งหลายเมื่อเสวยทุกขเวทนากล้า เผ็ดร้อน ซึ่ง
เกิดจากความเพียรพยายามอย่างแรงกล้า ย่อมเชื่อผิดไป เพราะไม่รู้แจ้ง เพราะ
ไม่รู้จริง เพราะความงมงายว่า ‘บุรุษบุคคลนี้เสวยสุขบ้าง เสวยทุกข์บ้าง เสวย
อทุกขมสุขบ้าง ทั้งหมดนั้น เพราะเหตุแห่งกรรมที่ทำไว้ในชาติก่อน เพราะกรรม
เก่าสิ้นสุดด้วยตบะ เพราะไม่ทำกรรมใหม่ จึงไม่ตกอยู่ใต้อำนาจ(แห่งกรรม)ต่อไป
เพราะไม่เป็นไปตามอำนาจแห่งกรรมต่อไป กรรมจึงสิ้นไป เพราะกรรมสิ้นไป
ทุกข์จึงสิ้นไป เพราะทุกข์สิ้นไป เวทนาจึงสิ้นไป เพราะเวทนาสิ้นไป ทุกข์ทั้งปวง
จึงจักเป็นอันสลายไป’
ภิกษุทั้งหลาย เราแม้มีวาทะอย่างนี้ ก็ไม่พิจารณาเห็นการโต้ตอบวาทะอัน
ชอบธรรมแม้สักนิดในนิครนถ์ทั้งหลาย
[๗] ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง เราถามนิครนถ์เหล่านั้นอย่างนี้ว่า
‘นิครนถ์ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ กรรมใด
ให้ผลในชาตินี้๑ กรรมนั้นท่านทั้งหลายพึงเปลี่ยนได้หรือว่า ‘จงให้ผลในชาติหน้า’
ด้วยความพยายาม หรือด้วยความเพียรนี้’


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๑. เทวทหสูตร

นิครนถ์เหล่านั้นตอบว่า ‘ไม่ได้ ท่านผู้มีอายุ’
‘กรรมใดจะให้ผลในชาติหน้า กรรมนั้นท่านทั้งหลายพึงเปลี่ยนได้หรือว่า ‘จง
ให้ผลในชาตินี้’ ด้วยความพยายาม หรือด้วยความเพียรนี้’
‘ไม่ได้ ท่านผู้มีอายุ’
‘นิครนถ์ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ
กรรมใดให้ผลเป็นสุข กรรมนั้นท่านทั้งหลายพึงเปลี่ยนได้หรือว่า ‘จงให้ผลเป็นทุกข์’
ด้วยความพยายาม หรือด้วยความเพียรนี้’
‘ไม่ได้ ท่านผู้มีอายุ’
‘กรรมใดให้ผลเป็นทุกข์ กรรมนั้นท่านทั้งหลายพึงเปลี่ยนได้หรือว่า ‘จงให้
ผลเป็นสุข’ ด้วยความพยายาม หรือด้วยความเพียรนี้’
‘ไม่ได้ ท่านผู้มีอายุ’
‘นิครนถ์ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ
กรรมใดให้ผลเสร็จสิ้นแล้ว กรรมนั้นท่านทั้งหลายพึงเปลี่ยนได้หรือว่า ‘จงอย่าให้
ผลเสร็จสิ้น’ ด้วยความพยายาม หรือด้วยความเพียรนี้’
‘ไม่ได้ ท่านผู้มีอายุ’
‘กรรมใดให้ผลยังไม่เสร็จสิ้น กรรมนั้นท่านทั้งหลายพึงเปลี่ยนได้หรือว่า ‘จง
ให้ผลเสร็จสิ้น’ ด้วยความพยายาม หรือด้วยความเพียรนี้’
‘ไม่ได้ ท่านผู้มีอายุ’
‘นิครนถ์ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ
กรรมใดให้ผลมาก กรรมนั้นท่านทั้งหลายพึงเปลี่ยนได้หรือว่า ‘จงให้ผลน้อย’
ด้วยความพยายาม หรือด้วยความเพียรนี้’
‘ไม่ได้ ท่านผู้มีอายุ’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๑. เทวทหสูตร

‘กรรมใดให้ผลน้อย กรรมนั้นท่านทั้งหลายพึงเปลี่ยนได้หรือว่า ‘จงให้ผลมาก’
ด้วยความพยายาม หรือด้วยความเพียรนี้’
‘ไม่ได้ ท่านผู้มีอายุ’
‘นิครนถ์ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ
กรรมใดให้ผล กรรมนั้นท่านทั้งหลายพึงเปลี่ยนได้หรือว่า ‘จงอย่าให้ผล’ ด้วย
ความพยายาม หรือด้วยความเพียรนี้’
‘ไม่ได้ ท่านผู้มีอายุ’
‘กรรมใดไม่ให้ผล กรรมนั้นท่านทั้งหลายพึงเปลี่ยนได้หรือว่า ‘จงให้ผล’ ด้วย
ความพยายาม หรือด้วยความเพียรนี้’
‘ไม่ได้ ท่านผู้มีอายุ’

ความพยายามที่ไร้ผล ความเพียรที่ไร้ผล ๑๐ ประการ

[๘] นิครนถ์ผู้มีอายุทั้งหลาย ได้ยินว่า
๑. กรรมใดให้ผลในชาตินี้ กรรมนั้นท่านทั้งหลายเปลี่ยนไม่ได้ว่า ‘จงให้
ผลในชาติหน้า’ ด้วยความพยายาม หรือด้วยความเพียรนี้
๒. กรรมใดจะให้ผลในชาติหน้า กรรมนั้นท่านทั้งหลายเปลี่ยนไม่ได้ว่า
‘จงให้ผลในชาตินี้’ ด้วยความพยายาม หรือด้วยความเพียรนี้
๓. กรรมใดให้ผลเป็นสุข กรรมนั้นท่านทั้งหลายเปลี่ยนไม่ได้ว่า ‘จงให้
ผลเป็นทุกข์’ ด้วยความพยายาม หรือด้วยความเพียรนี้
๔. กรรมใดให้ผลเป็นทุกข์ กรรมนั้นท่านทั้งหลายเปลี่ยนไม่ได้ว่า ‘จงให้
ผลเป็นสุข’ ด้วยความพยายาม หรือด้วยความเพียรนี้
๕. กรรมใดให้ผลเสร็จสิ้นแล้ว กรรมนั้นท่านทั้งหลายเปลี่ยนไม่ได้ว่า
‘จงอย่าให้ผลเสร็จสิ้น’ ด้วยความพยายาม หรือด้วยความเพียรนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๑. เทวทหสูตร

๖. กรรมใดให้ผลยังไม่เสร็จสิ้น กรรมนั้นท่านทั้งหลายเปลี่ยนไม่ได้ว่า
‘จงให้ผลเสร็จสิ้น’ ด้วยความพยายาม หรือด้วยความเพียรนี้
๗. กรรมใดให้ผลมาก กรรมนั้นท่านทั้งหลายเปลี่ยนไม่ได้ว่า ‘จงให้
ผลน้อย’ ด้วยความพยายาม หรือด้วยความเพียรนี้
๘. กรรมใดให้ผลน้อย กรรมนั้นท่านทั้งหลายเปลี่ยนไม่ได้ว่า ‘จงให้
ผลมาก’ ด้วยความพยายาม หรือด้วยความเพียรนี้
๙. กรรมใดให้ผล กรรมนั้นท่านทั้งหลายเปลี่ยนไม่ได้ว่า ‘จงอย่าให้ผล’
ด้วยความพยายาม หรือด้วยความเพียรนี้
๑๐. กรรมใดไม่ให้ผล กรรมนั้นท่านทั้งหลายเปลี่ยนไม่ได้ว่า ‘จงให้ผล’
ด้วยความพยายาม หรือด้วยความเพียรนี้
เมื่อเป็นเช่นนี้ ความพยายาม ความเพียรของนิครนถ์ผู้มีอายุทั้งหลายจึงไร้ผล’
ภิกษุทั้งหลาย นิครนถ์ทั้งหลายเป็นผู้มีวาทะอย่างนี้ คำกล่าวเช่นนั้นและคำที่
กล่าวต่อ ๆ กันมา ๑๐ ประการ ของนิครนถ์ทั้งหลายผู้มีวาทะอย่างนี้ จะเป็น
เหตุให้ถูกตำหนิได้
[๙] ภิกษุทั้งหลาย คือ
๑. ถ้าหมู่สัตว์เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งกรรมที่ทำไว้ในชาติก่อน
นิครนถ์ทั้งหลายพึงเป็นผู้ทำบาปกรรมไว้ในชาติก่อนแน่ จึงเป็น
เหตุให้พวกเขาเสวยทุกขเวทนากล้า เผ็ดร้อนเห็นปานนี้ในบัดนี้
๒. ถ้าหมู่สัตว์เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งการเนรมิตของพระอิศวร
นิครนถ์ทั้งหลายพึงเป็นผู้ถูกพระอิศวรชั้นต่ำเนรมิตมาแน่ จึงเป็น
เหตุให้พวกเขาเสวยทุกขเวทนากล้า เผ็ดร้อนเห็นปานนี้ในบัดนี้
๓. ถ้าหมู่สัตว์เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งเคราะห์ นิครนถ์ทั้งหลาย
พึงเป็นผู้มีเคราะห์ร้ายแน่ จึงเป็นเหตุให้พวกเขาเสวยทุกขเวทนากล้า
เผ็ดร้อนเห็นปานนี้ในบัดนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๑. เทวทหสูตร

๔. ถ้าหมู่สัตว์เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งอภิชาติ๑ นิครนถ์ทั้งหลาย
พึงเป็นผู้มีอภิชาติเลวแน่ จึงเป็นเหตุให้พวกเขาเสวยทุกขเวทนากล้า
เผ็ดร้อนเห็นปานนี้ในบัดนี้


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๑. เทวทหสูตร

๕. ถ้าหมู่สัตว์เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งความพยายามในปัจจุบัน
นิครนถ์ทั้งหลายพึงเป็นผู้มีความพยายามเลวทรามในปัจจุบันแน่
จึงเป็นเหตุให้พวกเขาเสวยทุกขเวทนากล้า เผ็ดร้อนเห็นปานนี้ในบัดนี้
๖. ถ้าหมู่สัตว์เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งกรรมที่ทำไว้ในชาติก่อน
นิครนถ์ทั้งหลายพึงเป็นผู้ควรถูกตำหนิ ถ้าหมู่สัตว์ไม่ได้เสวยสุข
และทุกข์เพราะเหตุแห่งกรรมที่ทำไว้ในชาติก่อน นิครนถ์ทั้งหลายก็
เป็นผู้ควรถูกตำหนิ
๗. ถ้าหมู่สัตว์เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งการเนรมิตของพระอิศวร
นิครนถ์ทั้งหลายพึงเป็นผู้ควรถูกตำหนิ ถ้าหมู่สัตว์ไม่ได้เสวยสุข
และทุกข์เพราะเหตุแห่งการเนรมิตของพระอิศวร นิครนถ์ทั้งหลาย
ก็เป็นผู้ควรถูกตำหนิ
๘. ถ้าหมู่สัตว์เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งเคราะห์ นิครนถ์
ทั้งหลายพึงเป็นผู้ควรถูกตำหนิ ถ้าหมู่สัตว์ไม่ได้เสวยสุขและทุกข์
เพราะเหตุแห่งเคราะห์ นิครนถ์ทั้งหลายก็เป็นผู้ควรถูกตำหนิ
๙. ถ้าหมู่สัตว์เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งอภิชาติ นิครนถ์
ทั้งหลายพึงเป็นผู้ควรถูกตำหนิ ถ้าหมู่สัตว์ไม่ได้เสวยสุขและทุกข์
เพราะเหตุแห่งอภิชาติ นิครนถ์ทั้งหลายก็เป็นผู้ควรถูกตำหนิ
๑๐. ถ้าหมู่สัตว์เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งความพยายามในปัจจุบัน
นิครนถ์ทั้งหลายพึงเป็นผู้ควรถูกตำหนิ ถ้าหมู่สัตว์ไม่ได้เสวยสุข
และทุกข์เพราะเหตุแห่งความพยายามในปัจจุบัน นิครนถ์ทั้งหลาย
ก็เป็นผู้ควรถูกตำหนิ
นิครนถ์ทั้งหลายเป็นผู้มีวาทะอย่างนี้ คำกล่าวเช่นนั้นและคำที่กล่าวต่อ ๆ
กันมา ๑๐ ประการ ของนิครนถ์ทั้งหลายผู้มีวาทะอย่างนี้ จึงเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้
ภิกษุทั้งหลาย ความพยายามที่ไร้ผล ความเพียรที่ไร้ผล เป็นอย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๑. เทวทหสูตร

[๑๐] ความพยายามที่มีผล ความเพียรที่มีผล เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่นำตนซึ่งไม่มีทุกข์เข้าไปรับทุกข์ ไม่สละสุขที่เกิดขึ้น
โดยธรรม๑ไม่เป็นผู้หมกมุ่นในสุขนั้น รู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘เรานี้มีทุกข์เป็นเหตุ เริ่ม
บำเพ็ญความเพียรอยู่ จึงคลายกำหนัดได้เพราะการบำเพ็ญความเพียร อนึ่ง เรา
นี้มีทุกข์เป็นเหตุ มีอุเบกขา เจริญอุเบกขาอยู่ จึงคลายกำหนัดได้’
ภิกษุนั้นเริ่มบำเพ็ญความเพียร อย่างที่ภิกษุผู้มีทุกข์เป็นเหตุ ผู้เริ่มบำเพ็ญ
ความเพียรอยู่ จึงคลายกำหนัดได้เพราะการบำเพ็ญความเพียร ภิกษุนั้นเจริญ
อุเบกขาอย่างที่ภิกษุผู้มีทุกข์เป็นเหตุ มีอุเบกขา เจริญอุเบกขาอยู่ จึงคลายกำหนัดได้
ภิกษุผู้มีทุกข์เป็นหตุนั้น เริ่มบำเพ็ญความเพียรอยู่ จึงคลายกำหนัดได้
เพราะการบำเพ็ญความเพียร ทุกข์นั้นของภิกษุนั้นย่อมเป็นอันสลายไป แม้ด้วย
อาการอย่างนี้
ภิกษุผู้มีทุกข์เป็นเหตุนั้น มีอุเบกขา เจริญอุเบกขาอยู่ จึงคลายกำหนัดได้
ทุกข์นั้นของภิกษุนั้นย่อมเป็นอันสลายไป แม้ด้วยอาการอย่างนี้”
[๑๑] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนชายผู้หลง
รัก มีจิตผูกพัน มีความรักร้อนแรง มีใจจดจ่อในหญิง เขาเห็นหญิงนั้นยืนคุยออด
อ้อนฉอเลาะอยู่กับชายอื่น
เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
คือ โสกะ(ความเศร้าโศก) ปริเทวะ(ความคร่ำครวญ) ทุกข์(ความทุกข์กาย)
โทมนัส(ความทุกข์ใจ) และอุปายาส(ความคับแค้นใจ) พึงเกิดขึ้นแก่ชายนั้น
เพราะเห็นหญิงคนโน้นยืนคุยออดอ้อนฉอเลาะอยู่กับชายอื่นบ้างไหม”
ภิกษุเหล่านั้นทูลตอบว่า “พึงเกิดขึ้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๑. เทวทหสูตร

“เพราะชายคนโน้นหลงรัก มีจิตผูกพัน มีความรักร้อนแรง มีใจจดจ่อใน
หญิงคนโน้น ฉะนั้น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จึงเกิดขึ้น
เพราะเห็นหญิงนั้นยืนคุยออดอ้อนฉอเลาะอยู่กับชายอื่น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น ชายนั้นคิดอย่างนี้ว่า ‘เราหลงรัก มีจิตผูกพัน
มีความรักร้อนแรง มีใจจดจ่อในหญิงคนโน้น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ
อุปายาส จึงเกิดขึ้นแก่เรา เพราะเห็นหญิงนั้นยืนคุยออดอ้อนฉอเลาะอยู่กับชายอื่น
ทางที่ดี เราควรเลิกรักหญิงที่เราหลงรักนั้นเสีย’ เขาจึงเลิกรักหญิงที่เคยหลงรัก
นั้นเสีย สมัยต่อมา บุรุษนั้นเห็นหญิงนั้นยืนคุยออดอ้อนฉอเลาะอยู่กับชายอื่น
เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
คือ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส พึงเกิดขึ้นแก่ชายนั้น
เพราะเห็นหญิงนั้นยืนคุยออดอ้อนฉอเลาะอยู่กับชายอื่นบ้างไหม”
“ไม่พึงเกิดขึ้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะชายคนโน้นคลายความรักในหญิงคนโน้นได้แล้ว ฉะนั้น โสกะ ปริเทวะ
ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จึงไม่เกิดขึ้นเพราะเห็นหญิงนั้นยืนคุยออดอ้อนฉอเลาะ
อยู่กับชายอื่น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่นำตนซึ่งไม่มีทุกข์เข้าไปรับทุกข์
ไม่สละสุขที่เกิดขึ้นโดยธรรม ไม่เป็นผู้หมกมุ่นในสุขนั้น รู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘เรานี้มี
ทุกข์เป็นเหตุ เริ่มบำเพ็ญความเพียรอยู่ จึงคลายกำหนัดได้ เพราะการบำเพ็ญ
ความเพียร อนึ่ง เรานี้มีทุกข์เป็นเหตุ มีอุเบกขา เจริญอุเบกขาอยู่ จึงคลาย
กำหนัดได้’
ภิกษุนั้นจึงเริ่มบำเพ็ญความเพียร อย่างที่ภิกษุผู้มีทุกข์เป็นเหตุ ผู้เริ่มบำเพ็ญ
ความเพียรอยู่ จึงคลายกำหนัดได้เพราะการบำเพ็ญความเพียร ภิกษุนั้นเจริญ
อุเบกขาอย่างที่ภิกษุผู้มีทุกข์เป็นเหตุ มีอุเบกขา เจริญอุเบกขาอยู่ จึงคลาย
กำหนัดได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๑. เทวทหสูตร

ภิกษุผู้มีทุกข์เป็นเหตุนั้น เริ่มบำเพ็ญความเพียรอยู่ จึงคลายกำหนัดได้
เพราะการบำเพ็ญความเพียร ทุกข์นั้นของภิกษุนั้นย่อมเป็นอันสลายไป แม้ด้วย
อาการอย่างนี้
ภิกษุผู้มีทุกข์เป็นเหตุ มีอุเบกขา เจริญอุเบกขาอยู่ จึงคลายกำหนัดได้
ทุกข์นั้นของภิกษุนั้นย่อมเป็นอันสลายไป แม้ด้วยอาการอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย ความพยายามที่มีผล ความเพียรที่มีผล เป็นอย่างนี้
[๑๒] ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เมื่อเรา
อยู่ตามสบาย อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง แต่เมื่อเราเริ่มตั้งตนไว้ใน
ความลำบาก อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น ทางที่ดี เราควรเริ่มตั้งตน
ไว้ในความลำบาก’ ภิกษุนั้นจึงเริ่มตั้งตนไว้ในความลำบาก เมื่อภิกษุนั้นเริ่มตั้งตน
ไว้ในความลำบาก อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น สมัยต่อมา ภิกษุนั้น
จึงไม่ต้องเริ่มตั้งตนไว้ในความลำบาก
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะภิกษุนั้นเริ่มตั้งตนไว้ในความลำบากเพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์นั้นของ
เธอสำเร็จแล้ว เหตุนั้น สมัยต่อมา ภิกษุนั้นจึงไม่ต้องเริ่มตั้งตนไว้ในความลำบาก
ภิกษุทั้งหลาย ช่างศรลนลูกศรกลับไปกลับมาบนข่าไฟ ๒ อัน ดัดให้ตรง
จนใช้การได้ เพราะเหตุที่ลูกศรอันช่างศรลนกลับไปกลับมาบนข่าไฟ ๒ อัน
ดัดให้ตรงจนใช้การได้แล้ว สมัยต่อมา ช่างศรนั้นจึงไม่ลนลูกศรนั้น
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะช่างศรนั้นพึงลนลูกศรกลับไปกลับมาบนข่าไฟ ๒ อัน ดัดให้ตรงจนใช้
การได้ เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์นั้นของเขาสำเร็จแล้ว เหตุนั้น สมัยต่อมา
ช่างศรนั้นจึงไม่ลนลูกศรกลับไปกลับมาบนข่าไฟ ๒ อัน ไม่ต้องดัดให้ตรงจนใช้การได้
แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เมื่อเราอยู่ตามสบาย
อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง แต่เมื่อเราเริ่มตั้งตนไว้ในความลำบาก
อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น ทางที่ดี เราควรเริ่มตั้งตนไว้ในความลำบาก’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๑. เทวทหสูตร

ภิกษุนั้นจึงเริ่มตั้งตนไว้ในความลำบาก เมื่อภิกษุนั้นเริ่มตั้งตนไว้ในความลำบาก
อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น เหตุนั้น สมัยต่อมา ภิกษุนั้นจึงไม่ต้อง
เริ่มตั้งตนไว้ในความลำบาก
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะภิกษุนั้นเริ่มตั้งตนไว้ในความลำบากเพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์นั้น
ของเธอสำเร็จแล้ว เหตุนั้น สมัยต่อมา ภิกษุนั้นจึงไม่ต้องเริ่มตั้งตนไว้ในความลำบาก
ภิกษุทั้งหลาย ความพยายามที่มีผล ความเพียรที่มีผล เป็นอย่างนี้
[๑๓] ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ตถาคต๑อุบัติขึ้นมาในโลกนี้ เป็น
พระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยตนเองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ๒ ไปดี
รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค๓ รู้แจ้งโลกนี้ พร้อมทั้ง


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๑. เทวทหสูตร

เทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและ
มนุษย์ด้วยตนเองแล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม แสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มี
ความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด๑ ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้ง
อรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน
คหบดี บุตรคหบดี หรืออนุชน(คนผู้เกิดภายหลัง) ในตระกูลใดตระกูลหนึ่ง
ได้สดับธรรมนั้น เกิดศรัทธาในตถาคต เมื่อมีศรัทธา ย่อมตระหนักว่า ‘การอยู่
ครองเรือนเป็นเรื่องอึดอัด๒ เป็นทางมาแห่งธุลี๓ การบวชเป็นทางปลอดโปร่ง๔ การที่
ผู้ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วนดุจสังข์ขัด ไม่ใช่ทำ
ได้ง่าย ทางที่ดี เราควรโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิตเถิด’ ต่อมาเขาละทิ้งกองโภคสมบัติน้อยใหญ่ และเครือญาติน้อย
ใหญ่ โกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต

สิกขาและสาชีพของภิกษุ

[๑๔] ภิกษุนั้นบวชแล้วอย่างนี้ ถึงความเป็นผู้มีสิกขาและสาชีพ๕ของภิกษุ
ทั้งหลาย คือ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๑. เทวทหสูตร

๑. ละ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ คือ วางทัณฑาวุธ และศัสตราวุธ
มีความละอาย มีความเอ็นดู มุ่งประโยชน์เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อยู่
๒. ละ เว้นขาดจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ คือ รับเอา
แต่สิ่งของที่เขาให้ มุ่งหวังแต่สิ่งของที่เขาให้ ไม่เป็นขโมย เป็นคน
สะอาดอยู่
๓. ละพฤติกรรมอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์๑ คือ ประพฤติพรหมจรรย์
เว้นห่างไกลจากเมถุนธรรม๒อันเป็นกิจของชาวบ้าน
๔. ละ เว้นขาดจากการพูดเท็จ คือ พูดแต่คำสัตย์ ดำรงความสัตย์
มีถ้อยคำเป็นหลัก เชื่อถือได้ ไม่หลอกลวงชาวโลก
๕. ละ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด คือ ฟังความจากฝ่ายนี้แล้ว ไม่
ไปบอกฝ่ายโน้น เพื่อทำลายฝ่ายนี้ หรือฟังความฝ่ายโน้นแล้ว
ไม่มาบอกฝ่ายนี้ เพื่อทำลายฝ่ายโน้น สมานคนที่แตกกัน ส่ง
เสริมคนที่ปรองดองกัน ชื่นชม ยินดี เพลิดเพลินต่อผู้ที่สามัคคีกัน
พูดแต่ถ้อยคำที่สร้างสรรค์ความสามัคคี
๖. ละ เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ คือ พูดแต่คำไม่มีโทษ ไพเราะ
น่ารัก จับใจ เป็นคำของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่ พอใจ
๗. ละ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ คือ พูดถูกเวลา พูดคำจริง
พูดอิงประโยชน์ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดคำที่มีหลักฐาน มีที่
อ้างอิง มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์ เหมาะแก่กาลเวลา


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๑. เทวทหสูตร

๘. เว้นขาดจากการพรากพืชคาม๑และภูตคาม๒
๙. ฉันมื้อเดียว ไม่ฉันตอนกลางคืน เว้นขาดจากการฉันในเวลาวิกาล๓
๑๐. เว้นขาดจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการละเล่น
ที่เป็นข้าศึกแก่กุศล
๑๑. เว้นขาดจากการทัดทรง ประดับ ตกแต่งร่างกายด้วยพวงดอกไม้
ของหอมและเครื่องประทินผิว อันเป็นลักษณะแห่งการแต่งตัว
๑๒. เว้นขาดจากที่นอนสูงใหญ่
๑๓. เว้นขาดจากการรับทองและเงิน
๑๔. เว้นขาดจากการรับธัญญาหารดิบ๔
๑๕. เว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ
๑๖. เว้นขาดจากการรับสตรีและกุมารี
๑๗. เว้นขาดจากการรับทาสหญิงและทาสชาย
๑๘. เว้นขาดจากการรับแพะและแกะ
๑๙. เว้นขาดจากการรับไก่และสุกร
๒๐. เว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า และลา
๒๑. เว้นขาดจากการรับเรือกสวนไร่นาและที่ดิน


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๑. เทวทหสูตร

๒๒. เว้นขาดจากการทำหน้าที่เป็นตัวแทนและผู้สื่อสาร
๒๓. เว้นขาดจากการซื้อขาย
๒๔. เว้นขาดจากการโกงด้วยตาชั่ง ด้วยของปลอม และด้วยเครื่อง
ตวงวัด
๒๕. เว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวง และการตลบตะแลง
๒๖. เว้นขาดจากการตัด(อวัยวะ) การฆ่า การจองจำ การตีชิงวิ่งราว
การปล้น และการขู่กรรโชก๑
ภิกษุนั้นเป็นผู้สันโดษด้วยจีวรพอคุ้มร่างกาย และบิณฑบาตพออิ่มท้อง จะไป
ณ ที่ใด ๆ ก็ไปได้ทันที เหมือนนกบินไป ณ ที่ใด ๆ ก็มีแต่ปีกเป็นภาระ เธอ
ประกอบด้วยอริยสีลขันธ์เช่นนี้แล้ว ย่อมเสวยสุขอันปราศจากโทษในภายใน
[๑๕] ภิกษุนั้นเห็นรูปทางตาแล้ว ไม่รวบถือ๒ ไม่แยกถือ๓ ย่อมปฏิบัติเพื่อ
สำรวมจักขุนทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้ว ก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรมคือ
อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จึงรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์
ฟังเสียงทางหูแล้ว ...
ดมกลิ่นทางจมูกแล้ว ...
ลิ้มรสทางลิ้นแล้ว ...
ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายแล้ว ...


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๑. เทวทหสูตร

รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวม
มนินทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้ว ก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและ
โทมนัสครอบงำได้ จึงรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ เธอประกอบ
ด้วยอริยอินทรียสังวรเช่นนี้แล้ว ย่อมเสวยสุขอันไม่ระคนด้วยกิเลสในภายใน
ภิกษุนั้นทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู
การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตรและจีวร การฉัน การดื่ม
การเคี้ยว การลิ้ม การถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ การเดิน การยืน การนั่ง การนอน
การตื่น การพูด การนิ่ง
[๑๖] ภิกษุนั้นประกอบด้วยอริยสีลขันธ์ อริยอินทรียสังวร และอริย-
สติสัมปชัญญะแล้ว พักอยู่ ณ เสนาสนะเงียบสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา
ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง เธอกลับจากบิณฑบาตภายหลังฉันอาหารเสร็จ
แล้ว นั่งขัดสมาธิ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอละอภิชฌา(ความเพ่งเล็ง
อยากได้สิ่งของของเขา) ในโลก มีใจปราศจากอภิชฌา ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอภิชฌา
ละความมุ่งร้ายคือพยาบาท มีจิตไม่พยาบาท มุ่งประโยชน์เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อยู่
ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความมุ่งร้ายคือพยาบาท ละถีนมิทธะ(ความหดหู่และเซื่องซึม)
มีจิตปราศจากถีนมิทธะ กำหนดแสงสว่าง มีสติสัมปชัญญะ ชำระจิตให้บริสุทธิ์
จากถีนมิทธะ ละอุทธัจจกุกกุจจะ(ความฟุ้งซ่านและรำคาญใจ) เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน
มีจิตสงบภายใน ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะ ละวิจิกิจฉา(ความลังเล
สงสัย) ข้ามพ้นวิจิกิจฉาได้แล้ว ไม่มีความสงสัยในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ชำระจิต
ให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉา เธอละนิวรณ์ ๕ ประการนี้ ที่ทำให้จิตเศร้าหมอง
บั่นทอนกำลังปัญญา

ปฐมฌาน

ภิกษุนั้นสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร
ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่
ภิกษุทั้งหลาย ความพยายามที่มีผล ความเพียรที่มีผล เป็นอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๑. เทวทหสูตร

ทุติยฌาน

อีกประการหนึ่ง เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุทุติยฌานมีความ
ผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข
อันเกิดจากสมาธิอยู่
ภิกษุทั้งหลาย ความพยายามที่มีผล ความเพียรที่มีผล เป็นอย่างนี้

ตติยฌาน

อีกประการหนึ่ง เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา
มีสติ อยู่เป็นสุข’
ภิกษุทั้งหลาย ความพยายามที่มีผล ความเพียรที่มีผล เป็นอย่างนี้

จตุตถฌาน

อีกประการหนึ่ง เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน
ภิกษุบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่๑
ภิกษุทั้งหลาย ความพยายามที่มีผล ความเพียรที่มีผล เป็นอย่างนี้
[๑๗] เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน๒ ปราศจาก
ความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้น
น้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ
๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ๓ ชาติบ้าง ๔ ชาติบ้าง ๕ ชาติบ้าง ๑๐ ชาติบ้าง
๒๐ ชาติบ้าง ๓๐ ชาติบ้าง ๔๐ ชาติบ้าง ๕๐ ชาติบ้าง ๑๐๐ ชาติบ้าง
๑,๐๐๐ ชาติบ้าง ๑๐๐,๐๐๐ ชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอด


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๑. เทวทหสูตร

วิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัป๑เป็นอันมากบ้าง ว่า ‘ใน
ภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมี
อายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็มีชื่อ
อย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติ
จากภพนั้น จึงมาเกิดในภพนี้’ เธอระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะ
ทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย ความพยายามที่มีผล ความเพียรที่มีผล เป็นอย่างนี้
[๑๘] เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจาก
ความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้น
น้อมจิตไปเพื่อจุตูปปาตญาณ เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง
งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่
สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า ‘หมู่สัตว์ที่ประกอบกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต
กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นผิดและชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นผิด
พวกเขาหลังจากตายแล้ว จะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก๒ แต่หมู่สัตว์ที่
ประกอบกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต ไม่กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็น
ชอบและชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นชอบ พวกเขาหลังจากตายแล้ว จะ
ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์’ เธอเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง
งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่
สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ความพยายามที่มีผล ความเพียรที่มีผล เป็นอย่างนี้


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๑. เทวทหสูตร

[๑๙] เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจาก
ความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้น
น้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย
นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้อาสวะ๑ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ
นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา’ เมื่อเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะ
ภวาสวะ และอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า
‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว๒ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว๓ ไม่มีกิจอื่นเพื่อ
ความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป‘๔
ภิกษุทั้งหลาย ความพยายามที่มีผล ความเพียรที่มีผล เป็นอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตมีวาทะอย่างนี้ คำกล่าวเช่นนั้นและคำที่กล่าวต่อ ๆ
กันมา ๑๐ ประการ ของตถาคตผู้มีวาทะอย่างนี้ จึงเป็นเหตุให้ได้รับการสรรเสริญ
[๒๐] ภิกษุทั้งหลาย คือ
๑. ถ้าหมู่สัตว์เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งกรรมที่ทำไว้ในชาติก่อน
ตถาคตพึงเป็นผู้ทำกรรมดีไว้ในชาติก่อนแน่ จึงเป็นเหตุให้ตถาคต
เสวยสุขเวทนาอันไม่มีอาสวะเห็นปานนี้ในบัดนี้


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๑. เทวทหสูตร

๒. ถ้าหมู่สัตว์เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งการเนรมิตของพระอิศวร
ตถาคตพึงเป็นผู้ถูกพระอิศวรชั้นสูงเนรมิตมาแน่ จึงเป็นเหตุให้
ตถาคตเสวยสุขเวทนาอันไม่มีอาสวะเห็นปานนี้ในบัดนี้
๓. ถ้าหมู่สัตว์เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งเคราะห์ ตถาคตพึงเป็น
ผู้มีเคราะห์กรรมดีแน่ จึงเป็นเหตุให้ตถาคตเสวยสุขเวทนาอันไม่มี
อาสวะเห็นปานนี้ในบัดนี้
๔. ถ้าหมู่สัตว์เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งอภิชาติ ตถาคตพึงเป็น
ผู้มีอภิชาติดีแน่ จึงเป็นเหตุให้ตถาคตเสวยสุขเวทนาอันไม่มีอาสวะ
เห็นปานนี้ในบัดนี้
๕. ถ้าหมู่สัตว์เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งความพยายามในปัจจุบัน
ตถาคตพึงเป็นผู้มีความพยายามดีในปัจจุบันแน่ จึงเป็นเหตุให้
ตถาคตเสวยสุขเวทนาอันไม่มีอาสวะเห็นปานนี้ในบัดนี้
๖. ถ้าหมู่สัตว์เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งกรรมที่ทำไว้ในชาติก่อน
ตถาคตพึงเป็นผู้น่าสรรเสริญ ถ้าหมู่สัตว์ไม่ได้เสวยสุขและทุกข์
เพราะเหตุแห่งกรรมที่ทำไว้ในชาติก่อน ตถาคตก็เป็นผู้น่าสรรเสริญ
๗. ถ้าหมู่สัตว์เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งการเนรมิตของพระอิศวร
ตถาคตพึงเป็นผู้น่าสรรเสริญ ถ้าหมู่สัตว์ไม่ได้เสวยสุขและทุกข์
เพราะเหตุแห่งการเนรมิตของพระอิศวร ตถาคตก็เป็นผู้น่าสรรเสริญ
๘. ถ้าหมู่สัตว์เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งเคราะห์ ตถาคตพึงเป็น
ผู้น่าสรรเสริญ ถ้าหมู่สัตว์ไม่ได้เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่ง
เคราะห์ ตถาคตก็เป็นผู้น่าสรรเสริญ
๙. ถ้าหมู่สัตว์เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งอภิชาติ ตถาคตพึงเป็น
ผู้น่าสรรเสริญ ถ้าหมู่สัตว์ไม่ได้เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่ง
อภิชาติ ตถาคตก็เป็นผู้น่าสรรเสริญ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๒. ปัญจัตตยสูตร

๑๐. ถ้าหมู่สัตว์เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุแห่งความพยายามในปัจจุบัน
ตถาคตพึงเป็นผู้น่าสรรเสริญ ถ้าหมู่สัตว์ไม่ได้เสวยสุขและทุกข์เพราะ
เหตุแห่งความพยายามในปัจจุบัน ตถาคตก็เป็นผู้น่าสรรเสริญ๑
ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตมีวาทะอย่างนี้ คำกล่าวเช่นนั้นและคำที่กล่าวต่อ ๆ
กันมา ๑๐ ประการ ของตถาคตผู้มีวาทะอย่างนี้ จึงเป็นเหตุให้ได้รับการสรรเสริญ”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

เทวทหสูตรที่ ๑ จบ

๒. ปัญจัตตยสูตร
ว่าด้วยความเห็นผิด ๕ ประการ ๓ หมวด
วาทะเกี่ยวกับขันธ์ส่วนอนาคต

[๒๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียก
ภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งกำหนดขันธ์(สรรพสิ่ง)ส่วนอนาคต
มีความเห็นคล้อยตามขันธ์ส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ส่วนอนาคต ประกาศวาทะ
แสดงทิฏฐิต่าง ๆ คือ
สมณพราหมณ์พวกหนึ่งประกาศอย่างนี้ว่า ‘อัตตาที่มีสัญญา ยั่งยืนหลังจาก
ตายแล้ว‘๒


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๒. ปัญจัตตยสูตร

สมณพราหมณ์พวกหนึ่งประกาศอย่างนี้ว่า ‘อัตตาที่ไม่มีสัญญา ยั่งยืนหลัง
จากตายแล้ว‘๑
สมณพราหมณ์พวกหนึ่งประกาศอย่างนี้ว่า ‘อัตตาที่มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มี
สัญญาก็มิใช่ ยั่งยืนหลังจากตายแล้ว‘๒
สมณพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความไม่เกิดขึ้น
ของสัตว์ที่มีอยู่๓
สมณพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัตินิพพานในปัจจุบัน๔
รวมความว่าสมณพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติอัตตาที่มีอยู่ว่ายั่งยืนหลังจากตาย
แล้วบ้าง บัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความไม่เกิดขึ้นของสัตว์ที่มีอยู่บ้าง
บัญญัตินิพพานในปัจจุบันบ้าง
วาทะแสดงทิฏฐิเหล่านี้ ขยายเป็น ๕ ประการแล้ว ย่อเป็น ๓ ประการ ย่อเป็น
๓ ประการแล้ว ขยายเป็น ๕ ประการ ดังนี้แล นี้เป็นอุทเทสของวาทะแสดงทิฏฐิ
๕ ประการ ๓ หมวด

สัญญีวาทะ หมวดละ ๘

[๒๒] ภิกษุทั้งหลาย ในสัญญีวาทะเหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
บัญญัติอัตตาที่มีสัญญาว่ายั่งยืนหลังจากตายแล้ว คือ
๑. บัญญัติอัตตาที่มีสัญญา มีรูปว่ายั่งยืนหลังจากตายแล้วบ้าง
๒. บัญญัติอัตตาที่มีสัญญา ไม่มีรูปว่ายั่งยืนหลังจากตายแล้วบ้าง


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๒. ปัญจัตตยสูตร

๓. บัญญัติอัตตาที่มีสัญญา ทั้งที่มีรูปและไม่มีรูปว่ายั่งยืนหลังจากตาย
แล้วบ้าง
๔. บัญญัติอัตตาที่มีสัญญา มีรูปก็มิใช่ ไม่มีรูปก็มิใช่ว่ายั่งยืนหลังจาก
ตายแล้วบ้าง
๕. บัญญัติอัตตาที่มีสัญญา มีสัญญาอย่างเดียวกันว่ายั่งยืนหลังจาก
ตายแล้วบ้าง
๖. บัญญัติอัตตาที่มีสัญญา มีสัญญาต่างกันว่ายั่งยืนหลังจากตายแล้ว
บ้าง
๗. บัญญัติอัตตาที่มีสัญญา มีสัญญาเล็กน้อยว่ายั่งยืนหลังจากตาย
แล้วบ้าง
๘. บัญญัติอัตตาที่มีสัญญา มีสัญญาหาประมาณมิได้ว่ายั่งยืนหลัง
จากตายแล้วบ้าง
แต่มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง กล่าวยืนยันวิญญาณกสิณของอัตตาที่มีสัญญา
เหล่านี้ ซึ่งล่วงไปแล้วนั่นว่า หาประมาณมิได้ ไม่หวั่นไหว
ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตรู้ทิฏฐินี้นั้นเป็นอย่างดี
สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งบัญญัติอัตตาที่มีสัญญาว่ายั่งยืนหลังจากตายแล้ว
คือ
๑. บัญญัติอัตตาที่มีสัญญา มีรูปว่ายั่งยืนหลังจากตายแล้วบ้าง
๒. บัญญัติอัตตาที่มีสัญญา ไม่มีรูปว่ายั่งยืนหลังจากตายแล้วบ้าง
๓. บัญญัติอัตตาที่มีสัญญา ทั้งที่มีรูปและไม่มีรูปว่ายั่งยืนหลังจากตาย
แล้วบ้าง
๔. บัญญัติอัตตาที่มีสัญญา มีรูปก็มิใช่ ไม่มีรูปก็มิใช่ว่ายั่งยืนหลังจาก
ตายแล้วบ้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๒. ปัญจัตตยสูตร

๕. บัญญัติอัตตาที่มีสัญญา มีสัญญาอย่างเดียวกันว่ายั่งยืนหลังจาก
ตายแล้วบ้าง
๖. บัญญัติอัตตาที่มีสัญญา มีสัญญาต่างกันว่ายั่งยืนหลังจากตาย
แล้วบ้าง
๗. บัญญัติอัตตาที่มีสัญญา มีสัญญาเล็กน้อยว่ายั่งยืนหลังจากตาย
แล้วบ้าง
๘. บัญญัติอัตตาที่มีสัญญา มีสัญญาหาประมาณมิได้ว่ายั่งยืนหลัง
จากตายแล้วบ้าง
ส่วนสัญญาที่บริสุทธิ์ยอดเยี่ยม เขากล่าวว่า ‘ล้ำเลิศ’ ไม่มีสัญญาอื่นยิ่งกว่า
สัญญาเหล่านี้ ทั้งที่เป็นสัญญาในรูป ทั้งที่เป็นสัญญาในอรูป ทั้งที่เป็นสัญญา
อย่างเดียวกัน ทั้งที่เป็นสัญญาต่างกัน สมณพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวยืนยัน
อากิญจัญญายตนะหาประมาณมิได้ ไม่หวั่นไหวว่า ‘ไม่มีอะไร’
สิ่งนี้นั้นยังถูกปัจจัยปรุงแต่ง จึงชื่อว่าหยาบ และความดับของสิ่งที่ถูกปัจจัย
ปรุงแต่งก็มีอยู่ ตถาคตรู้ว่า ‘ความดับนี้มีอยู่’ เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดสิ่งที่ถูก
ปัจจัยปรุงแต่งนั้น จึงล่วงพ้นสิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งนั้นได้ ด้วยอาการอย่างนี้

อสัญญีวาทะ หมวดละ ๔

[๒๓] ภิกษุทั้งหลาย ในอสัญญีวาทะเหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่า
หนึ่งบัญญัติอัตตาที่ไม่มีสัญญาว่ายั่งยืนหลังจากตายแล้ว คือ
๑. บัญญัติอัตตาที่ไม่มีสัญญา มีรูปว่ายั่งยืนหลังจากตายแล้วบ้าง
๒. บัญญัติอัตตาที่ไม่มีสัญญา ไม่มีรูปว่ายั่งยืนหลังจากตายแล้วบ้าง
๓. บัญญัติอัตตาที่ไม่มีสัญญา ทั้งที่มีรูปและไม่มีรูปว่ายั่งยืนหลังจาก
ตายแล้วบ้าง
๔. บัญญัติอัตตาที่ไม่มีสัญญา มีรูปก็มิใช่ ไม่มีรูปก็มิใช่ว่ายั่งยืนหลัง
จากตายแล้วบ้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๒. ปัญจัตตยสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ในอสัญญีวาทะเหล่านั้น สมณพราหมณ์ผู้มีอสัญญีวาทะพวก
หนึ่งคัดค้านสมณพราหมณ์พวกที่บัญญัติอัตตาที่มีสัญญาว่ายั่งยืนหลังจากตายแล้ว
เหล่านั้น
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะสัญญาเป็นดุจโรค เป็นดุจหัวฝี เป็นดุจลูกศร ความไม่มีสัญญานี้แล
สงบ ประณีต
ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตรู้ทิฏฐินี้นั้นเป็นอย่างดี
สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งบัญญัติอัตตาที่ไม่มีสัญญาว่ายั่งยืนหลังจาก
ตายแล้ว คือ
๑. บัญญัติอัตตาที่ไม่มีสัญญา มีรูปว่ายั่งยืนหลังจากตายแล้วบ้าง
๒. บัญญัติอัตตาที่ไม่มีสัญญา ไม่มีรูปว่ายั่งยืนหลังจากตายแล้วบ้าง
๓. บัญญัติอัตตาที่ไม่มีสัญญา ทั้งที่มีรูปและไม่มีรูปว่ายั่งยืนหลังจาก
ตายแล้วบ้าง
๔. บัญญัติอัตตาที่ไม่มีสัญญา มีรูปก็มิใช่ ไม่มีรูปก็มิใช่ว่ายั่งยืนหลัง
จากตายแล้วบ้าง
ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้๑ที่สมณะหรือพราหมณ์คนใดคนหนึ่งจะพึง
กล่าวอย่างนี้ว่า ‘เราจักบัญญัติการมาหรือการไป การจุติหรือการเกิด ความเจริญ
ความงอกงาม หรือความไพบูลย์ เว้นรูป เว้นเวทนา เว้นสัญญา เว้นสังขาร
เว้นวิญญาณ’
สิ่งนี้นั้นยังถูกปัจจัยปรุงแต่ง จึงชื่อว่าหยาบ และความดับของสิ่งที่ถูกปัจจัย
ปรุงแต่งก็มีอยู่ ตถาคตรู้ว่า ‘ความดับนี้มีอยู่’ เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดสิ่งที่ถูก
ปัจจัยปรุงแต่งนั้น จึงล่วงพ้นสิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งนั้นได้ ด้วยอาการอย่างนี้


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๒. ปัญจัตตยสูตร

เนวสัญญีนาสัญญีวาทะ หมวดละ ๔

[๒๔] ภิกษุทั้งหลาย ในเนวสัญญีนาสัญญีวาทะเหล่านั้น สมณพราหมณ์
เหล่าใดเหล่าหนึ่งบัญญัติอัตตาที่มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ว่ายั่งยืนหลังจาก
ตายแล้ว คือ
๑. บัญญัติอัตตาที่มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ซึ่งมีรูปว่ายั่งยืน
หลังจากตายแล้วบ้าง
๒. บัญญัติอัตตาที่มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ซึ่งไม่มีรูปว่ายั่งยืน
หลังจากตายแล้วบ้าง
๓. บัญญัติอัตตาที่มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ทั้งที่มีรูปและไม่มี
รูปว่ายั่งยืนหลังจากตายแล้วบ้าง
๔. บัญญัติอัตตาที่มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ มีรูปก็มิใช่ ไม่มี
รูปก็มิใช่ว่ายั่งยืนหลังจากตายแล้วบ้าง
ในเนวสัญญีนาสัญญีวาทะเหล่านั้น สมณพราหมณ์ผู้มีเนวสัญญีนาสัญญีวาทะ
พวกหนึ่งคัดค้านสมณพราหมณ์พวกที่บัญญัติอัตตาที่มีสัญญาว่ายั่งยืนหลังจากตาย
แล้วเหล่านั้น คัดค้านแม้สมณพราหมณ์พวกที่บัญญัติอัตตาที่ไม่มีสัญญาว่า
ยั่งยืนหลังจากตายแล้วเหล่านั้น
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะสัญญาเป็นดุจโรค เป็นดุจหัวฝี เป็นดุจลูกศร ความไม่มีสัญญาเป็น
ความหลง ความมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่นี้แล สงบ ประณีต
ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตรู้ทิฏฐินี้นั้นเป็นอย่างดี
สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งบัญญัติอัตตาที่มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญา
ก็มิใช่ว่ายั่งยืนหลังจากตายแล้ว คือ
๑. บัญญัติอัตตาที่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ มีสัญญาก็มิใช่ซึ่งมีรูปว่ายั่งยืน
หลังจากตายแล้วบ้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๒. ปัญจัตตยสูตร

๒. บัญญัติอัตตาที่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ มีสัญญาก็มิใช่ซึ่งไม่มีรูปว่ายั่งยืน
หลังจากตายแล้วบ้าง
๓. บัญญัติอัตตาที่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ มีสัญญาก็มิใช่ ทั้งที่มีรูปและไม่มี
รูปว่ายั่งยืนหลังจากตายแล้วบ้าง
๔. บัญญัติอัตตาที่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ มีสัญญาก็มิใช่ มีรูปก็มิใช่ ไม่มี
รูปก็มิใช่ว่ายั่งยืนหลังจากตายแล้วบ้าง
ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งบัญญัติการเข้าถึงอายตนะ๑
นี้ ด้วยเหตุเพียงสิ่งที่พึงรู้แจ้ง๒โดยได้เห็นได้ยินและได้ทราบสังขาร๓ การบัญญัติ
ของสมณะหรือพราหมณ์เช่นนี้ เขากล่าวว่าเป็นความพินาศของการเข้าถึงอายตนะนี้
ความจริงอายตนะนี้ บัณฑิตไม่กล่าวว่าพึงบรรลุด้วยการมีสังขาร แต่ท่านกล่าวว่า
อายตนะนี้พึงบรรลุด้วยการมีสังขารที่เหลือ๔
สิ่งนี้นั้นยังถูกปัจจัยปรุงแต่ง จึงชื่อว่าหยาบ และความดับของสิ่งที่ถูกปัจจัย
ปรุงแต่งก็มีอยู่ ตถาคตรู้ว่า ‘ความดับนี้มีอยู่’ เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดสิ่งที่ถูก
ปัจจัยปรุงแต่งนั้น จึงล่วงพ้นสิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งนั้นได้ ด้วยอาการอย่างนี้

อุจเฉทวาทะ

[๒๕] ภิกษุทั้งหลาย ในอุจเฉทวาทะเหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่า
หนึ่งบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความไม่เกิดขึ้นของสัตว์ที่มีอยู่
ในอุจเฉทวาทะเหล่านั้น สมณพราหมณ์ผู้มีอุจเฉทวาทะพวกหนึ่งคัดค้าน
สมณพราหมณ์พวกที่บัญญัติอัตตาที่มีสัญญาว่ายั่งยืนหลังจากตายแล้วเหล่านั้น


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๒. ปัญจัตตยสูตร

คัดค้านแม้สมณพราหมณ์พวกที่บัญญัติอัตตาที่ไม่มีสัญญาว่ายั่งยืนหลังจากตายแล้ว
เหล่านั้น คัดค้านแม้สมณพราหมณ์พวกที่บัญญัติอัตตาที่มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มี
สัญญาก็มิใช่ว่ายั่งยืนหลังจากตายแล้วเหล่านั้น
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะสมณพราหมณ์เหล่านี้แม้ทั้งหมด ย่อมถือการเวียนว่ายในชาติหน้า
กล่าวยืนยันความหวังอย่างเดียวว่า ‘เราละโลกนี้ไปแล้ว จักเป็นเช่นนี้ เราละโลกนี้
ไปแล้ว จักเป็นเช่นนี้’
พ่อค้าไปค้าขายย่อมมีความหวังอย่างนี้ว่า ‘เราจักมีกำไรจากการค้าเท่านี้
เพราะการค้าขายเที่ยวนี้ เราจักได้กำไรเท่านี้’ ฉันใด สมณพราหมณ์เหล่านี้ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน เห็นจะหวังกำไรกลับคืนเหมือนพ่อค้าว่า ‘เราละโลกนี้ไปแล้ว จักเป็นเช่นนี้
เราละโลกนี้ไปแล้ว จักเป็นเช่นนี้’
ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตรู้ทิฏฐินี้นั้นเป็นอย่างดี
สมณพราหมณ์พวกที่บัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความไม่เกิดขึ้นของ
สัตว์ที่มีอยู่ เป็นผู้กลัวสักกายะ๑ รังเกียจสักกายะ วนเวียนไปตามสักกายะอยู่นั่นเอง
เปรียบเหมือนสุนัขที่เขาใช้โซ่ล่ามผูกไว้ที่เสาหรือที่หลักอย่างมั่นคง ย่อมวิ่งวน
เสาหรือหลักนั่นเอง ฉันใด สมณพราหมณ์เหล่านี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้กลัว
สักกายะ รังเกียจสักกายะ วนเวียนไปตามสักกายะอยู่นั่นเอง
สิ่งนี้นั้นยังถูกปัจจัยปรุงแต่ง จึงชื่อว่าหยาบ และความดับของสิ่งที่ถูกปัจจัย
ปรุงแต่งก็มีอยู่ ตถาคตรู้ว่า ‘ความดับนี้มีอยู่’ เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดสิ่งที่ถูก
ปัจจัยปรุงแต่งนั้น จึงล่วงพ้นสิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งนั้นได้ ด้วยอาการอย่างนี้


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๒. ปัญจัตตยสูตร

[๒๖] ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งกำหนดขันธ์ส่วน
อนาคต มีความเห็นคล้อยตามขันธ์ส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ส่วนอนาคต ประกาศ
วาทะแสดงทิฏฐิต่าง ๆ หลายประการ สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดประกาศ
วาทะแสดงทิฏฐิต่าง ๆ ๕ ประการนี้เท่านั้น หรือประกาศส่วนใดส่วนหนึ่งของวาทะ
แสดงทิฏฐิต่าง ๆ ๕ ประการนี้

วาทะแสดงทิฏฐิเกี่ยวกับขันธ์ส่วนอดีต ๑๖

[๒๗] ภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งกำหนดขันธ์ส่วนอดีต มี
ความเห็นคล้อยตามขันธ์ส่วนอดีต ปรารภขันธ์ส่วนอดีต ประกาศวาทะแสดงทิฏฐิ
ต่าง ๆ คือ
๑. สมณพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวยืนยันอย่างนี้ว่า ‘อัตตาและโลกเที่ยง
นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง‘๑
๒. สมณพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวยืนยันอย่างนี้ว่า ‘อัตตาและโลกไม่เที่ยง
นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
๓. สมณพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวยืนยันอย่างนี้ว่า ‘อัตตาและโลกมีทั้ง
เที่ยงและไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
๔. สมณพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวยืนยันอย่างนี้ว่า ‘อัตตาและโลก
เที่ยงก็มิใช่ ไม่เที่ยงก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
๕. สมณพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวยืนยันอย่างนี้ว่า ‘อัตตาและโลกมีที่สุด
นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
๖. สมณพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวยืนยันอย่างนี้ว่า ‘อัตตาและโลกไม่มี
ที่สุด นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
๗. สมณพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวยืนยันอย่างนี้ว่า ‘อัตตาและโลกมีทั้ง
ที่สุดและไม่มีที่สุด นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๒. ปัญจัตตยสูตร

๘. สมณพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวยืนยันอย่างนี้ว่า ‘อัตตาและโลกมี
ที่สุดก็มิใช่ ไม่มีที่สุดก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
๙. สมณพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวยืนยันอย่างนี้ว่า ‘อัตตาและโลกมี
สัญญาอย่างเดียวกัน นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
๑๐. สมณพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวยืนยันอย่างนี้ว่า ‘อัตตาและโลกมี
สัญญาต่างกัน นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
๑๑. สมณพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวยืนยันอย่างนี้ว่า ‘อัตตาและโลกมี
สัญญาเล็กน้อย นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
๑๒. สมณพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวยืนยันอย่างนี้ว่า ‘อัตตาและโลกมี
สัญญาหาประมาณมิได้ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
๑๓. สมณพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวยืนยันอย่างนี้ว่า ‘อัตตาและโลกมีสุข
อย่างเดียว นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
๑๔. สมณพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวยืนยันอย่างนี้ว่า ‘อัตตาและโลกมี
ทุกข์อย่างเดียว นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
๑๕. สมณพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวยืนยันอย่างนี้ว่า ‘อัตตาและโลกมีทั้ง
สุขและทุกข์ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
๑๖. สมณพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวยืนยันอย่างนี้ว่า ‘อัตตาและโลกมี
ทุกข์ก็มิใช่ มีสุขก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
[๒๘] ภิกษุทั้งหลาย ในวาทะเหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
ซึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตาและโลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น
ไม่จริง’ เป็นไปไม่ได้เลยที่ญาณเฉพาะตน๑อันบริสุทธิ์ผุดผ่อง ซึ่งเป็นธรรมอื่นจาก
ความเชื่อ อื่นจากความชอบใจ อื่นจากการฟังตามกันมา อื่นจากการตรึกตาม
อาการ อื่นจากการเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้ จักมีแก่สมณพราหมณ์เหล่านั้นได้


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๒. ปัญจัตตยสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อไม่มีญาณเฉพาะตนอันบริสุทธิ์ผุดผ่อง สมณพราหมณ์
เหล่านั้นย่อมยึดถือเพียงส่วนแห่งความรู้เท่านั้นในเรื่องนั้น แม้ส่วนแห่งความรู้นั้น
บัณฑิตกล่าวว่าเป็นอุปาทาน๑ของสมณพราหมณ์เหล่านั้น
สิ่งนี้นั้นยังถูกปัจจัยปรุงแต่ง จึงชื่อว่าหยาบ และความดับของสิ่งที่ถูกปัจจัย
ปรุงแต่งก็มีอยู่ ตถาคตรู้ว่า ‘ความดับนี้มีอยู่’ เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดสิ่งที่ถูก
ปัจจัยปรุงแต่งนั้น จึงล่วงพ้นสิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งนั้นได้ ด้วยอาการอย่างนี้
[๒๙] ภิกษุทั้งหลาย ในวาทะเหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งซึ่ง
มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตาและโลกไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น
ไม่จริง’ ฯลฯ
... ‘อัตตาและโลกทั้งเที่ยงและไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
ฯลฯ
... ‘อัตตาและโลกเที่ยงก็มิใช่ ไม่เที่ยงก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น
ไม่จริง’
... ‘อัตตาและโลกมีที่สุด นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ฯลฯ
... ‘อัตตาและโลกไม่มีที่สุด นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ฯลฯ
... ‘อัตตาและโลกทั้งมีที่สุดและไม่มีที่สุด นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
ฯลฯ
... ‘อัตตาและโลกมีที่สุดก็มิใช่ ไม่มีที่สุดก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่าง
อื่นไม่จริง’ ฯลฯ
... ‘อัตตาและโลกมีสัญญาอย่างเดียวกัน นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
ฯลฯ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๒. ปัญจัตตยสูตร

... ‘อัตตาและโลกมีสัญญาต่างกัน นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ฯลฯ
... ‘อัตตาและโลกมีสัญญาเล็กน้อย นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ฯลฯ
... ‘อัตตาและโลกมีสัญญาหาประมาณมิได้ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่
จริง’ ฯลฯ
... ‘อัตตาและโลกมีสุขอย่างเดียว นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ฯลฯ
... ‘อัตตาและโลกมีทุกข์อย่างเดียว นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ฯลฯ
... ‘อัตตาและโลกมีทั้งสุขและทุกข์ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ฯลฯ
สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งซึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตา
และโลกมีทุกข์ก็มิใช่ มีสุขก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ เป็นไปไม่ได้ที่
ญาณเฉพาะตนอันบริสุทธิ์ผุดผ่อง ซึ่งเป็นธรรมอื่นจากความเชื่อ อื่นจากความชอบใจ
อื่นจากการฟังตามกันมา อื่นจากการตรึกตามอาการ อื่นจากการเข้าได้กับทฤษฎี
ที่พินิจไว้ จักมีแก่สมณพราหมณ์เหล่านั้นได้
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อไม่มีญาณเฉพาะตนอันบริสุทธิ์ผุดผ่อง สมณพราหมณ์เหล่านั้น
ย่อมยึดถือเพียงส่วนแห่งความรู้เท่านั้นในเรื่องนั้น แม้ส่วนแห่งความรู้นั้นบัณฑิต
กล่าวว่าเป็นอุปาทานของสมณพราหมณ์เหล่านั้น
สิ่งนี้นั้นยังถูกปัจจัยปรุงแต่ง จึงชื่อว่าหยาบ และความดับของสิ่งที่ถูกปัจจัย
ปรุงแต่งก็มีอยู่ ตถาคตรู้ว่า ‘ความดับนี้มีอยู่’ เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดสิ่งที่ถูก
ปัจจัยปรุงแต่งนั้น จึงล่วงพ้นสิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งนั้นได้ ด้วยอาการอย่างนี้

วาทะของพระพุทธองค์

[๓๐] ภิกษุทั้งหลาย เพราะกามสังโยชน์๑ตั้งอยู่ไม่ได้โดยประการทั้งปวง
เพราะสละคืนทิฏฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอดีต และเพราะสละคืนทิฏฐิอันคล้อยตาม
ขันธ์ส่วนอนาคตได้ สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้จึงเข้าถึงปีติอันเกิดจากวิเวกอยู่


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๒. ปัญจัตตยสูตร

ด้วยสำคัญว่า ‘การที่เราเข้าถึงปีติอันเกิดจากวิเวกอยู่นี้แล สงบ ประณีต’ ปีติอัน
เกิดจากวิเวกนั้นของเธอย่อมดับไป เพราะปีติอันเกิดจากวิเวกดับไป โทมนัสจึง
เกิดขึ้น เพราะโทมนัสดับไป ปีติอันเกิดจากวิเวกจึงเกิดขึ้น
เงาละที่ใดไป แดดก็แผ่ไปถึงที่นั้น แดดละที่ใดไป เงาก็ปกคลุมไปถึงที่นั้น
แม้ฉันใด เพราะปีติอันเกิดจากวิเวกดับไป โทมนัสจึงเกิดขึ้น เพราะโทมนัสดับไป
ปีติอันเกิดจากวิเวกจึงเกิดขึ้น ฉันนั้นเหมือนกัน
ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตรู้ทิฏฐินี้นั้นเป็นอย่างดี เพราะกามสังโยชน์ตั้งอยู่ไม่ได้
โดยประการทั้งปวง เพราะสละคืนทิฏฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอดีต และเพราะสละ
คืนทิฏฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอนาคตได้ สมณะหรือพราหมณ์นี้จึงเข้าถึงปีติอัน
เกิดจากวิเวกอยู่ ด้วยสำคัญว่า ‘การที่เราเข้าถึงปีติอันเกิดจากวิเวกอยู่นี้แล สงบ
ประณีต’ ปีติอันเกิดจากวิเวกนั้นของเธอย่อมดับไป เพราะปีติอันเกิดจากวิเวกดับไป
โทมนัสจึงเกิดขึ้น เพราะโทมนัสดับไป ปีติอันเกิดจากวิเวกจึงเกิดขึ้น
สิ่งนี้นั้นยังถูกปัจจัยปรุงแต่ง จึงชื่อว่าหยาบ และความดับของสิ่งที่ถูกปัจจัย
ปรุงแต่งก็มีอยู่ ตถาคตรู้ว่า ‘ความดับนี้มีอยู่’ เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดสิ่งที่ถูก
ปัจจัยปรุงแต่งนั้น จึงล่วงพ้นสิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งนั้นได้ ด้วยอาการอย่างนี้
[๓๑] ภิกษุทั้งหลาย เพราะกามสังโยชน์ตั้งอยู่ไม่ได้โดยประการทั้งปวง
เพราะสละคืนทิฏฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอดีต และเพราะสละคืนทิฏฐิอันคล้อยตาม
ขันธ์ส่วนอนาคต เพราะก้าวล่วงปีติอันเกิดจากวิเวกได้ สมณะหรือพราหมณ์บางคน
ในโลกนี้จึงเข้าถึงสุขอันปราศจากอามิสอยู่ ด้วยสำคัญว่า ‘การที่เราเข้าถึงสุขอัน
ปราศจากอามิสอยู่นี้แล สงบ ประณีต’ สุขอันปราศจากอามิสนั้นของเธอย่อมดับไป
เพราะสุขอันปราศจากอามิสดับไป ปีติอันเกิดจากวิเวกจึงเกิดขึ้น เพราะปีติอันเกิด
จากวิเวกดับไป สุขอันปราศจากอามิสจึงเกิดขึ้น
เงาละที่ใดไป แดดก็แผ่ไปถึงที่นั้น แดดละที่ใดไป เงาก็ปกคลุมไปถึงที่นั้น
แม้ฉันใด เพราะสุขอันปราศจากอามิสดับไป ปีติอันเกิดจากวิเวกจึงเกิดขึ้น เพราะ
ปีติอันเกิดจากวิเวกดับไป สุขอันปราศจากอามิสจึงเกิดขึ้น ฉันนั้นเหมือนกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๒. ปัญจัตตยสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตรู้ทิฏฐินี้นั้นเป็นอย่างดี เพราะกามสังโยชน์ตั้งอยู่ไม่ได้
โดยประการทั้งปวง เพราะสละคืนทิฏฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอดีต และเพราะสละ
คืนทิฏฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอนาคต เพราะก้าวล่วงปีติอันเกิดจากวิเวกได้ สมณะ
หรือพราหมณ์นี้จึงเข้าถึงสุขอันปราศจากอามิสอยู่ ด้วยสำคัญว่า ‘การที่เราเข้า
ถึงสุขอันปราศจากอามิสอยู่นี้แล สงบ ประณีต’ สุขอันปราศจากอามิสนั้นของเธอ
ย่อมดับไป เพราะสุขอันปราศจากอามิสดับไป ปีติอันเกิดจากวิเวกจึงเกิดขึ้น
เพราะปีติอันเกิดจากวิเวกดับไป สุขอันปราศจากอามิสจึงเกิดขึ้น
สิ่งนี้นั้นยังถูกปัจจัยปรุงแต่ง จึงชื่อว่าหยาบ และความดับของสิ่งที่ถูกปัจจัย
ปรุงแต่งก็มีอยู่ ตถาคตรู้ว่า ‘ความดับนี้มีอยู่’ เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดสิ่งที่ถูก
ปัจจัยปรุงแต่งนั้น จึงล่วงพ้นสิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งนั้นได้ ด้วยอาการอย่างนี้
[๓๒] ภิกษุทั้งหลาย เพราะกามสังโยชน์ตั้งอยู่ไม่ได้โดยประการทั้งปวง
เพราะสละคืนทิฏฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอดีต และเพราะสละคืนทิฏฐิอันคล้อยตาม
ขันธ์ส่วนอนาคต เพราะก้าวล่วงปีติอันเกิดจากวิเวก เพราะก้าวล่วงสุขอันปราศ
จากอามิสได้ สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้จึงเข้าถึงอทุกขมสุขเวทนาอยู่
ด้วยสำคัญว่า ‘การที่เราเข้าถึงอทุกขมสุขเวทนาอยู่นี้แล สงบ ประณีต’ อทุกขม-
สุขเวทนานั้นของเธอย่อมดับไป เพราะอทุกขมสุขเวทนาดับไป สุขอันปราศจาก
อามิสจึงเกิดขึ้น เพราะสุขอันปราศจากอามิสดับไป อทุกขมสุขเวทนาจึงเกิดขึ้น
เงาละที่ใดไป แดดก็แผ่ไปถึงที่นั้น แดดละที่ใดไป เงาก็ปกคลุมไปถึงที่นั้น
แม้ฉันใด เพราะอทุกขมสุขเวทนาดับไป สุขอันปราศจากอามิสจึงเกิดขึ้น เพราะ
สุขอันปราศจากอามิสดับไป อทุกขมสุขเวทนาจึงเกิดขึ้น ฉันนั้นเหมือนกัน
ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตรู้ทิฏฐินี้นั้นเป็นอย่างดี เพราะกามสังโยชน์ตั้งอยู่ไม่ได้
โดยประการทั้งปวง เพราะสละคืนทิฏฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอดีต และเพราะสละ
คืนทิฏฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอนาคตได้ เพราะก้าวล่วงปีติอันเกิดจากวิเวก เพราะ
ก้าวล่วงสุขอันปราศจากอามิสได้ สมณะหรือพราหมณ์นี้จึงเข้าถึงอทุกขมสุขเวทนา
อยู่ ด้วยสำคัญว่า ‘การที่เราเข้าถึงอทุกขมสุขเวทนาอยู่นี้แล สงบ ประณีต’ อทุกขม-
สุขเวทนานั้นของเธอย่อมดับไป เพราะอทุกขมสุขเวทนาดับไป สุขอันปราศจาก
อามิสจึงเกิดขึ้น เพราะสุขอันปราศจากอามิสดับไป อทุกขมสุขเวทนาจึงเกิดขึ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๒. ปัญจัตตยสูตร

สิ่งนี้นั้นยังถูกปัจจัยปรุงแต่ง จึงชื่อว่าหยาบ และความดับของสิ่งที่ถูกปัจจัย
ปรุงแต่งก็มีอยู่ ตถาคตรู้ว่า 'ความดับนี้มีอยู่' เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดสิ่งที่ถูก
ปัจจัยปรุงแต่งนั้น จึงล่วงพ้นสิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งนั้นได้ ด้วยอาการอย่างนี้
[๓๓] ภิกษุทั้งหลาย เพราะกามสังโยชน์ตั้งอยู่ไม่ได้โดยประการทั้งปวง
เพราะสละคืนทิฏฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอดีต และเพราะสละคืนทิฏฐิอันคล้อยตาม
ขันธ์ส่วนอนาคต เพราะก้าวล่วงปีติอันเกิดจากวิเวก เพราะก้าวล่วงสุขอันปราศจากอามิส
เพราะก้าวล่วงอทุกขมสุขเวทนาได้ สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ จึง
พิจารณาเห็นว่า 'เราเป็นผู้สงบระงับ เป็นผู้ดับ เป็นผู้ไม่มีอุปาทาน'
ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตรู้ทิฏฐินี้นั้นเป็นอย่างดี เพราะกามสังโยชน์ตั้งอยู่ไม่ได้
โดยประการทั้งปวง เพราะสละคืนทิฏฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอดีต และเพราะสละ
คืนทิฏฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอนาคต เพราะก้าวล่วงปีติอันเกิดจากวิเวก เพราะ
ก้าวล่วงสุขอันปราศจากอามิส เพราะก้าวล่วงอทุกขมสุขเวทนาได้ สมณะหรือ
พราหมณ์นี้ จึงพิจารณาเห็นว่า 'เราเป็นผู้สงบระงับ เป็นผู้ดับ เป็นผู้ไม่มีอุปาทาน'
นี้แล ท่านผู้นี้ย่อมกล่าวยืนยันปฏิปทาที่เอื้ออำนวยให้ถึงนิพพานอย่างเดียวโดยแท้
แต่สมณะหรือพราหมณ์นี้ เมื่อยังถือมั่นทิฏฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอดีต ก็ชื่อว่า
ยังถือมั่นอยู่ เมื่อถือมั่นทิฏฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอนาคต ก็ชื่อว่ายังถือมั่น
อยู่ เมื่อถือมั่นกามสังโยชน์ ก็ชื่อว่ายังถือมั่นอยู่ เมื่อถือมั่นปีติอันเกิดจากวิเวก
ก็ชื่อว่ายังถือมั่นอยู่ เมื่อถือมั่นสุขอันปราศจากอามิส ก็ชื่อว่ายังถือมั่นอยู่ หรือ
เมื่อถือมั่นอทุกขมสุขเวทนา ก็ชื่อว่ายังถือมั่นอยู่ แม้ข้อที่ท่านผู้นี้พิจารณาเห็นว่า
'เราเป็นผู้สงบระงับ เป็นผู้ดับ เป็นผู้ไม่มีอุปาทาน' นั้น บัณฑิตเรียกว่าอุปาทาน
ของสมณพราหมณ์นี้
สิ่งนี้นั้นยังถูกปัจจัยปรุงแต่ง จึงชื่อว่าหยาบ และความดับของสิ่งที่ถูกปัจจัย
ปรุงแต่งก็มีอยู่ ตถาคตรู้ว่า 'ความดับนี้มีอยู่' เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดสิ่งที่ถูก
ปัจจัยปรุงแต่งนั้น จึงล่วงพ้นสิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งนั้นได้ ด้วยอาการอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๓. กินติสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ก็สันติวรบท(บทอันประเสริฐสงบ) ไม่มีบทอื่นยิ่งกว่า ที่ตถาคต
รู้แล้วนี้ คือ ความรู้เหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องสลัดออก
จากผัสสายตนะ ๖๑ ตามความเป็นจริง แล้วจึงหลุดพ้นได้เพราะไม่ถือมั่น
สันติวรบทที่ตถาคตรู้แล้วนี้นั้น คือ ความรู้เหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษ และ
อุบายเป็นเครื่องสลัดออกจากผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง แล้วจึงหลุดพ้นได้
เพราะไม่ถือมั่น‘๒
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชม
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

ปัญจัตตยสูตรที่ ๒ จบ

๓. กินติสูตร
ว่าด้วยภิกษุคิดอย่างไรในพระพุทธเจ้า

[๓๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าชัฏ อันเป็นสถานที่บวงสรวง
พลีกรรม เขตกรุงกุสินารา ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๓. กินติสูตร

“ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายมีความคิดอย่างไรในเราบ้างหรือว่า ‘พระสมณ
โคดมแสดงธรรมเพราะเหตุแห่งจีวร พระสมณโคดมแสดงธรรมเพราะเหตุแห่งบิณฑบาต
พระสมณโคดมแสดงธรรมเพราะเหตุแห่งเสนาสนะ หรือพระสมณโคดมแสดงธรรม
เพราะเหตุแห่งภพน้อยและภพใหญ่ ด้วยอาการอย่างนี้”
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่มี
ความคิดในพระผู้มีพระภาค อย่างนี้เลยว่า ‘พระสมณโคดมแสดงธรรมเพราะเหตุ
แห่งจีวร พระสมณโคดมแสดงธรรมเพราะเหตุแห่งบิณฑบาต พระสมณโคดม
แสดงธรรมเพราะเหตุแห่งเสนาสนะ หรือพระสมณโคดมแสดงธรรมเพราะเหตุแห่ง
ภพน้อยและภพใหญ่ ด้วยอาการอย่างนี้”
“ภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่าเธอทั้งหลายไม่มีความคิดในเราอย่างนี้เลยว่า ‘พระ
สมณโคดมแสดงธรรมเพราะเหตุแห่งจีวร พระสมณโคดมแสดงธรรมเพราะเหตุแห่ง
บิณฑบาต พระสมณโคดมแสดงธรรมเพราะเหตุแห่งเสนาสนะ หรือพระสมณโคดม
แสดงธรรมเพราะเหตุแห่งภพน้อยและภพใหญ่ ด้วยอาการอย่างนี้’ ถ้าเช่นนั้น
เธอทั้งหลายมีความคิดอย่างไรในเราเล่า”
“ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความคิดในพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า ‘พระผู้มีพระภาค
ทรงมีความเอ็นดู แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความอนุเคราะห์จึงทรงแสดงธรรม’
พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่าเธอทั้งหลายมีความคิดอย่างนี้ในเราว่า ‘พระผู้มี
พระภาคทรงมีความเอ็นดู แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความอนุเคราะห์จึงทรง
แสดงธรรม’
[๓๕] ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่าใดที่เราแสดงแล้วแก่เธอ
ทั้งหลายในที่นี้ด้วยความรู้ยิ่ง คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔
อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ เธอทั้งหมดพึงเป็นผู้
สามัคคีกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน ตั้งใจศึกษาในธรรมเหล่านั้น แต่เมื่อเธอ
ทั้งหลายสามัคคีกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่ จะพึงมีภิกษุ ๒ พวก
ที่มีวาทะต่างกันในอภิธรรม๑บ้าง


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๓. กินติสูตร

ถ้าเธอทั้งหลายมีความคิดในโพธิปักขิยธรรม(ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งธรรม
เครื่องตรัสรู้) เหล่านั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านเหล่านี้มีความขัดแย้งกันโดยอรรถและมี
ความขัดแย้งกันโดยพยัญชนะ‘๑ เธอทั้งหลายพึงเข้าใจบรรดาภิกษุเหล่านั้นว่า ภิกษุ
รูปใดเป็นผู้ที่ตักเตือนได้ง่ายกว่า ควรเข้าไปหาภิกษุรูปนั้นแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า
‘ท่านทั้งหลายมีความขัดแย้งกันโดยอรรถและมีความขัดแย้งกันโดยพยัญชนะ ขอ
ท่านทั้งหลายจงทราบความขัดแย้งกันนี้นั้นว่า ‘เป็นความขัดแย้งกันโดยอรรถและ
เป็นความขัดแย้งกันโดยพยัญชนะ ท่านทั้งหลายอย่าถึงกับวิวาทกันเลย’ ต่อจาก
นั้นเธอทั้งหลายพึงเข้าใจบรรดาภิกษุผู้เป็นฝ่ายเดียวกันเหล่าอื่นว่า ภิกษุรูปใดเป็นผู้
ที่ตักเตือนได้ง่ายกว่า ควรเข้าไปหาภิกษุรูปนั้นแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย
มีความขัดแย้งกันโดยอรรถและมีความขัดแย้งกันโดยพยัญชนะ ขอท่านทั้งหลายจง
ทราบความขัดแย้งกันนี้นั้นว่า ‘เป็นความขัดแย้งกันโดยอรรถและเป็นความขัดแย้ง
กันโดยพยัญชนะ ขอท่านทั้งหลายอย่าถึงกับวิวาทกันเลย’
เธอทั้งหลายพึงจำข้อที่ภิกษุเหล่านั้นยึดถือผิดโดยความยึดถือผิด ครั้นจำได้แล้ว
พึงกล่าวธรรมวินัย ด้วยอาการอย่างนี้
[๓๖] ถ้าเธอทั้งหลายมีความคิดในโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่าน
เหล่านี้มีความขัดแย้งกันโดยอรรถ ลงกันได้โดยพยัญชนะ’ เธอทั้งหลายพึงเข้าใจ
บรรดาภิกษุเหล่านั้นว่า ภิกษุรูปใดเป็นผู้ที่ตักเตือนได้ง่ายกว่า ควรเข้าไปหาภิกษุ
รูปนั้นแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลายมีความขัดแย้งกันโดยอรรถ ลงกันได้โดย
พยัญชนะ ขอท่านทั้งหลายจงทราบความขัดแย้งกันและความลงกันนี้นั้นว่า ‘เป็น
ความขัดแย้งกันโดยอรรถ ลงกันได้โดยพยัญชนะ ท่านทั้งหลายอย่าถึงกับวิวาทกัน
เลย’ ต่อจากนั้นเธอทั้งหลายพึงเข้าใจบรรดาภิกษุผู้เป็นฝ่ายเดียวกันเหล่าอื่นว่า ภิกษุ
รูปใดเป็นผู้ที่ตักเตือนได้โดยง่ายกว่า ควรเข้าไปหาภิกษุรูปนั้นแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๓. กินติสูตร

‘ท่านทั้งหลายมีความขัดแย้งกันโดยอรรถ ลงกันได้โดยพยัญชนะ ขอท่านทั้งหลาย
จงทราบความขัดแย้งกันและความลงกันนี้นั้นว่า ‘เป็นความขัดแย้งกันโดยอรรถ
ลงกันได้โดยพยัญชนะ ขอท่านทั้งหลายอย่าถึงกับวิวาทกันเลย’
เธอทั้งหลายพึงจำข้อที่ภิกษุเหล่านั้นยึดถือผิดโดยความยึดถือผิด พึงจำข้อที่
ภิกษุเหล่านั้นยึดถือถูกโดยความยึดถือถูก ครั้นจำได้แล้ว พึงกล่าวธรรมวินัย
ด้วยอาการอย่างนี้
[๓๗] ถ้าเธอทั้งหลายมีความคิดในโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่าน
เหล่านี้ลงกันได้โดยอรรถ มีความขัดแย้งกันโดยพยัญชนะ’ เธอทั้งหลายพึงเข้าใจ
บรรดาภิกษุเหล่านั้นว่าภิกษุรูปใดเป็นผู้ที่ตักเตือนได้ง่ายกว่า ควรเข้าไปหาภิกษูรูป
นั้นแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลายลงกันได้โดยอรรถ มีความขัดแย้งกันโดย
พยัญชนะ ขอท่านทั้งหลายจงทราบความขัดแย้งกันนี้นั้นว่า ‘ลงกันได้โดยอรรถ
มีความขัดแย้งกันโดยพยัญชนะ ก็เรื่องพยัญชนะนี้เป็นเรื่องเล็กน้อย ท่านทั้งหลาย
อย่าถึงกับวิวาทกันในเรื่องเล็กน้อยเลย’ ต่อจากนั้นเธอทั้งหลายพึงเข้าใจบรรดา
ภิกษุผู้เป็นฝ่ายเดียวกันเหล่าอื่นว่า ภิกษุรูปใดเป็นผู้ที่ตักเตือนได้ง่ายกว่า ควรเข้าไป
หาภิกษุรูปนั้นแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย ลงกันได้โดยอรรถ มีความ
ขัดแย้งกันโดยพยัญชนะ ขอท่านทั้งหลายจงทราบความลงกันและความขัดแย้งกันนี้
นั้นว่า ‘ลงกันโดยอรรถ มีความขัดแย้งกันโดยพยัญชนะ ก็เรื่องพยัญชนะนี้เป็น
เรื่องเล็กน้อย ขอท่านทั้งหลายอย่าถึงกับวิวาทกันในเรื่องเล็กน้อยเลย’
เธอทั้งหลายพึงจำข้อที่ภิกษุเหล่านั้นยึดถือถูกโดยความยึดถือถูก พึงจำข้อที่
ภิกษุเหล่านั้นยึดถือผิดโดยความยึดถือผิด ครั้นจำได้แล้ว พึงกล่าวธรรมวินัย
ด้วยอาการอย่างนี้
[๓๘] ถ้าเธอทั้งหลายมีความคิดในโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่าน
เหล่านี้ลงกันได้โดยอรรถและลงกันได้โดยพยัญชนะ’ เธอทั้งหลายพึงเข้าใจบรรดา
ภิกษุเหล่านั้นว่า ภิกษุรูปใดเป็นผู้ที่ตักเตือนได้ง่ายกว่า ควรเข้าไปหาภิกษุรูปนั้นแล้ว
กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลายลงกันได้โดยอรรถและลงกันได้โดยพยัญชนะ ขอ
ท่านทั้งหลายจงทราบความลงกันนี้นั้นว่า ‘ลงกันโดยอรรถและลงกันโดยพยัญชนะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๓. กินติสูตร

ขอท่านทั้งหลายอย่าถึงกับวิวาทกันเลย' ต่อจากนั้นเธอทั้งหลายพึงเข้าใจบรรดา
ภิกษุผู้เป็นฝ่ายเดียวกันเหล่าอื่นว่า ภิกษุรูปใดเป็นผู้ที่ตักเตือนได้โดยง่ายกว่า ควร
เข้าไปหาภิกษุรูปนั้นแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า 'ท่านทั้งหลายลงกันได้โดยอรรถและลงกัน
ได้โดยพยัญชนะ ขอท่านทั้งหลายจงทราบความลงกันนี้นั้นว่า 'ลงกันโดยอรรถและ
ลงกันได้โดยพยัญชนะ ขอท่านทั้งหลายอย่าถึงกับวิวาทกันเลย'
เธอทั้งหลายพึงจำข้อที่ภิกษุเหล่านั้นยึดถือถูกโดยความยึดถือถูก ครั้นจำได้แล้ว
พึงกล่าวธรรมวินัย ด้วยอาการอย่างนี้
[๓๙] ภิกษุทั้งหลาย แต่เมื่อเธอทั้งหลายสามัคคีกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน
ศึกษา๑อยู่ ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งพึงต้องอาบัติ ล่วงละเมิดบัญญัติ เธอทั้งหลายไม่
ควรกล่าวหาภิกษุรูปนั้นด้วยข้อกล่าวหาในเรื่องนั้น พึงใคร่ครวญบุคคลก่อนว่า
'ความไม่ลำบากจักมีแก่เรา และความไม่ขัดใจจักมีแก่บุคคลอื่น เพราะบุคคลอื่น
เป็นผู้ไม่โกรธ ไม่ผูกโกรธ ไม่ดื้อรั้น สละคืนได้ง่าย และเราสามารถจะให้เขาออก
จากอกุศลแล้วให้ดำรงอยู่ในกุศลได้ ด้วยอาการอย่างนี้' ถ้าเธอทั้งหลายมีความ
เห็นอย่างนี้ ก็ควรกล่าวหา
อนึ่ง ถ้าเธอทั้งหลายมีความเห็นอย่างนี้ว่า 'ความไม่ลำบากจักมีแก่เรา และ
ความขัดใจจักมีแก่บุคคลอื่น เพราะบุคคลอื่นเป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธ ดื้อรั้น สละ
คืนได้ง่าย และเราสามารถจะให้เขาออกจากอกุศลแล้วให้ดำรงอยู่ในกุศลได้ ก็เรื่อง
ความขัดใจของบุคคลอื่นนี้เป็นเรื่องเล็กน้อย ส่วนเรื่องที่เราสามารถจะให้เขาออก
จากอกุศลแล้วให้ดำรงอยู่ในกุศลนั้น เป็นเรื่องใหญ่กว่า' ถ้าเธอทั้งหลายมีความ
เห็นอย่างนี้ ก็ควรกล่าวหา
อนึ่ง ถ้าเธอทั้งหลายมีความเห็นอย่างนี้ว่า 'ความลำบากจักมีแก่เรา และ
ความไม่ขัดใจจักมีแก่บุคคลอื่น เพราะบุคคลอื่นเป็นผู้ไม่โกรธ ไม่ผูกโกรธ ดื้อรั้น
สละคืนได้ยาก และเราสามารถจะให้เขาออกจากอกุศลแล้วให้ดำรงอยู่ในกุศลได้ ก็
เรื่องความลำบากของเรานี้เป็นเรื่องเล็กน้อย ส่วนเรื่องที่เราสามารถจะให้เขาออก
จากอกุศลแล้วให้ดำรงอยู่ในกุศลได้นั้น เป็นเรื่องใหญ่กว่า' ถ้าเธอทั้งหลายมีความ
เห็นอย่างนี้ ก็ควรกล่าวหา


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๓. กินติสูตร

อนึ่ง ถ้าเธอทั้งหลายมีความเห็นอย่างนี้ว่า ‘ความลำบากจักมีแก่เราด้วย
ความขัดใจจักมีแก่บุคคลอื่นด้วย เพราะบุคคลอื่นเป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธ ดื้อรั้น
สละคืนได้ยาก และเราสามารถจะให้เขาออกจากอกุศลแล้วให้ดำรงอยู่ในกุศลได้ ก็
เรื่องความลำบากของเราและความขัดใจของบุคคลอื่นนี้เป็นเรื่องเล็กน้อย ส่วนเรื่อง
ที่เราสามารถจะให้เขาออกจากอกุศลแล้วให้ดำรงอยู่ในกุศลได้นั้น เป็นเรื่องใหญ่กว่า’
ถ้าเธอทั้งหลายมีความเห็นอย่างนี้ ก็ควรกล่าวหา
ภิกษุทั้งหลาย แต่ถ้าเธอทั้งหลายมีความเห็นอย่างนี้ว่า ‘ความลำบากจักมี
แก่เราด้วย ความขัดใจจักมีแก่บุคคลอื่นด้วย เพราะบุคคลอื่นเป็นผู้มักโกรธ
ผูกโกรธ ดื้อรั้น สละคืนได้ยาก และเราก็ไม่สามารถจะให้เขาออกจากอกุศลแล้ว
ให้ดำรงอยู่ในกุศลได้’ เธอทั้งหลายก็อย่าพึงดูหมิ่นความวางเฉยในบุคคลเช่นนี้
[๔๐] ภิกษุทั้งหลาย แต่เมื่อเธอทั้งหลายสามัคคีกัน ร่วมใจกัน ไม่
วิวาทกัน ศึกษาอยู่ พึงเกิดการพูดยุแหย่กัน มีความเห็นแตกแยกกัน ผูกใจเจ็บ
ไม่เชื่อถือกัน ไม่ยินดีต่อกันได้ เธอทั้งหลายพึงเข้าใจบรรดาภิกษุผู้เป็นฝ่ายเดียวกัน
ในที่นั้นว่า ภิกษุรูปใดเป็นผู้ที่ตักเตือนได้ง่ายกว่า ควรเข้าไปหาภิกษุรูปนั้นแล้ว
กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย พระสมณะเมื่อทรงทราบเรื่องที่เราสามัคคีกัน ร่วม
ใจกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่ พึงเกิดการพูดยุแหย่กัน มีความเห็นแตกแยกกัน
ผูกใจเจ็บ ไม่เชื่อถือกัน ไม่ยินดีต่อกันนั้น จะทรงตำหนิไหม’
ภิกษุเมื่อจะชี้แจงโดยชอบ พึงชี้แจงอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย พระสมณะเมื่อ
ทรงทราบเรื่องที่เราทั้งหลายสามัคคีกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่
พึงเกิดการพูดยุแหย่กัน มีความเห็นแตกแยกกัน ผูกใจเจ็บ ไม่เชื่อถือกัน ไม่
ยินดีต่อกันนั้น จะทรงตำหนิได้’ ก็ภิกษุอื่นพึงถามเธอว่า ‘ท่านทั้งหลาย ภิกษุไม่
ละธรรม๑นี้แล้ว จะพึงทำนิพพานให้แจ้งได้หรือ’ ภิกษุเมื่อจะชี้แจงโดยชอบ พึง
ชี้แจงอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรมนี้แล้ว พึงทำนิพพานให้แจ้งไม่ได้’


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๓. กินติสูตร

ต่อจากนั้น เธอทั้งหลายพึงเข้าใจบรรดาภิกษุผู้เป็นฝ่ายเดียวกันเหล่าอื่นว่า
ภิกษุรูปใดเป็นผู้ที่ตักเตือนได้ง่ายกว่า ควรเข้าไปหาภิกษุรูปนั้นแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า
‘ท่านทั้งหลาย พระสมณะเมื่อทรงทราบเรื่องที่เราทั้งหลายสามัคคีกัน ร่วมใจกัน
ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่ พึงเกิดการพูดยุแหย่กัน มีความเห็นแตกแยกกัน ผูกใจเจ็บ
ไม่เชื่อถือกัน ไม่ยินดีต่อกันนั้น จะทรงตำหนิไหม’ ภิกษุเมื่อจะชี้แจงโดยชอบ พึง
ชี้แจงอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย พระสมณะเมื่อทรงทราบเรื่องที่เราทั้งหลาย
สามัคคีกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่ พึงเกิดการพูดยุแหย่กัน มีความ
เห็นแตกแยกกัน ผูกใจเจ็บ ไม่เชื่อถือกัน ไม่ยินดีต่อกันนั้น จะทรงตำหนิได้’ ก็
ภิกษุอื่นจะพึงถามเธอว่า ‘ท่านทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรมนี้แล้ว จะพึงทำนิพพาน
ให้แจ้งได้หรือ’ ภิกษุเมื่อจะชี้แจงโดยชอบ พึงชี้แจงอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย
ภิกษุไม่ละธรรมนี้แล้ว พึงทำนิพพานให้แจ้งไม่ได้’
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเหล่าอื่นพึงถามภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุ
ภิกษุเหล่านี้ของเราทั้งหลายอันท่านให้ออกจากอกุศล ให้ดำรงอยู่ในกุศลแล้วหรือ’
ภิกษุเมื่อจะชี้แจงโดยชอบ พึงชี้แจงอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย ในเรื่องนี้กระผม
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรม๑แก่
กระผม กระผมฟังธรรมของพระองค์แล้วได้บอกแก่ภิกษุเหล่านั้น ภิกษุเหล่านั้นฟัง
ธรรมนั้นแล้ว ออกจากอกุศล ดำรงอยู่ในกุศลได้แล้ว’ ภิกษุเมื่อชี้แจงอย่างนี้
ชื่อว่าไม่ยกตน ไม่ข่มบุคคลอื่น และชื่อว่าชี้แจงอย่างสมเหตุสมผล ไม่มีเลยที่คำ
กล่าวเช่นนั้นและคำที่กล่าวต่อ ๆ กันมาจะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

กินติสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๔. สามคาสูตร

๔. สามคามสูตร
ว่าด้วยเหตุการณ์ในหมู่บ้านสามคาม

[๔๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ หมู่บ้านสามคาม แคว้นสักกะ
สมัยนั้นแล นิครนถ์ นาฏบุตรได้ถึงแก่กรรมไม่นาน ที่กรุงปาวา เพราะการถึง
แก่กรรมของนิครนถ์ นาฏบุตรนั้น นิครนถ์ทั้งหลายได้แตกกันเป็น ๒ ฝ่าย ต่าง
บาดหมางกัน ทะเลาะวิวาทกัน ใช้หอกคือปากทิ่มแทงกันอยู่ว่า
“ท่านไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ แต่ผมรู้ทั่วถึง ท่านจักรู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ได้
อย่างไร ท่านปฏิบัติผิด แต่ผมปฏิบัติถูก คำพูดของผมมีประโยชน์ แต่คำพูดของ
ท่านไม่มีประโยชน์ คำที่ควรพูดก่อนท่านกลับพูดภายหลัง คำที่ควรพูดภายหลัง
ท่านกลับพูดเสียก่อน เรื่องที่ท่านเคยชินได้ผันแปรไปแล้ว ผมจับผิดคำพูดของท่าน
ได้แล้ว ผมข่มท่านได้แล้ว ถ้าท่านมีความสามารถก็จงหาทางแก้คำพูดหรือเปลื้อง
ตนให้พ้นผิดเถิด”๑
นิครนถ์เหล่านั้นทะเลาะกันแล้ว เห็นจะมีแต่การฆ่ากันอย่างเดียวเท่านั้นที่จะ
ลุกลามไปในหมู่ศิษย์ของนิครนถ์ นาฏบุตร แม้พวกสาวกของนิครนถ์ นาฏบุตรผู้
เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว ก็เป็นผู้เบื่อหน่าย คลายความรัก รู้สึกท้อถอยใน
หมู่ศิษย์ของนิครนถ์ นาฏบุตร ทั้งนี้ เพราะธรรมวินัยที่นิครนถ์ นาฏบุตรกล่าวไว้
ไม่ดี ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบระงับ
เป็นธรรมวินัยที่ผู้มิใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้ เป็นธรรมวินัยที่มีที่พำนัก
ถูกทำลายเสียแล้ว เป็นธรรมวินัยที่ไม่มีที่พึ่งอาศัย
[๔๒] ครั้งนั้น พระจุนทสมณุทเทส๒จำพรรษาอยู่ในกรุงปาวาได้เข้าไปหา
ท่านพระอานนท์ถึงหมู่บ้านสามคาม กราบแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับ
ท่านพระอานนท์ว่า


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๔. สามคาสูตร

“ท่านผู้เจริญ นิครนถ์ นาฏบุตรได้ถึงแก่กรรมไม่นานที่กรุงปาวา เพราะการ
ถึงแก่กรรมของนิครนถ์ นาฏบุตรนั้น นิครนถ์ทั้งหลายได้แตกกันเป็น ๒ ฝ่าย ฯลฯ
เป็นธรรมวินัยที่มีที่พำนักถูกทำลายเสียแล้ว เป็นธรรมวินัยที่ไม่มีที่พึ่งอาศัย”
เมื่อพระจุนทสมณุทเทสกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กล่าวว่า “คุณ
จุนทะ เรื่องนี้มีเค้าพอจะเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคได้ มาเถิดคุณจุนทะ เราทั้งสอง
จักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ แล้วกราบทูลเรื่องนี้แด่พระผู้มีพระภาค”
พระจุนทสมณุทเทสรับคำท่านพระอานนท์แล้ว
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์และพระจุนทสมณุทเทสเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง
ที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ท่านพระ
อานนท์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระจุนทสมณุทเทสนี้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘นิครนถ์
นาฏบุตรได้ถึงแก่กรรมไม่นานที่กรุงปาวา เพราะการถึงแก่กรรมของนิครนถ์
นาฏบุตรนั้น นิครนถ์ทั้งหลายได้แตกกันเป็น ๒ ฝ่าย ต่างบาดหมางกัน ทะเลาะ
วิวาทกัน ใช้หอกคือปากทิ่มแทงกันอยู่ว่า ‘ท่านไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ แต่ผมรู้
ทั่วถึง ฯลฯ เป็นธรรมวินัยที่มีที่พำนักถูกทำลายเสียแล้ว เป็นธรรมวินัยที่ไม่มีที่
พึ่งอาศัย’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์คิดอย่างนี้ว่า ‘สมัยเมื่อพระผู้มีพระภาค
เสด็จล่วงลับไป ความวิวาทอย่าได้เกิดขึ้นในสงฆ์เลย เพราะความวิวาทนั้น เป็นไป
เพื่อไม่ใช่เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่ประโยชน์แก่
คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย”
[๔๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
คือ ธรรมทั้งหลาย คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕
พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ ที่เราแสดงแล้วแก่เธอทั้งหลายด้วย
ความรู้ยิ่ง เธอเห็นภิกษุของเราแม้ ๒ รูป มีวาทะต่างกันในธรรมเหล่านี้บ้างไหม”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๔. สามคาสูตร

ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลาย คือ
สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗
อริยมรรคมีองค์ ๘ ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วแก่ข้าพระองค์ทั้งหลายด้วย
ความรู้ยิ่ง ข้าพระองค์ยังไม่เห็นภิกษุแม้ ๒ รูปมีวาทะต่างกันในธรรมเหล่านี้เลย
แต่มีบุคคลทั้งหลายผู้อาศัยพระผู้มีพระภาคอยู่ เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จล่วงลับไป
พึงก่อการวิวาทให้เกิดขึ้นในสงฆ์ ในเพราะอาชีวะอันเคร่งครัด๑หรือปาติโมกข์อัน
เคร่งครัด๒การวิวาทนั้นพึงเป็นไปเพื่อไม่ใช่เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คน
หมู่มาก เพื่อไม่ใช่ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย พระพุทธเจ้าข้า”
“อานนท์ การวิวาทที่เกิดเพราะอาชีวะอันเคร่งครัด หรือปาติโมกข์อัน
เคร่งครัดนั้นเป็นเรื่องเล็กน้อย ความจริง การวิวาทใดเมื่อเกิดในสงฆ์พึงเกิดเพราะ
มรรคหรือปฏิปทา๓ การวิวาทนั้นพึงเป็นไปเพื่อไม่ใช่เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๔. สามคาสูตร

สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

มูลเหตุแห่งการวิวาท

[๔๔] อานนท์ มูลเหตุแห่งการวิวาท ๖ ประการนี้
มูลเหตุแห่งการวิวาท ๖ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มักโกรธ มีความผูกโกรธ ภิกษุใดเป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธไว้
ภิกษุนั้นไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงแม้ในพระศาสดา ไม่
มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงแม้ในพระธรรม ไม่มีความเคารพ
ไม่มีความยำเกรงแม้ในพระสงฆ์อยู่ และไม่ทำสิกขา๑ให้บริบูรณ์
อานนท์ ภิกษุใดไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระศาสดา
... ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ และไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์
ภิกษุนั้นย่อมก่อการวิวาทให้เกิดขึ้นในสงฆ์ ซึ่งเป็นไปเพื่อไม่ใช่
เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่
ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย ถ้าเธอทั้งหลายพิจารณาเห็นมูลเหตุแห่งการ
วิวาทเช่นนี้ภายในหรือภายนอก เธอทั้งหลายพึงพยายามเพื่อละ
มูลเหตุแห่งการวิวาทที่เป็นบาปภายในหรือภายนอกนั้น ถ้าเธอ
ทั้งหลายไม่พิจารณาเห็นมูลเหตุแห่งการวิวาทเช่นนี้ภายในหรือ
ภายนอก เธอทั้งหลายพึงปฏิบัติเพื่อให้มูลเหตุแห่งการวิวาทที่เป็น
บาปนั้นไม่ยืดเยื้อต่อไป การละมูลเหตุแห่งการวิวาทที่เป็นบาปนั้น
ย่อมมีได้ และมูลเหตุแห่งการวิวาทที่เป็นบาปนั้น ย่อมไม่ยืดเยื้อ
ต่อไป ด้วยอาการอย่างนี้


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๔. สามคาสูตร

[๔๕] ๒. เป็นผู้ลบหลู่ เป็นผู้ตีเสมอ...
๓. เป็นผู้ริษยา มีความตระหนี่...
๔. เป็นผู้โอ้อวด มีมารยา...
๕. เป็นผู้มีความปรารถนาชั่ว เป็นมิจฉาทิฏฐิ...
๖. เป็นผู้ยึดมั่นทิฏฐิของตน มีความถือรั้น สละสิ่งที่ตนยึดมั่นได้ยาก
อานนท์ ภิกษุใดเป็นผู้ยึดมั่นทิฏฐิของตน มีความถือรั้น สละสิ่งที่
ตนยึดมั่นได้ยาก ภิกษุนั้นย่อมไม่มีความเคารพ ไม่มีความ
ยำเกรงแม้ในพระศาสดา ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงแม้
ในพระธรรม ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงแม้ในพระสงฆ์อยู่
และไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์ อานนท์ ภิกษุใดไม่มีความเคารพ ไม่
มีความยำเกรงในพระศาสดา... ในพระธรรม... ในพระสงฆ์ และ
ไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์ ภิกษุนั้นย่อมก่อการวิวาทให้เกิดขึ้นในสงฆ์
ซึ่งเป็นไปเพื่อไม่ใช่เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก
เพื่อไม่ใช่ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย อานนท์ ถ้าเธอทั้งหลายพิจารณาเห็น
มูลเหตุแห่งการวิวาทเช่นนี้ทั้งภายในหรือภายนอก เธอทั้งหลาย
พึงพยายามเพื่อละมูลเหตุแห่งการวิวาทที่เป็นบาปนั้นแลทั้งภายใน
หรือภายนอกนั้น ถ้าเธอทั้งหลายไม่พิจารณาเห็นมูลเหตุแห่งการ
วิวาทเช่นนี้ทั้งภายในหรือภายนอก เธอทั้งหลายพึงปฏิบัติเพื่อให้
มูลเหตุแห่งการวิวาทที่เป็นบาปนั้นแลไม่ยืดเยื้อต่อไป การละมูล
เหตุแห่งการวิวาท ที่เป็นบาปนั้นแลย่อมมีได้ และมูลเหตุแห่งการ
วิวาท ที่เป็นบาปนั้น ย่อมไม่ยืดเยื้อต่อไป ด้วยอาการอย่างนี้
อานนท์ มูลเหตุแห่งการวิวาทมี ๖ ประการนี้แล๑


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๔. สามคาสูตร

อธิกรณ์และวิธีระงับอธิกรณ์

[๔๖] อานนท์ อธิกรณ์๑ ๔ ประการนี้
อธิกรณ์ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. วิวาทาธิกรณ์ ๒. อนุวาทาธิกรณ์
๓. อาปัตตาธิกรณ์ ๔. กิจจาธิกรณ์

อธิกรณ์มี ๔ ประการนี้แล
อธิกรณสมถะ ๗ ประการนี้ คือ

๑. สัมมุขาวินัย ๒. สติวินัย
๓. อมูฬหวินัย ๔. ปฏิญญาตกรณะ
๕. เยภุยยสิกา ๖. ตัสสปาปิยสิกา
๗. ติณวัตถารกะ

อันสงฆ์พึงให้ เพื่อสงบระงับอธิกรณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว ๆ
[๔๗] สัมมุขาวินัย เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ย่อมวิวาทกันว่า ‘นี่เป็นธรรมบ้าง นี่ไม่เป็น
ธรรมบ้าง นี่เป็นวินัยบ้าง นี่ไม่เป็นวินัยบ้าง’ ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด พึง
พร้อมเพรียงกันประชุม ครั้นประชุมแล้ว พึงพิจารณาธรรมเนติ ครั้นพิจารณา
แล้ว พึงให้อธิกรณ์นั้นระงับโดยอาการที่เรื่องในธรรมเนตินั้นลงกันได้
อานนท์ สัมมุขาวินัย เป็นอย่างนี้ การระงับอธิกรณ์บางอย่างในธรรมวินัยนี้
ย่อมมีได้ด้วยสัมมุขาวินัยอย่างนี้
[๔๘] เยภุยยสิกา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุเหล่านั้นไม่อาจระงับอธิกรณ์นั้นในอาวาสนั้นได้ จึงพากันไปยังอาวาส
ที่มีภิกษุมากกว่า ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดพึงพร้อมเพรียงกันประชุมในอาวาสนั้น


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๔. สามคาสูตร

ครั้นประชุมแล้ว พึงพิจารณาธรรมเนติ ครั้นพิจารณาแล้ว พึงให้อธิกรณ์นั้นระงับ
โดยอาการที่เรื่องในธรรมเนตินั้นลงกันได้
อานนท์ เยภุยยสิกา เป็นอย่างนี้ การระงับอธิกรณ์บางอย่างในธรรมวินัยนี้
ย่อมมีได้ด้วยเยภุยยสิกาอย่างนี้
[๔๙] สติวินัย เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ย่อมกล่าวหาภิกษุด้วยอาบัติหนักเห็นปานนี้
คือ ปาราชิก หรือใกล้เคียงปาราชิกว่า ‘ท่านผู้มีอายุระลึกได้หรือว่า ‘ท่านต้อง
อาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิก หรือใกล้เคียงปาราชิก’ ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า
‘ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าระลึกไม่ได้เลยว่า ‘ข้าพเจ้าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ
ปาราชิก หรือใกล้เคียงปาราชิก’ เมื่อเป็นเช่นนี้ สงฆ์พึงให้สติวินัยแก่ภิกษุนั้น
อานนท์ สติวินัย เป็นอย่างนี้ การระงับอธิกรณ์บางอย่างในธรรมวินัยนี้
ย่อมมีได้ด้วยสติวินัยอย่างนี้
[๕๐] อมูฬหวินัย เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ย่อมกล่าวหาภิกษุด้วยอาบัติหนักเห็นปานนี้
คือ ปาราชิก หรือใกล้เคียงปาราชิกว่า ‘ท่านผู้มีอายุระลึกได้หรือว่า ‘ท่านต้อง
อาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิก หรือใกล้เคียงปาราชิก’
ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าระลึกไม่ได้เลยว่า ข้าพเจ้า
ต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิก หรือใกล้เคียงปาราชิก’ ภิกษุผู้เป็นโจทก์
นั้นพึงปลอบโยนเธอผู้กล่าวแก้ตัวว่า ‘เอาเถอะ ท่านจงตรองดูให้ดี ถ้าท่านระลึก
ได้ว่า ท่านต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิก หรือใกล้เคียงปาราชิก’
ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าเป็นบ้า ใจฟุ้งซ่านแล้ว
ข้าพเจ้าระลึกถึงกรรมอันไม่สมควรแก่สมณะเป็นอันมากที่ข้าพเจ้าผู้เป็นบ้าได้
ประพฤติล่วงละเมิด ได้พูดพล่ามไปแล้วนั้นไม่ได้เลย ข้าพเจ้าลืมสติ ได้ทำกรรมนี้
แล้ว’ เมื่อเป็นเช่นนี้ สงฆ์พึงให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๔. สามคาสูตร

อานนท์ อมูฬหวินัย เป็นอย่างนี้ การระงับอธิกรณ์บางอย่างในธรรมวินัยนี้
ย่อมมีได้ด้วยอมูฬหวินัยอย่างนี้
[๕๑] ปฏิญญาตกรณะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ถูกกล่าวหาก็ตาม ไม่ถูกกล่าวหาก็ตาม ย่อมระลึก
เปิดเผย ทำอาบัตินั้นให้ชัดเจนได้ ภิกษุนั้นจึงเข้าไปหาภิกษุผู้แก่กว่า ห่มจีวรเฉวียงบ่า
กราบเท้า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลีแล้ว กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
ข้าพเจ้าต้องอาบัติชื่อนี้แล้ว ขอแสดงคืนอาบัตินั้น’ ภิกษุผู้แก่กว่านั้นกล่าวว่า
‘ท่านเห็นหรือ’ เธอกล่าวว่า ‘ขอรับ ข้าพเจ้าเห็น’ ภิกษุผู้แก่กว่านั้นจึงกล่าวว่า
‘ท่านพึงสำรวมต่อไป’ เธอกล่าวว่า ‘ข้าพเจ้าจักสำรวม’
อานนท์ ปฏิญญาตกรณะ เป็นอย่างนี้ การระงับอธิกรณ์บางอย่างในธรรม
วินัยนี้ ย่อมมีได้ด้วยปฏิญญาตกรณะอย่างนี้
[๕๒] ตัสสปาปิยสิกา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ย่อมกล่าวหาภิกษุด้วยอาบัติหนักเห็นปานนี้
คือ ปาราชิก หรือใกล้เคียงปาราชิกว่า ‘ท่านระลึกได้หรือว่า ‘ท่านต้องอาบัติ
หนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิก หรือใกล้เคียงปาราชิก’
ภิกษุนั้นตอบอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าระลึกไม่ได้เลยว่า ‘ข้าพเจ้า
ต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิก หรือใกล้เคียงปาราชิก’
ภิกษุผู้กล่าวหานั้นพึงปลอบโยนเธอผู้กล่าวแก้ตัวว่า ‘เอาเถอะ ท่านจงตรอง
ดูให้ดี ถ้าท่านระลึกได้ว่า ‘ท่านต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิก หรือใกล้
เคียงปาราชิก’
ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าระลึกไม่ได้เลยว่า ‘ข้าพเจ้า
ต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิก หรือใกล้เคียงปาราชิก’ แต่ข้าพเจ้าระลึก
ได้ว่า ‘ข้าพเจ้าต้องอาบัติเพียงเล็กน้อยเห็นปานนี้’ ภิกษุผู้กล่าวหานั้นปลอบโยนเธอ
ผู้กล่าวแก้ตัวว่า ‘เอาเถอะ ท่านจงตรองดูให้ดี ถ้าท่านระลึกได้ว่า ‘ท่านต้องอาบัติ
หนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิก หรือใกล้เคียงปาราชิก’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๔. สามคาสูตร

ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย ความจริงข้าพเจ้าต้องอาบัติเพียงเล็ก
น้อยนี้ แม้ไม่ถูกใครถามยังรับสารภาพ ทำไมต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ
ปาราชิก หรือใกล้เคียงปาราชิก ถูกถามแล้วจักไม่รับสารภาพเล่า’
ภิกษุผู้กล่าวหานั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ก็ท่านต้องอาบัติเพียงเล็กน้อยนี้ ยังไม่
ถูกถามจึงไม่รับสารภาพ ต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิก หรือใกล้เคียง
ปาราชิก ไม่ถูกถามแล้ว จักรับสารภาพทำไม เอาเถอะ ท่านจงตรองดูให้ดี ถ้า
ท่านระลึกได้ว่า ‘ท่านต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิก หรือใกล้เคียง
ปาราชิก’
ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้ากำลังระลึกได้ว่า ‘ข้าพเจ้า
ต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิก หรือใกล้เคียงปาราชิกแล้ว’ คำที่ว่า
ข้าพเจ้าระลึกถึงอาบัตินั้นไม่ได้ว่า ‘ข้าพเจ้าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิก
หรือใกล้เคียงปาราชิก’ นี้ ข้าพเจ้าพูดเล่นพูดพลั้งไป’
อานนท์ ตัสสปาปิยสิกา เป็นอย่างนี้ การระงับอธิกรณ์บางอย่างในธรรมวินัยนี้
ย่อมมีได้ด้วยตัสสปาปิยสิกาอย่างนี้
[๕๓] ติณวัตถารกวินัย เป็นอย่างไร
คือ กรรมอันไม่สมควรแก่สมณะเป็นอันมากที่ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้
ผู้เกิดการบาดหมาง เกิดการทะเลาะ ถึงการวิวาทกันอยู่ ได้ประพฤติล่วงละเมิด
ได้พูดล่วงเกินแล้ว ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดพึงพร้อมเพรียงกันประชุม ภิกษุผู้ฉลาด
กว่าภิกษุทั้งหลายผู้เป็นฝ่ายเดียวกันพึงลุกขึ้นจากอาสนะ ห่มจีวรเฉวียงบ่า ประคอง
อัญชลีแล้วประกาศให้สงฆ์ทราบว่า ‘ข้าแต่สงฆ์ผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า
กรรมอันไม่สมควรแก่สมณะเป็นอันมาก เราทั้งหลายในที่นี้ผู้เกิดการบาดหมาง
เกิดการทะเลาะ ถึงการวิวาทกันอยู่ ได้ประพฤติล่วงละเมิด ได้พูดล่วงเกินแล้ว
ถ้าความพรั่งพร้อมของสงฆ์ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าพึงแสดงอาบัติของท่านเหล่านี้และ
ของตน ยกเว้นอาบัติที่มีโทษหยาบและอาบัติที่มีความพัวพันกับคฤหัสถ์ ด้วย
ติณวัตถารกวินัยในท่ามกลางสงฆ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่านเหล่านี้ และเพื่อประโยชน์
แก่ตน’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๔. สามคาสูตร

ลำดับนั้น ภิกษุผู้ฉลาดกว่าภิกษุทั้งหลายผู้เป็นฝ่ายเดียวกันกับภิกษุอีก
ฝ่ายหนึ่ง พึงลุกขึ้นจากอาสนะ ห่มจีวรเฉวียงบ่า ประคองอัญชลีแล้วประกาศให้
สงฆ์ทราบว่า ‘ข้าแต่สงฆ์ผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า กรรมอันไม่สมควรแก่
สมณะเป็นอันมาก ที่เราทั้งหลายในที่นี้ผู้เกิดการบาดหมาง เกิดการทะเลาะ ถึงการ
วิวาทกันอยู่ ได้ประพฤติล่วงละเมิด ได้พูดล่วงเกินแล้ว ถ้าความพรั่งพร้อมของ
สงฆ์ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าพึงแสดงอาบัติของท่านเหล่านี้และของตน ยกเว้นอาบัติที่มี
โทษหยาบและอาบัติที่มีความพัวพันกับคฤหัสถ์ ด้วยติณวัตถารกวินัยในท่ามกลาง
สงฆ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่านเหล่านี้ และเพื่อประโยชน์แก่ตน’
อานนท์ ติณวัตถารกวินัย เป็นอย่างนี้ การระงับอธิกรณ์บางอย่างในธรรม
วินัยนี้ ย่อมมีได้ด้วยติณวัตถารกวินัยอย่างนี้

ธรรมเป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน

[๕๔] อานนท์ สาราณียธรรม(ธรรมเป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน) ๖ ประการนี้
ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่
วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน๑
สาราณียธรรม ๖ ประการ๒ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. ตั้งมั่นเมตตากายกรรม๓ ในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้า
และลับหลัง สาราณียธรรมแม้นี้ ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ
เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความ
สามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๔. สามคามสูตร

๒. ตั้งมั่นเมตตาวจีกรรม ในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและ
ลับหลัง สาราณียธรรมแม้นี้ ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ
เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความ
สามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๓. ตั้งมั่นเมตตามโนกรรม ในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้า
และลับหลัง สาราณียธรรมแม้นี้ ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ
เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความ
สามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๔. บริโภคโดยไม่แบ่งแยก๑ลาภทั้งหลายที่ชอบธรรม ได้มาโดยธรรม
โดยที่สุดแม้เพียงบิณฑบาต ก็บริโภคร่วมกับเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ผู้มีศีล ทั้งต่อหน้าและลับหลัง สาราณียธรรมแม้นี้ ทำให้เป็นที่รัก
ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่
วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๕. เป็นผู้มีศีลไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท ท่านผู้รู้
สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ เป็นไปเพื่อสมาธิ เสมอ
กันกับเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง สาราณีย-
ธรรมแม้นี้ ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความ
สงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อ
ความเป็นอันเดียวกัน
๖. เป็นผู้มีทิฏฐิโดยทิฏฐิอันประเสริฐ เป็นนิยยานิกธรรม๒เพื่อความ
สิ้นทุกข์โดยเสมอกันกับเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและ
ลับหลัง สาราณียธรรมแม้นี้ ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ
เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความ
สามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๕. สุนักขัตตสูตร

อานนท์ สาราณียธรรม ๖ ประการนี้ ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ
เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อ
ความเป็นอันเดียวกัน ถ้าเธอทั้งหลายพึงสมาทานสาราณียธรรม ๖ ประการนี้
ประพฤติอยู่ เธอทั้งหลายจะเห็นแนวทางว่ากล่าวกันได้ น้อยบ้าง มากบ้าง ที่เธอ
ทั้งหลายพึงอดกลั้นไว้ไม่ได้บ้างไหม”
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า “ไม่เห็น พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงสมาทาน
สาราณียธรรม ๖ ประการนี้ แล้วประพฤติเถิด การประพฤตินั้นจักเป็นไปเพื่อ
ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุขแก่เธอทั้งหลายตลอดกาลนาน”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์มีใจยินดีชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

สามคามสูตรที่ ๔ จบ

๕. สุนักขัตตสูตร
ว่าด้วยเจ้าสุนักขัตตะ ลิจฉวีบุตร

[๕๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขต
กรุงเวสาลี สมัยนั้นแล ภิกษุเป็นจำนวนมากได้พยากรณ์อรหัตตผลในสำนักของ
พระผู้มีพระภาคว่า “ข้าพระองค์ทั้งหลายรู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”๑
เจ้าสุนักขัตตะ ลิจฉวีบุตรได้ฟังว่า “ภิกษุจำนวนมากได้พยากรณ์อรหัตตผล
ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า ‘ข้าพระองค์ทั้งหลายรู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๕. สุนักขัตตสูตร

พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร๑ ได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ฟังว่า ‘ภิกษุจำนวนมากได้พยากรณ์
อรหัตตผลในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า ‘ข้าพระองค์ทั้งหลายรู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
อีกต่อไป’ ภิกษุทั้งหลายผู้พยากรณ์อรหัตตผลในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า ‘ข้า
พระองค์ทั้งหลายรู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จ
แล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ เหล่านั้น ได้พยากรณ์อรหัตตผล
โดยชอบ หรือว่ามีภิกษุบางพวกได้พยากรณ์อรหัตตผลด้วยความสำคัญตนว่าได้
บรรลุ พระพุทธเจ้าข้า”
[๕๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สุนักขัตตะ ภิกษุเหล่านั้นผู้พยากรณ์
อรหัตตผลในสำนักของเราว่า ‘ข้าพระองค์ทั้งหลายรู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
มีภิกษุบางพวกในศาสนานี้ได้พยากรณ์อรหัตตผลโดยถูกต้องทีเดียว แต่มีภิกษุ
บางพวกในศาสนานี้ ได้พยากรณ์อรหัตตผลด้วยความสำคัญตนว่าได้บรรลุ
สุนักขัตตะ บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุทั้งหลายผู้พยากรณ์อรหัตตผลโดย
ชอบเหล่านั้น ย่อมมีอรหัตตผลจริงทีเดียว ส่วนบรรดาภิกษุผู้พยากรณ์อรหัตตผล
ด้วยความสำคัญตนว่าได้บรรลุเหล่านั้น ตถาคตมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราจักแสดง
ธรรมแก่ภิกษุเหล่านั้น’
สุนักขัตตะ ในเรื่องนี้ ตถาคตมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราจักแสดงธรรมแก่
ภิกษุเหล่านั้น‘แต่ถ้าในธรรมวินัยนี้ มีโมฆบุรุษบางพวกแต่งปัญหาเข้ามาถามตถาคต
ข้อที่ตถาคตมีความคิดในภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ‘เราจักแสดงธรรมแก่ภิกษุเหล่านั้น’
ก็จะเป็นอย่างอื่นไป”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๕. สุนักขัตตสูตร

เจ้าสุนักขัตตะกราบทูลว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค บัดนี้เป็นกาลสมควร
ข้าแต่พระสุคต บัดนี้เป็นกาลสมควร ที่พระผู้มีพระภาคจะทรงแสดงธรรม ภิกษุ
ทั้งหลายได้สดับจากพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สุนักขัตตะ ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี
เราจักกล่าว”
เจ้าสุนักขัตตะ ลิจฉวีบุตรทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้
ตรัสเรื่องนี้ว่า
[๕๗] “สุนักขัตตะ กามคุณ ๕ ประการนี้
กามคุณ ๕ ประการ๑ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
๒. เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ...
๓. กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ...
๔. รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ...
๕. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
สุนักขัตตะ กามคุณมี ๕ ประการนี้แล
[๕๘] สุนักขัตตะ เป็นไปได้๒ที่บุรุษบุคคลบางคนในโลกนี้ พึงเป็นผู้น้อมใจ
ไปในโลกามิส๓ บุรุษบุคคลผู้น้อมใจไปในโลกามิส สนทนาแต่เรื่องที่เหมาะแก่
โลกามิสนั้นเท่านั้น ย่อมตรึกตรองธรรมอันสมควรแก่โลกามิสนั้น คบแต่


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๕. สุนักขัตตสูตร

คนประเภทนั้น และถึงความปลื้มใจกับคนประเภทนั้น แต่เมื่อมีใครสนทนาเกี่ยว
กับเรื่องอาเนญชสมาบัติ๑ ย่อมไม่สนใจฟัง ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งใจรับรู้ ไม่คบคน
ประเภทนั้น และไม่ถึงความปลื้มใจกับคนประเภทนั้น เปรียบเหมือนคนที่จากบ้าน
หรือนิคมของตนไปนาน พบบุรุษคนใดคนหนึ่งผู้จากบ้านหรือนิคมไปไม่นาน พึง
ถามบุรุษนั้นถึงเรื่องที่บ้านหรือนิคมนั้นมีความสุขสบาย ทำมาหากินดี และมี
อาพาธน้อย บุรุษนั้นพึงบอกเรื่องที่บ้านหรือนิคมนั้นมีความสุขสบาย ทำมาหากินดี
และมีอาพาธน้อยแก่เขา
สุนักขัตตะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ คนนั้นพึงสนใจฟังบุรุษนั้น
เงี่ยโสตสดับ ตั้งใจรับรู้ คบบุรุษนั้น และถึงความปลื้มใจกับบุรุษนั้นใช่ไหม”
“ใช่ พระพุทธเจ้าข้า”
“สุนักขัตตะ เป็นไปได้ฉันนั้นเหมือนกัน ที่บุรุษบุคคลบางคนในโลกนี้พึง
เป็นผู้น้อมใจไปในโลกามิส บุรุษบุคคลผู้น้อมใจไปในโลกามิส สนทนาแต่เรื่องที่
เหมาะแก่โลกามิสนั้นเท่านั้น ย่อมตรึกตรองธรรมอันสมควรแก่โลกามิสนั้น คบแต่
คนประเภทนั้น และถึงความปลื้มใจกับคนประเภทนั้น แต่เมื่อมีใครพูดเกี่ยวกับ
เรื่องอาเนญชสมาบัติ ย่อมไม่สนใจฟัง ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งใจรับรู้ ไม่คบคน
ประเภทนั้น และไม่ถึงความปลื้มใจกับคนประเภทนั้น บุรุษบุคคลนั้น บัณฑิตพึง
ทราบว่า เป็นบุรุษบุคคลผู้เหินห่างจากการเกี่ยวข้องกับอาเนญชสมาบัติ มีแต่น้อม
ใจไปในโลกามิส
[๕๙] สุนักขัตตะ เป็นไปได้ที่บุรุษบุคคลบางคนในโลกนี้ พึงเป็นผู้น้อมใจ
ไปในอาเนญชสมาบัติ บุรุษบุคคลผู้น้อมใจไปในอาเนญชสมาบัติ สนทนาแต่เรื่องที่
เหมาะแก่อาเนญชสมาบัตินั้นเท่านั้น ย่อมตรึกตรองธรรมอันสมควรแก่อาเนญช-
สมาบัตินั้น คบแต่คนประเภทนั้น และถึงความปลื้มใจกับคนประเภทนั้น แต่เมื่อมี
ใครสนทนาเกี่ยวกับเรื่องโลกามิส ย่อมไม่สนใจฟัง ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งใจรับรู้
ไม่คบคนประเภทนั้น และไม่ถึงความปลื้มใจกับคนประเภทนั้น


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๕. สุนักขัตตสูตร

เปรียบเหมือนใบไม้เหลืองหลุดจากขั้วแล้ว ไม่กลับเขียวสดขึ้นมาได้ แม้ฉันใด
ความเกี่ยวข้องในโลกามิสของบุคคลผู้น้อมใจไปในอาเนญชสมาบัติก็หลุดไป ฉันนั้น
เหมือนกัน บุรุษบุคคลนั้นบัณฑิตพึงทราบว่า ‘เป็นบุรุษบุคคลผู้เหินห่างจากความ
เกี่ยวข้องกับโลกามิส มีแต่น้อมใจไปในอาเนญชสมาบัติ’
[๖๐] สุนักขัตตะ เป็นไปได้ที่บุรุษบุคคลบางคนในโลกนี้ พึงเป็นผู้น้อมใจไป
ในอากิญจัญญายตนสมาบัติ บุรุษบุคคลผู้น้อมใจไปในอากิญจัญญายตนสมาบัติ
สนทนาแต่เรื่องที่เหมาะแก่อากิญจัญญายตนสมาบัตินั้นเท่านั้น ย่อมตรึกตรอง
ธรรมอันสมควรแก่อากิญจัญญายตนสมาบัตินั้น คบแต่คนประเภทนั้น และถึง
ความปลื้มใจกับคนประเภทนั้น แต่เมื่อมีใครสนทนาเกี่ยวกับเรื่องอาเนญชสมาบัติ
ย่อมไม่สนใจฟัง ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งใจรับรู้ ไม่คบคนประเภทนั้น และไม่ถึง
ความปลื้มใจกับคนประเภทนั้น
ก้อนศิลาแตกออกเป็น ๒ เสี่ยงแล้ว ย่อมเป็นของเชื่อมกันให้สนิท
ไม่ได้ แม้ฉันใด ความเกี่ยวข้องในอาเนญชสมาบัติของบุคคลผู้มีใจน้อมไปใน
อากิญจัญญายตนสมาบัติก็แตกไป ฉันนั้นเหมือนกัน บุรุษบุคคลนั้น บัณฑิตพึง
ทราบว่า ‘เป็นบุรุษบุคคลผู้เหินห่างจากความเกี่ยวข้องกับอาเนญชสมาบัติ มีแต่
น้อมใจไปในอากิญจัญญายตนสมาบัติ’
[๖๑] สุนักขัตตะ เป็นไปได้ที่บุรุษบุคคลบางคนในโลกนี้ พึงเป็นผู้น้อมใจไปใน
เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ บุรุษบุคคลผู้น้อมใจไปในเนวสัญญานาสัญญายตน
สมาบัติ สนทนาแต่เรื่องที่เหมาะแก่เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัตินั้นเท่านั้น
ย่อมตรึกตรองธรรมอันสมควรแก่เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัตินั้น คบแต่คน
ประเภทนั้น และถึงความปลื้มใจกับคนประเภทนั้น แต่เมื่อมีใครสนทนาเกี่ยวกับ
เรื่องอากิญจัญญายตนสมาบัติ ย่อมไม่สนใจฟัง ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งใจรับรู้
ไม่คบคนประเภทนั้น และไม่ถึงความปลื้มใจกับคนประเภทนั้น เปรียบเหมือนคน
บริโภคโภชนะที่ถูกใจจนอิ่มหนำแล้วพึงหยุดเสีย
สุนักขัตตะ เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ คนนั้นพึงมีความปรารถนา
ในภัตนั้นบ้างไหม”
“ไม่ปรารถนา พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๕. สุนักขัตตสูตร

“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะว่าภัตนั้นตนเองรู้สึกว่าเป็นของไม่น่ากินเสียแล้ว พระพุทธเจ้าข้า”
“สุนักขัตตะ ความเกี่ยวข้องในอากิญจัญญายตนสมาบัติ ก็ถูกบุรุษบุคคล
ผู้น้อมใจไปในเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติคายได้แล้ว อย่างนั้นเหมือนกัน
บุรุษบุคคลนั้นบัณฑิตพึงทราบว่า ‘เป็นบุรุษบุคคลผู้เหินห่างจากความเกี่ยวข้องกับ
อากิญจัญญายตนสมาบัติ มีแต่น้อมใจไปในเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ’
[๖๒] สุนักขัตตะ เป็นไปได้ที่บุรุษบุคคลบางคนในโลกนี้ พึงเป็นผู้น้อมใจไป
ในนิพพานโดยชอบ บุรุษบุคคลผู้น้อมใจไปในนิพพานโดยชอบ สนทนาแต่เรื่องที่
เหมาะแก่นิพพานโดยชอบนั้นเท่านั้น ย่อมตรึกตรองธรรมอันสมควรแก่นิพพาน
โดยชอบนั้น คบแต่คนประเภทนั้น และถึงความปลื้มใจกับคนประเภทนั้น แต่
เมื่อมีใครสนทนาเกี่ยวกับเรื่องเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ย่อมไม่สนใจฟัง
ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งใจรับรู้ ไม่คบคนประเภทนั้น และไม่ถึงความปลื้มใจกับคน
ประเภทนั้น
เปรียบเหมือนตาลยอดด้วนไม่อาจงอกงามได้อีก แม้ฉันใด ความเกี่ยวข้อง
ในเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ก็ถูกบุรุษบุคคลผู้น้อมใจไปในนิพพานโดยชอบ
ถอนขึ้นได้ ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่
ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน บุรุษบุคคลนั้นบัณฑิตพึงทราบว่า
‘เป็นบุรุษบุคคลผู้เหินห่างจากความเกี่ยวข้องกับเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ
มีแต่น้อมใจไปในนิพพานโดยชอบ’
[๖๓] สุนักขัตตะ เป็นไปได้ที่ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ พึงมีความคิดอย่าง
นี้ว่า ‘พระสมณะตรัสลูกศรคือตัณหาไว้แล้วว่า ‘โทษอันเป็นพิษคืออวิชชา ย่อม
งอกงามได้ด้วยฉันทราคะและพยาบาท เราละลูกศรคือตัณหานั้นได้แล้ว กำจัดโทษ
อันเป็นพิษคืออวิชชาได้แล้ว จึงเป็นผู้มีใจน้อมไปในนิพพานโดยชอบ’ เรื่องต่อไปนี้
มีเนื้อความดังนี้ ภิกษุนั้นพึงประกอบเนือง ๆ ซึ่งอารมณ์อันไม่เป็นสัปปายะ๑แห่งใจ
อันน้อมไปในนิพพานโดยชอบ พึงประกอบการดูรูปอันไม่เป็นสัปปายะทางตา


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๕. สุนักขัตตสูตร

เนือง ๆ พึงประกอบการฟังเสียงอันไม่เป็นสัปปายะทางหูเนือง ๆ พึงประกอบ
การดมกลิ่นอันไม่เป็นสัปปายะทางจมูกเนือง ๆ พึงประกอบการลิ้มรสอันไม่เป็น
สัปปายะทางลิ้นเนือง ๆ พึงประกอบการถูกต้องโผฏฐัพพะอันไม่เป็นสัปปายะทาง
กายเนือง ๆ พึงประกอบการรับรู้ธรรมารมณ์อันไม่เป็นสัปปายะทางใจเนือง ๆ
เมื่อภิกษุนั้นประกอบการดูรูปอันไม่เป็นสัปปายะทางตาเนือง ๆ ประกอบการฟัง
เสียงอันไม่เป็นสัปปายะทางหูเนือง ๆ ประกอบการดมกลิ่นอันไม่เป็นสัปปายะทาง
จมูกเนือง ๆ ประกอบการลิ้มรสอันไม่เป็นสัปปายะทางลิ้นเนือง ๆ ประกอบการ
ถูกต้องโผฏฐัพพะอันไม่เป็นสัปปายะทางกายเนือง ๆ ประกอบการรับรู้ธรรมารมณ์
อันไม่เป็นสัปปายะทางใจเนือง ๆ แล้ว ราคะพึงครอบงำจิตได้ เธอมีจิตถูกราคะ
ครอบงำแล้ว พึงถึงความตายหรือทุกข์ปางตาย
เปรียบเหมือนคนถูกยิงด้วยลูกศรที่อาบยาพิษอย่างร้ายแรง มิตร อำมาตย์
ญาติสาโลหิตของเขาจึงหาหมอผ่าตัดมารักษา หมอผ่าตัดนั้นใช้มีดผ่าปากแผล
แล้วใช้เครื่องตรวจหาลูกศร ตรวจพบลูกศรแล้วจึงถอนออก พึงกำจัดโทษคือพิษที่
ยังมีเชื้อเหลือติดอยู่ จนรู้ว่า ‘ไม่มีเชื้อหลงเหลืออยู่’ หมอผ่าตัดนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า
‘พ่อมหาจำเริญ เราถอนลูกศรให้ท่านแล้ว โทษคือพิษเราก็กำจัดจนไม่มีเชื้อหลง
เหลือแล้ว ท่านพ้นขีดอันตรายแล้ว แต่ต้องรับประทานอาหารที่ไม่แสลง เมื่อท่าน
จำเป็นต้องรับประทานอาหารที่แสลง ก็อย่าถึงกับให้แผลต้องกำเริบ และท่านต้อง
ล้างแผลตามเวลา ทายาสมานแผลตามเวลา เมื่อท่านล้างแผลและทายาสมาน
แผลตามเวลา ก็อย่าให้น้ำเหลืองและเลือดปิดปากแผลได้ และท่านอย่าเที่ยวตาก
ลมตากแดดเนือง ๆ เมื่อท่านเที่ยวตากลมตากแดดเนือง ๆ ก็อย่าให้ละอองหรือ
สิ่งโสโครกถูกปากแผลได้ ท่านต้องรักษาแผลอยู่จนกว่าแผลจะสมานกันดี’
บุรุษนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘หมอถอนลูกศรให้เราแล้ว โทษคือพิษหมอก็
กำจัดจนไม่มีเชื้อหลงเหลือแล้ว เราพ้นขีดอันตรายแล้ว’ เขาจึงรับประทานอาหาร
ที่แสลง เมื่อเขารับประทานอาหารที่แสลง แผลก็กำเริบ เขาไม่ล้างแผลตามเวลา
และไม่ทายาสมานแผลตามเวลา เมื่อเขาไม่ล้างแผลและไม่ทายาสมานแผล
ตามเวลา น้ำเหลืองและเลือดก็ปิดปากแผล เขาเที่ยวตากลมตากแดดเนือง ๆ
เมื่อเขาเที่ยวตากลมตากแดดเนือง ๆ ละอองและสิ่งโสโครกจึงถูกปากแผล เขาไม่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๕. สุนักขัตตสูตร

คอยรักษาแผลอยู่ แผลจึงไม่สมานกัน เพราะการกระทำไม่ถูกต้องนี้ แผลจึง
อักเสบได้ด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ (๑) ไม่กำจัดโทษคือพิษอันเกิดจากความไม่
สะอาด (๒) ไม่กำจัดโทษคือพิษอันยังมีเชื้อหลงเหลืออยู่ไป เขามีแผลอักเสบ พึงถึง
ความตายหรือทุกข์ปางตายได้ แม้ฉันใด
สุนักขัตตะ เป็นไปได้ฉันนั้นเหมือนกัน ที่ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ พึงมี
ความคิดอย่างนี้ว่า ‘พระสมณะตรัสลูกศรคือตัณหาไว้แล้วว่า ‘โทษอันเป็นพิษคือ
อวิชชา ย่อมงอกงามได้ด้วยฉันทราคะและพยาบาท เราละลูกศรคือตัณหานั้นได้แล้ว
กำจัดโทษอันเป็นพิษคืออวิชชาได้แล้ว จึงเป็นผู้มีใจน้อมไปในนิพพานโดยชอบ’
เรื่องต่อไปนี้มีเนื้อความดังนี้ ภิกษุนั้นประกอบเนือง ๆ ซึ่งอารมณ์อันไม่เป็นสัปปายะ
แห่งใจอันน้อมไปในนิพพานโดยชอบ พึงประกอบการดูรูปอันไม่เป็นสัปปายะ
ทางตาเนือง ๆ พึงประกอบการฟังเสียงอันไม่เป็นสัปปายะทางหูเนือง ๆ พึง
ประกอบการดมกลิ่นอันไม่เป็นสัปปายะทางจมูกเนือง ๆ พึงประกอบการลิ้มรสอัน
ไม่เป็นสัปปายะทางลิ้นเนือง ๆ พึงประกอบการถูกต้องโผฏฐัพพะอันไม่เป็นสัปปายะ
ทางกายเนือง ๆ พึงประกอบการรับรู้ธรรมารมณ์อันไม่เป็นสัปปายะทางใจเนือง ๆ
เมื่อภิกษุนั้นเห็นรูปอันไม่เป็นสัปปายะทางตาเนือง ๆ ประกอบการฟังเสียงอันไม่
เป็นสัปปายะทางหูเนือง ๆ ประกอบการดมกลิ่นอันไม่เป็นสัปปายะทางจมูกเนือง ๆ
ประกอบการลิ้มรสอันไม่เป็นสัปปายะทางลิ้นเนือง ๆ ประกอบการถูกต้อง
โผฏฐัพพะอันไม่เป็นสัปปายะทางกายเนือง ๆ ประกอบการรับรู้ธรรมารมณ์อันไม่
เป็นสัปปายะทางใจเนือง ๆ แล้ว ราคะพึงครอบงำจิตได้ เธอมีจิตถูกราคะครอบงำแล้ว
พึงถึงความตายหรือทุกข์ปางตาย
สุนักขัตตะ นั่นเป็นความตายของภิกษุผู้บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ใน
อริยวินัย ส่วนทุกข์นี้เป็นทุกข์ปางตายของภิกษุ ผู้ต้องอาบัติเศร้าหมองข้อใดข้อหนึ่ง
[๖๔] สุนักขัตตะ เป็นไปได้ที่ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้พึงมีความคิดอย่างนี้
ว่า ‘พระสมณะตรัสลูกศรคือตัณหาไว้แล้วว่า ‘โทษอันเป็นพิษคืออวิชชาย่อมงอก
งามได้ด้วยฉันทราคะและพยาบาท เราละลูกศรคือตัณหานั้นได้แล้ว กำจัดโทษอัน
เป็นพิษคืออวิชชาได้แล้ว จึงเป็นผู้มีใจน้อมไปในนิพพานโดยชอบ’ เมื่อภิกษุนั้นมีใจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๕. สุนักขัตตสูตร

น้อมไปในนิพพานโดยชอบอยู่นั่นแล เธอจึงไม่ประกอบเนือง ๆ ซึ่งอารมณ์อันไม่
เป็นสัปปายะแห่งใจอันน้อมไปในนิพพานโดยชอบ ไม่ประกอบการดูรูปอันไม่เป็น
สัปปายะทางตาเนือง ๆ ไม่ประกอบการฟังเสียงอันไม่เป็นสัปปายะทางหูเนือง ๆ
ไม่ประกอบการดมกลิ่นอันไม่เป็นสัปปายะทางจมูกเนือง ๆ ไม่ประกอบการลิ้มรส
อันไม่เป็นสัปปายะทางลิ้นเนือง ๆ ไม่ประกอบการถูกต้องโผฏฐัพพะอันไม่เป็น
สัปปายะทางกายเนือง ๆ ไม่ประกอบการรับรู้ธรรมารมณ์อันไม่เป็นสัปปายะทางใจ
เนือง ๆ เมื่อเธอไม่ประกอบการดูรูปอันไม่เป็นสัปปายะทางตาเนือง ๆ ไม่
ประกอบการฟังเสียงอันไม่เป็นสัปปายะทางหูเนือง ๆ ไม่ประกอบการดมกลิ่นอัน
ไม่เป็นสัปปายะทางจมูกเนือง ๆ ไม่ประกอบการลิ้มรสอันไม่เป็นสัปปายะทางลิ้น
เนือง ๆ ไม่ประกอบการถูกต้องโผฏฐัพพะอันไม่เป็นสัปปายะทางกายเนือง ๆ ไม่
ประกอบการรับรู้ธรรมารมณ์อันไม่เป็นสัปปายะทางใจเนือง ๆ แล้ว ราคะก็
ครอบงำจิตไม่ได้ เธอมีจิตไม่ถูกราคะครอบงำแล้ว จึงไม่พึงถึงความตายหรือทุกข์
ปางตาย
เปรียบเหมือนคนถูกยิงด้วยลูกศรที่อาบยาพิษอย่างร้ายแรง มิตร อำมาตย์
ญาติสาโลหิตของเขาจึงหาหมอผ่าตัดมารักษา หมอผ่าตัดนั้นใช้มีดผ่าปากแผล
แล้วใช้เครื่องตรวจหาลูกศร ตรวจพบลูกศรแล้วจึงถอนออก พึงกำจัดโทษคือพิษที่
ยังมีเชื้อเหลืออยู่ จนรู้ว่า ‘ไม่มีเชื้อหลงเหลืออยู่’ หมอผ่าตัดนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า
‘พ่อมหาจำเริญ เราถอนลูกศรให้ท่านแล้ว โทษคือพิษเราก็กำจัดจนไม่มีเชื้อหลง
เหลือแล้ว ท่านพ้นขีดอันตรายแล้ว แต่ต้องรับประทานอาหารที่ไม่แสลง เมื่อท่าน
จำเป็นต้องรับประทานอาหารที่แสลง ก็อย่าถึงกับให้แผลต้องกำเริบ และท่านต้อง
ล้างแผลตามเวลา ทายาสมานแผลตามเวลา เมื่อท่านล้างแผลและทายาสมาน
แผลตามเวลา ก็อย่าให้น้ำเหลืองและเลือดปิดปากแผลได้ และท่านอย่าเที่ยวตาก
ลมตากแดดเนือง ๆ เมื่อท่านเที่ยวตากลมตากแดดเนือง ๆ ก็อย่าให้ละอองหรือ
สิ่งโสโครกถูกปากแผลได้ ท่านต้องรักษาแผลอยู่จนกว่าแผลจะสมานกันดี’
บุรุษนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘หมอถอนลูกศรให้เราแล้ว โทษคือพิษหมอก็
กำจัดจนไม่มีเชื้อหลงเหลือแล้ว เราพ้นขีดอันตรายแล้ว’ เขาจึงรับประทานอาหารที่
ไม่แสลง เมื่อเขารับประทานอาหารที่ไม่แสลง แผลก็ไม่อักเสบ เขาล้างแผลตาม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๕. สุนักขัตตสูตร

เวลา และทายาสมานแผลตามเวลา เมื่อเขาล้างแผลและทายาสมานแผลตาม
เวลา น้ำเหลืองและเลือดก็ไม่ปิดปากแผล เขาไม่เที่ยวตากลมตากแดดเนือง ๆ
เมื่อเขาไม่เที่ยวตากลมตากแดดเนือง ๆ ละอองและสิ่งโสโครกจึงไม่ถูกปากแผล
เขาคอยรักษาแผลอยู่จนปากแผลสมานหายสนิท เพราะการกระทำอย่างถูกต้องนี้
แผลจึงหายได้ด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ (๑) กำจัดโทษคือพิษอันเกิดจากความ
ไม่สะอาด (๒) กำจัดโทษคือพิษจนไม่มีเชื้อหลงเหลืออยู่ เพราะแผลหายแล้วเขา
จึงมีผิวพรรณเรียบสนิท จึงไม่พึงถึงความตายหรือทุกข์ปางตาย แม้ฉันใด
สุนักขัตตะ เป็นไปได้ฉันนั้นเหมือนกัน ที่ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ พึงมี
ความคิดอย่างนี้ว่า ‘พระสมณะตรัสลูกศรคือตัณหาไว้แล้วว่า ‘โทษอันเป็นพิษคือ
อวิชชาย่อมงอกงามได้ด้วยฉันทราคะและพยาบาท เราละลูกศรคือตัณหานั้นได้แล้ว
กำจัดโทษอันเป็นพิษคืออวิชชาได้แล้ว จึงเป็นผู้มีใจน้อมไปในนิพพานโดยชอบ’
เมื่อภิกษุนั้นมีใจน้อมไปในนิพพานโดยชอบอยู่นั่นแล เธอจึงไม่ประกอบเนือง ๆ
ซึ่งอารมณ์อันไม่เป็นสัปปายะแห่งใจอันน้อมไปในนิพพานโดยชอบ ไม่ประกอบการ
ดูรูปอันไม่เป็นสัปปายะทางตาเนือง ๆ ไม่ประกอบการฟังเสียงอันไม่เป็นสัปปายะ
ทางหูเนือง ๆ ไม่ประกอบการดมกลิ่นอันไม่เป็นสัปปายะทางจมูกเนือง ๆ ไม่ประกอบ
การลิ้มรสอันไม่เป็นสัปปายะทางลิ้นเนือง ๆ ไม่ประกอบการถูกต้องโผฏฐัพพะอันไม่
เป็นสัปปายะทางกายเนือง ๆ ไม่ประกอบการรับรู้ธรรมารมณ์อันไม่เป็นสัปปายะ
ทางใจเนือง ๆ เมื่อภิกษุนั้นไม่ประกอบการดูรูปอันไม่เป็นสัปปายะทางตาเนือง ๆ
ไม่ประกอบการฟังเสียงอันไม่เป็นสัปปายะทางหูเนือง ๆ ไม่ประกอบการดมกลิ่นอัน
ไม่เป็นสัปปายะทางจมูกเนือง ๆ ไม่ประกอบการลิ้มรสอันไม่เป็นสัปปายะทางลิ้น
เนือง ๆ ไม่ประกอบการถูกต้องโผฏฐัพพะอันไม่เป็นสัปปายะทางกายเนือง ๆ ไม่
ประกอบการรับรู้ธรรมารมณ์อันไม่เป็นสัปปายะทางใจเนือง ๆ แล้ว ราคะก็
ครอบงำจิตไม่ได้ เธอมีจิตไม่ถูกราคะครอบงำแล้ว จึงไม่พึงถึงความตายหรือ
ทุกข์ปางตาย
[๖๕] สุนักขัตตะ เพื่อให้รู้เนื้อความ เราจึงทำอุปมานี้ไว้ ในอุปมานี้มีเนื้อ
ความดังต่อไปนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๕. สุนักขัตตสูตร

คำว่า ‘แผล’ นี้ เป็นชื่อของอายตนะภายใน ๖
คำว่า ‘โทษคือพิษ’ นี้ เป็นชื่อของอวิชชา
คำว่า ‘ลูกศร’ นี้ เป็นชื่อของตัณหา
คำว่า ‘เครื่องตรวจ’ นี้ เป็นชื่อของสติ
คำว่า ‘มีดผ่าตัด’ นี้ เป็นชื่อของอริยปัญญา๑
คำว่า ‘หมอผ่าตัด’ นี้ เป็นชื่อของตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
สุนักขัตตะ เป็นไปไม่ได้ที่ภิกษุนั้นทำความสำรวมในผัสสายตนะ ๖ จึงรู้ดังนี้ว่า
‘อุปธิ๒เป็นรากเง่าแห่งทุกข์” จึงเป็นผู้ปราศจากอุปธิ หลุดพ้นแล้วในธรรมเป็นที่สิ้น
ไปแห่งอุปธิ๓ จักน้อมกายหรือปล่อยจิตไปในอุปธิ๔
เปรียบเหมือนภาชนะมีน้ำดื่มเต็มเปี่ยม สมบูรณ์ด้วยสี สมบูรณ์ด้วยกลิ่น
สมบูรณ์ด้วยรส แต่เจือด้วยยาพิษ ต่อมาบุรุษผู้รักชีวิตยังไม่อยากตาย รักสุข
เกลียดทุกข์มาพบเข้า
สุนักขัตตะ เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ บุรุษนั้นจะพึงดื่มน้ำที่เต็ม
เปี่ยมภาชนะนั้น ทั้งที่รู้ว่า ‘ดื่มแล้วจะต้องตายหรือทุกข์ปางตาย’ บ้างไหม”
“ไม่ดื่ม พระพุทธเจ้าข้า”
“สุนักขัตตะ เป็นไปไม่ได้ฉันนั้นเหมือนกัน ที่ภิกษุนั้นทำความสำรวมใน
ผัสสายตนะ ๖ รู้ดังนี้ว่า ‘อุปธิเป็นรากเง่าแห่งทุกข์ ฯลฯ’
เปรียบเหมือน ต่อมาบุรุษผู้รักชีวิตยังไม่อยากตาย รักสุขเกลียดทุกข์ มา
พบอสรพิษมีพิษร้ายแรงเข้า


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๖. อาเนญชสัปปายสูตร

สุนักขัตตะ เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ บุรุษนั้นจะพึงยื่นมือหรือ
หัวแม่มือให้แก่อสรพิษตัวมีพิษร้ายแรงนั้น ทั้งที่รู้ว่า ‘ถูกอสรพิษที่มีพิษร้ายแรงกัด
แล้วจะต้องตายหรือทุกข์ปางตาย’ บ้างไหม”
“ไม่ยื่น พระพุทธเจ้าข้า”
“สุนักขัตตะ เป็นไปไม่ได้ฉันนั้นเหมือนกัน ที่ภิกษุนั้นทำความสำรวมใน
ผัสสายตนะ ๖ รู้ดังนี้ว่า ‘อุปธิเป็นรากเง่าแห่งทุกข์’ จึงเป็นผู้ปราศจากอุปธิ
หลุดพ้นแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิ จักน้อมกายหรือปล่อยจิตไปในอุปธิ”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว เจ้าสุนักขัตตะ ลิจฉวีบุตรมีใจยินดีชื่นชม
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

สุนักขัตตสูตรที่ ๕ จบ

๖. อาเนญชสัปปายสูตร
ว่าด้วยปฏิปทาอันเป็นสัปปายะแก่อาเนญชสมาบัติ

[๖๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวกุรุชื่อกัมมาสธัมมะ
แคว้นกุรุ สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้
ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย กาม๑ไม่เที่ยง เป็นของว่างเปล่า๒ เท็จ มีความเลือนหายไป
เป็นธรรมดา ลักษณะของกามนี้ เป็นความล่อลวง เป็นที่บ่นถึงของคนพาล กาม
ที่มีในภพนี้ และกามที่มีในภพหน้า กามสัญญา(ความกำหนดหมายในกาม) ที่มี


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๖. อาเนญชสัปปายสูตร

ในภพนี้ และกามสัญญาที่มีในภพหน้า ทั้ง ๒ ประการนั้น เป็นบ่วงแห่งมาร
เป็นวิสัยแห่งมาร เป็นเหยื่อแห่งมาร เป็นโคจรแห่งมาร ในกามนี้มีบาปอกุศล
ทางใจเหล่านี้ คือ อภิชฌาบ้าง พยาบาทบ้าง สารัมภะ(ความแข่งดี)บ้าง กาม
เหล่านั้นนั่นเอง ย่อมก่ออันตรายให้แก่อริยสาวกผู้ตามศึกษาอยู่ในธรรมวินัยนี้
อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นในเรื่องกามนั้นดังนี้ว่า ‘กามที่มีในภพนี้ และ
กามที่มีในภพหน้า กามสัญญาที่มีในภพนี้ และกามสัญญาที่มีในภพหน้า ทั้ง ๒
ประการนั้น เป็นบ่วงแห่งมาร เป็นวิสัยแห่งมาร เป็นเหยื่อแห่งมาร เป็นโคจรแห่ง
มาร ในกามนี้มีบาปอกุศลทางใจเหล่านี้ คือ อภิชฌาบ้าง พยาบาทบ้าง สารัมภะ
บ้าง กามเหล่านั้นนั่นเอง ย่อมก่ออันตรายให้แก่อริยสาวกผู้ตามศึกษาอยู่ในธรรม
วินัยนี้ ทางที่ดี เราพึงอยู่ด้วยจิตอันไพบูลย์เป็นมหัคคตะ๑ อธิษฐานใจครอบงำโลก
เพราะเมื่อเราอยู่ด้วยมหัคคตจิตอันไพบูลย์เป็นมหัคคตะ อธิษฐานใจครอบงำโลกอยู่
บาปอกุศลที่เกิดทางใจ คือ อภิชฌาบ้าง พยาบาทบ้าง สารัมภะบ้าง เหล่านั้น
จักไม่มี เพราะละอกุศลเหล่านั้นได้แล้ว จิตของเราก็จักเป็นจิตไม่เล็กน้อย๒ หา
ประมาณมิได้๓และเป็นจิตที่อบรมดีแล้ว’
เมื่ออริยสาวกนั้นปฏิบัติอย่างนี้แล้ว เป็นผู้มากด้วยปฏิปทานั้นอยู่ จิตย่อม
ผ่องใสในอายตนะ๔ เมื่อมีความผ่องใส๕ อริยสาวกนั้นย่อมเข้าถึงอาเนญชสมาบัติ
หรือน้อมใจไปในปัญญาในปัจจุบันได้ เป็นไปได้ที่หลังจากตายแล้ว วิญญาณที่เป็น
ไปในภพนั้น ๆ พึงเป็นวิญญาณเข้าถึงสภาพหาความหวั่นไหวมิได้
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่อาเนญชสมาบัติ
ประการที่ ๑


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๖. อาเนญชสัปปายสูตร

[๖๗] อีกประการหนึ่ง อริยสาวกพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘กามที่มีในภพนี้
และกามที่มีในภพหน้า กามสัญญาที่มีในภพนี้ และกามสัญญาที่มีในภพหน้า รูป
บางชนิด และรูปทั้งหมด คือ มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ ก็มีอยู่
เมื่ออริยสาวกนั้นปฏิบัติอย่างนี้แล้ว เป็นผู้มากด้วยปฏิปทานั้นอยู่ จิตย่อมผ่องใส
ในอายตนะ เมื่อมีความผ่องใส อริยสาวกนั้นย่อมเข้าถึงอาเนญชสมาบัติ หรือ
น้อมใจไปในปัญญาในปัจจุบันได้ เป็นไปได้ที่หลังจากตายแล้ว วิญญาณที่เป็นไป
ในภพนั้น ๆ พึงเป็นวิญญาณเข้าถึงสภาพหาความหวั่นไหวมิได้
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่อาเนญชสมาบัติ
ประการที่ ๒
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘กามที่มีในภพนี้ และกามที่
มีในภพหน้า กามสัญญาที่มีในภพนี้ และกามสัญญาที่มีในภพหน้า รูปที่มีในภพนี้
และรูปที่มีในภพหน้า รูปสัญญาที่มีในภพนี้ และรูปสัญญาที่มีในภพหน้า ทั้ง ๒
ประการ เป็นของไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นไม่ควรยินดี ไม่ควรพูดชม ไม่ควร
ติดใจ’ เมื่ออริยสาวกนั้นปฏิบัติอย่างนี้แล้ว เป็นผู้มากด้วยปฏิปทานั้นอยู่ จิตย่อม
ผ่องใสในอายตนะ เมื่อมีความผ่องใส อริยสาวกนั้นย่อมเข้าถึงอาเนญชสมาบัติ
หรือน้อมใจไปในปัญญาในปัจจุบันได้ เป็นไปได้ที่หลังจากตายแล้ว วิญญาณที่เป็น
ไปในภพนั้น ๆ พึงเป็นวิญญาณเข้าถึงสภาพหาความหวั่นไหวมิได้
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่อาเนญชสมาบัติ
ประการที่ ๓
[๖๘] อีกประการหนึ่ง อริยสาวกพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘กามที่มีในภพนี้
และกามที่มีในภพหน้า กามสัญญาที่มีในภพนี้ และกามสัญญาที่มีในภพหน้า
รูปที่มีในภพนี้ และรูปที่มีในภพหน้า รูปสัญญาที่มีในภพนี้ และรูปสัญญาที่มีใน
ภพหน้า และอาเนญชสัญญา สัญญาทั้งหมดนี้ย่อมดับไม่เหลือในฌานใด ฌาน
นั้นคืออากิญจัญญายตนฌาน เป็นฌานอันสงบ ประณีต’ เมื่ออริยสาวกนั้นปฏิบัติ
อย่างนี้แล้ว เป็นผู้มากด้วยปฏิปทานั้นอยู่ จิตย่อมผ่องใสในอายตนะ เมื่อมีความ
ผ่องใส อริยสาวกนั้นย่อมเข้าถึงอากิญจัญญายตนสมาบัติ หรือน้อมใจไปในปัญญาใน
ปัจจุบันได้ เป็นไปได้ที่หลังจากตายไปแล้ว วิญญาณที่เป็นไปในภพนั้น ๆ
พึงเป็นวิญญาณเข้าถึงอากิญจัญญายตนภูมิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๗๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๖. อาเนญชสัปปายสูตร

ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่อากิญจัญญายตน
สมาบัติ ประการที่ ๑
[๖๙] อีกประการหนึ่ง อริยสาวกไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่าง
ก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘สิ่งนี้ว่างจากอัตตา หรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา’ เมื่อ
อริยสาวกนั้นปฏิบัติอย่างนี้แล้ว เป็นผู้มากด้วยปฏิปทานั้นอยู่ จิตย่อมผ่องใสใน
อายตนะ เมื่อมีความผ่องใส อริยสาวกนั้นย่อมเข้าถึงอากิญจัญญายตนสมาบัติ
หรือน้อมใจไปในปัญญาในปัจจุบันได้ เป็นไปได้ที่หลังจากตายแล้ว วิญญาณที่เป็น
ไปในภพนั้น ๆ พึงเป็นวิญญาณเข้าถึงอากิญจัญญายตนภูมิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่อากิญจัญญายตน
สมาบัติ ประการที่ ๒
[๗๐] อีกประการหนึ่ง อริยสาวกพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราไม่มีในที่ไหน ๆ
สิ่งน้อยหนึ่งของใคร ๆ ก็ไม่มีในเรานั้น และสิ่งน้อยหนึ่งของเราก็ไม่มีในที่ไหน ๆ
ในใคร ๆ ก็ไม่มีสิ่งน้อยหนึ่งเลย’ เมื่ออริยสาวกนั้นปฏิบัติอย่างนี้แล้ว เป็นผู้มาก
ด้วยปฏิปทานั้นอยู่ จิตย่อมผ่องใสในอายตนะ เมื่อมีความผ่องใส อริยสาวกนั้น
ย่อมเข้าถึงอากิญจัญญายตนสมาบัติ หรือน้อมใจไปในปัญญาในปัจจุบันได้ เป็นไป
ได้ที่หลังจากตายแล้ว วิญญาณที่เป็นไปในภพนั้น ๆ พึงเป็นวิญญาณเข้าถึง
อากิญจัญญายตนภูมิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่อากิญจัญญายตน
สมาบัติ ประการที่ ๓
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘กามที่มีในภพนี้ และ
กามที่มีในภพหน้า กามสัญญาที่มีในภพนี้ และกามสัญญาที่มีในภพหน้า รูปที่มี
ในภพนี้ และรูปที่มีในภพหน้า รูปสัญญาที่มีในภพนี้ และรูปสัญญาที่มีในภพหน้า
อาเนญชสัญญา และอากิญจัญญายตนสัญญา สัญญาทั้งหมดนี้ย่อมดับไม่เหลือใน
ฌานใด ฌานนั้นคือเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ เป็นสมาบัติอันสงบ ประณีต’
เมื่ออริยสาวกนั้นปฏิบัติอย่างนี้แล้ว เป็นผู้มากด้วยปฏิปทานั้นอยู่ จิตย่อมผ่องใส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๖. อาเนญชสัปปายสูตร

ในอายตนะ เมื่อมีความผ่องใส อริยสาวกนั้นย่อมเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตน
สมาบัติ หรือน้อมใจไปในปัญญาในปัจจุบันได้ เป็นไปได้ที่หลังจากตายแล้ว
วิญญาณที่เป็นไปในภพนั้น ๆ พึงเป็นวิญญาณเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่เนวสัญนาสัญญายตน
สมาบัติ”
[๗๑] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ปฏิบัติอย่างนี้
แล้ว ย่อมได้อุเบกขาอย่างนี้ว่า ‘สิ่งที่ไม่มีก็ไม่พึงมีแก่เรา หากจักไม่มีก็จักไม่มี
แก่เรา เพราะเราจะละสิ่งที่กำลังมีอยู่และมีมาแล้วนั้นไป’ ภิกษุนั้นพึงปรินิพพาน
หรือไม่พึงปรินิพพาน พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ ภิกษุบางรูปพึงปรินิพพานในอัตภาพนี้
บางรูปไม่พึงปรินิพพานในอัตภาพนี้”
“อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ภิกษุบางรูปปรินิพพานในอัตภาพนี้ บางรูป
ไม่ปรินิพพานในอัตภาพนี้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุในธรรมวินัยนี้ปฏิบัติอย่างนี้แล้ว ย่อมได้อุเบกขาอย่างนี้ว่า ‘สิ่งที่ไม่มีก็
ไม่พึงมีแก่เรา หากจักไม่มีก็จักไม่มีแก่เรา เพราะเราจะละสิ่งที่กำลังมีอยู่และมีมา
แล้วนั้นไป’ ภิกษุนั้นย่อมเพลิดเพลิน ชื่นชม ยึดติดอุเบกขานั้น เมื่อเธอเพลิดเพลิน
ชื่นชม ยึดติดอุเบกขานั้นอยู่ วิญญาณย่อมเป็นอันอาศัยอุเบกขานั้น ยึดมั่น
อุเบกขานั้น อานนท์ ภิกษุผู้มีความยึดมั่นย่อมปรินิพพานไม่ได้”
“ก็ภิกษุนั้นเมื่อยึดมั่น จะยึดมั่นในธรรมข้อไหน พระพุทธเจ้าข้า”
“ย่อมยึดมั่นเนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ได้ยินว่า ภิกษุนั้นเมื่อยึดมั่น ย่อมยึดมั่นอุปาทาน
ส่วนที่สำคัญที่สุดหรือ พระพุทธเจ้าข้า”
“อานนท์ ภิกษุนั้นเมื่อยึดมั่น ย่อมยึดมั่นอุปาทานส่วนที่สำคัญที่สุด ก็
อุปาทานส่วนที่สำคัญที่สุดนี้ คือเนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๖. อาเนญชสัปปายสูตร

[๗๒] อานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ปฏิบัติอย่างนี้แล้ว ย่อมได้อุเบกขา
อย่างนี้ว่า ‘สิ่งที่ไม่มีก็ไม่พึงมีแก่เรา หากจักไม่มีก็จักไม่มีแก่เรา เพราะเราจะละ
สิ่งที่กำลังมีอยู่และมีมาแล้วนั้นไป’ ภิกษุนั้นไม่เพลิดเพลิน ไม่ชื่นชม ไม่ยึดติด
อุเบกขานั้นอยู่ เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่ชื่นชม ไม่ยึดติดอุเบกขานั้นอยู่
วิญญาณก็อาศัยอุเบกขานั้น และยึดมั่นอุเบกขานั้นไม่ได้ อานนท์ ภิกษุผู้ไม่มี
ความยึดมั่นย่อมปรินิพพานได้”
[๗๓] ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลว่า “น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ
พระพุทธเจ้าข้า ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยเหตุนี้จึงตรัสบอกปฏิปทา
เครื่องข้ามพ้นโอฆะแก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย
วิโมกข์อันเป็นของพระอริยะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุผู้เป็นอริยสาวกในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘กามที่มีในภพนี้
และกามที่มีในภพหน้า กามสัญญาที่มีในภพนี้ และกามสัญญาที่มีในภพหน้า รูป
ที่มีในภพนี้ และรูปที่มีในภพหน้า รูปสัญญาที่มีในภพนี้ และรูปสัญญาที่มีในภพหน้า
อาเนญชสัญญา อากิญจัญญายตนสัญญา และเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา
สักกายะ๑มีอยู่เท่าใด นี้เป็นสักกายะ วิโมกข์(ความหลุดพ้น) แห่งจิตเพราะไม่ยึดมั่น
นั่น คืออมตะ’ อานนท์ เราแสดงปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่อาเนญชสมาบัติไว้แล้ว
แสดงปฏิปทาที่เป็นสัปปายะแก่อากิญจัญญายตนสมาบัติไว้แล้ว แสดงปฏิปทาที่
เป็นสัปปายะแก่เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติไว้แล้ว เราอาศัยเหตุนี้แสดง
ปฏิปทาเครื่องข้ามโอฆะไว้แล้ว แสดงวิโมกข์อันเป็นของพระอริยะไว้แล้ว ด้วยประการ
อย่างนี้ กิจที่ศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์ อาศัยความ
อนุเคราะห์แล้วพึงทำแก่สาวกทั้งหลาย เราก็ได้ทำแล้วแก่เธอทั้งหลาย
อานนท์ นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลายจงเพ่งฌาน อย่าประมาท
อย่าได้เป็นผู้เดือดร้อนในภายหลัง นี้เป็นคำสอนของเราสำหรับเธอทั้งหลาย”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์มีใจยินดีชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

อาเนญชสัปปายสูตรที่ ๖ จบ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๗. คณกโมคคัลลานสูตร

๗. คณกโมคคัลลานสูตร
ว่าด้วยพราหมณ์ชื่อคณกโมคคัลลานะ

[๗๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปราสาทของมิคารมาตา ใน
บุพพาราม เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล คณกโมคคัลลานพราหมณ์เข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้วได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่
ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ปราสาทของมิคารมาตาหลังนี้มีการศึกษาโดย
ลำดับ มีการกระทำโดยลำดับ มีการปฏิบัติโดยลำดับ คือโครงสร้างบันไดชั้นล่าง
ย่อมปรากฏ แม้พราหมณ์เหล่านี้ก็มีการศึกษาโดยลำดับ มีการกระทำโดยลำดับ
มีการปฏิบัติโดยลำดับ ย่อมปรากฏด้วยการเล่าเรียน แม้นักรบเหล่านี้ก็มีการ
ศึกษาโดยลำดับ มีการกระทำโดยลำดับ มีการปฏิบัติโดยลำดับ ย่อมปรากฏใน
เรื่องการใช้อาวุธ แม้แต่ข้าพเจ้าทั้งหลายผู้เป็นนักคำนวณก็มีการศึกษาโดยลำดับ
มีการกระทำโดยลำดับ มีการปฏิบัติโดยลำดับ ย่อมปรากฏในเรื่องการนับจำนวน
เพราะข้าพเจ้าทั้งหลายได้ศิษย์แล้ว เบื้องต้นให้เขานับอย่างนี้ว่า ‘หนึ่ง หมวดหนึ่ง
สอง หมวดสอง สาม หมวดสาม สี่ หมวดสี่ ห้า หมวดห้า หก หมวดหก เจ็ด
หมวดเจ็ด แปด หมวดแปด เก้า หมวดเก้า สิบ หมวดสิบ’ ย่อมให้นับไปถึง
จำนวนร้อย ให้นับไปเกินจำนวนร้อย แม้ฉันใด
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระองค์สามารถเพื่อจะบัญญัติการศึกษาโดยลำดับ
การกระทำโดยลำดับ การปฏิบัติโดยลำดับ ในพระธรรมวินัยแม้นี้ฉันนั้นบ้างไหม”

การศึกษาและการปฏิบัติเป็นขั้นตอน

[๗๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ เราสามารถเพื่อจะบัญญัติการ
ศึกษาโดยลำดับ การกระทำโดยลำดับ การปฏิบัติโดยลำดับ ในธรรมวินัยนี้ได้
เปรียบเหมือนคนฝึกม้าผู้ชำนาญ ได้ม้าอาชาไนยตัวงามแล้ว เบื้องต้นทีเดียว ย่อม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๗. คณกโมคคัลลานสูตร

ฝึกให้คุ้นกับการบังคับในบังเหียน ต่อมาจึงฝึกให้คุ้นยิ่งขึ้นไป แม้ฉันใด ตถาคตก็
ฉันนั้นเหมือนกัน ได้บุรุษที่ควรฝึกแล้ว เบื้องต้นทีเดียว ย่อมแนะนำอย่างนี้ว่า
‘มาเถิด ภิกษุ เธอจงเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อม
ด้วยอาจาระและโคจร๑อยู่ จงเป็นผู้มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทาน
ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลายเถิด’
พราหมณ์ ในกาลใดภิกษุเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์
เพียบพร้อมด้วยอาจาระและโคจร เป็นผู้เห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษา
ในสิกขาบททั้งหลาย ในกาลนั้น ตถาคตย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ‘มาเถิด ภิกษุ
เธอจงเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย’
คือ เธอเห็นรูปทางตาแล้ว อย่ารวบถือ อย่าแยกถือ จงปฏิบัติเพื่อสำรวม
จักขุนทรีย์(อินทรีย์คือจักขุ) ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วจะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรม
คืออภิชฌา(ความเพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของเขา) และโทมนัส(ความทุกข์ใจ)
ครอบงำได้ เธอจงรักษาจักขุนทรีย์ จงถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์
เธอฟังเสียงทางหูแล้ว ...
เธอดมกลิ่นทางจมูกแล้ว ...
เธอลิ้มรสทางลิ้นแล้ว ...
เธอถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายแล้ว ...
เธอรู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว อย่ารวบถือ อย่าแยกถือ จงปฏิบัติ
เพื่อสำรวมมนินทรีย์(อินทรีย์คือมโน) ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วจะเป็นเหตุให้ถูกบาป
อกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ เธอจงรักษามนินทรีย์ จงถึงความ
สำรวมในมนินทรีย์


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๗. คณกโมคคัลลานสูตร

พราหมณ์ ในกาลใดภิกษุเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายแล้ว ในกาล
นั้น ตถาคตย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ‘มาเถิด ภิกษุ เธอจงเป็นผู้รู้ประมาณ
ในการบริโภคอาหาร คือ เธอพึงพิจารณาโดยแยบคายแล้วฉันอาหาร ไม่ใช่เพื่อเล่น
ไม่ใช่เพื่อมัวเมา ไม่ใช่เพื่อประดับ ไม่ใช่เพื่อตกแต่ง แต่ฉันอาหารเพียงเพื่อความ
ดำรงอยู่ได้แห่งกายนี้ เพื่อให้กายนี้เป็นไปได้ เพื่อกำจัดความเบียดเบียน เพื่อ
อนุเคราะห์พรหมจรรย์ ด้วยคิดเห็นว่า ‘เราจักกำจัดเวทนาเก่า และจักไม่ให้เวทนา
ใหม่เกิดขึ้น ความดำเนินไปแห่งกาย ความไม่มีโทษ และการอยู่ผาสุข จักมีแก่เรา’
พราหมณ์ ในกาลใดภิกษุเป็นผู้รู้ประมาณในการบริโภคอาหาร ในกาลนั้น
ตถาคตย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ‘มาเถิด ภิกษุ เธอจงเป็นผู้ประกอบความ
เพียรเครื่องตื่นอย่างต่อเนื่อง คือ เธอจงชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมทั้งหลายที่เป็น
เครื่องขัดขวาง ด้วยการจงกรม ด้วยการนั่งตลอดวัน จงชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก
ธรรมทั้งหลายที่เป็นเครื่องขัดขวาง ด้วยการจงกรม ด้วยการนั่งตลอดปฐมยาม
แห่งราตรี นอนดุจราชสีห์โดยข้างเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ
กำหนดใจพร้อมจะลุกขึ้นตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี จงลุกขึ้นชำระจิตให้บริสุทธิ์
จากธรรมทั้งหลายที่เป็นเครื่องขัดขวาง ด้วยการจงกรม ด้วยการนั่งตลอด
ปัจฉิมยามแห่งราตรี’
พราหมณ์ ในกาลใดภิกษุเป็นผู้ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอย่างต่อเนื่อง
ในกาลนั้น ตถาคตย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ‘มาเถิด ภิกษุ เธอจงเป็นผู้
ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ คือทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป การถอยกลับ การ
แลดู การเหลียวดู การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตรและจีวร
การฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม การถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ การเดิน การยืน
การนั่ง การนอน การตื่น การพูด การนิ่ง’
พราหมณ์ ในกาลใดภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ ในกาลนั้น
ตถาคตย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ‘มาเถิด ภิกษุ เธอจงพักอยู่ ณ เสนาสนะ
อันเงียบสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง
ภิกษุนั้นพักอยู่ ณ เสนาสนะอันเงียบสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๗. คณกโมคคัลลานสูตร

ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง ภิกษุนั้นกลับจากบิณฑบาต ภายหลังฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว
นั่งขัดสมาธิ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า ภิกษุนั้นละอภิชฌาในโลก มีใจ
ปราศจากอภิชฌา(ความเพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของเขา) ชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก
อภิชฌา ละความมุ่งร้ายคือพยาบาท มีจิตไม่พยาบาท มุ่งประโยชน์เกื้อกูลต่อ
สรรพสัตว์อยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความมุ่งร้ายคือพยาบาท ละถีนมิทธะ(ความ
หดหู่และเซื่องซึม) ปราศจากถีนมิทธะ กำหนดแสงสว่าง มีสติสัมปชัญญะอยู่
ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะ ละอุทธัจจกุกกุจจะ(ความฟุ้งซ่านและรำคาญใจ)
เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบภายใน ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะ ละ
วิจิกิจฉา(ความลังเลสงสัย) ข้ามพ้นวิจิกิจฉาได้แล้ว ไม่มีความสงสัยในกุศลธรรม
ทั้งหลายอยู่ จึงชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉาได้’
[๗๖] ภิกษุนั้นละนิวรณ์ ๕ นี้ที่ทำให้จิตเศร้าหมองบั่นทอนกำลังปัญญา
สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว เข้าปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุข
อันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป เข้าทุติยฌาน ... อยู่ เพราะปีติ
จางคลายไป มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เข้า
ตติยฌาน ... อยู่ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน
เข้าจตุตถฌาน ... อยู่
พราหมณ์ ในภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพระเสขะ ผู้ยังไม่บรรลุอรหัต ยัง
ปรารถนาธรรมที่เกษมจากโยคะอย่างยอดเยี่ยมอยู่เหล่านั้น เรามีคำพร่ำสอนเช่นนี้
แต่สำหรับภิกษุผู้เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำ
เสร็จแล้ว๑ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว๒
หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบเหล่านั้น ธรรมเหล่านี้จึงจะเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุข
ในปัจจุบัน และเพื่อสติสัมปชัญญะแก่เธอทั้งหลาย”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๗. คณกโมคคัลลานสูตร

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว คณกโมคคัลลานพราหมณ์ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า “สาวกของท่านพระโคดมที่ท่านพระโคดมสั่งสอนอยู่อย่างนี้
พร่ำสอนอยู่อย่างนี้ สำเร็จนิพพานอันถึงที่สุดโดยส่วนเดียวทุกพวกทีเดียวหรือ
หรือว่าบางพวกก็ไม่สำเร็จ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ สาวกของเราที่เราสั่งสอนอยู่อย่างนี้
พร่ำสอนอยู่อย่างนี้ บางพวกสำเร็จนิพพานอันถึงที่สุดโดยส่วนเดียว บางพวกไม่
สำเร็จ”
“อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่เป็นเหตุให้นิพพานก็มีอยู่ ทางให้ถึงนิพพาน
ก็มีอยู่ ท่านพระโคดมผู้ชักชวนก็มีพระชนม์อยู่ แต่สาวกของท่านพระโคดมที่ท่าน
พระโคดมสั่งสอนอยู่อย่างนี้ พร่ำสอนอยู่อย่างนี้ บางพวกสำเร็จนิพพานอันถึงที่สุด
โดยส่วนเดียว บางพวกกลับไม่สำเร็จ”
[๗๗] “พราหมณ์ ถ้าเช่นนั้น เราจักถามท่าน ในเรื่องนี้ ท่านชอบใจอย่างไร
พึงพยากรณ์อย่างนั้น
ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือท่านชำนาญทางไปกรุงราชคฤห์มิใช่หรือ”
“ใช่ ท่านพระโคดม”
“พราหมณ์ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ บุรุษผู้ปรารถนาจะไป
กรุงราชคฤห์พึงมาในที่นี้ บุรุษนั้นเข้ามาหาท่านแล้วพูดอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ
ข้าพเจ้าปรารถนาจะไปกรุงราชคฤห์ ขอท่านจงบอกทางไปกรุงราชคฤห์นั้นให้
ข้าพเจ้าด้วยเถิด’ ท่านพึงบอกเขาอย่างนี้ว่า ‘พ่อคุณ มาเถิด ทางนี้ไปกรุงราชคฤห์
ท่านจงไปตามทางนั้นชั่วครู่หนึ่งแล้ว จักเห็นหมู่บ้านชื่อโน้น ไปตามทางนั้นชั่วครู่
หนึ่งแล้ว จักเห็นนิคมชื่อโน้น ไปตามทางนั้นชั่วครู่หนึ่งแล้ว จักเห็นสวนที่น่ารื่นรมย์
ป่าที่น่ารื่นรมย์ ภาคพื้นที่น่ารื่นรมย์ สระโบกขรณีที่น่ารื่นรมย์ของกรุงราชคฤห์’
บุรุษนั้นที่ท่านสั่งสอนอยู่อย่างนี้ พร่ำสอนอยู่อย่างนี้ จำทางผิดเดินไปเสีย
ทางตรงกันข้าม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๗. คณกโมคคัลลานสูตร

ต่อมาบุรุษคนที่สองปรารถนาจะไปกรุงราชคฤห์ พึงเดินมา บุรุษนั้นเข้ามา
หาท่านแล้วพูดอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าปรารถนาจะไปกรุงราชคฤห์ ขอ
ท่านจงบอกทางไปกรุงราชคฤห์นั้นให้ข้าพเจ้าด้วยเถิด’ ท่านพึงบอกเขาอย่างนี้ว่า
‘พ่อคุณ มาเถิด ทางนี้ไปกรุงราชคฤห์ ท่านจงไปตามทางนั้นชั่วครู่หนึ่งแล้ว จัก
เห็นหมู่บ้านชื่อโน้น ไปตามทางนั้นชั่วครู่หนึ่งแล้ว จักเห็นนิคมชื่อโน้น ไปตามทาง
นั้นชั่วครู่หนึ่งแล้ว จักเห็นสวนที่น่ารื่นรมย์ ป่าที่น่ารื่นรมย์ ภาคพื้นที่น่ารื่นรมย์
สระโบกขรณีที่น่ารื่นรมย์ของกรุงราชคฤห์’
บุรุษนั้นที่ท่านสั่งสอนอยู่อย่างนี้ พร่ำสอนอยู่อย่างนี้ พึงไปถึงกรุงราชคฤห์
โดยสวัสดี
พราหมณ์ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้กรุงราชคฤห์ก็มีอยู่ ทางไปกรุง
ราชคฤห์ก็มีอยู่ ท่านผู้บอกก็ยังมีชีวิตอยู่ แต่บุรุษที่ท่านสั่งสอนอยู่อย่างนี้ พร่ำ
สอนอยู่อย่างนี้ คนหนึ่งจำทางผิด เดินไปเสียทางตรงกันข้าม คนหนึ่งเดินทางไป
ถึงกรุงราชคฤห์โดยสวัสดี”
พราหมณ์กราบทูลว่า “ท่านพระโคดม ในเรื่องนี้ ข้าพเจ้าจะทำอย่างไรได้
ข้าพเจ้าเป็นแต่ผู้บอกทาง”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ ฉันนั้นเหมือนกัน นิพพานก็มีอยู่
ทางไปนิพพานก็มีอยู่ เรา(ตถาคต)ผู้ชักชวนก็มีอยู่ ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ สาวกทั้งหลาย
ของเราที่เราสั่งสอนอยู่อย่างนี้ พร่ำสอนอยู่อย่างนี้ บางพวกสำเร็จนิพพานอันถึง
ที่สุดโดยส่วนเดียว บางพวกไม่สำเร็จ ในเรื่องนี้ เราจะทำอย่างไรได้ ตถาคตก็
เป็นแต่ผู้บอกทาง”
[๗๘] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว คณกโมคคัลลานพราหมณ์ ได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ท่านพระโคดม บุคคลผู้ไม่มีศรัทธาประสงค์จะเลี้ยงชีวิต ออกจากเรือนบวช
เป็นบรรพชิต เป็นผู้โอ้อวด มีมารยา เจ้าเล่ห์ ฟุ้งซ่าน ถือตัว โลเล กลับกลอก
ปากกล้า พูดพร่ำเพรื่อ ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้ประมาณในการ
บริโภคอาหาร ไม่ประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่นอย่างต่อเนื่อง ไม่นำพาในความ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๗. คณกโมคคัลลานสูตร

เป็นสมณะ ไม่มีความเคารพอย่างจริงใจในสิกขา มักมาก ย่อหย่อนไป เป็นผู้นำ
ในโอกกมนธรรม๑ทอดธุระในปวิเวก(ความสงัด)เกียจคร้าน ละเลยความเพียร
หลงลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตกวัดแกว่ง มีปัญญาทึบ เป็นดัง
คนหนวกและคนใบ้ ท่านพระโคดมย่อมอยู่ร่วมกับคนเหล่านั้นไม่ได้
ส่วนกุลบุตรผู้มีศรัทธา ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เป็นผู้ไม่โอ้อวด
ไม่มีมายา ไม่เจ้าเล่ห์ ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ถือตัว ไม่โลเล ไม่ปากกล้า ไม่พูดพร่ำเพรื่อ
คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้ประมาณในการบริโภคอาหาร ประกอบความ
เพียรเครื่องตื่นอย่างต่อเนื่อง นำพาในความเป็นสมณะ มีความเคารพอย่างจริงใจ
ในสิกขา ไม่มักมาก ไม่ย่อหย่อน ทอดธุระในโอกกมนธรรม เป็นผู้นำในปวิเวก
ปรารภความเพียร อุทิศกายและใจ มีสติมั่นคง มีสัมปชัญญะ มีจิตตั้งมั่น มีจิต
แน่วแน่ มีปัญญา ไม่เป็นดังคนหนวกและคนใบ้ ท่านพระโคดมผู้เจริญย่อมอยู่ร่วม
กับกุลบุตรเหล่านั้นได้
บรรดารากไม้หอม บัณฑิตยกย่องกฤษณาว่าเป็นเลิศ บรรดาไม้ที่มีแก่นหอม
บัณฑิตยกย่องแก่นจันทน์แดงว่าเป็นเลิศ บรรดาไม้ที่มีดอกหอม บัณฑิตยกย่อง
ดอกมะลิว่าเป็นเลิศ แม้ฉันใด คำสั่งสอนของท่านพระโคดม ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
จัดว่ายอดเยี่ยมกว่าอัชชธรรม๒ทั้งหลาย
ท่านพระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านพระโคดม
พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระองค์ทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้ง
โดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทาง
แก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจะเห็นรูปได้’ ข้า
พระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดม พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอ
ท่านพระโคดมโปรดทรงจำข้าพระองค์ไว้ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้
เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต” ดังนี้แล

คณกโมคคัลลานสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๘. โคปกโมคคัลลานสูตร

๘. โคปกโมคคัลลานสูตร
ว่าด้วยพราหมณ์ชื่อโคปกโมคคัลลานะ

[๗๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง เมื่อพระผู้มีพระภาคปรินิพพานแล้วไม่นาน ท่านพระอานนท์พักอยู่
ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้นแล พระเจ้า
อชาตศัตรู เวเทหิบุตร กษัตริย์แคว้นมคธ ทรงระแวงพระเจ้าปัชโชติ จึงรับสั่งให้
ปฏิสังขรณ์กรุงราชคฤห์
ครั้นเวลาเช้า ท่านพระอานนท์ครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร เข้าไป
บิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์ ได้คิดอย่างนี้ว่า “ยังเช้าเกินไปที่จะเที่ยวบิณฑบาตใน
กรุงราชคฤห์ ทางที่ดี เราพึงเข้าไปหาโคปกโมคคัลลานพราหมณ์ถึงที่ทำงาน”
แล้วเข้าไปยังที่นั้น
โคปกโมคคัลลานพราหมณ์ เห็นท่านพระอานนท์เดินมาแต่ไกล จึงได้กล่าว
กับท่านพระอานนท์ว่า “ขอเชิญท่านพระอานนท์เข้ามาเถิด ขอต้อนรับ นาน ๆ
ท่านพระอานนท์จะมีเวลามาที่นี้ ขอเชิญท่านพระอานนท์จงนั่งเถิด อาสนะนี้ปูลาด
ไว้แล้ว”
ท่านพระอานนท์ได้นั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้แล้ว ส่วนโคปกโมคคัลลาน
พราหมณ์เลือกนั่ง ณ ที่สมควรแห่งใดแห่งหนึ่งซึ่งต่ำกว่า ได้กล่าวกับท่านพระ
อานนท์ว่า “ท่านพระอานนท์ มีภิกษุสักรูปหนึ่งไหมที่ประกอบด้วยธรรมครบทุก
ข้อทุกประการ อย่างที่ท่านพระโคดมผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์
นั้นทรงประกอบพร้อมแล้ว”
ท่านพระอานนท์กล่าวว่า “พราหมณ์ ไม่มีภิกษุสักรูปหนึ่งเลยที่ประกอบด้วย
ธรรมครบทุกข้อทุกประการ อย่างที่พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันตสัมมา
สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นทรงประกอบพร้อมแล้ว เพราะพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ทรงยังมรรคที่ยังไม่อุบัติให้อุบัติ ทรงยังมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิด ตรัสบอกมรรคที่
ไม่มีใครบอกได้ ทรงทราบชัดมรรค ทรงรู้แจ้งมรรค ทรงฉลาดในมรรค ส่วนสาวก
ทั้งหลายในบัดนี้เป็นผู้ดำเนินตามมรรคในภายหลังจึงประกอบพร้อมอยู่”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๘. โคปกโมคคัลลานสูตร

เรื่องนี้ที่ท่านพระอานนท์ได้สนทนากับโคปกโมคคัลลานพราหมณ์ค้างไว้
ขณะนั้น วัสสการพราหมณ์มหาอำมาตย์แห่งแคว้นมคธ เที่ยวตรวจราชการ
ในกรุงราชคฤห์ ได้เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่ทำงานของโคปกโมคคัลลานพราหมณ์
แล้วได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
ได้กล่าวกับท่านพระอานนท์ว่า “ท่านพระอานนท์ บัดนี้ พระคุณเจ้านั่งสนทนากัน
ด้วยเรื่องอะไรหนอ และท่านทั้งสองได้สนทนาเรื่องอะไรค้างไว้”
ท่านพระอานนท์กล่าวว่า “พราหมณ์ ในเรื่องนี้ โคปกโมคคัลลานพราหมณ์
ได้กล่าวกับอาตมภาพอย่างนี้ว่า ‘ท่านพระอานนท์ มีภิกษุสักรูปหนึ่งไหม ที่
ประกอบด้วยธรรม๑ครบทุกข้อทุกประการ อย่างที่ท่านพระโคดมผู้เป็นพระอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นทรงประกอบพร้อมแล้ว’
เมื่อโคปกโมคคัลลานพราหมณ์กล่าวอย่างนี้แล้ว อาตมภาพได้ตอบว่า ‘พราหมณ์
ไม่มีภิกษุสักรูปหนึ่งเลยที่ประกอบด้วยธรรมครบทุกข้อทุกประการ อย่างที่พระผู้มี
พระภาคผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นทรงประกอบพร้อมแล้ว
เพราะพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงยังมรรคที่ยังไม่อุบัติให้อุบัติ ทรงยังมรรคที่
ยังไม่เกิดให้เกิด ตรัสบอกมรรคที่ไม่มีใครบอกได้ ทรงทราบชัดมรรค ทรงรู้แจ้งมรรค
ทรงฉลาดในมรรค ส่วนสาวกทั้งหลายในบัดนี้เป็นผู้ดำเนินตามมรรคในภายหลังจึง
ประกอบพร้อมอยู่’
เรื่องนี้แลที่อาตมภาพได้สนทนากับโคปกโมคคัลลานพราหมณ์ค้างไว้ ก็พอดี
ท่านมาถึง”
[๘๐] วัสสการพราหมณ์ถามว่า “ท่านพระอานนท์ มีภิกษุสักรูปหนึ่งไหมที่
ท่านพระโคดมพระองค์นั้นทรงแต่งตั้งไว้ว่า ‘เมื่อเราล่วงลับไป ภิกษุรูปนี้จักเป็นที่
พึ่งของเธอทั้งหลาย’ ซึ่งพระคุณเจ้าพึงเข้าไปหาได้ในบัดนี้”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๘. โคปกโมคคัลลานสูตร

ท่านพระอานนท์ตอบว่า “พราหมณ์ ไม่มีภิกษุสักรูปหนึ่งเลยที่พระผู้มี
พระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงแต่งตั้ง
ไว้ว่า ‘เมื่อเราล่วงลับไป ภิกษุรูปนี้จักเป็นที่พึ่งของเธอทั้งหลาย’ ซึ่งอาตมภาพ
ทั้งหลายจะพึงเข้าไปหาได้ในบัดนี้”
“ท่านพระอานนท์ มีภิกษุสักรูปหนึ่งไหมที่สงฆ์สมมติ คือภิกษุที่ภิกษุผู้เป็น
เถระจำนวนมากแต่งตั้งไว้ว่า ‘เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จล่วงลับไป ภิกษุรูปนี้
จักเป็นที่พึ่งของเราทั้งหลาย’ ซึ่งพระคุณเจ้าทั้งหลายพึงเข้าไปหาได้ในบัดนี้”
“พราหมณ์ ไม่มีภิกษุสักรูปหนึ่งเลยที่สงฆ์สมมติ คือภิกษุที่ภิกษุผู้เป็นเถระ
จำนวนมากแต่งตั้งไว้ว่า ‘เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จล่วงลับไป ภิกษุรูปนี้จักเป็นที่พึ่ง
ของเราทั้งหลาย’ ซึ่งอาตมภาพทั้งหลายพึงเข้าไปหาได้ในบัดนี้”
“ท่านพระอานนท์ ก็เมื่อไม่มีที่พึ่งอย่างนี้ อะไรเล่าเป็นเหตุแห่งความสามัคคี
กันโดยธรรม”
“พราหมณ์ อาตมภาพทั้งหลายมิใช่คนไม่มีที่พึ่ง อาตมภาพทั้งหลายเป็น
คนมีที่พึ่ง คือมีธรรมเป็นที่พึ่ง”
วัสสการพราหมณ์กล่าวว่า “ท่านพระอานนท์ เมื่อกระผมถามท่านพระ
อานนท์ดังนี้ว่า ‘มีภิกษุสักรูปหนึ่งไหมที่ท่านพระโคดมพระองค์นั้นทรงแต่งตั้งไว้ว่า
‘เมื่อเราล่วงลับไป ภิกษุรูปนี้จักเป็นที่พึ่งของเธอทั้งหลาย’ ซึ่งพระคุณเจ้าทั้งหลาย
พึงเข้าไปหาได้ในบัดนี้’ ท่านก็ตอบว่า ‘พราหมณ์ ไม่มีภิกษุสักรูปหนึ่งเลยที่
พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ทรงแต่งตั้งไว้ว่า ‘เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว ภิกษุรูปนี้จักเป็นที่พึ่งของเธอทั้งหลาย’
ซึ่งอาตมภาพทั้งหลายพึงเข้าไปหาได้ในบัดนี้’
เมื่อกระผมถามท่านว่า ‘มีภิกษุสักรูปหนึ่งไหมที่สงฆ์สมมติ คือภิกษุที่ภิกษุผู้
เป็นเถระจำนวนมากแต่งตั้งไว้ว่า ‘เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จล่วงลับไป ภิกษุรูปนี้จัก
เป็นที่พึ่งของเราทั้งหลาย’ ซึ่งพระคุณเจ้าทั้งหลายพึงเข้าไปหาได้ในบัดนี้’ ท่าน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๘. โคปกโมคคัลลานสูตร

ก็ตอบว่า ‘พราหมณ์ ไม่มีภิกษุสักรูปหนึ่งเลยที่สงฆ์สมมติ คือภิกษุที่ภิกษุผู้เป็น
เถระจำนวนมากแต่งตั้งไว้ว่า ‘เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จล่วงลับไป ภิกษุรูปนี้
จักเป็นที่พึ่งของเราทั้งหลาย’ ซึ่งอาตมภาพทั้งหลายพึงเข้าไปหาได้ในบัดนี้’
และเมื่อกระผมถามท่านว่า ‘ก็เมื่อไม่มีที่พึ่งอย่างนี้ อะไรเล่าเป็นเหตุแห่ง
ความสามัคคีโดยธรรม’ ท่านก็ตอบว่า ‘พราหมณ์ อาตมภาพทั้งหลาย
มิใช่เป็นคนไม่มีที่พึ่ง อาตมภาพทั้งหลายเป็นคนมีที่พึ่ง คือมีธรรมเป็นที่พึ่ง’
ท่านพระอานนท์ ก็คำที่พระคุณเจ้ากล่าวมาแล้วนี้ กระผมจะพึงเข้าใจเนื้อ
ความได้อย่างไร”
[๘๑] “มีอยู่ พราหมณ์ พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันต-
สัมมาสัมพุทธจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติสิกขาบท ทรงแสดงปาติโมกข์แก่ภิกษุ
ทั้งหลาย ทุกวันอุโบสถ อาตมภาพเท่าที่มีอยู่นั้น จะเข้าไปอาศัยคามเขตแห่งหนึ่ง
อยู่ ทุกรูปจะประชุมร่วมกัน แล้วเชิญภิกษุรูปที่สวดปาติโมกข์ได้ให้สวด ถ้าขณะ
สวดปาติโมกข์ มีภิกษุต้องอาบัติ มีโทษที่ล่วงละเมิดอยู่ อาตมภาพทั้งหลายจะให้
เธอทำตามธรรม ตามพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคทรงพร่ำสอนไว้
ได้ยินว่า ภิกษุผู้เจริญทั้งหลายมิได้ใช้ให้อาตมภาพทั้งหลายทำ ธรรมใช้ให้
อาตมภาพทั้งหลายทำ”
“ท่านพระอานนท์ มีภิกษุสักรูปหนึ่งไหมที่พระคุณเจ้าทั้งหลายสักการะ
เคารพ นับถือ บูชา แล้วเข้าไปอาศัยอยู่ได้ในบัดนี้”
“มีอยู่ ภิกษุรูปหนึ่งที่อาตมภาพทั้งหลายสักการะ เคารพ นับถือ บูชา
แล้วเข้าไปอาศัยอยู่ได้ในบัดนี้”
“ท่านพระอานนท์ เมื่อกระผมถามท่านว่า ‘มีภิกษุสักรูปหนึ่งไหมที่ท่านพระ
โคดมพระองค์นั้นทรงแต่งตั้งไว้ว่า ‘เมื่อเราล่วงลับไป ภิกษุรูปนี้จักเป็นที่พึ่งของ
ท่านทั้งหลาย’ ซึ่งพระคุณเจ้าพึงเข้าไปหาได้ในบัดนี้’ ท่านก็ตอบว่า ‘พราหมณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๘. โคปกโมคคัลลานสูตร

ไม่มีภิกษุสักรูปหนึ่งเลยที่พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมา
สัมพุทธจ้าพระองค์นั้นทรงแต่งตั้งไว้ว่า ‘เมื่อเราล่วงลับไป ภิกษุรูปนี้จักเป็นที่พึ่ง
ของเธอทั้งหลาย’ ซึ่งอาตมภาพทั้งหลายพึงเข้าไปหาได้ในบัดนี้’
เมื่อกระผมถามท่านว่า ‘มีภิกษุสักรูปหนึ่งไหมที่สงฆ์สมมติ คือภิกษุที่ภิกษุผู้
เป็นเถระจำนวนมากแต่งตั้งไว้ว่า ‘เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จล่วงลับไป ภิกษุรูปนี้
จักเป็นที่พึ่งของเราทั้งหลาย’ ซึ่งพระคุณเจ้าทั้งหลายพึงเข้าไปหาได้ในบัดนี้’ ท่านก็
ตอบว่า ‘พราหมณ์ ไม่มีภิกษุแม้สักรูปหนึ่งเลยที่สงฆ์สมมติ คือภิกษุที่ภิกษุผู้เป็น
เถระจำนวนมากแต่งตั้งไว้ว่า ‘เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จล่วงลับไป ภิกษุรูปนี้
จักเป็นที่พึ่งของเราทั้งหลาย’ ซึ่งอาตมภาพทั้งหลายพึงเข้าไปหาได้ในบัดนี้’
เมื่อกระผมถามท่านว่า ‘มีภิกษุสักรูปหนึ่งไหมที่พระคุณเจ้าทั้งหลายสักการะ
เคารพ นับถือ บูชา แล้วเข้าไปอาศัยอยู่ได้ในบัดนี้’ พระคุณเจ้าตอบว่า ‘พราหมณ์
มีภิกษุอยู่รูปหนึ่งที่อาตมภาพทั้งหลายสักการะ เคารพ นับถือ บูชา แล้วเข้าไป
อาศัยอยู่ได้ในบัดนี้’
ท่านพระอานนท์ คำที่พระคุณเจ้ากล่าวมาแล้วนี้ กระผมจะพึงเข้าใจเนื้อ
ความได้อย่างไร”

ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส

[๘๒] “มีอยู่ พราหมณ์ พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสบอกธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสไว้ ๑๐
ประการ ในคณะของอาตมภาพ ภิกษุรูปใดมีธรรมเหล่านั้น อาตมภาพทั้งหลาย
ย่อมสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ภิกษุรูปนั้น แล้วเข้าไปอาศัยอยู่ในบัดนี้
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วย
อาจาระและโคจรอยู่ มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทาน
ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๘. โคปกโมคคัลลานสูตร

๒. เป็นพหูสูต ทรงสุตะ๑ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมากซึ่งธรรม
ทั้งหลายที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมี
ความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ
บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน ทรงจำไว้ได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทง
ตลอดดีด้วยทิฏฐิ
๓. เป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย
เภสัชบริขาร๒
๔. เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันมีในจิต เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
ตามความปรารถนาได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก๓


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๘. โคปกโมคคัลลานสูตร

๕. แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้
หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ แสดงให้ปรากฏหรือให้หายไปก็ได้
ทะลุฝา กำแพง ภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้น
หรือดำลงในแผ่นดินเหมือนไปในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำโดยที่น้ำไม่
แยกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ นั่งขัดสมาธิเหาะไปในอากาศ
เหมือนนกบินไปก็ได้ ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์ดวงอาทิตย์อันมี
ฤทธานุภาพมากก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้๑
๖. ได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ (๑) เสียงทิพย์ (๒) เสียงมนุษย์
ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ด้วยหูทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์
๗. กำหนดรู้จิตของสัตว์อื่นด้วยจิตของตน คือ จิตมีราคะก็รู้ชัดว่า
‘จิตมีราคะ’ หรือจิตปราศจากราคะก็รู้ชัดว่า ‘จิตปราศจากราคะ’
จิตมีโทสะก็รู้ชัดว่า ‘จิตมีโทสะ’ หรือจิตปราศจากโทสะก็รู้ชัดว่า
‘จิตปราศจากโทสะ’ จิตมีโมหะก็รู้ชัดว่า ‘จิตมีโมหะ’ หรือจิต
ปราศจากโมหะก็รู้ชัดว่า ‘จิตปราศจากโมหะ’ จิตหดหู่ก็รู้ชัดว่า
‘จิตหดหู่’ หรือจิตฟุ้งซ่านก็รู้ชัดว่า ‘จิตฟุ้งซ่าน’ จิตเป็นมหัคคตะ
ก็รู้ชัดว่า ‘จิตเป็นมหัคคตะ’ หรือจิตไม่เป็นมหัคคตะก็รู้ชัดว่า ‘จิต
ไม่เป็นมหัคคตะ’ จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ชัดว่า ‘จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า’
หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ชัดว่า ‘จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า’ จิตเป็น
สมาธิก็รู้ชัดว่า ‘จิตเป็นสมาธิ’ หรือจิตไม่เป็นสมาธิก็รู้ชัดว่า ‘จิต
ไม่เป็นสมาธิ’ จิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ชัดว่า ‘จิตหลุดพ้นแล้ว’ หรือจิต
ไม่หลุดพ้นแล้วก็รู้ชัดว่า ‘จิตไม่หลุดพ้นแล้ว’
๘. ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ๓
ชาติบ้าง ๔ ชาติบ้าง ๕ ชาติบ้าง ๑๐ ชาติบ้าง ๒๐ ชาติบ้าง ๓๐
ชาติบ้าง ๔๐ ชาติบ้าง ๕๐ ชาติบ้าง ๑๐๐ ชาติบ้าง ๑,๐๐๐
ชาติบ้าง ๑๐๐,๐๐๐ ชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๘. โคปกโมคคัลลานสูตร

ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปเป็น
อันมากบ้าง ว่า ‘ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ
มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นจึง
มาเกิดในภพนี้’ เธอระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะ
ทั่วไป และชีวประวัติอย่างนี้
๙. เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งาม
และไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์
รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม๑
๑๐. ทำให้แจ้งเพราะรู้ยิ่งเองซึ่งเจโตวิมุตติ๒ปัญญาวิมุตติ๓ อันหาอาสวะ
มิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป จึงเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
พราหมณ์ ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส ๑๐ ประการนี้ อันพระผู้มี
พระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นตรัสบอกไว้
บรรดาอาตมภาพทั้งหลาย รูปใดมีธรรมเหล่านี้ ในบัดนี้ อาตมภาพทั้งหลายย่อม
สักการะ เคารพ นับถือ บูชา แล้วเข้าไปอาศัยรูปนั้นอยู่”
[๘๓] เมื่อท่านพระอานนท์กล่าวอย่างนี้แล้ว วัสสการพราหมณ์ มหา
อำมาตย์แห่งแคว้นมคธ ได้เรียกอุปนันทเสนาบดีมาพูดว่า “เสนาบดี ท่าน
เข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ พระคุณเจ้าเหล่านี้สักการะธรรมที่ควรสักการะ
เคารพธรรมที่ควรเคารพ นับถือธรรมที่ควรนับถือ บูชาธรรมที่ควรบูชาอยู่อย่างนี้


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๘. โคปกโมคคัลลานสูตร

เอาเถิด พระคุณเจ้าเหล่านี้ ย่อมสักการะธรรมที่ควรสักการะ เคารพธรรมที่
ควรเคารพ นับถือธรรมที่ควรนับถือ บูชาธรรมที่ควรบูชา เพราะถ้าพระคุณเจ้า
เหล่านั้นไม่พึงสักการะ ไม่พึงเคารพ ไม่พึงนับถือ ไม่พึงบูชาธรรมนี้ เมื่อเป็นเช่นนั้น
ในบัดนี้ พระคุณเจ้าเหล่านั้นจะพึงสักการะ พึงเคารพ พึงนับถือ พึงบูชา แล้ว
เข้าไปอาศัยธรรมอะไรอยู่ได้”
ครั้งนั้น วัสสการพราหมณ์ มหาอำมาตย์แห่งแคว้นมคธ ถามท่านพระ
อานนท์ว่า “ก็เวลานี้ ท่านพระอานนท์พักอยู่ที่ไหน”
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “เวลานี้ อาตมภาพพักอยู่ที่พระเวฬุวัน”
“ท่านพระอานนท์ ก็พระเวฬุวันเป็นที่รื่นรมย์ มีเสียงน้อย มีเสียงอึกทึกน้อย
ปราศจากการสัญจรไปมาของผู้คน ควรเป็นที่ทำการลับของมนุษย์ สมควรเป็นที่
หลีกเร้นหรือ”
“ถูกแล้ว พราหมณ์ พระเวฬุวันเป็นที่รื่นรมย์ มีเสียงน้อย มีเสียงอึกทึกน้อย
ปราศจากการสัญจรไปมาของผู้คน ควรเป็นที่ทำการลับของมนุษย์ สมควรเป็นที่
หลีกเร้น ก็เพราะมีผู้รักษาคุ้มครองเช่นท่าน”
“ท่านพระอานนท์ แท้จริง พระเวฬุวันเป็นที่รื่นรมย์ มีเสียงน้อย มีเสียง
อึกทึกน้อย ปราศจากการสัญจรไปมาของผู้คน ควรเป็นที่ทำการลับของมนุษย์
สมควรเป็นที่หลีกเร้น ก็เพราะมีพระคุณเจ้าทั้งหลายเป็นผู้มีฌาน และเป็นผู้เข้า
ฌานอยู่ประจำต่างหาก
ท่านพระอานนท์ กระผมจะขอเล่าถวาย สมัยหนึ่ง พระโคดมผู้เจริญพระ
องค์นั้นประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตกรุงเวสาลี ครั้งนั้นแล
กระผมเข้าไปเฝ้าพระโคดมผู้เจริญพระองค์นั้นถึงที่ประทับ ณ กูฏาคารศาลา ป่า
มหาวัน ณ ที่นั้น พระองค์ได้ตรัสฌานกถาโดยอเนกปริยาย พระองค์เป็นผู้มีฌาน
และเป็นผู้เข้าฌานอยู่ประจำ และตรัสสรรเสริญฌานทั้งปวงหรือ”
[๘๔] “พราหมณ์ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงสรรเสริญฌานทั้งปวงก็มิ
ใช่ ไม่ทรงสรรเสริญฌานทั้งปวงก็มิใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๘. โคปกโมคคัลลานสูตร

พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นไม่ทรงสรรเสริญฌานเช่นไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้
๑. มีใจถูกกามราคะกลุ้มรุม ถูกกามราคะครอบงำอยู่ และไม่รู้ชัด
ตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัด๑กามราคะที่เกิดขึ้นแล้ว บุคคล
นั้นจึงเพ่ง หมกมุ่น จดจ่อ จินตนาการ ทำกามราคะเท่านั้นไว้ภายใน
๒. มีใจถูกพยาบาทกลุ้มรุม ถูกพยาบาทครอบงำอยู่ และไม่รู้ชัดตาม
ความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัดพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้ว บุคคลนั้นจึงเพ่ง
หมกมุ่น จดจ่อ จินตนาการ ทำพยาบาทเท่านั้นไว้ภายใน
๓. มีใจถูกถีนมิทธะกลุ้มรุม ถูกถีนมิทธะครอบงำอยู่ และไม่รู้ชัดตาม
ความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัดถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว บุคคลนั้นจึงเพ่ง
หมกมุ่น จดจ่อ จินตนาการ ทำถีนมิทธะเท่านั้นไว้ภายใน
๔. มีใจถูกอุทธัจจกุกกุจจะกลุ้มรุม ถูกอุทธัจจกุกกุจจะครอบงำอยู่
และไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัดอุทธัจจกุกกุจจะที่เกิด
ขึ้นแล้ว๒ บุคคลนั้นจึงเพ่ง หมกมุ่น จดจ่อ จินตนาการ ทำ
อุทธัจจกุกกุจจะเท่านั้นไว้ภายใน
๕. มีใจถูกวิจิกิจฉากลุ้มรุม ถูกวิจิกิจฉาครอบงำอยู่ และไม่รู้ชัดตาม
ความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัดวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว๒ บุคคลนั้นจึงเพ่ง
หมกมุ่น จดจ่อ จินตนาการ ทำวิจิกิจฉาเท่านั้นไว้ภายใน
พราหมณ์ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นไม่ทรงสรรเสริญฌานเช่นนี้


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๘. โคปกโมคคัลลานสูตร

พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงสรรเสริญฌานเช่นไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม และอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว
บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตก วิจาร
สงบระงับไป บรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น
ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ บรรลุตติยฌาน ...
บรรลุจตุตถฌาน ... อยู่
พราหมณ์ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงสรรเสริญฌานเช่นนี้”
“ท่านพระอานนท์ ได้ยินว่า พระโคดมผู้เจริญพระองค์นั้นทรงติเตียนฌานที่
ควรติเตียน ทรงสรรเสริญฌานที่ควรสรรเสริญ ถ้าเช่นนั้น บัดนี้ กระผมขอลากลับ
เพราะมีกิจ มีหน้าที่ที่จะต้องทำอีกมาก”
“พราหมณ์ ท่านจงรู้กาลอันควรไป ณ บัดนี้เถิด”
ลำดับนั้น วัสสการพราหมณ์ มหาอำมาตย์แห่งแคว้นมคธ ชื่นชมยินดี
ภาษิตของท่านพระอานนท์ ลุกจากที่นั่งแล้วจากไป
ครั้งนั้นแล เมื่อวัสสการพราหมณ์ มหาอำมาตย์แห่งแคว้นมคธ จากไปแล้ว
ไม่นาน โคปกโมคคัลลานพราหมณ์ได้กล่าวกับท่านพระอานนท์ว่า “ท่านพระ
อานนท์ยังมิได้ตอบปัญหาที่กระผมทั้งหลายถามเลย”
ท่านพระอานนท์กล่าวว่า “พราหมณ์ เราได้กล่าวแล้วมิใช่หรือว่า ‘ไม่มีภิกษุ
แม้สักรูปหนึ่งที่ประกอบด้วยธรรมครบถ้วนทุกข้อทุกประการ ที่พระผู้มีพระภาค
ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นทรงประกอบพร้อมแล้ว เพราะ
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงยังมรรคที่ไม่อุบัติให้อุบัติ ทรงยังมรรคที่ยัง
ไม่เกิดให้เกิด ตรัสบอกมรรคที่ไม่มีใครบอกได้ ทรงทราบชัดมรรค ทรงรู้แจ้ง
มรรค ทรงฉลาดในมรรค ส่วนสาวกทั้งหลายในบัดนี้เป็นผู้ดำเนินตามมรรคใน
ภายหลังจึงประกอบพร้อมอยู่”

โคปกโมคคัลลานสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๙. มหาปุณณมสูตร

๙. มหาปุณณมสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาในคืนดวงจันทร์เต็มดวง สูตรใหญ่

[๘๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปราสาทของมิคารมาตา ใน
บุพพาราม เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ในวันอุโบสถขึ้น ๑๕ ค่ำ คืนดวงจันทร์
เต็มดวง พระผู้มีพระภาคทรงมีภิกษุสงฆ์แวดล้อม ประทับนั่ง ณ ที่แจ้ง ครั้งนั้น
ภิกษุรูปหนึ่งลุกจากอาสนะ ห่มจีวรเฉวียงบ่า ประนมมือไปทางที่พระผู้มีพระภาค
ประทับอยู่ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอทูลถามเหตุอย่างหนึ่งกับพระองค์ ถ้า
พระผู้มีพระภาคทรงประทานวโรกาส ที่จะตอบปัญหาแก่ข้าพระองค์”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ ถ้าเช่นนั้น เธอจงนั่งบนอาสนะของตน
แล้วถามปัญหาที่เธอต้องการจะถามเถิด”

อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ

[๘๖] ลำดับนั้น ภิกษุนั้นนั่งบนอาสนะของตนแล้วได้ทูลถามปัญหากับ
พระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ใช่ไหม คือ

๑. รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป)
๒. เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา)
๓. สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา)
๔. สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร)
๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ)”

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ คือ

๑. รูปูปาทานขันธ์ ๒. เวทนูปาทานขันธ์
๓. สัญญูปาทานขันธ์ ๔. สังขารูปาทานขันธ์
๕. วิญญาณูปาทานขันธ์”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๙. มหาปุณณมสูตร

มูลเหตุแห่งอุปาทานขันธ์ ๕ ประการ
ภิกษุนั้นชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า “สาธุ พระพุทธเจ้าข้า”
แล้วได้ทูลถามปัญหายิ่งขึ้นไปว่า “อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ มีอะไรเป็นมูลเหตุ
พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ มีฉันทะ
เป็นมูลเหตุ”๑
“อุปาทานกับอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนั้นเป็นอย่างเดียวกัน หรืออุปาทาน
เป็นอย่างอื่นจากอุปาทานขันธ์ ๕ ประการ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุ อุปาทานกับอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนั้นเป็นอย่างเดียวกันก็มิใช่
ทั้งอุปาทานขันธ์เป็นอย่างอื่นจากอุปาทานขันธ์ ๕ ประการก็มิใช่ แต่ฉันทราคะใน
อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนั้น เป็นตัวอุปาทาน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ฉันทราคะต่าง ๆ ในอุปาทานขันธ์ ๕ ประการ
จะพึงมีได้หรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “มีได้ ภิกษุ” แล้วได้ตรัสต่อไปว่า “ภิกษุ
บุคคลบางคนในโลกนี้มีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘ในอนาคต ขอเราพึงมีรูปอย่างนี้
มีเวทนาอย่างนี้ มีสัญญาอย่างนี้ มีสังขารอย่างนี้ มีวิญญาณอย่างนี้’
ภิกษุ ฉันทราคะต่าง ๆ ในอุปาทานขันธ์ ๕ ประการ พึงมีได้ ด้วยอาการ
อย่างนี้”

เหตุที่ชื่อว่าขันธ์

ภิกษุนั้นได้ทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรขันธ์จึงชื่อ
ว่าขันธ์”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๙. มหาปุณณมสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต
อนาคต และปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือ
ประณีต ไกลหรือใกล้ก็ตาม นี้เรียกว่ารูปขันธ์
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สังขารอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นไปใน
ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ก็ตาม นี้
เรียกว่าวิญญาณขันธ์
ภิกษุ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ขันธ์จึงชื่อว่าขันธ์”

เหตุที่ทำให้ขันธ์ปรากฏ

ภิกษุนั้นได้ทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย
ทำให้รูปขันธ์ปรากฏ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้เวทนาขันธ์ปรากฏ อะไรเป็นเหตุ
เป็นปัจจัยทำให้สัญญาขันธ์ปรากฏ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้สังขารขันธ์ปรากฏ
อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้วิญญาณขันธ์ปรากฏ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ มหาภูต ๔ เป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้
รูปขันธ์ปรากฏ ผัสสะเป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้เวทนาขันธ์ปรากฏ ผัสสะเป็นเหตุ
เป็นปัจจัยทำให้สัญญาขันธ์ปรากฏ ผัสสะเป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้สังขารขันธ์ปรากฏ
นามรูปเป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้วิญญาณขันธ์ปรากฏ”

เหตุเกิดสักกายทิฏฐิ

[๘๗] ภิกษุนั้นได้ทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สักกายทิฏฐิมีได้
อย่างไร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๙. มหาปุณณมสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ ปุถุชน๑ในโลกนี้ ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็น
พระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ
ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของ
สัตบุรุษ พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป
พิจารณาเห็นรูปในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในรูป
พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีเวทนา
พิจารณาเห็นเวทนาในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในเวทนา
พิจารณาเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีสัญญา
พิจารณาเห็นสัญญาในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในสัญญา
พิจารณาเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีสังขาร
พิจารณาเห็นสังขารในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในสังขาร
พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณ
พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ
ภิกษุ สักกายทิฏฐิมีได้อย่างนี้”

เหตุที่ทำให้สักกายทิฏฐิไม่มี

ภิกษุนั้นได้ทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สักกายทิฏฐิมีไม่ได้อย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ผู้ได้สดับ ได้
เห็นพระอริยะ ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ
ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ
ไม่พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป ไม่พิจารณา
เห็นรูปในอัตตา หรือไม่พิจารณาเห็นอัตตาในรูป


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๙. มหาปุณณมสูตร

ไม่พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีเวทนา
ไม่พิจารณาเห็นเวทนาในอัตตา หรือไม่พิจารณาเห็นอัตตาในเวทนา
ไม่พิจารณาเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีสัญญา
ไม่พิจารณาเห็นสัญญาในอัตตา หรือไม่พิจารณาเห็นอัตตาในสัญญา
ไม่พิจารณาเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีสังขาร
ไม่พิจารณาเห็นสังขารในอัตตา หรือไม่พิจารณาเห็นอัตตาในสังขาร
ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณ
ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา หรือไม่พิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ
ภิกษุ สักกายทิฏฐิมีไม่ได้อย่างนี้”

คุณ โทษ และการสลัดออกจากอุปาทานขันธ์

[๘๘] ภิกษุนั้นได้ทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรเป็นคุณ อะไรเป็น
โทษ อะไรเป็นเครื่องสลัดออกจากรูป อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็น
เครื่องสลัดออกจากเวทนา อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นเครื่องสลัดออก
จากสัญญา อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นเครื่องสลัดออกจากสังขาร อะไร
เป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นเครื่องสลัดออกจากวิญญาณ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยรูปเกิดขึ้น นี้
เป็นคุณในรูป๑ สภาพที่รูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา นี้เป็น
โทษในรูป๒ ธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะในรูป นี้เป็นเครื่อง
สลัดออกจากรูป๓


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๙. มหาปุณณมสูตร

สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยเวทนาเกิดขึ้น นี้เป็นคุณในเวทนา สภาพที่เวทนา
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษในเวทนา ธรรมเป็นที่
กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะในเวทนา นี้เป็นเครื่องสลัดออกจากเวทนา
สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยสัญญาเกิดขึ้น นี้เป็นคุณในสัญญา สภาพที่สัญญา
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษในสัญญา ธรรมเป็นที่
กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะในสัญญา นี้เป็นเครื่องสลัดออกจากสัญญา
สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยสังขารเกิดขึ้น นี้เป็นคุณในสังขาร สภาพที่สังขารไม่
เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษในสังขาร ธรรมเป็นที่
กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะในสังขาร นี้เป็นเครื่องสลัดออกจากสังขาร
สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยวิญญาณเกิดขึ้น นี้เป็นคุณในวิญญาณ สภาพที่
วิญญาณไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษในวิญญาณ
ธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะในวิญญาณ นี้เป็นเครื่องสลัด
ออกจากวิญญาณ”

ความไม่มีอหังการ มมังการ และมานานุสัย

[๘๙] ภิกษุนั้นได้ทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลรู้อยู่อย่างไร
เห็นอยู่อย่างไร จึงจะไม่มีอหังการ มมังการ และมานานุสัย๑ ในกายที่มีวิญญาณนี้
และในสรรพนิมิตภายนอก”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต
อนาคต และปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือ
ประณีต ไกลหรือใกล้ก็ตาม ภิกษุนั้นพิจารณาเห็นรูปทั้งหมดนั้นด้วยปัญญาอัน
ชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตา
ของเรา’
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สังขารอย่างใดอย่างหนึ่ง ...


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๙. มหาปุณณมสูตร

วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นไปใน
ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ภิกษุนั้น
พิจารณาเห็นวิญญาณทั้งหมดนั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
ภิกษุ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จึงจะไม่มีอหังการ มมังการ
และมานานุสัยในกายที่มีวิญญาณนี้ และในสรรพนิมิตในภายนอก”
[๙๐] ลำดับนั้น ภิกษุรูปหนึ่งได้เกิดความคิดคำนึงอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ
ทั้งหลาย ได้ยินว่า รูปเป็นอนัตตา เวทนาเป็นอนัตตา สัญญาเป็นอนัตตา
สังขารเป็นอนัตตา วิญญาณเป็นอนัตตา เพราะเหตุนั้น กรรมที่ถูกอนัตตากระทำ
จักถูกต้องอัตตาได้อย่างไร”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบความคิดคำนึงของภิกษุรูปนั้นด้วยพระทัย
แล้ว ได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปได้ที่โมฆบุรุษ
บางคนในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่รู้แจ้ง ตกอยู่ในอำนาจอวิชชา มีใจถูกตัณหา
ครอบงำ จึงเข้าใจคำสั่งสอนของศาสดาอย่างสะเพร่าด้วยความคิดคำนึงว่า ‘ท่านผู้
เจริญทั้งหลาย ได้ยินว่า รูปเป็นอนัตตา เวทนาเป็นอนัตตา สัญญาเป็นอนัตตา
สังขารเป็นอนัตตา วิญญาณเป็นอนัตตา เพราะเหตุนั้น กรรมที่ถูกอนัตตากระทำ
จักถูกต้องอัตตาได้อย่างไร’ ภิกษุทั้งหลาย เราจะย้อนถาม เราได้แนะนำเธอ
ทั้งหลายในธรรมเหล่านั้น ๆ ไว้แล้ว๑
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือรูปเที่ยงหรือไม่
เที่ยง”
ภิกษุเหล่านั้นทูลตอบว่า “ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๙. มหาปุณณมสูตร

“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
คือ เวทนา ...
สัญญา ...
สังขาร ...
วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้น รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง
ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือภายนอก หยาบหรือ
ละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ภิกษุพึงพิจารณาเห็นรูปทั้งหมดนั้นด้วย
ปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่น
ไม่ใช่อัตตาของเรา’
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สังขารอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นไปใน
ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ภิกษุพึง
พิจารณาเห็นวิญญาณทั้งหมดนั่นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๐๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๑๐. จูฬปุณณมสูตร

ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน
สังขารทั้งหลาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณว่า ‘หลุด
พ้นแล้ว’ อริยสาวกย่อมรู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควร
ทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”๑
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค และเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสเวยยากรณภาษิตนี้อยู่
ภิกษุประมาณ ๖๐ รูป ได้มีจิตหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น ดังนี้แล

มหาปุณณมสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. จูฬปุณณมสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาในคืนดวงจันทร์เต็มดวง สูตรเล็ก

[๙๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปราสาทของมิคารมาตา ใน
บุพพาราม เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ในวันอุโบสถขึ้น ๑๕ ค่ำ คืนดวงจันทร์
เต็มดวง พระผู้มีพระภาคทรงมีภิกษุสงฆ์แวดล้อม ประทับนั่ง ณ ที่แจ้ง
ขณะนั้นพระผู้มีพระภาคทรงเหลียวดูภิกษุสงฆ์ซึ่งนิ่งเงียบอยู่โดยลำดับ จึงรับสั่ง
เรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษพึงรู้จักอสัตบุรุษหรือว่า
‘ผู้นี้เป็นอสัตบุรุษ’
ภิกษุเหล่านั้นทูลตอบว่า “ไม่รู้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ดีละ ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้ที่อสัตบุรุษพึงรู้จักอสัตบุรุษว่า ‘ผู้นี้เป็น
อสัตบุรุษ’ อนึ่ง อสัตบุรุษพึงรู้จักสัตบุรุษหรือว่า ‘ผู้นี้เป็นสัตบุรุษ”
“ไม่รู้ พระพุทธเจ้าข้า”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๑๐. จูฬปุณณมสูตร

“ดีละ ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้ที่อสัตบุรุษพึงรู้จักสัตบุรุษว่า ‘ผู้นี้เป็น
สัตบุรุษ’
เพราะว่า อสัตบุรุษเป็นผู้ประกอบด้วยอสัทธรรม๑ มีความภักดีต่ออสัตบุรุษ
มีความคิดอย่างอสัตบุรุษ มีความรู้อย่างอสัตบุรุษ มีถ้อยคำอย่างอสัตบุรุษ มีการ
กระทำอย่างอสัตบุรุษ มีความเห็นอย่างอสัตบุรุษ ให้ทานอย่างอสัตบุรุษ
อสัตบุรุษผู้ประกอบด้วยอสัทธรรม เป็นอย่างไร
คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้ไม่มีศรัทธา(ความเชื่อ) ไม่มีหิริ(ความละอาย
ต่อบาป) ไม่มีโอตตัปปะ(ความเกรงกลัวบาป) มีสุตะน้อย(การได้ยินได้ฟังน้อย)
เกียจคร้าน หลงลืมสติ มีปัญญาทราม
อสัตบุรุษผู้ประกอบด้วยอสัทธรรม เป็นอย่างนี้ (๑)
อสัตบุรุษผู้ภักดีต่ออสัตบุรุษ เป็นอย่างไร
คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ มีสมณพราหมณ์ผู้ไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ
มีสุตะน้อย เกียจคร้าน หลงลืมสติ มีปัญญาทราม เป็นมิตร เป็นสหาย
อสัตบุรุษผู้ภักดีต่ออสัตบุรุษ เป็นอย่างนี้ (๒)
อสัตบุรุษผู้มีความคิดอย่างอสัตบุรุษ เป็นอย่างไร
คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง ย่อมคิดเพื่อ
เบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง
อสัตบุรุษผู้มีความคิดอย่างอสัตบุรุษ เป็นอย่างนี้ (๓)
อสัตบุรุษผู้มีความรู้อย่างอสัตบุรุษ เป็นอย่างไร
คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ ย่อมรู้เพื่อเบียดเบียนตนบ้าง ย่อมรู้เพื่อเบียดเบียนผู้
อื่นบ้าง ย่อมรู้เพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง
อสัตบุรุษผู้มีความรู้อย่างอสัตบุรุษ เป็นอย่างนี้ (๔)


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๑๐. จูฬปุณณมสูตร

อสัตบุรุษผู้มีถ้อยคำอย่างอสัตบุรุษ เป็นอย่างไร
คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ มีปกติพูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ
อสัตบุรุษผู้มีถ้อยคำอย่างอสัตบุรุษ เป็นอย่างนี้ (๕)
อสัตบุรุษผู้มีการกระทำอย่างอสัตบุรุษ เป็นอย่างไร
คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ มีปกติฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม
อสัตบุรุษผู้มีการกระทำอย่างอสัตบุรุษ เป็นอย่างนี้ (๖)
อสัตบุรุษผู้มีทิฏฐิอย่างอสัตบุรุษ เป็นอย่างไร
คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่
บูชาแล้วไม่มีผล การเซ่นสรวงที่เซ่นสรวงแล้วก็ไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดี
ทำชั่วก็ไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มีคุณ บิดาไม่มีคุณ สัตว์ที่เป็น
โอปปาติกะ๑ก็ไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติปฏิบัติชอบ ทำให้แจ้งโลกนี้และโลก
หน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนให้ผู้อื่นให้รู้แจ้ง ก็ไม่มีในโลก
อสัตบุรุษผู้มีทิฏฐิอย่างอสัตบุรุษ เป็นอย่างนี้ (๗)
อสัตบุรุษให้ทานอย่างอสัตบุรุษ เป็นอย่างไร
คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ให้ทานโดยไม่เคารพ๒ ไม่ให้ทานด้วยมือของตน ไม่ให้
ทานด้วยความอ่อนน้อม ให้ทานอย่างเสียไม่ได้ เป็นผู้ไม่เห็นผลให้ทาน
อสัตบุรุษให้ทานอย่างอสัตบุรุษ เป็นอย่างนี้ (๘)


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๑๐. จูฬปุณณมสูตร

ภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษนั้นเป็นผู้ประกอบด้วยอสัทธรรมอย่างนี้ มีความ
ภักดีต่ออสัตบุรุษอย่างนี้ มีความคิดอย่างอสัตบุรุษอย่างนี้ มีความรู้อย่าง
อสัตบุรุษอย่างนี้ มีถ้อยคำอย่างอสัตบุรุษอย่างนี้ มีการกระทำอย่างอสัตบุรุษ
อย่างนี้ มีความเห็นอย่างอสัตบุรุษอย่างนี้ ให้ทานอย่างอสัตบุรุษอย่างนี้แล้ว หลัง
จากตายแล้วจะไปเกิดในคติของอสัตบุรุษ
คติของอสัตบุรุษ คืออะไร
คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
[๙๒] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษพึงรู้จักสัตบุรุษ
หรือว่า ‘ผู้นี้เป็นสัตบุรุษ’
ภิกษุเหล่านั้นทูลตอบว่า “รู้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ดีละ ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปได้ที่สัตบุรุษพึงรู้จักสัตบุรุษว่า ‘ผู้นี้เป็นสัตบุรุษ’
ส่วนสัตบุรุษพึงรู้จักอสัตบุรุษหรือว่า ‘ผู้นี้เป็นอสัตบุรุษ”
“รู้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ดีละ ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปได้ที่สัตบุรุษพึงรู้จักอสัตบุรุษว่า ‘ผู้นี้เป็นอสัตบุรุษ’
เพราะว่า สัตบุรุษเป็นผู้ประกอบด้วยสัทธรรม มีความภักดีต่อสัตบุรุษ มี
ความคิดอย่างสัตบุรุษ มีความรู้อย่างสัตบุรุษ มีถ้อยคำอย่างสัตบุรุษ มีการ
กระทำอย่างสัตบุรุษ มีทิฏฐิอย่างสัตบุรุษ ให้ทานอย่างสัตบุรุษ
สัตบุรุษผู้ประกอบด้วยสัทธรรม เป็นอย่างไร
คือ สัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้มีศรัทธา มีหิริ มีโอตตัปปะ มีสุตะมาก
ปรารภความเพียร มีสติตั้งมั่น มีปัญญา
สัตบุรุษผู้ประกอบด้วยสัทธรรม เป็นอย่างนี้ (๑)
สัตบุรุษผู้ภักดีต่อสัตบุรุษ เป็นอย่างไร
คือ สัตบุรุษในโลกนี้ มีสมณพราหมณ์ผู้มีศรัทธา มีหิริ มีโอตตัปปะ มีสุตะมาก
ปรารภความเพียร มีสติตั้งมั่น มีปัญญา เป็นมิตร เป็นสหาย
สัตบุรุษผู้ภักดีต่อสัตบุรุษ เป็นอย่างนี้ (๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] ๑๐. จูฬปุณณมสูตร

สัตบุรุษผู้มีความคิดอย่างสัตบุรุษ เป็นอย่างไร
คือ สัตบุรุษในโลกนี้ ย่อมไม่คิดเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง ย่อมไม่คิดเพื่อ
เบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ย่อมไม่คิดเพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง
สัตบุรุษผู้มีความคิดอย่างสัตบุรุษ เป็นอย่างนี้ (๓)
สัตบุรุษผู้มีความรู้อย่างสัตบุรุษ เป็นอย่างไร
คือ สัตบุรุษในโลกนี้ ย่อมรู้เพื่อไม่เบียดเบียนตนบ้าง ย่อมรู้เพื่อไม่
เบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ย่อมรู้เพื่อไม่เบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง
สัตบุรุษผู้มีความรู้อย่างสัตบุรุษ เป็นอย่างนี้ (๔)
สัตบุรุษผู้มีถ้อยคำอย่างสัตบุรุษ เป็นอย่างไร
คือ สัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดส่อ
เสียด เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ
สัตบุรุษผู้มีถ้อยคำอย่างสัตบุรุษ เป็นอย่างนี้ (๕)
สัตบุรุษผู้มีการกระทำอย่างสัตบุรุษ เป็นอย่างไร
คือ สัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลัก
ทรัพย์ เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม
สัตบุรุษผู้มีการกระทำอย่างสัตบุรุษ เป็นอย่างนี้ (๖)
สัตบุรุษผู้มีทิฏฐิอย่างสัตบุรุษ เป็นอย่างไร
คือ สัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ทานที่ให้แล้วมีผล ยัญที่บูชา
แล้วมีผล การเซ่นสรวงที่เซ่นสรวงแล้วมีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วมี
โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามีคุณ บิดามีคุณ สัตว์ที่เป็นโอปปาติกะมีอยู่
สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้โลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ก็มีอยู่ในโลก
สัตบุรุษผู้มีทิฏฐิอย่างสัตบุรุษ เป็นอย่างนี้ (๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๐๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค] รวมพระสูตรที่มีในวรรค

สัตบุรุษให้ทานอย่างสัตบุรุษ เป็นอย่างไร
คือ สัตบุรุษในโลกนี้ให้ทานโดยเคารพ ให้ทานด้วยมือของตน ให้ทานด้วย
ความอ่อนน้อม ให้ทานอย่างบริสุทธิ์ เป็นผู้มีทิฏฐิว่า ‘ทานที่ให้แล้วมีผล’ ดังนี้
แล้วจึงให้ทาน
สัตบุรุษให้ทานอย่างสัตบุรุษ เป็นอย่างนี้ (๘)
สัตบุรุษนั้นเป็นผู้ประกอบด้วยสัทธรรมอย่างนี้ มีความภักดีต่อสัตบุรุษอย่างนี้
มีความคิดอย่างสัตบุรุษอย่างนี้ มีความรู้อย่างสัตบุรุษอย่างนี้ มีถ้อยคำอย่าง
สัตบุรุษอย่างนี้ มีการกระทำอย่างสัตบุรุษอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างสัตบุรุษอย่างนี้ ให้
ทานอย่างสัตบุรุษอย่างนี้แล้ว หลังจากตายแล้ว ย่อมบังเกิดในคติของสัตบุรุษ
คติของสัตบุรุษ คืออะไร
คือ ความเป็นใหญ่ในเทวดา หรือความเป็นใหญ่ในมนุษย์”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

จูฬปุณณมสูตรที่ ๑๐ จบ
เทวทหวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. เทวทหสูตร ๒. ปัญจัตตยสูตร
๓. กินติสูตร ๔. สามคามสูตร
๕. สุนักขัตตสูตร ๖. อาเนญชสัปปายสูตร
๗. คณกโมคคัลลานสูตร ๘. โคปกโมคคัลลานสูตร
๙. มหาปุณณมสูตร ๑๐. จูฬปุณณมสูตร


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๑. อนุปทสูตร

๒. อนุปทวรรค
หมวดว่าด้วยธรรมตามลำดับบท
๑. อนุปทสูตร
ว่าด้วยธรรมตามลำดับบท

[๙๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียก
ภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรเป็นบัณฑิต๑ มีปัญญามาก๒ มีปัญญากว้างขวาง๓ มี
ปัญญาร่าเริง๔ มีปัญญารวดเร็ว๕ มีปัญญาเฉียบแหลม๖ มีปัญญาเพิกถอนกิเลส๗


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๑. อนุปทสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เพียงกึ่งเดือน สารีบุตรก็เห็นแจ้งธรรมตามลำดับบทได้ ในการเห็น
แจ้งธรรมตามลำดับบท๑ของสารีบุตรนั้นมีเรื่องดังต่อไปนี้

รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔

[๙๔] ภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องนี้ สารีบุตรสงัดจากกามและอกุศลธรรม
ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่
ก็ธรรมในปฐมฌาน คือ วิตก(ความตรึก) วิจาร(ความตรอง) ปีติ(ความอิ่มใจ)
สุข(ความสุข) จิตเตกัคคตา(ความที่จิตมีอารมณ์เดียว) ผัสสะ(ความถูกต้อง) เวทนา
(ความเสวยอารมณ์) สัญญา(ความหมายรู้) เจตนา(ความจงใจ) วิญญาณ(ความ
รู้แจ้ง) ฉันทะ(ความพอใจ) อธิโมกข์(ความน้อมใจเชื่อ) วิริยะ(ความเพียร)
สติ(ความระลึกได้) อุเบกขา(ความวางเฉย) มนสิการ(ความใส่ใจ)เหล่านั้น สารีบุตร
กำหนดตามลำดับบทได้แล้ว ธรรมที่สารีบุตรรู้แจ้งแล้วเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้น ตั้งอยู่
ดับไป สารีบุตรนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘ได้ยินว่า ธรรมเหล่านี้ที่ยังไม่มีก็มีขึ้น ที่มีแล้ว
ย่อมดับไป’ เธอจึงไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสอาศัยไม่ได้ อันกิเลสพัวพันไม่ได้
หลุดพ้นแล้ว พรากได้แล้วในธรรมเหล่านั้น มีจิตที่ฝึกให้ปราศจากเขตแดนคือ
กิเลสได้แล้วอยู่ สารีบุตรนั้นรู้ชัดว่า ‘การสลัดทุกข์ที่สูง ๆ ขึ้นไป ยังมีอยู่’ เธอมี
ความเห็นว่า การสลัดทุกข์มีได้เพราะการกระทำธรรมนั้นให้มากขึ้น (๑)
อีกประการหนึ่ง เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป สารีบุตรบรรลุทุติยฌาน มี
ความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่
ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ ก็ธรรมในทุติยฌาน คือ ความผ่องใสในภายใน ปีติ
สุข จิตเตกัคคตา ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ
สติ อุเบกขา มนสิการเหล่านั้น สารีบุตรกำหนดตามลำดับบทได้แล้ว ธรรมที่
สารีบุตรรู้แจ้งแล้วเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป สารีบุตรนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า
‘ได้ยินว่า ธรรมเหล่านี้ที่ยังไม่มีก็มีขึ้น ที่มีแล้วย่อมดับไป’ เธอจึงไม่ยินดี ไม่ยินร้าย
อันกิเลสอาศัยไม่ได้ อันกิเลสพัวพันไม่ได้ หลุดพ้นแล้ว พรากได้แล้วในธรรม


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๑. อนุปทสูตร

เหล่านั้น มีจิตที่ฝึกให้ปราศจากเขตแดนคือกิเลสได้แล้วอยู่ สารีบุตรนั้นรู้ชัดว่า
‘การสลัดทุกข์ที่สูง ๆ ขึ้นไปยังมีอยู่’ เธอมีความเห็นว่า การสลัดทุกข์มีได้เพราะ
การกระทำธรรมนั้นให้มากขึ้น (๒)
อีกประการหนึ่ง เพราะปีติจางคลายไป สารีบุตรมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา
มีสติ อยู่เป็นสุข’ ก็ธรรมในตติยฌาน คือ สุข สติ สัมปชัญญะ(ความรู้ตัว)
จิตเตกัคคตา ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ
สติ อุเบกขา มนสิการเหล่านั้น สารีบุตรกำหนดตามลำดับบทได้แล้ว ธรรมที่
สารีบุตรรู้แจ้งแล้วเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป สารีบุตรนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า
‘ได้ยินว่า ธรรมเหล่านี้ที่ยังไม่มีก็มีขึ้น ที่มีแล้วย่อมดับไป’ เธอจึงไม่ยินดี
ไม่ยินร้าย อันกิเลสอาศัยไม่ได้ อันกิเลสพัวพันไม่ได้ หลุดพ้นแล้ว พรากได้แล้ว
ในธรรมเหล่านั้น มีจิตที่ฝึกให้ปราศจากเขตแดนคือกิเลสได้แล้วอยู่ สารีบุตรนั้นรู้
ชัดว่า ‘การสลัดทุกข์ที่สูง ๆ ขึ้นไปยังมีอยู่’ เธอมีความเห็นว่า การสลัดทุกข์มีได้
เพราะการกระทำธรรมนั้นให้มากขึ้น (๓)
อีกประการหนึ่ง เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน
สารีบุตรบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ ก็ธรรม
ในจตุตถฌาน คือ อุเบกขา อทุกขมสุขเวทนา เพราะใจบริสุทธิ์แล้วจึงไม่มีความ
คิดคำนึง สติบริสุทธิ์ จิตเตกัคคตา ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ
ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ สติ อุเบกขา มนสิการเหล่านั้น สารีบุตรกำหนดตาม
ลำดับบทได้แล้ว ธรรมที่สารีบุตรรู้แจ้งแล้วเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
สารีบุตรนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘ได้ยินว่า ธรรมเหล่านี้ที่ยังไม่มีก็มีขึ้น ที่มีแล้วย่อม
ดับไป’ เธอจึงไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสอาศัยไม่ได้ อันกิเลสพัวพันไม่ได้
หลุดพ้นแล้ว พรากได้แล้วในธรรมเหล่านั้น มีจิตที่ฝึกให้ปราศจากเขตแดนคือ
กิเลสได้แล้วอยู่ สารีบุตรนั้นรู้ชัดว่า ‘การสลัดทุกข์ที่สูง ๆ ขึ้นไปยังมีอยู่’ เธอมี
ความเห็นว่า การสลัดทุกข์มีได้เพราะการกระทำธรรมนั้นให้มากขึ้น (๔)
อีกประการหนึ่ง เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตต-
สัญญาโดยประการทั้งปวง สารีบุตรบรรลุอากาสานัญจายตนะ โดยกำหนดว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๑. อนุปทสูตร

‘อากาศหาที่สุดมิได้’ อยู่ ก็ธรรมในอากาสานัญจายตนะ คือ อากาสานัญจายตน-
สัญญา จิตเตกัคคตา ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์
วิริยะ สติ อุเบกขา มนสิการเหล่านั้น สารีบุตรกำหนดตามลำดับบทได้แล้ว
ธรรมที่สารีบุตรรู้แจ้งแล้วเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป สารีบุตรนั้นรู้ชัด
อย่างนี้ว่า ‘ได้ยินว่า ธรรมเหล่านี้ที่ยังไม่มีก็มีขึ้น ที่มีแล้วย่อมดับไป’ เธอจึงไม่
ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสอาศัยไม่ได้ อันกิเลสพัวพันไม่ได้ หลุดพ้นแล้ว พราก
ได้แล้วในธรรมเหล่านั้น มีจิตที่ฝึกให้ปราศจากเขตแดนคือกิเลสได้แล้วอยู่ สารีบุตร
นั้นรู้ชัดว่า ‘การสลัดทุกข์ที่สูง ๆ ขึ้นไปยังมีอยู่’ เธอมีความเห็นว่า การสลัดทุกข์
มีได้เพราะการกระทำธรรมนั้นให้มากขึ้น (๕)
อีกประการหนึ่ง เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวง
สารีบุตรบรรลุวิญญาณัญจายตนะ โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่
ก็ธรรมในวิญญาณัญจายตนะ คือ วิญญาณัญจายตนสัญญา จิตเตกัคคตา ผัสสะ
เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ สติ อุเบกขา
มนสิการเหล่านั้น สารีบุตรกำหนดตามลำดับบทได้แล้ว ธรรมที่สารีบุตรรู้แจ้งแล้ว
เหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป สารีบุตรนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘ได้ยินว่า
ธรรมเหล่านี้ที่ยังไม่มีก็มีขึ้น ที่มีแล้วย่อมดับไป’ เธอจึงไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อัน
กิเลสอาศัยไม่ได้ อันกิเลสพัวพันไม่ได้ หลุดพ้นแล้ว พรากได้แล้วในธรรมเหล่านั้น
มีจิตที่ฝึกให้ปราศจากเขตแดนคือกิเลสได้แล้วอยู่ สารีบุตรนั้นรู้ชัดว่า ‘การสลัด
ทุกข์ที่สูง ๆ ขึ้นไปยังมีอยู่’ เธอมีความเห็นว่า การสลัดทุกข์มีได้เพราะการกระทำ
ธรรมนั้นให้มากขึ้น (๖)
อีกประการหนึ่ง เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวง สารีบุตร
บรรลุอากิญจัญญายตนะ โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ ก็ธรรมในอากิญจัญญายตนะ
คือ อากิญจัญญายตนสัญญา จิตเตกัคคตา ผัสสะ เวทนา สัญญา
เจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ สติ อุเบกขา มนสิการเหล่านั้น
สารีบุตรกำหนดตามลำดับบทได้แล้ว ธรรมที่สารีบุตรรู้แจ้งแล้วเหล่านั้น ย่อม
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป สารีบุตรนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘ได้ยินว่า ธรรมเหล่านี้ที่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๑. อนุปทสูตร

ยังไม่มีก็มีขึ้น ที่มีแล้วย่อมดับไป’ เธอจึงไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสอาศัยไม่ได้
อันกิเลสพัวพันไม่ได้ หลุดพ้นแล้ว พรากได้แล้วในธรรมเหล่านั้น มีจิตที่ฝึกให้
ปราศจากเขตแดนคือกิเลสได้แล้วอยู่ สารีบุตรนั้นรู้ชัดว่า ‘การสลัดทุกข์ที่สูง ๆ
ขึ้นไปยังมีอยู่’ เธอมีความเห็นว่า การสลัดทุกข์มีได้เพราะการกระทำธรรมนั้นให้
มากขึ้น (๗)
[๙๕] อีกประการหนึ่ง เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวง
สารีบุตรบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะอยู่ เธอมีสติออกจากสมาบัตินั้นแล้ว
พิจารณาเห็นธรรมที่ล่วงลับ ดับ แปรผันไปแล้วว่า ‘ได้ยินว่า ธรรมเหล่านี้
ที่ยังไม่มีก็มีขึ้น ที่มีแล้วย่อมดับไป’ เธอจึงไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสอาศัยไม่ได้
อันกิเลสพัวพันไม่ได้ หลุดพ้นแล้ว พรากได้แล้วในธรรมเหล่านั้น มีจิตที่ฝึกให้
ปราศจากเขตแดนคือกิเลสได้แล้วอยู่ สารีบุตรนั้นรู้ชัดว่า ‘การสลัดทุกข์ที่สูง ๆ
ขึ้นไปยังมีอยู่’ เธอมีความเห็นว่า การสลัดทุกข์มีได้เพราะการกระทำธรรมนั้นให้
มากขึ้น (๘)
[๙๖] อีกประการหนึ่ง เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะได้โดยประการ
ทั้งปวง สารีบุตรบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ เพราะเห็นด้วยปัญญา อาสวะ๑
ทั้งหลายของเธอจึงสิ้นไป สารีบุตรนั้นมีสติออกจากสมาบัติแล้ว พิจารณาเห็นธรรม
ที่ล่วงลับ ดับ แปรผันไปแล้วว่า ‘ได้ยินว่า ธรรมเหล่านี้ที่ยังไม่มีก็มีขึ้น ที่มีแล้ว
ย่อมดับไป’ เธอจึงไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสอาศัยไม่ได้ อันกิเลสพัวพันไม่ได้
หลุดพ้นแล้ว พรากได้แล้วในธรรมเหล่านั้น มีจิตที่ฝึกให้ปราศจากเขตแดนคือ
กิเลสได้แล้วอยู่ สารีบุตรนั้นรู้ชัดว่า ‘การสลัดทุกข์ที่สูง ๆ ขึ้นไปยังมีอยู่’ เธอมี
ความเห็นว่า การสลัดทุกข์มีได้เพราะการกระทำธรรมนั้นให้มากขึ้น (๙)
[๙๗] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้กล่าวชอบ พึงกล่าวชมภิกษุรูปใดว่า ‘เป็นผู้
ถึงวสี(ความชำนาญ) ถึงบารมี(ความสำเร็จ)ในอริยศีล เป็นผู้ถึงวสี ถึงบารมีใน
อริยสมาธิ เป็นผู้ถึงวสี ถึงบารมีในอริยปัญญา เป็นผู้ถึงวสี ถึงบารมีในอริยวิมุตติ’


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๒. ฉวิโสธนสูตร

ภิกษุรูปนั้นคือสารีบุตรนั่นเอง ที่ผู้กล่าวชอบพึงกล่าวชมว่า ‘เป็นผู้ถึงวสี ถึงบารมี
ในอริยศีล เป็นผู้ถึงวสี ถึงบารมีในอริยสมาธิ เป็นผู้ถึงวสี ถึงบารมีในอริยปัญญา
เป็นผู้ถึงวสี ถึงบารมีในอริยวิมุตติ’
บุคคลผู้กล่าวชอบ พึงกล่าวชมภิกษุรูปใดว่า ‘เป็นบุตร เป็นโอรสของพระผู้
มีพระภาค เกิดแต่พระโอษฐ์ของพระผู้มีพระภาค เกิดแต่ธรรม อันธรรมเนรมิตแล้ว
เป็นธรรมทายาท ไม่ใช่เป็นอามิสทายาท’ ภิกษุรูปนั้นคือสารีบุตรนั่นเอง ที่ผู้กล่าว
ชอบพึงกล่าวชมว่า ‘เป็นบุตร เป็นโอรสของพระผู้มีพระภาค เกิดแต่พระโอษฐ์ของ
พระผู้มีพระภาค เกิดแต่ธรรม อันธรรมเนรมิตแล้ว เป็นธรรมทายาท ไม่ใช่เป็น
อามิสทายาท’
ภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรประกาศธรรมจักรอันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่ตถาคต
ประกาศไว้แล้วโดยลำดับ โดยชอบทีเดียว”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

อนุปทสูตรที่ ๑ จบ

๒. ฉวิโสธนสูตร
ว่าด้วยหลักการตรวจสอบ ๖ ประการ

[๙๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๒. ฉวิโสธนสูตร

“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมพยากรณ์อรหัตตผลว่า ‘ข้าพเจ้ารู้ชัด
ว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป‘๑ เธอทั้งหลายไม่ควรยินดี ไม่ควรคัดค้านคำกล่าว
ของภิกษุรูปนั้น ไม่ยินดี ไม่คัดค้านแล้ว พึงถามปัญหาว่า ‘ท่านผู้มีอายุ โวหาร ๔
ประการนี้ที่พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระองค์นั้นตรัสไว้ชอบแล้ว’
โวหาร ๔ ประการ๒ อะไรบ้าง คือ
๑. การกล่าวสิ่งที่ได้เห็นว่าได้เห็น
๒. การกล่าวสิ่งที่ได้ฟังว่าได้ฟัง
๓. การกล่าวสิ่งที่ได้ทราบว่าได้ทราบ
๔. การกล่าวสิ่งที่ได้รู้ว่าได้รู้
ท่านผู้มีอายุ โวหาร ๔ ประการนี้ ที่พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็น
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นตรัสไว้ชอบแล้ว ก็จิตของท่านผู้มีอายุ
ผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างไร จึงหลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ยึดมั่นในโวหาร ๔
ประการนี้ได้’
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำ
เสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว๓ บรรลุประโยชน์ตน๔โดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว๕
หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ จึงนับว่ามีธรรมสมควรพยากรณ์ได้ดังนี้ว่า ‘ท่าน
ผู้มีอายุ ข้าพเจ้าไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสอาศัยไม่ได้ อันกิเลสพัวพันไม่ได้
หลุดพ้นแล้ว พรากได้แล้วในสิ่งที่ตนเห็นแล้ว มีจิตที่ฝึกให้ปราศจากเขตแดนคือ
กิเลสได้แล้วอยู่


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๒. ฉวิโสธนสูตร

ข้าพเจ้าไม่ยินดี ... ในสิ่งที่ตนได้ฟังแล้ว ...
ข้าพเจ้าไม่ยินดี ... ในสิ่งที่ตนได้ทราบแล้ว ...
ข้าพเจ้าไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสอาศัยไม่ได้ อันกิเลสพัวพันไม่ได้
หลุดพ้นแล้ว พรากได้แล้วในสิ่งที่ตนได้รู้ มีจิตที่ฝึกให้ปราศจากเขตแดนคือกิเลส
ได้แล้วอยู่ จิตของข้าพเจ้าผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงหลุดพ้นจากอาสวะ เพราะ
ไม่ยึดมั่นในโวหาร ๔ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย คำที่ภิกษุรูปนั้นกล่าว เธอทั้งหลายควรชื่นชมยินดีว่า ‘สาธุ’
แล้วพึงถามปัญหายิ่งขึ้นไปว่า

หลักการตรวจสอบอุปาทานขันธ์ ๕ ประการ

[๙๙] ‘ท่านผู้มีอายุ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ ที่พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้
ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นตรัสไว้ชอบแล้ว
อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปูปาทานขันธ์
๒. เวทนูปาทานขันธ์
๓. สัญญูปาทานขันธ์
๔. สังขารูปาทานขันธ์
๕. วิญญาณูปาทานขันธ์
ท่านผู้มีอายุ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ ที่พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นตรัสไว้ชอบแล้ว ก็จิตของท่านผู้มีอายุ
ผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างไร จึงหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ยึดมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕
ประการนี้ได้’
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำ
เสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว
หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ จึงนับว่ามีธรรมอันสมควรจะพยากรณ์ได้ดังนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๒. ฉวิโสธนสูตร

‘ท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้ารู้แจ้งรูปว่า ‘ไม่มีกำลัง ปราศจากความน่ารัก ไม่เป็นที่ตั้ง
แห่งความชื่นใจ’ จึงรู้ชัดว่า ‘จิตของเราหลุดพ้นแล้ว’ เพราะความสิ้นไป เพราะ
ความคลายไป เพราะความดับไป เพราะความสละไป และเพราะความสละคืนซึ่ง
อุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่นในรูป และอนุสัยคือความตั้งใจมั่นและความปักใจมั่นได้
ข้าพเจ้ารู้แจ้งเวทนา ฯลฯ
ข้าพเจ้ารู้แจ้งสัญญา ฯลฯ
ข้าพเจ้ารู้แจ้งสังขาร ฯลฯ
ข้าพเจ้ารู้แจ้งวิญญาณว่า ‘ไม่มีกำลัง ปราศจากความน่ารัก ไม่เป็นที่ตั้งแห่ง
ความชื่นใจ’ จึงรู้ชัดว่า ‘จิตของเราหลุดพ้นแล้ว’ เพราะความสิ้นไป เพราะ
ความคลายไป เพราะความดับไป เพราะความสละไป และเพราะความสละคืนซึ่ง
อุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่นในวิญญาณ และอนุสัยคือความตั้งใจมั่นและความปักใจมั่นได้
ท่านผู้มีอายุ จิตของข้าพเจ้าผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้ จึงหลุดพ้นจากอาสวะ เพราะ
ไม่ยึดมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ได้’
ภิกษุทั้งหลาย คำที่ภิกษุรูปนั้นกล่าว เธอทั้งหลายควรชื่นชมยินดีว่า ‘สาธุ’
แล้วพึงถามปัญหายิ่งขึ้นไปว่า

หลักการตรวจสอบธาตุ ๖ ประการ

[๑๐๐] ‘ท่านผู้มีอายุ ธาตุ ๖ ประการนี้ ที่พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น
เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธจ้าพระองค์นั้นตรัสไว้ชอบแล้ว
ธาตุ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ปฐวีธาตุ(ธาตุดิน) ๒. อาโปธาตุ(ธาตุน้ำ)
๓. เตโชธาตุ(ธาตุไฟ) ๔. วาโยธาตุ(ธาตุลม)
๕. อากาสธาตุ(ธาตุคืออากาศ) ๖. วิญญาณธาตุ(ธาตุคือวิญญาณ)

ท่านผู้มีอายุ ธาตุ ๖ ประการนี้ ที่พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็น
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นตรัสไว้ชอบแล้ว ก็จิตของท่านผู้มีอายุ ผู้รู้
อยู่ เห็นอยู่อย่างไร จึงหลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ยึดมั่นในธาตุ ๖ ประการนี้ได้’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๒. ฉวิโสธนสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำ
เสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว
หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ จึงนับว่ามีธรรมอันสมควรจะพยากรณ์ได้ว่า ‘ท่าน
ผู้มีอายุ ข้าพเจ้ามิได้ยึดมั่นปฐวีธาตุโดยความเป็นอัตตา และมิได้ยึดมั่นอัตตาที่
อาศัยปฐวีธาตุ’ จึงรู้ชัดว่า ‘จิตของเราหลุดพ้นแล้ว’ เพราะความสิ้นไป เพราะ
ความคลายไป เพราะความดับไป เพราะความสละไป และเพราะความสละคืนซึ่ง
อุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่นอาศัยปฐวีธาตุ และอนุสัยคือความตั้งใจมั่นและความปักใจมั่น
ได้
ข้าพเจ้ามิได้ยึดมั่นอาโปธาตุ ฯลฯ
ข้าพเจ้ามิได้ยึดมั่นเตโชธาตุ ฯลฯ
ข้าพเจ้ามิได้ยึดมั่นวาโยธาตุ ฯลฯ
ข้าพเจ้ามิได้ยึดมั่นอากาสธาตุ ฯลฯ
ข้าพเข้ามิได้ยึดมั่นวิญญาณธาตุโดยความเป็นอัตตา และมิได้ยึดมั่นอัตตาอัน
อาศัยวิญญาณธาตุ จึงรู้ชัดว่า ‘จิตของเราหลุดพ้นแล้ว’ เพราะความสิ้นไป
เพราะความคลายกำหนัด เพราะความดับไป เพราะความสละไป และเพราะ
ความสละคืนซึ่งอุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่นอาศัยวิญญาณธาตุ และอนุสัยคือความตั้งใจ
มั่นและความปักใจมั่นได้ ท่านผู้มีอายุ จิตของข้าพเจ้าผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้ จึง
หลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ยึดมั่นในธาตุ ๖ ประการนี้ได้’
ภิกษุทั้งหลาย คำที่ภิกษุรูปนั้นกล่าว เธอทั้งหลายควรชื่นชมยินดีว่า ‘สาธุ’
แล้วพึงถามปัญหายิ่งขึ้นไปว่า

หลักการตรวจสอบอายตนะ ๑๒ ประการ

[๑๐๑] ‘ท่านผู้มีอายุ ก็อายตนะภายในและอายตนะภายนอกอย่างละ ๖
ประการนี้ ที่พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระองค์นั้นตรัสไว้ชอบแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๒. ฉวิโสธนสูตร

อายตนะภายในและอายตนะภายนอกอย่างละ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. จักขุ(ตา)คู่กับรูป ๒. โสตะ(หู)คู่กับสัททะ(เสียง)
๓. ฆานะ(จมูก)คู่กับคันธะ(กลิ่น) ๔. ชิวหา(ลิ้น)คู่กับรส
๕. กายคู่กับโผฏฐัพพะ ๖. มโน(ใจ)คู่กับธรรมารมณ์

ท่านผู้มีอายุ อายตนะภายในและอายตนะภายนอกอย่างละ ๖ ประการนี้
ที่พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ตรัสไว้ชอบแล้ว ก็จิตของท่านผู้มีอายุ ผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างไร จึงหลุดพ้นจากอาสวะ
เพราะไม่ยึดมั่นในอายตนะภายในและอายตนะภายนอกอย่างละ ๖ ประการนี้ได้’
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำ
เสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว
หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ จึงนับว่ามีธรรมอันสมควรจะพยากรณ์ได้ว่า ‘ท่านผู้มี
อายุ ข้าพเจ้ารู้ชัดว่า ‘จิตของข้าพเจ้าหลุดพ้นแล้ว’ เพราะความสิ้นไป เพราะ
ความคลายไป เพราะความดับไป เพราะความสละไป และเพราะความสละคืนซึ่ง
ความพอใจ ความกำหนัด ความยินดี ความอยาก ความยึดมั่น อุปาทาน และ
อนุสัยคือความตั้งใจมั่นและความปักใจมั่นในจักขุ ในรูป ในจักขุวิญญาณ และใน
ธรรมที่พึงรู้แจ้งทางจักขุวิญญาณ
ข้าพเจ้ารู้ชัดว่า ฯลฯ ในโสตะ ในเสียง ในโสตวิญญาณ ฯลฯ
ข้าพเจ้ารู้ชัดว่า ฯลฯ ในฆานะ ในกลิ่น ในฆานวิญญาณ ฯลฯ
ข้าพเจ้ารู้ชัดว่า ฯลฯ ในชิวหา ในรส ในชิวหาวิญญาณ ฯลฯ
ข้าพเจ้ารู้ชัดว่า ฯลฯ ในกาย ในโผฏฐัพพะ ในกายวิญญาณ ฯลฯ
ข้าพเจ้ารู้ชัดว่า ‘จิตของข้าพเจ้าหลุดพ้นแล้ว’ เพราะความสิ้นไป เพราะ
ความคลายไป เพราะความดับไป เพราะความสละไป และเพราะความสละคืนซึ่ง
ความพอใจ ความกำหนัด ความยินดี ความอยาก ความยึดมั่น อุปาทาน และ
อนุสัยคือความตั้งใจมั่นและความปักใจมั่นในมโน ในธรรมารมณ์ ในมโนวิญญาณ
และในธรรมที่พึงรู้แจ้งทางมโนวิญญาณ ท่านผู้มีอายุ จิตของข้าพเจ้าผู้รู้อยู่ เห็น
อยู่อย่างนี้จึงหลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ยึดมั่นในอายตนะภายในและอายตนะ
ภายนอกอย่างละ ๖ ประการนี้ได้’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๒. ฉวิโสธนสูตร

ภิกษุทั้งหลาย คำที่ภิกษุรูปนั้นกล่าว เธอทั้งหลายควรชื่นชมยินดีว่า ‘สาธุ’
แล้วพึงถามปัญหายิ่งขึ้นไปว่า

หลักการตรวจสอบเรื่องการถอนอนุสัย

[๑๐๒] ‘ท่านผู้มีอายุรู้อยู่ เห็นอยู่อย่างไร จึงถอนอหังการ มมังการ และ
มานานุสัย ในกายอันมีวิญญาณนี้ และในสรรพนิมิตภายนอกได้ด้วยดี’
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำ
เสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว
หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ จึงนับว่ามีธรรมอันสมควรจะพยากรณ์ได้ว่า ‘ท่านผู้มี
อายุ เมื่อก่อนที่ข้าพเจ้ายังครองเรือนอยู่ ยังเป็นผู้ไม่รู้ พระตถาคต หรือสาวก
ของพระตถาคต ได้แสดงธรรมแก่ข้าพเจ้านั้น ข้าพเจ้าได้สดับธรรมนั้นแล้ว จึงเกิด
ศรัทธาในพระตถาคต เมื่อมีศรัทธา ย่อมตระหนักว่า ‘การอยู่ครองเรือนเป็นเรื่อง
อึดอัด เป็นทางแห่งธุลี การบวชเป็นทางปลอดโปร่ง การที่ผู้ครองเรือนจะ
ประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วนดุจสังข์ขัด ไม่ใช่ทำได้ง่าย ทาง
ที่ดี เราควรโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิตเถิด’

สิกขาและสาชีพของภิกษุ

ต่อมา ข้าพเจ้าละทิ้งกองโภคสมบัติน้อยใหญ่ และเครือญาติน้อยใหญ่ โกน
ผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ข้าพเจ้า
บวชแล้วอย่างนี้ ถึงความเป็นผู้มีสิกขาและสาชีพของภิกษุทั้งหลาย คือ
๑. ละ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ คือ วางทัณฑาวุธและศัสตราวุธ มี
ความละอาย มีความเอ็นดู มุ่งประโยชน์เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อยู่
๒. ละ เว้นขาดจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ คือรับเอา
แต่สิ่งของที่เขาให้ มุ่งหวังแต่สิ่งของที่เขาให้ ไม่เป็นขโมย เป็นคน
สะอาดอยู่
๓. ละพฤติกรรมอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ คือ ประพฤติพรหมจรรย์
เว้นห่างไกลจากเมถุนธรรมอันเป็นกิจของชาวบ้าน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๒. ฉวิโสธนสูตร

๔. ละ เว้นขาดจากการพูดเท็จ คือ พูดแต่คำสัตย์ ดำรงความสัตย์
มีถ้อยคำเป็นหลัก เชื่อถือได้ ไม่หลอกลวงชาวโลก
๕. ละ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด คือ ฟังความจากฝ่ายนี้แล้ว ไม่
ไปบอกฝ่ายโน้น เพื่อทำลายฝ่ายนี้ หรือฟังความฝ่ายโน้นแล้ว
ไม่มาบอกฝ่ายนี้ เพื่อทำลายฝ่ายโน้น สมานคนที่แตกกัน ส่ง
เสริมคนที่ปรองดองกัน ชื่นชม ยินดี เพลิดเพลินต่อผู้ที่สามัคคีกัน
พูดแต่ถ้อยคำที่สร้างสรรค์ความสามัคคี
๖. ละ เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ คือ พูดแต่คำไม่มีโทษ ไพเราะ
น่ารัก จับใจ เป็นคำของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่ พอใจ
๗. ละ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ คือ พูดถูกเวลา พูดคำจริง
พูดอิงประโยชน์ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดคำที่มีหลักฐาน มีที่
อ้างอิง มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์ เหมาะแก่กาลเวลา
๘. เว้นขาดจากการพรากพืชคาม๑และภูตคาม๒
๙. ฉันมื้อเดียว ไม่ฉันตอนกลางคืน เว้นขาดจากการฉันในเวลาวิกาล๓
๑๐. เว้นขาดจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการละเล่น
ที่เป็นข้าศึกแก่กุศล
๑๑. เว้นขาดจากการทัดทรง ประดับ ตกแต่งร่างกายด้วยพวงดอกไม้
ของหอมและเครื่องประทินผิว อันเป็นลักษณะแห่งการแต่งตัว
๑๒. เว้นขาดจากที่นอนสูงใหญ่
๑๓. เว้นขาดจากการรับทองและเงิน
๑๔. เว้นขาดจากการรับธัญญาหารดิบ๔
๑๕. เว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๒. ฉวิโสธนสูตร

๑๖. เว้นขาดจากการรับสตรีและกุมารี
๑๗. เว้นขาดจากการรับทาสหญิงและทาสชาย
๑๘. เว้นขาดจากการรับแพะและแกะ
๑๙. เว้นขาดจากการรับไก่และสุกร
๒๐. เว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า และลา
๒๑. เว้นขาดจากการรับเรือกสวนไร่นาและที่ดิน
๒๒. เว้นขาดจากการทำหน้าที่เป็นตัวแทนและผู้สื่อสาร
๒๓. เว้นขาดจากการซื้อขาย
๒๔. เว้นขาดจากการโกงด้วยตาชั่ง ด้วยของปลอม และด้วยเครื่อง
ตวงวัด
๒๕. เว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวง และการตลบตะแลง
๒๖. เว้นขาดจากการตัด(อวัยวะ) การฆ่า การจองจำ การตีชิงวิ่งราว
การปล้น และการขู่กรรโชก
ข้าพเจ้านั้นเป็นผู้สันโดษด้วยจีวรพอคุ้มร่างกาย และบิณฑบาตพออิ่มท้อง
จะไป ณ ที่ใด ๆ ก็ไปได้ทันที เหมือนนกบินไป ณ ที่ใด ๆ ก็มีแต่ปีกเป็นภาระ
ข้าพเจ้านั้นประกอบด้วยอริยสีลขันธ์เช่นนี้แล้ว ย่อมเสวยสุขอันปราศจากโทษในภายใน
[๑๐๓] ข้าพเจ้านั้นเห็นรูปทางตาแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อมปฏิบัติ
เพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้ว ก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรมคือ
อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จึงรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์
ฟังเสียงทางหูแล้ว ...
ดมกลิ่นทางจมูกแล้ว ...
ลิ้มรสทางลิ้นแล้ว ...
ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายแล้ว ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๒. ฉวีโสธนสูตร

รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวม
มนินทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้ว ก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและ
โทมนัสครอบงำได้ จึงรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ข้าพเจ้านั้น
ประกอบด้วยอริยอินทรียสังวรเช่นนี้แล้ว ย่อมเสวยสุขอันไม่ระคนด้วยกิเลสในภายใน
ข้าพเจ้านั้นทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู
การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตรและจีวร การฉัน การดื่ม
การเคี้ยว การลิ้ม การถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ การเดิน การยืน การนั่ง การนอน
การตื่น การพูด การนิ่ง
ข้าพเจ้านั้นประกอบด้วยอริยสีลขันธ์ อริยอินทรียสังวร และอริยสติสัมปชัญญะ
แล้วพักอยู่ ณ เสนาสนะอันเงียบสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า
ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง ข้าพเจ้ากลับจากบิณฑบาต ภายหลังฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว
นั่งขัดสมาธิ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า
ข้าพเจ้านั้นละอภิชฌาในโลก มีใจปราศจากอภิชฌา ชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก
อภิชฌา ละความมุ่งร้ายคือพยาบาท มีจิตไม่พยาบาท มุ่งประโยชน์เกื้อกูลต่อ
สรรพสัตว์อยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความมุ่งร้ายคือพยาบาท ละถีนมิทธะ มีจิต
ปราศจากถีนมิทธะ กำหนดแสงสว่าง มีสติสัมปชัญญะ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก
ถีนมิทธะ ละอุทธัจจกุกกุจจะ เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบภายใน ชำระจิตให้
บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะ ละวิจิกิจฉา ข้ามพ้นวิจิกิจฉาได้แล้ว ไม่มีความสงสัย
ในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉา
[๑๐๔] ข้าพเจ้านั้นละนิวรณ์ ๕ ประการนี้ ที่ทำให้จิตเศร้าหมอง บั่นทอน
กำลังปัญญา สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตก
วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌาน
มีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่
ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน
ฯลฯ อยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๓. สัปปุริสสูตร

เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ
เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ข้าพเจ้านั้น
น้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย
นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ
นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา’
เมื่อข้าพเจ้ารู้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ และ
อวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
อีกต่อไป’ ท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้ารู้อยู่เห็นอยู่อย่างนี้ จึงถอนอหังการ มมังการ
และมานานุสัย๑ในกายที่มีวิญญาณนี้และในสรรพนิมิตภายนอกได้
ภิกษุทั้งหลาย คำที่ภิกษุรูปนั้นกล่าว เธอทั้งหลายควรชื่นชมยินดีว่า ‘สาธุ’
แล้วพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุ เป็นลาภของเราทั้งหลาย เราทั้งหลายได้ดีแล้ว
ที่พิจารณาเห็นท่านผู้มีอายุเช่นท่านเป็นเพื่อนพรหมจารี”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

ฉวิโสธนสูตรที่ ๒ จบ

๓. สัปปุริสสูตร
ว่าด้วยธรรมของสัตบุรุษและธรรมของอสัตบุรุษ

[๑๐๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๓. สัปปุริสสูตร

“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมของสัตบุรุษและธรรมของอสัตบุรุษแก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังธรรมของสัตบุรุษและธรรมของอสัตบุรุษนั้น จงใส่ใจ
ให้ดี เราจักกล่าว”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ธรรมของอสัตบุรุษ เป็นอย่างไร
คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้ออกจากตระกูลสูงบวชแล้ว เธอย่อมพิจารณา
เห็นดังนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ออกจากตระกูลสูง๑บวช ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ มิได้เป็นผู้
ออกจากตระกูลสูงบวช’ เพราะความเป็นผู้มีตระกูลสูงนั้น อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน
ข่มผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของอสัตบุรุษ
ส่วนสัตบุรุษย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เพราะความเป็นผู้มีตระกูลสูง ธรรม
คือโลภะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป ธรรมคือโทสะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป หรือธรรมคือ
โมหะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป แม้ถ้าภิกษุไม่ใช่เป็นผู้ออกจากตระกูลสูงบวชแล้ว แต่
เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรม เธอก็เป็นผู้
ควรบูชา ควรสรรเสริญ ในหมู่ภิกษุนั้น’ เพราะความเป็นผู้มีตระกูลสูงนั้น
สัตบุรุษนั้นจึงทำข้อปฏิบัติเท่านั้นไว้ในภายใน แล้วไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของสัตบุรุษ (๑)
อีกประการหนึ่ง อสัตบุรุษเป็นผู้ออกจากตระกูลใหญ่๒บวช ฯลฯ เป็นผู้ออก
จากตระกูลมีโภคะมากบวช ... เป็นผู้ออกจากตระกูลมีโภคะโอฬารบวช อสัตบุรุษ
นั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ออกจากตระกูลมีโภคะโอฬารบวช ส่วน
ภิกษุอื่นเหล่านี้ ไม่ใช่เป็นผู้ออกจากตระกูลมีโภคะโอฬารบวช’ เพราะความเป็นผู้มี
โภคะโอฬารนั้น อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของอสัตบุรุษ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๓. สัปปุริสสูตร

ส่วนสัตบุรุษย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เพราะความเป็นผู้มีโภคะโอฬาร
ธรรมคือโลภะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป ธรรมคือโทสะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป หรือ
ธรรมคือโมหะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป แม้ถ้าภิกษุไม่ใช่เป็นผู้ออกจากตระกูลมีโภคะ
โอฬารบวชแล้ว แต่เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตาม
ธรรม เธอก็เป็นผู้ควรบูชา ควรสรรเสริญ ในหมู่ภิกษุนั้น’ เพราะความเป็นผู้มี
โภคะโอฬารนั้น สัตบุรุษนั้นจึงทำข้อปฏิบัติเท่านั้นไว้ในภายใน แล้วไม่ยกตน
ไม่ข่มผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของสัตบุรุษ (๒-๔)
[๑๐๖] อีกประการหนึ่ง อสัตบุรุษเป็นผู้มีชื่อเสียง มียศ๑ ย่อมพิจารณาเห็น
ดังนี้ว่า ‘เรามีชื่อเสียง มียศ ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ เป็นผู้ไม่มีชื่อเสียง มีศักดิ์น้อย‘๒
เพราะความเป็นผู้มีชื่อเสียงนั้น อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของอสัตบุรุษ
ส่วนสัตบุรุษย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เพราะความเป็นผู้มีชื่อเสียง ธรรมคือ
โลภะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป ธรรมคือโทสะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป หรือธรรมคือ
โมหะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป แม้ถ้าภิกษุไม่ใช่เป็นผู้มีชื่อเสียง ไม่ใช่เป็นผู้มียศ แต่
เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรม เธอก็เป็นผู้
ควรบูชา ควรสรรเสริญ ในหมู่ภิกษุนั้น’ เพราะความเป็นผู้มีชื่อเสียงนั้น สัตบุรุษ
นั้นจึงทำข้อปฏิบัติเท่านั้นไว้ในภายใน แล้วไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของสัตบุรุษ (๕)
อีกประการหนึ่ง อสัตบุรุษได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย
เภสัชบริขาร๓ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ เป็นผู้ไม่ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร’ เพราะการได้นั้น อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของอสัตบุรุษ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๓. สัปปุริสสูตร

ส่วนสัตบุรุษย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เพราะการได้นั้น ธรรมคือโลภะย่อม
ไม่ถึงความสิ้นไป ธรรมคือโทสะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป หรือธรรมคือโมหะย่อมไม่
ถึงความสิ้นไป แม้ถ้าภิกษุไม่เป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย
เภสัชบริขาร แต่เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรม
เธอก็เป็นผู้ควรบูชา ควรสรรเสริญ ในหมู่ภิกษุนั้น’ เพราะการได้นั้น สัตบุรุษนั้น
จึงทำข้อปฏิบัติเท่านั้นไว้ในภายใน แล้วไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของสัตบุรุษ (๖)
อีกประการหนึ่ง อสัตบุรุษเป็นพหูสูต ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราเป็น
พหูสูต ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ ไม่เป็นพหูสูต’ เพราะความเป็นพหูสูตนั้น อสัตบุรุษ
นั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของอสัตบุรุษ
ส่วนสัตบุรุษย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เพราะความเป็นพหูสูต ธรรมคือโลภะ
ย่อมไม่ถึงความสิ้นไป ธรรมคือโทสะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป หรือธรรมคือโมหะย่อม
ไม่ถึงความสิ้นไป แม้ถ้าภิกษุไม่เป็นพหูสูต แต่เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควร
แก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรม เธอก็เป็นผู้ควรบูชา ควรสรรเสริญ
ในหมู่ภิกษุนั้น’ เพราะความเป็นพหูสูตนั้น สัตบุรุษนั้นจึงทำข้อปฏิบัติเท่านั้นไว้ใน
ภายใน แล้วไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของสัตบุรุษ (๗)
อีกประการหนึ่ง อสัตบุรุษเป็นผู้ทรงจำวินัย ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เรา
เป็นผู้ทรงจำวินัย ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ ไม่เป็นผู้ทรงจำวินัย’ เพราะความเป็นผู้ทรง
จำวินัยนั้น อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของอสัตบุรุษ
ส่วนสัตบุรุษย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เพราะความเป็นผู้ทรงจำวินัยนั้น
ธรรมคือโลภะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป ธรรมคือโทสะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป หรือ
ธรรมคือโมหะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป แม้ถ้าภิกษุไม่เป็นผู้ทรงจำวินัย แต่เป็นผู้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๓. สัปปุริสสูตร

ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรม เธอก็เป็นผู้ควรบูชา
ควรสรรเสริญ ในหมู่ภิกษุนั้น’ เพราะความเป็นผู้ทรงจำวินัยนั้น สัตบุรุษนั้นจึงทำ
ข้อปฏิบัติเท่านั้นไว้ในภายใน แล้วไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของสัตบุรุษ (๘)
อีกประการหนึ่ง อสัตบุรุษเป็นพระธรรมกถึก ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เรา
เป็นพระธรรมกถึก ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ไม่เป็นพระธรรมกถึก’ เพราะความเป็น
พระธรรมกถึกนั้น อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของอสัตบุรุษ
ส่วนสัตบุรุษย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เพราะความเป็นพระธรรมกถึก ธรรม
คือโลภะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป ธรรมคือโทสะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป หรือธรรมคือ
โมหะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป แม้ถ้าภิกษุไม่เป็นพระธรรมกถึก แต่เป็นผู้ปฏิบัติธรรม
สมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรม เธอก็เป็นผู้ควรบูชา ควรสรรเสริญ
ในหมู่ภิกษุนั้น’ เพราะความเป็นพระธรรมกถึกนั้น สัตบุรุษนั้นจึงทำข้อปฏิบัติ
เท่านั้นไว้ในภายใน แล้วไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของสัตบุรุษ (๙)
[๑๐๗] อีกประการหนึ่ง อสัตบุรุษเป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ย่อมพิจารณา
เห็นดังนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ไม่เป็นผู้ถือการอยู่
ป่าเป็นวัตร’ เพราะความเป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรนั้น อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของอสัตบุรุษ
ส่วนสัตบุรุษย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เพราะความเป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร
ธรรมคือโลภะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป ธรรมคือโทสะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป หรือ
ธรรมคือโมหะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป แม้ถ้าภิกษุไม่เป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร แต่
เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรม เธอก็เป็นผู้
ควรบูชา ควรสรรเสริญ ในหมู่ภิกษุนั้น’ เพราะความเป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรนั้น
สัตบุรุษนั้นจึงทำข้อปฏิบัติเท่านั้นไว้ในภายใน แล้วไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของสัตบุรุษ (๑๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๓. สัปปุริสสูตร

อีกประการหนึ่ง อสัตบุรุษเป็นผู้ถือการทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ย่อมพิจารณา
เห็นดังนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ถือการทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ไม่เป็นผู้
ถือการทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร’ เพราะความเป็นผู้ถือการทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตรนั้น
อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของอสัตบุรุษ
ส่วนสัตบุรุษย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เพราะความเป็นผู้ถือการทรงผ้าบังสุกุล
เป็นวัตร ธรรมคือโลภะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป ธรรมคือโทสะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป
หรือธรรมคือโมหะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป แม้ถ้าภิกษุไม่เป็นผู้ถือการทรงผ้าบังสุกุล
เป็นวัตร แต่เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรม
เธอก็เป็นผู้ควรบูชา ควรสรรเสริญ ในหมู่ภิกษุนั้น’ เพราะความเป็นผู้ถือการทรง
ผ้าบังสุกุลเป็นวัตรนั้น สัตบุรุษนั้นจึงทำข้อปฏิบัติเท่านั้นไว้ในภายใน แล้วไม่ยกตน
ไม่ข่มผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของสัตบุรุษ (๑๑)
อีกประการหนึ่ง อสัตบุรุษเป็นผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ย่อม
พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้
ไม่เป็นผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร’ เพราะความเป็นผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาต
เป็นวัตรนั้น อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของอสัตบุรุษ
ส่วนสัตบุรุษย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เพราะความเป็นผู้ถือการเที่ยว
บิณฑบาตเป็นวัตร ธรรมคือโลภะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป ธรรมคือโทสะย่อมไม่ถึง
ความสิ้นไป หรือธรรมคือโมหะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป แม้ถ้าภิกษุไม่เป็นผู้ถือการ
เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร แต่เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ
ประพฤติตามธรรม เธอก็เป็นผู้ควรบูชา ควรสรรเสริญ ในหมู่ภิกษุนั้น’ เพราะ
ความเป็นผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรนั้น สัตบุรุษนั้นจึงทำข้อปฏิบัติเท่านั้นไว้
ในภายใน แล้วไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของสัตบุรุษ (๑๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๓. สัปปุริสสูตร

อีกประการหนึ่ง อสัตบุรุษเป็นผู้ถือการอยู่โคนไม้เป็นวัตร ย่อมพิจารณาเห็น
ดังนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ถือการอยู่โคนไม้เป็นวัตร ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ไม่เป็นผู้ถือการอยู่
โคนไม้เป็นวัตร’ เพราะความเป็นผู้ถือการอยู่โคนไม้เป็นวัตรนั้น อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน
ข่มผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของอสัตบุรุษ
ส่วนสัตบุรุษย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เพราะความเป็นผู้ถือการอยู่โคนไม้เป็นวัตร
ธรรมคือโลภะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป ธรรมคือโทสะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป หรือ
ธรรมคือโมหะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป แม้ถ้าภิกษุไม่เป็นผู้ถือการอยู่โคนไม้เป็นวัตร
แต่เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรม เธอก็เป็นผู้
ควรบูชา ควรสรรเสริญ ในหมู่ภิกษุนั้น’ เพราะความเป็นผู้ถือการอยู่โคนไม้เป็น
วัตรนั้น สัตบุรุษนั้นจึงทำข้อปฏิบัติเท่านั้นไว้ในภายใน แล้วไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของสัตบุรุษ (๑๓)
อีกประการหนึ่ง อสัตบุรุษเป็นผู้ถือการอยู่ในป่าช้าเป็นวัตร ฯลฯ เป็นผู้ถือ
การอยู่กลางแจ้งเป็นวัตร ฯลฯ เป็นผู้ถือการนั่งเป็นวัตร ฯลฯ เป็นผู้ถือการอยู่
ในเสนาสนะที่เขาจัดให้เป็นวัตร ฯลฯ เป็นผู้ถือการฉัน ณ อาสนะเดียวเป็นวัตร
อสัตบุรุษนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ถือการฉัน ณ อาสนะเดียวเป็นวัตร
ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ไม่เป็นผู้ถือการฉัน ณ อาสนะเดียวเป็นวัตร’ เพราะความเป็น
ผู้ถือการฉัน ณ อาสนะเดียวเป็นวัตรนั้น อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของอสัตบุรุษ
ส่วนสัตบุรุษย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เพราะความเป็นผู้ถือการฉัน ณ
อาสนะเดียวเป็นวัตร ธรรมคือโลภะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป ธรรมคือโทสะย่อมไม่ถึง
ความสิ้นไป หรือธรรมคือโมหะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป แม้ถ้าภิกษุไม่เป็นผู้ถือการฉัน
ณ อาสนะเดียวเป็นวัตร แต่เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ
ประพฤติตามธรรม เธอก็เป็นผู้ควรบูชา ควรสรรเสริญ ในหมู่ภิกษุนั้น’ เพราะ
ความเป็นผู้ถือการฉัน ณ อาสนะเดียวเป็นวัตรนั้น สัตบุรุษนั้นจึงทำข้อปฏิบัติ
เท่านั้นไว้ในภายใน แล้วไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของสัตบุรุษ (๑๔-๑๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๓. สัปปุริสสูตร

สมาบัติ ๘ ประการ

[๑๐๘] อีกประการหนึ่ง อสัตบุรุษสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว
บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ อสัตบุรุษนั้นย่อม
พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ได้ปฐมฌานสมาบัติ ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ไม่เป็น
ผู้ได้ปฐมฌานสมาบัติ’ เพราะปฐมฌานสมาบัตินั้น อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของอสัตบุรุษ
ส่วนสัตบุรุษย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘แม้เพราะปฐมฌานสมาบัติ พระผู้มี
พระภาคจึงตรัสอตัมมยตา๑ไว้ เพราะชนทั้งหลายเข้าใจกันด้วยเหตุใด ๆ เหตุนั้น ๆ
ย่อมเป็นอย่างอื่นจากที่เข้าใจกันนั้น’ เพราะปฐมฌานสมาบัตินั้น สัตบุรุษนั้นจึงทำ
อตัมมยตาเท่านั้นไว้ในภายใน แล้วไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของสัตบุรุษ (๑๙)
อีกประการหนึ่ง เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป อสัตบุรุษบรรลุทุติยฌาน
มีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติ
และสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ
อยู่ อสัตบุรุษนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ได้จตุตถฌานสมาบัติ
ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ไม่เป็นผู้ได้จตุตถฌานสมาบัติ’ เพราะจตุตถฌานสมาบัตินั้น
อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของอสัตบุรุษ
ส่วนสัตบุรุษย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘แม้เพราะจตุตถฌานสมาบัติ พระผู้มี
พระภาคจึงตรัสอตัมมยตาไว้ เพราะชนทั้งหลายเข้าใจกันด้วยเหตุใด ๆ เหตุนั้น ๆ
ย่อมเป็นอย่างอื่นจากที่เข้าใจกันนั้น’ เพราะจตุตถฌานสมาบัตินั้น สัตบุรุษนั้นจึง
ทำอตัมมยตาเท่านั้นไว้ในภายใน แล้วไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของสัตบุรุษ (๒๐-๒๒)


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๓. สัปปุริสสูตร

อีกประการหนึ่ง เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตต-
สัญญาโดยประการทั้งปวง อสัตบุรุษบรรลุอากาสานัญจายตนะ โดยกำหนดว่า
‘อากาศหาที่สุดมิได้’ อยู่ เธอย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ได้อากาสานัญ-
จายตนสมาบัติ ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ไม่เป็นผู้ได้อากาสานัญจายตนสมาบัติ’ เพราะ
อากาสานัญจายตนสมาบัตินั้น อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของอสัตบุรุษ
ส่วนสัตบุรุษย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘แม้เพราะอากาสานัญจายตนสมาบัติ
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสอตัมมยตาไว้ เพราะชนทั้งหลายเข้าใจกันด้วยเหตุใด ๆ
เหตุนั้น ๆ ย่อมเป็นอย่างอื่นจากที่เข้าใจกันนั้น’ เพราะอากาสานัญจายตนสมาบัติ
นั้น สัตบุรุษนั้นจึงทำอตัมมยตาเท่านั้นไว้ในภายใน แล้วไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของสัตบุรุษ (๒๓)
อีกประการหนึ่ง อสัตบุรุษล่วงอากาสานัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวง
บรรลุวิญญาณัญจายตนะ โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่ เธอย่อม
พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ได้วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้
ไม่เป็นผู้ได้วิญญาณัญจายตนสมาบัติ’ เพราะวิญญาณัญจายตนสมาบัตินั้น
อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของอสัตบุรุษ
ส่วนสัตบุรุษย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘แม้เพราะวิญญาณัญจายตนสมาบัติ
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสอตัมมยตาไว้ เพราะชนทั้งหลายเข้าใจกันด้วยเหตุใด ๆ
เหตุนั้น ๆ ย่อมเป็นอย่างอื่นจากที่เข้าใจกันนั้น’ เพราะวิญญาณัญจายตนสมาบัติ
นั้น สัตบุรุษนั้นจึงทำอตัมมยตาเท่านั้นไว้ในภายใน แล้วไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของสัตบุรุษ (๒๔)
อีกประการหนึ่ง อสัตบุรุษก้าวล่วงวิญญาณณัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวง
บรรลุอากิญจัญญายตนะ โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ เธอย่อมพิจารณาเห็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๓. สัปปุริสสูตร

ดังนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ได้อากิญจัญญายตนสมาบัติ ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ไม่เป็นผู้ได้
อากิญจัญญายตนสมาบัติ’ เพราะอากิญจัญญายตนสมาบัตินั้น อสัตบุรุษนั้น
จึงยกตน ข่มผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของอสัตบุรุษ
ส่วนสัตบุรุษย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘แม้เพราะอากิญจัญญายตนสมาบัติ
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสอตัมมยตาไว้ เพราะชนทั้งหลายเข้าใจกันด้วยเหตุใด ๆ
เหตุนั้น ๆ ย่อมเป็นอย่างอื่นจากที่เข้าใจกันนั้น’ เพราะอากิญจัญญายตนสมาบัตินั้น
สัตบุรุษนั้นจึงทำอตัมมยตาเท่านั้นไว้ในภายใน แล้วไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของสัตบุรุษ (๒๕)
อีกประการหนึ่ง อสัตบุรุษล่วงอากิญจัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวง
บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะอยู่ เธอย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ได้
เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ไม่เป็นผู้ได้เนวสัญญานา-
สัญญายตนสมาบัติ’ เพราะเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัตินั้น อสัตบุรุษนั้น
จึงยกตน ข่มผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของอสัตบุรุษ
ส่วนสัตบุรุษย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘แม้เพราะเนวสัญญานาสัญญายตน-
สมาบัติ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสอตัมมยตาไว้ เพราะชนทั้งหลายเข้าใจกันด้วย
เหตุใด ๆ เหตุนั้น ๆ ย่อมเป็นอย่างอื่นจากที่เข้าใจกันนั้น’ เพราะเนวสัญญา-
นาสัญญายตนสมาบัตินั้น สัตบุรุษนั้นจึงทำอตัมมยตาเท่านั้นไว้ในภายใน แล้วไม่
ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของสัตบุรุษ (๒๖)
อีกประการหนึ่ง สัตบุรุษล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวง
บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ เพราะเห็นด้วยปัญญา อาสวะทั้งหลายของสัตบุรุษ
นั้นจึงสิ้นไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]
๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้แลย่อมไม่ถือตัวกับใคร ๆ ไม่ถือตัวในที่ไหน ๆ และ
ไม่ถือตัวด้วยเหตุไร ๆ (๒๗)”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

สัปปุริสสูตรที่ ๓ จบ

๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ควรเสพและธรรมที่ไม่ควรเสพ

[๑๐๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียก
ภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมบรรยายที่ควรเสพ๑
และไม่ควรเสพแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังธรรมบรรยายนั้น จงใส่ใจให้ดี
เราจักกล่าว”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวกายสมาจาร(ความประพฤติทางกาย) ไว้ ๒ ประการ
คือ
๑. กายสมาจารที่ควรเสพ
๒. กายสมาจารที่ไม่ควรเสพ
กายสมาจารทั้ง ๒ ประการนั้นเป็นกายสมาจารที่ตรงข้ามกันและกัน


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]
๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร

เรากล่าววจีสมาจาร(ความประพฤติทางวาจา) ไว้ ๒ ประการ คือ
๑. วจีสมาจารที่ควรเสพ
๒. วจีสมาจารที่ไม่ควรเสพ
วจีสมาจารทั้ง ๒ ประการนั้นเป็นวจีสมาจารที่ตรงข้ามกันและกัน
เรากล่าวมโนสมาจาร(ความประพฤติทางใจ) ไว้ ๒ ประการ คือ
๑. มโนสมาจารที่ควรเสพ
๒. มโนสมาจารที่ไม่ควรเสพ
มโนสมาจารทั้ง ๒ ประการนั้นเป็นมโนสมาจารที่ตรงข้ามกันและกัน
เรากล่าวจิตตุปบาท(ความเกิดขึ้นแห่งจิต) ไว้ ๒ ประการ คือ
๑. จิตตุปบาทที่ควรเสพ
๒. จิตตุปบาทที่ไม่ควรเสพ
จิตตุปบาททั้ง ๒ ประการนั้นเป็นจิตตุปบาทที่ตรงข้ามกันและกัน
เรากล่าวการได้สัญญาไว้ ๒ ประการ คือ
๑. การได้สัญญาที่ควรเสพ
๒. การได้สัญญาที่ไม่ควรเสพ
การได้สัญญาทั้ง ๒ ประการนั้นเป็นการได้สัญญาที่ตรงข้ามกัน
และกัน
เรากล่าวการได้ทิฏฐิไว้ ๒ ประการ คือ
๑. การได้ทิฏฐิที่ควรเสพ
๒. การได้ทิฏฐิที่ไม่ควรเสพ
การได้ทิฏฐิทั้ง ๒ ประการนั้นเป็นการได้ทิฏฐิที่ตรงข้ามกันและกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]
๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร

เรากล่าวการได้อัตภาพไว้ ๒ ประการ คือ
๑. การได้อัตภาพที่ควรเสพ
๒. การได้อัตภาพที่ไม่ควรเสพ
การได้อัตภาพทั้ง ๒ ประการนั้นเป็นการได้อัตภาพที่ตรงข้ามกันและกัน”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทราบเนื้อความแห่งธรรมบรรยายที่
พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยย่อ ไม่ทรงชี้แจงเนื้อความให้พิสดารนี้ โดยพิสดารอย่างนี้
คือ
[๑๑๐] พระผู้มีพระภาคตรัสพระดำรัสนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวกาย
สมาจารไว้ ๒ ประการ คือ
๑. กายสมาจารที่ควรเสพ
๒. กายสมาจารที่ไม่ควรเสพ
กายสมาจารทั้ง ๒ ประการนั้นเป็นกายสมาจารที่ตรงข้ามกันและกัน’
เพราะทรงอาศัยเหตุอะไร พระผู้มีพระภาคจึงตรัสไว้เช่นนั้น
เมื่อบุคคลเสพกายสมาจารเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง
กายสมาจารเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อบุคคลเสพกายสมาจารเช่นใด อกุศลธรรม
เสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น กายสมาจารเช่นนี้ควรเสพ พระพุทธเจ้าข้า

กายสมาจาร ๒ ประการ

[๑๑๑] เมื่อบุคคลเสพกายสมาจารเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรม
เสื่อมลง
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ คือ เป็นคนหยาบช้า มีฝ่ามือ
เปื้อนเลือด ชอบฆ่าสัตว์ ไม่มีความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้ถือเอาสิ่งของที่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]
๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร

เจ้าของไม่ได้ให้ คือถือเอาทรัพย์เครื่องปลื้มใจของผู้อื่น ที่อยู่ในบ้านหรือในป่า
ที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ ด้วยความเป็นขโมย และเป็นผู้ประพฤติผิดในกาม คือเป็นผู้
ละเมิดจารีตในหญิงที่อยู่ในปกครองของมารดา หญิงที่อยู่ในปกครองของบิดา
หญิงที่อยู่ในปกครองของมารดาและบิดา หญิงที่อยู่ในปกครองของพี่ชายน้องชาย
หญิงที่อยู่ในปกครองของพี่สาวน้องสาว หญิงที่อยู่ในปกครองของญาติ หญิงที่อยู่
ในปกครองของตระกูล หญิงที่มีธรรมคุ้มครอง หญิงที่มีสามี หญิงที่มีสินไหมติด
ตัวอยู่ โดยที่สุดแม้หญิงที่ชายคล้องพวงดอกไม้หมั้นไว้
เมื่อบุคคลเสพกายสมาจารเช่นนี้ อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง
พระพุทธเจ้าข้า
เมื่อบุคคลเสพกายสมาจารเช่นใด อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ละ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑาวุธ
และศัสตราวุธ มีความละอาย มีความเอ็นดู มุ่งหวังประโยชน์เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อยู่
เป็นผู้ละ เว้นขาดจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ คือไม่ถือเอาทรัพย์
เครื่องปลื้มใจของผู้อื่น ที่อยู่ในบ้านหรือในป่า ที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ ด้วยความ
เป็นขโมย เป็นผู้ละ เว้นขาดจากการประพฤิตผิดในกาม คือเป็นผู้ไม่ละเมิดจารีต
ในหญิงที่อยู่ในปกครองของมารดา หญิงที่อยู่ในปกครองของบิดา หญิงที่อยู่ใน
ปกครองของมารดาและบิดา หญิงที่อยู่ในปกครองของพี่ชายน้องชาย หญิงที่อยู่ใน
ปกครองของพี่สาวน้องสาว หญิงที่อยู่ในปกครองของญาติ หญิงที่อยู่ในปกครอง
ของตระกูล หญิงที่มีธรรมคุ้มครอง หญิงที่มีสามี หญิงที่มีสินไหมติดตัวอยู่ โดย
ที่สุดแม้หญิงที่ชายคล้องพวงดอกไม้หมั้นไว้
เมื่อบุคคลเสพกายสมาจารเช่นนี้ อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น
พระพุทธเจ้าข้า
พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวกายสมาจาร
ไว้ ๒ ประการ คือ
๑. กายสมาจารที่ควรเสพ
๒. กายสมาจารที่ไม่ควรเสพ
กายสมาจารทั้ง ๒ ประการนั้นเป็นกายสมาจารที่ตรงข้ามกันและกัน’ นั่น
เพระอาศัยเหตุนี้ พระองค์จึงตรัสไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]
๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสพระดำรัสนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าววจีสมาจารไว้
๒ ประการ คือ
๑. วจีสมาจารที่ควรเสพ
๒. วจีสมาจารที่ไม่ควรเสพ
วจีสมาจารทั้ง ๒ ประการนั้นเป็นวจีสมาจารที่ตรงข้ามกันและกัน’ เพราะ
ทรงอาศัยเหตุอะไร พระผู้มีพระภาคจึงตรัสไว้เช่นนั้น
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพวจีสมาจารเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น
กุศลธรรมเสื่อมลง วจีสมาจารเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อบุคคลเสพวจีสมาจารเช่นใด
อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น วจีสมาจารเช่นนี้ควรเสพ พระพุทธเจ้าข้า

วจีสมาจาร ๒ ประการ

[๑๑๒] เมื่อบุคคลเสพวจีสมาจารเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรม
เสื่อมลง
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้พูดเท็จ คือ อยู่ในสภา อยู่ในบริษัท อยู่
ท่ามกลางหมู่ญาติ อยู่ท่ามกลางหมู่ทหาร หรืออยู่ท่ามกลางราชสำนัก ถูกเขา
อ้างเป็นพยาน ซักถามว่า ‘พ่อคุณ เชิญเถิด ท่านรู้สิ่งใด จงกล่าวสิ่งนั้น’ บุคคล
นั้นไม่รู้ ก็พูดว่า ‘รู้’ หรือรู้ก็พูดว่า ‘ไม่รู้’ ไม่เห็นก็พูดว่า ‘เห็น’ หรือเห็นก็พูดว่า
‘ไม่เห็น’ เขาพูดเท็จทั้งที่รู้ เพราะตนเป็นเหตุบ้าง เพราะบุคคลอื่นเป็นเหตุบ้าง
เพราะเหตุคือเห็นแก่อามิสเล็กน้อยบ้าง๑ เป็นผู้พูดส่อเสียด คือฟังจากข้างนี้แล้ว
ไปบอกข้างโน้นเพื่อทำลายคนหมู่นี้ หรือฟังจากข้างโน้นแล้ว มาบอกข้างนี้ เพื่อ
ทำลายคนหมู่โน้น ยุยงคนที่สามัคคีกัน ส่งเสริมคนที่แตกแยกกัน ชื่นชมยินดี
เพลิดเพลินต่อผู้ที่แตกแยกกัน พูดแต่ถ้อยคำที่ก่อความแตกแยกกัน เป็นผู้พูด
คำหยาบ คือกล่าวแต่คำที่หยาบคาย เผ็ดร้อน หยาบคายร้ายกาจแก่ผู้อื่น


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]
๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร

กระทบกระทั่งผู้อื่น ใกล้ต่อความโกรธ ไม่เป็นไปเพื่อสมาธิ เป็นผู้พูดเพ้อเจ้อ คือ
พูดไม่ถูกเวลา พูดคำไม่จริง พูดไม่อิงประโยชน์ พูดไม่อิงธรรม พูดไม่อิงวินัย
พูดคำที่ไม่มีหลักฐาน ไม่มีที่อ้างอิง ไม่มีที่กำหนด ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ตามกาลอันไม่สมควร
เมื่อบุคคลเสพวจีสมาจารเช่นนี้ อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง
พระพุทธเจ้าข้า
เมื่อบุคคลเสพวจีสมาจารเช่นใด อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จได้แล้วคือ
อยู่ในสภา อยู่ในบริษัท อยู่ท่ามกลางหมู่ญาติ อยู่ท่ามกลางหมู่ทหาร หรืออยู่
ท่ามกลางราชสำนัก ถูกเขาอ้างเป็นพยาน ซักถามว่า ‘พ่อคุณ เชิญเถิด ท่านรู้
สิ่งใดจงกล่าวสิ่งนั้น’ บุคคลนั้นไม่รู้ก็พูดว่า ‘ไม่รู้’ หรือรู้ ก็พูดว่า ‘รู้’ ไม่เห็นก็พูดว่า
‘ไม่เห็น’ หรือเห็นก็พูดว่า ‘เห็น’ เขาไม่พูดเท็จทั้งที่รู้ เพราะตนเป็นเหตุบ้าง
เพราะบุคคลอื่นเป็นเหตุบ้าง เพราะเหตุคือเห็นแก่อามิสเล็กน้อยบ้าง ละการพูด
ส่อเสียด เว้นขาดจากการพูดส่อเสียดได้แล้ว ฟังจากข้างนี้แล้ว ไม่ไปบอกข้างโน้น
เพื่อทำลายคนหมู่นี้ ฟังจากข้างโน้นแล้ว ไม่มาบอกข้างนี้ เพื่อทำลายคนหมู่โน้น
เป็นผู้สมานคนที่แตกแยกกัน หรือส่งเสริมคนที่มีประโยชน์ร่วมกัน มีความสามัคคี
เป็นที่ชื่นชม ยินดีในความสามัคคี รื่นเริงในสามัคคีธรรม เป็นผู้กล่าววาจาก่อให้
เกิดความสามัคคี ละการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการพูดคำหยาบได้แล้ว วาจาใด
ไร้โทษ เสนาะโสต น่ารัก จับใจ เป็นถ้อยคำของชาวเมือง คนส่วนใหญ่ชอบใจ
คนส่วนใหญ่พอใจ ก็กล่าววาจาเช่นนั้น ละการพูดเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากการพูด
เพ้อเจ้อได้แล้ว พูดถูกเวลา พูดจริง พูดอิงอรรถ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย กล่าว
วาจาเป็นหลักฐาน มีที่อ้างอิง มีต้นมีปลาย ประกอบด้วยประโยชน์ตามกาลอัน
สมควร๑
เมื่อบุคคลเสพวจีสมาจารเช่นนี้ อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น
พระพุทธเจ้าข้า


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]
๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร

พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าววจีสมาจารไว้
๒ ประการ คือ
๑. วจีสมาจารที่ควรเสพ
๒. วจีสมาจารที่ไม่ควรเสพ
วจีสมาจารทั้ง ๒ ประการนั้นเป็นวจีสมาจารที่ตรงข้ามกันและกัน’ นั่น
เพราะอาศัยเหตุนี้ พระองค์จึงตรัสไว้
พระผู้มีพระภาคตรัสพระดำรัสนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวมโนสมาจารไว้
๒ ประการ คือ
๑. มโนสมาจารที่ควรเสพ
๒. มโนสมาจารที่ไม่ควรเสพ
มโนสมาจารทั้ง ๒ ประการนั้นเป็นมโนสมาจารที่ตรงข้ามกันและกัน’ เพราะ
ทรงอาศัยเหตุอะไร พระผู้มีพระภาคจึงตรัสไว้เช่นนั้น
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพมโนสมาจารเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น
กุศลธรรมเสื่อมลง มโนสมาจารเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพมโนสมาจารเช่นใด
อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น มโนสมาจารเช่นนี้ควรเสพ พระพุทธเจ้าข้า

มโนสมาจาร ๒ ประการ

[๑๑๓] เมื่อบุคคลเสพมโนสมาจารเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรม
เสื่อมลง
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของเขา คือเพ่งเล็ง
อยากได้ทรัพย์เครื่องปลื้มใจของผู้อื่นว่า ‘ทำอย่างไร ทรัพย์เครื่องปลื้มใจของผู้อื่น
จะพึงเป็นของเรา’ เป็นผู้มีจิตพยาบาท คือ มีจิตคิดร้ายว่า ‘ขอสัตว์เหล่านี้จงถูกฆ่า
จงถูกทำลาย จงขาดสูญ จงพินาศไป หรืออย่าได้มี’๑


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]
๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร

เมื่อบุคคลเสพมโนสมาจารเช่นนี้ อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง
พระพุทธเจ้าข้า
เมื่อบุคคลเสพมโนสมาจารเช่นใด อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของเขา คือ
ไม่เพ่งเล็งอยากได้ทรัพย์เครื่องปลื้มใจของผู้อื่นว่า ‘ทำอย่างไร ทรัพย์เครื่องปลื้มใจ
ของผู้อื่นจะพึงเป็นของเรา’ เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท คือ ไม่มีจิตคิดร้ายว่า ‘ขอสัตว์
เหล่านี้จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มีจิตพยาบาท ไม่มีความทุกข์ มีความสุข รักษาตนเถิด’๑
เมื่อบุคคลเสพมโนสมาจารเช่นนี้ อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น
พระพุทธเจ้าข้า
พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวมโนสมาจารไว้
๒ ประการ คือ
๑. มโนสมาจารที่ควรเสพ
๒. มโนสมาจารที่ไม่ควรเสพ
มโนสมาจารทั้ง ๒ ประการนั้นเป็นมโนสมาจารที่ตรงข้ามกันและกัน’ นั่น
เพราะอาศัยเหตุนี้ พระองค์จึงตรัสไว้

จิตตุปบาท ๒ ประการ

[๑๑๔] พระผู้มีพระภาคตรัสพระดำรัสนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าว
จิตตุปบาทไว้ ๒ ประการ คือ
๑. จิตตุปบาทที่ควรเสพ
๒. จิตตุปบาทที่ไม่ควรเสพ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]
๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร

จิตตุปบาททั้ง ๒ ประการนั้นเป็นจิตตุปบาทที่ตรงข้ามกันและกัน’ เพราะ
ทรงอาศัยเหตุอะไร พระผู้มีพระภาคจึงตรัสไว้เช่นนั้น
เมื่อบุคคลเสพจิตตุปบาทเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง
จิตตุปบาทเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อบุคคลเสพจิตตุปบาทเช่นใด อกุศลธรรม
เสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น จิตตุปบาทเช่นนี้ควรเสพ พระพุทธเจ้าข้า
เมื่อบุคคลเสพจิตตุปบาทเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของเขา มีจิตสหรคต
ด้วยอภิชฌาอยู่ เป็นผู้ปองร้ายเขา มีจิตสหรคตด้วยพยาบาทอยู่ เป็นผู้มีความ
เบียดเบียน มีจิตสหรคตด้วยความเบียดเบียนอยู่
เมื่อบุคคลเสพจิตตุปบาทเช่นนี้ อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง
พระพุทธเจ้าข้า
เมื่อบุคคลเสพจิตตุปบาทเช่นใด อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของเขา มีจิตไม่
สหรคตด้วยอภิชฌาอยู่ เป็นผู้ไม่พยาบาท มีจิตสหรคตด้วยความไม่พยาบาทอยู่
เป็นผู้ไม่เบียดเบียนอยู่ มีจิตสหรคตด้วยความไม่เบียดเบียนอยู่
เมื่อบุคคลเสพจิตตุปบาทเช่นนี้ อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น
พระพุทธเจ้าข้า
พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลายเรากล่าวจิตตุปบาทไว้
๒ ประการ คือ
๑. จิตตุปบาทที่ควรเสพ
๒. จิตตุปบาทที่ไม่ควรเสพ
จิตตุปบาททั้ง ๒ ประการนั้นเป็นจิตตุปบาทที่ตรงข้ามกันและกัน’ นั่น
เพราะอาศัยเหตุนี้ พระองค์จึงตรัสไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]
๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร

การได้สัญญา ๒ ประการ

[๑๑๕] พระผู้มีพระภาคตรัสพระดำรัสนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการ
ได้สัญญาไว้ ๒ ประการ คือ
๑. การได้สัญญาที่ควรเสพ
๒. การได้สัญญาที่ไม่ควรเสพ
การได้สัญญาทั้ง ๒ ประการนั้นเป็นการได้สัญญาที่ตรงข้ามกันและกัน’
เพราะทรงอาศัยเหตุอะไร พระผู้มีพระภาคจึงตรัสไว้เช่นนั้น
เมื่อบุคคลเสพการได้สัญญาเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรม
เสื่อมลง การได้สัญญาเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อบุคคลเสพการได้สัญญา
เช่นใด อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น การได้สัญญาเช่นนี้ควรเสพ
พระพุทธเจ้าข้า
เมื่อบุคคลเสพการได้สัญญาเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรม
เสื่อมลง
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มากด้วยอภิชฌา มีสัญญาสหรคตด้วย
อภิชฌาอยู่ เป็นผู้พยาบาท มีสัญญาสหรคตด้วยพยาบาทอยู่ เป็นผู้มีความเบียดเบียน
มีสัญญาสหรคตด้วยความเบียดเบียนอยู่
เมื่อบุคคลเสพการได้สัญญาเช่นนี้ อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง
พระพุทธเจ้าข้า
เมื่อบุคคลเสพการได้สัญญาเช่นใด อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรม
เจริญขึ้น
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่มากด้วยอภิชฌา มีสัญญาสหรคตด้วย
อนภิชฌาอยู่ เป็นผู้ไม่พยาบาท มีสัญญาสหรคตด้วยความไม่พยาบาทอยู่ เป็นผู้
ไม่มีความเบียดเบียน มีสัญญาสหรคตด้วยความไม่เบียดเบียนอยู่
เมื่อบุคคลเสพการได้สัญญาเช่นนี้ อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น
พระพุทธเจ้าข้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]
๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร

พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการได้สัญญาไว้
๒ ประการ คือ
๑. การได้สัญญาที่ควรเสพ
๒. การได้สัญญาที่ไม่ควรเสพ
การได้สัญญาทั้ง ๒ ประการนั้นเป็นการได้สัญญาที่ตรงข้ามกันและกัน’ นั่น
เพราะอาศัยเหตุนี้ พระองค์จึงตรัสไว้

การได้ทิฏฐิ ๒ ประการ

[๑๑๖] พระผู้มีพระภาคตรัสพระดำรัสนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการ
ได้ทิฏฐิไว้ ๒ ประการ คือ
๑. การได้ทิฏฐิที่ควรเสพ
๒. การได้ทิฏฐิที่ไม่ควรเสพ
การได้ทิฏฐิทั้ง ๒ ประการนั้นเป็นการได้ทิฏฐิที่ตรงข้ามกันและกัน’ เพราะ
ทรงอาศัยเหตุอะไร พระผู้มีพระภาคจึงตรัสไว้เช่นนั้น
เมื่อบุคคลเสพการได้ทิฏฐิเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง
การได้ทิฏฐิเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อบุคคลเสพการได้ทิฏฐิเช่นใด อกุศลธรรม
เสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น การได้ทิฏฐิเช่นนี้ควรเสพ พระพุทธเจ้าข้า
เมื่อบุคคลเสพการได้ทิฏฐิเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นอย่างนี้ว่า ‘ทานที่ให้แล้วไม่มีผล
ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล การเซ่นสรวงที่เซ่นสรวงแล้วก็ไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่
ทำดีทำชั่วก็ไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มีคุณ บิดาไม่มีคุณ สัตว์ที่
เป็นโอปปาติกะ๑ ก็ไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้และ
โลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งก็ไม่มีในโลก‘๒


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]
๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร

เมื่อบุคคลเสพการได้ทิฏฐิเช่นนี้ อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง
พระพุทธเจ้าข้า
เมื่อบุคคลเสพการได้ทิฏฐิเช่นใด อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรม
เจริญขึ้น
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นอย่างนี้ว่า ‘ทานที่ให้แล้วมีผล
ยัญที่บูชาแล้วมีผล การเซ่นสรวงที่เซ่นสรวงแล้วมีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำ
ชั่วมี โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามีคุณ บิดามีคุณ สัตว์ที่เป็นโอปปาติกะมีอยู่
สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่ง
เองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งก็มีอยู่ในโลก’
เมื่อบุคคลเสพการได้ทิฏฐิเช่นนี้ อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น
พระพุทธเจ้าข้า
พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการได้ทิฏฐิ
ไว้ ๒ ประการ คือ
๑. การได้ทิฏฐิที่ควรเสพ
๒. การได้ทิฏฐิที่ไม่ควรเสพ
การได้ทิฏฐิทั้ง ๒ ประการนั้น เป็นการได้ทิฏฐิที่ตรงข้ามกันและกัน’ นั่น
เพราะอาศัยเหตุนี้ พระองค์จึงตรัสไว้

การได้อัตภาพ ๒ ประการ

[๑๑๗] พระผู้มีพระภาคตรัสพระดำรัสนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการ
ได้อัตภาพไว้ ๒ ประการ คือ
๑. การได้อัตภาพที่ควรเสพ
๒. การได้อัตภาพที่ไม่ควรเสพ
การได้อัตภาพทั้ง ๒ ประการนั้นเป็นการได้อัตภาพที่ตรงข้ามกันและกัน’
เพราะทรงอาศัยเหตุอะไร พระผู้มีพระภาคจึงตรัสไว้เช่นนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]
๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร

เมื่อบุคคลเสพการได้อัตภาพเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง
การได้อัตภาพเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อบุคคลเสพการได้อัตภาพเช่นใด อกุศลธรรม
เสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น การได้อัตภาพเช่นนี้ควรเสพ พระพุทธเจ้าข้า
เมื่อบุคคลเสพการได้อัตภาพเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรม
เสื่อมลง
คือ เมื่อบุคคลยังการได้อัตภาพ อันมีความเบียดเบียนให้เกิดขึ้น เพราะการ
ได้อัตภาพอันมีความเบียดเบียนยังไม่สิ้นสุดลง อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง
พระพุทธเจ้าข้า
เมื่อบุคคลเสพการได้อัตภาพเช่นใด อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรม
เจริญขึ้น
คือ เมื่อบุคคลยังการได้อัตภาพ อันไม่มีความเบียดเบียนให้เกิดขึ้น เพราะ
การได้อัตภาพอันไม่มีความเบียดเบียนสิ้นสุดลงแล้ว อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรม
เจริญขึ้น
พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการได้อัตภาพ
ไว้ ๒ ประการ คือ
๑. การได้อัตภาพที่ควรเสพ
๒. การได้อัตภาพที่ไม่ควรเสพ
การได้อัตภาพทั้ง ๒ ประการนั้นเป็นการได้อัตภาพที่ตรงข้ามกันและกัน’ นั่น
เพราะอาศัยเหตุนี้ พระองค์จึงตรัสไว้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทราบเนื้อความแห่งธรรมบรรยายที่พระผู้มี
พระภาคตรัสไว้โดยย่อ ไม่ทรงชี้แจงเนื้อความให้พิสดารนี้ โดยพิสดารอย่างนี้
[๑๑๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ สารีบุตร เธอรู้เนื้อความแห่ง
ธรรมบรรยายที่เรากล่าวไว้โดยย่อ ไม่ชี้แจงเนื้อความให้พิสดารนี้ โดยพิสดารได้
อย่างนี้ ถูกต้องแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]
๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร

เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวกายสมาจารไว้ ๒ ประการ คือ
๑. กายสมาจารที่ควรเสพ
๒. กายสมาจารที่ไม่ควรเสพ
กายสมาจารทั้ง ๒ ประการนั้นเป็นกายสมาจารที่ตรงข้ามกันและกัน’
เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
เมื่อบุคคลเสพกายสมาจารเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง
กายสมาจารเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อบุคคลเสพกายสมาจารเช่นใด อกุศลธรรม
เสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น กายสมาจารเช่นนี้ควรเสพ
เมื่อบุคคลเสพกายสมาจารเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ คือ เป็นคนหยาบช้า มีฝ่ามือ
เปื้อนเลือด ชอบฆ่าสัตว์ ไม่มีความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้ถือเอาสิ่งของที่
เจ้าของไม่ได้ให้ คือถือเอาทรัพย์เครื่องปลื้มใจของผู้อื่น ที่อยู่ในบ้านหรืออยู่ในป่า
ที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ ด้วยความเป็นขโมย และเป็นผู้ประพฤติผิดในกาม คือเป็น
ผู้ละเมิดจารีตในหญิงที่อยู่ในปกครองของมารดา หญิงที่อยู่ในปกครองของบิดา
หญิงที่อยู่ในปกครองของมารดาและบิดา หญิงที่อยู่ในปกครองของพี่ชายน้องชาย
หญิงที่อยู่ในปกครองของพี่สาวน้องสาว หญิงที่อยูในปกครองของญาติ หญิงที่อยู่
ในปกครองของตระกูล หญิงที่มีธรรมคุ้มครอง หญิงที่มีสามี หญิงที่มีสินไหมติด
ตัวอยู่ โดยที่สุดแม้หญิงที่ชายคล้องพวงดอกไม้หมั้นไว้
เมื่อบุคคลเสพกายสมาจารเช่นนี้ อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง
เมื่อบุคคลเสพกายสมาจารเช่นใด อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ละ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑาวุธ
และศัสตราวุธแล้ว มีความละอาย มีความเอ็นดู มุ่งหวังประโยชน์เกื้อกูลต่อ
สรรพสัตว์อยู่ เป็นผู้ละ เว้นขาดจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ คือ
ไม่ถือเอาทรัพย์เครื่องปลื้มใจของผู้อื่น ที่อยู่ในบ้านหรือในป่า ที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]
๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร

ด้วยความเป็นขโมย เป็นผู้ละ เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม คือเป็นผู้ไม่
ละเมิดจารีตในหญิงที่อยู่ในปกครองของมารดา หญิงที่อยู่ในปกครองของบิดา
หญิงที่อยู่ในปกครองของมารดาและบิดา หญิงที่อยู่ในปกครองของพี่ชายน้องชาย
หญิงที่อยู่ในปกครองของพี่สาวน้องสาว หญิงที่อยู่ในปกครองของญาติ หญิงที่อยู่
ในปกครองของตระกูล หญิงที่มีธรรมคุ้มครอง หญิงที่มีสามี หญิงที่มีสินไหม
ติดตัวอยู่ โดยที่สุดแม้หญิงที่ชายคล้องพวงดอกไม้หมั้นไว้
สารีบุตร เมื่อบุคคลเสพกายสมาจารเช่นนี้ อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรม
เจริญขึ้น
เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวกายสมาจารไว้ ๒ ประการ คือ
๑. กายสมาจารที่ควรเสพ
๒. กายสมาจารที่ไม่ควรเสพ
กายสมาจารทั้ง ๒ ประการนั้นเป็นกายสมาจารที่ตรงข้ามกันและกัน’ นั่น
เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้
เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าววจีสมาจารไว้ ๒ ประการ ฯลฯ
เรากล่าวมโนสมาจารไว้ ๒ ประการ ฯลฯ
เรากล่าวจิตตุปบาทไว้ ๒ ประการ ฯลฯ
เรากล่าวการได้สัญญาไว้ ๒ ประการ ฯลฯ
เรากล่าวการได้ทิฏฐิไว้ ๒ ประการ ฯลฯ
เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการได้อัตภาพไว้ ๒ ประการ คือ
๑. การได้อัตภาพที่ควรเสพ
๒. การได้อัตภาพที่ไม่ควรเสพ
การได้อัตภาพทั้ง ๒ ประการนั้นเป็นการได้อัตภาพที่ตรงข้ามกันและกัน’
เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]
๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร

เมื่อบุคคลเสพการได้อัตภาพเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง
การได้อัตภาพเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อบุคคลเสพการได้อัตภาพเช่นใด อกุศลธรรม
เสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น การได้อัตภาพเช่นนี้ควรเสพ
เมื่อบุคคลเสพการได้อัตภาพเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรม
เสื่อมลง
คือ เมื่อบุคคลยังการได้อัตภาพที่มีความเบียดเบียนให้เกิดขึ้น เพราะการ
ได้อัตภาพที่มีความเบียดเบียนยังไม่สิ้นสุดลง อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรม
เสื่อมลง
เมื่อบุคคลเสพการได้อัตภาพเช่นใด อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรม
เจริญขึ้น
คือ เมื่อบุคคลยังการได้อัตภาพที่ไม่มีความเบียดเบียนให้เกิดขึ้น เพราะการ
ได้อัตภาพที่ไม่มีความเบียดเบียนสิ้นสุดลงแล้ว อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรม
เจริญขึ้น
เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการได้อัตภาพไว้ ๒ ประการ คือ
๑. การได้อัตภาพที่ควรเสพ
๒. การได้อัตภาพที่ไม่ควรเสพ
การได้อัตภาพทั้ง ๒ ประการนั้นเป็นการได้อัตภาพที่ตรงข้ามกันและกัน’ นั่น
เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้
สารีบุตร เธอพึงเห็นเนื้อความแห่งธรรมบรรยายที่เรากล่าวไว้โดยย่อ ไม่
ชี้แจงเนื้อความให้พิสดารนี้ โดยพิสดารอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]
๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร

อายตนะ ๑๒ ประการ

[๑๑๙] สารีบุตร เรากล่าวรูปที่พึงรู้แจ้งทางตาไว้ ๒ ประการ คือ
๑. รูปที่ควรเสพ
๒. รูปที่ไม่ควรเสพ
เรากล่าวเสียงที่พึงรู้แจ้งทางหูไว้ ๒ ประการ คือ
๑. เสียงที่ควรเสพ
๒. เสียงที่ไม่ควรเสพ
เรากล่าวกลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูกไว้ ๒ ประการ คือ
๑. กลิ่นที่ควรเสพ
๒. กลิ่นที่ไม่ควรเสพ
เรากล่าวรสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้นไว้ ๒ ประการ คือ
๑. รสที่ควรเสพ
๒. รสที่ไม่ควรเสพ
เรากล่าวโผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกายไว้ ๒ ประการ คือ
๑. โผฏฐัพพะที่ควรเสพ
๒. โผฏฐัพพะที่ไม่ควรเสพ
เรากล่าวธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจไว้ ๒ ประการ คือ
๑. ธรรมารมณ์ที่ควรเสพ
๒. ธรรมารมณ์ที่ไม่ควรเสพ”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]
๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทราบเนื้อความแห่งธรรมบรรยายนี้ที่
พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยย่อ ไม่ทรงชี้แจงเนื้อความไว้โดยพิสดาร โดยพิสดาร
อย่างนี้ว่า ‘พระผู้มีพระภาคตรัสพระดำรัสนี้ไว้ว่า ‘สารีบุตร เรากล่าวรูปที่พึงรู้แจ้ง
ทางตาไว้ ๒ ประการ คือ
๑. รูปที่ควรเสพ
๒. รูปที่ไม่ควรเสพ’
เพราะทรงอาศัยเหตุอะไร พระผู้มีพระภาคจึงตรัสไว้เช่นนั้น
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพรูปที่พึงรู้แจ้งทางตาเช่นใด อกุศลธรรม
เจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อบุคคล
เสพรูปที่พึงรู้แจ้งทางตาเช่นใด อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น รูปที่พึงรู้
แจ้งทางตาเช่นนี้ควรเสพ
พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘สารีบุตร เรากล่าวรูปที่พึงรู้แจ้งทางตาไว้
๒ ประการ คือ
๑. รูปที่ควรเสพ
๒. รูปที่ไม่ควรเสพ’
นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ ข้าพระองค์จึงกล่าวไว้
พระผู้มีพระภาคตรัสพระดำรัสนี้ไว้ว่า ‘สารีบุตร เรากล่าวเสียงที่พึงรู้แจ้ง
ทางหู ฯลฯ
เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหูเช่นนี้ไม่ควรเสพ ฯลฯ เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหูเช่นนี้
ควรเสพ ฯลฯ
กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูกเช่นนี้ไม่ควรเสพ ฯลฯ กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูกเช่นนี้
ควรเสพ ฯลฯ
รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้นเช่นนี้ไม่ควรเสพ ฯลฯ รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้นเช่นนี้
ควรเสพ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]
๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร

โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกายเช่นนี้ไม่ควรเสพ ฯลฯ โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้ง
ทางกายเช่นนี้ควรเสพ ฯลฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสพระดำรัสนี้ไว้ว่า ‘สารีบุตร เรากล่าวธรรมารมณ์ที่พึงรู้
แจ้งทางใจไว้ ๒ ประการ คือ
๑. ธรรมารมณ์ที่ควรเสพ
๒. ธรรมารมณ์ที่ไม่ควรเสพ’
เพราะทรงอาศัยเหตุอะไร พระผู้มีพระภาคจึงตรัสไว้เช่นนั้น
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจเช่นใด
อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจเช่นนี้ไม่ควรเสพ
และเมื่อบุคคลเสพธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจเช่นใด อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศล
ธรรมเจริญขึ้น ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจเช่นนี้ควรเสพ
พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘สารีบุตร เรากล่าวธรรมารมณ์ที่พึงรู้
แจ้งทางใจไว้ ๒ ประการคือ
๑. ธรรมารมณ์ที่ควรเสพ
๒. ธรรมารมณ์ที่ไม่ควรเสพ’
นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ พระองค์จึงตรัสไว้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทราบเนื้อความแห่งธรรมบรรยายนี้ที่พระผู้
มีพระภาคตรัสไว้โดยย่อ ไม่ทรงชี้แจงเนื้อความให้พิสดาร โดยพิสดารอย่างนี้”
[๑๒๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ สารีบุตร เธอรู้เนื้อความแห่ง
ธรรมบรรยายที่เรากล่าวไว้โดยย่อ ไม่ชี้แจงเนื้อความให้พิสดารนี้ โดยพิสดาร
อย่างนี้ว่า ‘เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้ว่า ‘สารีบุตร เรากล่าวรูปที่พึงรู้แจ้งทางตาไว้
๒ ประการ คือ
๑. รูปที่ควรเสพ
๒. รูปที่ไม่ควรเสพ’
เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]
๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร

สารีบุตร เมื่อบุคคลเสพรูปที่พึงรู้แจ้งทางตาเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น
กุศลธรรมเสื่อมลง รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อบุคคลเสพรูปที่
พึงรู้แจ้งทางตาเช่นใด อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น รูปที่พึงรู้แจ้ง
ทางตาเช่นนี้ควรเสพ
เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘สารีบุตร เรากล่าวรูปที่พึงรู้แจ้งทางตาไว้ ๒ ประการ คือ
๑. รูปที่ควรเสพ
๒. รูปที่ไม่ควรเสพ’
นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้
ฯลฯ เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหูเช่นนี้ไม่ควรเสพ ฯลฯ เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหูเช่นนี้
ควรเสพ ฯลฯ
... กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูกเช่นนี้ไม่ควรเสพ ฯลฯ กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก
เช่นนี้ควรเสพ ฯลฯ
... รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้นเช่นนี้ไม่ควรเสพ ฯลฯ รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้นเช่นนี้ควร
เสพ ฯลฯ
... โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกายเช่นนี้ไม่ควรเสพ ฯลฯ โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้ง
ทางกายเช่นนี้ควรเสพ ฯลฯ
เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘สารีบุตร เรากล่าวธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจไว้ ๒
ประการ คือ
๑. ธรรมารมณ์ที่ควรเสพ
๒. ธรรมารมณ์ที่ไม่ควรเสพ’
เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
สารีบุตร เมื่อบุคคลเสพธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น
กุศลธรรมเสื่อมลง
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อบุคคลเสพธรรมารมณ์
ที่พึงรู้แจ้งทางใจเช่นใด อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น ธรรมารมณ์ที่พึงรู้
แจ้งทางใจเช่นนี้ควรเสพ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]
๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร

เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘สารีบุตร เรากล่าวธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจไว้ ๒
ประการ คือ
๑. ธรรมารมณ์ที่ควรเสพ
๒. ธรรมารมณ์ที่ไม่ควรเสพ’
นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้
สารีบุตร เธอพึงเห็นเนื้อความแห่งธรรมบรรยายที่เรากล่าวไว้โดยย่อนี้ โดย
พิสดารอย่างนี้
[๑๒๑] สารีบุตร เรากล่าวจีวรไว้ ๒ ชนิด คือ
๑. จีวรที่ควรเสพ
๒. จีวรที่ไม่ควรเสพ ฯลฯ
เรากล่าวบิณฑบาตไว้ ๒ ชนิด คือ
๑. บิณฑบาตที่ควรเสพ
๒. บิณฑบาตที่ไม่ควรเสพ ฯลฯ
เรากล่าวเสนาสนะไว้ ๒ ชนิด คือ
๑. เสนาสนะที่ควรเสพ
๒. เสนาสนะที่ไม่ควรเสพ ฯลฯ
เรากล่าวหมู่บ้านไว้ ๒ ชนิด คือ
๑. หมู่บ้านที่ควรเสพ
๒. หมู่บ้านที่ไม่ควรเสพ ฯลฯ
เรากล่าวนิคมไว้ ๒ ชนิด คือ
๑. นิคมที่ควรเสพ
๒. นิคมที่ไม่ควรเสพ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]
๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร

เรากล่าวนครไว้ ๒ ชนิด คือ
๑. นครที่ควรเสพ
๒. นครที่ไม่ควรเสพ ฯลฯ
เรากล่าวชนบทไว้ ๒ ชนิด คือ
๑. ชนบทที่ควรเสพ
๒. ชนบทที่ไม่ควรเสพ ฯลฯ
เรากล่าวบุคคลไว้ ๒ จำพวก คือ
๑. บุคคลที่ควรเสพ
๒. บุคคลที่ไม่ควรเสพ ฯลฯ”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทราบเนื้อความแห่งธรรมบรรยายนี้
ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยย่อ ไม่ทรงชี้แจงเนื้อความให้พิสดาร โดยพิสดารอย่างนี้
พระผู้มีพระภาคตรัสพระดำรัสนี้ไว้ว่า ‘สารีบุตร เรากล่าวจีวรไว้ ๒ ชนิด คือ
๑. จีวรที่ควรเสพ
๒. จีวรที่ไม่ควรเสพ’
เพราะทรงอาศัยเหตุอะไร พระผู้มีพระภาคจึงตรัสไว้เช่นนั้น
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อภิกษุเสพจีวรเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น
กุศลธรรมเสื่อมลง จีวรเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อภิกษุเสพจีวรเช่นใด อกุศลธรรม
เสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น จีวรเช่นนี้ควรเสพ
พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘สารีบุตร เรากล่าวจีวรไว้ ๒ ชนิด คือ
๑. จีวรที่ควรเสพ
๒. จีวรที่ไม่ควรเสพ’
นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ พระองค์จึงตรัสไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]
๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร

ฯลฯ บิณฑบาตเช่นนี้ไม่ควรเสพ ฯลฯ บิณฑบาตเช่นนี้ควรเสพ ฯลฯ
... เสนาสนะเช่นนี้ไม่ควรเสพ ฯลฯ เสนาสนะเช่นนี้ควรเสพ ฯลฯ
... หมู่บ้านเช่นนี้ไม่ควรเสพ ฯลฯ หมู่บ้านเช่นนี้ควรเสพ ฯลฯ
... นิคมเช่นนี้ไม่ควรเสพ ฯลฯ นิคมเช่นนี้ควรเสพ ฯลฯ
... นครเช่นนี้ไม่ควรเสพ ฯลฯ นครเช่นนี้ควรเสพ ฯลฯ
... ชนบทเช่นนี้ไม่ควรเสพ ฯลฯ ชนบทเช่นนี้ควรเสพ ฯลฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสพระดำรัสนี้ไว้ว่า ‘สารีบุตร เรากล่าวบุคคลไว้ ๒ จำพวก
คือ
๑. บุคคลที่ควรเสพ
๒. บุคคลที่ไม่ควรเสพ’
นั่น เพราะทรงอาศัยเหตุอะไร พระผู้มีพระภาคจึงตรัสไว้เช่นนั้น
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพบุคคลเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น
กุศลธรรมเสื่อมลง บุคคลเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพบุคคลเช่นใด อกุศลธรรม
เสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น บุคคลเช่นนี้ควรเสพ
พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘สารีบุตร เรากล่าวบุคคลไว้ ๒ จำพวก
คือ
๑. บุคคลที่ควรเสพ
๒. บุคคลที่ไม่ควรเสพ’
นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ พระองค์จึงตรัสไว้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทราบเนื้อความแห่งธรรมบรรยายนี้ที่พระผู้มี
พระภาคตรัสไว้โดยย่อ ไม่ทรงชี้แจงเนื้อความให้พิสดาร โดยพิสดารอย่างนี้
[๑๒๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ สารีบุตร เธอทราบเนื้อความ
แห่งธรรมบรรยายที่เรากล่าวโดยย่อ ไม่ชี้แจงเนื้อความให้พิสดารนี้ โดยพิสดาร
อย่างนี้ ถูกต้องแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]
๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร

เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘สารีบุตร เรากล่าวจีวรไว้ ๒ ชนิด คือ
๑. จีวรที่ควรเสพ
๒. จีวรที่ไม่ควรเสพ’
เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
สารีบุตร เมื่อภิกษุเสพจีวรเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง
จีวรเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อภิกษุเสพจีวรเช่นใด อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรม
เจริญขึ้น จีวรเช่นนี้ควรเสพ
เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘สารีบุตร เรากล่าวจีวรไว้ ๒ ชนิด คือ
๑. จีวรที่ควรเสพ
๒. จีวรที่ไม่ควรเสพ’
นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้
... บิณฑบาตเช่นนี้ไม่ควรเสพ ฯลฯ บิณฑบาตเช่นนี้ควรเสพ ฯลฯ
... เสนาสนะเช่นนี้ไม่ควรเสพ ฯลฯ เสนาสนะเช่นนี้ควรเสพ ฯลฯ
... หมู่บ้านเช่นนี้ไม่ควรเสพ ฯลฯ หมู่บ้านเช่นนี้ควรเสพ ฯลฯ
... นิคมเช่นนี้ไม่ควรเสพ ฯลฯ นิคมเช่นนี้ควรเสพ ฯลฯ
... ชนบทเช่นนี้ไม่ควรเสพ ฯลฯ ชนบทเช่นนี้ควรเสพ ฯลฯ
เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘สารีบุตร เรากล่าวบุคคลไว้ ๒ จำพวก คือ
๑. บุคคลที่ควรเสพ
๒. บุคคลที่ไม่ควรเสพ’
เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
สารีบุตร เมื่อบุคคลเสพบุคคลเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง
บุคคลเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อบุคคลเสพบุคคลเช่นใด อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศล
ธรรมเจริญขึ้น บุคคลเช่นนี้ควรเสพ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]
๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร

เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘สารีบุตร เรากล่าวบุคคลไว้ ๒ จำพวก คือ
๑. บุคคลที่ควรเสพ
๒. บุคคลที่ไม่ควรเสพ’
นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้
สารีบุตร เธอพึงเห็นเนื้อความแห่งธรรมบรรยายที่เรากล่าวแล้วโดยย่อนี้
โดยพิสดารอย่างนี้
[๑๒๓] สารีบุตร แม้ถ้ากษัตริย์ทั้งปวงพึงรู้ทั่วถึงอรรถแห่งธรรมบรรยาย ที่
เรากล่าวโดยย่อนี้ ได้โดยพิสดารอย่างนี้ ความรู้นั่นพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อความสุขแก่กษัตริย์แม้ทั้งปวงตลอดกาลนาน
แม้ถ้าพราหมณ์ทั้งปวง ...
แม้ถ้าแพศย์ทั้งปวง ...
แม้ถ้าศูทรทั้งปวงพึงรู้ทั่วถึงอรรถแห่งธรรมบรรยายที่เรากล่าวโดยย่อนี้ได้โดย
พิสดารอย่างนี้ ความรู้นั่นพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ศูทร
ทั้งปวงตลอดกาลนาน
สารีบุตร แม้ถ้าโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้ง
สมณพราหมณ์ตลอดทั้งเทวดาและมนุษย์ พึงรู้ทั่วถึงอรรถแห่งธรรมบรรยายที่เรา
กล่าวโดยย่อนี้ ได้โดยพิสดารอย่างนี้ ความรู้นั่นพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อความสุขแก่โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้ง
สมณพราหมณ์ตลอดทั้งเทวดาและมนุษย์ตลอดกาลนาน”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรมีใจยินดีชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตรที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๕. พหุธาตุกสูตร

๕. พหุธาตุกสูตร
ว่าด้วยธาตุมากอย่าง

[๑๒๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียก
ภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ภัย๑ทั้งปวงที่เกิดขึ้น ล้วนเกิดจากคนพาล มิใช่เกิดจาก
บัณฑิต อุปัททวะ๒ทั้งปวงที่เกิดขึ้น ล้วนเกิดจากคนพาล มิใช่เกิดจากบัณฑิต
อุปสรรค๓ทั้งปวงที่เกิดขึ้น ล้วนเกิดจากคนพาล มิใช่เกิดจากบัณฑิต
ภัยทั้งปวงที่เกิดขึ้น ล้วนเกิดจากคนพาล มิใช่เกิดจากบัณฑิต อุปัททวะ
ทั้งปวงที่เกิดขึ้น ล้วนเกิดจากคนพาล มิใช่เกิดจากบัณฑิต อุปสรรคทั้งปวงที่เกิดขึ้น
ล้วนเกิดจากคนพาล มิใช่เกิดจากบัณฑิต เปรียบเหมือนไฟที่ลุกลามจากเรือนไม้อ้อ
หรือเรือนหญ้า ไหม้แม้เรือนยอดที่เขาโบกทั้งภายในและภายนอก ลมพัดเข้าไม่ได้
มีบานประตูปิดมิดชิด หน้าต่างปิดสนิท ฉะนั้น
คนพาลมีภัย บัณฑิตไม่มีภัย คนพาลมีอุปัททวะ บัณฑิตไม่มีอุปัททวะ
คนพาลมีอุปสรรค บัณฑิตไม่มีอุปสรรค ภัยไม่มีจากบัณฑิต อุปัททวะไม่มีจาก
บัณฑิต อุปสรรคไม่มีจากบัณฑิต๔


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๕. พหุธาตุกสูตร

เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลายจักเป็น
บัณฑิต”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอ จึงควรเรียกว่า
‘ภิกษุผู้เป็นบัณฑิต มีปัญญาเครื่องไตร่ตรอง”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เพราะภิกษุเป็นผู้ฉลาดในธาตุ ฉลาดใน
อายตนะ ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท และฉลาดในฐานะและอฐานะ อานนท์ ด้วย
เหตุมีประมาณเท่านี้แล จึงควรเรียกว่า ‘ภิกษุผู้เป็นบัณฑิต มีปัญญาเครื่องไตร่ตรอง”

ผู้ฉลาดในธาตุ

[๑๒๕] ท่านพระอานนท์ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร จึงควรเรียกว่า ‘ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ ธาตุ ๑๘ ประการนี้ คือ
๑. จักขุธาตุ (ธาตุคือจักขุประสาท)
๒. รูปธาตุ (ธาตุคือรูปารมณ์)
๓. จักขุวิญญาณธาตุ (ธาตุคือจักขุวิญญาณ)
๔. โสตธาตุ (ธาตุคือโสตประสาท)
๕. สัททธาตุ (ธาตุคือสัททารมณ์)
๖. โสตวิญญาณธาตุ (ธาตุคือโสตวิญญาณ)
๗. ฆานธาตุ (ธาตุคือฆานประสาท)
๘. คันธธาตุ (ธาตุคือคันธารมณ์)
๙. ฆานวิญญาณธาตุ (ธาตุคือฆานวิญญาณ)
๑๐. ชิวหาธาตุ (ธาตุคือชิวหาประสาท)
๑๑. รสธาตุ (ธาตุคือรสารมณ์)
๑๒. ชิวหาวิญญาณธาตุ (ธาตุคือชิวหาวิญญาณ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๕. พหุธาตุกสูตร

๑๓. กายธาตุ (ธาตุคือกายประสาท)
๑๔. โผฏฐัพพธาตุ (ธาตุคือโผฏฐัพพารมณ์)
๑๕. กายวิญญาณธาตุ (ธาตุคือกายวิญญาณ)
๑๖. มโนธาตุ (ธาตุคือมโน)
๑๗. ธัมมธาตุ (ธาตุคือธรรมารมณ์)
๑๘. มโนวิญญาณธาตุ (ธาตุคือมโนวิญญาณ)
อานนท์ เพราะเหตุที่ภิกษุรู้เห็นธาตุ ๑๘ ประการนี้แล จึงควรเรียกว่า
‘ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ” (๑)
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีบรรยายอื่นอีกไหม ที่ควรเรียกว่า ‘ภิกษุผู้ฉลาด
ในธาตุ”
“อานนท์ มีธาตุ ๖ ประการนี้ คือ

๑. ปฐวีธาตุ ๒. อาโปธาตุ
๓. เตโชธาตุ ๔. วาโยธาตุ
๕. อากาสธาตุ ๖. วิญญาณธาตุ

อานนท์ เพราะเหตุที่ภิกษุรู้เห็นธาตุ ๖ ประการนี้แล จึงควรเรียกว่า
‘ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ” (๒)
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีบรรยายอื่นอีกไหม ที่ควรเรียกว่า ‘ภิกษุผู้ฉลาด
ในธาตุ”
“อานนท์ มีธาตุ ๖ ประการนี้ คือ
๑. สุขธาตุ (ธาตุคือสุข)
๒. ทุกขธาตุ (ธาตุคือทุกข์)
๓. โสมนัสสธาตุ (ธาตุคือโสมนัส)
๔. โทมนัสสธาตุ (ธาตุคือโทมนัส)
๕. อุเปกขาธาตุ (ธาตุคืออุเบกขา)
๖. อวิชชาธาตุ (ธาตุคืออวิชชา)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๕. พหุธาตุกสูตร

อานนท์ เพราะเหตุที่ภิกษุรู้เห็นธาตุ ๖ ประการนี้แล จึงควรเรียกว่า
‘ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ” (๓)
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีบรรยายอื่นอีกไหม ที่ควรเรียกว่า ‘ภิกษุ
ผู้ฉลาดในธาตุ”
“อานนท์ มีธาตุ ๖ ประการ คือ
๑. กามธาตุ (ธาตุคือกาม)
๒. เนกขัมมธาตุ (ธาตุคือเนกขัมมะ)
๓. พยาบาทธาตุ (ธาตุคือพยาบาท)
๔. อพยาบาทธาตุ (ธาตุคืออพยาบาท)
๕. วิหิงสาธาตุ (ธาตุคือวิหิงสา)
๖. อวิหิงสาธาตุ (ธาตุคืออวิหิงสา)
อานนท์ เพราะเหตุที่ภิกษุรู้เห็นธาตุ ๖ ประการนี้แล จึงควรเรียกว่า
‘ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ” (๔)
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีบรรยายอื่นอีกไหม ที่ควรเรียกว่า ‘ภิกษุ
ผู้ฉลาดในธาตุ”
“อานนท์ มีธาตุ ๓ ประการนี้ คือ
๑. กามธาตุ (ธาตุคือกามารมณ์)
๒. รูปธาตุ (ธาตุคือรูปารมณ์)
๓. อรูปธาตุ (ธาตุคืออรูปารมณ์)
อานนท์ เพราะเหตุที่ภิกษุรู้เห็นธาตุ ๓ ประการนี้แล จึงควรเรียกว่า
‘ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ” (๕)
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีบรรยายอื่นอีกไหม ที่ควรเรียกว่า ‘ภิกษุผู้ฉลาด
ในธาตุ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๕. พหุธาตุกสูตร

“อานนท์ มีธาตุ ๒ ประการนี้ คือ
๑. สังขตธาตุ (ธาตุคือสังขตธรรม)
๒. อสังขตธาตุ (ธาตุคืออสังขตธรรม)
อานนท์ เพราะเหตุที่ภิกษุรู้เห็นธาตุ ๒ ประการนี้แล จึงควรเรียกว่า
‘ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ” (๖)

ผู้ฉลาดในอายตนะ

[๑๒๖] “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร จึงควรเรียกว่า
‘ภิกษุผู้ฉลาดในอายตนะ”
“อานนท์ อายตนะภายในและภายนอก อย่างละ ๖ ประการนี้ คือ

๑. จักขุ(ตา)คู่กับรูป ๒. โสตะ(หู)คู่กับสัททะ(เสียง)
๓. ฆานะ(จมูก)คู่กับคันธะ(กลิ่น) ๔. ชิวหา(ลิ้น)คู่กับรส
๕. กายคู่กับโผฏฐัพพะ ๖. มโน(ใจ)คู่กับธรรมารมณ์

อานนท์ เพราะเหตุที่ภิกษุรู้เห็นอายตนะภายในและภายนอก อย่างละ
๖ ประการนี้แล จึงควรเรียกว่า ‘ภิกษุผู้ฉลาดในอายตนะ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร จึงควรเรียกว่า ‘ภิกษุผู้
ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท”
“อานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้อย่างนี้ว่า ‘เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะ
สิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ คือ
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๕. พหุธาตุกสูตร

เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ
อุปายาสจึงมี
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
แต่เพราะอวิชชาดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ สังขารจึงดับ
เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ
เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ
เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงดับ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้‘๑
อานนท์ ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล จึงควรเรียกว่า ‘ภิกษุผู้ฉลาดในปฏิจจ
สมุปบาท”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๕. พหุธาตุกสูตร

ผู้ฉลาดในฐานะและอฐานะ

[๑๒๗] “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร จึงควรเรียกว่า
‘ภิกษุผู้ฉลาดในฐานะและอฐานะ”
“อานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ รู้ชัดว่า ‘เป็นไปไม่ได้๑ที่บุคคลผู้ถึงพร้อม
ด้วยทิฏฐิ๒พึงยึดถือสังขารไร ๆ โดยความเป็นสภาวะเที่ยง แต่เป็นไปได้๓ ที่ปุถุชน๔
พึงยึดถือสังขารไร ๆ โดยความเป็นสภาวะเที่ยง’
รู้ชัดว่า ‘เป็นไปไม่ได้ที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิพึงยึดถือสังขารไร ๆ โดย
ความเป็นสุข แต่เป็นไปได้ที่ปุถุชนพึงยึดถือสังขารไร ๆ โดยความเป็นสุข’
รู้ชัดว่า ‘เป็นไปไม่ได้ที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิพึงยึดถือธรรมไร ๆ โดย
ความเป็นอัตตา แต่เป็นไปได้ที่ปุถุชนพึงยึดถือธรรมไร ๆ โดยความเป็นอัตตา’
[๑๒๘] รู้ชัดว่า ‘เป็นไปไม่ได้ที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิพึงฆ่ามารดา แต่
เป็นไปได้ที่ปุถุชนพึงฆ่ามารดา’
รู้ชัดว่า ‘เป็นไปไม่ได้ที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิพึงฆ่าบิดา แต่เป็นไปได้ที่
ปุถุชนพึงฆ่าบิดา’
รู้ชัดว่า ‘เป็นไปไม่ได้ที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิพึงฆ่าพระอรหันต์ แต่เป็น
ไปได้ที่ปุถุชนพึงฆ่าพระอรหันต์’
รู้ชัดว่า ‘เป็นไปไม่ได้ที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิพึงมีจิตคิดประทุษร้าย ทำ
ร้ายตถาคตให้ห้อเลือด แต่เป็นไปได้ที่ปุถุชนพึงมีจิตประทุษร้าย ทำร้ายตถาคตให้
ห้อเลือด’


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๕. พหุธาตุกสูตร

รู้ชัดว่า ‘เป็นไปไม่ได้ที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิพึงทำลายสงฆ์ แต่เป็นไปได้
ที่ปุถุชนพึงทำลายสงฆ์’
รู้ชัดว่า ‘เป็นไปไม่ได้ที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิพึงนับถือศาสดาอื่น แต่เป็น
ไปได้ที่ปุถุชนพึงนับถือศาสดาอื่น’
[๑๒๙] รู้ชัดว่า ‘เป็นไปไม่ได้ที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒ พระองค์พึง
เสด็จอุบัติพร้อมกันในโลกธาตุเดียวกัน๑ แต่เป็นไปได้ที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระองค์เดียว พึงเสด็จอุบัติในโลกธาตุเดียว’
รู้ชัดว่า ‘เป็นไปไม่ได้ที่พระเจ้าจักรพรรดิ ๒ พระองค์พึงเสด็จอุบัติพร้อมกัน
ในโลกธาตุเดียวกัน แต่เป็นไปได้ที่พระเจ้าจักรพรรดิพระองค์เดียวพึงเสด็จอุบัติใน
โลกธาตุเดียว‘๒
[๑๓๐] รู้ชัดว่า ‘เป็นไปไม่ได้ที่สตรีพึงเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่
เป็นไปได้ที่บุรุษพึงเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า’
รู้ชัดว่า ‘เป็นไปไม่ได้ที่สตรีพึงเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ แต่เป็นไปได้ที่บุรุษพึง
เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ’
รู้ชัดว่า ‘เป็นไปไม่ได้ที่สตรีพึงครองความเป็นท้าวสักกะ ฯลฯ เป็นมาร ฯลฯ
เป็นพรหม แต่เป็นไปได้ที่บุรุษพึงครองความเป็นท้าวสักกะ ฯลฯ เป็นมาร ฯลฯ
เป็นพรหม’
[๑๓๑] รู้ชัดว่า ‘เป็นไปไม่ได้ที่กายทุจริตจะพึงเกิดผลที่น่าปรารถนา น่าใคร่
น่าพอใจ แต่เป็นไปได้ที่กายทุจริตจะพึงเกิดผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่า
พอใจ’
รู้ชัดว่า ‘เป็นไปไม่ได้ที่วจีทุจริต ฯลฯ เป็นไปไม่ได้ที่มโนทุจริตจะพึงเกิดผล
ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ แต่เป็นไปได้ที่วจีทุจริต ฯลฯ แต่เป็นไปได้ที่
มโนทุจริตจะพึงเกิดผล ที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ’


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๕. พหุธาตุกสูตร

รู้ชัดว่า ‘เป็นไปไม่ได้ที่กายสุจริตจะพึงเกิดผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่
ไม่น่าพอใจ แต่เป็นไปได้ที่กายสุจริตจะพึงเกิดผลที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ’
รู้ชัดว่า ‘เป็นไปไม่ได้ที่วจีสุจริต ฯลฯ เป็นไปไม่ได้ที่มโนสุจริตจะพึงเกิดผลที่
ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ แต่เป็นไปได้ที่วจีสุจริต ฯลฯ แต่เป็น
ไปได้ที่มโนสุจริต จะพึงเกิดผลที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ’
รู้ชัดว่า ‘เป็นไปไม่ได้ที่บุคคลผู้เพียบพร้อม๑ด้วยกายทุจริต หลังจาก
ตายแล้ว จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เพราะความเพียบพร้อมด้วยกายทุจริตเป็น
เหตุเป็นปัจจัย แต่เป็นไปได้ที่บุคคลผู้เพียบพร้อมด้วยกายทุจริต หลังจากตายแล้ว
จะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะความเพียบพร้อมด้วยกายทุจริต
เป็นเหตุเป็นปัจจัย’
รู้ชัดว่า ‘เป็นไปไม่ได้ที่บุคคลผู้เพียบพร้อมด้วยวจีทุจริต หลังจากตายแล้ว
จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เพราะความเพียบพร้อมด้วยวจีทุจริตเป็นเหตุเป็นปัจจัย
แต่เป็นไปได้ที่บุคคลผู้เพียบพร้อมด้วยวจีทุจริต ฯลฯ แต่เป็นไปได้ที่บุคคลผู้เพียบ
พร้อมด้วยมโนทุจริต หลังจากตายแล้ว จะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
เพราะความเพียบพร้อมด้วยมโนทุจริตเป็นเหตุเป็นปัจจัย’
รู้ชัดว่า ‘เป็นไปไม่ได้ที่บุคคลผู้เพียบพร้อมด้วยกายสุจริต หลังจากตายแล้ว
จะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะความเพียบพร้อมด้วยกายสุจริต
เป็นเหตุเป็นปัจจัย แต่เป็นไปได้ที่บุคคลผู้เพียบพร้อมด้วยกายสุจริต หลังจากตาย
แล้ว จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เพราะความเพียบพร้อมด้วยกายสุจริตเป็นเหตุ
เป็นปัจจัย’


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๕. พหุธาตุกสูตร

รู้ชัดว่า ‘เป็นไปไม่ได้ที่บุคคลผู้เพียบพร้อมด้วยวจีสุจริต ฯลฯ เป็นไปไม่ได้
ที่บุคคลผู้เพียบพร้อมด้วยมโนสุจริต หลังจากตายแล้ว จะไปเกิดในอบาย
ทุคติ วินิบาต นรก เพราะความเพียบพร้อมด้วยมโนสุจริตนั้นเป็นเหตุเป็นปัจจัย
แต่เป็นไปได้ที่บุคคลผู้เพียบพร้อมด้วยวจีสุจริต ฯลฯ แต่เป็นไปได้ที่บุคคลผู้
เพียบพร้อมด้วยมโนสุจริต หลังจากตายแล้ว จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เพราะ
ความเพียบพร้อมด้วยมโนสุจริตเป็นเหตุเป็นปัจจัย’๑
อานนท์ ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล จึงควรเรียกว่า ‘ภิกษุผู้ฉลาดในฐานะ
และอฐานะ’
[๑๓๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า “น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ธรรมบรรยายนี้ชื่ออะไร
พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เพราะเหตุนั้นแล เธอจงจำธรรมบรรยายนี้ไว้ว่าชื่อ
พหุธาตุกะ๒บ้าง ชื่อจตุปริวัฏฏะ๓บ้าง ชื่อธัมมาทาสะ๔บ้าง ชื่ออมตทุนทุภี๕บ้าง ชื่อ
อนุตตรสังคามวิชยะ๖บ้าง”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๖. อิสิคิลิสูตร

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์มีใจยินดีชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

พหุธาตุกสูตรที่ ๕ จบ

๖. อิสิคิลิสูตร
ว่าด้วยภูเขาอิสิคิลิ

[๑๓๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ที่ภูเขาอิสิคิลิ เขตกรุงราชคฤห์ ณ
ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเห็นภูเขาเวภาระ
นั่นไหม”
ภิกษุเหล่านั้นทูลตอบว่า “เห็น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภูเขาเวภาระนั่น มีชื่อเป็นอย่างหนึ่ง มีบัญญัติเป็นอย่างหนึ่ง
เธอทั้งหลายเห็นภูเขาปัณฑวะนั่นไหม”
“เห็น พระพุทธเจ้าข้า”
“แม้ภูเขาปัณฑวะนั่น มีชื่อเป็นอย่างหนึ่ง มีบัญญัติเป็นอย่างหนึ่ง
เธอทั้งหลายเห็นภูเขาเวปุลละนั่นไหม”
“เห็น พระพุทธเจ้าข้า”
“แม้ภูเขาเวปุลละนั่น มีชื่อเป็นอย่างหนึ่ง มีบัญญัติเป็นอย่างหนึ่ง
เธอทั้งหลายเห็นภูเขาคิชฌกูฏนั่นไหม”
“เห็น พระพุทธเจ้าข้า”
“แม้ภูเขาคิชฌกูฏนั่น มีชื่อเป็นอย่างหนึ่ง มีบัญญัติเป็นอย่างหนึ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๖. อิสิคิลิสูตร

เธอทั้งหลายเห็นภูเขาอิสิคิลินี้ไหม”
“เห็น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย แต่ภูเขาอิสิคิลินี้นั่น มีชื่อเช่นนี้ มีบัญญัติเช่นนี้
เรื่องเคยมีมาแล้ว พระปัจเจกพุทธเจ้า ๕๐๐ องค์ ได้อาศัยอยู่ที่ภูเขาอิสิคิลิ
นี้มานาน พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นกำลังเข้าไปสู่ภูเขานี้ ประชาชนเห็น แต่
พอท่านเข้าไปแล้ว ประชาชนไม่เห็น ประชาชนทั้งหลายเห็นเหตุดังกล่าวนั้น จึง
พูดกันอย่างนี้ว่า ‘ภูเขานี้กลืนกินฤาษีเหล่านี้’ ภูเขานี้จึงปรากฏชื่อว่า อิสิคิลิ อิสิคิลิ
ดังนี้
ภิกษุทั้งหลาย เราจักบอก ระบุ แสดงชื่อของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงตั้งใจฟังชื่อของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายนั้น จงใส่ใจให้ดี เรา
จักกล่าว”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
[๑๓๔] “ภิกษุทั้งหลาย พระอริฏฐปัจเจกสัมพุทธเจ้า ได้อาศัยอยู่ที่ภูเขา
อิสิคิลินี้มานานแล้ว พระอุปริฏฐปัจเจกสัมพุทธเจ้า ได้อาศัยอยู่ที่ภูเขาอิสิคิลินี้มา
นานแล้ว พระตครสิขีปัจเจกสัมพุทธเจ้า ได้อาศัยอยู่ที่ภูเขาอิสิคิลินี้มานานแล้ว
พระยสัสสีปัจเจกสัมพุทธเจ้า ได้อาศัยอยู่ที่ภูเขาอิสิคิลินี้มานานแล้ว พระสุทัสสน
ปัจเจกสัมพุทธเจ้า ได้อาศัยอยู่ที่ภูเขาอิสิคิลินี้มานานแล้ว พระปิยทัสสีปัจเจก
สัมพุทธเจ้า ได้อาศัยอยู่ที่ภูเขาอิสิคิลินี้มานานแล้ว พระคันธารปัจเจกสัมพุทธเจ้า
ได้อาศัยอยู่ที่ภูเขาอิสิคิลินี้มานานแล้ว พระปิณโฑลปัจเจกสัมพุทธเจ้า ได้อาศัยอยู่
ที่ภูเขาอิสิคิลินี้มานานแล้ว พระอุปาสภปัจเจกสัมพุทธเจ้า ได้อาศัยอยู่ที่ภูเขา
อิสิคิลินี้มานานแล้ว พระนิถปัจเจกสัมพุทธเจ้า ได้อาศัยอยู่ที่ภูเขาอิสิคิลินี้มานาน
แล้ว พระตถปัจเจกสัมพุทธเจ้า ได้อาศัยอยู่ที่ภูเขาอิสิคิลินี้มานานแล้ว พระสุตวา
ปัจเจกสัมพุทธเจ้า ได้อาศัยอยู่ที่ภูเขาอิสิคิลินี้มานานแล้ว พระภาวิตัตตปัจเจก
สัมพุทธเจ้า ได้อาศัยอยู่ที่ภูเขาอิสิคิลินี้มานานแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๖. อิสิคิลิสูตร

[๑๓๕] เธอทั้งหลายจงตั้งใจฟังเราผู้ประกาศชื่อ
ของพระปัจเจกพุทธเจ้า ที่มีธรรมเป็นสาระกว่าสรรพสัตว์
ไม่มีความทุกข์ ไม่มีความอยากได้
บรรลุพระสัมโพธิญาณเฉพาะตน
ผู้ปราศจากลูกศรคือตัณหา สูงกว่านรชน ดังต่อไปนี้
พระปัจเจกพุทธเจ้าผู้สิ้นตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพ
คือ อริฏฐพุทธะ ๑ อุปริฏฐพุทธะ ๑ ตครสิขีพุทธะ ๑
ยสัสสีพุทธะ ๑ สุทัสสนพุทธะ ๑ ปิยทัสสีพุทธะ ๑
คันธารพุทธะ ๑ ปิณโฑลพุทธะ ๑ อุปาสภพุทธะ ๑
นิถพุทธะ ๑ ตถพุทธะ ๑
สุตวาพุทธะ ๑ ภาวิตัตตพุทธะ ๑
สุมภพุทธะ ๑ สุภพุทธะ ๑ เมถุลพุทธะ ๑
อัฏฐมพุทธะ ๑ อัสสุเมฆพุทธะ ๑ อนิฆพุทธะ ๑
สุทาฐพุทธะ ๑ พระปัจเจกพุทธเจ้าผู้มีอานุภาพมาก
คือ หิงคูพุทธะ ๑ หิงคพุทธะ ๑
พระมุนีชื่อชาลีมี ๒ องค์ และพระอัฏฐกพุทธะ ๑
โกสัลลพุทธะ ๑ อถพุทธะ ๑ สุพาหุพุทธะ ๑
อุปเนมิสพุทธะ ๑ เนมิสพุทธะ ๑ สันตจิตตพุทธะ ๑
สัจจพุทธะ ๑ ตถพุทธะ ๑ วิรชพุทธะ ๑
ปัณฑิตพุทธะ ๑ กาฬพุทธะ ๑ อุปกาฬพุทธะ ๑
วิชิตพุทธะ ๑ ชิตพุทธะ ๑ อังคพุทธะ ๑
ปังคพุทธะ ๑ คุติจฉิตพุทธะ ๑
ปัสสีพุทธะผู้ละอุปธิอันเป็นมูลแห่งทุกข์ได้ ๑
อปราชิตพุทธะผู้ชนะมารและพลมาร ๑
สัตถาพุทธะ ๑ ปวัตตาพุทธะ ๑ สรภังคพุทธะ ๑
โลมหังสพุทธะ ๑ อุจจังคมายพุทธะ ๑ อสิตพุทธะ ๑
อนาสวพุทธะ ๑ มโนมยพุทธะ ๑
พันธุมาพุทธะผู้ตัดขาดมานะได้ ๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๖. อิสิคิลิสูตร

ตทาธิมุตตพุทธะ ๑ วิมลพุทธะ ๑ เกตุมาพุทธะ ๑
เกตุมพราคพุทธะ ๑ มาตังคพุทธะ ๑ อริยพุทธะ ๑
อัจจุตพุทธะ ๑ อัจจุตคามพุทธะ ๑ พยามกพุทธะ ๑
สุมังคลพุทธะ ๑ ทัพพิลพุทธะ ๑ สุปติฏฐิตพุทธะ ๑
อสัยหพุทธะ ๑ เขมาภิรตพุทธะ ๑ โสรตพุทธะ ๑
ทุรันนยพุทธะ ๑ สังฆพุทธะ ๑ อุชชยพุทธะ ๑
พระมุนีองค์หนึ่งชื่อว่า สัยหะ ผู้มีความเพียร ไม่ต่ำทราม ๑
พระปัจเจกพุทธะพระนามว่า อานันทะ (๔ องค์)
พระนามว่า นันทะ (๔ องค์) พระนามว่า
อุปนันทะ (๔ องค์) รวม ๑๒ องค์
และภารทวาชพุทธะผู้ทรงพระวรกายในภพสุดท้าย ๑
โพธิพุทธะ ๑ มหานามพุทธะ ๑ อุตตรพุทธะ ๑
เกสีพุทธะ ๑ สิขีพุทธะ ๑ สุนทรพุทธะ ๑
ภารทวาชพุทธะ ๑ ติสสพุทธะ ๑
อุปติสสพุทธะ ผู้ตัดกิเลสเครื่องผูกในภพได้ ๑
อุปสีทรีพุทธะ ๑ และสีทรีพุทธะ ผู้ตัดตัณหาได้ ๑
มังคลพุทธะ ผู้ปราศจากราคะ ๑
อุสภพุทธะ ผู้ตัดข่ายอันเป็นมูลแห่งทุกข์ ๑ อุปณีตพุทธะ
ได้บรรลุบทอันสงบ ๑ อุโปสถพุทธะ ๑ สุนทรพุทธะ ๑
สัจจนามพุทธะ ๑
เชตพุทธะ ๑ ชยันตพุทธะ ๑ ปทุมพุทธะ ๑
อุปปลพุทธะ ๑ ปทุมุตตรพุทธะ ๑ รักขิตพุทธะ ๑
ปัพพตพุทธะ ๑ มานัตถัทธพุทธะ ๑ โสภิตพุทธะ ๑
วีตราคพุทธะ ๑ กัณหพุทธะ ผู้มีจิตหลุดพ้นดีแล้ว ๑
พระปัจเจกพุทธเจ้าผู้มีอานุภาพมากเหล่านี้
และอื่น ๆ ผู้สิ้นตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๗. มหาจัตตารีสกสูตร

เธอทั้งหลายจงไหว้พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น
ผู้ล่วงกิเลสเป็นเครื่องข้องทั้งปวงได้แล้ว
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ผู้มีคุณอันหาประมาณมิได้
ผู้ปรินิพพานแล้วเถิด”

อิสิคิลิสูตรที่ ๖ จบ

๗. มหาจัตตารีสกสูตร
ว่าด้วยธรรมบรรยายชื่อมหาจัตตารีสกะ

[๑๓๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียก
ภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสัมมาสมาธิ๑อันเป็นอริยะ๒ ที่มีอุปนิสะ๓บ้าง
มีปริขาร๔บ้าง แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังสัมมาสมาธิอันเป็นอริยะนั้น
จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ) อันเป็นอริยะ ที่มีอุปนิสะ มีปริขาร เป็น
อย่างไร
คือ สัมมาทิฏฐิ(เห็นชอบ) สัมมาสังกัปปะ(ดำริชอบ) สัมมาวาจา(เจรจาชอบ)
สัมมากัมมันตะ(กระทำชอบ) สัมมาอาชีวะ(เลี้ยงชีพชอบ) สัมมาวายามะ(พยายาม


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๗. มหาจัตตารีสกสูตร

ชอบ) สัมมาสติ(ระลึกชอบ) สภาวะที่จิตมีอารมณ์เดียว แวดล้อมด้วยองค์ ๗ นี้
เราเรียกว่า ‘สัมมาสมาธิอันเป็นอริยะ ที่มีอุปนิสะ’ บ้าง เรียกว่า ‘สัมมาสมาธิ
อันเป็นอริยะ มีปริขาร’ บ้าง
บรรดาองค์ ๗ นั้น สัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า๑
สัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุรู้ชัดมิจฉาทิฏฐิ๒ว่า ‘เป็นมิจฉาทิฏฐิ’ รู้ชัดสัมมาทิฏฐิว่า ‘เป็น
สัมมาทิฏฐิ’ ความรู้ของภิกษุนั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ
มิจฉาทิฏฐิ เป็นอย่างไร
คือ ความเห็นว่า ‘ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล การเซ่นสรวง
ที่เซ่นสรวงแล้วไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี
โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มีคุณ บิดาไม่มีคุณ สัตว์ที่เป็นโอปปาติกะก็ไม่มี
สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่ง
เองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ก็ไม่มีในโลก’๓ นี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ
สัมมาทิฏฐิ เป็นอย่างไร
คือ เรากล่าวสัมมาทิฏฐิว่ามี ๒ ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิที่ยังมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลคืออุปธิ
๒. สัมมาทิฏฐิอันเป็นอริยะ ที่ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์
แห่งมรรค


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๗. มหาจัตตารีสกสูตร

สัมมาทิฏฐิที่ยังมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลคืออุปธิ เป็นอย่างไร
คือ ความเห็นว่า ‘ทานที่ให้แล้วมีผล ยัญที่บูชาแล้วมีผล การเซ่นสรวงที่
เซ่นสรวงแล้วมีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วมี โลกนี้มี โลกหน้ามี
มารดามีคุณ บิดามีคุณ สัตว์ที่เป็นโอปปาติกะมี สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติปฏิบัติ
ชอบทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งก็มีอยู่ในโลก’
นี้เป็นสัมมาทิฏฐิที่ยังมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลคืออุปธิ
สัมมาทิฏฐิอันเป็นอริยะ ที่ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์แห่งมรรค
เป็นอย่างไร
คือ ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ สัมมาทิฏฐิ
องค์แห่งมรรคของภิกษุผู้มีจิตไกลจากข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ เพียบพร้อมด้วย
อริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่ นี้เป็นสัมมาทิฏฐิอันเป็นอริยะ ที่ไม่มีอาสวะ เป็น
โลกุตตระ เป็นองค์แห่งมรรค ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละมิจฉาทิฏฐิ ยัง
สัมมาทิฏฐิให้ถึงพร้อม ความพยายามของภิกษุนั้น เป็นสัมมาวายามะ ภิกษุนั้น
มีสติ ละมิจฉาทิฏฐิ มีสติเข้าถึงสัมมาทิฏฐิอยู่ สติของภิกษุนั้นเป็นสัมมาสติ
ธรรม ๓ นี้ คือ (๑) สัมมาทิฏฐิ (๒) สัมมาวายามะ (๓) สัมมาสติ ย่อม
ห้อมล้อมคล้อยตามสัมมาทิฏฐิของภิกษุนั้นไป ด้วยประการฉะนี้
[๑๓๗] ภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ ๗ นั้น สัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า
สัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุรู้ชัดมิจฉาสังกัปปะว่า ‘เป็นมิจฉาสังกัปปะ’ รู้ชัดสัมมาสังกัปปะว่า
‘เป็นสัมมาสังกัปปะ’ ความรู้ของภิกษุนั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ
มิจฉาสังกัปปะ เป็นอย่างไร
คือ ความดำริในกาม ความดำริในความพยาบาท ความดำริในการเบียดเบียน
นี้เป็นมิจฉาสังกัปปะ
สัมมาสังกัปปะ เป็นอย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๗. มหาจัตตารีสกสูตร

คือ เรากล่าวสัมมาสังกัปปะว่ามี ๒ ได้แก่
๑. สัมมาสังกัปปะที่ยังมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลคืออุปธิ
๒. สัมมาสังกัปปะอันเป็นอริยะ ที่ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็น
องค์แห่งมรรค
สัมมาสังกัปปะที่ยังมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลคืออุปธิ เป็นอย่างไร
คือ ความดำริในการออกจากกาม ความดำริในความไม่พยาบาท ความ
ดำริในการไม่เบียดเบียน นี้เป็นสัมมาสังกัปปะที่ยังมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้
ผลคืออุปธิ
สัมมาสังกัปปะอันเป็นอริยะ ที่ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์แห่ง
มรรค เป็นอย่างไร
คือ ความตรึก ความวิตก ความดำริ ความแน่วแน่ ความแนบแน่น
ความปักใจ ความปรุงแต่งคำ ของภิกษุผู้มีจิตไกลจากข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้
เพียบพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่ นี้เป็นสัมมาสังกัปปะอันเป็นอริยะ
ที่ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์แห่งมรรค ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อ
ละมิจฉาสังกัปปะ ยังสัมมาสังกัปปะให้ถึงพร้อม ความพยายามของภิกษุนั้นเป็น
สัมมาวายามะ ภิกษุนั้นมีสติละมิจฉาสังกัปปะ มีสติเข้าถึงสัมมาสังกัปปะอยู่
สติของภิกษุนั้นเป็นสัมมาสติ ธรรม ๓ นี้ คือ (๑) สัมมาทิฏฐิ (๒) สัมมาวายามะ
(๓) สัมมาสติ ย่อมห้อมล้อมคล้อยตามสัมมาสังกัปปะของภิกษุนั้นไป ด้วยประการ
ฉะนี้
[๑๓๘] ภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ ๗ นั้น สัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า
สัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุรู้ชัดมิจฉาวาจาว่า ‘เป็นมิจฉาวาจา’ รู้ชัดสัมมาวาจาว่า ‘เป็น
สัมมาวาจา’ ความรู้ของภิกษุนั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ
มิจฉาวาจา เป็นอย่างไร
คือ การพูดเท็จ การพูดส่อเสียด การพูดคำหยาบ การพูดเพ้อเจ้อ นี้เป็น
มิจฉาวาจา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๗. มหาจัตตารีสกสูตร

สัมมาวาจา เป็นอย่างไร
คือ เรากล่าวสัมมาวาจาว่ามี ๒ ได้แก่
๑. สัมมาวาจาที่ยังมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลคืออุปธิ
๒. สัมมาวาจาอันเป็นอริยะ ที่ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์
แห่งมรรค
สัมมาวาจาที่ยังมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลคืออุปธิ เป็นอย่างไร
คือ เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการพูดเท็จ เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการพูด
ส่อเสียด เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการพูดคำหยาบ เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการ
พูดเพ้อเจ้อ นี้เป็นสัมมาวาจาที่ยังมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลคืออุปธิ
สัมมาวาจาอันเป็นอริยะ ที่ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์แห่งมรรค
เป็นอย่างไร
คือ การงด การเว้น การเว้นขาด เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากวจีทุจริต ๔
ของภิกษุผู้มีจิตไกลจากข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ เพียบพร้อมด้วยอริยมรรค
เจริญอริยมรรคอยู่ นี้เป็นสัมมาวาจาอันเป็นอริยะ ที่ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ
เป็นองค์แห่งมรรค ภิกษุย่อมพยายามเพื่อละมิจฉาวาจา ยังสัมมาวาจาให้ถึงพร้อม
อยู่ ความพยายามของภิกษุนั้นเป็นสัมมาวายามะ ภิกษุนั้นมีสติ ละมิจฉาวาจา
มีสติเข้าถึงสัมมาวาจาอยู่ สติของภิกษุนั้นเป็นสัมมาสติ ธรรม ๓ นี้ คือ
(๑) สัมมาทิฏฐิ (๒) สัมมาวายามะ (๓) สัมมาสติ ย่อมห้อมล้อมคล้อยตาม
สัมมาวาจาของภิกษุนั้นไป ด้วยประการฉะนี้
[๑๓๙] ภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ ๗ นั้น สัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า
สัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุรู้ชัดมิจฉากัมมันตะว่า ‘เป็นมิจฉากัมมันตะ’ รู้ชัดสัมมากัมมันตะว่า
‘เป็นสัมมากัมมันตะ’ ความรู้ของภิกษุนั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๗. มหาจัตตารีสกสูตร

มิจฉากัมมันตะ เป็นอย่างไร
คือ การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติผิดในกาม นี้เป็นมิจฉากัมมันตะ
สัมมากัมมันตะ เป็นอย่างไร
คือ เรากล่าวสัมมากัมมันตะว่ามี ๒ ได้แก่
๑. สัมมากัมมันตะที่ยังมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลคืออุปธิ
๒. สัมมากัมมันตะอันเป็นอริยะ ที่ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็น
องค์แห่งมรรค
สัมมากัมมันตะที่ยังมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลคืออุปธิ เป็นอย่างไร
คือ เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการ
ลักทรัพย์ เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม นี้เป็นสัมมากัมมันตะ
ที่ยังมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลคืออุปธิ
สัมมากัมมันตะอันเป็นอริยะ ที่ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์
แห่งมรรค เป็นอย่างไร
คือ การงด การเว้น การเว้นขาด เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากกายทุจริต ๓
ของภิกษุผู้มีจิตไกลจากข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ เพียบพร้อมด้วยอริยมรรค
เจริญอริยมรรคอยู่ นี้เป็นสัมมากัมมันตะอันเป็นอริยะ ที่ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ
เป็นองค์แห่งมรรค ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละมิจฉากัมมันตะ ยังสัมมากัมมันตะ
ให้ถึงพร้อม ความพยายามของเธอนั้นเป็นสัมมาวายามะ ภิกษุนั้นมีสติละ
มิจฉากัมมันตะ มีสติเข้าถึงสัมมากัมมันตะอยู่ สติของเธอนั้นเป็นสัมมาสติ
ธรรม ๓ นี้ คือ (๑) สัมมาทิฏฐิ (๒) สัมมาวายามะ (๓) สัมมาสติ ย่อม
ห้อมล้อมคล้อยตามสัมมากัมมันตะของภิกษุนั้นไป ด้วยประการฉะนี้
[๑๔๐] ภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ ๗ นั้น สัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า
สัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุรู้ชัดมิจฉาอาชีวะว่า ‘เป็นมิจฉาอาชีวะ’ รู้ชัดสัมมาอาชีวะว่า ‘เป็น
สัมมาอาชีวะ’ ความรู้ของภิกษุนั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๗. มหาจัตตารีสกสูตร

มิจฉาอาชีวะ เป็นอย่างไร
คือ การพูดหลอกลวง การเลียบเคียง การหว่านล้อม การพูดและเล็ม
การใช้ลาภต่อลาภ นี้เป็นมิจฉาอาชีวะ
สัมมาอาชีวะ เป็นอย่างไร
คือ เรากล่าวสัมมาอาชีวะว่ามี ๒ ได้แก่
๑. สัมมาอาชีวะที่ยังมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลคืออุปธิ
๒. สัมมาอาชีวะอันเป็นอริยะ ที่ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์
แห่งมรรค
สัมมาอาชีวะที่ยังมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลคืออุปธิ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมละมิจฉาอาชีวะ เลี้ยงชีพด้วยสัมมาอาชีวะ
นี้เป็นสัมมาอาชีวะ ที่ยังมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลคืออุปธิ
สัมมาอาชีวะอันเป็นอริยะ ที่ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์
แห่งมรรค เป็นอย่างไร
คือ การงด การเว้น การเว้นขาด เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากมิจฉาอาชีวะ
ของภิกษุผู้มีจิตไกลจากข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ เพียบพร้อมด้วยอริยมรรค
เจริญอริยมรรคอยู่ นี้เป็นสัมมาอาชีวะอันเป็นอริยะ ที่ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ
เป็นองค์แห่งมรรค ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละมิจฉาอาชีวะ ยังสัมมาอาชีวะให้
ถึงพร้อม ความพยายามของภิกษุนั้นเป็นสัมมาวายามะ ภิกษุนั้นมีสติละ
มิจฉาอาชีวะ มีสติเข้าถึงสัมมาอาชีวะอยู่ สติของภิกษุนั้นเป็นสัมมาสติ ธรรม
๓ นี้ คือ (๑) สัมมาทิฏฐิ (๒) สัมมาวายามะ (๓) สัมมาสติ
ย่อมห้อมล้อมคล้อยตามสัมมาอาชีวะของภิกษุนั้นไป ด้วยประการฉะนี้
[๑๔๑] ภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ ๗ นั้น สัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า
สัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า เป็นอย่างไร
คือ ผู้มีสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะก็มีพอเหมาะ ผู้มีสัมมาสังกัปปะ สัมมา
วาจาก็มีพอเหมาะ ผู้มีสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะก็มีพอเหมาะ ผู้มีสัมมากัมมันตะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๗. มหาจัตตารีสกสูตร

สัมมาอาชีวะก็มีพอเหมาะ ผู้มีสัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะก็มีพอเหมาะ ผู้มี
สัมมาวายามะ สัมมาสติก็มีพอเหมาะ ผู้มีสัมมาสติ สัมมาสมาธิก็มีพอเหมาะ
ผู้มีสัมมาสมาธิ สัมมาญาณะก็มีพอเหมาะ ผู้มีสัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติก็มี
พอเหมาะ
ภิกษุทั้งหลาย พระเสขะผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ จึงเป็นพระอรหันต์ผู้ประกอบ
ด้วยองค์ ๑๐ (แม้ในบรรดาองค์เหล่านั้น บาปอกุศลธรรมเป็นอเนกไปปราศแล้ว
ย่อมถึงความบริบูรณ์ด้วยภาวนาโดยสัมมาญาณะ) ด้วยประการฉะนี้
[๑๔๒] ภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ ๗ นั้น สัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า
สัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า เป็นอย่างไร
คือ สัมมาทิฏฐิ ย่อมทำลายมิจฉาทิฏฐิได้ และบาปอกุศลธรรมเป็นอเนก
อันมีมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย ก็เป็นอันถูกสัมมาทิฏฐินั้นทำลายแล้ว กุศลธรรมเป็น
อเนกอันมีสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย ย่อมถึงความเจริญเต็มที่
สัมมาสังกัปปะ ย่อมทำลายมิจฉาสังกัปปะได้ ...
สัมมาวาจา ย่อมทำลายมิจฉาวาจาได้ ...
สัมมากัมมันตะ ย่อมทำลายมิจฉากัมมันตะได้ ...
สัมมาอาชีวะ ย่อมทำลายมิจฉาอาชีวะได้ ...
สัมมาวายามะ ย่อมทำลายมิจฉาวายามะได้ ...
สัมมาสติ ย่อมทำลายมิจฉาสติได้ ...
สัมมาสมาธิ ย่อมทำลายมิจฉาสมาธิได้ ...
สัมมาญาณะ ย่อมทำลายมิจฉาญาณะได้ ...
สัมมาวิมุตติ ย่อมทำลายมิจฉาวิมุตติได้ และบาปอกุศลธรรมเป็นอเนก อัน
มีมิจฉาวิมุตติเป็นปัจจัย ก็เป็นอันถูกสัมมาวิมุตตินั้นทำลายแล้ว กุศลธรรมเป็น
อเนกอันมีสัมมาวิมุตติเป็นปัจจัย ย่อมถึงความเจริญเต็มที่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๗. มหาจัตตารีสกสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เราจึงประกาศธรรมบรรยายชื่อว่ามหาจัตตารีสกะฝ่ายกุศล
๒๐ ประการ ฝ่ายอกุศล ๒๐ ประการ ที่สมณพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม
หรือใคร ๆ ในโลกยังประกาศไม่ได้ไว้ ด้วยประการฉะนี้
[๑๔๓] ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเข้าใจธรรม
บรรยายชื่อว่ามหาจัตตารีสกะ๑นี้ ว่าตนควรติเตียน หรือคัดค้าน คำกล่าวเช่นนั้น
และคำที่กล่าวต่อ ๆ กันมา ๑๐ ประการนี้ของสมณะหรือพราหมณ์นั้น จะเป็น
เหตุให้ถูกตำหนิได้ในปัจจุบันทีเดียว คือ
๑. ถ้าท่านผู้เจริญติเตียนสัมมาทิฏฐิ ท่านผู้เจริญก็ต้องบูชาสรรเสริญ
สมณพราหมณ์ผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ
๒. ถ้าท่านผู้เจริญติเตียนสัมมาสังกัปปะ ท่านผู้เจริญก็ต้องบูชา
สรรเสริญสมณพราหมณ์ผู้เป็นมิจฉาสังกัปปะ
๓. ถ้าท่านผู้เจริญติเตียนสัมมาวาจา ฯลฯ
๔. ถ้าท่านผู้เจริญติเตียนสัมมากัมมันตะ ...
๕. ถ้าท่านผู้เจริญติเตียนสัมมาอาชีวะ ...
๖. ถ้าท่านผู้เจริญติเตียนสัมมาวายามะ ...
๗. ถ้าท่านผู้เจริญติเตียนสัมมาสติ ...
๘. ถ้าท่านผู้เจริญติเตียนสัมมาสมาธิ ...
๙. ถ้าท่านผู้เจริญติเตียนสัมมาญาณะ ...
๑๐. ถ้าท่านผู้เจริญติเตียนสัมมาวิมุตติ ท่านผู้เจริญก็ต้องบูชาสรรเสริญ
สมณพราหมณ์ผู้เป็นมิจฉาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง พึงเข้าใจธรรม
บรรยายชื่อว่ามหาจัตตารีสกะนี้ ว่าตนควรติเตียนหรือควรคัดค้าน คำกล่าวเช่นนั้น
และคำที่กล่าวต่อ ๆ กันมา ๑๐ ประการนี้ของสมณะหรือพราหมณ์นั้น จะเป็น
เหตุให้ถูกตำหนิได้ในปัจจุบันทีเดียว


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๘. อานาปานัสสติสูตร

ภิกษุทั้งหลาย แม้พวกวัสสะและพวกภัญญะชาวโอกกลชนบท ผู้เป็น
อเหตุกวาทะ๑ อกิริยวาทะ๒ นัตถิกวาทะ๓ เหล่านั้น ก็ยังเข้าใจธรรมบรรยายชื่อ
ว่ามหาจัตตารีสกะ ว่าไม่ควรติเตียน ไม่ควรคัดค้าน
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะกลัวการนินทา การว่าร้าย และการแข่งดี”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

มหาจัตตารีสกสูตรที่ ๗ จบ

๘. อานาปานัสสติสูตร
ว่าด้วยวิธีเจริญอานาปานสติ

[๑๔๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปราสาทของมิคารมาตา ใน
บุพพาราม เขตกรุงสาวัตถี พร้อมด้วยพระสาวกผู้เป็นเถระ มีชื่อเสียงหลายรูป
ด้วยกัน คือ ท่านพระสารีบุตร ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ท่านพระมหากัสสปะ
ท่านพระมหากัจจายนะ ท่านพระมหาโกฏฐิตะ ท่านพระมหากัปปินะ ท่านพระ
มหาจุนทะ ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระเรวตะ ท่านพระอานนท์ และพระสาวก
ผู้เป็นเถระที่มีชื่อเสียงรูปอื่น ๆ
ก็สมัยนั้น พระเถระทั้งหลายสั่งสอน พร่ำสอน๔ภิกษุใหม่ทั้งหลาย คือ
ภิกษุผู้เป็นเถระบางพวกสั่งสอน พร่ำสอนภิกษุ ๑๐ รูปบ้าง บางพวกสั่งสอน


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๘. อานาปานัสสติสูตร

พร่ำสอนภิกษุ ๒๐ รูปบ้าง บางพวกสั่งสอน พร่ำสอนภิกษุ ๓๐ รูปบ้าง
บางพวกสั่งสอน พร่ำสอนภิกษุ ๔๐ รูปบ้าง ฝ่ายภิกษุใหม่เหล่านั้น ผู้อันภิกษุ
ผู้เป็นเถระสั่งสอน พร่ำสอนอยู่ ย่อมรู้ชัดธรรมวิเศษอย่างกว้างขวางกว่าที่ตนรู้
มาก่อน
[๑๔๕] ก็สมัยนั้น ในวันอุโบสถขึ้น ๑๕ ค่ำ คืนดวงจันทร์เต็มดวง ใน
วันปวารณา พระผู้มีพระภาคทรงมีภิกษุสงฆ์แวดล้อม ประทับนั่ง ณ ที่กลางแจ้ง
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงตรวจดูภิกษุสงฆ์ ซึ่งนิ่งเงียบอยู่ จึงได้รับสั่งเรียก
ภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เรายินดีปฏิปทานี้ เรามีใจยินดีปฏิปทานี้ เพราะเหตุนั้น
เธอทั้งหลายในธรรมวินัยนี้จงปรารภความเพียร๑เพื่อถึงธรรมที่ตนยังไม่ถึง๒ เพื่อ
บรรลุธรรมที่ตนยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ตนยังไม่ทำให้แจ้งให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไปเถิด
เราจักรออยู่ในกรุงสาวัตถีนี้แหละ จนถึงวันครบ ๔ เดือนแห่งฤดูฝน อันเป็น
เดือนที่มีดอกโกมุท”
ภิกษุชาวชนบทได้ฟังข่าวว่า “ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคจักทรงรออยู่ใน
กรุงสาวัตถีนั้น จนถึงวันครบ ๔ เดือนแห่งฤดูฝน อันเป็นเดือนที่มีดอกโกมุท”
จึงพากันหลั่งไหลมายังกรุงสาวัตถี เพื่อเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ฝ่ายภิกษุผู้เป็นเถระเหล่านั้นก็พากันสั่งสอน พร่ำสอนภิกษุใหม่เพิ่มประมาณ
มากขึ้น คือ ภิกษุผู้เป็นเถระบางพวกสั่งสอน พร่ำสอนภิกษุ ๑๐ รูปบ้าง


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๘. อานาปานัสสติสูตร

บางพวกสั่งสอน พร่ำสอนภิกษุ ๒๐ รูปบ้าง บางพวกสั่งสอน พร่ำสอนภิกษุ
๓๐ รูปบ้าง บางพวกสั่งสอน พร่ำสอนภิกษุ ๔๐ รูปบ้าง และภิกษุใหม่เหล่านั้น
ผู้อันภิกษุผู้เป็นเถระสั่งสอน พร่ำสอนอยู่ ย่อมรู้ชัดธรรมวิเศษอย่างกว้างขวางกว่า
ที่ตนรู้มาก่อน
[๑๔๖] ก็สมัยนั้น ในวันอุโบสถขึ้น ๑๕ ค่ำ คืนดวงจันทร์เต็มดวง อันเป็น
วันครบ ๔ เดือนแห่งฤดูฝน เป็นเดือนที่มีดอกโกมุท พระผู้มีพระภาคทรงมีภิกษุ
สงฆ์แวดล้อม ประทับนั่ง ณ ที่กลางแจ้ง ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงตรวจดู
ภิกษุสงฆ์ ซึ่งนิ่งเงียบอยู่ จึงได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้ไม่สนทนากัน บริษัทนี้เงียบเสียงสนทนากัน ดำรง
อยู่ในสารธรรมอันบริสุทธิ์ ภิกษุสงฆ์บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัทที่ควรแก่ของ
ที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณาทาน ควรแก่การทำอัญชลี
เป็นเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก ภิกษุสงฆ์นี้เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัทที่เขา
ถวายของน้อยแต่มีผลมาก และถวายของมากก็ยิ่งมีผลมากขึ้น ภิกษุสงฆ์นี้เป็นเช่น
เดียวกันกับบริษัทที่ชาวโลกยากจะได้พบเห็น ภิกษุสงฆ์นี้เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัท
ที่แม้คนผู้เอาเสบียงคล้องบ่าควรเดินทางไปเป็นโยชน์ ๆ เพื่อพบเห็น
[๑๔๗] ภิกษุทั้งหลาย ในภิกษุสงฆ์นี้ มีภิกษุผู้เป็นอรหันตขีณาสพ อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว๑ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตน
โดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว๒ หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ในภิกษุสงฆ์นี้
ก็มีภิกษุแม้เช่นนั้นอยู่
ในภิกษุสงฆ์นี้ มีภิกษุผู้เป็นอนาคามี เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสังโยชน์๓ ๕ จะ
เกิดเป็นโอปปาติกะ๔ จะปรินิพพานในโลกนั้น ๆ ไม่กลับมาจากโลกนั้นอีกเป็นธรรมดา
ในภิกษุสงฆ์นี้ก็มีภิกษุแม้เช่นนั้นอยู่


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๘. อานาปานัสสติสูตร

ในภิกษุสงฆ์นี้ มีภิกษุผู้เป็นสกทาคามี เพราะสิ้นสังโยชน์๑ ๓ และเพราะทำ
ราคะ โทสะ โมหะ ให้เบาบาง จะกลับมายังโลกนี้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น แล้วทำ
ที่สุดแห่งทุกข์ได้ ในภิกษุสงฆ์นี้ก็มีภิกษุแม้เช่นนั้นอยู่
ในภิกษุสงฆ์นี้ มีภิกษุผู้เป็นโสดาบัน๒ เพราะสิ้นสังโยชน์ ๓ ไม่มีทางตกต่ำ๓
มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิ๔ในวันข้างหน้า ในภิกษุสงฆ์นี้ก็มีภิกษุแม้เช่นนั้นอยู่
ในภิกษุสงฆ์นี้ มีภิกษุผู้บำเพ็ญความเพียรในการเจริญสติปัฏฐาน ๔ อยู่
ในภิกษุสงฆ์นี้ก็มีภิกษุแม้เช่นนั้นอยู่
ในภิกษุสงฆ์นี้ มีภิกษุผู้บำเพ็ญความเพียรในการเจริญสัมมัปปธาน ๔ อยู่
ในภิกษุสงฆ์นี้ก็มีภิกษุแม้เช่นนั้นอยู่
ในภิกษุสงฆ์นี้ มีภิกษุผู้บำเพ็ญความเพียรในการเจริญอิทธิบาท ๔ อยู่ ใน
ภิกษุสงฆ์นี้ก็มีภิกษุเช่นนั้นอยู่
ในภิกษุสงฆ์นี้ มีภิกษุผู้บำเพ็ญความเพียรในการเจริญอินทรีย์ ๕ อยู่ ...
เจริญพละ ๕ อยู่ ... เจริญโพชฌงค์ ๗ อยู่ ... มีภิกษุผู้บำเพ็ญความเพียร
ในการเจริญมรรคมีองค์ ๘ อยู่ ในภิกษุสงฆ์นี้ก็มีภิกษุแม้เช่นนั้นอยู่
ในภิกษุสงฆ์นี้ มีภิกษุผู้บำเพ็ญความเพียรในการเจริญเมตตาอยู่ ในภิกษุสงฆ์
นี้ก็มีภิกษุแม้เช่นนั้นอยู่ ... มีภิกษุผู้บำเพ็ญความเพียรในการเจริญกรุณาอยู่ ...


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๘. อานาปานัสสติสูตร

มีภิกษุผู้บำเพ็ญความเพียรในการเจริญมุทิตาอยู่ ... มีภิกษุผู้บำเพ็ญความเพียรใน
การเจริญอุเบกขาอยู่ ... มีภิกษุผู้บำเพ็ญความเพียรในการเจริญอสุภสัญญาอยู่ ...
มีภิกษุผู้บำเพ็ญความเพียรในการเจริญอนิจจสัญญาอยู่ ในภิกษุสงฆ์นี้ก็มีภิกษุแม้
เช่นนั้นอยู่
ภิกษุทั้งหลาย ในภิกษุสงฆ์นี้ มีภิกษุผู้บำเพ็ญความเพียรในการเจริญ
อานาปานสติอยู่ อานาปานสติที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก อานาปานสติที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำสติปัฏฐาน
๔ ให้บริบูรณ์ สติปัฏฐาน ๔ ที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำโพชฌงค์
๗ ให้บริบูรณ์ โพชฌงค์ ๗ ที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำวิชชาและ
วิมุตติให้บริบูรณ์
[๑๔๘] อานาปานสติที่ภิกษุเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร
จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่าง๑ก็ดี นั่ง
ขัดสมาธิ๒ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า๓ มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก๔

อานาปานสติ ๑๖ ขั้น๕

๑. เมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่า ‘เราหายใจเข้ายาว’
เมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่า ‘เราหายใจออกยาว’


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๘. อานาปานัสสติสูตร

๒. เมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ชัดว่า ‘เราหายใจเข้าสั้น’
เมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ชัดว่า ‘เราหายใจออกสั้น’
๓. สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก’
๔. สำเหนียกว่า ‘เราระงับกายสังขาร หายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราระงับกายสังขาร หายใจออก’
๕. สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้ปีติ หายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้ปีติ หายใจออก’
๖. สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้สุข หายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้สุข หายใจออก’
๗. สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้จิตตสังขาร หายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้จิตตสังขาร หายใจออก’
๘. สำเหนียกว่า ‘เราระงับจิตตสังขาร หายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราระงับจิตตสังขาร หายใจออก’
๙. สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้จิต หายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้จิต หายใจออก’
๑๐. สำเหนียกว่า ‘เราทำจิตให้บันเทิง หายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราทำจิตให้บันเทิง หายใจออก’
๑๑. สำเหนียกว่า ‘เราตั้งจิตมั่น หายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราตั้งจิตมั่น หายใจออก’
๑๒. สำเหนียกว่า ‘เราเปลื้องจิต หายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราเปลื้องจิต หายใจออก’
๑๓. สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง หายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง หายใจออก’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๘. อานาปานัสสติสูตร

๑๔. สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นความคลายออกได้ หายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นความคลายออกได้ หายใจออก’
๑๕. สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นความดับไป หายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นความดับไป หายใจออก’
๑๖. สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจออก’
ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติที่ภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้
จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
[๑๔๙] อานาปานสติที่ภิกษุเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร
จึงทำให้สติปัฏฐาน ๔ บริบูรณ์ได้ คือ
๑. สมัยใด ภิกษุเมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่า ‘เราหายใจเข้ายาว’
เมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่า ‘เราหายใจออกยาว’
เมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ชัดว่า ‘เราหายใจเข้าสั้น’
เมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ชัดว่า ‘เราหายใจออกสั้น’
สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก’
สำเหนียกว่า ‘เราระงับกายสังขาร หายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราระงับกายสังขาร หายใจออก’
สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เรากล่าวลมหายใจเข้า ลมหายใจออกนี้ว่า
เป็นกายชนิดหนึ่งในบรรดากายทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น สมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า
พิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ
โทมนัสในโลกอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๘. อานาปานัสสติสูตร

๒. สมัยใดภิกษุสำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้ปีติ หายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้ปีติ หายใจออก’
สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้สุข หายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้สุข หายใจออก’
สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้จิตตสังขาร หายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้จิตตสังขาร หายใจออก’
สำเหนียกว่า ‘เราระงับจิตตสังขาร หายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราระงับจิตตสังขาร หายใจออก’
สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เรากล่าวการใส่ใจลมหายใจเข้า
ลมหายใจออกเป็นอย่างดีนี้ว่า เป็นเวทนาชนิดหนึ่งในบรรดาเวทนาทั้งหลาย
เพราะเหตุนั้น สมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่าพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย มี
ความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกอยู่
๓. สมัยใด ภิกษุสำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้จิต หายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้จิต หายใจออก’
สำเหนียกว่า ‘เราทำจิตให้บันเทิง หายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราทำจิตให้บันเทิง หายใจออก’
สำเหนียกว่า ‘เราตั้งจิตมั่น หายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราตั้งจิตมั่น หายใจออก’
สำเหนียกว่า ‘เราเปลื้องจิต หายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราเปลื้องจิต หายใจออก’
สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เราไม่บอกอานาปานสติแก่ภิกษุผู้หลงลืม ไม่มี
สัมปชัญญะ เพราะเหตุนั้น สมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิต มี
ความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๘. อานาปานัสสติสูตร

๔. สมัยใด ภิกษุสำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง หายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง หายใจออก’
สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นความคลายออกได้ หายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นความคลายออกได้ หายใจออก’
สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นความดับไป หายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นความดับไป หายใจออก’
สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจออก’
สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เธอเห็นการละอภิชฌาและ
โทมนัสด้วยปัญญาแล้ว ย่อมเป็นผู้วางเฉยได้ดี เพราะเหตุนั้น สมัยนั้น ภิกษุ
จึงชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกอยู่
ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติที่ภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้
จึงทำให้สติปัฏฐาน ๔ บริบูรณ์ได้

สติปัฏฐาน ๔

[๑๕๐] สติปัฏฐาน ๔ ที่ภิกษุเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร
จึงทำให้โพชฌงค์ ๗ บริบูรณ์ คือ
๑. สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ สมัยนั้น ภิกษุนั้นมีสติ
ตั้งมั่น ไม่หลงลืม สมัยใด ภิกษุมีสติตั้งมั่น ไม่หลงลืม สมัยนั้น
สติสัมโพชฌงค์(ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความระลึกได้)
ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าเจริญสติสัมโพชฌงค์
สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญเต็มที่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๘. อานาปานัสสติสูตร

๒. ภิกษุนั้นเป็นผู้มีสติอย่างนั้น ย่อมค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงการ
พิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา สมัยใด ภิกษุเป็นผู้มีสติอย่างนั้น
ย่อมค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงการพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา
สมัยนั้น ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์(ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้
คือความเลือกเฟ้นธรรม) ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น
ภิกษุชื่อว่าเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ธัมมวิจย-
สัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญเต็มที่
๓. ภิกษุนั้นค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงการพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา
ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน สมัยใด ภิกษุค้นคว้า ไตร่ตรอง
ถึงการพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ปรารภความเพียร ไม่ย่อ
หย่อน สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์(ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้
คือความเพียร) ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อ
ว่าเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อม
ถึงความเจริญเต็มที่
๔. สมัยใด ปีติที่ปราศจากอามิสเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียร
แล้ว สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์(ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้
คือความอิ่มใจ) ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุ
ชื่อว่าเจริญปีติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ของภิกษุ
ย่อมถึงความเจริญเต็มที่
๕. เมื่อภิกษุมีจิตเกิดปีติ กายและจิตย่อมสงบ สมัยใด ภิกษุมีจิต
เกิดปีติ กายและจิตย่อมสงบ สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
(ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความสงบกายสงบจิต) ย่อมเป็น
อันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญเต็มที่
๖. เมื่อภิกษุมีกายสงบแล้ว มีความสุข จิตย่อมตั้งมั่น สมัยใด เมื่อ
ภิกษุมีกายสงบ มีความสุข จิตย่อมตั้งมั่น สมัยนั้น สมาธิ
สัมโพชฌงค์(ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความตั้งใจมั่น) ย่อม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๘. อานาปานัสสติสูตร

เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์
สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญเต็มที่
๗. ภิกษุนั้นเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้นได้เป็นอย่างดี สมัยใด
ภิกษุเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้นได้เป็นอย่างดี สมัยนั้น
อุเบกขาสัมโพชฌงค์(ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความมีใจ
เป็นกลาง) ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า
เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของภิกษุ
ย่อมถึงความเจริญเต็มที่
[๑๕๑] ภิกษุทั้งหลาย
๑. สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ... พิจารณา
เห็นจิตในจิต ... พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย มีความเพียร
มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ สมัยนั้น
ภิกษุนั้นมีสติตั้งมั่น ไม่หลงลืม สมัยใด ภิกษุมีสติตั้งมั่น ไม่หลงลืม
สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น
ภิกษุชื่อว่าเจริญสติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ของภิกษุ
ย่อมถึงความเจริญเต็มที่
๒. ภิกษุนั้นเป็นผู้มีสติอย่างนั้น ย่อมค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงการ
พิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา สมัยใด ภิกษุเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่
ย่อมค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงการพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา สมัยนั้น
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุ
ชื่อว่าเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
ของภิกษุย่อมถึงความเจริญเต็มที่
๓. ภิกษุนั้นค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงการพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา
เป็นอันปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อนแล้ว สมัยใด ภิกษุย่อม
ค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงการพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญาปรารภ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๘. อานาปานัสสติสูตร

ความเพียรไม่ย่อหย่อน สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอัน
ภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าเจริญวิริยสัมโพชฌงค์
สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญเต็มที่
๔. ปีติอันปราศจากอามิส เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียรแล้ว สมัยใด
ปีติอันปราศจากอามิสเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียรแล้ว สมัยนั้น
ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า
เจริญปีติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึง
ความเจริญเต็มที่
๕. เมื่อภิกษุมีจิตเกิดปีติ กายและจิตย่อมสงบ สมัยใด เมื่อภิกษุมี
จิตเกิดปีติ กายและจิตย่อมสงบ สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าเจริญปัสสัทธิ-
สัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึง
ความเจริญเต็มที่
๖. เมื่อภิกษุผู้มีกายสงบแล้ว มีความสุข จิตย่อมตั้งมั่น สมัยใด
เมื่อภิกษุผู้มีกายสงบแล้ว มีความสุข จิตย่อมตั้งมั่น สมัยนั้น
สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อ
ว่าเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุ
ย่อมถึงความเจริญเต็มที่
๗. ภิกษุนั้นเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้นได้อย่างดี สมัยใด
ภิกษุเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้นได้อย่างดี สมัยนั้น
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุ
ชื่อว่าเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของ
ภิกษุย่อมถึงความเจริญเต็มที่
ภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ ที่ภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้
จึงทำให้โพชฌงค์ ๗ บริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๘. อานาปานัสสติสูตร

โพชฌงค์ ๗

[๑๕๒] โพชฌงค์ ๗ ที่ภิกษุเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร
จึงทำให้วิชชาและวิมุตติบริบูรณ์
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก(ความสงัด) อาศัยวิราคะ
(ความคลายกำหนัด) อาศัยนิโรธ(ความดับ) อันน้อมไปเพื่อความ
ปล่อยวาง
๒. เจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ...
๓. เจริญวิริยสัมโพชฌงค์ ...
๔. เจริญปีติสัมโพชฌงค์ ...
๕. เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ...
๖. เจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ ...
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
อันน้อมไปเพื่อความปล่อยวาง
ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ที่ภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้
จึงทำให้วิชชาและวิมุตติบริบูรณ์”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
อานาปานัสสติสูตรที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๙. กายคตาสติสูตร

๙. กายคตาสติสูตร
ว่าด้วยวิธีเจริญกายคตาสติ

[๑๕๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล ภิกษุหลายรูปกลับจากบิณฑบาต
ภายหลังฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว นั่งประชุมกันในหอฉัน ได้เกิดการสนทนากันขึ้น
ในระหว่างการประชุมว่า
“ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ พระผู้มีพระภาค
ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสกายคตาสติที่
ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้วว่า มีผลมาก มีอานิสงส์มาก”
เรื่องนี้มีเพียงเท่านี้ที่ภิกษุเหล่านั้นสนทนากันค้างไว้ ครั้นเวลาเย็น พระผู้มี
พระภาคทรงออกจากที่ทรงหลีกเร้น เสด็จเข้าไปยังหอฉัน ประทับนั่งบน
พุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้วได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เวลานี้ เธอทั้งหลายนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร พูดเรื่องอะไรค้างไว้”
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส
ข้าพระองค์ทั้งหลายกลับจากบิณฑบาต ภายหลังฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว นั่ง
ประชุมกันในหอฉัน ได้เกิดการสนทนากันขึ้นในระหว่างการประชุมว่า ‘ท่านผู้มี
อายุทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสกายคตาสติที่ภิกษุเจริญ ทำให้
มากแล้วว่า มีผลมาก มีอานิสงส์มาก’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องนี้ที่ข้าพระองค์ทั้งหลายได้พูดค้างไว้ ก็พอดีพระผู้
มีพระภาคเสด็จมาถึง พระพุทธเจ้าข้า”
[๑๕๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
“กายคตาสติที่ภิกษุเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๙. กายคตาสติสูตร

คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่ง
ขัดสมาธิ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า ‘เราหายใจเข้ายาว’
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า ‘เราหายใจออกยาว’
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า ‘เราหายใจเข้าสั้น’
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า ‘เราหายใจออกสั้น’
สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก’
สำเหนียกว่า ‘เราระงับกายสังขาร๑ หายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราระงับกายสังขาร หายใจออก‘๒
ภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่อย่างนี้ ย่อมละความ
ดำริที่สับสน อันอาศัยเรือน๓ได้ เพราะละความดำริที่สับสนนั้นได้ จิตอันเป็นไป
ภายในกายนั้นเท่านั้น ย่อมดำรงคงที่ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ภิกษุชื่อว่า
เจริญกายคตาสติแม้ด้วยอาการอย่างนี้ (๑)
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเมื่อเดิน ก็รู้ชัดว่า ‘เราเดิน’
เมื่อยืน ก็รู้ชัดว่า ‘เรายืน’
เมื่อนั่ง ก็รู้ชัดว่า ‘เรานั่ง’
เมื่อนอน ก็รู้ชัดว่า ‘เรานอน’
เธอดำรงกายอยู่โดยอิริยาบถใด ๆ ก็รู้ชัดกายที่ดำรงอยู่โดยอิริยาบถนั้น ๆ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๙. กายคตาสติสูตร

ภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่อย่างนี้ ย่อมละความ
ดำริที่สับสน อันอาศัยเรือนได้ เพราะละความดำริที่สับสนนั้นได้ จิตที่เป็นไป
ภายในกายเท่านั้น ย่อมดำรงคงที่ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ภิกษุชื่อว่าเจริญ
กายคตาสติแม้ด้วยอาการอย่างนี้ (๒)
อีกประการหนึ่ง ภิกษุทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป การถอยกลับ
ทำความรู้สึกตัวในการแลดู การเหลียวดู
ทำความรู้สึกตัวในการคู้เข้า การเหยียดออก
ทำความรู้สึกตัวในการครองสังฆาฏิ บาตรและจีวร
ทำความรู้สึกตัวในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว
ทำความรู้สึกตัวในการถ่ายอุจจาระปัสสาวะ
ทำความรู้สึกตัวในการเดิน การยืน การนั่ง การนอน การตื่น การพูด การนิ่ง
ภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่อย่างนี้ ย่อมละความ
ดำริที่สับสน อันอาศัยเรือนได้ เพราะละความดำริที่สับสนนั้นได้ จิตที่เป็นไป
ภายในกายเท่านั้น ย่อมดำรงคงที่ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ภิกษุชื่อว่าเจริญ
กายคตาสติแม้ด้วยอาการอย่างนี้ (๓)
อีกประการหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นกายนี้ ตั้งแต่ฝ่าเท้าขึ้นไปเบื้องบน ตั้งแต่
ปลายผมลงมาเบื้องล่าง มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มไปด้วยสิ่งที่ไม่สะอาดชนิดต่าง ๆ
ว่า ‘ในกายนี้ มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต๑
หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด
หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร’


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๙. กายคตาสติสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ถุงมีปาก ๒ ข้าง เต็มไปด้วยธัญพืชชนิดต่าง ๆ คือ ข้าวสาลี
ข้าวเปลือก ถั่วเขียว ถั่วเหลือง เมล็ดงา ข้าวสาร คนตาดีเปิดถุงนั้นออก
พิจารณาเห็นว่า ‘นี้เป็นข้าวสาลี นี้เป็นข้าวเปลือก นี้เป็นถั่วเขียว นี้เป็นถั่วเหลือง
นี้เป็นงา นี้เป็นข้าวสาร’ แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาเห็นกายนี้
ตั้งแต่ฝ่าเท้าขึ้นไปเบื้องบน ตั้งแต่ปลายผมลงมาเบื้องล่าง มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ
เต็มไปด้วยสิ่งที่ไม่สะอาดชนิดต่าง ๆ ว่า ‘ในกายนี้ มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ
เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ใส้ใหญ่ ใส้น้อย
อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย
น้ำมูก ไขข้อ มูตร’
ภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่อย่างนี้ ย่อมละความ
ดำริที่สับสน อันอาศัยเรือนได้ เพราะละความดำริที่สับสนนั้นได้ จิตที่เป็นไป
ภายในกายเท่านั้น ย่อมดำรงคงที่ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ภิกษุชื่อว่าเจริญ
กายคตาสติแม้ด้วยอาการอย่างนี้ (๔)
อีกประการหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นกายนี้ ตามที่ตั้งอยู่ ตามที่ดำรงอยู่ โดย
ความเป็นธาตุว่า ‘ในกายนี้ มีธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลมอยู่’
คนฆ่าโค หรือลูกมือของคนฆ่าโคผู้ชำนาญ ฆ่าโคแล้วแบ่งอวัยวะออกเป็น
ส่วน ๆ นั่งอยู่ที่หนทางใหญ่สี่แพร่ง แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณา
เห็นกายนี้ ตามที่ตั้งอยู่ ตามที่ดำรงอยู่ โดยความเป็นธาตุว่า ‘ในกายนี้ มีธาตุดิน
ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลมอยู่’
ภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่อย่างนี้ ย่อมละความ
ดำริที่สับสน อันอาศัยเรือนได้ เพราะละความดำริที่สับสนนั้นได้ จิตที่เป็นไป
ภายในกายเท่านั้น ย่อมดำรงคงที่ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ภิกษุชื่อว่าเจริญ
กายคตาสติแม้ด้วยอาการอย่างนี้ (๕)
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเห็นซากศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า ซึ่งตายแล้ว ๑ วัน ตาย
แล้ว ๒ วัน หรือตายแล้ว ๓ วัน เป็นศพขึ้นอืด ศพเขียวคล้ำ ศพมีน้ำเหลืองเยิ้ม
แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณากายนี้เข้าไปเปรียบเทียบว่า ‘แม้กายนี้
ก็มีสภาพอย่างนั้น มีลักษณะอย่างนั้น ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนั้นไปได้’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๙. กายคตาสติสูตร

ภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่อย่างนี้ ย่อมละความ
ดำริที่สับสน อันอาศัยเรือนได้ เพราะละความดำริที่สับสนนั้นได้ จิตที่เป็นไป
ภายในกายเท่านั้น ย่อมดำรงคงที่ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ภิกษุชื่อว่าเจริญ
กายคตาสติแม้ด้วยอาการอย่างนี้ (๖)
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเห็นซากศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า ซึ่งถูกกาจิกกิน แร้งทึ้งกิน
นกตระกรุมจิกกิน สุนัขกัดกิน สุนัขจิ้งจอกกัดกิน หรือสัตว์เล็ก ๆ หลายชนิดกัด
กินอยู่ แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณากายนี้เข้าไปเปรียบเทียบว่า
‘แม้กายนี้ก็มีสภาพอย่างนั้น มีลักษณะอย่างนั้น ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนั้นไปได้’
ภิกษุผู้ไม่ประมาท ฯลฯ ภิกษุชื่อว่าเจริญกายคตาสติแม้ด้วยอาการอย่างนี้ (๗)
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเห็นซากศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้าเป็นโครงกระดูก มีเนื้อ
และเลือด มีเอ็นรึงรัดอยู่ แม้ฉันใด ฯลฯ เป็นโครงกระดูก ไม่มีเนื้อ แต่ยังมี
เลือดเปื้อนเปรอะ มีเอ็นรึงรัดอยู่ แม้ฉันใด ฯลฯ เป็นโครงกระดูก ไม่มีเนื้อและเลือด
แต่ยังมีเอ็นรึงรัดอยู่ แม้ฉันใด ฯลฯ เป็นโครงกระดูก ไม่มีเอ็นรึงรัดแล้ว กระจุย
กระจายไปในทิศใหญ่ทิศเฉียง คือ กระดูกมืออยู่ทางทิศหนึ่ง กระดูกเท้าอยู่ทาง
ทิศหนึ่ง กระดูกแข้งอยู่ทางทิศหนึ่ง กระดูกขาอยู่ทางทิศหนึ่ง กระดูกสะเอวอยู่
ทางทิศหนึ่ง กระดูกสันหลังอยู่ทางทิศหนึ่ง กระดูกซี่โครงอยู่ทางทิศหนึ่ง กระดูก
ก้านคออยู่ทางทิศหนึ่ง กระดูกคออยู่ทางทิศหนึ่ง กระดูกคางอยู่ทางทิศหนึ่ง
กระดูกฟันอยู่ทางทิศหนึ่ง กะโหลกศีรษะอยู่ทางทิศหนึ่ง แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น
เหมือนกัน พิจารณากายนี้เข้าไปเปรียบเทียบว่า ‘แม้กายนี้ก็มีสภาพอย่างนั้น มี
ลักษณะอย่างนั้น ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนั้นไปได้’
ภิกษุผู้ไม่ประมาท ฯลฯ ภิกษุชื่อว่าเจริญกายคตาสติแม้ด้วยอาการ
อย่างนี้ (๘-๑๑)
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเห็นซากศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า ซึ่งเป็นท่อนกระดูสี
ขาวเหมือนสีสังข์ ฯลฯ เป็นกระดูกกองอยู่ด้วยกันเกินกว่า ๑ ปี ฯลฯ เป็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๙. กายคตาสติสูตร

กระดูกผุป่นเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณากายนี้
เข้าไปเปรียบเทียบว่า ‘แม้กายนี้ก็มีสภาพอย่างนั้น มีลักษณะอย่างนั้น ไม่ล่วงพ้น
ความเป็นอย่างนั้นไปได้‘๑
ภิกษุผู้ไม่ประมาท ฯลฯ ภิกษุชื่อว่าเจริญกายคตาสติแม้ด้วยอาการอย่างนี้
(๑๒-๑๔)
[๑๕๕] อีกประการหนึ่ง ภิกษุสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว
บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เธอทำกายนี้ให้
ชุ่มชื่นเอิบอิ่ม ด้วยปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก รู้สึกซาบซ่านอยู่ ไม่มีส่วนไหนของ
ร่างกายที่ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกจะไม่ถูกต้อง พนักงานสรงสนาน หรือลูกมือ
พนักงานสรงสนานผู้ชำนาญ เทผงถูตัวลงในภาชนะสัมฤทธิ์แล้ว เอาน้ำประพรมให้
ติดเป็นก้อน ก้อนถูตัวนั้นที่มียางซึมไปจับ ก็ติดกันหมด ไม่กระจายออก แม้ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทำกายนี้ให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่ม ด้วยปีติและสุขอันเกิดจาก
วิเวก รู้สึกซาบซ่านอยู่ ไม่มีส่วนไหนของร่างกายที่ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกจะไม่
ถูกต้อง
ภิกษุผู้ไม่ประมาท ฯลฯ ภิกษุชื่อว่าเจริญกายคตาสติแม้ด้วยอาการ
อย่างนี้ (๑๕)
อีกประการหนึ่ง เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ อยู่
เธอทำกายนี้ให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่ม ด้วยปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ รู้สึกซาบซ่านอยู่
ไม่มีส่วนไหนของร่างกายที่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิจะไม่ถูกต้อง ห้วงน้ำเป็นวังวน
ไม่มีทางที่กระแสน้ำจะไหลเข้าได้ทั้งด้านตะวันออก ด้านตะวันตก ด้านเหนือ และ
ด้านใต้ ฝนก็ไม่ตกตามฤดูกาล แต่กระแสน้ำเย็นพุ่งขึ้นจากห้วงน้ำนั้น แล้วทำ
ห้วงน้ำนั้นให้ชุ่มชื่นเอิบอาบ เนืองนองไปด้วยน้ำเย็น ไม่มีส่วนไหนของห้วงน้ำนั้น
ที่น้ำเย็นจะไม่ถูกต้อง แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทำกายนี้ให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่ม
ด้วยปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ รู้สึกซาบซ่านอยู่ ไม่มีส่วนไหนของร่างกายที่ปีติ
และสุขอันเกิดจากสมาธิจะไม่ถูกต้อง


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๙. กายคตาสติสูตร

ภิกษุผู้ไม่ประมาท ฯลฯ ภิกษุชื่อว่าเจริญกายคตาสติแม้ด้วยอาการ
อย่างนี้ (๑๖)
อีกประการหนึ่ง เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌาน ฯลฯ อยู่ เธอทำกายนี้ให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่ม
ด้วยสุขอันไม่มีปีติ รู้สึกซาบซ่านอยู่ ไม่มีส่วนไหนของร่ายกายที่สุขอันไม่มีปีติจะไม่
ถูกต้อง เปรียบเหมือนในกออุบล กอปทุม หรือกอบุณฑริก ดอกอุบล ดอกปทุม
หรือดอกบุณฑริกบางเหล่าที่เกิดเจริญเติบโตในน้ำ ยังไม่พ้นน้ำ จมอยู่ใต้น้ำ มีน้ำ
หล่อเลี้ยงไว้ ดอกบัวเหล่านั้นชุ่มชื่นเอิบอาบซาบซึมด้วยน้ำเย็นตั้งแต่ยอดถึงเหง้า
ไม่มีส่วนไหนที่น้ำเย็นจะไม่ถูกต้อง แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทำกายนี้ให้
ชุ่มชื่นเอิบอิ่มด้วยสุขอันไม่มีปีติ รู้สึกซาบซ่านอยู่ ไม่มีส่วนไหนของร่างกายที่สุขอัน
ไม่มีปีติจะไม่ถูกต้อง
ภิกษุผู้ไม่ประมาท ฯลฯ ภิกษุชื่อว่าเจริญกายคตาสติแม้ด้วยอาการ
อย่างนี้ (๑๗)
อีกประการหนึ่ง เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน
ภิกษุจึงบรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อยู่ เธอมีใจอันบริสุทธิ์ผุดผ่องนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้
ไม่มีส่วนไหนของร่างกายที่ใจอันบริสุทธิ์ผุดผ่องจะไม่ถูกต้อง เปรียบเหมือนบุรุษ
นั่งใช้ผ้าขาวคลุมตัวตลอดศีรษะ ไม่มีส่วนไหนของร่างกายที่ผ้าขาวจะไม่ปกคลุม แม้ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีใจอันบริสุทธิ์ผุดผ่องนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้ ไม่มีส่วนไหนของ
ร่างกายที่ใจอันบริสุทธิ์ผุดผ่องจะไม่ถูกต้อง๑
ภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่อย่างนี้ ย่อมละความ
ดำริที่สับสน อันอาศัยเรือนได้ เพราะละความดำริที่สับสนนั้นได้ จิตที่เป็นไปภาย
ในกายเท่านั้น ย่อมดำรงคงที่ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ภิกษุชื่อว่าเจริญ
กายคตาสติแม้ด้วยอาการอย่างนี้ (๑๘)


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๙. กายคตาสติสูตร

[๑๕๖] ภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเจริญ ทำให้มากแล้ว
กุศลธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นส่วนแห่งวิชชา๑ย่อมเป็นภาวนาที่หยั่งลงในจิตของ
ภิกษุนั้น มหาสมุทรอันผู้ใดผู้หนึ่งสัมผัสด้วยใจแล้ว แม่น้ำน้อยสายใดสายหนึ่งที่
ไหลไปสู่สมุทรย่อมปรากฏภายในจิตของผู้นั้น แม้ฉันใด กายคตาสติอันภิกษุรูปใด
รูปหนึ่งเจริญ ทำให้มากแล้ว กุศลธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นส่วนแห่งวิชชา
ย่อมเป็นภาวนาที่หยั่งลงในจิตของภิกษุนั้น๒ ฉันนั้นเหมือนกัน
ภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันภิกษุรูปใดรูปหนึ่งไม่เจริญ ไม่ทำให้มากแล้ว
มารย่อมได้ช่อง ได้อารมณ์๓ของภิกษุนั้น เปรียบเหมือนบุรุษเหวี่ยงก้อนศิลาหนัก
ไปที่กองดินเปียก เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ ก้อนศิลาหนักนั้น
จะพึงจมลงในกองดินเปียกนั้นได้ไหม”
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า “ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย อย่างนั้นเหมือนกัน กายคตาสติอันภิกษุรูปใดรูปหนึ่งไม่เจริญ
ไม่ทำให้มากแล้ว มารย่อมได้ช่อง ได้อารมณ์ของภิกษุนั้น
เปรียบเหมือนไม้แห้งสนิท ต่อมา บุรุษนำไปทำเป็นไม้สีไฟ ด้วยหวังว่า
‘เราจักก่อไฟให้เกิดความร้อนขึ้น’ เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ
บุรุษนั้นใช้ไม้ที่แห้งสนิทโน้นมาทำเป็นไม้สีไฟแล้วสีให้เป็นไฟเกิดความร้อนขึ้นได้ไหม”
“ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย อย่างนั้นเหมือนกัน กายคตาสติอันภิกษุรูปใดรูปหนึ่งไม่เจริญ
ไม่ทำให้มากแล้ว มารย่อมได้ช่อง ได้อารมณ์ของภิกษุนั้น
เปรียบเหมือนหม้อน้ำว่างเปล่า ที่เขาตั้งไว้บนเครื่องรอง ต่อมา บุรุษถือเอา
หม้อน้ำนั้นมาทำเป็นเครื่องตักน้ำ เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ
บุรุษนั้นจะพึงตักน้ำได้ไหม”
“ได้ พระพุทธเจ้าข้า”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๙. กายคตาสติสูตร

“ภิกษุทั้งหลาย อย่างนั้นเหมือนกัน กายคตาสติอันภิกษุรูปใดรูปหนึ่งไม่
เจริญ ไม่ทำให้มากแล้ว มารย่อมได้ช่อง ได้อารมณ์ของภิกษุนั้น
[๑๕๗] ภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเจริญ ทำให้มากแล้ว
มารย่อมไม่ได้ช่อง ไม่ได้อารมณ์ของภิกษุนั้น
เปรียบเหมือนบุรุษโยนกลุ่มด้ายเบา ๆ ลงบนแผ่นกระดานเรียบ ที่ทำด้วยไม้
แก่นล้วน เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ บุรุษนั้นพึงโยนกลุ่มด้าย
เบา ๆ นั้นลงบนแผ่นกระดานเรียบที่ทำด้วยไม้แก่นล้วนได้ไหม”
“ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย อย่างนั้นเหมือนกัน กายคตาสติอันภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเจริญ
ทำให้มากแล้ว มารย่อมไม่ได้ช่อง ไม่ได้อารมณ์ของภิกษุนั้น
เปรียบเหมือนไม้สดมียาง ต่อมา บุรุษนำไปทำเป็นไม้สีไฟ ด้วยหวังว่า
‘เราจักก่อไฟให้เกิดความร้อนขึ้น’ เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ
บุรุษนั้นเอาไม้สดที่มียางโน้นมาทำไม้สีไฟแล้วสีให้เป็นไฟเกิดความร้อนขึ้นได้ไหม”
“ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย อย่างนั้นเหมือนกัน กายคตาสติอันภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเจริญ
ทำให้มากแล้ว มารย่อมไม่ได้ช่อง ไม่ได้อารมณ์ของภิกษุนั้น
เปรียบเหมือนหม้อน้ำที่มีน้ำเต็มเปี่ยมเสมอขอบปาก พอที่กาจะดื่มได้ ที่
เขาตั้งไว้บนเครื่องรอง ต่อมา บุรุษถือเอาหม้อน้ำนั้นมาทำเป็นเครื่องตักน้ำ เธอ
ทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ บุรุษนั้นจะพึงตักน้ำได้ไหม”
“ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย อย่างนั้นเหมือนกัน กายคตาสติอันภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเจริญ
ทำให้มากแล้ว มารย่อมไม่ได้ช่อง ไม่ได้อารมณ์ของภิกษุนั้น
[๑๕๘] ภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเจริญ ทำให้มากแล้ว
ภิกษุนั้นน้อมจิตไปเพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วย
ปัญญาอันยิ่งใด ๆ เมื่อมีสติเป็นเหตุ ย่อมถึงความเป็นผู้ประจักษ์ชัดในธรรมที่ควร
ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งนั้น ๆ ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๙. กายคตาสติสูตร

เปรียบเหมือนหม้อน้ำ มีน้ำเต็มเปี่ยมเสมอขอบปาก พอที่กาจะดื่มได้ ที่
เขาตั้งไว้บนเครื่องรอง บุรุษผู้มีกำลังพึงเขย่าหม้อน้ำนั้นโดยวิธีใด ๆ น้ำนั้นจะพึง
ไหลมาโดยวิธีนั้น ๆ ได้ไหม”
“ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย อย่างนั้นเหมือนกัน กายคตาสติอันภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเจริญ
ทำให้มากแล้ว ภิกษุนั้นน้อมจิตไปเพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งธรรมที่ควร
ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งใด ๆ เมื่อมีสติเป็นเหตุ ย่อมถึงความเป็นผู้ประจักษ์ชัด
ในธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งนั้น ๆ ได้
เปรียบเหมือนสระโบกขรณีสี่เหลี่ยม ในพื้นที่ราบที่เขาพูนคันไว้ มีน้ำเต็ม
เปี่ยมเสมอขอบปาก พอที่การจะดื่มได้ บุรุษผู้มีกำลังเจาะคันสระโบกขรณีนั้นโดย
วิธีใด ๆ น้ำนั้นจะพึงไหลมาโดยวิธีนั้น ๆ ได้ไหม”
“ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย อย่างนั้นเหมือนกัน กายคตาสติอันภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเจริญ
ทำให้มากแล้ว ภิกษุนั้นน้อมจิตไปเพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งธรรมที่ควร
ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งใด ๆ เมื่อมีสติเป็นเหตุ ย่อมถึงความเป็นผู้ประจักษ์ชัด
ในธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งนั้น ๆ ได้
เปรียบเหมือนรถที่เขาเทียมม้าอาชาไนย มีแส้เสียบไว้ในระหว่างม้าทั้งสอง
จอดอยู่บนพื้นที่เรียบตรงทางใหญ่ ๔ แยก นายสารถีผู้ฝึกม้า เป็นอาจารย์ขับขี่
ผู้ชำนาญ ขึ้นรถนั้นแล้ว มือซ้ายจับเชือก มือขวาจับแส้ พึงขับรถไปยังที่ปรารถนาได้
แม้ฉันใด กายคตาสติก็ฉันนั้นเหมือนกัน อันภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเจริญ ทำให้มากแล้ว
เธอน้อมจิตไปเพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญา
อันยิ่งใด ๆ เมื่อมีสติเป็นเหตุ ย่อมถึงความเป็นผู้ประจักษ์ชัดในธรรมที่ควรทำให้
แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งนั้น ๆ ได้
[๑๕๙] ภิกษุทั้งหลาย เมื่อกายคตาสติอันภิกษุปฏิบัติ เจริญ ทำให้มาก
ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนือง ๆ สั่งสมแล้ว ปรารภเสมอดีแล้ว
เธอพึงหวังอานิสงส์ ๑๐ ประการนี้ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๙. กายคตาสติสูตร

๑. เป็นผู้อดกลั้นต่อความไม่ยินดีและความยินดีได้ ไม่ถูกความไม่ยินดี
ครอบงำ ย่อมครอบงำความไม่ยินดีที่เกิดขึ้นแล้วได้
๒. เป็นผู้อดกลั้นต่อภัยและความหวาดกลัวได้ ไม่ถูกภัยและความ
หวาดกลัวครอบงำ ย่อมครอบงำภัยและความหวาดกลัวที่เกิดขึ้น
แล้วได้
๓. เป็นผู้อดทนต่อความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย
ต่อการถูกเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย
รบกวน ต่อถ้อยคำหยาบคายร้ายแรงต่าง ๆ เป็นผู้อดกลั้นเวทนา
อันมีในร่างกายที่เกิดขึ้นแล้วเป็นทุกข์ กล้าแข็ง เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี
ไม่น่าพอใจ พรากชีวิตได้
๔. เป็นผู้ได้ฌาน ๔ ซึ่งเป็นอาภิเจตสิก๑ เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขใน
ปัจจุบัน เป็นผู้ได้ตามความปรารถนาโดยไม่ยาก โดยไม่ลำบาก
๕. บรรลุวิธีแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคน
ก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ แสดงให้ปรากฏ ฯลฯ ใช้
อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้
๖. ได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ (๑) เสียงทิพย์ (๒) เสียงมนุษย์
ทั้งที่อยู่ไกลและอยู่ใกล้ ด้วยหูทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ฯลฯ
๗. กำหนดรู้ใจของสัตว์อื่นและบุคคลอื่น คือ จิตมีราคะก็รู้ชัดว่า
‘จิตมีราคะ’ หรือจิตปราศจากราคะก็รู้ชัดว่า ‘จิตปราศจากราคะ’
จิตมีโทสะ ... หรือจิตปราศจากโทสะ ...
จิตมีโมหะ ... หรือจิตปราศจากโมหะ...
จิตหดหู่ ... หรือจิตฟุ้งซ่าน ...


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๙. กายคตาสติสูตร

จิตเป็นมหัคคตะ๑ ... หรือจิตไม่เป็นมหัคคตะ ...
จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ... หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ...
จิตเป็นสมาธิ ... หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ...
จิตหลุดพ้นก็รู้ชัดว่า ‘จิตหลุดพ้น’ หรือจิตไม่หลุดพ้นก็รู้ชัดว่า
‘จิตไม่หลุดพ้น’
๘. ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ฯลฯ
ย่อมระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไป และ
ชีวประวัติอย่างนี้
๙. เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม
เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ฯลฯ
ย่อมรู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม
๑๐. เพราะอาสวะสิ้นไป ย่อมทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ๒ ปัญญาวิมุตติ๓
อันไม่มีอาสวะ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน๔
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อกายคตาสติอันภิกษุปฏิบัติ เจริญ ทำให้มาก ทำให้เป็น
ดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนือง ๆ สั่งสมแล้ว ปรารภเสมอดีแล้ว เธอพึงหวัง
อานิสงส์ ๑๐ ประการนี้ได้”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

กายคตาสติสูตรที่ ๙ จบ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๑๐. สังขารูปปัตติสูตร

๑๐. สังขารูปปัตติสูตร
ว่าด้วยการเกิดขึ้นแห่งสังขาร
ปฏิปทาอันให้สำเร็จความปรารถนา

[๑๖๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียก
ภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความเกิดขึ้นแห่งสังขารแก่
เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
[๑๖๑] “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา
ประกอบด้วยศีล ประกอบด้วยสุตะ ประกอบด้วยจาคะ ประกอบด้วยปัญญา
ภิกษุนั้นมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ หลังจากตายแล้ว เราพึงเข้าถึงความ
เป็นผู้อยู่ร่วมกับขัตติยมหาศาล’ เธอตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น
สังขารและวิหารธรรม๑เหล่านั้นอันเธอเจริญ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ เป็นไปเพื่อ
ความเกิดขึ้นในขัตติยมหาศาลนั้นได้
ภิกษุทั้งหลาย มรรคนี้ ปฏิปทานี้ เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นในขัตติยมหาศาลนั้น
[๑๖๒] ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา
ประกอบด้วยศีล ประกอบด้วยสุตะ ประกอบด้วยจาคะ ประกอบด้วยปัญญา
ภิกษุนั้นมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ หลังจากตายแล้ว เราพึงเข้าถึงความ
เป็นผู้อยู่ร่วมกับพราหมณมหาศาล ฯลฯ หรือพึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับคหบดี


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๑๐. สังขารูปปัตติสูตร

มหาศาล’ เธอตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น สังขารและวิหารธรรม
เหล่านั้นอันเธอเจริญ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นในคหบดี
มหาศาลนั้นได้
ภิกษุทั้งหลาย มรรคนี้ ปฏิปทานี้ เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นในคหบดีมหาศาลนั้น
[๑๖๓] อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ประกอบด้วยศีล
ประกอบด้วยสุตะ ประกอบด้วยจาคะ ประกอบด้วยปัญญา ภิกษุนั้นได้ฟังว่า
‘เทพชั้นจาตุมหาราชมีอายุยืน มีผิวพรรณผ่องใส มีความสุขมาก’ ภิกษุนั้นมี
ความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ หลังจากตายแล้ว เราพึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่
ร่วมกับเทพชั้นจาตุมหาราช’ เธอตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น สังขาร
และวิหารธรรมเหล่านั้นอันเธอเจริญ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ เป็นไปเพื่อความเกิด
ขึ้นในเทพชั้นจาตุมหาราชนั้นได้
ภิกษุทั้งหลาย มรรคนี้ ปฏิปทานี้ เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นในเทพชั้น
จาตุมหาราชนั้น
[๑๖๔] อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ประกอบด้วยศีล
ประกอบด้วยสุตะ ประกอบด้วยจาคะ ประกอบด้วยปัญญา ภิกษุนั้นได้ฟังว่า
‘เทพชั้นดาวดึงส์ ฯลฯ เทพชั้นยามา ฯลฯ เทพชั้นดุสิต ฯลฯ เทพชั้นนิมมานรดี
ฯลฯ หรือเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดีมีอายุยืน มีผิวพรรณผ่องใส มีความสุขมาก’
ภิกษุนั้นมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ หลังจากตายแล้ว เราพึงถึงความ
เป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดี’ เธอตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น
สังขารและวิหารธรรมเหล่านั้นอันเธอเจริญ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ เป็นไปเพื่อความ
เกิดขึ้นในเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดีนั้นได้
ภิกษุทั้งหลาย มรรคนี้ ปฏิปทานี้ เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นในเทพชั้นปรนิมมิต
วสวัตดีนั้น
[๑๖๕] อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ประกอบด้วยศีล
ประกอบด้วยสุตะ ประกอบด้วยจาคะ ประกอบด้วยปัญญา ภิกษุนั้นได้ฟังว่า
‘สหัสสพรหมมีอายุยืน มีผิวพรรณผ่องใส มีความสุขมาก’ สหัสสพรหมน้อมจิต
แผ่ไปตลอด ๑,๐๐๐ โลกธาตุอยู่ แม้สัตว์ทั้งหลายที่เกิดแล้วในชั้นสหัสสพรหมนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๑๐. สังขารูปปัตติสูตร

ก็น้อมจิตแผ่ไปอยู่ เปรียบเหมือนบุรุษมีนัยน์ตาดี วางผลละหุ่งผลหนึ่งไว้ในมือแล้ว
พิจารณาดู แม้ฉันใด สหัสสพรหมก็ฉันนั้นเหมือนกัน น้อมจิตแผ่ไปตลอด ๑,๐๐๐
โลกธาตุอยู่ แม้สัตว์ทั้งหลายที่เกิดแล้วในชั้นสหัสสพรหมนั้น ก็น้อมจิตแผ่ไปอยู่
ภิกษุนั้นมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ หลังจากตายแล้ว เราพึงถึงความ
เป็นผู้อยู่ร่วมกับสหัสสพรหม’ เธอตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น สังขารและ
วิหารธรรมเหล่านั้นอันเธอเจริญ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้น
ในชั้นสหัสสพรหมนั้นได้
ภิกษุทั้งหลาย มรรคนี้ ปฏิปทานี้ เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นในชั้นสหัสสพรหมนั้น
[๑๖๖] อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ประกอบด้วยศีล
ประกอบด้วยสุตะ ประกอบด้วยจาคะ ประกอบด้วยปัญญา ภิกษุนั้นได้ฟังว่า
‘ทวิสหัสสพรหม ฯลฯ ติสหัสสพรหม ฯลฯ จตุสหัสสพรหม ฯลฯ หรือ
ปัญจสหัสสพรหมมีอายุยืน มีผิวพรรณผ่องใส มีความสุขมาก’ ปัญจสหัสสพรหม
ย่อมน้อมจิตแผ่ไปตลอด ๕,๐๐๐ โลกธาตุอยู่ แม้สัตว์ทั้งหลายที่เกิดแล้วในชั้น
ปัญจสหัสสพรหมนั้น ก็น้อมจิตแผ่ไปอยู่ เปรียบเหมือนบุรุษมีนัยน์ตาดี วางผล
ละหุ่ง ๕ ผลไว้ในมือแล้วพิจารณาดู แม้ฉันใด ปัญจสหัสสพรหมก็ฉันนั้นเหมือนกัน
น้อมจิตแผ่ไปตลอด ๕,๐๐๐ โลกธาตุอยู่ แม้สัตว์ทั้งหลายที่เกิดแล้วใน
ชั้นปัญจสหัสสพรหมนั้น ก็น้อมจิตแผ่ไปอยู่ ภิกษุนั้นมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า
‘โอหนอ หลังจากตายแล้ว เราพึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับปัญจสหัสสพรหม’
เธอตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น สังขารและวิหารธรรมเหล่านั้นอันเธอ
เจริญ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นในชั้นปัญจสหัสสพรหมนั้นได้
ภิกษุทั้งหลาย มรรคนี้ ปฏิปทานี้ เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นในชั้นปัญจสหัสส-
พรหมนั้น
[๑๖๗] อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ประกอบด้วยศีล
ประกอบด้วยสุตะ ประกอบด้วยจาคะ ประกอบด้วยปัญญา ภิกษุนั้นได้ฟังว่า
‘ทสสหัสสพรหมมีอายุยืน มีผิวพรรณผ่องใส มีความสุขมาก’ ทสสหัสสพรหม
น้อมจิตแผ่ไปตลอด ๑๐,๐๐๐ โลกธาตุ แม้สัตว์ทั้งหลายที่เกิดแล้วในชั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๑๐. สังขารูปปัตติสูตร

ทสสหัสสพรหมนั้น ก็น้อมจิตแผ่ไปอยู่ เปรียบเหมือนแก้วไพฑูรย์แปดเหลี่ยม
งามโชติช่วง อันเขาเจียระไนดีแล้ว วางไว้แล้วบนผ้ากัมพลเหลือง ย่อมส่องแสง
เรืองไพโรจน์ แม้ฉันใด ทสสหัสสพรหมก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมน้อมจิตแผ่ไป
ตลอด ๑๐,๐๐๐ โลกธาตุอยู่ แม้สัตว์ทั้งหลายที่เกิดแล้วในชั้นทสสหัสสพรหมนั้น
ก็น้อมจิตแผ่ไปอยู่ ภิกษุนั้นมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ หลังจากตายแล้ว
เราพึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับทสสหัสสพรหม’ เธอตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น
เจริญจิตนั้น สังขารและวิหารธรรมเหล่านั้นอันเธอเจริญ ทำให้มากแล้วอย่างนี้
เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นในชั้นทสสหัสสพรหมนั้นได้
ภิกษุทั้งหลาย มรรคนี้ ปฏิปทานี้ เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นในชั้นทสสหัสส-
พรหมนั้น
[๑๖๘] อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ประกอบด้วยศีล
ประกอบด้วยสุตะ ประกอบด้วยจาคะ ประกอบด้วยปัญญา ภิกษุนั้นได้ฟังว่า
‘สตสหัสสพรหมมีอายุยืน มีผิวพรรณผ่องใส มีความสุขเป็นกำลัง’ สตสหัสส-
พรหมน้อมจิตแผ่ไปตลอด ๑๐๐,๐๐๐ โลกธาตุอยู่ แม้สัตว์ทั้งหลายที่เกิดแล้วใน
ชั้นสตสหัสสพรหมนั้น ก็น้อมจิตแผ่ไปอยู่ เปรียบเหมือนแท่งทองชมพูนุทที่เขา
หลอมด้วยความชำนาญดีในเบ้าของช่างทองผู้ฉลาดแล้ววางไว้บนผ้ากัมพลเหลือง
ย่อมส่องแสงเรืองไพโรจน์ แม้ฉันใด สตสหัสสพรหมก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมน้อม
จิตแผ่ไป๑ ตลอด ๑๐๐,๐๐๐ โลกธาตุอยู่ แม้สัตว์ทั้งหลายที่เกิดแล้วในชั้น
สตสหัสสพรหมนั้น ก็น้อมจิตแผ่ไปอยู่ ภิกษุนั้นมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ
หลังจากตายแล้ว เราพึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับสตสหัสสพรหม’ เธอตั้งจิตนั้น
อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น สังขารและวิหารธรรมเหล่านั้นอันเธอเจริญ ทำให้
มากแล้วอย่างนี้ เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นในชั้นสตสหัสสพรหมนั้นได้
ภิกษุทั้งหลาย มรรคนี้ ปฏิปทานี้ เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นในชั้นสตสหัสส-
พรหมนั้น


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๑๐. สังขารูปปัตติสูตร

[๑๖๙] อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ประกอบด้วยศีล
ประกอบด้วยสุตะ ประกอบด้วยจาคะ ประกอบด้วยปัญญา ภิกษุนั้นได้ฟังว่า
‘เทพชั้นอาภา ฯลฯ เทพชั้นปริตตาภา ฯลฯ เทพชั้นอัปปมาณาภา ฯลฯ หรือ
เทพชั้นอาภัสสรามีอายุยืน มีผิวพรรณผ่องใส มีความสุขเป็นกำลัง’ ภิกษุนั้นมี
ความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ หลังจากตายแล้ว เราพึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่
ร่วมกับเทพชั้นอาภัสสรา’ เธอตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น สังขารและ
วิหารธรรมเหล่านั้นอันเธอเจริญ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นใน
พรหมชั้นอาภัสสรานั้นได้
ภิกษุทั้งหลาย มรรคนี้ ปฏิปทานี้ เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นในพรหมชั้น
อาภัสสรานั้น
[๑๗๐] อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ประกอบด้วยศีล
ประกอบด้วยสุตะ ประกอบด้วยจาคะ ประกอบด้วยปัญญา ภิกษุนั้นได้ฟังว่า
‘เทพชั้นสุภา ฯลฯ เทพชั้นปริตตสุภา ฯลฯ เทพชั้นอัปปมาณสุภา ฯลฯ หรือ
เทพชั้นสุภกิณหามีอายุยืน มีผิวพรรณผ่องใส ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย มรรคนี้ ปฏิปทานี้ เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นในเทพชั้น
สุภกิณหานั้น
[๑๗๑] อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ประกอบด้วยศีล
ประกอบด้วยสุตะ ประกอบด้วยจาคะ ประกอบด้วยปัญญา ภิกษุนั้นได้ฟังว่า
‘เทพชั้นเวหัปผลา ฯลฯ เทพชั้นอวิหา ฯลฯ เทพชั้นอตัปปา ฯลฯ เทพชั้นสุทัสสา
ฯลฯ เทพชั้นสุทัสสี ฯลฯ หรือเทพชั้นอกนิฏฐามีอายุยืน มีผิวพรรณผ่องใส
มีความสุขเป็นกำลัง’ ภิกษุนั้นมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ หลังจาก
ตายแล้ว เราพึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพชั้นอกนิฏฐา’ เธอตั้งจิตนั้น
อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น สังขารและวิหารธรรมเหล่านั้นอันเธอเจริญ ทำให้
มากแล้วอย่างนี้ เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นในเทพชั้นอกนิฏฐานั้นได้
ภิกษุทั้งหลาย มรรคนี้ ปฏิปทานี้ เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นในเทพชั้น
อกนิฏฐานั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๑๐. สังขารูปปัตติสูตร

[๑๗๒] อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ประกอบด้วยศีล
ประกอบด้วยสุตะ ประกอบด้วยจาคะ ประกอบด้วยปัญญา ภิกษุนั้นได้ฟังว่า
‘เทพผู้เข้าถึงอากาสานัญจายตนภูมิมีอายุยืน ดำรงอยู่นาน มีความสุขมาก’ ภิกษุ
นั้นมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ หลังจากตายแล้ว เราพึงเข้าถึงความเป็น
ผู้อยู่ร่วมกับเทพผู้เข้าถึงอากาสานัญจายตนภูมิ’ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย มรรคนี้ ปฏิปทานี้ เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นในเทพผู้เข้าถึง
อากาสานัญจายตนภูมินั้น
[๑๗๓] อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ประกอบด้วยศีล
ประกอบด้วยสุตะ ประกอบด้วยจาคะ ประกอบด้วยปัญญา ภิกษุนั้นได้ฟังว่า
‘เทพผู้เข้าถึงวิญญาณัญจายตนภูมิมีอายุยืน ดำรงอยู่นาน มีความสุขมาก’ ภิกษุ
นั้นมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ หลังจากตายแล้ว เราพึงเข้าถึงความเป็น
ผู้อยู่ร่วมกับเทพผู้เข้าถึงวิญญาณัญจายตนภูมิ’ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย มรรคนี้ ปฏิปทานี้ เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นในเทพผู้เข้าถึง
วิญญาณัญจายตนภูมินั้น
[๑๗๔] อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ประกอบด้วยศีล
ประกอบด้วยสุตะ ประกอบด้วยจาคะ ประกอบด้วยปัญญา ภิกษุนั้นได้ฟังว่า
‘เทพผู้เข้าถึงอากิญจัญญายตนภูมิ ฯลฯ เทพผู้เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ
มีอายุยืน ดำรงอยู่นาน มีความสุขมาก’ ภิกษุนั้นมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า
‘โอหนอ หลังจากตายแล้ว เราพึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพผู้เข้าถึง
เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ’ เธอตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น
สังขารและวิหารธรรมเหล่านั้นอันเธอเจริญ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ เป็นไปเพื่อ
ความเกิดขึ้นในเทพผู้เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนภูมินั้นได้
ภิกษุทั้งหลาย มรรคนี้ ปฏิปทานี้ เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นในเทพผู้เข้าถึง
เนวสัญญานาสัญญายตนภูมินั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] รวมพระสูตรที่มีในวรรค

[๑๗๕] ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา
ประกอบด้วยศีล ประกอบด้วยสุตะ ประกอบด้วยจาคะ ประกอบด้วยปัญญา
ภิกษุนั้นมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ เพราะอาสวะสิ้นไป เราพึงทำให้แจ้ง
เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน’
เพราะอาสวะสิ้นไป ภิกษุนั้นจึงทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบันได้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้ย่อมไม่เกิดในภพไหน ๆ อีก”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

สังขารูปปัตติสูตรที่ ๑๐ จบ
อนุปทวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อนุปทสูตร ๒. ฉวิโสธนสูตร
๓. สัปปุริสสูตร ๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร
๕. พหุธาตุกสูตร ๖. อิสิคิลิสูตร
๗. มหาจัตตารีสกสูตร ๘. อานาปานัสสติสูตร
๙. กายคตาสติสูตร ๑๐. สังขารูปปัตติสูตร

เกิดขึ้นในวันเพ็ญ ๒ วันเพ็ญ
คราวที่ดวงจันทร์บริสุทธิ์ปราศจากมลทิน
พระผู้มีพระภาคทรงปรารภเป็นธรรมอันมิใช่กิจของพระองค์
รวมกันขึ้นเป็นวรรคอันสำคัญชื่อว่าอนุปทวรรคที่ ๒
มีพระธรรมเทศนาอันประเสริฐที่ชนเป็นอันมากเสพแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๑. จูฬสุญญตสูตร

๓. สุญญตวรรค
หมวดว่าด้วยสุญญตา
๑. จูฬสุญญตสูตร
ว่าด้วยสุญญตา สูตรเล็ก

[๑๗๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปราสาทของมิคารมาตา ใน
บุพพาราม เขตกรุงสาวัตถี ครั้นเวลาเย็น ท่านพระอานนท์ออกจากที่หลีกเร้น
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร๑ ได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่นิคมของ
เจ้าศากยะชื่อนครกะ แคว้นสักกะ ณ ที่นั้น ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะ
พระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า ‘อานนท์ ปัจจุบันนี้ เราอยู่ด้วยสุญญตาวิหารธรรม๒
โดยมาก ข้อนี้ข้าพระองค์ได้สดับมาดีแล้ว รับมาดีแล้ว ใส่ใจไว้ดีแล้ว ทรงจำไว้
ดีแล้วหรือ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ถูกต้อง อานนท์ ข้อนั้นเธอสดับมาดีแล้ว รับมาดี
แล้ว ใส่ใจไว้ดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้ว ทั้งเมื่อก่อนและบัดนี้ เราอยู่ด้วยสุญญตา-
วิหารธรรมโดยมาก เปรียบเหมือนปราสาทของมิคารมาตาหลังนี้ ว่างจากช้าง โค
ม้า และลา ว่างจากทองและเงิน ว่างจากการชุมนุมของสตรีและบุรุษ ไม่ว่างอยู่
อย่างเดียวคือภิกษุสงฆ์เท่านั้น แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่ใส่ใจความ
สำคัญว่าบ้าน ไม่ใส่ใจความสำคัญว่ามนุษย์ ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะความสำคัญว่าป่า
จิตของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และน้อมไปในความสำคัญว่าป่า


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๑. จูฬสุญญตสูตร

ภิกษุนั้น รู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘ในความสำคัญว่าป่านี้ ไม่มีความกระวนกระวาย
เพราะอาศัยความสำคัญว่าบ้าน ไม่มีความกระวนกระวายเพราะอาศัยความสำคัญ
ว่ามนุษย์ มีอยู่เพียงความกระวนกระวายเพราะอาศัยความสำคัญว่าป่าอย่างเดียว’
รู้ชัดว่า ‘ความสำคัญนี้ว่างจากความสำคัญว่าบ้าน’
รู้ชัดว่า ‘ความสำคัญนี้ว่างจากความสำคัญว่ามนุษย์’
รู้ชัดว่า ‘ไม่ว่างอยู่อย่างเดียว คือ ความสำคัญว่าป่าเท่านั้น’ ด้วยอาการอย่างนี้
เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในความสำคัญนั้น
รู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในความสำคัญนั้นว่า ‘สิ่งที่ยังมีอยู่นี้มีอยู่’
อานนท์ การก้าวเข้าสู่สุญญตา(ความว่าง)ตามความเป็นจริง ไม่คลาดเคลื่อน
บริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น เป็นอย่างนี้
[๑๗๗] อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่ใส่ใจความสำคัญว่ามนุษย์ ไม่ใส่ใจความ
สำคัญว่าป่า ใส่ใจอยู่อย่างเดียว คือ ความสำคัญว่าแผ่นดินเท่านั้น จิตของเธอ
จึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และน้อมไปในความสำคัญว่าแผ่นดิน เปรียบเหมือน
หนังโคที่เขาขึงดีแล้วด้วยหลักตั้งร้อย เป็นของปราศจากรอยย่น แม้ฉันใด ภิกษุก็
ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่ใส่ใจถึงความลุ่ม ๆ ดอน ๆ แห่งแผ่นดินนี้ซึ่งมีแม่น้ำลำธาร
เต็มไปด้วยตอหนาม มีภูเขาและพื้นที่ไม่สม่ำเสมอทั้งหมด ใส่ใจอยู่อย่างเดียว คือ
ความสำคัญว่าแผ่นดินเท่านั้น จิตของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และน้อมไป
ในความสำคัญว่าแผ่นดิน
ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘ในความสำคัญว่าแผ่นดินนี้ ไม่มีความกระวนกระวาย
เพราะอาศัยความสำคัญว่ามนุษย์ ไม่มีความกระวนกระวายเพราะอาศัยความ
สำคัญว่าป่า มีอยู่เพียงความกระวนกระวายเพราะอาศัยความสำคัญว่าแผ่นดิน
อย่างเดียว’
รู้ชัดว่า ‘ความสำคัญนี้ว่างจากความสำคัญว่ามนุษย์’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๑. จูฬสุญญตสูตร

รู้ชัดว่า ‘ความสำคัญนี้ว่างจากความสำคัญว่าป่า’
รู้ชัดว่า ‘ไม่ว่างอยู่อย่างเดียว คือ ความสำคัญว่าแผ่นดินเท่านั้น’ ด้วย
อาการอย่างนี้ เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในความสำคัญนั้น
รู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในความสำคัญนั้นว่า ‘สิ่งที่ยังมีอยู่นี้มีอยู่’
อานนท์ การก้าวเข้าสู่สุญญตาตามความเป็นจริง ไม่คลาดเคลื่อน บริสุทธิ์
ของภิกษุนั้น เป็นอย่างนี้
[๑๗๘] อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่ใส่ใจความสำคัญว่าป่า ไม่ใส่ใจความสำคัญ
ว่าแผ่นดิน ใส่ใจอยู่อย่างเดียว คือ ความสำคัญว่าอากาสานัญจายตนะเท่านั้น จิต
ของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และน้อมไปในความสำคัญว่าอากาสานัญจายตนะ
ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘ในความสำคัญว่าอากาสานัญจายตนะนี้ ไม่มีความ
กระวนกระวายเพราะอาศัยความสำคัญว่าป่า ไม่มีความกระวนกระวายเพราะอาศัย
ความสำคัญว่าแผ่นดิน มีอยู่เพียงความกระวนกระวายเพราะอาศัยความสำคัญว่า
อากาสานัญจายตนะอย่างเดียว’
รู้ชัดว่า ‘ความสำคัญนี้ว่างจากความสำคัญว่าป่า’
รู้ชัดว่า ‘ความสำคัญนี้ว่างจากความสำคัญว่าแผ่นดินเท่านั้น’
รู้ชัดว่า ‘ไม่ว่างอยู่อย่างเดียว คือ ความสำคัญว่าอากาสานัญจายตนะเท่านั้น’
ด้วยอาการอย่างนี้ เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในความสำคัญ
นั้น
รู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในความสำคัญนั้นว่า ‘สิ่งที่ยังมีอยู่นี้มีอยู่’
อานนท์ การก้าวเข้าสู่สุญญตาตามความเป็นจริง ไม่คลาดเคลื่อน บริสุทธิ์
ของภิกษุนั้น เป็นอย่างนี้
[๑๗๙] อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่ใส่ใจความสำคัญว่าแผ่นดิน ไม่ใส่ใจ
ความสำคัญว่าอากาสานัญจายตนะ ใส่ใจอยู่อย่างเดียว คือ ความสำคัญว่า
วิญญาณัญจายตนะเท่านั้น จิตของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และน้อมไปใน
ความสำคัญว่าวิญญาณัญจายตนะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๑. จูฬสุญญตสูตร

ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘ในความสำคัญว่าวิญญาณัญจายตนะนี้ ไม่มีความ
กระวนกระวายเพราะอาศัยความสำคัญว่าแผ่นดิน ไม่มีความกระวนกระวายเพราะ
อาศัยความสำคัญว่าอากาสานัญจายตนะ มีอยู่เพียงความกระวนกระวายเพราะ
อาศัยความสำคัญว่าวิญญาณัญจายตนะอย่างเดียว’
รู้ชัดว่า ‘ความสำคัญนี้ว่างจากความสำคัญว่าแผ่นดิน’
รู้ชัดว่า ‘ความสำคัญนี้ว่างจากความสำคัญว่าอากาสานัญจายตนะ’
รู้ชัดว่า ‘ไม่ว่างอยู่อย่างเดียว คือ ความสำคัญว่าวิญญาณัญจายตนะเท่านั้น’
ด้วยอาการอย่างนี้ เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในความสำคัญ
นั้น
รู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในความสำคัญนั้นว่า ‘สิ่งที่ยังมีอยู่นี้มีอยู่’
อานนท์ การก้าวเข้าสู่สุญญตาตามความเป็นจริง ไม่คลาดเคลื่อน บริสุทธิ์
ของภิกษุนั้น เป็นอย่างนี้
[๑๘๐] อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่ใส่ใจความสำคัญว่าอากาสานัญจายตนะ
ไม่ใส่ใจความสำคัญว่าวิญญาณัญจายตนะ ใส่ใจอยู่อย่างเดียว คือ ความสำคัญว่า
อากิญจัญญายตนะเท่านั้น จิตของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และน้อมไปใน
ความสำคัญว่าอากิญจัญญายตนะ
ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘ในความสำคัญว่าอากิญจัญญายตนะนี้ ไม่มีความ
กระวนกระวายเพราะอาศัยความสำคัญว่าอากาสานัญจายตนะ ไม่มีความ
กระวนกระวายเพราะอาศัยความสำคัญว่าวิญญาณัญจายตนะ มีอยู่เพียงความ
กระวนกระวายเพราะอาศัยความสำคัญว่าอากิญจัญญายตนะอย่างเดียว’
รู้ชัดว่า ‘ความสำคัญนี้ว่างจากความสำคัญว่าอากาสานัญจายตนะ’
รู้ชัดว่า ‘ความสำคัญนี้ว่างจากความสำคัญว่าวิญญาณัญจายตนะ’
รู้ชัดว่า ‘ไม่ว่างอยู่อย่างเดียว คือ ความสำคัญว่าอากิญจัญญายตนะเท่านั้น’
ด้วยอาการอย่างนี้ เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในความสำคัญ
นั้น
รู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในความสำคัญนั้นว่า ‘สิ่งที่ยังมีอยู่นี้มีอยู่’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๑. จูฬสุญญตสูตร

อานนท์ การก้าวเข้าสู่สุญญตาตามความเป็นจริง ไม่คลาดเคลื่อน บริสุทธิ์
ของภิกษุนั้น เป็นอย่างนี้
[๑๘๑] อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่ใส่ใจความสำคัญว่าวิญญาณัญจายตนะ ไม่
ใส่ใจความสำคัญว่าอากิญจัญญายตนะ ใส่ใจอยู่อย่างเดียว คือ ความสำคัญว่า
เนวสัญญานาสัญญายตนะเท่านั้น จิตของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และ
น้อมไปในความสำคัญว่าเนวสัญญานาสัญญายตนะ
ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘ในความสำคัญว่าเนวสัญญานาสัญญายตนะนี้ ไม่มี
ความกระวนกระวายเพราะอาศัยความสำคัญว่าวิญญาณัญจายตนะ ไม่มีความ
กระวนกระวายเพราะอาศัยความสำคัญว่าอากิญจัญญายตนะ มีอยู่เพียงความ
กระวนกระวายเพราะอาศัยความสำคัญว่าเนวสัญญานาสัญญายตนะอย่างเดียว’
รู้ชัดว่า ‘ความสำคัญนี้ว่างจากความสำคัญว่าวิญญาณัญจายตนะ’
รู้ชัดว่า ‘ความสำคัญนี้ว่างจากความสำคัญว่าอากิญจัญญายตนะ’
รู้ชัดว่า ‘ไม่ว่างอยู่อย่างเดียว คือ ความสำคัญว่าเนวสัญญานาสัญญายตนะ
เท่านั้น’ ด้วยอาการอย่างนี้ เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ใน
ความสำคัญนั้น
รู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในความสำคัญนั้นว่า ‘สิ่งที่ยังมีอยู่นี้มีอยู่’
อานนท์ การก้าวเข้าสู่สุญญตาตามความเป็นจริง ไม่คลาดเคลื่อน บริสุทธิ์
ของภิกษุนั้น เป็นอย่างนี้
[๑๘๒] อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่ใส่ใจความสำคัญว่าอากิญจัญญายตนะ ไม่
ใส่ใจความสำคัญว่าเนวสัญญานาสัญญายตนะ ใส่ใจอยู่อย่างเดียว คือ เจโตสมาธิ
อันไม่มีนิมิต๑เท่านั้น จิตของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และน้อมไปใน
เจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๑. จูฬสุญญตสูตร

ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘ในเจโตสมาธินี้ ไม่มีความกระวนกระวายเพราะ
อาศัยความสำคัญว่าอากิญจัญญายตนะ ไม่มีความกระวนกระวายเพราะอาศัย
ความสำคัญว่าเนวสัญญานาสัญญายตนะ มีอยู่เพียงความกระวนกระวาย คือ
ความเกิดแห่งอายตนะ ๖ ที่อาศัยกายนี้เท่านั้น เพราะมีชีวิตเป็นปัจจัย’
รู้ชัดว่า ‘ความสำคัญนี้ว่างจากความสำคัญว่าอากิญจัญญายตนะ’
รู้ชัดว่า ‘ความสำคัญนี้ว่างจากความสำคัญว่าเนวสัญญานาสัญญายตนะ’
รู้ชัดว่า ‘ไม่ว่างอยู่อย่างเดียว คือ ความเกิดแห่งอายตนะ ๖ ที่อาศัยกายนี้
เท่านั้น เหตุมีชีวิตเป็นปัจจัย’ ด้วยอาการอย่างนี้ เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้น
ด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในเจโตสมาธินั้น
รู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในเจโตสมาธินั้นว่า ‘สิ่งที่ยังมีอยู่นี้มีอยู่’
อานนท์ การก้าวเข้าสู่สุญญตาตามความเป็นจริง ไม่คลาดเคลื่อน บริสุทธิ์
ของภิกษุนั้น เป็นอย่างนี้
[๑๘๓] อานนท์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่ใส่ใจความสำคัญว่าอากิญจัญญา-
ยตนะ ไม่ใส่ใจความสำคัญว่าเนวสัญญานาสัญญายตนะ ใส่ใจอยู่อย่างเดียว คือ
เจโตสมาธิอันไม่มีนิมิตเท่านั้น จิตของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และน้อมไปใน
เจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต
ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘เจโตสมาธิอันไม่มีนิมิตนี้ ยังถูกปัจจัยปรุงแต่งจูงใจได้
แต่สิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งจูงใจได้นั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา’ เมื่อภิกษุ
นั้นรู้อยู่อย่างนี้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตจึงหลุดพ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ
เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์
แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘ในญาณนี้ไม่มีความกระวนกระวายเพราะอาศัย
กามาสวะ ในญาณนี้ไม่มีความกระวนกระวายเพราะอาศัยภวาสวะ ในญาณนี้ไม่มี
ความกระวนกระวายเพราะอาศัยอวิชชาสวะ มีอยู่เพียงความกระวนกระวาย คือ
ความเกิดแห่งอายตนะ ๖ ที่อาศัยกายนี้เท่านั้น เพราะมีชีวิตเป็นปัจจัย’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๑. จูฬสุญญตสูตร

รู้ชัดว่า ‘ความสำคัญนี้ว่างจากกามาสวะ’
รู้ชัดว่า ‘ความสำคัญนี้ว่างจากภวาสวะ’
รู้ชัดว่า ‘ความสำคัญนี้ว่างจากอวิชชาสวะ’
รู้ชัดว่า ‘ไม่ว่างอยู่อย่างเดียว คือ ความเกิดแห่งอายตนะ ๖ ที่อาศัยกายนี้
เท่านั้น เพราะมีชีวิตเป็นปัจจัย’ ด้วยอาการอย่างนี้ เธอจึงพิจารณาเห็นความว่าง
นั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในเจโตสมาธินั้น
รู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในเจโตสมาธินั้นว่า ‘สิ่งที่ยังมีอยู่นี้มีอยู่’
อานนท์ การก้าวเข้าสู่สุญญตาตามความเป็นจริง ไม่คลาดเคลื่อน บริสุทธิ์
ยอดเยี่ยมอย่างยิ่งของภิกษุนั้น เป็นอย่างนี้
[๑๘๔] อานนท์ ในอดีต สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เข้าถึง
สุญญตา๑อันบริสุทธิ๒ยอดเยี่ยมอยู่ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดก็ได้เข้าถึง
สุญญตาอันบริสุทธิ์ยอดเยี่ยมนี้เท่านั้นอยู่
ในอนาคต สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งจักเข้าถึงสุญญตาอัน
บริสุทธิ์ยอดเยี่ยมอยู่ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดก็จักเข้าถึงสุญญตาอัน
บริสุทธิ์ยอดเยี่ยมนี้เท่านั้นอยู่
ในปัจจุบัน สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งย่อมเข้าถึงสุญญตาอัน
บริสุทธิ์ยอดเยี่ยมอยู่ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดย่อมเข้าถึงสุญญตาอัน
บริสุทธิ์ยอดเยี่ยมนี้เท่านั้นอยู่
อานนท์ เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ‘เราจักเข้าถึงสุญญตา
อันบริสุทธิ์ยอดเยี่ยมอยู่”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์มีใจยินดีชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

จูฬสุญญตสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๒. มหาสุญญตสูตร

๒. มหาสุญญตสูตร
ว่าด้วยสุญญตา สูตรใหญ่

[๑๘๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตกรุงกบิลพัสดุ์
แคว้นสักกะ ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร
เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงกบิลพัสดุ์ ทรงเที่ยวบิณฑบาตในกรุงกบิลพัสดุ์แล้ว
เสด็จกลับจากบิณฑบาตภายหลังเสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว จึงเสด็จเข้าไปยัง
วิหารของเจ้ากาฬเขมกศากยะ เพื่อทรงพักผ่อนในเวลากลางวัน สมัยนั้น ในวิหาร
ของเจ้ากาฬเขมกศากยะ มีเสนาสนะที่เขาจัดไว้เป็นอันมาก พระผู้มีพระภาคทอด
พระเนตรเห็นเสนาสนะที่เขาจัดไว้เป็นอันมากแล้ว มีพระดำริอย่างนี้ว่า “ในวิหาร
ของเจ้ากาฬเขมกศากยะ เขาจัดเสนาสนะไว้เป็นอันมาก ในที่นี้มีภิกษุอยู่จำนวน
มากหรือหนอ”
[๑๘๖] สมัยนั้น ท่านพระอานนท์กับภิกษุจำนวนมากกำลังตัดเย็บจีวรอยู่ใน
วิหารของเจ้าฆฏายศากยะ ครั้นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้น
แล้วเสด็จเข้าไปยังวิหารของเจ้าฆฏายศากยะ ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้
แล้วได้รับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “อานนท์ ในวิหารของเจ้ากาฬเขมก
ศากยะ เขาจัดเสนาสนะไว้เป็นอันมาก ที่นั่นมีภิกษุอยู่จำนวนมากหรือ”
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในวิหารของเจ้ากาฬ
เขมกศากยะนั่น มีภิกษุอยู่จำนวนมาก สมัยที่เป็นจีวรกาลของข้าพระองค์ทั้งหลาย
ก็กำลังดำเนินไปอยู่ พระพุทธเจ้าข้า”
“อานนท์ ภิกษุผู้พอใจการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ยินดีการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ
ประกอบเนือง ๆ ซึ่งความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ชอบคณะ ยินดีคณะ บันเทิงอยู่
ในคณะ ไม่งามเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๒. มหาสุญญตสูตร

เป็นไปไม่ได้๑ที่ภิกษุผู้พอใจการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ยินดีการคลุกคลีด้วยหมู่
คณะ ประกอบเนือง ๆ ซึ่งความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ชอบคณะ ยินดีคณะ
บันเทิงอยู่ในคณะ จักเป็นผู้ได้เนกขัมมสุข๒ ปวิเวกสุข๓ อุปสมสุข๔ สัมโพธิสุข๕
ตามปรารถนาได้โดยไม่ยาก โดยไม่ลำบาก
เป็นไปได้๖ที่ภิกษุผู้หลีกออกจากคณะ อยู่ตามลำพังผู้เดียว พึงหวังเนกขัมมสุข
ปวิเวกสุข อุปสมสุข สัมโพธิสุข จักเป็นผู้ได้สุขนั้น ตามปรารถนาได้โดยไม่ยาก
โดยไม่ลำบาก
เป็นไปไม่ได้ที่ภิกษุผู้พอใจการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ยินดีการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ
ประกอบเนือง ๆ ซึ่งความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ชอบคณะ ยินดีคณะ บันเทิงอยู่
ในคณะ จักบรรลุเจโตวิมุตติ๗ซึ่งเกิดขึ้นตามสมัย๘ อันน่ายินดี หรือโลกุตตรมรรค
ซึ่งมิได้เกิดขึ้นตามสมัย๙ อันไม่กำเริบได้
เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้หลีกออกจากคณะ อยู่ตามลำพังผู้เดียว พึงหวังบรรลุ
เจโตวิมุตติ ซึ่งเกิดขึ้นตามสมัย อันน่ายินดี หรือโลกุตตรมรรค ซึ่งมิได้เกิดขึ้น
ตามสมัย อันไม่กำเริบ๑๐


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๒. มหาสุญญตสูตร

อานนท์ เราไม่พิจารณาเห็นรูปอื่นแม้อย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นที่ไม่เกิดโสกะ
(ความเศร้าโศก) ปริเทวะ (ความคร่ำครวญ) ทุกข์ (ความไม่สบายกาย) โทมนัส
(ความไม่สบายใจ) และอุปายาส (ความคับแค้นใจ) เพราะรูปตามที่บุคคลกำหนัด
ยินดีกันแล้วแปรผันและเป็นอย่างอื่นเลย
[๑๘๗] อานนท์ ก็วิหารธรรมนี้แลที่ตถาคตตรัสรู้แล้วในที่นั้นคือ ตถาคต
เข้าสุญญตา๑ในภายใน เพราะไม่ใส่ใจนิมิตทั้งปวงอยู่ ถ้าภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก
อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา เดียรถีย์ สาวกเดียรถีย์ เข้ามา
หาตถาคตผู้มีโชค อยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ในที่นั้น ตถาคตย่อมมีจิตน้อมไปในวิเวก๒
โน้มไปในวิเวก โอนไปในวิเวก หลีกออกแล้ว ยินดียิ่งแล้วในเนกขัมมะ เป็นผู้สิ้นสุด
จากธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะโดยประการทั้งปวง เป็นผู้ทำการเจรจาที่เกี่ยวเนื่อง
ด้วยการชักชวนเท่านั้น ในบริษัทนั้นโดยแท้
อานนท์ เพราะเหตุนั้น ถ้าภิกษุ แม้หวังว่า ‘เราพึงเข้าสุญญตาใน
ภายในอยู่’ ภิกษุนั้นพึงตั้งจิตไว้ในภายใน ทำจิตให้สงบ ทำจิตให้มีธรรมเอกผุดขึ้น
ตั้งจิตให้มั่น
[๑๘๘] ภิกษุตั้งจิตไว้ในภายใน ทำจิตให้สงบ ทำจิตให้มีธรรมเอกผุดขึ้น
ตั้งจิตให้มั่น เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม และอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ
ปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ ... บรรลุทุติยฌาน ...
บรรลุตติยฌาน ... บรรลุจตุตถฌาน ...
ภิกษุตั้งจิตไว้ในภายใน ทำจิตให้สงบ ทำจิตให้มีธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งจิตให้มั่น
เป็นอย่างนี้
ภิกษุนั้นใส่ใจสุญญตาในภายใน เมื่อเธอใส่ใจสุญญตาในภายใน จิตจึงไม่แล่นไป
ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่น และไม่น้อมไปในสุญญตาในภายใน เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุ
ย่อมรู้ชัดสุญญตานั้นที่มีอยู่อย่างนี้ว่า ‘เมื่อเราใส่ใจสุญญตาในภายใน จิตจึง
ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่น และไม่น้อมไปในสุญญตาในภายใน’


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๒. มหาสุญญตสูตร

ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นผู้มีสัมปชัญญะในสุญญตาในภายในนั้น ด้วยอาการอย่างนี้
ภิกษุนั้นใส่ใจสุญญตาในภายนอก ฯลฯ
ภิกษุนั้นใส่ใจสุญญตาในภายในและในภายนอก ฯลฯ
ภิกษุนั้นใส่ใจอาเนญชสมาบัติ เมื่อเธอใส่ใจอาเนญชสมาบัติ๑ จิตจึงไม่แล่นไป
ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่น และไม่น้อมไปในอาเนญชสมาบัติ เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุ
ย่อมรู้ชัดอาเนญชสมาบัตินั้นที่มีอยู่อย่างนี้ว่า ‘เมื่อเราใส่ใจอาเนญชสมาบัติ จิตจึง
ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่น และไม่น้อมไปในอาเนญชสมาบัติ’
ภิกษุนั้นเป็นผู้มีสัมปชัญญะ๒ในอาเนญชสมาบัตินั้นได้ ด้วยอาการอย่างนี้
ภิกษุนั้นตั้งจิตไว้ในภายใน ทำจิตให้สงบ ทำจิตให้มีธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งจิต
ให้มั่นในสมาธินิมิตในเบื้องต้นนั้นแล ภิกษุนั้นใส่ใจสุญญตาในภายใน เมื่อเธอใส่
ใจสุญญตาในภายใน จิตจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และน้อมไปในสุญญตาในภายใน
เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดสุญญตานั้นที่มีอยู่อย่างนี้ว่า ‘เมื่อเราใส่ใจสุญญตา
ในภายใน จิตจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และน้อมไปในสุญญตาในภายใน’
ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นผู้มีสัมปชัญญะในสุญญตาในภายในนั้น ด้วยอาการอย่างนี้
ภิกษุนั้นใส่ใจสุญญตาในภายนอก ฯลฯ
ภิกษุนั้นใส่ใจสุญญตาในภายในและในภายนอก ฯลฯ
ภิกษุนั้นใส่ใจอาเนญชสมาบัติ เมื่อเธอใส่ใจอาเนญชสมาบัติ จิตจึงแล่นไป เลื่อมใส
ตั้งมั่น และน้อมไปในอาเนญชสมาบัติ เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดอาเนญช
สมาบัตินั้นที่มีอยู่อย่างนี้ว่า ‘เมื่อเราใส่ใจอาเนญชสมาบัติ จิตจึงแล่นไป เลื่อมใส
ตั้งมั่น และน้อมไปในอาเนญชสมาบัติ’
ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นผู้มีสัมปชัญญะในอาเนญชสมาบัติ ด้วยอาการอย่างนี้
[๑๘๙] อานนท์ หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรม๓อย่างนี้ จิตย่อมน้อมไป
เพื่อการเดินจงกรม ภิกษุนั้นจึงเดินจงกรมด้วยหวังว่า ‘บาปอกุศลธรรมคืออภิชฌา
และโทมนัส จักครอบงำเราผู้เดินจงกรมอยู่อย่างนี้ไม่ได้’


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๒. มหาสุญญตสูตร

ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นผู้มีสัมปชัญญะ๑ในการเดินจงกรมนั้น ด้วยอาการอย่างนี้
หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อการยืน ภิกษุนั้นจึง
ยืนด้วยหวังว่า ‘บาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัส จักครอบงำเราผู้ยืนอยู่
แล้วอย่างนี้ไม่ได้’
ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นผู้มีสัมปชัญญะในการยืนนั้น ด้วยอาการอย่างนี้
หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อการนั่ง ภิกษุนั้นจึง
นั่งด้วยหวังว่า ‘บาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัส จักครอบงำเราผู้นั่งอยู่แล้ว
อย่างนี้ไม่ได้’
ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นผู้มีสัมปชัญญะในการนั่งนั้น ด้วยอาการอย่างนี้
หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อการนอน ภิกษุนั้น
จึงนอนด้วยหวังว่า ‘บาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัส จักครอบงำเราผู้นอน
อยู่อย่างนี้ไม่ได้’
ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นผู้มีสัมปชัญญะในการนอนนั้น ด้วยอาการอย่างนี้
หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อการพูด เธอใส่ใจว่า
‘เราจักไม่พูดเรื่องเห็นปานนี้ คือ เรื่องพระราชา เรื่องโจร เรื่องมหาอำมาตย์
เรื่องกองทัพ เรื่องภัย เรื่องการรบ เรื่องข้าว เรื่องน้ำ เรื่องผ้า เรื่องที่นอน
เรื่องพวงดอกไม้ เรื่องของหอม เรื่องญาติ เรื่องยาน เรื่องบ้าน เรื่องนิคม
เรื่องเมือง เรื่องชนบท เรื่องสตรี เรื่องคนกล้าหาญ เรื่องตรอก เรื่องท่าน้ำ
เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว เรื่องเบ็ดเตล็ด เรื่องโลก เรื่องทะเล เรื่องความเจริญและ
ความเสื่อม๒ ซึ่งเป็นเรื่องเลวทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของ
พระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด
เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ และเพื่อนิพพาน
ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นผู้มีสัมปชัญญะในการพูดนั้น ด้วยอาการอย่างนี้


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๒. มหาสุญญตสูตร

ภิกษุนั้นใส่ใจว่า ‘เราจักพูดเรื่องเห็นปานนี้ คือ เรื่องความมักน้อย เรื่อง
ความสันโดษ เรื่องความสงัด เรื่องความไม่คลุกคลีกัน เรื่องการปรารภความเพียร
เรื่องศีล เรื่องสมาธิ เรื่องปัญญา เรื่องวิมุตติ เรื่องวิมุตติญาณทัสสนะ‘๑ ซึ่งเป็น
เรื่องขัดเกลากิเลสอย่างยิ่ง เป็นสัปปายะแก่ความเป็นไปแห่งจิต๒ เป็นไปเพื่อความ
เบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง
เพื่อตรัสรู้ และเพื่อนิพพาน
ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นผู้มีสัมปชัญญะในการพูดนั้น ด้วยอาการอย่างนี้
หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อการตรึก ภิกษุนั้น
ใส่ใจว่า ‘เราจักไม่ตรึกในวิตกเห็นปานนี้ คือ กามวิตก(ความตรึกในกาม)
พยาบาทวิตก(ความตรึกในพยาบาท) วิหิงสาวิตก(ความตรึกในการเบียดเบียน)
ซึ่งเป็นวิตกเลวทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่
ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ
เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ และเพื่อนิพพาน’
ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นผู้มีสัมปชัญญะในการตรึกนั้น ด้วยอาการอย่างนี้
ภิกษุนั้นใส่ใจว่า ‘เราจักตรึกในวิตกเห็นปานนี้ คือ เนกขัมมวิตก(ความตรึก
ที่จะออกจากกาม) อพยาบาทวิตก(ความตรึกในการไม่พยาบาท) อวิหิงสาวิตก
(ความตรึกในการไม่เบียดเบียน) ซึ่งเป็นวิตกของพระอริยะ เป็นเครื่องนำออก ที่
นำออกเพื่อความสิ้นทุกข์ โดยชอบแก่บุคคลผู้ทำตาม’
ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นผู้มีสัมปชัญญะในการตรึกนั้น ด้วยอาการอย่างนี้


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๒. มหาสุญญตสูตร

[๑๙๐] อานนท์ กามคุณ ๕ ประการนี้
กามคุณ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
๒. เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ...
๓. กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ...
๔. รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ...
๕. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
อานนท์ กามคุณ ๕ ประการนี้
ภิกษุพึงพิจารณาจิตของตนเนือง ๆ ว่า ‘ข้อที่จิตฟุ้งขึ้นในเพราะกามคุณ
๕ นี้ ซึ่งเกิดขึ้นในกามคุณอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือในอายตนะอย่างใดอย่างหนึ่ง
มีอยู่แก่เราหรือ’ หากภิกษุพิจารณาอยู่ รู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘ข้อที่จิตฟุ้งขึ้นในกามคุณ
๕ นี้ซึ่งเกิดขึ้นในกามคุณอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือในอายตนะอย่างใดอย่างหนึ่ง มี
อยู่แก่เรา’ เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดข้อที่จิตฟุ้งขึ้นนั้น อย่างนี้ว่า ‘ฉันทราคะ๑
ในกามคุณ ๕ นี้ เรายังละไม่ได้’
ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นผู้มีสัมปชัญญะ๒ในฉันทราคะในกามคุณ ๕ นี้ ที่ยังละ
ไม่ได้นั้น ด้วยอาการอย่างนี้
แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘ข้อที่จิตฟุ้งขึ้นในเพราะกามคุณ
๕ นี้ซึ่งเกิดขึ้นในกามคุณอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือในอายตนะอย่างใดอย่างหนึ่งไม่มี
แก่เราเลย’ เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ข้อที่จิตฟุ้งขึ้นนั้น อย่างนี้ว่า ‘ฉันทราคะ
ในกามคุณ ๕ นี้ เราละได้แล้ว’


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๒. มหาสุญญตสูตร

ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นผู้มีสัมปชัญญะในฉันทราคะในกามคุณ ๕ นี้ ที่ละได้แล้วนั้น
ด้วยอาการอย่างนี้
[๑๙๑] อานนท์ อุปาทานขันธ์ ๕ นี้ เป็นธรรมที่ภิกษุผู้พิจารณาเห็น
ทั้งความเกิดและความดับว่า ‘อย่างนี้รูป อย่างนี้ความเกิดแห่งรูป อย่างนี้ความ
ดับแห่งรูป
อย่างนี้เวทนา ฯลฯ
อย่างนี้สัญญา ฯลฯ
อย่างนี้สังขาร ฯลฯ
อย่างนี้วิญญาณ อย่างนี้ความเกิดแห่งวิญญาณ อย่างนี้ความดับแห่ง
วิญญาณ’๑
ภิกษุนั้นผู้พิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับในอุปาทานขันธ์ ๕ นี้อยู่
ย่อมละอัสมิมานะ๒ในอุปาทานขันธ์ ๕ ได้ เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัด
อัสมิมานะที่ละได้แล้วนั้น อย่างนี้ว่า ‘อัสมิมานะในอุปาทานขันธ์ ๕ นี้ เราละได้
แล้ว’
ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นผู้มีสัมปชัญญะในอัสมิมานะในอุปาทานขันธ์ ๕ นี้ ที่ละได้
แล้วนั้น ด้วยอาการอย่างนี้
ธรรมเหล่านี้๓ เนื่องมาจากกุศลโดยส่วนเดียว ไกลจากข้าศึก เป็นโลกุตตระ
อันมารผู้มีบาปหยั่งลงไม่ได้
อานนท์ เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ สาวกพิจารณาเห็นอำนาจ
ประโยชน์อะไร จึงควรติดตามศาสดาอย่างใกล้ชิด”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๒. มหาสุญญตสูตร

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาค
เป็นหลัก มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่ง ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เฉพาะพระผู้มีพระภาคเท่านั้นที่จะทรงอธิบาย
เนื้อความแห่งพระภาษิตนั้นให้แจ่มแจ้งได้ ภิกษุทั้งหลายฟังจากพระผู้มีพระภาค
แล้วจักทรงจำไว้”
[๑๙๒] “อานนท์ สาวกไม่ควรติดตามศาสดาเพียงเพื่อฟังสุตะ เคยยะ และ
เวยยากรณะ
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะธรรมทั้งหลายอันเธอทั้งหลายสดับ ทรงจำ คล่องปาก เพ่งพินิจ
ด้วยจิต รู้แจ้งแทงตลอดดีแล้ว สิ้นกาลช้านาน แต่สาวกก็ควรติดตามศาสดา
อย่างใกล้ชิด เพื่อฟังเรื่องเห็นปานนี้ คือ เรื่องความมักน้อย เรื่องความสันโดษ
เรื่องความสงัด เรื่องความไม่คลุกคลีกัน เรื่องการปรารภความเพียร เรื่องศีล
เรื่องสมาธิ เรื่องปัญญา เรื่องวิมุตติ เรื่องวิมุตติญาณทัสสนะ ซึ่งเป็นเรื่องขัดเกลา
กิเลสอย่างยิ่ง เป็นสัปปายะแก่ความเป็นไปแห่งจิต เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายโดย
ส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ และ
เพื่อนิพพาน
อานนท์ เมื่อเป็นเช่นนั้น อุปัทวะของอาจารย์จึงมีได้ เมื่อเป็นเช่นนั้น
อุปัทวะของศิษย์จึงมีได้ เมื่อเป็นเช่นนั้น อุปัทวะของผู้ประพฤติพรหมจรรย์จึงมีได้
[๑๙๓] อุปัทวะของอาจารย์ เป็นอย่างไร
คือ ศาสดา๑บางคนในโลกนี้ พักอยู่ ณ เสนาสนะอันเงียบสงัด คือ ป่า โคนไม้
ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง และลอมฟาง เมื่อศาสดานั้นหลีกออก
อยู่อย่างนั้น พราหมณ์และคหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท จะพากันเข้าไปหา
เมื่อพราหมณ์และคหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท พากันเข้าไปหาแล้ว ศาสดานั้น


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๒. มหาสุญญตสูตร

ย่อมยินดีความหมกมุ่น ถึงความอยากได้ จะเวียนกลับมาเพื่อความเป็นผู้มักมาก
ศาสดานี้เราเรียกว่าอาจารย์มีอุปัทวะ ด้วยอุปัทวะของอาจารย์ บาปอกุศลธรรม
อันเศร้าหมอง เป็นเหตุเกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก
เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชราและมรณะต่อไป ก็ได้ฆ่าศาสดานั้น
อานนท์ อุปัทวะของอาจารย์ เป็นอย่างนี้
[๑๙๔] อุปัทวะของศิษย์ เป็นอย่างไร
คือ สาวกของศาสดานั้น เมื่อเพิ่มพูนความสงัดตามศาสดานั้น จึงพักอยู่
ณ เสนาสนะอันเงียบสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง
และลอมฟาง เมื่อสาวกนั้นหลีกออกอยู่อย่างนั้น พราหมณ์และคหบดี ชาวนิคม
และชาวชนบท จะพากันเข้าไปหา เมื่อพราหมณ์และคหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท
พากันเข้าไปหาแล้ว สาวกนั้นย่อมยินดีความหมกมุ่น ถึงความอยากได้ จะเวียน
กลับมาเพื่อความเป็นผู้มักมาก สาวกนี้เราเรียกว่าศิษย์มีอุปัทวะ ด้วยอุปัทวะของ
ศิษย์ บาปอกุศลธรรมอันเศร้าหมอง เป็นเหตุเกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย
มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชราและมรณะต่อไป ก็ได้ฆ่าสาวกนั้น
อานนท์ อุปัทวะของศิษย์ เป็นอย่างนี้
[๑๙๕] อุปัทวะของผู้ประพฤติพรหมจรรย์ เป็นอย่างไร
คือ ตถาคตอุบัติขึ้นมาในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยตนเองโดยชอบ
เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่าง
ยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้
มีพระภาค ตถาคตนั้นย่อมพักอยู่ ณ เสนาสนะอันเงียบสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา
ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง และลอมฟาง เมื่อตถาคตนั้นหลีกออกอยู่อย่างนั้น
พราหมณ์และคหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท จะพากันเข้าไปหา เมื่อพราหมณ์
และคหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท พากันเข้าไปหาแล้ว ตถาคตนั้นย่อมไม่ยินดี
ความหมกมุ่น ไม่ถึงความอยากได้ ไม่เวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมาก
ส่วนสาวกของตถาคตผู้ศาสดานั้น เมื่อเพิ่มพูนความสงัดตามตถาคตผู้ศาสดา
พระองค์นั้น ย่อมพักอยู่ ณ เสนาสนะอันเงียบสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๒. มหาสุญญตสูตร

ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง และลอมฟาง เมื่อสาวกนั้นหลีกออกอยู่อย่างนั้น
พราหมณ์และคหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท ย่อมพากันเข้าไปหา เมื่อพราหมณ์
และคหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท พากันเข้าไปหาแล้ว สาวกนั้นย่อมยินดี
ความหมกมุ่น ถึงความอยากได้ จะกลับเวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมาก สาวกนี้
เราเรียกว่าผู้ประพฤติพรหมจรรย์มีอุปัทวะ ด้วยอุปทวะของผู้ประพฤติพรหมจรรย์
บาปอกศุลธรรมอันเศร้าหมอง เป็นเหตุเกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย
มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติชราและมรณะต่อไป ก็ได้ฆ่าสาวกนั้น
อานนท์ อุปัทวะของผู้ประพฤติพรหมจรรย์ เป็นอย่างนี้
อานนท์ บรรดาอุปัทวะทั้ง ๓ ประการนั้น อุปัทวะของผู้ประพฤติพรหมจรรย์นี้
มีวิบากเป็นทุกข์ มีวิบากเผ็ดร้อนกว่าอุปัทวะของอาจารย์และอุปัทวะของศิษย์ เป็น
ไปเพื่อความตกต่ำ
[๑๙๖] อานนท์ เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายจงประพฤติต่อเราด้วยวัตรของ
มิตรเถิด อย่าประพฤติต่อเราด้วยวัตรของศัตรูเลย ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์
เกื้อกูลและเพื่อความสุขแก่เธอทั้งหลาย ตลอดกาลนาน
สาวกทั้งหลายย่อมประพฤติต่อศาสดาด้วยวัตรของศัตรู ไม่ประพฤติด้วย
วัตรของมิตร เป็นอย่างไร
คือ ศาสดาในธรรมวินัยนี้เป็นผู้อนุเคราะห์ แสวงหาประโยชน์ อาศัยความ
เอ็นดู จึงแสดงธรรมสอนสาวกทั้งหลายว่า ‘เรื่องนี้เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและ
เพื่อความสุขแก่เธอทั้งหลาย’ สาวกของศาสดานั้นกลับไม่ตั้งใจฟัง ไม่ตั้งใจเพื่อจะรู้
และยังหลีกเลี่ยงที่จะประพฤติตามคำสั่งสอน๑
สาวกทั้งหลายย่อมประพฤติต่อศาสดาด้วยวัตรของศัตรู ไม่ประพฤติด้วยวัตร
ของมิตร เป็นอย่างนี้
สาวกทั้งหลายย่อมประพฤติต่อศาสดาด้วยวัตรของมิตร ไม่ประพฤติด้วย
วัตรของศัตรู เป็นอย่างไร


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๓. อัจฉริยพภูตธัมมสูตร

คือ ศาสดาในธรรมวินัยนี้เป็นผู้อนุเคราะห์ แสวงหาประโยชน์ อาศัยความ
เอ็นดู จึงแสดงธรรมสอนสาวกว่า ‘เรื่องนี้เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและเพื่อ
ความสุขแก่เธอทั้งหลาย’ สาวกของศาสดานั้นก็ตั้งใจฟัง ตั้งใจเพื่อจะรู้ และไม่
หลีกเลี่ยงที่จะประพฤติตามคำสั่งสอน
สาวกทั้งหลายย่อมประพฤติต่อศาสดาด้วยวัตรของมิตร ไม่ประพฤติด้วยวัตร
ของศัตรู เป็นอย่างนี้
อานนท์ เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายจงเรียกร้องเราเพื่อเป็นมิตรเถิด อย่า
เรียกร้องเราเพื่อเป็นศัตรูเลย ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและเพื่อความสุข
แก่เธอทั้งหลาย ตลอดกาลนาน
อานนท์ เราจักไม่ประคับประคองเธอทั้งหลาย เหมือนช่างหม้อประคับ
ประคองภาชนะดินดิบที่ยังดิบอยู่ เราจักกล่าวข่มแล้วข่มอีก จักกล่าวยกย่องแล้ว
ยกย่องอีก บุคคลใดมีแก่นสาร๑ บุคคลนั้นจักดำรงอยู่”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์มีใจยินดีชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

มหาสุญญตสูตรที่ ๒ จบ

๓. อัจฉริยัพภูตธัมมสูตร
ว่าด้วยอัจฉริยัพภูตธรรมของพระพุทธองค์

[๑๙๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล ภิกษุจำนวนมากกลับจากบิณฑบาต
ภายหลังฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว นั่งประชุมกันในหอฉัน ได้เกิดการสนทนากันขึ้น
ในระหว่างการประชุมว่า


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๓. อัจฉริยพภูตธัมมสูตร

“ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ พระตถาคตทรงมี
ฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ทรงระลึกถึงพระพุทธเจ้าในอดีต ผู้ปรินิพพานแล้ว ผู้ตัด
ปปัญจธรรม๑ได้แล้ว ทรงตัดตอแห่งวัฏฏะ๒ ครอบงำวัฏฏะ ล่วงทุกข์ทั้งปวง
ได้แล้ว ทรงทราบว่า ‘พระผู้มีพระภาคเหล่านั้น มีพระชาติอย่างนี้เพราะ
เหตุนี้บ้าง มีพระนามอย่างนี้เพราะเหตุนี้บ้าง ทรงมีโคตรตระกูลอย่างนี้เพราะเหตุนี้
บ้าง ทรงมีศีลอย่างนี้๓เพราะเหตุนี้บ้าง ทรงมีธรรมอย่างนี้๔เพราะเหตุนี้บ้าง ทรง
มีปัญญาอย่างนี้๕เพราะเหตุนี้บ้าง ทรงมีวิหารธรรมอย่างนี้๖เพราะเหตุนี้บ้าง ทรงมี
วิมุตติอย่างนี๗เพราะเหตุนี้บ้าง”
เมื่อภิกษุเหล่านั้นสนทนากันอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กล่าวกับภิกษุ
เหล่านั้นว่า “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระตาถคตทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคย
ปรากฏ และประกอบด้วยธรรมอันน่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ”
เรื่องนี้แลที่ภิกษุเหล่านั้นสนทนากันค้างไว้
[๑๙๘] ครั้นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้น เสด็จไปที่
หอฉัน ประทับนั่งบนพระพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้ แล้วได้รับสั่งเรียกภิกษุเหล่านั้นมา
ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เวลานี้เธอทั้งหลายนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร
พูดเรื่องอะไรค้างไว้”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๓. อัจฉริยพภูตธัมมสูตร

ภิกษุเหล่านั้นทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส
ข้าพระองค์ทั้งหลายกลับจากบิณฑบาต ภายหลังฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว นั่ง
ประชุมกันในหอฉัน สนทนากันในระหว่างการประชุมว่า ‘ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ พระตถาคตทรงมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ทรง
ระลึกถึงพระพุทธเจ้าในอดีต ผู้ปรินิพพานแล้ว ผู้ตัดปปัญจธรรมได้แล้ว ทรงตัด
ตอแห่งวัฏฏะ ครอบงำวัฏฏะ ล่วงทุกข์ทั้งปวงได้แล้ว จักทรงทราบว่า ‘พระผู้มี
พระภาคเหล่านั้น มีพระชาติอย่างนี้เพราะเหตุนี้บ้าง มีพระนามอย่างนี้ ... มี
โคตรตระกูลอย่างนี้ ... ทรงมีศีลอย่างนี้ ... ทรงมีธรรมอย่างนี้ ... ทรงมีปัญญา
อย่างนี้ ... ทรงมีวิหารธรรมอย่างนี้ ... ทรงมีวิมุตติอย่างนี้เพราะเหตุนี้บ้าง’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์ทั้งหลายสนทนากันอย่างนี้แล้ว ท่าน
พระอานนท์ได้กล่าวกับข้าพระองค์ทั้งหลายว่า ‘ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระตถาคต
ทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ และประกอบด้วยธรรมอันน่าอัศจรรย์จริง
ไม่เคยปรากฏ’ เรื่องนี้แลที่ข้าพระองค์ทั้งหลายสนทนากันค้างไว้ ก็พอดีพระผู้มี
พระภาคเสด็จมาถึง พระพุทธเจ้าข้า”

ธรรมอันน่าอัศจรรย์ ๒๐ ประการ

[๑๙๙] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า
“อานนท์ เพราะเหตุนั้น เธอจงอธิบายธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ของ
ตถาคตให้แจ่มแจ้งยิ่งขึ้นไปเถิด”
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
๑. ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีภาคว่า ‘อานนท์
พระโพธิสัตว์๑มีสติสัมปชัญญะ ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต’ แม้
ข้อที่พระโพธิสัตว์มีสติสัมปชัญญะ ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิตนี้
ข้าพระองค์ก็จำได้ว่าเป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ของ
พระผู้มีพระภาค


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๓. อัจฉริยพภูตธัมมสูตร

๒. ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีภาคว่า ‘อานนท์
พระโพธิสัตว์มีสติสัมปชัญญะ จึงสถิตอยู่ในสวรรค์ชั้นดุสิต’
แม้ข้อที่พระโพธิสัตว์มีสติสัมปชัญญะสถิตอยู่ในสวรรค์ชั้นดุสิตนี้
ข้าพระองค์ก็จำได้ว่าเป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ของ
พระผู้มีพระภาค
[๒๐๐] ๓. ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีภาคว่า ‘อานนท์
พระโพธิสัตว์สถิตอยู่ในสวรรค์ชั้นดุสิตจนตลอดอายุ’ แม้ข้อที่พระ
โพธิสัตว์สถิตอยู่ในสวรรค์ชั้นดุสิตตลอดอายุนี้ ข้าพระองค์ก็จำได้
ว่าเป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ของพระผู้มีพระภาค
๔. ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีภาคว่า ‘อานนท์
พระโพธิสัตว์มีสติสัมปชัญญะตลอดตั้งแต่จุติจากสวรรค์ชั้นดุสิตจน
ถึงลงสู่พระครรภ์ของพระมารดา’ แม้ข้อที่พระโพธิสัตว์มีสติสัมปชัญญะ
ตลอดตั้งแต่จุติจากสวรรค์ชั้นดุสิตจนถึงลงสู่พระครรภ์ของพระมารดานี้
ข้าพระองค์ก็จำได้ว่าเป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ของ
พระผู้มีพระภาค
[๒๐๑] ๕. ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีภาคว่า ‘อานนท์
เวลาที่พระโพธิสัตว์จุติจากสวรรค์ชั้นดุสิต๑แล้วลงสู่พระครรภ์ของ
พระมารดา แสงสว่างเจิดจ้าหาประมาณมิได้ ปรากฏขึ้นในโลก
พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้ง
สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เกินกว่าเทวานุภาพของเทวดา
ทั้งหลาย แม้ในช่องว่างระหว่างโลกซึ่งไม่มีอะไรคั่น มีสภาพมืดมิด
หรือที่ที่ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก
ส่องแสงไปไม่ถึง ก็มีแสงสว่างเจิดจ้าหาประมาณมิได้ ปรากฏขึ้น
เกินกว่าเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย เพราะแสงสว่างนั้น สัตว์
ทั้งหลายที่เกิดในที่นั้น ๆ จึงรู้จักกันและกันว่า ‘ยังมีสัตว์อื่นเกิดใน


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๓. อัจฉริยพภูตธัมมสูตร

ที่นี้เหมือนกัน’ และ ๑๐ สหัสสีโลกธาตุ๑นี้ สั่นสะเทือน
เลื่อนลั่น ทั้งแสงสว่างเจิดจ้าหาประมาณมิได้ ก็ปรากฏขึ้นในโลก
เกินกว่าเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย แม้ข้อที่ ฯลฯ นี้ ข้าพระองค์
ก็จำได้ว่าเป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ของพระผู้มี
พระภาค
[๒๐๒] ๖. ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีภาคว่า ‘อานนท์
เวลาที่พระโพธิสัตว์ลงสู่พระครรภ์ของพระมารดา เทพบุตร ๔ องค์๒
เข้าไปอารักขาพระโพธิสัตว์นั้นประจำทั้ง ๔ ทิศ ด้วยตั้งใจว่า ‘มนุษย์
หรืออมนุษย์ใด ๆ อย่าได้เบียดเบียนพระโพธิสัตว์หรือพระมารดา
ของพระโพธิสัตว์เลย’ แม้ข้อที่ ฯลฯ นี้ ข้าพระองค์ก็จำได้ว่าเป็น
ธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ของพระผู้มีพระภาค
[๒๐๓] ๗. ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีภาคว่า ‘อานนท์
เวลาที่พระโพธิสัตว์ลงสู่พระครรภ์ของพระมารดา พระมารดา
มีปกติทรงศีล คือ เว้นจากปาณาติบาต(การฆ่าสัตว์) เว้น
จากอทินนาทาน(การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้) เว้นจาก
กาเมสุมิจฉาจาร(การประพฤติผิดในกาม) เว้นจากมุสาวาท(การ
พูดเท็จ) เว้นจากสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน(การเสพของมึนเมา
คือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท)’ แม้ข้อที่ ฯลฯ นี้
ข้าพระองค์ก็จำได้ว่าเป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ของ
พระผู้มีพระภาค


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๓. อัจฉริยพภูตธัมมสูตร

๘. ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีภาคว่า ‘อานนท์
เวลาที่พระโพธิสัตว์ลงสู่พระครรภ์ของพระมารดา พระมารดาของ
พระองค์ไม่ทรงมีความรู้สึกทางกามารมณ์ เป็นผู้ที่บุรุษผู้มีจิต
กำหนัดใด ๆ ไม่สามารถล่วงเกินได้’ แม้ข้อที่ ฯลฯ นี้ ข้าพระ
องค์ก็จำได้ว่าเป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ของพระผู้มี
พระภาค
๙. ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีภาคว่า ‘อานนท์
เวลาที่พระโพธิสัตว์ลงสู่พระครรภ์ของพระมารดา พระมารดาของ
พระองค์ทรงได้กามคุณ ๕ เอิบอิ่ม พรั่งพร้อม ได้รับการบำเรอ
อยู่ด้วยกามคุณ ๕’ แม้ข้อที่ ฯลฯ นี้ ข้าพระองค์ก็จำได้ว่าเป็น
ธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ของพระผู้มีพระภาค
[๒๐๔] ๑๐. ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีภาคว่า ‘อานนท์
เวลาที่พระโพธิสัตว์ลงสู่พระครรภ์ของพระมารดา พระมารดาของ
พระองค์ไม่ทรงมีความเจ็บป่วยใด ๆ ทรงมีความสุข ไม่ลำบาก
พระวรกาย มองเห็นพระโพธิสัตว์อยู่ภายในพระครรภ์ มีอวัยวะ
สมบูรณ์ มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง
เปรียบเหมือนแก้วไพฑูรย์อันงดงามตามธรรมชาติ มีแปดเหลี่ยม
ที่เจียระไนดีแล้ว สุกใสเป็นประกายได้สัดส่วน มีด้ายสีเขียว
สีเหลือง สีแดง สีขาว หรือสีนวลร้อยอยู่ข้างใน คนตาถึงหยิบ
แก้วไพฑูรย์นั้นวางไว้ในมือแล้วพิจารณารู้ว่า ‘นี้คือ แก้วไพฑูรย์
อันงดงามตามธรรมชาติ มีแปดเหลี่ยม ที่เจียระไนดีแล้ว สุกใส
เป็นประกายได้สัดส่วน มีด้ายสีเขียว สีเหลือง สีแดง สีขาว
หรือสีนวลร้อยอยู่ข้างใน’ แม้ฉันใด เวลาที่พระโพธิสัตว์ลงสู่
พระครรภ์ของพระมารดา พระมารดาของพระองค์ไม่ทรงมีความ
เจ็บป่วยใด ๆ ทรงมีความสุข ไม่ลำบากพระวรกาย มองเห็น
พระโพธิสัตว์อยู่ภายในพระครรภ์มีอวัยวะสมบูรณ์ มีอินทรีย์
ไม่บกพร่อง ฉันนั้นเหมือนกัน’ แม้ข้อที่ ฯลฯ นี้ ข้าพระองค์ก็จำ
ได้ว่าเป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ของพระผู้มีพระภาค

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๓. อัจฉริยพภูตธัมมสูตร

[๒๐๕] ๑๑. ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีภาคว่า ‘อานนท์
เมื่อพระโพธิสัตว์ประสูติได้ ๗ วัน พระมารดาของพระองค์สวรรคต
ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต’ แม้ข้อที่ ฯลฯ นี้ ข้าพระองค์ก็จำได้ว่า
เป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ของพระผู้มีพระภาค
๑๒. ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีภาคว่า ‘อานนท์
พระมารดาของพระโพธิสัตว์ไม่ประสูติพระโอรสเหมือนสตรีทั่วไปซึ่ง
จะคลอดลูกหลังจากตั้งครรภ์ได้ ๙ เดือน หรือ ๑๐ เดือน
ส่วนพระมารดาของพระโพธิสัตว์ประสูติพระโอรสเมื่อทรงพระครรภ์
ครบ ๑๐ เดือนเท่านั้น’ แม้ข้อที่ ฯลฯ นี้ ข้าพระองค์ก็จำได้ว่า
เป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ของพระผู้มีพระภาค
๑๓. ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีภาคว่า ‘อานนท์
พระมารดาของพระโพธิสัตว์ไม่ประสูติพระโอรสเหมือนสตรีทั่วไปซึ่ง
จะนั่งคลอดหรือนอนคลอดก็ได้ ส่วนพระมารดาของพระโพธิสัตว์
ประทับยืนประสูติเท่านั้น’ แม้ข้อที่ ฯลฯ นี้ ข้าพระองค์ก็จำได้
ว่าเป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ของพระผู้มีพระภาค
๑๔. ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีภาคว่า ‘อานนท์
เวลาที่พระโพธิสัตว์ประสูติจากพระครรภ์ของพระมารดา ในตอน
แรกเทพทั้งหลายจะทำพิธีต้อนรับ หลังจากนั้นเป็นหน้าที่ของ
มนุษย์’ แม้ข้อที่ ฯลฯ นี้ ข้าพระองค์ก็จำได้ว่าเป็นธรรมอันน่า
อัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ของพระผู้มีพระภาค
[๒๐๖] ๑๕. ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีภาคว่า ‘อานนท์
เวลาที่พระโพธิสัตว์ประสูติจากพระครรภ์ของพระมารดา ยังไม่ทัน
สัมผัสแผ่นดิน เทพบุตร ๔ องค์ช่วยกันประคองพระโพธิสัตว์
ไปไว้เบื้องพระพักตร์ของพระมารดาแล้วกราบทูลว่า ‘โปรดพอ
พระทัยเถิดพระเทวี พระราชโอรสของพระองค์ที่เสด็จอุบัติขึ้นเป็น
ผู้มีศักดิ์ใหญ่’ แม้ข้อที่ ฯลฯ นี้ ข้าพระองค์ก็จำได้ว่าเป็นธรรม
อันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ของพระผู้มีพระภาค

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๓. อัจฉริยพภูตธัมมสูตร

๑๖. ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีภาคว่า ‘อานนท์
เวลาที่พระโพธิสัตว์ประสูติจากพระครรภ์ของพระมารดา เสด็จ
ออกอย่างบริสุทธิ์แท้ ไม่แปดเปื้อนด้วยน้ำเมือก เลือด หรือสิ่ง
ไม่สะอาดใด ๆ จึงเป็นผู้บริสุทธิ์หมดจด
เปรียบเหมือนแก้วมณีที่บุคคลวางไว้ในผ้ากาสิกพัสตร์ ย่อมไม่
ทำให้ผ้ากาสิกพัสตร์แปดเปื้อน ถึงผ้ากาสิกพัสตร์ก็ไม่ทำให้แก้ว
มณีแปดเปื้อน
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะสิ่งทั้งสองเป็นของบริสุทธิ์หมดจด แม้ฉันใด เวลาที่
พระโพธิสัตว์ประสูติจากพระครรภ์ของพระมารดา ย่อมประสูติ
อย่างบริสุทธิ์แท้ ไม่แปดเปื้อนด้วยน้ำเมือก เลือด หรือสิ่งไม่
สะอาดใด ๆ เป็นผู้บริสุทธิ์หมดจด ฉันนั้นเหมือนกัน’ แม้ข้อที่
ฯลฯ นี้ ข้าพระองค์ก็จำได้ว่าเป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคย
ปรากฏ ของพระผู้มีพระภาค
๑๗. ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีภาคว่า ‘อานนท์
เวลาที่พระโพธิสัตว์ประสูติจากพระครรภ์ของพระมารดา มีธารน้ำ
ปรากฏในอากาศ ๒ สาย คือ ธารน้ำเย็น และธารน้ำอุ่น
เพื่อชำระล้างพระโพธิสัตว์และพระมารดา’ แม้ข้อที่ ฯลฯ นี้ ข้า
พระองค์ก็จำได้ว่าเป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ของพระผู้
มีพระภาค
[๒๐๗] ๑๘. ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีภาคว่า ‘อานนท์
เมื่อพระโพธิสัตว์ประสูติได้ครู่หนึ่ง ประทับยืนอย่างมั่นคงด้วย
พระบาททั้งสองที่เสมอกันบนพื้นปฐพี ทรงผินพระพักตร์ไปทาง
ทิศเหนือ เสด็จดำเนินไป ๗ ก้าว ขณะที่หมู่เทวดากั้นเศวตฉัตร
ตามเสด็จ ทอดพระเนตรไปยังทิศทั้งปวง แล้วทรงเปล่งอาสภิวาจา
(พูดอย่างองอาจ)ว่า ‘เราคือผู้เลิศของโลก เราคือผู้เจริญที่สุดของ
โลก เราคือผู้ประเสริฐที่สุดของโลก ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๓. อัจฉริยพภูตธัมมสูตร

ภพใหม่ไม่มีอีกต่อไป’ แม้ข้อนี้ ฯลฯ ข้าพระองค์ก็จำได้ว่าเป็น
ธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ของพระผู้มีพระภาค
๑๙. ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีภาคว่า ‘อานนท์
เวลาที่พระโพธิสัตว์ประสูติจากพระครรภ์ของพระมารดา แสงสว่าง
เจิดจ้าหาประมาณมิได้ ปรากฏขึ้นในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก
พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์
เกินกว่าเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย แม้ในช่องว่างระหว่างโลก
ซึ่งไม่มีอะไรคั่น มีสภาพมืดมิด หรือที่ที่ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์
ซึ่งมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ส่องแสงไปไม่ถึง ก็มีแสงสว่างเจิดจ้า
หาประมาณมิได้ ปรากฏขึ้นเกินกว่าเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย
เพราะแสงสว่างนั้น สัตว์ทั้งหลายที่เกิดในที่นั้น ๆ จึงรู้จักกันและ
กันว่า ‘ยังมีสัตว์อื่นเกิดในที่นี้เหมือนกัน’ และ ๑๐ สหัสสีโลกธาตุนี้
สั่นสะเทือน เลื่อนลั่น ทั้งแสงสว่างเจิดจ้าหาประมาณมิได้ ก็
ปรากฏขึ้นในโลก เกินกว่าเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย‘๑ แม้ข้อที่
ฯลฯ นี้ ข้าพระองค์ก็จำได้ว่าเป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคย
ปรากฏ ของพระผู้มีพระภาค”
[๒๐๘] ๒๐. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เพราะเหตุนั้นแล เธอจงจำ
ธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ของตถาคตนี้ไว้เถิด ในเรื่องนี้
เวทนาของตถาคตย่อมปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏตั้งอยู่ ปรากฏถึง
ความดับไป สัญญาของตถาคตย่อมปรากฏเกิดขึ้น ... วิตกของ
ตถาคตย่อมปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไป
อานนท์ เธอจงจำธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ของตถาคตนี้ไว้เถิด”
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อที่เวทนาของพระ
ผู้มีพระภาคย่อมปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไป สัญญาของ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค]
๔. พักกุลัตเถรัจฉริยัพภูตสูตร

พระผู้มีพระภาคย่อมปรากฏเกิดขึ้น ... วิตกของพระผู้มีพระภาคย่อมปรากฏเกิดขึ้น
ปรากฏตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไปนี้ ข้าพระองค์ก็จำได้ว่าเป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์
ไม่เคยปรากฏ ของพระผู้มีพระภาค พระพุทธเจ้าข้า”
ท่านพระอานนท์ได้กล่าวคำนี้แล้ว พระศาสดาทรงพอพระทัย ภิกษุเหล่านั้น
มีใจยินดีต่างชื่นชมภาษิตของท่านพระอานนท์ ดังนี้แล

อัจฉริยัพภูตธัมมสูตรที่ ๓ จบ

๔. พักกุลัตเถรัจฉริยัพภูตสูตร
ว่าด้วยอัจฉริยธรรมของพระพักกุลเถระ

[๒๐๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง ท่านพระพักกุละพักอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้นแล ปริพาชกชื่ออเจลกัสสปะ ผู้เป็นสหายเก่าของท่าน
พระพักกุละเมื่อครั้งยังเป็นคฤหัสถ์ เข้าไปหาท่านพระพักกุละถึงที่อยู่ ได้สนทนา
ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกัน แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กล่าว
กับท่านพระพักกุละว่า “ท่านพักกุละ ท่านบวชมานานเท่าไรแล้ว”
ท่านพระพักกุละตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ เราบวชมา ๘๐ พรรษาแล้ว”
“ตลอดเวลา ๘๐ พรรษานั้น ท่านเสพเมถุนธรรม๑ มากี่ครั้ง ขอรับ”
“กัสสปะผู้มีอายุ ท่านไม่ควรถามเราอย่างนี้ว่า ‘ตลอดเวลา ๘๐ พรรษานั้น
ท่านเสพเมถุนธรรมมากี่ครั้ง ขอรับ’ แต่ท่านควรถามเราอย่างนี้ว่า ‘ก็ตลอดเวลา
๘๐ พรรษานี้ กามสัญญาเคยเกิดขึ้นกับท่านกี่ครั้ง’
[๒๑๐] ท่านผู้มีอายุ เมื่อเราบวชมาตลอดเวลา ๘๐ พรรษา เราไม่รู้สึก
เลยว่ากามสัญญาเคยเกิดขึ้น”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค]
๔. พักกุลัตเถรัจฉริยัพภูตสูตร

“ข้อที่ท่านพักกุละไม่รู้สึกเลยว่ามีกามสัญญาเคยเกิดขึ้นตลอดเวลา ๘๐ พรรษานี้
ข้าพเจ้าจะจำไว้ว่าเป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ของท่านพักกุละ” (๑)
“ท่านผู้มีอายุ เมื่อเราบวชมาตลอดเวลา ๘๐ พรรษา เราไม่รู้สึกเลยว่า
พยาบาทสัญญา ... วิหิงสาสัญญาเคยเกิดขึ้น”
“ข้อที่ท่านพักกุละไม่รู้สึกเลยว่าพยาบาทสัญญา ... วิหิงสาสัญญาเคยเกิด
ขึ้นตลอดเวลา ๘๐ พรรษานี้ ข้าพเจ้าจะจำไว้ว่าเป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคย
ปรากฏ ของท่านพักกุละ” (๒-๓)
“ท่านผู้มีอายุ เมื่อเราบวชมาตลอดเวลา ๘๐ พรรษา เราไม่รู้สึกเลยว่า
กามวิตกเคยเกิดขึ้น”
“ข้อที่ท่านพักกุละไม่รู้สึกเลยว่ากามวิตกเคยเกิดขึ้น ตลอดเวลา ๘๐ พรรษานี้
ข้าพเจ้าจะจำไว้ว่าเป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ของท่านพักกุละ” (๔)
“ท่านผู้มีอายุ เมื่อเราบวชมาตลอดเวลา ๘๐ พรรษา เราไม่รู้สึกเลยว่ามี
พยาบาทวิตก ... วิหิงสาวิตกเคยเกิดขึ้น”
“ข้อที่ท่านพักกุละไม่รู้สึกเลยว่าวิหิงสาวิตกเคยเกิดขึ้น ตลอดเวลา ๘๐ พรรษานี้
ข้าพเจ้าจะจำไว้ว่าเป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ของท่านพักกุละ” (๕-๖)
[๒๑๑] “ท่านผู้มีอายุ เมื่อเราบวชมาตลอดเวลา ๘๐ พรรษา เราไม่รู้สึก
ยินดีคหบดีจีวรเลย”
“ข้อที่ท่านพักกุละไม่รู้สึกยินดีคหบดีจีวรเลย ตลอดเวลา ๘๐ พรรษานี้
ข้าพเจ้าจะจำไว้ว่าเป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ของท่านพักกุละ” (๗)
“ท่านผู้มีอายุ เมื่อเราบวชมาตลอดเวลา ๘๐ พรรษา เราไม่รู้จักการใช้มีด
ตัดผ้าเป็นจีวรเลย ...” (๘)
“... เราไม่รู้จักการใช้เข็มเย็บจีวรเลย
... ไม่รู้จักการใช้เครื่องย้อมย้อมจีวรเลย
... ไม่รู้จักการเย็บจีวรที่ไม้สดึงเลย
... ไม่รู้จักการจัดทำจีวรของเพื่อนพรหมจารีเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค]
๔. พักกุลัตเถรัจฉริยัพภูตสูตร

... ไม่รู้สึกยินดีกับกิจนิมนต์เลย
... ไม่รู้สึกเลยว่าเคยเกิดความคิดอย่างนี้ว่า ‘ขอใคร ๆ พึงนิมนต์เราเถิด’
... ไม่รู้จักการนั่งในละแวกบ้านเลย
... ไม่รู้จักการฉันในละแวกบ้านเลย
... ไม่รู้จักการถือนิมิตแห่งมาตุคามโดยอนุพยัญชนะ๑เลย
... ไม่รู้จักการแสดงธรรมแก่มาตุคามโดยที่สุดแม้คาถาสี่บาทเลย
... ไม่รู้จักการเข้าไปสู่สำนักของภิกษุณีเลย
... ไม่รู้จักการแสดงธรรมแก่ภิกษุณีเลย
... ไม่รู้จักการแสดงธรรมแก่สิกขมานาเลย
... ไม่รู้จักการแสดงธรรมแก่สามเณรีเลย
... ไม่รู้จักการให้บรรพชาเลย
... ไม่รู้จักการให้อุปสมบทเลย
... ไม่รู้จักการให้นิสัยเลย
... ไม่รู้จักการใช้สามเณรเป็นอุปัฏฐากเลย
... ไม่รู้จักการสรงน้ำในเรือนไฟเลย
... ไม่รู้จักการใช้จุรณสรงน้ำเลย
... ไม่รู้จักยินดีการนวดเฟ้นตัวของเพื่อนพรหมจารีเลย
... ไม่รู้จักอาพาธอันเคยเกิดขึ้นแล้วโดยที่สุดแม้ชั่วขณะรีดนมโคเสร็จเลย
... ไม่รู้จักฉันยาโดยที่สุดแม้เท่าชิ้นสมอเลย
... ไม่รู้จักการนั่งพิงพนักพิงเลย
... ไม่รู้จักการนอนเลย”
“ข้อที่ท่านพักกุละไม่รู้จักการนอนตลอดเวลา ๘๐ พรรษานี้ ข้าพเจ้าจะจำไว้ว่า
เป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ของท่านพักกุละ” (๙-๓๓)


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค]
๔. พักกุลัตเถรัจฉริยัพภูตสูตร

“ท่านผู้มีอายุ เมื่อเราบวชมาตลอดเวลา ๘๐ พรรษา เราไม่รู้จักการ
จำพรรษาในเสนาสนะใกล้บ้านเลย”
“ข้อที่ท่านพักกุละไม่รู้จักการจำพรรษาในเสนาสนะใกล้บ้านตลอดเวลา ๘๐
พรรษานี้ ข้าพเจ้าจะจำไว้ว่า เป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ของท่าน
พักกุละ” (๓๔)
“ท่านผู้มีอายุ เราเป็นผู้มีกิเลส ฉันบิณฑบาตของชาวแว่นแคว้น ๗ วันเท่านั้น
ในวันที่ ๘ ก็ได้บรรลุอรหัตตผล”
“ข้อที่ท่านพักกุละเป็นผู้มีกิเลส ฉันบิณฑบาตของชาวแว่นแคว้น ๗ วันเท่านั้น
ในวันที่ ๘ ก็ได้บรรลุอรหัตตผลนี้ ข้าพเจ้าจะจำไว้ว่าเป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่
เคยปรากฏ ของท่านพักกุละ” (๓๕)
[๒๑๒] “ท่านพักกุละ ขอให้ข้าพเจ้าได้บรรพชาอุปสมบทในพระธรรมวินัย
นี้เถิด”
อเจลกัสสปะได้บรรพชาอุปสมบทในพระธรรมวินัยนี้แล้ว เมื่อบวชแล้วไม่นาน
หลีกไปอยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนัก ก็
ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยม อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ใน
ปัจจุบัน รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว
ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
จึงเป็นอันว่า ท่านพระกัสสปะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์
ทั้งหลาย
สมัยต่อมา ท่านพระพักกุละถือลูกดาลเข้าไปยังวิหารทุก ๆ หลัง แล้วกล่าว
อย่างนี้ว่า “นิมนต์ท่านผู้มีอายุออกมาเถิด นิมนต์ท่านผู้มีอายุออกมาเถิด วันนี้
จักเป็นวันปรินิพพานของเรา”
ท่านพระกัสสปะกล่าวว่า “ข้อที่ท่านพักกุละถือลูกดาลเข้าไปยังวิหารทุก ๆ หลัง
แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘นิมนต์ท่านผู้มีอายุออกมาเถิด นิมนต์ท่านผู้มีอายุออกมาเถิด
วันนี้จักเป็นวันปรินิพพานของเรา’ เราทั้งหลายจะจำไว้ว่าเป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์
ไม่เคยปรากฏ ของท่านพักกุละ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๕. ทันตภูมิสูตร

ครั้งนั้น ท่านพระพักกุละนั่งปรินิพพานในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ท่านพระกัสสปะ
กล่าวว่า “ข้อที่ท่านพักกุละนั่งปรินิพพานในท่ามกลางภิกษุสงฆ์นี้ เราทั้งหลายจะ
จำไว้ว่าเป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ของท่านพักกุละ” ดังนี้แล

พักกุลัตเถรัจฉริยัพภูตสูตรที่ ๔ จบ

๕. ทันตภูมิสูตร
ว่าด้วยภูมิของผู้ได้รับการฝึกแล้ว

[๒๑๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น สมณุทเทสชื่ออจิรวตะ อยู่ในกระท่อมใกล้ป่า ครั้งนั้น
พระราชกุมารนามว่าชยเสน๑ทรงดำเนินเล่นไปโดยลำดับ เข้าไปหาอจิรวตะ
สมณุทเทสถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกัน
แล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร
ชยเสนราชกุมารได้รับสั่งกับอจิรวตะ สมณุทเทสว่า “ท่านอัคคิเวสสนะ
ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ว่า ‘ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร
อุทิศกายและใจอยู่ พึงบรรลุจิตเตกัคคตา(สภาวะที่จิตมีอารมณ์เดียว)ได้’ จริงหรือ”
อจิรวตะ สมณุทเทสถวายพระพรว่า “พระราชกุมาร ข้อนี้เป็นอย่างนั้น
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ พึง
บรรลุจิตเตกัคคตาได้”
“ดีละ ขอท่านอัคคิเวสสนะโปรดแสดงธรรมตามที่ได้สดับมา ตามที่ได้ศึกษา
มาแก่ข้าพเจ้าเถิด”
“พระราชกุมาร อาตมภาพไม่สามารถแสดงธรรมแก่พระองค์ตามที่ได้สดับมา
ตามที่ได้ศึกษามา เพราะถ้าอาตมภาพจะแสดงธรรมแก่พระองค์ตามที่ได้สดับมา
ตามที่ได้ศึกษามา แต่พระองค์ไม่ทรงทราบอรรถแห่งภาษิตของอาตมภาพ ข้อนั้น
จะเป็นความยาก จะเป็นความลำบากแก่อาตมภาพ”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๕. ทันตภูมิสูตร

“ขอท่านอัคคิเวสสนะโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้าตามที่ได้สดับมา ตามที่ได้
ศึกษามา บางทีข้าพเจ้าอาจทราบอรรถแห่งภาษิตของท่านอัคคิเวสสนะก็ได้”
“พระราชกุมาร อาตมภาพจะแสดงธรรมแก่พระองค์ตามที่ได้สดับมา ตามที่
ได้ศึกษามา ถ้าพระองค์ทรงทราบอรรถแห่งภาษิตของอาตมภาพได้ นั่นแหละเป็น
ความดี ถ้าไม่ทรงทราบ ขอพระองค์พึงดำรงอยู่ในภาวะของพระองค์เถิด อย่าได้
ซักถามอาตมภาพในธรรมนั้นให้ยิ่งขึ้นไปเลย”
“ขอท่านอัคคิเวสสนะโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้าตามที่ได้สดับมา ตามที่ได้
ศึกษามา ถ้าข้าพเจ้าทราบอรรถแห่งภาษิตของท่านอัคคิเวสสนะได้ นั่นเป็นความดี
ถ้าไม่ทราบ ข้าพเจ้าจะดำรงตนอยู่ในภาวะของตน ข้าพเจ้าจักไม่ซักถามท่าน
อัคคิเวสสนะในธรรมนั้นให้ยิ่งขึ้นไป”
[๒๑๔] ลำดับนั้น อจิรวตะ สมณุทเทสได้แสดงธรรมแก่ชยเสนราชกุมาร
ตามที่ได้สดับมา ตามที่ได้ศึกษามา เมื่ออจิรวตะ สมณุทเทสกล่าวอย่างนั้นแล้ว
ชยเสนราชกุมารได้ตรัสว่า “ท่านอัคคิเวสนะผู้เจริญ เป็นไปไม่ได้ที่ภิกษุผู้ไม่ประมาท
มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ พึงบรรลุจิตเตกัคคตาได้”
ต่อจากนั้น ชยเสนราชกุมารทรงประกาศความเป็นไปไม่ได้แก่อจิรวตะ
สมณุทเทส ทรงลุกขึ้นจากที่ประทับแล้วเสด็จจากไป
ครั้งนั้น เมื่อชยเสนราชกุมารเสด็จจากไปแล้วไม่นาน อจิรวตะ สมณุทเทสได้
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ
ที่สมควร ได้กราบทูลเรื่องที่ได้สนทนาปราศรัยกับชยเสนราชกุมารทั้งหมดนั้นแด่
พระผู้มีพระภาค
เมื่ออจิรวตะ สมณุทเทสกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสอย่างนี้ว่า
“อัคคิเวสสนะ ชยเสนราชกุมารพึงได้ประโยชน์จากข้อความนั้นในภาษิตของเธอนี้
แต่ที่ไหน เป็นไปไม่ได้ที่ชยเสนราชกุมาร ผู้ยังอยู่ท่ามกลางกาม ยังบริโภคกาม
ถูกกามวิตกรุมเร้า ถูกความเร่าร้อนเพราะกามแผดเผา ยังขวนขวายในการแสวงหา
กามอยู่ จักทรงรู้ ทรงเห็น หรือทรงทำให้แจ้งจิตเตกัคคตาที่บุคคลพึงรู้ พึงเห็น
พึงบรรลุ พึงทำให้แจ้ง ด้วยเนกขัมมะ๑ได้


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๕. ทันตภูมิสูตร

[๒๑๕] อัคคิเวสสนะ ช้างที่ควรฝึกคู่หนึ่ง ม้าที่ควรฝึกคู่หนึ่ง หรือโคที่ควร
ฝึกคู่หนึ่ง ที่ผู้ฝึกฝึกดีแล้ว หัดดีแล้ว (กับ) ช้างที่ควรฝึกอีกคู่หนึ่ง ม้าที่ควรฝึก
อีกคู่หนึ่ง หรือโคที่ควรฝึกอีกคู่หนึ่ง ที่เขาไม่ได้ฝึก ไม่ได้หัดเลย เธอเข้าใจความ
ข้อนั้นว่าอย่างไร คือ ช้างที่ควรฝึก ม้าที่ควรฝึก หรือโคที่ควรฝึก คู่ที่ผู้ฝึกฝึกดีแล้ว
หัดดีแล้ว นั่นแหละ จะเรียนรู้เหตุการณ์ที่ผู้ฝึกฝึกแล้ว พึงสำเร็จภูมิที่ผู้ฝึกฝึกแล้ว
ได้ไหม”
“ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ส่วนช้างที่ควรฝึก ม้าที่ควรฝึก หรือโคที่ควรฝึก คู่ที่เขาไม่ได้ฝึก ไม่ได้หัด
แล้วเหล่านั้นนั่นแหละ จะเรียนรู้เหตุการณ์ที่ผู้ฝึกฝึกแล้ว จะสำเร็จภูมิที่ผู้ฝึกฝึกแล้ว
เหมือนช้างที่ควรฝึก ม้าที่ควรฝึก หรือโคที่ควรฝึก คู่ที่ผู้ฝึกฝึกดีแล้ว หัดดีแล้ว
เหล่านั้นได้ไหม”
“ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“อัคคิเวสสนะ ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นไปไม่ได้ที่ชยเสนราชกุมารผู้ยังอยู่
ท่ามกลางกาม ยังบริโภคกาม ถูกกามวิตกรุมเร้า ถูกความเร่าร้อนเพราะกาม
แผดเผา ยังขวนขวายในการแสวงหากามอยู่ จักทรงรู้ ทรงเห็น หรือทรงทำให้
แจ้งจิตเตกัคคตาที่บุคคลพึงรู้ พึงเห็น พึงบรรลุ พึงทำให้แจ้ง ด้วยเนกขัมมะได้
[๒๑๖] อัคคิเวสสนะ มีภูเขาใหญ่อยู่ไม่ไกลบ้านหรือนิคม สหาย ๒ คน
ออกจากบ้านหรือนิคมนั้นแล้วจูงมือกันเข้าไปยังที่ที่ภูเขาตั้งอยู่ สหายคนหนึ่งยืนอยู่
ที่เชิงภูเขาเบื้องล่าง สหายคนหนึ่งขึ้นไปบนภูเขา สหายคนที่ยืนอยู่ที่เชิงภูเขาเบื้อง
ล่างจึงกล่าวกับสหายผู้ยืนอยู่บนภูเขานั้นอย่างนี้ว่า ‘เพื่อนเอ๋ย ท่านยืนอยู่บนภูเขา
นั้น มองเห็นอะไรบ้าง’ สหายผู้ยืนอยู่บนภูเขานั้นตอบอย่างนี้ว่า ‘เพื่อนเอ๋ย เรา
ยืนอยู่บนภูเขาแล้ว ย่อมมองเห็นสวนอันน่ารื่นรมย์ ป่าไม้อันน่ารื่นรมย์ ภูมิ
ประเทศอันน่ารื่นรมย์ และสระโบกขรณีอันน่ารื่นรมย์’
สหายผู้ยืนอยู่ที่เชิงภูเขาเบื้องล่างนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เพื่อนเอ๋ย เป็นไปไม่ได้
ที่ท่านยืนอยู่บนภูเขาแล้วจะพึงมองเห็นสวนอันน่ารื่นรมย์ ป่าไม้อันน่ารื่นรมย์ ภูมิ
ประเทศอันน่ารื่นรมย์ และสระโบกขรณีอันน่ารื่นรมย์ได้’ สหายผู้ยืนอยู่บนภูเขา จึง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๕. ทันตภูมิสูตร

ลงมายังเชิงภูเขาเบื้องล่างแล้วจูงแขนสหายคนนั้นให้ขึ้นไปบนภูเขาลูกนั้น ให้พัก
เหนื่อยครู่หนึ่งแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เพื่อนเอ๋ย ท่านยืนอยู่บนภูเขานั้น มอง
เห็นอะไรบ้าง’ สหายคนนั้นตอบว่า ‘เพื่อนเอ๋ย เรายืนอยู่บนภูเขาแล้ว ย่อมมอง
เห็นสวนอันน่ารื่นรมย์ ป่าไม้อันน่ารื่นรมย์ ภูมิประเทศอันน่ารื่นรมย์ และสระ
โบกขรณีอันน่ารื่นรมย์’
สหายผู้ที่ขึ้นไปก่อนแล้วนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เพื่อนเอ๋ย เรารู้คำที่ท่านกล่าว
แล้วอย่างนี้บัดนี้เองว่า ‘เพื่อนเอ๋ย เป็นไปไม่ได้ที่ท่านยืนอยู่บนภูเขาแล้ว
จะพึงมองเห็นสวนอันน่ารื่นรมย์ ป่าไม้อันน่ารื่นรมย์ ภูมิประเทศอันน่ารื่นรมย์
และสระโบกขรณีอันน่ารื่นรมย์ได้’ และสหายผู้ขึ้นไปทีหลังนั้นกล่าวว่า ‘เรารู้คำที่
ท่านกล่าวอย่างนี้บัดนี้เหมือนกันว่า ‘เพื่อนเอ๋ย เรายืนอยู่บนภูเขาแล้ว ย่อมมอง
เห็นสวนอันน่ารื่นรมย์ ป่าไม้อันน่ารื่นรมย์ ภูมิประเทศอันน่ารื่นรมย์ และสระ
โบกขรณีอันน่ารื่นรมย์ได้’
สหายผู้ที่ขึ้นไปก่อนแล้วนั้นจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เพื่อนเอ๋ย ความเป็นจริง เรา
ถูกภูเขาใหญ่ลูกนี้กั้นไว้ จึงมองไม่เห็นสิ่งที่ควรเห็น’
อัคคิเวสสนะ ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นไปไม่ได้ที่ชยเสนราชกุมาร ผู้ถูก
กองอวิชชาใหญ่ยิ่งกว่าภูเขาลูกนั้นกั้นไว้ ปิดบังไว้ รึงรัดไว้ ห่อหุ้มไว้ ยังอยู่
ท่ามกลางกาม ยังบริโภคกาม ถูกกามวิตกรุมเร้า ถูกความเร่าร้อนเพราะกาม
แผดเผา ยังขวนขวายในการแสวงหากาม จักทรงรู้ ทรงเห็น หรือทรงทำให้แจ้ง
ซึ่งธรรมที่บุคคลพึงรู้ พึงเห็น พึงบรรลุ พึงทำให้แจ้งด้วยเนกขัมมะได้
อัคคิเวสสนะ ถ้าเธอพึงอธิบายอุปมา ๒ ข้อนี้ให้แจ่มแจ้งแก่ชยเสน
ราชกุมารได้ ชยเสนราชกุมารจะพึงเลื่อมใสเธออย่างน่าอัศจรรย์ และชยเสน
ราชกุมารผู้เลื่อมใสแล้ว จะพึงแสดงอาการของบุคคลผู้เลื่อมใสแก่เธอ”
อจิรวตะ สมณุทเทสกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์
จักอธิบายอุปมา ๒ ข้อนี้ที่น่าอัศจรรย์ ที่ข้าพระองค์ยังไม่เคยได้สดับมาก่อน
ให้แจ่มแจ้งแก่ชยเสนราชกุมาร เหมือนพระผู้มีพระภาคได้อย่างไรเล่า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๕. ทันตภูมิสูตร

[๒๑๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อัคคิเวสสนะ กษัตราธิราชผู้ได้รับ
มูรธาภิเษก๑แล้ว รับสั่งเรียกพรานผู้ชำนาญป่าที่ช้างอาศัยอยู่มาแล้วตรัสว่า ‘มา
เถิดพ่อพรานช้างเพื่อนยาก ท่านจงขี่ช้างหลวงเข้าไปยังดงช้าง เห็นช้างป่าแล้ว
จงคล้องมันผูกไว้ที่คอช้างหลวงเถิด’ พรานป่าผู้เป็นควาญช้าง รับพระราชโองการ
แล้ว จึงขี่ช้างหลวงเข้าไปยังดงช้าง เห็นช้างป่าแล้ว จึงคล้องมันผูกไว้ที่คอช้างหลวง
ช้างหลวงจึงนำช้างป่านั้นออกมาสู่ที่กลางแจ้งได้ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ช้างป่าจึงมา
อยู่กลางแจ้ง ความจริงช้างป่าทั้งหลายยังห่วงถิ่นคือดงช้างอยู่ พรานป่าผู้เป็น
ควาญช้างจึงกราบทูลเรื่องนี้แด่กษัตราธิราชว่า ‘ขอเดชะ ช้างป่าของพระองค์มาอยู่
ที่กลางแจ้งแล้ว พระเจ้าข้า’
ลำดับนั้น กษัตราธิราชจึงรับสั่งเรียกควาญช้างมาตรัสว่า ‘มาเถิดพ่อ
ควาญช้าง ท่านจงฝึกช้างป่า จงไปเพื่อแก้ไขปกติของสัตว์ป่า แก้ไขความสับสน
ของสัตว์ป่า และแก้ไขความกระวนกระวาย ความลำบากใจและความเร่าร้อนใจ
ของสัตว์ป่า เพื่อให้ช้างป่านั้นยินดีในแดนบ้าน ให้เพลิดเพลินในปกติที่มนุษย์
ต้องการเถิด’
ควาญช้างรับพระราชโองการแล้ว จึงฝังเสาตะลุงใหญ่ลงในแผ่นดิน ล่ามคอ
ช้างป่าไว้อย่างมั่นคง เพื่อแก้ไขปกติของสัตว์ป่า แก้ไขความสับสนของสัตว์ป่า
และแก้ไขความกระวนกระวาย ความลำบากใจและความเร่าร้อนใจของสัตว์ป่า
เพื่อให้ช้างป่านั้นยินดีในแดนบ้าน ให้เพลิดเพลินในปกติที่มนุษย์ต้องการ ควาญช้าง
ร้องเรียกช้างป่านั้นด้วยคำไม่มีโทษ ไพเราะ น่ารัก จับใจ เป็นภาษาของชาวเมือง
คนส่วนมากรักใคร่พอใจ เพราะช้างป่าถูกควาญช้างร้องเรียกอยู่ด้วยคำไม่มีโทษ
ไพเราะ น่ารัก จับใจ เป็นภาษาของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่พอใจเห็นปานนั้น
ช้างจึงตั้งใจฟัง ตั้งใจเพื่อจะเรียนรู้ ควาญช้างจึงเพิ่มอาหาร คือหญ้าและน้ำให้
ช้างนั้นยิ่งขึ้น


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๕. ทันตภูมิสูตร

อัคคิเวสสนะ เพราะช้างป่ารับอาหาร คือหญ้าและน้ำของควาญช้าง ควาญ
ช้างจึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘บัดนี้ ช้างป่าจักดำรงชีพอยู่ได้ละ’ จึงให้ช้างป่านั้น
ฝึกยิ่งขึ้นด้วยสั่งว่า ‘รับไป พ่อ วางลง พ่อ’ เพราะช้างหลวงทำตามคำสั่ง
รับทำตามโอวาทของควาญช้างในการรับและการวาง ควาญช้างจึงให้ช้างนั้นฝึกยิ่ง
ขึ้นด้วยสั่งว่า ‘เดินไป พ่อ ถอยกลับ พ่อ’ เพราะช้างหลวงทำตามคำสั่ง รับทำ
ตามโอวาทของควาญช้างในการเดินไปและการถอยกลับ ควาญช้างจึงให้ช้างนั้นฝึก
ยิ่งขึ้นด้วยสั่งว่า ‘ยืนขึ้น พ่อ หมอบลง พ่อ’ เพราะช้างหลวงทำตามคำสั่ง รับ
ทำตามโอวาทของควาญช้างในการยืนและการหมอบ ควาญช้างจึงให้ช้างนั้นฝึกยิ่ง
ขึ้นจนถึงขั้นที่ชื่อว่าอาเนญชะ(ไม่หวั่นไหว)คือผูกโล่ใหญ่ไว้ที่งวงช้างนั้น จัดบุรุษถือหอกซัด
นั่งบนคอช้าง จัดบุรุษถือหอกซัดหลายคนยืนล้อมรอบ ส่วนควาญช้างถือของ้าวยาว
ยืนอยู่ข้างหน้า ช้างนั้นได้รับการฝึกถึงขั้นอาเนญชะอยู่ จึงไม่ขยับเท้าหน้า ไม่ขยับ
เท้าหลัง ไม่เขยื้อนกายไปข้างหน้า ไม่เขยื้อนกายไปข้างหลัง ไม่โคลงหัว ไม่กระดิกหู
ไม่เหวี่ยงงา ไม่แกว่งหาง ไม่ขยับงวง เป็นช้างหลวงผู้อดทนต่อการถูกหอกทิ่มแทง
ถูกดาบฟัน ถูกลูกศรเสียบแทง และถูกเครื่องประหารของศัตรูอื่น อดทนต่อเสียง
อึกกระทึกแห่งกลองศึก มโหระทึก สังข์ และกลองเล็ก กำจัดนิสัยดื้อรั้นทุกอย่าง
และหมดพยศ จึงนับว่า ‘เป็นช้างสมควรแก่พระราชา อันพระราชาควรใช้สอย
เป็นองค์สมบัติของพระราชา’ แม้ฉันใด
[๒๑๘] อัคคิเวสสนะ ตถาคต๑ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล อุบัติขึ้นมาในโลกนี้
เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยตนเองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ๒ ไปดี
รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค๓ ตถาคตรู้แจ้งโลกนี้พร้อม
ทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและ
มนุษย์ด้วยตนเองแล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม แสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มี
ความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด๔ ประกาศพรหมจรรย์๕ พร้อมทั้ง


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๕. ทันตภูมิสูตร

อรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน คหบดี บุตรคหบดี หรืออนุชน
(คนผู้เกิดภายหลัง) ในตระกูลใดตระกูลหนึ่งได้สดับธรรมนั้นแล้ว เกิดศรัทธาใน
ตถาคต เมื่อมีศรัทธาย่อมตระหนักว่า ‘การอยู่ครองเรือนเป็นเรื่องอึดอัด เป็นทาง
มาแห่งธุลี การบวชเป็นทางปลอดโปร่ง การที่บุคคลผู้อยู่ครองเรือนจะประพฤติ
พรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน ดุจสังข์ขัด ไม่ใช่ทำได้ง่าย ทางที่ดี
เราควรโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต’
ต่อมา เขาละทิ้งกองโภคสมบัติน้อยใหญ่ และเครือญาติน้อยใหญ่ โกนผม
และหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต๑ ด้วยเหตุเพียง
เท่านี้แล เขาชื่อว่าเป็นอริยสาวก อยู่ในที่แจ้ง ความจริง เทวดาและมนุษย์
ทั้งหลายยังห่วงถิ่นคือกามคุณ ๕ อยู่ ตถาคตจึงแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปอีกว่า
‘มาเถิด ภิกษุ เธอจงเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อม
ด้วยอาจาระและโคจร จงเป็นผู้มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่
ในสิกขาบททั้งหลาย’
อัคคิเวสสนะ เพราะอริยสาวกเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์
เพียบพร้อมด้วยอาจาระและโคจร เป็นผู้มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทาน
ศึกษาในสิกขาบททั้งหลายได้ ตถาคตจึงแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปอีกว่า ‘มาเถิด ภิกษุ
เธอจงเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เห็นรูปทางตาแล้วไม่รวบถือ ฯลฯ
[๒๑๙] ภิกษุนั้นละนิวรณ์ ๕ นี้ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต เป็น
เครื่องทอนปัญญาให้ถอยกำลังได้แล้ว พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร
มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ ฯลฯ
พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๕. ทันตภูมิสูตร

พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
อัคคิเวสสนะ ควาญช้างฝังเสาตะลุงใหญ่ลงในแผ่นดิน ล่ามคอช้างป่าไว้อย่าง
มั่นคง เพื่อแก้ไขปกติของสัตว์ป่า แก้ไขความสับสนของสัตว์ป่า และแก้ไขความ
กระวนกระวาย ความลำบากใจและความเร่าร้อนใจของสัตว์ป่า เพื่อให้ช้างป่านั้น
ยินดีในแดนบ้าน ให้เพลิดเพลินในปกติที่มนุษย์ต้องการ แม้ฉันใด อริยสาวกก็
ฉันนั้นเหมือนกัน ชื่อว่าผูกใจไว้แล้วกับสติปัฏฐาน ๔ นี้ เพื่อแก้ไขปกติที่ยังผูกพัน
อยู่กับเรือน๑ แก้ไขความสับสนที่ยังผูกพันอยู่กับเรือน แก้ไขความกระวนกระวาย
ความลำบากใจและความเร่าร้อนใจที่ผูกพันอยู่กับเรือน เพื่อบรรลุญายธรรม๒ เพื่อ
ทำให้แจ้งนิพพาน
[๒๒๐] ตถาคตจึงแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปอีกว่า ‘มาเถิดภิกษุ เธอจงพิจารณา
เห็นกายในกายอยู่เถิด แต่อย่าตรึกถึงวิตกที่เกี่ยวข้องกับกายเลย
จงพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เถิด ฯลฯ
จงพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่เถิด ...
จงพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เถิด แต่อย่าตรึกถึงวิตกที่เกี่ยวข้อง
กับธรรมเลย
เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุนั้นย่อมบรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสในภายใน
มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ ฯลฯ
บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อยู่
เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความเศร้า
หมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อมจิตไป
เพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒
ชาติบ้าง ฯลฯ เธอระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและ
ชีวประวัติอย่างนี้


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๕. ทันตภูมิสูตร

[๒๒๑] เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจาก
ความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้น
น้อมจิตไปเพื่อจุตูปปาตญาณ เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและ
ชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์
ฯลฯ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมอย่างนี้
เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ
เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อม
จิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย
นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ
นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา’ เมื่อเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นจาก
กามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’
รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
ภิกษุนั้นเป็นผู้อดทน คือ มีชาติของผู้อดกลั้นต่อความหนาว ความร้อน
ความหิว ความกระหาย ต่อสัมผัสอันเกิดจากเหลือบยุง ลม แดด และสัตว์
เลื้อยคลานทั้งหลาย ต่อถ้อยคำที่กล่าวร้าย ถ้อยคำที่ใส่ร้าย ต่อทุกขเวทนากล้า
อย่างหนัก เผ็ดร้อน อันมีในสรีระที่เกิดขึ้นแล้ว ต่อความไม่สำราญ ต่อความ
ไม่ชอบใจ พอจะคร่าชีวิตได้ ภิกษุนั้นกำจัดราคะ โทสะ โมหะทั้งปวงและกำจัด
กิเลสเพียงดังน้ำฝาดได้แล้ว เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ
ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก๑
[๒๒๒] อัคคิเวสสนะ ถ้าช้างหลวงแก่ที่ควาญช้างยังไม่ได้ฝึก ไม่ได้หัด ล้ม
ลง(ตาย) ย่อมถึงการนับว่า ‘ช้างหลวงแก่ล้มอย่างไม่ได้ฝึก’
ถ้าช้างหลวงรุ่นกลาง ฯลฯ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๕. ทันตภูมิสูตร

ถ้าช้างหลวงรุ่นหนุ่มที่ควาญช้างยังไม่ได้ฝึก ไม่ได้หัด ล้มลง ย่อมถึงการนับว่า
‘ช้างหลวงหนุ่มล้มอย่างไม่ได้ฝึก’ แม้ฉันใด
ถ้าภิกษุปูนเถระยังไม่สิ้นอาสวะมรณภาพลง ย่อมถึงการนับว่า ‘ภิกษุปูนเถระ
มรณภาพลงอย่างไม่ได้ฝึก’
ถ้าภิกษุปูนมัชฌิมะ ฯลฯ
ถ้าภิกษุปูนนวกะยังไม่สิ้นอาสวะมรณภาพลง ย่อมถึงการนับว่า ‘ภิกษุ
ปูนนวกะมรณภาพลงอย่างไม่ได้ฝึก’ ฉันนั้นเหมือนกัน
อัคคิเวสสนะ ถ้าช้างหลวงแก่ที่ควาญช้างฝึกดีแล้ว หัดดีแล้ว ล้มลง ย่อม
ถึงการนับว่า ‘ช้างหลวงแก่ล้มอย่างฝึกแล้ว’
ถ้าช้างหลวงรุ่นกลาง ฯลฯ
ถ้าช้างหลวงหนุ่มที่ควาญช้างฝึกดีแล้ว หัดดีแล้ว ล้มลง ย่อมถึงการนับว่า
‘ช้างหลวงหนุ่มล้มอย่างฝึกแล้ว’ แม้ฉันใด
ถ้าภิกษุปูนเถระผู้สิ้นอาสวะแล้วมรณภาพลง ย่อมถึงการนับว่า ‘ภิกษุปูนเถระ
มรณภาพลงอย่างฝึกแล้ว’
ถ้าภิกษุปูนมัชฌิมะ ฯลฯ
ถ้าภิกษุปูนนวกะผู้เป็นขีณาสพมรณภาพลง ย่อมถึงการนับว่า ‘ภิกษุ
ปูนนวกะมรณภาพลงอย่างฝึกแล้ว’ ฉันนั้นเหมือนกัน”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว อจิรวตะ สมณุทเทสมีใจยินดีชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

ทันตภูมิสูตรที่ ๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๖. ภูมิชสูตร

๖. ภูมิชสูตร
ว่าด้วยพระภูมิชะ

[๒๒๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อ
กระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้นเวลาเช้า ท่านพระภูมิชะ๑ ครองอันตรวาสก
ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังวังของชยเสนราชกุมาร แล้วนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้แล้ว
ลำดับนั้น ชยเสนราชกุมารเสด็จเข้าไปหาท่านพระภูมิชะถึงที่อยู่แล้วได้สนทนา
ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่สมควร
ชยเสนราชกุมารได้รับสั่งกับท่านพระภูมิชะว่า “ข้าแต่ท่านพระภูมิชะ มีสมณ-
พราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ถ้าแม้ชนทั้งหลายตั้งความ
หวังแล้วจึงประพฤติพรหมจรรย์ พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์ พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุ
ผลได้
ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์ พวกเขา
ก็ไม่สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วประพฤติพรหมจรรย์
พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้’
ในเรื่องนี้ พระศาสดาของท่านพระภูมิชะมีวาทะอย่างไร มีทิฏฐิอย่างไร ตรัส
สอนไว้อย่างไร”
ท่านพระภูมิชะถวายพระพรว่า “พระราชกุมาร เรื่องนี้อาตมภาพมิได้สดับรับ
มาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเลย แต่เป็นไปได้ที่พระผู้มีพระภาคพึงทรง
พยากรณ์อย่างนี้ว่า ‘ถ้าแม้ชนทั้งหลายตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์โดยไม่
แยบคาย พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๖. ภูมิชสูตร

ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์โดยไม่แยบคาย พวกเขาก็ไม่
สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์โดยไม่แยบคาย
พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วประพฤติพรหมจรรย์
โดยไม่แยบคาย พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ชนทั้งหลายตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์โดยแยบคาย พวก
เขาก็สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์โดยแยบคาย พวกเขาก็
สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์โดยแยบคาย
พวกเขาก็สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วประพฤติพรหมจรรย์
โดยแยบคาย พวกเขาก็สามารถบรรลุผลได้’
พระราชกุมาร เรื่องนี้อาตมภาพมิได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มี
พระภาคเลย แต่เป็นไปได้ที่พระผู้มีพระภาคพึงทรงพยากรณ์อย่างนี้”
ชยเสนราชกุมารตรัสว่า “ถ้าพระศาสดาของท่านพระภูมิชะมีวาทะอย่างนี้ มี
ทิฏฐิอย่างนี้ ตรัสสอนไว้อย่างนี้ พระศาสดาของท่านพระภูมิชะ ชะรอยจะมีความรู้
เหนือสมณพราหมณ์ทั้งปวงแน่แท้”
ลำดับนั้น ชยเสนราชกุมาร ทรงอังคาสท่านพระภูมิชะด้วยภัตตาหารใน
ภาชนะอันเป็นส่วนของพระองค์เองเลยทีเดียว
[๒๒๔] ครั้งนั้นแล ท่านพระภูมิชะกลับจากบิณฑบาต ภายหลังฉัน
ภัตตาหารเสร็จแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง
ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๖. ภูมิชสูตร

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เมื่อเช้านี้ ข้าพระองค์ครอง
อันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังวังของชยเสนราชกุมาร แล้วนั่งบนอาสนะที่
ปูลาดไว้แล้ว ลำดับนั้น ชยเสนราชกุมารเสด็จเข้ามาหาข้าพระองค์ แล้วได้ตรัส
สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่
สมควร ได้รับสั่งกับข้าพระองค์ว่า ‘ข้าแต่ท่านพระภูมิชะ มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง
มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ถ้าแม้ชนทั้งหลายตั้งความหวังแล้ว ประพฤติ
พรหมจรรย์ พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์ พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุ
ผลได้
ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์ พวกเขาก็
ไม่สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วประพฤติพรหมจรรย์
พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้
ในเรื่องนี้ พระศาสดาของท่านพระภูมิชะมีวาทะอย่างไร มีทิฏฐิอย่างไร ตรัส
สอนไว้อย่างไร’
เมื่อชยเสนราชกุมารรับสั่งอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์ได้ถวายพระพรว่า ‘พระ
ราชกุมาร เรื่องนี้ อาตมภาพมิได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเลย
แต่เป็นไปได้ที่พระผู้มีพระภาคพึงทรงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ‘ถ้าแม้ชนทั้งหลายตั้ง
ความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์โดยไม่แยบคาย พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์โดยไม่แยบคาย พวกเขาก็ไม่
สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์โดยไม่แยบคาย
พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วประพฤติพรหมจรรย์
โดยไม่แยบคาย พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๖. ภูมิชสูตร

ถ้าแม้ตั้งความหวังแล้วจึงประพฤติพรหมจรรย์โดยแยบคาย พวกเขาก็
สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้ว ...
ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้ว ...
ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วประพฤติพรหมจรรย์
โดยแยบคาย พวกเขาก็สามารถบรรลุผลได้’
เรื่องนี้ อาตมภาพมิได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเลย แต่
เป็นไปได้ที่พระผู้มีพระภาคพึงทรงพยากรณ์อย่างนี้’
ชยเสนราชกุมารรับสั่งว่า ‘ถ้าพระศาสดาของท่านพระภูมิชะผู้มีวาทะอย่างนี้
มีทิฏฐิอย่างนี้ ตรัสสอนไว้อย่างนี้ พระศาสดาของท่านพระภูมิชะ ชะรอยจะมี
ความรู้เหนือสมณพราหมณ์ทั้งปวงแน่แท้’ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้แล้ว เมื่อ
พยากรณ์อย่างนี้ ชื่อว่าพูดตรงตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระผู้
มีพระภาคด้วยคำเท็จ ชื่อว่าเป็นผู้พูดอย่างสมเหตุสมผลหรือ ไม่มีบ้างหรือที่คำ
กล่าวเช่นนั้น และคำที่กล่าวต่อ ๆ กันมา จะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภูมิชะ ช่างเถิด เธอถูกถามอย่างนั้นแล้ว เมื่อ
พยากรณ์อย่างนั้น ชื่อว่าพูดตรงตามที่เรากล่าวไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยคำเท็จ
ชื่อว่าเป็นผู้พูดอย่างสมเหตุสมผล ไม่มีเลยที่คำกล่าวเช่นนั้นและคำที่กล่าวต่อ ๆ
กันมา จะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้ แต่สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่งเป็น
มิจฉาทิฏฐิ(มีความเห็นผิด) เป็นมิจฉาสังกัปปะ(มีความดำริผิด) เป็นมิจฉาวาจา(มี
การเจรจาผิด) เป็นมิจฉากัมมันตะ(มีการงานผิด) เป็นมิจฉาอาชีวะ(มีการเลี้ยงชีพ
ผิด) เป็นมิจฉาวายามะ(มีความเพียรผิด) เป็นมิจฉาสติ(มีความระลึกผิด) เป็น
มิจฉาสมาธิ(มีความตั้งใจผิด)
ถ้าแม้สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ตั้งความหวังแล้วจึงประพฤติพรหมจรรย์
พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์ พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุ
ผลได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๖. ภูมิชสูตร

ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์ พวกเขาก็
ไม่สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วประพฤติพรหมจรรย์
พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะอุบายอันไม่แยบคาย พวกเขาจึงไม่สามารถบรรลุผลได้
[๒๒๕] ภูมิชะ เปรียบเหมือนบุรุษผู้ต้องการน้ำมัน แสวงหาน้ำมัน เที่ยว
เสาะหาน้ำมัน เกลี่ยทรายลงในรางแล้ว เอาน้ำพรมไป คั้นไป
ถ้าแม้บุรุษนั้นตั้งความหวังแล้วเกลี่ยทรายลงในราง เอาน้ำพรมไป คั้นไป
เขาก็ไม่สามารถได้น้ำมัน
ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้วเกลี่ยทรายลงไปในราง เอาน้ำพรมไป คั้นไป เขา
ก็ไม่สามารถได้น้ำมัน
ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้วเกลี่ยทรายลงในราง เอาน้ำ
พรมไป คั้นไป เขาก็ไม่สามารถได้น้ำมัน
ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วเกลี่ยทรายลงในราง
เอาน้ำพรมไป คั้นไป เขาก็ไม่สามารถได้น้ำมัน
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะอุบายอันไม่แยบคาย เขาจึงไม่สามารถได้น้ำมัน แม้ฉันใด
สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นมิจฉาทิฏฐิ
เป็นมิจฉาสังกัปปะ เป็นมิจฉาวาจา เป็นมิจฉากัมมันตะ เป็นมิจฉาอาชีวะ เป็น
มิจฉาวายามะ เป็นมิจฉาสติ เป็นมิจฉาสมาธิ
ถ้าแม้สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ตั้งความหวังแล้วจึงประพฤติพรหมจรรย์
พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๖. ภูมิชสูตร

ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์ พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุ
ผลได้
ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์ พวกเขาก็
ไม่สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วประพฤติพรหมจรรย์
พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะอุบายอันไม่แยบคาย พวกเขาจึงไม่สามารถบรรลุผลได้
เปรียบเหมือนบุรุษผู้ต้องการนมสด แสวงหานมสด เที่ยวเสาะหานมสด
แต่รีด(นมสด) จากเขาโคแม่ลูกอ่อน
ถ้าแม้บุรุษนั้นตั้งความหวังแล้วรีดเอาจากเขาโคแม่ลูกอ่อน เขาก็ไม่สามารถได้
นมสด
ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้วรีดเอาจากเขาโคแม่ลูกอ่อน เขาก็ไม่สามารถได้
นมสด
ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวัง ฯลฯ
ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วรีดเอาจากเขาของโคแม่
ลูกอ่อน เขาก็ไม่สามารถได้นมสด
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะอุบายอันไม่แยบคาย เขาจึงไม่สามารถได้นมสด แม้ฉันใด
สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ
เป็นมิจฉาสมาธิ
ถ้าแม้สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์
พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๖. ภูมิชสูตร

ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์ พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุ
ผลได้
ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์ พวกเขา
ก็ไม่สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วประพฤติพรหมจรรย์
พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะอุบายอันไม่แยบคาย พวกเขาจึงไม่สามารถบรรลุผลได้
[๒๒๖] ภูมิชะ เปรียบเหมือนบุรุษผู้ต้องการเนยข้น แสวงหาเนยข้น เที่ยว
เสาะหาเนยข้น เทน้ำลงในอ่างแล้ว กวนด้วยเครื่องกวน
ถ้าแม้บุรุษนั้นตั้งความหวังเทน้ำลงไปในอ่างแล้วกวนด้วยเครื่องกวน เขาก็ไม่
สามารถได้เนยข้น
ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้ว ...
ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้ว ...
ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วเทน้ำลงในอ่างแล้วกวน
ด้วยเครื่องกวน เขาก็ไม่สามารถได้เนยข้น
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะอุบายอันไม่แยบคาย เขาจึงไม่สามารถได้เนยข้น แม้ฉันใด
สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ
เป็นมิจฉาสมาธิ
ถ้าแม้สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ตั้งความหวังแล้วจึงประพฤติพรหมจรรย์
พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้ว ...
ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้ว ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๖. ภูมิชสูตร

ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วจึงประพฤติพรหมจรรย์
พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะอุบายอันไม่แยบคาย พวกเขาจึงไม่สามารถบรรลุผลได้
เปรียบเหมือนบุรุษผู้ต้องการไฟ แสวงหาไฟ เที่ยวเสาะหาไฟ จึงเอาไม้สดที่
มียางมาทำไม้สีไฟ แล้วสีให้เป็นไฟ
ถ้าแม้บุรุษนั้นตั้งความหวังแล้วจึงเอาไม้สดที่มียางมาทำไม้สีไฟ แล้วสีให้
เป็นไฟ เขาก็ไม่สามารถได้ไฟ
ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้ว ...
ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้ว ...
ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วเอาไม้สดที่มียางมาทำไม้
สีไฟ แล้วสีให้เป็นไฟ เขาก็ไม่สามารถได้ไฟ
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะอุบายอันไม่แยบคาย เขาจึงไม่สามารถได้ไฟ แม้ฉันใด
สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ
เป็นมิจฉาสมาธิ
ถ้าแม้สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์
พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้ว ...
ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้ว ...
ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วประพฤติพรหมจรรย์
พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุผลได้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะอุบายอันไม่แยบคาย พวกเขาจึงไม่สามารถบรรลุผลได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๖. ภูมิชสูตร

ภูมิชะ ส่วนสมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่งเป็นสัมมาทิฏฐิ เป็น
สัมมาสังกัปปะ เป็นสัมมาวาจา เป็นสัมมากัมมันตะ เป็นสัมมาอาชีวะ เป็น
สัมมาวายามะ เป็นสัมมาสติ เป็นสัมมาสมาธิ
ถ้าแม้สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ตั้งความหวังแล้วจึงประพฤติพรหมจรรย์
พวกเขาก็สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์ พวกเขาก็สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์ พวกเขา
ก็สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วประพฤติพรหมจรรย์
พวกเขาก็สามารถบรรลุผลได้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะอุบายอันแยบคาย พวกเขาจึงสามารถบรรลุผลได้
[๒๒๗] ภูมิชะ เปรียบเหมือนบุรุษผู้ต้องการน้ำมัน แสวงหาน้ำมัน เที่ยว
เสาะหาน้ำมัน เกลี่ยแป้งงาลงในรางแล้ว เอาน้ำพรมไป คั้นไป
ถ้าแม้บุรุษนั้นตั้งความหวังแล้วเกลี่ยแป้งงาลงในราง เอาน้ำพรมไป คั้นไป
เขาก็สามารถได้น้ำมันงา
ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้ว ...
ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้ว ...
ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วเกลี่ยแป้งงาลงในราง
เอาน้ำพรมไป คั้นไป เขาก็สามารถได้น้ำมันงา
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะอุบายอันแยบคาย เขาจึงสามารถได้น้ำมันงา แม้ฉันใด
สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ
เป็นสัมมาสมาธิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๖. ภูมิชสูตร

ถ้าแม้สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ตั้งความหวังแล้วจึงประพฤติพรหมจรรย์
พวกเขาก็สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้ว ...
ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้ว ...
ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วประพฤติพรหมจรรย์
พวกเขาก็สามารถบรรลุผลได้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะอุบายอันแยบคาย พวกเขาจึงสามารถบรรลุผลได้
เปรียบเหมือนบุรุษผู้ต้องการนมสด แสวงหานมสด เที่ยวเสาะหานมสด จึง
รีด(นมสด) จากเต้านมของโคแม่ลูกอ่อน
ถ้าแม้บุรุษนั้นตั้งความหวังแล้วรีดเอาจากเต้านมโคแม่ลูกอ่อน เขาก็สามารถได้
นมสด
ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้ว ...
ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้ว ...
ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วพึงรีดจากเต้านมโคแม่
ลูกอ่อน เขาก็สามารถได้นมสด
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะอุบายอันแยบคาย เขาจึงสามารถได้นมสด แม้ฉันใด
สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ
เป็นสัมมาสมาธิ
ถ้าแม้สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ตั้งความหวังแล้วพึงประพฤติพรหมจรรย์
พวกเขาก็สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้ว ...
ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้ว ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๖. ภูมิชสูตร

ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วประพฤติพรหมจรรย์
พวกเขาก็สามารถบรรลุผลได้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะอุบายอันแยบคาย พวกเขาจึงสามารถบรรลุผลได้
[๒๒๘] ภูมิชะ เปรียบเหมือนบุรุษผู้ต้องการเนยข้น แสวงหาเนยข้น เที่ยว
เสาะหาเนยข้น เทนมส้มลงในอ่างแล้วกวนด้วยเครื่องกวน
ถ้าแม้บุรุษนั้นตั้งความหวังแล้วเทนมส้มลงในอ่างพึงกวนด้วยเครื่องกวน เขา
ก็สามารถได้นมข้น
ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้ว ...
ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้ว ...
ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วเทนมส้มลงในอ่างแล้ว
กวนด้วยเครื่องกวน เขาก็สามารถได้นมข้น
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะอุบายอันแยบคาย เขาจึงสามารถได้นมข้น แม้ฉันใด
สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นสัมมาทิฏฐิ
ฯลฯ เป็นสัมมาสมาธิ
ถ้าแม้สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ตั้งความหวังแล้วจึงประพฤติพรหมจรรย์
พวกเขาก็สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้ว ...
ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้ว ...
ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วประพฤติพรหมจรรย์
พวกเขาก็สามารถบรรลุผลได้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะอุบายอันแยบคาย พวกเขาจึงสามารถบรรลุผลได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๖. ภูมิชสูตร

เปรียบเหมือนบุรุษผู้ต้องการไฟ แสวงหาไฟ เที่ยวเสาะหาไฟ จึงเอาไม้แห้ง
มาทำไม้สีไฟ แล้วสีให้เป็นไฟ
ถ้าแม้บุรุษนั้นตั้งความหวังแล้ว เอาไม้แห้งมาทำไม้สีไฟ แล้วสีให้เป็นไฟ
เขาก็สามารถได้ไฟ
ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้ว ...
ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้ว ...
ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วเอาไม้แห้งมาทำไม้สีไฟ
แล้วสีให้เป็นไฟ เขาก็สามารถได้ไฟ
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะอุบายอันแยบคาย เขาจึงสามารถได้ไฟ แม้ฉันใด
สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นสัมมาทิฏฐิ
ฯลฯ เป็นสัมมาสมาธิ
ถ้าแม้สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ตั้งความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์
พวกเขาก็สามารถบรรลุผลได้
ถ้าแม้ไม่ตั้งความหวังแล้ว ...
ถ้าแม้ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวังแล้ว ...
ถ้าแม้ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วประพฤติพรหมจรรย์
พวกเขาก็สามารถบรรลุผลได้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะอุบายอันแยบคาย พวกเขาจึงสามารถบรรลุผลได้
ภูมิชะ ถ้าเธอพึงอธิบายอุปมา ๔ ข้อนี้ ให้แจ่มแจ้งแก่ชยเสนราชกุมารได้
ชยเสนราชกุมารจะพึงเลื่อมใสเธออย่างน่าอัศจรรย์ และชยเสนราชกุมารผู้เลื่อมใส
แล้ว จะพึงทำอาการของบุคคลผู้เลื่อมใสแก่เธอ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๗. อนุรุทธสูตร

ท่านพระภูมิชะกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เฉพาะข้าพระองค์จัก
อธิบายอุปมา ๔ ข้อนี้อันน่าอัศจรรย์ ที่ข้าพระองค์ยังไม่เคยได้สดับมาก่อน ให้
แจ่มแจ้งแก่ชยเสนราชกุมาร เหมือนพระผู้มีพระภาคได้อย่างไร”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระภูมิชะมีใจยินดีชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

ภูมิชสูตรที่ ๖ จบ

๗. อนุรุทธสูตร
ว่าด้วยพระอนุรุทธะ

[๒๒๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะ เรียกชาย
คนหนึ่งมาสั่งว่า
“มาเถิด พ่อมหาจำเริญ เธอจงเข้าไปหาท่านพระอนุรุทธะถึงที่อยู่ กราบเท้า
ท่านด้วยเศียรเกล้าตามคำของเราแล้วกราบเรียนอย่างนี้ว่า ‘พระคุณเจ้าผู้เจริญ
ช่างไม้ปัญจกังคะกราบเท้าท่านพระอนุรุทธะด้วยเศียรเกล้า’ และจงกราบเรียนอย่าง
นี้ว่า ‘พระคุณเจ้าผู้เจริญ ขอท่านพระอนุรุทธะโปรดนับตนเองเป็นรูปที่ ๔ นิมนต์
รับภัตตาหารของช่างไม้ปัญจกังคะในวันพรุ่งนี้ และขอพระคุณเจ้าโปรดมาแต่เช้า ๆ
เพราะช่างไม้ปัญจกังคะมีกิจมาก มีหน้าที่ที่จะต้องทำทางราชการมาก”
ชายคนนั้นรับคำแล้วจึงเข้าไปหาท่านพระอนุรุทธะถึงที่อยู่ กราบแล้ว นั่ง
ณ ที่สมควร ได้กราบเรียนท่านพระอนุรุทธะว่า “พระคุณเจ้าผู้เจริญ ช่างไม้
ปัญจกังคะกราบเท้าพระคุณท่านด้วยเศียรเกล้า และฝากมากราบเรียนอย่างนี้ว่า
‘พระคุณเจ้าผู้เจริญ ขอท่านพระอนุรุทธะโปรดนับตนเองเป็นรูปที่ ๔ นิมนต์รับ
ภัตตาหารของช่างไม้ปัญจกังคะในวันพรุ่งนี้ และขอพระคุณเจ้าโปรดไปแต่เช้า ๆ
เพราะช่างไม้ปัญจกังคะมีกิจมาก มีหน้าที่ที่จะต้องทำทางราชการมาก”
ท่านพระอนุรุทธะรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๗. อนุรุทธสูตร

[๒๓๐] ครั้นเวลาเช้า เมื่อล่วงราตรีนั้นไป ท่านพระอนุรุทธะ ครองผ้า
อันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังที่อยู่ของช่างไม้ปัญจกังคะ แล้วนั่งบน
อาสนะที่ปูลาดไว้แล้ว ลำดับนั้น ช่างไม้ปัญจกังคะถวายของเคี้ยวของฉันอันประณีต
แก่ท่านพระอนุรุทธะจนอิ่มหนำสำราญด้วยตนเอง พอเห็นท่านพระอนุรุทธะฉันเสร็จ
ละมือออกจากบาตรแล้ว จึงเลือกนั่ง ณ ที่สมควรที่ใดที่หนึ่งซึ่งต่ำกว่า ได้กล่าว
กับท่านพระอนุรุทธะว่า
“พระคุณเจ้าผู้เจริญ ภิกษุผู้เถระทั้งหลายเข้ามาหากระผมในที่นี้แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า
‘คหบดี ท่านจงเจริญเจโตวิมุตติอันหาประมาณมิได้เถิด’ พระเถระบางรูปกล่าวอย่างนี้ว่า
‘คหบดี ท่านจงเจริญเจโตวิมุตติที่เป็นมหัคคตะเถิด’
พระคุณเจ้าผู้เจริญ ธรรม ๒ ประการนี้ คือ
๑. เจโตวิมุตติ๑อันหาประมาณมิได้
๒. เจโตวิมุตติที่เป็นมหัคคตะ๒
มีอรรถต่างกันและมีพยัญชนะต่างกัน(อย่างไร) หรือว่ามีอรรถเป็นอันเดียวกัน๓
ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น”
“คหบดี ถ้าเช่นนั้น ท่านนั่นแหละ จงทำความเข้าใจในเรื่องนี้ให้แจ่มแจ้ง
ท่านจะได้ปฏิบัติไม่ผิดจากเรื่องนี้”
“พระคุณเจ้าผู้เจริญ กระผมมีความเข้าใจอย่างนี้ว่า ‘ธรรมเหล่านี้ คือ
๑. เจโตวิมุตติอันหาประมาณมิได้
๒. เจโตวิมุตติที่เป็นมหัคคตะ
มีอรรถเป็นอันเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๗. อนุรุทธสูตร

“คหบดี ธรรม ๒ ประการนี้ คือ
๑. เจโตวิมุตติอันหาประมาณมิได้
๒. เจโตวิมุตติที่เป็นมหัคคตะ
มีอรรถต่างกันและมีพยัญชนะต่างกัน ท่านพึงทราบความต่างกันนั้น โดย
วิธีที่ธรรมเหล่านี้ มีอรรถต่างกันและมีพยัญชนะต่างกันโดยเหตุผลต่อไปนี้
เจโตวิมุตติอันหาประมาณมิได้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่ ... ทิศที่ ๒
... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอด
โลกทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถาน ด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มี
ขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ มีกรุณาจิต ... มีมุทิตาจิต ... มี
อุเบกขาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่ ... ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ...
ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถาน
ด้วยอุเบกขาจิต อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความ
เบียดเบียนอยู่
คหบดี นี้เรียกว่า เจโตวิมุตติอันหาประมาณมิได้
[๒๓๑] เจโตวิมุตติที่เป็นมหัคคตะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ น้อมจิตแผ่ไปตลอดโคนต้นไม้ ๑ แห่งว่า
‘เป็นแดนมหัคคตะ’ อยู่
นี้เรียกว่า เจโตวิมุตติที่เป็นมหัคคตะ
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ น้อมจิตแผ่ไปตลอดโคนต้นไม้ ๒ หรือ ๓ แห่งว่า
‘เป็นแดนมหัคคตะ’ อยู่
นี้เรียกว่า เจโตวิมุตติที่เป็นมหัคคตะ
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ น้อมจิตแผ่ไปตลอดเขตบ้าน ๑ แห่งว่า ‘เป็นแดน
มหัคคตะ’ อยู่
นี้เรียกว่า เจโตวิมุตติที่เป็นมหัคคตะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๗. อนุรุทธสูตร

ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ น้อมจิตแผ่ไปตลอดเขตบ้าน ๒ หรือ ๓ แห่งว่า
‘เป็นแดนมหัคคตะ’ อยู่
นี้เรียกว่า เจโตวิมุตติที่เป็นมหัคคตะ
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ น้อมจิตแผ่ไปตลอดอาณาจักร ๑ แห่งว่า ‘เป็น
แดนมหัคคตะ’ อยู่
นี้เรียกว่า เจโตวิมุตติที่เป็นมหัคคตะ
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ น้อมจิตแผ่ไปตลอดอาณาจักร ๒ หรือ ๓ แห่งว่า
‘เป็นแดนมหัคคตะ’ อยู่
นี้เรียกว่า เจโตวิมุตติที่เป็นมหัคคตะ
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ น้อมจิตแผ่ไปตลอดปฐพีซึ่งมีมหาสมุทรเป็นขอบเขต
๑ แห่งว่า ‘เป็นแดนมหัคคตะ’ อยู่
นี้เรียกว่า เจโตวิมุตติที่เป็นมหัคคตะ
คหบดี โดยเหตุผลนี้ ท่านก็จะทราบความต่างกันนั้น โดยวิธีที่ธรรมเหล่านี้
มีอรรถต่างกันและมีพยัญชนะต่างกัน
[๒๓๒] คหบดี การเข้าถึงภพนี้มี ๔ ประการ
การเข้าถึงภพ ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้
๑. น้อมจิตแผ่กสิณมีแสงสว่างเล็กน้อยเป็นอารมณ์อยู่ หลังจากตายแล้ว
จึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพชั้นปริตตาภา
๒. น้อมจิตแผ่กสิณมีแสงสว่างหาประมาณมิได้เป็นอารมณ์อยู่ หลัง
จากตายแล้ว จึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพชั้นอัปปมาณาภา
๓. น้อมจิตแผ่กสิณมีแสงสว่างเศร้าหมองเป็นอารมณ์อยู่ หลังจาก
ตายแล้ว จึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพชั้นสังกิลิฏฐาภา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๗. อนุรุทธสูตร

๔. น้อมจิตแผ่กสิณมีแสงสว่างบริสุทธิ์เป็นอารมณ์อยู่ หลังจากตาย
แล้ว จึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพชั้นปริสุทธาภา
การเข้าถึงภพ ๔ ประการนี้แล
มีสมัยที่พวกเทพประชุมร่วมกัน เทพเหล่านั้นย่อมปรากฏมีสีกายต่างกัน แต่
มีรัศมีไม่ต่างกัน เปรียบเหมือนบุรุษตามประทีปน้ำมันหลายดวง เข้าไปยังเรือน
หลังหนึ่ง ประทีปน้ำมันเหล่านั้นปรากฏมีเปลวต่างกัน แต่มีแสงสว่างไม่ต่างกัน
แม้ฉันใด สมัยที่พวกเทพประชุมร่วมกัน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เทพเหล่านั้นย่อม
ปรากฏมีสีกายต่างกัน แต่มีรัศมีไม่ต่างกัน
มีสมัยที่พวกเทพแยกกันประชุม เทพเหล่านั้นย่อมปรากฏมีสีกายต่างกันและ
มีรัศมีต่างกัน เปรียบเหมือนบุรุษนำประทีบน้ำมันหลายดวงออกจากเรือนหลังนั้น
ประทีปน้ำมันเหล่านั้นปรากฏมีเปลวต่างกันและมีแสงสว่างต่างกัน แม้ฉันใด สมัย
ที่พวกเทพแยกกันประชุม ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เทพเหล่านั้นย่อมปรากฏมีสีกาย
ต่างกัน และมีรัศมีต่างกัน
คหบดี เทพเหล่านั้นไม่มีความดำริอย่างนี้เลยว่า ‘สิ่งนี้ของเราทั้งหลายเที่ยง
ยั่งยืน หรือแน่นอน’ แต่เทพเหล่านั้นย่อมอภิรมย์ในที่ที่ตนอาศัยอยู่เท่านั้น
เปรียบเหมือนแมลงวันที่ติดไปกับหาบหรือตะกร้า ย่อมไม่มีความคิดอย่างนี้ว่า
‘หาบหรือตะกร้านี้ของเราเที่ยง ยั่งยืน หรือแน่นอน’ แต่ว่าแมลงวันเหล่านั้นย่อม
อภิรมย์ในที่ที่ตนอาศัยอยู่เท่านั้น แม้ฉันใด เทพเหล่านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่
มีความคิดอย่างนี้เลยว่า ‘สิ่งนี้ของเราทั้งหลายเที่ยง ยั่งยืน หรือแน่นอน’ แต่เทพ
เหล่านั้นย่อมอภิรมย์ในที่ที่ตนอาศัยอยู่เท่านั้น”
[๒๓๓] เมื่อท่านพระอนุรุทธะกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระสภิยกัจจานะ ได้
กล่าวกับท่านพระอนุรุทธะว่า “ดีละ ท่านอนุรุทธะผู้เจริญ แต่กระผมมีเรื่องจะขอ
ถามให้ยิ่งขึ้นไปในเรื่องนี้ว่า ‘เทพผู้มีรัศมีทั้งหมดนั้นมีรัศมีเล็กน้อย หรือว่าบรรดา
เทพเหล่านั้นมีเทพบางพวกมีรัศมีหาประมาณมิได้”
ท่านพระอนุรุทธะกล่าวว่า “ท่านกัจจานะ โดยองค์แห่งการเกิด บรรดาเทพ
เหล่านี้ เทพบางพวกมีรัศมีเล็กน้อย แต่เทพบางพวกมีรัศมีหาประมาณมิได้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๗. อนุรุทธสูตร

“ท่านอนุรุทธะผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บรรดาเทพผู้เกิดใน
หมู่เทพเดียวกันเหล่านั้น เทพบางพวกมีรัศมีเล็กน้อย แต่เทพบางพวกมีรัศมี
หาประมาณมิได้”
“ท่านกัจจานะ ถ้าเช่นนั้น กระผมจะย้อนถามท่านในเรื่องนี้ ท่านพึงตอบ
ปัญหานั้นตามที่ท่านพอใจ
ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
คือ ภิกษุรูปที่น้อมจิตแผ่ไปตลอดโคนต้นไม้ ๑ แห่งว่า ‘เป็นแดนมหัคคตะ’
อยู่ กับภิกษุรูปที่น้อมจิตแผ่ไปตลอดโคนต้นไม้ ๒ หรือ ๓ แห่งว่า ‘เป็นแดน
มหัคคตะ’ อยู่ บรรดาจิตตภาวนาของภิกษุ ๒ รูปนี้ จิตตภาวนาอย่างไหน เป็น
มหัคคตจิตตภาวนายิ่งกว่ากัน”
“บรรดาจิตตภาวนาของภิกษุ ๒ รูปนี้ จิตตภาวนาของภิกษุรูปที่น้อมจิต
แผ่ไปสู่โคนต้นไม้ ๒ หรือ ๓ แห่งว่า ‘เป็นแดนมหัคคตะ’ อยู่นี้ เป็นมหัคคต
จิตตภาวนายิ่งกว่า ขอรับ”
“ท่านกัจจานะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
คือ ภิกษุรูปที่น้อมจิตแผ่ไปตลอดโคนต้นไม้ ๒ หรือ ๓ แห่งว่า ‘เป็นแดน
มหัคคตะ’ อยู่ กับภิกษุรูปที่น้อมจิตแผ่ไปตลอดเขตบ้าน ๑ แห่งว่า ‘เป็นแดน
มหัคคตะ’ อยู่ บรรดาจิตตภาวนาของภิกษุ ๒ รูปนี้ จิตตภาวนาอย่างไหน เป็น
มหัคคตจิตตภาวนายิ่งกว่ากัน”
“บรรดาจิตตภาวนาของภิกษุ ๒ รูปนี้ จิตตภาวนาของภิกษุรูปที่น้อมจิต
แผ่ไปตลอดเขตบ้าน ๑ แห่งว่า ‘เป็นแดนมหัคคตะ’ อยู่นี้ เป็นมหัคคตจิตต
ภาวนายิ่งกว่า ขอรับ”
“ท่านกัจจานะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
คือ ภิกษุรูปที่น้อมจิตแผ่ไปตลอดเขตบ้าน ๑ แห่งว่า ‘เป็นแดนมหัคคตะ’ อยู่
กับภิกษุรูปที่น้อมจิตแผ่ไปตลอดเขตบ้าน ๒ หรือ ๓ แห่งว่า ‘เป็นแดนมหัคคตะ’ อยู่
บรรดาจิตตภาวนาของภิกษุ ๒ รูปนี้ จิตตภาวนาอย่างไหน เป็นมหัคคตจิตต
ภาวนายิ่งกว่ากัน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๗. อนุรุทธสูตร

“บรรดาจิตตภาวนาของภิกษุ ๒ รูปนี้ จิตตภาวนาของภิกษรูปที่น้อมจิต
แผ่ไปตลอดเขตบ้าน ๒ หรือ ๓ แห่งว่า ‘เป็นแดนมหัคคตะ’ อยู่นี้ เป็นมหัคคต
จิตตภาวนายิ่งกว่า ขอรับ”
“ท่านกัจจานะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
คือ ภิกษุรูปที่น้อมจิตแผ่ไปตลอดเขตบ้าน ๒ หรือ ๓ แห่งว่า ‘เป็นแดน
มหัคคตะ’ อยู่ กับภิกษุรูปที่น้อมจิตแผ่ไปตลอดมหาอาณาจักร ๑ แห่งว่า ‘เป็น
แดนมหัคคตะ’ อยู่ บรรดาจิตตภาวนาของภิกษุ ๒ รูปนี้ จิตตภาวนาอย่างไหน
เป็นมหัคคตจิตตภาวนายิ่งกว่ากัน”
“บรรดาจิตตภาวนาของภิกษุ ๒ รูปนี้ จิตตภาวนาของภิกษรูปที่น้อมจิต
แผ่ไปตลอดมหาอาณาจักร ๑ แห่งว่า ‘เป็นแดนมหัคคตะ’ อยู่นี้ เป็นมหัคคตจิตต
ภาวนายิ่งกว่า ขอรับ”
“ท่านกัจจานะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
คือ ภิกษุรูปที่น้อมจิตแผ่ไปตลอดมหาอาณาจักร ๑ แห่งว่า ‘เป็นแดน
มหัคคตะ’ อยู่ กับภิกษุรูปที่น้อมจิตแผ่ไปตลอดมหาอาณาจักร ๒ หรือ ๓ แห่งว่า
‘เป็นแดนมหัคคตะ’ อยู่ บรรดาจิตตภาวนาของภิกษุ ๒ รูปนี้ จิตตภาวนาอย่างไหน
เป็นมหัคคตจิตตภาวนายิ่งกว่ากัน”
“บรรดาจิตตภาวนาของภิกษุ ๒ รูปนี้ จิตตภาวนาของภิกษุรูปที่น้อมจิตแผ่
ไปตลอดมหาอาณาจักร ๒ หรือ ๓ แห่งว่า ‘เป็นแดนมหัคคตะ’ อยู่นี้ เป็น
มหัคคตจิตตภาวนายิ่งกว่า ขอรับ”
“ท่านกัจจานะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
คือ ภิกษุรูปที่น้อมจิตแผ่ไปตลอดมหาอาณาจักร ๒ หรือ ๓ แห่งว่า
‘เป็นแดนมหัคคตะ’ อยู่ กับภิกษุรูปที่น้อมจิตแผ่ไปตลอดมหาปฐพีมีมหาสมุทร
เป็นขอบเขตอยู่ บรรดาจิตตภาวนาของภิกษุ ๒ รูปนี้ จิตตภาวนาอย่างไหน
เป็นมหัคคตจิตตภาวนายิ่งกว่ากัน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๗๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๗. อนุรุทธสูตร

“บรรดาจิตตภาวนาของภิกษุ ๒ รูปนี้ จิตตภาวนาของภิกษุรูปที่น้อมจิต
แผ่ไปตลอดมหาปฐพีมีมหาสมุทรเป็นขอบเขตว่า ‘เป็นแดนมหัคคตะ’ อยู่นี้ เป็น
มหัคคตจิตตภาวนายิ่งกว่า ขอรับ”
“ท่านกัจจานะ นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บรรดาเทพผู้เกิดในหมู่เทพเดียวกัน
เหล่านั้น บางพวกมีรัศมีเล็กน้อย แต่บางพวกมีรัศมีหาประมาณมิได้”
[๒๓๔] “ดีละ ท่านอนุรุทธะผู้เจริญ แต่กระผมมีเรื่องจะขอสอบถามให้ยิ่งขึ้น
ไปในเรื่องนี้ว่า ‘เทพผู้มีรัศมีทั้งหมดนั้นมีรัศมีเศร้าหมอง หรือว่าบรรดาเทพ
เหล่านั้นมีเทพบางพวกมีรัศมีบริสุทธิ์”
“ท่านกัจจานะ โดยองค์แห่งการเกิดนั้น บรรดาเทพเหล่านี้ เทพบางพวกมี
รัศมีเศร้าหมอง แต่เทพบางพวกมีรัศมีบริสุทธิ์”
“ท่านอนุรุทธะผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บรรดาเทพผู้เกิด
ในหมู่เทพเดียวกันเหล่านั้น เทพบางพวกมีรัศมีเศร้าหมอง แต่เทพบางพวกมีรัศมี
บริสุทธิ์”
“ท่านกัจจานะ ถ้าเช่นนั้น กระผมจักทำการเปรียบเทียบแก่ท่าน แม้เพราะ
การเปรียบเทียบ วิญญูชนบางพวกในโลกนี้ จึงรู้ทั่วถึงอรรถแห่งภาษิตได้
เปรียบเหมือน เมื่อประทีปน้ำมันอันบุคคลจุดไฟอยู่ แม้น้ำมันก็ไม่บริสุทธิ์
แม้ไส้ก็ไม่บริสุทธิ์ เพราะน้ำมันและไส้ไม่บริสุทธิ์ ประทีปน้ำมันนั้นจึงติดไฟอย่าง
ริบหรี่ แม้ฉันใด ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน น้อมจิต
แผ่กสิณมีแสงสว่างเศร้าหมองเป็นอารมณ์อยู่ ไม่ระงับความชั่วหยาบทางกายให้ดี
ไม่ถอนถีนมิทธะให้ดี ไม่กำจัดอุทธัจจกุกกุจจะให้ดี เพราะไม่ระงับความชั่วหยาบ
ทางกายให้ดี ไม่ถอนถีนมิทธะให้ดี ไม่กำจัดอุทธัจจกุกกุจจะให้ดี ภิกษุนั้นจึง
รุ่งเรืองอย่างริบหรี่ หลังจากมรณภาพแล้ว จึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับหมู่เทพ
ผู้มีรัศมีเศร้าหมอง
เปรียบเหมือน เมื่อประทีบน้ำมันอันบุคคลจุดไฟอยู่ แม้น้ำมันก็บริสุทธิ์
แม้ไส้ก็บริสุทธิ์ เพราะน้ำมันและไส้บริสุทธิ์ ประทีปน้ำมันนั้นจึงติดไฟอย่างไม่ริบหรี่
แม้ฉันใด ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน น้อมจิตแผ่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๘. อุปักกิเลสสูตร

กสิณมีแสงสว่างบริสุทธิ์เป็นอารมณ์อยู่ ระงับความชั่วหยาบทางกายให้ดี ถอน
ถีนมิทธะให้ดี กำจัดอุทธัจจกุกกุจจะให้ดี เพราะระงับความชั่วหยาบทางกาย
ให้ดี ถอนถีนมิทธะให้ดี และกำจัดอุทธัจจกุกกุจจะให้ดี ภิกษุนั้นจึงรุ่งเรืองอย่างไม่
ริบหรี่ หลังจากมรณภาพแล้ว จึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพผู้มีรัศมีบริสุทธิ์
ท่านกัจจานะ นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บรรดาเทพผู้เกิดในหมู่เทพเดียวกัน
เหล่านั้น เทพบางพวกมีรัศมีเศร้าหมอง แต่เทพบางพวกมีรัศมีบริสุทธิ์”
[๒๓๕] เมื่อท่านพระอนุรุทธะกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระสภิยกัจจานะได้
กล่าวกับท่านพระอนุรุทธะว่า “ดีละ ท่านอนุรุทธะผู้เจริญ ท่านอนุรุทธะมิได้กล่าว
อย่างนี้ว่า ‘เราได้สดับมาแล้วอย่างนี้’ หรือว่า ‘ควรจะเป็นอย่างนี้’ แต่ท่าน
อนุรุทธะกล่าวว่า ‘เทพเหล่านั้นเป็นอย่างนั้นบ้าง เทพเหล่านั้นเป็นอย่างนี้บ้าง
ท่านผู้เจริญ กระผมนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ท่านอนุรุทธะต้องเคยอยู่ร่วม
เคยเจรจา และเคยร่วมสนทนากับเทพเหล่านั้นมาเป็นแน่”
“ท่านกัจจานะ ท่านกล่าววาจานี้เป็นที่น่าเชื่อถือจริง ๆ แต่กระผมจักตอบ
ท่านบ้าง ท่านกัจจานะ กระผมเคยอยู่ร่วม เคยเจรจา และเคยร่วมสนทนากับ
เทพเหล่านั้นมานานแล้ว”
เมื่อท่านพระอนุรุทธะกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระสภิยกัจจานะได้กล่าวกับ
ช่างไม้ปัญจกังคะว่า “คหบดี เป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้ว ที่ท่านละเหตุแห่ง
ความสงสัยนั้นเสียได้ เราทั้งสองจึงได้ฟังธรรมบรรยายนี้” ดังนี้แล

อนุรุทธสูตรที่ ๗ จบ

๘. อุปักกิเลสสูตร
ว่าด้วยอุปกิเลส

[๒๓๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี
สมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายในกรุงโกสัมพี เกิดความบาดหมาง เกิดการทะเลาะวิวาท
ถึงกับใช้หอกคือปากทิ่มแทงกันอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๘. อุปักกิเลสสูตร

ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว
ยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอประทานวโรกาส ภิกษุทั้งหลายในกรุงโกสัมพี เกิดความบาดหมาง เกิดการ
ทะเลาะเกิดการวิวาท ถึงกับใช้หอกคือปากทิ่มแทงกันอยู่ ขอประทานวโรกาส ขอ
พระผู้มีพระภาคโปรดอนุเคราะห์เสด็จไปหาภิกษุเหล่านั้นเถิด พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคทรงรับอาราธนาโดยดุษณีภาพ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นถึงที่อยู่ แล้วได้ตรัส
กับภิกษุเหล่านั้นว่า “อย่าเลย ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอย่าบาดหมาง อย่า
ทะเลาะ อย่าขัดแย้ง อย่าวิวาทกันเลย”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคผู้ทรงเป็นธรรมสามี (เจ้าของธรรม)
โปรดรอก่อน ขอพระผู้มีพระภาคทรงขวนขวายน้อย ประกอบตามสุขวิหารธรรมใน
ปัจจุบันอยู่เถิด ข้าพระองค์ทั้งหลายจะปรากฏเพราะความบาดหมาง การทะเลาะ
การขัดแย้ง และการวิวาทนั่นเอง พระพุทธเจ้าข้า”
แม้ครั้งที่ ๒ พระผู้มีพระภาคก็ได้ตรัสกับภิกษุเหล่านั้นว่า “อย่าเลย ภิกษุ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลาย อย่าบาดหมาง อย่าทะเลาะ อย่าขัดแย้ง อย่าวิวาทกันเลย”
ภิกษุรูปนั้นได้กราบทูลอีกเป็นครั้งที่ ๒ ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ
พระผู้มีพระภาคผู้ทรงเป็นธรรมสามี โปรดรอก่อน ขอพระผู้มีพระภาคทรง
ขวนขวายน้อย ประกอบตามสุขวิหารธรรมในปัจจุบันอยู่เถิด ข้าพระองค์ทั้งหลาย
จะปรากฏเพราะความบาดหมาง การทะเลาะ การขัดแย้ง และการวิวาท
นั่นเอง พระพุทธเจ้าข้า”
แม้ครั้งที่ ๓ พระผู้มีพระภาคก็ได้ตรัสกับภิกษุเหล่านั้นว่า “อย่าเลย ภิกษุ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลาย อย่าบาดหมาง อย่าทะเลาะ อย่าขัดแย้ง อย่าวิวาทกันเลย”
ภิกษุรูปนั้นก็ได้กราบทูลอีกเป็นครั้งที่ ๓ ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้
มีพระภาคผู้ทรงเป็นธรรมสามี โปรดรอก่อน ขอพระพระผู้มีพระภาคทรงขวนขวาย
น้อย ประกอบตามสุขวิหารธรรมในปัจจุบันอยู่เถิด ข้าพระองค์ทั้งหลายจะ
ปรากฏเพราะความบาดหมาง การทะเลาะ การขัดแย้ง และการวิวาทนั้นเอง
พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๘. อุปักกิเลสสูตร

ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร เสด็จ
เข้าไปบิณฑบาตยังกรุงโกสัมพี ทรงเที่ยวบิณฑบาตในกรุงโกสัมพีแล้ว เสด็จกลับ
จากบิณฑบาต ภายหลังเสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว ทรงเก็บงำเสนาสนะ ถือ
บาตรและจีวรประทับยืนอยู่นั่นแล ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
[๒๓๗] “ภิกษุทั้งหลายต่างส่งเสียงดังพร้อมกัน
ที่จะรู้สึกว่าตนเป็นพาลนั้น ไม่มีเลยสักรูปเดียว
ยิ่งเมื่อสงฆ์แตกกัน ก็ไม่ได้คำนึงถึงเรื่องอื่น
เธอทั้งหลายขาดสติ แสดงตนว่าเป็นบัณฑิต
เท้าคารมพูดได้ตามที่ตนปรารถนา
จะยื่นปากพูดก็ไม่รู้สึกถึงการทะเลาะ
ชนเหล่าใดเข้าไปผูกเวรว่า
‘คนนี้ได้ด่าเรา ได้ฆ่าเรา
ได้ชนะเรา และได้ลักสิ่งของของเราไป’
เวรของชนเหล่านั้นย่อมไม่สงบระงับ
ส่วนชนเหล่าใดไม่เข้าไปผูกเวรว่า
‘คนนี้ได้ด่าเรา ได้ฆ่าเรา
ได้ชนะเรา และได้ลักสิ่งของของเราไป’
เวรของชนเหล่านั้นย่อมสงบระงับ
เพราะว่าในกาลไหน ๆ เวรทั้งหลายในโลกนี้
ย่อมไม่สงบระงับด้วยเวร๑
แต่เวรทั้งหลายย่อมสงบระงับด้วยการไม่จองเวร๒
นี้เป็นธรรมเก่า๓


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๘. อุปักกิเลสสูตร

ชนเหล่าอื่น๑ไม่รู้ชัดว่า
‘พวกเรากำลังย่อยยับอยู่ ณ ที่นี้’
ส่วนชนเหล่าใด๒ในหมู่นั้น
รู้ชัดความมุ่งร้ายกันย่อมระงับ
เพราะการปฏิบัติของชนเหล่านั้น
ชนทั้งหลายบั่นกระดูกฆ่ากัน ลักทรัพย์คือโคและม้า
ช่วงชิงแว่นแคว้นกัน ก็ยังกลับมาคบหากันได้อีก
ไฉนเธอทั้งหลายจึงคบหากันไม่ได้เล่า
ถ้าบุคคลพึงได้สหายผู้มีปัญญารักษาตนเที่ยวไปด้วยกันได้
เป็นสาธุวิหารี๓ เป็นนักปราชญ์
ครอบงำอันตรายทั้งปวงได้แล้ว
พึงมีใจแช่มชื่น มีสติ เที่ยวไปกับสหายนั้นเถิด
ถ้าบุคคลไม่พึงได้สหายผู้มีปัญญารักษาตน
เที่ยวไปด้วยกันได้ เป็นสาธุวิหารี เป็นนักปราชญ์
ก็พึงประพฤติอยู่ผู้เดียวเถิด
เหมือนพระราชาทรงละทิ้งแคว้นที่ทรงชนะแล้ว
ทรงประพฤติอยู่ผู้เดียว
และเหมือนช้างมาตังคะละทิ้งโขลงอยู่ตัวเดียวในป่า ฉะนั้น
การเที่ยวไปของบุคคลผู้เดียวเป็นความประเสริฐ
เพราะคุณเครื่องความเป็นสหาย๔ไม่มีในคนพาล


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๘. อุปักกิเลสสูตร

อนึ่ง บุคคลควรมีความขวนขวายน้อย
เที่ยวไปผู้เดียวไม่พึงทำความชั่ว
เหมือนช้างมาตังคะเที่ยวไปตัวเดียวในป่า”๑
[๒๓๘] พระผู้มีพระภาคประทับยืนตรัสพระคาถาเหล่านี้แล้ว ได้เสด็จเข้าไป
ยังบ้านพาลกโลณการคาม
สมัยนั้น ท่านพระภคุพักอยู่ที่บ้านพาลกโลณการคาม ได้เห็นพระผู้มี
พระภาคกำลังเสด็จมาแต่ไกล จึงได้จัดที่ประทับ ตั้งน้ำล้างพระบาทไว้
พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว ทรงล้างพระบาท
ฝ่ายท่านพระภคุถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร
พระผู้มีพระภาคตรัสกับท่านพระภคุว่า “ภิกษุ เธอยังสบายดีหรือ ยังพอ
เป็นอยู่ได้หรือ ไม่ลำบากด้วยบิณฑบาตหรือ”
ท่านพระภคุกราบทูลว่า “ข้าพระองค์ยังสบายดี ยังพอเป็นอยู่ได้ ไม่ลำบาก
ด้วยบิณฑบาต พระพุทธเจ้าข้า”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้ท่านพระภคุเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับ
เอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วย
ธรรมีกถาแล้วทรงลุกจากพุทธอาสน์ เสด็จไปยังป่าปาจีนวังสทายวัน๒
สมัยนั้น ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระนันทิยะ และท่านพระกิมพิละ พักอยู่
ที่ป่าปาจีนวังสทายวัน
นายทายบาล(ผู้รักษาป่า) ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จมาแต่ไกล ได้กราบ
ทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระสมณะ ท่านอย่าเข้าไปในป่านี้เลย ในป่านี้มีกุลบุตร
๓ ท่าน ซึ่งเป็นผู้มุ่งประโยชน์ตนอยู่ ท่านอย่าได้รบกวนกุลบุตรทั้ง ๓ นั้นเลย”
ท่านพระอนุรุทธะได้ยินแล้ว จึงได้บอกนายทายบาลว่า “นายทายบาล ท่าน
อย่าได้ห้ามพระผู้มีพระภาคเลย พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระศาสดาของเราทั้งหลาย
เสด็จมาถึงแล้ว”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๘. อุปักกิเลสสูตร

[๒๓๙] ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธะได้เข้าไปหาท่านพระนันทิยะและท่าน
พระกิมพิละถึงที่อยู่ แล้วได้บอกว่า “รีบไปกันเถิดท่าน รีบไปกันเถิดท่าน พระผู้มี
พระภาคผู้เป็นพระศาสดาของเราทั้งหลายเสด็จมาถึงแล้ว”
ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระนันทิยะ และท่านพระกิมพิละได้ต้อนรับพระผู้มี
พระภาค คือ รูปหนึ่งรับบาตรและจีวรของพระผู้มีพระภาค รูปหนึ่งปูพุทธอาสน์
รูปหนึ่งตั้งน้ำล้างพระบาท
พระผู้มีพระภาคประทับนั่ง ณ พุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้ ทรงล้างพระบาทแล้ว
พระเถระทั้ง ๓ รูปนั้น ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร
พระผู้มีพระภาคตรัสกับท่านพระอนุรุทธะว่า “อนุรุทธะ นันทิยะ และกิมพิละ
เธอทั้งหลายยังสบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ ไม่ลำบากด้วยบิณฑบาตหรือ”
“ข้าพระองค์ทั้งหลายยังสบายดี ยังพอเป็นอยู่ได้ ไม่ลำบากด้วยบิณฑบาต
พระพุทธเจ้าข้า”
“เธอทั้งหลายยังสามัคคีกัน ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน เป็นเหมือนน้ำนมกับน้ำ
มองกันด้วยนัยน์ตาที่เปี่ยมด้วยความรักอยู่หรือ”
“ขอประทานวโรกาส ข้าพระองค์ทั้งหลายยังสามัคคีกัน ชื่นชมกัน ไม่
วิวาทกัน เป็นเหมือนน้ำนมกับน้ำ มองกันด้วยนัยน์ตาที่เปี่ยมด้วยความรักอยู่
พระพุทธเจ้าข้า”
“เธอทั้งหลายเป็นผู้สามัคคีกัน ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน เป็นเหมือน
น้ำนมกับน้ำ มองกันด้วยนัยน์ตาที่เปี่ยมด้วยความรักอยู่อย่างไร”
“ขอประทานวโรกาส ข้าพระองค์มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เป็นลาภของเราหนอ
เราได้ดีแล้วหนอ ที่ได้อยู่กับเพื่อนพรหมจารีเช่นนี้’ ข้าพระองค์ตั้งมั่นกายกรรมอัน
ประกอบด้วยเมตตา ตั้งมั่นวจีกรรมอันประกอบด้วยเมตตา และตั้งมั่นมโนกรรม
อันประกอบด้วยเมตตา ในท่านเหล่านี้ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ข้าพระองค์มีความ
คิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรเก็บความนึกคิดของตนแล้วประพฤติตามอำนาจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๘. อุปักกิเลสสูตร

ความนึกคิดของท่านเหล่านี้’ ข้าพระองค์ก็เก็บความนึกคิดของตนแล้วประพฤติตาม
อำนาจความนึกคิดของท่านเหล่านี้ กายของข้าพระองค์ทั้งหลายต่างกันก็จริง แต่
ความนึกคิดดูเหมือนเป็นอันเดียวกัน พระพุทธเจ้าข้า”
แม้ท่านพระนันทิยะ ฯลฯ
แม้ท่านพระกิมพิละก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้
ข้าพระองค์ก็มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เป็นลาภของเราหนอ เราได้ดีแล้วหนอ ที่ได้
อยู่กับเพื่อนพรหมจารีเช่นนี้’ ข้าพระองค์ตั้งมั่นกายกรรมอันประกอบด้วยเมตตา
ตั้งมั่นวจีกรรมอันประกอบด้วยเมตตา และตั้งมั่นมโนกรรมอันประกอบด้วยเมตตา
ในท่านเหล่านี้ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ข้าพระองค์มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี
เราควรเก็บความนึกคิดของตนแล้วประพฤติตามอำนาจความนึกคิดของท่านเหล่านี้’
ข้าพระองค์ก็เก็บความนึกคิดของตนแล้วประพฤติตามอำนาจความนึกคิดของท่าน
เหล่านี้ กายของข้าพระองค์ทั้งหลายต่างกันก็จริง แต่ความนึกคิดดูเหมือนเป็นอัน
เดียวกัน
ข้าพระองค์ทั้งหลายยังสามัคคีกัน ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน เป็นเหมือนน้ำนม
กับน้ำ มองกันด้วยนัยน์ตาที่เปี่ยมด้วยความรักอยู่อย่างนี้แล พระพุทธเจ้าข้า”
[๒๔๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ อนุรุทธะ นันทิยะ และกิมพิละ
อนึ่ง เธอทั้งหลายไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่หรือ”
“ขอประทานวโรกาส ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศ
กายและใจอยู่ พระพุทธเจ้าข้า”
“เธอทั้งหลายไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่อย่างไร”
“ขอประทานวโรกาส บรรดาข้าพระองค์ทั้งหลาย รูปใดกลับจากบิณฑบาต
จากบ้านก่อน รูปนั้นย่อมปูลาดอาสนะ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ไว้ ตั้งถาดสำรับไว้ รูปใด
กลับจากบิณฑบาตจากบ้านในภายหลัง ถ้ามีบิณฑบาตที่เหลือจากฉัน หาก
ประสงค์ก็ฉัน หากไม่ประสงค์ก็เททิ้งบนพื้นที่ที่ปราศจากของเขียว หรือเทลงในน้ำ
ที่ไม่มีตัวสัตว์ รูปนั้นเก็บงำอาสนะ เก็บน้ำฉันน้ำใช้ ล้างถาดสำรับเก็บไว้ กวาด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๘. อุปักกิเลสสูตร

โรงอาหาร รูปใดเห็นหม้อน้ำฉัน หม้อน้ำใช้ หรือหม้อน้ำชำระว่างเปล่า รูปนั้น
ก็นำไปตั้งไว้ ถ้าเหลือวิสัยของท่าน ข้าพระองค์ทั้งหลายจะกวักมือเรียกรูปที่ ๒
มาช่วยกันยกหม้อน้ำฉัน หรือหม้อน้ำใช้ไปตั้งไว้ ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่ปริปากบ่น
เพราะเรื่องนั้นเป็นปัจจัย และข้าพระองค์ทั้งหลายนั่งสนทนาธรรมีกถาตลอดคืน
ยันรุ่ง ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่อย่างนี้แล
พระพุทธเจ้าข้า”
[๒๔๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ อนุรุทธะ นันทิยะ และกิมพิละ
เมื่อเธอทั้งหลายไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่อย่างนี้ ญาณทัสสนะ
ที่ประเสริฐ อันสามารถวิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ซึ่งเป็นเครื่องอยู่อย่างผาสุก
ที่เธอทั้งหลายได้บรรลุแล้วมีอยู่หรือ”๑
ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระนันทิยะ และท่านพระกิมพิละ กราบทูลว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่ประมาท
มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ จึงจำแสงสว่างและการเห็นรูปได้ แต่ไม่นานเลย
แสงสว่างและการเห็นรูปนั้นก็หายไปจากข้าพระองค์ทั้งหลาย ข้าพระองค์ทั้งหลาย
จึงแทงตลอดนิมิตนั้นไม่ได้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อนุรุทธะ นันทิยะ และกิมพิละ เธอทั้งหลายต้อง
แทงตลอดนิมิตนั้นได้แน่ จะเล่าให้ฟังว่า ก่อนแต่การตรัสรู้
๑. แม้เรายังไม่รู้ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ขณะที่ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ ย่อม
จำแสงสว่างและการเห็นรูปได้เหมือนกัน แต่ไม่นาน แสงสว่าง
และการเห็นรูปนั้นก็หายไปจากเรา เราจึงคิดอย่างนี้ว่า ‘อะไรหนอ
เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้แสงสว่างและการเห็นรูปหายไปจากเรา’ เรา
นั้นได้คิดว่า ‘วิจิกิจฉาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา เพราะวิจิกิจฉาเป็นเหตุ
สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการ
เห็นรูปจึงหายไป เราจักทำโดยวิธีที่วิจิกิจฉาจะไม่เกิดแก่เราอีก’


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๘. อุปักกิเลสสูตร

๒. เรานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ จึง
จำแสงสว่างและการเห็นรูปได้ แต่ไม่นาน แสงสว่างและการเห็น
รูปนั้นก็หายไปจากเรา เราจึงคิดว่า ‘อะไรหนอ เป็นเหตุเป็น
ปัจจัยให้แสงสว่างและการเห็นรูปหายไปจากเรา’ เรานั้นได้คิดว่า
‘อมนสิการ(การไม่ใส่ใจ) เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เพราะอมนสิการเป็น
เหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและ
การเห็นรูปจึงหายไป เราจักทำโดยวิธีที่วิจิกิจฉาและอมนสิการจะ
ไม่เกิดแก่เราอีก’
๓. เรานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ เรานั้นได้คิดว่า ‘ถีนมิทธะเกิดขึ้น
แล้วแก่เรา เพราะถีนมิทธะเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อ
สมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไป เราจักทำ
โดยวิธีที่วิจิกิจฉา อมนสิการ และถีนมิทธะจะไม่เกิดแก่เราอีก’
๔. เรานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ เรานั้นได้คิดว่า ‘ความสะดุ้งกลัว
เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เพราะความสะดุ้งกลัวเป็นเหตุ สมาธิของเราจึง
เคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไป
เปรียบเหมือนบุรุษผู้เดินทางไกล ที่สองข้างทางเกิดมีคนปอง
ร้ายเขา เพราะถูกคนปองร้ายนั้นเป็นเหตุ เขาจึงเกิดความสะดุ้งกลัว
แม้ฉันใด ความสะดุ้งกลัวเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ฉันนั้นเหมือนกัน
เพราะความสะดุ้งกลัวเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิ
เคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไป เราจักทำโดยวิธีที่
วิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ และความสะดุ้งกลัวจะไม่เกิดแก่
เราอีก’
๕. เรานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ เรานั้นได้คิดว่า ‘ความปลาบปลื้ม
เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เพราะความปลาบปลื้มเป็นเหตุ สมาธิของเรา
จึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึง
หายไป’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๘. อุปักกิเลสสูตร

เปรียบเหมือนบุรุษผู้แสวงหาขุมทรัพย์แห่งหนึ่ง พบแหล่ง
ขุมทรัพย์ ๕ แห่งในคราวเดียวกัน เพราะพบแหล่งขุมทรัพย์ ๕
แห่งนั้นเป็นเหตุ เขาจึงเกิดความปลาบปลื้ม แม้ฉันใด ความ
ปลาบปลื้มเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะความ
ปลาบปลื้มเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว
แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไป เราจักทำโดยวิธีที่วิจิกิจฉา
อมนสิการ ถีนมิทธะ ความสะดุ้งกลัว และความปลาบปลื้มจะไม่
เกิดขึ้นแก่เราอีก’
๖. เรานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ เรานั้นได้คิดว่า ‘ความชั่วหยาบ
เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เพราะความชั่วหยาบเป็นเหตุ สมาธิของเราจึง
เคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไป
เราจักทำโดยวิธีที่วิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ ความสะดุ้งกลัว
ความปลาบปลื้ม และความชั่วหยาบจะไม่เกิดขึ้นแก่เราอีก’
๗. เรานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ เรานั้นได้คิดว่า ‘ความเพียรที่
บำเพ็ญเกินไปเกิดขึ้นแล้วแก่เรา เพราะความเพียรที่บำเพ็ญเกินไป
เป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่าง
และการเห็นรูปจึงหายไป
เปรียบเหมือนบุรุษเอามือทั้งสอง จับนกคุ่มไว้แน่น นกคุ่มนั้น
ต้องถึงความตายในมือของบุรุษนั้นนั่นเอง แม้ฉันใด ความเพียรที่
บำเพ็ญเกินไป ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะ
ความเพียรที่บำเพ็ญเกินไปเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อ
สมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไป เราจักทำ
โดยวิธีที่วิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ ความสะดุ้งกลัว ความ
ปลาบปลื้ม ความชั่วหยาบ และความเพียรที่บำเพ็ญเกินไปจะไม่
เกิดขึ้นแก่เราอีก’
๘. เรานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ เรานั้นได้คิดว่า ‘ความเพียรที่
หย่อนเกินไป ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เพราะความเพียรที่หย่อนเกิน
ไปเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสง
สว่างและการเห็นรูปจึงหายไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๘. อุปักกิเลสสูตร

เปรียบเหมือนบุรุษเอามือทั้งสอง จับนกคุ่มหลวม ๆ นกคุ่มนั้น
ย่อมบินไปจากมือเขาได้ แม้ฉันใด ความเพียรที่หย่อนเกินไปได้
เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะความเพียรที่หย่อน
เกินไปเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว
แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไป เราจักทำโดยวิธีที่วิจิกิจฉา
อมนสิการ ถีนมิทธะ ความสะดุ้งกลัว ความปลาบปลื้ม ความ
ชั่วหยาบ ความเพียรที่บำเพ็ญเกินไป และความเพียรที่หย่อนเกิน
ไปจะไม่เกิดขึ้นแก่เราอีก’
๙. เรานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ เรานั้นได้คิดว่า ‘ตัณหาที่คอย
กระซิบได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เพราะตัณหาที่คอยกระซิบเป็นเหตุ
สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการ
เห็นรูปจึงหายไป เราจักทำโดยวิธีที่วิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ
ความสะดุ้งกลัว ความปลาบปลื้ม ความชั่วหยาบ ความเพียรที่
บำเพ็ญเกินไป ความเพียรที่หย่อนเกินไป และตัณหาที่คอย
กระซิบจะไม่เกิดขึ้นแก่เราอีก’
๑๐. เรานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ เรานั้นได้คิดว่า ‘นานัตตสัญญาได้
เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เพราะนานัตตสัญญาเป็นเหตุ สมาธิของเราจึง
เคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไป
เราจักทำโดยวิธีที่วิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ ความสะดุ้งกลัว
ความปลาบปลื้ม ความชั่วหยาบ ความเพียรที่บำเพ็ญเกินไป
ความเพียรที่หย่อนเกินไป ตัณหาที่คอยกระซิบ และนานัตต-
สัญญาจะไม่เกิดขึ้นแก่เราอีก’
๑๑. เรานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ จึงจำ
แสงสว่างและการเห็นรูปได้ แต่ไม่นานเลย แสงสว่างและการเห็น
รูปนั้น ก็หายไปจากเรา เราจึงคิดว่า ‘อะไรหนอ เป็นเหตุเป็น
ปัจจัยให้แสงสว่างและการเห็นรูปหายไปจากเรา’ เรานั้นได้คิดว่า
‘ลักษณะที่เพ่งรูปมากเกินไปได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เพราะลักษณะที่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๘. อุปักกิเลสสูตร

เพ่งรูปมากเกินไปเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิ
เคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไป เราจักทำโดยวิธีที่
วิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ ความสะดุ้งกลัว ความปลาบปลื้ม
ความชั่วหยาบ ความเพียรที่บำเพ็ญเกินไป ความเพียรที่หย่อน
เกินไป ตัณหาที่คอยกระซิบ นานัตตสัญญา และลักษณะที่เพ่งรูป
มากเกินไปจะไม่เกิดขึ้นแก่เราอีก’

ธรรมเป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต

[๒๔๒] เรานั้นรู้ชัดดังนี้ว่า ‘วิจิกิจฉาเป็นอุปกิเลส(ธรรมเครื่องเศร้าหมอง)แห่งจิต’
แล้ว จึงละวิจิกิจฉาอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้๑
รู้ชัดดังนี้ว่า ‘อมนสิการเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละอมนสิการอันเป็น
อุปกิเลสแห่งจิตได้
รู้ชัดดังนี้ว่า ‘ถีนมิทธะเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละถีนมิทธะอันเป็น
อุปกิเลสแห่งจิตได้
รู้ชัดดังนี้ว่า ‘ความสะดุ้งกลัวเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละความสะดุ้ง
กลัวอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้
รู้ชัดดังนี้ว่า ‘ความปลาบปลื้มใจเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละความ
ปลาบปลื้มใจอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้
รู้ชัดดังนี้ว่า ‘ความชั่วหยาบเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละความชั่วหยาบ
อันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้
รู้ชัดดังนี้ว่า ‘ความเพียรที่บำเพ็ญเกินไปเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละ
ความเพียรที่บำเพ็ญเกินไปอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้
รู้ชัดดังนี้ว่า ‘ความเพียรที่หย่อนเกินไปเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละ
ความเพียรที่หย่อนเกินไปอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๘. อุปักกิเลสสูตร

รู้ชัดดังนี้ว่า ‘ตัณหาที่คอยกระซิบเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละตัณหา
ที่คอยกระซิบอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้
รู้ชัดดังนี้ว่า ‘นานัตตสัญญาเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละนานัตตสัญญา
อันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้
รู้ชัดดังนี้ว่า ‘ลักษณะที่เพ่งรูปมากเกินไปเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละ
ลักษณะที่เพ่งรูปมากเกินไปอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้
[๒๔๓] อนุรุทธะ นันทิยะ และกิมพิละ เพราะเรานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท มี
ความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ จึงจำแสงสว่างได้ แต่ไม่เห็นรูป เพราะเราเห็นรูป
แต่จำแสงสว่างไม่ได้ ตลอดกลางคืนบ้าง ตลอดกลางวันบ้าง ตลอดกลางคืนและ
กลางวันบ้าง เรานั้นจึงคิดว่า ‘อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เราจำแสงสว่างได้
แต่ไม่เห็นรูป เห็นรูปได้ แต่จำแสงสว่างไม่ได้ ตลอดกลางคืนบ้าง ตลอดกลางวัน
บ้าง ตลอดกลางคืนและกลางวันบ้าง’ เรานั้นคิดว่า ‘สมัยใด เราไม่ใส่ใจนิมิตคือรูป
ใส่ใจแต่นิมิตคือแสงสว่าง สมัยนั้น เราย่อมจำแสงสว่างได้ แต่ไม่เห็นรูป แต่สมัยใด
เราไม่ใส่ใจนิมิตคือแสงสว่าง ใส่ใจแต่นิมิตคือรูป สมัยนั้น เราย่อมเห็นรูป แต่จำ
แสงสว่างไม่ได้ ตลอดกลางคืนบ้าง ตลอดกลางวันบ้าง ตลอดกลางคืนและ
กลางวันบ้าง’
เรานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ จึงจำแสงสว่างได้
เพียงนิดหน่อยเท่านั้น และเห็นรูปได้เพียงนิดหน่อย จำแสงสว่างอันหาประมาณมิได้
และเห็นรูปอันหาประมาณมิได้ ตลอดกลางคืนบ้าง ตลอดกลางวันบ้าง ตลอด
กลางคืนและกลางวันบ้าง เราจึงคิดว่า ‘อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เราจำแสง
สว่างได้เพียงนิดหน่อยเท่านั้น และเห็นรูปได้เพียงนิดหน่อย จำแสงสว่างอันหา
ประมาณมิได้ และเห็นรูปอันหาประมาณมิได้ ตลอดกลางคืนบ้าง ตลอดกลางวัน
บ้าง ตลอดกลางคืนและกลางวันบ้าง’
เรานั้นได้รู้ว่า ‘ในสมัยใด เรามีสมาธินิดหน่อย สมัยนั้นเรามีจักษุนิดหน่อย
เรานั้นจำแสงสว่างได้เพียงนิดหน่อยเท่านั้น และเห็นรูปได้เพียงนิดหน่อย ด้วย
จักษุเพียงนิดหน่อย แต่สมัยใด เรามีสมาธิอันหาประมาณมิได้ สมัยนั้น เราก็

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๘. อุปักกิเลสสูตร

มีจักษุอันหาประมาณมิได้ เรานั้นจำแสงสว่างอันหาประมาณมิได้ และเห็นรูปอันหา
ประมาณมิได้ด้วยจักษุอันหาประมาณมิได้ ตลอดกลางคืนบ้าง ตลอดกลางวันบ้าง
ตลอดกลางคืนและกลางวันบ้าง’
[๒๔๔] อนุรุทธะ นันทิยะ และกิมพิละ ในกาลใด เรารู้ชัดดังนี้ว่า ‘วิจิกิจฉา
เป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละวิจิกิจฉาอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้๑
รู้ชัดดังนี้ว่า ‘อมนสิการเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละอมนสิการอันเป็น
อุปกิเลสแห่งจิตได้
รู้ชัดดังนี้ว่า ‘ถีนมิทธะเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละถีนมิทธะอันเป็น
อุปกิเลสแห่งจิตได้
รู้ชัดดังนี้ว่า ‘ความสะดุ้งกลัวเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละความสะดุ้ง
กลัวอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้
รู้ชัดดังนี้ว่า ‘ความปลาบปลื้มใจเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละความ
ปลาบปลื้มใจอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้
รู้ชัดดังนี้ว่า ‘ความชั่วหยาบเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละความชั่วหยาบ
อันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้
รู้ชัดดังนี้ว่า ‘ความเพียรที่บำเพ็ญเกินไปเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละ
ความเพียรที่บำเพ็ญเกินไปอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้
รู้ชัดดังนี้ว่า ‘ความเพียรที่หย่อนเกินไปเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละ
ความเพียรที่หย่อนเกินไปอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้
รู้ชัดดังนี้ว่า ‘ตัณหาที่คอยกระซิบเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละตัณหาที่
คอยกระซิบอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้
รู้ชัดดังนี้ว่า ‘นานัตตสัญญาเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละนานัตตสัญญา
อันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๙. พาลปัณฑิตสูตร

รู้ชัดดังนี้ว่า ‘ลักษณะที่เพ่งรูปมากเกินไปเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้ว จึงละ
ลักษณะที่เพ่งรูปมากเกินไปอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้
[๒๔๕] อนุรุทธะ นันทิยะ และกิมพิละ ในกาลนั้น เรานั้นได้รู้ว่า ‘เราละ
อุปกิเลสแห่งจิตเหล่านั้นได้แล้ว เอาเถิด บัดนี้ เราจะเจริญสมาธิทั้ง ๓ ประการ’
เรานั้นจึงได้เจริญสมาธิที่มีวิตกมีวิจารบ้าง ได้เจริญสมาธิที่ไม่มีวิตก มีเพียง
วิจารบ้าง ได้เจริญสมาธิที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจารบ้าง ได้เจริญสมาธิที่มีปีติบ้าง ได้
เจริญสมาธิที่ไม่มีปีติบ้าง ได้เจริญสมาธิที่สหรคตด้วยความสุขบ้าง ได้เจริญสมาธิ
ที่สหรคตด้วยอุเบกขาบ้าง
อนุรุทธะ นันทิยะ และกิมพิละ ในกาลใด เราเจริญสมาธิที่มีวิตกมีวิจาร
เจริญสมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร เจริญสมาธิที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เจริญสมาธิที่
มีปีติ เจริญสมาธิที่ไม่มีปีติ เจริญสมาธิที่สหรคตด้วยสุข เจริญสมาธิที่สหรคต
ด้วยอุเบกขา ในกาลนั้น ญาณทัสสนะได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ‘วิมุตติของเราไม่กำเริบ
ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอนุรุทธะมีใจยินดีชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

อุปักกิเลสสูตรที่ ๘ จบ

๙. พาลปัณฑิตสูตร
ว่าด้วยคนพาลและบัณฑิต

[๒๔๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๙. พาลปัณฑิตสูตร

“ภิกษุทั้งหลาย ลักษณะของคนพาล๑ เครื่องหมายของคนพาล ความ
ประพฤติไม่ขาดสายของคนพาล ๓ ประการนี้
ลักษณะของคนพาล ๓ ประการ อะไรบ้าง
คือ คนพาลในโลกนี้
๑. ชอบคิดแต่เรื่องชั่ว๒
๒. ชอบพูดแต่เรื่องชั่ว๓
๓. ชอบทำแต่กรรมชั่ว๔
ถ้าคนพาลไม่ชอบคิดเรื่องชั่ว ไม่ชอบพูดเรื่องชั่ว ไม่ชอบทำกรรมชั่วเช่นนั้น
บัณฑิตทั้งหลายจะพึงรู้จักเขาด้วยเหตุไรว่า ‘ผู้นี้เป็นคนพาล ไม่ใช่คนดี’ แต่เพราะ
คนพาลชอบคิดแต่เรื่องชั่ว ชอบพูดแต่เรื่องชั่ว และชอบทำแต่กรรมชั่ว ฉะนั้น
บัณฑิตทั้งหลายจึงรู้จักเขาว่า ‘ผู้นี้เป็นคนพาล ไม่ใช่คนดี‘๕
คนพาลนั้นย่อมเสวยทุกขโทมนัส ๓ ประการในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าคนพาลนั่งในสภาก็ดี ในตรอกก็ดี ริมทางสามแพร่งก็ดี
ถ้าชนในที่นั้น พูดถ้อยคำที่สมควรแก่ธรรมนั้นแก่เขา ถ้าคนพาลเป็นผู้ฆ่าสัตว์
เป็นผู้ลักทรัพย์ เป็นผู้ประพฤติผิดในกาม เป็นผู้พูดเท็จ เป็นผู้เสพของมึนเมาคือ
สุราและเมรัย๖อันเป็นเหตุแห่งความประมาท ในเรื่องนั้น คนพาลจะมีความรู้สึก


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๙. พาลปัณฑิตสูตร

อย่างนี้ว่า ‘ข้อที่ชนพูดถ้อยคำที่สมควรแก่ธรรมนั้น ธรรมเหล่านั้นมีอยู่ในเรา
และเราก็ปรากฏในธรรมเหล่านั้น’
ภิกษุทั้งหลาย คนพาลย่อมเสวยทุกขโทมนัสประการที่ ๑ นี้ในปัจจุบัน
[๒๔๗] ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง คนพาลเห็นพระราชารับสั่งให้จับโจร
ผู้ประพฤติผิดมาแล้ว ลงอาญาโดยประการต่าง ๆ คือ ให้เฆี่ยนด้วยแส้บ้าง ให้
เฆี่ยนด้วยหวายบ้าง ให้ตีด้วยไม้พลองบ้าง ตัดมือบ้าง ตัดเท้าบ้าง ตัดทั้งมือและ
เท้าบ้าง ตัดใบหูบ้าง ตัดจมูกบ้าง ตัดทั้งใบหูและจมูกบ้าง วางก้อนเหล็กแดงบน
ศีรษะบ้าง ถลกหนังศีรษะแล้วขัดให้ขาวเหมือนสังข์บ้าง เอาไฟยัดปากจนเลือดไหล
เหมือนปากราหูบ้าง เอาผ้าพันตัวราดน้ำมันแล้วจุดไฟเผาบ้าง พันมือแล้วจุดไฟ
ต่างคบบ้าง ถลกหนังตั้งแต่คอถึงข้อเท้าให้ลุกเดินเหยียบหนังจนล้มลงบ้าง ถลก
หนังตั้งแต่คอถึงบั้นเอว ทำให้มองดูเหมือนนุ่งผ้าคากรองบ้าง สวมปลอกเหล็กที่
ข้อศอกและเข่าแล้วเสียบหลาวทั้ง ๕ ทิศเอาไฟเผาบ้าง ใช้เบ็ดเกี่ยวหนัง เนื้อ
เอ็นออกมาบ้าง เฉือนเนื้อออกเป็นแว่น ๆ เหมือนเหรียญกษาปณ์บ้าง เฉือนหนัง
เนื้อ เอ็น ออกเหลือไว้แต่กระดูกบ้าง ใช้หลาวแทงช่องหูให้ทะลุถึงกันบ้าง เสียบ
ให้ติดดินแล้วจับเขาหมุนได้รอบบ้าง ทุบกระดูกให้แหลกแล้วถลกหนังออกเหลือไว้
แต่กองเนื้อเหมือนตั่งใบไม้บ้าง รดตัวด้วยน้ำมันที่กำลังเดือดพล่านบ้าง ให้สุนัขกัด
กินจนเหลือแต่กระดูกบ้าง ให้นอนบนหลาวทั้งเป็นบ้าง ตัดศีรษะออกด้วยดาบบ้าง
ในขณะที่เห็นนั้น คนพาลมีความรู้สึกอย่างนี้ว่า ‘เพราะเหตุแห่งกรรมเช่นไร
พระราชาทั้งหลายจึงรับสั่งให้จับโจรผู้ประพฤติผิดมาแล้วลงอาญาโดยประการต่าง ๆ
คือ ให้เฆี่ยนด้วยแส้บ้าง ฯลฯ ตัดศีรษะออกด้วยดาบบ้าง ก็ธรรมเหล่านั้นมีอยู่ในเรา
และเราก็ปรากฏในธรรมเหล่านั้น ถ้าแม้พระราชาทั้งหลายพึงรู้จักเรา ก็จะรับสั่งให้
จับเราแล้วลงอาญาโดยประการต่าง ๆ คือ ให้เฆี่ยนด้วยแส้บ้าง ฯลฯ ให้นอน
บนหลาวทั้งเป็นบ้าง ตัดศีรษะออกด้วยดาบบ้าง๑
ภิกษุทั้งหลาย คนพาลย่อมเสวยทุกขโทมนัสประการที่ ๒ นี้ในปัจจุบัน


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๙. พาลปัณฑิตสูตร

[๒๔๘] อีกประการหนึ่ง ในสมัยนั้น บาปกรรมที่คนพาลทำ คือ การ
ประพฤติกายทุจริต การประพฤติวจีทุจริต การประพฤติมโนทุจริตไว้ในกาลก่อน
ย่อมหน่วงเหนี่ยวบดบัง ครอบงำคนพาลผู้อยู่บนตั่ง บนเตียง หรือนอนบนพื้น
เปรียบเหมือนเงาของยอดภูเขาใหญ่ ย่อมกั้น บดบัง ครอบคลุมแผ่นดินใหญ่
ในเวลาเย็น แม้ฉันใด ในสมัยนั้น บาปกรรมที่คนพาลทำ คือ การประพฤติกายทุจริต
การประพฤติวจีทุจริต การประพฤติมโนทุจริตไว้ในกาลก่อน ย่อมหน่วงเหนี่ยวบดบัง
ครอบงำคนพาลผู้อยู่บนตั่ง บนเตียง หรือนอนบนพื้น ฉันนั้นเหมือนกัน
ในเรื่องนั้น คนพาลมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เรายังไม่ได้ทำความดีไว้หนอ ยัง
ไม่ได้ทำกุศลไว้ ไม่ได้ทำที่ป้องกันสิ่งน่ากลัวไว้ ทำแต่ความชั่ว ทำแต่กรรม
หยาบช้า ทำแต่กรรมเศร้าหมอง เราตายแล้ว จะไปสู่คติของผู้ไม่ได้ทำความดีไว้
ไม่ได้ทำกุศลไว้ ไม่ได้ทำที่ป้องกันสิ่งน่ากลัวไว้ ทำแต่ความชั่ว ทำแต่กรรมหยาบช้า
ทำแต่กรรมเศร้าหมองนั้น’ เขาย่อมเศร้าโศก ลำบากใจ ร่ำไร ทุบอกคร่ำครวญ
ถึงความหลงไหล
ภิกษุทั้งหลาย คนพาลย่อมเสวยทุกขโทมนัสประการที่ ๓ นี้ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย คนพาลนั้นยังประพฤติกายทุจริต ประพฤติวจีทุจริต
ประพฤติมโนทุจริต หลังจากตายแล้ว จะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง พึงกล่าวถึงนรกนั้นนั่นแหละว่า ‘เป็นสถานที่ไม่น่าปรารถนา
ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ โดยส่วนเดียว’ ทุกข์นี้กับทุกข์ในนรกเปรียบเทียบกันไม่ได้”
[๒๔๙] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์จะทรงอุปมาได้อีกหรือไม่”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ได้ ภิกษุ” แล้วตรัสว่า “เปรียบเหมือนราชบุรุษ
ทั้งหลายจับโจรผู้ประพฤติผิดได้แล้ว จึงแสดงแก่พระราชาว่า ‘ขอเดชะ ผู้นี้เป็นโจร
ประพฤติผิดต่อพระองค์ ขอพระองค์จงทรงลงพระอาญาตามที่ทรงพระราชประสงค์
แก่โจรผู้นี้เถิด’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๙. พาลปัณฑิตสูตร

พระราชามีพระกระแสรับสั่งว่า ‘ท่านทั้งหลายจงไปช่วยกันประหารบุรุษนี้ด้วย
หอก ๑๐๐ เล่มในเวลาเช้า’ ราชบุรุษทั้งหลายก็ช่วยกันประหารบุรุษคนนั้นด้วย
หอก ๑๐๐ เล่มในเวลาเช้า
ต่อมาในเวลาเที่ยงวัน พระราชาทรงซักถามราชบุรุษทั้งหลายว่า ‘ท่านทั้งหลาย
บุรุษนั้นเป็นอย่างไรบ้าง’
ราชบุรุษทั้งหลายกราบทูลว่า ‘เขายังมีชีวิตอยู่ พระเจ้าข้า’
พระราชาจึงมีพระกระแสรับสั่งว่า ‘ท่านทั้งหลายจงไปช่วยกันประหารบุรุษคน
นั้นด้วยหอก ๑๐๐ เล่มในเวลาเที่ยงวัน’ ราชบุรุษทั้งหลายก็ช่วยกันประหารบุรุษ
คนนั้นด้วยหอก ๑๐๐ เล่มในเวลาเที่ยงวัน
ต่อมาในเวลาเย็น พระราชาทรงซักถามราชบุรุษทั้งหลายอีกว่า ‘ท่านทั้งหลาย
บุรุษคนนั้นเป็นอย่างไรบ้าง’
‘เขายังมีชีวิตอยู่ พระเจ้าข้า’
‘ท่านทั้งหลายจงไปช่วยกันประหารบุรุษคนนั้นด้วยหอก ๑๐๐ เล่มในเวลาเย็น’
ราชบุรุษทั้งหลายจึงช่วยกันประหารบุรุษคนนั้นด้วยหอก ๑๐๐ เล่มในเวลาเย็น
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
คือ บุรุษนั้นถูกประหารด้วยหอก ๓๐๐ เล่ม พึงเสวยทุกขโทมนัสเพราะ
การประหารนั้นเป็นเหตุบ้างไหม”
“บุรุษนั้นแม้ถูกประหารด้วยหอก ๑ เล่ม ยังได้เสวยทุกขโทมนัสซึ่งมี
การประหารนั้นเป็นเหตุ ไม่จำต้องกล่าวถึงการที่บุรุษนั้นถูกประหารด้วยหอกตั้ง
๓๐๐ เล่ม พระพุทธเจ้าข้า”
[๒๕๐] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงหยิบก้อนหินขนาดย่อม ๆ เท่าฝ่ามือ
ขึ้นมา แล้วรับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ ก้อนหินขนาด
ย่อม ๆ เท่าฝ่ามือที่เราถืออยู่นี้กับขุนเขาหิมพานต์ อย่างไหนใหญ่กว่ากัน”
“ก้อนหินขนาดย่อม ๆ เท่าฝ่าพระหัตถ์ที่พระองค์ทรงถืออยู่นี้ มีประมาณ
น้อยนัก เปรียบเทียบกับขุนเขาหิมพานต์แล้ว ไม่ถึงแม้การนับ ไม่ถึงแม้ส่วนแห่ง
เสี้ยว ไม่ถึงแม้การเทียบกันได้ พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๙. พาลปัณฑิตสูตร

“ภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน ทุกขโทมนัสเพราะการประหารนั้นเป็นเหตุ
ที่บุรุษถูกประหารด้วยหอก ๓๐๐ เล่ม เสวยอยู่นั้น เปรียบเทียบกับทุกข์แห่ง
นรกแล้ว ไม่ถึงแม้การนับ ไม่ถึงแม้ส่วนแห่งเสี้ยว ไม่ถึงแม้การเทียบกันได้
นายนิรยบาลทั้งหลายทำกรรมกรณ์ชื่อเครื่องพันธนาการ ๕ อย่าง คือ
ตอกตะปูเหล็กร้อนแดงที่มือ ๒ ข้าง ที่เท้า ๒ ข้าง และที่กลางอก คนพาลนั้น
เสวยทุกขเวทนากล้า อย่างหนัก เผ็ดร้อน ในที่นั้น แต่ยังไม่ตายตราบเท่าที่
บาปกรรมยังไม่สิ้นไป
นายนิรยบาลฉุดลากเขาไป เอาขวานถาก คนพาลนั้นเสวยทุกขเวทนากล้า
ฯลฯ ตราบเท่าที่บาปกรรมยังไม่สิ้นไป นายนิรยบาลจับเขาเอาเท้าขึ้น เอาศีรษะลง
เอามีดเฉือน คนพาลนั้นเสวยทุกขเวทนากล้า ฯลฯ ตราบเท่าที่บาปกรรมยังไม่สิ้นไป
นายนิรยบาลจับเขาเทียมรถแล่นกลับไปกลับมาบนพื้นอันร้อนลุกเป็นเปลวโชติช่วง
คนพาลนั้นเสวยทุกขเวทนากล้า อย่างหนัก เผ็ดร้อน ในที่นั้น ฯลฯ ตราบเท่าที่
บาปกรรมยังไม่สิ้นไป นายนิรยบาลบังคับเขาให้ขึ้นลงภูเขาถ่านเพลิงลูกใหญ่ที่ไฟ
ลุกโชนโชติช่วง คนพาลนั้นเสวยทุกขเวทนากล้า อย่างหนัก เผ็ดร้อนอยู่ บนภูเขา
ถ่านเพลิงนั้น แต่ยังไม่ตายตราบเท่าที่บาปกรรมยังไม่สิ้นไป นายนิรยบาลจับเขา
เอาเท้าขึ้น เอาศีรษะลง ทุ่มลงในโลหกุมภี(หม้อทองแดง) อันร้อนแดงลุกเป็นแสงไฟ
คนพาลนั้นถูกต้มเดือดจนตัวพองในโลหกุมภีนั้น เขาเมื่อถูกต้มเดือดจนตัวพองใน
โลหกุมภีนั้น บางครั้งลอยขึ้น บางครั้งจมลง บางครั้งลอยขวาง เขาเสวยทุกขเวทนา
กล้าอย่างหนัก เผ็ดร้อน อยู่ในโลหกุมภีอันร้อนแดงนั้น แต่ยังไม่ตายตราบเท่าที่
บาปกรรมยังไม่สิ้นไป นายนิรยบาลจึงทุ่มเขาลงในมหานรก
ก็มหานรกนั้น
มี ๔ มุม ๔ ประตู แบ่งออกเป็นส่วน
มีกำแพงเหล็กล้อมรอบ ครอบด้วยฝาเหล็ก
มหานรกนั้น มีพื้นเป็นเหล็ก ลุกโชนโชติช่วง
แผ่ไปไกลด้านละ ๑๐๐ โยชน์ ตั้งอยู่ทุกเมื่อ๑
ภิกษุทั้งหลาย ทุกข์นี้กับทุกข์ในนรกเปรียบเทียบกันด้วยการบอกไม่ได้


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๙. พาลปัณฑิตสูตร

[๒๕๑] ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ดิรัจฉานจำพวกมีหญ้าเป็นอาหารมีอยู่ สัตว์
ดิรัจฉานเหล่านั้นใช้ฟันเล็มหญ้าสดบ้าง หญ้าแห้งบ้าง
สัตว์ดิรัจฉานจำพวกมีหญ้าเป็นอาหาร พวกไหนบ้าง
คือ ช้าง ม้า โค ลา แพะ มฤค หรือสัตว์ดิรัจฉานจำพวกอื่นบางพวกที่มี
หญ้าเป็นอาหาร
ในเบื้องต้น คนพาลในโลกนี้นั่น ติดใจในรส ทำบาปกรรมไว้ในโลกนี้ หลัง
จากตายแล้ว จึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับสัตว์จำพวกที่มีหญ้าเป็นอาหารเหล่านั้น
สัตว์ดิรัจฉานจำพวกมีคูถเป็นอาหารมีอยู่ สัตว์ดิรัจฉานเหล่านั้นได้กลิ่นคูถแต่
ที่ไกลแล้ว ย่อมวิ่งไปด้วยหวังว่า ‘จักกินตรงนี้ จักกินตรงนี้’
เปรียบเหมือนพราหมณ์เดินไปตามกลิ่นเครื่องบูชาด้วยหมายใจว่า ‘จักกิน
ตรงนี้ จักกินตรงนี้’ แม้ฉันใด สัตว์ดิรัจฉานจำพวกมีคูถเป็นอาหารเหล่านั้น ฉัน
นั้นเหมือนกัน ได้กลิ่นคูถแต่ที่ไกลแล้ว ย่อมวิ่งไปด้วยหวังว่า ‘จักกินตรงนี้ จักกิน
ตรงนี้’
สัตว์ดิรัจฉานจำพวกมีคูถเป็นอาหาร พวกไหนบ้าง
คือ ไก่ สุกร สุนัขบ้าน สุนัขป่า หรือสัตว์ดิรัจฉานจำพวกอื่นบางพวกที่มีคูถ
เป็นอาหาร
ในเบื้องต้น คนพาลในโลกนี้นั่น ติดใจในรส ทำบาปกรรมไว้ในโลกนี้ หลัง
จากตายแล้ว จึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับสัตว์จำพวกที่มีคูถเป็นอาหารเหล่านั้น
สัตว์ดิรัจฉานจำพวกที่เกิดในที่มืด แก่ในที่มืด ตายในที่มืด มีอยู่
สัตว์ดิรัจฉานจำพวกที่เกิดในที่มืด แก่ในที่มืด ตายในที่มืด พวกไหนบ้าง
คือ แมลง มอด ไส้เดือน หรือสัตว์ดิรัจฉานจำพวกอื่นบางพวกที่เกิดในที่มืด
แก่ในที่มืด ตายในที่มืด
ในเบื้องต้น คนพาลในโลกนี้นั่น ติดใจในรส ทำบาปกรรมไว้ในโลกนี้ หลัง
จากตายแล้ว จึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับสัตว์จำพวกที่เกิดในที่มืด แก่ในที่มืด
ตายในที่มืดเหล่านั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๙. พาลปัณฑิตสูตร

สัตว์ดิรัจฉานจำพวกที่เกิดในน้ำ แก่ในน้ำ ตายในน้ำ มีอยู่
สัตว์ดิรัจฉานจำพวกที่เกิดในน้ำ แก่ในน้ำ ตายในน้ำ พวกไหนบ้าง
คือ ปลา เต่า จระเข้ หรือสัตว์ดิรัจฉานจำพวกอื่นบางพวกที่เกิดในน้ำ แก่ในน้ำ
ตายในน้ำ
ในเบื้องต้น คนพาลในโลกนี้นั่น ติดใจในรส ทำบาปกรรมไว้ในโลกนี้ หลัง
จากตายแล้ว จึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับสัตว์จำพวกที่เกิดในน้ำ แก่ในน้ำ
ตายในน้ำเหล่านั้น
สัตว์ดิรัจฉานจำพวกที่เกิดในที่โสโครก แก่ในที่โสโครก ตายในที่โสโครก มีอยู่
สัตว์ดิรัจฉานจำพวกที่เกิดในที่โสโครก แก่ในที่โสโครก ตายในที่โสโครก
พวกไหนบ้าง
คือ สัตว์ดิรัจฉานจำพวกที่เกิดในปลาเน่า แก่ในปลาเน่า หรือตายในปลาเน่า
สัตว์ดิรัจฉานจำพวกที่เกิดในศพเน่า ... สัตว์ดิรัจฉานจำพวกที่เกิดในขนมกุมมาสที่
บูด ... สัตว์ดิรัจฉานจำพวกที่เกิดในน้ำครำ ... สัตว์ดิรัจฉานจำพวกที่เกิดในหลุม
โสโครก ... สัตว์ดิรัจฉานจำพวกอื่นที่เกิดในที่โสโครก แก่ในที่โสโครก ตายในที่
โสโครก
ในเบื้องต้น คนพาลในโลกนี้นั่น ติดใจในรส ทำบาปกรรมไว้ในโลกนี้ หลัง
จากตายแล้ว จึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับสัตว์จำพวกที่เกิดในที่โสโครก แก่ในที่
โสโครก ตายในที่โสโครกเหล่านั้น
ภิกษุทั้งหลาย ทุกข์นี้กับทุกข์ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานเปรียบเทียบกันด้วยการ
บอกไม่ได้
[๒๕๒] ภิกษุทั้งหลาย บุรุษพึงโยนแอกที่มีรูเดียวลงไปในมหาสมุทร ลมทาง
ทิศตะวันออกพัดแอกนั้นไปทางทิศตะวันตก ลมทางทิศตะวันตกพัดแอกนั้นไปทาง
ทิศตะวันออก ลมทางทิศเหนือพัดแอกนั้นไปทางทิศใต้ ลมทางทิศใต้พัดแอกนั้นไป
ทางทิศเหนือ ในมหาสมุทรนั้น มีเต่าตาบอดอยู่ตัวหนึ่ง ผ่านไป ๑๐๐ ปี มันจะ
โผล่ขึ้นมาครั้งหนึ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๙. พาลปัณฑิตสูตร

เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
คือ เต่าตาบอดนั้นพึงสอดคอเข้าไปในแอกที่มีรูเดียวโน้นได้บ้างไหม”
“ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า แต่ถ้าเวลาล่วงเลยไปนาน ๆ บางครั้งบางคราวมัน
ก็จะสอดเข้าไปในแอกนั้นได้บ้าง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เต่าตาบอดนั้นพึงสอดคอเข้าไปใน
แอกที่มีรูเดียวโน้นยังเร็วกว่า เรากล่าวว่าการที่คนพาลผู้ไปสู่วินิบาตคราวเดียวจะ
พึงได้เป็นมนุษย์อีกยากกว่านั้น
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะในวินิบาตนั้น ไม่มีการประพฤติธรรม ไม่มีการประพฤติชอบ ไม่มี
การทำกุศล ไม่มีการทำบุญ ในวินิบาตนั้น มีแต่สัตว์ผู้เคี้ยวกินกันเอง เคี้ยวกิน
สัตว์ผู้มีกำลังน้อยกว่า๑
คนพาลนั้น เพราะเวลาล่วงเลยมานาน ในบางครั้งบางคราวถ้ามาเกิดเป็น
มนุษย์ ก็จะเกิดในตระกูลต่ำ คือ ตระกูลคนจัณฑาล ตระกูลนายพราน ตระกูล
ช่างสาน ตระกูลช่างรถ หรือตระกูลคนขนขยะเช่นนั้น ที่เป็นตระกูลยากจน มีข้าว น้ำ
และสิ่งของเครื่องใช้น้อยเป็นไปอย่างฝืดเคือง เป็นแหล่งที่หาของกินและเครื่องนุ่งห่ม
ได้ยาก และคนพาลนั้นมีผิวพรรณหม่นหมอง ไม่น่าดู ต่ำเตี้ย มีความเจ็บป่วยมาก
ตาบอด เป็นง่อย เป็นคนกระจอก หรือเป็นโรคอัมพาต มักไม่ได้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน
ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีป เขายังประพฤติ
กายทุจริต ประพฤติวจีทุจริต ประพฤติมโนทุจริต หลังจากตายแล้ว จะไปเกิดใน
อบาย ทุคติ วินิบาต นรก๒
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนักเลงการพนัน เพราะความพ่ายแพ้ครั้งแรกเท่านั้น
จึงเสียลูก เสียเมีย เสียทรัพย์สมบัติทุกอย่าง และถึงการจองจำ ที่เป็นการ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๙. พาลปัณฑิตสูตร

สูญเสียอย่างยิ่ง ความพ่ายแพ้ ของนักเลงการพนันผู้เสียลูก เสียเมีย เสียทรัพย์
สมบัติทุกอย่าง และถึงการจองจำเพราะความพ่ายแพ้ครั้งแรกนั้น เป็นเพียงเล็กน้อย
แม้ฉันใด ความพ่ายแพ้ของคนพาลผู้ประพฤติกายทุจริต ประพฤติวจีทุจริต ประพฤติ
มโนทุจริต หลังจากตายแล้ว จะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฉันนั้น
เหมือนกัน
นี้เป็นภูมิของคนพาลที่คนพาลบำเพ็ญไว้ทั้งสิ้น
[๒๕๓] ภิกษุทั้งหลาย ลักษณะของบัณฑิต เครื่องหมายของบัณฑิต ความ
ประพฤติไม่ขาดสายของบัณฑิต ๓ ประการนี้
ลักษณะของบัณฑิต ๓ ประการ อะไรบ้าง
คือ บัณฑิตในโลกนี้
๑. ชอบคิดแต่เรื่องดี
๒. ชอบพูดแต่เรื่องดี
๓. ชอบทำแต่กรรมดี
ถ้าบัณฑิตไม่ชอบคิดเรื่องดี ไม่ชอบพูดเรื่องดี และไม่ชอบทำกรรมดีเช่นนั้น
บัณฑิตทั้งหลายจะพึงรู้จักเขาด้วยเหตุไรว่า ‘ผู้นี้เป็นบัณฑิต เป็นคนดี’ แต่เพราะ
บัณฑิตชอบคิดแต่เรื่องดี ชอบพูดแต่เรื่องดี และชอบทำแต่กรรมดี ฉะนั้น
บัณฑิตทั้งหลายจึงรู้จักเขาว่า ‘ผู้นี้เป็นบัณฑิต เป็นคนดี’๑
บัณฑิตนั้นย่อมเสวยสุขโสมนัส ๓ ประการในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าบัณฑิตนั่งในสภาก็ดี ในตรอกก็ดี ริมทางสามแพร่งก็ดี
ถ้าชนในที่นั้นพูดถ้อยคำที่สมควรแก่ธรรมนั้นแก่เขา ถ้าบัณฑิตเป็นผู้เว้นขาดจาก
การฆ่าสัตว์ เป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดใน
กาม เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ เป็นผู้เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุรา


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๙. พาลปัณฑิตสูตร

และเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท ในเรื่องนั้น บัณฑิตจะมีความรู้สึกอย่างนี้ว่า
‘ข้อที่ชนพูดถ้อยคำที่สมควรแก่ธรรมนั้น ธรรมเหล่านั้นมีอยู่ในเรา และเรา
ก็ปรากฏในธรรมเหล่านั้น’
ภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตย่อมเสวยสุขโสมนัสประการที่ ๑ นี้ในปัจจุบัน
[๒๕๔] อีกประการหนึ่ง บัณฑิตเห็นพระราชาทั้งหลายรับสั่งให้จับโจรผู้
ประพฤติผิดมาลงอาญาด้วยประการต่าง ๆ คือ ให้เฆี่ยนด้วยแส้บ้าง ให้เฆี่ยน
ด้วยหวายบ้าง ให้ตีด้วยไม้พลองบ้าง ตัดมือบ้าง ตัดเท้าบ้าง ตัดทั้งมือและเท้าบ้าง
ตัดใบหูบ้าง ตัดจมูกบ้าง ตัดทั้งใบหูและจมูกบ้าง วางก้อนเหล็กแดงบนศีรษะบ้าง
ถลกหนังศีรษะแล้วขัดให้ขาวเหมือนสังข์บ้าง เอาไฟยัดปากจนเลือดไหลเหมือน
ปากราหูบ้าง เอาผ้าพันตัวราดน้ำมันแล้วจุดไฟเผาบ้าง พันมือแล้วจุดไฟต่างคบบ้าง
ถลกหนังตั้งแต่คอถึงข้อเท้าให้ลุกเดินเหยียบหนังจนล้มลงบ้าง ถลกหนังตั้งแต่คอถึง
บั้นเอว ทำให้มองดูเหมือนนุ่งผ้าคากรองบ้าง สวมปลอกเหล็กที่ข้อศอกและเข่า
แล้วเสียบหลาวทั้ง ๕ ทิศเอาไฟเผาบ้าง ใช้เบ็ดเกี่ยวหนัง เนื้อ เอ็นออกมาบ้าง
เฉือนเนื้อออกเป็นแว่น ๆ เหมือนเหรียญกษาปณ์บ้าง เฉือนหนัง เนื้อ เอ็น
ออกเหลือไว้แต่กระดูกบ้าง ใช้หลาวแทงช่องหูให้ทะลุถึงกันบ้าง เสียบให้ติดดินแล้ว
จับเขาหมุนได้รอบบ้าง ทุบกระดูกให้แหลกแล้วถลกหนังออกเหลือไว้แต่กองเนื้อเหมือน
ตั่งใบไม้บ้าง รดตัวด้วยน้ำมันที่กำลังเดือดพล่านบ้าง ให้สุนัขกัดกินจนเหลือแต่
กระดูกบ้าง ให้นอนบนหลาวทั้งเป็นบ้าง ตัดศีรษะออกด้วยดาบบ้าง
ในขณะที่เห็นนั้น บัณฑิตจะมีความรู้สึกอย่างนี้ว่า ‘เพราะเหตุแห่งบาปกรรม
เช่นไร พระราชาทั้งหลายจึงรับสั่งให้จับโจรผู้ประพฤติผิดมาแล้วลงอาญาด้วยประการ
ต่าง ๆ คือ ให้เฆี่ยนด้วยแส้บ้าง ให้เฆี่ยนด้วยหวายบ้าง ให้ตีด้วยไม้พลองบ้าง
ตัดมือบ้าง ตัดเท้าบ้าง ตัดทั้งมือและเท้าบ้าง ตัดใบหูบ้าง ตัดจมูกบ้าง ตัดทั้งใบ
หูและจมูกบ้าง วางก้อนเหล็กแดงบนศีรษะบ้าง ถลกหนังศีรษะแล้วขัดให้ขาว
เหมือนสังข์บ้าง เอาไฟยัดปากจนเลือดไหลเหมือนปากราหูบ้าง เอาผ้าพันตัวราด
น้ำมันแล้วจุดไฟเผาบ้าง พันมือแล้วจุดไฟต่างคบบ้าง ถลกหนังตั้งแต่คอถึงข้อเท้า
ให้ลุกเดินเหยียบหนังจนล้มลงบ้าง ถลกหนังตั้งแต่คอถึงบั้นเอว ทำให้มองดู

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๙. พาลปัณฑิตสูตร

เหมือนนุ่งผ้าคากรองบ้าง สวมปลอกเหล็กที่ข้อศอกและเข่าแล้วเสียบหลาวทั้ง ๕
ทิศเอาไฟเผาบ้าง ใช้เบ็ดเกี่ยวหนัง เนื้อ เอ็นออกมาบ้าง เฉือนเนื้อออกเป็นแว่น ๆ
เหมือนเหรียญกษาปณ์บ้าง เฉือนหนัง เนื้อ เอ็น ออกเหลือไว้แต่กระดูกบ้าง ใช้
หลาวแทงช่องหูให้ทะลุถึงกันบ้าง เสียบให้ติดดินแล้วจับเขาหมุนได้รอบบ้าง ทุบ
กระดูกให้แหลกแล้วถลกหนังออกเหลือไว้แต่กองเนื้อเหมือนตั่งใบไม้บ้าง รดตัว
ด้วยน้ำมันที่กำลังเดือดพล่านบ้าง ให้สุนัขกัดกินจนเหลือแต่กระดูกบ้าง ให้นอน
บนหลาวทั้งเป็นบ้าง ตัดศีรษะออกด้วยดาบบ้าง ก็ธรรมเหล่านั้นไม่มีในเรา และ
เราก็ไม่ปรากฏในธรรมเหล่านั้น
ภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตย่อมเสวยสุขโสมนัสประการที่ ๒ นี้ในปัจจุบัน
[๒๕๕] อีกประการหนึ่ง ในสมัยนั้น กรรมดีที่บัณฑิตทำ คือ การประพฤติ
กายสุจริต การประพฤติวจีสุจริต การประพฤติมโนสุจริตไว้ในกาลก่อน ย่อม
คุ้มครอง ป้องกันบัณฑิตผู้อยู่บนตั่ง บนเตียง หรือนอนบนพื้น
เปรียบเหมือนเงาของยอดภูเขาใหญ่ ย่อมบดบัง ครอบคลุมแผ่นดินใหญ่
ในเวลาเย็น แม้ฉันใด กรรมดีที่บัณฑิตทำ คือ การประพฤติกายสุจริต การ
ประพฤติวจีสุจริต การประพฤติมโนสุจริตไว้ในกาลก่อน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อม
คุ้มครอง ป้องกันบัณฑิตผู้อยู่บนตั่ง บนเตียง หรือนอนบนพื้นดินในสมัยนั้น
ในเรื่องนั้น บัณฑิตมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราไม่ได้ทำความชั่วไว้หนอ ไม่ได้
ทำกรรมหยาบช้าไว้ ไม่ได้ทำกรรมเศร้าหมองไว้ เราทำแต่ความดี ทำแต่กุศล
ทำแต่ที่ป้องกันสิ่งน่ากลัวไว้ เราตายแล้วจะไปสู่คติของผู้ไม่ได้ทำความชั่วไว้ ไม่ได้
ทำกรรมหยาบช้าไว้ ไม่ได้ทำกรรมเศร้าหมองไว้ ทำแต่ความดี ทำแต่กุศล ทำแต่
ที่ป้องกันสิ่งน่ากลัวไว้’ เขาย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบากใจ ไม่ร่ำไร ไม่ทุบอกคร่ำครวญ
ไม่ถึงความหลงไหล
ภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตย่อมเสวยสุขโสมนัสประการที่ ๓ นี้ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตนั้นยังประพฤติกายสุจริต ประพฤติวจีสุจริต ประพฤติ
มโนสุจริต หลังจากตายแล้ว จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ บุคคลเมื่อจะกล่าวให้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๙. พาลปัณฑิตสูตร

ถูกต้อง พึงกล่าวถึงสวรรค์นั่นแหละว่า ‘เป็นสถานที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
โดยส่วนเดียว’ ภิกษุทั้งหลาย แม้การเปรียบเทียบว่าสวรรค์เป็นสุขก็ไม่ใช่ทำ
ได้ง่าย”
[๒๕๖] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ทรงอุปมาได้อีกหรือไม่”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ได้ ภิกษุ” แล้วตรัสว่า “เปรียบเหมือนพระเจ้า
จักรพรรดิทรงเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ และฤทธิ์(ความสำเร็จ) ๔ ประการ
เพราะความสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ และฤทธิ์ ๔ ประการนั้นเป็นเหตุ
พระเจ้าจักรพรรดินั้นจึงเสวยสุขโสมนัส
พระเจ้าจักรพรรดิทรงเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ เป็นอย่างไร
คือ จักรแก้วอันเป็นทิพย์มีกำ ๑,๐๐๐ ซี่ มีกง มีดุม และส่วนประกอบ
ครบทุกอย่าง ย่อมปรากฏแก่กษัตราธิราชในโลกนี้ผู้ทรงได้รับมูรธาภิเษกแล้ว ทรง
สนานพระเศียร ในวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ รักษาอุโบสถ ประทับอยู่ชั้นบน
ปราสาทหลังงาม กษัตราธิราชผู้ทรงได้รับมูรธาภิเษกแล้ว ครั้นทอดพระเนตรแล้ว
ได้มีพระราชดำริว่า ‘เราได้ฟังเรื่องนี้มาว่า ‘จักรแก้วอันเป็นทิพย์มีกำ ๑,๐๐๐ ซี่ มีกง
มีดุม และส่วนประกอบครบทุกอย่าง ย่อมปรากฏแก่กษัตราธิราชพระองค์ใดผู้ทรง
ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว ทรงสนานพระเศียร ในวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ รักษาอุโบสถ
ประทับอยู่ชั้นบนปราสาทหลังงาม กษัตราธิราชพระองค์นั้นย่อมเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ’
เราเป็นพระเจ้าจักรพรรดิกระมัง’
ลำดับนั้น กษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้วทรงลุกจากที่ประทับ พระหัตถ์
เบื้องซ้ายทรงจับพระภิงคาร(พระน้ำเต้า) พระหัตถ์เบื้องขวาทรงชูจักรแก้ว ขึ้นตรัสว่า
‘จักรแก้วอันประเสริฐจงหมุนไป จงได้ชัยชนะอันยิ่งใหญ่’ ทันใดนั้นจักรแก้วนั้นก็
หมุนไปทางทิศตะวันออก พระเจ้าจักรพรรดิพร้อมด้วยจตุรงคินีเสนา ก็เสด็จตามไป
เสด็จเข้าพักแรมพร้อมด้วยจตุรงคินีเสนาในประเทศที่จักรแก้วหยุดอยู่ พระราชา
ทั้งหลายที่เป็นปฏิปักษ์ในทิศตะวันออกพากันเสด็จมาเฝ้า แล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๙. พาลปัณฑิตสูตร

‘ขอเดชะ มหาราชเจ้า พระองค์โปรดเสด็จมาเถิด ขอรับเสด็จพระองค์ ราชสมบัติ
ของหม่อมฉันเป็นของพระองค์ โปรดประทานพระราโชวาทเถิด พระเจ้าข้า’
พระเจ้าจักรพรรดิรับสั่งอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลายไม่พึงฆ่าสัตว์ ไม่พึง
ลักทรัพย์ ไม่พึงประพฤติผิดในกาม ไม่พึงพูดเท็จ ไม่พึงดื่มน้ำเมา และท่าน
ทั้งหลายจงครองราชสมบัติไปตามเดิมเถิด’ พระราชาทั้งหลายที่เป็นปฏิปักษ์ในทิศ
ตะวันออกเหล่านั้น ได้กลายเป็นผู้สนับสนุนพระเจ้าจักรพรรดิแล้ว
[๒๕๗] ภิกษุทั้งหลาย จากนั้น จักรแก้วก็หมุนไปจรดมหาสมุทรด้านทิศ
ตะวันออก แล้วหมุนกลับไปด้านทิศใต้ ฯลฯ หมุนไปจรดมหาสมุทรด้านทิศใต้
แล้วหมุนกลับไปด้านทิศตะวันตก ฯลฯ หมุนไปจรดมหาสมุทรด้านทิศตะวันตก
แล้วหมุนกลับไปด้านทิศเหนือ เสด็จเข้าพักแรมพร้อมด้วยจตุรงคินีเสนา ในประเทศ
ที่จักรแก้วหยุดอยู่
พระราชาทั้งหลายที่เป็นปฏิปักษ์ในทิศเหนือพากันเสด็จมาเฝ้า แล้วกราบทูล
อย่างนี้ว่า ‘ขอเดชะ มหาราชเจ้า พระองค์โปรดเสด็จมาเถิด ขอรับเสด็จ ราชสมบัติ
ของหม่อมฉันเป็นของพระองค์ โปรดประทานพระราโชวาทเถิด พระเจ้าข้า’
พระเจ้าจักรพรรดิรับสั่งอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลายไม่พึงฆ่าสัตว์ ไม่พึงลักทรัพย์
ไม่พึงประพฤติผิดในกาม ไม่พึงพูดเท็จ ไม่พึงดื่มน้ำเมา และท่านทั้งหลายจงปก
ครองบ้านเมืองไปตามเดิมเถิด’ พระราชาทั้งหลายที่เป็นปฏิปักษ์ในทิศเหนือเหล่านั้น
ได้กลายเป็นผู้สนับสนุนพระเจ้าจักรพรรดิแล้ว
๑. ครั้งนั้น จักรแก้วนั้นได้ปราบปรามแผ่นดิน มีมหาสมุทรเป็นขอบ
เขตอย่างราบคาบ เสร็จแล้วหมุนกลับราชธานีนั้น ประดิษฐานอยู่
เสมือนลิ่มสลักที่พระทวารภายในพระราชวังของพระเจ้าจักรพรรดิ
ทำพระทวารภายในพระราชวังของพระเจ้าจักรพรรดิให้สว่างไสว
ภิกษุทั้งหลาย จักรแก้วเห็นปานนี้ ปรากฏแก่พระเจ้าจักรพรรดิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๐๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๙. พาลปัณฑิตสูตร

[๒๕๘] ๒. อีกประการหนึ่ง ช้างแก้ว ซึ่งเป็นช้างเผือก เป็นที่พึ่งของเหล่าสัตว์
มีฤทธิ์ เหาะไปในอากาสได้ เป็นพญาช้างตระกูลอุโบสถ ย่อม
ปรากฏแก่พระเจ้าจักรพรรดิ พระเจ้าจักรพรรดิครั้นทอดพระเนตร
เห็นช้างนั้น จึงมีพระทัยโปรดปรานว่า “ท่านผู้เจริญ พาหนะคือ
ช้างนี้ถ้าได้นำไปฝึก ก็จะเป็นสัตว์ที่เป็นมงคลแน่แท้” จากนั้น
ช้างแก้วนั้นจึงได้รับการฝึกหัดเหมือนช้างอาชาไนยตัวเจริญซึ่งได้รับ
การฝึกหัดดีแล้วตลอดกาลนาน
ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาว่า พระเจ้าจักรพรรดิเมื่อจะทรง
ทดสอบช้างแก้วนั้น จึงเสด็จขึ้นทรงในเวลาเช้า แล้วเสด็จเลียบไป
ตลอดแผ่นดินอันมีมหาสมุทรเป็นขอบเขต แล้วเสด็จกลับมา
ราชธานีนั้นดังเดิม ทันเสวยพระกระยาหารเช้า ช้างแก้วเห็นปาน
นี้ปรากฏแก่พระเจ้าจักรพรรดิ
๓. อีกประการหนึ่ง ม้าแก้ว ซึ่งเป็นม้าขาว ศีรษะดำ มีขนปกดุจ
หญ้าปล้อง มีฤทธิ์ เหาะไปในอากาศได้ ชื่อพญาม้าวลาหก
ย่อมปรากฏแก่พระเจ้าจักรพรรดิ พระเจ้าจักรพรรดิครั้นทอด
พระเนตรเห็นม้าแก้วนั้น จึงมีพระทัยโปรดปรานว่า ‘ท่านผู้เจริญ
พาหนะคือม้านี้ถ้าได้นำไปฝึกก็จะเป็นสัตว์ที่เป็นมงคลแน่แท้’ จาก
นั้น ม้าแก้วนั้นจึงได้รับการฝึกหัดเหมือนม้าอาชาไนยตัวเจริญซึ่งได้
รับการฝึกหัดดีแล้วตลอดกาลนาน
ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาว่า พระเจ้าจักรพรรดิเมื่อจะทรง
ทดสอบม้าแก้วนั้น จึงเสด็จขึ้นทรงในเวลาเช้า แล้วเสด็จเลียบไป
ตลอดแผ่นดินอันมีมหาสมุทรเป็นขอบเขต แล้วเสด็จกลับมา
ราชธานีนั้นดังเดิม ทันเสวยพระกระยาหารเช้า ม้าแก้วเห็นปานนี้
ปรากฏแก่พระเจ้าจักรพรรดิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๙. พาลปัณฑิตสูตร

๔. อีกประการหนึ่ง มณีแก้วปรากฏแก่พระเจ้าจักรพรรดิ คือมณีแก้ว
นั้นเป็นแก้วไพฑูรย์ งามบริสุทธิ์ตามธรรมชาติ สุกใสเป็นประกาย
ได้สัดส่วน มีแปดเหลี่ยม เจียระไนไว้ดีแล้ว รัศมีแห่งมณีแก้วนั้น
แผ่ซ่านออกไปรอบ ๆ ประมาณ ๑ โยชน์
ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาว่า พระเจ้าจักรพรรดิเมื่อจะทรง
ทดสอบมณีแก้วนั้น ทรงให้หมู่จตุรงคินีเสนาผูกสอดเกราะแล้วทรง
ยกมณีแก้วนั้นเป็นยอดธง เสด็จไปประทับยืนในที่มืดยามราตรี
เพราะแสงสว่างนั้น ชาวบ้านที่อาศัยอยู่โดยรอบสำคัญว่าเป็นเวลา
กลางวัน จึงพากันประกอบการงาน มณีแก้วเห็นปานนี้ปรากฏแก่
พระเจ้าจักรพรรดิ
๕. อีกประการหนึ่ง นางแก้วปรากฏแก่พระเจ้าจักรพรรดิ คือนางแก้วนั้น
เป็นสตรีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส มีผิวพรรณผุดผ่องยิ่งนัก ไม่
สูงเกินไป ไม่เตี้ยเกินไป ไม่ผอมเกินไป ไม่อ้วนเกินไป ไม่ดำเกินไป
ไม่ขาวเกินไป งดงามเกินผิวพรรณของหญิงมนุษย์ แต่ไม่ถึง
ผิวพรรณทิพย์ กายของนางแก้วนั้นมีสัมผัสอ่อนนุ่มดุจปุยนุ่นหรือ
ปุยฝ้าย มีร่างกายอบอุ่นในฤดูหนาว เย็นในฤดูร้อน มีกลิ่น
จันทน์หอมฟุ้งออกจากกาย กลิ่นดอกอุบลฟุ้งออกจากปากของนาง
นางแก้วนั้นมีปกติตื่นก่อนนอนทีหลัง คอยฟังว่าจะรับสั่งให้ทำอะไร
ประพฤติต้องพระทัย ทูลแต่คำไพเราะต่อพระเจ้าจักรพรรดิ และ
นางแก้วนั้นจะไม่ประพฤตินอกพระทัยพระเจ้าจักรพรรดิ ไฉนเล่า
จะประพฤติล่วงเกินทางกายได้ นางแก้วเห็นปานนี้ปรากฏแก่พระ
เจ้าจักรพรรดิ
๖. อีกประการหนึ่ง คหบดีแก้วปรากฏแก่พระเจ้าจักรพรรดิ คือ
คหบดีแก้วนั้นเป็นผู้มีตาทิพย์ อันเกิดแต่ผลกรรม ซึ่งสามารถเห็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๙. พาลปัณฑิตสูตร

ขุมทรัพย์ทั้งที่มีเจ้าของและไม่มีเจ้าของ เขาเข้าเฝ้าพระเจ้า
จักรพรรดิแล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า ‘ขอเดชะ ขอพระองค์โปรดทรง
เป็นผู้ขวนขวายน้อยเถิด ข้าพระองค์จักทำหน้าที่การคลังให้
พระองค์’
ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาว่า พระเจ้าจักรพรรดิเมื่อจะทรง
ทดสอบคหบดีแก้วนั้น จึงเสด็จลงเรือลัดกระแสน้ำไปกลางแม่น้ำ
คงคา แล้วได้รับสั่งกับคหบดีแก้วว่า ‘คหบดี ฉันต้องการเงิน
และทอง’ คหบดีแก้วจึงกราบทูลว่า ‘ข้าแต่มหาราช ถ้าเช่นนั้น
โปรดให้เทียบเรือเข้าฝั่งข้างหนึ่งเถิด’ พระเจ้าจักรพรรดิ ตรัสว่า
‘คหบดี ฉันต้องการเงินและทองตรงนี้แหละ’ ทันใดนั้น คหบดี
แก้วนั้นจึงเอามือทั้งสองหย่อนลงในน้ำ ยกหม้อที่เต็มด้วยเงินและ
ทองขึ้นมา แล้วกราบทูลพระเจ้าจักรพรรดิว่า ‘เท่านี้พอหรือยัง
มหาราช เท่านี้ใช้ได้หรือยัง มหาราช เท่านี้พอบูชาแล้วหรือยัง
มหาราช’ พระเจ้าจักรพรรดิจึงตรัสอย่างนี้ว่า ‘คหบดี เท่านี้พอแล้ว
เท่านี้ใช้ได้แล้ว เท่านี้ชื่อว่าบูชาแล้ว’ คหบดีแก้วเห็นปานนี้ปรากฏ
แก่พระเจ้าจักรพรรดิ
๗. อีกประการหนึ่ง ปริณายกแก้วปรากฏแก่พระเจ้าจักรพรรดิ คือ
ปริณายกแก้วนั้นเป็นบัณฑิต มีปรีชาสามารถถวายข้อแนะนำให้
พระเจ้าจักรพรรดิทรงบำรุงผู้ที่ควรบำรุง ถอดถอนผู้ที่ควรถอดถอน
ทรงแต่งตั้งผู้ที่ควรแต่งตั้ง เข้าเฝ้าพระเจ้าจักรพรรดิแล้วกราบทูล
อย่างนี้ว่า ‘ขอเดชะ ขอพระองค์โปรดทรงเป็นผู้ขวนขวายน้อยเถิด
ข้าพระองค์จักถวายคำปรึกษา’ ปริณายกแก้วเห็นปานนี้ปรากฏแก่
พระเจ้าจักรพรรดิ
ภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิทรงเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการนี้
[๒๕๙] พระเจ้าจักรพรรดิทรงเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยฤทธิ์ ๔ ประการ เป็นอย่างไร
คือ พระเจ้าจักรพรรดิในโลกนี้ มีพระรูปงดงาม น่าดู น่าเลื่อมใส มี
พระฉวีผุดผ่องยิ่งนักเกินกว่ามนุษย์เหล่าอื่น พระเจ้าจักรพรรดิทรงเป็นผู้สมบูรณ์
ด้วยฤทธิ์ นี้เป็นประการที่ ๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๙. พาลปัณฑิตสูตร

อีกประการหนึ่ง พระเจ้าจักรพรรดิมีพระชนมายุยืน ทรงดำรงอยู่ในราชสมบัติ
นานเกินกว่ามนุษย์เหล่าอื่น พระเจ้าจักรพรรดิทรงเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยฤทธิ์ นี้เป็น
ประการที่ ๒
อีกประการหนึ่ง พระเจ้าจักรพรรดิมีพระโรคาพาธน้อย มีโรคเบาบาง
ประกอบด้วยไฟธาตุสำหรับย่อยอาหารสม่ำเสมอ ไม่เย็นจัด ไม่ร้อนจัด เกินกว่า
มนุษย์เหล่าอื่น พระเจ้าจักรพรรดิทรงเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยฤทธิ์ นี้เป็นประการที่ ๓
อีกประการหนึ่ง พระเจ้าจักรพรรดิทรงเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ ของ
พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย เปรียบเหมือนบิดาเป็นที่รักเป็นที่ชอบใจของบุตร
แม้ฉันใด พระจักรพรรดิก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทรงเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของ
พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย
อนึ่ง พราหมณ์และคหบดีทั้งหลายเป็นที่โปรดปราน เป็นที่พอพระทัยแม้
ของพระเจ้าจักรพรรดิ เปรียบเหมือนบุตรเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของบิดา แม้ฉันใด
พราหมณ์และคหบดีทั้งหลายก็ฉันนั้นเหมือนกัน ก็เป็นที่โปรดปราน เป็นที่พอพระ
ทัยแม้ของพระเจ้าจักรพรรดิ
ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาว่า พระเจ้าจักรพรรดิพร้อมด้วยจตุรงคินีเสนา
เสด็จประพาสพระราชอุทยาน ครั้งนั้น พราหมณ์และคหบดีพากันเข้าเฝ้าพระเจ้า
จักรพรรดิ แล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า ‘ขอเดชะ มหาราชเจ้า ขอพระองค์อย่าด่วน
เสด็จไป โปรดเสด็จโดยอาการที่ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ชมพระบารมีนาน ๆ เถิด’
แม้พระเจ้าจักรพรรดิได้รับสั่งเรียกนายสารถีมาตรัสว่า ‘แน่ะพ่อสารถี ท่านจง
ค่อย ๆ ขับไปโดยอาการที่ฉันจะพึงเยี่ยมพราหมณ์และคหบดีได้นาน ๆ เถิด’
พระเจ้าจักรพรรดิทรงเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยฤทธิ์ นี้เป็นประการที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิทรงเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยฤทธิ์ ๔ ประการนี้
เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
คือ พระเจ้าจักรพรรดิทรงเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ และฤทธิ์ ๔
ประการนี้ พึงเสวยสุขโสมนัสอันมีความสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ และฤทธิ์ ๔
ประการนั้นเป็นเหตุบ้างไหม”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๙. พาลปัณฑิตสูตร

ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเจ้าจักรพรรดิทรงเป็น
ผู้สมบูรณ์ด้วยแก้วแม้ประการเดียว ยังเสวยสุขโสมนัสที่เกิดเพราะแก้วแม้ประการ
เดียวนั้นเป็นเหตุได้ ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงแก้ว ๗ ประการ และฤทธิ์ ๔ ประการเลย
พระพุทธเจ้าข้า”
[๒๖๐] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงหยิบก้อนหินขนาดย่อม ๆ เท่าฝ่า
พระหัตถ์ขึ้นมาแล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจ
ความข้อนั้นว่าอย่างไร คือก้อนหินขนาดย่อม ๆ เท่าฝ่ามือที่เราถืออยู่นี้กับขุนเขา
หิมพานต์ อย่างไหนใหญ่กว่ากัน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก้อนหินขนาดย่อม ๆ เท่าฝ่าพระหัตถ์ที่พระองค์ทรง
ถืออยู่นี้ มีประมาณน้อยนัก เปรียบเทียบกับขุนเขาหิมพานต์แล้ว ไม่ถึงการนับ
ไม่ถึงแม้ส่วนแห่งเสี้ยว ไม่ถึงแม้การเทียบกันได้เลย พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สุขโสมนัสที่พระเจ้าจักรพรรดิทรงเป็นผู้
สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ และฤทธิ์ ๔ ประการ ทรงเสวยสุขโสมนัสอันมี
ความสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการและฤทธิ์ ๔ ประการนั้นเป็นเหตุ เปรียบเทียบ
กับสุขที่เป็นทิพย์แล้ว ไม่ถึงการนับ ไม่ถึงแม้ส่วนแห่งเสี้ยว ไม่ถึงแม้การเทียบ
กันได้เลย
บัณฑิตนั้น เพราะเวลาล่วงเลยมานาน ในบางครั้งบางคราวถ้ามาเกิดเป็น
มนุษย์ ก็จะเกิดในตระกูลสูง คือ ตระกูลขัตติยมหาศาล๑ ตระกูลพราหมณมหาศาล
หรือตระกูลคหบดีมหาศาล เห็นปานนั้น อันเป็นตระกูลมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มี
โภคะมาก มีทองและเงินมาก มีเครื่องใช้ที่น่าปลื้มใจมาก มีทรัพย์และธัญชาติมาก
และบัณฑิตนั้นเป็นผู้มีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส มีผิวพรรณผุดผ่องยิ่งนัก มีปกติ
ได้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่อง
ประทีป เขาจึงประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต หลังจากตายแล้ว จึงไป
เกิดในสุคติโลกสวรรค์


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๑๐. เทวทูตสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนักเลงการพนัน ได้รับโภคสมบัติมากมาย
ความชนะของนักเลงการพนันผู้ได้รับโภคสมบัติมากเพราะความชนะครั้งแรกนั้น
เป็นเพียงเล็กน้อย โดยที่แท้ ความชนะของบัณฑิตผู้ประพฤติกายสุจริต ประพฤติ
วจีสุจริต ประพฤติมโนสุจริต หลังจากตายแล้ว จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เป็น
ความชนะที่ยิ่งใหญ่กว่านั้น นี้เป็นภูมิของบัณฑิตที่บัณฑิตบำเพ็ญไว้ทั้งสิ้น”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

พาลปัณฑิตสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. เทวทูตสูตร
ว่าด้วยเทวทูต

[๒๖๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียก
ภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเรือน ๒ หลัง มีประตูตรงกัน บุรุษผู้มีตาดี
ยืนอยู่ตรงกลางเรือน ๒ หลังนั้น พึงเห็นคนกำลังเดินเข้าเรือนบ้าง กำลังเดินออก
จากเรือนบ้าง กำลังเดินมาบ้าง กำลังเดินไปบ้าง แม้ฉันใด เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและ
เกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า
‘สัตว์เหล่านี้ประกอบกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต ไม่กล่าวร้ายพระอริยะ
มีความเห็นชอบ และชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นชอบ หลังจากตายแล้ว
จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ หรือสัตว์เหล่านี้ประกอบกายสุจริต วจีสุจริต และ
มโนสุจริต ไม่กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นชอบ และชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรม
ตามความเห็นชอบ หลังจากตายแล้ว จะไปเกิดในหมู่มนุษย์ สัตว์เหล่านี้ประกอบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๑๐. เทวทูตสูตร

กายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นผิด และ
ชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นผิด หลังจากตายแล้ว จะไปเกิดในเปรตวิสัย
หรือสัตว์เหล่านี้ประกอบกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต กล่าวร้ายพระอริยะ
มีความเห็นผิด และชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นผิด หลังจากตายแล้ว
จะไปเกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ก็หรือว่าสัตว์เหล่านี้ประกอบกายทุจริต วจีทุจริต
และมโนทุจริต กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นผิด และชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรม
ตามความเห็นผิด หลังจากตายแล้ว จะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก๑
[๒๖๒] ภิกษุทั้งหลาย นายนิรยบาล๒จับแขนเขาไปแสดงต่อพญายม๓ว่า
‘ขอเดชะ คนผู้นี้ไม่เกื้อกูลมารดา ไม่เกื้อกูลบิดา ไม่เกื้อกูลสมณะ ไม่เกื้อกูล
พราหมณ์ และไม่อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูล ขอพระองค์จงลงโทษคนผู้นี้เถิด’
ภิกษุทั้งหลาย พญายมสอบสวนซักไซ้ไล่เลียงเขาถึงเทวทูต๔ที่ ๑ ว่า ‘เจ้า
ไม่เคยเห็นเทวทูตที่ ๑ ปรากฏในหมู่มนุษย์บ้างหรือ’
เขาตอบว่า ‘ไม่เคยเห็น พระเจ้าข้า’
พญายมถามเขาว่า ‘ในหมู่มนุษย์ เด็กเล็กผู้ยังอ่อนนอนหงายกลิ้งเกลือกอยู่
ในมูตรและกรีสของตน เจ้าไม่เคยเห็นบ้างหรือ’
เขาตอบว่า ‘เคยเห็น พระเจ้าข้า’
‘เจ้านั้นเป็นผู้รู้เดียงสา เป็นผู้ใหญ่ ไม่ได้คิดอย่างนี้หรือว่า ‘ถึงตัวเราก็มี
ความเกิดเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเกิดไปได้ เอาเถิด เราจะทำความดีทางกาย
วาจา และใจ’
‘ไม่เคยคิด เพราะมัวประมาทอยู่ พระเจ้าข้า’


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๑๐. เทวทูตสูตร

‘เจ้าไม่ได้ทำความดีทางกาย วาจา และใจ เพราะมัวประมาทอยู่ เอาเถิด
เราจะลงโทษเจ้าตามฐานะที่ประมาท ก็บาปกรรมนี้นั้น บิดามารดา พี่ชายน้องชาย
พี่สาวน้องสาว มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิต สมณพราหมณ์ เทวดา ไม่ได้
ทำให้เจ้าเลย เจ้าทำเองแท้ ๆ เจ้านั่นเองต้องรับผลของบาปกรรมนั้น’ (๑)
[๒๖๓] พญายมครั้นสอบสวนซักไซ้ไล่เลียงเขาถึงเทวทูตที่ ๑ แล้ว จึง
สอบสวนซักไซ้ไล่เลียง ถึงเทวทูตที่ ๒ ว่า ‘เจ้าไม่เคยเห็นเทวทูตที่ ๒ ปรากฏ
ในหมู่มนุษย์บ้างหรือ’
เขาตอบว่า ‘ไม่เคยเห็น พระเจ้าข้า’
‘ในหมู่มนุษย์ สตรีหรือบุรุษมีอายุ ๘๐ ปี ... ๙๐ ปี ... หรือ ๑๐๐ ปี
เป็นคนชรา มีซี่โครงคด หลังโก่ง หลังค่อม ถือไม้เท้า เดินงก ๆ เงิ่น ๆ เก้ ๆ
กัง ๆ หมดความเป็นหนุ่มสาว ฟันหัก ผมหงอก ศีรษะล้าน หนังเหี่ยว ตัวตกกระ
เจ้าไม่เคยเห็นบ้างหรือ’
‘เคยเห็น พระเจ้าข้า’
‘เจ้านั้นเป็นผู้รู้เดียงสา เป็นผู้ใหญ่ ไม่ได้คิดอย่างนี้หรือว่า ‘ถึงตัวเราก็มี
ความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ เอาเถิด เราจะทำความดีทางกาย
วาจา และใจ’
‘ไม่เคยคิด เพราะมัวประมาทอยู่ พระเจ้าข้า’
‘เจ้าไม่ได้ทำความดีทางกาย วาจา และใจ เพราะมัวประมาทอยู่ เอาเถิด
เราจะลงโทษเจ้าตามฐานะที่ประมาท ก็บาปกรรมนี้นั้น บิดามารดา พี่ชายน้องชาย
พี่สาวน้องสาว มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิต สมณพราหมณ์ เทวดา ไม่ได้
ทำให้เจ้าเลย เจ้าทำเองแท้ ๆ เจ้านั่นเองต้องรับผลของบาปกรรมนั้น’ (๒)
[๒๖๔] พญายมครั้นสอบสวนซักไซ้ไล่เลียงเขาถึงเทวทูตที่ ๒ แล้ว จึง
สอบสวนซักไซ้ไล่เลียงถึงเทวทูตที่ ๓ ว่า ‘เจ้าไม่เคยเห็นเทวทูตที่ ๓ ปรากฏใน
หมู่มนุษย์บ้างหรือ’
เขาตอบว่า ‘ไม่เคยเห็น พระเจ้าข้า’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๑๐. เทวทูตสูตร

‘ในหมู่มนุษย์ สตรีหรือบุรุษเจ็บป่วย ประสบทุกข์ เป็นไข้หนัก นอนจมอยู่
ในมูตรและกรีสของตน ผู้อื่นต้องช่วยพยุงให้ลุกขึ้นช่วยป้อนอาหาร เจ้าไม่เคยเห็น
บ้างหรือ’
‘เคยเห็น พระเจ้าข้า’
‘เจ้านั้นเป็นผู้รู้เดียงสา เป็นผู้ใหญ่ ไม่ได้คิดอย่างนี้หรือว่า ‘ถึงตัวเราก็มี
ความป่วยไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความป่วยไข้ไปได้ เอาเถิด เราจะทำความดี
ทางกาย วาจา และใจ’
‘ไม่เคยคิด เพราะมัวประมาทอยู่ พระเจ้าข้า’
‘เจ้าไม่ได้ทำความดีทางกาย วาจา และใจ เพราะมัวประมาทอยู่ เอาเถิด
เราจะลงโทษเจ้าตามฐานะที่ประมาท ก็บาปกรรมนี้นั้น บิดามารดา พี่ชายน้องชาย
พี่สาวน้องสาว มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิต สมณพราหมณ์ เทวดา ไม่ได้
ทำให้เจ้าเลย เจ้าทำเองแท้ ๆ เจ้านั่นเองต้องรับผลของบาปกรรมนั้น’ (๓)
[๒๖๕] พญายมครั้นสอบสวนซักไซ้ไล่เลียงเขาถึงเทวทูตที่ ๓ แล้ว จึงสอบ
สวนซักไซ้ไล่เลียงถึงเทวทูตที่ ๔ ว่า ‘เจ้าเคยเห็นเทวทูตที่ ๔ ปรากฏในหมู่
มนุษย์บ้างหรือ’
เขาตอบว่า ‘ไม่เคยเห็น พระเจ้าข้า’
‘ในหมู่มนุษย์ พระราชารับสั่งให้จับโจรผู้ประพฤติผิดมาแล้ว ลงอาญาด้วย
ประการต่าง ๆ คือ ให้เฆี่ยนด้วยแส้บ้าง ให้เฆี่ยนด้วยหวายบ้าง ให้ตีด้วยไม้พลอง
บ้าง ตัดมือบ้าง ตัดเท้าบ้าง ตัดทั้งมือและเท้าบ้าง ตัดใบหูบ้าง ตัดจมูกบ้าง
ตัดทั้งใบหูและจมูกบ้าง วางก้อนเหล็กแดงบนศีรษะบ้าง ถลกหนังศีรษะแล้วขัดให้
ขาวเหมือนสังข์บ้าง เอาไฟยัดปากจนเลือดไหลเหมือนปากราหูบ้าง เอาผ้าพันตัว
ราดน้ำมันแล้วจุดไฟเผาบ้าง พันมือแล้วจุดไฟต่างคบบ้าง ถลกหนังตั้งแต่คอถึง
ข้อเท้าให้ลุกเดินเหยียบหนังจนล้มลงบ้าง ถลกหนังตั้งแต่คอถึงบั้นเอว ทำให้มองดู
เหมือนนุ่งผ้าคากรองบ้าง สวมปลอกเหล็กที่ข้อศอกและเข่าแล้วเสียบหลาวทั้ง ๕
ทิศเอาไฟเผาบ้าง ใช้เบ็ดเกี่ยวหนัง เนื้อ เอ็นออกมาบ้าง เฉือนเนื้อออกเป็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๑๐. เทวทูตสูตร

แว่น ๆ เหมือนเหรียญกษาปณ์บ้าง เฉือนหนัง เนื้อ เอ็น ออกเหลือไว้แต่
กระดูกบ้าง ใช้หลาวแทงช่องหูให้ทะลุถึงกันบ้าง เสียบให้ติดดินแล้วจับเขาหมุนได้
รอบบ้าง ทุบกระดูกให้แหลกแล้วถลกหนังออกเหลือไว้แต่กองเนื้อเหมือนตั่งใบไม้บ้าง
รดตัวด้วยน้ำมันที่กำลังเดือดพล่านบ้าง ให้สุนัขกัดกินจนเหลือแต่กระดูกบ้าง ให้
นอนบนหลาวทั้งเป็นบ้าง ตัดศีรษะออกด้วยดาบบ้าง เจ้าไม่เคยเห็นบ้างหรือ’
‘เคยเห็น พระเจ้าข้า’
‘เจ้านั้นเป็นผู้รู้เดียงสา เป็นผู้ใหญ่ ไม่ได้คิดอย่างนี้หรือว่า ‘ได้ยินว่า
สัตว์ผู้ทำบาปกรรมไว้เหล่านั้น จะถูกลงอาญาด้วยประการต่าง ๆ เห็นปานนี้ใน
ปัจจุบัน ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงชาติหน้า เอาเถิด เราจะทำความดีทางกาย วาจา
และใจ’
‘ไม่เคยคิด เพราะมัวประมาทอยู่ พระเจ้าข้า’
‘เจ้าไม่ได้ทำความดีทางกาย วาจา และใจ เพราะมัวประมาทอยู่ เอาเถิด
เราจะลงโทษเจ้าตามฐานะที่ประมาท ก็บาปกรรมนี้นั้น บิดามารดา พี่ชายน้องชาย
พี่สาวน้องสาว มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิต สมณพราหมณ์ เทวดา ไม่ได้ทำให้เจ้า
เจ้าทำเองแท้ ๆ เจ้านั่นเองต้องรับผลของบาปกรรมนั้น’ (๔)
[๒๖๖] พญายมครั้นสอบสวนซักไซ้ไล่เลียงเขาถึงเทวทูตที่ ๔ แล้ว จึง
สอบสวนซักไซ้ไล่เลียงถึงเทวทูตที่ ๕ ว่า ‘เจ้าไม่เคยเห็นเทวทูตที่ ๕ ปรากฏใน
หมู่มนุษย์บ้างหรือ’
เขาตอบว่า ‘ไม่เคยเห็น พระเจ้าข้า’
‘ในหมู่มนุษย์ สตรีหรือบุรุษที่ตาย ๑ วัน ๒ วัน หรือ ๓ วัน พองขึ้น
เป็นสีเขียว มีน้ำเหลืองแตกซ่าน เจ้าไม่เคยเห็นบ้างหรือ’
‘เคยเห็น พระเจ้าข้า’
‘เจ้าเป็นผู้รู้เดียงสา เป็นผู้ใหญ่ ไม่ได้คิดอย่างนี้หรือว่า ‘ถึงตัวเราก็มีความ
ตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ เอาเถิด เราจะทำความดีทางกาย วาจา
และใจ’
‘ไม่เคยคิด เพราะมัวประมาทอยู่ พระเจ้าข้า’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๑๐. เทวทูตสูตร

‘เจ้าไม่ได้ทำความดีทางกาย วาจา และใจ เพราะมัวประมาทอยู่ เอาเถิด
เราจะลงโทษเจ้าตามฐานะที่ประมาท ก็บาปกรรมนี้นั้น บิดามารดา พี่ชายน้องชาย
พี่สาวน้องสาว มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิต สมณพราหมณ์ เทวดา ไม่ได้
ทำให้เจ้าเลย เจ้าทำเองแท้ ๆ เจ้านั่นเองต้องรับผลของบาปกรรมนั้น’ (๕)
[๒๖๗] พญายมครั้นสอบสวนซักไซ้ไล่เลียงเขาถึงเทวทูตที่ ๕ นั้นแล้วก็นิ่งเฉย
นายนิรยบาลจึงลงกรรมกรณ์ชื่อเครื่องพันธนาการ ๕ อย่าง คือ ตอกตะปู
เหล็กร้อนแดงที่มือ ๒ ข้าง ที่เท้า ๒ ข้าง และที่กลางอก เขาเสวยทุกขเวทนา
กล้าอย่างหนัก เผ็ดร้อน ณ ที่นั้น แต่ยังไม่ตายตราบเท่าที่บาปกรรมนั้นยัง
ไม่สิ้นไป
นายนิรยบาลฉุดลากเขาไป เอาขวานถาก ฯลฯ
นายนิรยบาลจับเขาเอาเท้าขึ้น เอาศีรษะลง เอามีดเฉือน ฯลฯ จับเขา
เทียมรถแล่นกลับไปกลับมาบนพื้นดินอันร้อนลุกเป็นเปลว โชติช่วง ฯลฯ บังคับ
เขาขึ้นลงภูเขาถ่านเพลิงลูกใหญ่ที่ไฟลุกโชน ฯลฯ จับเขาเอาเท้าขึ้น เอาศีรษะ
ลง ทุ่มลงในโลหกุมภีอันร้อนแดงลุกเป็นแสงไฟ เขาถูกต้มเดือดจนตัวพองใน
โลหกุมภีนั้น เขาเมื่อถูกต้มเดือดจนตัวพองในโลหกุมภีนั้น บางครั้งลอยขึ้น
บางครั้งจมลง บางครั้งลอยขวาง เขาเสวยทุกขเวทนากล้าอย่างหนัก เผ็ดร้อน
อยู่ในโลหกุมภีอันร้อนแดงนั้น แต่ยังไม่ตายตราบเท่าที่บาปกรรมนั้นยังไม่สิ้นไป
นายนิรยบาลจึงทุ่มเขาลงในมหานรก
ก็มหานรกนั้น
มี ๔ มุม ๔ ประตู แบ่งออกเป็นส่วน
มีกำแพงเหล็กล้อมรอบ ครอบด้วยฝาเหล็ก
มหานรกนั้น มีพื้นเป็นเหล็ก ลุกโชนโชติช่วง
แผ่ไปไกลด้านละ ๑๐๐ โยชน์ ตั้งอยู่ทุกเมื่อ
[๒๖๘] ภิกษุทั้งหลาย เปลวไฟแห่งมหานรกนั้น ลุกโพลงขึ้นจากฝาด้าน
ทิศตะวันออกจรดฝาด้านทิศตะวันตก ลุกโพลงขึ้นจากฝาด้านทิศตะวันตกจรดฝา
ด้านทิศตะวันออก ลุกโพลงขึ้นจากฝาด้านทิศเหนือจรดฝาด้านทิศใต้ ลุกโพลงขึ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๑๐. เทวทูตสูตร

จากฝาด้านทิศใต้จรดฝาด้านทิศเหนือ ลุกโพลงขึ้นจากเบื้องล่างจรดเบื้องบน ลุก
โพลงขึ้นจากเบื้องบนจรดเบื้องล่าง เขาเสวยทุกขเวทนากล้าอย่างหนัก เผ็ดร้อน
อยู่ในมหานรกนั้น แต่ยังไม่ตายตราบเท่าที่บาปกรรมนั้นยังไม่สิ้นไป
มีสมัยที่บางครั้งบางคราว เมื่อล่วงกาลไปนาน ประตูด้านทิศตะวันออกของ
มหานรกนั้นจะถูกเปิด เขาจะวิ่งไปที่ประตูนั้นอย่างรวดเร็ว เมื่อเขาวิ่งไปอย่าง
รวดเร็วจึงถูกไฟไหม้ผิวบ้าง ไหม้หนังบ้าง ไหม้เนื้อบ้าง ไหม้เอ็นบ้าง แม้กระดูก
ทั้งหลายก็มอดไหม้เป็นควัน อวัยวะที่ถูกแยกออกแล้วจะกลับคงรูปเดิมทันที ใน
ขณะที่เขามาถึง ประตูนั้นจะถูกปิด เขาจึงเสวยทุกขเวทนากล้าอย่างหนัก เผ็ดร้อน
อยู่ในมหานรกนั้น แต่ยังไม่ตายตราบเท่าที่บาปกรรมนั้นยังไม่สิ้นไป
มีสมัยที่บางครั้งบางคราว เมื่อล่วงกาลไปนาน ประตูด้านทิศตะวันตกของ
มหานรกนั้นจะถูกเปิด ... ประตูด้านทิศเหนือจะถูกเปิด ... ประตูด้านทิศใต้จะถูก
เปิด ... เขาจะวิ่งไปที่ประตูนั้นอย่างรวดเร็ว เมื่อเขาวิ่งไปอย่างรวดเร็วจึงถูกไฟ
ไหม้ผิวบ้าง ไหม้หนังบ้าง ไหม้เนื้อบ้าง ไหม้เอ็นบ้าง แม้กระดูกทั้งหลายก็มอด
ไหม้เป็นควัน อวัยวะที่ถูกแยกออกแล้วจะกลับคงรูปเดิมทันที ในขณะที่เขามาถึง
ประตูนั้นจะถูกปิด เขาจึงเสวยทุกขเวทนากล้าอย่างหนัก เผ็ดร้อน อยู่ใน
มหานรกนั้น แต่ยังไม่ตายตราบเท่าที่บาปกรรมนั้นยังไม่สิ้นไป
มีสมัยที่บางครั้งบางคราว เมื่อล่วงกาลไปนาน ประตูมหานรกด้านทิศ
ตะวันออกจะถูกเปิด เขาจะวิ่งไปที่ประตูนั้นอย่างรวดเร็ว เมื่อเขาวิ่งไปอย่างรวดเร็ว
จึงถูกไฟไหม้ผิวบ้าง ไหม้หนังบ้าง ไหม้เนื้อบ้าง ไหม้เอ็นบ้าง แม้กระดูกทั้งหลาย
ก็มอดไหม้เป็นควัน อวัยวะที่ถูกแยกออกแล้วจะกลับคงรูปเดิมทันที (แต่)เขาจะ
ออกทางประตูนั้นได้
[๒๖๙] ภิกษุทั้งหลาย
๑. รอบ ๆ มหานรกนั้น มีคูถนรกขนาดใหญ่อยู่ เขาตกลงในคูถนรกนั้น
ในคูถนรกนั้นแล สัตว์ปากเข็มทั้งหลายย่อมเจาะผิว เจาะผิวแล้ว
จึงเจาะหนัง เจาะหนังแล้ว จึงเจาะเนื้อ เจาะเนื้อแล้ว จึงเจาะเอ็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๑๐. เทวทูตสูตร

เจาะเอ็นแล้ว จึงเจาะกระดูก เจาะกระดูกแล้ว จึงกินเยื่อในกระดูก
เขาเสวยทุกขเวทนากล้าอย่างหนัก เผ็ดร้อน อยู่ในมหานรกนั้น
แต่ยังไม่ตายตราบเท่าที่บาปกรรมนั้นยังไม่สิ้นไป
๒. รอบ ๆ คูถนรกนั้น มีกุกกุลนรก๑ขนาดใหญ่อยู่ เขาตกลงใน
กุกกุลนรกนั้น จึงเสวยทุกขเวทนากล้าอย่างหนัก เผ็ดร้อน อยู่ใน
กุกกุลนรกนั้น แต่ยังไม่ตายตราบเท่าที่บาปกรรมนั้นยังไม่สิ้นไป
๓. รอบ ๆ กุกกุลนรกนั้น มีป่างิ้วขนาดใหญ่สูง ๑ โยชน์ มีหนามยาว
๑๖ องคุลี ร้อนแดงลุกเป็นแสงไฟ นายนิรยบาลบังคับเขาขึ้นลง
ที่ป่างิ้วนั้น เขาเสวยทุกขเวทนากล้าอย่างหนัก เผ็ดร้อน อยู่ใน
ป่างิ้วนั้น แต่ยังไม่ตายตราบเท่าที่บาปกรรมนั้นยังไม่สิ้นไป
๔. รอบ ๆ ป่างิ้วนั้นมีป่าไม้ที่มีใบเป็นดาบขนาดใหญ่อยู่ เขาเข้าไป
ในป่าไม้ที่มีใบเป็นดาบนั้น ใบไม้ที่เป็นดาบถูกลมพัดแล้วจะตัดมือ
เขาบ้าง ตัดเท้าบ้าง ตัดมือและเท้าบ้าง ตัดหูบ้าง ตัดจมูกบ้าง
ตัดหูและจมูกบ้าง เขาเสวยทุกขเวทนากล้าอย่างหนัก เผ็ดร้อน
อยู่ในป่าไม้ที่มีใบเป็นดาบนั้น แต่ยังไม่ตายตราบเท่าที่บาปกรรม
นั้นยังไม่สิ้นไป
๕. รอบ ๆ ป่าไม้ที่มีใบเป็นดาบนั้นมีแม่น้ำอันมีน้ำเป็นด่างขนาดใหญ่
อยู่ เขาตกลงในแม่น้ำอันมีน้ำเป็นด่างนั้น จึงลอยไปในแม่น้ำอันมี
น้ำเป็นด่างนั้น ตามกระแสบ้าง ทวนกระแสบ้าง ตามกระแสและ
ทวนกระแสบ้าง เขาเสวยทุกขเวทนากล้าอย่างหนัก เผ็ดร้อน
อยู่ในนรกแม่น้ำอันมีน้ำเป็นด่างนั้น แต่ยังไม่ตายตราบเท่าที่
บาปกรรมนั้นยังไม่สิ้นไป


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] ๑๐. เทวทูตสูตร

[๒๗๐] ภิกษุทั้งหลาย นายนิรยบาลใช้เบ็ดเกี่ยวสัตว์นรกนั้นขึ้นมาวางไว้บนบก
แล้วถามเขาอย่างนี้ว่า ‘พ่อมหาจำเริญ เจ้าต้องการอะไร’
เขากล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าหิว เจ้าข้า’
นายนิรยบาลจึงใช้ขอเหล็กอันร้อนแดงลุกเป็นแสงไฟเกี่ยวปากให้อ้า แล้วใส่
ก้อนโลหะอันร้อนแดงลุกเป็นแสงไฟเข้าไปในปาก ก้อนโลหะนั้นจึงไหม้ริมฝีปากบ้าง
ไหม้ปากบ้าง ไหม้คอบ้าง ไหม้ท้องบ้าง พาไส้ใหญ่บ้าง ไส้น้อยบ้างของเขา
ออกมาทางทวารหนัก เขาเสวยทุกขเวทนากล้าอย่างหนัก เผ็ดร้อน อยู่ในนรกนั้น
แต่ยังไม่ตายตราบเท่าที่บาปกรรมนั้นยังไม่สิ้นไป
นายนิรยบาลถามเขาว่า ‘พ่อมหาจำเริญ เจ้าต้องการอะไร’
เขากล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้ากระหาย เจ้าข้า’
นายนิรยบาลจึงใช้ขอเหล็กอันร้อนแดงลุกเป็นแสงไฟเกี่ยวปากให้อ้า แล้ว
กรอกน้ำทองแดงอันร้อนแดงลุกเป็นแสงไฟเข้าไปในปาก น้ำทองแดงนั้นจึงลวก
ริมฝีปากบ้าง ลวกปากบ้าง ลวกคอบ้าง ลวกท้องบ้าง พาไส้ใหญ่บ้าง ไส้น้อย
บ้างของเขา ออกมาทางทวารหนัก เขาเสวยทุกขเวทนากล้าอย่างหนัก เผ็ดร้อน
อยู่ในนรกนั้น แต่ยังไม่ตายตราบเท่าที่บาปกรรมนั้นยังไม่สิ้นไป นายนิรยบาล
จึงโยนเขาเข้าไปในมหานรกอีก
ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว พญายมได้คิดว่า ‘ได้ยินว่า ชนเหล่าใดทำ
บาปอกุศลกรรมไว้ในโลก ชนเหล่านั้นจึงถูกนายนิรยบาลทรมานด้วยวิธีการต่าง ๆ
อย่างนี้ โอหนอ เราพึงได้ความเป็นมนุษย์ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พึงเสด็จอุบัติในโลก เราพึงเข้าไปเฝ้าพระองค์ พระองค์พึงแสดงธรรมแก่เรา และ
เราพึงรู้ทั่วถึงธรรมของพระองค์’
เราได้ฟังความนั้นจากสมณะหรือพราหมณ์อื่นแล้ว จึงกล่าวอย่างนี้ก็หาไม่
แต่เรากล่าวสิ่งที่เรารู้เอง เห็นเอง ทราบเองเท่านั้น”
[๒๗๑] พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้
ตรัสคาถาประพันธ์อื่นอีกต่อไปว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค] รวมพระสูตรที่มีในวรรค

“มาณพเหล่าใดอันเทวทูตตักเตือนแล้ว ยังประมาทอยู่
มาณพเหล่านั้นเข้าถึงหมู่ที่เลว
ย่อมเศร้าโศกตลอดกาลนาน
ส่วนสัตบุรุษเหล่าใดเป็นผู้สงบในโลกนี้
อันเทวทูตตักเตือนแล้ว ไม่ประมาทในอริยธรรมในกาลใด ๆ
เห็นภัยในความยึดมั่นถือมั่น
ที่เป็นบ่อเกิดแห่งความเกิดและความตาย
เพราะไม่ยึดมั่นถือมั่น จึงหลุดพ้น
ในธรรมเป็นที่สิ้นความเกิดและความตาย
สัตบุรุษเหล่านั้นจึงถึงความเกษม
มีความสุข ดับสนิทในปัจจุบัน
ล่วงพ้นเวรและภัยทุกอย่าง
ข้ามพ้นทุกข์ทั้งสิ้นได้แล้ว” ดังนี้แล๑

เทวทูตสูตรที่ ๑๐ จบ
สุญญตวรรคที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. จูฬสุญญตสูตร ๒. มหาสุญญตสูตร
๓. อัจฉริยัพภูตสูตร ๔. พักกุลัตเถรัจฉริยัพภูตสูตร
๕. ทันตภูมิสูตร ๖. ภูมิชสูตร
๗. อนุรุทธสูตร ๘. อุปักกิเลสสูตร
๙. พาลปัณฑิตสูตร ๑๐. เทวทูตสูตร


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑. ภัทเทกรัตตสูตร

๔. วิภังควรรค
หมวดว่าด้วยการจำแนกธรรม
๑. ภัทเทกรัตตสูตร
ว่าด้วยผู้มีราตรีเดียวเจริญ

[๒๗๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียก
ภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอุทเทส๑และวิภังค์๒ของบุคคลผู้มีราตรีเดียว
เจริญ๓แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังอุทเทสและวิภังค์นั้น จงใส่ใจให้ดี เรา
จักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสคาถาประพันธ์นี้ว่า
“บุคคลไม่ควรคำนึงถึง๔สิ่งที่ล่วงไปแล้ว๕
ไม่ควรหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง
สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว
และสิ่งใดที่ยังไม่มาถึง สิ่งนั้นก็เป็นอันยังไม่มาถึง


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑. ภัทเทกรัตตสูตร

ส่วนบุคคลใดเห็นแจ้งธรรมที่เป็นปัจจุบัน
ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้น ๆ
บุคคลนั้นควรเจริญธรรมนั้นให้แจ่มแจ้ง
บุคคลควรทำความเพียรตั้งแต่วันนี้ทีเดียว
ใครเล่าจะรู้ว่า ความตายจักมีในวันพรุ่งนี้
เพราะว่าความผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนามากนั้น
ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย
พระมุนีผู้สงบเรียกบุคคลผู้มีความเพียร
ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน
ซึ่งมีปกติอยู่อย่างนี้นั้นแลว่า ‘ผู้มีราตรีเดียวเจริญ”๑
[๒๗๓] บุคคลคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เป็นอย่างไร
คือ บุคคลดำเนินไปตามความเพลิดเพลิน๒ที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต
เราได้มีรูปอย่างนี้”
ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต เราได้มีเวทนา
อย่างนี้”
ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต เราได้มีสัญญา
อย่างนี้”
ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต เราได้มีสังขาร
อย่างนี้”
ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต เราได้มีวิญญาณ
อย่างนี้”๓
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เป็นอย่างนี้แล


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑. ภัทเทกรัตตสูตร

บุคคลไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เป็นอย่างไร
คือ บุคคลไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต เรา
ได้มีรูปอย่างนี้”
ไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต เราได้มีเวทนา
อย่างนี้”
ไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต เราได้มีสัญญา
อย่างนี้”
ไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต เราได้มีสังขาร
อย่างนี้”
ไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต เราได้มี
วิญญาณอย่างนี้”
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เป็นอย่างนี้แล
[๒๗๔] บุคคลหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง เป็นอย่างไร
คือ บุคคลดำเนินไปตามความเพลิดเพลินในเบญจขันธ์ว่า “ในอนาคต เรา
พึงมีรูปอย่างนี้”
ในอนาคต เราพึงมีเวทนาอย่างนี้ ฯลฯ
ในอนาคต เราพึงมีสัญญาอย่างนี้ ฯลฯ
ในอนาคต เราพึงมีสังขารอย่างนี้ ฯลฯ
ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินในเบญจขันธ์ว่า “ในอนาคต เราพึงมี
วิญญาณอย่างนี้”
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง เป็นอย่างนี้แล
บุคคลไม่หวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง เป็นอย่างไร
คือ บุคคลไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินในเบญจขันธ์ว่า “ในอนาคต
เราพึงมีรูปอย่างนี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑. ภัทเทกรัตตสูตร

ในอนาคต เราพึงมีเวทนาอย่างนี้ ฯลฯ
ในอนาคต เราพึงมีสัญญาอย่างนี้ ฯลฯ
ในอนาคต เราพึงมีสังขารอย่างนี้ ฯลฯ
ไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินในเบญจขันธ์ว่า “ในอนาคต เราพึงมี
วิญญาณอย่างนี้”
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่หวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง เป็นอย่างนี้แล
[๒๗๕] บุคคลง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างไร
คือ ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของ
พระอริยะ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาด
ในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ พิจารณาเห็นรูปโดย
ความเป็นอัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตามีรูปบ้าง พิจารณาเห็นรูปในอัตตาบ้าง
พิจารณาเห็นอัตตาในรูปบ้าง
พิจารณาเห็นเวทนา ฯลฯ
พิจารณาเห็นสัญญา ฯลฯ
พิจารณาเห็นสังขาร ฯลฯ
พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตามีวิญญาณ
บ้าง พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณบ้าง
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างนี้แล
บุคคลไม่ง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ผู้ได้สดับ ได้เห็นพระอริยะ ฉลาดในธรรมของ
พระอริยะ ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดในธรรม
ของสัตบุรุษ ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ไม่พิจารณาเห็นรูปโดยความ
เป็นอัตตาบ้าง ไม่พิจารณาเห็นอัตตามีรูปบ้าง ไม่พิจารณาเห็นรูปในอัตตาบ้าง ไม่
พิจารณาเห็นอัตตาในรูปบ้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑. ภัทเทกรัตตสูตร

ไม่พิจารณาเห็นเวทนา ฯลฯ
ไม่พิจารณาเห็นสัญญา ฯลฯ
ไม่พิจารณาเห็นสังขาร ฯลฯ
ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่พิจารณาเห็นอัตตามี
วิญญาณบ้าง ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง ไม่พิจารณาเห็นอัตตาใน
วิญญาณบ้าง
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่ง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างนี้แล
บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
ไม่ควรหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง
สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว
และสิ่งใดที่ยังไม่มาถึง สิ่งนั้นก็เป็นอันยังไม่มาถึง
ส่วนบุคคลใดเห็นแจ้งธรรมที่เป็นปัจจุบัน
ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้น ๆ
บุคคลนั้นควรเจริญธรรมนั้นให้แจ่มแจ้ง
บุคคลควรทำความเพียรตั้งแต่วันนี้ทีเดียว
ใครเล่าจะรู้ว่า ความตายจักมีในวันพรุ่งนี้
เพราะว่าความผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนามากนั้น
ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย
พระมุนีผู้สงบเรียกบุคคลผู้มีความเพียร
ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน
ซึ่งมีปกติอยู่อย่างนี้นั้นแลว่า ‘ผู้มีราตรีเดียวเจริญ”
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘เราจักแสดงอุทเทสและวิภังค์
ของบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญแก่เธอทั้งหลาย’ เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น ด้วยประการ
ฉะนี้”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
ภัทเทกรัตตสูตรที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]
๒. อานันทภัทเทกรัตตสูตร

๒. อานันทภัทเทกรัตตสูตร
ว่าด้วยพระอานนท์แสดงเรื่องผู้มีราตรีเดียวเจริญ

[๒๗๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้นแล ท่านพระอานนท์ชี้แจงให้ภิกษุ
ทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า
ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา และกล่าวอุทเทสและวิภังค์แห่งบุคคล
ผู้มีราตรีเดียวเจริญอยู่ในหอฉัน
ครั้นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้น๑ เข้าไปยังหอฉัน
แล้วประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้ ได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย ใครหนอชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ
เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา และ
กล่าวอุทเทสและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญอยู่ในหอฉัน”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระอานนท์ชี้แจงให้
ภิกษุทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า
ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา และได้กล่าวอุทเทสและวิภังค์ของ
บุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญอยู่ในหอฉัน พระพุทธเจ้าข้า”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “อานนท์
เธอชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้
อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา และได้กล่าวอุทเทส
และวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญไว้อย่างไร”
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ชี้แจงให้
ภิกษุทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า
ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาอย่างนี้ และได้กล่าวอุทเทสและวิภังค์
ของบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญว่า


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]
๒. อานันทภัทเทกรัตตสูตร

‘บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
ไม่ควรหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง
สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว
และสิ่งใดที่ยังไม่มาถึง สิ่งนั้นก็เป็นอันยังไม่มาถึง
ส่วนบุคคลใดเห็นแจ้งธรรมที่เป็นปัจจุบัน
ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้น ๆ
บุคคลนั้นควรเจริญธรรมนั้นให้แจ่มแจ้ง
บุคคลควรทำความเพียรตั้งแต่วันนี้ทีเดียว
ใครเล่าจะรู้ว่า ความตายจักมีในวันพรุ่งนี้
เพราะว่าความผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนามากนั้น
ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย
พระมุนีผู้สงบเรียกบุคคลผู้มีความเพียร
ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน
ซึ่งมีปกติอยู่อย่างนี้นั้นแลว่า ‘ผู้มีราตรีเดียวเจริญ”
[๒๗๗] บุคคลคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เป็นอย่างไร
คือ บุคคลดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต เราได้
มีรูปอย่างนี้”
ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต เราได้มีเวทนา
อย่างนี้”
ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต เราได้มีสัญญา
อย่างนี้”
ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต เราได้มีสังขาร
อย่างนี้”
ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต เราได้มีวิญญาณ
อย่างนี้”
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เป็นอย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]
๒. อานันทภัทเทกรัตตสูตร

บุคคลไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เป็นอย่างไร
คือ บุคคลไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต เรา
ได้มีรูปอย่างนี้”
ไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต เราได้มีเวทนา
อย่างนี้”
ไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต เราได้มีสัญญา
อย่างนี้”
ไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต เราได้มีสังขาร
อย่างนี้”
ไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต เราได้มี
วิญญาณอย่างนี้”
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เป็นอย่างนี้แล
บุคคลหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง เป็นอย่างไร
คือ บุคคลดำเนินไปตามความเพลิดเพลินในเบญจขันธ์ว่า “ในอนาคต เรา
พึงมีรูปอย่างนี้”
ในอนาคต เราพึงมีเวทนาอย่างนี้ ฯลฯ
ในอนาคต เราพึงมีสัญญาอย่างนี้ ฯลฯ
ในอนาคต เราพึงมีสังขารอย่างนี้ ฯลฯ
ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินในเบญจขันธ์ว่า “ในอนาคต เราพึงมี
วิญญาณอย่างนี้”
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง เป็นอย่างนี้แล
บุคคลไม่หวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง เป็นอย่างไร
คือ บุคคลไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินในเบญจขันธ์ว่า “ในอนาคต
เราพึงมีรูปอย่างนี้”
ในอนาคต เราพึงมีเวทนาอย่างนี้ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]
๒. อานันทภัทเทกรัตตสูตร

ในอนาคต เราพึงมีสัญญาอย่างนี้ ฯลฯ
ในอนาคต เราพึงมีสังขารอย่างนี้ ฯลฯ
ไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินในเบญจขันธ์ว่า “ในอนาคต เราพึงมี
วิญญาณอย่างนี้”
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลไม่หวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง เป็นอย่างนี้แล
บุคคลง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างไร
คือ ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของ
พระอริยะ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาด
ในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ พิจารณาเห็นรูปโดย
ความเป็นอัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตามีรูปบ้าง พิจารณาเห็นรูปในอัตตาบ้าง
พิจารณาเห็นอัตตาในรูปบ้าง
พิจารณาเห็นเวทนา ฯลฯ
พิจารณาเห็นสัญญา ฯลฯ
พิจารณาเห็นสังขาร ฯลฯ
พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตามีวิญญาณ
บ้าง พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณบ้าง
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างนี้แล
บุคคลไม่ง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ ผู้ได้สดับ ได้เห็นพระอริยะ ฉลาดใน
ธรรมของพระอริยะ ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาด
ในธรรมของสัตบุรุษ ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ไม่พิจารณาเห็นรูปโดย
ความเป็นอัตตาบ้าง ไม่พิจารณาเห็นอัตตามีรูปบ้าง ไม่พิจารณาเห็นรูปในอัตตา
บ้าง ไม่พิจารณาเห็นอัตตาในรูปบ้าง
ไม่พิจารณาเห็นเวทนา ฯลฯ
ไม่พิจารณาเห็นสัญญา ฯลฯ
ไม่พิจารณาเห็นสังขาร ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]
๒. อานันทภัทเทกรัตตสูตร

ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่พิจารณาเห็นอัตตามี
วิญญาณบ้าง ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง ไม่พิจารณาเห็นอัตตาใน
วิญญาณบ้าง
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลไม่ง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างนี้แล
บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
ไม่ควรหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง
สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว
และสิ่งใดที่ยังไม่มาถึง สิ่งนั้นก็เป็นอันยังไม่มาถึง
ส่วนบุคคลใดเห็นแจ้งธรรมที่เป็นปัจจุบัน
ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้น ๆ
บุคคลนั้นควรเจริญธรรมนั้นให้แจ่มแจ้ง
บุคคลควรทำความเพียรตั้งแต่วันนี้ทีเดียว
ใครเล่าจะรู้ว่า ความตายจักมีในวันพรุ่งนี้
เพราะว่าความผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนามากนั้น
ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย
พระมุนีผู้สงบเรียกบุคคลผู้มีความเพียร
ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน
ซึ่งมีปกติอยู่อย่างนี้นั้นแลว่า ‘ผู้มีราตรีเดียวเจริญ”
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้
อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ด้วยธรรมีกถาอย่างนี้ และได้กล่าวอุทเทสและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญ”
[๒๗๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ อานนท์ เธอชี้แจงให้ภิกษุ
ทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า
ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา และได้กล่าวอุทเทสและวิภังค์ของ
บุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]
๒. อานันทภัทเทกรัตตสูตร

‘บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
ฯลฯ
พระมุนีผู้สงบเรียกบุคคล
ฯลฯ
นั้นแลว่า ‘ผู้มีราตรีเดียวเจริญ”
บุคคลคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เป็นอย่างไร
ฯลฯ
อานนท์ บุคคลคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงมาแล้ว เป็นอย่างนี้แล
บุคคลไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เป็นอย่างไร
ฯลฯ
อานนท์ บุคคลไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เป็นอย่างนี้แล
บุคคลหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง เป็นอย่างไร
ฯลฯ
อานนท์ บุคคลหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง เป็นอย่างนี้แล
บุคคลไม่หวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง เป็นอย่างไร
ฯลฯ
อานนท์ บุคคลไม่หวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง เป็นอย่างนี้แล
บุคคลง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างไร
ฯลฯ
อานนท์ บุคคลง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างนี้แล
บุคคลไม่ง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างไร
ฯลฯ
อานนท์ บุคคลไม่ง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างนี้แล”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]
๓. มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร

พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัส
คาถาประพันธ์อื่นอีกต่อไปว่า
“บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
ฯลฯ
พระมุนีผู้สงบเรียกบุคคล
ฯลฯ
นั้นแลว่า ‘ผู้มีราตรีเดียวเจริญ”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์มีใจยินดีชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

อานันทภัทเทกรัตตสูตรที่ ๒ จบ

๓. มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร
ว่าด้วยพระมหากัจจานะแสดงเรื่องผู้มีราตรีเดียวเจริญ

[๒๗๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ตโปทาราม เขตกรุงราชคฤห์
ครั้งนั้นแล ท่านพระสมิทธิลุกขึ้นในราตรีตอนใกล้รุ่ง เข้าไปยังสระตโปทะเพื่อสรงน้ำ
สรงเสร็จแล้วได้กลับมายืนนุ่งผ้าผืนเดียวผึ่งตัวให้แห้งอยู่ ขณะนั้น เมื่อราตรีผ่านไป๑
เทวดาองค์หนึ่ง มีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วสระตโปทะ เข้าไปหา
ท่านพระสมิทธิถึงที่อยู่ แล้วยืน ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับท่านพระสมิทธิอย่างนี้
ว่า “ภิกษุ ท่านจำอุทเทสและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญได้ไหม”
ท่านพระสมิทธิกล่าวว่า “อาตมภาพจำไม่ได้ ส่วนท่านจำอุทเทสและวิภังค์
ของบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญได้ไหม”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]
๓. มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร

‘แม้ข้าพเจ้าก็จำไม่ได้ อนึ่ง ท่านจำคาถาที่แสดงถึงบุคคลผู้มีราตรีเดียว
เจริญได้ไหม”
“อาตมภาพจำไม่ได้ ส่วนท่านจำได้ไหม”
“ภิกษุ แม้ข้าพเจ้าก็จำไม่ได้ ขอท่านจงศึกษา เล่าเรียน และจำอุทเทส
และวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญเถิด เพราะว่าอุทเทสและวิภังค์ของบุคคล
ผู้มีราตรีเดียวเจริญ ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งการประพฤติ
พรหมจรรย์”
เทวดานั้นกล่าวดังนี้แล้ว ก็หายตัวไป ณ ที่นั้นเอง
[๒๘๐] ครั้งนั้น เมื่อล่วงราตรีนั้นไป ท่านพระสมิทธิได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เมื่อคืนนี้ตอนใกล้รุ่ง ข้าพระองค์
ลุกขึ้นเข้าไปยังสระตโปทะเพื่อสรงน้ำ สรงเสร็จแล้ว ได้กลับมายืนนุ่งผ้าผืนเดียว
ผึ่งตัวให้แห้งอยู่ ขณะนั้น เมื่อราตรีผ่านไป เทวดาองค์หนึ่ง มีวรรณะงดงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วสระตโปทะ เข้ามาหาข้าพระองค์ถึงที่อยู่ แล้วยืน ณ ที่สมควร
ได้กล่าวกับข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ‘ภิกษุ ท่านจำอุทเทสและวิภังค์ของบุคคลผู้มี
ราตรีเดียวเจริญได้ไหม’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเทวดานั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์ได้กล่าว
กับเทวดานั้นว่า ‘ผู้มีอายุ อาตมภาพจำไม่ได้ ส่วนท่านจำได้ไหม’
เทวดากล่าวว่า ‘แม้ข้าพเจ้าก็จำไม่ได้ อนึ่ง ท่านจำคาถาอันแสดงถึงบุคคลผู้
มีราตรีเดียวเจริญได้ไหม’
ข้าพระองค์ตอบว่า ‘อาตมภาพจำไม่ได้ ส่วนท่านจำได้ไหม’
เทวดากล่าวว่า ‘ภิกษุ แม้ข้าพเจ้าก็จำไม่ได้ ขอท่านจงศึกษา เล่าเรียน
และจำอุทเทสและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญเถิด เพราะว่าอุทเทสและ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]
๓. มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร

วิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญ ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งการ
ประพฤติพรหมจรรย์‘๑
เทวดานั้นกล่าวดังนี้แล้ว ก็หายตัวไป ณ ที่นั้นเอง
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดง
อุทเทสและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญแก่ข้าพระองค์เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เรา
จักกล่าว”
ท่านพระสมิทธิทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสคาถา
ประพันธ์นี้ว่า
“บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
ไม่ควรหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง
สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว
และสิ่งใดที่ยังไม่มาถึง สิ่งนั้นก็เป็นอันยังไม่มาถึง
ส่วนบุคคลใดเห็นแจ้งธรรมที่เป็นปัจจุบัน
ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้น ๆ
บุคคลนั้นควรเจริญธรรมนั้นให้แจ่มแจ้ง
บุคคลควรทำความเพียรตั้งแต่วันนี้ทีเดียว
ใครเล่าจะรู้ว่า ความตายจักมีในวันพรุ่งนี้
เพราะว่าความผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนามากนั้น
ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย
พระมุนีผู้สงบเรียกบุคคลผู้มีความเพียร
ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน
ซึ่งมีปกติอยู่อย่างนี้นั้นแลว่า ‘ผู้มีราตรีเดียวเจริญ”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]
๓. มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร

พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาครั้นตรัสคาถาประพันธ์นี้แล้ว ทรงลุกจาก
พุทธอาสน์เสด็จเข้าไปยังที่ประทับ
ครั้งนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จจากไปไม่นาน ภิกษุเหล่านั้นได้เกิดความ
สงสัยว่า “ท่านทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุทเทสโดยย่อนี้แก่เรา
ทั้งหลายว่า
‘บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
ไม่ควรหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง
สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว
และสิ่งใดที่ยังไม่มาถึง สิ่งนั้นก็เป็นอันยังไม่มาถึง
ส่วนบุคคลใดเห็นแจ้งธรรมที่เป็นปัจจุบัน
ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้น ๆ
บุคคลนั้นควรเจริญธรรมนั้นให้แจ่มแจ้ง
บุคคลควรทำความเพียรตั้งแต่วันนี้ทีเดียว
ใครเล่าจะรู้ว่า ความตายจักมีในวันพรุ่งนี้
เพราะว่าความผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนามากนั้น
ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย
พระมุนีผู้สงบเรียกบุคคลผู้มีความเพียร
ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน
ซึ่งมีปกติอยู่อย่างนี้นั้นแลว่า ‘ผู้มีราตรีเดียวเจริญ’
แล้วไม่ทรงชี้แจงเนื้อความให้พิสดาร ทรงลุกจากพุทธอาสน์เสด็จเข้าไปยังที่
ประทับ
ใครเล่าหนอ จะพึงชี้แจงเนื้อความแห่งอุทเทสโดยย่อที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้
ไม่ทรงชี้แจงโดยพิสดารให้พิสดารได้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]
๓. มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร

ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นเกิดความคิดขึ้นว่า “ท่านพระมหากัจจานะนี้เป็นผู้ที่
พระศาสดาทรงยกย่อง ทั้งเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็สรรเสริญแล้ว และท่าน
พระมหากัจจานะก็สามารถจะชี้แจงเนื้อความแห่งอุทเทสโดยย่อที่พระผู้มีพระภาค
ทรงแสดงไว้ ไม่ทรงชี้แจงโดยพิสดารให้พิสดารได้ ทางที่ดี เราทั้งหลายควรเข้าไป
หาท่านพระมหากัจจานะถึงที่อยู่ แล้วสอบถามเนื้อความนี้กับท่านพระมหากัจจานะ”
[๒๘๑] ลำดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นได้เข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะถึงที่อยู่
ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
ได้กล่าวกับท่านพระมหากัจจานะว่า “ท่านกัจจานะ พระผู้มีพระภาคทรงแสดง
อุทเทสโดยย่อนี้แก่เราทั้งหลายว่า
‘บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
ฯลฯ
พระมุนีผู้สงบเรียกบุคคล
ฯลฯ
นั้นแลว่า ‘ผู้มีราตรีเดียวเจริญ’
แล้วไม่ทรงชี้แจงเนื้อความโดยพิสดาร ทรงลุกจากพุทธอาสน์เสด็จเข้าไปยังที่
ประทับ
เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จจากไปไม่นาน เราทั้งหลายได้เกิดความสงสัยว่า
‘พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุทเทสโดยย่อนี้แก่เราทั้งหลายว่า
‘บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
ฯลฯ
พระมุนีผู้สงบเรียกบุคคล
ฯลฯ
นั้นแลว่า ‘ผู้มีราตรีเดียวเจริญ’
แล้วไม่ทรงชี้แจงเนื้อความโดยพิสดาร ทรงลุกจากพุทธอาสน์เสด็จเข้าไปยังที่
ประทับ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]
๓. มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร

ใครเล่าหนอ จะพึงชี้แจงเนื้อความแห่งอุทเทสโดยย่อที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้
ไม่ทรงชี้แจงโดยพิสดารให้พิสดารได้’
ท่านกัจจานะ เราทั้งหลายคิดว่า ‘ท่านมหากัจจานะนี้เป็นผู้ที่พระศาสดาทรง
ยกย่อง ทั้งเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็สรรเสริญแล้ว และท่านมหากัจจานะก็
สามารถจะชี้แจงเนื้อความแห่งอุทเทสโดยย่อที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้ ไม่ทรง
ชี้แจงโดยพิสดารให้พิสดารได้ ทางที่ดี เราทั้งหลายควรเข้าไปหาท่านมหากัจจานะ
ถึงที่อยู่ แล้วสอบถามเนื้อความนี้กับท่านมหากัจจานะ’ ขอท่านมหากัจจานะ
จงชี้แจงเถิด”
ท่านพระมหากัจจานะจึงตอบว่า “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษ
ผู้ต้องการแก่นไม้ เที่ยวเสาะแสวงหาแก่นไม้อยู่ ละเลยโคนและลำต้นของต้นไม้
ใหญ่ซึ่งมีแก่นไป เขาเข้าใจว่าแก่นไม้ต้องแสวงหาที่กิ่งและใบ แม้ฉันใด ข้ออุปไมย
นี้ก็ฉันนั้น เมื่อพระศาสดาทรงปรากฏเฉพาะหน้าท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายก็ละ
เลยพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นไป และพึงเข้าใจเนื้อความนั้นว่าต้องสอบถามกับ
กระผม แท้จริง พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงรู้สิ่งที่ควรรู้ ทรงเห็นสิ่งที่ควรเห็น
เป็นผู้มีพระจักษุ มีพระญาณ มีธรรม เป็นพรหม เป็นผู้เผยแผ่ ประกาศ ขยาย
เนื้อความ เป็นผู้ให้อมตธรรม เป็นเจ้าของธรรม เป็นพระตถาคต และเวลานี้ก็
เป็นเวลาอันสมควรที่ท่านทั้งหลายจะทูลถามเนื้อความนี้กับพระองค์ พระผู้มี
พระภาคของเราทั้งหลายทรงตอบอย่างใด ท่านทั้งหลายพึงทรงจำไว้อย่างนั้นเถิด”
ภิกษุเหล่านั้นได้กล่าวตอบว่า “ท่านกัจจานะ เป็นความจริงที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงรู้สิ่งที่ควรรู้ ทรงเห็นสิ่งที่ควรเห็น เป็นผู้มีพระจักษุ มีพระญาณ มีธรรม
เป็นพรหม เป็นผู้เผยแผ่ ประกาศ ขยายเนื้อความ เป็นผู้ให้อมตธรรม เป็น
เจ้าของธรรม เป็นพระตถาคต และเวลานี้ก็เป็นเวลาอันสมควรที่เราทั้งหลายจะทูล
ถามเนื้อความนี้กับพระองค์ พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลายทรงตอบอย่างใด เรา
ทั้งหลายจะพึงทรงจำเนื้อความนั้นไว้อย่างนั้น อนึ่ง ท่านพระมหากัจจานะเป็นผู้ที่
พระศาสดาทรงยกย่อง ทั้งเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็สรรเสริญแล้ว และท่าน
พระมหากัจจานะสามารถจะชี้แจงเนื้อความแห่งอุทเทสโดยย่อที่พระผู้มีพระภาคทรง
แสดงไว้ ไม่ทรงชี้แจงโดยพิสดารให้พิสดารได้ ขอท่านพระมหากัจจานะไม่ต้องหนักใจ
ชี้แจงเถิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]
๓. มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร

ท่านพระมหากัจจานะกล่าวว่า “ถ้าเช่นนั้น ท่านทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี
กระผมจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว
ท่านพระมหากัจจานะจึงได้กล่าวว่า “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาค
ทรงแสดงอุทเทสโดยย่อไว้ว่า
‘บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
ฯลฯ
พระมุนีผู้สงบเรียกบุคคล
ฯลฯ
นั้นแลว่า ‘ผู้มีราตรีเดียวเจริญ’
แล้วไม่ทรงชี้แจงเนื้อความโดยพิสดาร ทรงลุกจากพุทธอาสน์เสด็จเข้าไปยังที่
ประทับ
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย กระผมรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งอุทเทสโดยย่อที่พระผู้มี
พระภาคทรงแสดงไว้ ไม่ทรงชี้แจงโดยพิสดาร โดยพิสดารอย่างนี้
[๒๘๒] บุคคลคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เป็นอย่างไร
คือ วิญญาณมีความผูกพันกับฉันทราคะในจักขุและรูปนั้นว่า ‘ในอดีต เรามี
จักขุอย่างนี้ มีรูปอย่างนี้’ เพราะวิญญาณมีความผูกพันกับฉันทราคะ บุคคลจึง
ยินดีจักขุและรูปนั้น บุคคลเมื่อยินดีจักขุและรูปนั้น จึงชื่อว่าคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
วิญญาณมีความผูกพันกับฉันทราคะในโสตะและเสียงนั้นว่า ‘ในอดีต เรามี
โสตะอย่างนี้ มีเสียงอย่างนี้’ ...
วิญญาณมีความผูกพันกับฉันทราคะในฆานะและกลิ่นนั้นว่า ‘ในอดีต เรามี
ฆานะอย่างนี้ มีกลิ่นอย่างนี้’ ...
วิญญาณมีความผูกพันกับฉันทราคะในชิวหาและรสนั้นว่า ‘ในอดีต เรามี
ชิวหาอย่างนี้ มีรสอย่างนี้’ ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]
๓. มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร

วิญญาณมีความผูกพันกับฉันทราคะในกายและโผฏฐัพพะนั้นว่า ‘ในอดีต
เรามีกายอย่างนี้ มีโผฏฐัพพะอย่างนี้’ ...
วิญญาณมีความผูกพันกับฉันทราคะในมโนและธรรมารมณ์นั้นว่า ‘ในอดีต
เรามีมโนอย่างนี้ มีธรรมารมณ์อย่างนี้’ เพราะวิญญาณมีความผูกพันกับฉันทราคะ
บุคคลจึงยินดีมโนและธรรมารมณ์นั้น บุคคลเมื่อยินดีมโนและธรรมารมณ์นั้นจึงชื่อ
ว่าคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เป็นอย่างนี้แล
บุคคลไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เป็นอย่างไร
คือ วิญญาณไม่มีความผูกพันกับฉันทราคะในจักขุและรูปนั้นว่า ‘ในอดีต
เรามีจักขุอย่างนี้ มีรูปอย่างนี้’ เพราะวิญญาณไม่มีความผูกพันกับฉันทราคะ
บุคคลจึงไม่ยินดีจักขุและรูปนั้น บุคคลเมื่อไม่ยินดีจักขุและรูปนั้น จึงชื่อว่าไม่คำนึง
ถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
วิญญาณไม่มีความผูกพันกับฉันทราคะในโสตะและเสียงนั้นว่า ‘ในอดีต เรามี
โสตะอย่างนี้ มีเสียงอย่างนี้’ ...
วิญญาณไม่มีความผูกพันกับฉันทราคะในฆานะและกลิ่นนั้นว่า ‘ในอดีต เรา
มีฆานะอย่างนี้ มีกลิ่นอย่างนี้’ ...
วิญญาณไม่มีความผูกพันกับฉันทราคะในชิวหาและรสนั้นว่า ‘ในอดีต เรามี
ชิวหาอย่างนี้ มีรสอย่างนี้’ ...
วิญญาณไม่มีความผูกพันกับฉันทราคะในกายและโผฏฐัพพะนั้นว่า ‘ในอดีต
เรามีกายอย่างนี้ มีโผฏฐัพพะอย่างนี้’ ...
วิญญาณไม่มีความผูกพันกับฉันทราคะในมโนและธรรมารมณ์นั้นว่า ‘ในอดีต
เรามีมโน๑อย่างนี้ มีธรรมารมณ์๒อย่างนี้’ เพราะวิญญาณไม่มีความผูกพันกับ
ฉันทราคะ บุคคลจึงไม่ยินดีมโนและธรรมารมณ์นั้น บุคคลเมื่อไม่ยินดีมโนและ
ธรรมารมณ์นั้น จึงชื่อว่าไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]
๓. มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เป็นอย่างนี้แล
[๒๘๓] บุคคลหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง เป็นอย่างไร
คือ บุคคลตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ‘ในอนาคต เราพึงมีจักขุอย่างนี้
มีรูปอย่างนี้’ เพราะความตั้งจิตเป็นปัจจัย บุคคลจึงยินดีจักขุและรูปนั้น บุคคล
เมื่อยินดีจักขุและรูปนั้น จึงชื่อว่าหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง
ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ‘ในอนาคต เราพึงมีโสตะอย่างนี้ มีเสียง
อย่างนี้’ ...
ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ‘ในอนาคต เราพึงมีฆานะอย่างนี้ มีกลิ่น
อย่างนี้’ ...
ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ‘ในอนาคต เราพึงมีชิวหาอย่างนี้ มีรส
อย่างนี้’ ...
ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ‘ในอนาคต เราพึงมีกายอย่างนี้ มี
โผฏฐัพพะอย่างนี้’ ...
ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ‘ในอนาคต เราพึงมีมโนอย่างนี้ มี
ธรรมารมณ์อย่างนี้’ เพราะความตั้งจิตเป็นปัจจัย บุคคลจึงยินดีมโนและธรรมารมณ์
นั้น บุคคคลเมื่อยินดีมโนและธรรมารมณ์นั้น จึงชื่อว่าหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง เป็นอย่างนี้แล
บุคคลไม่หวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง เป็นอย่างไร
คือ บุคคลไม่ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ‘ในอนาคต เราพึงมีจักขุอย่างนี้
มีรูปอย่างนี้’ เพราะความไม่ตั้งจิตเป็นปัจจัย บุคคลจึงไม่ยินดีจักขุและรูปนั้น
บุคคลเมื่อไม่ยินดีจักขุและรูปนั้น จึงชื่อว่าไม่หวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง
ไม่ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ‘ในอนาคต เราพึงมีโสตะอย่างนี้ มี
เสียงอย่างนี้’ ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]
๓. มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร

ไม่ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ‘ในอนาคต เราพึงมีฆานะอย่างนี้ มี
กลิ่นอย่างนี้’ ...
ไม่ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ‘ในอนาคต เราพึงมีชิวหาอย่างนี้ มี
รสอย่างนี้’ ...
ไม่ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ‘ในอนาคต เราพึงมีกายอย่างนี้ มี
โผฏฐัพพะอย่างนี้’ ...
ไม่ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ‘ในอนาคต เราพึงมีมโนอย่างนี้ มี
ธรรมารมณ์อย่างนี้’ เพราะความไม่ตั้งจิตเป็นปัจจัย บุคคลจึงไม่ยินดีมโนและ
ธรรมารมณ์นั้น บุคคลเมื่อไม่ยินดีมโนและธรรมารมณ์นั้น จึงชื่อว่าไม่หวังสิ่งที่ยัง
ไม่มาถึง
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลไม่หวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง เป็นอย่างนี้แล
[๒๘๔] บุคคลง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างไร
คือ วิญญาณมีความผูกพันกับฉันทราคะในจักขุและรูปทั้ง ๒ อย่างที่เป็น
ปัจจุบันนั้น เพราะวิญญาณมีความผูกพันกับฉันทราคะ บุคคลจึงยินดีจักขุและรูปนั้น
บุคคลเมื่อยินดีจักขุและรูป จึงชื่อว่าง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน
วิญญาณมีความผูกพันกับฉันทราคะในโสตะและเสียง ...
วิญญาณมีความผูกพันกับฉันทราคะในฆานะและกลิ่น ...
วิญญาณมีความผูกพันกับฉันทราคะในชิวหาและรส ...
วิญญาณมีความผูกพันกับฉันทราคะในกายและโผฏฐัพพะ ...
วิญญาณมีความผูกพันกับฉันทราคะในมโนและธรรมารมณ์ทั้ง ๒ อย่างที่
เป็นปัจจุบันนั้นเพราะวิญญาณมีความผูกพันกับฉันทราคะ บุคคลจึงยินดีมโนและ
ธรรมารมณ์นั้น บุคคลเมื่อยินดีมโนและธรรมารมณ์นั้น จึงชื่อว่าง่อนแง่นในธรรมที่
เป็นปัจจุบัน
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]
๓. มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร

บุคคลไม่ง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างไร
คือ วิญญาณไม่มีความผูกพันกับฉันทราคะในจักขุและรูปทั้ง ๒ อย่างที่เป็น
ปัจจุบันนั้น เพราะวิญญาณไม่มีความผูกพันกับฉันทราคะ บุคคลจึงไม่ยินดีจักขุ
และรูปนั้น บุคคลเมื่อไม่ยินดีจักขุและรูปนั้น จึงชื่อว่าไม่ง่อนแง่นในธรรมที่เป็น
ปัจจุบัน
วิญญาณไม่มีความผูกพันกับฉันทราคะในโสตะและเสียง ...
วิญญาณไม่มีความผูกพันกับฉันทราคะในฆานะและกลิ่น ...
วิญญาณไม่มีความผูกพันกับฉันทราคะในชิวหาและรส ...
วิญญาณไม่มีความผูกพันกับฉันทราคะในกายและโผฏฐัพพะ ...
วิญญาณไม่มีความผูกพันกับฉันทราคะในมโนและธรรมารมณ์ทั้ง ๒ อย่างที่
เป็นปัจจุบันนั้น เพราะวิญญาณไม่มีความผูกพันกับฉันทราคะ บุคคลจึงไม่ยินดี
มโนและธรรมารมณ์นั้น บุคคลเมื่อไม่ยินดีมโนและธรรมารมณ์นั้น จึงชื่อว่าไม่
ง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลไม่ง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างนี้แล
[๒๘๕] ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุทเทสโดยย่อไว้แก่
เราทั้งหลายว่า
‘บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
ฯลฯ
พระมุนีผู้สงบเรียกบุคคล
ฯลฯ
นั้นแลว่า ‘ผู้มีราตรีเดียวเจริญ’
แล้วไม่ทรงชี้แจงเนื้อความโดยพิสดาร ทรงลุกจากพุทธอาสน์ เสด็จเข้าไปยัง
ที่ประทับ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]
๓. มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย กระผมรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งอุทเทสโดยย่อที่พระผู้มี
พระภาคทรงแสดงไว้ ไม่ทรงชี้แจงโดยพิสดาร โดยพิสดารอย่างนี้ ท่านทั้งหลาย
เมื่อหวัง พึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแแล้วทูลถามเนื้อความนั้น พระองค์ทรง
ตอบอย่างใด ท่านทั้งหลายพึงทรงจำไว้อย่างนั้นเถิด”
ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมยินดีอนุโมทนาภาษิตของท่าน
พระมหากัจจานะแล้ว ลุกจากอาสนะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุทเทสโดยย่อแก่ข้าพระองค์ทั้งหลายว่า
‘บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
ฯลฯ
พระมุนีผู้สงบเรียกบุคคล
ฯลฯ
นั้นแลว่า ‘ผู้มีราตรีเดียวเจริญ’
แล้วไม่ทรงชี้แจงเนื้อความโดยพิสดาร ทรงลุกจากพุทธอาสน์เสด็จเข้าไปยังที่
ประทับ
เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จจากไปไม่นาน ข้าพระองค์ทั้งหลายได้เกิดความ
สงสัยว่า ‘พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุทเทสโดยย่อแก่เราทั้งหลายว่า
‘บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
ไม่ควรหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง
สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว
และสิ่งใดที่ยังไม่มาถึง สิ่งนั้นก็เป็นอันยังไม่มาถึง
ส่วนบุคคลใดเห็นแจ้งธรรมที่เป็นปัจจุบัน
ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้น ๆ
บุคคลนั้นควรเจริญธรรมนั้นให้แจ่มแจ้ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]
๓. มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร

บุคคลควรทำความเพียรตั้งแต่วันนี้ทีเดียว
ใครเล่าจะรู้ว่า ความตายจักมีในวันพรุ่งนี้
เพราะว่าความผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนามากนั้น
ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย
พระมุนีผู้สงบเรียกบุคคลผู้มีความเพียร
ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน
ซึ่งมีปกติอยู่อย่างนี้นั้นแลว่า ‘ผู้มีราตรีเดียวเจริญ’
แล้วไม่ทรงชี้แจงเนื้อความโดยพิสดาร ทรงลุกจากพุทธอาสน์เสด็จเข้าไปยังที่
ประทับ
ใครเล่าหนอ จะพึงชี้แจงเนื้อความแห่งอุทเทสโดยย่อที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้
ไม่ทรงชี้แจงไว้โดยพิสดารให้พิสดารได้ ข้าพระองค์ทั้งหลายได้คิดว่า ‘ท่านพระ
มหากัจจานะนี้แล เป็นผู้ที่พระศาสดาทรงยกย่อง ทั้งเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็
สรรเสริญแล้ว และท่านพระมหากัจจานะก็สามารถจะชี้แจงเนื้อความแห่งอุทเทส
โดยย่อที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้ ไม่ทรงชี้แจงไว้โดยพิสดารให้พิสดารได้ ทางที่ดี
เราทั้งหลายควรเข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะถึงที่อยู่ แล้วพึงสอบถามเนื้อความนี้
กับท่านพระมหากัจจานะ’ ครั้งนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายได้พากันเข้าไปหาท่าน
พระมหากัจจานะถึงที่อยู่ แล้วสอบถามเนื้อความนี้กับท่านพระมหากัจจานะ ท่าน
พระมหากัจจานะได้ชี้แจงเนื้อความแก่ข้าพระองค์ทั้งหลายด้วยอาการเหล่านี้ ด้วย
บทเหล่านี้ ด้วยพยัญชนะเหล่านี้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย มหากัจจานะเป็นบัณฑิต ภิกษุ
ทั้งหลาย มหากัจจานะเป็นผู้มีปัญญามาก แม้ว่าเธอทั้งหลายจะพึงสอบถาม
เนื้อความนี้กับเรา เราก็จะพึงตอบเนื้อความนั้นเหมือนกับที่มหากัจจานะตอบ
เรื่องนี้มีเนื้อความดังนี้แล เธอทั้งหลายจงทรงจำเรื่องนั้นไว้อย่างนี้เถิด”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]
๔. โลมสกังคิยภัทเทกรัตตสูตร

๔. โลมสกังคิยภัทเทกรัตตสูตร
ว่าด้วยทรงแสดงเรื่องผู้มีราตรีเดียวเจริญแก่พระโลมสกังคิยะ

[๒๘๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้นแล ท่านพระโลมสกังคิยะ อยู่ที่
นิโครธาราม เขตกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ขณะนั้น เมื่อราตรีผ่านไป
จันทนเทพบุตร มีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วนิโครธาราม เข้าไปหา
ท่านพระโลมสกังคิยะถึงที่อยู่ แล้วยืน ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับท่านพระ
โลมสกังคิยะอย่างนี้ว่า “ภิกษุ ท่านจำอุทเทสและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีเดียว
เจริญได้ไหม”
ท่านพระโลมสกังคิยะกล่าวว่า “อาตมภาพจำไม่ได้ ส่วนท่านจำอุทเทส
และวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญได้ไหม”
“แม้ข้าพเจ้าก็จำไม่ได้ อนึ่ง ท่านจำคาถาที่แสดงถึงบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญ
ได้ไหม”
“อาตมภาพจำไม่ได้ ส่วนท่านจำได้ไหม”
“ข้าพเจ้าจำได้”
“ก็ท่านจำได้อย่างไรเล่า”
“ภิกษุ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ที่
ควงไม้ปาริฉัตตกะ ในหมู่เทพชั้นดาวดึงส์ ณ ที่นั้นเอง พระผู้มีพระภาคได้ตรัส
อุทเทสและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญแก่เทพชั้นดาวดึงส์ว่า
‘บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
ไม่ควรหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง
สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว
และสิ่งใดที่ยังไม่มาถึง สิ่งนั้นก็เป็นอันยังไม่มาถึง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]
๔. โลมสกังคิยภัทเทกรัตตสูตร

ส่วนบุคคลใดเห็นแจ้งธรรมที่เป็นปัจจุบัน
ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้น ๆ
บุคคลนั้นควรเจริญธรรมนั้นให้แจ่มแจ้ง
บุคคลควรทำความเพียรตั้งแต่วันนี้ทีเดียว
ใครเล่าจะรู้ว่า ความตายจักมีในวันพรุ่งนี้
เพราะว่าความผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนามากนั้น
ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย
พระมุนีผู้สงบเรียกบุคคลผู้มีความเพียร
ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน
ซึ่งมีปกติอยู่อย่างนี้นั้นแลว่า ‘ผู้มีราตรีเดียวเจริญ’
ภิกษุ ข้าพเจ้าจำคาถาที่แสดงถึงบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญได้อย่างนี้ ขอท่าน
จงศึกษา เล่าเรียน และจำอุทเทสและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญเถิด
เพราะว่าอุทเทสและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญ ประกอบด้วยประโยชน์
เป็นเบื้องต้นแห่งการประพฤติพรหมจรรย์”
จันทนเทพบุตรกล่าวดังนี้แล้ว ก็หายตัวไป ณ ที่นั้นเอง
[๒๘๗] ครั้งนั้นแล ท่านพระโลมสกังคิยะ เมื่อล่วงราตรีนั้นไป จึงเก็บงำ
เสนาสนะ ถือบาตรและจีวรหลีกจาริกไปทางกรุงสาวัตถี เมื่อจาริกไปโดยลำดับ
ได้เข้าไปยังพระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคว่า
“สมัยหนึ่ง ข้าพระองค์อยู่ที่นิโครธาราม เขตกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ
ขณะนั้น เมื่อราตรีผ่านไป เทพบุตรองค์หนึ่ง มีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้
สว่างทั่วนิโครธาราม เข้ามาหาข้าพระองค์ถึงที่อยู่ แล้วยืน ณ ที่สมควร ได้
กล่าวกับข้าพระองค์ว่า ‘ภิกษุ ท่านจำอุทเทสและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีเดียว
เจริญได้ไหม’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]
๔. โลมสกังคิยภัทเทกรัตตสูตร

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเทพบุตรนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์ได้กล่าว
กับเทพบุตรนั้นว่า ‘ผู้มีอายุ อาตมภาพจำไม่ได้ ส่วนท่านจำได้ไหม’
เทพบุตรกล่าวว่า ‘แม้ข้าพเจ้าก็จำไม่ได้ อนึ่ง ท่านจำคาถาที่แสดงถึงบุคคล
ผู้มีราตรีเดียวเจริญได้ไหม’
ข้าพระองค์ตอบว่า ‘อาตมภาพจำไม่ได้ ส่วนท่านจำได้ไหม’
‘ข้าพเจ้าจำได้’
‘ผู้มีอายุ ก็ท่านจำได้อย่างไรเล่า’
‘ภิกษุ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ที่
ควงไม้ปาริฉัตตกะ ในหมู่เทพชั้นดาวดึงส์ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสอุทเทส
และวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญแก่เทพชั้นดาวดึงส์ว่า
‘บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
ฯลฯ
พระมุนีผู้สงบเรียกบุคคล
ฯลฯ
นั้นแลว่า ‘ผู้มีราตรีเดียวเจริญ’
ภิกษุ ข้าพเจ้าจำคาถาที่แสดงถึงบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญได้อย่างนี้แล ขอ
ท่านจงศึกษา เล่าเรียน และทรงจำอุทเทสและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีเดียว
เจริญเถิด เพราะว่าอุทเทสและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญ ประกอบด้วย
ประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งการประพฤติพรหมจรรย์’
เทพบุตรนั้นกล่าวดังนี้แล้ว ก็หายตัวไป ณ ที่นั้นเอง
ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงอุทเทสและวิภังค์ของ
บุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญแก่ข้าพระองค์เถิด”
[๒๘๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ ก็เธอรู้จักเทพบุตรนั้นไหม”
ท่านพระโลมสกังคิยะกราบทูลว่า “ไม่รู้จัก พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]
๔. โลมสกังคิยภัทเทกรัตตสูตร

“ภิกษุ เทพบุตรนั้นชื่อจันทนะ จันทนเทพบุตรสนใจ ใส่ใจ กำหนดด้วยจิต
ทั้งปวงแล้ว เงี่ยโสตสดับธรรม ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
ภิกษุนั้นรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสคาถาประพันธ์นี้ว่า
“บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
ไม่ควรหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง
สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว
และสิ่งใดที่ยังไม่มาถึง สิ่งนั้นก็เป็นอันยังไม่มาถึง
ส่วนบุคคลใดเห็นแจ้งธรรมที่เป็นปัจจุบัน
ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้น ๆ
บุคคลนั้นควรเจริญธรรมนั้นให้แจ่มแจ้ง
บุคคลควรทำความเพียรตั้งแต่วันนี้ทีเดียว
ใครเล่าจะรู้ว่า ความตายจักมีในวันพรุ่งนี้
เพราะว่าความผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนามากนั้น
ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย
พระมุนีผู้สงบเรียกบุคคลผู้มีความเพียร
ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน
ซึ่งมีปกติอยู่อย่างนี้นั้นแลว่า ‘ผู้มีราตรีเดียวเจริญ’
บุคคลคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เป็นอย่างไร
คือ บุคคลไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า ‘ในอดีต เรา
ได้มีรูปอย่างนี้’
ในอดีต เราได้มีเวทนาอย่างนี้ ฯลฯ
ในอดีต เราได้มีสัญญาอย่างนี้ ฯลฯ
ในอดีต เราได้มีสังขารอย่างนี้ ฯลฯ
ไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า ‘ในอดีต เราได้มี
วิญญาณอย่างนี้’
ภิกษุ บุคคลคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เป็นอย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]
๔. โลมสกังคิยภัทเทกรัตตสูตร

บุคคลไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เป็นอย่างไร
คือ บุคคลไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต เรา
ได้มีรูปอย่างนี้”
ในอดีต เราได้มีเวทนาอย่างนี้ ฯลฯ
ในอดีต เราได้มีสัญญาอย่างนี้ ฯลฯ
ในอดีต เราได้มีสังขารอย่างนี้ ฯลฯ
ไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอดีต เราได้มี
วิญญาณอย่างนี้”
ภิกษุ บุคคลไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เป็นอย่างนี้แล
บุคคลหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง เป็นอย่างไร
คือ บุคคลไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอนาคต
เราพึงมีรูปอย่างนี้”
ในอนาคต เราพึงมีเวทนาอย่างนี้ ฯลฯ
ในอนาคต เราพึงมีสัญญาอย่างนี้ ฯลฯ
ในอนาคต เราพึงมีสังขารอย่างนี้ ฯลฯ
ไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอนาคต เราพึงมี
วิญญาณอย่างนี้”
ภิกษุ บุคคลหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง เป็นอย่างนี้แล
บุคคลไม่หวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง เป็นอย่างไร
คือ บุคคลไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอนาคต
เราพึงมีรูปอย่างนี้”
ในอนาคต เราพึงมีเวทนาอย่างนี้ ฯลฯ
ในอนาคต เราพึงมีสัญญาอย่างนี้ ฯลฯ
ในอนาคต เราพึงมีสังขารอย่างนี้ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]
๔. โลมสกังคิยภัทเทกรัตตสูตร

ไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า “ในอนาคต เราพึงมี
วิญญาณอย่างนี้”
ภิกษุ บุคคลไม่หวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง เป็นอย่างนี้แล
บุคคลง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างไร
คือ ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของ
พระอริยะ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาด
ในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ พิจารณาเห็นรูปโดย
ความเป็นอัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตามีรูปบ้าง พิจารณาเห็นรูปในอัตตาบ้าง
พิจารณาเห็นอัตตาในรูปบ้าง
พิจารณาเห็นเวทนา ฯลฯ
พิจารณาเห็นสัญญา ฯลฯ
พิจารณาเห็นสังขาร ฯลฯ
พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตามีวิญญาณ
บ้าง พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณบ้าง
ภิกษุ บุคคลง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างนี้แล
บุคคลไม่ง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ผู้ได้สดับ ได้เห็นพระอริยะ ฉลาดในธรรมของ
พระอริยะ ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดในธรรม
ของสัตบุรุษ ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ไม่พิจารณาเห็นรูปโดยความ
เป็นอัตตาบ้าง ไม่พิจารณาเห็นอัตตามีรูปบ้าง ไม่พิจารณาเห็นรูปในอัตตาบ้าง
ไม่พิจารณาเห็นอัตตาในรูปบ้าง
ไม่พิจารณาเห็นเวทนา ฯลฯ
ไม่พิจารณาเห็นสัญญา ฯลฯ
ไม่พิจารณาเห็นสังขาร ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๕. จูฬกัมมวิภังคสูตร

ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่พิจารณาเห็นอัตตามี
วิญญาณบ้าง ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง ไม่พิจารณาเห็นอัตตาใน
วิญญาณบ้าง
ภิกษุ บุคคลไม่ง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างนี้แล
บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
ฯลฯ
พระมุนีผู้สงบเรียกบุคคล
ฯลฯ
นั้นแลว่า ‘ผู้มีราตรีเดียวเจริญ”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระโลมสกังคิยะมีใจยินดีชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

โลมสกังคิยภัทเทกรัตตสูตรที่ ๔ จบ

๕. จูฬกัมมวิภังคสูตร
ว่าด้วยการจำแนกกรรม สูตรเล็ก

[๒๘๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้นแล สุภมาณพโตเทยยบุตร เข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ แล้วได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอ
เป็นที่ระลึกถึงกัน แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ท่านพระโคดม อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์ที่เกิดเป็นมนุษย์
ปรากฏเป็นคนเลวและคนดี คือ มนุษย์ทั้งหลายย่อมปรากฏว่ามีอายุสั้น มีอายุยืน
มีโรคมาก มีโรคน้อย มีผิวพรรณทราม มีผิวพรรณดี มีอำนาจน้อย มีอำนาจมาก
มีโภคะน้อย มีโภคะมาก เกิดในตระกูลต่ำ เกิดในตระกูลสูง มีปัญญาน้อย
มีปัญญามาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๕. จูฬกัมมวิภังคสูตร

ท่านพระโคดม อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มนุษย์ทั้งหลายที่เกิดเป็น
มนุษย์ปรากฏเป็นคนเลวและคนดี”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มาณพ สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน มีกรรม
เป็นทายาท มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย
กรรมย่อมจำแนกสัตว์ทั้งหลายให้เลวและดีต่างกัน”
“ข้าพระองค์ ไม่รู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งพระภาษิตนี้ที่ท่านพระโคดมตรัสไว้โดย
ย่อ ไม่ทรงชี้แจงโดยพิสดารให้พิสดารได้ ขอประทานวโรกาส ขอท่านพระโคดม
โปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์ โดยวิธีที่ข้าพระองค์จะพึงรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่ง
พระภาษิตนี้ที่ท่านพระโคดมตรัสไว้โดยย่อ ไม่ทรงชี้แจงโดยพิสดารให้พิสดารเถิด”
[๒๙๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มาณพ ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี
เราจะกล่าว”
สุภมาณพโตเทยยบุตรทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า “มาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นสตรีก็ตาม
เป็นบุรุษก็ตาม เป็นผู้ฆ่าสัตว์ เป็นคนหยาบช้า มีมือเปื้อนเลือด ฝักใฝ่ในการ
ประหัตประหาร ไม่มีความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย เพราะกรรมนั้นที่เขาให้บริบูรณ์
ยึดมั่นไว้อย่างนั้น หลังจากตายแล้ว เขาจึงไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก๑
หลังจากตายแล้ว ถ้าไม่ไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก กลับมาเกิดเป็น
มนุษย์ในที่ใด ๆ เขาก็จะเป็นคนมีอายุสั้น
มาณพ การที่บุคคลเป็นผู้ฆ่าสัตว์ เป็นคนหยาบช้า มีมือเปื้อนเลือด ฝักใฝ่
ในการประหัตประหาร ไม่มีความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย นี้เป็นปฏิปทา(ข้อปฏิบัติ)
ที่เป็นไปเพื่อความมีอายุสั้น (๑)
มาณพ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นสตรีก็ตาม เป็นบุรุษก็ตาม เป็นผู้
ละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑาวุธ และศัสตราวุธ มีความละอาย มีความ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๕. จูฬกัมมวิภังคสูตร

เอ็นดู มุ่งหวังประโยชน์เกื้อกูลในสรรพสัตว์ เพราะกรรมนั้นที่เขาให้บริบูรณ์ยึดมั่น
ไว้อย่างนั้น หลังจากตายแล้ว เขาจึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ หลังจากตายแล้ว
ถ้าไม่ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ กลับมาเกิดเป็นมนุษย์ในที่ใด ๆ เขาก็จะเป็นคนมี
อายุยืน
มาณพ การที่บุคคลเป็นผู้ละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑาวุธ และ
ศัสตราวุธ มีความละอาย มีความเอ็นดู มุ่งหวังประโยชน์เกื้อกูลในสรรพสัตว์
นี้เป็นปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีอายุยืน (๑)
[๒๙๑] มาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นสตรีก็ตาม เป็นบุรุษก็ตาม เป็น
ผู้เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลายด้วยฝ่ามือบ้าง ด้วยก้อนดินบ้าง ด้วยท่อนไม้บ้าง ด้วย
ศัสตราบ้าง เพราะกรรมนั้นที่เขาให้บริบูรณ์ ยึดมั่นไว้อย่างนั้น หลังจากตายแล้ว
เขาจึงไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก หลังจากตายแล้ว ถ้าไม่ไปเกิดในอบาย
ทุคติ วินิบาต นรก กลับมาเกิดเป็นมนุษย์ในที่ใด ๆ เขาก็จะเป็นผู้มีโรคมาก
มาณพ การที่บุคคลเป็นผู้เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลายด้วยฝ่ามือบ้าง ด้วยก้อน
ดินบ้าง ด้วยท่อนไม้บ้าง ด้วยศัสตราบ้าง นี้เป็นปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีโรค
มาก (๒)
มาณพ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นสตรีก็ตาม เป็นบุรุษก็ตาม เป็นผู้
ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลายด้วยฝ่ามือบ้าง ด้วยก้อนดินบ้าง ด้วยท่อนไม้บ้าง ด้วย
ศัสตราบ้าง เพราะกรรมนั้นที่เขาให้บริบูรณ์ยึดมั่นไว้อย่างนั้น หลังจากตายแล้ว
เขาจึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ หลังจากตายแล้ว ถ้าไม่ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
กลับมาเกิดเป็นมนุษย์ในที่ใด ๆ เขาก็จะเป็นผู้มีโรคน้อย
มาณพ การที่บุคคลเป็นผู้ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลายด้วยฝ่ามือบ้าง ด้วย
ก้อนดินบ้าง ด้วยท่อนไม้บ้าง ด้วยศัสตราบ้าง นี้เป็นปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมี
โรคน้อย (๒)
[๒๙๒] มาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นสตรีก็ตาม เป็นบุรุษก็ตาม
เป็นผู้มักโกรธ มากด้วยความคับแค้น ถูกผู้อื่นว่ากล่าวแม้เล็กน้อยก็ขัดใจ โกรธ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๕. จูฬกัมมวิภังคสูตร

พยาบาท ปองร้าย แสดงความโกรธความปองร้ายและโทษเล็กน้อยให้ปรากฏ
เพราะกรรมนั้นที่เขาให้บริบูรณ์ยึดมั่นไว้อย่างนั้น หลังจากตายแล้ว เขาจึงไปเกิด
ในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก หลังจากตายแล้ว ถ้าไม่ไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต
นรก กลับมาเกิดเป็นมนุษย์ในที่ใด ๆ เขาก็จะเป็นผู้มีผิวพรรณทราม
มาณพ การที่บุคคลเป็นผู้มักโกรธ มากด้วยความคับแค้น ถูกผู้อื่นว่ากล่าว
แม้เล็กน้อยก็ขัดใจ โกรธ พยาบาท ปองร้าย แสดงความโกรธความปองร้ายและ
โทษเล็กน้อยให้ปรากฏ นี้เป็นปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีผิวพรรณทราม (๓)
มาณพ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นสตรีก็ตาม เป็นบุรุษก็ตาม เป็นผู้
ไม่โกรธ ไม่มากด้วยความคับแค้น ถูกผู้อื่นว่ากล่าวแม้มากก็ไม่ขัดใจ ไม่โกรธ
ไม่พยาบาท ไม่ปองร้าย ไม่แสดงความโกรธ ความปองร้ายและโทษเล็กน้อยให้
ปรากฏ เพราะกรรมนั้นที่เขาให้บริบูรณ์ยึดมั่นไว้อย่างนั้น หลังจากตายแล้ว เขา
จึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ หลังจากตายแล้ว ถ้าไม่ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
กลับมาเกิดเป็นมนุษย์ในที่ใด ๆ เขาก็จะเป็นผู้มีผิวพรรณผ่องใส
มาณพ การที่บุคคลเป็นผู้ไม่โกรธ ไม่มากด้วยความคับแค้น ถูกผู้อื่นว่า
กล่าวแม้มากก็ไม่ขัดใจ ไม่โกรธ ไม่พยาบาท ไม่ปองร้าย ไม่แสดงความโกรธ
ความปองร้ายและโทษเล็กน้อยให้ปรากฏ นี้เป็นปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มี
ผิวพรรณผ่องใส (๓)
[๒๙๓] มาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นสตรีก็ตาม เป็นบุรุษก็ตาม เป็น
ผู้มีใจริษยา ย่อมริษยา ประทุษร้าย ผูกความริษยาในลาภสักการะ ความเคารพ
ความนับถือ การกราบไหว้ และการบูชาของบุคคลอื่น เพราะกรรมนั้นที่เขาให้
บริบูรณ์ยึดมั่นไว้อย่างนั้น หลังจากตายแล้ว เขาจึงไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต
นรก หลังจากตายแล้ว ถ้าไม่ไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก กลับมาเกิด
เป็นมนุษย์ในที่ใด ๆ เขาก็จะเป็นผู้มีอำนาจน้อย
มาณพ การที่บุคคลเป็นผู้มีใจริษยา ย่อมริษยา ประทุษร้าย ผูกความ
ริษยาในลาภสักการะ ความเคารพ ความนับถือ การกราบไหว้ และการบูชาของ
บุคคลอื่น นี้เป็นปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีอำนาจน้อย (๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๕. จูฬกัมมวิภังคสูตร

มาณพ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นสตรีก็ตาม เป็นบุรุษก็ตาม เป็น
ผู้มีใจไม่ริษยา ย่อมไม่ริษยา ไม่ประทุษร้าย ไม่ผูกความริษยาในลาภสักการะ
ความเคารพ ความนับถือ การกราบไหว้ และการบูชาของบุคคลอื่น เพราะกรรม
นั้นที่เขาให้บริบูรณ์ยึดมั่นไว้อย่างนั้น หลังจากตายแล้ว เขาจึงไปเกิดในสุคติ
โลกสวรรค์ หลังจากตายแล้ว ถ้าไม่ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ กลับมาเกิดเป็น
มนุษย์ในที่ใด ๆ เขาก็จะเป็นผู้มีอำนาจมาก
มาณพ การที่บุคคลเป็นผู้มีใจไม่ริษยา ย่อมไม่ริษยา ไม่ประทุษร้าย ไม่ผูก
ความริษยาในลาภสักการะ ความเคารพ ความนับถือ การกราบไหว้ และการ
บูชาของบุคคลอื่น นี้เป็นปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีอำนาจมาก (๔)
[๒๙๔] มาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นสตรีก็ตาม เป็นบุรุษก็ตาม เป็น
ผู้ไม่ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก เครื่อง
ประทีปแก่สมณะหรือพราหมณ์ เพราะกรรมนั้น๑ที่เขาให้บริบูรณ์ยึดมั่นไว้อย่างนั้น
หลังจากตายแล้ว เขาจึงไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก หลังจากตายแล้ว
ถ้าไม่ไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก กลับมาเกิดเป็นมนุษย์ในที่ใด ๆ เขา
ก็จะเป็นผู้มีโภคะน้อย
มาณพ การที่บุคคลเป็นผู้ไม่ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม
เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก เครื่องประทีปแก่สมณะหรือพราหมณ์ นี้เป็นปฏิปทา
ที่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีโภคะน้อย (๕)
มาณพ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นสตรีก็ตาม เป็นบุรุษก็ตาม เป็น
ผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก เครื่อง
ประทีปแก่สมณะหรือพราหมณ์ เพราะกรรมนั้นที่เขาให้บริบูรณ์ยึดมั่นไว้อย่างนั้น
หลังจากตายแล้ว เขาจึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ หลังจากตายแล้ว ถ้าไม่ไปเกิด
ในสุคติโลกสวรรค์ กลับมาเกิดเป็นมนุษย์ในที่ใด ๆ เขาก็จะเป็นผู้มีโภคะมาก


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๕. จูฬกัมมวิภังคสูตร

มาณพ การที่บุคคลเป็นผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม
เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก เครื่องประทีปแก่สมณะหรือพราหมณ์ นี้เป็นปฏิปทา
ที่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีโภคะมาก (๕)
[๒๙๕] มาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นสตรีก็ตาม เป็นบุรุษก็ตาม
เป็นผู้กระด้าง เย่อหยิ่ง ย่อมไม่กราบไหว้ผู้ที่ควรกราบไหว้๑ ไม่ลุกรับผู้ที่ควรลุกรับ
ไม่ให้อาสนะแก่ผู้ที่ควรให้อาสนะ ไม่ให้ทางแก่ผู้ที่ควรให้ทาง ไม่สักการะผู้ที่ควร
สักการะ ไม่เคารพผู้ที่ควรเคารพ ไม่นับถือผู้ที่ควรนับถือ ไม่บูชาผู้ที่ควรบูชา
เพราะกรรมนั้นที่เขาให้บริบูรณ์ยึดมั่นไว้อย่างนั้น หลังจากตายแล้ว เขาจึงไปเกิด
ในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก หลังจากตายแล้ว ถ้าไม่ไปเกิดในอบาย ทุคติ
วินิบาต นรก กลับมาเกิดเป็นมนุษย์ในที่ใด ๆ เขาจะเป็นผู้เกิดในตระกูลต่ำ
มาณพ การที่บุคคลเป็นผู้กระด้าง เย่อหยิ่ง ย่อมไม่กราบไหว้ผู้ที่ควรกราบไหว้
ไม่ลุกรับผู้ที่ควรลุกรับ ไม่ให้อาสนะแก่ผู้ที่ควรให้อาสนะ ไม่ให้ทางแก่ผู้ที่ควรให้ทาง
ไม่สักการะผู้ที่ควรสักการะ ไม่เคารพผู้ที่ควรเคารพ ไม่นับถือผู้ที่ควรนับถือ ไม่
บูชาผู้ที่ควรบูชา นี้เป็นปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้เกิดในตระกูลต่ำ (๖)
มาณพ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นสตรีก็ตาม เป็นบุรุษก็ตาม เป็นผู้
ไม่กระด้าง ไม่เย่อหยิ่ง ย่อมกราบไหว้ผู้ที่ควรกราบไหว้ ลุกรับผู้ที่ควรลุกรับ ให้
อาสนะแก่ผู้ที่ควรให้อาสนะ ให้ทางแก่ผู้ที่ควรให้ทาง สักการะผู้ที่ควรสักการะ
เคารพผู้ที่ควรเคารพ นับถือผู้ที่ควรนับถือ บูชาผู้ที่ควรบูชา เพราะกรรมนั้นที่เขา
ให้บริบูรณ์ยึดมั่นไว้อย่างนั้น หลังจากตายแล้ว เขาจึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
หลังจากตายแล้ว ถ้าไม่ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ กลับมาเกิดเป็นมนุษย์ในที่ใด ๆ
เขาจะเป็นผู้เกิดในตระกูลสูง
มาณพ การที่บุคคลเป็นผู้ไม่กระด้าง ไม่เย่อหยิ่ง ย่อมกราบไหว้ผู้ที่ควร
กราบไหว้ ลุกรับผู้ที่ควรลุกรับ ให้อาสนะแก่ผู้ที่ควรให้อาสนะ ให้ทางแก่ผู้ที่ควร
ให้ทาง สักการะผู้ที่ควรสักการะ เคารพผู้ที่ควรเคารพ นับถือผู้ที่ควรนับถือ บูชา
ผู้ที่ควรบูชา นี้เป็นปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้เกิดในตระกูลสูง (๖)


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๕. จูฬกัมมวิภังคสูตร

[๒๙๖] มาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นสตรีก็ตาม เป็นบุรุษก็ตาม
ไม่เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า ‘ท่านขอรับ อะไรเป็นกุศล อะไร
เป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ กรรมอะไร
ที่ข้าพเจ้าทำจึงเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน หรือว่า
กรรมอะไรที่ข้าพเจ้าทำจึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุขตลอดกาลนาน’
เพราะกรรมนั้นที่เขาให้บริบูรณ์ยึดมั่นไว้อย่างนั้น หลังจากตายแล้ว เขาจึงไปเกิด
ในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก หลังจากตายแล้ว ถ้าไม่ไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต
นรก กลับมาเกิดเป็นมนุษย์ในที่ใด ๆ เขาจะเป็นผู้มีปัญญาทราม
มาณพ การที่บุคคลไม่เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า ‘ท่าน
ขอรับ อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ
อะไรไม่ควรเสพ กรรมอะไรที่ข้าพเจ้าทำจึงเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อ
ทุกข์ตลอดกาลนาน หรือว่ากรรมอะไรที่ข้าพเจ้าทำจึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อสุขตลอดกาลนาน’ นี้เป็นปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาทราม (๗)
มาณพ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นสตรีก็ตาม เป็นบุรุษก็ตาม เข้าไป
หาสมณะหรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า ‘ท่านขอรับ อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล
อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ กรรมอะไรที่ข้าพเจ้าทำ
จึงเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน หรือว่ากรรมอะไรที่
ข้าพเจ้าทำจึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุขตลอดกาลนาน’ เพราะกรรมนั้น
ที่เขาให้บริบูรณ์ยึดมั่นไว้อย่างนั้น หลังจากตายแล้ว เขาจึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
หลังจากตายแล้ว ถ้าไม่ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ กลับมาเกิดเป็นมนุษย์ในที่ใด ๆ
เขาจะเป็นผู้มีปัญญามาก
มาณพ การที่บุคคลเข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า ‘ท่าน
ขอรับ อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ
อะไรไม่ควรเสพ กรรมอะไรที่ข้าพเจ้าทำจึงเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อ
ทุกข์ตลอดกาลนาน หรือว่ากรรมอะไรที่ข้าพเจ้าทำจึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อสุขตลอดกาลนาน’ นี้เป็นปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญามาก (๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๕. จูฬกัมมวิภังคสูตร

[๒๙๗] มาณพ รวมความว่า ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีอายุสั้นย่อมนำ
เข้าไปสู่ความมีอายุสั้น
ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีอายุยืนย่อมนำเข้าไปสู่ความมีอายุยืน
ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีโรคมากย่อมนำเข้าไปสู่ความมีโรคมาก
ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีโรคน้อยย่อมนำเข้าไปสู่ความมีโรคน้อย
ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีผิวพรรณทรามย่อมนำเข้าไปสู่ความมีผิวพรรณทราม
ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีผิวพรรณผ่องใสย่อมนำเข้าไปสู่ความมีผิวพรรณผ่องใส
ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีอำนาจน้อยย่อมนำเข้าไปสู่ความมีอำนาจน้อย
ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีอำนาจมากย่อมนำเข้าไปสู่ความมีอำนาจมาก
ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีโภคะน้อยย่อมนำเข้าไปสู่ความมีโภคะน้อย
ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีโภคะมากย่อมนำเข้าไปสู่ความมีโภคะมาก
ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความเกิดในตระกูลต่ำย่อมนำเข้าไปสู่ความเกิดในตระกูลต่ำ
ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความเกิดในตระกูลสูงย่อมนำเข้าไปสู่ความเกิดในตระกูลสูง
ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีปัญญาทรามย่อมนำเข้าไปสู่ความมีปัญญาทราม
ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีปัญญามากย่อมนำเข้าไปสู่ความมีปัญญามาก
สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน มีกรรมเป็นทายาท มีกรรมเป็นกำเนิด มี
กรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กรรมย่อมจำแนกสัตว์ทั้งหลายให้เลว
และดีต่างกัน ด้วยประการฉะนี้”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว สุภมาณพโตเทยยบุตรได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้า
แต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านพระโคดม
ทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ
เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยตั้งใจว่า ‘คนมี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๖. มหากัมมวิภังคสูตร

ตาดีจักเห็นรูปได้’ ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดม พร้อมทั้งพระธรรม และพระ
สงฆ์เป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต” ดังนี้แล

จูฬกัมมวิภังคสูตรที่ ๕ จบ

๖. มหากัมมวิภังคสูตร
ว่าด้วยการจำแนกกรรม สูตรใหญ่

[๒๙๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อ
กระแต เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้นแล ท่านพระสมิทธิอยู่ในกระท่อมป่า ครั้งนั้น
ปริพาชกชื่อโปตลิบุตรเที่ยวเดินเล่นอยู่ เข้าไปหาท่านพระสมิทธิถึงที่อยู่ แล้วได้
สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร
ได้กล่าวกับท่านพระสมิทธิว่า
“ท่านพระสมิทธิ ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระสมณโคดมว่า
‘กายกรรมไม่จริง วจีกรรมไม่จริง มโนกรรมเท่านั้นจริง’ และว่า ‘สมาบัติที่บุคคล
เข้าแล้วไม่เสวยเวทนาอะไร ๆ นั้นก็มีอยู่’
ท่านพระสมิทธิกล่าวว่า “ท่านโปตลิบุตร ท่านอย่ากล่าวอย่างนี้ อย่ากล่าวตู่
พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย เพราะพระผู้มีพระภาคมิได้
ตรัสไว้อย่างนี้ว่า ‘กายกรรมไม่จริง วจีกรรมไม่จริง มโนกรรมเท่านั้นจริง’ และว่า
‘สมาบัติที่บุคคลเข้าแล้วไม่เสวยเวทนาอะไร ๆ นั้นก็มีอยู่’
“ท่านพระสมิทธิ ท่านบวชมานานเท่าไรแล้ว”
“ท่านผู้มีอายุ อาตมภาพบวชได้ไม่นาน เพียง ๓ พรรษา”
“บัดนี้ ในเมื่อภิกษุใหม่ยังคิดปกป้องพระศาสดาถึงเพียงนี้ เราทั้งหลายจะ
พูดอะไรกับภิกษุผู้เป็นพระเถระได้เล่า ท่านพระสมิทธิ บุคคลทำกรรมที่ประกอบ
ด้วยความจงใจทางกาย ทางวาจา และทางใจแล้ว จะเสวยผลอะไร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๖. มหากัมมวิภังคสูตร

“ท่านโปตลิบุตร บุคคลทำกรรมที่ประกอบด้วยความจงใจทางกาย ทางวาจา
และทางใจแล้ว จะเสวยทุกข์”
ลำดับนั้น ปริพาชกชื่อโปตลิบุตรไม่ยินดีไม่คัดค้านภาษิตของท่านพระสมิทธิ
ลุกจากที่นั่งแล้วจากไป
[๒๙๙] ครั้งนั้นแล เมื่อปริพาชกชื่อโปตลิบุตรจากไปไม่นาน ท่านพระสมิทธิ
เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ แล้วได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอ
เป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร เล่าเรื่องที่ตนได้สนทนาปราศัยกับ
ปริพาชกชื่อโปตลิบุตรทั้งหมดแก่ท่านพระอานนทเถระ
เมื่อท่านพระสมิทธิเล่าเรื่องอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์จึงได้กล่าวกับท่าน
พระสมิทธิว่า “ท่านสมิทธิ เรื่องนี้มีมูลเหตุพอที่จะเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคได้ มาเถิด
เราทั้งสอง พึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ พึงกราบทูลเนื้อความนี้แด่
พระองค์ พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลายทรงตอบอย่างใด เราทั้งหลายควรทรง
จำเนื้อความนั้นไว้อย่างนั้น” ท่านพระสมิทธิรับคำแล้ว
ครั้งนั้น ท่านพระสมิทธิและท่านพระอานนท์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลเรื่องที่
ท่านพระสมิทธิได้สนทนาปราศัยกับปริพาชกชื่อโปตลิบุตรทั้งหมดแด่พระผู้มีพระภาค
เมื่อพระอานนท์กราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระ
อานนท์ว่า “อานนท์ เราไม่รู้แม้ความเห็นของปริพาชกชื่อโปตลิบุตรเลย จะรู้การ
สนทนาปราศัยกันเห็นปานนี้ได้อย่างไร โมฆบุรุษผู้มีนามว่าสมิทธินี้ได้ตอบปัญหา
ที่ควรจำแนกตอบแก่ปริพาชกชื่อโปตลิบุตรโดยแง่เดียว”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุทายีได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคว่า “ก็ถ้าท่านพระสมิทธิกล่าวหมายเอาทุกข์นี้แล้ว อารมณ์อย่างใดอย่าง
หนึ่งที่สัตว์เสวยแล้ว อารมณ์นั้นต้องจัดเข้าในทุกข์หรือ พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๖. มหากัมมวิภังคสูตร

[๓๐๐] เมื่อท่านพระอุทายีกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคจึงรับสั่ง
เรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “อานนท์ เธอจงเห็นความนอกลู่นอกทางของ
อุทายีผู้เป็นโมฆบุรุษนี้เถิด เราได้รู้บัดนี้เอง โมฆบุรุษอุทายีนี้เมื่อจะพูด ก็พูดโพล่ง
ออกมาโดยไม่แยบคาย เบื้องต้นทีเดียวปริพาชกชื่อโปตลิบุตรถามถึงเวทนา ๓
ถ้าโมฆบุรุษสมิทธิผู้ถูกถามอย่างนี้จะพึงตอบอย่างนี้ว่า ‘ท่านโปตลิบุตร บุคคลทำ
กรรมที่ประกอบด้วยความจงใจทางกาย ทางวาจา และทางใจอันให้ผลเป็นสุข๑
ย่อมเสวยสุข บุคคลทำกรรมที่ประกอบด้วยความจงใจทางกาย ทางวาจา และ
ทางใจอันให้ผลเป็นทุกข์๒ ย่อมเสวยทุกข์ บุคคลทำกรรมที่ประกอบด้วยความ
จงใจทางกาย ทางวาจา และทางใจอันให้ผลเป็นอทุกขมสุข๓ ย่อมเสวยผลเป็น
อทุกขมสุข
อานนท์ โมฆบุรุษสมิทธิเมื่อตอบอย่างนี้ ชื่อว่าตอบโดยชอบแก่ปริพาชกชื่อ
โปตลิบุตร แต่ว่าอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น เป็นคนโง่ ไม่ฉลาด จะเข้าใจ
มหากัมมวิภังค์ของตถาคตได้อย่างไรเล่า ถ้าตถาคตจำแนกมหากัมมวิภังค์อยู่ เธอ
ทั้งหลายควรฟัง”
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค บัดนี้เป็นกาลสมควร
ข้าแต่พระสุคต บัดนี้เป็นกาลสมควร ที่พระผู้มีพระภาคจะทรงจำแนกมหากัมมวิภังค์
ภิกษุทั้งหลายได้สดับจากพระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๖. มหากัมมวิภังคสูตร

ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรื่องนี้ว่า
“อานนท์ บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิด
ในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ เป็น
ผู้เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของเขา เป็นผู้มีจิตพยาบาท เป็น
มิจฉาทิฏฐิในโลกนี้ หลังจากตายแล้วเขาจึงไปเกิดในอบาย ทุคติ
วินิบาต นรก
๒. บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิด
ในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ เป็นผู้
เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของเขา เป็นผู้มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิ
ในโลกนี้ หลังจากตายแล้วเขาจึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
๓. บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจาก
การลักทรัพย์ เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจาก
การพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด เว้นขาดจากการพูด
คำหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ เป็นผู้ไม่เพ่งเล็งอยากได้
สิ่งของของเขา เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิในโลกนี้
หลังจากตายแล้วเขาจึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
๔. บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจาก
การลักทรัพย์ เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจาก
การพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด เว้นขาดจากการพูด
คำหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ เป็นผู้ไม่เพ็งเล็งอยากได้
สิ่งของของเขา เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิในโลกนี้
หลังจากตายแล้วเขาจึงไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๖. มหากัมมวิภังคสูตร

[๓๐๑] อานนท์
๑. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ อาศัยความเพียรเครื่องเผา
กิเลส ความเพียรยิ่ง ความพยายาม ความไม่ประมาท ความ
ใส่ใจโดยชอบ ย่อมบรรลุเจโตสมาธิโดยประการที่เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว
ย่อมเห็นบุคคลโน้น ผู้มักฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม
พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ เพ่งเล็งอยากได้
สิ่งของของเขา มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิในโลกนี้ หลังจาก
ตายแล้วได้ไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ด้วยตาทิพย์
อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ สมณะหรือพราหมณ์นั้นจึงกล่าวอย่างนี้ว่า
‘ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า กรรมชั่วมี วิบากของทุจริตมี ข้าพเจ้าได้
เห็นบุคคลโน้น ผู้มักฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม ฯลฯ
เป็นมิจฉาทิฏฐิในโลกนี้ หลังจากตายแล้วได้ไปเกิดในอบาย ทุคติ
วินิบาต นรก’ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า
บุคคลใดมักฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ฯลฯ เป็นมิจฉาทิฏฐิ บุคคลนั้น
ทั้งหมดหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ชนเหล่าใดรู้อย่างนี้ ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้ชอบ ชนเหล่าใดรู้นอกเหนือไป
ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้ผิด’
สมณะหรือพราหมณ์นั้นจะพูดปักใจลงไปถึงเรื่องที่เขารู้เอง
เห็นเอง ทราบเอง ตามแรงจูงใจ ตามความปักใจในเรื่องนั้นดังนี้ว่า
‘นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
๒. ส่วนสมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ อาศัยความเพียรเครื่อง
เผากิเลส ความเพียรยิ่ง ความพยายาม ความไม่ประมาท
ความใส่ใจโดยชอบ ย่อมบรรลุเจโตสมาธิโดยประการที่เมื่อจิต
ตั้งมั่นแล้ว ย่อมเห็นบุคคลโน้น ผู้มักฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ฯลฯ
เป็นมิจฉาทิฏฐิในโลกนี้ หลังจากตายแล้วได้ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ สมณะหรือพราหมณ์นั้นจึง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๖. มหากัมมวิภังคสูตร

กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า กรรมชั่วไม่มี วิบากของ
ทุจริตไม่มี ข้าพเจ้าได้เห็นบุคคลโน้น ผู้มักฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ฯลฯ
เป็นมิจฉาทิฏฐิในโลกนี้ หลังจากตายแล้วได้ไปเกิดในสุคติโลก
สวรรค์’ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า บุคคลใดมัก
ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ฯลฯ เป็นมิจฉาทิฏฐิ บุคคลนั้นทั้งหมดหลัง
จากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ชนเหล่าใดรู้อย่างนี้ ชน
เหล่านั้นชื่อว่ารู้ชอบ ชนเหล่าใดรู้นอกเหนือไป ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้
ผิด’
สมณะหรือพราหมณ์นั้นจะพูดปักใจลงไปถึงเรื่องที่เขารู้เอง เห็นเอง
ทราบเอง ตามแรงจูงใจ ตามความปักใจในเรื่องนั้นดังนี้ว่า ‘นี้
เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
๓. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ อาศัยความเพียรเครื่องเผา
กิเลส ความเพียรยิ่ง ความพยายาม ความไม่ประมาท ความ
ใส่ใจโดยชอบ ย่อมบรรลุเจโตสมาธิโดยประการที่เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว
ย่อมเห็นบุคคลโน้น ผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการ
ลักทรัพย์ เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการ
พูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ
เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของเขา มี
จิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิในโลกนี้ หลังจากตายแล้วได้
ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์
สมณะหรือพราหมณ์นั้นจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า
กรรมดีมีจริง วิบากของสุจริตมีจริง ข้าพเจ้าได้เห็นบุคคลโน้น
ผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ ฯลฯ เป็น
สัมมาทิฏฐิในโลกนี้ หลังจากตายแล้วได้ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์’
แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า บุคคลใดเว้นขาด
จากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ ฯลฯ เป็นสัมมาทิฏฐิ
บุคคลนั้นทั้งหมดหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ชน
เหล่าใดรู้อย่างนี้ ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้ชอบ ชนเหล่าใดรู้นอกเหนือไป
ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้ผิด’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๖. มหากัมมวิภังคสูตร

สมณะหรือพราหมณ์นั้นจะพูดปักใจลงไปถึงเรื่องที่เขารู้เอง เห็นเอง
ทราบเอง ตามแรงจูงใจ ตามความปักใจในเรื่องนั้นดังนี้ว่า ‘นี้
เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
๔. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ อาศัยความเพียรเครื่องเผา
กิเลส ความเพียรยิ่ง ความพยายาม ความไม่ประมาท ความ
ใส่ใจโดยชอบ ย่อมบรรลุเจโตสมาธิโดยประการที่เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว
ย่อมเห็นบุคคลโน้น ผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการ
ลักทรัพย์ ฯลฯ เป็นสัมมาทิฏฐิในโลกนี้ หลังจากตายแล้วได้ไป
เกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือ
มนุษย์ สมณะหรือพราหมณ์นั้นจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ
ได้ยินว่า กรรมดีไม่มี วิบากของสุจริตไม่มี ข้าพเจ้าได้เห็นบุคคล
โน้น ผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ ฯลฯ
เป็นสัมมาทิฏฐิในโลกนี้ หลังจากตายแล้วได้ไปเกิดในอบาย
ทุคติ วินิบาต นรก’ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า
บุคคลใดเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ ฯลฯ
เป็นสัมมาทิฏฐิ บุคคลนั้นทั้งหมดหลังจากตายแล้วจะไปเกิด
ในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ชนเหล่าใดรู้อย่างนี้ ชนเหล่านั้น
ชื่อว่ารู้ชอบ ชนเหล่าใดรู้นอกเหนือไป ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้ผิด’
สมณะหรือพราหมณ์นั้นจะพูดปักใจลงไปถึงเรื่องที่เขารู้เอง
เห็นเอง ทราบเอง ตามแรงจูงใจ ตามความปักใจในเรื่องนั้นดังนี้ว่า
‘นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
[๓๐๒] อานนท์
๑. บรรดาสมณะหรือพราหมณ์ ๔ จำพวกนั้น เราคล้อยตามวาทะ
ของสมณะหรือพราหมณ์ผู้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า
กรรมชั่วมี วิบากของทุจริตมี’ เราคล้อยตามแม้วาทะของเขาผู้
กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าได้เห็นบุคคลโน้น ผู้มักฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๖. มหากัมมวิภังคสูตร

ฯลฯ เป็นมิจฉาทิฏฐิในโลกนี้ หลังจากตายแล้วได้ไปเกิดในอบาย
ทุคติ วินิบาต นรก’ แต่เราไม่คล้อยตามวาทะของเขาผู้กล่าว
อย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า บุคคลใดเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์
ฯลฯ เป็นมิจฉาทิฏฐิ บุคคลนั้นทั้งหมดหลังจากตายแล้วจะไปเกิด
ในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก’ เราไม่คล้อยตามแม้วาทะของเขา
ผู้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ชนเหล่าใดรู้อย่างนี้ ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้ชอบ
ชนเหล่าใดรู้นอกเหนือไป ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้ผิด’ เราไม่คล้อยตาม
แม้วาทะของเขาที่พูดปักใจลงไปถึงเรื่องที่เขารู้เอง เห็นเอง ทราบเอง
ตามแรงจูงใจ ตามความปักใจในเรื่องนั้นว่า ‘นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น
ไม่จริง’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะตถาคตมีความรู้ในมหากัมมวิภังค์เป็นอย่างอื่น
๒. บรรดาสมณะหรือพราหมณ์ ๔ จำพวกนั้น เราไม่คล้อยตามวาทะ
ของสมณะหรือพราหมณ์ผู้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า
กรรมชั่วไม่มี วิบากของทุจริตไม่มี’ เราคล้อยตามวาทะของเขา
ผู้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าได้เห็นบุคคลโน้น ผู้มักฆ่าสัตว์
ลักทรัพย์ ฯลฯ เป็นมิจฉาทิฏฐิในโลกนี้ หลังจากตายแล้วได้ไป
เกิดในสุคติโลกสวรรค์’ แต่เราไม่คล้อยตามวาทะของเขาผู้กล่าว
อย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า บุคคลใดมักฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์
ฯลฯ เป็นมิจฉาทิฏฐิ บุคคลนั้นทั้งหมดหลังจากตายแล้วจะไปเกิด
ในสุคติโลกสรรค์’ เราไม่คล้อยตามแม้วาทะของเขาผู้กล่าวอย่างนี้ว่า
‘ชนเหล่าใดรู้อย่างนี้ ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้ชอบ ชนเหล่าใดรู้นอก
เหนือไป ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้ผิด’ เราไม่คล้อยตามแม้วาทะของเขา
ที่พูดปักใจลงไปถึงเรื่องที่เขารู้เอง เห็นเอง ทราบเอง ตามแรงจูงใจ
ตามความปักใจในเรื่องนั้นว่า ‘นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๖. มหากัมมวิภังคสูตร

ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะตถาคตมีความรู้ในมหากัมมวิภังค์เป็นอย่างอื่น
๓. บรรดาสมณะหรือพราหมณ์ทั้ง ๔ จำพวกนั้น เราคล้อยตามวาทะ
ของสมณะหรือพราหมณ์ผู้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า
กรรมดีมี วิบากของสุจริตมี’ เราคล้อยตามวาทะของเขาผู้กล่าว
อย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าได้เห็นบุคคลโน้นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
เว้นขาดจากการลักทรัพย์ ฯลฯ เป็นสัมมาทิฏฐิในโลกนี้ หลัง
จากตายแล้วได้ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์’ และเราก็คล้อยตามวาทะ
ของเขา ผู้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า บุคคลใด
เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ ฯลฯ เป็น
สัมมาทิฏฐิ บุคคลนั้นทั้งหมดหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติ
โลกสวรรค์’ แต่เราไม่คล้อยตามแม้วาทะของเขาผู้กล่าวอย่างนี้ว่า
‘ชนเหล่าใดรู้อย่างนี้ ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้ชอบ ชนเหล่าใดรู้นอก
เหนือไป ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้ผิด’ เราไม่คล้อยตามแม้วาทะของเขา
ที่พูดปักใจลงไปถึงเรื่องที่เขารู้เอง เห็นเอง ทราบเอง ตามแรงจูงใจ
ตามความปักใจในเรื่องนั้นว่า ‘นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะตถาคตมีความรู้ในมหากัมมวิภังค์เป็นอย่างอื่น
๔. บรรดาสมณะหรือพราหมณ์ทั้ง ๔ จำพวกนั้น เราไม่คล้อยตาม
วาทะของสมณะหรือพราหมณ์ผู้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ได้
ยินว่า กรรมดีไม่มี วิบากของสุจริตไม่มี’ เราคล้อยตามวาทะของ
เขาผู้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าได้เห็นบุคคลโน้นผู้เว้นขาดจากการ
ฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ ฯลฯ เป็นสัมมาทิฏฐิในโลกนี้
หลังจากตายแล้วได้ไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก’ แต่เรา
ไม่คล้อยตามวาทะของเขาผู้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๖. มหากัมมวิภังคสูตร

บุคคลใดเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ ฯลฯ
เป็นสัมมาทิฏฐิ บุคคลนั้นทั้งหมดหลังจากตายแล้วจะไปเกิด
ในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก’ เราไม่คล้อยตามแม้วาทะของเขา
ผู้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ชนเหล่าใดรู้อย่างนี้ ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้ชอบ ชน
เหล่าใดรู้นอกเหนือไป ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้ผิด’ เราไม่คล้อยตาม
แม้วาทะของเขาที่พูดปักใจลงไปถึงเรื่องที่เขารู้เอง เห็นเอง ทราบ
เอง ตามแรงจูงใจ ตามความปักใจในเรื่องนั้นว่า ‘นี้เท่านั้นจริง
อย่างอื่นไม่จริง’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะตถาคตมีความรู้ในมหากัมมวิภังค์เป็นอย่างอื่น
[๓๐๓] อานนท์
๑. บรรดาบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลใดเป็นผู้มักฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์
ฯลฯ เป็นมิจฉาทิฏฐิในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจึงไปเกิดในอบาย
ทุคติ วินิบาต นรก บุคคลนั้นหลังจากตายแล้วไปเกิดในอบาย
ทุคติ วินิบาต นรก เพราะบาปกรรมที่เขาทำไว้ในชาติก่อน ให้
ผลเป็นทุกข์ บาปกรรมที่เขาทำไว้ในภายหลังให้ผลเป็นทุกข์ หรือ
ในเวลาจะตาย เขามีมิจฉาทิฏฐิที่ให้บริบูรณ์ยึดมั่นไว้ แต่การที่
บุคคลเป็นผู้มักฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ฯลฯ เป็นมิจฉาทิฏฐิในโลกนี้
เขาย่อมเสวยวิบากแห่งกรรมนั้นในชาตินี้บ้าง ในชาติหน้าบ้าง
ในชาติต่อ ๆ ไปบ้าง
๒. บรรดาบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลใดเป็นผู้มักฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์
ฯลฯ เป็นมิจฉาทิฏฐิในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจึงไปเกิดในสุคติ
โลกสวรรค์ บุคคลนั้นหลังจากตายแล้วไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
เพราะกรรมดีที่เขาทำไว้ในชาติก่อนให้ผลเป็นสุข กรรมดีที่เขาทำ
ไว้ในภายหลังให้ผลเป็นสุข หรือในเวลาจะตาย เขามีสัมมาทิฏฐิที่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๖. มหากัมมวิภังคสูตร

ให้บริบูรณ์ยึดมั่นไว้ แต่การที่บุคคลเป็นผู้มักฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์
ฯลฯ เป็นมิจฉาทิฏฐิในโลกนี้ เขาย่อมเสวยวิบากแห่งกรรมนั้น
ในชาตินี้บ้าง ในชาติหน้าบ้าง ในชาติต่อ ๆ ไปบ้าง
๓. บรรดาบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลใดเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
เว้นขาดจากการลักทรัพย์ ฯลฯ เป็นสัมมาทิฏฐิในโลกนี้ หลัง
จากตายแล้วจึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ บุคคลนั้นหลังจากตาย
แล้วไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมดีที่เขาทำไว้ในชาติก่อน
ให้ผลเป็นสุข กรรมดีที่เขาทำไว้ในภายหลังให้ผลเป็นสุข หรือใน
เวลาจะตาย เขามีสัมมาทิฏฐิที่ให้บริบูรณ์ยึดมั่นไว้ แต่การที่
บุคคลเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ ฯลฯ
เป็นสัมมาทิฏฐิในโลกนี้ เขาเสวยวิบากแห่งกรรมนั้นในชาตินี้
บ้าง ในชาติหน้าบ้าง ในชาติต่อ ๆ ไปบ้าง
๔. บรรดาบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลใดเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
เว้นขาดจากการลักทรัพย์ ฯลฯ เป็นสัมมาทิฏฐิในโลกนี้ หลัง
จากตายแล้วจึงไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก บุคคลนั้น
หลังจากตายแล้วไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะ
บาปกรรมที่เขาทำไว้ในชาติก่อนให้ผลเป็นทุกข์ บาปกรรมที่เขาทำ
ไว้ในภายหลังให้ผลเป็นทุกข์ หรือในเวลาจะตาย มีมิจฉาทิฏฐิที่เขา
ให้บริบูรณ์ยึดมั่นไว้ แต่การที่บุคคลเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
เว้นขาดจากการลักทรัพย์ ฯลฯ เป็นสัมมาทิฏฐิในโลกนี้ เขาย่อม
เสวยวิบากแห่งกรรมนั้นในชาตินี้บ้าง ในชาติหน้าบ้าง ในชาติต่อ ๆ
ไปบ้าง
อานนท์ กรรมที่ไม่ควร ส่องให้เห็นว่าไม่ควรก็มีอยู่ กรรมที่ไม่ควร ส่องให้
เห็นว่าควรก็มีอยู่ กรรมที่ควร ส่องให้เห็นว่าควรก็มีอยู่ และกรรมที่ควร ส่องให้
เห็นว่าไม่ควรก็มีอยู่ ดังพรรณนามาฉะนี้”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์มีใจยินดีชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

มหากัมมวิภังคสูตรที่ ๖ จบ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๗. สฬายตนวิภังคสูตร

๗. สฬายตนวิภังคสูตร
ว่าด้วยการจำแนกอายตนะ ๖ ประการ

[๓๐๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียก
ภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสฬายตนวิภังค์แก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังสฬายตนวิภังค์นั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“เธอทั้งหลายพึงทราบอายตนะภายใน ๖ อายตนะภายนอก ๖ หมวด
วิญญาณ ๖ หมวดผัสสะ ๖ มโนปวิจาร๑ ๑๘ สัตตบท๒ ๓๖ ในธรรมเหล่านั้น
เธอทั้งหลายอาศัยธรรมนี้แล้ว จงละธรรมนี้เสีย และพึงทราบสติปัฏฐาน ๓ ที่
พระอริยะเสพซึ่งเมื่อเสพอยู่ชื่อว่าเป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนคณะ พระอริยศาสดา
นั้นอันเราเรียกว่าเป็นสารถีผู้สามารถฝึกบุรุษที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยมกว่าอาจารย์
ผู้ฝึกทั้งหลาย นี้เป็นอุทเทสแห่งสฬายตนวิภังค์
[๓๐๕] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘พึงทราบอายตนะภายใน ๖’ เพราะอาศัยเหตุ
อะไรเราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น คือ

๑. จักขวายตนะ (อายตนะคือตา)
๒. โสตายตนะ (อายตนะคือหู)
๓. ฆานายตนะ (อายตนะคือจมูก)


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๗. สฬายตนวิภังคสูตร

๔. ชิวหายตนะ (อายตนะคือลิ้น)
๕. กายายตนะ (อายตนะคือกาย)
๖. มนายตนะ (อายตนะคือใจ)๑
คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘พึงทราบอายตนะภายใน ๖’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้
เราจึงกล่าวไว้ (๑)
เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘พึงทราบอายตนะภายนอก ๖’ เพราะอาศัยเหตุอะไร
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น คือ
๑. รูปายตนะ (อายตนะคือรูป)
๒. สัททายตนะ (อายตนะคือเสียง)
๓. คันธายตนะ (อายตนะคือกลิ่น)
๔. รสายตนะ (อายตนะคือรส)
๕. โผฏฐัพพายตนะ (อายตนะคือสัมผัส)
๖. ธัมมายตนะ (อายตนะคือธรรมารมณ์)
คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘พึงทราบอายตนะภายนอก ๖’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้
เราจึงกล่าวไว้ (๒)
เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘พึงทราบหมวดวิญญาณ ๖’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เรา
จึงกล่าวไว้เช่นนั้น คือ
๑. จักขุวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางตา)
๒. โสตวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางหู)
๓. ฆานวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางจมูก)
๔. ชิวหาวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางลิ้น)
๕. กายวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางกาย)
๖. มโนวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางใจ)
คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘พึงทราบหมวดวิญญาณ ๖’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้
เราจึงกล่าวไว้ (๓)


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๗. สฬายตนวิภังคสูตร

เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘พึงทราบหมวดผัสสะ ๖’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึง
กล่าวไว้เช่นนั้น คือ

๑. จักขุสัมผัส (สัมผัสทางตา)
๒. โสตสัมผัส (สัมผัสทางหู)
๓. ฆานสัมผัส (สัมผัสทางจมูก)
๔. ชิวหาสัมผัส (สัมผัสทางลิ้น)
๕. กายสัมผัส (สัมผัสทางกาย)
๖. มโนสัมผัส (สัมผัสทางใจ)

คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘พึงทราบหมวดผัสสะ ๖’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เรา
จึงกล่าวไว้ (๔)
เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘พึงทราบมโนปวิจาร ๑๘’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เรา
จึงกล่าวไว้เช่นนั้น
คือ บุคคลเห็นรูปทางตาแล้ว ย่อมนึกหน่วงรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส ย่อม
นึกหน่วงรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส ย่อมนึกหน่วงรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาไว้
ฟังเสียงทางหูแล้ว ...
ดมกลิ่นทางจมูกแล้ว ...
ลิ้มรสทางลิ้นแล้ว ...
ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายแล้ว ...
รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ย่อมนึกหน่วงธรรมารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส
ย่อมนึกหน่วงธรรมารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส ย่อมนึกหน่วงธรรมารมณ์อันเป็น
ที่ตั้งแห่งอุเบกขาไว้
ความนึกหน่วงฝ่ายโสมนัส ๖ ฝ่ายโทมนัส ๖ ฝ่ายอุเบกขา ๖ ย่อมมีด้วย
ประการฉะนี้
คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘พึงทราบมโนปวิจาร ๑๘’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เรา
จึงกล่าวไว้ (๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๗. สฬายตนวิภังคสูตร

[๓๐๖] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘พึงทราบสัตตบท ๓๖’ เพราะอาศัยเหตุอะไร
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น คือ โสมนัสอาศัยเรือน๑ ๖ โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ๒ ๖
โทมนัสอาศัยเรือน ๖ โทมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ อุเบกขาอาศัยเรือน ๖ อุเบกขา
อาศัยเนกขัมมะ ๖
ในสัตตบท ๓๖ นั้น โสมนัสอาศัยเรือน ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. โสมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้พิจารณาเห็นการได้เฉพาะซึ่งรูป
ที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ประกอบด้วยโลกามิส โดยเป็นของอันตนได้เฉพาะ หรือหวน
ระลึกถึงรูปที่ตนเคยได้มาก่อน อันล่วงลับ ดับ แปรผันไปแล้ว
โสมนัสเช่นนี้เราเรียกว่า โสมนัสอาศัยเรือน
๒. โสมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้พิจารณาเห็นการได้เฉพาะซึ่งเสียงที่
พึงรู้แจ้งทางหู ...
๓. โสมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้เห็นการได้เฉพาะซึ่งกลิ่นที่พึงรู้แจ้ง
ทางจมูก ...
๔. โสมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้พิจารณาเห็นการได้เฉพาะซึ่งรสที่พึง
รู้แจ้งทางลิ้น ...
๕. โสมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้พิจารณาเห็นการได้เฉพาะซึ่ง
โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ...
๖. โสมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้พิจารณาเห็นการได้เฉพาะซึ่ง
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ชวนให้รัก ประกอบด้วยโลกามิส โดยเป็นของอันตนได้เฉพาะ
หรือหวนระลึกถึงธรรมารมณ์ที่ตนเคยได้มาก่อน อันล่วงลับ ดับ
แปรผันไปแล้ว โสมนัสเช่นนี้เราเรียกว่า โสมนัสอาศัยเรือน
โสมนัสอาศัยเรือน ๖ ประการนี้


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๗. สฬายตนวิภังคสูตร

ในสัตตบท ๓๖ นั้น โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. โสมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ทราบความที่รูปทั้งหลายนั่นแลไม่เที่ยง
เห็นความแปรผัน ความคลายกำหนัด และความดับนั่นตามความ
เป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบ๑อย่างนี้ว่า ‘รูปในกาลก่อนและใน
บัดนี้ทั้งหมดนั้น ล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา’
โสมนัสเช่นนี้เราเรียกว่า โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ
๒. โสมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ทราบความที่เสียงทั้งหลายนั่นแล ...
๓. โสมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ทราบความที่กลิ่นทั้งหลายนั่นแล ...
๔. โสมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ทราบความที่รสทั้งหลายนั่นแล ...
๕. โสมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ทราบความที่โผฏฐัพพะทั้งหลาย
นั่นแล ...
๖. โสมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ทราบความที่ธรรมารมณ์ทั้งหลายนั่น
แลไม่เที่ยง เห็นความแปรผัน ความคลายกำหนัด และความดับ
นั่นตามความเป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า ‘ธรรมารมณ์
ในกาลก่อนและในบัดนี้ทั้งหมดนั้น ล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มี
ความแปรผันเป็นธรรมดา’ โสมนัสเช่นนี้เราเรียกว่า โสมนัสอาศัย
เนกขัมมะ
โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ ประการนี้
[๓๐๗] ในสัตตบท ๓๖ นั้น โทมนัสอาศัยเรือน ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. โทมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้เห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งรูปที่พึงรู้แจ้ง
ทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ประกอบ
ด้วยโลกามิส โดยความเป็นของอันตนไม่ได้เฉพาะ หรือหวนระลึก
ถึงรูปที่ตนไม่เคยได้มาก่อน อันล่วงลับ ดับ แปรผันไปแล้ว
โทมนัสเช่นนี้เราเรียกว่า โทมนัสอาศัยเรือน


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๗. สฬายตนวิภังคสูตร

๒. โทมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้เห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งเสียงที่พึงรู้
แจ้งทางหู ...
๓. โทมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้เห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งกลิ่นที่พึงรู้
แจ้งทางจมูก ...
๔. โทมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้เห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งรสที่พึงรู้แจ้ง
ทางลิ้น ...
๕. โทมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้เห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งโผฏฐัพพะที่
พึงรู้แจ้งทางกาย ...
๖. โทมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้เห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งธรรมารมณ์
ที่พึงรู้แจ้งทางใจ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ประกอบด้วยโลกามิส โดยความเป็นของอันตนไม่ได้เฉพาะ หรือ
หวนระลึกถึงธรรมารมณ์ที่ตนไม่เคยได้มาก่อน อันล่วงลับ ดับ
แปรผันไปแล้ว โทมนัสเช่นนี้เราเรียกว่า โทมนัสอาศัยเรือน
โทมนัสอาศัยเรือน ๖ ประการนี้
ในสัตตบท ๓๖ นั้น โทมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. โทมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ทราบความที่รูปทั้งหลายนั่นแลไม่เที่ยง
เห็นความแปรผัน ความคลายกำหนัด และความดับนั่นตามความ
เป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า ‘รูปในกาลก่อนและใน
บัดนี้ทั้งหมดนั้น ล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็น
ธรรมดา’ แล้วตั้งความปรารถนาในอนุตตรวิโมกข์๑ว่า ‘ในกาลไร
เราจักบรรลุอายตนะ๒ที่พระอริยะทั้งหลายได้บรรลุอยู่ในบัดนี้’
เพราะความปรารถนาเป็นปัจจัย โทมนัสจึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ตั้ง
ความปรารถนาในอนุตตรวิโมกข์ด้วยประการฉะนี้ โทมนัสเช่นนี้
เราเรียกว่า โทมนัสอาศัยเนกขัมมะ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๗. สฬายตนวิภังคสูตร

๒. โทมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ทราบความที่เสียงทั้งหลายนั่นแล ...
๓. โทมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ทราบความที่กลิ่นทั้งหลายนั่นแล ...
๔. โทมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ทราบความที่รสทั้งหลายนั่นแล ...
๕. โทมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ทราบความที่โผฏฐัพพะทั้งหลาย
นั่นแล ...
๖. โทมนัสย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ทราบความที่ธรรมารมณ์ทั้งหลายนั่น
แลไม่เที่ยง เห็นความแปรผัน ความคลายกำหนัด และความดับ
นั่นตามความเป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า ‘ธรรมารมณ์
ในกาลก่อนและในบัดนี้ทั้งหมดนั้น ล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มี
ความแปรผันเป็นธรรมดา’ แล้วตั้งความปรารถนาในอนุตตรวิโมกข์
ว่า ‘ในกาลไร เราจักบรรลุอายตนะที่พระอริยะทั้งหลายได้บรรลุ
อยู่ในบัดนี้’ เพราะความปรารถนาเป็นปัจจัย โทมนัสจึงเกิดขึ้นแก่
เขาผู้ตั้งความปรารถนาในอนุตตรวิโมกข์ด้วยประการฉะนี้ โทมนัส
เช่นนี้เราเรียกว่า โทมนัสอาศัยเนกขัมมะ
โทมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ ประการนี้
[๓๐๘] ในสัตตบท ๓๖ นั้น อุเบกขาอาศัยเรือน๑ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เพราะเห็นรูปทางตา อุเบกขา๒จึงเกิดขึ้นแก่ปุถุชน ผู้โง่เขลา งมงาย
ผู้ยังไม่ชนะกิเลส ยังไม่ชนะวิบาก ผู้ไม่เห็นโทษ ไม่ได้สดับ
เป็นคนกิเลสหนา อุเบกขาเช่นนี้ยังล่วงพ้นรูปไม่ได้ เพราะฉะนั้น
เราจึงเรียกอุเบกขานั้นว่า อุเบกขาอาศัยเรือน
๒. เพราะฟังเสียงทางหู ...
๓. เพราะดมกลิ่นทางจมูก ...
๔. เพราะลิ้มรสทางลิ้น ...


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๗. สฬายตนวิภังคสูตร

๕. เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ...
๖. เพราะรู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจ อุเบกขาจึงเกิดขึ้นแก่ปุถุชน ผู้โง่เขลา
งมงาย ผู้ยังไม่ชนะกิเลส ยังไม่ชนะวิบาก ผู้ไม่เห็นโทษ ไม่ได้สดับ
เป็นคนกิเลสหนา อุเบกขาเช่นนั้นยังล่วงพ้นธรรมารมณ์ไม่ได้
เพราะฉะนั้น เราจึงเรียกอุเบกขานั้นว่า อุเบกขาอาศัยเรือน
อุเบกขาอาศัยเรือน ๖ ประการนี้
ในสัตตบท ๓๖ นั้น อุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ๑ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อุเบกขาย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ทราบความที่รูปทั้งหลายนั่นแลไม่เที่ยง
เห็นความแปรผัน ความคลายกำหนัด และความดับนั่นตามความ
เป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า ‘รูปในกาลก่อนและใน
บัดนี้ทั้งหมดนั้น ล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็น
ธรรมดา’ อุเบกขาเช่นนี้นั้นย่อมล่วงพ้นรูปได้ เพราะฉะนั้น เราจึง
เรียกอุเบกขานั้นว่า อุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ
๒. อุเบกขาย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ทราบความที่เสียงทั้งหลายนั่นแล ...
๓. อุเบกขาย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ทราบความที่กลิ่นทั้งหลายนั่นแล ...
๔. อุเบกขาย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ทราบความที่รสทั้งหลายนั่นแล ...
๕. อุเบกขาย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ทราบความที่โผฏฐัพพะทั้งหลาย
นั่นแล ...
๖. อุเบกขาย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ทราบความที่ธรรมารมณ์ทั้งหลาย
นั่นแลไม่เที่ยง เห็นความแปรผัน ความคลายกำหนัด และ
ความดับนั่นตามความเป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า
‘ธรรมารมณ์ในกาลก่อนและในบัดนี้ทั้งหมดนั้น ล้วนไม่เที่ยง เป็น


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๗. สฬายตนวิภังคสูตร

ทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา’ อุเบกขาเช่นนี้นั้นย่อมล่วงพ้น
ธรรมารมณ์ได้ เพราะฉะนั้น เราจึงเรียกอุเบกขานั้นว่า อุเบกขา
อาศัยเนกขัมมะ
อุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ ๖ ประการนี้
คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘พึงทราบสัตตบท ๓๖’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึง
กล่าวไว้
[๓๐๙] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘ในสัตตบท ๓๖ นั้น เธอทั้งหลายอาศัยธรรมนี้
แล้วจงละธรรมนี้เสีย’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ภิกษุทั้งหลาย ในสัตตบท ๓๖ นั้น เธอทั้งหลายจงอาศัยพึ่งพิงโสมนัสอัน
อาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้นแล้ว จงละ จงก้าวล่วงโสมนัสอาศัยเรือน ๖ นั้นเสีย การละ
ก้าวล่วงโสมนัสเหล่านั้นมีได้ด้วยอาการอย่างนี้
ในสัตตบท ๓๖ นั้น เธอทั้งหลายอาศัยพึ่งพิงโทมนัสอันอาศัยเนกขัมมะ ๖
นั้นแล้ว จงละ จงก้าวล่วงโทมนัสอาศัยเรือน ๖ นั้นเสีย การละ การก้าวล่วง
โทมนัสเหล่านั้นมีได้ด้วยอาการอย่างนี้
ในสัตตบท ๓๖ นั้น เธอทั้งหลายอาศัยพึ่งพิงอุเบกขาอันอาศัยเนกขัมมะ ๖
นั้นแล้ว จงละ จงก้าวล่วงอุเบกขาอาศัยเรือน ๖ นั้นเสีย การละ การก้าวล่วง
อุเบกขาเหล่านั้นมีได้ด้วยอาการอย่างนี้
ในสัตตบท ๓๖ นั้น เธอทั้งหลายอาศัยพึ่งพิงโสมนัสอันอาศัยเนกขัมมะ ๖
นั้นแล้ว จงละ จงก้าวล่วงโทมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้นเสีย การละ การก้าวล่วง
โทมนัสเหล่านั้นมีได้ด้วยอาการอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย ในสัตตบท ๓๖ นั้น เธอทั้งหลายอาศัยพึ่งพิงอุเบกขาอัน
อาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้นแล้ว จงละ จงก้าวล่วงโสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้นเสีย
การละ การก้าวล่วงโสมนัสเหล่านั้นมีได้ด้วยอาการอย่างนี้
[๓๑๐] ภิกษุทั้งหลาย อุเบกขาที่มีประเภทต่างกัน อาศัยอารมณ์ต่างกันก็มี
อุเบกขาที่เป็นประเภทเดียวกัน อาศัยอารมณ์เดียวกันก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๗. สฬายตนวิภังคสูตร

อุเบกขาที่มีประเภทต่างกัน อาศัยอารมณ์ต่างกันก็มี เป็นอย่างไร
คือ อุเบกขาในรูปก็มี อุเบกขาในเสียงก็มี อุเบกขาในกลิ่นก็มี อุเบกขา
ในรสก็มี อุเบกขาในโผฏฐัพพะก็มี
นี้จัดเป็นอุเบกขาที่มีประเภทต่างกัน อาศัยอารมณ์ต่างกัน
อุเบกขาที่เป็นประเภทเดียวกัน อาศัยอารมณ์เดียวกัน เป็นอย่างไร
คือ อุเบกขาที่อาศัยอากาสานัญจายตนฌานก็มี อุเบกขาที่อาศัยวิญญาณัญ-
จายตนฌานก็มี อุเบกขาที่อาศัยอากิญจัญญายตนฌานก็มี อุเบกขาที่อาศัย
เนวสัญญานาสัญญายตนฌานก็มี
นี้จัดเป็นอุเบกขาที่เป็นประเภทเดียวกัน อาศัยอารมณ์เดียวกัน
ในอุเบกขา ๒ ประการนั้น เธอทั้งหลายอาศัยพึ่งพิงอุเบกขาที่เป็นประเภท
เดียวกัน อาศัยอารมณ์เดียวกันแล้ว จงละ จงก้าวล่วงอุเบกขาที่มีประเภทต่างกัน
อาศัยอารมณ์ต่างกันนั้นเสีย การละ การก้าวล่วงอุเบกขานี้มีได้ด้วยอาการอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอาศัยพึ่งพิงอตัมมยตา๑ แล้ว จงละ จงก้าวล่วง
อุเบกขาที่เป็นประเภทเดียวกัน อาศัยอารมณ์เดียวกันเสีย การละ การก้าวล่วง
อุเบกขานี้มีได้ด้วยอาการอย่างนี้
คำที่เรากล่าวไว้ว่า ในสัตตบท ๓๖ นั้น ‘เธอทั้งหลายอาศัยธรรมนี้แล้ว
จงละธรรมนี้เสีย’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้
[๓๑๑] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘พึงทราบสติปัฏฐาน ๓ ที่พระอริยเสพซึ่ง
เมื่อเสพ ชื่อว่าเป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนคณะ’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึง
กล่าวไว้เช่นนั้น


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๗. สฬายตนวิภังคสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ศาสดาในโลกนี้เป็นผู้อนุเคราะห์ แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล
อาศัยความเอ็นดู จึงแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายว่า ‘นี้เป็นไปเพื่อประโยชน์
เกื้อกูลแก่เธอทั้งหลาย นี้เป็นไปเพื่อสุขแก่เธอทั้งหลาย’ สาวกทั้งหลายของศาสดา
นั้นย่อมไม่ฟัง ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้ และประพฤติหลีกเลี่ยงคำสอนของ
ศาสดา ในข้อนั้น ตถาคตไม่มีใจยินดี ไม่ชื่นชม และไม่ถูก(โทสะ) รั่วรด มี
สติสัมปชัญญะอยู่
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า สติปัฏฐานประการที่ ๑ ที่พระอริยเสพ ซึ่งเมื่อ
เสพ ชื่อว่าเป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนคณะ
อีกประการหนึ่ง ศาสดาเป็นผู้อนุเคราะห์ แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัย
ความเอ็นดูจึงแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายว่า ‘นี้เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่เธอ
ทั้งหลาย นี้เป็นไปเพื่อสุขแก่เธอทั้งหลาย’ สาวกทั้งหลายของศาสดานั้น บางพวก
ไม่ฟัง ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้ และประพฤติหลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา
บางพวกฟังด้วยดี เงี่ยโสตสดับ ตั้งจิตรับรู้ ไม่ประพฤติหลีกเลี่ยงคำสอนของ
ศาสดา ในข้อนั้น ตถาคตก็ไม่มีใจยินดี ไม่ชื่นชม ไม่มีใจยินดีก็มิใช่ ไม่ชื่นชม
ก็มิใช่ เว้นความมีใจยินดีและความไม่มีใจยินดีทั้ง ๒ อย่างนั้นแล้ว จึงเป็น
ผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า สติปัฏฐานประการที่ ๒ ที่พระอริยเสพ ซึ่ง
เมื่อเสพ ชื่อว่าเป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนคณะ
อีกประการหนึ่ง ศาสดาเป็นผู้อนุเคราะห์ แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัย
ความเอ็นดูจึงแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายว่า ‘นี้เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่เธอ
ทั้งหลาย นี้เป็นไปเพื่อสุขแก่เธอทั้งหลาย’ สาวกทั้งหลายของศาสดานั้น ย่อมฟัง
ด้วยดี เงี่ยโสตสดับ ตั้งจิตรับรู้ ไม่ประพฤติหลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา ในข้อนั้น
ตถาคตมีใจยินดี ชื่นชม และไม่ถูก(ราคะ) รั่วรด มีสติสัมปชัญญะอยู่
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า สติปัฏฐานประการที่ ๓ ที่พระอริยเสพ ซึ่งเมื่อเสพ
ชื่อว่าเป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนคณะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๗. สฬายตนวิภังคสูตร

คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘พระอริยะเสพธรรม คือ สติปัฏฐาน ๓ ซึ่งเมื่อเสพ
ชื่อว่าเป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนคณะ’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้
[๓๑๒] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘พระอริยศาสดานั้นอันเราเรียกว่า เป็นสารถีผู้
สามารถฝึกบุรุษที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยมกว่าอาจารย์ผู้ฝึกทั้งหลาย’ เพราะอาศัย
เหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ภิกษุทั้งหลาย ช้างที่ควรฝึก อันควาญช้างบังคับให้วิ่ง ย่อมวิ่งไปสู่ทิศเดียว
เท่านั้น คือ ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ หรือทิศใต้
ม้าที่ควรฝึก อันคนฝึกม้าบังคับให้วิ่ง ย่อมวิ่งไปสู่ทิศเดียวเท่านั้น คือ ทิศ
ตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ หรือทิศใต้
โคที่ควรฝึก อันคนฝึกโคบังคับให้วิ่ง ย่อมวิ่งไปสู่ทิศเดียวเท่านั้น คือทิศ
ตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ หรือทิศใต้
แต่บุรุษที่ควรฝึก อันตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนให้วิ่ง ย่อมวิ่งไป
ได้ตลอดทิศทั้ง ๘ คือ
ผู้มีรูป ย่อมเห็นรูปทั้งหลายได้ นี้เป็นทิศที่ ๑
ผู้มีสัญญาในอรูปในภายใน ย่อมเห็นรูปทั้งหลายในภายนอกได้ นี้เป็นทิศที่ ๒
เป็นผู้น้อมใจว่างามทั้งนั้น นี้เป็นทิศที่ ๓
เพราะก้าวล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจนานัตตสัญญา
โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุอากาสานัญจายตนฌานอยู่ด้วยใส่ใจว่า ‘อากาศหา
ที่สุดมิได้’ นี้เป็นทิศที่ ๔
เพราะก้าวล่วงอากาสานัญจายตนฌานได้โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุ
วิญญาณัญจายตนฌานอยู่ด้วยใส่ใจว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ นี้เป็นทิศที่ ๕
เพราะก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนฌานได้โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุ
อากิญจัญญายตนฌานอยู่ด้วยใส่ใจว่า ‘ไม่มีอะไรสักหน่อยหนึ่ง’ นี้เป็นทิศที่ ๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๘. อุทเทสวิภังคสูตร

เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนฌานได้โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุ
เนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ นี้เป็นทิศที่ ๗
เพราะก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานได้โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุ
สัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ นี้เป็นทิศที่ ๘
ภิกษุทั้งหลาย บุรุษที่ควรฝึกอันตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนให้วิ่ง
ย่อมวิ่งไปได้ตลอดทิศทั้ง ๘ นี้
คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘พระอริยศาสดานั้นอันเราเรียกว่า เป็นสารถีผู้สามารถ
ฝึกบุรุษที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยมกว่าอาจารย์ผู้ฝึกทั้งหลาย’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้
เราจึงกล่าวไว้”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

สฬายตนวิภังคสูตรที่ ๗ จบ

๘. อุทเทสวิภังคสูตร
ว่าด้วยอุทเทสและวิภังค์

[๓๑๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียก
ภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอุทเทสและวิภังค์แก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังอุทเทสและวิภังค์นั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงพิจารณาโดยประการที่เมื่อพิจารณาอยู่ วิญญาณจะ
ไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปในภายนอก ไม่ตั้งมั่นอยู่ในภายใน ไม่สะดุ้งเพราะไม่ยึดมั่น
เมื่อวิญญาณไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปในภายนอก ไม่ตั้งมั่นอยู่ในภายใน ไม่สะดุ้งเพราะ
ไม่ถือมั่น จึงไม่มีเหตุเกิดหรือแดนเกิดแห่งชาติ ชรา มรณะ และทุกข์ต่อไป”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๘. อุทเทสวิภังคสูตร

พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาครั้นตรัสพระดำรัสนี้แล้ว ทรงลุกจากพุทธอาสน์
เสด็จเข้าไปยังที่ประทับ
[๓๑๔] ครั้งนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จจากไปไม่นาน ภิกษุเหล่านั้นได้มี
ความสงสัยว่า “ท่านทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุทเทสโดยย่อนี้แก่เรา
ทั้งหลายว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงพิจารณาโดยประการที่เมื่อพิจารณาอยู่ วิญญาณจะ
ไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปในภายนอก ไม่ตั้งมั่นอยู่ในภายใน ไม่สะดุ้งเพราะไม่ยึดมั่น
เมื่อวิญญาณไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปในภายนอก ไม่ตั้งมั่นอยู่ในภายใน ไม่สะดุ้งเพราะ
ไม่ถือมั่น จึงไม่มีเหตุเกิดหรือแดนเกิดแห่งชาติ ชรา มรณะ และทุกข์ต่อไป’
แล้วไม่ทรงชี้แจงเนื้อความให้พิสดาร ทรงลุกจากพุทธอาสน์เสด็จเข้าไปยังที่ประทับ
ใครเล่าหนอจะพึงชี้แจงเนื้อความแห่งอุทเทสโดยย่อที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้
ไม่ทรงชี้แจงโดยพิสดารให้พิสดารได้”
ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นเกิดความคิดขึ้นว่า “ท่านพระมหากัจจานะนี้ เป็นผู้ที่
พระศาสดาทรงยกย่อง ทั้งเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็สรรเสริญแล้ว และท่าน
พระมหากัจจานะก็สามารถจะชี้แจงเนื้อความแห่งอุทเทสโดยย่อที่พระผู้มีพระภาค
ทรงแสดงไว้ ไม่ทรงชี้แจงโดยพิสดารให้พิสดารได้ ทางที่ดี เราทั้งหลายควรเข้าไป
หาท่านพระมหากัจจานะถึงที่อยู่ แล้วพึงสอบถามเนื้อความนี้กับท่านพระมหากัจจานะ”
ลำดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นได้เข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะถึงที่อยู่ ได้สนทนา
ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกัน แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กล่าว
กับท่านพระมหากัจจานะว่า
“ท่านกัจจานะ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุทเทสโดยย่อนี้แก่เราทั้งหลายว่า
‘ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงพิจารณาโดยประการที่เมื่อพิจารณาอยู่ วิญญาณจะไม่ฟุ้งไป
ไม่ซ่านไปในภายนอก ไม่ตั้งมั่นอยู่ในภายใน ไม่สะดุ้งเพราะไม่ยึดมั่น เมื่อวิญญาณไม่ฟุ้งไป
ไม่ซ่านไปในภายนอก ไม่ตั้งมั่นอยู่ในภายใน ไม่สะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น จึงไม่มีเหตุ
เกิดหรือแดนเกิดแห่งชาติ ชรา มรณะ และทุกข์ต่อไป’ แล้วไม่ทรงชี้แจง
เนื้อความโดยพิสดาร ทรงลุกจากพุทธอาสน์เสด็จเข้าไปยังที่ประทับ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๘. อุทเทสวิภังคสูตร

เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จจากไปไม่นาน พวกกระผมได้มีความสงสัยว่า
‘พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุทเทสโดยย่อนี้แก่เราทั้งหลายว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
พึงพิจารณาโดยประการที่เมื่อพิจารณาอยู่ วิญญาณจะไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปในภายนอก
ไม่ตั้งมั่นอยู่ในภายใน ไม่สะดุ้งเพราะไม่ยึดมั่น เมื่อวิญญาณไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปใน
ภายนอก ไม่ตั้งมั่นอยู่ในภายใน ไม่สะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น จึงไม่มีเหตุเกิดหรือแดน
เกิดแห่งชาติ ชรา มรณะ และทุกข์ต่อไป’ แล้วไม่ทรงชี้แจงเนื้อความโดยพิสดาร
ทรงลุกจากพุทธอาสน์เสด็จเข้าไปยังที่ประทับ ใครเล่าหนอจะพึงชี้แจงเนื้อความแห่ง
อุทเทสโดยย่อที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้ ไม่ทรงชี้แจงโดยพิสดารให้พิสดารได้’
ท่านกัจจานะ เราทั้งหลายคิดว่า ‘ท่านมหากัจจานะนี้เป็นผู้ที่พระศาสดาทรง
ยกย่อง ทั้งเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็สรรเสริญแล้ว และท่านมหากัจจานะ
ก็สามารถจะชี้แจงเนื้อความแห่งอุทเทสโดยย่อที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้ ไม่
ทรงชี้แจงโดยพิสดารให้พิสดารได้ ทางที่ดี เราทั้งหลายควรเข้าไปหาท่าน
พระมหากัจจานะถึงที่อยู่ แล้วพึงสอบถามเนื้อความนี้กับท่านพระมหากัจจานะ’
ขอท่านมหากัจจานะโปรดชี้แจงเถิด”

พระมหากัจจานะอธิบายอุทเทส

[๓๑๕] ท่านพระมหากัจจานะจึงตอบว่า “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เปรียบ
เหมือนบุรุษผู้ต้องการแก่นไม้ เที่ยวเสาะแสวงหาแก่นไม้อยู่ ละเลยโคนและลำต้น
ของต้นไม้ใหญ่ซึ่งมีแก่นไป เขาเข้าใจว่าแก่นไม้ต้องแสวงหาที่กิ่งและใบ แม้
ฉันใด ข้ออุปไมยนี้ก็ฉันนั้น เมื่อพระศาสดาทรงปรากฏเฉพาะหน้าท่านทั้งหลาย
ท่านทั้งหลายก็ละเลยพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นไป และพึงเข้าใจเนื้อความนั้นว่า
ต้องสอบถามกับกระผม แท้จริง พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงรู้สิ่งที่ควรรู้
ทรงเห็นสิ่งที่ควรเห็น เป็นผู้มีพระจักษุ มีพระญาณ มีธรรม เป็นพรหม เป็น
ผู้เผยแผ่ ประกาศ ขยายเนื้อความ เป็นผู้ให้อมตธรรม เป็นเจ้าของธรรม เป็น
พระตถาคต และเวลานี้ก็เป็นเวลาอันสมควรที่ท่านทั้งหลายจะทูลถามเนื้อความนี้
กับพระองค์ พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลายทรงตอบอย่างใด ท่านทั้งหลายพึง
ทรงจำเนื้อความนั้นไว้อย่างนั้นเถิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๘. อุทเทสวิภังคสูตร

ภิกษุเหล่านั้นได้กล่าวตอบว่า “ท่านกัจจานะ เป็นความจริงที่พระผู้มี
พระภาคทรงรู้สิ่งที่ควรรู้ ทรงเห็นสิ่งที่ควรเห็น เป็นผู้มีพระจักษุ มีพระญาณ
มีธรรม เป็นพรหม เป็นผู้เผยแผ่ ประกาศ ขยายเนื้อความ เป็นผู้ให้อมตธรรม
เป็นเจ้าของธรรม เป็นพระตถาคต และเวลานี้ก็เป็นเวลาอันสมควรที่เราทั้งหลาย
จะทูลถามเนื้อความนี้กับพระองค์ พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลายทรงตอบอย่างใด
เราทั้งหลายจะพึงทรงจำเนื้อความนั้นไว้อย่างนั้น อนึ่ง ท่านมหากัจจานะเป็นผู้ที่
พระศาสดาทรงยกย่อง ทั้งเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็สรรเสริญแล้ว และท่าน
มหากัจจานะก็สามารถจะชี้แจงเนื้อความแห่งอุทเทสโดยย่อที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้
ไม่ทรงชี้แจงโดยพิสดารให้พิสดารได้ ขอท่านมหากัจจานะไม่ต้องหนักใจ ชี้แจงเถิด”
ท่านพระมหากัจจานะกล่าวว่า “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น ท่าน
ทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี กระผมจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว
ท่านพระมหากัจจานะจึงได้กล่าวว่า “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาค
ทรงแสดงอุทเทสโดยย่อไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงพิจารณาโดยประการที่เมื่อ
พิจารณาอยู่ วิญญาณจะไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปในภายนอก ไม่ตั้งมั่นอยู่ในภายใน
ไม่สะดุ้งเพราะไม่ยึดมั่น เมื่อวิญญาณไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปในภายนอก ไม่ตั้งมั่นอยู่
ในภายใน ไม่สะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น จึงไม่มีเหตุเกิดหรือแดนเกิดแห่งชาติ ชรา มรณะ
และทุกข์ต่อไป’ แล้วไม่ทรงชี้แจงเนื้อความโดยพิสดาร ทรงลุกจากอาสนะเสด็จ
เข้าไปยังที่ประทับ กระผมรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งอุทเทสโดยย่อที่พระผู้มีพระภาคทรง
แสดงไว้ ไม่ทรงชี้แจงไว้โดยพิสดาร โดยพิสดารอย่างนี้
[๓๑๖] วิญญาณที่เรียกว่า ‘ฟุ้งไป ซ่านไปในภายนอก‘ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เห็นรูปทางตาแล้ว มีวิญญาณซ่านไปตามนิมิต
คือรูป พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกวิญญาณที่ถูกความยินดีในนิมิตคือรูปตรึงไว้ ถูก
ความยินดีในนิมิตคือรูปผูกมัดไว้ ที่เกี่ยวข้องด้วยสังโยชน์คือความยินดีในนิมิตคือรูปว่า
‘ฟุ้งไป ซ่านไปในภายนอก’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๘. อุทเทสวิภังคสูตร

ฟังเสียงทางหูแล้ว ...
ดมกลิ่นทางจมูกแล้ว ...
ลิ้มรสทางลิ้นแล้ว ...
ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายแล้ว ...
รู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้ว มีวิญญาณซ่านไปตามนิมิตคือธรรมารมณ์ พระผู้มี
พระภาคตรัสเรียกวิญญาณที่ถูกความยินดีในนิมิตคือธรรมารมณ์ตรึงไว้ ที่ถูกความ
ยินดีในนิมิตคือธรรมารมณ์ผูกมัดไว้ ที่เกี่ยวข้องด้วยสังโยชน์คือความยินดีในนิมิต
คือธรรมารมณ์ว่า ‘ฟุ้งไป ซ่านไปในภายนอก’
วิญญาณที่เรียกว่า ‘ฟุ้งไป ซ่านไปในภายนอก’ เป็นอย่างนี้
[๓๑๗] วิญญาณที่เรียกว่า ‘ไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปในภายนอก‘ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เห็นรูปทางตาแล้ว มีวิญญาณไม่ซ่านไปตาม
นิมิตคือรูป พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกวิญญาณที่ไม่ถูกความยินดีในนิมิตคือรูปตรึงไว้
ที่ไม่ถูกความยินดีในนิมิตคือรูปผูกมัดไว้ ไม่เกี่ยวข้องด้วยสังโยชน์คือความยินดีใน
นิมิตคือรูปว่า ‘ไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปในภายนอก’
ฟังเสียงทางหูแล้ว ...
ดมกลิ่นทางจมูกแล้ว ...
ลิ้มรสทางลิ้นแล้ว ...
ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายแล้ว ...
รู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้ว มีวิญญาณไม่ซ่านไปตามนิมิตคือธรรมารมณ์ พระผู้
มีพระภาคตรัสเรียกวิญญาณที่ไม่ถูกความยินดีในนิมิตคือธรรมารมณ์ตรึงไว้ ที่ไม่
ถูกความยินดีในนิมิตคือธรรมารมณ์ผูกมัดไว้ ที่ไม่เกี่ยวข้องด้วยสังโยชน์คือความ
ยินดีในนิมิตคือธรรมารมณ์ว่า ‘ไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปในภายนอก’
วิญญาณที่เรียกว่า ‘ไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปในภายนอก’ เป็นอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๘. อุทเทสวิภังคสูตร

[๓๑๘] จิตที่เรียกว่า ‘ตั้งมั่นอยู่ในภายใน‘ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว
บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ ภิกษุนั้นมีวิญญาณ
ซ่านไปตามปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกจิตที่ถูกความ
ยินดีในปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกตรึงไว้ ที่ถูกความยินดีในปีติและสุขอันเกิดจาก
วิเวกผูกมัดไว้ ที่เกี่ยวข้องด้วยสังโยชน์คือความยินดีในปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกว่า
‘ตั้งมั่นอยู่ในภายใน’
อีกประการหนึ่ง เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุทุติยฌานมีความ
ผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข
อันเกิดจากสมาธิอยู่ ภิกษุนั้นมีวิญญาณซ่านไปตามปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกจิตที่ถูกความยินดีในปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิตรึงไว้
ที่ถูกความยินดีในปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิผูกมัดไว้ ที่เกี่ยวข้องด้วยสังโยชน์คือ
ความยินดีในปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิว่า ‘ตั้งมั่นอยู่ในภายใน’
อีกประการหนึ่ง เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา
มีสติ อยู่เป็นสุข’ ภิกษุนั้นมีวิญญาณซ่านไปตามอุเบกขา พระผู้มีพระภาคจึงตรัส
เรียกจิตที่ถูกความยินดีในสุขอันเกิดจากอุเบกขาตรึงไว้ ที่ถูกความยินดีในสุขอัน
เกิดจากอุเบกขาผูกมัดไว้ ที่เกี่ยวข้องด้วยสังโยชน์คือความยินดีในสุขอันเกิดจาก
อุเบกขาว่า ‘ตั้งมั่นอยู่ในภายใน’
อีกประการหนึ่ง เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน
ภิกษุบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ ภิกษุนั้นมี
วิญญาณซ่านไปในอทุกขมสุข พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกจิตที่ถูกความยินดีใน
อทุกขมสุขตรึงไว้ ที่ถูกความยินดีในอทุกขมสุขผูกมัดไว้ ที่เกี่ยวข้องด้วยสังโยชน์
คือความยินดีในอทุกขมสุขว่า ‘ตั้งมั่นอยู่ในภายใน’
จิตที่เรียกว่า ‘ตั้งมั่นอยู่ในภายใน’ เป็นอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๘. อุทเทสวิภังคสูตร

[๓๑๙] จิตที่เรียกว่า ‘ไม่ตั้งมั่นอยู่ในภายใน‘ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว
บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ อยู่ ภิกษุนั้นมีวิญญาณไม่ซ่านไปตามปีติและสุขอันเกิดจาก
วิเวก พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกจิตที่ไม่ถูกความยินดีในปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก
ตรึงไว้ ที่ไม่ถูกความยินดีในปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกผูกมัดไว้ ที่ไม่เกี่ยวข้องด้วย
สังโยชน์คือความยินดีในปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกว่า ‘ไม่ตั้งมั่นอยู่ในภายใน’
อีกประการหนึ่ง เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ อยู่
ภิกษุนั้นมีวิญญาณไม่ซ่านไปตามปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ พระผู้มีพระภาคจึง
ตรัสเรียกจิตที่ไม่ถูกความยินดีในปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิตรึงไว้ ที่ไม่ถูกความ
ยินดีในปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิผูกมัดไว้ ที่ไม่เกี่ยวข้องด้วยสังโยชน์คือความ
ยินดีในปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิว่า ‘ไม่ตั้งมั่นอยู่ในภายใน’
อีกประการหนึ่ง เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌาน ฯลฯ อยู่ ภิกษุนั้นมีวิญญาณไม่ซ่านไป
ตามอุเบกขา พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกจิตที่ไม่ถูกความยินดีในสุขอันเกิดจาก
อุเบกขาตรึงไว้ ที่ไม่ถูกความยินดีในสุขอันเกิดจากอุเบกขาผูกมัดไว้ ที่ไม่เกี่ยวข้อง
ด้วยสังโยชน์คือความยินดีในสุขอันเกิดจากอุเบกขาว่า ‘ไม่ตั้งมั่นอยู่ในภายใน’
อีกประการหนึ่ง เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน ภิกษุ
บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อยู่ ภิกษุนั้นมีวิญญาณไม่ซ่านไปตามอทุกขมสุข พระผู้มี
พระภาคตรัสเรียกจิตที่ไม่ถูกความยินดีในอทุกขมสุขตรึงไว้ ที่ไม่ถูกความยินดีใน
อทุกขมสุขผูกมัดไว้ ที่ไม่เกี่ยวข้องด้วยสังโยชน์คือความยินดีในอทุกขมสุขว่า ‘ไม่
ตั้งมั่นอยู่ในภายใน’
จิตที่เรียกว่า ‘ไม่ตั้งมั่นอยู่ในภายใน’ เป็นอย่างนี้
[๓๒๐] ความสะดุ้งเพราะตามยึดมั่น๑ เป็นอย่างไร
คือ ปุถุชน๒ในโลกนี้ ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของ
พระอริยะ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดใน


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๘. อุทเทสวิภังคสูตร

ธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ พิจารณาเห็นรูปโดย
ความเป็นอัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูปบ้าง พิจารณาเห็นรูปในอัตตาบ้าง
พิจารณาเห็นอัตตาในรูปบ้าง รูปนั้นของเขาย่อมแปรผันเป็นอย่างอื่นได้ เพราะ
ความที่รูปแปรผันเป็นอย่างอื่น เขาจึงมีวิญญาณคล้อยตามความแปรผันของรูป๑
ความสะดุ้งและความเกิดขึ้นแห่งธรรม๒ อันเกิดจากการคล้อยตามความแปรผัน
ของรูป ย่อมครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่ เพราะจิตถูกครอบงำ เขาจึงเป็นผู้มีความ
หวาดหวั่น คับแค้น ห่วงใย และเพราะตามยึดมั่น เขาจึงสะดุ้ง
พิจารณาเห็นเวทนา ...
พิจารณาเห็นสัญญา ...
พิจารณาเห็นสังขาร ...
พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตาว่ามี
วิญญาณบ้าง พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ
บ้าง วิญญาณนั้นของเขาย่อมแปรผันเป็นอย่างอื่นได้ เพราะความที่วิญญาณแปร
ผันเป็นอย่างอื่น เขาจึงมีวิญญาณคล้อยตามความแปรผันของวิญญาณ ความสะดุ้ง
และความเกิดขึ้นแห่งธรรมอันเกิดจากการคล้อยตามความแปรผันของวิญญาณ
ย่อมครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่ เพราะจิตถูกครอบงำ เขาจึงเป็นผู้มีความหวาดหวั่น
คับแค้น ห่วงใย และเพราะตามยึดมั่น เขาจึงสะดุ้ง
ความสะดุ้งเพราะตามยึดมั่น เป็นอย่างนี้แล
[๓๒๑] ความไม่สะดุ้งเพราะไม่ยึดมั่น เป็นอย่างไร
คือ พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ ผู้ได้สดับ ได้เห็นพระอริยะ ฉลาดใน
ธรรมของพระอริยะ ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาด


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๘. อุทเทสวิภังคสูตร

ในธรรมของสัตบุรุษ ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ไม่พิจารณาเห็นรูปโดย
ความเป็นอัตตาบ้าง ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูปบ้าง ไม่พิจารณาเห็นรูปในอัตตา
บ้าง ไม่พิจารณาเห็นอัตตาในรูปบ้าง รูปนั้นของเขาย่อมแปรผันเป็นอย่างอื่นได้
เพราะความที่รูปแปรผันเป็นอย่างอื่น เขาจึงไม่มีวิญญาณคล้อยตามความแปรผัน
ของรูป ความสะดุ้งและความเกิดขึ้นแห่งธรรมอันเกิดจากการคล้อยตามความ
แปรผันของรูป ย่อมไม่ครอบงำจิตเขาตั้งอยู่ เพราะจิตไม่ถูกครอบงำ เขาจึงเป็น
ผู้ไม่มีความหวาดหวั่น ไม่คับแค้น ไม่ห่วงใย และเพราะไม่ยึดมั่น เขาจึงไม่สะดุ้ง
ไม่พิจารณาเห็นเวทนา ...
ไม่พิจารณาเห็นสัญญา ...
ไม่พิจารณาเห็นสังขาร ...
ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามี
วิญญาณบ้าง ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง ไม่พิจารณาเห็นอัตตาใน
วิญญาณบ้าง วิญญาณนั้นของเขาย่อมแปรผันเป็นอย่างอื่นได้ เพราะความที่
วิญญาณแปรผันเป็นอย่างอื่น เขาจึงไม่มีวิญญาณคล้อยตามความแปรผันของวิญญาณ
ความสะดุ้งและความเกิดขึ้นแห่งธรรมอันเกิดจากการคล้อยตามความแปรผันของ
วิญญาณ ย่อมไม่ครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่ เพราะจิตไม่ถูกครอบงำ เขาจึงเป็น
ผู้ไม่มีความหวาดหวั่น ไม่คับแค้น ไม่ห่วงใย และเพราะความไม่ยึดมั่น เขาจึงไม่
สะดุ้ง
ความไม่สะดุ้งเพราะไม่ยึดมั่น เป็นอย่างนี้แล
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุทเทสโดยย่อไว้ว่า ‘ภิกษุพึง
พิจารณาโดยประการที่เมื่อพิจารณาอยู่ วิญญาณจะไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปในภายนอก
ไม่ตั้งมั่นอยู่ในภายใน ไม่สะดุ้งเพราะไม่ยึดมั่น เมื่อวิญญาณไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปใน
ภายนอก ไม่ตั้งมั่นอยู่ในภายใน ไม่สะดุ้งเพราะไม่ยึดมั่น จึงไม่มีเหตุเกิดหรือแดน
เกิดแห่งชาติ ชรา มรณะ และทุกข์ต่อไป’ แล้วไม่ทรงชี้แจงเนื้อความโดยพิสดาร
ทรงลุกจากพุทธอาสน์เสด็จเข้าไปยังที่ประทับ กระผมรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งอุทเทส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๘. อุทเทสวิภังคสูตร

โดยย่อที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้ ไม่ทรงชี้แจงโดยพิสดาร โดยพิสดารอย่างนี้
แต่ท่านทั้งหลายเมื่อหวัง พึงเข้าไปเฝ้าแล้วสอบถามเนื้อความนั้นเถิด พระผู้มี
พระภาคของเราทั้งหลายทรงตอบอย่างใด ท่านทั้งหลายพึงทรงจำเนื้อความนั้นไว้
อย่างนั้นเถิด”
[๓๒๒] ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมภาษิตของท่านพระมหา
กัจจานะแล้วลุกขึ้นจากอาสนะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุทเทสโดยย่อแก่ข้าพระองค์
ทั้งหลายว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงพิจารณาโดยประการที่เมื่อพิจารณาอยู่
วิญญาณจะไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปในภายนอก ไม่ตั้งมั่นอยู่ในภายใน ไม่สะดุ้งเพราะ
ไม่ยึดมั่น เมื่อวิญญาณไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปในภายนอก ไม่ตั้งมั่นอยู่ในภายใน ไม่
สะดุ้งเพราะไม่ยึดมั่น จึงไม่มีเหตุเกิดหรือแดนเกิดแห่งชาติ ชรา มรณะ และทุกข์
ต่อไป’ แล้วไม่ทรงชี้แจงเนื้อความโดยพิสดาร ทรงลุกจากพุทธอาสน์เสด็จเข้าไปยัง
ที่ประทับ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จจากไปไม่นาน ข้าพระองค์
ทั้งหลายนั้นได้มีความสงสัยว่า ‘ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงแสดง
อุทเทสโดยย่อนี้แก่เราทั้งหลายว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงพิจารณาโดยประการที่
เมื่อพิจารณาอยู่ วิญญาณจะไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปในภายนอก ไม่ตั้งมั่นอยู่ในภายใน
ไม่สะดุ้ง เพราะไม่ยึดมั่น เมื่อวิญญาณไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปในภายนอก ไม่ตั้งมั่น
อยู่ในภายใน ไม่สะดุ้งเพราะไม่ยึดมั่น จึงไม่มีเหตุเกิดหรือแดนเกิดแห่งชาติ ชรา
มรณะ และทุกข์ต่อไป’ แล้วไม่ทรงชี้แจงเนื้อความให้พิสดาร ทรงลุกจากพุทธอาสน์
เสด็จเข้าไปยังที่ประทับ ใครเล่าหนอจะพึงชี้แจงเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรงชี้แจงโดยพิสดารให้พิสดารได้’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายนั้นเกิดความคิดขึ้นว่า ‘ท่านพระ
มหากัจจานะนี้ เป็นผู้ที่พระศาสดาทรงยกย่อง ทั้งเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็
สรรเสริญแล้ว และท่านพระมหากัจจานะก็สามารถจะชี้แจงเนื้อความแห่งอุทเทส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๙. อรณวิภังคสูตร

โดยย่อที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้ ไม่ทรงชี้แจงโดยพิสดาร โดยพิสดารได้
ทางที่ดี เราทั้งหลายควรเข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะถึงที่อยู่ แล้วพึงสอบถาม
เนื้อความนี้กับท่านพระมหากัจจานะ’
ลำดับนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายเข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะถึงที่อยู่ แล้ว
สอบถามเนื้อความนี้กับท่านพระมหากัจจานะ ท่านพระมหากัจจานะได้ชี้แจง
เนื้อความแก่ข้าพระองค์ทั้งหลายแล้วโดยอาการเหล่านี้ โดยบทเหล่านี้ โดย
พยัญชนะเหล่านี้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย มหากัจจานะ เป็นบัณฑิต มี
ปัญญามาก แม้ถ้าเธอทั้งหลายพึงสอบถามเนื้อความนั้นกับเรา ถึงเราก็พึงตอบ
อย่างเดียวกับที่มหากัจจานะตอบแล้วเหมือนกัน ก็เนื้อความแห่งอุทเทสนั้นเป็นอย่างนี้
เธอทั้งหลายพึงทรงจำเนื้อความนั้นไว้อย่างนั้นเถิด”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

อุทเทสวิภังคสูตรที่ ๘ จบ

๙. อรณวิภังคสูตร
ว่าด้วยการจำแนกธรรมที่ไม่มีกิเลส

[๓๒๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอรณวิภังค์แก่เธอทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงฟังอรณวิภังค์นั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๙. อรณวิภังคสูตร

“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงประกอบเนือง ๆ ซึ่งสุขในกาม อันทราม เป็น
ของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และ
ไม่พึงประกอบเนือง ๆ ซึ่งอัตตกิลมถานุโยค(การประกอบความลำบากเดือดร้อน
แก่ตน)อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ภิกษุทั้งหลาย มัชฌิมาปฏิปทาไม่เอียงเข้าใกล้ที่สุด ๒ อย่างนั้นที่ตถาคตได้
ตรัสรู้แล้ว อันเป็นปฏิปทาก่อให้เกิดจักษุ ก่อให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อความสงบ
เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน๑ พึงรู้จักการยกย่องและการตำหนิ
ครั้นรู้แล้ว ไม่พึงยกย่อง ไม่พึงตำหนิ พึงแสดงธรรมเท่านั้น พึงรู้การตัดสินความสุข
ครั้นรู้แล้ว พึงประกอบเนือง ๆ ซึ่งความสุขในภายใน ไม่พึงกล่าวความลับ ไม่พึง
กล่าวคำล่วงเกินต่อหน้า เมื่อไม่รีบร้อน จึงพูด เมื่อรีบร้อนไม่ควรพูด ไม่พึงยึด
ภาษาท้องถิ่น ไม่พึงละเลยคำพูดสามัญ๒ นี้เป็นอุทเทสแห่งอรณวิภังค์
[๓๒๔] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุไม่พึงประกอบเนือง ๆ ซึ่งสุขในกาม อันทราม
เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
และไม่พึงประกอบเนือง ๆ ซึ่งอัตตกิลมถานุโยค อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ
ไม่ประกอบด้วยประโยชน์’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ธรรมคือการประกอบเนือง ๆ ซึ่งโสมนัสของบุคคลผู้มีความสุขอันเกิดจากกาม
อันทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วย
ประโยชน์นี้ มีทุกข์ มีความเบียดเบียน มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน เป็นข้อ
ปฏิบัติผิด
ธรรมคือการไม่ประกอบเนือง ๆ ซึ่งโสมนัสของบุคคลผู้มีความอันเกิดจาก
กาม อันทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบ
ด้วยประโยชน์นี้ ไม่มีทุกข์ ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความ
เร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติถูก
ธรรมคืออัตตกิลมถานุโยค อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบ
ด้วยประโยชน์ นี้มีทุกข์ มีความเบียดเบียน มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน
เป็นข้อปฏิบัติผิด


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๙. อรณวิภังคสูตร

ธรรมเป็นเหตุไม่ประกอบเนือง ๆ ซึ่งอัตตกิลมถานุโยค อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่
ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์นี้ ไม่มีทุกข์ ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มี
ความคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติถูก
คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘ภิกษุไม่พึงประกอบเนือง ๆ ซึ่งสุขในกาม อันทราม
เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
และไม่พึงประกอบเนือง ๆ ซึ่งอัตตกิลมถานุโยค อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ
ไม่ประกอบด้วยประโยชน์’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้

อริยมรรคมีองค์ ๘

[๓๒๕] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘มัชฌิมาปฏิปทาไม่เอียงเข้าใกล้ที่สุด ๒ อย่างนั้น
ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว อันเป็นปฏิปทาก่อให้เกิดจักษุ ก่อให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อ
ความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เรา
จึงกล่าวไว้เช่นนั้น
คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) ๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) ๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ)
๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) ๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ)
๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ) ๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ)
คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘มัชฌิมาปฏิปทาไม่เอียงเข้าใกล้ที่สุด ๒ อย่างนั้น
ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว อันเป็นปฏิปทาก่อให้เกิดจักษุ ก่อให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อ
ความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน‘๑ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้
เราจึงกล่าวไว้
[๓๒๖] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุพึงรู้จักการยกย่องและการตำหนิ ครั้นรู้แล้ว
ไม่พึงยกย่อง ไม่พึงตำหนิ พึงแสดงธรรมเท่านั้น’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึง
กล่าวไว้เช่นนั้น


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๙. อรณวิภังคสูตร

การยกย่อง การตำหนิ และการไม่แสดงธรรม เป็นอย่างไร
คือ บุคคลเมื่อกล่าวดังนี้ว่า ‘ชนเหล่าใดประกอบเนือง ๆ ซึ่งโสมนัสของ
บุคคลผู้มีความสุขอันเกิดจากกาม อันทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน
ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ชนเหล่านั้นทั้งหมดจึงมีทุกข์ มี
ความเบียดเบียน มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติผิด’ ชื่อว่าตำหนิ
ชนพวกหนึ่ง
บุคคลเมื่อกล่าวดังนี้ว่า ‘ชนเหล่าใดไม่ประกอบเนือง ๆ ซึ่งโสมนัสของบุคคล
ผู้มีความสุขอันเกิดจากกาม อันทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่
ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ชนเหล่านั้นทั้งหมดจึงไม่มีทุกข์ ไม่มี
ความเบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติถูก’ ชื่อว่า
ยกย่องชนพวกหนึ่ง
บุคคลเมื่อกล่าวดังนี้ว่า ‘ชนเหล่าใดประกอบเนือง ๆ ซึ่งอัตตกิลมถานุโยค
อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ชนเหล่านั้นทั้งหมดจึง
มีทุกข์ มีความเบียดเบียน มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติผิด’ ชื่อ
ว่าตำหนิชนพวกหนึ่ง
บุคคลเมื่อกล่าวดังนี้ว่า ‘ชนเหล่าใดไม่ประกอบเนือง ๆ ซึ่งอัตตกิลมถานุโยค
อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ชนเหล่านั้นทั้งหมด
จึงไม่มีทุกข์ ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อน เป็นผู้
ปฏิบัติถูก’ ชื่อว่ายกย่องชนพวกหนึ่ง
บุคคลเมื่อกล่าวดังนี้ว่า ‘ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งยังละภวสังโยชน์๑ไม่ได้ ชน
เหล่านั้นทั้งหมดจึงมีทุกข์ มีความเบียดเบียน มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน
เป็นผู้ปฏิบัติผิด’ ชื่อว่าตำหนิชนพวกหนึ่ง
บุคคลเมื่อกล่าวดังนี้ว่า ‘ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งละภวสังโยชน์ได้แล้ว ชน
เหล่านั้นทั้งหมดจึงไม่มีทุกข์ ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความ
เร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติถูก’ ชื่อว่ายกย่องชนพวกหนึ่ง
ภิกษุทั้งหลาย การยกย่อง การตำหนิ และการไม่แสดงธรรม เป็นอย่างนี้แล


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๙. อรณวิภังคสูตร

[๓๒๗] การไม่ยกย่อง การไม่ตำหนิ และการแสดงธรรม เป็นอย่างไร
คือ บุคคลไม่กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ชนเหล่าใดประกอบเนือง ๆ ซึ่งโสมนัสของ
บุคคลผู้มีความสุขอันเกิดจากกาม อันทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน
ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ชนเหล่านั้นทั้งหมดจึงมีทุกข์ มี
ความเบียดเบียน มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติผิด’ เขาเมื่อ
กล่าวดังนี้ว่า ‘ธรรมคือการประกอบเนือง ๆ นี้แล มีทุกข์ มีความเบียดเบียน มี
ความคับแค้น มีความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติผิด’ ชื่อว่าแสดงธรรมเท่านั้น
บุคคลไม่กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ชนเหล่าใดไม่ประกอบเนือง ๆ ซึ่งโสมนัสของ
บุคคลผู้มีความสุขอันเกิดจากกาม อันทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน
ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ชนเหล่านั้นทั้งหมดจึงไม่มีทุกข์
ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติถูก’
เขาเมื่อกล่าวดังนี้ว่า ‘ธรรมคือการไม่ประกอบเนือง ๆ นี้แล ไม่มีทุกข์ ไม่มีความ
เบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติถูก’ ชื่อว่าแสดง
ธรรมเท่านั้น
บุคคลไม่กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ชนเหล่าใดประกอบเนือง ๆ ซึ่งอัตตกิลมถานุโยค
อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ชนเหล่านั้นทั้งหมด
จึงมีทุกข์ มีความเบียดเบียน มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติผิด’
เขาเมื่อกล่าวดังนี้ว่า ‘ธรรมคือการประกอบเนือง ๆ นี้แล มีทุกข์ มีความเบียดเบียน
มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติผิด’ ชื่อว่าแสดงธรรมเท่านั้น
บุคคลไม่กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ชนเหล่าใดไม่ประกอบเนือง ๆ ซึ่งอัตตกิลมถานุโยค
อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ชนเหล่านั้นทั้งหมด
จึงไม่มีทุกข์ ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อน เป็นผู้
ปฏิบัติถูก’ เขาเมื่อกล่าวดังนี้ว่า ‘ธรรมคือการไม่ประกอบเนือง ๆ นี้แล ไม่มีทุกข์
ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติถูก’
ชื่อว่าแสดงธรรมเท่านั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๙. อรณวิภังคสูตร

บุคคลไม่กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ยังละภวสังโยชน์ไม่ได้ ชน
เหล่านั้นทั้งหมดจึงมีทุกข์ มีความเบียดเบียน มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน
เป็นผู้ปฏิบัติผิด’ เขาเมื่อกล่าวดังนี้ว่า ‘เมื่อบุคคลยังละภวสังโยชน์ไม่ได้ แม้ภพ
ก็เป็นอันละไม่ได้‘ ชื่อว่าแสดงธรรมเท่านั้น
บุคคลไม่กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ละภวสังโยชน์ได้แล้ว ชน
เหล่านั้นทั้งหมดจึงไม่มีทุกข์ ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความ
เร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติถูก’ เขาเมื่อกล่าวดังนี้ว่า ‘ก็เมื่อบุคคลละภวสังโยชน์ได้แล้ว
แม้ภพก็เป็นอันละได้แล้ว’ ชื่อว่าแสดงธรรมเท่านั้น
ภิกษุทั้งหลาย การไม่ยกย่อง การไม่ตำหนิ และการแสดงธรรม เป็นอย่างนี้
คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘ภิกษุพึงรู้จักการยกย่องและการตำหนิ ครั้นรู้แล้ว ไม่พึง
ยกย่อง ไม่พึงตำหนิ พึงแสดงธรรมเท่านั้น’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้

กามคุณ ๕ ประการ

[๓๒๘] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุพึงรู้การตัดสินความสุข ครั้นรู้แล้ว พึง
ประกอบเนือง ๆ ซึ่งความสุขในภายใน’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการ นี้
กามคุณ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
๒. เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ...
๓. กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ...
๔. รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ...
๕. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๙. อรณวิภังคสูตร

สุขโสมนัสที่อาศัยกามคุณ ๕ ประการนี้เกิดขึ้น เราเรียกว่า สุขอันเกิดจาก
กาม เป็นสุขที่เกิดแต่เมถุนธรรม๑ เป็นสุขของปุถุชน ไม่ใช่สุขของพระอริยะ
เรากล่าวว่า ‘ภิกษุไม่พึงเสพ ไม่พึงเจริญ ไม่พึงทำให้มาก พึงกลัวสุขชนิดนี้’
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย
แล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะ
วิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิต
เป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ ... บรรลุ
ตติยฌาน ... บรรลุจตุตถฌาน ... สุขนี้เราเรียกว่า เนกขัมมสุข เป็นสุขอันเกิด
จากความสงัด เป็นสุขเกิดจากความสงบ เป็นสุขเกิดจากการตรัสรู้ เรากล่าวว่า
‘ภิกษุพึงเสพ พึงเจริญ พึงทำให้มาก ไม่พึงกลัวสุขชนิดนี้’
คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘ภิกษุพึงรู้การตัดสินความสุข ครั้นรู้แล้ว พึงประกอบ
เนือง ๆ ซึ่งความสุขในภายใน’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้
[๓๒๙] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุไม่พึงกล่าวความลับ ไม่พึงกล่าวคำล่วงเกิน
ต่อหน้า’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องนั้น ภิกษุรู้ความลับอันใด ที่ไม่เป็นความจริง ไม่เป็น
ความแท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่พึงกล่าวความลับนั้นเป็นอันขาด แม้รู้ว่า
ความลับอันใดที่เป็นความจริง เป็นความแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ก็พึง
สำเหนียกเพื่อจะไม่กล่าวความลับนั้น และพึงรู้ความลับอันใดเป็นความจริง เป็น
ความแท้ ประกอบด้วยประโยชน์ ในเรื่องนั้น ภิกษุพึงรู้กาลเพื่อจะกล่าวความลับนั้น
ภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องนั้น ภิกษุรู้คำล่วงเกินต่อหน้าอันใด ที่ไม่เป็นคำจริง
ไม่เป็นคำแท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่พึงกล่าวคำล่วงเกินต่อหน้านั้นเป็น
อันขาด แม้รู้ว่าคำล่วงเกินต่อหน้าอันใด ที่เป็นคำจริง เป็นคำแท้ แต่ไม่ประกอบ
ด้วยประโยชน์ ก็พึงสำเหนียกเพื่อจะไม่กล่าวคำล่วงเกินต่อหน้านั้น และพึงรู้คำ
ล่วงเกินต่อหน้าอันใดที่เป็นคำจริง เป็นคำแท้ ประกอบด้วยประโยชน์ ในเรื่องนั้น
ภิกษุพึงรู้กาลเพื่อจะกล่าวคำล่วงเกินต่อหน้านั้น


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๙. อรณวิภังคสูตร

คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘ภิกษุไม่พึงกล่าวความลับ ไม่พึงกล่าวคำล่วงเกินต่อหน้า’
นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้
[๓๓๐] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุเมื่อไม่รีบร้อนจึงพูด เมื่อรีบร้อนไม่ควรพูด’
เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องนั้น เมื่อภิกษุรีบร้อนพูด แม้กายก็ลำบาก จิตก็แกว่ง
เสียงก็พร่า คอก็แห้ง แม้คำพูดที่ภิกษุรีบร้อนพูดก็ไม่สละสลวย ฟังไม่เข้าใจ
ภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องนั้น เมื่อภิกษุไม่รีบร้อนพูด กายก็ไม่ลำบาก จิตก็
ไม่แกว่ง เสียงก็ไม่พร่า คอก็ไม่แห้ง แม้คำพูดที่ภิกษุผู้ไม่รีบร้อนพูด ก็สละสลวย
ฟังเข้าใจ
คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘ภิกษุเมื่อไม่รีบร้อนจึงพูด เมื่อรีบร้อนไม่ควรพูด’ นั่น
เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้
[๓๓๑] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุไม่พึงยึดภาษาท้องถิ่น ไม่พึงละเลยคำพูด
สามัญ’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
การยึดภาษาท้องถิ่น และการละเลยคำพูดสามัญ เป็นอย่างไร
คือ ภาชนะชนิดเดียวกันนั่นแหละในโลกนี้ บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า ‘ปาติ’
บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า ‘ปัตตะ’ บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า ‘ปิฏฐะ’ บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า
‘สราวะ’ บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า ‘หโรสะ’ บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า ‘โปณะ’ บางท้อง
ถิ่นรู้จักกันว่า ‘หนะ’ บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า ‘ปิปิละ’ ภิกษุพูดด้วยความยึดมั่น
ถือมั่นโดยวิธีที่ชนทั้งหลายในท้องถิ่นนั้น ๆ จะรู้จักภาชนะนั้นว่า ‘นี้เท่านั้นจริง
อย่างอื่นไม่จริง’
การยึดภาษาท้องถิ่น และการละเลยคำพูดสามัญ เป็นอย่างนี้
[๓๓๒] การไม่ยึดภาษาท้องถิ่น และการไม่ละเลยคำพูดสามัญ เป็นอย่างไร
คือ ภาชนะชนิดเดียวกันนั่นแหละในโลกนี้ บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า ‘ปาติ’
บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า ‘ปัตตะ’ บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า ‘ปิฏฐะ’ บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า
‘สราวะ’ บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า ‘หโรสะ’ บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า ‘โปณะ’ บางท้อง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๙. อรณวิภังคสูตร

ถิ่นรู้จักกันว่า ‘หนะ’ บางท้องถิ่นรู้จักกันว่า ‘ปิปิละ’ ภิกษุพูดอย่างไม่ถือมั่นโดย
วิธีที่ชนทั้งหลายในท้องถิ่นนั้น ๆ จะรู้จักภาชนะนั้นได้ว่า ‘ได้ยินว่า ท่านผู้มีอายุ
เหล่านี้พูดหมายถึงภาชนะนี้’
ภิกษุทั้งหลาย การไม่ยึดภาษาท้องถิ่น และการไม่ละเลยคำพูดสามัญ เป็น
อย่างนี้
คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘ไม่พึงยึดภาษาท้องถิ่น ไม่พึงละเลยคำพูดสามัญ’ นั่น
เพราะอาศัยคำนี้ เราจึงกล่าวไว้
[๓๓๓] ภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น ธรรมคือการประกอบเนือง ๆ ซึ่ง
โสมนัสของบุคคลผู้มีความสุขอันเกิดจากกาม อันทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของ
ปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์นี้ มีทุกข์ มีความเบียดเบียน
มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติผิด เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่า
เป็นธรรมมีกิเลส
แต่ในเรื่องนั้น ธรรมคือการไม่ประกอบเนือง ๆ ซึ่งโสมนัสของบุคคลผู้มี
ความสุขอันเกิดจากกาม อันทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของ
พระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์นี้ ไม่มีทุกข์ ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มี
ความคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติถูก เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่า
เป็นธรรมไม่มีกิเลส
[๓๓๔] ภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น ธรรมคืออัตตกิลมถานุโยค อันเป็น
ทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์นี้ มีทุกข์ มีความเบียดเบียน
มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติผิด เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่า
เป็นธรรมมีกิเลส
แต่ในเรื่องนั้น ธรรมคือการไม่ประกอบเนือง ๆ ซึ่งอัตตกิลมถานุโยค อัน
เป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์นี้ ไม่มีทุกข์ ไม่มีความ
เบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติถูก เพราะฉะนั้น
ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นธรรมไม่มีกิเลส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๙. อรณวิภังคสูตร

[๓๓๕] ภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น ธรรมคือมัชฌิมาปฏิปทา ที่
ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว อันเป็นปฏิปทาก่อให้เกิดจักษุ ก่อให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อ
ความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพานนี้ ไม่มีทุกข์ ไม่มีความ
เบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติถูก เพราะฉะนั้น
ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นธรรมไม่มีกิเลส
[๓๓๖] ภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น ธรรมคือการยกย่อง การตำหนิ
และการไม่แสดงธรรมนี้ มีทุกข์ มีความเบียดเบียน มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน
เป็นข้อปฏิบัติผิด เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นธรรมมีกิเลส
แต่ในเรื่องนั้น ธรรมคือการไม่ยกย่อง การไม่ตำหนิ การแสดงธรรมเท่านั้นนี้
ไม่มีทุกข์ ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อน เป็นข้อ
ปฏิบัติถูก เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นธรรมไม่มีกิเลส
[๓๓๗] ภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น ธรรมคือสุขอันเกิดจากกาม สุขอัน
เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ สุขของปุถุชน ไม่ใช่สุขของพระอริยะนี้ มีทุกข์ มีความ
เบียดเบียน มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติผิด เพราะฉะนั้น
ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นธรรมมีกิเลส
แต่ในเรื่องนั้น ธรรมคือเนกขัมมสุข สุขเกิดจากความสงัด สุขเกิดจากความ
สงบ สุขเกิดจากการตรัสรู้นี้ ไม่มีทุกข์ ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น
ไม่มีความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติถูก เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นธรรมไม่มีกิเลส
[๓๓๘] ภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น ธรรมคือความลับที่ไม่เป็นความจริง
ไม่เป็นความแท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์นี้ มีทุกข์ มีความเบียดเบียน มีความ
คับแค้น มีความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติผิด เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็น
ธรรมมีกิเลส
แต่ในเรื่องนั้น ธรรมคือความลับที่เป็นความจริง เป็นความแท้ แต่ไม่
ประกอบด้วยประโยชน์นี้ มีทุกข์ มีความเบียดเบียน มีความคับแค้น มีความ
เร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติผิด เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นธรรมมีกิเลส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๓๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๙. อรณวิภังคสูตร

แต่ในเรื่องนั้น ธรรมคือความลับที่เป็นความจริง เป็นความแท้ ประกอบ
ด้วยประโยชน์นี้ ไม่มีทุกข์ ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความ
เร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติถูก เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นธรรมไม่มีกิเลส
[๓๓๙] ภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น ธรรมคือคำล่วงเกินต่อหน้า ที่ไม่
เป็นคำจริง ไม่เป็นคำแท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์นี้ มีทุกข์ มีความเบียดเบียน
มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติผิด เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่า
เป็นธรรมมีกิเลส
แต่ในเรื่องนั้น ธรรมคือคำล่วงเกินต่อหน้า ที่เป็นคำจริง เป็นคำแท้ แต่ไม่
ประกอบด้วยประโยชน์นี้ มีทุกข์ มีความเบียดเบียน มีความคับแค้น มีความ
เร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติผิด เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นธรรมมีกิเลส
แต่ในเรื่องนั้น ธรรมคือคำล่วงเกินต่อหน้า ที่เป็นคำจริง เป็นคำแท้
ประกอบด้วยประโยชน์นี้ ไม่มีทุกข์ ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น ไม่มี
ความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติถูก เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นธรรมไม่มีกิเลส
[๓๔๐] ภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น ธรรมคือคำที่บุคคลผู้รีบร้อนพูดนี้
มีทุกข์ มีความเบียดเบียน มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติผิด
เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นธรรมมีกิเลส
แต่ในเรื่องนั้น ธรรมคือคำที่บุคคลผู้ไม่รีบร้อนพูดนี้ ไม่มีทุกข์ ไม่มีความ
เบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติถูก เพราะฉะนั้น
ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นธรรมไม่มีกิเลส
[๓๔๑] ภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น ธรรมคือการยึดภาษาท้องถิ่น และ
การละเลยคำพูดสามัญนี้ มีทุกข์ มีความเบียดเบียน มีความคับแค้น มีความ
เร่าร้อน เป็นข้อปฏิบัติผิด เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นธรรมมีกิเลส
แต่ในเรื่องนั้น ธรรมคือการไม่ยึดภาษาท้องถิ่น และการไม่ละเลยคำพูดสามัญนี้
ไม่มีทุกข์ ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อน เป็นข้อ
ปฏิบัติถูก เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นธรรมไม่มีกิเลส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๐. ธาตุวิภังคสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาในอรณวิภังค์นี้อย่างนี้แลว่า
‘เราทั้งหลาย รู้ธรรมที่มีกิเลส และรู้ธรรมที่ไม่มีกิเลสแล้ว จักปฏิบัติตามข้อปฏิบัติ
เพื่อไม่มีกิเลส’ กุลบุตรผู้มีนามว่าสุภูติ ได้ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติเพื่อไม่มีกิเลสแล้ว”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

อรณวิภังคสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ธาตุวิภังคสูตร
ว่าด้วยการจำแนกธาตุ

[๓๔๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นมคธ ถึงกรุงราชคฤห์แล้ว
เสด็จเข้าไปหานายช่างหม้อชื่อภัคควะถึงที่อยู่ แล้วได้ตรัสว่า “ภัคควะ ถ้าท่านไม่
หนักใจ เราขอพักในศาลาสักคืนหนึ่ง”
นายภัคควะกราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมไม่หนักใจเลย แต่ในศาลานี้
มีบรรพชิตเข้าไปพักอยู่ก่อนแล้ว ถ้าบรรพชิตรูปนั้นอนุญาต ก็ขอเชิญท่านพักตาม
สบายเถิด”
ก็สมัยนั้นแล กุลบุตรชื่อปุกกุสาติ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา
อุทิศเฉพาะพระผู้มีพระภาค ปุกกุสาติกุลบุตรนั้น เข้าไปพักอยู่ในศาลาของนายช่าง
หม้อนั้นก่อนแล้ว ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาท่านปุกกุสาติถึงที่อยู่แล้ว
ได้ตรัสว่า “ภิกษุ ถ้าเธอไม่หนักใจ เราขอพักในศาลาสักคืนหนึ่ง”
ท่านปุกกุสาติตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ ศาลาของนายช่างหม้อกว้างขวาง เชิญ
ท่านพักตามสบายเถิด”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปยังศาลาของนายช่างหม้อ ทรงลาด
สันถัดหญ้า ณ ส่วนข้างหนึ่ง แล้วประทับนั่งขัดสมาธิ ตั้งพระวรกายตรง ดำรง
พระสติไว้เฉพาะหน้า พระองค์ประทับนั่งจนล่วงเลยราตรีไปมาก แม้ท่านปุกกุสาติ
ก็นั่งจนล่วงเลยราตรีไปมากเหมือนกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๐. ธาตุวิภังคสูตร

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงดำริว่า “กุลบุตรนี้ประพฤติน่าเลื่อมใสหนอ
ทางที่ดี เราควรจะถามดู” จึงตรัสถามท่านปุกกุสาติว่า “ภิกษุ ท่านบวชอุทิศใคร
ใครเป็นศาสดาของท่าน หรือท่านชอบใจธรรมของใคร”
ท่านปุกกุสาติตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ มีพระสมณโคดมผู้ศากยบุตร เสด็จ
ออกจากศากยราชตระกูลทรงผนวชแล้ว ก็พระสมณโคดมผู้เจริญพระองค์นั้น มี
พระกิตติศัพท์อันงามขจรไปอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของ
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ ข้าพเจ้าบวช
อุทิศพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นศาสดาของ
ข้าพเจ้า และข้าพเจ้าชอบใจธรรมของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น”
“ภิกษุ ก็บัดนี้ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นประทับ
อยู่ ณ ที่ไหน”
“ท่านผู้มีอายุ บัดนี้พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ประทับอยู่ที่กรุงสาวัตถี ในอุตตรชนบท”
“ก็ท่านเคยเห็นพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นหรือ และท่านเห็นแล้วจะรู้จักหรือ”
“ท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเลย และเห็น
แล้วก็ไม่รู้จัก”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงดำริว่า “กุลบุตรนี้บวชอุทิศเรา ทางที่ดี เรา
พึงแสดงธรรมแก่เขา” ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกท่านปุกกุสาติมา
ตรัสว่า “ภิกษุ เราจักแสดงธรรมแก่เธอ เธอจงฟังธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดี เรา
จักกล่าว”
ท่านปุกกุสาติทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๐. ธาตุวิภังคสูตร

[๓๔๓] “ภิกษุ บุรุษนี้มีธาตุ ๖๑ มีผัสสายตนะ(แดนเกิดแห่งผัสสะ) ๖ มี
มโนปวิจาร(ความนึกหน่วงทางใจ) ๑๘ มีอธิษฐานธรรม(ธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ) ๔
เมื่อความกำหนดหมาย ซึมซาบไม่ถึงบุรุษผู้คงอยู่ในอธิษฐานธรรม บัณฑิต
จึงเรียกบุรุษนั้นว่า ‘มุนีผู้สงบแล้ว’ บุรุษไม่พึงประมาทปัญญา๒ พึงตามรักษา
สัจจะ๓ พึงเพิ่มพูนจาคะ๔ พึงศึกษาแต่ทางสงบเท่านั้น’ นี้เป็นอุทเทสแห่งธาตุวิภังค์
๖ ประการ
[๓๔๔] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุ บุรุษนี้มีธาตุ ๖ ประการ’ เพราะ
อาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ภิกษุ ธาตุ ๖ ประการ นี้ คือ

๑. ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) ๒. อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ)
๓. เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) ๔. วาโยธาตุ (ธาตุลม)
๕. อากาสธาตุ (ธาตุคืออากาศ) ๖. วิญญาณธาตุ (ธาตุคือวิญญาณ)

คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘ภิกษุ บุรุษนี้มีธาตุ ๖ ประการ’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้
เราจึงกล่าวไว้
[๓๔๕] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุ บุรุษนี้มีผัสสายตนะ ๖ ประการ’
เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น คือ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๐. ธาตุวิภังคสูตร

๑. ผัสสายตนะคือจักขุ ๒. ผัสสายตนะคือโสตะ
๓. ผัสสายตนะคือฆานะ ๔. ผัสสายตนะคือชิวหา
๕. ผัสสายตนะคือกาย ๖. ผัสสายตนะคือมโน
คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘ภิกษุ บุรุษนี้มีผัสสายตนะ ๖ ประการ’ นั่น เพราะ
อาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้
[๓๔๖] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุ บุรุษนี้มีมโนปวิจาร ๑๘’ เพราะอาศัย
เหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
คือ บุคคลเห็นรูปทางตาแล้ว ย่อมนึกหน่วงรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส ย่อม
นึกหน่วงรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส ย่อมนึกหน่วงรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
ฟังเสียงทางหูแล้ว ...
ดมกลิ่นทางจมูกแล้ว ...
ลิ้มรสทางลิ้นแล้ว ...
ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายแล้ว ...
รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ย่อมนึกหน่วงธรรมารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส
ย่อมนึกหน่วงธรรมารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส ย่อมนึกหน่วงธรรมารมณ์อันเป็น
ที่ตั้งแห่งอุเบกขา
ความนึกหน่วงโสมนัส ๖ ความนึกหน่วงโทมนัส ๖ ความนึกหน่วงอุเบกขา ๖
ย่อมมีด้วยประการฉะนี้
คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘ภิกษุ บุรุษนี้มีมโนปวิจาร ๑๘’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้
เราจึงกล่าวไว้
[๓๔๗] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุ บุรุษนี้มีอธิษฐานธรรม ๔ ประการ’
เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
คือ
๑. อธิษฐานธรรมคือปัญญา ๒. อธิษฐานธรรมคือสัจจะ
๓. อธิษฐานธรรมคือจาคะ ๔. อธิษฐานธรรมคืออุปสมะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๐. ธาตุวิภังคสูตร

คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘ภิกษุ บุรุษนี้มีอธิษฐานธรรม ๔ ประการ’ นั่น เพราะ
อาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้

ธาตุ ๖ ประการ

[๓๔๘] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘บุรุษไม่พึงประมาทปัญญา พึงตามรักษาสัจจะ
พึงเพิ่มพูนจาคะ พึงศึกษาแต่ทางสงบเท่านั้น’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าว
ไว้เช่นนั้น
บุรุษไม่พึงประมาทปัญญา เป็นอย่างไร
คือ ธาตุ ๖ ประการนี้ ได้แก่
๑. ปฐวีธาตุ ๒. อาโปธาตุ
๓. เตโชธาตุ ๔. วาโยธาตุ
๕. อากาสธาตุ ๖. วิญญาณธาตุ
[๓๔๙] ปฐวีธาตุ เป็นอย่างไร
คือ ปฐวีธาตุภายในก็มี ปฐวีธาตุภายนอกก็มี
ปฐวีธาตุภายใน เป็นอย่างไร
คือ อุปาทินนกรูป๑ภายในที่เป็นของเฉพาะตน เป็นของแข้นแข็ง เป็น
ของหยาบ ได้แก่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต
หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า หรือ
อุปาทินนกรูปภายในอื่นใดที่เป็นของเฉพาะตน เป็นของแข้นแข็ง เป็นของหยาบ
นี้เรียกว่าปฐวีธาตุภายใน


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๐. ธาตุวิภังคสูตร

ปฐวีธาตุภายใน และปฐวีธาตุภายนอกนี้ ก็เป็นปฐวีธาตุนั่นเอง บัณฑิตควร
เห็นปฐวีธาตุนั้น ตามความเป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา
เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ครั้นเห็นปฐวีธาตุนั้นตามความเป็นจริง ด้วย
ปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในปฐวีธาตุ และทำจิตให้คลายกำหนัด
จากปฐวีธาตุ
[๓๕๐] อาโปธาตุ เป็นอย่างไร
คือ อาโปธาตุภายในก็มี อาโปธาตุภายนอกก็มี
อาโปธาตุภายใน เป็นอย่างไร
คือ อุปาทินนกรูปภายในที่เป็นของเฉพาะตน เป็นของเอิบอาบ มีความ
เอิบอาบ ได้แก่ ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ น้ำตา มันข้น เปลวมัน น้ำลาย
น้ำมูก ไขข้อ มูตร หรืออุปาทินนกรูปภายในอื่นใด ที่เป็นของเฉพาะตน เป็น
ของเอิบอาบ มีความเอิบอาบ
นี้เรียกว่าอาโปธาตุภายใน
อาโปธาตุภายในและอาโปธาตุภายนอกนี้ ก็เป็นอาโปธาตุนั่นเอง บัณฑิตพึง
เห็นอาโปธาตุนั้นตามความเป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา
เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ครั้นเห็นอาโปธาตุนั้นตามความเป็นจริง
ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในอาโปธาตุ และทำจิตให้คลาย
กำหนัดจากอาโปธาตุ
[๓๕๑] เตโชธาตุ เป็นอย่างไร
คือ เตโชธาตุภายในก็มี เตโชธาตุภายนอกก็มี
เตโชธาตุภายใน เป็นอย่างไร
คือ อุปาทินนกรูปภายในที่เป็นของเฉพาะตน เป็นของเร่าร้อน มีความเร่าร้อน
ได้แก่ ธรรมชาติที่เป็นเครื่องทำร่างกายให้อบอุ่น ธรรมชาติที่เป็นเครื่องทำร่างกาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๐. ธาตุวิภังคสูตร

ให้ทรุดโทรม ธรรมชาติที่เป็นเครื่องทำร่างกายให้เร่าร้อน ธรรมชาติที่เป็นเครื่อง
ย่อยสิ่งที่กินแล้ว ดื่มแล้ว เคี้ยวแล้ว และลิ้มรสแล้ว หรืออุปาทินนกรูปภายในอื่นใด
ที่เป็นของเฉพาะตน เป็นของเร่าร้อน มีความเร่าร้อน
นี้เรียกว่าเตโชธาตุภายใน
เตโชธาตุภายในและเตโชธาตุภายนอกนี้ ก็เป็นเตโชธาตุนั่นเอง บัณฑิตพึง
เห็นเตโชธาตุนั้นตามความเป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา
เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ครั้นเห็นเตโชธาตุนั้นตามความเป็นจริง ด้วย
ปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในเตโชธาตุ และทำจิตให้คลายกำหนัด
จากเตโชธาตุ
[๓๕๒] วาโยธาตุ เป็นอย่างไร
คือ วาโยธาตุภายในก็มี วาโยธาตุภายนอกก็มี
วาโยธาตุภายใน เป็นอย่างไร
คือ อุปาทินนกรูปภายในที่เป็นของเฉพาะตน เป็นของพัดไปมา มีความ
พัดไปมา ได้แก่ ลมที่พัดขึ้นเบื้องบน ลมที่พัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในลำไส้
ลมที่แล่นไปตามอวัยวะน้อยใหญ่ ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก หรืออุปาทินนกรูป
ภายในอื่นใด ที่เป็นของเฉพาะตน เป็นของพัดไปมา มีความพัดไปมา
นี้เรียกว่าวาโยธาตุภายใน
วาโยธาตุภายในและวาโยธาตุภายนอกนี้ ก็เป็นวาโยธาตุนั่นเอง บัณฑิตพึง
เห็นวาโยธาตุนั้นตามความเป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา
เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ครั้นเห็นวาโยธาตุนั้นตามความเป็นจริง
ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในวาโยธาตุ และทำจิตให้คลาย
กำหนัดจากวาโยธาตุ๑


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๐. ธาตุวิภังคสูตร

[๓๕๓] อากาสธาตุ เป็นอย่างไร
คือ อากาสธาตุภายในก็มี อากาสธาตุภายนอกก็มี
อากาสธาตุภายใน เป็นอย่างไร
คือ อุปาทินนกรูปภายในที่เป็นของเฉพาะตน เป็นสภาวะว่างเปล่า มีความ
ว่างเปล่า ได้แก่ ช่องหู ช่องจมูก ช่องปาก ช่องสำหรับกลืนของกิน ของดื่ม
ของเคี้ยว ของลิ้มรส ช่องที่พักอยู่แห่งของกิน ของดื่ม ของเคี้ยว ของลิ้ม และ
ช่องสำหรับของกิน ของดื่ม ของเคี้ยว ของลิ้ม ไหลลงเบื้องต่ำ หรืออุปาทินนกรูป
ภายในอื่นใดที่เป็นของเฉพาะตน เป็นสภาวะว่างเปล่า มีความว่างเปล่า
นี้เรียกว่าอากาสธาตุภายใน๑
อากาสธาตุภายในและอากาสธาตุภายนอกนี้ ก็เป็นอากาสธาตุนั่นเอง บัณฑิต
พึงเห็นอากาสธาตุนั้นตามความเป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่
ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ครั้นเห็นอากาสธาตุนั้นตามความ
เป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในอากาสธาตุ และทำจิต
ให้คลายความกำหนัดจากอากาสธาตุ
[๓๕๔] ทีนั้น วิญญาณอันบริสุทธิ์ผุดผ่อง เหลืออยู่ บุคคลย่อมรู้เรื่องอะไร ๆ
ได้ด้วยวิญญาณนั้น คือรู้ว่า ‘สุข’ บ้าง รู้ว่า ‘ทุกข์’ บ้าง รู้ว่า ‘อทุกขมสุข’ บ้าง
เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา สุขเวทนาจึงเกิด บุคคลนั้นเมื่อเสวย
สุขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่า ‘เราเสวยสุขเวทนาอยู่’ รู้ชัดว่า ‘เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้ง
แห่งสุขเวทนานั้นนั่นแลดับ สุขเวทนาที่เกิดเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่ง
สุขเวทนา ที่เสวยอยู่อันเกิดจากผัสสะนั้นก็ดับคือสงบไป’
[๓๕๕] เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ทุกขเวทนาจึงเกิด
บุคคลนั้นเมื่อเสวยทุกขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่า ‘เราเสวยทุกขเวทนาอยู่’ รู้ชัดว่า
‘เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนานั้นนั่นแลดับ ทุกขเวทนาที่เกิดเพราะอาศัย
ผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ที่เสวยอยู่อันเกิดจากผัสสะนั้นก็ดับคือสงบไป’


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๐. ธาตุวิภังคสูตร

[๓๕๖] เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา
จึงเกิด บุคคลนั้นเมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่า ‘เราเสวยอทุกขม-
สุขเวทนาอยู่’ รู้ชัดว่า ‘เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้นนั่นแลดับ
อทุกขมสุขเวทนาที่เกิดเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ที่เสวย
อยู่อันเกิดจากผัสสะนั้นก็ดับคือสงบไป’
[๓๕๗] ภิกษุ เปรียบเหมือนไม้ ๒ อัน เสียดสีกัน จึงเกิดความร้อน ไฟลุกขึ้น
เพราะแยกไม้ทั้งสองนั้นออกจากกัน ความร้อนที่เกิดจากการเสียดสีนั้นจึงดับ
ระงับไป แม้ฉันใด บุคคลก็ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่ง
สุขเวทนา สุขเวทนาจึงเกิด บุคคลนั้นเมื่อเสวยสุขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่า ‘เราเสวย
สุขเวทนาอยู่’ รู้ชัดว่า ‘เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นนั่นแลดับ สุขเวทนา
ที่เกิดเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ที่เสวยอยู่อันเกิดจากผัสสะนั้น
ก็ดับคือสงบไป’
[๓๕๘] เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ทุกขเวทนาจึงเกิด
บุคคลนั้นเมื่อเสวยทุกขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่า ‘เราเสวยทุกขเวทนาอยู่’ รู้ชัดว่า
‘เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนานั้นนั่นแลดับ ทุกขเวทนาที่เกิดเพราะอาศัย
ผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ที่เสวยอยู่อันเกิดจากผัสสะนั้นก็ดับคือสงบไป’
[๓๕๙] เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งอทุกขมสุขเวทนา อทุกขมสุขเวทนาจึง
เกิด บุคคลนั้นเมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่า ‘เราเสวยอทุกขมสุขเวทนา
อยู่’ รู้ชัดว่า ‘เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้นนั่นแลดับ อทุกขม-
สุขเวทนาที่เกิดเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ที่เสวยอยู่อัน
เกิดจากผัสสะนั้นก็ดับคือสงบไป’๑
[๓๖๐] ทีนั้น อุเบกขาอันบริสุทธิ์ผุดผ่อง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน และ
ผ่องใส เหลืออยู่ เปรียบเหมือนช่างทองหรือลูกมือของช่างทองผู้ชำนาญ ตระเตรียม
เบ้าแล้วสุมปากเบ้า เอาคีมคีบทองใส่ลงที่ปากเบ้า แล้วสูบลมตามสมควรแก่เวลา


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๐. ธาตุวิภังคสูตร

เอาน้ำประพรมตามสมควรแก่เวลา เพ่งดูตามสมควรแก่เวลา ทองนั้นเป็นทองที่
ถูกไล่ขี้เขม่าหมดแล้ว จึงเป็นทองอ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ผุดผ่อง และ
ช่างทองหรือลูกมือของช่างทองมุ่งหมายจะทำเครื่องประดับชนิดใด ๆ คือ แผ่นทอง
ต่างหู สร้อยคอ หรือมาลัยทอง ทองนั้นย่อมอำนวยประโยชน์ให้เขาได้ แม้ฉันใด๑
อุเบกขาอื่นก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นอุเบกขาบริสุทธิ์ผุดผ่อง อ่อน เหมาะแก่
การใช้งาน และผ่องใสเหลืออยู่
[๓๖๑] บุคคลนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘ถ้าเราน้อมอุเบกขาอันบริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้
เข้าไปสู่อากาสานัญจายตนฌาน และอบรมจิตให้มีธรรมสมควร๒แก่ธรรมนั้น๓ เมื่อ
เป็นเช่นนั้น อุเบกขาของเรานี้ก็จะเป็นอุเบกขาที่อาศัยอากาสานัญจายตนฌานนั้น
ยึดอากาสานัญจายตนฌานนั้น คงอยู่ตลอดกาลนาน
ถ้าเราน้อมอุเบกขาอันบริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่วิญญาณัญจายตนฌาน
และอบรมจิตให้มีธรรมสมควรแก่ฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้น อุเบกขาของเรานี้ก็จะ
เป็นอุเบกขาที่อาศัยวิญญาณัญจายตนฌานนั้น ยึดวิญญาณัญจายตนฌานนั้น
คงอยู่ตลอดกาลนาน
ถ้าเราน้อมอุเบกขาอันบริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่อากิญจัญญายตนฌาน
และอบรมจิตให้มีธรรมสมควรแก่ฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้น อุเบกขาของเรานี้
ก็จะเป็นอุเบกขาที่อาศัยอากิญจัญญายตนฌานนั้น ยึดอากิญจัญญายตนฌานนั้น
คงอยู่ตลอดกาลนาน
ถ้าเราน้อมอุเบกขาอันบริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่เนวสัญญานาสัญญายตน
ฌาน และอบรมจิตให้มีธรรมสมควรแก่ฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้น อุเบกขาของเรานี้
ก็จะเป็นอุเบกขาที่อาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น ยึดเนวสัญญา-
นาสัญญายตนฌานนั้น คงอยู่ตลอดกาลนาน


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๐. ธาตุวิภังคสูตร

[๓๖๒] ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘ถ้าเราน้อมอุเบกขาอันบริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้
เข้าไปสู่อากาสานัญจายตนฌาน และอบรมจิตให้มีธรรมสมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็
จะเป็นจิตที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งแล้ว
ถ้าเราน้อมอุเบกขาอันบริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่วิญญาณัญจายตนฌาน
และอบรมจิตให้มีธรรมสมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็จะเป็นจิตที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งแล้ว
ถ้าเราน้อมอุเบกขาอันบริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่อากิญจัญญายตนฌาน
และอบรมจิตให้มีธรรมสมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นจิตที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งแล้ว
ถ้าเราน้อมอุเบกขาอันบริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่เนวสัญญานาสัญญายตน
ฌาน และอบรมจิตให้มีธรรมสมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็จะเป็นจิตที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
แล้ว
ภิกษุนั้นจะไม่ปรุงแต่ง จะไม่คิดถึงความเจริญหรือความเสื่อมเลย เธอเมื่อไม่
ปรุงแต่ง ไม่คิดถึง ย่อมไม่ยึดมั่นอะไร ๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่หวาดหวั่น
เมื่อไม่หวาดหวั่น ย่อมดับกิเลสได้เฉพาะตนเท่านั้น รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
[๓๖๓] ถ้าภิกษุนั้นเสวยสุขเวทนา จึงรู้ชัดว่า ‘สุขเวทนานั้นไม่เที่ยง’ รู้ชัดว่า
‘ไม่น่าหมกมุ่น’ รู้ชัดว่า ‘ไม่น่าเพลิดเพลิน‘๑
ถ้าเธอเสวยทุกขเวทนา จึงรู้ชัดว่า ‘ทุกขเวทนานั้นไม่เที่ยง’ รู้ชัดว่า ‘ไม่น่า
หมกมุ่น’ รู้ชัดว่า ‘ไม่น่าเพลิดเพลิน’
ถ้าเธอเสวยอทุกขมสุขเวทนา จึงรู้ชัดว่า ‘อทุกขมสุขเวทนานั้นไม่เที่ยง’ รู้ชัดว่า
‘ไม่น่าหมกมุ่น’ รู้ชัดว่า ‘ไม่น่าเพลิดเพลิน’
[๓๖๔] ถ้าเธอเสวยสุขเวทนา จึงเป็นผู้ปราศจาก(กิเลส) เสวยสุขเวทนานั้น
ถ้าเธอเสวยทุกขเวทนา จึงเป็นผู้ปราศจาก(กิเลส) เสวยทุกขเวทนานั้น


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๐. ธาตุวิภังคสูตร

ถ้าเธอเสวยอทุกขมสุขเวทนา จึงเป็นผู้ปราศจาก(กิเลส)เสวยอทุกขมสุขเวทนา
นั้น เธอเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด จึงรู้ชัดว่า ‘เราเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด’
เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด จึงรู้ชัดว่า ‘เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด’ รู้ชัดว่า
‘หลังจากตายไป เวทนาทั้งปวงไม่น่าเพลิดเพลิน จักเย็นในโลกนี้ทีเดียว’
[๓๖๕] ภิกษุ เปรียบเหมือนตะเกียงน้ำมันติดอยู่ได้ เพราะอาศัยน้ำมันและไส้
ตะเกียงน้ำมันนั้นย่อมหมดเชื้อดับไป เพราะหมดน้ำมันและไส้ และเพราะไม่เติมน้ำ
มันและไส้ใหม่ แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด
จึงรู้ชัดว่า ‘เราเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด’ เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด จึงรู้ชัดว่า
‘เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด’ รู้ชัดว่า ‘หลังจากตายไป เวทนาทั้งปวงไม่น่าเพลิดเพลิน
จักเย็นในโลกนี้ทีเดียว’๑ เพราะเหตุนั้น ภิกษุผู้เพียบพร้อมแล้วอย่างนี้๒ ชื่อว่าเป็น
ผู้ประกอบด้วยอธิษฐานธรรมคือปัญญาอันยอดเยี่ยมนี้ เพราะว่าปัญญาอันประเสริฐ
ยอดเยี่ยมนี้ คือความรู้ในธรรมเป็นที่สิ้นทุกข์ทั้งปวง๓
[๓๖๖] ความหลุดพ้นของภิกษุนั้น เป็นอันตั้งอยู่ ไม่กำเริบในสัจจะ เพราะ
ว่าสิ่งใดมีความเลอะเลือนเป็นธรรมดา สิ่งนั้นเป็นของเท็จ สิ่งใดไม่มีความ
เลอะเลือนเป็นธรรมดา สิ่งนั้นเป็นของจริงคือนิพพาน เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้
เพียบพร้อมแล้วอย่างนี้ จึงชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยอธิษฐานธรรมคือสัจจะอัน
ยอดเยี่ยมนี้ เพราะสัจจะนี้เป็นบรมอริยสัจคือนิพพานอันไม่มีความเลอะเลือนเป็น
ธรรมดา
[๓๖๗] อนึ่ง อุปธิทั้งหลาย๔ของภิกษุผู้ไม่รู้แจ้งในกาลก่อนนั้นนั่นแล เป็น
อันเธอสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เธอละอุปธิเหล่านั้นได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือน


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๐. ธาตุวิภังคสูตร

ต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้เพียบพร้อมแล้วอย่างนี้ จึงชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยอธิษฐาน
ธรรมคือจาคะอันยอดเยี่ยมนี้ เพราะว่าจาคะอันประเสริฐ ยอดเยี่ยมนี้ คือความ
สละคืนอุปธิทั้งปวง
[๓๖๘] อนึ่ง อภิชฌา คือ ความพอใจ ความกำหนัดยินดีของภิกษุผู้ไม่รู้
แจ้งในกาลก่อนนั้นนั่นแลมีอยู่ เธอละอภิชฌา คือ ความพอใจ ความกำหนัด
ยินดีได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่
พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
ความอาฆาต คือ ความพยาบาท ความคิดประทุษร้ายของภิกษุผู้ไม่รู้แจ้งใน
กาลก่อนนั้นนั่นแลมีอยู่ เธอละความอาฆาต คือ ความพยาบาท ความคิด
ประทุษร้ายนั้นได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว
เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
อวิชชา คือ ความหลง งมงายของภิกษุผู้ไม่รู้แจ้งในกาลก่อนนั้นนั่นแลมีอยู่
เธอละอภิชฌา คือความหลง งมงายนั้นได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาล
ที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ เพราะฉะนั้น
ภิกษุผู้เพียบพร้อมแล้วอย่างนี้ จึงชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยอธิษฐานธรรม คือ
อุปสมะอันยอดเยี่ยมนี้ ความสงบระงับราคะ โทสะ โมหะ นี้เป็นความสงบระงับ
อันประเสริฐยอดเยี่ยม
คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘บุรุษไม่พึงประมาทปัญญา พึงตามรักษาสัจจะ พึงเพิ่มพูน
จาคะ พึงศึกษาแต่ทางสงบเท่านั้น’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้
[๓๖๙] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘เมื่อความกำหนดหมาย๑ซึมซาบไม่ถึงบุรุษผู้คง
อยู่ในอธิษฐานธรรม บัณฑิตจึงเรียกบุรุษนั้นว่า ‘มุนีผู้สงบแล้ว’ เพราะอาศัยเหตุอะไร
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๐. ธาตุวิภังคสูตร

ภิกษุ ความกำหนดหมายว่า “เรามี” ความกำหนดหมายว่า “เราไม่มี”
ความกำหนดหมายว่า “เราจักมี” ความกำหนดหมายว่า “เราจักไม่มี” ความ
กำหนดหมายว่า “เราจักมีรูป” ความกำหนดหมายว่า “เราจักไม่มีรูป” ความ
กำหนดหมายว่า “เราจักมีสัญญา” ความกำหนดหมายว่า “เราจักไม่มีสัญญา”
ความกำหนดหมายว่า “เราจักมีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่”
ความกำหนดหมายเป็นดุจโรค ความกำหนดหมายเป็นดุจหัวฝี ความ
กำหนดหมายเป็นดุจลูกศร๑ แต่เราเรียกภิกษุว่า ‘มุนีผู้สงบแล้ว’ เพราะก้าวล่วง
ความกำหนดหมายทั้งปวง เพราะว่ามุนีผู้สงบแล้ว ย่อมไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย
ไม่กำเริบ ไม่ทะเยอทะยาน แม้มุนีนั้นก็ไม่มีเหตุที่ต้องเกิด เมื่อไม่เกิด จักแก่ได้
อย่างไร เมื่อไม่แก่ จักตายได้อย่างไร เมื่อไม่ตาย จักกำเริบได้อย่างไร เมื่อไม่กำเริบ
จักทะเยอทะยานได้อย่างไร
คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘เมื่อความกำหนดหมาย ซึมซาบไม่ถึงบุรุษผู้คงอยู่ใน
อธิษฐานธรรม บัณฑิตจึงเรียกบุรุษนั้นว่า ‘มุนีผู้สงบแล้ว’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้
เราจึงกล่าวไว้
ภิกษุ เธอจงจำธาตุวิภังค์ ๖ โดยย่อนี้ของเราไว้”
[๓๗๐] ครั้งนั้นแล ท่านปุกกุสาติรู้ว่า “ได้ยินว่า พระศาสดาของเราเสด็จมา
ถึงแล้ว ได้ยินว่า พระสุคตของเราเสด็จมาถึงแล้ว ได้ยินว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ของเราเสด็จมาถึงแล้ว” จึงลุกขึ้นจากอาสนะ ห่มผ้าเฉวียงบ่า หมอบลงแทบ
พระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า แล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ผู้โง่ เขลา เบาปัญญา มีความผิดที่ข้าพระองค์
ได้สำคัญพระผู้มีพระภาคว่าควรเรียกด้วยวาทะว่าผู้มีอายุ ขอพระผู้มีพระภาค จง
ให้อภัยโทษแก่ข้าพระองค์ เพื่อสำรวมต่อไป”๒
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เอาเถอะ เธอผู้โง่ เขลา เบาปัญญา มีความผิดที่
ได้สำคัญเราว่าควรร้องเรียกด้วยวาทะว่าผู้มีอายุ แต่เธอเห็นความผิดโดยเป็นความ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๐. ธาตุวิภังคสูตร

ผิดแล้วกระทำคืนตามธรรม เราก็ยกโทษให้เธอ ภิกษุ ก็การที่บุคคลเห็นความผิด
โดยเป็นความผิด แล้วกระทำคืนตามธรรม ถึงความสำรวมต่อไป นี้เป็นความ
เจริญในอริยวินัย”
ท่านปุกกุสาติกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์พึงได้
อุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคเถิด”
“เธอมีบาตรและจีวรครบแล้วหรือ”
“ไม่ครบ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุ ตถาคตทั้งหลายจะไม่ให้กุลบุตรผู้มีบาตรและจีวรไม่ครบอุปสมบท”
ลำดับนั้น ท่านปุกกุสาติชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ลุกขึ้น
จากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วจากไปแสวงหา
บาตรและจีวร
ทันใดนั้นเอง แม่โคได้ขวิดท่านปุกกุสาติผู้กำลังเที่ยวแสวงหาบาตรและจีวร
เสียชีวิต ครั้งนั้น ภิกษุจำนวนมากได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “กุลบุตรชื่อ
ปุกกุสาติที่พระผู้มีพระภาคทรงโอวาทด้วยพระโอวาทโดยย่อนั้น ตายเสียแล้ว เขา
มีคติเป็นอย่างไร มีสัมปรายภพเป็นอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ปุกกุสาติกุลบุตรเป็นบัณฑิต ได้
บรรลุธรรมสมควรแก่ธรรมแล้ว และเธอไม่ให้เราลำบากเพราะเหตุแห่งธรรม
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ปุกกุสาติกุลบุตร จึงเป็นโอปปาติกะ๑ จะ
นิพพานในโลกนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

ธาตุวิภังคสูตรที่ ๑๐ จบ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๑. สัจจวิภังคสูตร

๑๑. สัจจวิภังคสูตร
ว่าด้วยการจำแนกสัจจะ

[๓๗๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุง
พาราณสี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้
ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ธรรมจักรอันยอดเยี่ยมตถาคตผู้เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ได้ประกาศแล้ว ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี อันสมณะ
พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลก ให้หมุนกลับไม่ได้ คือ
การบอก๑ การแสดง๒ การบัญญัติ๓ การกำหนด๔ การเปิดเผย๕ การจำแนก๖
การทำให้ง่าย๗ ซึ่งอริยสัจ ๔
อริยสัจ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. การบอก การแสดง การบัญญัติ การกำหนด การเปิดเผย
การจำแนก การทำให้ง่ายซึ่งทุกขอริยสัจ
๒. การบอก การแสดง การบัญญัติ การกำหนด การเปิดเผย
การจำแนก การทำให้ง่ายซึ่งทุกขสมุทยอริยสัจ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๑. สัจจวิภังคสูตร

๓. การบอก การแสดง การบัญญัติ การกำหนด การเปิดเผย
การจำแนก การทำให้ง่ายซึ่งทุกขนิโรธอริยสัจ
๔. การบอก การแสดง การบัญญัติ การกำหนด การเปิดเผย
การจำแนก การทำให้ง่ายซึ่งทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
ธรรมจักรอันยอดเยี่ยมตถาคตผู้เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ประกาศแล้ว
ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร
พรหม หรือใคร ๆ ในโลก ให้หมุนกลับไม่ได้ คือ การบอก การแสดง
การบัญญัติ การกำหนด การเปิดเผย การจำแนก ทำให้ง่ายซึ่งอริยสัจ ๔ นี้
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงคบสารีบุตรและโมคคัลลานะ เธอทั้งหลาย
จงคบสารีบุตรและโมคคัลลานะเถิด สารีบุตรและโมคคัลลานะเป็นภิกษุฉลาด
เป็นผู้อนุเคราะห์๑เพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย สารีบุตรเปรียบเหมือนผู้ให้กำเนิด
โมคคัลลานะเปรียบเหมือนผู้บำรุงเลี้ยงทารกที่เกิดแล้ว สารีบุตรย่อมแนะนำใน
โสดาปัตติผล โมคคัลลานะย่อมแนะนำในประโยชน์ที่สูงสุด สารีบุตรสามารถที่จะ
บอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายซึ่งอริยสัจ ๔ ได้โดย
พิสดาร”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงทรงลุกขึ้นจาก
พุทธอาสน์ เสด็จเข้าไปยังที่ประทับ
[๓๗๒] ขณะนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จจากไปแล้วไม่นาน ท่านพระ
สารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้น
รับคำแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวเรื่องนี้ว่า
“ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมจักรอันยอดเยี่ยมพระตถาคตผู้เป็นอรหันต
สัมมาสัมพุทธเจ้าได้ประกาศแล้ว ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี
อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลกให้หมุนกลับไม่ได้
คือ การบอก การแสดง การบัญญัติ การกำหนด การเปิดเผย การจำแนก
การทำให้ง่ายซึ่งอริยสัจ ๔


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๑. สัจจวิภังคสูตร

อริยสัจ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. การบอก การแสดง การบัญญัติ การกำหนด การเปิดเผย
การจำแนก การทำให้ง่ายซึ่งทุกขอริยสัจ
๒. การบอก การแสดง การบัญญัติ การกำหนด การเปิดเผย การจำแนก
การทำให้ง่ายซึ่งทุกขสมุทยอริยสัจ
๓. การบอก การแสดง การบัญญัติ การกำหนด การเปิดเผย
การจำแนก การทำให้ง่ายซึ่งทุกขนิโรธอริยสัจ
๔. การบอก การแสดง การบัญญัติ การกำหนด การเปิดเผย
การจำแนก การทำให้ง่ายซึ่งทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
[๓๗๓] ทุกขอริยสัจ (อริยสัจคือทุกข์) เป็นอย่างไร
คือ ชาติ เป็นทุกข์ ชรา เป็นทุกข์ มรณะ เป็นทุกข์ โสกะ ปริเทวะ
ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เป็นทุกข์ การไม่ได้สิ่งที่ต้องการ เป็นทุกข์ โดยย่อ
อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์๑
ชาติ เป็นอย่างไร
คือ ความเกิด ความเกิดพร้อม ความหยั่งลง ความบังเกิด ความบังเกิดเฉพาะ
ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะ ในหมู่สัตว์นั้น ๆ ของเหล่าสัตว์นั้น ๆ
นี้เรียกว่า ชาติ๒
ชรา เป็นอย่างไร
คือ ความแก่ ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด ความมีผมหงอก ความมี
หนังเหี่ยวย่น ความเสื่อมอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้น ๆ ของ
เหล่าสัตว์นั้น ๆ
นี้เรียกว่า ชรา


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๑. สัจจวิภังคสูตร

มรณะ เป็นอย่างไร
คือ ความจุติ ความเคลื่อนไป จากหมู่สัตว์นั้น ๆ ความทำลายไป ความหายไป
ความตายกล่าวคือมฤตยู การทำกาละ ความแตกแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งร่างกาย
ความขาดสูญแห่งชีวิตินทรีย์ของสัตว์เหล่านั้น ๆ
นี้เรียกว่า มรณะ๑
โสกะ เป็นอย่างไร
คือ ความเศร้าโศก กิริยาที่เศร้าโศก ภาวะที่เศร้าโศก ความแห้งผากภายใน
ความแห้งกรอบภายใน ของผู้ที่ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่ง (หรือ)
ผู้ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบ
นี้เรียกว่า โสกะ๒
ปริเทวะ เป็นอย่างไร
คือ ความร้องไห้ ความคร่ำครวญ กิริยาที่ร้องไห้ กิริยาที่คร่ำครวญ ภาวะ
ที่ร้องไห้ ภาวะที่คร่ำครวญ ของผู้ที่ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่ง (หรือ)
ผู้ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบ
นี้เรียกว่า ปริเทวะ๓
ทุกข์ เป็นอย่างไร
คือ ความทุกข์ทางกาย ความไม่สำราญทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่เป็นทุกข์
ไม่สำราญ อันเกิดจากกายสัมผัส
นี้เรียกว่า ทุกข์๔


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๑. สัจจวิภังคสูตร

โทมนัส เป็นอย่างไร
คือ ความทุกข์ทางใจ ความไม่สำราญทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่เป็นทุกข์
ไม่สำราญ อันเกิดจากมโนสัมผัส
นี้เรียกว่า โทมนัส๑
อุปายาส เป็นอย่างไร
คือ ความแค้น ความคับแค้น ภาวะที่แค้น ภาวะที่คับแค้น ของผู้ที่
ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่ง (หรือ) ผู้ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใด
อย่างหนึ่งกระทบ
นี้เรียกว่า อุปายาส
การไม่ได้สิ่งที่ต้องการเป็นทุกข์ เป็นอย่างไร
คือ หมู่สัตว์ผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา เกิดความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า
‘ไฉนหนอ เราทั้งหลายจึงจักไม่มีความเกิดเป็นธรรมดา หรือความเกิดไม่พึงมาถึง
เราทั้งหลาย แต่ความปรารถนานี้ไม่พึงสำเร็จได้ตามความปรารถนา
นี้เรียกว่าการไม่ได้สิ่งที่ต้องการ เป็นทุกข์
หมู่สัตว์ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา ....
หมู่สัตว์ผู้มีความเจ็บเป็นธรรมดา ...
หมู่สัตว์ผู้มีความตายเป็นธรรมดา ...
หมู่สัตว์ผู้มีความเศร้าโศก ความคร่ำครวญ ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ
และความคับแค้นเป็นธรรมดา ต่างก็เกิดความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า ‘ไฉนหนอ
เราทั้งหลายจึงจักไม่มีความเศร้าโศรก ความคร่ำครวญ ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ
และความคับแค้นเป็นธรรมดา ขอความเศร้าโศก ความคร่ำครวญ ความทุกข์กาย
ความทุกข์ใจ และความคับแค้นไม่พึงมาถึงเราทั้งหลาย’ แต่ความปรารถนานี้ไม่
พึงสำเร็จได้ตามความปรารถนา
นี้เรียกว่าการไม่ได้สิ่งที่ต้องการ เป็นทุกข์


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๑. สัจจวิภังคสูตร

โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ เป็นอย่างไร คือ
๑. รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป)
๒. เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา)
๓. สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา)
๔. สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร)
๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ)
เหล่านี้เรียกโดยย่อว่า อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์
นี้เรียกว่า ทุกขอริยสัจ
[๓๗๔] ทุกขสมุทยอริยสัจ (อริยสัจคือเหตุเกิดแห่งทุกข์) เป็นอย่างไร
คือ ตัณหานี้เป็นเหตุเกิดในภพใหม่ สหรคตด้วยความกำหนัดยินดี เป็นเหตุ
เพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา๑
นี้เรียกว่า ทุกขสมุทยอริยสัจ
ทุกขนิโรธอริยสัจ (อริยสัจคือความดับทุกข์) เป็นอย่างไร
คือ ความสำรอกและความดับโดยไม่เหลือ ความปล่อยวาง ความสละคืน
ความพ้น ความไม่ติดอยู่
นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ

อริยมรรคมีองค์ ๘

[๓๗๕] ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ (อริยสัจคือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับ
ทุกข์) เป็นอย่างไร


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๑. สัจจวิภังคสูตร

คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้นั่นแล ได้แก่

๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ
๓. สัมมาวาจา ๔. สัมมากัมมันตะ
๕. สัมมาอาชีวะ ๖. สัมมาวายามะ
๗. สัมมาสติ ๘. สัมมาสมาธิ๑

สัมมาทิฏฐิ เป็นอย่างไร
คือ ความรู้ในทุกข์(ความทุกข์) ความรู้ในทุกขสมุทัย(เหตุเกิดแห่งทุกข์)
ความรู้ในทุกขนิโรธ(ความดับทุกข์) ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา(ข้อปฏิบัติให้
ถึงความดับทุกข์)
นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ
สัมมาสังกัปปะ เป็นอย่างไร
คือ ความดำริในการออกจากกาม ความดำริในการไม่พยาบาท ความดำริ
ในการไม่เบียดเบียน
นี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ
สัมมาวาจา เป็นอย่างไร
คือ เจตนาเป็นเหตุเว้นจากการพูดเท็จ เจตนาเป็นเหตุเว้นจากการพูดส่อเสียด
เจตนาเป็นเหตุเว้นจากการพูดคำหยาบ เจตนาเป็นเหตุเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
นี้เรียกว่า สัมมาวาจา
สัมมากัมมันตะ เป็นอย่างไร
คือ เจตนาเป็นเหตุเว้นจากการฆ่าสัตว์ เจตนาเป็นเหตุเว้นจากการลักทรัพย์
เจตนาเป็นเหตุเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
นี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๑. สัจจวิภังคสูตร

สัมมาอาชีวะ เป็นอย่างไร
คือ พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ ละมิจฉาอาชีวะแล้ว เลี้ยงชีพด้วย
สัมมาอาชีวะ
นี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ
สัมมาวายามะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร
ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อความไม่เกิดขึ้นแห่งบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น ยัง
ฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อละบาปอกุศล
ธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต
มุ่งมั่นเพื่อความเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น ยังฉันทะให้เกิด พยายาม
ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิยโยภาพ
ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
นี้เรียกว่า สัมมาวายามะ
สัมมาสติ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติพิจารณา
เห็นกายในกายอยู่ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ พิจารณาเห็นเวทนาใน
เวทนาทั้งหลายอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ เป็นผู้มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ พึงกำจัดอภิชฌาและ
โทมนัสในโลกได้
นี้เรียกว่า สัมมาสติ
สัมมาสมาธิ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว
บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารสงบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๒. ทักขิณาวิภังคสูตร

ระงับไป ภิกษุนั้นจึงบรรลุทุติยฌาน ที่มีความผ่องใสภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่ง
ผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ ... บรรลุตติยฌาน
... บรรลุจตุตถฌานอยู่
นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ
นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ๑
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระธรรมจักรอันยอดเยี่ยมพระตถาคตผู้เป็นอรหันต
สัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงประกาศไว้แล้ว ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุง
พาราณสี อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลกให้
หมุนกลับไม่ได้๒ คือ ทรงบอก ทรงแสดง ทรงบัญญัติ ทรงกำหนด ทรงเปิดเผย
ทรงจำแนก ทรงทำให้ง่ายซึ่งอริยสัจ ๔ นี้”
ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมภาษิต
ของท่านพระสารีบุตร ดังนี้แล

สัจจวิภังคสูตรที่ ๑๑ จบ

๑๒. ทักขิณาวิภังคสูตร
ว่าด้วยการจำแนกทักษิณาทาน

[๓๗๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตกรุงกบิลพัสดุ์
แคว้นสักกะ สมัยนั้นแล พระนางมหาปชาบดีโคตมี ทรงถือผ้าใหม่คู่หนึ่ง เข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่สมควร
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผ้าใหม่คู่นี้ หม่อมฉัน
กรอด้ายเอง ทอเอง ตั้งใจอุทิศถวายพระผู้มีพระภาค ขอพระผู้มีพระภาคทรง
อาศัยความอนุเคราะห์ รับผ้าใหม่คู่นั้นของหม่อมฉันเถิด”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๒. ทักขิณาวิภังคสูตร

เมื่อพระนางมหาปชาบดีโคตมี กราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า
“โคตมี ขอพระนางจงถวายสงฆ์เถิด เมื่อพระนางถวายสงฆ์แล้ว จักเป็นอันบูชา
อาตมภาพและสงฆ์”
แม้ครั้งที่ ๒ พระนางมหาปชาบดีโคตมี ก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผ้าใหม่คู่นี้ หม่อมฉันกรอด้ายเอง ทอเอง ตั้งใจอุทิศ
ถวายพระผู้มีพระภาค ขอพระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์ รับผ้าใหม่คู่
นี้ของหม่อมฉันเถิด”
แม้ครั้งที่ ๒ พระผู้มีพระภาคก็ได้ตรัสกับพระนางมหาปชาบดีโคตมีว่า
“โคตมี ขอพระนางจงถวายสงฆ์เถิด เมื่อพระนางถวายสงฆ์แล้ว จักเป็นอันบูชา
อาตมภาพและสงฆ์”
แม้ครั้งที่ ๓ พระนางมหาปชาบดีโคตมี ก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผ้าใหม่คู่นี้ หม่อมฉันกรอด้ายเอง ทอเอง ตั้งใจอุทิศ
ถวายพระผู้มีพระภาค ขอพระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์ รับผ้าใหม่คู่นี้
ของหม่อมฉันเถิด”
แม้ครั้งที่ ๓ พระผู้มีพระภาคก็ได้ตรัสกับพระนางมหาปชาบดีโคตมีว่า
“โคตมี ขอพระนางจงถวายสงฆ์เถิด เมื่อพระนางถวายสงฆ์แล้ว จักเป็นอันบูชา
อาตมภาพและสงฆ์”
[๓๗๗] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาค โปรดรับผ้าใหม่ทั้งคู่ของพระนาง
มหาปชาบดีโคตมีเถิด พระนางมหาปชาบดีโคตมี ทรงมีอุปการะมาก เป็นพระ
มาตุจฉาของพระผู้มีพระภาค ทรงทะนุถนอมเลี้ยงดูให้พระผู้มีพระภาคเสวย
น้ำนม ในเมื่อพระชนนีสวรรคตแล้ว แม้พระผู้มีพระภาคก็ทรงมีอุปการะมากแก่
พระนางมหาปชาบดีโคตมี พระนางมหาปชาบดีโคตมี ทรงอาศัยพระผู้มีพระภาค
แล้ว จึงได้ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ ทรงเป็นผู้เว้นขาดจาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๒. ทักขิณาวิภังคสูตร

การฆ่าสัตว์ ทรงเป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์ ทรงเป็นผู้เว้นขาดจากการ
ประพฤติผิดในกาม ทรงเป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ ทรงเป็นผู้เว้นขาดจากการ
เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท๑ ทรงอาศัยพระผู้มี
พระภาคแล้ว จึงทรงมีความเลื่อมใสแน่วแน่ในพระพุทธเจ้า มีความเลื่อมใสแน่ว
แน่ในพระธรรม มีความเลื่อมใสแน่วแน่ในพระสงฆ์ มีศีลที่พระอริยะยินดี ทรง
อาศัยพระผู้มีพระภาคแล้ว จึงเป็นผู้หมดความสงสัยในทุกข์ หมดความสงสัยใน
ทุกขสมุทัย หมดความสงสัยในทุกขนิโรธ หมดความสงสัยในทุกขนิโรธคามินี
ปฏิปทา
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้พระผู้มีพระภาคก็ทรงมีพระอุปการะมากแก่พระนาง
มหาปชาบดีโคตมี”
[๓๗๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ข้อนี้เป็นอย่างนั้น อานนท์ ข้อนี้เป็น
อย่างนั้น อานนท์
เพราะว่า บุคคลอาศัยบุคคลใดแล้ว เป็นผู้ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ถึงพระ
ธรรมเป็นสรณะ ถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ เราไม่กล่าวการกระทำนี้ คือ การกราบไหว้
การลุกรับ การทำอัญชลี การทำสามีจิกรรม ด้วยการบริจาคจีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ว่าเป็นการทำตอบแทนกันของบุคคลนี้กับ
บุคคลนี้
บุคคลอาศัยบุคคลใดแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เป็นผู้เว้นขาดจาก
การลักทรัพย์ เป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม เป็นผู้เว้นขาดจากการ
พูดเท็จ เป็นผู้เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความ
ประมาท เราไม่กล่าวการกระทำนี้ คือ การกราบไหว้ การลุกรับ การทำอัญชลี
การทำสามีจิกรรม ด้วยการบริจาคจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย
เภสัชบริขาร ว่าเป็นการทำตอบแทนกันของบุคคลนี้กับบุคคลนี้


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๒. ทักขิณาวิภังคสูตร

บุคคลอาศัยบุคคลใดแล้ว เป็นผู้มีความเลื่อมใสแน่วแน่ในพระพุทธเจ้า มี
ความเลื่อมใสแน่วแน่ในพระธรรม มีความเลื่อมใสแน่วแน่ในพระสงฆ์ มีศีลที่พระ
อริยะยินดี เราไม่กล่าวการกระทำนี้ คือ การกราบไหว้ การลุกรับ การทำอัญชลี
การทำสามีจิกรรม ด้วยการบริจาคจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย
เภสัชบริขาร ว่าเป็นการทำตอบแทนกันของบุคคลนี้กับบุคคลนี้
บุคคลอาศัยบุคคลใดแล้ว เป็นผู้หมดความสงสัยในทุกข์ หมดความสงสัยใน
ทุกขสมุทัย หมดความสงสัยในทุกขนิโรธ หมดความสงสัยในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
ได้ เราไม่กล่าวการกระทำนี้ คือ การกราบไหว้ การลุกรับ การทำอัญชลี การ
ทำสามีจิกรรม ด้วยการบริจาคจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัช
บริขาร ว่าเป็นการทำตอบแทนกันของบุคคลนี้กับบุคคลนี้

การถวายทานเจาะจงบุคคล ๑๔ ประการ

[๓๗๙] อานนท์ ก็ทักษิณาเป็นปาฏิปุคคลิก (การถวายทานเจาะจงบุคคล)นี้
มี ๑๔ ประการ
ทักษิณาเป็นปาฏิปุคคลิก ๑๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. บุคคลย่อมถวายทานในพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า นี้
เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑
๒. บุคคลย่อมถวายทานในพระปัจเจกพุทธะ นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิก
ประการที่ ๒
๓. บุคคลย่อมถวายทานในพระสาวกของตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์ นี้
เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๓
๔. บุคคลย่อมถวายทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล นี้
เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๔
๕. บุคคลย่อมถวายทานในพระอนาคามี นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิก
ประการที่ ๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๒. ทักขิณาวิภังคสูตร

๖. บุคคลย่อมถวายทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล นี้
เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๖
๗. บุคคลย่อมถวายทานในพระสกทาคามี นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิก
ประการที่ ๗
๘. บุคคลย่อมถวายทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล
นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๘
๙. บุคคลย่อมถวายทานในพระโสดาบัน นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิก
ประการที่ ๙
๑๐. บุคคลย่อมถวายทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล นี้
เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑๐
๑๑. บุคคลย่อมถวายทานในบุคคลภายนอกศาสนาผู้ปราศจากความ
กำหนัดในกามทั้งหลายแล้ว นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการ
ที่ ๑๑
๑๒. บุคคลย่อมให้ทานในปุถุชนผู้มีศีล๑ นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิก
ประการที่ ๑๒
๑๓. บุคคลย่อมให้ทานในปุถุชนผู้ทุศีล นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิก
ประการที่ ๑๓
๑๔. บุคคลย่อมให้ทานในสัตว์ดิรัจฉาน นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิก
ประการที่ ๑๔
อานนท์ ในทักษิณาปาฏิปุคคลิก ๑๔ ประการนั้น บุคคลให้ทานในสัตว์
ดิรัจฉานแล้ว พึงหวังทักษิณาอันมีอานิสงส์ ๑๐๐ อัตภาพ ให้ทานในปุถุชนผู้
ทุศีลแล้วพึงหวังทักษิณาอันมีอานิสงส์ ๑,๐๐๐ อัตภาพ ให้ทานในปุถุชนผู้มีศีล


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๒. ทักขิณาวิภังคสูตร

แล้วพึงหวังทักษิณาอันมีอานิสงส์ ๑๐๐,๐๐๐ อัตภาพ ถวายทานในบุคคล
ภายนอกศาสนาผู้ปราศจากความกำหนัดในกามทั้งหลายแล้ว พึงหวังทักษิณาอันมี
อานิสงส์แสนโกฏิอัตภาพ ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผลแล้ว
พึงหวังทักษิณาอันมีอานิสงส์นับไม่ได้ ประมาณไม่ได้ ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงการ
ถวายทานในพระโสดาบัน ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงการถวายทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อ
ทำให้แจ้งสกทาคามิผล ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงการถวายทานในพระสกทาคามี ไม่
จำเป็นต้องกล่าวถึงการถวายทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ไม่
จำเป็นต้องกล่าวถึงการถวายทานในพระอนาคามี ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงการถวาย
ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงการถวายทาน
ในพระสาวกของตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์ ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงการถวายทาน
ในพระปัจเจกสัมพุทธะ ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงการถวายทานในพระตถาคต
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเลย

การถวายทานในสงฆ์ ๗ ประการ

[๓๘๐] อานนท์ ก็ทักษิณาที่ถวายในสงฆ์ ๗ ประการนี้
ทักษิณาที่ถวายในสงฆ์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. บุคคลย่อมถวายทานในสงฆ์ ๒ ฝ่ายมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข นี้
เป็นทักษิณาที่ถวายในสงฆ์ประการที่ ๑
๒. เมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้วบุคคลย่อมถวายทานในสงฆ์ ๒ ฝ่าย
นี้เป็นทักษิณาที่ถวายในสงฆ์ประการที่ ๒
๓. บุคคลย่อมถวายทานในภิกษุสงฆ์ นี้เป็นทักษิณาที่ถวายในสงฆ์
ประการที่ ๓
๔. บุคคลย่อมถวายทานในภิกษุณีสงฆ์ นี้เป็นทักษิณาที่ถวายในสงฆ์
ประการที่ ๔
๕. บุคคลเผดียงสงฆ์ว่า ‘ขอท่านจงให้ภิกษุและภิกษุณีจำนวนเท่านี้
แก่ข้าพเจ้าเจาะจงจากสงฆ์’ แล้วถวายทาน นี้เป็นทักษิณาที่ถวาย
ในสงฆ์ประการที่ ๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๒. ทักขิณาวิภังคสูตร

๖. บุคคลเผดียงสงฆ์ว่า ‘ขอท่านจงให้ภิกษุจำนวนเท่านี้แก่ข้าพเจ้า
เจาะจงจากสงฆ์’ แล้วถวายทาน นี้เป็นทักษิณาที่ถวายในสงฆ์ประการ
ที่ ๖
๗. บุคคลเผดียงสงฆ์ว่า ‘ขอท่านจงให้ภิกษุณีจำนวนเท่านี้แก่ข้าพเจ้า
เจาะจงจากสงฆ์’ แล้วถวายทาน นี้เป็นทักษิณาที่ถวายในสงฆ์ประการ
ที่ ๗
อานนท์ ก็ในอนาคตกาล จักมีแต่เหล่าโคตรภูภิกษุ มีผ้ากาสาวะพันคอ
เป็นผู้ทุศีล มีธรรมเลวทราม ชนทั้งหลายจักถวายทานเจาะจงพระสงฆ์ได้ในภิกษุ
ผู้ทุศีลเหล่านั้น แม้ในเวลานั้น เราก็ยังกล่าวทักษิณาที่ถวายในสงฆ์ว่า มีอานิสงส์
นับไม่ได้ ประมาณไม่ได้ แต่ว่าเราไม่กล่าวปาฏิปุคคลิกทานว่า มีผลมากกว่า
ทักษิณาที่ถวายในสงฆ์โดยปริยายไร ๆ เลย
[๓๘๑] อานนท์ ความบริสุทธิ์แห่งทักษิณา(ของทำบุญ) ๔ ประการนี้
ความบริสุทธิ์แห่งทักษิณา ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทักษิณาที่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก(ผู้ให้) แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก(ผู้รับ)
๒. ทักษิณาที่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก
๓. ทักษิณาที่ไม่บริสุทธิ์ ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก
๔. ทักษิณาที่บริสุทธิ์ ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก
ทักษิณาที่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก เป็นอย่างไร
คือ ทายกในโลกนี้เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม ปฏิคาหกเป็นผู้ทุศีล มีธรรม
เลวทราม
ทักษิณาที่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก เป็นอย่างนี้
ทักษิณาที่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก เป็นอย่างไร
คือ ทายกในโลกนี้เป็นผู้ทุศีล มีธรรมเลวทราม ปฏิคาหกเป็นผู้มีศีล
มีกัลยาณธรรม
ทักษิณาที่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก เป็นอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] ๑๒. ทักขิณาวิภังคสูตร

ทักษิณาที่ไม่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก เป็นอย่างไร
คือ ทายกในโลกนี้ เป็นผู้ทุศีล มีธรรมเลวทราม และปฏิคาหกก็เป็นผู้ทุศีล
มีธรรมเลวทราม
ทักษิณาที่ไม่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก เป็นอย่างนี้
ทักษิณาที่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก เป็นอย่างไร
คือ ทายกในโลกนี้ เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม และปฏิคาหกก็เป็นผู้มีศีล
มีกัลยาณธรรม
ทักษิณาที่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก เป็นอย่างนี้
อานนท์ ความบริสุทธิ์แห่งทักษิณา ๔ ประการนี้”๑
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัส
คาถาประพันธ์อื่นอีกต่อไปว่า
[๓๘๒] “ผู้ใดมีศีล ได้ของมาโดยธรรม มีจิตเลื่อมใสดี
เชื่อกรรมและผลแห่งกรรมอันโอฬาร ให้ทานในชนผู้ทุศีล
ทักษิณาของผู้นั้นชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่ายทายก
ผู้ใดทุศีล ได้ของมาโดยไม่เป็นธรรม มีจิตไม่เลื่อมใส
ไม่เชื่อกรรมและผลของกรรมอันโอฬาร ให้ทานในชนผู้มีศีล
ทักษิณาของผู้นั้นชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก
ผู้ใดทุศีล ได้ของมาโดยไม่เป็นธรรม มีจิตไม่เลื่อมใส
ไม่เชื่อกรรมและผลของกรรมอันโอฬาร ให้ทานในชนผู้ทุศีล
เราไม่กล่าวทานของผู้นั้นว่ามีผลไพบูลย์
ผู้ใดมีศีล ได้ของมาโดยธรรม มีจิตเลื่อมใสดี
เชื่อกรรมและผลของกรรมอันโอฬาร ให้ทานในชนผู้มีศีล
เรากล่าวทานของผู้นั้นว่ามีผลไพบูลย์


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค] รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ผู้ใดปราศจากราคะแล้ว ได้ของมาโดยธรรม
มีจิตเลื่อมใสดี เชื่อกรรมและผลของกรรมอันโอฬาร
จึงให้ทานในท่านผู้ปราศจากราคะ
เรากล่าวทานของผู้นั้นนั่นแลว่า
“เลิศกว่าอามิสทานทั้งหลาย” ดังนี้แล

ทักขิณาวิภังคสูตรที่ ๑๒ จบ
วิภังควรรคที่ ๔ จบ

รวมพระสูตรในวรรคนี้ คือ

๑ ภัทเทกรัตตสูตร ๒. อานันทภัทเทกรัตตสูตร
๓. มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร ๔. โลมสกังคิยภัทเทกรัตตสูตร
๕. จูฬกัมมวิภังคสูตร ๖. มหากัมมวิภังคสูตร
๗. สฬายตนวิภังคสูตร ๘. อุทเทสวิภังคสูตร
๙. อรณวิภังคสูตร ๑๐. ธาตุวิภังคสูตร
๑๑. สัจจวิภังคสูตร ๑๒. ทักขิณาวิภังคสูตร


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค]
๑. อนาถปิณฑิโกวาทสูตร

๕. สฬายตนวรรค
หมวดว่าด้วยอายตนะ ๖ ประการ
๑. อนาถปิณฑิโกวาทสูตร
ว่าด้วยการให้โอวาทแก่อนาถบิณฑิกคหบดี

[๓๘๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้นแล อนาถบิณฑิกคหบดีป่วย ได้รับทุกข์
เป็นไข้หนัก ครั้งนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีเรียกบุรุษคนหนึ่งมาสั่งว่า
“มาเถิด พ่อมหาจำเริญ เจ้าจงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาค ด้วยเศียรเกล้าตามคำของเรา แล้ว
กราบทูลอย่างนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนาถบิณฑิกคหบดีป่วย ได้รับทุกข์
เป็นไข้หนัก ท่านขอถวายอภิวาทพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า’
และจงเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ กราบเท้าทั้งสองของท่านด้วยเศียรเกล้า
ตามคำของเรา จงเรียนอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ อนาถบิณฑิกคหบดีป่วย ได้รับทุกข์
เป็นไข้หนัก ท่านขอกราบเท้าทั้งสองของท่านพระสารีบุตรด้วยเศียรเกล้า’ และ
จงเรียนอย่างนี้ว่า ‘ขอท่านพระสารีบุตรโปรดอนุเคราะห์ เข้าไปเยี่ยมท่านอนาถ
บิณฑิกคหบดีถึงนิเวศน์ด้วยเถิด”
บุรุษนั้นรับคำแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว
นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่าน
อนาถบิณฑิกคหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ท่านขอถวายบังคมพระยุคลบาท
ของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า” และเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ไหว้
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้เรียนท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ท่าน
อนาถบิณฑิกคหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ท่านขอกราบเท้าทั้งสองของท่าน
พระสารีบุตรด้วยเศียรเกล้าและฝากมาเรียนว่า ‘ขอท่านพระสารีบุตรโปรดอนุเคราะห์
เข้าไปเยี่ยมท่านอนาถบิณฑิกคหบดีถึงนิเวศน์ด้วยเถิด”
ท่านพระสารีบุตรรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค]
๑. อนาถปิณฑิโกวาทสูตร

[๓๘๔] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร มีท่าน
พระอานนท์เป็นปัจฉาสมณะ เข้าไปยังนิเวศน์ของท่านอนาถบิณฑิกคหบดี นั่งบน
อาสนะที่ปูลาดไว้แล้ว ได้ถามท่านอนาถบิณฑิกคหบดีว่า “คหบดี ท่านยังสบายดี
หรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ ทุกขเวทนาของท่านทุเลาลง ไม่กำเริบขึ้นหรือ อาการ
ทุเลาปรากฏ อาการกำเริบไม่ปรากฏหรือ”๑
ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีตอบว่า “ท่านสารีบุตร กระผมไม่สบาย จะเป็นอยู่
ไม่ได้ ทุกขเวทนาของกระผมกำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ
อาการทุเลาไม่ปรากฏ
เปรียบเหมือนคนที่แข็งแรงใช้เหล็กแหลมคมทิ่มแทงศีรษะ แม้ฉันใด ลมอัน
แรงกล้าเสียดแทงศีรษะของกระผมฉันนั้นเหมือนกัน กระผมไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้
ทุกขเวทนาของกระผมกำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ อาการ
ทุเลาไม่ปรากฏ
เปรียบเหมือนคนที่แข็งแรงใช้เชือกหนังที่เหนียวขันที่ศีรษะ แม้ฉันใด ลมอัน
แรงกล้าเสียดแทงศีรษะของกระผมฉันนั้นเหมือนกัน กระผมไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้
ทุกขเวทนาของกระผมกำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ อาการ
ทุเลาไม่ปรากฏ ขอรับ
เปรียบเหมือนคนฆ่าโคหรือลูกมือคนฆ่าโคผู้ชำนาญ ใช้มีดแล่เนื้อที่คมกรีดท้อง
แม้ฉันใด ลมอันแรงกล้าเสียดแทงท้องของกระผมฉันนั้นเหมือนกัน กระผม
ไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้ ทุกขเวทนาของกระผมกำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย
อาการกำเริบปรากฏ อาการทุเลาไม่ปรากฏ
เปรียบเหมือนคนที่แข็งแรง ๒ คน จับแขนคนที่อ่อนแอกว่าคนละข้างย่างให้
ร้อนบนหลุมถ่านเพลิง แม้ฉันใด อาการเร่าร้อนในกายของกระผมก็มีมากอย่างยิ่ง
ฉันนั้นเหมือนกัน
ท่านสารีบุตร กระผมไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้ ทุกขเวทนาของกระผม
กำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ อาการทุเลาไม่ปรากฏ”๒


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค]
๑. อนาถปิณฑิโกวาทสูตร

[๓๘๕] ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า “คหบดี เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียก
ในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นจักขุ(ตา) และวิญญาณที่อาศัยจักขุของเราก็จัก
ไม่มี’ ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นโสตะ(หู)
และวิญญาณที่อาศัยโสตะของเราก็จักไม่มี’ ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นฆานะ
(จมูก) และวิญญาณที่อาศัยฆานะของเราก็จักไม่มี’ ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นชิวหา(ลิ้น)
และวิญญาณที่อาศัยชิวหาของเราก็จักไม่มี’ ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นกาย
(ร่างกาย) และวิญญาณที่อาศัยกายของเราก็จักไม่มี’ ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นมโน(ใจ)
และวิญญาณที่อาศัยมโนของเราก็จักไม่มี’ ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ (๑)
คหบดี เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นรูป
และวิญญาณที่อาศัยรูปของเราก็จักไม่มี’ ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นเสียง ...
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นกลิ่น ...
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นรส ...
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่น
โผฏฐัพพะ ...
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นธรรมารมณ์
และวิญญาณที่อาศัยธรรมารมณ์ของเราก็จักไม่มี’ ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ (๒)
คหบดี เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่น
จักขุวิญญาณ และวิญญาณที่อาศัยจักขุวิญญาณของเราก็จักไม่มี’ ท่านพึงสำเหนียก
อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค]
๑. อนาถปิณฑิโกวาทสูตร

เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่น
โสตวิญญาณ ...
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่น
ฆานวิญญาณ ...
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่น
ชิวหาวิญญาณ ...
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่น
กายวิญญาณ ...
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่น
มโนวิญญาณ และวิญญาณที่อาศัยมโนวิญญาณของเราก็จักไม่มี’ ท่านพึงสำเหนียก
อย่างนี้ (๓)
คหบดี เพราะเหตุนั้นแล ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจัก
ไม่ยึดมั่นจักขุสัมผัส และวิญญาณที่อาศัยจักขุสัมผัสของเราก็จักไม่มี’ ท่านพึง
สำเหนียกอย่างนี้
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่น
โสตสัมผัส ...
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่น
ฆานสัมผัส ...
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่น
ชิวหาสัมผัส ...
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่น
กายสัมผัส ...
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่น
มโนสัมผัส และวิญญาณที่อาศัยมโนสัมผัสของเราก็จักไม่มี’ ท่านพึงสำเหนียก
อย่างนี้ (๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค]
๑. อนาถปิณฑิโกวาทสูตร

คหบดี เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่น
เวทนาที่เกิดจากจักขุสัมผัส และวิญญาณที่อาศัยเวทนาที่เกิดจากจักขุสัมผัสของเรา
ก็จักไม่มี’ ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นเวทนาที่
เกิดจากโสตสัมผัส ...
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นเวทนาที่
เกิดจากฆานสัมผัส ...
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นเวทนาที่
เกิดจากชิวหาสัมผัส ...
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นเวทนาที่
เกิดจากกายสัมผัส ...
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นเวทนาที่
เกิดจากมโนสัมผัส และวิญญาณที่อาศัยเวทนาที่เกิดจากมโนสัมผัสของเราก็จักไม่มี’
ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ (๕)
[๓๘๖] คหบดี เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจัก
ไม่ยึดมั่นปฐวีธาตุ และวิญญาณที่อาศัยปฐวีธาตุของเราก็จักไม่มี’ ท่านพึงสำเหนียก
อย่างนี้
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่น
อาโปธาตุ ...
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นเตโชธาตุ ...
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่น
วาโยธาตุ ...
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่น
อากาสธาตุ ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค]
๑. อนาถปิณฑิโกวาทสูตร

เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่น
วิญญาณธาตุ และวิญญาณที่อาศัยวิญญาณธาตุของเราก็จักไม่มี’ ท่านพึงสำเหนียก
อย่างนี้ (๖)
คหบดี เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นรูป
และวิญญาณที่อาศัยรูปของเราก็จักไม่มี’ ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นเวทนา ...
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นสัญญา ...
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นสังขาร ...
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นวิญญาณ
และวิญญาณที่อาศัยวิญญาณของเราก็จักไม่มี’ ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ (๗)
คหบดี เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่น
อากาสานัญจายตนฌาน และวิญญาณที่อาศัยอากาสานัญจายตนฌานของเราก็จัก
ไม่มี’ ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่น
วิญญาณัญจายตนฌาน ...
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่น
อากิญจัญญายตนฌาน ...
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่น
เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน และวิญญาณที่อาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
ของเราก็จักไม่มี’ ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ (๘)
คหบดี เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่น
โลกนี้ และวิญญาณที่อาศัยโลกนี้ของเราก็จักไม่มี’ ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ยึดมั่นโลกหน้า
และวิญญาณที่อาศัยโลกหน้าของเราก็จักไม่มี’ ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค]
๑. อนาถปิณฑิโกวาทสูตร

คหบดี เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘อารมณ์ใดที่
เราเห็น ฟัง ทราบ รู้แจ้ง แสวงหา ได้พิจารณาแล้วด้วยใจ เราจักไม่ยึดมั่น
อารมณ์แม้นั้น และวิญญาณที่อาศัยอารมณ์นั้นของเราก็จักไม่มี’ ท่านพึงสำเหนียก
อย่างนี้” (๙)
[๓๘๗] เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว อนาถบิณฑิกคหบดีได้ร้องไห้
น้ำตาไหล ครั้งนั้นท่านพระอานนท์ ได้ถามท่านอนาถบิณฑิกคหบดีว่า “คหบดี
ท่านยังยึดติดอยู่หรือ”
อนาถบิณฑิกคหบดีตอบว่า “ท่านอานนท์ผู้เจริญ กระผมมิได้ยึดติด แต่
กระผมได้นั่งใกล้พระศาสดาและหมู่ภิกษุที่น่าเจริญใจมานานแล้ว กระผมไม่เคยได้
สดับธรรมีกถาเห็นปานนี้เลย”
“คหบดี ธรรมีกถาเห็นปานนี้ ไม่แจ่มแจ้งแก่คฤหัสถ์ผู้นุ่งขาวห่มขาว แต่
แจ่มแจ้งแก่บรรพชิตทั้งหลาย”
“ท่านพระสารีบุตรผู้เจริญ ถ้าเช่นนั้น ขอธรรมีกถาเห็นปานนี้ จงแจ่มแจ้ง
แก่คฤหัสถ์ผู้นุ่งขาวห่มขาวบ้างเถิด เพราะกุลบุตรผู้มีกิเลสดุจธุลีในดวงตาน้อย๑ก็มีอยู่
เพราะไม่ได้ฟังธรรม พวกเขาจึงเสื่อมและเป็นผู้ไม่รู้ธรรม”
ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรและท่านพระอานนท์ได้โอวาทอนาถบิณฑิกคหบดี
ด้วยโอวาทนี้ ลุกขึ้นจากอาสนะแล้วจากไป
เมื่อท่านพระสารีบุตรและท่านพระอานนท์จากไปแล้วไม่นาน อนาถบิณฑิก
คหบดี ก็ได้ทำกาลกิริยาแล้วไปเกิดในหมู่เทพชั้นดุสิต ครั้งนั้น อนาถบิณฑิกเทพบุตร
มีวรรณะงดงามยิ่งนัก เมื่อราตรีผ่านพ้นไป ทำพระเชตวันทั้งหมดให้สว่าง เข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว ยืน ณ ที่สมควร ได้กราบ
ทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาเหล่านี้ว่า


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค]
๑. อนาถปิณฑิโกวาทสูตร

“ก็พระเชตวันนี้ มีหมู่ฤาษีพำนักอยู่๑
พระผู้เป็นธรรมราชาก็ประทับอยู่
เป็นสถานที่ให้เกิดปีติแก่ข้าพระองค์
การงาน ๑ วิชชา ๑ ธรรม ๑ ศีล ๑ ชีวิตอันสูงสุด๒ ๑
สัตว์ทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์ด้วยธรรมนี้
หาใช่บริสุทธิ์ด้วยโคตรหรือทรัพย์ไม่
เพราะเหตุนั้นแหละ คนฉลาดเมื่อเห็นประโยชน์ตน
ควรเลือกเฟ้นธรรมโดยแยบคายเถิด
เพราะเมื่อเลือกเฟ้นเช่นนี้ ย่อมหมดจดในธรรมเหล่านั้น
พระสารีบุตรเท่านั้น เป็นผู้ยอดเยี่ยมกว่าภิกษุผู้ถึงฝั่ง
ด้วยปัญญา ศีล และความสงบ”
อนาถบเณฑิกเทพบุตรได้กราบทูลดังนี้แล้ว พระศาสดาทรงพอพระทัย ลำดับนั้น
อนาถบิณฑิกเทพบุตรรู้ว่า “พระศาสดาทรงพอพระทัย” จึงถวายอภิวาท กระทำ
ประทักษิณแล้วหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง
[๓๘๘] ครั้งนั้น เมื่อราตรีนั้นล่วงไปแล้ว พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อคืนนี้ เทพบุตรองค์หนึ่ง มีวรรณะงดงามยิ่งนัก เมื่อ
ราตรีผ่านพ้นไป ทำพระเชตวันทั้งหมดให้สว่าง เข้ามาหาเราถึงที่อยู่ไหว้เราแล้ว
ยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับเราด้วยคาถาเหล่านี้ว่า


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค]
๑. อนาถปิณฑิโกวาทสูตร

“ก็พระเชตวันนี้ มีหมู่ฤาษีพำนักอยู่
พระผู้เป็นธรรมราชาก็ประทับอยู่
เป็นสถานที่ให้เกิดปีติแก่ข้าพระองค์
การงาน ๑ วิชชา ๑ ธรรม ๑ ศีล ๑ ชีวิตอันสูงสุด ๑
สัตว์ทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์ด้วยธรรมนี้
หาใช่บริสุทธิ์ด้วยโคตรหรือทรัพย์ไม่
เพราะเหตุนั้นแหละ คนฉลาดเมื่อเห็นประโยชน์ตน
ควรเลือกเฟ้นธรรมโดยแยบคายเถิด
เพราะเมื่อเลือกเฟ้นเช่นนี้ ย่อมหมดจดในธรรมเหล่านั้น
พระสารีบุตรเท่านั้น เป็นผู้ยอดเยี่ยมกว่าภิกษุผู้ถึงฝั่ง
ด้วยปัญญา ศีล และความสงบ”
ภิกษุทั้งหลาย เทพบุตรนั้นได้กล่าวดังนี้แล้ว รู้ว่า ‘พระศาสดาทรงพอ
พระทัยเรา’ จึงไหว้เรา ทำประทักษิณแล้วหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง”๑
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เทพบุตรนั้น จักเป็นอนาถบิณฑิก
เทพบุตรแน่ เพราะอนาถบิณฑิกคหบดีเลื่อมใสแล้วในท่านพระสารีบุตร”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ อานนท์ เรื่องที่เธอคาดคะเนนั้น เธอลำดับ
เรื่องถูกแล้ว เทพบุตรนั้นคืออนาถบิณฑิกเทพบุตร มิใช่ใครอื่น”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์มีใจยินดีชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

อนาถปิณฑิโกวาทสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๒. ฉันโนวาทสูตร

๒. ฉันโนวาทสูตร๑
ว่าด้วยการให้โอวาทแก่พระฉันนะ

[๓๘๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้นแล ท่านพระสารีบุตร ท่านพระมหาจุนทะ และท่าน
พระฉันนะ๒อยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ สมัยนั้น ท่านพระฉันนะอาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้
หนัก ครั้นเวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่หลีกเร้น๓แล้วเข้าไปหาท่านพระ
มหาจุนทะถึงที่อยู่ ได้กล่าวกับท่านพระมหาจุนทะดังนี้ว่า “มาเถิดท่านจุนทะ
พวกเราเข้าไปถามอาการอาพาธของท่านพระฉันนะกันเถิด” ท่านพระมหาจุนทะรับ
คำแล้ว
ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาจุนทะเข้าไปหาท่านพระฉันนะ
ถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ
ที่สมควร ท่านพระสารีบุตรได้ถามท่านพระฉันนะดังนี้ว่า “ท่านฉันนะ ท่านยัง
สบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ ทุกขเวทนาของท่านทุเลาลง ไม่กำเริบขึ้นหรือ
อาการทุเลาปรากฏ อาการกำเริบไม่ปรากฏหรือ”๔
ท่านพระฉันนะตอบว่า “ท่านสารีบุตร กระผมไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้
ทุกขเวทนาของกระผมกำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ
อาการทุเลาไม่ปรากฏ
เปรียบเหมือนคนที่แข็งแรงใช้เหล็กแหลมคมทิ่มแทงศีรษะ แม้ฉันใด ลมอัน
แรงกล้าเสียดแทงศีรษะของกระผมฉันนั้นเหมือนกัน กระผมไม่สบาย จะเป็นอยู่
ไม่ได้ ทุกขเวทนาของกระผมกำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ
อาการทุเลาไม่ปรากฏ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๒. ฉันโนวาทสูตร

เปรียบเหมือนคนที่แข็งแรงใช้เชือกหนังที่เหนียวขันที่ศีรษะ แม้ฉันใด ลมอัน
แรงกล้าเสียดแทงศีรษะของกระผมฉันนั้นเหมือนกัน กระผมไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้
ทุกขเวทนาของกระผมกำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ อาการ
ทุเลาไม่ปรากฏ
เปรียบเหมือนคนฆ่าโคหรือลูกมือคนฆ่าโคผู้ชำนาญ ใช้มีดแล่เนื้อที่คมกรีดท้อง
แม้ฉันใด ลมอันแรงกล้าเสียดแทงท้องของกระผมฉันนั้นเหมือนกัน กระผมไม่สบาย
จะเป็นอยู่ไม่ได้ ทุกขเวทนาของกระผมกำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการ
กำเริบปรากฏ อาการทุเลาไม่ปรากฏ
เปรียบเหมือนคนที่แข็งแรง ๒ คน จับแขนคนที่อ่อนแอกว่าคนละข้างย่างให้
ร้อนบนหลุมถ่านเพลิง แม้ฉันใด อาการเร่าร้อนในกายของกระผมก็มีมากอย่างยิ่ง
ฉันนั้นเหมือนกัน ท่านสารีบุตร กระผมไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้ ทุกขเวทนาของ
กระผมกำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ อาการทุเลาไม่ปรากฏ
ท่านสารีบุตร กระผม จักนำศัสตรา๑มา กระผมไม่อยากมีชีวิตอยู่”
[๓๙๐] “ท่านฉันนะอย่านำศัสตรามา ท่านจงรักษาตัวให้อยู่ต่อไปเถิด พวก
เราต้องการให้ท่านรักษาตัวอยู่ต่อไป ถ้าท่านฉันนะไม่มีโภชนะที่เป็นสัปปายะ ผม
จักแสวงหามาให้ ถ้าท่านฉันนะไม่มีเภสัชที่เป็นสัปปายะ ผมก็จักแสวงหามาให้
ถ้าท่านฉันนะไม่มีพวกอุปัฏฐากผู้เหมาะสม ผมจักอุปัฏฐากเอง ท่านฉันนะอย่า
นำศัสตรามาเลย ขอท่านฉันนะจงรักษาตัวให้อยู่ต่อไปเถิด พวกเราต้องการให้ท่าน
ฉันนะรักษาตัวอยู่ต่อไป”
“ท่านสารีบุตร โภชนะที่เป็นสัปปายะของกระผมไม่ใช่ไม่มี เภสัชที่เป็น
สัปปายะของกระผมไม่ใช่ไม่มี อุปัฏฐากที่เหมาะสมของกระผมไม่ใช่ไม่มี อีก
ประการหนึ่ง กระผมก็ปรนนิบัติพระศาสดาด้วยความเต็มใจมาตลอดทีเดียว ไม่ใช่
ปรนนิบัติด้วยความไม่เต็มใจ ขอท่านสารีบุตรโปรดจำข้อความนี้ไว้อย่างนี้เถิดว่า
‘ข้อที่พระสาวกปรนนิบัติพระศาสดาด้วยความเต็มใจ ไม่ใช่ปรนนิบัติด้วยความไม่เต็มใจ
นี้เป็นการสมควรแก่พระสาวก ฉันนภิกษุจักนำศัสตรามาจึงไม่ควรถูกติเตียน”๒


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๒. ฉันโนวาทสูตร

“พวกเราขอถามปัญหาบางข้อกับท่านฉันนะ ถ้าท่านฉันนะจะให้โอกาสตอบ
ปัญหา”
“ท่านสารีบุตร นิมนต์ถามมาเถิด ผมฟังแลัวจักตอบให้รู้”
[๓๙๑] “ท่านฉันนะ ท่านพิจารณาเห็นจักขุ จักขุวิญญาณ และธรรมที่พึงรู้
แจ้งทางจักขุวิญญาณว่า ‘นั่นของเรา๑ เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’
พิจารณาเห็นโสตะ โสตวิญญาณ ...
พิจารณาเห็นฆานะ ฆานวิญญาณ ...
พิจารณาเห็นชิวหา ชิวหาวิญญาณ ...
พิจารณาเห็นกาย กายวิญญาณ ...
พิจารณาเห็นมโน มโนวิญญาณ และธรรมที่พึงรู้แจ้งทางมโนวิญญาณว่า
‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’ หรือ”
“ท่านสารีบุตร กระผมพิจารณาเห็นจักขุ จักขุวิญญาณ และธรรมที่พึงรู้แจ้ง
ทางจักขุวิญญาณว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
พิจารณาเห็นโสตะ โสตวิญญาณ ...
พิจารณาเห็นฆานะ ฆานวิญญาณ ...
พิจารณาเห็นชิวหา ชิวหาวิญญาณ ...
พิจารณาเห็นกาย กายวิญญาณ ...
พิจารณาเห็นมโน มโนวิญญาณ และธรรมที่พึงรู้แจ้งทางมโนวิญญาณว่า
‘นั่นไม่ใช่ของเรา๒ เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา”
[๓๙๒] “ท่านฉันนะ ท่านพิจารณาเห็นอะไร รู้อะไรในจักขุ ในจักขุวิญญาณ
และในธรรมที่พึงรู้แจ้งทางจักขุวิญญาณ จึงพิจารณาเห็นจักขุ จักขุวิญญาณ และ
ธรรมที่พึงรู้แจ้งทางจักขุวิญญาณว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่
อัตตาของเรา’


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๒. ฉันโนวาทสูตร

พิจารณาเห็นอะไร รู้อะไรในโสตะ ในโสตวิญญาณ ...
พิจารณาเห็นอะไร รู้อะไรในฆานะ ในฆานวิญญาณ ...
พิจารณาเห็นอะไร รู้อะไรในชิวหา ในชิวหาวิญญาณ ...
พิจารณาเห็นอะไร รู้อะไรในกาย ในกายวิญญาณ ...
พิจารณาเห็นอะไร รู้อะไรในมโน ในมโนวิญญาณ และในธรรมที่พึงรู้แจ้ง
ทางมโนวิญญาณ จึงพิจารณาเห็นมโน มโนวิญญาณ และธรรมที่พึงรู้แจ้งทาง
มโนวิญญาณว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา”
“ท่านสารีบุตร กระผมพิจารณาเห็นความดับ รู้ความดับในจักขุ ใน
จักขุวิญญาณ และในธรรมที่พึงรู้แจ้งทางจักขุวิญญาณ จึงพิจารณาเห็นจักขุ
จักขุวิญญาณ และธรรมที่พึงรู้แจ้งทางจักขุวิญญาณว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่
เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
พิจารณาเห็นความดับ รู้ความดับในโสตะ ในโสตวิญญาณ ...
พิจารณาเห็นความดับ รู้ความดับในฆานะ ในฆานวิญญาณ ...
พิจารณาเห็นความดับ รู้ความดับในชิวหา ในชิวหาวิญญาณ ...
พิจารณาเห็นความดับ รู้ความดับในกาย ในกายวิญญาณ ...
พิจารณาเห็นความดับ รู้ความดับในมโน ในมโนวิญญาณ และในธรรมที่พึง
รู้แจ้งทางมโนวิญญาณ จึงพิจารณาเห็นมโน มโนวิญญาณ และธรรมที่พึงรู้แจ้ง
ทางมโนวิญญาณว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา”
[๓๙๓] เมื่อท่านพระฉันนะกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระมหาจุนทะได้กล่าวกับ
ท่านพระฉันนะดังนี้ว่า
“ท่านฉันนะ เพราะเหตุนี้แล แม้การเห็นนี้ ก็เป็นคำสอนของพระผู้มี
พระภาคพระองค์นั้น ท่านพึงใส่ใจให้ดีตลอดกาลเป็นนิตย์ บุคคลผู้มีตัณหา มานะ
และทิฏฐิอาศัยอยู่ ย่อมมีความหวั่นไหว บุคคลผู้ไม่มีตัณหา มานะ และทิฏฐิอาศัยอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๒. ฉันนวาทสูตร

ย่อมไม่มีความหวั่นไหว เมื่อไม่มีความหวั่นไหว ก็มีความสงบ๑ เมื่อมีความสงบ
ก็ไม่มีความน้อมไป๒ เมื่อไม่มีความน้อมไป การมาและการไป๓ก็ไม่มี เมื่อไม่มีการ
มาและการไป ความตายและความเกิดก็ไม่มี เมื่อไม่มีความตายและความเกิด
โลกนี้โลกหน้าก็ไม่มี ระหว่างโลกทั้งสองก็ไม่มี นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์”
ครั้นท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาจุนทะสอนท่านพระฉันนะด้วยโอวาทนี้แล้ว
ก็ลุกขึ้นจากอาสนะแล้วจากไป เมื่อท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาจุนทะจากไป
ไม่นาน ท่านพระฉันนะก็ได้นำศัสตรามา๔
[๓๙๔] ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ท่านฉันนะได้นำศัสตรามา ท่านมีคติเป็นอย่างไร มีอภิสัมปรายภพ
เป็นอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “สารีบุตร ฉันนภิกษุได้บอกว่าจะไม่ถูกติเตียน
ไว้ต่อหน้าเธอแล้วมิใช่หรือ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีหมู่บ้านชาววัชชีชื่อปุพพชิระ ในหมู่บ้านนั้น
ตระกูลที่เป็นมิตร ตระกูลที่เป็นสหาย เป็นตระกูลที่ท่านฉันนะเข้าไปอาศัยก็มีอยู่”
“สารีบุตร ตระกูลที่เป็นมิตรตระกูลที่เป็นสหายเหล่านั้น เป็นตระกูลที่
ฉันนภิกษุเข้าไปอาศัยมีอยู่ แต่เราไม่กล่าวว่า ‘ฉันนภิกษุมีตระกูลที่ตนพึงเข้าไป
อาศัยด้วยเหตุเพียงเท่านี้’ เธอจงจำข้อความนี้ไว้อย่างนี้เถิดว่า ‘เรากล่าวถึงภิกษุที่


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๓. ปุณโณวาทสูตร

ละกายนี้เข้าถือกายอื่น ว่ามีตระกูลที่ตนพึงเข้าไปอาศัย’ ตระกูลนั้นไม่มีสำหรับ
ฉันนภิกษุ ฉันนภิกษุนำศัสตรามาจึงไม่ควรถูกติเตียน”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรมีใจยินดีชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

ฉันโนวาทสูตรที่ ๒ จบ

๓. ปุณโณวาทสูตร๑
ว่าด้วยการประทานโอวาทแก่พระปุณณะ

[๓๙๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้นเวลาเย็น ท่านพระปุณณะออกจากที่
หลีกเร้นเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรด
โอวาทข้าพระองค์ด้วยพระโอวาทโดยย่อ ซึ่งข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว จะพึงหลีกออก
ไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ปุณณะ ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เรา
จักกล่าว”
ท่านพระปุณณะทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ปุณณะ รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่
น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุยังเพลิดเพลิน เชยชม
ยึดติดรูปนั้นอยู่ เมื่อเธอเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดรูปนั้น ความเพลิดเพลินย่อม
เกิดขึ้น เรากล่าวว่า ‘เพราะความเพลิดเพลินเกิด ทุกข์จึงเกิด’๒


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๓. ปุณโณวาทสูตร

เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ...
กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ...
รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ...
โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ...
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุยังเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดธรรมารมณ์
นั้นอยู่ เมื่อเธอเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดธรรมารมณ์นั้น ความเพลิดเพลินย่อม
เกิดขึ้น เรากล่าวว่า ‘เพราะความเพลิดเพลินเกิด ทุกข์จึงเกิด’
รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่
พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดรูปนั้นอยู่ เมื่อ
เธอไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดรูปนั้น ความเพลิดเพลินย่อมดับ เรากล่าวว่า
‘เพราะความเพลิดเพลินดับ ทุกข์จึงดับ’
เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ...
กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ...
รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ...
โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ...
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติด
ธรรมารมณ์นั้นอยู่ เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดธรรมารมณ์นั้น
ความเพลิดเพลินย่อมดับ เรากล่าวว่า ‘เพราะความเพลิดเพลินดับ ทุกข์จึงดับ’
ปุณณะ เราโอวาทเธอด้วยโอวาทโดยย่อนี้ เธอจักอยู่ในชนบทไหน”
ท่านพระปุณณะกราบทูลดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาค
โอวาทข้าพระองค์ด้วยพระโอวาทโดยย่อนี้แล้ว ข้าพระองค์จักอยู่ในชนบทชื่อ
สุนาปรันตะ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๓. ปุณโณวาทสูตร

[๓๙๖] “ปุณณะ พวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทเป็นคนดุร้ายนัก พวก
มนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทเป็นคนหยาบคายนัก ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันต-
ชนบทจักด่า บริภาษเธอ ในเรื่องนี้ เธอจักคิดอย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักด่า บริภาษ
ข้าพระองค์ ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้ว่า ‘มนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบท
เหล่านี้ดีหนอ มนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทเหล่านี้ดีจริงหนอ ที่ไม่ประหารเราด้วย
ฝ่ามือ’ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้ ข้าแต่พระสุคต
ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้”
“ปุณณะ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหารเธอด้วยฝ่ามือ ใน
เรื่องนี้เธอจักคิดอย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหาร
ข้าพระองค์ด้วยฝ่ามือ ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้ว่า ‘มนุษย์ชาวสุนาปรันต-
ชนบทเหล่านี้ดีหนอ มนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทเหล่านี้ดีจริงหนอ ที่ไม่ประหารเรา
ด้วยก้อนดิน’ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้ ข้าแต่
พระสุคต ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้”
“ปุณณะ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหารเธอด้วยก้อนดิน ใน
เรื่องนี้เธอจักคิดอย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหาร
ข้าพระองค์ด้วยก้อนดิน ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้ว่า ‘มนุษย์ชาวสุนา-
ปรันตชนบทเหล่านี้ดีหนอ มนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทเหล่านี้ดีจริงหนอ ที่ไม่
ประหารเราด้วยท่อนไม้’ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้
ข้าแต่พระสุคต ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้”
“ปุณณะ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหารเธอด้วยท่อนไม้ ใน
เรื่องนี้เธอจักคิดอย่างไร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๓. ปุณโณวาทสูตร

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหาร
ข้าพระองค์ด้วยท่อนไม้ ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้ว่า ‘มนุษย์ชาวสุนาปรันต-
ชนบทเหล่านี้ดีหนอ มนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทเหล่านี้ดีจริงหนอ ที่ไม่ประหารเรา
ด้วยศัสตรา’ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้ ข้าแต่
พระสุคต ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้”
“ปุณณะ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหารเธอด้วยศัสตรา ใน
เรื่องนี้เธอจักคิดอย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหาร
ข้าพระองค์ด้วยศัสตรา ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้ว่า ‘มนุษย์ชาวสุนาปรันต-
ชนบทเหล่านี้ดีหนอ มนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทเหล่านี้ดีจริงหนอ ที่ไม่ปลงชีวิต
เราด้วยศัสตราที่คม’ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้
ข้าแต่พระสุคต ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้”
“ปุณณะ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักปลงชีวิตเธอด้วยศัสตราที่คม
ในเรื่องนี้เธอจักคิดอย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักปลงชีวิต
ข้าพระองค์ด้วยศัสตราที่คม ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้ว่า ‘พระสาวก
ทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นอึดอัด ระอา รังเกียจอยู่ด้วยร่างกายและ
ชีวิต แสวงหาศัสตราเครื่องปลงชีวิตก็มีอยู่ เราได้ศัสตราเครื่องปลงชีวิตที่ไม่ได้
แสวงหาเลย’ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้ ข้าแต่
พระสุคต ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้”
“ดีละ ดีละ ปุณณะ เธอประกอบด้วยความข่มใจและความสงบใจ๑นี้
จักสามารถอยู่ในสุนาปรันตชนบทได้ ปุณณะ เธอรู้เวลาอันสมควรในบัดนี้เถิด”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๓. ปุณโณวาทสูตร

[๓๙๗] ครั้งนั้น ท่านพระปุณณะชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค
แล้วลุกขึ้นจากอาสนะ ถวายอภิวาท กระทำประทักษิณ เก็บงำเสนาสนะเรียบร้อย
แล้วถือบาตรและจีวร หลีกจาริกไปทางสุนาปรันตชนบท เมื่อจาริกไปโดยลำดับ
ก็ถึงสุนาปรันตชนบท
ได้ยินว่า ท่านพระปุณณะอยู่ที่สุนาปรันตชนบทนั้น ครั้งนั้น ระหว่างพรรษา
นั้นท่านให้ชาวสุนาปรันตชนบทแสดงตนเป็นอุบาสกประมาณ ๕๐๐ คน แสดงตน
เป็นอุบาสิกาประมาณ ๕๐๐ คน ระหว่างพรรษานั้นเหมือนกัน ท่านปุณณะได้
บรรลุวิชชา๑ ๓ ลำดับนั้น โดยสมัยต่อมา ก็ได้ปรินิพพาน
ครั้งนั้นแล ภิกษุจำนวนมากเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ กุลบุตรชื่อปุณณะที่พระองค์ทรงโอวาทด้วยพระโอวาทโดยย่อนั้นมรณภาพ
แล้ว เขามีคติเป็นอย่างไร มีอภิสัมปรายภพเป็นอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรชื่อปุณณะเป็นบัณฑิต
ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งไม่เบียดเบียนเราเพราะเหตุแห่งธรรม ภิกษุทั้งหลาย
กุลบุตรชื่อปุณณะปรินิพพานแล้ว”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

ปุณโณวาทสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๔. นันทโกวาทสูตร

๔. นันทโกวาทสูตร
ว่าด้วยการให้โอวาทของพระนันทกะ

[๓๙๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล ภิกษุณีมหาปชาบดีโคตมี พร้อม
ด้วยภิกษุณีประมาณ ๕๐๐ รูป เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้ว ยืน ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดประทานพระโอวาทสั่งสอน
ภิกษุณีทั้งหลาย โปรดแสดงธรรมีกถาแก่ภิกษุณีทั้งหลายเถิด”
สมัยนั้นแล ภิกษุผู้เถระทั้งหลาย ย่อมโอวาทภิกษุณีทั้งหลายโดยเวียนกันไป
แต่ท่านพระนันทกะ ไม่ปรารถนาจะโอวาทภิกษุณีทั้งหลายโดยเวียนกันไป ลำดับนั้น
พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสถามว่า “อานนท์ วันนี้ วาระ
ให้โอวาทภิกษุณีเวียนมาถึงใครหนอ”
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วาระให้โอวาทภิกษุณี
ทั้งหลาย ภิกษุทุกรูปกระทำแล้วโดยเวียนกันไป แต่ท่านพระนันทกะรูปนี้ ไม่
ปรารถนาจะให้โอวาทภิกษุณีทั้งหลายโดยเวียนกันไป”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระนันทกะมาตรัสว่า “นันทกะ
เธอจงโอวาทสั่งสอนภิกษุณีทั้งหลาย พราหมณ์ เธอจงแสดงธรรมีกถาแก่ภิกษุณี
ทั้งหลายเถิด”
ท่านพระนันทกะทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว ในเวลาเช้าจึงครองอันตรวาสก
ถือบาตรและจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี เที่ยวบิณฑบาตในกรุงสาวัตถีแล้ว
กลับจากบิณฑบาต ภายหลังฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว ผู้เดียวเข้าไปยังราชการาม๑
ภิกษุณีเหล่านั้นเห็นท่านพระนันทกะเดินมาแต่ไกล จึงช่วยกันปูลาดอาสนะและตั้ง


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๔. นันทโกวาทสูตร

น้ำล้างเท้าไว้ ท่านพระนันทกะนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้แล้ว ล้างเท้า แม้ภิกษุณี
เหล่านั้นก็พากันกราบท่านพระนันทกะแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
ท่านพระนันทกะได้กล่าวกับภิกษุณีเหล่านั้นว่า “น้องหญิงทั้งหลาย การถาม
ตอบกันจักมีขึ้น ในการถามตอบกันนั้น น้องหญิงทั้งหลายเมื่อรู้ พึงตอบว่า
‘ดิฉันทั้งหลายรู้’ เมื่อไม่รู้พึงตอบว่า ‘ดิฉันทั้งหลายไม่รู้’ หรือน้องหญิงรูปใดมี
ความเคลือบแคลง หรือความสงสัย น้องหญิงรูปนั้นพึงถามอาตมภาพในเรื่องนั้น
ว่า ‘ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เรื่องนี้เป็นอย่างไร เรื่องนี้มีเนื้อความอย่างไร”
ภิกษุณีเหล่านั้นกล่าวว่า “ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉันทั้งหลายมีใจยินดีชื่นชม
พระคุณเจ้านันทกะ ด้วยเหตุที่พระคุณเจ้านันทกะปวารณาแก่ดิฉันทั้งหลายเช่นนี้”
[๓๙๙] ท่านพระนันทกะถามว่า “น้องหญิงทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเข้าใจ
ความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ จักขุเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
ภิกษุณีเหล่านั้นตอบว่า “ไม่เที่ยง เจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ เจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย เจ้าข้า”๑
“ท่านทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ โสตะเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า” ฯลฯ
“ฆานะเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า” ฯลฯ
“ชิวหาเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า” ฯลฯ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๔. นันทโกวาทสูตร

“กายเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า” ฯลฯ
“มโนเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า” ฯลฯ
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ เจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย เจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะก่อนนี้ ดิฉันทั้งหลายได้เห็นดีแล้วตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอัน
ชอบ๑ว่า ‘อายตนะภายใน ๖ ของเรา ไม่เที่ยง แม้เพราะเหตุนี้’ เจ้าข้า”
ท่านพระนันทกะกล่าวว่า “ดีละ ดีละ น้องหญิงทั้งหลาย พระอริยสาวกผู้เห็น
ตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบ ย่อมมีความเห็นเรื่องนี้อย่างนี้”
[๔๐๐] “น้องหญิงทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ
รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ เจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย เจ้าข้า”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๔. นันทโกวาทสูตร

“น้องหญิงทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ เสียง
เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า” ฯลฯ
“กลิ่นเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า” ฯลฯ
“รสเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า” ฯลฯ
“โผฏฐัพพะเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า” ฯลฯ
“ธรรมารมณ์เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า” ฯลฯ
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ เจ้าข้า” ฯลฯ
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย เจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะก่อนนี้ ดิฉันทั้งหลายได้เห็นดีแล้วตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอัน
ชอบว่า ‘อายตนะภายนอก ๖ ของเรา ไม่เที่ยง แม้เพราะเหตุนี้’ เจ้าข้า”
ท่านพระนันทกะกล่าวว่า “ดีละ ดีละ น้องหญิงทั้งหลาย พระอริยสาวกผู้เห็น
ตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบ ย่อมมีความเห็นเรื่องนี้อย่างนี้แล”
[๔๐๑] “น้องหญิงทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ
จักขุวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๔. นันทโกวาทสูตร

“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ เจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย เจ้าข้า”
“น้องหญิงทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ
โสตวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า” ฯลฯ
“ฆานวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า” ฯลฯ
“ชิวหาวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า” ฯลฯ
“กายวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า” ฯลฯ
“มโนวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ เจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย เจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะก่อนนี้ ดิฉันทั้งหลายได้เห็นดีแล้วตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอัน
ชอบว่า ‘หมวดวิญญาณ ๖ ของเรา ไม่เที่ยง แม้เพราะเหตุนี้’ เจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๔. นันทโกวาทสูตร

“ดีละ ดีละ น้องหญิงทั้งหลาย พระอริยสาวกผู้เห็นตามความเป็นจริงด้วย
ปัญญาอันชอบ ย่อมมีความเห็นเรื่องนี้อย่างนี้แล
[๔๐๒] น้องหญิงทั้งหลาย เปรียบเหมือนเมื่อประทีปน้ำมันถูกจุดไว้ น้ำมันก็ดี
ไส้ก็ดี เปลวไฟก็ดี แสงสว่างก็ดี ล้วนไม่เที่ยง มีความแปรผันเป็นธรรมดา ผู้ใด
พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เมื่อประทีปน้ำมันโน้นถูกจุดไว้ น้ำมันก็ดี ไส้ก็ดี เปลวไฟก็ดี
ล้วนไม่เที่ยง มีความแปรผันเป็นธรรมดา แต่ว่าแสงสว่างของประทีปน้ำมันนั้น เที่ยง
ยั่งยืน เป็นไปติดต่อ มีความไม่แปรผันเป็นธรรมดา’ ผู้ที่กล่าวนั้นชื่อว่าพึงกล่าว
ชอบหรือไม่”
“ไม่ชอบ เจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะเมื่อประทีปน้ำมันโน้นถูกจุดไว้ น้ำมันก็ดี ไส้ก็ดี เปลวไฟก็ดี ล้วน
ไม่เที่ยง มีความแปรผันเป็นธรรมดา ไม่จำเป็นต้องพูดถึงแสงสว่างของประทีปน้ำ
มันนั้นซึ่งไม่เที่ยง มีความแปรผันเป็นธรรมดาเลย เจ้าข้า”
“ฉันนั้นเหมือนกัน น้องหญิงทั้งหลาย บุคคลใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘อายตนะ
ภายใน ๖ ของเรานี้ ไม่เที่ยง แต่เราอาศัยอายตนะภายใน ๖ แล้ว ย่อมเสวย
เวทนาใด เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม เป็นอทุกขมสุขก็ตาม เวทนานั้น เที่ยง
ยั่งยืน เป็นไปติดต่อ มีความไม่แปรผันเป็นธรรมดา’ ผู้ที่กล่าวนั้นชื่อว่าพึงกล่าว
ชอบหรือไม่”
“ไม่ชอบ เจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะอาศัยปัจจัยที่เกิดจากอายตนะภายในนั้น ๆ เวทนาที่เกิดจากอายตนะ
ภายในนั้น ๆ จึงเกิดขึ้น เพราะปัจจัยที่เกิดจากอายตนะภายในนั้น ๆ ดับ เวทนา
ที่เกิดจากอายตนะภายในนั้น ๆ จึงดับ”
“ดีละ ดีละ น้องหญิงทั้งหลาย พระอริยสาวกผู้เห็นตามความเป็นจริงด้วย
ปัญญาอันชอบ ย่อมมีความเห็นเรื่องนี้อย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๔. นันทโกวาทสูตร

[๔๐๓] น้องหญิงทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้ใหญ่ประเภทยืนต้นมีแก่น
มีราก ลำต้น กิ่งและใบ และเงา ล้วนไม่เที่ยง มีความแปรผันเป็นธรรมดา ผู้ใด
พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ต้นไม้ใหญ่ประเภทยืนต้นมีแก่น มีราก ลำต้น กิ่งและใบ
และเงา ล้วนไม่เที่ยง มีความแปรผันเป็นธรรมดา แต่ว่าเงาของต้นไม้นั้นเที่ยง
ยั่งยืน เป็นไปติดต่อ ไม่มีความแปรผันเป็นธรรมดา’ ผู้ที่กล่าวนั้นชื่อว่าพึงกล่าว
ชอบหรือไม่”
“ไม่ชอบ เจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะต้นไม้ใหญ่ประเภทยืนต้นมีแก่น มีราก ลำต้น กิ่งและใบล้วนไม่เที่ยง
มีความแปรผันเป็นธรรมดา ไม่จำเป็นต้องพูดถึงเงาของต้นไม้นั้นซึ่งไม่เที่ยง มี
ความแปรผันเป็นธรรมดาเลย เจ้าข้า”
“ฉันนั้นเหมือนกัน น้องหญิงทั้งหลาย บุคคลใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘อายตนะ
ภายนอก ๖ ของเรา ไม่เที่ยง แต่เราอาศัยอายตนะภายนอก ๖ แล้ว ย่อม
เสวยเวทนาใด เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม เป็นอทุกขมสุขก็ตาม เวทนานั้นเที่ยง
ยั่งยืน เป็นไปติดต่อ มีความไม่แปรผันเป็นธรรมดา’ ผู้ที่กล่าวนั้นชื่อว่าพึงกล่าว
ชอบหรือไม่”
“ไม่ชอบ เจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะอาศัยปัจจัยที่เกิดจากอายตนะภายนอกนั้น ๆ เวทนาที่เกิดจาก
อายตนะภายนอกนั้น ๆ จึงเกิดขึ้น เพราะปัจจัยที่เกิดจากอายตนะภายนอกนั้น ๆ
ดับ เวทนาที่เกิดจากอายตนะภายนอกนั้น ๆ จึงดับ เจ้าข้า”
“ดีละ ดีละ น้องหญิงทั้งหลาย พระอริยสาวกผู้เห็นตามความเป็นจริงด้วย
ปัญญาอันชอบ ย่อมมีความเห็นเรื่องนี้อย่างนี้แล
[๔๐๔] น้องหญิงทั้งหลาย เปรียบเหมือนคนฆ่าโคหรือลูกมือคนฆ่าโค
ผู้ชำนาญ ฆ่าแม่โคแล้ว ใช้มีดแล่เนื้อที่คมชำแหละแม่โค แยกส่วนเนื้อไว้ข้างใน
แยกส่วนหนังไว้ข้างนอก ในส่วนเนื้อนั้น ส่วนใด ๆ เป็นเนื้อสัน เส้นเอ็นใหญ่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๔. นันทโกวาทสูตร

เส้นเอ็นเล็กในภายใน ก็ใช้มีดแล่เนื้อที่คมตัดชำแหละเฉือนส่วนนั้น ๆ แล้วเลาะ
ส่วนหนังไว้ข้างนอก ใช้หนังนั้นนั่นแหละคลุมแม่โคนั้นไว้ แล้วพึงกล่าวอย่างนี้ว่า
‘แม่โคตัวนี้เราประกอบไว้ด้วยหนังผืนนี้เท่านั้น’ คนฆ่าโคหรือลูกมือคนฆ่าโคนั้น
เมื่อกล่าว ชื่อว่าพึงกล่าวชอบหรือไม่
“ไม่ชอบ เจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะคนฆ่าโคหรือลูกมือคนฆ่าโคผู้ชำนาญโน้น ฆ่าแม่โคแล้ว ใช้มีดแล่
เนื้อที่คมชำแหละแม่โค แยกส่วนเนื้อไว้ข้างใน แยกส่วนหนังไว้ข้างนอก ในส่วน
เนื้อนั้น ส่วนใด ๆ เป็นเนื้อสัน เส้นเอ็นใหญ่ เส้นเอ็นเล็กในภายใน ก็ใช้มีดแล่
เนื้อที่คมตัดชำแหละเฉือนส่วนนั้น ๆ แล้วเลาะส่วนหนังไว้ข้างนอก ใช้หนังนั้น
นั่นแหละคลุมแม่โคนั้นไว้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘แม่โคตัวนี้เราประกอบไว้ด้วยหนัง
ผืนนี้เท่านั้น’ แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น แม่โคนั้นก็แยกกันแล้วจากหนังผืนนั้นนั่นเอง
เจ้าข้า”
“น้องหญิงทั้งหลาย อาตมภาพทำอุปมานี้เพื่อให้เข้าใจเนื้อความชัดเจนขึ้น
เนื้อความในอุปมานั้นดังต่อไปนี้
คำว่า ส่วนเนื้อข้างใน นั้น เป็นชื่อของอายตนะภายใน ๖
คำว่า ส่วนหนังข้างนอก นั้น เป็นชื่อของอายตนะภายนอก ๖
คำว่า เนื้อสัน เส้นเอ็นใหญ่ เส้นเอ็นเล็ก นั้น เป็นชื่อของนันทิราคะ
คำว่า มีดแล่เนื้อที่คม นั้น เป็นชื่อของอริยปัญญาที่ตัด ชำแหละ เฉือน
กิเลสในภายใน สังโยชน์ในภายใน และเครื่องผูกในภายใน

โพชฌงค์ ๗ ประการ

[๔๐๕] น้องหญิงทั้งหลาย เพราะโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ที่ภิกษุเจริญ
ทำให้มากแล้ว เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ภิกษุจึงทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญา
วิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๔. นันทโกวาทสูตร

โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก(ความสงัด) อาศัยวิราคะ
(ความคลายกำหนัด) อาศัยนิโรธ(ความดับ) น้อมไปใน
โวสสัคคะ(ความสละคืน)
๒. ย่อมเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ...
๓. ย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ ...
๔. ย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ...
๕. ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ...
๖. ย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ ...
๗. ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
นิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ๑
เพราะโพชฌงค์ ๗ ประการนี้แล ที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว เพราะ
อาสวะทั้งหลายสิ้นไป ภิกษุจึงทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”
[๔๐๖] ครั้งนั้น ท่านพระนันทกะกล่าวสอนภิกษุณีเหล่านั้นด้วยโอวาทนี้แล้ว
จึงส่งไปด้วยคำว่า “น้องหญิงทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงไปเถิด สมควรแก่เวลาแล้ว”
ลำดับนั้น ภิกษุณีเหล่านั้น ชื่นชมยินดีภาษิตของท่านพระนันทกะ แล้วลุก
ขึ้นจากอาสนะ กราบท่านพระนันทกะ กระทำประทักษิณ แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว ยืน ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้
ตรัสกับภิกษุณีเหล่านั้นดังนี้ว่า “ภิกษุณีทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงไปเถิด สมควร
แก่เวลาแล้ว”
ครั้งนั้น ภิกษุณีเหล่านั้น ได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณ
แล้วจากไป


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๔. นันทโกวาทสูตร

เมื่อภิกษุณีเหล่านั้นจากไปแล้วไม่นาน พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถ ๑๔ ค่ำนั้น ชนเป็นอันมากไม่
มีความเคลือบแคลงหรือความสงสัยเลยว่า ‘ดวงจันทร์ไม่เต็มดวงหรือเต็มดวงหนอ’
แต่ที่แท้ ดวงจันทร์ก็ยังไม่เต็มดวงนั่นเอง แม้ฉันใด ภิกษุณีเหล่านั้น ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน ย่อมเป็นผู้มีใจยินดีต่อธรรมเทศนาของนันทกะ ทั้งที่ยังมีความดำริไม่
บริบูรณ์”
[๔๐๗] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระนันทกะมาตรัสว่า
“นันทกะ ถ้าเช่นนั้น วันพรุ่งนี้ เธอพึงโอวาทภิกษุณีเหล่านั้นด้วยโอวาทนั้น
นั่นแหละ” ท่านพระนันทกะทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
เมื่อล่วงราตรีนั้นไป ครั้นเวลาเช้า ท่านพระนันทกะครองอันตรวาสก
ถือบาตรและจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี เที่ยวบิณฑบาตในกรุงสาวัตถีแล้ว
กลับจากบิณฑบาต ภายหลังฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว ผู้เดียวเข้าไปยังราชการาม
ภิกษุณีเหล่านั้นเห็นท่านพระนันทกะเดินมาแต่ไกล จึงช่วยกันปูลาดอาสนะและตั้ง
น้ำล้างเท้าไว้ ท่านพระนันทกะนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ แล้วล้างเท้า แม้ภิกษุณี
เหล่านั้นกราบท่านพระนันทกะแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ท่านพระนันทกะได้กล่าวกับ
ภิกษุณีเหล่านั้นว่า
“น้องหญิงทั้งหลาย การถามตอบกันจักมีขึ้น ในการถามตอบกันนั้น น้อง
หญิงทั้งหลายเมื่อรู้ พึงตอบว่า ‘ดิฉันทั้งหลายรู้’ เมื่อไม่รู้พึงตอบว่า ‘ดิฉัน
ทั้งหลายไม่รู้’ หรือน้องหญิงรูปใดมีความเคลือบแคลง หรือความสงสัย น้องหญิง
รูปนั้นพึงถามอาตมภาพในเรื่องนั้นว่า ‘ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เรื่องนี้เป็นอย่างไร เรื่องนี้
มีเนื้อความอย่างไร”
ภิกษุณีเหล่านั้นกล่าวว่า “ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉันทั้งหลายมีใจยินดีชื่นชม
พระคุณเจ้านันทกะ ด้วยเหตุที่พระคุณเจ้านันทกะปวารณาแก่ดิฉันทั้งหลายเช่นนี้”
[๔๐๘] “น้องหญิงทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ
จักขุเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๔. นันทโกวาทสูตร

“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ เจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย เจ้าข้า”
“ท่านทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ โสตะเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า” ฯลฯ
“ฆานะเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า” ฯลฯ
“ชิวหาเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า” ฯลฯ
“กายเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า” ฯลฯ
“มโนเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า” ฯลฯ
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ เจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย เจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะก่อนนี้ ดิฉันทั้งหลายได้เห็นดีแล้วตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอัน
ชอบว่า ‘อายตนะภายใน ๖ ของเรา ไม่เที่ยง แม้เพราะเหตุนี้’ เจ้าข้า”
“ดีละ ดีละ น้องหญิงทั้งหลาย พระอริยสาวกผู้เห็นตามความเป็นจริงด้วย
ปัญญาอันชอบ ย่อมมีความเห็นเรื่องนี้อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๔. นันทโกวาทสูตร

[๔๐๙] น้องหญิงทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือรูป
เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ เจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย เจ้าข้า”
“น้องหญิงทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ เสียง
เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า” ฯลฯ
“กลิ่นเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า” ฯลฯ
“รสเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า” ฯลฯ
“โผฏฐัพพะเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า” ฯลฯ
“ธรรมารมณ์เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ เจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย เจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๔. นันทโกวาทสูตร

“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะก่อนนี้ ดิฉันทั้งหลายได้เห็นดีแล้วตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอัน
ชอบว่า ‘อายตนะภายนอก ๖ ของเรา ไม่เที่ยง แม้เพราะเหตุนี้’ เจ้าข้า”
“ดีละ ดีละ น้องหญิงทั้งหลายพระอริยสาวกผู้เห็นตามความเป็นจริงด้วย
ปัญญาอันชอบ ย่อมมีความเห็นเรื่องนี้อย่างนี้แล
[๔๑๐] น้องหญิงทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ
จักขุวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ เจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย เจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะก่อนนี้ ดิฉันทั้งหลายได้เห็นตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบว่า
‘หมวดวิญญาณ ๖ ของเรา ไม่เที่ยง แม้เพราะเหตุนี้’ เจ้าข้า”
“ดีละ ดีละ น้องหญิงทั้งหลาย พระอริยสาวกผู้เห็นตามความเป็นจริงด้วย
ปัญญาอันชอบ ย่อมมีความเห็นเรื่องนี้อย่างนี้แล
น้องหญิงทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ
โสตวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า” ฯลฯ
“ฆานวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า” ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๔. นันทโกวาทสูตร

“ชิวหาวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า” ฯลฯ
“กายวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า” ฯลฯ
“มโนวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง เจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ เจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย เจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะก่อนนี้ ดิฉันทั้งหลายได้เห็นดีแล้วตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอัน
ชอบว่า ‘หมวดวิญญาณ ๖ ของเรา ไม่เที่ยง แม้เพราะเหตุนี้’ เจ้าข้า”
“ดีละ ดีละ น้องหญิงทั้งหลาย พระอริยสาวกผู้เห็นตามความเป็นจริงด้วย
ปัญญาอันชอบ ย่อมมีความเห็นเรื่องนี้อย่างนี้แล
[๔๑๑] น้องหญิงทั้งหลาย เมื่อประทีปน้ำมันถูกจุดไว้ น้ำมันก็ดี ไส้ก็ดี
เปลวไฟก็ดี แสงสว่างก็ดี ล้วนไม่เที่ยง มีความแปรผันเป็นธรรมดา ผู้ใดพึงกล่าว
อย่างนี้ว่า ‘เมื่อประทีปน้ำมันโน้นถูกจุดไว้ น้ำมันก็ดี ไส้ก็ดี เปลวไฟก็ดี ล้วน
ไม่เที่ยง มีความแปรผันเป็นธรรมดา แต่ว่าแสงสว่างของประทีปน้ำมันนั้น เที่ยง
ยั่งยืน เป็นไปติดต่อ มีความไม่แปรผันเป็นธรรมดา’ ผู้ที่กล่าวนั้นชื่อว่าพึงกล่าว
ชอบหรือไม่”
“ไม่ชอบ เจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๔. นันทโกวาทสูตร

“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะเมื่อประทีปน้ำมันโน้นถูกจุดไว้ น้ำมันก็ดี ไส้ก็ดี เปลวไฟก็ดี ล้วน
ไม่เที่ยง มีความแปรผันเป็นธรรมดา ไม่จำเป็นต้องพูดถึงแสงสว่างของประทีป
น้ำมันนั้นซึ่งไม่เที่ยง มีความแปรผันเป็นธรรมดาเลย เจ้าข้า”
“ฉันนั้นเหมือนกัน น้องหญิงทั้งหลาย บุคคลใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘อายตนะ
ภายใน ๖ ของเรานี้ ไม่เที่ยง แต่เราอาศัยอายตนะภายใน ๖ แล้ว ย่อมเสวย
เวทนาใด เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม เป็นอทุกขมสุขก็ตาม เวทนานั้น เที่ยง
ยั่งยืน เป็นไปติดต่อ มีความไม่แปรผันเป็นธรรมดา ผู้ที่กล่าวนั้น ชื่อว่าพึงกล่าว
ชอบหรือไม่”
“ชอบ เจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะอาศัยปัจจัยที่เกิดจากอายตนะภายในนั้น ๆ เวทนาที่เกิดจากอายตนะ
ภายในนั้น ๆ จึงเกิดขึ้น เพราะปัจจัยที่เกิดจากอายตนะภายในนั้น ๆ ดับ เวทนา
ที่เกิดจากอายตนะภายในนั้น ๆ จึงดับ”
“ดีละ ดีละ น้องหญิงทั้งหลาย พระอริยสาวกผู้เห็นตามความเป็นจริงด้วย
ปัญญาอันชอบ ย่อมมีความเห็นเรื่องนี้อย่างนี้แล
[๔๑๒] น้องหญิงทั้งหลาย ต้นไม้ใหญ่ประเภทยืนต้นมีแก่น มีราก ลำต้น
กิ่งและใบ และเงา ล้วนไม่เที่ยง มีความแปรผันเป็นธรรมดา ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า
‘รากก็ดี ลำต้นก็ดี กิ่งและใบก็ดี เงาก็ดี ของต้นไม้ใหญ่ประเภทยืนต้น มีแก่น
ล้วนไม่เที่ยง มีความแปรผันเป็นธรรมดา แต่ว่าเงาของต้นไม้นั้นเที่ยง ยั่งยืน
เป็นไปติดต่อ ไม่มีความแปรผันเป็นธรรมดา’ ผู้ที่กล่าวนั้นชื่อว่าพึงกล่าวชอบ
หรือไม่”
“ไม่ชอบ เจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะต้นไม้ใหญ่ประเภทยืนต้นมีแก่น มีราก ลำต้น กิ่งและใบ ล้วนไม่เที่ยง
มีความแปรผันเป็นธรรมดา ไม่จำเป็นต้องพูดถึงเงาของต้นไม้นั้นซึ่งไม่เที่ยง มี
ความแปรผันเป็นธรรมดาเลย เจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๔. นันทโกวาทสูตร

“ฉันนั้นเหมือนกัน บุคคลใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘อายตนะภายนอก ๖ ของ
เรานี้ ไม่เที่ยง แต่เราอาศัยอายตนะภายนอก ๖ แล้ว ย่อมเสวยเวทนาใด เป็น
สุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม เป็นอทุกขมสุขก็ตาม เวทนานั้นเที่ยง ยั่งยืน
เป็นไปติดต่อ มีความไม่แปรผันเป็นธรรมดา’ ผู้ที่กล่าวนั้นชื่อว่าพึงกล่าวชอบ
หรือไม่”
“ไม่ชอบ เจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะอาศัยปัจจัยที่เกิดจากอายตนะภายนอกนั้น ๆ เวทนาที่เกิดจาก
อายตนะภายนอกนั้น ๆ จึงเกิดขึ้น เพราะปัจจัยที่เกิดจากอายตนะภายนอกนั้น ๆ
ดับ เวทนาที่เกิดจากอายตนะภายนอกนั้น ๆ จึงดับ”
“ดีละ ดีละ น้องหญิงทั้งหลาย พระอริยสาวกผู้เห็นตามความเป็นจริงด้วย
ปัญญาอันชอบ ย่อมมีความเห็นเรื่องนี้อย่างนี้แล
[๔๑๓] น้องหญิงทั้งหลาย เปรียบเหมือนคนฆ่าโคหรือลูกมือคนฆ่าโคผู้ชำนาญ
ฆ่าแม่โคแล้ว ใช้มีดแล่เนื้อที่คมชำแหละแม่โค แยกส่วนเนื้อไว้ข้างใน แยกส่วน
หนังไว้ข้างนอก ในส่วนเนื้อนั้น ส่วนใด ๆ เป็นเนื้อสัน เส้นเอ็นใหญ่ เส้นเอ็น
เล็กในภายใน ก็ใช้มีดแล่เนื้อที่คมตัด ชำแหละ เฉือนส่วนนั้น ๆ แล้วเลาะส่วนหนัง
ไว้ข้างนอก ใช้หนังนั้นนั่นแหละคลุมแม่โคนั้นไว้ แล้วพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘แม่โคตัวนี้
เราประกอบไว้ด้วยหนังผืนนี้เท่านั้น’ คนฆ่าโคหรือลูกมือคนฆ่าโคนั้นเมื่อกล่าว
ชื่อว่าพึงกล่าวชอบหรือไม่”
“ไม่ชอบ เจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะคนฆ่าโคหรือลูกมือคนฆ่าโคผู้ชำนาญโน้น ฆ่าแม่โคแล้ว ใช้มีดแล่
เนื้อที่คมชำแหละแม่โค แยกส่วนเนื้อไว้ข้างใน แยกส่วนหนังไว้ข้างนอก ในส่วน
เนื้อนั้น ส่วนใด ๆ เป็นเนื้อสัน เส้นเอ็นใหญ่ เส้นเอ็นเล็กในภายใน ก็ใช้มีด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๔. นันทโกวาทสูตร

แล่เนื้อที่คมตัด ชำแหละ เฉือนส่วนนั้น ๆ แล้วเลาะส่วนหนังไว้ข้างนอก ใช้หนังนั้น
นั่นแหละคลุมแม่โคนั้นไว้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘แม่โคตัวนี้เราประกอบไว้ด้วยหนัง
ผืนนี้เท่านั้น’ แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น แม่โคนั้นก็แยกกันแล้วจากหนังผืนนั้นนั่นเอง”
“น้องหญิงทั้งหลาย อาตมภาพทำอุปมานี้เพื่อให้เข้าใจเนื้อความได้ชัดเจนขึ้น
เนื้อความในอุปมานั้นดังต่อไปนี้
คำว่า ส่วนเนื้อข้างใน นั้น เป็นชื่อของอายตนะภายใน ๖
คำว่า ส่วนหนังข้างนอก นั้น เป็นชื่อของอายตนะภายนอก ๖
คำว่า เนื้อสัน เส้นเอ็นใหญ่ เส้นเอ็นเล็ก นั้น เป็นชื่อของนันทิราคะ
คำว่า มีดแล่เนื้อที่คม นั้น เป็นชื่อของอริยปัญญาที่ตัด ชำแหละ เฉือน
กิเลสในภายใน สังโยชน์ในภายใน และเครื่องผูกในภายใน

โพชฌงค์ ๗ ประการ

[๔๑๔] น้องหญิงทั้งหลาย เพราะโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ ที่ภิกษุเจริญ
ทำให้มากแล้ว เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ภิกษุจึงทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญา
วิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
โพชฌงค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ
๒. ย่อมเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ...
๓. ย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ ...
๔. ย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ...
๕. ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ...
๖. ย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๔. นันทโกวาทสูตร

๗. ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
นิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ
เพราะโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ ที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว เพราะอาสวะ
ทั้งหลายสิ้นไป ภิกษุจึงทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”
[๔๑๕] ครั้งนั้น ท่านพระนันทกะโอวาทภิกษุณีเหล่านั้นด้วยโอวาทนี้แล้ว
จึงส่งไปด้วยคำว่า “น้องหญิงทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงไปเถิด สมควรแก่เวลาแล้ว”
ลำดับนั้น ภิกษุณีเหล่านั้นชื่นชมยินดีภาษิตของท่านพระนันทกะ แล้ว
ลุกขึ้นจากอาสนะ กราบท่านพระนันทกะ กระทำประทักษิณ แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้
มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว ยืน ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้
ตรัสกับภิกษุณีเหล่านั้นดังนี้ว่า “ภิกษุณีทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงไปเถิด สมควร
แก่เวลาแล้ว”
ครั้งนั้น ภิกษุณีเหล่านั้นได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณ
แล้วจากไป
เมื่อภิกษุณีเหล่านั้นจากไปแล้วไม่นาน พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำนั้น ชนเป็นอันมากไม่
มีความเคลือบแคลงหรือความสงสัยเลยว่า ‘ดวงจันทร์ไม่เต็มดวงหรือเต็มดวง
หนอ’ แต่ที่แท้ ดวงจันทร์ก็เต็มดวงแล้ว ฉันใด ภิกษุณีเหล่านั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ย่อมเป็นผู้มีใจยินดีต่อธรรมเทศนาของพระนันทกะและมีความดำริบริบูรณ์แล้ว
ภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุณี ๕๐๐ รูปนั้น รูปที่ได้คุณธรรมชั้นต่ำที่สุดเป็น
โสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
นันทโกวาทสูตรที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๕. จูฬราหุโลวาทสูตร

๕. จูฬราหุโลวาทสูตร๑
ว่าด้วยการประทานโอวาทแก่พระราหุล สูตรเล็ก

[๔๑๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงหลีกเร้นอยู่
ในที่สงัด ทรงเกิดความรำพึงขึ้นอย่างนี้ว่า “ธรรมเป็นเครื่องบ่มวิมุตติ๒ของราหุล
แก่กล้าแล้ว ทางที่ดี เราพึงแนะนำราหุลในธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะให้ยิ่งขึ้นไป”
ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร เสด็จ
เข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี ทรงเที่ยวบิณฑบาตในกรุงสาวัตถีแล้ว เสด็จกลับ
จากบิณฑบาตภายหลังเสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว รับสั่งเรียกท่านพระราหุลมา
ตรัสว่า “ราหุล เธอจงถือผ้านิสีทนะ(ผ้าสำหรับปูนั่งของสมณะ) เราจักเข้าไปยัง
ป่าอันธวัน เพื่อพักผ่อนกลางวัน”
ท่านพระราหุลทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว ได้ถือผ้านิสีทนะตามเสด็จพระผู้มี
พระภาคไปเบื้องพระปฤษฎางค์
สมัยนั้น เทวดาหลายพันองค์ก็ติดตามพระผู้มีพระภาคไปด้วยคิดว่า “วันนี้
พระผู้มีพระภาค จักทรงแนะนำท่านพระราหุลในธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะให้ยิ่งขึ้นไป”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๕. จูฬราหุโลวาทสูตร

ต่อมา พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปสู่ป่าอันธวัน ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปู
ลาดไว้แล้วที่โคนต้นไม้แห่งหนึ่ง ฝ่ายท่านพระราหุลถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่
สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระราหุลดังนี้ว่า
[๔๑๗] “ราหุล เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ จักขุเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
ท่านพระราหุลกราบทูลว่า “ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“ราหุล เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือรูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“ราหุล เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ จักขุวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๕. จูฬราหุโลวาทสูตร

“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“ราหุล เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ จักขุสัมผัสเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“ราหุล เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร แม้เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
[๔๑๘] “ราหุล เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ โสตะเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“ฆานะเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“ชิวหาเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“กายเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๕. จูฬราหุโลวาทสูตร

“ราหุล เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ มโนเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“ราหุล เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ ธรรมารมณ์เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“ราหุล เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ มโนวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๕. จูฬราหุโลวาทสูตร

“ราหุล เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ มโนสัมผัสเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“ราหุล เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร แม้เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
[๔๑๙] “ราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน
จักขุสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดขึ้น
เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโสตะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเสียง ...
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในฆานะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกลิ่น ...
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรส ...
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโผฏฐัพพะ ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๗๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๖. ฉฉักกสูตร

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมารมณ์ ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในมโนวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโนสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา
สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น
เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหม
จรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระราหุลมีใจยินดีชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค เมื่อพระองค์ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้อยู่ จิตของท่าน
พระราหุลก็หลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น และธรรมจักษุ๑อันปราศจากธุลี
ปราศจากมลทินได้เกิดแก่เทวดาหลายพันองค์ว่า
“สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับเป็นธรรมดา”
ดังนี้แล

จูฬราหุโลวาทสูตรที่ ๕ จบ

๖. ฉฉักกสูตร
ว่าด้วยธรรม ๖ ประการ ๖ หมวด

[๔๒๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียก
ภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสว่า


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๖. ฉฉักกสูตร

“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรม มีความงามในเบื้องต้น๑ มีความงามใน
ท่ามกลาง มีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์๒ พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ
บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน คือธรรม ๖ ประการ ๖ หมวด เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรม ๖ ประการ ๖ หมวดนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“เธอทั้งหลายพึงทราบอายตนะภายใน ๖ พึงทราบอายตนะภายนอก ๖
พึงทราบหมวดวิญญาณ ๖ พึงทราบหมวดผัสสะ ๖ พึงทราบหมวดเวทนา ๖
พึงทราบหมวดตัณหา๓ ๖

อายตนะ ๑๒ ประการ

[๔๒๑] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘เธอทั้งหลายพึงทราบอายตนะภายใน ๖’
เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น คือ
๑. จักขวายตนะ ๒. โสตายตนะ
๓. ฆานายตนะ ๔. ชิวหายตนะ
๕. กายายตนะ ๖. มนายตนะ
คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘เธอทั้งหลายพึงทราบอายตนะภายใน ๖’ นั่น เพราะ
อาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
นี้เป็นหมวดธรรม ๖ หมวดที่ ๑ (๑)


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๖. ฉฉักกสูตร

เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘พึงทราบอายตนะภายนอก ๖’ เพราะอาศัยเหตุอะไร
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น คือ

๑. รูปายตนะ ๒. สัททายตนะ
๓. คันธายตนะ ๔. รสายตนะ
๕. โผฏฐัพพายตนะ ๖. ธัมมายตนะ๑

คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘พึงทราบอายตนะภายนอก ๖’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
นี้เป็นหมวดธรรม ๖ หมวดที่ ๒ (๒)
เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘พึงทราบหมวดวิญญาณ ๖’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เรา
จึงกล่าวไว้เช่นนั้น คือ
๑. เพราะอาศัยจักขุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิด
๒. เพราะอาศัยโสตะและเสียง โสตวิญญาณจึงเกิด
๓. เพราะอาศัยฆานะและกลิ่น ฆานวิญญาณจึงเกิด
๔. เพราะอาศัยชิวหาและรส ชิวหาวิญญาณจึงเกิด
๕. เพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะ กายวิญญาณจึงเกิด
๖. เพราะอาศัยมโนและธรรมารมณ์ มโนวิญญาณจึงเกิด
คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘พึงทราบหมวดวิญญาณ ๖’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
นี้เป็นหมวดธรรม ๖ หมวดที่ ๓ (๓)
เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘พึงทราบหมวดผัสสะ ๖’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึง
กล่าวไว้เช่นนั้น คือ
๑. เพราะอาศัยจักขุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่ง
ธรรม ๓ เป็นผัสสะ๒


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๖. ฉฉักกสูตร

๒. เพราะอาศัยโสตะและเสียง โสตวิญญาณจึงเกิด ความประจวบ
แห่งธรรม ๓ เป็นผัสสะ
๓. เพราะอาศัยฆานะและกลิ่น ฆานวิญญาณจึงเกิด ความประจวบ
แห่งธรรม ๓ เป็นผัสสะ
๔. เพราะอาศัยชิวหาและรส ชิวหาวิญญาณจึงเกิด ความประจวบ
แห่งธรรม ๓ เป็นผัสสะ
๕. เพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะ กายวิญญาณจึงเกิด ความ
ประจวบแห่งธรรม ๓ เป็นผัสสะ
๖. เพราะอาศัยมโนและธรรมารมณ์ มโนวิญญาณจึงเกิด ความ
ประจวบแห่งธรรม ๓ เป็นผัสสะ
คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘พึงทราบหมวดผัสสะ ๖’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เรา
จึงกล่าวไว้เช่นนั้น
นี้เป็นหมวดธรรม ๖ หมวดที่ ๔ (๔)
เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘พึงทราบหมวดเวทนา ๖’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึง
กล่าวไว้เช่นนั้น คือ
๑. เพราะอาศัยจักขุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่ง
ธรรม ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด๑
๒. เพราะอาศัยโสตะและเสียง โสตวิญญาณจึงเกิด ...
๓. เพราะอาศัยฆานะและกลิ่น ฆานวิญญาณจึงเกิด ...
๔. เพราะอาศัยชิวหาและรส ชิวหาวิญญาณจึงเกิด ...
๕. เพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะ กายวิญญาณจึงเกิด ...
๖. เพราะอาศัยมโนและธรรมารมณ์ มโนวิญญาณจึงเกิด ความ
ประจวบแห่งธรรม ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนา
จึงเกิด


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๖. ฉฉักกสูตร

คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘พึงทราบหมวดเวทนา ๖’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เรา
จึงกล่าวไว้เช่นนั้น
นี้เป็นหมวดธรรม ๖ หมวดที่ ๕ (๕)
เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘พึงทราบหมวดตัณหา ๖’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึง
กล่าวไว้เช่นนั้น คือ
๑. เพราะอาศัยจักขุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่ง
ธรรม ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหา๑จึงเกิด
๒. เพราะอาศัยโสตะและเสียง โสตวิญญาณจึงเกิด ...
๓. เพราะอาศัยฆานะและกลิ่น ฆานวิญญาณจึงเกิด ...
๔. เพราะอาศัยชิวหาและรส ชิวหาวิญญาณจึงเกิด ...
๕. เพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะ กายวิญญาณจึงเกิด ...
๖. เพราะอาศัยมโนและธรรมารมณ์ มโนวิญญาณจึงเกิด ความ
ประจวบแห่งธรรม ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนา
จึงเกิด เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงเกิด
คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘พึงทราบหมวดตัณหา ๖’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เรา
จึงกล่าวไว้เช่นนั้น
นี้เป็นหมวดธรรม ๖ หมวดที่ ๖ (๖)
[๔๒๒] ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘จักขุเป็นอัตตา’ คำของผู้นั้นไม่ถูกต้อง จักขุ
ย่อมปรากฏทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป ก็สิ่งใดปรากฏทั้งความเกิดขึ้นและ
ความเสื่อมไป สิ่งนั้นต้องกล่าวได้ดังนี้ว่า ‘อัตตาของเราย่อมเกิดขึ้นและเสื่อมไป’
เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่า ‘จักขุเป็นอัตตา’ นั้นจึงไม่ถูกต้อง จักขุเป็นอนัตตา
ด้วยอาการอย่างนี้


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๖. ฉฉักกสูตร

ผู้ใดพึงกล่าวว่า ‘รูปเป็นอัตตา’ คำของผู้นั้นไม่ถูกต้อง รูปย่อมปรากฏทั้ง
ความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป ก็สิ่งใดปรากฏทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป
สิ่งนั้นต้องกล่าวได้ดังนี้ว่า ‘อัตตาของเราย่อมเกิดขึ้นและเสื่อมไป’ เพราะฉะนั้น
คำของผู้ที่กล่าวว่า ‘รูปเป็นอัตตา’ นั้นจึงไม่ถูกต้อง จักขุเป็นอนัตตา รูปเป็นอนัตตา
ด้วยอาการอย่างนี้
ผู้ใดพึงกล่าวว่า ‘จักขุวิญญาณเป็นอัตตา’ คำของผู้นั้นไม่ถูกต้อง จักขุวิญญาณ
ย่อมปรากฏทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป ก็สิ่งใดปรากฏทั้งความเกิดขึ้นและ
ความเสื่อมไป สิ่งนั้นต้องกล่าวได้ดังนี้ว่า ‘อัตตาของเราย่อมเกิดขึ้นและเสื่อมไป’
เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่า ‘จักขุวิญญาณเป็นอัตตา’ นั้นจึงไม่ถูกต้อง จักขุเป็น
อนัตตา รูปเป็นอนัตตา จักขุวิญญาณเป็นอนัตตา ด้วยอาการอย่างนี้
ผู้ใดพึงกล่าวว่า ‘จักขุสัมผัสเป็นอัตตา’ คำของผู้นั้นไม่ถูกต้อง จักขุสัมผัส
ย่อมปรากฏทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป ก็สิ่งใดปรากฏทั้งความเกิดขึ้นและ
ความเสื่อมไป สิ่งนั้นต้องกล่าวได้ดังนี้ว่า ‘อัตตาของเราย่อมเกิดขึ้นและเสื่อมไป’
เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่า ‘จักขุสัมผัสเป็นอัตตา’ นั้นจึงไม่ถูกต้อง จักขุ
เป็นอนัตตา รูปเป็นอนัตตา จักขุวิญญาณเป็นอนัตตา จักขุสัมผัสเป็นอนัตตา
ด้วยอาการอย่างนี้
ผู้ใดพึงกล่าวว่า ‘เวทนาเป็นอัตตา’ คำของผู้นั้นไม่ถูกต้อง เวทนาย่อม
ปรากฏทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป ก็สิ่งใดปรากฏทั้งความเกิดขึ้นและความ
เสื่อมไป สิ่งนั้นต้องกล่าวได้ดังนี้ว่า ‘อัตตาของเราย่อมเกิดขึ้นและเสื่อมไป’ เพราะ
ฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่า ‘เวทนาเป็นอัตตา’ นั้นจึงไม่ถูกต้อง จักขุเป็นอนัตตา
รูปเป็นอนัตตา จักขุวิญญาณเป็นอนัตตา จักขุสัมผัสเป็นอนัตตา เวทนาเป็นอนัตตา
ด้วยอาการอย่างนี้
ผู้ใดพึงกล่าวว่า ‘ตัณหาเป็นอัตตา’ คำของผู้นั้นไม่ถูกต้อง ตัณหาย่อม
ปรากฏทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป ก็สิ่งใดปรากฏทั้งความเกิดขึ้นและความ
เสื่อมไป สิ่งนั้นต้องกล่าวได้ดังนี้ว่า ‘อัตตาของเราย่อมเกิดขึ้นและเสื่อมไป’ เพราะ
ฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่า ‘ตัณหาเป็นอัตตา’ นั้นจึงไม่ถูกต้อง จักขุเป็นอนัตตา
รูปเป็นอนัตตา จักขุวิญญาณเป็นอนัตตา จักขุสัมผัสเป็นอนัตตา เวทนาเป็นอนัตตา
ตัณหาเป็นอนัตตา ด้วยอาการอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๖. ฉฉักกสูตร

[๔๒๓] ผู้ใดพึงกล่าวว่า ‘โสตะเป็นอัตตา’ ...
ผู้ใดพึงกล่าวว่า ‘ฆานะเป็นอัตตา’ ...
ผู้ใดพึงกล่าวว่า ‘ชิวหาเป็นอัตตา’ ...
ผู้ใดพึงกล่าวว่า ‘กายเป็นอัตตา’ ...
ผู้ใดพึงกล่าวว่า ‘มโนเป็นอัตตา’ คำของผู้นั้นไม่ถูกต้อง มโนย่อมปรากฏ
ทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป ก็สิ่งใดปรากฏทั้งความเกิดและความเสื่อมไป
สิ่งนั้นต้องกล่าวได้ดังนี้ว่า ‘อัตตาของเราย่อมเกิดขึ้นและเสื่อมไป’ เพราะฉะนั้น
คำของผู้ที่กล่าวว่า ‘มโนเป็นอัตตา’ นั้นจึงไม่ถูกต้อง มโนเป็นอนัตตา ด้วยอาการ
อย่างนี้
ผู้ใดพึงกล่าวว่า ‘ธรรมารมณ์เป็นอัตตา’ คำของผู้นั้นไม่ถูกต้อง ธรรมารมณ์
ย่อมปรากฏทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป ก็สิ่งใดปรากฏทั้งความเกิดขึ้นและ
ความเสื่อมไป สิ่งนั้นต้องกล่าวได้ดังนี้ว่า ‘อัตตาของเราย่อมเกิดขึ้นและเสื่อมไป’
เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่า ‘ธรรมารมณ์เป็นอัตตา’ นั้นจึงไม่ถูกต้อง มโน
เป็นอนัตตา ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา ด้วยอาการอย่างนี้
ผู้ใดพึงกล่าวว่า ‘มโนวิญญาณเป็นอัตตา’ คำของผู้นั้นไม่ถูกต้อง มโนวิญญาณ
ย่อมปรากฏทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป ก็สิ่งใดปรากฏทั้งความเกิดขึ้นและ
ความเสื่อมไป สิ่งนั้นต้องกล่าวได้ดังนี้ว่า ‘อัตตาของเราย่อมเกิดขึ้นและเสื่อมไป’
เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่า ‘มโนวิญญาณเป็นอัตตา’ นั้นจึงไม่ถูกต้อง มโนเป็น
อนัตตา ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา มโนวิญญาณเป็นอนัตตา ด้วยอาการอย่างนี้
ผู้ใดพึงกล่าวว่า ‘มโนสัมผัสเป็นอัตตา’ คำของผู้นั้นไม่ถูกต้อง มโนสัมผัส
ย่อมปรากฏทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป ก็สิ่งใดปรากฏทั้งความเกิดขึ้นและ
ความเสื่อมไป สิ่งนั้นต้องกล่าวได้ดังนี้ว่า ‘อัตตาของเราย่อมเกิดขึ้นและเสื่อมไป’
เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่า ‘มโนสัมผัสเป็นอัตตา’ นั้นจึงไม่ถูกต้อง มโนเป็น
อนัตตา ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา มโนวิญญาณเป็นอนัตตา มโนสัมผัสเป็นอนัตตา
ด้วยอาการอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๖. ฉฉักกสูตร

ผู้ใดพึงกล่าวว่า ‘เวทนาเป็นอัตตา’ คำของผู้นั้นไม่ถูกต้อง เวทนาย่อม
ปรากฏทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป ก็สิ่งใดปรากฏทั้งความเกิดขึ้นและความ
เสื่อมไป สิ่งนั้นต้องกล่าวได้ดังนี้ว่า ‘อัตตาของเราย่อมเกิดขึ้นและเสื่อมไป’ เพราะ
ฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่า ‘เวทนาเป็นอัตตา’ นั้นจึงไม่ถูกต้อง มโนเป็นอนัตตา
ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา มโนวิญญาณเป็นอนัตตา มโนสัมผัสเป็นอนัตตา เวทนา
เป็นอนัตตา ด้วยอาการอย่างนี้
ผู้ใดพึงกล่าวว่า ‘ตัณหาเป็นอัตตา’ คำของผู้นั้นไม่ถูกต้อง ตัณหาย่อม
ปรากฏทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป ก็สิ่งใดปรากฏทั้งความเกิดขึ้นและความ
เสื่อมไป สิ่งนั้นต้องกล่าวได้ดังนี้ว่า ‘อัตตาของเราย่อมเกิดขึ้นและเสื่อมไป’ เพราะ
ฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่า ‘ตัณหาเป็นอัตตา’ นั้นจึงไม่ถูกต้อง มโนเป็นอนัตตา
ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา มโนวิญญาณเป็นอนัตตา มโนสัมผัสเป็นอนัตตา เวทนา
เป็นอนัตตา ตัณหาเป็นอนัตตา ด้วยอาการอย่างนี้
[๔๒๔] ภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิปทานี้แลเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงสักกายสมุทัย(ความ
เกิดขึ้นแห่งสักกายะ)
คือ บุคคลพิจารณาเห็น๑จักขุว่า ‘นั่นของเรา๒ เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตา
ของเรา’
พิจารณาเห็นรูปว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’
พิจารณาเห็นจักขุวิญญาณว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’
พิจารณาเห็นจักขุสัมผัสว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’
พิจารณาเห็นเวทนาว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’
พิจารณาเห็นตัณหาว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’
พิจารณาเห็นโสตะว่า ‘นั่นของเรา ...


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๖. ฉฉักกสูตร

พิจารณาเห็นฆานะว่า ‘นั่นของเรา ...
พิจารณาเห็นชิวหาว่า ‘นั่นของเรา ...
พิจารณาเห็นกายว่า ‘นั่นของเรา ...
พิจารณาเห็นมโนว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’
พิจารณาเห็นธรรมารมณ์ว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’
พิจารณาเห็นมโนวิญญาณว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’
พิจารณาเห็นมโนสัมผัสว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’
พิจารณาเห็นเวทนาว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’
พิจารณาเห็นตัณหาว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนปฏิปทานี้เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงสักกายนิโรธ๑(ความดับสักกายะ)
คือ บุคคลพิจารณาเห็น๒จักขุว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา๓ เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่
อัตตาของเรา’
พิจารณาเห็นรูปว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
พิจารณาเห็นจักขุวิญญาณว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่
อัตตาของเรา’
พิจารณาเห็นจักขุสัมผัสว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตา
ของเรา’
พิจารณาเห็นเวทนาว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
พิจารณาเห็นตัณหาว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๖. ฉฉักกสูตร

พิจารณาเห็นโสตะว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา ฯลฯ
พิจารณาเห็นฆานะว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา ...
พิจารณาเห็นชิวหาว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา ...
พิจารณาเห็นกายว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา ...
พิจารณาเห็นมโนว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
พิจารณาเห็นธรรมารมณ์ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตา
ของเรา’
พิจารณาเห็นมโนวิญญาณว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตา
ของเรา’
พิจารณาเห็นมโนสัมผัสว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตา
ของเรา’
พิจารณาเห็นเวทนาว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
พิจารณาเห็นตัณหาว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
[๔๒๕] ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยจักขุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิด ความ
ประจวบแห่งธรรม ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย สุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุข
ที่สัตว์เสวยจึงเกิด เขาอันสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติด
บุคคลนั้นมีราคานุสัย(กิเลสอันนอนเนื่องอยู่ในสันดานคือราคะ) นอนเนื่องอยู่ อัน
ทุกขเวทนาถูกต้องแล้วย่อมเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอกคร่ำครวญ ถึงความ
ลุ่มหลง๑ เขามีปฏิฆานุสัย(กิเลสนอนเนื่องอยู่ในสันดานคือปฏิฆะ) นอนเนื่องอยู่
อันอทุกขมสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่รู้ชัดถึงความเกิดขึ้น ความเสื่อมไป
คุณ โทษ และธรรมเป็นเครื่องสลัดออกจากเวทนานั้น ตามความเป็นจริง เขามี
อวิชชานุสัย(กิเลสนอนเนื่องอยู่ในสันดานคืออวิชชา) นอนเนื่องอยู่


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๖. ฉฉักกสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้ที่บุคคลนั้นยังละราคานุสัยเพราะสุขเวทนา
ไม่ได้ ยังบรรเทาปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนาไม่ได้ ยังถอนอวิชชานุสัยเพราะ
อทุกขมสุขเวทนาไม่ได้ ยังละอวิชชาแล้วทำวิชชาให้เกิดไม่ได้ จักเป็นผู้กระทำที่สุด
ทุกข์ได้ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยโสตะและเสียง โสตวิญญาณจึงเกิด ...
เพราะอาศัยฆานะและกลิ่น ฆานวิญญาณจึงเกิด ...
เพราะอาศัยชิวหาและรส ชิวหาวิญญาณจึงเกิด ...
เพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะ กายวิญญาณจึงเกิด ...
เพราะอาศัยมโนและธรรมารมณ์ มโนวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่ง
ธรรม ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย สุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขที่สัตว์
เสวยจึงเกิด เขาอันสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมเพลิดเพลิน ชมเชย ยึดติด
บุคคลนั้นมีราคานุสัยนอนเนื่องอยู่ อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมเศร้าโศก
ลำบาก ร่ำไร ทุบอกคร่ำครวญ ถึงความลุ่มหลง เขามีปฏิฆานุสัยนอนเนื่องอยู่
อันอทุกขมสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่รู้ชัดถึงความเกิดขึ้น ความเสื่อมไป
คุณ โทษ และธรรมเป็นเครื่องสลัดออกจากเวทนานั้น ตามความเป็นจริง เขามี
อวิชชานุสัยนอนเนื่องอยู่
ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้ที่บุคคลนั้นยังละราคานุสัยเพราะสุขเวทนา
ไม่ได้ ยังบรรเทาปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนาไม่ได้ ยังถอนอวิชชานุสัยเพราะ
อทุกขมสุขเวทนาไม่ได้ ยังละอวิชชาแล้วทำวิชชาให้เกิดไม่ได้ จักเป็นผู้กระทำที่สุด
ทุกข์ได้ในปัจจุบัน
[๔๒๖] ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยจักขุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิด ความ
ประจวบแห่งธรรม ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย สุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุข
ที่สัตว์เสวยจึงเกิด เขาอันสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม
ไม่ยึดติด บุคคลนั้นไม่มีราคานุสัยนอนเนื่องอยู่ อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๖. ฉฉักกสูตร

เศร้าโศก ไม่ลำบาก ไม่ร่ำไร ไม่ทุบอกคร่ำครวญ ไม่ถึงความลุ่มหลง๑ บุคคลนั้น
ไม่มีปฏิฆานุสัยนอนเนื่องอยู่ อันอทุกขมสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมรู้ชัดถึงความ
เกิดขึ้น ความเสื่อมไป คุณ โทษ และธรรมเป็นเครื่องสลัดออกจากเวทนานั้น
ตามความเป็นจริง บุคคลนั้นไม่มีอวิชชานุสัยนอนเนื่องอยู่
เป็นไปได้ที่บุคคลนั้นละราคานุสัยเพราะสุขเวทนาได้ บรรเทาปฏิฆานุสัย
เพราะทุกขเวทนาได้ ถอนอวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนาได้ ละอวิชชาแล้วทำ
วิชชา๒ ให้เกิดขึ้นได้แล้ว จักเป็นผู้กระทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยโสตะและเสียง โสตวิญญาณจึงเกิด ...
เพราะอาศัยฆานะและกลิ่น ฆานวิญญาณจึงเกิด ...
เพราะอาศัยชิวหาและรส ชิวหาวิญญาณจึงเกิด ...
เพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะ กายวิญญาณจึงเกิด ...
เพราะอาศัยมโนและธรรมารมณ์ มโนวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่ง
ธรรม ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย สุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขที่สัตว์
เสวยจึงเกิด เขาอันสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติด
บุคคลนั้นไม่มีราคานุสัยนอนเนื่องอยู่ อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้วย่อมไม่เศร้าโศก
ไม่ลำบาก ไม่ร่ำไร ไม่ทุบอกคร่ำครวญ ไม่ถึงความลุ่มหลง บุคคลนั้นไม่มี
ปฏิฆานุสัยนอนเนื่องอยู่ อันอทุกขมสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมรู้ชัดถึงความเกิดขึ้น
ความเสื่อมไป คุณ โทษ และธรรมเป็นเครื่องสลัดออกจากเวทนานั้น ตามความ
เป็นจริง บุคคลนั้นไม่มีอวิชชานุสัยนอนเนื่องอยู่
ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปได้ที่บุคคลนั้นละราคานุสัยเพราะสุขเวทนาได้ บรรเทา
ปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนาได้ ถอนอวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนาได้ ละ
อวิชชาแล้วทำวิชชาให้เกิดขึ้นได้แล้ว จักเป็นผู้กระทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๗. สฬายตนวิภังคสูตร

[๔๒๗] ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในจักขุ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุวิญญาณ ย่อม
เบื่อหน่ายแม้ในจักขุสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในตัณหา
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโสตะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเสียง ...
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในฆานะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกลิ่น ...
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรส ...
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโผฏฐัพพะ ...
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมารมณ์ ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในมโนวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโนสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในตัณหา
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น
เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์
แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสเวยยากรณภาษิตนี้อยู่ จิตของ
ภิกษุประมาณ ๖๐ รูป ได้หลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ยึดมั่น ดังนี้แล

ฉฉักกสูตรที่ ๖ จบ

๗. สฬายตนวิภังคสูตร
ว่าด้วยการจำแนกอายตนะ ๖ ประการ

[๔๒๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๗. สฬายตนวิภังคสูตร

“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันเนื่องด้วยอายตนะ ๖ ที่สำคัญแก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
[๔๒๙] “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นจักขุตามความเป็นจริง เมื่อไม่
รู้ไม่เห็นรูปตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นจักขุวิญญาณตามความเป็นจริง เมื่อ
ไม่รู้ไม่เห็นจักขุสัมผัสตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นสุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขที่
สัตว์เสวยซึ่งเกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ตามความเป็นจริง ย่อมยินดีนักใน
จักขุ ย่อมยินดีนักในรูป ย่อมยินดีนักในจักขุวิญญาณ ย่อมยินดีนักในจักขุสัมผัส
ย่อมยินดีนักในสุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขที่สัตว์เสวยซึ่งเกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็น
ปัจจัย
เมื่อบุคคลนั้นยินดี หมกมุ่น ลุ่มหลง พิจารณาเห็นเป็นคุณอยู่ อุปาทาน-
ขันธ์ ๕ ย่อมถึงความพอกพูนขึ้นต่อไป และตัณหาที่นำไปสู่ภพใหม่อันสหรคต
ด้วยความเพลิดเพลินยินดี ชวนให้เพลิดเพลินในอารมณ์นั้น ๆ ก็ย่อมเจริญขึ้น
ความกระวนกระวายที่เป็นไปทางกายก็ดี ที่เป็นไปทางใจก็ดี ย่อมเจริญขึ้น ความ
เดือดร้อนที่เป็นไปทางกายก็ดี ที่เป็นไปทางใจก็ดี ย่อมเจริญขึ้น ความเร่าร้อนที่
เป็นไปทางกายก็ดี ที่เป็นไปทางใจก็ดี ย่อมเจริญขึ้น เขาจึงเสวยทุกข์ทางกายบ้าง
เสวยทุกข์ทางใจบ้าง
เมื่อไม่รู้ไม่เห็นโสตะตามความเป็นจริง ...
เมื่อไม่รู้ไม่เห็นฆานะตามความเป็นจริง ...
เมื่อไม่รู้ไม่เห็นชิวหาตามความเป็นจริง ...
เมื่อไม่รู้ไม่เห็นกายตามความเป็นจริง ...
เมื่อไม่รู้ไม่เห็นมโนตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นธรรมารมณ์ตามความเป็นจริง
เมื่อไม่รู้ไม่เห็นมโนวิญญาณตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นมโนสัมผัสตามความ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๗. สฬายตนวิภังคสูตร

เป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นสุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขที่สัตว์เสวยซึ่งเกิดขึ้นเพราะ
มโนสัมผัสเป็นปัจจัยตามความเป็นจริง ย่อมยินดีนักในมโน ย่อมยินดีนักใน
ธรรมารมณ์ ย่อมยินดีนักในมโนวิญญาณ ย่อมยินดีนักในมโนสัมผัส ย่อมยินดีนัก
ในสุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขที่สัตว์เสวยซึ่งเกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลนั้นยินดี หมกมุ่น ลุ่มหลง พิจารณาเห็นเป็นคุณอยู่
อุปาทานขันธ์ ๕ ย่อมถึงความพอกพูนขึ้นต่อไป และตัณหาที่นำไปสู่ภพใหม่อัน
สหรคตด้วยความเพลิดเพลินยินดี ชวนให้เพลิดเพลินในอารมณ์นั้น ๆ ก็ย่อมเจริญขึ้น
ความกระวนกระวายที่เป็นไปทางกายก็ดี ที่เป็นไปทางใจก็ดี ย่อมเจริญขึ้น ความ
เดือดร้อนที่เป็นไปทางกายก็ดี ที่เป็นไปทางใจก็ดี ย่อมเจริญขึ้น ความเร่าร้อนที่
เป็นไปทางกายก็ดี ที่เป็นไปทางใจก็ดี ย่อมเจริญขึ้น เขาจึงเสวยทุกข์ทางกายบ้าง
เสวยทุกข์ทางใจบ้าง
[๔๓๐] ภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นจักขุตามความเป็นจริง เมื่อรู้
เมื่อเห็นรูปตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นจักขุวิญญาณตามความเป็นจริง เมื่อรู้
เมื่อเห็นจักขุสัมผัสตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นสุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขที่
สัตว์เสวยซึ่งเกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ตามความเป็นจริง ย่อมไม่ยินดีใน
จักขุ ย่อมไม่ยินดีในรูป ย่อมไม่ยินดีในจักขุวิญญาณ ย่อมไม่ยินดีในจักขุสัมผัส
ย่อมไม่ยินดีในสุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขที่สัตว์เสวยซึ่งเกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็น
ปัจจัย
เมื่อบุคคลนั้นไม่ยินดี ไม่หมกมุ่น ไม่หลุ่มหลง พิจารณาเห็นเป็นโทษอยู่
อุปาทานขันธ์ ๕ ย่อมไม่ถึงความพอกพูนขึ้นต่อไป เขาย่อมละตัณหาที่นำไปสู่ภพ
ใหม่อันสหรคตด้วยความเพลิดเพลินยินดี ชวนให้เพลิดเพลินในอารมณ์นั้น ๆ ได้
เขาย่อมละความกระวนกระวายที่เป็นไปทางกาย ที่เป็นไปทางใจ ละความเดือดร้อน
ที่เป็นไปทางกาย ที่เป็นไปทางใจ ละความเร่าร้อนที่เป็นไปทางกาย ที่เป็นไปทางใจได้
จึงเสวยสุขทางกายบ้าง เสวยสุขทางใจบ้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๗. สฬายตนวิภังคสูตร

[๔๓๑] ทิฏฐิของบุคคลผู้มีธรรมอย่างนั้น๑ ย่อมเป็นสัมมาทิฏฐิ ความดำริ
ของบุคคลผู้มีธรรมอย่างนั้นย่อมเป็นสัมมาสังกัปปะ ความพยายามของบุคคลผู้มี
ธรรมอย่างนั้นย่อมเป็นสัมมาวายามะ สติของบุคคลผู้มีธรรมอย่างนั้นย่อมเป็น
สัมมาสติ สมาธิของบุคคลผู้มีธรรมอย่างนั้นย่อมเป็นสัมมาสมาธิ ส่วนกายกรรม
วจีกรรม อาชีวะของเขาจัดว่าบริสุทธิ์ดีในเบื้องต้นทีเดียว เมื่อเป็นเช่นนี้
อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ของเขาย่อมถึงความเจริญเต็มที่
เมื่อบุคคลนั้นเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้อยู่อย่างนี้ สติปัฏฐาน ๔ ก็ดี
สัมมัปปธาน ๔ ก็ดี อิทธิบาท ๔ ก็ดี อินทรีย์ ๕ ก็ดี พละ ๕ ก็ดี โพชฌงค์
๗ ก็ดี ย่อมถึงความเจริญเต็มที่
ธรรม ๒ นี้ คือ (๑) สมถะ (๒) วิปัสสนา ของเขาย่อมเคียงคู่กันไป
บุคคลนั้นกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ย่อมละธรรมที่ควรละด้วย
ปัญญาอันยิ่ง ย่อมเจริญธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง ย่อมทำให้แจ้งธรรมที่
ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง
ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นอย่างไร
ควรจะตอบว่า ‘อุปาทานขันธ์ ๕’ คือ
๑. รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป)
๒. เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา)
๓. สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา)
๔. สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร)
๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ)
ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่าธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง
ธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นอย่างไร
คือ (๑) อวิชชา (๒) ภวตัณหา
ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่าธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๗. สฬายตนวิภังคสูตร

ธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นอย่างไร
คือ (๑) สมถะ (๒) วิปัสสนา
ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่าธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง
ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นอย่างไร
คือ (๑) วิชชา (๒) วิมุตติ
ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่าธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง
[๔๓๒] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้ เมื่อเห็นโสตะตามความเป็นจริง ...
เมื่อรู้ เมื่อเห็นฆานะตามความเป็นจริง ...
เมื่อรู้ เมื่อเห็นชิวหาตามความเป็นจริง ...
เมื่อรู้ เมื่อเห็นกายตามความเป็นจริง ...
บุคคลเมื่อรู้ เมื่อเห็นมโนตามความเป็นจริง เมื่อรู้ เมื่อเห็นธรรมารมณ์ตาม
ความเป็นจริง เมื่อรู้ เมื่อเห็นมโนวิญญาณตามความเป็นจริง เมื่อรู้ เมื่อเห็น
มโนสัมผัสตามความเป็นจริง เมื่อรู้ เมื่อเห็นสุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขที่สัตว์เสวย
ซึ่งเกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ตามความเป็นจริง ย่อมไม่ยินดีในมโน ย่อม
ไม่ยินดีในธรรมารมณ์ ย่อมไม่ยินดีในมโนวิญญาณ ย่อมไม่ยินดีในมโนสัมผัส
ย่อมไม่ยินดีในสุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขที่สัตว์เสวยซึ่งเกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็น
ปัจจัย
เมื่อบุคคลนั้นไม่ยินดี ไม่หมกมุ่น ไม่ลุ่มหลง พิจารณาเห็นเป็นโทษอยู่
อุปาทานขันธ์ ๕ ย่อมไม่ถึงความพอกพูนขึ้นต่อไป เขาย่อมละตัณหาที่นำไปสู่ภพ
ใหม่อันสหรคตด้วยความเพลิดเพลินยินดี ชวนให้เพลิดเพลินในอารมณ์นั้น ๆ ได้
ย่อมละความกระวนกระวายที่เป็นไปทางกาย ที่เป็นไปทางใจ ละความเดือดร้อนที่
เป็นไปทางกาย ที่เป็นไปทางใจ ละความเร่าร้อนที่เป็นไปทางกาย ที่เป็นไปทางใจได้
จึงเสวยสุขทางกายบ้าง เสวยสุขทางใจบ้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๗. สฬายตนวิภังคสูตร

[๔๓๓] ทิฏฐิของบุคคลผู้มีธรรมอย่างนั้น ย่อมเป็นสัมมาทิฏฐิ ความดำริของ
บุคคลผู้มีธรรมอย่างนั้นย่อมเป็นสัมมาสังกัปปะ ความพยายามของบุคคลผู้มี
ธรรมอย่างนั้นย่อมเป็นสัมมาวายามะ สติของบุคคลผู้มีธรรมอย่างนั้นย่อมเป็น
สัมมาสติ สมาธิของบุคคลผู้มีธรรมอย่างนั้นย่อมเป็นสัมมาสมาธิ ส่วนกายกรรม
วจีกรรม อาชีวะของเขาจัดว่าบริสุทธิ์ในเบื้องต้นทีเดียว เมื่อเป็นเช่นนี้ อริยมรรค
มีองค์ ๘ นี้ของเขาย่อมถึงความเจริญเต็มที่
เมื่อบุคคลนั้นเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้อยู่อย่างนี้ สติปัฏฐาน ๔ ก็ดี
สัมมัปปธาน ๔ ก็ดี อิทธิบาท ๔ ก็ดี อินทรีย์ ๕ ก็ดี พละ ๕ ก็ดี
โพชฌงค์ ๗ ก็ดี ย่อมถึงความเจริญเต็มที่
ธรรม ๒ นี้ คือ (๑) สมถะ (๒) วิปัสสนา ของเขาย่อมเคียงคู่กันไป
บุคคลนั้นย่อมกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ย่อมละธรรมที่ควรละ
ด้วยปัญญาอันยิ่ง ย่อมเจริญธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง ย่อมทำให้แจ้ง
ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง
ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นอย่างไร
ควรจะตอบว่า ‘อุปาทานขันธ์ ๕’ คือ
๑. รูปูปาทานขันธ์
๒. เวทนูปาทานขันธ์
๓. สัญญูปาทานขันธ์
๔. สังขารูปาทานขันธ์
๕. วิญญาณูปาทานขันธ์
ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่าธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง
ธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นอย่างไร
คือ (๑) อวิชชา (๒) ภวตัณหา
ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่าธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๘. นครวินเทยยสูตร

ธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นอย่างไร
คือ (๑) สมถะ (๒) วิปัสสนา
ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่าธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง
ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นอย่างไร
คือ (๑) วิชชา (๒) วิมุตติ๑
ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่าธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

สฬายตนวิภังคสูตรที่ ๗ จบ

๘. นครวินเทยยสูตร
ว่าด้วยพราหมณ์และคหบดีชาวบ้านนครวินทะ

[๔๓๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศล พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์
หมู่ใหญ่ เสด็จถึงหมู่บ้านพราหมณ์ของชาวแคว้นโกศลชื่อนครวินทะ พราหมณ์
และคหบดีชาวบ้านนครวินทะ ได้ทราบข่าวว่า
“ท่านพระสมณโคดมผู้เป็นศากยบุตร เสด็จออกผนวชจากศากยตระกูล
เสด็จจาริกอยู่ในแคว้นโกศล พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ได้เสด็จถึงนครวินทะ
โดยลำดับ ท่านพระโคดมนั้น มีกิตติศัพท์อันงามขจรไปอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ
เพรียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๘. นครวินเทยยสูตร

อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็น
พระผู้มีพระภาค‘๑ พระองค์ทรงรู้แจ้งโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก
และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ด้วยพระองค์เองแล้วทรง
ประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม ทรงแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง
และมีความงามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ
บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน การได้พบพระอรหันต์ทั้งหลายเช่นนี้ เป็นความดีอย่าง
แท้จริง”๒
ครั้งนั้น พราหมณ์และคหบดีชาวบ้านนครวินทะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ บางพวกถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวกทูลสนทนา
ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวก
ประนมมือไปทางพระผู้มีพระภาคประทับนั่ง แล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวก
ประกาศชื่อและโคตร ในสำนักของพระผู้มีพระภาค แล้วนั่ง ณ ที่สมควร
บางพวกนั่งนิ่งอยู่ ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับพราหมณ์และคหบดี
ชาวบ้านนครวินทะว่า

สมณพราหมณ์ผู้ไม่ควรสักการะ

[๔๓๕] “พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ถ้าอัญเดียรถีย์ปริพาชกถามท่าน
ทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย สมณพราหมณ์เช่นไร อัน
ท่านทั้งหลายไม่ควรสักการะ ไม่ควรเคารพ ไม่ควรนับถือ ไม่ควรบูชา’ ท่าน
ทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงตอบอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า
‘สมณพราหมณ์เหล่าใด ยังไม่ปราศจากราคะ(ความกำหนัด) ยังไม่ปราศจาก
โทสะ(ความขัดเคือง) ยังไม่ปราศจากโมหะ(ความลุ่มหลง)ในรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา
มีจิตยังไม่สงบในภายใน ประพฤติไม่สม่ำเสมอทางกาย ทางวาจา และทางใจ
สมณพราหมณ์เช่นนี้ ไม่ควรสักการะ ไม่ควรเคารพ ไม่ควรนับถือ ไม่ควรบูชา’


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๘. นครวินเทยยสูตร

ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่า แม้เราทั้งหลายก็ยังไม่ปราศจากราคะ ยังไม่ปราศจากโทสะ ยังไม่
ปราศจากโมหะในรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา มีจิตยังไม่สงบในภายใน ยังประพฤติไม่
สม่ำเสมอทางกาย ทางวาจา และทางใจ เพราะเราทั้งหลายไม่เห็นแม้ความ
ประพฤติที่สม่ำเสมอนั้นที่สูง ๆ ขึ้นไปของสมณพราหมณ์เหล่านั้น เพราะฉะนั้น
สมณพราหมณ์เหล่านั้น จึงไม่ควรสักการะ ไม่ควรเคารพ ไม่ควรนับถือ ไม่ควรบูชา
สมณพราหมณ์เหล่าใดยังไม่ปราศจากราคะ ยังไม่ปราศจากโทสะ ยังไม่
ปราศจากโมหะในเสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ
สมณพราหมณ์เหล่าใดยังไม่ปราศจากราคะ ยังไม่ปราศจากโทสะ ยังไม่
ปราศจากโมหะในกลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก...
สมณพราหมณ์เหล่าใดยังไม่ปราศจากราคะ ยังไม่ปราศจากโทสะ ยังไม่
ปราศจากโมหะในรสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ...
สมณพราหมณ์เหล่าใดยังไม่ปราศจากราคะ ยังไม่ปราศจากโทสะ ยังไม่
ปราศจากโมหะในโผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ...
สมณพราหมณ์เหล่าใดยังไม่ปราศจากราคะ ยังไม่ปราศจากโทสะ ยังไม่
ปราศจากโมหะในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจ มีจิตยังไม่สงบในภายใน ประพฤติ
ไม่สม่ำเสมอทางกาย ทางวาจา และทางใจ สมณพราหมณ์เช่นนี้ ไม่ควรสักการะ
ไม่ควรเคารพ ไม่ควรนับถือ ไม่ควรบูชา
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่า แม้เราทั้งหลายก็ยังไม่ปราศจากราคะ ยังไม่ปราศจากโทสะ ยังไม่
ปราศจากโมหะในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจ มีจิตยังไม่สงบในภายใน ยัง
ประพฤติไม่สม่ำเสมอทางกาย ทางวาจา และทางใจ เพราะเราทั้งหลายไม่เห็น
แม้ความประพฤติที่สม่ำเสมอนั้นที่สูง ๆ ขึ้นไปของสมณพราหมณ์เหล่านั้น เพราะ
ฉะนั้น สมณพราหมณ์เหล่านั้นจึงไม่ควรสักการะ ไม่ควรเคารพ ไม่ควรนับถือ
ไม่ควรบูชา’
พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงตอบ
อัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้เถิด’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๘. นครวินเทยยสูตร

สมณพราหมณ์ผู้ควรสักการะ

[๔๓๖] พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ถ้าอัญเดียรถีย์ปริพาชกถามท่าน
ทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย สมณพราหมณ์เช่นไร อันท่าน
ทั้งหลายควรสักการะ ควรเคารพ ควรนับถือ ควรบูชา’ ท่านทั้งหลายถูกถาม
อย่างนี้แล้ว พึงตอบอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ‘สมณพราหมณ์
เหล่าใดปราศจากราคะ ปราศจากโทสะ ปราศจากโมหะในรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา
มีจิตสงบในภายใน ประพฤติสม่ำเสมอทางกาย ทางวาจา และทางใจ
สมณพราหมณ์เช่นนี้ควรสักการะ ควรเคารพ ควรนับถือ ควรบูชา’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่า แม้เราทั้งหลายยังไม่ปราศจากราคะ ยังไม่ปราศจากโทสะ ยัง
ไม่ปราศจากโมหะในรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา มีจิตยังไม่สงบในภายใน ยังประพฤติ
ไม่สม่ำเสมอทางกาย ทางวาจา และทางใจ เพราะเราทั้งหลายเห็นแม้ความ
ประพฤติสม่ำเสมอนั้นที่สูง ๆ ขึ้นไปของสมณพราหมณ์เหล่านั้น เพราะฉะนั้น
สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้นจึงควรสักการะ ควรเคารพ ควรนับถือ ควรบูชา
สมณพราหมณ์เหล่าใดปราศจากราคะ ปราศจากโทสะ ปราศจากโมหะใน
เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ...
สมณพราหมณ์เหล่าใดปราศจากราคะ ปราศจากโทสะ ปราศจากโมหะใน
กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ...
สมณพราหมณ์เหล่าใดปราศจากราคะ ปราศจากโทสะ ปราศจากโมหะในรส
ที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ...
สมณพราหมณ์เหล่าใดปราศจากราคะ ปราศจากโทสะ ปราศจากโมหะใน
โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ...
สมณพราหมณ์เหล่าใดปราศจากราคะ ปราศจากโทสะ ปราศจากโมหะใน
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจ มีจิตสงบในภายใน ประพฤติสม่ำเสมอทางกาย ทาง
วาจา และทางใจ สมณพราหมณ์เช่นนี้ควรสักการะ ควรเคารพ ควรนับถือ
ควรบูชา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] ๘. นครวินเทยยสูตร

ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่าแม้เราทั้งหลายยังไม่ปราศจากราคะ ยังไม่ปราศจากโทสะ ยังไม่
ปราศจากโมหะในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจ มีจิตยังไม่สงบในภายใน ยัง
ประพฤติไม่สม่ำเสมอทางกาย ทางวาจา และทางใจ เพราะเราทั้งหลายเห็นแม้
ความประพฤติสม่ำเสมอนั้นที่สูง ๆ ขึ้นไปของสมณพราหมณ์เหล่านั้น เพราะฉะนั้น
สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้นจึงควรสักการะ ควรเคารพ ควรนับถือ ควรบูชา’
พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงตอบ
อัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้เถิด

ปฏิปทาของผู้ไม่มีราคะ

[๔๓๗] พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ถ้าอัญเดียรถีย์ปริพาชกถามท่าน
ทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘ก็ท่าทางและการปฏิบัติของท่านผู้มีอายุทั้งหลายเป็นอย่างไร
จึงเป็นเหตุให้ท่านทั้งหลายกล่าวถึงท่านผู้มีอายุทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุ
เหล่านั้น เป็นผู้ปราศจากราคะ หรือปฏิบัติเพื่อกำจัดราคะ เป็นผู้ปราศจากโทสะ
หรือปฏิบัติเพื่อกำจัดโทสะ เป็นผู้ปราศจากโมหะ หรือปฏิบัติเพื่อกำจัดโมหะแน่แท้’
ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงตอบอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่าง
นี้ว่า ‘จริงอย่างนั้น ท่านผู้มีอายุเหล่านั้น ย่อมใช้สอยเสนาสนะอันสงัด คือป่าดง
อันเป็นที่ไม่มีรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ซึ่งคนทั้งหลายเห็นแล้ว ๆ จะพึงยินดี
ย่อมใช้สอยเสนาสนะอันสงัด คือป่าดงอันเป็นที่ไม่มีเสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ซึ่ง
คนทั้งหลายฟังแล้ว ๆ จะพึงยินดี
ย่อมใช้สอยเสนาสนะอันสงัด คือป่าดงอันเป็นที่ไม่มีกลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก
ซึ่งคนทั้งหลายดมแล้ว ๆ จะพึงยินดี
ย่อมใช้สอยเสนาสนะอันสงัด คือป่าดงอันเป็นที่ไม่มีรสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ซึ่ง
คนทั้งหลายลิ้มแล้ว ๆ จะพึงยินดี
ย่อมใช้สอยเสนาสนะอันสงัด คือป่าดงอันเป็นที่ไม่มีโผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย
ซึ่งคนทั้งหลายสัมผัสแล้ว ๆ จะพึงยินดี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค]
๙. ปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร

ท่าทางและการปฏิบัติของท่านผู้มีอายุเหล่านี้แล เป็นเหตุให้ข้าพเจ้าทั้งหลาย
กล่าวถึงท่านผู้มีอายุได้อย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุเหล่านั้น เป็นผู้ปราศจากราคะ
หรือปฏิบัติเพื่อกำจัดราคะ เป็นผู้ปราศจากโทสะ หรือปฏิบัติเพื่อกำจัดโทสะ เป็น
ผู้ปราศจากโมหะ หรือปฏิบัติเพื่อกำจัดโมหะแน่แท้’
พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงตอบ
อัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้เถิด”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์และคหบดีชาวบ้านนครวินทะ
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระโคดมชัดเจน
ไพเราะยิ่งนัก พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก
พระโคดมผู้เจริญทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือน
บุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปใน
ที่มืด โดยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’ ข้าพระองค์เหล่านี้ขอถึงพระโคดมผู้เจริญ
พร้อมทั้งพระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอพระโคดมผู้เจริญโปรดทรงจำ
ข้าพระองค์ทั้งหลายว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”

นครวินเทยยสูตรที่ ๘ จบ

๙. ปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร
ว่าด้วยการทำบิณฑบาตให้บริสุทธิ์

[๔๓๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
เขตกรุงราชคฤห์ ครั้นเวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่หลีกเร้น เข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มี
พระภาคได้ตรัสถามว่า
“สารีบุตร เธอมีอินทรีย์ผ่องใส มีผิวพรรณบริสุทธิ์ผุดผ่อง เธออยู่ด้วยวิหาร
ธรรมอะไรเป็นส่วนมากในบัดนี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๔๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค]
๙. ปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร

ท่านพระสารีบุตรทูลตอบว่า “ข้าพระองค์อยู่ด้วยสุญญตา๑วิหารธรรมเป็น
ส่วนมากในบัดนี้ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ สารีบุตร ได้ยินว่าเธออยู่ด้วยวิหารธรรม
ของมหาบุรุษเป็นส่วนมากในบัดนี้ เพราะวิหารธรรมของมหาบุรุษ๒นี้ก็คือสุญญตา
เพราะฉะนั้น ถ้าภิกษุหวังว่า ‘เราพึงอยู่ด้วยสุญญตาวิหารธรรมเป็นส่วนมาก’
ภิกษุนั้นพิจารณาอย่างนี้ว่า ‘เราเข้าบ้านเพื่อบิณฑบาตโดยทางใด เราได้เที่ยว
บิณฑบาตในประเทศใด และเรากลับจากบิณฑบาตจากบ้านโดยทางใด ในที่นั้น
เรามีฉันทะ(ความพอใจ) ราคะ(ความกำหนัด) โทสะ(ความขัดเคือง) โมหะ
(ความลุ่มหลง) หรือปฏิฆะ(ความกระทบ) แห่งใจในรูปที่พึงรู้แจ้งทางตาบ้างไหม’
ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเข้าบ้านเพื่อบิณฑบาตโดยทางใด เราได้
เที่ยวบิณฑบาตในประเทศใด และเรากลับจากบิณฑบาตจากบ้านโดยทางใด ในที่นั้น
เรามีฉันทะ ราคะ โทสะ โมหะ หรือปฏิฆะแห่งใจในรูปที่พึงรู้แจ้งทางตาอยู่’
ภิกษุนั้นพึงพยายามเพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านั้นเสีย
แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเข้าบ้านเพื่อบิณฑบาตโดยทางใด
เราได้เที่ยวบิณฑบาตในประเทศใด และเรากลับจากบิณฑบาตจากบ้านโดยทางใด
ในที่นั้น เราไม่มีฉันทะ ราคะ โทสะ โมหะ หรือปฏิฆะแห่งใจในรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา’
สารีบุตร ภิกษุนั้นพึงตามศึกษาในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันและกลางคืน
อยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นแล
[๔๓๙] สารีบุตร อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราเข้า
บ้านเพื่อบิณฑบาตโดยทางใด เราได้เที่ยวบิณฑบาตในประเทศใด และเรากลับ
จากบิณฑบาตจากบ้านโดยทางใด ในที่นั้น ๆ เรามีฉันทะ ราคะ โทสะ โมหะใน
เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหูบ้างไหม


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค]
๙. ปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร

เรามีฉันทะ ราคะ โทสะ โมหะในกลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูกบ้างไหม
เรามีฉันทะ ราคะ โทสะ โมหะในรสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้นบ้างไหม
เรามีฉันทะ ราคะ โทสะ โมหะในโผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกายบ้างไหม
เรามีฉันทะ ราคะ โทสะ โมหะหรือปฏิฆะแห่งใจในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้ง
ทางใจบ้างไหม’
ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเข้าบ้านเพื่อบิณฑบาตโดยทางใด เราได้
เที่ยวบิณฑบาตในประเทศใด และเรากลับจากบิณฑบาตจากบ้านโดยทางใด ในที่นั้น
เรามีฉันทะ ราคะ โทสะ โมหะหรือปฏิฆะแห่งใจในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจ’
ภิกษุนั้นพึงพยายามเพื่อละบาปอกุศลธรรมนั้น
แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเข้าบ้านเพื่อบิณฑบาตโดยทางใด เรา
ได้เที่ยวบิณฑบาตในประเทศใด และเรากลับจากบิณฑบาตจากบ้านโดยทางใด ใน
ที่นั้น เราไม่มีฉันทะ ราคะ โทสะ โมหะ หรือปฏิฆะแห่งใจในธรรมารมณ์ที่พึงรู้
แจ้งทางใจ’
สารีบุตร ภิกษุนั้นพึงตามศึกษาในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันและกลางคืน
อยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นแล
[๔๔๐] อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราละกามคุณ ๕
ได้แล้วหรือหนอ’ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เรายังละกามคุณ ๕ ไม่ได้’
ภิกษุนั้นพึงพยายามเพื่อละกามคุณ ๕
แต่ถ้าภิกษุนั้นพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราละกามคุณ ๕ ได้แล้ว‘ ภิกษุนั้น
พึงตามศึกษาในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันและกลางคืน อยู่ด้วยปีติและ
ปราโมทย์นั้นแล
[๔๔๑] อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราละนิวรณ์ ๕ ได้
แล้วหรือหนอ’ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เรายังละนิวรณ์ ๕ ไม่ได้’ ภิกษุ
นั้นพึงพยายามเพื่อละนิวรณ์ ๕
แต่ถ้าภิกษุนั้นพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราละนิวรณ์ ๕ ได้แล้ว’ ภิกษุนั้นพึง
ตามศึกษาในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันและกลางคืน อยู่ด้วยปีติและปราโมทย์
นั้นแล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๕๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค]
๙. ปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร

[๔๔๒] อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เรากำหนดรู้
อุปาทานขันธ์ ๕ ได้แล้วหรือหนอ’ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เรายังกำหนดรู้
อุปาทานขันธ์ ๕ ไม่ได้’ ภิกษุนั้นพึงพยายามเพื่อกำหนดรู้อุปาทานขันธ์ ๕
แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เรากำหนดรู้อุปาทานขันธ์ ๕ ได้แล้ว’
ภิกษุนั้นพึงตามศึกษาในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันและกลางคืน อยู่ด้วยปีติและ
ปราโมทย์นั้นแล
[๔๔๓] อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราเจริญสติปัฏฐาน ๔
ได้แล้วหรือหนอ’ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เรายังเจริญสติปัฏฐาน ๔ ไม่ได้’
ภิกษุนั้นพึงพยายามเพื่อเจริญสติปัฏฐาน ๔
แต่ถ้าภิกษุนั้นพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเจริญสติปัฏฐาน ๔ ได้แล้ว’
ภิกษุนั้นพึงตามศึกษาในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันและกลางคืน อยู่ด้วยปีติและ
ปราโมทย์นั้นแล
[๔๔๔] อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราเจริญสัมมัปปธาน ๔
ได้แล้วหรือหนอ’ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เรายังเจริญสัมมัปปธาน ๔ ไม่ได้’
ภิกษุนั้นพึงพยายามเพื่อเจริญสัมมัปปธาน ๔
แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเจริญสัมมัปปธาน ๔ ได้แล้ว’ ภิกษุ
นั้นพึงตามศึกษาในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันและกลางคืน อยู่ด้วยปีติและ
ปราโมทย์นั้นแล
[๔๔๕] อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราเจริญอิทธิบาท ๔
ได้แล้วหรือหนอ’ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เรายังเจริญอิทธิบาท ๔ ไม่ได้’
ภิกษุนั้นพึงพยายามเพื่อเจริญอิทธิบาท ๔
แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเจริญอิทธิบาท ๔ ได้แล้ว’ ภิกษุนั้น
พึงตามศึกษาในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันและกลางคืน อยู่ด้วยปีติและ
ปราโมทย์นั้นแล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๕๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค]
๙. ปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร

[๔๔๖] อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราเจริญอินทรีย์ ๕
ได้แล้วหรือหนอ’ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เรายังเจริญอินทรีย์ ๕ ไม่ได้’
ภิกษุนั้นพึงพยายามเพื่อเจริญอินทรีย์ ๕
แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเจริญอินทรีย์ ๕ ได้แล้ว’ ภิกษุนั้น
พึงตามศึกษาในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันและกลางคืน อยู่ด้วยปีติปราโมทย์นั้นแล
[๔๔๗] อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราเจริญพละ ๕ ได้
แล้วหรือหนอ’ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เรายังเจริญพละ ๕ ไม่ได้’ ภิกษุ
นั้นพึงพยายามเพื่อเจริญพละ ๕
แต่ถ้าภิกษุนั้นพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเจริญพละ ๕ ได้แล้ว’ ภิกษุนั้น
พึงตามศึกษาในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันและกลางคืน อยู่ด้วยปีติและ
ปราโมทย์นั้นแล
[๔๔๘] อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราเจริญโพชฌงค์ ๗
ได้แล้วหรือหนอ’ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เรายังเจริญโพชฌงค์ ๗ ไม่ได้’
ภิกษุนั้นพึงพยายามเพื่อเจริญโพชฌงค์ ๗
แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเจริญโพชฌงค์ ๗ ได้แล้ว’ ภิกษุนั้น
พึงตามศึกษาในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันและกลางคืน อยู่ด้วยปีติและ
ปราโมทย์นั้นแล
[๔๔๙] อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราเจริญอริยมรรคมี
องค์ ๘ ได้แล้วหรือหนอ’ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เรายังเจริญอริยมรรค
มีองค์ ๘ ไม่ได้’ ภิกษุนั้นพึงพยายามเพื่อเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘
แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ได้แล้ว’
ภิกษุนั้นพึงตามศึกษาในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันและกลางคืน อยู่ด้วยปีติและ
ปราโมทย์นั้นแล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๕๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค]
๙. ปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร

[๔๕๐] อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราเจริญสมถะและ
วิปัสสนาได้แล้วหรือหนอ’ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เรายังเจริญสมถะและ
วิปัสสนาไม่ได้’ ภิกษุนั้นพึงพยายามเพื่อเจริญสมถะและวิปัสสนา
แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเจริญสมถะและวิปัสสนาได้แล้ว’
ภิกษุนั้นพึงตามศึกษาในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันและกลางคืน อยู่ด้วยปีติและ
ปราโมทย์นั้นแล
[๔๕๑] สารีบุตร อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราทำ
วิชชาและวิมุตติให้แจ้งได้แล้วหรือหนอ’ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เรายังทำ
วิชชาและวิมุตติให้แจ้งไม่ได้’ ภิกษุนั้นพึงพยายามเพื่อทำวิชชาและวิมุตติให้แจ้ง
แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ‘เราทำวิชชาและวิมุตติให้แจ้งได้แล้ว’
ภิกษุนั้นพึงตามศึกษาในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันและกลางคืน อยู่ด้วยปีติและ
ปราโมทย์นั้นแล
[๔๕๒] สารีบุตร ก็ในอดีต สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ได้ทำ
บิณฑบาตให้บริสุทธิ์ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดก็ได้พิจารณาแล้ว ๆ
อย่างนี้ จึงทำบิณฑบาตให้บริสุทธิ์ ในอนาคต สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด
เหล่าหนึ่งจักทำบิณฑบาตให้บริสุทธิ์ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดก็
จักพิจารณาแล้ว ๆ อย่างนี้ จึงทำบิณฑบาตให้บริสุทธิ์ ในบัดนี้ สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งทำบิณฑบาตให้บริสุทธิ์ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น
ทั้งหมดย่อมพิจารณาแล้ว ๆ อย่างนี้ จึงทำบิณฑบาตให้บริสุทธิ์ เพราะฉะนั้น
เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราพิจารณาแล้ว ๆ จักทำบิณฑบาตให้บริสุทธิ์’
สารีบุตร เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรมีใจยินดีชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

ปิณฑปาตปาริสุทธิสูตรที่ ๙ จบ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค]
๑๐. อินทริยภาวนาสูตร

๑๐. อินทริยภาวนาสูตร
ว่าด้วยการเจริญอินทรีย์

[๔๕๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เวฬุวัน๑ กัชชังคลานิคม ครั้งนั้นแล
อุตตรมาณพ ศิษย์ของปาราสิริยพราหมณ์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ทูลสนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับอุตตรมาณพ ศิษย์ของปาราสิริยพราหมณ์ว่า
“อุตตระ ปาราสิริยพราหมณ์แสดงการเจริญอินทรีย์แก่สาวกหรือไม่”
อุตตรมาณพกราบทูลว่า “แสดง ขอรับ”
“แสดงอย่างไร”
“พระโคดมผู้เจริญ ในเรื่องนี้ ท่านปาราสิริยพราหมณ์แสดงการเจริญอินทรีย์
แก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘สาวกของเราอย่าดูรูปทางตา อย่าฟังเสียงทางหู’
ดังนี้เป็นต้น ขอรับ”
“อุตตระ เมื่อเป็นเช่นนั้น สาวกผู้เจริญอินทรีย์แล้วตามคำของปาราสิริยพราหมณ์
ก็จักเป็นคนตาบอด เป็นคนหูหนวกแน่นอน เพราะคนตาบอดย่อมไม่เห็นรูปทางตา
คนหูหนวกย่อมไม่ได้ยินเสียงทางหู”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว อุตตรมาณพศิษย์ของปาราสิริยพราหมณ์
ก็นั่งนิ่ง เก้อเขิน คอตก ก้มหน้า ซบเซา หมดปฏิภาณ
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเห็นว่า อุตตรมาณพศิษย์ของปาราสิริยพราหมณ์
นั่งนิ่ง เก้อเขิน คอตก ก้มหน้า ซบเซา หมดปฏิภาณ จึงรับสั่งเรียกท่านพระ
อานนท์มาตรัสว่า “อานนท์ ปาราสิริยพราหมณ์ย่อมแสดงการเจริญอินทรีย์แก่
สาวกทั้งหลายเป็นอย่างหนึ่ง แต่การเจริญอินทรีย์อันยอดเยี่ยมในอริยวินัยเป็น
อย่างหนึ่ง”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค]
๑๐. อินทริยภาวนาสูตร

ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค บัดนี้เป็นกาลสมควรแล้ว
ข้าแต่พระสุคต บัดนี้เป็นกาลสมควรแล้ว ที่พระผู้มีพระภาคพึงแสดงการเจริญ
อินทรีย์อันยอดเยี่ยมในอริยวินัย ภิกษุทั้งหลายได้ฟังจากพระผู้มีพระภาคแล้ว จัก
ทรงจำไว้”
“อานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรื่องนี้ว่า
[๔๕๔] “การเจริญอินทรีย์อันยอดเยี่ยมในอริยวินัย เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทางตาแล้ว จึงเกิดความชอบใจ เกิดความ
ไม่ชอบใจ และเกิดทั้งความชอบใจและความไม่ชอบใจ ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า
‘เราเกิดความชอบใจ เกิดความไม่ชอบใจ และเกิดทั้งความชอบใจและความไม่ชอบใจนี้
แล้ว ความชอบใจเป็นต้นนั้นถูกปัจจัยปรุงแต่ง เป็นของหยาบ อาศัยกันและกัน
เกิดขึ้น ยังมีสิ่งที่ละเอียด ประณีต คือ อุเบกขา’ ความชอบใจ ความไม่ชอบใจ
ความชอบใจและความไม่ชอบใจนั้น ที่เกิดขึ้นแล้วแก่ภิกษุนั้นจึงดับไป อุเบกขา
ย่อมดำรงมั่น เปรียบเหมือนบุรุษมีตาดีกระพริบตา แม้ฉันใด ความชอบใจ
ความไม่ชอบใจ ความชอบใจและความไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วแก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง
ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมดับไปอย่างเร็วพลันทันที โดยไม่ยากอย่างนี้ อุเบกขาย่อม
ดำรงมั่น
อานนท์ นี้เราเรียกว่า การเจริญอินทรีย์ในรูปที่พึงรู้แจ้งทางตาอันยอดเยี่ยม
ในอริยวินัย
[๔๕๕] อานนท์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุได้ยินเสียงทางหูแล้วจึงเกิดความ
ชอบใจ เกิดความไม่ชอบใจ และเกิดทั้งความชอบใจและความไม่ชอบใจ ภิกษุนั้น
รู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘เราเกิดความชอบใจ เกิดความไม่ชอบใจ และเกิดทั้งความชอบใจ
และความไม่ชอบใจนี้แล้ว ความชอบใจเป็นต้นนั้นถูกปัจจัยปรุงแต่ง เป็นของหยาบ
อาศัยกันและกันเกิดขึ้น ยังมีสิ่งที่ละเอียด ประณีต คือ อุเบกขา’ ความชอบใจ
ความไม่ชอบใจ ความชอบใจและความไม่ชอบใจนั้นที่เกิดขึ้นแล้วแก่ภิกษุนั้นจึงดับไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๕๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค]
๑๐. อินทริยภาวนาสูตร

อุเบกขาย่อมดำรงมั่น เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังดีดนิ้วมือได้โดยไม่ยาก แม้ฉันใด
ความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ความชอบใจและความไม่ชอบใจอันเกิดขึ้นแล้วแก่
ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมดับไปอย่างเร็วพลันทันที โดยไม่ยาก
อย่างนี้
อานนท์ นี้เราเรียกว่า การเจริญอินทรีย์ในเสียงที่พึงรู้แจ้งทางหูอันยอดเยี่ยม
ในอริยวินัย
[๔๕๖] อีกประการหนึ่ง ภิกษุดมกลิ่นทางจมูกแล้วจึงเกิดความชอบใจ เกิด
ความไม่ชอบใจ และเกิดทั้งความชอบใจทั้งความไม่ชอบใจ ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า
‘เราเกิดความชอบใจ เกิดความไม่ชอบใจ และเกิดทั้งความชอบใจและความไม่
ชอบใจนี้แล้ว ความชอบใจเป็นต้นนั้นถูกปัจจัยปรุงแต่ง เป็นของหยาบ อาศัยกัน
และกันเกิดขึ้น ยังมีสิ่งที่ละเอียด ประณีต คือ อุเบกขา’ ความชอบใจ ความไม่ชอบใจ
ความชอบใจและความไม่ชอบใจนั้น ที่เกิดขึ้นแล้วแก่ภิกษุนั้นจึงดับไป อุเบกขา
ย่อมดำรงมั่น เปรียบเหมือนหยาดน้ำกลิ้งไปบนใบบัวที่เอียงนิดหน่อย ย่อมไม่ติดอยู่
แม้ฉันใด ความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ความชอบใจและความไม่ชอบใจอันเกิด
ขึ้นแล้วแก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมดับไปอย่างเร็วพลันทันที โดย
ไม่ยากอย่างนี้ อุเบกขาย่อมดำรงมั่น
อานนท์ นี้เราเรียกว่า การเจริญอินทรีย์ในกลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูกอันยอด
เยี่ยมในอริยวินัย
[๔๕๗] อีกประการหนึ่ง ภิกษุลิ้มรสทางลิ้นแล้วจึงเกิดความชอบใจ เกิด
ความไม่ชอบใจ และเกิดทั้งความชอบใจและความไม่ชอบใจ ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า
‘เราเกิดความชอบใจ เกิดความไม่ชอบใจ และเกิดทั้งความชอบใจและความไม่
ชอบใจนี้แล้ว ความชอบใจเป็นต้นนั้นถูกปัจจัยปรุงแต่ง เป็นของหยาบ อาศัยกัน
และกันเกิดขึ้น ยังมีสิ่งที่ละเอียด ประณีต คือ อุเบกขา’ ความชอบใจ ความไม่ชอบใจ
ความชอบใจและความไม่ชอบใจนั้น ที่เกิดขึ้นแล้วแก่ภิกษุนั้นจึงดับไป อุเบกขา
ย่อมดำรงมั่น เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังตะล่อมก้อนเขฬะไว้ที่ปลายลิ้น แล้วถ่ม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๕๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค]
๑๐. อินทริยภาวนาสูตร

ไปโดยไม่ยาก แม้ฉันใด ความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ความชอบใจและความไม่
ชอบใจอันเกิดขึ้นแล้วแก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมดับไปอย่างเร็ว
พลันทันที โดยไม่ยากอย่างนี้ อุเบกขาย่อมดำรงมั่น
อานนท์ นี้เราเรียกว่า การเจริญอินทรีย์ในรสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้นอันยอดเยี่ยม
ในอริยวินัย
[๔๕๘] อีกประการหนึ่ง ภิกษุถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายแล้วจึงเกิดความ
ชอบใจ เกิดความไม่ชอบใจ และเกิดทั้งความชอบใจและความไม่ชอบใจ ภิกษุนั้น
รู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘เราเกิดความชอบใจ เกิดความไม่ชอบใจ และเกิดทั้งความชอบใจ
และความไม่ชอบใจนี้แล้ว ความชอบใจเป็นต้นนั้นถูกปัจจัยปรุงแต่ง เป็นของหยาบ
อาศัยกันและกันเกิดขึ้น ยังมีสิ่งที่ละเอียด ประณีต คือ อุเบกขา’ ความชอบใจ
ความไม่ชอบใจ ความชอบใจและความไม่ชอบใจนั้นที่เกิดขึ้นแล้วแก่ภิกษุนั้นจึงดับไป
อุเบกขาย่อมดำรงมั่น เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้า แม้
ฉันใด ความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ความชอบใจและความไม่ชอบใจอันเกิดขึ้น
แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมดับไปอย่างเร็วพลันทันที โดยไม่ยาก
อย่างนี้ อุเบกขาย่อมดำรงมั่น
อานนท์ นี้เราเรียกว่า การเจริญอินทรีย์ในโผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย
อันยอดเยี่ยมในอริยวินัย
[๔๕๙] อานนท์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้วจึงเกิด
ความชอบใจ เกิดความไม่ชอบใจ และเกิดทั้งความชอบใจและความไม่ชอบใจ
ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘เราเกิดความชอบใจ เกิดความไม่ชอบใจ และเกิด
ทั้งความชอบใจและความไม่ชอบใจนี้แล้ว ความชอบใจเป็นต้นนั้นถูกปัจจัยปรุงแต่ง
เป็นของหยาบ อาศัยกันและกันเกิดขึ้น ยังมีสิ่งที่ละเอียด ประณีต คือ อุเบกขา’
ความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ความชอบใจและความไม่ชอบใจนั้นที่เกิดขึ้นแล้วแก่
ภิกษุนั้นจึงดับไป อุเบกขาย่อมดำรงมั่น เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลัง เอาหยดน้ำ ๒
หยด หรือ ๓ หยดใส่ลงในกะทะเหล็กที่ร้อนจัดตลอดวัน น้ำที่หยดลงยังช้าไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๕๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค]
๑๐. อินทริยภาวนาสูตร

ที่แท้หยดน้ำนั้นจะระเหยแห้งไปเร็วพลันทันที แม้ฉันใด ความชอบใจ ความไม่ชอบใจ
ความชอบใจและความไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วแก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ฉันนั้น
เหมือนกัน ย่อมดับไปอย่างเร็วพลันทันที โดยไม่ยากอย่างนี้ อุเบกขาย่อม
ดำรงมั่น
อานนท์ นี้เราเรียกว่า การเจริญอินทรีย์ในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจอัน
ยอดเยี่ยมในอริยวินัย
อานนท์ การเจริญอินทรีย์อันยอดเยี่ยมในอริยวินัย เป็นอย่างนี้แล
[๔๖๐] พระเสขะผู้กำลังปฏิบัติ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทางตาแล้ว จึงเกิดความชอบใจ เกิดความ
ไม่ชอบใจ และเกิดทั้งความชอบใจและความไม่ชอบใจ เพราะความชอบใจ ความ
ไม่ชอบใจ ความชอบใจและความไม่ชอบใจที่เกิดขึ้นแล้วนั้น ภิกษุนั้นจึงอึดอัด
เบื่อหน่าย รังเกียจ
ฟังเสียงทางหูแล้ว ...
ดมกลิ่นทางจมูกแล้ว ...
ลิ้มรสทางลิ้นแล้ว ...
ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายแล้ว ...
รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว จึงเกิดความชอบใจ เกิดความไม่ชอบใจ และ
เกิดทั้งความชอบใจและความไม่ชอบใจ เพราะความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ความ
ชอบใจและความไม่ชอบใจที่เกิดขึ้นแล้วนั้น ภิกษุนั้นจึงอึดอัด เบื่อหน่าย รังเกียจ
อานนท์ พระเสขะผู้กำลังปฏิบัติ เป็นอย่างนี้แล
[๔๖๑] พระอริยะผู้เจริญอินทรีย์แล้ว เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทางตาแล้ว จึงเกิดความชอบใจ เกิดความ
ไม่ชอบใจ และเกิดทั้งความชอบใจและความไม่ชอบใจ ถ้าเธอหวังว่า ‘เราพึงมี
ความหมายรู้ในสิ่งที่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่‘๑ ก็มีความหมายรู้ในสิ่งที่ปฏิกูล
นั้นว่าเป็นสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค]
๑๐. อินทริยภาวนาสูตร

ถ้าหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งที่ปฏิกูลอยู่’ ก็มี
ความหมายรู้ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลนั้นว่าเป็นสิ่งที่ปฏิกูลอยู่๑
ถ้าหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งที่
ไม่ปฏิกูลอยู่’ ก็มีความหมายรู้ในสิ่งที่ปฏิกูลและสิ่งที่ไม่ปฏิกูลนั้นว่าเป็นสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่
ถ้าหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและในสิ่งที่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งที่
ปฏิกูลอยู่’ ก็มีความหมายรู้ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและในสิ่งที่ปฏิกูลนั้นว่าเป็นสิ่งที่ปฏิกูล
อยู่
ถ้าหวังว่า ‘เราพึงเว้นสิ่งที่ปฏิกูลและสิ่งที่ไม่ปฏิกูลทั้งสองนั้น แล้วมีอุเบกขา
มีสติสัมปชัญญะอยู่’ ก็เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่
ไม่ปฏิกูลนั้นอยู่๒
[๔๖๒] อีกประการหนึ่ง ภิกษุฟังเสียงทางหูแล้ว ...
ภิกษุดมกลิ่นทางจมูกแล้ว ...
ภิกษุลิ้มรสทางลิ้นแล้ว ...
ภิกษุถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายแล้ว ...
ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว จึงเกิดความชอบใจ เกิดความไม่ชอบใจ
และเกิดทั้งความชอบใจและความไม่ชอบใจ ถ้าเธอยังหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้
ในสิ่งที่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่’ ก็มีความหมายรู้ในสิ่งที่ปฏิกูลนั้นว่าเป็นสิ่งที่
ไม่ปฏิกูลอยู่
ถ้าหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งที่ปฏิกูลอยู่’ ก็มี
ความหมายรู้ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลนั้นว่าเป็นสิ่งที่ปฏิกูลอยู่
ถ้าหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งที่
ไม่ปฏิกูลอยู่’ ก็มีความหมายรู้ในสิ่งที่ปฏิกูลและสิ่งที่ไม่ปฏิกูลนั้นว่าเป็นสิ่งที่ไม่
ปฏิกูลอยู่


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๕. สฬายตนวรรค] รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ถ้าหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและในสิ่งที่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่ง
ที่ปฏิกูลอยู่’ ก็มีความหมายรู้ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและในสิ่งที่ปฏิกูลนั้นว่าเป็นสิ่งที่ปฏิกูล
อยู่
ถ้าหวังว่า ‘เราพึงเว้นสิ่งที่ปฏิกูลและสิ่งที่ไม่ปฏิกูลทั้งสองนั้น แล้วมีอุเบกขา
มีสติสัมปชัญญะอยู่’ ก็เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่
ไม่ปฏิกูลนั้นอยู่
อานนท์ พระอริยะผู้เจริญอินทรีย์แล้ว เป็นอย่างนี้แล
[๔๖๓] อานนท์ เราแสดงการเจริญอินทรีย์อันยอดเยี่ยมในอริยวินัยไว้แล้ว
แสดงพระเสขะผู้กำลังปฏิบัติไว้แล้ว แสดงพระอริยะผู้เจริญอินทรีย์ไว้แล้ว ด้วย
ประการอย่างนี้ กิจที่ศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์ อาศัยความ
อนุเคราะห์แล้วพึงทำแก่สาวกทั้งหลายได้ เราก็ได้ทำแก่เธอทั้งหลายแล้ว
อานนท์ นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลายจงเพ่งฌาน อย่าได้ประมาท
อย่าได้เป็นผู้เดือดร้อนในภายหลัง นี้เป็นคำพร่ำสอนของเราสำหรับเธอทั้งหลาย”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์มีใจยินดีชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

อินทริยภาวนาสูตรที่ ๑๐ จบ
สฬายตนวรรคที่ ๕ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อนาถปิณฑิโกวาทสูตร ๒. ฉันโนวาทสูตร
๓. ปุณโณวาทสูตร ๔. นันทโกวาทสูตร
๕. จูฬราหุโลวาทสูตร ๖. ฉฉักกสูตร
๗. สฬายตนวิภังคสูตร ๘. นครวินเทยยสูตร
๙. ปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร ๑๐. อินทริยภาวนาสูตร

อุปริปัณณาสก์ จบ


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ สุตตันตปิฎกที่ ๐๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ จบ





eXTReMe Tracker