ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ



จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อความสะดวก และสวยงาม
(เฉพาะหน้าจอใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์)
กรุณาคลิก จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อให้กรอบ
ค้นข้อความ ปรากฎที่ด้านซ้ายของหน้า

พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ สุตตันตปิฎกที่ ๐๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑. กันทรกสูตร

พระสุตตันตปิฎก
มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๑. คหปติวรรค
หมวดว่าด้วยคหบดี
๑. กันทรกสูตร
ว่าด้วยปริพาชกชื่อกันทรกะ

[๑] ข้าพเจ้า๑ได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ใกล้สระโบกขรณีชื่อคัคครา เขตกรุงจัมปา๒
พร้อมกับภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ครั้งนั้นแล บุตรของควาญช้างชื่อเปสสะและปริพาชก
ชื่อกันทรกะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ นายเปสสะบุตรของควาญช้าง
ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร๓ ส่วนกันทรกปริพาชกได้สนทนา


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑. กันทรกสูตร

ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกัน ได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควร แล้วเหลียวดู
ภิกษุสงฆ์ผู้นั่งนิ่งเงียบอยู่๑ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ เพียงเท่านี้ ท่าน
พระโคดมก็ชื่อว่าแนะนำให้ภิกษุสงฆ์ปฏิบัติชอบแล้ว ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
แม้พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีตกาล ก็ทรงแนะนำให้
ภิกษุสงฆ์ปฏิบัติชอบเป็นอย่างยิ่งได้ถึงเพียงนี้ เหมือนท่านพระโคดมทรงแนะนำให้
ภิกษุสงฆ์ปฏิบัติชอบอยู่ในบัดนี้
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ แม้พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย
ในอนาคตกาล ก็จักทรงแนะนำให้ภิกษุสงฆ์ปฏิบัติชอบเป็นอย่างยิ่งได้ถึงเพียงนี้
เหมือนท่านพระโคดมทรงแนะนำให้ภิกษุสงฆ์ปฏิบัติชอบอยู่ในบัดนี้”

มนุษย์มีปากกับใจไม่ตรงกัน

[๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ข้อนี้เป็นอย่างนั้น กันทรกะ ข้อนี้เป็น
อย่างนั้น กันทรกะ แม้พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีตกาล
ก็ทรงแนะนำให้ภิกษุสงฆ์ปฏิบัติชอบเป็นอย่างยิ่งได้ถึงเพียงนี้ เหมือนเราแนะนำให้
ภิกษุสงฆ์ปฏิบัติชอบอยู่ในบัดนี้ แม้พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทั้งหลายในอนาคตกาล ก็จักทรงแนะนำให้ภิกษุสงฆ์ปฏิบัติชอบเป็นอย่างยิ่งได้ถึง
เพียงนี้ เหมือนเราแนะนำให้ภิกษุสงฆ์ปฏิบัติชอบอยู่ในบัดนี้


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑. กันทรกสูตร

จริงอยู่ กันทรกะ ในภิกษุสงฆ์นี้ มีภิกษุจำนวนมากผู้เป็นอรหันตขีณาสพ
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว๑ทำกิจที่ควรทำ๒เสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์
ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว๓หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ อนึ่ง ในภิกษุสงฆ์นี้
ยังมีภิกษุอีกจำนวนมากผู้ยังเป็นเสขบุคคล๔ มีปกติสงบ มีความเป็นอยู่สงบ มีปัญญา
มีความเป็นอยู่ด้วยปัญญา เธอเหล่านั้นมีจิตตั้งมั่นดีในสติปัฏฐาน ๔ ประการอยู่

สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌา(ความเพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น) และโทมนัส(ความ
ทุกข์ใจ) ในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑. กันทรกสูตร

[๓] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว นายเปสสะบุตรของควาญช้างได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้
พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ดีแล้วเพื่อความหมดจดของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วง
โสกะ(ความเศร้าโศก) และปริเทวะ(ความคร่ำครวญ) เพื่อดับทุกข์(ความทุกข์กาย)
และโทมนัส(ความทุกข์ใจ) เพื่อบรรลุญายธรรม๑ เพื่อทำให้แจ้งพระนิพพาน
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่จริง แม้ข้าพระองค์ทั้งหลายเป็นคฤหัสถ์นุ่งห่มผ้าขาว
ก็มีจิตตั้งมั่นดีในสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้อยู่ได้ตามกาลที่สมควร ขอประทานวโรกาส
ข้าพระองค์ทั้งหลายพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ
โทมนัสในโลกได้
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ เพียงเท่านี้ พระผู้มี
พระภาคก็ชื่อว่าทรงทราบประโยชน์ และสิ่งที่มิใช่ประโยชน์ของสัตว์ทั้งหลาย ในเมื่อ
คนรกโลก คนเดนคน คนเจ้าเล่ห์ยังมีอยู่อย่างนี้ เป็นความจริงที่คนสอนยาก
สัตว์เลี้ยงฝึกง่าย เพราะข้าพระองค์สามารถให้ช้างที่ฝึกแล้วทำตามได้ เช่น ให้เดินไป
เดินมาในระหว่างกรุงจัมปาก็ได้ ให้ทำอาการต่าง ๆ คือ ยกชูขาหน้าทั้ง ๒ กลิ้ง
คู้เข่า ย่อตัวได้ทุกอย่าง แต่เหล่าชน คือ ทาสก็ดี คนรับใช้ก็ดี คนงานก็ดีของ
ข้าพระองค์ ทำอย่างหนึ่ง พูดอย่างหนึ่ง คิดอีกอย่างหนึ่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ เพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคก็ชื่อว่าทรงทราบ
ประโยชน์และสิ่งที่มิใช่ประโยชน์ของสัตว์ทั้งหลาย ในเมื่อคนรกโลก คนเดนคน
คนเจ้าเล่ห์ยังมีอยู่อย่างนี้ เป็นความจริงที่คนสอนยาก สัตว์เลี้ยงฝึกง่าย”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑. กันทรกสูตร

บุคคล ๔ ประเภท

[๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ข้อนี้เป็นอย่างนั้น เปสสะ ข้อนี้เป็นอย่างนั้น
เปสสะ คนสอนยาก สัตว์เลี้ยงฝึกง่าย บุคคล ๔ ประเภท๑นี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ ประเภท ไหนบ้าง
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้
๑. เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน
๒. เป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน
๓. เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน
และเป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน
๔. เป็นผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน
และเป็นผู้ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้
เดือดร้อน
บุคคลผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อนนั้น เป็นผู้ไม่หิว๒ดับร้อน
เย็นใจ มีตนอันประเสริฐ เสวยสุขอยู่ในปัจจุบัน
เปสสะ บรรดาบุคคล ๔ ประเภทนี้ ท่านชอบใจบุคคลประเภทไหนเล่า”
นายเปสสะบุตรของควาญช้างกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์
ไม่ชอบใจบุคคลผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน
ข้าพระองค์ไม่ชอบใจบุคคลผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่น
ให้เดือดร้อน ข้าพระองค์ไม่ชอบใจบุคคลผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการ
ทำตนให้เดือดร้อน และเป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑. กันทรกสูตร

เดือดร้อน ข้าพระองค์ชอบใจบุคคลผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการ
ทำตนให้เดือดร้อน และเป็นผู้ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำผู้อื่น
ให้เดือดร้อน (เพราะ)บุคคลผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อนนั้น เป็นผู้
ไม่หิว ดับร้อน เย็นใจ มีตนอันประเสริฐ เสวยสุขอยู่ในปัจจุบัน”
[๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เปสสะ เพราะเหตุไรเล่า ท่านจึงไม่ชอบใจ
บุคคล ๓ ประเภทนี้”
นายเปสสะบุตรของควาญช้างกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคล
ผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน ชื่อว่าทำตนซึ่งรักสุข
เกลียดทุกข์ให้เดือดร้อน ให้ร้อนรุ่ม เพราะเหตุนี้ ข้าพระองค์จึงไม่ชอบใจบุคคลนี้
บุคคลผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ชื่อว่าทำ
ผู้อื่นซึ่งรักสุขเกลียดทุกข์ให้เดือดร้อน ให้ร้อนรุ่ม เพราะเหตุนี้ ข้าพระองค์จึงไม่ชอบ
ใจบุคคลนี้ ส่วนบุคคลผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน
และเป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ชื่อว่า
ทำตนและผู้อื่นซึ่งรักสุขเกลียดทุกข์ให้เดือดร้อน ให้ร้อนรุ่ม เพราะเหตุนี้ ข้าพระองค์
จึงไม่ชอบใจบุคคลนี้ บุคคลใดไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำตน
ให้เดือดร้อน และเป็นผู้ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้
เดือดร้อน บุคคลนั้นชื่อว่าไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นผู้ไม่หิว
ดับร้อน เย็นใจ มีตนอันประเสริฐ เสวยสุขอยู่ในปัจจุบัน เพราะเหตุนี้ ข้าพระองค์
จึงชอบใจบุคคลนี้ เอาเถิด บัดนี้ ข้าพระองค์ขอทูลลากลับ เพราะมีกิจ มีหน้าที่ที่จะ
ต้องทำอีกมาก พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เปสสะ เธอจงกำหนดเวลาที่สมควร ณ บัดนี้เถิด”
จากนั้น นายเปสสะบุตรของควาญช้างชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค
แล้วลุกจากที่นั่ง ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วจากไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑. กันทรกสูตร

[๖] ครั้งนั้น เมื่อนายเปสสะบุตรของควาญช้างจากไปไม่นาน พระผู้มีพระภาค
ได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย นายเปสสะบุตรของควาญช้าง
เป็นคนเฉลียวฉลาด๑ มีปัญญามาก๒ ถ้านายเปสสะบุตรของควาญช้างจะพึงนั่งสักครู่
เพียงชั่วเวลาที่เราจำแนกบุคคล ๔ ประเภทนี้โดยพิสดาร ก็จักได้รับประโยชน์อัน
ใหญ่หลวง๓ แต่ถึงจะฟังโดยสังเขปเพียงเท่านี้ นายเปสสะบุตรของควาญช้างก็ยังได้
รับประโยชน์อันใหญ่หลวง”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค บัดนี้เป็นกาลที่สมควร
ข้าแต่พระสุคต บัดนี้เป็นกาลที่สมควร ที่พระผู้มีพระภาคจะทรงจำแนกบุคคล
๔ ประเภทนี้โดยพิสดาร ภิกษุทั้งหลายได้สดับจากพระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจ
ให้ดี เราจักกล่าว”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
[๗] “บุคคลเป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน
เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นอเจลก(ประพฤติเปลือยกาย) ไม่มีมารยาท เลียมือ
เขาเชิญให้ไปรับอาหารก็ไม่ไป เขาเชิญให้หยุดรับอาหารก็ไม่หยุด ไม่รับอาหารที่เขา
แบ่งไว้ ไม่รับอาหารที่เขาทำเจาะจง ไม่ยินดีอาหารที่เขาเชิญ ไม่รับอาหารจาก
ปากหม้อ ไม่รับอาหารจากปากภาชนะ ไม่รับอาหารคร่อมธรณีประตู ไม่รับอาหาร
คร่อมท่อนไม้ ไม่รับอาหารคร่อมสาก ไม่รับอาหารของคน ๒ คนที่กำลังบริโภค
ไม่รับอาหารของหญิงมีครรภ์ ไม่รับอาหารของหญิงผู้กำลังให้บุตรดื่มนม ไม่รับอาหาร


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑. กันทรกสูตร

ของหญิงที่คลอเคลียชาย ไม่รับอาหารที่นัดแนะกันทำไว้ ไม่รับอาหารในที่เลี้ยงสุนัข
ไม่รับอาหารในที่มีแมลงวันไต่ตอมเป็นกลุ่ม ๆ ไม่กินปลา ไม่กินเนื้อ ไม่ดื่มสุรา
ไม่ดื่มเมรัย ไม่ดื่มยาดอง รับอาหารในเรือนหลังเดียว ยังชีพด้วยข้าวคำเดียว
รับอาหารในเรือน ๒ หลัง ยังชีพด้วยข้าว ๒ คำ ฯลฯ รับอาหารในเรือน ๗ หลัง
ยังชีพด้วยข้าว ๗ คำ ยังชีพด้วยอาหารในถาดน้อย ๑ ใบ ยังชีพด้วยอาหารใน
ถาดน้อย ๒ ใบ ฯลฯ ยังชีพด้วยอาหารในถาดน้อย ๗ ใบ กินอาหารที่เก็บไว้
ค้างคืน ๑ วัน กินอาหารที่เก็บไว้ค้างคืน ๒ วัน ฯลฯ กินอาหารที่เก็บไว้
ค้างคืน ๗ วัน ถือการบริโภคอาหาร ๑๕ วันต่อ ๑ มื้ออยู่ ด้วยประการอย่างนี้
เขาเป็นผู้กินผักดองเป็นอาหาร กินข้าวฟ่างเป็นอาหาร กินลูกเดือยเป็นอาหาร
กินกากข้าวเป็นอาหาร กินสาหร่ายเป็นอาหาร กินรำเป็นอาหาร กินข้าวตังเป็น
อาหาร กินกำยานเป็นอาหาร กินหญ้าเป็นอาหาร กินมูลโคเป็นอาหาร กินเหง้า
และผลไม้ป่าเป็นอาหาร บริโภคผลไม้หล่นยังชีพ เขานุ่งห่มผ้าป่าน นุ่งห่มผ้าแกมกัน
นุ่งห่มผ้าห่อศพ นุ่งห่มผ้าบังสุกุล นุ่งห่มผ้าเปลือกไม้ นุ่งห่มหนังเสือ นุ่งห่มหนังเสือ
มีเล็บ นุ่งห่มผ้าคากรอง นุ่งห่มผ้าเปลือกปอกรอง นุ่งห่มผ้าผลไม้กรอง นุ่งห่มผ้า
กัมพลผมมนุษย์ นุ่งห่มผ้ากัมพลขนสัตว์ นุ่งห่มผ้าขนปีกนกเค้า ถอนผมและหนวด
คือถือการถอนผมและหนวด ยืนอย่างเดียวไม่ยอมนั่ง เดินกระโหย่ง คือถือการเดิน
กระโหย่ง(เหยียบพื้นไม่เต็มเท้า) นอนบนหนาม คือถือการนอนบนหนาม อาบน้ำ
วันละ ๓ ครั้ง คือ ถือการลงอาบน้ำ๑ ถือการย่างและอบกายหลายรูปแบบอยู่
ด้วยประการอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เรียกว่า เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการ
ทำตนให้เดือดร้อน
[๘] บุคคลเป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้
เดือดร้อน เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ฆ่าแพะ ฆ่าสุกร ฆ่านก ฆ่าเนื้อ(เลี้ยงชีพ) เป็นคนโหดเหี้ยม
เป็นคนฆ่าปลา เป็นโจร เป็นคนฆ่าโจร เป็นคนฆ่าโค เป็นคนคุมเรือนจำ หรือบาง
พวกเป็นผู้ทำการทารุณ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑. กันทรกสูตร

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เรียกว่า เป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบใน
การทำผู้อื่นให้เดือดร้อน
[๙] บุคคลเป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน
และเป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็น
อย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นพระราชามหากษัตริย์ผู้ได้รับมูรธาภิเษก๑แล้วก็ดี
เป็นพราหมณมหาศาลก็ดี พระราชานั้นโปรดให้สร้างโรงบูชายัญหลังใหม่ ทางด้าน
ทิศตะวันออกแห่งพระนคร ปลงพระเกศาและพระมัสสุ ทรงนุ่งห่มหนังเสือมีเล็บ
ทรงทาพระวรกายด้วยเนยใสและน้ำมัน ทรงเกาพระปฤษฎางค์ด้วยเขามฤค เข้าไป
ยังโรงบูชายัญหลังใหม่พร้อมด้วยพระมเหสีและพราหมณ์ปุโรหิต บรรทมบนพื้นหญ้า
เขียวขจี มิได้ลาดด้วยเครื่องปูลาด ดำรงพระชนม์อยู่ด้วยน้ำนมเต้าที่ ๑ แห่งโค
แม่ลูกอ่อนที่มีอยู่ตัวเดียว พระมเหสีดำรงพระชนม์อยู่ด้วยน้ำนมเต้าที่ ๒ พราหมณ์
ปุโรหิตดำรงชีวิตอยู่ด้วยน้ำนมเต้าที่ ๓ ทรงบูชาไฟด้วยน้ำนมเต้าที่ ๔ ลูกโคมี
ชีวิตอยู่ด้วยน้ำนมที่เหลือ พระราชารับสั่งอย่างนี้ว่า ‘จงฆ่าโคตัวผู้ประมาณเท่านี้
บูชายัญ จงฆ่าลูกโคตัวผู้ประมาณเท่านี้บูชายัญ จงฆ่าลูกโคตัวเมียประมาณเท่านี้
บูชายัญ จงฆ่าแพะประมาณเท่านี้บูชายัญ จงฆ่าแกะประมาณเท่านี้บูชายัญ (จงฆ่าม้า
ประมาณเท่านี้บูชายัญ) จงตัดต้นไม้ประมาณเท่านี้เพื่อทำเสาบูชายัญ จงเกี่ยวหญ้า
ประมาณเท่านี้เพื่อลาดพื้น’ เหล่าชนผู้เป็นทาสก็ดี เป็นคนรับใช้ก็ดี เป็นคนงานก็ดี
ของพระราชานั้น ถูกอาชญาคุกคาม ถูกภัยคุกคาม มีน้ำตานองหน้า ร้องไห้ไป
ทำงานไป
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เรียกว่า เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการ
ทำตนให้เดือดร้อน และเป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้
เดือดร้อน


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑. กันทรกสูตร

พระพุทธคุณ

[๑๐] บุคคลเป็นผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำตน
ให้เดือดร้อน และเป็นผู้ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำผู้อื่น
ให้เดือดร้อน เขาไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นผู้ไม่หิว
ดับร้อน เย็นใจ มีตนอันประเสริฐ เสวยสุขอยู่ในปัจจุบัน เป็นอย่างไร
คือ ตถาคต๑อุบัติขึ้นมาในโลกนี้เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยตนเองโดยชอบ
เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ๒ ไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่าง
ยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระ
ผู้มีพระภาค๓ ตถาคตรู้แจ้งโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑. กันทรกสูตร

พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ด้วยตนเองแล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม
แสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด๑
ประกาศพรหมจรรย์๒พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วน คหบดี
บุตรคหบดี หรืออนุชน(คนผู้เกิดภายหลัง) ในตระกูลใดตระกูลหนึ่ง ได้สดับธรรม
นั้นแล้ว เกิดศรัทธาในตถาคต เมื่อมีศรัทธาย่อมตระหนักว่า ‘การอยู่ครองเรือนเป็น
เรื่องอึดอัด๓ เป็นทางมาแห่งธุลี๔ การบวชเป็นทางปลอดโปร่ง๕ การที่ผู้ครองเรือนจะ
ประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วนดุจสังข์ขัดไม่ใช่ทำได้ง่าย ทางที่ดี
เราควรโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต’
ต่อมา เขาละทิ้งกองโภคสมบัติน้อยใหญ่ และเครือญาติน้อยใหญ่ โกนผมและหนวด
นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑. กันทรกสูตร

สิกขาและสาชีพของภิกษุ๑

[๑๑] เขาเมื่อบวชแล้วอย่างนี้ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสิกขาและสาชีพ๒ของภิกษุ
ทั้งหลาย คือ
๑. ละ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑาวุธและศัสตราวุธ มีความ
ละอาย มีความเอ็นดู มุ่งหวังประโยชน์เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อยู่
๒. ละ เว้นขาดจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ รับเอาแต่
ของที่เขาให้ มุ่งหวังแต่ของที่เขาให้ ไม่เป็นขโมย เป็นคนสะอาดอยู่
๓. ละ พฤติกรรมอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์๓
เว้นห่างไกลจากเมถุนธรรม๔ อันเป็นกิจของชาวบ้าน
๔. ละ เว้นขาดจากการพูดเท็จ คือ พูดแต่คำสัตย์ ดำรงความสัตย์
มีถ้อยคำเป็นหลักเชื่อถือได้ ไม่หลอกลวงชาวโลก
๕. ละ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด คือ ฟังความจากฝ่ายนี้แล้วไม่ไป
บอกฝ่ายโน้นเพื่อทำลายฝ่ายนี้ หรือฟังความจากฝ่ายโน้นแล้วไม่มา
บอกฝ่ายนี้เพื่อทำลายฝ่ายโน้น สมานคนที่แตกกัน ส่งเสริมคนที่
ปรองดองกัน ชื่นชมยินดี เพลิดเพลินต่อผู้ที่สามัคคีกัน พูดแต่ถ้อยคำ
ที่สร้างสรรค์ความสามัคคี


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑. กันทรกสูตร

๖. ละ เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ คือ พูดแต่คำไม่มีโทษ ไพเราะ น่ารัก
จับใจ เป็นคำของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่พอใจ
๗. ละ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ คือ พูดถูกเวลา พูดคำจริง พูดอิง
ประโยชน์ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดคำที่มีหลักฐาน มีที่อ้างอิง
มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์ เหมาะแก่เวลา
๘. เว้นขาดจากการพรากพืชคาม๑ และภูตคาม๒
๙. ฉันมื้อเดียว ไม่ฉันตอนกลางคืน เว้นขาดจากการฉันในเวลาวิกาล๓
๑๐. เว้นขาดจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการละเล่นที่
เป็นข้าศึกแก่กุศล
๑๑. เว้นขาดจากการทัดทรง ประดับ ตกแต่งร่างกายด้วยพวงดอกไม้
ของหอมและเครื่องประทินผิว อันเป็นลักษณะแห่งการแต่งตัว
๑๒. เว้นขาดจากที่นอนสูงใหญ่
๑๓. เว้นขาดจากการรับทองและเงิน
๑๔. เว้นขาดจากการรับธัญญาหารดิบ๔


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑. กันทรกสูตร

๑๕. เว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ
๑๖. เว้นขาดจากการรับสตรีและกุมารี
๑๗. เว้นขาดจากการรับทาสหญิงและทาสชาย
๑๘. เว้นขาดจากการรับแพะและแกะ
๑๙. เว้นขาดจากการรับไก่และสุกร
๒๐. เว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า และลา
๒๑. เว้นขาดจากการรับเรือกสวน ไร่ นาและที่ดิน
๒๒. เว้นขาดจากการทำหน้าที่เป็นตัวแทนและผู้สื่อสาร
๒๓. เว้นขาดจากการซื้อการขาย
๒๔. เว้นขาดจากการโกงด้วยตาชั่ง ด้วยของปลอม และด้วยเครื่องตวงวัด
๒๕. เว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวง และการตลบตะแลง
๒๖. เว้นขาดจากการตัด(อวัยวะ) การฆ่า การจองจำ การตีชิงวิ่งราว การ
ปล้น และการขู่กรรโชก
ภิกษุนั้นเป็นผู้สันโดษด้วยจีวรพอคุ้มร่างกายและบิณฑบาตพออิ่มท้อง จะไป
ณ ที่ใด ๆ ก็ไปได้ทันที นกบินไป ณ ที่ใด ๆ ก็มีแต่ปีกเป็นภาระ แม้ฉันใด ภิกษุ
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรพอคุ้มร่างกายและบิณฑบาตพออิ่มท้อง
จะไป ณ ที่ใด ๆ ก็ไปได้ทันที ภิกษุนั้นประกอบด้วยอริยสีลขันธ์นี้แล้ว ย่อมเสวยสุข
อันปราศจากโทษในภายใน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑. กันทรกสูตร

การสำรวมอินทรีย์

[๑๒] ภิกษุนั้นเห็นรูปทางตาแล้วไม่รวบถือ๑ ไม่แยกถือ๒ ย่อมปฏิบัติเพื่อ
สำรวมจักขุนทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรมคืออภิชฌา
และโทมนัสครอบงำได้ จึงรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์
ฟังเสียงทางหู ...
ดมกลิ่นทางจมูก ...
ลิ้มรสทางลิ้น ...
ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ...
รู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้วไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์
ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้
จึงรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ภิกษุผู้ประกอบด้วยความสำรวม
อริยอินทรียสังวรนี้ ย่อมเสวยสุขอันไม่ระคนกับกิเลสในภายใน
ภิกษุนั้นทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู
การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตรและจีวร การฉัน การดื่ม
การเคี้ยว การลิ้ม การถ่ายอุจจาระปัสสาวะ การเดิน การยืน การนั่ง การนอน
การตื่น การพูด การนิ่ง


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑. กันทรกสูตร

การละนิวรณ์

[๑๓] ภิกษุนั้นประกอบด้วยอริยสีลขันธ์ อริยอินทรียสังวร และอริยสติ-
สัมปชัญญะนี้แล้วพักอยู่ ณ เสนาสนะเงียบสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา
ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง เธอกลับจากบิณฑบาตภายหลังฉันภัตตาหาร
เสร็จแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า เธอละอภิชฌา (ความ
เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น) ในโลก มีใจปราศจากอภิชฌาอยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์
จากอภิชฌา ละพยาบาทและความมุ่งร้าย มีจิตไม่พยาบาท มุ่งประโยชน์เกื้อกูล
สรรพสัตว์อยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากพยาบาทและความมุ่งร้าย ละถีนมิทธะ (ความ
หดหู่และเซื่องซึม) ปราศจากถีนมิทธะ กำหนดแสงสว่าง มีสติสัมปชัญญะอยู่ ชำระ
จิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะ ละอุทธัจจกุกกุจจะ(ความฟุ้งซ่านและความรำคาญใจ) เป็นผู้
ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบอยู่ภายใน ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะ ละวิจิกิจฉา
(ความลังเลสงสัย) ข้ามวิจิกิจฉาได้แล้ว ไม่มีวิจิกิจฉาในกุศลธรรมอยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์
จากวิจิกิจฉา

ฌาน ๔

ภิกษุนั้นละนิวรณ์ ๕ ประการนี้ ที่เป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต เป็นเครื่อง
ทอนกำลังปัญญาแล้ว สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน
ที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่
เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสในภายใน มีภาวะ
ที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่
เพราะปีติจางคลายไป มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย
บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข’
เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน บรรลุจตุตถฌาน
ที่ไม่มีทุกข์และไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑. กันทรกสูตร

วิชชา ๓

[๑๔] เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน๑ ปราศจาก
ความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้น
น้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง
๒ ชาติบ้าง ๓ ชาติบ้าง ๔ ชาติบ้าง ๕ ชาติบ้าง ๑๐ ชาติบ้าง ๒๐ ชาติบ้าง
๓๐ ชาติบ้าง ๔๐ ชาติบ้าง ๕๐ ชาติบ้าง ๑๐๐ ชาติบ้าง ๑,๐๐๐ ชาติบ้าง
๑๐๐,๐๐๐ ชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอัน
มากบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัป๒เป็นอันมากบ้างว่า ‘ในภพโน้น เรามี
ชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้น ๆ
จุติจากภพนั้นก็ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ
มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นจึงมาเกิดในภพนี้’
เธอระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้
[๑๕] เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจาก
ความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้น
น้อมจิตไปเพื่อจุตูปปาตญาณ เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง
งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่
สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า ‘หมู่สัตว์ที่ประกอบกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต
กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นผิด และชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นผิด


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑. กันทรกสูตร

พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก๑ แต่หมู่สัตว์ที่
ประกอบกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต ไม่กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นชอบ
และชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นชอบ พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปเกิด
ในสุคติโลกสวรรค์ เธอเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและ
ไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดีด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็น
ไปตามกรรม อย่างนี้แล
[๑๖] เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจาก
ความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้น
น้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย
นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้อาสวะ๒ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ
นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา’ เมื่อเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะ
ภวาสวะ และอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติ
สิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว๓ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว๔ ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็น
อย่างนี้อีกต่อไป๕’


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๒. อัฏฐกนาครสูตร

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เรียกว่า เป็นผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบ
ในการทำตนให้เดือดร้อน และเป็นผู้ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการ
ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เขาไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน จึงเป็นผู้ไม่หิว
ดับร้อน เย็นใจ มีตนอันประเสริฐเสวยสุขอยู่ในปัจจุบัน”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

กันทรกสูตรที่ ๑ จบ

๒. อัฏฐกนาครสูตร
ว่าด้วยธรรมเทศนาที่อัฏฐกนคร

[๑๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ เวฬุวคาม เขตกรุงเวสาลี สมัยนั้นแล
คหบดีชาวอัฏฐกนครชื่อทสมะ ได้เดินทางไปถึงเมืองปาตลีบุตรด้วยกิจที่ต้องทำ
บางอย่าง ครั้งนั้นแล ทสมคหบดีชาวอัฏฐกนครได้เข้าไปพบภิกษุรูปหนึ่งที่กุกกุฏาราม
ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามภิกษุนั้นว่า “ท่านขอรับ บัดนี้ ท่านพระอานนท์
อยู่ที่ไหน ข้าพเจ้าต้องการจะพบท่าน”
ภิกษุนั้นตอบว่า “คหบดี ท่านพระอานนท์นี้อยู่ ณ เวฬุวคาม เขตกรุงเวสาลี”
ครั้งนั้น ทสมคหบดีชาวอัฏฐกนครทำกิจที่ควรทำในเมืองปาตลีบุตรเสร็จแล้ว
ได้เข้าไปพบท่านพระอานนท์ถึงเวฬุวคาม เขตกรุงเวสาลี ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่สมควร
ได้เรียนถามท่านพระอานนท์ว่า
[๑๘] “ท่านอานนท์ ธรรมอันเป็นเอกซึ่งเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น
เป็นที่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้นไป และเป็นที่บรรลุธรรมเป็นแดนเกษม
จากโยคะอันยอดเยี่ยม ที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร
อุทิศกายและใจอยู่ ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระ
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้ชอบแล้ว มีอยู่หรือไม่หนอ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๒. อัฏฐกนาครสูตร

ท่านพระอานนท์ตอบว่า “คหบดี ธรรมอันเป็นเอกซึ่งเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิต
ที่ยังไม่หลุดพ้น เป็นที่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้นไป และเป็นที่
บรรลุธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม ที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับของภิกษุผู้
ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้ชอบแล้ว มีอยู่”
ทสมคหบดีถามว่า “ท่านอานนท์ ธรรมอันเป็นเอกซึ่งเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิต
ที่ยังไม่หลุดพ้น เป็นที่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้นไป และเป็นที่
บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม ที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับของภิกษุ
ผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้ชอบแล้ว เป็นอย่างไร”

รูปฌาน ๔

[๑๙] ท่านพระอานนท์ตอบว่า “คหบดี ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม
และอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจาก
วิเวกอยู่ ภิกษุนั้นย่อมเห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘แม้แต่ปฐมฌานนี้แลก็ถูกปรุงแต่งแล้ว
สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ถูกปรุงแต่งแล้ว สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา’ ภิกษุนั้น
ดำรงอยู่ในธรรม๑นั้นแล้ว ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย หากยังไม่ถึงความ
สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะเป็นโอปปาติกะ๒ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์๓(สังโยชน์


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๒. อัฏฐกนาครสูตร

เบื้องต่ำ) ๕ ประการสิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้น ๆ จักปรินิพพาน
ในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก
คหบดี ธรรมอันเป็นเอกแม้นี้แล ซึ่งเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น
เป็นที่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้นไป และเป็นที่บรรลุธรรมเป็นแดน
เกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม ที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร
อุทิศกายและใจอยู่ ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้ชอบแล้ว (๑)
[๒๐] คหบดี อีกประการหนึ่ง เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุ
ทุติยฌาน ฯลฯ อยู่ ภิกษุนั้นย่อมเห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘แม้แต่ทุติยฌานนี้แล
ก็ถูกปรุงแต่งแล้ว ฯลฯ และเป็นที่บรรลุธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม
ที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับ’ (๒)
อีกประการหนึ่ง เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุบรรลุตติยฌาน ฯลฯ อยู่ ภิกษุ
นั้นย่อมเห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘แม้แต่ตติยฌานนี้แลก็ถูกปรุงแต่งแล้ว ฯลฯ และ
เป็นที่บรรลุธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม ที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับ (๓)
อีกประการหนึ่ง เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน
ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อยู่ ภิกษุนั้นย่อมเห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘แม้แต่
จตุตถฌานนี้แลก็ถูกปรุงแต่งแล้ว ฯลฯ และเป็นที่บรรลุธรรมเป็นแดนเกษมจาก
โยคะอันยอดเยี่ยม ที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับ (๔)

อัปปมัญญา ๔

อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ...
ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่ว
ทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถาน ด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ๑ ไม่มีขอบเขต
ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ภิกษุนั้นย่อมเห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘แม้เมตตา-
เจโตวิมุตตินี้แลก็ถูกปรุงแต่งแล้ว ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ถูกปรุงแต่งแล้ว สิ่งนั้นไม่เที่ยง


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๒. อัฏฐกนาครสูตร

มีความดับไปเป็นธรรมดา’ ภิกษุนั้นดำรงอยู่ในธรรมนั้นแล้ว ฯลฯ และเป็นที่บรรลุ
ธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม ที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับ (๕)
อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีกรุณาจิต ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีมุทิตาจิต ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขาจิต แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ...
ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุก
หมู่เหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต
ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ภิกษุนั้นย่อมเห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘แม้อุเบกขา-
เจโตวิมุตตินี้ก็ถูกปรุงแต่งแล้ว ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ถูกปรุงแต่งแล้ว สิ่งนั้นไม่เที่ยง
มีความดับไปเป็นธรรมดา’ ภิกษุนั้นดำรงอยู่ในธรรมนั้นแล้ว ฯลฯ และเป็นที่บรรลุ
ธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม ที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับ (๖-๗-๘)

อรูปฌาน ๓

อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘อากาศ
หาที่สุดมิได้’ อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญา
โดยประการทั้งปวง ภิกษุนั้นย่อมเห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘แม้อากาสานัญจายตนฌาน
นี้แลก็ถูกปรุงแต่งแล้ว สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ถูกปรุงแต่งแล้ว สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไป
เป็นธรรมดา’ ภิกษุนั้นดำรงอยู่ในธรรมนั้นแล้ว ฯลฯ และเป็นที่บรรลุธรรมเป็นแดน
เกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม ที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับ (๙)
อีกประการหนึ่ง ภิกษุล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
วิญญาณัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ ภิกษุนั้นย่อม
เห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘แม้วิญญาณัญจายตนฌานนี้แลก็ถูกปรุงแต่งแล้ว สิ่งใดสิ่งหนึ่ง
ที่ถูกปรุงแต่งแล้ว สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา’ ภิกษุนั้นดำรงอยู่ใน
ธรรมนั้นแล้ว ฯลฯ และเป็นที่บรรลุธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม
ที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับ (๑๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๒. อัฏฐกนาครสูตร

อีกประการหนึ่ง ภิกษุล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
อากิญจัญญายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ ภิกษุนั้นย่อมเห็นประจักษ์ชัด
ดังนี้ว่า ‘แม้อากิญจัญญายตนฌานนี้แลก็ถูกปรุงแต่งแล้ว ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ถูก
ปรุงแต่งแล้ว สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา’ ภิกษุนั้นดำรงอยู่ในธรรม
นั้นแล้ว ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย หากยังไม่บรรลุความสิ้นไป
แห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะเป็นโอปปาติกะเพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป
ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้น ๆ จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจาก
โลกนั้นอีก
คหบดี ธรรมอันเป็นเอกแม้นี้แล ซึ่งเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น
เป็นที่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้นไป และเป็นที่บรรลุธรรมเป็น
แดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม ที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับของภิกษุผู้ไม่ประมาท
มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้ชอบแล้ว'' (๑๑)

ทสมคหบดีเลื่อมใสท่านพระอานนท์

[๒๑] เมื่อท่านพระอานนท์กล่าวอย่างนี้แล้ว ทสมคหบดีชาวอัฏฐกนครจึง
กล่าวว่า
“ท่านอานนท์ ข้าพเจ้าเมื่อแสวงหาประตูอมตธรรมประตูเดียวได้รับประตู
อมตธรรม ๑๑ ประตูคราวเดียวกัน เปรียบเหมือนบุรุษแสวงหาแหล่งขุมทรัพย์
ขุมเดียว พึงพบแหล่งขุมทรัพย์ ๑๑ ขุมคราวเดียวกัน ข้าพเจ้าจักสามารถทำตน
ให้ปลอดภัยได้โดยประตูอมตธรรม ๑๑ ประตูนี้ประตูใดประตูหนึ่ง เปรียบเหมือน
บุรุษมีเรือน ๑๑ ประตู เมื่อเรือนนั้นถูกไฟไหม้ บุรุษนั้นสามารถทำตนให้ปลอดภัย
ได้โดยประตูใดประตูหนึ่ง
ท่านอานนท์ ธรรมดาอัญเดียรถีย์เหล่านี้ยังแสวงหาทรัพย์บูชาอาจารย์ เพื่อ
อาจารย์ ส่วนข้าพเจ้าจักไม่ทำการบูชาท่านอานนท์ได้อย่างไร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๓. เสขปฏิปทาสูตร

ครั้งนั้นแล ทสมคหบดีชาวอัฏฐกนครนิมนต์ภิกษุสงฆ์ชาวเมืองปาตลีบุตร
และเชิญชาวเมืองเวสาลีให้ประชุมกัน แล้วอังคาสภิกษุสงฆ์นั้นให้อิ่มหนำสำราญด้วย
ของเคี้ยวของฉันอันประณีต ด้วยตนเอง นิมนต์ภิกษุให้ครองผ้ารูปละ ๑ คู่ นิมนต์
ท่านพระอานนท์ให้ครองไตรจีวร และได้ให้สร้างวิหาร ๕๐๐ หลังถวายท่านพระ
อานนท์ ดังนี้แล

อัฏฐกนาครสูตรที่ ๒ จบ

๓. เสขปฏิปทาสูตร
ว่าด้วยข้อปฏิบัติของพระเสขะ

[๒๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตกรุงกบิลพัสดุ์
แคว้นสักกะ สมัยนั้นแล ท้องพระโรงหลังใหม่ที่พวกเจ้าศากยะผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์
ทรงให้สร้างเสร็จได้ไม่นาน ยังไม่มีสมณะ พราหมณ์ หรือใคร ๆ ที่เป็นมนุษย์
เข้าพักอาศัย ต่อมา พวกเจ้าศากยะผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ได้เสด็จเข้าไปเฝ้าพระ
ผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ท้องพระโรงหลังใหม่ที่พวกเจ้า
ศากยะผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ให้สร้างเสร็จได้ไม่นาน ยังไม่มีสมณะ พราหมณ์ หรือ
ใคร ๆ ที่เป็นมนุษย์เข้าพักอาศัย ขอพระผู้มีพระภาคทรงใช้ท้องพระโรงนั้นเป็นปฐมฤกษ์
ด้วยเถิด พวกเจ้าศากยะกรุงกบิลพัสดุ์จะใช้ภายหลังที่พระผู้มีพระภาคทรงใช้เป็น
ปฐมฤกษ์แล้ว ข้อนั้นจะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุขแก่พวกเจ้าศากยะผู้ครอง
กรุงกบิลพัสดุ์ตลอดกาลนาน”
พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ ลำดับนั้น พวกเจ้าศากยะผู้
ครองกรุงกบิลพัสดุ์ ทรงทราบอาการที่พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์แล้ว จึงทรง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๓. เสขปฏิปทาสูตร

ลุกจากที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคกระทำประทักษิณแล้วเสด็จเข้าไปสู่
ท้องพระโรงหลังใหม่ แล้วจึงรับสั่งให้ปูลาดท้องพระโรงด้วยเครื่องลาดทั่วทุกแห่ง
ให้ปูลาดอาสนะ ตั้งหม้อน้ำ ตามประทีปน้ำมัน แล้วเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วได้ประทับยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายปูลาดท้องพระโรงด้วยเครื่องลาด
ทั่วทุกแห่ง ให้ปูลาดอาสนะ ตั้งหม้อน้ำ ตามประทีปน้ำมันแล้ว ขอพระผู้มีพระภาค
จงทรงกำหนดเวลาที่สมควร ณ บัดนี้เถิด พระพุทธเจ้าข้า”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไป
ยังท้องพระโรงพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ทรงล้างพระบาทแล้วเสด็จเข้าไปสู่ท้องพระโรง
ประทับนั่งพิงเสากลาง ผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก แม้ภิกษุสงฆ์ก็ล้างเท้าเข้าไป
สู่ท้องพระโรงนั่งพิงฝาด้านหลัง ผินหน้าไปทางทิศตะวันออก ณ เบื้องพระปฤษฎางค์
พระผู้มีพระภาค ส่วนพวกเจ้าศากยะผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ล้างพระบาทแล้ว เสด็จ
เข้าไปสู่ท้องพระโรงประทับนั่งพิงฝาด้านตะวันออก ผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันตก
ณ เบื้องพระพักตร์พระผู้มีพระภาค จากนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้พวกเจ้า
ศากยะผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญ
แกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาตลอดราตรี๑ แล้วรับสั่งเรียก
ท่านพระอานนท์มาตรัสว่า
‘อานนท์ เธอจงชี้แจงเสขปฏิปทา๒ให้แจ่มแจ้ง แก่พวกเจ้าศากยะผู้ครอง
กรุงกบิลพัสดุ์เถิด เราเมื่อยหลังจะขอพักสักหน่อย”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๓. เสขปฏิปทาสูตร

ท่านพระอานนท์๑ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว จากนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้
ปูผ้าสังฆาฏิเป็น ๔ ชั้น ทรงสำเร็จสีหไสยา๒ โดยพระปรัศว์เบื้องขวา ซ้อนพระบาท
เหลื่อมพระบาท ทรงมีสติสัมปชัญญะ กำหนดพระทัยพร้อมจะเสด็จลุกขึ้น
[๒๓] ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์เชิญเจ้าศากยมหานามะมาแล้วกล่าวว่า
“เจ้ามหานามะ พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล
คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย๓ รู้จักประมาณในการบริโภค ประกอบความเพียร
เครื่องตื่นอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วยสัทธรรม๔ ๗ ประการ เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อัน
เป็นธรรมอาศัยจิตอันยิ่ง เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ตามความปรารถนา
ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
[๒๔] พระอริยสาวกเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล เป็นอย่างไร
คือ พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์
เพียบพร้อมด้วยอาจาระและโคจร๕อยู่ มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทาน
ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
เจ้ามหานามะ พระอริยสาวกเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล เป็นอย่างนี้แล (๑)


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๓. เสขปฏิปทาสูตร

พระอริยสาวกเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นอย่างไร
คือ พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ เห็นรูปทางตาแล้วไม่รวบถือ ไม่แยกถือ
ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วจะเป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรมคือ
อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จึงรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์
ฟังเสียงทางหู...
ดมกลิ่นทางจมูก...
ลิ้มรสทางลิ้น...
ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย...
รู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้วไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์
ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วจะเป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้
จึงรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์
เจ้ามหานามะ พระอริยสาวกเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เป็น
อย่างนี้แล (๒)
พระอริยสาวกเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภค เป็นอย่างไร
คือ พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้วจึงกลืนกินอาหาร
ไม่ใช่เพื่อเล่น ไม่ใช่เพื่อมัวเมา ไม่ใช่เพื่อประดับ ไม่ใช่เพื่อตกแต่ง แต่กลืนกินอาหาร
เพียงเพื่อความดำรงอยู่ได้แห่งกายนี้ เพื่อให้กายนี้เป็นไปได้ เพื่อกำจัดความ
เบียดเบียน เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ ด้วยคิดเห็นว่า ‘เราจักกำจัดเวทนาเก่า
และจักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น ความดำเนินไปแห่งกาย ความไม่มีโทษ และการอยู่
ผาสุก จักมีแก่เรา’
เจ้ามหานามะ พระอริยสาวกเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภค เป็นอย่างนี้แล (๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๓. เสขปฏิปทาสูตร

พระอริยสาวกเป็นผู้ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอย่างต่อเนื่อง เป็นอย่างไร
คือ พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมที่เป็นเครื่อง
ขัดขวาง ด้วยการจงกรม ด้วยการนั่ง ตลอดวัน ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมที่เป็น
เครื่องขัดขวาง ด้วยการจงกรม ด้วยการนั่ง ตลอดปฐมยามแห่งราตรี นอนดุจ
ราชสีห์โดยข้างเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ กำหนดใจพร้อม
จะลุกขึ้นตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี ลุกขึ้นชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมที่เป็นเครื่อง
ขัดขวาง ด้วยการจงกรม ด้วยการนั่ง ตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี
เจ้ามหานามะ พระอริยสาวกเป็นผู้ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอย่างต่อเนื่อง
เป็นอย่างนี้แล (๔)

สัทธรรม ๗ ประการ

[๒๕] พระอริยสาวกเป็นผู้ประกอบด้วยสัทธรรม ๗ ประการ เป็นอย่างไร
คือ พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีศรัทธา คือ เชื่อการตรัสรู้ของพระตถาคตว่า ‘แม้เพราะ
เหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วย
พระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี
รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของ
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’
๒. เป็นผู้มีหิริ คือ ละอายกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ละอาย
การประกอบบาปอกุศลธรรม
๓. เป็นผู้มีโอตตัปปะ คือ สะดุ้งกลัวกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
สะดุ้งกลัวการประกอบบาปอกุศลธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๓. เสขปฏิปทาสูตร

๔. เป็นพหูสูต ทรงสุตะ๑ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมากซึ่งธรรมเหล่านี้
ที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงามในที่สุด
พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ ประกาศพรหมจรรย์บริสุทธิ์ บริบูรณ์
ครบถ้วน ทรงจำไว้ได้คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ
๕. เป็นผู้ปรารภความเพียร๒ เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อความถึงพร้อม
แห่งกุศลธรรม เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดทิ้งธุระ
ในกุศลธรรมทั้งหลาย
๖. เป็นผู้มีสติ คือ ประกอบด้วยสติและปัญญาที่ยิ่ง จำได้ ระลึกได้
อย่างแม่นยำถึงสิ่งที่ทำและคำที่พูดไว้แม้นานมาแล้ว


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๓. เสขปฏิปทาสูตร

๗. เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาที่เห็นความเกิดและความดับ
อันประเสริฐ ทำลายกิเลสให้ถึงความสิ้นสุดแห่งทุกข์โดยชอบ
เจ้ามหานามะ พระอริยสาวกเป็นผู้ประกอบด้วยสัทธรรม ๗ ประการ เป็น
อย่างนี้แล (๕-๑๑)
[๒๖] พระอริยสาวกเป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันเป็นธรรมอาศัยจิตอันยิ่ง เป็น
ธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันตามความปรารถนาได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่
ลำบาก เป็นอย่างไร
คือ พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว
บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารสงบ
ระงับไป บรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มี
วิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะปีติจางคลายไป มีอุเบกขา
มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลาย
สรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข’ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัส
และโทมนัสดับไปก่อน บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะ
อุเบกขาอยู่
เจ้ามหานามะ พระอริยสาวกเป็นผู้ได้ฌาน ๔ ซึ่งเป็นธรรมอาศัยจิตอันยิ่ง
เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันตามความปรารถนาได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
เป็นอย่างนี้แล (๑๒-๑๕)

อุปมาด้วยฟองไข่ที่แม่ไก่นอนกก

[๒๗] เจ้ามหานามะ เพราะพระอริยสาวกเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้ เป็น
ผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายอย่างนี้ เป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภคอย่างนี้
เป็นผู้ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอย่างต่อเนื่องอย่างนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยสัทธรรม
๗ ประการอย่างนี้ เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันเป็นธรรมอาศัยจิตอันยิ่ง เป็นธรรมเครื่อง
อยู่เป็นสุขในปัจจุบันตามปรารถนาได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบากอย่างนี้ พระอริย-

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๓. เสขปฏิปทาสูตร

สาวกนี้บัณฑิตสรรเสริญว่า เป็นผู้มีเสขปฏิปทา เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยคุณธรรมซึ่งเป็น
ดุจฟองไข่ไก่ที่ไม่เน่า เป็นผู้ควรแก่การทำลายกิเลสด้วยญาณ เป็นผู้ควรแก่การตรัสรู้
และควรแก่การบรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม ฟองไข่ของแม่ไก่
๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟองที่แม่ไก่นอนกกไว้อย่างดี ให้ความอบอุ่นอย่าง
สม่ำเสมอ ฟักแล้วอย่างดี แม้ว่าแม่ไก่นั้นจะไม่เกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า
‘ทำอย่างไรหนอ ขอลูกไก่เหล่านี้พึงใช้ปลายเล็บหรือจะงอยปากเจาะทำลายเปลือก
ไข่ออกมาได้โดยสวัสดิภาพ’ ก็ตาม ถึงอย่างนั้น ลูกไก่เหล่านั้นก็ต้องเจาะทำลาย
เปลือกไข่ด้วยปลายเล็บหรือจะงอยปากออกมาโดยสวัสดิภาพได้ แม้ฉันใด พระอริย-
สาวกก็ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้ เป็นผู้คุ้มครองทวาร
ในอินทรีย์ทั้งหลายอย่างนี้ เป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภคอย่างนี้ เป็นผู้ประกอบ
ความเพียรเครื่องตื่นอย่างต่อเนื่องอย่างนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยสัทธรรม ๗ ประการ
อย่างนี้ เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันเป็นธรรมอาศัยจิตอันยิ่ง เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขใน
ปัจจุบันตามความปรารถนาได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบากอย่างนี้
เจ้ามหานามะ พระอริยสาวกนี้บัณฑิตสรรเสริญว่า เป็นผู้มีเสขปฏิปทา เป็น
ผู้ถึงพร้อมด้วยคุณธรรมซึ่งเป็นดุจฟองไข่ไก่ที่ไม่เน่า เป็นผู้ควรแก่การทำลายกิเลส
ด้วยญาณ เป็นผู้ควรแก่การตรัสรู้ และควรแก่การบรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจาก
โยคะอันยอดเยี่ยม
[๒๘] เจ้ามหานามะ พระอริยสาวกนั้นอาศัยจตุตถฌาน มีสติบริสุทธิ์
เพราะอุเบกขาที่ยอดเยี่ยมนี้เท่านั้น ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง
๒ ชาติบ้าง ฯลฯ๑ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติ
อย่างนี้ นี้เป็นการทำลายกิเลสด้วยญาณข้อที่ ๑ ของพระอริยสาวกนั้น เปรียบเหมือน
ลูกไก่ออกจากเปลือกไข่ได้ ฉะนั้น (๑)
เจ้ามหานามะ พระอริยสาวกนั้นอาศัยจตุตถฌาน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา
ที่ยอดเยี่ยมนี้เท่านั้น เห็นหมู่สัตว์ ฯลฯ๒ ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ เธอรู้ชัด


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๓. เสขปฏิปทาสูตร

ถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม นี้เป็นการทำลายกิเลสด้วยญาณข้อที่ ๒ ของพระ
อริยสาวกนั้น เปรียบเหมือนลูกไก่ออกจากเปลือกไข่ได้ ฉะนั้น (๒)
เจ้ามหานามะ พระอริยสาวกนั้นอาศัยจตุตถฌาน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา
ที่ยอดเยี่ยมนี้เท่านั้น ย่อมทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ๑ ปัญญาวิมุตติ๒อันไม่มีอาสวะ
เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน นี้เป็นการทำลายกิเลส
ด้วยญาณข้อที่ ๓ ของพระอริยสาวกนั้น เปรียบเหมือนลูกไก่ออกจากเปลือกไข่ได้
ฉะนั้น (๓)

ผู้เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ

[๒๙] เจ้ามหานามะ การที่พระอริยสาวกเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีลแม้นี้ ก็เป็น
จรณะ๓ของพระอริยสาวกประการหนึ่ง
การที่พระอริยสาวกเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายแม้นี้ ก็เป็นจรณะ
ของพระอริยสาวกประการหนึ่ง
การที่พระอริยสาวกเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภคแม้นี้ ก็เป็นจรณะของ
พระอริยสาวกประการหนึ่ง


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๓. เสขปฏิปทาสูตร

การที่พระอริยสาวกเป็นผู้ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอย่างต่อเนื่องแม้นี้
ก็เป็นจรณะของพระอริยสาวกประการหนึ่ง
การที่พระอริยสาวกเป็นผู้ประกอบด้วยสัทธรรม ๗ ประการแม้นี้ ก็เป็นจรณะ
ของพระอริยสาวกประการหนึ่ง
การที่พระอริยสาวกเป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันเป็นธรรมอาศัยจิตอันยิ่ง เป็นธรรม
เครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันตามความปรารถนาได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบากแม้นี้
ก็เป็นจรณะของพระอริยสาวกประการหนึ่ง
การที่พระอริยสาวกระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง
ฯลฯ๑ เธอระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้
แม้นี้ ก็เป็นวิชชาของพระอริยสาวกประการหนึ่ง
การที่พระอริยสาวกเห็นหมู่สัตว์ ฯลฯ๒ ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์
เธอรู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมแม้นี้ ก็เป็นวิชชาของพระอริยสาวกประการหนึ่ง
การที่พระอริยสาวกทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะ
อาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบันแม้นี้ ก็เป็นวิชชาของพระ
อริยสาวกประการหนึ่ง
เจ้ามหานามะ พระอริยสาวกนี้บัณฑิตสรรเสริญว่า เป็นผู้เพียบพร้อมด้วย
วิชชาแม้เพราะเหตุนี้ เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยจรณะแม้เพราะเหตุนี้ เป็นผู้เพียบพร้อม
ด้วยวิชชาและจรณะแม้เพราะเหตุนี้


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๓. เสขปฏิปทาสูตร

คาถาของพรหมชื่อสนังกุมาร

[๓๐] เจ้ามหานามะ แม้พรหมชื่อสนังกุมาร ก็ได้กล่าวคาถานี้ว่า
‘ในหมู่ชนที่ถือตระกูลเป็นใหญ่
กษัตริย์จัดว่าประเสริฐที่สุด
ส่วนท่านผู้เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
จัดว่าเป็นผู้ประเสริฐที่สุดในหมู่เทวดาและมนุษย์‘๑
เจ้ามหานามะ พรหมชื่อสนังกุมารกล่าวคาถานั้นไว้ชอบ ไม่ใช่ไม่ชอบ กล่าวไว้
ถูกต้อง ไม่ใช่ไม่ถูกต้อง มีประโยชน์ ไม่ใช่ไม่มีประโยชน์ พระผู้มีพระภาคทรง
เห็นด้วยแล้ว”
จากนั้น พระผู้มีพระภาคทรงลุกขึ้น แล้วตรัสกับท่านพระอานนท์ว่า “ดีละ
ดีละ อานนท์ ดีจริง อานนท์ เธอได้กล่าวเสขปฏิปทาแก่เจ้าศากยะทั้งหลายผู้ครอง
กรุงกบิลพัสดุ์”
ท่านพระอานนท์ได้กล่าวภาษิตนี้แล้ว พระศาสดาก็ทรงยินดี เจ้าศายกะ
ทั้งหลายผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ ก็ทรงมีใจยินดีต่างชื่นชมภาษิตของท่านพระอานนท์
ดังนี้แล

เสขปฏิปทาสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๔. โปตลิยสูตร

๔. โปตลิยสูตร
ว่าด้วยคหบดีชื่อโปตลิยะ

[๓๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวอังคุตตราปะชื่ออาปณะ
แคว้นอังคุตตราปะ ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตร
และจีวรเสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังอาปณนิคม ทรงเที่ยวบิณฑบาตในอาปณนิคมแล้ว
เสด็จกลับจากบิณฑบาตภายหลังเสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว ทรงเข้าไปยังราวป่า
แห่งหนึ่งเพื่อพักผ่อนกลางวัน แล้วประทับนั่งพักกลางวัน ณ โคนไม้แห่งหนึ่ง
แม้โปตลิยคหบดีเองก็เช่นกัน นุ่งห่มเรียบร้อยกางร่มสวมรองเท้า เดินเที่ยวเล่นอยู่
ได้เข้าไปยังราวป่านั้นแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัย
พอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาค
ได้ตรัสกับโปตลิยคหบดีว่า “คหบดี ที่นั่งมีอยู่ ถ้าท่านประสงค์ ก็เชิญนั่งเถิด”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสเชิญอย่างนี้แล้ว โปตลิยคหบดีโกรธ น้อยใจว่า
“พระสมณโคดมตรัสเรียกเราด้วยคำว่า ‘คหบดี’ จึงทำเฉยเสีย
แม้ครั้งที่ ๒ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสเรียกโปตลิยคหบดีว่า “คหบดี ที่นั่งมีอยู่
ถ้าท่านประสงค์ ก็เชิญนั่งเถิด”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสเชิญอย่างนี้แล้ว โปตลิยคหบดีโกรธ น้อยใจว่า
“พระสมณโคดมตรัสเรียกเราด้วยคำว่า ‘คหบดี’ จึงทำเฉยเสีย
แม้ครั้งที่ ๓ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสเรียกโปตลิยคหบดีว่า “คหบดี ที่นั่งมีอยู่
ถ้าท่านประสงค์ ก็เชิญนั่งเถิด”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสเชิญอย่างนี้แล้ว โปตลิยคหบดีโกรธ น้อยใจว่า
“พระสมณโคดม ตรัสเรียกเราด้วยคำว่า ‘คหบดี' แล้วจึงกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ว่า “ท่านพระโคดม พระดำรัสที่พระองค์ตรัสเรียกข้าพระองค์ด้วยคำว่า ‘คหบดี’ นั้น
ไม่เหมาะ ไม่ควรเลย”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๔. โปตลิยสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “คหบดี กิริยาของท่าน ท่าทางของท่าน ลักษณะ
ของท่านเหล่านั้น บ่งว่าเป็นกิริยา ท่าทาง ลักษณะของคหบดีอยู่”
“ใช่แล้ว ท่านพระโคดม แต่ข้าพระองค์ละทิ้งการงานทุกอย่างแล้ว ตัดขาด
โวหารทุกอย่างแล้ว”
“คหบดี ท่านละทิ้งการงานทุกอย่าง ตัดขาดโวหารทุกอย่าง อย่างไรเล่า”
“ท่านพระโคดม ขอประทานวโรกาส ทรัพย์ก็ดี ธัญชาติก็ดี เงินก็ดี ทองก็ดี
ที่มีอยู่ทั้งหมด ข้าพระองค์มอบให้เป็นมรดกแก่บุตรทั้งหลาย ข้าพระองค์ไม่ต้อง
แนะนำ ไม่ต้องตักเตือนพวกเขาในสิ่งนั้น ๆ ข้าพระองค์มีเพียงอาหารและเครื่องนุ่งห่ม
ก็พอแล้ว ท่านพระโคดม ข้าพระองค์ละทิ้งการงานทุกอย่าง ตัดขาดโวหารทุกอย่าง
อย่างนี้แล”
“คหบดี การตัดขาดโวหารที่ท่านพูดมา เป็นอย่างหนึ่ง แต่การตัดขาดโวหาร
ในอริยวินัย เป็นอีกอย่างหนึ่ง”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็การตัดขาดโวหารในอริยวินัย เป็นอย่างไรเล่า
ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรม คือการตัดขาดโวหารใน
อริยวินัย แก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด”
“คหบดี ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
โปตลิยคหบดีทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๔. โปตลิยสูตร

การตัดโวหาร ๘ ประการ

[๓๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “คหบดี ธรรม ๘ ประการนี้ เป็นไปเพื่อการ
ตัดขาดโวหาร๑ในอริยวินัย
ธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. บุคคลพึงละการฆ่าสัตว์ได้ เพราะอาศัยการไม่ฆ่าสัตว์
๒. บุคคลพึงละการลักทรัพย์ได้ เพราะอาศัยการไม่ลักทรัพย์
๓. บุคคลพึงละการพูดเท็จได้ เพราะอาศัยการพูดจริง
๔. บุคคลพึงละการพูดส่อเสียดได้ เพราะอาศัยการไม่พูดส่อเสียด
๕. บุคคลพึงละความโลภคือความกำหนัดยินดีได้ เพราะอาศัยความไม่โลภ
คือความไม่กำหนัดยินดี
๖. บุคคลพึงละการนินทาและการประทุษร้ายได้ เพราะอาศัยการไม่นินทา
และการไม่ประทุษร้าย
๗. บุคคลพึงละความโกรธแค้นได้ เพราะอาศัยความไม่โกรธแค้น
๘. บุคคลพึงละความดูหมิ่นได้ เพราะอาศัยความไม่ดูหมิ่น
คหบดี ธรรม ๘ ประการนี้แล เรากล่าวโดยย่อ มิได้จำแนกให้พิสดาร ย่อม
เป็นไปเพื่อการตัดขาดโวหารในอริยวินัย”
โปตลิยคหบดีกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๘ ประการนี้ พระผู้มี
พระภาคตรัสไว้โดยย่อ มิได้จำแนกให้พิสดาร ย่อมเป็นไปเพื่อการตัดขาดโวหาร
ในอริยวินัย ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดอนุเคราะห์จำแนกธรรม
๘ ประการนี้ให้พิสดารแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๔. โปตลิยสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “คหบดี ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
โปตลิยคหบดีทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
[๓๓] “เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘บุคคลพึงละการฆ่าสัตว์ได้ เพราะ
อาศัยการไม่ฆ่าสัตว์’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ฆ่าสัตว์เพราะ
เหตุแห่งสังโยชน์เหล่าใด เราพึงปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์เหล่านั้นเสีย
อนึ่ง เราเป็นผู้ฆ่าสัตว์ แม้ตนเองก็ยังติเตียนตนได้เพราะการฆ่าสัตว์เป็นปัจจัย
ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วติเตียนได้๑ เพราะการฆ่าสัตว์เป็นปัจจัย หลังจากตายแล้วทุคติเป็น
อันหวังได้เพราะการฆ่าสัตว์เป็นปัจจัย’ การฆ่าสัตว์นั่นเองเป็นสังโยชน์ เป็นนิวรณ์๒
อนึ่ง อาสวะและความเร่าร้อนที่ทำความคับแค้นเหล่าใด จะพึงเกิดขึ้นเพราะ
การฆ่าสัตว์เป็นปัจจัย เมื่อบุคคลเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์แล้ว อาสวะและความเร่าร้อน
ที่ทำความคับแค้น๓ เหล่านั้นจะไม่มี คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘บุคคลพึงละการฆ่าสัตว์ได้
เพราะอาศัยการไม่ฆ่าสัตว์’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้
[๓๔] เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘บุคคลพึงละการลักทรัพย์ได้เพราะ
อาศัยการไม่ลักทรัพย์’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ลักทรัพย์เพราะ
เหตุแห่งสังโยชน์เหล่าใด เราพึงปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์เหล่านั้นเสีย


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๔. โปตลิยสูตร

อนึ่ง เราเป็นผู้ลักทรัพย์ แม้ตนเองก็ยังติเตียนตนได้เพราะการลักทรัพย์เป็น
ปัจจัย ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วพึงติเตียนได้เพราะการลักทรัพย์เป็นปัจจัย หลังจากตาย
แล้วทุคติเป็นอันหวังได้เพราะการลักทรัพย์เป็นปัจจัย’ การลักทรัพย์นั่นเองเป็น
สังโยชน์ เป็นนิวรณ์
อนึ่ง อาสวะและความเร่าร้อนที่ทำความคับแค้นเหล่าใด จะพึงเกิดขึ้นเพราะ
การลักทรัพย์เป็นปัจจัย เมื่อบุคคลเว้นขาดจากการลักทรัพย์แล้ว อาสวะและความ
เร่าร้อนที่ทำความคับแค้นเหล่านั้นจะไม่มี คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘บุคคลพึงละการ
ลักทรัพย์ได้ เพราะอาศัยการไม่ลักทรัพย์’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้
[๓๕] เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘บุคคลพึงละการพูดเท็จได้ เพราะอาศัย
การพูดจริง’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘เราเป็นผู้พูดเท็จเพราะ
เหตุแห่งสังโยชน์เหล่าใด เราพึงปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์เหล่านั้นเสีย
อนึ่ง เราเป็นผู้พูดเท็จ แม้ตนเองก็ยังติเตียนตนได้เพราะการพูดเท็จเป็นปัจจัย
ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วพึงติเตียนได้เพราะการพูดเท็จเป็นปัจจัย หลังจากตายแล้วทุคติ
เป็นอันหวังได้เพราะการพูดเท็จเป็นปัจจัย’ การพูดเท็จนั่นเองเป็นสังโยชน์ เป็นนิวรณ์
อนึ่ง อาสวะและความเร่าร้อนที่ทำความคับแค้นเหล่าใด จะพึงเกิดขึ้นเพราะ
การพูดเท็จเป็นปัจจัย เมื่อบุคคลเว้นขาดจากการพูดเท็จแล้ว อาสวะและความ
เร่าร้อนที่ทำความคับแค้นเหล่านั้นจะไม่มี คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘บุคคลพึงละการ
พูดเท็จได้ เพราะอาศัยการพูดจริง’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้
[๓๖] เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘บุคคลพึงละการพูดส่อเสียดได้ เพราะ
อาศัยการไม่พูดส่อเสียด’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘เราเป็นผู้พูดส่อเสียด
เพราะเหตุแห่งสังโยชน์เหล่าใด เราพึงปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์เหล่านั้นเสีย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๔. โปตลิยสูตร

อนึ่ง เราเป็นผู้พูดส่อเสียด แม้ตนเองก็ยังติเตียนตนได้เพราะการพูดส่อเสียด
เป็นปัจจัย ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วพึงติเตียนได้เพราะการพูดส่อเสียดเป็นปัจจัย หลังจาก
ตายแล้ว ทุคติเป็นอันหวังได้เพราะการพูดส่อเสียดเป็นปัจจัย’ การพูดส่อเสียด
นั่นเองเป็นสังโยชน์ เป็นนิวรณ์
อนึ่ง อาสวะและความเร่าร้อนที่ทำความคับแค้นเหล่าใด จะพึงเกิดขึ้นเพราะ
การพูดส่อเสียดเป็นปัจจัย เมื่อบุคคลเว้นขาดจากการพูดส่อเสียดแล้ว อาสวะและ
ความเร่าร้อนที่ทำความคับแค้นเหล่านั้นจะไม่มี คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘บุคคลพึงละการ
พูดส่อเสียดได้ เพราะอาศัยการไม่พูดส่อเสียด’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้
[๓๗] เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘บุคคลพึงละความโลภคือความกำหนัด
ยินดีได้ เพราะอาศัยความไม่โลภคือความไม่กำหนัดยินดี’ เพราะอาศัยเหตุอะไร
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘เราเป็นผู้มีความโลภคือ
ความกำหนัดยินดีเพราะเหตุแห่งสังโยชน์เหล่าใด เราพึงปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัด
สังโยชน์เหล่านั้นเสีย
อนึ่ง เราเป็นผู้มีความโลภคือความกำหนัดยินดี แม้ตนเองก็ยังติเตียนตนได้
เพราะความโลภคือความกำหนัดยินดีเป็นปัจจัย ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วพึงติเตียนได้
เพราะความโลภคือความกำหนัดยินดีเป็นปัจจัย หลังจากตายแล้วทุคติเป็นอันหวังได้
เพราะความโลภคือความกำหนัดยินดีเป็นปัจจัย’ ความโลภคือความกำหนัดยินดี
นั่นเองเป็นสังโยชน์ เป็นนิวรณ์
อนึ่ง อาสวะและความเร่าร้อนที่ทำความคับแค้นเหล่าใด จะพึงเกิดขึ้นเพราะ
ความโลภคือความกำหนัดยินดีเป็นปัจจัย เมื่อบุคคลเว้นขาดจากความโลภคือความ
กำหนัดยินดี อาสวะและความเร่าร้อนที่ทำความคับแค้นเหล่านั้นจะไม่มี คำที่เรา
กล่าวไว้ว่า ‘บุคคลพึงละความโลภคือความกำหนัดยินดีได้ เพราะอาศัยความไม่โลภ
คือความไม่กำหนัดยินดี’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๔. โปตลิยสูตร

[๓๘] เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘บุคคลพึงละการนินทาและการประทุษ-
ร้ายได้ เพราะอาศัยการไม่นินทาและการไม่ประทุษร้าย’ เพราะอาศัยเหตุอะไร
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘เราเป็นผู้มีการนินทาและ
การประทุษร้ายเพราะเหตุแห่งสังโยชน์เหล่าใด เราพึงปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์
เหล่านั้นเสีย
อนึ่ง เราเป็นผู้มีการนินทาและการประทุษร้าย แม้ตนเองก็ยังติเตียนตนได้
เพราะการนินทาและการประทุษร้ายเป็นปัจจัย ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วพึงติเตียนได้เพราะ
การนินทาและการประทุษร้ายเป็นปัจจัย หลังจากตายแล้วทุคติเป็นอันหวังได้เพราะ
การนินทาและการประทุษร้ายเป็นปัจจัย’ การนินทาและการประทุษร้ายนั่นเองเป็น
สังโยชน์ เป็นนิวรณ์
อนึ่ง อาสวะและความเร่าร้อนที่ทำความคับแค้นเหล่าใด จะพึงเกิดขึ้น
เพราะการนินทาและการประทุษร้ายเป็นปัจจัย เมื่อบุคคลไม่มีการนินทาและการ
ประทุษร้าย อาสวะและความเร่าร้อนที่ทำความคับแค้นเหล่านั้นจะไม่มี คำที่เรา
กล่าวไว้ว่า ‘บุคคลพึงละการนินทาและการประทุษร้ายได้ เพราะอาศัยการไม่นินทา
และการไม่ประทุษร้าย’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้
[๓๙] เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘บุคคลพึงละความโกรธแค้นได้
เพราะอาศัยความไม่โกรธแค้น’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘เราเป็นผู้มีความ
โกรธแค้น เพราะเหตุแห่งสังโยชน์เหล่าใด เราพึงปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์
เหล่านั้นเสีย
อนึ่ง เราเป็นผู้มีความโกรธแค้น แม้ตนเองก็ยังติเตียนตนได้เพราะความโกรธ
แค้นเป็นปัจจัย ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วพึงติเตียนได้เพราะความโกรธแค้นเป็นปัจจัย หลังจาก
ตายแล้วทุคติเป็นอันหวังได้ เพราะความโกรธแค้นเป็นปัจจัย’ ความโกรธแค้น
นั่นเองเป็นสังโยชน์ เป็นนิวรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๔. โปตลิยสูตร

อนึ่ง อาสวะและความเร่าร้อนที่ทำความคับแค้นเหล่าใด จะพึงเกิดขึ้นเพราะ
ความโกรธแค้นเป็นปัจจัย เมื่อบุคคลไม่มีความโกรธแค้น อาสวะและความเร่าร้อน
ที่ทำความโกรธแค้นเหล่านั้นจะไม่มี คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘บุคคลพึงละความโกรธแค้นได้
เพราะอาศัยความไม่โกรธแค้น’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้
[๔๐] เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘บุคคลพึงละความดูหมิ่นได้ เพราะ
อาศัยความไม่ดูหมิ่น’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ดูหมิ่นเพราะ
เหตุแห่งสังโยชน์เหล่าใด เราพึงปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์เหล่านั้นเสีย
อนึ่ง เราเป็นผู้ดูหมิ่น แม้ตนเองก็ยังติเตียนตนได้เพราะความดูหมิ่นเป็นปัจจัย
ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วพึงติเตียนได้เพราะความดูหมิ่นเป็นปัจจัย หลังจากตายแล้วทุคติ
เป็นอันหวังได้เพราะความดูหมิ่นเป็นปัจจัย’ ความดูหมิ่นนั่นเองเป็นสังโยชน์ เป็น
นิวรณ์
อนึ่ง อาสวะและความเร่าร้อนที่ทำความคับแค้นเหล่าใด จะพึงเกิดขึ้นเพราะ
ความดูหมิ่นเป็นปัจจัย เมื่อบุคคลไม่ดูหมิ่น อาสวะและความเร่าร้อนที่ทำความคับ
แค้นเหล่านั้นจะไม่มี คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘บุคคลพึงละความดูหมิ่นได้ เพราะอาศัย
ความไม่ดูหมิ่น’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้
[๔๑] คหบดี ธรรม ๘ ประการที่เป็นไปเพื่อละ เพื่อตัดขาดโวหารในอริยวินัย
เรากล่าวไว้โดยย่อ จำแนกไว้แล้วโดยพิสดาร แต่เพียงเท่านี้ยังไม่ชื่อว่าเป็นการตัด
ขาดโวหารทั้งสิ้นได้ครบถ้วนโดยประการทั้งปวงในอริยวินัย”
โปตลิยคหบดีทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อย่างไรเล่า จึงจะชื่อว่า
เป็นการตัดขาดโวหารทั้งสิ้น ได้ครบถ้วนโดยประการทั้งปวงในอริยวินัย ขอประทาน
วโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์ โดยวิธีที่จะตัดขาด
โวหารทั้งสิ้นได้ครบถ้วนโดยประการทั้งปวงในอริยวินัยด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “คหบดี ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี
เราจักกล่าว”
โปตลิยคหบดีทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเรื่องนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๔. โปตลิยสูตร

โทษแห่งกาม ๗ ประการ

[๔๒] “คหบดี เปรียบเหมือนสุนัขที่กำลังหิวโซ ยืนอยู่ใกล้เขียงของคนฆ่าโค
คนฆ่าโคหรือลูกมือของคนฆ่าโคผู้ชำนาญ โยนโครงกระดูกที่เชือดชำแหละเนื้อออก
หมดแล้ว แต่มีเลือดติดอยู่บ้างไปให้มัน ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร สุนัขตัวนั้น
เมื่อแทะโครงกระดูกที่เชือดชำแหละเนื้อออกหมดแล้ว แต่มีเลือดติดอยู่บ้างนั้น
จะบรรเทาความหิวได้บ้างไหม”
“ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะโครงกระดูกที่เชือดชำแหละเนื้อออกหมดแล้วนั้น แม้จะมีเลือดติด
อยู่บ้าง สุนัขนั้นก็จะพึงมีความเหน็ดเหนื่อยและความหิวมากขึ้นอีก พระพุทธเจ้าข้า”
“คหบดี อริยสาวกก็อย่างนั้นเหมือนกัน เห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘พระผู้มี
พระภาคตรัสกามทั้งหลายว่า มีอุปมาด้วยโครงกระดูก มีทุกข์มาก มีความคับแค้น
มาก โทษในกามเหล่านั้นมีอยู่มากยิ่ง’ ครั้นเห็นโทษแห่งกามนี้ตามความเป็นจริง
ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว จึงเว้นอุเบกขาที่มีอารมณ์ต่างกัน ที่อิงอาศัยอารมณ์
ต่างกัน แล้วเจริญอุเบกขาที่มีอารมณ์เดียว๑ ที่อิงอาศัยอารมณ์เดียว ซึ่งเป็นที่ดับไม่
เหลือแห่งความถือมั่นโลกามิสโดยประการทั้งปวง
[๔๓] คหบดี เปรียบเหมือนนกแร้ง นกตะกรุม หรือนกเหยี่ยว คาบชิ้นเนื้อ
บินไป ฝูงนกแร้งก็ดี ฝูงนกตะกรุมก็ดี ฝูงนกเหยี่ยวก็ดี พากันโผเข้าไปรุมจิกทึ้ง
ชิ้นเนื้อนั้น ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ถ้านกแร้ง นกตะกรุม หรือนกเหยี่ยวนั้น
ไม่รีบปล่อยชิ้นเนื้อนั้นเสีย มันอาจถึงตาย หรือได้รับทุกข์ปางตาย เพราะชิ้นเนื้อนั้น
เป็นเหตุใช่ไหม”
“ใช่ พระพุทธเจ้าข้า”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๔. โปตลิยสูตร

“คหบดี อริยสาวกก็อย่างนั้นเหมือนกัน เห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘พระผู้มี
พระภาคตรัสกามทั้งหลายว่า มีอุปมาด้วยชิ้นเนื้อ มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก
โทษในกามเหล่านั้นมีอยู่มากยิ่ง’ ครั้นเห็นโทษแห่งกามนี้ตามความเป็นจริง ด้วย
ปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว จึงเว้นอุเบกขาที่มีอารมณ์ต่างกัน ที่อิงอาศัยอารมณ์
ต่างกัน แล้วเจริญอุเบกขาที่มีอารมณ์เดียว ที่อิงอาศัยอารมณ์เดียว ซึ่งเป็นที่ดับ
ไม่เหลือแห่งความถือมั่นโลกามิสโดยประการทั้งปวง
[๔๔] คหบดี เปรียบเหมือนบุรุษถือคบหญ้าที่ไฟติดลุกโชนเดินทวนลมไป
ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ถ้าบุรุษนั้นไม่รีบปล่อยคบหญ้า ที่มีไฟติดลุกโชน
นั้นเสีย คบหญ้าที่มีไฟติดลุกโชนนั้นก็จะพึงไหม้มือ ไหม้แขน หรืออวัยวะน้อยใหญ่
ส่วนใดส่วนหนึ่งของเขา เขาอาจถึงตาย หรือได้รับทุกข์ปางตาย เพราะคบเพลิงนั้น
เป็นเหตุใช่ไหม”
“ใช่ พระพุทธเจ้าข้า”
“คหบดี อริยสาวกก็อย่างนั้นเหมือนกัน เห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘พระผู้มี
พระภาคตรัสกามทั้งหลายว่า มีอุปมาด้วยคบเพลิง มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก
โทษในกามเหล่านั้นมีอยู่มากยิ่ง’ ครั้นเห็นโทษของกามนี้ตามความเป็นจริง ด้วย
ปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว ฯลฯ เจริญอุเบกขา...
[๔๕] คหบดี เปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิงมีความลึกกว่า ๑ ชั่วบุรุษ เต็ม
ด้วยถ่านเพลิงที่ปราศจากเปลว ปราศจากควัน ลำดับนั้น บุรุษผู้หนึ่งเป็นคนรักชีวิต
ไม่อยากตาย รักสุขเกลียดทุกข์มาถึงเข้า มีชาย ๒ คนเป็นคนแข็งแรงช่วยกัน
จับแขนเขาข้างละคนฉุดเข้าไปยังหลุมถ่านเพลิง ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
คนผู้นั้นจะพึงน้อมกายเข้าไปอย่างนั้น ใช่ไหม”
“ไม่ใช่ พระพุทธเจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะบุรุษผู้นั้นรู้ว่า ‘ถ้าเราจักตกลงไปยังหลุมถ่านเพลิงนี้ อาจถึงตายหรือ
ได้รับทุกข์ปางตาย เพราะหลุมถ่านเพลิงนั้นเป็นเหตุ’ พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๔. โปตลิยสูตร

“คหบดี อริยสาวกก็อย่างนั้นเหมือนกัน เห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘พระผู้มี
พระภาคตรัสกามทั้งหลายว่า มีอุปมาด้วยหลุมถ่านเพลิง มีทุกข์มาก มีความ
คับแค้นมาก โทษในกามเหล่านั้นมีอยู่มากยิ่ง’ ครั้นเห็นโทษของกามนี้ตามความ
เป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว ฯลฯ เจริญอุเบกขา...
[๔๖] คหบดี คนฝันเห็นสวน ป่า สถานที่ สระโบกขรณี ที่น่ารื่นรมย์
เขาตื่นขึ้นมาก็ไม่เห็นอะไรเลย แม้ฉันใด อริยสาวกก็ฉันนั้นเหมือนกัน เห็นประจักษ์
ชัดดังนี้ว่า ‘พระผู้มีพระภาคตรัสกามทั้งหลายว่า มีอุปมาด้วยความฝัน มีทุกข์มาก
มีความคับแค้นมาก โทษในกามเหล่านั้นมีอยู่มากยิ่ง ฯลฯ เจริญอุเบกขา...
[๔๗] คหบดี เปรียบเหมือนคนยืมทรัพย์สมบัติคือแก้วมณีและกุณฑลอย่างดี
(ของบุคคลอื่น) นั่งยานพาหนะไป เขาสวมใส่ทรัพย์สมบัติที่ตนยืมมาไว้รอบตัว
เดินไประหว่างร้านค้าในตลาด ประชาชนเห็นเขาแล้วก็ซุบซิบกันอย่างนี้ว่า ‘คนนี้
รวยจริง พวกคนรวยเขาใช้สอยสมบัติกันอย่างนี้เอง’ พวกเจ้าของพบเขา ณ ที่ใด
ที่หนึ่งเข้า ก็จะพึงนำเอาของของตนคืนไปในที่นั้น ๆ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
สมควรไหมกับการที่คนผู้นั้นไม่แสดงอาการหวงแหนในทรัพย์สมบัติ”
“สมควร พระพุทธเจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะเจ้าของ(มีสิทธิ์) จะนำของของตนคืนไป พระพุทธเจ้าข้า”
“คหบดี อริยสาวกก็อย่างนั้นเหมือนกัน เห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘พระผู้มี
พระภาคตรัสกามทั้งหลายว่า มีอุปมาด้วยของขอยืม มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก
โทษในกามเหล่านั้นมีอยู่มากยิ่ง’ ฯลฯ เจริญอุเบกขา...
[๔๘] คหบดี เปรียบเหมือนราวป่าใหญ่ไม่ไกลจากหมู่บ้านหรือนิคม ต้นไม้
ในราวป่านั้นมีผลดกดาษดื่น แต่ยังไม่หล่นลงมาเลยสักผลเดียว ชายคนหนึ่งผู้
ต้องการผลไม้ เที่ยวเสาะแสวงหาผลไม้ เขามาถึงราวป่านั้น เห็นต้นไม้ที่มีผลดก
ดาษดื่นนั้น เขาคิดอย่างนี้ว่า ‘ต้นไม้นี้มีผลดกดาษดื่น แต่ไม่มีผลหล่นลงมาสัก
ผลเดียว แต่เรารู้วิธีปีนขึ้นต้นไม้ ทางที่ดี เราควรปีนขึ้นต้นไม้นี้แล้วกินพออิ่ม และ
ใส่พกให้เต็ม’ เขาจึงปีนขึ้นต้นไม้นั้นแล้วกินพออิ่มและใส่พกให้เต็ม ต่อมา ชายคนที่ ๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๔. โปตลิยสูตร

ต้องการผลไม้ถือขวานที่คมกริบเที่ยวเสาะแสวงหาผลไม้ เขามาถึงราวป่านั้น เห็น
ต้นไม้มีผลดกดาษดื่น เขาคิดอย่างนี้ว่า ‘ต้นไม้นี้มีผลดกดาษดื่น แต่ไม่มีผลหล่น
ลงมาสักผลเดียว และเราก็ไม่รู้วิธีปีนขึ้นต้นไม้ ทางที่ดี เราควรจะตัดต้นไม้นี้ที่โคนต้น
แล้วกินพออิ่มและใส่พกให้เต็ม’ เขาจึงตัดต้นไม้นั้นที่โคนต้น ท่านเข้าใจความข้อนั้น
ว่าอย่างไร ชายคนแรกโน้นที่ปีนขึ้นต้นไม้ก่อน ถ้าไม่รีบลงมา ต้นไม้ก็ล้มทับมือเท้า
หรืออวัยวะน้อยใหญ่ส่วนใดส่วนหนึ่งของเขาหักได้ เขาอาจถึงตายหรือได้รับทุกข์
ปางตาย เพราะต้นไม้นั้นเป็นเหตุใช่ไหม”
“ใช่ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “คหบดี อริยสาวกก็อย่างนั้นเหมือนกัน เห็นประจักษ์
ชัดดังนี้ว่า ‘พระผู้มีพระภาคตรัสกามทั้งหลายว่า มีอุปมาด้วยผลไม้ มีทุกข์มาก
มีความคับแค้นมาก โทษในกามเหล่านั้นมีอยู่มากยิ่ง’ ครั้นเห็นโทษของกามนี้ตาม
ความเป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว จึงเว้นอุเบกขาที่มีอารมณ์ต่างกัน
ที่อิงอาศัยอารมณ์ต่างกันแล้ว เจริญอุเบกขาที่มีอารมณ์เดียว ที่อิงอาศัยอารมณ์เดียว
ซึ่งเป็นที่ดับไม่เหลือแห่งความถือมั่นโลกามิสโดยประการทั้งปวง

วิชชา ๓

[๔๙] คหบดี อริยสาวกนี้นั้นแล อาศัยจตุตถฌานที่มีสติบริสุทธิ์เพราะ
อุเบกขาอันยอดเยี่ยมนี้ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง
ฯลฯ๑ เธอระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้
อริยสาวกนี้นั้นแล อาศัยจตุตถฌานที่มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอันยอดเยี่ยมนี้
เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและ
เกิดไม่ดี ฯลฯ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมอย่างนี้แล


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๔. โปตลิยสูตร

อริยสาวกนี้นั้นแล อาศัยจตุตถฌานที่มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอันยอดเยี่ยมนี้
ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป
ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
คหบดี เพียงเท่านี้แล ชื่อว่าเป็นการตัดขาดโวหารทั้งสิ้นได้ครบถ้วนโดยประการ
ทั้งปวงในอริยวินัย

โปตลิยคหบดีประกาศตนเป็นอุบาสก

[๕๐] คหบดี ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ท่านพิจารณาเห็นการตัดขาด
โวหารเห็นปานนี้ในตน เหมือนการตัดขาดโวหารทั้งสิ้นได้ครบถ้วนโดยประการทั้งปวง
ในอริยวินัย กระนั้นหรือ”
โปตลิยคหบดีกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์พิจารณาเห็นเช่นนั้น
กระไรได้ ซ้ำข้าพระองค์ยังกลับเป็นผู้ไกลจากการตัดขาดโวหารทั้งสิ้นได้ครบถ้วน โดย
ประการทั้งปวงในอริยวินัยเสียอีก เพราะเมื่อก่อนข้าพระองค์เข้าใจผิดพวกอัญเดียรถีย์
ปริพาชกผู้ไม่รู้ทั่วถึงว่า ‘เป็นผู้รู้ทั่วถึง’ ได้คบหาพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกผู้ไม่รู้ทั่วถึง
ว่า ‘คบหาบุคคลผู้รู้ทั่วถึง’ ได้ยกย่องพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกผู้ไม่รู้ทั่วถึงไว้ในฐานะ
แห่งบุคคลผู้รู้ทั่วถึง แต่กลับเข้าใจภิกษุทั้งหลายผู้รู้ทั่วถึงว่า ‘เป็นผู้ไม่รู้ทั่วถึง’ ได้คบหา
ภิกษุทั้งหลายผู้รู้ทั่วถึงว่า ‘คบหาบุคคลผู้ไม่รู้ทั่วถึง’ ได้ตั้งภิกษุทั้งหลายผู้รู้ทั่วถึงไว้ใน
ฐานะแห่งบุคคลผู้ไม่รู้ทั่วถึง แต่บัดนี้ ข้าพระองค์รู้จักพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกผู้ไม่รู้
ทั่วถึงว่า ‘เป็นผู้ไม่รู้ทั่วถึง’ คบหาพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกผู้ไม่รู้ทั่วถึงว่า ‘คบหา
บุคคลผู้ไม่รู้ทั่วถึง’ ตั้งพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกผู้ไม่รู้ทั่วถึงไว้ในฐานะแห่งบุคคลผู้
ไม่รู้ทั่วถึง แต่รู้จักภิกษุทั้งหลายผู้รู้ทั่วถึงว่า ‘เป็นผู้รู้ทั่วถึง’ คบหาภิกษุทั้งหลายผู้รู้
ทั่วถึงว่า ‘คบหาบุคคลผู้รู้ทั่วถึง’ ตั้งภิกษุทั้งหลายผู้รู้ทั่วถึงไว้ในฐานะแห่งบุคคลผู้รู้
ทั่วถึง พระผู้มีพระภาคทรงทำความรักสมณะให้เกิดในหมู่สมณะ ทรงทำความเลื่อมใส
สมณะให้เกิดในหมู่สมณะ ทรงทำความเคารพสมณะให้เกิดในหมู่สมณะ แก่ข้าพระองค์
แล้วหนอ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๕. ชีวกสูตร

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระผู้มีพระภาคทรง
ประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ
เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยตั้งใจว่า ‘คนมี
ตาดีจักเห็นรูปได้’ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค พร้อมทั้งพระธรรมและ
พระสงฆ์เป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต” ดังนี้แล

โปตลิยสูตรที่ ๔ จบ

๕. ชีวกสูตร
ว่าด้วยหมอชีวกโกมารภัจ

[๕๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ สวนมะม่วงของหมอชีวกโกมารภัจ
เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้นแล หมอชีวกโกมารภัจเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ฟังมาอย่างนี้ว่า ‘ชนทั้งหลายฆ่าสัตว์
เจาะจงถวายพระสมณโคดม พระสมณโคดมก็ทรงทราบการนั้น แต่ก็ยังเสวยเนื้อที่
เขาฆ่าเจาะจงพระองค์ ที่เขาอาศัยพระองค์ทำ’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชนเหล่าใดกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ชนทั้งหลายฆ่าสัตว์เจาะจง
ถวายพระสมณโคดม พระสมณโคดมก็ทรงทราบการนั้น แต่ก็ยังเสวยเนื้อที่เขาฆ่า
เจาะจงพระองค์ ที่เขาอาศัยพระองค์ทำ’ ชนเหล่านั้นจะชื่อว่าพูดตรงตามที่พระผู้มี
พระภาคตรัสไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำเท็จหรือ ชื่อว่ากล่าวแก้อย่าง
สมเหตุสมผลหรือ ไม่มีบ้างหรือที่คำกล่าวเช่นนั้นและคำที่กล่าวต่อ ๆ กันมา จะเป็น
เหตุให้ถูกตำหนิได้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๕. ชีวกสูตร

เนื้อที่ควรฉันและไม่ควรฉัน

[๕๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ชีวก ชนเหล่าใดกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ชนทั้งหลาย
ฆ่าสัตว์เจาะจงถวายพระสมณโคดม พระสมณโคดมก็ทรงทราบการนั้น แต่ก็ยัง
เสวยเนื้อที่เขาฆ่าเจาะจงพระองค์ ที่เขาอาศัยพระองค์ทำ’ ชนเหล่านั้นไม่ชื่อว่าพูด
ตรงตามที่เรากล่าวไว้ แต่ชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยคำเท็จ ที่ไม่มีอยู่
เรากล่าวเนื้อที่ภิกษุไม่ควรฉันไว้ด้วยเหตุ ๓ ประการ คือ
๑. เนื้อที่ตนเห็น๑
๒. เนื้อที่ตนได้ยิน
๓. เนื้อที่ตนสงสัย
รากล่าวเนื้อที่ภิกษุไม่ควรฉันไว้ด้วยเหตุ ๓ ประการนี้แล
เรากล่าวเนื้อที่ภิกษุควรฉันไว้ด้วยเหตุ ๓ ประการ คือ
๑. เนื้อที่ตนไม่เห็น
๒. เนื้อที่ตนไม่ได้ยิน
๓. เนื้อที่ตนไม่สงสัย
ชีวก เรากล่าวเนื้อที่ภิกษุควรฉันไว้ด้วยเหตุ ๓ ประการนี้แล

การแผ่เมตตา

[๕๓] ชีวก ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อาศัยบ้านหรือนิคมแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ เธอ
มีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน
ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถาน ด้วยเมตตาจิต
อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ด้วยประการ
อย่างนี้ คหบดีหรือบุตรคหบดีเข้าไปหาเธอแล้วนิมนต์เพื่อฉันภัตตาหารในวันรุ่งขึ้น


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๕. ชีวกสูตร

เมื่อภิกษุต้องการจึงรับนิมนต์ เมื่อล่วงราตรีนั้นไป ในเวลาเช้า เธอครองอันตรวาสก
ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังที่อยู่ของคหบดีหรือบุตรคหบดี นั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้แล้ว
คหบดีหรือบุตรคหบดีนั้นอังคาสเธอด้วยบิณฑบาตอันประณีต เธอไม่คิดอย่างนี้ว่า
‘ดีจริง คหบดีหรือบุตรคหบดีนี้พึงอังคาสเราด้วยบิณฑบาตอันประณีต’ ทั้งไม่คิด
อย่างนี้ว่า ‘ทำอย่างไรหนอ คหบดีหรือบุตรคหบดีจึงจะอังคาสเราด้วยบิณฑบาต
อันประณีตเช่นนี้ตลอดไป’ เธอไม่กำหนัด ไม่ยินดี ไม่รีบฉันบิณฑบาตนั้น มีปกติ
เห็นโทษ มีปัญญาเครื่องสลัดออกจากทุกข์ ฉันอยู่
ชีวก เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ในสมัยนั้น ภิกษุนั้นย่อมคิดเพื่อเบียดเบียน
ตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง หรือเพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้างหรือไม่”
“ไม่ พระพุทธเจ้าข้า”
“ในคราวนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่าฉันอาหารอันไม่มีโทษเลย ใช่หรือไม่”
“ใช่ พระพุทธเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ยินมาแล้วว่า
‘พรหมมีปกติอยู่ด้วยเมตตา’ คำกล่าวที่เพียงได้ยินมานี้ข้าพระองค์เห็นว่าพระผู้มี
พระภาคทรงเป็นพยานได้ เพราะพระผู้มีพระภาคเองก็ทรงมีปกติอยู่ด้วยเมตตา”
“ชีวก บุคคลจะพึงมีความพยาบาทเพราะราคะ โทสะ โมหะใด ราคะ โทสะ
โมหะนั้นตถาคตละได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว
เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
ชีวก หากเธอกล่าวหมายถึงการละราคะ โทสะ โมหะนี้ เราเห็นด้วย”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์กล่าวหมายถึงการละราคะ โทสะ โมหะ
นี้แล พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๕. ชีวกสูตร

การแผ่กรุณา มุทิตา และอุเบกขา

[๕๔] “ชีวก ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อาศัยบ้านหรือนิคมแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่
เธอมีกรุณาจิต ... มีมุทิตาจิต ... มีอุเบกขาจิต แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ...
ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่
เหล่าในที่ทุกสถาน ด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร
ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ด้วยประการอย่างนี้ คหบดีหรือบุตรคหบดีเข้าไปหาเธอ
แล้วนิมนต์เพื่อฉันภัตตาหารในวันรุ่งขึ้น เมื่อภิกษุต้องการจึงรับนิมนต์ เมื่อล่วงราตรี
นั้นไป ในเวลาเช้า เธอครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไปยังที่อยู่ของคหบดีหรือ
บุตรคหบดี นั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้แล้ว คหบดีหรือบุตรคหบดีอังคาสเธอด้วย
บิณฑบาตอันประณีต เธอไม่คิดอย่างนี้ว่า ‘ดีจริง คหบดีหรือบุตรคหบดีนี้พึงอังคาส
เราด้วยบิณฑบาตอันประณีต’ ทั้งไม่คิดอย่างนี้ว่า ‘ทำอย่างไรหนอ คหบดีหรือบุตร
คหบดีจึงจะอังคาสเราด้วยบิณฑบาตอันประณีต เช่นนี้ตลอดไป’ เธอไม่กำหนัด ไม่ยินดี
ไม่รีบฉันบิณฑบาตนั้น มีปกติเห็นโทษ มีปัญญาเครื่องสลัดออกจากทุกข์ ฉันอยู่
ชีวก เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ในสมัยนั้น ภิกษุนั้นย่อมคิดเพื่อเบียดเบียน
ตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่น หรือเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายหรือไม่”
“ไม่ พระพุทธเจ้าข้า”
“ในคราวนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่าฉันอาหารอันไม่มีโทษเลย ใช่หรือไม่”
“ใช่ พระพุทธเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ยินมาแล้วว่า
‘พรหมมีปกติอยู่ด้วยอุเบกขา’ คำกล่าวที่เพียงได้ยินมานี้ข้าพระองค์เห็นว่าพระผู้มี
พระภาคทรงเป็นพยานได้ เพราะพระผู้มีพระภาคเองก็ทรงมีปกติอยู่ด้วยอุเบกขา”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ชีวก บุคคลจะพึงมีความเบียดเบียน มีความไม่ยินดี
มีความกระทบกระทั่ง เพราะราคะ โทสะ โมหะใด ราคะ โทสะ โมหะนั้นตถาคต
ละได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่
ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๕. ชีวกสูตร

ชีวก หากเธอกล่าวหมายถึงการละราคะ โทสะ โมหะนี้ เราเห็นด้วย”
หมอชีวกโกมารภัจกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์กล่าว
หมายถึงการละราคะ โทสะ โมหะนี้แล พระพุทธเจ้าข้า”

ทำบุญได้บาปด้วยเหตุ ๕ ประการ

[๕๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ชีวก เหตุให้ประสพ๑สิ่งที่ไม่เป็นบุญ ๕ ประการ
ของบุคคลผู้ฆ่าสัตว์เจาะจงถวายตถาคตหรือสาวกของตถาคต คือ
๑. การที่เขากล่าวอย่างนี้ว่า ‘พวกท่านจงไปนำสัตว์ชนิดโน้นมา’ นี้เป็น
เหตุให้ประสพสิ่งที่ไม่เป็นบุญเป็นอันมากประการที่ ๑
๒. การที่สัตว์นั้นได้รับทุกข์โทมนัสขณะถูกผูกคอนำมา นี้เป็นเหตุให้
ประสพสิ่งที่ไม่เป็นบุญเป็นอันมากประการที่ ๒
๓. การที่เขากล่าวอย่างนี้ว่า ‘พวกท่านจงไปฆ่าสัตว์ชนิดนี้’ นี้เป็นเหตุ
ให้ประสพสิ่งที่ไม่เป็นบุญเป็นอันมากประการที่ ๓
๔. การที่สัตว์นั้นได้รับทุกข์โทมนัสขณะถูกฆ่า นี้เป็นเหตุให้ประสพสิ่งที่
ไม่เป็นบุญเป็นอันมากประการที่ ๔
๕. การที่เขาทำให้ตถาคตหรือสาวกของตถาคตยินดีด้วยเนื้อที่ไม่สมควร๒
นี้เป็นเหตุให้ประสพสิ่งที่ไม่เป็นบุญเป็นอันมากประการที่ ๕
ชีวก เหตุให้ประสพสิ่งที่ไม่เป็นบุญเป็นอันมาก ๕ ประการนี้แล ของบุคคล
ผู้ฆ่าสัตว์เจาะจงถวายตถาคตหรือสาวกของตถาคต”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว หมอชีวกโกมารภัจจึงกราบทูลว่า
“น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุทั้งหลายฉันเฉพาะภัตตาหาร


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๖. อุปาลิวาทสูตร

ที่สมควร ภิกษุทั้งหลายฉันเฉพาะอาหารที่ไม่มีโทษ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิต
ของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์
ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ
เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตาม
ประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มี
พระภาค พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำ
ข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต” ดังนี้แล

ชีวกสูตรที่ ๕ จบ

๖. อุปาลิวาทสูตร
ว่าด้วยวาทะของคหบดีชื่ออุบาลี

[๕๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปาวาริกัมพวัน เขตเมืองนาลันทา
สมัยนั้นแล นิครนถ์ นาฏบุตรพร้อมกับบริษัทนิครนถ์เป็นจำนวนมาก อาศัยอยู่ที่
เมืองนาลันทา ต่อมา นิครนถ์ชื่อทีฆตปัสสี๑ ออกเที่ยวหาอาหารในเมืองนาลันทา
กลับจากเที่ยวหาอาหารภายหลังเวลาอาหารแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงปาวาริกัมพวัน ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว
ได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับนิครนถ์ชื่อทีฆตปัสสีซึ่งยืนอยู่
ที่นั้นแลว่า “ตปัสสี ที่นั่งมีอยู่ ถ้าท่านประสงค์ ก็จงนั่งเถิด”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว นิครนถ์ชื่อทีฆตปัสสีจึงเลือกนั่ง ณ ที่
สมควร ที่ใดที่หนึ่งซึ่งต่ำกว่า


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๖. อุปาลิวาทสูตร

เปรียบเทียบทัณฑะ ๓ กับกรรม ๓

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามนิครนถ์ชื่อทีฆตปัสสีว่า “ตปัสสี นิครนถ์ นาฏบุตร
บัญญัติกรรมในการทำกรรมชั่ว ในการประพฤติกรรมชั่วไว้เท่าไร”
นิครนถ์ชื่อทีฆตปัสสีทูลตอบว่า “ท่านพระโคดม นิครนถ์ นาฏบุตรมิได้บัญญัติ
เป็นอาจิณว่า ‘กรรม กรรม’ แต่บัญญัติเป็นอาจิณว่า ‘ทัณฑะ ทัณฑะ’
“ตปัสสี นิครนถ์ นาฏบุตรบัญญัติทัณฑะในการทำกรรมชั่ว ในการประพฤติ
กรรมชั่วไว้เท่าไร”
“ท่านพระโคดม นิครนถ์ นาฏบุตรบัญญัติทัณฑะในการทำกรรมชั่ว ในการ
ประพฤติกรรมชั่วไว้ ๓ ประการ คือ (๑) กายทัณฑะ (๒) วจีทัณฑะ (๓) มโนทัณฑะ”
“ตปัสสี กายทัณฑะอย่างหนึ่ง วจีทัณฑะอย่างหนึ่ง มโนทัณฑะอย่างหนึ่งหรือ”
“ท่านพระโคดม กายทัณฑะก็อย่างหนึ่ง วจีทัณฑะก็อย่างหนึ่ง มโนทัณฑะ
ก็อย่างหนึ่ง”
“ตปัสสี บรรดาทัณฑะทั้ง ๓ ประการนี้ที่จำแนกแยกเป็นอย่างนี้ คือ
(๑) กายทัณฑะ (๒) วจีทัณฑะ (๓) มโนทัณฑะ นิครนถ์ นาฏบุตรบัญญัติทัณฑะ
ไหนว่ามีโทษมากกว่ากัน ในการทำกรรมชั่ว ในการประพฤติกรรมชั่ว”
“ท่านพระโคดม บรรดาทัณฑะทั้ง ๓ ประการ ที่จำแนกแยกเป็นอย่างนี้
นิครนถ์ นาฏบุตรบัญญัติกายทัณฑะว่ามีโทษมากกว่ากัน ในการทำกรรมชั่ว ในการ
ประพฤติกรรมชั่ว มิใช่วจีทัณฑะ หรือมโนทัณฑะ”
“ตปัสสี ท่านตอบว่า ‘กายทัณฑะ’ หรือ”
“ท่านพระโคดม ข้าพระองค์ทูลตอบว่า ‘กายทัณฑะ”
“ตปัสสี ท่านตอบว่า ‘กายทัณฑะ’ หรือ”
“ท่านพระโคดม ข้าพระองค์ทูลตอบว่า ‘กายทัณฑะ”
“ตปัสสี ท่านตอบว่า ‘กายทัณฑะ’ หรือ”
“ท่านพระโคดม ข้าพระองค์ทูลตอบว่า ‘กายทัณฑะ”
พระผู้มีพระภาคทรงให้นิครนถ์ชื่อทีฆตปัสสียืนยันคำพูดนี้ถึง ๓ ครั้ง ด้วยประการ
อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๖. อุปาลิวาทสูตร

[๕๗] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว นิครนถ์ชื่อทีฆตปัสสีจึงได้ทูลถาม
พระผู้มีพระภาคว่า “ท่านพระโคดม พระองค์ทรงบัญญัติทัณฑะในการทำกรรมชั่ว
ในการประพฤติกรรมชั่วไว้เท่าไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ตปัสสี ตถาคตมิได้บัญญัติเป็นอาจิณว่า
‘ทัณฑะ ทัณฑะ’ แต่บัญญัติเป็นอาจิณว่า ‘กรรม กรรม”
“ท่านพระโคดม พระองค์ทรงบัญญัติกรรมในการทำกรรมชั่ว ในการประพฤติ
กรรมชั่วไว้เท่าไร”
“ตปัสสี เราบัญญัติกรรมในการทำกรรมชั่ว ในการประพฤติกรรมชั่วไว้ ๓ ประการ
คือ (๑) กายกรรม (๒) วจีกรรม (๓) มโนกรรม๑”
“ท่านพระโคดม กายกรรมอย่างหนึ่ง วจีกรรมอย่างหนึ่ง มโนกรรมอย่างหนึ่ง
เท่านั้นหรือ”
“ตปัสสี กายกรรมก็อย่างหนึ่ง วจีกรรมก็อย่างหนึ่ง มโนกรรมก็อย่างหนึ่ง
เท่านั้น”
“ท่านพระโคดม บรรดากรรมทั้ง ๓ ประการนี้ที่จำแนกแยกเป็นอย่างนี้ คือ
(๑) กายกรรม (๒) วจีกรรม (๓) มโนกรรม พระองค์ทรงบัญญัติกรรมไหนว่ามี
โทษมากกว่ากัน ในการทำกรรมชั่ว ในการประพฤติกรรมชั่ว”
“ตปัสสี บรรดากรรมทั้ง ๓ ประการที่จำแนกแยกเป็นอย่างนี้ เราบัญญัติ
มโนกรรมว่ามีโทษมากกว่า ในการทำกรรมชั่ว ในการประพฤติกรรมชั่ว มิใช่กายกรรม
หรือวจีกรรม”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๖. อุปาลิวาทสูตร

“ท่านพระโคดม พระองค์ตรัสตอบว่า ‘มโนกรรม’ หรือ”
“ใช่ เราตอบว่า ‘มโนกรรม”
“ท่านพระโคดม พระองค์ตรัสตอบว่า ‘มโนกรรม’ หรือ”
“ใช่ เราตอบว่า ‘มโนกรรม”
“ท่านพระโคดม พระองค์ตรัสตอบว่า ‘มโนกรรม’ หรือ”
“ใช่ เราตอบว่า ‘มโนกรรม”
นิครนถ์ชื่อทีฆตปัสสีให้พระผู้มีพระภาคทรงยืนยันในพระดำรัสนี้ถึง ๓ ครั้ง
ด้วยประการอย่างนี้ แล้วลุกจากอาสนะเข้าไปหานิครนถ์ นาฏบุตรถึงที่อยู่

อุบาลีอาสาโต้วาทะกับพระพุทธเจ้า

[๕๘] สมัยนั้น นิครนถ์ นาฏบุตรนั่งอยู่กับบริษัทคฤหัสถ์เป็นจำนวนมาก
ซึ่งเป็นกลุ่มชาวบ้านพาลกะ มีคหบดีชื่ออุบาลีเป็นหัวหน้า ได้เห็นนิครนถ์ชื่อทีฆ-
ตปัสสีเดินมาแต่ไกล จึงทักทายว่า “ตปัสสี เชิญทางนี้ ท่านมาจากไหนแต่วันเชียว”
ทีฆตปัสสีตอบว่า “ผมมาจากสำนักของพระสมณโคดมนี้เอง ขอรับ”
“ท่านได้สนทนาปราศรัยกับพระสมณโคดมบ้างหรือไม่”
“ก็ได้สนทนาปราศรัยบ้าง ขอรับ”
“สนทนาปราศรัยกันถึงเรื่องอะไรเล่า”
จากนั้น นิครนถ์ชื่อทีฆตปัสสีได้เล่าเรื่องที่สนทนาปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค
ให้นิครนถ์ นาฏบุตรฟังทั้งหมด เมื่อนิครนถ์ชื่อทีฆตปัสสีเล่าจบ นิครนถ์ นาฏบุตร
จึงกล่าวว่า
“ดีละ ดีละ ตปัสสี การที่ท่านทีฆตปัสสีชี้แจงให้พระสมณโคดมฟังนั้น ตรง
ตามที่สาวกผู้ได้ศึกษาจนรู้ทั่วถึงคำสอนของศาสดาอย่างถูกต้องชี้แจงไว้ มโนทัณฑะ
อันต่ำทรามจะดีงามได้อย่างไร เมื่อเทียบกับกายทัณฑะที่สำคัญเช่นนี้ แท้จริงในการ
ทำกรรมชั่ว ในการประพฤติกรรมชั่ว กายทัณฑะเท่านั้นมีโทษมากกว่า มิใช่วจีทัณฑะ
หรือมโนทัณฑะเลย”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๖. อุปาลิวาทสูตร

[๕๙] เมื่อนิครนถ์ นาฏบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว อุบาลีคหบดีได้กล่าวกับนิครนถ์
นาฏบุตรว่า “ดีละ ดีละ ท่านผู้เจริญ ท่านทีฆตปัสสีชี้แจงดีแล้ว ถูกต้องแล้ว
การที่ท่านทีฆตปัสสีชี้แจงให้พระสมณโคดมฟังนั้น ตรงตามที่สาวกผู้ได้ศึกษาจนรู้
ทั่วถึงคำสอนของศาสดาอย่างถูกต้องชี้แจงไว้ มโนทัณฑะอันต่ำทรามจะดีงามได้
อย่างไร เมื่อเทียบกับกายทัณฑะที่สำคัญเช่นนี้ แท้จริงในการทำกรรมชั่ว ในการ
ประพฤติกรรมชั่ว กายทัณฑะเท่านั้นย่อมมีโทษมากกว่า มิใช่วจีทัณฑะ หรือมโน-
ทัณฑะเลย
ท่านผู้เจริญ เอาเถิด ข้าพเจ้าจะไปโต้วาทะในเรื่องนี้กับพระสมณโคดมเอง
ถ้าพระสมณโคดมจักยืนยัน เหมือนอย่างที่ท่านตปัสสียืนยันไว้อย่างนั้น ข้าพเจ้าจัก
พูดตะล่อมวกไปวกมาหว่านล้อมให้งง เปรียบเหมือนคนที่แข็งแรงจับขนแกะที่มีขน
ยาวฉุดดึงไปดึงมาหมุนจนงง หรือเปรียบเหมือนชายฉกรรจ์ผู้เป็นกรรมกรในโรงงาน
สุรา ทิ้งกระสอบที่มีส่วนผสมสุราใบใหญ่ลงในบ่อหมักส่าที่ลึก แล้วจับที่มุมส่ายไป
ส่ายมาสลัดออก ข้าพเจ้าจักขจัด บด ขยี้ซึ่งวาทะของพระสมณโคดมด้วยวาทะ
เหมือนคนที่แข็งแรงเป็นนักเลงสุรา จับไหสุราคว่ำลง หงายขึ้น เขย่าจนน้ำสุรา
สะเด็ด หรือข้าพเจ้าจักเล่นกีฬาซักป่านกับพระสมณโคดม เหมือนช้างแก่อายุ ๖๐ ปี
ลงไปยังสระลึกเล่นกีฬาซักป่าน
ท่านผู้เจริญ เอาเถิด ข้าพเจ้าจะไป จักโต้วาทะในเรื่องที่พูดกันนี้กับพระ
สมณโคดมเอง”
“คหบดี ท่านจงไป จงโต้วาทะในเรื่องที่พูดกันนี้กับพระสมณโคดม แท้จริง
เราก็ได้ ทีฆตปัสสีก็ได้ หรือท่านก็ได้ ควรโต้วาทะกับพระสมณโคดม”
[๖๐] เมื่อนิครนถ์ นาฏบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว นิครนถ์ชื่อทีฆตปัสสีได้กล่าว
กับนิครนถ์ นาฏบุตรว่า “ท่านผู้เจริญ การที่อุบาลีคหบดีจะพึงโต้วาทะกับพระ
สมณโคดมนั้น ข้าพเจ้าไม่ชอบใจเลย เพราะพระสมณโคดมเป็นคนมีมารยา รู้มายา
เป็นเครื่องกลับใจพวกสาวกของอัญเดียรถีย์ได้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๖. อุปาลิวาทสูตร

นิครนถ์ นาฏบุตร กล่าวว่า “ตปัสสี เป็นไปไม่ได้เลย๑ที่อุบาลีคหบดีจะพึงเป็น
สาวกของพระสมณโคดม แต่เป็นไปได้๒ที่พระสมณโคดมจะพึงเป็นสาวกของอุบาลี-
คหบดี
คหบดี ท่านจงไป จงโต้วาทะในเรื่องที่พูดกันนี้กับพระสมณโคดม แท้จริงเราก็ได้
ทีฆตปัสสีก็ได้ หรือท่านก็ได้ ควรโต้วาทะกับพระสมณโคดม”
แม้ครั้งที่ ๒ นิครนถ์ชื่อทีฆตปัสสีก็ได้เตือนนิครนถ์ นาฏบุตรว่า “ท่านผู้เจริญ
การที่อุบาลีคหบดีจะพึงโต้วาทะกับพระสมณโคดมนั้น ข้าพเจ้าไม่ชอบใจเลย เพราะ
พระสมณโคดมเป็นคนมีมารยา รู้มายาเป็นเครื่องกลับใจพวกสาวกของอัญเดียรถีย์ได้”
นิครนถ์ นาฏบุตร กล่าวว่า “ตปัสสี เป็นไปไม่ได้เลยที่อุบาลีคหบดีจะพึง
เป็นสาวกของพระสมณโคดม แต่เป็นไปได้ที่พระสมณโคดมจะพึงเป็นสาวกของ
อุบาลีคหบดี
คหบดี ท่านจงไป จงโต้วาทะในเรื่องที่พูดกันนี้กับพระสมณโคดม แท้จริง
เราก็ได้ ทีฆตปัสสีก็ได้ หรือท่านก็ได้ ควรโต้วาทะกับพระสมณโคดม”
แม้ครั้งที่ ๓ นิครนถ์ชื่อทีฆตปัสสีก็ได้กล่าวเตือนนิครนถ์ นาฏบุตรว่า “ท่าน
ผู้เจริญ การที่อุบาลีคหบดีจะพึงโต้วาทะกับพระสมณโคดมนั้น ข้าพเจ้าไม่ชอบใจเลย
เพราะพระสมณโคดมเป็นคนมีมารยา รู้มายาเป็นเครื่องกลับใจพวกสาวกของ
อัญเดียรถีย์ได้”
นิครนถ์ นาฏบุตร กล่าวว่า “ตปัสสี เป็นไปไม่ได้เลยที่อุบาลีคหบดีจะพึง
เป็นสาวกของพระสมณโคดม แต่เป็นไปได้ที่พระสมณโคดมจะพึงเป็นสาวกของ
อุบาลีคหบดี
คหบดี ท่านจงไป จงโต้วาทะในเรื่องที่พูดกันนี้กับพระสมณโคดม แท้จริง
เราก็ได้ ทีฆตปัสสีก็ได้ หรือท่านก็ได้ ควรโต้วาทะกับพระสมณโคดม”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๖. อุปาลิวาทสูตร

อุบาลีคหบดีรับคำนิครนถ์ นาฏบุตรแล้วลุกจากที่นั่ง ไหว้นิครนถ์ นาฏบุตร
และกระทำประทักษิณแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงปาวาริกัมพวัน ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า “ท่านผู้เจริญ นิครนถ์ชื่อ
ทีฆตปัสสีได้มาที่นี้บ้างไหม”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสตอบว่า “มา คหบดี”
“ท่านผู้เจริญ ท่านได้สนทนาปราศรัยกับนิครนถ์ชื่อทีฆตปัสสีบ้างไหม”
“ได้สนทนาบ้าง คหบดี”
“ท่านผู้เจริญ ท่านได้สนทนาปราศรัยเรื่องอะไรกับนิครนถ์ชื่อทีฆตปัสสีหรือ”
จากนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสบอกเรื่องที่สนทนาปราศรัยกับนิครนถ์ชื่อ
ทีฆตปัสสีทั้งหมด แก่อุบาลีคหบดีทุกประการ
[๖๑] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว อุบาลีคหบดีได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคว่า
“ดีละ ดีละ ท่านผู้เจริญ ทีฆตปัสสีชี้แจงดีแล้ว ถูกต้องแล้ว การที่นิครนถ์
ชื่อทีฆตปัสสีชี้แจงให้พระผู้มีพระภาคฟังนั้น ตรงตามที่สาวกผู้ได้ศึกษาจนรู้ทั่วถึง
คำสอนของศาสดาอย่างถูกต้องชี้แจงไว้ มโนทัณฑะอันต่ำทรามจะดีงามได้อย่างไร
เมื่อเทียบกับกายทัณฑะที่สำคัญเช่นนี้ แท้จริงในการทำกรรมชั่ว ในการประพฤติ
กรรมชั่ว กายทัณฑะเท่านั้นมีโทษมากกว่า มิใช่วจีทัณฑะ หรือมโนทัณฑะเลย”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “คหบดี หากท่านจะพึงยึดมั่นอยู่ในคำสัตย์แล้วสนทนากัน
เราจึงจะสนทนาในเรื่องนี้ด้วย”
อุบาลีคหบดีกราบทูลว่า “ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าจะยึดมั่นคำสัตย์แล้วสนทนากัน
เราทั้ง ๒ จงมาสนทนากันในเรื่องนี้เถิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๖. อุปาลิวาทสูตร

พระผู้มีพระภาคทรงย้อนถามปัญหา

[๖๒] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “คหบดี ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
นิครนถ์ในโลกนี้ป่วย มีทุกข์ เป็นไข้หนัก ถูกห้ามใช้น้ำเย็น ใช้แต่น้ำร้อน เมื่อเขา
ไม่ได้น้ำเย็นจะต้องตาย นิครนถ์ นาฏบุตรบัญญัติว่านิครนถ์ผู้นี้จะไปเกิด ณ ที่ไหน”
อุบาลีคหบดีทูลตอบว่า “ท่านผู้เจริญ เหล่าเทพที่ชื่อว่ามโนสัตว์มีอยู่ เขาย่อม
เกิดในหมู่เทพนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเขาเป็นผู้มีใจผูกพันตายไป”
“คหบดี ท่านจงใส่ใจแล้วชี้แจงดูที ทำไมคำหลังกับคำก่อน หรือคำก่อนกับ
คำหลัง ของท่านจึงไม่สัมพันธ์กันเล่า คหบดี ท่านกล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ
ข้าพเจ้าจะยึดมั่นคำสัตย์แล้วสนทนากัน เราทั้ง ๒ จงมาสนทนากันในเรื่องนี้เถิด”
“ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ก็ถูก ถึงกระนั้น ในการทำกรรมชั่ว
ในการประพฤติกรรมชั่ว กายทัณฑะเท่านั้นมีโทษมากกว่า มิใช่วจีทัณฑะ หรือ
มโนทัณฑะเลย”
[๖๓] “คหบดี ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ในโลกนี้นิครนถ์ นาฏบุตร
พึงเป็นผู้สำรวมด้วยการสังวร ๔ อย่าง คือ
๑. เว้นน้ำดิบทุกอย่าง
๒. ประกอบกิจที่เว้นจากบาปทุกอย่าง
๓. ล้างบาปทุกอย่าง
๔. รับสัมผัสทุกอย่างโดยไม่ให้เกิดบาป
แต่ขณะเธอก้าวไป ถอยกลับ ย่อมทำให้สัตว์เล็ก ๆ ตายไปเป็นอันมาก
คหบดี นิครนถ์ นาฏบุตรจะบัญญัติว่า นิครนถ์ผู้นี้มีวิบากอย่างไร”
“ท่านผู้เจริญ นิครนถ์ นาฏบุตรมิได้บัญญัติกรรมที่ไม่จงใจว่ามีโทษมาก”
“ถ้าเป็นกรรมที่จงใจเล่า คหบดี”
“ก็เป็นกรรมมีโทษมาก ท่านผู้เจริญ”
“นิครนถ์ นาฏบุตรบัญญัติความจงใจไว้ในส่วนไหนเล่า คหบดี”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๖. อุปาลิวาทสูตร

“ในมโนทัณฑะ ท่านผู้เจริญ”
“คหบดี ท่านจงกำหนดใจแล้วชี้แจงดูที ทำไมคำหลังกับคำก่อน หรือคำก่อน
กับคำหลังของท่าน จึงไม่สัมพันธ์กันเล่า ท่านกล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้า
จะยึดมั่นคำสัตย์แล้วสนทนากัน เราทั้ง ๒ จงมาสนทนากันในเรื่องนี้เถิด”
“ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ก็ถูก ถึงกระนั้น ในการทำกรรมชั่ว
ในการประพฤติกรรมชั่ว กายทัณฑะเท่านั้นมีโทษมากกว่า มิใช่วจีทัณฑะ หรือมโน-
ทัณฑะเลย”
[๖๔] “คหบดี ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บ้านนาลันทานี้มั่งคั่ง อุดม
สมบูรณ์ มีประชากรมาก มีพลเมืองหนาแน่น มิใช่หรือ”
“ใช่ ท่านผู้เจริญ บ้านนาลันทานี้มั่งคั่ง อุดมสมบูรณ์ มีประชากรมาก
มีพลเมืองหนาแน่น”
“คหบดี ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ชายคนหนึ่งในบ้านนาลันทานี้
เงื้อดาบขึ้นพร้อมกับพูดว่า ‘เราจักทำสัตว์เท่าที่มีอยู่ในบ้านนาลันทานี้ให้เป็นลาน
เนื้อเดียวกัน ให้เป็นกองเนื้อเดียวกัน ชั่วขณะพริบตาเดียว’ ท่านเข้าใจความข้อนั้น
ว่าอย่างไร เขาจะสามารถทำสัตว์เท่าที่มีอยู่ในบ้านนาลันทานี้ให้เป็นลานเนื้อเดียวกัน
ให้เป็นกองเนื้อเดียวกัน ชั่วขณะพริบตาเดียว ได้หรือไม่”
“ท่านผู้เจริญ ต่อให้ชาย ๑๐ คน ๒๐ คน ๓๐ คน ๔๐ คน ๕๐ คน
ก็ไม่สามารถจะทำสัตว์เท่าที่มีอยู่ในบ้านนาลันทานี้ให้เป็นลานเนื้อเดียวกัน ให้เป็น
กองเนื้อเดียวกัน ชั่วขณะพริบตาเดียวได้ ชายผู้ต่ำทรามคนเดียวจะเก่งกาจอะไร
ปานนั้น”
“คหบดี ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร สมณะหรือพราหมณ์ผู้มีฤทธิ์ ผู้ถึงความ
เชี่ยวชาญทางจิตมาในบ้านนาลันทานี้ สมณะหรือพราหมณ์นั้นบอกอย่างนี้ว่า ‘เรา
จักทำบ้านนาลันทานี้ให้เป็นเถ้าด้วยจิตคิดประทุษร้ายครั้งเดียว’ คหบดี ท่านเข้าใจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๖. อุปาลิวาทสูตร

ความข้อนั้นว่าอย่างไร สมณะหรือพราหมณ์ผู้มีฤทธิ์ ผู้ถึงความเชี่ยวชาญทางจิตนั้น
จะสามารถทำบ้านนาลันทานี้ให้เป็นเถ้า ด้วยจิตคิดประทุษร้ายครั้งเดียว ได้หรือไม่”
“ท่านผู้เจริญ บ้านนาลันทา ๑๐ หลัง ๒๐ หลัง ๓๐ หลัง ๔๐ หลัง ๕๐ หลัง
สมณะหรือพราหมณ์ผู้มีฤทธิ์ ผู้ถึงความเชี่ยวชาญทางจิตนั้น ยังสามารถทำให้เป็น
เถ้าได้ด้วยจิตคิดประทุษร้ายครั้งเดียว แล้วบ้านนาลันทาที่ทรุดโทรมหลังเดียวจะ
คณนาอะไรเล่า”
“คหบดี ท่านจงกำหนดใจแล้วชี้แจงดูที ทำไมคำหลังกับคำก่อน หรือคำก่อน
กับคำหลังของท่าน จึงไม่สัมพันธ์กันเล่า คหบดี ท่านกล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ
ข้าพเจ้าจะยึดมั่นคำสัตย์แล้วสนทนากัน เราทั้ง ๒ จงมาสนทนากันในเรื่องนี้เถิด”
“ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ก็ถูก ถึงกระนั้น ในการทำกรรมชั่ว
ในการประพฤติกรรมชั่ว กายทัณฑะเท่านั้นมีโทษมากกว่า มิใช่วจีทัณฑะ หรือมโน-
ทัณฑะเลย”
[๖๕] “คหบดี ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ป่าทัณฑกี ป่ากาลิงคะ
ป่าเมชฌะ ป่ามาตังคะ ได้กลายเป็นป่าทึบ ท่านได้ฟังมาแล้วมิใช่หรือ”
“ใช่ ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้ว”
“คหบดี ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ป่าทัณฑกี ป่ากาลิงคะ ป่าเมชฌะ
ป่ามาตังคะ ได้กลายเป็นป่าทึบเพราะใคร”
“ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าได้ยินมาว่า ป่าทัณฑกี ป่ากาลิงคะ ป่าเมชฌะ
ป่ามาตังคะได้กลายเป็นป่าทึบเพราะจิตคิดประทุษร้ายของพวกฤาษี”
“คหบดี ท่านจงกำหนดใจแล้วชี้แจงดูที ทำไมคำหลังกับคำก่อน หรือคำก่อน
กับคำหลังของท่าน จึงไม่สัมพันธ์กันเล่า คหบดี ท่านกล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ
ข้าพเจ้าจะยึดมั่นคำสัตย์แล้วสนทนากัน เราทั้ง ๒ จงมาสนทนากันในเรื่องนี้เถิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๖. อุปาลิวาทสูตร

อุบาลีคหบดีแสดงตนเป็นอุบาสก

[๖๖] “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพียงอุปมาข้อแรกข้าพระองค์ก็มีใจยินดีชื่นชม
ต่อพระผู้มีพระภาคแล้ว แต่ข้าพระองค์ปรารถนาจะฟังปฏิภาณการชี้แจงปัญหา
อันวิจิตรนี้ของพระผู้มีพระภาค ฉะนั้น ข้าพระองค์จึงได้แสร้งทำเป็นเหมือนอยู่
ต่างฝ่ายกับพระผู้มีพระภาค ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจน
ไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก
พระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคล
หงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วย
ตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค พร้อมทั้งพระธรรม
และพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึง
สรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
[๖๗] “คหบดี ท่านจงใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำเถิด๑ การใคร่ครวญก่อนแล้ว
จึงทำ เป็นความดีสำหรับคนที่มีชื่อเสียงเช่นท่าน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ด้วยพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสกับข้าพระองค์
อย่างนี้ว่า ‘คหบดี ท่านจงใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำเถิด การใคร่ครวญก่อนแล้ว
จึงทำ เป็นความดีสำหรับคนที่มีชื่อเสียงเช่นท่าน’ ข้าพระองค์ยิ่งมีใจยินดีชื่นชม
ต่อพระผู้มีพระภาคยิ่งขึ้น ด้วยว่า พวกอัญเดียรถีย์ได้ข้าพระองค์เป็นสาวกแล้ว
ก็จะพึงเที่ยวประกาศไปทั่วหมู่บ้านนาลันทาว่า ‘อุบาลีคหบดีเป็นสาวกของพวกเรา’


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๖. อุปาลิวาทสูตร

ก็แล พระผู้มีพระภาคตรัสกับข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ‘คหบดี ท่านจงใคร่ครวญก่อน
แล้วจึงทำเถิด การใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำ เป็นความดีสำหรับคนที่มีชื่อเสียง
เช่นท่าน’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค พร้อมทั้งพระธรรม
และพระสงฆ์เป็นสรณะ เป็นครั้งที่ ๒ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระองค์ว่า
เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
[๖๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “คหบดี ตระกูลของท่านเป็นดุจบ่อน้ำของพวก
นิครนถ์มานานแล้ว ท่านควรเข้าใจว่า ควรให้บิณฑบาตแก่นิครนถ์เหล่านั้นผู้เข้าไป
หาต่อไปเถิด”
อุบาลีคหบดีกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ด้วยพระดำรัสที่พระผู้มี
พระภาคตรัสกับข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ‘ตระกูลของท่านเป็นดุจบ่อน้ำของพวกนิครนถ์
มานานแล้ว ท่านควรเข้าใจว่า ควรให้บิณฑบาตแก่นิครนถ์เหล่านั้นผู้เข้าไปหา
ต่อไปเถิด’ นี้ ข้าพระองค์ยิ่งมีใจยินดีชื่นชมต่อพระผู้มีพระภาคมากยิ่งขึ้น ข้าพระองค์
ได้ฟังคำนี้มาว่า ‘พระสมณโคดมตรัสอย่างนี้ว่า ‘บุคคลควรให้ทานแก่เราเท่านั้น
ไม่ควรให้แก่คนเหล่าอื่น บุคคลควรให้ทานแก่สาวกของเราเท่านั้น ไม่ควรให้แก่พวก
สาวกของนักบวชเหล่าอื่น ทานที่ให้แก่เราเท่านั้นย่อมมีผลมาก ที่ให้แก่คนเหล่าอื่น
หามีผลมากไม่ ทานที่ให้แก่สาวกทั้งหลายของเราเท่านั้นย่อมมีผลมาก ที่ให้แก่
สาวกของนักบวชเหล่าอื่นหามีผลมากไม่’ แต่ความจริง พระผู้มีพระภาคทรงชักชวน
ให้ข้าพระองค์ให้ทานแม้ในพวกนิครนถ์ ก็แล ข้าพระองค์จักทราบกาลอันสมควรใน
การให้ทานนี้ต่อไป
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค พร้อมทั้งพระธรรม
และพระสงฆ์เป็นสรณะ เป็นครั้งที่ ๓ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระองค์ว่า
เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๖. อุปาลิวาทสูตร

อุบาลีคหบดีบรรลุธรรม

[๖๙] หลังจากนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสอนุปุพพีกถา๑ แก่อุบาลีคหบดี คือ
ทรงประกาศทานกถา๒(เรื่องทาน) สีลกถา๓(เรื่องศีล) สัคคกถา๔(เรื่องสวรรค์) กามา-
ทีนวกถา๕(เรื่องโทษความต่ำทราม ความเศร้าหมองแห่งกาม)และเนกขัมมานิสังสกถา๖
(เรื่องอานิสงส์แห่งการออกจากกาม) เมื่อใด พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า อุบาลีคหบดี
มีจิตควรบรรลุธรรม มีจิตอ่อน มีจิตปราศจากนิวรณ์ มีจิตสูง มีจิตผ่องใส เมื่อนั้น
จึงทรงแสดงพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้า(พระองค์ก่อนๆ) ทั้งหลาย ทรงยกขึ้น
แสดงด้วยพระองค์เอง คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ผ้าขาวสะอาดปราศจากสิ่ง
ปนเปื้อน จะพึงรับน้ำย้อมต่าง ๆ ได้อย่างดี แม้ฉันใด ธรรมจักษุอันปราศจากธุลี
ปราศจากมลทิน เกิดขึ้นแก่อุบาลีคหบดี ขณะที่นั่งอยู่นั่นเองว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความ
เกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา’ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๖. อุปาลิวาทสูตร

จากนั้น อุบาลีคหบดีเห็นธรรม บรรลุธรรม รู้ธรรม หยั่งลงสู่ธรรม หมดความ
สงสัย ไม่มีคำถามใด ๆ มีความแกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อใครอีกในหลักคำสอนของ
พระศาสดา ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เอาเถิด บัดนี้
ข้าพระองค์ขอทูลลากลับ เพราะมีกิจมีหน้าที่ที่จะต้องทำอีกมาก”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “คหบดี เธอจงกำหนดเวลาที่สมควร ณ บัดนี้เถิด”
[๗๐] จากนั้น อุบาลีคหบดีชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว
ลุกจากที่นั่งถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วกลับไปยังที่อยู่
ของตน เรียกนายประตูมาสั่งว่า
“นายประตูเพื่อนรัก ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เราจะปิดประตูกันพวกนิครนถ์ทั้งชาย
และหญิง แต่เราจะเปิดประตูไว้สำหรับพระผู้มีพระภาคและสาวกของพระผู้มีพระภาค
คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ถ้านิครนถ์คนใดคนหนึ่งมา ท่านพึงบอก
อย่างนี้ว่า ‘หยุดก่อนท่าน อย่าเข้าไปเลย ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป อุบาลีคหบดีเป็น
สาวกของพระสมณโคดมแล้ว อุบาลีคหบดีปิดประตูกันพวกนิครนถ์ทั้งชายและหญิง
แต่เปิดประตูไว้สำหรับพระผู้มีพระภาคและสาวกของพระผู้มีพระภาค คือ ภิกษุ
ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หากท่านต้องการอาหารก็จงรออยู่ที่นี่แหละ จะมีคน
นำมาให้ที่นี่เอง”
นายประตูรับคำอุบาลีคหบดีแล้ว
[๗๑] นิครนถ์ชื่อทีฆตปัสสีได้ยินว่า “ข่าวว่า อุบาลีคหบดีเป็นสาวกของ
พระสมณโคดมแล้ว” ลำดับนั้น จึงเข้าไปหานิครนถ์ นาฏบุตรถึงที่อยู่แล้วถามว่า
“ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าได้ยินว่า ‘ข่าวว่า อุบาลีคหบดีเป็นสาวกของพระสมณโคดมแล้ว”
นิครนถ์ นาฏบุตรตอบว่า “ตปัสสี เป็นไปไม่ได้เลยที่อุบาลีคหบดีจะพึงเป็น
สาวกของพระสมณโคดมนั้น แต่เป็นไปได้ที่พระสมณโคดมจะพึงเป็นสาวกของ
อุบาลีคหบดี”
แม้ครั้งที่ ๒ นิครนถ์ชื่อทีฆตปัสสีก็ได้กล่าวกับนิครนถ์ นาฏบุตรว่า “ท่าน
ผู้เจริญ ข้าพเจ้าได้ยินว่า ‘ข่าวว่า อุบาลีคหบดีเป็นสาวกของพระสมณโคดมแล้ว”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๖. อุปาลิวาทสูตร

นิครนถ์ นาฏบุตรก็ยังพูดว่า “ตปัสสี เป็นไปไม่ได้เลยที่อุบาลีคหบดีจะพึง
เป็นสาวกของพระสมณโคดมนั้น แต่เป็นไปได้ที่พระสมณโคดมจะพึงเป็นสาวกของ
อุบาลีคหบดี”
แม้ครั้งที่ ๓ นิครนถ์ชื่อทีฆตปัสสีก็ได้กล่าวกับนิครนถ์ นาฏบุตรว่า “ท่านผู้เจริญ
ข้าพเจ้าได้ยินว่า ‘ข่าวว่า อุบาลีคหบดีเป็นสาวกของพระสมณโคดมแล้ว”
นิครนถ์ นาฏบุตรก็ยังพูดด้วยความมั่นใจว่า “ตปัสสี เป็นไปไม่ได้เลยที่อุบาลีคหบดี
จะพึงเป็นสาวกของพระสมณโคดมนั้น แต่เป็นไปได้ที่พระสมณโคดมจะพึงเป็นสาวก
ของอุบาลีคหบดี”
นิครนถ์ชื่อทีฆตปัสสีกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ เอาเถิด ข้าพเจ้าจะไปดูให้รู้แน่ว่า
อุบาลีคหบดีเป็นสาวกของพระสมณโคดม จริงหรือไม่”
นิครนถ์ นาฏบุตรจึงกล่าวว่า “ตปัสสี ท่านไปเถิด จะได้รู้ว่า อุบาลีคหบดีเป็น
สาวกของพระสมณโคดม จริงหรือไม่”

อุบาลีคหบดีไม่ต้อนรับนิครนถ์

[๗๒] ต่อมา นิครนถ์ชื่อทีฆตปัสสีเข้าไปยังที่อยู่ของอุบาลีคหบดี นายประตู
เห็นเขาเดินมาแต่ไกลจึงบอกว่า
“หยุดก่อนท่าน อย่าเข้าไปเลย ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป อุบาลีคหบดีเป็นสาวก
ของพระสมณโคดมแล้ว อุบาลีคหบดีปิดประตูกันพวกนิครนถ์ทั้งชายและหญิง แต่
เปิดประตูไว้สำหรับพระผู้มีพระภาคและสาวกของพระผู้มีพระภาค คือ ภิกษุ ภิกษุณี
อุบาสก อุบาสิกา ถ้าท่านต้องการอาหารก็จงรออยู่ที่นี่แหละ จะมีคนนำมาให้ที่นี่เอง”
นิครนถ์ชื่อทีฆตปัสสีบอกว่า “ข้าพเจ้าไม่ต้องการอาหารหรอก” แล้วกลับจาก
ที่นั้น เข้าไปหานิครนถ์ นาฏบุตรถึงที่อยู่แล้วกล่าวว่า
“ท่านผู้เจริญ เป็นความจริงทีเดียวที่อุบาลีคหบดีเป็นสาวกของพระสมณโคดม
ข้อนั้นข้าพเจ้าไม่เห็นด้วยกับท่านดังได้กล่าวไว้แล้วว่า ‘การที่อุบาลีคหบดีจะโต้วาทะ
กับพระสมณโคดมนั้นข้าพเจ้าไม่ชอบใจเลย เพราะพระสมณโคดมเป็นคนมีมารยา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๖. อุปาลิวาทสูตร

รู้มายาเป็นเครื่องกลับใจสาวกของพวกอัญเดียรถีย์ได้ ท่านผู้เจริญ อุบาลีคหบดีของ
ท่านคงถูกพระสมณโคดมกลับใจด้วยมายาเป็นเครื่องกลับใจเสียแล้ว”
นิครนถ์ นาฏบุตร กล่าวว่า “ตปัสสี เป็นไปไม่ได้เลยที่อุบาลีคหบดีจะพึง
เป็นสาวกของพระสมณโคดมนั้น แต่เป็นไปได้ที่พระสมณโคดมจะพึงเป็นสาวกของ
อุบาลีคหบดี”
แม้ครั้งที่ ๒ นิครนถ์ชื่อทีฆตปัสสีก็ได้กล่าวกับนิครนถ์ นาฏบุตรว่า “ท่าน
ผู้เจริญ เป็นความจริงทีเดียวที่อุบาลีคหบดีเป็นสาวกของพระสมณโคดม ข้อนั้น
ข้าพเจ้าไม่เห็นด้วยกับท่านดังได้กล่าวไว้แล้วว่า ‘การที่อุบาลีคหบดีจะโต้วาทะกับพระ
สมณโคดมนั้นข้าพเจ้าไม่ชอบใจเลย เพราะพระสมณโคดมเป็นคนมีมารยา รู้มายา
เป็นเครื่องกลับใจสาวกของพวกอัญเดียรถีย์ได้ ท่านผู้เจริญ อุบาลีคหบดีของท่านคง
ถูกพระสมณโคดมกลับใจด้วยมายาเป็นเครื่องกลับใจเสียแล้ว”
นิครนถ์ นาฏบุตร ก็ยังกล่าวว่า “ตปัสสี เป็นไปไม่ได้เลยที่อุบาลีคหบดี
จะพึงเป็นสาวกของพระสมณโคดมนั้น แต่เป็นไปได้ที่พระสมณโคดมจะพึงเป็นสาวก
ของอุบาลีคหบดี เอาเถิด ตปัสสี เราจะไปดูให้รู้แน่ว่า อุบาลีคหบดีเป็นสาวกของ
พระสมณโคดม จริงหรือไม่”
ลำดับนั้น นิครนถ์ นาฏบุตรพร้อมกับบริษัทนิครนถ์เป็นจำนวนมากได้เข้า
ไปยังที่อยู่ของอุบาลีคหบดี นายประตูเห็นนิครนถ์ นาฏบุตรเดินมาแต่ไกลจึงพูด
เตือนท่านว่า
“หยุดก่อนท่าน อย่าเข้าไปเลย ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป อุบาลีคหบดีเป็นสาวกของ
พระสมณโคดมแล้ว อุบาลีคหบดีปิดประตูกันพวกนิครนถ์ทั้งชายและหญิง แต่เปิด
ประตูไว้สำหรับพระผู้มีพระภาคและสาวกของพระผู้มีพระภาค คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก
อุบาสิกา ถ้าท่านต้องการอาหารก็จงรออยู่ที่นี่แหละ จะมีคนนำมาให้ที่นี่เอง”
นิครนถ์ นาฏบุตร กล่าวว่า “นายประตูเพื่อนรัก ถ้าเช่นนั้น ท่านจงเข้าไปหา
อุบาลีคหบดีแล้วบอกอย่างนี้ว่า ‘ท่านขอรับ นิครนถ์ นาฏบุตรพร้อมกับบริษัทนิครนถ์
เป็นจำนวนมากยืนรออยู่นอกซุ้มประตู เขาต้องการพบท่าน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๖. อุปาลิวาทสูตร

นายประตูรับคำแล้วเข้าไปหาอุบาลีคหบดีเรียนว่า “ท่านขอรับ นิครนถ์ นาฏบุตร
พร้อมกับบริษัทนิครนถ์เป็นจำนวนมากยืนรออยู่นอกซุ้มประตู เขาต้องการพบท่าน”
อุบาลีคหบดีกล่าวว่า “นายประตูเพื่อนรัก ถ้าเช่นนั้น ท่านจงปูอาสนะไว้ที่ศาลา
ประตูกลาง”
นายประตูรับคำแล้ว ปูอาสนะไว้ที่ศาลาประตูกลางเสร็จแล้ว เข้าไปหาอุบาลีคหบดี
เรียนว่า “ท่านขอรับ อาสนะปูไว้ที่ศาลาประตูกลางเสร็จแล้ว ขอท่านจงกำหนดเวลา
ที่สมควร ณ บัดนี้เถิด”
[๗๓] จากนั้น อุบาลีคหบดีเข้าไปยังศาลาประตูกลางนั่งบนอาสนะเลิศ ล้ำค่า
สูงส่ง และดียิ่งนั้นเสียเอง แล้วเรียกนายประตูมาสั่งว่า “นายประตูเพื่อนรัก ถ้าเช่นนั้น
ท่านจงไปหานิครนถ์ นาฏบุตร บอกกับเขาอย่างนี้ว่า ‘ท่านครับ อุบาลีคหบดีสั่งมา
อย่างนี้ว่า ‘จงเข้าไปเถิดครับ ถ้าท่านประสงค์”
นายประตูรับคำแล้วเข้าไปหานิครนถ์ นาฏบุตร เรียนว่า “ท่านขอรับ อุบาลี-
คหบดีสั่งมาอย่างนี้ว่า ‘จงเข้าไปเถิดขอรับ ถ้าท่านประสงค์”
ลำดับนั้น นิครนถ์ นาฏบุตรพร้อมกับบริษัทนิครนถ์เป็นจำนวนมากจึงเข้าไปยัง
ศาลาประตูกลาง
ได้ยินว่า เมื่อก่อน อุบาลีคหบดีเห็นนิครนถ์ นาฏบุตรเดินมาจะไกลแค่ไหน
ก็ตาม ก็จะไปต้อนรับถึงที่นั้น เช็ดถูอาสนะเลิศ ล้ำค่า สูงส่ง และดียิ่งด้วยผ้าห่มแล้ว
เชื้อเชิญให้นั่ง บัดนี้ เขากลับนั่งบนอาสนะเลิศ ล้ำค่า สูงส่ง และดียิ่งนั้นเสียเอง
แล้วได้พูดกับนิครนถ์ นาฏบุตรอย่างนี้ว่า “ท่านขอรับ อาสนะมีอยู่ ถ้าท่านประสงค์
ก็จงนั่งเถิด”
เมื่อคหบดีกล่าวอย่างนี้ นิครนถ์ นาฏบุตรก็พูดว่า “ท่านบ้าหรือโง่กันเล่า
คหบดี ท่านเองบอกกับเราว่า ‘ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าจะไปโต้วาทะกับพระสมณโคดม’
ครั้นไปแล้ว ท่านเองกลับถูกสวมปากด้วยตะกร้อคือวาทะใบใหญ่เสียนี่ ชายผู้มี
อัณฑะแต่ถูกควักอัณฑะออกเสียทั้ง ๒ ข้าง หรือคนมีดวงตาแต่ถูกควักดวงตาออก
ทั้ง ๒ ข้าง แม้ฉันใด ท่านก็ฉันนั้นเหมือนกัน บอกว่า ‘จะไปโต้วาทะกับพระสมณโคดม’
ครั้นไปแล้ว กลับถูกสวมปากด้วยตะกร้อคือวาทะใบใหญ่ พระสมณโคดมกลับใจ
ท่านด้วยมายาเป็นเครื่องกลับใจหรือ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๖. อุปาลิวาทสูตร

มายาเครื่องกลับใจ

[๗๔] อุบาลีคหบดีชี้แจงว่า “ท่านขอรับ มายาเป็นเครื่องกลับใจนี้ดีจริง
มายาเป็นเครื่องกลับใจนี้งามจริง ญาติสาโลหิตผู้เป็นที่รักของข้าพเจ้า หากกลับใจได้
ด้วยมายาเป็นเครื่องกลับใจนี้ มายาเป็นเครื่องกลับใจนี้ก็จะเป็นไปเพื่อประโยชน์
เกื้อกูล เพื่อสุขแก่ญาติสาโลหิตผู้เป็นที่รักของข้าพเจ้าไปนานแสนนาน
กษัตริย์ทั้งปวง หากกลับใจได้ด้วยมายาเป็นเครื่องกลับใจนี้ มายาเครื่อง
กลับใจนี้ก็จะเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุขแก่กษัตริย์ทั้งปวงไปนานแสนนาน
แม้พราหมณ์ทั้งปวง ฯลฯ
แพศย์ ฯลฯ
ศูทรทั้งปวง หากกลับใจได้ด้วยมายาเป็นเครื่องกลับใจนี้ มายาเป็นเครื่องกลับใจ
นี้ก็จะเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุขแก่ศูทรทั้งปวงไปนานแสนนาน
แม้โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์
เทวดาและมนุษย์ หากกลับใจได้ด้วยมายาเป็นเครื่องกลับใจนี้ มายาเป็นเครื่องกลับใจ
นี้ก็จะเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุขแก่โลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก
แก่หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ไปนานแสนนาน
ท่านขอรับ ถ้าเช่นนั้น ข้าพเจ้าจะอุปมาให้ท่านฟัง เพราะวิญญูชนบางพวก
ในโลกนี้ย่อมเข้าใจความหมายแห่งถ้อยคำได้ แม้ด้วยข้ออุปมา
[๗๕] ท่านขอรับ เรื่องเคยมีมาแล้ว สาววัยรุ่นภรรยาของพราหมณ์แก่เฒ่า
วัยชราคนหนึ่งมีครรภ์ใกล้คลอด ต่อมา ภรรยาสาวนั้นจึงพูดกับพราหมณ์นั้นว่า
‘พี่พราหมณ์ พี่จงไปซื้อลูกลิงจากตลาดมาสักตัวไว้เป็นเพื่อนเล่นของลูกฉัน’ เมื่อนาง
บอกอย่างนั้น พราหมณ์นั้นก็พูดว่า ‘น้องหญิง คอยจนคลอดเสียก่อนเถิด ถ้าเธอ
คลอดลูกเป็นชาย ฉันก็จักซื้อลูกลิงตัวผู้จากตลาดมาให้เป็นเพื่อนเล่นของลูกชายเธอ
แต่ถ้าเธอคลอดลูกเป็นหญิง ฉันก็จักซื้อลูกลิงตัวเมียจากตลาดมาให้เป็นเพื่อนเล่นของ
ลูกสาวเธอ’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๖. อุปาลิวาทสูตร

แม้ครั้งที่ ๒ ภรรยาสาวก็พูดกับพราหมณ์นั้นว่า ‘พี่พราหมณ์ พี่จงไปซื้อ
ลูกลิงจากตลาดมาสักตัวไว้เป็นเพื่อนเล่นของลูกฉัน’ แม้ครั้งที่ ๒ พราหมณ์ก็พูดว่า
‘น้องหญิง คอยจนคลอดเสียก่อนเถิด ถ้าเธอคลอดลูกเป็นชาย ฉันก็จักซื้อลูกลิงตัวผู้
จากตลาดมาให้เป็นเพื่อนเล่นของลูกชายเธอ แต่ถ้าเธอคลอดลูกเป็นหญิง ฉันก็จัก
ซื้อลูกลิงตัวเมียจากตลาดมาให้เป็นเพื่อนเล่นของลูกสาวเธอ’
แม้ครั้งที่ ๓ ภรรยาสาวนั้นก็พูดกับพราหมณ์นั้นว่า ‘พี่พราหมณ์ พี่จงไปซื้อ
ลูกลิงจากตลาดมาสักตัวไว้เป็นเพื่อนเล่นของลูกฉัน’ ก็แล พราหมณ์แก่นั้นหลงใหล
รักใคร่ภรรยาสาวจึงซื้อลูกลิงจากตลาดมาแล้วบอกเธอว่า ‘ฉันซื้อลูกลิงจากตลาดมา
ไว้เป็นเพื่อนเล่นของลูกเธอแล้วนะ น้องหญิง’ เมื่อพราหมณ์บอกอย่างนี้แล้ว ภรรยา
สาวนั้นจึงพูดว่า ‘พี่พราหมณ์ พี่จงอุ้มลูกลิงตัวนี้ไปหาลูกช่างย้อมผู้ชำนาญการย้อม
แล้วบอกเขาว่า ‘เพื่อนผู้ชำนาญการย้อม ฉันอยากให้ท่านย้อมลูกลิงตัวนี้ให้สีจับ
อย่างสนิทดี ขัดแล้วขัดอีก ให้เรียบร้อยทั้งสองด้าน’
พราหมณ์ผู้หลงใหลรักใคร่ภรรยาสาวนั้นอุ้มลูกลิงไปหาลูกนายช่างย้อมผู้ชำนาญ
การย้อมแล้วบอกว่า ‘เพื่อนผู้ชำนาญการย้อม ฉันอยากให้ท่านย้อมลูกลิงตัวนี้ให้
สีจับอย่างสนิทดี ขัดแล้วขัดอีก ให้เรียบร้อยทั้งสองด้าน’ เมื่อพราหมณ์กล่าวอย่างนี้
แล้ว บุตรนายช่างย้อมผู้ชำนาญการย้อมได้บอกว่า ‘ท่านผู้เจริญ ลูกลิงของท่านนี้
ควรย้อมสีเท่านั้น ไม่ควรขัดแล้วขัดอีก’ แม้ฉันใด วาทะของนิครนถ์ผู้เขลาก็ฉันนั้น
เหมือนกัน ควรเป็นที่ยินดีของคนเขลาด้วยกันเท่านั้น ไม่ควรเป็นที่ยินดี ไม่ควร
ซักถาม และไม่ควรพิจารณาของบัณฑิตทั้งหลาย
ท่านผู้เจริญ ต่อมา พราหมณ์นั้นถือผ้าใหม่คู่หนึ่งไปหาบุตรนายช่างย้อมผู้ชำนาญ
การย้อมแล้วบอกกับเขาว่า ‘เพื่อนผู้ชำนาญการย้อม ฉันอยากให้ท่านย้อมผ้าใหม่
คู่นี้ให้สีจับอย่างสนิทดี ขัดแล้วขัดอีก ให้เรียบร้อยทั้งสองด้าน’ เมื่อพราหมณ์บอก
อย่างนี้แล้ว บุตรนายช่างย้อมผู้ชำนาญการย้อมก็ได้บอกว่า ‘ท่านผู้เจริญ ผ้าใหม่
ของท่านคู่นี้ ควรย้อม ควรขัดแล้วขัดอีก’ แม้ฉันใด วาทะของพระผู้มีพระภาค
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ควรเป็นที่ยินดีของบัณฑิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๖. อุปาลิวาทสูตร

ทั้งหลายเท่านั้น ไม่ควรเป็นที่ยินดี ไม่ควรซักถาม และไม่ควรพิจารณา๑ของคนเขลา
ทั้งหลาย”
นิครนถ์ นาฏบุตรถามว่า “คหบดี บริษัทพร้อมทั้งพระราชาต่างก็รู้จักท่าน
อย่างนี้ว่า ‘อุบาลีคหบดีเป็นสาวกของนิครนถ์ นาฏบุตร’ เราจะจำท่านว่า เป็นสาวก
ของใครเล่า”
เมื่อนิครนถ์ นาฏบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว อุบาลีคหบดีลุกจากอาสนะพาดสไบ
เฉวียงบ่า ประนมมือไปทางที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ พูดกับนิครนถ์ นาฏบุตรว่า
“ท่านขอรับ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟังการกล่าวสรรเสริญพระคุณของพระผู้มีพระภาค
ของข้าพเจ้าผู้เป็นสาวก” แล้วกล่าวคาถาประพันธ์ดังต่อไปนี้ว่า

อุบาลีคหบดีประกาศตนเป็นพุทธสาวก

[๗๖] “ข้าพเจ้าเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคผู้เป็นปราชญ์
ปราศจากโมหะ ทรงทำลายกิเลสเครื่องตรึงจิตได้
ทรงชำนะมาร ไม่มีทุกข์ มีจิตเสมอด้วยดี มีมารยาทเจริญ
มีพระปัญญาดี ทรงข้ามกิเลสอันปราศจากความเสมอ
(และ)ปราศจากมลทินได้
ข้าพเจ้าเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคผู้ไม่มีความสงสัย
มีพระทัยดี ทรงคายโลกามิสได้ ทรงบันเทิง
ทรงเจริญสมณธรรมสำเร็จแล้ว ทรงเกิดเป็นมนุษย์
มีพระสรีระเป็นชาติสุดท้าย ทรงเป็นนระไม่มีผู้เปรียบได้
ปราศจากกิเลสเพียงดังธุลี


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๖. อุปาลิวาทสูตร

ข้าพเจ้าเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคผู้ไม่มีความสงสัย
ทรงเฉียบแหลม ผู้ทรงแนะนำสัตว์ ผู้เป็นสารถีผู้ประเสริฐ
ผู้ยอดเยี่ยม ทรงมีธรรมงาม หมดความเคลือบแคลง
ทรงให้แสงสว่าง ทรงตัดมานะเสียได้ มีพระวิริยะ
ข้าพเจ้าเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคผู้องอาจ
ไม่มีใครประมาณได้ มีพระคุณลึกซึ้ง บรรลุถึงญาณ
ทรงทำความเกษม มีพระญาณ ดำรงอยู่ในธรรม
ทรงสำรวมพระองค์ดีแล้ว ล่วงกิเลสเครื่องข้อง หลุดพ้นแล้ว
ข้าพเจ้าเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคผู้ประเสริฐ
ผู้ทรงมีเสนาสนะอันสงัด สิ้นสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นแล้ว
มีพระปัญญาโต้ตอบ มีพระปัญญาหยั่งรู้
ทรงลดธงคือมานะเสียได้ ปราศจากราคะ
เป็นผู้ฝึกแล้ว เป็นผู้ปราศจากธรรมเครื่องยึดหน่วง
ข้าพเจ้าเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค
ผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ที่ ๗๑
ผู้ไม่ลวงโลก ทรงมีวิชชา ๓ เป็นผู้ประเสริฐ
ทรงชำระกิเลสแล้ว ประสมอักษรให้เป็นบทคาถา
ทรงสงบระงับ มีพระญาณแจ่มแจ้ง
ทรงให้ธรรมทานก่อนผู้อื่นทั้งหมด เป็นผู้สามารถ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๖. อุปาลิวาทสูตร

ข้าพเจ้าเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคผู้เป็นอริยะ
มีพระองค์อบรมแล้ว บรรลุคุณที่ควรบรรลุ
ทรงแสดงอรรถให้พิสดาร มีพระสติ
ทรงเห็นแจ้ง ไม่ยุบลง ไม่ฟูขึ้น
ไม่ทรงหวั่นไหว เป็นผู้มีความชำนาญ
ข้าพเจ้าเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคผู้เสด็จไปดีแล้ว
ทรงมีฌาน ไม่ทรงปล่อยพระทัยไปตามกระแส
เป็นผู้หมดจด ไม่สะดุ้ง ปราศจากความกลัว
สงบอยู่ผู้เดียว ทรงบรรลุธรรมอันเลิศ
ทรงข้ามพ้นเอง ทรงยังสัตว์อื่นให้ข้ามพ้นด้วย
ข้าพเจ้าเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคผู้สงบแล้ว
มีพระปัญญากว้างใหญ่เสมอด้วยแผ่นดิน
มีพระปัญญาใหญ่หลวง ปราศจากความโลภ
ทรงดำเนินปฏิปทาเหมือนพระพุทธเจ้าในปางก่อน
เสด็จไปดี ไม่มีบุคคลเปรียบ ไม่มีผู้เสมอเหมือน
ทรงแกล้วกล้า เป็นผู้ละเอียด สุขุม
ข้าพเจ้าเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค
ผู้ตัดตัณหาได้เด็ดขาด ผู้ตื่น ปราศจากควัน
ผู้ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิฉาบทา ผู้ควรบูชา
ผู้ทรงได้รับพระนามว่ายักขะ๑ เป็นบุคคลผู้สูงสุด
มีพระคุณชั่งไม่ได้ เป็นผู้ใหญ่ยิ่ง
บรรลุยศอย่างยอดเยี่ยม”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๗. กุกกุรวติกสูตร

[๗๗] นิครนถ์ นาฏบุตรถามว่า “คหบดี ท่านประมวลถ้อยคำสำหรับพรรณนา
คุณของพระสมณโคดมไว้ตั้งแต่เมื่อไร”
อุบาลีคหบดีตอบว่า “ท่านขอรับ ช่างดอกไม้ หรือลูกมือช่างดอกไม้ผู้ชำนาญ
พึงร้อยดอกไม้ต่าง ๆ กองใหญ่ให้เป็นพวงมาลัยอันวิจิตรได้ แม้ฉันใด พระผู้มีพระภาค
พระองค์นั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทรงมีพระคุณควรพรรณนาเป็นอเนก ทรงมีพระคุณ
ควรพรรณนาได้หลายร้อย ใครเล่าจักพรรณนาไม่ได้ถึงพระคุณของพระองค์ผู้ควร
พรรณนา”
จากนั้น นิครนถ์ นาฏบุตรทนดูสักการะของพระผู้มีพระภาคไม่ได้ จึงกระอัก
โลหิตอุ่นออกจากปาก ณ ที่นั้นเอง ดังนี้แล

อุปาลิวาทสูตรที่ ๖ จบ

๗. กุกกุรวติกสูตร
ว่าด้วยการประพฤติวัตรเลียนแบบสุนัข

[๗๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวโกลิยะชื่อหลิททวสนะ
แคว้นโกลิยะ ครั้งนั้นแล บุตรของชาวโกลิยะชื่อปุณณะผู้ประพฤติโควัตร๑และ
ชีเปลือยชื่อเสนิยะผู้ประพฤติกุกกุรวัตร๒ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
นายปุณณะ โกลิยบุตร ผู้ประพฤติโควัตร ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่
สมควร ส่วนชีเปลือยชื่อเสนิยะผู้ประพฤติกุกกุรวัตร ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่
บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว ก็แสดงท่าตะกุยดุจสุนัขแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
นายปุณณะ โกลิยบุตรผู้ประพฤติโควัตรได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๗. กุกกุรวติกสูตร

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชีเปลือยชื่อเสนิยะ ผู้ประพฤติกุกกุรวัตรนี้ ทำสิ่งที่
ผู้อื่นทำได้ยาก กินอาหารที่เขากองไว้บนพื้นดิน เขาสมาทานกุกกุรวัตรนั้นอย่าง
สมบูรณ์แบบมานานแล้ว คติของเขาจักเป็นอย่างไร ภพหน้าของเขาจักเป็นอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสห้ามว่า “อย่าเลย ปุณณะ เธอจงงดเรื่องนี้เสียเถิด อย่าถาม
เราถึงเรื่องนี้เลย”
แม้ครั้งที่ ๒ นายปุณณะ โกลิยบุตรผู้ประพฤติโควัตรก็ได้ทูลถามพระผู้มี
พระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชีเปลือยชื่อเสนิยะนี้ ผู้ประพฤติกุกกุรวัตร ทำสิ่งที่
ผู้อื่นทำได้ยาก กินอาหารที่เขากองไว้บนพื้นดิน เขาสมาทานกุกกุรวัตรอย่าง
สมบูรณ์แบบมานานแล้ว คติของเขาจักเป็นอย่างไร ภพหน้าของเขาจักเป็นอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสห้ามว่า “อย่าเลย ปุณณะ เธอจงงดเรื่องนี้เสียเถิด อย่าถาม
เราถึงเรื่องนี้เลย”
แม้ครั้งที่ ๓ นายปุณณะ โกลิยบุตรผู้ประพฤติโควัตร ก็ได้ทูลถามพระผู้มี
พระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชีเปลือยชื่อเสนิยะผู้ประพฤติกุกกุรวัตร ทำสิ่งที่ผู้อื่น
ทำได้ยาก กินอาหารที่เขากองไว้บนพื้นดิน เขาสมาทานกุกกุรวัตรอย่างสมบูรณ์
แบบมานานแล้ว คติของเขาจักเป็นอย่างไร ภพหน้าของเขาจักเป็นอย่างไร”

คติของบุคคลผู้ประพฤติโควัตรและกุกกุรวัตร

[๗๙] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ปุณณะ เราห้ามเธอไม่ได้แน่ว่า ‘อย่าเลย
ปุณณะ เธอจงงดเรื่องนี้เสียเถิด อย่าถามเราถึงเรื่องนี้เลย’ แต่เราจักชี้แจงให้เธอฟัง
บุคคลบางคนในโลกนี้บำเพ็ญกุกกุรวัตร บำเพ็ญตนตามปกติแบบสุนัข บำเพ็ญจิต
แบบสุนัข บำเพ็ญกิริยาอาการแบบสุนัขอย่างสมบูรณ์ไม่ขาดสาย ครั้นบำเพ็ญกุกกุรวัตร
บำเพ็ญตนตามปกติแบบสุนัข บำเพ็ญจิตแบบสุนัข บำเพ็ญกิริยาอาการแบบสุนัข
อย่างสมบูรณ์ไม่ขาดสายแล้ว หลังจากตายไป เขาย่อมไปเกิดในหมู่สุนัข อนึ่ง ถ้าเขา
มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘เราจักเป็นเทวดา หรือเทพองค์ใดองค์หนึ่งด้วยศีล วัตร ตบะ หรือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๗. กุกกุรวติกสูตร

พรหมจรรย์นี้’ ทิฏฐิของเขานั้นจัดเป็นมิจฉาทิฏฐิ เรากล่าวว่า คติของผู้มีมิจฉาทิฏฐิ
มี ๒ อย่าง คือ (๑) นรก (๒) กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
ปุณณะ กุกกุรวัตรเมื่อใครประพฤติสมบูรณ์ ย่อมนำไปเกิดในหมู่สุนัข เมื่อ
ประพฤติบกพร่อง ย่อมนำไปเกิดในนรก ด้วยประการอย่างนี้”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ชีเปลือยชื่อเสนิยะผู้ประพฤติกุกกุรวัตร
ถึงกับร้องไห้น้ำตานองหน้า
ต่อจากนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับนายปุณณะ โกลิยบุตร ผู้ประพฤติโควัตร
ว่า “ปุณณะ เราห้ามเธอไม่ได้แน่ว่า ‘อย่าเลย ปุณณะ เธอจงงดเรื่องนี้เสียเถิด อย่าถาม
เราถึงเรื่องนี้เลย”
ชีเปลือยชื่อเสนิยะกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์มิได้ร้องไห้
ถึงเรื่องที่พระผู้มีพระภาคตรัสกับข้าพระองค์ แม้ข้าพระองค์จะสมาทานกุกกุรวัตรนี้
อย่างสมบูรณ์แบบมาช้านานแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นายปุณณะ โกลิยบุตร
ผู้ประพฤติโควัตร สมาทานโควัตรนั้นอย่างสมบูรณ์แบบมานานแล้ว คติของเขาจักเป็น
อย่างไร ภพหน้าของเขาจักเป็นอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อย่าเลย เสนิยะ เธอจงงดเรื่องนี้เสียเถิด อย่าถามเรา
ถึงเรื่องนี้เลย”
แม้ครั้งที่ ๒ ชีเปลือยชื่อเสนิยะก็ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ ชีเปลือยชื่อเสนิยะผู้ประพฤติกุกกุรวัตร ก็ได้ทูลถามพระผู้มี
พระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นายปุณณะ โกลิยบุตร สมาทานโควัตรนั้น
อย่างสมบูรณ์แบบมาช้านานแล้ว คติของเขาจักเป็นอย่างไร ภพหน้าของเขาจักเป็น
อย่างไร”
[๘๐] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “เสนิยะ เราห้ามเธอไม่ได้แน่ว่า ‘อย่าเลย
เสนิยะ เธอจงงดเรื่องนี้เสียเถิด อย่าถามเราถึงเรื่องนี้เลย’ แต่เราจักชี้แจงให้เธอฟัง
บุคคลบางคนในโลกนี้บำเพ็ญโควัตร บำเพ็ญตนตามปกติแบบโค บำเพ็ญจิตแบบโค
บำเพ็ญกิริยาอาการแบบโคอย่างสมบูรณ์ไม่ขาดสาย ครั้นบำเพ็ญโควัตร บำเพ็ญตน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๗. กุกกุรวติกสูตร

ตามปกติแบบโค บำเพ็ญจิตแบบโค บำเพ็ญกิริยาอาการแบบโคอย่างสมบูรณ์ไม่ขาด
สายแล้ว หลังจากตายไป ย่อมไปเกิดในหมู่โค อนึ่ง ถ้าเขามีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘เราจัก
เป็นเทวดาหรือเทพองค์ใดองค์หนึ่งด้วยศีล วัตร ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้’ ทิฏฐิของ
เขานั้นจัดเป็นมิจฉาทิฏฐิ เรากล่าวว่า คติของผู้มีมิจฉาทิฏฐิมี ๒ อย่าง คือ (๑) นรก
(๒) กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
เสนิยะ โควัตรเมื่อใครประพฤติสมบูรณ์ ย่อมนำไปเกิดในหมู่โค เมื่อประพฤติ
บกพร่อง ย่อมนำไปเกิดในนรก ด้วยประการอย่างนี้”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว นายปุณณะ โกลิยบุตรผู้ประพฤติโควัตร
ถึงกับร้องไห้น้ำตานองหน้า
จากนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับชีเปลือยชื่อเสนิยะผู้ประพฤติกุกกุรวัตรว่า
“เสนิยะ เราห้ามเธอไม่ได้แน่ว่า ‘อย่าเลย เสนิยะ เธอจงงดเรื่องนี้เสียเถิด อย่าถาม
เราถึงเรื่องนี้เลย”
นายปุณณะ โกลิยบุตรกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์มิได้
ร้องไห้ถึงเรื่องที่พระผู้มีพระภาคตรัสกับข้าพระองค์ แม้ข้าพระองค์จะสมาทานโควัตร
นี้อย่างสมบูรณ์แบบมาช้านานแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เลื่อมใสใน
พระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า ‘พระผู้มีพระภาคเท่านั้นทรงสามารถแสดงธรรมโดยวิธีที่
ข้าพระองค์จะพึงละโควัตรนี้ได้ และชีเปลือยชื่อเสนิยะผู้ประพฤติกุกกุรวัตรจะพึงละ
กุกกุรวัตรนั้นได้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ปุณณะ ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
นายปุณณะ โกลิยบุตร ผู้ประพฤติโควัตร ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มี
พระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๗. กุกกุรวติกสูตร

กรรม ๔ ประการ

[๘๑] “ปุณณะ กรรม ๔ ประการนี้ เราทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว
จึงประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม
กรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กรรมดำมีวิบากดำ๑
๒. กรรมขาวมีวิบากขาว๒
๓. กรรมทั้งดำและขาว มีวิบากทั้งดำและขาว๓
๔. กรรมทั้งไม่ดำและไม่ขาว มีวิบากทั้งไม่ดำและไม่ขาว๔ เป็นไปเพื่อ
ความสิ้นกรรม
กรรมดำมีวิบากดำ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ปรุงแต่ง๕กายสังขาร๖ที่มีความเบียดเบียน๗ปรุงแต่ง
วจีสังขาร๘ที่มีความเบียดเบียน และปรุงแต่งมโนสังขาร๙ที่มีความเบียดเบียน เขา


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๗. กุกกุรวติกสูตร

ครั้นปรุงแต่งแล้วย่อมเข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียน ผัสสะที่มีความเบียดเบียนย่อม
ถูกต้องบุคคลผู้เข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียนนั้น เขาถูกผัสสะที่มีความเบียดเบียน
กระทบเข้า ย่อมเสวยเวทนาที่มีความเบียดเบียน เป็นทุกข์โดยส่วนเดียว เหมือน
สัตว์นรกทั้งหลาย
ปุณณะ เพราะกรรมที่มีดังนี้แล ความเกิดขึ้นของสัตว์จึงมีได้ สัตว์ย่อมเกิดขึ้น
เพราะกรรมที่ทำไว้ ผัสสะย่อมถูกต้องสัตว์ผู้เกิดแล้วนั้น เราจึงกล่าวอย่างนี้ว่า
‘สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้รับผลกรรม’ นี้เรียกว่า กรรมดำมีวิบากดำ (๑)
กรรมขาวมีวิบากขาว เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ปรุงแต่งกายสังขารที่ไม่มีความเบียดเบียน ปรุงแต่ง
วจีสังขารที่ไม่มีความเบียดเบียน และปรุงแต่งมโนสังขารที่ไม่มีความเบียดเบียน เขา
ครั้นปรุงแต่งแล้วย่อมเข้าถึงโลกที่ไม่มีความเบียดเบียน ผัสสะที่ไม่มีความเบียดเบียน
ย่อมถูกต้องบุคคลผู้เข้าถึงโลกที่ไม่มีความเบียดเบียนนั้น เขาถูกผัสสะที่ไม่มีความ
เบียดเบียนกระทบเข้า ย่อมเสวยเวทนาที่ไม่มีความเบียดเบียน เป็นสุขโดยส่วนเดียว
เหมือนเทพทั้งหลายชั้นสุภกิณหะ
ปุณณะ เพราะกรรมที่มีดังนี้แล ความเกิดขึ้นของสัตว์จึงมีได้ สัตว์ย่อมเกิดขึ้น
เพราะกรรมที่ทำไว้ ผัสสะย่อมถูกต้องสัตว์ผู้เกิดแล้วนั้น เราจึงกล่าวอย่างนี้ว่า
‘สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้รับผลกรรม’ นี้เรียกว่า กรรมขาวมีวิบากขาว (๒)
กรรมทั้งดำและขาวมีวิบากทั้งดำและขาว เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ปรุงแต่งกายสังขารที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความ
เบียดเบียนบ้าง ปรุงแต่งวจีสังขารที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง
และปรุงแต่งมโนสังขารที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง เขาครั้น
ปรุงแต่งแล้วย่อมเข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง
ผัสสะที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ย่อมถูกต้องบุคคลผู้เข้า
ถึงโลกที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้างนั้น เขาถูกผัสสะที่มีความ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๗. กุกกุรวติกสูตร

เบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้างกระทบเข้า ย่อมเสวยเวทนาที่มีความ
เบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง มีสุขและทุกข์ระคนกัน เหมือนมนุษย์
เทวดาบางพวก๑ และวินิปาติกะ๒บางพวก
ปุณณะ เพราะกรรมที่มีดังนี้แล ความเกิดขึ้นของสัตว์จึงมีได้ สัตว์ย่อม
เกิดขึ้นเพราะกรรมที่ทำไว้ ผัสสะย่อมถูกต้องสัตว์ผู้เกิดแล้วนั้น เราจึงกล่าว
อย่างนี้ว่า ‘สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้รับผลกรรม’ นี้เรียกว่า กรรมทั้งดำและขาว มีวิบาก
ทั้งดำและขาว (๓)
กรรมทั้งไม่ดำและไม่ขาว มีวิบากทั้งไม่ดำและไม่ขาว เป็นไปเพื่อความ
สิ้นกรรม เป็นอย่างไร
คือ บรรดากรรมเหล่านั้น เจตนา๓เพื่อละกรรมดำที่มีวิบากดำ เจตนาเพื่อละ
กรรมขาวที่มีวิบากขาว และเจตนาเพื่อละกรรมทั้งดำและขาว ที่มีวิบากทั้งดำและขาว
ปุณณะ เพราะกรรมที่มีดังนี้แล ความเกิดขึ้นของสัตว์จึงมีได้ สัตว์ย่อมเกิดขึ้น
เพราะกรรมที่ทำไว้ ผัสสะย่อมถูกต้องสัตว์ผู้เกิดแล้วนั้น เราจึงกล่าวอย่างนี้ว่า
‘สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้รับผลกรรม’ นี้เรียกว่า กรรมทั้งไม่ดำและไม่ขาว มีวิบากทั้ง
ไม่ดำและไม่ขาว เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม
ปุณณะ กรรม ๔ ประการนี้แล เราทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วจึง
ประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม (๔)”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๗. กุกกุรวติกสูตร

นายปุณณะแสดงตนเป็นอุบาสกและเสนิยะชีเปลือยขอบวช

[๘๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว นายปุณณะ โกลิยบุตร ผู้ประพฤติ
โควัตร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านพระโคดมทรง
ประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ
เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยตั้งใจว่า
‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค พร้อมทั้งพระธรรมและ
พระสงฆ์เป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
ส่วนชีเปลือยชื่อเสนิยะผู้ประพฤติกุกกุรวัตรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านพระโคดมทรง
ประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ
เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดี
จักเห็นรูปได้’ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์
เป็นสรณะ ข้าพระองค์พึงได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคเถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เสนิยะ ผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์ประสงค์จะบรรพชา
อุปสมบทในธรรมวินัยนี้ จะต้องอยู่ปริวาส ๔ เดือน หลังจาก ๔ เดือนล่วงไปแล้ว
เมื่อภิกษุพอใจก็จะให้บรรพชาอุปสมบทเป็นภิกษุ อนึ่ง ในเรื่องนี้ เราคำนึงถึงความ
แตกต่างระหว่างบุคคลด้วย”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๗. กุกกุรวติกสูตร

เขากราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หากผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์ประสงค์จะ
บรรพชาอุปสมบทในพระธรรมวินัยนี้ จะต้องอยู่ปริวาส๑ ๔ เดือน หลังจาก ๔ เดือน
ล่วงไปแล้ว เมื่อภิกษุพอใจก็จะให้บรรพชาอุปสมบทเป็นภิกษุ ข้าพระองค์จักขออยู่
ปริวาส ๔ ปี หลังจาก ๔ ปีล่วงไปแล้ว เมื่อภิกษุพอใจก็จงให้บรรพชาอุปสมบท
เป็นภิกษุเถิด”
ชีเปลือยชื่อเสนิยะผู้ประพฤติกุกกุรวัตร ได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของ
พระผู้มีพระภาค เมื่อบวชแล้วไม่นาน จากไปอยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร
อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนักได้ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่ง
พรหมจรรย์๒ ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วย
ปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว๓
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว๔ ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
จึงเป็นอันว่า ท่านพระเสนิยะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งบรรดาพระอรหันต์
ทั้งหลาย ดังนี้แล

กุกกุรวติกสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๘. อภยราชกุมารสูตร

๘. อภยราชกุมารสูตร
ว่าด้วยพระราชกุมารพระนามว่าอภัย

[๘๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้นแล พระราชกุมารพระนามว่าอภัยเสด็จเข้าไปหานิครนถ์
นาฏบุตรถึงที่อยู่ ทรงไหว้นิครนถ์ นาฏบุตรแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร นิครนถ์
นาฏบุตรได้ทูลอภัยราชกุมารว่า
“เสด็จไปเถิด พระราชกุมาร เชิญพระองค์เสด็จไปโต้วาทะกับพระสมณ-
โคดมเถิด เมื่อพระองค์ทรงโต้วาทะกับพระสมณโคดมอย่างนี้แล้ว กิตติศัพท์อันงาม
ของพระองค์จักระบือไปว่า ‘อภัยราชกุมารทรงโต้วาทะกับพระสมณโคดมผู้มีฤทธิ์มาก
มีอานุภาพมากอย่างนี้”
อภัยราชกุมารตรัสถามว่า “ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าจะโต้วาทะกับพระสมณโคดม
ผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ได้อย่างไร”
นิครนถ์ นาฏบุตรทูลตอบว่า “มาเถิดพระราชกุมาร เชิญพระองค์เสด็จเข้า
ไปเฝ้าพระสมณโคดมถึงที่ประทับ แล้วตรัสถามพระสมณโคดมอย่างนี้ว่า ‘ข้าแต่พระ
องค์ผู้เจริญ มีบ้างไหมที่พระตถาคตตรัสวาจาอันไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของ
คนอื่น’ ถ้าพระสมณโคดมถูกถามอย่างนี้แล้วจะทรงตอบว่า ‘ราชกุมาร มีบ้างที่
ตถาคตกล่าววาจาอันไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของคนอื่น’
พระองค์พึงทูลถามพระสมณโคดมอย่างนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเป็น
เช่นนั้น การกระทำของพระองค์จะต่างอะไรจากปุถุชน๑ เพราะปุถุชนก็กล่าววาจา
อันไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของคนอื่น’ ถ้าพระสมณโคดมถูกถามอย่างนี้แล้ว


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๘. อภยราชกุมารสูตร

จะทรงตอบว่า ‘ราชกุมาร ตถาคตไม่กล่าววาจาอันไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของ
คนอื่น’
พระองค์พึงทูลถามพระสมณโคดมอย่างนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเป็น
เช่นนั้น เพราะเหตุไร พระองค์จึงทรงพยากรณ์พระเทวทัตว่า ‘เทวทัตจักเกิดในอบาย
จักเกิดในนรก ดำรงอยู่สิ้น ๑ กัป เป็นผู้ที่ใคร ๆ เยียวยาไม่ได้ เพราะวาจาของ
พระองค์นั้น พระเทวทัตโกรธ เสียใจ’
พระราชกุมาร พระสมณโคดมถูกพระองค์ทูลถามปัญหา ๒ เงื่อนนี้แล้วจะทรง
กลืนไม่เข้า คายไม่ออก กระจับเหล็กติดอยู่ในลำคอของบุรุษ บุรุษนั้นไม่อาจกลืน
เข้าไป ไม่อาจคายออก แม้ฉันใด พระสมณโคดมก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถูกพระองค์
ทูลถามปัญหา ๒ เงื่อนนี้แล้วก็จะทรงกลืนไม่เข้า คายไม่ออก”
อภัยราชกุมารทรงรับคำนิครนถ์ นาฏบุตรแล้วเสด็จลุกจากที่ประทับทรงไหว้
นิครนถ์ นาฏบุตร กระทำประทักษิณแล้วเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร
[๘๔] อภัยราชกุมารประทับนั่ง ณ ที่สมควรแล้วทรงแหงนดูดวงอาทิตย์
ทรงดำริว่า “วันนี้ไม่ใช่เวลาสมควรที่จะโต้วาทะกับพระผู้มีพระภาค วันพรุ่งนี้เถิด
เราจะโต้วาทะกับพระผู้มีพระภาคในวังของเรา” จึงกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคมีพระองค์เป็นที่ ๔๑ โปรดทรงรับภัตตาหารของ
ข้าพระองค์ในวันพรุ่งนี้เถิด”
พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ
ลำดับนั้น อภัยราชกุมารทรงทราบอาการที่พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์แล้ว
จึงเสด็จลุกจากที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคทรงกระทำประทักษิณแล้ว
เสด็จจากไป


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๘. อภยราชกุมารสูตร

เมื่อล่วงราตรีนั้นไป เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกถือบาตร
และจีวร เสด็จเข้าไปยังวังของอภัยราชกุมาร ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว
ต่อมา อภัยราชกุมารทรงอังคาสพระผู้มีพระภาคให้อิ่มหนำสำราญด้วยของเคี้ยว
ของฉันอันประณีตด้วยพระองค์เอง เมื่อพระผู้มีพระภาคเสวยเสร็จทรงวางพระหัตถ์แล้ว
อภัยราชกุมารจึงทรงเลือกประทับนั่ง ณ ที่สมควร ที่ใดที่หนึ่งซึ่งต่ำกว่า

ถ้อยคำอันไม่เป็นที่รัก

[๘๕] อภัยราชกุมารประทับนั่ง ณ ที่สมควรแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระตถาคต๑จะพึงตรัสวาจาอันไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจ
ของคนอื่นบ้างหรือหนอ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ราชกุมาร ในปัญหาข้อนี้ จะวิสัชนาโดยส่วน
เดียวมิได้”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะปัญหาข้อนี้ พวกนิครนถ์ฉิบหายแล้ว”
“ราชกุมาร เหตุไฉน พระองค์จึงตรัสอย่างนี้เล่า”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะปัญหาข้อนี้ พวกนิครนถ์ได้ฉิบหายแล้ว ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส หม่อมฉันเข้าไปหานิครนถ์ นาฏบุตรถึงที่อยู่
ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่สมควร นิครนถ์ นาฏบุตรได้บอกว่า ‘เสด็จไปเถิดพระราชกุมาร
เชิญพระองค์เสด็จไปโต้วาทะกับพระสมณโคดมเถิด เมื่อพระองค์ทรงโต้วาทะกับพระ
สมณโคดมอย่างนี้ กิตติศัพท์อันงามของพระองค์จักระบือไปว่า ‘อภัยราชกุมารทรง
โต้วาทะกับพระสมณโคดมผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากอย่างนี้’
เมื่อนิครนถ์ นาฏบุตรกล่าวอย่างนี้ ข้าพระองค์ได้ถามว่า ‘ท่านขอรับ ข้าพเจ้า
จะโต้วาทะกับท่านพระสมณโคดมผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากอย่างนี้ ได้อย่างไร’
นิครนถ์ นาฏบุตรตอบว่า ‘มาเถิดพระราชกุมาร เชิญพระองค์เสด็จเข้าไปเฝ้าพระสมณ-
โคดมถึงที่ประทับแล้วทูลถามอย่างนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีบ้างไหมที่พระตถาคต


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๘. อภยราชกุมารสูตร

ตรัสวาจาอันไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของคนอื่น’ ถ้าพระสมณโคดมถูกถามอย่างนี้
แล้วจะทรงตอบว่า ‘ราชกุมาร มีบ้างที่ตถาคตกล่าววาจาอันไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจ
ของคนอื่น’
พระองค์พึงทูลถามพระสมณโคดมอย่างนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเป็น
เช่นนั้น การกระทำของพระองค์จะต่างอะไรจากปุถุชน เพราะปุถุชนก็กล่าววาจาอัน
ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของคนอื่น’ ถ้าพระสมณโคดมถูกพระองค์ทูลถามอย่างนี้
แล้วจะทรงตอบอย่างนี้ว่า ‘ราชกุมาร ตถาคตไม่กล่าววาจาอันไม่เป็นที่รัก ไม่เป็น
ที่ชอบใจของคนอื่น’
พระองค์พึงทูลถามพระสมณโคดมอย่างนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเป็น
เช่นนั้น เพราะเหตุไร พระองค์จึงทรงพยากรณ์พระเทวทัตว่า ‘เทวทัตจักเกิดในอบาย
จักเกิดในนรก ดำรงอยู่สิ้น ๑ กัป เป็นผู้ที่ใคร ๆ เยียวยาไม่ได้’ เพราะวาจาของ
พระองค์นั้น พระเทวทัตโกรธ เสียใจ’
พระราชกุมาร พระสมณโคดมถูกพระองค์ทูลถามปัญหา ๒ เงื่อนนี้แล้วจะ
ทรงกลืนไม่เข้า คายไม่ออก กระจับเหล็กติดอยู่ในลำคอของบุรุษ บุรุษนั้นไม่อาจ
กลืนเข้าไปได้ ไม่อาจคลายออก แม้ฉันใด พระสมณโคดมก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ถูกพระองค์ทูลถามปัญหา ๒ เงื่อนนี้แล้วจะทรงกลืนไม่เข้า คายไม่ออก”

เกณฑ์ในการตรัสวาจาของพระพุทธเจ้า

[๘๖] ขณะนั้นเอง กุมารน้อยยังนอนหงายอยู่บนพระเพลาของอภัยราชกุมาร
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับอภัยราชกุมารว่า “ราชกุมาร พระองค์เข้าพระทัย
ความข้อนั้นว่าอย่างไร ถ้ากุมารน้อยนี้อาศัยความประมาทของพระองค์หรือของหญิง
พี่เลี้ยง พึงนำไม้หรือก้อนกรวดมาใส่ปาก พระองค์จะพึงปฏิบัติกับกุมารน้อยนั้นอย่างไร”
อภัยราชกุมารกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันจะนำออกเสีย
ถ้าหม่อมฉันไม่อาจจะนำออกแต่ทีแรกได้ หม่อมฉันก็จะเอามือซ้ายประคองศีรษะ
แล้วงอนิ้วมือขวา ล้วงเอาไม้หรือก้อนกรวดพร้อมด้วยเลือดออกเสีย ข้อนั้นเพราะ
เหตุไร เพราะหม่อมฉันมีความเอ็นดูในกุมารน้อย”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๘. อภยราชกุมารสูตร

“ราชกุมาร ตถาคตก็อย่างนั้นเหมือนกัน รู้วาจาที่ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบ
ด้วยประโยชน์ และวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของคนอื่น ตถาคตไม่กล่าว
วาจานั้น
อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาที่จริง ที่แท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และวาจานั้น
ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของคนอื่น ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาที่จริง ที่แท้ และประกอบด้วยประโยชน์ แต่วาจานั้นไม่เป็น
ที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของคนอื่น ในข้อนั้น ตถาคตรู้กาลที่จะกล่าววาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาที่ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ แต่วาจานั้นเป็นที่รัก
เป็นที่ชอบใจของคนอื่น ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาที่จริง ที่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ แต่วาจานั้นเป็นที่รัก
เป็นที่ชอบใจของคนอื่น ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น
อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาที่จริง ที่แท้ ที่ประกอบด้วยประโยชน์ และวาจานั้น
เป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของคนอื่น ในข้อนั้น ตถาคตรู้กาลที่จะกล่าววาจานั้น ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะตถาคตมีความเอ็นดูในหมู่สัตว์ทั้งหลาย”

พุทธปฏิภาณ

[๘๗] “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กษัตริย์ผู้เป็นบัณฑิตก็ดี พราหมณ์ผู้เป็น
บัณฑิตก็ดี คหบดีผู้เป็นบัณฑิตก็ดี สมณะผู้เป็นบัณฑิตก็ดี ตั้งปัญหาแล้วเข้ามา
เฝ้าพระตถาคต ทูลถามปัญหานั้น การตอบปัญหาของบัณฑิตเหล่านั้น พระผู้มี
พระภาคทรงตรึกด้วยพระหทัยก่อนว่า ‘บัณฑิตทั้งหลายจักเข้ามาหาเราแล้วทูลถาม
ปัญหาอย่างนี้ เราเมื่อบัณฑิตเหล่านั้นทูลถามอย่างนี้แล้ว จักตอบอย่างนี้’ หรือ
ว่าคำตอบนั้นปรากฏแก่พระตถาคตโดยทันที”
“ราชกุมาร ถ้าเช่นนั้น ในข้อนี้ ตถาคตจักถามพระองค์บ้าง ข้อนี้พระองค์
เห็นควรอย่างไร พระองค์พึงตอบอย่างนั้น พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้น
ว่าอย่างไร พระองค์เป็นผู้ชำนาญในองค์ประกอบน้อยใหญ่ของรถ มิใช่หรือ”
“ใช่ พระพุทธเจ้าข้า หม่อมฉันเป็นผู้ชำนาญในองค์ประกอบน้อยใหญ่ของรถ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๘. อภยราชกุมารสูตร

“ราชกุมาร พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร ชนทั้งหลายเข้า
ไปเฝ้าพระองค์แล้วทูลถามอย่างนี้ว่า ‘องค์ประกอบน้อยใหญ่ของรถคันนี้ชื่ออะไร’
การตอบปัญหาของชนเหล่านั้น พระองค์ตรึกด้วยพระทัยก่อนว่า ‘ชนทั้งหลายเข้า
มาหาเราแล้วจักถามอย่างนี้ เราเมื่อถูกชนเหล่านั้นถามอย่างนี้ จักตอบอย่างนี้’
หรือว่าคำตอบนั้นปรากฏแก่พระองค์โดยทันที”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะหม่อมฉันเป็นผู้เชี่ยวชาญรู้จักรถเป็นอย่างดี
ชำนาญในองค์ประกอบน้อยใหญ่ของรถ องค์ประกอบน้อยใหญ่ของรถทั้งหมด
หม่อมฉันทราบดีแล้ว ฉะนั้นการตอบปัญหานั้นปรากฏแก่หม่อมฉันโดยทันที”
“ราชกุมาร กษัตริย์ผู้เป็นบัณฑิตก็ดี พราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตก็ดี คหบดี
ผู้เป็นบัณฑิตก็ดี สมณะผู้เป็นบัณฑิตก็ดี ตั้งปัญหาแล้วจักเข้ามาหาตถาคต ถาม
ปัญหานั้น การตอบปัญหานั้นปรากฏแก่ตถาคตโดยทันทีเหมือนกัน ข้อนั้นเพราะ
เหตุไร เพราะธรรมธาตุ๑นั้น ตถาคตแทงตลอดดีแล้ว การตอบปัญหานั้นปรากฏ
แก่ตถาคตโดยทันที”

อภัยราชกุมารแสดงตนเป็นอุบาสก

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว อภัยราชกุมารได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระผู้มีพระภาค
ทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ
เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดี
จักเห็นรูปได้’ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์
เป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่
วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต” ดังนี้แล

อภยราชกุมารสูตรที่ ๘ จบ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๙. พหุเวทนิยสูตร

๙. พหุเวทนิยสูตร
ว่าด้วยเวทนาหลายประเภท

[๘๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะเข้าไปหาท่านพระอุทายี
ถึงที่อยู่ ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้เรียนถามท่านพระอุทายีว่า “ท่านอุทายี
พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนาไว้เท่าไร ขอรับ”
ท่านพระอุทายีตอบว่า “ช่างไม้ พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนาไว้ ๓ ประการ คือ
(๑) สุขเวทนา (๒) ทุกขเวทนา (๓) อทุกขมสุขเวทนา พระผู้มีพระภาคตรัส
เวทนาไว้ ๓ ประการนี้”
เมื่อท่านพระอุทายีกล่าวอย่างนี้แล้ว ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะได้กล่าวกับท่าน
พระอุทายีว่า “ท่านอุทายี พระผู้มีพระภาคไม่ได้ตรัสเวทนาไว้ ๓ ประการ แต่พระ
ผู้มีพระภาคตรัสไว้ ๒ ประการ คือ (๑) สุขเวทนา (๒) ทุกขเวทนา
ท่านผู้เจริญ อทุกขมสุขเวทนาพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ในสุขที่สงบประณีต”
แม้ครั้งที่ ๒ ท่านพระอุทายีก็ได้กล่าวกับช่างไม้ชื่อปัญจกังคะว่า “ช่างไม้
พระผู้มีพระภาคไม่ได้ตรัสเวทนาไว้ ๒ ประการ แต่พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนาไว้
๓ ประการ คือ (๑) สุขเวทนา (๒) ทุกขเวทนา (๓) อทุกขมสุขเวทนา
พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนาไว้ ๓ ประการนี้”
แม้ครั้งที่ ๒ ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะก็ได้กล่าวกับท่านพระอุทายีว่า “ท่านอุทายี
พระผู้มีพระภาคไม่ได้ตรัสเวทนาไว้ ๓ ประการ แต่พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนาไว้
๒ ประการ คือ (๑) สุขเวทนา (๒) ทุกขเวทนา
ท่านผู้เจริญ อทุกขมสุขเวทนาพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ในสุขที่สงบประณีต”
แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระอุทายีก็ได้กล่าวกับช่างไม้ชื่อปัญจกังคะว่า “ช่างไม้
พระผู้มีพระภาคไม่ได้ตรัสเวทนาไว้ ๒ ประการ แต่พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนาไว้
๓ ประการ คือ (๑) สุขเวทนา (๒) ทุกขเวทนา (๓) อทุกขมสุขเวทนา
พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนาไว้ ๓ ประการนี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๙. พหุเวทนิยสูตร

แม้ครั้งที่ ๓ ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะก็ได้กล่าวกับท่านพระอุทายีว่า “ท่านอุทายี
พระผู้มีพระภาคไม่ได้ตรัสเวทนาไว้ ๓ ประการ แต่พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนาไว้
เพียง ๒ ประการ คือ (๑) สุขเวทนา (๒) ทุกขเวทนา
ท่านผู้เจริญ อทุกขมสุขเวทนาพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ในสุขที่สงบประณีต”
ท่านพระอุทายีไม่สามารถให้ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะยินยอมได้ ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะ
ก็ไม่สามารถให้ท่านพระอุทายียินยอมได้
[๘๙] ท่านพระอานนท์ได้ยินการสนทนาปราศรัยนี้ของท่านพระอุทายีกับ
ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะ จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง
ณ ที่สมควร ได้กราบทูลถึงการสนทนาปราศรัยของท่านพระอุทายีกับช่างไม้ชื่อ
ปัญจกังคะทั้งหมดนั้นแด่พระผู้มีพระภาค เมื่อท่านพระอานนท์กราบทูลอย่างนี้แล้ว
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระอานนท์ว่า
“อานนท์ ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะไม่คล้อยตามบรรยาย๑ที่มีอยู่ของอุทายี ส่วน
อุทายีก็ไม่คล้อยตามบรรยายที่มีอยู่ของช่างไม้ชื่อปัญจกังคะ

ประเภทแห่งเวทนา

อานนท์ เรากล่าวเวทนา ๒ ประการไว้โดยบรรยายก็มี กล่าวเวทนา
๓ ประการไว้โดยบรรยายก็มี กล่าวเวทนา ๕ ประการไว้โดยบรรยายก็มี กล่าว
เวทนา ๖ ประการไว้โดยบรรยายก็มี กล่าวเวทนา ๑๘ ประการไว้โดยบรรยายก็มี
กล่าวเวทนา ๓๖ ประการไว้โดยบรรยายก็มี กล่าวเวทนา ๑๐๘ ประการไว้โดย
บรรยายก็มี
ธรรมอันเราแสดงไว้แล้วโดยบรรยายอย่างนี้ เมื่อธรรมอันเราแสดงไว้แล้วโดย
บรรยายอย่างนี้ ชนเหล่าใดจักไม่รู้ ไม่สำคัญ ไม่ชื่นชมตามคำที่เรากล่าวเจรจาดีแล้ว
แก่กันและกัน ชนเหล่านั้นพึงหวังได้ว่า จักบาดหมางกัน ทะเลาะกัน วิวาทกัน
ใช้หอกคือปากทิ่มแทงกันอยู่


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๙. พหุเวทนิยสูตร

ธรรมอันเราแสดงไว้แล้วโดยบรรยายอย่างนี้ เมื่อธรรมอันเราแสดงไว้แล้วโดย
บรรยายอย่างนี้ ชนเหล่าใดจักรู้ สำคัญ ชื่นชมตามคำที่เรากล่าวเจรจาดีแล้ว
แก่กันและกัน ชนเหล่านั้นพึงหวังได้ว่า จักพร้อมเพรียงกัน ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน
เป็นเหมือนน้ำนมกับน้ำ มองดูกันด้วยนัยน์ตาที่เปี่ยมด้วยความรักอยู่

กามสุข

[๙๐] อานนท์ กามคุณ ๕ ประการนี้
กามคุณ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
๒. เสียงที่จะพึงรู้แจ้งทางหู ...
๓. กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งทางจมูก ...
๔. รสที่จะพึงรู้แจ้งทางลิ้น ...
๕. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
กามคุณ ๕ ประการนี้
สุขโสมนัสที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยกามคุณ ๕ ประการนี้ เราเรียกว่า กามสุข
ชนใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ชนทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัสที่สงบอย่างยิ่งนี้’
เราก็ไม่คล้อยตามคำของชนนั้น
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะยังมีสุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๙. พหุเวทนิยสูตร

สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่า

สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน
ที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่
นี้แล ชื่อว่าสุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้
ชนใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ชนทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัสที่สงบอย่างยิ่งนี้’ เราก็
ไม่คล้อยตามคำของชนนั้น
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะยังมีสุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้
สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เป็นอย่างไร
คือ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรลุทุติยฌาน มีความ
ผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข
อันเกิดจากสมาธิอยู่ ... บรรลุตติยฌาน ... บรรลุจตุตถฌาน ... อยู่
นี้แล ชื่อว่าสุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้
ชนใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ฯลฯ
สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนด
นานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง บรรลุอากาสานัญจายตนฌานอยู่โดยกำหนดว่า
‘อากาศหาที่สุดมิได้’
นี้แล ชื่อว่าสุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้
ชนใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๙. พหุเวทนิยสูตร

สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจา-
ยตนฌานอยู่ โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’
นี้แล ชื่อว่าสุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้
ชนใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ฯลฯ
สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงฌานได้โดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญา-
ยตนฌานอยู่ โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’
นี้แล ชื่อว่าสุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้
ชนใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ฯลฯ
สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญา-
นาสัญญายตนฌานอยู่
นี้แล ชื่อว่าสุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้
อานนท์ ชนใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ชนทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัสที่สงบ
อย่างยิ่งนี้’ เราก็มิได้คล้อยตามคำของชนนั้น
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะยังมีสุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้
สุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงฌานได้โดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญา-
เวทยิตนิโรธอยู่
นี้แล ชื่อว่าสุขอื่นที่ดีกว่าและประณีตกว่าสุขนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑๐. อปัณณกสูตร

[๙๑] อานนท์ เป็นไปได้ที่อัญเดียรถีย์ปริพาชกทั้งหลายจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า
‘เป็นไปได้หรือ เป็นไปได้อย่างไรที่พระสมณโคดมกล่าวสัญญาเวทยิตนิโรธ และ
บัญญัติสัญญาเวทยิตนิโรธนั้นไว้ในสุข’
อานนท์ อัญเดียรถีย์ปริพาชกทั้งหลายผู้กล่าวอย่างนี้ เธอทั้งหลายพึงค้านว่า
‘ท่านทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคไม่ได้ทรงหมายถึงสุขเวทนาเพียงอย่างเดียวแล้ว
บัญญัติสัญญาเวทยิตนิโรธนั้นไว้ในสุขเลย แต่บุคคลย่อมประสบสุขในฐานะใด ๆ มีสุข
ในฐานะใด ๆ พระตถาคตจึงทรงบัญญัติฐานะนั้น ๆ ไว้ในสุข”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์มีใจยินดีชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

พหุเวทนิยสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. อปัณณกสูตร
ว่าด้วยการปฏิบัติไม่ผิด
พระพุทธเจ้าเสด็จโปรดชาวบ้านสาลา

[๙๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศล พร้อมกับภิกษุสงฆ์
หมู่ใหญ่ เสด็จถึงบ้านพราหมณ์ของชาวโกศลชื่อสาลา พราหมณ์และคหบดีชาวบ้าน
สาลาได้สดับข่าวว่า
“ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้ยินว่า ท่านพระสมณโคดมเป็นศากยบุตร เสด็จ
ออกผนวชจากศากยตระกูล เสด็จจาริกอยู่ในแคว้นโกศล พร้อมกับภิกษุสงฆ์
หมู่ใหญ่เสด็จถึงบ้านพราหมณ์ชื่อสาลาโดยลำดับ ท่านพระโคดมนั้นมีกิตติศัพท์
อันงามขจรไปอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็น
พระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑๐. อปัณณกสูตร

เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ พระองค์ทรงรู้แจ้ง
โลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์
เทวดาและมนุษย์ด้วยพระองค์เองแล้ว ทรงประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม ทรงแสดงธรรมมี
ความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ทรงประกาศ
พรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วน การได้พบ
พระอรหันต์ทั้งหลายเช่นนี้เป็นความดีอย่างแท้จริง”
ครั้งนั้น พราหมณ์และคหบดีชาวบ้านสาลาเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ บางพวกถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวกทูลสนทนาปราศรัย
พอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวกประนมมือ
ไปทางที่พระผู้มีพระภาคประทับนั่งแล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวกประกาศชื่อและ
โคตรในสำนักของพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวกก็นั่งนิ่งอยู่ ณ ที่
สมควร

ตรัสอปัณณกธรรม

[๙๓] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับพราหมณ์และคหบดีชาวบ้านสาลาผู้นั่ง
เรียบร้อยแล้วว่า
“พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ศาสดาองค์ใดองค์หนึ่งซึ่งเป็นที่ชอบใจของ
ท่านทั้งหลาย เป็นเหตุให้ได้ศรัทธาที่มีเหตุผล มีอยู่หรือ”
พราหมณ์และคหบดีเหล่านั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ศาสดา
องค์ใดองค์หนึ่ง ซึ่งเป็นที่ชอบใจของข้าพระองค์ทั้งหลาย เป็นเหตุให้ได้ศรัทธาที่
มีเหตุผล ยังไม่มีเลย”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑๐. อปัณณกสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย เมื่อท่านทั้งหลาย
ยังไม่ได้ศาสดาเป็นที่ชอบใจ พึงสมาทานอปัณณกธรรม๑นี้แล้วประพฤติตามเถิด
เพราะว่า อปัณณกธรรมที่ท่านทั้งหลายสมาทานให้บริบูรณ์ จักเป็นไปเพื่อประโยชน์
เกื้อกูล เพื่อสุขแก่ท่านทั้งหลายตลอดกาลนาน
อปัณณกธรรมนั้น เป็นอย่างไร

นัตถิกทิฏฐิกับอัตถิกทิฏฐิ

[๙๔] คือ มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า
‘ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล การเซ่นสรวงก็ไม่มีผล ผลวิบาก
แห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วก็ไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มีคุณ บิดาไม่มีคุณ
โอปปาติก๒สัตว์ก็ไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติปฏิบัติชอบ ทำให้แจ้งโลกนี้และ
โลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ก็ไม่มีในโลก’
สมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่งมีวาทะเป็นข้าศึกโดยตรงต่อสมณพราหมณ์เหล่านั้น
พวกเขากล่าวอย่างนี้ว่า ‘ทานที่ให้แล้วมีผล ยัญที่บูชาแล้วมีผล การเซ่นสรวงก็มีผล
ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วมี โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามีคุณ บิดามีคุณ
โอปปาติกสัตว์มีอยู่ สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติปฏิบัติชอบ ทำให้แจ้งโลกนี้และ
โลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ก็มีอยู่ในโลก’
พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร สมณ-
พราหมณ์เหล่านี้มีวาทะขัดแย้งกันโดยตรง มิใช่หรือ”
พราหมณ์และคหบดีเหล่านั้นกราบทูลว่า “ใช่ พระพุทธเจ้าข้า”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑๐. อปัณณกสูตร

โทษแห่งการปฏิบัติผิด

[๙๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย บรรดาสมณ-
พราหมณ์ ๒ จำพวกนั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า
‘ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล การเซ่นสรวงก็ไม่มีผล ฯลฯ สมณพราหมณ์
ผู้ประพฤติปฏิบัติชอบ ทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนให้
ผู้อื่นรู้แจ้ง ก็ไม่มีในโลก’ สมณพราหมณ์เหล่านั้น พึงหวังข้อนี้ได้ คือ จักเว้นกุศล-
ธรรม ๓ ประการนี้ ได้แก่ (๑) กายสุจริต (๒) วจีสุจริต (๓) มโนสุจริต จักสมาทาน
อกุศลธรรม ๓ ประการนี้ ได้แก่ (๑) กายทุจริต (๒) วจีทุจริต (๓) มโนทุจริต
แล้วประพฤติอยู่
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้นไม่เห็นโทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมอง
แห่งอกุศลธรรม ไม่เห็นอานิสงส์ในเนกขัมมะอันเป็นฝ่ายผ่องแผ้วแห่งกุศลธรรม
อนึ่ง โลกหน้ามี แต่เขากลับเห็นว่า ‘โลกหน้าไม่มี’ ความเห็นนั้นของเขาจึงเป็น
มิจฉาทิฏฐิ โลกหน้ามี แต่เขาดำริว่า ‘โลกหน้าไม่มี’ ความดำรินั้นของเขาจึงเป็น
มิจฉาสังกัปปะ โลกหน้ามี แต่เขากล่าวว่า ‘โลกหน้าไม่มี’ วาจานั้นของเขาจึงเป็น
มิจฉาวาจา โลกหน้ามี เขากล่าวว่า ‘โลกหน้าไม่มี’ ผู้นี้ย่อมทำตนเป็นข้าศึกต่อ
พระอรหันต์ผู้รู้แจ้งโลกหน้า โลกหน้ามี เขาทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่า ‘โลกหน้าไม่มี’ การที่
เขาทำให้ผู้อื่นเข้าใจเช่นนั้น เป็นการทำให้เข้าใจผิดจากความเป็นจริง และเขา
ยังจะยกตนข่มผู้อื่น ด้วยการทำให้เข้าใจผิดจากความเป็นจริงนั้น โดยนัยนี้ เริ่มต้น
เขาก็ละทิ้งความเป็นผู้มีศีลดีงามแล้วตั้งตนเป็นคนทุศีล เพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย
บาปอกุศลธรรมเป็นอเนกเหล่านี้ คือ มิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวาจา
ความเป็นข้าศึกกับพระอริยะ การทำให้ผู้อื่นเข้าใจผิดจากความเป็นจริง การยกตน
การข่มผู้อื่น ย่อมเกิดขึ้น ด้วยประการอย่างนี้
พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ในลัทธิของสมณพราหมณ์เหล่านั้น วิญญูชน
ย่อมเห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘ถ้าโลกหน้าไม่มี เมื่อเป็นอย่างนี้ บุรุษบุคคลนี้หลังจาก
ตายแล้วจักทำตนให้มีความสวัสดีได้ ถ้าโลกหน้ามีจริง เมื่อเป็นอย่างนี้ บุรุษบุคคลนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑๐. อปัณณกสูตร

หลังจากตายแล้ว จักไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก๑ถ้าโลกหน้าไม่มีจริง คำของ
สมณพราหมณ์เหล่านั้นจะจริงหรือไม่ก็ช่างเถิด เมื่อเป็นเช่นนั้น บุรุษบุคคลนี้ย่อม
กูกวิญญูชน ติเตียนได้ในปัจจุบันว่า ‘เป็นบุรุษบุคคลผู้ทุศีล เป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็น
นัตถิกวาทะ’
ถ้าโลกหน้ามีจริง บุรุษบุคคลนี้จะได้รับโทษในโลกทั้ง ๒ คือ (๑) ในปัจจุบัน
ถูกวิญญูชนติเตียนได้ (๒) หลังจากตายแล้วจักไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
อย่างนี้
อปัณณกธรรมนี้ ที่บุคคลนั้นสมาทานให้บริบูรณ์ไม่ดี แพร่ดิ่งไปฝ่ายเดียว๒
ย่อมละเหตุที่เป็นกุศล ด้วยประการอย่างนี้

คุณแห่งการปฏิบัติชอบ

[๙๖] พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์ ๒ จำพวกนั้น
สมณพราหมณ์เหล่าใดผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ทานที่ให้แล้วมีผล ฯลฯ
สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติปฏิบัติชอบ ทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่ง
เองแล้วสอนให้ผู้อื่นรู้แจ้ง มีอยู่ในโลก’ สมณพราหมณ์เหล่านั้นพึงหวังข้อนี้ได้ คือ
จักเว้นอกุศลธรรม ๓ ประการนี้ ได้แก่ (๑) กายทุจริต (๒) วจีทุจริต (๓) มโนทุจริต
จักสมาทานกุศลธรรม ๓ ประการนี้ ได้แก่ (๑) กายสุจริต (๒) วจีสุจริต (๓) มโนสุจริต
แล้วประพฤติอยู่
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้นเห็นโทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมองแห่ง
อกุศลธรรม เห็นอานิสงส์ในเนกขัมมะอันเป็นฝ่ายผ่องแผ้วแห่งกุศลธรรม
อนึ่ง โลกหน้ามี เขาเห็นว่า ‘โลกหน้ามีจริง’ ความเห็นนั้นของเขา จึงเป็น
สัมมาทิฏฐิ โลกหน้ามีจริง เขาดำริว่า ‘โลกหน้ามีจริง’ ความดำรินั้นของเขาจึงเป็น
สัมมาสังกัปปะ โลกหน้ามีจริง เขากล่าวว่า ‘โลกหน้ามีจริง’ วาจานั้นของเขาจึงเป็น


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑๐. อปัณณกสูตร

สัมมาวาจา โลกหน้ามีจริง เขากล่าวว่า ‘โลกหน้ามีจริง’ ผู้นี้ชื่อว่าไม่ทำตนเป็นข้าศึก
กับพระอรหันต์ผู้รู้แจ้งโลกหน้า โลกหน้ามี เขาทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่า ‘โลกหน้ามีจริง’
การที่เขาทำให้ผู้อื่นเข้าใจเช่นนั้น เป็นการทำให้เข้าใจถูกตามความเป็นจริง และเขา
ย่อมไม่ยกตนข่มผู้อื่น ด้วยการทำให้เข้าใจถูกตามความเป็นจริงนั้น โดยนัยนี้ เริ่มต้น
เขาก็ละทิ้งความเป็นผู้ทุศีล แล้วตั้งตนเป็นคนมีศีลดีงาม เพราะสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย
กุศลธรรมเป็นอเนกเหล่านี้ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา ความไม่
เป็นข้าศึกกับพระอริยะ การทำให้เข้าใจถูกตามความเป็นจริง การไม่ยกตน การไม่
ข่มผู้อื่น ย่อมเกิดขึ้น ด้วยประการอย่างนี้
พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ในลัทธิของสมณพราหมณ์เหล่านั้น วิญญูชน
ย่อมเห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘ถ้าโลกหน้ามี เมื่อเป็นอย่างนี้ บุรุษบุคคลนี้ หลังจาก
ตายแล้วจักไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์’ ถ้าโลกหน้าไม่มีจริง คำของสมณพราหมณ์
เหล่านั้นจะจริงหรือไม่ก็ช่างเถิด เมื่อเป็นเช่นนั้น บุรุษบุคคลนี้ก็ย่อมได้รับคำสรรเสริญ
จากวิญญูชนในปัจจุบันว่า ‘เป็นบุรุษบุคคลผู้มีศีล เป็นสัมมาทิฏฐิ เป็นอัตถิกวาทะ’
ถ้าโลกหน้ามีจริง บุรุษบุคคลนี้ก็จะได้รับคุณในโลกทั้ง ๒ คือ (๑) ในปัจจุบัน
วิญญูชนย่อมสรรเสริญ (๒) หลังจากตายแล้วจักไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ อย่างนี้
อปัณณกธรรมนี้ ที่บุคคลนั้นสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว แพร่ดิ่งไปทั้งสองฝ่าย๑
ย่อมละเหตุที่เป็นอกุศลได้ ด้วยประการอย่างนี้

อกิริยทิฏฐิกับกิริยทิฏฐิ

[๙๗] พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งผู้มีวาทะ
อย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำ ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด
เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ทำให้เศร้าโศกเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้เศร้าโศก
ทำให้ลำบากเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้ลำบาก ดิ้นรนเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้ดิ้นรน ฆ่าสัตว์
ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ ตัดช่องย่องเบา ปล้นเรือนหลังเดียว ดักจี้ในทาง
เปลี่ยว เป็นชู้ พูดเท็จ ผู้ทำ(เช่นนั้น) ก็ไม่จัดว่าทำบาป


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑๐. อปัณณกสูตร

แม้หากบุคคลใช้จักรมีคมดุจมีดโกนสังหารเหล่าสัตว์ในปฐพีนี้ให้เป็นดุจลาน
ตากเนื้อ ให้เป็นกองเนื้อเดียวกัน เขาย่อมไม่มีบาปที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มีบาปมา
ถึงเขา
แม้หากบุคคลไปฝั่งขวาแม่น้ำคงคา ฆ่าเอง ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด
เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน เขาย่อมไม่มีบาปที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มีบาป
มาถึงเขา
แม้หากบุคคลไปฝั่งซ้ายแม่น้ำคงคา ให้เอง ใช้ให้ผู้อื่นให้ บูชาเอง ใช้ให้ผู้อื่นบูชา
เขาย่อมไม่มีบุญที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มีบุญมาถึงเขา ไม่มีบุญที่เกิดจากการให้ทาน
จากการฝึกอินทรีย์ จากการสำรวม จากการพูดคำสัตย์ ไม่มีบุญมาถึงเขา’
สมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่ง มีวาทะขัดแย้งกันโดยตรงกับสมณพราหมณ์
เหล่านั้น พวกเขากล่าวอย่างนี้ว่า ‘เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำ ตัดเอง ใช้ให้
ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ทำให้เศร้าโศกเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้
เศร้าโศก ทำให้ลำบากเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้ลำบาก ดิ้นรนเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้ดิ้นรน
ฆ่าสัตว์ ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ ตัดช่องย่องเบา ปล้นเรือนหลังเดียว
ดักจี้ในทางเปลี่ยว เป็นชู้ พูดเท็จ ผู้ทำ(เช่นนั้น)จัดว่าทำบาป
แม้หากบุคคลใช้จักรมีคมดุจมีดโกนสังหารเหล่าสัตว์ในปฐพีนี้ให้เป็นดุจลาน
ตากเนื้อ ให้เป็นกองเนื้อเดียวกัน เขาย่อมมีบาปที่เกิดจากกรรมนั้น มีบาปมาถึงเขา
แม้หากบุคคลไปฝั่งขวาแม่น้ำคงคา ฆ่าเอง ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด
เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน เขาย่อมมีบาปที่เกิดจากกรรมนั้น มีบาป
มาถึงเขา
แม้หากบุคคลไปฝั่งซ้ายแม่น้ำคงคา ให้เอง ใช้ให้ผู้อื่นให้ บูชาเอง ใช้ให้
ผู้อื่นบูชา เขาย่อมมีบุญที่เกิดจากกรรมนั้น มีบุญมาถึงเขา ย่อมมีบุญที่เกิดจากการ
ให้ทาน จากการฝึกอินทรีย์ จากการสำรวม จากการพูดคำสัตย์ มีบุญมาถึงเขา’
ท่านทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร สมณพราหมณ์เหล่านี้มีวาทะขัดแย้งกัน
โดยตรง มิใช่หรือ”
พราหมณ์และคหบดีเหล่านั้นกราบทูลว่า “ใช่ พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑๐. อปัณณกสูตร

โทษแห่งการปฏิบัติผิด

[๙๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย บรรดาสมณ-
พราหมณ์ ๒ จำพวกนั้น สมณพราหมณ์เหล่าใดผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า
‘เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำ ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่น
เบียดเบียน ทำให้เศร้าโศกเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้เศร้าโศก ทำให้ลำบากเอง ใช้ให้ผู้อื่น
ทำให้ลำบาก ดิ้นรนเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้ดิ้นรน ฆ่าสัตว์ ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขา
ไม่ได้ให้ ตัดช่องย่องเบา ปล้นเรือนหลังเดียว ดักจี้ในทางเปลี่ยว เป็นชู้ พูดเท็จ
ผู้ทำ(เช่นนั้น) ก็ไม่จัดว่าทำบาป
แม้หากบุคคลใช้จักรมีคมดุจมีดโกนสังหารเหล่าสัตว์ ในปฐพีนี้ให้เป็นดุจลาน
ตากเนื้อ ให้เป็นกองเนื้อเดียวกัน เขาย่อมไม่มีบาปที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มีบาป
มาถึงเขา
แม้หากบุคคลไปฝั่งขวาแม่น้ำคงคา ฆ่าเอง ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ฯลฯ ไม่มีบุญที่
เกิดจากการให้ทาน จากการฝึกอินทรีย์ จากการสำรวม จากการพูดคำสัตย์
ไม่มีบุญมาถึงเขา’ สมณพราหมณ์เหล่านั้นพึงหวังข้อนี้ได้ คือ จักเว้นกุศลธรรม
๓ ประการนี้ ได้แก่ (๑) กายสุจริต (๒) วจีสุจริต (๓) มโนสุจริต จักสมาทาน
อกุศลธรรม ๓ ประการนี้ ได้แก่ (๑) กายทุจริต (๒) วจีทุจริต (๓) มโนทุจริต
แล้วประพฤติอยู่
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้นไม่เห็นโทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมอง
แห่งอกุศลธรรม ไม่เห็นอานิสงส์ในเนกขัมมะอันเป็นฝ่ายผ่องแผ้วแห่งกุศลธรรม
อนึ่ง การกระทำมีผล แต่เขากลับเห็นว่า ‘การกระทำไม่มีผล’ ความเห็นนั้น
ของเขาจึงเป็นมิจฉาทิฏฐิ การกระทำมีผล แต่เขาดำริว่า ‘การกระทำไม่มีผล’
ความดำรินั้นของเขาจึงเป็นมิจฉาสังกัปปะ การกระทำมีผล แต่เขากล่าวว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑๐. อปัณณกสูตร

‘การกระทำไม่มีผล’ วาจานั้นของเขาจึงเป็นมิจฉาวาจา การกระทำมีผล เขากล่าว
ว่า ‘การกระทำไม่มีผล’ ผู้นี้ย่อมทำตนให้เป็นข้าศึกกับพระอรหันต์ ผู้เป็นกิริยวาทะ
การกระทำมีผล เขาทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่า ‘การกระทำไม่มีผล’ การที่เขาทำให้ผู้อื่น
เข้าใจเช่นนั้น เป็นการทำให้เข้าใจผิดจากความเป็นจริง และเขายังจะยกตนข่มผู้อื่น
ด้วยการทำให้เข้าใจผิดจากความเป็นจริงนั้น โดยนัยนี้ เริ่มต้นเขาก็ละทิ้งความเป็นผู้
มีศีลดีงามแล้วตั้งตนเป็นคนทุศีล เพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย บาปอกุศลธรรมเป็น
อเนกเหล่านี้ คือ มิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวาจา ความเป็นข้าศึกกับ
พระอริยะ การทำให้ผู้อื่นเข้าใจผิดจากความเป็นจริง การยกตน การข่มผู้อื่น
ย่อมเกิดขึ้น ด้วยประการอย่างนี้
พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ในลัทธิของสมณพราหมณ์เหล่านั้น วิญญูชน
ย่อมเห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘ถ้าการกระทำไม่มีผล เมื่อเป็นอย่างนี้ บุรุษบุคคลนี้
หลังจากตายแล้วจักทำตนให้มีความสวัสดีได้ ถ้าการกระทำมีผลจริง เมื่อเป็นอย่างนี้
บุรุษบุคคลนี้ หลังจากตายแล้วจักไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก’ ถ้าการกระทำ
ไม่มีผลจริง คำของสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้นจะจริงหรือไม่ก็ช่างเถิด เมื่อเป็น
เช่นนั้น บุรุษบุคคลนี้ย่อมถูกวิญญูชนติเตียนได้ในปัจจุบันว่า ‘เป็นบุรุษบุคคลผู้ทุศีล
เป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นอกิริยวาทะ’ ถ้าการกระทำมีผลจริง บุรุษบุคคลผู้เจริญนี้จะได้รับ
โทษในโลกทั้ง ๒ คือ (๑) ในปัจจุบันถูกวิญญูชนติเตียนได้ (๒) หลังจากตายแล้ว
จักไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก อย่างนี้
อปัณณกธรรมนี้ ที่บุคคลนั้นสมาทานให้บริบูรณ์ไม่ดี แพร่ดิ่งไปฝ่ายเดียว
ย่อมละเหตุที่เป็นกุศล ด้วยประการอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๐๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑๐. อปัณณกสูตร

คุณแห่งการปฏิบัติชอบ

[๙๙] พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ในลัทธิของสมณพราหมณ์เหล่านั้น
สมณพราหมณ์เหล่าใดผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ให้
ผู้อื่นทำ ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ทำให้เศร้าโศกเอง
ใช้ให้ผู้อื่นทำให้เศร้าโศก ทำให้ลำบากเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้ลำบาก ดิ้นรนเอง ใช้ให้
ผู้อื่นทำให้ดิ้นรน ฆ่าสัตว์ ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ ตัดช่องย่องเบา ปล้น
เรือนหลังเดียว ดักจี้ในทางเปลี่ยว เป็นชู้ พูดเท็จ ผู้ทำ(เช่นนั้น)จัดว่าทำบาป
แม้หากบุคคลใช้จักรมีคมดุจมีดโกนสังหารเหล่าสัตว์ในปฐพีนี้ให้เป็นดุจลาน
ตากเนื้อ ให้เป็นกองเนื้อเดียวกัน เขาย่อมมีบาปที่เกิดจากกรรมนั้น มีบาปมาถึงเขา
แม้หากบุคคลไปฝั่งขวาแม่น้ำคงคา ฆ่าเอง ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด
เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน เขาย่อมมีบาปที่เกิดจากกรรมนั้น มีบาป
มาถึงเขา
แม้หากบุคคลไปฝั่งซ้ายแม่น้ำคงคา ให้เอง ใช้ให้ผู้อื่นให้ บูชาเอง ใช้ให้ผู้อื่น
บูชา เขาย่อมมีบุญที่เกิดจากกรรมนั้น มีบุญมาถึงเขา ย่อมมีบุญที่เกิดจากการ
ให้ทาน จากการฝึกอินทรีย์ จากการสำรวม จากการพูดคำสัตย์ มีบุญมาถึงเขา’
สมณพราหมณ์เหล่านั้นพึงหวังข้อนี้ได้ คือ จักเว้นอกุศลธรรม ๓ ประการนี้ ได้แก่
(๑) กายทุจริต (๒) วจีทุจริต (๓) มโนทุจริต จักสมาทานกุศล ๓ ประการนี้ ได้แก่
(๑) กายสุจริต (๒) วจีสุจริต (๓) มโนสุจริต แล้วประพฤติอยู่
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้น เห็นโทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมองแห่ง
อกุศลธรรม เห็นอานิสงส์ในเนกขัมมะอันเป็นฝ่ายผ่องแผ้วแห่งกุศลธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑๐. อปัณณกสูตร

อนึ่ง การกระทำมีผล เขาเห็นว่า ‘การกระทำมีผลจริง’ ความเห็นนั้นของเขา
จึงเป็นสัมมาทิฏฐิ การกระทำมีผลจริง เขาดำริว่า ‘การกระทำมีผลจริง’ ความ
ดำรินั้นของเขาจึงเป็นสัมมาสังกัปปะ การกระทำมีผลจริง เขากล่าวว่า ‘การกระทำ
มีผลจริง’ วาจานั้นของเขาจึงเป็นสัมมาวาจา การกระทำมีผลจริง เขากล่าวว่า
‘การกระทำมีผลจริง’ ผู้นี้ชื่อว่าไม่ทำตนเป็นข้าศึกกับพระอรหันต์ผู้เป็นกิริยวาทะ
การกระทำมีผลจริง เขาทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่า ‘การกระทำมีผลจริง’ การที่เขาทำให้
ผู้อื่นเข้าใจเช่นนั้น เป็นการทำให้เข้าใจถูกตามความเป็นจริง และเขาย่อมไม่ยกตน
ข่มผู้อื่น ด้วยการทำให้เข้าใจถูกตามความเป็นจริงนั้น โดยนัยนี้ เริ่มต้นเขาก็ละทิ้ง
ความเป็นผู้ทุศีลแล้วตั้งตนเป็นคนมีศีลดีงาม เพราะสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย กุศลธรรม
เป็นอเนกเหล่านี้ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา ความไม่เป็นข้าศึก
กับพระอริยะ การทำให้เข้าใจถูกตามความเป็นจริง การไม่ยกตน การไม่ข่มผู้อื่น
ย่อมเกิดขึ้น ด้วยประการอย่างนี้
พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ในลัทธิของสมณพราหมณ์เหล่านั้น วิญญูชน
ย่อมเห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘ถ้าการกระทำมีผลจริง เมื่อเป็นอย่างนี้ บุรุษบุคคลนี้
หลังจากตายแล้วจักไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ถ้าการกระทำไม่มีผลจริง คำของ
สมณพราหมณ์เหล่านั้นจะจริงหรือไม่ก็ช่างเถิด เมื่อเป็นเช่นนั้น บุรุษบุคคลนี้ก็ย่อม
ได้รับคำสรรเสริญจากวิญญูชนในปัจจุบันว่า ‘เป็นบุรุษบุคคลผู้มีศีล เป็นสัมมาทิฏฐิ
เป็นกิริยวาทะ’ ถ้าการกระทำมีผลจริง บุรุษบุคคลนี้ก็จะได้รับคุณในโลกทั้ง ๒ คือ
(๑) ในปัจจุบันวิญญูชนย่อมสรรเสริญ (๒) หลังจากตายแล้ว จักไปเกิดในสุคติ
โลกสวรรค์ อย่างนี้
อปัณณกธรรม ที่บุคคลนั้นสมาทานให้บริบูรณ์ดีแล้ว แพร่ดิ่งไปทั้งสองฝ่าย
ย่อมละเหตุที่เป็นอกุศลได้ ด้วยประการอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑๐. อปัณณกสูตร

เหตุกทิฏฐิกับอเหตุกทิฏฐิ

[๑๐๐] พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งผู้มีวาทะอย่างนี้
มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ความเศร้าหมองของสัตว์ทั้งหลายไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย สัตว์ทั้งหลาย
เศร้าหมองเอง ความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย สัตว์ทั้งหลาย
บริสุทธิ์เอง ไม่มีกำลัง ไม่มีความเพียร ไม่มีความสามารถของมนุษย์ ไม่มีความ
พยายามของมนุษย์ สัตว์ ปาณะ ภูตะ ชีวะ๑ทั้งปวง ล้วนไม่มีอำนาจ ไม่มีกำลัง ไม่มี
ความเพียร ผันแปรไปตามโชคชะตา ตามสถานภาพทางสังคมและตามลักษณะ
เฉพาะตน ย่อมเสวยสุขและทุกข์ในอภิชาติ๒ทั้ง ๖’
พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย สมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่ง มีวาทะขัดแย้งโดย
ตรงกับสมณพราหมณ์เหล่านั้น พวกเขากล่าวอย่างนี้ว่า ‘ความเศร้าหมองของสัตว์
ทั้งหลายมีเหตุ มีปัจจัย สัตว์ทั้งหลายเศร้าหมองเอง ความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย
มีเหตุ มีปัจจัย สัตว์ทั้งหลายบริสุทธิ์เอง มีกำลัง มีความเพียร มีความสามารถของ
มนุษย์ มีความพยายามของมนุษย์ สัตว์ ปาณะ ภูตะ ชีวะทั้งปวง ไม่ใช่ไม่มีอำนาจ
ไม่มีกำลัง ไม่มีความเพียร ผันแปรไปตามโชคชะตา ตามสถานภาพทางสังคมและ
ตามลักษณะเฉพาะตน เสวยสุขและทุกข์ในอภิชาติทั้ง ๖’ ท่านทั้งหลายเข้าใจความ
ข้อนั้นว่าอย่างไร สมณพราหมณ์เหล่านี้มีวาทะขัดแย้งกันโดยตรง มิใช่หรือ”
พราหมณ์และคหบดีเหล่านั้นกราบทูลว่า “ใช่ พระพุทธเจ้าข้า”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑๐. อปัณณกสูตร

โทษแห่งการปฏิบัติผิด

[๑๐๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ในลัทธิของ
สมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใดผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า
‘ความเศร้าหมองของสัตว์ทั้งหลาย ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย สัตว์ทั้งหลายเศร้าหมองเอง
ความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย สัตว์ทั้งหลายบริสุทธิ์เอง ไม่มี
กำลัง ไม่มีความเพียร ไม่มีความสามารถของมนุษย์ ไม่มีความพยายามของมนุษย์
สัตว์ ปาณะ ภูตะ ชีวะทั้งปวง ล้วนไม่มีอำนาจ ไม่มีกำลัง ไม่มีความเพียร ผันแปรไป
ตามโชคชะตา ตามสถานภาพทางสังคมและตามลักษณะเฉพาะตน ย่อมเสวยสุขและ
ทุกข์ในอภิชาติทั้ง ๖’ สมณพราหมณ์เหล่านั้นพึงหวังข้อนี้ได้ คือ จักเว้นกุศลธรรม
๓ ประการนี้ ได้แก่ (๑) กายสุจริต (๒) วจีสุจริต (๓) มโนสุจริต จักสมาทาน
อกุศลธรรม ๓ ประการนี้ ได้แก่ (๑) กายทุจริต (๒) วจีทุจริต (๓) มโนทุจริต แล้ว
ประพฤติอยู่
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้น ไม่เห็นโทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมอง
แห่งอกุศลธรรม ไม่เห็นอานิสงส์ในเนกขัมมะอันเป็นฝ่ายผ่องแผ้วแห่งกุศลธรรม
อนึ่ง เหตุมีอยู่ แต่เขากลับเห็นว่า ‘เหตุไม่มี’ ความเห็นนั้นของเขาจึงเป็นมิจฉา-
ทิฏฐิ เหตุมีอยู่ แต่เขาดำริว่า ‘เหตุไม่มี’ ความดำรินั้นของเขาจึงเป็นมิจฉาสังกัปปะ
เหตุมีอยู่ แต่เขากล่าวว่า ‘เหตุไม่มี’ วาจานั้นของเขาจึงเป็นมิจฉาวาจา ‘เหตุมีอยู่’
เขากล่าวว่า ‘เหตุไม่มี’ ผู้นี้ย่อมทำตนให้เป็นข้าศึกกับพระอรหันต์ผู้เป็นเหตุกวาทะ
เหตุมีอยู่ เขาทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่า ‘เหตุไม่มี’ การที่เขาทำให้ผู้อื่นเข้าใจเช่นนั้น
เป็นการทำให้เข้าใจผิดจากความเป็นจริง และเขายังจะยกตนข่มผู้อื่นด้วยการทำให้
เข้าใจผิดจากความเป็นจริงนั้น โดยนัยนี้ เริ่มต้นเขาก็ละทิ้งความเป็นผู้มีศีลดีงามแล้ว
ตั้งตนเป็นคนทุศีล เพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย บาปอกุศลธรรมเป็นอเนกเหล่านี้
คือ มิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวาจา ความเป็นข้าศึกกับพระอริยะ การทำให้
ผู้อื่นเข้าใจผิดจากความเป็นจริง การยกตน การข่มผู้อื่น ย่อมเกิดขึ้น ด้วยประการ
อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑๐. อปัณณกสูตร

พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ในลัทธิของสมณพราหมณ์เหล่านั้น วิญญูชน
ย่อมเห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘ถ้าเหตุไม่มี เมื่อเป็นอย่างนี้ บุรุษบุคคลนี้ หลังจาก
ตายแล้ว จักทำตนให้มีความสวัสดีได้ ถ้าเหตุมีอยู่จริง เมื่อเป็นอย่างนี้ บุรุษ
บุคคลนี้ หลังจากตายแล้ว จักไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก’ ถ้ายอมรับว่า
เหตุไม่มีจริง คำของสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้นจะจริงหรือไม่ก็ช่างเถิด เมื่อเป็น
เช่นนั้น บุรุษบุคคลนี้ย่อมถูกวิญญูชนติเตียนได้ในปัจจุบันว่า ‘เป็นบุรุษบุคคลผู้ทุศีล
เป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นอเหตุกวาทะ’ ถ้าเหตุมีอยู่จริง บุรุษบุคคลนี้จะได้รับโทษในโลก
ทั้ง ๒ คือ (๑) ในปัจจุบันถูกวิญญูชนติเตียนได้ (๒) หลังจากตายแล้ว จักไปเกิด
ในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก อย่างนี้
อปัณณกธรรมนี้ ที่บุคคลนั้นสมาทานให้บริบูรณ์ไม่ดี แพร่ดิ่งไปฝ่ายเดียว ย่อมละ
เหตุที่เป็นกุศล ด้วยประการอย่างนี้

คุณแห่งการปฏิบัติชอบ

[๑๐๒] พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ในลัทธิของสมณพราหมณ์เหล่านั้น
สมณพราหมณ์เหล่าใดผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ความเศร้าหมองของสัตว์
ทั้งหลายมีเหตุ มีปัจจัย สัตว์ทั้งหลายจึงเศร้าหมอง ความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย
มีเหตุ มีปัจจัย สัตว์ทั้งหลายจึงบริสุทธิ์ มีกำลัง มีความเพียร มีความสามารถของ
มนุษย์ มีความพยายามของมนุษย์ สัตว์ ปาณะ ภูตะ ชีวะทั้งปวง ล้วนไม่มีอำนาจ
ไม่มีกำลัง ไม่มีความเพียร ผันแปรไปตามโชคชะตา ตามสถานภาพทางสังคมและ
ตามลักษณะเฉพาะของตน ย่อมไม่ได้เสวยสุขและทุกข์ในอภิชาติทั้ง ๖’ สมณพราหมณ์
เหล่านั้นพึงหวังข้อนี้ได้ คือ จักเว้นอกุศลธรรม ๓ ประการนี้ ได้แก่ (๑) กายทุจริต
(๒) วจีทุจริต (๓) มโนทุจริต จักสมาทานกุศลธรรม ๓ ประการนี้ ได้แก่ (๑) กายสุจริต
(๒) วจีสุจริต (๓) มโนสุจริต แล้วประพฤติอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๐๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑๐. อปัณณกสูตร

ข้อนั้น เพราะเหตุไร
เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้น เห็นโทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมองแห่ง
อกุศลธรรม เห็นอานิสงส์ในเนกขัมมะอันเป็นฝ่ายผ่องแผ้วแห่งกุศลธรรม
อนึ่ง เหตุมีอยู่ เขาเห็นว่า เหตุมีอยู่จริง’ ความเห็นนั้นของเขาจึงเป็นสัมมาทิฏฐิ
เหตุมีอยู่จริง เขาดำริว่า ‘เหตุมีอยู่จริง’ ความดำรินั้นของเขาจึงเป็นสัมมาสังกัปปะ
เหตุมีอยู่จริง เขากล่าวว่า ‘เหตุมีอยู่จริง’ วาจานั้นของเขาจึงเป็นสัมมาวาจา เหตุมี
อยู่จริง เขากล่าวว่า ‘เหตุมีอยู่จริง’ ผู้นี้ชื่อว่าไม่ทำตนให้เป็นข้าศึกกับพระอรหันต์ผู้
เป็นเหตุกวาทะ เหตุมีอยู่จริง เขาทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่า ‘เหตุมีอยู่จริง’ การที่เขาทำให้
ผู้อื่นเข้าใจเช่นนั้น เป็นการทำให้เข้าใจถูกตามความเป็นจริง และเขาย่อมไม่ยกตน
ข่มผู้อื่น ด้วยการทำให้เข้าใจถูกตามความเป็นจริงนั้น โดยนัยนี้ เริ่มต้นเขาก็ละทิ้ง
ความเป็นผู้ทุศีลแล้วตั้งตนเป็นคนมีศีลดีงาม เพราะสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย กุศลธรรม
เป็นอเนกเหล่านี้ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา ความไม่เป็นข้าศึก
กับพระอริยะ การทำให้เข้าใจถูกตามความเป็นจริง การไม่ยกตน การไม่ข่มผู้อื่น
ย่อมเกิดขึ้น ด้วยประการอย่างนี้
พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ในลัทธิของสมณพราหมณ์เหล่านั้น วิญญูชน
ย่อมเห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘ถ้าเหตุมีอยู่ เมื่อเป็นอย่างนี้ บุรุษบุคคลนี้ หลังจาก
ตายแล้ว จักไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ถ้ายอมรับว่าเหตุไม่มีจริง คำของสมณพราหมณ์
เหล่านั้นจะจริงหรือไม่ก็ช่างเถิด เมื่อเป็นเช่นนั้น บุรุษบุคคลนี้ก็ย่อมได้รับคำสรรเสริญ
จากวิญญูชนในปัจจุบันว่า ‘เป็นบุรุษบุคคลผู้มีศีล มีสัมมาทิฏฐิ เป็นเหตุกวาทะ’
ถ้าเหตุมีอยู่จริง บุรุษบุคคลนี้ ก็จะได้รับคุณในโลกทั้ง ๒ คือ (๑) ในปัจจุบันวิญญูชน
ย่อมสรรเสริญ (๒) หลังจากตายแล้วจักไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ อย่างนี้
อปัณณกธรรมนี้ ที่บุคคลนั้นสมาทานให้บริบูรณ์ดีแล้วอย่างนี้ แพร่ดิ่งไปทั้ง
สองฝ่าย ย่อมละเหตุที่เป็นอกุศลได้ ด้วยประการอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑๐. อปัณณกสูตร

ความขัดแย้งกันเรื่องอรูปพรหม

[๑๐๓] พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งผู้มีวาทะอย่างนี้
มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อรูปพรหมไม่มีโดยประการทั้งปวง’ สมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่ง
มีวาทะขัดแย้งโดยตรงกับสมณพราหมณ์เหล่านั้น พวกเขากล่าวอย่างนี้ว่า ‘อรูปพรหม
มีอยู่โดยประการทั้งปวง’ ท่านทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร สมณพราหมณ์
เหล่านี้มีวาทะขัดแย้งกันโดยตรง มิใช่หรือ”
“ใช่ พระพุทธเจ้าข้า”
“พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ในลัทธิของสมณพราหมณ์พวกนั้น วิญญูชน
ย่อมเห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘การที่สมณพราหมณ์ทั้งหลายมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิ
อย่างนี้ว่า ‘อรูปพรหมไม่มีโดยประการทั้งปวง’ เราไม่เห็นด้วย แม้การที่สมณพราหมณ์
ทั้งหลายผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อรูปพรหมมีอยู่โดยประการทั้งปวง’
เราก็ไม่รับรู้ด้วย ส่วนเราเอง เมื่อไม่รู้ ไม่เห็น จะพึงถือเอาฝ่ายเดียว กล่าวว่า
‘นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ข้อนั้นไม่เป็นการสมควรแก่เราเลย ถ้าคำของสมณ-
พราหมณ์ทั้งหลาย ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อรูปพรหมไม่มีโดยประการ
ทั้งปวง’ เป็นคำจริงแล้ว เป็นไปได้ที่เราจักเกิดในเหล่าเทพผู้มีรูปสำเร็จด้วยใจ ซึ่งไม่
ถือว่าผิด ถ้าคำของสมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า
‘อรูปพรหมมีอยู่โดยประการทั้งปวง’ เป็นคำจริงแล้ว เป็นไปได้ที่เราจักเกิดในเหล่าเทพ
ผู้ไม่มีรูปสำเร็จด้วยสัญญาซึ่งไม่ถือว่าผิด อนึ่ง การถือท่อนไม้ การถือศัสตรา
การทะเลาะ การแก่งแย่ง การวิวาท การพูดขึ้นเสียงว่า ‘เจ้า เจ้า’ การพูดส่อเสียด
และการพูดเท็จซึ่งมีรูปเป็นเหตุย่อมปรากฏ แต่ข้อนี้ย่อมไม่มีในอรูปพรหมโดย
ประการทั้งปวง’ วิญญูชนนั้นครั้นพิจารณาดังนี้แล้วย่อมปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย
เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับแห่งรูปอย่างเดียว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑๐. อปัณณกสูตร

ความขัดแย้งเรื่องภพ

[๑๐๔] พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งผู้มีวาทะอย่างนี้
มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ความดับสนิทแห่งภพ๑ไม่มีโดยประการทั้งปวง’ สมณพราหมณ์
อีกพวกหนึ่ง มีวาทะขัดแย้งโดยตรงกับสมณพราหมณ์เหล่านั้น พวกเขากล่าว
อย่างนี้ว่า ‘ความดับสนิทแห่งภพมีอยู่โดยประการทั้งปวง’ ท่านทั้งหลายเข้าใจความ
ข้อนั้นว่าอย่างไร สมณพราหมณ์เหล่านี้มีวาทะขัดแย้งกันโดยตรง มิใช่หรือ”
“ใช่ พระพุทธเจ้าข้า”
“พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ในลัทธิของสมณพราหมณ์เหล่านั้น วิญญูชน
ย่อมเห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘การที่สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิ
อย่างนี้ว่า ‘ความดับสนิทแห่งภพไม่มีโดยประการทั้งปวง’ เราไม่เห็นด้วย แม้การที่
สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ความดับสนิทแห่งภพ
มีอยู่โดยประการทั้งปวง’ เราก็ไม่รับรู้ด้วย ส่วนเราเอง เมื่อไม่รู้ ไม่เห็น จะถือเอา
ฝ่ายเดียวแล้วกล่าวว่า ‘นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ข้อนั้นไม่เป็นการสมควร
แก่เราเลย ถ้าคำของสมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า
‘ความดับสนิทแห่งภพไม่มีโดยประการทั้งปวง’ เป็นคำจริงแล้ว เป็นไปได้ที่เรา
จักเกิดในเหล่าเทพผู้ไม่มีรูปสำเร็จด้วยสัญญาซึ่งไม่ถือว่าผิด อนึ่ง ถ้าคำของสมณ-
พราหมณ์ทั้งหลายผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ความดับสนิทแห่งภพมีอยู่โดย
ประการทั้งปวง’ เป็นคำจริงแล้ว เป็นไปได้ที่เราจักปรินิพพานในปัจจุบัน ความเห็น
ของสมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ความดับสนิทแห่งภพ
ไม่มีโดยประการทั้งปวง’ นี้ใกล้ต่อธรรมที่ยังมีความกำหนัด ใกล้ต่อธรรมที่ยังมี
สังโยชน์ ใกล้ต่อธรรมที่ยังมีความเพลิดเพลิน ใกล้ต่อธรรมที่มีความจดจ่อ ใกล้ต่อ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑๐. อปัณณกสูตร

ธรรมที่ยังมีความถือมั่น ส่วนความเห็นของสมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้มีวาทะอย่างนี้
มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ความดับสนิทแห่งภพมีอยู่โดยประการทั้งปวง’ นี้ใกล้ต่อธรรมที่
ไม่มีความกำหนัด ใกล้ต่อธรรมที่ไม่มีสังโยชน์ ใกล้ต่อธรรมที่ไม่มีความเพลิดเพลิน
ใกล้ต่อธรรมที่ไม่มีความจดจ่อ ใกล้ต่อธรรมที่ไม่มีความถือมั่น วิญญูชนนั้น
ครั้นพิจารณาดังนี้แล้วย่อมปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ
แห่งภพอย่างเดียว

บุคคล ๔ ประเภท๑

[๑๐๕] พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย บุคคล ๔ ประเภทนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ ประเภท ไหนบ้าง
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้
๑. เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน
๒. เป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน
๓. เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน
และเป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน
๔. เป็นผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน
และเป็นผู้ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้
เดือดร้อน
บุคคลผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อนนั้น เป็นผู้ไม่หิว ดับร้อน
เย็นใจ มีตนอันประเสริฐ เสวยสุขอยู่ในปัจจุบัน


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑๐. อปัณณกสูตร

[๑๐๖] บุคคลเป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำตนให้
เดือดร้อน เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นอเจลก(ประพฤติเปลือยกาย) ไม่มีมารยาท
เลียมือ ฯลฯ๑ ถือการย่างและอบกายหลายรูปแบบอยู่ ด้วยประการอย่างนี้
พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย บุคคลนี้เรียกว่า เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน
หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน
บุคคลเป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน
เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ฆ่าแพะ ฆ่าสุกร ฯลฯ๒ หรือบางพวกเป็นผู้ทำการ
ทารุณ
พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย บุคคลนี้เรียกว่า เป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน
หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน
บุคคลเป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน
และเป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นพระราชามหากษัตริย์ผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้วก็ดี
ฯลฯ๓ เหล่าชนผู้เป็นทาสก็ดี เป็นคนรับใช้ก็ดี เป็นคนงานก็ดี ของพระราชานั้น
ถูกอาชญาคุกคาม ถูกภัยคุกคาม มีน้ำตานองหน้า ร้องไห้ไปทำงานไป


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑๐. อปัณณกสูตร

พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย บุคคลนี้เรียกว่า เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่น
ประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน และเป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการ
ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน
บุคคลเป็นผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน
และเป็นผู้ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน
เขาไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นผู้ไม่หิว ดับร้อน เย็นใจ
มีตนอันประเสริฐ เสวยสุขอยู่ในปัจจุบัน เป็นอย่างไร
คือ ตถาคตอุบัติขึ้นมาในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยตนเองโดยชอบ ฯลฯ๑
ภิกษุนั้นครั้นละนิวรณ์ ๕ ประการนี้ที่เป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต เป็นเครื่อง
ทอนกำลังปัญญาแล้ว สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน
ที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุ
ทุติยฌานมีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร
มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ เพราะปีติจางคลายไป บรรลุตติยฌาน ฯลฯ อยู่
เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้วบรรลุจตุตถฌาน
ฯลฯ อยู่

วิชชา ๓

เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ
เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้น
น้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง
๒ ชาติบ้าง ฯลฯ๒ เธอระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและ
ชีวประวัติอย่างนี้


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] ๑๐. อปัณณกสูตร

เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความเศร้า
หมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อมจิตไป
เพื่อจุตูปปาตญาณ เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและ
ไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ฯลฯ๑ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์
ผู้เป็นไปตามกรรม อย่างนี้แล
เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ
เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อมจิต
ไปเพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้อาสวนิโรธคามินี-
ปฏิปทา’ เมื่อเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ และ
อวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย บุคคลนี้เรียกว่า เป็นผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน
ไม่หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน และเป็นผู้ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่หมั่น
ประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เขาไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน
จึงเป็นผู้ไม่หิว ดับร้อน เย็นใจ มีตนอันประเสริฐ เสวยสุขอยู่ในปัจจุบัน”

ชาวบ้านสาลาแสดงตนเป็นอุบาสก

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์และคหบดีชาวบ้านสาลาได้
กราบทูลว่า
“ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่
ท่านพระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านพระโคดมทรง
ประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค] รวมพระสูตรที่มีในวรรค

เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตา
ดีจักเห็นรูปได้’ ข้าพระองค์ทั้งหลายนี้ขอถึงท่านพระโคดม พร้อมทั้งพระธรรมและ
พระสงฆ์เป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ทั้งหลายว่าเป็นอุบาสก
ผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต” ดังนี้แล

อปัณณกสูตรที่ ๑๐ จบ
คหปติวรรคที่ ๑ จบบริบูรณ์

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. กันทรกสูตร ๒. อัฏฐกนาครสูตร
๓. เสขปฏิปทาสูตร ๔. โปตลิยสูตร
๕. ชีวกสูตร ๖. อุปาลิวาทสูตร
๗. กุกกุรวติกสูตร ๘. อภยราชกุมารสูตร
๙. พหุเวทนิยสูตร ๑๐. อปัณณกสูตร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๑. จูฬราหุโลวาทสูตร

๒. ภิกขุวรรค
หมวดว่าด้วยภิกษุ

๑. จูฬราหุโลวาทสูตร
ว่าด้วยการประทานโอวาทแก่พระราหุล สูตรเล็ก

[๑๐๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้นแล ท่านพระราหุลพักอยู่ ณ ปราสาทชื่ออัมพลัฏฐิกา
ครั้นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคทรงออกจากที่หลีกเร้น๑ แล้วเสด็จเข้าไปหาท่าน
พระราหุลจนถึงปราสาทชื่ออัมพลัฏฐิกา ท่านพระราหุลได้เห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จ
มาแต่ไกล จึงปูลาดอาสนะและตั้งน้ำสำหรับล้างพระบาทไว้ พระผู้มีพระภาคประทับ
นั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้วทรงล้างพระบาท ท่านพระราหุลถวายอภิวาทพระ
ผู้มีพระภาคแล้วจึงนั่ง ณ ที่สมควร๒
[๑๐๘] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเหลือน้ำหน่อยหนึ่งไว้ในภาชนะน้ำ
แล้วรับสั่งเรียกท่านพระราหุลมาตรัสว่า “ราหุล เธอเห็นน้ำที่เหลืออยู่หน่อยหนึ่งใน
ภาชนะนี้ไหม”
ท่านพระราหุลกราบทูลว่า “เห็น พระพุทธเจ้าข้า”
“ราหุล ความเป็นสมณะของบุคคลผู้ไม่มีความละอายในการกล่าวเท็จทั้งที่รู้อยู่
ก็มีอยู่หน่อยหนึ่งเหมือนน้ำที่เหลืออยู่หน่อยหนึ่งอย่างนี้”
จากนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเทน้ำที่เหลือหน่อยหนึ่งทิ้ง แล้วตรัสกับท่าน
พระราหุลว่า “ราหุล เธอเห็นน้ำหน่อยหนึ่งที่เราเททิ้งไหม”
“เห็น พระพุทธเจ้าข้า”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๑. จูฬราหุโลวาทสูตร

“ราหุล ความเป็นสมณะของบุคคลผู้ไม่มีความละอายในการกล่าวเท็จทั้งที่รู้อยู่
ก็มีอยู่หน่อยหนึ่งเหมือนน้ำที่เททิ้งแล้วอย่างนี้”
จากนั้น พระผู้มีพระภาคทรงคว่ำภาชนะน้ำนั้น แล้วตรัสกับท่านพระราหุลว่า
“ราหุล เธอเห็นภาชนะน้ำที่คว่ำนี้ไหม”
“เห็น พระพุทธเจ้าข้า”
“ราหุล ความเป็นสมณะของบุคคลผู้ไม่มีความละอายในการกล่าวเท็จทั้งที่รู้อยู่
ก็เหมือนภาชนะน้ำที่คว่ำแล้วอย่างนี้”
จากนั้น พระผู้มีพระภาคทรงหงายภาชนะน้ำนั้น แล้วตรัสกับท่านพระราหุล
ว่า “เธอเห็นภาชนะน้ำอันว่างเปล่านี้ไหม”
“เห็น พระพุทธเจ้าข้า”
“ราหุล ความเป็นสมณะของบุคคลผู้ไม่มีความละอายในการกล่าวเท็จทั้งที่รู้อยู่
ก็เหมือนภาชนะน้ำที่ว่างเปล่าอย่างนี้ เปรียบเหมือนช้างต้นมีงางอนงาม เป็นช้างทรง
ที่มีชาติกำเนิดดี เคยฝ่าศึกสงครามมาแล้ว บุกบั่นสงครามมาแล้ว ทำการงาน
ด้วยเท้าหน้าทั้ง ๒ บ้าง ด้วยเท้าหลังทั้ง ๒ บ้าง ด้วยกายท่อนหน้าบ้าง ด้วยกาย
ท่อนหลังบ้าง ด้วยศีรษะบ้าง ด้วยหูทั้ง ๒ บ้าง ด้วยงาทั้ง ๒ บ้าง ด้วยหางบ้าง
สงวนไว้แต่งวงเท่านั้น เพราะการที่ช้างสงวนงวงไว้นั้น ควาญช้างมีความเห็น
อย่างนี้ว่า ‘ช้างต้น เชือกนี้มีงางอนงาม เป็นช้างทรงที่มีชาติกำเนิดดี เคยฝ่า
ศึกสงครามมาแล้ว บุกบั่นสงครามมาแล้ว ทำการงานด้วยเท้าหน้าทั้ง ๒ บ้าง
ด้วยเท้าหลังทั้ง ๒ บ้าง ด้วยกายท่อนหน้าบ้าง ด้วยกายท่อนหลังบ้าง ด้วยศีรษะบ้าง
ด้วยหูทั้ง ๒ บ้าง ด้วยงาทั้ง ๒ บ้าง ด้วยหางบ้าง สงวนไว้แต่งวงเท่านั้น ชื่อว่า
ช้างต้นยังสละไม่ได้กระทั่งชีวิต’
เมื่อใด ช้างต้นมีงางอนงาม เป็นช้างทรงที่มีชาติกำเนิดดี เคยฝ่าศึกสงคราม
มาแล้ว บุกบั่นสงครามมาแล้ว ทำการงานด้วยเท้าหน้าทั้ง ๒ บ้าง ด้วยเท้าหลัง
ทั้ง ๒ บ้าง ฯลฯ ด้วยหางบ้าง ด้วยงวงบ้าง เพราะการที่ช้างทำการงานด้วยงวงนั้น
เมื่อนั้น ควาญช้างจึงมีความเห็นอย่างนี้ว่า ‘ช้างต้นเชือกนี้ มีงางอนงาม เป็นช้างทรง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๑. จูฬราหุโลวาทสูตร

ที่มีชาติกำเนิดดี เคยฝ่าศึกสงครามมาแล้ว บุกบั่นสงครามมาแล้ว ทำการงานด้วย
เท้าหน้าทั้ง ๒ บ้าง ด้วยเท้าหลังทั้ง ๒ บ้าง ด้วยกายท่อนหน้าบ้าง ด้วยกายท่อน
หลังบ้าง ด้วยศีรษะบ้าง ด้วยหูทั้ง ๒ บ้าง ด้วยงาทั้ง ๒ บ้าง ด้วยหางบ้าง ด้วยงวงบ้าง
ชื่อว่าช้างต้นสละได้กระทั่งชีวิต’ บัดนี้ ‘ไม่มีอะไรที่ช้างต้นจะทำไม่ได้’ แม้ฉันใด
ตถาคตก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่กล่าวว่า ‘บุคคลผู้ไม่มีความละอายในการกล่าวเท็จ
ทั้งที่รู้อยู่ จะไม่ทำบาปกรรมอะไรเลย’
ราหุล เพราะเหตุนั้นแล เธอพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่
กล่าวเท็จ แม้เพื่อให้หัวเราะกันเล่น’ เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้แล ราหุล”

ทรงสอนให้พิจารณากายกรรม

[๑๐๙] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ราหุล เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
กระจกมีประโยชน์อย่างไร”
ท่านพระราหุลทูลตอบว่า “มีประโยชน์สำหรับส่องดู พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อย่างนั้นเหมือนกัน ราหุล บุคคลควรพิจารณาให้ดี
แล้วจึงทำกรรมทางกาย พิจารณาให้ดีแล้วจึงทำกรรมทางวาจา พิจารณาให้ดีแล้ว
จึงทำกรรมทางใจ
ถ้าเธอปรารถนาจะทำกรรมใดทางกาย เธอพึงพิจารณากายกรรมนั้นเสีย
ก่อนว่า ‘กายกรรมที่เราปรารถนาจะทำนี้ เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เพื่อ
เบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง กายกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์
เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก กระนั้นหรือ’
ถ้าเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่า ‘กายกรรมที่เราปรารถนาจะทำนี้ เป็นไป
เพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง
กายกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก’ กรรมทางกายเห็นปานนี้
เธออย่าทำเด็ดขาด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๑. จูฬราหุโลวาทสูตร

แต่ถ้าเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่า ‘กายกรรมที่เราปรารถนาจะทำนี้ไม่เป็นไป
เพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้ง
๒ ฝ่ายบ้าง กายกรรมนี้เป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก’ กรรมทางกายเห็น
ปานนี้เธอควรทำ
ราหุล เธอแม้เมื่อกำลังทำกรรมทางกาย ก็พึงพิจารณากายกรรมนั้นแลว่า
‘กายกรรมที่เราจะทำนี้ เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียน
ผู้อื่นบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง กายกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็น
กำไร มีทุกข์เป็นวิบาก กระนั้นหรือ’
ถ้าเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่า ‘กายกรรมที่เราจะทำนี้ เป็นไปเพื่อเบียดเบียน
ตนเองบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง
กายกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก’ เธอพึงละกายกรรมเห็น
ปานนี้เสีย
แต่ถ้าเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่า ‘กายกรรมที่เราจะทำนี้ ไม่เป็นไปเพื่อ
เบียดเบียนตนเองบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียน
ทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง กายกรรมนี้เป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก’ เธอพึงเพิ่มพูน
กายกรรมเห็นปานนี้
ราหุล แม้เธอทำกรรมทางกายแล้ว ก็พึงพิจารณากายกรรมนั้นแลว่า
‘กายกรรมที่เราทำแล้วนี้ เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียน
ผู้อื่นบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง กายกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็น
กำไร มีทุกข์เป็นวิบากกระนั้นหรือ’
ถ้าเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่า ‘กายกรรมที่เราทำแล้วนี้ เป็นไปเพื่อเบียดเบียน
ตนเองบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง
กายกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก’ กายกรรมเห็นปานนี้
เธอพึงแสดง เปิดเผย ทำให้ง่าย ในศาสดา หรือในเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลาย
แล้วสำรวมต่อไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๑. จูฬราหุโลวาทสูตร

แต่ถ้าเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่า ‘กายกรรมที่เราทำแล้วนี้ ไม่เป็นไปเพื่อ
เบียดเบียนตนเองบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียน
ทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง กายกรรมนี้เป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก’ เธอพึงมีปีติ
และปราโมทย์ สำเหนียกในกุศลธรรมทั้งหลาย ทั้งกลางวันและกลางคืน อยู่ด้วย
กายกรรมนั้นแล

ทรงสอนให้พิจารณาวจีกรรม

[๑๑๐] ราหุล ถ้าเธอปรารถนาจะทำกรรมใดทางวาจา เธอพึงพิจารณา
วจีกรรมนั้นเสียก่อนว่า ‘วจีกรรมที่เราปรารถนาจะทำนี้ เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง
เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง วจีกรรมนี้เป็น
อกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก กระนั้นหรือ’
ถ้าเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่า ‘วจีกรรมที่เราปรารถนาจะทำนี้ เป็นไปเพื่อ
เบียดเบียนตนเองบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียน
ทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง วจีกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก’ กรรมทาง
วาจาเห็นปานนี้ เธออย่าทำเด็ดขาด
แต่ถ้าเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่า ‘วจีกรรมที่เราปรารถนาจะทำนี้ ไม่เป็นไป
เพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียน
ทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง วจีกรรมนี้เป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก’ กรรมทางวาจา
เห็นปานนี้เธอควรทำ
ราหุล เธอแม้เมื่อกำลังทำกรรมทางวาจา ก็พึงพิจารณาวจีกรรมนั้นแลว่า
‘วจีกรรมที่เราจะทำนี้ เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง วจีกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์
เป็นวิบาก กระนั้นหรือ’
ถ้าเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่า วจีกรรมที่เราจะทำนี้ เป็นไปเพื่อเบียดเบียน
ตนเองบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง
วจีกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก’ เธอพึงละวจีกรรมเห็นปานนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๑. จูฬราหุโลวาทสูตร

แต่ถ้าเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่า ‘วจีกรรมที่เราจะทำนี้ ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียน
ตนเองบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง
วจีกรรมนี้เป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก’ เธอพึงเพิ่มพูนวจีกรรมเห็นปานนี้
ราหุล แม้เธอทำกรรมทางวาจาแล้ว ก็พึงพิจารณาวจีกรรมนั้นแลว่า ‘วจีกรรม
ที่เราทำแล้วนี้ เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เป็นไป
เพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง วจีกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก
กระนั้นหรือ’
ถ้าเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่า ‘วจีกรรมที่เราทำแล้วนี้ เป็นไปเพื่อ
เบียดเบียนตนเองบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียน
ทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง วจีกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก’ วจีกรรม
เห็นปานนี้ เธอพึงแสดง เปิดเผย ทำให้ง่าย ในศาสดา หรือในเพื่อนพรหมจารี
ผู้รู้ทั้งหลาย แล้วสำรวมต่อไป
แต่ถ้าเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่า ‘วจีกรรมที่เราทำแล้วนี้ ไม่เป็นไปเพื่อ
เบียดเบียนตนเองบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียน
ทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง วจีกรรมนี้เป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก’ เธอพึงมีปีติ
และปราโมทย์ สำเหนียกในกุศลธรรมทั้งหลาย ทั้งกลางวันและกลางคืน อยู่ด้วย
วจีกรรมนั้นแล

ทรงสอนให้พิจารณามโนกรรม

[๑๑๑] ราหุล ถ้าเธอปรารถนาจะทำกรรมใดทางใจ เธอพึงพิจารณามโนกรรม
นั้นเสียก่อนว่า ‘มโนกรรมที่เราปรารถนาจะทำนี้ เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง
เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง มโนกรรมนี้
เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก กระนั้นหรือ’
ถ้าเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่า ‘มโนกรรมที่เราปรารถนาจะทำนี้ เป็นไปเพื่อ
เบียดเบียนตนเองบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียน
ทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง มโนกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก’ กรรมทางใจ
เห็นปานนี้ เธออย่าทำเด็ดขาด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๑. จูฬราหุโลวาทสูตร

แต่ถ้าเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่า ‘มโนกรรมที่เราปรารถนาจะทำนี้ ไม่
เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อ
เบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง มโนกรรมนี้เป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก’
กรรมทางใจเห็นปานนี้เธอควรทำ
ราหุล เธอแม้เมื่อกำลังทำกรรมทางใจ ก็พึงพิจารณามโนกรรมนั้นแลว่า
‘มโนกรรมที่เราจะทำนี้ เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง มโนกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์
เป็นวิบาก กระนั้นหรือ’
ถ้าเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่า ‘มโนกรรมที่เราจะทำนี้ เป็นไปเพื่อเบียดเบียน
ตนเองบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง
มโนกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก’ เธอพึงละมโนกรรม
เห็นปานนี้
แต่ถ้าเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่า ‘มโนกรรมที่เราจะทำนี้ ไม่เป็นไปเพื่อ
เบียดเบียนตนเองบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียน
ทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง มโนกรรมนี้เป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก’ เธอพึงเพิ่มพูน
มโนกรรมเห็นปานนี้
ราหุล แม้เธอทำกรรมทางใจแล้ว ก็พึงพิจารณามโนกรรมนั้นแลว่า ‘มโนกรรม
ที่เราทำแล้วนี้ เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง มโนกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มี
ทุกข์เป็นวิบาก กระนั้นหรือ’
ถ้าเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่า ‘มโนกรรมที่เราทำแล้วนี้ เป็นไปเพื่อเบียดเบียน
ตนเองบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง
มโนกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก’ เธอพึงอึดอัด ระอา
รังเกียจมโนกรรมเห็นปานนี้ แล้วสำรวมต่อไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๑. จูฬราหุโลวาทสูตร

แต่ถ้าเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่า ‘มโนกรรมที่เราทำแล้วนี้ ไม่เป็นไปเพื่อ
เบียดเบียนตนเองบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียน
ทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง มโนกรรมนี้เป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก’ เธอพึงมีปีติ
และปราโมทย์ สำเหนียกในกุศลธรรมทั้งหลาย ทั้งกลางวันและกลางคืน อยู่ด้วย
มโนกรรมนั้นแล
[๑๑๒] ราหุล สมณะหรือพราหมณ์๑ เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาล ได้ชำระ
กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด
พิจารณาดีแล้วจึงได้ชำระกายกรรม พิจารณาดีแล้วจึงได้ชำระวจีกรรม พิจารณาดี
แล้วจึงได้ชำระมโนกรรม อย่างนี้แล
แม้สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาล จักชำระกายกรรม
วจีกรรม และมโนกรรม สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ก็พิจารณาดีแล้ว
จักชำระกายกรรม พิจารณาดีแล้วจักชำระวจีกรรม พิจารณาดีแล้วจักชำระมโนกรรม
อย่างนี้แล
ถึงสมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบันกาลกำลัง ชำระกายกรรม วจีกรรม
และมโนกรรมอยู่ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ก็พิจารณาดีแล้วจึงชำระกาย-
กรรม พิจารณาดีแล้วจึงชำระวจีกรรม พิจารณาดีแล้วจึงชำระมโนกรรม อย่างนี้แล
ราหุล เพราะเหตุนั้นแล เธอพึงสำเหนียกในเรื่องนี้อย่างนี้ว่า ‘เราพิจารณาดี
แล้วจักชำระกายกรรม พิจารณาดีแล้วจักชำระวจีกรรม พิจารณาดีแล้วจักชำระ
มโนกรรม’ เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้แล”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระราหุลมีใจยินดีชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

จูฬราหุโลวาทสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๒. มหาราหุโลวาทสูตร

๒. มหาราหุโลวาทสูตร
ว่าด้วยการประทานโอวาทแก่พระราหุล สูตรใหญ่

[๑๑๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก
ถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี แม้ท่านพระราหุลก็ครอง
อันตรวาสกถือบาตรและจีวร ตามเสด็จพระผู้มีพระภาคไปทางเบื้องพระปฤษฎางค์
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงผินพระพักตร์ไปรับสั่งกับท่านพระราหุลว่า
“ราหุล เธอพึงเห็นรูปอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง
ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลว
หรือประณีต อยู่ไกลหรือใกล้ก็ตาม อย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น
นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา”
ท่านพระราหุลทูลถามว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค รูปเท่านั้นหรือ ข้าแต่
พระสุคต รูปเท่านั้นหรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ราหุล ทั้งรูป ทั้งเวทนา ทั้งสัญญา ทั้งสังขาร
ทั้งวิญญาณ”
หลังจากนั้น ท่านพระราหุลคิดว่า “วันนี้ ใครหนอที่พระผู้มีพระภาคจะทรง
ประทานโอวาทโปรดเฉพาะพระพักตร์ แล้วเข้าบ้านเพื่อบิณฑบาต” กลับจากที่นั้น
แล้วนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า ณ โคนไม้แห่งหนึ่ง ท่านพระ
สารีบุตรได้เห็นท่านพระราหุลนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า ณ
โคนไม้แห่งหนึ่ง จึงกล่าวกับท่านพระราหุลว่า
“ราหุล เธอจงเจริญอานาปานสติภาวนาเถิด เพราะอานาปานสติภาวนาที่
บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค]๒. มหาราหุโลวาทสูตร

ธาตุ ๕

[๑๑๔] ครั้นเวลาเย็น ท่านพระราหุลออกจากที่หลีกเร้น แล้วเข้าไปเฝ้าพระ
ผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มี
พระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อานาปานสติที่บุคคลเจริญแล้วอย่างไร ทำให้
มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ราหุล รูปชนิดใดชนิดหนึ่งซึ่งเป็นอุปาทินนกรูป๑
ที่เป็นภายใน เป็นของเฉพาะตน เป็นของแข้นแข็ง เป็นของหยาบ คือ ผม ขน เล็บ
ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต๒ หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ไส้ใหญ่
ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า หรือรูปชนิดใดชนิดหนึ่งซึ่งเป็นอุปาทินนกรูปที่เป็น
ภายใน เป็นของเฉพาะตน เป็นของแข้นแข็ง เป็นของหยาบ นี้เรียกว่า ปฐวีธาตุที่
เป็นภายใน
ปฐวีธาตุ(ธาตุดิน) ที่เป็นภายในและปฐวีธาตุที่เป็นภายนอก ก็เป็นปฐวีธาตุ
นั่งเอง บัณฑิตควรเห็นปฐวีธาตุนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ครั้นเห็นปฐวีธาตุนั้นด้วย
ปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในปฐวีธาตุ และทำจิต
ให้คลายกำหนัดในปฐวีธาตุได้


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๒. มหาราหุโลวาทสูตร

[๑๑๕] อาโปธาตุ เป็นอย่างไร
คือ อาโปธาตุที่เป็นภายในก็มี อาโปธาตุที่เป็นภายนอกก็มี
อาโปธาตุที่เป็นภายใน เป็นอย่างไร
คือ อุปาทินนกรูปที่เป็นภายใน เป็นของเฉพาะตน เป็นของเอิบอาบ มีความ
เอิบอาบ คือ ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก
ไขข้อ มูตร หรือรูปชนิดใดชนิดหนึ่งที่เป็นอุปาทินนกรูปที่เป็นภายใน เป็นของ
เฉพาะตน เป็นของเอิบอาบ มีความเอิบอาบ นี้เรียกว่า อาโปธาตุที่เป็นภายใน
อาโปธาตุ(ธาตุน้ำ) ที่เป็นภายในและอาโปธาตุที่เป็นภายนอก ก็เป็นอาโปธาตุ
นั่นเอง บัณฑิตพึงเห็นอาโปธาตุนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ครั้นเห็นอาโปธาตุนั้นด้วย
ปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในอาโปธาตุและทำจิต
ให้คลายกำหนัดในอาโปธาตุได้
[๑๑๖] เตโชธาตุ เป็นอย่างไร
คือ เตโชธาตุที่เป็นภายในก็มี เตโชธาตุที่เป็นภายนอกก็มี
เตโชธาตุที่เป็นภายใน เป็นอย่างไร
คือ อุปาทินนกรูปที่เป็นภายใน เป็นของเฉพาะตน เป็นของเร่าร้อน มีความ
เร่าร้อน ได้แก่ ธรรมชาติที่เป็นเครื่องทำร่างกายให้อบอุ่น ธรรมชาติที่เป็นเครื่องทำ
ร่างกายให้ทรุดโทรม ธรรมชาติที่เป็นเครื่องทำร่างกายให้เร่าร้อน ธรรมชาติที่เป็น
เครื่องย่อยสิ่งที่กินแล้ว ดื่มแล้ว เคี้ยวแล้ว และลิ้มรสแล้ว หรือรูปชนิดใดชนิดหนึ่ง
ที่เป็นอุปาทินนกรูปซึ่งเป็นภายในเป็นของเฉพาะตน เป็นของเร่าร้อน มีความเร่าร้อน
นี้เรียกว่า เตโชธาตุที่เป็นภายใน
เตโชธาตุ(ธาตุไฟ) ที่เป็นภายในและเตโชธาตุที่เป็นภายนอก ก็เป็นเตโชธาตุ
นั่นเอง บัณฑิตพึงเห็นเตโชธาตุนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๒. มหาราหุโลวาทสูตร

‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ครั้นเห็นเตโชธาตุนั้น
ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในเตโชธาตุ และทำ
จิตให้คลายกำหนัดในเตโชธาตุได้
[๑๑๗] วาโยธาตุ เป็นอย่างไร
คือ วาโยธาตุที่เป็นภายในก็มี วาโยธาตุที่เป็นภายนอกก็มี
วาโยธาตุที่เป็นภายใน เป็นอย่างไร
คือ อุปาทินนกรูปที่เป็นภายใน เป็นของเฉพาะตน เป็นของพัดไปมา มีความ
พัดไปมา คือ ลมที่พัดขึ้นเบื้องบน ลมที่พัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในลำไส้ ลมที่
แล่นไปตามอวัยวะน้อยใหญ่ ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก หรือรูปชนิดใดชนิดหนึ่ง
ซึ่งเป็นภายใน เป็นของเฉพาะตน เป็นของพัดไปมา มีความพัดไปมา นี้เรียกว่า
วาโยธาตุที่เป็นภายใน
วาโยธาตุ(ธาตุลม) ที่เป็นภายในและวาโยธาตุที่เป็นภายนอก ก็เป็นวาโยธาตุ
นั่นเอง บัณฑิตพึงเห็นวาโยธาตุนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ครั้นเห็นวาโยธาตุนั้นด้วย
ปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในวาโยธาตุ และทำจิต
ให้คลายกำหนัดในวาโยธาตุได้
[๑๑๘] อากาสธาตุ เป็นอย่างไร
คือ อากาสธาตุที่เป็นภายในก็มี อากาสธาตุที่เป็นภายนอกก็มี
อากาสธาตุที่เป็นภายใน เป็นอย่างไร
คือ อุปาทินนกรูปที่เป็นภายใน เป็นของเฉพาะตน เป็นของว่างเปล่า มีความ
ว่างเปล่า คือ ช่องหู ช่องจมูก ช่องปาก ช่องสำหรับกลืนของกิน ของดื่ม ของเคี้ยว
ของลิ้มรส ช่องที่พักอยู่แห่งของกิน ของดื่ม ของเคี้ยว ของลิ้มรส และช่องสำหรับ
ของกิน ของดื่ม ของเคี้ยว ของลิ้มรส ไหลลงเบื้องต่ำ หรือรูปชนิดใดชนิดหนึ่งที่เป็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๒. มหาราหุโลวาทสูตร

อุปาทินนกรูปที่เป็นภายใน เป็นของเฉพาะตน เป็นของว่างเปล่า มีความว่างเปล่า
เป็นช่องว่าง เป็นธรรมชาติที่นับว่าช่องว่าง ซึ่งเนื้อและเลือดไม่ถูกต้องแล้ว นี้เรียกว่า
อากาสธาตุที่เป็นภายใน
อากาสธาตุ(ธาตุคืออากาศ) ที่เป็นภายในและอากาสธาตุที่เป็นภายนอก ก็เป็น
อากาสธาตุนั่นเอง บัณฑิตพึงเห็นอากาสธาตุนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็น
จริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ครั้นเห็น
อากาสธาตุนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายใน
อากาสธาตุ และทำจิตให้คลายกำหนัดในอากาสธาตุได้๑

ภาวนาเสมอด้วยธาตุ ๕

[๑๑๙] ราหุล เธอจงเจริญภาวนาให้เสมอด้วยแผ่นดินเถิด เพราะเมื่อเธอ
เจริญภาวนาให้เสมอด้วยแผ่นดินอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจที่เกิดขึ้นแล้ว
จักครอบงำจิตของเธอไม่ได้ คนทั้งหลายทิ้งของสะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้าง คูถบ้าง
มูตรบ้าง น้ำลายบ้าง น้ำหนองบ้าง เลือดบ้าง ลงบนแผ่นดิน แผ่นดินจะอึดอัด
ระอา หรือรังเกียจของนั้นก็หาไม่ แม้ฉันใด เธอก็ฉันนั้นเหมือนกัน จงเจริญภาวนา
ให้เสมอด้วยแผ่นดิน เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาให้เสมอด้วยแผ่นดินอยู่ ผัสสะอันเป็น
ที่ชอบใจและไม่ชอบใจที่เกิดขึ้นแล้ว จักครอบงำจิตของเธอไม่ได้
เธอจงเจริญภาวนาให้เสมอด้วยน้ำเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาให้เสมอ
ด้วยน้ำอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจที่เกิดขึ้นแล้ว จักครอบงำจิตของเธอ
ไม่ได้ คนทั้งหลายล้างของสะอาดบ้าง ของไม่สะอาดบ้าง คูถบ้าง มูตรบ้าง
น้ำลายบ้าง น้ำหนองบ้าง เลือดบ้าง น้ำจะอึดอัด ระอา หรือรังเกียจของนั้นก็หาไม่
แม้ฉันใด เธอก็ฉันนั้นเหมือนกัน จงเจริญภาวนาให้เสมอด้วยน้ำ เพราะเมื่อเธอ
เจริญภาวนาให้เสมอด้วยน้ำอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจที่เกิดขึ้นแล้ว
จักครอบงำจิตของเธอไม่ได้


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๒. มหาราหุโลวาทสูตร

เธอจงเจริญภาวนาให้เสมอด้วยไฟเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาให้เสมอ
ด้วยไฟอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจที่เกิดขึ้นแล้ว จักครอบงำจิตของเธอ
ไม่ได้ ไฟย่อมเผาของสะอาดบ้าง ของไม่สะอาดบ้าง คูถบ้าง มูตรบ้าง น้ำลายบ้าง
น้ำหนองบ้าง เลือดบ้าง ไฟจะอึดอัด ระอา หรือรังเกียจของนั้นก็หาไม่ แม้ฉันใด
เธอก็ฉันนั้นเหมือนกัน จงเจริญภาวนาให้เสมอด้วยไฟ เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาให้
เสมอด้วยไฟอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจที่เกิดขึ้นแล้ว จักครอบงำจิต
ของเธอไม่ได้
เธอจงเจริญภาวนาให้เสมอด้วยลมเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาให้เสมอ
ด้วยลมอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจที่เกิดขึ้นแล้ว จักครอบงำจิตของเธอ
ไม่ได้ ลมย่อมพัดของสะอาดบ้าง ของไม่สะอาดบ้าง คูถบ้าง มูตรบ้าง น้ำลายบ้าง
น้ำหนองบ้าง เลือดบ้าง ลมจะอึดอัด ระอา หรือรังเกียจของนั้นก็หาไม่ แม้ฉันใด
เธอก็ฉันนั้นเหมือนกัน จงเจริญภาวนาให้เสมอด้วยลม เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนา
ให้เสมอด้วยลมอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจที่เกิดขึ้นแล้ว จักครอบงำจิต
ของเธอไม่ได้
เธอจงเจริญภาวนาให้เสมอด้วยอากาศเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาให้เสมอ
ด้วยอากาศอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจที่เกิดขึ้นแล้ว จักครอบงำจิตของเธอ
ไม่ได้ อากาศไม่ตั้งอยู่ในที่ไหน ๆ แม้ฉันใด เธอก็ฉันนั้นเหมือนกัน จงเจริญภาวนา
ให้เสมอด้วยอากาศ เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาให้เสมอด้วยอากาศอยู่ ผัสสะอันเป็น
ที่ชอบใจและไม่ชอบใจที่เกิดขึ้นแล้ว จักครอบงำจิตของเธอไม่ได้

การเจริญภาวนา ๖ อย่าง

[๑๒๐] ราหุล
๑. เธอจงเจริญเมตตาภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญเมตตาภาวนาอยู่
จักละพยาบาทได้
๒. เธอจงเจริญกรุณาภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญกรุณาภาวนาอยู่
จักละการเบียดเบียนได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๒. มหาราหุโลวาทสูตร

๓. เธอจงเจริญมุทิตาภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญมุทิตาภาวนาอยู่
จักละความริษยาได้
๔. เธอจงเจริญอุเบกขาภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญอุเบกขาภาวนาอยู่
จักละความหงุดหงิดได้
๕. เธอจงเจริญอสุภภาวนา๑เถิด เพราะเมื่อเธอเจริญอสุภภาวนาอยู่ จักละ
ราคะได้
๖. เธอจงเจริญอนิจจสัญญา๒เถิด เพราะเมื่อเธอเจริญอนิจจสัญญาอยู่
จักละความถือตัวได้

อานาปานสติ ๑๖ ขั้น

[๑๒๑] ราหุล เธอจงเจริญอานาปานสติเถิด เพราะอานาปานสติที่บุคคล
เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
อานาปานสติที่บุคคลเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้
บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก
๑. เมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่า ‘เราหายใจเข้ายาว’
เมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่า ‘เราหายใจออกยาว’
๒. เมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ชัดว่า ‘เราหายใจเข้าสั้น’
เมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ชัดว่า ‘เราหายใจออกสั้น’


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๒. มหาราหุโลวาทสูตร

๓. สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจออก’
๔. สำเหนียกว่า ‘เราระงับกายสังขารหายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราระงับกายสังขารหายใจออก’
๕. สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้ปีติหายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้ปีติหายใจออก’
๖. สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้สุขหายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้สุขหายใจออก’
๗. สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้จิตตสังขารหายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้จิตตสังขารหายใจออก’
๘. สำเหนียกว่า ‘เราระงับจิตตสังขารหายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราระงับจิตตสังขารหายใจออก’
๙. สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้จิตหายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้จิตหายใจออก’
๑๐. สำเหนียกว่า ‘เราทำจิตให้บันเทิงหายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราทำจิตให้บันเทิงหายใจออก’
๑๑. สำเหนียกว่า ‘เราตั้งจิตมั่นหายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราตั้งจิตมั่นหายใจออก’
๑๒. สำเหนียกว่า ‘เราเปลื้องจิตหายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราเปลื้องจิตหายใจออก’
๑๓. สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงหายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงหายใจออก’
๑๔. สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นความคลายออกได้หายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นความคลายออกได้หายใจออก’
๑๕. สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นความดับไปหายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นความดับไปหายใจออก’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๓. จูฬมาลุกยสูตร

๑๖. สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นความสละคืนหายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นความสละคืนหายใจออก’
อานาปานสติที่บุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก๑
ราหุล เมื่ออานาปานสติอันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้
ลมอัสสาสะ(หายใจเข้า) ลมปัสสาสะ(หายใจออก) ครั้งสุดท้ายที่ปรากฏชัด ย่อมดับไป
ที่ไม่ปรากฏชัด ยังไม่ดับไป”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระราหุลมีใจยินดีชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

มหาราหุโลวาทสูตรที่ ๒ จบ

๓. จูฬมาลุงกยสูตร
ว่าด้วยพระมาลุงกยบุตร สูตรเล็ก
เหตุแห่งอัพยากตปัญหา ๑๐ ประการ

[๑๒๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระมาลุงกยบุตร หลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ได้เกิด
ความคิดคำนึงอย่างนี้ว่า
“ทิฏฐิที่พระผู้มีพระภาคไม่ตรัสตอบ ทรงงด ทรงวางเฉยเหล่านี้ คือ ทิฏฐิว่า
‘โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน
ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน หลังจากตายแล้วตถาคต๒เกิดอีก หลังจากตายแล้ว


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๓. จูฬมาลุกยสูตร

ตถาคตไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้ว
ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ การที่พระผู้มีพระภาค ไม่ทรงตอบ
ทิฏฐิเหล่านั้นแก่เรา เราไม่ชอบใจ เราไม่พอใจ เราจักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคอีก
จะทูลถามเนื้อความนั้น
ถ้าพระผู้มีพระภาคจักตรัสตอบเราว่า ‘โลกเที่ยง ฯลฯ หลังจากตายแล้ว
ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ เราก็จักประพฤติพรหมจรรย์ใน
พระผู้มีพระภาคต่อไป
ถ้าพระผู้มีพระภาค จักไม่ตรัสตอบเราว่า ‘โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด
โลกไม่มีที่สุด ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน หลังจาก
ตายแล้วตถาคตเกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก หลักจากตายแล้ว
ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิด
อีกก็มิใช่’ เราก็จักลาสิกขาไปเป็นคฤหัสถ์”
[๑๒๓] ครั้นเวลาเย็น ท่านพระมาลุงกยบุตรออกจากที่หลีกเร้น เข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคว่า
[๑๒๔] “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เมื่อข้าพระองค์อยู่ใน
ที่สงัด หลีกเร้นอยู่ ได้เกิดความคิดคำนึงอย่างนี้ว่า ‘ทิฏฐิที่พระผู้มีพระภาคไม่
ตรัสตอบ ทรงงด ทรงวางเฉยเหล่านี้ คือ ทิฏฐิว่า ‘โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมี
ที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน
หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก หลังจากตาย
แล้วตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่า
ไม่เกิดอีกก็มิใช่’ การที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงตอบทิฏฐิเหล่านั้นแก่เรา เราไม่ชอบใจ
เราไม่พอใจ เราจักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคอีก จะทูลถามเนื้อความนั้น
ถ้าพระผู้มีพระภาคจักตรัสตอบเราว่า ‘โลกเที่ยง ฯลฯ หลังจากตายแล้ว
ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ เราก็จักประพฤติพรหมจรรย์ใน
พระผู้มีพระภาคต่อไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๓. จูฬมาลุกยสูตร

ถ้าพระผู้มีพระภาคจักไม่ตรัสตอบแก่เราว่า ‘โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมี
ที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน
หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก หลังจากตาย
แล้วตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่า
ไม่เกิดอีกก็มิใช่’ เราก็จักลาสิกขาไปเป็นคฤหัสถ์
ถ้าพระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า ‘โลกเที่ยง’ ขอจงตรัสตอบข้าพระองค์เถิดว่า
‘โลกเที่ยง’
ถ้าพระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า ‘โลกไม่เที่ยง’ ขอจงตรัสตอบข้าพระองค์เถิดว่า
‘โลกไม่เที่ยง’
ถ้าพระผู้มีพระภาคไม่ทรงทราบว่า ‘โลกเที่ยง หรือ โลกไม่เที่ยง, เมื่อไม่ทรงรู้
ไม่ทรงเห็น ก็ขอให้ตรัสบอกมาตรง ๆ เถิดว่า ‘เราไม่รู้ เราไม่เห็น’
ถ้าพระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า ‘โลกมีที่สุด’ ขอจงตรัสตอบข้าพระองค์เถิดว่า
‘โลกมีที่สุด’
ถ้าพระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า ‘โลกไม่มีที่สุด’ ขอจงตรัสตอบข้าพระองค์เถิด
ว่า ‘โลกไม่มีที่สุด’
ถ้าพระผู้มีพระภาคไม่ทรงทราบว่า ‘โลกมีที่สุด หรือ โลกไม่มีที่สุด’ เมื่อไม่ทรงรู้
ไม่ทรงเห็น ก็ขอให้ตรัสบอกมาตรง ๆ เถิดว่า ‘เราไม่รู้ เราไม่เห็น’
ถ้าพระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า ‘ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน’ ขอจงตรัส
ตอบข้าพระองค์เถิดว่า ‘ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน’
ถ้าพระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า ‘ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน’ ขอจงตรัส
ตอบข้าพระองค์เถิดว่า ‘ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน’
ถ้าพระผู้มีพระภาคไม่ทรงทราบว่า ‘ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน หรือชีวะ
กับสรีระเป็นคนละอย่างกัน’ เมื่อไม่ทรงรู้ ไม่ทรงเห็น ก็ขอให้ตรัสบอกมาตรง ๆ เถิดว่า
‘เราไม่รู้ เราไม่เห็น’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๓. จูฬมาลุกยสูตร

ถ้าพระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก’ ขอจง
ตรัสตอบข้าพระองค์เถิดว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก’
ถ้าพระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก’ ขอจง
ตรัสตอบข้าพระองค์เถิดว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก’
ถ้าพระผู้มีพระภาคไม่ทรงทราบว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก หรือ
หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก’ เมื่อไม่ทรงรู้ ไม่ทรงเห็น ก็ขอให้ตรัสบอกมา
ตรง ๆ เถิดว่า ‘เราไม่รู้ เราไม่เห็น’
ถ้าพระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก’
ขอจงตรัสตอบข้าพระองค์เถิดว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก’
ถ้าพระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่
จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ขอจงตรัสตอบข้าพระองค์เถิดว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคต
จะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’
ถ้าพระผู้มีพระภาคไม่ทรงทราบว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก
หรือหลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ เมื่อไม่ทรงรู้
ไม่ทรงเห็น ก็ขอให้ตรัสบอกมาตรง ๆ เถิดว่า ‘เราไม่รู้ เราไม่เห็น”
[๑๒๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มาลุงกยบุตร เราได้พูดไว้อย่างนั้นกับเธอ
หรือว่า ‘เธอจงมาประพฤติพรหมจรรย์ในเราเถิด เราจักตอบเธอว่า ‘โลกเที่ยง
โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน ชีวะกับ
สรีระเป็นคนละอย่างกัน หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคต
ไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคต
จะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ บ้างไหม”
ท่านพระมาลุงกยบุตรกราบทูลว่า “ไม่ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็หรือว่าเธอได้พูดไว้กับเราอย่างนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จัก
ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค ถ้าพระผู้มีพระภาคจักตรัสตอบข้าพระองค์
ว่า ‘โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๓. จูฬมาลุกยสูตร

ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก หลังจากตายแล้ว
ตถาคตไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้ว
ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ บ้างไหม”
“ไม่ พระพุทธเจ้าข้า”
“มาลุงกยบุตร ได้ยินว่า เรามิได้พูดไว้กับเธอดังนี้ว่า ‘เธอจงมาประพฤติ
พรหมจรรย์ในเราเถิด เราจักตอบเธอว่า ‘โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง ฯลฯ หลังจากตาย
แล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ฯลฯ ได้ยินว่า แม้เธอก็มิได้พูด
กับเราว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มี
พระภาค ถ้าพระผู้มีพระภาคจักตรัสตอบข้าพระองค์ว่า ‘โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง ฯลฯ
หลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’
โมฆบุรุษ เมื่อเป็นอย่างนั้น เธอเป็นใคร จะมาทวงอะไรกับใครเล่า

ทรงอุปมาด้วยบุคคลผู้ต้องศร

[๑๒๖] มาลุงกยบุตร บุคคลใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ตราบใดที่พระผู้มี
พระภาคยังไม่ทรงตอบเราว่า ‘โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง ฯลฯ หลังจากตายแล้ว
ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่า
ไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ตราบนั้น เราก็จักไม่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค
ต่อให้บุคคลนั้นสิ้นชีวิตไปตถาคตก็ไม่ตอบเรื่องนั้น เปรียบเหมือนบุรุษต้องลูกศรที่
อาบยาพิษอย่างร้ายแรง มิตรอำมาตย์ ญาติสาโลหิต๑ของบุรุษนั้น พึงไปหาแพทย์
ผู้ชำนาญในการผ่าตัดมารักษาบุรุษผู้ต้องลูกศรนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ตราบใดที่เรา
ยังไม่รู้จักคนที่ยิงเราเลยว่า เป็นกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ หรือศูทร ตราบนั้น เราก็
จักไม่ถอนลูกศรนี้ออกไป’


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๓. จูฬมาลุกยสูตร

บุรุษผู้ต้องลูกศรนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ตราบใดที่เรายังไม่รู้จักคนที่ยิงเราว่า
มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ ตราบนั้น เราก็จักไม่ถอนลูกศรนี้ออกไป’
บุรุษผู้ต้องลูกศรนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ตราบใดที่เรายังไม่รู้จักคนที่ยิงเราว่า
เป็นคนสูง ต่ำ หรือปานกลาง ตราบนั้น เราก็จักไม่ถอนลูกศรนี้ออกไป’
บุรุษผู้ต้องลูกศรนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ตราบใดที่เรายังไม่รู้จักคนที่ยิงเราว่า
เป็นคนผิวดำ ผิวคล้ำ หรือผิวสองสี ตราบนั้น เราก็จักไม่ถอนลูกศรนี้ออกไป’
บุรุษผู้ต้องลูกศรนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ตราบใดที่เรายังไม่รู้จักคนที่ยิงเราว่า
อยู่ในบ้าน นิคม หรือนครชื่อโน้น ตราบนั้น เราก็จักไม่ถอนลูกศรนี้ออกไป’
บุรุษผู้ต้องลูกศรนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ตราบใดที่เรายังไม่รู้จักธนูที่เขาใช้ยิง
เราว่า เป็นชนิดมีแล่ง หรือชนิดเกาทัณฑ์ ตราบนั้น เราก็จักไม่ถอนลูกศรนี้ออกไป’
บุรุษผู้ต้องลูกศรนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ตราบใดที่เรายังไม่รู้จักสายธนูที่เขาใช้
ยิงเราว่า เป็นสายที่ทำด้วยปอ ผิวไม้ไผ่ เอ็น ป่าน หรือเยื่อไม้ ตราบนั้น เราก็จัก
ไม่ถอนลูกศรนี้ออกไป’
บุรุษผู้ต้องลูกศรนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ตราบใดที่เรายังไม่รู้จักลูกธนูที่เขาใช้ยิง
เราว่า เป็นธนูที่ทำด้วยไม้เกิดเองหรือไม้คัดปลูก ตราบนั้น เราก็จักไม่ถอนลูกศรนี้
ออกไป’
บุรุษผู้ต้องลูกศรนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ตราบใดที่เรายังไม่รู้จักหางเกาทัณฑ์ที่เขา
ใช้ยิงเราว่า เป็นหางที่เสียบด้วยขนปีกนกแร้ง นกตระกรุม นกเหยี่ยว นกยูง หรือ
นกปากห่าง ตราบนั้น เราก็จักไม่ถอนลูกศรนี้ออกไป’
บุรุษผู้ต้องลูกศรนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ตราบใดที่เรายังไม่รู้จักเกาทัณฑ์ที่เขา
ใช้ยิงเราว่า เป็นสิ่งที่เขาพันด้วยเอ็นวัว เอ็นควาย เอ็นค่าง หรือเอ็นลิง ตราบนั้น
เราก็จักไม่ถอนลูกศรนี้ออกไป’
บุรุษผู้ต้องลูกศรนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ตราบใดที่เรายังไม่รู้จักลูกธนูที่เขาใช้ยิง
เราว่า เป็นลูกศรธรรมดา ลูกศรคม ลูกศรหัวเกาทัณฑ์ ลูกศรหัวโลหะ ลูกศรหัว
เขี้ยวสัตว์ หรือลูกศรพิเศษ ตราบนั้นเราก็จักไม่ถอนลูกศรนี้ออกไป’ ต่อให้บุรุษนั้น
ตายไป เขาก็จะไม่รู้เรื่องนั้นเลย ฉันใด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๓. จูฬมาลุกยสูตร

บุคคลใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ตราบใดที่พระผู้มีพระภาคไม่ตรัสตอบว่า ‘โลก
เที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน ชีวะ
กับสรีระเป็นคนละอย่างกัน หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก หลังจากตายแล้ว
ตถาคตไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้ว
ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ตราบนั้น เราก็จักไม่ประพฤติ
พรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค’ ต่อให้บุคคลนั้นตายไป ตถาคตก็ไม่ตอบเรื่องนั้น
ฉันนั้นเหมือนกัน
[๑๒๗] มาลุงกยบุตร เมื่อมีความเห็นว่า ‘โลกเที่ยง’ จักได้มีการอยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์กันหรือก็หามิได้
เมื่อมีความเห็นว่า ‘โลกไม่เที่ยง’ จักได้มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์กันหรือ
ก็หามิได้
แม้เมื่อมีความเห็นว่า ‘โลกเที่ยง หรือโลกไม่เที่ยง’ ชาติ(ความเกิด) ชรา
(ความแก่) มรณะ(ความตาย) โสกะ(ความเศร้าโศก) ปริเทวะ(ความคร่ำครวญ)
ทุกข์(ความทุกข์กาย) โทมนัส(ความทุกข์ใจ) และอุปายาส(ความคับแค้นใจ) ก็ยังคง
มีอยู่ตามปกติ เราจึงบัญญัติเฉพาะการกำจัดชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัส และอุปายาสในปัจจุบัน
เมื่อมีความเห็นว่า ‘โลกมีที่สุด’ จักได้มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์กันหรือ
ก็หามิได้
เมื่อมีความเห็นว่า ‘โลกไม่มีที่สุด’ จักได้มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์กัน
หรือก็หามิได้
แม้เมื่อมีความเห็นว่า ‘โลกมีที่สุด หรือโลกไม่มีที่สุด’ ชาติ ชรา มรณะ โสกะ
ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสก็ยังคงมีอยู่ตามปกติ เราจึงบัญญัติการกำจัด
ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสในปัจจุบัน
เมื่อมีความเห็นว่า ‘ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน’ จักได้มีการอยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์กันหรือก็หามิได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๓. จูฬมาลุกยสูตร

เมื่อมีความเห็นว่า ‘ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน’ จักได้มีการอยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์กันหรือก็หามิได้
แม้เมื่อมีความเห็นว่า ‘ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน หรือชีวะกับสรีระเป็น
คนละอย่างกัน’ ชาติ ฯลฯ เราจึงบัญญัติเฉพาะการกำจัด ชาติ ชรา มรณะ โสกะ
ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสในปัจจุบัน
เมื่อมีความเห็นว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก’ จักได้มีการอยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์กันหรือก็หามิได้
เมื่อมีความเห็นว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก’ จักได้มีการอยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์กันหรือก็หามิได้
แม้เมื่อมีความเห็นว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก หรือหลังจากตายแล้ว
ตถาคตไม่เกิดอีก’ ชาติ ฯลฯ เราจึงบัญญัติเฉพาะการกำจัดชาติ ชรา มรณะ โสกะ
ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสในปัจจุบัน
เมื่อมีความเห็นว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก’ จักได้มีการ
อยู่ประพฤติพรหมจรรย์กันหรือก็หามิได้
เมื่อมีความเห็นว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีก
ก็มิใช่’ จักได้มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์กันหรือก็หามิได้
มาลุงกยบุตร แม้เมื่อมีความเห็นว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกและไม่
เกิดอีก หรือหลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ชาติ
ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสก็ยังคงมีอยู่ตามปกติ เราจึง
บัญญัติเฉพาะการกำจัดชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
ในปัจจุบัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๓. จูฬมาลุกยสูตร

เหตุที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงตอบปัญหาเชิงปรัชญา

[๑๒๘] มาลุงกยบุตร เพราะเหตุนั้นแล เธอจงจำปัญหาที่เราไม่ตอบว่า
เป็นปัญหาที่เราไม่ตอบ และจงจำปัญหาที่เราตอบว่า เป็นปัญหาที่เราตอบเถิด
ปัญหาอะไรเล่าที่เราไม่ตอบ
คือ ปัญหาว่า ‘โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีวะกับสรีระ
เป็นอย่างเดียวกัน ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก
หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก
หลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ เราไม่ตอบ
เพราะเหตุไรเราจึงไม่ตอบ
เพราะปัญหานั้นไม่มีประโยชน์ ไม่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปเพื่อ
ความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้
และเพื่อนิพพาน เหตุนั้นเราจึงไม่ตอบ
ปัญหาอะไรเล่าที่เราตอบ
คือ ปัญหาว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’
เราตอบ
เพราะเหตุไรเราจึงตอบ
เพราะปัญหานั้นมีประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ เป็นไปเพื่อความ
เบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ และเพื่อ
นิพพาน เหตุนั้นเราจึงตอบ
มาลุงกยบุตร เพราะเหตุนั้นแล เธอจงจำปัญหาที่เราไม่ตอบว่า เป็นปัญหาที่
เราไม่ตอบ และจงจำปัญหาที่เราตอบว่า เป็นปัญหาที่เราตอบเถิด”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระมาลุงกยบุตรมีใจยินดีชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

จูฬมาลุงกยสูตรที่ ๓ จบ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๔. มหามาลุงกยสูตร

๔. มหามาลุงกยสูตร
ว่าด้วยพระมาลุงกยบุตร สูตรใหญ่
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ

[๑๒๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลาย
มาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มี
พระภาคจึงได้ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายยังจำโอรัมภาคิยสังโยชน์๑
(สังโยชน์เบื้องต่ำ) ๕ ประการที่เราแสดงแล้ว ได้หรือไม่”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระมาลุงกยบุตรได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ยังจำโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ
ที่พระองค์ทรงแสดงไว้แล้วได้”
“เธอจำโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ ที่เราแสดงไว้แล้ว อย่างไร”
“ข้าพระองค์จำโอรัมภาคิยสังโยชน์ คือสักกายทิฏฐิ(ความเห็นว่าเป็นตัว
ของตน) ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้แล้วได้
ข้าพระองค์จำโอรัมภาคิยสังโยชน์ คือวิจิกิจฉา(ความลังเลสงสัย) ที่พระผู้มี
พระภาคทรงแสดงไว้แล้วได้
ข้าพระองค์จำโอรัมภาคิยสังโยชน์ คือสีลัพพตปรามาส(ความถือมั่นศีลพรต)
ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้แล้วได้
ข้าพระองค์จำโอรัมภาคิยสังโยชน์ คือกามฉันทะ(ความพอใจในกาม) ที่พระผู้มี
พระภาคทรงแสดงไว้แล้วได้


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๔. มหามาลุงกยสูตร

ข้าพระองค์จำโอรัมภาคิยสังโยชน์ คือพยาบาท(ความคิดร้าย) ที่พระผู้มีพระภาค
ทรงแสดงไว้แล้วได้
ข้าพระองค์จำโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้ ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้
แล้วได้อย่างนี้ พระพุทธเจ้าข้า”
“มาลุงกยบุตร เธอจำโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้ที่เราแสดงไว้แล้ว
อย่างนี้แก่ใคร อัญเดียรถีย์ปริพาชกทั้งหลายจักหักล้างด้วยการนำเรื่องเด็กอ่อน
มาเปรียบเทียบได้ มิใช่หรือ เพราะเด็กอ่อนที่นอนหงายย่อมไม่มีแม้แต่ความคิดว่า
‘ตัวของตน’ สักกายทิฏฐิจักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นได้อย่างไร สักกายทิฏฐิของเด็กนั้น
ก็ยังนอนเนื่องอยู่
เพราะเด็กอ่อนที่นอนหงายย่อมไม่มีแม้แต่ความคิดว่า ‘ธรรมทั้งหลาย’ วิจิกิจฉา
ในธรรมทั้งหลายจักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นได้อย่างไร วิจิกิจฉาของเด็กนั้น ก็ยังนอนเนื่องอยู่
เพราะเด็กอ่อนที่นอนหงายย่อมไม่มีแม้แต่ความคิดว่า ‘ศีลทั้งหลาย’ สีลัพพต-
ปรามาสในศีลทั้งหลายจักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นได้อย่างไร สีลัพพตปรามาสของเด็กนั้น
ก็ยังนอนเนื่องอยู่
เพราะเด็กอ่อนที่นอนหงายย่อมไม่มีแม้แต่ความคิดว่า ‘กามทั้งหลาย’ กามฉันทะ
ในกามทั้งหลายจักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นได้อย่างไร กามราคะของเด็กนั้น ก็ยังนอนเนื่องอยู่
เพราะเด็กอ่อนที่นอนหงายย่อมไม่มีแม้แต่ความคิดว่า ‘สัตว์ทั้งหลาย’ ความ
พยาบาทในสัตว์ทั้งหลายจักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นได้อย่างไร พยาบาทของเด็กนั้น ก็ยัง
นอนเนื่องอยู่
อัญเดียรถีย์ปริพาชกทั้งหลายจักหักล้างด้วยการนำเรื่องเด็กอ่อนมาเปรียบเทียบได้
มิใช่หรือ”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๔. มหามาลุงกยสูตร

“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค บัดนี้เป็นกาลที่สมควร ข้าแต่พระสุคต บัดนี้เป็นกาล
ที่สมควรที่พระผู้มีพระภาคจะทรงแสดงโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ ภิกษุ
ทั้งหลายได้สดับจากพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า

อุบายเครื่องละสังโยชน์

[๑๓๐] “อานนท์ ปุถุชน๑ในโลกนี้ ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาด
ในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ
ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ มีจิตถูก
สักกายทิฏฐิกลุ้มรุม ถูกสักกายทิฏฐิครอบงำอยู่ และไม่รู้อุบายเครื่องสลัดสักกายทิฏฐิ
ที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง สักกายทิฏฐินั้นของเขามีกำลังแก่กล้าขึ้น ปุถุชน
บรรเทาไม่ได้ จึงชื่อว่าเป็นโอรัมภาคิยสังโยชน์
ปุถุชนมีจิตถูกวิจิกิจฉากลุ้มรุม ถูกวิจิกิจฉาครอบงำอยู่ และไม่รู้อุบายเครื่อง
สลัดวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง วิจิกิจฉานั้นของเขามีกำลังแก่กล้าขึ้น
ปุถุชนบรรเทาไม่ได้ จึงชื่อว่าเป็นโอรัมภาคิยสังโยชน์
ปุถุชนมีจิตถูกสีลัพพตปรามาสกลุ้มรุม ถูกสีลัพพตปรามาสครอบงำอยู่
และไม่รู้อุบายเครื่องสลัดสีลัพพตปรามาสที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง สีลัพพต-
ปรามาสนั้นของเขามีกำลังแก่กล้าขึ้น ปุถุชนบรรเทาไม่ได้ จึงชื่อว่าเป็นโอรัมภาคิย-
สังโยชน์
ปุถุชนมีจิตถูกกามราคะกลุ้มรุม ถูกกามราคะครอบงำอยู่ และไม่รู้อุบายเครื่อง
สลัดกามราคะที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง กามราคะนั้นของเขามีกำลังแก่กล้าขึ้น
ปุถุชนบรรเทาไม่ได้ จึงชื่อว่าเป็นโอรัมภาคิยสังโยชน์


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๔. มหามาลุงกยสูตร

ปุถุชนมีจิตถูกพยาบาทกลุ้มรุม ถูกพยาบาทครอบงำอยู่ และไม่รู้อุบายเครื่อง
สลัดพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง พยาบาทนั้นของเขามีกำลังแก่กล้าขึ้น
ปุถุชนบรรเทาไม่ได้ จึงชื่อว่าเป็นโอรัมภาคิยสังโยชน์
[๑๓๑] อานนท์ ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับ ได้เห็นพระอริยะ ฉลาดในธรรม
ของพระอริยะ ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดในธรรม
ของสัตบุรุษ ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ มีจิตที่สักกายทิฏฐิกลุ้มรุมไม่ได้
ที่สักกายทิฏฐิครอบงำไม่ได้อยู่ และรู้อุบายเครื่องสลัดสักกายทิฏฐิที่เกิดขึ้นแล้วตาม
ความเป็นจริง อริยสาวกนั้นย่อมละสักกายทิฏฐินั้นพร้อมทั้งอนุสัยได้
อริยสาวกนั้นมีจิตที่วิจิกิจฉากลุ้มรุมไม่ได้ ที่วิจิกิจฉาครอบงำไม่ได้อยู่ และรู้อุบาย
เครื่องสลัดวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง อริยสาวกนั้นย่อมละวิจิกิจฉานั้น
พร้อมทั้งอนุสัยได้
อริยสาวกนั้นมีจิตที่สีลัพพตปรามาสกลุ้มรุมไม่ได้ ที่สีลัพพตปรามาสครอบงำ
ไม่ได้อยู่ และรู้อุบายเครื่องสลัดสีลัพพตปรามาสที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง
อริยสาวกนั้นย่อมละสีลัพพตปรามาสนั้นพร้อมทั้งอนุสัยได้
อริยสาวกนั้นมีจิตที่กามราคะกลุ้มรุมไม่ได้ ที่กามราคะครอบงำไม่ได้อยู่ และ
รู้อุบายเครื่องสลัดกามราคะที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง อริยสาวกนั้นย่อมละ
กามราคะนั้นพร้อมทั้งอนุสัยได้
อริยสาวกนั้นมีจิตที่พยาบาทกลุ้มรุมไม่ได้ ที่พยาบาทครอบงำไม่ได้อยู่ และรู้
อุบายเครื่องสลัดพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง อริยสาวกนั้นย่อมละ
พยาบาทนั้นพร้อมทั้งอนุสัยได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๔. มหามาลุงกยสูตร

ข้อปฏิบัติเพื่อละสังโยชน์

[๑๓๒] อานนท์ เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลไม่อาศัยมรรคและปฏิปทาที่เป็นไป
เพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการแล้ว จักรู้ จักเห็น จักละโอรัมภาคิยสังโยชน์
๕ ประการได้ เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลไม่ถากเปลือก ไม่ถากกระพี้ของต้นไม้ใหญ่
ประเภทยืนต้นมีแก่นแล้ว จักตัดแก่นเลยทีเดียว แม้ฉันใด เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคล
ไม่อาศัยมรรคและปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการแล้ว จักรู้
จักเห็น จักละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการได้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เป็นไปได้ที่บุคคลอาศัยมรรคและปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์
๕ ประการแล้ว จักรู้ จักเห็น จักละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนั้นได้ เป็นไปได้
ที่บุคคลถากเปลือก ถากกระพี้ของต้นไม้ใหญ่ประเภทยืนต้นมีแก่นแล้ว จักตัด
แก่นนั้นได้ แม้ฉันใด เป็นไปได้ที่บุคคลอาศัยมรรคและปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิย-
สังโยชน์ ๕ ประการแล้ว จักรู้ จักเห็น จักละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนั้นได้
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
แม่น้ำคงคามีน้ำเต็มเสมอฝั่ง นกกา(ก้ม)ดื่มกินได้ ครั้งนั้น บุรุษผู้มีกำลังน้อย
มาด้วยหวังว่า ‘เราจักว่ายตัดกระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคานี้ไปให้ถึงฝั่งโดยสวัสดี’ เขาจะ
ไม่อาจว่ายตัดกระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคาไปให้ถึงฝั่งโดยสวัสดีได้ แม้ฉันใด คนบางคน
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อพระธรรมกถึกแสดงธรรมเพื่อดับสักกายะอยู่ จิตย่อมไม่แล่นไป
ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่น ไม่หลุดพ้น พึงเห็นบุคคลเหล่านั้นเหมือนบุรุษผู้มีกำลัง น้อยนั้น
อานนท์ แม่น้ำคงคามีน้ำเต็มเสมอฝั่ง นกกา(ก้ม)ดื่มกินได้ บุรุษผู้มีกำลังมาก
มาด้วยหวังว่า ‘เราจักว่ายตัดกระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคานี้ไปให้ถึงฝั่งโดยสวัสดี’ เขาจะ
ไม่อาจว่ายตัดกระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคาไปให้ถึงฝั่งโดยสวัสดีได้ แม้ฉันใด คนบางคน
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อพระธรรมกถึกแสดงธรรมเพื่อดับสักกายะอยู่ จิตย่อมแล่นไป
เลื่อมใส ตั้งมั่น หลุดพ้น พึงเห็นบุคคลเหล่านั้นเหมือนบุรุษผู้มีกำลังมากนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๔. มหามาลุงกยสูตร

รูปฌาน ๔

[๑๓๓] มรรคและปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ
เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะละอกุศลธรรมทั้งหลายด้วยอุปธิวิเวก๑ เพราะ
ระงับความเกียจคร้านทางกายได้โดยประการทั้งปวง จึงสงัดจากกามและอกุศลธรรม
ทั้งหลายแล้วบรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เธอย่อม
พิจารณาเห็น๒ธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่มีอยู่ใน
ปฐมฌานนั้นโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดุจโรค เป็นดุจหัวฝี เป็นดุจลูกศร
เป็นสิ่งคอยก่อความเดือดร้อน เป็นที่ทำให้ขัดข้อง เป็นดุจคนฝ่ายอื่น เป็นสิ่งที่ต้อง
แตกสลาย เป็นของว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมทำจิตให้กลับจากธรรมเหล่านั้น
ครั้นแล้ว จึงน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า ‘ภาวะที่สงบ ประณีต คือ ความระงับสังขาร
ทั้งปวง ความสละคืนอุปธิกิเลสทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหา ความคลายกำหนัด
ความดับ นิพพาน’ เธอดำรงอยู่ในปฐมฌานนั้น ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะ
ทั้งหลาย หากยังไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะเป็นโอปปาติกะ๓
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้น
จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก๔
นี้แล เป็นมรรคและปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ
อีกประการหนึ่ง เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุจึงบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ
บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อยู่ เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรม
ทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่มีอยู่ในจตุตถฌานนั้น ฯลฯ
เพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๔. มหามาลุงกยสูตร

อรูปฌาน ๔

อีกประการหนึ่ง เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญา
โดยประการทั้งปวง ภิกษุบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘อากาศ
หาที่สุดมิได้’ อยู่ เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ เวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณ ที่มีอยู่ในอากาสานัญจายตนฌานนั้นโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ เป็นดุจโรค เป็นดุจหัวฝี เป็นดุจลูกศร เป็นสิ่งคอยก่อความเดือดร้อน
เป็นที่ทำให้ขัดข้อง เป็นดุจคนฝ่ายอื่น เป็นสิ่งที่ต้องแตกสลาย เป็นของว่างเปล่า
เป็นอนัตตา เธอย่อมทำจิตให้กลับจากธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว จึงน้อมจิตไปเพื่อ
อมตธาตุว่า ‘สภาวะที่สงบ ประณีต คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืน
อุปธิกิเลสทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน’
เธอดำรงอยู่ในอากาสานัญจายตนฌานนั้น ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
หากยังไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะเป็นโอปปาติกะ เพราะโอรัมภาคิย-
สังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้น จักปรินิพพานในภพนั้น
ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก
นี้แล เป็นมรรคและปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
วิญญาณัญจายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่ เธอย่อมพิจารณา
เห็นธรรมทั้งหลาย คือเวทนา ฯลฯ ที่มีอยู่ในวิญญาณัญจายตนฌานนั้น ฯลฯ
เพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
อากิญจัญญายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรม
ทั้งหลาย คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณที่มีอยู่ในอากิญจัญญายตนฌานนั้น
โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดุจโรค เป็นดุจหัวฝี เป็นดุจลูกศร เป็นสิ่งคอย
ก่อความเดือดร้อน เป็นที่ทำให้ขัดข้อง เป็นดุจคนฝ่ายอื่น เป็นสิ่งที่ต้องแตกสลาย
เป็นของว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมทำจิตให้กลับจากธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว
จึงน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า ‘สภาวะที่สงบ ประณีต คือ ความสงบระงับสังขาร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๔. มหามาลุงกยสูตร

ทั้งปวง ความสละคืนอุปธิกิเลสทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหา ความคลายกำหนัด
ความดับ นิพพาน’ เธอดำรงอยู่ในอากิญจัญญายตนฌานนั้น ย่อมบรรลุความสิ้นไป
แห่งอาสวะทั้งหลาย หากยังไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะเป็น
โอปปาติกะ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลิน
ในธรรมนั้น จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก
นี้แล เป็นมรรคและปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ”
ท่านพระอานนท์ทูลถามว่า “ถ้ามรรคและปฏิปทานี้ เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิย-
สังโยชน์ ๕ ประการ เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร ภิกษุทั้งหลายในพระธรรมวินัยนี้
บางพวกจึงเป็นเจโตวิมุต๑ บางพวกจึงเป็นปัญญาวิมุต๒ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ ในเรื่องนี้ เรากล่าวว่าภิกษุเหล่านั้น
มีอินทรีย์ต่างกัน๓”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์มีใจยินดีชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

มหามาลุงกยสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๕. ภัททาลิสูตร

๕. ภัททาลิสูตร
ว่าด้วยพระภัททาลิ
คุณแห่งการฉันอาหารมื้อเดียว

[๑๓๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมา
ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาค
จึงได้ตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เราฉันอาหารมื้อเดียว เราเมื่อฉันอาหารมื้อเดียว๑ ย่อมรู้สึก
ว่าสุขภาพมีโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ
ภิกษุทั้งหลาย มาเถิด แม้เธอทั้งหลายก็จงฉันอาหารมื้อเดียวเถิด เธอทั้งหลาย
เมื่อฉันอาหารมื้อเดียว จักรู้สึกว่าสุขภาพมีโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพลานามัย
สมบูรณ์ อยู่สำราญ”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระภัททาลิได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่สามารถฉันอาหารมื้อเดียวได้ เพราะเมื่อ
ข้าพระองค์ฉันอาหารมื้อเดียว จะมีความกระวนกระวาย และมีความเดือดร้อน”
“ภัททาลิ ถ้าเช่นนั้น เธอรับนิมนต์ ณ ที่ใดแล้ว พึงฉัน ณ ที่นั้นเสียส่วนหนึ่ง
แล้วนำอีกส่วนหนึ่งมาฉันก็ได้ เมื่อเธอฉันอาหารได้อย่างนี้ ก็จักดำรงชีวิตอยู่ได้”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่สามารถจะฉันแม้ด้วยอาการอย่างนั้น
เพราะเมื่อข้าพระองค์ฉันอย่างนั้น ก็จะมีความกระวนกระวาย และมีความเดือดร้อน”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๕. ภัททาลิสูตร

ครั้งนั้น ท่านพระภัททาลิได้ประกาศความไม่สามารถใน(การรักษา)สิกขาบทที่
พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้(และ)ให้ภิกษุสงฆ์สมาทานศึกษาอยู่ ตั้งแต่นั้นมา ท่าน
พระภัททาลิไม่กล้าเผชิญพระพักตร์พระผู้มีพระภาคตลอด ๓ เดือนเต็ม เหมือนภิกษุ
ผู้ไม่บำเพ็ญสิกขา๑ในศาสนาของพระศาสดาให้บริบูรณ์

พระภัททาลิสำนึกผิด

[๑๓๕] สมัยนั้น ภิกษุจำนวนมากช่วยกันทำจีวรกรรม(เย็บจีวร) สำหรับ
พระผู้มีพระภาคด้วยตั้งใจว่า “พระผู้มีพระภาคจะทรงใช้จีวรที่ทำสำเร็จแล้ว เสด็จ
เที่ยวจาริกไปเป็นเวลา ๓ เดือน”
เวลานั้น ท่านพระภัททาลิเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัย
พอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ภิกษุเหล่านั้นได้กล่าว
กับท่านพระภัททาลิว่า
“ท่านภัททาลิ ภิกษุทั้งหลายช่วยกันทำจีวรกรรมนี้สำหรับพระผู้มีพระภาค
ด้วยตั้งใจว่า ‘พระผู้มีพระภาคจะทรงใช้จีวรที่ทำสำเร็จแล้วเสด็จเที่ยวจาริกไปเป็น
เวลา ๓ เดือน’ ท่านภัททาลิ เราขอเตือน ท่านจงใส่ใจความผิดนี้ไว้ให้ดีเถิด ทีหลัง
ท่านอย่าได้ก่อความยุ่งยากอีกเลย”
ท่านพระภัททาลิรับคำแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โทษ
ได้ครอบงำข้าพระองค์ผู้เป็นคนโง่ เป็นคนหลง ไม่ฉลาด ผู้ประกาศความไม่สามารถ
ใน(การรักษา)สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้(และ)ให้ภิกษุสงฆ์สมาทาน
ศึกษาอยู่ ขอพระผู้มีพระภาคทรงรับรู้โทษของข้าพระองค์นั้นโดยความเป็นโทษ เพื่อ
ความสำรวมระวังต่อไปเถิด”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๕. ภัททาลิสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เอาเถิด ภัททาลิ โทษได้ครอบงำเธอผู้เป็นคนโง่ เป็น
คนหลง ไม่ฉลาด ผู้ประกาศความไม่สามารถใน(การรักษา)สิกขาบทที่เราบัญญัติไว้
(และ)ให้ภิกษุสงฆ์สมาทานศึกษาอยู่ เธอมิได้เข้าใจแม้เหตุที่ว่า พระผู้มีพระภาค
ประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี แม้พระผู้มีพระภาคก็ทรงรู้จักเราว่า ‘ภิกษุชื่อภัททาลิเป็น
ผู้ไม่บำเพ็ญสิกขาในศาสนาของพระศาสดาให้บริบูรณ์’ แม้เหตุนี้เธอก็มิได้เข้าใจ
เธอมิได้เข้าใจแม้เหตุที่ว่า ภิกษุจำนวนมากเข้าจำพรรษาอยู่ในกรุงสาวัตถี แม้ภิกษุ
เหล่านั้นก็รู้จักเราว่า ‘ภิกษุชื่อภัททาลิเป็นผู้ไม่บำเพ็ญสิกขาในศาสนาของพระศาสดา
ให้บริบูรณ์’ แม้เหตุนี้เธอก็มิได้เข้าใจ
เธอมิได้เข้าใจแม้เหตุที่ว่า ภิกษุณีจำนวนมากเข้าจำพรรษาอยู่ในกรุงสาวัตถี
แม้ภิกษุณีเหล่านั้นก็รู้จักเราว่า ‘ภิกษุชื่อภัททาลิเป็นผู้ไม่บำเพ็ญสิกขาในศาสนาของ
พระศาสดาให้บริบูรณ์’ แม้เหตุนี้เธอก็มิได้เข้าใจ
เธอมิได้เข้าใจแม้เหตุที่ว่า อุบาสกจำนวนมากอาศัยอยู่ในกรุงสาวัตถี แม้อุบาสก
เหล่านั้นก็รู้จักเราว่า ‘ภิกษุชื่อภัททาลิเป็นผู้ไม่บำเพ็ญสิกขาในศาสนาของพระศาสดา
ให้บริบูรณ์’ แม้เหตุนี้เธอก็มิได้เข้าใจ
เธอมิได้เข้าใจแม้เหตุที่ว่า อุบาสิกาจำนวนมากอาศัยอยู่ในกรุงสาวัตถี แม้อุบาสิกา
เหล่านั้นก็รู้จักเราว่า ‘ภิกษุชื่อภัททาลิเป็นผู้ไม่บำเพ็ญสิกขาในศาสนาของพระศาสดา
ให้บริบูรณ์’ แม้เหตุนี้เธอก็มิได้เข้าใจ
ภัททาลิ เธอมิได้เข้าใจแม้เหตุที่ว่า สมณพราหมณ์ต่างลัทธิจำนวนมากเข้า
จำพรรษาในกรุงสาวัตถี แม้สมณพราหมณ์ต่างลัทธิเหล่านั้นก็รู้จักเราว่า ‘ภิกษุชื่อ
ภัททาลิ สาวกของพระสมณโคดม เป็นพระเถระรูปหนึ่ง ผู้ไม่บำเพ็ญสิกขาในศาสนา
ของพระศาสดาให้บริบูรณ์’ แม้เหตุนี้เธอก็มิได้เข้าใจ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โทษได้ครอบงำข้าพระองค์ผู้เป็นคนโง่ เป็นคนหลง
ไม่ฉลาด ผู้ประกาศความไม่สามารถใน(การรักษา)สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคทรง
บัญญัติไว้(และ)ให้ภิกษุสงฆ์สมาทานศึกษาอยู่ ขอพระผู้มีพระภาคทรงรับรู้โทษของ
ข้าพระองค์โดยความเป็นโทษ เพื่อความสำรวมระวังต่อไปเถิด พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๕. ภัททาลิสูตร

“ภัททาลิ เอาเถิด โทษได้ครอบงำเธอผู้เป็นคนโง่ เป็นคนหลง ไม่ฉลาด ผู้ประกาศ
ความไม่สามารถใน(การรักษา)สิกขาบทที่เราบัญญัติไว้(และ)ให้ภิกษุสงฆ์สมาทาน
ศึกษาอยู่
[๑๓๖] ภัททาลิ เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็น
อุภโตภาควิมุต๑เราจะพึงกล่าวกับภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ‘มาเถิด ภิกษุ เราจะก้าวไป
ในหล่มด้วยกัน ภิกษุนั้นจะพึงก้าวไป หรือน้อมกายไปทางอื่น หรือจะพึงปฏิเสธ”
“ไม่ปฏิเสธ พระพุทธเจ้าข้า”
“เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นปัญญาวิมุต๒ เป็น
กายสักขี๓ เป็นทิฏฐิปัตตะ๔ เป็นสัทธาวิมุต๕ เป็นธัมมานุสารี๖ เป็นสัทธานุสารี๗
เราจะพึงกล่าวกับภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ‘มาเถิด ภิกษุ เราจะก้าวไปในหล่มด้วยกัน’
ภิกษุนั้นจะพึงก้าวไป หรือน้อมกายไปทางอื่น หรือจะพึงปฏิเสธ”
“ไม่ปฏิเสธ พระพุทธเจ้าข้า”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๕. ภัททาลิสูตร

“เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เวลานั้น เธอเป็นอุภโตภาควิมุต เป็น
ปัญญาวิมุต เป็นกายสักขี เป็นทิฏฐิปัตตะ เป็นสัทธาวิมุต เป็นธัมมานุสารี หรือ
เป็นสัทธานุสารีบ้างไหม”
“ไม่ พระพุทธเจ้าข้า”
“เวลานั้น เธอเป็นคนว่าง คนเปล่า คนผิด ใช่ไหม”
“ใช่ พระพุทธเจ้าข้า โทษได้ครอบงำข้าพระองค์ผู้เป็นคนโง่ เป็นคนหลง
ไม่ฉลาด ผู้ประกาศความไม่สามารถใน(การรักษา)สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคทรง
บัญญัติไว้(และ)ให้ภิกษุสงฆ์สมาทานศึกษาอยู่ ขอพระผู้มีพระภาคทรงรับรู้โทษของ
ข้าพระองค์โดยความเป็นโทษ เพื่อความสำรวมระวังต่อไปเถิด พระพุทธเจ้าข้า”
“ภัททาลิ เอาเถิด โทษได้ครอบงำเธอผู้เป็นคนโง่ เป็นคนหลง ไม่ฉลาด
ผู้ประกาศความไม่สามารถใน(การรักษา)สิกขาบทที่เราบัญญัติไว้(และ)ให้ภิกษุสงฆ์
สมาทานศึกษาอยู่ แต่เพราะเธอเห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้วทำคืนตามธรรม
เราจึงรับรู้โทษของเธอนั้น การที่บุคคลเห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้วทำคืนตาม
ธรรมจะสำรวมระวังต่อไปนี้ เป็นความเจริญในอริยวินัย

ผู้ไม่บำเพ็ญสิกขาให้บริบูรณ์

[๑๓๗] ภัททาลิ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่บำเพ็ญสิกขาในศาสนา
ของศาสดาให้บริบูรณ์ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรพักอยู่ ณ เสนาสนะ
เงียบสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟางเถิด
บางทีเราจะพึงทำให้แจ้งญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ๑ วิเศษยิ่งกว่าธรรมของ
มนุษย์๒’ เธอพักอยู่ ณ เสนาสนะเงียบสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๕. ภัททาลิสูตร

ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง เมื่อเธอหลีกออกไปอยู่อย่างนั้น ศาสดาก็ติเตียนได้
เพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายใคร่ครวญแล้วก็ติเตียนได้ เทวดาก็ติเตียนได้ แม้ตนเอง
ก็ติเตียนตนเองได้ เธอถูกศาสดาติเตียนบ้าง ถูกเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายติเตียนบ้าง
ถูกเทวดาติเตียนบ้าง ตนเองติเตียนตนเองบ้าง ก็ไม่ทำให้แจ้งญาณทัสสนะที่ประเสริฐ
อันสามารถ วิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่บำเพ็ญสิกขาในศาสนาของศาสดาให้บริบูรณ์

ผู้บำเพ็ญสิกขาให้บริบูรณ์

[๑๓๘] ภัททาลิ ส่วนภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้บำเพ็ญสิกขาใน
ศาสนาของศาสดาให้บริบูรณ์ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรพักอยู่ ณ
เสนาสนะเงียบสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง
บางทีเราจะพึงทำให้แจ้งญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ วิเศษยิ่งกว่าธรรมของ
มนุษย์’ เธอพักอยู่ ณ เสนาสนะเงียบสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า
ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง เมื่อเธอหลีกออกไปอยู่อย่างนั้น แม้ศาสดาก็ติเตียนไม่ได้
แม้เพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายใคร่ครวญแล้วก็ติเตียนไม่ได้ แม้เทวดาก็ติเตียนไม่ได้
แม้ตนเองก็ติเตียนตนเองไม่ได้ เธออันศาสดาไม่ติเตียน เพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลาย
ใคร่ครวญแล้วก็ไม่ติเตียน เทวดาไม่ติเตียน ตนเองติเตียนตนเองไม่ได้ ย่อมทำให้แจ้ง
ญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ วิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ภิกษุนั้นสงัดจาก
กามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิด
จากวิเวกอยู่
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะภิกษุนั้นเป็นผู้บำเพ็ญสิกขาในศาสนาของศาสดาให้บริบูรณ์
[๑๓๙] อีกประการหนึ่ง เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุทุติยฌาน
มีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและ
สุขอันเกิดจากสมาธิอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๕. ภัททาลิสูตร

ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะภิกษุนั้นเป็นผู้บำเพ็ญสิกขาในศาสนาของศาสดาให้บริบูรณ์
อีกประการหนึ่ง เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุบรรลุตติยฌาน ฯลฯ อยู่
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะภิกษุนั้นเป็นผู้บำเพ็ญสิกขาในศาสนาของศาสดาให้บริบูรณ์
อีกประการหนึ่ง เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน
ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อยู่
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะภิกษุนั้นเป็นผู้บำเพ็ญสิกขาในศาสนาของศาสดาให้บริบูรณ์

วิชชา ๓

เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน๑ ปราศจากความ
เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อมจิตไป
เพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ฯลฯ๒
เธอระลึกชาติก่อนได้หลายชาติพร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะภิกษุนั้นเป็นผู้บำเพ็ญสิกขาในศาสนาของศาสดาให้บริบูรณ์
เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ
เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อมจิตไป
เพื่อจุตูปปาตญาณ เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๕. ภัททาลิสูตร

ไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็น
ไปตามกรรมว่า ‘หมู่สัตว์ที่ประกอบกายทุจริต ฯลฯ จะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต
นรก หมู่สัตว์ที่ประกอบกายสุจริต ฯลฯ๑ จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์’ เธอเห็น
หมู่สัตว์ ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี
ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมอย่างนี้แล
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะภิกษุนั้นเป็นผู้บำเพ็ญสิกขาในศาสนาของศาสดาให้บริบูรณ์
เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ
เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อมจิตไป
เพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ
นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินี-
ปฏิปทา’ เมื่อเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ และ
อวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว๒ ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป๓’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะภิกษุนั้นเป็นผู้บำเพ็ญสิกขาในศาสนาของศาสดาให้บริบูรณ์

เหตุที่ทำให้ถูกข่มขี่และไม่ถูกข่มขี่

[๑๔๐] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระภัททาลิได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ภิกษุ
ทั้งหลายมักข่มขี่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ ทำให้เป็นเหตุ(แห่งอธิกรณ์) อนึ่ง
อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยไม่ให้ภิกษุทั้งหลายมักข่มขี่ภิกษุบางรูปในพระธรรม-
วินัยนี้ ทำให้เป็นเหตุ(แห่งอธิกรณ์) พระพุทธเจ้าข้า”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๕. ภัททาลิสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภัททาลิ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ต้องอาบัติ
อยู่เนือง ๆ เป็นผู้มีอาบัติมาก เธอถูกภิกษุทั้งหลายตักเตือนอยู่ ก็ยังฝ่าฝืนประพฤติ
นอกลู่นอกทาง นำถ้อยคำภายนอกมากลบเกลื่อน แสดงความโกรธ ความขัดเคือง
และความไม่อ่อนน้อมให้ปรากฏ ไม่ประพฤติชอบ ไม่หวาดกลัว ไม่ยอมถอนตนออก
ไม่กล่าวว่า ‘ข้าพเจ้าจะทำตามความพอใจของสงฆ์’ เพราะเหตุที่ภิกษุเป็นผู้ว่ายากนั้น
ภิกษุทั้งหลายจึงพูดอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนี้ต้องอาบัติเนือง ๆ เป็น
ผู้มีอาบัติมาก เธอถูกภิกษุทั้งหลายตักเตือนอยู่ ก็ยังฝ่าฝืนประพฤตินอกลู่นอกทาง
นำถ้อยคำภายนอกมากลบเกลื่อน แสดงความโกรธ ความขัดเคือง และความไม่
อ่อนน้อมให้ปรากฏ ไม่ประพฤติชอบ ไม่หวาดกลัว ไม่ยอมถอนตนออก ไม่กล่าวว่า
‘ข้าพเจ้าจะทำตามความพอใจของสงฆ์’ เป็นการชอบที่ท่านผู้มีอายุทั้งหลายจะ
พิจารณาโทษของภิกษุนี้ โดยมิให้อธิกรณ์ระงับไปโดยเร็ว’
ภัททาลิ ภิกษุทั้งหลายจึงพิจารณาโทษของภิกษุนั้น โดยมิให้อธิกรณ์๑นี้ระงับ
ไปโดยเร็ว ด้วยอาการอย่างนี้
[๑๔๑] ภัททาลิ ส่วนภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติเนือง ๆ เป็นผู้มี
อาบัติมาก เธอถูกภิกษุทั้งหลายตักเตือนอยู่ ก็ไม่ฝ่าฝืนประพฤตินอกลู่นอกทาง
ไม่นำถ้อยคำภายนอกมากลบเกลื่อน ไม่แสดงความโกรธ ความขัดเคือง และความ
ไม่อ่อนน้อมให้ปรากฏ ประพฤติชอบ หวาดกลัว ยอมถอนตนออก กล่าวว่า ‘ข้าพเจ้า
จะทำตามความพอใจของสงฆ์’ เพราะเหตุที่ภิกษุเป็นผู้ว่าง่ายนั้น ภิกษุทั้งหลาย
จึงพูดอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนี้ต้องอาบัติเนือง ๆ เป็นผู้มีอาบัติมาก
เธอถูกภิกษุทั้งหลายตักเตือนอยู่ ก็ไม่ฝ่าฝืนประพฤตินอกลู่นอกทาง ไม่นำถ้อยคำ
ภายนอกมากลบเกลื่อน ไม่แสดงความโกรธ ความขัดเคือง และความไม่อ่อนน้อม


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๕. ภัททาลิสูตร

ให้ปรากฏ ประพฤติชอบ หวาดกลัว ถอนตนออก กล่าวว่า ‘ข้าพเจ้าจะทำตาม
ความพอใจของสงฆ์’ เป็นการชอบแล้ว ขอท่านผู้มีอายุทั้งหลายจงพิจารณาโทษของ
ภิกษุนั้น โดยให้อธิกรณ์นี้ระงับไปโดยเร็ว’
ภัททาลิ ภิกษุทั้งหลายจึงพิจารณาโทษของภิกษุนั้น โดยให้อธิกรณ์นี้ระงับไป
โดยเร็ว ด้วยอาการอย่างนี้
[๑๔๒] ภัททาลิ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติเป็นบางครั้ง ไม่มี
อาบัติมาก เธอถูกภิกษุทั้งหลายตักเตือนอยู่ ก็ยังฝ่าฝืนประพฤตินอกลู่นอกทาง
นำถ้อยคำภายนอกมากลบเกลื่อน แสดงความโกรธ ความขัดเคือง และความ
ไม่อ่อนน้อมให้ปรากฏ ไม่ประพฤติชอบ ไม่หวาดกลัว ไม่ยอมถอนตนออก ไม่กล่าว
ว่า ‘ข้าพเจ้าจะทำตามความพอใจของสงฆ์’ เพราะเหตุที่ภิกษุเป็นผู้ว่ายากนั้น ภิกษุ
ทั้งหลายจึงพูดอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนี้ต้องอาบัติเป็นบางครั้ง
ไม่มีอาบัติมาก เธอถูกภิกษุทั้งหลายตักเตือนอยู่ ก็ยังฝ่าฝืนประพฤตินอกลู่
นอกทาง นำถ้อยคำภายนอกมากลบเกลื่อน แสดงความโกรธ ความขัดเคือง
และความไม่อ่อนน้อมให้ปรากฏ ไม่ประพฤติชอบ ไม่หวาดกลัว ไม่ยอมถอน
ตนออก ไม่กล่าวว่า ‘ข้าพเจ้าจะทำตามความพอใจของสงฆ์’ เป็นการชอบที่ท่านผู้
มีอายุทั้งหลายจะพิจารณาโทษของภิกษุนี้ โดยมิให้อธิกรณ์ระงับไปโดยเร็ว’
ภัททาลิ ภิกษุทั้งหลายจึงพิจารณาโทษของภิกษุนั้น โดยมิให้อธิกรณ์ระงับไป
โดยเร็ว ด้วยอาการอย่างนี้
[๑๔๓] ภัททาลิ ส่วนภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติเป็นบางครั้ง
ไม่มีอาบัติมาก เธอถูกภิกษุทั้งหลายตักเตือนอยู่ ก็ไม่ฝ่าฝืนประพฤตินอกลู่นอกทาง
ไม่นำถ้อยคำภายนอกมากลบเกลื่อน ไม่แสดงความโกรธ ความขัดเคือง และความ
ไม่อ่อนน้อมให้ปรากฏ ประพฤติชอบ หวาดกลัว ยอมถอนตนออก กล่าวว่า
‘ข้าพเจ้าจะทำตามความพอใจของสงฆ์’ เพราะเหตุที่ภิกษุเป็นผู้ว่าง่ายนั้น ภิกษุ
ทั้งหลายจึงพูดอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนี้ต้องอาบัติเป็นบางครั้ง
ไม่มีอาบัติมาก เธอถูกภิกษุทั้งหลายตักเตือนอยู่ ก็ไม่ฝ่าฝืนประพฤตินอกลู่นอกทาง
ไม่นำถ้อยคำภายนอกมากลบเกลื่อน ไม่แสดงความโกรธ ความขัดเคือง และความ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๕. ภัททาลิสูตร

ไม่อ่อนน้อมให้ปรากฏ ประพฤติชอบ หวาดกลัว ถอนตนออก กล่าวว่า ‘ข้าพเจ้า
จะทำตามความพอใจของสงฆ์’ เป็นการชอบแล้ว ขอท่านผู้มีอายุทั้งหลายจง
พิจารณาโทษของภิกษุนี้ โดยให้อธิกรณ์นี้ระงับไปโดยเร็ว’
ภัททาลิ ภิกษุทั้งหลายจึงพิจารณาโทษของภิกษุนั้น โดยให้อธิกรณ์นี้ระงับไป
โดยเร็ว ด้วยอาการอย่างนี้
[๑๔๔] ภัททาลิ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ดำเนินชีวิตด้วยศรัทธาพอประมาณ
ด้วยความรักพอประมาณ เพราะเหตุที่ภิกษุเป็นผู้ดำเนินชีวิตด้วยศรัทธาพอประมาณ
ด้วยความรักพอประมาณนั้น ภิกษุทั้งหลายจึงพูดอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
ภิกษุนี้ดำเนินชีวิตด้วยศรัทธาพอประมาณ ด้วยความรักพอประมาณ ถ้าเราทั้งหลาย
จักข่มขี่ภิกษุนี้ ทำให้เป็นเหตุ(แห่งอธิกรณ์) ด้วยตั้งใจว่า ‘ศรัทธาพอประมาณ
ความรักพอประมาณของเธอนั้นอย่าได้เสื่อมไปจากเธอเลย’
บุคคลผู้เป็นมิตรอำมาตย์ ญาติสาโลหิตของบุรุษผู้มีนัยน์ตาข้างเดียว พึงรักษา
นัยน์ตาข้างเดียวนั้นไว้ด้วยตั้งใจว่า ‘นัยน์ตาข้างเดียวของเขานั้น อย่าได้เสื่อมไปจาก
เขาเลย’ แม้ฉันใด ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ดำเนินชีวิตด้วย
ศรัทธาพอประมาณ ด้วยความรักพอประมาณ เพราะเหตุที่ภิกษุเป็นผู้ดำเนินชีวิต
ด้วยศรัทธาพอประมาณ ด้วยความรักพอประมาณนั้น ภิกษุทั้งหลายจึงพูด
อย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนี้ดำเนินชีวิตด้วยศรัทธาพอประมาณ ด้วยความรัก
พอประมาณ ถ้าเราทั้งหลายจักข่มขี่ภิกษุนี้ ทำให้เป็นเหตุ(แห่งอธิกรณ์) ศรัทธา
พอประมาณ ความรักพอประมาณของเธอ อย่าได้เสื่อมไปจากเธอเลย’
ภัททาลิ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ภิกษุทั้งหลายข่มขี่ภิกษุบางรูปในธรรม-
วินัยนี้ แล้วทำให้เป็นเหตุ(แห่งอธิกรณ์) อนึ่ง นี้เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้ภิกษุทั้งหลาย
ข่มขี่ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ แล้วทำให้เป็นเหตุ(แห่งอธิกรณ์)”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๕. ภัททาลิสูตร

อาสวัฏฐานิยธรรม

[๑๔๕] ท่านพระภัททาลิทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุ
เป็นปัจจัยที่เมื่อก่อนสิกขาบทมีเพียงเล็กน้อย แต่ภิกษุจำนวนมากดำรงอยู่ในอรหัตตผล
อนึ่ง อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยที่บัดนี้สิกขาบทมีเป็นอันมาก แต่ภิกษุจำนวนน้อย
ดำรงอยู่ในอรหัตตผล”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภัททาลิ ข้อนี้เป็นจริงอย่างนั้น เมื่อสัตว์ทั้งหลาย
กำลังจะเสื่อม เมื่อสัทธรรม๑กำลังจะอันตรธาน สิกขาบทมีอยู่เป็นอันมาก แต่ภิกษุ
จำนวนน้อยดำรงอยู่ในอรหัตตผล ศาสดาจะยังไม่บัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย
ตลอดเวลาที่ยังไม่เกิดอาสวัฏฐานิยธรรม๒บางอย่างในสงฆ์ เมื่อเกิดอาสวัฏฐานิยธรรม
บางอย่างในสงฆ์ ศาสดาจึงจะบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย เพื่อขจัดอาสวัฏฐานิย-
ธรรมเหล่านั้น
อาสวัฏฐานิยธรรมบางอย่างยังไม่เกิดในสงฆ์ ตราบเท่าที่สงฆ์ยังไม่เป็นหมู่ใหญ่
เมื่อสงฆ์เป็นหมู่ใหญ่ อาสวัฏฐานิยธรรมบางอย่างจึงเกิดในสงฆ์ ศาสดาจะบัญญัติ
สิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย เพื่อขจัดอาสวัฏฐานิยธรรมเหล่านั้น
อาสวัฏฐานิยธรรมบางอย่างยังไม่เกิดในสงฆ์ ตราบเท่าที่สงฆ์ยังไม่เป็นผู้เลิศ
ด้วยลาภ ... ยังไม่เป็นผู้เลิศด้วยยศ ... ยังไม่เป็นพหูสูต๓ ...


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๕. ภัททาลิสูตร

อาสวัฏฐานิยธรรมบางอย่างยังไม่เกิดในสงฆ์ ตราบเท่าที่สงฆ์ยังไม่เป็นรัตตัญญู
เมื่อสงฆ์เป็นรัตตัญญู๑ อาสวัฏฐานิยธรรมบางอย่างจึงเกิดในสงฆ์ ศาสดาจะบัญญัติ
สิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย เพื่อขจัดอาสวัฏฐานิยธรรมเหล่านั้น
[๑๔๖] ภัททาลิ สมัยใด เราแสดงธรรมบรรยายเปรียบด้วยม้าอาชาไนยหนุ่ม
แก่เธอทั้งหลาย สมัยนั้น เธอทั้งหลายยังมีจำนวนน้อย ภัททาลิ เธอยังระลึกถึงธรรม
บรรยายนั้น ได้อยู่หรือ”
“ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ในการระลึกไม่ได้นั้น เธออาศัยเหตุอะไรเล่า”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะข้าพระองค์มิได้บำเพ็ญสิกขาในศาสนาของ
พระศาสดาให้บริบูรณ์เป็นเวลานานมาแล้วแน่ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภัททาลิ ความเป็นผู้ไม่บำเพ็ญสิกขาให้บริบูรณ์นี้ จะเป็นเหตุเป็นปัจจัย
ก็หามิได้ แต่เรากำหนดรู้ด้วยจิตจึงรู้จักเธอมานานแล้วว่า ‘เมื่อเราแสดงธรรมอยู่
โมฆบุรุษนี้ไม่ตั้งใจ ไม่ใส่ใจ ไม่เอาใจจดจ่อ ไม่เงี่ยโสตสดับธรรม’ แต่เราก็จักแสดง
ธรรมบรรยายเปรียบเทียบด้วยม้าอาชาไนยหนุ่มแก่เธออีก เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี
เราจักกล่าว”
ท่านพระภัททาลิทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า

องค์คุณของภิกษุผู้เป็นเนื้อนาบุญ

[๑๔๗] “ภัททาลิ เปรียบเหมือนคนฝึกม้าผู้ชำนาญ ได้ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีแล้ว
ครั้งแรกทีเดียวฝึกให้มันรู้เรื่องในการสวมบังเหียน เมื่อเขากำลังฝึกให้มันรู้เรื่องในการ
สวมบังเหียน มันก็พยศ สบัด ดิ้นรน อย่างใดอย่างหนึ่ง เหมือนม้าที่ยังไม่เคย
ฝึก ม้านั้นหมดพยศได้เพราะได้รับการฝึกบ่อย ๆ เพราะได้รับการฝึกตามขั้นตอนโดย
ลำดับ เมื่อม้าอาชาไนยพันธุ์ดีหมดพยศลงได้ เพราะได้รับการฝึกบ่อย ๆ เพราะได้


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๕. ภัททาลิสูตร

รับการฝึกตามขั้นตอนโดยลำดับ คนฝึกม้าก็จะฝึกให้มันรู้เรื่องอื่นต่อไปอีก เช่น ฝึก
เทียมแอก เมื่อเขากำลังฝึกให้มันรู้เรื่องในการเทียมแอก มันก็จะพยศ สบัด ดิ้นรน
อย่างใดอย่างหนึ่ง เหมือนม้าที่ไม่เคยฝึก ม้านั้นหมดพยศลงได้เพราะได้รับการฝึก
บ่อย ๆ เพราะได้รับการฝึกตามขั้นตอนโดยลำดับ ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีหมดพยศลงได้
เพราะได้รับการฝึกบ่อย ๆ เพราะได้รับการฝึกตามขั้นตอนโดยลำดับ คนฝึกม้าก็จะ
ฝึกให้มันรู้เรื่องอื่นต่อไปอีก คือ

๑. การเหยาะย่าง ๒. การวิ่งเป็นวงกลม
๓. การจรดกีบ ๔. การวิ่ง
๕. การใช้เสียงร้องให้เป็นประโยชน์ ๖. คุณสมบัติได้เป็นราชนิยม
๗. ความเป็นวงศ์พญาม้า ๘. ความว่องไวชั้นเยี่ยม
๙. การเป็นม้าชั้นเยี่ยม ๑๐. การเป็นม้าที่ควรแก่การชมเชย
อย่างยิ่ง

เมื่อคนฝึกม้าฝึกให้มันรู้เรื่องในความว่องไวชั้นเยี่ยม ในการเป็นม้าชั้นเยี่ยม
ในการเป็นม้าควรแก่การชมเชยอย่างยิ่ง ม้านั้นก็จะพยศ สบัด ดิ้นรน อย่างใด
อย่างหนึ่ง เหมือนม้าที่ยังไม่เคยฝึก ม้านั้นหมดพยศลงได้เพราะได้รับการฝึกอยู่
บ่อยๆ เพราะได้รับการฝึกตามขั้นตอนโดยลำดับ ในการขี่ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีซึ่งหมด
พยศลงนั้น คนฝึกม้าก็จะเพิ่มการฝึกให้มีคุณภาพ ให้มีกำลังขึ้น ม้าอาชาไนยพันธุ์ดี
ประกอบด้วยองค์ ๑๐ ประการนี้แล จึงเป็นม้าควรแก่พระราชา เป็นม้าต้น นับว่า
เป็นราชพาหนะโดยแท้ แม้ฉันใด
ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้ควรแก่ของ
ที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญ
อันยอดเยี่ยมของโลก

ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิอันเป็นอเสขะ
๒. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาสังกัปปะอันเป็นอเสขะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๖. ลฏุกิโกปมสูตร

๓. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาวาจาอันเป็นอเสขะ
๔. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมากัมมันตะอันเป็นอเสขะ
๕. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาอาชีวะอันเป็นอเสขะ
๖. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาวายามะอันเป็นอเสขะ
๗. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาสติอันเป็นอเสขะ
๘. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาสมาธิอันเป็นอเสขะ
๙. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาญาณะอันเป็นอเสขะ
๑๐. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาวิมุตติอันเป็นอเสขะ๑
ภัททาลิ ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล เป็นผู้ควรแก่ของที่เขา
นำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญ
อันยอดเยี่ยมของโลก”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระภัททาลิมีใจยินดีชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

ภัททาลิสูตรที่ ๕ จบ

๖. ลฏุกิโกปมสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยนางนกมูลไถ

[๑๔๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวอังคุตตราปะชื่ออาปณะ
แคว้นอังคุตตราปะ ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตร
และจีวร เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังอาปณนิคม ทรงเที่ยวบิณฑบาตในอาปณนิคมแล้ว
เสด็จกลับจากบิณฑบาตภายหลังเสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว ทรงเข้าไปยังราวป่า
แห่งหนึ่งเพื่อประทับพักผ่อนกลางวัน ได้ประทับนั่งพักกลางวันที่โคนไม้แห่งหนึ่ง


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๖. ลฏุกิโกปมสูตร

ในเวลาเช้า แม้ท่านพระอุทายีก็ครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยัง
อาปณนิคม เที่ยวบิณฑบาตในอาปณนิคมแล้ว กลับจากบิณฑบาตภายหลังฉัน
ภัตตาหารเสร็จแล้ว เข้าไปยังราวป่าเพื่อพักผ่อนกลางวัน ได้นั่งพักกลางวันที่โคนไม้
แห่งหนึ่ง ครั้งนั้น ท่านพระอุทายีหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ได้เกิดความคิดคำนึงอย่างนี้ว่า
“พระผู้มีพระภาคทรงกำจัดธรรมอันเป็นเหตุแห่งทุกข์เป็นอันมากของเราทั้งหลาย
ออกไปได้ พระผู้มีพระภาคทรงนำธรรมอันเป็นเหตุแห่งสุขเป็นอันมากมาให้เราทั้งหลาย
พระผู้มีพระภาคทรงกำจัดอกุศลธรรมเป็นอันมากของเราทั้งหลายออกไปได้ พระผู้มี
พระภาคทรงนำกุศลธรรมเป็นอันมากมาให้เราทั้งหลาย”
ครั้นเวลาเย็น ท่านพระอุทายีออกจากที่หลีกเร้น๑ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง
ที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร

มูลเหตุที่ทรงห้ามฉันในเวลาวิกาล

[๑๔๙] ท่านพระอุทายีนั่ง ณ ที่สมควรแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ข้าพระองค์หลีกเร้นอยู่ในที่สงัด
ได้เกิดความคิดคำนึงอย่างนี้ว่า ‘พระผู้มีพระภาคทรงกำจัดธรรมอันเป็นเหตุแห่งทุกข์
เป็นอันมากของเราทั้งหลายออกไปได้ พระผู้มีพระภาคทรงนำธรรมอันเป็นเหตุแห่งสุข
เป็นอันมากมาให้เราทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงกำจัดอกุศลธรรมเป็นอันมากของ
เราทั้งหลายออกไปได้ พระผู้มีพระภาคทรงนำกุศลธรรมเป็นอันมากมาให้เราทั้งหลาย’
ก็เมื่อก่อนข้าพระองค์เคยฉันได้ทั้งเวลาเย็น เวลาเช้า และเวลาวิกาลกลางวัน(หลังเที่ยง)
ในสมัยที่พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย
เราขอเตือน เธอทั้งหลายจงเลิกฉันโภชนะในเวลาวิกาลกลางวันเสียเถิด’


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๖. ลฏุกิโกปมสูตร
ข้าพระองค์นั้นมีความน้อยใจ มีความเสียใจว่า ‘คหบดีทั้งหลายผู้มีศรัทธาจะ
ถวายของควรเคี้ยว ของควรฉันอันประณีตแม้ใดแก่เราทั้งหลายในเวลาวิกาลกลางวัน
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตรับสั่งให้เราทั้งหลายเลิกฉันโภชนะในเวลาวิกาลกลางวันแม้นั้น
เสียแล้ว’
ข้าพระองค์ทั้งหลายนั้นเมื่อพิจารณาเห็นความรัก ความเคารพ ความละอาย
และความเกรงกลัวในพระผู้มีพระภาค จึงยอมเลิกฉันโภชนะในเวลาวิกาลกลางวัน
นั้นเสีย ด้วยอาการอย่างนี้ ข้าพระองค์ทั้งหลายนั้นจึงฉันในเวลาเย็นและเวลาเช้า
ในสมัยที่พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย
เราขอเตือน เธอทั้งหลายจงเลิกฉันโภชนะในเวลาวิกาลกลางคืนเสียเถิด’
ข้าพระองค์นั้นมีความน้อยใจ มีความเสียใจว่า ‘พระผู้มีพระภาคผู้สุคตรับสั่ง
ให้เราเลิกฉันโภชนะที่นับว่าประณีตกว่าบรรดาโภชนะทั้งสองนี้เสีย’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องเคยมีมาแล้ว บุรุษคนหนึ่งได้ของที่ควรจะแกงมา
ในเวลากลางวัน จึงบอกภรรยาอย่างนี้ว่า ‘เอาเถิด เธอจงเก็บสิ่งนี้ไว้ เราทั้งหมด
จักบริโภคพร้อมกันในเวลาเย็น อะไร ๆ ทั้งหมดที่จะปรุงกินย่อมมีรสอร่อยในเวลา
กลางคืน เวลากลางวันมีรสไม่อร่อย’
ข้าพระองค์ทั้งหลายนั้น เมื่อพิจารณาเห็นความรัก ความเคารพ ความละอาย
และความเกรงกลัวในพระผู้มีพระภาค จึงยอมเลิกฉันโภชนะในเวลาวิกาลกลางคืน
นั้นเสีย
เรื่องเคยมีมาแล้ว ภิกษุทั้งหลายเที่ยวบิณฑบาตไปในเวลามืดค่ำ ย่อมเข้าไป
ใกล้บ่อน้ำครำบ้าง ตกลงในหลุมโสโครกบ้าง บุกเข้าไปยังป่าหนามบ้าง เหยียบแม่โค
ที่กำลังหลับบ้าง พบกับโจรผู้ทำโจรกรรมบ้าง ผู้ยังไม่ได้ทำโจรกรรมบ้าง ถูกมาตุคาม
ชักชวนให้เสพสมบ้าง
เรื่องเคยมีมาแล้ว ข้าพระองค์เที่ยวบิณฑบาตไปในเวลามืดค่ำ หญิงคนหนึ่ง
กำลังล้างภาชนะอยู่ ได้เห็นข้าพระองค์โดยแสงฟ้าแลบแล้วตกใจกลัวร้องเสียงหลงว่า
‘ว้าย ! ผีหลอก’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๖. ลฏุกิโกปมสูตร

เมื่อหญิงนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์จึงพูดกับเธอว่า ‘ไม่ใช่ผีหรอก
น้องหญิง เราเป็นภิกษุยืนบิณฑบาตอยู่’
หญิงนั้นกล่าวว่า ‘พ่อแม่ของภิกษุคงตายแล้วกระนั้นหรือ ภิกษุ ท่านเอา
มีดคม ๆ สำหรับเชือดโคมาเชือดท้องของดิฉันเสียยังดีกว่า การที่ท่านมาเที่ยว
บิณฑบาตในเวลามืดค่ำอย่างนี้เพราะเห็นแก่ปากแก่ท้อง ไม่ดีเลย’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์ระลึกถึงเรื่องนั้นอยู่ จึงคิดอย่างนี้ว่า
‘พระผู้มีพระภาคทรงกำจัดธรรมอันเป็นเหตุแห่งทุกข์เป็นอันมากของเราทั้งหลาย
ออกไปได้ พระผู้มีพระภาคทรงนำธรรมอันเป็นเหตุแห่งสุขเป็นอันมากมาให้เราทั้งหลาย
พระผู้มีพระภาคทรงกำจัดอกุศลธรรมเป็นอันมากของเราทั้งหลายออกไปได้ พระผู้มี
พระภาคทรงนำกุศลธรรมเป็นอันมากมาให้เราทั้งหลาย”

อุปมาด้วยนางนกมูลไถ

[๑๕๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุทายี อย่างนั้นเหมือนกัน โมฆบุรุษ
บางพวกในธรรมวินัยนี้ เมื่อเรากล่าวว่า ‘จงละความผิดนี้เสียเถิด’ ก็กล่าวอย่างนี้ว่า
‘ความผิดเพียงเล็กน้อยนี้จะสำคัญอะไร พระสมณะรูปนี้ช่างเคร่งครัดนัก’ พวกเขาจึง
ไม่ละความผิดนั้นทั้งที่ยังมีความยำเกรงในเราอยู่ อนึ่ง ความผิดเพียงเล็กน้อยของ
ภิกษุทั้งหลายผู้ใคร่ในสิกขา ย่อมเป็นเครื่องผูกที่มีกำลัง มั่นคง แน่นแฟ้น ไม่เปื่อย
เป็นเหมือนท่อนไม้ใหญ่ เปรียบเหมือนนางนกมูลไถถูกผูกด้วยเถาหัวด้วน ย่อมรอ
เวลาที่จะถูกฆ่า เวลาที่จะถูกมัด หรือความตายในที่นั้นเอง ผู้ใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า
‘เครื่องดักคือเถาหัวด้วนที่เขาใช้ผูกนางนกมูลไถซึ่งรอเวลาที่จะถูกฆ่า เวลาที่จะถูกมัด
หรือความตายในที่นั้น เป็นเครื่องผูกไม่มีกำลัง บอบบาง เปื่อย ไม่มีแก่น’ ผู้นั้น
เมื่อกล่าวอย่างนี้ชื่อว่ากล่าวถูกต้องหรือไม่”
ท่านพระอุทายีกราบทูลว่า “ไม่ พระพุทธเจ้าข้า เครื่องดักคือเถาหัวด้วนที่เขา
ใช้ผูกนางนกมูลไถ ซึ่งรอเวลาที่จะถูกฆ่า เวลาที่จะถูกมัด หรือความตายในที่นั้นแล
เป็นเครื่องผูกที่มีกำลัง มั่นคง แน่นแฟ้น ไม่เปื่อย เป็นเหมือนท่อนไม้ใหญ่ พระ-
พุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๖. ลฏุกิโกปมสูตร

“อุทายี โมฆบุรุษบางพวกในธรรมวินัยนี้ก็อย่างนั้นเหมือนกัน เมื่อเรากล่าวว่า
‘จงละความผิดนี้เสียเถิด’ ก็กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ความผิดเพียงเล็กน้อยนี้จะสำคัญอะไร
พระสมณะรูปนี้ช่างเคร่งครัดนัก’ พวกเขาจึงไม่ละความผิดนั้นทั้งที่ยังมีความยำเกรง
ในเราอยู่ อนึ่ง ความผิดเพียงเล็กน้อยของภิกษุทั้งหลายผู้ใคร่ในสิกขา ย่อมเป็น
เครื่องผูกที่มีกำลัง มั่นคง แน่นแฟ้น ไม่เปื่อย เป็นเหมือนท่อนไม้ใหญ่

อุปมาด้วยช้างต้น

[๑๕๑] อุทายี ส่วนกุลบุตรบางพวกในธรรมวินัยนี้ เมื่อเรากล่าวว่า ‘จงละ
ความผิดนี้เสียเถิด’ ก็กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ความผิดเพียงเล็กน้อยที่ต้องละนี้จะสำคัญ
อะไร พระผู้มีพระภาคจึงตรัสสอนให้เราทั้งหลายละ พระสุคตจึงตรัสสอนให้เรา
ทั้งหลายสลัดทิ้ง’ พวกเขาละความผิดนั้นทั้งที่ไม่มีความยำเกรงในเรา อนึ่ง ภิกษุ
ทั้งหลายผู้ใคร่ในสิกขา ละความผิดนั้นแล้ว ไม่มีความดิ้นรน ไม่หวาดกลัว ดำรง
ชีวิตด้วยของที่ผู้อื่นให้ มีใจดุจมฤคอยู่ ความผิดเพียงเล็กน้อยของภิกษุเหล่านั้น
ย่อมเป็นเครื่องผูกที่ไม่มีกำลัง บอบบาง เปื่อย ไม่มีแก่นสาร เปรียบเหมือนช้างต้น
มีงางอนงาม เป็นช้างทรง ที่มีชาติกำเนิดดี เคยฝ่าศึกสงครามมาแล้ว ควาญช้าง
ล่ามโซ่ไว้อย่างมั่นคง พอมันสบัดกายเท่านั้น ก็จะทำให้โซ่ที่ล่ามไว้นั้นขาดแล้วหนีไป
ตามใจปรารถนา ผู้ใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ช้างต้นนั้นมีงางอนงาม เป็นช้างทรง
ที่มีชาติกำเนิดดี เคยฝ่าศึกสงครามมาแล้ว ควาญช้างล่ามโซ่ไว้อย่างมั่นคง พอมัน
สบัดกายเท่านั้น ก็จะทำให้โซ่ที่ล่ามไว้นั้นขาดหนีไปตามใจปรารถนา โซ่นั้นจัดเป็น
เครื่องผูกที่มีกำลัง มั่นคง แน่นแฟ้น ไม่เปื่อย เป็นเหมือนท่อนไม้ใหญ่’ ผู้นั้นเมื่อ
กล่าวอย่างนี้ชื่อว่ากล่าวถูกต้องหรือไม่”
“ไม่ พระพุทธเจ้าข้า เพราะช้างต้นนั้นมีงางอนงาม เป็นช้างทรง ที่มีชาติ
กำเนิดดี เคยฝ่าศึกสงครามมาแล้ว ควาญช้างล่ามโซ่ไว้อย่างมั่นคง พอมันสบัดกาย
เท่านั้น ก็จะทำให้โซ่ที่ล่ามไว้นั้นขาดแล้วหนีไปตามใจปรารถนา เครื่องผูกช้างต้นนั้น
จัดเป็นเครื่องผูกที่ไม่มีกำลัง ฯลฯ ไม่มีแก่นสาร พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๖. ลฏุกิโกปมสูตร

“อุทายี กุลบุตรบางพวกในธรรมวินัยนี้ก็อย่างนั้นเหมือนกัน เมื่อเรากล่าวว่า
‘จงละความผิดนี้เสียเถิด’ ก็กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ความผิดเพียงเล็กน้อยที่ต้องละนี้จะ
สำคัญอะไร พระผู้มีพระภาคจึงตรัสสอนให้เราทั้งหลายละ พระสุคตจึงตรัสสอนให้
เราทั้งหลายสลัดทิ้ง’ พวกเขาละความผิดนั้นทั้งที่ไม่มีความยำเกรงในเรา อนึ่ง ภิกษุ
ทั้งหลายผู้ใคร่ในสิกขา ละความผิดนั้นแล้ว เป็นผู้ไม่มีความดิ้นรน ไม่หวาดกลัว
ดำรงชีวิตด้วยของที่ผู้อื่นให้ มีใจดุจมฤคอยู่ ความผิดเพียงเล็กน้อยของภิกษุเหล่านั้น
จัดเป็นเครื่องผูกที่ไม่มีกำลัง บอบบาง เปื่อย ไม่มีแก่นสาร

อุปมาด้วยคนจน

[๑๕๒] อุทายี เปรียบเหมือนคนยากไร้ ไม่มีทรัพย์สินสิ่งไรเป็นของตน
จัดเป็นคนจน ไม่ใช่คนมั่งคั่งเลย เขามีเรือนเล็ก ๆ หลังหนึ่ง ซึ่งมีเครื่องมุงและ
เครื่องประกอบอื่น ๆ ผุพัง หลุดลุ่ย ต้องคอยไล่นกกา ไม่เป็นรูปบ้าน มีแคร่อันหนึ่ง
ก็ผุพังแทบไม่เป็นแคร่ มีข้าวเปลือกและเมล็ดพืชสำหรับหว่านหม้อหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่
พันธุ์ดี มีภรรยาคนหนึ่งก็ไม่สวย เขาเห็นภิกษุผู้อยู่ในอารามมีมือและเท้าล้างสะอาด
สะอ้าน ฉันโภชนะล้วนน่าอร่อย นั่งอยู่ในสถานที่ร่มรื่นเย็นสบาย เจริญธรรมฝึก
สมาธิ เขาจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ความเป็นสมณะน่าสุขสบายหนอ ความเป็น
สมณะไม่มีโรคภัยไข้เจ็บหนอ เราควรจะโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตบ้าง’
แต่เขาไม่อาจสละเรือนหลังเล็กนั้นซึ่งมีเครื่องมุงบังและเครื่องประกอบอื่น ๆ ผุพัง
หลุดลุ่ย ต้องคอยไล่นกกา ไม่เป็นรูปบ้าน ไม่อาจละแคร่อันหนึ่งที่ผุพังแทบไม่
เป็นแคร่ ไม่อาจละข้าวเปลือกและเมล็ดพืชสำหรับหว่านหม้อหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่พันธุ์ดี
ไม่อาจละภรรยาคนหนึ่งซึ่งมีรูปไม่สวย แล้วโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตได้
อุทายี ผู้ใดกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เครื่องผูกที่ผูกบุรุษนั้น ผู้ไม่อาจละเรือนหลังเล็ก ๆ
หลังหนึ่งซึ่งมีเครื่องมุงบังและเครื่องประกอบอื่น ๆ ผุพัง หลุดลุ่ย ต้องคอยไล่นกกา
ไม่เป็นรูปบ้าน ไม่อาจละแคร่อันหนึ่งที่ผุพังแทบไม่เป็นแคร่ ไม่อาจละข้าวเปลือกและ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๖. ลฏุกิโกปมสูตร

เมล็ดพืชสำหรับหว่านหม้อหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่พันธุ์ดี ไม่อาจละภรรยาคนหนึ่งซึ่งมีรูป
ไม่สวย แล้วโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิต จัดเป็นเครื่องผูกที่ไม่มีกำลัง บอบบาง เปื่อย ไม่มีแก่นสาร’ ผู้นั้นเมื่อ
กล่าวอย่างนี้ ชื่อว่ากล่าวถูกต้องหรือไม่”
“ไม่ พระพุทธเจ้าข้า เพราะเครื่องผูกที่ผูกบุรุษนั้น ผู้ไม่อาจละได้แม้แต่เรือน
หลังเล็ก ๆ หลังนั้น ซึ่งมีเครื่องมุงและเครื่องประกอบอื่น ๆ ผุพัง หลุดลุ่ย ที่ต้อง
คอยไล่นกกา ไม่เป็นรูปบ้าน ไม่อาจละแคร่อันหนึ่งที่ผุพังแทบไม่เป็นแคร่ ไม่อาจละ
ข้าวเปลือกและเมล็ดพืชสำหรับหว่านหม้อหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่พันธุ์ดี ไม่อาจละภรรยา
คนหนึ่งซึ่งมีรูปไม่สวย แล้วโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิตได้ จัดเป็นเครื่องผูกที่มีกำลัง มั่นคง แน่นแฟ้น ไม่เปื่อย เป็น
เหมือนท่อนไม้ใหญ่”
“อุทายี โมฆบุรุษบางพวกในธรรมวินัยนี้ก็อย่างนั้นเหมือนกัน เมื่อเรากล่าวว่า
‘จงละความผิดนี้เสียเถิด’ ก็กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ความผิดเพียงเล็กน้อยนี้จะสำคัญอะไร
พระสมณะรูปนี้ช่างเคร่งครัดนัก’ พวกเขาจึงไม่ละความผิดนั้นทั้งที่ยังมีความยำเกรง
ในเรา อนึ่ง ความผิดเพียงเล็กน้อยของภิกษุทั้งหลายผู้ใคร่ในสิกขานั้น ย่อมเป็น
เครื่องผูกที่มีกำลัง มั่นคง แน่นแฟ้น ไม่เปื่อย เป็นเหมือนท่อนไม้ใหญ่

อุปมาด้วยคนมั่งมี

[๑๕๓] อุทายี เปรียบเหมือนคหบดีหรือบุตรคหบดีผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก
มีสมบัติมาก สะสมทองไว้หลายร้อยแท่ง สะสมข้าวเปลือก นา ที่ดิน ภรรยา
ทาสชาย ทาสหญิง ไว้เป็นอันมาก เขาเห็นภิกษุผู้อยู่ในอารามมีมือและเท้าล้าง
สะอาดสะอ้าน ฉันโภชนะล้วนน่าอร่อย นั่งอยู่ในสถานที่ร่มรื่นเย็นสบาย เจริญธรรม
ฝึกสมาธิ เขาจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ความเป็นสมณะน่าสุขสบายหนอ ความเป็น
สมณะไม่มีโรคภัยไข้เจ็บหนอ เราควรจะโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตบ้าง’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๖. ลฏุกิโกปมสูตร

เขาอาจจะละทองหลายร้อยแท่ง ละข้าวเปลือก นา ที่ดิน ภรรยา ทาสชาย
ทาสหญิง เป็นอันมากแล้วโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิต ผู้ใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เครื่องผูกที่ผูกคหบดีหรือบุตรคหบดี
ผู้อาจละทองหลายร้อยแท่ง ละข้าวเปลือก นา ที่ดิน ภรรยา ทาสชาย ทาสหญิง
เป็นอันมาก แล้วโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิต จัดเป็นเครื่องผูกที่มีกำลัง มั่นคง แน่นแฟ้น ไม่เปื่อย เป็นเหมือนท่อน
ไม่ใหญ่’ ผู้นั้นเมื่อกล่าวอย่างนี้ ชื่อว่ากล่าวถูกต้องหรือไม่”
“ไม่ พระพุทธเจ้าข้า เพราะเครื่องผูกที่ผูกคหบดีหรือบุตรคหบดี ผู้อาจละทอง
หลายร้อยแท่ง ละข้าวเปลือก นา ที่ดิน ภรรยา ทาสชาย ทาสหญิง เป็นอันมากแล้ว
โกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต จัดเป็น
เครื่องผูกที่ไม่มีกำลัง บอบบาง เปื่อย ไม่มีแก่นสาร พระพุทธเจ้าข้า”
“อุทายี กุลบุตรบางพวกในธรรมวินัยนี้ก็อย่างนั้นเหมือนกัน เมื่อเรากล่าวว่า
‘จงละความผิดนี้เสียเถิด’ ก็กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ความผิดเพียงเล็กน้อยที่ต้องละนี้
จะสำคัญอะไร พระผู้มีพระภาคจึงตรัสสอนให้เราทั้งหลายละ พระสุคตจึงตรัสสอนให้
เราทั้งหลายสลัดทิ้ง’ พวกเขาจึงละความผิดนั้นทั้งที่ไม่มีความยำเกรงในเรา อนึ่ง
ภิกษุทั้งหลายผู้ใคร่ในสิกขา ละความผิดนั้นแล้ว เป็นผู้ไม่มีความดิ้นรน ไม่หวาดกลัว
ดำรงชีวิตด้วยของที่ผู้อื่นให้ มีใจดุจมฤคอยู่ ความผิดเพียงเล็กน้อยของภิกษุเหล่านั้น
จัดเป็นเครื่องผูกที่ไม่มีกำลัง บอบบาง เปื่อย ไม่มีแก่นสาร

บุคคล ๔ จำพวก

[๑๕๔] อุทายี บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวก ไหนบ้าง
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้
๑. เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อละอุปธิ๑เพื่อสลัดทิ้งอุปธิ ความดำริที่แล่นไปอัน
ประกอบด้วยอุปธิ ยังครอบงำบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อละอุปธิ เพื่อสลัด


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๖. ลฏุกิโกปมสูตร

ทิ้งอุปธินั้นอยู่ ผู้นั้นยังรับความดำรินั้นไว้ ไม่ละ ไม่บรรเทา ไม่ทำให้
สิ้นสุด และไม่ทำให้หมดไป เราเรียกบุคคลนี้ว่า ‘ผู้ยังมีกิเลส ไม่ใช่
ผู้คลายกิเลส’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเรารู้ความต่างแห่งอินทรีย์ในบุคคลนี้
๒. เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อละอุปธิ เพื่อสลัดทิ้งอุปธิ ความดำริที่แล่นไปอัน
ประกอบด้วยอุปธิ ยังครอบงำบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อละอุปธิ เพื่อสลัด
ทิ้งอุปธินั้นอยู่ ผู้นั้นไม่รับความดำริเหล่านั้นไว้ ละได้ บรรเทาได้
ทำให้สิ้นสุดได้ และทำให้หมดไป เราเรียกบุคคลนี้ว่า ‘ผู้ยังมีกิเลส
ไม่ใช่ผู้คลายกิเลส’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเรารู้ความต่างแห่งอินทรีย์ในบุคคลนี้
๓. เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อละอุปธิ เพื่อสลัดทิ้งอุปธิ ความดำริที่แล่นไปอัน
ประกอบด้วยอุปธิ ยังครอบงำบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อละอุปธิ เพื่อสลัด
ทิ้งอุปธินั้นอยู่ เพราะความหลงลืมสติในบางครั้งบางคราว สติเกิด
ช้าไป ที่จริงเขาละได้ บรรเทาได้ ทำให้สิ้นสุดได้ และทำให้หมดไป
ได้ฉับพลัน คนหยดน้ำ ๒ หยดหรือ ๓ หยดลงในกะทะเหล็ก
ที่ร้อนอยู่ตลอดวัน หยดน้ำที่หยดลงอย่างช้า ๆ ก็จะเหือดแห้งไป
ฉับพลัน แม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้
ปฏิบัติเพื่อละอุปธิ เพื่อสลัดทิ้งอุปธิ ความดำริที่แล่นไปอันประกอบ
ด้วยอุปธิ ยังครอบงำบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อละอุปธิ เพื่อสลัดทิ้งอุปธิ
นั้นอยู่ เพราะความหลงลืมสติในบางครั้งบางคราว สติเกิดช้าไป
ที่จริงเขาละได้ บรรเทาได้ ทำให้สิ้นสุดได้ และทำให้หมดไปได้โดย
ฉับพลัน เราเรียกบุคคลนี้ว่า ‘ผู้ยังมีกิเลส ไม่ใช่ผู้คลายกิเลส’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๖. ลฏุกิโกปมสูตร

ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเรารู้ความต่างแห่งอินทรีย์ในบุคคลนี้
๔. รู้ว่า ‘อุปธิ๑ เป็นเหตุแห่งทุกข์’ แล้วเป็นผู้ไม่มีอุปธิ น้อมจิตไปใน
ธรรมเป็นที่สิ้นอุปธิ๒ เราเรียกบุคคลนี้ว่า ‘ผู้คลายกิเลสได้แล้ว มิใช่
ผู้มีกิเลส’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเรารู้ความต่างแห่งอินทรีย์ในบุคคลนี้
บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก

กามคุณ ๕ ประการ

[๑๕๕] อุทายี กามคุณมี ๕ ประการนี้
กามคุณ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
๒. เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ...
๓. กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ...
๔. รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ...


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๖. ลฏุกิโกปมสูตร

๕. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวน
ให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
กามคุณมี ๕ ประการนี้แล
อุทายี สุขโสมนัสที่อาศัยกามคุณ ๕ ประการนี้เกิดขึ้น เราเรียกว่า ความสุข
ที่เกิดจากกาม ความสุขไม่สะอาด ความสุขของปุถุชน ไม่ใช่ความสุขของพระอริยะ
เรากล่าวว่า ‘ไม่ควรเสพ๑ ไม่ควรให้เจริญ ไม่ควรทำให้มาก ควรเกรงกลัวสุขชนิดนี้๒’

รูปฌาน ๔

[๑๕๖] อุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว
บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ อยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ
เพราะปีติจางคลายไป มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุ
ตติยฌาน ฯลฯ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน บรรลุ
จตุตถฌาน ฯลฯ๓ อยู่ ฌานทั้ง ๔ นี้เราเรียกว่า ความสุขเกิดจากการออกจากกาม
ความสุขเกิดจากความสงัด ความสุขเกิดจากความสงบ ความสุขเกิดจากการตรัสรู้
เรากล่าวว่า ‘ควรเสพ ควรให้เจริญ ควรทำให้มาก ไม่ควรเกรงกลัวสุขชนิดนี้’
ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน
ฯลฯ อยู่ ปฐมฌานนี้เรากล่าวว่า ยังหวั่นไหว
ในปฐมฌานนั้นยังมีอะไรหวั่นไหว
การที่วิตกวิจารในปฐมฌานนี้ยังไม่ดับ เป็นความหวั่นไหวในปฐมฌานนั้น


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๖. ลฏุกิโกปมสูตร

เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ อยู่
แม้ทุติยฌานนี้เราก็กล่าวว่า ยังหวั่นไหว
ในทุติยฌานนั้นยังมีอะไรหวั่นไหว
การที่ปีติและสุขในทุติยฌานนี้ยังไม่ดับ เป็นความหวั่นไหวในทุติยฌานนั้น
เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุข
ด้วยนามกาย บรรลุตติยฌาน ฯลฯ อยู่ แม้ตติยฌานนี้เราก็กล่าวว่า ยังหวั่นไหว
ในตติยฌานนั้นยังมีอะไรหวั่นไหว
การที่อุเบกขาและสุขในตติยฌานนี้ยังไม่ดับ เป็นความหวั่นไหวในตติยฌานนั้น
เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน ภิกษุในธรรมวินัยนี้
บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อยู่ จตุตถฌานนี้เรากล่าวว่า ไม่หวั่นไหว

อรูปฌาน ๔

อุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ
ปฐมฌาน ฯลฯ อยู่ ปฐมฌานนี้เรากล่าวว่า ‘ไม่ควรทำความอาลัย เธอทั้งหลาย
จงละ จงก้าวล่วง’
อะไรเล่าเป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงปฐมฌานนั้น
คือ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ อยู่
นี้เป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงปฐมฌานนั้น แม้ทุติยฌานนี้เราก็กล่าวว่า ‘ไม่ควรทำ
ความอาลัย เธอทั้งหลายจงละ จงก้าวล่วง’
อะไรเล่าเป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงทุติยฌานนั้น
คือ เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌาน ฯลฯ อยู่ นี้เป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงทุติยฌานนั้น
แม้ตติยฌานนี้เราก็กล่าวว่า ‘ไม่ควรทำความอาลัย เธอทั้งหลายจงละ จงก้าวล่วง’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๖. ลฏุกิโกปมสูตร

อะไรเล่าเป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงตติยฌานนั้น
คือ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน ภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อยู่ นี้เป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงตติยฌานนั้น
แม้จตุตถฌานนี้เราก็กล่าวว่า ‘ไม่ควรทำความอาลัย เธอทั้งหลายจงละ จงก้าวล่วง’
อะไรเล่าเป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงจตุตถฌานนั้น
คือ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญาโดยประการ
ทั้งปวง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุอากาสานัญจายตนฌานอยู่โดยกำหนดว่า
‘อากาศหาที่สุดมิได้’ นี้เป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงจตุตถฌานนั้น แม้อากาสานัญจายตน-
ฌานนี้เราก็กล่าวว่า ‘ไม่ควรทำความอาลัย เธอทั้งหลายจงละ จงก้าวล่วง’
อะไรเล่าเป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงอากาสานัญจายตนฌานนั้น
คือ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุในธรรมวินัยนี้
บรรลุวิญญาณัญจายตนฌานอยู่โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ นี้เป็นธรรม
เครื่องก้าวล่วงอากาสานัญจายตนฌานนั้น แม้วิญญาณัญจายตนฌานนี้เราก็กล่าวว่า
‘ไม่ควรทำความอาลัย เธอทั้งหลายจงละ จงก้าวล่วง’
อะไรเล่าเป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนฌานนั้น
คือ เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุในธรรมวินัยนี้
บรรลุอากิญจัญญายตนฌานอยู่โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ นี้เป็นธรรมเครื่องก้าวล่วง
วิญญาณัญจายตนฌานนั้น แม้อากิญจัญญายตนฌานนี้เราก็กล่าวว่า ‘ไม่ควรทำ
ความอาลัย เธอทั้งหลายจงละ จงก้าวล่วง’
อะไรเล่าเป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงอากิญจัญญายตนฌานนั้น
คือ เพราะล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุในธรรมวินัยนี้
บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ นี้เป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงอากิญจัญญายตน
ฌานนั้น แม้เนวสัญญานาสัญญายตนฌานนี้เราก็กล่าวว่า ‘ไม่ควรทำความอาลัย
เธอทั้งหลายจงละ จงก้าวล่วง’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๗. จาตุมสูตร

อะไรเล่าเป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น
คือ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุในธรรมวินัย
นี้บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ นี้เป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
นั้น เรากล่าวการละแม้เนวสัญญานาสัญญายตนฌานนี้ด้วยประการอย่างนี้
“อุทายี สังโยชน์ที่ละเอียดหรือหยาบนั้น ซึ่งเรายังมิได้กล่าวถึงการละ เธอเห็น
หรือไม่”
ท่านพระอุบาลีกราบทูลว่า “ไม่ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอุทายีมีใจยินดีชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

ลฏุกิโกปมสูตรที่ ๖ จบ

๗. จาตุมสูตร
ว่าด้วยเหตุการณ์ในหมู่บ้านจาตุมา
เรื่องพระอาคันตุกะพูดเสียงดัง

[๑๕๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อามลกีวัน หมู่บ้านจาตุมา สมัยนั้นแล
ภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป มีท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโมคคัลลานะเป็น
หัวหน้า เดินทางมาถึงบ้านจาตุมาเพื่อเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ภิกษุอาคันตุกะ
เหล่านั้นสนทนาปราศรัยกับภิกษุเจ้าถิ่น จัดเสนาสนะ เก็บบาตรและจีวรอยู่ ส่งเสียง
ดังอื้ออึง
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสถามว่า “อานนท์
ผู้ที่ส่งเสียงดังอื้ออึงเหมือนชาวประมงแย่งปลากัน เป็นภิกษุพวกไหน”
ท่านพระอานนท์ทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป
มีท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโมคคัลลานะเป็นหัวหน้า เดินทางมาถึงบ้าน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๗. จาตุมสูตร

จาตุมาเพื่อเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ภิกษุอาคันตุกะเหล่านั้นสนทนาปราศรัยกับภิกษุ
เจ้าถิ่น จัดเสนาสนะ เก็บบาตรและจีวรอยู่ ส่งเสียงดังอื้ออึง พระพุทธเจ้าข้า”
“อานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงไปเรียกภิกษุเหล่านั้นมาตามคำของเราว่า
‘พระศาสดาตรัสเรียกท่านทั้งหลาย”
ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว จึงเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นถึงที่พัก
ได้กล่าวกับภิกษุเหล่านั้นว่า “พระศาสดาตรัสเรียกท่านทั้งหลาย”
ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
พระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคตรัสกับภิกษุเหล่านั้นว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพากันส่งเสียงดังอื้ออึง เหมือนชาวประมงแย่งปลา
กันหรือ”
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป
มีท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโมคคัลลานะเป็นหัวหน้า เดินทางมาถึงบ้าน
จาตุมาเพื่อเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ภิกษุอาคันตุกะเหล่านั้นปราศรัยกับภิกษุเจ้าถิ่น
จัดเสนาสนะ เก็บบาตรและจีวรอยู่ ส่งเสียงดังอื้ออึง พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงไป เราขอขับไล่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
ไม่ควรอยู่ในสำนักของเรา”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว ลุกจากอาสนะถวายอภิวาทพระผู้มี
พระภาค กระทำประทักษิณแล้วเก็บเสนาสนะ ถือบาตรและจีวรจากไป
[๑๕๘] สมัยนั้น เจ้าศากยะชาวบ้านจาตุมา มาประชุมกันอยู่ที่หอประชุม
ด้วยกรณียกิจบางอย่าง ได้เห็นภิกษุเหล่านั้นเดินมาแต่ไกล จึงเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้น
ถึงที่อยู่ ได้กล่าวกับภิกษุเหล่านั้นว่า “พระคุณท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะพากัน
ไปไหนเล่า”
ภิกษุเหล่านั้นกล่าวว่า “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุสงฆ์ถูกพระผู้มีพระภาค
ทรงขับไล่แล้ว”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๗. จาตุมสูตร

“พระคุณท่านทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น ขอท่านทั้งหลายจงนั่งอยู่ที่นี่สักครู่หนึ่ง
บางทีพวกข้าพเจ้าอาจจะให้พระผู้มีพระภาคทรงพอพระทัยได้”
ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว ลำดับนั้น พวกเจ้าศากยะชาวบ้านจาตุมาเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควรแล้ว ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงชื่นชมภิกษุสงฆ์ ขอจงรับสั่ง
กับภิกษุสงฆ์เถิด ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงอนุเคราะห์๑ภิกษุสงฆ์ในบัดนี้ เหมือนอย่าง
ที่เคยทรงอนุเคราะห์ในกาลก่อนด้วยเถิด ในภิกษุสงฆ์นี้ ภิกษุทั้งหลายที่ยังเป็น
นวกะบวชไม่นาน เพิ่งมาสู่พระธรรมวินัยนี้ก็มีอยู่ เมื่อภิกษุเหล่านั้นไม่ได้เข้าเฝ้า
พระผู้มีพระภาค จะพึงมีความน้อยใจ มีความแปรผันไป
พืชที่ยังอ่อนเมื่อขาดน้ำก็จะเหี่ยวเฉาแปรเปลี่ยนสภาพไป แม้ฉันใด ในภิกษุสงฆ์นี้
ภิกษุทั้งหลายที่ยังเป็นนวกะบวชไม่นาน เพิ่งมาสู่พระธรรมวินัยนี้มีอยู่ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เมื่อภิกษุเหล่านั้นไม่ได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค จะพึงมีความน้อยใจ มีความแปรผันไป
ลูกโคอ่อนเมื่อไม่เห็นแม่ก็จะร้องหาเที่ยวซมซานไป แม้ฉันใด ในภิกษุสงฆ์นี้
ภิกษุทั้งหลายที่ยังเป็นนวกะบวชไม่นาน เพิ่งมาสู่พระธรรมวินัยนี้มีอยู่ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เมื่อภิกษุเหล่านั้นไม่ได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค จะพึงมีความน้อยใจ มีความแปรผันไป
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงชื่นชมภิกษุสงฆ์ ขอจงรับสั่ง
กับภิกษุสงฆ์เถิด ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงอนุเคราะห์ภิกษุสงฆ์ในบัดนี้ เหมือนอย่าง
ที่เคยทรงอนุเคราะห์ในกาลก่อนด้วยเถิด”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๗. จาตุมสูตร

พรหมอาราธนาพระพุทธเจ้า

[๑๕๙] ครั้งนั้น ท้าวสหัมบดีพรหมทรงทราบความรำพึงในพระทัยของพระ
ผู้มีพระภาคด้วยใจของตนแล้ว ได้อันตรธานจากพรหมโลกมาปรากฏในที่เฉพาะพระ
พักตร์ของพระผู้มีพระภาค เปรียบเหมือนคนที่แข็งแรงเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้า
แล้วห่มผ้าเฉวียงบ่า ประนมมือไปทางที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ได้กราบทูลว่า
“ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงชื่นชมภิกษุสงฆ์ ขอจงรับสั่งกับภิกษุสงฆ์เถิด ขอ
พระผู้มีพระภาคจงทรงอนุเคราะห์ภิกษุสงฆ์ในบัดนี้ เหมือนกับที่เคยทรงอนุเคราะห์
ในกาลก่อนด้วยเถิด ในภิกษุสงฆ์นี้ ภิกษุทั้งหลายที่ยังเป็นนวกะ บวชไม่นาน
เพิ่งมาสู่พระธรรมวินัยนี้ก็มีอยู่ เมื่อภิกษุเหล่านั้นไม่ได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค จะพึง
มีความน้อยใจ มีความแปรผันไป
พืชที่ยังอ่อนเมื่อขาดน้ำก็จะเหี่ยวเฉาแปรเปลี่ยนสภาพไป แม้ฉันใด ในภิกษุสงฆ์นี้
ภิกษุทั้งหลายที่ยังเป็นนวกะ บวชไม่นาน เพิ่งมาสู่พระธรรมวินัยนี้มีอยู่ ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน เมื่อภิกษุเหล่านั้นไม่ได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค จะพึงมีความน้อยใจ
มีความแปรผันไป
ลูกโคอ่อนเมื่อไม่เห็นแม่ก็จะร้องหาเที่ยวซมซานไป แม้ฉันใด ในภิกษุสงฆ์นี้
ภิกษุทั้งหลายที่ยังเป็นนวกะ บวชไม่นาน เพิ่งมาสู่พระธรรมวินัยนี้มีอยู่ ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน เมื่อภิกษุเหล่านั้นไม่ได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค จะพึงมีความน้อยใจ
มีความแปรผันไป
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงชื่นชมภิกษุสงฆ์ ขอจงรับสั่งกับ
ภิกษุสงฆ์เถิด ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงอนุเคราะห์ภิกษุสงฆ์ในบัดนี้ เหมือนกับ
ที่เคยทรงอนุเคราะห์ในกาลก่อนด้วยเถิด๑ พระพุทธเจ้าข้า”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๗. จาตุมสูตร

[๑๖๐] เจ้าศากยะชาวบ้านจาตุมาและท้าวสหัมบดีพรหม สามารถทูลขอให้
พระผู้มีพระภาคทรงพอพระทัยด้วยคำวิงวอนเปรียบด้วยพืชที่ยังอ่อน และด้วยคำ
วิงวอนเปรียบด้วยลูกโคอ่อน
ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะจึงเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “ท่าน
ผู้มีอายุทั้งหลาย พวกท่านจงลุกขึ้น จงถือบาตรและจีวรเถิด เจ้าศากยะชาวเมือง
จาตุมาและท้าวสหัมบดีพรหมได้กราบทูลให้พระผู้มีพระภาคทรงพอพระทัยแล้ว
ด้วยคำวิงวอนเปรียบด้วยพืชที่ยังอ่อน และด้วยคำวิงวอนเปรียบด้วยลูกโคอ่อน”
ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว จึงลุกจากอาสนะ ถือบาตรและจีวรเข้าไปเฝ้าพระผู้
มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มี
พระภาคตรัสกับท่านพระสารีบุตรว่า “สารีบุตร เมื่อเราขับไล่ภิกษุสงฆ์ เธอได้มี
ความคิดอย่างไร”
ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระผู้มีพระภาค
ทรงขับไล่ภิกษุสงฆ์ ข้าพระองค์ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘พระผู้มีพระภาคทรงขับไล่
ภิกษุสงฆ์แล้ว บัดนี้ พระผู้มีพระภาคจักทรงมีความขวนขวายน้อย เจริญธรรมเครื่องอยู่
เป็นสุขในปัจจุบัน๑อยู่ แม้เราทั้งหลายก็จักมีความขวนขวายน้อย เจริญธรรมเครื่อง
อยู่เป็นสุขในปัจจุบันอยู่เช่นกัน”
“สารีบุตร เธอจงรอก่อน เธอจงรอก่อน ธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
จงพักไว้ก่อน เธอไม่ควรให้ความคิดเห็นปานนี้เกิดขึ้นอีก”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระมหาโมคคัลลานะมาตรัสว่า
“โมคคัลลานะ เมื่อเราขับไล่ภิกษุสงฆ์ เธอได้มีความคิดอย่างไร”
ท่านพระมหาโมคคัลลานะกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระผู้มี
พระภาคทรงขับไล่ภิกษุสงฆ์ ข้าพระองค์ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘พระผู้มีพระภาค
ทรงขับไล่ภิกษุสงฆ์แล้ว บัดนี้ พระผู้มีพระภาคจักทรงมีความขวนขวายน้อย


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๗. จาตุมสูตร

เจริญธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันอยู่ ข้าพระองค์และท่านสารีบุตรจักช่วยกัน
บริหารภิกษุสงฆ์”
“ดีละ ดีละ โมคคัลลานะ ความจริง เรา สารีบุตรหรือโมคคัลลานะเท่านั้น
ควรบริหารภิกษุสงฆ์”

ภัยของภิกษุผู้บวชใหม่ ๔ ประการ

[๑๖๑] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ภัย ๔ ประการนี้ ที่คนลงไปในน้ำพึงประสบ
ภัย ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. อูมิภัย (ภัยจากคลื่น)
๒. กุมภีลภัย (ภัยจากจระเข้)
๓. อาวัฏฏภัย (ภัยจากน้ำวน)
๔. สุสุกาภัย (ภัยจากปลาร้าย)

ภัย ๔ ประการนี้แล ที่คนลงไปในน้ำพึงประสบ ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย ภัย ๔ ประการนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ที่กุลบุตรบางคนในโลกนี้
มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยนี้ พึงประสบ
ภัย ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อูมิภัย ๒. กุมภีลภัย
๓. อาวัฏฏภัย ๔. สุสุกาภัย
[๑๖๒] อูมิภัย เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรบางคนในโลกนี้ มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต คิดว่า
‘เราถูกชาติ(ความเกิด) ชรา(ความแก่) มรณะ(ความตาย) โสกะ(ความเศร้าโศก)
ปริเทวะ(ความคร่ำครวญ) ทุกข์(ความทุกข์กาย) โทมนัส(ความทุกข์ใจ) อุปายาส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๗. จาตุมสูตร

(ความคับแค้นใจ) ครอบงำ ตกอยู่ในกองทุกข์ มีทุกข์ประดังเข้ามา ไฉนหนอ การ
ทำกองทุกข์ทั้งหมดนี้ให้สิ้นสุด จะพึงปรากฏ’ เพื่อนพรหมจารีตักเตือนพร่ำสอน
เธอผู้บวชแล้วนั้นว่า ‘เธอพึงก้าวไปอย่างนี้ พึงถอยกลับอย่างนี้ พึงแลดูอย่างนี้
พึงเหลียวดูอย่างนี้ พึงคู้เข้าอย่างนี้ พึงเหยียดออกอย่างนี้ พึงครองสังฆาฏิ บาตร
และจีวรอย่างนี้’ เธอคิดอย่างนี้ว่า ‘เมื่อก่อน เราเป็นคฤหัสถ์มีแต่ตักเตือน
พร่ำสอนผู้อื่น ก็ภิกษุเหล่านี้ มีอายุคราวลูกคราวหลานของเรา ยังจะมาตักเตือน
พร่ำสอนเรา’ เธอจึงบอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์
นี้เรียกว่า ภิกษุผู้กลัวอูมิภัย บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ คำว่า อูมิภัย นี้
เป็นชื่อเรียกความโกรธและความคับแค้นใจ
[๑๖๓] กุมภีลภัย เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรบางคนในโลกนี้ มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต คิดว่า
‘เราถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสครอบงำ ตกอยู่
ในกองทุกข์ มีทุกข์ประดังเข้ามา ไฉนหนอ การทำกองทุกข์ทั้งหมดนี้ให้สิ้นสุด
จะพึงปรากฏ’ เพื่อนพรหมจารีตักเตือนพร่ำสอนเธอผู้บวชแล้วนั้นว่า ‘สิ่งนี้เธอ
ควรฉัน สิ่งนี้เธอไม่ควรฉัน สิ่งนี้เธอควรบริโภค สิ่งนี้เธอไม่ควรบริโภค สิ่งนี้เธอ
ควรลิ้ม สิ่งนี้เธอไม่ควรลิ้ม สิ่งนี้เธอควรดื่ม สิ่งนี้เธอไม่ควรดื่ม สิ่งที่เป็นกัปปิยะ๑
เธอควรฉัน สิ่งที่เป็นอกัปปิยะ๒เธอไม่ควรฉัน สิ่งที่เป็นกัปปิยะเธอควรบริโภค สิ่งที่
เป็นอกัปปิยะเธอไม่ควรบริโภค สิ่งที่เป็นกัปปิยะเธอควรลิ้ม สิ่งที่เป็นอกัปปิยะเธอ
ไม่ควรลิ้ม สิ่งที่เป็นกัปปิยะเธอควรดื่ม สิ่งที่เป็นอกัปปิยะเธอไม่ควรดื่ม สิ่งนี้เธอควร


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๗. จาตุมสูตร

ฉันในกาล๑ สิ่งนี้เธอไม่ควรฉันในเวลาวิกาล๒ สิ่งนี้เธอควรบริโภคในกาล สิ่งนี้เธอ
ไม่ควรบริโภคในเวลาวิกาล สิ่งนี้เธอควรลิ้มในกาล สิ่งนี้เธอไม่ควรลิ้มในเวลาวิกาล
สิ่งนี้เธอควรดื่มในกาล สิ่งนี้เธอไม่ควรดื่มในเวลาวิกาล’ เธอคิดอย่างนี้ว่า ‘เมื่อก่อน
เราเป็นคฤหัสถ์เคี้ยวกินสิ่งที่เราต้องการ ไม่เคี้ยวกินสิ่งที่เราไม่ต้องการ บริโภคสิ่ง
ที่เราต้องการ ไม่บริโภคสิ่งที่เราไม่ต้องการ ลิ้มสิ่งที่เราต้องการ ไม่ลิ้มสิ่งที่เราไม่
ต้องการ ดื่มสิ่งที่เราต้องการ ไม่ดื่มสิ่งที่เราไม่ต้องการ เคี้ยวกินทั้งสิ่งเป็นกัปปิยะ
และสิ่งเป็นอกัปปิยะ บริโภคทั้งสิ่งเป็นกัปปิยะและสิ่งเป็นอกัปปิยะ ลิ้มทั้งสิ่งเป็น
กัปปิยะและสิ่งเป็นอกัปปิยะ ดื่มทั้งสิ่งเป็นกัปปิยะและสิ่งเป็นอกัปปิยะ เคี้ยวกินทั้ง
ในกาลและในเวลาวิกาล บริโภคทั้งในกาลและในเวลาวิกาล ลิ้มทั้งในกาลและในเวลา
วิกาล ดื่มทั้งในกาลและในเวลาวิกาล สิ่งใดที่ประณีตไม่ว่าจะเป็นของเคี้ยวหรือของ
บริโภค ที่คหบดีผู้มีศรัทธาถวายแก่เราทั้งในกาลและในเวลาวิกาล ภิกษุเหล่านี้
ทำเหมือนปิดปากแม้ในสิ่งของเหล่านั้น’ เธอจึงบอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์
นี้เรียกว่า ภิกษุผู้กลัวกุมภีลภัย บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ คำว่า
กุมภีลภัย นี้ เป็นชื่อเรียกความเป็นคนเห็นแก่ปากท้อง
[๑๖๔] อาวัฏฏภัย เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรบางคนในโลกนี้ มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต คิดว่า
‘เราถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสครอบงำ ตกอยู่ใน
กองทุกข์ มีทุกข์ประดังเข้ามา ไฉนหนอ การทำกองทุกข์ทั้งหมดนี้ให้สิ้นสุด จะพึง
ปรากฏ’ เธอบวชอยู่อย่างนี้ ในเวลาเช้าครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร เข้าไป
บิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือตำบล ไม่รักษากาย ไม่รักษาวาจา มีสติไม่ตั้งมั่น
ไม่สำรวมอินทรีย์ เธอเห็นคหบดีหรือบุตรคหบดีในหมู่บ้านหรือตำบลนั้น ผู้เอิบอิ่ม


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๗. จาตุมสูตร

พรั่งพร้อม บำเรอตนด้วยกามคุณ ๕ ประการ คิดอย่างนี้ว่า ‘เมื่อก่อน เราเป็น
คฤหัสถ์ผู้เอิบอิ่ม พรั่งพร้อม บำเรอตนด้วยกามคุณ ๕ ประการ โภคทรัพย์ใน
ตระกูลของเราก็มีอยู่พร้อม เราสามารถที่จะใช้สอยโภคทรัพย์และทำบุญได้' เธอจึง
บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์
นี้เรียกว่า ภิกษุผู้กลัวอาวัฏฏภัย บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ คำว่า
อาวัฏฏภัย นี้ เป็นชื่อเรียกกามคุณ ๕ ประการ
[๑๖๕] สุสุกาภัย เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรบางคนในโลกนี้ มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต คิดว่า
‘เราถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสครอบงำ ตกอยู่ใน
กองทุกข์ มีทุกข์ประดังเข้ามา ไฉนหนอ การทำกองทุกข์ทั้งหมดนี้ให้สิ้นสุด จะพึง
ปรากฏ’ เธอบวชอยู่อย่างนี้ ในเวลาเช้าครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไป
บิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือตำบล ไม่รักษากาย ไม่รักษาวาจา มีสติไม่ตั้งมั่น
ไม่สำรวมอินทรีย์ เธอเห็นมาตุคาม(สตรี)ในหมู่บ้านหรือนิคมนั้น นุ่งไม่เรียบร้อย
หรือห่มไม่เรียบร้อย ราคะรบกวนจิตของเธอ เพราะเห็นมาตุคามนุ่งไม่เรียบร้อย
หรือห่มไม่เรียบร้อย เธอมีจิตฟุ้งซ่านเพราะราคะ จึงบอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์
นี้เรียกว่า ภิกษุผู้กลัวสุสุกาภัย บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ คำว่า
สุสุกาภัย นี้ เป็นชื่อเรียกมาตุคาม
ภิกษุทั้งหลาย ภัย ๔ ประการนี้แล ที่กุลบุตรบางคนในโลกนี้ มีศรัทธาออก
จากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัย นี้พึงประสบ๑”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

จาตุมสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๘. นฬกปานสูตร

๘. นฬกปานสูตร
ว่าด้วยเหตุการณ์ในหมู่บ้านนฬกปานะ
กุลบุตรผู้มีชื่อเสียงออกบวช

[๑๖๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในป่าไม้ทองกวาว หมู่บ้านนฬกปานะ
แคว้นโกศล สมัยนั้นแล กุลบุตรผู้มีชื่อเสียงจำนวนมาก คือ ท่านพระอนุรุทธะ
ท่านพระภัททิยะ ท่านพระกิมพิละ ท่านพระภัคคุ ท่านพระโกณฑัญญะ ท่านพระ
เรวตะ ท่านพระอานนท์ และกุลบุตรที่มีชื่อเสียงอื่น ๆ มีศรัทธาออกจากเรือนบวช
เป็นบรรพชิตอุทิศพระผู้มีพระภาค
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคมีหมู่ภิกษุแวดล้อมแล้วประทับนั่งอยู่ ณ ที่กลางแจ้ง
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงปรารภกุลบุตรเหล่านั้น รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมา
ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตอุทิศ
เรานั้น ยังยินดีในพรหมจรรย์อยู่หรือ”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นได้พากันนิ่งอยู่
แม้ครั้งที่ ๒ พระผู้มีพระภาคก็ทรงปรารภกุลบุตรเหล่านั้น รับสั่งเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิตอุทิศเรานั้น ยังยินดีในพรหมจรรย์อยู่หรือ”
แม้ครั้งที่ ๒ ภิกษุเหล่านั้นก็พากันนิ่งอยู่
แม้ครั้งที่ ๓ พระผู้มีพระภาคก็ทรงปรารภกุลบุตรเหล่านั้น รับสั่งเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิตอุทิศเรานั้น ยังยินดีในพรหมจรรย์อยู่หรือ”
แม้ครั้งที่ ๓ ภิกษุเหล่านั้นก็พากันนิ่งอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๘. นฬกปานสูตร

[๑๖๗] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงดำริว่า “ทางที่ดี เราควรถามกุลบุตร
เหล่านั้นดู” แล้วได้รับสั่งเรียกท่านพระอนุรุทธะมาตรัสว่า “อนุรุทธะ๑เธอทั้งหลาย
ยังยินดีในพรหมจรรย์อยู่หรือ”
ท่านพระอนุรุทธะกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลาย
ยังยินดีในพรหมจรรย์อยู่”
“ดีละ ดีละ อนุรุทธะ การที่เธอทั้งหลายยินดีในพรหมจรรย์นี้แล เป็นการ
สมควรแก่เธอทั้งหลายผู้เป็นกุลบุตรมีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เพราะ
เธอทั้งหลาย กำลังหนุ่มแน่น มีผมดำสนิท เจริญอยู่ในปฐมวัยสมควรบริโภคกาม
ยังออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตได้ เธอทั้งหลายนั้นมิใช่ผู้ทำความผิดต่อพระราชา
จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต มิใช่ผู้ถูกตามจับว่าเป็นโจรจึงออกจากเรือนบวช
เป็นบรรพชิต มิใช่ถูกหนี้สินบีบคั้นจึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต มิใช่เดือดร้อน
เพราะภัยจึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต มิใช่ถูกอาชีพบีบคั้นจึงออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิต ความจริง เธอทั้งหลายมีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
ด้วยความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
อุปายาส ครอบงำแล้ว ตกอยู่ในกองทุกข์ มีทุกข์ประดังเข้ามา ไฉนหนอ การทำ
กองทุกข์ทั้งหมดนี้ให้สิ้นสุดจะพึงปรากฏ’ มิใช่หรือ”
“ใช่ พระพุทธเจ้าข้า”
กุลบุตรผู้บวชแล้วอย่างนี้ควรทำกิจอะไรบ้าง
คือ กุลบุตร ยังไม่บรรลุปีติและสุข หรือสุขอื่นที่ละเอียดกว่านั้นอันสงัดจากกาม
และอกุศลธรรมทั้งหลาย แม้อภิชฌาก็ยังครอบงำจิตของกุลบุตรนั้นอยู่ แม้พยาบาท
ก็ยังครอบงำจิตของกุลบุตรนั้นอยู่ แม้ถีนมิทธะก็ยังครอบงำจิตของกุลบุตรนั้นอยู่


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๘. นฬกปานสูตร

แม้อุทธัจจกุกกุจจะก็ยังครอบงำจิตของกุลบุตรนั้นอยู่ แม้วิจิกิจฉาก็ยังครอบงำจิต
ของกุลบุตรนั้นอยู่ แม้ความริษยาก็ยังครอบงำจิตของกุลบุตรนั้นอยู่ แม้ความเป็น
ผู้เกียจคร้านก็ยังครอบงำจิตของกุลบุตรนั้นอยู่ กุลบุตรนั้น ยังไม่บรรลุปีติและสุข
หรือสุขอื่นที่ละเอียดกว่านั้นอันสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย
อนุรุทธะ กุลบุตรบรรลุปีติและสุข หรือสุขอื่นที่ละเอียดกว่านั้นอันสงัดจากกาม
และอกุศลธรรมทั้งหลาย แม้อภิชฌาก็ครอบงำจิตของกุลบุตรนั้นอยู่ไม่ได้ แม้พยาบาท
ก็ครอบงำจิตของกุลบุตรนั้นอยู่ไม่ได้ แม้ถีนมิทธะก็ครอบงำจิตของกุลบุตรนั้นอยู่
ไม่ได้ แม้อุทธัจจกุกกุจจะก็ครอบงำจิตของกุลบุตรนั้นอยู่ไม่ได้ แม้วิจิกิจฉาก็ครอบงำ
จิตของกุลบุตรนั้นอยู่ไม่ได้ แม้ความริษยาก็ครอบงำจิตของกุลบุตรนั้นอยู่ไม่ได้ แม้ความ
เป็นผู้เกียจคร้านก็ครอบงำจิตของกุลบุตรนั้นอยู่ไม่ได้ กุลบุตรนั้น บรรลุปีติและสุข
หรือสุขอื่นที่ละเอียดกว่านั้นอันสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายได้

พระตถาคตกับอาสวะ

[๑๖๘] อนุรุทธะ เธอทั้งหลายจะคิดอย่างไรในเราว่า “ตถาคตยังละอาสวะ
อันทำให้เศร้าหมอง ให้เกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์
ให้มีชาติ ชรา และมรณะต่อไปไม่ได้ เพราะเหตุนั้น ตถาคตพิจารณาแล้วจึงเสพของ
อย่างหนึ่ง อดกลั้นของอย่างหนึ่ง เว้นของอย่างหนึ่ง บรรเทาของอย่างหนึ่งบ้างไหม”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์มิได้คิดในพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า
‘พระตถาคตยังทรงละอาสวะอันทำให้เศร้าหมอง ให้เกิดในภพใหม่ มีความกระวน
กระวาย มีวิบากเป็นทุกข์ ให้มีชาติ ชรา และมรณะต่อไปไม่ได้ เพราะเหตุนั้น
พระตถาคตพิจารณาแล้วจึงทรงเสพของอย่างหนึ่ง อดกลั้นของอย่างหนึ่ง เว้นของ
อย่างหนึ่ง บรรเทาของอย่างหนึ่ง’
แต่ข้าพระองค์ทั้งหลายได้คิดในพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า ‘พระตถาคตทรง
ละอาสวะอันทำให้เศร้าหมอง ให้เกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีวิบาก
เป็นทุกข์ ให้มีชาติ ชรา และมรณะต่อไปได้แล้ว เพราะเหตุนั้น พระตถาคตพิจารณา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๘. นฬกปานสูตร

แล้วจึงทรงเสพของอย่างหนึ่ง อดกลั้นของอย่างหนึ่ง เว้นของอย่างหนึ่ง บรรเทาของ
อย่างหนึ่ง พระพุทธเจ้าข้า”
“ดีละ ดีละ อนุรุทธะ ตถาคตละอาสวะอันทำให้เศร้าหมอง ให้เกิดในภพใหม่
มีความกระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์ ให้มีชาติ ชรา และมรณะต่อไปได้แล้ว
ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี
เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ต้นตาลที่ถูกตัดยอดแล้วไม่อาจงอกขึ้นอีกได้ แม้ฉันใด ตถาคตก็
ฉันนั้นเหมือนกัน ละอาสวะอันทำให้เศร้าหมอง ให้เกิดในภพใหม่ มีความกระวน
กระวาย มีวิบากเป็นทุกข์ ให้มีชาติ ชรา และมรณะต่อไปได้แล้ว ตัดรากถอนโคน
เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไป
ไม่ได้ เพราะเหตุนั้น ตถาคตพิจารณาแล้วจึงเสพของอย่างหนึ่ง อดกลั้นของอย่างหนึ่ง
เว้นของอย่างหนึ่ง บรรเทาของอย่างหนึ่ง
เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ตถาคตพิจารณาเห็นอำนาจประโยชน์อะไร
จึงพยากรณ์สาวกทั้งหลายผู้ล่วงลับไปแล้วในภพที่เกิดทั้งหลายว่า ‘สาวกชื่อโน้นเกิด
ในภพชื่อโน้น สาวกชื่อโน้นเกิดในภพชื่อโน้น”
“ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก มีพระผู้มีพระภาค
เป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่ง ชอบแล้วพระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาค
ทรงโปรดอธิบายเนื้อความแห่งพระภาษิตนี้ให้แจ่มแจ้งเถิด ภิกษุทั้งหลายได้ฟังคำ
อธิบายของพระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้ พระพุทธเจ้าข้า”
“อนุรุทธะ ตถาคตจะพยากรณ์สาวกทั้งหลายผู้ล่วงลับไปแล้วในภพที่เกิดทั้งหลาย
ว่า ‘สาวกชื่อโน้นเกิดในภพโน้น สาวกชื่อโน้นเกิดในภพโน้น’ เพื่อให้คนเกิดความ
พิศวงก็หามิได้ เพื่อเกลี้ยกล่อมคนก็หามิได้ เพื่ออานิสงส์คือลาภสักการะและความ
สรรเสริญก็หามิได้ หรือด้วยความประสงค์ว่า ‘คนจงรู้จักเราด้วยเหตุนี้’ ก็หามิได้
อนุรุทธะ กุลบุตรผู้มีศรัทธา มีความยินดีมาก มีความปราโมทย์มาก มีอยู่
กุลบุตรเหล่านั้นได้ฟังคำพยากรณ์นั้นแล้ว จะน้อมจิตไปเพื่อความเป็นอย่างนั้น
ข้อนั้นจะเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุขแก่กุลบุตรเหล่านั้นตลอดกาลนาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๘. นฬกปานสูตร

การอยู่อย่างผาสุกของภิกษุ

[๑๖๙] อนุรุทธะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้ฟังว่า ‘ภิกษุชื่อนี้มรณภาพแล้ว ได้รับ
พยากรณ์จากพระผู้มีพระภาคว่า ‘ท่านรูปนั้นดำรงอยู่ในอรหัตตผล’ ภิกษุนั้นได้เห็น
เองหรือได้ฟังมาว่า ‘ท่านรูปนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้ ท่านรูปนั้นเป็นผู้มีธรรม๑อย่างนี้
ท่านรูปนั้นเป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้ ท่านรูปนั้นเป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้ ท่านรูปนั้น
เป็นผู้หลุดพ้นแล้วอย่างนี้’ ภิกษุนั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา
ของท่านรูปนั้น ก็จะน้อมจิตไปเพื่อศรัทธาเป็นต้นนั้น การอยู่อย่างผาสุกย่อมมีแก่
ภิกษุ ด้วยประการฉะนี้แล
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้ฟังว่า ‘ภิกษุชื่อนี้มรณภาพแล้ว ได้รับพยากรณ์จาก
พระผู้มีพระภาคว่า ‘ท่านรูปนั้นเป็นโอปปาติกะ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์๒
๕ ประการสิ้นไป จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก’ ภิกษุนั้น
ได้เห็นเองหรือได้ฟังมาว่า ‘ท่านรูปนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้ ...เป็นผู้มีธรรมอย่างนี้ ...
เป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้ ... เป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้ ท่านรูปนั้นเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว
อย่างนี้’ ภิกษุนั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาของท่านรูปนั้น
ก็จะน้อมจิตไปเพื่อศรัทธาเป็นต้นนั้น การอยู่อย่างผาสุกย่อมมีแก่ภิกษุ ด้วยประการ
ฉะนี้แล
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้ฟังว่า ‘ภิกษุชื่อนี้มรณภาพแล้ว ได้รับพยากรณ์จาก
พระผู้มีพระภาคว่า ‘ท่านรูปนั้นเป็นสกทาคามี เพราะสังโยชน์๓ ๓ ประการสิ้นไป
และเพราะราคะ โทสะ โมหะ เบาบาง จักกลับมาสู่โลกนี้อีกครั้งเดียวแล้วจะทำที่สุด
แห่งทุกข์ได้’ ภิกษุนั้นได้เห็นเองหรือได้ฟังมาว่า ‘ท่านรูปนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้ ...


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๘. นฬกปานสูตร

เป็นผู้มีธรรมอย่างนี้ ... เป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้... เป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้ ท่านรูป
นั้นเป็นผู้หลุดพ้นแล้วอย่างนี้’ ภิกษุนั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และ
ปัญญาของท่านรูปนั้น ก็จะน้อมจิตไปเพื่อศรัทธาเป็นต้นนั้น การอยู่อย่างผาสุกย่อม
มีแก่ภิกษุ ด้วยประการฉะนี้แล
อนุรุทธะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้ฟังว่า ‘ภิกษุชื่อนี้มรณภาพแล้ว ได้รับพยากรณ์
จากพระผู้มีพระภาคว่า ‘ท่านรูปนั้นเป็นโสดาบัน เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป
เป็นผู้ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า‘ภิกษุนั้นได้
เห็นเองหรือได้ฟังมาว่า ‘ท่านรูปนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้ ... เป็นผู้มีธรรมอย่างนี้ ...
เป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้ ... เป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้ ท่านรูปนั้นเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว
อย่างนี้’ ภิกษุนั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาของท่านรูปนั้น
ก็จะน้อมจิตไปเพื่อศรัทธาเป็นต้นนั้น การอยู่อย่างผาสุกย่อมมีแก่ภิกษุ ด้วยประการ
ฉะนี้แล

การอยู่อย่างผาสุกของภิกษุณี

[๑๗๐] อนุรุทธะ ภิกษุณีในธรรมวินัยนี้ได้ฟังว่า ‘ภิกษุณีชื่อนี้มรณภาพแล้ว
ได้รับพยากรณ์จากพระผู้มีพระภาคว่า ‘น้องหญิงนั้นดำรงอยู่ในอรหัตตผล’ ภิกษุณี
นั้นได้เห็นเองหรือได้ฟังมาว่า ‘น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้ น้องหญิงนั้นเป็นผู้มี
ธรรมอย่างนี้ น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้ น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีวิหารธรรม
อย่างนี้ น้องหญิงนั้นเป็นผู้หลุดพ้นแล้วอย่างนี้’ ภิกษุณีนั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา
ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาของน้องหญิงนั้น ก็จะน้อมจิตไปเพื่อศรัทธาเป็นต้นนั้น
การอยู่อย่างผาสุกย่อมมีแก่ภิกษุณี ด้วยประการฉะนี้แล
ภิกษุณีในธรรมวินัยนี้ได้ฟังว่า ‘ภิกษุณีชื่อนี้มรณภาพแล้ว ได้รับพยากรณ์จาก
พระผู้มีพระภาคว่า ‘น้องหญิงนั้นเป็นโอปปาติกะ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
ประการสิ้นไป จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก’ ภิกษุณีนั้นได้
เห็นเองหรือได้ฟังมาว่า ‘น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้ น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีธรรม
อย่างนี้ น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้ น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้
น้องหญิงนั้นเป็นผู้หลุดพ้นแล้วอย่างนี้’ ภิกษุณีนั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ
จาคะ และปัญญาของน้องหญิงนั้น ก็จะน้อมจิตไปเพื่อศรัทธาเป็นต้นนั้น การอยู่
อย่างผาสุกย่อมมีแก่ภิกษุณี ด้วยประการฉะนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๘. นฬกปานสูตร

ภิกษุณีในธรรมวินัยนี้ได้ฟังว่า ‘ภิกษุณีชื่อนี้มรณภาพแล้ว ได้รับพยากรณ์จาก
พระผู้มีพระภาคว่า ‘น้องหญิงนั้นเป็นสกทาคามี เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป
และเพราะราคะ โทสะ โมหะ เบาบาง จักกลับมาสู่โลกนี้อีกครั้งเดียวแล้วจะทำที่สุด
แห่งทุกข์ได้’ ภิกษุณีนั้นได้เห็นเองหรือได้ฟังมาว่า ‘น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้ ...
เป็นผู้มีธรรมอย่างนี้ ... เป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้ ... เป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้ น้องหญิง
นั้นเป็นผู้หลุดพ้นแล้วอย่างนี้’ ภิกษุณีนั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และ
ปัญญาของน้องหญิงนั้น ก็จะน้อมจิตไปเพื่อศรัทธาเป็นต้นนั้น การอยู่อย่างผาสุก
ย่อมมีแก่ภิกษุณี ด้วยประการฉะนี้แล
อนุรุทธะ ภิกษุณีในธรรมวินัยนี้ได้ฟังว่า ‘ภิกษุณีชื่อนี้มรณภาพแล้ว ได้รับ
พยากรณ์จากพระผู้มีพระภาคว่า ‘น้องหญิงนั้นเป็นโสดาบัน เพราะสังโยชน์ ๓
ประการสิ้นไป เป็นผู้ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’
ภิกษุณีนั้นได้เห็นเองหรือได้ฟังมาว่า ‘น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้ ... เป็นผู้มีธรรม
อย่างนี้ ... เป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้ ... เป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้ น้องหญิงนั้นเป็นผู้
หลุดพ้นแล้วอย่างนี้’ ภิกษุณีนั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา
ของน้องหญิงนั้น ก็จะน้อมจิตไปเพื่อศรัทธาเป็นต้นนั้น การอยู่อย่างผาสุกย่อมมีแก่
ภิกษุณี ด้วยประการฉะนี้แล

การอยู่อย่างผาสุกของอุบาสก

[๑๗๑] อนุรุทธะ อุบาสกในศาสนานี้ได้ฟังว่า ‘อุบาสกชื่อนี้ตายแล้ว ได้รับ
พยากรณ์จากพระผู้มีพระภาคว่า ‘ท่านผู้นั้นเป็นโอปปาติกะ เพราะโอรัมภาคิย-
สังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก’
อุบาสกนั้นได้เห็นเองหรือได้ฟังมาว่า ‘ท่านผู้นั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้ ท่านผู้นั้นเป็นผู้มี
ธรรมอย่างนี้ ท่านผู้นั้นเป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้ ท่านผู้นั้นเป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้
ท่านผู้นั้นเป็นผู้หลุดพ้นแล้วอย่างนี้’ อุบาสกนั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ
และปัญญาของท่านผู้นั้น ก็จะน้อมจิตไปเพื่อศรัทธาเป็นต้นนั้น การอยู่อย่างผาสุก
ย่อมมีแก่อุบาสก ด้วยประการฉะนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๘. นฬกปานสูตร

อุบาสกในศาสนานี้ได้ฟังว่า ‘อุบาสกชื่อนี้ตายแล้ว ได้รับพยากรณ์จากพระผู้มี
พระภาคว่า ‘ท่านผู้นั้นเป็นสกทาคามี เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป และเพราะ
ราคะ โทสะ โมหะ เบาบาง จักกลับมาสู่โลกนี้อีกครั้งเดียวแล้วจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้’
อุบาสกนั้นได้เห็นเองหรือได้ฟังมาว่า ‘ท่านผู้นั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้ ... เป็นผู้มีธรรม
อย่างนี้ ... เป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้ ... เป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้ ท่านผู้นั้นเป็นผู้
หลุดพ้นแล้วอย่างนี้’ อุบาสกนั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา
ของท่านผู้นั้น ก็จะน้อมจิตไปเพื่อศรัทธาเป็นต้นนั้น การอยู่อย่างผาสุกย่อมมีแก่
อุบาสก ด้วยประการฉะนี้แล
อนุรุทธะ อุบาสกในศาสนานี้ได้ฟังว่า ‘อุบาสกชื่อนี้ตายแล้ว ได้รับพยากรณ์
จากพระผู้มีพระภาคว่า ‘ท่านผู้นั้นเป็นโสดาบัน เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป
เป็นผู้ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’ อุบาสกนั้นได้
เห็นเองหรือได้ฟังมาว่า ‘ท่านผู้นั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้ ... เป็นผู้มีธรรมอย่างนี้ ... เป็น
ผู้มีปัญญาอย่างนี้ ... เป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้ ท่านผู้นั้นเป็นผู้หลุดพ้นแล้วอย่างนี้’
อุบาสกนั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาของท่านผู้นั้น ก็จะ
น้อมจิตไปเพื่อศรัทธาเป็นต้นนั้น การอยู่อย่างผาสุกย่อมมีแก่อุบาสก ด้วยประการ
ฉะนี้แล

การอยู่อย่างผาสุกของอุบาสิกา

[๑๗๒] อนุรุทธะ อุบาสิกาในศาสนานี้ได้ฟังว่า ‘อุบาสิกาชื่อนี้ตายแล้ว ได้รับ
พยากรณ์จากพระผู้มีพระภาคว่า ‘น้องหญิงนั้นเป็นโอปปาติกะ เพราะโอรัมภาคิย-
สังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก’
อุบาสิกานั้นได้เห็นเองหรือได้ฟังมาว่า ‘น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้ ... เป็นผู้มี
ธรรมอย่างนี้ ... เป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้ ... เป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้ น้องหญิงนั้น
เป็นผู้หลุดพ้นแล้วอย่างนี้’ อุบาสิกานั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และ
ปัญญาของน้องหญิงนั้น ก็จะน้อมจิตไปเพื่อศรัทธาเป็นต้นนั้น การอยู่อย่างผาสุก
ย่อมมีแก่อุบาสิกา ด้วยประการฉะนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๘. นฬกปานสูตร

อุบาสิกาในศาสนานี้ได้ฟังว่า ‘อุบาสิกาชื่อนี้ตายแล้ว ได้รับพยากรณ์จากพระ
ผู้มีพระภาคว่า ‘น้องหญิงนั้นเป็นสกทาคามี เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป และ
เพราะราคะ โทสะ โมหะเบาบาง จักกลับมาสู่โลกนี้อีกครั้งเดียวแล้วจะทำที่สุดแห่ง
ทุกข์ได้’ อุบาสิกานั้นได้เห็นเองหรือได้ฟังมาว่า ‘น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้ ...
เป็นผู้มีธรรมอย่างนี้ ... เป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้ ... เป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้ น้องหญิง
นั้นเป็นผู้หลุดพ้นแล้วอย่างนี้’ อุบาสิกานั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และ
ปัญญาของน้องหญิงนั้น ก็จะน้อมจิตไปเพื่อศรัทธาเป็นต้นนั้น การอยู่อย่างผาสุก
ย่อมมีแก่อุบาสิกา ด้วยประการฉะนี้แล
อุบาสิกาในศาสนานี้ได้ฟังว่า ‘อุบาสิกาชื่อนี้ตายแล้ว ได้รับพยากรณ์จากพระ
ผู้มีพระภาคว่า ‘น้องหญิงนั้นเป็นโสดาบัน เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป เป็นผู้
ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’ อุบาสิกานั้นได้เห็น
เองหรือได้ฟังมาว่า ‘น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้ น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีธรรมอย่างนี้
น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้ น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้ น้องหญิง
นั้นเป็นผู้หลุดพ้นแล้วอย่างนี้’ อุบาสิกานั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และ
ปัญญาของน้องหญิงนั้น ก็จะน้อมจิตไปเพื่อศรัทธาเป็นต้นนั้น การอยู่อย่างผาสุก
ย่อมมีแก่อุบาสิกา ด้วยประการฉะนี้แล
ตามที่กล่าวมานี้แล ตถาคตพยากรณ์สาวกทั้งหลายผู้ล่วงลับไปแล้วในภพที่
เกิดทั้งหลายว่า ‘สาวกชื่อโน้นเกิดในภพโน้น สาวกชื่อโน้นเกิดในภพโน้น’ เพื่อให้คน
เกิดความพิศวงก็หามิได้ เพื่อเกลี้ยกล่อมคนก็หามิได้ เพื่ออานิสงส์คือลาภสักการะ
และความสรรเสริญก็หามิได้ หรือด้วยความประสงค์ว่า ‘คนจงรู้จักเราด้วยเหตุนี้’
ก็หามิได้
อนุรุทธะ กุลบุตรผู้มีศรัทธา มีความยินดีมาก มีความปราโมทย์มาก มีอยู่
กุลบุตรเหล่านั้นได้ฟังคำพยากรณ์นั้นแล้ว จะน้อมจิตไปเพื่อศรัทธาเป็นต้นนั้น ข้อนั้น
ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุขแก่กุลบุตรเหล่านั้นสิ้นกาลนาน”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอนุรุทธะมีใจยินดีชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
นฬกปานสูตรที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๙. โคลิสสานิสูตร

๙. โคลิสสานิสูตร
ว่าด้วยภิกษุชื่อโคลิสสานิ
คุณธรรมของภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร

[๑๗๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น ภิกษุชื่อโคลิสสานิ เป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร มีมารยาท
ทรามนั่งอยู่ในท่ามกลางสงฆ์ ด้วยกรณียกิจบางอย่าง ณ ที่นั้น ท่านพระสารีบุตร
ปรารภภิกษุชื่อโคลิสสานิ จึงเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า
“ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์
ควรเป็นผู้มีความเคารพยำเกรงในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ถ้าภิกษุผู้ถือการอยู่ป่า
เป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ เป็นผู้ไม่เคารพยำเกรงในเพื่อนพรหมจารี
ทั้งหลายแล้ว จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ว่า ‘จะมีประโยชน์อะไรกับการสมัครใจอยู่ป่า
แต่ผู้เดียว สำหรับท่านผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรนี้ แต่ไม่มีความเคารพยำเกรงใน
เพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย’ จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ถือการ
อยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ควรเป็นผู้มีความเคารพยำเกรงในเพื่อน
พรหมจารีทั้งหลาย (๑)
ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ควรเข้าใจลำดับแห่ง
อาสนะว่า ‘เราจักไม่นั่งเบียดภิกษุผู้เป็นเถระ และจักไม่กันอาสนะภิกษุผู้เป็นนวกะ’
ถ้าภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ไม่เข้าใจลำดับแห่งอาสนะ
จะมีผู้ติเตียนภิกษุรูปนั้นได้ว่า ‘จะมีประโยชน์อะไรกับการสมัครใจอยู่ป่าแต่ผู้เดียว
สำหรับท่านผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรนี้ แต่ไม่เข้าใจลำดับแห่งอาสนะ’ จะมีผู้ติเตียน
ภิกษุนั้นได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์
ควรเข้าใจลำดับแห่งอาสนะ (๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๙. โคลิสสานิสูตร

ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ควรรู้อภิสมาจาริก-
ธรรม๑ ถ้าภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ไม่รู้อภิสมาจาริก-
ธรรม จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ว่า ‘จะมีประโยชน์อะไรกับการสมัครใจอยู่ป่าแต่ผู้เดียว
สำหรับท่านผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรนี้ แต่ไม่รู้อภิสมาจาริกธรรม’ จะมีผู้ติเตียนภิกษุ
นั้นได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ควรรู้
อภิสมาจาริกธรรม (๓)
ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ไม่ควรเข้าบ้านเช้านัก
ไม่ควรกลับมาสายนัก ถ้าภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์
เข้าบ้านเช้านัก กลับมาสายนัก จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ว่า ‘จะมีประโยชน์อะไรกับ
การสมัครใจอยู่ป่าแต่ผู้เดียว สำหรับท่านผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรนี้ ที่เข้าบ้านเช้านัก
กลับมาสายนัก’ จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร
เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ไม่ควรเข้าบ้านเช้านัก ไม่ควรกลับมาสายนัก (๔)
ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ไม่ควรเที่ยวไปใน
ตระกูลทั้งหลาย ในเวลาก่อนฉันภัตตาหาร ในเวลาหลังฉันภัตตาหาร ถ้าภิกษุผู้ถือ
การอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ เที่ยวไปในตระกูลทั้งหลายในเวลาก่อน
ฉันภัตตาหาร ในเวลาหลังฉันภัตตาหาร จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ว่า ‘ท่านผู้ถือการ
อยู่ป่าเป็นวัตร ผู้สมัครใจอยู่ป่าแต่ผู้เดียวนี้ ได้ทำการเที่ยวไปในเวลาวิกาลไว้มากแน่
อนึ่ง เพื่อนพรหมจารีก็จะกล่าวทักท้วงเธอผู้ไปในสงฆ์ได้’ จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้
เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ จึงไม่ควรเที่ยว
ไปในตระกูลทั้งหลาย ในเวลาก่อนฉันภัตตาหาร ในเวลาหลังฉันภัตตาหาร (๕)


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๙. โคลิสสานิสูตร

ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ไม่ควรเป็นผู้คะนองกาย
คะนองวาจา ถ้าภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ เป็นผู้
คะนองกาย คะนองวาจา จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ว่า ‘ท่านผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร
ผู้สมัครใจอยู่ป่าแต่ผู้เดียวนี้ ได้ทำการคะนองกาย คะนองวาจาไว้มากแน่ อนึ่ง
เพื่อนพรหมจารีก็จะกล่าวทักท้วงเธอผู้ไปกับสงฆ์ได้’ จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้
เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ จึงไม่ควร
คะนองกาย คะนองวาจา (๖)
ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ไม่ควรเป็นผู้มีปากกล้า
ไม่ควรเป็นผู้มีวาจาจัดจ้าน ถ้าภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์
เป็นผู้มีปากกล้า เป็นผู้มีวาจาจัดจ้าน จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ว่า ‘จะมีประโยชน์
อะไรกับการสมัครใจอยู่ป่าแต่ผู้เดียว สำหรับท่านผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรนี้แต่เป็น
ผู้มีปากกล้า เป็นผู้มีวาจาจัดจ้าน’ จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้
ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ จึงไม่ควรเป็นผู้มีปากกล้า เป็นผู้
มีวาจาจัดจ้าน (๗)
ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ควรเป็นผู้ว่าง่าย
เป็นกัลยาณมิตร ถ้าภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ เป็น
ผู้ว่ายาก เป็นบาปมิตร จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ว่า ‘จะมีประโยชน์อะไรกับการสมัคร
ใจอยู่ป่าแต่ผู้เดียว สำหรับท่านผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรนี้ แต่เป็นผู้ว่ายาก เป็น
บาปมิตร’ จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อ
ไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ จึงควรเป็นผู้ว่าง่าย เป็นกัลยาณมิตร (๘)
ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ควรเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
ถ้าภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย จะมีผู้
ติเตียนภิกษุนั้นได้ว่า ‘จะมีประโยชน์อะไรกับการสมัครใจอยู่ป่าแต่ผู้เดียว สำหรับ
ท่านผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรนี้ แต่ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย’ จะมีผู้ติเตียน
ภิกษุนั้นได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร จึงควรเป็นผู้คุ้มครองทวาร
ในอินทรีย์ทั้งหลาย (๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๙. โคลิสสานิสูตร

ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ควรเป็นผู้รู้ประมาณในการบริโภคอาหาร
ถ้าภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้ไม่รู้ประมาณในการบริโภคอาหาร จะมีผู้
ติเตียนภิกษุนั้นได้ว่า ‘จะมีประโยชน์อะไรกับการสมัครใจอยู่ป่าแต่ผู้เดียว สำหรับ
ท่านผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรนี้ แต่เป็นผู้ไม่รู้ประมาณในการบริโภคอาหาร’ จะมีผู้
ติเตียนภิกษุนั้นได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร จึงควรเป็นผู้รู้ประมาณ
ในการบริโภคอาหาร (๑๐)
ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ควรเป็นผู้ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอย่างต่อเนื่อง
ถ้าภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ไม่เป็นผู้ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอย่างต่อเนื่อง
จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ว่า ‘จะมีประโยชน์อะไรกับการสมัครใจอยู่ป่าแต่ผู้เดียว
สำหรับท่านผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรนี้ แต่ไม่ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอย่างต่อเนื่อง’
จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร จึงควรเป็น
ผู้ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอย่างต่อเนื่อง (๑๑)
ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ควรเป็นผู้ปรารภความเพียร๑ ถ้าภิกษุผู้ถือการ
อยู่ป่าเป็นวัตรเป็นผู้เกียจคร้าน จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ว่า ‘จะมีประโยชน์อะไร
กับการสมัครใจอยู่ป่าแต่ผู้เดียว สำหรับท่านผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรนี้ แต่เป็นผู้
เกียจคร้าน’ จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร
จึงควรเป็นผู้ปรารภความเพียร (๑๒)
ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ควรเป็นผู้มีสติตั้งมั่น ถ้าภิกษุผู้ถือการอยู่ป่า
เป็นวัตรเป็นผู้มีสติฟั่นเฟือน จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ว่า ‘จะมีประโยชน์อะไรกับการ
สมัครใจอยู่ป่าแต่ผู้เดียว สำหรับท่านผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรนี้ แต่เป็นผู้มีสติ
ฟั่นเฟือน’ จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร
จึงควรเป็นผู้มีสติตั้งมั่น (๑๓)


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๙. โคลิสสานิสูตร

ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ควรเป็นผู้มีจิตตั้งมั่น ถ้าภิกษุผู้ถือการอยู่ป่า
เป็นวัตรเป็นผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ว่า ‘จะมีประโยชน์อะไรกับการ
สมัครใจอยู่ป่าแต่ผู้เดียว สำหรับท่านผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรนี้ แต่เป็นผู้มีจิต
ไม่ตั้งมั่น’ จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร
จึงควรเป็นผู้มีจิตตั้งมั่น (๑๔)
ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ควรเป็นผู้มีปัญญา ถ้าภิกษุผู้ถือการอยู่ป่า
เป็นวัตรเป็นผู้มีปัญญาทราม จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ว่า ‘จะมีประโยชน์อะไรกับ
การสมัครใจอยู่ป่าแต่ผู้เดียว สำหรับท่านผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรนี้ แต่เป็นผู้มี
ปัญญาทราม’ จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร
จึงควรเป็นผู้มีปัญญา (๑๕)
ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ควรทำความเพียรในอภิธรรมและในอภิวินัย
เพราะเมื่อมีผู้ถามปัญหาในอภิธรรมและในอภิวินัยกับภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร
ถ้าภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรถูกถามปัญหาในอภิธรรมและในอภิวินัยแล้ว ตอบ
ไม่ได้ จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ว่า ‘จะมีประโยชน์อะไรกับการสมัครใจอยู่ป่าแต่ผู้เดียว
สำหรับท่านผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรนี้ แต่ถูกถามปัญหาในอภิธรรมและในอภิวินัยแล้ว
ตอบไม่ได้’ จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร
จึงควรทำความเพียรในอภิธรรมและในอภิวินัย (๑๖)
ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ควรทำความเพียรในสันตวิโมกข์๑ซึ่งไม่มีรูปเพราะ
ล่วงรูปฌาน เพราะเมื่อมีคนถามปัญหาในสันตวิโมกข์ซึ่งไม่มีรูปเพราะล่วงรูปฌาน
กับภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ถ้าภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรถูกถามปัญหา
ในสันตวิโมกข์ซึ่งไม่มีรูปเพราะล่วงรูปฌานแล้ว ตอบไม่ได้ จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๙. โคลิสสานิสูตร

ว่า ‘จะมีประโยชน์อะไรกับการสมัครใจอยู่ป่าแต่ผู้เดียว สำหรับท่านผู้ถือการอยู่ป่า
เป็นวัตรนี้ แต่ถูกถามปัญหาในสันตวิโมกข์ซึ่งไม่มีรูปเพราะล่วงรูปฌานแล้ว ตอบ
ไม่ได้’ จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร จึงควร
ทำความเพียรในสันตวิโมกข์ซึ่งไม่มีรูปเพราะล่วงรูปฌาน (๑๗)
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ควรทำความเพียรใน
อุตตริมนุสสธรรม๑ เพราะเมื่อมีคนถามปัญหาในอุตตริมนุสสธรรมกับภิกษุผู้ถือการ
อยู่ป่าเป็นวัตร ถ้าภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรถูกถามปัญหาในอุตตริมนุสสธรรมแล้ว
ตอบไม่ได้ จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ว่า ‘จะมีประโยชน์อะไรกับการสมัครใจอยู่ป่า
แต่ผู้เดียว สำหรับท่านผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรนี้ แต่ไม่รู้เนื้อความแห่งคุณวิเศษที่
กุลบุตรผู้ออกบวชแล้วต้องการ’ จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ถือการ
อยู่ป่าเป็นวัตร จึงควรทำความเพียรในอุตตริมนุสสธรรม (๑๘)”
เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้ถามท่าน
พระสารีบุตรว่า
“ท่านสารีบุตร ธรรมเหล่านี้ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรเท่านั้นหรือที่ควร
สมาทาน ประพฤติ หรือธรรมเหล่านี้แม้ภิกษุผู้อยู่ในอารามใกล้บ้านก็ควรสมาทาน
ประพฤติด้วย”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ท่านโมคคัลลานะ ธรรมเหล่านี้ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่า
เป็นวัตรควรสมาทานประพฤติ ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงภิกษุผู้อยู่ในอารามใกล้บ้านเลย”
ดังนี้แล

โคลิสสานิสูตรที่ ๙ จบ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๑๐. กีฏาคิริสูตร

๑๐. กีฏาคิริสูตร
ว่าด้วยเหตุการณ์ในกีฏาคีรีนิคม
คุณของการฉันอาหารน้อย

[๑๗๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นกาสี พร้อมกับภิกษุสงฆ์
หมู่ใหญ่ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เราไม่ฉันโภชนะในราตรีเลย เราเมื่อไม่ฉันโภชนะในราตรี
ก็รู้สึกว่าสุขภาพมีโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ
มาเถิด ภิกษุทั้งหลาย แม้เธอทั้งหลายก็จงอย่าฉันโภชนะในราตรีเลย เธอทั้งหลาย
เมื่อไม่ฉันโภชนะในราตรี ก็จักรู้สึกว่าสุขภาพมีโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า
มีพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว จากนั้นพระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไป
ในแคว้นกาสีโดยลำดับ จนถึงนิคมของชาวกาสีชื่อกีฏาคีรี ได้ยินว่า ครั้งนั้น พระผู้มี
พระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวกาสีชื่อกีฏาคีรี

พระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะฉันอาหารในเวลาวิกาล

[๑๗๕] สมัยนั้น ภิกษุชื่ออัสสชิและภิกษุชื่อปุนัพพสุกะ๑ เป็นผู้อยู่ประจำ
ในนิคมชื่อกีฏาคีรี ครั้งนั้น ภิกษุจำนวนมากเข้าไปหาภิกษุชื่ออัสสชิและภิกษุชื่อ
ปุนัพพสุกะถึงที่อยู่ แล้วได้กล่าวว่า


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๑๐. กีฏาคิริสูตร

“ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคและภิกษุสงฆ์ไม่ฉันโภชนะในราตรี
พระผู้มีพระภาคและภิกษุสงฆ์เมื่อไม่ฉันโภชนะในราตรี ก็รู้สึกว่าสุขภาพมีโรคาพาธน้อย
กระปรี้กระเปร่า มีพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ มาเถิด ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
แม้ท่านทั้งหลายก็จงอย่าฉันโภชนะในราตรีเลย ท่านทั้งหลายเมื่อไม่ฉันโภชนะในราตรี
ก็จักรู้สึกว่าสุขภาพมีโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ”
เมื่อภิกษุทั้งหลายกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุชื่ออัสสชิและภิกษุชื่อปุนัพพสุกะได้
กล่าวว่า
“ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เราทั้งหลายฉันโภชนะทั้งเวลาเย็น เวลาเช้า และเวลา
วิกาลกลางวัน เราทั้งหลายนั้นเมื่อฉันโภชนะทั้งเวลาเย็น เวลาเช้า และเวลาวิกาล
กลางวัน ก็รู้สึกว่าสุขภาพมีโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพลานามัยสมบูรณ์
อยู่สำราญ เราทั้งหลายนั้นจักละคุณที่ตนเห็นเองแล้วไล่ตามผลที่เป็นอนาคตกาล
ทำไม เราทั้งหลายจักฉันทั้งเวลาเย็น เวลาเช้า และเวลาวิกาลกลางวัน”
เพราะเหตุที่ภิกษุเหล่านั้นไม่สามารถจะให้ภิกษุชื่ออัสสชิและภิกษุชื่อปุนัพพสุกะ
ยินยอมได้ จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่
สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ข้าพระองค์ทั้งหลายเข้าไปหา
ภิกษุชื่ออัสสชิและภิกษุชื่อปุนัพพสุกะถึงที่อยู่ แล้วได้กล่าวว่า ‘ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
พระผู้มีพระภาคและภิกษุสงฆ์ไม่ฉันโภชนะในราตรี เมื่อพระผู้มีพระภาคและภิกษุ
สงฆ์ไม่ฉันโภชนะในราตรี ก็รู้สึกว่าสุขภาพมีโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า
มีพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ มาเถิด ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย แม้ท่านทั้งหลาย
ก็จงอย่าฉันโภชนะในราตรีเลย ท่านทั้งหลายเมื่อไม่ฉันโภชนะในราตรีก็จะรู้สึกว่า
สุขภาพมีโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ’
เมื่อข้าพระองค์ทั้งหลายกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุชื่ออัสสชิและภิกษุชื่อปุนัพพสุกะ
ได้กล่าวว่า ‘ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เราทั้งหลายฉันโภชนะทั้งเวลาเย็น เวลาเช้า
และเวลาวิกาลกลางวัน เมื่อเราทั้งหลายฉันโภชนะทั้งเวลาเย็น เวลาเช้า และเวลา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๑๐. กีฏาคิริสูตร

วิกาลกลางวัน ก็รู้สึกว่าสุขภาพมีโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพลานามัย
สมบูรณ์ อยู่สำราญ เราทั้งหลายนั้นจักละคุณที่ตนเห็นเองแล้วไล่ตามผลที่เป็น
อนาคตกาลทำไม เราทั้งหลายจักฉันทั้งเวลาเย็น เวลาเช้า และเวลาวิกาลกลางวัน’
เพราะเหตุที่ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่สามารถจะให้ภิกษุชื่ออัสสชิและภิกษุชื่อปุนัพพสุกะ
ยินยอมได้ จึงมากราบทูลเนื้อความนี้แด่พระผู้มีพระภาค พระพุทธเจ้าข้า”
[๑๗๖] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษรูปหนึ่งมาตรัสว่า “มาเถิด
ภิกษุ เธอจงไปเรียกภิกษุชื่ออัสสชิและภิกษุชื่อปุนัพพสุกะตามคำของเราว่า ‘พระศาสดา
ตรัสเรียกท่านทั้งหลาย”
ภิกษุนั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว เข้าไปหาภิกษุชื่ออัสสชิและภิกษุชื่อปุนัพพสุกะ
ถึงที่อยู่ แล้วได้กล่าวว่า “พระศาสดาตรัสเรียกท่านทั้งหลาย”
ภิกษุชื่ออัสสชิและภิกษุชื่อปุนัพพสุกะรับคำของภิกษุนั้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับ
ภิกษุชื่ออัสสชิและภิกษุชื่อปุนัพพสุกะว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า ภิกษุเป็นอันมากเข้าไปหาเธอทั้งสองแล้วกล่าวว่า
‘ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคและภิกษุสงฆ์ไม่ฉันโภชนะในราตรี พระผู้มี
พระภาคและภิกษุสงฆ์เมื่อไม่ฉันโภชนะในราตรี ก็รู้สึกว่าสุขภาพมีโรคาพาธน้อย
กระปรี้กระเปร่า มีพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ มาเถิด ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
แม้ท่านทั้งหลายก็จงอย่าฉันโภชนะในราตรีเลย ท่านทั้งหลายเมื่อไม่ฉันโภชนะใน
ราตรีก็จะรู้สึกว่าสุขภาพมีโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพลานามัยสมบูรณ์
อยู่สำราญ’
ได้ยินว่า เมื่อภิกษุเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว เธอทั้งสองได้กล่าวกับภิกษุ
เหล่านั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เราทั้งหลายฉันโภชนะทั้งเวลาเย็น เวลา
เช้า และเวลาวิกาลกลางวัน เราทั้งหลายเมื่อฉันโภชนะทั้งเวลาเย็น เวลาเช้า และเวลา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๐๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๑๐. กีฏาคิริสูตร

วิกาลกลางวัน ก็รู้สึกว่าสุขภาพมีโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพลานามัยสมบูรณ์
อยู่สำราญ เราทั้งหลายนั้นจักละคุณที่ตนเห็นเองแล้วไล่ตามผลที่เป็นอนาคตกาล
ทำไม เราทั้งหลายจักฉันทั้งเวลาเย็น เวลาเช้า และเวลาวิกาลกลางวัน’ จริงหรือ”
ภิกษุชื่ออัสสชิและภิกษุชื่อปุนัพพสุกะ กราบทูลว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”

กุศลธรรมและอกุศลธรรมกับเวทนา ๓

[๑๗๗] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายรู้ทั่วถึง
ธรรมที่เราแสดงแล้วอย่างนี้ว่า ‘บุคคลนี้เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ สุขเวทนา
ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา (อุเบกขา) อกุศลธรรมของบุคคลนั้นย่อมเสื่อม
กุศลธรรมย่อมเจริญ’ ใช่ไหม”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ไม่ใช่ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้ว อย่างนี้ว่า ‘เมื่อบุคคล
บางคนในโลกนี้เสวยสุขเวทนาเห็นปานนี้อยู่ อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อม
เสื่อม แต่เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้เสวยสุขเวทนาเห็นปานนี้อยู่ อกุศลธรรมย่อม
เสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้เสวยทุกขเวทนาเห็นปานนี้อยู่
อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม แต่เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้เสวย
ทุกขเวทนาเห็นปานนี้อยู่ อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ เมื่อบุคคล
บางคนในโลกนี้เสวยอทุกขมสุขเวทนาเห็นปานนี้อยู่ อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรม
ย่อมเสื่อม แต่เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้เสวยอทุกขมสุขเวทนาเห็นปานนี้อยู่ อกุศล-
ธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ ใช่ไหม”
“ใช่ พระพุทธเจ้าข้า”
[๑๗๘] “ดีละ ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ ถ้าเราไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่ทำ
ให้แจ้ง ไม่สัมผัสด้วยปัญญาว่า ‘เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้เสวยสุขเวทนาเห็นปานนี้อยู่
อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม’ เราเมื่อไม่รู้อย่างนี้จะพึงกล่าวว่า ‘เธอ
ทั้งหลายจงละสุขเวทนาเห็นปานนี้เถิด’ ข้อนี้จักเป็นการสมควรแก่เราหรือไม่”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๑๐. กีฏาคิริสูตร

“ไม่ พระพุทธเจ้าข้า”
“เพราะข้อนี้เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว สัมผัสแล้วด้วย
ปัญญาว่า ‘เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้เสวยสุขเวทนาเห็นปานนี้อยู่ อกุศลธรรมย่อม
เจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม’ ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า ‘เธอทั้งหลายจงละสุขเวทนาเห็น
ปานนี้เถิด’ ข้อนี้ถ้าเราไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่ทำให้แจ้ง ไม่สัมผัสด้วยปัญญาว่า
‘เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้เสวยสุขเวทนาเห็นปานนี้อยู่ อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศล
ธรรมย่อมเจริญ” เราเมื่อไม่รู้อย่างนี้จะพึงกล่าวว่า ‘เธอทั้งหลายจงเข้าถึงสุขเวทนา
เห็นปานนี้อยู่เถิด’ ข้อนี้จักเป็นการสมควรแก่เราหรือไม่”
“ไม่ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย เพราะข้อนี้เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว
สัมผัสแล้วด้วยปัญญาว่า ‘เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้เสวยสุขเวทนาเห็นปานนี้อยู่
อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ’ ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า ‘เธอทั้งหลาย
จงเข้าถึงสุขเวทนาเห็นปานนี้อยู่เถิด’
[๑๗๙] ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ถ้าเราไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่ทำให้แจ้ง
ไม่สัมผัสด้วยปัญญาว่า ‘เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้เสวยทุกขเวทนาเห็นปานนี้อยู่
อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม’ เราเมื่อไม่รู้อย่างนี้ จะพึงกล่าวว่า
‘เธอทั้งหลายจงละทุกขเวทนาเห็นปานนี้เถิด’ ข้อนี้เป็นการสมควรแก่เราหรือไม่”
“ไม่ พระพุทธเจ้าข้า”
“เพราะข้อนี้เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว สัมผัสแล้วด้วย
ปัญญาว่า ‘เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้เสวยทุกขเวทนาเห็นปานนี้อยู่ อกุศลธรรม
ย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม’ ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า ‘เธอทั้งหลายจงละทุกข-
เวทนาเห็นปานนี้เถิด’ ข้อนี้ถ้าเราไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่ทำให้แจ้ง ไม่สัมผัสด้วย
ปัญญาว่า ‘เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้เสวยทุกขเวทนาเห็นปานนี้อยู่ อกุศลธรรม
ย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ’ เราเมื่อไม่รู้อย่างนี้ จะพึงกล่าวว่า ‘เธอทั้งหลาย
จงเข้าถึงทุกขเวทนาเห็นปานนี้อยู่เถิด’ ข้อนี้จักเป็นการสมควรแก่เราหรือไม่”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๑๐. กีฏาคิริสูตร

“ไม่ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย เพราะข้อนี้เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว
สัมผัสแล้วด้วยปัญญาว่า ‘เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้เสวยทุกขเวทนาเห็นปานนี้อยู่
อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ’ ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า ‘เธอทั้งหลาย
จงเข้าถึงทุกขเวทนาเห็นปานนี้อยู่เถิด’
[๑๘๐] ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ถ้าเราไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่ทำให้แจ้ง
ไม่สัมผัสแล้วด้วยปัญญาว่า ‘เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้เสวยอทุกขมสุขเวทนาเห็น
ปานนี้อยู่ อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม’ เราเมื่อไม่รู้อย่างนี้ จะพึง
กล่าวว่า ‘เธอทั้งหลายจงละอทุกขมสุขเวทนาเห็นปานนี้เถิด’ ข้อนี้เป็นการสมควรแก่
เราหรือไม่”
“ไม่ พระพุทธเจ้าข้า”
“เพราะข้อนี้เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว สัมผัสแล้วด้วย
ปัญญาว่า ‘เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้เสวยอทุกขมสุขเวทนาเห็นปานนี้อยู่ อกุศลธรรม
ย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม’ ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า ‘เธอทั้งหลายจงละอทุกขม-
สุขเวทนาเห็นปานนี้เถิด’ ข้อนี้ถ้าเราไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่ทำให้แจ้ง ไม่สัมผัส
ด้วยปัญญาว่า ‘เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้เสวยอทุกขมสุขเวทนาเห็นปานนี้อยู่
อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ’ เราเมื่อไม่รู้อย่างนี้ จะพึงกล่าวว่า
‘เธอทั้งหลายจงเข้าถึงอทุกขมสุขเวทนาเห็นปานนี้อยู่เถิด’ ข้อนี้จักเป็นการสมควร
แก่เราหรือไม่”
“ไม่ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย เพราะข้อนี้เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว
สัมผัสแล้วด้วยปัญญาว่า ‘เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้เสวยอทุกขมสุขเวทนาเห็น
ปานนี้อยู่ อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ’ ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า
‘เธอทั้งหลายจงเข้าถึงอทุกขมสุขเวทนาเห็นปานนี้อยู่เถิด’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๑๐. กีฏาคิริสูตร

[๑๘๑] ภิกษุทั้งหลาย เรามิได้กล่าวว่า ‘ภิกษุทั้งหมดจะต้องทำกิจที่ควรทำ
ด้วยความไม่ประมาท’ ทั้งมิได้กล่าวว่า ‘ภิกษุทั้งหมดไม่ต้องทำกิจที่ควรทำด้วย
ความไม่ประมาท’ ภิกษุเหล่าใดเป็นอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่
ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระแล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้น
แล้วเพราะรู้โดยชอบ เราย่อมกล่าวว่า ‘ภิกษุเห็นปานนั้นไม่ต้องทำกิจที่ควรทำด้วย
ความไม่ประมาท’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะภิกษุนั้นได้ทำกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาทเสร็จแล้ว และภิกษุเหล่านั้น
จัดเป็นผู้ไม่ประมาทต่อไป
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใดเป็นเสขะยังไม่สำเร็จเป็นอรหันต์ ยังปรารถนาธรรม
ที่เป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมอยู่ เรากล่าวว่า ‘ภิกษุเห็นปานนั้น ต้องทำกิจ
ที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทของภิกษุเหล่านี้เช่นนี้ว่า ‘จะเป็นการดี
ถ้าท่านเหล่านี้ เมื่อใช้สอยเสนาสนะที่สมควร๑ คบหากัลยาณมิตร ปรับอินทรีย์ให้เสมอ
จะพึงทำให้แจ้งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออก
จากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ใน
ปัจจุบัน’ จึงกล่าวว่า ‘ภิกษุเห็นปานนั้นต้องทำกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท’


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๑๐. กีฏาคิริสูตร

บุคคล ๗ จำพวก

[๑๘๒] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จำพวกนี้ ๑มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๗ จำพวก ไหนบ้าง คือ

๑. ท่านผู้เป็นอุภโตภาควิมุต ๒. ท่านผู้เป็นปัญญาวิมุต
๓. ท่านผู้เป็นกายสักขี ๔. ท่านผู้เป็นทิฏฐิปัตตะ
๕. ท่านผู้เป็นสัทธาวิมุต ๖. ท่านผู้เป็นธัมมานุสารี
๗. ท่านผู้เป็นสัทธานุสารี๒

ท่านผู้เป็นอุภโตภาควิมุต เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ได้สัมผัสสันตวิโมกข์๓ ซึ่งไม่มีรูปเพราะล่วงรูปฌาน
ได้ด้วยกาย๔อยู่ และอาสวะทั้งหลายของผู้นั้นสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้
เราเรียกว่า เป็นอุภโตภาควิมุต เรากล่าวว่า ‘ภิกษุนี้ไม่ต้องทำกิจที่ควรทำด้วยความ
ไม่ประมาท’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะภิกษุนั้นได้ทำกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาทเสร็จแล้ว และภิกษุนั้น
จัดเป็นผู้ไม่ประมาทต่อไป (๑)


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๑๐. กีฏาคิริสูตร

ท่านผู้เป็นปัญญาวิมุต เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่ได้สัมผัสสันตวิโมกข์ ซึ่งไม่มีรูปเพราะล่วงรูปฌาน
ได้ด้วยกายอยู่ และอาสวะทั้งหลายของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้
เราเรียกว่า เป็นปัญญาวิมุต เรากล่าวว่า ‘ภิกษุแม้นี้ไม่ต้องทำกิจที่ควรทำด้วยความ
ไม่ประมาท’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะภิกษุนั้นได้ทำกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาทเสร็จแล้ว และภิกษุนั้น
จัดเป็นผู้ไม่ประมาทต่อไป (๒)
ท่านผู้เป็นกายสักขี เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ได้สัมผัสสันตวิโมกข์ ซึ่งไม่มีรูป เพราะล่วงรูปฌาน
ได้ด้วยกายอยู่ และอาสวะบางเหล่าของผู้นั้นสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้
เราเรียกว่า เป็นกายสักขี เรากล่าวว่า ‘ภิกษุแม้นี้ต้องทำกิจที่ควรทำด้วยความไม่
ประมาท’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทของภิกษุนี้เช่นนี้ว่า ‘จะเป็นการดี ถ้าท่าน
ผู้นี้เมื่อใช้สอยเสนาสนะที่สมควร คบหากัลยาณมิตร ปรับอินทรีย์ให้เสมอจะพึง
ทำให้แจ้งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน’ จึงกล่าว
ว่า ‘ภิกษุนี้ต้องทำกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท’ (๓)
ท่านผู้เป็นทิฏฐิปัตตะ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่ได้สัมผัสสันตวิโมกข์ ซึ่งไม่มีรูปเพราะล่วงรูปฌาน
ได้ด้วยกายอยู่ แต่อาสวะบางเหล่าของผู้นั้นสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา อนึ่ง ธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๑๐. กีฏาคิริสูตร

ทั้งหลายที่ตถาคตประกาศแล้ว เป็นธรรมที่ผู้นั้นเห็นแจ้งด้วยปัญญา ประพฤติดีแล้ว
บุคคลนี้เราเรียกว่า เป็นทิฏฐิปัตตะ เรากล่าวว่า ‘ภิกษุนี้ต้องทำกิจที่ควรทำด้วยความ
ไม่ประมาท’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทของภิกษุนี้เช่นนี้ว่า ‘จะเป็นการดี ถ้าท่าน
ผู้นี้เมื่อใช้สอยเสนาสนะที่สมควร คบหากัลยาณมิตร ปรับอินทรีย์ให้เสมอ จะพึง
ทำให้แจ้งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจาก
เรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน’
จึงกล่าวว่า ‘ภิกษุนี้ต้องทำกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท’ (๔)
ท่านผู้เป็นสัทธาวิมุต เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่ได้สัมผัสสันตวิโมกข์ ซึ่งไม่มีรูปเพราะล่วงรูปฌาน
ได้ด้วยกายอยู่ แต่อาสวะบางเหล่าของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา อนึ่ง
ความเชื่อในตถาคตของผู้นั้นตั้งมั่นแล้ว มีรากหยั่งลงมั่นคงแล้ว บุคคลนี้เราเรียกว่า
เป็นสัทธาวิมุต เรากล่าวว่า ‘ภิกษุแม้นี้ต้องทำกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทของภิกษุนี้เช่นนี้ว่า ‘จะเป็นการดี
ถ้าท่านผู้นี้เมื่อใช้สอยเสนาสนะที่สมควร คบหากัลยาณมิตร ปรับอินทรีย์ให้เสมอ
จะพึงทำให้แจ้งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ใน
ปัจจุบัน’ จึงกล่าวว่า ‘ภิกษุนี้ต้องทำกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท’ (๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๑๐. กีฏาคิริสูตร

ท่านผู้เป็นธัมมานุสารี เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่ได้สัมผัสสันตวิโมกข์ ซึ่งไม่มีรูปเพราะล่วงรูปฌาน
ได้ด้วยกายอยู่ แต่อาสวะบางเหล่าของผู้นั้นสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา อนึ่ง ธรรม
ทั้งหลายที่ตถาคตประกาศแล้วควรเพื่อพินิจโดยประมาณด้วยปัญญาของผู้นั้น
อีกประการหนึ่ง ธรรมเหล่านี้ คือ สัทธินทรีย์(อินทรีย์คือศรัทธา) วิริยินทรีย์
(อินทรีย์คือวิริยะ) สตินทรีย์(อินทรีย์คือสติ) สมาธินทรีย์(อินทรีย์คือสมาธิ)
ปัญญินทรีย์(อินทรีย์คือปัญญา) ย่อมมีแก่ผู้นั้น บุคคลนี้เราเรียกว่า เป็นธัมมานุสารี
เรากล่าวว่า ‘ภิกษุแม้นี้ต้องทำกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทของภิกษุนี้เช่นนี้ว่า ‘จะเป็นการดี
ถ้าท่านผู้นี้เมื่อใช้สอยเสนาสนะที่สมควร คบหากัลยาณมิตร ปรับอินทรีย์ให้เสมอ
จะพึงทำให้แจ้งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ใน
ปัจจุบัน’ จึงกล่าวว่า ‘ภิกษุนี้ต้องทำกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท’ (๖)
ท่านผู้เป็นสัทธานุสารี เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่ได้สัมผัสสันตวิโมกข์ ซึ่งไม่มีรูปเพราะล่วงรูปฌาน
ได้ด้วยกายอยู่ แต่อาสวะบางเหล่าของผู้นั้นสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา อนึ่ง ผู้นั้นมี
แต่เพียงความเชื่อ ความรักในตถาคต
อีกประการหนึ่ง ธรรมเหล่านี้ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์
ปัญญินทรีย์ ย่อมมีแก่ผู้นั้น บุคคลนี้เราเรียกว่า เป็นสัทธานุสารี เรากล่าวว่า
‘ภิกษุแม้นี้ต้องทำกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๑๐. กีฏาคิริสูตร

ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทของภิกษุนี้เช่นนี้ว่า ‘จะเป็นการดี
ถ้าท่านผู้นี้เมื่อใช้สอยเสนาสนะที่สมควร คบหากัลยาณมิตร ปรับอินทรีย์ให้เสมอ
จะพึงทำให้แจ้งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ใน
ปัจจุบัน’ จึงกล่าวว่า ‘ภิกษุนี้ต้องทำกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท’ (๗)

การดำรงอยู่ในอรหัตตผล

[๑๘๓] ภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวการบรรลุอรหัตตผลด้วยขั้นเดียวเท่านั้น
แต่การบรรลุอรหัตตผล ย่อมมีได้ด้วยการบำเพ็ญสิกขา๑โดยลำดับ ด้วยการบำเพ็ญ
กิริยาโดยลำดับ ด้วยการบำเพ็ญปฏิปทาโดยลำดับ
การบรรลุอรหัตตผล ย่อมมีได้ด้วยการบำเพ็ญสิกขาโดยลำดับ ด้วยการ
บำเพ็ญกิริยาโดยลำดับ ด้วยการบำเพ็ญปฏิปทาโดยลำดับ เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรในศาสนานี้ เกิดศรัทธาแล้วย่อมเข้าไปหา เมื่อเข้าไปหาย่อม
นั่งใกล้ เมื่อนั่งใกล้ย่อมเงี่ยโสตลงสดับ เงี่ยโสตลงสดับแล้วย่อมฟังธรรม ครั้นฟัง
ธรรมแล้วย่อมทรงจำไว้ ย่อมพิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้แล้ว เมื่อพิจารณา
เนื้อความอยู่ ธรรมทั้งหลายย่อมควรเพ่งพินิจ เมื่อมีการเพ่งพินิจธรรมอยู่ ฉันทะ
ย่อมเกิด กุลบุตรนั้นเกิดฉันทะแล้ว ย่อมอุตสาหะ ครั้นอุตสาหะแล้ว ย่อมไตร่ตรอง
ครั้นไตร่ตรองแล้ว ย่อมอุทิศกายและใจ เมื่ออุทิศกายและใจแล้ว ย่อมทำให้แจ้ง
สัจจะอันยอดเยี่ยม๒ด้วยนามกาย และเห็นแจ่มแจ้งสัจจะอันยอดเยี่ยมนั้นด้วย
ปัญญา๓


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๑๐. กีฏาคิริสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าศรัทธาไม่มี การเข้าไปหา การนั่งใกล้ การเงี่ยโสตลงสดับ
การฟังธรรม การทรงจำธรรม การพิจารณาเนื้อความ ความเพ่งพินิจธรรม ฉันทะ
อุตสาหะ การไตร่ตรอง และการอุทิศกายและใจก็ไม่มี เธอทั้งหลายเป็นผู้ปฏิบัติพลาด
เป็นผู้ปฏิบัติผิด โมฆบุรุษเหล่านี้ได้ก้าวออกไปจากธรรมวินัยนี้ไกลเท่าไร
[๑๘๔] ภิกษุทั้งหลาย คำอธิบายสัจจะ ๔ ประการมีอยู่ เมื่อยกคำอธิบาย
ดังกล่าวขึ้นมาแสดง วิญญูชนพึงเข้าใจเนื้อความได้ด้วยปัญญาในไม่ช้า เราจักแสดง
แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจักเข้าใจถึงเนื้อความได้”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายเป็นคน
เช่นไร และผู้เข้าใจถึงธรรมได้ เป็นคนเช่นไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ศาสดาใดเป็นผู้หนักในอามิส รับแต่
อามิสอยู่ ข้องอยู่ด้วยอามิส แม้ศาสดานั้นก็ยังไม่ต่อรองเลยว่า ‘เมื่อสิ่งเช่นนี้พึง
มีแก่เรา เราพึงทำสิ่งนั้น เมื่อสิ่งเช่นนี้ไม่พึงมีแก่เรา เราก็ไม่พึงทำสิ่งนั้น’ ตถาคต
ไม่ข้องอยู่ด้วยอามิสโดยประการทั้งปวงจะสมควรกับการต่อรองหรือ สาวกผู้มีศรัทธา
ผู้ทำตามคำสั่งสอนของศาสดา ย่อมมีหลักปฏิบัติว่า ‘พระผู้มีพระภาคเป็นศาสดา
เราเป็นสาวก พระผู้มีพระภาคทรงรู้ เราไม่รู้’
คำสอนของศาสดาย่อมงอกงามมีโอชาแก่สาวกผู้มีศรัทธา ผู้ทำตามคำสั่งสอน
ของศาสดา
สาวกผู้มีศรัทธา ผู้ทำตามคำสั่งสอนของศาสดา ย่อมมีหลักปฏิบัติว่า
‘หนัง เอ็น และกระดูกจงเหือดแห้งไปเถิด เนื้อและเลือดในสรีระของเรา จงเหือดแห้ง
ไปก็ตามที เมื่อเรายังไม่บรรลุผลที่พึงบรรลุด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของ
บุรุษด้วยความบากบั่นของบุรุษแล้ว จักไม่หยุดความเพียรนั้น๑’


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ภิกษุทั้งหลาย สาวกผู้มีศรัทธา ผู้ทำตามคำสั่งสอนของศาสดา จะพึงหวังได้
ผลอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ (๑) อรหัตตผลในปัจจุบัน (๒) เมื่อมีอุปาทานเหลืออยู่
ก็จะเป็นอนาคามี”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
กีฏาคิริสูตรที่ ๑๐ จบ
ภิกขุวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. จูฬราหุโลวาทสูตร ๒. มหาราหุโลวาทสูตร
๓. จูฬมาลุงกยสูตร ๔. มหามาลุงกยสูตร
๕. ภัททาลิสูตร ๖. ลฏุกิโกปมสูตร
๗. จาตุมสูตร ๘. นฬกปานสูตร
๙. โคลิสสานิสูตร ๑๐. กีฏาคิริสูตร


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๑. จูฬวัจฉโคตตสูตร

๓. ปริพพาชกวรรค
หมวดว่าด้วยปริพาชก

๑. จูฬวัจฉโคตตสูตร
ว่าด้วยปริพาชกชื่อวัจฉโคตร สูตรเล็ก

[๑๘๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตกรุงเวสาลี
สมัยนั้นแล ปริพาชกชื่อวัจฉโคตรอาศัยอยู่ในอารามของปริพาชกชื่อเอกบุณฑริก
ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไป
บิณฑบาตยังกรุงเวสาลี ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้มีพระดำริว่า “ยังเช้าเกินไปที่จะ
เที่ยวบิณฑบาตในกรุงเวสาลี ทางที่ดี เราควรเข้าไปหาวัจฉโคตรปริพาชก จนถึงอาราม
ของปริพาชกชื่อเอกบุณฑริก”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาวัจฉโคตรปริพาชก ถึงอารามของ
ปริพาชกชื่อเอกบุณฑริก วัจฉโคตรปริพาชกได้เห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จมาแต่ไกล
ได้กราบทูลว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงเสด็จเข้ามาเถิด ขอต้อนรับเสด็จ นาน ๆ
พระผู้มีพระภาคจะมีเวลาเสด็จมาถึงที่นี้ ขอเชิญพระผู้มีพระภาคประทับนั่งเถิด อาสนะ
นี้ปูลาดไว้แล้ว”
พระผู้มีพระภาคได้ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว แม้วัจฉโคตรปริพาชก
ก็เลือกนั่ง ณ ที่สมควร๑ที่ใดที่หนึ่งซึ่งต่ำกว่า แล้วได้กราบทูลว่า


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๑. จูฬวัจฉโคตตสูตร

“ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ว่า ‘พระสมณโคดมเป็นสัพพัญญู
มีปกติเห็นธรรมทั้งปวง ทรงปฏิญญาญาณทัสสนะ๑ อย่างเบ็ดเสร็จว่า ‘เมื่อเรา
เดินอยู่ หยุดอยู่ หลับอยู่ และตื่นอยู่ ญาณทัสสนะจะปรากฏต่อเนื่องตลอดไป’
ท่านผู้เจริญ ชนที่กล่าวอย่างนี้ว่า ‘พระสมณโคดมเป็นสัพพัญญู มีปกติเห็นธรรม
ทั้งปวง ทรงปฏิญญาญาณทัสสนะอย่างเบ็ดเสร็จว่า ‘เมื่อเราเดินอยู่ หยุดอยู่
หลับอยู่ และตื่นอยู่ ญาณทัสสนะจะปรากฏต่อเนื่องตลอดไป’ เป็นผู้กล่าวตาม
พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำอันไม่จริง
และชื่อว่ากล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผลละหรือ อนึ่ง ไม่มีบ้างหรือที่คำกล่าวเช่นนั้น
และคำที่กล่าวต่อ ๆ กันมา จะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “วัจฉะ ชนที่กล่าวอย่างนี้ว่า ‘พระสมณโคดม
เป็นสัพพัญญู’ มีปกติเห็นธรรมทั้งปวง ทรงปฏิญญาญาณทัสสนะอย่างเบ็ดเสร็จว่า
‘เมื่อเราเดินอยู่ หยุดอยู่ หลับอยู่ และตื่นอยู่ ญาณทัสสนะจะปรากฏต่อเนื่องตลอดไป’
ยังกล่าวไม่ตรงกับคำที่เรากล่าวแล้ว และชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยคำที่ไม่เป็นจริง ไม่มีจริง”

วิชชา ๓

[๑๘๖] วัจฉโคตรปริพาชกทูลถามว่า “ท่านผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลาย
จะอธิบายอย่างไร จึงจะชื่อว่าพูดตรงตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่
พระผู้มีพระภาคด้วยคำเท็จและชื่อว่ากล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผลละหรือ อนึ่ง ไม่มี
บ้างหรือที่คำกล่าวเช่นนั้นและคำที่กล่าวต่อ ๆ กันมาจะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “วัจฉะ บุคคลผู้อธิบายว่า ‘พระสมณโคดมเป็น
ผู้มีวิชชา๒ ๓’ ชื่อว่าเป็นผู้พูดตรงตามที่เรากล่าวไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยคำเท็จ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๑. จูฬวัจฉโคตตสูตร

ชื่อว่ากล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผล อนึ่ง ไม่มีเลยที่คำกล่าวเช่นนั้นและคำที่กล่าวต่อ ๆ
กันมาจะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้
เมื่อไรก็ตามที่เราต้องการจะรู้ เราย่อมระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง
๒ ชาติบ้าง ฯลฯ๑ เราระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและ
ชีวประวัติอย่างนี้
เราเพียงต้องการจะรู้เท่านั้น เราก็เห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้น
ต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์
ฯลฯ๒ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม อย่างนี้แล
เราทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ๓ อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
วัจฉะ บุคคลผู้อธิบายว่า ‘พระสมณโคดมเป็นผู้มีวิชชา ๓’ ชื่อว่าเป็นผู้พูดตรง
ตามที่เรากล่าวไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยคำเท็จ และชื่อว่ากล่าวแก้อย่างสมเหตุ
สมผล อนึ่ง ไม่มีเลยที่คำกล่าวเช่นนั้นและคำที่กล่าวต่อ ๆ กันมา จะเป็นเหตุให้ถูก
ตำหนิได้”

ลัทธิเดียรถีย์ว่างจากคุณความดี

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว วัจฉโคตรปริพาชกได้ทูลถามพระผู้มี
พระภาคว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม คฤหัสถ์บางคน ผู้ยังละสังโยชน์ของคฤหัสถ์๔
ไม่ได้ หลังจากตายแล้วทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ มีอยู่หรือ”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๑. จูฬวัจฉโคตตสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “วัจฉะ คฤหัสถ์ที่ยังละสังโยชน์ของคฤหัสถ์ไม่ได้
หลังจากตายแล้วย่อมทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ไม่มีเลย”
“คฤหัสถ์บางคนยังละสังโยชน์ของคฤหัสถ์ไม่ได้ หลังจากตายแล้วไปเกิดใน
สวรรค์มีอยู่หรือ ท่านพระโคดม”
“คฤหัสถ์ผู้ยังละสังโยชน์ของคฤหัสถ์ไม่ได้ หลังจากตายแล้ว จะไปเกิดในสวรรค์นั้น
มิใช่มีเพียง ๑๐๐ คน ๒๐๐ คน ๓๐๐ คน ๔๐๐ คน หรือ ๕๐๐ คนเท่านั้น
ความจริงแล้วมีอยู่จำนวนมากทีเดียว”
“อาชีวกบางคนหลังจากตายแล้ว จะทำที่สุดแห่งทุกข์๑ได้ มีอยู่หรือ ท่าน
พระโคดม”
“อาชีวกบางคน หลังจากตายแล้วจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ไม่มีเลย”
“อาชีวกบางคนหลังจากตายแล้ว จะไปเกิดในสวรรค์ มีอยู่หรือ ท่านพระโคดม”
“จากภัทรกัปนี้ไป ๙๑ กัปที่เราระลึกได้ เราไม่รู้จักอาชีวกคนอื่นผู้ไปเกิดใน
สวรรค์ นอกจากอาชีวกเพียงคนเดียวผู้เป็นกรรมวาที๒ เป็นกิริยวาที๓”
“ท่านพระโคดม เมื่อเป็นอย่างนี้ ลัทธิเดียรถีย์ก็เป็นลัทธิที่ว่างเปล่าจาก
คุณความดี โดยที่สุดแม้แต่คุณความดีที่จะให้ไปเกิดในสวรรค์”
“อย่างนั้น วัจฉะ เมื่อเป็นอย่างนี้ ลัทธิเดียรถีย์นั้นเป็นลัทธิที่ว่างเปล่าจาก
คุณความดี โดยที่สุดแม้แต่คุณความดีที่จะให้ไปเกิดในสวรรค์”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว วัจฉโคตรปริพาชกมีใจยินดีชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

จูฬวัจฉโคตตสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๒. อัคคิวัจฉโคตตสูตร

๒. อัคคิวัจฉโคตตสูตร
ว่าด้วยทรงแสดงเรื่องไฟแก่ปริพาชกชื่อวัจฉโคตร
ทิฏฐิ ๑๐ ประการ

[๑๘๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล ปริพาชกชื่อวัจฉโคตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกัน
แล้วจึงนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า '‘ข้าแต่ท่านพระโคดม ท่าน
พระโคดมทรงมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ หรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “วัจฉะ เราไม่มีทิฏฐิอย่างนั้นว่า ‘โลกเที่ยง
นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”
“ท่านพระโคดมทรงมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘โลกไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น
ไม่จริง’ หรือ”
“เราไม่มีทิฏฐิอย่างนั้นว่า ‘โลกไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”
“ท่านพระโคดมทรงมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘โลกมีที่สุด นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น
ไม่จริง’ หรือ”
“เราไม่มีทิฏฐิอย่างนั้นว่า ‘โลกมีที่สุด นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”
“ท่านพระโคดมทรงมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘โลกไม่มีที่สุด นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น
ไม่จริง’ หรือ”
“เราไม่มีทิฏฐิอย่างนั้นว่า ‘โลกไม่มีที่สุด นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”
“ท่านพระโคดมทรงมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ชีวะ๑กับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน นี้เท่านั้นจริง
อย่างอื่นไม่จริง’ หรือ”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๒. อัคคิวัจฉโคตตสูตร

“เราไม่มีทิฏฐิอย่างนั้นว่า ‘ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน นี้เท่านั้นจริง
อย่างอื่นไม่จริง”
“ท่านพระโคดมทรงมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน นี้เท่านั้นจริง
อย่างอื่นไม่จริง’ หรือ”
“เราไม่มีทิฏฐิอย่างนั้นว่า ‘ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น
ไม่จริง''
“ท่านพระโคดมทรงมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคต๑เกิดอีก นี้เท่านั้น
จริง อย่างอื่นไม่จริง’ หรือ”
“เราไม่มีทิฏฐิอย่างนั้นว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น
ไม่จริง”
“ท่านพระโคดมทรงมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก
นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ หรือ”
“เราไม่มีทิฏฐิอย่างนั้นว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก นี้เท่านั้นจริง
อย่างอื่นไม่จริง”
“ท่านพระโคดมทรงมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกและไม่
เกิดอีก๒ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ หรือ”
“เราไม่มีทิฏฐิอย่างนั้นว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก
นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”
“ข้าแต่ท่านพระโคดม ท่านพระโคดมทรงมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘หลังจากตายแล้ว
ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่๓ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ หรือ”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๒. อัคคิวัจฉโคตตสูตร

“วัจฉะ เราไม่มีทิฏฐิอย่างนั้นว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะ
ว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”
[๑๘๘] วัจฉโคตรปริพาชกทูลถามว่า “เมื่อข้าพระองค์ทูลถามดังนี้ว่า ‘ข้าแต่
ท่านพระโคดม ท่านพระโคดมทรงมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น
ไม่จริง’ หรือ’ พระองค์ก็ตรัสตอบว่า ‘วัจฉะ เราไม่มีทิฏฐิอย่างนั้นว่า ‘โลกเที่ยง
นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
เมื่อข้าพระองค์ทูลถามดังนี้ว่า ‘ท่านพระโคดมทรงมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘โลกไม่เที่ยง
นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ หรือ’ พระองค์ก็ตรัสตอบว่า ‘เราไม่มีทิฏฐิอย่างนั้นว่า
‘โลกไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
เมื่อข้าพระองค์ทูลถามดังนี้ว่า ‘ท่านพระโคดมทรงมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘โลกมีที่สุด
นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ หรือ’ พระองค์ก็ตรัสตอบว่า ‘เราไม่มีทิฏฐิอย่างนั้นว่า
‘โลกมีที่สุด นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
เมื่อข้าพระองค์ทูลถามดังนี้ว่า ‘ท่านพระโคดมทรงมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘โลกไม่มี
ที่สุด นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ หรือ’ พระองค์ก็ตรัสตอบว่า ‘เราไม่มีทิฏฐิ
อย่างนั้นว่า ‘โลกไม่มีที่สุด นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
เมื่อข้าพระองค์ทูลถามดังนี้ว่า ‘ท่านพระโคดมทรงมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ชีวะกับ
สรีระเป็นอย่างเดียวกัน นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ หรือ’ พระองค์ก็ตรัสตอบว่า
‘เราไม่มีทิฏฐิอย่างนั้นว่า ‘ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น
ไม่จริง’
เมื่อข้าพระองค์ทูลถามดังนี้ว่า ‘ท่านพระโคดมทรงมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ชีวะกับ
สรีระเป็นคนละอย่างกัน นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ หรือ’ พระองค์ก็ตรัสตอบว่า
เราไม่มีทิฏฐิอย่างนั้นว่า ‘ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น
ไม่จริง’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๒. อัคคิวัจฉโคตตสูตร

เมื่อข้าพระองค์ทูลถามดังนี้ว่า ‘ท่านพระโคดมทรงมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘หลังจาก
ตายแล้วตถาคตเกิดอีก นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ หรือ’ พระองค์ก็ตรัสตอบว่า
‘เราไม่มีทิฏฐิอย่างนั้นว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น
ไม่จริง’
เมื่อข้าพระองค์ทูลถามดังนี้ว่า ‘ท่านพระโคดมทรงมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘หลังจาก
ตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ หรือ’ พระองค์ก็ตรัสตอบว่า
‘เราไม่มีทิฏฐิอย่างนั้นว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น
ไม่จริง’
เมื่อข้าพระองค์ทูลถามดังนี้ว่า ‘ท่านพระโคดมทรงมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘หลังจาก
ตายแล้วตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ หรือ’ พระองค์ก็
ตรัสตอบว่า ‘เราไม่มีทิฏฐิอย่างนั้นว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก
นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
เมื่อข้าพระองค์ทูลถามดังนี้ว่า ‘ข้าแต่ท่านพระโคดม ท่านพระโคดมทรงมี
ทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่
นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ หรือ’ พระองค์ก็ตรัสตอบว่า ‘วัจฉะ เราไม่มีทิฏฐิ
อย่างนั้นว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่
นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ท่านพระโคดมทรงเห็นโทษอะไรหรือ จึงไม่ทรงยอมรับ
ทิฏฐิเหล่านี้ โดยประการทั้งปวง เช่นนี้”
[๑๘๙] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “วัจฉะ ทิฏฐิว่า ‘โลกเที่ยง’ นั้น เป็น
รกชัฏคือทิฏฐิ เป็นกันดารคือทิฏฐิ เป็นเสี้ยนหนามคือทิฏฐิ เป็นความดิ้นรนคือทิฏฐิ
เป็นสังโยชน์คือทิฏฐิ ก่อให้เกิดความทุกข์๑ ความลำบาก ความคับแค้น และความ
เร่าร้อน ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ
เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ และเพื่อนิพพาน ทิฏฐิว่า ‘โลกไม่เที่ยง’ ฯลฯ ‘โลกมีที่สุด’ ฯลฯ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๒. อัคคิวัจฉโคตตสูตร

‘โลกไม่มีที่สุด’ ฯลฯ ‘ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน’ ฯลฯ ‘ชีวะกับสรีระเป็นคนละ
อย่างกัน’ ฯลฯ ‘หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก’ ฯลฯ ‘หลังจากตายแล้วตถาคต
ไม่เกิดอีก’ ฯลฯ ‘หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก’ ฯลฯ ทิฏฐิว่า
‘หลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ นั้น เป็นรกชัฏ
คือทิฏฐิ เป็นกันดารคือทิฏฐิ เป็นเสี้ยนหนามคือทิฏฐิ เป็นความดิ้นรนคือทิฏฐิ เป็น
สังโยชน์คือทิฏฐิ ก่อให้เกิดความทุกข์ ความลำบาก ความคับแค้น และความ
เร่าร้อน ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ
เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ และเพื่อนิพพาน
วัจฉะ เราเห็นโทษนี้จึงไม่ยอมรับทิฏฐิเหล่านั้นโดยประการทั้งปวง อย่างนี้”
“ท่านพระโคดมทรงมีทิฏฐิบางอย่างหรือไม่”
“วัจฉะ คำว่า ‘ทิฏฐิ’ นั้น ตถาคตกำจัดได้แล้ว ตถาคตเห็นแล้วว่า ‘รูปเป็น
ดังนี้ ความเกิดแห่งรูปเป็นดังนี้ ความดับแห่งรูปเป็นดังนี้ เวทนาเป็นดังนี้ ความเกิด
แห่งเวทนาเป็นดังนี้ ความดับแห่งเวทนาเป็นดังนี้ สัญญาเป็นดังนี้ ความเกิดแห่ง
สัญญาเป็นดังนี้ ความดับแห่งสัญญาเป็นดังนี้ สังขารเป็นดังนี้ ความเกิดแห่งสังขาร
เป็นดังนี้ ความดับแห่งสังขารเป็นดังนี้ วิญญาณเป็นดังนี้ ความเกิดแห่งวิญญาณ
เป็นดังนี้ ความดับแห่งวิญญาณเป็นดังนี้’ เพราะฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า ‘ตถาคต
หลุดพ้นแล้วด้วยความไม่ถือมั่น เพราะความสิ้นไป เพราะความคลายไป เพราะ
ความดับ เพราะความสละ เพราะความสละคืน เพราะความไม่ถือมั่น อหังการ
มมังการ และมานานุสัย๑ทั้งปวง ที่เข้าใจแล้ว ย่ำยีได้แล้วทั้งหมด”

ปัญหาเรื่องความหลุดพ้น

[๑๙๐] วัจฉโคตรปริพาชกทูลถามว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ภิกษุผู้มีจิต
หลุดพ้นแล้วอย่างนี้ จะเกิด ณ ที่ไหน”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “วัจฉะ คำว่า ‘เกิด’ นำมาใช้ไม่ได้”
“ถ้าเช่นนั้น ภิกษุนั้นจะไม่เกิดหรือ ท่านพระโคดม”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๒. อัคคิวัจฉโคตตสูตร

“คำว่า ‘ไม่เกิด’ นำมาใช้ไม่ได้”
“ถ้าเช่นนั้น ภิกษุนั้นเกิดและไม่เกิดหรือ ท่านพระโคดม”
“คำว่า ‘เกิดและไม่เกิด’ นำมาใช้ไม่ได้”
“ถ้าเช่นนั้น ภิกษุนั้นจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่หรือ ท่าน
พระโคดม”
“คำว่า ‘จะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ นำมาใช้ไม่ได้”
“เมื่อข้าพระองค์ทูลถามดังนี้ว่า ‘ข้าแต่ท่านพระโคดม ภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้ว
อย่างนี้ จะเกิด ณ ที่ไหน’ พระองค์ก็ตรัสตอบว่า ‘คำว่า ‘เกิด’ นำมาใช้ไม่ได้’
เมื่อข้าพระองค์ทูลถามดังนี้ว่า ‘ถ้าเช่นนั้น ภิกษุนั้นจะไม่เกิดหรือ ท่านพระ-
โคดม’ พระองค์ก็ตรัสตอบว่า ‘คำว่า ‘ไม่เกิด’ นำมาใช้ไม่ได้’
เมื่อข้าพระองค์ทูลถามดังนี้ว่า ‘ถ้าเช่นนั้น ภิกษุนั้นเกิดและไม่เกิดหรือ ท่าน
พระโคดม’ พระองค์ก็ตรัสตอบว่า ‘คำว่า ‘เกิดและไม่เกิด’ นำมาใช้ไม่ได้’
เมื่อข้าพระองค์ทูลถามดังนี้ว่า ‘ถ้าเช่นนั้น ภิกษุนั้นจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่า
ไม่เกิดอีกก็มิใช่หรือ ท่านพระโคดม’ พระองค์ก็ตรัสตอบว่า ‘คำว่า ‘จะว่าเกิดอีก
ก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ นำมาใช้ไม่ได้’
ข้าแต่ท่านพระโคดม ในข้อนี้ ข้าพระองค์ไม่รู้แล้ว ในข้อนี้ ข้าพระองค์หลง
ไปแล้ว ความเลื่อมใสซึ่งมีอยู่บ้างจากการสนทนาปราศรัยกับท่านพระโคดมใน
ตอนแรก บัดนี้ได้หมดสิ้นไปแล้ว”
“วัจฉะ ควรแล้วที่ท่านจะไม่รู้ ควรแล้วที่ท่านจะหลง เพราะว่าธรรมนี้๑ลึกซึ้ง
เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต ไม่ใช่ธรรมที่จะหยั่งถึงได้ด้วยความตรึก


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๒. อัคคิวัจฉโคตตสูตร

ละเอียด เฉพาะบัณฑิตจึงจะรู้ได้ ธรรมนั้นผู้มีความเห็นเป็นอย่างอื่น มีความพอใจ
เป็นอย่างอื่น มีความชอบใจเป็นอย่างอื่น มีความเพียรในทางอื่น อยู่ในสำนักของ
อาจารย์อื่น รู้ได้ยาก
[๑๙๑] วัจฉะ เอาเถิด เราจะย้อนถามท่านในข้อนี้ ท่านเห็นควรอย่างไร
ก็พึงตอบอย่างนั้น ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ถ้าไฟลุกโพลงอยู่ต่อหน้าท่าน
ท่านรู้ได้ไหมว่า ‘ไฟนี้กำลังลุกโพลงต่อหน้าเรา”
“ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าไฟลุกโพลงต่อหน้าข้าพระองค์ ข้าพระองค์ก็รู้ได้ว่า
‘ไฟนี้ลุกโพลงอยู่ต่อหน้าข้าพระองค์”
“ถ้าใคร ๆ จะพึงถามท่านอย่างนี้ว่า ‘ไฟที่ลุกโพลงอยู่ต่อหน้าท่านนี้ อาศัยอะไร
จึงลุกโพลง’ ท่านถูกถามอย่างนี้แล้ว จะพึงตอบอย่างไร”
“ถ้าใคร ๆ ถามข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ‘ไฟที่ลุกโพลงอยู่ต่อหน้าท่านนี้ อาศัยอะไร
จึงลุกโพลง’ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้แล้ว ก็จะตอบอย่างนี้ว่า ‘ไฟที่ลุกโพลงอยู่
ต่อหน้าข้าพระองค์นี้ อาศัยเชื้อคือหญ้าและไม้จึงลุกโพลง ท่านพระโคดม”
“ถ้าไฟนั้นจะพึงดับไปต่อหน้าท่าน ท่านรู้ได้ไหมว่า ‘ไฟนี้ดับไปต่อหน้าท่านแล้ว”
“ถ้าไฟนั้นจะพึงดับไปต่อหน้าข้าพระองค์ ข้าพระองค์ก็รู้ได้ว่า ‘ไฟนี้ดับไปต่อหน้า
ข้าพระองค์แล้ว ท่านพระโคดม”
“วัจฉะ ถ้าใคร ๆ จะพึงถามท่านว่า ‘ไฟที่ดับไปแล้วต่อหน้าท่านนั้น ดับจาก
ทิศนี้แล้วไปยังทิศไหน คือ ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศใต้ หรือ ทิศเหนือ’
ท่านถูกถามอย่างนี้แล้วจะพึงตอบอย่างไร”
“ข้าแต่ท่านพระโคดม ไม่ควรถามเช่นนั้น เพราะไฟอาศัยเชื้อคือหญ้าและไม้จึง
ลุกโพลง แต่เพราะเชื้อนั้นถูกไฟเผามอดไหม้และเพราะไม่มีของอื่นเป็นเชื้อ ไฟนั้นจึง
นับได้ว่าไม่มีเชื้อ ดับสนิทแล้ว”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๒. อัคคิวัจฉโคตตสูตร

[๑๙๒] “วัจฉะ อย่างนั้นเหมือนกัน บุคคลเมื่อบัญญัติตถาคต๑ พึงบัญญัติ
ด้วยรูปใด รูปนั้นตถาคต๒ละได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดราก
ถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ตถาคตพ้นแล้วจากการ
เรียกว่ารูป มีคุณอันลึกล้ำ อันใคร ๆ ประมาณไม่ได้ หยั่งถึงได้ยาก เปรียบเหมือน
มหาสมุทร คำว่า ‘เกิด’ นำมาใช้ไม่ได้ คำว่า ‘ไม่เกิด’ นำมาใช้ไม่ได้ คำว่า ‘เกิด
และไม่เกิด’ นำมาใช้ไม่ได้ คำว่า ‘จะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็นำมา
ใช้ไม่ได้
บุคคลเมื่อบัญญัติตถาคต พึงบัญญัติด้วยเวทนาใด เวทนานั้น ตถาคตละ
ได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่
ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ตถาคตพ้นแล้วจากการเรียกว่าเวทนา มีคุณอันลึกล้ำ
อันใคร ๆ ประมาณไม่ได้ หยั่งถึงได้ยาก เปรียบเหมือนมหาสมุทร คำว่า ‘เกิด’
นำมาใช้ไม่ได้ คำว่า ‘ไม่เกิด’ นำมาใช้ไม่ได้ คำว่า ‘เกิดและไม่เกิด’ นำมาใช้
ไม่ได้ คำว่า ‘จะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็นำมาใช้ไม่ได้
บุคคลเมื่อบัญญัติตถาคต พึงบัญญัติด้วยสัญญาใด สัญญานั้น ตถาคต
ละได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่
พื้นที่ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ตถาคตพ้นแล้วจากการเรียกว่าสัญญา มีคุณอัน
ลึกล้ำอันใคร ๆ ประมาณไม่ได้ หยั่งถึงได้ยาก เปรียบเหมือนมหาสมุทร คำว่า
‘เกิด’ นำมาใช้ไม่ได้ คำว่า ‘ไม่เกิด’ นำมาใช้ไม่ได้ คำว่า ‘เกิดและไม่เกิด’ นำมาใช้
ไม่ได้ คำว่า ‘จะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็นำมาใช้ไม่ได้
บุคคลเมื่อบัญญัติตถาคต พึงบัญญัติด้วยสังขารใด สังขารนั้น ตถาคตละ
ได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่
ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ตถาคตพ้นแล้วจากการเรียกว่าสังขาร มีคุณอันลึกล้ำ
อันใคร ๆ ประมาณไม่ได้ หยั่งถึงได้ยาก เปรียบเหมือนมหาสมุทร คำว่า ‘เกิด’
นำมาใช้ไม่ได้ คำว่า ‘ไม่เกิด’ นำมาใช้ไม่ได้ คำว่า ‘เกิดและไม่เกิด’ นำมาใช้ไม่ได้
คำว่า ‘จะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็นำมาใช้ไม่ได้


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๒. อัคคิวัจฉโคตตสูตร

บุคคลเมื่อบัญญัติตถาคต พึงบัญญัติด้วยวิญญาณใด วิญญาณนั้น ตถาคตละ
ได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่
ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ตถาคตพ้นแล้วจากการเรียกว่าวิญญาณ มีคุณอันลึกล้ำ
อันใคร ๆ ประมาณไม่ได้ หยั่งถึงได้ยาก เปรียบเหมือนมหาสมุทร คำว่า ‘เกิด’
นำมาใช้ไม่ได้ คำว่า ‘ไม่เกิด’ นำมาใช้ไม่ได้ คำว่า ‘เกิดและไม่เกิด’ นำมาใช้ไม่ได้
คำว่า ‘จะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็นำมาใช้ไม่ได้”

วัจฉโคตรปริพาชกถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว วัจฉโคตรปริพาชกได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคว่า
“ข้าแต่ท่านพระโคดม ต้นสาละใหญ่ ในที่ใกล้บ้านหรือนิคม กิ่ง ใบ เปลือก
สะเก็ด และกระพี้ ของต้นสาละใหญ่นั้น จะหลุด ร่วง กระเทาะไป เพราะเป็นของ
ไม่เที่ยง สมัยต่อมา ต้นสาละใหญ่นั้น ก็ไร้กิ่ง ใบ เปลือก สะเก็ด และกระพี้ คงอยู่
แต่แก่นล้วน ๆ แม้ฉันใด ปาพจน์๑ของท่านพระโคดมก็ฉันนั้นเหมือนกัน ปราศจาก
กิ่ง ใบ เปลือก สะเก็ด และกระพี้ คงอยู่แต่คำอันเป็นแก่น๒ล้วน ๆ
ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่ท่าน
พระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านพระโคดมทรงประกาศธรรม
แจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด
บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’
ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดม พร้อมทั้งพระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะ
ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
จนตลอดชีวิต” ดังนี้แล

อัคคิวัจฉโคตตสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๓. มหาวัจฉโคตตสูตร

๓. มหาวัจฉโคตตสูตร
ว่าด้วยปริพาชกชื่อวัจฉโคตร สูตรใหญ่
เรื่องกุศลธรรมและอกุศลธรรม

[๑๙๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้นแล ปริพาชกชื่อวัจฉโคตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าพระองค์เคยสนทนากับท่านพระโคดมเป็นเวลานานมาแล้ว ขอประทาน
วโรกาส ขอท่านพระโคดมโปรดแสดงธรรมทั้งที่เป็นกุศลและเป็นอกุศลแก่ข้าพระองค์
โดยย่อเถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “วัจฉะ เราจะแสดงธรรมทั้งที่เป็นกุศลและเป็นอกุศล
แก่ท่านโดยย่อก็ได้ เราจะแสดงธรรมทั้งที่เป็นกุศลและเป็นอกุศลแก่ท่านโดยพิสดาร
ก็ได้ แต่เราจักแสดงธรรมทั้งที่เป็นกุศลและเป็นอกุศลแก่ท่านโดยย่อ ท่านจงฟัง จงใส่ใจ
ให้ดี เราจักกล่าว”
วัจฉโคตรปริพาชก ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
[๑๙๔] “วัจฉะ โลภะเป็นอกุศล อโลภะเป็นกุศล โทสะเป็นอกุศล อโทสะเป็น
กุศล โมหะเป็นอกุศล อโมหะเป็นกุศล รวมความว่า ธรรมที่เป็นอกุศลมี ๓ ประการ
ธรรมที่เป็นกุศลมี ๓ ประการ
ปาณาติบาต(การฆ่าสัตว์) เป็นอกุศล ปาณาติปาตา เวรมณี(การงดเว้นจากการ
ฆ่าสัตว์) เป็นกุศล
อทินนาทาน(การลักทรัพย์) เป็นอกุศล อทินนาทานา เวรมณี(การงดเว้นจาก
การลักทรัพย์) เป็นกุศล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๓. มหาวัจฉโคตตสูตร

กาเมสุมิจฉาจาร(การประพฤติผิดในกาม) เป็นอกุศล กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี
(การงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม) เป็นกุศล
มุสาวาท(การพูดเท็จ) เป็นอกุศล มุสาวาทา เวรมณี(การงดเว้นจากการ
พูดเท็จ) เป็นกุศล
ปิสุณาวาจา(การพูดส่อเสียด) เป็นอกุศล ปิสุณาย วาจาย เวรมณี(การงดเว้น
จากการพูดส่อเสียด) เป็นกุศล
ผรุสวาจา(การพูดคำหยาบ) เป็นอกุศล ผรุสาย วาจาย เวรมณี(การงดเว้น
จากการพูดคำหยาบ) เป็นกุศล
สัมผัปปลาปะ(การพูดเพ้อเจ้อ) เป็นอกุศล สัมผัปปลาปา เวรมณี(การงดเว้น
จากการพูดเพ้อเจ้อ) เป็นกุศล
อภิชฌา(ความเพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น) เป็นอกุศล อนภิชฌา(ความไม่
เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น) เป็นกุศล
พยาบาท(ความคิดร้าย) เป็นอกุศล อพยาบาท(ความไม่คิดร้าย) เป็นกุศล
มิจฉาทิฏฐิ(ความเห็นผิด) เป็นอกุศล สัมมาทิฏฐิ(ความเห็นชอบ) เป็นกุศล
รวมความว่า ธรรมที่เป็นอกุศลมี ๑๐ ประการ ธรรมที่เป็นกุศลมี ๑๐ ประการ
วัจฉะ เพราะภิกษุละตัณหาได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดราก
ถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ จึงเป็นอรหันตขีณาสพ
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำ๑เสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตน
โดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว๒ หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๓. มหาวัจฉโคตตสูตร

พุทธบริษัทผู้ทำให้แจ้งวิมุตติ

[๑๙๕] วัจฉโคตรปริพาชกทูลถามว่า “ยกเว้นท่านพระโคดม ภิกษุแม้รูป
หนึ่งผู้เป็นสาวกของท่านพระโคดม ผู้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ๑ อันไม่มี
อาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน มีอยู่หรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “วัจฉะ ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นสาวกของเรา ผู้ทำให้
แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน มิใช่มีเพียง ๑๐๐ รูป ๒๐๐ รูป ๓๐๐ รูป ๔๐๐ รูป ๕๐๐ รูป
ความจริงแล้วมีอยู่จำนวนมากทีเดียว”
“ยกเว้นท่านพระโคดม ยกเว้นภิกษุ ภิกษุณีแม้รูปหนึ่งผู้เป็นสาวิกาของท่าน
พระโคดม ผู้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน มีอยู่หรือ”
“ภิกษุณีทั้งหลายผู้เป็นสาวิกาของเรา ผู้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน มิใช่
มีเพียง ๑๐๐ รูป ๒๐๐ รูป ๓๐๐ รูป ๔๐๐ รูป ๕๐๐ รูป ความจริงแล้วมีอยู่
จำนวนมากทีเดียว”
“ยกเว้นท่านพระโคดม ยกเว้นภิกษุทั้งหลาย ยกเว้นภิกษุณีทั้งหลาย อุบาสก
แม้คนหนึ่งผู้เป็นสาวกของท่านพระโคดม ผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว เป็นเพื่อน
พรหมจารี เป็นโอปปาติกะ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป จะปรินิพพาน
ในภพนั้น ไม่กลับมาจากโลกนั้นอีก มีอยู่หรือ”
“อุบาสกทั้งหลายผู้เป็นสาวกของเรา ผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว เป็นเพื่อน
พรหมจารี เป็นโอปปาติกะ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป จะปรินิพพาน
ในภพนั้น ไม่กลับมาจากโลกนั้นอีก มิใช่มีเพียง ๑๐๐ คน ๒๐๐ คน ๓๐๐ คน
๔๐๐ คน ๕๐๐ คน ความจริงแล้วมีอยู่จำนวนมากทีเดียว”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๓. มหาวัจฉโคตตสูตร

“ยกเว้นท่านพระโคดม ยกเว้นภิกษุทั้งหลาย ยกเว้นภิกษุณีทั้งหลาย ยกเว้น
อุบาสกทั้งหลายผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว เป็นเพื่อนพรหมจารี อุบาสกแม้คนหนึ่ง
ผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว บริโภคกาม ทำตามคำสั่งสอน ทำถูกตามโอวาท
หมดความสงสัย ไม่มีคำถามใด ๆ มีความแกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อใครอีก ในหลัก
คำสอนของพระศาสดา มีอยู่หรือ”
“อุบาสกทั้งหลายผู้เป็นสาวกของเรา ผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว บริโภคกาม
ทำตามคำสั่งสอน ทำถูกตามโอวาท หมดความสงสัย ไม่มีคำถามใด ๆ มีความ
แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อใครอีก ในหลักคำสอนของพระศาสดา มิใช่มีเพียง ๑๐๐ คน
๒๐๐ คน ๓๐๐ คน ๔๐๐ คน ๕๐๐ คน ความจริงแล้วมีอยู่จำนวนมากทีเดียว”
“ยกเว้นท่านพระโคดม ยกเว้นภิกษุทั้งหลาย ยกเว้นภิกษุณีทั้งหลาย ยกเว้น
อุบาสกทั้งหลายผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว เป็นเพื่อนพรหมจารี ยกเว้นอุบาสก
ทั้งหลายผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว บริโภคกาม อุบาสิกาแม้คนหนึ่งผู้เป็นสาวิกา
ของท่านพระโคดม ผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว เป็นเพื่อนพรหมจาริณี เป็น
โอปปาติกะ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป จะปรินิพพานในภพนั้น
ไม่กลับมาจากโลกนั้นอีก มีอยู่หรือ”
“อุบาสิกาทั้งหลายผู้เป็นสาวิกาของเรา ผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว เป็น
เพื่อนพรหมจาริณี เป็นโอปปาติกะ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป
จะปรินิพพานในภพนั้น ไม่กลับมาจากโลกนั้นอีก มิใช่มีเพียง ๑๐๐ คน ๒๐๐ คน
๓๐๐ คน ๔๐๐ คน ๕๐๐ คน ความจริงแล้วมีอยู่จำนวนมากทีเดียว”
“ยกเว้นท่านพระโคดม ยกเว้นภิกษุทั้งหลาย ยกเว้นภิกษุณีทั้งหลาย ยกเว้น
อุบาสกทั้งหลายผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว เป็นเพื่อนพรหมจารี ยกเว้นอุบาสก
ทั้งหลายผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว บริโภคกาม ยกเว้นพวกอุบาสิกาผู้เป็น
คฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว เป็นเพื่อนพรหมจาริณี อุบาสิกาแม้คนหนึ่งผู้เป็นสาวิกา
ของท่านพระโคดมผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว บริโภคกาม ทำตามคำสั่งสอน
ทำถูกตามโอวาท หมดความสงสัย ไม่มีคำถามใด ๆ มีความแกล้วกล้า ไม่ต้อง
เชื่อใครอีก ในหลักคำสอนของพระศาสดาของตน มีอยู่หรือ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๓. มหาวัจฉโคตตสูตร

“วัจฉะ อุบาสิกาทั้งหลายผู้เป็นสาวิกาของเรา ผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว
บริโภคกาม ทำตามคำสั่งสอน ทำถูกตามโอวาท หมดความสงสัย ไม่มีคำถาม
ใด ๆ มีความแกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อใครอีก ในหลักคำสอนของพระศาสดา มิใช่มีเพียง
๑๐๐ คน ๒๐๐ คน ๓๐๐ คน ๔๐๐ คน ๕๐๐ คน ความจริงแล้วมีอยู่จำนวนมาก
ทีเดียว”

การบำเพ็ญธรรมให้บริบูรณ์

[๑๙๖] วัจฉโคตรปริพาชกทูลถาม(ต่อไป)ว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าท่าน
พระโคดมเท่านั้นได้ทรงบำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ แต่พวกภิกษุจักไม่ได้บำเพ็ญให้
บริบูรณ์ ด้วยเหตุนั้น พรหมจรรย์นี้อาจจะไม่บริบูรณ์เช่นนี้ แต่เพราะท่านพระโคดม
ทรงบำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ และพวกภิกษุก็บำเพ็ญให้บริบูรณ์ ด้วยเหตุนั้น พรหมจรรย์
นี้จึงบริบูรณ์ได้เช่นนี้
ถ้าท่านพระโคดมได้ทรงบำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ และพวกภิกษุได้บำเพ็ญให้
บริบูรณ์ แต่พวกภิกษุณีไม่ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ ด้วยเหตุนั้น พรหมจรรย์นี้อาจจะ
ไม่บริบูรณ์เช่นนี้ แต่เพราะท่านพระโคดมทรงบำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ และพวกภิกษุ
ก็ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ ทั้งพวกภิกษุณีก็บำเพ็ญให้บริบูรณ์ ด้วยเหตุนั้น พรหมจรรย์
นี้จึงบริบูรณ์ได้เช่นนี้
ถ้าท่านพระโคดมได้ทรงบำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ พวกภิกษุได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์
และทั้งพวกภิกษุณีก็ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ แต่พวกอุบาสกผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว
เป็นเพื่อนพรหมจารี ไม่บำเพ็ญให้บริบูรณ์ ด้วยเหตุนั้น พรหมจรรย์นี้อาจจะไม่บริบูรณ์
เช่นนี้ แต่เพราะท่านพระโคดมได้บำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ พวกภิกษุได้บำเพ็ญให้
บริบูรณ์ พวกภิกษุณีได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ และพวกอุบาสกผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว
เป็นเพื่อนพรหมจารี ก็ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ ด้วยเหตุนั้น พรหมจรรย์นี้จึงบริบูรณ์ได้
เช่นนี้
ถ้าท่านพระโคดมได้ทรงบำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ พวกภิกษุได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์
พวกภิกษุณีได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ และพวกอุบาสกผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๓. มหาวัจฉโคตตสูตร

เป็นเพื่อนพรหมจารี ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ แต่พวกอุบาสกผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาว
ห่มขาว บริโภคกาม ไม่ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ ด้วยเหตุนั้น พรหมจรรย์นี้อาจจะไม่
บริบูรณ์เช่นนี้ แต่เพราะท่านพระโคดมได้ทรงบำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ พวกภิกษุ
ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกภิกษุณีได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกอุบาสกผู้เป็นคฤหัสถ์
นุ่งขาวห่มขาว เป็นเพื่อนพรหมจารี ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ และพวกอุบาสกผู้เป็น
คฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว บริโภคกามก็ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ ด้วยเหตุนั้น พรหมจรรย์
นี้จึงบริบูรณ์ได้เช่นนี้
ถ้าท่านพระโคดมได้ทรงบำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ พวกภิกษุได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์
พวกภิกษุณีได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกอุบาสกผู้เป็นคฤหัสถ์นุ่งขาวห่มขาว เป็นเพื่อน
พรหมจารี ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ และพวกอุบาสกผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว
บริโภคกาม ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ แต่พวกอุบาสิกาผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว
เป็นเพื่อนพรหมจาริณี ไม่ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ ด้วยเหตุนั้น พรหมจรรย์นี้อาจจะ
ไม่บริบูรณ์เช่นนี้ แต่เพราะท่านพระโคดมได้ทรงบำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ พวกภิกษุ
ได้บำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ พวกภิกษุณีได้บำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ พวกอุบาสก
ผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว เป็นเพื่อนพรหมจารี ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกอุบาสก
ผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว บริโภคกาม ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ และพวกอุบาสิกา
ผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว เป็นเพื่อนพรหมจาริณี ก็ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ ด้วยเหตุนั้น
พรหมจรรย์นี้จึงบริบูรณ์ได้เช่นนี้
ถ้าท่านพระโคดมได้ทรงบำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ พวกภิกษุได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์
พวกภิกษุณีได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกอุบาสกผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว เป็นเพื่อน
พรหมจารี ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกอุบาสกผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว บริโภคกาม
ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ และพวกอุบาสิกาผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว เป็นเพื่อน
พรหมจาริณี ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ แต่พวกอุบาสิกาผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว
บริโภคกาม ไม่ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ ด้วยเหตุนั้น พรหมจรรย์นี้อาจจะไม่บริบูรณ์
เช่นนี้
แต่เพราะท่านพระโคดมได้ทรงบำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ พวกภิกษุได้บำเพ็ญ
ให้บริบูรณ์ พวกภิกษุณีได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกอุบาสกผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๓. มหาวัจฉโคตตสูตร

ห่มขาว เป็นเพื่อนพรหมจารี ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกอุบาสกผู้เป็นคฤหัสถ์
นุ่งขาวห่มขาว บริโภคกาม ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกอุบาสิกาผู้เป็นคฤหัสถ์
นุ่งขาวห่มขาว เป็นเพื่อนพรหมจาริณี ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ และพวกอุบาสิกา
ผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว บริโภคกาม ก็ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ ด้วยเหตุนั้น
พรหมจรรย์นี้จึงบริบูรณ์ได้เช่นนี้

วัจฉโคตรปริพาชกขอบรรพชา

[๑๙๗] ข้าแต่ท่านพระโคดม แม่น้ำคงคามีแต่จะไหลหลั่งล้นไปสู่มหาสมุทร
รวมกันอยู่ในมหาสมุทร แม้ฉันใด บริษัทของท่านพระโคดมซึ่งมีทั้งคฤหัสถ์และ
บรรพชิตก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีแต่มุ่งไป ก้าวไป และดำเนินไปสู่นิพพาน บรรลุ
นิพพานอยู่ ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่
ท่านพระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านพระโคดมทรงประกาศ
ธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด
บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’
ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดม พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ
ขอข้าพระองค์พึงได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของท่านพระโคดมเถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “วัจฉะ ผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์ประสงค์จะบรรพชา
อุปสมบทในธรรมวินัยนี้ จะต้องอยู่ปริวาส๑ ๔ เดือน หลังจาก ๔ เดือนล่วงไปแล้ว
เมื่อภิกษุทั้งหลายเต็มใจจึงจะให้บรรพชาอุปสมบทเป็นภิกษุได้ อนึ่ง ในเรื่องนี้ เราคำนึง
ถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลด้วย”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หากผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์ประสงค์จะบรรพชาอุปสมบท
ในพระธรรมวินัยนี้ จะต้องอยู่ปริวาส ๔ เดือน หลังจาก ๔ เดือนล่วงไปแล้ว


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๓. มหาวัจฉโคตตสูตร

เมื่อภิกษุทั้งหลายพอใจก็จะให้บรรพชาอุปสมบทเป็นภิกษุ ข้าพระองค์จักขออยู่ปริวาส
๔ ปี หลังจาก ๔ ปีล่วงไปแล้ว เมื่อภิกษุทั้งหลายพอใจก็จงให้บรรพชาอุปสมบท
เป็นภิกษุเถิด”
วัจฉโคตรปริพาชกได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคแล้ว

สมถวิปัสสนา

ท่านพระวัจฉโคตรอุปสมบทแล้วไม่นาน คืออุปสมบทได้กึ่งเดือน ก็ได้เข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผล ๓ เบื้องต่ำมีประมาณเท่าใดซึ่งบุคคลจะพึงบรรลุด้วย
ญาณของพระเสขะ และด้วยวิชชาของพระเสขะ๑ ผลนั้นทั้งหมดข้าพระองค์บรรลุแล้ว
ขอพระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมที่ยิ่งขึ้นไปแก่ข้าพระองค์เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “วัจฉะ ถ้าเช่นนั้น เธอจงเจริญธรรม ๒ ประการ คือ
(๑) สมถะ (๒) วิปัสสนา ให้ยิ่งขึ้นไปเถิด ธรรม ๒ ประการ คือ (๑) สมถะ (๒) วิปัสสนา
นี้ซึ่งเธอเจริญให้ยิ่งขึ้นไปแล้ว จักเป็นไปเพื่อรู้แจ้งธรรมธาตุหลายประการ

อภิญญา ๖

[๑๙๘] วัจฉะ เธออาจจะหวังว่า ‘เราควรบรรลุอิทธิวิธญาณแสดงฤทธิ์ได้
หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้
แสดงให้ปรากฏ หรือให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา กำแพง (และ)ภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือน
ไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นหรือดำลงในแผ่นดินเหมือนไปในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำโดยที่น้ำ
ไม่แยกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ นั่งขัดสมาธิเหาะไปในอากาศเหมือนนกบินไปก็ได้
ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ อันมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากก็ได้ ใช้อำนาจ
ทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้’


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๓. มหาวัจฉโคตตสูตร

เมื่อมีเหตุ๑อยู่ เธอก็จักบรรลุความเป็นผู้สามารถในอิทธิวิธญาณแสดงฤทธิ์ได้
หลายอย่างนั้นได้แน่ (๑)
เธออาจจะหวังว่า ‘เราควรได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ (๑) เสียงทิพย์ (๒) เสียง
มนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและอยู่ใกล้ด้วยหูทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์’
เมื่อมีเหตุอยู่ เธอจักบรรลุความเป็นผู้สามารถในทิพพโสตธาตุได้แน่ (๒)
เธออาจจะหวังว่า ‘เราพึงกำหนดรู้จิตของสัตว์ และบุคคลอื่นได้ด้วยจิตของตน คือ
จิตมีราคะก็รู้ว่า ‘จิตมีราคะ’ หรือจิตปราศจากราคะก็รู้ว่า ‘จิตปราศจากราคะ’
จิตมีโทสะก็รู้ว่า ‘จิตมีโทสะ’ หรือจิตปราศจากโทสะก็รู้ว่า ‘จิตปราศจากโทสะ’
จิตมีโมหะก็รู้ว่า ‘จิตมีโมหะ’ หรือจิตปราศจากโมหะก็รู้ว่า ‘จิตปราศจากโมหะ’
จิตหดหู่ก็รู้ว่า ‘จิตหดหู่’ หรือจิตฟุ้งซ่านก็รู้ว่า ‘จิตฟุ้งซ่าน’
จิตเป็นมหัคคตะ๒(จิตถึงความเป็นใหญ่)ก็รู้ว่า ‘จิตเป็นมหัคคตะ’ หรือจิตไม่
เป็นมหัคคตะก็รู้ว่า ‘จิตไม่เป็นมหัคคตะ’
จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่า ‘จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า’ หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่า
‘จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า’
จิตเป็นสมาธิก็รู้ว่า ‘จิตเป็นสมาธิ’ หรือจิตไม่เป็นสมาธิก็รู้ว่า ‘จิตไม่เป็นสมาธิ’
จิตหลุดพ้นก็รู้ว่า ‘จิตหลุดพ้น’ หรือจิตไม่หลุดพ้นก็รู้ว่า ‘จิตไม่หลุดพ้น’
เมื่อมีเหตุอยู่ เธอก็จักบรรลุความเป็นผู้สามารถในเจโตปริยญาณนั้นได้แน่ (๓)
เธออาจจะหวังว่า ‘เราควรระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง
๓ ชาติบ้าง ๔ ชาติบ้าง ๕ ชาติบ้าง ๑๐ ชาติบ้าง ๒๐ ชาติบ้าง ๓๐ ชาติบ้าง
๔๐ ชาติบ้าง ๕๐ ชาติบ้าง ๑๐๐ ชาติบ้าง ๑,๐๐๐ ชาติบ้าง ๑๐๐,๐๐๐ ชาติบ้าง


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๓. มหาวัจฉโคตตสูตร

ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัป
และวิวัฏฏกัป๑เป็นอันมากบ้างว่า ‘ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ
มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้น ก็ไปเกิดในภพโน้น
แม้ในภพนั้นเราก็มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์และ
มีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นจึงมาเกิดในภพนี้’ เราระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ
พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้’
เมื่อมีเหตุอยู่ เธอจักบรรลุความเป็นผู้สามารถในปุพเพนิวาสานุสสติญาณนั้น
ได้แน่ (๔)
เธออาจจะหวังว่า ‘เราควรเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและ
ชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัด
ถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า ‘หมู่สัตว์ที่ประกอบกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต
กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นผิด และชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นผิด
พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปบังเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก๒ แต่หมู่สัตว์ที่
ประกอบกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต ไม่กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นชอบ
และชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นชอบ พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปบังเกิด
ในสุคติโลกสวรรค์’ เราเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและ
ไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดีด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไป
ตามกรรมอย่างนี้แล’
เมื่อมีเหตุอยู่ เธอจักบรรลุความเป็นผู้สามารถในจุตูปปาตญาณนั้นได้แน่ (๕)
วัจฉะ เธออาจจะหวังว่า ‘เราควรทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มี
อาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน’
เมื่อมีเหตุอยู่ เธอจักบรรลุความเป็นผู้สามารถในอาสวักขยญาณนั้นได้แน่” (๖)


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๓. มหาวัจฉโคตตสูตร

[๑๙๙] ครั้งนั้น ท่านพระวัจฉโคตรชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค
ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วหลีกออกไปอยู่
คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนัก ได้ทำให้แจ้ง
ประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวช
เป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ได้รู้ชัดว่า
‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความ
เป็นอย่างนี้อีกต่อไป๑’
ท่านพระวัจฉโคตรได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย
[๒๐๐] สมัยนั้น ภิกษุจำนวนมากพากันไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ท่านพระ
วัจฉโคตรได้เห็นภิกษุเหล่านั้นกำลังเดินมาแต่ไกล จึงเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นจนถึง
ที่อยู่ แล้วถามว่า “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พวกท่านกำลังจะไปไหนกัน”
ภิกษุเหล่านั้นตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ พวกเราจะไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค”
ท่านพระวัจฉโคตรกล่าวว่า “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น ขอพวกท่านจง
ถวายอภิวาทพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า และจงกราบทูลอย่างนี้
ตามคำของกระผมว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุชื่อวัจฉโคตรขอถวายอภิวาท
พระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า และขอกราบทูลอย่างนี้ว่า ‘ข้าพระ
องค์ได้ปรนนิบัติ๒พระผู้มีพระภาคแล้ว ข้าพระองค์ได้ปรนนิบัติพระสุคตแล้ว”
ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง
ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระวัจฉโคตร
ขอถวายอภิวาทพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า และขอให้กราบทูล
อย่างนี้ว่า ‘ข้าพระองค์ได้ปรนนิบัติพระผู้มีพระภาคแล้ว ข้าพระองค์ได้ปรนนิบัติ
พระสุคตแล้ว พระพุทธเจ้าข้า”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๔. ทีฆนขสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรากำหนดรู้จิตของภิกษุชื่อวัจฉ-
โคตรด้วยจิตของเราก่อนแล้วว่า ‘ภิกษุชื่อวัจฉโคตรเป็นผู้มีวิชชา ๓ มีฤทธิ์มาก
มีอานุภาพมาก’ แม้เทวดาทั้งหลายก็บอกเนื้อความนี้แก่เราแล้วว่า ‘ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ภิกษุชื่อวัจฉโคตรเป็นผู้มีวิชชา ๓ มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

มหาวัจฉโคตตสูตรที่ ๓ จบ

๔. ทีฆนขสูตร
ว่าด้วยปริพาชกชื่อทีฆนขะ

[๒๐๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ถ้ำสูกรขาตา ที่ภูเขาคิชฌกูฏ เขต
กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้นแล ปริพาชกชื่อทีฆนขะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกัน แล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ความจริง ข้าพระองค์มีวาทะ
อย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘สิ่งทั้งปวงไม่เป็นที่พอใจแก่เรา”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อัคคิเวสสนะ แม้ทิฏฐิของท่านที่ว่า ‘สิ่งทั้งปวงไม่
เป็นที่พอใจแก่เรา’ นั้น ก็ไม่น่าเป็นที่พอใจแก่ท่านด้วย”
“ท่านพระโคดม ข้าพระองค์ก็ยังพอใจทิฏฐินั้นว่า ‘แม้คำกล่าวนั้นก็จะพึงเป็น
เช่นนั้น แม้คำกล่าวนั้นก็จะพึงเป็นเช่นนั้น”
“อัคคิเวสสนะ คนเหล่าใดกล่าวอย่างนี้ว่า ‘แม้คำกล่าวนั้นก็จะพึงเป็นเช่นนั้น
แม้คำกล่าวนั้นก็จะพึงเป็นเช่นนั้น’ ในโลกนี้ คนเหล่านั้นละทิฏฐินั้นไม่ได้ และยังยึด
ถือทิฏฐิอื่นอยู่ คนเหล่านั้นมีจำนวนมากกว่าคนที่ละได้
คนเหล่าใดกล่าวอย่างนี้ว่า ‘แม้คำกล่าวนั้นก็จะพึงเป็นเช่นนั้น แม้คำกล่าวนั้น
ก็จะพึงเป็นเช่นนั้น’ ในโลกนี้ คนเหล่านั้นละทิฏฐินั้นได้ และไม่ยึดถือทิฏฐิอื่น คนเหล่านั้น
มีจำนวนน้อยกว่าคนที่ละไม่ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๔. ทีฆนขสูตร

ทิฏฐิเป็นเหตุให้เกิดวิวาท

มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘สิ่งทั้งปวงเป็นที่
พอใจแก่เรา’
มีสมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่งผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘สิ่งทั้งปวงไม่
เป็นที่พอใจแก่เรา’
มีสมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่งผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘บางสิ่งเป็นที่
พอใจแก่เรา บางสิ่งไม่เป็นที่พอใจแก่เรา’
บรรดาทิฏฐิเหล่านั้น ทิฏฐิของสมณพราหมณ์ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า
‘สิ่งทั้งปวงเป็นที่พอใจแก่เรา‘นั้น อยู่ใกล้ความกำหนัด ใกล้กิเลสเครื่องผูกสัตว์ไว้
ใกล้กิเลสเป็นเหตุเพลิดเพลิน ใกล้กิเลสเป็นเหตุเกาะติด ใกล้กิเลสเป็นเหตุยึดมั่น
อัคคิเวสสนะ บรรดาทิฏฐิเหล่านั้น ทิฏฐิของสมณพราหมณ์ผู้มีวาทะอย่างนี้
มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘สิ่งทั้งปวงไม่เป็นที่พอใจแก่เรา’ นั้น อยู่ใกล้ความไม่กำหนัด ใกล้ธรรม
เป็นเครื่องเปลื้องสัตว์ ใกล้ธรรมที่ไม่เป็นเหตุเพลิดเพลิน ใกล้ธรรมที่ไม่เป็นเหตุ
เกาะติด ใกล้ธรรมที่ไม่เป็นเหตุยึดมั่น”
[๒๐๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ทีฆนขปริพาชกได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า “ท่านพระโคดมยกย่องทิฏฐิของข้าพระองค์หรือ ท่านพระโคดม
ยกย่องทิฏฐิของข้าพระองค์หรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อัคคิเวสสนะ บรรดาทิฏฐิเหล่านั้น ทิฏฐิของสมณ-
พราหมณ์ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘บางสิ่งเป็นที่พอใจแก่เรา บางสิ่งไม่เป็น
ที่พอใจแก่เรา’ นั้น ส่วนที่เห็นว่าเป็นที่พอใจ อยู่ใกล้ความกำหนัด ใกล้กิเลสเป็น
เครื่องผูกสัตว์ไว้ ใกล้กิเลสเป็นเหตุเพลิดเพลิน ใกล้กิเลสเป็นเหตุเกาะติด ใกล้กิเลส
เป็นเหตุยึดมั่น ส่วนที่เห็นว่าไม่เป็นที่พอใจ อยู่ใกล้ความไม่กำหนัด ใกล้ธรรม
เป็นเครื่องเปลื้องสัตว์ ใกล้ธรรมที่ไม่เป็นเหตุเพลิดเพลิน ใกล้ธรรมที่ไม่เป็นเหตุ
เกาะติด ใกล้ธรรมที่ไม่เป็นเหตุยึดมั่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๔. ทีฆนขสูตร

บรรดาทิฏฐิเหล่านั้น ทิฏฐิของสมณพราหมณ์ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า
‘สิ่งทั้งปวงเป็นที่พอใจแก่เรา’ นั้น วิญญูชนย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘ถ้าเราจะ
ยึดมั่น ถือมั่นทิฏฐิของเราว่า ‘สิ่งทั้งปวงเป็นที่พอใจแก่เรา’ แล้วยืนยันอย่าง
แข็งขันว่า ‘นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ เราก็จะพึงถือผิดจากสมณพราหมณ์
๒ พวกนี้ คือ
๑. สมณะหรือพราหมณ์ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘สิ่งทั้งปวง
ไม่เป็นที่พอใจแก่เรา’
๒. สมณะหรือพราหมณ์ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘บางสิ่งเป็น
ที่พอใจแก่เรา บางสิ่งไม่เป็นที่พอใจแก่เรา’
เมื่อเราถือผิดจากสมณพราหมณ์ ๒ พวกนี้ ก็จะมีการทุ่มเถียงกัน เมื่อมี
การทุ่มเถียงกัน ก็จะมีการทำลายกัน เมื่อมีการทำลายกัน ก็จะมีการเบียดเบียนกัน
วิญญูชนนั้นเมื่อพิจารณาเห็นการถือผิดกัน การทุ่มเถียงกัน การทำลายกัน และการ
เบียดเบียนกันในตน จึงละทิฏฐินั้น และไม่ยึดถือทิฏฐิอื่น การละ การสลัดทิ้งทิฏฐิ
เหล่านั้น ย่อมมีได้ด้วยประการอย่างนี้
[๒๐๓] อัคคิเวสสนะ บรรดาทิฏฐิเหล่านั้น ทิฏฐิของสมณพราหมณ์ผู้มีวาทะ
อย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘สิ่งทั้งปวงไม่เป็นที่พอใจแก่เรา’ วิญญูชนย่อมพิจารณาเห็น
ดังนี้ว่า ‘ถ้าเรายึดมั่นถือมั่นทิฏฐิของเราว่า ‘สิ่งทั้งปวงไม่เป็นที่พอใจแก่เรา’ แล้วยืนยัน
อย่างแข็งขันว่า ‘นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ เราก็จะพึงถือผิดจากสมณพราหมณ์
๒ พวกนี้ คือ
๑. สมณะหรือพราหมณ์ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘สิ่งทั้งปวง
เป็นที่พอใจแก่เรา’
๒. สมณะหรือพราหมณ์ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘บางสิ่งเป็น
ที่พอใจแก่เรา บางสิ่งไม่เป็นที่พอใจแก่เรา’
เมื่อเราถือผิดจากสมณพราหมณ์ ๒ พวกนี้ ก็จะมีการทุ่มเถียงกัน เมื่อมีการ
ทุ่มเถียงกัน ก็จะมีการทำลายกัน เมื่อมีการทำลายกัน ก็จะมีการเบียดเบียนกัน
วิญญูชนนั้นเมื่อพิจารณาเห็นการถือผิดกัน การทุ่มเถียงกัน การทำลายกัน และการ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๔. ทีฆนขสูตร

เบียดเบียนกันในตน จึงละทิฏฐินั้น และไม่ยึดถือทิฏฐิอื่น การละ การสลัดทิ้งทิฏฐิ
เหล่านั้น ย่อมมีได้ด้วยประการอย่างนี้
[๒๐๔] อัคคิเวสสนะ บรรดาทิฏฐิเหล่านั้น ทิฏฐิของสมณพราหมณ์ผู้มีวาทะ
อย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘บางสิ่งเป็นที่พอใจแก่เรา บางสิ่งไม่เป็นที่พอใจแก่เรา’ นั้น
วิญญูชนย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘ถ้าเรายึดมั่นถือมั่นทิฏฐิของเราว่า ‘บางสิ่งเป็น
ที่พอใจแก่เรา บางสิ่งไม่เป็นที่พอใจแก่เรา’ แล้วยืนยันอย่างแข็งขันว่า ‘นี้เท่านั้นจริง
อย่างอื่นไม่จริง’ เราก็จะพึงถือผิดจากสมณพราหมณ์ ๒ พวกนี้ คือ
๑. สมณะหรือพราหมณ์ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘สิ่งทั้งปวง
เป็นที่พอใจแก่เรา’
๒. สมณะหรือพราหมณ์ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘สิ่งทั้งปวงไม่
เป็นที่พอใจแก่เรา’
เมื่อเราถือผิดจากสมณพราหมณ์ ๒ พวกนี้ ก็จะมีการทุ่มเถียงกัน เมื่อมีการ
ทุ่มเถียงกัน ก็จะมีการทำลายกัน เมื่อมีการทำลายกัน ก็จะมีการเบียดเบียนกัน
วิญญูชนนั้นเมื่อพิจารณาเห็นการถือผิดกัน การทุ่มเถียงกัน การทำลายกัน และ
การเบียดเบียนกันในตน จึงละทิฏฐินั้น และไม่ยึดถือทิฏฐิอื่น การละ การสลัดทิ้ง
ทิฏฐิเหล่านั้น ย่อมมีได้ด้วยประการอย่างนี้
[๒๐๕] อัคคิเวสสนะ รูปกายนี้เกิดจากมหาภูตรูป ๔ มีมารดาบิดาเป็น
แดนเกิด เติบโตด้วยข้าวสุกและขนมกุมมาส มีความไม่เที่ยง มีการไล้ทาบีบนวด แตก
สลาย และกระจัดกระจายไปเป็นธรรมดา ท่านควรพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่
เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดุจโรค เป็นดุจหัวฝี เป็นดุจลูกศร เป็นสิ่งคับแค้น เป็นสิ่ง
เบียดเบียน เป็นดุจผู้อื่น เป็นสิ่งที่ต้องแตกสลาย เป็นของว่างเปล่า เป็นอนัตตา เมื่อท่าน
พิจารณาเห็นกายนี้โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดุจโรค เป็นดุจหัวฝี เป็น
ดุจลูกศร เป็นสิ่งคับแค้น เป็นสิ่งเบียดเบียน เป็นดุจผู้อื่น เป็นสิ่งที่ต้องแตกสลาย
เป็นของว่างเปล่า เป็นอนัตตา ท่านย่อมละความพอใจในกาย ความเยื่อใยในกาย
และความยอมตามกายได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๔. ทีฆนขสูตร

เวทนา ๓

เวทนา ๓ ประการนี้ คือ
๑. สุขเวทนา
๒. ทุกขเวทนา
๓. อทุกขมสุขเวทนา

เมื่อใดบุคคลได้เสวยสุขเวทนา เมื่อนั้นเขาไม่ได้เสวยทุกขเวทนา ไม่ได้เสวย
อทุกขมสุขเวทนา ได้เสวยแต่สุขเวทนาเท่านั้น เมื่อใดบุคคลเสวยทุกขเวทนา เมื่อนั้น
เขาไม่ได้เสวยสุขเวทนา ไม่ได้เสวยอทุขมสุขเวทนา ได้เสวยแต่ทุกขเวทนาเท่านั้น
เมื่อใดบุคคลเสวยอทุกขมสุขเวทนา เมื่อนั้น เขาย่อมไม่ได้เสวยสุขเวทนา ไม่ได้เสวย
ทุกขเวทนา ได้เสวยแต่อทุกขมสุขเวทนาเท่านั้น
สุขเวทนาไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้น อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป
เสื่อมไป คลายไป และดับไปเป็นธรรมดา แม้ทุกขเวทนาก็ไม่เที่ยง ถูกปัจจัย
ปรุงแต่งขึ้น อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป และดับไปเป็น
ธรรมดา แม้อทุกขมสุขเวทนาก็ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้น อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น
มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป และดับไปเป็นธรรมดา
อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายสุขเวทนา ทุกข-
เวทนา และอทุกขมสุขเวทนา เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด
จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีก
ต่อไป’
อัคคิเวสสนะ ภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วอย่างนี้ย่อมไม่ทะเลาะวิวาททุ่มเถียงกับใคร ๆ
โวหารใดที่ชาวโลกนิยมพูดกันก็ไม่ยึดมั่นกล่าวไปตามโวหารนั้น”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๔. ทีฆนขสูตร

[๒๐๖] สมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรยืนถวายงานพัด ณ เบื้องพระปฤษฎางค์
พระผู้มีพระภาค ได้คิดว่า “ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคทรงรู้ยิ่งแล้ว ตรัสการละธรรม
เหล่านั้น ๆ แก่เราทั้งหลาย พระสุคตทรงรู้ยิ่งแล้ว ตรัสการสลัดทิ้งธรรมเหล่านั้น ๆ
แก่เราทั้งหลาย” เมื่อท่านพระสารีบุตรพิจารณาเห็นอยู่อย่างนี้ จิตก็หลุดพ้นจากอาสวะ
ทั้งหลาย ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน
ธรรมจักษุอันปราศจากธุลี และปราศจากมลทินได้เกิดขึ้นแล้วแก่ทีฆนข-
ปริพาชกว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความ
ดับไปเป็นธรรมดา๑”

ทีฆนขปริพาชกแสดงตนเป็นอุบาสก

ลำดับนั้น ทีฆนขปริพาชกเห็นธรรม บรรลุธรรม รู้ธรรม หยั่งลงสู่ธรรม
หมดความสงสัย ไม่มีคำถามใด ๆ มีความแกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อใครอีกในหลัก
คำสอนของพระศาสดา ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่ท่าน
พระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านพระโคดมทรงประกาศ
ธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด
บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’
ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดม พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอท่าน
พระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอด
ชีวิต” ดังนี้แล

ทีฆนขสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๕. มาคัณฑิยสูตร

๕. มาคัณฑิยสูตร
ว่าด้วยปริพาชกชื่อมาคัณฑิยะ

[๒๐๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับบนเครื่องปูลาดซึ่งทำด้วยหญ้า ในโรงบูชาไฟ
ของพราหมณ์ภารทวาชโคตร นิคมของชาวกุรุชื่อกัมมาสธัมมะ แคว้นกุรุ ครั้นเวลาเช้า
พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังนิคมชื่อ
กัมมาสธัมมะ ทรงเที่ยวบิณฑบาตในกัมมาสธัมมนิคมแล้ว เสด็จกลับจากบิณฑบาต
ภายหลังเสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว เสด็จเข้าไปยังราวป่าแห่งหนึ่งเพื่อประทับพักผ่อน
กลางวัน ได้ประทับนั่งพักผ่อนกลางวัน ณ โคนไม้แห่งหนึ่ง ลำดับนั้น ปริพาชกชื่อ
มาคัณฑิยะเดินเที่ยวเล่นอยู่ เข้าไปยังโรงบูชาไฟของพราหมณ์ภารทวาชโคตร ได้เห็น
เครื่องปูลาดทำด้วยหญ้าในโรงบูชาไฟของพราหมณ์ภารทวาชโคตร จึงถามว่า
“สหาย เครื่องปูลาดที่ทำด้วยหญ้าซึ่งปูลาดไว้ในโรงบูชาไฟของท่านภารทวาชะนี้
เป็นของใคร ดูเหมือนจะเป็นที่นอนของสมณะกระมัง”
ภารทวาชโคตรพราหมณ์ตอบว่า “ใช่ ท่านมาคัณฑิยะ พระสมณโคดมผู้
เป็นศากยบุตรออกผนวชจากศากยะตระกูล ท่านพระโคดมนั้นมีกิตติศัพท์อันงาม
ขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์
ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก
เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ ที่นอนนี้ปูลาดไว้สำหรับท่านพระโคดมนั้น”
“ท่านภารทวาชะ พวกเราผู้ที่ได้เห็นที่นอนของท่านพระโคดมผู้ทำลายความ
เจริญนั้น นับว่าได้เห็นสิ่งที่ไม่เป็นมงคล”
“ท่านมาคัณฑิยะ ท่านจงรักษาวาจานี้ไว้ ท่านมาคัณฑิยะ ท่านจงรักษา
วาจานี้ไว้ ความจริง กษัตริย์ผู้เป็นบัณฑิตก็ดี พราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตก็ดี คหบดีผู้
เป็นบัณฑิตก็ดี สมณะผู้เป็นบัณฑิตก็ดี มีจำนวนมาก พากันเลื่อมใสท่านพระสมณ-
โคดมพระองค์นั้นเป็นอย่างยิ่ง เพราะท่านพระสมณโคดมทรงแนะนำแต่ธรรมที่ทำให้
คนฉลาด รอบรู้ และเป็นอริยะ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๕. มาคัณฑิยสูตร

“ท่านภารทวาชะ ถ้าเราเผชิญหน้ากับท่านพระโคดมนั้น เราก็กล้าพูดต่อหน้า
ท่านพระโคดมว่า ‘พระสมณโคดมเป็นผู้ทำลายความเจริญ’ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะคำพูดอย่างนี้อยู่ในสูตรของเรา”
“ท่านมาคัณฑิยะ ถ้าการกล่าวคำนั้น ไม่เป็นการหนักใจแก่ท่านมาคัณฑิยะละก็
ข้าพเจ้าจักกราบทูลพระสมณโคดมพระองค์นั้นให้ทรงทราบ”
“ท่านภารทวาชะ อย่ากังวลเลย เราได้พูดไว้แล้ว เชิญท่านพูดกับพระสมณ-
โคดมนั้นเถิด”
[๒๐๘] พระผู้มีพระภาคทรงสดับคำสนทนานี้ของพราหมณ์ภารทวาชโคตร
กับมาคัณฑิยปริพาชกด้วยทิพพโสตอันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ครั้นเวลาเย็น พระผู้มี
พระภาค ทรงออกจากที่หลีกเร้น๑ เสด็จเข้าไปยังโรงบูชาไฟของพราหมณ์ภารทวาชโคตร
ประทับนั่งบนเครื่องปูลาดซึ่งทำด้วยหญ้าที่ปูลาดไว้แล้ว ลำดับนั้น พราหมณ์ภาร-
ทวาชโคตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ
พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว จึงนั่งอยู่ ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคตรัสกับพราหมณ์
ภารทวาชโคตรนั้นว่า “ภารทวาชะ ท่านกับมาคัณฑิยปริพาชกปรารภถึงเครื่องปูลาด
ซึ่งทำด้วยหญ้านี้ ได้เจรจาโต้ตอบกันอย่างไรบ้าง”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภารทวาชโคตรพราหมณ์ถึงกับตะลึง
ขนลุก ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าพระองค์ปรารถนาที่จะกราบทูลเรื่องนี้แก่
ท่านพระโคดมอยู่แล้ว แต่ท่านพระโคดมได้ตรัสถามก่อนที่ข้าพระองค์จะได้กราบทูล”
เมื่อพระผู้มีพระภาคกับพราหมณ์ภารทวาชโคตรสนทนากันค้างอยู่นั้น
มาคัณฑิยปริพาชกผู้กำลังเดินเที่ยวเล่นอยู่ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคที่โรงบูชาไฟ
ของพราหมณ์ภารทวาชโคตร ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึก
ถึงกันแล้วจึงนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับมาคัณฑิยปริพาชกว่า


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๕. มาคัณฑิยสูตร

ตรัสถามมาคัณฑิยปริพาชกเรื่องการสำรวมอินทรีย์

[๒๐๙] “มาคัณฑิยะ ตามีรูปเป็นที่ยินดี ยินดีแล้วในรูป อันรูปให้บันเทิงแล้ว
ตานั้นตถาคตฝึกดีแล้ว คุ้มครองดีแล้ว รักษาดีแล้ว สำรวมดีแล้ว อนึ่ง ตถาคต
ย่อมแสดงธรรมเพื่อสำรวมตานั้น
มาคันฑิยะ คำที่ท่านกล่าวว่า ‘พระสมณโคดมเป็นผู้ทำลายความเจริญ‘’ นั้น
ท่านคงจะหมายถึงความข้อนี้กระมัง”
มาคัณฑิยปริพาชกกราบทูลว่า “ท่านพระโคดม คำที่ข้าพระองค์กล่าวว่า
‘พระสมณโคดมเป็นผู้ทำลายความเจริญ’ นี้ ข้าพระองค์หมายถึงความข้อนั้นแล
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคำที่พูดอย่างนี้อยู่ในสูตรของข้าพระองค์”
“มาคัณฑิยะ หูมีเสียงเป็นที่ยินดี ฯลฯ จมูกมีกลิ่นเป็นที่ยินดี ฯลฯ ลิ้นมีรส
เป็นที่ยินดี ฯลฯ กายมีการสัมผัสเป็นที่ยินดี ฯลฯ ใจมีธรรมารมณ์เป็นที่ยินดี
ยินดีแล้วในธรรมารมณ์ อันธรรมารมณ์ให้บันเทิงแล้ว ใจนั้นตถาคตฝึกดีแล้ว
คุ้มครองดีแล้ว รักษาดีแล้ว สำรวมดีแล้ว อนึ่ง ตถาคตย่อมแสดงธรรมเพื่อ
สำรวมใจนั้น
มาคัณฑิยะ คำที่ท่านกล่าวว่า ‘พระสมณโคดมเป็นผู้ทำลายความเจริญ’ นั้น
ท่านคงจะหมายถึงความข้อนี้กระมัง”
“ท่านพระโคดม คำที่ข้าพระองค์กล่าวว่า ‘พระสมณโคดมเป็นผู้ทำลาย
ความเจริญ’ นี้ ข้าพระองค์หมายถึงความข้อนั้นแล ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคำ
ที่พูดอย่างนี้อยู่ในสูตรของข้าพระองค์”
[๒๑๐] “มาคัณฑิยะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คนบางคนในโลกนี้
เป็นผู้เคยได้รับการบำเรอด้วยรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด สมัยต่อมา เขารู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเป็นเครื่องสลัดออกไปได้ตามความเป็นจริง ละตัณหาในรูปได้ บรรเทา
ความเร่าร้อนที่เกิดเพราะรูปได้ เป็นผู้ปราศจากความกระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่
มาคัณฑิยะ ท่านมีอะไรที่จะกล่าวกับท่านผู้นี้เล่า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๕. มาคัณฑิยสูตร

“ท่านพระโคดม ข้าพระองค์ไม่มีอะไรที่จะกล่าว”
“มาคัณฑิยะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คนบางคนในโลกนี้เป็นผู้เคยได้รับ
การบำเรอด้วยเสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ ด้วยกลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ฯลฯ ด้วยรสที่พึง
รู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ ด้วยโผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด สมัยต่อมา เขารู้ความเกิด ความดับ คุณ
โทษ และอุบายเป็นเครื่องสลัดโผฏฐัพพะให้ออกไปได้ตามความเป็นจริง ละตัณหา
ในโผฏฐัพพะได้ บรรเทาความเร่าร้อนที่เกิดเพราะโผฏฐัพพะได้ เป็นผู้ปราศจากความ
กระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่ มาคัณฑิยะ ท่านมีอะไรที่จะกล่าวกับท่านผู้นี้เล่า”
“ท่านพระโคดม ข้าพระองค์ไม่มีอะไรที่จะกล่าว”
[๒๑๑] “มาคัณฑิยะ เมื่อก่อนเราเป็นคฤหัสถ์ครองเรือน เป็นผู้เอิ่บอิ่ม
พรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ประการ บำเรอตนอยู่ด้วยรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่า
ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด ฯลฯ ด้วยเสียง
ที่พึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ ด้วยกลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ฯลฯ ด้วยรสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น
ฯลฯ เมื่อก่อนเราเป็นคฤหัสถ์ครองเรือน เป็นผู้เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ
๕ ประการ บำเรอตนอยู่ด้วยโผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่
น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด ปราสาทของเรานั้นมีอยู่ถึง ๓ หลัง คือ
๑. ปราสาทหลังหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูฝน
๒. ปราสาทหลังหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูหนาว
๓. ปราสาทหลังหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูร้อน
เรานั้นไม่มีบุรุษเจือปน มีแต่สตรีคอยบำเรอขับกล่อมดนตรี อยู่ในปราสาทเป็นที่
อยู่ในฤดูฝนตลอด ๔ เดือน ไม่ได้ลงจากปราสาทเลย
สมัยต่อมา เรานั้นรู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องสลัด
กามทั้งหลายให้ออกไปได้ตามความเป็นจริง ละตัณหาในกามได้ บรรเทาความ
เร่าร้อนที่เกิดเพราะกามได้ เป็นผู้ปราศจากความกระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๕. มาคัณฑิยสูตร

เราเห็นหมู่สัตว์เหล่าอื่นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ถูกกามตัณหาเกาะกินอยู่
ถูกความเร่าร้อนที่เกิดเพราะกามแผดเผาอยู่ เสพกามอยู่ เราก็ไม่กระหยิ่มต่อสัตว์
เหล่านั้น ทั้งไม่ยินดีในกามนั้นด้วย
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเราเมื่อยินดีด้วยความยินดีที่เว้นจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย๑ อัน
เข้าถึงความสุขที่เป็นทิพย์ จึงไม่กระหยิ่มต่อความสุขขั้นต่ำ๒และไม่ยินดีในความสุข
ขั้นต่ำนั้น

เปรียบเทียบกามของมนุษย์กับกามทิพย์

[๒๑๒] มาคัณฑิยะ เปรียบเหมือนคหบดีหรือบุตรคหบดี เป็นผู้มั่งคั่ง
มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ประการ บำเรอตนอยู่
ด้วยรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่
พาใจให้กำหนัด ฯลฯ ด้วยเสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ ด้วยกลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก
ฯลฯ ด้วยรสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ คหบดีหรือบุตรคหบดี เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์
มาก มีโภคะมาก เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ประการ บำเรอตนอยู่
ด้วยโผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด เขาประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต หลังจากตาย
แล้วจะพึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ จะพึงไปเกิดในหมู่เทพชั้นดาวดึงส์ เทพบุตรนั้น
มีหมู่นางอัปสรแวดล้อมอยู่ในสวนนันทวัน เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณที่เป็นทิพย์
บำเรอตนอยู่ในดาวดึงส์เทวโลกนั้น เทพบุตรนั้นได้เห็นคหบดีหรือบุตรของคหบดีผู้
อิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ประการ บำเรอตนอยู่


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๕. มาคัณฑิยสูตร

มาคัณฑิยะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เทพบุตรนั้นมีหมู่นางอัปสร
แวดล้อม อยู่ในสวนนันทวัน เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ประการ บำเรอ
ตนอยู่ จะพึงกระหยิ่มต่อคหบดีหรือบุตรของคหบดีโน้น หรือต่อกามคุณ ๕ ประการ
ของมนุษย์ หรือจะเวียนกลับมาหากามของมนุษย์ไหม”
“ไม่ ท่านพระโคดม ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะกามที่เป็นทิพย์เป็นสิ่งที่น่าใคร่
ยิ่งกว่าและประณีตยิ่งกว่ากามของมนุษย์”
“มาคัณฑิยะ เราก็อย่างนั้นเหมือนกัน เมื่อยังครองเรือนอยู่ในกาลก่อน
เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ประการ บำเรอตนอยู่ ด้วยรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา
ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด ฯลฯ
ด้วยเสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ ด้วยกลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ฯลฯ ด้วยรสที่พึง
รู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ เมื่อยังครองเรือนอยู่ในกาลก่อน เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วย
กามคุณ ๕ ประการ บำเรอตนอยู่ ด้วยโผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
สมัยต่อมา เรารู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องสลัด
กามทั้งหลายให้ออกไปได้ตามความเป็นจริง ละตัณหาในกามได้ บรรเทาความ
เร่าร้อนที่เกิดเพราะกามได้ เป็นผู้ปราศจากความกระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่
เรานั้นเห็นหมู่สัตว์เหล่าอื่นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัดในกาม ถูกกามตัณหา
เกาะกินอยู่ ถูกความเร่าร้อนที่เกิดเพราะกามแผดเผาอยู่ เสพกามอยู่ เราจึงไม่
กระหยิ่มต่อสัตว์เหล่านั้น ทั้งไม่ยินดีในกามนั้นด้วย
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเราเมื่อยินดีด้วยความยินดีที่เว้นจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย
อันเข้าถึงความสุขที่เป็นทิพย์ จึงไม่กระหยิ่มต่อความสุขขั้นต่ำ และไม่ยินดีในความ
สุขขั้นต่ำนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๕. มาคัณฑิยสูตร

เปรียบผู้บริโภคกามเหมือนคนเป็นโรคเรื้อน

[๒๑๓] มาคัณฑิยะ เปรียบเหมือนบุรุษผู้เป็นโรคเรื้อน มีตัวเป็นแผล มีตัว
พุพอง มีเชื้อโรคคอยบ่อนทำลาย ใช้เล็บเกาปากแผล ใช้ถ่านไฟรมกายให้ร้อน มิตร
อำมาตย์ ญาติสาโลหิตของเขาเชิญแพทย์ผู้ชำนาญการผ่าตัดมารักษา แพทย์ผู้นั้น
พึงประกอบยารักษาให้ เขาอาศัยยาแล้วจึงหายจากโรคเรื้อน หายจากโรคร้าย
มีความสบายขึ้น ลุกเดินได้เอง ไปไหนมาไหนได้เองตามความพอใจ บุรุษนั้นเห็น
บุรุษผู้เป็นโรคเรื้อนคนอื่น มีตัวเป็นแผล มีตัวพุพอง มีเชื้อโรคคอยบ่อนทำลาย
ใช้เล็บเกาปากแผล ใช้ถ่านไฟรมกายให้ร้อน
มาคัณฑิยะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษนั้นจะพึงกระหยิ่มต่อบุรุษ
ผู้เป็นโรคเรื้อนคนโน้น ต่อหลุมถ่านเพลิง หรือต่อการกล้ำกลืนฝืนใช้ยา ใช่หรือไม่”
“ไม่ใช่ ท่านพระโคดม ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเมื่อยังมีโรค กิจที่เกี่ยวกับ
การใช้ยาก็ต้องมี เมื่อหายโรค กิจที่เกี่ยวกับยาก็หมดไป”
“มาคัณฑิยะ เราก็อย่างนั้นเหมือนกัน เมื่อยังครองเรือนอยู่ในกาลก่อน
เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ประการ บำเรอตนด้วยรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่า
ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด ฯลฯ ด้วยเสียง
ที่พึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ ด้วยกลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ฯลฯ ด้วยรสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น
ฯลฯ เมื่อยังครองเรือนอยู่ในกาลก่อน เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ประการ
บำเรอตนอยู่ด้วยโผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
สมัยต่อมา เรารู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องสลัด
กามทั้งหลายให้ออกไปได้ตามความเป็นจริง ละตัณหาในกามได้ บรรเทาความ
เร่าร้อนที่เกิดเพราะกามได้ เป็นผู้ปราศจากความกระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่
เรานั้นเห็นหมู่สัตว์เหล่าอื่นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัดในกาม ถูกกามตัณหา
เกาะกินอยู่ ถูกความเร่าร้อนที่เกิดเพราะกามแผดเผาอยู่ เสพกามอยู่ เราจึงไม่
กระหยิ่มต่อสัตว์เหล่านั้น ทั้งไม่ยินดีในกามนั้นด้วย
ข้อนั้นเพราะเหตุไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๕. มาคัณฑิยสูตร

เพราะเราเมื่อยินดีด้วยความยินดีที่เว้นจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย
อันเข้าถึงความสุขที่เป็นทิพย์ จึงไม่กระหยิ่มต่อความสุขขั้นต่ำ และไม่ยินดีใน
ความสุขขั้นต่ำนั้น
[๒๑๔] มาคัณฑิยะ เปรียบเหมือนบุรุษผู้เป็นโรคเรื้อน มีตัวเป็นแผล มีตัว
พุพอง มีเชื้อโรคคอยบ่อนทำลาย ใช้เล็บเกาปากแผล ใช้ถ่านไฟรมกายให้ร้อน มิตร
อำมาตย์ ญาติสาโลหิตของเขาเชิญแพทย์ผู้ชำนาญการผ่าตัดมารักษา แพทย์ผู้นั้น
พึงประกอบยารักษาให้ เขาอาศัยยาแล้วจึงหายจากโรคเรื้อน หายจากโรคร้าย
มีความสบายขึ้น ลุกเดินได้เอง ไปไหนมาไหนได้เองตามความพอใจ ทีนั้น คนที่
แข็งแรง ๒ คนช่วยกันจับเขาที่แขนคนละข้าง ฉุดเขาให้เข้าไปที่หลุมถ่านเพลิง
มาคัณฑิยะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษนั้นต้องดิ้นรนไปมาข้างนี้
และข้างโน้น ใช่ไหม”
“ใช่ ท่านพระโคดม ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะไฟมีสัมผัสเป็นทุกข์ มีความ
ร้อนมาก และมีความเร่าร้อนมาก”
“มาคัณฑิยะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ไฟนั้นมีสัมผัสเป็นทุกข์
มีความร้อนมาก และมีความเร่าร้อนมาก เฉพาะในบัดนี้เท่านั้นหรือ หรือว่าแม้
เมื่อก่อน ไฟนั้นก็มีสัมผัสเป็นทุกข์ มีความร้อนมาก มีความเร่าร้อนมาก
เหมือนกัน”
“ท่านพระโคดม ไฟนั้นมีสัมผัสเป็นทุกข์ มีความร้อนมาก และมีความเร่าร้อน
มากทั้งในบัดนี้ และแม้เมื่อก่อนไฟนั้นก็มีสัมผัสเป็นทุกข์ มีความร้อนมาก มีความ
เร่าร้อนมากเหมือนกัน แต่บุรุษผู้เป็นโรคเรื้อน มีตัวเป็นแผล มีตัวพุพอง ถูกเชื้อโรค
คอยบ่อนทำลายอยู่ ใช้เล็บเกาปากแผล ถูกโรคเรื้อนเบียดเบียนร่างกาย กลับเข้าใจ
ไฟซึ่งมีสัมผัสเป็นทุกข์ว่าเป็นความสุข”
“มาคัณฑิยะ กามทั้งหลายก็อย่างนั้นเหมือนกัน แม้ในอดีตก็มีสัมผัสเป็นทุกข์
มีความร้อนมาก และมีความเร่าร้อนมาก ในอนาคต กามทั้งหลายก็มีสัมผัส
เป็นทุกข์ มีความร้อนมาก และมีความเร่าร้อนมาก แม้ในปัจจุบัน กามทั้งหลายก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๕. มาคัณฑิยสูตร

สัมผัสเป็นทุกข์ มีความร้อนมาก และมีความเร่าร้อนมาก สัตว์เหล่านี้เป็นผู้ยัง
ไม่ปราศจากความกำหนัดในกาม ถูกกามตัณหาเกาะกินอยู่ ถูกความเร่าร้อนที่เกิด
เพราะกามแผดเผาอยู่ มีอินทรีย์๑ถูกกามกำจัดแล้ว กลับเข้าใจกามซึ่งมีสัมผัสเป็น
ทุกข์ว่าเป็นความสุขไป
[๒๑๕] มาคัณฑิยะ บุรุษผู้เป็นโรคเรื้อน มีตัวเป็นแผล มีตัวพุพอง มีเชื้อโรค
คอยบ่อนทำลายอยู่ ใช้เล็บเกาปากแผล ใช้ถ่านไฟรมกายให้ร้อน บุรุษผู้เป็น
โรคเรื้อน มีตัวเป็นแผล มีตัวพุพอง มีเชื้อโรคคอยบ่อนทำลายอยู่ ใช้เล็บเกา
ปากแผล ใช้ถ่านไฟรมกายให้ร้อนด้วยประการใด ๆ ปากแผลเหล่านั้นของบุรุษผู้
เป็นโรคเรื้อนนั้นก็เป็นของไม่สะอาดมากขึ้น มีกลิ่นเหม็นมากขึ้น และเน่ามากขึ้น
ด้วยประการนั้น ๆ แต่เขาจะมีเพียงความยินดี และความพอใจอยู่บ้าง ก็เพราะการ
เกาปากแผลเท่านั้น แม้ฉันใด สัตว์ทั้งหลายก็ฉันนั้นเหมือนกัน ผู้ยังไม่ปราศจาก
ความกำหนัดในกาม ถูกกามตัณหาเกาะกินอยู่ ถูกความเร่าร้อนที่เกิดเพราะกาม
แผดเผาอยู่ เสพกามอยู่ สัตว์ทั้งหลายผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัดในกาม
ถูกกามตัณหาเกาะกินอยู่ ถูกความเร่าร้อนที่เกิดเพราะกามแผดเผาอยู่ เสพกามอยู่
ด้วยประการใด ๆ กามตัณหาย่อมเจริญแก่สัตว์เหล่านั้น และสัตว์เหล่านั้นก็ถูก
ความเร่าร้อนที่เกิดเพราะกามแผดเผาอยู่ด้วยประการนั้น ๆ และเขาเหล่านั้นจะมี
ความยินดี และความพอใจอยู่บ้างก็เพราะอาศัยกามคุณ ๕ ประการนั่นเอง
มาคัณฑิยะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ท่านได้เห็นหรือได้ฟังมาบ้าง
ไหมว่า ‘พระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระราชา ผู้เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วย
กามคุณ ๕ ประการ บำเรอตนอยู่ ยังละกามตัณหาไม่ได้ ยังบรรเทาความ
เร่าร้อนที่เกิดเพราะกามไม่ได้ แต่เป็นผู้ปราศจากความกระหาย มีจิตสงบในภายใน
อยู่แล้ว กำลังอยู่ หรือว่าจักอยู่”
“ไม่ ท่านพระโคดม”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๕. มาคัณฑิยสูตร

“ดีละ มาคัณฑิยะ ข้อนี้แม้เราก็ไม่ได้เห็นมา ไม่ได้ฟังมาว่า ‘พระราชาหรือ
มหาอำมาตย์ของพระราชา ผู้เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ประการ บำเรอ
ตนอยู่ ยังละกามตัณหาไม่ได้ ยังบรรเทาความเร่าร้อนที่เกิดเพราะกามไม่ได้ แต่เป็น
ผู้ปราศจากความกระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่แล้ว กำลังอยู่ หรือว่าจักอยู่’
มาคัณฑิยะ ที่แท้สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งที่เป็นผู้ปราศจาก
ความกระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่แล้ว กำลังอยู่ หรือว่าจักอยู่ เพราะสมณะ
หรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดล้วนรู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบาย
เป็นเครื่องสลัดกามทั้งหลายให้ออกไปได้ตามความเป็นจริง ละกามตัณหาได้ บรรเทา
ความเร่าร้อนที่เกิดเพราะกามได้ จึงเป็นผู้ปราศจากความกระหาย มีจิตสงบในภายใน
อยู่แล้ว กำลังอยู่ หรือว่าจักอยู่”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้นว่า
“ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ
นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง
บรรดาทางทั้งหลายอันให้ถึงอมตธรรม
ทางมีองค์ ๘ เป็นทางอันเกษม”
[๒๑๖] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว มาคัณฑิยปริพาชกได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ท่านพระ
โคดมตรัสไว้ดีแล้วว่า
‘ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ
นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง’
ข้าพระองค์ก็ได้ฟังมาจากปริพาชกทั้งหลายในกาลก่อน ผู้เป็นอาจารย์และเป็น
ปาจารย์ผู้กล่าวว่า
‘ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ
นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง’
ความข้อนั้นจึงสมกัน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๕. มาคัณฑิยสูตร

“มาคันทิยะ ข้อที่เธอได้ฟังมาจากปริพาชกทั้งหลาย ในกาลก่อน ผู้เป็น
อาจารย์และเป็นปาจารย์ผู้กล่าวว่า
‘ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ
นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง’
ความไม่มีโรคนั้น เป็นอย่างไร
นิพพานนั้น เป็นอย่างไร”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ได้ทราบว่า มาคัณฑิยปริพาชกเอาฝ่ามือ
ลูบตัวเองแล้วกล่าวว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ความไม่มีโรคนั้นคืออันนี้ นิพพานนั้น
คืออันนี้ บัดนี้ ข้าพระองค์เป็นผู้ไม่มีโรค มีความสุข โรคอะไร ๆ มิได้เบียดเบียน
ข้าพระองค์”

เปรียบผู้บริโภคกามเหมือนคนตาบอด

[๒๑๗] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “มาคัณฑิยะ เปรียบเหมือนคนตาบอด
มาแต่กำเนิด เขาไม่ได้เห็นรูปสีดำ รูปสีขาว รูปสีเขียว รูปสีเหลือง รูปสีแดง รูปสีแสด
ไม่ได้เห็นที่อันเสมอและไม่เสมอ ไม่ได้เห็นดวงดาว ไม่ได้เห็นดวงจันทร์และดวง
อาทิตย์ เขาได้ฟังจากคนมีตาดีผู้กล่าวว่า ‘ท่านผู้เจริญ ผ้าขาวผ่องงดงามยิ่งนัก
ไม่สกปรก สะอาดสะอ้าน’
เขาจึงเที่ยวแสวงหาผ้าขาว บุรุษผู้หนึ่งเอาผ้าเนื้อหยาบเปื้อนน้ำมันมาลวงคนตาบอด
มาแต่กำเนิดนั้นว่า ‘พ่อคุณ ผ้าผืนนี้ เป็นผ้าขาวผ่องงดงามยิ่งนัก ไม่สกปรก สะอาด
สะอ้าน เป็นของท่าน’
เขารับเอาผ้านั้นมาห่ม พูดออกมาด้วยความดีใจว่า ‘พ่อคุณ ผ้าขาวผ่องงดงาม
ยิ่งนัก ไม่สกปรก สะอาดสะอ้านจริง ๆ’
มาคัณฑิยะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คนตาบอดมาแต่กำเนิดนั้น รู้อยู่
เห็นอยู่ จึงรับเอาผ้าเนื้อหยาบเปื้อนน้ำมันนั้นมาห่ม พลางพูดออกมาด้วยความดีใจ
ว่า ‘พ่อคุณ ผ้าขาวผ่องงดงามยิ่งนัก ไม่สกปรก สะอาดสะอ้าน’ หรือว่าเปล่งวาจา
แสดงความดีใจอย่างนั้นเพราะเชื่อคนมีตาดี”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๕. มาคัณฑิยสูตร

มาคัณฑิยปริพาชกทูลตอบว่า “ท่านพระโคดม คนตาบอดมาแต่กำเนิดนั้น
ไม่รู้ ไม่เห็นรับเอาผ้าเนื้อหยาบที่เปื้อนน้ำมันมาห่มพลางพูดออกมาด้วยความดีใจว่า
‘พ่อคุณ ผ้าขาวผ่องงดงามยิ่งนัก ไม่สกปรก สะอาดสะอ้าน’ เปล่งวาจาแสดงความ
ดีใจอย่างนั้นเพราะเชื่อคนมีตาดี”
“มาคัณฑิยะ อัญเดียรถีย์ปริพาชกทั้งหลายก็อย่างนั้นเหมือนกัน เป็นคน
ตาบอด ไม่มีจักษุ ไม่รู้ความไม่มีโรค ไม่เห็นนิพพาน เมื่อเป็นเช่นนั้น ยังกล่าว
คาถานี้ได้ว่า
‘ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ
นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง’
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ก่อน ๆ ได้ตรัสพระคาถาไว้ว่า
‘ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ
นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง
บรรดาทางทั้งหลายอันให้ถึงอมตธรรม
ทางมีองค์ ๘ เป็นทางอันเกษม’
[๒๑๘] บัดนี้ คาถานั้นเป็นคาถาของปุถุชนไปโดยลำดับ มาคัณฑิยะ กายนี้
เป็นดุจโรค เป็นดุจหัวฝี เป็นดุจลูกศร เป็นสิ่งคับแค้น เป็นสิ่งเบียดเบียน ท่านนั้น
กล่าวกายนี้ซึ่งเป็นดุจโรค เป็นดุจหัวฝี เป็นดุจลูกศร เป็นสิ่งคับแค้น เป็นสิ่ง
เบียดเบียนว่า ‘ท่านพระโคดม ความไม่มีโรคนั้นคืออันนี้ นิพพานนั้นคืออันนี้ ท่านไม่
มีอริยจักขุ๑ที่เป็นเครื่องรู้ความไม่มีโรค ที่เป็นเครื่องเห็นนิพพานได้”
“ข้าพระองค์เลื่อมใสท่านพระโคดมอย่างนี้ ท่านพระโคดมทรงสามารถแสดงธรรม
แก่ข้าพระองค์ โดยวิธีที่ข้าพระองค์จะรู้ความไม่มีโรคและเห็นพระนิพพานได้”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๕. มาคัณฑิยสูตร

เปรียบการแสดงธรรมกับการรักษาคนตาบอด

[๒๑๙] “มาคัณฑิยะ เปรียบเหมือนคนตาบอดมาแต่กำเนิด เขาไม่ได้เห็นรูป
สีดำ รูปสีขาว รูปสีเขียว รูปสีเหลือง รูปสีแดง รูปสีแสด ไม่ได้เห็นที่อันเสมอและ
ไม่เสมอ ไม่ได้เห็นดวงดาว ไม่ได้เห็นดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ มิตร อำมาตย์
ญาติสาโลหิตของเขา ได้เชิญแพทย์ผู้ชำนาญการผ่าตัดมารักษา แพทย์ผู้ชำนาญนั้น
ได้ประกอบยารักษาให้ เขาอาศัยยานั้นแต่ก็เห็นไม่ได้ ทำตาให้ใสไม่ได้ ท่านเข้าใจความ
ข้อนั้นว่าอย่างไร แพทย์ผู้นั้นต้องมีส่วนแห่งความลำบาก ความคับแค้นมิใช่หรือ”
“ใช่ ท่านพระโคดม”
“มาคัณฑิยะ เราก็อย่างนั้นเหมือนกัน หากจะพึงแสดงธรรมแก่ท่านว่า
‘ความไม่มีโรคนั้นคืออันนี้ นิพพานนั้นคืออันนี้’ ท่านนั้นยังไม่รู้ความไม่มีโรค ยังไม่
เห็นนิพพาน มีแต่ทำให้เราเหน็ดเหนื่อยเปล่า ลำบากเปล่า”
“ข้าพระองค์เลื่อมใสท่านพระโคดมอย่างนี้ ท่านพระโคดมทรงสามารถแสดงธรรม
แก่ข้าพระองค์ โดยวิธีที่ข้าพระองค์จะรู้ความไม่มีโรค และเห็นพระนิพพานได้”
[๒๒๐] “มาคัณฑิยะ เปรียบเหมือนคนตาบอดมาแต่กำเนิด เขาไม่ได้เห็นรูป
สีดำ รูปสีขาว รูปสีเขียว รูปสีเหลือง รูปสีแดง รูปสีแสด ไม่ได้เห็นที่อันเสมอและ
ไม่เสมอ ไม่ได้เห็นดวงดาว ไม่ได้เห็นดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ แต่เขาได้ฟังจากคน
ตาดีผู้กล่าวว่า ‘พ่อคุณ ผ้าขาวผ่องงดงามยิ่งนัก ไม่สกปรก สะอาดสะอ้าน’
คนตาบอดมาแต่กำเนิดนั้นเที่ยวแสวงหาผ้าขาว ชายคนหนึ่งเอาผ้าเนื้อหยาบ
เปื้อนน้ำมันมาลวงเขาว่า ‘พ่อคุณ ผ้าผืนนี้ขาวผ่องงดงามยิ่งนัก ไม่สกปรก สะอาด
สะอ้าน เป็นของท่าน’
เขารับผ้านั้นมาห่ม มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิตของเขาเชิญแพทย์ผู้ชำนาญ
การผ่าตัดมารักษา แพทย์ผู้ชำนาญนั้นทำยาถอนให้ ทำยาถ่าย ยาหยอด ยาป้าย
และยานัตถุ์ให้ เขาอาศัยยานั้นจึงเห็นได้ ทำตาให้ใสได้ พร้อมกับมีตาดีขึ้น เขาย่อม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๕. มาคัณฑิยสูตร

ละความพอใจและความยินดีในผ้าเนื้อหยาบเปื้อนน้ำมันผืนโน้น เขาจะพึงเบียดเบียน
บุรุษที่ลวงตนนั้น โดยความเป็นศัตรูเป็นข้าศึก และจะพึงสำคัญว่าควรปลงชีวิตบุรุษ
ที่ลวงตนนั้นด้วยความแค้นว่า ‘เราถูกบุรุษผู้นี้ล่อลวงให้หลงผิดด้วยผ้าเนื้อหยาบ
เปื้อนน้ำมันว่า ‘พ่อคุณ ผ้าผืนนี้ขาวผ่องงดงามยิ่งนัก ไม่สกปรก สะอาดสะอ้าน
เป็นของท่าน’ แม้ฉันใด
มาคัณฑิยะ เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน หากจะพึงแสดงธรรมแก่ท่านว่า ‘ความ
ไม่มีโรคนั้นคืออันนี้ นิพพานนั้นคือนี้’ ท่านนั้นจะพึงรู้ความไม่มีโรค จะพึงเห็น
นิพพานได้ ท่านก็จะละความพอใจและความยินดีในอุปาทานขันธ์ ๕ ประการ
พร้อมกับเกิดดวงตาคือปัญญาขึ้น อนึ่ง ท่านจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ
เราถูกจิตนี้ล่อลวงให้หลงผิดมานานแล้ว เราเมื่อยึดมั่นก็ยึดมั่นเฉพาะรูป เฉพาะ
เวทนา เฉพาะสัญญา เฉพาะสังขาร และเฉพาะวิญญาณเท่านั้น เพราะอุปาทาน
เป็นปัจจัย ภพจึงมีแก่เรา เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย
ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสจึงมี ความเกิดแห่งกองทุกข์
ทั้งสิ้นนี้ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้”
“ข้าพระองค์เลื่อมใสท่านพระโคดมอย่างนี้ ท่านพระโคดมทรงสามารถแสดง
ธรรมแก่ข้าพระองค์ โดยวิธีที่ข้าพระองค์จะไม่เป็นคนตาบอดลุกขึ้นจากอาสนะนี้ได้”
[๒๒๑] “มาคัณฑิยะ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงคบสัตบุรุษ เพราะเมื่อใดท่านคบ
สัตบุรุษ เมื่อนั้นท่านจะได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ เมื่อใดท่านได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ
เมื่อนั้นท่านก็จักปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เมื่อใดท่านปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
เมื่อนั้นท่านก็จักรู้เอง เห็นเองว่า ‘โรค ฝี ลูกศร คืออันนี้ โรค ฝี ลูกศร จะดับ
ไปได้โดยไม่เหลือในที่นี้ เพราะอุปาทานของเรานั้นดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ
ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส
จึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๕. มาคัณฑิยสูตร

มาคัณฑิยะได้บรรพชาอุปสมบท

[๒๒๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว มาคัณฑิยปริพาชกได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่ท่าน
พระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านพระโคดมทรงประกาศ
ธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของ
ที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็น
รูปได้’ ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดมพร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ
ข้าพระองค์พึงได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของท่านพระโคดมเถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มาคัณฑิยะ ผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์ประสงค์จะ
บรรพชาอุปสมบทในธรรมวินัยนี้ จะต้องอยู่ปริวาส ๔ เดือน หลังจาก ๔ เดือน
ล่วงไปแล้ว เมื่อภิกษุทั้งหลายเต็มใจจึงจะให้บรรพชาอุปสมบทเป็นภิกษุได้ แต่เรา
ทราบความแตกต่างของบุคคลในเรื่องนี้”
มาคัณฑิยปริพาชก ได้กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าผู้เคยเป็น
อัญเดียรถีย์ ประสงค์จะบรรพชาอุปสมบทในพระธรรมวินัยนี้ จะต้องอยู่ปริวาส
๔ เดือน หลังจาก ๔ เดือนล่วงไปแล้ว เมื่อภิกษุทั้งหลายเต็มใจจึงจะให้บรรพชา
อุปสมบทเป็นภิกษุได้ ข้าพระองค์จักขออยู่ปริวาส ๔ ปี หลังจาก ๔ ปีล่วงไปแล้ว
เมื่อภิกษุทั้งหลายเต็มใจก็จงให้บรรพชาอุปสมบทเป็นภิกษุเถิด”
มาคัณฑิยปริพาชกได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคแล้ว
ท่านพระมาคัณฑิยะอุปสมบทแล้วไม่นาน หลีกออกไปอยู่ผู้เดียว เป็นผู้ไม่ประมาท
มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนักก็ทำให้แจ้งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็น
ที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ
ต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
ท่านพระมาคัณฑิยะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย
ดังนี้แล

มาคัณฑิยสูตรที่ ๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๖. สันทกสูตร

๖. สันทกสูตร
ว่าด้วยปริพาชกชื่อสันทกะ

[๒๒๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี สมัยนั้นแล
ปริพาชกชื่อสันทกะกับหมู่ปริพาชกประมาณ ๕๐๐ คน พร้อมด้วยปริพาชกบริษัท
หมู่ใหญ่อาศัยอยู่ ณ ถ้ำปิลักขะ(ถ้ำไม้มะเดื่อ) ครั้นเวลาเย็น ท่านพระอานนท์
ออกจากที่หลีกเร้น๑แล้วเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
เราทั้งหลายจะเข้าไปยังบ่อน้ำฝนเซาะเพื่อจะดูถ้ำ”
ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์พร้อมด้วยภิกษุจำนวนมาก
ได้เข้าไปยังบ่อน้ำฝนเซาะ

ดิรัจฉานกถา

สมัยนั้น สันทกปริพาชกกำลังนั่งอยู่กับปริพาชกบริษัทหมู่ใหญ่ผู้กำลังสนทนา
ถึงดิรัจฉานกถา๒ต่าง ๆ ด้วยเสียงดังอื้ออึง คือ พูดเรื่องพระราชา เรื่องโจร เรื่อง
มหาอำมาตย์ เรื่องกองทัพ เรื่องภัย เรื่องการรบ เรื่องข้าว เรื่องน้ำ เรื่องผ้า เรื่อง
ที่นอน เรื่องพวงดอกไม้ เรื่องของหอม เรื่องญาติ เรื่องยาน เรื่องบ้าน เรื่องนิคม
เรื่องเมืองหลวง เรื่องชนบท เรื่องสตรี (เรื่องบุรุษ) เรื่องคนกล้าหาญ เรื่องตรอก
เรื่องท่าน้ำ เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว เรื่องเบ็ดเตล็ด เรื่องโลก เรื่องทะเล เรื่องความ
เจริญและความเสื่อมอย่างนั้น ๆ สันทกปริพาชกได้เห็นท่านพระอานนท์กำลังเดิน
มาแต่ไกล จึงห้ามบริษัทของตนว่า


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๖. สันทกสูตร

“ท่านทั้งหลาย โปรดเงียบหน่อย อย่าส่งเสียงอื้ออึง นี้คือสาวกของพระ
สมณโคดมชื่อว่าอานนท์กำลังเดินมา ท่านเป็นสาวกรูปหนึ่งบรรดาสาวกของพระ
สมณโคดมผู้อาศัยอยู่ ณ กรุงโกสัมพี ท่านเหล่านั้นชอบเสียงเบา แนะนำให้พูดกัน
เบา ๆ กล่าวสรรเสริญเสียงเบา บางทีท่านอานนท์ทราบว่าบริษัทเสียงเบา ท่าน
อาจจะเข้ามาก็ได้”
ลำดับนั้น ปริพาชกเหล่านั้นจึงได้พากันนิ่ง

พระอานนท์กล่าวธรรมีกถา

[๒๒๔] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ได้เข้าไปหาสันทกปริพาชกถึงที่อยู่ สันทก-
ปริพาชกจึงกล่าวเชื้อเชิญว่า “ท่านพระอานนท์ ขอเชิญท่านพระอานนท์เข้ามาเถิด
ขอต้อนรับ นาน ๆ ท่านพระอานนท์จะมีเวลามาที่นี้ ขอเชิญท่านพระอานนท์จง
นั่งเถิด อาสนะนี้ที่ปูลาดไว้แล้ว ขอรับ”
ท่านพระอานนท์จึงนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้แล้ว แม้สันทกปริพาชกก็เลือกนั่ง
ณ ที่สมควรที่ใดที่หนึ่งซึ่งต่ำกว่า ท่านพระอานนท์ได้ถามสันทกปริพาชกว่า
“สันทกะ บัดนี้ ท่านทั้งหลายนั่งประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เรื่องอะไรที่ท่าน
ทั้งหลายสนทนากันค้างไว้”
“ท่านพระอานนท์ เรื่องที่ข้าพเจ้าทั้งหลายนั่งประชุมสนทนากันในเวลานี้ขอ
งดไว้ก่อนเถิด เรื่องนั้นท่านพระอานนท์จักฟังได้ในภายหลังโดยไม่ยาก ดีละ ขอท่าน
พระอานนท์จงแสดงธรรมีกถาในลัทธิอาจารย์ของตนให้แจ่มแจ้งเถิด”
“ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
สันทกปริพาชกรับคำแล้ว ท่านพระอานนท์ได้กล่าวว่า “สันทกะ ลัทธิอัน
ไม่ใช่การประพฤติพรหมจรรย์ ๔ ลัทธินี้ และพรหมจรรย์ที่ไม่น่าไว้วางใจ ๔ ประการ
ที่วิญญูชนไม่พึงอยู่ประพฤติเลย ถึงเมื่ออยู่ก็ทำกุศลธรรมที่ถูกต้องให้สำเร็จไม่ได้
ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ตรัสไว้แล้ว”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๖. สันทกสูตร

สันทกปริพาชกถามว่า “ท่านพระอานนท์ ลัทธิอันไม่ใช่การประพฤติ
พรหมจรรย์ ๔ ลัทธิ ที่วิญญูชนไม่พึงอยู่ประพฤติเลย ถึงเมื่ออยู่ก็ทำกุศลธรรม
ที่ถูกต้องให้สำเร็จไม่ได้ ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระ-
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้แล้วนั้น เป็นอย่างไร”

ลัทธิอันไม่ใช่การประพฤติพรหมจรรย์

[๒๒๕] ท่านพระอานนท์ตอบว่า “สันทกะ ศาสดาบางท่านในโลกนี้ ผู้มี
วาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล การ
เซ่นสรวงก็ไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วก็ไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี
มารดาไม่มีคุณ บิดาไม่มีคุณ โอปปาติกสัตว์ก็ไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติ
ปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งก็
ไม่มีในโลก มนุษย์คือที่ประชุมแห่งมหาภูตรูป ๔ เมื่อสิ้นชีวิต ธาตุดินไปตาม
ธาตุดิน ธาตุน้ำไปตามธาตุน้ำ ธาตุไฟไปตามธาตุไฟ ธาตุลมไปตามธาตุลม
อินทรีย์ทั้งหลายย่อมแปรผันไปเป็นอากาสธาตุ มนุษย์มีเตียงนอนเป็นที่ ๕ นำศพไป๑
ร่างกายปรากฏอยู่แค่ป่าช้า กลายเป็นกระดูกขาวโพลนดุจสีนกพิราบ การเซ่นสรวง
สิ้นสุดลงแค่เถ้าถ่าน คนเขลาบัญญัติทานนี้ไว้ คำที่คนบางพวกย้ำว่ามีผลนั้น
ว่างเปล่า เท็จ ไร้สาระ เมื่อสิ้นชีวิตไม่ว่าคนเขลาหรือคนฉลาดย่อมขาดสูญไม่เกิดอีก’
ในลัทธิของศาสดานั้น วิญญูชนย่อมเห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘ท่านศาสดา
ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล
การเซ่นสรวงก็ไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วก็ไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้า
ไม่มี มารดาไม่มีคุณ บิดาไม่มีคุณ โอปปาติกสัตว์ก็ไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติ
ปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนให้ผู้อื่นรู้แจ้งก็
ไม่มีในโลก มนุษย์คือที่ประชุมแห่งมหาภูตรูป ๔ เมื่อสิ้นชีวิต ธาตุดินไปตาม
ธาตุดิน ธาตุน้ำไปตามธาตุน้ำ ธาตุไฟไปตามธาตุไฟ ธาตุลมไปตามธาตุลม


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๖. สันทกสูตร

อินทรีย์ทั้งหลายย่อมผันแปรไปเป็นอากาสธาตุ มนุษย์มีเตียงนอนเป็นที่ ๕ นำศพไป
ร่างกายปรากฏอยู่แค่ป่าช้า กลายเป็นกระดูกขาวโพลนดุจสีนกพิราบ การเซ่นสรวง
สิ้นสุดลงแค่เถ้าถ่าน คนเขลาบัญญัติทานนี้ไว้ คำที่คนบางพวกย้ำว่ามีผลนั้น
ว่างเปล่า เท็จ ไร้สาระ เมื่อสิ้นชีวิตไม่ว่าคนเขลาหรือคนฉลาด ย่อมขาดสูญไม่
เกิดอีก’
ถ้าคำของท่านศาสดานี้เป็นจริง ในลัทธินี้กรรมที่เราไม่ได้ทำเลยชื่อว่าเป็นอัน
ทำแล้ว พรหมจรรย์ที่เราไม่ได้อยู่ประพฤติเลย ชื่อว่าเป็นอันอยู่ประพฤติแล้ว แม้เรา
ทั้งสองชื่อว่าเป็นผู้เสมอ ๆ กัน และถึงความเท่าเทียมกันในลัทธินี้ แต่เราไม่กล่าวว่า
‘หลังจากตายแล้ว แม้เราทั้งสองก็จักขาดสูญ ไม่เกิดอีก’ การที่ท่านศาสดานี้เป็น
ผู้ประพฤติเปลือยกาย เป็นคนศีรษะโล้น ทำความเพียรในการเดินกระโหย่ง
ถอนผมและหนวด เป็นการปฏิบัติเกินไป เราเมื่ออยู่ครองเรือนนอนเบียดเสียดกับ
บุตรภรรยา ประพรมผงแก่นจันทน์เมืองกาสี ทัดทรงดอกไม้ของหอมและเครื่อง
ลูบไล้ ยินดีทองและเงินอยู่ จึงเป็นผู้มีคติเสมอ ๆ กันกับท่านศาสดานี้ เรานั้น
รู้อะไร เห็นอะไรอยู่ จึงจักประพฤติพรหมจรรย์ในศาสดานี้ วิญญูชนนั้นรู้ดังนี้ว่า
‘ลัทธินี้ไม่ใช่การประพฤติพรหมจรรย์’ ย่อมเบื่อหน่ายหลีกไปจากพรหมจรรย์นั้น
สันทกะ ลัทธินี้ไม่ใช่การประพฤติพรหมจรรย์ ที่วิญญูชนไม่พึงอยู่ประพฤติเลย
ถึงเมื่ออยู่ก็ทำกุศลธรรมที่ถูกต้องให้สำเร็จไม่ได้ เป็นลัทธิที่ ๑ ที่พระผู้มีพระภาค
พระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้แล้ว
[๒๒๖] สันทกะ อีกประการหนึ่ง ศาสดาบางคนในโลกนี้ ผู้มีวาทะอย่างนี้
มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำ ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียด
เบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ทำให้เศร้าโศกเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้เศร้าโศก ทำให้
ลำบากเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้ลำบาก ดิ้นรนเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้ดิ้นรน ฆ่าสัตว์
ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ ตัดช่องย่องเบา ปล้นเรือนหลังเดียว ดักจี้ใน
ทางเปลี่ยว เป็นชู้ พูดเท็จ ผู้ทำ(เช่นนั้น)ก็ไม่จัดว่าทำบาป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๖. สันทกสูตร

แม้หากบุคคลใช้จักรมีคมดุจมีดโกนสังหารเหล่าสัตว์ในปฐพีนี้ให้เป็นดุจลาน
ตากเนื้อ ให้เป็นกองเนื้อเดียวกัน เขาย่อมไม่มีบาปที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มีบาป
มาถึงเขา
แม้หากบุคคลไปฝั่งขวาแม่น้ำคงคา ฆ่าเอง ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด
เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน เขาย่อมไม่มีบาปที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มีบาป
มาถึงเขา
แม้หากบุคคลไปฝั่งซ้ายแม่น้ำคงคา ให้เอง ใช้ให้ผู้อื่นให้ บูชาเอง ใช้ให้
ผู้อื่นบูชา เขาย่อมไม่มีบุญที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มีบุญมาถึงเขา ไม่มีบุญที่เกิดจาก
การให้ทาน จากการฝึกอินทรีย์ จากการสำรวม และจากการพูดคำสัตย์ ไม่มี
บุญมาถึงเขา’
ในลัทธิของศาสดานั้น วิญญูชนย่อมเห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘ท่านศาสดา
ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำ ตัดเอง ใช้ให้
ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ทำให้เศร้าโศกเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้
เศร้าโศก ทำให้ลำบากเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้ลำบาก ดิ้นรนเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้ดิ้นรน
ฆ่าสัตว์ ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ ตัดช่องย่องเบา ปล้นเรือนหลังเดียว
ดักจี้ในทางเปลี่ยว เป็นชู้ พูดเท็จ ผู้ทำ(เช่นนั้น)ก็ไม่จัดว่าทำบาป
แม้หากบุคคลใช้จักรมีคมดุจมีดโกนสังหารเหล่าสัตว์ในปฐพีนี้ให้เป็นดุจลาน
ตากเนื้อ ให้เป็นกองเนื้อเดียวกัน เขาย่อมไม่มีบาปที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มีบาป
มาถึงเขา
แม้หากบุคคลไปฝั่งขวาแม่น้ำคงคา ฆ่าเอง ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด
เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน เขาย่อมไม่มีบาปที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มีบาป
มาถึงเขา
แม้หากบุคคลไปฝั่งซ้ายแม่น้ำคงคา ให้เอง ใช้ให้ผู้อื่นให้ บูชาเอง ใช้ให้ผู้อื่นบูชา
เขาย่อมไม่มีบุญที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มีบุญมาถึงเขา ไม่มีบุญที่เกิดจากการให้ทาน
จากการฝึกอินทรีย์ จากการสำรวม และจากการพูดคำสัตย์ ไม่มีบุญมาถึงเขา’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๖. สันทกสูตร

ถ้าคำของท่านศาสดานี้เป็นจริง ในลัทธินี้กรรมที่เราไม่ได้ทำเลยชื่อว่าเป็นอัน
ทำแล้ว พรหมจรรย์ที่เราไม่ได้อยู่ประพฤติเลย ชื่อว่าเป็นอันอยู่ประพฤติแล้ว แม้เรา
ทั้งสองชื่อว่าเป็นผู้เสมอ ๆ กัน และถึงความเท่าเทียมกันในลัทธินี้ แต่เราไม่กล่าวว่า
‘หลังจากตายแล้ว แม้เราทั้งสองก็จักขาดสูญ ไม่เกิดอีก’ การที่ท่านศาสดานี้เป็น
ผู้ประพฤติเปลือยกาย เป็นคนศีรษะโล้น ทำความเพียรในการเดินกระโหย่ง ถอนผม
และหนวด เป็นการปฏิบัติเกินไป เราเมื่ออยู่ครองเรือนนอนเบียดเสียดกับบุตรภรรยา
ประพรมผงแก่นจันทน์เมืองกาสี ทัดทรงดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้ ยินดีทอง
และเงินอยู่ จึงเป็นผู้มีคติเสมอ ๆ กันกับท่านศาสดานี้ในภพหน้าได้ เรานั้นรู้อะไร
เห็นอะไรอยู่จึงจักประพฤติพรหมจรรย์ในศาสดานี้ วิญญูชนนั้นรู้ดังนี้ว่า ‘ลัทธินี้ไม่
ใช่การประพฤติพรหมจรรย์’ ย่อมเบื่อหน่ายหลีกไปจากพรหมจรรย์นั้น
สันทกะ ลัทธินี้ไม่ใช่การประพฤติพรหมจรรย์ ที่วิญญูชนไม่พึงอยู่ประพฤติเลย
ถึงเมื่ออยู่ก็ทำกุศลธรรมที่ถูกต้องให้สำเร็จไม่ได้ เป็นลัทธิที่ ๒ ที่พระผู้มีพระภาค
พระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้แล้ว
[๒๒๗] สันทกะ อีกประการหนึ่ง ศาสดาบางคนในโลกนี้ ผู้มีวาทะอย่างนี้
มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ความเศร้าหมองของสัตว์ทั้งหลายไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย สัตว์ทั้งหลาย
เศร้าหมองเอง ความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย สัตว์ทั้งหลาย
บริสุทธิ์เอง ไม่มีกำลัง ไม่มีความเพียร ไม่มีความสามารถของมนุษย์ ไม่มีความ
พยายามของมนุษย์ สัตว์ ปาณะ ภูตะ ชีวะทั้งปวง๑ ล้วนไม่มีอำนาจ ไม่มีกำลัง ไม่มี
ความเพียร ผันแปรไปตามโชคชะตา ตามสถานภาพทางสังคมและตามลักษณะ
เฉพาะตน ย่อมเสวยสุขและทุกข์ในอภิชาติทั้ง ๖๒
ในลัทธิของศาสดานั้น วิญญูชนย่อมเห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘ท่านศาสดา
ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ความเศร้าหมองของสัตว์ทั้งหลาย ไม่มีเหตุ ไม่มี
ปัจจัย สัตว์ทั้งหลายเศร้าหมองเอง ความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย ไม่มีเหตุ ไม่มี
ปัจจัย สัตว์ทั้งหลายบริสุทธิ์เอง ไม่มีกำลัง ไม่มีความเพียร ไม่มีความสามารถของ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๖. สันทกสูตร

มนุษย์ ไม่มีความพยายามของมนุษย์ สัตว์ ปาณะ ภูตะ ชีวะทั้งปวง ล้วนไม่มีอำนาจ
ไม่มีกำลัง ไม่มีความเพียร ผันแปรไปตามโชคชะตา ตามสถานภาพทางสังคมและ
ตามลักษณะเฉพาะตน ย่อมเสวยสุขและทุกข์ในอภิชาติทั้ง ๖’
ถ้าคำของท่านศาสดานี้เป็นจริง ในลัทธินี้กรรมที่เราไม่ได้ทำเลยชื่อว่าเป็นอัน
ทำแล้ว พรหมจรรย์ที่เราไม่ได้อยู่ประพฤติเลย ชื่อว่าเป็นอันอยู่ประพฤติแล้ว แม้เรา
ทั้งสองชื่อว่าเป็นผู้เสมอ ๆ กัน และถึงความเท่าเทียมกันในลัทธินี้ แต่เราไม่กล่าวว่า
‘หลังจากตายแล้ว แม้เราทั้งสองก็จักขาดสูญ ไม่เกิดอีก’ การที่ท่านศาสดานี้เป็นผู้
ประพฤติเปลือยกาย เป็นคนศีรษะโล้น ทำความเพียรในการเดินกระโหย่ง ถอนผม
และหนวด เป็นการปฏิบัติเกินไป เราเมื่ออยู่ครองเรือนนอนเบียดเสียดกับบุตรภรรยา
ประพรมผงแก่นจันทน์เมืองกาสี ทัดทรงดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้ ยินดีทอง
และเงินอยู่ จักเป็นผู้มีคติเสมอ ๆ กันกับท่านศาสดานี้ในภพหน้าได้ เรานั้นรู้อะไร
เห็นอะไรอยู่ จึงจักประพฤติพรหมจรรย์ในศาสดานี้ วิญญูชนนั้นรู้ดังนี้ว่า ‘ลัทธินี้
ไม่ใช่การประพฤติพรหมจรรย์’ ย่อมเบื่อหน่ายหลีกไปจากพรหมจรรย์นั้น
สันทกะ ลัทธินี้ไม่ใช่การประพฤติพรหมจรรย์ ที่วิญญูชนไม่พึงอยู่ประพฤติเลย
ถึงเมื่ออยู่ก็ทำกุศลธรรมที่ถูกต้องให้สำเร็จไม่ได้ เป็นลัทธิที่ ๓ ที่พระผู้มีพระภาค
พระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้แล้ว
[๒๒๘] สันทกะ อีกประการหนึ่ง ศาสดาบางคนในโลกนี้ ผู้มีวาทะอย่างนี้
มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘สภาวะ ๗ กองนี้ ไม่มีผู้สร้าง ไม่มีผู้บันดาล ไม่มีผู้เนรมิต ไม่มี
ผู้ให้เนรมิต ยั่งยืนมั่นคงดุจยอดภูเขา ดุจเสาระเนียด ไม่หวั่นไหว ไม่ผันแปร
ไม่กระทบกระทั่งกัน ไม่ก่อให้เกิดสุขหรือทุกข์ หรือทั้งสุขและทุกข์แก่กันและกัน
สภาวะ ๗ กอง อะไรบ้าง คือ

๑. กองแห่งธาตุดิน ๒. กองแห่งธาตุน้ำ
๓. กองแห่งธาตุไฟ ๔. กองแห่งธาตุลม
๕. กองสุข ๖. กองทุกข์
๗. กองชีวะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๖. สันทกสูตร

สภาวะ ๗ กองนี้ไม่มีผู้สร้าง ไม่มีผู้บันดาล ไม่มีผู้เนรมิต ไม่มีผู้ให้เนรมิต ยั่งยืน
มั่นคงดุจยอดภูเขา ดุจเสาระเนียด ไม่หวั่นไหว ไม่ผันแปร ไม่กระทบกระทั่งกัน
ไม่ก่อให้เกิดสุขหรือทุกข์ หรือทั้งสุขและทุกข์แก่กันและกัน ในสภาวะ ๗ กองนั้น
ไม่มีผู้ฆ่า ไม่มีผู้ใช้ให้คนอื่นฆ่า ไม่มีผู้ฟัง ไม่มีผู้ใช้ให้คนอื่นฟัง ไม่มีผู้รู้ ไม่มีผู้ทำ
ให้คนอื่นรู้ ใครก็ตามแม้จะเอาศัสตราอันคมตัดศีรษะใคร ก็ไม่ชื่อว่าปลงชีวิตใครได้
เพราะเป็นเพียงศัสตราแทรกผ่านไประหว่างสภาวะ ๗ กองเท่านั้นเอง อนึ่ง กำเนิด
ที่เป็นประธาน ๑,๔๐๖,๖๐๐ กรรม ๕๐๐ กรรม ๕ กรรม ๓ กรรมกึ่ง๑
ปฏิปทา ๖๒ อันตรกัป ๖๒ อภิชาติ๒ ๖ ปุริสภูมิ๓ ๘ อาชีวก ๔,๙๐๐ ปริพาชก
๔,๙๐๐ นาควาส ๔,๙๐๐ อินทรีย์ ๒,๐๐๐ นรก ๓,๐๐๐ รโชธาตุ๔ ๓๖
สัญญีครรภ์ ๗ อสัญญีครรภ์ ๗ นิคัณฐีครรภ์๕ ๗ เทวดา ๗ มนุษย์ ๗ ปีศาจ ๗
สระ ๗ ตาไม้ไผ่ ๗ (ตาไม้ไผ่ ๗๐๐) เหวใหญ่ ๗ เหวน้อย ๗๐๐ มหาสุบิน ๗
สุบิน ๗๐๐ และมหากัป๖ ๘,๔๐๐,๐๐๐ เหล่านี้ที่คนพาลและบัณฑิตพากันเที่ยว
เวียนว่ายไปแล้วจักทำที่สุดทุกข์ได้เอง ไม่มีความสมหวังในความปรารถนาว่า ‘เรา


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๖. สันทกสูตร

จักอบรมกรรมที่ยังไม่ให้ผลให้อำนวยผล หรือสัมผัสกรรมที่ให้ผลแล้ว จักทำให้
หมดสิ้นไปด้วยศีล พรต ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้’ ไม่มีสุขทุกข์ที่ทำให้สิ้นสุดลงได้
(จำนวนเท่านั้นเท่านี้) เหมือนตวงด้วยทะนาน สังสารวัฏที่จะทำให้สิ้นสุดไม่มีเลย
ด้วยอาการอย่างนี้’ ไม่มีความเสื่อมและความเจริญ ไม่มีการเลื่อนขึ้นสูงหรือเลื่อน
ลงต่ำ พวกคนพาลและบัณฑิตพากันเที่ยวเวียนว่ายไปแล้ว จักทำที่สุดทุกข์ได้เอง
เหมือนกลุ่มด้ายที่ถูกขว้างไปย่อมคลี่หมดไปได้เอง ฉะนั้น๑
ในลัทธิของศาสดานั้น วิญญูชนย่อมเห็นประจักษ์ดังนี้ว่า ‘ท่านศาสดาผู้มีวาทะ
อย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘สภาวะ ๗ กองนี้ ไม่มีผู้สร้าง ไม่มีผู้บันดาล ไม่มีผู้เนรมิต
ไม่มีผู้ให้เนรมิต ยั่งยืนมั่นคงดุจยอดภูเขา ดุจเสาระเนียด ไม่หวั่นไหว ไม่ผันแปร
ไม่กระทบกระทั่งกัน ไม่ก่อให้เกิดสุขหรือทุกข์ หรือทั้งสุขและทุกข์แก่กันและกัน
สภาวะ ๗ กอง อะไรบ้าง คือ

๑. กองแห่งธาตุดิน ๒. กองแห่งธาตุน้ำ
๓. กองแห่งธาตุไฟ ๔. กองแห่งธาตุลม
๕. กองสุข ๖. กองทุกข์
๗. กองชีวะ

สภาวะ ๗ กองนี้ไม่มีผู้สร้าง ไม่มีผู้บันดาล ไม่มีผู้เนรมิต ไม่มีผู้ให้เนรมิต ยั่งยืน
มั่นคงดุจยอดภูเขา ดุจเสาระเนียด ไม่หวั่นไหว ไม่ผันแปร ไม่กระทบกระทั่งกัน
ไม่ก่อให้เกิดสุขหรือทุกข์ หรือทั้งสุขและทุกข์แก่กันและกัน ในสภาวะ ๗ กองนั้น
ไม่มีผู้ฆ่า ไม่มีผู้ใช้ให้คนอื่นฆ่า ไม่มีผู้ฟัง ไม่มีผู้ใช้ให้คนอื่นฟัง ไม่มีผู้รู้ ไม่มีผู้ทำให้
คนอื่นรู้ ใครก็ตามแม้จะเอาศัสตราอันคมตัดศีรษะใคร ก็ไม่ชื่อว่าปลงชีวิตใครได้
เพราะเป็นเพียงศัสตราแทรกผ่านไประหว่างสภาวะ ๗ กองเท่านั้นเอง อนึ่ง กำเนิด
ที่เป็นประธาน ๑,๔๐๖,๖๐๐ กรรม ๕๐๐ กรรม ๕ กรรม ๓ กรรมกึ่ง
ปฏิปทา ๖๒ อันตรกัป ๖๒ อภิชาติ ๖ ปุริสภูมิ ๘ อาชีวก ๔,๙๐๐


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๖. สันทกสูตร

ปริพาชก ๔,๙๐๐ นาควาส ๔,๙๐๐ อินทรีย์ ๒,๐๐๐ นรก ๓,๐๐๐ รโชธาตุ ๓๖
สัญญีครรภ์ ๗ อสัญญีครรภ์ ๗ นิคัณฐีครรภ์ ๗ เทวดา ๗ มนุษย์ ๗ ปีศาจ ๗
สระ ๗ ตาไม้ไผ่ ๗ (ตาไม้ไผ่ ๗๐๐) เหวใหญ่ ๗ เหวน้อย ๗๐๐ มหาสุบิน ๗
สุบิน ๗๐๐ มหากัป ๘,๔๐๐,๐๐๐ เหล่านี้ ที่คนพาลและบัณฑิตพากันเที่ยวเวียน
ว่ายไปแล้วจักทำที่สุดทุกข์ได้เอง ไม่มีความสมหวังในความปรารถนาว่า ‘เราจัก
อบรมกรรมที่ยังไม่ให้ผลให้อำนวยผล หรือสัมผัสกรรมที่ให้ผลแล้ว จักทำให้หมด
สิ้นไปด้วยศีล พรต ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้’ ไม่มีสุขทุกข์ที่ทำให้สิ้นสุดลงได้
(จำนวนเท่านั้นเท่านี้)เหมือนตวงด้วยทะนาน สังสารวัฏที่จะทำให้สิ้นสุดไม่มีเลยด้วย
อาการอย่างนี้ ไม่มีความเสื่อมและความเจริญ ไม่มีการเลื่อนขึ้นสูงหรือเลื่อนลงต่ำ
พวกคนพาลและบัณฑิตพากันเที่ยวเวียนว่ายไปแล้ว จักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้เอง
เหมือนกลุ่มด้ายที่ถูกขว้างไปย่อมคลี่หมดไปได้เอง ฉะนั้น’
ถ้าคำของท่านศาสดานี้เป็นจริง ในลัทธินี้กรรมที่เราไม่ได้ทำเลยชื่อว่าเป็นอัน
ทำแล้ว พรหมจรรย์ที่เราไม่ได้อยู่ประพฤติเลย ชื่อว่าเป็นอันอยู่ประพฤติแล้ว แม้เรา
ทั้งสองชื่อว่าเป็นผู้เสมอ ๆ กัน และถึงความเท่าเทียมกันในลัทธินี้ แต่เราไม่กล่าวว่า
‘หลังจากตายแล้ว แม้เราทั้งสองก็จักขาดสูญ ไม่เกิดอีก’ การที่ท่านศาสดานี้เป็นผู้
ประพฤติเปลือยกาย เป็นคนศีรษะโล้น ทำความเพียรในการเดินกระโหย่ง ถอนผม
และหนวด เป็นการปฏิบัติเกินไป เราเมื่ออยู่ครองเรือนนอนเบียดเสียดกับบุตรภรรยา
ประพรมผงแก่นจันทน์เมืองกาสี ทัดทรงดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้ ยินดีทอง
และเงินอยู่ จึงเป็นผู้มีคติเสมอ ๆ กันกับท่านศาสดานี้ในภพหน้าได้ เรานั้นรู้อะไร
เห็นอะไรอยู่ จึงจักประพฤติพรหมจรรย์ในศาสดานี้’ วิญญูชนนั้นรู้ดังนี้ว่า ‘ลัทธินี้
ไม่ใช่การประพฤติพรหมจรรย์’ ย่อมเบื่อหน่ายหลีกไปจากพรหมจรรย์นั้น
ลัทธินี้ไม่ใช่การประพฤติพรหมจรรย์ที่วิญญูชนไม่พึงอยู่ประพฤติเลย ถึงเมื่ออยู่
ก็ทำกุศลธรรมที่ถูกต้องให้สำเร็จไม่ได้ เป็นลัทธิที่ ๔ ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๖. สันทกสูตร

สันทกะ ลัทธิอันไม่ใช่การประพฤติพรหมจรรย์ที่วิญญูชนไม่พึงอยู่ประพฤติเลย
ถึงเมื่ออยู่ก็ทำกุศลธรรมที่ถูกต้องให้สำเร็จไม่ได้ ๔ ลัทธินี้แล ที่พระผู้มีพระภาค
พระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้แล้ว”
“ท่านพระอานนท์ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสลัทธิอันไม่ใช่การ
ประพฤติพรหมจรรย์ ๔ ลัทธิ ที่วิญญูชนไม่พึงอยู่ประพฤติเลย ถึงเมื่ออยู่ก็ทำกุศล
ธรรมที่ถูกต้องให้สำเร็จไม่ได้ว่า เป็นลัทธิอันไม่ใช่การประพฤติพรหมจรรย์
ท่านพระอานนท์ พรหมจรรย์ที่ไม่น่าวางใจ ๔ ประการ ที่วิญญูชนไม่พึงอยู่
ประพฤติเลย ถึงเมื่ออยู่ก็ทำกุศลธรรมที่ถูกต้องให้สำเร็จไม่ได้ ที่พระผู้มีพระภาค
พระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้แล้วนั้น
เป็นอย่างไร”

พรหมจรรย์ที่ไม่น่าวางใจ

[๒๒๙] “สันทกะ ศาสดาบางคนในโลกนี้ตั้งตนเป็นสัพพัญญู รู้เห็นธรรม
ทั้งปวง ปฏิญญาญาณทัสสนะอย่างเบ็ดเสร็จว่า ‘เมื่อเราเดินอยู่ หยุดอยู่ หลับอยู่
และตื่นอยู่ ญาณทัสสนะย่อมปรากฏต่อเนื่องตลอดไป’ ศาสดานั้นเข้าไปยังเรือน
ว่างบ้าง ไม่ได้ก้อนข้าวบ้าง ถูกสุนัขกัดบ้าง พบช้างดุบ้าง พบม้าดุบ้าง พบโคดุบ้าง
ถามถึงชื่อและโคตรของหญิงบ้าง ของชายบ้าง ถามถึงชื่อและหนทางแห่งบ้านบ้าง
แห่งนิคมบ้าง เมื่อถูกถามว่า ‘นี่อะไร’ ก็ตอบว่า ‘เราเข้าไปยังเรือนว่างด้วยกิจที่เรา
จำเป็นต้องเข้าไป เราไม่ได้ก้อนข้าวด้วยเหตุที่เราไม่ควรได้ เรายังเป็นผู้ถูกสุนัขกัด
ด้วยเหตุที่ควรถูกกัด เราพบช้างดุด้วยเหตุที่ควรพบ เราพบม้าดุด้วยเหตุที่ควรพบ
เราพบโคดุด้วยเหตุที่ควรพบ เราถามถึงชื่อและโคตรของหญิงบ้าง ของชายบ้าง
ด้วยเหตุที่ควรถาม เราถามถึงชื่อและหนทางแห่งบ้านบ้าง แห่งนิคมบ้างด้วยเหตุ
ที่ควรถาม’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๖. สันทกสูตร

ในพรหมจรรย์ของศาสดานั้น วิญญูชนย่อมเห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘ท่านศาสดานี้
ซึ่งตั้งตนเป็นสัพพัญญู รู้เห็นธรรมทั้งปวง ปฏิญญาญาณทัสสนะอย่างเบ็ดเสร็จว่า
‘เมื่อเราเดินอยู่ หยุดอยู่ หลับอยู่ และตื่นอยู่ ญาณทัสสนะย่อมปรากฏต่อเนื่อง
ตลอดไป’ ศาสดานั้นเข้าไปยังเรือนว่างบ้าง ไม่ได้ก้อนข้าวบ้าง ถูกสุนัขกัดบ้าง พบ
ช้างดุบ้าง พบม้าดุบ้าง พบโคดุบ้าง ถามถึงชื่อและโคตรของหญิงบ้าง ของชายบ้าง
ถามถึงชื่อและหนทางแห่งบ้านบ้าง แห่งนิคมบ้าง ศาสดานั้นเมื่อถูกถามว่า ‘นี่อะไร’
ก็ตอบว่า ‘เราเข้าไปยังเรือนว่างด้วยกิจที่เราจำต้องเข้าไป เราไม่ได้ก้อนข้าวด้วยเหตุ
ที่เราไม่ควรได้ เราเป็นผู้ถูกสุนัขกัดด้วยเหตุที่ควรถูกกัด เราพบช้างดุด้วยเหตุ
ที่ควรพบ เราพบม้าดุด้วยเหตุที่ควรพบ เราพบโคดุด้วยเหตุที่ควรพบ เราถามถึง
ชื่อและโคตรของหญิงบ้าง ของชายบ้างด้วยเหตุที่ควรถาม เราถามถึงชื่อและ
หนทางแห่งบ้านบ้าง แห่งนิคมบ้างด้วยเหตุที่ควรถาม’ วิญญูชนรู้ดังนี้ว่า ‘ลัทธินี้
เป็นการประพฤติพรหมจรรย์ที่ไม่น่าวางใจ’ ย่อมเบื่อหน่ายหลีกไปจากพรหมจรรย์นั้น
สันทกะ พรหมจรรย์ที่ไม่น่าวางใจที่วิญญูชนไม่พึงอยู่ประพฤติเลย ถึงเมื่ออยู่
ก็ทำกุศลธรรมที่ถูกต้องให้สำเร็จไม่ได้ เป็นประการที่ ๑ ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้แล้ว
[๒๓๐] สันทกะ อีกประการหนึ่ง ศาสดาบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เชื่อถือการ
ฟังตามกันมา เป็นผู้เชื่อถือว่าจริงด้วยการฟังตามกันมา ศาสดานั้นจึงแสดงธรรม
ด้วยการฟังตามกันมา ด้วยการถือสืบ ๆ กันมาว่าอย่างนั้น ๆ และด้วยการอ้าง
ตำราหรือคัมภีร์ ศาสดาผู้เชื่อถือด้วยการฟังตามกันมา ผู้เชื่อถือว่าจริงด้วยการฟัง
ตามกันมา ย่อมมีการฟังถูกบ้าง ฟังผิดบ้าง เป็นอย่างนั้นบ้าง เป็นอย่างอื่นบ้าง
ในพรหมจรรย์ของศาสดานั้น วิญญูชนย่อมเห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘ท่านศาสดานี้
เป็นผู้เชื่อถือการฟังตามกันมา เป็นผู้เชื่อถือว่าจริงด้วยการฟังตามกันมา ท่านศาสดานั้น
จึงแสดงธรรมด้วยการฟังตามกันมา ด้วยการถือสืบ ๆ กันมาว่าอย่างนั้น ๆ และ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๖. สันทกสูตร

ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์ เมื่อศาสดาเชื่อถือการฟังตามกันมา เชื่อว่าจริง
ด้วยการฟังตามกันมา ย่อมมีการฟังถูกบ้าง การฟังผิดบ้าง เป็นอย่างนั้นบ้าง
เป็นอย่างอื่นบ้าง’ วิญญูชนนั้น รู้ดังนี้ว่า ‘ลัทธินี้เป็นการประพฤติพรหมจรรย์ ที่ไม่น่า
วางใจ’ ย่อมเบื่อหน่ายหลีกไปจากพรหมจรรย์นั้น
สันทกะ พรหมจรรย์ที่ไม่น่าวางใจที่วิญญูชนไม่พึงอยู่ประพฤติเลย ถึงเมื่ออยู่
ก็ทำกุศลธรรมที่ถูกต้องให้สำเร็จไม่ได้ เป็นประการที่ ๒ ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้แล้ว
[๒๓๑] สันทกะ อีกประการหนึ่ง ศาสดาบางคนในโลกนี้ เป็นนักตรรกะ๑
เป็นนักอภิปรัชญา๒ ศาสดานั้นจึงแสดงธรรมตามปฏิภาณของตน ตามหลักเหตุผล
และการคาดคะเนความจริง ศาสดาผู้เป็นนักตรรกะ เป็นนักอภิปรัชญา ก็ย่อม
มีการใช้เหตุผลถูกบ้าง การใช้เหตุผลผิดบ้าง เป็นอย่างนั้นบ้าง เป็นอย่างอื่นบ้าง
ในพรหมจรรย์ของศาสดานั้น วิญญูชนย่อมเห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘ศาสดานี้
เป็นนักตรรกะ เป็นนักอภิปรัชญา ศาสดานั้นย่อมแสดงธรรมตามปฏิภาณของตน
ตามหลักเหตุผลและการคาดคะเนความจริง ศาสดาผู้เป็นนักตรรกะ เป็นนัก
อภิปรัชญา ก็ย่อมมีการใช้เหตุผลถูกบ้าง การใช้เหตุผลผิดบ้าง เป็นอย่างนั้นบ้าง
เป็นอย่างอื่นบ้าง’ วิญญูชนนั้นรู้ดังนี้ว่า ‘ลัทธินี้เป็นการประพฤติพรหมจรรย์ ที่ไม่น่า
วางใจ’ ย่อมเบื่อหน่ายหลีกไปจากพรหมจรรย์นั้น


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๖. สันทกสูตร

สันทกะ พรหมจรรย์ที่ไม่น่าวางใจที่วิญญูชนไม่พึงอยู่ประพฤติเลย ถึงเมื่ออยู่
ก็ทำกุศลธรรมที่ถูกต้องให้สำเร็จไม่ได้ เป็นประการที่ ๓ ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้แล้ว
[๒๓๒] สันทกะ อีกประการหนึ่ง ศาสดาบางคนในโลกนี้เป็นคนเขลา งมงาย
เพราะเป็นคนเขลา งมงาย ศาสดานั้นเมื่อถูกถามปัญหาอย่างนั้น ๆ ย่อมพูดแบ่งรับ
แบ่งสู้ คือตอบดิ้นได้ไม่ตายตัวว่า ‘ความเห็นของเราว่าอย่างนี้ก็ไม่ใช่ อย่างนั้นก็ไม่ใช่
อย่างอื่นก็ไม่ใช่ มิใช่ก็ไม่ใช่ มิใช่ไม่ใช่ก็ไม่ใช่’
ในพรหมจรรย์ของศาสดานั้น วิญญูชนย่อมเห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘ท่านศาสดานี้
เป็นคนเขลา งมงาย’ เพราะเป็นคนเขลางมงาย ศาสดานั้นเมื่อถูกถามปัญหา
อย่างนั้น ๆ ย่อมพูดแบ่งรับแบ่งสู้ คือตอบดิ้นได้ไม่ตายตัวว่า ‘ความเห็นของเรา
ว่าอย่างนี้ก็ไม่ใช่ อย่างนั้นก็ไม่ใช่ อย่างอื่นก็ไม่ใช่ มิใช่ก็ไม่ใช่ มิใช่ไม่ใช่ก็ไม่ใช่’
วิญญูชนนั้นรู้ดังนี้ว่า ‘ลัทธินี้เป็นการประพฤติพรหมจรรย์ที่ไม่น่าวางใจ’ ย่อมเบื่อหน่าย
หลีกไปจากพรหมจรรย์นั้น
พรหมจรรย์ที่ไม่น่าวางใจที่วิญญูชนไม่พึงอยู่ประพฤติเลย ถึงเมื่ออยู่ก็ทำกุศลธรรม
ที่ถูกต้องให้สำเร็จไม่ได้ เป็นประการที่ ๔ ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้แล้ว
สันทกะ พรหมจรรย์ที่ไม่น่าวางใจที่วิญญูชนไม่พึงอยู่ประพฤติเลย ถึงเมื่ออยู่
ก็ทำกุศลธรรมที่ถูกต้องให้สำเร็จไม่ได้ ๔ ประการนี้แลที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้แล้ว”
สันทกปริพาชกถามว่า “ท่านพระอานนท์ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ
ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ตรัสพรหมจรรย์ที่ไม่น่าวางใจ ๔ ประการ ที่วิญญูชนไม่พึงอยู่ประพฤติเลย ถึงเมื่อ
อยู่ก็ทำกุศลธรรมที่ถูกต้องให้สำเร็จไม่ได้ว่า ‘เป็นพรหมจรรย์ที่ไม่น่าวางใจ’
ท่านพระอานนท์ ศาสดานั้นมักกล่าวกันอย่างไร บอกกันอย่างไร ในพรหมจรรย์
ที่วิญญูชนพึงอยู่ประพฤติจริงจัง และเมื่ออยู่ก็ทำกุศลธรรมที่ถูกต้องให้สำเร็จได้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๖. สันทกสูตร

พรหมจรรย์ที่ควรประพฤติ

[๒๓๓] ท่านพระอานนท์ตอบว่า “สันทกะ พระตถาคตเสด็จอุบัติขึ้นมา
ในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชา
และจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็น
ศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค ฯลฯ
ภิกษุนั้นละนิวรณ์ ๕ ประการนี้ ที่เป็นเครื่องเศร้าหมองใจ เป็นเครื่องทอนกำลัง
ปัญญาแล้ว สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตก
วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ สาวกย่อมบรรลุคุณวิเศษอันยิ่งเห็นปานนี้ใน
ศาสดาใด วิญญูชนพึงอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในศาสดานั้นอย่างจริงจัง และเมื่ออยู่
ก็ทำกุศลธรรมที่ถูกต้องให้สำเร็จได้
อีกประการหนึ่ง เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ อยู่
สาวกย่อมบรรลุคุณวิเศษอย่างยิ่งเห็นปานนี้ในศาสดาใด วิญญูชนพึงอยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์ในศาสดานั้นอย่างจริงจัง และเมื่ออยู่ก็ทำกุศลธรรมที่ถูกต้องให้สำเร็จได้
อีกประการหนึ่ง เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุผู้มีอุเบกขา บรรลุตติยฌาน ฯลฯ อยู่
สาวกย่อมบรรลุคุณวิเศษอย่างยิ่งเห็นปานนี้ในศาสดาใด วิญญูชนพึงอยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์ในศาสดานั้นอย่างจริงจัง และเมื่ออยู่ก็ทำกุศลธรรมที่ถูกต้องให้สำเร็จได้
อีกประการหนึ่ง เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน
ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อยู่ สาวกย่อมบรรลุคุณวิเศษอย่างยิ่งเห็นปานนี้ใน
ศาสดาใด วิญญูชนพึงอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในศาสดานั้นอย่างจริงจัง และเมื่ออยู่
ก็ทำกุศลธรรมที่ถูกต้องให้สำเร็จได้
เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน๑ ปราศจากความ
เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อมจิตไป


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๖. สันทกสูตร

เพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติ
บ้าง ฯลฯ๑ เธอระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติ
อย่างนี้ สาวกย่อมบรรลุคุณวิเศษอันยิ่งเห็นปานนี้ในศาสดาใด วิญญูชนพึงอยู่
ประพฤติพรหมจรรย์ในศาสดานั้นอย่างจริงจัง และเมื่ออยู่ก็ทำกุศลธรรมที่ถูกต้องให้
สำเร็จได้
เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ
เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อม
จิตไปเพื่อจุตูปปาตญาณ เห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งาม
และไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์
ผู้เป็นไปตามกรรมด้วยประการอย่างนี้ สาวกย่อมบรรลุคุณวิเศษอันยิ่งเห็นปานนี้ใน
ศาสดาใด วิญญูชนพึงอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในศาสดานั้นอย่างจริงจัง และเมื่ออยู่
ก็ทำกุศลธรรมที่ถูกต้องให้สำเร็จได้
เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ
เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อม
จิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้
ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้
อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา’ เมื่อเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะ
ภวาสวะ และอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติ
สิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็น
อย่างนี้อีกต่อไป’
สันทกะ สาวกย่อมบรรลุคุณวิเศษอย่างยิ่งเห็นปานนี้ในศาสดาใด วิญญูชน
พึงอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในศาสดานั้นอย่างจริงจัง และเมื่ออยู่ก็ทำกุศลธรรมที่ถูก
ต้องให้สำเร็จได้”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๖. สันทกสูตร

พระอรหันตขีณาสพไม่ละเมิดฐานะ ๕

[๒๓๔] สันทกปริพาชกถามว่า “ท่านพระอานนท์ ภิกษุใดเป็นพระอรหันต-
ขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว
บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ
ภิกษุนั้น จะยังบริโภคกามอยู่อีกหรือ”
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “สันทกะ ภิกษุใดเป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตน
โดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้นเป็นผู้
ไม่สามารถละเมิดฐานะ ๕ ประการ คือ
๑. เป็นผู้ไม่สามารถแกล้งปลงสัตว์จากชีวิต
๒. เป็นผู้ไม่สามารถถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ อันเป็นส่วนแห่ง
ความเป็นขโมย
๓. เป็นผู้ไม่สามารถเสพเมถุนธรรม
๔. เป็นผู้ไม่สามารถกล่าวเท็จทั้งที่รู้อยู่
๕. เป็นผู้ไม่สั่งสมบริโภคกามทั้งหลายเหมือนเมื่อเป็นคฤหัสถ์ในกาลก่อน
สันทกะ ภิกษุใดเป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควร
ทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว
หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้ไม่สามารถละเมิดฐานะ ๕ ประการนี้”

ญาณทัสสนะของพระอรหันตขีณาสพ

[๒๓๕] “ท่านพระอานนท์ ภิกษุใดเป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหม-
จรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระแล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว
สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้นเดินไปอยู่ หยุดอยู่ หลับอยู่
และตื่นอยู่ ญาณทัสสนะว่า ‘อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นไปแล้ว’ จะปรากฏต่อเนื่อง
ตลอดไปไหม”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๖. สันทกสูตร

“สันทกะ ถ้าเช่นนั้น เราจักอุปมาให้ท่านฟัง วิญญูชนบางพวกในโลกนี้ย่อมรู้ทั่ว
ถึงเนื้อความแห่งภาษิตได้ด้วยอุปมา เปรียบเหมือนคนที่มีมือและเท้าขาดไป เมื่อคน
นั้นเดินไปอยู่ หยุดอยู่ หลับอยู่ และตื่นอยู่ ก็รู้เสมอต่อเนื่องว่า ‘มือและเท้าของเรา
ขาดแล้ว’ หรือเมื่อเขาพิจารณาเหตุนั้นอยู่ก็รู้ว่า ‘มือและเท้าของเราขาดแล้ว’ หรือ”
“ท่านพระอานนท์ คนนั้นย่อมไม่รู้เสมอต่อเนื่องว่า ‘มือและเท้าของเรา
ขาดแล้ว’ แต่เขาพิจารณาเหตุนั้นแล้วจึงรู้ว่า ‘มือและเท้าของเราขาดแล้ว”
“สันทกะ ภิกษุนั้นก็อย่างนั้นเหมือนกัน เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตน
โดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ เมื่อเธอเดินไปอยู่
หยุดอยู่ หลับอยู่ และตื่นอยู่ ญาณทัสสนะว่า ‘อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นไปแล้ว’
ก็ไม่ปรากฏต่อเนื่องตลอดไป แต่เมื่อภิกษุนั้นพิจารณาเหตุนั้นอยู่จึงรู้ว่า ‘อาสวะทั้งหลาย
ของเราสิ้นไปแล้ว”
[๒๓๖] สันทกปริพาชกถามว่า “ท่านพระอานนท์ ในพระธรรมวินัยนี้ ภิกษุ
กำจัดกิเลสและกองทุกข์ให้ออกไปได้มีจำนวนมากเพียงไร”
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “สันทกะ ในพระธรรมวินัยนี้ ภิกษุผู้กำจัดกิเลสและ
กองทุกข์ให้ออกไปได้ มิใช่มีเพียง ๑๐๐ รูป ๒๐๐ รูป ๓๐๐ รูป ๔๐๐ รูป ๕๐๐ รูป
ความจริงแล้วมีอยู่จำนวนมากทีเดียว”
สันทกปริพาชกกล่าวว่า “ท่านพระอานนท์ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ
ในพระธรรมวินัยนี้ไม่ได้มีการยกย่องธรรมของตน และไม่มีการติเตียนธรรมของ
ผู้อื่น มีแต่การแสดงธรรมตามเหตุผลเท่านั้น แต่ก็ปรากฏว่ามีผู้กำจัดกิเลสและ
กองทุกข์ได้มากมายถึงเพียงนั้น ส่วนอาชีวกเหล่านี้ชื่อว่าเป็นบุตรของมารดาผู้มีบุตร
ตายแล้ว ยกย่องแต่ตนและติเตียนคนอื่นเท่านั้น กลับปรากฏว่ามีผู้กำจัดกิเลสและ
กองทุกข์ได้เพียง ๓ คน คือ (๑) นันทะ วัจฉะ (๒) กิสะ สังกิจจะ (๓) มักขลิ โคสาล”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๗. มหาสกุลุทายิสูตร

ลำดับนั้น สันทกปริพาชกเรียกบริษัทของตนมากล่าวว่า “พ่อผู้เจริญทั้งหลาย
จงประพฤติพรหมจรรย์กันเถิด การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดมย่อม
มีผล แต่บัดนี้ เราทั้งหลายจะสละลาภสักการะและความสรรเสริญนั้นไม่ใช่เป็นของ
ทำได้ง่าย”
สันทกปริพาชกได้ส่งบริษัทของตนไปประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักพระผู้มีพระภาค
ด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้แล

สันทกสูตรที่ ๖ จบ

๗. มหาสกุลุทายิสูตร
ว่าด้วยปริพาชกชื่อสกุลุทายี สูตรใหญ่

[๒๓๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้นแล ปริพาชกผู้มีชื่อเสียงจำนวนมาก คือ ปริพาชกชื่อ
อันนภาระ ปริพาชกชื่อวรตระ ปริพาชกชื่อสกุลุทายี และปริพาชกเหล่าอื่นล้วนมี
ชื่อเสียง อาศัยอยู่ในอารามของปริพาชกอันเป็นที่ให้เหยื่อแก่นกยูง ครั้นเวลาเช้า
พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังกรุง
ราชคฤห์ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้มีพระดำริว่า
“ยังเช้าเกินไปที่จะเที่ยวบิณฑบาตในเขตกรุงราชคฤห์ ทางที่ดี เราควรเข้าไป
หาสกุลุทายีปริพาชก จนถึงอารามของปริพาชกอันเป็นที่ให้เหยื่อแก่นกยูง”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้เสด็จเข้าไปยังอารามของปริพาชกอันเป็นที่ให้เหยื่อ
แก่นกยูง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๗. มหาสกุลุทายิสูตร

ดิรัจฉานกถา

สมัยนั้น สกุลุทายีปริพาชกกำลังนั่งอยู่กับปริพาชกบริษัทหมู่ใหญ่ผู้กำลัง
สนทนาถึงดิรัจฉานกถาต่าง ๆ ด้วยเสียงดังอื้ออึง คือ พูดเรื่องพระราชา เรื่องโจร
เรื่องมหาอำมาตย์ เรื่องกองทัพ เรื่องภัย เรื่องการรบ เรื่องข้าว เรื่องน้ำ เรื่องผ้า
เรื่องที่นอน เรื่องพวงดอกไม้ เรื่องของหอม เรื่องญาติ เรื่องยาน เรื่องบ้าน เรื่อง
นิคม เรื่องเมืองหลวง เรื่องชนบท เรื่องสตรี (เรื่องบุรุษ) เรื่องคนกล้าหาญ เรื่อง
ตรอก เรื่องท่าน้ำ เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว เรื่องเบ็ดเตล็ด เรื่องโลก เรื่องทะเล เรื่อง
ความเจริญและความเสื่อมอย่างนั้น ๆ สกุลุทายีปริพาชกได้เห็นพระผู้มีพระภาค
กำลังเสด็จมาแต่ไกล จึงห้ามบริษัทของตนว่า
“ท่านผู้เจริญทั้งหลาย โปรดเงียบหน่อย อย่าส่งเสียงอื้ออึง พระสมณโคดม
กำลังเสด็จมา พระองค์โปรดเสียงเบา ทรงแนะนำให้พูดกันเบา ๆ ตรัสสรรเสริญคุณ
ของคนที่พูดเสียงเบา บางทีพระองค์ทรงทราบว่า บริษัทเสียงเบา พระองค์อาจจะ
เสด็จเข้ามาหาก็ได้”
ลำดับนั้น ปริพาชกเหล่านั้นจึงได้พากันนิ่ง ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้เสด็จ
เข้าไปหาสกุลุทายีปริพาชกถึงที่อยู่ สกุลุทายีปริพาชกทูลเชื้อเชิญพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอเชิญพระผู้มีพระภาคจงเสด็จเข้ามาเถิด ขอต้อนรับ
เสด็จ นาน ๆ พระองค์จะมีเวลาเสด็จมาที่นี้ ขอเชิญพระผู้มีพระภาคประทับนั่งเถิด
อาสนะนี้ปูลาดไว้แล้ว พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคจึงประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว แม้สกุลุทายีปริพาชก
ก็เลือกนั่ง ณ ที่สมควรที่ใดที่หนึ่งซึ่งต่ำกว่า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามสกุลุทายี-
ปริพาชกว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๗. มหาสกุลุทายิสูตร

เรื่องการทำความเคารพ

[๒๓๘] “อุทายี บัดนี้ ท่านทั้งหลายนั่งประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร
เรื่องอะไรที่ท่านทั้งหลายสนทนากันค้างไว้”
สกุลุทายีปริพาชกทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องที่ข้าพระองค์
ทั้งหลายนั่งประชุมสนทนากันในเวลานี้ ของดไว้ก่อนเถิด เรื่องนี้พระผู้มีพระภาค
จะทรงสดับได้ในภายหลังโดยไม่ยาก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วันก่อน ๆ พวกสมณ-
พราหมณ์ผู้มีลัทธิต่างกันได้มาชุมนุมกันที่ศาลาถกแถลง๑ ได้สนทนากันถึงเรื่องนี้ว่า
‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย เป็นลาภ๒ของชาวอังคะและชาวมคธหนอ ชาวอังคะและ
ชาวมคธได้ดีแล้วหนอ ที่สมณพราหมณ์ผู้เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ เป็นผู้
มีชื่อเสียง มีเกียรติยศ เป็นเจ้าลัทธิ คนจำนวนมากยกย่องกันว่าเป็นคนดี
เข้าจำพรรษา ณ กรุงราชคฤห์แล้ว คือ ปูรณะ กัสสปะ๓ ผู้เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ
เป็นคณาจารย์ เป็นผู้มีชื่อเสียง มีเกียรติยศ เป็นเจ้าลัทธิ คนจำนวนมากยกย่องกัน
ว่าเป็นคนดี เข้าจำพรรษา ณ กรุงราชคฤห์แล้ว มักขลิ โคสาล๔ ... อชิตะ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๗. มหาสกุลุทายิสูตร

เกสกัมพล๑ ... ปกุธะ กัจจายนะ๒ ... สัญชัย เวลัฏฐบุตร๓ ... นิครนถ์ นาฏบุตร๔
ผู้เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ เป็นผู้มีชื่อเสียง มีเกียรติยศ เป็นเจ้าลัทธิ
คนจำนวนมากยกย่องกันว่าเป็นคนดี รวมทั้งพระสมณโคดมแม้นี้ ผู้เป็นเจ้าหมู่
เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ เป็นผู้มีชื่อเสียง มีเกียรติยศ เป็นเจ้าลัทธิ คนจำนวนมาก
ยกย่องกันว่าเป็นคนดี พระองค์ก็เสด็จเข้าจำพรรษา ณ กรุงราชคฤห์เหมือนกัน
บรรดาท่านสมณพราหมณ์ผู้เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ เป็นผู้มีชื่อเสียง
มีเกียรติยศ เป็นเจ้าลัทธิ คนจำนวนมากยกย่องกันว่าเป็นคนดีนี้ ใครเล่าหนอที่
สาวกทั้งหลายสักการะ เคารพ นับถือ บูชา และสาวกทั้งหลายสักการะ เคารพแล้ว
อาศัยใครเล่าอยู่’

เรื่องศิษย์ไม่เคารพครูทั้ง ๖

[๒๓๙] ในที่ประชุมนั้น สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ครูปูรณะ
กัสสปะนี้ถึงจะเป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ เป็นผู้มีชื่อเสียง มีเกียรติยศ
เป็นเจ้าลัทธิ คนจำนวนมากยกย่องกันว่าเป็นคนดี แต่สาวกทั้งหลายก็ไม่ยอม
สักการะ เคารพ นับถือ บูชา และสาวกทั้งหลายสักการะ เคารพแล้ว ก็ไม่อาศัย
ครูปูรณะ กัสสปะอยู่
เรื่องเคยมีมาแล้ว ครูปูรณะ กัสสปะแสดงธรรมแก่บริษัทหลายร้อย ในบริษัทนั้น
สาวกคนหนึ่งของครูปูรณะ กัสสปะได้ส่งเสียงขึ้นว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย อย่าถาม
เนื้อความนี้กับครูปูรณะ กัสสปะเลย ครูปูรณะ กัสสปะนี้ไม่รู้เนื้อความนี้ พวกเราสิ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๗. มหาสกุลุทายิสูตร

จึงจะรู้เนื้อความนี้ พวกท่านจงถามเนื้อความนี้กับพวกเราเถิด พวกเราจักอธิบายให้
ท่านฟัง’ เรื่องเคยมีมาแล้ว ครูปูรณะ กัสสปะยกมือทั้งสองขึ้น แล้วกล่าวขอร้องว่า
‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย จงเงียบเสียงหน่อย อย่าส่งเสียงไปเลย ท่านพวกนี้จะถาม
พวกท่านไม่ได้ แต่ถามเราได้ เราจักอธิบายให้ท่านพวกนี้ฟัง’ ก็ห้ามไม่ได้
อนึ่ง สาวกของครูปูรณะ กัสสปะเป็นอันมาก พากันยกโทษว่า ‘ท่านไม่รู้ทั่ว
ถึงธรรมวินัยนี้ แต่ผมรู้ทั่วถึง ท่านจะรู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ได้อย่างไร ท่านปฏิบัติผิด
แต่ผมปฏิบัติถูก คำพูดของผมมีประโยชน์ แต่คำพูดของท่านไม่มีประโยชน์ คำที่
ควรพูดก่อนท่านกลับพูดภายหลัง คำที่ควรพูดภายหลัง ท่านกลับพูดก่อน เรื่องที่
ท่านเคยชินได้ผันแปรไปแล้ว ผมจับผิดคำพูดของท่านได้แล้ว ผมข่มท่านได้แล้ว
ถ้าท่านมีความสามารถก็จงหาทางแก้ไขคำพูดหรือเปลื้องตนให้พ้นผิดเถิด’ แล้วพา
กันหลีกไป พวกสาวกไม่ยอมสักการะ เคารพ นับถือ บูชาครูปูรณะ กัสสปะด้วย
อาการอย่างนี้ และสาวกทั้งหลาย ไม่สักการะ เคารพแล้ว ก็ไม่อาศัยครูปูรณะ
กัสสปะอยู่ ครูปูรณะ กัสสปะก็ไม่โกรธ เพราะเป็นการตำหนิที่ชอบธรรม’
สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า ‘แม้ครูมักขลิ โคสาลนี้...ครูอชิตะ
เกสกัมพล... ครูปกุธะ กัจจายนะ... ครูสัญชัย เวลัฏฐบุตร... ครูนิครนถ์ นาฏบุตร
ถึงจะเป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ เป็นคนมีชื่อเสียง มีเกียรติยศ เป็นเจ้า
ลัทธิ คนจำนวนมากยกย่องกันว่าเป็นคนดี แต่สาวกทั้งหลายไม่ยอมสักการะ
เคารพ นับถือ บูชา และสาวกทั้งหลายสักการะ เคารพแล้ว ก็ไม่อาศัยครูนิครนถ์
นาฏบุตรอยู่
เรื่องเคยมีมาแล้ว ครูนิครนถ์ นาฏบุตรแสดงธรรมแก่บริษัทหลายร้อย ในบริษัทนั้น
สาวกคนหนึ่งของครูนิครนถ์ นาฏบุตรได้ส่งเสียงขึ้นว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย อย่าถาม
เนื้อความนี้กับครูนิครนถ์ นาฏบุตรเลย ครูนิครนถ์ นาฏบุตรนี้ไม่รู้เนื้อความนี้
พวกเราสิจึงจะรู้เนื้อความนี้ พวกท่านจงถามเนื้อความนี้กับเราเถิด เราจะอธิบาย
เนื้อความนี้ให้ท่านฟัง’ เรื่องเคยมีมาแล้ว ครูนิครนถ์ นาฏบุตรยกมือทั้งสองขึ้น
แล้วกล่าวขอร้องว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย จงเงียบเสียงหน่อย อย่าส่งเสียงไปเลย
ท่านพวกนี้จะถามพวกท่านไม่ได้ แต่ถามเราได้ เราจักอธิบายให้ท่านพวกนี้ฟัง’
ก็ห้ามไม่ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๗. มหาสกุลุทายิสูตร

อนึ่ง สาวกของครูนิครนถ์ นาฏบุตรเป็นอันมาก พากันยกโทษว่า ‘ท่านไม่รู้
ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ แต่ผมรู้ทั่วถึง ท่านจะรู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ได้อย่างไร ท่านปฏิบัติผิด
แต่ผมปฏิบัติถูก คำพูดของผมมีประโยชน์ แต่คำพูดของท่านไม่มีประโยชน์ คำที่ควร
พูดก่อนท่านกลับพูดภายหลัง คำที่ควรพูดภายหลัง ท่านกลับพูดก่อน เรื่องที่ท่าน
เคยชินได้ผันแปรไปแล้ว ผมจับผิดคำพูดของท่านได้แล้ว ผมข่มท่านได้แล้ว ถ้าท่าน
มีความสามารถก็จงหาทางแก้ไขคำพูดหรือเปลื้องตนให้พ้นผิดเถิด’ แล้วพากัน
หลีกไป พวกสาวกไม่ยอมสักการะ เคารพ นับถือ บูชาครูนิครนถ์ นาฏบุตร
ด้วยอาการอย่างนี้ และสาวกทั้งหลาย ไม่สักการะ เคารพแล้ว ก็ไม่อาศัยครูนิครนถ์
นาฏบุตรอยู่ ครูนิครนถ์ นาฏบุตรก็ไม่โกรธ เพราะเป็นการตำหนิที่ชอบธรรม’

ความเคารพในพระพุทธเจ้า

[๒๔๐] สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า ‘พระสมณโคดมพระองค์นี้
ทรงเป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ ทรงเป็นคณาจารย์ เป็นผู้มีชื่อเสียง มีเกียรติยศ เป็นเจ้าลัทธิ
คนจำนวนมากยกย่องกันว่าเป็นคนดี สาวกทั้งหลายสักการะ เคารพ นับถือ บูชา
พระองค์ นอกจากสักการะ เคารพแล้วก็ยังอาศัยพระองค์อยู่
เรื่องเคยมีมาแล้ว พระสมณโคดมทรงแสดงธรรมแก่บริษัทหลายร้อย ในบริษัทนั้น
สาวกของพระสมณโคดมรูปหนึ่งไอขึ้น เพื่อนพรหมจารีรูปหนึ่งใช้เข่าสะกิดเตือน
ให้รู้ว่า ‘ท่านจงเงียบเสียง อย่าส่งเสียงดังไป พระผู้มีพระภาคผู้เป็นศาสดาของเรา
ทั้งหลายกำลังแสดงธรรม’ ในเวลาที่พระสมณโคดมทรงแสดงธรรมแก่บริษัทหลายร้อย
จะไม่มีเสียงจาม หรือเสียงไอของสาวกของพระสมณโคดมเลย หมู่มหาชนมุ่งหวัง
ที่จะฟังธรรมนั้นว่า ‘เราทั้งหลายจักฟังธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสแก่พวกเรา’ บุรุษ
บีบรังผึ้งซึ่งปราศจากตัวอ่อน ที่สี่แยกทางหลวง หมู่มหาชนก็มุ่งหวังที่จะได้น้ำผึ้งนั้น
แม้ฉันใด ในเวลาที่พระสมณโคดมทรงแสดงธรรมแก่บริษัทหลายร้อย ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน จะไม่มีเสียงจาม หรือเสียงไอของสาวกของพระสมณโคดมเลย หมู่มหาชน
มุ่งหวังที่จะฟังธรรมนั้นว่า ‘เราทั้งหลายจักฟังธรรมที่พระผู้มีพระภาคจักตรัสแก่พวกเรา’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๗. มหาสกุลุทายิสูตร

แม้สาวกของพระสมณโคดมผู้บาดหมางกับเพื่อนพรหมจารีแล้วลาสิกขาออกไป
เป็นคฤหัสถ์ ก็ยังกล่าวสรรเสริญพระศาสดา กล่าวสรรเสริญพระธรรม และกล่าว
สรรเสริญพระสงฆ์ ไม่ติเตียนผู้อื่น ติเตียนเฉพาะตนเองว่า ‘ถึงพวกเราจักได้มาบวช
ในพระธรรมวินัยนี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้วอย่างนี้ แต่ไม่อาจประพฤติพรหมจรรย์
ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์จนตลอดชีวิตได้ เป็นคนไม่มีบุญ มีบุญน้อยเสียแล้ว’
สาวกของพระสมณโคดมเหล่านั้นจะเป็นอารามิกชนก็ดี เป็นอุบาสกก็ดี ก็ยัง
สมาทานประพฤติสิกขาบท ๕ ประการ สาวกทั้งหลายสักการะ เคารพ นับถือ
บูชาพระสมณโคดมด้วยอาการอย่างนี้ นอกจากสักการะ เคารพแล้วก็ยังอาศัย
พระสมณโคดมอยู่”

ธรรมเป็นเหตุให้ทำความเคารพ ๕ ประการ

[๒๔๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุทายี เธอพิจารณาเห็นธรรมกี่ประการ
ที่มีอยู่ในเรา ซึ่งเป็นเหตุให้สาวกของเราสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา นอกจาก
สักการะ เคารพแล้วก็ยังอาศัยเราอยู่”
สกุลุทายีปริพาชกกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์พิจารณา
เห็นธรรม ๕ ประการในพระผู้มีพระภาค ซึ่งเป็นเหตุให้สาวกทั้งหลายสักการะ
เคารพ นับถือ บูชาพระผู้มีพระภาค นอกจากสักการะ เคารพแล้วก็ยังอาศัย
พระผู้มีพระภาคอยู่

ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. พระผู้มีพระภาคเสวยพระกระยาหารน้อย และทรงกล่าวสรรเสริญ
ความเป็นผู้มีอาหารน้อย ข้าพระองค์พิจารณาเห็นธรรมนี้ในพระผู้มี
พระภาคเป็นประการที่ ๑ ซึ่งเป็นเหตุให้สาวกทั้งหลายสักการะ
เคารพ นับถือ บูชาพระผู้มีพระภาค นอกจากสักการะ เคารพ
แล้วก็ยังอาศัยพระผู้มีพระภาคอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๗. มหาสกุลุทายิสูตร

๒. พระผู้มีพระภาคทรงสันโดษ๑ด้วยจีวรตามมีตามได้ และทรงกล่าว
สรรเสริญความสันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้ ข้าพระองค์พิจารณา
เห็นธรรมนี้ในพระผู้มีพระภาคเป็นประการที่ ๒ ซึ่งเป็นเหตุให้สาวก
ทั้งหลายสักการะ เคารพ นับถือ บูชาพระผู้มีพระภาค นอกจาก
สักการะ เคารพแล้วก็ยังอาศัยพระผู้มีพระภาคอยู่
๓. พระผู้มีพระภาคทรงสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ และทรง
กล่าวสรรเสริญความสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ ข้าพระองค์
พิจารณาเห็นธรรมนี้ในพระผู้มีพระภาคเป็นประการที่ ๓ ซึ่งเป็นเหตุ
ให้สาวกทั้งหลายสักการะ เคารพ นับถือ บูชาพระผู้มีพระภาค
นอกจากสักการะ เคารพแล้วก็ยังอาศัยพระผู้มีพระภาคอยู่
๔. พระผู้มีพระภาคทรงสันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ และทรง
กล่าวสรรเสริญความสันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ ข้าพระองค์
พิจารณาเห็นธรรมนี้ในพระผู้มีพระภาคเป็นประการที่ ๔ ซึ่งเป็นเหตุ
ให้สาวกทั้งหลายสักการะ เคารพ นับถือ บูชาพระผู้มีพระภาค
นอกจากสักการะ เคารพแล้วก็ยังอาศัยพระผู้มีพระภาคอยู่
๕. พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้สงัด๒และทรงกล่าวสรรเสริญความสงัด
ข้าพระองค์พิจารณาเห็นธรรมนี้ในพระผู้มีพระภาคเป็นประการที่ ๕
ซึ่งเป็นเหตุให้สาวกทั้งหลายสักการะ เคารพ นับถือ บูชาพระผู้มี
พระภาค นอกจากสักการะ เคารพแล้วก็ยังอาศัยพระผู้มีพระภาคอยู่


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๗. มหาสกุลุทายิสูตร

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์พิจารณาเห็นธรรม ๕ ประการนี้แล ที่มีอยู่
ในพระผู้มีพระภาคซึ่งเป็นเหตุให้สาวกทั้งหลายสักการะ เคารพ นับถือ บูชา นอกจาก
สักการะ เคารพแล้วก็ยังอาศัยพระผู้มีพระภาคอยู่”
[๒๔๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุทายี ถ้าสาวกทั้งหลายจะพึงสักการะ
เคารพ นับถือ บูชาเรา นอกจากสักการะ เคารพแล้วก็ยังอาศัยเราอยู่ด้วยเข้าใจ
ดังนี้ว่า ‘พระสมณโคดมเสวยพระกระยาหารน้อย และทรงกล่าวสรรเสริญความเป็น
ผู้มีอาหารน้อย’ อนึ่ง สาวกทั้งหลายของเราฉันอาหารเพียง ๑ โกสะ๑ก็มี เพียงครึ่ง
โกสะก็มี เพียงเท่าผลมะตูมก็มี เพียงครึ่งผลมะตูมก็มี ส่วนเราสิบางครั้งฉันอาหาร
เสมอขอบปากบาตรนี้ก็มี ยิ่งกว่าก็มี ถ้าสาวกทั้งหลายจะพึงสักการะ เคารพ
นับถือ บูชาเรา นอกจากสักการะ เคารพแล้วก็ยังอาศัยเราอยู่ด้วยเข้าใจดังนี้ว่า
‘พระสมณโคดมเสวยพระกระยาหารน้อย และทรงกล่าวสรรเสริญความเป็นผู้มี
อาหารน้อย’ สาวกทั้งหลายของเราผู้ที่ฉันอาหารเพียง ๑ โกสะบ้าง เพียงครึ่ง
โกสะบ้าง เพียงเท่าผลมะตูมบ้าง เพียงครึ่งผลมะตูมบ้าง ก็คงจะไม่สักการะ เคารพ
นับถือ บูชาเรา แล้วอาศัยเราอยู่โดยธรรมนี้ (๑)
ถ้าสาวกทั้งหลายจะพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา นอกจากสักการะ
เคารพแล้วก็ยังอาศัยเราอยู่ด้วยเข้าใจดังนี้ว่า ‘พระสมณโคดมทรงสันโดษด้วยจีวร
ตามมีตามได้ และทรงกล่าวสรรเสริญความสันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้’ อนึ่ง
สาวกทั้งหลายของเราเป็นผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ทั้งครองจีวรเศร้าหมองด้วย
เธอเหล่านั้นเลือกเก็บผ้าที่ไม่มีชายจากป่าช้าบ้าง จากกองหยากเยื่อบ้าง จากร้าน
ตลาดบ้าง นำมาทำเป็นผ้าสังฆาฏิใช้ก็มี ส่วนเราสิบางคราวก็ใช้คหบดีจีวรเนื้อแน่น
เย็บด้วยเส้นด้ายเหนียว เส้นด้ายละเอียดเช่นกับขนน้ำเต้า ถ้าสาวกทั้งหลายจะพึง
สักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา นอกจากสักการะ เคารพแล้วก็อาศัยเราอยู่ด้วยเข้า
ใจดังนี้ว่า ‘พระสมณโคดมทรงสันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้ และทรงกล่าวสรรเสริญ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๗. มหาสกุลุทายิสูตร

ความสันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้’ สาวกทั้งหลายของเราผู้ที่ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร
ผู้ทรงจีวรเศร้าหมอง เลือกเก็บผ้าที่ไม่มีชายจากป่าช้าบ้าง จากกองหยากเยื่อบ้าง
จากร้านตลาดบ้าง มาทำเป็นผ้าสังฆาฏิใช้ ก็คงจะไม่สักการะ เคารพ นับถือ
บูชาเรา แล้วอาศัยเราอยู่โดยธรรมนี้ (๒)
ถ้าสาวกทั้งหลายจะพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา นอกจากสักการะ
เคารพแล้วก็ยังอาศัยเราอยู่ด้วยเข้าใจดังนี้ว่า ‘พระสมณโคดมทรงสันโดษด้วย
บิณฑบาตตามมีตามได้ และทรงกล่าวสรรเสริญความสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมี
ตามได้’ อนึ่ง สาวกทั้งหลายของเราเป็นผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ถือการเที่ยวบิณฑบาต
ตามลำดับตรอกเป็นวัตร ยินดีในวัตรคือการรับภัตตาหารทั้งดีทั้งเลว เธอเหล่านั้น
เมื่อเข้าไปถึงละแวกบ้านแล้ว ถึงใครจะนิมนต์ด้วยอาสนะก็ไม่ยินดี ส่วนเราสิ
บางครั้งก็ฉันในที่นิมนต์ แต่ล้วนเป็นข้าวสุกแห่งข้าวสาลีที่เขานำกากออกแล้ว มีแกง
และกับหลายอย่าง ถ้าสาวกทั้งหลายจะพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา
นอกจากสักการะ เคารพแล้วก็ยังอาศัยเราอยู่ด้วยเข้าใจดังนี้ว่า ‘พระสมณโคดม
ทรงสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ และทรงกล่าวสรรเสริญความสันโดษด้วย
บิณฑบาตตามมีตามได้’ สาวกทั้งหลายของเราผู้ที่ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ถือการเที่ยว
บิณฑบาตตามลำดับตรอกเป็นวัตร ยินดีในวัตรคือการรับภัตตาหารทั้งดีทั้งเลว
เมื่อเข้าไปยังละแวกบ้านแล้ว ถึงใครจะนิมนต์ด้วยอาสนะก็ไม่ยินดี ก็คงจะไม่สักการะ
เคารพ นับถือ บูชาเรา แล้วอาศัยเราอยู่โดยธรรมนี้ (๓)
ถ้าสาวกทั้งหลายจะพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา นอกจากสักการะ
เคารพแล้วก็ยังอาศัยเราอยู่ด้วยเข้าใจดังนี้ว่า ‘พระสมณโคดมทรงสันโดษด้วย
เสนาสนะตามมีตามได้ และทรงกล่าวสรรเสริญความสันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้’
อนึ่ง สาวกทั้งหลายของเราถือการอยู่โคนไม้เป็นวัตร ถือการอยู่กลางแจ้งเป็นวัตร
เธอเหล่านั้นไม่เข้าไปที่มุงตลอด ๘ เดือน ส่วนเราสิบางครั้งอยู่ในเรือนยอดที่ฉาบทา
ทั้งข้างในและข้างนอก ลมเข้าไม่ได้ มีลิ่มชิดสนิทดี มีหน้าต่างเปิดปิดได้ ถ้าสาวก
ทั้งหลายจะพึงสักการะเคารพ นับถือ บูชาเรา นอกจากสักการะ เคารพแล้วก็ยัง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๗. มหาสกุลุทายิสูตร

อาศัยเราอยู่ด้วยเข้าใจดังนี้ว่า ‘พระสมณโคดมทรงยินดีด้วยเสนาสนะตามมีตามได้
และทรงกล่าวสรรเสริญความสันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้’ สาวกทั้งหลาย
ของเราผู้ที่ถือการอยู่โคนไม้เป็นวัตร ถือการอยู่ในที่แจ้งเป็นวัตรไม่เข้าไปที่มุงตลอด
๘ เดือน ก็คงจะไม่สักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา แล้วอาศัยเราอยู่โดยธรรมนี้ (๔)
ถ้าสาวกทั้งหลายจะพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา นอกจากสักการะ
เคารพแล้วก็ยังอาศัยเราอยู่ด้วยเข้าใจดังนี้ว่า ‘พระสมณโคดมเป็นผู้สงัด และทรง
กล่าวสรรเสริญความสงัด’ อนึ่ง สาวกทั้งหลายของเราถือการอยู่ป่าเป็นวัตร
ถือเสนาสนะอันสงัดคือป่าชัฏอยู่ เธอเหล่านั้นย่อมมาประชุมท่ามกลางสงฆ์เฉพาะ
เวลาสวดปาติโมกข์ทุกกึ่งเดือน ส่วนเราสิบางคราวก็มากไปด้วยภิกษุ ภิกษุณี
อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา เดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์
ถ้าสาวกทั้งหลายจะพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา นอกจากสักการะ เคารพ
แล้วก็ยังอาศัยเราอยู่ด้วยเข้าใจดังนี้ว่า ‘พระสมณโคดมเป็นผู้สงัด และทรงกล่าว
สรรเสริญความสงัด’ สาวกทั้งหลายของเราผู้ที่ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ถือเสนาสนะ
อันสงัดคือป่าชัฏอยู่ ย่อมมาประชุมท่ามกลางสงฆ์เฉพาะเวลาสวดปาติโมกข์ทุกกึ่งเดือน
ก็คงจะไม่สักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา แล้วอาศัยเราอยู่โดยธรรมนี้ (๕)
อุทายี สาวกทั้งหลายย่อมไม่สักการะ เคารพ นับถือ บูชาเราแล้วอาศัยเราอยู่
โดยธรรม ๕ ประการนี้ ด้วยอาการอย่างนี้

ธรรมเป็นเหตุให้ทำความเคารพประการอื่น ๆ

[๒๔๓] อุทายี มีธรรม ๕ ประการอื่นอีกซึ่งเป็นเหตุให้สาวกทั้งหลายของเรา
สักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา นอกจากสักการะ เคารพแล้วก็ยังอาศัยเราอยู่
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง
คือ ในธรรมวินัยนี้
๑. สาวกทั้งหลายของเราย่อมสรรเสริญ(เรา) ในอธิศีล๑ว่า ‘พระสมณโคดม
เป็นผู้มีศีล ประกอบด้วยสีลขันธ์อย่างยิ่ง’ การที่สาวกทั้งหลายของ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๗. มหาสกุลุทายิสูตร

เราสรรเสริญ(เรา) ในอธิศีลว่า ‘พระสมณโคดมเป็นผู้มีศีล ประกอบ
ด้วยสีลขันธ์อย่างยิ่ง’ นี้แล เป็นธรรมประการที่ ๑ ซึ่งเป็นเหตุให้
สาวกทั้งหลายของเราสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา นอกจาก
สักการะ เคารพแล้วก็ยังอาศัยเราอยู่
[๒๔๔] ๒. สาวกทั้งหลายของเราย่อมสรรเสริญ(เรา) ในญาณทัสสนะ๑อันยอด
เยี่ยมว่า ‘พระสมณโคดมเมื่อทรงรู้เองก็ตรัสว่า ‘เรารู้’ เมื่อทรงเห็น
เองก็ตรัสว่า ‘เราเห็น’ ทรงแสดงธรรมเพื่อความรู้ยิ่ง มิใช่ทรงแสดง
เพื่อความไม่รู้ยิ่ง ทรงแสดงธรรมมีเหตุ มิใช่ทรงแสดงธรรมไม่มีเหตุ
ทรงแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ มิใช่ทรงแสดงธรรมไม่มีปาฏิหาริย์’ การที่
สาวกทั้งหลายของเราสรรเสริญ(เรา)ในญาณทัสสนะอันยอดเยี่ยม
ว่า ‘พระสมณโคดมเมื่อทรงรู้เองก็ตรัสว่า ‘เรารู้’ เมื่อทรงเห็นเองก็
ตรัสว่า ‘เราเห็น’ ทรงแสดงธรรมเพื่อความรู้ยิ่ง มิใช่ทรงแสดงเพื่อ
ความไม่รู้ยิ่ง ทรงแสดงธรรมมีเหตุ มิใช่ทรงแสดงธรรมไม่มีเหตุ
ทรงแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ มิใช่ทรงแสดงธรรมไม่มีปาฏิหาริย์’ นี้แล
เป็นธรรมประการที่ ๒ ซึ่งเป็นเหตุให้สาวกทั้งหลายของเราสักการะ
เคารพ นับถือ บูชาเรา นอกจากสักการะ เคารพแล้วก็ยังอาศัย
เราอยู่
[๒๔๕] ๓. สาวกทั้งหลายของเราย่อมสรรเสริญ(เรา)ในอธิปัญญา๒ว่า ‘พระสมณ-
โคดมทรงมีพระปัญญา ทรงประกอบด้วยพระปัญญาขันธ์อันยิ่ง
เป็นไปไม่ได้เลยที่พระสมณโคดมจักไม่ทรงเล็งเห็นถ้อยคำที่ยังไม่มาถึง
หรือจักไม่ทรงข่มคำโต้เถียงของฝ่ายอื่นที่เกิดขึ้นแล้ว ให้เป็นการ
ถูกต้อง มีเหตุผลดี’ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร มีบ้างไหม
ที่สาวกทั้งหลายของเรา เมื่อรู้ เห็นอย่างนี้ จะพึงพูดสอดขึ้นมา”
“ไม่มี พระพุทธเจ้าข้า”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๗. มหาสกุลุทายิสูตร

“อุทายี เราไม่หวังการพร่ำสอนจากสาวกทั้งหลาย ที่แท้สาวกทั้งหลาย
ย่อมหวังการพร่ำสอนจากเราเท่านั้น การที่สาวกทั้งหลายของเรา
ย่อมสรรเสริญ(เรา)ในอธิปัญญาว่า ‘พระสมณโคดมทรงมีพระปัญญา
ทรงประกอบด้วยพระปัญญาขันธ์อันยิ่ง เป็นไปไม่ได้เลยที่พระสมณ-
โคดมจักไม่ทรงเล็งเห็นถ้อยคำที่ยังไม่มาถึง หรือจักไม่ทรงข่มคำโต้
เถียงของฝ่ายอื่นที่เกิดขึ้นแล้ว ให้เป็นการถูกต้อง มีเหตุผลดี’ นี้แล
เป็นธรรมประการที่ ๓ ซึ่ง เป็นเหตุให้สาวกทั้งหลายของเราสักการะ
เคารพ นับถือ บูชาเรา นอกจากสักการะ เคารพแล้วก็ยังอาศัยเราอยู่
[๒๔๖] ๔. สาวกทั้งหลายของเราผู้ถูกทุกข์ท่วมทับแล้ว ถูกทุกข์ครอบงำแล้ว
เพราะทุกข์ใด เธอเหล่านั้นจึงเข้ามาหาเราแล้วถามถึงทุกขอริยสัจนั้น
เราถูกเธอเหล่านั้นถามถึงทุกขอริยสัจก็ตอบได้ เราทำให้เธอเหล่า
นั้นมีจิตยินดีแช่มชื่นด้วยการตอบปัญหา เธอเหล่านั้นเข้ามาหาเรา
แล้วถามถึงทุกขสมุทัยอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธอริยสัจ ฯลฯ ถามถึง
ทุกขนิโรธคามินีปฏิทาอริยสัจ เราถูกเธอเหล่านั้นถามถึงทุกข-
นิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจก็ตอบได้ เราทำให้เธอเหล่านั้นมีจิตยินดี
แช่มชื่นด้วยการตอบปัญหา การที่สาวกทั้งหลายของเราผู้ถูกทุกข์
ท่วมทับแล้ว ถูกทุกข์ครอบงำแล้วเพราะทุกข์ใด เธอเหล่านั้นจึงเข้า
มาหาเราแล้ว ถามถึงทุกขอริยสัจนั้น เราถูกเธอเหล่านั้นถามถึง
ทุกขอริยสัจก็ตอบได้ เราทำให้เธอเหล่านั้นมีจิตยินดีแช่มชื่นด้วยการ
ตอบปัญหา เธอเหล่านั้นเข้ามาหาเราแล้วถามถึงทุกขสมุทัยอริยสัจ
ฯลฯ ทุกขนิโรธอริยสัจ ฯลฯ ถามถึงทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
เราถูกเธอเหล่านั้นถามถึงทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจแล้วก็ตอบได้
เราทำให้เธอเหล่านั้นมีจิตยินดีแช่มชื่นด้วยการตอบปัญหา นี้แล
เป็นธรรมประการที่ ๔ ซึ่งเป็นเหตุให้สาวกทั้งหลายของเราสักการะ
เคารพ นับถือ บูชาเรา นอกจากสักการะ เคารพแล้วก็ยังอาศัย
เราอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๗. มหาสกุลุทายิสูตร

[๒๔๗] ๕. เราได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลายของเราผู้ปฏิบัติ
ตามย่อมเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
เพราะเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการนั้นแล สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุ
ที่สุดแห่งอภิญญาและอภิญญาบารมี๑อยู่
อีกประการหนึ่ง เราได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลายของเรา
ผู้ปฏิบัติตามเจริญสัมมัปปธาน ๔ ประการ
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. สร้างฉันทะ๒ พยายาม ปรารภความเพียร๓ ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรม๔ที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น
๒. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
๓. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๗. มหาสกุลุทายิสูตร

๔. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อ
ความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิยโยภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่ แห่ง
กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
เพราะเจริญสัมมัปปธาน ๔ ประการนั้นแล สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้
บรรลุที่สุดแห่งอภิญญาและอภิญญาบารมีอยู่
อีกประการหนึ่ง เราได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลายของเรา
ผู้ปฏิบัติตามเจริญอิทธิบาท ๔ ประการ
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร๑(สมาธิที่เกิดจาก
ฉันทะและความเพียรสร้างสรรค์)
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร(สมาธิที่เกิดจาก
วิริยะและความเพียรสร้างสรรค์)
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร(สมาธิที่เกิดจาก
จิตตะและความเพียรสร้างสรรค์)
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร(สมาธิที่เกิด
จากวิมังสาและความเพียรสร้างสรรค์)
เพราะเจริญอิทธิบาท ๔ ประการนั้นแล สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุ
ที่สุดแห่งอภิญญาและอภิญญาบารมีอยู่
อีกประการหนึ่ง เราได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลายของเรา
ผู้ปฏิบัติตามเจริญอินทรีย์ ๕ ประการ
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัทธินทรีย์ที่ให้ถึงความสงบ ให้ถึงความตรัสรู้
๒. เจริญวิริยินทรีย์ ฯลฯ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๗. มหาสกุลุทายิสูตร

๓. เจริญสตินทรีย์ ฯลฯ
๔. เจริญสมาธินทรีย์ ฯลฯ
๕. เจริญปัญญินทรีย์ที่จะให้ถึงความสงบ ให้ถึงความตรัสรู้
เพราะเจริญอินทรีย์ ๕ ประการนั้นแล สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุ
ที่สุดแห่งอภิญญาและอภิญญาบารมีอยู่
อีกประการหนึ่ง เราได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลายของเรา
ผู้ปฏิบัติตามเจริญพละ(ธรรมอันเป็นกำลัง) ๕ ประการ
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัทธาพละที่ให้ถึงความสงบ ให้ถึงความตรัสรู้
๒. เจริญวิริยพละ ฯลฯ
๓. เจริญสติพละ ฯลฯ
๔. เจริญสมาธิพละ ฯลฯ
๕. เจริญปัญญาพละ ที่จะให้ถึงความสงบ ให้ถึงความตรัสรู้
เพราะเจริญพละ ๕ ประการนั้นแล สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุที่สุด
แห่งอภิญญาและอภิญญาบารมีอยู่
อีกประการหนึ่ง เราได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลายของเรา
ผู้ปฏิบัติตามเจริญโพชฌงค์(องค์ธรรมแห่งการตรัสรู้) ๗ ประการ
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อม
ไปในโวสสัคคะ (ความสละ)
๒. เจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ฯลฯ
๓. เจริญวิริยสัมโพชฌงค์ ฯลฯ
๔. เจริญปีติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ
๕. เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๗. มหาสกุลุทายิสูตร

๖. เจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ ฯลฯ
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ (ความสละ)
เพราะเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการนั้นแล สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุ
ที่สุดแห่งอภิญญาและอภิญญาบารมีอยู่
อีกประการหนึ่ง เราได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลายของเรา
ผู้ปฏิบัติตามเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. เจริญสัมมาทิฏฐิ ๒. เจริญสัมมาสังกัปปะ
๓. เจริญสัมมาวาจา ๔. เจริญสัมมากัมมันตะ
๕. เจริญสัมมาอาชีวะ ๖. เจริญสัมมาวายามะ
๗. เจริญสัมมาสติ ๘. เจริญสัมมาสมาธิ

เพราะเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้นแล สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุ
ที่สุดแห่งอภิญญาและอภิญญาบารมีอยู่
[๒๔๘] อีกประการหนึ่ง เราได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลาย
ของเราผู้ปฏิบัติตาม เจริญวิโมกข์(ธรรมเครื่องหลุดพ้น) ๘ ประการ๑ คือ
๑. สาวกผู้มีรูปเห็นรูปทั้งหลาย นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๑
๒. สาวกผู้มีอรูปสัญญาภายในเห็นรูปทั้งหลายภายนอก นี้เป็นวิโมกข์
ประการที่ ๒
๓. สาวกน้อมใจไปว่า ‘งาม’ นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๓
๔. สาวกบรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุด
มิได้’ อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตต-
สัญญาโดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๔


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๗. มหาสกุลุทายิสูตร

๕. สาวกล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
วิญญาณัญจายตนฌานอยู่โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่
นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๕
๖. สาวกล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
อากิญจัญญายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ นี้เป็นวิโมกข์
ประการที่ ๖
๗. สาวกล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
เนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๗
๘. สาวกล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
สัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๘
เพราะเจริญวิโมกข์ ๘ ประการนั้นแล สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุที่สุด
แห่งอภิญญาและอภิญญาบารมีอยู่
[๒๔๙] อีกประการหนึ่ง เราได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลาย
ของเราผู้ปฏิบัติตาม เจริญอภิภายตนะ๑ ๘ ประการ คือ
๑. สาวกผู้หนึ่งมีรูปสัญญาภายใน๒ เห็นรูปทั้งหลายภายนอกขนาดเล็ก
มีสีสันดีหรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้
เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๑
๒. สาวกผู้หนึ่งมีรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกขนาดใหญ่
มีสีสันดีหรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้
เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๒


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๗. มหาสกุลุทายิสูตร

๓. สาวกผู้หนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน๑ เห็นรูปทั้งหลายภายนอกขนาดเล็ก
มีสีสันดีหรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้
เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๓
๔. สาวกผู้หนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกขนาดใหญ่
มีสีสันดีหรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้
เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๔
๕. สาวกผู้หนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่เขียว
มีสีเขียว เปรียบด้วยของเขียว มีสีเขียวเข้ม ดอกผักตบที่เขียว มีสี
เขียว เปรียบด้วยของเขียว มีสีเขียวเข้ม หรือผ้าเมืองพาราณสีอัน
มีเนื้อละเอียดทั้ง ๒ ด้าน ที่เขียว มีสีเขียว เปรียบด้วยของเขียว
มีสีเขียวเข้ม แม้ฉันใด สาวกผู้หนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่เขียว มีสีเขียว เปรียบด้วย
ของเขียว มีสีเขียวเข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า
‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๕
๖. สาวกผู้หนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่เหลือง
มีสีเหลือง เปรียบด้วยของเหลือง มีสีเหลืองเข้ม ดอกกรรณิการ์ที่
เหลือง มีสีเหลือง เปรียบด้วยของเหลือง มีสีเหลืองเข้ม หรือผ้า
เมืองพาราณสีอันมีเนื้อละเอียดทั้ง ๒ ด้าน ที่เหลือง มีสีเหลือง
เปรียบด้วยของเหลือง มีสีเหลืองเข้ม แม้ฉันใด สาวกผู้หนึ่งมี
อรูปสัญญาภายใน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่
เหลือง มีสีเหลือง เปรียบด้วยของเหลือง มีสีเหลืองเข้ม ครอบงำ
รูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะ
ประการที่ ๖


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๗. มหาสกุลุทายิสูตร

๗. สาวกผู้หนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่แดง มีสี
แดง เปรียบด้วยของแดง มีสีแดงเข้ม ดอกชบาที่แดง มีสีแดง
เปรียบด้วยของแดง และมีสีแดงเข้ม หรือผ้าเมืองพาราณสีอันมีเนื้อ
ละเอียดทั้ง ๒ ด้าน ที่แดง มีสีแดง เปรียบด้วยของแดง มีสีแดงเข้ม
แม้ฉันใด สาวกผู้หนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เห็นรูป
ทั้งหลายภายนอกที่แดง มีสีแดง เปรียบด้วยของแดง มีสีแดงเข้ม
ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็น
อภิภายตนะประการที่ ๗
๘. สาวกผู้หนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกสีขาว
มีสีขาว เปรียบด้วยของขาว มีสีขาวเข้ม ดาวประกายพรึกที่ขาว
มีสีขาว เปรียบด้วยของขาว และมีสีขาวเข้ม หรือผ้าเมืองพาราณสี
อันมีเนื้อละเอียดทั้ง ๒ ด้าน ที่ขาว มีสีขาว เปรียบด้วยของขาว
มีสีขาวเข้ม แม้ฉันใด สาวกผู้หนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่ขาว มีสีขาว เปรียบด้วย
ของขาว มีสีขาวเข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า
‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๘
เพราะเจริญอภิภายตนะ ๘ ประการนั้นแล๑ สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้
บรรลุที่สุดแห่งอภิญญาและอภิญญาบารมี๒อยู่
[๒๕๐] อีกประการหนึ่ง เราได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวก
ทั้งหลายของเราผู้ปฏิบัติตามเจริญกสิณายตนะ๓ (บ่อเกิดแห่งธรรมที่มีกสิณเป็นอารมณ์)
๑๐ ประการ คือ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๗. มหาสกุลุทายิสูตร

๑. สาวกผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดปฐวีกสิณ(กสิณคือดิน) เบื้องบน เบื้องต่ำ
เบื้องขวาง ไม่มีสอง ไม่มีประมาณ
๒. สาวกผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดอาโปกสิณ(กสิณคือน้ำ) ฯลฯ
๓. สาวกผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดเตโชกสิณ(กสิณคือไฟ) ฯลฯ
๔. สาวกผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดวาโยกสิณ(กสิณคือลม) ฯลฯ
๕. สาวกผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดนีลกสิณ(กสิณคือสีเขียว) ฯลฯ
๖. สาวกผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดปีตกสิณ(กสิณคือสีเหลือง) ฯลฯ
๗. สาวกผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดโลหิตกสิณ(กสิณคือสีแดง) ฯลฯ
๘. สาวกผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดโอทาตกสิณ(กสิณคือสีขาว) ฯลฯ
๙. สาวกผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดอากาสกสิณ(กสิณคือที่ว่างเปล่า) ฯลฯ
๑๐. สาวกผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดวิญญาณกสิณ(กสิณคือวิญญาณ) เบื้องบน
เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ไม่มีสอง ไม่มีประมาณ
เพราะเจริญกสิณายตนะ ๑๐ ประการนั้นเแล๑ สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้
บรรลุที่สุดแห่งอภิญญาและอภิญญาบารมีอยู่

ฌาน ๔

[๒๕๑] อีกประการหนึ่ง เราได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลาย
ของเราผู้ปฏิบัติตาม เจริญฌาน ๔ ประการ
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตก
วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เธอทำกายนี้ให้ชุ่มชื่น อิ่มเอิบ
ด้วยปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกรู้สึกซาบซ่านอยู่ ไม่มีส่วนไหนของ
ร่างกายที่ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกจะไม่ถูกต้อง พนักงานสรงสนาน
หรือลูกมือพนักงานสรงสนานผู้ชำนาญ เทผงถูตัวลงในภาชนะสัมฤทธิ์


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๗. มหาสกุลุทายิสูตร

แล้วเอาน้ำประพรมให้ติดเป็นก้อน พอตกเย็นก้อนถูตัวที่ยางซึมไปจับ
ก็ติดกันหมด ไม่กระจายออก แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ทำกายนี้ให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่ม ด้วยปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก รู้สึก
ซาบซ่านอยู่ ไม่มีส่วนไหนของร่างกายที่ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก
จะไม่ถูกต้อง
๒. เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ อยู่ เธอ
ทำกายนี้ให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่ม ด้วยปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิรู้สึก
ซาบซ่านอยู่ ไม่มีส่วนไหนของร่างกายที่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ
จะไม่ถูกต้อง ห้วงน้ำลึก เป็นวังวน ไม่มีทางที่กระแสน้ำจะไหล
เข้าได้ ทั้งด้านตะวันออก ด้านตะวันตก ด้านเหนือ และด้านใต้
ฝนก็ไม่ตกตามฤดูกาล แต่กระแสน้ำเย็นพุขึ้นจากห้วงน้ำนั้นแล้วทำ
ห้วงน้ำนั้นให้ชุ่มชื่น เอิบอาบ เนืองนองไปด้วยน้ำเย็น ไม่มีส่วนไหน
ของห้วงน้ำนั้นที่น้ำเย็นจะไม่ถูกต้อง แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น
เหมือนกัน ทำกายนี้ให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่ม ด้วยปีติและสุขอันเกิดจาก
สมาธิรู้สึกซาบซ่านอยู่ ไม่มีส่วนไหนของร่างกายที่ปีติและสุขอันเกิด
จากสมาธิจะไม่ถูกต้อง
๓. เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุข
ด้วยนามกายบรรลุตติยฌาน ฯลฯ อยู่ เธอทำกายนี้ให้ชุ่มชื่น อิ่มเอิบ
ด้วยสุขอันไม่มีปีติรู้สึกซาบซ่านอยู่ ไม่มีส่วนไหนของร่างกายที่สุข
อันไม่มีปีติจะไม่ถูกต้อง ในกอบัวเขียว(อุบล) กอบัวหลวง(ปทุม)
หรือกอบัวขาว(บุณฑริก) ดอกบัวเขียว ดอกบัวหลวงหรือดอกบัว
ขาวบางเหล่าที่เกิด เจริญเติบโตในน้ำ ยังไม่พ้นน้ำ จมอยู่ใต้น้ำ มีน้ำ
หล่อเลี้ยงไว้ ดอกบัวเหล่านั้นชุ่มชื่น เอิบอาบ ซาบซึมด้วยน้ำเย็นตั้ง
แต่ยอดถึงเหง้า ไม่มีส่วนไหนของดอกบัวเขียวดอกบัวหลวง หรือ
ดอกบัวขาวทั่วทุกดอก ที่น้ำเย็นจะไม่ถูกต้อง แม้ฉันใด ภิกษุก็
ฉันนั้นเหมือนกัน ทำกายนี้ให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่ม ด้วยสุขอันไม่มีปีติรู้สึก
ซาบซ่านอยู่ ไม่มีส่วนไหนของร่างกายที่สุขอันไม่มีปีติจะไม่ถูกต้อง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๗. มหาสกุลุทายิสูตร

๔. เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน ภิกษุ
บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อยู่ เธอมีใจอันบริสุทธิ์ผุดผ่อง นั่งแผ่ไป
ทั่วกายนี้ ไม่มีส่วนไหนของร่างกายที่ใจอันบริสุทธิ์ผุดผ่องจะไม่
ถูกต้อง บุรุษนั่งใช้ผ้าขาวคลุมตัวตลอดศีรษะ ไม่มีส่วนไหนของร่าง
กายที่ผ้าขาวจะไม่ปกคลุม แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีใจ
อันบริสุทธิ์ผุดผ่อง นั่งแผ่ไปทั่วกายนี้ ไม่มีส่วนไหนของร่างกาย
ที่ใจอันบริสุทธิ์ผุดผ่องจะไม่ถูกต้อง
เพราะปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่เราบอกแล้วเจริญฌาน ๔ ประการนั้นแล สาวก
ของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุที่สุดแห่งอภิญญาและอภิญญาบารมีอยู่

วิชชา ๘ ประการ
๑. วิปัสสนาญาณ

[๒๕๒] อีกประการหนึ่ง เราได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลาย
ของเราผู้ปฏิบัติตามรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘กายของเรานี้คุมกันเป็นรูปร่างประกอบขึ้นจาก
มหาภูตรูป ๔ เกิดจากมารดาบิดา เจริญวัยเพราะข้าวสุกและขนมกุมมาส ไม่เที่ยงแท้
ต้องอบ ต้องนวดเฟ้น มีอันแตกกระจัดกระจายไปเป็นธรรมดา วิญญาณของเรา
อาศัยและเนื่องอยู่ในกายนี้’ แก้วไพฑูรย์อันงดงาม ตามธรรมชาติมีแปดเหลี่ยม
ที่เจียระไนดีแล้ว สุกใสเป็นประกายได้สัดส่วน มีด้ายสีเขียว สีเหลือง สีแดง สีขาว
หรือสีนวลร้อยอยู่ข้างใน คนตาถึงหยิบแก้วไพฑูรย์นั้นวางไว้ในมือแล้วพิจารณารู้ว่า
‘แก้วไพฑูรย์อันงดงามตามธรรมชาติ มีแปดเหลี่ยม ที่เจียระไนดีแล้ว สุกใส เป็น
ประกายได้สัดส่วนมีด้ายสีเขียว สีเหลือง สีแดง สีขาว หรือสีนวลร้อยอยู่ข้างใน’
ได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย แม้ฉันใด เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน ได้บอก
ข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลายของเราผู้ปฏิบัติตามย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า
‘กายของเรานี้คุมกันเป็นรูปร่าง ประกอบขึ้นจากมหาภูตรูป ๔ เกิดจากมารดาบิดา
เจริญวัยเพราะข้าวสุกและขนมกุมมาส ไม่เที่ยงแท้ ต้องอบ ต้องนวดเฟ้น มีอันแตก
กระจัดกระจายไปเป็นธรรมดา วิญญาณของเราอาศัยและเนื่องอยู่ในกายนี้’
เพราะปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่เราบอกแล้วรู้ชัดอย่างนี้นั้นแล สาวกของเราเป็น
อันมากจึงได้บรรลุที่สุดแห่งอภิญญาและอภิญญาบารมีอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๗. มหาสกุลุทายิสูตร

๒. มโนมยิทธิญาณ

[๒๕๓] อีกประการหนึ่ง เราได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลาย
ของเราผู้ปฏิบัติตามเนรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปที่เกิดแต่ใจ มีอวัยวะครบถ้วน
มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง เปรียบเหมือนคนชักไส้ออกจากหญ้าปล้อง เขาเห็นอย่างนี้ว่า
‘นี้คือหญ้าปล้อง นี้คือไส้ หญ้าปล้องเป็นอย่างหนึ่ง ไส้ก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง แต่ไส้ถูก
ชักออกมาจากหญ้าปล้องนั่นเอง’
คนชักดาบออกจากฝัก เขาเห็นอย่างนี้ว่า ‘นี้คือดาบ นี้คือฝัก ดาบเป็น
อย่างหนึ่ง ฝักก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง แต่ดาบถูกชักออกมาจากฝักนั่นเอง’
หรือคนดึงงูออกจากคราบ เขาเห็นอย่างนี้ว่า ‘นี้คืองู นี้คือคราบ งูเป็นอย่างหนึ่ง
คราบก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง แต่งูถูกดึงออกจากคราบนั่นเอง’ แม้ฉันใด เราก็ฉันนั้น
เหมือนกัน ได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลายของเราผู้ปฏิบัติตาม
ข้อปฏิบัติที่เราบอกแล้วย่อมเนรมิตกายอื่นจากกายนี้ได้ มีรูปที่เกิดแต่ใจ มีอวัยวะ
ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง
เพราะปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่เราบอกแล้วเนรมิตกายนั้นแล สาวกทั้งหลายของ
เราเป็นอันมากจึงบรรลุที่สุดแห่งอภิญญาและอภิญญาบารมีอยู่

๓. อิทธิวิธญาณ

[๒๕๔] อีกประการหนึ่ง เราได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลาย
ของเราผู้ปฏิบัติตาม แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้
หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ แสดงให้ปรากฏหรือให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา กำแพง
(และ)ภูเขาไปได้ไม่ติดขัด เหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นหรือดำลงในแผ่นดินเหมือน
ไปในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำโดยที่น้ำไม่แยกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ นั่งขัดสมาธิเหาะ
ไปในอากาศเหมือนนกบินไปก็ได้ ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์ดวงอาทิตย์อันมีฤทธิ์
มากมีอานุภาพมากก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้ เปรียบเหมือน
ช่างหม้อหรือลูกมือช่างหม้อผู้ชำนาญ เมื่อนวดดินเหนียวดีแล้วพึงทำภาชนะที่ต้องการ
ให้สำเร็จได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๗. มหาสกุลุทายิสูตร

ช่างงาหรือลูกมือช่างงาผู้ชำนาญ เมื่อแต่งงาดีแล้ว พึงทำเครื่องงาชนิดที่
ต้องการให้สำเร็จได้
ช่างทองหรือลูกมือช่างทองผู้ชำนาญ เมื่อหลอมทองดีแล้ว พึงทำทอง
รูปพรรณชนิดที่ต้องการให้สำเร็จได้ แม้ฉันใด เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน ได้บอกข้อ
ปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลายของเราผู้ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่เราบอกแล้ว
ย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนแสดง
เป็นคนเดียวก็ได้ แสดงให้ปรากฏหรือให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา กำแพง (และ)ภูเขาไป
ได้ไม่ติดขัด เหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นหรือดำลงในแผ่นดินเหมือนไปในน้ำก็ได้
เดินบนน้ำโดยที่น้ำไม่แยกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ นั่งขัดสมาธิเหาะไปในอากาศ
เหมือนนกบินไปก็ได้ ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์ดวงอาทิตย์อันมีฤทธิ์มากมีอานุภาพ
มากก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้
เพราะปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่เราบอกแล้วแสดงฤทธิ์นั้นแล สาวกของเราเป็น
อันมากจึงบรรลุที่สุดแห่งอภิญญาและอภิญญาบารมีอยู่

๔. ทิพพโสตธาตุญาณ

[๒๕๕] อีกประการหนึ่ง เราได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลาย
ของเราผู้ปฏิบัติตามได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ (๑) เสียงทิพย์ (๒) เสียงมนุษย์ ทั้งที่
อยู่ไกลและใกล้ด้วยหูทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ คนเป่าสังข์ที่แข็งแรง จะพึงยังคน
ให้รู้ตลอดทิศทั้ง ๔ โดยไม่ยาก แม้ฉันใด เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน ได้บอกข้อปฏิบัติ
แก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลายของเราผู้ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่เราบอกแล้วย่อม
ได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ (๑) เสียงทิพย์ (๒) เสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้
ด้วยหูทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์
เพราะปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่เราบอกแล้วได้ยินเสียง ๒ ชนิดนั้นแล สาวกทั้งหลาย
ของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุที่สุดแห่งอภิญญาและอภิญญาบารมีอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๗. มหาสกุลุทายิสูตร

๕. เจโตปริยญาณ

[๒๕๖] อีกประการหนึ่ง เราได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลาย
ของเราผู้ปฏิบัติตาม กำหนดรู้จิตของสัตว์และคนอื่นด้วยจิตของตน คือ
จิตมีราคะก็รู้ว่า ‘จิตมีราคะ’ หรือจิตปราศจากราคะก็รู้ว่า ‘จิตปราศจากราคะ’
จิตมีโทสะก็รู้ว่า ‘จิตมีโทสะ’ หรือจิตปราศจากโทสะก็รู้ว่า ‘จิตปราศจากโทสะ’
จิตมีโมหะก็รู้ว่า ‘จิตมีโมหะ’ หรือจิตปราศจากโมหะก็รู้ว่า ‘จิตปราศจากโมหะ’
จิตหดหู่ก็รู้ว่า ‘จิตหดหู่’ หรือจิตฟุ่งซ่านก็รู้ว่า ‘จิตฟุ้งซ่าน’
จิตเป็นมหัคคตะ๑ก็รู้ว่า ‘จิตเป็นมหัคคตะ’ หรือจิตไม่เป็นมหัคคตะก็รู้ว่า ‘จิตไม่
เป็นมหัคคตะ’
จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่า ‘จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า’ หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่า
‘จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า’
จิตเป็นสมาธิก็รู้ว่า ‘จิตเป็นสมาธิ’ หรือจิตไม่เป็นสมาธิก็รู้ว่า ‘จิตไม่เป็นสมาธิ’
จิตหลุดพ้นก็รู้ว่า ‘จิตหลุดพ้น’ หรือจิตไม่หลุดพ้นก็รู้ว่า ‘จิตไม่หลุดพ้น’
ชายหนุ่มหญิงสาวที่ชอบการแต่งตัว เมื่อส่องดูเงาหน้าของตนในกระจกใสสะอาด
หรือในภาชนะน้ำใส หน้ามีไฝฝ้าก็รู้ว่า มีไฝฝ้า หรือไม่มีไฝฝ้าก็รู้ว่า ไม่มีไฝฝ้า
แม้ฉันใด เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน ได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลาย
ของเราผู้ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่เราบอกแล้วย่อมกำหนดรู้จิตของสัตว์ และคนอื่นด้วย
จิตของตน คือ
จิตมีราคะก็รู้ว่า ‘จิตมีราคะ’ หรือจิตปราศจากราคะก็รู้ว่า ‘จิตปราศจากราคะ’
จิตมีโทสะก็รู้ว่า ‘จิตมีโทสะ’ หรือจิตปราศจากโทสะก็รู้ว่า ‘จิตปราศจากโทสะ’
จิตมีโมหะ ... หรือจิตปราศจากโมหะ ...
จิตหดหู่ ... หรือจิตฟุ้งซ่าน ...


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๗. มหาสกุลุทายิสูตร

จิตเป็นมหัคคตะ ... หรือจิตไม่เป็นมหัคคตะ ...
จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ... หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ...
จิตเป็นสมาธิ ... หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ...
จิตหลุดพ้นก็รู้ว่า ‘จิตหลุดพ้น’ หรือจิตไม่หลุดพ้นก็รู้ว่า ‘จิตไม่หลุดพ้น’
เพราะปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่เราบอกแล้วรู้จิตผู้อื่นนั้นแล สาวกของเราเป็นอัน
มากจึงได้บรรลุที่สุดแห่งอภิญญาและอภิญญาบารมีอยู่

๖. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ

[๒๕๗] อีกประการหนึ่ง เราได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลาย
ของเราผู้ปฏิบัติตาม ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง
๓ ชาติบ้าง ๔ ชาติบ้าง ๕ ชาติบ้าง ๑๐ ชาติบ้าง ๒๐ ชาติบ้าง ๓๐ ชาติบ้าง
๔๐ ชาติบ้าง ๕๐ ชาติบ้าง ๑๐๐ ชาติบ้าง ๑,๐๐๐ ชาติบ้าง ๑๐๐,๐๐๐ ชาติบ้าง
ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัป
และวิวัฏฏกัป๑เป็นอันมากบ้างว่า ‘ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ
มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นก็ไปเกิดในภพโน้น
แม้ในภพนั้น เราก็มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมี
อายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นจึงมาเกิดในภพนี้’ เธอระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ
พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้ คนจากบ้านตนไปบ้านอื่น แล้วจาก
บ้านนั้นไปยังบ้านอื่นอีก เขาจากบ้านนั้นกลับมายังบ้านเดิมของตนระลึกได้อย่างนี้ว่า
‘เราได้จากบ้านตนไปบ้านอื่น ในบ้านนั้น เราได้ยืน นั่ง พูด นิ่งเฉยอย่างนั้น ๆ
เราได้จากแม้บ้านนั้นไปยังบ้านโน้น แม้ในบ้านนั้น เราก็ได้ยืน นั่ง พูด นิ่งเฉย


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๗. มหาสกุลุทายิสูตร

อย่างนั้น ๆ แล้วกลับจากบ้านนั้นมายังบ้านเดิมของตน’ แม้ฉันใด เราก็ฉันนั้น
เหมือนกัน ได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลายของเราผู้ปฏิบัติตาม
ข้อปฏิบัติที่เราบอกแล้วย่อมระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติ
บ้าง ฯลฯ เธอระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมลักษณะทั่วไปและชีวประวัติ
อย่างนี้
เพราะปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่เราบอกแล้วระลึกชาติได้นั้นแล สาวกของเราเป็น
อันมากจึงได้บรรลุที่สุดแห่งอภิญญาและอภิญญาบารมีอยู่

๗. ทิพพจักขุญาณ

[๒๕๘] อีกประการหนึ่ง เราได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลาย
ของเราผู้ปฏิบัติตาม เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและ
ไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้
เป็นไปตามกรรมว่า ‘หมู่สัตว์ที่ประกอบกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต กล่าวร้าย
พระอริยะ มีความเห็นผิด และชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นผิด พวกเขา
หลังจากตายแล้วจะไปบังเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก แต่หมู่สัตว์ที่ประกอบ
กายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต ไม่กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นชอบ และ
ชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นชอบ พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปบังเกิดใน
สุคติโลกสวรรค์’ เธอเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและ
ไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็น
ไปตามกรรมอย่างนี้แล เรือน ๒ หลังที่ใช้ประตูร่วมกัน คนตาดียืนอยู่ระหว่าง
เรือน ๒ หลังนั้น เห็นหมู่ชนกำลังเข้าไปสู่เรือนบ้าง ออกจากเรือนบ้าง เดินรอบ ๆ บ้าง
แม้ฉันใด เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน ได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลาย
ของเราผู้ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่เราบอกแล้วย่อมเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๗. มหาสกุลุทายิสูตร

ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือ
มนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ฯลฯ๑
เพราะปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่เราบอกแล้วเห็นสัตว์กำลังจุติ กำลังเกิดนั้นแล สาวก
ทั้งหลายของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุที่สุดแห่งอภิญญาและอภิญญาบารมีอยู่

๘. อาสวักขยญาณ

[๒๕๙] อีกประการหนึ่ง เราได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวก
ทั้งหลายของเราผู้ปฏิบัติตาม ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ
เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน สระน้ำใสสะอาดไม่ขุ่น
มัวบนยอดภูเขา คนมีตาดียืนที่ขอบสระนั้น เห็นหอยโข่งและหอยกาบ ก้อนกรวด
และก้อนหิน หรือฝูงปลา กำลังแหวกว่ายอยู่บ้าง หยุดอยู่บ้าง ในสระนั้น ก็คิด
อย่างนี้ว่า ‘สระน้ำนี้ ใสสะอาด ไม่ขุ่นมัว หอยโข่งและหอยกาบ ก้อนกรวดและก้อนหิน
หรือฝูงปลา เหล่านี้กำลังแหวกว่ายอยู่ก็มี หยุดอยู่ก็มี ในสระนั้น’ แม้ฉันใด๒ เราก็
ฉันนั้นเหมือนกัน ได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลายของเราผู้ปฏิบัติ
ตามข้อปฏิบัติที่เราบอกแล้วย่อมทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ
เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
เพราะปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่เราบอกแล้วรู้แจ้งวิมุตตินั้นแล สาวกของเราเป็น
อันมากจึงได้บรรลุที่สุดแห่งอภิญญาและอภิญญาบารมีอยู่
นี้แล เป็นธรรมประการที่ ๕ ซึ่งเป็นเหตุให้สาวกทั้งหลายของเราสักการะ เคารพ
นับถือ บูชาเรา นอกจากสักการะ เคารพแล้วก็ยังอาศัยเราอยู่
อุทายี ธรรม ๕ ประการนี้เแล เป็นเหตุให้สาวกทั้งหลายของเราสักการะ
เคารพ นับถือ บูชาเรา นอกจากสักการะ เคารพแล้วก็ยังอาศัยเราอยู่”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว สกุลุทายีปริพาชกมีใจยินดีชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

มหาสกุลุทายีสูตรที่ ๗ จบ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๘. สมณมุณฑิกสูตร

๘. สมณมุณฑิกสูตร
ว่าด้วยปริพาชกชื่ออุคคาหมานะ สมณมุณฑิกาบุตร

[๒๖๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้นแล ปริพาชกชื่ออุคคาหมานะ สมณมุณฑิกาบุตร
กับปริพาชกประมาณ ๕๐๐ คน พร้อมด้วยปริพาชกบริษัทหมู่ใหญ่ อาศัยอยู่ใน
อารามของพระนางมัลลิกาเทวีชื่อเอกศาลา ซึ่งแวดล้อมด้วยต้นมะพลับ อันเป็นที่
ประชุมแสดงลัทธิ ครั้งนั้น ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะ ออกจากกรุงสาวัตถีเพื่อเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคแต่ยังวัน ได้คิดว่า
“บัดนี้ไม่ใช่เวลาที่จะเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคทรงหลีกเร้นอยู่ บัดนี้
ไม่ใช่เวลาที่จะเข้าไปหาภิกษุทั้งหลายผู้บำเพ็ญเพียรทางใจ ภิกษุทั้งหลายผู้บำเพ็ญเพียร
ทางใจยังหลีกเร้นอยู่ ทางที่ดี เราควรเข้าไปหาอุคคาหมานปริพาชก สมณมุณฑิกาบุตร
ที่อารามของพระนางมัลลิกาเทวีชื่อเอกศาลา ซึ่งแวดล้อมด้วยต้นมะพลับ อันเป็น
ที่ประชุมแสดงลัทธิ”
ลำดับนั้น ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะจึงเข้าไปหาอุคคาหมานปริพาชก สมณมุณฑิกาบุตร
ถึงอารามของพระนางมัลลิกาเทวีชื่อเอกศาลา ซึ่งแวดล้อมด้วยต้นมะพลับ อันเป็น
ที่ประชุมแสดงลัทธิ

ดิรัจฉานกถา

สมัยนั้น อุคคาหมานปริพาชก สมณมุณฑิกาบุตรกำลังนั่งสนทนาอยู่กับ
ปริพาชกบริษัทหมู่ใหญ่ผู้กำลังสนทนาถึงดิรัจฉานกถา๑ต่าง ๆ ด้วยเสียงดังอื้ออึง
คือ พูดเรื่องพระราชา เรื่องโจร เรื่องมหาอำมาตย์ เรื่องกองทัพ เรื่องภัย เรื่อง
การรบ เรื่องข้าว เรื่องน้ำ เรื่องผ้า เรื่องที่นอน เรื่องพวงดอกไม้ เรื่องของหอม
เรื่องญาติ เรื่องยาน เรื่องบ้าน เรื่องนิคม เรื่องเมืองหลวง เรื่องชนบท เรื่องสตรี


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๘. สมณมุณฑิกสูตร

(เรื่องบุรุษ) เรื่องคนกล้าหาญ เรื่องตรอก เรื่องท่าน้ำ เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว เรื่อง
เบ็ดเตล็ด เรื่องโลก เรื่องทะเล เรื่องความเจริญ และความเสื่อม อย่างนั้น ๆ
อุคคาหมานปริพาชก สมณมุณฑิกาบุตร ได้เห็นช่างไม้ชื่อปัญจกังคะกำลังเดิน
มาแต่ไกล จึงห้ามบริษัทของตนว่า
“ท่านผู้เจริญทั้งหลาย โปรดเงียบหน่อย อย่าส่งเสียงอื้ออึง นี้คือช่างไม้ชื่อ
ปัญจกังคะผู้เป็นสาวกของพระสมณโคดมกำลังเดินมา ท่านเป็นสาวกคนหนึ่งบรรดา
สาวกของพระสมณโคดมผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว ผู้อาศัยอยู่ ณ กรุงสาวัตถี
ท่านเหล่านั้นชอบเสียงเบา แนะนำให้พูดกันเบา ๆ สรรเสริญคุณของคนที่พูดเสียง
เบา บางทีช่างไม้ชื่อปัญจกังคะทราบว่าบริษัทเสียงเบา ท่านอาจจะเข้ามาหาก็ได้”
ลำดับนั้น ปริพาชกเหล่านั้นจึงได้พากันนิ่ง

วาทะของปริพาชก

[๒๖๑] ลำดับนั้น ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะได้เข้าไปหาอุคคาหมานปริพาชก
สมณมุณฑิกาบุตรถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึง
กันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร อุคคาหมานปริพาชก สมณมุณฑิกาบุตรได้กล่าวกับช่างไม้
ชื่อปัญจกังคะว่า
“ช่างไม้ เราบัญญัติบุรุษบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการว่า เป็นผู้มี
กุศลเพียบพร้อม มีกุศลยอดเยี่ยม เป็นสมณะผู้บรรลุธรรมชั้นสูงที่ควรบรรลุ ไม่มี
ใครสู้วาทะได้
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ บุคคลในโลกนี้

๑. ไม่ทำกรรมชั่วทางกาย ๒. ไม่กล่าววาจาชั่ว
๓. ไม่ดำริความดำริชั่ว ๔. ไม่ประกอบอาชีพชั่ว

ช่างไม้ เราบัญญัติบุรุษบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลว่า เป็นผู้มี
กุศลเพียบพร้อม มีกุศลยอดเยี่ยม เป็นสมณะผู้บรรลุธรรมชั้นสูงที่ควรบรรลุ ไม่มี
ใครสู้วาทะได้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๐๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๘. สมณมุณฑิกสูตร

ลำดับนั้น ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะ ไม่ยินดี ไม่คัดค้านภาษิตของอุคคาหมาน-
ปริพาชก สมณมุณฑิกาบุตร ลุกจากอาสนะจากไปด้วยคิดว่า “เราจักรู้ทั่วถึง
เนื้อความแห่งภาษิตนี้ ในสำนักของพระผู้มีพระภาค” จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลเรื่องที่สนทนาปราศรัย
กับอุคคาหมานปริพาชก สมณมุณฑิกาบุตรให้พระผู้มีพระภาคฟังทั้งหมด
[๒๖๒] เมื่อช่างไม้ชื่อปัญจกังคะกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้
ตรัสว่า
“ช่างไม้ เมื่อเป็นอย่างนี้ เด็กอ่อนที่ยังนอนหงายอยู่ ก็จักเป็นผู้มีกุศลเพียบพร้อม
มีกุศลยอดเยี่ยม เป็นสมณะผู้บรรลุธรรมชั้นสูงที่ควรบรรลุ ไม่มีใครสู้วาทะได้
แท้จริง เด็กอ่อนที่ยังนอนหงายอยู่ แม้แต่กายก็ยังไม่รู้จัก๑ จักทำกรรมชั่ว
ทางกายได้ที่ไหนเล่า นอกจากจะมีเพียงอาการนอนดิ้นรน เด็กอ่อนที่ยังนอน
หงายอยู่ แม้แต่วาจาก็ยังไม่รู้จัก๒ จักกล่าววาจาชั่วได้ที่ไหนเล่า นอกจากจะมีเพียงการ
ร้องไห้ เด็กอ่อนที่ยังนอนหงายอยู่ แม้แต่ความดำริก็ยังไม่รู้จัก๓ จักดำริชั่วได้แต่
ที่ไหนเล่า นอกจากจะมีการส่งเสียงร้อง เด็กอ่อนที่ยังนอนหงายอยู่ แม้แต่การ
เลี้ยงชีพก็ยังไม่รู้จัก๔ จักเลี้ยงชีพชั่วได้ที่ไหนเล่า นอกจากการดื่มน้ำนมของมารดา
ช่างไม้ เมื่อเป็นอย่างนี้ เด็กอ่อนที่ยังนอนหงายอยู่ก็จักเป็นผู้มีกุศลเพียบพร้อม
มีกุศลยอดเยี่ยม เป็นสมณะผู้บรรลุธรรมชั้นสูงที่ควรบรรลุ ไม่มีใครสู้วาทะได้
[๒๖๓] ช่างไม้ เราบัญญัติบุรุษบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการว่า
มิใช่ผู้มีกุศลเพียบพร้อม มิใช่ผู้มีกุศลยอดเยี่ยม มิใช่สมณะผู้บรรลุธรรมชั้นสูงที่ควร
บรรลุไม่มีใครสู้วาทะได้ แต่บุรุษบุคคลนี้ยังดีกว่าเด็กอ่อนที่นอนหงายอยู่บ้าง


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๘. สมณมุณฑิกสูตร

ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ บุรุษบุคคลในโลกนี้
๑. ไม่ทำกรรมชั่วทางกาย ๒. ไม่กล่าววาจาชั่ว
๓. ไม่ดำริความดำริชั่ว ๔. ไม่ประกอบอาชีพชั่ว
เราบัญญัติบุรุษบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลว่า มิใช่ผู้มีกุศล
เพียบพร้อม มิใช่ผู้มีกุศลยอดเยี่ยม มิใช่สมณะผู้บรรลุธรรมชั้นสูงที่ควรบรรลุ ไม่มี
ใครสู้วาทะได้ แต่บุรุษบุคคลนี้ยังดีกว่าเด็กอ่อนที่นอนหงายอยู่บ้าง
ช่างไม้ เราบัญญัติบุรุษบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการว่า เป็นผู้มี
กุศลเพียบพร้อม มีกุศลยอดเยี่ยม เป็นสมณะผู้บรรลุธรรมชั้นสูงที่ควรบรรลุไม่มี
ใครสู้วาทะได้

เสขธรรม

เรากล่าวว่า ‘ข้อที่ศีลเหล่านี้เป็นอกุศล เป็นสิ่งที่บุคคลควรรู้’
เรากล่าวว่า ‘ข้อที่ศีลเป็นอกุศล มีสมุฏฐานมาจากจิตนี้ เป็นสิ่งที่บุคคลควรรู้’
เรากล่าวว่า ‘ข้อที่ศีลเป็นอกุศลดับไปโดยไม่เหลือในที่นี้ เป็นสิ่งที่บุคคลควรรู้’
เรากล่าวว่า ‘ข้อที่บุคคลผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความดับแห่ง
ศีลที่เป็นอกุศล เป็นสิ่งที่บุคคลควรรู้’
เรากล่าวว่า ‘ข้อที่ศีลเหล่านี้เป็นกุศล เป็นสิ่งที่บุคคลควรรู้’
เรากล่าวว่า ‘ข้อที่ศีลเป็นกุศลมีสมุฏฐานมาแต่จิตนี้ เป็นสิ่งที่บุคคลควรรู้’
เรากล่าวว่า ‘ข้อที่ศีลเป็นกุศลดับไปโดยไม่เหลือในที่นี้ เป็นสิ่งที่บุคคลควรรู้’
เรากล่าวว่า ‘ข้อที่บุคคลผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความดับแห่ง
ศีลที่เป็นกุศล เป็นสิ่งที่บุคคลควรรู้’
เรากล่าวว่า ‘ข้อที่ความดำริเหล่านี้เป็นอกุศล เป็นสิ่งที่บุคคลควรรู้’
เรากล่าวว่า ‘ข้อที่ความดำริที่เป็นอกุศลมีสมุฏฐานมาแต่จิตนี้ เป็นสิ่งที่บุคคลควรรู้’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๘. สมณมุณฑิกสูตร

เรากล่าวว่า ‘ข้อที่ความดำริที่เป็นอกุศลดับไปโดยไม่เหลือในที่นี้ เป็นสิ่งที่
บุคคลควรรู้’
เรากล่าวว่า ‘ข้อที่บุคคลผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความดับแห่ง
ความดำริที่เป็นอกุศล เป็นสิ่งที่บุคคลควรรู้’
เรากล่าวว่า ‘ข้อที่ความดำริเหล่านี้เป็นกุศล เป็นสิ่งที่บุคคลควรรู้’
เรากล่าวว่า ‘ข้อที่ความดำริเป็นกุศลมีสมุฏฐานมาแต่จิตนี้ เป็นสิ่งที่บุคคลควรรู้’
เรากล่าวว่า ‘ข้อที่ความดำริที่เป็นกุศลดับไปโดยไม่เหลือในที่นี้ เป็นสิ่งที่บุคคล
ควรรู้’
เรากล่าวว่า ‘ข้อที่บุคคลผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความดับแห่ง
ความดำริที่เป็นกุศล เป็นสิ่งที่บุคคลควรรู้’

เสขธรรมว่าด้วยศีล

[๒๖๔] ศีลที่เป็นอกุศล เป็นอย่างไร
คือ กายกรรมที่เป็นอกุศล วจีกรรมที่เป็นอกุศล การเลี้ยงชีพที่เป็นบาปเหล่านี้
เราเรียกว่า ‘ศีลที่เป็นอกุศล’
ศีลที่เป็นอกุศลเหล่านี้มีอะไรเป็นสมุฏฐาน
คือ แม้สมุฏฐานแห่งศีลที่เป็นอกุศลเหล่านั้น เราก็ได้กล่าวไว้แล้ว สมุฏฐาน
แห่งศีลนี้ควรกล่าวว่า ‘มีจิตเป็นสมุฏฐาน’
จิตดวงไหนเล่า
แท้จริงจิตมีหลายดวง มีหลายอย่าง มีหลายประการ คือ จิตที่มีราคะ จิตที่มี
โทสะ และจิตที่มีโมหะ๑ ศีลที่เป็นอกุศลมีจิตเหล่านี้เป็นสมุฏฐาน


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๘. สมณมุณฑิกสูตร

ศีลที่เป็นอกุศลเหล่านี้ดับไปโดยไม่เหลือในที่ไหน
คือ แม้ความดับแห่งศีลที่เป็นอกุศลเหล่านั้น เราก็ได้กล่าวไว้แล้ว ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ ละกายทุจริต เจริญกายสุจริต ละวจีทุจริต เจริญวจีสุจริต ละมโนทุจริต
เจริญมโนสุจริต ละมิจฉาอาชีวะ เลี้ยงชีพด้วยสัมมาอาชีวะ ศีลที่เป็นอกุศลเหล่านี้
ดับไปโดยไม่เหลือในธรรมเหล่านี้๑
ผู้ปฏิบัติอย่างไร จึงชื่อว่าปฏิบัติเพื่อความดับแห่งศีลที่เป็นอกุศล
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อ
ป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น
๒. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อละ
บาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
๓. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อทำ
กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
๔. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อ
ความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิยโยภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่ง
กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
ช่างไม้ บุคคลผู้ปฏิบัติอย่างนี้แล ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความดับแห่งศีลที่เป็น
อกุศล
[๒๖๕] ศีลที่เป็นกุศล เป็นอย่างไร
คือ กายกรรมที่เป็นกุศล วจีกรรมที่เป็นกุศล และแม้อาชีวะอันบริสุทธิ์ก็
รวมอยู่ในศีล เหล่านี้เราเรียกว่า ‘ศีลที่เป็นกุศล’


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๘. สมณมุณฑิกสูตร

ศีลที่เป็นกุศลเหล่านี้มีอะไรเป็นสมุฏฐาน
คือ แม้สมุฏฐานแห่งศีลที่เป็นกุศลเหล่านั้น เราก็ได้กล่าวไว้แล้ว สมุฏฐานแห่ง
ศีลนี้ควรกล่าวว่า ‘มีจิตเป็นสมุฏฐาน’
จิตดวงไหนเล่า
แท้จริง จิตมีหลายดวง มีหลายอย่าง มีหลายประการ คือ จิตที่ปราศจากราคะ๑
ที่ปราศจากโทสะ และที่ปราศจากโมหะ ศีลที่เป็นกุศลมีจิตเหล่านี้เป็นสมุฏฐาน
ศีลที่เป็นกุศลเหล่านี้ดับไปโดยไม่เหลือในที่ไหน
คือ แม้ความดับแห่งศีลที่เป็นกุศลเหล่านั้น เราก็ได้กล่าวไว้แล้ว ภิกษุในธรรม-
วินัยนี้ เป็นผู้มีศีล แต่หาใช่มีเพียงศีลก็พอ๒ ยังจะต้องรู้ชัดเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
ตามความเป็นจริง ซึ่งเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือแห่งศีลที่เป็นกุศลเหล่านั้น
บุคคลผู้ปฏิบัติอย่างไร จึงจะชื่อว่าปฏิบัติเพื่อความดับแห่งศีลที่เป็นกุศล
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อ
ป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น
๒. สร้างฉันทะ ฯลฯ เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
๓. สร้างฉันทะ ฯลฯ เพื่อทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
๔. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อ
ความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิยโยภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่ง
กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
ช่างไม้ บุคคลผู้ปฏิบัติอย่างนี้แล ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความดับแห่งศีลที่เป็นกุศล


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๘. สมณมุณฑิกสูตร

เสขธรรมว่าด้วยความดำริ

[๒๖๖] ความดำริที่เป็นอกุศล เป็นอย่างไร
คือ ความดำริในกาม ความดำริในพยาบาท ความดำริในการเบียดเบียน
เหล่านี้เราเรียกว่า ‘ความดำริที่เป็นอกุศล’
ความดำริที่เป็นอกุศลเหล่านี้ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน
คือ แม้สมุฏฐานแห่งความดำริที่เป็นอกุศลเหล่านั้น เราก็ได้กล่าวไว้แล้ว
สมุฏฐานแห่งความดำรินี้ควรกล่าวว่า ‘มีสัญญาเป็นสมุฏฐาน’
สัญญาประเภทไหนเล่า
แท้จริง แม้สัญญาก็มีมาก มีหลายอย่าง มีหลายประการ คือ สัญญาในกาม๑
สัญญาในพยาบาท สัญญาในการเบียดเบียน ความดำริที่เป็นอกุศลมีสัญญาเหล่านี้
เป็นสมุฏฐาน
ความดำริที่เป็นอกุศลเหล่านี้ ดับไปโดยไม่เหลือในที่ไหน
คือ แม้ความดับแห่งความดำริที่เป็นอกุศลนั้น เราก็ได้กล่าวไว้แล้ว ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม และอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน๒ ที่มีวิตก
วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ ซึ่งเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือแห่งความดำริที่เป็น
อกุศล
บุคคลผู้ปฏิบัติอย่างไร จึงจะชื่อว่าปฏิบัติเพื่อความดับแห่งความดำริที่เป็นอกุศล
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อ
ป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๘. สมณมุณฑิกสูตร

๒. สร้างฉันทะ ฯลฯ เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
๓. สร้างฉันทะ ฯลฯ เพื่อทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
๔. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อ
ความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิยโยภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่ง
กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
ช่างไม้ บุคคลผู้ปฏิบัติอย่างนี้แล ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความดับแห่งความดำริ
ที่เป็นอกุศล
[๒๖๗] ความดำริที่เป็นกุศล เป็นอย่างไร
คือ ความดำริในเนกขัมมะ ความดำริในความไม่พยาบาท ความดำริในความ
ไม่เบียดเบียน เหล่านี้เราเรียกว่า ‘ความดำริที่เป็นกุศล’
ความดำริที่เป็นกุศลนี้ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน
คือ แม้สมุฏฐานแห่งความดำริที่เป็นกุศลเหล่านั้นเราก็ได้กล่าวไว้แล้ว สมุฏฐาน
แห่งความดำรินี้ควรกล่าวว่า ‘มีสัญญาเป็นสมุฏฐาน’
สัญญาประเภทไหนเล่า
แท้จริง แม้สัญญาก็มีมาก มีหลายอย่าง มีหลายประการ คือ สัญญาใน
เนกขัมมะ สัญญาในความไม่พยาบาท สัญญาในความไม่เบียดเบียน ความดำริที่
เป็นกุศลมีสัญญาเหล่านี้เป็นสมุฏฐาน
ความดำริที่เป็นกุศลเหล่านี้ ดับไปโดยไม่เหลือในที่ไหน
คือ แม้ความดับแห่งความดำริที่เป็นกุศลนั้น เราก็ได้กล่าวไว้แล้ว เพราะวิตก
วิจารสงบระงับไป ภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ อยู่ ซึ่งเป็นที่ดับไปโดย
ไม่เหลือแห่งความดำริที่เป็นกุศลเหล่านี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๘. สมณมุณฑิกสูตร

บุคคลผู้ปฏิบัติอย่างไร จึงจะชื่อว่าปฏิบัติเพื่อความดับแห่งความดำริที่เป็นกุศล
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อทำ
บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดไม่ให้เกิดขึ้น
๒. สร้างฉันทะ ฯลฯ เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
๓. สร้างฉันทะ ฯลฯ เพื่อทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
๔. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อ
ความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิยโยภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่ง
กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
ช่างไม้ บุคคลผู้ปฏิบัติอย่างนี้แล ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความดับแห่งความดำริ
ที่เป็นกุศล

อเสขธรรม ๑๐ ประการ

[๒๖๘] ช่างไม้ เราบัญญัติบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ๑ไหนว่า
เป็นผู้มีกุศลสมบูรณ์ มีกุศลอย่างยิ่ง เป็นสมณะผู้บรรลุธรรมชั้นสูงที่ควรบรรลุ ไม่มี
ใครสู้วาทะได้
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิ ที่เป็นอเสขะ
๒. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาสังกัปปะ ที่เป็นอเสขะ
๓. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาวาจา ที่เป็นอเสขะ
๔. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมากัมมันตะ ที่เป็นอเสขะ
๕. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาอาชีวะ ที่เป็นอเสขะ
๖. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาวายามะ ที่เป็นอเสขะ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๙. จูฬสกุลุทายิสูตร

๗. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาสติ ที่เป็นอเสขะ
๘. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาสมาธิ ที่เป็นอเสขะ
๙. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาญาณะ๑ ที่เป็นอเสขะ
๑๐. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาวิมุตติ ที่เป็นอเสขะ

เราบัญญัติบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แลว่า เป็นผู้มีกุศลเพียบ
พร้อม มีกุศลยอดเยี่ยม เป็นสมณะผู้บรรลุธรรมชั้นสูงที่ควรบรรลุ ไม่มีใครสู้วาทะได้”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะมีใจยินดีชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

สมณมุณฑิกสูตรที่ ๘ จบ

๙. จูฬสกุลุทายิสูตร
ว่าด้วยปริพาชกชื่อสกุลุทายี สูตรเล็ก

[๒๖๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้นแล ปริพาชกชื่อสกุลุทายีพร้อมด้วยปริพาชกบริษัทหมู่
ใหญ่อาศัยอยู่ในอารามของปริพาชกอันเป็นที่ให้เหยื่อแก่นกยูง ครั้นเวลาเช้า พระผู้มี
พระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้มีพระดำริว่า
“ยังเช้าเกินไปที่จะเที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ ทางที่ดี เราควรเข้าไปหา
สกุลุทายีปริพาชก จนถึงอารามของปริพาชกอันเป็นที่ให้เหยื่อแก่นกยูง”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้เสด็จเข้าไปจนถึงอารามของปริพาชกอันเป็นที่ให้
เหยื่อแก่นกยูง


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๙. จูฬสกุลุทายิสูตร

ดิรัจฉานกถา

สมัยนั้น สกุลุทายีปริพาชกกำลังนั่งอยู่กับปริพาชกบริษัทหมู่ใหญ่ผู้กำลังสนทนา
ถึงดิรัจฉานกถาต่าง ๆ ด้วยเสียงดังอื้ออึง คือ พูดเรื่องพระราชา เรื่องโจร ฯลฯ
เรื่องความเจริญและความเสื่อมอย่างนั้น ๆ สกุลุทายีปริพาชก ได้เห็นพระผู้มีพระภาค
กำลังเสด็จมาแต่ไกล จึงห้ามบริษัทของตนว่า
“ท่านผู้เจริญทั้งหลาย โปรดเงียบหน่อย อย่าส่งเสียงอื้ออึง นี้คือ พระสมณ-
โคดมกำลังเสด็จมา พระองค์โปรดเสียงเบา ทรงแนะนำให้พูดกันเบา ๆ ตรัสสรรเสริญ
คุณของคนที่พูดเสียงเบา บางทีพระองค์ทรงทราบว่าบริษัทเสียงเบา พระองค์อาจ
จะเสด็จเข้ามาหาก็ได้”
ลำดับนั้น ปริพาชกเหล่านั้นจึงได้พากันนิ่ง
[๒๗๐] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้เสด็จเข้าไปหาสกุลุทายีถึงที่อยู่ สกุลุทายี
ปริพาชกทูลเชื้อเชิญพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอเชิญพระผู้มีพระภาคจงเสด็จเข้ามาเถิด ขอต้อนรับเสด็จ
นาน ๆ พระองค์จะมีเวลาเสด็จมาที่นี้ ขอเชิญพระผู้มีพระภาคประทับนั่งเถิด อาสนะนี้
ปูลาดไว้แล้ว พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคจึงประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว แม้สกุลุทายีปริพาชก
ก็เลือกนั่ง ณ ที่สมควรที่ใดที่หนึ่งซึ่งต่ำกว่า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามสกุลุทายี
ปริพาชกว่า
“อุทายี บัดนี้ ท่านทั้งหลายนั่งประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร และเรื่องอะไร
ที่ท่านทั้งหลายสนทนากันค้างไว้”
สกุลุทายีปริพาชกทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องที่ข้าพระองค์
ทั้งหลายนั่งประชุมสนทนากันในเวลานี้ ของดไว้ก่อนเถิด เรื่องนี้พระผู้มีพระภาค
จะทรงสดับได้ในภายหลังโดยไม่ยาก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในเวลาที่ข้าพระองค์
ไม่ได้เข้าไปยังบริษัทนี้ บริษัทนี้ก็จะนั่งสนทนากันแต่ดิรัจฉานกถาต่าง ๆ แต่ในเวลา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๙. จูฬสกุลุทายิสูตร

ที่ข้าพระองค์เข้าไปยังบริษัทนี้ บริษัทนี้ก็นั่งมองดูแต่หน้าของข้าพระองค์ด้วยความ
ประสงค์ว่า ‘สมณะอุทายี จักกล่าวธรรมใดแก่พวกเรา พวกเราจักฟังธรรมนั้น’
และในเวลาที่พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้ามายังบริษัทนี้ ทั้งข้าพระองค์และบริษัทนี้ก็นั่ง
มองดูพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคด้วยความประสงค์ว่า ‘พระผู้มีพระภาคจักตรัส
ธรรมใดแก่พวกเรา พวกเราจักฟังธรรมนั้น”

ขันธ์ส่วนอดีตและขันธ์ส่วนอนาคต

[๒๗๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุทายี ถ้าเช่นนั้น ท่านจงตั้งปัญหาซึ่งจะ
เป็นเหตุให้เราแสดงธรรมในบริษัทนี้เถิด”
สกุลุทายีปริพาชกกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วันก่อน ๆ ท่านผู้เป็น
สัพพัญญู มีปกติเห็นธรรมทั้งปวง ปฏิญญาญาณทัสสนะอย่างเบ็ดเสร็จว่า ‘เมื่อเรา
เดินอยู่ หยุดอยู่ หลับอยู่ และตื่นอยู่ ญาณทัสสนะจะปรากฏต่อเนื่องตลอดไป’
ท่านผู้นั้นถูกข้าพระองค์ถามปัญหาปรารภขันธ์ส่วนอดีตก็นำเรื่องอื่นมาพูดกลบเกลื่อน
ไถลไปพูดนอกเรื่อง ทั้งทำความโกรธ ความประทุษร้าย และความไม่พอใจให้ปรากฏ
ข้าพระองค์นั้นระลึกถึงพระผู้มีพระภาคว่า ‘ผู้ฉลาดในธรรมเหล่านี้ต้องเป็นพระผู้มี
พระภาคแน่นอน ต้องเป็นพระสุคตแน่นอน”
“ท่านผู้เป็นสัพพัญญู มีปกติเห็นธรรมทั้งปวง ปฏิญญาญาณทัสสนะอย่าง
เบ็ดเสร็จว่า ‘เมื่อเราเดินอยู่ หยุดอยู่ หลับอยู่ และตื่นอยู่ ญาณทัสสนะจะปรากฏ
ต่อเนื่องตลอดไป’ ที่ถูกท่านถามปัญหาปรารภขันธ์ส่วนอดีตก็นำเรื่องอื่นมาพูด
กลบเกลื่อน ไถลไปพูดนอกเรื่อง ทั้งทำความโกรธ ความประทุษร้าย และความ
ไม่พอใจให้ปรากฏ เป็นใครเล่า”
“นิครนถ์ นาฏบุตร พระพุทธเจ้าข้า”
“ผู้ใดระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ฯลฯ ระลึก
ชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้ ผู้นั้นควรถาม
ปัญหาปรารภขันธ์ส่วนอดีตกับเรา หรือเราควรถามปัญหาปรารภขันธ์ส่วนอดีตกับ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๙. จูฬสกุลุทายิสูตร

ผู้นั้น ผู้นั้นจะทำให้เรายินดีด้วยการตอบปัญหาปรารภขันธ์ส่วนอดีต หรือเราจะพึง
ทำจิตของผู้นั้นให้ยินดีด้วยการตอบปัญหาปรารภขันธ์ส่วนอดีต
ผู้ใดพึงเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเถิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม
เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตาม
กรรม ผู้นั้นควรถามปัญหาปรารภขันธ์ส่วนอนาคตกับเรา หรือเราควรถามปัญหา
ปรารภขันธ์ส่วนอนาคตกับผู้นั้น ผู้นั้นทำให้เรายินดีด้วยการตอบปัญหาปรารภขันธ์
ส่วนอนาคต หรือเราพึงยังจิตของผู้นั้นให้ยินดีด้วยการตอบปัญหาปรารภขันธ์ส่วน
อนาคต
อุทายี จงงดขันธ์ส่วนอดีตและขันธ์ส่วนอนาคตไว้ก่อน เราจักแสดงธรรมแก่
ท่านว่า ‘เมื่อเหตุนี้มี ผลนี้จึงมี เพราะเหตุนี้เกิด ผลนี้จึงเกิด เมื่อเหตุนี้ไม่มี ผลนี้
จึงไม่มี เพราะเหตุนี้ดับ ผลนี้จึงดับ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชาตินี้ที่ปรากฏแก่ข้าพระองค์โดยอัตภาพนี้พร้อม
ทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติ ข้าพระองค์ยังไม่สามารถจะระลึกได้เลย ไฉนเลยจัก
ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ๓ ชาติบ้าง ฯลฯ ระลึกถึง
ชาติก่อนได้หลายชาติพร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้ เหมือนพระผู้มี
พระภาคเล่า บัดนี้ แม้แต่ปีศาจเล่นฝุ่น ข้าพระองค์ก็ยังไม่เคยเห็นเลย ไฉนเลย
จักเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและ
เกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ จักรู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม
เหมือนพระผู้มีพระภาคเล่า คำที่พระผู้มีพระภาคตรัสกับข้าพระองค์อย่างนี้ว่า
‘อุทายี จงงดขันธ์ส่วนอดีตและขันธ์ส่วนอนาคตไว้ก่อน เราจักแสดงธรรมแก่ท่านว่า
‘เมื่อเหตุนี้มี ผลนี้จึงมี เพราะเหตุนี้เกิด ผลนี้จึงเกิด เมื่อเหตุนี้ไม่มี ผลนี้จึงไม่มี
เพราะเหตุนี้ดับ ผลนี้จึงดับ’ จะปรากฏแก่ข้าพระองค์ โดยประมาณยิ่ง ๆ ขึ้นไป
ก็หาไม่ ไฉนข้าพระองค์จึงจะทำให้พระผู้มีพระภาคทรงยินดีด้วยการตอบปัญหาใน
ลัทธิอาจารย์ของตนได้เล่า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๙. จูฬสกุลุทายิสูตร

เรื่องวรรณะ

[๒๗๒] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อุทายี ในลัทธิอาจารย์ของตน ท่านมี
ความเห็นว่าอย่างไร”
สกุลุทายีปริพาชกทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในลัทธิอาจารย์ของตน
ข้าพระองค์มีความเห็นอย่างนี้ว่า ‘นี้เป็นวรรณะสูงสุด นี้เป็นวรรณะสูงสุด”
“ในลัทธิอาจารย์ของตน ท่านมีความเห็นอย่างนี้ว่า ‘นี้เป็นวรรณะสูงสุด นี้เป็น
วรรณะสูงสุด’ วรรณะสูงสุดนั้นเป็นอย่างไร”
“วรรณะใดไม่มีวรรณะอื่นยิ่งกว่า หรือประณีตกว่า วรรณะนั้นเป็นวรรณะ
สูงสุด พระพุทธเจ้าข้า”
“วรรณะใดไม่มีวรรณะอื่นยิ่งกว่าหรือประณีตกว่า วรรณะนั้นเป็นวรรณะไหนเล่า”
“วรรณะใดไม่มีวรรณะอื่นยิ่งกว่า หรือประณีตกว่า วรรณะนั้นเป็นวรรณะสูงสุด
พระพุทธเจ้าข้า”
“ท่านกล่าวแต่เพียงว่า ‘วรรณะใดไม่มีวรรณะอื่นยิ่งกว่า หรือประณีตกว่า วรรณะ
นั้นเป็นวรรณะสูงสุด’ คำที่ท่านกล่าวนั้น พึงขยายความได้อย่างยืดยาว แต่ท่าน
ไม่ชี้วรรณะนั้นให้ชัด เปรียบเหมือนชายคนหนึ่งปรารภถึงหญิงสาวอย่างนี้ว่า ‘เรา
ปรารถนารักใคร่หญิงงามแห่งชนบทนี้’ คนจะถามเขาว่า ‘พ่อคุณ เธอรู้จักหญิงคน
นั้นหรือว่าเป็นนางกษัตริย์ นางพราหมณี นางแพศย์ หรือนางศูทร’ เมื่อถูกถาม
อย่างนี้ เขาจะตอบว่า ‘ไม่รู้จัก’ จะถูกถามต่อไปว่า ‘เธอรู้จักหญิงคนนั้นหรือว่า
มีชื่อ ตระกูล สูง ต่ำ สันทัด ดำ คล้ำ หรือผิวเหลือง อยู่ในหมู่บ้าน นิคม หรือ
เมืองโน้น’ เมื่อถูกถามอย่างนี้ เขาจะตอบว่า ‘ยังไม่รู้จัก’ จะถูกถามต่อไปว่า
‘เธอปรารถนารักใคร่หญิงที่ยังไม่เคยรู้จักทั้งไม่เคยเห็น อย่างนั้นหรือ’ เมื่อถูกถาม
อย่างนี้ เขาจะตอบว่า ‘ใช่’
ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เมื่อเป็นเช่นนี้ คำพูดของชายผู้นั้นจะถือว่า
เลื่อนลอย มิใช่หรือ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๙. จูฬสกุลุทายิสูตร

“เมื่อเป็นเช่นนี้ คำพูดของชายผู้นั้นถือว่าเลื่อนลอยแน่นอน พระพุทธเจ้าข้า”
“อุทายี ท่านก็อย่างนั้นเหมือนกัน กล่าวอยู่แต่เพียงว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
วรรณะใดไม่มีวรรณะอื่นยิ่งกว่าหรือประณีตกว่า วรรณะนั้นเป็นวรรณะสูงสุด’ แต่ไม่
ได้ชี้วรรณะนั้นให้ชัด”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แก้วไพฑูรย์อันงาม เกิดเองอย่างบริสุทธิ์แปดเหลี่ยม
นายช่างเจียระไนดีแล้ว ซึ่งเขาวางไว้ที่ผ้ากัมพลเหลือง ย่อมส่องแสงสว่างเป็นประกาย
ออกมา แม้ฉันใด อัตตา๑ก็มีวรรณะ(แสงสว่าง)ก็ฉันนั้นเหมือนกัน หลังจากตายไป
ย่อมเป็นของยั่งยืน”
[๒๗๓] “อุทายี ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร แก้วไพฑูรย์อันงาม เกิดเอง
อย่างบริสุทธิ์แปดเหลี่ยม นายช่างเจียระไนดีแล้ว ซึ่งเขาวางไว้ที่ผ้ากำพลเหลือง
ย่อมส่องแสงสว่างเป็นประกายออกมา กับหิ่งห้อยในราตรีที่มีเดือนมืด บรรดา
วรรณะทั้ง ๒ นี้ วรรณะไหนจะส่องสว่างกว่า และประณีตกว่ากัน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บรรดาวรรณะทั้ง ๒ นี้ หิ่งห้อยในราตรีที่มีเดือนมืดนี้
ย่อมส่องสว่างกว่า และประณีตกว่า”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร หิ่งห้อยในราตรีที่มีเดือนมืด กับประทีปน้ำมัน
ในราตรีที่มีเดือนมืด บรรดาวรรณะทั้ง ๒ นี้ วรรณะไหนจะส่องสว่างกว่าและประณีต
กว่ากัน”
“บรรดาวรรณะทั้ง ๒ นี้ ประทีปน้ำมันในราตรีที่มีเดือนมืดส่องสว่างกว่าและ
ประณีตกว่า พระพุทธเจ้าข้า”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ประทีปน้ำมันในราตรีที่มีเดือนมืดกับกอง
ไฟใหญ่ในราตรีที่มีเดือนมืด บรรดาวรรณะทั้ง ๒ นี้ วรรณะไหนจะส่องสว่างกว่า
และประณีตกว่ากัน”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๙. จูฬสกุลุทายิสูตร

“บรรดาวรรณะทั้ง ๒ นี้ กองไฟใหญ่ในราตรีที่มีเดือนมืด ส่องสว่างกว่าและ
ประณีตกว่า พระพุทธเจ้าข้า”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร กองไฟใหญ่ในราตรีที่มีเดือนมืด กับดาวศุกร์
ในนภากาศอันกระจ่างปราศจากเมฆ ในเวลาใกล้รุ่ง บรรดาวรรณะทั้ง ๒ นี้ วรรณะ
ไหนจะส่องสว่างกว่าและประณีตกว่ากัน”
“บรรดาวรรณะทั้ง ๒ นี้ ดาวศุกร์ในนภากาศอันกระจ่างปราศจากเมฆ ในเวลา
ใกล้รุ่งส่องสว่างกว่าและประณีตกว่า พระพุทธเจ้า”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ดาวศุกร์ในนภากาศอันกระจ่างปราศจาก
เมฆ ในเวลาใกล้รุ่งกับดวงจันทร์เวลาเที่ยงคืนตรง ในนภากาศอันกระจ่างปราศจาก
เมฆ ในวันอุโบสถขึ้น ๑๕ ค่ำ บรรดาวรรณะทั้ง ๒ นี้ วรรณะไหนจะส่องสว่างกว่า
และประณีตกว่ากัน”
“บรรดาวรรณะทั้ง ๒ นี้ ดวงจันทร์เวลาเที่ยงคืนตรง ในนภากาศอันกระจ่าง
ปราศจากเมฆ ในวันอุโบสถขึ้น ๑๕ ค่ำ จะส่องสว่างกว่าและประณีตกว่า พระ-
พุทธเจ้าข้า”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ดวงจันทร์ในเวลาเที่ยงคืนตรงในนภากาศ
อันกระจ่างปราศจากเมฆในวันอุโบสถขึ้น ๑๕ ค่ำ กับดวงอาทิตย์เวลาเที่ยงตรงใน
นภากาศอันกระจ่างปราศจากเมฆ ในสารทกาลเดือนท้ายแห่งฤดูฝน บรรดา
วรรณะทั้ง ๒ นี้ วรรณะไหนจะส่องสว่างกว่าและประณีตกว่ากัน”
“บรรดาวรรณะทั้ง ๒ นี้ ดวงอาทิตย์เวลาเที่ยงตรงอันกระจ่างปราศจากเมฆ ใน
สารทกาลเดือนท้ายแห่งฤดูฝนจะส่องสว่างกว่าและประณีตกว่า พระพุทธเจ้าข้า”
“เทวดาเหล่าใดไม่อาศัยแสงดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ เทวดาเหล่านั้นมีมาก
มีมากยิ่งกว่าเหล่าเทวดาที่อาศัยแสงดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ เรารู้ทั่วถึงเทวดา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๙. จูฬสกุลุทายิสูตร

เหล่านั้น แต่เราก็ไม่กล่าวว่า ‘เป็นวรรณะที่ไม่มีวรรณะอื่นยิ่งกว่าหรือประณีตกว่า’
ส่วนท่านกล่าวว่า ‘วรรณะที่เลวกว่าและเศร้าหมองกว่าหิ่งห้อยเป็นวรรณะสูงสุด’
แต่ท่านไม่ชี้วรรณะนั้นให้ชัด”
“พระผู้มีพระภาคทรงหักล้างเรื่องนี้เสียแล้ว พระสุคตทรงหักล้างเรื่องนี้เสียแล้ว
พระพุทธเจ้าข้า”
“อุทายี ทำไมท่านจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘พระผู้มีพระภาคทรงหักล้างเรื่องนี้เสียแล้ว
พระสุคตทรงหักล้างเรื่องนี้เสียแล้วเล่า”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในลัทธิอาจารย์ของตน ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความ
เห็นอย่างนี้ว่า ‘วรรณะนี้เป็นวรรณะสูงสุด วรรณะนี้เป็นวรรณะสูงสุด’ ข้าพระองค์
เหล่านั้นเมื่อถูกพระผู้มีพระภาคสอบสวนซักไซร้ไล่เลียงในลัทธิอาจารย์ของตนจึง
กลายเป็นคนว่าง เป็นคนเปล่า ผิดไปหมด”

ปัญหาเรื่องโลกที่มีสุขโดยส่วนเดียว

[๒๗๔] “อุทายี โลกที่มีสุขโดยส่วนเดียวมีอยู่หรือ ข้อปฏิบัติที่มีเหตุ๑เพื่อ
ทำให้แจ้งโลกที่มีสุขโดยส่วนเดียว มีอยู่หรือ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในลัทธิอาจารย์ของตน ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความ
เห็นอย่างนี้ว่า ‘โลกมีสุขโดยส่วนเดียวมีอยู่ ข้อปฏิบัติที่มีเหตุเพื่อทำให้แจ้งโลก
ที่มีสุขโดยส่วนเดียวก็มีอยู่”
“ข้อปฏิบัติที่มีเหตุเพื่อทำให้แจ้งโลกที่มีสุขโดยส่วนเดียวนั้น เป็นอย่างไร”
“คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ละเว้นขาดจากปาณาติบาต(การฆ่าสัตว์) ละเว้น
ขาดจากอทินนาทาน(การลักทรัพย์) ละเว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร(การประพฤติ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๙. จูฬสกุลุทายิสูตร

ผิดในกาม) ละเว้นขาดจากมุสาวาท(การพูดเท็จ) สมาทานคุณคือตบะอย่างใด
อย่างหนึ่ง ประพฤติอยู่ นี้แลเป็นข้อปฏิบัตินั้นที่มีเหตุเพื่อทำให้แจ้งโลกที่มีสุขโดย
ส่วนเดียว พระพุทธเจ้าข้า”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ในเวลาที่บุคคลละเว้นขาดจากปาณาติบาต
อัตตามีสุขโดยส่วนเดียว หรือมีสุขบ้าง มีทุกข์บ้าง”
“มีสุขบ้าง มีทุกข์บ้าง พระพุทธเจ้าข้า”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ในเวลาที่บุคคลละเว้นขาดจากอทินนาทาน
อัตตามีสุขโดยส่วนเดียว หรือมีสุขบ้าง มีทุกข์บ้าง”
“มีสุขบ้าง มีทุกข์บ้าง พระพุทธเจ้าข้า”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ในเวลาที่บุคคลละเว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร
อัตตามีสุขโดยส่วนเดียว หรือมีสุขบ้าง มีทุกข์บ้าง”
“มีสุขบ้าง มีทุกข์บ้าง พระพุทธเจ้าข้า”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ในเวลาที่บุคคลละเว้นขาดจากมุสาวาท
อัตตามีสุขโดยส่วนเดียว หรือมีสุขบ้าง มีทุกข์บ้าง”
“มีสุขบ้าง มีทุกข์บ้าง พระพุทธเจ้าข้า”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ในเวลาที่บุคคลสมาทานคุณคือตบะอย่างใด
อย่างหนึ่งประพฤติอยู่ อัตตามีสุขโดยส่วนเดียว หรือมีสุขบ้าง มีทุกข์บ้าง”
“มีสุขบ้าง มีทุกข์บ้าง พระพุทธเจ้าข้า”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร การจะอาศัยข้อปฏิบัติอันมีทั้งสุขและทุกข์
แล้วทำให้แจ้งโลกที่มีสุขโดยส่วนเดียว มีอยู่บ้างไหม”
“พระผู้มีพระภาคทรงหักล้างเรื่องนี้เสียแล้ว พระสุคตทรงหักล้างเรื่องนี้เสียแล้ว
พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๙. จูฬสกุลุทายิสูตร

“อุทายี ทำไมท่านจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘พระผู้มีพระภาคทรงหักล้างเรื่องนี้เสียแล้ว
พระสุคตทรงหักล้างเรื่องนี้เสียแล้วเล่า”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในลัทธิอาจารย์ของตน ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความ
เห็นอย่างนี้ว่า ‘โลกที่มีสุขโดยส่วนเดียวมีอยู่ ข้อปฏิบัติที่มีเหตุเพื่อทำให้แจ้งโลกที่มี
สุขโดยส่วนเดียวก็มีอยู่’ ข้าพระองค์เหล่านั้นเมื่อถูกพระผู้มีพระภาคสอบสวนซักไซ้
ไล่เลียงในลัทธิอาจารย์ของตนก็เป็นคนว่าง เป็นคนเปล่า เป็นคนผิดไปหมด
[๒๗๕] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โลกที่มีสุขโดยส่วนเดียวมีอยู่หรือ ข้อปฏิบัติที่
มีเหตุเพื่อทำให้แจ้งโลกที่มีสุขโดยส่วนเดียวมีอยู่หรือ”
“อุทายี โลกที่มีสุขโดยส่วนเดียวมีอยู่ ข้อปฏิบัติที่มีเหตุเพื่อทำให้แจ้งโลกที่มีสุข
โดยส่วนเดียวก็มีอยู่”

ฌาน ๔

“ข้อปฏิบัติที่มีเหตุเพื่อทำให้แจ้งโลกที่มีสุขโดยส่วนเดียวนั้น๑ เป็นอย่างไร
พระพุทธเจ้าข้า”
“อุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว
บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ อยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ อยู่
เพราะปีติจางคลายไป มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะเสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๙. จูฬสกุลุทายิสูตร

ตติยฌาน ฯลฯ อยู่ นี้แล เป็นข้อปฏิบัตินั้นที่มีเหตุเพื่อทำให้แจ้งโลกที่มีสุขโดย
ส่วนเดียว”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อปฏิบัติที่ตรัสตอบมิใช่ข้อปฏิบัติที่มีเหตุเพื่อทำให้
แจ้งโลกที่มีสุขโดยส่วนเดียวได้ เพราะโลกที่มีสุขโดยส่วนเดียว บุคคลทำให้แจ้งชัด
ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้๑”
“อุทายี โลกมีสุขโดยส่วนเดียว บุคคลไม่อาจทำให้แจ้งด้วยข้อปฏิบัติเพียง
เท่านี้ แต่ข้อปฏิบัตินั้นเป็นข้อปฏิบัติที่มีเหตุเพื่อทำให้แจ้งโลกที่มีสุขโดยส่วนเดียวได้
แน่แท้”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว บริษัทของสกุลุทายีปริพาชก ได้บันลือ
เสียงอื้ออึงขึ้นว่า “พวกเราพร้อมทั้งอาจารย์ยังไม่พอใจในเหตุนี้ พวกเราพร้อม
ทั้งอาจารย์ยังไม่พอใจในเหตุนี้ พวกเรายังไม่รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติที่ยิ่งไปกว่านี้”
ลำดับนั้น สกุลุทายีปริพาชกห้ามปริพาชกเหล่านั้นให้เงียบเสียงแล้วได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร ภิกษุนั้นจึงจะ
ทำให้แจ้งโลกที่มีสุขโดยส่วนเดียวได้”
“อุทายี เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อยู่ ยืนสนทนาปราศรัยกันกับเทวดาทั้งหลาย
ผู้เข้าถึงโลกที่มีสุขโดยส่วนเดียวเหล่านั้น อุทายี ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านั้นแล ภิกษุ
นั้นจึงจะทำให้แจ้งโลกที่มีสุขโดยส่วนเดียวได้”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๙. จูฬสกุลุทายิสูตร

[๒๗๖] “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค
คงมุ่งจะทำให้แจ้ง๑โลกที่มีสุขโดยส่วนเดียวนั้นเป็นแน่”
“อุทายี ไม่ใช่ภิกษุจะประพฤติพรหมจรรย์ในเรา เพียงเพื่อทำให้แจ้งโลกที่มีสุข
โดยส่วนเดียวนี้เท่านั้น แท้จริงยังมีธรรมอื่นที่ดีกว่า และประณีตกว่า ที่ภิกษุประพฤติ
พรหมจรรย์ในเรา มุ่งจะทำให้แจ้ง”
“ธรรมที่ดีกว่าและประณีตกว่าที่ภิกษุประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค
มุ่งจะทำให้แจ้งนั้นคืออะไร พระพุทธเจ้าข้า”
“อุทายี ตถาคตอุบัติขึ้นมาในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยตนเอง
โดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึก
ได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า
เป็นพระผู้มีพระภาค ฯลฯ ภิกษุนั้นละนิวรณ์ ๕ ประการนี้ อันเป็นเหตุทำใจให้
เศร้าหมอง เป็นครื่องบั่นทอนปัญญาได้แล้ว เธอสงัดจากกาม และอกุศลธรรม
ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ อยู่ ธรรมนี้แลดีกว่าและประณีตกว่า ที่ภิกษุ
ประพฤติพรหมจรรย์ในเรา มุ่งจะทำให้แจ้ง
อีกประการหนึ่ง เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ
บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อยู่ อุทายี ธรรมนี้แล ดีกว่าและ
ประณีตกว่า ที่ภิกษุประพฤติพรหมจรรย์ในเรา มุ่งจะทำให้แจ้ง”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๙. จูฬสกุลุทายิสูตร

วิชชา ๓

เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ
เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อมจิต
ไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง
๒ ชาติบ้าง ฯลฯ เธอระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและ
ชีวประวัติอย่างนี้ ธรรมนี้แลดีกว่าและประณีตกว่า ที่ภิกษุทั้งหลายประพฤติพรหมจรรย์
ในเรา มุ่งจะทำให้แจ้ง
เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ
เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อมจิต
ไปเพื่อจุตูปปาตญาณ เห็นหมู่สัตว์ผู้ที่กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งาม
และไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ฯลฯ เธอรู้ชัด
ถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ธรรมนี้แลดีกว่าและประณีตกว่า ที่ภิกษุประพฤติ
พรหมจรรย์ในเรามุ่งจะทำให้แจ้ง
เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ
เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อมจิต
ไปเพื่ออาสวักขยญาณรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ
นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินี-
ปฏิปทา’ เมื่อเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ และ
อวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
ธรรมนี้แลดีกว่าและประณีตกว่า ที่ภิกษุประพฤติพรหมจรรย์ในเรามุ่งจะทำให้แจ้ง
อุทายี ธรรมเหล่านี้แล ดีกว่าและประณีตกว่า ที่ภิกษุประพฤติพรหมจรรย์
ในเรา มุ่งจะทำให้แจ้ง”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๙. จูฬสกุลทายิสูตร

สกุลุทายีปริพาชกขอบวช

[๒๗๗] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว สกุลุทายีปริพาชกได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระผู้มีพระภาคทรง
ประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ
เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดี
จักเห็นรูปได้’ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค พร้อมทั้งพระธรรม และพระสงฆ์
เป็นสรณะ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์พึงได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มี
พระภาคเถิด”
เมื่อสกุลุทายีปริพาชกกราบทูลอย่างนี้แล้ว บริษัทของสกุลุทายีปริพาชกได้
กล่าวห้ามสกุลุทายีปริพาชกว่า “ท่านอุทายี ท่านอย่าได้ประพฤติพรหมจรรย์ใน
พระสมณโคดมเลย ท่านเป็นอาจารย์แล้วอย่ายอมเป็นศิษย์เลย อุปมาเหมือน
เป็นขันน้ำแล้ว จะลดฐานะลงเป็นจอกในขันน้ำ แม้ฉันใด ข้ออุปไมยนี้ก็จักมีแก่
ท่านอุทายีฉันนั้นเหมือนกัน ท่านอย่าได้ประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดมเลย
ท่านอุทายี ท่านเป็นอาจารย์แล้วอย่ายอมเป็นศิษย์เลย”
เรื่องนี้เป็นอันยุติได้ว่า บริษัทของสกุลุทายีปริพาชก ได้ทำให้สกุลุทายีปริพาชก
มีอุปสรรคต่อการประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

จูฬสกุลุทายิสูตรที่ ๙ จบ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๑๐. เวขณสสูตร

๑๐. เวขณสสูตร
ว่าด้วยปริพาชกชื่อเวขณสะ

[๒๗๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล ปริพาชกชื่อเวขณสะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง
ที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว ได้ยืนอยู่
ณ ที่สมควร แล้วได้เปล่งอุทานในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า “นี้เป็นวรรณะสูงสุด
นี้เป็นวรรณะสูงสุด”

ทรงเปรียบเทียบวรรณะ ๒ อย่าง

พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “กัจจานะ ทำไมท่านจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘นี้เป็น
วรรณะสูงสุด นี้เป็นวรรณะสูงสุด’ วรรณะสูงสุดนั้นเป็นอย่างไร”
เวขณสปริพาชกทูลตอบว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม วรรณะใดไม่มีวรรณะอื่น
ยิ่งกว่า หรือประณีตกว่า วรรณะนั้นเป็นวรรณะสูงสุด”
“วรรณะใดไม่มีวรรณะอื่นยิ่งกว่า หรือประณีตกว่า วรรณะนั้นเป็นวรรณะไหนเล่า”
“วรรณะใดไม่มีวรรณะอื่นยิ่งกว่า หรือประณีตกว่า วรรณะนั้นเป็นวรรณะ
สูงสุด พระพุทธเจ้าข้า”
“ท่านกล่าวแต่เพียงว่า ‘วรรณะใดไม่มีวรรณะอื่นยิ่งกว่า หรือประณีตกว่า
วรรณะนั้นเป็นวรรณะสูงสุด’ คำที่ท่านกล่าวนั้นพึงขยายความได้อย่างยืดยาว
แต่ท่านไม่ชี้วรรณะนั้นให้ชัด เปรียบเหมือนชายคนหนึ่งปรารภถึงหญิงสาวอย่างนี้ว่า
‘เราปรารถนารักใคร่หญิงงามแห่งชนบทนี้’ คนจะถามเขาว่า ‘พ่อคุณ เธอรู้จัก
หญิงคนนั้นหรือว่า เป็นนางกษัตริย์ นางพราหมณี นางแพศย์ หรือนางศูทร’
เมื่อถูกถามอย่างนี้ เขาจะตอบว่า ‘ไม่รู้จัก’ จะถูกถามต่อไปว่า ‘เธอรู้จักหญิงคนนั้น
หรือว่ามีชื่อ ตระกูล สูง ต่ำ สันทัด ดำ คล้ำ หรือผิวเหลือง อยู่ในหมู่บ้าน นิคม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๑๐. เวขณสสูตร

หรือเมืองโน้น’ เมื่อถูกถามอย่างนี้ เขาจะตอบว่า ‘ยังไม่รู้จัก’ จะถูกถามต่อไปว่า
‘เธอปรารถนารักใคร่หญิงที่ยังไม่เคยรู้จักทั้งไม่เคยเห็นอย่างนั้นหรือ’ เมื่อถูกถาม
อย่างนี้ เขาจะตอบว่า ‘ใช่’
ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เมื่อเป็นเช่นนี้ คำพูดของชายผู้นั้นถือว่า
เลื่อนลอย มิใช่หรือ”
“เมื่อเป็นเช่นนี้ คำพูดของชายผู้นั้นถือว่าเลื่อนลอยแน่นอน พระพุทธเจ้าข้า”
“กัจจานะ ท่านก็อย่างนั้นเหมือนกัน กล่าวอยู่แต่เพียงว่า ‘ข้าแต่ท่านพระโคดม
วรรณะใดไม่มีวรรณะอื่นยิ่งกว่า หรือประณีตกว่า วรรณะนั้นเป็นวรรณะสูงสุด’
แต่ไม่ได้ชี้วรรณะนั้นให้ชัด”
“ท่านพระโคดม แก้วไพฑูรย์อันงามเกิดเองอย่างบริสุทธิ์แปดเหลี่ยม นายช่าง
เจียระไนดีแล้ว ซึ่งเขาวางไว้ที่ผ้ากัมพลเหลือง ย่อมส่องแสงสว่างเป็นประกายออกมา
แม้ฉันใด อัตตา๑ที่มีวรรณะก็ฉันนั้นเหมือนกัน หลังจากตายไปย่อมเป็นของยั่งยืน”
[๒๗๙] ''กัจจานะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร แก้วไพฑูรย์อันงาม
เกิดเองอย่างบริสุทธิ์แปดเหลี่ยม นายช่างเจียระไนดีแล้ว ซึ่งเขาวางไว้ที่ผ้ากัมพล
เหลือง ย่อมส่องแสงสว่างเป็นประกายออกมากับหิ่งห้อยในราตรีที่มีเดือนมืด บรรดา
วรรณะทั้ง ๒ นี้ วรรณะไหนจะส่องสว่างกว่าและประณีตกว่ากัน”
“บรรดาวรรณะทั้ง ๒ นี้ หิ่งห้อยในราตรีที่มีเดือนมืดนี้ย่อมส่องสว่างกว่าและ
ประณีตกว่า พระพุทธเจ้าข้า”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร หิ่งห้อยในราตรีที่มีเดือนมืด กับประทีปน้ำ
มันในราตรีที่มีเดือนมืด บรรดาวรรณะทั้ง ๒ นี้ วรรณะไหนจะส่องสว่างกว่าและ
ประณีตกว่ากัน”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๑๐. เวขณสสูตร

“บรรดาวรรณะทั้ง ๒ นี้ ประทีปน้ำมันในราตรีที่มีเดือนมืด ส่องสว่างกว่าและ
ประณีตกว่า พระพุทธเจ้าข้า”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ประทีปน้ำมันในราตรีที่มีเดือนมืด กับกอง
ไฟใหญ่ในราตรีที่มีเดือนมืด บรรดาวรรณะทั้ง ๒ นี้ วรรณะไหนจะส่องสว่างและ
ประณีตกว่ากัน”
“บรรดาวรรณะทั้ง ๒ นี้ กองไฟใหญ่ในราตรีที่มีเดือนมืดส่องสว่างกว่าและ
ประณีตกว่า พระพุทธเจ้าข้า”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร กองไฟใหญ่ในราตรีที่มีเดือนมืดกับดาวศุกร์
ในนภากาศอันกระจ่างปราศจากเมฆในเวลาใกล้รุ่ง บรรดาวรรณะทั้ง ๒ นี้ วรรณะ
ไหนจะส่องสว่างกว่าและประณีตกว่ากัน”
“บรรดาวรรณะทั้ง ๒ นี้ ดาวศุกร์ในนภากาศอันกระจ่างปราศจากเมฆในเวลา
ใกล้รุ่งส่องสว่างกว่าและประณีตกว่า พระพุทธเจ้าข้า”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ดาวศุกร์ในนภากาศอันกระจ่างปราศจาก
เมฆในเวลาใกล้รุ่งกับดวงจันทร์เวลาเที่ยงคืนตรง ในนภากาศอันกระจ่างปราศจาก
เมฆในวันอุโบสถขึ้น ๑๕ ค่ำ บรรดาวรรณะทั้ง ๒ นี้ วรรณะไหนจะส่องสว่างสว่างกว่า
และประณีตกว่ากัน”
“บรรดาวรรณะทั้ง ๒ นี้ ดวงจันทร์เวลาเที่ยงคืนตรง ในนภากาศอันกระจ่าง
ปราศจากเมฆ ในวันอุโบสถขึ้น ๑๕ ค่ำนี้ส่องสว่างกว่าและประณีตกว่า พระพุทธเจ้าข้า”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ดวงจันทร์เวลาเที่ยงคืนตรง ในนภากาศ
อันกระจ่างปราศจากเมฆ ในวันอุโบสถขึ้น ๑๕ ค่ำ กับดวงอาทิตย์ในเวลาเที่ยงตรง
ในนภากาศอันกระจ่างปราศจากเมฆ ในสารทกาลเดือนท้ายแห่งฤดูฝน บรรดาวรรณะ
ทั้ง ๒ นี้ วรรณะไหนจะงามกว่าและประณีตกว่ากัน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๑๐. เวขณสสูตร

“ข้าแต่ท่านพระโคดม บรรดาวรรณะทั้ง ๒ นี้ ดวงอาทิตย์เวลาเที่ยงตรง
ในนภากาศอันกระจ่างปราศจากเมฆ ในสารทกาลเดือนท้ายแห่งฤดูฝนนี้ ส่องสว่าง
กว่าและประณีตกว่า”
“กัจจานะ เทวดาเหล่าใดไม่อาศัยแสงดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ เทวดา
เหล่านั้น มีมาก มีมากยิ่งกว่าเหล่าเทวดาที่อาศัยแสงดวงจันทร์และดวงอาทิตย์
เรารู้ทั่วถึงเทวดาเหล่านั้น แต่เราก็ไม่กล่าวว่า ‘เป็นวรรณะที่ไม่มีวรรณะอื่นยิ่งกว่า
หรือประณีตกว่า’ ส่วนท่านกล่าวว่า ‘วรรณะที่เลวกว่าและเศร้าหมองกว่าหิ่งห้อย
นั้นเป็นวรรณะที่สูงสุด’ แต่ท่านไม่ชี้วรรณะนั้นให้ชัด
[๒๘๐] กัจจานะ กามคุณมี ๕ ประการ
กามคุณ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปที่จะพึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
๒. เสียงที่จะพึงรู้แจ้งทางหู ...
๓. กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งทางจมูก ...
๔. รสที่จะพึงรู้แจ้งทางลิ้น ...
๕. โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
กัจจานะ กามคุณมี ๕ ประการ นี้แล
สุข โสมนัสที่อาศัยกามคุณ ๕ ประการนี้เกิดขึ้น เราเรียกว่า กามสุข
ดังนั้น ในกามและกามสุขนั้น เราจึงกล่าวกามสุขว่าเลิศกว่ากามทั้งหลาย
(แต่)กล่าวสุขอันเลิศกว่ากาม๑ว่าเลิศกว่ากามสุข”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๑๐. เวขณสสูตร

สรรเสริญสุขอันเลิศกว่ากาม

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว เวขณสปริพาชกได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ท่านพระโคดม น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ข้อที่ในกามและกามสุขนั้น
ท่านพระโคดมตรัสกามสุขว่าเลิศกว่ากามทั้งหลาย (แต่)ตรัสสุขอันเลิศกว่ากามว่า
เลิศกว่ากามสุข ชื่อว่าตรัสดีแล้ว”
“กัจจานะ ข้อที่ว่า ‘กามก็ดี กามสุขก็ดี สุขอันเลิศกว่ากามก็ดี’ นี้เธอ
ผู้มีทิฏฐิแตกต่างกัน มีความถูกใจแตกต่างกัน มีความพอใจแตกต่างกัน มีความ
มุ่งหมายแตกต่างกัน มีอาจารย์แตกต่างกันจึงรู้ได้ยาก ภิกษุเหล่าใดเป็นอรหันต-
ขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุ
ประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุ
เหล่านั้นแล จะพึงรู้กาม กามสุข หรือสุขอันเลิศกว่ากามนี้ได้”
[๒๘๑] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว เวขณสปริพาชก โกรธ ไม่พอใจ
เมื่อจะด่าว่าเย้ยหยันพระผู้มีพระภาค คิดว่า “เราจักทำให้พระสมณโคดมได้รับ
ความเสียหาย” จึงได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“เมื่อเป็นเช่นนั้น สมณพราหมณ์บางพวกในโลกนี้ ไม่รู้เงื่อนเบื้องต้น ไม่เห็น
เงื่อนเบื้องปลาย แต่ยังยืนยันอยู่ว่า เรารู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ คำกล่าวของ
สมณพราหมณ์เหล่านั้นถึงความเป็นคำน่าหัวเราะ เป็นคำต่ำช้า เป็นคำเปล่า เป็นคำ
เหลวไหลทีเดียว”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “กัจจานะ สมณพราหมณ์เหล่าใด เมื่อไม่รู้เงื่อนเบื้องต้น
ไม่เห็นเงื่อนเบื้องปลาย ยังยืนยันว่า ‘เรารู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ สมณพราหมณ์
เหล่านั้นถูกข่มก็ชอบอยู่ แต่จงงดเงื่อนเบื้องต้นและเงื่อนเบื้องปลายไว้ก่อน ขอให้
วิญญูชนผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา เป็นคนซื่อตรง จงมาเถิด เราจะสั่งสอน เราจัก
แสดงธรรม เมื่อเขาปฏิบัติตามคำพร่ำสอน ไม่นานก็จักรู้เอง เห็นเอง ได้ทราบว่า
ความหลุดพ้นโดยชอบจากเครื่องผูกคืออวิชชาก็เป็นอย่างนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
รวมพระสูตรที่มีในวรรค

กัจจานะ เด็กอ่อนที่ยังนอนหงาย ถูกเครื่องผูกที่ทำด้วยด้ายผูกไว้ที่ข้อเท้าทั้งสอง
ที่ข้อมือทั้งสองและที่คอรวมเป็น ๕ แห่ง เครื่องผูกเหล่านั้นจะหลุดไปเมื่อเด็กเติบโตขึ้น
และมีร่างกายแข็งแรงขึ้น เขาจึงรู้ว่า ‘เราหลุดพ้นแล้วและเครื่องผูกก็ไม่มีแก่เรา’
แม้ฉันใด วิญญูชน ผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา เป็นคนซื่อตรง ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ขอจงมาเถิด เราจักสั่งสอน จักแสดงธรรม เมื่อเขาปฏิบัติตามคำพร่ำสอนแล้ว
ไม่นานก็จักรู้เอง เห็นเอง ได้ทราบว่า ความหลุดพ้นโดยชอบจากเครื่องผูกคือ
อวิชชาก็เป็นอย่างนั้น”

ปริพาชกชื่อเวขณสะแสดงตนเป็นอุบาสก

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว เวขณสปริพาชกได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่ท่าน
พระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอท่านพระโคดม
จงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
ดังนี้แล

เวขณสสูตรที่ ๑๐ จบ
ปริพาชกวรรคที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. จูฬวัจฉโคตตสูตร ๒. อัคคิวัจฉโคตตสูตร
๓. มหาวัจฉโคตตสูตร ๔. ทีฆนขสูตร
๕. มาคัณฑิยสูตร ๖. สันทกสูตร
๗. มหาสกุลุทายิสูตร ๘. สมณมุณฑิกสูตร
๙. จูฬสกุลุทายิสูตร ๑๐. เวขณสสูตร


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๑. ฆฏิการสูตร

๔. ราชวรรค
หมวดว่าด้วยพระราชา

๑. ฆฏิการสูตร
ว่าด้วยช่างหม้อชื่อฆฏิการะ

[๒๘๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศลพร้อมกับภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จแวะออกจากทางแล้วได้ทรงแย้มพระโอษฐ์ ณ
สถานที่แห่งหนึ่ง ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ได้คิดว่า “อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย
ให้พระผู้มีพระภาคทรงแย้มพระโอษฐ์ เพราะพระตถาคต๑ทั้งหลายย่อมไม่ทรงแย้ม
พระโอษฐ์โดยไม่มีสาเหตุ”
ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์จึงห่มผ้าอุตตราสงค์เฉวียงบ่า ประนมอัญชลีไปทาง
ที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ได้ทูลถามพระองค์ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ
เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พระผู้มีพระภาคทรงแย้มพระโอษฐ์ เพราะพระตถาคตทั้งหลาย
ย่อมไม่ทรงแย้มพระโอษฐ์โดยไม่มีสาเหตุ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ เรื่องเคยมีมาแล้ว ณ สถานที่แห่งนี้
มีนิคมชื่อเวคฬิงคะ เป็นนิคมมั่งคั่ง อุดมสมบูรณ์ มีประชากรมาก มีพลเมือง
หนาแน่น พระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงอาศัยเวคฬิงคนิคมอยู่ ได้ยินว่า ที่นี้เคยเป็นอารามของพระผู้มีพระภาคพระนาม
ว่ากัสสปะ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นมาก่อน ได้ยินว่า พระผู้มี
พระภาคพระนามว่ากัสสปะผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับนั่งตรัสสอน
ภิกษุสงฆ์ ณ ที่นี้”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๑. ฆฏิการสูตร

ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ได้ปูลาดผ้าสังฆาฏิเป็น ๔ ชั้นถวาย แล้วกราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าเช่นนั้น ขอพระผู้มีพระภาคจงประทับ
นั่ง ณ ที่นี้เถิด ภาคพื้นส่วนนี้จักเป็นส่วนที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒ พระองค์
ทรงใช้สอย”
พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว ได้รับสั่งเรียกท่าน
พระอานนท์มาตรัสว่า
“อานนท์ เรื่องเคยมีมาแล้ว ณ สถานที่แห่งนี้ มีนิคมชื่อเวคฬิงคะ เป็นนิคม
มั่งคั่ง อุดมสมบูรณ์ มีประชากรมาก มีพลเมืองหนาแน่น พระผู้มีพระภาคพระนาม
ว่ากัสสปะ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงอาศัยเวคฬิงคนิคมอยู่ ได้ยินว่า
ที่นี้เคยเป็นอารามของพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นมาก่อน ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ ผู้เป็น
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ประทับนั่งตรัสสอนภิกษุสงฆ์ ณ ที่นี้
[๒๘๓] อานนท์ ในเวคฬิงคนิคม ได้มีช่างหม้อชื่อฆฏิการะเป็นอุปัฏฐากผู้เลิศ
ของพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มีมาณพ
ชื่อโชติปาละเป็นสหายที่รักกันของช่างหม้อชื่อฆฏิการะ ครั้งนั้น ช่างหม้อชื่อฆฏิการะ
เรียกโชติปาลมาณพมากล่าวว่า ‘มาเถิด โชติปาละเพื่อนรัก เราจักเข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคพระนามว่ากัสสปะ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยกัน เพราะว่า
การที่เราได้เห็นพระผู้มีพระภาค ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ถือกันว่าเป็นความดี’
เมื่อช่างหม้อชื่อฆฏิการะกล่าวอย่างนี้แล้ว โชติปาลมาณพได้กล่าวว่า ‘อย่าเลย
ฆฏิการะเพื่อนรัก การเห็นพระสมณะโล้นนั้นจะมีประโยชน์อะไร’
แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ ช่างหม้อชื่อฆฏิการะได้กล่าวกับโชติปาลมาณพว่า ‘มาเถิด โชติปาละ
เพื่อนรัก เราจักเข้าไปเฝ้าพระผู้พระภาคพระนามว่ากัสสปะผู้เป็นพระอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้าด้วยกัน เพราะว่าการที่เราได้เห็นพระผู้มีพระภาค ผู้เป็นพระอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ถือกันว่าเป็นความดี’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๑. ฆฏิการสูตร

แม้ครั้งที่ ๓ โชติปาลมาณพได้กล่าวว่า ‘อย่าเลย ฆฏิการะเพื่อนรัก การเห็น
พระสมณะโล้นนั้นจะมีประโยชน์อะไร’
ช่างหม้อชื่อฆฏิการะจึงกล่าวว่า ‘โชติปาละเพื่อนรัก ถ้าเช่นนั้น เรานำจุรณ
ถูตัว๑ไปยังแม่น้ำเพื่ออาบน้ำกันเถิด’ โชติปาลมาณพรับคำแล้ว ลำดับนั้น ช่างหม้อ
ชื่อฆฏิการะและโชติปาลมาณพ ได้นำจุรณถูตัวไปยังแม่น้ำเพื่ออาบน้ำ
[๒๘๔] อานนท์ ต่อมา ช่างหม้อชื่อฆฏิการะ ได้เรียกโชติปาลมาณพมากล่าวว่า
‘โชติปาละเพื่อนรัก ที่นี่ไม่ไกลจากพระอารามของพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ
ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านัก มาเถิด โชติปาละเพื่อนรัก เราจักเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยกัน
เพราะว่าการที่เราได้เห็นพระผู้มีพระภาค ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ถือกันว่าเป็นความดี’
เมื่อช่างหม้อชื่อฆฏิการะกล่าวอย่างนี้แล้ว โชติปาลมาณพได้กล่าวว่า ‘อย่าเลย
ฆฏิการะเพื่อนรัก การเห็นพระสมณะโล้นนั้นจะมีประโยชน์อะไร’
แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ ช่างหม้อชื่อฆฏิการะได้กล่าวว่า ‘โชติปาละเพื่อนรัก ที่นี่ไม่ไกล
จากพระอารามของพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้านัก มาเถิด โชติปาละเพื่อนรัก เราจักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคพระนาม
ว่ากัสสปะ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยกัน เพราะว่าการที่เราได้เห็น
พระผู้มีพระภาค ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ถือกันว่าเป็น
ความดี’
แม้ครั้งที่ ๓ โชติปาลมาณพก็กล่าวว่า ‘อย่าเลย ฆฏิการะเพื่อนรัก การเห็น
พระสมณะโล้นนั้นจะมีประโยชน์อะไร’


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๑. ฆฏิการสูตร

ลำดับนั้น ช่างหม้อชื่อฆฏิการะได้จับชายพกของโชติปาลมาณพแล้วกล่าวว่า
‘โชติปาละเพื่อนรัก ที่นี่ไม่ไกลจากพระอารามของพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ
ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านัก มาเถิด โชติปาละเพื่อนรัก เราจักเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยกัน
เพราะว่าการที่เราได้เห็นพระผู้มีพระภาค ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ถือกันว่าเป็นความดี’
ลำดับนั้น โชติปาลมาณพให้ช่างหม้อชื่อฆฏิการะปล่อยชายพกแล้วกล่าวว่า
‘อย่าเลย ฆฏิการะเพื่อนรัก การเห็นพระสมณะโล้นนั้นจะมีประโยชน์อะไร’
ช่างหม้อชื่อฆฏิการะนั้นจับที่ผมของโชติปาละมาณพผู้อาบน้ำดำเกล้าแล้วกล่าวว่า
‘โชติปาละเพื่อนรัก ที่นี่ไม่ไกลจากพระอารามของพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ
ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านัก มาเถิด โชติปาละเพื่อนรัก เราจักเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยกัน
เพราะว่าการที่เราได้เห็นพระผู้มีพระภาค ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ถือกันว่าเป็นความดี’
ต่อมา โชติปาลมาณพได้คิดว่า ‘น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ที่ช่างหม้อ
ชื่อฆฏิการะผู้มีสกุลรุนชาติต่ำ บังอาจมาจับผมของเราผู้อาบน้ำดำเกล้าแล้ว การที่
เราจะไปด้วยนี้ เห็นจะไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย’ แล้วได้กล่าวกับช่างหม้อชื่อฆฏิการะว่า
‘ฆฏิการะเพื่อนรัก การที่เพื่อนทำความพยายามตั้งแต่พูดชักชวน จับที่ชายพก
จนล่วงเลยถึงบังอาจจับที่ผมของเรานั้น ก็เพื่อจะชวนให้ไปในสำนักของพระผู้มีพระภาค
ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น เท่านั้นเองหรือ’
ช่างหม้อชื่อฆฏิการะกล่าวว่า ‘เท่านั้นเอง โชติปาละเพื่อนรัก จริงอย่างนั้น
การที่เราได้เห็นพระผู้มีพระภาค ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ถือกันว่าเป็นความดี’
โชติปาลมาณพกล่าวว่า ‘ฆฏิการะเพื่อนรัก ถ้าเช่นนั้น ปล่อยเราเถิด พวกเรา
จักไปด้วยกัน’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๑. ฆฏิการสูตร

[๒๘๕] อานนท์ ครั้งนั้น ช่างหม้อชื่อฆฏิการะและโชติปาลมาณพได้เข้า
ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงที่
ประทับ ช่างหม้อชื่อฆฏิการะถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ ผู้เป็น
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ส่วนโชติปาลมาณพได้สนทนา
ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วจึงนั่ง ณ ที่สมควร ช่างหม้อ
ชื่อฆฏิการะผู้นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ ผู้เป็น
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้คือโชติปาละมาณพผู้เป็น
สหายรักกันของข้าพระองค์ ขอพระผู้มีพระภาคจงแสดงธรรมแก่โชติปาลมาณพนี้เถิด’
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้า ทรงชี้แจงให้ช่างหม้อชื่อฆฏิการะและโชติปาลมาณพเห็นชัด ชวนใจให้
อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ด้วยธรรมีกถา๑ จากนั้น ช่างหม้อชื่อฆฏิการะและโชติปาลมาณพผู้ซึ่งพระผู้มีพระภาค
ทรงพระนามว่ากัสสปะ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงชี้แจงให้เห็นชัด
ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่น
ร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว ชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคพระนามว่า
กัสสปะ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วลุกจากที่นั่ง ถวายอภิวาทพระผู้มี
พระภาคพระนามว่ากัสสปะ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า กระทำประทักษิณ
แล้วจากไป
[๒๘๖] อานนท์ ครั้งนั้น โชติปาลมาณพได้ถามช่างหม้อชื่อฆฏิการะว่า
‘ฆฏิการะเพื่อนรัก ท่านเมื่อฟังธรรมนี้ หลังจากนี้จะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
หรือไม่’
ช่างหม้อชื่อฆฏิการะตอบว่า ‘โชติปาละเพื่อนรัก ท่านก็รู้อยู่มิใช่หรือว่า ‘เราต้อง
เลี้ยงดูมารดาบิดาซึ่งเป็นคนตาบอดและแก่ชรา’


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๑. ฆฏิการสูตร

โชติปาลมาณพจึงกล่าวว่า ‘ฆฏิการะเพื่อนรัก ถ้าเช่นนั้น เราจักออกจาก
เรือนบวชเป็นบรรพชิตเอง’
ลำดับนั้น ช่างหม้อชื่อฆฏิการะและโชติปาลมาณพได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
พระนามว่ากัสสปะ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว
นั่ง ณ ที่สมควร ช่างหม้อชื่อฆฏิการะได้กราบทูลว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้คือ
โชติปาลมาณพ ผู้เป็นสหายรักกันของข้าพระองค์ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงบวช
ให้โชติปาลมาณพนี้ด้วยเถิด’
โชติปาลมาณพได้บรรพชาอุปสมบทแล้วในสำนักของพระผู้มีพระภาคพระนาม
ว่ากัสสปะ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

เรื่องพระเจ้ากาสีพระนามว่ากิกี

[๒๘๗] อานนท์ ครั้งนั้น เมื่อโชติปาลมาณพอุปสมบทได้ไม่นานประมาณ
กึ่งเดือน พระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ประทับอยู่ในเวคฬิงคนิคมตามควรแก่อัธยาศัยแล้ว เสด็จจาริกไปทางเขตกรุงพาราณสี
เสด็จจาริกไปแล้วโดยลำดับ จนถึงกรุงพาราณสี
อานนท์ ได้ยินว่า ในคราวนั้น พระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ ผู้เป็น
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุง
พาราณสี พระเจ้ากาสีทรงพระนามว่ากิกีทรงสดับข่าวว่า ‘ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาค
พระนามว่ากัสสปะ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จมาถึงกรุงพาราณสี
ประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤทายวัน’ ลำดับนั้น พระเจ้ากาสีทรงพระนามว่ากิกี
รับสั่งให้จัดยานพาหนะคันงาม ๆ หลายคัน ทรงขึ้นยานพาหนะคันงามเสด็จจาก
เขตกรุงพาราณสีพร้อมกับยานพาหนะคันงาม ๆ ตามเสด็จด้วยราชานุภาพอย่าง
ยิ่งใหญ่ เพื่อทรงเยี่ยมพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น เสด็จไปจนสุดทางที่ยานพาหนะจะไปได้ จึงเสด็จลงจากยาน
เสด็จพระราชดำเนินไปด้วยพระบาทเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ
ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๑. ฆฏิการสูตร

สมควร พระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงชี้แจงให้พระเจ้ากาสีทรงพระนามว่ากิกีทรงเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ
เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา พระเจ้ากาสี
ทรงพระนามว่ากิกีผู้ซึ่งพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้าทรงชี้แจงให้เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญ
แกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว จึงได้กราบทูลว่า ‘ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ จงทรงรับภัตตาหารของ
หม่อมฉันในวันพรุ่งนี้เถิด’
พระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงรับ
นิมนต์โดยดุษณีภาพ
ครั้งนั้น พระเจ้ากาสีพระนามว่ากิกีทรงทราบอาการที่พระผู้มีพระภาคพระนามว่า
กัสสปะ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงรับนิมนต์แล้ว จึงทรงลุกจากที่
ประทับ ถวายอภิวาท ทรงกระทำประทักษิณแล้วเสด็จจากไป เมื่อล่วงราตรีนั้นไป
พระเจ้ากาสีพระนามว่ากิกีได้รับสั่งให้ตกแต่งของเคี้ยวของฉันอันประณีต ล้วนเป็น
ข้าวสาลีซึ่งอ่อนละมุน เก็บกากออกหมดแล้ว มีแกงและกับหลายอย่าง ในพระราช-
นิเวศน์ของท้าวเธอ แล้วรับสั่งให้ราชบุรุษกราบทูลภัตตกาลแด่พระผู้มีพระภาค
พระนามว่ากัสสปะ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า ‘ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
ได้เวลาแล้ว ภัตตาหารสำเร็จแล้ว พระพุทธเจ้าข้า’
[๒๘๘] อานนท์ ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ ผู้เป็น
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไปยัง
พระราชนิเวศน์ของพระเจ้ากาสีพระนามว่ากิกี ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว
พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ลำดับนั้น พระเจ้ากาสีพระนามว่ากิกีทรงอังคาสภิกษุสงฆ์มี
พระพุทธเจ้าเป็นประมุข ให้อิ่มหนำสำราญด้วยของเคี้ยวของฉันอันประณีตด้วย
พระองค์เอง เมื่อพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
เสวยเสร็จ ทรงวางพระหัตถ์แล้ว พระเจ้ากาสีทรงพระนามว่ากิกีก็เลือกประทับนั่ง
ณ ที่สมควรที่ใดที่หนึ่งซึ่งต่ำกว่า แล้วได้กราบทูลว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๑. ฆฏิการสูตร

ผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์การอยู่จำพรรษา ณ กรุงพาราณสีของหม่อมฉันเถิด พระสงฆ์
จักได้รับการบำรุงเห็นปานนี้’
พระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสว่า
‘อย่าเลย มหาบพิตร อาตมภาพรับนิมนต์การอยู่จำพรรษาไว้แล้ว’
แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ พระเจ้ากาสีพระนามว่ากิกีได้กราบทูลว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอพระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์การอยู่จำพรรษา ณ กรุงพาราณสีของหม่อมฉันเถิด
พระสงฆ์จักได้รับการบำรุงเห็นปานนี้’
พระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสว่า
‘อย่าเลย มหาบพิตร อาตมภาพรับนิมนต์การอยู่จำพรรษาไว้แล้ว’
ครั้งนั้น พระเจ้ากาสีพระนามว่ากิกี ทรงเสียพระทัย ทรงโทมนัสว่า ‘พระผู้มี
พระภาคพระนามว่ากัสสปะ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ทรงรับนิมนต์
การอยู่จำพรรษา ณ กรุงพาราณสีของเรา’ จากนั้น ได้ทูลถามว่า ‘ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ มีใครอื่นที่เป็นผู้อุปัฏฐากยิ่งกว่าหม่อมฉันหรือ พระพุทธเจ้าข้า’

พระกัสสปพุทธเจ้าทรงสรรเสริญช่างหม้อชื่อฆฏิการะ

พระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสว่า
‘มหาบพิตร มีนิคมชื่อเวคฬิงคะ ช่างหม้อชื่อฆฏิการะอยู่ในนิคมนั้น เขาเป็นอุปัฏฐาก
ผู้เลิศของอาตมภาพ’ พระองค์ทรงเสียพระทัย มีความโทมนัสว่า ‘พระผู้มีพระภาค
พระนามว่ากัสสปะ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ทรงรับนิมนต์การอยู่จำพรรษา
ในกรุงพาราณสีของเรา’
แต่ความเสียใจและความโทมนัสนั้นย่อมไม่มี และจักไม่มีแก่ช่างหม้อชื่อฆฏิการะ
เพราะช่างหม้อชื่อฆฏิการะถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ถึงพระธรรมเป็นสรณะ ถึงพระสงฆ์
เป็นสรณะ เว้นขาดจากปาณาติบาต(การฆ่าสัตว์) เว้นขาดจากอทินนาทาน(การ
ลักทรัพย์) เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร(การประพฤติผิดในกาม) เว้นขาดจาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๑. ฆฏิการสูตร

มุสาวาท(การพูดเท็จ) เว้นขาดจากสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน(การเสพของมึนเมา
คือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท)
ช่างหม้อชื่อฆฏิการะเป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสมั่นคงในพระพุทธเจ้า เป็นผู้
ประกอบด้วยความเลื่อมใสมั่นคงในพระธรรม เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสมั่นคง
ในพระสงฆ์ ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะรักใคร่ ช่างหม้อชื่อฆฏิการะเป็นผู้หมดความ
สงสัยในทุกข์ เป็นผู้หมดความสงสัยในทุกขสมุทัย เป็นผู้หมดความสงสัยในทุกขนิโรธ
เป็นผู้หมดความสงสัยในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา บริโภคภัตรมื้อเดียว เป็นพรหมจารี
มีศีล มีกัลยาณธรรม ไม่ใช้แก้วมณีและทองคำเป็นเครื่องประดับ ปราศจากการใช้
ทองและเงิน
มหาบพิตร ช่างหม้อชื่อฆฏิการะ ไม่ใช้พลั่วและมือของตนขุดแผ่นดิน หาบแต่ดิน
ริมตลิ่งที่พังหรือขุยหนูมาใช้ทำเป็นภาชนะ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ผู้ต้องการภาชนะ
สำหรับใส่ข้าวสาร ใส่ถั่วเขียว ใส่ถั่วดำ ขอให้นำภาชนะที่ต้องการนั้นไปเถิด’ ช่างหม้อ
ชื่อฆฏิการะเลี้ยงดูมารดาบิดา ซึ่งเป็นคนตาบอดและแก่ชรา (หลังจากตายแล้ว)
ช่างหม้อชื่อฆฏิการะจะเป็นโอปปาติกะ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป
จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่ต้องกลับมาจากโลกนั้นอีก
[๒๘๙] มหาบพิตร สมัยหนึ่ง อาตมภาพอยู่ที่นิคมชื่อเวคฬิงคะนั้นเอง
ครั้นเวลาเช้า อาตมภาพครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร เข้าไปหามารดาบิดา
ของช่างหม้อชื่อฆฏิการะถึงที่อยู่แล้วได้ถามว่า ‘ดูเถิด นี่คนหาอาหารไปที่ไหนเสียเล่า’
มารดาบิดาของช่างหม้อชื่อฆฏิการะทูลตอบว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุปัฏฐาก
ของพระองค์ออกไปแล้ว ขอพระองค์จงรับข้าวสุกจากหม้อข้าว รับแกงจากหม้อแกง
เสวยเถิด’
ครั้งนั้น อาตมภาพได้รับข้าวสุกจากหม้อข้าว รับแกงจากหม้อแกงฉันแล้ว
ลุกจากอาสนะจากไป ลำดับนั้น ช่างหม้อชื่อฆฏิการะเข้าไปหามารดาบิดาถึงที่อยู่แล้ว
ได้ถามว่า ‘ใครมารับข้าวสุกจากหม้อข้าว รับแกงจากหม้อแกง บริโภคแล้วลุกจากอาสนะ
จากไป’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๑. ฆฏิการสูตร

มารดาบิดาบอกว่า ‘ลูกเอ๋ย พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่ากัสสปะ ผู้เป็นพระ
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงรับข้าวสุกจากหม้อข้าว รับแกงจากหม้อแกง เสวย
แล้วทรงลุกจากอาสนะเสด็จจากไป’
มหาบพิตร ครั้งนั้น ช่างหม้อชื่อฆฏิการะได้คิดว่า ‘เป็นลาภของเราหนอ
เราได้ดีแล้วหนอ ที่พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่ากัสสปะ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้า ทรงคุ้นเคยอย่างยิ่งเช่นนี้’ ครั้งนั้น ปีติและสุขไม่จางหายจากช่างหม้อ
ชื่อฆฏิการะตลอดกึ่งเดือน ไม่จางหายจากมารดาบิดาตลอด ๗ วัน
[๒๙๐] มหาบพิตร สมัยหนึ่ง อาตมภาพอยู่ที่นิคมชื่อเวคฬิงคะนั้นเอง
ครั้นเวลาเช้า อาตมภาพครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร เข้าไปหามารดาบิดาของ
ช่างหม้อชื่อฆฏิการะถึงที่อยู่แล้วได้ถามว่า ‘ดูเถิด นี่คนหาอาหารไปไหนเสียเล่า’
มารดาบิดาของช่างหม้อชื่อฆฏิการะทูลตอบว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุปัฏฐาก
ของพระองค์ออกไปแล้ว ขอพระองค์จงรับขนมกุมมาสจากกระเช้านี้ รับแกงจาก
หม้อแกงเสวยเถิด’
ครั้งนั้น อาตมภาพได้รับขนมกุมมาสจากกระเช้า รับแกงจากหม้อแกงฉันแล้ว
ลุกจากอาสนะจากไป ลำดับนั้น ช่างหม้อชื่อฆฏิการะ เข้าไปหามารดาบิดาถึงที่อยู่
แล้วได้ถามว่า ‘ใครมารับขนมกุมมาสจากกระเช้า รับแกงจากหม้อแกง บริโภคแล้ว
ลุกจากอาสนะจากไป’
มารดาบิดาบอกว่า ‘ลูกเอ๋ย พระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ ผู้เป็นพระ
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงรับขนมกุมมาสจากกระเช้า รับแกงจากหม้อแกงเสวย
แล้วทรงลุกจากอาสนะเสด็จจากไปแล้ว’
มหาบพิตร ครั้งนั้น ช่างหม้อชื่อฆฏิการะได้คิดว่า ‘เป็นลาภของเราหนอ
เราได้ดีแล้วหนอ ที่พระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้า ทรงคุ้นเคยอย่างยิ่งเช่นนี้’ ครั้งนั้น ปีติและสุขไม่จางหายจากช่างหม้อ
ชื่อฆฏิการะตลอดกึ่งเดือน ไม่จางหายจากมารดาบิดาตลอด ๗ วัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๑. ฆฏิการสูตร

[๒๙๑] มหาบพิตร สมัยหนึ่ง อาตมภาพอยู่ที่นิคมชื่อเวคฬิงคะนั้นเอง ขณะนั้น
กุฏิรั่วจึงเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงไปดูว่าในเรือน
ของช่างหม้อชื่อฆฏิการะมีหญ้าหรือไม่‘’
เมื่ออาตมภาพกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น(ไปดูกลับมาแล้ว)ได้กล่าวกับ
อาตมภาพว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรือนของช่างหม้อชื่อฆฏิการะไม่มีหญ้า มีแต่
หญ้าที่มุงหลังคาเรือนของเขาเท่านั้น’
อาตมภาพจึงได้สั่งภิกษุทั้งหลายว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงพากันไป
รื้อหญ้าที่มุงหลังคาเรือนของช่างหม้อชื่อฆฏิการะ’
ภิกษุเหล่านั้นได้ไปรื้อหญ้าที่มุงหลังคาเรือนของช่างหม้อชื่อฆฏิการะ ครั้งนั้น
มารดาบิดาของช่างหม้อชื่อฆฏิการะได้กล่าวกับภิกษุเหล่านั้นว่า ‘พวกใครเล่ามารื้อ
หญ้ามุงหลังคาเรือน’
ภิกษุทั้งหลายตอบว่า ‘คุณโยม กุฏิของพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ ผู้เป็น
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ารั่ว’
มารดาบิดาของช่างหม้อชื่อฆฏิการะได้กล่าวว่า ‘นำไปเถิดเจ้าข้า นำไปตาม
สะดวกเถิด พระคุณเจ้า’
ครั้งนั้น ช่างหม้อชื่อฆฏิการะเข้าไปหามารดาบิดาถึงที่อยู่แล้วถามว่า ‘พวกใคร
เล่ามารื้อหญ้ามุงหลังคาเรือน’
มารดาบิดาตอบว่า ‘ลูกเอ๋ย ภิกษุทั้งหลายบอกว่า ‘กุฏิของพระผู้มีพระภาค
พระนามว่ากัสสปะผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ารั่ว’
ลำดับนั้น ช่างหม้อชื่อฆฏิการะได้คิดว่า ‘เป็นลาภของเราหนอ เราได้ดีแล้วหนอ
ที่พระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงคุ้นเคย
อย่างยิ่งเช่นนี้’ ครั้งนั้น ปีติและสุขไม่จางหายจากช่างหม้อชื่อฆฏิการะตลอดกึ่งเดือน
ไม่จางหายจากมารดาบิดาตลอด ๗ วัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๑. ฆฏิการสูตร

มหาบพิตร ครั้งนั้น เรือนที่ช่างหม้อชื่อฆฏิการะอาศัยอยู่หลังนั้น มีอากาศเป็น
หลังคาอยู่ตลอด ๓ เดือน ถึงฝนตกก็ไม่รั่ว ช่างหม้อชื่อฆฏิการะมีคุณเช่นนี้’
พระเจ้ากาสีทรงพระนามว่ากิกีกราบทูลว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เป็นลาภ
ของช่างหม้อชื่อฆฏิการะหนอ ช่างหม้อชื่อฆฏิการะได้ดีแล้วหนอ ที่พระผู้มีพระภาค
ทรงคุ้นเคยอย่างยิ่งเช่นนี้’
[๒๙๒] อานนท์ ครั้งนั้น พระเจ้ากาสีพระนามว่ากิกีทรงให้ราชบุรุษส่งเกวียน
บรรทุกข้าวสาร ข้าวบัณฑุมุฑิกสาลีประมาณ ๕๐๐ เล่มเกวียน และเครื่องแกง
พอสมควรกับข้าวสารนั้นไปพระราชทานแก่ช่างหม้อชื่อฆฏิการะ ราชบุรุษทั้งหลาย
เข้าไปหาช่างหม้อชื่อฆฏิการะแล้วได้กล่าวว่า ‘ท่านผู้เจริญ นี้ข้าวสาร ข้าวบัณฑุมุฑิก-
สาลีประมาณ ๕๐๐ เล่มเกวียน และเครื่องแกงพอสมควรกับข้าวสารนั้น พระเจ้า
กิกีกาสีทรงส่งมาพระราชทานแก่ท่านแล้ว จงรับของพระราชทานเหล่านั้นไว้เถิด’
ช่างหม้อชื่อฆฏิการะกล่าวว่า ‘พระราชามีพระราชกิจมาก มีพระราชกรณียกิจ
มาก สิ่งของที่พระราชทานมานี้อย่าเป็นของข้าพเจ้าเลย จงเป็นของหลวงเถิด’
อานนท์ เธอคงจะคิดอย่างนี้ว่า ‘สมัยนั้น โชติปาลมาณพคงเป็นคนอื่นเป็นแน่
แต่เธอไม่ควรเห็นอย่างนั้น สมัยนั้น เราก็คือโชติปาลมาณพนั่นเอง”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์มีใจยินดีชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

ฆฏิการสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๒. รัฏฐปาลสูตร

๒. รัฏฐปาลสูตร
ว่าด้วยพระรัฏฐปาละ
พราหมณ์และคหบดีชาวเมืองถุลลโกฏฐิตะเข้าเฝ้า

[๒๙๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นกุรุ พร้อมกับภิกษุสงฆ์
หมู่ใหญ่ เสด็จถึงนิคมของชาวกุรุชื่อถุลลโกฏฐิตะ พราหมณ์และคหบดีทั้งหลายชาว
ถุลลโกฏฐิตนิคมได้สดับข่าวว่า
“ได้ยินว่า พระสมณโคดมเป็นศากยบุตรเสด็จออกผนวชจากศากยะตระกูล
ทรงจาริกไปในแคว้นกุรุ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จถึงถุลลโกฏฐิตนิคม
ท่านพระโคดมพระองค์นั้นมีกิตติศัพท์อันงามขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ
เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ๑ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้
อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า
เป็นพระผู้มีพระภาค๒’ พระองค์ทรงรู้แจ้งโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก
และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ด้วยพระองค์เองแล้วจึง
ประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม ทรงแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง
และมีความงามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์
บริบูรณ์ครบถ้วน การได้พบพระอรหันต์ทั้งหลายเช่นนี้ เป็นความดีอย่างแท้จริง”
ครั้งนั้น พราหมณ์และคหบดีชาวถุลลโกฏฐิตนิคม เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ บางพวกถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวก
ทูลสนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
บางพวกประณมมือไปทางพระผู้มีพระภาคประทับนั่งแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร บางพวก


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๒. รัฏฐปาลสูตร

ประกาศชื่อและโคตรในสำนักของพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวกก็นั่ง
นิ่งอยู่ ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้พราหมณ์และคหบดีชาวถุลลโกฏฐิต-
นิคมเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจ
ให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา

รัฏฐปาลกุลบุตรขอบวช

[๒๙๔] สมัยนั้น กุลบุตรชื่อรัฏฐปาละ เป็นบุตรของตระกูลชั้นสูงในถุลลโกฏฐิต-
นิคมนั้น นั่งอยู่ในบริษัทนั้นด้วย ขณะนั้นเอง รัฏฐปาลกุลบุตรได้คิดว่า “ธรรมตาม
ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงนั้น เราเข้าใจว่า การที่ผู้อยู่ครองเรือนจะประพฤติ
พรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วน ดุจสังข์ขัด มิใช่กระทำได้ง่าย ทางที่ดี
เราควรโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเถิด”
ครั้งนั้น พวกพราหมณ์และคหบดีชาวถุลลโกฏฐิตนิคม ผู้ที่พระผู้มีพระภาค
ทรงชี้แจงให้เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า
ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้วต่างชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มี
พระภาค ลุกจากที่นั่ง ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วจากไป
ลำดับนั้น เมื่อพราหมณ์และคหบดีชาวถุลลโกฏฐิตนิคมจากไปไม่นาน รัฏฐปาลกุลบุตร
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบ
ทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงนั้น ข้าพระองค์
เข้าใจว่า การที่ผู้อยู่ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วน
ดุจสังข์ขัด ไม่ใช่ทำได้ง่าย ข้าพระองค์ปรารถนาจะโกนผมและหนวด นุ่งห่ม
ผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ขอข้าพระองค์พึงได้บรรพชา
อุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคเถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “รัฏฐปาละ มารดาบิดาอนุญาตให้เธอออกจากเรือนบวช
เป็นบรรพชิตแล้วหรือ”
รัฏฐปาลกุลบุตรกราบทูลว่า “ยังมิได้อนุญาต พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๒. รัฏฐปาลสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “รัฏฐปาละ พระตถาคตทั้งหลายย่อมไม่บวชให้กุลบุตร
ที่มารดาบิดายังมิได้อนุญาต”
รัฏฐปาลกุลบุตรกราบทูลว่า “ข้าพระองค์จักหาวิธีให้มารดาบิดาอนุญาตให้
ข้าพระองค์ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต พระพุทธเจ้าข้า”
[๒๙๕] ครั้งนั้น รัฏฐปาลกุลบุตรลุกจากที่นั่ง ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค
กระทำประทักษิณแล้วเข้าไปหามารดาบิดาถึงที่อยู่แล้วกล่าวว่า “คุณพ่อคุณแม่
ธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงนั้น ลูกเข้าใจว่า การที่ผู้อยู่ครองเรือนจะ
ประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วน ดุจสังข์ขัด ไม่ใช่ทำได้ง่าย
ลูกปรารถนาจะโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิต ขอคุณพ่อคุณแม่โปรดอนุญาตให้ลูกออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเถิด”
เมื่อรัฏฐปาลกุลบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว มารดาบิดาของรัฏฐปาลกุลบุตรได้กล่าว
ว่า “พ่อรัฏฐปาละ เจ้าเป็นลูกชายคนเดียว เป็นที่รักเป็นที่ชอบใจของพ่อแม่ เจริญเติบโต
มาด้วยความสุขสบาย ได้รับการเลี้ยงดูมาอย่างดี ลูกไม่รู้จักความทุกข์แม้แต่น้อย
[มาเถิด พ่อรัฏฐปาละ ลูกจงบริโภค จงดื่ม จงให้เขาปรนนิบัติ ลูกเมื่อกำลังบริโภค
กำลังดื่ม กำลังให้เขาปรนนิบัติอยู่ จงยินดีบริโภคกามไปพลาง ทำบุญไปพลางเถิด
พ่อแม่จะไม่อนุญาตให้ลูกออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต] ถึงลูกจะตายพ่อแม่ก็ไม่
ปรารถนาจะจากลูก เหตุไฉน พ่อแม่จักอนุญาตให้ลูกซึ่งยังมีชีวิตอยู่ออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิตเล่า”
แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ รัฏฐปาลกุลบุตรได้กล่าวว่า “คุณพ่อคุณแม่ ธรรมตามที่พระผู้มี
พระภาคทรงแสดงนั้น ลูกเข้าใจว่า การที่บุคคลผู้ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์
ให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วน ดุจสังข์ขัด ไม่ใช่ทำได้ง่าย ลูกปรารถนาจะโกนผม
และหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ขอคุณพ่อคุณแม่
โปรดอนุญาตให้ลูกออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเถิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๒. รัฏฐปาลสูตร

แม้ครั้งที่ ๓ มารดาบิดาของรัฐปาลกุลบุตรก็ได้กล่าวว่า “พ่อรัฏฐปาละ เจ้าเป็น
ลูกชายคนเดียว เป็นที่รักเป็นที่ชอบใจของพ่อแม่ เจริญเติบโตมาด้วยความสุขสบาย
ได้รับการเลี้ยงดูมาอย่างดี ลูกไม่รู้จักความทุกข์แม้แต่น้อย [มาเถิด พ่อรัฏฐปาละ
ลูกจงบริโภค จงดื่ม จงให้เขาปรนนิบัติอยู่เถิด ลูกเมื่อกำลังบริโภค กำลังดื่ม กำลัง
ให้เขาปรนนิบัติอยู่ จงยินดีบริโภคกามไปพลาง ทำบุญไปพลางเถิด พ่อแม่จะไม่
อนุญาตให้ลูกออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต] ถึงลูกจะตาย พ่อแม่ก็ไม่ปรารถนา
จะจากลูก เหตุไฉน พ่อแม่จักอนุญาตให้ลูกซึ่งยังมีชีวิตอยู่ออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิตเล่า”

มารดาบิดาไม่อนุญาตให้บวช

[๒๙๖] ครั้งนั้น รัฏฐปาลกุลบุตรคิดว่า “มารดาบิดาไม่อนุญาตให้เราออก
จากเรือนบวชเป็นบรรพชิตแน่” จึงนอนบนพื้นอันไม่มีเครื่องปูลาด ณ ที่นั้นเอง
ด้วยตั้งใจว่า “เราจักตาย หรือจักได้บวชก็ที่ตรงนี้แหละ” เขาจึงไม่บริโภคอาหาร
ตั้งแต่ ๑ มื้อ ๒ มื้อ ๓ มื้อ ๔ มื้อ ๕ มื้อ ๖ มื้อ จนถึง ๗ มื้อ
ครั้งนั้น มารดาบิดาของรัฏฐปาลกุลบุตรได้กล่าวว่า “พ่อรัฏฐปาละ เจ้าเป็น
ลูกชายคนเดียว เป็นที่รักเป็นที่ชอบใจของพ่อแม่ เจริญเติบโตมาด้วยความสุขสบาย
ได้รับการเลี้ยงดูมาอย่างดี ลูกไม่รู้จักความทุกข์แม้แต่น้อย จงลุกขึ้นเถิด พ่อรัฏฐปาละ
ลูกจงบริโภค จงดื่ม จงให้เขาปรนนิบัติอยู่เถิด ลูกเมื่อกำลังบริโภค กำลังดื่ม กำลัง
ให้เขาปรนนิบัติอยู่ จงยินดีบริโภคกาม๑ไปพลาง ทำบุญ๒ไปพลางเถิด พ่อแม่จะไม่
อนุญาตให้ลูกออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ถึงลูกจะตาย พ่อแม่ก็ไม่ปรารถนา
จะจากลูก เหตุไฉน พ่อแม่จักอนุญาตให้ลูกซึ่งมีชีวิตอยู่ออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิตเล่า จงลุกขึ้นเถิด พ่อรัฏฐปาละ ลูกจงบริโภค จงดื่ม จงให้เขาปรนนิบัติ
อยู่เถิด ลูกเมื่อกำลังบริโภค กำลังดื่ม กำลังให้เขาปรนนิบัติอยู่ จงยินดีบริโภค


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๒. รัฏฐปาลสูตร

กามไปพลาง ทำบุญไปพลางเถิด พ่อแม่จะไม่อนุญาตให้ลูกออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิต ถึงลูกจะตาย พ่อแม่ก็ไม่ปรารถนาจะจากลูก เหตุไฉน พ่อแม่จักอนุญาต
ให้ลูกซึ่งมีชีวิตอยู่ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเล่า”
เมื่อมารดาบิดากล่าวอย่างนี้แล้ว รัฏฐปาลกุลบุตรก็ได้นิ่งเฉย
แม้ครั้งที่ ๒ มารดาบิดาของรัฏฐปาลกุลบุตรก็ได้กล่าวว่า ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๒ รัฏฐปาลกุลบุตรก็ได้นิ่งเฉย
แม้ครั้งที่ ๓ มารดาบิดาของรัฏฐปาลกุลบุตรก็ได้กล่าวว่า “พ่อรัฏฐปาละ
เจ้าเป็นลูกคนเดียว เป็นที่รักเป็นที่ชอบใจของพ่อแม่ เจริญเติบโตมาด้วยความสุขสบาย
ได้รับการเลี้ยงดูมาอย่างดี พ่อรัฏฐปาละ ลูกไม่รู้จักความทุกข์แม้แต่น้อย [จงลุกขึ้น
เถิด พ่อรัฏฐปาละ ลูกจงบริโภค จงดื่ม จงให้เขาปรนนิบัติอยู่เถิด ลูกเมื่อกำลังบริโภค
กำลังดื่ม กำลังให้เขาปรนนิบัติอยู่ จงยินดีบริโภคกามไปพลาง ทำบุญไปพลางเถิด
พ่อแม่จะไม่อนุญาตให้ลูกออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต] ถึงลูกจะตาย พ่อแม่ก็
ไม่ปรารถนาจะจากลูก เหตุไฉน พ่อแม่จักอนุญาตให้ลูกซึ่งมีชีวิตอยู่ออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิตเล่า จงลุกขึ้น พ่อรัฏฐปาละ ลูกจงบริโภค จงดื่ม ฯลฯ ถึงลูก
จะตาย พ่อแม่ก็ไม่ปรารถนาจะจากลูก เหตุไฉน พ่อแม่จักอนุญาตให้ลูกซึ่งมีชีวิตอยู่
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเล่า”
แม้ครั้งที่ ๓ รัฏฐปาลกุลบุตรก็ได้นิ่งเฉย

เพื่อนช่วยอ้อนวอนขออนุญาตให้บวช

[๒๙๗] ครั้งนั้น พวกเพื่อนของรัฏฐปาลกุลบุตรพากันเข้าไปหารัฏฐปาลกุลบุตร
ถึงที่อยู่แล้วได้กล่าวว่า
“รัฏฐปาละเพื่อนรัก เพื่อนเป็นลูกชายคนเดียว เป็นที่รักเป็นที่ชอบใจของพ่อแม่
เจริญเติบโตมาด้วยความสุขสบาย ได้รับการเลี้ยงดูมาอย่างดี เพื่อนไม่รู้จักความ
ทุกข์แม้แต่น้อยเลย [ลุกขึ้นเถิด รัฏฐปาละเพื่อนรัก เพื่อนจงบริโภค จงดื่ม จงให้เขา
ปรนนิบัติอยู่เถิด เมื่อกำลังบริโภค กำลังดื่ม กำลังให้เขาปรนนิบัติอยู่ จงยินดีบริโภค

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๒. รัฏฐปาลสูตร

กามไปพลาง ทำบุญไปพลางเถิด พ่อแม่จะไม่อนุญาตให้เพื่อนออกจากเรือนบวช
เป็นบรรพชิต] ถึงเพื่อนจะตายพ่อแม่ก็ไม่ปรารถนาจะจากเพื่อน เหตุไฉน พ่อแม่
จักยอมอนุญาตให้เพื่อนผู้ยังมีชีวิตอยู่ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเล่า ลุกขึ้นเถิด
รัฏฐปาละเพื่อนรัก เพื่อนจงบริโภค จงดื่ม จงให้เขาปรนนิบัติอยู่เถิด เมื่อกำลังบริโภค
กำลังดื่ม กำลังให้เขาปรนนิบัติอยู่ จงยินดีบริโภคกามไปพลาง ทำบุญไปพลางเถิด
พ่อแม่จะไม่อนุญาตให้เพื่อนออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตแน่ ถึงเพื่อนจะตาย
พ่อแม่ก็ไม่ปรารถนาจะจากเพื่อน เหตุไฉน พ่อแม่จักอนุญาตให้เพื่อนซึ่งมีชีวิตอยู่
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเล่า ลุกขึ้นเถิด รัฏฐปาละเพื่อนรัก เพื่อนจงบริโภค
จงดื่ม จงให้เขาปรนนิบัติอยู่เถิด เมื่อกำลังบริโภค กำลังดื่ม กำลังให้เขาปรนิบัติอยู่
จงยินดีบริโภคกามไปพลางทำบุญไปพลางเถิด พ่อแม่จะไม่อนุญาตให้เพื่อนออกจาก
เรือนบวชเป็นบรรพชิต ถึงเพื่อนจะตาย พ่อแม่ก็ไม่ปรารถนาจะจากเพื่อน เหตุไฉน
พ่อแม่จักอนุญาตให้เพื่อนซึ่งยังมีชีวิตออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเล่า”
เมื่อสหายเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว รัฏฐปาลกุลบุตรก็ได้นิ่งเฉย
แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ พวกเพื่อนของรัฏฐปาลกุลบุตรได้กล่าวว่า “รัฏฐปาละเพื่อนรัก
เพื่อนเป็นลูกชายคนเดียว เป็นที่รักเป็นที่ชอบใจของพ่อแม่ เจริญเติบโตมาด้วย
ความสุขสบาย ได้รับการเลี้ยงดูมาอย่างดี เพื่อนไม่รู้จักความทุกข์แม้แต่น้อยเลย
ลุกขึ้นเถิด รัฏฐปาละเพื่อนรัก เพื่อนจงบริโภค จงดื่ม จงให้เขาปรนนิบัติอยู่เถิด
เมื่อกำลังบริโภค กำลังดื่ม กำลังให้เขาปรนนิบัติอยู่ จงยินดีบริโภคกามไปพลาง
ทำบุญไปพลางเถิด พ่อแม่จะไม่อนุญาตให้เพื่อนออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
ถึงเพื่อนจะตาย พ่อแม่ก็ไม่ปรารถนาจะจากเพื่อน เหตุไฉน พ่อแม่เหล่านั้นจักอนุญาต
ให้เพื่อนซึ่งมีชีวิตอยู่ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเล่า ลุกขึ้นเถิด รัฏฐปาละ
เพื่อนรัก เพื่อนจงบริโภค จงดื่ม ฯลฯ ถึงเพื่อนจะตาย พ่อแม่ก็ไม่ปรารถนาจะจาก
เพื่อน เหตุไฉน พ่อแม่เหล่านั้นจักอนุญาตให้เพื่อนซึ่งมีชีวิตอยู่ออกจากเรือนบวช
เป็นบรรพชิตเล่า”
แม้ครั้งที่ ๓ รัฏฐปาลกุลบุตรก็นิ่งเฉย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๒. รัฏฐปาลสูตร

[๒๙๘] ลำดับนั้น พวกเพื่อนของรัฏฐปาลกุลบุตรพากันเข้าไปหามารดาบิดา
ของรัฏฐปาลกุลบุตรถึงที่อยู่แล้วกล่าวว่า “คุณพ่อคุณแม่ รัฏฐปาลกุลบุตรนี้ นอนบน
พื้นที่ไม่มีเครื่องปูลาด ณ ที่นั้นเองด้วยตั้งใจว่า ‘เราจักตาย หรือจักได้บวชก็ที่ตรงนี้
แหละ’ ถ้าคุณพ่อคุณแม่ไม่ยอมให้รัฏฐปาลกุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
เขาจักตาย ณ ที่ตรงนั้นแน่ แต่ถ้าคุณพ่อคุณแม่อนุญาตให้รัฏฐปาลกุลบุตรออกจาก
เรือนบวชเป็นบรรพชิต คุณพ่อคุณแม่ก็ได้เห็นเขาแม้บวชแล้ว หากรัฏฐปาลกุลบุตร
จักไม่ยินดีในการออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เขาจะมีทางไปที่ไหนอื่นเล่า ก็จัก
กลับมาที่บ้านนี้นั่นเอง ขอคุณพ่อคุณแม่จงอนุญาตให้รัฏฐปาลกุลบุตรออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิตเถิด”
มารดาบิดากล่าวว่า “ลูกทั้งหลาย พ่อแม่อนุญาตให้รัฏฐปาลกุลบุตรออกจาก
เรือนบวชเป็นบรรพชิตได้๑ แต่เขาบวชแล้วต้องมาเยี่ยมพ่อแม่บ้าง”
ต่อมา พวกเพื่อนพากันเข้าไปหารัฏฐปาลกุลบุตรถึงที่อยู่แล้วได้กล่าวว่า “เชิญ
ลุกขึ้นเถิด รัฏฐปาละเพื่อนรัก คุณพ่อคุณแม่อนุญาตให้เพื่อนออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิตแล้ว แต่เพื่อนบวชแล้วต้องมาเยี่ยมคุณพ่อคุณแม่ของเพื่อนบ้าง”

รัฏฐปาลกุลบุตรบวชและบรรลุพระอรหัต

[๒๙๙] ครั้งนั้น รัฏฐปาลกุลบุตรลุกขึ้นบำรุงร่างกายให้เกิดกำลังแล้ว เข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มารดาบิดาอนุญาตให้ข้าพระองค์ออก
จากเรือนบวชเป็นบรรพชิตแล้ว ขอพระผู้มีพระภาคทรงให้ข้าพระองค์บวชเถิด”
รัฏฐปาลกุลบุตรได้บรรพชาอุปสมบทแล้วในสำนักของพระผู้มีพระภาค ครั้งนั้น
เมื่อท่านรัฏฐปาละอุปสมบทแล้วไม่นาน พอได้กึ่งเดือน พระผู้มีพระภาคประทับอยู่
ในถุลลโกฏฐิตนิคมตามความยินดี เสด็จจาริกไปทางกรุงสาวัตถี เสด็จเที่ยวจาริกไป
ตามลำดับจนถึงกรุงสาวัตถี ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๒. รัฏฐปาลสูตร

อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระรัฏฐปาละหลีกออก
ไปอยู่รูปเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนักก็ทำให้แจ้ง
ประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวช
เป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน รู้ชัดว่า
“ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความ
เป็นอย่างนี้อีกต่อไป๑”
ท่านพระรัฏฐปาละได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย
ครั้งนั้น ท่านพระรัฏฐปาละเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์
ปรารถนาจะไปเยี่ยมมารดาบิดา ถ้าพระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตข้าพระองค์”
พระผู้มีพระภาคทรงมนสิการกำหนดใจของท่านพระรัฏฐปาละด้วยพระหฤทัยแล้ว
ทรงทราบชัดว่า “รัฏฐปาลกุลบุตรไม่สามารถที่จะบอกลาสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์อีก”
ลำดับนั้น พระองค์จึงตรัสว่า “รัฏฐปาละ เธอจงกำหนดเวลาที่สมควร ณ บัดนี้เถิด”
ต่อจากนั้น ท่านพระรัฏฐปาละลุกจากอาสนะถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค กระทำ
ประทักษิณแล้วเก็บงำเสนาสนะถือบาตรและจีวรจาริกไปทางถุลลโกฏฐิตนิคม เที่ยวจาริก
ไปตามลำดับจนถึงถุลลโกฏฐิตนิคมแล้ว ได้ยินว่า ท่านพระรัฏฐปาละพักอยู่ ณ พระราช-
อุทยานชื่อมิคจีระของพระเจ้าโกรัพยะในถุลลโกฏฐิตนิคมนั้น ครั้นเวลาเช้า ท่าน
พระรัฏฐปาละครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังถุลลโกฏฐิตนิคม
ขณะเที่ยวบิณฑบาตในถุลลโกฏฐิตนิคมตามลำดับตรอก ได้เข้าไปจนถึงนิเวศน์ของ
บิดาของตน
เวลานั้น บิดาของท่านพระรัฏฐปาละกำลังให้ช่างกัลบกสางผมอยู่ที่ซุ้มประตูกลาง๒
ได้เห็นท่านพระรัฏฐปาละกำลังมาแต่ไกลแล้วได้กล่าวว่า “พวกสมณะโล้นเหล่านี้
บวชลูกชายคนเดียวผู้เป็นที่รักเป็นที่ชอบใจของเรา”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๒. รัฏฐปาลสูตร

ครั้งนั้น ท่านพระรัฏฐปาละไม่ได้รับทาน๑ ไม่ได้รับคำตอบที่บ้านบิดาของท่านเอง
ที่แท้ได้แต่คำด่าเท่านั้น สมัยนั้น ทาสหญิงของญาติของท่านพระรัฏฐปาละกำลัง
จะทิ้งขนมกุมมาสค้างคืน ท่านพระรัฏฐปาละได้กล่าวกับทาสหญิงของญาตินั้นว่า
“น้องหญิง ถ้าจะทิ้งสิ่งนั้น ก็จงใส่ในบาตรของอาตมานี้เถิด”
ขณะที่ทาสหญิงของญาติของท่านกำลังเกลี่ยขนมกุมมาสค้างคืนนั้นลงในบาตร
ก็จำเค้ามือ เท้า และน้ำเสียงของท่านพระรัฏฐปาละได้

พระรัฏฐปาละฉันขนมบูด

[๓๐๐] ครั้งนั้น ทาสหญิงของญาติของท่านพระรัฏฐปาละได้เข้าไปหามารดา
ของท่านพระรัฏฐปาละถึงที่อยู่แล้วได้กล่าวว่า “คุณนายเจ้าขา โปรดทราบเถิดว่า
‘พระรัฏฐปาละบุตรของคุณนายกลับมาแล้ว”
มารดาของท่านพระรัฏฐปาละกล่าวว่า “หนูเอ๋ย ถ้าเธอพูดจริง ฉันจะปลดปล่อย
เธอให้เป็นไท” มารดาของท่านพระรัฏฐปาละ เข้าไปหาบิดาของท่านพระรัฏฐปาละ
ถึงที่อยู่แล้วได้กล่าวว่า “เดชะบุญ ท่านคหบดี ท่านรู้ไหม ได้ยินว่า รัฏฐปาลกุลบุตร
กลับมาแล้ว”
เวลานั้น ท่านพระรัฏฐปาละนั่งพิงฝาเรือนแห่งหนึ่งฉันขนมกุมมาสค้างคืน
โยมบิดาเข้าไปหาท่านพระรัฏฐปาละถึงที่อยู่แล้วได้ถามว่า “อะไรกัน พ่อรัฏฐปาละ
ลูกฉันขนมกุมมาสค้างคืนหรือ ลูกควรไปเรือนของตน มิใช่หรือ”
ท่านพระรัฏฐปาละตอบว่า “คหบดี อาตมภาพผู้ออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิตจะมีเรือนแต่ที่ไหน อาตมภาพไม่มีเรือน อาตมภาพได้ไปเรือนของโยม
มาแล้ว ในเรือนนั้น อาตมภาพไม่ได้รับทาน ไม่ได้รับคำตอบเลย ได้แต่คำด่า
อย่างเดียว”
บิดากล่าวว่า “มาเถิด ลูกรัฏฐปาละ พวกเราจะไปเรือนด้วยกัน”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๒. รัฏฐปาลสูตร

ท่านพระรัฏฐปาละกล่าวว่า “อย่าเลย คหบดี วันนี้อาตมภาพฉันอิ่มแล้ว”
บิดากล่าวว่า “พ่อรัฏฐปาละ ถ้าเช่นนั้น ขอท่านจงรับนิมนต์ฉันภัตตาหารในวัน
พรุ่งนี้เถิด”
ท่านพระรัฏฐปาละรับนิมนต์โดยดุษณีภาพแล้ว ลำดับนั้น บิดาของท่านพระ
รัฏฐปาละทราบอาการที่ท่านพระรัฏฐปาละรับนิมนต์แล้ว จึงเข้าไปยังนิเวศน์ของตน
แล้วให้ขนเงินและทองมากองเป็นกองใหญ่ ให้เอาเสื่อลำแพนปิดไว้ แล้วเรียก
ภรรยาเก่าของท่านพระรัฏฐปาละมากล่าวว่า “มาเถิดแม่สาว ๆ ทั้งหลาย พวกเธอ
เคยแต่งตัวด้วยเครื่องประดับสำรับใดแล้ว จึงเป็นที่รักเป็นที่ชอบใจของรัฏฐปาลกุลบุตร
เมื่อครั้งก่อน จงแต่งตัวด้วยเครื่องประดับสำรับนั้นเถิด”
[๓๐๑] ครั้งนั้น เมื่อล่วงราตรีนั้นไป บิดาของท่านพระรัฏฐปาละได้สั่งให้
ตกแต่งของเคี้ยวของฉันอย่างประณีตไว้ในนิเวศน์ของตน แล้วใช้คนไปบอกเวลา
แก่ท่านพระรัฏฐปาละว่า “พ่อรัฏฐปาละได้เวลาแล้ว ภัตตาหารสำเร็จแล้ว”
ครั้นเวลาเช้า ท่านพระรัฏฐปาละครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปยัง
นิเวศน์ของบิดาท่านเองแล้วนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้แล้ว บิดาของท่านพระรัฏฐปาละ
สั่งให้เปิดกองเงินกองทองนั้น แล้วได้กล่าวกับท่านพระรัฏฐปาละว่า
“พ่อรัฏฐปาละ ทรัพย์กองนี้เป็นส่วนของแม่ กองโน้นเป็นส่วนของพ่อ ส่วนอีก
กองหนึ่งเป็นของปู่ ทั้งหมดนี้เป็นของลูกผู้เดียว ลูกสามารถที่จะใช้สอยสมบัติไป
และทำบุญไปก็ได้ มาเถิด พ่อรัฏฐปาละ ลูกจงลาสิกขาออกมาเป็นคฤหัสถ์ใช้สอย
สมบัติ และทำบุญไปเถิด”
ท่านพระรัฏฐปาละตอบว่า “คหบดี ถ้าท่านพึงทำตามคำของอาตมภาพได้
ท่านพึงให้คนขนกองเงินกองทองนี้ ใส่เกวียนแล้วให้เขาเข็นไปทิ้งไว้ที่กลางกระแส
แม่น้ำคงคาเถิด ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะโสกะ(ความเศร้าโศก) ปริเทวะ(ความ
คร่ำครวญ) ทุกข์(ความทุกข์กาย) โทมนัส(ความทุกข์ใจ) และอุปายาส(ความ
คับแค้นใจ) มีทรัพย์นั้นเป็นเหตุ จักเกิดขึ้นแก่ท่าน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๒. รัฏฐปาลสูตร

ลำดับนั้น พวกภรรยาเก่าของท่านพระรัฏฐปาละจับที่เท้าคนละข้างแล้วได้ถาม
ท่านพระรัฏฐปาละว่า “หลวงพี่ นางอัปสรพวกไหนเล่าเป็นต้นเหตุให้หลวงพี่ประพฤติ
พรหมจรรย์”
พระรัฏฐปาละตอบว่า “น้องหญิง เราไม่ได้ประพฤติพรหมจรรย์ เพราะเหตุแห่ง
นางอัปสรทั้งหลาย”
ภรรยาเหล่านั้นเสียใจว่า “รัฏฐปาละผู้ลูกเจ้าเรียกพวกเราว่า ‘น้องหญิง” จึงล้ม
สลบอยู่ ณ ที่นั้น ครั้งนั้น ท่านพระรัฏฐปาละได้กล่าวกับบิดาว่า “คหบดี ถ้าท่าน
จะถวายอาหารก็จงถวายเถิด อย่าให้อาตมภาพลำบากเลย”
บิดากล่าวว่า “ฉันเถิด พ่อรัฏฐปาละ ภัตตาหารสำเร็จแล้ว”
ต่อจากนั้น บิดาของท่านพระรัฏฐปาละได้อังคาสท่านพระรัฏฐปาละด้วยของเคี้ยว
ของฉันอันประณีต ถวายให้ฉันจนอิ่มหนำด้วยมือของตน

พระรัฏฐปาละแสดงธรรม

[๓๐๒] ครั้งนั้น ท่านพระรัฏฐปาละฉันเสร็จละมือจากบาตรแล้วได้ยืนกล่าว
คาถาเหล่านี้ว่า
“โยมจงดูอัตภาพอันวิจิตร มีกายเป็นแผล๑
ที่คุมกันอยู่๒ กระสับกระส่าย๓
เป็นที่ดำริของชนเป็นอันมาก ไม่มีความยั่งยืนมั่นคง


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๒. รัฏฐปาลสูตร

โยมจงดูรูปอันวิจิตรด้วยแก้วมณีและกุณฑล
มีกระดูกอันหนังหุ้มห่อไว้ งามด้วยผ้า
เท้าที่ย้อมด้วยครั่งสีสด หน้าที่ไล้ทาด้วยจุรณ
พอจะหลอกคนโง่ให้หลงใหลได้
แต่จะหลอกคนผู้แสวงหาฝั่ง(คือนิพพาน)ไม่ได้
ผมที่ตบแต่งเป็นลอนดังตาหมากรุก
ตาที่เยิ้มด้วยยาหยอด พอจะหลอกคนโง่ได้
แต่จะหลอกคนที่แสวงหาฝั่งไม่ได้
กายที่มีสภาพเปื่อยเน่าเป็นธรรมดา
ซึ่งตกแต่งแล้วเหมือนกล่องยาหยอดตาใหม่
อันงดงามพอจะหลอกคนโง่ได้
แต่จะหลอกคนผู้แสวงหาฝั่งไม่ได้
ท่านเป็นดั่งพรานเนื้อวางบ่วงไว้
แต่เนื้อไม่ติดบ่วง
เมื่อพรานเนื้อกำลังคร่ำครวญอยู่
เรากินเหยื่อแล้วก็หลีกไป๑”
ลำดับนั้น ท่านพระรัฏฐปาละยืนกล่าวคาถาเหล่านี้แล้วจึงเข้าไปยังพระราช-
อุทยานมิคจีระของพระเจ้าโกรัพยะ แล้วนั่งพักกลางวันอยู่ที่โคนไม้แห่งหนึ่ง
[๓๐๓] ครั้งนั้น พระเจ้าโกรัพยะรับสั่งเรียกนายมิควะมาตรัสว่า “มิควะ
เพื่อนรัก ท่านจงทำความสะอาดพื้นที่อุทยานมิคจีระ เราจะไปชมพื้นที่อุทยานที่
สะอาด”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๒. รัฏฐปาลสูตร

นายมิควะทูลรับสนองพระราชดำรัสแล้ว เมื่อกำลังทำความสะอาดพื้นที่พระ
ราชอุทยานมิคจีระอยู่ ได้เห็นท่านพระรัฏฐปาละนั่งพักกลางวันอยู่ที่โคนไม้แห่งหนึ่ง
จึงเข้าไปเฝ้าพระเจ้าโกรัพยะถึงที่ประทับ แล้วได้กราบทูลว่า
“ขอเดชะ พระราชอุทยานมิคจีระของพระองค์สะอาดแล้ว และในพระราช-
อุทยานนั้น มีกุลบุตรชื่อรัฏฐปาละผู้เป็นบุตรแห่งตระกูลชั้นสูงในถุลลโกฏฐิตนิคมนี้
ที่พระองค์ทรงสรรเสริญอยู่เสมอ ๆ เธอนั่งพักกลางวันอยู่ที่โคนไม้แห่งหนึ่ง”
พระเจ้าโกรัพยะตรัสว่า “มิควะเพื่อนรัก ถ้าเช่นนั้น บัดนี้ ควรจะไปที่อุทยาน
พวกเราจะเข้าไปหาพระคุณเจ้ารัฏฐปาละในบัดนี้เลย”
ครั้งนั้น พระเจ้าโกรัพยะรับสั่งว่า “ของเคี้ยวของบริโภคที่จัดเตรียมไปยังอุทยานนั้น
ท่านทั้งหลายจงแจกจ่ายให้หมดเสียเถิด” แล้วรับสั่งให้จัดยานพาหนะคันงาม ๆ หลายคัน
ทรงขึ้นพาหนะคันงามเสด็จออกจากถุลลโกฏฐิตนิคมด้วยยานพาหนะคันงาม ๆ ตาม
เสด็จด้วยราชานุภาพอย่างยิ่งใหญ่เพื่อทรงเยี่ยมท่านพระรัฏฐปาละ เสด็จไปจนสุด
ทางที่ยานพาหนะจะไปได้ จึงเสด็จลงจากยาน เสด็จพระราชดำเนินไปด้วยพระบาท
พร้อมด้วยบริษัทชั้นสูง เข้าไปหาท่านพระรัฏฐปาละถึงที่อยู่ แล้วได้สนทนาปราศรัย
พอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วได้ประทับยืน ณ ที่สมควรได้รับสั่งว่า
“นิมนต์พระคุณเจ้ารัฏฐปาละนั่งบนเครื่องลาดนี้เถิด”
ท่านพระรัฏฐปาละถวายพระพรว่า “มหาบพิตร อย่าเลย เชิญพระองค์ประทับ
นั่งเถิด อาตมภาพนั่งที่อาสนะของอาตมภาพดีอยู่แล้ว”
พระเจ้าโกรัพยะ จึงประทับนั่งบนที่ประทับที่ข้าราชบริพารจัดถวาย แล้วได้ตรัส
กับท่านพระรัฏฐปาละว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๒. รัฏฐปาลสูตร

ความเสื่อม ๔ ประการ

[๓๐๔] “พระคุณเจ้ารัฏฐปาละ ความเสื่อม ๔ ประการนี้ ที่คนบางพวกใน
โลกนี้ประสบเข้าแล้ว ย่อมโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิต
ความเสื่อม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ความเสื่อมเพราะชรา ๒. ความเสื่อมเพราะความเจ็บไข้
๓. ความเสื่อมจากทรัพย์สมบัติ ๔. ความเสื่อมจากญาติ

ความเสื่อมเพราะชรา เป็นอย่างไร
คือ คนบางคนในโลกนี้เป็นคนแก่ คนเฒ่า เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยมา
โดยลำดับ เขาพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘บัดนี้ เราเป็นคนแก่แล้ว เป็นคนเฒ่าแล้ว
เป็นผู้ใหญ่แล้ว เป็นผู้ล่วงกาลผ่านวัยมาโดยลำดับ การที่เราจะได้ครอบครองทรัพย์
สมบัติที่ยังไม่ได้ หรือการที่เราจะทำทรัพย์สมบัติที่ได้แล้วให้เพิ่มพูนขึ้น ไม่ใช่ทำ
ได้ง่ายเลย ทางที่ดี เราควรโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิตเถิด’ เขาประสบกับความเสื่อมเพราะชรานั้นแล้วจึงโกนผมและ
หนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต นี้เรียกว่า ความเสื่อม
เพราะชรา
ส่วนพระคุณเจ้ารัฏฐปาละ บัดนี้ก็ยังหนุ่มแน่น ผมดำสนิท เป็นหนุ่มอยู่ในวัย
แรกเริ่ม ไม่มีความเสื่อมเพราะชรานั้นเลย พระคุณเจ้ารัฏฐปาละรู้เห็นหรือได้ฟังอะไร
จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต (๑)
ความเสื่อมเพราะความเจ็บไข้ เป็นอย่างไร
คือ คนบางคนในโลกนี้มีความเจ็บไข้ มีทุกข์ เจ็บหนัก เขาพิจารณาเห็น
ดังนี้ว่า ‘บัดนี้ เราเป็นคนมีความเจ็บไข้ มีทุกข์ เจ็บหนัก การที่เราจะได้ครอบครอง
ทรัพย์สมบัติที่ยังไม่ได้ หรือการที่เราจะทำทรัพย์สมบัติที่ได้แล้วให้เพิ่มพูนขึ้น ไม่ใช่
ทำได้ง่ายเลย ทางที่ดี เราควรโกนผมและหนวดนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๒. รัฏฐปาลสูตร

เรือนบวชเป็นบรรพชิตเถิด’ เขาประสบกับความเสื่อมเพราะความเจ็บไข้นั้น แล้วจึง
โกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต นี้เรียกว่า
ความเสื่อมเพราะความเจ็บไข้
ส่วนพระคุณเจ้ารัฏฐปาละ บัดนี้เป็นผู้มีสุขภาพ มีโรคาพาธน้อย ประกอบด้วย
ไฟธาตุที่ย่อยอาหารสม่ำเสมอดี ไม่เย็นนักไม่ร้อนนัก ไม่มีความเสื่อมเพราะความ
เจ็บไข้นั้นเลย พระคุณเจ้ารัฏฐปาละรู้เห็นหรือได้ฟังอะไร จึงออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิต (๒)
ความเสื่อมจากทรัพย์สมบัติ เป็นอย่างไร
คือ คนบางคนในโลกนี้ เป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีสมบัติมาก ทรัพย์สมบัติ
เหล่านั้นของเขาถึงความสิ้นไปโดยลำดับ เขาพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เมื่อก่อน เราเป็น
คนมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีสมบัติมาก ทรัพย์สมบัติเหล่านั้นของเราถึงความสิ้นไปโดย
ลำดับแล้ว การที่เราจะได้ครอบครองทรัพย์สมบัติที่ยังไม่ได้ หรือการที่เราจะทำ
ทรัพย์สมบัติที่ได้แล้วให้เพิ่มพูนขึ้น ไม่ใช่ทำได้ง่ายเลย ทางที่ดี เราควรโกนผมและ
หนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพิตเถิด’ เขาประกอบด้วย
ความเสื่อมจากทรัพย์สมบัตินั้น จึงโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต นี้เรียกว่า ความเสื่อมจากทรัพย์สมบัติ
ส่วนพระคุณเจ้ารัฏฐปาละเป็นบุตรของตระกูลชั้นสูงในถุลลโกฏฐิตนิคมนี้ ไม่มี
ความเสื่อมจากทรัพย์สมบัตินั้น พระคุณเจ้ารัฏฐปาละรู้เห็นหรือได้ฟังอะไรจึงออกจาก
เรือนบวชเป็นบรรพชิต (๓)
ความเสื่อมจากญาติ เป็นอย่างไร
คือ คนบางคนในโลกนี้ มีมิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิตเป็นอันมาก ญาติ
เหล่านั้นของเขาถึงความสิ้นไปโดยลำดับ เขาพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เมื่อก่อน เรามี
มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิตเป็นอันมาก พวกญาติของเรานั้นถึงความสิ้นไป
โดยลำดับ การที่เราจะได้ครอบครองทรัพย์สมบัติที่ยังไม่ได้ หรือการที่เราจะทำ
ทรัพย์สมบัติที่ได้แล้วให้เพิ่มพูนขึ้น ไม่ใช่ทำได้ง่ายเลย ทางที่ดี เราควรโกนผมและ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๒. รัฏฐปาลสูตร

หนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเถิด’ เขาประสบกับ
ความเสื่อมจากญาตินั้น จึงโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจาก
เรือนบวชเป็นบรรพชิต นี้เรียกว่า ความเสื่อมจากญาติ
ส่วนพระคุณเจ้ารัฏฐปาละมีมิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิตเป็นอันมากในถุลลโกฏฐิต-
นิคมนี้ ไม่มีความเสื่อมจากญาติเลย พระคุณเจ้ารัฏฐปาละรู้เห็นหรือได้ฟังอะไรจึง
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต (๔)
พระคุณเจ้ารัฏฐปาละ ความเสื่อม ๔ ประการนี้ ที่คนบางพวกในโลกนี้ประสบ
เข้าแล้วจึงโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
พระคุณเจ้ารัฏฐปาละไม่มีความเสื่อม ๔ ประการนั้นเลย พระคุณเจ้ารัฏฐปาละรู้เห็น
หรือได้ฟังอะไรจึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต”

ธัมมุทเทส ๔ ประการ

[๓๐๕] ท่านพระรัฏฐปาละถวายพระพรว่า “มหาบพิตร มีอยู่แลที่พระผู้มี
พระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงแสดง
ธัมมุทเทส ๔ ประการ ที่อาตมภาพรู้ เห็นและได้ฟังแล้ว จึงออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิต

ธัมมุทเทส ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระองค์นั้น ทรงแสดงธัมมุทเทสประการที่ ๑ ว่า ‘โลกอันชรานำไป
ไม่ยั่งยืน’ ที่อาตมภาพรู้เห็นและได้ฟังแล้ว จึงได้ออกจากเรือนบวช
เป็นบรรพชิต
๒. พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระองค์นั้น ทรงแสดงธัมมุทเทสประการที่ ๒ ว่า ‘โลกไม่มีผู้
ต้านทาน ไม่เป็นอิสระ’ ที่อาตมภาพรู้เห็นและได้ฟังแล้ว จึงได้ออก
จากเรือนบวชเป็นบรรพชิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๒. รัฏฐปาลสูตร

๓. พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระองค์นั้น ทรงแสดงธัมมุทเทสประการที่ ๓ ว่า ‘โลกไม่มีอะไร
เป็นของตน จำต้องละสิ่งทั้งปวงไป’ ที่อาตมภาพรู้เห็นและได้ฟังแล้ว
จึงได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
๔. พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระองค์นั้น ทรงแสดงธัมมุทเทสประการที่ ๔ ว่า ‘โลกพร่องอยู่
เป็นนิตย์ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา’ ที่อาตมภาพรู้เห็นและได้
ฟังแล้วจึงได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
มหาบพิตร พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงแสดงธัมมุทเทส ๔ ประการนี้แล ที่อาตมภาพรู้ เห็น
และฟังแล้ว จึงได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต”
[๓๐๖] พระเจ้าโกรัพยะตรัสถามว่า “ท่านพระรัฏฐปาละกล่าวว่า ‘โลกอันชรา
นำไป ไม่ยั่งยืน’ เนื้อความแห่งภาษิตนี้ จะพึงเห็นได้อย่างไร”
ท่านพระรัฏฐปาละถวายพระพรว่า “มหาบพิตร พระองค์ทรงเข้าพระทัยความ
ข้อนั้นว่าอย่างไร พระองค์เมื่อมีพระชนมายุ ๒๐ พรรษาก็ดี ๒๕ พรรษาก็ดี
ทรงศึกษาอย่างคล่องแคล่วในเรื่องช้างก็ดี เรื่องม้าก็ดี เรื่องรถก็ดี เรื่องธนูก็ดี เรื่อง
อาวุธก็ดี ทรงมีกำลังพระเพลา ทรงมีกำลังพระพาหา ทรงมีพระวรกายสามารถ
ฝ่าศึกสงครามมาแล้ว มิใช่หรือ”
“พระคุณเจ้ารัฏฐปาละ โยมเมื่ออายุ ๒๐ ปีก็ดี ๒๕ ปีก็ดี ได้ศึกษาอย่าง
คล่องแคล่วในเรื่องช้างก็ดี เรื่องม้าก็ดี เรื่องรถก็ดี เรื่องธนูก็ดี เรื่องอาวุธก็ดี
มีกำลังขา มีกำลังแขน มีร่างกายสามารถ เคยฝ่าสงครามมาแล้ว บางครั้งโยม
ยังเข้าใจว่ามีฤทธิ์ ไม่เห็นใครเสมอด้วยกำลังของโยมเลย”
“มหาบพิตร พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร แม้บัดนี้ พระองค์
ก็ยังมีกำลังพระเพลา มีกำลังพระพาหา มีพระวรกายสามารถฝ่าสงครามได้เหมือน
อย่างเดิมหรือ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๒. รัฏฐปาลสูตร

“พระคุณเจ้ารัฏฐปาละ ข้อนี้หามิได้ บัดนี้ โยมแก่แล้ว เจริญวัยแล้ว เป็นผู้ใหญ่
ล่วงกาลผ่านวัยมาโดยลำดับแล้ว วัยของโยมล่วงไป ๘๐ ปีแล้ว บางครั้ง โยมคิดว่า
‘จักก้าวเท้าไปทางนี้ก็ไพล่ก้าวไปทางอื่นเสีย”
“มหาบพิตร พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงหมายถึงเนื้อความนี้แล จึงตรัสธัมมุทเทสประการที่ ๑
ว่า ‘โลกอันชรานำไป ไม่ยั่งยืน’ ที่อาตมภาพรู้ เห็นและได้ฟังแล้ว จึงออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิต”
“พระคุณเจ้ารัฏฐปาละ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ คำว่า ‘โลกอันชรานำไป
ไม่ยั่งยืน’ พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระองค์นั้น ตรัสไว้ดีแล้ว พระคุณเจ้ารัฏฐปาละ เป็นความจริง โลกอันชรานำไป
ไม่ยั่งยืน (๑)
ในราชตระกูลนี้ มีหมู่พลช้าง หมู่พลม้า หมู่พลรถ และหมู่พลเดินเท้า ที่จัก
ย่ำยีอันตรายของโยมได้ ท่านพระรัฏฐปาละกล่าวว่า ‘โลกไม่มีผู้ต้านทานได้ ไม่เป็น
อิสระ’ เนื้อความแห่งภาษิตนี้ จะพึงเห็นได้อย่างไร”
“มหาบพิตร พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร พระองค์เคย
ประชวรหนักบ้างไหม”
“พระคุณเจ้ารัฏฐปาละ โยมเคยเจ็บหนักอยู่ บางครั้ง พวกมิตร อำมาตย์ ญาติ
สาโลหิตแวดล้อมโยมอยู่ด้วยสำคัญว่า ‘พระเจ้าโกรัพยะจักสวรรคตในบัดนี้ พระเจ้า
โกรัพยะจักสวรรคตในบัดนี้”
“มหาบพิตร พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร พระองค์ได้มิตร
อำมาตย์ ญาติสาโลหิต(ที่มหาบพิตรจะขอร้อง)ว่า ‘มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิตผู้
เจริญของเราทั้งหมดที่มีอยู่ จงมาช่วยแบ่งเวทนานี้ไปโดยช่วยเราให้ได้เสวยเวทนา
เบาลง’ หรือว่าพระองค์เท่านั้น จะต้องเสวยเวทนานั้น”
“พระคุณเจ้ารัฏฐปาละ โยมจะได้มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิต(ที่โยมจะขอร้อง)
ว่า ‘มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิตทั้งหมดที่มีอยู่ จงมาช่วยแบ่งเวทนานี้ไป ช่วยเราให้
ได้เสวยเวทนาเบาลง’ หามิได้ แต่โยมเองเท่านั้นจะต้องเสวยเวทนานั้น”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๒. รัฏฐปาลสูตร

''มหาบพิตร พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงหมายถึงเนื้อความนี้แล จึงตรัสธัมมุทเทสประการ
ที่ ๒ ว่า ‘โลกไม่มีผู้ต้านทาน ไม่เป็นอิสระ’ ที่อาตมภาพรู้ เห็นและได้ฟังแล้ว
จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต”
“พระคุณเจ้ารัฏฐปาละ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ คำว่า ‘โลกไม่มีผู้
ต้านทาน ไม่เป็นอิสระ’ พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้ดีแล้ว พระคุณเจ้ารัฏฐปาละ เป็นความจริง
โลกไม่มีผู้ต้านทาน ไม่เป็นอิสระ (๒)
ในราชตระกูลนี้ มีเงินและทองอยู่ที่พื้นดินและในอากาศมากมาย พระคุณเจ้า
รัฏฐปาละกล่าวว่า ‘โลกไม่มีอะไรเป็นของตน จำต้องละสิ่งทั้งปวงไป’ เนื้อความแห่ง
ภาษิตนี้ จะพึงเห็นได้อย่างไร”
“มหาบพิตร พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร บัดนี้ พระองค์
เอิบอิ่ม พรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ประการ บำเรอพระองค์อยู่ ฉันใด พระองค์จักได้
สมพระราชประสงค์ว่า ‘แม้โลกหน้า เราจักเป็นผู้เอิบอิ่ม พรั่งพร้อมด้วยกามคุณ
๕ ประการ บำเรอตนอยู่’ ฉันนั้นเหมือนกัน หรือว่าชนเหล่าอื่นจักปกครองทรัพย์
สมบัตินี้ ส่วนพระองค์ก็จักเสด็จไปตามยถากรรม”
“พระคุณเจ้ารัฏฐปาละ บัดนี้ โยมเอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ประการ
บำเรอตนอยู่ ฉันใด โยมก็จักไม่ได้ตามประสงค์ว่า ‘แม้ในโลกหน้า เราจะเป็นผู้
เอิบอิ่ม พรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ประการ บำเรอตนอยู่’ ฉันนั้นเหมือนกัน
ที่แท้ชนเหล่าอื่นจักปกครองทรัพย์สมบัตินี้ ส่วนโยมก็จักไปตามยถากรรม”
“มหาบพิตร พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงหมายถึงเนื้อความนี้แล จึงตรัสธัมมุทเทสประการที่ ๓
ว่า ‘โลกไม่มีอะไรเป็นของตน จำต้องละสิ่งทั้งปวงไป’ ที่อาตมภาพรู้เห็นและได้ฟังแล้ว
จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต”
“พระคุณเจ้ารัฏฐปาละ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ คำว่า ‘โลกไม่มีอะไร
เป็นของตน จำต้องละสิ่งทั้งปวงไป’ พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๒. รัฏฐปาลสูตร

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้ดีแล้ว พระคุณเจ้ารัฏฐปาละ เป็นความจริง
โลกไม่มีอะไรเป็นของตน จำต้องละสิ่งทั้งปวงไป (๓)
ท่านพระรัฏฐปาละกล่าวว่า ‘โลกพร่องอยู่เป็นนิตย์ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่ง
ตัณหา’ เนื้อความแห่งภาษิตนี้ จะพึงเห็นได้อย่างไร”
“มหาบพิตร พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร พระองค์ทรง
ปกครองแคว้นกุรุอันอุดมสมบูรณ์อยู่ มิใช่หรือ”
“ใช่แล้ว พระคุณเจ้ารัฏฐปาละ โยมปกครองแคว้นกุรุอันอุดมสมบูรณ์อยู่”
“มหาบพิตร พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร ราชบุรุษของ
พระองค์ที่แคว้นกุรุนี้เป็นที่เชื่อถือได้ เป็นคนมีเหตุผล มาจากทิศตะวันออก เข้ามา
เฝ้าพระองค์แล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า ‘ขอเดชะมหาราชเจ้า พระองค์ควรทรงทราบว่า
‘ข้าพระองค์มาจากทิศตะวันออก ในทิศนั้น ข้าพระองค์ได้เห็นชนบทใหญ่ มั่งคั่ง
อุดมสมบูรณ์ มีประชากรมาก มีพลเมืองหนาแน่น ในชนบทนั้นมีหมู่พลช้าง
หมู่พลม้า หมู่พลรถ หมู่พลเดินเท้า มีสัตว์ที่มีเขี้ยวงามาก มีเงินทองทั้งที่ยังไม่ได้
หลอมและที่หลอมแล้วเป็นจำนวนมาก ในชนบทนั้น สตรีเป็นผู้ปกครอง พระองค์
สามารถรบชนะได้ด้วยกำลังพลประมาณเท่านั้น ขอพระองค์จงไปรบเอาเถิด มหา-
ราชเจ้า’ พระองค์จะทรงทำอย่างไรกับชนบทนั้น”
“พระคุณเจ้ารัฏฐปาละ พวกโยมก็ไปรบเอาชนบทนั้นมาครอบครองเสียนะซิ”
“มหาบพิตร พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร ราชบุรุษของ
พระองค์ที่แคว้นกุรุนี้เป็นที่เชื่อถือได้ เป็นคนมีเหตุผลมาจากทิศตะวันตก ฯลฯ
มาจากทิศเหนือ ฯลฯ มาจากทิศใต้ ฯลฯ มาจากสมุทรฟากโน้น เข้ามาเฝ้า
พระองค์ แล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า ‘ขอเดชะมหาราชเจ้า พระองค์ควรทรงทราบว่า
‘ข้าพระองค์มาจากสมุทรฟากโน้น ณ ที่นั้น ข้าพระองค์ได้เห็นชนบทใหญ่ มั่งคั่ง
อุดมสมบูรณ์ มีประชากรมาก มีพลเมืองหนาแน่น ในชนบทนั้นมีหมู่พลช้าง
หมู่พลม้า หมู่พลรถ หมู่พลเดินเท้า มีสัตว์ที่มีเขี้ยวงามาก มีเงินทองทั้งที่ยังไม่ได้
หลอมและที่หลอมแล้วเป็นจำนวนมาก ในชนบทนั้น สตรีเป็นผู้ปกครอง พระองค์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๒. รัฏฐปาลสูตร

สามารถรบชนะได้ด้วยกำลังพลประมาณเท่านั้น ขอพระองค์จงไปรบเอาเถิด มหา-
ราชเจ้า’ พระองค์จะทรงทำอย่างไรกับชนบทนั้น”
“พระคุณเจ้ารัฏฐปาละ พวกโยมก็ไปรบเอาชนบทนั้นมาครอบครองเสียนะซิ”
“มหาบพิตร พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นทรงหมายถึงเนื้อความนี้แล จึงตรัสธัมมุทเทสประการที่ ๔
ว่า ‘โลกพร่องอยู่เป็นนิตย์ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา’ ที่อาตมภาพรู้ เห็น
และได้ฟังแล้วจึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต”
พระเจ้าโกรัพยะตรัสว่า “พระคุณเจ้ารัฏฐปาละ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ
คำว่า ‘โลกพร่องอยู่เป็นนิตย์ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา’ นี้พระผู้มีพระภาค
ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้ดีแล้ว
พระคุณเจ้ารัฏฐปาละ เป็นความจริง โลกพร่องอยู่เป็นนิตย์ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาส
แห่งตัณหา” (๔)
ท่านพระรัฏฐปาละได้กล่าวเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว ได้กล่าวคาถาประพันธ์อื่น
อีกต่อไปว่า
[๓๐๗] “อาตมาเห็นผู้คนที่มีทรัพย์ในโลก
ได้ทรัพย์เครื่องปลื้มใจแล้ว
ไม่ยอมให้(ใคร) เพราะความหลง
ได้ทรัพย์แล้ว เก็บสะสมไว้
และปรารถนากามคุณยิ่ง ๆ ขึ้นไป
พระราชาทรงกดขี่ ช่วงชิงเอาแผ่นดิน
ทรงครอบครองแผ่นดินซึ่งมีสมุทรสาครล้อมรอบ
ตลอดสมุทรสาครฝั่งนี้ ยังไม่ทรงพอ
ยังปรารถนาจะครอบครองสมุทรสาครฝั่งโน้นอีก
ทั้งพระราชาและคนอื่นเป็นจำนวนมาก
ยังไม่ปราศจากตัณหาก็เข้าถึงความตาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๒. รัฏฐปาลสูตร

ยังไม่เต็มตามที่ต้องการเลย ก็ละทิ้งร่างกายไป
เพราะความอิ่มด้วยกามไม่มีในโลก
หมู่ญาติพากันสยายผม คร่ำครวญถึงคนที่ตายนั้น
และพูดว่า ‘ทำอย่างไรหนอ พวกญาติของเราทั้งหลายจึงจะไม่ตาย’
แต่นั้นก็นำศพนั้นซึ่งห่อผ้าไว้แล้วยกขึ้นสู่เชิงตะกอนแล้วช่วยกันเผา
ศพนั้นถูกเขาใช้หลาวแทงเผาอยู่
ละโภคทรัพย์ มีแต่ผ้าผืนเดียว
เมื่อคนจะตาย ญาติ มิตร หรือสหายก็ช่วยไม่ได้
ทายาททั้งหลายก็ขนทรัพย์สมบัติของเขาไป
ส่วนสัตว์ที่ตายไปก็ย่อมไปตามกรรม
เมื่อตายไป ทรัพย์ไร ๆ คือ
บุตร ภรรยา ทรัพย์ ข้าวของ เงินทอง
และแว่นแคว้นก็ติดตามไปไม่ได้
ทรัพย์ช่วยคนให้มีอายุยืนไม่ได้
ทั้งช่วยคนให้ละความแก่ก็ไม่ได้
นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวชีวิตนั้นว่าน้อยนัก
ไม่ยั่งยืน มีความแปรเปลี่ยนไปเป็นธรรมดา
ทั้งคนมั่งมี และคนยากจนก็ย่อมประสบเช่นนั้น
ทั้งพาลและบัณฑิตก็ประสบเหมือนกันทั้งนั้น
คนพาลนั่นแหละถูกเหตุแห่งทุกข์กระทบเข้า
ย่อมหวั่นไหวเพราะความเป็นคนโง่
ส่วนบัณฑิตถูกกระทบเข้าก็ไม่หวั่นไหว
เพราะเหตุนั้นแล ปัญญาเท่านั้นเป็นเหตุบรรลุนิพพาน
ซึ่งเป็นที่สุดแห่งภพในโลกนี้ จึงประเสริฐกว่าทรัพย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๒. รัฏฐปาลสูตร

ก็เพราะยังไม่ได้บรรลุที่สุด คนพาลทั้งหลายจึงทำแต่กรรมชั่ว
ในภพน้อยใหญ่เพราะความเขลา
ผู้ทำกรรมชั่ว ต้องเวียนว่ายตายเกิด
อยู่ในสังสารวัฏร่ำไป
คนมีปัญญาน้อย เมื่อเชื่อคนที่ทำกรรมชั่วนั้น
ก็ย่อมเวียนว่ายตายเกิดร่ำไป
โจรผู้ทำกรรมถูกเขาจับได้ตรงทาง ๓ แยก
ย่อมเดือดร้อนเพราะกรรมของตน ฉันใด
หมู่สัตว์ผู้ทำกรรมชั่วตายไปแล้ว ย่อมเดือดร้อนในโลกหน้า
เพราะกรรมของตน ฉันนั้น
เพราะกรรมทั้งหลายที่งดงาม
น่าปรารถนาชวนให้รื่นรมย์ใจ
ย่อมย่ำยีจิตโดยสภาวะต่าง ๆ ฉะนั้น
อาตมาเห็นโทษในกามคุณทั้งหลายจึงได้บวช มหาบพิตร
สัตว์ทั้งหลายทั้งหนุ่มทั้งแก่ พอร่างแตกสลาย
ก็ล่วงไปเหมือนผลไม้สุกงอมร่วงหล่นไป
มหาบพิตร อาตมาเห็นความไม่เที่ยงแม้นี้ จึงได้บวช
ความเป็นสมณะที่ปฏิบัติไม่ผิดนั่นแหละ ประเสริฐกว่า๑” ดังนี้แล

รัฏฐปาลสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๓. มฆเทวสูตร

๓. มฆเทวสูตร
ว่าด้วยพระเจ้ามฆเทวะ

[๓๐๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อัมพวันของพระเจ้ามฆเทวะ เขตกรุง
มิถิลา ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงแย้มพระโอษฐ์ ณ สถานที่แห่งหนึ่ง ลำดับนั้น
ท่านพระอานนท์ได้คิดว่า “อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พระผู้มีพระภาคทรง
แย้มพระโอษฐ์ พระตถาคตทั้งหลายไม่ทรงแย้มพระโอษฐ์โดยไม่มีสาเหตุ” แล้วจึง
ห่มจีวรเฉวียงบ่า ประนมมือไปทางที่ที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ได้ทูลถามว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พระผู้มีพระภาคทรง
แย้มพระโอษฐ์ พระตถาคตทั้งหลายไม่ทรงแย้มพระโอษฐ์โดยไม่มีสาเหตุ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ เรื่องเคยมีมาแล้ว ในกรุงมิถิลานี้แล
ได้มีพระราชาทรงพระนามว่ามฆเทวะ เป็นผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชา เป็นมหาราช
ผู้ตั้งมั่นในธรรม๑ทรงประพฤติธรรมในพราหมณ์และคหบดี ในชาวนิคมและชาวชนบท
ทรงรักษาอุโบสถทุกวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และวัน ๘ ค่ำ แห่งปักษ์๒ ครั้งนั้น
เมื่อล่วงไปหลายปี หลายร้อยปี หลายพันปี พระเจ้ามฆเทวะรับสั่งเรียกช่างกัลบก
มาตรัสว่า ‘ช่างกัลบกเพื่อนรัก เมื่อใดท่านเห็นผมหงอกเกิดบนศีรษะของเรา
เมื่อนั้นพึงบอกเรา’
ครั้งนั้น ช่างกัลบกทูลรับสนองพระราชดำรัสแล้ว เมื่อล่วงไปหลายปี
หลายร้อยปี หลายพันปี ช่างกัลบกได้เห็นพระเกศาหงอกเกิดแล้วบนพระเศียรของ
พระเจ้ามฆเทวะ ได้กราบทูลว่า ‘เทวทูต๓ ปรากฏแก่พระองค์แล้ว พระเกศาหงอก
เกิดแล้วบนพระเศียรปรากฏอยู่’


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๓. มฆเทวสูตร

พระเจ้ามฆเทวะตรัสว่า ‘ช่างกัลบกเพื่อนรัก ถ้าเช่นนั้น ท่านจงใช้แหนบถอน
ผมหงอกนั้นให้ดี แล้ววางลงที่กระพุ่มมือของเราเถิด’
อานนท์ ช่างกัลบกทูลรับสนองพระราชดำรัสแล้ว จึงใช้แหนบถอนพระเกศา
หงอกนั้นอย่างดี แล้ววางลงบนกระพุ่มพระหัตถ์ของพระเจ้ามฆเทวะ

พระเจ้ามฆเทวะออกผนวช

[๓๐๙] ครั้งนั้น พระเจ้ามฆเทวะพระราชทานบ้านส่วยแก่ช่างกัลบกแล้วรับ
สั่งให้เรียกพระราชกุมารผู้เป็นโอรสองค์ใหญ่มาเฝ้าแล้วตรัสว่า ‘ลูกเอ๋ย เทวทูต
ปรากฏแก่พ่อแล้ว ผมหงอกเกิดแล้วบนศีรษะปรากฏอยู่ กามทั้งหลายที่เป็นของ
มนุษย์ พ่อได้บริโภคแล้ว เวลานี้เป็นเวลาที่จะแสวงหากามทั้งหลายที่เป็นทิพย์
มาเถิดลูกเอ๋ย ลูกจงปกครองราชสมบัตินี้ ส่วนพ่อจักโกนผมและหนวด นุ่งห่ม
ผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากวังบวชเป็นบรรพชิต เมื่อใด ลูกเห็นผมหงอกเกิดแล้ว
บนศีรษะ เมื่อนั้นลูกจงให้บ้านส่วยแก่ช่างกัลบก พึงพร่ำสอนราชกุมารผู้เป็นโอรส
องค์ใหญ่ในการครองราชสมบัติให้ดี แล้วโกนผมและหนวดนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์
ออกจากวังบวชเป็นบรรพชิตเถิด ลูกพึงประพฤติวัตรอันงามตามวิธีที่พ่อตั้งไว้นี้
ลูกอย่าเป็นคนสุดท้ายของพ่อเลย เมื่อยุคของคนใดเป็นไปอยู่ แต่ปล่อยให้วัตร
อันงามเห็นปานนี้ขาดสูญไป คนนั้นชื่อว่าเป็นคนสุดท้ายของราชบรรพชิตนั้น ลูกเอ๋ย
พ่อกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ลูกพึงประพฤติวัตรอันงามตามวิธีที่พ่อตั้งไว้นี้ ลูกอย่าเป็นคน
สุดท้ายของพ่อเลย’
ครั้งนั้น พระเจ้ามฆเทวะครั้นพระราชทานบ้านส่วยแก่ช่างกัลบกและทรงพร่ำสอน
พระราชกุมารผู้เป็นโอรสองค์ใหญ่ในการครองราชสมบัติให้ดีแล้ว ทรงปลงพระเกศา
และพระมัสสุ ทรงนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ แล้วเสด็จออกจากวังผนวชเป็นบรรพชิต
ที่มฆเทวอัมพวันนี้ ท้าวเธอทรงมีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ...
ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง ทรงแผ่ไปตลอดโลก
ทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถานด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร
ไม่มีความเบียดเบียนอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๓. มฆเทวสูตร

ทรงมีกรุณาจิต ฯลฯ
ทรงมีมุทิตาจิต ฯลฯ
ทรงมีอุเบกขาจิต แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ...
ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง ทรงแผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถาน
ด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ๑ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
อานนท์ พระเจ้ามฆเทวะทรงเล่นอย่างเด็กอยู่ ๘๔,๐๐๐ ปี ทรงดำรงตำแหน่ง
อุปราชอยู่ ๘๔,๐๐๐ ปี ทรงครองราชย์อยู่ ๘๔,๐๐๐ ปี เสด็จออกจากวังผนวช
เป็นบรรพชิตประพฤติพรหมจรรย์อยู่ที่มฆเทวอัมพวันนี้อีก ๘๔,๐๐๐ ปี พระองค์
ทรงเจริญพรหมวิหาร ๔ ประการ หลังจากสวรรคตแล้วได้เสด็จเข้าถึงพรหมโลก

โอรสของพระเจ้ามฆเทวะออกผนวช

[๓๑๐] อานนท์ ครั้งนั้นแล เมื่อล่วงไปหลายปี หลายร้อยปี หลายพันปี
พระราชโอรสของพระเจ้ามฆเทวะ รับสั่งเรียกช่างกัลบกมาตรัสว่า ‘ช่างกัลบก
เพื่อนรัก เมื่อใดท่านเห็นผมหงอก เกิดแล้วบนศีรษะของเรา เมื่อนั้นพึงบอกเรา’
ครั้งนั้น ช่างกัลบกทูลรับสนองพระราชดำรัสแล้ว เมื่อล่วงไปหลายปี หลาย
ร้อยปี หลายพันปี ช่างกัลบกได้เห็นเส้นพระเกศาหงอกเกิดแล้วบนพระเศียรของ
พระราชโอรสของพระเจ้ามฆเทวะได้กราบทูลว่า ‘เทวทูตปรากฏแก่พระองค์แล้ว
พระเกศาหงอกเกิดแล้วบนพระเศียรปรากฏอยู่’
พระราชโอรสของพระเจ้ามฆเทวะตรัสว่า ‘ ช่างกัลบกเพื่อนรัก ถ้าเช่นนั้น
ท่านจงใช้แหนบถอนผมหงอกนั้นให้ดี แล้ววางบนกระพุ่มมือของเราเถิด’
ช่างกัลบกทูลรับสนองพระราชดำรัสแล้ว จึงใช้แหนบถอนพระเกศาหงอกนั้น
อย่างดี แล้ววางบนกระพุ่มพระหัตถ์ของพระราชโอรสของพระเจ้ามฆเทวะ
ครั้งนั้น พระราชโอรสของพระเจ้ามฆเทวะ ได้พระราชทานบ้านส่วยแก่ช่าง
กัลบก แล้วรับสั่งให้เรียกพระราชกุมารผู้เป็นโอรสพระองค์ใหญ่มาเฝ้าตรัสว่า ‘ลูกเอ๋ย


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๓. มฆเทวสูตร

เทวทูตปรากฏแก่พ่อแล้ว ผมหงอกเกิดแล้วบนศีรษะปรากฏอยู่ กามทั้งหลายที่เป็นของ
มนุษย์พ่อบริโภคแล้ว เวลานี้เป็นเวลาที่จะแสวงหากามอันเป็นทิพย์ มาเถิด ลูกเอ๋ย
ลูกจงปกครองราชสมบัตินี้ ส่วนพ่อจักโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์
ออกจากวังบวชเป็นบรรพชิต เมื่อใด ลูกเห็นผมหงอกเกิดแล้วบนศีรษะ เมื่อนั้น
ลูกพึงให้บ้านส่วยแก่ช่างกัลบก แล้วพึงพร่ำสอนราชกุมารผู้เป็นโอรสองค์ใหญ่ในการ
ครองราชสมบัติให้ดี แล้วพึงโกนผมและหนวดนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากวัง
บวชเป็นบรรพชิตเถิด ลูกพึงประพฤติวัตรอันงามตามวิธีที่พ่อตั้งไว้นี้ ลูกอย่าเป็น
คนสุดท้ายของพ่อเลย
เมื่อยุคของคนใดเป็นไปอยู่ แต่ปล่อยให้วัตรอันงามเห็นปานนี้ขาดสูญไป คนนั้น
ชื่อว่าเป็นคนสุดท้ายของราชบรรพชิตนั้น ลูกเอ๋ย พ่อกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ลูกพึงประพฤติวัตร
อันงามตามวิธีที่พ่อตั้งไว้แล้วนี้ ลูกอย่าเป็นคนสุดท้ายของพ่อเลย’
ครั้งนั้น พระราชโอรสของพระเจ้ามฆเทวะ ครั้นพระราชทานบ้านส่วยแก่ช่าง
กัลบก และทรงพร่ำสอนพระราชกุมารผู้เป็นโอรสองค์ใหญ่ ในการครองราชสมบัติ
ให้ดีแล้ว ทรงปลงพระเกศาและพระมัสสุ ทรงนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์แล้วเสด็จออกจากวัง
ผนวชเป็นบรรพชิตอยู่ในมฆเทวอัมพวันนี้ ท้าวเธอทรงมีเมตตาจิต แผ่ไปตลอดทิศ
ที่ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง
ทรงแผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถานด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ
ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
ทรงมีกรุณาจิต ฯลฯ
ทรงมีมุทิตาจิต ฯลฯ
ทรงมีอุเบกขาจิต แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ...
ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง ทรงแผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถาน
ด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความ
เบียดเบียนอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๓. มฆเทวสูตร

อานนท์ พระราชโอรสของพระเจ้ามฆเทวะทรงเล่นอย่างเด็กอยู่ ๘๔,๐๐๐ ปี
ทรงดำรงตำแหน่งอุปราชอยู่ ๘๔,๐๐๐ ปี ทรงครองราชย์อยู่ ๘๔,๐๐๐ ปี เสด็จ
ออกจากวังผนวชเป็นบรรพชิต ประพฤติพรหมจรรย์อยู่ที่มฆเทวอัมพวันนี้อีก
๘๔,๐๐๐ ปี พระองค์ทรงเจริญพรหมวิหาร ๔ ประการ หลังจากสวรรคตแล้ว
ได้เสด็จเข้าถึงพรหมโลก

พระราชนัดดาของพระเจ้ามฆเทวะออกผนวช

[๓๑๑] อานนท์ พระราชโอรสและพระราชนัดดาของพระเจ้ามฆเทวะสืบราชวงศ์
ต่อมา ๘๔,๐๐๐ ชั่วกษัตริย์ ได้ปลงพระเกศาและพระมัสสุ นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์
เสด็จออกจากวังผนวชเป็นบรรพชิต อยู่ในมฆเทวอัมพวันนี้ ท้าวเธอเหล่านั้นทรงมี
เมตตาจิต แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน
ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง ทรงแผ่ไปตลอดโลกทั่วหมู่เหล่าในที่ทุกสถาน ด้วยเมตตาจิต
อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
ทรงมีกรุณาจิต ฯลฯ
ทรงมีมุทิตาจิต ฯลฯ
ทรงมีอุเบกขาจิต แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศ
ที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง ทรงแผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่า
ในที่ทุกสถาน ด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มี
ความเบียดเบียนอยู่
ท้าวเธอเหล่านั้นทรงเล่นอย่างเด็กอยู่ ๘๔,๐๐๐ ปี ทรงดำรงตำแหน่งอุปราช
อยู่ ๘๔,๐๐๐ ปี ทรงครองราชย์อยู่ ๘๔,๐๐๐ ปี เสด็จออกจากวังผนวชเป็น
บรรพชิต ประพฤติพรหมจรรย์อยู่ที่มฆเทวอัมพวันนี้อีก ๘๔,๐๐๐ ปี พระองค์ทรง
เจริญพรหมวิหาร ๔ ประการ หลังจากสวรรคตแล้วได้เสด็จเข้าถึงพรหมโลก
พระเจ้านิมิเป็นพระราชาองค์สุดท้ายแห่งราชบรรพชิตนั้น เป็นผู้ทรงธรรม
เป็นธรรมราชา เป็นมหาราชผู้ตั้งมั่นในธรรม ทรงประพฤติธรรมในพราหมณ์และ
คหบดี ในชาวนิคมและชาวชนบท และทรงรักษาอุโบสถทุกวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ
และวัน ๘ ค่ำแห่งปักษ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๓. มฆเทวสูตร

พระเจ้านิมิรักษาอุโบสถ

[๓๑๒] อานนท์ เรื่องเคยมีมาแล้ว อันตรากถานี้เกิดขึ้นแล้วแก่เทพทั้งหลาย
ชั้นดาวดึงส์ผู้นั่งประชุมกัน ณ สภาชื่อสุธัมมาว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย เป็นลาภ
ของชาววิเทหะหนอ ชาววิเทหะได้ดีแล้วหนอ ที่พระเจ้านิมิเป็นผู้ทรงธรรม เป็น
ธรรมราชา เป็นมหาราชผู้ตั้งมั่นในธรรม ทรงประพฤติธรรมในพราหมณ์และคหบดี
ในชาวนิคมและชาวชนบท และทรงรักษาอุโบสถทุกวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และวัน ๘
ค่ำแห่งปักษ์’
ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพ ตรัสเรียกเทพทั้งหลายชั้นดาวดึงส์มาถามว่า
‘ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ท่านทั้งหลายปรารถนาจะเห็นพระเจ้านิมิหรือไม่’ เทพทั้งหลาย
ชั้นดาวดึงส์ ทูลตอบว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พวกข้าพระองค์ปรารถนาจะเห็น
พระเจ้านิมิ’
อานนท์ สมัยนั้น ในวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ พระเจ้านิมิทรงสนานพระกายทั่ว
พระเศียรแล้ว ทรงรักษาอุโบสถ ประทับนั่งอยู่แล้วบนปราสาทอันประเสริฐชั้นบน
ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพได้ทรงอันตรธานจากเทพทั้งหลายชั้นดาวดึงส์ ไปปรากฏ
เฉพาะพระพักตร์พระเจ้านิมิ’ เปรียบเหมือนคนที่แข็งแรงเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้า
แล้วตรัสกับพระเจ้านิมิว่า ‘มหาราช เป็นลาภของพระองค์ พระองค์ได้ดีแล้ว
เทพทั้งหลายชั้นดาวดึงส์นั่งประชุมสรรเสริญกันอยู่ในสภาชื่อสุธัมมาว่า ‘ท่านผู้เจริญ
ทั้งหลาย เป็นลาภของชาววิเทหะหนอ ชาววิเทหะได้ดีแล้วหนอ ที่พระเจ้านิมิเป็น
ผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชา เป็นมหาราชผู้ตั้งมั่นในธรรม ทรงประพฤติธรรม
ในพราหมณ์และคหบดี ในชาวนิคมและชาวชนบท และทรงรักษาอุโบสถทุกวัน
๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และวัน ๘ ค่ำแห่งปักษ์’ มหาราช เทพทั้งหลายชั้นดาวดึงส์
ปรารถนาจะเห็นพระองค์ หม่อมฉันจะส่งรถเทียมด้วยม้าอาชาไนย ๑,๐๐๐ ตัวมา
เพื่อพระองค์ พระองค์ทรงขึ้นประทับบนทิพยยานเถิด อย่าทรงหวั่นพระทัยเลย’
พระเจ้านิมิทรงรับเชิญโดยดุษณีภาพ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๓. มฆเทวสูตร

พระเจ้านิมิทอดพระเนตรนรกและสวรรค์

[๓๑๓] อานนท์ ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพทราบอาการที่พระเจ้านิมิทรง
รับเชิญแล้ว จึงอันตรธานจากที่เฉพาะพระพักตร์ของพระเจ้านิมิมาปรากฏในหมู่เทพ
ชั้นดาวดึงส์ เปรียบเหมือนคนที่แข็งแรงเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้า ลำดับนั้น
ท้าวสักกะจอมเทพ รับสั่งเรียกมาตลีเทพบุตรผู้รับใช้มาตรัสว่า ‘มาเถิด มาตลี
เพื่อนรัก ท่านจงจัดรถเทียมด้วยม้าอาชาไนย ๑,๐๐๐ ตัว แล้วเข้าไปเฝ้าพระเจ้านิมิ’
จงทูลอย่างนี้ว่า ‘มหาราช รถเทียมด้วยม้าอาชาไนย ๑,๐๐๐ ตัวนี้ ท้าวสักกะ
จอมเทพทรงส่งมารับพระองค์ พระองค์พึงเสด็จขึ้นประทับยังทิพยยานเถิด อย่าทรง
หวั่นพระทัยเลย’
มาตลีเทพบุตรผู้รับใช้ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว จัดรถเทียมด้วยม้าอาชาไนย
๑,๐๐๐ ตัว เข้าไปเฝ้าพระเจ้านิมิแล้วทูลว่า ‘มหาราช รถที่เทียมด้วยม้าอาชาไนย
๑,๐๐๐ ตัวนี้ ท้าวสักกะจอมเทพส่งมารับพระองค์ เชิญเสด็จขึ้นประทับยังทิพยยานเถิด
อย่าทรงหวั่นพระทัยเลย อนึ่ง ทางสำหรับสัตว์ผู้มีบาปกรรม เสวยผลของบาปกรรม
ทางหนึ่ง ทางสำหรับสัตว์ผู้มีกรรมอันงาม เสวยผลของกรรมอันงามทางหนึ่ง
ข้าพระองค์จะเชิญเสด็จไปทางไหน พระเจ้าข้า’
พระเจ้านิมิตรัสว่า ‘มาตลี จงนำเราไปทั้งสองทางนั่นแล’
อานนท์ มาตลีเทพบุตรผู้รับใช้ นำเสด็จพระเจ้านิมิถึงสภาชื่อสุธัมมา ท้าวสักกะ
จอมเทพ ทอดพระเนตรเห็นพระเจ้านิมิผู้กำลังเสด็จมาแต่ไกล จึงตรัสว่า ‘มหาราช
เชิญเสด็จเข้ามาเถิด ขอรับเสด็จมหาราช เทพทั้งหลายชั้นดาวดึงส์ปรารถนา
จะเห็นพระองค์ ประชุมสรรเสริญกันอยู่ในสภาชื่อสุธัมมาว่า ‘ท่านผู้เจริญ เป็นลาภ
ของชาววิเทหะหนอ ชาววิเทหะได้ดีแล้วหนอ ที่พระเจ้านิมิ เป็นผู้ทรงธรรม
เป็นธรรมราชา เป็นมหาราชผู้ตั้งมั่นในธรรม ทรงประพฤติธรรมในพราหมณ์และ
คหบดี ในชาวนิคมและชาวชนบท และทรงรักษาอุโบสถทุกวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ
และวัน ๘ ค่ำแห่งปักษ์’ มหาราช เทพทั้งหลายชั้นดาวดึงส์ปรารถนาจะเห็น
พระองค์ ขอเชิญพระองค์ทรงอภิรมย์อยู่ในหมู่เทพทั้งหลาย ด้วยเทวานุภาพเถิด’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๓. มฆเทวสูตร

พระเจ้านิมิตรัสว่า ‘อย่าเลย พระองค์ผู้นิรทุกข์ ขอจงนำหม่อมฉันกลับไปยัง
กรุงมิถิลา ในมนุษยโลกนั้นเถิด หม่อมฉันจะได้ประพฤติธรรมอย่างนั้น ในพราหมณ์
และคหบดี ในชาวนิคมและชาวชนบท และจักได้รักษาอุโบสถทุกวัน ๑๔ ค่ำ
๑๕ ค่ำ และวัน ๘ ค่ำแห่งปักษ์ต่อไป’

พระเจ้านิมิออกผนวช

[๓๑๔] อานนท์ ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพรับสั่งเรียกมาตลีเทพบุตร
ผู้รับใช้มาตรัสว่า ‘มาเถิด มาตลีเพื่อนรัก ท่านจงจัดรถเทียมด้วยม้าอาชาไนย
๑,๐๐๐ ตัว นำพระเจ้านิมิกลับไปยังกรุงมิถิลาในมนุษยโลกนั้นเถิด’
มาตลีเทพบุตรผู้รับใช้ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว จัดรถเทียมด้วยม้าอาชาไนย
๑,๐๐๐ ตัว แล้วนำพระเจ้านิมิเสด็จกลับไปยังกรุงมิถิลาในมนุษยโลกนั้น ได้ยินว่า
สมัยนั้น พระเจ้านิมิทรงประพฤติธรรมในพราหมณ์และคหบดี ในชาวนิคมและชาว
ชนบท และทรงรักษาอุโบสถทุกวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และวัน ๘ ค่ำแห่งปักษ์
ต่อมาเมื่อล่วงไปหลายปี หลายร้อยปี หลายพันปี พระเจ้านิมิรับสั่งเรียกช่างกัลบก
มาตรัสว่า ‘ช่างกัลบกเพื่อนรัก เมื่อใดท่านเห็นผมหงอกเกิดแล้วบนศีรษะของเรา
เมื่อนั้นพึงบอกเรา’
ช่างกัลบกทูลรับสนองพระราชดำรัสแล้ว เมื่อล่วงไปหลายปี หลายร้อยปี
หลายพันปี ช่างกัลบกได้เห็นพระเกศาหงอกเกิดแล้วบนพระเศียรของพระเจ้านิมิ
จึงกราบทูลว่า ‘เทวทูตปรากฏแก่พระองค์แล้ว พระเกศาหงอกเกิดแล้วบนพระเศียร
ปรากฏอยู่’
พระเจ้านิมิตรัสว่า ‘ช่างกัลบกเพื่อนรัก ถ้าเช่นนั้น ท่านจงใช้แหนบถอนผม
หงอกนั้นให้ดี แล้ววางลงบนกระพุ่มมือของเรา’
ช่างกัลบกทูลรับสนองพระราชดำรัสแล้ว จึงใช้แหนบถอนพระเกศาหงอกนั้น
อย่างดี แล้ววางไว้ที่กระพุ่มพระหัตถ์ของพระเจ้านิมิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๓. มฆเทวสูตร

อานนท์ ต่อมา พระเจ้านิมิพระราชทานบ้านส่วยแก่ช่างกัลบกแล้วรับสั่ง
ให้เรียกพระราชกุมารผู้เป็นโอรสองค์ใหญ่มาตรัสว่า ‘ลูกเอ๋ย เทวทูตปรากฏ
แก่พ่อแล้ว ผมหงอกเกิดแล้วบนศีรษะปรากฏอยู่ กามทั้งหลายที่เป็นของมนุษย์
พ่อบริโภคแล้ว เวลานี้เป็นเวลาที่จะแสวงหากามอันเป็นทิพย์ มาเถิดลูกเอ๋ย ลูกจง
ปกครองราชสมบัตินี้ ส่วนพ่อจักโกนผมและหนวดนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ออกจากวัง
บวชเป็นบรรพชิต เมื่อใด ลูกเห็นผมหงอกเกิดแล้วบนศีรษะ เมื่อนั้นลูกจงให้บ้าน
ส่วยแก่ช่างกัลบก พึงพร่ำสอนราชกุมารผู้เป็นโอรสองค์ใหญ่ในการครองราชสมบัติ
ให้ดี แล้วโกนผมและหนวดนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากวังบวชเป็นบรรพชิตเถิด
ลูกพึงประพฤติวัตรอันงามตามวิธีที่พ่อตั้งไว้นี้ ลูกอย่าเป็นคนสุดท้ายของพ่อเลย
เมื่อยุคของคนใดเป็นไปอยู่ แต่ปล่อยให้วัตรอันงามเห็นปานนี้ขาดสูญไป คนนั้นชื่อว่า
เป็นคนสุดท้ายของราชบรรพชิตนั้น ลูกเอ๋ย พ่อกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ลูกพึงประพฤติวัตร
อันงามตามวิธีที่พ่อตั้งไว้แล้วนี้ ลูกอย่าเป็นคนสุดท้ายของพ่อเลย’

พระเจ้ากฬารกชนกเป็นองค์สุดท้าย

[๓๑๕] อานนท์ ครั้งนั้น พระเจ้านิมิครั้นพระราชทานบ้านส่วยแก่ช่างกัลบกแล้ว
ทรงพร่ำสอนพระราชกุมารผู้เป็นโอรสองค์ใหญ่ ในการครองราชสมบัติให้ดีแล้ว
ทรงโกนพระเกศาและพระมัสสุ นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์เสด็จออกจากวังผนวชเป็น
บรรพชิต ณ มฆเทวอัมพวันนี้ ท้าวเธอมีเมตตาจิต แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่
ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง ทรงแผ่ไป
ตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถานด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มี
ขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
ทรงมีกรุณาจิต ฯลฯ
ทรงมีมุทิตาจิต ฯลฯ
ทรงมีอุเบกขาจิต แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ...
ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง ทรงแผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถาน
ด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความ
เบียดเบียนอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๓. มฆเทวสูตร

พระเจ้านิมิทรงเล่นอย่างเด็กอยู่ ๘๔,๐๐๐ ปี ทรงดำรงตำแหน่งอุปราชอยู่
๘๔,๐๐๐ ปี ทรงครองราชย์อยู่ ๘๔,๐๐๐ ปี เสด็จออกจากวังผนวชเป็นบรรพชิต
ประพฤติพรหมจรรย์อยู่ที่มฆเทวอัมพวันนี้นั่นแลอีก ๘๔,๐๐๐ ปี พระองค์ทรงเจริญ
พรหมวิหาร ๔ ประการ หลังจากสวรรคตแล้วได้เสด็จเข้าถึงพรหมโลก
อานนท์ พระเจ้านิมิมีพระราชโอรสพระนามว่ากฬารกชนก พระราชกุมารนั้น
มิได้ออกจากวังผนวชเป็นบรรพชิต ทรงตัดวัตรอันงามนั้นแล้ว ได้ชื่อว่าเป็นมนุษย์คน
สุดท้ายแห่งราชบรรพชิตนั้น
[๓๑๖] อานนท์ เธอคงจะคิดอย่างนี้ว่า ‘สมัยนั้น พระเจ้ามฆเทวะซึ่งทรง
ตั้งวัตรอันงามนั้นคงเป็นคนอื่นเป็นแน่’ แต่ข้อนั้นเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น สมัยนั้น
เราเป็นพระเจ้ามฆเทวะ ได้ตั้งวัตรอันงามนั้นไว้ ประชาชนผู้เกิดมาภายหลังประพฤติ
ตามวัตรอันงามที่เราตั้งไว้แล้วนั้น แต่วัตรอันงามนั้นไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย
เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ และเพื่อนิพพาน
เป็นไปเพียงเพื่อเข้าถึงพรหมโลกเท่านั้น ส่วนวัตรอันงามที่เราตั้งไว้ในบัดนี้เป็นไป
เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้
และเพื่อนิพพาน โดยส่วนเดียว
วัตรอันงามที่เราตั้งไว้ในบัดนี้ซึ่งเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด
เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ และเพื่อนิพพาน โดยส่วนเดียว
เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ ได้แก่

๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) ๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) ๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ)
๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) ๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ)
๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ) ๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ)

วัตรอันงามที่เราตั้งไว้ในบัดนี้นี้แลเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด
เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ และเพื่อนิพพาน โดยส่วนเดียว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๔. มธุรสูตร

อานนท์ เราขอเตือนเธอทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘เธอทั้งหลายควรประพฤติวัตร
อันงามตามวิธีที่เราตั้งไว้แล้ว เธอทั้งหลายอย่าเป็นคนสุดท้ายของเราเลย’ เมื่อยุค
ของคนใดเป็นไปอยู่ แต่ปล่อยให้วัตรอันงามเห็นปานนี้ขาดสูญไป คนนั้นชื่อว่าคน
สุดท้ายของบุรุษเหล่านั้น เราขอเตือนเธอทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘เธอทั้งหลายควรประพฤติ
วัตรอันงามตามวิธีที่เราตั้งไว้แล้ว เธอทั้งหลายอย่าเป็นคนสุดท้ายของเราเลย”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์มีใจยินดีชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

มฆเทวสูตรที่ ๓ จบ

๔. มธุรสูตร
ว่าด้วยพระเจ้ามธุระ

[๓๑๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัจจานะอยู่ ณ ป่าคุนธาวัน เขตกรุงมธุรา พระเจ้า
มธุระ อวันตีบุตรได้ทรงสดับว่า “ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้ยินว่า ท่านสมณะนามว่า
กัจจานะ อยู่ ณ ป่าคุนธาวัน เขตกรุงมธุรา ท่านพระมหากัจจานะนั้นมีกิตติศัพท์
อันงามขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า ‘เป็นบัณฑิต ฉลาด มีปัญญา เป็นพหูสูต มีถ้อยคำ
สละสลวย มีปฏิภาณดี เป็นผู้ใหญ่ และเป็นพระอรหันต์ การเห็นพระอรหันต์ทั้งหลาย
เช่นนั้น เป็นความดีอย่างแท้จริง”
ลำดับนั้น พระเจ้ามธุระ อวันตีบุตรรับสั่งให้จัดยานพาหนะคันงาม ๆ หลายคัน
ทรงขึ้นยานพาหนะคันงาม เสด็จออกจากกรุงมธุราพร้อมกับยานพาหนะคันงาม ๆ
ตามเสด็จด้วยราชานุภาพอย่างยิ่งใหญ่ เพื่อทรงเยี่ยมท่านพระมหากัจจานะ เสด็จไป
จนสุดทางที่ยานพาหนะจะไปได้ จึงเสด็จลงจากยาน เสด็จพระราชดำเนินด้วยพระบาท
เข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะถึงที่อยู่ แล้วได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็น
ที่ระลึกถึงกันแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้รับสั่งว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๔. มธุรสูตร

“พระคุณเจ้ากัจจานะ พราหมณ์ทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐ
ที่สุด คือวรรณะพราหมณ์เท่านั้น วรรณะอื่นเลว วรรณะที่ขาวคือวรรณะพราหมณ์
เท่านั้น วรรณะอื่นดำ พราหมณ์เท่านั้นบริสุทธิ์ ผู้ที่ไม่ใช่พราหมณ์ไม่บริสุทธิ์ พราหมณ์
เท่านั้นเป็นบุตร เป็นโอรส เกิดจากโอษฐ์ของพรหม เกิดจากพรหม เป็นผู้ที่พรหม
สร้างขึ้น เป็นทายาทของพรหม’ เรื่องนี้พระคุณเจ้ากัจจานะจะกล่าวอย่างไร”
ท่านพระมหากัจจานะถวายพระพรว่า “มหาบพิตร วาทะที่พวกพราหมณ์
กล่าวว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐที่สุดคือวรรณะพราหมณ์เท่านั้น วรรณะอื่นเลว วรรณะ
ที่ขาวคือวรรณะพราหมณ์เท่านั้น วรรณะอื่นดำ พราหมณ์เท่านั้นบริสุทธิ์ ผู้ที่ไม่ใช่
พราหมณ์ไม่บริสุทธิ์ พราหมณ์เท่านั้นเป็นบุตร เป็นโอรส เกิดจากโอษฐ์ของพรหม
เกิดจากพรหม (เป็นผู้ที่พรหมสร้างขึ้น) เป็นทายาทของพรหม’ นั่นเป็นเพียงคำโฆษณา
ในโลกเท่านั้น
มหาบพิตร โดยปริยายนี้ พระองค์ทรงทราบเถิดว่า วาทะที่พวกพราหมณ์
กล่าวว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐที่สุดคือพราหมณ์เท่านั้น วรรณะอื่นเลว ฯลฯ เป็นทายาท
ของพรหม’ นั่นเป็นเพียงคำโฆษณาในโลกเท่านั้น”
[๓๑๘] ท่านพระมหากัจจานะถวายพระพรว่า “มหาบพิตร พระองค์ทรง
เข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร ถ้าแม้กษัตริย์จะพึงทำให้ความต้องการทรัพย์
ข้าวเปลือก เงิน หรือทองสำเร็จได้ แม้กษัตริย์(อื่น)ก็จะพึงลุกขึ้นก่อน นอนทีหลัง
คอยรับใช้ ปฏิบัติให้ถูกใจ พูดไพเราะต่อกษัตริย์พระองค์นั้นใช่ไหม แม้พราหมณ์ ฯลฯ
แม้แพศย์ ฯลฯ แม้ศูทรก็จะพึงลุกขึ้นก่อน นอนทีหลัง คอยรับใช้ ปฏิบัติให้ถูกใจ
พูดไพเราะต่อกษัตริย์พระองค์นั้นใช่ไหม”
พระเจ้ามธุระ อวันตีบุตร ตรัสว่า “พระคุณเจ้ากัจจานะ ถ้าแม้กษัตริย์จะพึง
ทำให้ความต้องการทรัพย์ ข้าวเปลือก เงิน หรือทองสำเร็จได้ แม้กษัตริย์(อื่น)
ก็จะพึงลุกขึ้นก่อน นอนทีหลัง คอยรับใช้ ปฏิบัติให้ถูกใจ พูดไพเราะต่อกษัตริย์
พระองค์นั้น แม้พราหมณ์ ฯลฯ แม้แพศย์ ฯลฯ แม้ศูทรก็จะพึงลุกขึ้นก่อน
นอนทีหลัง คอยรับใช้ ปฏิบัติให้ถูกใจ พูดไพเราะต่อกษัตริย์พระองค์นั้น”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๔. มธุรสูตร

“มหาบพิตร พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร ถ้าแม้พราหมณ์
จะพึงทำให้ความต้องการทรัพย์ ข้าวเปลือก เงิน หรือทองสำเร็จได้ แม้พราหมณ์(อื่น)
ก็จะพึงลุกขึ้นก่อน นอนทีหลัง คอยรับใช้ ปฏิบัติให้ถูกใจ พูดไพเราะต่อพราหมณ์นั้น
ใช่ไหม แม้แพศย์ ฯลฯ แม้ศูทร ฯลฯ แม้กษัตริย์ ก็จะพึงลุกขึ้นก่อน นอนทีหลัง
คอยรับใช้ ปฏิบัติให้ถูกใจ พูดไพเราะต่อพราหมณ์นั้นใช่ไหม”
“พระคุณเจ้ากัจจานะ ถ้าแม้พราหมณ์จะพึงทำให้ความต้องการทรัพย์ ข้าวเปลือก
เงิน หรือทองสำเร็จได้ แม้พราหมณ์(อื่น) ก็จะพึงลุกขึ้นก่อน นอนทีหลัง คอยรับใช้
ปฏิบัติให้ถูกใจ พูดไพเราะต่อพราหมณ์นั้น แม้แพศย์ ฯลฯ แม้ศูทร ฯลฯ แม้กษัตริย์
ก็จะพึงลุกขึ้นก่อน นอนทีหลัง คอยรับใช้ ปฏิบัติให้ถูกใจ พูดไพเราะต่อพราหมณ์นั้น”
“มหาบพิตร พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร ถ้าแม้แพศย์จะพึง
ทำให้ความต้องการทรัพย์ ข้าวเปลือก เงิน หรือทองสำเร็จได้ แม้แพศย์(อื่น)
ก็จะพึงลุกขึ้นก่อน นอนทีหลัง คอยรับใช้ ปฏิบัติให้ถูกใจ พูดไพเราะต่อแพศย์นั้น
ใช่ไหม แม้ศูทร ฯลฯ แม้กษัตริย์ ฯลฯ แม้พราหมณ์ ก็จะพึงลุกขึ้นก่อน นอนทีหลัง
คอยรับใช้ ปฏิบัติให้ถูกใจ พูดไพเราะต่อแพศย์นั้นใช่ไหม”
“พระคุณเจ้ากัจจานะ ถ้าแม้แพศย์จะพึงทำให้ความต้องการทรัพย์ ข้าวเปลือก
เงิน หรือทองสำเร็จได้ แม้แพศย์(อื่น)ก็จะพึงลุกขึ้นก่อน นอนทีหลัง คอยรับใช้
ปฏิบัติให้ถูกใจ พูดไพเราะต่อแพศย์นั้น แม้ศูทร ฯลฯ แม้กษัตริย์ ฯลฯ แม้พราหมณ์
ก็จะพึงลุกขึ้นก่อน นอนทีหลัง คอยรับใช้ ปฏิบัติให้ถูกใจ พูดไพเราะต่อแพศย์นั้น”
“มหาบพิตร พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร ถ้าแม้ศูทรจะพึง
ทำให้ความต้องการทรัพย์ ข้าวเปลือก เงิน หรือทองสำเร็จได้ แม้ศูทร(อื่น)ก็จะพึง
ลุกขึ้นก่อน นอนทีหลัง คอยรับใช้ ปฏิบัติให้ถูกใจ พูดไพเราะต่อศูทรนั้นใช่ไหม
แม้กษัตริย์ ฯลฯ แม้พรหมณ์ ฯลฯ แม้แพศย์ ก็จะพึงลุกขึ้นก่อน นอนทีหลัง
คอยรับใช้ ปฏิบัติให้ถูกใจ พูดไพเราะต่อศูทรนั้นใช่ไหม”
“พระคุณเจ้ากัจจานะ ถ้าแม้ศูทรจะพึงทำให้ความต้องการทรัพย์ ข้าวเปลือก
เงิน หรือทองสำเร็จได้ แม้ศูทร(อื่น)ก็จะพึงลุกขึ้นก่อน นอนทีหลัง คอยรับใช้
ปฏิบัติให้ถูกใจ พูดไพเราะต่อศูทรนั้น แม้กษัตริย์ ฯลฯ แม้พราหมณ์ ฯลฯ แม้แพศย์
ก็จะพึงลุกขึ้นก่อน นอนทีหลัง คอยรับใช้ ปฏิบัติให้ถูกใจ พูดไพเราะต่อศูทรนั้น”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๔. มธุรสูตร

“มหาบพิตร พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร ถ้าเมื่อเป็นอย่างนี้
วรรณะทั้ง ๔ จำพวกนี้ย่อมเป็นผู้เสมอกัน ใช่หรือไม่ หรือพระองค์ทรงเข้าพระทัยใน
วรรณะ ๔ จำพวกนี้ว่าอย่างไร”
“พระคุณเจ้ากัจจานะ เมื่อเป็นอย่างนี้ วรรณะ ๔ จำพวกนี้ก็เสมอกันหมด
แน่นอน ในวรรณะทั้ง ๔ จำพวกนี้ โยมไม่เห็นความแตกต่างอะไรกันเลย”
“มหาบพิตร โดยปริยายนี้ พระองค์ทรงทราบเถิดว่า วาทะที่พวกพราหมณ์
กล่าวว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐที่สุดคือพราหมณ์เท่านั้น วรรณะอื่นเลว ฯลฯ เป็นทายาท
ของพรหม’ นั่นเป็นคำโฆษณาในโลกนี้เท่านั้น”
[๓๑๙] ท่านพระมหากัจจานะถวายพระพรว่า “มหาบพิตร พระองค์ทรง
เข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร กษัตริย์ในโลกนี้พึงฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิด
ในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ เป็นผู้เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของ
ของผู้อื่น มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิ หลังจากตายแล้วพึงไปเกิดในอบาย ทุคติ
วินิบาต นรก๑ ใช่หรือไม่ หรือพระองค์ทรงเข้าพระทัยในเรื่องนี้ว่าอย่างไร”
พระเจ้ามธุระ อวันตีบุตร ตรัสว่า “พระคุณเจ้ากัจจานะ อันที่จริงถึงจะเป็น
กษัตริย์เมื่อฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ
พูดเพ้อเจ้อ เป็นผู้เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิ
หลังจากสวรรคตแล้วพึงไปบังเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก โยมมีความคิดเห็น
ในเรื่องนี้อย่างนี้ อนึ่ง โยมเองก็ได้ฟังมาจากพระอรหันต์ทั้งหลายเช่นนั้น”
“ดีละ ดีละ มหาบพิตร เป็นความดีที่พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนี้
อย่างนั้น และเป็นสิ่งที่ดีที่พระองค์ได้ทรงสดับความข้อนี้มาจากพระอรหันต์ทั้งหลาย
พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร พราหมณ์ในโลกนี้ ฯลฯ แพศย์
ในโลกนี้ ฯลฯ ศูทรในโลกนี้ เมื่อฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ
พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ เป็นผู้เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น มีจิต


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๔. มธุรสูตร

พยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิ หลังจากตายแล้วพึงไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ใช่หรือไม่ หรือพระองค์ทรงเข้าพระทัยในเรื่องนี้ว่าอย่างไร”
“พระคุณเจ้ากัจจานะ อันที่จริงถึงจะเป็นศูทร เมื่อฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติ
ผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ เป็นผู้เพ่งเล็งอยากได้
สิ่งของของผู้อื่น มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิ หลังจากตายแล้วพึงไปเกิดในอบาย
ทุคติ วินิบาต นรก โยมมีความคิดเห็นในเรื่องนี้อย่างนี้ อนึ่ง โยมเองก็ได้ฟังมา
จากพระอรหันต์ทั้งหลายเช่นนั้น”
“ดีละ ดีละ มหาบพิตร เป็นความดีที่พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนี้
อย่างนั้น และเป็นสิ่งที่ดีที่พระองค์ได้ทรงสดับความข้อนี้มาจากพระอรหันต์ทั้งหลาย
พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร ถ้าเมื่อเป็นอย่างนี้ วรรณะทั้ง ๔
จำพวกนี้ย่อมเป็นผู้เสมอกัน ใช่หรือไม่ หรือพระองค์ทรงเข้าพระทัยในวรรณะทั้ง ๔
จำพวกนี้ว่าอย่างไร”
“พระคุณเจ้ากัจจานะ เมื่อเป็นอย่างนี้ วรรณะ ๔ จำพวกนี้ก็เสมอกันหมด
แน่นอน ในวรรณะ ๔ จำพวกนี้ โยมไม่เห็นความแตกต่างอะไรกันเลย”
“มหาบพิตร โดยปริยายนี้ พระองค์ทรงทราบเถิดว่า วาทะที่พวกพราหมณ์
กล่าวว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐที่สุดคือพราหมณ์เท่านั้น วรรณะอื่นเลว ฯลฯ เป็นทายาท
ของพรหม’ นั่นเป็นคำโฆษณาในโลกนี้เท่านั้น”
[๓๒๐] ท่านพระมหากัจจานะถวายพระพรว่า “มหาบพิตร พระองค์ทรง
เข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร กษัตริย์ในโลกนี้พึงเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาด
จากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ
เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ
ไม่เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ หลังจากตาย
แล้วพึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ใช่หรือไม่ หรือพระองค์ทรงเข้าพระทัยในเรื่องนี้ว่า
อย่างไร”
พระเจ้ามธุระ อวันตีบุตร ตรัสว่า “พระคุณเจ้ากัจจานะ อันที่จริงถึงจะเป็น
กษัตริย์ เมื่อเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการ
ประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด เว้นขาด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๔. มธุรสูตร

จากการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น
มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ หลังจากตายแล้วพึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
โยมมีความเห็นในเรื่องนี้อย่างนี้ อนึ่ง โยมเองก็ได้ฟังเรื่องนี้มาจากพระอรหันต์ทั้งหลาย
เช่นนั้น”
“ดีละ ดีละ มหาบพิตร เป็นความดีที่พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนี้อย่างนั้น
และเป็นสิ่งที่ดีที่พระองค์ได้ทรงสดับความข้อนี้มาจากพระอรหันต์ทั้งหลาย พระองค์
ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร พราหมณ์ในโลกนี้ ฯลฯ แพศย์ในโลกนี้ ฯลฯ
ศูทรในโลกนี้ เมื่อเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการ
ประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด เว้นขาด
จากการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น
มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ หลังจากตายแล้วพึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ใช่หรือไม่
หรือพระองค์ทรงเข้าพระทัยในเรื่องนี้ว่าอย่างไร”
“ใช่ พระคุณเจ้ากัจจานะ อันที่จริงถึงจะเป็นพราหมณ์ ฯลฯ เป็นแพศย์ ฯลฯ
เป็นศูทร เมื่อเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการ
ประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด เว้นขาด
จากการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น
มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ หลังจากตายแล้วพึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
โยมมีความเห็นในเรื่องนี้อย่างนี้ อนึ่ง โยมเองก็ได้ฟังเรื่องนี้มาจากพระอรหันต์
ทั้งหลายเช่นนั้น”
“ดีละ ดีละ มหาบพิตร เป็นความดีที่พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนี้อย่างนั้น
และเป็นสิ่งที่ดีที่พระองค์ได้ทรงสดับความข้อนี้มาจากพระอรหันต์ทั้งหลาย พระองค์
ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร ถ้าเมื่อเป็นอย่างนี้ วรรณะ ๔ จำพวกนี้ย่อม
เป็นผู้เสมอกัน ใช่หรือไม่ หรือพระองค์ทรงเข้าพระทัยในวรรณะ ๔ จำพวกนี้ว่า
อย่างไร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๔. มธุรสูตร

“พระคุณเจ้ากัจจานะ เมื่อเป็นอย่างนี้ วรรณะ ๔ จำพวกนี้ก็เสมอกันหมด
แน่นอน ในวรรณะ ๔ จำพวกนี้ โยมไม่เห็นความแตกต่างอะไรกันเลย”
“มหาบพิตร โดยปริยายนี้ พระองค์ทรงทราบเถิดว่า วาทะที่พวกพราหมณ์
กล่าวว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐที่สุดคือพราหมณ์เท่านั้น วรรณะอื่นเลว ฯลฯ เป็นทายาท
ของพรหม’ นั่นเป็นคำโฆษณาในโลกนี้เท่านั้น”
[๓๒๑] ท่านพระมหากัจจานะถวายพระพรว่า “มหาบพิตร พระองค์ทรง
เข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร กษัตริย์ในโลกนี้พึงตัดช่องย่องเบา ปล้นเรือน
หลังเดียว ดักจี้ในทางเปลี่ยว เป็นชู้ ถ้าราชบุรุษทั้งหลายจับเขาได้แล้ว พึงแสดงว่า
‘ขอเดชะ ผู้นี้เป็นโจรประพฤติผิดต่อพระองค์ พระองค์ทรงประสงค์จะลงพระราช
อาชญาสถานใดแก่โจรนั้น ขอจงทรงโปรดให้ลงพระราชอาชญาสถานนั้นเถิด’ พระองค์
จะพึงโปรดให้ทำอย่างไรกับโจรนั้น”
พระเจ้ามธุระ อวันตีบุตร ตรัสว่า “พระคุณเจ้ากัจจานะ โยมก็ต้องให้ประหาร
ให้ผ่าอก ให้เนรเทศ หรือทำตามสมควรแก่เหตุ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะสมญานาม
ว่ากษัตริย์ของเขาเมื่อก่อนนั้นหายไปแล้ว(บัดนี้) เขาได้ชื่อว่า ‘เป็นโจรเท่านั้น ๋
“มหาบพิตร พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร พราหมณ์ในโลกนี้
ฯลฯ แพศย์ในโลกนี้ ฯลฯ ศูทรในโลกนี้พึงตัดช่องย่องเบา ปล้นเรือนหลังเดียว
ดักจี้ในทางเปลี่ยว เป็นชู้ ถ้าราชบุรุษทั้งหลายจับเขาได้แล้ว พึงแสดงว่า ‘ขอเดชะ
ผู้นี้เป็นโจรประพฤติผิดต่อพระองค์ พระองค์ทรงประสงค์จะลงพระราชอาชญาสถานใด
แก่โจรนั้น ขอจงทรงโปรดให้ลงพระราชอาชญาสถานนั้นเถิด’ พระองค์จะพึงโปรดให้
ทำอย่างไรกับโจรนั้น”
“พระคุณเจ้ากัจจานะ โยมก็ต้องให้ประหาร ให้ผ่าอก ให้เนรเทศ หรือทำตาม
สมควรแก่เหตุ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะสมญานามว่าศูทรของเขาเมื่อก่อนนั้นหาย
ไปแล้ว เขาได้ชื่อว่า ‘เป็นโจรเท่านั้น”
“มหาบพิตร พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร ถ้าเมื่อเป็นอย่างนี้
วรรณะ ๔ จำพวกนี้ ย่อมเป็นผู้เสมอกัน ใช่หรือไม่ หรือพระองค์ทรงเข้าพระทัย
ในวรรณะ ๔ จำพวกนี้ว่าอย่างไร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๔. มธุรสูตร

“พระคุณเจ้ากัจจานะ เมื่อเป็นอย่างนี้ วรรณะ ๔ จำพวกนี้ก็เสมอกันหมด
แน่นอน ในวรรณะ ๔ จำพวกนี้ โยมไม่เห็นความแตกต่างอะไรกันเลย”
“มหาบพิตร โดยปริยายนี้ พระองค์ทรงทราบเถิดว่า วาทะที่พวกพราหมณ์
กล่าวว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐที่สุดคือพราหมณ์เท่านั้น วรรณะอื่นเลว ฯลฯ เป็นทายาท
ของพรหม’ นั่นเป็นคำโฆษณาในโลกนี้เท่านั้น”
[๓๒๒] ท่านพระมหากัจจานะถวายพระพรว่า “มหาบพิตร พระองค์ทรง
เข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร กษัตริย์ในโลกนี้พึงปลงพระเกศาและพระมัสสุ นุ่งห่ม
ผ้ากาสาวพัสตร์เสด็จออกจากวังผนวชเป็นบรรพชิต ทรงงดเว้นจากการฆ่าสัตว์
งดเว้นจากการลักทรัพย์ งดเว้นจากการพูดเท็จ ไม่บริโภคในราตรี ฉันภัตตาหาร
มื้อเดียว เป็นพรหมจารี มีศีล มีกัลยาณธรรม พระองค์จะทรงทำอย่างไรกับราช-
บรรพชิตนั้น”
พระเจ้ามธุระ อวันตีบุตร ตรัสว่า “พระคุณเจ้ากัจจานะ โยมต้องกราบไหว้
ลุกรับ เชื้อเชิญด้วยอาสนะ หรือเจาะจงนิมนต์ราชบรรพชิตนั้นด้วยจีวร บิณฑบาต
เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร๑ จัดการอารักขา คุ้มครอง ป้องกันท่าน
ตามความเหมาะสม ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะสมญานามว่ากษัตริย์ของท่านเมื่อ
ก่อนนั้นหายไปแล้ว ท่านได้ชื่อว่า ‘สมณะเท่านั้น”
“มหาบพิตร พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร พราหมณ์ในโลกนี้
ฯลฯ แพศย์ในโลกนี้ ฯลฯ ศูทรในโลกนี้โกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๔. มธุรสูตร

ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ งดเว้นจากการลักทรัพย์
งดเว้นจากการพูดเท็จ ไม่บริโภคในราตรี ฉันภัตตาหารมื้อเดียว เป็นพรหมจารี
มีศีล มีกัลยาณธรรม พระองค์จะทรงทำอย่างไรกับบรรพชิตนั้น”
“พระคุณเจ้ากัจจานะ โยมต้องกราบไหว้ ลุกรับ เชื้อเชิญด้วยอาสนะ หรือเจาะ
จงนิมนต์ท่านด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร จัดการ
อารักขา คุ้มครอง ป้องกันท่านตามความเหมาะสม ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
สมญานามว่าศูทรของท่านเมื่อก่อนนั้นหายไปแล้ว ท่านได้ชื่อว่า ‘สมณะเท่านั้น”
“มหาบพิตร พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร ถ้าเมื่อเป็นอย่างนี้
วรรณะ ๔ จำพวกนี้ ย่อมเป็นผู้เสมอกัน ใช่หรือไม่ หรือพระองค์ทรงเข้าพระทัยใน
วรรณะ ๔ จำพวกนี้ ว่าอย่างไร”
“พระคุณเจ้ากัจจานะ เมื่อเป็นอย่างนี้ วรรณะ ๔ จำพวกนี้ ก็เสมอกันหมด
แน่นอน ในวรรณะ ๔ จำพวกนี้ โยมไม่เห็นความแตกต่างอะไรกันเลย”
“มหาบพิตร โดยปริยายนี้ พระองค์ทรงทราบเถิดว่า วาทะที่พวกพราหมณ์
กล่าวว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐที่สุดคือพราหมณ์เท่านั้น วรรณะอื่นเลว วรรณะที่ขาว
คือพราหมณ์เท่านั้น วรรณะอื่นดำ พราหมณ์เท่านั้นบริสุทธิ์ ผู้ที่ไม่ใช่พราหมณ์ไม่
บริสุทธิ์ พราหมณ์เท่านั้นเป็นบุตร เป็นโอรส เกิดจากโอษฐ์ของพรหม เกิดจาก
พรหม เป็นผู้ที่พรหมสร้างขึ้น เป็นทายาทของพรหม’ นั่นเป็นคำโฆษณาในโลกนี้
เท่านั้น”

พระเจ้ามธุระแสดงตนเป็นอุบาสก

[๓๒๓] เมื่อท่านพระมหากัจจานะถวายพระพรอย่างนี้แล้ว พระเจ้ามธุระ
อวันตีบุตรได้ตรัสว่า “พระคุณเจ้ากัจจานะ ภาษิตของท่านชัดเจนไพเราะยิ่งนัก
พระคุณเจ้ากัจจานะ ภาษิตของท่านชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระคุณเจ้ากัจจานะ
ประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ
เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า ‘คนมี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๔. มธุรสูตร

ตาดีจักเห็นรูปได้’ โยมขอถึงพระคุณเจ้ากัจจานะพร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็น
สรณะ ขอพระคุณเจ้ากัจจานะจงจำโยมว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
จนตลอดชีวิต”
ท่านพระมหากัจจานะถวายพระพรว่า “มหาบพิตร พระองค์อย่าทรงถึง
อาตมภาพเป็นสรณะเลย ขอจงทรงถึงพระผู้มีพระภาคผู้เป็นสรณะของอาตมภาพ
เป็นสรณะเถิด”
พระเจ้ามธุระ อวันตีบุตร ตรัสถามว่า “พระคุณเจ้ากัจจานะ บัดนี้ พระผู้มี
พระภาคผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นประทับอยู่ที่ไหน”
ท่านพระมหากัจจานะถวายพระพรว่า “มหาบพิตร บัดนี้ พระผู้มีพระภาค
ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น เสด็จปรินิพพานเสียแล้ว”
พระเจ้ามธุระ อวันตีบุตร ตรัสว่า “พระคุณเจ้ากัจจานะ ถ้าพวกโยมได้ยินว่า
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นประทับอยู่ไกลถึง ๑๐ โยชน์ พวกโยมก็ต้องไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น แม้สิ้นทาง ๑๐ โยชน์
ถ้าพวกโยมได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นประทับอยู่ไกลถึง ๒๐ โยชน์ ...
๓๐ โยชน์... ๔๐ โยชน์... ๕๐ โยชน์ พวกโยมก็ต้องไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคผู้เป็น
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น แม้สิ้นทาง ๕๐ โยชน์
พระคุณเจ้ากัจจานะ ถ้าพวกโยมได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นประทับ
อยู่ไกลถึง ๑๐๐ โยชน์ พวกโยมก็ต้องไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ถึงแม้ว่าจะไกลสัก ๑๐๐ โยชน์ แต่เพราะเหตุที่
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เสด็จปรินิพพานเสียแล้ว พวกโยมขอถึงพระผู้มี
พระภาคแม้เสด็จปรินิพพานแล้ว พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ
ขอพระคุณเจ้ากัจจานะจงจำโยมว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป จน
ตลอดชีวิต” ดังนี้แล

มธุรสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร

๕. โพธิราชกุมารสูตร
ว่าด้วยโพธิราชกุมาร

[๓๒๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เภสกฬาวัน สถานที่ให้อภัยหมู่เนื้อ
เขตกรุงสุงสุมารคิระ แคว้นภัคคะ สมัยนั้นแล ปราสาทชื่อโกกนุทของพระราชกุมาร
พระนามว่าโพธิ สร้างเสร็จแล้วใหม่ ๆ สมณะ พราหมณ์ หรือมนุษย์คนใดคนหนึ่ง
ยังไม่ได้เข้าไปอยู่อาศัย ต่อมา โพธิราชกุมารรับสั่งเรียกมาณพชื่อสัญชิกาบุตรมา
ตรัสว่า
“มาเถิด สัญชิกาบุตรเพื่อนรัก ท่านจงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
กราบพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า แล้วทูลถามถึงพระสุขภาพ
ความมีพระโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพระพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ
ตามคำของเราว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โพธิราชกุมาร ขอกราบพระยุคลบาทของ
พระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า ทูลถามถึงพระสุขภาพ ความมีพระโรคาพาธน้อย
กระปรี้กระเปร่า มีพระพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ’ และจงกราบทูลอย่างนี้ว่า
‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคพร้อมทั้งภิกษุสงฆ์โปรดรับนิมนต์ฉัน
ภัตตาหารของโพธิราชกุมารในวันพรุ่งนี้ด้วยเถิด”
มาณพสัญชิกาบุตรทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่
สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ โพธิราชกุมารขอกราบพระยุคลบาทของพระโคดม
ผู้เจริญ ด้วยเศียรเกล้า ทูลถามถึงพระสุขภาพ ความมีพระโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า
มีพระพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ และกราบทูลอย่างนี้ว่า ‘ขอพระโคดมผู้เจริญ
พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ทรงรับนิมนต์ฉันภัตตาหารของโพธิราชกุมารในวันพรุ่งนี้ด้วยเถิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร

พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ เวลานั้น มาณพสัญชิกาบุตร
ทราบอาการที่พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์แล้ว จึงลุกจากที่นั่งเข้าไปเฝ้าโพธิราชกุมาร
ถึงที่ประทับแล้วกราบทูลว่า
“ข้าพระองค์ได้กราบทูลพระโคดมผู้เจริญพระองค์นั้นตามรับสั่งของพระองค์ว่า
‘ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ โพธิราชกุมารขอกราบพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาค
ด้วยเศียรเกล้า ทูลถามถึงพระสุขภาพ ความมีพระโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า
มีพระพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ’ และกราบทูลอย่างนี้ว่า ‘ขอพระโคดมผู้เจริญ
พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ทรงรับนิมนต์ฉันภัตตาหารของโพธิราชกุมารในวันพรุ่งนี้ด้วยเถิด’
และพระสมณโคดมทรงรับนิมนต์แล้ว พระเจ้าข้า”

พระพุทธเจ้าไม่ทรงเหยียบผ้าขาว

[๓๒๕] ครั้งนั้น เมื่อล่วงราตรีนั้นไป โพธิราชกุมารรับสั่งให้จัดเตรียมของ
เคี้ยวของฉันอันประณีตไว้ในพระนิเวศน์ของพระองค์ และรับสั่งให้ปูลาดโกกนุทปราสาท
ด้วยผ้าขาวถึงบันไดขั้นล่างสุด รับสั่งเรียกมาณพสัญชิกาบุตรมาตรัสว่า
“มาเถิด สัญชิกาบุตรเพื่อนรัก ท่านจงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
แล้วกราบทูลภัตตกาลว่า ‘ได้เวลาแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ภัตตาหารสำเร็จแล้ว”
มาณพสัญชิกาบุตรทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ กราบทูลภัตตกาลว่า ‘ได้เวลาแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ภัตตาหารสำเร็จแล้ว”
ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเสด็จ
เข้าไปยังพระราชนิเวศน์ของโพธิราชกุมาร ขณะนั้น โพธิราชกุมารทรงยืนคอย
รับเสด็จพระผู้มีพระภาคอยู่ที่นอกซุ้มประตู ได้ทรงเห็นพระผู้มีพระภาคกำลังเสด็จมา
แต่ไกล จึงเสด็จออกไปต้อนรับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วเสด็จนำหน้าเข้าไป
จนถึงโกกนุทปราสาท ครั้นถึงบันไดขั้นล่างสุด พระผู้มีพระภาคทรงหยุด โพธิราชกุมาร
จึงกราบทูลว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคทรงเหยียบผ้าขาวเสด็จเข้าไปเถิด
ขอพระสุคตทรงเหยียบผ้าขาวเสด็จเข้าไปเถิด ข้อนี้จะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อสุข แก่หม่อมฉันตลอดกาลนาน พระพุทธเจ้าข้า”
เมื่อโพธิราชกุมารกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคก็ทรงนิ่ง
แม้ครั้งที่ ๒ โพธิราชกุมารก็กราบทูลว่า “ขอพระผู้มีพระภาคทรงเหยียบผ้าขาว
เสด็จเข้าไปเถิด ขอพระสุคตทรงเหยียบผ้าขาวเสด็จเข้าไปเถิด ข้อนี้จะพึงเป็นไปเพื่อ
ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุข แก่หม่อมฉันตลอดกาลนาน พระพุทธเจ้าข้า”
เมื่อโพธิราชกุมารกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคก็ทรงนิ่ง
แม้ครั้งที่ ๓ โพธิราชกุมารก็กราบทูลว่า “ขอพระผู้มีพระภาคทรงเหยียบผ้าขาว
เสด็จเข้าไปเถิด ขอพระสุคตทรงเหยียบผ้าขาวเสด็จเข้าไปเถิด ข้อนี้จะพึงเป็นไปเพื่อ
ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุข แก่หม่อมฉันตลอดกาลนาน พระพุทธเจ้าข้า”
[๓๒๖] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชำเลืองดูท่านพระอานนท์ จากนั้น
ท่านพระอานนท์ได้ทูลตอบโพธิราชกุมารว่า “พระราชกุมารจงเก็บผ้าขาวเสียเถิด
พระผู้มีพระภาคไม่ทรงเหยียบผ้าขาว พระตถาคตทรงเห็นแก่ประชุมชนผู้เกิดใน
ภายหลัง”
โพธิราชกุมารรับสั่งให้เก็บผ้าขาวแล้วรับสั่งให้ปูอาสนะที่โกกนุทปราสาทชั้นบน
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จขึ้นโกกนุทปราสาท แล้วประทับนั่งบนพุทธอาสน์
ที่ปูลาดไว้แล้วพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ โพธิราชกุมารทรงอังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้า
เป็นประมุข ถวายของเคี้ยวของฉันอันประณีตจนอิ่มหนำด้วยพระองค์เอง ทรงทราบ
ว่าพระผู้มีพระภาคเสวยเสร็จละพระหัตถ์จากบาตรแล้ว จึงเลือกประทับนั่งอาสนะที่
สมควร ที่ใดที่หนี่งซึ่งต่ำกว่า แล้วได้กราบทูลว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันมีความเห็นอย่างนี้ว่า ‘บุคคลจะไม่ประสบ
ความสุขด้วยความสุข แต่บุคคลจะประสบความสุขด้วยความทุกข์เท่านั้น”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร

พุทธประวัติตอนบำเพ็ญสมาบัติ
ในสำนักอาฬารดาบส๑

[๓๒๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ราชกุมาร ก่อนการตรัสรู้ แม้อาตมภาพ
ยังเป็นโพธิสัตว์ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘บุคคลจะไม่ประสบความสุข
ด้วยความสุข แต่บุคคลจะประสบความสุขได้ด้วยความทุกข์เท่านั้น’ ในกาลต่อมา
อาตมภาพยังหนุ่มแน่น แข็งแรง มีเกศาดำสนิท อยู่ในปฐมวัย เมื่อพระราชมารดา
และพระราชบิดาไม่ทรงปรารถนาจะให้ผนวช มีพระพักตร์นองด้วยน้ำพระเนตร
ทรงกันแสงอยู่ จึงโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากวังบวชเป็น
บรรพชิต เมื่อบวชแล้วก็แสวงหาว่าอะไรเป็นกุศล ขณะที่แสวงหาทางอันประเสริฐคือ
ความสงบซึ่งไม่มีทางอื่นยิ่งกว่า ได้เข้าไปหาอาฬารดาบส กาลามโคตร แล้วกล่าวว่า
‘ท่านกาลามะ ข้าพเจ้าปรารถนาจะประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้’
เมื่ออาตมภาพกล่าวอย่างนี้ อาฬารดาบส กาลามโคตรจึงกล่าวกับอาตมภาพว่า
‘เชิญท่านอยู่ก่อน ธรรมนี้ก็เป็นเช่นเดียวกับธรรมที่วิญญูชนจะพึงทำให้แจ้งด้วย
ปัญญาอันยิ่งเอง ตามแบบอาจารย์ของตน เข้าถึงอยู่ได้ในเวลาไม่นาน’ จากนั้น
ไม่นาน อาตมภาพก็เรียนรู้ธรรมนั้นได้อย่างรวดเร็ว ชั่วขณะปิดปากจบเจรจาปราศรัย
เท่านั้น ก็กล่าวญาณวาทะ๑และเถรวาทะ๒ได้ ทั้งอาตมภาพและผู้อื่นก็ทราบชัดว่า
‘เรารู้ เราเห็น’ อาตมภาพจึงคิดว่า ‘อาฬารดาบส กาลามโคตรประกาศธรรมนี้
ด้วยเหตุเพียงความเชื่ออย่างเดียวว่า ‘เราทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่’
ก็หามิได้ แต่อาฬารดาบส กาลามโคตร ยังรู้ ยังเห็นธรรมนี้ด้วยอย่างแน่นอน’
จากนั้น อาตมภาพจึงเข้าไปหาอาฬารดาบส กาลามโคตรแล้วถามว่า ‘ท่าน
กาลามะ ท่านประกาศธรรมนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่’
ด้วยเหตุเพียงเท่าไร’


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร

เมื่ออาตมภาพถามอย่างนี้ อาฬารดาบส กาลามโคตรจึงประกาศอากิญ-
จัญญายตนสมาบัติแก่อาตมภาพ อาตมภาพจึงคิดว่า ‘มิใช่แต่อาฬารดาบส
กาลามโคตรเท่านั้นที่มีศรัทธา แม้เราก็มีศรัทธา ... มีวิริยะ ... มีสติ ... มีสมาธิ ...
มิใช่แต่อาฬารดาบส กาลามโคตรเท่านั้นที่มีปัญญา แม้เราก็มีปัญญา ทางที่ดี
เราควรบำเพ็ญเพียรเพื่อทำให้แจ้งธรรมที่อาฬารดาบส กาลามโคตรประกาศว่า
‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่’ จากนั้นไม่นาน อาตมภาพก็ทำให้
แจ้งธรรมนั้นด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่
จากนั้น อาตมภาพจึงเข้าไปหาอาฬารดาบส กาลามโคตรแล้วถามว่า ‘ท่าน
กาลามะ ท่านประกาศว่า ‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งธรรมนี้ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่’
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้หรือ’
อาฬารดาบส กาลามโคตรตอบว่า ‘ท่านผู้มีอายุ เราประกาศว่า ‘ข้าพเจ้า
ทำให้แจ้งธรรมนี้ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่’ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล’
(อาตมภาพจึงกล่าวว่า) ‘ท่านกาลามะ แม้ข้าพเจ้าก็ทำให้แจ้งธรรมนี้ด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่’ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้’
(อาฬารดาบส กาลามโคตรกล่าวว่า) ‘ท่านผู้มีอายุ เป็นลาภของพวกข้าพเจ้า
พวกข้าพเจ้าได้ดีแล้วที่ได้พบเพื่อนพรหมจารีเช่นท่าน เพราะข้าพเจ้าประกาศว่า
‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งธรรมใดด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ ท่านก็ทำให้แจ้งธรรมนั้น
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ ท่านทำให้แจ้งธรรมใด ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่
ข้าพเจ้าก็ประกาศว่า ‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งธรรมนั้นด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่
ข้าพเจ้าทราบธรรมใด ท่านก็ทราบธรรมนั้น ท่านทราบธรรมใด ข้าพเจ้าก็ทราบ
ธรรมนั้น เป็นอันว่าข้าพเจ้าเป็นเช่นใด ท่านก็เป็นเช่นนั้น ท่านเป็นเช่นใด ข้าพเจ้า
ก็เป็นเช่นนั้น มาเถิด บัดนี้ เราทั้งสองจะอยู่ร่วมกันบริหารคณะนี้’
ราชกุมาร อาฬารดาบส กาลามโคตรทั้งที่เป็นอาจารย์ของอาตมภาพ ก็ยกย่อง
อาตมภาพผู้เป็นศิษย์ให้เสมอกับตน และบูชาอาตมภาพด้วยการบูชาอย่างดี ด้วย
ประการอย่างนี้ แต่อาตมภาพคิดว่า ‘ธรรมนี้ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อ
คลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ และเพื่อนิพพาน เป็นไป
เพียงเพื่อเข้าถึงอากิญจัญญายตนสมาบัติเท่านั้น’ อาตภาพไม่พอใจ เบื่อหน่ายธรรมนั้น
จึงลาจากไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร

ในสำนักอุทกดาบส

[๓๒๘] ราชกุมาร อาตมภาพนั้นแสวงหาว่าอะไรเป็นกุศล ขณะที่แสวงหา
ทางอันประเสริฐคือความสงบซึ่งไม่มีทางอื่นยิ่งกว่า ได้เข้าไปหาอุทกดาบส รามบุตร
แล้วกล่าวว่า ‘ท่านรามะ ข้าพเจ้าปรารถนาจะประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้’
เมื่ออาตมภาพกล่าวอย่างนี้ อุทกดาบส รามบุตรจึงกล่าวกับอาตมภาพว่า
‘เชิญท่านอยู่ก่อน ธรรมนี้ก็เป็นเช่นเดียวกับธรรมที่วิญญูชนจะพึงทำให้แจ้งด้วย
ปัญญาอันยิ่งเอง ตามแบบอาจารย์ของตนเข้าถึงอยู่ได้ในเวลาไม่นาน’ จากนั้นไม่นาน
อาตมภาพก็เรียนรู้ธรรมนั้นได้อย่างรวดเร็ว ชั่วขณะปิดปากจบเจรจาปราศรัยเท่านั้น
ก็กล่าวญาณวาทะและเถรวาทะได้ ทั้งอาตมภาพและผู้อื่นก็ทราบชัดว่า ‘เรารู้
เราเห็น’ อาตมภาพจึงคิดว่า ‘อุทกดาบส รามบุตรประกาศธรรมนี้ด้วยเหตุเพียง
ความเชื่ออย่างเดียวว่า ‘เราทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่’ ก็หามิได้ แต่
อุทกดาบส รามบุตรยังรู้ยังเห็นธรรมนี้ด้วยอย่างแน่นอน’
จากนั้น อาตมภาพจึงเข้าไปหาอุทกดาบส รามบุตรแล้วถามว่า ‘ท่านรามะ
ท่านประกาศว่า ‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งธรรมนี้ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่’ ด้วยเหตุ
เพียงเท่าไร’
เมื่ออาตมภาพถามอย่างนี้ อุทกดาบส รามบุตรจึงประกาศเนวสัญญานา-
สัญญายตนสมาบัติแก่อาตมภาพ อาตมภาพจึงคิดว่า ‘มิใช่แต่อุทกดาบส รามบุตร
เท่านั้นที่มีศรัทธา แม้เราก็มีศรัทธา ... มีวิริยะ ... มีสติ ... มีสมาธิ ... มิใช่แต่
อุทกดาบส รามบุตรเท่านั้นที่มีปัญญา แม้เราก็มีปัญญา ทางที่ดี เราควรเริ่มบำเพ็ญ
เพียรเพื่อทำให้แจ้งธรรมที่อุทกดาบส รามบุตรประกาศว่า ‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่’ จากนั้นไม่นาน อาตมภาพก็ได้ทำให้แจ้งธรรมนั้นด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่
จากนั้น อาตมภาพจึงเข้าไปหาอุทกดาบส รามบุตรแล้วถามว่า ‘ท่านรามะ
ท่านประกาศว่า ‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งธรรมนี้ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่’ ด้วยเหตุ
เพียงเท่านี้หรือ’
อุทกดาบส รามบุตรตอบว่า ‘ท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าประกาศว่า ‘ข้าพเจ้าทำให้
แจ้งธรรมนี้ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่’ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร

(อาตมภาพจึงกล่าวว่า) ‘แม้ข้าพเจ้าก็ทำให้แจ้งธรรมนี้ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
เข้าถึงอยู่’ ด้วยเหตุเพียงเท่าน’
(อุทกดาบส รามบุตรกล่าวว่า) ‘ท่านผู้มีอายุ เป็นลาภของพวกข้าพเจ้า พวก
ข้าพเจ้าได้ดีแล้วที่ได้พบเพื่อนพรหมจารีเช่นท่าน เพราะ(ข้าพเจ้า)รามะประกาศว่า
‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งธรรมใดด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ ท่านก็ทำให้แจ้งธรรมนั้น
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ ท่านทำให้แจ้งธรรมใดด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่
รามะก็ประกาศว่า ‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งธรรมนั้นด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่’ รามะทราบ
ธรรมใด ท่านก็ทราบธรรมนั้น ท่านทราบธรรมใด รามะก็ทราบธรรมนั้น เป็นอันว่า
รามะเป็นเช่นใด ท่านก็เป็นเช่นนั้น ท่านเป็นเช่นใด รามะก็เป็นเช่นนั้น มาเถิด บัดนี้
ท่านจงบริหารคณะนี้'
ราชกุมาร อุทกดาบส รามบุตรทั้งที่เป็นเพื่อนพรหมจารีของอาตมภาพ ก็ยัง
ยกย่องอาตมภาพไว้ในฐานะอาจารย์ และบูชาอาตมภาพด้วยการบูชาอย่างดี ด้วย
ประการอย่างนี้ แต่อาตมภาพคิดว่า ‘ธรรมนี้ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลาย
กำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ และเพื่อนิพพาน เป็นไปเพียง
เพื่อเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติเท่านั้น’ อาตมภาพไม่พอใจ เบื่อหน่าย
ธรรมนั้น จึงลาจากไป

ทรงบำเพ็ญเพียร

[๓๒๙] ราชกุมาร อาตมภาพนั้นแสวงหาว่าอะไรเป็นกุศล ขณะที่แสวงหา
ทางอันประเสริฐคือความสงบซึ่งไม่มีทางอื่นยิ่งกว่า เมื่อเที่ยวจาริกไปในแคว้นมคธ
โดยลำดับ ได้ไปถึงตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ได้เห็นภูมิประเทศที่น่ารื่นรมย์ มีราวป่า
น่าเพลิดเพลินใจ มีแม่น้ำไหลรินไม่ขาดสาย มีท่าน้ำสะอาดดี น่ารื่นรมย์ มีโคจรคาม
อยู่โดยรอบ อาตมภาพจึงคิดว่า ‘ภูมิประเทศเป็นที่น่ารื่นรมย์ มีราวป่าน่าเพลิดเพลินใจ
มีแม่น้ำไหลรินไม่ขาดสาย มีท่าน้ำสะอาดดี น่ารื่นรมย์ มีโคจรคามอยู่โดยรอบ
เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียรของกุลบุตรผู้ปรารถนาจะบำเพ็ญเพียร’ อาตมภาพจึงนั่ง
ณ ที่นั้นด้วยคิดว่า ‘ที่นี้เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียร’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร

อุปมา ๓ ข้อ

ราชกุมาร ครั้งนั้น อุปมา ๓ ข้อ อันน่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง ซึ่งอาตมภาพยังไม่เคย
ได้ยินมาก่อน ได้ปรากฏแก่อาตมภาพ คือ
๑. เปรียบเหมือนไม้สดมียางที่แช่อยู่ในน้ำ บุรุษนำไม้นั้นมาทำไม้สีไฟ
ด้วยหวังว่า ‘เราจักก่อไฟให้เกิดความร้อนขึ้น’
ราชกุมาร พระองค์เข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษนั้นนำไม้สดที่มี
ยางซึ่งแช่อยู่ในน้ำมาทำไม้สีไฟแล้วสีให้เป็นไฟเกิดความร้อนขึ้นได้ไหม”
“ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะไม้สดนั้นมียาง ทั้งยังแช่อยู่ในน้ำ บุรุษนั้นก็มีแต่
ความเหน็ดเหนื่อยลำบากเปล่า”
“ราชกุมาร อย่างนั้นเหมือนกัน สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
มีกายและจิตยังไม่หลีกออกจากกาม ยังมีความพอใจ ความรักใคร่ ความหลง
ความกระหาย และความกระวนกระวายในกามทั้งหลาย ยังมิได้ละและมิได้ระงับ
อย่างเบ็ดเสร็จในภายใน สมณะหรือพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้นแม้เสวยทุกขเวทนา
ที่กล้าแข็ง หยาบ เผ็ดร้อน ซึ่งเกิดขึ้นเพราะความเพียร ก็เป็นผู้ไม่ควรแก่การรู้
การเห็น และการตรัสรู้อันยอดเยี่ยม แม้ไม่ได้เสวยทุกขเวทนาที่กล้าแข็ง หยาบ
เผ็ดร้อน ซึ่งเกิดขึ้นเพราะความเพียร ก็เป็นผู้ไม่ควรแก่การรู้ การเห็น และการ
ตรัสรู้อันยอดเยี่ยม
นี้เป็นอุปมาข้อที่ ๑ อันน่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง ซึ่งอาตมภาพยังไม่เคยได้ยิน
มาก่อน ได้ปรากฏแก่เรา
[๓๓๐] ๒. เปรียบเหมือนไม้สดมียางที่วางอยู่บนบกห่างจากน้ำ บุรุษนำไม้นั้น
มาทำไม้สีไฟด้วยหวังว่า ‘เราจักก่อไฟให้เกิดความร้อนขึ้น’
ราชกุมาร พระองค์เข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษนั้นนำไม้สดที่มียาง
ซึ่งวางอยู่บนบกห่างจากน้ำมาทำเป็นไม้สีไฟ แล้วสีให้เป็นไฟเกิดความร้อนขึ้นได้ไหม”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร

“ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะไม้ยังสดและมียาง แม้จะวางอยู่บนบกห่าง
จากน้ำ บุรุษนั้นก็มีแต่ความเหน็ดเหนื่อยลำบากเปล่า”
“ราชกุมาร อย่างนั้นเหมือนกัน สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
แม้มีกายและจิตหลีกออกจากกามแล้ว แต่ยังมีความพอใจ ความรักใคร่ ความหลง
ความกระหาย และความกระวนกระวายในกามทั้งหลาย ยังมิได้ละและมิได้ระงับ
อย่างเบ็ดเสร็จในภายใน สมณะหรือพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้นแม้เสวยทุกขเวทนา
ที่กล้าแข็ง หยาบ เผ็ดร้อน ซึ่งเกิดขึ้นเพราะความเพียร ก็เป็นผู้ไม่ควรแก่การรู้
การเห็น และการตรัสรู้อันยอดเยี่ยม แม้ไม่ได้เสวยทุกขเวทนาที่กล้าแข็ง หยาบ
เผ็ดร้อน ซึ่งเกิดขึ้นเพราะความเพียร ก็เป็นผู้ไม่ควรแก่การรู้ การเห็น และการ
ตรัสรู้อันยอดเยี่ยม
นี้เป็นอุปมาข้อที่ ๒ อันน่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง ซึ่งอาตมภาพยังไม่เคยได้ยิน
มาก่อน ได้ปรากฏแก่อาตมภาพ
[๓๓๑] ๓. เปรียบเหมือนไม้ที่แห้งสนิทซึ่งวางอยู่บนบกห่างจากน้ำ บุรุษนำมา
ทำเป็นไม้สีไฟด้วยหวังว่า ‘เราจักก่อไฟให้เกิดความร้อนขึ้น’
ราชกุมาร พระองค์เข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษนั้นนำไม้ที่แห้งสนิท
ซึ่งวางอยู่บนบกห่างจากน้ำมาทำเป็นไม้สีไฟ แล้วสีให้เป็นไฟเกิดความร้อนขึ้นได้ไหม”
“ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะไม้แห้งสนิท ทั้งวางอยู่บนบกห่างจากน้ำ”
“ราชกุมาร อย่างนั้นเหมือนกัน สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งมีกาย
และจิตหลีกออกจากกามแล้ว ทั้งละและระงับความพอใจ ความรักใคร่ ความหลง
ความกระหาย และความกระวนกระวายในกามทั้งหลายได้อย่างเบ็ดเสร็จในภายในแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร

สมณะหรือพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น แม้เสวยทุกขเวทนาที่กล้าแข็ง หยาบ เผ็ดร้อน
ซึ่งเกิดขึ้นเพราะความเพียร ก็เป็นผู้ควรแก่การรู้ การเห็น และการตรัสรู้อัน
ยอดเยี่ยม แม้ไม่ได้เสวยทุกขเวทนาที่กล้าแข็ง หยาบ เผ็ดร้อน ซึ่งเกิดขึ้นเพราะ
ความเพียร ก็เป็นผู้ควรแก่การรู้ การเห็น และการตรัสรู้อันยอดเยี่ยม
นี้เป็นอุปมาข้อที่ ๓ อันน่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง ซึ่งอาตมภาพยังไม่เคยได้ยินมาก่อน
ได้ปรากฏแก่อาตมภาพ
ราชกุมาร นี้คืออุปมา ๓ ข้ออันน่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง ซึ่งอาตมภาพยังไม่เคยได้
ยินมาก่อน ได้ปรากฏแก่อาตมภาพ

ทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยา

[๓๓๒] ราชกุมาร อาตมภาพนั้นมีความดำริว่า ‘ทางที่ดี เราควรกดฟัน
ด้วยฟัน ใช้ลิ้นดันเพดานไว้แน่น ใช้จิตข่มคั้นจิต ทำจิตให้เร่าร้อน’ อาตมภาพนั้น
ก็กดฟันด้วยฟัน ใช้ลิ้นดันเพดานไว้แน่น ใช้จิตข่มคั้นจิต ทำจิตให้เร่าร้อน เมื่อ
อาตมภาพทำดังนั้น เหงื่อก็ไหลออกจากรักแร้ทั้ง ๒ ข้าง คนที่แข็งแรงจับคนที่
อ่อนแอกว่าที่ศีรษะหรือที่คอ แล้วบีบคั้นรัดไว้ให้แน่น แม้ฉันใด อาตมภาพก็ฉันนั้น
เหมือนกัน เมื่อกดฟันด้วยฟัน ใช้ลิ้นดันเพดานไว้แน่น ใช้จิตข่มคั้นจิต ทำจิตให้
เร่าร้อน เหงื่อก็ไหลออกจากรักแร้ทั้ง ๒ ข้าง
อาตมภาพปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน มีสติตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน แต่เมื่อ
อาตมภาพถูกความเพียรที่ทนได้ยากนั้นเสียดแทงอยู่ กายของอาตมภาพก็กระวนกระวาย
ไม่สงบระงับ
[๓๓๓] ราชกุมาร อาตมภาพจึงมีความดำริว่า ‘ทางที่ดี เราควรบำเพ็ญฌาน
อันไม่มีลมปราณเถิด’ อาตมภาพก็กลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปาก
และทางจมูก เมื่ออาตมภาพกลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากและ
ทางจมูก ลมก็ออกทางหูทั้ง ๒ ข้าง มีเสียงดังอู้ ๆ ลมที่ช่างทองสูบอยู่มีเสียงดังอู้ ๆ
แม้ฉันใด เมื่ออาตมภาพกลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากและ
ทางจมูก ลมก็ออกทางหูทั้ง ๒ ข้าง มีเสียงดังอู้ ๆ ฉันนั้นเหมือนกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร

อาตมภาพปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน มีสติตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน แต่เมื่อ
อาตมภาพถูกความเพียรที่ทนได้ยากนั้นเสียดแทงอยู่ กายของอาตมภาพก็กระวน-
กระวาย ไม่สงบระงับ
อาตมภาพจึงมีความดำริว่า ‘ทางที่ดี เราควรบำเพ็ญฌานอันไม่มีลมปราณเถิด’
อาตมภาพก็กลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู
เมื่ออาตมภาพกลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากทางจมูกและทาง
ช่องหู ลมอันแรงกล้าก็เสียดแทงศีรษะ คนที่แข็งแรงใช้เหล็กที่แหลมคมแทงศีรษะ
แม้ฉันใด เมื่ออาตมภาพกลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากทางจมูก
และทางช่องหู ลมอันแรงกล้าก็เสียดแทงศีรษะ ฉันนั้นเหมือนกัน
อาตมภาพปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน มีสติตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน แต่เมื่อ
อาตมภาพถูกความเพียรที่ทนได้ยากนั้นเสียดแทงอยู่ กายของอาตมภาพก็กระวน-
กระวาย ไม่สงบระงับ
อาตมภาพจึงมีความดำริว่า ‘ทางที่ดี เราควรบำเพ็ญฌานอันไม่มีลมปราณเถิด’
อาตมภาพก็กลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู
เมื่ออาตมภาพกลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากทางจมูกและทาง
ช่องหู ก็มีทุกขเวทนาในศีรษะอย่างแรงกล้า คนที่แข็งแรงใช้เชือกหนังที่เหนียว
ขันศีรษะ แม้ฉันใด เมื่ออาตมภาพกลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปาก
ทางจมูกและทางช่องหู ก็มีทุกขเวทนาในศีรษะอย่างแรงกล้า ฉันนั้นเหมือนกัน
อาตมภาพปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน มีสติตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน แต่เมื่อ
อาตมภาพถูกความเพียรที่ทนได้ยากนั้นเสียดแทงอยู่ กายของอาตมภาพก็กระวน-
กระวาย ไม่สงบระงับ
อาตมภาพจึงมีความดำริว่า ‘ทางที่ดี เราควรบำเพ็ญฌานอันไม่มีลมปราณเถิด’
อาตมภาพก็กลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู
เมื่ออาตมภาพกลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากทางจมูกและทาง
ช่องหู ลมอันแรงกล้าก็บาดในช่องท้อง คนฆ่าโคหรือลูกมือของคนฆ่าโคผู้ชำนาญ
ใช้มีดแล่เนื้อที่คมกรีดท้อง แม้ฉันใด เมื่ออาตมภาพกลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก
ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู ก็มีลมอันแรงกล้าบาดในช่องท้อง ฉันนั้นเหมือนกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร

อาตมภาพปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน มีสติตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน แต่เมื่อ
อาตมภาพถูกความเพียรที่ทนได้ยากนั้นเสียดแทงอยู่ กายของอาตมภาพก็กระวน-
กระวาย ไม่สงบระงับ
อาตมภาพจึงมีความดำริว่า ‘ทางที่ดี เราควรบำเพ็ญฌานอันไม่มีลมปราณเถิด’
อาตมภาพก็กลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู
เมื่ออาตมภาพกลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากทางจมูกและทาง
ช่องหู ก็มีความกระวนกระวายในร่างกายอย่างแรงกล้า คนที่แข็งแรง ๒ คนจับแขน
คนที่อ่อนแอกว่าคนละข้างย่างให้ร้อนบนหลุมถ่านเพลิง แม้ฉันใด เมื่ออาตมภาพ
กลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู ก็มีความ
กระวนกระวายในร่างกายอย่างแรงกล้า ฉันนั้นเหมือนกัน
อาตมภาพปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน มีสติตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน แต่เมื่อ
อาตมภาพถูกความเพียรที่ทนได้ยากนั้นเสียดแทงอยู่ กายของอาตมภาพก็กระวน-
กระวาย ไม่สงบระงับ
เทวดาทั้งหลายเห็นอาตมภาพแล้วก็พากันกล่าวอย่างนี้ว่า ‘พระสมณโคดม
สิ้นพระชนม์แล้ว’ บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า ‘พระสมณโคดมยังมิได้สิ้นพระชนม์
แต่กำลังจะสิ้นพระชนม์’ บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า ‘พระสมณโคดมยังไม่สิ้นพระชนม์
ทั้งจะไม่สิ้นพระชนม์ พระสมณโคดมจะเป็นพระอรหันต์ การอยู่เช่นนี้นั้น เป็นวิหาร
ธรรม๑ของท่านผู้เป็นพระอรหันต์’
[๓๓๔] ราชกุมาร อาตมภาพจึงมีความดำริว่า ‘ทางที่ดี เราควรปฏิบัติ
ด้วยการอดอาหารทุกอย่าง’ ขณะนั้น เทวดาทั้งหลายเข้ามาหาอาตมภาพแล้ว
กล่าวว่า ‘ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านอย่าได้ปฏิบัติด้วยการอดอาหารทุกอย่าง
ถ้าท่านจักปฏิบัติด้วยการอดอาหารทุกอย่าง ข้าพเจ้าทั้งหลายจะแทรกโอชาอันเป็น
ทิพย์เข้าทางขุมขนของท่าน ท่านจะได้ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยโอชานั้น’ อาตมภาพ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร

จึงมีความดำริว่า ‘เราปฏิญญาว่า จะต้องอดอาหารทุกอย่าง แต่เทวดาเหล่านี้จะ
แทรกโอชาอันเป็นทิพย์เข้าทางขุมขนของเรา เราจะยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยโอชานั้น
การปฏิญญานั้นก็จะพึงเป็นมุสาแก่เรา’ อาตมภาพจึงกล่าวห้ามเทวดาเหล่านั้นว่า
‘อย่าเลย’
อาตมภาพมีความดำริว่า ‘ทางที่ดี เราควรกินอาหารให้น้อยลง ๆ เพียง
ครั้งละ ๑ ฟายมือบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดถั่วเขียวบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดถั่วพูบ้าง
เท่าเยื่อในเมล็ดถั่วดำบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดบัวบ้าง’ อาตมภาพจึงฉันอาหารน้อยลง ๆ
เพียงครั้งละ ๑ ฟายมือบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดถั่วเขียวบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดถั่วพูบ้าง
เท่าเยื่อในเมล็ดถั่วดำบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดบัวบ้าง เมื่ออาตมภาพฉันอาหารน้อยลง ๆ
เพียงครั้งละ ๑ ฟายมือบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดถั่วเขียวบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดถั่วพูบ้าง
เท่าเยื่อในเมล็ดถั่วดำบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดบัวบ้าง กายจึงซูบผอมมาก อวัยวะน้อยใหญ่
ของอาตมภาพจึงเป็นเหมือนเถาวัลย์ที่มีข้อมากหรือเถาวัลย์ที่มีข้อดำ เนื้อสะโพก
ก็ลีบเหมือนกีบเท้าอูฐ กระดูกสันหลังก็ผุดเป็นหนามเหมือนเถาวัลย์ ซี่โครงทั้ง ๒ ข้าง
ขึ้นสะพรั่ง เหมือนกลอนศาลาเก่า ดวงตาทั้ง ๒ ก็ลึกเข้าไปในเบ้าตา เหมือน
ดวงดาวปรากฏอยู่ในบ่อน้ำลึก หนังบนศีรษะก็เหี่ยวหดเหมือนลูกน้ำเต้าที่เขาตัดมา
ขณะยังดิบต้องลมและแดดเข้าก็เหี่ยวหดไป เพราะเป็นผู้มีอาหารน้อยนั้น อาตมภาพ
คิดว่า ‘จะลูบพื้นท้อง’ ก็จับถึงกระดูกสันหลัง คิดว่า ‘จะลูบกระดูกสันหลัง’ ก็จับถึง
พื้นท้อง เพราะพื้นท้องของอาตมภาพแนบติดจนถึงกระดูกสันหลัง อาตมภาพคิดว่า
‘จะถ่ายอุจจาระหรือถ่ายปัสสาวะ’ ก็ซวนเซล้มลง ณ ที่นั้น เมื่อจะให้กายสบายบ้าง
จึงใช้ฝ่ามือลูบตัว ขนทั้งหลายที่มีรากเน่าก็หลุดร่วงจากกาย เพราะเป็นผู้มีอาหารน้อย
มนุษย์ทั้งหลายเห็นอาตมภาพแล้ว ก็กล่าวอย่างนี้ว่า ‘พระสมณโคดมดำไป’ บางพวก
ก็กล่าวอย่างนี้ว่า ‘พระสมณโคดมไม่ดำเพียงแต่คล้ำไป’ บางพวกก็กล่าวอย่างนี้ว่า
‘ไม่ดำ ไม่คล้ำ เพียงแต่พร้อยไป’ เรามีผิวพรรณบริสุทธิ์ เปล่งปลั่ง เพียงแต่เสียผิวไป
เพราะเป็นผู้มีอาหารน้อยเท่านั้น
[๓๓๕] ราชกุมาร อาตมภาพนั้นมีความดำริว่า ‘สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด
เหล่าหนึ่งในอดีตเสวยทุกขเวทนากล้าแข็ง หยาบ เผ็ดร้อน ที่เกิดขึ้นเพราะความเพียร
ทุกขเวทนานั้น อย่างยิ่งก็เพียงเท่านี้ไม่เกินกว่านี้ไป สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร

เหล่าหนึ่งในอนาคตเสวยทุกขเวทนากล้าแข็ง หยาบ เผ็ดร้อน ที่เกิดขึ้นเพราะ
ความเพียร ทุกขเวทนานั้น อย่างยิ่งก็เพียงเท่านี้ไม่เกินกว่านี้ไป สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบัน เสวยทุกขเวทนากล้าแข็ง หยาบ เผ็ดร้อน
ที่เกิดขึ้นเพราะความเพียร ทุกขเวทนานั้น อย่างยิ่งก็เพียงเท่านี้ไม่เกินกว่านี้ไป
แต่เราก็ยังมิได้บรรลุญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ วิเศษยิ่งกว่าธรรมของ
มนุษย์ ด้วยทุกกรกิริยาอันเผ็ดร้อนนี้ จะพึงมีทางอื่นเพื่อการตรัสรู้บ้างไหม’
อาตมภาพจึงมีความดำริว่า ‘เราจำได้อยู่ เมื่อคราวงานของท้าวสักกาธิบดี
ซึ่งเป็นพระราชบิดา เรานั่งอยู่ใต้ต้นหว้าอันร่มเย็น ได้สงัดจากกามและอกุศลธรรม
ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ ทางนั้น
พึงเป็นทางแห่งการตรัสรู้หรือหนอ’ อาตมภาพมีความรู้แจ้งที่ตามระลึกด้วยสติว่า
‘ทางนั้นเป็นทางแห่งการตรัสรู้’ อาตมภาพจึงมีความดำริว่า ‘เรากลัวความสุขที่เว้น
จากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายหรือ’ อาตมภาพก็ดำริว่า ‘เราไม่กลัวความสุขที่เว้น
จากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายเลย’
ราชกุมาร อาตมภาพจึงมีความดำริต่อไปว่า ‘เราผู้มีกายซูบผอมมากอย่างนี้
จะบรรลุความสุขนั้นไม่ใช่ทำได้ง่ายเลย ทางที่ดี เราควรกินอาหารหยาบ คือข้าวสุก
และขนมกุมมาส’ อาตมภาพก็ฉันอาหารหยาบคือข้าวสุกและขนมกุมมาส ครั้งนั้น
ภิกษุปัญจวัคคีย์เฝ้าบำรุงอาตมภาพ ด้วยหวังว่า ‘พระสมณโคดมบรรลุธรรมใด
จักบอกธรรมนั้นแก่เราทั้งหลาย’ เมื่อใด อาตมภาพฉันอาหารหยาบ คือข้าวสุก
และขนมกุมมาส เมื่อนั้น ภิกษุปัญจวัคคีย์นั้น ก็เบื่อหน่าย จากไปด้วยเข้าใจว่า
‘พระสมณโคดมมักมาก คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมากเสียแล้ว’

ฌาน ๔ และวิชชา ๓

[๓๓๖] ราชกุมาร อาตมภาพฉันอาหารหยาบให้ร่างกายมีกำลัง สงัดจาก
กามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิด
จากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสในภายใน
มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่
เพราะปีติจางคลายไป มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะเสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร

ตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข’ เพราะ
ละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว บรรลุจตุตถฌาน ที่ไม่มี
ทุกข์ไม่มีสุขมีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่
เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ
เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ อาตมภาพนั้น
น้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง
๒ ชาติบ้าง ฯลฯ อาตมภาพระลึกชาติก่อนได้หลายชาติพร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและ
ชีวประวัติอย่างนี้ อาตมภาพได้บรรลุวิชชาที่ ๑ นี้ ในปฐมยามแห่งราตรี กำจัด
อวิชชาได้แล้ว วิชชาก็เกิดขึ้น กำจัดความมืดได้แล้ว ความสว่างก็เกิดขึ้น เหมือน
บุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่
เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ
เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ อาตมภาพนั้น
น้อมจิตไปเพื่อจุตูปปาตญาณ เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง
งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่
สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ฯลฯ อาตมภาพได้บรรลุวิชชาที่ ๒ นี้ในมัชฌิมยามแห่ง
ราตรี กำจัดอวิชชาได้แล้ว วิชชาก็เกิดขึ้น กำจัดความมืดได้แล้ว ความสว่าง
ก็เกิดขึ้น เหมือนบุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่
เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ
เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ อาตมภาพนั้น
น้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย
นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ
นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา’ เมื่ออาตมภาพรู้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตก็หลุดพ้นจาก
กามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’
รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร

ราชกุมาร อาตมภาพบรรลุวิชชาที่ ๓ นี้ในปัจฉิมยามแห่งราตรี กำจัดอวิชชา
ได้แล้ว วิชชาก็เกิดขึ้น กำจัดความมืดได้แล้ว ความสว่างก็เกิดขึ้น เหมือนบุคคลผู้
ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่

ทรงมีความขวนขวายน้อย

[๓๓๗] ราชกุมาร อาตมภาพนั้นได้มีความดำริว่า ‘ธรรม๑ที่เราได้บรรลุแล้วนี้
ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต ไม่เป็นวิสัยแห่งตรรกะ ละเอียด
บัณฑิต(เท่านั้น)จึงจะรู้ได้ ส่วนหมู่ประชาผู้รื่นรมย์ด้วยอาลัย ยินดีในอาลัย เพลิดเพลิน
ในอาลัย ฐานะที่หมู่สัตว์ผู้รื่นรมย์ด้วยอาลัย๒ ยินดีในอาลัย เพลิดเพลินในอาลัย
นี้ย่อมเป็นสิ่งที่เห็นได้ยาก กล่าวคือหลักอิทัปปัจจยตา(ความที่มีสิ่งนั้นสิ่งนี้เป็นปัจจัย
ของสิ่งนี้) หลักปฏิจจสมุปบาท(การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกัน ๆ จึงเกิดมี) ถึงแม้ฐานะ
อันนี้ก็เป็นสิ่งที่เห็นได้ยากนัก กล่าวคือความสงบแห่งสังขารทั้งปวง ความสลัดทิ้ง
อุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา วิราคะ นิโรธ นิพพาน ก็ถ้าเราจะพึงแสดงธรรม
และผู้อื่นจะไม่เข้าใจซึ้งต่อเรา ข้อนั้นก็จะพึงเป็นความเหน็ดเหนื่อยเปล่าแก่เรา จะพึง
เป็นความลำบากเปล่าแก่เรา’
อนึ่งเล่า คาถาอันน่าอัศจรรย์เหล่านี้ที่ไม่เคยสดับมาก่อน ได้ปรากฏแก่เราว่า
‘บัดนี้ เรายังไม่ควรประกาศธรรมที่เราบรรลุด้วยความลำบาก
เพราะธรรมนี้ไม่ใช่สิ่งที่ผู้ถูกราคะและโทสะครอบงำจะรู้ได้ง่าย
แต่เป็นสิ่งที่พาทวนกระแส๓ ละเอียด ลึกซึ้ง รู้เห็นได้ยาก ประณีต
ผู้กำหนัดด้วยราคะ ถูกกองโมหะหุ้มห่อไว้ จักรู้เห็นไม่ได้๔’
ราชกุมาร เมื่ออาตมภาพพิจารณาดังนี้ จิตก็น้อมไปเพื่อความขวนขวายน้อย
มิได้น้อมไป เพื่อแสดงธรรม


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร

สหัมบดีพรหมอาราธนาแสดงธรรม

[๓๓๘] ครั้งนั้น สหัมบดีพรหมทราบความดำริในใจของอาตมภาพด้วยใจ
(ของตน) จึงได้มีความรำพึงว่า
‘ท่านผู้เจริญ โลกจะฉิบหายหนอ โลกจะพินาศหนอ เพราะพระตถาคตอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้าทรงน้อมพระทัยไปเพื่อความขวนขวายน้อย มิได้น้อมพระทัยไป
เพื่อทรงแสดงธรรม’
ลำดับนั้น สหัมบดีพรหมอันตรธานจากพรหมโลกมาปรากฏ ณ เบื้องหน้า
อาตมภาพ เปรียบเหมือนคนที่แข็งแรงเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้า แล้วห่มอุตตราสงค์
เฉวียงบ่า ประนมมือมาทางทิศที่อาตมภาพอยู่ ได้กล่าวกับอาตมภาพว่า ‘ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคได้โปรดแสดงธรรม ขอพระสุคตเจ้าได้โปรดแสดงธรรม
เพราะสัตว์ทั้งหลายผู้มีธุลีในดวงตาน้อย๑มีอยู่ สัตว์เหล่านั้นจะเสื่อมเพราะไม่ได้สดับธรรม
สัตว์เหล่านั้นจักเป็นผู้รู้ทั่วถึงธรรม๒’
สหัมบดีพรหมได้ทูลอาราธนาดังนี้ แล้วได้ทูลเป็นคาถาประพันธ์ต่อไปว่า
‘ในกาลก่อน ธรรมที่ไม่บริสุทธิ์
อันคนที่มีมลทิน๓คิดค้นไว้ ปรากฏในแคว้นมคธ
พระองค์โปรดทรงเปิดประตูอมตธรรมนั้นเถิด
ขอสัตว์ทั้งหลายจงฟังธรรมที่พระสัมพุทธเจ้า
ผู้ปราศจากมลทิน ได้ตรัสรู้แล้วตามลำดับ
ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระปัญญาดี มีพระสมันตจักษุ
บุรุษผู้ยืนอยู่บนยอดเขาศิลาล้วน
พึงเห็นหมู่ชนได้โดยรอบ ฉันใด
พระองค์ผู้หมดความโศกแล้ว


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร

โปรดเสด็จขึ้นสู่ปราสาทคือธรรม
จักได้เห็นหมู่ชนผู้ตกอยู่ในความเศร้าโศก
และถูกชาติชราครอบงำได้ชัดเจน ฉันนั้น
ข้าแต่พระองค์ผู้มีความเพียร
ผู้ชนะสงคราม๑ ผู้นำหมู่๒ ผู้ไม่มีหนี้๓
ขอพระองค์โปรดลุกขึ้นเสด็จจาริกไปในโลก
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค
ขอพระองค์โปรดจงทรงแสดงธรรม
เพราะสัตว์ทั้งหลายจักเป็นผู้รู้ทั่วถึงธรรม๔

เวไนยสัตว์เปรียบด้วยดอกบัว๕

[๓๓๙] ราชกุมาร ครั้งนั้น อาตมภาพรับคำทูลอาราธนาของพรหม และ
เพราะอาศัยความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย จึงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ๖ เมื่อตรวจดู
โลกด้วยพุทธจักษุได้เห็นสัตว์ทั้งหลายผู้มีธุลีในดวงตา๗น้อย มีธุลีในดวงตามาก
มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการทราม สอนให้รู้ได้ง่าย สอนให้รู้
ได้ยาก บางพวกเห็นปรโลกและโทษว่าเป็นสิ่งน่ากลัว บางพวกเห็นปรโลกและโทษ
ว่าเป็นสิ่งไม่น่ากลัว


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร

ในกออุบล(บัวขาบ) ในกอปทุม(บัวหลวง) หรือในกอบุณฑริก(บัวขาว) ดอก
อุบล ดอกปทุม ดอกบุณฑริก บางดอกที่เกิดในน้ำ เจริญในน้ำ ยังไม่พ้นน้ำ จมอยู่
ใต้น้ำ และมีน้ำหล่อเลี้ยงไว้ ดอกอุบล ดอกปทุม ดอกบุณฑริก บางดอกที่เกิดในน้ำ
เจริญในน้ำ อยู่เสมอน้ำ ดอกอุบล ดอกปทุม ดอกบุณฑริก บางดอกที่เกิดในน้ำ
เจริญในน้ำ อยู่พ้นน้ำ ไม่แตะน้ำ แม้ฉันใด อาตมภาพเมื่อตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ
ได้เห็นสัตว์ทั้งหลายผู้มีธุลีในดวงตาน้อย มีธุลีในดวงตามาก มีอินทรีย์แก่กล้า
มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการทราม สอนให้รู้ได้ง่าย สอนให้รู้ได้ยาก บางพวก
เห็นปรโลกและโทษว่าเป็นสิ่งน่ากลัว บางพวกเห็นปรโลกและโทษว่าเป็นสิ่งไม่น่ากลัว๑
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ลำดับนั้น อาตมภาพได้กล่าวคาถาตอบท้าวสหัมบดีพรหมว่า
‘พรหม สัตว์เหล่าใดมีโสตประสาท
จงปล่อยศรัทธามาเถิด
เรามิได้ปิดประตูอมตธรรมสำหรับสัตว์เหล่านั้น
แต่เรารู้สึกว่าเป็นการยากลำบาก
จึงไม่คิดจะแสดงธรรมอันประณีต
ที่เราคล่องแคล่ว ในหมู่มนุษย์๒


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร

ทรงรำพึงถึงผู้ควรรับธรรมเทศนา

[๓๔๐] ราชกุมาร ครั้งนั้น สหัมบดีพรหมทราบว่า ‘พระผู้มีพระภาคได้
ทรงประทานโอกาสเพื่อจะแสดงธรรมแก่เราแล้ว’ จึงถวายอภิวาทอาตมภาพ กระทำ
ประทักษิณแล้วได้หายไปจากที่นั้น
ราชกุมาร อาตมภาพดำริว่า ‘เราควรแสดงธรรมแก่ใครก่อนหนอ ใครจักรู้
ธรรมนี้ได้ฉับพลัน’ แล้วดำริต่อไปว่า ‘อาฬารดาบส กาลามโคตรนี้ เป็นบัณฑิต
ฉลาดเฉียบแหลม มีปัญญา มีธุลีในดวงตาน้อยมานาน ทางที่ดี เราควรแสดงธรรม
แก่อาฬารดาบส กาลามโคตรก่อน เธอจักรู้ธรรมนี้ได้ฉับพลัน’
ครั้งนั้น เทวดาองค์หนึ่งเข้ามาหาอาตมภาพแล้วกล่าวว่า ‘ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ อาฬารดาบส กาลามโคตร ทำกาละได้ ๗ วันแล้ว’
อนึ่ง อาตมภาพก็ได้เกิดญาณทัสสนะขึ้นว่า ‘อาฬารดาบส กาลามโคตร
ทำกาละได้ ๗ วันแล้ว’ จึงดำริว่า ‘อาฬารดาบส กาลามโคตร เป็นผู้มีความ
เสื่อมจากคุณอันยิ่งใหญ่๑แล้วหนอ เพราะถ้าเธอได้ฟังธรรมนี้ ก็จะพึงรู้ได้ฉับพลัน’
อาตมภาพจึงดำริว่า ‘เราควรแสดงธรรมแก่ใครก่อนหนอ ใครจักรู้ทั่วถึงธรรม
นี้ได้ฉับพลัน’ จึงดำริต่อไปว่า ‘อุทกดาบส รามบุตรนี้ เป็นบัณฑิต ฉลาดเฉียบแหลม
มีปัญญา มีธุลีในดวงตาน้อยมานาน ทางที่ดี เราควรแสดงธรรมแก่อุทกดาบส
รามบุตรก่อน เธอจักรู้ธรรมนี้ได้ฉับพลัน’
ลำดับนั้น เทวดาองค์หนึ่งเข้ามาหาอาตมภาพแล้วกล่าวว่า ‘ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ อุทกดาบส รามบุตร ได้ทำกาละเมื่อวานนี้’
อนึ่ง อาตมภาพก็ได้เกิดญาณทัสสนะขึ้นว่า ‘อุทกดาบส รามบุตร ได้ทำกาละ
เมื่อวานนี้’ จึงดำริว่า ‘อุทกดาบส รามบุตร เป็นผู้มีความเสื่อมจากคุณอันยิ่งใหญ่
แล้วหนอ เพราะถ้าเธอได้ฟังธรรมนี้ ก็จะพึงรู้ได้ฉับพลัน’


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร

ทรงพบอุปกาชีวก

[๓๔๑] ราชกุมาร อาตมภาพจึงดำริว่า ‘เราควรแสดงธรรมแก่ใครก่อนหนอ
ใครจักรู้ธรรมนี้ได้ฉับพลัน’ จึงดำริว่า ‘ภิกษุปัญจวัคคีย์มีอุปการะแก่เรามาก ที่ได้เฝ้า
ปรนนิบัติเราผู้มุ่งบำเพ็ญเพียร ทางที่ดี เราควรแสดงธรรมแก่ภิกษุปัญจวัคคีย์ก่อน’
แล้วดำริต่อไปว่า ‘บัดนี้ ภิกษุปัญจวัคคีย์อยู่ที่ไหนหนอ’ ก็ได้เห็นภิกษุปัญจวัคคีย์อยู่
ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์
ราชกุมาร ครั้งนั้น อาตมภาพพักอยู่ที่ตำบลอุรุเวลาตามความต้องการแล้ว
จึงหลีกจาริกไปทางกรุงพาราณสี
ราชกุมาร อาชีวกชื่ออุปกะได้พบอาตมภาพผู้กำลังเดินทางไกล ณ ระหว่าง
แม่น้ำคยากับต้นโพธิพฤกษ์ ได้ถามเราว่า ‘อาวุโส อินทรีย์ของท่านผ่องใสยิ่งนัก
ผิวพรรณของท่านบริสุทธิ์ผุดผ่อง ท่านบวชอุทิศใคร ใครเป็นศาสดาของท่าน หรือ
ท่านชอบใจธรรมของใคร’
เมื่ออุปกาชีวกถามอย่างนี้แล้ว อาตมภาพจึงได้กล่าวคาถาตอบอุปกาชีวกว่า
‘เราเป็นผู้ครอบงำธรรมทั้งปวง๑ รู้ธรรมทั้งปวง๒
มิได้แปดเปื้อนในธรรมทั้งปวง๓ ละธรรมทั้งปวง๔ได้สิ้นเชิง
หลุดพ้นเพราะสิ้นตัณหา ตรัสรู้ยิ่งเอง
แล้วจะพึงกล่าวอ้างใครเล่า
เราไม่มีอาจารย์๕ เราไม่มีผู้เสมอเหมือน
เราไม่มีผู้ทัดเทียมในโลกกับทั้งเทวโลก


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร

เพราะเราเป็นอรหันต์ เป็นศาสดาผู้ยอดเยี่ยม
เราผู้เดียวเป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ
เป็นผู้เยือกเย็น ดับกิเลสในโลกได้แล้ว
เราจะไปเมืองหลวงของชาวกาสี ประกาศธรรมจักร
ตีกลองอมตธรรมไปในโลกอันมีความมืดมน๑’
อุปกาชีวกกล่าวว่า ‘อาวุโส ท่านสมควรเป็นพระอนันตชินะตามที่ท่านประกาศ’
อาตมภาพจึงกล่าวตอบว่า
‘ชนเหล่าใดได้ถึงความสิ้นอาสวะแล้ว
ชนเหล่านั้นย่อมเป็นพระชินะเช่นเรา
อุปกะ เราชนะความชั่วได้แล้ว
เพราะฉะนั้น เราจึงชื่อว่าพระชินะ๒’
เมื่ออาตมภาพกล่าวอย่างนั้นแล้ว อุปกาชีวกจึงกล่าวว่า ‘อาวุโส ควรจะเป็น
อย่างนั้น’ โคลงศีรษะแลบลิ้นแล้วเดินสวนทางหลีกไป

ทรงแสดงธรรมโปรดภิกษุปัญจวัคคีย์

[๓๔๒] ราชกุมาร ลำดับนั้น อาตมภาพจาริกไปโดยลำดับ ถึงป่าอิสิปตน-
มฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี ได้เข้าไปหาภิกษุปัญจวัคคีย์ถึงที่อยู่ ภิกษุปัญจวัคคีย์
เห็นอาตมภาพเดินมาแต่ไกล จึงนัดหมายกันและกันว่า ‘อาวุโส พระสมณโคดมนี้
เป็นผู้มักมาก คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นคนมักมาก กำลังเสด็จมา
พวกเราไม่พึงกราบไหว้ ไม่พึงลุกรับ ไม่พึงรับบาตรและจีวรของพระองค์ แต่จะจัด
อาสนะไว้ ถ้าพระองค์ปรารถนาก็จักประทับนั่ง’
อาตมภาพเข้าไปหาภิกษุปัญจวัคคีย์ ภิกษุปัญจวัคคีย์ก็ลืมข้อนัดหมายของตน
บางพวกต้อนรับอาตมภาพแล้วรับบาตรและจีวร บางพวกปูลาดอาสนะ บางพวกจัด
หาน้ำล้างเท้า แต่ภิกษุปัญจวัคคีย์เรียกอาตมภาพโดยออกนามและใช้คำว่า ‘อาวุโส’


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร

เมื่อภิกษุปัญจวัคคีย์กล่าวอย่างนั้นแล้ว อาตมภาพจึงห้ามภิกษุปัญจวัคคีย์ว่า
‘ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอย่าเรียกตถาคตโดยออกชื่อและใช้คำว่า ‘อาวุโส’
ตถาคตเป็นอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยตนเองโดยชอบ เธอทั้งหลายจงเงี่ยโสตสดับ เราจะ
สั่งสอนอมตธรรมที่เราได้บรรลุแล้ว จะแสดงธรรม เธอทั้งหลายเมื่อปฏิบัติตามที่เรา
สั่งสอน ไม่นานนักก็จักทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์
ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
เข้าถึงอยู่ในปัจจุบันแน่แท้’
เมื่ออาตมภาพกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุปัญจวัคคีย์ได้กล่าวกับอาตมภาพว่า
‘อาวุโสโคดม แม้ด้วยจริยานั้น ด้วยปฏิปทานั้น ด้วยทุกกรกิริยานั้น พระองค์ก็ยัง
มิได้บรรลุญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ วิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ บัดนี้
พระองค์เป็นผู้มักมาก คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นคนมักมาก ไฉนจัก
บรรลุญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ วิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ได้เล่า’
เมื่อภิกษุปัญจวัคคีย์กล่าวอย่างนั้นแล้ว อาตมภาพจึงได้กล่าวกับภิกษุปัญจ-
วัคคีย์ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตไม่ได้เป็นคนมักมาก ไม่ได้คลายความเพียร ไม่ได้
เวียนมาเพื่อความเป็นคนมักมาก ตถาคตเป็นอรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบ เธอทั้งหลาย
จงเงี่ยโสตสดับ เราจะสั่งสอนอมตธรรมที่เราได้บรรลุแล้ว จะแสดงธรรม เธอทั้งหลาย
เมื่อปฏิบัติตามที่เราสั่งสอน ไม่นานนักก็จักทำให้แจ้งประโยชน์ยอดยี่ยมอันเป็นที่สุด
แห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ
ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบันแน่แท้’
แม้ครั้งที่ ๒ ภิกษุปัญจวัคคีย์ก็ได้กล่าวกับอาตมภาพว่า ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๒ อาตมภาพก็ได้กล่าวกับภิกษุปัญจวัคคีย์ว่า ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ ภิกษุปัญจวัคคีย์ก็ได้กล่าวกับอาตมภาพว่า ‘อาวุโสโคดม แม้ด้วย
จริยานั้น ด้วยปฏิปทานั้น ด้วยทุกกรกิริยานั้น พระองค์ก็ยังมิได้บรรลุญาณทัสสนะ
ที่ประเสริฐอันสามารถ วิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ได้ บัดนี้ พระองค์เป็นผู้มักมาก
คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นคนมักมาก ไฉนจักบรรลุญาณทัสสนะ
ที่ประเสริฐอันสามารถ วิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ได้เล่า’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร

เมื่อภิกษุปัญจวัคคีย์กล่าวอย่างนี้แล้ว อาตมภาพได้กล่าวกับภิกษุปัญจวัคคีย์ว่า
‘ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายยังจำได้หรือไม่ว่า ถ้อยคำเช่นนี้เราได้เคยกล่าวในกาล
ก่อนแต่นี้’
ภิกษุปัญจวัคคีย์กล่าวว่า ‘ถ้อยคำเช่นนี้ไม่เคยได้ฟังมาก่อน พระพุทธเจ้าข้า’
อาตมภาพจึงกล่าวว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยตนเอง
โดยชอบ เธอทั้งหลายจงเงี่ยโสตสดับ เราจะสั่งสอนอมตธรรมที่เราบรรลุแล้ว
จะแสดงธรรม เธอทั้งหลายเมื่อปฏิบัติตามที่เราสั่งสอน ไม่นานนักก็จักทำให้แจ้ง
ซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวช
เป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบันแน่แท้’
อาตมภาพสามารถทำให้ภิกษุปัญจวัคคีย์ยินยอมได้แล้ว อาตมภาพกล่าวสอน
ภิกษุ ๒ รูป ภิกษุ ๓ รูปก็เที่ยวบิณฑบาต เราทั้ง ๖ ฉันบิณฑบาตที่ภิกษุ ๓ รูป
นำมา อาตมภาพกล่าวสอนภิกษุ ๓ รูป ภิกษุ ๒ รูปก็เที่ยวบิณฑบาต เราทั้ง ๖
ฉันบิณฑบาตที่ภิกษุ ๒ รูปนำมา๑

ทรงแก้ปัญหาของโพธิราชกุมาร

[๓๔๓] ครั้งนั้น ภิกษุปัญจวัคคีย์ที่อาตมภาพสั่งสอนและพร่ำสอนอยู่อย่างนี้
ไม่นานนักก็ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตร
ผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่
ในปัจจุบัน”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว โพธิราชกุมารได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อภิกษุได้พระตถาคตเป็นผู้แนะนำนานเพียงไรหนอ
จึงทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออก
จากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ใน
ปัจจุบัน”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ราชกุมาร ถ้าเช่นนั้น ในข้อนี้อาตมภาพขอย้อนถาม
พระองค์ก่อน พระองค์พึงตอบตามที่พอพระทัย พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้น
ว่าอย่างไร พระองค์เป็นผู้ฉลาดในศิลปะ คือ การทรงช้าง การใช้ขอช้าง มิใช่หรือ”
โพธิราชกุมารทูลว่า “ใช่ พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์เป็นผู้ฉลาดในศิลปะคือ
การทรงช้าง การใช้ขอช้าง”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ราชกุมาร พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่า
อย่างไร บุรุษมาในเมืองนี้ด้วยเข้าใจว่า ‘โพธิราชกุมารทรงรู้ศิลปะคือการทรงช้าง
การใช้ขอช้าง เราจักศึกษาศิลปะคือการขี่ช้าง การใช้ขอช้างในสำนักของโพธิราชกุมารนั้น’
แต่เขาไม่มีศรัทธา จึงไม่บรรลุผลเท่าที่บุคคลผู้มีศรัทธาจะพึงบรรลุ เขามีสุขภาพ
มีโรคาพาธมาก จึงไม่บรรลุผลเท่ากับคนที่มีสุขภาพมีโรคาพาธน้อยจะพึงบรรลุ
เขาเป็นคนโอ้อวด มีมารยา จึงไม่บรรลุผลเท่าที่บุคคลผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยาจะพึง
บรรลุ เขาเป็นผู้เกียจคร้าน จึงไม่บรรลุผลเท่าที่บุคคลผู้ปรารภความเพียรจะพึง
บรรลุ และเขาเป็นผู้มีปัญญาทรามจึงไม่บรรลุผลเท่าที่บุคคลผู้มีปัญญาจะพึงบรรลุ
ราชกุมาร พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษนั้นควรศึกษา
ศิลปะ คือการขี่ช้าง การใช้ขอช้างในสำนักของพระองค์บ้างไหม”
โพธิราชกุมารทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษนั้นแม้จะประกอบด้วยองค์
ประกอบแต่ละอย่าง ก็ไม่ควรศึกษาศิลปะ คือ การขี่ช้าง การใช้ขอช้างในสำนักของ
หม่อมฉัน ไม่จำต้องกล่าวถึงองค์ประกอบทั้ง ๕ ข้อ”
[๓๔๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ราชกุมาร พระองค์ทรงเข้าพระทัย
ความข้อนั้นว่าอย่างไร เปรียบเหมือนบุรุษมาเมืองนี้ด้วยเข้าใจว่า ‘โพธิราชกุมาร
ทรงรู้ศิลปะคือการทรงช้าง การใช้ขอช้าง เราจักศึกษาศิลปะคือการขี่ช้าง การใช้
ขอช้างในสำนักของโพธิราชกุมารนั้น’ เขาเป็นผู้มีศรัทธา จึงบรรลุผลเท่าที่บุคคล
ผู้มีศรัทธาจะพึงบรรลุ เขามีโรคาพาธน้อย จึงบรรลุผลเท่าที่คนผู้มีโรคาพาธน้อย
จะพึงบรรลุ เขาเป็นคนไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา จึงบรรลุผลเท่าที่บุคคลผู้ไม่โอ้อวด
ไม่มีมารยาจะพึงบรรลุ เขาเป็นผู้ปรารภความเพียร จึงบรรลุผลเท่าที่บุคคลผู้ปรารภ
ความเพียรจะพึงบรรลุ และเขาเป็นผู้มีปัญญาจึงบรรลุผลเท่าที่บุคคลผู้มีปัญญาจะพึง
บรรลุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร

ราชกุมาร พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษนั้นควรจะ
ศึกษาศิลปะคือการขี่ช้าง การใช้ขอช้างในสำนักของพระองค์บ้างไหม”
โพธิราชกุมารทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษนั้นแม้จะประกอบด้วยองค์
ประกอบแต่ละอย่างก็ควรศึกษาศิลปะคือการขี่ช้าง การใช้ขอช้างในสำนักของ
หม่อมฉันได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงองค์ประกอบทั้ง ๕ ข้อ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ราชกุมาร องค์ของภิกษุผู้มีความเพียร ๕ ประการนี้
ก็อย่างนั้นเหมือนกัน
องค์ของภิกษุผู้มีความเพียร ๕ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีศรัทธา๑ เชื่อปัญญาเครื่องตรัสรู้ของตถาคตว่า ‘แม้เพราะ
เหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วย
พระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี
รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของ
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’
๒. เป็นผู้มีสุขภาพ มีโรคาพาธน้อย ประกอบด้วยไฟธาตุสำหรับย่อย
อาหารสม่ำเสมอ ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก ปานกลางพอเหมาะแก่การ
บำเพ็ญเพียร
๓. เป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา เปิดเผยตนตามความเป็นจริงในศาสดา
หรือในเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลาย


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร

๔. เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อยังกุศลธรรมให้ถึง
พร้อม เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดทิ้งธุระในกุศล
ธรรมทั้งหลาย
๕. เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาที่เป็นอริยะ เห็นความเกิดและ
ความดับ สามารถชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
ราชกุมาร นี้แล คือองค์ของภิกษุผู้มีความเพียร ๕ ประการ
[๓๔๕] ราชกุมาร ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์แห่งความเพียร ๕ ประการนี้
เมื่อได้ตถาคตเป็นผู้แนะนำ จะพึงทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่ง
พรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบันได้ ใช้เวลาเพียง ๗ ปี
ราชกุมาร ไม่ต้องถึง ๗ ปี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์แห่งความเพียร ๕ ประการนี้
เมื่อได้ตถาคตเป็นผู้แนะนำ จะพึงทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่ง
พรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบันได้ ใช้เวลาเพียง ๖ ปี ฯลฯ ๕ ปีฯลฯ ๔ ปี ฯลฯ
๓ ปี ฯลฯ ๒ ปี ฯลฯ ๑ ปี
ราชกุมาร ไม่ต้องถึง ๑ ปี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์แห่งความเพียร ๕ ประการนี้
เมื่อได้ตถาคตเป็นผู้แนะนำ จะพึงทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่ง
พรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบันได้ ใช้เวลาเพียง ๗ เดือน
ราชกุมาร ไม่ต้องถึง ๗ เดือน ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์แห่งความเพียร ๕ ประการนี้
เมื่อได้ตถาคตเป็นผู้แนะนำ จะพึงทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่ง
พรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร

ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบันได้ ใช้เวลาเพียง ๖ เดือน ฯลฯ ๕ เดือน ฯลฯ
๔ เดือน ฯลฯ ๓ เดือน ฯลฯ ๒ เดือน ฯลฯ ๑ เดือน ฯลฯ กึ่งเดือน
ราชกุมาร ไม่ต้องถึงกึ่งเดือน ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์แห่งความเพียร ๕ ประการนี้
เมื่อได้ตถาคตเป็นผู้แนะนำ จะพึงทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่ง
พรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบันได้ ใช้เวลาเพียง ๗ คืน ๗ วัน
ราชกุมาร ไม่ต้องถึง ๗ คืน ๗ วัน ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์แห่งความเพียร
๕ ประการนี้ เมื่อได้ตถาคตเป็นผู้แนะนำ จะพึงทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยม
อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ
ต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบันได้ ใช้เวลาเพียง ๖ คืน ๖ วัน
ฯลฯ ๕ คืน ๕ วัน ฯลฯ ๔ คืน ๔ วัน ฯลฯ ๓ คืน ๓ วัน ฯลฯ ๒ คืน ๒ วัน ฯลฯ
๑ คืน ๑ วัน
ราชกุมาร ไม่ต้องถึง ๑ คืน ๑ วัน ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์แห่งความเพียร
๕ ประการนี้ เมื่อได้ตถาคตเป็นผู้แนะนำ มีตถาคตสั่งสอนในเวลาเย็น ก็จักบรรลุ
คุณวิเศษได้ในเวลาเช้า มีตถาคตสั่งสอนในเวลาเช้า ก็จักบรรลุคุณวิเศษได้ในเวลาเย็น๑”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว โพธิราชกุมารได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ว่า “พระพุทธเจ้ามีคุณน่าอัศจรรย์จริง พระธรรมมีคุณน่าอัศจรรย์จริง พระธรรมที่
พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้วน่าอัศจรรย์จริง เพราะภิกษุที่พระตถาคตทรงสั่งสอนใน
เวลาเย็น จักบรรลุคุณวิเศษในเวลาเช้า ภิกษุที่พระตถาคตทรงสั่งสอนในเวลาเช้า
จักบรรลุคุณวิเศษในเวลาเย็น”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร

โพธิราชกุมารถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตั้งแต่อยู่ในครรภ์

[๓๔๖] เมื่อโพธิราชกุมารตรัสอย่างนี้แล้ว มาณพสัญชิกาบุตรได้กราบทูล
โพธิราชกุมารว่า
“ท่านโพธิราชพระองค์นี้ทรงประกาศไว้ว่า ‘พระพุทธเจ้ามีคุณน่าอัศจรรย์จริง
พระธรรมมีคุณน่าอัศจรรย์จริง พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้วน่าอัศจรรย์จริง’
แต่พระองค์ไม่ทรงถึงพระโคดมผู้เจริญพระองค์นั้นพร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์
เป็นสรณะ”
โพธิราชกุมารตรัสว่า “สัญชิกาบุตรเพื่อนรัก ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนั้น
สัญชิกาบุตรเพื่อนรัก ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนั้น เรื่องนั้นเราได้ฟังมาแล้ว ได้รับมา
ต่อพระพักตร์ของพระราชมารดาของเราแล้ว คือ ครั้งหนึ่ง(ครั้งที่ ๑) พระผู้มีพระภาค
ประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี ขณะนั้น เสด็จแม่ของเรากำลังทรง
พระครรภ์ เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ทรงถวายอภิวาทพระผู้มี
พระภาคแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ‘ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ลูกคนที่อยู่ในครรภ์ของหม่อมฉันนี้จะเป็นชายก็ตาม เป็นหญิงก็ตาม
เขาย่อมถึงพระผู้มีพระภาคพร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอพระผู้มี
พระภาคจงทรงจำเขาว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต’
ครั้งหนึ่ง(ครั้งที่ ๒) พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ ณ เภสกฬาวัน สถานที่ให้อภัย
หมู่เนื้อ เขตกรุงสุงสุมารคิระ แคว้นภัคคะนี้ เวลานั้น แม่นมอุ้มเราใส่สะเอวพาเข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โพธิราชกุมารพระองค์นี้ ย่อมถึงพระผู้มี
พระภาค พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำ
โพธิราชกุมารนั้นว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต’
สัญชิกาบุตรเพื่อนรัก แม้ครั้งที่ ๓ เรานี้ย่อมถึงพระผู้มีพระภาคพร้อมทั้งพระ
ธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำหม่อมฉันว่าเป็นอุบาสก
ผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต” ดังนี้แล

โพธิราชกุมารสูตรที่ ๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๖. อังคุลิมาลสูตร

๖. อังคุลิมาลสูตร
ว่าด้วยโจรชื่อองคุลิมาล
พระพุทธเจ้าเสด็จโปรดโจรชื่อองคุลิมาล

[๓๔๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้นแล ในแคว้นของพระเจ้าปเสนทิโกศล มีโจรชื่อ
องคุลิมาล เป็นคนหยาบช้า มีฝ่ามือเปื้อนเลือด ชอบฆ่าคน ไม่มีความกรุณาในสัตว์
ทั้งหลาย โจรองคุลิมาลนั้น ก่อกวนชาวบ้านบ้าง ชาวนิคมบ้าง ชาวชนบทบ้าง
ให้เดือดร้อนไปทั่ว เขาเข่นฆ่ามนุษย์แล้วตัดเอานิ้วมือร้อยเป็นพวงมาลัยสวม(คอ)ไว้
ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไป
บิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี ทรงเที่ยวบิณฑบาตในกรุงสาวัตถีแล้ว เสด็จกลับจากบิณฑบาต
ภายหลังเสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว ทรงเก็บงำเสนาสนะ ถือบาตรและจีวรเสด็จไป
ตามทางที่โจรองคุลิมาลซุ่มอยู่ พวกคนเลี้ยงโค พวกคนเลี้ยงสัตว์ พวกชาวนา
ที่เดินมาพบพระผู้มีพระภาคผู้เสด็จไปตามทางที่โจรองคุลิมาลซุ่มอยู่ จึงกราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระสมณะ อย่าเสด็จไปทางนั้น ในทางนั้นมีโจรชื่อองคุลิมาล เป็นคน
หยาบช้า มีฝ่ามือเปื้อนเลือด ชอบฆ่าคน ไม่มีความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย โจร
องคุลิมาลนั้น ก่อกวนชาวบ้านบ้าง ชาวนิคมบ้าง ชาวชนบทบ้าง ให้เดือดร้อนไปทั่ว
เขาเข่นฆ่ามนุษย์แล้วตัดเอานิ้วมือร้อยเป็นพวงมาลัยสวมไว้
ข้าแต่พระสมณะ คนที่จะเดินทางนี้ต้องรวมพวกกันให้ได้ ๑๐ คนบ้าง ๒๐ คน
บ้าง ๓๐ คนบ้าง ๔๐ คนบ้าง ๕๐ คนบ้าง แม้กระนั้นก็ยังตกอยู่ในเงื้อมมือของโจร
องคุลิมาลจนได้”
เมื่อคนพวกนั้นกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคทรงนิ่งเฉย เสด็จต่อไป
แม้ครั้งที่ ๒ พวกคนเลี้ยงโค พวกคนเลี้ยงสัตว์ พวกชาวนาที่เดินมาก็ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๖. อังคุลิมาลสูตร

“ข้าแต่พระสมณะ อย่าเสด็จไปทางนั้น ในทางนั้นมีโจรชื่อองคุลิมาล เป็นคน
หยาบช้า มีฝ่ามือเปื้อนเลือด ชอบฆ่าคน ไม่มีความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย โจร
องคุลิมาลนั้น ก่อกวนชาวบ้านบ้าง ชาวนิคมบ้าง ชาวชนบทบ้างให้เดือดร้อนไปทั่ว
เขาเข่นฆ่ามนุษย์แล้วตัดเอานิ้วมือร้อยเป็นพวงมาลัยสวมไว้
ข้าแต่พระสมณะ คนที่จะเดินทางนี้ต้องรวมพวกกันให้ได้ ๑๐ คนบ้าง ๒๐ คน
บ้าง ๓๐ คนบ้าง ๔๐ คนบ้าง ๕๐ คนบ้าง แม้กระนั้นก็ยังตกอยู่ในเงื้อมมือของโจร
องคุลิมาลจนได้”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงนิ่งเฉย เสด็จต่อไป
แม้ครั้งที่ ๓ พวกคนเลี้ยงโค พวกคนเลี้ยงสัตว์ พวกชาวนาที่เดินมาก็ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระสมณะ อย่าเสด็จไปทางนั้น ในทางนั้นมีโจรชื่อองคุลิมาล เป็นคน
หยาบช้า มีฝ่ามือเปื้อนเลือด ชอบฆ่าคน ไม่มีความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย โจร
องคุลิมาลนั้น ก่อกวนชาวบ้านบ้าง ชาวนิคมบ้าง ชาวชนบทบ้าง ให้เดือดร้อนไปทั่ว
เขาเข่นฆ่ามนุษย์แล้วตัดเอานิ้วมือร้อยเป็นพวงมาลัยสวมไว้
ข้าแต่พระสมณะ คนที่จะเดินทางนี้ต้องรวมพวกกันให้ได้ ๑๐ คนบ้าง ๒๐ คน
บ้าง ๓๐ คนบ้าง ๔๐ คนบ้าง ๕๐ คนบ้าง แม้กระนั้นก็ยังตกอยู่ในเงื้อมมือของโจร
องคุลิมาลจนได้”
[๓๔๘] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงนิ่งเฉยเสด็จต่อไป โจรองคุลิมาลได้เห็น
พระผู้มีพระภาคเสด็จมาแต่ไกล ได้คิดว่า “น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ คนที่เดิน
มาทางนี้จะต้องรวมพวกกันให้ได้ ๑๐ คนบ้าง ๒๐ คนบ้าง ๓๐ คนบ้าง ๔๐ คนบ้าง
๕๐ คนบ้าง แม้กระนั้นก็ยังตกอยู่ในเงื้อมมือของเรา แต่ทำไม สมณะนี้เพียงรูปเดียว
ไม่มีเพื่อนสักคน ชะรอยจะมาข่มเรา ทางที่ดี เราพึงฆ่าสมณะรูปนี้เสีย”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๖. อังคุลิมาลสูตร

ลำดับนั้น โจรองคุลิมาลถือดาบและโล่ผูกสอดแล่งธนูไว้พร้อม ติดตามพระผู้มี
พระภาคไปทางเบื้องพระปฤษฎางค์ พระผู้มีพระภาคทรงบันดาลอิทธาภิสังขาร๑ โดยวิธี
ที่โจรองคุลิมาลจะวิ่งจนสุดกำลัง ก็ไม่สามารถจะตามทันพระผู้มีพระภาคผู้เสด็จไปตาม
ปกติได้ ครั้งนั้น โจรองคุลิมาลได้มีความคิดว่า
“น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ เมื่อก่อนแม้ช้างที่กำลังวิ่ง ม้าที่กำลังวิ่ง
รถที่กำลังแล่น เนื้อที่กำลังวิ่ง เราก็ยังวิ่งตามทันจับได้ แต่เราวิ่งจนสุดกำลังยังไม่ทัน
สมณะรูปนี้ซึ่งเดินตามปกติได้” จึงหยุดยืนกล่าวกับพระผู้มีพระภาคว่า “หยุดก่อน
สมณะ หยุดก่อนสมณะ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เราหยุดแล้ว องคุลิมาล ท่านต่างหากจงหยุด”
จากนั้น โจรองคุลิมาลคิดว่า “สมณะเหล่านี้เป็นศากยบุตรมักเป็นคนพูดจริง
มีปฏิญญาจริง แต่สมณะรูปนี้เดินไปอยู่แท้ ๆ กลับพูดว่า ‘เราหยุดแล้ว องคุลิมาล
ท่านต่างหากจงหยุด’ ทางที่ดี เราควรจะถามสมณะรูปนี้ดู”

องคุลิมาลละพยศ

[๓๔๙] ลำดับนั้น โจรองคุลิมาลได้ถามพระผู้มีพระภาค ด้วยคาถาว่า
“สมณะ ท่านกำลังเดินไป ยังกล่าวว่า
‘เราหยุดแล้ว ท่านต่างหากยังไม่หยุด’
กลับกล่าวหาข้าพเจ้าผู้หยุดแล้วว่ายังไม่หยุด
สมณะ ข้าพเจ้าขอถามเนื้อความนี้กับท่าน
ท่านหยุดอย่างไร ข้าพเจ้าไม่หยุดอย่างไร”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๖. อังคุลิมาลสูตร

พระผู้มีพระภาค ตรัสตอบว่า
“องคุลิมาล เราวางอาชญา
ในสรรพสัตว์ได้แล้ว
จึงชื่อว่าหยุดแล้วตลอดกาล
ส่วนท่านไม่สำรวมในสัตว์ทั้งหลาย
เพราะฉะนั้น เราจึงชื่อว่าหยุดแล้ว
ส่วนท่านสิชื่อว่ายังไม่หยุด”
โจรองคุลิมาลกล่าวว่า
“สมณะ นานจริงหนอ ท่านผู้ที่เทวดา
และมนุษย์บูชาแล้ว ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
เสด็จมาถึงป่าใหญ่เพื่ออนุเคราะห์ข้าพระองค์
ข้าพระองค์นั้นจักละการทำบาป
เพราะฟังคาถาอันประกอบด้วยธรรมของพระองค์”
โจรองคุลิมาลได้กล่าวอย่างนี้แล้ว
ทิ้งดาบและอาวุธลงในเหวลึก มีหน้าผาชัน
โจรองคุลิมาลได้ถวายอภิวาทพระบาททั้งสองของพระสุคต
แล้วทูลขอบรรพชากับพระสุคต ณ ที่นั้นเอง
พระพุทธเจ้าทรงประกอบด้วยพระกรุณาคุณ
ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ เป็นศาสดาของโลก
พร้อมทั้งเทวโลก
ได้ตรัสกับโจรองคุลิมาลในเวลานั้นว่า
“เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด”
นี้แลเป็นภิกษุภาวะของโจรองคุลิมาลนั้น๑


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๖. อังคุลิมาลสูตร

พระเจ้าปเสนทิโกศลเข้าเฝ้า

[๓๕๐] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคมีท่านพระองคุลิมาลเป็นปัจฉาสมณะ
เสด็จหลีกจาริกไปทางกรุงสาวัตถี ทรงเที่ยวจาริกไปโดยลำดับ เสด็จถึงกรุงสาวัตถีแล้ว
ได้ยินว่า ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น หมู่ชนจำนวนมากประชุมกันอยู่ที่ประตูพระราชวัง
ของพระเจ้าปเสนทิโกศล ส่งเสียงดังอื้ออึงว่า
“ข้าแต่สมมติเทพ ในแคว้นของพระองค์มีโจรชื่อองคุลิมาล เป็นคนหยาบช้า
มีฝ่ามือเปื้อนเลือด ชอบฆ่าคน ไม่มีความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย โจรองคุลิมาลนั้น
ก่อกวนชาวบ้านบ้าง ชาวนิคมบ้าง ชาวชนบทบ้างให้เดือดร้อนไปทั่ว เขาเข่นฆ่า
พวกมนุษย์แล้วตัดเอานิ้วมือร้อยเป็นพวงมาลัยสวมไว้ ขอสมมติเทพจงทรงกำจัดมัน
เสียเถิด”
ต่อมา พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จออกจากกรุงสาวัตถี ด้วยขบวนม้าประมาณ
๕๐๐ ตัว เสด็จเข้าไปทางพระอารามแต่ยังวันทีเดียว เสด็จไปจนสุดทางที่ยานพาหนะ
จะไปได้แล้วลงจากยาน เสด็จพระราชดำเนินด้วยพระบาทเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร
พระผู้มีพระภาคตรัสถามพระเจ้าปเสนทิโกศลว่า “มหาบพิตร เจ้าแผ่นดิน
มคธจอมเสนา ทรงพระนามว่าพิมพิสาร ทรงทำให้พระองค์ทรงขัดเคือง เจ้าลิจฉวี
เมืองเวสาลีหรือพระราชาผู้เป็นปฏิปักษ์เหล่าอื่นทรงทำให้พระองค์ขัดเคืองหรือ”
พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เจ้าแผ่นดินมคธ
จอมเสนา ทรงพระนามว่าพิมพิสาร มิได้ทรงทำให้หม่อมฉันขัดเคือง แม้เจ้าลิจฉวี
ผู้ครองกรุงเวสาลีก็มิได้ทรงทำให้หม่อมฉันขัดเคือง แม้พระราชาที่เป็นปฏิปักษ์เหล่าอื่น
ก็มิได้ทรงทำให้หม่อมฉันขัดเคืองเช่นกัน ในแคว้นของหม่อมฉัน มีโจรชื่อองคุลิมาล
เป็นคนหยาบช้า มีฝ่ามือเปื้อนเลือด ชอบฆ่าคน ไม่มีความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๖. อังคุลิมาลสูตร

โจรองคุลิมาลนั้นก่อกวนชาวบ้านบ้าง ชาวนิคมบ้าง ชาวชนบทบ้างให้เดือดร้อนไปทั่ว
เขาเข่นฆ่าพวกมนุษย์แล้วตัดเอานิ้วมือร้อยเป็นพวงมาลัยสวมไว้ หม่อมฉันจักไปกำจัด
มันเสีย”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มหาบพิตร ถ้าพระองค์จะพึงพบองคุลิมาลผู้โกนผม
และหนวดนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เว้นจากการ
ฆ่าสัตว์ เว้นจากการลักทรัพย์ เว้นจากการพูดเท็จ ฉันภัตตาหารมื้อเดียว เป็น
พรหมจารี มีศีล มีกัลยาณธรรม พระองค์สมควรจะจัดการกับเขาเช่นไร”
พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันควร
กราบไหว้ ลุกรับ นิมนต์ให้นั่ง หรือเจาะจงนิมนต์ท่านด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร๑ หรือควรจัดการอารักขาคุ้มครองป้องกัน ตามความ
เหมาะสม
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แต่โจรองคุลิมาลนั้น เป็นคนทุศีล มีบาปธรรม จักมีความ
สำรวมด้วยศีลเห็นปานนี้ได้ที่ไหน”
สมัยนั้น ท่านพระองคุลิมาลนั่งอยู่ในที่ไม่ไกลจากพระผู้มีพระภาค พระผู้มี
พระภาคจึงทรงยกพระหัตถ์เบื้องขวาขึ้นชี้ตรัสบอกพระเจ้าปเสนทิโกศลว่า “มหาบพิตร
นั่นคือองคุลิมาล”
ทันใดนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงมีความกลัว มีความหวาดหวั่น มีพระโลม-
ชาติชูชัน(มีขนพองสยองเกล้า) พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า พระเจ้าปเสนทิโกศล
ทรงกลัว ทรงหวาดหวั่น มีพระโลมชาติชูชัน จึงตรัสกับพระเจ้าปเสนทิโกศลว่า
“อย่าทรงกลัวเลย มหาบพิตร อย่าทรงกลัวเลย มหาบพิตร องคุลิมาลนี้ไม่มี
อันตรายต่อพระองค์”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๖. อังคุลิมาลสูตร

จากนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงระงับความกลัว ความหวาดหวั่นหรือพระ-
โลมชาติที่ชูชันได้แล้ว จึงเสด็จเข้าไปหาท่านพระองคุลิมาลถึงที่อยู่ แล้วได้ตรัสถาม
ท่านพระองคุลิมาลว่า “พระคุณเจ้าชื่อว่าองคุลิมาล ใช่ไหม”
ท่านพระองคุลิมาลถวายพระพรว่า “ใช่ มหาบพิตร”
พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสถามว่า “บิดาของพระคุณเจ้ามีโคตรอย่างไร มารดา
ของพระคุณเจ้ามีโคตรอย่างไร”
ท่านพระองคุลิมาลถวายพระพรว่า “มหาบพิตร บิดาชื่อคัคคะ มารดาชื่อ
มันตานี”
พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสว่า “ขอพระคุณเจ้าคัคคมันตานีบุตรจงอภิรมย์เถิด
โยมจักทำความขวนขวายเพื่อถวายจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย-
เภสัชบริขารแด่พระคุณเจ้าคัคคมันตานีบุตรเอง”
[๓๕๑] สมัยนั้น ท่านพระองคุลิมาลถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ถือการเที่ยว
บิณฑบาตเป็นวัตร ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ถือไตรจีวรเป็นวัตร ครั้งนั้น ท่านพระ
องคุลิมาลจึงถวายพระพรพระเจ้าปเสนทิโกศลว่า “อย่าเลย มหาบพิตร ไตรจีวรของ
อาตมภาพมีครบแล้ว”
ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วจึงประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ พระผู้มีพระภาคทรง
ฝึกบุคคลที่ใคร ๆ ฝึกไม่ได้ ทรงทำบุคคลที่ใคร ๆ ทำให้สงบไม่ได้ให้สงบได้ ทรงทำ
บุคคลที่ใคร ๆ ดับไม่ได้ให้ดับได้ เพราะว่าหม่อมฉันทั้งที่มีอาชญา มีศัสตราอยู่พร้อม
ก็ไม่สามารถจะฝึกผู้ใดได้ แต่พระผู้มีพระภาคไม่มีอาชญา ไม่มีศัสตราเลย ยังฝึก
ผู้นั้นได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๖. อังคุลิมาลสูตร

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าเช่นนั้น บัดนี้ หม่อมฉันขอทูลลากลับ เพราะมีกิจ
มีหน้าที่ที่จะต้องทำอีกมาก”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ขอมหาบพิตรจงกำหนดเวลาที่สมควร ณ บัดนี้เถิด”
ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงลุกจากที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค
กระทำประทักษิณแล้วเสด็จจากไป

พระองคุลิมาลโปรดหญิงมีครรภ์

ครั้นเวลาเช้า ท่านพระองคุลิมาลครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไป
บิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี กำลังเที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับตรอกอยู่ในกรุงสาวัตถี
ได้เห็นสตรีคนหนึ่งมีครรภ์แก่ใกล้คลอด จึงคิดว่า “สัตว์ทั้งหลายย่อมเศร้าหมองหนอ
สัตว์ทั้งหลายย่อมเศร้าหมองหนอ” จากนั้น ท่านพระองคุลิมาลก็เที่ยวบิณฑบาตใน
กรุงสาวัตถี กลับจากบิณฑบาตภายหลังฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เช้าวันนี้ ข้าพระองค์ครองอันตรวาสก
ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี กำลังเที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับ
ตรอกอยู่ในกรุงสาวัตถี ได้เห็นสตรีมีครรภ์แก่ใกล้คลอดคนหนึ่ง จึงคิดว่า ‘สัตว์ทั้งหลาย
ย่อมเศร้าหมองหนอ สัตว์ทั้งหลายย่อมเศร้าหมองหนอ’ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “องคุลิมาล ถ้าเช่นนั้น เธอจงเข้าไปหาสตรีนั้นถึง
ที่อยู่แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘น้องหญิง ตั้งแต่อาตมภาพเกิดมา ไม่เคยรู้ว่าจงใจปลง
ชีวิตสัตว์เลย ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่เธอ ขอความสวัสดีจงมีแก่
ทารกในครรภ์ของเธอเถิด”
ท่านพระองคุลิมาลกราบทูลว่า “ก็การพูดเช่นนั้นจักเป็นอันว่าข้าพระองค์
กล่าวเท็จทั้งที่รู้เป็นแน่ เพราะข้าพระองค์เคยจงใจปลงชีวิตสัตว์เสียมากต่อมาก
พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๖. อังคุลิมาลสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “องคุลิมาล ถ้าเช่นนั้น เธอจงเข้าไปหาสตรีนั้นถึง
ที่อยู่แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘น้องหญิง ตั้งแต่อาตมภาพเกิดมาโดยอริยชาติ ไม่เคยรู้ว่า
จงใจปลงชีวิตสัตว์เลย ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่เธอ ขอความสวัสดี
จงมีแก่ทารกในครรภ์ของเธอเถิด”
ท่านพระองคุลีมาลทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว เข้าไปหาหญิงนั้นถึงที่อยู่แล้วได้
กล่าวว่า “น้องหญิง ตั้งแต่อาตมภาพเกิดมาโดยอริยชาติ ไม่เคยรู้ว่าจงใจปลงชีวิต
สัตว์เลย ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่เธอ ขอความสวัสดีจงมีแก่ทารก
ในครรภ์ของเธอเถิด”
ทันใดนั้น ความสวัสดีได้มีแก่สตรีนั้น ความสวัสดีได้มีแก่ทารกในครรภ์ของสตรี
นั้นแล้ว

พระองคุลิมาลบรรลุอรหัตตผล

ต่อมา ท่านพระองคุลิมาลหลีกออกไปอยู่รูปเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร
อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนักก็ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่ง
พรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
ท่านพระองคุลิมาล ได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย
[๓๕๒] ครั้นเวลาเช้า ท่านพระองคุลิมาลครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร
เข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ก้อนดินที่บุคคลทั้งหลายขว้างไปทางอื่นก็มา
ตกลงที่กายของท่านพระองคุลิมาล ท่อนไม้ที่บุคคลทั้งหลายขว้างไปทางอื่นก็มาตกลง
ที่กายของท่านพระองคุลิมาล ก้อนกรวดที่บุคคลทั้งหลายขว้างไปทางอื่นก็มาตกลง
ที่กายของท่านพระองคุลิมาล ท่านพระองคุลิมาลมีศีรษะแตก เลือดไหล บาตร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๖. อังคุลิมาลสูตร

ก็แตก ผ้าสังฆาฏิก็ขาด เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ พระผู้มีพระภาคได้
ทอดพระเนตรเห็นท่านพระองคุลิมาลกำลังเดินมาแต่ไกล ได้ตรัสกับท่านพระองคุลิ-
มาลว่า
“เธอจงอดกลั้นไว้เถิดพราหมณ์ เธอจงอดกลั้นไว้เถิดพราหมณ์ เธอได้เสวย
วิบากกรรมซึ่งเป็นเหตุให้เธอหมกไหม้อยู่ในนรกหลายปี หลายร้อยปี หลายพันปี
ในปัจจุบันนี้แล้ว๑”

พระองคุลิมาลเปล่งอุทาน

ครั้งนั้นแล ท่านพระองคุลิมาลอยู่ในที่สงัด หลีกเร้นอยู่ เสวยวิมุตติสุขแล้ว
ได้เปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
“คนที่ประมาทมาก่อน ต่อมาภายหลัง ไม่ประมาท
เขาย่อมทำโลกนี้ให้สว่างไสวได้
ประดุจดวงจันทร์ที่พ้นจากเมฆฉะนั้น
คนที่ทำบาปกรรมแล้วปิดไว้ได้ด้วยกุศล๒
ย่อมจะทำโลกนี้ให้สว่างไสวได้
ประดุจดวงจันทร์ที่พ้นจากเมฆฉะนั้น
เช่นเดียวกันแล ภิกษุที่ยังหนุ่มแน่น
ขวนขวายอยู่ในพระพุทธศาสนา
ก็ย่อมทำโลกนี้ให้สว่างไสวได้
ประดุจดวงจันทร์ที่พ้นแล้วจากเมฆฉะนั้น


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๖. อังคุลิมาลสูตร

ขอศัตรูทั้งหลายของเราพึงฟังธรรมกถาเถิด
ขอศัตรูทั้งหลายของเราจงขวนขวายในพระพุทธศาสนาเถิด
ขอมนุษย์ทั้งหลายที่เป็นศัตรูของเรา
จงคบสัตบุรุษผู้ชวนให้ยึดถือธรรมเถิด
ขอศัตรูทั้งหลายของเราจงได้รับความผ่องแผ้วคือขันติ
และสรรเสริญความไม่โกรธ๑เถิด
ขอจงฟังธรรมตามกาล๒และจงปฏิบัติตามธรรมนั้นเถิด
ผู้ที่เป็นศัตรูนั้นไม่ควรเบียดเบียนเราหรือใคร ๆ อื่นเลย
ขอให้บรรลุความสงบอย่างยิ่ง๓
แล้วรักษาคุ้มครองผู้มีตัณหาและปราศจากตัณหา
คนทดน้ำย่อมชักน้ำไปได้
ช่างศรย่อมดัดศรให้ตรงได้
ช่างถากย่อมถากไม้ได้ ฉันใด
บัณฑิตทั้งหลายย่อมฝึกตนได้ ฉันนั้น
คนบางพวกย่อมฝึกสัตว์ ด้วยอาชญาบ้าง
ด้วยขอบ้าง ด้วยแส้บ้าง
เราเป็นผู้ที่พระผู้มีพระภาคผู้คงที่๔
ผู้ไม่มีอาชญา ไม่มีศัสตรา ฝึกแล้ว


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๖. อังคุลิมาลสูตร

เมื่อก่อนเรามีชื่อว่าอหิงสกะ แต่ยังเบียดเบียน(ผู้อื่น)อยู่
วันนี้เรามีชื่อตรงความจริง เราไม่เบียดเบียนใคร ๆ แล้ว
เมื่อก่อนเราเป็นโจรปรากฏชื่อองคุลิมาล
เรานั้นเมื่อถูกกิเลสดุจห้วงน้ำใหญ่พัดไปมา
จึงได้ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ
เมื่อก่อนเรามีมือเปื้อนเลือด ปรากฏชื่อว่าองคุลิมาล
ท่านจงดูการที่เราถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะ
เราถอนตัณหาอันจะนำไปสู่ภพได้แล้ว
หลังจากทำกรรมอันเป็นเหตุให้ถึงทุคติเช่นนั้นไว้มากแล้ว
เราผู้ได้รับวิบากกรรม๑นั้นแล้ว
จึงเป็นผู้ไม่มีหนี้บริโภค๒
พวกชนพาลปัญญาทราม มัวแต่ประมาท
ส่วนปราชญ์ทั้งหลายรักษาความไม่ประมาท
เหมือนรักษาทรัพย์อันประเสริฐฉะนั้น
พวกท่านจงอย่าประมาท อย่าคลุกคลีในกาม
เพราะว่าผู้ไม่ประมาทเพ่งอยู่เป็นนิจ
ย่อมประสบสุขอันไพบูลย์
การที่เรามาสู่พระพุทธศาสนานี้นั้น มาถูกทางแล้ว
ไม่ไร้ประโยชน์ คิดไม่ผิดแล้ว


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๗. ปิยชาติกสูตร

ในบรรดาธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงจำแนกไว้ดีแล้ว
เราได้เข้าถึงธรรมอันประเสริฐสุด๑แล้ว
การที่เราได้เข้าถึงธรรมอันประเสริฐสุดนี้นั้น
เข้าถึงอย่างถูกต้อง ไม่ไร้ประโยชน์
คิดไม่ผิดแล้ว วิชชา ๓๒ เราก็บรรลุแล้ว
คำสอนของพระพุทธเจ้าเราก็ทำตามแล้ว๓” ดังนี้แล

องคุลิมาลสูตรที่ ๖ จบ

๗. ปิยชาติกสูตร
ว่าด้วยทุกข์เกิดจากสิ่งเป็นที่รัก
ลูกชายคนเดียวของคหบดีตาย

[๓๕๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้นแล ลูกชายคนเดียวซึ่งเป็นที่รักเป็นที่ชอบใจของ
คหบดีคนหนึ่งเสียชีวิตลง เพราะการเสียชีวิตของลูกชายคนเดียวนั้น การงานก็ไม่
เป็นอันทำ อาหารก็ไม่เป็นอันกิน คหบดีนั้นได้ไปยังป่าช้า คร่ำครวญถึงลูกชายว่า
“ลูกโทน เจ้าอยู่ที่ไหน ลูกโทน เจ้าอยู่ที่ไหน”
จากนั้น คหบดีนั้นได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มี
พระภาคแล้วจึงนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับคหบดีนั้นว่า


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๗. ปิยชาติกสูตร

“คหบดี ใจของท่านไม่มีอินทรีย์๑ไว้ยึดเหนี่ยว อินทรีย์(ร่างกาย) ของท่านก็
หมองคล้ำไป”
คหบดีนั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทำไม อินทรีย์ของข้าพระองค์
จะไม่หมองคล้ำไปเล่า เพราะลูกชายคนเดียวซึ่งเป็นที่รักเป็นที่ชอบใจของข้าพระองค์
ได้เสียชีวิตลง เพราะการเสียชีวิตของลูกชายคนเดียวนั้น การงานก็ไม่เป็นอันทำ
อาหารก็ไม่เป็นอันกิน ข้าพระองค์ไปป่าช้า คร่ำครวญถึงลูกชายนั้นว่า ‘ลูกโทน
เจ้าอยู่ที่ไหน ลูกโทน เจ้าอยู่ที่ไหน”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ข้อนี้เป็นอย่างนั้น คหบดี ข้อนี้เป็นอย่างนั้น คหบดี
เพราะว่า โสกะ(ความเศร้าโศก) ปริเทวะ(ความคร่ำครวญ) ทุกข์(ความทุกข์กาย)
โทมนัส(ความทุกข์ใจ) และอุปายาส(ความคับแค้นใจ) เกิดจากสิ่งอันเป็นที่รัก มีมา
จากสิ่งอันเป็นที่รัก”
คหบดีกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การที่โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
และอุปายาส เกิดจากสิ่งอันเป็นที่รัก มีมาจากสิ่งอันเป็นที่รักนั้น จักเป็นอย่างนั้นไป
ได้อย่างไร แท้จริง ความยินดีและโสมนัส(ความดีใจ) เกิดจากสิ่งอันเป็นที่รัก มีมา
จากสิ่งอันเป็นที่รักต่างหาก”
จากนั้น คหบดีไม่ยินดีไม่คัดค้านพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ลุกจากที่นั่ง
แล้วจากไป
[๓๕๔] สมัยนั้น นักเลงสะกาเป็นอันมากเล่นสะกากันอยู่ในที่ไม่ไกลจาก
พระผู้มีพระภาค ขณะนั้นเอง คหบดีนั้นเข้าไปหานักเลงสะกาเหล่านั้นแล้วเล่าเรื่อง
ให้ฟังว่า
“พ่อมหาจำเริญ ขอโอกาส ข้าพเจ้าได้เข้าไปเฝ้าพระสมณโคดมถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทพระสมณโคดมแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระสมณโคดมได้ตรัสกับข้าพเจ้า
ว่า ‘คหบดี ใจของท่านไม่มีอินทรีย์ไว้ยึดเหนี่ยว อินทรีย์ของท่านก็หมองคล้ำไป’


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๗. ปิยชาติกสูตร

เมื่อพระสมณโคดมตรัสอย่างนี้แล้ว ข้าพเจ้าได้กราบทูลพระสมณโคดมว่า ‘ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ทำไมอินทรีย์ของข้าพระองค์จะไม่หมองคล้ำไปเล่า เพราะลูกชาย
คนเดียวซึ่งเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของข้าพระองค์ได้เสียชีวิตลง เพราะการเสียชีวิต
ของลูกชายคนเดียวนั้น การงานก็ไม่เป็นอันทำ อาหารก็ไม่เป็นอันกิน ข้าพระองค์ไป
ป่าช้าคร่ำครวญถึงลูกชายนั้นว่า ‘ลูกโทน เจ้าอยู่ที่ไหน ลูกโทน เจ้าอยู่ที่ไหน’
พระสมณโคดมได้ตรัสว่า ‘ข้อนี้เป็นอย่างนั้น คหบดี ข้อนี้เป็นอย่างนั้น คหบดี
เพราะว่าโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เกิดจากสิ่งอันเป็นที่รัก มีมาจาก
สิ่งอันเป็นที่รัก’
ข้าพเจ้าได้กราบทูลว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การที่โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
และอุปายาส เกิดจากสิ่งอันเป็นที่รัก มีมาจากสิ่งอันเป็นที่รักนั้น จักเป็นอย่างนั้นไป
ได้อย่างไร ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แท้จริง ความยินดีและโสมนัส เกิดจากสิ่งอันเป็น
ที่รัก มีมาจากสิ่งอันเป็นที่รักนั้นต่างหาก’
พ่อมหาจำเริญ จากนั้น ข้าพเจ้าไม่ยินดีไม่คัดค้านพระภาษิตของพระสมณโคดม
ลุกจากที่นั่งแล้วจากมา”
นักเลงสะกาเหล่านั้นได้พูดเสริมว่า “ข้อนี้เป็นอย่างนั้น คหบดี ข้อนี้เป็น
อย่างนั้น คหบดี เพราะความยินดีและโสมนัส ย่อมเกิดจากสิ่งอันเป็นที่รัก มีมาจาก
สิ่งอันเป็นที่รัก”
ขณะนั้น คหบดีนั้นคิดว่า “ความเห็นของเราตรงกันกับพวกนักเลงสะกา”
แล้วจากไป ต่อมา เรื่องที่พูดกันนี้ ได้แพร่เข้าไปถึงพระราชวังโดยลำดับ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๗. ปิยชาติกสูตร

ทุกข์ย่อมเกิดจากของอันเป็นที่รัก

[๓๕๕] ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศล ได้รับสั่งเรียกพระนางมัลลิกาเทวีมา
ตรัสว่า “มัลลิกา คำว่า ‘โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เกิดจากสิ่งอัน
เป็นที่รัก มีมาจากสิ่งอันเป็นที่รัก’ พระสมณโคดมของเธอตรัสไว้หรือ”
พระนางมัลลิกาเทวีกราบทูลว่า “ข้าแต่มหาราช ถ้าพระดำรัสนั้นพระผู้มีพระภาค
ตรัสไว้จริง พระดำรัสนั้นก็เป็นอย่างนั้น เพคะ”
พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสว่า “พระนางมัลลิกานี้คล้อยตามพระดำรัสที่พระ-
สมณโคดมตรัสเท่านั้นว่า ‘ข้าแต่มหาราช ถ้าพระดำรัสนั้นพระผู้มีพระภาคตรัสไว้จริง
พระดำรัสนั้นก็เป็นอย่างนั้น’ ศิษย์คล้อยตามคำที่อาจารย์กล่าวว่า ‘ข้อนี้เป็น
อย่างนั้น ท่านอาจารย์ ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ท่านอาจารย์’ ฉันใด เธอก็ฉันนั้น
เหมือนกัน คล้อยตามพระดำรัสที่พระสมณโคดมตรัสเท่านั้นว่า ‘ข้าแต่มหาราช
ถ้าพระดำรัสนั้นพระผู้มีพระภาคตรัสไว้จริง พระดำรัสนั้นก็เป็นอย่างนั้น’ มัลลิกา
เธอจงหลบหน้าไปให้พ้น จงพินาศเสีย”
ลำดับนั้น พระนางมัลลิกาเทวีรับสั่งเรียกพราหมณ์ชื่อนาฬิชังฆะมาตรัสว่า
“มาเถิด ท่านพราหมณ์ ท่านจงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
พระยุคลบาททั้งสองของพระองค์ด้วยเศียรเกล้า แล้วทูลถามถึงพระสุขภาพ ความมี
พระโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพระพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ ตามคำ
ของฉันว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระนางมัลลิกาเทวีขอถวายอภิวาทพระยุคลบาท
ของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า ทูลถามถึงพระสุขภาพ ความมีพระโรคาพาธน้อย
กระปรี้กระเปร่า มีพระพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ’ และท่านจงทูลถามอย่างนี้ว่า
‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระดำรัสนี้ว่า ‘โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
เกิดจากสิ่งอันเป็นที่รัก มีมาจากสิ่งอันเป็นที่รัก’ พระผู้มีพระภาคตรัสจริงหรือ’ เธอ
ควรจำพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสให้ดีแล้วมาบอกฉัน ธรรมดาพระตถาคตทั้งหลาย
ย่อมตรัสไม่ผิดพลาดแน่”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๗. ปิยชาติกสูตร

นาฬิชังฆพราหมณ์รับพระราชเสาวนีย์แล้วได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระนางมัลลิกาเทวีขอถวายอภิวาทพระยุคลบาท
ของท่านพระโคดมด้วยเศียรเกล้า ทูลถามถึงพระสุขภาพ ความมีพระโรคาพาธน้อย
กระปรี้กระเปร่า มีพระพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ แล้วรับสั่งทูลถามอย่างนี้ว่า
‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระดำรัสนี้ว่า ‘โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทนมัส และอุปายาส
เกิดจากสิ่งอันเป็นที่รัก มีมาจากสิ่งอันเป็นที่รัก’ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้จริงหรือ”
[๓๕๖] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ข้อนี้เป็นอย่างนั้น พราหมณ์ ข้อนี้
เป็นอย่างนั้น พราหมณ์ เพราะว่าโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
เกิดจากสิ่งอันเป็นที่รัก มีมาจากสิ่งอันเป็นที่รัก การที่โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
และอุปายาส เกิดจากสิ่งอันเป็นที่รัก มีมาจากสิ่งอันเป็นที่รักได้อย่างไร ท่านพึง
ทราบโดยอธิบายนี้
เรื่องเคยมีมาแล้ว ในกรุงสาวัตถีนี้แล มารดาของหญิงคนหนึ่งได้ตายไป
เพราะความตายของมารดานั้น หญิงนั้นจึงเป็นบ้า มีจิตเลื่อนลอย เข้าสู่ถนนทุกถนน
เข้าสู่ตรอกทุกตรอกแล้วได้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘พวกท่านได้พบมารดาของฉันบ้างไหม
พวกท่านได้พบมารดาของฉันบ้างไหม’
การที่โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เกิดจากสิ่งอันเป็นที่รัก มีมา
จากสิ่งอันเป็นที่รักได้อย่างไร ท่านพึงทราบโดยอธิบายนี้
เรื่องเคยมีมาแล้ว ในกรุงสาวัตถีนี้แล บิดาของหญิงคนหนึ่งได้ตายไป ... พี่ชาย
น้องชาย ... พี่สาวน้องสาว ... บุตร ... ธิดา ... สามีของหญิงคนหนึ่งได้ตายไป
เพราะความตายของสามีนั้น หญิงนั้นจึงเป็นบ้า มีจิตเลื่อนลอย เข้าสู่ถนนทุกถนน
เข้าสู่ตรอกทุกตรอกแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘พวกท่านได้พบสามีของฉันบ้างไหม พวกท่าน
ได้พบสามีของฉันบ้างไหม’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๗. ปิยชาติกสูตร

การที่โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เกิดจากสิ่งอันเป็นที่รัก มีมา
จากสิ่งอันเป็นที่รักได้อย่างไร ท่านพึงทราบโดยอธิบายนี้
เรื่องเคยมีมาแล้ว ในกรุงสาวัตถีนี้แล มารดาของชายคนหนึ่งตายไป เพราะ
ความตายของมารดานั้น ชายคนนั้นจึงเป็นบ้า มีจิตเลื่อนลอย เข้าสู่ถนนทุกถนน
เข้าสู่ตรอกทุกตรอกแล้วได้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘พวกท่านได้พบมารดาของข้าพเจ้าบ้างไหม
พวกท่านได้พบมารดาของข้าพเจ้าบ้างไหม’
การที่โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เกิดจากสิ่งอันเป็นที่รัก มีมา
จากสิ่งอันเป็นที่รักได้อย่างไร ท่านพึงทราบโดยอธิบายนี้
เรื่องเคยมีมาแล้ว ในกรุงสาวัตถีนี้แล บิดาของชายคนหนึ่งตายไป... พี่ชายน้อง
ชาย... พี่สาวน้องสาว... บุตร... ธิดา... ภรรยาของชายคนหนึ่งตายไป เพราะความ
ตายของภรรยานั้น ชายคนนั้นจึงเป็นบ้า มีจิตเลื่อนลอย เข้าสู่ถนนทุกถนน เข้าสู่
ตรอกทุกตรอก แล้วได้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘พวกท่านได้พบภรรยาของข้าพเจ้าบ้างไหม
พวกท่านได้พบภรรยาของข้าพเจ้าบ้างไหม’
การที่โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เกิดจากสิ่งอันเป็นที่รัก มีมา
จากสิ่งอันเป็นที่รักได้อย่างไร ท่านพึงทราบโดยอธิบายนี้
พราหมณ์ เรื่องเคยมีมาแล้ว ในกรุงสาวัตถีนี้แล หญิงคนหนึ่งได้ไปยังตระกูล
ของญาติ พวกญาติของหญิงนั้น ต้องการจะพรากสามีของนางแล้วยกนางให้แก่ชายอื่น
แต่หญิงนั้นไม่ปรารถนาชายคนนั้น ต่อมา หญิงนั้นได้บอกสามีว่า ‘พี่ พวกญาติของ
ดิฉันต้องการจะพรากท่านแล้วยกดิฉันให้แก่ชายอื่น แต่ดิฉันไม่ปรารถนาชายคนนั้น’
ต่อจากนั้น สามีได้ฟันภรรยาขาดสองท่อนแล้วจึงฆ่าตัวตายตาม ด้วยคิดว่า ‘เราทั้งสอง
จะไม่พรากจากกัน’
การที่โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เกิดจากสิ่งอันเป็นที่รัก มีมา
จากสิ่งอันเป็นที่รักได้อย่างไร ท่านพึงทราบโดยอธิบายนี้เถิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๗. ปิยชาติกสูตร

[๓๕๗] ครั้งนั้น นาฬิชังฆพราหมณ์ชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค
แล้วลุกจากที่นั่งได้เข้าไปเฝ้าพระนางมัลลิกาเทวีถึงที่ประทับ ได้กราบทูลถึงเรื่องการ
สนทนาปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคทั้งหมดแก่พระนางมัลลิกาเทวี ลำดับนั้น พระนาง
มัลลิกาเทวีได้เข้าไปเฝ้าพระเจ้าปเสนทิโกศลถึงที่ประทับแล้ว ได้ทูลถามพระเจ้า
ปเสนทิโกศลว่า
“ข้าแต่มหาราช ทูลกระหม่อมเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร พระกุมารี
พระนามว่าวชิรี เป็นที่รักของทูลกระหม่อมใช่ไหม เพคะ”
พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสตอบว่า “ใช่แล้ว มัลลิกา วชิรีกุมารีเป็นที่รักของเรา”
“ทูลกระหม่อมเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร เพราะวชิรีกุมารีต้องมีอันแปร
ผันเป็นอย่างอื่นไป๑ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จะพึงเกิดขึ้นแก่ทูล
กระหม่อมหรือไม่ เพคะ”
“มัลลิกา เพราะวชิรีกุมารีแปรผันเป็นอย่างอื่นไป แม้ชีวิตของเราก็ต้องแปรผัน
เป็นอย่างอื่นไปด้วย ทำไม โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจักไม่เกิดขึ้น
แก่เราเล่า”
“ข้อนี้แลที่พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงมุ่งหมาย จึงตรัสว่า ‘โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เกิดจากสิ่ง
อันเป็นที่รัก มีมาจากสิ่งอันเป็นที่รัก’ เพคะ
ทูลกระหม่อมเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร พระนางวาสภขัตติยาเป็นที่รัก
ของทูลกระหม่อมใช่ไหมเพคะ”
“ใช่แล้ว มัลลิกา พระนางวาสภขัตติยาเป็นที่รักของเรา”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๗. ปิยชาติกสูตร

“ทูลกระหม่อมทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร เพราะพระนางวาสภ-
ขัตติยาแปรผันเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจะพึงเกิด
ขึ้นแก่ทูลกระหม่อมหรือไม่ เพคะ”
“มัลลิกา เพราะพระนางวาสภขัตติยาแปรผันเป็นอย่างอื่นไป แม้ชีวิตของเรา
ก็ต้องแปรผันเป็นอย่างอื่นไปด้วย ทำไม โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
จักไม่เกิดขึ้นแก่เราเล่า”
“ข้อนี้แลที่พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงมุ่งหมาย จึงตรัสว่า ‘โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เกิดจากสิ่งอัน
เป็นที่รัก มีมาจากสิ่งอันเป็นที่รัก’ เพคะ
ทูลกระหม่อมทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร เสนาบดีชื่อวิทูฑภะเป็นที่รัก
ของทูลกระหม่อมใช่ไหมเพคะ”
“ใช่แล้ว มัลลิกา เสนาบดีชื่อวิทูฑภะเป็นที่รักของเรา”
“ทูลกระหม่อมทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร เพราะเสนาบดีชื่อ
วิทูฑภะแปรผันเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจะพึงเกิด
ขึ้นแก่ทูลกระหม่อมหรือไม่ เพคะ”
“มัลลิกา เพราะเสนาบดีชื่อวิทูฑภะ แปรผันเป็นอย่างอื่นไป แม้ชีวิตของเรา
ก็ต้องแปรผันเป็นอย่างอื่นไปด้วย ทำไม โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
จักไม่เกิดขึ้นแก่เราเล่า”
“ข้อนี้แลที่พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงมุ่งหมาย จึงตรัสว่า ‘โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เกิดจากสิ่ง
อันเป็นที่รัก มีมาจากสิ่งอันเป็นที่รัก’ เพคะ
ทูลกระหม่อมทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร หม่อมฉันเป็นที่รักของ
ทูลกระหม่อมใช่ไหม เพคะ”
“ใช่แล้ว มัลลิกา เธอเป็นที่รักของเรา”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๗. ปิยชาติกสูตร

“ทูลกระหม่อมทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร เพราะหม่อมฉันแปรผัน
เป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จะพึงเกิดขึ้นแก่
ทูลกระหม่อมหรือไม่ เพคะ”
“มัลลิกา เพราะเธอแปรผันเป็นอย่างอื่นไป แม้ชีวิตของเราก็ต้องแปรผันเป็น
อย่างอื่นไปด้วย ทำไม โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจักไม่เกิดขึ้น
แก่เราเล่า”
“ข้อนี้แลที่พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงมุ่งหมาย จึงตรัสว่า ‘โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เกิดจากสิ่ง
อันเป็นที่รัก มีมาจากสิ่งอันเป็นที่รัก’ เพคะ
ทูลกระหม่อมทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร แคว้นกาสีและแคว้นโกศล
เป็นที่รักของทูลกระหม่อมใช่ไหม เพคะ”
“ใช่แล้ว มัลลิกา แคว้นกาสีและแคว้นโกศลเป็นที่รักของเรา เพราะอานุภาพ
แห่งแคว้นกาสีและแคว้นโกศล เราจึงใช้สอยแก่นจันทน์ที่เกิดจากแคว้นกาสี ได้ทัด
ทรงดอกไม้ ของหอม และเครื่องลูบไล้”
“ทูลกระหม่อมทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร เพราะแคว้นกาสีและ
แคว้นโกศลแปรผันเป็นอย่างอื่นไป๑ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
จะพึงเกิดขึ้นแก่ทูลกระหม่อมหรือไม่ เพคะ”
“มัลลิกา เพราะแคว้นกาสีและแคว้นโกศลแปรผันเป็นอย่างอื่นไป แม้ชีวิต
ของเราก็ต้องแปรผันเป็นอย่างอื่นไปด้วย ทำไม โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ
อุปายาสจักไม่เกิดขึ้นแก่เราเล่า”
พระนางมัลลิกาเทวีกราบทูลว่า “ข้าแต่มหาราช ข้อนี้แลที่พระผู้มีพระภาค
ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงมุ่งหมาย จึงตรัสว่า
‘โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เกิดจากสิ่งอันเป็นที่รัก มีมาจากสิ่ง
อันเป็นที่รัก เพคะ”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๘. พาหิติกสูตร

พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสว่า “มัลลิกา น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ที่พระผู้มี
พระภาคพระองค์นั้นจะทรงเห็นชัด แทงตลอดด้วยพระปัญญาแล้ว มาเถิด มัลลิกา
ช่วยล้างมือให้ทีเถิด”
จากนั้นพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงลุกขึ้นจากที่ประทับ ทรงห่มพระภูษาเฉวียงบ่า
ประนมพระหัตถ์ไปทางทิศที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่แล้ว ทรงเปล่งอุทาน ๓ ครั้งว่า
“ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น” ดังนี้แล

ปิยชาติกสูตรที่ ๗ จบ

๘. พาหิติกสูตร
ว่าด้วยการถวายผ้าพาหิติกา
พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงสนทนาธรรมกับพระอานนท์

[๓๕๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้นเวลาเช้า ท่านพระอานนท์ครองอันตรวาสก ถือบาตร
และจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี เที่ยวบิณฑบาตในกรุงสาวัตถีแล้ว กลับจาก
บิณฑบาตภายหลังฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว ได้เข้าไปยังบุพพารามปราสาทของนาง
วิสาขามิคารมาตาเพื่อพักกลางวัน
สมัยนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จขึ้นช้างเอกบุณฑริก ออกจากกรุงสาวัตถีแต่
ยังวัน ทอดพระเนตรเห็นท่านพระอานนท์กำลังเดินมาแต่ไกล ได้รับสั่งเรียกอำมาตย์
ชื่อสิริวัฑฒ์มาตรัสว่า “สิริวัฑฒ์เพื่อนรัก นั่นพระคุณเจ้าอานนท์ ใช่หรือไม่”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๘. พาหิติกสูตร

สิริวัฑฒ์มหาอำมาตย์กราบทูลว่า “ใช่ พระเจ้าข้า นั่นพระคุณเจ้าอานนท์”
ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลรับสั่งเรียกชายคนหนึ่งมาตรัสว่า “มาเถิด
พ่อยอดชาย เธอจงเข้าไปหาพระคุณเจ้าอานนท์ถึงที่อยู่แล้วกราบเท้าทั้งสองของ
พระคุณเจ้าอานนท์ด้วยเศียรเกล้า ตามคำของเราว่า ‘พระคุณเจ้า พระเจ้าปเสนทิโกศล
ทรงกราบเท้าทั้งสองของพระคุณเจ้าอานนท์ด้วยเศียรเกล้า’ และจงเรียนท่าน
อย่างนี้ว่า ‘พระคุณเจ้า ได้ยินว่า ถ้าพระคุณเจ้าอานนท์ไม่มีกิจรีบด่วนอะไร
ขอพระคุณเจ้าอานนท์จงอาศัยความอนุเคราะห์รออยู่สักครู่หนึ่งเถิด”
ชายคนนั้นทูลรับสนองพระราชดำรัสแล้ว จึงเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่
กราบท่านพระอานนท์แล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบเรียนท่านพระอานนท์ว่า
“พระคุณเจ้า พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงกราบเท้าทั้งสองของพระคุณเจ้าอานนท์
ด้วยพระเศียรเกล้า และรับสั่งมาอย่างนี้ว่า ‘ได้ยินว่า ถ้าพระคุณเจ้าอานนท์ไม่มีกิจ
รีบด่วนอะไร ขอพระคุณเจ้าอานนท์จงอาศัยความอนุเคราะห์รออยู่สักครู่หนึ่งเถิด”
ท่านพระอานนท์รับนิมนต์โดยดุษณีภาพ ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศล
เสด็จไปจนสุดทางที่ช้างทรงจะไปได้แล้วลงจากช้างทรง เสด็จพระราชดำเนินไปด้วย
พระบาท เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ทรงกราบแล้วประทับยืน ณ ที่สมควร
ได้ตรัสกับท่านพระอานนท์ว่า “พระคุณเจ้า ถ้าพระคุณเจ้าอานนท์ไม่มีกิจรีบด่วน
อะไร ขอโอกาสเถิด ขอพระคุณเจ้าอานนท์จงอาศัยความอนุเคราะห์ไปยังฝั่งแม่น้ำ
อจิรวดีเถิด”
ท่านพระอานนท์รับนิมนต์โดยดุษณีภาพ

สมาจาร ๓

[๓๕๙] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ได้เข้าไปยังฝั่งแม่น้ำอจิรวดีแล้วนั่งบน
อาสนะที่ปูลาดไว้แล้วที่โคนต้นไม้แห่งหนึ่ง ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จไป
จนสุดทางที่ช้างทรงจะไปได้แล้วลงจากช้างทรง เสด็จพระราชดำเนินไปด้วยพระบาท
เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ทรงกราบแล้วประทับยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้ตรัส
กับท่านพระอานนท์ว่า “พระคุณเจ้า ขอพระคุณเจ้าอานนท์จงนั่งบนเครื่องลาดไม้
นี้เถิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๘. พาหิติกสูตร

ท่านพระอานนท์ทูลว่า “อย่าเลย มหาบพิตร เชิญพระองค์ประทับนั่งเถิด
อาตมภาพนั่งบนอาสนะของอาตมภาพอยู่แล้ว”
พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงประทับนั่งบนที่ประทับที่ปูลาดไว้แล้ว ได้ตรัสถามท่าน
พระอานนท์ว่า “พระคุณเจ้าอานนท์ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงประพฤติ
กายสมาจาร(ความประพฤติทางกาย) ที่สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้แจ้ง พึงติเตียน
บ้างหรือหนอ”
ท่านพระอานนท์ถวายพระพรว่า “มหาบพิตร พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ไม่ทรงประพฤติกายสมาจารที่สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้แจ้งพึงติเตียนเลย ขอถวาย
พระพร”
พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสถามว่า “พระคุณเจ้า พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ทรงประพฤติวจีสมาจาร(ความประพฤติทางวาจา) ฯลฯ มโนสมาจาร(ความประพฤติ
ทางใจ) ที่สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้แจ้ง พึงติเตียนบ้างหรือหนอ”
ท่านพระอานนท์ถวายพระพรว่า “มหาบพิตร พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ไม่ทรงประพฤติมโนสมาจารที่สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้แจ้งพึงติเตียนเลย ขอถวาย
พระพร”
พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสว่า “พระคุณเจ้า น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ
ข้อความที่พวกโยมไม่สามารถทำให้บริบูรณ์ด้วยการตั้งปัญหา พระคุณเจ้าอานนท์
ทำให้บริบูรณ์ได้ด้วยการแก้ปัญหา ชนเหล่าใดเป็นคนพาล ไม่ฉลาด ไม่ใคร่ครวญ
ไม่พิจารณาแล้วยังกล่าวคุณหรือโทษของชนเหล่าอื่นได้ พวกโยมไม่ยึดถือการกล่าว
คุณหรือโทษของชนเหล่านั้น โดยความเป็นสาระ
พระคุณเจ้า ส่วนชนเหล่าใดเป็นบัณฑิต เป็นผู้ฉลาดเฉียบแหลม มีปัญญา
ใคร่ครวญพิจารณาแล้ว กล่าวคุณหรือโทษของชนเหล่าอื่น พวกโยมย่อมยึดถือการ
กล่าวคุณหรือโทษของชนเหล่านั้นโดยความเป็นสาระ
[๓๖๐] กายสมาจารที่สมณพราหมณ์ผู้รู้แจ้ง พึงติเตียน เป็นอย่างไร”
ท่านพระอานนท์ถวายพระพรว่า “มหาบพิตร กายสมาจารที่เป็นอกุศลเป็น
กายสมาจารที่สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้แจ้ง พึงติเตียน ขอถวายพระพร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๘. พาหิติกสูตร

“พระคุณเจ้า กายสมาจารที่เป็นอกุศล เป็นอย่างไร”
“กายสมาจารที่มีโทษ เป็นกายสมาจารที่เป็นอกุศล ขอถวายพระพร”
“พระคุณเจ้า กายสมาจารที่มีโทษ เป็นอย่างไร”
“กายสมาจารที่มีความเบียดเบียน เป็นกายสมาจารที่มีโทษ ขอถวายพระพร”
“พระคุณเจ้า กายสมาจารที่มีความเบียดเบียน๑ เป็นอย่างไร”
“กายสมาจารที่มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นกายสมาจารที่มีความเบียดเบียน ขอถวาย
พระพร”
“พระคุณเจ้า กายสมาจารที่มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นอย่างไร”
“กายสมาจารใด ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
เพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง อกุศลธรรมทั้งหลายย่อมเจริญแก่กายสมาจารนั้น
กุศลธรรมทั้งหลายย่อมเสื่อม(จากายสมาจารนั้น) กายสมาจารเห็นปานนี้ สมณพราหมณ์
ทั้งหลายผู้รู้แจ้ง พึงติเตียน ขอถวายพระพร”
“พระคุณเจ้า วจีสมาจาร ฯลฯ มโนสมาจารที่สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้แจ้ง
พึงติเตียน เป็นอย่างไร”
“มโนสมาจารที่เป็นอกุศล เป็นมโนสมาจารที่สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้แจ้ง
พึงติเตียน ขอถวายพระพร”
“พระคุณเจ้า มโนสมาจารที่เป็นอกุศล เป็นอย่างไร”
“มโนสมาจารที่มีโทษ เป็นมโนสมาจารที่เป็นอกุศล ขอถวายพระพร”
“พระคุณเจ้า มโนสมาจารที่มีโทษ เป็นอย่างไร”
“มโนสมาจารที่มีความเบียดเบียน เป็นมโนสมาจารที่มีโทษ ขอถวายพระพร”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๘. พาหิติกสูตร

“พระคุณเจ้า มโนสมาจารที่มีความเบียดเบียน เป็นอย่างไร”
“มโนสมาจารที่มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นมโนสมาจารที่มีความเบียดเบียน ขอถวาย
พระพร”
“พระคุณเจ้า มโนสมาจารที่มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นอย่างไร”
“มโนสมาจารใดย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
เพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง อกุศลธรรมทั้งหลายย่อมเจริญแก่มโนสมาจารนั้น
กุศลธรรมทั้งหลายย่อมเสื่อม มโนสมาจารเห็นปานนี้ สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้แจ้ง
พึงติเตียน ขอถวายพระพร”
พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสถามว่า “พระคุณเจ้า พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ทรงสรรเสริญการละอกุศลธรรมทุกอย่างหรือ”
ท่านพระอานนท์ถวายพระพรว่า “มหาบพิตร พระตถาคตทรงละอกุศลธรรม
ได้ทุกอย่าง ทรงประกอบด้วยกุศลธรรม ขอถวายพระพร”
[๓๖๑] พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสถามว่า “พระคุณเจ้า กายสมาจารที่สมณ-
พราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้แจ้ง ไม่พึงติเตียน เป็นอย่างไร”
ท่านพระอานนท์ถวายพระพรว่า “มหาบพิตร กายสมาจารที่เป็นกุศลเป็น
กายสมาจารที่สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้แจ้ง ไม่พึงติเตียน ขอถวายพระพร”
“พระคุณเจ้า กายสมาจารที่เป็นกุศล เป็นอย่างไร”
“กายสมาจารที่ไม่มีโทษ เป็นกายสมาจารที่เป็นกุศล ขอถวายพระพร”
“พระคุณเจ้า กายสมาจารที่ไม่มีโทษ เป็นอย่างไร”
“กายสมาจารที่ไม่มีความเบียดเบียน เป็นกายสมาจารที่ไม่มีโทษ ขอถวาย
พระพร”
“พระคุณเจ้า กายสมาจารที่ไม่มีความเบียดเบียน เป็นอย่างไร”
“กายสมาจารที่มีสุขเป็นวิบาก เป็นกายสมาจารที่ไม่มีความเบียดเบียน ขอถวาย
พระพร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๘. พาหิติกสูตร

“พระคุณเจ้า กายสมาจารที่มีสุขเป็นวิบาก เป็นอย่างไร”
“กายสมาจารใดย่อมเป็นไปเพื่อไม่เบียดเบียนตนเองบ้าง เพื่อไม่เบียดเบียนผู้
อื่นบ้าง เพื่อไม่เบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง อกุศลธรรมทั้งหลายย่อมเสื่อมจาก
กายสมาจารนั้น กุศลธรรมทั้งหลายย่อมเจริญ(แก่กายสมาจารนั้น) กายสมาจาร
เห็นปานนี้ สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้แจ้ง ไม่พึงติเตียน ขอถวายพระพร”
“พระคุณเจ้า วจีสมาจาร ฯลฯ มโนสมาจารที่สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้แจ้ง
ไม่พึงติเตียน เป็นอย่างไร”
“มโนสมาจารที่เป็นกุศล เป็นมโนสมาจารที่สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้แจ้ง
ไม่พึงติเตียน ขอถวายพระพร”
“พระคุณเจ้า มโนสมาจารที่เป็นกุศล เป็นอย่างไร”
“มโนสมาจารที่ไม่มีโทษ เป็นมโนสมาจารที่เป็นกุศล ขอถวายพระพร”
“พระคุณเจ้า มโนสมาจารที่ไม่มีโทษ เป็นอย่างไร”
“มโนสมาจารที่ไม่มีความเบียดเบียน เป็นมโนสมาจารที่ไม่มีโทษ ขอถวาย
พระพร”
“พระคุณเจ้า มโนสมาจารที่ไม่มีความเบียดเบียน เป็นอย่างไร”
“มโนสมาจารที่มีสุขเป็นวิบาก เป็นมโนสมาจารที่ไม่มีความเบียดเบียน ขอถวาย
พระพร”
“พระคุณเจ้า มโนสมาจารที่มีสุขเป็นวิบาก เป็นอย่างไร”
“มโนสมาจารใดย่อมเป็นไปเพื่อไม่เบียดเบียนตนเองบ้าง เพื่อไม่เบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
เพื่อไม่เบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง อกุศลธรรมทั้งหลายย่อมเสื่อมจากมโนสมาจารนั้น
กุศลธรรมทั้งหลายย่อมเจริญ มโนสมาจารเห็นปานนี้ สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้แจ้ง
ไม่พึงติเตียน ขอถวายพระพร”
พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสถามว่า “พระคุณเจ้า พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ทรงสรรเสริญการเข้าถึงกุศลธรรมทุกอย่างหรือ”
ท่านพระอานนท์ถวายพระพรว่า “มหาบพิตร พระตถาคตทรงละอกุศลธรรม
ได้ทุกอย่าง ทรงประกอบด้วยกุศลธรรม ขอถวายพระพร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๘. พาหิติกสูตร

พระเจ้าปเสนทิโกศลถวายผ้าพาหิติกา

[๓๖๒] พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสว่า “พระคุณเจ้า น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคย
ปรากฏ พระคุณเจ้าอานนท์กล่าวภาษิตนี้ดีเหลือเกิน พวกโยมมีใจชื่นชมยินดีด้วย
ภาษิตของพระคุณเจ้าอานนท์นี้ พวกโยมมีใจชื่นชมยินดีด้วยภาษิตของพระคุณเจ้า
อานนท์อย่างนี้ ถ้าช้างแก้วสมควรแก่พระคุณเจ้าอานนท์ แม้ช้างแก้วพวกโยม
ก็สมควรถวายแก่พระคุณเจ้าอานนท์ ถ้าม้าแก้วสมควรแก่พระคุณเจ้าอานนท์
แม้ม้าแก้วพวกโยมก็สมควรถวายแก่พระคุณเจ้าอานนท์ ถ้าบ้านส่วยสมควรแก่
พระคุณเจ้าอานนท์ แม้บ้านส่วยพวกโยมก็สมควรถวายแก่พระคุณเจ้าอานนท์’ แต่พวก
โยมรู้อยู่ว่า ‘นั่นไม่สมควรแก่พระคุณเจ้าอานนท์เลย’
พระคุณเจ้า ผ้าพาหิติกา๑ผืนนี้ยาว ๑๖ ศอกถ้วน กว้าง ๘ ศอกถ้วน
พระเจ้าแผ่นดินมคธพระนามว่าอชาตศัตรูเวเทหิบุตร ทรงใส่ในคันฉัตรส่งมาประทาน
แก่โยม ขอพระคุณเจ้าอานนท์โปรดอนุเคราะห์รับผ้าพาหิติกาไว้เถิด”
ท่านพระอานนท์ถวายพระพรว่า “อย่าเลย มหาบพิตร ไตรจีวรของอาตมภาพ
มีครบแล้ว ขอถวายพระพร”
พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสว่า “พระคุณเจ้า แม่น้ำอจิรวดีนี้ พระคุณเจ้าอานนท์
และพวกโยมเห็นแล้ว มหาเมฆยังฝนให้ตกบนภูเขา ภายหลังแม่น้ำอจิรวดีนี้ย่อม
ไหลเอ่อล้นฝั่งทั้งสอง ฉันใด ท่านพระอานนท์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักทำไตรจีวรของ
ตนด้วยผ้าพาหิติกานี้ และจักแบ่งไตรจีวรเก่ากับเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย เมื่อเป็น
อย่างนี้ ทักษิณาของพวกโยมนี้ คงจักแผ่ไปดุจแม่น้ำเอ่อล้นฝั่ง พระคุณเจ้า
ขอพระคุณเจ้าอานนท์โปรดรับผ้าพาหิติกาเถิด”
ท่านพระอานนท์รับผ้าพาหิติกาแล้ว ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ตรัสกับ
ท่านพระอานนท์ว่า “พระคุณเจ้า เอาเถิด บัดนี้ พวกโยมขอลากลับ เพราะมีกิจ
มีหน้าที่ที่จะต้องทำอีกมาก”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๙. ธัมมเจติยสูตร

ท่านพระอานนท์ถวายพระพรว่า “มหาบพิตร ขอพระองค์จงทรงกำหนดเวลา
ที่สมควร ณ บัดนี้เถิด”
ต่อจากนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงชื่นชมยินดีภาษิตของท่านพระอานนท์แล้ว
เสด็จลุกขึ้นจากที่ประทับ กราบท่านพระอานนท์ ทรงกระทำประทักษิณแล้วเสด็จจากไป
[๓๖๓] ครั้งนั้น เมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จจากไปไม่นาน ท่านพระอานนท์
ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูล
ถึงเรื่องการสนทนาปราศรัยกับพระเจ้าปเสนทิโกศลทั้งหมดแด่พระผู้มีพระภาค และได้
ถวายผ้าพาหิติกานั้นแด่พระผู้มีพระภาค
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เป็นลาภของพระเจ้าปเสนทิโกศล พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงได้ดีแล้ว ที่ท้าวเธอได้ทรง
พบอานนท์ และได้ประทับนั่งใกล้อานนท์”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมยินดีพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

พาหิติกสูตรที่ ๘ จบ

๙. ธัมมเจติยสูตร
ว่าด้วยธรรมเจดีย์

[๓๖๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของพวกเจ้าศากยะชื่อเมทฬุปะ
แคว้นสักกะ สมัยนั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จไปนิคมชื่อนครกะด้วยพระราช-
กรณียกิจบางอย่าง ลำดับนั้น ท้าวเธอรับสั่งกับเสนาบดีชื่อทีฆการายนะว่า “การายนะ
เพื่อนรัก ท่านจงจัดยานพาหนะคันงาม ๆ เตรียมไว้ เราจะไปดูสถานที่อันรื่นรมย์
ในอุทยานหลวง”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๙. ธัมมเจติยสูตร

ทีฆการายนเสนาบดีทูลรับสนองพระราชดำรัสแล้วให้จัดยานพาหนะคันงาม ๆ
หลายคันไว้ แล้วกราบทูลแด่พระเจ้าปเสนทิโกศลว่า “ขอเดชะ ข้าพระองค์จัดยาน
พาหนะคันงาม ๆ หลายคันไว้เพื่อพระองค์แล้ว ขอพระองค์ทรงกำหนดเวลาที่สมควร
ณ บัดนี้เถิด พระเจ้าข้า”
ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงขึ้นยานพาหนะคันงามเสด็จออกจากนิคม
ชื่อนครกะ พร้อมกับยานพาหนะคันงาม ๆ ตามเสด็จ ด้วยราชานุภาพอย่างยิ่งใหญ่
เสด็จไปยังอุทยานอันน่ารื่นรมย์ จนสุดทางที่ยานพาหนะจะไปได้แล้วลงจากยาน
เสด็จพระราชดำเนินด้วยพระบาทเข้าไปยังอุทยาน ท้าวเธอพระราชดำเนินพักผ่อน
ไปมาในอุทยาน ได้ทอดพระเนตรเห็นหมู่ไม้ล้วนน่าร่มรื่น ชวนให้เกิดความเพลินใจ
มีเสียงน้อย มีเสียงอึกทึกน้อย ปราศจากการสัญจรไปมาของผู้คน ควรเป็นสถาน
ที่ทำการลับของมนุษย์ สมควรเป็นที่หลีกเร้น ครั้นเห็นแล้วทรงเกิดพระปีติปรารภ
พระผู้มีพระภาคว่า
“หมู่ไม้เหล่านี้ล้วนน่าร่มรื่น ชวนให้เกิดความเพลินใจ มีเสียงน้อย มีเสียงอึกทึก
น้อย ปราศจากการสัญจรไปมาของผู้คน ควรเป็นสถานที่ทำการลับของมนุษย์
สมควรเป็นที่หลีกเร้น เป็นเหมือนสถานที่ที่เราเคยเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้ามาก่อน”
[๓๖๕] ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลรับสั่งเรียกทีฆการายนเสนาบดีมาตรัสว่า
“การายนะเพื่อนรัก หมู่ไม้เหล่านี้ล้วนน่าร่มรื่น ชวนให้เกิดความเพลินใจ มีเสียงน้อย
มีเสียงอึกทึกน้อย ปราศจากการสัญจรไปมาของผู้คน ควรเป็นสถานที่ทำการลับ
ของมนุษย์ สมควรเป็นที่หลีกเร้น เป็นเหมือนสถานที่ที่เราเคยเข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ามาก่อน
การายนะเพื่อนรัก บัดนี้ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ประทับอยู่ ณ ที่ไหน”
ทีฆการายนเสนาบดีกราบทูลว่า “บัดนี้ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นประทับอยู่ที่นิคมของพวกเจ้าศากยะชื่อเมทฬุปะ พระเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๙. ธัมมเจติยสูตร

พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสถามว่า “การายนะเพื่อนรัก นิคมของพวกเจ้าศากยะ
ชื่อเมทฬุปะ อยู่ห่างจากนิคมชื่อนครกะเท่าไร”
ทีฆการายนเสนาบดีทูลตอบว่า “ไม่ไกลนัก ระยะทางประมาณ ๓ โยชน์
อาจเสด็จไปถึงได้โดยใช้ระยะเวลาไม่ถึงวัน พระเจ้าข้า”
พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสว่า “การายนะเพื่อนรัก ถ้าเช่นนั้น ท่านจงจัดยาน
พาหนะคันงาม ๆ หลายคันไว้ เราจักไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระองค์นั้น”
ทีฆการายนเสนาบดีทูลรับสนองพระราชดำรัสแล้วสั่งให้จัดยานพาหนะคันงาม ๆ
หลายคันไว้ แล้วกราบทูลพระเจ้าปเสนทิโกศลว่า “ขอเดชะ ข้าพระองค์จัดยาน
พาหนะคันงาม ๆ หลายคันไว้แล้ว พระเจ้าข้า ขอพระองค์ทรงกำหนดเวลาที่สมควร
ณ บัดนี้เถิด”
ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงขึ้นยานพาหนะคันงาม เสด็จออกจากนิคม
ชื่อนครกะ พร้อมกับยานพาหนะคันงาม ๆ ตามเสด็จ ถึงนิคมของพวกเจ้าศากยะ
ชื่อเมทฬุปะโดยใช้เวลาไม่ถึงวัน เสด็จไปยังอารามจนสุดทางที่ยานพาหนะจะไปได้แล้ว
ลงจากยาน เสด็จพระราชดำเนินด้วยพระบาทเข้าไปยังอาราม

พระเจ้าปเสนทิโกศลเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค

[๓๖๖] สมัยนั้น ภิกษุหลายรูปเดินจงกรมอยู่ที่กลางแจ้ง ลำดับนั้น พระเจ้า
ปเสนทิโกศลเสด็จเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นถึงที่อยู่ แล้วตรัสถามว่า “พระคุณเจ้า
ผู้เจริญ บัดนี้ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นประทับอยู่ ณ
ที่ไหนหนอ โยมประสงค์จะเฝ้าพระองค์”
ภิกษุเหล่านั้นถวายพระพรว่า “ขอมหาบพิตร จงเงียบเสียง เสด็จเข้าไปยัง
พระวิหารหลังนั้นซึ่งมีประตูปิดสนิทดีแล้ว อย่าทรงรีบด่วน เสด็จเข้าไปยังระเบียง
ทรงกระแอม แล้วทรงเคาะกลอนประตูนิดหน่อยเถิด พระผู้มีพระภาคจักทรงเปิด
ประตูรับ ขอถวายพระพร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๙. ธัมมเจติยสูตร

ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงมอบพระแสงขรรค์และพระอุณหิสแก่ทีฆ-
การายนเสนาบดีในที่นั้น หลังจากนั้นทีฆการายนเสนาบดีได้คิดว่า “บัดนี้ พระมหาราชจัก
ทรงปรึกษาความลับ เราควรจะยืนอยู่ในที่นี้แล”
ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ทรงเงียบเสียง เสด็จเข้าไปยังพระวิหารหลัง
นั้นซึ่งมีประตูปิดสนิทดีแล้ว มิได้ทรงรีบด่วน เสด็จเข้าไปยังระเบียง ทรงกระแอม
แล้วทรงเคาะกลอนประตูนิดหน่อย พระผู้มีพระภาคทรงเปิดประตูรับ
ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จเข้าไปยังพระวิหาร ทรงซบพระเศียรลงจุมพิต
พระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยพระโอษฐ์ ทรงนวดพระยุคลบาทด้วยฝ่าพระหัตถ์
ทั้งสอง และทรงประกาศพระนามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันคือพระเจ้า
ปเสนทิโกศล ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันคือพระเจ้าปเสนทิโกศล”

ทรงสรรเสริญพระธรรมวินัย

[๓๖๗] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “มหาบพิตร พระองค์ทรงเห็นอำนาจ
ประโยชน์อะไร จึงทรงกระทำความนอบน้อมเป็นอย่างยิ่งในสรีระนี้ถึงเพียงนี้ และทรง
แสดงอาการฉันมิตรถึงเพียงนี้”
พระเจ้าปเสนทิโกศลทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันมีความเห็น
คล้อยตามธรรม๑ในพระผู้มีพระภาคว่า ‘พระผู้มีพระภาคตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ
พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้
ปฏิบัติดีแล้ว’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส หม่อมฉันเห็นสมณพราหมณ์
พวกหนึ่ง ประพฤติพรหมจรรย์มีกำหนด ๑๐ ปีบ้าง ๒๐ ปีบ้าง ๓๐ ปีบ้าง ๔๐ ปีบ้าง
สมัยต่อมา สมณพราหมณ์เหล่านั้นอาบน้ำดำหัว ลูบไล้อย่างดี แต่งผมและหนวด
บำเรอตนให้เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ประการ แต่หม่อมฉันได้เห็นภิกษุ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๙. ธัมมเจติยสูตร

ทั้งหลายในพระธรรมวินัยนี้ ประพฤติพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์บริบูรณ์ มอบกาย
ถวายชีวิตอยู่
อนึ่ง หม่อมฉันไม่เห็นพรหมจรรย์อื่นที่บริสุทธิ์ บริบูรณ์อย่างนี้ นอกจาก
พระธรรมวินัยนี้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้เองที่หม่อมฉันมีความเห็นคล้อยตามธรรม
ในพระผู้มีพระภาคว่า ‘พระผู้มีพระภาคตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ พระธรรม
อันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว’
[๓๖๘] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อีกประการหนึ่ง แม้พระราชายังวิวาทกับ
พระราชา แม้กษัตริย์ยังวิวาทกับกษัตริย์ แม้พราหมณ์ยังวิวาทกับพราหมณ์
แม้คหบดียังวิวาทกับคหบดี แม้มารดายังวิวาทกับบุตร แม้บุตรยังวิวาทกับมารดา
แม้บิดายังวิวาทกับบุตร แม้บุตรยังวิวาทกับบิดา แม้พี่ชายน้องชายยังวิวาทกับ
พี่สาวน้องสาว แม้พี่สาวน้องสาวยังวิวาทกับพี่ชายน้องชาย แม้สหายก็ยังวิวาทกับ
สหาย แต่หม่อมฉันได้เห็นภิกษุทั้งหลายในพระธรรมวินัยนี้ สมัครสมานสามัคคี
ไม่วิวาทกัน เข้ากันได้สนิทเหมือนน้ำกับน้ำนม มองดูกันและกันด้วยสายตาเปี่ยม
ด้วยความรักอยู่ หม่อมฉันไม่เห็นบริษัทอื่นที่สมัครสมานสามัคคีกันอย่างนี้ นอกจาก
บริษัทนี้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้เองที่หม่อมฉันมีความเห็นคล้อยตามธรรม
ในพระผู้มีพระภาคว่า ‘พระผู้มีพระภาคตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ พระธรรม
อันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว’
[๓๖๙] อีกประการหนึ่ง หม่อมฉันเดินเที่ยวชมรอบ ๆ พระอาราม รอบ ๆ
อุทยานไปมา ณ ที่นั้น ๆ หม่อมฉันได้เห็นสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ซูบผอม มีผิวพรรณ
ไม่ผ่องใส ผอมเหลือง ตามตัวสะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น ดูเหมือนว่าจะไม่กล้าสบตาคน
หม่อมฉันนั้นได้เกิดความดำริว่า ‘ท่านเหล่านี้คงไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์เป็นแน่
หรือว่าท่านเหล่านั้นมีบาปกรรมอะไร ที่ทำแล้วปกปิดไว้ ท่านเหล่านั้นจึงซูบผอม
มีผิวพรรณไม่ผ่องใส ผอมเหลือง ตามตัวสะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น ดูเหมือนว่าจะไม่
กล้าสบตาคน’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๙. ธัมมเจติยสูตร

หม่อมฉันเข้าไปหาสมณพราหมณ์เหล่านั้น แล้วถามอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุ
ทั้งหลาย เหตุไร พวกท่านจึงซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณไม่ผ่องใส ผอมเหลือง
ตามตัวสะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น ดูเหมือนว่าจะไม่กล้าสบตาคน’
สมณพราหมณ์เหล่านั้นได้ตอบอย่างนี้ว่า ‘มหาบพิตร พวกอาตมภาพเป็นโรค
พันธุกรรม๑’
แต่หม่อมฉันได้เห็นภิกษุทั้งหลายในพระธรรมวินัยนี้ ร่าเริงยิ่งนัก มีใจชื่นบาน
มีรูปอันน่ายินดี มีอินทรีย์ผ่องใส มีความขวนขวายน้อย ไม่หวาดกลัว เลี้ยงชีพด้วย
ของที่ผู้อื่นให้ มีจิตดุจมฤคอยู่
หม่อมฉันนั้นได้ดำริว่า ‘ท่านเหล่านี้ คงรู้คุณวิเศษขึ้นไปกว่าเดิมในศาสนาของ
พระผู้มีพระภาคเป็นแน่ ท่านเหล่านี้จึงร่าเริงยินดียิ่งนัก มีจิตชื่นบาน มีรูปอันน่า
ยินดี มีอินทรีย์ผ่องใส มีความขวนขวายน้อย ไม่หวาดกลัว เลี้ยงชีพด้วยของที่ผู้อื่นให้
มีจิตดุจมฤคอยู่’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้เองที่หม่อมฉันมีความเห็นคล้อยตามธรรม
ในพระผู้มีพระภาคว่า ‘พระผู้มีพระภาคตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ พระธรรม
อันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว’
[๓๗๐] อีกประการหนึ่ง หม่อมฉันเป็นราชามหากษัตริย์ผู้ได้รับมูรธาภิเษก๒แล้ว
ย่อมสามารถที่จะฆ่าคนที่สมควรฆ่าได้ จะให้ริบทรัพย์ของคนที่สมควรริบได้ จะให้
เนรเทศคนที่สมควรเนรเทศได้ เมื่อหม่อมฉันนั่งอยู่ในที่วินิจฉัยอรรถคดี ก็ยังมีคน
ทั้งหลายพูดแทรกขึ้นมาในระหว่าง ๆ หม่อมฉันนั้นไม่ได้เพื่อจะห้ามว่า ‘ท่านผู้เจริญ
ทั้งหลาย เมื่อเรานั่งอยู่ในที่วินิจฉัยอรรถคดี พวกท่านอย่าพูดแทรกขึ้นระหว่าง
ถ้อยคำของเรา จงรอให้เราพูดจบเสียก่อน’


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๙. ธัมมเจติยสูตร

คนทั้งหลายก็ยังพูดแทรกขึ้นในระหว่างถ้อยคำของหม่อมฉัน แต่หม่อมฉันได้
เห็นภิกษุทั้งหลายในพระธรรมวินัยนี้ ในสมัยที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมแก่
บริษัทหลายร้อย สาวกทั้งหลายของพระผู้มีพระภาค ก็ไม่มีเสียงไอหรือเสียงจามเลย
เรื่องเคยมีมาแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมแก่บริษัทหลายร้อย ในบริษัทนั้น
สาวกของพระผู้มีพระภาครูปหนึ่งได้ไอขึ้น เพื่อนพรหมจารีรูปหนึ่งได้ใช้เข่าสะกิดเธอ
ด้วยความประสงค์ให้เธอรู้สึกตัวได้ว่า ‘ท่านจงเงียบ อย่าทำเสียงดังไป พระผู้มีพระภาค
ผู้เป็นศาสดาของเราทั้งหลายทรงแสดงธรรมอยู่’
หม่อมฉันนั้นได้ดำริว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ
ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคทรงแนะนำบริษัทอย่างดีเช่นนี้ โดยไม่ต้องใช้อาชญา โดยไม่ต้อง
ใช้ศัสตราเลย’ หม่อมฉันไม่เห็นบริษัทอื่นที่ได้รับการแนะนำอย่างดีเช่นนี้ นอกจาก
บริษัทนี้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้เองที่หม่อมฉันมีความเห็นคล้อยตามธรรม
ในพระผู้มีพระภาคว่า ‘พระผู้มีพระภาคตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ พระธรรม
อันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว’
[๓๗๑] อีกประการหนึ่ง หม่อมฉันได้เห็นกษัตริย์ ผู้เป็นบัณฑิตบางพวก
ในโลกนี้ มีปัญญาละเอียดอ่อน โต้วาทะกับคนอื่นได้ สามารถนับขนทรายได้ กษัตริย์
เหล่านั้นเหมือนดั่งเที่ยวทำลายทิฏฐิของผู้อื่นด้วยปัญญา พอได้ฟังข่าวว่า ‘ท่านผู้
เจริญทั้งหลาย ได้ยินว่า พระสมณโคดมจักเสด็จมาถึงบ้านหรือนิคมชื่อโน้น’ กษัตริย์
เหล่านั้นก็พากันแต่งปัญหา ด้วยตั้งใจว่า ‘เราทั้งหลายจักพากันเข้าไปหาพระสมณ-
โคดมแล้วถามปัญหานี้ ถ้าพระสมณโคดมถูกเราทั้งหลายถามแล้วอย่างนี้ จักตรัส
ตอบอย่างนี้ เราทั้งหลายจักโต้วาทะอย่างนี้กับพระสมณโคดม ถ้าแม้พระสมณโคดม
ถูกเราทั้งหลายถามแล้วอย่างนี้ จักตรัสตอบอย่างนี้ เราทั้งหลายจักโต้วาทะอย่างนี้
กับพระสมณโคดม’
กษัตริย์เหล่านั้นได้ฟังข่าวว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้ยินว่า พระสมณโคดม
เสด็จมาถึงบ้านหรือนิคมโน้น’ แล้วก็พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้กษัตริย์เหล่านั้นเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๙. ธัมมเจติยสูตร

เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา กษัตริย์
เหล่านั้นที่พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจ
ให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา ก็ไม่ทูลถามปัญหา
กับพระผู้มีพระภาคอีก ที่ไหนจักโต้วาทะกับพระองค์ได้เล่า โดยที่แท้ก็พากันยอมตน
เข้าเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้เองที่หม่อมฉันมีความเห็นคล้อยตามธรรมของ
พระผู้มีพระภาคว่า ‘พระผู้มีพระภาคตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ พระธรรม
อันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว’
[๓๗๒] อีกประการหนึ่ง หม่อมฉันได้เห็นพราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิต ฯลฯ
คหบดีผู้เป็นบัณฑิต ฯลฯ สมณะผู้เป็นบัณฑิตบางพวกในโลกนี้ มีปัญญาละเอียด
อ่อน โต้วาทะกันคนอื่นได้ สามารถนับขนทรายได้ สมณะเหล่านั้นเหมือนดั่งเที่ยว
ทำลายทิฏฐิของผู้อื่นด้วยปัญญา พอได้ฟังข่าวว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้ยินว่า
พระสมณโคดมจักเสด็จมาถึงบ้านหรือนิคมชื่อโน้น’ สมณะเหล่านั้นก็พากันแต่ง
ปัญหา ด้วยตั้งใจว่า ‘เราทั้งหลายจักพากันเข้าไปหาพระสมณโคดมแล้วถามปัญหานี้
ถ้าพระโคดมถูกเราทั้งหลายถามแล้วอย่างนี้ จักตรัสตอบอย่างนี้ เราทั้งหลาย
จักโต้วาทะอย่างนี้กับพระสมณโคดม ถ้าแม้พระสมณโคดมถูกเราทั้งหลายถามแล้ว
อย่างนี้ จักตรัสตอบอย่างนี้ เราทั้งหลายจักโต้วาทะอย่างนี้กับพระสมณโคดม’
สมณะเหล่านั้นได้ฟังข่าวว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้ยินว่า พระสมณโคดม
เสด็จมาถึงบ้านหรือนิคมโน้น’ แล้วก็พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้สมณะเหล่านั้นเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ
เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา สมณะ
เหล่านั้นที่พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจ
ให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง ด้วยธรรมีกถาก็ไม่ทูลถาม
ปัญหากับพระผู้มีพระภาคอีก ที่ไหนจักโต้วาทะกับพระองค์ได้เล่า โดยที่แท้ก็ขอโอกาส
เพื่อออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตกับพระผู้มีพระภาค

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๙. ธัมมเจติยสูตร

พระผู้มีพระภาคก็ทรงให้พวกเขาบวช พวกเขาเมื่อบวชแล้วอย่างนี้ก็หลีกไปอยู่
ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนักก็ทำให้แจ้งซึ่ง
ประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวช
เป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน พวกเขา
พากันกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลายไม่พินาศละซิหนอ ท่านผู้เจริญ เราทั้งหลาย
ไม่พินาศละซิหนอ ท่านผู้เจริญ ด้วยว่า เมื่อก่อนเราทั้งหลายไม่ได้เป็นสมณะเลย
ก็ปฏิญญาว่า ‘เป็นสมณะ’ ไม่ได้เป็นพราหมณ์เลยก็ปฏิญญาว่า ‘เป็นพราหมณ์’
ไม่ได้เป็นพระอรหันต์เลยก็ปฏิญญาว่า ‘เป็นพระอรหันต์’ บัดนี้ เราทั้งหลายเป็น
สมณะ เป็นพราหมณ์ เป็นพระอรหันต์’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้เองที่หม่อมฉันมีความเห็นคล้อยตามธรรม
ในพระผู้มีพระภาคว่า ‘พระผู้มีพระภาคตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ พระธรรม
อันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว’
[๓๗๓] อีกประการหนึ่ง ช่างไม้ชื่ออิสิทันตะ และช่างไม้ชื่อปุราณะเหล่านี้
กินอยู่กับหม่อมฉัน ใช้ยวดยานของหม่อมฉัน หม่อมฉันให้เครื่องเลี้ยงชีพแก่เขา
ตั้งยศให้เขา แต่ถึงกระนั้น พวกเขาจะทำความเคารพนบนอบในหม่อมฉันเหมือน
ในพระผู้มีพระภาคก็หาไม่
เรื่องเคยมีมาแล้ว หม่อมฉันยกกองทัพออกไป เมื่อจะทดลองช่างไม้ชื่อ
อิสิทันตะ และช่างไม้ชื่อปุราณะเหล่านี้ จึงเข้าพักในที่พักอันแคบแห่งหนึ่ง ครั้งนั้นแล
ช่างไม้ชื่ออิสิทันตะและช่างไม้ชื่อปุราณะ เหล่านี้ใช้เวลาให้หมดไปด้วยการสนทนา
ธรรมีกถาตลอดราตรีเป็นส่วนใหญ่ ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ทางทิศใด
พวกเขาก็หันศีรษะไปทางทิศนั้น นอนเหยียดเท้ามาทางหม่อมฉัน หม่อมฉันนั้นได้
ดำริว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ช่างไม้ชื่ออิสิทันตะ
และช่างไม้ชื่อปุราณะเหล่านี้กินอยู่กับเรา ใช้ยวดยานของเรา เราให้เครื่องเลี้ยงชีพ
แก่พวกเขา ตั้งยศให้พวกเขา แต่ถึงกระนั้น พวกเขาจะได้ทำความเคารพนบนอบ
ในเรา เหมือนในพระผู้มีพระภาคก็หาไม่ ทั้ง ๒ คนนี้คงจะรู้คุณวิเศษยิ่งขึ้นไป
กว่าเดิม ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นแน่’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๙. ธัมมเจติยสูตร

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้เองที่หม่อมฉันมีความเห็นคล้อยตามธรรม
ในพระผู้มีพระภาคว่า ‘พระผู้มีพระภาคตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ พระธรรม
อันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว’

พระพุทธเจ้ากับพระเจ้าปเสนทิโกศลมีพระชนม์เท่ากัน

[๓๗๔] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อีกประการหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็น
กษัตริย์ แม้หม่อมฉันก็เป็นกษัตริย์ พระผู้มีพระภาคทรงเป็นชาวโกศล แม้หม่อมฉัน
ก็เป็นชาวโกศล พระผู้มีพระภาคทรงมีพระชนมายุ ๘๐ พรรษา แม้หม่อมฉันก็มี
อายุ ๘๐ ปี แม้ด้วยการที่พระผู้มีพระภาคทรงเป็นกษัตริย์ แม้หม่อมฉันก็เป็น
กษัตริย์ พระผู้มีพระภาคทรงเป็นชาวโกศล แม้หม่อมฉันก็เป็นชาวโกศล พระผู้มี
พระภาคทรงมีพระชนมายุ ๘๐ พรรษา แม้หม่อมฉันก็มีอายุ ๘๐ ปีนี้ หม่อมฉัน
จึงได้ทำความเคารพนบนอบเป็นอย่างยิ่งในพระผู้มีพระภาค และแสดงอาการฉันมิตร
ถึงเพียงนี้ เอาเถิด บัดนี้ หม่อมฉันขอทูลลากลับ เพราะมีกิจ มีหน้าที่ที่จะต้องทำ
อีกมาก พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มหาบพิตร ขอพระองค์จงกำหนดเวลาที่สมควร ณ
บัดนี้เถิด”
ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงลุกจากที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มี
พระภาค ทรงกระทำประทักษิณแล้วเสด็จจากไป
ครั้งนั้นแล เมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จจากไปไม่นาน พระผู้มีพระภาครับสั่ง
เรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าปเสนทิโกศลพระองค์นี้ตรัส
ธรรมเจดีย์๑ ทรงลุกจากที่ประทับแล้วเสด็จจากไป เธอทั้งหลายจงเรียนธรรมเจดีย์


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๑๐. กัณณกัตถลสูตร

จงศึกษา จงทรงจำธรรมเจดีย์นี้ไว้ ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเจดีย์ประกอบด้วยประโยชน์
เป็นอาทิพรหมจรรย์๑”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

ธัมมเจติยสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. กัณณกัตถลสูตร
ว่าด้วยเหตุการณ์ที่ตำบลกัณณกัตถละ

[๓๗๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ตำบลกัณณกัตถละเป็นที่ให้อภัย
หมู่เนื้อ ใกล้นครชื่ออุทัญญา สมัยนั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จไปยังอุทัญญานคร
ด้วยพระราชกรณียกิจบางอย่าง ได้รับสั่งเรียกบุรุษคนหนึ่งมาตรัสว่า
“มาเถิด พ่อยอดชาย เธอจงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้ว
ถวายอภิวาทพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า จงทูลถามถึงพระสุขภาพ
ความมีพระโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพระพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ
ตามคำของเราว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเจ้าปเสนทิโกศลขอถวายอภิวาท
พระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า ทูลถามถึงพระสุขภาพ ความมี
พระโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพระพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ’ และจง
กราบทูลอย่างนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ได้ทราบว่า วันนี้พระเจ้าปเสนทิโกศล
เสวยพระกระยาหารเช้าเสร็จแล้ว ภายหลังเวลาพระกระยาหาร จักเสด็จมาเฝ้า
พระผู้มีพระภาค”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๑๐. กัณณกัตถลสูตร

บุรุษนั้นทูลรับสนองพระราชดำรัสแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเจ้าปเสนทิโกศลขอถวายอภิวาทพระยุคลบาทของ
พระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า ทรงทูลถามถึงพระสุขภาพ ความมีพระโรคาพาธน้อย
กระปรี้กระเปร่า มีพระพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ และกราบทูลอย่างนี้ว่า
‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ได้ทราบว่า วันนี้พระเจ้าปเสนทิโกศลเสวยพระกระยาหารเช้า
เสร็จแล้ว ภายหลังเวลาพระกระยาหาร จักเสด็จมาเฝ้าพระผู้มีพระภาค พระพุทธเจ้าข้า”
พระภคินีทรงพระนามว่าโสมา และพระภคินีทรงพระนามว่าสกุลา ได้ทรงสดับ
ข่าวว่า “ได้ยินว่า วันนี้ พระเจ้าปเสนทิโกศลเสวยพระกระยาหารเช้าเสร็จแล้ว
ภายหลังเวลาพระกระยาหารจักเสด็จไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค” เวลานั้นเอง พระภคินี-
โสมา และพระภคินีสกุลา จึงเสด็จเข้าไปเฝ้าพระเจ้าปเสนทิโกศลในที่เสวยพระกระยาหาร
แล้วได้กราบทูลว่า
“ข้าแต่มหาราช ถ้าเช่นนั้น ขอพระองค์จงทรงถวายอภิวาทพระยุคลบาทของ
พระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า จงทรงถามถึงพระสุขภาพ ความมีพระโรคาพาธน้อย
กระปรี้กระเปร่า มีพระพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ ตามคำของหม่อมฉัน
ทั้งสองว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภคินีโสมาและพระภคินีสกุลา ขอถวาย
อภิวาทพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า ทูลถามถึงพระสุขภาพ
ความมีพระโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพระพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ เพคะ”

พระเจ้าปเสนทิโกศลเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า

[๓๗๖] ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสวยพระกระยาหารเช้าเสร็จแล้ว
ภายหลังเวลาพระกระยาหาร เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ทรงถวาย
อภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภคินีโสมาและพระภคินีสกุลา ขอถวายอภิวาท
พระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า ทูลถามถึงพระสุขภาพ ความมี
พระโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพระพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๑๐. กัณณกัตถลสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “มหาบพิตร พระภคินีโสมาและพระภคินีสกุลา
ไม่ทรงได้ผู้อื่นเป็นทูตแล้วหรือ”
พระเจ้าปเสนทิโกศลทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภคินีโสมาและ
พระภคินีสกุลา ได้สดับข่าวว่า ‘ได้ยินว่า วันนี้ พระเจ้าปเสนทิโกศลบริโภค
อาหารเช้าเสร็จแล้ว ภายหลังเวลาพระกระยาหารจักมาเฝ้าพระผู้มีพระภาค’ ครั้งนั้น
พระภคินีโสมาและพระภคินีสกุลา ได้เข้ามาหาหม่อมฉันในที่บริโภคอาหารแล้ว
รับสั่งว่า ‘ข้าแต่มหาราช ถ้าเช่นนั้น ขอพระองค์ทรงถวายอภิวาทพระยุคลบาท
ของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า ขอจงทูลถามถึงพระสุขภาพ ความมีพระ
โรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพระพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ ตามคำของ
หม่อมฉันทั้งสองว่า ‘พระภคินีโสมาและพระภคินีสกุลาขอถวายอภิวาทพระยุคลบาท
ของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า และทูลถามถึงพระสุขภาพ ความมีพระโรคาพาธ
น้อย กระปรี้กระเปร่า มีพระพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ’ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มหาบพิตร ขอพระภคินีโสมาและพระภคินีสกุลา
จงทรงพระสำราญเถิด”
[๓๗๗] ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศล ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้สดับมาอย่างนี้ว่า ‘พระสมณโคดมตรัส
อย่างนี้ว่า ‘ไม่มีสมณะหรือพราหมณ์ผู้เป็นสัพพัญญู มีปกติเห็นธรรมทั้งปวง
จักปฏิญญาญาณทัสสนะอย่างเบ็ดเสร็จ เหตุนี้เป็นไปไม่ได้’ ชนเหล่าใดกล่าว
อย่างนี้ว่า ‘พระสมณโคดมตรัสอย่างนี้ว่า ‘ไม่มีสมณะหรือพราหมณ์ผู้เป็นสัพพัญญู
มีปกติเห็นธรรมทั้งปวง จักปฏิญญาญาณทัสสนะอย่างเบ็ดเสร็จ เหตุนี้เป็นไปไม่ได้’
ชนเหล่านั้นชื่อว่าพูดตรงตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาค
ด้วยคำเท็จหรือ ชื่อว่ากล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผลหรือ ไม่มีบ้างหรือที่คำกล่าวเช่นนั้น
และคำที่กล่าวต่อ ๆ กันมาจะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “มหาบพิตร ชนเหล่าใดกล่าวอย่างนี้ว่า
‘พระสมณโคดมตรัสอย่างนี้ว่า ‘ไม่มีสมณะหรือพราหมณ์ผู้เป็นสัพพัญญู มีปกติ
เห็นธรรมทั้งปวง จักปฏิญญาญาณทัสสนะอย่างเบ็ดเสร็จ เหตุนี้เป็นไปไม่ได้’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๑๐. กัณณกัตถลสูตร

ชนเหล่านั้นไม่ชื่อว่าพูดตรงตามที่อาตมภาพกล่าวแล้ว ชื่อว่ากล่าวตู่อาตมภาพด้วย
คำเท็จ ขอถวายพระพร”
[๓๗๘] ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงรับสั่งเรียกเสนาบดีชื่อวิฑูฑภะมา
ตรัสว่า “เสนาบดี ใครหนอกล่าวเรื่องนี้ภายในพระราชวัง”
วิฑูฑภเสนาบดีกราบทูลว่า “ข้าแต่มหาราช พราหมณ์ชื่อสัญชัย อากาสโคตร
กล่าว พระเจ้าข้า”
จากนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลรับสั่งเรียกบุรุษคนหนึ่งมาตรัสว่า “มาเถิด
พ่อยอดชาย เธอจงไปเชิญพราหมณ์สัญชัย อากาสโคตรตามคำของเราว่า ‘ท่านผู้เจริญ
พระเจ้าปเสนทิโกศลรับสั่งเรียกท่าน”
บุรุษนั้นทูลรับสนองพระราชดำรัสแล้วได้เข้าไปหาพราหมณ์สัญชัย อากาสโคตร
ถึงที่อยู่ แล้วกล่าวกับพราหมณ์สัญชัย อากาสโคตรว่า “ท่านผู้เจริญ พระเจ้า
ปเสนทิโกศลตรัสเรียกท่าน”
จากนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ พระดำรัสอย่างหนึ่งที่พระผู้มีพระภาคทรงหมายเอาเนื้อความบางอย่าง
ตรัสไว้ แต่คนกลับเข้าใจพระดำรัสไปอีกอย่างหนึ่ง มีบ้างไหม พระผู้มีพระภาค
ยังทรงจำพระดำรัสที่ตรัสแล้วได้อยู่หรือ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “มหาบพิตร อาตมภาพจำคำที่กล่าวแล้วได้ดี
คือคำที่กล่าวไว้แล้วอย่างนี้ว่า ‘ไม่มีสมณะหรือพราหมณ์ผู้รู้ มีปกติเห็นธรรมทั้งปวง
ในคราวเดียวกัน เหตุนี้เป็นไปไม่ได้”
พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาค
ได้ตรัสสภาพที่เป็นเหตุ ทั้งยังตรัสสภาพที่เป็นผลว่า ‘ไม่มีสมณะหรือพราหมณ์ผู้รู้
มีปกติเห็นธรรมทั้งปวง ในคราวเดียวกัน เหตุนี้เป็นไปไม่ได้’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๑๐. กัณณกัตถลสูตร

วรรณะ ๔ จำพวก

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วรรณะ ๔ จำพวกนี้ คือ (๑) กษัตริย์ (๒) พราหมณ์
(๓) แพศย์ (๔) ศูทร วรรณะ ๔ จำพวกนี้ จะพึงมีความผิดแผกแตกต่างกันบ้างไหม”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มหาบพิตร วรรณะ ๔ จำพวกนี้ คือ (๑) กษัตริย์
(๒) พราหมณ์ (๓) แพศย์ (๔) ศูทร บรรดาวรรณะ ๔ จำพวกนี้ วรรณะ ๒ จำพวก
คือ กษัตริย์และพราหมณ์ อาตมภาพกล่าวว่าเป็นผู้เลิศ คือเป็นที่ไหว้ เป็นที่ลุกรับ
เป็นที่กราบไหว้ เป็นที่กระทำสามีจิกรรม ขอถวายพระพร”
พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันมิได้ทูลถาม
ถึงความแปลกกันในปัจจุบันกับพระผู้มีพระภาค หม่อมฉันทูลถามถึงความแปลกกัน
ในสัมปรายภพกับพระผู้มีพระภาคต่างหาก วรรณะ ๔ จำพวกนี้ คือ (๑) กษัตริย์
(๒) พราหมณ์ (๓) แพศย์ (๔) ศูทร วรรณะ ๔ จำพวกนี้จะพึงมีความผิดแผกแตกต่าง
กันบ้างไหม พระพุทธเจ้าข้า”

องค์ของภิกษุผู้บำเพ็ญเพียร

[๓๗๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มหาบพิตร องค์ของภิกษุผู้บำเพ็ญเพียร
มี ๕ ประการนี้
องค์ของภิกษุผู้บำเพ็ญเพียร ๕ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาเครื่องตรัสรู้๑ของตถาคตว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้
ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี
รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของ
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๑๐. กัณณกัตถลสูตร

๒. เป็นผู้มีสุขภาพมีโรคาพาธน้อย ประกอบด้วยไฟธาตุสำหรับย่อยอาหาร
สม่ำเสมอ ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก ปานกลาง เหมาะแก่การบำเพ็ญ
เพียร
๓. เป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา ทำตนให้เปิดเผยตามความเป็นจริงใน
ศาสดา หรือในเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลาย
๔. เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมเกิด
มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม
ทั้งหลายอยู่
๕. เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาเห็น
ทั้งความเกิดและความดับ อันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้น
ทุกข์โดยชอบ
มหาบพิตร องค์ของภิกษุผู้บำเพ็ญเพียร ๕ ประการนี้แล๑
วรรณะ ๔ จำพวกนี้ คือ (๑) กษัตริย์ (๒) พราหมณ์ (๓) แพศย์ (๔) ศูทร
ถ้าวรรณะ ๔ จำพวกนั้นเป็นผู้ประกอบด้วยองค์ของภิกษุผู้มีความเพียร ๕ ประการนี้
ข้อนั้นก็จะเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุขแก่วรรณะ ๔ จำพวกตลอดกาลนาน
ขอถวายพระพร”
พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วรรณะ ๔ จำพวกนี้
คือ (๑) กษัตริย์ (๒) พราหมณ์ (๓) แพศย์ (๔) ศูทร ถ้าวรรณะ ๔ จำพวกนั้นเป็นผู้
ประกอบด้วยองค์ของภิกษุผู้มีความเพียร ๕ ประการนี้ ในข้อนี้ วรรณะ ๔ จำพวก
นั้นจะมีอะไรผิดแผกแตกต่างกันเล่า พระพุทธเจ้าข้า”
“มหาบพิตร ในข้อนี้ อาตมภาพกล่าวถึงวรรณะทั้ง ๔ จำพวก มีความ
แตกต่างกันด้วยความเพียร เปรียบเหมือนสัตว์คู่หนึ่ง เป็นช้างที่ควรฝึกก็ตาม เป็นม้า
ที่ควรฝึกก็ตาม เป็นโคที่ควรฝึกก็ตาม เขาฝึกดีแล้ว แนะนำดีแล้ว หรือว่าสัตว์คู่หนึ่ง


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๑๐. กัณณกัตถลสูตร

คือช้างที่ควรฝึกก็ตาม ม้าที่ควรฝึกก็ตาม โคที่ควรฝึกก็ตาม ที่ยังไม่ได้ฝึก ยังไม่ได้
แนะนำ
มหาบพิตร พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร สัตว์คู่หนึ่งเป็น
ช้างที่ควรฝึกก็ตาม เป็นม้าที่ควรฝึกก็ตาม เป็นโคที่ควรฝึกก็ตาม เขาฝึกดีแล้ว
แนะนำดีแล้ว สัตว์คู่หนึ่งที่ฝึกแล้วเท่านั้น พึงถึงเหตุของสัตว์ที่ฝึกแล้ว พึงบรรลุภูมิ
ของสัตว์ที่ฝึกแล้ว มิใช่หรือ ขอถวายพระพร”
“ใช่ พระพุทธเจ้าข้า”
“มหาบพิตร สัตว์คู่หนึ่งจะเป็นช้างที่ควรฝึกก็ตาม เป็นม้าที่ควรฝึกก็ตาม
เป็นโคที่ควรฝึกก็ตาม เขาไม่ได้ฝึก ไม่ได้แนะนำ สัตว์ที่เขาไม่ได้ฝึกเลย จะพึงถึงเหตุ
ของสัตว์ที่ฝึกแล้ว จะบรรลุถึงภูมิของสัตว์ที่ฝึกแล้ว เหมือนสัตว์คู่นั้นจะเป็นช้างที่ควร
ฝึกก็ตาม เป็นม้าที่ควรฝึกก็ตาม เป็นโคที่ควรฝึกก็ตาม ที่เขาฝึกแล้ว แนะนำดีแล้ว
ได้บ้างไหม ขอถวายพระพร”
พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลว่า “ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มหาบพิตร อย่างนั้นเหมือนกัน เป็นไปไม่ได้เลย๑ที่
อิฏฐผลใดอันบุคคลผู้มีศรัทธา มีอาพาธน้อย ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา ปรารภความเพียร
มีปัญญา พึงถึงอิฏฐผลนั้น บุคคลผู้ไม่มีศรัทธา๒ มีอาพาธมาก โอ้อวด มีมารยา
เกียจคร้าน มีปัญญาทราม จักถึงได้ ขอถวายพระพร”
[๓๘๐] พระเจ้าปเสนทิโกศล ทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มี
พระภาคได้ตรัสสภาพที่เป็นเหตุ ทั้งยังตรัสสภาพที่เป็นผลว่า ‘วรรณะ ๔ จำพวกนี้
คือ (๑) กษัตริย์ (๒) พราหมณ์ (๓) แพศย์ (๔) ศูทร ถ้าวรรณะ ๔ จำพวกนั้น


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๑๐. กัณณกัตถลสูตร

เป็นผู้ประกอบด้วยองค์ของภิกษุผู้มีความเพียร ๕ ประการนี้และมีความเพียร
เหมือนกัน’ ในข้อนี้ วรรณะ ๔ จำพวกนี้ จะพึงมีความผิดแผกแตกต่างกันบ้างไหม
พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “มหาบพิตร ในข้อนี้ อาตมภาพกล่าวว่าวรรณะ
๔ จำพวกนี้ ไม่แตกต่างกันแม้แต่น้อย คือวิมุตติกับวิมุตติไม่แตกต่างกัน เปรียบเหมือน
บุรุษผู้เก็บไม้สักแห้งมาก่อไฟ ให้ลุกโพลงขึ้น ต่อมาบุรุษอีกคนหนึ่งเก็บไม้สาละแห้ง
มาก่อไฟให้ลุกโพลงขึ้น ต่อมาบุรุษอีกคนหนึ่งเก็บไม้มะม่วงแห้งมาก่อไฟให้ลุกโพลงขึ้น
ต่อมาบุรุษอีกคนหนึ่งเก็บไม้มะเดื่อแห้งมาก่อไฟ ให้ลุกโพลงขึ้น
มหาบพิตร พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร เปลวกับเปลว สีกับสี
แสงกับแสง ของไฟที่เกิดขึ้นมาจากไม้ต่าง ๆ กันนั้น จะพึงมีความแตกต่างกันบ้างไหม
ขอถวายพระพร”
“ไม่มีความแตกต่างกันเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“อย่างนั้นเหมือนกัน มหาบพิตร เดชอันใดถูกความเพียรย่ำยีแล้ว เกิดขึ้นด้วย
ความเพียร ในเดชนั้นอาตมภาพไม่กล่าวว่าแตกต่างกัน คือวิมุตติกับวิมุตติไม่แตกต่างกัน
ขอถวายพระพร”
“พระผู้มีพระภาคตรัสสภาพที่เป็นเหตุ ทั้งตรัสสภาพอันเป็นผล เทวดามีจริงหรือ
พระพุทธเจ้าข้า”
“มหาบพิตร เพราะเหตุไร พระองค์จึงตรัสถามอย่างนี้ว่า ‘เทวดามีจริงหรือ
พระพุทธเจ้าข้า”
พระเจ้าปเสนทิโกศล กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าเทวดามีจริง
เทวดาเหล่านั้นมาสู่โลกนี้หรือไม่มาสู่โลกนี้ พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๑๐. กัณณกัตถลสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มหาบพิตร เทวดาเหล่าใดมีความเบียดเบียน๑ เทวดา
เหล่านั้นมาสู่โลกนี้ เทวดาเหล่าใดไม่มีความเบียดเบียน๒ เทวดาเหล่านั้นไม่มา๓สู่โลกนี้
ขอถวายพระพร”

วาทะพระอานนท์

[๓๘๑] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว วิฑูฑภเสนาบดีได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เทวดาเหล่าใดมีความเบียดเบียนมาสู่โลกนี้ เทวดา
เหล่านั้นจักยังเทวดาทั้งหลายผู้ไม่มีความเบียดเบียน ผู้ไม่มาสู่โลกนี้ให้จุติหรือจัก
ขับไล่เสียจากที่นั้นหรือ พระพุทธเจ้าข้า”
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ได้คิดว่า “วิฑูฑภเสนาบดีนี้เป็นพระราชโอรสของ
พระเจ้าปเสนทิโกศล เราเป็นโอรสของพระผู้มีพระภาค บัดนี้เป็นกาลสมควรที่โอรส
กับโอรสจะพึงปรึกษากัน” ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์จึงกล่าวกับวิฑูฑภเสนาบดีว่า
“เสนาบดี ถ้าเช่นนั้น ในข้อนี้ อาตมภาพจะขอย้อนถามท่านก่อน ท่านพึง
ตอบปัญหาตามที่ท่านพอใจ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร พระราชอาณาจักร
ของพระเจ้าปเสนทิโกศลมีประมาณเท่าใด และในพระราชอาณาจักรใด พระเจ้า
ปเสนทิโกศลครองราชย์เป็นอิสราธิบดี ในพระราชอาณาจักรนั้น ท้าวเธอทรง
สามารถยังสมณะหรือพราหมณ์ ผู้มีบุญหรือไม่มีบุญ ผู้ประพฤติพรหมจรรย์หรือไม่
ประพฤติพรหมจรรย์ ให้ย้ายออก หรือทรงเนรเทศจากที่นั้นได้ มิใช่หรือ”
วิฑูฑภเสนาบดีตอบว่า “พระคุณเจ้า พระราชอาณาจักรของพระเจ้าปเสนทิโกศล
มีประมาณเท่าใด และในพระราชอาณาจักรใด พระเจ้าปเสนทิโกศลครองราชย์เป็น
อิสราธิบดี ในพระราชอาณาจักรนั้น ท้าวเธอย่อมทรงสามารถยังสมณะหรือ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๑๐. กัณณกัตถลสูตร

พราหมณ์ ผู้มีบุญหรือไม่มีบุญ ผู้ประพฤติพรหมจรรย์หรือไม่ประพฤติพรหมจรรย์
ให้ย้ายออกหรือทรงเนรเทศเสียจากที่นั้นได้”
“เสนาบดี ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ที่อันมิใช่พระราชอาณาจักรของ
พระเจ้าปเสนทิโกศลมีประมาณเท่าใด และในที่ใด พระเจ้าปเสนทิโกศลมิได้ครอง
ราชย์เป็นอิสราธิบดี ในที่นั้น ท้าวเธอย่อมสามารถยังสมณะหรือพราหมณ์ ผู้มีบุญ
หรือไม่มีบุญ ผู้ประพฤติพรหมจรรย์หรือไม่ประพฤติพรหมจรรย์ ให้ย้ายออก หรือทรง
เนรเทศเสียจากที่นั้นได้หรือ”
“พระคุณเจ้า ที่อันมิใช่พระราชอาณาจักรของพระเจ้าปเสนทิโกศลมีประมาณ
เท่าใดและในที่ใดพระเจ้าปเสนทิโกศลมิได้ครองราชย์เป็นอิสราธิบดี ในที่นั้น ท้าวเธอ
ย่อมไม่ทรงสามารถจะยังสมณะหรือพราหมณ์ ผู้มีบุญหรือไม่มีบุญ ผู้ประพฤติ
พรหมจรรย์หรือไม่ประพฤติพรหมจรรย์ ให้ย้ายออก หรือทรงเนรเทศเสียจาก
ที่นั้นได้”
“เสนาบดี ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ท่านเคยได้ยินเกี่ยวกับเทพชั้น
ดาวดึงส์มาแล้วหรือ”
“ใช่แล้ว พระคุณเจ้า โยมได้ยินเกี่ยวกับเทพชั้นดาวดึงส์มาแล้ว แม้ในบัดนี้
พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ทรงสดับเกี่ยวกับเทพชั้นดาวดึงส์มาแล้ว”
“เสนาบดี ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร พระเจ้าปเสนทิโกศลจะทรง
สามารถยังเทพชั้นดาวดึงส์ ให้เคลื่อนหรือทรงเนรเทศไปเสียจากที่นั้นได้ไหม”
วิฑูฑภเสนาบดี ตอบว่า “พระคุณเจ้า พระเจ้าปเสนทิโกศลไม่ทรงสามารถแม้
แต่จะทอดพระเนตรเห็นเทพชั้นดาวดึงส์ ที่ไหนเล่าจะทรงให้เคลื่อน หรือทรงเนรเทศ
ไปเสียจากที่นั้นได้”
ท่านพระอานนท์กล่าวว่า “เสนาบดี อย่างนั้นหมือนกัน เทพเหล่าใดมีความ
เบียดเบียนมาสู่โลกนี้ เทพเหล่านั้นย่อมไม่สามารถแม้เพื่อจะเห็นเทพผู้ไม่มีความ
เบียดเบียน ผู้ไม่มาสู่โลกนี้ ที่ไหนเล่าจักให้เคลื่อนหรือเนรเทศไปเสียจากที่นั้นได้”
[๓๘๒] ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า “ภิกษุรูป
นี้ชื่ออะไร พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุรูปนี้ชื่ออานนท์ ขอถวายพระพร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๑๐. กัณณกัตถลสูตร

พระเจ้าปเสนทิโกศลทูลถามว่า “พระคุณเจ้าอานนท์รูปก็งาม นามก็เพราะ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระคุณเจ้าอานนท์กล่าวสภาพที่เป็นเหตุ และกล่าวสภาพที่
เป็นผล พรหมมีจริงหรือ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “มหาบพิตร เพราะเหตุไร พระองค์จึงตรัสถาม
อย่างนี้ว่า ‘พรหมมีจริงหรือ พระพุทธเจ้าข้า’ เล่า มหาบพิตร”
พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพรหมมีจริง
พรหมนั้นมาสู่โลกนี้หรือไม่มาสู่โลกนี้ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มหาบพิตร พรหมใดมีความเบียดเบียน พรหมนั้น
มาสู่โลกนี้ พรหมใดไม่มีความเบียดเบียน พรหมนั้นก็ไม่มาสู่โลกนี้ ขอถวายพระพร”
ลำดับนั้น บุรุษคนหนึ่งได้กราบทูลพระเจ้าปเสนทิโกศลว่า “ขอเดชะ พราหมณ์
สัญชัย อากาสโคตรมาแล้ว พระเจ้าข้า”
ต่อมา พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงตรัสถามพราหมณ์สัญชัย อากาสโคตรว่า
“พราหมณ์ ใครหนอกล่าวเรื่องนี้ไว้ภายในพระราชวัง”
พราหมณ์สัญชัย อากาสโคตรกราบทูลว่า “ขอเดชะ วิฑูฑภเสนาบดี พระเจ้าข้า”
วิฑูฑภเสนาบดีกราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่มหาราช พราหมณ์สัญชัย อากาสโคตร
พระเจ้าข้า”
ลำดับนั้น บุรุษคนหนึ่งได้กราบทูลพระเจ้าปเสนทิโกศลว่า “ขอเดชะ บัดนี้
ยานพาหนะพร้อมแล้ว พระเจ้าข้า”

พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงชื่นชมพระภาษิตของพระพุทธเจ้า

ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ หม่อมฉันได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคถึงความเป็นสัพพัญญู พระผู้มีพระภาค
ก็ทรงตอบความเป็นสัพพัญญูแล้ว ข้อที่ทรงตอบนั้นหม่อมฉันชอบใจและถูกใจนัก
และหม่อมฉันก็ชื่นชมด้วยข้อที่ทรงตอบนั้น
หม่อมฉันได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคถึงความบริสุทธิ์ของวรรณะ ๔ จำพวก
พระผู้มีพระภาคก็ทรงตอบความบริสุทธิ์ของวรรณะ ๔ จำพวกแล้ว และข้อที่ทรง
ตอบนั้น หม่อมฉันชอบใจและถูกใจนัก และหม่อมฉันก็ชื่นชมด้วยข้อที่ทรงตอบนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] รวมพระสูตรที่มีในวรรค

หม่อมฉันได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคถึงเทวดาที่ยิ่ง พระผู้มีพระภาคก็ทรงตอบ
เทวดาที่ยิ่ง ข้อที่ทรงตอบนั้นหม่อมฉันชอบใจและถูกใจนัก และหม่อมฉันก็ชื่นชม
ด้วยข้อที่ทรงตอบนั้น
หม่อมฉันได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคถึงพรหมที่ยิ่ง พระผู้มีพระภาคก็ทรงตอบ
พรหมที่ยิ่ง ข้อที่ทรงตอบนั้นหม่อมฉันชอบใจและถูกใจนัก และหม่อมฉันก็ชื่นชม
ด้วยข้อที่ทรงตอบนั้น
อนึ่ง หม่อมฉันได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคถึงข้อใด ๆ พระผู้มีพระภาคก็ทรง
ตอบข้อนั้น ๆ ข้อที่ทรงตอบนั้น หม่อมฉันชอบใจและถูกใจนัก และหม่อมฉันก็
ชื่นชมด้วยข้อที่ทรงตอบนั้น
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เอาเถิด บัดนี้ หม่อมฉันขอทูลลากลับ เพราะมีกิจ
มีหน้าที่ที่จะต้องทำอีกมาก พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มหาบพิตร
ขอพระองค์จงทรงกำหนดเวลาที่สมควร ณ บัดนี้เถิด”
ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค
ทรงลุกจากที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วจึงเสด็จจากไป
ดังนี้แล

กัณณกัตถลสูตรที่ ๑๐ จบ
ราชวรรคที่ ๔ จบบริบูรณ์

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ฆฏิการสูตร ๒. รัฏฐปาลสูตร
๓. มฆเทวสูตร ๔. มธุรสูตร
๕. โพธิราชกุมารสูตร ๖. อังคุลิมาลสูตร
๗. ปิยชาติกสูตร ๘. พาหิติกสูตร
๙. ธัมมเจติยสูตร ๑๐. กัณณกัตถลสูตร


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑. พรหมายุสูตร

๕. พราหมณวรรค
หมวดว่าด้วยพราหมณ์

๑. พรหมายุสูตร
ว่าด้วยพราหมณ์ชื่อพรหมายุ

[๓๘๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นวิเทหะ พร้อมกับภิกษุสงฆ์
หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป สมัยนั้นแล พราหมณ์ชื่อพรหมายุอาศัยอยู่ในกรุงมิถิลา
เป็นคนชรา เป็นคนแก่ เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยมาโดยลำดับจนมีอายุถึง ๑๒๐ ปี
นับแต่เกิด รู้จบไตรเพท๑ พร้อมทั้งนิฆัณฑุศาสตร์๒ เกฏุภศาสตร์๓ อักษรศาสตร์๔
และประวัติศาสตร์๕ เข้าใจตัวบทและไวยากรณ์ ชำนาญโลกายตศาสตร์๖ และลักษณะ
มหาบุรุษ๗ พรหมายุพราหมณ์ได้ฟังข่าวว่า


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑. พรหมายุสูตร

“ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้ยินว่า พระสมณโคดมเป็นศากยบุตรเสด็จออกผนวช
จากศากยตระกูล เสด็จจาริกอยู่ในแคว้นวิเทหะพร้อมกับภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ
๕๐๐ รูป ท่านพระโคดมนั้นมีกิตติศัพท์อันงามขจรไปอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ
เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ๑ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึก
ได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า
เป็นพระผู้มีพระภาค๒’ พระองค์ทรงรู้แจ้งโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก
และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ด้วยพระองค์เองแล้วทรงประกาศ
ให้ผู้อื่นรู้ตาม ทรงแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมี
ความงามในที่สุด๓ ทรงประกาศพรหมจรรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์
บริบูรณ์ครบถ้วน การได้พบพระอรหันต์ทั้งหลายเช่นนี้เป็นความดีอย่างแท้จริง”
[๓๘๔] สมัยนั้น มาณพชื่ออุตตระเป็นศิษย์ของพรหมายุพราหมณ์ จบไตรเพท
พร้อมทั้งนิฆัณฑุศาสตร์ เกฏุภศาสตร์ อักษรศาสตร์ และประวัติศาสตร์ เข้าใจ
ตัวบทและไวยากรณ์ ชำนาญโลกายตศาสตร์และลักษณะมหาบุรุษ เวลานั้นพรหมายุ-
พราหมณ์เรียกอุตตรมาณพมากล่าวว่า
“พ่ออุตตระ ท่านพระสมณโคดมพระองค์นี้เป็นศากยบุตรเสด็จออกผนวช
จากศากยตระกูล เสด็จจาริกไปในแคว้นวิเหทะพร้อมกับภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ
๕๐๐ รูป ท่านพระโคดมนั้นมีกิตติศัพท์อันงามขจรไปอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มี
พระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ ฯลฯ การได้พบ
พระอรหันต์ทั้งหลายเช่นนี้เป็นความดีอย่างแท้จริง มาเถิด พ่ออุตตระ เธอจงเข้าไปเฝ้า
ท่านพระสมณโคดมถึงที่ประทับแล้ว จงรู้จักพระสมณโคดมให้ได้ พวกเราจะได้รู้จัก
พระองค์ว่า ‘กิตติศัพท์ของท่านพระโคดมที่ขจรไปเช่นนั้นจริงหรือไม่ ท่านพระโคดม
ทรงเป็นเช่นนั้นจริงหรือไม่”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑. พรหมายุสูตร

อุตตรมาณพเรียนถามว่า “ท่านขอรับ ทำอย่างไร ผมจึงจะรู้จักท่านพระโคดมว่า
‘กิตติศัพท์ของท่านพระโคดมที่ขจรไปเช่นนั้นจริงหรือไม่ ท่านพระโคดมทรงเป็นเช่นนั้น
จริงหรือไม่”
พรหมายุพราหมณ์ตอบว่า “พ่ออุตตระ พระมหาบุรุษผู้ประกอบด้วยลักษณะ
มหาบุรุษ ๓๒ ประการ ที่ปรากฏในมนตร์ของเรา ย่อมมีคติ ๒ อย่าง ไม่เป็น
อย่างอื่น คือ
๑. ถ้าทรงอยู่ครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม ครองราชย์
โดยธรรม ทรงเป็นใหญ่ในแผ่นดินมีมหาสมุทรทั้ง ๔ เป็นขอบเขต
ทรงได้รับชัยชนะแล้ว มีราชอาณาจักรมั่นคง สมบูรณ์ด้วยแก้ว
(รัตนะ) ๗ ประการ คือ (๑) จักรแก้ว (๒) ช้างแก้ว (๓) ม้าแก้ว
(๔) มณีแก้ว (๕) นางแก้ว (๖) คหบดีแก้ว (๗) ปริณายกแก้ว
มีพระราชโอรสมากกว่า ๑,๐๐๐ องค์ซึ่งล้วนแต่กล้าหาญ มีรูปทรง
สมเป็นวีรกษัตริย์ สามารถย่ำยีราชศัตรูได้ พระองค์ทรงชนะโดยธรรม
ไม่ต้องใช้อาชญาหรือศัสตรา ครอบครองแผ่นดินนี้มีสาครเป็นขอบเขต
๒. ถ้าเสด็จออกจากพระราชวังไปผนวชเป็นบรรพชิต จะได้เป็นพระอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ไม่มีกิเลสในโลก
พ่ออุตตระ เราเป็นผู้ให้มนตร์ แต่เธอเป็นผู้รับมนตร์”
[๓๘๕] อุตตรมาณพรับคำแล้วลุกจากที่นั่ง ไหว้พรหมายุพราหมณ์ กระทำ
ประทักษิณ๑แล้วหลีกจาริกไปทางที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในแคว้นวิเทหะ เที่ยว
จาริกไปโดยลำดับ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่
บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้พิจารณาดูลักษณะมหาบุรุษ
๓๒ ประการ ในพระวรกายของพระผู้มีพระภาค ก็เห็นลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ประการ
โดยมาก เว้นอยู่ ๒ ประการ คือ (๑) พระคุยหฐาน๒อันเร้นอยู่ในฝัก (๒) พระชิวหาใหญ่
จึงยังมีความเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ และไม่เลื่อมใสในลักษณะมหาบุรุษทั้ง ๒
ประการนี้


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑. พรหมายุสูตร

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้มีพระดำริว่า “ลักษณะ ๓๒ ประการของเรา
อุตตรมาณพนี้เห็นโดยมากเว้นอยู่ ๒ ประการ คือ (๑) คุยหฐานอันเร้นอยู่ในฝัก
(๒) ชิวหาใหญ่ จึงยังมีความเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ และไม่เลื่อมใส
ลักษณะมหาบุรุษทั้ง ๒ ประการนี้”
จากนั้นพระผู้มีพระภาคจึงทรงบันดาลอิทธาภิสังขาร๑ให้อุตตรมาณพได้เห็น
พระคุยหฐานอันเร้นอยู่ในฝัก และทรงแลบพระชิวหาสอดเข้าไปในช่องพระกรรณ
ทั้ง ๒ ข้างกลับไปกลับมา ทรงสอดเข้าไปในช่องพระนาสิกทั้ง ๒ ข้างกลับไปกลับมา
ทรงแผ่พระชิวหาปิดทั่วมณฑลพระนลาฏ
เวลานั้น อุตตรมาณพได้มีความคิดว่า “พระสมณโคดมทรงประกอบด้วยลักษณะ
มหาบุรุษ ๓๒ ประการ ทางที่ดี เราพึงติดตามพระสมณโคดมดูพระอิริยาบถของ
พระองค์ต่อไป” จากนั้นอุตตรมาณพได้ติดตามพระผู้มีพระภาคตลอด ๗ เดือน
ดุจพระฉายา(เงา)ติดตามพระองค์ไปฉะนั้น

ลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ประการ

[๓๘๖] ครั้งนั้น เมื่อล่วงไป ๗ เดือน อุตตรมาณพได้หลีกจาริกไปทางกรุง
มิถิลา ในแคว้นวิเทหะ เมื่อเที่ยวจาริกไปตามลำดับ ได้เข้าไปหาพรหมายุพราหมณ์
ถึงที่อยู่ในกรุงมิถิลากราบแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร พรหมายุพราหมณ์ถามอุตตรมาณพ
ว่า “พ่ออุตตระ กิตติศัพท์ของท่านพระโคดมที่ขจรไป เป็นเช่นนั้นจริง ไม่เป็นอย่าง
อื่นเลยหรือ ท่านพระโคดมทรงเป็นเช่นนั้นจริง ไม่เป็นอย่างอื่นเลยหรือ”
อุตตรมาณพตอบว่า “ท่านขอรับ กิตติศัพท์ของท่านพระโคดมที่ขจรไปเป็นเช่น
นั้นจริง ไม่เป็นอย่างอื่นเลย ท่านพระโคดมทรงเป็นเช่นนั้นจริง ไม่เป็นอย่างอื่นเลย
ทั้งยังทรงประกอบด้วยลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ประการ๒


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑. พรหมายุสูตร

คือ ท่านพระโคดม
๑. มีฝ่าพระบาทราบเสมอกัน ข้อที่ท่านพระโคดมมีฝ่าพระบาทราบเสมอ
กันนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น
๒. พื้นฝ่าพระบาททั้งสองของท่านพระโคดมนี้ มีจักรซึ่งมีกำข้างละ
๑,๐๐๐ ซี่ มีกง มีดุม และมีส่วนประกอบครบทุกอย่าง ข้อที่พื้น
ฝ่าพระบาททั้งสองของท่านพระโคดมนี้ มีจักรซึ่งมีกำข้างละ ๑,๐๐๐ ซี่
มีกง มีดุม และมีส่วนประกอบครบทุกอย่างนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษ
ของมหาบุรุษนั้น
๓. มีส้นพระบาทยื่นยาวออกไป ข้อที่ท่านพระโคดมมีส้นพระบาทยื่นยาว
ออกไปนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น
๔. มีพระองคุลียาว ข้อที่ท่านพระโคดมมีพระองคุลียาวนี้ เป็นลักษณะ
มหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น
๕. มีพระหัตถ์และพระบาทอ่อนนุ่ม ข้อที่ท่านพระโคดมมีพระหัตถ์และ
พระบาทอ่อนนุ่มนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น
๖. ฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทมีเส้นข้อที่พระองคุลีจดกันเป็นรูปตาข่าย
ข้อที่ท่านพระโคดมมีฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทมีเส้นที่ข้อพระองคุลี
จดกันเป็นรูปตาข่ายนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น
๗. มีข้อพระบาทสูง ข้อที่ท่านพระโคดมมีข้อพระบาทสูงนี้ เป็นลักษณะ
มหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น
๘. มีพระชงฆ์เรียวดุจแข้งเนื้อทราย ข้อที่ท่านพระโคดมมีพระชงฆ์เรียว
ดุจแข้งเนื้อทรายนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น
๙. เมื่อประทับยืน ไม่ต้องน้อมพระองค์ลงก็ทรงลูบคลำถึงพระชานุด้วย
ฝ่าพระหัตถ์ทั้งสองได้ ข้อที่ท่านพระโคดมเมื่อประทับยืนไม่ต้องน้อม
พระองค์ลงก็ทรงลูบถึงพระชานุด้วยฝ่าพระหัตถ์ทั้งสองได้นี้ เป็นลักษณะ
มหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑. พรหมายุสูตร

๑๐. มีพระคุยหฐานอันเร้นอยู่ในฝัก ข้อที่ท่านพระโคดมมีพระคุยหฐาน
อันเร้นอยู่ในฝักนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น
๑๑. มีพระฉวีสีทอง มีพระฉวีเปล่งปลั่งดุจทองคำ ข้อที่ท่านพระโคดมมี
พระฉวีสีทอง มีพระฉวีเปล่งปลั่งดุจทองคำนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษ
ของมหาบุรุษนั้น
๑๒. มีพระฉวีละเอียดจนละอองธุลีไม่อาจติดพระวรกายได้ ข้อที่ท่าน
พระโคดมมีพระฉวีละเอียดจนละอองธุลีไม่อาจติดพระวรกายได้นี้
เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น
๑๓. มีพระโลมชาติเดี่ยว คือ ในแต่ละขุมมีเพียงเส้นเดียว ข้อที่ท่าน
พระโคดมมีพระโลมชาติเดี่ยว คือ ในแต่ละขุมมีเพียงเส้นเดียวนี้
เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น
๑๔. มีพระโลมชาติปลายงอนขึ้น คือ พระโลมชาติขอดเป็นวงเวียนขวาดัง
กุณฑลสีครามเข้มดังดอกอัญชัน ข้อที่ท่านพระโคดมมีพระโลมชาติ
ปลายงอนขึ้น คือ พระโลมชาติขอดเป็นวงเวียนขวาดังกุณฑล
สีครามเข้มดังดอกอัญชันนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น
๑๕. มีพระวรกายตั้งตรงดุจกายพรหม ข้อที่ท่านพระโคดมมีพระวรกาย
ตั้งตรงดุจกายพรหมนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น
๑๖. มีพระมังสะในที่ ๗ แห่ง๑ เต็มบริบูรณ์ ข้อที่ท่านพระโคดมมีพระมังสะ
ในที่ ๗ แห่งเต็มบริบูรณ์นี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น
๑๗. มีพระวรกายทุกส่วนบริบูรณ์ดุจลำตัวท่อนหน้าของราชสีห์ ข้อที่ท่าน
พระโคดมมีพระวรกายทุกส่วนบริบูรณ์ดุจลำตัวท่อนหน้าของราชสีห์นี้
เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑. พรหมายุสูตร

๑๘. มีร่องพระปฤษฎางค์เต็มเสมอกัน ข้อที่ท่านพระโคดมมีร่องพระ
ปฤษฎางค์เต็มเสมอกันนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น
๑๙. มีพระวรกายเป็นปริมณฑลดุจปริมณฑลของต้นไทร พระวรกายสูง
เท่ากับ ๑ วาของพระองค์ ๑ วาของพระองค์เท่ากับส่วนสูงพระวรกาย
ข้อที่ท่านพระโคดมมีพระวรกายเป็นปริมณฑลดุจปริมณฑลของต้นไทร
พระวรกายสูงเท่ากับ ๑ วาของพระองค์ ๑ วาของพระองค์เท่ากับ
ส่วนสูงพระวรกายนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น
๒๐. มีลำพระศอกลมเท่ากันตลอด ข้อที่ท่านพระโคดมมีลำพระศอกลม
เท่ากันตลอดนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น
๒๑. มีเส้นประสาทรับรสพระกระยาหารได้ดี ข้อที่ท่านพระโคดมมีเส้น
ประสาทรับรสพระกระยาหารได้ดีนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหา-
บุรุษนั้น
๒๒. มีพระหนุดุจคางราชสีห์ ข้อที่ท่านพระโคดมมีพระหนุดุจคางราชสีห์นี้
เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น
๒๓. มีพระทนต์ ๔๐ ซี่ ข้อที่ท่านพระโคดมมีพระทนต์ ๔๐ ซี่นี้ เป็นลักษณะ
มหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น
๒๔. มีพระทนต์เรียบเสมอกัน ข้อที่ท่านพระโคดมมีพระทนต์เรียบเสมอ
กันนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น
๒๕. มีพระทนต์ไม่ห่างกัน ข้อที่ท่านพระโคดมมีพระทนต์ไม่ห่างกันนี้
เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น
๒๖. มีพระเขี้ยวแก้วขาวงาม ข้อที่ท่านพระโคดมมีพระเขี้ยวแก้วขาวงามนี้
เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น
๒๗. มีพระชิวหาใหญ่ยาว ข้อที่ท่านพระโคดมมีพระชิวหาใหญ่ยาวนี้ เป็น
ลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑. พรหมายุสูตร

๒๘. มีพระสุรเสียงดุจเสียงพรหม ตรัสดุจเสียงร้องของนกการเวก ข้อที่
ท่านพระโคดมมีพระสุรเสียงดุจเสียงพรหม ตรัสดุจเสียงร้องของนก
การเวกนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น
๒๙. มีพระเนตรดำสนิท ข้อที่ท่านพระโคดมมีพระเนตรดำสนิทนี้ เป็น
ลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น
๓๐. มีดวงพระเนตรแจ่มใสดุจตาลูกโคเพิ่งคลอด ข้อที่ท่านพระโคดมมี
ดวงพระเนตรแจ่มใสดุจตาลูกโคเพิ่งคลอดนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษ
ของมหาบุรุษนั้น
๓๑. มีพระอุณาโลมระหว่างพระโขนงสีขาวอ่อนเหมือนปุยนุ่น ข้อที่ท่าน
พระโคดมมีพระอุณาโลมระหว่างพระโขนงสีขาวอ่อนเหมือนปุยนุ่นนี้
เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษนั้น
๓๒. มีพระเศียรดุจประดับด้วยกรอบพระพักตร์ ข้อที่ท่านพระโคดมมี
พระเศียรดุจประดับด้วยกรอบพระพักตร์นี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษ
ของมหาบุรุษนั้น
ท่านผู้เจริญ ท่านพระโคดมพระองค์นั้นทรงประกอบด้วยลักษณะมหาบุรุษ
๓๒ ประการนี้แล
[๓๘๗] ท่านพระโคดมพระองค์นั้น
เมื่อจะทรงดำเนิน ทรงก้าวพระบาทเบื้องขวาก่อน ไม่ก้าวพระบาทยาวนัก
ไม่ก้าวพระบาทสั้นนัก ไม่ทรงดำเนินเร็วนัก ไม่ทรงดำเนินช้านัก ขณะทรงดำเนิน
พระชานุกับพระชานุไม่เสียดสีกัน ข้อพระบาทกับข้อพระบาทไม่กระทบกัน ไม่ทรงยก
พระอุรุสูง ไม่ทรงทอดพระอุรุไปข้างหลัง ไม่ทรงกระแทกพระอุรุ ไม่ทรงส่ายพระอุรุ
เมื่อทรงดำเนินพระวรกายส่วนบนไหว ทรงดำเนินไม่ใช้กำลังมาก เมื่อทอดพระเนตร
ทรงเหลียวดูไปทั้งพระวรกาย ไม่ทรงแหงนดู ไม่ทรงก้มดู ขณะทรงดำเนิน ไม่ส่าย
พระเนตร ทรงทอดพระเนตรประมาณชั่วแอก ยิ่งกว่านั้นพระองค์ทรงมีพระญาณทัสสนะ
ไม่มีอะไรขวางกั้นได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑. พรหมายุสูตร

เมื่อเสด็จเข้าสู่ละแวกบ้าน ไม่ทรงยืดพระวรกาย ไม่ทรงย่อพระวรกาย ไม่ทรง
ห่อพระวรกาย ไม่ทรงส่ายพระวรกาย เสด็จเข้าประทับนั่งบนพุทธอาสน์ ไม่ไกลนัก
ไม่ใกล้นัก ไม่ประทับนั่งท้าวพระหัตถ์บนพุทธอาสน์ ไม่ทรงพิงพระวรกายที่พุทธอาสน์
เมื่อประทับนั่งในละแวกบ้าน ไม่ทรงคะนองพระหัตถ์ ไม่ทรงคะนองพระบาท
ไม่ประทับนั่งชันพระชานุ ไม่ประทับนั่งซ้อนพระบาท ไม่ประทับนั่งเอาฝ่าพระหัตถ์
ยันพระหนุ(เท้าคาง) เมื่อประทับนั่งในละแวกบ้าน ไม่ทรงครั่นคร้าม ไม่ทรงหวั่นไหว
ไม่ทรงขลาด ไม่ทรงสะดุ้ง ทรงปราศจากโลมชาติชูชัน ทรงพอพระทัยในวิเวก๑
เมื่อทรงรับน้ำล้างบาตร ไม่ทรงชูบาตรขึ้นรับ ไม่ทรงลดบาตรลงรับ ไม่ทรง
ยื่นบาตรคอยรับ ไม่ทรงแกว่งบาตรคอยรับ ทรงรับน้ำล้างบาตรไม่น้อยนักไม่มากนัก
ไม่ทรงล้างบาตรดังขลุก ๆ ไม่ทรงล้างบาตรด้วยวิธีหมุน ไม่ทรงวางบาตรที่พื้น
ทรงล้างบนพระหัตถ์
เมื่อทรงล้างพระหัตถ์ก็เป็นอันทรงล้างบาตร เมื่อทรงล้างบาตรก็เป็นอันทรง
ล้างพระหัตถ์ ทรงเทน้ำล้างบาตรไม่ไกลนัก ไม่ใกล้นัก และทรงเทน้ำล้างบาตรไม่ให้
น้ำกระเซ็น
เมื่อทรงรับข้าวสุกก็ไม่ทรงชูบาตรขึ้นรับ ไม่ทรงลดบาตรลงรับ ไม่ทรงยื่น
บาตรคอยรับ ไม่ทรงแกว่งบาตรคอยรับ ทรงรับข้าวสุกไม่น้อยนักไม่มากนัก ทรงรับ
กับข้าว เสวยพระกระยาหารพอประมาณกับข้าว ไม่ทรงทำกับข้าวให้เกินกว่าคำข้าว
ทรงเคี้ยวคำข้าวข้างในพระโอษฐ์สองสามครั้งแล้วทรงกลืน ข้าวยังไม่ละเอียด ไม่ทรง
กลืนลงไป ไม่มีข้าวเหลืออยู่ในพระโอษฐ์ จึงน้อมคำข้าวอีกคำหนึ่งเข้าไป ทรงมีปกติ
กำหนดรสอาหารแล้วเสวยอาหาร แต่ไม่ทรงติดในรส

ท่านพระโคดมพระองค์นั้นเสวยพระกระยาหารประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ คือ
๑. ไม่เสวยเพื่อเล่น
๒. ไม่เสวยเพื่อมัวเมา
๓. ไม่เสวยเพื่อประดับ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑. พรหมายุสูตร

๔. ไม่เสวยเพื่อตกแต่ง
๕. เสวยเพื่อดำรงพระวรกายนี้ไว้
๖. เสวยเพื่อยังพระชนม์ให้เป็นไปได้
๗. เสวยเพื่อป้องกันความลำบาก
๘. เสวยเพื่อทรงอนุเคราะห์พรหมจรรย์
ด้วยทรงพระดำริว่า ‘เพียงเท่านี้ก็จักกำจัดเวทนาเก่า จักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น
ร่างกายของเราจักดำเนินไปสะดวก ไม่มีโทษ และอยู่สำราญ’ ท่านพระโคดมพระองค์นั้น
เสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว เมื่อจะทรงรับน้ำล้างบาตรไม่ทรงชูบาตรขึ้นรับ ไม่ทรง
ลดบาตรลงรับ ไม่ทรงยื่นบาตรคอยรับ ไม่ทรงแกว่งบาตรรับ ทรงรับน้ำล้างบาตร
ไม่น้อยนัก ไม่มากนัก ไม่ทรงล้างบาตรดังขลุก ๆ ไม่ทรงล้างบาตรด้วยวิธีหมุน
ไม่ทรงวางบาตรที่พื้น ทรงล้างบนพระหัตถ์ เมื่อทรงล้างพระหัตถ์ก็เป็นอันทรงล้าง
บาตร เมื่อทรงล้างบาตรก็เป็นอันทรงล้างพระหัตถ์ ทรงเทน้ำล้างบาตรไม่ไกลนัก
ไม่ใกล้นัก ทรงเทน้ำล้างบาตรไม่ให้น้ำกระเซ็น เสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว ไม่ทรง
วางบาตรที่พื้น ทรงวางไว้ในที่ไม่ไกลนัก ไม่ใกล้นัก จะไม่ทรงต้องการบาตรก็หามิได้
จะตามรักษาบาตรตลอดก็หามิได้ เสวยเสร็จแล้ว ประทับนิ่งเฉยอยู่ครู่หนึ่ง แต่ไม่
ทรงปล่อยเวลาอนุโมทนาให้ล่วงไป เสวยเสร็จแล้วก็ทรงอนุโมทนา ไม่ทรงติเตียน
ภัตรนั้น ไม่ทรงมุ่งหวังภัตรอื่น ทรงชี้แจงให้บริษัทเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไป
ปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว
พระองค์เสด็จลุกจากพุทธอาสน์เสด็จไป ก็ไม่เสด็จเร็วนัก ไม่เสด็จช้านัก
ไม่ผลุนผลันเสด็จไป ไม่ทรงจีวรสูงเกินไป ไม่ทรงจีวรต่ำเกินไป ไม่ทรงจีวรแน่นติด
พระวรกายเกินไป และไม่ทรงจีวรหลุดลุ่ยจากพระวรกาย ทรงจีวรไม่ให้ลมพัดแหวกได้
ทั้งฝุ่นละอองไม่ติดพระวรกาย เสด็จถึงพระอารามแล้วประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้
จึงทรงล้างพระบาท ไม่ทรงใส่พระทัยเพื่อประดับตกแต่งพระบาทอยู่ ทรงล้างพระบาท
แล้วประทับนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งพระวรกายตรง ดำรงพระสติไว้เบื้องพระพักตร์ ไม่ทรงดำริ
เพื่อเบียดเบียนพระองค์ ไม่ทรงดำริเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ไม่ทรงดำริเพื่อเบียดเบียน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑. พรหมายุสูตร

ทั้งสองฝ่าย ประทับนั่งทรงดำริแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์แก่พระองค์ สิ่งที่เป็นประโยชน์
แก่ผู้อื่น สิ่งที่เป็นประโยชน์ทั้งสองฝ่าย และสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่โลกทั้งปวงเท่านั้น
ประทับอยู่ในอาราม ก็ทรงแสดงธรรมในบริษัท ไม่ทรงยกย่องบริษัท ไม่ทรงรุกราน
บริษัท โดยที่แท้ ทรงชี้แจงให้บริษัทเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจ
ให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว
ท่านพระโคดมพระองค์นั้นทรงมีพระสุรเสียงกึกก้องเปล่งออกจากพระโอษฐ์
ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ คือ

๑. นุ่มนวล ๒. ฟังชัดเจน
๓. ไพเราะ ๔. ฟังง่าย
๕. กลมกล่อม ๖. ไม่พร่า
๗. ลุ่มลึก ๘. มีกังวาน

พระสุรเสียงที่พระองค์ทรงสอนบริษัทให้เข้าใจมิได้ก้องออกไปนอกบริษัทนั้น
ชนทั้งหลายที่ท่านพระโคดมทรงชี้แจงให้เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ
เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว จึงลุกจาก
ที่นั่งจากไปยังเหลียวดูโดยไม่อยากจากไป ต่างรำพึงว่า ‘เราได้เห็นท่านพระโคดม
พระองค์นั้นทรงดำเนิน ประทับยืน เสด็จเข้าละแวกบ้าน ประทับนั่งนิ่งในละแวกบ้าน
กำลังเสวยพระกระยาหารในละแวกบ้าน เสวยเสร็จแล้วก็ประทับนั่งนิ่ง เสวยเสร็จแล้ว
ทรงอนุโมทนา เสด็จกลับมายังพระอาราม เสด็จมาถึงพระอารามแล้วประทับนิ่งอยู่
ประทับอยู่ในพระอารามแล้ว ทรงแสดงธรรมในบริษัท ท่านพระโคดมพระองค์นั้น
ทรงพระคุณเช่นนี้ ๆ และทรงพระคุณยิ่งกว่าที่กล่าวแล้วนั้น”
[๓๘๘] เมื่ออุตตรมาณพกล่าวอย่างนี้แล้ว พรหมายุพราหมณ์ลุกจากที่นั่ง
ห่มผ้าเฉวียงบ่า ประนมมือไปทางทิศที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ แล้วเปล่งอุทาน
ขึ้น ๓ ครั้งว่า
“ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑. พรหมายุสูตร

แล้วคิดว่า “ทำอย่างไรหนอ เราจึงจะได้พบท่านพระโคดมพระองค์นั้นสักครั้งหนึ่ง
ทำอย่างไร เราจึงจะได้สนทนาปราศรัย(กับท่านพระโคดม) บ้าง”
[๓๘๙] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเมื่อเสด็จจาริกไปในแคว้นวิเทหะโดยลำดับ
เสด็จถึงกรุงมิถิลา ได้ทราบว่า ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ สวนมะม่วง
ของพระเจ้ามฆเทวะ เขตกรุงมิถิลา พราหมณ์และคหบดีชาวกรุงมิถิลาได้สดับข่าวว่า
“ได้ยินว่า พระสมณโคดมเป็นศากยบุตร ทรงผนวชจากศากยตระกูล เสด็จจาริก
ไปในแคว้นวิเทหะพร้อมกับภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป เสด็จถึงกรุงมิถิลาแล้ว
ประทับอยู่ ณ สวนมะม่วงของพระเจ้ามฆเทวะ เขตกรุงมิถิลา ท่านพระโคดม
พระองค์นั้นมีกิตติศัพท์อันงามขจรไปอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาค
พระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชา
และจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ พระองค์ทรง
รู้แจ้งโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์
เทวดาและมนุษย์ด้วยพระองค์เองแล้วทรงประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม ทรงแสดงธรรมมี
ความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ทรงประกาศ
พรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน การได้พบพระ
อรหันต์ทั้งหลายเช่นนี้ เป็นความดีอย่างแท้จริง”
ครั้งนั้น พราหมณ์และคหบดีชาวกรุงมิถิลาพากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง
ที่ประทับ บางพวกถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวก
ทูลสนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
บางพวกประนมมือไปทางที่พระผู้มีพระภาคประทับนั่งแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร
บางพวกประกาศชื่อและโคตรในสำนักของพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
บางพวกก็นั่งนิ่งอยู่ ณ ที่สมควร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑. พรหมายุสูตร

พรหมายุพราหมณ์เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า

[๓๙๐] พรหมายุพราหมณ์ได้สดับข่าวว่า “ได้ยินว่า พระสมณโคดม
เป็นศากยบุตร ทรงผนวชจากศากยตระกูล เสด็จถึงกรุงมิถิลาแล้วประทับอยู่ ณ
สวนมะม่วงของพระเจ้ามฆเทวะ เขตกรุงมิถิลา” ครั้งนั้นแล พรหมายุพราหมณ์
พร้อมด้วยมาณพเป็นอันมาก พากันเข้าไปยังสวนมะม่วงของพระเจ้ามฆเทวะ
ลำดับนั้น ในที่ไม่ไกลจากสวนมะม่วงของพระเจ้ามฆเทวะ พรหมายุพราหมณ์ได้
คิดว่า “การที่เราไม่นัดหมายให้ทรงทราบก่อนแล้วเข้าไปเฝ้าพระสมณโคดมไม่ควร
แก่เราเลย”
ลำดับนั้น พรหมายุพราหมณ์เรียกมาณพคนหนึ่งมาสั่งว่า “มาเถิด พ่อมาณพ
พ่อจงเข้าไปเฝ้าพระสมณโคดมถึงที่ประทับ แล้วจงทูลถามพระสมณโคดมถึงพระสุขภาพ
ความมีพระโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพระพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ
ตามคำของเราว่า ‘ข้าแต่ท่านพระโคดม พรหมายุพราหมณ์ทูลถามท่านพระโคดม
ถึงความมีพระสุขภาพ ความมีพระโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพระพลานามัย
สมบูรณ์ อยู่สำราญ’ และจงกราบทูลอย่างนี้ว่า ‘ข้าแต่ท่านพระโคดม พรหมายุ-
พราหมณ์เป็นคนชรา เป็นคนแก่ เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยมาโดยลำดับ จนมีอายุ
๑๒๐ ปี นับแต่เกิด จบไตรเพท พร้อมทั้งนิฆัณฑุศาสตร์ เกฏุภศาสตร์ อักษร-
ศาสตร์ และประวัติศาสตร์ เข้าใจตัวบทและไวยากรณ์ ชำนาญโลกายตศาสตร์
และลักษณะมหาบุรุษ ข้าแต่ท่านพระโคดม พราหมณ์และคหบดีมีประมาณเท่าใด
อยู่อาศัยในกรุงมิถิลา พรหมายุพราหมณ์ปรากฏว่า เป็นผู้เลิศกว่าพราหมณ์
และคหบดีเหล่านั้น เพราะโภคะ มนตร์ อายุ และยศ ท่านปรารถนาที่จะเข้าเฝ้า
ท่านพระโคดม”
มาณพนั้นรับคำพรหมายุพราหมณ์แล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควร
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑. พรหมายุสูตร

“ข้าแต่ท่านพระโคดม พรหมายุพราหมณ์ทูลถามท่านพระโคดมถึงพระสุขภาพ
ความมีพระโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพระพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ และ
ฝากกราบทูลอย่างนี้ว่า ‘ข้าแต่ท่านพระโคดม พรหมายุพราหมณ์เป็นคนชรา เป็น
คนแก่ เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยมาโดยลำดับ จนมีอายุ ๑๒๐ ปี นับแต่เกิด
จบไตรเพท พร้อมทั้งนิฆัณฑุศาสตร์ เกฏุภศาสตร์ อักษรศาสตร์ และประวัติศาสตร์
เข้าใจตัวบทและไวยากรณ์ ชำนาญโลกายตศาสตร์และลักษณะมหาบุรุษ ข้าแต่ท่าน
พระโคดม พราหมณ์และคหบดีมีประมาณเท่าใด อยู่อาศัยในกรุงมิถิลา พรหมายุ-
พราหมณ์ปรากฏว่า เป็นผู้เลิศกว่าพราหมณ์และคหบดีเหล่านั้น เพราะโภคะ มนตร์
อายุ และยศ ท่านปรารถนาจะเข้าเฝ้าท่านพระโคดม พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มาณพ พรหมายุพราหมณ์ จงกำหนดเวลาที่สมควร
ณ บัดนี้เถิด”
หลังจากนั้น มาณพนั้นจึงเข้าไปหาพรหมายุพราหมณ์ถึงที่อยู่แล้วได้กล่าวกับ
พรหมายุพราหมณ์ว่า “ท่านเป็นผู้ที่ท่านพระสมณโคดมทรงประทานโอกาสแล้ว จงไป
ในเวลาที่เห็นสมควรเถิด”

พรหมายุพราหมณ์ขอดูพระชิวหาและพระคุยหฐาน

[๓๙๑] ครั้งนั้นแล พรหมายุพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
บริษัทนั้นได้เห็นพรหมายุพราหมณ์มาแต่ไกล จึงรีบลุกขึ้นให้โอกาสตามสมควร
แก่เขา เปรียบเหมือนลุกขึ้นให้โอกาสแก่ผู้มีชื่อเสียง มียศ ลำดับนั้น พรหมายุ-
พราหมณ์ได้กล่าวกับบริษัทนั้นว่า “อย่าเลย ท่านผู้เจริญทั้งหลาย เชิญท่านทั้งหลาย
นั่งบนอาสนะของตนเองเถิด เราจักนั่งใกล้ ๆ พระสมณโคดมนี้”
ครั้งนั้น พรหมายุพราหมณ์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับได้สนทนา
ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้พิจารณา
ดูลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ประการในพระวรกายของพระผู้มีพระภาค ได้เห็นโดยมาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑. พรหมายุสูตร

เว้นอยู่ ๒ ประการ คือ (๑) พระคุยหฐานอันเร้นอยู่ในฝัก (๒) พระชิวหาใหญ่
จึงยังเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในลักษณะมหาบุรุษอีก ๒ ประการ
ต่อจากนั้น พรหมายุพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ด้วยคาถาว่า
“ข้าแต่ท่านพระโคดม ลักษณะมหาบุรุษ
ที่ข้าพระองค์ได้สดับมาว่ามี ๓๒ ประการ
แต่ยังไม่เห็นอยู่ ๒ ประการในพระวรกายของพระองค์
ข้าแต่พระองค์ผู้สูงสุดกว่านรชน
พระคุยหฐานของพระองค์เร้นอยู่ในฝัก
ที่ผู้รู้กล่าวกันว่าคล้ายของนารีหรือ
พระชิวหาของพระองค์ได้นรลักษณ์หรือ
พระองค์มีพระชิวหาใหญ่หรือ
ข้าพระองค์จะพึงทราบความข้อนั้นได้อย่างไร
ขอพระองค์ทรงค่อย ๆ นำพระลักษณะนั้นออกมาเถิด
ขอได้โปรดกำจัดความสงสัยของข้าพระองค์ด้วยเถิด ท่านฤาษี
ถ้าพระองค์ทรงประทานโอกาส
ข้าพระองค์จะขอทูลถามปัญหา
ที่ข้าพระองค์ปรารถนาบางอย่าง
เพื่อประโยชน์เกื้อกูลในปัจจุบัน
และเพื่อความสุขในสัมปรายภพ”
[๓๙๒] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้ทรงดำริว่า “พรหมายุพราหมณ์นี้เห็น
ลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ประการของเราโดยมาก เว้นอยู่ ๒ ประการ คือ (๑) คุยหฐาน
อันเร้นอยู่ในฝัก (๒) ชิวหาใหญ่ จึงยังเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส
ในลักษณะมหาบุรุษอีก ๒ ประการ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑. พรหมายุสูตร

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคจึงทรงบันดาลอิทธาภิสังขารให้พรหมายุพราหมณ์
ได้เห็นพระคุยหฐานอันเร้นอยู่ในฝัก และทรงแลบพระชิวหา สอดเข้าในช่องพระกรรณ
ทั้ง ๒ ข้างกลับไปกลับมา ทรงสอดเข้าในช่องพระนาสิกทั้ง ๒ ข้างกลับไปกลับมา
ทรงแผ่พระชิวหาปิดทั่วมณฑลพระนลาฏ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับ
พรหมายุพราหมณ์ด้วยพระคาถาว่า
“พราหมณ์ ลักษณะมหาบรุษ
ที่ท่านได้สดับมาว่ามี ๓๒ ประการนั้น
มีอยู่ในกายของเราครบทุกอย่าง ท่านอย่าสงสัย
พราหมณ์ สิ่งที่ควรรู้เราได้รู้ยิ่งแล้ว
สิ่งที่ควรเจริญเราได้เจริญแล้ว
และสิ่งที่ควรละเราก็ละได้แล้ว
เพราะเหตุนั้น เราจึงเป็นพุทธะ
ท่านได้รับโอกาสแล้ว จงถามปัญหาบางอย่าง
ที่ท่านปรารถนาเถิด
เพื่อประโยชน์เกื้อกูลในปัจจุบัน
และเพื่อความสุขในสัมปรายภพ”
[๓๙๓] ครั้งนั้นแล พรหมายุพราหมณ์ได้คิดว่า“เราเป็นผู้ที่พระสมณโคดม
ประทานโอกาสแล้ว จะทูลถามถึงประโยชน์ในปัจจุบันหรือประโยชน์ในสัมปรายภพ”
ลำดับนั้น พรหมายุพราหมณ์ได้คิดว่า “เราฉลาดประโยชน์ในปัจจุบัน แม้คนเหล่าอื่น
ก็ถามเราถึงประโยชน์ในปัจจุบัน ทางที่ดี เราควรทูลถามประโยชน์ในสัมปรายภพ
กับพระสมณโคดมเถิด”
ต่อจากนั้น พรหมายุพราหมณ์ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค ด้วยคาถาว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
บุคคลเป็นพราหมณ์ได้อย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑. พรหมายุสูตร

เป็นผู้จบเวท๑ได้อย่างไร
เป็นผู้มีวิชชา ๓๒ได้อย่างไร
บัณฑิตเรียกบุคคลผู้มีความสวัสดีว่า อะไร
บุคคลเป็นพระอรหันต์ได้อย่างไร
บุคคลมีคุณครบถ้วนได้อย่างไร
บุคคลเป็นมุนีได้อย่างไร
และบัณฑิตเรียกพระพุทธเจ้าว่า อะไร”
[๓๙๔] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสตอบพราหมณ์ด้วยพระคาถาว่า
“ผู้ใดระลึกชาติก่อน ๆ ได้
เห็นสวรรค์และอบาย
บรรลุถึงความสิ้นชาติ
ผู้นั้นชื่อว่าเป็นมุนีผู้รู้ยิ่งถึงที่สุด
มุนีนั้นย่อมรู้จิตอันบริสุทธิ์
อันพ้นจากราคะทั้งหลาย โดยประการทั้งปวง
เป็นผู้ละชาติและมรณะได้แล้ว
ชื่อว่ามีคุณครบถ้วนแห่งพรหมจรรย์
ชื่อว่าถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง
บัณฑิตเรียกพระพุทธเจ้าว่า ผู้คงที่”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พรหมายุพราหมณ์ลุกขึ้นจากที่นั่ง ห่มผ้า
เฉวียงบ่า หมอบลงแทบพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า จุมพิต
พระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยปาก นวดด้วยฝ่ามือทั้ง ๒ และประกาศชื่อ
ของตนว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นพราหมณ์ชื่อพรหมายุ ข้าแต่
พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นพราหมณ์ชื่อพรหมายุ”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑. พรหมายุสูตร

ครั้งนั้นแล บริษัทหมู่นั้นเกิดความอัศจรรย์ใจว่า “น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคย
ปรากฏ ท่านผู้เจริญ พระสมณะเป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก พรหมายุพราหมณ์
นี้เป็นผู้มีชื่อเสียง มียศ ยังทำความเคารพยกย่องอย่างยิ่งเช่นนี้”
หลังจากนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับพรหมายุพราหมณ์ว่า “พอละพราหมณ์
เชิญท่านลุกขึ้นนั่งบนที่นั่งของตนเถิด เพราะจิตของท่านเลื่อมใสในเราแล้ว”
จากนั้น พรหมายุพราหมณ์จึงลุกขึ้นนั่งบนที่นั่งของตน

ทรงแสดงอนุปุพพีกถา

[๓๙๕] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสอนุปุพพีกถา๑แก่พรหมายุพราหมณ์
คือ ทรงประกาศเรื่องทาน เรื่องศีล เรื่องสวรรค์ เรื่องโทษ ความต่ำทราม ความเศร้า
หมองแห่งกาม และอานิสงส์ในการออกบวช เมื่อทรงทราบว่า พรหมายุพราหมณ์มี
จิตควรบรรลุธรรม สงบ อ่อน ปราศจากนิวรณ์ เบิกบาน ผ่องใส จึงทรงประกาศ
สามุกกังสิกเทศนา๒ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ธรรมจักษุอันไร้ธุลีคือกิเลส
ปราศจากมลทิน เกิดขึ้นแก่พรหมายุพราหมณ์บนที่นั่งนั่นเองว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมี
ความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา” เปรียบเหมือน
ผ้าขาวสะอาด ปราศจากมลทิน ควรรับน้ำย้อมได้เป็นอย่างดี
ลำดับนั้น พรหมายุพราหมณ์เห็นธรรม บรรลุธรรม รู้ธรรม หยั่งลงสู่ธรรม
หมดความสงสัย ไม่มีคำถามใด ๆ มีความแกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อใครอีก ในหลัก
คำสอนของพระศาสดา ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑. พรหมายุสูตร

“ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่
ท่านพระโคดม พระภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านพระโคดม
ทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ
เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดี
จักเห็นรูปได้’ ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดม พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็น
สรณะ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้
เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต อนึ่ง ขอท่านพระโคดมพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์โปรดรับภัตตาหาร
ของข้าพระองค์ในวันพรุ่งนี้ด้วยเถิด”
พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ
พรหมายุพราหมณ์ทราบอาการที่พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์แล้ว จึงลุกจาก
ที่นั่ง ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วจากไป เมื่อล่วงราตรีนั้นไป
พรหมายุพราหมณ์ได้ตระเตรียมของควรเคี้ยวควรฉันอันประณีตไว้ในนิเวศน์ของตน
แล้วใช้ให้คนไปกราบทูลภัตตกาลกับพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม
ถึงเวลาแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ภัตตาหารสำเร็จแล้ว”
ครั้นในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร
เสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของพรหมายุพราหมณ์ แล้วประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้
แล้วพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ต่อมา พรหมายุพราหมณ์ได้อังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้า
เป็นประมุข ให้อิ่มหนำด้วยของควรเคี้ยวควรฉันอันประณีตด้วยมือของตนตลอด ๗ วัน
เมื่อล่วง ๗ วันนั้นไป พระผู้มีพระภาคได้เสด็จจาริกไปในแคว้นวิเทหะ เมื่อพระผู้มี
พระภาคเสด็จจากไปแล้วไม่นานนัก พรหมายุพราหมณ์ก็ได้สิ้นชีวิตไป
ครั้งนั้น ภิกษุเป็นอันมากพากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
พรหมายุพราหมณ์สิ้นชีวิตแล้ว คติของเขาเป็นเช่นไร สัมปรายภพของเขาเป็นเช่นไร
พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๒. เสลสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุทั้งหลาย พรหมายุพราหมณ์เป็นบัณฑิต
ได้บรรลุธรรมและธรรมตามลำดับ๑ ไม่เบียดเบียนเราให้ลำบากเพราะเหตุแห่งธรรมเลย
พรหมายุพราหมณ์เป็นโอปปาติกะ๒ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป
จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่กลับมาจากโลกนั้นอีก”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

พรหมายุสูตรที่ ๑ จบ

๒. เสลสูตร๓
ว่าด้วยเสลพราหมณ์

[๓๙๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นอังคุตตราปะ พร้อมกับภิกษุ-
สงฆ์หมู่ใหญ่ ประมาณ ๑,๒๕๐ รูป เสด็จถึงนิคมของชาวอังคุตตราปะชื่ออาปณะ
ชฎิลชื่อเกณิยะได้สดับข่าวว่า
“ได้ยินว่า พระสมณโคดมเป็นศากยบุตรเสด็จออกผนวชจากศากยตระกูล
เสด็จจาริกอยู่ในแคว้นอังคุตตราปะพร้อมกับภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๑,๒๕๐ รูป
เสด็จถึงอาปณนิคมโดยลำดับ ท่านพระโคดมพระองค์นั้นมีกิตติศัพท์อันงามขจรไป
อย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๒. เสลสูตร

ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก
เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ พระองค์ทรงรู้แจ้งโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก
มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ด้วย
พระองค์เองแล้ว ทรงประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม ทรงแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น
มีความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้ง
อรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน การได้พบพระอรหันต์ทั้งหลายเช่นนี้
เป็นความดีอย่างแท้จริง”

เกณิยชฎิลนิมนต์เสวยภัตตาหาร

หลังจากนั้น เกณิยชฎิลเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนา
ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มี
พระภาคจึงทรงชี้แจงให้เกณิยชฎิลเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้
อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว ครั้งนั้น เกณิยชฎิล
ผู้ที่พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้
อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า “ขอท่านพระโคดมพร้อมกับภิกษุสงฆ์ โปรดรับภัตตาหารของ
ข้าพระองค์ในวันพรุ่งนี้เถิด พระพุทธเจ้าข้า”
เมื่อเกณิยชฎิลกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า “เกณิยะ ภิกษุ-
สงฆ์มีมากถึง ๑,๒๕๐ รูป อนึ่ง ท่านก็ยังเลื่อมใสในพราหมณ์ทั้งหลายยิ่งนัก”
แม้ครั้งที่ ๒ เกณิยชฎิลก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระโคดม
ผู้เจริญ ภิกษุสงฆ์มีมากถึง ๑,๒๕๐ รูป ทั้งข้าพระองค์เป็นผู้เลื่อมใสในพราหมณ์
ทั้งหลายยิ่งนักก็จริง ถึงอย่างนั้น ขอท่านพระโคดมพร้อมกับภิกษุสงฆ์โปรดรับ
ภัตตาหารของข้าพระองค์ในวันพรุ่งนี้เถิด พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๒. เสลสูตร

แม้ครั้งที่ ๒ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสกับเกณิยชฎิลว่า “เกณิยะ ภิกษุสงฆ์
มีมากถึง ๑,๒๕๐ รูป อนึ่ง ท่านก็ยังเลื่อมใสในพราหมณ์ทั้งหลายยิ่งนัก”
แม้ครั้งที่ ๓ เกณิยชฎิลก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระโคดม
ผู้เจริญ ภิกษุสงฆ์มีมากถึง ๑,๒๕๐ รูป ทั้งข้าพระองค์เป็นผู้เลื่อมใสในพราหมณ์
ทั้งหลายยิ่งนักก็จริง ถึงอย่างนั้น ขอท่านพระโคดมพร้อมกับภิกษุสงฆ์โปรดรับ
ภัตตาหารของข้าพระองค์ในวันพรุ่งนี้เถิด พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ ครั้งนั้น เกณิยชฎิลทราบอาการ
ที่พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์แล้ว จึงลุกจากที่นั่ง เข้าไปยังอาศรมของตนแล้ว
เรียกมิตรสหาย ญาติสาโลหิตมาบอกว่า “ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าขอแจ้งให้ทราบว่า
ข้าพเจ้านิมนต์พระสมณโคดม พร้อมกับภิกษุสงฆ์มาฉันภัตตาหารในวันพรุ่งนี้
ขอท่านทั้งหลายพึงทำความขวนขวายด้วยกำลังกายเพื่อข้าพเจ้าด้วยเถิด”
พวกมิตรสหายและญาติสาโลหิตรับคำเกณิยชฎิลแล้ว บางพวกก่อเตา บางพวก
ผ่าฟืน บางพวกล้างภาชนะ บางพวกตั้งหม้อน้ำ บางพวกปูอาสนะ ส่วนเกณิยชฎิล
จัดแจงโรงปะรำด้วยตนเอง

พราหมณ์ชื่อเสละได้ฟังคำว่า พุทธะ

[๓๙๗] สมัยนั้น พราหมณ์ชื่อเสละอาศัยอยู่ในอาปณนิคม เป็นผู้จบ
ไตรเพท พร้อมทั้งนิฆัณฑุศาสตร์ เกฏุภศาสตร์ อักษรศาสตร์และประวัติศาสตร์
เข้าใจตัวบทและไวยากรณ์ ชำนาญในโลกายตศาสตร์และลักษณะมหาบุรุษ ทั้งยัง
เป็นอาจารย์สอนมนตร์แก่มาณพจำนวน ๓๐๐ คนอีกด้วย สมัยนั้น เกณิยชฎิลก็เป็น
ผู้เลื่อมใสในเสลพราหมณ์ยิ่งนัก ขณะนั้น เสลพราหมณ์แวดล้อมด้วยมาณพ ๓๐๐ คน
เดินเที่ยวเล่นอยู่ ได้เข้าไปยังอาศรมของเกณิยชฎิล ได้เห็นชนบางพวกกำลังก่อเตา
บางพวกกำลังผ่าฟืน บางพวกกำลังล้างภาชนะ บางพวกกำลังตั้งหม้อน้ำ บางพวก
กำลังปูอาสนะ ส่วนเกณิยชฎิลกำลังจัดแจงโรงปะรำด้วยตนเอง จึงได้ถามเกณิยชฎิล
ว่า “ท่านเกณิยะ จักมีพิธีอาวาหมงคลหรือวิวาหมงคล พิธีบูชามหายัญจะปรากฏ
แก่ท่าน หรือท่านได้ทูลเชิญพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธ ให้เสด็จมาเสวยพระ
กระยาหารพร้อมกับข้าราชบริพาร ในวันพรุ่งนี้หรือ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๒. เสลสูตร

เกณิยชฎิลตอบว่า “ข้าแต่ท่านเสละ ข้าพเจ้ามิได้มีพิธีอาวาหมงคลหรือวิวาห-
มงคล และมิได้ทูลเชิญพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธเสด็จมาเสวยพระกระยาหาร
พร้อมกับข้าราชบริพาร ในวันพรุ่งนี้ แต่พิธีบูชามหายัญได้ปรากฏแก่ข้าพเจ้า
เนื่องจากพระสมณโคดมผู้เป็นศากยบุตร ผู้เสด็จออกผนวชจากศากยตระกูลเสด็จ
จาริกไปในแคว้นอังคุตตราปะ พร้อมกับภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๑,๒๕๐ รูป
เสด็จถึงอาปณนิคมแล้ว ท่านพระโคดมพระองค์นั้นมีกิตติศัพท์อันงามขจรไปอย่างนี้ว่า
‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ฯลฯ เป็นพระพุทธเจ้า
เป็นพระผู้มีพระภาค’ ข้าพเจ้าได้ทูลนิมนต์ท่านพระโคดมพระองค์นั้น พร้อมด้วยภิกษุ-
สงฆ์มาฉันภัตตาหารในวันพรุ่งนี้”
เสลพราหมณ์ ถามว่า “ท่านเกณิยะ ท่านกล่าวคำว่า ‘พุทธะ’ หรือ”
เกณิยชฎิล ตอบว่า “ท่านเสละ ใช่ ข้าพเจ้ากล่าวคำว่า ‘พุทธะ”
เสลพราหมณ์ ถามย้ำอีกว่า “ท่านเกณิยะ ท่านกล่าวคำว่า ‘พุทธะ’ หรือ”
เกณิยชฎิล ตอบว่า “ท่านเสละ ใช่ ข้าพเจ้ากล่าวคำว่า ‘พุทธะ”
[๓๙๘] ครั้งนั้น เสลพราหมณ์ได้คิดว่า “แม้แต่เสียงประกาศว่าพุทธะนี้แล
ก็หาได้ยากในโลก พระมหาบุรุษผู้ประกอบด้วยลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ประการที่
ปรากฏในมนตร์ของเรา ย่อมมีคติเป็น ๒ อย่าง ไม่เป็นอย่างอื่น คือ
๑. ถ้าทรงอยู่ครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม ครองราชย์
โดยธรรม ทรงเป็นใหญ่ในแผ่นดินมีมหาสมุทรทั้ง ๔ เป็นขอบเขต
ทรงได้รับชัยชนะ มีราชอาณาจักรมั่นคง สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ
คือ (๑) จักรแก้ว (๒) ช้างแก้ว (๓) ม้าแก้ว (๔) มณีแก้ว (๕) นางแก้ว
(๖) คหบดีแก้ว (๗) ปริณายกแก้ว มีพระราชโอรสมากกว่า
๑,๐๐๐ องค์ ซึ่งล้วนแต่กล้าหาญ มีรูปทรงสมเป็นวีรกษัตริย์
สามารถย่ำยีราชศัตรูได้ พระองค์ทรงชนะโดยธรรม ไม่ต้องใช้อาชญา
หรือศัสตรา ทรงครอบครองแผ่นดินนี้มีสาครเป็นขอบเขต
๒. ถ้าเสด็จออกจากพระราชวังไปผนวชเป็นบรรพชิตจะได้เป็นพระอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ไม่มีกิเลสในโลก”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๒. เสลสูตร

เสลพราหมณ์เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า

เสลพราหมณ์ถามว่า “ท่านเกณิยะ บัดนี้ ท่านพระโคดมอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ประทับอยู่ที่ไหน”
เมื่อเสลพราหมณ์ถามอย่างนี้แล้ว เกณิยชฎิลได้ยกแขนขวาชี้บอกเสลพราหมณ์
ว่า “ท่านเสละ ท่านจงเดินไปทางบริเวณทิวไม้สีเขียวนั้นเถิด”
หลังจากนั้น เสลพราหมณ์พร้อมด้วยมาณพ ๓๐๐ คน ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ พลางเรียกมาณพเหล่านั้นมาเตือนว่า “ท่านทั้งหลาย จงอย่า
ส่งเสียงดัง ค่อย ๆ เดินตามกันไปให้เป็นระเบียบ เพราะท่านผู้เจริญเหล่านั้นชอบอยู่
ตามลำพัง ดุจพญาราชสีห์ให้ยินดีได้ยาก อนึ่ง ขณะที่เรากำลังสนทนากับพระสมณ-
โคดม ท่านจงอย่าพูดสอดแทรกขึ้น รอให้เราสนทนาจบเสียก่อน”
ลำดับนั้น เสลพราหมณ์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนา
ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้พิจารณาดู
ลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ประการในพระวรกายของพระผู้มีพระภาค
เสลพราหมณ์ได้เห็นลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ประการในพระวรกายของพระผู้มี
พระภาคโดยมาก เว้นอยู่ ๒ ประการ คือ (๑) พระคุยหฐานอันเร้นอยู่ในฝัก
(๒) พระชิวหาใหญ่ จึงยังเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในลักษณะ
มหาบุรุษทั้ง ๒ ประการ
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงดำริว่า “เสลพราหมณ์นี้เห็นลักษณะมหาบุรุษ
๓๒ ประการของเราโดยมาก เว้นอยู่ ๒ ประการ คือ (๑) คุยหฐาน อันเร้นอยู่ในฝัก
(๒) ชิวหาใหญ่ จึงยังเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในลักษณะมหาบุรุษ
อีก ๒ ประการ”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงบันดาลอิทธาภิสังขาร๑ให้เสลพราหมณ์ได้เห็น
พระคุยหฐานอันเร้นอยู่ในฝัก และทรงแลบพระชิวหาสอดเข้าไปในช่องพระกรรณ
ทั้ง ๒ ข้างกลับไปกลับมา สอดเข้าช่องพระนาสิกทั้ง ๒ ข้างกลับไปกลับมา ทรงแผ่
พระชิวหาปิดทั่วมณฑลพระนลาฏ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๒. เสลสูตร

เสลพราหมณ์กับศิษย์กราบทูลขอบรรพชาอุปสมบท

ครั้งนั้น เสลพราหมณ์ได้คิดว่า “พระสมณโคดมทรงประกอบด้วยลักษณะ
มหาบุรุษ ๓๒ ประการบริบูรณ์ ไม่บกพร่อง แต่เรายังไม่ทราบว่าพระองค์เป็น
พระพุทธเจ้าจริงหรือไม่ เราได้สดับเรื่องนี้มาจากสำนักของพราหมณ์ทั้งหลายซึ่งเป็น
คนชรา เป็นผู้ใหญ่ เป็นอาจารย์และปาจารย์ ผู้กล่าวกันว่า ‘พระผู้มีพระภาค
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมแสดงพระองค์ให้ปรากฏในเมื่อบุคคลกล่าว
ถึงคุณของพระองค์ ทางที่ดี เราควรชมเชยพระสมณโคดมเฉพาะพระพักตร์เป็นคาถา
ที่เหมาะสม”
[๓๙๙] ลำดับนั้น เสลพราหมณ์จึงชมเชยพระผู้มีพระภาคเฉพาะพระพักตร์
ด้วยคาถาที่เหมาะสมว่า
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พระองค์เสด็จอุบัติมาดีแล้ว
มีพระวิริยภาพ มีพระวรกายสมบูรณ์
มีพระรัศมีเรืองงาม เป็นผู้น่าทัศนายิ่งนัก
มีพระฉวีวรรณเปล่งปลั่งดั่งทอง
มีพระเขี้ยวแก้วขาวสะอาด
เพราะพระลักษณะมหาบุรุษ
ที่มีปรากฏแก่มหาบุรุษนั้น
ย่อมมีปรากฏในพระวรกายของพระองค์อย่างครบถ้วน
พระองค์มีพระเนตรแจ่มใส มีพระพักตร์ผุดผ่อง
มีพระวรกายสูงใหญ่ตรง
มีพระเดช ทรงรุ่งเรืองอยู่ในท่ามกลางหมู่สมณะ
เหมือนดวงอาทิตย์รุ่งเรืองอยู่
พระองค์เป็นภิกษุ มีคุณสมบัติงดงามน่าชม
มีพระฉวีวรรณผุดผ่องดั่งทอง
พระองค์มีพระวรรณะสูงส่งถึงเพียงนี้
จะเป็นสมณะไปทำไม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๒. เสลสูตร

พระองค์ควรเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
ที่องอาจในหมู่พลรถ ทรงปราบปรามไพรีชนะ
ทรงเป็นใหญ่ในภาคพื้นชมพูทวีป
ซึ่งมีสมุทรสาครทั้งสี่เป็นขอบเขต
ข้าแต่พระโคดม ขอเชิญพระองค์ขึ้นครองราชย์
เป็นพระเจ้าจักรพรรดิจอมมนุษย์ตามพระราชประเพณี
ที่กษัตราธิราชโดยพระชาติได้เสวยราชย์
มีหมู่เสวกามาตย์เสด็จตามพระองค์เถิด”
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถาว่า)
“เสลพราหมณ์ เราเป็นพระราชาอยู่แล้ว
คือเป็นพระธรรมราชาผู้ยอดเยี่ยม
ยังธรรมจักรที่ไม่มีใคร ๆ หมุนไปได้ ให้หมุนไปได้”
(เสลพราหมณ์กราบทูลว่า)
“ข้าแต่ท่านพระโคดม พระองค์ทรงปฏิญญาว่า
เป็นสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นพระธรรมราชาผู้ยอดเยี่ยม
ทั้งยังตรัสยืนยันว่ายังธรรมจักรให้เป็นไป
ใครหนอเป็นเสนาบดีของพระองค์ผู้เจริญ
เป็นสาวกผู้ประพฤติตามเบื้องพระยุคลบาทของพระองค์ผู้เป็นศาสดา
ใครจะช่วยประกาศธรรมจักรที่พระองค์ทรงให้เป็นไปแล้วนี้ได้”
(พระผู้มีพระภาคตรัสตอบด้วยพระคาถาว่า)
“เสลพราหมณ์ สารีบุตรผู้เกิดตามตถาคต
จะช่วยประกาศธรรมจักรที่ยอดเยี่ยม
ซึ่งเราให้เป็นไปไว้แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๒. เสลสูตร

พราหมณ์ เราได้รู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง๑
ได้เจริญธรรมที่ควรให้เจริญ๒
ได้ละธรรมที่ควรละ๓ได้แล้ว
เพราะฉะนั้น เราจึงเป็นพระพุทธเจ้า
พราหมณ์ ท่านจงขจัดความสงสัยในตัวเราเสีย
จงน้อมใจเชื่อเราเสียเถิด
การได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเนือง ๆ
เป็นโอกาสที่หาได้ยาก
ผู้จะปรากฏเนือง ๆ ในโลก
ย่อมเป็นการหาได้ยาก
พราหมณ์ เรานั้นเป็นพระพุทธเจ้า
เป็นหมอผ่าตัดลูกศรคือกิเลสชั้นเยี่ยม
เราเป็นผู้ประเสริฐสุด ไม่มีผู้เปรียบเทียบ
ย่ำยีมารและเสนามารได้
ควบคุมอมิตรทั้งหมด๔ไว้ในอำนาจ
ไม่มีภัยจากที่ไหน เบิกบานอยู่”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๒. เสลสูตร

(เสลพราหมณ์กล่าวด้วยคาถาว่า)
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอเชิญพระองค์
จงทรงใคร่ครวญคำของข้าพระองค์นี้
เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาค ผู้มีพระจักษุ
เป็นหมอผ่าตัดลูกศรคือกิเลส
เป็นมหาวีระตรัสไว้
เหมือนพญาราชสีห์บันลือสีหนาทอยู่ในป่า
ใครเห็นพระผู้มีพระภาคผู้ประเสริฐสุด
ไม่มีผู้เปรียบเทียบ
ย่ำยีมารและเสนามารได้ จะไม่พึงเลื่อมใสเล่า
ถึงคนผู้เกิดในตระกูลต่ำก็ยังเลื่อมใส
ผู้ปรารถนา จะตามฉัน ก็เชิญมา
หรือผู้ที่ไม่ปรารถนา ก็เชิญกลับไป
ฉันจะบวชในสำนักของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้มีพระปัญญาประเสริฐนี้”
(มาณพเหล่านั้นกล่าวด้วยคาถาว่า)
“หากท่านอาจารย์ประทับใจคำสอน
ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเช่นนี้
แม้เราทั้งหลายก็จะบวช
ในสำนักของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้มีพระปัญญาประเสริฐ”
พราหมณ์ ๓๐๐ คนนี้พากันประนมมือ ทูลขอบรรพชาว่า
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ทั้งหลาย
จะประพฤติพรหมจรรย์ ในสำนักของพระองค์”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๒. เสลสูตร

(พระผู้มีพระภาคตรัสด้วยพระคาถาว่า)
“เสละ พรหมจรรย์เรากล่าวไว้แล้ว
ผู้บรรลุจะเห็นได้เอง ให้ผลไม่จำกัดกาล
ในศาสนาที่มีการบรรพชาไม่ไร้ผล
เมื่อคนที่ไม่ประมาท หมั่นศึกษาอยู่๑”
เสลพราหมณ์พร้อมทั้งบริวารได้รับการบรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มี
พระภาคแล้ว
[๔๐๐] เมื่อล่วงราตรีนั้นไป เกณิยชฎิลสั่งให้จัดของเคี้ยวของฉันอันประณีตไว้ใน
อาศรมของตน แล้วส่งคนไปกราบทูลภัตตกาลว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ได้เวลาแล้ว
ภัตตาหารสำเร็จแล้ว พระพุทธเจ้าข้า”
ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร เสด็จไป
ยังอาศรมของเกณิยชฎิลและประทับบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้วพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์
จากนั้น เกณิยชฎิลได้อังคาสภิกษุสงฆ์ซึ่งมีพระพุทธเจ้าเป็นประธานให้อิ่มหนำ
สำราญด้วยของเคี้ยวของฉันอันประณีตด้วยตนเอง เมื่อพระผู้มีพระภาคเสวยเสร็จ
ทรงวางพระหัตถ์แล้ว เกณิยชฎิลเลือกนั่ง ณ ที่สมควร ที่ใดที่หนึ่งซึ่งต่ำกว่า

พระพุทธเจ้าทรงทำอนุโมทนาแก่เกณิยชฎิล

พระผู้มีพระภาคทรงอนุโมทนาแก่เกณิยชฎิลด้วยพระคาถาเหล่านี้ว่า
“การบูชาไฟเป็นการบูชายัญอันประเสริฐ
ว่าด้วยเรื่องฉันท์ สาวิตรีฉันท์เป็นฉันท์อันดับแรก
พระราชาเป็นประมุขของมนุษย์ทั้งหลาย
สมุทรสาครเป็นศูนย์รวมแห่งแม่น้ำทั้งหลาย


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๒. เสลสูตร

ดาวนักษัตรทั้งหลาย มีดวงจันทร์เด่นสกาว
มวลความร้อนมีดวงอาทิตย์เป็นเจ้า
หมู่ชนผู้มุ่งแสวงบุญอยู่มีพระสงฆ์เท่านั้น
เป็นทางเจริญแห่งบุญแท้จริงของผู้บูชา”
ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงทำอนุโมทนาแก่เกณิยชฎิลด้วยพระคาถาเหล่านี้แล้ว
ก็เสด็จลุกจากพุทธอาสน์จากไป
ต่อมา ท่านพระเสละพร้อมด้วยภิกษุผู้เป็นบริวาร จากไปอยู่เพียงลำพัง ไม่ประมาท
มีความเพียร อุทิศกายและใจ ไม่นานนักก็ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็น
ที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบันแน่แท้ รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป๑”
จึงเป็นอันว่า ท่านพระเสละพร้อมกับภิกษุผู้เป็นบริวารได้เป็นพระอรหันต์
จำนวนหนึ่งบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย
ครั้งนั้น ท่านพระเสละพร้อมด้วยภิกษุผู้เป็นบริวารได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ห่มจีวรเฉวียงบ่า ประคองอัญชลีไปทางที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่
ได้กราบทูลด้วยคาถาว่า
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ผู้มีพระจักษุ
ข้าพระองค์ทั้งหลายถึงพระองค์เป็นสรณะครบ ๘ วันนับจากวันนี้
จึงเป็นอันว่าข้าพระองค์ทั้งหลายฝึกฝนตนสำเร็จ
ในศาสนาของพระองค์ใช้เวลา ๗ วันเท่านั้น
พระองค์ทรงเป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้า เป็นพระศาสดา
เป็นพระมุนีผู้ครอบงำมารได้


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๓. อัสสลายนสูตร

ทรงตัดอนุสัยกิเลสได้ ทรงข้ามห้วงน้ำใหญ่คือสงสารได้แล้ว
ยังทรงช่วยหมู่สัตว์นี้ให้ข้ามตามไปได้ด้วย
พระองค์ทรงล่วงพ้นอุปธิได้
ทำลายอาสวะได้แล้ว ไม่มีอุปาทาน
ละความหวาดกลัวภัยได้
เหมือนพญาราชสีห์ไม่กลัวต่อหมู่เนื้อ”
ภิกษุ ๓๐๐ รูปนี้ ยืนประนมมืออยู่ กราบทูลว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงแกล้วกล้า
ขอพระองค์โปรดเหยียดพระยุคลบาทออกเถิด
ขอเชิญท่านผู้ประเสริฐทั้งหลาย
ถวายอภิวาทพระบรมศาสดาเถิด” ดังนี้แล

เสลสูตรที่ ๒ จบ

๓. อัสสลายนสูตร
ว่าด้วยอัสสลายนมาณพ

[๔๐๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้นแล พราหมณ์ผู้มาจากแคว้นต่าง ๆ ประมาณ
๕๐๐ คน พักอาศัยอยู่ในกรุงสาวัตถี ด้วยกรณียกิจบางอย่าง ครั้งนั้น พราหมณ์เหล่านั้น
ได้คิดว่า “พระสมณโคดมนี้ทรงบัญญัติความบริสุทธิ์ที่ทั่วไปแก่วรรณะ ๔ จำพวก
ใครหนอจะสามารถเจรจาโต้ตอบกับพระสมณโคดมในคำนั้นได้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๓. อัสสลายนสูตร

สมัยนั้น มาณพชื่ออัสสลายนะ อาศัยอยู่ในกรุงสาวัตถี ยังเป็นหนุ่ม โกนศีรษะ
มีอายุ ๑๖ ปี นับแต่เกิดมา เป็นผู้จบไตรเพท พร้อมทั้งนิฆัณฑุศาสตร์ เกฏุภศาสตร์
อักษรศาสตร์ และประวัติศาสตร์ เข้าใจตัวบทและไวยากรณ์ ชำนาญในโลกายต-
ศาสตร์และลักษณะมหาบุรุษ๑
ครั้งนั้น พราหมณ์เหล่านั้นคิดกันว่า “อัสสลายนมาณพผู้นี้ อาศัยอยู่ในกรุง
สาวัตถี ยังเป็นหนุ่ม ฯลฯ ชำนาญโลกายตศาสตร์และลักษณะมหาบุรุษ เขาจะ
สามารถเจรจาโต้ตอบกับพระสมณโคดมในคำนั้นได้”
ลำดับนั้น พราหมณ์เหล่านั้นพากันเข้าไปหาอัสสลายนมาณพถึงที่อยู่ แล้วได้
กล่าวว่า “พ่ออัสสลายนะ พระสมณโคดมนี้ ทรงบัญญัติความบริสุทธิ์ที่ทั่วไปแก่
วรรณะ ๔ จำพวก พ่ออัสสลายนะ จงไปเจรจาโต้ตอบกับพระสมณโคดมในคำนั้นเถิด”
เมื่อพราหมณ์ทั้งหลายกล่าวอย่างนี้แล้ว อัสสลายนมาณพได้กล่าวกับพราหมณ์
เหล่านั้นว่า “ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้ทราบว่า พระสมณโคดมเป็นธรรมวาทีที่บุคคล
จะพึงเจรจาโต้ตอบได้ยาก ข้าพเจ้าไม่สามารถจะเจรจาโต้ตอบกับพระสมณโคดม
ในคำนั้นได้”
แม้ครั้งที่ ๒ พราหมณ์เหล่านั้นก็ได้กล่าวกับอัสสลายนมาณพว่า “พ่ออัสสลายนะ
พระสมณโคดมนี้ ทรงบัญญัติความบริสุทธิ์ที่ทั่วไปแก่วรรณะ ๔ จำพวก พ่ออัสสลายนะ
จงไปเจรจาโต้ตอบกับพระสมณโคดมในคำนั้นเถิด พ่ออัสสลายนะได้ประพฤติวิธีบรรพชา๒
มาแล้ว”
แม้ครั้งที่ ๒ อัสสลายนมาณพก็ได้กล่าวกับพราหมณ์เหล่านั้นว่า “ท่านผู้เจริญ
ทั้งหลาย ได้ทราบว่า พระสมณโคดมเป็นธรรมวาที ที่บุคคลจะพึงเจรจาโต้ตอบ
ได้ยาก ข้าพเจ้าไม่สามารถจะเจรจาโต้ตอบกับพระสมณโคดมในคำนั้นได้”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๓. อัสสลายนสูตร

แม้ครั้งที่ ๓ พราหมณ์เหล่านั้นก็ได้กล่าวกับอัสสลายนมาณพว่า “พ่ออัสสลายนะ
พระสมณโคดมนี้ ทรงบัญญัติความบริสุทธิ์ที่ทั่วไปแก่วรรณะ ๔ จำพวก พ่ออัสสลายนะ
จงเข้าไปเจรจาโต้ตอบกับพระสมณโคดมในคำนั้นเถิด พ่ออัสสลายนะได้ประพฤติวิธี
บรรพชามาแล้ว พ่ออัสสลายนะอย่ายอมแพ้เสียตั้งแต่ยังไม่รบเลย”
เมื่อพราหมณ์เหล่านั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว อัสสลายนมาณพได้กล่าวกับพราหมณ์
เหล่านั้นว่า “ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้ายอมไม่ได้แน่ ได้ทราบว่า พระสมณโคดม
เป็นธรรมวาทีที่บุคคลจะพึงเจรจาโต้ตอบได้ยาก ข้าพเจ้าคงไม่สามารถจะเจรจา
โต้ตอบกับพระสมณโคดมในคำนั้นได้ แต่ข้าพเจ้าจักไปตามคำของท่านทั้งหลาย”

เรื่องวรรณะ ๔ จำพวก๑

[๔๐๒] ลำดับนั้น อัสสลายนมาณพพร้อมด้วยคณะพราหมณ์หมู่ใหญ่ พากัน
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็น
ที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่ท่านพระโคดม พราหมณ์ทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐ
ที่สุดคือพราหมณ์เท่านั้น วรรณะอื่นเลว วรรณะที่ขาวคือพราหมณ์เท่านั้น
วรรณะอื่นดำ พราหมณ์เท่านั้นบริสุทธิ์ ผู้ที่ไม่ใช่พราหมณ์ไม่บริสุทธิ์ พราหมณ์
เท่านั้นเป็นบุตร เป็นโอรส เกิดจากโอษฐ์ของพรหม เกิดจากพรหม เป็นผู้ที่พรหม
สร้างขึ้น เป็นทายาทของพรหม’ ในเรื่องนี้ท่านพระโคดมได้ตรัสไว้อย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อัสสลายนะ นางพราหมณีของพราหมณ์ทั้งหลาย
มีระดูบ้าง มีครรภ์บ้าง คลอดบุตรบ้าง ให้บุตรดื่มนมบ้าง ปรากฏอยู่ พราหมณ์
เหล่านั้นซึ่งเป็นผู้เกิดจากโยนีเหมือนกัน ยังจะกล่าวอย่างนี้ว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐ
ที่สุดคือพราหมณ์เท่านั้น วรรณะอื่นเลว วรรณะที่ขาวคือพราหมณ์เท่านั้น วรรณะ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๓. อัสสลายนสูตร

อื่นดำ พราหมณ์เท่านั้นบริสุทธิ์ ผู้ที่ไม่ใช่พราหมณ์ไม่บริสุทธิ์ พราหมณ์เท่านั้นเป็น
บุตร เป็นโอรส เกิดจากโอษฐ์ของพรหม เกิดจากพรหม เป็นผู้ที่พรหมสร้างขึ้น
เป็นทายาทของพรหม”
อัสสลายนมาณพกราบทูลว่า “ท่านพระโคดมตรัสอย่างนี้ก็จริง แต่ในเรื่องนี้พราหมณ์
ทั้งหลายก็ยังเข้าใจเรื่องนั้นอยู่อย่างนี้ว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐที่สุดคือพราหมณ์เท่านั้น
ฯลฯ เป็นทายาทของพรหม”
[๔๐๓] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อัสสลายนะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่า
อย่างไร ท่านได้ฟังมาแล้วหรือว่า ‘ในแคว้นโยนก แคว้นกัมโพชะ และปัจจันตชนบท
อื่น ๆ มีวรรณะอยู่ ๒ จำพวกเท่านั้น คือ (๑) เจ้า (๒) ทาส เป็นเจ้าแล้วกลับ
เป็นทาส เป็นทาสแล้วกลับเป็นเจ้า”
อัสสลายนมาณพทูลตอบว่า “ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเคยฟังความข้อนั้นมา
แล้วอย่างนี้ว่า ‘ในแคว้นโยนก แคว้นกัมโพชะ และปัจจันตชนบทอื่น ๆ มีวรรณะอยู่
๒ จำพวกเท่านั้น คือ (๑) เจ้า (๒) ทาส เป็นเจ้าแล้วกลับเป็นทาส เป็นทาสแล้ว
กลับเป็นเจ้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อัสสลายนะ ในเรื่องนี้ อะไรเป็นกำลัง อะไรเป็น
ความยินดีของพราหมณ์ทั้งหลายผู้กล่าวแล้วอย่างนี้ว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐที่สุดคือ
พราหมณ์เท่านั้น วรรณะอื่นเลว ฯลฯ เป็นทายาทของพรหม”
อัสสลายนมาณพทูลตอบว่า “ท่านพระโคดมตรัสอย่างนั้นก็จริง แต่ในเรื่องนี้
พราหมณ์ทั้งหลายก็เข้าใจเรื่องนั้นอยู่อย่างนี้ว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐที่สุดคือพราหมณ์
เท่านั้น วรรณอื่นเลว ฯลฯ เป็นทายาทของพรหม”
[๔๐๔] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อัสสลายนะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่า
อย่างไร กษัตริย์เท่านั้นหรือที่เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ
พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ เป็นผู้เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น มีจิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๓. อัสสลายนสูตร

พยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิ หลังจากตายแล้วจะพึงไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต
นรก๑ ส่วนพราหมณ์ไม่เป็นอย่างนั้นหรือ
แพศย์เท่านั้นหรือ ฯลฯ
ศูทรเท่านั้นหรือที่เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ
พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ เป็นผู้เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น มีจิต
พยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิ หลังจากตายแล้วจะพึงไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต
นรก ส่วนพราหมณ์ไม่เป็นอย่างนั้นหรือ”
อัสสลายนมาณพทูลตอบว่า “ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านพระโคดม แม้กษัตริย์ที่เป็นผู้
ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ
เป็นผู้เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิ หลังจากตาย
แล้วจะพึงไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
แม้พราหมณ์ ฯลฯ
แม้แพศย์ ฯลฯ
แม้ศูทร ฯลฯ
ข้าแต่ท่านพระโคดม ความจริง แม้วรรณะ ๔ จำพวก ที่เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์
ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ เป็นผู้เพ่งเล็ง
อยากได้สิ่งของของผู้อื่น มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิ หลังจากตายแล้วจะพึงไปเกิด
ในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ทั้งหมด”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อัสสลายนะ ในเรื่องนี้ อะไรเป็นกำลัง อะไร
เป็นความยินดีของพราหมณ์ทั้งหลายผู้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐที่สุดคือ
พราหมณ์เท่านั้น วรรณะอื่นเลว ฯลฯ เป็นทายาทของพรหม”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๓. อัสสลายนสูตร

อัสสลายนมาณพทูลตอบว่า “ท่านพระโคดม ตรัสอย่างนั้นก็จริง แต่ในเรื่องนี้
พราหมณ์ทั้งหลายก็เข้าใจเรื่องนั้นอยู่อย่างนี้ว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐที่สุดคือพราหมณ์
เท่านั้น วรรณะอื่นเลว ฯลฯ เป็นทายาทของพรหม”
[๔๐๕] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อัสสลายนะ ท่านเข้าใจความข้อนั้น
ว่าอย่างไร พราหมณ์เท่านั้นหรือที่เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการ
ลักทรัพย์ เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาด
จากการพูดส่อเสียด เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ
ไม่เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ หลังจากตาย
แล้วจะพึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ กษัตริย์ไม่เป็นอย่างนั้นหรือ แพศย์ไม่เป็น
อย่างนั้นหรือ ศูทรไม่เป็นอย่างนั้นหรือ”
อัสสลายนมาณพทูลตอบว่า “ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านพระโคดม แม้กษัตริย์ที่เป็นผู้
เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการประพฤติผิด
ในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด เว้นขาดจากการพูด
คำหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น มีจิตไม่
พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ หลังจากสวรรคตแล้วจะพึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
แม้พราหมณ์ ฯลฯ
แม้แพศย์ ฯลฯ
แม้ศูทร ฯลฯ
ข้าแต่ท่านพระโคดม ความจริง แม้วรรณะ ๔ จำพวก ที่เป็นผู้เว้นขาดจาก
การฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม เว้นขาด
จากการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ เว้นขาด
จากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมา-
ทิฏฐิ หลังจากตายแล้วจะพึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ทั้งหมด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๓. อัสสลายนสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อัสสลายนะ ในเรื่องนี้ อะไรเป็นกำลัง อะไรเป็น
ความยินดีของพราหมณ์ผู้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐที่สุดคือพราหมณ์
เท่านั้น วรรณะอื่นเลว ฯลฯ เป็นทายาทของพรหม”
อัสสลายนมาณพทูลตอบว่า “ท่านพระโคดมตรัสอย่างนี้ก็จริง แต่ในเรื่องนี้
พราหมณ์ทั้งหลายก็เข้าใจเรื่องนั้นอยู่อย่างนี้ว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐที่สุดคือพราหมณ์
เท่านั้น วรรณะอื่นเลว ฯลฯ เป็นทายาทของพรหม”
[๔๐๖] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อัสสลายนะ ท่านเข้าใจความข้อนั้น
ว่าอย่างไร ในประเทศนี้ พราหมณ์เท่านั้นหรือที่สามารถเจริญเมตตาจิต อันไม่มีเวร
ไม่มีความเบียดเบียน กษัตริย์ แพศย์ ศูทร ไม่สามารถหรือ”
อัสสลายนมาณพทูลตอบว่า “ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านพระโคดม ในประเทศนี้
แม้กษัตริย์ก็สามารถเจริญเมตตาจิต อันไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน
แม้พราหมณ์ ฯลฯ
แม้แพศย์ ฯลฯ
แม้ศูทร ฯลฯ
ข้าแต่ท่านพระโคดม ความจริงในประเทศนี้ แม้วรรณะ ๔ จำพวก ก็สามารถ
เจริญเมตตาจิต อันไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนได้ทั้งหมด”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อัสสลายนะ ในเรื่องนี้ อะไรเป็นกำลัง อะไรเป็น
ความยินดีของพราหมณ์ทั้งหลายผู้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐที่สุดคือพราหมณ์
เท่านั้น วรรณะอื่นเลว ฯลฯ เป็นทายาทของพรหม”
อัสสลายนมาณพทูลตอบว่า “ท่านพระโคดมตรัสอย่างนั้นก็จริง แต่ในเรื่องนี้
พราหมณ์ทั้งหลายก็เข้าใจเรื่องนั้นอยู่อย่างนี้ว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐที่สุดคือพราหมณ์
เท่านั้น วรรณะอื่นเลว ฯลฯ เป็นทายาทของพรหม”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๓. อัสสลายนสูตร

[๔๐๗] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อัสสลายนะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่า
อย่างไร พราหมณ์เท่านั้นหรือที่สามารถถือเอาเครื่องสีตัวสำหรับอาบน้ำไปยังแม่น้ำ
แล้วลอยละอองธุลีได้ กษัตริย์ แพศย์ ศูทร ไม่สามารถหรือ”
อัสสลายนมาณพทูลตอบว่า “ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านพระโคดม แม้กษัตริย์ก็ย่อม
สามารถถือเอาเครื่องสีตัวสำหรับอาบน้ำไปยังแม่น้ำแล้วลอยละอองธุลีได้
แม้พราหมณ์ ฯลฯ
แม้แพศย์ ฯลฯ
แม้ศูทร ฯลฯ
ข้าแต่ท่านพระโคดม ความจริงแม้วรรณะ ๔ จำพวก ก็ย่อมสามารถถือเอา
เครื่องสีตัวสำหรับอาบน้ำไปยังแม่น้ำแล้วลอยละอองธุลีได้ทั้งหมด”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อัสสลายนะ ในเรื่องนี้ อะไรเป็นกำลัง อะไรเป็น
ความยินดีของพราหมณ์ผู้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐที่สุดคือพราหมณ์
เท่านั้น วรรณะอื่นเลว ฯลฯ เป็นทายาทของพรหม”
อัสสลายนมาณพทูลตอบว่า “ท่านพระโคดมตรัสอย่างนั้นก็จริง แต่ในเรื่องนี้
พราหมณ์ทั้งหลายก็เข้าใจเรื่องนั้นอยู่อย่างนี้ว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐที่สุดคือพราหมณ์
เท่านั้น วรรณะอื่นเลว ฯลฯ เป็นทายาทของพรหม”
[๔๐๘] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อัสสลายนะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่า
อย่างไร พระราชามหากษัตริย์ในโลกนี้ ผู้ได้รับมูรธาภิเษก๑แล้ว จะพึงทรงเกณฑ์
บุรุษผู้มีฐานะต่าง ๆ กัน ๑๐๐ คน ให้มาประชุมกันตรัสว่า ‘มาเถิดท่านทั้งหลาย
ในจำนวนบุรุษเหล่านั้น บุรุษเหล่าใดเกิดจากตระกูลกษัตริย์ ตระกูลพราหมณ์
ราชตระกูล บุรุษเหล่านั้นจงถือเอาไม้สัก ไม้สาละ ไม้สน ไม้จันทน์ หรือไม้ทับทิม


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๓. อัสสลายนสูตร

มาทำเป็นไม้สีไฟ แล้วสีให้เป็นไฟลุกโพลงขึ้น มาเถิดท่านทั้งหลาย ในจำนวนบุรุษ
เหล่านั้น บุรุษเหล่าใดเกิดจากตระกูลจัณฑาล ตระกูลพราน ตระกูลช่างจักสาน
ตระกูลช่างรถ ตระกูลคนขนขยะ บุรุษเหล่านั้นจงถือเอาไม้รางสุนัข ไม้รางสุกร
ไม้รางย้อมผ้า หรือไม้ละหุ่งมาทำเป็นไม้สีไฟแล้วสีให้เป็นไฟลุกโพลงขึ้น
อัสสลายนะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ไฟที่บุรุษทั้งหลายผู้เกิดจาก
ตระกูลกษัตริย์ ตระกูลพราหมณ์ ราชตระกูล ถือเอาไม้สัก ไม้สาละ ไม้สน ไม้จันทน์
หรือไม้ทับทิม มาทำเป็นไม้สีไฟ แล้วสีให้เป็นไฟลุกโพลงขึ้นเท่านั้นหรือ เป็นไฟ
มีเปลว มีสี มีแสงสว่าง และสามารถทำกิจที่ต้องทำด้วยไฟนั้นให้สำเร็จได้ ส่วนไฟ
ที่บุรุษทั้งหลายผู้เกิดจากตระกูลจัณฑาล ตระกูลนายพราน ตระกูลช่างจักสาน
ตระกูลช่างรถ ตระกูลคนขนขยะ ถือเอาไม้รางสุนัข ไม้รางสุกร ไม้รางย้อมผ้า หรือ
ไม้ละหุ่ง มาทำเป็นไม้สีไฟ แล้วสีให้เป็นไฟลุกโพลงขึ้นนั้น เป็นไฟไม่มีเปลว ไม่มีสี
ไม่มีแสงสว่าง และไม่สามารถทำกิจที่ต้องทำด้วยไฟนั้นให้สำเร็จได้กระนั้นหรือ”
อัสสลายนมาณพทูลตอบว่า “ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านพระโคดม แม้ไฟที่บุรุษทั้งหลาย
ผู้เกิดจากตระกูลกษัตริย์ ตระกูลพราหมณ์ ราชตระกูล ถือเอาไม้สัก ไม้สาละ ไม้สน
ไม้จันทน์ หรือไม้ทับทิม มาทำเป็นไม้สีไฟ แล้วสีให้เป็นไฟลุกโพลงขึ้นนั้น ก็เป็นไฟ
มีเปลว มีสี มีแสงสว่าง และสามารถทำกิจที่ต้องทำด้วยไฟนั้นให้สำเร็จได้ แม้ไฟ
ที่บุรุษทั้งหลายผู้เกิดจากตระกูลจัณฑาล ตระกูลนายพราน ตระกูลช่างจักสาน
ตระกูลช่างรถ ตระกูลคนขนขยะ ถือเอาไม้รางสุนัข ไม้รางสุกร ไม้รางย้อมผ้า
หรือไม้ละหุ่ง มาทำเป็นไม้สีไฟ แล้วสีให้เป็นไฟลุกโพลงขึ้นนั้น ก็เป็นไฟมีเปลว มีสี
มีแสงสว่าง และสามารถทำกิจที่ต้องทำด้วยไฟให้สำเร็จได้ ท่านพระโคดม ความจริง
แม้ไฟทุกชนิดก็เป็นไฟมีเปลว มีสี มีแสงสว่าง และสามารถทำกิจที่ต้องทำด้วยไฟให้
สำเร็จได้ทั้งหมด”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อัสสลายนะ ในเรื่องนี้ อะไรเป็นกำลัง อะไรเป็น
ความยินดีของพราหมณ์ผู้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐที่สุดคือพราหมณ์
เท่านั้น วรรณะอื่นเลว วรรณะที่ขาวคือพราหมณ์เท่านั้น วรรณะอื่นดำ พราหมณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๓. อัสสลายนสูตร

เท่านั้นบริสุทธิ์ ผู้ที่ไม่ใช่พราหมณ์ ไม่บริสุทธิ์ พราหมณ์เท่านั้นเป็นบุตร เป็นโอรส
เกิดจากโอษฐ์ของพรหม เกิดจากพรหม พรหมเป็นผู้สร้างขึ้น เป็นทายาทของ
พรหม”
อัสสลายนมาณพทูลตอบว่า “ท่านพระโคดมตรัสอย่างนั้นก็จริง แต่ในเรื่องนี้
พราหมณ์ทั้งหลายก็เข้าใจเรื่องนั้นอยู่อย่างนี้ว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐที่สุดคือพราหมณ์
เท่านั้น วรรณะอื่นเลว ฯลฯ เป็นทายาทของพรหม”
[๔๐๙] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อัสสลายนะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่า
อย่างไร ขัตติยกุมารในโลกนี้ สำเร็จการอยู่ร่วมกับนางพราหมณี เพราะอาศัยการ
อยู่ร่วมเป็นสามีภรรยากันของคนทั้งสองนั้น จึงเกิดบุตรขึ้น บุตรที่เกิดจากนาง
พราหมณีกับขัตติยกุมารนั้น ซึ่งเหมือนมารดาก็ดี เหมือนบิดาก็ดี ควรจะเรียกว่า
‘กษัตริย์หรือพราหมณ์”
อัสสลายนมาณพทูลตอบว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม บุตรที่เกิดจากนางพราหมณี
กับขัตติยกุมารนั้น ซึ่งเหมือนมารดาก็ดี เหมือนบิดาก็ดี ควรจะเรียกว่า ‘กษัตริย์
ก็ได้ พราหมณ์ก็ได้”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร พราหมณกุมารในโลกนี้พึงสำเร็จการอยู่ร่วมกับ
นางกษัตริย์ เพราะอาศัยการอยู่ร่วมเป็นสามีภรรยากันของคนทั้งสองนั้น บุตรจึง
เกิดขึ้น บุตรที่เกิดจากนางกษัตริย์กับพราหมณกุมารนั้น ซึ่งเหมือนมารดาก็ดี
เหมือนบิดาก็ดี ควรจะเรียกว่า ‘กษัตริย์หรือพราหมณ์”
“ข้าแต่ท่านพระโคดม บุตรผู้เกิดจากนางกษัตริย์กับพราหมณกุมารนั้น ซึ่งเหมือน
มารดาก็ดี เหมือนบิดาก็ดี ควรจะเรียกว่า ‘กษัตริย์ก็ได้ พราหมณ์ก็ได้”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ในโลกนี้เขาพึงผสมแม่ม้ากับพ่อลา เพราะ
อาศัยการผสมแม่ม้ากับพ่อลานั้นจึงเกิดลูกม้า(ล่อ)ขึ้น ลูกม้าที่เกิดจากแม่ม้ากับพ่อลา
ซึ่งเหมือนแม่ก็ดี เหมือนพ่อก็ดี ควรจะเรียกว่า ‘ม้าหรือลา”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๓. อัสสลายนสูตร

“ข้าแต่ท่านพระโคดม ลูกผสมนั้นย่อมเป็นม้าอัสดร ข้าแต่ท่านพระโคดม
เรื่องของสัตว์นี้ข้าพระองค์เห็นว่าต่างกัน (แต่ตามนัยต้น) สำหรับเรื่องของมนุษย์
เหล่าโน้น ข้าพระองค์เห็นว่าไม่ต่างกัน”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ในโลกนี้มีมาณพ ๒ คนเป็นพี่น้องร่วมท้อง
เดียวกัน คนหนึ่งเป็นคนศึกษาเล่าเรียน อาจารย์ได้แนะนำ คนหนึ่งไม่ได้ศึกษาเล่าเรียน
อาจารย์ไม่ได้แนะนำ พราหมณ์ทั้งหลายพึงเชื้อเชิญคนไหนใน ๒ คนนี้ให้บริโภคก่อน
ในการเลี้ยงของผู้มีศรัทธา๑ก็ดี ในการเลี้ยงเพื่อเป็นบรรณาการก็ดี ในการเลี้ยงเพื่อ
บูชายัญก็ดี ในการเลี้ยงเพื่อต้อนรับแขกก็ดี”
“ข้าแต่ท่านพระโคดม ใน ๒ คนนี้ พราหมณ์ทั้งหลายพึงเชิญมาณพผู้ศึกษา
เล่าเรียน ผู้ที่อาจารย์ได้แนะนำให้บริโภคก่อน ในการเลี้ยงของผู้มีศรัทธาก็ดี ในการ
เลี้ยงเพื่อเป็นบรรณาการก็ดี ในการเลี้ยงเพื่อบูชายัญก็ดี ในการเลี้ยงเพื่อต้อนรับแขก
ก็ดี ข้าแต่ท่านพระโคดม ของที่ให้ในผู้ไม่ได้ศึกษาเล่าเรียน ผู้ที่อาจารย์ไม่ได้แนะนำ
จักมีผลมากได้อย่างไรเล่า”
“อัสสลายนะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ในโลกนี้มีมาณพ ๒ คนเป็น
พี่น้องร่วมท้องเดียวกัน คนหนึ่งเป็นคนศึกษาเล่าเรียน อาจารย์ได้แนะนำ แต่เป็น
คนทุศีล มีบาปธรรม คนหนึ่งไม่ได้ศึกษาเล่าเรียน อาจารย์ไม่ได้แนะนำ แต่เป็นคน
มีศีล มีกัลยาณธรรม พราหมณ์ทั้งหลายจะพึงเชื้อเชิญคนไหนใน ๒ คนนี้ให้บริโภค
ก่อน ในการเลี้ยงของผู้มีศรัทธาก็ดี ในการเลี้ยงเพื่อเป็นบรรณาการก็ดี ในการเลี้ยง
เพื่อบูชายัญก็ดี ในการเลี้ยงเพื่อต้อนรับแขกก็ดี”
อัสสลายนมาณพกราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ใน ๒ คนนี้ พราหมณ์
ทั้งหลายพึงเชิญมาณพผู้ไม่ได้ศึกษาเล่าเรียน ผู้ที่อาจารย์ไม่ได้แนะนำ แต่เป็นคน
มีศีล มีกัลยาณธรรมให้บริโภคก่อน ในการเลี้ยงของผู้มีศรัทธาก็ดี ในการเลี้ยง


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๓. อัสสลายนสูตร

เพื่อเป็นบรรณาการก็ดี ในการเลี้ยงเพื่อบูชายัญก็ดี ในการเลี้ยงเพื่อต้อนรับแขกก็ดี
ข้าแต่ท่านพระโคดม ของที่ให้ในบุคคลผู้ทุศีล มีบาปธรรม จักมีผลมากได้อย่างไรเล่า”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อัสสลายนะ เมื่อก่อนท่านได้อ้างกำเนิด อ้างกำเนิด
แล้วก็อ้างเรื่องมนต์ อ้างเรื่องมนต์แล้วก็อ้างเรื่องตบะ อ้างเรื่องตบะแล้วก็มาพูด
เรื่อง ความบริสุทธิ์ที่ทั่วไปแก่วรรณะ ๔ จำพวก ซึ่งเราบัญญัติไว้”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว อัสสลายนมาณพก็นั่งนิ่ง เก้อเขิน คอตก
ก้มหน้า ซบเซา หมดปฏิภาณ

วรรณะ ๔ จำพวกในอดีต

[๔๑๐] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่าอัสสลายนมาณพนั่งนิ่ง เก้อเขิน
คอตก ก้มหน้า ซบเซา หมดปฏิภาณ จึงได้ตรัสกับอัสสลายนมาณพว่า
“อัสสลายนะ เรื่องเคยมีมาแล้ว พราหมณ์ฤาษี ๗ ตน มาประชุมกันที่กระท่อม
มุงบังด้วยใบไม้ในราวป่า เกิดมีทิฏฐิชั่วเห็นปานนี้ว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐที่สุดคือพราหมณ์
เท่านั้น วรรณะอื่นเลว ฯลฯ เป็นทายาทของพรหม’
อสิตเทวลฤาษีได้สดับว่า ‘ได้ทราบว่า พราหมณ์ฤาษี ๗ ตนมาประชุมกันที่
กระท่อมมุงบังด้วยใบไม้ในราวป่า เกิดมีทิฏฐิชั่วเห็นปานนี้ว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐ
ที่สุดคือพราหมณ์เท่านั้น ฯลฯ เป็นทายาทของพรหม’
ลำดับนั้น อสิตเทวลฤาษีโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้าสีแดงอ่อน สวมรองเท้า
๒ ชั้น ถือไม้เท้าเลี่ยมทองไปปรากฏในบริเวณศาลาของพราหมณ์ฤาษี ๗ ตน
ครั้งนั้นแล อสิตเทวลฤาษีเมื่อเดินไปมาอยู่ในบริเวณศาลาของพราหมณ์ฤาษีทั้ง ๗ ตน
ได้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘เออ ท่านพราหมณ์ฤาษีเหล่านี้ไปไหนกันหมด เออ ท่านพราหมณ์
ฤาษีเหล่านี้ไปไหนกันหมด’
ลำดับนั้น พราหมณ์ฤาษี ๗ ตน ได้คิดว่า ‘ใครหนอนี่ เดินไปมาเหมือนเด็ก
ชาวบ้าน ในบริเวณศาลาของพราหมณ์ฤาษี ๗ ตน กล่าวอย่างนี้ว่า ‘เออ ท่าน
พราหมณ์ฤาษีเหล่านี้ไปไหนกันหมด เออ ท่านพราหมณ์ฤาษีเหล่านี้ไปไหนกันหมด’
เอาละ เราทั้งหลายจักสาปแช่งมัน’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๓. อัสสลายนสูตร

ลำดับนั้น พราหมณ์ฤาษี ๗ ตน ก็พากันสาปแช่งอสิตเทวลฤาษีว่า ‘เป็นเถ้า
เถิดคนถ่อย เป็นเถ้าเถิดคนถ่อย’ พราหมณ์ฤาษี ๗ ตน พากันสาปแช่งอสิตเทวล-
ฤาษี ด้วยประการใด ๆ อสิตเทวลฤาษีกลับเป็นผู้มีรูปงามกว่า เป็นผู้น่าดูกว่า
และเป็นผู้น่าเลื่อมใสกว่า ด้วยประการนั้น ๆ
ครั้งนั้นแล พราหมณ์ฤาษี ๗ ตน ได้คิดว่า ‘ตบะของเราทั้งหลายเปล่าประโยชน์
พรหมจรรย์ของเราไม่มีผล ด้วยว่าเมื่อก่อนเราทั้งหลายสาปแช่งผู้ใดว่า ‘เป็นเถ้าเถิด
คนถ่อย เป็นเถ้าเถิดคนถ่อย’ ผู้นั้นบางคนก็เป็นเถ้าเป็นจุณ แต่ผู้นี้เราทั้งหลายยิ่ง
สาปแช่ง ด้วยประการใด ๆ เขากลับเป็นผู้มีรูปงามยิ่งขึ้น เป็นผู้น่าดูยิ่งขึ้น และเป็น
ผู้น่าเลื่อมใสยิ่งขึ้น ด้วยประการนั้น ๆ’
อสิตเทวลฤาษีกล่าวว่า ‘ตบะของท่านผู้เจริญทั้งหลาย เปล่าประโยชน์ก็หามิได้
พรหมจรรย์ของท่านผู้เจริญทั้งหลายไม่มีผลก็หามิได้ เชิญท่านผู้เจริญทั้งหลาย จงละ
ความคิดประทุษร้ายในเราเสียเถิด’
พราหมณ์ฤาษี กล่าวว่า ‘พวกเรายอมสละความคิดประทุษร้าย ท่านเป็น
ใครหนอ’
อสิตเทวลฤาษี กล่าวว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลายได้ยินชื่ออสิตเทวลฤาษีมา
บ้างไหม’
พราหมณ์ฤาษี กล่าวว่า ‘ท่านผู้เจริญ เราทั้งหลายเคยได้ยินอยู่’
อสิตเทวลฤาษี กล่าวว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย เรานี้แลคืออสิตเทวลฤาษี
ตนนั้น’
อัสสลายนะ ลำดับนั้นแล พราหมณ์ฤาษี ๗ ตน พากันเข้าไปหาอสิตเทวลฤาษี
เพื่อจะไหว้
[๔๑๑] อัสสลายนะ ครั้งนั้น อสิตเทวลฤาษีได้กล่าวกับพราหมณ์ฤาษี
ทั้ง ๗ ตนว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้าได้สดับข่าวนี้มาว่า ‘ได้ทราบว่า
พราหมณ์ฤาษี ๗ ตนมาประชุมกันในกระท่อมมุงบังด้วยใบไม้ในราวป่า แล้วเกิดมีทิฏฐิ
ชั่วเห็นปานนี้ว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐที่สุดคือพราหมณ์เท่านั้น วรรณอื่นเลว วรรณะ
ที่ขาวคือพราหมณ์เท่านั้น วรรณะอื่นดำ พราหมณ์เท่านั้นบริสุทธิ์ ผู้ที่มิใช่พราหมณ์
ไม่บริสุทธิ์ พราหมณ์เท่านั้นเป็นบุตร เป็นโอรส เกิดจากโอษฐ์ของพรหม เกิดจาก
พรหม พรหมเป็นผู้สร้างขึ้น เป็นทายาทของพรหม จริงหรือ’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๓. อัสสลายนสูตร

พราหมณ์ฤาษีทั้ง ๗ ตน ตอบว่า ‘จริง ท่านผู้เจริญ’
อสิตเทวลฤาษีถามว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลายรู้หรือว่า ‘มารดาบังเกิดเกล้าได้แต่งงาน
กับพราหมณ์เท่านั้น มิได้แต่งงานกับชายผู้มิใช่พราหมณ์เลย’
‘ไม่รู้เลย ท่านผู้เจริญ’
‘ท่านผู้เจริญทั้งหลายรู้หรือว่า ‘มารดาของมารดาบังเกิดเกล้าตลอด ๗ ชั่วโคตร
ชั่วย่ายายของฝ่ายมารดา ได้แต่งงานกับพราหมณ์เท่านั้น ไม่ได้แต่งงานกับชายผู้มิใช่
พราหมณ์เลย’
‘ไม่รู้เลย ท่านผู้เจริญ’
‘ท่านผู้เจริญทั้งหลายรู้หรือว่า ‘บิดาบังเกิดเกล้าได้แต่งงานกับนางพราหมณี
เท่านั้น ไม่ได้แต่งงานกับหญิงผู้มิใช่นางพราหมณีเลย’
‘ไม่รู้เลย ท่านผู้เจริญ’
‘ท่านผู้เจริญทั้งหลายรู้หรือว่า ‘บิดาของบิดาบังเกิดเกล้าตลอด ๗ ชั่วโคตร
ชั่วปู่ตาของฝ่ายบิดา ได้แต่งงานกับนางพราหมณีเท่านั้น ไม่ได้แต่งงานกับหญิงผู้
มิใช่นางพราหมณีเลย’
‘ไม่รู้เลย ท่านผู้เจริญ’
‘ท่านผู้เจริญทั้งหลายรู้หรือว่า การถือกำเนิดในครรภ์มีได้ด้วยอาการอย่างไร’
‘ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายรู้ว่า ‘การถือกำเนิดในครรภ์ย่อมมีได้ คือ
๑. มารดาบิดาอยู่ร่วมกัน
๒. มารดามีระดู
๓. คันธัพพะ๑ปรากฏ ฉันใด
เพราะปัจจัย ๓ ประการนี้ ประชุมพร้อมกัน การถือกำเนิดในครรภ์ ย่อมมีได้
ฉันนั้น’


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๔. โฆฏมุขสูตร

‘ท่านผู้เจริญทั้งหลายรู้หรือว่า ‘เอาเถิด สัตว์ที่เกิดในครรภ์พึงเป็นกษัตริย์
เป็นพราหมณ์ เป็นแพศย์ หรือเป็นศูทร’
‘ข้าพเจ้าทั้งหลาย ไม่รู้เลย ท่านผู้เจริญ’
อสิตเทวลฤาษีถามว่า ‘เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านผู้เจริญทั้งหลายรู้หรือว่า ‘ท่าน
ทั้งหลายเป็นพวกไหน’
พราหมณ์ฤาษีทั้ง ๗ ตนตอบว่า ‘ท่านผู้เจริญ เมื่อเป็นเช่นนั้น ข้าพเจ้า
ทั้งหลายไม่รู้เลยว่า ‘ข้าพเจ้าทั้งหลายเป็นพวกไหน’
อัสสลายนะ พราหมณ์ฤาษี ๗ ตนนั้น ถูกอสิตเทวลฤาษีซักไซร้ ไล่เลียง ไต่ถาม
ในวาทะปรารภชาติกำเนิดของตนก็ตอบไม่ได้ บัดนี้ ท่านถูกเราซักไซร้ ไล่เลียง ไต่ถาม
ในวาทะปรารภชาติกำเนิดของตน จะตอบได้อย่างไร ท่านเป็นศิษย์มีอาจารย์แต่ยังรู้
ไม่หมด เป็นแต่ถือทัพพีเท่านั้น”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว อัสสลายนมาณพได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอท่าน
พระโคดมโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจน
ตลอดชีวิต” ดังนี้แล

อัสสลายนสูตรที่ ๓ จบ

๔. โฆฏมุขสูตร
ว่าด้วยพราหมณ์ชื่อโฆฏมุขะ

[๔๑๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง ท่านพระอุเทนอยู่ ณ เขมิยอัมพวัน เขตกรุงพาราณสี สมัยนั้น
พราหมณ์ชื่อโฆฏมุขะได้ไปกรุงพาราณสี ด้วยกรณียกิจบางอย่าง ครั้งนั้นแล โฆฏมุข-
พราหมณ์ เดินเที่ยวเล่นอยู่ ได้เข้าไปยังเขมิยอัมพวัน สมัยนั้น ท่านพระอุเทนเดิน
จงกรมอยู่ในที่กลางแจ้ง โฆฏมุขพราหมณ์เข้าไปหาท่านพระอุเทนถึงที่อยู่ ได้สนทนา
ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว เดินจงกรมตามท่านพระอุเทน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๔. โฆฏมุขสูตร

ผู้กำลังเดินจงกรมอยู่ ได้กล่าวอย่างนี้ว่า “สมณะผู้เจริญ การบวชที่ถูกต้องไม่มี
ในการบวชนี้ข้าพเจ้ามีความเห็นอย่างนี้ เพราะในการบวชนี้บัณฑิตทั้งหลายเช่นท่านก็ยัง
ไม่เห็นธรรม”
เมื่อโฆฏมุขพราหมณ์กล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุเทนจึงลงจากที่จงกรม
เข้าไปยังวิหารแล้วนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ แม้โฆฏมุขพราหมณ์ก็ลงจากที่จงกรม
เข้าไปยังวิหารแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร ท่านพระอุเทนได้กล่าวกับโฆฏมุขพราหมณ์
ว่า “พราหมณ์ อาสนะมีอยู่ ถ้าท่านปรารถนาก็เชิญนั่งเถิด”
โฆฏมุขพราหมณ์กล่าวว่า “ข้าพเจ้ารอการเชื้อเชิญของท่านอุเทนอยู่จึงยัง
ไม่นั่ง เพราะคนเช่นข้าพเจ้าไม่มีใครเชื้อเชิญก่อนแล้ว จะพึงสำคัญการนั่งบนอาสนะ
ที่ควรนั่งก็ดูกระไรอยู่”
ลำดับนั้นแล โฆฏมุขพราหมณ์เลือกนั่งแล้ว ณ ที่สมควรที่ใดที่หนึ่งซึ่งต่ำกว่า
แล้วได้กล่าวกับท่านพระอุเทนว่า “สมณะผู้เจริญ การบวชที่ถูกต้องไม่มี ในการบวชนี้
ข้าพเจ้ามีความเห็นอย่างนี้ เพราะในการบวชนี้บัณฑิตทั้งหลายเช่นท่านก็ยังไม่เห็นธรรม”
ท่านพระอุเทนกล่าวว่า “พราหมณ์ ถ้าท่านจะพึงยอมรับคำที่ควรยอมรับ
และพึงคัดค้านคำที่ควรคัดค้านของเรา อนึ่ง ท่านยังไม่เข้าใจเนื้อความแห่งภาษิตใด
ก็ควรซักถามเราในภาษิตนั้นให้ยิ่งขึ้นไปว่า ‘ท่านอุเทน ภาษิตนี้เป็นอย่างไร
เนื้อความแห่งภาษิตนี้เป็นอย่างไร’ เพราะทำอย่างนี้ เราทั้งสองจะพึงมีการสนทนา
ปราศรัยกันในเรื่องนี้ได้”
โฆฏมุขพราหมณ์กล่าวว่า “ข้าพเจ้าจักยอมรับคำที่ควรยอมรับ และจักคัดค้าน
คำที่ควรคัดค้านของท่านอุเทน อนึ่ง ข้าพเจ้าไม่รู้เนื้อความแห่งภาษิตใดของท่าน
อุเทน ข้าพเจ้าจักซักถามท่านอุเทนในภาษิตนั้นให้ยิ่งขึ้นไปว่า ‘ท่านอุเทน ภาษิตนี้
เป็นอย่างไร เนื้อความแห่งภาษิตนี้เป็นอย่างไร’ เพราะทำอย่างนี้ เราทั้งสองจง
สนทนาปราศรัยกันในเรื่องนี้เถิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๔. โฆฏมุขสูตร

บุคคล ๔ ประเภท

[๔๑๓] ท่านพระอุเทนกล่าวว่า “พราหมณ์ บุคคล ๔ ประเภทนี้ มีปรากฏ
อยู่ในโลก
บุคคล ๔ ประเภท ไหนบ้าง
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้
๑. เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน
๒. เป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน
๓. เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน
และเป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน
๔. เป็นผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน
และเป็นผู้ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้
เดือดร้อน
บุคคลผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นผู้ไม่หิว ดับร้อน
เย็นใจ มีตนอันประเสริฐเสวยสุขอยู่ในปัจจุบัน
พราหมณ์ บรรดาบุคคล ๔ ประเภทนี้ ท่านชอบใจบุคคลจำพวกไหนเล่า”
โฆฏมุขพราหมณ์กล่าวว่า “ท่านอุเทน ข้าพเจ้าไม่ชอบใจบุคคลผู้ทำตนให้เดือดร้อน
หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน
ข้าพเจ้าไม่ชอบใจบุคคลผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้
เดือดร้อน
ข้าพเจ้าไม่ชอบใจบุคคลผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำตนให้
เดือดร้อน และเป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน
ข้าพเจ้าชอบใจบุคคลผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำตนให้
เดือดร้อน และเป็นผู้ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้
เดือดร้อน (เพราะ)บุคคลผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อนนั้น เป็นผู้
ไม่หิว ดับร้อน เย็นใจ มีตนอันประเสริฐ เสวยสุขอยู่ในปัจจุบัน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๔. โฆฏมุขสูตร

“พราหมณ์ เพราะเหตุไรเล่า ท่านจึงไม่ชอบใจบุคคล ๓ ประเภทนี้”
“ท่านอุเทน บุคคลผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน
ชื่อว่าทำตนซึ่งรักสุขเกลียดทุกข์ให้เดือดร้อน ให้ร้อนรุ่ม เพราะเหตุนี้ ข้าพเจ้าจึง
ไม่ชอบใจบุคคลนี้
ฝ่ายบุคคลผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน
ชื่อว่าทำผู้อื่นซึ่งรักสุขเกลียดทุกข์ให้เดือดร้อน ให้ร้อนรุ่ม เพราะเหตุนี้ ข้าพเจ้าจึง
ไม่ชอบใจบุคคลนี้
ส่วนบุคคลผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน และเป็น
ผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ชื่อว่าทำตนเองและ
ผู้อื่นซึ่งรักสุขเกลียดทุกข์ให้เดือดร้อน ให้ร้อนรุ่ม เพราะเหตุนี้ ข้าพเจ้าจึงไม่ชอบใจบุคคลนี้
แต่บุคคลใด ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน
และเป็นผู้ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน
บุคคลนั้น ชื่อว่าไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นผู้ไม่หิว ดับร้อน
เย็นใจ มีตนอันประเสริฐเสวยสุขอยู่ในปัจจุบัน ชื่อว่าไม่ทำตนและผู้อื่นซึ่งรักสุข
เกลียดทุกข์ให้เดือดร้อน ให้ร้อนรุ่ม เพราะเหตุนี้ ข้าพเจ้าจึงชอบใจบุคคลนี้”

บริษัท ๒ จำพวก

[๔๑๔] ท่านพระอุเทนกล่าวว่า “พราหมณ์ บริษัทมี ๒ จำพวก
บริษัท ๒ จำพวก ไหนบ้าง
คือ บริษัทบางพวกในโลกนี้
๑. มีความกำหนัดยินดีเมื่อมีต่างหูแก้วมณี จึงแสวงหาบุตร ภรรยา
ทาสหญิง ทาสชาย นา สวน ทองและเงิน
๒. ไม่มีความกำหนัดยินดีเมื่อมีต่างหูแก้วมณี ก็ละทิ้งบุตร ภรรยา
ทาสหญิง ทาสชาย นา สวน ทองและเงิน แล้วออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๔. โฆฏมุขสูตร

บุคคลใดไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน และ
เป็นผู้ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน บุคคลนั้น
ชื่อว่าไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นผู้ไม่หิว ดับร้อน เย็นใจ
มีตนอันประเสริฐเสวยสุขอยู่ในปัจจุบัน
พราหมณ์ ท่านเห็นบุคคลเช่นไรในบริษัทไหนมาก คือในบริษัทผู้กำหนัดยินดี
ในแก้วมณีและกุณฑล แสวงหาบุตร ภรรยา ทาสหญิง ทาสชาย นา สวน ทอง
และเงิน และในบริษัทผู้ไม่กำหนัดยินดีในต่างหูแก้วมณี ละทิ้งบุตร ภรรยา ทาสหญิง
ทาสชาย นา สวน ทอง และเงิน แล้วออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต”
โฆฏมุขพราหมณ์กล่าวว่า “ท่านอุเทน บุคคลใดไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่หมั่น
ประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน และเป็นผู้ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบ
ในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน บุคคลนั้นชื่อว่าไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน
นั้น เป็นผู้ไม่หิว ดับร้อน เย็นใจ มีตนอันประเสริฐ เสวยสุขอยู่ในปัจจุบัน
ข้าพเจ้าเห็นบุคคลนี้มีมากในบริษัทผู้ไม่กำหนัดยินดีในเมื่อมีต่างหูแก้วมณี
ละทิ้งบุตร ภรรยา ทาสหญิง ทาสชาย นา สวน ทอง และเงิน แล้วออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิต”
“พราหมณ์ ในบัดนี้นั่นเอง เราย่อมรู้คำที่ท่านกล่าวแล้วอย่างนี้ว่า ‘สมณะ
ผู้เจริญ การบวชที่ถูกต้องไม่มี ในการบวชนี้ข้าพเจ้ามีความเห็นอย่างนี้ เพราะในการ
บวชนี้บัณฑิตทั้งหลายเช่นท่านก็ยังไม่เห็นธรรม”
“ท่านอุเทน วาจาที่ท่านกล่าวแก่ข้าพเจ้านั้น เป็นวาจามีเหตุสนับสนุนโดยแท้
การบวชที่ถูกต้องมีจริง ในเรื่องนี้ ข้าพเจ้ามีความเห็นอย่างนี้ และขอท่านอุเทน
โปรดจำข้าพเจ้าไว้อย่างนี้ อนึ่งบุคคล ๔ จำพวกนี้ ท่านอุเทนกล่าวโดยย่อ ไม่จำแนก
โดยพิสดาร ขอโอกาสเถิดท่าน ขอท่านอุเทนช่วยอนุเคราะห์จำแนกบุคคล ๔ จำพวกนี้
ให้ข้าพเจ้าฟังโดยพิสดารด้วยเถิด”
“พราหมณ์ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
โฆฏมุขพราหมณ์รับคำแล้ว ท่านพระอุเทนได้กล่าวว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๔. โฆฏมุขสูตร

ติตถิยวัตร

[๔๑๕] “บุคคลเป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำตนให้
เดือดร้อน เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นอเจลก(ประพฤติเปลือยกาย) ไม่มีมารยาท เลียมือ
เขาเชิญให้ไปรับอาหารก็ไม่ไป เขาเชิญให้หยุดรับอาหารก็ไม่หยุด ไม่รับอาหารที่เขา
แบ่งไว้ ไม่รับอาหารที่เขาทำเจาะจง ไม่ยินดีอาหารที่เขาเชิญ ไม่รับอาหารจาก
ปากหม้อ ไม่รับอาหารจากปากภาชนะ ไม่รับอาหารคร่อมธรณีประตู ไม่รับอาหาร
คร่อมท่อนไม้ ไม่รับอาหารคร่อมสาก ไม่รับอาหารของคน ๒ คนที่กำลังบริโภค
ไม่รับอาหารของหญิงมีครรภ์ ไม่รับอาหารของหญิงผู้กำลังให้บุตรดื่มนม ไม่รับ
อาหารของหญิงที่คลอเคลียชาย ไม่รับอาหารที่นัดแนะกันทำไว้ ไม่รับอาหารในที่
เลี้ยงสุนัข ไม่รับอาหารในที่มีแมลงวันไต่ตอมเป็นกลุ่ม ๆ ไม่กินปลา ไม่กินเนื้อ
ไม่ดื่มสุรา ไม่ดื่มเมรัย ไม่ดื่มยาดอง รับอาหารในเรือนหลังเดียว ยังชีพด้วยข้าว
คำเดียว รับอาหารในเรือน ๒ หลัง ยังชีพด้วยข้าว ๒ คำ ฯลฯ รับอาหารในเรือน
๗ หลัง ยังชีพด้วยข้าว ๗ คำ ยังชีพด้วยอาหารในถาดน้อย ๑ ใบ ยังชีพด้วย
อาหารในถาดน้อย ๒ ใบ ยังชีพด้วยอาหารในถาดน้อย ๓ ใบ ฯลฯ ยังชีพด้วย
อาหารในถาดน้อย ๗ ใบ กินอาหารที่เก็บไว้ค้างคืน ๑ วัน กินอาหารที่เก็บไว้
ค้างคืน ๒ วัน ฯลฯ กินอาหารที่เก็บไว้ค้างคืน ๗ วัน ถือการบริโภคอาหาร
๑๕ วันต่อ ๑ มื้ออยู่ ด้วยประการอย่างนี้
เขาเป็นผู้กินผักดองเป็นอาหาร กินข้าวฟ่างเป็นอาหาร กินลูกเดือยเป็นอาหาร
กินกากข้าวเป็นอาหาร กินสาหร่ายเป็นอาหาร กินรำเป็นอาหาร กินข้าวตังเป็น
อาหาร กินกำยานเป็นอาหาร กินหญ้าเป็นอาหาร กินมูลโคเป็นอาหาร กินเหง้า
และผลไม้ป่าเป็นอาหาร บริโภคผลไม้หล่นยังชีพ เขานุ่งห่มผ้าป่าน นุ่งห่มผ้าแกมกัน
นุ่งห่มผ้าห่อศพ นุ่งห่มผ้าบังสุกุล นุ่งห่มผ้าเปลือกไม้ นุ่งห่มหนังเสือ นุ่งห่มหนัง
เสือมีเล็บ นุ่งห่มผ้าคากรอง นุ่งห่มผ้าเปลือกปอกรอง นุ่งห่มผ้าผลไม้กรอง นุ่งห่ม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๔. โฆฏมุขสูตร

ผ้ากัมพลผมมนุษย์ นุ่งห่มผ้ากัมพลขนสัตว์ นุ่งห่มผ้าขนปีกนกเค้า ถอนผมและ
หนวด คือถือการถอนผมและหนวดยืนอย่างเดียวไม่ยอมนั่ง เดินกระโหย่ง คือถือ
การเดินกระโหย่ง นอนบนหนาม คือ ถือการนอนบนหนาม อาบน้ำวันละ ๓ ครั้ง
คือถือการลงอาบน้ำ ถือการย่างและอบกายหลายรูปแบบอยู่ ด้วยประการอย่างนี้
พราหมณ์ บุคคลนี้เรียกว่า เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำ
ตนให้เดือดร้อน
[๔๑๖] บุคคลเป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้
เดือดร้อน เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ฆ่าแพะ ฆ่าสุกร ฆ่านก ฆ่าเนื้อ(เลี้ยงชีพ) เป็นคน
โหดเหี้ยม เป็นคนฆ่าปลา เป็นโจร เป็นคนฆ่าโจร เป็นคนฆ่าโค เป็นคนคุมเรือนจำ
หรือบางพวกเป็นผู้ทำการทารุณ
พราหมณ์ บุคคลนี้เรียกว่า เป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำ
ผู้อื่นให้เดือดร้อน
[๔๑๗] บุคคลเป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำตนให้
เดือดร้อน และเป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้
เดือดร้อน เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นพระราชามหากษัตริย์ผู้ได้รับมูรธาภิเษก๑แล้ว
ก็ดี เป็นพราหมณมหาศาลก็ดี พระราชานั้นโปรดให้สร้างโรงบูชายัญหลังใหม่ ทางด้าน
ทิศตะวันออกแห่งพระนคร ปลงพระเกศาและพระมัสสุ ทรงนุ่งห่มหนังเสือมีเล็บ
ทรงทาพระวรกายด้วยเนยใสและน้ำมัน ทรงเกาพระปฤษฎางค์ด้วยเขามฤค เข้าไป
ยังโรงบูชายัญใหม่พร้อมด้วยพระมเหสีและพราหมณ์ปุโรหิต บรรทมบนพื้นหญ้า


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๔. โฆฏมุขสูตร

เขียวขจี มิได้ลาดด้วยเครื่องปูลาด ดำรงพระชนม์อยู่ด้วยน้ำนมเต้าที่ ๑ แห่งโค
แม่ลูกอ่อนที่มีอยู่ตัวเดียว พระมเหสีดำรงพระชนม์อยู่ด้วยน้ำนมเต้าที่ ๒ พราหมณ์
ปุโรหิตดำรงชีวิตอยู่ด้วยน้ำนมเต้าที่ ๓ บูชาไฟด้วยน้ำนมเต้าที่ ๔ ลูกโคมีชีวิตอยู่
ด้วยน้ำนมที่เหลือ พระราชารับสั่งอย่างนี้ว่า ‘จงฆ่าโคตัวผู้ประมาณเท่านี้บูชายัญ
จงฆ่าลูกโคตัวผู้ประมาณเท่านี้บูชายัญ จงฆ่าลูกโคตัวเมียประมาณเท่านี้บูชายัญ จงฆ่า
แพะประมาณเท่านี้บูชายัญ จงฆ่าแกะประมาณเท่านี้บูชายัญ จงฆ่าม้าประมาณเท่านี้
บูชายัญ จงตัดต้นไม้ประมาณเท่านี้เพื่อทำเสาบูชายัญ จงเกี่ยวหญ้าประมาณเท่านี้
เพื่อลาดพื้น’ เหล่าชนผู้เป็นทาสก็ดี เป็นคนรับใช้ก็ดี เป็นคนงานก็ดี ของพระราชานั้น
ถูกอาชญาคุกคาม ถูกภัยคุกคาม มีน้ำตานองหน้า ร้องไห้ไปทำงานไป
พราหมณ์ บุคคลนี้เรียกว่า เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการ
ทำตนให้เดือดร้อน และเป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้
เดือดร้อน

พระพุทธคุณ

[๔๑๘] บุคคลเป็นผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำตน
ให้เดือดร้อน และเป็นผู้ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำผู้อื่น
ให้เดือดร้อน เขาไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นผู้ไม่หิว
ดับร้อน เย็นใจ มีตนอันประเสริฐเสวยสุขอยู่ในปัจจุบัน เป็นอย่างไร
คือ พระตถาคตอุบัติขึ้นมาในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง
โดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควร
ฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า
เป็นพระผู้มีพระภาค พระองค์ทรงรู้แจ้งโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก
และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ด้วยพระองค์เองแล้ว ทรงประกาศ
ให้ผู้อื่นรู้ตาม ทรงแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมี
ความงามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๔. โฆฏมุขสูตร

บริบูรณ์ครบถ้วน คหบดี บุตรคหบดี หรืออนุชน(คนผู้เกิดภายหลัง) ในตระกูลใด
ตระกูลหนึ่ง ได้สดับธรรมนั้น แล้วเกิดศรัทธาในตถาคต เมื่อมีศรัทธาย่อมตระหนัก
ว่า ‘การอยู่ครองเรือนเป็นเรื่องอึดอัด เป็นทางมาแห่งธุลี การบวชเป็นทางปลอดโปร่ง
การที่ผู้ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วนดุจสังข์ขัด
ไม่ใช่ทำได้ง่าย ทางที่ดี เราควรโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิต’ ต่อมา เขาละทิ้งกองโภคสมบัติน้อยใหญ่ และเครือญาติน้อยใหญ่
โกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต

สิกขาและสาชีพของภิกษุ

เขาเมื่อบวชแล้วอย่างนี้ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสิกขาและสาชีพ๑ ของภิกษุทั้งหลาย คือ
๑. ละ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑาวุธและศัสตราวุธ มีความ
ละอาย มีความเอ็นดู มุ่งหวังประโยชน์เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อยู่
๒. ละ เว้นขาดจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ รับเอาแต่ของ
ที่เขาให้ มุ่งหวังแต่ของที่เขาให้ ไม่เป็นขโมย เป็นคนสะอาดอยู่
๓. ละพฤติกรรมอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์๒
เว้นห่างไกลจากเมถุนธรรม๓ อันเป็นกิจของชาวบ้าน
๔. ละ เว้นขาดจากการพูดเท็จ คือ พูดแต่คำสัตย์ ดำรงความสัตย์
มีถ้อยคำเป็นหลักเชื่อถือได้ ไม่หลอกลวงชาวโลก
๕. ละ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด คือ ฟังความจากฝ่ายนี้แล้วไม่ไปบอก
ฝ่ายโน้นเพื่อทำลายฝ่ายนี้ หรือฟังความฝ่ายโน้นแล้วไม่มาบอกฝ่ายนี้
เพื่อทำลายฝ่ายโน้น สมานคนที่แตกกัน ส่งเสริมคนที่ปรองดองกัน
ชื่นชมยินดี เพลิดเพลินต่อผู้ที่สามัคคีกัน พูดแต่ถ้อยคำที่สร้างสรรค์
ความสามัคคี
๖. ละ เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ คือ พูดแต่คำไม่มีโทษ ไพเราะ
น่ารัก จับใจ เป็นคำของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่
พอใจ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๔. โฆฏมุขสูตร

๗. ละ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ คือ พูดถูกเวลา พูดคำจริง พูดอิง
ประโยชน์ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดคำที่มีหลักฐาน มีที่อ้างอิง
มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์ เหมาะแก่เวลา
๘. เว้นขาดจากการพรากพืชคาม๑ และภูตคาม๒
๙. ฉันมื้อเดียว ไม่ฉันตอนกลางคืน เว้นขาดจากการฉันในเวลาวิกาล
๑๐. เว้นขาดจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการละเล่นที่
เป็นข้าศึกแก่กุศล
๑๑. เว้นขาดจากการทัดทรง ประดับ ตกแต่งร่างกายด้วยพวงดอกไม้ของ
หอม และเครื่องประทินผิวอันเป็นลักษณะแห่งการแต่งตัว
๑๒. เว้นขาดจากที่นอนสูงใหญ่
๑๓. เว้นขาดจากการรับทองและเงิน
๑๔. เว้นขาดจากการรับธัญญาหารดิบ
๑๕. เว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ
๑๖. เว้นขาดจากการรับสตรีและกุมารี
๑๗. เว้นขาดจากการรับทาสหญิงและทาสชาย
๑๘. เว้นขาดจากการรับแพะและแกะ
๑๙. เว้นขาดจากการรับไก่และสุกร
๒๐. เว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า และลา
๒๑. เว้นขาดจากการรับเรือกสวน ไร่ นา และที่ดิน
๒๒. เว้นขาดจากการทำหน้าที่เป็นตัวแทนและผู้สื่อสาร
๒๓. เว้นขาดจากการซื้อขาย
๒๔. เว้นขาดจากการโกงด้วยตาชั่ง ด้วยของปลอม และด้วยเครื่องตวงวัด
๒๕. เว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวง และการตลบตะแลง
๒๖. เว้นขาดจากการตัด(อวัยวะ) การฆ่า การจองจำ การตีชิงวิ่งราว
การปล้น และการขู่กรรโชก


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๔. โฆฏมุขสูตร

ภิกษุนั้นเป็นผู้สันโดษ๑ด้วยจีวรพอคุ้มร่างกายและบิณฑบาตพออิ่มท้อง จะไป
ณ ที่ใด ๆ ก็ไปได้ทันที นกบินไป ณ ที่ใด ๆ ก็มีแต่ปีกเป็นภาระ แม้ฉันใด ภิกษุ
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรพอคุ้มร่างกายและบิณฑบาตพออิ่มท้อง
จะไป ณ ที่ใด ๆ ก็ไปได้ทันที ภิกษุนั้นประกอบด้วยอริยสีลขันธ์ ย่อมเสวยสุขอัน
ปราศจากโทษในภายใน

การสำรวมอินทรีย์

[๔๑๙] ภิกษุนั้นเห็นรูปทางตาแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ๒ ย่อมปฏิบัติเพื่อ
สำรวมจักขุนทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้ว ก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรมคือ
อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จึงรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์
ฟังเสียงทางหู ฯลฯ
ดมกลิ่นทางจมูก ฯลฯ
ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ
ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ฯลฯ
รู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์
ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้
จึงรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ภิกษุผู้ประกอบด้วยความสำรวม
อินทรีย์อันเป็นอริยะนี้ ย่อมเสวยสุขอันไม่ระคนกับกิเลสในภายใน
ภิกษุนั้นทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู
การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตรและจีวร การฉัน การดื่ม
การเคี้ยว การลิ้ม การถ่ายอุจจาระปัสสาวะ การเดิน การยืน การนั่ง การนอน
การตื่น การพูด การนิ่ง


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๔. โฆฏมุขสูตร

การละนิวรณ์

ภิกษุนั้น ประกอบด้วยอริยสีลขันธ์ อริยอินทรียสังวร และอริยสติสัมปชัญญะนี้
แล้วพักอยู่ ณ เสนาสนะเงียบสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า
ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง เธอกลับจากบิณฑบาต ภายหลังฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว
นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า เธอละอภิชฌา(ความเพ่งเล็งอยากได้
สิ่งของของผู้อื่น) ในโลก มีใจปราศจากอภิชฌาอยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอภิชฌา
ละความมุ่งร้ายคือพยาบาท(ความปองร้ายเขา) มีจิตไม่พยาบาท มุ่งประโยชน์ เกื้อกูล
สรรพสัตว์อยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความมุ่งร้ายคือพยาบาท ละถีนมิทธะ (ความ
หดหู่และเซื่องซึม) ปราศจากถีนมิทธะ กำหนดแสงสว่าง มีสติสัมปชัญญะอยู่ ชำระ
จิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะ ละอุทธัจจกุกกุจจะ(ความฟุ้งซ่านและความรำคาญใจ) เป็นผู้
ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบอยู่ภายใน ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะ ละวิจิกิจฉา
(ความลังเลสงสัย) ข้ามวิจิกิจฉาได้แล้ว ไม่มีวิจิกิจฉาในกุศลธรรมอยู่ ชำระจิตให้
บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉา

ฌาน ๔

ภิกษุนั้นละนิวรณ์ ๕ ประการนี้ ที่เป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต เป็นเครื่อง
ทอนกำลังปัญญาแล้ว สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน
ที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่
เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสในภายใน มีภาวะ
ที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่
เพราะปีติจางคลายไป มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย
บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข’
เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน บรรลุจตุตถฌาน
ที่ไม่มีทุกข์ และไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๔. โฆฏมุขสูตร

วิชชา ๓

[๔๒๐] เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน๑ ปราศจาก
ความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้น
น้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง
๒ ชาติบ้าง ๓ ชาติบ้าง ๔ ชาติบ้าง ๕ ชาติบ้าง ๑๐ ชาติบ้าง ๒๐ ชาติบ้าง
๓๐ ชาติบ้าง ๔๐ ชาติบ้าง ๕๐ ชาติบ้าง ๑๐๐ ชาติบ้าง ๑,๐๐๐ ชาติบ้าง
๑๐๐,๐๐๐ ชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง
ตลอดสังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัป๒ เป็นอันมากบ้างว่า ‘ในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น
มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้น
ก็ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร
เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นจึงมาเกิดในภพนี้’ เธอระลึกชาติ
ก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้
เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ
เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อมจิต
ไปเพื่อจุตูปปาตญาณ เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและ
ไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็น
ไปตามกรรมว่า ‘หมู่สัตว์ที่ประกอบกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต กล่าวร้าย
พระอริยะ มีความเห็นผิด ชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นผิด พวกเขาหลัง
จากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก แต่หมู่สัตว์ที่ประกอบกายสุจริต
วจีสุจริต และมโนสุจริต ไม่กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นชอบ ชักชวนผู้อื่น
ให้ทำกรรมตามความเห็นชอบ พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๔. โฆฏมุขสูตร

เธอเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและ
เกิดไม่ดีด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม อย่างนี้แล
เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ
เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อมจิต
ไปเพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ
นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธ-
คามินีปฏิปทา’ เมื่อเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ
และอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว๑ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว๒ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
อีกต่อไป๓’
พราหมณ์ บุคคลนี้เรียกว่า เป็นผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบ
ในการทำตนให้เดือดร้อน และเป็นผู้ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการ
ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เขาไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน จึงเป็นผู้
ไม่หิว ดับร้อน เย็นใจ มีตนอันประเสริฐเสวยสุขอยู่ในปัจจุบัน”

การสร้างศาลาสงฆ์

[๔๒๑] เมื่อท่านพระอุเทนกล่าวอย่างนี้แล้ว โฆฏมุขพราหมณ์ได้กล่าวกับ
ท่านพระอุเทนว่า
“ท่านอุเทน ภาษิตของท่านชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านอุเทน ภาษิตของท่าน
ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านอุเทนประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือน
บุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีป


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๔. โฆฏมุขสูตร

ในที่มืด ด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’ ข้าพเจ้านี้ขอถึงท่านอุเทนพร้อมทั้ง
พระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอท่านอุเทนโปรดจงจำข้าพเจ้าว่าเป็นอุบาสกผู้ถึง
สรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
ท่านพระอุเทน กล่าวว่า “พราหมณ์ ท่านอย่าถึงอาตมภาพเป็นสรณะเลย
เชิญท่านถึงพระผู้มีพระภาคที่อาตมภาพถึงเป็นสรณะเถิด”
“ข้าแต่ท่านอุเทน บัดนี้ พระโคดมอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ประทับอยู่ที่ไหน”
“พราหมณ์ บัดนี้ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพาน
เสียแล้ว”
“ท่านอุเทน ถ้าข้าพเจ้าได้ฟังว่า ‘ท่านพระโคดมพระองค์นั้นประทับอยู่ที่ไหน
ในหนทางแม้ ๑๐ โยชน์’ ข้าพเจ้าก็จักไปเฝ้าท่านพระโคดมอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระองค์นั้น แม้สิ้นทาง ๑๐ โยชน์ ถ้าข้าพเจ้าได้ฟังว่า ‘ท่านพระโคดมพระองค์นั้น
ประทับอยู่ที่ไหน ในหนทางแม้ ๒๐ โยชน์ ...๓๐ โยชน์ ... ๔๐ โยชน์ ... ๕๐ โยชน์ ...
๑๐๐ โยชน์’ ข้าพเจ้าก็จะไปเฝ้าท่านพระโคดมอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
แม้สิ้นทาง ๑๐๐ โยชน์
แต่เพราะท่านพระโคดมพระองค์นั้น เสด็จปรินิพพานเสียแล้ว ข้าพเจ้าขอถึง
ท่านพระโคดมพระองค์นั้นแม้เสด็จปรินิพพานแล้ว พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์
เป็นสรณะ ขอท่านอุเทน โปรดจงจำข้าพเจ้าว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้
เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต อนึ่ง พระเจ้าอังคะโปรดพระราชทานเบี้ยเลี้ยงประจำแก่ข้าพเจ้า
ทุกวัน ข้าพเจ้าขอถวายส่วนหนึ่งจากเบี้ยเลี้ยงประจำนั้นแก่ท่านอุเทน”
“พราหมณ์ พระเจ้าอังคะโปรดพระราชทานอะไรเป็นเบี้ยเลี้ยงประจำแก่ท่านทุกวัน”
“ท่านอุเทน พระเจ้าอังคะโปรดพระราชทานทรัพย์ ๕๐๐ กหาปณะเป็นเบี้ยเลี้ยง
ประจำแก่ข้าพเจ้าทุกวัน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๕. จังกีสูตร

“พราหมณ์ การรับทองและเงินไม่สมควรแก่อาตมภาพทั้งหลาย”
“ท่านอุเทน ถ้าทองและเงินนั้นไม่สมควร ข้าพเจ้าจะให้สร้างวิหารถวายท่าน
อุเทน”
ท่านพระอุเทน กล่าวว่า “พราหมณ์ ถ้าท่านปรารถนาจะให้สร้างวิหารถวาย
อาตมภาพ ก็ขอให้สร้างโรงฉันถวายแก่สงฆ์ในเมืองปาตลีบุตรเถิด”
โฆฏมุขพราหมณ์ กล่าวว่า “ด้วยบุญที่ท่านอุเทนชักชวนข้าพเจ้าในสังฆทานนี้
ข้าพเจ้าชื่นชมยินดีเหลือประมาณ ท่านอุเทน ข้าพเจ้าจะสร้างโรงฉันถวายแก่สงฆ์ในเมือง
ปาตลีบุตร ด้วยเบี้ยเลี้ยงประจำส่วนนี้ และเบี้ยเลี้ยงประจำส่วนอื่น”
ครั้งนั้นแล โฆฏมุขพราหมณ์ให้จัดสร้างโรงฉันถวายแก่สงฆ์ในเมืองปาตลีบุตร
ด้วยเบี้ยเลี้ยงประจำส่วนนี้ และเบี้ยเลี้ยงประจำส่วนอื่น ๆ โรงฉันนั้นปัจจุบันเรียกว่า
‘โฆฏมุขี’ ดังนี้แล

โฆฏมุขสูตรที่ ๔ จบ

๕. จังกีสูตร
ว่าด้วยพราหมณ์ชื่อจังกี

[๔๒๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศล พร้อมกับภิกษุสงฆ์
หมู่ใหญ่ เสด็จถึงบ้านพราหมณ์ชื่อโอปาสาทะของชาวโกศล ประทับอยู่ ณ ป่าไม้
สาละชื่อเทพวัน ทางทิศเหนือแห่งบ้านพราหมณ์ชื่อโอปาสาทะ สมัยนั้นแล พราหมณ์
ชื่อจังกีปกครองบ้านพราหมณ์ชื่อโอปาสาทะซึ่งมีประชากรและสัตว์เลี้ยงมากมาย
มีพืชพันธุ์ธัญญาหารและน้ำหญ้าอุดมสมบูรณ์ เป็นพระราชทรัพย์ที่พระเจ้าปเสนทิโกศล
พระราชทานปูนบำเหน็จให้เป็นพรหมไทย๑ พราหมณ์และคหบดีชาวบ้านโอปาสาทะ
ได้ฟังข่าวว่า


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๕. จังกีสูตร

“ได้ยินว่า ท่านพระสมณโคดมเป็นศากยบุตร เสด็จออกผนวชจากศากยตระกูล
เสด็จจาริกอยู่ในแคว้นโกศล พร้อมด้วยภิกษุหมู่ใหญ่ เสด็จถึงบ้านพราหมณ์ชื่อ
โอปาสาทะโดยลำดับ ประทับอยู่ ณ ป่าไม้สาละชื่อเทพวัน ทางทิศเหนือแห่งบ้าน
พราหมณ์ชื่อโอปาสาทะ ท่านพระสมณโคดมพระองค์นั้นมีกิตติศัพท์อันงามขจรไป
อย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้
ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก
เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ พระองค์ทรงรู้แจ้งโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก
มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ด้วย
พระองค์เองแล้ว ทรงประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม ทรงแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น
มีความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้ง
อรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน การได้พบพระอรหันต์ทั้งหลายเช่นนี้
เป็นความดี อย่างแท้จริง”
[๔๒๓] ครั้งนั้นแล พราหมณ์และคหบดีชาวบ้านพราหมณ์ชื่อโอปาสาทะ
ออกจากบ้านพราหมณ์ชื่อโอปาสาทะรวมกันเป็นหมู่ ไปยังป่าไม้สาละชื่อเทพวันทาง
ทิศเหนือ สมัยนั้น จังกีพราหมณ์พักผ่อนกลางวันอยู่ ณ ปราสาทชั้นบน มองเห็น
พราหมณ์และคหบดีชาวบ้านพราหมณ์ชื่อโอปาสาทะซึ่งล้วนออกจากบ้านพราหมณ์
ชื่อโอปาสาทะเดินรวมกันเป็นหมู่ ไปทางทิศเหนือ เข้าไปยังป่าไม้สาละชื่อเทพวัน
จึงเรียกอำมาตย์ที่ปรึกษามาถามว่า
“พ่ออำมาตย์ พราหมณ์และคหบดีชาวบ้านพราหมณ์ชื่อโอปาสาทะออกจาก
บ้านพราหมณ์ชื่อโอปาสาทะเดินรวมกันเป็นหมู่ ไปทางทิศเหนือ เข้าไปยังป่าไม้สาละ
ชื่อเทพวัน ทำไมกัน”
อำมาตย์ที่ปรึกษาตอบว่า “ข้าแต่ท่านจังกี พระสมณโคดมเป็นศากยบุตรเสด็จออก
ผนวชจากศากยตระกูล เสด็จจาริกอยู่ในแคว้นโกศลพร้อมด้วยภิกษุหมู่ใหญ่ เสด็จถึง
บ้านพราหมณ์ชื่อโอปาสาทะโดยลำดับ ประทับอยู่ ณ ป่าไม้สาละชื่อเทพวัน ทางทิศเหนือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๕. จังกีสูตร

แห่งบ้านพราหมณ์ชื่อโอปาสาทะ ท่านพระโคดมพระองค์นั้นมีกิตติศัพท์อันงามขจร
ไปอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้
ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก
เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ พราหมณ์และคหบดีเหล่านั้น พากันไปเข้า
เฝ้าท่านพระโคดมนั้น”
จังกีพราหมณ์กล่าวว่า “พ่ออำมาตย์ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงไปหาพวกพราหมณ์
และคหบดีชาวบ้านพราหมณ์ชื่อโอปาสาทะแล้วบอกอย่างนี้ว่า ‘ท่านขอรับ จังกี-
พราหมณ์พูดว่า ‘ขอท่านผู้เจริญทั้งหลายจงรอก่อน แม้จังกีพราหมณ์ก็จะไปเข้าเฝ้า
พระสมณโคดมด้วย”
อำมาตย์ที่ปรึกษารับคำของจังกีพราหมณ์แล้ว เข้าไปหาพวกพราหมณ์และ
คหบดีชาวบ้านพราหมณ์ชื่อโอปาสาทะแล้วก็บอกว่า “ท่านขอรับ จังกีพราหมณ์
พูดว่า ‘ขอท่านผู้เจริญทั้งหลายจงรอก่อน แม้จังกีพราหมณ์ก็จะไปเข้าเฝ้าพระสมณ-
โคดมด้วย”

ความเป็นผู้ดีของจังกีพราหมณ์

[๔๒๔] เวลานั้น พราหมณ์ต่างถิ่น ๕๐๐ คน มีธุระเดินทางมาพักอยู่
ในบ้านพราหมณ์ชื่อโอปาสาทะพอได้ฟังว่า “จังกีพราหมณ์จักไปเข้าเฝ้าพระสมณ-
โคดมด้วย” จึงพากันเข้าไปหาจังกีพราหมณ์ถึงที่อยู่แล้วถามว่า “ท่านจังกีจักไป
เข้าเฝ้าพระสมณโคดมจริงหรือ”
จังกีพราหมณ์ตอบว่า “จริง เราคิดจะไปเข้าเฝ้าพระสมณโคดม”
พวกพราหมณ์ห้ามว่า “ท่านจังกีอย่าได้ไปเข้าเฝ้าพระสมณโคดมเลย ท่านจังกี
ไม่ควรไปเข้าเฝ้าพระสมณโคดม พระสมณโคดมต่างหากควรจะเสด็จมาหาท่านจังกี
เพราะว่า ท่านจังกีเป็นผู้มีชาติกำเนิดดีทั้งฝ่ายมารดาและฝ่ายบิดา ถือปฏิสนธิบริสุทธิ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๕. จังกีสูตร

ดีตลอด ๗ ชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครจะคัดค้านตำหนิได้เพราะอ้างถึงชาติตระกูล
ด้วยเหตุนี้ ท่านจังกีจึงไม่ควรไปเข้าเฝ้าพระสมณโคดม พระสมณโคดมต่างหากควร
เสด็จมาหาท่านจังกี
อนึ่ง ท่านจังกีเป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก ฯลฯ จบไตรเพท
พร้อมทั้งนิฆัณฑุศาสตร์ เกฏุภศาสตร์ อักษรศาสตร์ และประวัติศาสตร์ เข้าใจ
ตัวบทและไวยากรณ์ ชำนาญโลกายตศาสตร์และลักษณะมหาบุรุษ ฯลฯ เป็นผู้มี
รูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส มีผิวพรรณผุดผ่องยิ่งนัก ดุจพรหม มีกายดุจพรหม
โอกาสที่จะได้พบเห็นยากนัก ฯลฯ เป็นผู้มีศีล มีศีลที่เจริญ ประกอบด้วยศีลที่เจริญ
ฯลฯ เป็นผู้มีวาจาไพเราะสุภาพ ประกอบด้วยถ้อยคำอ่อนหวานอย่างชาวเมือง
นุ่มนวล เข้าใจง่าย ฯลฯ เป็นอาจารย์และปาจารย์ของหมู่ชน สอนมนตร์แก่มาณพ
๓๐๐ คน ฯลฯ ท่านจังกีเป็นผู้ที่พระเจ้าปเสนทิโกศลสักการะ เคารพ นับถือ
บูชา นอบน้อม ฯลฯ เป็นผู้ที่พราหมณ์ชื่อโปกขรสาติสักการะ เคารพ นับถือ
นอบน้อม ฯลฯ
ท่านจังกีปกครองบ้านพราหมณ์ชื่อโอปาสาทะซึ่งมีประชากรและสัตว์เลี้ยงมากมาย
มีพืชพันธุ์ธัญญาหารและน้ำหญ้าอุดมสมบูรณ์ เป็นพระราชทรัพย์ที่พระเจ้าปเสนทิ-
โกศลพระราชทานปูนบำเหน็จให้เป็นพรหมไทย ด้วยเหตุนี้ ท่านจังกีจึงไม่ควรไป
เข้าเฝ้าพระสมณโคดม พระสมณโคดมต่างหากควรจะเสด็จมาหาท่านจังกี”

สรรเสริญคุณของพระพุทธเจ้า

[๔๒๕] เมื่อพวกพราหมณ์กล่าวอย่างนี้แล้ว จังกีพราหมณ์ได้กล่าวว่า
“ท่านทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น พวกท่านจงฟังเราบ้าง เรานี่แหละควรไปเข้าเฝ้า
ท่านพระโคดม ท่านพระโคดมไม่ควรเสด็จมาหาเรา ได้ทราบว่า ท่านพระสมณโคดม
ทรงเป็นผู้มีพระชาติกำเนิดดีทั้งฝ่ายพระชนนีและฝ่ายพระชนก ทรงถือปฏิสนธิบริสุทธิ์
ดีตลอด ๗ ชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครจะคัดค้านตำหนิได้เพราะอ้างถึงชาติตระกูล
ด้วยเหตุนี้ ท่านพระโคดมจึงไม่ควรเสด็จมาหาเรา เราต่างหากควรไปเข้าเฝ้าท่าน
พระโคดม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๕. จังกีสูตร

ท่านทั้งหลาย ได้ทราบว่า พระสมณโคดมทรงสละเงินทองมากมายทั้งที่ฝัง
อยู่ในพื้นดินและในอากาศ ผนวชแล้ว ฯลฯ พระสมณโคดมกำลังหนุ่มแน่น
มีพระเกศาดำสนิท ทรงพระเจริญอยู่ในปฐมวัย เสด็จออกจากพระราชวัง ผนวชเป็น
บรรพชิต ฯลฯ เมื่อพระชนนีและพระชนกไม่ทรงปรารถนา (จะให้เสด็จออกผนวช)
มีน้ำพระเนตรชุ่มพระพักตร์ทรงกันแสงอยู่ พระสมณโคดมทรงปลงพระเกศาและ
พระมัสสุ แล้วครองผ้ากาสาวพัสตร์ เสด็จออกจากพระราชวังผนวชเป็นบรรพชิต
ฯลฯ พระสมณโคดมมีพระรูปงดงาม น่าดู น่าเลื่อมใส มีพระฉวีวรรณผุดผ่องยิ่งนัก
ดุจพรหม มีพระวรกายดุจพรหม โอกาสที่จะได้พบเห็นยากนัก ฯลฯ พระสมณโคดม
ทรงมีอริยศีล๑ มีศีลที่เป็นกุศล ประกอบด้วยศีลที่เป็นกุศล ฯลฯ มีพระวาจาไพเราะ
สุภาพ ประกอบด้วยถ้อยคำอ่อนหวานอย่างชาวเมือง นุ่มนวล เข้าใจง่าย ฯลฯ
ทรงเป็นอาจารย์และปาจารย์ของหมู่ชนมากมาย๒ ฯลฯ ทรงสิ้นกามราคะ ไม่ประดับ
ตกแต่ง ฯลฯ ทรงเป็นกรรมวาที เป็นกิริยวาที ไม่ทรงมุ่งร้ายต่อพราหมณ์ ฯลฯ
ผนวชแล้วจากตระกูลสูง คือ ขัตติยตระกูลอันบริสุทธิ์ ฯลฯ ผนวชแล้วจากตระกูล
มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก ฯลฯ ประชาชนต่างบ้านต่างเมืองพากันมาทูลถาม
ปัญหาพระสมณโคดม ฯลฯ ทวยเทพหลายพันองค์ถวายชีวิตขอถึงพระสมณโคดม
เป็นที่พึ่ง ฯลฯ พระสมณโคดมทรงมีกิตติศัพท์อันงามขจรไปอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะ
เหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ฯลฯ เป็นพระพุทธเจ้า เป็น
พระผู้มีพระภาค’ ฯลฯ พระสมณโคดมทรงประกอบด้วยลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ประการ
ฯลฯ พระเจ้าพิมพิสาร จอมทัพมคธ พร้อมทั้งพระราชโอรสและพระมเหสี ทรงถวาย
ชีวิตถึงพระสมณโคดมเป็นสรณะ ฯลฯ พระเจ้าปเสนทิโกศลพร้อมทั้งพระราชโอรส
และพระมเหสี ทรงถวายชีวิตถึงพระสมณโคดมเป็นสรณะ ฯลฯ โปกขรสาติพราหมณ์
พร้อมทั้งบุตรภรรยา ก็ได้ถวายชีวิตถึงพระสมณโคดมเป็นสรณะ ฯลฯ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๕. จังกีสูตร

พระสมณโคดมเสด็จถึงบ้านพราหมณ์ชื่อโอปาสาทะโดยลำดับ ประทับอยู่ ณ
ป่าไม้สาละชื่อเทพวัน ทางทิศเหนือแห่งบ้านพราหมณ์ชื่อโอปาสาทะ สมณพราหมณ์
ที่มาสู่เขตหมู่บ้านของเราจัดว่าเป็นแขกของเรา ซึ่งพวกเราควรสักการะ เคารพ
นับถือ บูชา พระสมณโคดมเสด็จมาถึงบ้านพราหมณ์ชื่อโอปาสาทะโดยลำดับ ประทับอยู่
ณ ป่าไม้สาละชื่อเทพวัน ทางทิศเหนือแห่งบ้านพราหมณ์ชื่อโอปาสาทะ พระสมณ-
โคดมจึงจัดว่าเป็นแขกของเราที่พวกเราควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ด้วยเหตุนี้
พระสมณโคดมจึงไม่ควรเสด็จมาหาเรา เราต่างหากควรไปเข้าเฝ้าพระสมณโคดม
เราทราบพระคุณของพระสมณโคดมเพียงเท่านี้ แต่พระสมณโคดมไม่ใช่ว่าจะมีพระคุณ
เพียงเท่านี้ แท้จริงแล้ว พระสมณโคดมมีพระคุณนับประมาณมิได้ ถึงแม้ท่านพระโคดม
ทรงประกอบด้วยองค์คุณบางอย่าง ก็ไม่ควรเสด็จมาหาเรา โดยที่แท้ เราต่างหาก
ควรไปเข้าเฝ้าพระสมณโคดม”
(หลังจากนั้น) จังกีพราหมณ์ได้กล่าวเชิญว่า “ท่านทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น พวกเรา
ทั้งหมดจักไปเข้าเฝ้าพระสมณโคดมด้วยกัน๑”

มาณพชื่อกาปทิกะทูลถามบทมนตร์

[๔๒๖] ครั้งนั้น จังกีพราหมณ์พร้อมด้วยคณะพราหมณ์หมู่ใหญ่ เข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึก
ถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่งแล้วทรงปฏิสันถาร
เรื่องบางเรื่องพอเป็นที่ระลึกถึงกันกับพราหมณ์ทั้งหลายผู้แก่เฒ่า สมัยนั้น มาณพ
ชื่อกาปทิกะยังเป็นหนุ่มโกนศีรษะ มีอายุ ๑๖ ปี นับแต่เกิดมา เป็นผู้จบไตรเพท
พร้อมทั้งนิฆัณฑุศาสตร์ เกฏุภศาสตร์ อักษรศาสตร์และประวัติศาสตร์ เป็นผู้เข้าใจ
ตัวบทและไวยากรณ์ ชำนาญคัมภีร์โลกายตศาสตร์และลักษณะมหาบุรุษนั่งอยู่ในบริษัท
นั้นด้วย เขาได้พูดสอดขึ้นในระหว่างที่พราหมณ์ทั้งหลายผู้แก่เฒ่ากำลังสนทนากันอยู่
กับพระผู้มีพระภาค


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๕. จังกีสูตร

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงห้ามกาปทิกมาณพว่า “ภารทวาชะผู้มีอายุ
เจ้าอย่าพูดแทรกขึ้นในระหว่างที่พราหมณ์ทั้งหลายผู้แก่เฒ่ากำลังสนทนากันอยู่
จงรอให้เขาพูดจบเสียก่อน”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว จังกีพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ว่า “ท่านพระโคดม อย่าทรงห้ามกาปทิกมาณพเลย กาปทิกมาณพเป็นบุตรของผู้มี
สกุล เป็นพหูสูต เป็นบัณฑิต เจราจาถ้อยคำไพเราะ และสามารถจะเจรจาโต้ตอบ
ในคำนั้นกับท่านพระโคดมได้”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงพระดำริว่า “กาปทิกมาณพจักสำเร็จการศึกษา
ในปาพจน์คือไตรเพทเป็นแน่แท้ พราหมณ์ทั้งหลายจึงพากันยกย่องเขาถึงเพียงนั้น”
ครั้งนั้น กาปทิกมาณพได้คิดว่า “เมื่อใด พระสมณโคดมจักทอดพระเนตรสบ
ตาเรา เมื่อนั้น เราจักทูลถามปัญหากับพระสมณโคดม”
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบความคิดคำนึงของกาปทิกมาณพด้วยจิต
(ของพระองค์) จึงทรงทอดพระเนตรไปทางที่กาปทิกมาณพนั่งอยู่
[๔๒๗] ครั้งนั้นแล กาปทิกมาณพได้คิดว่า “พระสมณโคดมทรงสนพระทัย
เราอยู่ ทางที่ดี เราควรทูลถามปัญหากับพระสมณโคดม” ลำดับนั้น กาปทิกมาณพ
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่ท่านพระโคดม ในบทมนตร์อันเป็นของเก่าของพราหมณ์ทั้งหลาย
โดยสืบต่อกันมาตามคัมภีร์ พราหมณ์ทั้งหลายย่อมถึงความตกลงใจโดยเด็ดขาดว่า
‘นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ในเรื่องนี้ท่านพระโคดมจะตรัสอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภารทวาชะ บรรดาพราหมณ์ทั้งหลาย พราหมณ์
สักคนหนึ่งผู้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘เรารู้สิ่งนี้ เราเห็นสิ่งนี้ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
มีอยู่หรือ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๕. จังกีสูตร

กาปทิกมาณพทูลตอบว่า “ไม่มีเลย ท่านพระโคดม”
“ภารทวาชะ แม้อาจารย์ท่านหนึ่ง แม้ปาจารย์ของอาจารย์ท่านหนึ่ง ตลอดขึ้น
ไปจน ๗ ชั่วอาจารย์ของพราหมณ์ทั้งหลายผู้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘เรารู้สิ่งนี้ เราเห็นสิ่งนี้
นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ มีอยู่หรือ”
“ไม่มีเลย ท่านพระโคดม”
“ภารทวาชะ ฤาษีทั้งหลายผู้เป็นบุรพาจารย์ของพวกพราหมณ์ คือ ฤาษี
อัฏฐกะ ฤาษีวามกะ ฤาษีวามเทพ ฤาษีเวสสามิตตะ ฤาษียมตัคคิ ฤาษีอังคีรสะ
ฤาษีภารทวาชะ ฤาษีวาเสฏฐะ ฤาษีกัสสปะ ฤาษีภคุ ซึ่งเป็นผู้แต่งมนตร์ เป็นผู้
บอกมนตร์ที่พราหมณ์ทั้งหลายในปัจจุบันนี้ขับตาม บทมนตร์เก่าที่ท่านบุรพาจารย์
พราหมณ์ขับไว้แล้ว บอกไว้แล้ว รวบรวมไว้แล้ว กล่าวได้ถูกต้องตามที่ท่านกล่าวไว้
บอกได้ถูกต้องตามที่ท่านได้บอกไว้แล้ว แม้ท่านเหล่านั้นก็กล่าวอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลาย
รู้สิ่งนี้ เราทั้งหลายเห็นสิ่งนี้ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ มีอยู่หรือ”
“ไม่มีเลย ท่านพระโคดม”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภารทวาชะ ได้ทราบกันดังนี้ว่า บรรดาพราหมณ์
ทั้งหลาย ไม่มีพราหมณ์แม้สักคนหนึ่ง ผู้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘เรารู้สิ่งนี้ เราเห็นสิ่งนี้
นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ไม่มีใครสักคนหนึ่งซึ่งเป็นอาจารย์ เป็นปาจารย์ของ
อาจารย์ตลอด ๗ ชั่วอาจารย์ของพราหมณ์ทั้งหลายผู้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘เรารู้สิ่งนี้
เราเห็นสิ่งนี้ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ แม้ฤาษีทั้งหลายผู้เป็นบุรพาจารย์ของ
พวกพราหมณ์ คือ ฤาษีอัฏฐกะ ฤาษีวามกะ ฤาษีวามเทพ ฤาษีเวสสามิตตะ ฤาษี
ยมตัคคิ ฤาษีอังคีรสะ ฤาษีภารทวาชะ ฤาษีวาเสฏฐะ ฤาษีกัสสปะ ฤาษีภคุ ซึ่งเป็น
ผู้แต่งมนตร์ เป็นผู้บอกมนตร์ที่พราหมณ์ทั้งหลายในปัจจุบันนี้ขับตาม บทมนตร์เก่า
ที่ท่านขับไว้แล้ว บอกไว้แล้ว รวบรวมไว้แล้ว กล่าวได้ถูกต้อง ตามที่ท่านได้กล่าวไว้
บอกได้ถูกต้อง ตามที่ท่านได้บอกไว้แล้ว แม้ท่านเหล่านั้นก็ไม่ได้กล่าวอย่างนี้ว่า
‘เรารู้สิ่งนี้ เราเห็นสิ่งนี้ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๕. จังกีสูตร

ธรรม ๕ ประการมีผลเป็น ๒ อย่าง

[๔๒๘] ภารทวาชะ คนตาบอดเข้าแถวเกาะหลังกัน คนอยู่หัวแถว คนอยู่
กลางแถว และคนอยู่ปลายแถว ต่างก็มองไม่เห็นกัน แม้ฉันใด ภาษิตของพราหมณ์
ทั้งหลายก็ฉันนั้นเหมือนกัน เห็นจะเปรียบได้กับแถวคนตาบอด คือ แม้คนอยู่
หัวแถว คนอยู่กลางแถว และคนอยู่ปลายแถว ต่างก็มองไม่เห็นกัน ท่านเข้าใจ
ความข้อนั้นว่าอย่างไร เมื่อเป็นเช่นนั้น ความเชื่อของพราหมณ์ทั้งหลายย่อมหา
มูลมิได้ มิใช่หรือ”
กาปทิกมาณพกราบทูลว่า “ท่านพระโคดม ในข้อนี้พราหมณ์ทั้งหลายมิใช่
เล่าเรียนกันมาด้วยความเชื่ออย่างเดียว แต่เล่าเรียนด้วยการฟังตามกันมา”
“ภารทวาชะ ครั้งแรกท่านได้อ้างถึงความเชื่อ บัดนี้ท่านอ้างถึงการฟังตาม
กันมา ธรรม ๕ ประการนี้มีผลเป็น ๒ อย่างในปัจจุบัน
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ศรัทธา (ความเชื่อ)
๒. รุจิ (ความชอบใจ)
๓. อนุสสวะ (การฟังตามกันมา)
๔. อาการปริวิตก (ความตรึกตามอาการ)
๕. ทิฏฐินิชฌานขันติ (ความเข้ากันได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้)
ธรรม ๕ ประการนี้แล มีผลเป็น ๒ อย่างในปัจจุบัน คือ
สิ่งที่เชื่อกันด้วยดีแต่สิ่งนั้นกลับเป็นของว่างเปล่าเป็นเท็จไปก็มี สิ่งที่ไม่เชื่อกันด้วยดี
แต่สิ่งนั้นกลับเป็นจริงแท้ ไม่เป็นอื่นก็มี
สิ่งที่ชอบใจจริง ๆ ฯลฯ
สิ่งที่ฟังตามกันมาอย่างดี ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๕. จังกีสูตร

สิ่งที่ตรึกไว้อย่างดี ฯลฯ
สิ่งที่พินิจไว้อย่างดี แต่สิ่งนั้นกลับเป็นของว่างเปล่าเป็นเท็จไปก็มี สิ่งที่ไม่ได้พินิจ
ไว้อย่างดี แต่สิ่งนั้นกลับเป็นจริงแท้ ไม่เป็นอื่นก็มี
ภารทวาชะ คนผู้ฉลาดเมื่อจะตามรักษาสัจจะ ไม่ควรจะตกลงใจในข้อนั้นอย่าง
เด็ดขาดว่า ‘นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”

ตรัสตอบถึงการรักษาสัจจะ

[๔๒๙] กาปทิกมาณพทูลถามว่า “ท่านพระโคดม ด้วยข้อปฏิบัติประมาณ
เท่าไร การรักษาสัจจะจึงมีได้ บุคคลชื่อว่ารักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติประมาณเท่าไร
ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดมถึงการรักษาสัจจะ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภารทวาชะ ถ้าบุรุษมีศรัทธา กล่าวว่า ‘เรามี
ศรัทธาอย่างนี้’ ชื่อว่ารักษาสัจจะ แต่ยังไม่ชื่อว่ามีความตกลงใจโดยเด็ดขาดว่า
‘นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ การรักษาสัจจะย่อมมีได้
บุคคลชื่อว่ารักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ และเราย่อมบัญญัติการรักษาสัจจะ
ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ แต่ยังไม่ชื่อว่าเป็นการรู้สัจจะก่อน
ถ้าบุรุษมีความชอบใจ ฯลฯ
ถ้าบุรุษมีการฟังตามกันมา ฯลฯ
ถ้าบุรุษมีความตรึกตามอาการ ฯลฯ
ถ้าบุรุษมีความพินิจที่เข้ากันได้กับทฤษฎีของตน เขากล่าวอย่างนี้ว่า ‘เรามี
ความพินิจที่เข้ากันได้กับทฤษฎีของตนอย่างนี้’ ชื่อว่ารักษาสัจจะ แต่ยังไม่ชื่อว่าถึง
ความตกลงใจโดยเด็ดขาดว่า ‘นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
ภารทวาชะ ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้การรักษาสัจจะย่อมมีได้ บุคคลชื่อว่า
รักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ และเราย่อมบัญญัติการรักษาสัจจะด้วยข้อ
ปฏิบัติเพียงเท่านี้ แต่ยังไม่ชื่อว่าเป็นการรู้สัจจะก่อน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๕. จังกีสูตร

ตรัสตอบถึงการรู้สัจจะ

[๔๓๐] กาปทิกมาณพทูลถามว่า “ท่านพระโคดม การรักษาสัจจะย่อมมี
ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ บุคคลชื่อว่ารักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ และเรา
ทั้งหลายย่อมหวังการรักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ การรู้สัจจะย่อมมีด้วยข้อ
ปฏิบัติเพียงเท่าไร บุคคลย่อมรู้สัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร ข้าพเจ้าขอทูลถาม
ท่านพระโคดมถึงการรู้สัจจะ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภารทวาชะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปอาศัยบ้าน
หรือนิคมแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ คหบดีก็ดี บุตรของคหบดีก็ดี เข้าไปหาภิกษุนั้นแล้ว
ใคร่ครวญในธรรม ๓ ประการ คือ (๑) ในธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดโลภะ(ความโลภ)
(๒) ในธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดโทสะ(การประทุษร้าย) (๓) ในธรรมที่เป็นเหตุให้เกิด
โมหะ(ความหลง) ว่า ‘ท่านผู้นี้มีธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดโลภะ หรือไม่หนอ (เพราะว่า)
ผู้มีจิตถูกธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดความโลภครอบงำแล้ว เมื่อไม่รู้ก็กล่าวว่า ‘ข้าพเจ้ารู้’
เมื่อไม่เห็นก็กล่าวว่า ‘ข้าพเจ้าเห็น’ หรือสิ่งใดจะพึงเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อทุกข์สิ้นกาลนานแก่ผู้อื่น ก็จะพึงชักชวนผู้อื่นเพื่อประโยชน์แก่สิ่งนั้นได้หรือหนอ’
เมื่อเขาพิจารณาถึงภิกษุนั้นอยู่ จึงรู้ได้อย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้นี้ไม่มีธรรมที่เป็นเหตุให้เกิด
โลภะ (เพราะว่า)ผู้มีจิตถูกธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดโลภะครอบงำแล้ว เมื่อไม่รู้ก็กล่าว
ว่า ‘ข้าพเจ้ารู้’ เมื่อไม่เห็นก็กล่าวว่า ‘ข้าพเจ้าเห็น’ หรือสิ่งใดจะพึงเป็นไปเพื่อมิใช่
ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนานแก่ผู้อื่น ท่านผู้นี้พึงชักชวนผู้อื่นเพื่อประโยชน์
แก่สิ่งนั้น
อนึ่ง ท่านผู้นี้มีกายสมาจาร วจีสมาจาร เหมือนผู้ไม่โลภ ท่านผู้นี้แสดงธรรม
อันลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต คาดคะเนเองไม่ได้ เป็นธรรม
ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ไม่ใช่ธรรมที่คนโลภจะแสดงได้ง่าย’
[๔๓๑] เมื่อใดเขาพิจารณาภิกษุนั้นอยู่ ย่อมเห็นชัดว่า เธอบริสุทธิ์จาก
ธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดโลภะแล้ว เมื่อนั้นเขาพิจารณาภิกษุนั้นให้ยิ่งขึ้นไปในธรรมที่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๕. จังกีสูตร

เป็นเหตุให้เกิดโทสะว่า ‘ท่านผู้นี้มีธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดโทสะ มีจิตถูกธรรมที่เป็น
เหตุให้เกิดโทสะครอบงำ เมื่อไม่รู้ก็จะกล่าวว่า ‘ข้าพเจ้ารู้’ เมื่อไม่เห็นก็จะกล่าวว่า
‘ข้าพเจ้าเห็น’ หรือสิ่งใดจะพึงเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน
แก่ผู้อื่น ก็จะพึงชักชวนผู้อื่นเพื่อประโยชน์แก่สิ่งนั้น’ เขาเมื่อพิจารณาภิกษุนั้นอยู่
ย่อมรู้ได้อย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้นี้ไม่มีธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดโทสะ (เพราะว่า)ผู้มีจิตถูก
ธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดโทสะครอบงำแล้ว เมื่อไม่รู้ก็จะพึงกล่าวว่า ‘ข้าพเจ้ารู้’ เมื่อ
ไม่เห็นก็จะพึงกล่าวว่า ‘ข้าพเจ้าเห็น’ หรือสิ่งใดจะพึงเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์
เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนานแก่ผู้อื่น พึงชักชวนผู้อื่นเพื่อประโยชน์แก่สิ่งนั้น
อนึ่ง ท่านผู้นี้มีกายสมาจาร วจีสมาจาร เหมือนผู้ไม่ประทุษร้าย ท่านผู้นี้แสดง
ธรรมอันลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต คาดคะเนเองไม่ได้ เป็นธรรม
ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ไม่ใช่ธรรมที่คนประทุษร้ายจะแสดงได้ง่าย’
[๔๓๒] เมื่อใด เขาพิจารณาภิกษุนั้นอยู่ย่อมเห็นชัดว่า เธอบริสุทธิ์จาก
ธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดโทสะ เมื่อนั้นเขาย่อมพิจารณาภิกษุนั้นให้ยิ่งขึ้นไปในธรรมที่
เป็นเหตุให้เกิดโมหะว่า ‘ท่านผู้นี้มีธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดโมหะ มีจิตถูกธรรมที่เป็น
เหตุให้เกิดโมหะครอบงำ เมื่อไม่รู้ก็จะกล่าวว่า ‘ข้าพเจ้ารู้’ เมื่อไม่เห็นก็จะกล่าวว่า
‘ข้าพเจ้าเห็น’ หรือสิ่งใดจะพึงเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน
แก่ผู้อื่น พึงชักชวนผู้อื่นเพื่อประโยชน์แก่สิ่งนั้น’ เขาเมื่อพิจารณาภิกษุนั้นอยู่ ย่อมรู้
ได้อย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้นี้ไม่มีธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดโมหะ (เพราะว่า)ผู้มีจิตถูกธรรมที่
เป็นเหตุให้เกิดโมหะครอบงำแล้ว เมื่อไม่รู้ก็จะพึงกล่าวว่า ‘ข้าพเจ้ารู้’ เมื่อไม่เห็น
ก็จะพึงกล่าวว่า ‘ข้าพเจ้าเห็น’ หรือสิ่งใดจะพึงเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อ
ทุกข์สิ้นกาลนานแก่ผู้อื่น พึงชักชวนผู้อื่นเพื่อประโยชน์แก่สิ่งนั้น
อนึ่ง ท่านผู้นี้มีกายสมาจาร วจีสมาจาร เหมือนผู้ไม่หลง ท่านผู้นี้แสดงธรรม
อันลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต คาดคะเนเองไม่ได้ เป็นธรรม
ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ไม่ใช่ธรรมที่คนหลงจะแสดงได้ง่าย’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๕. จังกีสูตร

เมื่อใด เขาพิจารณาภิกษุนั้นอยู่ ย่อมเห็นชัดว่าเธอบริสุทธิ์จากธรรมที่เป็นเหตุ
ให้เกิดโมหะ เมื่อนั้น เขาสร้างศรัทธาในภิกษุนั้นอย่างมั่นคง จึงเกิดศรัทธาแล้ว
เข้าไปหา เมื่อเข้าไปหา ย่อมนั่งใกล้ เมื่อนั่งใกล้ ย่อมเงี่ยโสตลง เขาเงี่ยโสตลงแล้ว
ฟังธรรม๑อยู่ ย่อมทรงจำธรรม พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้แล้ว
เมื่อพิจารณาเนื้อความอยู่ ธรรมทั้งหลายย่อมควรแก่การเพ่งพินิจ เมื่อธรรมควร
แก่การเพ่งพินิจมีอยู่ ฉันทะ๒ย่อมเกิด เกิดฉันทะแล้ว ย่อมอุตสาหะ ครั้นอุตสาหะ
แล้วย่อมพิจารณา ครั้นพิจารณาแล้ว ย่อมตั้งความเพียร เธอตั้งความเพียรแล้ว
ย่อมทำปรมัตถสัจจะให้แจ้งด้วยกาย และเห็นชัดปรมัตถสัจจะนั้นด้วยปัญญา
ภารทวาชะ ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ การรู้สัจจะจึงมีได้ ด้วยข้อปฏิบัติเพียง
เท่านี้แล บุคคลย่อมรู้สัจจะได้ และเราย่อมบัญญัติการรู้สัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียง
เท่านี้ แต่ยังไม่ชื่อว่าเป็นการบรรลุสัจจะทีเดียว”

ตรัสตอบถึงการบรรลุสัจจะ

[๔๓๓] กาปทิกมาณพทูลถามว่า “ท่านพระโคดม การรู้สัจจะย่อมมีได้ด้วย
ข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ บุคคลชื่อว่ารู้สัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ และเราทั้งหลาย
ย่อมหวังการรู้สัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้หรือ การบรรลุสัจจะย่อมมีได้ด้วยข้อ
ปฏิบัติเพียงเท่าไร บุคคลย่อมบรรลุสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร ข้าพเจ้าขอทูล
ถามท่านพระโคดมถึงการบรรลุสัจจะ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภารทวาชะ การปฏิบัติ เจริญ ทำให้มากซึ่ง
ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นการบรรลุสัจจะ ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ การบรรลุสัจจะ
ย่อมมีได้ บุคคลย่อมบรรลุสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ และเราย่อมบัญญัติการ
บรรลุสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๕. จังกีสูตร

ตรัสตอบถึงธรรมมีอุปการะมาก

[๔๓๔] กาปทิกมาณพทูลถามว่า “ท่านพระโคดม การบรรลุสัจจะย่อมมีได้
ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ บุคคลย่อมบรรลุสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ และเรา
ทั้งหลายย่อมหวังการบรรลุสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้หรือ ธรรมมีอุปการะมาก
แก่การบรรลุสัจจะเป็นอย่างไร ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดมถึงธรรมมีอุปการะ
มากแก่การบรรลุสัจจะ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภารทวาชะ ความเพียรมีอุปการะมากแก่
การบรรลุสัจจะ ถ้าบุคคลไม่ตั้งความเพียรนั้นไว้ ก็จะไม่พึงบรรลุสัจจะนี้ได้ แต่เพราะ
เขาตั้งความเพียรไว้จึงบรรลุสัจจะได้ ฉะนั้น ความเพียรจึงมีอุปการะมากแก่การ
บรรลุสัจจะ”
“ธรรมมีอุปการะมากแก่ความเพียรเป็นอย่างไร ข้าพระองค์ขอทูลถามท่าน
พระโคดมถึงธรรมมีอุปการะมากแก่ความเพียร พระพุทธเจ้าข้า”
“ปัญญาเครื่องพิจารณามีอุปการะมากแก่ความเพียร ถ้าบุคคลไม่พิจารณาปัญญา
เครื่องพิจารณานั้นก็จะพึงตั้งความเพียรนี้ไว้ไม่ได้ แต่เพราะเขาพิจารณาจึงตั้งความเพียร
ไว้ได้ ฉะนั้น ปัญญาเครื่องพิจารณาจึงมีอุปการะมากแก่ความเพียร”
“ธรรมมีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องพิจารณาเป็นอย่างไร ข้าพระองค์ขอทูล
ถามท่านพระโคดมถึงธรรมมีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องพิจารณา พระพุทธเจ้าข้า”
“ความอุตสาหะมีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องพิจารณา ถ้าบุคคลไม่อุตสาหะ
ก็จะพึงพิจารณาไม่ได้ แต่เพราะเขาอุตสาหะจึงพิจารณาได้ ฉะนั้น ความอุตสาหะจึง
มีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องพิจารณา”
“ธรรมมีอุปการะมากแก่ความอุตสาหะเป็นอย่างไร ข้าพระองค์ขอทูลถามท่าน
พระโคดมถึงธรรมมีอุปการะมากแก่ความอุตสาหะ พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๕. จังกีสูตร

“ฉันทะมีอุปการะมากแก่ความอุตสาหะ ถ้าฉันทะไม่เกิด บุคคลก็จะไม่พึง
อุตสาหะ แต่เพราะฉันทะเกิด เขาจึงอุตสาหะ ฉะนั้น ฉันทะจึงมีอุปการะมากแก่
ความอุตสาหะ”
“ธรรมมีอุปการะมากแก่ฉันทะเป็นอย่างไร ข้าพระองค์ขอทูลถามท่านพระโคดม
ถึงธรรมมีอุปการะมากแก่ฉันทะ พระพุทธเจ้าข้า”
“ความควรแก่การเพ่งพินิจแห่งธรรมเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่ฉันทะ ถ้าธรรม
ทั้งหลายไม่ควรแก่การเพ่งพินิจ ฉันทะก็ไม่เกิด แต่เพราะธรรมทั้งหลายควรแก่การ
เพ่งพินิจ ฉันทะจึงเกิด ฉะนั้น ความควรแก่การเพ่งพินิจแห่งธรรมจึงมีอุปการะมาก
แก่ฉันทะ”
“ธรรมมีอุปการะมากแก่ความควรแก่การเพ่งพินิจแห่งธรรมเป็นอย่างไร
ข้าพระองค์ขอทูลถามท่านพระโคดมถึงธรรมมีอุปการะมากแก่ความควรแก่การเพ่งพินิจ
แห่งธรรม พระพุทธเจ้าข้า”
“ปัญญาเครื่องไตร่ตรองเนื้อความเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่ความควรแก่การ
เพ่งพินิจแห่งธรรม ถ้าบุคคลไม่ไตร่ตรองเนื้อความ ธรรมทั้งหลายก็จะไม่พึงควรแก่
การเพ่งพินิจ แต่เพราะเขาไตร่ตรองเนื้อความ ธรรมทั้งหลายจึงควรแก่การเพ่งพินิจ
ฉะนั้น ปัญญาเครื่องไตร่ตรองเนื้อความจึงมีอุปการะมากแก่ความควรแก่การเพ่งพินิจ
แห่งธรรม”
“ธรรมมีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องไตร่ตรองเนื้อความเป็นอย่างไร ข้าพระองค์
ขอทูลถามท่านพระโคดมถึงธรรมมีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องไตร่ตรองเนื้อความ
พระพุทธเจ้าข้า”
“การทรงจำธรรมมีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องไตร่ตรองเนื้อความ ถ้าบุคคล
ไม่ทรงจำธรรมนั้น ก็จะพึงไตร่ตรองเนื้อความนี้ไม่ได้ แต่เพราะเขาทรงจำธรรมไว้ได้
จึงไตร่ตรองเนื้อความได้ ฉะนั้น การทรงจำธรรมจึงมีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่อง
ไตร่ตรองเนื้อความ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๕. จังกีสูตร

“ธรรมมีอุปการะแก่การทรงจำธรรมเป็นอย่างไร ข้าพระองค์ขอทูลถามท่านพระ
โคดมถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การทรงจำธรรม พระพุทธเจ้าข้า”
“การฟังธรรมมีอุปการะมากแก่การทรงจำธรรม ถ้าบุคคลไม่ฟังธรรมนั้น ก็จะ
พึงทรงจำธรรมนี้ไม่ได้ แต่เพราะเขาฟังธรรมจึงทรงจำธรรมไว้ได้ ฉะนั้น การฟังธรรม
จึงมีอุปการะมากแก่การทรงจำธรรม”
“ธรรมมีอุปการะมากแก่การฟังธรรมเป็นอย่างไร ข้าพระองค์ขอทูลถามท่าน
พระโคดมถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การฟังธรรม พระพุทธเจ้าข้า”
“การเงี่ยโสตลงมีอุปการะมากแก่การฟังธรรม ถ้าบุคคลไม่เงี่ยโสตลง ก็จะพึง
ฟังธรรมนี้ไม่ได้ แต่เพราะเขาเงี่ยโสตลงจึงฟังธรรมได้ ฉะนั้น การเงี่ยโสตลงจึงมี
อุปการะมากแก่การฟังธรรม”
“ธรรมมีอุปการะมากแก่การเงี่ยโสตลงเป็นอย่างไร ข้าพระองค์ขอทูลถามท่าน
พระโคดมถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การเงี่ยโสตลง พระพุทธเจ้าข้า”
“การเข้าไปนั่งใกล้มีอุปการะมากแก่การเงี่ยโสตลง ถ้าบุคคลไม่เข้าไปนั่งใกล้
ก็จะพึงเงี่ยโสตลงไม่ได้ แต่เพราะเขาเข้าไปนั่งใกล้จึงเงี่ยโสตลงได้ ฉะนั้น การเข้าไป
นั่งใกล้จึงมีอุปการะมากแก่การเงี่ยโสตลง”
“ธรรมมีอุปการะมากแก่การเข้าไปนั่งใกล้เป็นอย่างไร ข้าพระองค์ขอทูลถาม
ท่านพระโคดมถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การเข้าไปนั่งใกล้ พระพุทธเจ้าข้า”
“การเข้าไปหามีอุปการะมากแก่การเข้าไปนั่งใกล้ ถ้าบุคคลไม่เข้าไปหา ก็จะ
พึงนั่งใกล้ไม่ได้ เพราะเขาเข้าไปหาจึงนั่งใกล้ได้ ฉะนั้น การเข้าไปหาจึงมีอุปการะ
มากแก่การเข้าไปนั่งใกล้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๕. จังกีสูตร

“ท่านพระโคดม ธรรมมีอุปการะมากแก่การเข้าไปหาเป็นอย่างไร ข้าพระองค์
ขอทูลถามท่านพระโคดมถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การเข้าไปหา”
“ภารทวาชะ ศรัทธามีอุปการะมากแก่การเข้าไปหา ถ้าศรัทธาไม่เกิด บุคคล
ก็จะไม่พึงเข้าไปหา แต่เพราะศรัทธาเกิด เขาจึงเข้าไปหา ฉะนั้น ศรัทธาจึงมีอุปการะ
มากแก่การเข้าไปหา”
[๔๓๕] กาปทิกมาณพกราบทูลว่า “ข้าพระองค์ได้ทูลถามท่านพระโคดม
ถึงการรักษาสัจจะ ท่านพระโคดมได้ตรัสตอบการรักษาสัจจะแล้ว และข้อที่ตรัสตอบ
นั้นข้าพระองค์ชอบใจและถูกใจนัก และข้าพระองค์ก็ชื่นชมด้วยข้อที่ตรัสตอบนั้น
ข้าพระองค์ได้ทูลถามท่านพระโคดมถึงการรู้สัจจะ ท่านพระโคดมได้ตรัสตอบ
การรู้สัจจะแล้ว และข้อที่ตรัสตอบนั้นข้าพระองค์ชอบใจและถูกใจนัก และข้าพระองค์
ก็ชื่นชมด้วยข้อที่ตรัสตอบนั้น
ข้าพระองค์ได้ทูลถามท่านพระโคดมถึงการบรรลุสัจจะ ท่านพระโคดมก็ได้
ตรัสตอบการบรรลุสัจจะแล้ว และข้อที่ตรัสตอบนั้น ข้าพระองค์ชอบใจและถูกใจนัก
และข้าพระองค์ก็ชื่มชมด้วยข้อที่ตรัสตอบนั้น
ข้าพระองค์ได้ทูลถามท่านพระโคดมถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การบรรลุสัจจะ
ท่านพระโคดมก็ได้ตรัสตอบธรรมมีอุปการะมากแก่การบรรลุสัจจะแล้ว และข้อที่ตรัส
ตอบนั้น ข้าพระองค์ชอบใจและถูกใจนัก และข้าพระองค์ก็ชื่นชมด้วยข้อที่ตรัส
ตอบนั้น
ข้าพระองค์ได้ทูลถามท่านพระโคดมถึงปัญหาข้อใด ๆ ท่านพระโคดมก็ได้ตรัสตอบ
ปัญหาข้อนั้น ๆ แล้ว และข้อที่ตรัสตอบนั้นข้าพระองค์ชอบใจและถูกใจนัก และ
ข้าพระองค์ก็ชื่นชมด้วยข้อที่ตรัสตอบนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๖. เอสุการีสูตร

ข้าแต่ท่านพระโคดม เมื่อก่อนข้าพระองค์รู้อย่างนี้ว่า ‘พวกสมณะโล้นเหล่านี้
เป็นสามัญชน เกิดจากพระบาทของพระพรหมเป็นกัณหชาติ๑(วรรณะศูทร) เป็นใครกัน
และจะรู้ทั่วถึงธรรมได้อย่างไร ท่านพระโคดมได้ทรงทำให้ข้าพระองค์เกิดความรัก
สมณะในหมู่สมณะ ให้เกิดความเลื่อมใสสมณะในหมู่สมณะ และให้เกิดความเคารพ
สมณะในหมู่สมณะแล้วหนอ’ ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจน
ไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต” ดังนี้แล

จังกีสูตรที่ ๕ จบ

๖. เอสุการีสูตร
ว่าด้วยพราหมณ์ชื่อเอสุการี

[๔๓๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล พราหมณ์ชื่อเอสุการีได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว ได้นั่ง ณ
ที่สมควร

การบำเรอ ๔ ประเภท

เอสุการีพราหมณ์ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ท่านพระโคดม พราหมณ์
ทั้งหลายบัญญัติการบำเรอไว้ ๔ ประเภท คือ

๑. บัญญัติการบำเรอพราหมณ์ ๒. บัญญัติการบำเรอกษัตริย์
๓. บัญญัติการบำเรอแพศย์ ๔. บัญญัติการบำเรอศูทร


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๖. เอสุการีสูตร

ในการบำเรอทั้ง ๔ ประเภทนั้น พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติการบำเรอพราหมณ์
ไว้ว่า ‘พราหมณ์ควรบำเรอพราหมณ์ กษัตริย์ควรบำเรอพราหมณ์ แพศย์ควรบำเรอ
พราหมณ์ หรือศูทรควรบำเรอพราหมณ์’ พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติการบำเรอพราหมณ์
ไว้เช่นนี้แล
พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติการบำเรอกษัตริย์ไว้ว่า ‘กษัตริย์ควรบำเรอกษัตริย์
แพศย์ควรบำเรอกษัตริย์ หรือศูทรควรบำเรอกษัตริย์’ พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติ
การบำเรอกษัตริย์ไว้เช่นนี้แล
พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติการบำเรอแพศย์ไว้ว่า ‘แพศย์ควรบำเรอแพศย์
หรือศูทรควรบำเรอแพศย์’ พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติการบำเรอแพศย์ไว้เช่นนี้แล
พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติการบำเรอศูทรไว้ว่า ‘ศูทรเท่านั้นควรบำเรอศูทร
ผู้อื่นใครเล่าจักบำเรอศูทร’ พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติการบำเรอศูทรไว้เช่นนี้แล
ท่านพระโคดม พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติการบำเรอไว้ ๔ ประเภทนี้ ท่าน
พระโคดมตรัสการบำเรอนี้ไว้อย่างไร”
[๔๓๗] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “พราหมณ์ ชาวโลกทั้งปวงเห็นด้วยกับ
คำของพราหมณ์ที่ว่า ‘พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติการบำเรอไว้ ๔ ประเภทเท่านี้หรือ”
เอสุการีพราหมณ์ ทูลตอบว่า “ไม่ใช่ ท่านพระโคดม”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ บุรุษผู้ขัดสน ไม่มีทรัพย์สินสิ่งไรเป็น
ของตน ยากจน ชนทั้งหลายแขวนก้อนเนื้อที่อาบยาพิษไว้สำหรับเขาซึ่งไม่ชอบพอกัน
โดยแกล้งพูดว่า ‘พ่อคุณ เชิญท่านกินเนื้อนี้ แต่ต้องจ่ายค่าเนื้อเพิ่มขึ้น’ แม้ฉันใด
พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติการบำเรอไว้ ๔ ประเภทแก่สมณพราหมณ์เหล่านั้น
ฝ่ายเดียว โดยไม่มีฝ่ายอื่นยินยอม ฉันนั้นเหมือนกัน เราไม่กล่าวว่า ‘สิ่งทั้งปวง
ควรบำเรอ’ แต่ก็ไม่กล่าวว่า ‘สิ่งทั้งปวงไม่ควรบำเรอ’ เพราะว่า เมื่อบุคคลบำเรอ
สิ่งใดอยู่ เพราะเหตุแห่งการบำเรอสิ่งนั้นพึงมีแต่ความชั่ว ไม่มีความดีเลย เราจึงไม่
กล่าวว่า ‘สิ่งนั้นควรบำเรอ’ แต่เมื่อบุคคลบำเรอสิ่งใดเพราะเหตุแห่งการบำเรอสิ่งนั้น
พึงมีแต่ความดีเท่านั้น ไม่มีความชั่วเลย เราจึงกล่าวว่า ‘สิ่งนั้นควรบำเรอ’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๖. เอสุการีสูตร

ถ้าแม้ชนทั้งหลายจะพึงถามกษัตริย์อย่างนี้ว่า ‘เมื่อท่านบำเรอสิ่งใดอยู่ เพราะ
เหตุแห่งการบำเรอสิ่งนั้นพึงมีแต่ความชั่ว ไม่มีความดีเลย หรือว่าเมื่อท่านบำเรอ
สิ่งใดอยู่ เพราะเหตุแห่งการบำเรอสิ่งนั้นพึงมีแต่ความดี ไม่มีความชั่วเลย ในกรณี
เช่นนี้ท่านควรบำเรอสิ่งไหน’ กษัตริย์เมื่อจะตรัสตอบให้ถูกต้อง ควรตรัสตอบอย่างนี้ว่า
‘เมื่อข้าพเจ้าบำเรอสิ่งใดอยู่ เพราะเหตุแห่งการบำเรอสิ่งนั้นพึงมีแต่ความชั่ว ไม่มี
ความดีเลย ข้าพเจ้าไม่ควรบำเรอสิ่งนั้น แต่เมื่อข้าพเจ้าบำเรอสิ่งใดอยู่ เพราะเหตุ
แห่งการบำเรอสิ่งนั้นพึงมีแต่ความดี ไม่มีความชั่วเลย ข้าพเจ้าควรบำเรอสิ่งนั้น’
ถ้าแม้ชนทั้งหลายพึงถามพราหมณ์ ฯลฯ
ถ้าแม้ชนทั้งหลายพึงถามแพศย์ ฯลฯ
ถ้าแม้ชนทั้งหลายพึงถามศูทรอย่างนี้ว่า ‘เมื่อท่านบำเรอสิ่งใดอยู่ เพราะเหตุ
แห่งการบำเรอสิ่งนั้นพึงมีแต่ความชั่ว ไม่มีความดีเลย หรือว่าเมื่อท่านบำเรอสิ่งใดอยู่
เพราะเหตุแห่งการบำเรอสิ่งนั้นพึงมีแต่ความดี ไม่มีความชั่วเลย ในกรณีเช่นนี้ท่าน
ควรบำเรอสิ่งไหน’ แม้ศูทรเมื่อจะตอบให้ถูกต้อง ควรตอบอย่างนี้ว่า ‘เมื่อข้าพเจ้า
บำเรอสิ่งใดอยู่ เพราะเหตุแห่งการบำเรอสิ่งนั้นพึงมีแต่ความชั่ว ไม่มีความดีเลย
ข้าพเจ้าไม่ควรบำเรอสิ่งนั้น แต่เมื่อข้าพเจ้าบำเรอสิ่งใดอยู่ เพราะเหตุแห่งการบำเรอ
สิ่งนั้นพึงมีแต่ความดีเท่านั้น ไม่มีความชั่วเลย ข้าพเจ้าควรบำเรอสิ่งนั้น’
เราจะกล่าวว่า ‘บุคคลเป็นผู้ประเสริฐเพราะเกิดในตระกูลสูง’ ก็หาไม่ จะกล่าว
ว่า ‘เขาเป็นผู้เลวทรามเพราะเกิดในตระกูลสูง’ ก็หาไม่ จะกล่าวว่า ‘บุคคลเป็น
ผู้ประเสริฐเพราะความเป็นผู้มีวรรณะอันยิ่ง’ ก็หาไม่ จะกล่าวว่า ‘เขาเป็นผู้เลวทราม
เพราะความเป็นผู้มีวรรณะอันยิ่ง’ ก็หาไม่ เรากล่าวว่า ‘บุคคลเป็นผู้ประเสริฐ เพราะ
ความเป็นผู้มีโภคะมาก’ ก็หาไม่ แต่จะกล่าวว่า ‘เขาเป็นผู้เลวทราม เพราะความ
เป็นผู้มีโภคะมาก’ ก็หาไม่
[๔๓๘] พราหมณ์ เพราะบุคคลบางคนในโลกนี้ แม้เกิดในตระกูลสูงก็ยังเป็น
ผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ
เป็นผู้เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิ เพราะฉะนั้น
เราจึงไม่กล่าวว่า ‘เขาเป็นผู้ประเสริฐเพราะเกิดในตระกูลสูง’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๖. เอสุการีสูตร

แต่บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้เกิดในตระกูลสูงก็ยังเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการ
พูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการ
พูดเพ้อเจ้อ ไม่เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ
เพราะฉะนั้น เราจึงไม่กล่าวว่า ‘เขาเป็นผู้เลวทราม เพราะเกิดในตระกูลสูง’
[๔๓๙] พราหมณ์ เพราะบุคคลบางคนในโลกนี้ แม้มีวรรณะสูงก็ยังเป็นผู้
ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ
เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิ เพราะฉะนั้น เราจึง
ไม่กล่าวว่า ‘เขาเป็นผู้ประเสริฐเพราะความเป็นผู้มีวรรณะสูง’
บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้มีวรรณะสูงก็เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจาก
การลักทรัพย์ เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาด
จากการพูดส่อเสียด เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่เพ่งเล็ง
อยากได้สิ่งของของผู้อื่น มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ เพราะฉะนั้น เราจึงไม่
กล่าวว่า ‘เขาเป็นผู้เลวทรามเพราะความเป็นผู้มีวรรณะสูง’
บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้มีทรัพย์สมบัติมากก็ยังเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์
ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ เพ่งเล็งอยากได้
สิ่งของของผู้อื่น มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิ เพราะฉะนั้น เราจึงไม่กล่าวว่า
‘เขาเป็นผู้ประเสริฐเพราะความเป็นผู้มีทรัพย์สมบัติมาก’
บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้มีทรัพย์สมบัติมากก็ยังเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการ
พูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการ
พูดเพ้อเจ้อ ไม่เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ
เพราะฉะนั้น เราจึงไม่กล่าวว่า ‘เขาเป็นผู้เลวทรามเพราะความเป็นผู้มีทรัพย์
สมบัติมาก’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๖. เอสุการีสูตร

พราหมณ์ เราไม่กล่าวว่า ‘บุคคลต้องบำเรอสิ่งทั้งปวง’ แต่เราก็ไม่ปฏิเสธว่า
‘บุคคลไม่ต้องบำเรอสิ่งทั้งปวง’ เพราะว่า เมื่อบุคคลบำเรอสิ่งใดอยู่ ศรัทธา ศีล สุตะ
จาคะ ปัญญาย่อมเจริญ เพราะเหตุแห่งการบำเรอ เราจึงกล่าวว่า ‘บุคคลต้องบำเรอ
สิ่งนั้น”

ทรัพย์ ๔ ชนิด

[๔๔๐] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว เอสุการีพราหมณ์ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า “ท่านพระโคดม พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติทรัพย์ไว้ ๔ ชนิด คือ

๑. บัญญัติทรัพย์ของพราหมณ์ ๒. บัญญัติทรัพย์ของกษัตริย์
๓. บัญญัติทรัพย์ของแพศย์ ๔. บัญญัติทรัพย์ของศูทร

ในทรัพย์ ๔ ชนิดนั้น พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติทรัพย์ของพราหมณ์คือการ
เที่ยวไปเพื่ออาหาร แต่พราหมณ์เมื่อดูหมิ่นทรัพย์คือการเที่ยวไปเพื่ออาหาร ชื่อว่า
เป็นผู้ทำหน้าที่ผิด เปรียบเหมือนคนเลี้ยงโคถือเอาของที่เจ้าของเขามิได้ให้ พราหมณ์
ทั้งหลายบัญญัติทรัพย์ของพราหมณ์ไว้เช่นนี้แล
พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติทรัพย์ของกษัตริย์คือแล่งธนู แต่กษัตริย์เมื่อดูหมิ่น
ทรัพย์คือแล่งธนู ชื่อว่าเป็นผู้ทำหน้าที่ผิด เปรียบเหมือนคนเลี้ยงโคถือเอาสิ่งของ
ที่เจ้าของมิได้ให้ พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติทรัพย์ของกษัตริย์ไว้เช่นนี้แล
พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติทรัพย์ของแพศย์คือกสิกรรมและโครักขกรรม แต่แพศย์
เมื่อดูหมิ่นทรัพย์คือกสิกรรมและโครักขกรรม ชื่อว่าเป็นผู้ทำหน้าที่ผิด เปรียบเหมือน
คนเลี้ยงโคถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติทรัพย์ของแพศย์
ไว้เช่นนี้แล
พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติทรัพย์ของศูทรคือเคียวและไม้คาน แต่ศูทรเมื่อดูหมิ่น
ทรัพย์คือเคียวและไม้คาน ชื่อว่าเป็นผู้ทำหน้าที่ผิด เปรียบเหมือนคนเลี้ยงโคถือเอาสิ่งของ
ที่เจ้าของมิได้ให้ ฉะนั้น พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติทรัพย์ของศูทรไว้เช่นนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๖. เอสุการีสูตร

ท่านพระโคดม พราหมณ์ทั้งหลายย่อมบัญญัติทรัพย์ไว้ ๔ ชนิดนี้ ในเรื่องนี้
ท่านพระโคดมจะตรัสว่าอย่างไร”
[๔๔๑] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “พราหมณ์ ชาวโลกทั้งปวงเห็นด้วยกับ
คำนั้นว่า ‘พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติทรัพย์ไว้ ๔ ชนิดเท่านี้หรือ”
เอสุการีพราหมณ์ทูลตอบว่า “ไม่ใช่ ท่านพระโคดม”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ บุรุษผู้ขัดสน ไม่มีทรัพย์สินสิ่งไรเป็น
ของตน ยากจน ชนทั้งหลายแขวนก้อนเนื้ออาบยาพิษไว้สำหรับเขาซึ่งไม่ชอบพอกัน
โดยแกล้งพูดว่า ‘พ่อคุณ เชิญท่านกินเนื้อนี้ แต่ต้องจ่ายค่าเนื้อเพิ่มขึ้น’ แม้ฉันใด
พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติทรัพย์ไว้ ๔ ประเภท แก่สมณพราหมณ์เหล่านั้นฝ่ายเดียว
โดยไม่มีฝ่ายอื่นยินยอม ฉันนั้นเหมือนกัน
แต่เราบัญญัติโลกุตตรธรรมอันเป็นอริยะว่าเป็นทรัพย์ของบุคคล เมื่อเขาระลึกถึง
วงศ์ตระกูลเก่าอันเป็นของมารดาบิดา อัตภาพเกิดในวงศ์ตระกูลใด ๆ ก็นับตามวงศ์
ตระกูลนั้น ๆ ถ้าอัตภาพเกิดในตระกูลกษัตริย์ก็นับว่า ‘เป็นกษัตริย์’ ถ้าอัตภาพเกิด
ในตระกูลพราหมณ์ก็นับว่า ‘เป็นพราหมณ์’ ถ้าอัตภาพเกิดในตระกูลแพศย์ก็นับว่า
‘เป็นแพศย์’ ถ้าอัตภาพเกิดในตระกูลศูทรก็นับว่า ‘เป็นศูทร’ เปรียบเหมือนไฟอาศัย
เชื้อใดๆ ติดขึ้นก็นับตามเชื้อนั้น ๆ ถ้าไฟอาศัยไม้ติดขึ้น ก็นับว่า ‘เป็นไฟไม้’ ถ้าอาศัย
หยากเยื่อติดขึ้น ก็นับว่า ‘เป็นไฟหยากเยื่อ’ ถ้าอาศัยหญ้าติดขึ้น ก็นับว่า ‘เป็นไฟหญ้า’
ถ้าอาศัยมูลโคติดขึ้นก็นับว่า ‘เป็นไฟมูลโค’ แม้ฉันใด เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน บัญญัติ
โลกุตตรธรรมอันเป็นอริยะว่าเป็นทรัพย์ของบุคคล เมื่อเขาระลึกถึงวงศ์ตระกูลเก่าอันเป็น
ของมารดาบิดา อัตภาพเกิดในตระกูลใด ๆ ก็นับตามตระกูลนั้น ๆ ถ้าอัตภาพเกิดใน
ตระกูลกษัตริย์ ก็นับว่า ‘เป็นกษัตริย์’ ถ้าอัตภาพเกิดในตระกูลพราหมณ์ ก็นับว่า
‘เป็นพราหมณ์’ ถ้าอัตภาพเกิดในตระกูลแพศย์ ก็นับว่า ‘เป็นแพศย์’ ถ้าอัตภาพเกิด
ในตระกูลศูทร ก็นับว่า ‘เป็นศูทร’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๖. เอสุการีสูตร

คนจะดีหรือชั่วมิใช่เพราะตระกูล

พราหมณ์ ถ้าแม้กุลบุตรออกจากตระกูลกษัตริย์บวชเป็นบรรพชิต และเขา
อาศัยธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจาก
การลักทรัพย์ เว้นขาดจากพฤติกรรมอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ เว้นขาดจากการ
พูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการ
พูดเพ้อเจ้อ ไม่เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ
ยินดีกุศลธรรมอันเป็นเครื่องนำออกจากทุกข์
ถ้าแม้กุลบุตรออกจากตระกูลพราหมณ์ ฯลฯ
ถ้าแม้กุลบุตรออกจากตระกูลแพศย์ ฯลฯ
ถ้าแม้กุลบุตรออกจากตระกูลศูทรบวชเป็นบรรพชิต และเขาอาศัยธรรมวินัยที่
ตถาคตประกาศแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาด
จากพฤติกรรมอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจาก
การพูดส่อเสียด เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่เพ่งเล็ง
อยากได้สิ่งของของผู้อื่น มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ ยินดีกุศลธรรมอันเป็นเครื่อง
นำออกจากทุกข์
[๔๔๒] พราหมณ์ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ในประเทศนี้พราหมณ์
เท่านั้นหรือย่อมสามารถเจริญเมตตาจิตอันไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน กษัตริย์
แพศย์ ศูทร ไม่สามารถหรือ”
เอสุการีพราหมณ์กราบทูลว่า “ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านพระโคดม ในประเทศนี้แม้
กษัตริย์ก็สามารถเจริญเมตตาจิตอันไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนได้
แม้พราหมณ์ ฯลฯ
แม้แพศย์ ฯลฯ
แม้ศูทร ฯลฯ
ข้าแต่ท่านพระโคดม ความจริง ในประเทศนี้ แม้วรรณะ ๔ ทั้งหมดก็สามารถ
เจริญเมตตาจิต อันไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนได้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๖. เอสุการีสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ อย่างนั้นเหมือนกันแล ถ้าแม้กุลบุตร
ออกจากตระกูลกษัตริย์บวชเป็นบรรพชิต และเขาอาศัยธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว
เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากพฤติกรรม
อันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด
เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของ
ของผู้อื่น มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ ยินดีกุศลธรรมอันเป็นเครื่องนำออก
จากทุกข์
ถ้าแม้กุลบุตรออกจากตระกูลพราหมณ์ ฯลฯ
ถ้าแม้กุลบุตรออกจากตระกูลแพศย์ ฯลฯ
ถ้าแม้กุลบุตรออกจากตระกูลศูทรบวชเป็นบรรพชิต และเขาอาศัยธรรมวินัยที่
ตถาคตประกาศแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาด
จากพฤติกรรมอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากการ
พูดส่อเสียด เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่เพ่งเล็ง
อยากได้สิ่งของของผู้อื่น มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ ยินดีกุศลธรรมอันเป็น
เครื่องนำออกจากทุกข์
[๔๔๓] พราหมณ์ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร พราหมณ์เท่านั้นหรือ
ย่อมสามารถถือเอาเครื่องสีตัวสำหรับอาบน้ำไปยังแม่น้ำแล้วลอยละอองธุลีได้ กษัตริย์
แพศย์ ศูทร ไม่สามารถหรือ”
เอสุการีพราหมณ์กราบทูลว่า “ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านพระโคดม แม้กษัตริย์ก็สามารถ
ถือเอาเครื่องสีตัวสำหรับอาบน้ำไปยังแม่น้ำแล้วลอยละอองธุลีได้
แม้พราหมณ์ ฯลฯ
แม้แพศย์ ฯลฯ
แม้ศูทร ฯลฯ
ข้าแต่ท่านพระโคดม ความจริง ในประเทศนี้ แม้วรรณะ ๔ ทั้งหมดก็สามารถ
ถือเอาเครื่องสีตัวสำหรับอาบน้ำไปยังแม่น้ำแล้วลอยละอองธุลีได้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๖. เอสุการีสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ อย่างนั้นเหมือนกันแล ถ้าแม้กุลบุตร
ออกจากตระกูลกษัตริย์บวชเป็นบรรพชิต และเขาอาศัยธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว
เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากพฤติกรรมอันเป็น
ข้าศึกต่อพรหมจรรย์ เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด เว้นขาด
จากการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น
มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ ยินดีกุศลธรรมอันเป็นเครื่องนำออกจากทุกข์
ถ้าแม้กุลบุตรออกจากตระกูลพราหมณ์ ฯลฯ
ถ้าแม้กุลบุตรออกจากตระกูลแพศย์ ฯลฯ
ถ้าแม้กุลบุตรออกจากตระกูลศูทรบวชเป็นบรรพชิต และเขาอาศัยธรรมวินัยที่
ตถาคตประกาศแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาด
จากพฤติกรรมอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจาก
การพูดส่อเสียด เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่เพ่งเล็ง
อยากได้สิ่งของของผู้อื่น มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ ยินดีกุศลธรรมอันเป็นเครื่อง
นำออกจากทุกข์
[๔๔๔] พราหมณ์ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร พระราชามหากษัตริย์
ในโลกนี้ผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว จะพึงทรงเกณฑ์บุรุษผู้มีฐานะต่าง ๆ กัน ๑๐๐ คน
ให้มาประชุมกันตรัสว่า ‘มาเถิดท่านทั้งหลาย ในจำนวนบุรุษเหล่านั้น บุรุษเหล่าใด
เกิดจากตระกูลกษัตริย์ ตระกูลพราหมณ์ ราชตระกูล บุรุษเหล่านั้นจงถือเอาไม้สัก
ไม้สาละ ไม้สน ไม้จันทน์ หรือไม้ทับทิม มาทำเป็นไม้สีไฟ แล้วจงสีให้ไฟลุกโพลงขึ้น
มาเถิดท่านทั้งหลาย ในจำนวนบุรุษเหล่านั้น บุรุษเหล่าใด เกิดจากตระกูลจัณฑาล
ตระกูลพราน ตระกูลช่างจักสาน ตระกูลช่างรถ ตระกูลคนขนขยะ บุรุษเหล่านั้น
จงถือเอาไม้รางสุนัข ไม้รางสุกร ไม้รางย้อมผ้า หรือไม้ละหุ่งมาทำเป็นไม้สีไฟ
แล้วจงสีให้ไฟลุกโพลงขึ้น’
พราหมณ์ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ไฟที่บุรุษทั้งหลายผู้เกิดจากตระกูล
กษัตริย์ ตระกูลพราหมณ์ ราชตระกูล ถือเอาไม้สัก ไม้สาละ ไม้สน ไม้จันทน์ หรือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๖. เอสุการีสูตร

ไม้ทับทิม มาทำเป็นไม้สีไฟ แล้วสีให้ไฟลุกโพลงขึ้นเท่านั้นหรือ เป็นไฟมีเปลว มีสี
มีแสงสว่าง และสามารถทำกิจที่ต้องทำด้วยไฟนั้นให้สำเร็จได้ ส่วนไฟที่บุรษทั้งหลาย
ผู้เกิดจากตระกูลจัณฑาล ตระกูลนายพราน ตระกูลช่างจักสาน ตระกูลช่างรถ ตระกูล
คนขนขยะ ถือเอาไม้รางสุนัข ไม้รางสุกร ไม้รางย้อมผ้า หรือไม้ละหุ่งมาทำเป็นไม้
สีไฟ แล้วสีให้ไฟลุกโพลงขึ้นนั้น เป็นไฟไม่มีเปลว ไม่มีสี ไม่มีแสงสว่าง และไม่สามารถ
ทำกิจที่ต้องทำด้วยไฟนั้นให้สำเร็จได้กระนั้นหรือ”
เอสุการีพราหมณ์กราบทูลว่า “ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านพระโคดม แม้ไฟที่บุรุษ
ทั้งหลายผู้เกิดจากตระกูลกษัตริย์ ตระกูลพราหมณ์ ราชตระกูล ถือเอาไม้สัก ไม้สาละ
ไม้สน ไม้จันทน์ หรือไม้ทับทิม มาทำเป็นไม้สีไฟ แล้วสีให้ไฟลุกโพลงขึ้นนั้น ก็เป็น
ไฟมีเปลว มีสี มีแสงสว่าง และสามารถทำกิจที่ต้องทำด้วยไฟนั้นให้สำเร็จได้ แม้ไฟ
ที่บุรุษทั้งหลายผู้เกิดจากตระกูลจัณฑาล ตระกูลนายพราน ตระกูลช่างจักสาน
ตระกูลช่างรถ ตระกูลคนขนขยะ ถือเอาไม้รางสุนัข ไม้รางสุกร ไม้รางย้อมผ้า
หรือไม้ละหุ่ง มาทำเป็นไม้สีไฟ แล้วสีให้ไฟลุกโพลงขึ้นนั้น ก็เป็นไฟมีเปลว มีสี
มีแสงสว่าง และสามารถทำกิจที่ต้องทำด้วยไฟให้สำเร็จได้
ท่านพระโคดม ความจริงแม้ไฟทุกชนิด ก็เป็นไฟมีเปลว มีสี มีแสงสว่าง
และสามารถทำกิจที่ต้องทำด้วยไฟให้สำเร็จได้ทั้งหมด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ อย่างนั้นเหมือนกัน ถ้าแม้บุคคลออกจาก
ตระกูลกษัตริย์บวชเป็นบรรพชิต และเขาอาศัยธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว เป็นผู้
เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากพฤติกรรมอันเป็น
ข้าศึกต่อพรหมจรรย์ เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด เว้นขาด
จากการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น
มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ ยินดีกุศลธรรมอันเป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ได้
ถ้าแม้กุลบุตรออกจากตระกูลพราหมณ์ ฯลฯ
ถ้าแม้กุลบุตรออกจากตระกูลแพศย์ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๗. ธนัญชานิสูตร

ถ้าแม้กุลบุตรออกจากตระกูลศูทรบวชเป็นบรรพชิต และเขาอาศัยธรรมวินัยที่
ตถาคตประกาศแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาด
จากพฤติกรรมอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจาก
การพูดส่อเสียด เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่เพ่ง
เล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ ยินดีกุศลธรรมอันเป็น
เครื่องนำออกจากทุกข์ได้”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว เอสุการีพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอท่าน
พระโคดมโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจน
ตลอดชีวิต” ดังนี้แล

เอสุการีสูตรที่ ๖ จบ

๗. ธนัญชานิสูตร
ว่าด้วยพราหมณ์ชื่อธนัญชานิ

[๔๔๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้นแล ท่านพระสารีบุตรเที่ยวจาริกไปในทักขิณาคีรีชนบท
พร้อมด้วยภิกษุหมู่ใหญ่ ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งจำพรรษาอยู่ในกรุงราชคฤห์ ได้เข้าไป
หาท่านพระสารีบุตรถึงทักขิณาคีรีชนบท ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่
ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร
ท่านพระสารีบุตรได้ถามภิกษุนั้นว่า “ท่านผู้มีอายุ พระผู้มีภาคไม่ทรงประชวร
และยังทรงมีพระกำลังอยู่หรือ”
ภิกษุนั้นกล่าวตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคไม่ทรงประชวร และยัง
ทรงมีพระกำลังอยู่ ขอรับ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๗. ธนัญชานิสูตร

“ภิกษุสงฆ์ไม่ป่วยไข้และยังมีกำลังอยู่หรือ”
“แม้ภิกษุสงฆ์ก็ไม่ป่วยไข้และยังมีกำลังอยู่ ขอรับ”
“พราหมณ์ชื่อธนัญชานิอยู่ใกล้ประตูตัณฑุลปาลิ๑ ในกรุงราชคฤห์นั้น เขาไม่
ป่วยไข้และยังมีกำลังอยู่หรือ”
“แม้ธนัญชานิพราหมณ์ก็ไม่ป่วยไข้และยังมีกำลังอยู่ ขอรับ”
“ธนัญชานิพราหมณ์ยังเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่หรือ”
ภิกษุนั้นกราบเรียนว่า “ท่านผู้มีอายุ ธนัญชานิพราหมณ์ของเราจะไม่ประมาท
ที่ไหนได้ เขาอาศัยพระราชาเที่ยวเบียดบัง(เอาผลประโยชน์ของ)พราหมณ์และคหบดี
อาศัยพวกพราหมณ์และคหบดีเบียดบัง(เอาผลประโยชน์)ของรัฐ แม้ภรรยาของเขา
ผู้มีศรัทธา ที่ขอมาจากตระกูลมีศรัทธา ก็ตายไปเสียแล้ว ภรรยาคนใหม่ของเขา
ไม่มีศรัทธา เขาขอมาจากตระกูลไม่มีศรัทธา”
ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า “ท่านผู้มีอายุ การที่เราได้ฟังว่าธนัญชานิพราหมณ์
เป็นผู้ประมาท เป็นข่าวไม่ดีเลย ถ้ากระไร เราจะได้พบกับธนัญชานิพราหมณ์นั้น
สักครั้งหนึ่ง ทำอย่างไร เราจึงจะได้สนทนาปราศัยบ้าง”
[๔๔๖] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรอยู่ในทักขิณาคีรีชนบทตามอัธยาศัยแล้ว
จึงจาริกไปทางกรุงราชคฤห์ เที่ยวจาริกไปตามลำดับ จนถึงกรุงราชคฤห์แล้ว ได้ยิน
ว่า สมัยนั้นท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระเวฬุวันสถานที่ให้เหยื่อกระแต เขตกรุง
ราชคฤห์ ครั้นในเวลาเช้า ท่านพระสารีบุตรครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไป
บิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น ธนัญชานิพราหมณ์ใช้คนให้รีดนมโคซึ่งอยู่ที่คอก
โคนอกกรุง ท่านพระสารีบุตรเที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ กลับจากบิณฑบาต


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๗. ธนัญชานิสูตร

ภายหลังฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว เข้าไปหาธนัญชานิพราหมณ์ถึงที่อยู่ ธนัญชานิ-
พราหมณ์ได้เห็นท่านพระสารีบุตรกำลังเดินมาแต่ไกล จึงเข้าไปหาท่านพระสารีบุตร
ถึงที่อยู่แล้วกล่าวว่า “นิมนต์ดื่มนมสดทางนี้เถิด พระคุณเจ้าสารีบุตร ยังพอมีเวลา
สำหรับฉันภัตตาหาร”
ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า “อย่าเลย พราหมณ์ วันนี้อาตมภาพทำภัตกิจ
เสร็จแล้ว อาตมภาพจักพักกลางวันที่โคนไม้โน้น ท่านควรจะมาพบอาตมภาพที่
โคนไม้นั้น”
ธนัญชานิพราหมณ์รับคำแล้ว ต่อมา ธนัญชานิพราหมณ์บริโภคอาหารเช้า
เสร็จแล้วภายหลังเวลาอาหาร ได้เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้สนทนา
ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว จึงนั่ง ณ ที่สมควร

การประพฤติไม่ชอบธรรม

ท่านพระสารีบุตรได้ถามธนัญชานิพราหมณ์ว่า “ธนัญชานิ ท่านเป็นผู้ไม่
ประมาทอยู่หรือ”
ธนัญชานิพราหมณ์ได้ตอบว่า “พระคุณเจ้าสารีบุตร โยมจะไม่ประมาทได้
อย่างไร เพราะโยมต้องเลี้ยงมารดาบิดา ต้องเลี้ยงบุตรและภรรยา ต้องเลี้ยงพวก
ทาสกรรมกรและคนรับใช้ ต้องทำกิจที่ควรทำแก่มิตรและอำมาตย์ ต้องทำกิจที่ควร
ทำแก่ญาติสาโลหิต ต้องทำกิจที่ควรทำแก่แขก ต้องทำบุญที่ควรแก่บุรพเปตชน
ต้องทำการบวงสรวงที่ควรทำแก่เทวดา ต้องสนองพระราชกรณียกิจของพระราชา
แม้กายนี้ก็ต้องบำรุงบำเรอ”
[๔๔๗] ท่านพระสารีบุตรถามว่า “ธนัญชานิ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่า
อย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้ประพฤติอธรรม๑ ประพฤติไม่สม่ำเสมอ เพราะเหตุ
แห่งมารดาบิดา นายนิรยบาลพึงฉุดคร่าเขาไปยังนรก เพราะเหตุแห่งการประพฤติ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๗. ธนัญชานิสูตร

อธรรมและประพฤติไม่สม่ำเสมอ เขาควรได้ข้ออ้างหรือว่า ‘ข้าพเจ้าเองประพฤติ
อธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่งมารดาบิดา ขอนายนิรยบาลอย่า
ฉุดคร่าข้าพเจ้าไปยังนรกเลย’ หรือมารดาบิดาของผู้นั้นจะพึงได้ข้ออ้างหรือว่า ‘คนนี้
ประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอเพราะเหตุแห่งข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอนาย
นิรยบาลอย่าฉุดคร่าเขาไปยังนรกเลย”
ธนัญชานิพราหมณ์ตอบว่า “พระคุณเจ้าสารีบุตร ไม่ใช่ ที่แท้คนนั้นถึงจะ
คร่ำครวญมากมาย นายนิรยบาลก็ต้องโยนเขาลงนรกจนได้”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้ประพฤติอธรรม ประพฤติ
ไม่สม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่งบุตรและภรรยา นายนิรยบาลจะพึงฉุดคร่าเขาไปยังนรก
เพราะเหตุแห่งการประพฤติอธรรมและประพฤติไม่สม่ำเสมอ เขาควรได้ข้ออ้างหรือว่า
‘ข้าพเจ้าเองประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่งบุตรและภรรยา
ขอนายนิรยบาลอย่าฉุดคร่าข้าพเจ้าไปยังนรกเลย’ หรือบุตรและภรรยาของผู้นั้นจะ
พึงได้ข้ออ้างหรือว่า ‘คนนี้ประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่ง
ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอนายนิรยบาลอย่าฉุดคร่าเขาไปยังนรกเลย”
“ไม่ใช่ พระคุณเจ้าสารีบุตร ที่แท้คนนั้นถึงจะคร่ำครวญมากมาย นายนิรยบาล
ก็ต้องโยนเขาลงนรกจนได้”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้ประพฤติอธรรม ประพฤติ
ไม่สม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่งทาสกรรมกรและคนรับใช้ นายนิรยบาลจะพึงฉุดคร่าเขา
ไปยังนรก เพราะเหตุแห่งการประพฤติอธรรมและประพฤติไม่สม่ำเสมอ เขาควรได้
ข้ออ้างหรือว่า ‘ข้าพเจ้าประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่ง
ทาสกรรมกรและคนรับใช้ ขอนายนิรยบาลอย่าฉุดคร่าข้าพเจ้าไปยังนรกเลย’ หรือพวก
ทาสกรรมกรและคนรับใช้ของผู้นั้นจะพึงได้ข้ออ้างหรือว่า ‘คนนี้ประพฤติอธรรม ประพฤติ
ไม่สม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่งข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอนายนิรยบาลอย่าฉุดคร่าเขาไปยัง
นรกเลย”
“ไม่ใช่ พระคุณเจ้าสารีบุตร ที่แท้คนนั้นถึงจะคร่ำครวญมากมาย นายนิรยบาล
ก็ต้องโยนเขาลงนรกจนได้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๗. ธนัญชานิสูตร

“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้ประพฤติอธรรม ประพฤติ
ไม่สม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่งมิตรและอำมาตย์ นายนิรยบาลจะพึงฉุดคร่าเขาไปยัง
นรก เพราะเหตุแห่งการประพฤติอธรรมและประพฤติไม่สม่ำเสมอ เขาควรได้ข้ออ้าง
หรือว่า ‘ข้าพเจ้าประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่งมิตรอำมาตย์
ขอนายนิรยบาลอย่าฉุดคร่าข้าพเจ้าไปยังนรกเลย’ หรือมิตรและอำมาตย์ของผู้นั้นจะ
พึงได้ข้ออ้างหรือว่า ‘คนนี้ประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่ง
ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอนายนิรยบาลอย่าฉุดคร่าเขาไปยังนรกเลย”
“ไม่ใช่ พระคุณเจ้าสารีบุตร ที่แท้คนนั้นถึงจะคร่ำครวญมากมาย นายนิรยบาล
ก็ต้องโยนเขาลงนรกจนได้”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้ประพฤติอธรรม ประพฤติ
ไม่สม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่งญาติสาโลหิต นายนิรยบาลจะพึงฉุดคร่าเขาไปยังนรก
เพราะเหตุแห่งการประพฤติอธรรมและประพฤติไม่สม่ำเสมอ เขาควรได้ข้ออ้างหรือ
ว่า ‘ข้าพเจ้าประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่งญาติสาโลหิต
ขอนายนิรยบาลอย่าฉุดคร่าข้าพเจ้าไปยังนรกเลย’ หรือญาติสาโลหิตของผู้นั้นจะพึง
ได้ข้ออ้างหรือว่า ‘คนนี้ประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่ง
ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอนายนิรยบาลอย่าฉุดคร่าเขาไปยังนรกเลย”
“ไม่ใช่ พระคุณเจ้าสารีบุตร ที่แท้คนนั้นถึงจะคร่ำครวญมากมาย นายนิรยบาล
ก็ต้องโยนเขาลงนรกจนได้”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้ประพฤติอธรรม ประพฤติ
ไม่สม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่งแขก นายนิรยบาลจะพึงฉุดคร่าเขาไปยังนรก เพราะเหตุ
แห่งการประพฤติอธรรมและประพฤติไม่สม่ำเสมอ เขาควรได้ข้ออ้างหรือว่า ‘ข้าพเจ้า
ประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่งแขก ขอนายนิรยบาลอย่าฉุดคร่า
ข้าพเจ้าไปยังนรกเลย’ หรือแขกของผู้นั้นจะพึงได้ข้ออ้างหรือว่า ‘คนนี้ประพฤติอธรรม
ประพฤติไม่สม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่งข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอนายนิรยบาลอย่าฉุดคร่า
เขาไปยังนรกเลย”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๗. ธนัญชานิสูตร

“ไม่ใช่ พระคุณเจ้าสารีบุตร ที่แท้คนนั้นถึงจะคร่ำครวญมากมาย นายนิรยบาลก็
ต้องโยนเขาลงนรกจนได้”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้ประพฤติอธรรม ประพฤติ
ไม่สม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่งบุรพเปตชน นายนิรยบาลจะพึงฉุดคร่าเขาไปยังนรก
เพราะเหตุแห่งการประพฤติอธรรมและประพฤติไม่สม่ำเสมอ เขาควรได้ข้ออ้างหรือ
ว่า ‘ข้าพเจ้าประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่งบุรพเปตชน
ขอนายนิรยบาลอย่าฉุดคร่าข้าพเจ้าไปยังนรกเลย’ หรือบุรพเปตชนของผู้นั้นจะพึงได้
ข้ออ้างหรือว่า ‘คนนี้ประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่งข้าพเจ้า
ทั้งหลาย ขอนายนิรยบาลอย่าฉุดคร่าเขาไปนรกเลย”
“ไม่ใช่ พระคุณเจ้าสารีบุตร ที่แท้คนนั้นถึงจะคร่ำครวญมากมาย นายนิรยบาล
ก็ต้องโยนเขาลงนรกจนได้”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้ประพฤติอธรรม ประพฤติ
ไม่สม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่งเทวดา นายนิรยบาลจะพึงฉุดคร่าเขาไปยังนรก เพราะเหตุ
แห่งการประพฤติอธรรมและประพฤติไม่สม่ำเสมอ เขาควรได้ข้ออ้างหรือว่า ‘ข้าพเจ้า
ประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่งเทวดา ขอนายนิรยบาลอย่า
ฉุดคร่าข้าพเจ้าไปยังนรกเลย’ หรือเทวดาของผู้นั้นจะพึงได้ข้ออ้างหรือว่า ‘คนนี้
ประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่งข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอนาย
นิรยบาลอย่าฉุดคร่าเขาไปยังนรกเลย”
“ไม่ใช่ พระคุณเจ้าสารีบุตร ที่แท้คนนั้นถึงจะคร่ำครวญมากมาย นายนิรยบาล
ก็ต้องโยนเขาลงนรกจนได้”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้ประพฤติอธรรม ประพฤติ
ไม่สม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่งพระราชา นายนิรยบาลจะพึงฉุดคร่าเขาไปยังนรก
เพราะเหตุแห่งการประพฤติอธรรมและประพฤติไม่สม่ำเสมอ เขาควรได้ข้ออ้าง
หรือว่า ‘ข้าพเจ้าประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่งพระราชา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๗. ธนัญชานิสูตร

ขอนายนิรยบาลอย่าฉุดคร่าข้าพเจ้าไปยังนรกเลย’ หรือพระราชาของผู้นั้นจะพึงได้ข้อ
อ้างหรือว่า ‘คนนี้ประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่งข้าพเจ้า
ทั้งหลาย ขอนายนิรยบาลอย่าฉุดคร่าเขาไปยังนรกเลย”
“ไม่ใช่ พระคุณเจ้าสารีบุตร ที่แท้คนนั้นถึงจะคร่ำครวญมากมาย นายนิรยบาล
ก็ต้องโยนเขาลงนรกจนได้”
ท่านพระสารีบุตรถามว่า “ธนัญชานิท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุคคล
บางคนในโลกนี้ประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่งการบำรุง
บำเรอกาย นายนิรยบาลจะพึงฉุดคร่าเขาไปยังนรก เพราะเหตุแห่งการประพฤติ
อธรรมและประพฤติไม่สม่ำเสมอ เขาควรได้ข้ออ้างหรือว่า ‘ข้าพเจ้าประพฤติอธรรม
ประพฤติไม่สม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่งการบำรุงบำเรอกาย ขอนายนิรยบาลอย่าฉุดคร่า
ข้าพเจ้าไปยังนรกเลย’ หรือชนเหล่าอื่นของผู้นั้นจะพึงได้ข้ออ้างหรือว่า ‘คนนี้
ประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่งการบำรุงบำเรอกาย ขอนาย
นิรยบาลอย่าฉุดคร่าเขาไปยังนรกเลย”
ธนัญชานิพราหมณ์ตอบว่า “พระคุณเจ้าสารีบุตร ไม่ใช่ ที่แท้คนนั้นถึงจะ
คร่ำครวญมากมาย นายนิรยบาลก็ต้องโยนเขาลงนรกจนได้”
[๔๔๘] ท่านพระสารีบุตรถามว่า “ธนัญชานิ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
บุคคลผู้ประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่งมารดาบิดากับบุคคล
ผู้ประพฤติธรรม๑ ประพฤติสม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่งมารดาบิดา บุคคลไหนจะประเสริฐ
กว่ากัน”
ธนัญชานิพราหมณ์ตอบว่า “พระคุณเจ้าสารีบุตร บุคคลผู้ประพฤติอธรรม
ประพฤติไม่สม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่งมารดาบิดา ไม่ประเสริฐ ส่วนบุคคลผู้
ประพฤติธรรม ประพฤติสม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่งมารดาบิดา ประเสริฐกว่า
แท้จริง การประพฤติธรรมและการประพฤติสม่ำเสมอ ประเสริฐกว่าการประพฤติ
อธรรมและการประพฤติไม่สม่ำเสมอ”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๗. ธนัญชานิสูตร

“การงานที่มีเหตุประกอบด้วยธรรม ซึ่งเป็นเหตุให้บุคคลสามารถเลี้ยงมารดา
บิดา ไม่ทำบาปกรรม และปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่เป็นบุญได้ ก็มีอยู่
ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุคคลผู้ประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ
เพราะเหตุแห่งบุตรและภรรยา กับบุคคลผู้ประพฤติธรรม ประพฤติสม่ำเสมอ
เพราะเหตุแห่งบุตรและภรรยา บุคคลไหนจะประเสริฐกว่ากัน”
“พระคุณเจ้าสารีบุตร บุคคลผู้ประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ
เพราะเหตุแห่งบุตรและภรรยา ไม่ประเสริฐ ส่วนบุคคลผู้ประพฤติธรรม ประพฤติ
สม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่งบุตรและภรรยา ประเสริฐกว่า แท้จริง การประพฤติธรรม
และการประพฤติสม่ำเสมอ ประเสริฐกว่าการประพฤติอธรรม และการประพฤติไม่
สม่ำเสมอ”
“การงานที่มีเหตุประกอบด้วยธรรม ซึ่งเป็นเหตุให้บุคคลสามารถเลี้ยงบุตร
และภรรยา ไม่ทำบาปกรรม และปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่เป็นบุญได้ ก็มีอยู่
ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุคคลผู้ประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ
เพราะเหตุแห่งทาสกรรมกรและคนรับใช้ กับบุคคลผู้ประพฤติธรรม ประพฤติสม่ำเสมอ
เพราะเหตุแห่งทาสกรรมกรและคนรับใช้ บุคคลไหนจะประเสริฐกว่ากัน”
“พระคุณเจ้าสารีบุตร บุคคลผู้ประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ เพราะเหตุ
แห่งทาสกรรมกรและคนรับใช้ ไม่ประเสริฐ ส่วนบุคคลผู้ประพฤติธรรม ประพฤติ
สม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่งทาสกรรมกรและคนรับใช้ ประเสริฐกว่า แท้จริง การประพฤติ
ธรรมและการประพฤติสม่ำเสมอประเสริฐกว่าการประพฤติอธรรมและการประพฤติ
ไม่สม่ำเสมอ”
“การงานที่มีเหตุประกอบด้วยธรรม ซึ่งเป็นเหตุให้บุคคลสามารถเลี้ยงทาส
กรรมกรและคนรับใช้ ไม่ทำบาปกรรม และปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่เป็นบุญได้ ก็มีอยู่
ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุคคลผู้ประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ
เพราะเหตุแห่งมิตรและอำมาตย์ กับบุคคลผู้ประพฤติธรรม ประพฤติสม่ำเสมอ
เพราะเหตุแห่งมิตรและอำมาตย์ บุคคลไหนจะประเสริฐกว่ากัน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๗. ธนัญชานิสูตร

“พระคุณเจ้าสารีบุตร บุคคลผู้ประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ เพราะ
เหตุแห่งมิตรและอำมาตย์ ไม่ประเสริฐ ส่วนบุคคลผู้ประพฤติธรรม ประพฤติ
สม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่งมิตรและอำมาตย์ ประเสริฐกว่า แท้จริง การประพฤติ
ธรรมและการประพฤติสม่ำเสมอ ประเสริฐกว่าการประพฤติอธรรมและการประพฤติ
ไม่สม่ำเสมอ”
“การงานที่มีเหตุประกอบด้วยธรรม ซึ่งเป็นเหตุให้บุคคลสามารถทำกรณียกิจ
แก่มิตรและอำมาตย์ ไม่ทำบาปกรรม และปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่เป็นบุญได้ ก็มีอยู่
ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุคคลผู้ประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ
เพราะเหตุแห่งญาติสาโลหิต กับบุคคลผู้ประพฤติธรรม ประพฤติสม่ำเสมอ เพราะ
เหตุแห่งญาติสาโลหิต บุคคลไหนจะประเสริฐกว่ากัน”
“พระคุณเจ้าสารีบุตร บุคคลผู้ประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ เพราะ
เหตุแห่งญาติสาโลหิต ไม่ประเสริฐ ส่วนบุคคลผู้ประพฤติธรรม ประพฤติสม่ำเสมอ
เพราะเหตุแห่งญาติสาโลหิตประเสริฐกว่า แท้จริง การประพฤติธรรมและการประพฤติ
สม่ำเสมอ ประเสริฐกว่าการประพฤติอธรรม และการประพฤติไม่สม่ำเสมอ”
“การงานที่มีเหตุประกอบด้วยธรรม ซึ่งเป็นเหตุให้บุคคลสามารถทำกรณียกิจ
แก่ญาติสาโลหิต ไม่ทำบาปกรรม และปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่เป็นบุญได้ ก็มีอยู่
ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุคคลผู้ประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ
เพราะเหตุแห่งแขก กับบุคคลผู้ประพฤติธรรม ประพฤติสม่ำเสมอ เพราะเหตุ
แห่งแขก บุคคลไหนจะประเสริฐกว่ากัน”
“พระคุณเจ้าสารีบุตร บุคคลผู้ประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ เพราะ
เหตุแห่งแขกไม่ประเสริฐ ส่วนบุคคลผู้ประพฤติธรรม ประพฤติสม่ำเสมอเพราะเหตุ
แห่งแขก ประเสริฐกว่า แท้จริง การประพฤติธรรมและการประพฤติสม่ำเสมอ
ประเสริฐกว่าการประพฤติอธรรมและการประพฤติไม่สม่ำเสมอ”
“การงานที่มีเหตุประกอบด้วยธรรม ซึ่งเป็นเหตุให้บุคคลสามารถทำกรณียกิจ
แก่แขก ไม่ทำบาปกรรม และปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่เป็นบุญได้ ก็มีอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๗. ธนัญชานิสูตร

ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุคคลผู้ประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ
เพราะเหตุแห่งบุรพเปตชน กับบุคคลผู้ประพฤติธรรม ประพฤติสม่ำเสมอ เพราะ
เหตุแห่งบุรพเปตชน บุคคลไหนจะประเสริฐกว่ากัน”
“พระคุณเจ้าสารีบุตร บุคคลผู้ประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ เพราะ
เหตุแห่งบุรพเปตชน ไม่ประเสริฐ ส่วนบุคคลผู้ประพฤติธรรม ประพฤติสม่ำเสมอ
เพราะเหตุแห่งบุรพเปตชนประเสริฐกว่า แท้จริง การประพฤติธรรมและการประพฤติ
สม่ำเสมอ ประเสริฐกว่าการประพฤติอธรรม และการประพฤติไม่สม่ำเสมอ”
“การงานที่มีเหตุประกอบด้วยธรรม ซึ่งเป็นเหตุให้บุคคลสามารถทำกรณียกิจ
แก่บุรพเปตชน ไม่ทำบาปกรรม และปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่เป็นบุญได้ ก็มีอยู่
ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุคคลผู้ประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ
เพราะเหตุแห่งเทวดา กับบุคคลผู้ประพฤติธรรม ประพฤติสม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่ง
เทวดา บุคคลไหนจะประเสริฐกว่ากัน”
“พระคุณเจ้าสารีบุตร บุคคลผู้ประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ เพราะ
เหตุแห่งเทวดาไม่ประเสริฐ ส่วนบุคคลผู้ประพฤติธรรม ประพฤติสม่ำเสมอ เพราะ
เหตุแห่งเทวดาประเสริฐกว่า แท้จริง การประพฤติธรรมและการประพฤติสม่ำเสมอ
ประเสริฐกว่าการประพฤติอธรรม และการประพฤติไม่สม่ำเสมอ”
“การงานที่มีเหตุประกอบด้วยธรรม ซึ่งเป็นเหตุให้บุคคลสามารถทำกรณียกิจ
แก่เทวดา ไม่ทำบาปกรรม และปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่เป็นบุญได้ ก็มีอยู่
ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุคคลผู้ประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ
เพราะเหตุแห่งพระราชา กับบุคคลผู้ประพฤติธรรม ประพฤติสม่ำเสมอ เพราะเหตุ
แห่งพระราชา บุคคลไหนจะประเสริฐกว่ากัน”
“พระคุณเจ้าสารีบุตร บุคคลผู้ประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ เพราะ
เหตุแห่งพระราชาไม่ประเสริฐ ส่วนบุคคลผู้ประพฤติธรรม ประพฤติสม่ำเสมอ
เพราะเหตุแห่งพระราชาประเสริฐกว่า แท้จริง การประพฤติธรรมและการประพฤติ
สม่ำเสมอ ประเสริฐกว่าการประพฤติอธรรมและการประพฤติไม่สม่ำเสมอ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๗. ธนัญชานิสูตร

“การงานที่มีเหตุประกอบด้วยธรรม ซึ่งเป็นเหตุให้บุคคลสามารถทำกรณียกิจ
แก่พระราชา ไม่ทำบาปกรรม และปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่เป็นบุญได้ ก็มีอยู่
ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุคคลผู้ประพฤติอธรรม ประพฤติไม่สม่ำเสมอ
เพราะเหตุแห่งการบำรุงบำเรอกาย กับบุคคลผู้ประพฤติธรรม ประพฤติสม่ำเสมอ
เพราะเหตุแห่งการบำรุงบำเรอกาย บุคคลไหนจะประเสริฐกว่ากัน”
ธนัญชานิพราหมณ์ตอบว่า “พระคุณเจ้าสารีบุตร บุคคลผู้ประพฤติอธรรม
ประพฤติไม่สม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่งการบำรุงบำเรอกาย ไม่ประเสริฐ ส่วนบุคคล
ผู้ประพฤติธรรม ประพฤติสม่ำเสมอ เพราะเหตุแห่งการบำรุงบำเรอกาย ประเสริฐกว่า
แท้จริง การประพฤติธรรมและการประพฤติสม่ำเสมอ ประเสริฐกว่าการประพฤติอธรรม
และการประพฤติไม่สม่ำเสมอ”
ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า “ธนัญชานิ การงานที่มีเหตุประกอบด้วยธรรม
ซึ่งเป็นเหตุให้บุคคลสามารถบำรุงบำเรอกาย ไม่ทำบาปกรรม และปฏิบัติตามข้อ
ปฏิบัติที่เป็นบุญได้ ก็มีอยู่”

ธนัญชานิพราหมณ์ป่วยหนัก

[๔๔๙] ครั้งนั้น ธนัญชานิพราหมณ์ชื่นชมยินดีภาษิตของท่านพระสารีบุตร
ลุกจากที่นั่งแล้วจากไป สมัยต่อมา ธนัญชานิพราหมณ์ป่วย มีทุกข์ เป็นไข้หนัก
จึงเรียกบุรุษคนหนึ่งมากล่าวว่า
“มานี่เถิดพ่อคุณ ท่านจงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ จงถวาย
อภิวาทพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้าตามคำของเราว่า ‘ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ธนัญชานิพราหมณ์ป่วย มีทุกข์ เป็นไข้หนัก ขอถวายอภิวาท
พระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า’ และจงเข้าไปหาท่านพระสารีบุตร
ถึงที่อยู่ แล้วไหว้เท้าของพระคุณเจ้าพระสารีบุตรด้วยเศียรเกล้าตามคำของเราว่า
‘พระคุณเจ้าผู้เจริญ ธนัญชานิพราหมณ์ป่วย มีทุกข์ เป็นไข้หนัก ขอไหว้เท้าของ
พระคุณเจ้าสารีบุตรด้วยเศียรเกล้า’ และจงกราบเรียนอย่างนี้ว่า ‘พระคุณเจ้าผู้เจริญ
ขอโอกาส ขอพระคุณเจ้าสารีบุตรจงอาศัยความอนุเคราะห์โปรดเข้าไปยังนิเวศน์ของ
ธนัญชานิพราหมณ์ด้วยเถิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๗. ธนัญชานิสูตร

บุรุษนั้นรับคำแล้ว ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
พระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธนัญชานิพราหมณ์ป่วย มีทุกข์ เป็นไข้หนัก เขาขอ
ถวายอภิวาทพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า’ และได้เข้าไปหาท่าน
พระสารีบุตรถึงที่อยู่ ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่สมควรแล้ว ได้กราบเรียนว่า “พระคุณเจ้าผู้เจริญ
ธนัญชานิพราหมณ์ป่วย มีทุกข์ เป็นไข้หนัก ขอไหว้เท้าของพระคุณเจ้าสารีบุตรด้วย
เศียรเกล้า และสั่งมาอย่างนี้ว่า ‘พระคุณเจ้าผู้เจริญ ขอโอกาส ขอพระคุณเจ้า
พระสารีบุตรจงอาศัยความอนุเคราะห์โปรดเข้าไปยังนิเวศน์ของธนัญชานิพราหมณ์
ด้วยเถิด”
ท่านพระสารีบุตรรับนิมนต์โดยอาการดุษณีภาพ

พระสารีบุตรเข้าเยี่ยมธนัญชานิพราหมณ์

[๔๕๐] ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร
เข้าไปยังนิเวศน์ของธนัญชานิพราหมณ์ นั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้แล้ว ได้กล่าวกับ
ธนัญชานิพราหมณ์ว่า “ธนัญชานิ ท่านยังพอทนได้หรือ(สบายดีหรือ) พอจะยัง
อัตภาพให้เป็นไปได้หรือ ทุกขเวทนาค่อยลดลง ไม่กำเริบขึ้นหรือ อาการค่อย
คลายลง ไม่รุนแรงขึ้นหรือ”
ธนัญชานิพราหมณ์กราบเรียนว่า “พระคุณเจ้าสารีบุตร โยมแทบทนไม่ไหว
จะยังอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้แล้ว ทุกขเวทนาของโยมกล้ายิ่งนัก มีแต่กำเริบ ไม่ลด
ลงเลย อาการมีแต่ยิ่งรุนแรงขึ้น ไม่คลายลงเลย คนที่แข็งแรงใช้เหล็กที่แหลมคมแทง
ที่ศีรษะ แม้ฉันใด โยมก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถูกลมที่แรงกล้าเสียดแทงศีรษะเหลือกำลัง
โยมแทบทนไม่ไหว จะยังอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้แล้ว ทุกขเวทนาของโยมกล้ายิ่งนัก
มีแต่กำเริบ ไม่ลดลงเลย อาการมีแต่ยิ่งรุนแรงขึ้น ไม่คลายลงเลย
คนที่แข็งแรงใช้เชือกหนังที่เหนียวขันที่ศีรษะ แม้ฉันใด โยมก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ถูกเวทนาที่มีประมาณยิ่งบีบคั้นที่ศีรษะ โยมแทบทนไม่ไหว จะยังอัตภาพให้เป็นไป
ไม่ได้แล้ว ทุกขเวทนาของโยมกล้ายิ่งนัก มีแต่กำเริบ ไม่ลดลงเลย อาการมีแต่ยิ่ง
รุนแรงขึ้น ไม่คลายลงเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๗. ธนัญชานิสูตร

คนฆ่าโคหรือลูกมือของคนฆ่าโคผู้ชำนาญ ใช้มีดแล่เนื้อที่คมกรีดท้อง แม้ฉันใด
โยมก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถูกลมที่มีประมาณยิ่งเสียดแทงท้องอยู่ โยมแทบทนไม่ไหว
จะยังอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้แล้ว ทุกขเวทนาของโยมกล้ายิ่งนัก มีแต่กำเริบ ไม่คลาย
ลงเลย อาการมีแต่ยิ่งรุนแรงขึ้น ไม่คลายลงเลย
พระคุณเจ้าสารีบุตร คนที่แข็งแรง ๒ คนช่วยกันจับคนที่อ่อนแอกว่าที่แขน
คนละข้างย่างไว้ที่หลุมถ่านเพลิง แม้ฉันใด โยมก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีกายถูกความ
เร่าร้อนมีประมาณยิ่งเผาลนอยู่ โยมแทบทนไม่ไหว จะยังอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้แล้ว
ทุกขเวทนาของโยมกล้ายิ่งนัก มีแต่กำเริบ ไม่ลดลงเลย อาการมีแต่ยิ่งรุนแรงขึ้น
ไม่คลายลงเลย”

ทุคติภูมิ-สุคติภูมิ

[๔๕๑] ท่านพระสารีบุตรถามว่า “ธนัญชานิ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
นรกกับกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน อย่างไหนจะประเสริฐกว่ากัน”
ธนัญชานิพราหมณ์ตอบว่า “พระคุณเจ้าสารีบุตร กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานประเสริฐ
กว่านรก ขอรับ”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานกับเปรตวิสัย อย่างไหน
จะประเสริฐกว่ากัน”
“เปรตวิสัยประเสริฐกว่ากำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ขอรับ”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เปรตวิสัยกับมนุษย์ อย่างไหนจะประเสริฐ
กว่ากัน”
“มนุษย์ประเสริฐกว่าเปรตวิสัย ขอรับ”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร มนุษย์กับเทพชั้นจาตุมหาราช อย่างไหน
จะประเสริฐกว่ากัน”
“เทพชั้นจาตุมหาราชประเสริฐกว่ามนุษย์ ขอรับ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๗. ธนัญชานิสูตร

“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เทพชั้นจาตุมหาราชกับเทพชั้นดาวดึงส์
อย่างไหนจะประเสริฐกว่ากัน”
“เทพชั้นดาวดึงส์ประเสริฐกว่ากว่าเทพชั้นจาตุมหาราช ขอรับ”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เทพชั้นดาวดึงส์กับเทพชั้นยามา อย่างไหน
จะประเสริฐกว่ากัน”
“เทพชั้นยามาประเสริฐกว่าเทพชั้นดาวดึงส์ ขอรับ”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เทพชั้นยามากับเทพชั้นดุสิต อย่างไหนจะ
ประเสริฐกว่ากัน”
“เทพชั้นดุสิตประเสริฐกว่าเทพชั้นยามา ขอรับ”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เทพชั้นดุสิตกับเทพชั้นนิมมานรดี อย่างไหน
จะประเสริฐกว่ากัน”
“เทพชั้นนิมมานรดีประเสริฐกว่าเทพชั้นดุสิต ขอรับ”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เทพชั้นนิมมานรดีกับเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดี
อย่างไหนจะประเสริฐกว่ากัน”
“เทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดีประเสริฐกว่าเทพชั้นนิมมานรดี ขอรับ”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดีกับพรหมโลก
อย่างไหนจะประเสริฐกว่ากัน”
ธนัญชานิพราหมณ์ตอบว่า “พระคุณเจ้าสารีบุตรกล่าวว่า ‘พรหมโลก’
พระคุณเจ้าสารีบุตรกล่าวว่า ‘พรหมโลก”
ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรมีความคิดว่า “พราหมณ์เหล่านี้น้อมใจไปใน
พรหมโลก ทางที่ดี เราควรแสดงทางเพื่อเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพรหมแก่
ธนัญชานิพราหมณ์” จึงกล่าวว่า “ธนัญชานิ เราจักแสดงทางเพื่อเข้าถึงความเป็น
ผู้อยู่ร่วมกับพรหม ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๗. ธนัญชานิสูตร

ธนัญชานิพราหมณ์รับคำแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า “ธนัญชานิ
ทางเพื่อเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพรหม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ...
ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุก
หมู่เหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร
ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ นี้เป็นทางเพื่อเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพรหม
[๔๕๒] ธนัญชานิ อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีกรุณาจิต ฯลฯ
มีมุทิตาจิต ฯลฯ
มีอุเบกขาจิต แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศ
เบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถาน
ด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
นี้เป็นทางเพื่อเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพรหม”
ธนัญชานิพราหมณ์กล่าวว่า “พระคุณเจ้าสารีบุตร ถ้าเช่นนั้น ขอพระคุณท่าน
จงถวายอภิวาทพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า ตามคำของโยมว่า
‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธนัญชานิพราหมณ์ป่วย มีทุกข์ เป็นไข้หนัก เขาขอถวาย
อภิวาทพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า”
ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรทำให้ธนัญชานิพราหมณ์ดำรงอยู่ในพรหมโลกชั้นต่ำ
ในเมื่อมีกิจที่จะพึงทำให้ยิ่งขึ้นไป ลุกจากอาสนะแล้วจากไป ลำดับนั้น เมื่อท่านพระ
สารีบุตรจากไปไม่นาน ธนัญชานิพราหมณ์ก็ตายไปบังเกิดในพรหมโลก
[๔๕๓] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย สารีบุตรนี้ทำให้ธนัญชานิพราหมณ์ดำรงอยู่ในพรหมโลกชั้นต่ำ ในเมื่อ
มีกิจที่จะพึงทำให้ยิ่งขึ้นไป ลุกจากอาสนะแล้วจากไป”
ต่อมา ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
พระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ธนัญชานิพราหมณ์ป่วย มีทุกข์ เป็นไข้หนัก เขาขอถวายอภิวาทพระยุคลบาท
ของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๘. วาเสฏฐสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สารีบุตร ทำไม เธอจึงทำให้ธนัญชานิพราหมณ์
ดำรงอยู่ในพรหมโลกชั้นต่ำในเมื่อมีกิจที่จะพึงทำให้ยิ่งขึ้นไป แล้วลุกจากอาสนะจากไป
เสียเล่า”
ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์คิดอย่างนี้ว่า
‘พราหมณ์เหล่านี้น้อมใจไปในพรหมโลก ทางที่ดี เราควรแสดงทางเพื่อเข้าถึงความ
เป็นผู้อยู่ร่วมกับพรหมเถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สารีบุตร ธนัญชานิพราหมณ์ตายไปบังเกิดในพรหม-
โลกแล้ว” ดังนี้แล

ธนัญชานิสูตรที่ ๗ จบ

๘. วาเสฏฐสูตร
ว่าด้วยมาณพชื่อวาเสฏฐะ

[๔๕๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ราวป่าอิจฉานังคละ ใกล้หมู่บ้าน
ชื่ออิจฉานังคละ สมัยนั้น ในหมู่บ้านอิจฉานังคละ มีพราหมณมหาศาลผู้มีชื่อเสียง
มาพักอยู่หลายคน คือ จังกีพราหมณ์ ตารุกขพราหมณ์ โปกขรสาติพราหมณ์
ชานุสโสณิพราหมณ์ โตเทยยพราหมณ์๑ และยังมีพราหมณมหาศาลผู้มีชื่อเสียงคน
อื่น ๆ อีก ครั้งนั้น เมื่อมาณพชื่อวาเสฏฐะกับมาณพชื่อภารทวาชะ เดินเที่ยวเล่นอยู่
ได้สนทนากันค้างไว้ อย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรบุคคลจึงจะชื่อว่า
เป็นพราหมณ์”
ภารทวาชมาณพกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ บุคคลเป็นผู้มีชาติกำเนิดมาดี
ทั้ง ๒ ฝ่าย คือทั้งฝ่ายมารดาและฝ่ายบิดา ถือปฏิสนธิบริสุทธิ์ดีตลอด ๗ ชั่ว
บรรพบุรุษ ไม่มีใครจะคัดค้านตำหนิได้เพราะอ้างถึงชาติตระกูล ด้วยเหตุเพียงเท่านี้
บุคคลจึงชื่อว่าเป็นพราหมณ์”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๘. วาเสฏฐสูตร

วาเสฏฐมาณพกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ บุคคลเป็นผู้มีศีลและถึงพร้อมด้วยวัตร
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ บุคคลจึงชื่อว่าเป็นพราหมณ์”
ภารทวาชมาณพไม่อาจให้วาเสฏฐมาณพยินยอมได้ ถึงวาเสฏฐมาณพก็ไม่อาจ
ให้ภารทวาชมาณพยินยอมได้เหมือนกัน ลำดับนั้น วาเสฏฐมาณพได้เรียกภารทวาช-
มาณพมากล่าวว่า
“พระสมณโคดมผู้เป็นศากยบุตรนี้ เสด็จออกผนวชจากศากยตระกูล ประทับ
อยู่ ณ ราวป่าอิจฉานังคละ ใกล้หมู่บ้านชื่ออิจฉานังคละ ท่านพระโคดมพระองค์นั้นมี
กิตติศัพท์อันงามขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของ
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ มาเถิด ท่าน
ภารทวาชะ เราทั้งหลายจักเข้าไปเฝ้าพระสมณโคดมถึงที่ประทับแล้วทูลถามเนื้อความนี้
พระสมณโคดมจักตรัสตอบแก่เราทั้งหลายอย่างไร เราทั้งหลายจักทรงจำเนื้อความนั้น
ไว้อย่างนั้น”
ภารทวาชมาณพรับคำแล้ว
[๔๕๕] ลำดับนั้น วาเสฏฐมาณพและภารทวาชมาณพได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว
นั่ง ณ ที่สมควร วาเสฏฐมาณพได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
“ข้าพระองค์ทั้งสองเป็นผู้ทรงไตรเพท๑
อันอาจารย์อนุญาตแล้ว
และปฏิญญาได้เองว่า ‘เป็นผู้ได้ศึกษาแล้ว’
ข้าพระองค์เป็นศิษย์ท่านโปกขรสาติพราหมณ์
มาณพผู้นี้เป็นศิษย์ท่านตารุกขพราหมณ์


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๘. วาเสฏฐสูตร

ข้าพระองค์ทั้งสองรู้จบบท
ที่พราหมณ์ผู้ทรงไตรเพทบอกแล้ว
เป็นผู้มีข้อพยากรณ์แม่นยำตามบท
เช่นเดียวกันกับอาจารย์ในการกล่าวมนตร์
ข้าแต่พระโคดม ข้าพระองค์ทั้งสอง
โต้เถียงกันในการกล่าวถึงชาติกำเนิด
คือภารทวาชมาณพกล่าวว่า
‘บุคคลชื่อว่าเป็นพราหมณ์เพราะชาติกำเนิด’
ส่วนข้าพระองค์กล่าวว่า
‘บุคคลชื่อว่าเป็นพราหมณ์เพราะกรรม๑’
พระองค์ผู้มีพระจักษุขอจงทรงทราบอย่างนี้
ข้าพระองค์ทั้งสองนั้น
ไม่อาจจะให้กันและกันยินยอมได้
จึงได้มาเฝ้าเพื่อทูลถามพระผู้มีพระภาค
ผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้ปรากฏด้วยอาการอย่างนี้
ชนทั้งหลายเมื่อจะเข้าไปประนมมือถวายบังคม
ก็จักถวายอภิวาทพระโคดมได้ทั่วโลก
เหมือนดวงจันทร์เต็มดวงฉะนั้น
ข้าพระองค์ขอทูลถามพระโคดม
ผู้เป็นดวงจักษุอุบัติขึ้นในโลกว่า
‘บุคคลชื่อว่าเป็นพราหมณ์เพราะชาติกำเนิด
หรือบุคคลชื่อว่าเป็นพราหมณ์เพราะกรรม’
ขอจงตรัสบอกแก่ข้าพระองค์ทั้งสองผู้ไม่ทราบ
โดยประการที่จะทราบถึงบุคคลผู้เป็นพราหมณ์นั้นเถิด”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๘. วาเสฏฐสูตร

พราหมณ์ในพระพุทธศาสนา

[๔๕๖] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบด้วยคาถาว่า
“วาเสฏฐะ เราจะพยากรณ์ถึงความพิสดาร
แห่งชาติกำเนิดของสัตว์ทั้งหลายตามลำดับความเหมาะสมแก่เธอ
เพราะว่าสัตว์ทั้งหลายมีชาติกำเนิดแตกต่างกันหลายเผ่าพันธุ์
เธอทั้งหลายรู้จักหญ้าและต้นไม้
แต่หญ้าและต้นไม้ก็ไม่ยอมรับว่าเป็นหญ้าเป็นต้นไม้
หญ้าและต้นไม้เหล่านั้นต่างมีรูปร่างสัณฐานสำเร็จมาแต่กำเนิด
เพราะธรรมชาติของพวกมันต่างกัน
ต่อไป เธอทั้งหลายจงรู้จักแมลงคือตั๊กแตน
ตลอดจนถึงพวกมดดำ มดแดง
สัตว์เหล่านั้นต่างมีรูปร่างสัณฐานไปตามกำเนิด
เพราะกำเนิดของพวกมันต่างกัน
เธอทั้งหลายจงรู้จักสัตว์ ๔ เท้าทั้งขนาดเล็กขนาดใหญ่
สัตว์เหล่านั้นต่างมีรูปร่างสัณฐานไปตามกำเนิด
เพราะกำเนิดของพวกมันต่างกัน
เธอทั้งหลายจงรู้จักพวกสัตว์เลื้อยคลาน
ที่ใช้ท้องแทนเท้า มีสันหลังยาว
สัตว์เหล่านั้นต่างมีรูปร่างสัณฐานไปตามกำเนิด
เพราะกำเนิดของพวกมันต่างกัน
ต่อไป เธอทั้งหลายจงรู้จักปลา และสัตว์น้ำ
ประเภทอื่นที่เกิดเที่ยวหากินอยู่ในน้ำ
สัตว์เหล่านั้นต่างมีรูปร่างสัณฐานไปตามกำเนิด
เพราะกำเนิดของพวกมันต่างกัน
ต่อไป เธอทั้งหลายจงรู้จักสัตว์ปีกที่บินไปในอากาศ
สัตว์เหล่านั้นต่างมีรูปร่างสัณฐานไปตามกำเนิด
เพราะกำเนิดของพวกมันต่างกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๘. วาเสฏฐสูตร

รูปร่างสัณฐานของพวกสัตว์เหล่านี้
ต่างกันตามกำเนิดมากมาย ฉันใด
แต่ในหมู่มนุษย์ ไม่มีรูปร่างสัณฐานแตกต่างกัน
ไปตามกำเนิดมากมาย ฉันนั้น
คือ ผมก็ไม่แตกต่างกัน
ศีรษะ ใบหู นัยน์ตา ใบหน้า จมูก ริมฝีปาก
คิ้ว คอ บ่า ท้อง หลัง สะโพก อก ซอกอวัยวะ
อวัยวะสืบพันธุ์ มือ เท้า นิ้วมือ เล็บ แข้ง ขาอ่อน
ผิวพรรณ หรือเสียงก็ไม่แตกต่างกัน
ในหมู่มนุษย์ จึงไม่มีรูปร่างสัณฐานตามกำเนิด
แตกต่างกันมากมายเหมือนในกำเนิดอื่น ๆ เลย
[๔๕๗] ในหมู่มนุษย์ ในสรีระของแต่ละคน
ไม่มีความแตกต่างกันเฉพาะตัว
การเรียกกันในหมู่มนุษย์ เขาเรียกตามบัญญัติ
วาเสฏฐะ เธอจงรู้อย่างนี้ว่า
‘ในหมู่มนุษย์ ใครก็ตามอาศัยโครักขกรรมเลี้ยงชีพ
ผู้นั้นเรียกว่า ชาวนา ไม่เรียกว่า พราหมณ์’
วาเสฏฐะ เธอจงรู้อย่างนี้ว่า
‘ในหมู่มนุษย์ ใครก็ตามเลี้ยงชีพด้วยศิลปะหลายอย่าง
ผู้นั้นเรียกว่า ช่างศิลปะ ไม่เรียกว่า พราหมณ์’
วาเสฏฐะ เธอจงรู้อย่างนี้ว่า
‘ในหมู่มนุษย์ ใครก็ตามอาศัยการค้าขายเลี้ยงชีพ
ผู้นั้นเรียกว่า พ่อค้า ไม่เรียกว่า พราหมณ์’
วาเสฏฐะ เธอจงรู้อย่างนี้ว่า
‘ในหมู่มนุษย์ ใครก็ตามเลี้ยงชีพด้วยการรับใช้คนอื่น
ผู้นั้นเรียกว่า คนรับใช้ ไม่เรียกว่า พราหมณ์’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๘. วาเสฏฐสูตร

วาเสฏฐะ เธอจงรู้อย่างนี้ว่า
‘ในหมู่มนุษย์ ใครก็ตามอาศัยทรัพย์ที่ลักเขามาเลี้ยงชีพ
ผู้นั้นเรียกว่า โจร ไม่เรียกว่า พราหมณ์’
วาเสฏฐะ เธอจงรู้อย่างนี้ว่า
‘ในหมู่มนุษย์ ใครก็ตามอาศัยลูกศร และศัสตราเลี้ยงชีพ
ผู้นั้นเรียกว่า ทหารอาชีพ ไม่เรียกว่า พราหมณ์’
วาเสฏฐะ เธอจงรู้อย่างนี้ว่า
‘ในหมู่มนุษย์ ใครก็ตามเลี้ยงชีพด้วยการเป็นปุโรหิต
ผู้นั้นเรียกว่า ผู้ประกอบพิธีกรรม ไม่เรียกว่า พราหมณ์’
วาเสฏฐะ เธอจงรู้อย่างนี้ว่า
‘ในหมู่มนุษย์ ใครก็ตามปกครองท้องถิ่นและแว่นแคว้น
ผู้นั้นเรียกว่า พระราชา ไม่เรียกว่า พราหมณ์’
เราไม่เรียกบุคคลผู้ถือกำเนิด
เกิดในครรภ์มารดาว่า เป็นพราหมณ์
ถ้าเขายังเป็นผู้มีกิเลสเครื่องกังวลอยู่
เขาเป็นเพียงผู้ชื่อว่าโภวาทีเท่านั้น
เราเรียกผู้หมดกิเลสเครื่องกังวล
หมดความยึดมั่นถือมั่นนั้นว่า เป็นพราหมณ์
[๔๕๘] เราเรียกผู้ตัดสังโยชน์๑ได้ทั้งหมด
ไม่หวาดสะดุ้ง พ้นจากกิเลสเครื่องข้อง
ปราศจากโยคะว่า เป็นพราหมณ์
เราเรียกผู้ตัดชะเนาะคือความโกรธ
ตัดเชือกคือตัณหา ตัดหัวเงื่อนคือทิฏฐิ ๖๒


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๘. วาเสฏฐสูตร

พร้อมทั้งสายโยงคืออนุสัยกิเลสได้
ถอดลิ่มสลักคืออวิชชา
ตรัสรู้อริยสัจแล้วว่า เป็นพราหมณ์
เราเรียกผู้ไม่ประทุษร้าย อดกลั้นต่อคำด่า
การทุบตี และการจองจำ มีขันติธรรมเป็นพลัง
มีพลังใจเข้มแข็งว่า เป็นพราหมณ์
เราเรียกผู้ไม่โกรธ มีวัตรเคร่งครัด มีศีลบริสุทธิ์
ไม่มีตัณหาฟูใจขึ้นอีก ฝึกตนได้แล้ว
มีสรีระเป็นชาติสุดท้ายว่า เป็นพราหมณ์
เราเรียกผู้ไม่ติดใจในกามทั้งหลาย
เหมือนหยาดน้ำไม่ติดบนใบบัว เหมือนเมล็ดพันธุ์ผักกาด
ไม่ติดอยู่บนปลายเหล็กแหลมนั้นว่า เป็นพราหมณ์
ในศาสนานี้ เราเรียกผู้ที่รู้ชัด
ถึงภาวะสิ้นกองทุกข์ของตน
ปลงขันธภาระลงได้แล้ว
ปราศจากกิเลสทั้งปวงว่า เป็นพราหมณ์
เราเรียกผู้มีปัญญาลึกซึ้ง เป็นนักปราชญ์
ฉลาดในทางและมิใช่ทางบรรลุอรหัตตผล
ที่เป็นประโยชน์สูงสุดแล้วว่า เป็นพราหมณ์
เราเรียกบุคคลผู้ไม่คลุกคลีกับคฤหัสถ์
และบรรพชิตทั้ง ๒ ฝ่าย เที่ยวจาริกไป
ไร้กังวล มีความมักน้อยว่า เป็นพราหมณ์
เราเรียกบุคคลผู้งดเว้นจากการเบียดเบียน
ทำร้ายสัตว์ทุกจำพวก ทั้งที่สะดุ้ง และที่มั่นคง
ไม่ฆ่าเอง ไม่ใช้ผู้อื่นให้ฆ่าว่า เป็นพราหมณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๘. วาเสฏฐสูตร

เราเรียกบุคคลผู้ไม่คิดร้าย
เมื่อบุคคลอื่นยังคิดร้าย
ผู้สงบระงับเมื่อบุคคลอื่นยังมีอาชญาในตน
ผู้ไม่ยึดมั่นถือมั่นเมื่อบุคคลอื่น
ยังมีความยึดมั่นถือมั่นอยู่ว่า เป็นพราหมณ์
เราเรียกบุคคลผู้ทำราคะ โทสะ โมหะ
มานะ และมักขะ ให้ตกไปจากจิตได้
เหมือนเมล็ดพันธุ์ผักกาดตกไป
จากปลายเหล็กแหลมว่า เป็นพราหมณ์
[๔๕๙] เราเรียกบุคคลผู้เปล่งถ้อยคำไม่หยาบ
ให้รู้ความกันได้เป็นคำจริง
ซึ่งไม่เป็นเหตุทำใคร ๆ ให้ข้องอยู่ว่า เป็นพราหมณ์
เราเรียกบุคคลผู้ไม่ถือเอาสิ่งของ
ที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ในโลกนี้
ไม่ว่าจะยาวหรือสั้น จะเล็กหรือใหญ่
จะสวยงามหรือไม่สวยงามก็ตามว่า เป็นพราหมณ์
เราเรียกบุคคลผู้ไม่มีความหวัง
อยากเป็นโน่นเป็นนี่ ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
หมดความทะยานอยากโดยสิ้นเชิง
มีจิตหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวงแล้วว่า เป็นพราหมณ์
เราเรียกบุคคลผู้ไม่มีความอาลัยคือตัณหา
รู้แจ้งชัดจนหมดความสงสัย มีจิตน้อมไปสู่อมตธรรม
จนบรรลุได้ในที่สุดว่า เป็นพราหมณ์
เราเรียกบุคคลผู้ละบุญและบาปทั้ง ๒ ได้
ล่วงพ้นกิเลสเครื่องข้องแล้ว หมดความเศร้าโศก
ปราศจากธุลีคือกิเลส เป็นผู้บริสุทธิ์ว่า เป็นพราหมณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๘. วาเสฏฐสูตร

เราเรียกบุคคลผู้หมดสิ้นตัณหา
ที่นำไปเกิดในภพทั้ง ๓ มีจิตไม่มัวหมอง
ผ่องใสบริสุทธิ์ดุจดวงจันทร์วันเพ็ญ
ที่ปราศจากเมฆหมอกว่า เป็นพราหมณ์
เราเรียกบุคคลผู้ข้ามพ้นทางอ้อมคือราคะ
ทางที่เป็นหลุมเป็นบ่อคือกิเลส สังสารวัฏฏ์ และโมหะได้แล้ว
เป็นผู้ข้ามโอฆะไปถึงฝั่ง มีจิตเพ่งพินิจอยู่เสมอ
ไม่หวั่นไหว หมดความสงสัยว่า เป็นพราหมณ์
เราเรียกบุคคลในโลกนี้ ผู้ละกามทั้งหลาย
บวชเป็นบรรพชิต สิ้นภวตัณหาแล้วว่า เป็นพราหมณ์
เราเรียกบุคคลในโลกนี้ ผู้ละตัณหาได้แล้ว
บวชเป็นบรรพชิต สิ้นกามและภพแล้วว่า เป็นพราหมณ์
เราเรียกบุคคลผู้ละโยคะที่เป็นของมนุษย์แล้ว
ล่วงพ้นโยคะที่เป็นของทิพย์เสียได้
มีจิตหลุดพ้นจากโยคะทั้งหมดว่า เป็นพราหมณ์
เราเรียกบุคคลผู้ละได้ทั้งความยินดี๑ และความยินร้าย๒
เป็นผู้สงบเยือกเย็น ปราศจากอุปธิกิเลส
ครอบงำโลกคือขันธ์ทั้งหมดได้ มีความเพียรว่า เป็นพราหมณ์
เราเรียกบุคคลผู้รู้ชัดการจุติและการเกิด
ของสัตว์ทั้งหลายโดยอาการทั้งปวง
เป็นผู้ไม่ติดข้องดำเนินไปด้วยดี
รู้แจ้งอริยสัจว่า เป็นพราหมณ์


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๘. วาเสฏฐสูตร

เราเรียกบุคคลผู้ที่เทวดา คนธรรพ์ และมนุษย์
ผู้ไม่สามารถหยั่งรู้ถึงคติได้ สิ้นอาสวะแล้ว
เป็นพระอรหันต์ว่า เป็นพราหมณ์
เราเรียกบุคคลผู้ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล
ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน หมดความกังวล
ไม่มีความยึดมั่นถือมั่นว่า เป็นพราหมณ์
เราเรียกบุคคลผู้องอาจ ประเสริฐ
มีความเพียร แสวงหาคุณธรรมอันยิ่งใหญ่
ชนะมารได้แล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องทำให้หวั่นไหว
ชำระล้างกิเลสได้แล้ว รู้แจ้งอริยสัจว่า เป็นพราหมณ์
เราเรียกบุคคลผู้ระลึกถึงอดีตชาติได้ เห็นสวรรค์และนรก
ถึงความสิ้นไปแห่งชาติแล้วว่า เป็นพราหมณ์
[๔๖๐] อันที่จริง นามและโคตรที่เขากำหนดให้กันนั้น
เป็นเพียงสมมติบัญญัติในโลก
นามและโคตรปรากฏอยู่ได้ เพราะรู้ตามกันมา
ญาติสาโลหิตกำหนดไว้ในการเกิดนั้น ๆ
นามและโคตรที่กำหนดเรียกกันนี้
เป็นความเห็นที่ฝังแน่นอยู่ในใจมานาน
ของพวกคนผู้ไม่รู้ความจริง
เมื่อไม่รู้จึงกล่าวบุคคลว่า เป็นพราหมณ์โดยกำเนิด
บุคคลเป็นพราหมณ์เพราะชาติตระกูลก็หาไม่
หรือไม่เป็นพราหมณ์เพราะชาติตระกูลก็หาไม่
บุคคลเป็นพราหมณ์ก็เพราะกรรม
หรือไม่เป็นพราหมณ์ก็เพราะกรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๘. วาเสฏฐสูตร

บุคคลเป็นชาวนาก็เพราะกรรม
เป็นช่างศิลปะก็เพราะกรรม
เป็นพ่อค้าก็เพราะกรรม
เป็นผู้รับใช้ก็เพราะกรรม
บุคคลแม้เป็นโจรก็เพราะกรรม
เป็นทหารอาชีพก็เพราะกรรม
เป็นปุโรหิตก็เพราะกรรม
แม้เป็นพระราชา ก็เพราะกรรมทั้งนั้น
บัณฑิตทั้งหลายผู้มีปกติเห็นปฏิจจสมุปบาท
มีความรู้ความเข้าใจในกรรมและผลของกรรม
ย่อมพิจารณาเห็นกรรม ตามความเป็นจริงอย่างนี้
สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม
หมู่สัตว์เป็นไปตามกรรม
สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นเครื่องผูกพัน
เปรียบเหมือนรถมีหมุดเป็นเครื่องตรึงไว้แล่นไปอยู่
บุคคลเป็นพราหมณ์ได้ เพราะกรรมนี้
คือ ตบะ พรหมจรรย์ สัญญมะ ทมะ๑
นี้ เป็นคุณธรรมสูงสุดของพราหมณ์
วาเสฏฐะ เธอจงรู้อย่างนี้ว่า
‘บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชา ๓ สงบ สิ้นภพใหม่แล้ว
เป็นทั้งพรหม และท้าวสักกะของบัณฑิตทั้งหลายผู้รู้แจ้งอยู่”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๙. สุภสูตร

[๔๖๑] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว วาเสฏฐมาณพและภารทวาช-
มาณพได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของพระองค์
ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก
พระองค์ทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของ
ที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า ‘คนมี
ตาดีจักเห็นรูปได้’ ข้าพระองค์ทั้งสองนี้ขอถึงท่านพระโคดม พร้อมทั้งพระธรรม
และพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ทั้งสองว่าเป็นอุบาสก
ผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต” ดังนี้แล

วาเสฏฐสูตรที่ ๘ จบ

๙. สุภสูตร
ว่าด้วยมาณพชื่อสุภะ

[๔๖๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้นแล มาณพชื่อสุภะผู้เป็นบุตรของโตเทยยพราหมณ์
อาศัยอยู่ในนิเวศน์ของคหบดีผู้หนึ่งในกรุงสาวัตถี ด้วยกรณียกิจบางอย่าง ครั้งนั้น
สุภมาณพผู้เป็นบุตรของโตเทยยพราหมณ์ได้กล่าวกับคหบดีผู้ที่ตนอาศัยอยู่ในนิเวศน์ว่า
“ท่านคหบดี ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ว่า ‘กรุงสาวัตถีไม่ว่างจากพระ-
อรหันต์เลย’ วันนี้ เราควรเข้าไปนั่งใกล้สมณะหรือพราหมณ์คนใดดีหนอ”
คหบดีกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ท่านจงเข้าไปนั่งใกล้พระผู้มีพระภาค
พระองค์นั้นเถิด”
ลำดับนั้น สุภมาณพผู้เป็นบุตรของโตเทยยพราหมณ์รับคำแล้ว เข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึก
ถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๙. สุภสูตร

“ท่านพระโคดม พราหมณ์ทั้งหลายกล่าวกันอย่างนี้ว่า ‘คฤหัสถ์เป็นผู้ยัง
กุศลธรรมเครื่องนำออกจากทุกข์ให้สำเร็จ บรรพชิตไม่ยังกุศลธรรมนั้นให้สำเร็จ ในเรื่องนี้
ท่านพระโคดมจะตรัสว่าอย่างไร”
[๔๖๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มาณพ ในเรื่องนี้เราแยกกล่าว มิได้
รวมกล่าว เราไม่สรรเสริญการปฏิบัติผิดของคฤหัสถ์หรือบรรพชิต จริงอยู่ คฤหัสถ์
หรือบรรพชิตผู้ปฏิบัติผิด ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ยังกุศลธรรมเครื่องนำออกจากทุกข์ให้สำเร็จ
เพราะเหตุแห่งอธิกรณ์คือการปฏิบัติผิด
มาณพ เรากล่าวสรรเสริญการปฏิบัติชอบของคฤหัสถ์หรือบรรพชิต จริงอยู่
คฤหัสถ์หรือบรรพชิตผู้ปฏิบัติชอบ ชื่อว่าเป็นผู้ยังกุศลธรรมเครื่องนำออกจากทุกข์
ให้สำเร็จ เพราะเหตุแห่งอธิกรณ์คือการปฏิบัติชอบ”

ฐานะการงานของคฤหัสถ์และบรรพชิต

สุภมาณพทูลถามว่า “ท่านพระโคดม พราหมณ์ทั้งหลายกล่าวกันอย่างนี้ว่า
‘ฐานะแห่งการงานของฆราวาสมีความต้องการมาก มีกิจมาก มีเรื่องมาก มีความ
เพียรมาก มีผลมาก (ส่วน)ฐานะแห่งการงานฝ่ายบรรพชิตมีความต้องการน้อย
มีกิจน้อย มีเรื่องน้อย มีความเพียรน้อย และมีผลน้อย ในเรื่องนี้ ท่านพระโคดมจะ
ตรัสว่าอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “มาณพ แม้ในเรื่องนี้ เราก็แยกกล่าว มิได้
รวมกล่าว ฐานะแห่งการงานที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีเรื่องมาก มีความ
เพียรมาก เมื่อวิบัติย่อมมีผลน้อย ฐานะแห่งการงานที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก
มีเรื่องมาก มีความเพียรมาก เมื่อถึงพร้อมย่อมมีผลมาก ฐานะแห่งการงานที่มีความ
ต้องการน้อย มีกิจน้อย มีเรื่องน้อย มีความเพียรน้อย เมื่อวิบัติย่อมมีผลน้อย ฐานะ
แห่งการงานที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีเรื่องน้อย มีความเพียรน้อย เมื่อถึง
พร้อมย่อมมีผลมาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๙. สุภสูตร

ฐานะแห่งการงานที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีเรื่องมาก มีความเพียร
มาก เมื่อวิบัติย่อมมีผลน้อย เป็นอย่างไร
คือ ฐานะแห่งการงานคือการไถ ที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีเรื่องมาก
มีความเพียรมาก เมื่อวิบัติย่อมมีผลน้อย
ส่วนฐานะแห่งการงานที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีเรื่องมาก มีความ
เพียรมาก เมื่อถึงพร้อมย่อมมีผลมาก เป็นอย่างไร
คือ ฐานะแห่งการงานคือการไถนั่นแหละที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีเรื่อง
มาก มีความเพียรมาก เมื่อถึงพร้อมย่อมมีผลมาก
ฐานะแห่งการงานที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีเรื่องน้อย มีความ
เพียรน้อย เมื่อวิบัติย่อมมีผลน้อย เป็นอย่างไร
คือ ฐานะแห่งการงานคือการค้าขายที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีเรื่อง
น้อย มีความเพียรน้อย เมื่อวิบัติย่อมมีผลน้อย
ส่วนฐานะแห่งการงานที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีเรื่องน้อย
มีความเพียรน้อย เมื่อถึงพร้อมย่อมมีผลมาก เป็นอย่างไร
คือ ฐานะแห่งการงานคือการค้าขายนั่นแหละที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย
มีเรื่องน้อย มีความเพียรน้อย เมื่อถึงพร้อมย่อมมีผลมาก
[๔๖๔] มาณพ ฐานะแห่งการงานคือการไถ ที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก
มีเรื่องมาก มีความเพียรมาก เมื่อวิบัติย่อมมีผลน้อย แม้ฉันใด ฐานะแห่งการงาน
ของฆราวาส ที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีเรื่องมาก มีความเพียรมาก ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน เมื่อวิบัติย่อมมีผลน้อย
ฐานะแห่งการงานคือการไถนั่นแหละ ที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีเรื่องมาก
มีความเพียรมาก เมื่อถึงพร้อมย่อมมีผลมาก แม้ฉันใด ฐานะแห่งการงานของ
ฆราวาส ที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีเรื่องมาก มีความเพียรมาก ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน เมื่อถึงพร้อมย่อมมีผลมาก
ฐานะแห่งการงานคือการค้าขายที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีเรื่องน้อย
มีความเพียรน้อย เมื่อวิบัติย่อมมีผลน้อย แม้ฉันใด ฐานะแห่งการงานฝ่ายบรรพชิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๙. สุภสูตร

ที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีเรื่องน้อย มีความเพียรน้อย ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เมื่อวิบัติย่อมมีผลน้อย
ฐานะแห่งการงานคือการค้าขายนั่นแหละที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีเรื่อง
น้อย มีความเพียรน้อย เมื่อถึงพร้อมย่อมมีผลมาก แม้ฉันใด ฐานะแห่งการงานฝ่าย
บรรพชิตที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีเรื่องน้อย มีความเพียรน้อย ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน เมื่อถึงพร้อมย่อมมีผลมาก”

บัญญัติธรรม ๕ ประการ

สุภมาณพทูลถามว่า “ท่านพระโคดม พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติธรรมไว้
๕ ประการ เพื่อทำบุญ เพื่อยังกุศลธรรมให้สำเร็จหรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “มาณพ พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติธรรม
๕ ประการใดไว้เพื่อทำบุญ เพื่อยังกุศลธรรมให้สำเร็จ ถ้าเธอไม่หนักใจ ดีละ เธอจง
กล่าวธรรม ๕ ประการนั้นในบริษัทนี้เถิด”
สุภมาณพกราบทูลว่า “ท่านพระโคดมผู้เจริญ ณ ที่ที่พระองค์หรือบุคคลเช่น
กับพระองค์ประทับนั่งอยู่ ข้าพระองค์ไม่มีความหนักใจเลย”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มาณพ ถ้าเช่นนั้น เธอจงกล่าวเถิด”
สุภมาณพกราบทูลว่า “ท่านพระโคดม พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติธรรมข้อ
ที่ ๑ คือสัจจะ เพื่อทำบุญ เพื่อยังกุศลธรรมให้สำเร็จ
บัญญัติธรรมข้อที่ ๒ คือตบะ ...
บัญญัติธรรมข้อที่ ๓ คือพรหมจรรย์ ...
บัญญัติธรรมข้อที่ ๔ คือการเรียนมนตร์ ...
บัญญัติธรรมข้อที่ ๕ คือการบริจาค เพื่อทำบุญ เพื่อยังกุศลธรรมให้สำเร็จ
พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติธรรม ๕ ประการนี้ไว้ เพื่อทำบุญ เพื่อยังกุศลธรรม
ให้สำเร็จ ในเรื่องนี้ ท่านพระโคดมจะตรัสว่าอย่างไร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๙. สุภสูตร

[๔๖๕] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “มาณพ บรรดาพราหมณ์ทั้งหลาย
แม้พราหมณ์สักคนหนึ่งผู้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
แล้วประกาศผลแห่งธรรม ๕ ประการนี้’ มีอยู่หรือ”
สุภมาณพทูลตอบว่า “ไม่มีเลย ท่านพระโคดม”
“แม้อาจารย์ท่านหนึ่ง แม้ปาจารย์ของอาจารย์ท่านหนึ่ง ตลอดขึ้นไป ๗ ชั่วอาจารย์
ของพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
แล้วประกาศผลแห่งธรรม ๕ ประการนี้’ มีอยู่หรือ”
“ไม่มีเลย ท่านพระโคดม”
“แม้ฤาษีทั้งหลายผู้เป็นบุรพาจารย์ของพราหมณ์ทั้งหลายคือ ฤาษีอัฏฐกะ
ฤาษีวามกะ ฤาษีวามเทพ ฤาษีเวสสามิตตะ ฤาษียมตัคคิ ฤาษีอังคีรสะ ฤาษี
ภารทวาชะ ฤาษีวาเสฏฐะ ฤาษีกัสสปะ ฤาษีภคุ ซึ่งเป็นผู้แต่งมนตร์ เป็นผู้บอกมนตร์ที่
พวกพราหมณ์ในปัจจุบันนี้ขับตาม บทมนตร์เก่าที่ท่านบุรพาจารย์พราหมณ์ขับไว้แล้ว
บอกไว้แล้ว รวบรวมไว้แล้ว กล่าวได้ถูกต้องตามที่ท่านกล่าวไว้ บอกได้ถูกต้องตามที่
ท่านได้บอกไว้ แม้ท่านเหล่านั้นก็กล่าวแล้วอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลายทำให้แจ้งด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศผลแห่งธรรม ๕ ประการนี้’ มีอยู่หรือ”
สุภมาณพทูลตอบว่า “ไม่มีเลย ท่านพระโคดม”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มาณพ ได้ทราบกันดังนี้ว่า บรรดาพราหมณ์ทั้งหลาย
ไม่มีพราหมณ์แม้สักคนหนึ่งผู้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘เราทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
แล้วประกาศผลแห่งธรรม ๕ ประการนี้’ ไม่มีใครสักคนหนึ่งซึ่งเป็นอาจารย์ เป็น
ปาจารย์ของอาจารย์ตลอด ๗ ชั่วอาจารย์ของพราหมณ์ทั้งหลายผู้กล่าวอย่างนี้ว่า
‘เราได้ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศผลแห่งธรรม ๕ ประการนี้’ แม้ฤาษี
ทั้งหลายผู้เป็นบุรพาจารย์ของพราหมณ์ทั้งหลาย คือ ฤาษีอัฏฐกะ ฤาษีวามกะ
ฤาษีวามเทพ ฤาษีเวสสามิตตะ ฤาษียมตัคคิ ฤาษีอังคีรสะ ฤาษีภารทวาชะ ฤาษี
วาเสฏฐะ ฤาษีกัสสปะ ฤาษีภคุ ซึ่งเป็นผู้แต่งมนตร์ เป็นผู้บอกมนตร์ ที่พราหมณ์
ทั้งหลายในปัจจุบันนี้ขับตามบทมนตร์เก่า ที่ท่านขับไว้แล้ว บอกไว้แล้ว รวบรวม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๙. สุภสูตร

ไว้แล้ว กล่าวได้ถูกต้องตามที่ท่านได้กล่าวไว้ บอกได้ถูกต้องตามที่ท่านได้บอกไว้แล้ว
แม้ท่านเหล่านั้นก็ไม่ได้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลายทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
แล้วประกาศผลแห่งธรรม ๕ ประการนี้’
มาณพ คนตาบอดเข้าแถวเกาะหลังกัน คนอยู่หัวแถว คนอยู่กลางแถว
และคนอยู่ปลายแถว ต่างก็มองไม่เห็นกัน แม้ฉันใด ภาษิตของพราหมณ์ทั้งหลาย
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เห็นจะเปรียบได้กับคนตาบอด เข้าแถวเกาะหลังกัน คนอยู่
หัวแถว คนอยู่กลางแถว และคนอยู่ปลายแถว ต่างก็มองไม่เห็นกัน”
[๔๖๖] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว สุภมาณพผู้เป็นบุตรของโตเทยย-
พราหมณ์ผู้ซึ่งพระผู้มีพระภาคตรัสเปรียบเหมือนคนตาบอดยืนเข้าแถว จึงโกรธ ไม่พอใจ
เมื่อจะข่มขู่ติเตียนว่ากล่าวพระผู้มีพระภาคว่า “ท่านพระสมณโคดมจักได้รับความ
เสื่อมเสียแล้ว'’ จึงได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ท่านพระโคดม พราหมณ์ชื่อโปกขรสาติ โอปมัญญโคตร ผู้เป็นใหญ่ในป่า
ชื่อสุภควันกล่าวไว้อย่างนี้ว่า ‘อย่างนี้แล สมณพราหมณ์เหล่านี้ ย่อมยืนยัน
ญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ วิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ภาษิตนี้ของ
สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมเป็นภาษิตที่น่าหัวเราะ เลวทราม ว่าง และเปล่า
ถ้าเช่นนั้น ก็เป็นไปไม่ได้เลยที่มนุษย์จักรู้ จักเห็น หรือจักทำให้แจ้งญาณทัสสนะที่
ประเสริฐ อันสามารถวิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ได้”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “มาณพ พราหมณ์ชื่อโปกขรสาติ โอปมัญญโคตร
ผู้เป็นใหญ่ในป่าชื่อสุภควัน กำหนดรู้ใจของสมณพราหมณ์ทุกคนด้วยใจหรือ”
สุภมาณพทูลตอบว่า “ท่านพระโคดม พราหมณ์ชื่อโปกขรสาติ โอปมัญญโคตร
ผู้เป็นใหญ่ในป่าชื่อสุภควัน กำหนดรู้ใจของนางทาสีชื่อปุณณิกาของตนด้วยใจของ
ตนเองยังไม่ได้ จักกำหนดรู้ใจของสมณพราหมณ์ทุกคนด้วยใจได้อย่างไรเล่า”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “มาณพ เปรียบเหมือนคนตาบอดมาแต่กำเนิด
ไม่พึงเห็นรูปสีดำสีขาว รูปสีเขียว รูปสีเหลือง รูปสีแดง รูปสีแสด ไม่พึงเห็นที่ที่
เสมอและขรุขระ ไม่พึงเห็นดวงดาว ไม่พึงเห็นดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ เขาจะพึง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๙. สุภสูตร

กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ไม่มีรูปสีดำสีขาว ไม่มีคนเห็นรูปสีดำสีขาว ไม่มีรูปสีเขียว ไม่มีคน
เห็นรูปสีเขียว ไม่มีรูปสีเหลือง ไม่มีคนเห็นรูปสีเหลือง ไม่มีรูปสีแดง ไม่มีคนเห็น
รูปสีแดง ไม่มีรูปสีแสด ไม่มีคนเห็นรูปสีแสด ไม่มีที่ที่เสมอและขรุขระ ไม่มีคนเห็น
ที่ที่เสมอและขรุขระ ไม่มีดวงดาว ไม่มีคนเห็นดวงดาว ไม่มีดวงจันทร์และดวงอาทิตย์
ไม่มีคนเห็นดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ เราไม่รู้ไม่เห็นสิ่งนั้น เพราะฉะนั้น สิ่งนั้น
จึงไม่มี’ ผู้ที่กล่าวอยู่นั้น ชื่อว่ากล่าวอย่างถูกต้องหรือ มาณพ”
สุภมาณพทูลตอบว่า “ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านพระโคดม รูปสีดำสีขาวก็มี คนเห็น
รูปสีดำสีขาวก็มี รูปสีเขียวก็มี คนเห็นรูปสีเขียวก็มี รูปสีเหลืองก็มี คนเห็นรูป
สีเหลืองก็มี รูปสีแดงก็มี คนเห็นรูปสีแดงก็มี รูปสีแสดก็มี คนเห็นรูปสีแสดก็มี
ที่ที่เสมอและขรุขระก็มี คนเห็นที่ที่เสมอและขรุขระก็มี ดวงดาวก็มี คนเห็น
ดวงดาวก็มี ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ก็มี คนเห็นดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ก็มี
ผู้ที่กล่าวว่า ‘เราไม่รู้ไม่เห็นสิ่งนั้น เพราะฉะนั้น สิ่งนั้นจึงไม่มี’ ผู้ที่กล่าวอยู่นั้น
ชื่อว่ากล่าวอย่างไม่ถูกต้อง ท่านพระโคดม”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มาณพ อย่างนั้นเหมือนกัน พราหมณ์ชื่อโปกขร-
สาติ โอปมัญญโคตร ผู้เป็นใหญ่ในป่าชื่อสุภควัน ชื่อว่าเป็นคนบอดไม่มีจักษุ เป็นไป
ไม่ได้เลยที่เขาจักรู้ จักเห็น หรือจักทำให้แจ้งญาณทัสสนะที่ประเสริฐ อันสามารถ
วิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ได้”
[๔๖๗] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “มาณพ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่า
อย่างไร พราหมณมหาศาลชาวเมืองโกศลคือพราหมณ์ชื่อจังกี พราหมณ์ชื่อ
ตารุกขะ พราหมณ์ชื่อโปกขรสาติ พราหมณ์ชื่อชาณุสโสณิ หรือพราหมณ์ชื่อ
โตเทยยะ ผู้เป็นบิดาของท่าน วาจาที่พราหมณมหาศาลเหล่านั้นกล่าวตรงตาม
โวหารของชาวโลก หรือไม่ตรงตามโวหารของชาวโลก อย่างไหนประเสริฐกว่ากัน”
สุภมาณพทูลตอบว่า “ผู้กล่าววาจาตรงตามโวหารของชาวโลกประเสริฐกว่า
ท่านพระโคดม”
“วาจาที่พราหมณมหาศาลเหล่านั้นรู้แล้วกล่าว หรือไม่รู้แล้วกล่าว อย่างไหน
ประเสริฐกว่ากัน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๙. สุภสูตร

“วาจาที่พราหมณ์เหล่านั้นรู้แล้วกล่าว ประเสริฐกว่า ท่านพระโคดม”
“วาจาที่พราหมณมหาศาลเหล่านั้นพิจารณาแล้วกล่าว หรือไม่พิจารณา
แล้วกล่าว อย่างไหนประเสริฐกว่ากัน”
“วาจาที่พราหมณ์เหล่านั้นพิจารณาแล้วกล่าว ประเสริฐกว่า ท่านพระโคดม”
“วาจาที่มีประโยชน์ หรือวาจาที่ไม่มีประโยชน์ซึ่งพราหมณมหาศาลเหล่านั้นกล่าว
อย่างไหนประเสริฐกว่ากัน”
“วาจาที่มีประโยชน์ ประเสริฐกว่า ท่านพระโคดม”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ถ้าเมื่อเป็นเช่นนั้น โปกขรสาติพราหมณ์
โอปมัญญโคตร ผู้เป็นใหญ่ในป่าชื่อสุภควัน กล่าววาจาตรงตามโวหารของชาวโลก
หรือไม่”
“ไม่ตรงตามโวหารของชาวโลก ท่านพระโคดม”
“เป็นวาจาที่รู้แล้วกล่าว หรือไม่รู้แล้วกล่าว”
“เป็นวาจาที่ไม่รู้แล้วกล่าว ท่านพระโคดม”
“เป็นวาจาที่พิจารณาแล้วกล่าวหรือไม่พิจารณาแล้วกล่าว”
“เป็นวาจาที่ไม่พิจารณาแล้วกล่าว ท่านพระโคดม”
“เป็นวาจาที่มีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์”
“เป็นวาจาที่ไม่มีประโยชน์ ท่านพระโคดม”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มาณพ นิวรณ์นี้มี ๕ ประการ
นิวรณ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. กามฉันทนิวรณ์ (สิ่งที่กั้นจิตคือความพอใจในกาม)
๒. พยาบาทนิวรณ์ (สิ่งที่กั้นจิตคือความขัดเคืองใจ)
๓. ถีนมิทธนิวรณ์ (สิ่งที่กั้นจิตคือความหดหู่และเซื่องซึม)
๔. อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ (สิ่งที่กั้นจิตคือความฟุ้งซ่านและร้อนใจ)
๕. วิจิกิจฉานิวรณ์ (สิ่งที่กั้นจิตคือความลังเลสงสัย)

นิวรณ์ ๕ ประการนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๙. สุภสูตร

มาณพ โปกขรสาติพราหมณ์ โอปมัญญโคตร ผู้เป็นใหญ่ในป่าชื่อสุภควัน
ถูกนิวรณ์ ๕ ประการนี้หน่วงเหนี่ยว กางกั้น รัดรึง ตรึงตราไว้แล้ว เป็นไปไม่ได้เลย
ที่เขาจักรู้ จักเห็นหรือจักทำให้แจ้งญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ วิเศษยิ่งกว่า
ธรรมของมนุษย์
[๔๖๘] มาณพ กามคุณนี้มี ๕ ประการ
กามคุณ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปที่จะพึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
๒. เสียงที่จะพึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ
๓. กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งทางจมูก ...
๔. รสที่จะพึงรู้แจ้งทางลิ้น ...
๕. โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
กามคุณ ๕ ประการนี้แล
โปกขรสาติพราหมณ์ โอปมัญญโคตร ผู้เป็นใหญ่ในป่าชื่อสุภควัน กำหนัดแล้ว
หมกมุ่นแล้ว ด้วยกามคุณ ๕ ประการนี้ ถูกกามคุณ ๕ ประการนี้ครอบงำแล้ว
ไม่เห็นโทษ ไม่มีปัญญาเป็นเครื่องถอนออก บริโภคอยู่ เป็นไปไม่ได้เลยที่เขาจักรู้
จักเห็น หรือจักทำให้แจ้งญาณทัสสนะที่ประเสริฐ อันสามารถวิเศษยิ่งกว่าธรรมของ
มนุษย์
มาณพ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุคคลจะพึงอาศัยหญ้าและไม้เป็น
เชื้อจุดไฟขึ้น หรือไม่อาศัยหญ้าและไม้เป็นเชื้อจุดไฟขึ้น ไฟอย่างไหนหนอจะมีเปลว
สี และแสงสว่าง”
สุภมาณพกราบทูลว่า “ท่านพระโคดม เป็นไปได้หรือ ถ้าการจุดไฟที่ไม่มีหญ้า
และไม้เป็นเชื้อ จะมีเปลว สี และแสงสว่าง”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๙. สุภสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มาณพ เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลจะพึงจุดไฟที่ไม่มี
หญ้าและไม้เป็นเชื้อขึ้นได้ นอกจากผู้ที่มีฤทธิ์ อุปมาเหมือนไฟอาศัยหญ้าและไม้เป็น
เชื้อจึงลุกโพลงขึ้นได้ แม้ฉันใด เรากล่าวปีติอันอาศัยกามคุณ ๕ ประการว่ามีอุปมา
ฉันนั้นเหมือนกัน อุปมาเหมือนไฟที่ไม่มีหญ้าและไม้เป็นเชื้อลุกโพลงขึ้นได้ แม้ฉันใด
เรากล่าวปีติที่เว้นจากกาม และอกุศลธรรมทั้งหลายว่ามีอุปมาฉันนั้นเหมือนกัน
ปีติที่เว้นจากกาม และอกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ
ปฐมฌาน ฯลฯ อยู่ ปีตินี้เว้นจากกาม และอกุศลธรรมทั้งหลาย
มาณพ อีกประการหนึ่ง เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุทุติยฌาน
ฯลฯ อยู่ แม้ปีตินี้ก็เว้นจากกาม และอกุศลธรรมทั้งหลาย
[๔๖๙] มาณพ ในธรรม ๕ ประการที่พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติเพื่อทำบุญ
เพื่อยังกุศลธรรมให้สำเร็จนี้ พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติธรรมข้อไหนว่ามีผลมากกว่า”
สุภมาณพกราบทูลว่า “ท่านพระโคดม ในธรรม ๕ ประการที่พราหมณ์ทั้งหลาย
บัญญัติเพื่อทำบุญ เพื่อยังกุศลธรรมให้สำเร็จนี้ พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติธรรมคือจาคะ
ว่ามีผลมากกว่า”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “มาณพ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ณ ที่นี้
จะพึงมีมหายัญเกิดขึ้นแก่พราหมณ์คนหนึ่ง ครั้งนั้น พราหมณ์ ๒ คนพากันมาด้วย
หวังว่า ‘จักเสวยมหายัญของพราหมณ์ชื่อนี้’ ในพราหมณ์ ๒ คนนั้น คนหนึ่งมี
ความคิดอย่างนี้ว่า ‘โอ เราเท่านั้น ควรจะได้อาสนะที่เลิศ น้ำที่เลิศ และอาหารที่เลิศ
ในโรงภัต พราหมณ์อื่นไม่ควรได้อาสนะที่เลิศ น้ำที่เลิศ และอาหารที่เลิศในโรงภัตเลย’
เป็นไปได้ที่พราหมณ์คนอื่นจะพึงได้อาสนะที่เลิศ น้ำที่เลิศ และอาหารที่เลิศในโรงภัต
ส่วนพราหมณ์ผู้ไม่ได้ย่อมโกรธไม่พอใจว่า ‘พราหมณ์อื่นได้อาสนะที่เลิศ น้ำที่เลิศ
และอาหารที่เลิศในโรงภัต ส่วนเรากลับไม่ได้’
มาณพ พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติผลแห่งกรรมนี้ไว้อย่างไร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๙. สุภสูตร

สุภมาณพทูลตอบว่า “ท่านพระโคดม ในเรื่องนี้ พราหมณ์ทั้งหลายให้ทานด้วย
คิดอย่างนี้ว่า ‘พราหมณ์นั้นถูกพราหมณ์ผู้นี้ทำให้โกรธ ทำให้ไม่พอใจ’ ก็หามิได้
โดยที่แท้ในเรื่องนี้ พราหมณ์ทั้งหลายให้ทานอันเป็นการอนุเคราะห์กันเท่านั้น”
“เมื่อเป็นเช่นนั้น ข้อที่พราหมณ์ทั้งหลายให้ทานอันเป็นการอนุเคราะห์กันนี้
ก็เป็นบุญกิริยาวัตถุข้อที่ ๖ ของพราหมณ์ทั้งหลายหรือ”
“ท่านพระโคดม เมื่อเป็นเช่นนี้ ข้อที่พราหมณ์ทั้งหลายให้ทานอันเป็นการ
อนุเคราะห์นี้ ก็จักเป็นบุญกิริยาวัตถุข้อที่ ๖ ของพราหมณ์ทั้งหลาย”
“ธรรม ๕ ประการนี้ ที่พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติ เพื่อทำบุญ เพื่อยังกุศลธรรม
ให้สำเร็จ ท่านพิจารณาเห็นมีมากในพวกไหน ในพวกคฤหัสถ์หรือพวกบรรพชิต”
สุภมาณพกราบทูลว่า “ท่านพระโคดม ธรรม ๕ ประการนี้ ที่พราหมณ์ทั้งหลาย
บัญญัติเพื่อทำบุญ เพื่อยังกุศลธรรมให้สำเร็จ ข้าพเจ้าพิจารณาเห็นมีมากในบรรพชิต
มีน้อยในคฤหัสถ์ เพราะคฤหัสถ์มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีเรื่องมาก มีความ
เพียรมาก จะเป็นผู้พูดจริงเสมอตลอดไปไม่ได้ ส่วนบรรพชิตมีความต้องการน้อย
มีกิจน้อย มีเรื่องน้อย มีความเพียรน้อย จึงเป็นผู้พูดจริงเสมอไป เพราะคฤหัสถ์มี
ความต้องการมาก มีกิจมาก มีเรื่องมาก มีความเพียรมาก จะเป็นผู้มีความเพียร
เสมอตลอดไปไม่ได้
... จะเป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์
... จะเป็นผู้มากด้วยการสาธยาย
... จะเป็นผู้มากด้วยการบริจาค ...
ส่วนบรรพชิตมีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีเรื่องน้อย มีความเพียรน้อย
จึงเป็นผู้มีความเพียรเสมอตลอดไปได้
... เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์
... เป็นผู้มากด้วยการสาธยาย
... เป็นผู้มากด้วยการบริจาค ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๙. สุภสูตร

ท่านพระโคดม ธรรม ๕ ประการนี้ ที่พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติเพื่อทำบุญ
เพื่อยังกุศลธรรมให้สำเร็จ ข้าพเจ้าพิจารณาเห็นมีมากในบรรพชิต มีน้อยในคฤหัสถ์”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มาณพ ธรรม ๕ ประการ ที่พราหมณ์ทั้งหลาย
บัญญัติเพื่อทำบุญ เพื่อยังกุศลธรรมให้สำเร็จ เรากล่าวว่าเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต เพื่อ
อบรมจิตไม่ให้มีเวร ไม่ให้มีความเบียดเบียน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้พูดจริง เธอรู้สึกว่า ‘เราพูดจริง’ จึงได้ความรู้อรรถ
ได้ความรู้ธรรม ได้ความปราโมทย์ ประกอบด้วยธรรม ความปราโมทย์อันประกอบ
ด้วยกุศลนี้ ที่เรากล่าวว่าเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต เพื่ออบรมจิตไม่ให้มีเวร ไม่ให้มีความ
เบียดเบียน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความเพียร
... เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์
... เป็นผู้มากด้วยการสาธยาย ...
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มากด้วยการบริจาค เธอรู้สึกว่า ‘เราเป็นผู้มากด้วย
การบริจาค’ จึงได้ความรู้อรรถ ได้ความรู้ธรรม ได้ความปราโมทย์อันประกอบด้วย
ธรรม ความปราโมทย์อันประกอบด้วยกุศลนี้ ที่เรากล่าวว่าเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต
เพื่ออบรมจิตไม่ให้มีเวร ไม่ให้มีความเบียดเบียน
ธรรม ๕ ประการนี้ ที่พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติเพื่อทำบุญ เพื่อยังกุศลธรรม
ให้สำเร็จ เรากล่าวว่าเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต เพื่ออบรมจิตไม่ให้มีเวร ไม่ให้มีความ
เบียดเบียน”
[๔๗๐] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว สุภมาณพผู้เป็นบุตรของโตเทยย-
พราหมณ์ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า “ท่านพระโคดม ข้าพเจ้าได้ยินเรื่องนี้มาว่า
‘พระสมณโคดมทรงรู้จักทางเพื่อเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพรหมหรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสย้อนถามว่า “มาณพ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
บ้านนฬการคามก็ใกล้แค่นี้ บ้านนฬการคามก็อยู่ไม่ไกลจากที่นี้เลย มิใช่หรือ”
“อย่างนั้น ท่านพระโคดม บ้านนฬการคามก็อยู่ใกล้แค่นี้ บ้านนฬการคามก็อยู่
ไม่ไกลจากที่นี้เลย”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๙. สุภสูตร

“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษผู้เจริญเติบโตในบ้านนฬการคามนี้
ออกจากบ้านนฬการคามไปในขณะนั้นถูกถามถึงทางไปบ้านนฬการคาม จะต้องมี
ความชักช้าหรืออึกอักไหม”
“ไม่ชักช้า ไม่อึกอักเลย ท่านพระโคดม ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุรุษโน้น
เจริญเติบโตอยู่ในบ้านนฬการคามนั่นเอง ต้องรู้จักทางของบ้านนฬการคามทุกแห่ง
เป็นอย่างดี”
“การที่บุรุษเจริญเติบโตอยู่ในบ้านนฬการคามนั้น ถูกถามถึงทางไปบ้าน
นฬการคาม จะไม่ตอบชักช้าหรืออึกอัก เมื่อตถาคตถูกถามถึงพรหมโลกหรือ
ข้อปฏิบัติให้ถึงพรหมโลก ก็ไม่ตอบชักช้าหรืออึกอักเช่นเดียวกัน เรารู้จักพรหมโลก
และข้อปฏิบัติให้ถึงพรหมโลกของพราหมณ์ทั้งหลาย ทั้งยังรู้วิธีที่คนปฏิบัติอย่างไร
จึงจะเข้าถึงพรหมโลกด้วย”
สุภมาณพกราบทูลว่า “ท่านพระโคดม ข้าพเจ้าได้ยินเรื่องนี้มาว่า พระสมณ-
โคดมทรงแสดงทางเพื่อเป็นสหายกับพรหม ขอโอกาส ขอท่านพระโคดมโปรดทรง
แสดงทางเพื่อเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพรหมแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มาณพ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
สุภมาณพผู้เป็นบุตรของโตเทยยพราหมณ์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มี
พระภาคได้ตรัสเรื่องนี้ว่า

ทางไปพรหมโลก

[๔๗๑] “มาณพ ทางเพื่อเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพรหม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีเมตตาจิต แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ...
ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุก
หมู่เหล่า ในที่ทุกสถานด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร
ไม่มีความเบีบดเบียนอยู่ เมื่อภิกษุนั้นเจริญเมตตาเจโตวิมุตติอย่างนี้แล้ว กรรมใด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๙. สุภสูตร

เป็นประมาณ๑ที่ภิกษุทำแล้ว กรรมนั้นจักไม่เหลืออยู่ ไม่คงอยู่ในกรรมอันเป็นรูปาวจรนั้น๒
คนแข็งแรงเป่าสังข์พึงให้คนรู้ตลอดทิศทั้ง ๔ ได้โดยไม่ยากเลย แม้ฉันใด เมื่อภิกษุ
นั้นเจริญเมตตาเจโตวิมุตติอย่างนี้แล้ว กรรมใดเป็นประมาณที่ภิกษุทำแล้ว กรรมนั้น
จักไม่เหลืออยู่ ไม่คงอยู่ในกรรมอันเป็นรูปาวจรนั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน นี้เป็นทาง
เพื่อเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพรหม
มีกรุณาจิต ฯลฯ
มีมุทิตาจิต ฯลฯ
มีอุเบกขาจิต แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศ
เบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถานด้วย
อุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
เมื่อภิกษุนั้นเจริญอุเบกขาเจโตวิมุตติอย่างนี้แล้ว กรรมใดเป็นประมาณที่ภิกษุทำแล้ว
กรรมนั้นจักไม่เหลืออยู่ ไม่คงอยู่ในกรรมอันเป็นรูปาวจรนั้น
มาณพ คนแข็งแรง เป่าสังข์พึงให้คนรู้ตลอดทิศทั้ง ๔ ได้โดยไม่ยาก แม้ฉันใด
เมื่อภิกษุนั้นเจริญอุเบกขาเจโตวิมุตติอย่างนี้แล้ว กรรมใดเป็นประมาณที่ภิกษุทำแล้ว
กรรมนั้นจักไม่เหลืออยู่ ไม่คงอยู่ในกรรมอันเป็นรูปาวจรนั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
นี้เป็นทางเพื่อเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพรหม”
[๔๗๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว สุภมาณพผู้เป็นบุตรของ
โตเทยยพราหมณ์ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่ท่าน
พระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระองค์ทรงประกาศธรรม
แจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอก
ทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๙. สุภสูตร

ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดม พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอท่าน
พระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจน
ตลอดชีวิต
ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าเช่นนั้น ข้าพระองค์ขอทูลลากลับ เพราะมีกิจ มีหน้าที่
ที่จะต้องทำอีกมาก”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มาณพ ท่านจงกำหนดเวลาอันสมควร ณ บัดนี้เถิด”
ครั้งนั้น สุภมาณพผู้เป็นบุตรของโตเทยยพราหมณ์ ชื่นชมยินดีพระภาษิตของ
พระผู้มีพระภาคแล้วลุกจากที่นั่ง ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้ว
จากไป
สมัยนั้น พราหมณ์ชื่อชาณุสโสณิออกจากกรุงสาวัตถีด้วยรถเทียมด้วยม้าขาว
ปลอดตั้งแต่ยังวัน ได้เห็นสุภมาณพผู้เป็นบุตรของโตเทยยพราหมณ์เดินมาแต่ไกล
จึงได้ถามว่า “ท่านภารทวาชะ ท่านมาจากไหนแต่ยังวันเทียว”
สุภมาณพผู้เป็นบุตรของโตเทยยพราหมณ์ตอบว่า “ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้า
มาจากสำนักของพระสมณโคดม”
ชาณุสโสณิพราหมณ์ถามว่า “ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ท่านภารทวาชะ
เห็นจะเป็นบัณฑิตรู้เท่าทันพระปัญญาอันเฉียบแหลมของพระสมณโคดมเป็นแน่”
สุภมาณพตอบว่า “ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเป็นใคร และเป็นอะไรเล่า จึงจักรู้เท่า
ทันพระปัญญาอันเฉียบแหลมของพระสมณโคดม ผู้ใดจะพึงรู้เท่าทันพระปัญญา
อันเฉียบแหลมของพระสมณโคดม ผู้นั้นก็พึงเป็นเช่นพระสมณโคดมเป็นแน่”
ชาณุสโสณิพราหมณ์ถามว่า “ได้ฟังว่า ท่านภารทวาชะสรรเสริญพระสมณ-
โคดม ด้วยการสรรเสริญอย่างยิ่ง”
สุภมาณพตอบว่า “ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเป็นใคร เป็นอะไรเล่า จึงจักสรรเสริญ
พระสมณโคดม ท่านพระสมณโคดมประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เทวดา
และมนุษย์ทั้งหลายจึงสรรเสริญแล้วสรรเสริญอีก อนึ่ง ธรรม ๕ ประการนี้ที่
พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติ เพื่อทำบุญ เพื่อยังกุศลธรรมให้สำเร็จ พระสมณโคดม
ตรัสว่า เป็นเครื่องปรุงแต่งจิต เพื่ออบรมจิตไม่ให้มีเวร ไม่ให้มีความเบียดเบียน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๕๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑๐. สังคารวสูตร

เมื่อสุภมาณพผู้เป็นบุตรของโตเทยยพราหมณ์กล่าวอย่างนี้แล้ว ชาณุสโสณิ-
พราหมณ์จึงลงจากรถอันเทียมด้วยม้าขาวปลอดแล้วห่มผ้าเฉวียงบ่า ประนมมือไปทางทิศ
ที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่แล้วเปล่งอุทานว่า “เป็นลาภของพระเจ้าปเสนทิโกศล
พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงได้ดีแล้ว ที่พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่
ในแว่นแคว้นของพระองค์” ดังนี้แล

สุภสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. สังคารวสูตร
ว่าด้วยมาณพชื่อสังคารวะ

[๔๗๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศล พร้อมด้วยภิกษุหมู่ใหญ่
สมัยนั้น นางพราหมณีชื่อธนัญชานี อาศัยอยู่ในบ้านชื่อปัจจลกัปปะ เป็นผู้เลื่อมใส
อย่างยิ่งในพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ หากนางพลั้งพลาดแล้วจะเปล่ง
อุทานขึ้น ๓ ครั้งว่า
“ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น”
สมัยนั้น มาณพชื่อสังคารวะอาศัยอยู่ในบ้านปัจจลกัปปะ จบไตรเพทพร้อมทั้ง
นิฆัณฑุศาสตร์ เกฏุภศาสตร์ พร้อมอักษรศาสตร์และประวัติศาสตร์ เข้าใจตัวบท
และไวยากรณ์ ชำนาญโลกายตศาสตร์และลักษณะมหาบุรุษ๑ เมื่อนางธนัญชานี-
พราหมณีกล่าววาจาอย่างนี้ เขาได้ฟังแล้วจึงกล่าวกับนางธนัญชานีพราหมณีว่า
“นางธนัญชานีพราหมณี ไม่เป็นมงคลเลย นางธนัญชานีพราหมณีเป็นคน
ฉิบหาย เมื่อพราหมณ์ทั้งหลายผู้ทรงไตรเพทมีอยู่ เออ นางไพล่ไปกล่าวสรรเสริญคุณ
ของสมณะหัวโล้นทำไม”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑๐. สังคารวสูตร

นางธนัญชานีพราหมณีกล่าวว่า “พ่อหน้ามน เธอยังไม่รู้จักศีลและปัญญา
ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ถ้าเธอรู้จักศีลและปัญญาของพระผู้มีพระภาค
พระองค์นั้นดี เธอจะไม่สำคัญพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นว่า ควรถูกด่า ควรถูก
บริภาษเลย”
สังคารวมาณพกล่าวว่า “นางผู้เจริญ ถ้าเช่นนั้น พระสมณะมาถึงบ้านปัจจลกัปปะ
เมื่อใด พึงบอกฉันเมื่อนั้น” นางธนัญชานีพราหมณีรับคำแล้ว
ต่อมา พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศลตามลำดับ เสด็จถึงบ้าน
ปัจจลกัปปะ ได้ยินว่า สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในสวนมะม่วงของ
พราหมณ์ชาวบ้านโตเทยยะ ใกล้บ้านปัจจลกัปปะ นางธนัญชานีพราหมณีได้ฟังว่า
“ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาค เสด็จมาถึงบ้านปัจจลกัปปะ ประทับอยู่ในสวนมะม่วงของ
พราหมณ์ชาวบ้านโตเทยยะใกล้บ้านปัจจลกัปปะ” ลำดับนั้น นางจึงเข้าไปหา
สังคารวมาณพถึงที่อยู่แล้วได้กล่าวว่า
“พ่อหน้ามน พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเสด็จมาถึงบ้านปัจจลกัปปะ ประทับ
อยู่ในสวนมะม่วงของพรามหณ์ชาวบ้านโตเทยยะ ใกล้บ้านปัจจลกัปปะ เธอจงกำหนด
เวลาอันสมควร ณ บัดนี้เถิด”

ความต่างกันแห่งสมณพราหมณ์

[๔๗๔] สังคารวมาณพรับคำแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควรได้
ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
“ท่านพระโคดม มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง เป็นผู้มีบารมีขั้นสุดท้ายเพราะรู้ยิ่ง
ในปัจจุบันย่อมปฏิญญาอาทิพรหมจรรย์๑ในสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์
เหล่าใดเป็นผู้มีบารมีขั้นสุดท้ายเพราะรู้ยิ่งในปัจจุบันย่อมปฏิญญาอาทิพรหมจรรย์
บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น ท่านพระโคดมจัดอยู่ในพวกไหน”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑๐. สังคารวสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภารทวาชะ เรากล่าวความต่างกันแห่งสมณ-
พราหมณ์ทั้งหลายผู้มีบารมีขั้นสุดท้ายเพราะรู้ยิ่งในปัจจุบัน แม้จะปฏิญญาอาทิ-
พรหมจรรย์ได้ มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งเป็นผู้ฟังตามกันมา เพราะการฟังตามกัน
มานั้นจึงเป็นผู้มีบารมีขั้นสุดท้าย เพราะรู้ยิ่งในปัจจุบันจึงปฏิญญาอาทิพรหมจรรย์
เหมือนพราหมณ์ทั้งหลายผู้ทรงไตรเพท อนึ่ง มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งเป็นผู้มี
บารมีขั้นสุดท้ายเพราะรู้ยิ่งในปัจจุบันจึงปฏิญญาอาทิพรหมจรรย์เพราะเพียงแต่ความเชื่อ
อย่างเดียว เปรียบเหมือนพราหมณ์ทั้งหลายผู้เป็นนักตรรกะ เป็นนักอภิปรัชญา๑
มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งรู้ธรรมด้วยปัญญาอันยิ่งเองในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยฟัง
มาก่อน มีบารมีขั้นสุดท้าย เพราะรู้ยิ่งในปัจจุบันจึงปฏิญญาอาทิพรหมจรรย์
ในสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใดรู้ธรรมด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยฟังมาก่อน มีบารมีขั้นสุดท้ายเพราะรู้ยิ่งในปัจจุบัน จึงปฏิญญา
อาทิพรหมจรรย์ บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น เราก็คนหนึ่ง
ภารทวาชะ ข้อนี้พึงรู้ได้ด้วยบรรยายแม้นี้ เปรียบเหมือนสมณพราหมณ์เหล่าใด
รู้ธรรมด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อน มีบารมีขั้นสุดท้าย
เพราะรู้ยิ่งในปัจจุบัน จึงปฏิญญาอาทิพรหมจรรย์ บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น
เราก็คนหนึ่ง

พุทธประวัติตอนบำเพ็ญสมาบัติ
ในสำนักอาฬารดาบส

[๔๗๕] ภารทวาชะ ก่อนการตรัสรู้ เรายังเป็นพระโพธิสัตว์ ยังไม่ได้ตรัสรู้
ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘การอยู่ครองเรือนเป็นเรื่องอึดอัด เป็นทางมาแห่งธุลี การ
บรรพชาเป็นทางปลอดโปร่ง การที่เราอยู่ครองเรือน จะประพฤติพรหมจรรย์ให้
บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วน ดุจสังข์ขัดไม่ใช่ทำได้ง่าย ทางที่ดี เราควรโกนผมและ
หนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวชเป็นบรรพชิต’


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑๐. สังคารวสูตร

ในกาลต่อมา เรายังหนุ่มแน่นแข็งแรง มีเกศาดำสนิท อยู่ในปฐมวัย เมื่อ
พระราชมารดาและพระราชบิดาไม่ทรงปรารถนาจะให้ผนวช มีพระพักตร์นองด้วย
น้ำพระเนตรทรงกันแสงอยู่ จึงโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากวัง
บวชเป็นบรรพชิต เมื่อบวชแล้วก็แสวงหาว่าอะไรเป็นกุศล ขณะที่แสวงหาทางอัน
ประเสริฐ คือความสงบซึ่งไม่มีทางอื่นยิ่งกว่า ได้เข้าไปหาอาฬารดาบส กาลามโคตร
แล้วกล่าวว่า
‘ท่านกาลามะ ข้าพเจ้าปรารถนาจะประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้’
เมื่อเรากล่าวอย่างนี้ อาฬารดาบส กาลามโคตรจึงกล่าวกับเราว่า ‘เชิญท่าน
อยู่ก่อน ธรรมนี้ก็เป็นเช่นเดียวกับธรรมที่วิญญูชนจะพึงทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
ตามแบบอาจารย์ของตน เข้าถึงอยู่ได้ในเวลาไม่นาน’ จากนั้นไม่นาน เราก็เรียนรู้
ธรรมนั้นได้อย่างรวดเร็ว ชั่วขณะปิดปากจบเจรจาปราศรัยเท่านั้น ก็กล่าวญาณ-
วาทะ๑และเถรวาทะ๒ได้ ทั้งเราและผู้อื่นก็ทราบชัดว่า ‘เรารู้ เราห็น’ เราจึงคิดว่า
‘อาฬารดาบส กาลามโคตรประกาศธรรมนี้ ด้วยเหตุเพียงความเชื่ออย่างเดียวว่า
‘เราทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่’ ก็หามิได้ แต่อาฬารดาบส กาลามโคตร
ยังรู้ ยังเห็นธรรมนี้ด้วยอย่างแน่นอน’
จากนั้น เราจึงเข้าไปหาอาฬารดาบส กาลามโคตรแล้วถามว่า ‘ท่านกาลามะ
ท่านประกาศธรรมนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่’ ด้วยเหตุ
เพียงเท่าไร’
เมื่อเราถามอย่างนี้แล้ว อาฬารดาบส กาลามโคตรจึงประกาศอากิญจัญญายตน-
สมาบัติแก่เรา เราจึงคิดว่า ‘มิใช่แต่อาฬารดาบส กาลามโคตรเท่านั้นที่มีศรัทธา
แม้เราก็มีศรัทธา มีวิริยะ... มีสติ... มีสมาธิ... มิใช่แต่อาฬารดาบส กาลามโคตร
เท่านั้นที่มีปัญญา แม้เราก็มีปัญญา ทางที่ดี เราควรบำเพ็ญเพียร เพื่อทำให้แจ้ง
ธรรมที่อาฬารดาบส กาลามโคตรประกาศว่า ‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
เข้าถึงอยู่’ จากนั้นไม่นานเราก็บรรลุธรรมนั้นด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑๐. สังคารวสูตร

จากนั้น เราจึงเข้าไปหาอาฬารดาบส กาลามโคตรแล้วถามว่า ‘ท่านกาลามะ
ท่านประกาศว่า ‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งธรรมนี้ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่’ ด้วยเหตุ
เพียงเท่านี้หรือ’
อาฬารดาบสตอบว่า ‘ท่านผู้มีอายุ เราประกาศว่า ‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งธรรมนี้
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่’ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล’
(เราจึงกล่าวว่า) ‘ท่านกาลามะ แม้ข้าพเจ้าก็ทำให้แจ้งธรรมนี้ด้วยปัญญาอันยิ่ง
เองเข้าถึงอยู่’ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้’
(อาฬารดาบส กาลามโคตรกล่าวว่า) ‘ท่านผู้มีอายุ เป็นลาภของพวกข้าพเจ้า
พวกข้าพเจ้าได้ดีแล้วที่ได้พบเพื่อนพรหมจารีเช่นท่าน เพราะข้าพเจ้าประกาศว่า
‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งธรรมใดด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ ท่านทำให้แจ้งธรรมนั้นด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่’ ท่านทำให้แจ้งธรรมใดด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่
ข้าพเจ้าก็ประกาศว่า ‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งธรรมนั้นด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่
ข้าพเจ้าทราบธรรมใด ท่านก็ทราบธรรมนั้น ท่านทราบธรรมใด ข้าพเจ้าก็ทราบ
ธรรมนั้น เป็นอันว่าข้าพเจ้าเป็นเช่นใด ท่านก็เป็นเช่นนั้น ท่านเป็นเช่นใด ข้าพเจ้า
ก็เป็นเช่นนั้น มาเถิด บัดนี้ เราทั้งสองจะอยู่ร่วมกันบริหารคณะนี้’
ภารทวาชะ อาฬารดาบส กาลามโคตร ทั้งที่เป็นอาจารย์ของเรา ก็ยกย่องเรา
ผู้เป็นศิษย์ให้เสมอกับตน และบูชาเราด้วยการบูชาอย่างดี ด้วยประการอย่างนี้
แต่เราคิดว่า ‘ธรรมนี้ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบ
ระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ และเพื่อนิพพาน เป็นไปเพียงเพื่อเข้าถึงอากิญจัญญายตน-
สมาบัติเท่านั้น’ เราไม่พอใจ เบื่อหน่ายธรรมนั้น จึงลาจากไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๖๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑๐. สังคารวสูตร

ในสำนักอุทกดาบส

[๔๗๖] ภารทวาชะ เรานั้นแสวงหาว่าอะไรเป็นกุศล ขณะที่แสวงหาทางอัน
ประเสริฐคือความสงบซึ่งไม่มีทางอื่นยิ่งกว่า ได้เข้าไปหาอุทกดาบส รามบุตรแล้ว
กล่าวว่า ‘ท่านรามะ ข้าพเจ้าปรารถนาจะประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้’
เมื่อเรากล่าวอย่างนี้แล้ว อุทกดาบส รามบุตรจึงกล่าวกับเราว่า ‘เชิญท่านอยู่ก่อน
ธรรมนี้ก็เป็นเช่นเดียวกับธรรมที่วิญญูชนจะพึงทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ตามแบบ
อาจารย์ของตนเข้าถึงอยู่ได้ในเวลาไม่นาน’ จากนั้นไม่นาน เราก็เรียนรู้ธรรมนั้นได้
อย่างรวดเร็ว ชั่วขณะปิดปากจบเจรจาปราศรัยเท่านั้น ก็กล่าวญาณวาทะและเถร-
วาทะได้ ทั้งเราและผู้อื่นก็ทราบชัดว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ เราจึงคิดว่า ‘อุทกดาบส
รามบุตรประกาศธรรมนี้ด้วยเหตุเพียงความเชื่ออย่างเดียวว่า ‘เราทำให้แจ้งด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่’ ก็หามิได้ แต่อุทกดาบส รามบุตรยังรู้ ยังเห็นธรรม
นี้ด้วยอย่างแน่นอน’
จากนั้น เราจึงเข้าไปหาอุทกดาบส รามบุตรแล้วถามว่า ‘ท่านรามะ ท่านประกาศว่า
‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งธรรมนี้ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร’
เมื่อเราถามอย่างนี้แล้ว อุทกดาบส รามบุตรจึงประกาศเนวสัญญา-
นาสัญญายตนสมาบัติแก่เรา เราจึงคิดว่า ‘มิใช่แต่อุทกดาบส รามบุตรเท่านั้นที่มี
ศรัทธา แม้เราก็มีศรัทธา ... มีวิริยะ ... มีสติ ... มีสมาธิ ... มิใช่แต่อุทกดาบส
รามบุตรเท่านั้นที่มีปัญญา แม้เราก็มีปัญญา ทางที่ดี เราควรเริ่มบำเพ็ญเพียรเพื่อ
ทำให้แจ้งธรรมที่อุทกดาบส รามบุตรประกาศว่า ‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งธรรมนี้ด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่’ จากนั้นไม่นานเราก็ทำให้แจ้งธรรมนั้นด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
เข้าถึงอยู่
จากนั้น เราจึงเข้าไปหาอุทกดาบส รามบุตรแล้วถามว่า ‘ท่านรามะ ท่านประกาศว่า
‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งธรรมนี้ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่’ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้หรือ’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๖๐๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑๐. สังคารวสูตร

อุทกดาบส รามบุตรตอบว่า ‘ท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าประกาศว่า ‘ข้าพเจ้าทำให้
แจ้งธรรมนี้ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่’ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล’
(เราจึงกล่าวว่า) ‘แม้ข้าพเจ้าก็ทำให้แจ้งธรรมนี้ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้’
(อุทกดาบส รามบุตรกล่าวว่า) ‘ท่านผู้มีอายุ เป็นลาภของพวกข้าพเจ้า
พวกข้าพเจ้าได้ดีแล้วที่ได้พบเพื่อนพรหมจารีเช่นท่าน เพราะ(ข้าพเจ้า) รามะประกาศ
ว่า ‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งธรรมใดด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ ท่านก็ทำให้แจ้งธรรมนั้น
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ ท่านทำให้แจ้งธรรมใดด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่
รามะก็ประกาศว่า ‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งธรรมนั้นด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่’ รามะ
ทราบธรรมใด ท่านก็ทราบธรรมนั้น ท่านทราบธรรมใด รามะก็ทราบธรรมนั้น
เป็นอันว่ารามะเป็นเช่นใด ท่านก็เป็นเช่นนั้น ท่านเป็นเช่นใด รามะก็เป็นเช่นนั้นมาเถิด
บัดนี้ ท่านจงบริหารคณะนี้’
ภารทวาชะ อุทกดาบส รามบุตรทั้งที่เป็นเพื่อนพรหมจารีของเรา ก็ยกย่องเรา
ไว้ในฐานะอาจารย์ และบูชาเราด้วยการบูชาอย่างดีด้วยประการอย่างนี้ แต่เราคิดว่า
‘ธรรมนี้ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง
เพื่อตรัสรู้ และเพื่อนิพพาน เป็นไปเพียงเพื่อเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ
เท่านั้น เราไม่พอใจ เบื่อหน่ายธรรมนั้น จึงลาจากไป

ทรงบำเพ็ญเพียร

[๔๗๗] ภารทวาชะ เรานั้นแสวงหาว่าอะไรเป็นกุศล ขณะที่แสวงหาทาง
อันประเสริฐคือความสงบซึ่งไม่มีทางอื่นยิ่งกว่า เมื่อเที่ยวจาริกไปในแคว้นมคธโดย
ลำดับ ได้ไปถึงตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ได้เห็นภูมิประเทศที่น่ารื่นรมย์มีราวป่าน่า
เพลิดเพลินใจ มีแม่น้ำไหลรินไม่ขาดสาย มีท่าน้ำสะอาดดี น่ารื่นรมย์ มีโคจรคาม
อยู่โดยรอบ เราจึงคิดว่า ‘ภูมิประเทศเป็นที่น่ารื่นรมย์ มีราวป่าน่าเพลิดเพลินใจ
มีแม่น้ำไหลรินไม่ขาดสาย มีท่าน้ำสะอาดดี น่ารื่นรมย์ มีโคจรคามอยู่โดยรอบ
เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียรของกุลบุตรผู้ปรารถนาจะบำเพ็ญเพียร’ เราจึงนั่ง ณ ที่
นั้นด้วยคิดว่า ‘ที่นี้เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียร’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๖๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑๐. สังคารวสูตร

อุปมา ๓ ข้อ

ภารทวาชะ ครั้งนั้น อุปมา ๓ ข้อ อันน่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง ซึ่งเรายังไม่เคยได้ยิน
มาก่อน ได้ปรากฏแก่เรา คือ
๑. เปรียบเหมือนไม้สดมียางที่แช่อยู่ในน้ำ บุรุษนำไม้นั้นมาทำไม้สีไฟ
ด้วยหวังว่า ‘เราจักก่อไฟให้เกิดความร้อนขึ้น’
ภารทวาชะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษนั้นนำไม้สดที่มียางซึ่งแช่อยู่
ในน้ำมาทำไม้สีไฟแล้วสีให้เป็นไฟเกิดความร้อนขึ้นได้ไหม”
“ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะไม้สดนั้นมียาง ทั้งยังแช่อยู่ในน้ำ บุรษนั้นก็มีแต่
ความเหน็ดเหนื่อยลำบากเปล่า”
“ภารทวาชะ อย่างนั้นเหมือนกัน สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
มีกายและจิตยังไม่หลีกออกจากกาม ยังมีความพอใจ ความรักใคร่ ความหลง
ความกระหายและความกระวนกระวายในกามทั้งหลาย ยังมิได้ละและมิได้ระงับ
อย่างเบ็ดเสร็จในภายใน สมณะหรือพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้นแม้เสวยทุกขเวทนาที่
กล้าแข็ง หยาบ เผ็ดร้อน ซึ่งเกิดขึ้นเพราะความเพียร ก็เป็นผู้ไม่ควรแก่การรู้
การเห็น และการตรัสรู้อันยอดเยี่ยม แม้ไม่ได้เสวยทุกขเวทนาที่กล้าแข็ง หยาบ
เผ็ดร้อน ซึ่งเกิดขึ้นเพราะความเพียร ก็เป็นผู้ไม่ควรแก่การรู้ การเห็น และการ
ตรัสรู้อันยอดเยี่ยม
นี้เป็นอุปมาข้อที่ ๑ อันน่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง ซึ่งเรายังไม่เคยได้ยินมาก่อน ได้
ปรากฏแก่เรา
[๔๗๘] ๒. เปรียบเหมือนไม้สดมียางที่วางอยู่บนบกห่างจากน้ำ บุรุษนำไม้
นั้นมาทำไม้สีไฟด้วยหวังว่า ‘เราจักก่อไฟให้เกิดความร้อนขึ้น’
ภารทวาชะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษนั้นนำไม้สดที่มียางซึ่งวางอยู่
บนบกห่างจากน้ำมาทำเป็นไม้สีไฟ แล้วสีให้เป็นไฟเกิดความร้อนขึ้นได้ไหม”
“ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๖๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑๐. สังคารวสูตร

“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะไม้ยังสดและมียาง แม้จะวางอยู่บนบกห่างจากน้ำ
บุรุษนั้นก็มีแต่ความเหน็ดเหนื่อยลำบากเปล่า”
“ภารทวาชะ อย่างนั้นเหมือนกัน สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งแม้
มีกายและจิตหลีกออกจากกามแล้ว แต่ยังมีความพอใจ ความรักใคร่ ความหลง
ความกระหาย และความกระวนกระวายในกามทั้งหลาย ยังมิได้ละและมิได้ระงับ
อย่างเด็ดขาดในภายใน สมณะหรือพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้นแม้เสวยทุกขเวทนาที่
กล้าแข็ง หยาบ เผ็ดร้อน ซึ่งเกิดขึ้นเพราะความเพียร ก็เป็นผู้ไม่ควรแก่การรู้
การเห็น และการตรัสรู้อันยอดเยี่ยม แม้ไม่ได้เสวยทุกขเวทนาที่กล้าแข็ง หยาบ
เผ็ดร้อน ซึ่งเกิดขึ้นเพราะความเพียร ก็เป็นผู้ไม่ควรแก่การรู้ การเห็น และการ
ตรัสรู้อันยอดเยี่ยม
นี้เป็นอุปมาข้อที่ ๒ อันน่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง ซึ่งเรายังไม่เคยได้ยินมาก่อน
ได้ปรากฏแก่เรา
[๔๗๙] ๓. เปรียบเหมือนไม้ที่แห้งสนิทซึ่งวางอยู่บนบกห่างจากน้ำ บุรุษ
นำมาทำเป็นไม้สีไฟ ด้วยหวังว่า ‘เราจักก่อไฟให้เกิดความร้อนขึ้น’
ภารทวาชะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษนั้นนำไม้ที่แห้งสนิทซึ่งวางอยู่
บนบกห่างจากน้ำมาทำเป็นไม้สีไฟ แล้วสีให้เป็นไฟเกิดความร้อนขึ้นได้ไหม”
“ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะไม้แห้งสนิท ทั้งวางอยู่บนบกห่างจากน้ำ”
“ภารทวาชะ อย่างนั้นเหมือนกัน สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีกาย
และจิตหลีกออกจากกามแล้ว ทั้งละและระงับความพอใจ ความรักใคร่ ความหลง
ความกระหาย และความกระวนกระวายในกามทั้งหลายได้อย่างเด็ดขาดในภายในแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น แม้เสวยทุกขเวทนาที่กล้าแข็ง หยาบ เผ็ดร้อน
ซึ่งเกิดขึ้นเพราะความเพียร ก็เป็นผู้ควรแก่การรู้ การเห็น และการตรัสรู้อันยอดเยี่ยม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๖๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑๐. สังคารวสูตร

แม้ไม่ได้เสวยทุกขเวทนาที่กล้าแข็ง หยาบ เผ็ดร้อน ซึ่งเกิดขึ้นเพราะความเพียร
ก็เป็นผู้ควรแก่การรู้ การเห็น และการตรัสรู้อันยอดเยี่ยม
นี้เป็นอุปมาข้อที่ ๓ อันน่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง ซึ่งเรายังไม่เคยได้ยินมาก่อน
ได้ปรากฏแก่เรา
ภารทวาชะ นี้คือ อุปมาทั้ง ๓ ข้ออันน่าอัศจรรย์อย่างยิ่งซึ่งเรายังไม่เคยได้ยิน
มาก่อนนี้แล ได้ปรากฏแก่เรา

ทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยา

[๔๘๐] ภารทวาชะ เรานั้นมีความดำริว่า ‘ทางที่ดี เราควรกดฟันด้วยฟัน
ใช้ลิ้นดันเพดานไว้แน่น ใช้จิตข่มคั้นจิต ทำจิตให้เร่าร้อน’ เรานั้นก็กดฟันด้วยฟัน
ใช้ลิ้นดันเพดานไว้แน่น ใช้จิตข่มคั้นจิต ทำจิตให้เร่าร้อน เมื่อเราทำดังนั้น เหงื่อก็
ไหลออกจากรักแร้ทั้ง ๒ ข้าง คนที่แข็งแรงจับคนที่อ่อนแอกว่าที่ศีรษะหรือที่คอ
แล้วบีบคั้นรัดไว้ให้แน่น แม้ฉันใด เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อกดฟันด้วยฟัน ใช้ลิ้น
ดันเพดานไว้แน่น ใช้จิตข่มคั้นจิต ทำจิตให้เร่าร้อน เหงื่อก็ไหลออกจากรักแร้ทั้ง
๒ ข้าง
เราปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน มีสติตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน แต่เมื่อเราถูก
ความเพียรที่ทนได้ยากนั้นเสียดแทงอยู่ กายของเราก็กระวนกระวาย ไม่สงบระงับ
[๔๘๑] ภารทวาชะ เราจึงมีความดำริว่า ‘ทางที่ดี เราควรบำเพ็ญฌาน
อันไม่มีลมปราณเถิด’ เราก็กลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออกทั้งทางปากและ
ทางจมูก เมื่อเรากลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากและทางจมูก
ลมก็ออกทางหูทั้ง ๒ ข้าง มีเสียงดังอู้ ๆ ลมที่ช่างทองสูบอยู่มีเสียงดังอู้ ๆ แม้ฉันใด
เมื่อเรากลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากและทางจมูก ลมก็ออกทาง
หูทั้ง ๒ ข้าง มีเสียงดังอู้ ๆ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๖๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑๐. สังคารวสูตร

เราปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน มีสติตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน แต่เมื่อเราถูก
ความเพียรที่ทนได้ยากนั้นเสียดแทงอยู่ กายของเราก็กระวนกระวาย ไม่สงบระงับ
เราจึงมีความดำริว่า ‘ทางที่ดี เราควรบำเพ็ญฌานอันไม่มีลมปราณเถิด’ เราก็
กลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู เมื่อเรา
กลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู ลมอัน
แรงกล้าก็เสียดแทงศีรษะ คนที่แข็งแรงใช้เหล็กที่แหลมคมแทงศีรษะ แม้ฉันใด
เมื่อเรากลั้นลมหลายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู
ลมอันแรงกล้าก็เสียดแทงศีรษะ ฉันนั้นเหมือนกัน
เราปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน มีสติตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน แต่เมื่อเราถูก
ความเพียรที่ทนได้ยากนั้นเสียดแทงอยู่ กายของเราก็กระวนกระวาย ไม่สงบระงับ
เราจึงมีความดำริว่า ‘ทางที่ดี เราควรบำเพ็ญฌานอันไม่มีลมปราณเถิด’
เราก็กลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู
เมื่อเรากลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู
ก็มีทุกขเวทนาในศีรษะเป็นอันมาก คนที่แข็งแรงใช้เชือกหนังที่เหนียวขันศีรษะ
แม้ฉันใด เมื่อเรากลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากทางจมูกและทาง
ช่องหู ก็มีเวทนาในศีรษะอย่างแรงกล้า ฉันนั้นเหมือนกัน
เราปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน มีสติตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน แต่เมื่อเราถูก
ความเพียรที่ทนได้ยากนั้นเสียดแทงอยู่ กายของเราก็กระวนกระวาย ไม่สงบระงับ
เราจึงมีความดำริว่า ‘ทางที่ดี เราควรบำเพ็ญฌานอันไม่มีลมปราณเถิด’ เราก็
กลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู เมื่อเรา
กลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู ลมอันแรง
กล้าก็บาดในช่องท้อง คนฆ่าโคหรือลูกมือของคนฆ่าโคผู้ชำนาญ ใช้มีดแล่เนื้อที่คม
กรีดท้อง แม้ฉันใด เมื่อเรากลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากทาง
จมูกและทางช่องหู ก็มีลมอันแรงกล้าบาดในช่องท้อง ฉันนั้นเหมือนกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๖๐๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑๐. สังคารวสูตร

เราปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน มีสติตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน แต่เมื่อเราถูก
ความเพียรที่ทนได้ยากนั้นเสียดแทงอยู่ กายของเราก็กระวนกระวาย ไม่สงบระงับ
เราจึงมีความดำริว่า ‘ทางที่ดี เราควรบำเพ็ญฌานอันไม่มีลมปราณเถิด' เราก็
กลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู เมื่อเรา
กลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู ก็มีความ
กระวนกระวายในร่างกายอย่างแรงกล้า คนที่แข็งแรง ๒ คนจับแขนคนที่อ่อนแอกว่า
คนละข้างย่างให้ร้อน บนหลุมถ่านเพลิง แม้ฉันใด เมื่อเรากลั้นลมหายใจเข้าและลม
หายใจออก ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู ก็มีความกระวนกระวายในร่างกาย
อย่างแรงกล้า ฉันนั้นเหมือนกัน
เราปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน มีสติตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน แต่เมื่อเราถูก
ความเพียรที่ทนได้ยากนั้นเสียดแทงอยู่ กายของเราก็กระวนกระวาย ไม่สงบระงับ
เทวดาทั้งหลายเห็นเราแล้วก็พากันกล่าวอย่างนี้ว่า ‘พระสมณโคดมสิ้นพระชนม์แล้ว’
บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า ‘พระสมณโคดมยังมิได้สิ้นพระชนม์ แต่กำลังจะสิ้น
พระชนม์’ บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า ‘พระสมณโคดมยังไม่สิ้นพระชนม์ ทั้งจะไม่สิ้น
พระชนม์ พระสมณโคดมจะเป็นพระอรหันต์ การอยู่เช่นนี้นั้น เป็นวิหารธรรม๑ของ
ท่านผู้เป็นพระอรหันต์’
เราจึงมีความดำริว่า ‘ทางที่ดี เราควรปฏิบัติด้วยการอดอาหารทุกอย่าง’
ขณะนั้น เทวดาทั้งหลายเข้ามาหาเราแล้วกล่าวว่า ‘ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านอย่าได้
ปฏิบัติด้วยการอดอาหารทุกอย่าง ถ้าท่านจักปฏิบัติด้วยการอดอาหารทุกอย่าง
พวกข้าพเจ้าจะแทรกโอชาอันเป็นทิพย์เข้าทางขุมขนของท่าน ท่านจะได้ยังอัตภาพ
ให้เป็นไปด้วยโอชานั้น’ เราจึงมีความดำริว่า ‘เราปฏิญญาว่า จะต้องอดอาหาร
ทุกอย่าง แต่เทวดาเหล่านี้จะแทรกโอชาอันเป็นทิพย์เข้าทางขุมขนของเรา เราจะยัง
อัตภาพให้เป็นไปด้วยโอชานั้น การปฏิญญานั้นก็จะพึงเป็นมุสาแก่เราเอง’ เราจึง
กล่าวห้ามเทวดาเหล่านั้นว่า ‘อย่าเลย’


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑๐. สังคารวสูตร

เราจึงมีความดำริว่า ‘ทางที่ดี เราควรกินอาหารให้น้อยลง ๆ เพียงครั้งละ ๑
ฟายมือบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดถั่วเขียวบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดถั่วพูบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ด
ถั่วดำบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดบัวบ้าง, เราจึงกินอาหารน้อยลง ๆ เพียงครั้งละ ๑
ฟายมือบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดถั่วเขียวบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดถั่วพูบ้าง เท่าเยื่อใน
เมล็ดถั่วดำบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดบัวบ้าง’ เมื่อเรากินอาหารน้อยลง ๆ เพียงครั้งละ
๑ ฟายมือบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดถั่วเขียวบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดถั่วพูบ้าง เท่าเยื่อใน
เมล็ดถั่วดำบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดบัวบ้าง กายจึงซูบผอมมาก อวัยวะน้อยใหญ่
ของเราจึงเป็นเหมือนเถาวัลย์ที่มีข้อมากหรือเถาวัลย์ที่มีข้อดำ เนื้อสะโพกก็ลีบ
เหมือนกีบเท้าอูฐ กระดูกสันหลังก็ผุดเป็นหนามเหมือนเถาวัลย์ ซี่โครงทั้ง ๒ ข้าง
ขึ้นสะพรั่ง เหมือนกลอนศาลาเก่า ดวงตาทั้ง ๒ ก็ลึกเข้าไปในเบ้าตา เหมือน
ดวงดาวปรากฏอยู่ในบ่อน้ำลึก หนังบนศีรษะก็เหี่ยวหดเหมือนลูกน้ำเต้าที่เขาตัดมา
ขณะยังดิบต้องลมและแดดเข้าก็เหี่ยวหดไป เพราะเป็นผู้มีอาหารน้อยนั้น เราคิดว่า
‘จะลูบพื้นท้อง’ ก็จับถึงกระดูกสันหลัง คิดว่า ‘จะลูบกระดูกสันหลัง’ ก็จับถึง
พื้นท้อง เพราะพื้นท้องของเราแนบติดจนถึงกระดูกสันหลัง เราคิดว่า ‘จะถ่ายอุจจาระ
หรือถ่ายปัสสาวะ’ ก็ซวนเซล้มลง ณ ที่นั้น เมื่อจะให้กายสบายบ้าง จึงใช้ฝ่ามือ
ลูบตัว ขนทั้งหลายที่มีรากเน่าก็หลุดร่วงจากกาย เพราะเป็นผู้มีอาหารน้อย มนุษย์ทั้ง
หลายเห็นเราเข้าแล้ว ก็กล่าวอย่างนี้ว่า ‘พระสมณโคดมดำไป’ บางพวกก็กล่าวอย่าง
นี้ว่า ‘พระสมณโคดมไม่ดำเพียงแต่คล้ำไป’ บางพวกก็กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ไม่ดำ ไม่คล้ำ
เพียงแต่พร้อยไป’ เรามีผิวพรรณบริสุทธิ์ เปล่งปลั่ง เพียงแต่เสียผิวไป เพราะเป็นผู้มี
อาหารน้อยเท่านั้น
[๔๘๒] ภารทวาชะ เรานั้นจึงมีความดำริว่า ‘สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด
เหล่าหนึ่ง ในอดีต ที่เสวยทุกขเวทนากล้าแข็ง หยาบ เผ็ดร้อน ที่เกิดขึ้นเพราะ
ความเพียร ทุกขเวทนานั้นอย่างยิ่งก็เพียงเท่านี้ไม่เกินกว่านี้ไป สมณะหรือพราหมณ์
เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตผู้เสวยทุกขเวทนา กล้าแข็ง หยาบ เผ็ดร้อน ที่เกิดขึ้น
เพราะความเพียร ทุกขเวทนานั้นอย่างยิ่งก็เพียงเท่านี้ไม่เกินกว่านี้ไป สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบันเสวยทุกขเวทนากล้าแข็ง หยาบ เผ็ดร้อน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๖๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑๐. สังคารวสูตร

ที่เกิดขึ้นเพราะความเพียร ทุกขเวทนานั้นอย่างยิ่งก็เพียงนี้ไม่เกินกว่านี้ไป แต่เราก็ยัง
มิได้บรรลุญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถวิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ด้วย
ทุกกรกิริยาอันเผ็ดร้อนนี้ จะพึงมีทางอื่นที่จะตรัสรู้บ้างไหม
เราจึงมีความดำริว่า ‘เราจำได้อยู่ เมื่อคราวงานของท้าวสักกาธิบดีซึ่งเป็น
พระราชบิดา เรานั่งอยู่ใต้ต้นหว้าอันร่มเย็น ได้สงัดจากกามและอกุศลธรรม
ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ ทางนั้น
พึงเป็นทางแห่งการตรัสรู้หรือหนอ’ เรามีความรู้แจ้งที่ตามระลึกด้วยสติว่า ‘ทางนั้น
เป็นทางแห่งการตรัสรู้’ เราจึงมีความดำริว่า ‘เรากลัวความสุขที่เว้นจากกามและ
อกุศลธรรมทั้งหลายหรือ’ เราก็ดำริว่า ‘เราไม่กลัวความสุขที่เว้นจากกามและ
อกุศลธรรมทั้งหลายเลย’
[๔๘๓] ภารทวาชะ เราจึงมีความดำริต่อไปว่า ‘เราผู้มีกายซูบผอมมาก
อย่างนี้ จะบรรลุความสุขนั้นไม่ใช่ทำได้ง่ายเลย ทางที่ดี เราควรกินอาหารหยาบ
คือข้าวสุกและขนมกุมมาส’ เราก็กินอาหารหยาบคือข้าวสุกและขนมกุมมาส ครั้งนั้น
ภิกษุปัญจวัคคีย์เฝ้าบำรุงเรา ด้วยหวังว่า ‘พระสมณโคดมบรรลุธรรมใด จักบอก
ธรรมนั้นแก่เราทั้งหลาย’ เมื่อใด เราฉันอาหารหยาบ คือข้าวสุกและขนมกุมมาส
เมื่อนั้น ภิกษุปัญจวัคคีย์นั้นก็เบื่อหน่าย จากไปด้วยเข้าใจว่า ‘พระสมณโคดม
มักมาก คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมากเสียแล้ว’

ฌาน ๔ และวิชชา ๓

ภารทวาชะ เราฉันอาหารหยาบให้ร่างกายมีกำลัง สงัดจากกามและอกุศลธรรม
ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ อยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌาน
ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อยู่๑
เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ
เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ เรานั้นน้อมจิต


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑๐. สังคารวสูตร

ไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง
๒ ชาติบ้าง ฯลฯ เราระลึกชาติก่อนได้หลายชาติพร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและ
ชีวประวัติอย่างนี้ เราได้บรรลุวิชชาที่ ๑ นี้ ในปฐมยามแห่งราตรี กำจัดอวิชชา
ได้แล้ว วิชชาก็เกิดขึ้น กำจัดความมืดได้แล้ว ความสว่างก็เกิดขึ้น เหมือนบุคคล
ผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่
[๔๘๔] เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจาก
ความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ เรานั้น
น้อมจิตไปเพื่อจุตูปปาตญาณ เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง
งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึง
หมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ฯลฯ เราได้บรรลุวิชชาที่ ๒ นี้ในมัชฌิมยามแห่งราตรี
กำจัดอวิชชาได้แล้ว วิชชาก็เกิดขึ้น กำจัดความมืดได้แล้ว ความสว่างก็เกิดขึ้น เหมือน
บุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่
เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ
เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ เรานั้นน้อมจิต
ไปเพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินี-
ปฏิปทา นี้อาสวะ ฯลฯ๑ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา’ เมื่อเรารู้เห็นอยู่อย่างนี้
จิตย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่า
‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว
ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
เราบรรลุวิชชาที่ ๓ นี้ ในปัจฉิมยามแห่งราตรี กำจัดอวิชชาได้แล้ว วิชชา
ก็เกิดขึ้น กำจัดความมืดได้แล้ว ความสว่างก็เกิดขึ้น เหมือนบุคคลผู้ไม่ประมาท
มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่๒”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค] ๑๐. สังคารวสูตร

[๔๘๕] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว สังคารวมาณพได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า “ความเพียรอันไม่ย่อหย่อนได้มีแล้วแก่ท่านพระโคดมหนอ
ความเพียรของสัตบุรุษได้มีแล้วแก่ท่านพระโคดมหนอ ท่านพระโคดมสมควรเป็น
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านพระโคดม เทวดามีหรือหนอ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภารทวาชะ ข้อที่ว่าเทวดามีนั้น รู้ได้โดยฐานะ”
สังคารวมาณพกราบทูลว่า “ท่านพระโคดม เมื่อข้าพระองค์ทูลถามว่า ‘เทวดา
มีหรือหนอ’ พระองค์ก็ตรัสตอบว่า ‘ภารทวาชะ ข้อที่ว่าเทวดามีนั้น รู้ได้โดยฐานะ’
เมื่อเป็นเช่นนี้ ถ้อยคำของพระองค์เป็นถ้อยคำเปล่า เป็นมุสา มิใช่หรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภารทวาชะ ผู้ใดเมื่อถูกถามว่า ‘เทวดามีอยู่หรือ’
จะพึงตอบว่า ‘ข้อที่ว่าเทวดามีอยู่นั้น รู้กันได้โดยฐานะ’ ผู้นั้นก็เท่ากับกล่าวว่า
‘เรารู้จักเทวดา’ เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านผู้รู้ก็เข้าใจในเรื่องนี้ได้ว่า ‘เทวดามีอยู่’
โดยแน่แท้”
สังคารวมาณพทูลถามว่า “ทำไม ท่านพระโคดมจึงไม่ทรงตอบแก่ข้าพระองค์
เสียแต่แรกเล่า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภารทวาชะ ข้อที่ว่าเทวดามีอยู่นั้น เขาสมมติกัน
ในโลก ด้วยคำศัพท์ที่สูง”

สังคารวมาณพแสดงตนเป็นอุบาสก

[๔๘๖] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว สังคารวมาณพได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่
ท่านพระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระองค์ทรงประกาศ
ธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๖๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค]
รวมพระสูตรที่มีในวรรค

บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็น
รูปได้’ ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดมพร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ
ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
จนตลอดชีวิต” ดังนี้แล

สังคารวสูตรที่ ๑๐ จบ
พราหมณวรรคที่ ๕ จบ

รวมพระสูตร ที่มาในวรรคนี้ คือ

๑. พรหมายุสูตร ๒. เสลสูตร
๓. อัสสลายนสูตร ๔. โฆฏมุขสูตร
๕. จังกีสูตร ๖. เอสุการีสูตร
๗. ธนัญชานิสูตร ๘. วาเสฏฐสูตร
๙. สุภสูตร ๑๐. สังคารวสูตร

รวมวรรคที่มีในมัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์นี้มี ๕ วรรค คือ

๑. คหปติวรรค ๒. ภิกขุวรรค
๓. ปริพพาชกวรรค ๔. ราชวรรค
๕. พราหมณวรรค

มัชฌิมปัณณาสก์ จบบริบูรณ์


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ สุตตันตปิฎกที่ ๐๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ จบ





eXTReMe Tracker