ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ



จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อความสะดวก และสวยงาม
(เฉพาะหน้าจอใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์)
กรุณาคลิก จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อให้กรอบ
ค้นข้อความ ปรากฎที่ด้านซ้ายของหน้า

พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓-๓ สุตตันตปิฎกที่ ๐๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

พระสุตตันตปิฎก
มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๘. สมณมุณฑิกสูตร

๘. สมณมุณฑิกสูตร
ว่าด้วยปริพาชกชื่ออุคคาหมานะ สมณมุณฑิกาบุตร

[๒๖๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้นแล ปริพาชกชื่ออุคคาหมานะ สมณมุณฑิกาบุตร
กับปริพาชกประมาณ ๕๐๐ คน พร้อมด้วยปริพาชกบริษัทหมู่ใหญ่ อาศัยอยู่ใน
อารามของพระนางมัลลิกาเทวีชื่อเอกศาลา ซึ่งแวดล้อมด้วยต้นมะพลับ อันเป็นที่
ประชุมแสดงลัทธิ ครั้งนั้น ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะ ออกจากกรุงสาวัตถีเพื่อเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคแต่ยังวัน ได้คิดว่า
“บัดนี้ไม่ใช่เวลาที่จะเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคทรงหลีกเร้นอยู่ บัดนี้
ไม่ใช่เวลาที่จะเข้าไปหาภิกษุทั้งหลายผู้บำเพ็ญเพียรทางใจ ภิกษุทั้งหลายผู้บำเพ็ญเพียร
ทางใจยังหลีกเร้นอยู่ ทางที่ดี เราควรเข้าไปหาอุคคาหมานปริพาชก สมณมุณฑิกาบุตร
ที่อารามของพระนางมัลลิกาเทวีชื่อเอกศาลา ซึ่งแวดล้อมด้วยต้นมะพลับ อันเป็น
ที่ประชุมแสดงลัทธิ”
ลำดับนั้น ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะจึงเข้าไปหาอุคคาหมานปริพาชก สมณมุณฑิกาบุตร
ถึงอารามของพระนางมัลลิกาเทวีชื่อเอกศาลา ซึ่งแวดล้อมด้วยต้นมะพลับ อันเป็น
ที่ประชุมแสดงลัทธิ

ดิรัจฉานกถา

สมัยนั้น อุคคาหมานปริพาชก สมณมุณฑิกาบุตรกำลังนั่งสนทนาอยู่กับ
ปริพาชกบริษัทหมู่ใหญ่ผู้กำลังสนทนาถึงดิรัจฉานกถา๑ต่าง ๆ ด้วยเสียงดังอื้ออึง
คือ พูดเรื่องพระราชา เรื่องโจร เรื่องมหาอำมาตย์ เรื่องกองทัพ เรื่องภัย เรื่อง
การรบ เรื่องข้าว เรื่องน้ำ เรื่องผ้า เรื่องที่นอน เรื่องพวงดอกไม้ เรื่องของหอม
เรื่องญาติ เรื่องยาน เรื่องบ้าน เรื่องนิคม เรื่องเมืองหลวง เรื่องชนบท เรื่องสตรี


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๘. สมณมุณฑิกสูตร

(เรื่องบุรุษ) เรื่องคนกล้าหาญ เรื่องตรอก เรื่องท่าน้ำ เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว เรื่อง
เบ็ดเตล็ด เรื่องโลก เรื่องทะเล เรื่องความเจริญ และความเสื่อม อย่างนั้น ๆ
อุคคาหมานปริพาชก สมณมุณฑิกาบุตร ได้เห็นช่างไม้ชื่อปัญจกังคะกำลังเดิน
มาแต่ไกล จึงห้ามบริษัทของตนว่า
“ท่านผู้เจริญทั้งหลาย โปรดเงียบหน่อย อย่าส่งเสียงอื้ออึง นี้คือช่างไม้ชื่อ
ปัญจกังคะผู้เป็นสาวกของพระสมณโคดมกำลังเดินมา ท่านเป็นสาวกคนหนึ่งบรรดา
สาวกของพระสมณโคดมผู้เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว ผู้อาศัยอยู่ ณ กรุงสาวัตถี
ท่านเหล่านั้นชอบเสียงเบา แนะนำให้พูดกันเบา ๆ สรรเสริญคุณของคนที่พูดเสียง
เบา บางทีช่างไม้ชื่อปัญจกังคะทราบว่าบริษัทเสียงเบา ท่านอาจจะเข้ามาหาก็ได้”
ลำดับนั้น ปริพาชกเหล่านั้นจึงได้พากันนิ่ง

วาทะของปริพาชก

[๒๖๑] ลำดับนั้น ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะได้เข้าไปหาอุคคาหมานปริพาชก
สมณมุณฑิกาบุตรถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึง
กันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร อุคคาหมานปริพาชก สมณมุณฑิกาบุตรได้กล่าวกับช่างไม้
ชื่อปัญจกังคะว่า
“ช่างไม้ เราบัญญัติบุรุษบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการว่า เป็นผู้มี
กุศลเพียบพร้อม มีกุศลยอดเยี่ยม เป็นสมณะผู้บรรลุธรรมชั้นสูงที่ควรบรรลุ ไม่มี
ใครสู้วาทะได้
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ บุคคลในโลกนี้

๑. ไม่ทำกรรมชั่วทางกาย ๒. ไม่กล่าววาจาชั่ว
๓. ไม่ดำริความดำริชั่ว ๔. ไม่ประกอบอาชีพชั่ว

ช่างไม้ เราบัญญัติบุรุษบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลว่า เป็นผู้มี
กุศลเพียบพร้อม มีกุศลยอดเยี่ยม เป็นสมณะผู้บรรลุธรรมชั้นสูงที่ควรบรรลุ ไม่มี
ใครสู้วาทะได้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๐๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๘. สมณมุณฑิกสูตร

ลำดับนั้น ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะ ไม่ยินดี ไม่คัดค้านภาษิตของอุคคาหมาน-
ปริพาชก สมณมุณฑิกาบุตร ลุกจากอาสนะจากไปด้วยคิดว่า “เราจักรู้ทั่วถึง
เนื้อความแห่งภาษิตนี้ ในสำนักของพระผู้มีพระภาค” จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลเรื่องที่สนทนาปราศรัย
กับอุคคาหมานปริพาชก สมณมุณฑิกาบุตรให้พระผู้มีพระภาคฟังทั้งหมด
[๒๖๒] เมื่อช่างไม้ชื่อปัญจกังคะกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้
ตรัสว่า
“ช่างไม้ เมื่อเป็นอย่างนี้ เด็กอ่อนที่ยังนอนหงายอยู่ ก็จักเป็นผู้มีกุศลเพียบพร้อม
มีกุศลยอดเยี่ยม เป็นสมณะผู้บรรลุธรรมชั้นสูงที่ควรบรรลุ ไม่มีใครสู้วาทะได้
แท้จริง เด็กอ่อนที่ยังนอนหงายอยู่ แม้แต่กายก็ยังไม่รู้จัก๑ จักทำกรรมชั่ว
ทางกายได้ที่ไหนเล่า นอกจากจะมีเพียงอาการนอนดิ้นรน เด็กอ่อนที่ยังนอน
หงายอยู่ แม้แต่วาจาก็ยังไม่รู้จัก๒ จักกล่าววาจาชั่วได้ที่ไหนเล่า นอกจากจะมีเพียงการ
ร้องไห้ เด็กอ่อนที่ยังนอนหงายอยู่ แม้แต่ความดำริก็ยังไม่รู้จัก๓ จักดำริชั่วได้แต่
ที่ไหนเล่า นอกจากจะมีการส่งเสียงร้อง เด็กอ่อนที่ยังนอนหงายอยู่ แม้แต่การ
เลี้ยงชีพก็ยังไม่รู้จัก๔ จักเลี้ยงชีพชั่วได้ที่ไหนเล่า นอกจากการดื่มน้ำนมของมารดา
ช่างไม้ เมื่อเป็นอย่างนี้ เด็กอ่อนที่ยังนอนหงายอยู่ก็จักเป็นผู้มีกุศลเพียบพร้อม
มีกุศลยอดเยี่ยม เป็นสมณะผู้บรรลุธรรมชั้นสูงที่ควรบรรลุ ไม่มีใครสู้วาทะได้
[๒๖๓] ช่างไม้ เราบัญญัติบุรุษบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการว่า
มิใช่ผู้มีกุศลเพียบพร้อม มิใช่ผู้มีกุศลยอดเยี่ยม มิใช่สมณะผู้บรรลุธรรมชั้นสูงที่ควร
บรรลุไม่มีใครสู้วาทะได้ แต่บุรุษบุคคลนี้ยังดีกว่าเด็กอ่อนที่นอนหงายอยู่บ้าง


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๘. สมณมุณฑิกสูตร

ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง
คือ บุรุษบุคคลในโลกนี้
๑. ไม่ทำกรรมชั่วทางกาย ๒. ไม่กล่าววาจาชั่ว
๓. ไม่ดำริความดำริชั่ว ๔. ไม่ประกอบอาชีพชั่ว
เราบัญญัติบุรุษบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลว่า มิใช่ผู้มีกุศล
เพียบพร้อม มิใช่ผู้มีกุศลยอดเยี่ยม มิใช่สมณะผู้บรรลุธรรมชั้นสูงที่ควรบรรลุ ไม่มี
ใครสู้วาทะได้ แต่บุรุษบุคคลนี้ยังดีกว่าเด็กอ่อนที่นอนหงายอยู่บ้าง
ช่างไม้ เราบัญญัติบุรุษบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการว่า เป็นผู้มี
กุศลเพียบพร้อม มีกุศลยอดเยี่ยม เป็นสมณะผู้บรรลุธรรมชั้นสูงที่ควรบรรลุไม่มี
ใครสู้วาทะได้

เสขธรรม

เรากล่าวว่า ‘ข้อที่ศีลเหล่านี้เป็นอกุศล เป็นสิ่งที่บุคคลควรรู้’
เรากล่าวว่า ‘ข้อที่ศีลเป็นอกุศล มีสมุฏฐานมาจากจิตนี้ เป็นสิ่งที่บุคคลควรรู้’
เรากล่าวว่า ‘ข้อที่ศีลเป็นอกุศลดับไปโดยไม่เหลือในที่นี้ เป็นสิ่งที่บุคคลควรรู้’
เรากล่าวว่า ‘ข้อที่บุคคลผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความดับแห่ง
ศีลที่เป็นอกุศล เป็นสิ่งที่บุคคลควรรู้’
เรากล่าวว่า ‘ข้อที่ศีลเหล่านี้เป็นกุศล เป็นสิ่งที่บุคคลควรรู้’
เรากล่าวว่า ‘ข้อที่ศีลเป็นกุศลมีสมุฏฐานมาแต่จิตนี้ เป็นสิ่งที่บุคคลควรรู้’
เรากล่าวว่า ‘ข้อที่ศีลเป็นกุศลดับไปโดยไม่เหลือในที่นี้ เป็นสิ่งที่บุคคลควรรู้’
เรากล่าวว่า ‘ข้อที่บุคคลผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความดับแห่ง
ศีลที่เป็นกุศล เป็นสิ่งที่บุคคลควรรู้’
เรากล่าวว่า ‘ข้อที่ความดำริเหล่านี้เป็นอกุศล เป็นสิ่งที่บุคคลควรรู้’
เรากล่าวว่า ‘ข้อที่ความดำริที่เป็นอกุศลมีสมุฏฐานมาแต่จิตนี้ เป็นสิ่งที่บุคคลควรรู้’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๘. สมณมุณฑิกสูตร

เรากล่าวว่า ‘ข้อที่ความดำริที่เป็นอกุศลดับไปโดยไม่เหลือในที่นี้ เป็นสิ่งที่
บุคคลควรรู้’
เรากล่าวว่า ‘ข้อที่บุคคลผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความดับแห่ง
ความดำริที่เป็นอกุศล เป็นสิ่งที่บุคคลควรรู้’
เรากล่าวว่า ‘ข้อที่ความดำริเหล่านี้เป็นกุศล เป็นสิ่งที่บุคคลควรรู้’
เรากล่าวว่า ‘ข้อที่ความดำริเป็นกุศลมีสมุฏฐานมาแต่จิตนี้ เป็นสิ่งที่บุคคลควรรู้’
เรากล่าวว่า ‘ข้อที่ความดำริที่เป็นกุศลดับไปโดยไม่เหลือในที่นี้ เป็นสิ่งที่บุคคล
ควรรู้’
เรากล่าวว่า ‘ข้อที่บุคคลผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความดับแห่ง
ความดำริที่เป็นกุศล เป็นสิ่งที่บุคคลควรรู้’

เสขธรรมว่าด้วยศีล

[๒๖๔] ศีลที่เป็นอกุศล เป็นอย่างไร
คือ กายกรรมที่เป็นอกุศล วจีกรรมที่เป็นอกุศล การเลี้ยงชีพที่เป็นบาปเหล่านี้
เราเรียกว่า ‘ศีลที่เป็นอกุศล’
ศีลที่เป็นอกุศลเหล่านี้มีอะไรเป็นสมุฏฐาน
คือ แม้สมุฏฐานแห่งศีลที่เป็นอกุศลเหล่านั้น เราก็ได้กล่าวไว้แล้ว สมุฏฐาน
แห่งศีลนี้ควรกล่าวว่า ‘มีจิตเป็นสมุฏฐาน’
จิตดวงไหนเล่า
แท้จริงจิตมีหลายดวง มีหลายอย่าง มีหลายประการ คือ จิตที่มีราคะ จิตที่มี
โทสะ และจิตที่มีโมหะ๑ ศีลที่เป็นอกุศลมีจิตเหล่านี้เป็นสมุฏฐาน


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๘. สมณมุณฑิกสูตร

ศีลที่เป็นอกุศลเหล่านี้ดับไปโดยไม่เหลือในที่ไหน
คือ แม้ความดับแห่งศีลที่เป็นอกุศลเหล่านั้น เราก็ได้กล่าวไว้แล้ว ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ ละกายทุจริต เจริญกายสุจริต ละวจีทุจริต เจริญวจีสุจริต ละมโนทุจริต
เจริญมโนสุจริต ละมิจฉาอาชีวะ เลี้ยงชีพด้วยสัมมาอาชีวะ ศีลที่เป็นอกุศลเหล่านี้
ดับไปโดยไม่เหลือในธรรมเหล่านี้๑
ผู้ปฏิบัติอย่างไร จึงชื่อว่าปฏิบัติเพื่อความดับแห่งศีลที่เป็นอกุศล
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อ
ป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น
๒. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อละ
บาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
๓. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อทำ
กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
๔. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อ
ความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิยโยภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่ง
กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
ช่างไม้ บุคคลผู้ปฏิบัติอย่างนี้แล ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความดับแห่งศีลที่เป็น
อกุศล
[๒๖๕] ศีลที่เป็นกุศล เป็นอย่างไร
คือ กายกรรมที่เป็นกุศล วจีกรรมที่เป็นกุศล และแม้อาชีวะอันบริสุทธิ์ก็
รวมอยู่ในศีล เหล่านี้เราเรียกว่า ‘ศีลที่เป็นกุศล’


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๘. สมณมุณฑิกสูตร

ศีลที่เป็นกุศลเหล่านี้มีอะไรเป็นสมุฏฐาน
คือ แม้สมุฏฐานแห่งศีลที่เป็นกุศลเหล่านั้น เราก็ได้กล่าวไว้แล้ว สมุฏฐานแห่ง
ศีลนี้ควรกล่าวว่า ‘มีจิตเป็นสมุฏฐาน’
จิตดวงไหนเล่า
แท้จริง จิตมีหลายดวง มีหลายอย่าง มีหลายประการ คือ จิตที่ปราศจากราคะ๑
ที่ปราศจากโทสะ และที่ปราศจากโมหะ ศีลที่เป็นกุศลมีจิตเหล่านี้เป็นสมุฏฐาน
ศีลที่เป็นกุศลเหล่านี้ดับไปโดยไม่เหลือในที่ไหน
คือ แม้ความดับแห่งศีลที่เป็นกุศลเหล่านั้น เราก็ได้กล่าวไว้แล้ว ภิกษุในธรรม-
วินัยนี้ เป็นผู้มีศีล แต่หาใช่มีเพียงศีลก็พอ๒ ยังจะต้องรู้ชัดเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
ตามความเป็นจริง ซึ่งเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือแห่งศีลที่เป็นกุศลเหล่านั้น
บุคคลผู้ปฏิบัติอย่างไร จึงจะชื่อว่าปฏิบัติเพื่อความดับแห่งศีลที่เป็นกุศล
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อ
ป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น
๒. สร้างฉันทะ ฯลฯ เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
๓. สร้างฉันทะ ฯลฯ เพื่อทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
๔. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อ
ความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิยโยภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่ง
กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
ช่างไม้ บุคคลผู้ปฏิบัติอย่างนี้แล ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความดับแห่งศีลที่เป็นกุศล


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๘. สมณมุณฑิกสูตร

เสขธรรมว่าด้วยความดำริ

[๒๖๖] ความดำริที่เป็นอกุศล เป็นอย่างไร
คือ ความดำริในกาม ความดำริในพยาบาท ความดำริในการเบียดเบียน
เหล่านี้เราเรียกว่า ‘ความดำริที่เป็นอกุศล’
ความดำริที่เป็นอกุศลเหล่านี้ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน
คือ แม้สมุฏฐานแห่งความดำริที่เป็นอกุศลเหล่านั้น เราก็ได้กล่าวไว้แล้ว
สมุฏฐานแห่งความดำรินี้ควรกล่าวว่า ‘มีสัญญาเป็นสมุฏฐาน’
สัญญาประเภทไหนเล่า
แท้จริง แม้สัญญาก็มีมาก มีหลายอย่าง มีหลายประการ คือ สัญญาในกาม๑
สัญญาในพยาบาท สัญญาในการเบียดเบียน ความดำริที่เป็นอกุศลมีสัญญาเหล่านี้
เป็นสมุฏฐาน
ความดำริที่เป็นอกุศลเหล่านี้ ดับไปโดยไม่เหลือในที่ไหน
คือ แม้ความดับแห่งความดำริที่เป็นอกุศลนั้น เราก็ได้กล่าวไว้แล้ว ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม และอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน๒ ที่มีวิตก
วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ ซึ่งเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือแห่งความดำริที่เป็น
อกุศล
บุคคลผู้ปฏิบัติอย่างไร จึงจะชื่อว่าปฏิบัติเพื่อความดับแห่งความดำริที่เป็นอกุศล
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อ
ป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๘. สมณมุณฑิกสูตร

๒. สร้างฉันทะ ฯลฯ เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
๓. สร้างฉันทะ ฯลฯ เพื่อทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
๔. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อ
ความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิยโยภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่ง
กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
ช่างไม้ บุคคลผู้ปฏิบัติอย่างนี้แล ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความดับแห่งความดำริ
ที่เป็นอกุศล
[๒๖๗] ความดำริที่เป็นกุศล เป็นอย่างไร
คือ ความดำริในเนกขัมมะ ความดำริในความไม่พยาบาท ความดำริในความ
ไม่เบียดเบียน เหล่านี้เราเรียกว่า ‘ความดำริที่เป็นกุศล’
ความดำริที่เป็นกุศลนี้ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน
คือ แม้สมุฏฐานแห่งความดำริที่เป็นกุศลเหล่านั้นเราก็ได้กล่าวไว้แล้ว สมุฏฐาน
แห่งความดำรินี้ควรกล่าวว่า ‘มีสัญญาเป็นสมุฏฐาน’
สัญญาประเภทไหนเล่า
แท้จริง แม้สัญญาก็มีมาก มีหลายอย่าง มีหลายประการ คือ สัญญาใน
เนกขัมมะ สัญญาในความไม่พยาบาท สัญญาในความไม่เบียดเบียน ความดำริที่
เป็นกุศลมีสัญญาเหล่านี้เป็นสมุฏฐาน
ความดำริที่เป็นกุศลเหล่านี้ ดับไปโดยไม่เหลือในที่ไหน
คือ แม้ความดับแห่งความดำริที่เป็นกุศลนั้น เราก็ได้กล่าวไว้แล้ว เพราะวิตก
วิจารสงบระงับไป ภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ อยู่ ซึ่งเป็นที่ดับไปโดย
ไม่เหลือแห่งความดำริที่เป็นกุศลเหล่านี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๘. สมณมุณฑิกสูตร

บุคคลผู้ปฏิบัติอย่างไร จึงจะชื่อว่าปฏิบัติเพื่อความดับแห่งความดำริที่เป็นกุศล
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อทำ
บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดไม่ให้เกิดขึ้น
๒. สร้างฉันทะ ฯลฯ เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
๓. สร้างฉันทะ ฯลฯ เพื่อทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
๔. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อ
ความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิยโยภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่ง
กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
ช่างไม้ บุคคลผู้ปฏิบัติอย่างนี้แล ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความดับแห่งความดำริ
ที่เป็นกุศล

อเสขธรรม ๑๐ ประการ

[๒๖๘] ช่างไม้ เราบัญญัติบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ๑ไหนว่า
เป็นผู้มีกุศลสมบูรณ์ มีกุศลอย่างยิ่ง เป็นสมณะผู้บรรลุธรรมชั้นสูงที่ควรบรรลุ ไม่มี
ใครสู้วาทะได้
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิ ที่เป็นอเสขะ
๒. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาสังกัปปะ ที่เป็นอเสขะ
๓. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาวาจา ที่เป็นอเสขะ
๔. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมากัมมันตะ ที่เป็นอเสขะ
๕. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาอาชีวะ ที่เป็นอเสขะ
๖. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาวายามะ ที่เป็นอเสขะ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๙. จูฬสกุลุทายิสูตร

๗. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาสติ ที่เป็นอเสขะ
๘. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาสมาธิ ที่เป็นอเสขะ
๙. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาญาณะ๑ ที่เป็นอเสขะ
๑๐. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาวิมุตติ ที่เป็นอเสขะ

เราบัญญัติบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แลว่า เป็นผู้มีกุศลเพียบ
พร้อม มีกุศลยอดเยี่ยม เป็นสมณะผู้บรรลุธรรมชั้นสูงที่ควรบรรลุ ไม่มีใครสู้วาทะได้”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะมีใจยินดีชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

สมณมุณฑิกสูตรที่ ๘ จบ

๙. จูฬสกุลุทายิสูตร
ว่าด้วยปริพาชกชื่อสกุลุทายี สูตรเล็ก

[๒๖๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้นแล ปริพาชกชื่อสกุลุทายีพร้อมด้วยปริพาชกบริษัทหมู่
ใหญ่อาศัยอยู่ในอารามของปริพาชกอันเป็นที่ให้เหยื่อแก่นกยูง ครั้นเวลาเช้า พระผู้มี
พระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้มีพระดำริว่า
“ยังเช้าเกินไปที่จะเที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ ทางที่ดี เราควรเข้าไปหา
สกุลุทายีปริพาชก จนถึงอารามของปริพาชกอันเป็นที่ให้เหยื่อแก่นกยูง”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้เสด็จเข้าไปจนถึงอารามของปริพาชกอันเป็นที่ให้
เหยื่อแก่นกยูง


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๙. จูฬสกุลุทายิสูตร

ดิรัจฉานกถา

สมัยนั้น สกุลุทายีปริพาชกกำลังนั่งอยู่กับปริพาชกบริษัทหมู่ใหญ่ผู้กำลังสนทนา
ถึงดิรัจฉานกถาต่าง ๆ ด้วยเสียงดังอื้ออึง คือ พูดเรื่องพระราชา เรื่องโจร ฯลฯ
เรื่องความเจริญและความเสื่อมอย่างนั้น ๆ สกุลุทายีปริพาชก ได้เห็นพระผู้มีพระภาค
กำลังเสด็จมาแต่ไกล จึงห้ามบริษัทของตนว่า
“ท่านผู้เจริญทั้งหลาย โปรดเงียบหน่อย อย่าส่งเสียงอื้ออึง นี้คือ พระสมณ-
โคดมกำลังเสด็จมา พระองค์โปรดเสียงเบา ทรงแนะนำให้พูดกันเบา ๆ ตรัสสรรเสริญ
คุณของคนที่พูดเสียงเบา บางทีพระองค์ทรงทราบว่าบริษัทเสียงเบา พระองค์อาจ
จะเสด็จเข้ามาหาก็ได้”
ลำดับนั้น ปริพาชกเหล่านั้นจึงได้พากันนิ่ง
[๒๗๐] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้เสด็จเข้าไปหาสกุลุทายีถึงที่อยู่ สกุลุทายี
ปริพาชกทูลเชื้อเชิญพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอเชิญพระผู้มีพระภาคจงเสด็จเข้ามาเถิด ขอต้อนรับเสด็จ
นาน ๆ พระองค์จะมีเวลาเสด็จมาที่นี้ ขอเชิญพระผู้มีพระภาคประทับนั่งเถิด อาสนะนี้
ปูลาดไว้แล้ว พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคจึงประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว แม้สกุลุทายีปริพาชก
ก็เลือกนั่ง ณ ที่สมควรที่ใดที่หนึ่งซึ่งต่ำกว่า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามสกุลุทายี
ปริพาชกว่า
“อุทายี บัดนี้ ท่านทั้งหลายนั่งประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร และเรื่องอะไร
ที่ท่านทั้งหลายสนทนากันค้างไว้”
สกุลุทายีปริพาชกทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องที่ข้าพระองค์
ทั้งหลายนั่งประชุมสนทนากันในเวลานี้ ของดไว้ก่อนเถิด เรื่องนี้พระผู้มีพระภาค
จะทรงสดับได้ในภายหลังโดยไม่ยาก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในเวลาที่ข้าพระองค์
ไม่ได้เข้าไปยังบริษัทนี้ บริษัทนี้ก็จะนั่งสนทนากันแต่ดิรัจฉานกถาต่าง ๆ แต่ในเวลา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๙. จูฬสกุลุทายิสูตร

ที่ข้าพระองค์เข้าไปยังบริษัทนี้ บริษัทนี้ก็นั่งมองดูแต่หน้าของข้าพระองค์ด้วยความ
ประสงค์ว่า ‘สมณะอุทายี จักกล่าวธรรมใดแก่พวกเรา พวกเราจักฟังธรรมนั้น’
และในเวลาที่พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้ามายังบริษัทนี้ ทั้งข้าพระองค์และบริษัทนี้ก็นั่ง
มองดูพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคด้วยความประสงค์ว่า ‘พระผู้มีพระภาคจักตรัส
ธรรมใดแก่พวกเรา พวกเราจักฟังธรรมนั้น”

ขันธ์ส่วนอดีตและขันธ์ส่วนอนาคต

[๒๗๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุทายี ถ้าเช่นนั้น ท่านจงตั้งปัญหาซึ่งจะ
เป็นเหตุให้เราแสดงธรรมในบริษัทนี้เถิด”
สกุลุทายีปริพาชกกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วันก่อน ๆ ท่านผู้เป็น
สัพพัญญู มีปกติเห็นธรรมทั้งปวง ปฏิญญาญาณทัสสนะอย่างเบ็ดเสร็จว่า ‘เมื่อเรา
เดินอยู่ หยุดอยู่ หลับอยู่ และตื่นอยู่ ญาณทัสสนะจะปรากฏต่อเนื่องตลอดไป’
ท่านผู้นั้นถูกข้าพระองค์ถามปัญหาปรารภขันธ์ส่วนอดีตก็นำเรื่องอื่นมาพูดกลบเกลื่อน
ไถลไปพูดนอกเรื่อง ทั้งทำความโกรธ ความประทุษร้าย และความไม่พอใจให้ปรากฏ
ข้าพระองค์นั้นระลึกถึงพระผู้มีพระภาคว่า ‘ผู้ฉลาดในธรรมเหล่านี้ต้องเป็นพระผู้มี
พระภาคแน่นอน ต้องเป็นพระสุคตแน่นอน”
“ท่านผู้เป็นสัพพัญญู มีปกติเห็นธรรมทั้งปวง ปฏิญญาญาณทัสสนะอย่าง
เบ็ดเสร็จว่า ‘เมื่อเราเดินอยู่ หยุดอยู่ หลับอยู่ และตื่นอยู่ ญาณทัสสนะจะปรากฏ
ต่อเนื่องตลอดไป’ ที่ถูกท่านถามปัญหาปรารภขันธ์ส่วนอดีตก็นำเรื่องอื่นมาพูด
กลบเกลื่อน ไถลไปพูดนอกเรื่อง ทั้งทำความโกรธ ความประทุษร้าย และความ
ไม่พอใจให้ปรากฏ เป็นใครเล่า”
“นิครนถ์ นาฏบุตร พระพุทธเจ้าข้า”
“ผู้ใดระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ฯลฯ ระลึก
ชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้ ผู้นั้นควรถาม
ปัญหาปรารภขันธ์ส่วนอดีตกับเรา หรือเราควรถามปัญหาปรารภขันธ์ส่วนอดีตกับ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๙. จูฬสกุลุทายิสูตร

ผู้นั้น ผู้นั้นจะทำให้เรายินดีด้วยการตอบปัญหาปรารภขันธ์ส่วนอดีต หรือเราจะพึง
ทำจิตของผู้นั้นให้ยินดีด้วยการตอบปัญหาปรารภขันธ์ส่วนอดีต
ผู้ใดพึงเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเถิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม
เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตาม
กรรม ผู้นั้นควรถามปัญหาปรารภขันธ์ส่วนอนาคตกับเรา หรือเราควรถามปัญหา
ปรารภขันธ์ส่วนอนาคตกับผู้นั้น ผู้นั้นทำให้เรายินดีด้วยการตอบปัญหาปรารภขันธ์
ส่วนอนาคต หรือเราพึงยังจิตของผู้นั้นให้ยินดีด้วยการตอบปัญหาปรารภขันธ์ส่วน
อนาคต
อุทายี จงงดขันธ์ส่วนอดีตและขันธ์ส่วนอนาคตไว้ก่อน เราจักแสดงธรรมแก่
ท่านว่า ‘เมื่อเหตุนี้มี ผลนี้จึงมี เพราะเหตุนี้เกิด ผลนี้จึงเกิด เมื่อเหตุนี้ไม่มี ผลนี้
จึงไม่มี เพราะเหตุนี้ดับ ผลนี้จึงดับ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชาตินี้ที่ปรากฏแก่ข้าพระองค์โดยอัตภาพนี้พร้อม
ทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติ ข้าพระองค์ยังไม่สามารถจะระลึกได้เลย ไฉนเลยจัก
ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ๓ ชาติบ้าง ฯลฯ ระลึกถึง
ชาติก่อนได้หลายชาติพร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้ เหมือนพระผู้มี
พระภาคเล่า บัดนี้ แม้แต่ปีศาจเล่นฝุ่น ข้าพระองค์ก็ยังไม่เคยเห็นเลย ไฉนเลย
จักเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและ
เกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ จักรู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม
เหมือนพระผู้มีพระภาคเล่า คำที่พระผู้มีพระภาคตรัสกับข้าพระองค์อย่างนี้ว่า
‘อุทายี จงงดขันธ์ส่วนอดีตและขันธ์ส่วนอนาคตไว้ก่อน เราจักแสดงธรรมแก่ท่านว่า
‘เมื่อเหตุนี้มี ผลนี้จึงมี เพราะเหตุนี้เกิด ผลนี้จึงเกิด เมื่อเหตุนี้ไม่มี ผลนี้จึงไม่มี
เพราะเหตุนี้ดับ ผลนี้จึงดับ’ จะปรากฏแก่ข้าพระองค์ โดยประมาณยิ่ง ๆ ขึ้นไป
ก็หาไม่ ไฉนข้าพระองค์จึงจะทำให้พระผู้มีพระภาคทรงยินดีด้วยการตอบปัญหาใน
ลัทธิอาจารย์ของตนได้เล่า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๙. จูฬสกุลุทายิสูตร

เรื่องวรรณะ

[๒๗๒] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อุทายี ในลัทธิอาจารย์ของตน ท่านมี
ความเห็นว่าอย่างไร”
สกุลุทายีปริพาชกทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในลัทธิอาจารย์ของตน
ข้าพระองค์มีความเห็นอย่างนี้ว่า ‘นี้เป็นวรรณะสูงสุด นี้เป็นวรรณะสูงสุด”
“ในลัทธิอาจารย์ของตน ท่านมีความเห็นอย่างนี้ว่า ‘นี้เป็นวรรณะสูงสุด นี้เป็น
วรรณะสูงสุด’ วรรณะสูงสุดนั้นเป็นอย่างไร”
“วรรณะใดไม่มีวรรณะอื่นยิ่งกว่า หรือประณีตกว่า วรรณะนั้นเป็นวรรณะ
สูงสุด พระพุทธเจ้าข้า”
“วรรณะใดไม่มีวรรณะอื่นยิ่งกว่าหรือประณีตกว่า วรรณะนั้นเป็นวรรณะไหนเล่า”
“วรรณะใดไม่มีวรรณะอื่นยิ่งกว่า หรือประณีตกว่า วรรณะนั้นเป็นวรรณะสูงสุด
พระพุทธเจ้าข้า”
“ท่านกล่าวแต่เพียงว่า ‘วรรณะใดไม่มีวรรณะอื่นยิ่งกว่า หรือประณีตกว่า วรรณะ
นั้นเป็นวรรณะสูงสุด’ คำที่ท่านกล่าวนั้น พึงขยายความได้อย่างยืดยาว แต่ท่าน
ไม่ชี้วรรณะนั้นให้ชัด เปรียบเหมือนชายคนหนึ่งปรารภถึงหญิงสาวอย่างนี้ว่า ‘เรา
ปรารถนารักใคร่หญิงงามแห่งชนบทนี้’ คนจะถามเขาว่า ‘พ่อคุณ เธอรู้จักหญิงคน
นั้นหรือว่าเป็นนางกษัตริย์ นางพราหมณี นางแพศย์ หรือนางศูทร’ เมื่อถูกถาม
อย่างนี้ เขาจะตอบว่า ‘ไม่รู้จัก’ จะถูกถามต่อไปว่า ‘เธอรู้จักหญิงคนนั้นหรือว่า
มีชื่อ ตระกูล สูง ต่ำ สันทัด ดำ คล้ำ หรือผิวเหลือง อยู่ในหมู่บ้าน นิคม หรือ
เมืองโน้น’ เมื่อถูกถามอย่างนี้ เขาจะตอบว่า ‘ยังไม่รู้จัก’ จะถูกถามต่อไปว่า
‘เธอปรารถนารักใคร่หญิงที่ยังไม่เคยรู้จักทั้งไม่เคยเห็น อย่างนั้นหรือ’ เมื่อถูกถาม
อย่างนี้ เขาจะตอบว่า ‘ใช่’
ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เมื่อเป็นเช่นนี้ คำพูดของชายผู้นั้นจะถือว่า
เลื่อนลอย มิใช่หรือ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๙. จูฬสกุลุทายิสูตร

“เมื่อเป็นเช่นนี้ คำพูดของชายผู้นั้นถือว่าเลื่อนลอยแน่นอน พระพุทธเจ้าข้า”
“อุทายี ท่านก็อย่างนั้นเหมือนกัน กล่าวอยู่แต่เพียงว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
วรรณะใดไม่มีวรรณะอื่นยิ่งกว่าหรือประณีตกว่า วรรณะนั้นเป็นวรรณะสูงสุด’ แต่ไม่
ได้ชี้วรรณะนั้นให้ชัด”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แก้วไพฑูรย์อันงาม เกิดเองอย่างบริสุทธิ์แปดเหลี่ยม
นายช่างเจียระไนดีแล้ว ซึ่งเขาวางไว้ที่ผ้ากัมพลเหลือง ย่อมส่องแสงสว่างเป็นประกาย
ออกมา แม้ฉันใด อัตตา๑ก็มีวรรณะ(แสงสว่าง)ก็ฉันนั้นเหมือนกัน หลังจากตายไป
ย่อมเป็นของยั่งยืน”
[๒๗๓] “อุทายี ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร แก้วไพฑูรย์อันงาม เกิดเอง
อย่างบริสุทธิ์แปดเหลี่ยม นายช่างเจียระไนดีแล้ว ซึ่งเขาวางไว้ที่ผ้ากำพลเหลือง
ย่อมส่องแสงสว่างเป็นประกายออกมา กับหิ่งห้อยในราตรีที่มีเดือนมืด บรรดา
วรรณะทั้ง ๒ นี้ วรรณะไหนจะส่องสว่างกว่า และประณีตกว่ากัน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บรรดาวรรณะทั้ง ๒ นี้ หิ่งห้อยในราตรีที่มีเดือนมืดนี้
ย่อมส่องสว่างกว่า และประณีตกว่า”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร หิ่งห้อยในราตรีที่มีเดือนมืด กับประทีปน้ำมัน
ในราตรีที่มีเดือนมืด บรรดาวรรณะทั้ง ๒ นี้ วรรณะไหนจะส่องสว่างกว่าและประณีต
กว่ากัน”
“บรรดาวรรณะทั้ง ๒ นี้ ประทีปน้ำมันในราตรีที่มีเดือนมืดส่องสว่างกว่าและ
ประณีตกว่า พระพุทธเจ้าข้า”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ประทีปน้ำมันในราตรีที่มีเดือนมืดกับกอง
ไฟใหญ่ในราตรีที่มีเดือนมืด บรรดาวรรณะทั้ง ๒ นี้ วรรณะไหนจะส่องสว่างกว่า
และประณีตกว่ากัน”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๙. จูฬสกุลุทายิสูตร

“บรรดาวรรณะทั้ง ๒ นี้ กองไฟใหญ่ในราตรีที่มีเดือนมืด ส่องสว่างกว่าและ
ประณีตกว่า พระพุทธเจ้าข้า”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร กองไฟใหญ่ในราตรีที่มีเดือนมืด กับดาวศุกร์
ในนภากาศอันกระจ่างปราศจากเมฆ ในเวลาใกล้รุ่ง บรรดาวรรณะทั้ง ๒ นี้ วรรณะ
ไหนจะส่องสว่างกว่าและประณีตกว่ากัน”
“บรรดาวรรณะทั้ง ๒ นี้ ดาวศุกร์ในนภากาศอันกระจ่างปราศจากเมฆ ในเวลา
ใกล้รุ่งส่องสว่างกว่าและประณีตกว่า พระพุทธเจ้า”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ดาวศุกร์ในนภากาศอันกระจ่างปราศจาก
เมฆ ในเวลาใกล้รุ่งกับดวงจันทร์เวลาเที่ยงคืนตรง ในนภากาศอันกระจ่างปราศจาก
เมฆ ในวันอุโบสถขึ้น ๑๕ ค่ำ บรรดาวรรณะทั้ง ๒ นี้ วรรณะไหนจะส่องสว่างกว่า
และประณีตกว่ากัน”
“บรรดาวรรณะทั้ง ๒ นี้ ดวงจันทร์เวลาเที่ยงคืนตรง ในนภากาศอันกระจ่าง
ปราศจากเมฆ ในวันอุโบสถขึ้น ๑๕ ค่ำ จะส่องสว่างกว่าและประณีตกว่า พระ-
พุทธเจ้าข้า”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ดวงจันทร์ในเวลาเที่ยงคืนตรงในนภากาศ
อันกระจ่างปราศจากเมฆในวันอุโบสถขึ้น ๑๕ ค่ำ กับดวงอาทิตย์เวลาเที่ยงตรงใน
นภากาศอันกระจ่างปราศจากเมฆ ในสารทกาลเดือนท้ายแห่งฤดูฝน บรรดา
วรรณะทั้ง ๒ นี้ วรรณะไหนจะส่องสว่างกว่าและประณีตกว่ากัน”
“บรรดาวรรณะทั้ง ๒ นี้ ดวงอาทิตย์เวลาเที่ยงตรงอันกระจ่างปราศจากเมฆ ใน
สารทกาลเดือนท้ายแห่งฤดูฝนจะส่องสว่างกว่าและประณีตกว่า พระพุทธเจ้าข้า”
“เทวดาเหล่าใดไม่อาศัยแสงดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ เทวดาเหล่านั้นมีมาก
มีมากยิ่งกว่าเหล่าเทวดาที่อาศัยแสงดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ เรารู้ทั่วถึงเทวดา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๙. จูฬสกุลุทายิสูตร

เหล่านั้น แต่เราก็ไม่กล่าวว่า ‘เป็นวรรณะที่ไม่มีวรรณะอื่นยิ่งกว่าหรือประณีตกว่า’
ส่วนท่านกล่าวว่า ‘วรรณะที่เลวกว่าและเศร้าหมองกว่าหิ่งห้อยเป็นวรรณะสูงสุด’
แต่ท่านไม่ชี้วรรณะนั้นให้ชัด”
“พระผู้มีพระภาคทรงหักล้างเรื่องนี้เสียแล้ว พระสุคตทรงหักล้างเรื่องนี้เสียแล้ว
พระพุทธเจ้าข้า”
“อุทายี ทำไมท่านจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘พระผู้มีพระภาคทรงหักล้างเรื่องนี้เสียแล้ว
พระสุคตทรงหักล้างเรื่องนี้เสียแล้วเล่า”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในลัทธิอาจารย์ของตน ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความ
เห็นอย่างนี้ว่า ‘วรรณะนี้เป็นวรรณะสูงสุด วรรณะนี้เป็นวรรณะสูงสุด’ ข้าพระองค์
เหล่านั้นเมื่อถูกพระผู้มีพระภาคสอบสวนซักไซร้ไล่เลียงในลัทธิอาจารย์ของตนจึง
กลายเป็นคนว่าง เป็นคนเปล่า ผิดไปหมด”

ปัญหาเรื่องโลกที่มีสุขโดยส่วนเดียว

[๒๗๔] “อุทายี โลกที่มีสุขโดยส่วนเดียวมีอยู่หรือ ข้อปฏิบัติที่มีเหตุ๑เพื่อ
ทำให้แจ้งโลกที่มีสุขโดยส่วนเดียว มีอยู่หรือ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในลัทธิอาจารย์ของตน ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความ
เห็นอย่างนี้ว่า ‘โลกมีสุขโดยส่วนเดียวมีอยู่ ข้อปฏิบัติที่มีเหตุเพื่อทำให้แจ้งโลก
ที่มีสุขโดยส่วนเดียวก็มีอยู่”
“ข้อปฏิบัติที่มีเหตุเพื่อทำให้แจ้งโลกที่มีสุขโดยส่วนเดียวนั้น เป็นอย่างไร”
“คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ละเว้นขาดจากปาณาติบาต(การฆ่าสัตว์) ละเว้น
ขาดจากอทินนาทาน(การลักทรัพย์) ละเว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร(การประพฤติ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๙. จูฬสกุลุทายิสูตร

ผิดในกาม) ละเว้นขาดจากมุสาวาท(การพูดเท็จ) สมาทานคุณคือตบะอย่างใด
อย่างหนึ่ง ประพฤติอยู่ นี้แลเป็นข้อปฏิบัตินั้นที่มีเหตุเพื่อทำให้แจ้งโลกที่มีสุขโดย
ส่วนเดียว พระพุทธเจ้าข้า”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ในเวลาที่บุคคลละเว้นขาดจากปาณาติบาต
อัตตามีสุขโดยส่วนเดียว หรือมีสุขบ้าง มีทุกข์บ้าง”
“มีสุขบ้าง มีทุกข์บ้าง พระพุทธเจ้าข้า”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ในเวลาที่บุคคลละเว้นขาดจากอทินนาทาน
อัตตามีสุขโดยส่วนเดียว หรือมีสุขบ้าง มีทุกข์บ้าง”
“มีสุขบ้าง มีทุกข์บ้าง พระพุทธเจ้าข้า”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ในเวลาที่บุคคลละเว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร
อัตตามีสุขโดยส่วนเดียว หรือมีสุขบ้าง มีทุกข์บ้าง”
“มีสุขบ้าง มีทุกข์บ้าง พระพุทธเจ้าข้า”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ในเวลาที่บุคคลละเว้นขาดจากมุสาวาท
อัตตามีสุขโดยส่วนเดียว หรือมีสุขบ้าง มีทุกข์บ้าง”
“มีสุขบ้าง มีทุกข์บ้าง พระพุทธเจ้าข้า”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ในเวลาที่บุคคลสมาทานคุณคือตบะอย่างใด
อย่างหนึ่งประพฤติอยู่ อัตตามีสุขโดยส่วนเดียว หรือมีสุขบ้าง มีทุกข์บ้าง”
“มีสุขบ้าง มีทุกข์บ้าง พระพุทธเจ้าข้า”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร การจะอาศัยข้อปฏิบัติอันมีทั้งสุขและทุกข์
แล้วทำให้แจ้งโลกที่มีสุขโดยส่วนเดียว มีอยู่บ้างไหม”
“พระผู้มีพระภาคทรงหักล้างเรื่องนี้เสียแล้ว พระสุคตทรงหักล้างเรื่องนี้เสียแล้ว
พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๙. จูฬสกุลุทายิสูตร

“อุทายี ทำไมท่านจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘พระผู้มีพระภาคทรงหักล้างเรื่องนี้เสียแล้ว
พระสุคตทรงหักล้างเรื่องนี้เสียแล้วเล่า”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในลัทธิอาจารย์ของตน ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความ
เห็นอย่างนี้ว่า ‘โลกที่มีสุขโดยส่วนเดียวมีอยู่ ข้อปฏิบัติที่มีเหตุเพื่อทำให้แจ้งโลกที่มี
สุขโดยส่วนเดียวก็มีอยู่’ ข้าพระองค์เหล่านั้นเมื่อถูกพระผู้มีพระภาคสอบสวนซักไซ้
ไล่เลียงในลัทธิอาจารย์ของตนก็เป็นคนว่าง เป็นคนเปล่า เป็นคนผิดไปหมด
[๒๗๕] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โลกที่มีสุขโดยส่วนเดียวมีอยู่หรือ ข้อปฏิบัติที่
มีเหตุเพื่อทำให้แจ้งโลกที่มีสุขโดยส่วนเดียวมีอยู่หรือ”
“อุทายี โลกที่มีสุขโดยส่วนเดียวมีอยู่ ข้อปฏิบัติที่มีเหตุเพื่อทำให้แจ้งโลกที่มีสุข
โดยส่วนเดียวก็มีอยู่”

ฌาน ๔

“ข้อปฏิบัติที่มีเหตุเพื่อทำให้แจ้งโลกที่มีสุขโดยส่วนเดียวนั้น๑ เป็นอย่างไร
พระพุทธเจ้าข้า”
“อุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว
บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ อยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ อยู่
เพราะปีติจางคลายไป มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะเสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๙. จูฬสกุลุทายิสูตร

ตติยฌาน ฯลฯ อยู่ นี้แล เป็นข้อปฏิบัตินั้นที่มีเหตุเพื่อทำให้แจ้งโลกที่มีสุขโดย
ส่วนเดียว”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อปฏิบัติที่ตรัสตอบมิใช่ข้อปฏิบัติที่มีเหตุเพื่อทำให้
แจ้งโลกที่มีสุขโดยส่วนเดียวได้ เพราะโลกที่มีสุขโดยส่วนเดียว บุคคลทำให้แจ้งชัด
ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้๑”
“อุทายี โลกมีสุขโดยส่วนเดียว บุคคลไม่อาจทำให้แจ้งด้วยข้อปฏิบัติเพียง
เท่านี้ แต่ข้อปฏิบัตินั้นเป็นข้อปฏิบัติที่มีเหตุเพื่อทำให้แจ้งโลกที่มีสุขโดยส่วนเดียวได้
แน่แท้”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว บริษัทของสกุลุทายีปริพาชก ได้บันลือ
เสียงอื้ออึงขึ้นว่า “พวกเราพร้อมทั้งอาจารย์ยังไม่พอใจในเหตุนี้ พวกเราพร้อม
ทั้งอาจารย์ยังไม่พอใจในเหตุนี้ พวกเรายังไม่รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติที่ยิ่งไปกว่านี้”
ลำดับนั้น สกุลุทายีปริพาชกห้ามปริพาชกเหล่านั้นให้เงียบเสียงแล้วได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร ภิกษุนั้นจึงจะ
ทำให้แจ้งโลกที่มีสุขโดยส่วนเดียวได้”
“อุทายี เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อยู่ ยืนสนทนาปราศรัยกันกับเทวดาทั้งหลาย
ผู้เข้าถึงโลกที่มีสุขโดยส่วนเดียวเหล่านั้น อุทายี ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านั้นแล ภิกษุ
นั้นจึงจะทำให้แจ้งโลกที่มีสุขโดยส่วนเดียวได้”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๙. จูฬสกุลุทายิสูตร

[๒๗๖] “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค
คงมุ่งจะทำให้แจ้ง๑โลกที่มีสุขโดยส่วนเดียวนั้นเป็นแน่”
“อุทายี ไม่ใช่ภิกษุจะประพฤติพรหมจรรย์ในเรา เพียงเพื่อทำให้แจ้งโลกที่มีสุข
โดยส่วนเดียวนี้เท่านั้น แท้จริงยังมีธรรมอื่นที่ดีกว่า และประณีตกว่า ที่ภิกษุประพฤติ
พรหมจรรย์ในเรา มุ่งจะทำให้แจ้ง”
“ธรรมที่ดีกว่าและประณีตกว่าที่ภิกษุประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค
มุ่งจะทำให้แจ้งนั้นคืออะไร พระพุทธเจ้าข้า”
“อุทายี ตถาคตอุบัติขึ้นมาในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยตนเอง
โดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึก
ได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า
เป็นพระผู้มีพระภาค ฯลฯ ภิกษุนั้นละนิวรณ์ ๕ ประการนี้ อันเป็นเหตุทำใจให้
เศร้าหมอง เป็นครื่องบั่นทอนปัญญาได้แล้ว เธอสงัดจากกาม และอกุศลธรรม
ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ อยู่ ธรรมนี้แลดีกว่าและประณีตกว่า ที่ภิกษุ
ประพฤติพรหมจรรย์ในเรา มุ่งจะทำให้แจ้ง
อีกประการหนึ่ง เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ
บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อยู่ อุทายี ธรรมนี้แล ดีกว่าและ
ประณีตกว่า ที่ภิกษุประพฤติพรหมจรรย์ในเรา มุ่งจะทำให้แจ้ง”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๙. จูฬสกุลุทายิสูตร

วิชชา ๓

เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ
เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อมจิต
ไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง
๒ ชาติบ้าง ฯลฯ เธอระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและ
ชีวประวัติอย่างนี้ ธรรมนี้แลดีกว่าและประณีตกว่า ที่ภิกษุทั้งหลายประพฤติพรหมจรรย์
ในเรา มุ่งจะทำให้แจ้ง
เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ
เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อมจิต
ไปเพื่อจุตูปปาตญาณ เห็นหมู่สัตว์ผู้ที่กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งาม
และไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ฯลฯ เธอรู้ชัด
ถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ธรรมนี้แลดีกว่าและประณีตกว่า ที่ภิกษุประพฤติ
พรหมจรรย์ในเรามุ่งจะทำให้แจ้ง
เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ
เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อมจิต
ไปเพื่ออาสวักขยญาณรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ
นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินี-
ปฏิปทา’ เมื่อเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ และ
อวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
ธรรมนี้แลดีกว่าและประณีตกว่า ที่ภิกษุประพฤติพรหมจรรย์ในเรามุ่งจะทำให้แจ้ง
อุทายี ธรรมเหล่านี้แล ดีกว่าและประณีตกว่า ที่ภิกษุประพฤติพรหมจรรย์
ในเรา มุ่งจะทำให้แจ้ง”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๙. จูฬสกุลทายิสูตร

สกุลุทายีปริพาชกขอบวช

[๒๗๗] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว สกุลุทายีปริพาชกได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระผู้มีพระภาคทรง
ประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ
เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดี
จักเห็นรูปได้’ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค พร้อมทั้งพระธรรม และพระสงฆ์
เป็นสรณะ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์พึงได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มี
พระภาคเถิด”
เมื่อสกุลุทายีปริพาชกกราบทูลอย่างนี้แล้ว บริษัทของสกุลุทายีปริพาชกได้
กล่าวห้ามสกุลุทายีปริพาชกว่า “ท่านอุทายี ท่านอย่าได้ประพฤติพรหมจรรย์ใน
พระสมณโคดมเลย ท่านเป็นอาจารย์แล้วอย่ายอมเป็นศิษย์เลย อุปมาเหมือน
เป็นขันน้ำแล้ว จะลดฐานะลงเป็นจอกในขันน้ำ แม้ฉันใด ข้ออุปไมยนี้ก็จักมีแก่
ท่านอุทายีฉันนั้นเหมือนกัน ท่านอย่าได้ประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดมเลย
ท่านอุทายี ท่านเป็นอาจารย์แล้วอย่ายอมเป็นศิษย์เลย”
เรื่องนี้เป็นอันยุติได้ว่า บริษัทของสกุลุทายีปริพาชก ได้ทำให้สกุลุทายีปริพาชก
มีอุปสรรคต่อการประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

จูฬสกุลุทายิสูตรที่ ๙ จบ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
๑๐. เวขณสสูตร

๑๐. เวขณสสูตร
ว่าด้วยปริพาชกชื่อเวขณสะ

[๒๗๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล ปริพาชกชื่อเวขณสะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง
ที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว ได้ยืนอยู่
ณ ที่สมควร แล้วได้เปล่งอุทานในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า “นี้เป็นวรรณะสูงสุด
นี้เป็นวรรณะสูงสุด”

ทรงเปรียบเทียบวรรณะ ๒ อย่าง

พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “กัจจานะ ทำไมท่านจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘นี้เป็น
วรรณะสูงสุด นี้เป็นวรรณะสูงสุด’ วรรณะสูงสุดนั้นเป็นอย่างไร”
เวขณสปริพาชกทูลตอบว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม วรรณะใดไม่มีวรรณะอื่น
ยิ่งกว่า หรือประณีตกว่า วรรณะนั้นเป็นวรรณะสูงสุด”
“วรรณะใดไม่มีวรรณะอื่นยิ่งกว่า หรือประณีตกว่า วรรณะนั้นเป็นวรรณะไหนเล่า”
“วรรณะใดไม่มีวรรณะอื่นยิ่งกว่า หรือประณีตกว่า วรรณะนั้นเป็นวรรณะ
สูงสุด พระพุทธเจ้าข้า”
“ท่านกล่าวแต่เพียงว่า ‘วรรณะใดไม่มีวรรณะอื่นยิ่งกว่า หรือประณีตกว่า
วรรณะนั้นเป็นวรรณะสูงสุด’ คำที่ท่านกล่าวนั้นพึงขยายความได้อย่างยืดยาว
แต่ท่านไม่ชี้วรรณะนั้นให้ชัด เปรียบเหมือนชายคนหนึ่งปรารภถึงหญิงสาวอย่างนี้ว่า
‘เราปรารถนารักใคร่หญิงงามแห่งชนบทนี้’ คนจะถามเขาว่า ‘พ่อคุณ เธอรู้จัก
หญิงคนนั้นหรือว่า เป็นนางกษัตริย์ นางพราหมณี นางแพศย์ หรือนางศูทร’
เมื่อถูกถามอย่างนี้ เขาจะตอบว่า ‘ไม่รู้จัก’ จะถูกถามต่อไปว่า ‘เธอรู้จักหญิงคนนั้น
หรือว่ามีชื่อ ตระกูล สูง ต่ำ สันทัด ดำ คล้ำ หรือผิวเหลือง อยู่ในหมู่บ้าน นิคม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๑๐. เวขณสสูตร

หรือเมืองโน้น’ เมื่อถูกถามอย่างนี้ เขาจะตอบว่า ‘ยังไม่รู้จัก’ จะถูกถามต่อไปว่า
‘เธอปรารถนารักใคร่หญิงที่ยังไม่เคยรู้จักทั้งไม่เคยเห็นอย่างนั้นหรือ’ เมื่อถูกถาม
อย่างนี้ เขาจะตอบว่า ‘ใช่’
ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เมื่อเป็นเช่นนี้ คำพูดของชายผู้นั้นถือว่า
เลื่อนลอย มิใช่หรือ”
“เมื่อเป็นเช่นนี้ คำพูดของชายผู้นั้นถือว่าเลื่อนลอยแน่นอน พระพุทธเจ้าข้า”
“กัจจานะ ท่านก็อย่างนั้นเหมือนกัน กล่าวอยู่แต่เพียงว่า ‘ข้าแต่ท่านพระโคดม
วรรณะใดไม่มีวรรณะอื่นยิ่งกว่า หรือประณีตกว่า วรรณะนั้นเป็นวรรณะสูงสุด’
แต่ไม่ได้ชี้วรรณะนั้นให้ชัด”
“ท่านพระโคดม แก้วไพฑูรย์อันงามเกิดเองอย่างบริสุทธิ์แปดเหลี่ยม นายช่าง
เจียระไนดีแล้ว ซึ่งเขาวางไว้ที่ผ้ากัมพลเหลือง ย่อมส่องแสงสว่างเป็นประกายออกมา
แม้ฉันใด อัตตา๑ที่มีวรรณะก็ฉันนั้นเหมือนกัน หลังจากตายไปย่อมเป็นของยั่งยืน”
[๒๗๙] ''กัจจานะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร แก้วไพฑูรย์อันงาม
เกิดเองอย่างบริสุทธิ์แปดเหลี่ยม นายช่างเจียระไนดีแล้ว ซึ่งเขาวางไว้ที่ผ้ากัมพล
เหลือง ย่อมส่องแสงสว่างเป็นประกายออกมากับหิ่งห้อยในราตรีที่มีเดือนมืด บรรดา
วรรณะทั้ง ๒ นี้ วรรณะไหนจะส่องสว่างกว่าและประณีตกว่ากัน”
“บรรดาวรรณะทั้ง ๒ นี้ หิ่งห้อยในราตรีที่มีเดือนมืดนี้ย่อมส่องสว่างกว่าและ
ประณีตกว่า พระพุทธเจ้าข้า”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร หิ่งห้อยในราตรีที่มีเดือนมืด กับประทีปน้ำ
มันในราตรีที่มีเดือนมืด บรรดาวรรณะทั้ง ๒ นี้ วรรณะไหนจะส่องสว่างกว่าและ
ประณีตกว่ากัน”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๑๐. เวขณสสูตร

“บรรดาวรรณะทั้ง ๒ นี้ ประทีปน้ำมันในราตรีที่มีเดือนมืด ส่องสว่างกว่าและ
ประณีตกว่า พระพุทธเจ้าข้า”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ประทีปน้ำมันในราตรีที่มีเดือนมืด กับกอง
ไฟใหญ่ในราตรีที่มีเดือนมืด บรรดาวรรณะทั้ง ๒ นี้ วรรณะไหนจะส่องสว่างและ
ประณีตกว่ากัน”
“บรรดาวรรณะทั้ง ๒ นี้ กองไฟใหญ่ในราตรีที่มีเดือนมืดส่องสว่างกว่าและ
ประณีตกว่า พระพุทธเจ้าข้า”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร กองไฟใหญ่ในราตรีที่มีเดือนมืดกับดาวศุกร์
ในนภากาศอันกระจ่างปราศจากเมฆในเวลาใกล้รุ่ง บรรดาวรรณะทั้ง ๒ นี้ วรรณะ
ไหนจะส่องสว่างกว่าและประณีตกว่ากัน”
“บรรดาวรรณะทั้ง ๒ นี้ ดาวศุกร์ในนภากาศอันกระจ่างปราศจากเมฆในเวลา
ใกล้รุ่งส่องสว่างกว่าและประณีตกว่า พระพุทธเจ้าข้า”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ดาวศุกร์ในนภากาศอันกระจ่างปราศจาก
เมฆในเวลาใกล้รุ่งกับดวงจันทร์เวลาเที่ยงคืนตรง ในนภากาศอันกระจ่างปราศจาก
เมฆในวันอุโบสถขึ้น ๑๕ ค่ำ บรรดาวรรณะทั้ง ๒ นี้ วรรณะไหนจะส่องสว่างสว่างกว่า
และประณีตกว่ากัน”
“บรรดาวรรณะทั้ง ๒ นี้ ดวงจันทร์เวลาเที่ยงคืนตรง ในนภากาศอันกระจ่าง
ปราศจากเมฆ ในวันอุโบสถขึ้น ๑๕ ค่ำนี้ส่องสว่างกว่าและประณีตกว่า พระพุทธเจ้าข้า”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ดวงจันทร์เวลาเที่ยงคืนตรง ในนภากาศ
อันกระจ่างปราศจากเมฆ ในวันอุโบสถขึ้น ๑๕ ค่ำ กับดวงอาทิตย์ในเวลาเที่ยงตรง
ในนภากาศอันกระจ่างปราศจากเมฆ ในสารทกาลเดือนท้ายแห่งฤดูฝน บรรดาวรรณะ
ทั้ง ๒ นี้ วรรณะไหนจะงามกว่าและประณีตกว่ากัน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๑๐. เวขณสสูตร

“ข้าแต่ท่านพระโคดม บรรดาวรรณะทั้ง ๒ นี้ ดวงอาทิตย์เวลาเที่ยงตรง
ในนภากาศอันกระจ่างปราศจากเมฆ ในสารทกาลเดือนท้ายแห่งฤดูฝนนี้ ส่องสว่าง
กว่าและประณีตกว่า”
“กัจจานะ เทวดาเหล่าใดไม่อาศัยแสงดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ เทวดา
เหล่านั้น มีมาก มีมากยิ่งกว่าเหล่าเทวดาที่อาศัยแสงดวงจันทร์และดวงอาทิตย์
เรารู้ทั่วถึงเทวดาเหล่านั้น แต่เราก็ไม่กล่าวว่า ‘เป็นวรรณะที่ไม่มีวรรณะอื่นยิ่งกว่า
หรือประณีตกว่า’ ส่วนท่านกล่าวว่า ‘วรรณะที่เลวกว่าและเศร้าหมองกว่าหิ่งห้อย
นั้นเป็นวรรณะที่สูงสุด’ แต่ท่านไม่ชี้วรรณะนั้นให้ชัด
[๒๘๐] กัจจานะ กามคุณมี ๕ ประการ
กามคุณ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปที่จะพึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
๒. เสียงที่จะพึงรู้แจ้งทางหู ...
๓. กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งทางจมูก ...
๔. รสที่จะพึงรู้แจ้งทางลิ้น ...
๕. โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
กัจจานะ กามคุณมี ๕ ประการ นี้แล
สุข โสมนัสที่อาศัยกามคุณ ๕ ประการนี้เกิดขึ้น เราเรียกว่า กามสุข
ดังนั้น ในกามและกามสุขนั้น เราจึงกล่าวกามสุขว่าเลิศกว่ากามทั้งหลาย
(แต่)กล่าวสุขอันเลิศกว่ากาม๑ว่าเลิศกว่ากามสุข”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค] ๑๐. เวขณสสูตร

สรรเสริญสุขอันเลิศกว่ากาม

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว เวขณสปริพาชกได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ท่านพระโคดม น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ข้อที่ในกามและกามสุขนั้น
ท่านพระโคดมตรัสกามสุขว่าเลิศกว่ากามทั้งหลาย (แต่)ตรัสสุขอันเลิศกว่ากามว่า
เลิศกว่ากามสุข ชื่อว่าตรัสดีแล้ว”
“กัจจานะ ข้อที่ว่า ‘กามก็ดี กามสุขก็ดี สุขอันเลิศกว่ากามก็ดี’ นี้เธอ
ผู้มีทิฏฐิแตกต่างกัน มีความถูกใจแตกต่างกัน มีความพอใจแตกต่างกัน มีความ
มุ่งหมายแตกต่างกัน มีอาจารย์แตกต่างกันจึงรู้ได้ยาก ภิกษุเหล่าใดเป็นอรหันต-
ขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุ
ประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุ
เหล่านั้นแล จะพึงรู้กาม กามสุข หรือสุขอันเลิศกว่ากามนี้ได้”
[๒๘๑] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว เวขณสปริพาชก โกรธ ไม่พอใจ
เมื่อจะด่าว่าเย้ยหยันพระผู้มีพระภาค คิดว่า “เราจักทำให้พระสมณโคดมได้รับ
ความเสียหาย” จึงได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“เมื่อเป็นเช่นนั้น สมณพราหมณ์บางพวกในโลกนี้ ไม่รู้เงื่อนเบื้องต้น ไม่เห็น
เงื่อนเบื้องปลาย แต่ยังยืนยันอยู่ว่า เรารู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ คำกล่าวของ
สมณพราหมณ์เหล่านั้นถึงความเป็นคำน่าหัวเราะ เป็นคำต่ำช้า เป็นคำเปล่า เป็นคำ
เหลวไหลทีเดียว”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “กัจจานะ สมณพราหมณ์เหล่าใด เมื่อไม่รู้เงื่อนเบื้องต้น
ไม่เห็นเงื่อนเบื้องปลาย ยังยืนยันว่า ‘เรารู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ สมณพราหมณ์
เหล่านั้นถูกข่มก็ชอบอยู่ แต่จงงดเงื่อนเบื้องต้นและเงื่อนเบื้องปลายไว้ก่อน ขอให้
วิญญูชนผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา เป็นคนซื่อตรง จงมาเถิด เราจะสั่งสอน เราจัก
แสดงธรรม เมื่อเขาปฏิบัติตามคำพร่ำสอน ไม่นานก็จักรู้เอง เห็นเอง ได้ทราบว่า
ความหลุดพ้นโดยชอบจากเครื่องผูกคืออวิชชาก็เป็นอย่างนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]
รวมพระสูตรที่มีในวรรค

กัจจานะ เด็กอ่อนที่ยังนอนหงาย ถูกเครื่องผูกที่ทำด้วยด้ายผูกไว้ที่ข้อเท้าทั้งสอง
ที่ข้อมือทั้งสองและที่คอรวมเป็น ๕ แห่ง เครื่องผูกเหล่านั้นจะหลุดไปเมื่อเด็กเติบโตขึ้น
และมีร่างกายแข็งแรงขึ้น เขาจึงรู้ว่า ‘เราหลุดพ้นแล้วและเครื่องผูกก็ไม่มีแก่เรา’
แม้ฉันใด วิญญูชน ผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา เป็นคนซื่อตรง ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ขอจงมาเถิด เราจักสั่งสอน จักแสดงธรรม เมื่อเขาปฏิบัติตามคำพร่ำสอนแล้ว
ไม่นานก็จักรู้เอง เห็นเอง ได้ทราบว่า ความหลุดพ้นโดยชอบจากเครื่องผูกคือ
อวิชชาก็เป็นอย่างนั้น”

ปริพาชกชื่อเวขณสะแสดงตนเป็นอุบาสก

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว เวขณสปริพาชกได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่ท่าน
พระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอท่านพระโคดม
จงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
ดังนี้แล

เวขณสสูตรที่ ๑๐ จบ
ปริพาชกวรรคที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. จูฬวัจฉโคตตสูตร ๒. อัคคิวัจฉโคตตสูตร
๓. มหาวัจฉโคตตสูตร ๔. ทีฆนขสูตร
๕. มาคัณฑิยสูตร ๖. สันทกสูตร
๗. มหาสกุลุทายิสูตร ๘. สมณมุณฑิกสูตร
๙. จูฬสกุลุทายิสูตร ๑๐. เวขณสสูตร


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๑. ฆฏิการสูตร

๔. ราชวรรค
หมวดว่าด้วยพระราชา

๑. ฆฏิการสูตร
ว่าด้วยช่างหม้อชื่อฆฏิการะ

[๒๘๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศลพร้อมกับภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จแวะออกจากทางแล้วได้ทรงแย้มพระโอษฐ์ ณ
สถานที่แห่งหนึ่ง ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ได้คิดว่า “อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย
ให้พระผู้มีพระภาคทรงแย้มพระโอษฐ์ เพราะพระตถาคต๑ทั้งหลายย่อมไม่ทรงแย้ม
พระโอษฐ์โดยไม่มีสาเหตุ”
ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์จึงห่มผ้าอุตตราสงค์เฉวียงบ่า ประนมอัญชลีไปทาง
ที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ได้ทูลถามพระองค์ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ
เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พระผู้มีพระภาคทรงแย้มพระโอษฐ์ เพราะพระตถาคตทั้งหลาย
ย่อมไม่ทรงแย้มพระโอษฐ์โดยไม่มีสาเหตุ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ เรื่องเคยมีมาแล้ว ณ สถานที่แห่งนี้
มีนิคมชื่อเวคฬิงคะ เป็นนิคมมั่งคั่ง อุดมสมบูรณ์ มีประชากรมาก มีพลเมือง
หนาแน่น พระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงอาศัยเวคฬิงคนิคมอยู่ ได้ยินว่า ที่นี้เคยเป็นอารามของพระผู้มีพระภาคพระนาม
ว่ากัสสปะ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นมาก่อน ได้ยินว่า พระผู้มี
พระภาคพระนามว่ากัสสปะผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับนั่งตรัสสอน
ภิกษุสงฆ์ ณ ที่นี้”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๑. ฆฏิการสูตร

ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ได้ปูลาดผ้าสังฆาฏิเป็น ๔ ชั้นถวาย แล้วกราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าเช่นนั้น ขอพระผู้มีพระภาคจงประทับ
นั่ง ณ ที่นี้เถิด ภาคพื้นส่วนนี้จักเป็นส่วนที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒ พระองค์
ทรงใช้สอย”
พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว ได้รับสั่งเรียกท่าน
พระอานนท์มาตรัสว่า
“อานนท์ เรื่องเคยมีมาแล้ว ณ สถานที่แห่งนี้ มีนิคมชื่อเวคฬิงคะ เป็นนิคม
มั่งคั่ง อุดมสมบูรณ์ มีประชากรมาก มีพลเมืองหนาแน่น พระผู้มีพระภาคพระนาม
ว่ากัสสปะ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงอาศัยเวคฬิงคนิคมอยู่ ได้ยินว่า
ที่นี้เคยเป็นอารามของพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นมาก่อน ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ ผู้เป็น
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ประทับนั่งตรัสสอนภิกษุสงฆ์ ณ ที่นี้
[๒๘๓] อานนท์ ในเวคฬิงคนิคม ได้มีช่างหม้อชื่อฆฏิการะเป็นอุปัฏฐากผู้เลิศ
ของพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มีมาณพ
ชื่อโชติปาละเป็นสหายที่รักกันของช่างหม้อชื่อฆฏิการะ ครั้งนั้น ช่างหม้อชื่อฆฏิการะ
เรียกโชติปาลมาณพมากล่าวว่า ‘มาเถิด โชติปาละเพื่อนรัก เราจักเข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคพระนามว่ากัสสปะ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยกัน เพราะว่า
การที่เราได้เห็นพระผู้มีพระภาค ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ถือกันว่าเป็นความดี’
เมื่อช่างหม้อชื่อฆฏิการะกล่าวอย่างนี้แล้ว โชติปาลมาณพได้กล่าวว่า ‘อย่าเลย
ฆฏิการะเพื่อนรัก การเห็นพระสมณะโล้นนั้นจะมีประโยชน์อะไร’
แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ ช่างหม้อชื่อฆฏิการะได้กล่าวกับโชติปาลมาณพว่า ‘มาเถิด โชติปาละ
เพื่อนรัก เราจักเข้าไปเฝ้าพระผู้พระภาคพระนามว่ากัสสปะผู้เป็นพระอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้าด้วยกัน เพราะว่าการที่เราได้เห็นพระผู้มีพระภาค ผู้เป็นพระอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ถือกันว่าเป็นความดี’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๑. ฆฏิการสูตร

แม้ครั้งที่ ๓ โชติปาลมาณพได้กล่าวว่า ‘อย่าเลย ฆฏิการะเพื่อนรัก การเห็น
พระสมณะโล้นนั้นจะมีประโยชน์อะไร’
ช่างหม้อชื่อฆฏิการะจึงกล่าวว่า ‘โชติปาละเพื่อนรัก ถ้าเช่นนั้น เรานำจุรณ
ถูตัว๑ไปยังแม่น้ำเพื่ออาบน้ำกันเถิด’ โชติปาลมาณพรับคำแล้ว ลำดับนั้น ช่างหม้อ
ชื่อฆฏิการะและโชติปาลมาณพ ได้นำจุรณถูตัวไปยังแม่น้ำเพื่ออาบน้ำ
[๒๘๔] อานนท์ ต่อมา ช่างหม้อชื่อฆฏิการะ ได้เรียกโชติปาลมาณพมากล่าวว่า
‘โชติปาละเพื่อนรัก ที่นี่ไม่ไกลจากพระอารามของพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ
ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านัก มาเถิด โชติปาละเพื่อนรัก เราจักเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยกัน
เพราะว่าการที่เราได้เห็นพระผู้มีพระภาค ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ถือกันว่าเป็นความดี’
เมื่อช่างหม้อชื่อฆฏิการะกล่าวอย่างนี้แล้ว โชติปาลมาณพได้กล่าวว่า ‘อย่าเลย
ฆฏิการะเพื่อนรัก การเห็นพระสมณะโล้นนั้นจะมีประโยชน์อะไร’
แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ ช่างหม้อชื่อฆฏิการะได้กล่าวว่า ‘โชติปาละเพื่อนรัก ที่นี่ไม่ไกล
จากพระอารามของพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้านัก มาเถิด โชติปาละเพื่อนรัก เราจักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคพระนาม
ว่ากัสสปะ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยกัน เพราะว่าการที่เราได้เห็น
พระผู้มีพระภาค ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ถือกันว่าเป็น
ความดี’
แม้ครั้งที่ ๓ โชติปาลมาณพก็กล่าวว่า ‘อย่าเลย ฆฏิการะเพื่อนรัก การเห็น
พระสมณะโล้นนั้นจะมีประโยชน์อะไร’


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๑. ฆฏิการสูตร

ลำดับนั้น ช่างหม้อชื่อฆฏิการะได้จับชายพกของโชติปาลมาณพแล้วกล่าวว่า
‘โชติปาละเพื่อนรัก ที่นี่ไม่ไกลจากพระอารามของพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ
ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านัก มาเถิด โชติปาละเพื่อนรัก เราจักเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยกัน
เพราะว่าการที่เราได้เห็นพระผู้มีพระภาค ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ถือกันว่าเป็นความดี’
ลำดับนั้น โชติปาลมาณพให้ช่างหม้อชื่อฆฏิการะปล่อยชายพกแล้วกล่าวว่า
‘อย่าเลย ฆฏิการะเพื่อนรัก การเห็นพระสมณะโล้นนั้นจะมีประโยชน์อะไร’
ช่างหม้อชื่อฆฏิการะนั้นจับที่ผมของโชติปาละมาณพผู้อาบน้ำดำเกล้าแล้วกล่าวว่า
‘โชติปาละเพื่อนรัก ที่นี่ไม่ไกลจากพระอารามของพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ
ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านัก มาเถิด โชติปาละเพื่อนรัก เราจักเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยกัน
เพราะว่าการที่เราได้เห็นพระผู้มีพระภาค ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ถือกันว่าเป็นความดี’
ต่อมา โชติปาลมาณพได้คิดว่า ‘น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ที่ช่างหม้อ
ชื่อฆฏิการะผู้มีสกุลรุนชาติต่ำ บังอาจมาจับผมของเราผู้อาบน้ำดำเกล้าแล้ว การที่
เราจะไปด้วยนี้ เห็นจะไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย’ แล้วได้กล่าวกับช่างหม้อชื่อฆฏิการะว่า
‘ฆฏิการะเพื่อนรัก การที่เพื่อนทำความพยายามตั้งแต่พูดชักชวน จับที่ชายพก
จนล่วงเลยถึงบังอาจจับที่ผมของเรานั้น ก็เพื่อจะชวนให้ไปในสำนักของพระผู้มีพระภาค
ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น เท่านั้นเองหรือ’
ช่างหม้อชื่อฆฏิการะกล่าวว่า ‘เท่านั้นเอง โชติปาละเพื่อนรัก จริงอย่างนั้น
การที่เราได้เห็นพระผู้มีพระภาค ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ถือกันว่าเป็นความดี’
โชติปาลมาณพกล่าวว่า ‘ฆฏิการะเพื่อนรัก ถ้าเช่นนั้น ปล่อยเราเถิด พวกเรา
จักไปด้วยกัน’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๑. ฆฏิการสูตร

[๒๘๕] อานนท์ ครั้งนั้น ช่างหม้อชื่อฆฏิการะและโชติปาลมาณพได้เข้า
ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงที่
ประทับ ช่างหม้อชื่อฆฏิการะถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ ผู้เป็น
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ส่วนโชติปาลมาณพได้สนทนา
ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วจึงนั่ง ณ ที่สมควร ช่างหม้อ
ชื่อฆฏิการะผู้นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ ผู้เป็น
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้คือโชติปาละมาณพผู้เป็น
สหายรักกันของข้าพระองค์ ขอพระผู้มีพระภาคจงแสดงธรรมแก่โชติปาลมาณพนี้เถิด’
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้า ทรงชี้แจงให้ช่างหม้อชื่อฆฏิการะและโชติปาลมาณพเห็นชัด ชวนใจให้
อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ด้วยธรรมีกถา๑ จากนั้น ช่างหม้อชื่อฆฏิการะและโชติปาลมาณพผู้ซึ่งพระผู้มีพระภาค
ทรงพระนามว่ากัสสปะ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงชี้แจงให้เห็นชัด
ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่น
ร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว ชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคพระนามว่า
กัสสปะ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วลุกจากที่นั่ง ถวายอภิวาทพระผู้มี
พระภาคพระนามว่ากัสสปะ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า กระทำประทักษิณ
แล้วจากไป
[๒๘๖] อานนท์ ครั้งนั้น โชติปาลมาณพได้ถามช่างหม้อชื่อฆฏิการะว่า
‘ฆฏิการะเพื่อนรัก ท่านเมื่อฟังธรรมนี้ หลังจากนี้จะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
หรือไม่’
ช่างหม้อชื่อฆฏิการะตอบว่า ‘โชติปาละเพื่อนรัก ท่านก็รู้อยู่มิใช่หรือว่า ‘เราต้อง
เลี้ยงดูมารดาบิดาซึ่งเป็นคนตาบอดและแก่ชรา’


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๑. ฆฏิการสูตร

โชติปาลมาณพจึงกล่าวว่า ‘ฆฏิการะเพื่อนรัก ถ้าเช่นนั้น เราจักออกจาก
เรือนบวชเป็นบรรพชิตเอง’
ลำดับนั้น ช่างหม้อชื่อฆฏิการะและโชติปาลมาณพได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
พระนามว่ากัสสปะ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว
นั่ง ณ ที่สมควร ช่างหม้อชื่อฆฏิการะได้กราบทูลว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้คือ
โชติปาลมาณพ ผู้เป็นสหายรักกันของข้าพระองค์ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงบวช
ให้โชติปาลมาณพนี้ด้วยเถิด’
โชติปาลมาณพได้บรรพชาอุปสมบทแล้วในสำนักของพระผู้มีพระภาคพระนาม
ว่ากัสสปะ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

เรื่องพระเจ้ากาสีพระนามว่ากิกี

[๒๘๗] อานนท์ ครั้งนั้น เมื่อโชติปาลมาณพอุปสมบทได้ไม่นานประมาณ
กึ่งเดือน พระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ประทับอยู่ในเวคฬิงคนิคมตามควรแก่อัธยาศัยแล้ว เสด็จจาริกไปทางเขตกรุงพาราณสี
เสด็จจาริกไปแล้วโดยลำดับ จนถึงกรุงพาราณสี
อานนท์ ได้ยินว่า ในคราวนั้น พระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ ผู้เป็น
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุง
พาราณสี พระเจ้ากาสีทรงพระนามว่ากิกีทรงสดับข่าวว่า ‘ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาค
พระนามว่ากัสสปะ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จมาถึงกรุงพาราณสี
ประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤทายวัน’ ลำดับนั้น พระเจ้ากาสีทรงพระนามว่ากิกี
รับสั่งให้จัดยานพาหนะคันงาม ๆ หลายคัน ทรงขึ้นยานพาหนะคันงามเสด็จจาก
เขตกรุงพาราณสีพร้อมกับยานพาหนะคันงาม ๆ ตามเสด็จด้วยราชานุภาพอย่าง
ยิ่งใหญ่ เพื่อทรงเยี่ยมพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น เสด็จไปจนสุดทางที่ยานพาหนะจะไปได้ จึงเสด็จลงจากยาน
เสด็จพระราชดำเนินไปด้วยพระบาทเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ
ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๑. ฆฏิการสูตร

สมควร พระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงชี้แจงให้พระเจ้ากาสีทรงพระนามว่ากิกีทรงเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ
เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา พระเจ้ากาสี
ทรงพระนามว่ากิกีผู้ซึ่งพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้าทรงชี้แจงให้เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญ
แกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว จึงได้กราบทูลว่า ‘ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ จงทรงรับภัตตาหารของ
หม่อมฉันในวันพรุ่งนี้เถิด’
พระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงรับ
นิมนต์โดยดุษณีภาพ
ครั้งนั้น พระเจ้ากาสีพระนามว่ากิกีทรงทราบอาการที่พระผู้มีพระภาคพระนามว่า
กัสสปะ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงรับนิมนต์แล้ว จึงทรงลุกจากที่
ประทับ ถวายอภิวาท ทรงกระทำประทักษิณแล้วเสด็จจากไป เมื่อล่วงราตรีนั้นไป
พระเจ้ากาสีพระนามว่ากิกีได้รับสั่งให้ตกแต่งของเคี้ยวของฉันอันประณีต ล้วนเป็น
ข้าวสาลีซึ่งอ่อนละมุน เก็บกากออกหมดแล้ว มีแกงและกับหลายอย่าง ในพระราช-
นิเวศน์ของท้าวเธอ แล้วรับสั่งให้ราชบุรุษกราบทูลภัตตกาลแด่พระผู้มีพระภาค
พระนามว่ากัสสปะ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า ‘ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
ได้เวลาแล้ว ภัตตาหารสำเร็จแล้ว พระพุทธเจ้าข้า’
[๒๘๘] อานนท์ ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ ผู้เป็น
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไปยัง
พระราชนิเวศน์ของพระเจ้ากาสีพระนามว่ากิกี ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว
พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ลำดับนั้น พระเจ้ากาสีพระนามว่ากิกีทรงอังคาสภิกษุสงฆ์มี
พระพุทธเจ้าเป็นประมุข ให้อิ่มหนำสำราญด้วยของเคี้ยวของฉันอันประณีตด้วย
พระองค์เอง เมื่อพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
เสวยเสร็จ ทรงวางพระหัตถ์แล้ว พระเจ้ากาสีทรงพระนามว่ากิกีก็เลือกประทับนั่ง
ณ ที่สมควรที่ใดที่หนึ่งซึ่งต่ำกว่า แล้วได้กราบทูลว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๑. ฆฏิการสูตร

ผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์การอยู่จำพรรษา ณ กรุงพาราณสีของหม่อมฉันเถิด พระสงฆ์
จักได้รับการบำรุงเห็นปานนี้’
พระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสว่า
‘อย่าเลย มหาบพิตร อาตมภาพรับนิมนต์การอยู่จำพรรษาไว้แล้ว’
แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ พระเจ้ากาสีพระนามว่ากิกีได้กราบทูลว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอพระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์การอยู่จำพรรษา ณ กรุงพาราณสีของหม่อมฉันเถิด
พระสงฆ์จักได้รับการบำรุงเห็นปานนี้’
พระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสว่า
‘อย่าเลย มหาบพิตร อาตมภาพรับนิมนต์การอยู่จำพรรษาไว้แล้ว’
ครั้งนั้น พระเจ้ากาสีพระนามว่ากิกี ทรงเสียพระทัย ทรงโทมนัสว่า ‘พระผู้มี
พระภาคพระนามว่ากัสสปะ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ทรงรับนิมนต์
การอยู่จำพรรษา ณ กรุงพาราณสีของเรา’ จากนั้น ได้ทูลถามว่า ‘ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ มีใครอื่นที่เป็นผู้อุปัฏฐากยิ่งกว่าหม่อมฉันหรือ พระพุทธเจ้าข้า’

พระกัสสปพุทธเจ้าทรงสรรเสริญช่างหม้อชื่อฆฏิการะ

พระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสว่า
‘มหาบพิตร มีนิคมชื่อเวคฬิงคะ ช่างหม้อชื่อฆฏิการะอยู่ในนิคมนั้น เขาเป็นอุปัฏฐาก
ผู้เลิศของอาตมภาพ’ พระองค์ทรงเสียพระทัย มีความโทมนัสว่า ‘พระผู้มีพระภาค
พระนามว่ากัสสปะ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ทรงรับนิมนต์การอยู่จำพรรษา
ในกรุงพาราณสีของเรา’
แต่ความเสียใจและความโทมนัสนั้นย่อมไม่มี และจักไม่มีแก่ช่างหม้อชื่อฆฏิการะ
เพราะช่างหม้อชื่อฆฏิการะถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ถึงพระธรรมเป็นสรณะ ถึงพระสงฆ์
เป็นสรณะ เว้นขาดจากปาณาติบาต(การฆ่าสัตว์) เว้นขาดจากอทินนาทาน(การ
ลักทรัพย์) เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร(การประพฤติผิดในกาม) เว้นขาดจาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๑. ฆฏิการสูตร

มุสาวาท(การพูดเท็จ) เว้นขาดจากสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน(การเสพของมึนเมา
คือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท)
ช่างหม้อชื่อฆฏิการะเป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสมั่นคงในพระพุทธเจ้า เป็นผู้
ประกอบด้วยความเลื่อมใสมั่นคงในพระธรรม เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสมั่นคง
ในพระสงฆ์ ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะรักใคร่ ช่างหม้อชื่อฆฏิการะเป็นผู้หมดความ
สงสัยในทุกข์ เป็นผู้หมดความสงสัยในทุกขสมุทัย เป็นผู้หมดความสงสัยในทุกขนิโรธ
เป็นผู้หมดความสงสัยในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา บริโภคภัตรมื้อเดียว เป็นพรหมจารี
มีศีล มีกัลยาณธรรม ไม่ใช้แก้วมณีและทองคำเป็นเครื่องประดับ ปราศจากการใช้
ทองและเงิน
มหาบพิตร ช่างหม้อชื่อฆฏิการะ ไม่ใช้พลั่วและมือของตนขุดแผ่นดิน หาบแต่ดิน
ริมตลิ่งที่พังหรือขุยหนูมาใช้ทำเป็นภาชนะ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ผู้ต้องการภาชนะ
สำหรับใส่ข้าวสาร ใส่ถั่วเขียว ใส่ถั่วดำ ขอให้นำภาชนะที่ต้องการนั้นไปเถิด’ ช่างหม้อ
ชื่อฆฏิการะเลี้ยงดูมารดาบิดา ซึ่งเป็นคนตาบอดและแก่ชรา (หลังจากตายแล้ว)
ช่างหม้อชื่อฆฏิการะจะเป็นโอปปาติกะ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป
จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่ต้องกลับมาจากโลกนั้นอีก
[๒๘๙] มหาบพิตร สมัยหนึ่ง อาตมภาพอยู่ที่นิคมชื่อเวคฬิงคะนั้นเอง
ครั้นเวลาเช้า อาตมภาพครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร เข้าไปหามารดาบิดา
ของช่างหม้อชื่อฆฏิการะถึงที่อยู่แล้วได้ถามว่า ‘ดูเถิด นี่คนหาอาหารไปที่ไหนเสียเล่า’
มารดาบิดาของช่างหม้อชื่อฆฏิการะทูลตอบว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุปัฏฐาก
ของพระองค์ออกไปแล้ว ขอพระองค์จงรับข้าวสุกจากหม้อข้าว รับแกงจากหม้อแกง
เสวยเถิด’
ครั้งนั้น อาตมภาพได้รับข้าวสุกจากหม้อข้าว รับแกงจากหม้อแกงฉันแล้ว
ลุกจากอาสนะจากไป ลำดับนั้น ช่างหม้อชื่อฆฏิการะเข้าไปหามารดาบิดาถึงที่อยู่แล้ว
ได้ถามว่า ‘ใครมารับข้าวสุกจากหม้อข้าว รับแกงจากหม้อแกง บริโภคแล้วลุกจากอาสนะ
จากไป’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๑. ฆฏิการสูตร

มารดาบิดาบอกว่า ‘ลูกเอ๋ย พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่ากัสสปะ ผู้เป็นพระ
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงรับข้าวสุกจากหม้อข้าว รับแกงจากหม้อแกง เสวย
แล้วทรงลุกจากอาสนะเสด็จจากไป’
มหาบพิตร ครั้งนั้น ช่างหม้อชื่อฆฏิการะได้คิดว่า ‘เป็นลาภของเราหนอ
เราได้ดีแล้วหนอ ที่พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่ากัสสปะ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้า ทรงคุ้นเคยอย่างยิ่งเช่นนี้’ ครั้งนั้น ปีติและสุขไม่จางหายจากช่างหม้อ
ชื่อฆฏิการะตลอดกึ่งเดือน ไม่จางหายจากมารดาบิดาตลอด ๗ วัน
[๒๙๐] มหาบพิตร สมัยหนึ่ง อาตมภาพอยู่ที่นิคมชื่อเวคฬิงคะนั้นเอง
ครั้นเวลาเช้า อาตมภาพครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร เข้าไปหามารดาบิดาของ
ช่างหม้อชื่อฆฏิการะถึงที่อยู่แล้วได้ถามว่า ‘ดูเถิด นี่คนหาอาหารไปไหนเสียเล่า’
มารดาบิดาของช่างหม้อชื่อฆฏิการะทูลตอบว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุปัฏฐาก
ของพระองค์ออกไปแล้ว ขอพระองค์จงรับขนมกุมมาสจากกระเช้านี้ รับแกงจาก
หม้อแกงเสวยเถิด’
ครั้งนั้น อาตมภาพได้รับขนมกุมมาสจากกระเช้า รับแกงจากหม้อแกงฉันแล้ว
ลุกจากอาสนะจากไป ลำดับนั้น ช่างหม้อชื่อฆฏิการะ เข้าไปหามารดาบิดาถึงที่อยู่
แล้วได้ถามว่า ‘ใครมารับขนมกุมมาสจากกระเช้า รับแกงจากหม้อแกง บริโภคแล้ว
ลุกจากอาสนะจากไป’
มารดาบิดาบอกว่า ‘ลูกเอ๋ย พระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ ผู้เป็นพระ
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงรับขนมกุมมาสจากกระเช้า รับแกงจากหม้อแกงเสวย
แล้วทรงลุกจากอาสนะเสด็จจากไปแล้ว’
มหาบพิตร ครั้งนั้น ช่างหม้อชื่อฆฏิการะได้คิดว่า ‘เป็นลาภของเราหนอ
เราได้ดีแล้วหนอ ที่พระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้า ทรงคุ้นเคยอย่างยิ่งเช่นนี้’ ครั้งนั้น ปีติและสุขไม่จางหายจากช่างหม้อ
ชื่อฆฏิการะตลอดกึ่งเดือน ไม่จางหายจากมารดาบิดาตลอด ๗ วัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๑. ฆฏิการสูตร

[๒๙๑] มหาบพิตร สมัยหนึ่ง อาตมภาพอยู่ที่นิคมชื่อเวคฬิงคะนั้นเอง ขณะนั้น
กุฏิรั่วจึงเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงไปดูว่าในเรือน
ของช่างหม้อชื่อฆฏิการะมีหญ้าหรือไม่‘’
เมื่ออาตมภาพกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น(ไปดูกลับมาแล้ว)ได้กล่าวกับ
อาตมภาพว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรือนของช่างหม้อชื่อฆฏิการะไม่มีหญ้า มีแต่
หญ้าที่มุงหลังคาเรือนของเขาเท่านั้น’
อาตมภาพจึงได้สั่งภิกษุทั้งหลายว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงพากันไป
รื้อหญ้าที่มุงหลังคาเรือนของช่างหม้อชื่อฆฏิการะ’
ภิกษุเหล่านั้นได้ไปรื้อหญ้าที่มุงหลังคาเรือนของช่างหม้อชื่อฆฏิการะ ครั้งนั้น
มารดาบิดาของช่างหม้อชื่อฆฏิการะได้กล่าวกับภิกษุเหล่านั้นว่า ‘พวกใครเล่ามารื้อ
หญ้ามุงหลังคาเรือน’
ภิกษุทั้งหลายตอบว่า ‘คุณโยม กุฏิของพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ ผู้เป็น
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ารั่ว’
มารดาบิดาของช่างหม้อชื่อฆฏิการะได้กล่าวว่า ‘นำไปเถิดเจ้าข้า นำไปตาม
สะดวกเถิด พระคุณเจ้า’
ครั้งนั้น ช่างหม้อชื่อฆฏิการะเข้าไปหามารดาบิดาถึงที่อยู่แล้วถามว่า ‘พวกใคร
เล่ามารื้อหญ้ามุงหลังคาเรือน’
มารดาบิดาตอบว่า ‘ลูกเอ๋ย ภิกษุทั้งหลายบอกว่า ‘กุฏิของพระผู้มีพระภาค
พระนามว่ากัสสปะผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ารั่ว’
ลำดับนั้น ช่างหม้อชื่อฆฏิการะได้คิดว่า ‘เป็นลาภของเราหนอ เราได้ดีแล้วหนอ
ที่พระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงคุ้นเคย
อย่างยิ่งเช่นนี้’ ครั้งนั้น ปีติและสุขไม่จางหายจากช่างหม้อชื่อฆฏิการะตลอดกึ่งเดือน
ไม่จางหายจากมารดาบิดาตลอด ๗ วัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๑. ฆฏิการสูตร

มหาบพิตร ครั้งนั้น เรือนที่ช่างหม้อชื่อฆฏิการะอาศัยอยู่หลังนั้น มีอากาศเป็น
หลังคาอยู่ตลอด ๓ เดือน ถึงฝนตกก็ไม่รั่ว ช่างหม้อชื่อฆฏิการะมีคุณเช่นนี้’
พระเจ้ากาสีทรงพระนามว่ากิกีกราบทูลว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เป็นลาภ
ของช่างหม้อชื่อฆฏิการะหนอ ช่างหม้อชื่อฆฏิการะได้ดีแล้วหนอ ที่พระผู้มีพระภาค
ทรงคุ้นเคยอย่างยิ่งเช่นนี้’
[๒๙๒] อานนท์ ครั้งนั้น พระเจ้ากาสีพระนามว่ากิกีทรงให้ราชบุรุษส่งเกวียน
บรรทุกข้าวสาร ข้าวบัณฑุมุฑิกสาลีประมาณ ๕๐๐ เล่มเกวียน และเครื่องแกง
พอสมควรกับข้าวสารนั้นไปพระราชทานแก่ช่างหม้อชื่อฆฏิการะ ราชบุรุษทั้งหลาย
เข้าไปหาช่างหม้อชื่อฆฏิการะแล้วได้กล่าวว่า ‘ท่านผู้เจริญ นี้ข้าวสาร ข้าวบัณฑุมุฑิก-
สาลีประมาณ ๕๐๐ เล่มเกวียน และเครื่องแกงพอสมควรกับข้าวสารนั้น พระเจ้า
กิกีกาสีทรงส่งมาพระราชทานแก่ท่านแล้ว จงรับของพระราชทานเหล่านั้นไว้เถิด’
ช่างหม้อชื่อฆฏิการะกล่าวว่า ‘พระราชามีพระราชกิจมาก มีพระราชกรณียกิจ
มาก สิ่งของที่พระราชทานมานี้อย่าเป็นของข้าพเจ้าเลย จงเป็นของหลวงเถิด’
อานนท์ เธอคงจะคิดอย่างนี้ว่า ‘สมัยนั้น โชติปาลมาณพคงเป็นคนอื่นเป็นแน่
แต่เธอไม่ควรเห็นอย่างนั้น สมัยนั้น เราก็คือโชติปาลมาณพนั่นเอง”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์มีใจยินดีชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

ฆฏิการสูตรที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๒. รัฏฐปาลสูตร

๒. รัฏฐปาลสูตร
ว่าด้วยพระรัฏฐปาละ
พราหมณ์และคหบดีชาวเมืองถุลลโกฏฐิตะเข้าเฝ้า

[๒๙๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นกุรุ พร้อมกับภิกษุสงฆ์
หมู่ใหญ่ เสด็จถึงนิคมของชาวกุรุชื่อถุลลโกฏฐิตะ พราหมณ์และคหบดีทั้งหลายชาว
ถุลลโกฏฐิตนิคมได้สดับข่าวว่า
“ได้ยินว่า พระสมณโคดมเป็นศากยบุตรเสด็จออกผนวชจากศากยะตระกูล
ทรงจาริกไปในแคว้นกุรุ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จถึงถุลลโกฏฐิตนิคม
ท่านพระโคดมพระองค์นั้นมีกิตติศัพท์อันงามขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ
เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ๑ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้
อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า
เป็นพระผู้มีพระภาค๒’ พระองค์ทรงรู้แจ้งโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก
และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ด้วยพระองค์เองแล้วจึง
ประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม ทรงแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง
และมีความงามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์
บริบูรณ์ครบถ้วน การได้พบพระอรหันต์ทั้งหลายเช่นนี้ เป็นความดีอย่างแท้จริง”
ครั้งนั้น พราหมณ์และคหบดีชาวถุลลโกฏฐิตนิคม เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ บางพวกถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวก
ทูลสนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
บางพวกประณมมือไปทางพระผู้มีพระภาคประทับนั่งแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร บางพวก


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๒. รัฏฐปาลสูตร

ประกาศชื่อและโคตรในสำนักของพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวกก็นั่ง
นิ่งอยู่ ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้พราหมณ์และคหบดีชาวถุลลโกฏฐิต-
นิคมเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจ
ให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา

รัฏฐปาลกุลบุตรขอบวช

[๒๙๔] สมัยนั้น กุลบุตรชื่อรัฏฐปาละ เป็นบุตรของตระกูลชั้นสูงในถุลลโกฏฐิต-
นิคมนั้น นั่งอยู่ในบริษัทนั้นด้วย ขณะนั้นเอง รัฏฐปาลกุลบุตรได้คิดว่า “ธรรมตาม
ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงนั้น เราเข้าใจว่า การที่ผู้อยู่ครองเรือนจะประพฤติ
พรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วน ดุจสังข์ขัด มิใช่กระทำได้ง่าย ทางที่ดี
เราควรโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเถิด”
ครั้งนั้น พวกพราหมณ์และคหบดีชาวถุลลโกฏฐิตนิคม ผู้ที่พระผู้มีพระภาค
ทรงชี้แจงให้เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า
ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้วต่างชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มี
พระภาค ลุกจากที่นั่ง ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วจากไป
ลำดับนั้น เมื่อพราหมณ์และคหบดีชาวถุลลโกฏฐิตนิคมจากไปไม่นาน รัฏฐปาลกุลบุตร
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบ
ทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงนั้น ข้าพระองค์
เข้าใจว่า การที่ผู้อยู่ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วน
ดุจสังข์ขัด ไม่ใช่ทำได้ง่าย ข้าพระองค์ปรารถนาจะโกนผมและหนวด นุ่งห่ม
ผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ขอข้าพระองค์พึงได้บรรพชา
อุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคเถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “รัฏฐปาละ มารดาบิดาอนุญาตให้เธอออกจากเรือนบวช
เป็นบรรพชิตแล้วหรือ”
รัฏฐปาลกุลบุตรกราบทูลว่า “ยังมิได้อนุญาต พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๒. รัฏฐปาลสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “รัฏฐปาละ พระตถาคตทั้งหลายย่อมไม่บวชให้กุลบุตร
ที่มารดาบิดายังมิได้อนุญาต”
รัฏฐปาลกุลบุตรกราบทูลว่า “ข้าพระองค์จักหาวิธีให้มารดาบิดาอนุญาตให้
ข้าพระองค์ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต พระพุทธเจ้าข้า”
[๒๙๕] ครั้งนั้น รัฏฐปาลกุลบุตรลุกจากที่นั่ง ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค
กระทำประทักษิณแล้วเข้าไปหามารดาบิดาถึงที่อยู่แล้วกล่าวว่า “คุณพ่อคุณแม่
ธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงนั้น ลูกเข้าใจว่า การที่ผู้อยู่ครองเรือนจะ
ประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วน ดุจสังข์ขัด ไม่ใช่ทำได้ง่าย
ลูกปรารถนาจะโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิต ขอคุณพ่อคุณแม่โปรดอนุญาตให้ลูกออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเถิด”
เมื่อรัฏฐปาลกุลบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว มารดาบิดาของรัฏฐปาลกุลบุตรได้กล่าว
ว่า “พ่อรัฏฐปาละ เจ้าเป็นลูกชายคนเดียว เป็นที่รักเป็นที่ชอบใจของพ่อแม่ เจริญเติบโต
มาด้วยความสุขสบาย ได้รับการเลี้ยงดูมาอย่างดี ลูกไม่รู้จักความทุกข์แม้แต่น้อย
[มาเถิด พ่อรัฏฐปาละ ลูกจงบริโภค จงดื่ม จงให้เขาปรนนิบัติ ลูกเมื่อกำลังบริโภค
กำลังดื่ม กำลังให้เขาปรนนิบัติอยู่ จงยินดีบริโภคกามไปพลาง ทำบุญไปพลางเถิด
พ่อแม่จะไม่อนุญาตให้ลูกออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต] ถึงลูกจะตายพ่อแม่ก็ไม่
ปรารถนาจะจากลูก เหตุไฉน พ่อแม่จักอนุญาตให้ลูกซึ่งยังมีชีวิตอยู่ออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิตเล่า”
แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ รัฏฐปาลกุลบุตรได้กล่าวว่า “คุณพ่อคุณแม่ ธรรมตามที่พระผู้มี
พระภาคทรงแสดงนั้น ลูกเข้าใจว่า การที่บุคคลผู้ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์
ให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วน ดุจสังข์ขัด ไม่ใช่ทำได้ง่าย ลูกปรารถนาจะโกนผม
และหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ขอคุณพ่อคุณแม่
โปรดอนุญาตให้ลูกออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเถิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๒. รัฏฐปาลสูตร

แม้ครั้งที่ ๓ มารดาบิดาของรัฐปาลกุลบุตรก็ได้กล่าวว่า “พ่อรัฏฐปาละ เจ้าเป็น
ลูกชายคนเดียว เป็นที่รักเป็นที่ชอบใจของพ่อแม่ เจริญเติบโตมาด้วยความสุขสบาย
ได้รับการเลี้ยงดูมาอย่างดี ลูกไม่รู้จักความทุกข์แม้แต่น้อย [มาเถิด พ่อรัฏฐปาละ
ลูกจงบริโภค จงดื่ม จงให้เขาปรนนิบัติอยู่เถิด ลูกเมื่อกำลังบริโภค กำลังดื่ม กำลัง
ให้เขาปรนนิบัติอยู่ จงยินดีบริโภคกามไปพลาง ทำบุญไปพลางเถิด พ่อแม่จะไม่
อนุญาตให้ลูกออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต] ถึงลูกจะตาย พ่อแม่ก็ไม่ปรารถนา
จะจากลูก เหตุไฉน พ่อแม่จักอนุญาตให้ลูกซึ่งยังมีชีวิตอยู่ออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิตเล่า”

มารดาบิดาไม่อนุญาตให้บวช

[๒๙๖] ครั้งนั้น รัฏฐปาลกุลบุตรคิดว่า “มารดาบิดาไม่อนุญาตให้เราออก
จากเรือนบวชเป็นบรรพชิตแน่” จึงนอนบนพื้นอันไม่มีเครื่องปูลาด ณ ที่นั้นเอง
ด้วยตั้งใจว่า “เราจักตาย หรือจักได้บวชก็ที่ตรงนี้แหละ” เขาจึงไม่บริโภคอาหาร
ตั้งแต่ ๑ มื้อ ๒ มื้อ ๓ มื้อ ๔ มื้อ ๕ มื้อ ๖ มื้อ จนถึง ๗ มื้อ
ครั้งนั้น มารดาบิดาของรัฏฐปาลกุลบุตรได้กล่าวว่า “พ่อรัฏฐปาละ เจ้าเป็น
ลูกชายคนเดียว เป็นที่รักเป็นที่ชอบใจของพ่อแม่ เจริญเติบโตมาด้วยความสุขสบาย
ได้รับการเลี้ยงดูมาอย่างดี ลูกไม่รู้จักความทุกข์แม้แต่น้อย จงลุกขึ้นเถิด พ่อรัฏฐปาละ
ลูกจงบริโภค จงดื่ม จงให้เขาปรนนิบัติอยู่เถิด ลูกเมื่อกำลังบริโภค กำลังดื่ม กำลัง
ให้เขาปรนนิบัติอยู่ จงยินดีบริโภคกาม๑ไปพลาง ทำบุญ๒ไปพลางเถิด พ่อแม่จะไม่
อนุญาตให้ลูกออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ถึงลูกจะตาย พ่อแม่ก็ไม่ปรารถนา
จะจากลูก เหตุไฉน พ่อแม่จักอนุญาตให้ลูกซึ่งมีชีวิตอยู่ออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิตเล่า จงลุกขึ้นเถิด พ่อรัฏฐปาละ ลูกจงบริโภค จงดื่ม จงให้เขาปรนนิบัติ
อยู่เถิด ลูกเมื่อกำลังบริโภค กำลังดื่ม กำลังให้เขาปรนนิบัติอยู่ จงยินดีบริโภค


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๒. รัฏฐปาลสูตร

กามไปพลาง ทำบุญไปพลางเถิด พ่อแม่จะไม่อนุญาตให้ลูกออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิต ถึงลูกจะตาย พ่อแม่ก็ไม่ปรารถนาจะจากลูก เหตุไฉน พ่อแม่จักอนุญาต
ให้ลูกซึ่งมีชีวิตอยู่ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเล่า”
เมื่อมารดาบิดากล่าวอย่างนี้แล้ว รัฏฐปาลกุลบุตรก็ได้นิ่งเฉย
แม้ครั้งที่ ๒ มารดาบิดาของรัฏฐปาลกุลบุตรก็ได้กล่าวว่า ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๒ รัฏฐปาลกุลบุตรก็ได้นิ่งเฉย
แม้ครั้งที่ ๓ มารดาบิดาของรัฏฐปาลกุลบุตรก็ได้กล่าวว่า “พ่อรัฏฐปาละ
เจ้าเป็นลูกคนเดียว เป็นที่รักเป็นที่ชอบใจของพ่อแม่ เจริญเติบโตมาด้วยความสุขสบาย
ได้รับการเลี้ยงดูมาอย่างดี พ่อรัฏฐปาละ ลูกไม่รู้จักความทุกข์แม้แต่น้อย [จงลุกขึ้น
เถิด พ่อรัฏฐปาละ ลูกจงบริโภค จงดื่ม จงให้เขาปรนนิบัติอยู่เถิด ลูกเมื่อกำลังบริโภค
กำลังดื่ม กำลังให้เขาปรนนิบัติอยู่ จงยินดีบริโภคกามไปพลาง ทำบุญไปพลางเถิด
พ่อแม่จะไม่อนุญาตให้ลูกออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต] ถึงลูกจะตาย พ่อแม่ก็
ไม่ปรารถนาจะจากลูก เหตุไฉน พ่อแม่จักอนุญาตให้ลูกซึ่งมีชีวิตอยู่ออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิตเล่า จงลุกขึ้น พ่อรัฏฐปาละ ลูกจงบริโภค จงดื่ม ฯลฯ ถึงลูก
จะตาย พ่อแม่ก็ไม่ปรารถนาจะจากลูก เหตุไฉน พ่อแม่จักอนุญาตให้ลูกซึ่งมีชีวิตอยู่
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเล่า”
แม้ครั้งที่ ๓ รัฏฐปาลกุลบุตรก็ได้นิ่งเฉย

เพื่อนช่วยอ้อนวอนขออนุญาตให้บวช

[๒๙๗] ครั้งนั้น พวกเพื่อนของรัฏฐปาลกุลบุตรพากันเข้าไปหารัฏฐปาลกุลบุตร
ถึงที่อยู่แล้วได้กล่าวว่า
“รัฏฐปาละเพื่อนรัก เพื่อนเป็นลูกชายคนเดียว เป็นที่รักเป็นที่ชอบใจของพ่อแม่
เจริญเติบโตมาด้วยความสุขสบาย ได้รับการเลี้ยงดูมาอย่างดี เพื่อนไม่รู้จักความ
ทุกข์แม้แต่น้อยเลย [ลุกขึ้นเถิด รัฏฐปาละเพื่อนรัก เพื่อนจงบริโภค จงดื่ม จงให้เขา
ปรนนิบัติอยู่เถิด เมื่อกำลังบริโภค กำลังดื่ม กำลังให้เขาปรนนิบัติอยู่ จงยินดีบริโภค

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๒. รัฏฐปาลสูตร

กามไปพลาง ทำบุญไปพลางเถิด พ่อแม่จะไม่อนุญาตให้เพื่อนออกจากเรือนบวช
เป็นบรรพชิต] ถึงเพื่อนจะตายพ่อแม่ก็ไม่ปรารถนาจะจากเพื่อน เหตุไฉน พ่อแม่
จักยอมอนุญาตให้เพื่อนผู้ยังมีชีวิตอยู่ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเล่า ลุกขึ้นเถิด
รัฏฐปาละเพื่อนรัก เพื่อนจงบริโภค จงดื่ม จงให้เขาปรนนิบัติอยู่เถิด เมื่อกำลังบริโภค
กำลังดื่ม กำลังให้เขาปรนนิบัติอยู่ จงยินดีบริโภคกามไปพลาง ทำบุญไปพลางเถิด
พ่อแม่จะไม่อนุญาตให้เพื่อนออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตแน่ ถึงเพื่อนจะตาย
พ่อแม่ก็ไม่ปรารถนาจะจากเพื่อน เหตุไฉน พ่อแม่จักอนุญาตให้เพื่อนซึ่งมีชีวิตอยู่
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเล่า ลุกขึ้นเถิด รัฏฐปาละเพื่อนรัก เพื่อนจงบริโภค
จงดื่ม จงให้เขาปรนนิบัติอยู่เถิด เมื่อกำลังบริโภค กำลังดื่ม กำลังให้เขาปรนิบัติอยู่
จงยินดีบริโภคกามไปพลางทำบุญไปพลางเถิด พ่อแม่จะไม่อนุญาตให้เพื่อนออกจาก
เรือนบวชเป็นบรรพชิต ถึงเพื่อนจะตาย พ่อแม่ก็ไม่ปรารถนาจะจากเพื่อน เหตุไฉน
พ่อแม่จักอนุญาตให้เพื่อนซึ่งยังมีชีวิตออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเล่า”
เมื่อสหายเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว รัฏฐปาลกุลบุตรก็ได้นิ่งเฉย
แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ พวกเพื่อนของรัฏฐปาลกุลบุตรได้กล่าวว่า “รัฏฐปาละเพื่อนรัก
เพื่อนเป็นลูกชายคนเดียว เป็นที่รักเป็นที่ชอบใจของพ่อแม่ เจริญเติบโตมาด้วย
ความสุขสบาย ได้รับการเลี้ยงดูมาอย่างดี เพื่อนไม่รู้จักความทุกข์แม้แต่น้อยเลย
ลุกขึ้นเถิด รัฏฐปาละเพื่อนรัก เพื่อนจงบริโภค จงดื่ม จงให้เขาปรนนิบัติอยู่เถิด
เมื่อกำลังบริโภค กำลังดื่ม กำลังให้เขาปรนนิบัติอยู่ จงยินดีบริโภคกามไปพลาง
ทำบุญไปพลางเถิด พ่อแม่จะไม่อนุญาตให้เพื่อนออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
ถึงเพื่อนจะตาย พ่อแม่ก็ไม่ปรารถนาจะจากเพื่อน เหตุไฉน พ่อแม่เหล่านั้นจักอนุญาต
ให้เพื่อนซึ่งมีชีวิตอยู่ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเล่า ลุกขึ้นเถิด รัฏฐปาละ
เพื่อนรัก เพื่อนจงบริโภค จงดื่ม ฯลฯ ถึงเพื่อนจะตาย พ่อแม่ก็ไม่ปรารถนาจะจาก
เพื่อน เหตุไฉน พ่อแม่เหล่านั้นจักอนุญาตให้เพื่อนซึ่งมีชีวิตอยู่ออกจากเรือนบวช
เป็นบรรพชิตเล่า”
แม้ครั้งที่ ๓ รัฏฐปาลกุลบุตรก็นิ่งเฉย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๒. รัฏฐปาลสูตร

[๒๙๘] ลำดับนั้น พวกเพื่อนของรัฏฐปาลกุลบุตรพากันเข้าไปหามารดาบิดา
ของรัฏฐปาลกุลบุตรถึงที่อยู่แล้วกล่าวว่า “คุณพ่อคุณแม่ รัฏฐปาลกุลบุตรนี้ นอนบน
พื้นที่ไม่มีเครื่องปูลาด ณ ที่นั้นเองด้วยตั้งใจว่า ‘เราจักตาย หรือจักได้บวชก็ที่ตรงนี้
แหละ’ ถ้าคุณพ่อคุณแม่ไม่ยอมให้รัฏฐปาลกุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
เขาจักตาย ณ ที่ตรงนั้นแน่ แต่ถ้าคุณพ่อคุณแม่อนุญาตให้รัฏฐปาลกุลบุตรออกจาก
เรือนบวชเป็นบรรพชิต คุณพ่อคุณแม่ก็ได้เห็นเขาแม้บวชแล้ว หากรัฏฐปาลกุลบุตร
จักไม่ยินดีในการออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เขาจะมีทางไปที่ไหนอื่นเล่า ก็จัก
กลับมาที่บ้านนี้นั่นเอง ขอคุณพ่อคุณแม่จงอนุญาตให้รัฏฐปาลกุลบุตรออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิตเถิด”
มารดาบิดากล่าวว่า “ลูกทั้งหลาย พ่อแม่อนุญาตให้รัฏฐปาลกุลบุตรออกจาก
เรือนบวชเป็นบรรพชิตได้๑ แต่เขาบวชแล้วต้องมาเยี่ยมพ่อแม่บ้าง”
ต่อมา พวกเพื่อนพากันเข้าไปหารัฏฐปาลกุลบุตรถึงที่อยู่แล้วได้กล่าวว่า “เชิญ
ลุกขึ้นเถิด รัฏฐปาละเพื่อนรัก คุณพ่อคุณแม่อนุญาตให้เพื่อนออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิตแล้ว แต่เพื่อนบวชแล้วต้องมาเยี่ยมคุณพ่อคุณแม่ของเพื่อนบ้าง”

รัฏฐปาลกุลบุตรบวชและบรรลุพระอรหัต

[๒๙๙] ครั้งนั้น รัฏฐปาลกุลบุตรลุกขึ้นบำรุงร่างกายให้เกิดกำลังแล้ว เข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มารดาบิดาอนุญาตให้ข้าพระองค์ออก
จากเรือนบวชเป็นบรรพชิตแล้ว ขอพระผู้มีพระภาคทรงให้ข้าพระองค์บวชเถิด”
รัฏฐปาลกุลบุตรได้บรรพชาอุปสมบทแล้วในสำนักของพระผู้มีพระภาค ครั้งนั้น
เมื่อท่านรัฏฐปาละอุปสมบทแล้วไม่นาน พอได้กึ่งเดือน พระผู้มีพระภาคประทับอยู่
ในถุลลโกฏฐิตนิคมตามความยินดี เสด็จจาริกไปทางกรุงสาวัตถี เสด็จเที่ยวจาริกไป
ตามลำดับจนถึงกรุงสาวัตถี ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๒. รัฏฐปาลสูตร

อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระรัฏฐปาละหลีกออก
ไปอยู่รูปเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนักก็ทำให้แจ้ง
ประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวช
เป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน รู้ชัดว่า
“ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความ
เป็นอย่างนี้อีกต่อไป๑”
ท่านพระรัฏฐปาละได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย
ครั้งนั้น ท่านพระรัฏฐปาละเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์
ปรารถนาจะไปเยี่ยมมารดาบิดา ถ้าพระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตข้าพระองค์”
พระผู้มีพระภาคทรงมนสิการกำหนดใจของท่านพระรัฏฐปาละด้วยพระหฤทัยแล้ว
ทรงทราบชัดว่า “รัฏฐปาลกุลบุตรไม่สามารถที่จะบอกลาสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์อีก”
ลำดับนั้น พระองค์จึงตรัสว่า “รัฏฐปาละ เธอจงกำหนดเวลาที่สมควร ณ บัดนี้เถิด”
ต่อจากนั้น ท่านพระรัฏฐปาละลุกจากอาสนะถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค กระทำ
ประทักษิณแล้วเก็บงำเสนาสนะถือบาตรและจีวรจาริกไปทางถุลลโกฏฐิตนิคม เที่ยวจาริก
ไปตามลำดับจนถึงถุลลโกฏฐิตนิคมแล้ว ได้ยินว่า ท่านพระรัฏฐปาละพักอยู่ ณ พระราช-
อุทยานชื่อมิคจีระของพระเจ้าโกรัพยะในถุลลโกฏฐิตนิคมนั้น ครั้นเวลาเช้า ท่าน
พระรัฏฐปาละครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังถุลลโกฏฐิตนิคม
ขณะเที่ยวบิณฑบาตในถุลลโกฏฐิตนิคมตามลำดับตรอก ได้เข้าไปจนถึงนิเวศน์ของ
บิดาของตน
เวลานั้น บิดาของท่านพระรัฏฐปาละกำลังให้ช่างกัลบกสางผมอยู่ที่ซุ้มประตูกลาง๒
ได้เห็นท่านพระรัฏฐปาละกำลังมาแต่ไกลแล้วได้กล่าวว่า “พวกสมณะโล้นเหล่านี้
บวชลูกชายคนเดียวผู้เป็นที่รักเป็นที่ชอบใจของเรา”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๒. รัฏฐปาลสูตร

ครั้งนั้น ท่านพระรัฏฐปาละไม่ได้รับทาน๑ ไม่ได้รับคำตอบที่บ้านบิดาของท่านเอง
ที่แท้ได้แต่คำด่าเท่านั้น สมัยนั้น ทาสหญิงของญาติของท่านพระรัฏฐปาละกำลัง
จะทิ้งขนมกุมมาสค้างคืน ท่านพระรัฏฐปาละได้กล่าวกับทาสหญิงของญาตินั้นว่า
“น้องหญิง ถ้าจะทิ้งสิ่งนั้น ก็จงใส่ในบาตรของอาตมานี้เถิด”
ขณะที่ทาสหญิงของญาติของท่านกำลังเกลี่ยขนมกุมมาสค้างคืนนั้นลงในบาตร
ก็จำเค้ามือ เท้า และน้ำเสียงของท่านพระรัฏฐปาละได้

พระรัฏฐปาละฉันขนมบูด

[๓๐๐] ครั้งนั้น ทาสหญิงของญาติของท่านพระรัฏฐปาละได้เข้าไปหามารดา
ของท่านพระรัฏฐปาละถึงที่อยู่แล้วได้กล่าวว่า “คุณนายเจ้าขา โปรดทราบเถิดว่า
‘พระรัฏฐปาละบุตรของคุณนายกลับมาแล้ว”
มารดาของท่านพระรัฏฐปาละกล่าวว่า “หนูเอ๋ย ถ้าเธอพูดจริง ฉันจะปลดปล่อย
เธอให้เป็นไท” มารดาของท่านพระรัฏฐปาละ เข้าไปหาบิดาของท่านพระรัฏฐปาละ
ถึงที่อยู่แล้วได้กล่าวว่า “เดชะบุญ ท่านคหบดี ท่านรู้ไหม ได้ยินว่า รัฏฐปาลกุลบุตร
กลับมาแล้ว”
เวลานั้น ท่านพระรัฏฐปาละนั่งพิงฝาเรือนแห่งหนึ่งฉันขนมกุมมาสค้างคืน
โยมบิดาเข้าไปหาท่านพระรัฏฐปาละถึงที่อยู่แล้วได้ถามว่า “อะไรกัน พ่อรัฏฐปาละ
ลูกฉันขนมกุมมาสค้างคืนหรือ ลูกควรไปเรือนของตน มิใช่หรือ”
ท่านพระรัฏฐปาละตอบว่า “คหบดี อาตมภาพผู้ออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิตจะมีเรือนแต่ที่ไหน อาตมภาพไม่มีเรือน อาตมภาพได้ไปเรือนของโยม
มาแล้ว ในเรือนนั้น อาตมภาพไม่ได้รับทาน ไม่ได้รับคำตอบเลย ได้แต่คำด่า
อย่างเดียว”
บิดากล่าวว่า “มาเถิด ลูกรัฏฐปาละ พวกเราจะไปเรือนด้วยกัน”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๒. รัฏฐปาลสูตร

ท่านพระรัฏฐปาละกล่าวว่า “อย่าเลย คหบดี วันนี้อาตมภาพฉันอิ่มแล้ว”
บิดากล่าวว่า “พ่อรัฏฐปาละ ถ้าเช่นนั้น ขอท่านจงรับนิมนต์ฉันภัตตาหารในวัน
พรุ่งนี้เถิด”
ท่านพระรัฏฐปาละรับนิมนต์โดยดุษณีภาพแล้ว ลำดับนั้น บิดาของท่านพระ
รัฏฐปาละทราบอาการที่ท่านพระรัฏฐปาละรับนิมนต์แล้ว จึงเข้าไปยังนิเวศน์ของตน
แล้วให้ขนเงินและทองมากองเป็นกองใหญ่ ให้เอาเสื่อลำแพนปิดไว้ แล้วเรียก
ภรรยาเก่าของท่านพระรัฏฐปาละมากล่าวว่า “มาเถิดแม่สาว ๆ ทั้งหลาย พวกเธอ
เคยแต่งตัวด้วยเครื่องประดับสำรับใดแล้ว จึงเป็นที่รักเป็นที่ชอบใจของรัฏฐปาลกุลบุตร
เมื่อครั้งก่อน จงแต่งตัวด้วยเครื่องประดับสำรับนั้นเถิด”
[๓๐๑] ครั้งนั้น เมื่อล่วงราตรีนั้นไป บิดาของท่านพระรัฏฐปาละได้สั่งให้
ตกแต่งของเคี้ยวของฉันอย่างประณีตไว้ในนิเวศน์ของตน แล้วใช้คนไปบอกเวลา
แก่ท่านพระรัฏฐปาละว่า “พ่อรัฏฐปาละได้เวลาแล้ว ภัตตาหารสำเร็จแล้ว”
ครั้นเวลาเช้า ท่านพระรัฏฐปาละครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปยัง
นิเวศน์ของบิดาท่านเองแล้วนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้แล้ว บิดาของท่านพระรัฏฐปาละ
สั่งให้เปิดกองเงินกองทองนั้น แล้วได้กล่าวกับท่านพระรัฏฐปาละว่า
“พ่อรัฏฐปาละ ทรัพย์กองนี้เป็นส่วนของแม่ กองโน้นเป็นส่วนของพ่อ ส่วนอีก
กองหนึ่งเป็นของปู่ ทั้งหมดนี้เป็นของลูกผู้เดียว ลูกสามารถที่จะใช้สอยสมบัติไป
และทำบุญไปก็ได้ มาเถิด พ่อรัฏฐปาละ ลูกจงลาสิกขาออกมาเป็นคฤหัสถ์ใช้สอย
สมบัติ และทำบุญไปเถิด”
ท่านพระรัฏฐปาละตอบว่า “คหบดี ถ้าท่านพึงทำตามคำของอาตมภาพได้
ท่านพึงให้คนขนกองเงินกองทองนี้ ใส่เกวียนแล้วให้เขาเข็นไปทิ้งไว้ที่กลางกระแส
แม่น้ำคงคาเถิด ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะโสกะ(ความเศร้าโศก) ปริเทวะ(ความ
คร่ำครวญ) ทุกข์(ความทุกข์กาย) โทมนัส(ความทุกข์ใจ) และอุปายาส(ความ
คับแค้นใจ) มีทรัพย์นั้นเป็นเหตุ จักเกิดขึ้นแก่ท่าน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๒. รัฏฐปาลสูตร

ลำดับนั้น พวกภรรยาเก่าของท่านพระรัฏฐปาละจับที่เท้าคนละข้างแล้วได้ถาม
ท่านพระรัฏฐปาละว่า “หลวงพี่ นางอัปสรพวกไหนเล่าเป็นต้นเหตุให้หลวงพี่ประพฤติ
พรหมจรรย์”
พระรัฏฐปาละตอบว่า “น้องหญิง เราไม่ได้ประพฤติพรหมจรรย์ เพราะเหตุแห่ง
นางอัปสรทั้งหลาย”
ภรรยาเหล่านั้นเสียใจว่า “รัฏฐปาละผู้ลูกเจ้าเรียกพวกเราว่า ‘น้องหญิง” จึงล้ม
สลบอยู่ ณ ที่นั้น ครั้งนั้น ท่านพระรัฏฐปาละได้กล่าวกับบิดาว่า “คหบดี ถ้าท่าน
จะถวายอาหารก็จงถวายเถิด อย่าให้อาตมภาพลำบากเลย”
บิดากล่าวว่า “ฉันเถิด พ่อรัฏฐปาละ ภัตตาหารสำเร็จแล้ว”
ต่อจากนั้น บิดาของท่านพระรัฏฐปาละได้อังคาสท่านพระรัฏฐปาละด้วยของเคี้ยว
ของฉันอันประณีต ถวายให้ฉันจนอิ่มหนำด้วยมือของตน

พระรัฏฐปาละแสดงธรรม

[๓๐๒] ครั้งนั้น ท่านพระรัฏฐปาละฉันเสร็จละมือจากบาตรแล้วได้ยืนกล่าว
คาถาเหล่านี้ว่า
“โยมจงดูอัตภาพอันวิจิตร มีกายเป็นแผล๑
ที่คุมกันอยู่๒ กระสับกระส่าย๓
เป็นที่ดำริของชนเป็นอันมาก ไม่มีความยั่งยืนมั่นคง


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๒. รัฏฐปาลสูตร

โยมจงดูรูปอันวิจิตรด้วยแก้วมณีและกุณฑล
มีกระดูกอันหนังหุ้มห่อไว้ งามด้วยผ้า
เท้าที่ย้อมด้วยครั่งสีสด หน้าที่ไล้ทาด้วยจุรณ
พอจะหลอกคนโง่ให้หลงใหลได้
แต่จะหลอกคนผู้แสวงหาฝั่ง(คือนิพพาน)ไม่ได้
ผมที่ตบแต่งเป็นลอนดังตาหมากรุก
ตาที่เยิ้มด้วยยาหยอด พอจะหลอกคนโง่ได้
แต่จะหลอกคนที่แสวงหาฝั่งไม่ได้
กายที่มีสภาพเปื่อยเน่าเป็นธรรมดา
ซึ่งตกแต่งแล้วเหมือนกล่องยาหยอดตาใหม่
อันงดงามพอจะหลอกคนโง่ได้
แต่จะหลอกคนผู้แสวงหาฝั่งไม่ได้
ท่านเป็นดั่งพรานเนื้อวางบ่วงไว้
แต่เนื้อไม่ติดบ่วง
เมื่อพรานเนื้อกำลังคร่ำครวญอยู่
เรากินเหยื่อแล้วก็หลีกไป๑”
ลำดับนั้น ท่านพระรัฏฐปาละยืนกล่าวคาถาเหล่านี้แล้วจึงเข้าไปยังพระราช-
อุทยานมิคจีระของพระเจ้าโกรัพยะ แล้วนั่งพักกลางวันอยู่ที่โคนไม้แห่งหนึ่ง
[๓๐๓] ครั้งนั้น พระเจ้าโกรัพยะรับสั่งเรียกนายมิควะมาตรัสว่า “มิควะ
เพื่อนรัก ท่านจงทำความสะอาดพื้นที่อุทยานมิคจีระ เราจะไปชมพื้นที่อุทยานที่
สะอาด”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๒. รัฏฐปาลสูตร

นายมิควะทูลรับสนองพระราชดำรัสแล้ว เมื่อกำลังทำความสะอาดพื้นที่พระ
ราชอุทยานมิคจีระอยู่ ได้เห็นท่านพระรัฏฐปาละนั่งพักกลางวันอยู่ที่โคนไม้แห่งหนึ่ง
จึงเข้าไปเฝ้าพระเจ้าโกรัพยะถึงที่ประทับ แล้วได้กราบทูลว่า
“ขอเดชะ พระราชอุทยานมิคจีระของพระองค์สะอาดแล้ว และในพระราช-
อุทยานนั้น มีกุลบุตรชื่อรัฏฐปาละผู้เป็นบุตรแห่งตระกูลชั้นสูงในถุลลโกฏฐิตนิคมนี้
ที่พระองค์ทรงสรรเสริญอยู่เสมอ ๆ เธอนั่งพักกลางวันอยู่ที่โคนไม้แห่งหนึ่ง”
พระเจ้าโกรัพยะตรัสว่า “มิควะเพื่อนรัก ถ้าเช่นนั้น บัดนี้ ควรจะไปที่อุทยาน
พวกเราจะเข้าไปหาพระคุณเจ้ารัฏฐปาละในบัดนี้เลย”
ครั้งนั้น พระเจ้าโกรัพยะรับสั่งว่า “ของเคี้ยวของบริโภคที่จัดเตรียมไปยังอุทยานนั้น
ท่านทั้งหลายจงแจกจ่ายให้หมดเสียเถิด” แล้วรับสั่งให้จัดยานพาหนะคันงาม ๆ หลายคัน
ทรงขึ้นพาหนะคันงามเสด็จออกจากถุลลโกฏฐิตนิคมด้วยยานพาหนะคันงาม ๆ ตาม
เสด็จด้วยราชานุภาพอย่างยิ่งใหญ่เพื่อทรงเยี่ยมท่านพระรัฏฐปาละ เสด็จไปจนสุด
ทางที่ยานพาหนะจะไปได้ จึงเสด็จลงจากยาน เสด็จพระราชดำเนินไปด้วยพระบาท
พร้อมด้วยบริษัทชั้นสูง เข้าไปหาท่านพระรัฏฐปาละถึงที่อยู่ แล้วได้สนทนาปราศรัย
พอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วได้ประทับยืน ณ ที่สมควรได้รับสั่งว่า
“นิมนต์พระคุณเจ้ารัฏฐปาละนั่งบนเครื่องลาดนี้เถิด”
ท่านพระรัฏฐปาละถวายพระพรว่า “มหาบพิตร อย่าเลย เชิญพระองค์ประทับ
นั่งเถิด อาตมภาพนั่งที่อาสนะของอาตมภาพดีอยู่แล้ว”
พระเจ้าโกรัพยะ จึงประทับนั่งบนที่ประทับที่ข้าราชบริพารจัดถวาย แล้วได้ตรัส
กับท่านพระรัฏฐปาละว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๒. รัฏฐปาลสูตร

ความเสื่อม ๔ ประการ

[๓๐๔] “พระคุณเจ้ารัฏฐปาละ ความเสื่อม ๔ ประการนี้ ที่คนบางพวกใน
โลกนี้ประสบเข้าแล้ว ย่อมโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิต
ความเสื่อม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ความเสื่อมเพราะชรา ๒. ความเสื่อมเพราะความเจ็บไข้
๓. ความเสื่อมจากทรัพย์สมบัติ ๔. ความเสื่อมจากญาติ

ความเสื่อมเพราะชรา เป็นอย่างไร
คือ คนบางคนในโลกนี้เป็นคนแก่ คนเฒ่า เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยมา
โดยลำดับ เขาพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘บัดนี้ เราเป็นคนแก่แล้ว เป็นคนเฒ่าแล้ว
เป็นผู้ใหญ่แล้ว เป็นผู้ล่วงกาลผ่านวัยมาโดยลำดับ การที่เราจะได้ครอบครองทรัพย์
สมบัติที่ยังไม่ได้ หรือการที่เราจะทำทรัพย์สมบัติที่ได้แล้วให้เพิ่มพูนขึ้น ไม่ใช่ทำ
ได้ง่ายเลย ทางที่ดี เราควรโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิตเถิด’ เขาประสบกับความเสื่อมเพราะชรานั้นแล้วจึงโกนผมและ
หนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต นี้เรียกว่า ความเสื่อม
เพราะชรา
ส่วนพระคุณเจ้ารัฏฐปาละ บัดนี้ก็ยังหนุ่มแน่น ผมดำสนิท เป็นหนุ่มอยู่ในวัย
แรกเริ่ม ไม่มีความเสื่อมเพราะชรานั้นเลย พระคุณเจ้ารัฏฐปาละรู้เห็นหรือได้ฟังอะไร
จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต (๑)
ความเสื่อมเพราะความเจ็บไข้ เป็นอย่างไร
คือ คนบางคนในโลกนี้มีความเจ็บไข้ มีทุกข์ เจ็บหนัก เขาพิจารณาเห็น
ดังนี้ว่า ‘บัดนี้ เราเป็นคนมีความเจ็บไข้ มีทุกข์ เจ็บหนัก การที่เราจะได้ครอบครอง
ทรัพย์สมบัติที่ยังไม่ได้ หรือการที่เราจะทำทรัพย์สมบัติที่ได้แล้วให้เพิ่มพูนขึ้น ไม่ใช่
ทำได้ง่ายเลย ทางที่ดี เราควรโกนผมและหนวดนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๒. รัฏฐปาลสูตร

เรือนบวชเป็นบรรพชิตเถิด’ เขาประสบกับความเสื่อมเพราะความเจ็บไข้นั้น แล้วจึง
โกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต นี้เรียกว่า
ความเสื่อมเพราะความเจ็บไข้
ส่วนพระคุณเจ้ารัฏฐปาละ บัดนี้เป็นผู้มีสุขภาพ มีโรคาพาธน้อย ประกอบด้วย
ไฟธาตุที่ย่อยอาหารสม่ำเสมอดี ไม่เย็นนักไม่ร้อนนัก ไม่มีความเสื่อมเพราะความ
เจ็บไข้นั้นเลย พระคุณเจ้ารัฏฐปาละรู้เห็นหรือได้ฟังอะไร จึงออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิต (๒)
ความเสื่อมจากทรัพย์สมบัติ เป็นอย่างไร
คือ คนบางคนในโลกนี้ เป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีสมบัติมาก ทรัพย์สมบัติ
เหล่านั้นของเขาถึงความสิ้นไปโดยลำดับ เขาพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เมื่อก่อน เราเป็น
คนมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีสมบัติมาก ทรัพย์สมบัติเหล่านั้นของเราถึงความสิ้นไปโดย
ลำดับแล้ว การที่เราจะได้ครอบครองทรัพย์สมบัติที่ยังไม่ได้ หรือการที่เราจะทำ
ทรัพย์สมบัติที่ได้แล้วให้เพิ่มพูนขึ้น ไม่ใช่ทำได้ง่ายเลย ทางที่ดี เราควรโกนผมและ
หนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพิตเถิด’ เขาประกอบด้วย
ความเสื่อมจากทรัพย์สมบัตินั้น จึงโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต นี้เรียกว่า ความเสื่อมจากทรัพย์สมบัติ
ส่วนพระคุณเจ้ารัฏฐปาละเป็นบุตรของตระกูลชั้นสูงในถุลลโกฏฐิตนิคมนี้ ไม่มี
ความเสื่อมจากทรัพย์สมบัตินั้น พระคุณเจ้ารัฏฐปาละรู้เห็นหรือได้ฟังอะไรจึงออกจาก
เรือนบวชเป็นบรรพชิต (๓)
ความเสื่อมจากญาติ เป็นอย่างไร
คือ คนบางคนในโลกนี้ มีมิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิตเป็นอันมาก ญาติ
เหล่านั้นของเขาถึงความสิ้นไปโดยลำดับ เขาพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เมื่อก่อน เรามี
มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิตเป็นอันมาก พวกญาติของเรานั้นถึงความสิ้นไป
โดยลำดับ การที่เราจะได้ครอบครองทรัพย์สมบัติที่ยังไม่ได้ หรือการที่เราจะทำ
ทรัพย์สมบัติที่ได้แล้วให้เพิ่มพูนขึ้น ไม่ใช่ทำได้ง่ายเลย ทางที่ดี เราควรโกนผมและ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๒. รัฏฐปาลสูตร

หนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเถิด’ เขาประสบกับ
ความเสื่อมจากญาตินั้น จึงโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจาก
เรือนบวชเป็นบรรพชิต นี้เรียกว่า ความเสื่อมจากญาติ
ส่วนพระคุณเจ้ารัฏฐปาละมีมิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิตเป็นอันมากในถุลลโกฏฐิต-
นิคมนี้ ไม่มีความเสื่อมจากญาติเลย พระคุณเจ้ารัฏฐปาละรู้เห็นหรือได้ฟังอะไรจึง
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต (๔)
พระคุณเจ้ารัฏฐปาละ ความเสื่อม ๔ ประการนี้ ที่คนบางพวกในโลกนี้ประสบ
เข้าแล้วจึงโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
พระคุณเจ้ารัฏฐปาละไม่มีความเสื่อม ๔ ประการนั้นเลย พระคุณเจ้ารัฏฐปาละรู้เห็น
หรือได้ฟังอะไรจึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต”

ธัมมุทเทส ๔ ประการ

[๓๐๕] ท่านพระรัฏฐปาละถวายพระพรว่า “มหาบพิตร มีอยู่แลที่พระผู้มี
พระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงแสดง
ธัมมุทเทส ๔ ประการ ที่อาตมภาพรู้ เห็นและได้ฟังแล้ว จึงออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิต

ธัมมุทเทส ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระองค์นั้น ทรงแสดงธัมมุทเทสประการที่ ๑ ว่า ‘โลกอันชรานำไป
ไม่ยั่งยืน’ ที่อาตมภาพรู้เห็นและได้ฟังแล้ว จึงได้ออกจากเรือนบวช
เป็นบรรพชิต
๒. พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระองค์นั้น ทรงแสดงธัมมุทเทสประการที่ ๒ ว่า ‘โลกไม่มีผู้
ต้านทาน ไม่เป็นอิสระ’ ที่อาตมภาพรู้เห็นและได้ฟังแล้ว จึงได้ออก
จากเรือนบวชเป็นบรรพชิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๒. รัฏฐปาลสูตร

๓. พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระองค์นั้น ทรงแสดงธัมมุทเทสประการที่ ๓ ว่า ‘โลกไม่มีอะไร
เป็นของตน จำต้องละสิ่งทั้งปวงไป’ ที่อาตมภาพรู้เห็นและได้ฟังแล้ว
จึงได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
๔. พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระองค์นั้น ทรงแสดงธัมมุทเทสประการที่ ๔ ว่า ‘โลกพร่องอยู่
เป็นนิตย์ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา’ ที่อาตมภาพรู้เห็นและได้
ฟังแล้วจึงได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
มหาบพิตร พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงแสดงธัมมุทเทส ๔ ประการนี้แล ที่อาตมภาพรู้ เห็น
และฟังแล้ว จึงได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต”
[๓๐๖] พระเจ้าโกรัพยะตรัสถามว่า “ท่านพระรัฏฐปาละกล่าวว่า ‘โลกอันชรา
นำไป ไม่ยั่งยืน’ เนื้อความแห่งภาษิตนี้ จะพึงเห็นได้อย่างไร”
ท่านพระรัฏฐปาละถวายพระพรว่า “มหาบพิตร พระองค์ทรงเข้าพระทัยความ
ข้อนั้นว่าอย่างไร พระองค์เมื่อมีพระชนมายุ ๒๐ พรรษาก็ดี ๒๕ พรรษาก็ดี
ทรงศึกษาอย่างคล่องแคล่วในเรื่องช้างก็ดี เรื่องม้าก็ดี เรื่องรถก็ดี เรื่องธนูก็ดี เรื่อง
อาวุธก็ดี ทรงมีกำลังพระเพลา ทรงมีกำลังพระพาหา ทรงมีพระวรกายสามารถ
ฝ่าศึกสงครามมาแล้ว มิใช่หรือ”
“พระคุณเจ้ารัฏฐปาละ โยมเมื่ออายุ ๒๐ ปีก็ดี ๒๕ ปีก็ดี ได้ศึกษาอย่าง
คล่องแคล่วในเรื่องช้างก็ดี เรื่องม้าก็ดี เรื่องรถก็ดี เรื่องธนูก็ดี เรื่องอาวุธก็ดี
มีกำลังขา มีกำลังแขน มีร่างกายสามารถ เคยฝ่าสงครามมาแล้ว บางครั้งโยม
ยังเข้าใจว่ามีฤทธิ์ ไม่เห็นใครเสมอด้วยกำลังของโยมเลย”
“มหาบพิตร พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร แม้บัดนี้ พระองค์
ก็ยังมีกำลังพระเพลา มีกำลังพระพาหา มีพระวรกายสามารถฝ่าสงครามได้เหมือน
อย่างเดิมหรือ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๒. รัฏฐปาลสูตร

“พระคุณเจ้ารัฏฐปาละ ข้อนี้หามิได้ บัดนี้ โยมแก่แล้ว เจริญวัยแล้ว เป็นผู้ใหญ่
ล่วงกาลผ่านวัยมาโดยลำดับแล้ว วัยของโยมล่วงไป ๘๐ ปีแล้ว บางครั้ง โยมคิดว่า
‘จักก้าวเท้าไปทางนี้ก็ไพล่ก้าวไปทางอื่นเสีย”
“มหาบพิตร พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงหมายถึงเนื้อความนี้แล จึงตรัสธัมมุทเทสประการที่ ๑
ว่า ‘โลกอันชรานำไป ไม่ยั่งยืน’ ที่อาตมภาพรู้ เห็นและได้ฟังแล้ว จึงออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิต”
“พระคุณเจ้ารัฏฐปาละ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ คำว่า ‘โลกอันชรานำไป
ไม่ยั่งยืน’ พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระองค์นั้น ตรัสไว้ดีแล้ว พระคุณเจ้ารัฏฐปาละ เป็นความจริง โลกอันชรานำไป
ไม่ยั่งยืน (๑)
ในราชตระกูลนี้ มีหมู่พลช้าง หมู่พลม้า หมู่พลรถ และหมู่พลเดินเท้า ที่จัก
ย่ำยีอันตรายของโยมได้ ท่านพระรัฏฐปาละกล่าวว่า ‘โลกไม่มีผู้ต้านทานได้ ไม่เป็น
อิสระ’ เนื้อความแห่งภาษิตนี้ จะพึงเห็นได้อย่างไร”
“มหาบพิตร พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร พระองค์เคย
ประชวรหนักบ้างไหม”
“พระคุณเจ้ารัฏฐปาละ โยมเคยเจ็บหนักอยู่ บางครั้ง พวกมิตร อำมาตย์ ญาติ
สาโลหิตแวดล้อมโยมอยู่ด้วยสำคัญว่า ‘พระเจ้าโกรัพยะจักสวรรคตในบัดนี้ พระเจ้า
โกรัพยะจักสวรรคตในบัดนี้”
“มหาบพิตร พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร พระองค์ได้มิตร
อำมาตย์ ญาติสาโลหิต(ที่มหาบพิตรจะขอร้อง)ว่า ‘มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิตผู้
เจริญของเราทั้งหมดที่มีอยู่ จงมาช่วยแบ่งเวทนานี้ไปโดยช่วยเราให้ได้เสวยเวทนา
เบาลง’ หรือว่าพระองค์เท่านั้น จะต้องเสวยเวทนานั้น”
“พระคุณเจ้ารัฏฐปาละ โยมจะได้มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิต(ที่โยมจะขอร้อง)
ว่า ‘มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิตทั้งหมดที่มีอยู่ จงมาช่วยแบ่งเวทนานี้ไป ช่วยเราให้
ได้เสวยเวทนาเบาลง’ หามิได้ แต่โยมเองเท่านั้นจะต้องเสวยเวทนานั้น”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๒. รัฏฐปาลสูตร

''มหาบพิตร พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงหมายถึงเนื้อความนี้แล จึงตรัสธัมมุทเทสประการ
ที่ ๒ ว่า ‘โลกไม่มีผู้ต้านทาน ไม่เป็นอิสระ’ ที่อาตมภาพรู้ เห็นและได้ฟังแล้ว
จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต”
“พระคุณเจ้ารัฏฐปาละ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ คำว่า ‘โลกไม่มีผู้
ต้านทาน ไม่เป็นอิสระ’ พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้ดีแล้ว พระคุณเจ้ารัฏฐปาละ เป็นความจริง
โลกไม่มีผู้ต้านทาน ไม่เป็นอิสระ (๒)
ในราชตระกูลนี้ มีเงินและทองอยู่ที่พื้นดินและในอากาศมากมาย พระคุณเจ้า
รัฏฐปาละกล่าวว่า ‘โลกไม่มีอะไรเป็นของตน จำต้องละสิ่งทั้งปวงไป’ เนื้อความแห่ง
ภาษิตนี้ จะพึงเห็นได้อย่างไร”
“มหาบพิตร พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร บัดนี้ พระองค์
เอิบอิ่ม พรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ประการ บำเรอพระองค์อยู่ ฉันใด พระองค์จักได้
สมพระราชประสงค์ว่า ‘แม้โลกหน้า เราจักเป็นผู้เอิบอิ่ม พรั่งพร้อมด้วยกามคุณ
๕ ประการ บำเรอตนอยู่’ ฉันนั้นเหมือนกัน หรือว่าชนเหล่าอื่นจักปกครองทรัพย์
สมบัตินี้ ส่วนพระองค์ก็จักเสด็จไปตามยถากรรม”
“พระคุณเจ้ารัฏฐปาละ บัดนี้ โยมเอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ประการ
บำเรอตนอยู่ ฉันใด โยมก็จักไม่ได้ตามประสงค์ว่า ‘แม้ในโลกหน้า เราจะเป็นผู้
เอิบอิ่ม พรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ประการ บำเรอตนอยู่’ ฉันนั้นเหมือนกัน
ที่แท้ชนเหล่าอื่นจักปกครองทรัพย์สมบัตินี้ ส่วนโยมก็จักไปตามยถากรรม”
“มหาบพิตร พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงหมายถึงเนื้อความนี้แล จึงตรัสธัมมุทเทสประการที่ ๓
ว่า ‘โลกไม่มีอะไรเป็นของตน จำต้องละสิ่งทั้งปวงไป’ ที่อาตมภาพรู้เห็นและได้ฟังแล้ว
จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต”
“พระคุณเจ้ารัฏฐปาละ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ คำว่า ‘โลกไม่มีอะไร
เป็นของตน จำต้องละสิ่งทั้งปวงไป’ พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๒. รัฏฐปาลสูตร

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้ดีแล้ว พระคุณเจ้ารัฏฐปาละ เป็นความจริง
โลกไม่มีอะไรเป็นของตน จำต้องละสิ่งทั้งปวงไป (๓)
ท่านพระรัฏฐปาละกล่าวว่า ‘โลกพร่องอยู่เป็นนิตย์ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่ง
ตัณหา’ เนื้อความแห่งภาษิตนี้ จะพึงเห็นได้อย่างไร”
“มหาบพิตร พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร พระองค์ทรง
ปกครองแคว้นกุรุอันอุดมสมบูรณ์อยู่ มิใช่หรือ”
“ใช่แล้ว พระคุณเจ้ารัฏฐปาละ โยมปกครองแคว้นกุรุอันอุดมสมบูรณ์อยู่”
“มหาบพิตร พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร ราชบุรุษของ
พระองค์ที่แคว้นกุรุนี้เป็นที่เชื่อถือได้ เป็นคนมีเหตุผล มาจากทิศตะวันออก เข้ามา
เฝ้าพระองค์แล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า ‘ขอเดชะมหาราชเจ้า พระองค์ควรทรงทราบว่า
‘ข้าพระองค์มาจากทิศตะวันออก ในทิศนั้น ข้าพระองค์ได้เห็นชนบทใหญ่ มั่งคั่ง
อุดมสมบูรณ์ มีประชากรมาก มีพลเมืองหนาแน่น ในชนบทนั้นมีหมู่พลช้าง
หมู่พลม้า หมู่พลรถ หมู่พลเดินเท้า มีสัตว์ที่มีเขี้ยวงามาก มีเงินทองทั้งที่ยังไม่ได้
หลอมและที่หลอมแล้วเป็นจำนวนมาก ในชนบทนั้น สตรีเป็นผู้ปกครอง พระองค์
สามารถรบชนะได้ด้วยกำลังพลประมาณเท่านั้น ขอพระองค์จงไปรบเอาเถิด มหา-
ราชเจ้า’ พระองค์จะทรงทำอย่างไรกับชนบทนั้น”
“พระคุณเจ้ารัฏฐปาละ พวกโยมก็ไปรบเอาชนบทนั้นมาครอบครองเสียนะซิ”
“มหาบพิตร พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร ราชบุรุษของ
พระองค์ที่แคว้นกุรุนี้เป็นที่เชื่อถือได้ เป็นคนมีเหตุผลมาจากทิศตะวันตก ฯลฯ
มาจากทิศเหนือ ฯลฯ มาจากทิศใต้ ฯลฯ มาจากสมุทรฟากโน้น เข้ามาเฝ้า
พระองค์ แล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า ‘ขอเดชะมหาราชเจ้า พระองค์ควรทรงทราบว่า
‘ข้าพระองค์มาจากสมุทรฟากโน้น ณ ที่นั้น ข้าพระองค์ได้เห็นชนบทใหญ่ มั่งคั่ง
อุดมสมบูรณ์ มีประชากรมาก มีพลเมืองหนาแน่น ในชนบทนั้นมีหมู่พลช้าง
หมู่พลม้า หมู่พลรถ หมู่พลเดินเท้า มีสัตว์ที่มีเขี้ยวงามาก มีเงินทองทั้งที่ยังไม่ได้
หลอมและที่หลอมแล้วเป็นจำนวนมาก ในชนบทนั้น สตรีเป็นผู้ปกครอง พระองค์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๒. รัฏฐปาลสูตร

สามารถรบชนะได้ด้วยกำลังพลประมาณเท่านั้น ขอพระองค์จงไปรบเอาเถิด มหา-
ราชเจ้า’ พระองค์จะทรงทำอย่างไรกับชนบทนั้น”
“พระคุณเจ้ารัฏฐปาละ พวกโยมก็ไปรบเอาชนบทนั้นมาครอบครองเสียนะซิ”
“มหาบพิตร พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นทรงหมายถึงเนื้อความนี้แล จึงตรัสธัมมุทเทสประการที่ ๔
ว่า ‘โลกพร่องอยู่เป็นนิตย์ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา’ ที่อาตมภาพรู้ เห็น
และได้ฟังแล้วจึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต”
พระเจ้าโกรัพยะตรัสว่า “พระคุณเจ้ารัฏฐปาละ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ
คำว่า ‘โลกพร่องอยู่เป็นนิตย์ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา’ นี้พระผู้มีพระภาค
ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้ดีแล้ว
พระคุณเจ้ารัฏฐปาละ เป็นความจริง โลกพร่องอยู่เป็นนิตย์ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาส
แห่งตัณหา” (๔)
ท่านพระรัฏฐปาละได้กล่าวเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว ได้กล่าวคาถาประพันธ์อื่น
อีกต่อไปว่า
[๓๐๗] “อาตมาเห็นผู้คนที่มีทรัพย์ในโลก
ได้ทรัพย์เครื่องปลื้มใจแล้ว
ไม่ยอมให้(ใคร) เพราะความหลง
ได้ทรัพย์แล้ว เก็บสะสมไว้
และปรารถนากามคุณยิ่ง ๆ ขึ้นไป
พระราชาทรงกดขี่ ช่วงชิงเอาแผ่นดิน
ทรงครอบครองแผ่นดินซึ่งมีสมุทรสาครล้อมรอบ
ตลอดสมุทรสาครฝั่งนี้ ยังไม่ทรงพอ
ยังปรารถนาจะครอบครองสมุทรสาครฝั่งโน้นอีก
ทั้งพระราชาและคนอื่นเป็นจำนวนมาก
ยังไม่ปราศจากตัณหาก็เข้าถึงความตาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๒. รัฏฐปาลสูตร

ยังไม่เต็มตามที่ต้องการเลย ก็ละทิ้งร่างกายไป
เพราะความอิ่มด้วยกามไม่มีในโลก
หมู่ญาติพากันสยายผม คร่ำครวญถึงคนที่ตายนั้น
และพูดว่า ‘ทำอย่างไรหนอ พวกญาติของเราทั้งหลายจึงจะไม่ตาย’
แต่นั้นก็นำศพนั้นซึ่งห่อผ้าไว้แล้วยกขึ้นสู่เชิงตะกอนแล้วช่วยกันเผา
ศพนั้นถูกเขาใช้หลาวแทงเผาอยู่
ละโภคทรัพย์ มีแต่ผ้าผืนเดียว
เมื่อคนจะตาย ญาติ มิตร หรือสหายก็ช่วยไม่ได้
ทายาททั้งหลายก็ขนทรัพย์สมบัติของเขาไป
ส่วนสัตว์ที่ตายไปก็ย่อมไปตามกรรม
เมื่อตายไป ทรัพย์ไร ๆ คือ
บุตร ภรรยา ทรัพย์ ข้าวของ เงินทอง
และแว่นแคว้นก็ติดตามไปไม่ได้
ทรัพย์ช่วยคนให้มีอายุยืนไม่ได้
ทั้งช่วยคนให้ละความแก่ก็ไม่ได้
นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวชีวิตนั้นว่าน้อยนัก
ไม่ยั่งยืน มีความแปรเปลี่ยนไปเป็นธรรมดา
ทั้งคนมั่งมี และคนยากจนก็ย่อมประสบเช่นนั้น
ทั้งพาลและบัณฑิตก็ประสบเหมือนกันทั้งนั้น
คนพาลนั่นแหละถูกเหตุแห่งทุกข์กระทบเข้า
ย่อมหวั่นไหวเพราะความเป็นคนโง่
ส่วนบัณฑิตถูกกระทบเข้าก็ไม่หวั่นไหว
เพราะเหตุนั้นแล ปัญญาเท่านั้นเป็นเหตุบรรลุนิพพาน
ซึ่งเป็นที่สุดแห่งภพในโลกนี้ จึงประเสริฐกว่าทรัพย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๒. รัฏฐปาลสูตร

ก็เพราะยังไม่ได้บรรลุที่สุด คนพาลทั้งหลายจึงทำแต่กรรมชั่ว
ในภพน้อยใหญ่เพราะความเขลา
ผู้ทำกรรมชั่ว ต้องเวียนว่ายตายเกิด
อยู่ในสังสารวัฏร่ำไป
คนมีปัญญาน้อย เมื่อเชื่อคนที่ทำกรรมชั่วนั้น
ก็ย่อมเวียนว่ายตายเกิดร่ำไป
โจรผู้ทำกรรมถูกเขาจับได้ตรงทาง ๓ แยก
ย่อมเดือดร้อนเพราะกรรมของตน ฉันใด
หมู่สัตว์ผู้ทำกรรมชั่วตายไปแล้ว ย่อมเดือดร้อนในโลกหน้า
เพราะกรรมของตน ฉันนั้น
เพราะกรรมทั้งหลายที่งดงาม
น่าปรารถนาชวนให้รื่นรมย์ใจ
ย่อมย่ำยีจิตโดยสภาวะต่าง ๆ ฉะนั้น
อาตมาเห็นโทษในกามคุณทั้งหลายจึงได้บวช มหาบพิตร
สัตว์ทั้งหลายทั้งหนุ่มทั้งแก่ พอร่างแตกสลาย
ก็ล่วงไปเหมือนผลไม้สุกงอมร่วงหล่นไป
มหาบพิตร อาตมาเห็นความไม่เที่ยงแม้นี้ จึงได้บวช
ความเป็นสมณะที่ปฏิบัติไม่ผิดนั่นแหละ ประเสริฐกว่า๑” ดังนี้แล

รัฏฐปาลสูตรที่ ๒ จบ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๓. มฆเทวสูตร

๓. มฆเทวสูตร
ว่าด้วยพระเจ้ามฆเทวะ

[๓๐๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อัมพวันของพระเจ้ามฆเทวะ เขตกรุง
มิถิลา ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงแย้มพระโอษฐ์ ณ สถานที่แห่งหนึ่ง ลำดับนั้น
ท่านพระอานนท์ได้คิดว่า “อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พระผู้มีพระภาคทรง
แย้มพระโอษฐ์ พระตถาคตทั้งหลายไม่ทรงแย้มพระโอษฐ์โดยไม่มีสาเหตุ” แล้วจึง
ห่มจีวรเฉวียงบ่า ประนมมือไปทางที่ที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ได้ทูลถามว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พระผู้มีพระภาคทรง
แย้มพระโอษฐ์ พระตถาคตทั้งหลายไม่ทรงแย้มพระโอษฐ์โดยไม่มีสาเหตุ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ เรื่องเคยมีมาแล้ว ในกรุงมิถิลานี้แล
ได้มีพระราชาทรงพระนามว่ามฆเทวะ เป็นผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชา เป็นมหาราช
ผู้ตั้งมั่นในธรรม๑ทรงประพฤติธรรมในพราหมณ์และคหบดี ในชาวนิคมและชาวชนบท
ทรงรักษาอุโบสถทุกวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และวัน ๘ ค่ำ แห่งปักษ์๒ ครั้งนั้น
เมื่อล่วงไปหลายปี หลายร้อยปี หลายพันปี พระเจ้ามฆเทวะรับสั่งเรียกช่างกัลบก
มาตรัสว่า ‘ช่างกัลบกเพื่อนรัก เมื่อใดท่านเห็นผมหงอกเกิดบนศีรษะของเรา
เมื่อนั้นพึงบอกเรา’
ครั้งนั้น ช่างกัลบกทูลรับสนองพระราชดำรัสแล้ว เมื่อล่วงไปหลายปี
หลายร้อยปี หลายพันปี ช่างกัลบกได้เห็นพระเกศาหงอกเกิดแล้วบนพระเศียรของ
พระเจ้ามฆเทวะ ได้กราบทูลว่า ‘เทวทูต๓ ปรากฏแก่พระองค์แล้ว พระเกศาหงอก
เกิดแล้วบนพระเศียรปรากฏอยู่’


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๓. มฆเทวสูตร

พระเจ้ามฆเทวะตรัสว่า ‘ช่างกัลบกเพื่อนรัก ถ้าเช่นนั้น ท่านจงใช้แหนบถอน
ผมหงอกนั้นให้ดี แล้ววางลงที่กระพุ่มมือของเราเถิด’
อานนท์ ช่างกัลบกทูลรับสนองพระราชดำรัสแล้ว จึงใช้แหนบถอนพระเกศา
หงอกนั้นอย่างดี แล้ววางลงบนกระพุ่มพระหัตถ์ของพระเจ้ามฆเทวะ

พระเจ้ามฆเทวะออกผนวช

[๓๐๙] ครั้งนั้น พระเจ้ามฆเทวะพระราชทานบ้านส่วยแก่ช่างกัลบกแล้วรับ
สั่งให้เรียกพระราชกุมารผู้เป็นโอรสองค์ใหญ่มาเฝ้าแล้วตรัสว่า ‘ลูกเอ๋ย เทวทูต
ปรากฏแก่พ่อแล้ว ผมหงอกเกิดแล้วบนศีรษะปรากฏอยู่ กามทั้งหลายที่เป็นของ
มนุษย์ พ่อได้บริโภคแล้ว เวลานี้เป็นเวลาที่จะแสวงหากามทั้งหลายที่เป็นทิพย์
มาเถิดลูกเอ๋ย ลูกจงปกครองราชสมบัตินี้ ส่วนพ่อจักโกนผมและหนวด นุ่งห่ม
ผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากวังบวชเป็นบรรพชิต เมื่อใด ลูกเห็นผมหงอกเกิดแล้ว
บนศีรษะ เมื่อนั้นลูกจงให้บ้านส่วยแก่ช่างกัลบก พึงพร่ำสอนราชกุมารผู้เป็นโอรส
องค์ใหญ่ในการครองราชสมบัติให้ดี แล้วโกนผมและหนวดนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์
ออกจากวังบวชเป็นบรรพชิตเถิด ลูกพึงประพฤติวัตรอันงามตามวิธีที่พ่อตั้งไว้นี้
ลูกอย่าเป็นคนสุดท้ายของพ่อเลย เมื่อยุคของคนใดเป็นไปอยู่ แต่ปล่อยให้วัตร
อันงามเห็นปานนี้ขาดสูญไป คนนั้นชื่อว่าเป็นคนสุดท้ายของราชบรรพชิตนั้น ลูกเอ๋ย
พ่อกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ลูกพึงประพฤติวัตรอันงามตามวิธีที่พ่อตั้งไว้นี้ ลูกอย่าเป็นคน
สุดท้ายของพ่อเลย’
ครั้งนั้น พระเจ้ามฆเทวะครั้นพระราชทานบ้านส่วยแก่ช่างกัลบกและทรงพร่ำสอน
พระราชกุมารผู้เป็นโอรสองค์ใหญ่ในการครองราชสมบัติให้ดีแล้ว ทรงปลงพระเกศา
และพระมัสสุ ทรงนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ แล้วเสด็จออกจากวังผนวชเป็นบรรพชิต
ที่มฆเทวอัมพวันนี้ ท้าวเธอทรงมีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ...
ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง ทรงแผ่ไปตลอดโลก
ทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถานด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร
ไม่มีความเบียดเบียนอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๓. มฆเทวสูตร

ทรงมีกรุณาจิต ฯลฯ
ทรงมีมุทิตาจิต ฯลฯ
ทรงมีอุเบกขาจิต แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ...
ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง ทรงแผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถาน
ด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ๑ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
อานนท์ พระเจ้ามฆเทวะทรงเล่นอย่างเด็กอยู่ ๘๔,๐๐๐ ปี ทรงดำรงตำแหน่ง
อุปราชอยู่ ๘๔,๐๐๐ ปี ทรงครองราชย์อยู่ ๘๔,๐๐๐ ปี เสด็จออกจากวังผนวช
เป็นบรรพชิตประพฤติพรหมจรรย์อยู่ที่มฆเทวอัมพวันนี้อีก ๘๔,๐๐๐ ปี พระองค์
ทรงเจริญพรหมวิหาร ๔ ประการ หลังจากสวรรคตแล้วได้เสด็จเข้าถึงพรหมโลก

โอรสของพระเจ้ามฆเทวะออกผนวช

[๓๑๐] อานนท์ ครั้งนั้นแล เมื่อล่วงไปหลายปี หลายร้อยปี หลายพันปี
พระราชโอรสของพระเจ้ามฆเทวะ รับสั่งเรียกช่างกัลบกมาตรัสว่า ‘ช่างกัลบก
เพื่อนรัก เมื่อใดท่านเห็นผมหงอก เกิดแล้วบนศีรษะของเรา เมื่อนั้นพึงบอกเรา’
ครั้งนั้น ช่างกัลบกทูลรับสนองพระราชดำรัสแล้ว เมื่อล่วงไปหลายปี หลาย
ร้อยปี หลายพันปี ช่างกัลบกได้เห็นเส้นพระเกศาหงอกเกิดแล้วบนพระเศียรของ
พระราชโอรสของพระเจ้ามฆเทวะได้กราบทูลว่า ‘เทวทูตปรากฏแก่พระองค์แล้ว
พระเกศาหงอกเกิดแล้วบนพระเศียรปรากฏอยู่’
พระราชโอรสของพระเจ้ามฆเทวะตรัสว่า ‘ ช่างกัลบกเพื่อนรัก ถ้าเช่นนั้น
ท่านจงใช้แหนบถอนผมหงอกนั้นให้ดี แล้ววางบนกระพุ่มมือของเราเถิด’
ช่างกัลบกทูลรับสนองพระราชดำรัสแล้ว จึงใช้แหนบถอนพระเกศาหงอกนั้น
อย่างดี แล้ววางบนกระพุ่มพระหัตถ์ของพระราชโอรสของพระเจ้ามฆเทวะ
ครั้งนั้น พระราชโอรสของพระเจ้ามฆเทวะ ได้พระราชทานบ้านส่วยแก่ช่าง
กัลบก แล้วรับสั่งให้เรียกพระราชกุมารผู้เป็นโอรสพระองค์ใหญ่มาเฝ้าตรัสว่า ‘ลูกเอ๋ย


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๓. มฆเทวสูตร

เทวทูตปรากฏแก่พ่อแล้ว ผมหงอกเกิดแล้วบนศีรษะปรากฏอยู่ กามทั้งหลายที่เป็นของ
มนุษย์พ่อบริโภคแล้ว เวลานี้เป็นเวลาที่จะแสวงหากามอันเป็นทิพย์ มาเถิด ลูกเอ๋ย
ลูกจงปกครองราชสมบัตินี้ ส่วนพ่อจักโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์
ออกจากวังบวชเป็นบรรพชิต เมื่อใด ลูกเห็นผมหงอกเกิดแล้วบนศีรษะ เมื่อนั้น
ลูกพึงให้บ้านส่วยแก่ช่างกัลบก แล้วพึงพร่ำสอนราชกุมารผู้เป็นโอรสองค์ใหญ่ในการ
ครองราชสมบัติให้ดี แล้วพึงโกนผมและหนวดนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากวัง
บวชเป็นบรรพชิตเถิด ลูกพึงประพฤติวัตรอันงามตามวิธีที่พ่อตั้งไว้นี้ ลูกอย่าเป็น
คนสุดท้ายของพ่อเลย
เมื่อยุคของคนใดเป็นไปอยู่ แต่ปล่อยให้วัตรอันงามเห็นปานนี้ขาดสูญไป คนนั้น
ชื่อว่าเป็นคนสุดท้ายของราชบรรพชิตนั้น ลูกเอ๋ย พ่อกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ลูกพึงประพฤติวัตร
อันงามตามวิธีที่พ่อตั้งไว้แล้วนี้ ลูกอย่าเป็นคนสุดท้ายของพ่อเลย’
ครั้งนั้น พระราชโอรสของพระเจ้ามฆเทวะ ครั้นพระราชทานบ้านส่วยแก่ช่าง
กัลบก และทรงพร่ำสอนพระราชกุมารผู้เป็นโอรสองค์ใหญ่ ในการครองราชสมบัติ
ให้ดีแล้ว ทรงปลงพระเกศาและพระมัสสุ ทรงนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์แล้วเสด็จออกจากวัง
ผนวชเป็นบรรพชิตอยู่ในมฆเทวอัมพวันนี้ ท้าวเธอทรงมีเมตตาจิต แผ่ไปตลอดทิศ
ที่ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง
ทรงแผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถานด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ
ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
ทรงมีกรุณาจิต ฯลฯ
ทรงมีมุทิตาจิต ฯลฯ
ทรงมีอุเบกขาจิต แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ...
ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง ทรงแผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถาน
ด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความ
เบียดเบียนอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๓. มฆเทวสูตร

อานนท์ พระราชโอรสของพระเจ้ามฆเทวะทรงเล่นอย่างเด็กอยู่ ๘๔,๐๐๐ ปี
ทรงดำรงตำแหน่งอุปราชอยู่ ๘๔,๐๐๐ ปี ทรงครองราชย์อยู่ ๘๔,๐๐๐ ปี เสด็จ
ออกจากวังผนวชเป็นบรรพชิต ประพฤติพรหมจรรย์อยู่ที่มฆเทวอัมพวันนี้อีก
๘๔,๐๐๐ ปี พระองค์ทรงเจริญพรหมวิหาร ๔ ประการ หลังจากสวรรคตแล้ว
ได้เสด็จเข้าถึงพรหมโลก

พระราชนัดดาของพระเจ้ามฆเทวะออกผนวช

[๓๑๑] อานนท์ พระราชโอรสและพระราชนัดดาของพระเจ้ามฆเทวะสืบราชวงศ์
ต่อมา ๘๔,๐๐๐ ชั่วกษัตริย์ ได้ปลงพระเกศาและพระมัสสุ นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์
เสด็จออกจากวังผนวชเป็นบรรพชิต อยู่ในมฆเทวอัมพวันนี้ ท้าวเธอเหล่านั้นทรงมี
เมตตาจิต แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน
ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง ทรงแผ่ไปตลอดโลกทั่วหมู่เหล่าในที่ทุกสถาน ด้วยเมตตาจิต
อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
ทรงมีกรุณาจิต ฯลฯ
ทรงมีมุทิตาจิต ฯลฯ
ทรงมีอุเบกขาจิต แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศ
ที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง ทรงแผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่า
ในที่ทุกสถาน ด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มี
ความเบียดเบียนอยู่
ท้าวเธอเหล่านั้นทรงเล่นอย่างเด็กอยู่ ๘๔,๐๐๐ ปี ทรงดำรงตำแหน่งอุปราช
อยู่ ๘๔,๐๐๐ ปี ทรงครองราชย์อยู่ ๘๔,๐๐๐ ปี เสด็จออกจากวังผนวชเป็น
บรรพชิต ประพฤติพรหมจรรย์อยู่ที่มฆเทวอัมพวันนี้อีก ๘๔,๐๐๐ ปี พระองค์ทรง
เจริญพรหมวิหาร ๔ ประการ หลังจากสวรรคตแล้วได้เสด็จเข้าถึงพรหมโลก
พระเจ้านิมิเป็นพระราชาองค์สุดท้ายแห่งราชบรรพชิตนั้น เป็นผู้ทรงธรรม
เป็นธรรมราชา เป็นมหาราชผู้ตั้งมั่นในธรรม ทรงประพฤติธรรมในพราหมณ์และ
คหบดี ในชาวนิคมและชาวชนบท และทรงรักษาอุโบสถทุกวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ
และวัน ๘ ค่ำแห่งปักษ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๓. มฆเทวสูตร

พระเจ้านิมิรักษาอุโบสถ

[๓๑๒] อานนท์ เรื่องเคยมีมาแล้ว อันตรากถานี้เกิดขึ้นแล้วแก่เทพทั้งหลาย
ชั้นดาวดึงส์ผู้นั่งประชุมกัน ณ สภาชื่อสุธัมมาว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย เป็นลาภ
ของชาววิเทหะหนอ ชาววิเทหะได้ดีแล้วหนอ ที่พระเจ้านิมิเป็นผู้ทรงธรรม เป็น
ธรรมราชา เป็นมหาราชผู้ตั้งมั่นในธรรม ทรงประพฤติธรรมในพราหมณ์และคหบดี
ในชาวนิคมและชาวชนบท และทรงรักษาอุโบสถทุกวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และวัน ๘
ค่ำแห่งปักษ์’
ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพ ตรัสเรียกเทพทั้งหลายชั้นดาวดึงส์มาถามว่า
‘ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ท่านทั้งหลายปรารถนาจะเห็นพระเจ้านิมิหรือไม่’ เทพทั้งหลาย
ชั้นดาวดึงส์ ทูลตอบว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พวกข้าพระองค์ปรารถนาจะเห็น
พระเจ้านิมิ’
อานนท์ สมัยนั้น ในวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ พระเจ้านิมิทรงสนานพระกายทั่ว
พระเศียรแล้ว ทรงรักษาอุโบสถ ประทับนั่งอยู่แล้วบนปราสาทอันประเสริฐชั้นบน
ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพได้ทรงอันตรธานจากเทพทั้งหลายชั้นดาวดึงส์ ไปปรากฏ
เฉพาะพระพักตร์พระเจ้านิมิ’ เปรียบเหมือนคนที่แข็งแรงเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้า
แล้วตรัสกับพระเจ้านิมิว่า ‘มหาราช เป็นลาภของพระองค์ พระองค์ได้ดีแล้ว
เทพทั้งหลายชั้นดาวดึงส์นั่งประชุมสรรเสริญกันอยู่ในสภาชื่อสุธัมมาว่า ‘ท่านผู้เจริญ
ทั้งหลาย เป็นลาภของชาววิเทหะหนอ ชาววิเทหะได้ดีแล้วหนอ ที่พระเจ้านิมิเป็น
ผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชา เป็นมหาราชผู้ตั้งมั่นในธรรม ทรงประพฤติธรรม
ในพราหมณ์และคหบดี ในชาวนิคมและชาวชนบท และทรงรักษาอุโบสถทุกวัน
๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และวัน ๘ ค่ำแห่งปักษ์’ มหาราช เทพทั้งหลายชั้นดาวดึงส์
ปรารถนาจะเห็นพระองค์ หม่อมฉันจะส่งรถเทียมด้วยม้าอาชาไนย ๑,๐๐๐ ตัวมา
เพื่อพระองค์ พระองค์ทรงขึ้นประทับบนทิพยยานเถิด อย่าทรงหวั่นพระทัยเลย’
พระเจ้านิมิทรงรับเชิญโดยดุษณีภาพ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๓. มฆเทวสูตร

พระเจ้านิมิทอดพระเนตรนรกและสวรรค์

[๓๑๓] อานนท์ ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพทราบอาการที่พระเจ้านิมิทรง
รับเชิญแล้ว จึงอันตรธานจากที่เฉพาะพระพักตร์ของพระเจ้านิมิมาปรากฏในหมู่เทพ
ชั้นดาวดึงส์ เปรียบเหมือนคนที่แข็งแรงเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้า ลำดับนั้น
ท้าวสักกะจอมเทพ รับสั่งเรียกมาตลีเทพบุตรผู้รับใช้มาตรัสว่า ‘มาเถิด มาตลี
เพื่อนรัก ท่านจงจัดรถเทียมด้วยม้าอาชาไนย ๑,๐๐๐ ตัว แล้วเข้าไปเฝ้าพระเจ้านิมิ’
จงทูลอย่างนี้ว่า ‘มหาราช รถเทียมด้วยม้าอาชาไนย ๑,๐๐๐ ตัวนี้ ท้าวสักกะ
จอมเทพทรงส่งมารับพระองค์ พระองค์พึงเสด็จขึ้นประทับยังทิพยยานเถิด อย่าทรง
หวั่นพระทัยเลย’
มาตลีเทพบุตรผู้รับใช้ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว จัดรถเทียมด้วยม้าอาชาไนย
๑,๐๐๐ ตัว เข้าไปเฝ้าพระเจ้านิมิแล้วทูลว่า ‘มหาราช รถที่เทียมด้วยม้าอาชาไนย
๑,๐๐๐ ตัวนี้ ท้าวสักกะจอมเทพส่งมารับพระองค์ เชิญเสด็จขึ้นประทับยังทิพยยานเถิด
อย่าทรงหวั่นพระทัยเลย อนึ่ง ทางสำหรับสัตว์ผู้มีบาปกรรม เสวยผลของบาปกรรม
ทางหนึ่ง ทางสำหรับสัตว์ผู้มีกรรมอันงาม เสวยผลของกรรมอันงามทางหนึ่ง
ข้าพระองค์จะเชิญเสด็จไปทางไหน พระเจ้าข้า’
พระเจ้านิมิตรัสว่า ‘มาตลี จงนำเราไปทั้งสองทางนั่นแล’
อานนท์ มาตลีเทพบุตรผู้รับใช้ นำเสด็จพระเจ้านิมิถึงสภาชื่อสุธัมมา ท้าวสักกะ
จอมเทพ ทอดพระเนตรเห็นพระเจ้านิมิผู้กำลังเสด็จมาแต่ไกล จึงตรัสว่า ‘มหาราช
เชิญเสด็จเข้ามาเถิด ขอรับเสด็จมหาราช เทพทั้งหลายชั้นดาวดึงส์ปรารถนา
จะเห็นพระองค์ ประชุมสรรเสริญกันอยู่ในสภาชื่อสุธัมมาว่า ‘ท่านผู้เจริญ เป็นลาภ
ของชาววิเทหะหนอ ชาววิเทหะได้ดีแล้วหนอ ที่พระเจ้านิมิ เป็นผู้ทรงธรรม
เป็นธรรมราชา เป็นมหาราชผู้ตั้งมั่นในธรรม ทรงประพฤติธรรมในพราหมณ์และ
คหบดี ในชาวนิคมและชาวชนบท และทรงรักษาอุโบสถทุกวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ
และวัน ๘ ค่ำแห่งปักษ์’ มหาราช เทพทั้งหลายชั้นดาวดึงส์ปรารถนาจะเห็น
พระองค์ ขอเชิญพระองค์ทรงอภิรมย์อยู่ในหมู่เทพทั้งหลาย ด้วยเทวานุภาพเถิด’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๓. มฆเทวสูตร

พระเจ้านิมิตรัสว่า ‘อย่าเลย พระองค์ผู้นิรทุกข์ ขอจงนำหม่อมฉันกลับไปยัง
กรุงมิถิลา ในมนุษยโลกนั้นเถิด หม่อมฉันจะได้ประพฤติธรรมอย่างนั้น ในพราหมณ์
และคหบดี ในชาวนิคมและชาวชนบท และจักได้รักษาอุโบสถทุกวัน ๑๔ ค่ำ
๑๕ ค่ำ และวัน ๘ ค่ำแห่งปักษ์ต่อไป’

พระเจ้านิมิออกผนวช

[๓๑๔] อานนท์ ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพรับสั่งเรียกมาตลีเทพบุตร
ผู้รับใช้มาตรัสว่า ‘มาเถิด มาตลีเพื่อนรัก ท่านจงจัดรถเทียมด้วยม้าอาชาไนย
๑,๐๐๐ ตัว นำพระเจ้านิมิกลับไปยังกรุงมิถิลาในมนุษยโลกนั้นเถิด’
มาตลีเทพบุตรผู้รับใช้ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว จัดรถเทียมด้วยม้าอาชาไนย
๑,๐๐๐ ตัว แล้วนำพระเจ้านิมิเสด็จกลับไปยังกรุงมิถิลาในมนุษยโลกนั้น ได้ยินว่า
สมัยนั้น พระเจ้านิมิทรงประพฤติธรรมในพราหมณ์และคหบดี ในชาวนิคมและชาว
ชนบท และทรงรักษาอุโบสถทุกวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และวัน ๘ ค่ำแห่งปักษ์
ต่อมาเมื่อล่วงไปหลายปี หลายร้อยปี หลายพันปี พระเจ้านิมิรับสั่งเรียกช่างกัลบก
มาตรัสว่า ‘ช่างกัลบกเพื่อนรัก เมื่อใดท่านเห็นผมหงอกเกิดแล้วบนศีรษะของเรา
เมื่อนั้นพึงบอกเรา’
ช่างกัลบกทูลรับสนองพระราชดำรัสแล้ว เมื่อล่วงไปหลายปี หลายร้อยปี
หลายพันปี ช่างกัลบกได้เห็นพระเกศาหงอกเกิดแล้วบนพระเศียรของพระเจ้านิมิ
จึงกราบทูลว่า ‘เทวทูตปรากฏแก่พระองค์แล้ว พระเกศาหงอกเกิดแล้วบนพระเศียร
ปรากฏอยู่’
พระเจ้านิมิตรัสว่า ‘ช่างกัลบกเพื่อนรัก ถ้าเช่นนั้น ท่านจงใช้แหนบถอนผม
หงอกนั้นให้ดี แล้ววางลงบนกระพุ่มมือของเรา’
ช่างกัลบกทูลรับสนองพระราชดำรัสแล้ว จึงใช้แหนบถอนพระเกศาหงอกนั้น
อย่างดี แล้ววางไว้ที่กระพุ่มพระหัตถ์ของพระเจ้านิมิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๓. มฆเทวสูตร

อานนท์ ต่อมา พระเจ้านิมิพระราชทานบ้านส่วยแก่ช่างกัลบกแล้วรับสั่ง
ให้เรียกพระราชกุมารผู้เป็นโอรสองค์ใหญ่มาตรัสว่า ‘ลูกเอ๋ย เทวทูตปรากฏ
แก่พ่อแล้ว ผมหงอกเกิดแล้วบนศีรษะปรากฏอยู่ กามทั้งหลายที่เป็นของมนุษย์
พ่อบริโภคแล้ว เวลานี้เป็นเวลาที่จะแสวงหากามอันเป็นทิพย์ มาเถิดลูกเอ๋ย ลูกจง
ปกครองราชสมบัตินี้ ส่วนพ่อจักโกนผมและหนวดนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ออกจากวัง
บวชเป็นบรรพชิต เมื่อใด ลูกเห็นผมหงอกเกิดแล้วบนศีรษะ เมื่อนั้นลูกจงให้บ้าน
ส่วยแก่ช่างกัลบก พึงพร่ำสอนราชกุมารผู้เป็นโอรสองค์ใหญ่ในการครองราชสมบัติ
ให้ดี แล้วโกนผมและหนวดนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากวังบวชเป็นบรรพชิตเถิด
ลูกพึงประพฤติวัตรอันงามตามวิธีที่พ่อตั้งไว้นี้ ลูกอย่าเป็นคนสุดท้ายของพ่อเลย
เมื่อยุคของคนใดเป็นไปอยู่ แต่ปล่อยให้วัตรอันงามเห็นปานนี้ขาดสูญไป คนนั้นชื่อว่า
เป็นคนสุดท้ายของราชบรรพชิตนั้น ลูกเอ๋ย พ่อกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ลูกพึงประพฤติวัตร
อันงามตามวิธีที่พ่อตั้งไว้แล้วนี้ ลูกอย่าเป็นคนสุดท้ายของพ่อเลย’

พระเจ้ากฬารกชนกเป็นองค์สุดท้าย

[๓๑๕] อานนท์ ครั้งนั้น พระเจ้านิมิครั้นพระราชทานบ้านส่วยแก่ช่างกัลบกแล้ว
ทรงพร่ำสอนพระราชกุมารผู้เป็นโอรสองค์ใหญ่ ในการครองราชสมบัติให้ดีแล้ว
ทรงโกนพระเกศาและพระมัสสุ นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์เสด็จออกจากวังผนวชเป็น
บรรพชิต ณ มฆเทวอัมพวันนี้ ท้าวเธอมีเมตตาจิต แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่
ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง ทรงแผ่ไป
ตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถานด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มี
ขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
ทรงมีกรุณาจิต ฯลฯ
ทรงมีมุทิตาจิต ฯลฯ
ทรงมีอุเบกขาจิต แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ...
ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง ทรงแผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถาน
ด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความ
เบียดเบียนอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๓. มฆเทวสูตร

พระเจ้านิมิทรงเล่นอย่างเด็กอยู่ ๘๔,๐๐๐ ปี ทรงดำรงตำแหน่งอุปราชอยู่
๘๔,๐๐๐ ปี ทรงครองราชย์อยู่ ๘๔,๐๐๐ ปี เสด็จออกจากวังผนวชเป็นบรรพชิต
ประพฤติพรหมจรรย์อยู่ที่มฆเทวอัมพวันนี้นั่นแลอีก ๘๔,๐๐๐ ปี พระองค์ทรงเจริญ
พรหมวิหาร ๔ ประการ หลังจากสวรรคตแล้วได้เสด็จเข้าถึงพรหมโลก
อานนท์ พระเจ้านิมิมีพระราชโอรสพระนามว่ากฬารกชนก พระราชกุมารนั้น
มิได้ออกจากวังผนวชเป็นบรรพชิต ทรงตัดวัตรอันงามนั้นแล้ว ได้ชื่อว่าเป็นมนุษย์คน
สุดท้ายแห่งราชบรรพชิตนั้น
[๓๑๖] อานนท์ เธอคงจะคิดอย่างนี้ว่า ‘สมัยนั้น พระเจ้ามฆเทวะซึ่งทรง
ตั้งวัตรอันงามนั้นคงเป็นคนอื่นเป็นแน่’ แต่ข้อนั้นเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น สมัยนั้น
เราเป็นพระเจ้ามฆเทวะ ได้ตั้งวัตรอันงามนั้นไว้ ประชาชนผู้เกิดมาภายหลังประพฤติ
ตามวัตรอันงามที่เราตั้งไว้แล้วนั้น แต่วัตรอันงามนั้นไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย
เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ และเพื่อนิพพาน
เป็นไปเพียงเพื่อเข้าถึงพรหมโลกเท่านั้น ส่วนวัตรอันงามที่เราตั้งไว้ในบัดนี้เป็นไป
เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้
และเพื่อนิพพาน โดยส่วนเดียว
วัตรอันงามที่เราตั้งไว้ในบัดนี้ซึ่งเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด
เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ และเพื่อนิพพาน โดยส่วนเดียว
เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ ได้แก่

๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) ๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) ๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ)
๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) ๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ)
๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ) ๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ)

วัตรอันงามที่เราตั้งไว้ในบัดนี้นี้แลเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด
เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ และเพื่อนิพพาน โดยส่วนเดียว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๔. มธุรสูตร

อานนท์ เราขอเตือนเธอทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘เธอทั้งหลายควรประพฤติวัตร
อันงามตามวิธีที่เราตั้งไว้แล้ว เธอทั้งหลายอย่าเป็นคนสุดท้ายของเราเลย’ เมื่อยุค
ของคนใดเป็นไปอยู่ แต่ปล่อยให้วัตรอันงามเห็นปานนี้ขาดสูญไป คนนั้นชื่อว่าคน
สุดท้ายของบุรุษเหล่านั้น เราขอเตือนเธอทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘เธอทั้งหลายควรประพฤติ
วัตรอันงามตามวิธีที่เราตั้งไว้แล้ว เธอทั้งหลายอย่าเป็นคนสุดท้ายของเราเลย”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์มีใจยินดีชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

มฆเทวสูตรที่ ๓ จบ

๔. มธุรสูตร
ว่าด้วยพระเจ้ามธุระ

[๓๑๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัจจานะอยู่ ณ ป่าคุนธาวัน เขตกรุงมธุรา พระเจ้า
มธุระ อวันตีบุตรได้ทรงสดับว่า “ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้ยินว่า ท่านสมณะนามว่า
กัจจานะ อยู่ ณ ป่าคุนธาวัน เขตกรุงมธุรา ท่านพระมหากัจจานะนั้นมีกิตติศัพท์
อันงามขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า ‘เป็นบัณฑิต ฉลาด มีปัญญา เป็นพหูสูต มีถ้อยคำ
สละสลวย มีปฏิภาณดี เป็นผู้ใหญ่ และเป็นพระอรหันต์ การเห็นพระอรหันต์ทั้งหลาย
เช่นนั้น เป็นความดีอย่างแท้จริง”
ลำดับนั้น พระเจ้ามธุระ อวันตีบุตรรับสั่งให้จัดยานพาหนะคันงาม ๆ หลายคัน
ทรงขึ้นยานพาหนะคันงาม เสด็จออกจากกรุงมธุราพร้อมกับยานพาหนะคันงาม ๆ
ตามเสด็จด้วยราชานุภาพอย่างยิ่งใหญ่ เพื่อทรงเยี่ยมท่านพระมหากัจจานะ เสด็จไป
จนสุดทางที่ยานพาหนะจะไปได้ จึงเสด็จลงจากยาน เสด็จพระราชดำเนินด้วยพระบาท
เข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะถึงที่อยู่ แล้วได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็น
ที่ระลึกถึงกันแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้รับสั่งว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๔. มธุรสูตร

“พระคุณเจ้ากัจจานะ พราหมณ์ทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐ
ที่สุด คือวรรณะพราหมณ์เท่านั้น วรรณะอื่นเลว วรรณะที่ขาวคือวรรณะพราหมณ์
เท่านั้น วรรณะอื่นดำ พราหมณ์เท่านั้นบริสุทธิ์ ผู้ที่ไม่ใช่พราหมณ์ไม่บริสุทธิ์ พราหมณ์
เท่านั้นเป็นบุตร เป็นโอรส เกิดจากโอษฐ์ของพรหม เกิดจากพรหม เป็นผู้ที่พรหม
สร้างขึ้น เป็นทายาทของพรหม’ เรื่องนี้พระคุณเจ้ากัจจานะจะกล่าวอย่างไร”
ท่านพระมหากัจจานะถวายพระพรว่า “มหาบพิตร วาทะที่พวกพราหมณ์
กล่าวว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐที่สุดคือวรรณะพราหมณ์เท่านั้น วรรณะอื่นเลว วรรณะ
ที่ขาวคือวรรณะพราหมณ์เท่านั้น วรรณะอื่นดำ พราหมณ์เท่านั้นบริสุทธิ์ ผู้ที่ไม่ใช่
พราหมณ์ไม่บริสุทธิ์ พราหมณ์เท่านั้นเป็นบุตร เป็นโอรส เกิดจากโอษฐ์ของพรหม
เกิดจากพรหม (เป็นผู้ที่พรหมสร้างขึ้น) เป็นทายาทของพรหม’ นั่นเป็นเพียงคำโฆษณา
ในโลกเท่านั้น
มหาบพิตร โดยปริยายนี้ พระองค์ทรงทราบเถิดว่า วาทะที่พวกพราหมณ์
กล่าวว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐที่สุดคือพราหมณ์เท่านั้น วรรณะอื่นเลว ฯลฯ เป็นทายาท
ของพรหม’ นั่นเป็นเพียงคำโฆษณาในโลกเท่านั้น”
[๓๑๘] ท่านพระมหากัจจานะถวายพระพรว่า “มหาบพิตร พระองค์ทรง
เข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร ถ้าแม้กษัตริย์จะพึงทำให้ความต้องการทรัพย์
ข้าวเปลือก เงิน หรือทองสำเร็จได้ แม้กษัตริย์(อื่น)ก็จะพึงลุกขึ้นก่อน นอนทีหลัง
คอยรับใช้ ปฏิบัติให้ถูกใจ พูดไพเราะต่อกษัตริย์พระองค์นั้นใช่ไหม แม้พราหมณ์ ฯลฯ
แม้แพศย์ ฯลฯ แม้ศูทรก็จะพึงลุกขึ้นก่อน นอนทีหลัง คอยรับใช้ ปฏิบัติให้ถูกใจ
พูดไพเราะต่อกษัตริย์พระองค์นั้นใช่ไหม”
พระเจ้ามธุระ อวันตีบุตร ตรัสว่า “พระคุณเจ้ากัจจานะ ถ้าแม้กษัตริย์จะพึง
ทำให้ความต้องการทรัพย์ ข้าวเปลือก เงิน หรือทองสำเร็จได้ แม้กษัตริย์(อื่น)
ก็จะพึงลุกขึ้นก่อน นอนทีหลัง คอยรับใช้ ปฏิบัติให้ถูกใจ พูดไพเราะต่อกษัตริย์
พระองค์นั้น แม้พราหมณ์ ฯลฯ แม้แพศย์ ฯลฯ แม้ศูทรก็จะพึงลุกขึ้นก่อน
นอนทีหลัง คอยรับใช้ ปฏิบัติให้ถูกใจ พูดไพเราะต่อกษัตริย์พระองค์นั้น”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๔. มธุรสูตร

“มหาบพิตร พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร ถ้าแม้พราหมณ์
จะพึงทำให้ความต้องการทรัพย์ ข้าวเปลือก เงิน หรือทองสำเร็จได้ แม้พราหมณ์(อื่น)
ก็จะพึงลุกขึ้นก่อน นอนทีหลัง คอยรับใช้ ปฏิบัติให้ถูกใจ พูดไพเราะต่อพราหมณ์นั้น
ใช่ไหม แม้แพศย์ ฯลฯ แม้ศูทร ฯลฯ แม้กษัตริย์ ก็จะพึงลุกขึ้นก่อน นอนทีหลัง
คอยรับใช้ ปฏิบัติให้ถูกใจ พูดไพเราะต่อพราหมณ์นั้นใช่ไหม”
“พระคุณเจ้ากัจจานะ ถ้าแม้พราหมณ์จะพึงทำให้ความต้องการทรัพย์ ข้าวเปลือก
เงิน หรือทองสำเร็จได้ แม้พราหมณ์(อื่น) ก็จะพึงลุกขึ้นก่อน นอนทีหลัง คอยรับใช้
ปฏิบัติให้ถูกใจ พูดไพเราะต่อพราหมณ์นั้น แม้แพศย์ ฯลฯ แม้ศูทร ฯลฯ แม้กษัตริย์
ก็จะพึงลุกขึ้นก่อน นอนทีหลัง คอยรับใช้ ปฏิบัติให้ถูกใจ พูดไพเราะต่อพราหมณ์นั้น”
“มหาบพิตร พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร ถ้าแม้แพศย์จะพึง
ทำให้ความต้องการทรัพย์ ข้าวเปลือก เงิน หรือทองสำเร็จได้ แม้แพศย์(อื่น)
ก็จะพึงลุกขึ้นก่อน นอนทีหลัง คอยรับใช้ ปฏิบัติให้ถูกใจ พูดไพเราะต่อแพศย์นั้น
ใช่ไหม แม้ศูทร ฯลฯ แม้กษัตริย์ ฯลฯ แม้พราหมณ์ ก็จะพึงลุกขึ้นก่อน นอนทีหลัง
คอยรับใช้ ปฏิบัติให้ถูกใจ พูดไพเราะต่อแพศย์นั้นใช่ไหม”
“พระคุณเจ้ากัจจานะ ถ้าแม้แพศย์จะพึงทำให้ความต้องการทรัพย์ ข้าวเปลือก
เงิน หรือทองสำเร็จได้ แม้แพศย์(อื่น)ก็จะพึงลุกขึ้นก่อน นอนทีหลัง คอยรับใช้
ปฏิบัติให้ถูกใจ พูดไพเราะต่อแพศย์นั้น แม้ศูทร ฯลฯ แม้กษัตริย์ ฯลฯ แม้พราหมณ์
ก็จะพึงลุกขึ้นก่อน นอนทีหลัง คอยรับใช้ ปฏิบัติให้ถูกใจ พูดไพเราะต่อแพศย์นั้น”
“มหาบพิตร พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร ถ้าแม้ศูทรจะพึง
ทำให้ความต้องการทรัพย์ ข้าวเปลือก เงิน หรือทองสำเร็จได้ แม้ศูทร(อื่น)ก็จะพึง
ลุกขึ้นก่อน นอนทีหลัง คอยรับใช้ ปฏิบัติให้ถูกใจ พูดไพเราะต่อศูทรนั้นใช่ไหม
แม้กษัตริย์ ฯลฯ แม้พรหมณ์ ฯลฯ แม้แพศย์ ก็จะพึงลุกขึ้นก่อน นอนทีหลัง
คอยรับใช้ ปฏิบัติให้ถูกใจ พูดไพเราะต่อศูทรนั้นใช่ไหม”
“พระคุณเจ้ากัจจานะ ถ้าแม้ศูทรจะพึงทำให้ความต้องการทรัพย์ ข้าวเปลือก
เงิน หรือทองสำเร็จได้ แม้ศูทร(อื่น)ก็จะพึงลุกขึ้นก่อน นอนทีหลัง คอยรับใช้
ปฏิบัติให้ถูกใจ พูดไพเราะต่อศูทรนั้น แม้กษัตริย์ ฯลฯ แม้พราหมณ์ ฯลฯ แม้แพศย์
ก็จะพึงลุกขึ้นก่อน นอนทีหลัง คอยรับใช้ ปฏิบัติให้ถูกใจ พูดไพเราะต่อศูทรนั้น”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๔. มธุรสูตร

“มหาบพิตร พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร ถ้าเมื่อเป็นอย่างนี้
วรรณะทั้ง ๔ จำพวกนี้ย่อมเป็นผู้เสมอกัน ใช่หรือไม่ หรือพระองค์ทรงเข้าพระทัยใน
วรรณะ ๔ จำพวกนี้ว่าอย่างไร”
“พระคุณเจ้ากัจจานะ เมื่อเป็นอย่างนี้ วรรณะ ๔ จำพวกนี้ก็เสมอกันหมด
แน่นอน ในวรรณะทั้ง ๔ จำพวกนี้ โยมไม่เห็นความแตกต่างอะไรกันเลย”
“มหาบพิตร โดยปริยายนี้ พระองค์ทรงทราบเถิดว่า วาทะที่พวกพราหมณ์
กล่าวว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐที่สุดคือพราหมณ์เท่านั้น วรรณะอื่นเลว ฯลฯ เป็นทายาท
ของพรหม’ นั่นเป็นคำโฆษณาในโลกนี้เท่านั้น”
[๓๑๙] ท่านพระมหากัจจานะถวายพระพรว่า “มหาบพิตร พระองค์ทรง
เข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร กษัตริย์ในโลกนี้พึงฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิด
ในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ เป็นผู้เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของ
ของผู้อื่น มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิ หลังจากตายแล้วพึงไปเกิดในอบาย ทุคติ
วินิบาต นรก๑ ใช่หรือไม่ หรือพระองค์ทรงเข้าพระทัยในเรื่องนี้ว่าอย่างไร”
พระเจ้ามธุระ อวันตีบุตร ตรัสว่า “พระคุณเจ้ากัจจานะ อันที่จริงถึงจะเป็น
กษัตริย์เมื่อฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ
พูดเพ้อเจ้อ เป็นผู้เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิ
หลังจากสวรรคตแล้วพึงไปบังเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก โยมมีความคิดเห็น
ในเรื่องนี้อย่างนี้ อนึ่ง โยมเองก็ได้ฟังมาจากพระอรหันต์ทั้งหลายเช่นนั้น”
“ดีละ ดีละ มหาบพิตร เป็นความดีที่พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนี้
อย่างนั้น และเป็นสิ่งที่ดีที่พระองค์ได้ทรงสดับความข้อนี้มาจากพระอรหันต์ทั้งหลาย
พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร พราหมณ์ในโลกนี้ ฯลฯ แพศย์
ในโลกนี้ ฯลฯ ศูทรในโลกนี้ เมื่อฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ
พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ เป็นผู้เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น มีจิต


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๔. มธุรสูตร

พยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิ หลังจากตายแล้วพึงไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ใช่หรือไม่ หรือพระองค์ทรงเข้าพระทัยในเรื่องนี้ว่าอย่างไร”
“พระคุณเจ้ากัจจานะ อันที่จริงถึงจะเป็นศูทร เมื่อฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติ
ผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ เป็นผู้เพ่งเล็งอยากได้
สิ่งของของผู้อื่น มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิ หลังจากตายแล้วพึงไปเกิดในอบาย
ทุคติ วินิบาต นรก โยมมีความคิดเห็นในเรื่องนี้อย่างนี้ อนึ่ง โยมเองก็ได้ฟังมา
จากพระอรหันต์ทั้งหลายเช่นนั้น”
“ดีละ ดีละ มหาบพิตร เป็นความดีที่พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนี้
อย่างนั้น และเป็นสิ่งที่ดีที่พระองค์ได้ทรงสดับความข้อนี้มาจากพระอรหันต์ทั้งหลาย
พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร ถ้าเมื่อเป็นอย่างนี้ วรรณะทั้ง ๔
จำพวกนี้ย่อมเป็นผู้เสมอกัน ใช่หรือไม่ หรือพระองค์ทรงเข้าพระทัยในวรรณะทั้ง ๔
จำพวกนี้ว่าอย่างไร”
“พระคุณเจ้ากัจจานะ เมื่อเป็นอย่างนี้ วรรณะ ๔ จำพวกนี้ก็เสมอกันหมด
แน่นอน ในวรรณะ ๔ จำพวกนี้ โยมไม่เห็นความแตกต่างอะไรกันเลย”
“มหาบพิตร โดยปริยายนี้ พระองค์ทรงทราบเถิดว่า วาทะที่พวกพราหมณ์
กล่าวว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐที่สุดคือพราหมณ์เท่านั้น วรรณะอื่นเลว ฯลฯ เป็นทายาท
ของพรหม’ นั่นเป็นคำโฆษณาในโลกนี้เท่านั้น”
[๓๒๐] ท่านพระมหากัจจานะถวายพระพรว่า “มหาบพิตร พระองค์ทรง
เข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร กษัตริย์ในโลกนี้พึงเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาด
จากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ
เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ
ไม่เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ หลังจากตาย
แล้วพึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ใช่หรือไม่ หรือพระองค์ทรงเข้าพระทัยในเรื่องนี้ว่า
อย่างไร”
พระเจ้ามธุระ อวันตีบุตร ตรัสว่า “พระคุณเจ้ากัจจานะ อันที่จริงถึงจะเป็น
กษัตริย์ เมื่อเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการ
ประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด เว้นขาด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๔. มธุรสูตร

จากการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น
มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ หลังจากตายแล้วพึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
โยมมีความเห็นในเรื่องนี้อย่างนี้ อนึ่ง โยมเองก็ได้ฟังเรื่องนี้มาจากพระอรหันต์ทั้งหลาย
เช่นนั้น”
“ดีละ ดีละ มหาบพิตร เป็นความดีที่พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนี้อย่างนั้น
และเป็นสิ่งที่ดีที่พระองค์ได้ทรงสดับความข้อนี้มาจากพระอรหันต์ทั้งหลาย พระองค์
ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร พราหมณ์ในโลกนี้ ฯลฯ แพศย์ในโลกนี้ ฯลฯ
ศูทรในโลกนี้ เมื่อเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการ
ประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด เว้นขาด
จากการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น
มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ หลังจากตายแล้วพึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ใช่หรือไม่
หรือพระองค์ทรงเข้าพระทัยในเรื่องนี้ว่าอย่างไร”
“ใช่ พระคุณเจ้ากัจจานะ อันที่จริงถึงจะเป็นพราหมณ์ ฯลฯ เป็นแพศย์ ฯลฯ
เป็นศูทร เมื่อเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการ
ประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด เว้นขาด
จากการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น
มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ หลังจากตายแล้วพึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
โยมมีความเห็นในเรื่องนี้อย่างนี้ อนึ่ง โยมเองก็ได้ฟังเรื่องนี้มาจากพระอรหันต์
ทั้งหลายเช่นนั้น”
“ดีละ ดีละ มหาบพิตร เป็นความดีที่พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนี้อย่างนั้น
และเป็นสิ่งที่ดีที่พระองค์ได้ทรงสดับความข้อนี้มาจากพระอรหันต์ทั้งหลาย พระองค์
ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร ถ้าเมื่อเป็นอย่างนี้ วรรณะ ๔ จำพวกนี้ย่อม
เป็นผู้เสมอกัน ใช่หรือไม่ หรือพระองค์ทรงเข้าพระทัยในวรรณะ ๔ จำพวกนี้ว่า
อย่างไร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๔. มธุรสูตร

“พระคุณเจ้ากัจจานะ เมื่อเป็นอย่างนี้ วรรณะ ๔ จำพวกนี้ก็เสมอกันหมด
แน่นอน ในวรรณะ ๔ จำพวกนี้ โยมไม่เห็นความแตกต่างอะไรกันเลย”
“มหาบพิตร โดยปริยายนี้ พระองค์ทรงทราบเถิดว่า วาทะที่พวกพราหมณ์
กล่าวว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐที่สุดคือพราหมณ์เท่านั้น วรรณะอื่นเลว ฯลฯ เป็นทายาท
ของพรหม’ นั่นเป็นคำโฆษณาในโลกนี้เท่านั้น”
[๓๒๑] ท่านพระมหากัจจานะถวายพระพรว่า “มหาบพิตร พระองค์ทรง
เข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร กษัตริย์ในโลกนี้พึงตัดช่องย่องเบา ปล้นเรือน
หลังเดียว ดักจี้ในทางเปลี่ยว เป็นชู้ ถ้าราชบุรุษทั้งหลายจับเขาได้แล้ว พึงแสดงว่า
‘ขอเดชะ ผู้นี้เป็นโจรประพฤติผิดต่อพระองค์ พระองค์ทรงประสงค์จะลงพระราช
อาชญาสถานใดแก่โจรนั้น ขอจงทรงโปรดให้ลงพระราชอาชญาสถานนั้นเถิด’ พระองค์
จะพึงโปรดให้ทำอย่างไรกับโจรนั้น”
พระเจ้ามธุระ อวันตีบุตร ตรัสว่า “พระคุณเจ้ากัจจานะ โยมก็ต้องให้ประหาร
ให้ผ่าอก ให้เนรเทศ หรือทำตามสมควรแก่เหตุ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะสมญานาม
ว่ากษัตริย์ของเขาเมื่อก่อนนั้นหายไปแล้ว(บัดนี้) เขาได้ชื่อว่า ‘เป็นโจรเท่านั้น ๋
“มหาบพิตร พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร พราหมณ์ในโลกนี้
ฯลฯ แพศย์ในโลกนี้ ฯลฯ ศูทรในโลกนี้พึงตัดช่องย่องเบา ปล้นเรือนหลังเดียว
ดักจี้ในทางเปลี่ยว เป็นชู้ ถ้าราชบุรุษทั้งหลายจับเขาได้แล้ว พึงแสดงว่า ‘ขอเดชะ
ผู้นี้เป็นโจรประพฤติผิดต่อพระองค์ พระองค์ทรงประสงค์จะลงพระราชอาชญาสถานใด
แก่โจรนั้น ขอจงทรงโปรดให้ลงพระราชอาชญาสถานนั้นเถิด’ พระองค์จะพึงโปรดให้
ทำอย่างไรกับโจรนั้น”
“พระคุณเจ้ากัจจานะ โยมก็ต้องให้ประหาร ให้ผ่าอก ให้เนรเทศ หรือทำตาม
สมควรแก่เหตุ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะสมญานามว่าศูทรของเขาเมื่อก่อนนั้นหาย
ไปแล้ว เขาได้ชื่อว่า ‘เป็นโจรเท่านั้น”
“มหาบพิตร พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร ถ้าเมื่อเป็นอย่างนี้
วรรณะ ๔ จำพวกนี้ ย่อมเป็นผู้เสมอกัน ใช่หรือไม่ หรือพระองค์ทรงเข้าพระทัย
ในวรรณะ ๔ จำพวกนี้ว่าอย่างไร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๔. มธุรสูตร

“พระคุณเจ้ากัจจานะ เมื่อเป็นอย่างนี้ วรรณะ ๔ จำพวกนี้ก็เสมอกันหมด
แน่นอน ในวรรณะ ๔ จำพวกนี้ โยมไม่เห็นความแตกต่างอะไรกันเลย”
“มหาบพิตร โดยปริยายนี้ พระองค์ทรงทราบเถิดว่า วาทะที่พวกพราหมณ์
กล่าวว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐที่สุดคือพราหมณ์เท่านั้น วรรณะอื่นเลว ฯลฯ เป็นทายาท
ของพรหม’ นั่นเป็นคำโฆษณาในโลกนี้เท่านั้น”
[๓๒๒] ท่านพระมหากัจจานะถวายพระพรว่า “มหาบพิตร พระองค์ทรง
เข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร กษัตริย์ในโลกนี้พึงปลงพระเกศาและพระมัสสุ นุ่งห่ม
ผ้ากาสาวพัสตร์เสด็จออกจากวังผนวชเป็นบรรพชิต ทรงงดเว้นจากการฆ่าสัตว์
งดเว้นจากการลักทรัพย์ งดเว้นจากการพูดเท็จ ไม่บริโภคในราตรี ฉันภัตตาหาร
มื้อเดียว เป็นพรหมจารี มีศีล มีกัลยาณธรรม พระองค์จะทรงทำอย่างไรกับราช-
บรรพชิตนั้น”
พระเจ้ามธุระ อวันตีบุตร ตรัสว่า “พระคุณเจ้ากัจจานะ โยมต้องกราบไหว้
ลุกรับ เชื้อเชิญด้วยอาสนะ หรือเจาะจงนิมนต์ราชบรรพชิตนั้นด้วยจีวร บิณฑบาต
เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร๑ จัดการอารักขา คุ้มครอง ป้องกันท่าน
ตามความเหมาะสม ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะสมญานามว่ากษัตริย์ของท่านเมื่อ
ก่อนนั้นหายไปแล้ว ท่านได้ชื่อว่า ‘สมณะเท่านั้น”
“มหาบพิตร พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร พราหมณ์ในโลกนี้
ฯลฯ แพศย์ในโลกนี้ ฯลฯ ศูทรในโลกนี้โกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๔. มธุรสูตร

ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ งดเว้นจากการลักทรัพย์
งดเว้นจากการพูดเท็จ ไม่บริโภคในราตรี ฉันภัตตาหารมื้อเดียว เป็นพรหมจารี
มีศีล มีกัลยาณธรรม พระองค์จะทรงทำอย่างไรกับบรรพชิตนั้น”
“พระคุณเจ้ากัจจานะ โยมต้องกราบไหว้ ลุกรับ เชื้อเชิญด้วยอาสนะ หรือเจาะ
จงนิมนต์ท่านด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร จัดการ
อารักขา คุ้มครอง ป้องกันท่านตามความเหมาะสม ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
สมญานามว่าศูทรของท่านเมื่อก่อนนั้นหายไปแล้ว ท่านได้ชื่อว่า ‘สมณะเท่านั้น”
“มหาบพิตร พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร ถ้าเมื่อเป็นอย่างนี้
วรรณะ ๔ จำพวกนี้ ย่อมเป็นผู้เสมอกัน ใช่หรือไม่ หรือพระองค์ทรงเข้าพระทัยใน
วรรณะ ๔ จำพวกนี้ ว่าอย่างไร”
“พระคุณเจ้ากัจจานะ เมื่อเป็นอย่างนี้ วรรณะ ๔ จำพวกนี้ ก็เสมอกันหมด
แน่นอน ในวรรณะ ๔ จำพวกนี้ โยมไม่เห็นความแตกต่างอะไรกันเลย”
“มหาบพิตร โดยปริยายนี้ พระองค์ทรงทราบเถิดว่า วาทะที่พวกพราหมณ์
กล่าวว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐที่สุดคือพราหมณ์เท่านั้น วรรณะอื่นเลว วรรณะที่ขาว
คือพราหมณ์เท่านั้น วรรณะอื่นดำ พราหมณ์เท่านั้นบริสุทธิ์ ผู้ที่ไม่ใช่พราหมณ์ไม่
บริสุทธิ์ พราหมณ์เท่านั้นเป็นบุตร เป็นโอรส เกิดจากโอษฐ์ของพรหม เกิดจาก
พรหม เป็นผู้ที่พรหมสร้างขึ้น เป็นทายาทของพรหม’ นั่นเป็นคำโฆษณาในโลกนี้
เท่านั้น”

พระเจ้ามธุระแสดงตนเป็นอุบาสก

[๓๒๓] เมื่อท่านพระมหากัจจานะถวายพระพรอย่างนี้แล้ว พระเจ้ามธุระ
อวันตีบุตรได้ตรัสว่า “พระคุณเจ้ากัจจานะ ภาษิตของท่านชัดเจนไพเราะยิ่งนัก
พระคุณเจ้ากัจจานะ ภาษิตของท่านชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระคุณเจ้ากัจจานะ
ประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ
เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า ‘คนมี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๔. มธุรสูตร

ตาดีจักเห็นรูปได้’ โยมขอถึงพระคุณเจ้ากัจจานะพร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็น
สรณะ ขอพระคุณเจ้ากัจจานะจงจำโยมว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
จนตลอดชีวิต”
ท่านพระมหากัจจานะถวายพระพรว่า “มหาบพิตร พระองค์อย่าทรงถึง
อาตมภาพเป็นสรณะเลย ขอจงทรงถึงพระผู้มีพระภาคผู้เป็นสรณะของอาตมภาพ
เป็นสรณะเถิด”
พระเจ้ามธุระ อวันตีบุตร ตรัสถามว่า “พระคุณเจ้ากัจจานะ บัดนี้ พระผู้มี
พระภาคผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นประทับอยู่ที่ไหน”
ท่านพระมหากัจจานะถวายพระพรว่า “มหาบพิตร บัดนี้ พระผู้มีพระภาค
ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น เสด็จปรินิพพานเสียแล้ว”
พระเจ้ามธุระ อวันตีบุตร ตรัสว่า “พระคุณเจ้ากัจจานะ ถ้าพวกโยมได้ยินว่า
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นประทับอยู่ไกลถึง ๑๐ โยชน์ พวกโยมก็ต้องไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น แม้สิ้นทาง ๑๐ โยชน์
ถ้าพวกโยมได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นประทับอยู่ไกลถึง ๒๐ โยชน์ ...
๓๐ โยชน์... ๔๐ โยชน์... ๕๐ โยชน์ พวกโยมก็ต้องไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคผู้เป็น
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น แม้สิ้นทาง ๕๐ โยชน์
พระคุณเจ้ากัจจานะ ถ้าพวกโยมได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นประทับ
อยู่ไกลถึง ๑๐๐ โยชน์ พวกโยมก็ต้องไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ถึงแม้ว่าจะไกลสัก ๑๐๐ โยชน์ แต่เพราะเหตุที่
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เสด็จปรินิพพานเสียแล้ว พวกโยมขอถึงพระผู้มี
พระภาคแม้เสด็จปรินิพพานแล้ว พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ
ขอพระคุณเจ้ากัจจานะจงจำโยมว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป จน
ตลอดชีวิต” ดังนี้แล

มธุรสูตรที่ ๔ จบ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร

๕. โพธิราชกุมารสูตร
ว่าด้วยโพธิราชกุมาร

[๓๒๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เภสกฬาวัน สถานที่ให้อภัยหมู่เนื้อ
เขตกรุงสุงสุมารคิระ แคว้นภัคคะ สมัยนั้นแล ปราสาทชื่อโกกนุทของพระราชกุมาร
พระนามว่าโพธิ สร้างเสร็จแล้วใหม่ ๆ สมณะ พราหมณ์ หรือมนุษย์คนใดคนหนึ่ง
ยังไม่ได้เข้าไปอยู่อาศัย ต่อมา โพธิราชกุมารรับสั่งเรียกมาณพชื่อสัญชิกาบุตรมา
ตรัสว่า
“มาเถิด สัญชิกาบุตรเพื่อนรัก ท่านจงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
กราบพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า แล้วทูลถามถึงพระสุขภาพ
ความมีพระโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพระพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ
ตามคำของเราว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โพธิราชกุมาร ขอกราบพระยุคลบาทของ
พระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า ทูลถามถึงพระสุขภาพ ความมีพระโรคาพาธน้อย
กระปรี้กระเปร่า มีพระพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ’ และจงกราบทูลอย่างนี้ว่า
‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคพร้อมทั้งภิกษุสงฆ์โปรดรับนิมนต์ฉัน
ภัตตาหารของโพธิราชกุมารในวันพรุ่งนี้ด้วยเถิด”
มาณพสัญชิกาบุตรทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่
สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ โพธิราชกุมารขอกราบพระยุคลบาทของพระโคดม
ผู้เจริญ ด้วยเศียรเกล้า ทูลถามถึงพระสุขภาพ ความมีพระโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า
มีพระพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ และกราบทูลอย่างนี้ว่า ‘ขอพระโคดมผู้เจริญ
พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ทรงรับนิมนต์ฉันภัตตาหารของโพธิราชกุมารในวันพรุ่งนี้ด้วยเถิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร

พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ เวลานั้น มาณพสัญชิกาบุตร
ทราบอาการที่พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์แล้ว จึงลุกจากที่นั่งเข้าไปเฝ้าโพธิราชกุมาร
ถึงที่ประทับแล้วกราบทูลว่า
“ข้าพระองค์ได้กราบทูลพระโคดมผู้เจริญพระองค์นั้นตามรับสั่งของพระองค์ว่า
‘ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ โพธิราชกุมารขอกราบพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาค
ด้วยเศียรเกล้า ทูลถามถึงพระสุขภาพ ความมีพระโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า
มีพระพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ’ และกราบทูลอย่างนี้ว่า ‘ขอพระโคดมผู้เจริญ
พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ทรงรับนิมนต์ฉันภัตตาหารของโพธิราชกุมารในวันพรุ่งนี้ด้วยเถิด’
และพระสมณโคดมทรงรับนิมนต์แล้ว พระเจ้าข้า”

พระพุทธเจ้าไม่ทรงเหยียบผ้าขาว

[๓๒๕] ครั้งนั้น เมื่อล่วงราตรีนั้นไป โพธิราชกุมารรับสั่งให้จัดเตรียมของ
เคี้ยวของฉันอันประณีตไว้ในพระนิเวศน์ของพระองค์ และรับสั่งให้ปูลาดโกกนุทปราสาท
ด้วยผ้าขาวถึงบันไดขั้นล่างสุด รับสั่งเรียกมาณพสัญชิกาบุตรมาตรัสว่า
“มาเถิด สัญชิกาบุตรเพื่อนรัก ท่านจงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
แล้วกราบทูลภัตตกาลว่า ‘ได้เวลาแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ภัตตาหารสำเร็จแล้ว”
มาณพสัญชิกาบุตรทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ กราบทูลภัตตกาลว่า ‘ได้เวลาแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ภัตตาหารสำเร็จแล้ว”
ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเสด็จ
เข้าไปยังพระราชนิเวศน์ของโพธิราชกุมาร ขณะนั้น โพธิราชกุมารทรงยืนคอย
รับเสด็จพระผู้มีพระภาคอยู่ที่นอกซุ้มประตู ได้ทรงเห็นพระผู้มีพระภาคกำลังเสด็จมา
แต่ไกล จึงเสด็จออกไปต้อนรับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วเสด็จนำหน้าเข้าไป
จนถึงโกกนุทปราสาท ครั้นถึงบันไดขั้นล่างสุด พระผู้มีพระภาคทรงหยุด โพธิราชกุมาร
จึงกราบทูลว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคทรงเหยียบผ้าขาวเสด็จเข้าไปเถิด
ขอพระสุคตทรงเหยียบผ้าขาวเสด็จเข้าไปเถิด ข้อนี้จะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อสุข แก่หม่อมฉันตลอดกาลนาน พระพุทธเจ้าข้า”
เมื่อโพธิราชกุมารกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคก็ทรงนิ่ง
แม้ครั้งที่ ๒ โพธิราชกุมารก็กราบทูลว่า “ขอพระผู้มีพระภาคทรงเหยียบผ้าขาว
เสด็จเข้าไปเถิด ขอพระสุคตทรงเหยียบผ้าขาวเสด็จเข้าไปเถิด ข้อนี้จะพึงเป็นไปเพื่อ
ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุข แก่หม่อมฉันตลอดกาลนาน พระพุทธเจ้าข้า”
เมื่อโพธิราชกุมารกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคก็ทรงนิ่ง
แม้ครั้งที่ ๓ โพธิราชกุมารก็กราบทูลว่า “ขอพระผู้มีพระภาคทรงเหยียบผ้าขาว
เสด็จเข้าไปเถิด ขอพระสุคตทรงเหยียบผ้าขาวเสด็จเข้าไปเถิด ข้อนี้จะพึงเป็นไปเพื่อ
ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุข แก่หม่อมฉันตลอดกาลนาน พระพุทธเจ้าข้า”
[๓๒๖] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชำเลืองดูท่านพระอานนท์ จากนั้น
ท่านพระอานนท์ได้ทูลตอบโพธิราชกุมารว่า “พระราชกุมารจงเก็บผ้าขาวเสียเถิด
พระผู้มีพระภาคไม่ทรงเหยียบผ้าขาว พระตถาคตทรงเห็นแก่ประชุมชนผู้เกิดใน
ภายหลัง”
โพธิราชกุมารรับสั่งให้เก็บผ้าขาวแล้วรับสั่งให้ปูอาสนะที่โกกนุทปราสาทชั้นบน
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จขึ้นโกกนุทปราสาท แล้วประทับนั่งบนพุทธอาสน์
ที่ปูลาดไว้แล้วพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ โพธิราชกุมารทรงอังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้า
เป็นประมุข ถวายของเคี้ยวของฉันอันประณีตจนอิ่มหนำด้วยพระองค์เอง ทรงทราบ
ว่าพระผู้มีพระภาคเสวยเสร็จละพระหัตถ์จากบาตรแล้ว จึงเลือกประทับนั่งอาสนะที่
สมควร ที่ใดที่หนี่งซึ่งต่ำกว่า แล้วได้กราบทูลว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันมีความเห็นอย่างนี้ว่า ‘บุคคลจะไม่ประสบ
ความสุขด้วยความสุข แต่บุคคลจะประสบความสุขด้วยความทุกข์เท่านั้น”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร

พุทธประวัติตอนบำเพ็ญสมาบัติ
ในสำนักอาฬารดาบส๑

[๓๒๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ราชกุมาร ก่อนการตรัสรู้ แม้อาตมภาพ
ยังเป็นโพธิสัตว์ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘บุคคลจะไม่ประสบความสุข
ด้วยความสุข แต่บุคคลจะประสบความสุขได้ด้วยความทุกข์เท่านั้น’ ในกาลต่อมา
อาตมภาพยังหนุ่มแน่น แข็งแรง มีเกศาดำสนิท อยู่ในปฐมวัย เมื่อพระราชมารดา
และพระราชบิดาไม่ทรงปรารถนาจะให้ผนวช มีพระพักตร์นองด้วยน้ำพระเนตร
ทรงกันแสงอยู่ จึงโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากวังบวชเป็น
บรรพชิต เมื่อบวชแล้วก็แสวงหาว่าอะไรเป็นกุศล ขณะที่แสวงหาทางอันประเสริฐคือ
ความสงบซึ่งไม่มีทางอื่นยิ่งกว่า ได้เข้าไปหาอาฬารดาบส กาลามโคตร แล้วกล่าวว่า
‘ท่านกาลามะ ข้าพเจ้าปรารถนาจะประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้’
เมื่ออาตมภาพกล่าวอย่างนี้ อาฬารดาบส กาลามโคตรจึงกล่าวกับอาตมภาพว่า
‘เชิญท่านอยู่ก่อน ธรรมนี้ก็เป็นเช่นเดียวกับธรรมที่วิญญูชนจะพึงทำให้แจ้งด้วย
ปัญญาอันยิ่งเอง ตามแบบอาจารย์ของตน เข้าถึงอยู่ได้ในเวลาไม่นาน’ จากนั้น
ไม่นาน อาตมภาพก็เรียนรู้ธรรมนั้นได้อย่างรวดเร็ว ชั่วขณะปิดปากจบเจรจาปราศรัย
เท่านั้น ก็กล่าวญาณวาทะ๑และเถรวาทะ๒ได้ ทั้งอาตมภาพและผู้อื่นก็ทราบชัดว่า
‘เรารู้ เราเห็น’ อาตมภาพจึงคิดว่า ‘อาฬารดาบส กาลามโคตรประกาศธรรมนี้
ด้วยเหตุเพียงความเชื่ออย่างเดียวว่า ‘เราทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่’
ก็หามิได้ แต่อาฬารดาบส กาลามโคตร ยังรู้ ยังเห็นธรรมนี้ด้วยอย่างแน่นอน’
จากนั้น อาตมภาพจึงเข้าไปหาอาฬารดาบส กาลามโคตรแล้วถามว่า ‘ท่าน
กาลามะ ท่านประกาศธรรมนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่’
ด้วยเหตุเพียงเท่าไร’


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร

เมื่ออาตมภาพถามอย่างนี้ อาฬารดาบส กาลามโคตรจึงประกาศอากิญ-
จัญญายตนสมาบัติแก่อาตมภาพ อาตมภาพจึงคิดว่า ‘มิใช่แต่อาฬารดาบส
กาลามโคตรเท่านั้นที่มีศรัทธา แม้เราก็มีศรัทธา ... มีวิริยะ ... มีสติ ... มีสมาธิ ...
มิใช่แต่อาฬารดาบส กาลามโคตรเท่านั้นที่มีปัญญา แม้เราก็มีปัญญา ทางที่ดี
เราควรบำเพ็ญเพียรเพื่อทำให้แจ้งธรรมที่อาฬารดาบส กาลามโคตรประกาศว่า
‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่’ จากนั้นไม่นาน อาตมภาพก็ทำให้
แจ้งธรรมนั้นด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่
จากนั้น อาตมภาพจึงเข้าไปหาอาฬารดาบส กาลามโคตรแล้วถามว่า ‘ท่าน
กาลามะ ท่านประกาศว่า ‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งธรรมนี้ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่’
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้หรือ’
อาฬารดาบส กาลามโคตรตอบว่า ‘ท่านผู้มีอายุ เราประกาศว่า ‘ข้าพเจ้า
ทำให้แจ้งธรรมนี้ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่’ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล’
(อาตมภาพจึงกล่าวว่า) ‘ท่านกาลามะ แม้ข้าพเจ้าก็ทำให้แจ้งธรรมนี้ด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่’ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้’
(อาฬารดาบส กาลามโคตรกล่าวว่า) ‘ท่านผู้มีอายุ เป็นลาภของพวกข้าพเจ้า
พวกข้าพเจ้าได้ดีแล้วที่ได้พบเพื่อนพรหมจารีเช่นท่าน เพราะข้าพเจ้าประกาศว่า
‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งธรรมใดด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ ท่านก็ทำให้แจ้งธรรมนั้น
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ ท่านทำให้แจ้งธรรมใด ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่
ข้าพเจ้าก็ประกาศว่า ‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งธรรมนั้นด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่
ข้าพเจ้าทราบธรรมใด ท่านก็ทราบธรรมนั้น ท่านทราบธรรมใด ข้าพเจ้าก็ทราบ
ธรรมนั้น เป็นอันว่าข้าพเจ้าเป็นเช่นใด ท่านก็เป็นเช่นนั้น ท่านเป็นเช่นใด ข้าพเจ้า
ก็เป็นเช่นนั้น มาเถิด บัดนี้ เราทั้งสองจะอยู่ร่วมกันบริหารคณะนี้’
ราชกุมาร อาฬารดาบส กาลามโคตรทั้งที่เป็นอาจารย์ของอาตมภาพ ก็ยกย่อง
อาตมภาพผู้เป็นศิษย์ให้เสมอกับตน และบูชาอาตมภาพด้วยการบูชาอย่างดี ด้วย
ประการอย่างนี้ แต่อาตมภาพคิดว่า ‘ธรรมนี้ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อ
คลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ และเพื่อนิพพาน เป็นไป
เพียงเพื่อเข้าถึงอากิญจัญญายตนสมาบัติเท่านั้น’ อาตภาพไม่พอใจ เบื่อหน่ายธรรมนั้น
จึงลาจากไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร

ในสำนักอุทกดาบส

[๓๒๘] ราชกุมาร อาตมภาพนั้นแสวงหาว่าอะไรเป็นกุศล ขณะที่แสวงหา
ทางอันประเสริฐคือความสงบซึ่งไม่มีทางอื่นยิ่งกว่า ได้เข้าไปหาอุทกดาบส รามบุตร
แล้วกล่าวว่า ‘ท่านรามะ ข้าพเจ้าปรารถนาจะประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้’
เมื่ออาตมภาพกล่าวอย่างนี้ อุทกดาบส รามบุตรจึงกล่าวกับอาตมภาพว่า
‘เชิญท่านอยู่ก่อน ธรรมนี้ก็เป็นเช่นเดียวกับธรรมที่วิญญูชนจะพึงทำให้แจ้งด้วย
ปัญญาอันยิ่งเอง ตามแบบอาจารย์ของตนเข้าถึงอยู่ได้ในเวลาไม่นาน’ จากนั้นไม่นาน
อาตมภาพก็เรียนรู้ธรรมนั้นได้อย่างรวดเร็ว ชั่วขณะปิดปากจบเจรจาปราศรัยเท่านั้น
ก็กล่าวญาณวาทะและเถรวาทะได้ ทั้งอาตมภาพและผู้อื่นก็ทราบชัดว่า ‘เรารู้
เราเห็น’ อาตมภาพจึงคิดว่า ‘อุทกดาบส รามบุตรประกาศธรรมนี้ด้วยเหตุเพียง
ความเชื่ออย่างเดียวว่า ‘เราทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่’ ก็หามิได้ แต่
อุทกดาบส รามบุตรยังรู้ยังเห็นธรรมนี้ด้วยอย่างแน่นอน’
จากนั้น อาตมภาพจึงเข้าไปหาอุทกดาบส รามบุตรแล้วถามว่า ‘ท่านรามะ
ท่านประกาศว่า ‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งธรรมนี้ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่’ ด้วยเหตุ
เพียงเท่าไร’
เมื่ออาตมภาพถามอย่างนี้ อุทกดาบส รามบุตรจึงประกาศเนวสัญญานา-
สัญญายตนสมาบัติแก่อาตมภาพ อาตมภาพจึงคิดว่า ‘มิใช่แต่อุทกดาบส รามบุตร
เท่านั้นที่มีศรัทธา แม้เราก็มีศรัทธา ... มีวิริยะ ... มีสติ ... มีสมาธิ ... มิใช่แต่
อุทกดาบส รามบุตรเท่านั้นที่มีปัญญา แม้เราก็มีปัญญา ทางที่ดี เราควรเริ่มบำเพ็ญ
เพียรเพื่อทำให้แจ้งธรรมที่อุทกดาบส รามบุตรประกาศว่า ‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่’ จากนั้นไม่นาน อาตมภาพก็ได้ทำให้แจ้งธรรมนั้นด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่
จากนั้น อาตมภาพจึงเข้าไปหาอุทกดาบส รามบุตรแล้วถามว่า ‘ท่านรามะ
ท่านประกาศว่า ‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งธรรมนี้ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่’ ด้วยเหตุ
เพียงเท่านี้หรือ’
อุทกดาบส รามบุตรตอบว่า ‘ท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าประกาศว่า ‘ข้าพเจ้าทำให้
แจ้งธรรมนี้ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่’ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร

(อาตมภาพจึงกล่าวว่า) ‘แม้ข้าพเจ้าก็ทำให้แจ้งธรรมนี้ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
เข้าถึงอยู่’ ด้วยเหตุเพียงเท่าน’
(อุทกดาบส รามบุตรกล่าวว่า) ‘ท่านผู้มีอายุ เป็นลาภของพวกข้าพเจ้า พวก
ข้าพเจ้าได้ดีแล้วที่ได้พบเพื่อนพรหมจารีเช่นท่าน เพราะ(ข้าพเจ้า)รามะประกาศว่า
‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งธรรมใดด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ ท่านก็ทำให้แจ้งธรรมนั้น
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ ท่านทำให้แจ้งธรรมใดด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่
รามะก็ประกาศว่า ‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งธรรมนั้นด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่’ รามะทราบ
ธรรมใด ท่านก็ทราบธรรมนั้น ท่านทราบธรรมใด รามะก็ทราบธรรมนั้น เป็นอันว่า
รามะเป็นเช่นใด ท่านก็เป็นเช่นนั้น ท่านเป็นเช่นใด รามะก็เป็นเช่นนั้น มาเถิด บัดนี้
ท่านจงบริหารคณะนี้'
ราชกุมาร อุทกดาบส รามบุตรทั้งที่เป็นเพื่อนพรหมจารีของอาตมภาพ ก็ยัง
ยกย่องอาตมภาพไว้ในฐานะอาจารย์ และบูชาอาตมภาพด้วยการบูชาอย่างดี ด้วย
ประการอย่างนี้ แต่อาตมภาพคิดว่า ‘ธรรมนี้ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลาย
กำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ และเพื่อนิพพาน เป็นไปเพียง
เพื่อเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติเท่านั้น’ อาตมภาพไม่พอใจ เบื่อหน่าย
ธรรมนั้น จึงลาจากไป

ทรงบำเพ็ญเพียร

[๓๒๙] ราชกุมาร อาตมภาพนั้นแสวงหาว่าอะไรเป็นกุศล ขณะที่แสวงหา
ทางอันประเสริฐคือความสงบซึ่งไม่มีทางอื่นยิ่งกว่า เมื่อเที่ยวจาริกไปในแคว้นมคธ
โดยลำดับ ได้ไปถึงตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ได้เห็นภูมิประเทศที่น่ารื่นรมย์ มีราวป่า
น่าเพลิดเพลินใจ มีแม่น้ำไหลรินไม่ขาดสาย มีท่าน้ำสะอาดดี น่ารื่นรมย์ มีโคจรคาม
อยู่โดยรอบ อาตมภาพจึงคิดว่า ‘ภูมิประเทศเป็นที่น่ารื่นรมย์ มีราวป่าน่าเพลิดเพลินใจ
มีแม่น้ำไหลรินไม่ขาดสาย มีท่าน้ำสะอาดดี น่ารื่นรมย์ มีโคจรคามอยู่โดยรอบ
เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียรของกุลบุตรผู้ปรารถนาจะบำเพ็ญเพียร’ อาตมภาพจึงนั่ง
ณ ที่นั้นด้วยคิดว่า ‘ที่นี้เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียร’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร

อุปมา ๓ ข้อ

ราชกุมาร ครั้งนั้น อุปมา ๓ ข้อ อันน่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง ซึ่งอาตมภาพยังไม่เคย
ได้ยินมาก่อน ได้ปรากฏแก่อาตมภาพ คือ
๑. เปรียบเหมือนไม้สดมียางที่แช่อยู่ในน้ำ บุรุษนำไม้นั้นมาทำไม้สีไฟ
ด้วยหวังว่า ‘เราจักก่อไฟให้เกิดความร้อนขึ้น’
ราชกุมาร พระองค์เข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษนั้นนำไม้สดที่มี
ยางซึ่งแช่อยู่ในน้ำมาทำไม้สีไฟแล้วสีให้เป็นไฟเกิดความร้อนขึ้นได้ไหม”
“ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะไม้สดนั้นมียาง ทั้งยังแช่อยู่ในน้ำ บุรุษนั้นก็มีแต่
ความเหน็ดเหนื่อยลำบากเปล่า”
“ราชกุมาร อย่างนั้นเหมือนกัน สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
มีกายและจิตยังไม่หลีกออกจากกาม ยังมีความพอใจ ความรักใคร่ ความหลง
ความกระหาย และความกระวนกระวายในกามทั้งหลาย ยังมิได้ละและมิได้ระงับ
อย่างเบ็ดเสร็จในภายใน สมณะหรือพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้นแม้เสวยทุกขเวทนา
ที่กล้าแข็ง หยาบ เผ็ดร้อน ซึ่งเกิดขึ้นเพราะความเพียร ก็เป็นผู้ไม่ควรแก่การรู้
การเห็น และการตรัสรู้อันยอดเยี่ยม แม้ไม่ได้เสวยทุกขเวทนาที่กล้าแข็ง หยาบ
เผ็ดร้อน ซึ่งเกิดขึ้นเพราะความเพียร ก็เป็นผู้ไม่ควรแก่การรู้ การเห็น และการ
ตรัสรู้อันยอดเยี่ยม
นี้เป็นอุปมาข้อที่ ๑ อันน่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง ซึ่งอาตมภาพยังไม่เคยได้ยิน
มาก่อน ได้ปรากฏแก่เรา
[๓๓๐] ๒. เปรียบเหมือนไม้สดมียางที่วางอยู่บนบกห่างจากน้ำ บุรุษนำไม้นั้น
มาทำไม้สีไฟด้วยหวังว่า ‘เราจักก่อไฟให้เกิดความร้อนขึ้น’
ราชกุมาร พระองค์เข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษนั้นนำไม้สดที่มียาง
ซึ่งวางอยู่บนบกห่างจากน้ำมาทำเป็นไม้สีไฟ แล้วสีให้เป็นไฟเกิดความร้อนขึ้นได้ไหม”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๓๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร

“ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะไม้ยังสดและมียาง แม้จะวางอยู่บนบกห่าง
จากน้ำ บุรุษนั้นก็มีแต่ความเหน็ดเหนื่อยลำบากเปล่า”
“ราชกุมาร อย่างนั้นเหมือนกัน สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
แม้มีกายและจิตหลีกออกจากกามแล้ว แต่ยังมีความพอใจ ความรักใคร่ ความหลง
ความกระหาย และความกระวนกระวายในกามทั้งหลาย ยังมิได้ละและมิได้ระงับ
อย่างเบ็ดเสร็จในภายใน สมณะหรือพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้นแม้เสวยทุกขเวทนา
ที่กล้าแข็ง หยาบ เผ็ดร้อน ซึ่งเกิดขึ้นเพราะความเพียร ก็เป็นผู้ไม่ควรแก่การรู้
การเห็น และการตรัสรู้อันยอดเยี่ยม แม้ไม่ได้เสวยทุกขเวทนาที่กล้าแข็ง หยาบ
เผ็ดร้อน ซึ่งเกิดขึ้นเพราะความเพียร ก็เป็นผู้ไม่ควรแก่การรู้ การเห็น และการ
ตรัสรู้อันยอดเยี่ยม
นี้เป็นอุปมาข้อที่ ๒ อันน่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง ซึ่งอาตมภาพยังไม่เคยได้ยิน
มาก่อน ได้ปรากฏแก่อาตมภาพ
[๓๓๑] ๓. เปรียบเหมือนไม้ที่แห้งสนิทซึ่งวางอยู่บนบกห่างจากน้ำ บุรุษนำมา
ทำเป็นไม้สีไฟด้วยหวังว่า ‘เราจักก่อไฟให้เกิดความร้อนขึ้น’
ราชกุมาร พระองค์เข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษนั้นนำไม้ที่แห้งสนิท
ซึ่งวางอยู่บนบกห่างจากน้ำมาทำเป็นไม้สีไฟ แล้วสีให้เป็นไฟเกิดความร้อนขึ้นได้ไหม”
“ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะไม้แห้งสนิท ทั้งวางอยู่บนบกห่างจากน้ำ”
“ราชกุมาร อย่างนั้นเหมือนกัน สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งมีกาย
และจิตหลีกออกจากกามแล้ว ทั้งละและระงับความพอใจ ความรักใคร่ ความหลง
ความกระหาย และความกระวนกระวายในกามทั้งหลายได้อย่างเบ็ดเสร็จในภายในแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร

สมณะหรือพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น แม้เสวยทุกขเวทนาที่กล้าแข็ง หยาบ เผ็ดร้อน
ซึ่งเกิดขึ้นเพราะความเพียร ก็เป็นผู้ควรแก่การรู้ การเห็น และการตรัสรู้อัน
ยอดเยี่ยม แม้ไม่ได้เสวยทุกขเวทนาที่กล้าแข็ง หยาบ เผ็ดร้อน ซึ่งเกิดขึ้นเพราะ
ความเพียร ก็เป็นผู้ควรแก่การรู้ การเห็น และการตรัสรู้อันยอดเยี่ยม
นี้เป็นอุปมาข้อที่ ๓ อันน่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง ซึ่งอาตมภาพยังไม่เคยได้ยินมาก่อน
ได้ปรากฏแก่อาตมภาพ
ราชกุมาร นี้คืออุปมา ๓ ข้ออันน่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง ซึ่งอาตมภาพยังไม่เคยได้
ยินมาก่อน ได้ปรากฏแก่อาตมภาพ

ทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยา

[๓๓๒] ราชกุมาร อาตมภาพนั้นมีความดำริว่า ‘ทางที่ดี เราควรกดฟัน
ด้วยฟัน ใช้ลิ้นดันเพดานไว้แน่น ใช้จิตข่มคั้นจิต ทำจิตให้เร่าร้อน’ อาตมภาพนั้น
ก็กดฟันด้วยฟัน ใช้ลิ้นดันเพดานไว้แน่น ใช้จิตข่มคั้นจิต ทำจิตให้เร่าร้อน เมื่อ
อาตมภาพทำดังนั้น เหงื่อก็ไหลออกจากรักแร้ทั้ง ๒ ข้าง คนที่แข็งแรงจับคนที่
อ่อนแอกว่าที่ศีรษะหรือที่คอ แล้วบีบคั้นรัดไว้ให้แน่น แม้ฉันใด อาตมภาพก็ฉันนั้น
เหมือนกัน เมื่อกดฟันด้วยฟัน ใช้ลิ้นดันเพดานไว้แน่น ใช้จิตข่มคั้นจิต ทำจิตให้
เร่าร้อน เหงื่อก็ไหลออกจากรักแร้ทั้ง ๒ ข้าง
อาตมภาพปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน มีสติตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน แต่เมื่อ
อาตมภาพถูกความเพียรที่ทนได้ยากนั้นเสียดแทงอยู่ กายของอาตมภาพก็กระวนกระวาย
ไม่สงบระงับ
[๓๓๓] ราชกุมาร อาตมภาพจึงมีความดำริว่า ‘ทางที่ดี เราควรบำเพ็ญฌาน
อันไม่มีลมปราณเถิด’ อาตมภาพก็กลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปาก
และทางจมูก เมื่ออาตมภาพกลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากและ
ทางจมูก ลมก็ออกทางหูทั้ง ๒ ข้าง มีเสียงดังอู้ ๆ ลมที่ช่างทองสูบอยู่มีเสียงดังอู้ ๆ
แม้ฉันใด เมื่ออาตมภาพกลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากและ
ทางจมูก ลมก็ออกทางหูทั้ง ๒ ข้าง มีเสียงดังอู้ ๆ ฉันนั้นเหมือนกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร

อาตมภาพปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน มีสติตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน แต่เมื่อ
อาตมภาพถูกความเพียรที่ทนได้ยากนั้นเสียดแทงอยู่ กายของอาตมภาพก็กระวน-
กระวาย ไม่สงบระงับ
อาตมภาพจึงมีความดำริว่า ‘ทางที่ดี เราควรบำเพ็ญฌานอันไม่มีลมปราณเถิด’
อาตมภาพก็กลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู
เมื่ออาตมภาพกลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากทางจมูกและทาง
ช่องหู ลมอันแรงกล้าก็เสียดแทงศีรษะ คนที่แข็งแรงใช้เหล็กที่แหลมคมแทงศีรษะ
แม้ฉันใด เมื่ออาตมภาพกลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากทางจมูก
และทางช่องหู ลมอันแรงกล้าก็เสียดแทงศีรษะ ฉันนั้นเหมือนกัน
อาตมภาพปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน มีสติตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน แต่เมื่อ
อาตมภาพถูกความเพียรที่ทนได้ยากนั้นเสียดแทงอยู่ กายของอาตมภาพก็กระวน-
กระวาย ไม่สงบระงับ
อาตมภาพจึงมีความดำริว่า ‘ทางที่ดี เราควรบำเพ็ญฌานอันไม่มีลมปราณเถิด’
อาตมภาพก็กลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู
เมื่ออาตมภาพกลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากทางจมูกและทาง
ช่องหู ก็มีทุกขเวทนาในศีรษะอย่างแรงกล้า คนที่แข็งแรงใช้เชือกหนังที่เหนียว
ขันศีรษะ แม้ฉันใด เมื่ออาตมภาพกลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปาก
ทางจมูกและทางช่องหู ก็มีทุกขเวทนาในศีรษะอย่างแรงกล้า ฉันนั้นเหมือนกัน
อาตมภาพปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน มีสติตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน แต่เมื่อ
อาตมภาพถูกความเพียรที่ทนได้ยากนั้นเสียดแทงอยู่ กายของอาตมภาพก็กระวน-
กระวาย ไม่สงบระงับ
อาตมภาพจึงมีความดำริว่า ‘ทางที่ดี เราควรบำเพ็ญฌานอันไม่มีลมปราณเถิด’
อาตมภาพก็กลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู
เมื่ออาตมภาพกลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากทางจมูกและทาง
ช่องหู ลมอันแรงกล้าก็บาดในช่องท้อง คนฆ่าโคหรือลูกมือของคนฆ่าโคผู้ชำนาญ
ใช้มีดแล่เนื้อที่คมกรีดท้อง แม้ฉันใด เมื่ออาตมภาพกลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก
ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู ก็มีลมอันแรงกล้าบาดในช่องท้อง ฉันนั้นเหมือนกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร

อาตมภาพปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน มีสติตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน แต่เมื่อ
อาตมภาพถูกความเพียรที่ทนได้ยากนั้นเสียดแทงอยู่ กายของอาตมภาพก็กระวน-
กระวาย ไม่สงบระงับ
อาตมภาพจึงมีความดำริว่า ‘ทางที่ดี เราควรบำเพ็ญฌานอันไม่มีลมปราณเถิด’
อาตมภาพก็กลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู
เมื่ออาตมภาพกลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากทางจมูกและทาง
ช่องหู ก็มีความกระวนกระวายในร่างกายอย่างแรงกล้า คนที่แข็งแรง ๒ คนจับแขน
คนที่อ่อนแอกว่าคนละข้างย่างให้ร้อนบนหลุมถ่านเพลิง แม้ฉันใด เมื่ออาตมภาพ
กลั้นลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู ก็มีความ
กระวนกระวายในร่างกายอย่างแรงกล้า ฉันนั้นเหมือนกัน
อาตมภาพปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน มีสติตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน แต่เมื่อ
อาตมภาพถูกความเพียรที่ทนได้ยากนั้นเสียดแทงอยู่ กายของอาตมภาพก็กระวน-
กระวาย ไม่สงบระงับ
เทวดาทั้งหลายเห็นอาตมภาพแล้วก็พากันกล่าวอย่างนี้ว่า ‘พระสมณโคดม
สิ้นพระชนม์แล้ว’ บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า ‘พระสมณโคดมยังมิได้สิ้นพระชนม์
แต่กำลังจะสิ้นพระชนม์’ บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า ‘พระสมณโคดมยังไม่สิ้นพระชนม์
ทั้งจะไม่สิ้นพระชนม์ พระสมณโคดมจะเป็นพระอรหันต์ การอยู่เช่นนี้นั้น เป็นวิหาร
ธรรม๑ของท่านผู้เป็นพระอรหันต์’
[๓๓๔] ราชกุมาร อาตมภาพจึงมีความดำริว่า ‘ทางที่ดี เราควรปฏิบัติ
ด้วยการอดอาหารทุกอย่าง’ ขณะนั้น เทวดาทั้งหลายเข้ามาหาอาตมภาพแล้ว
กล่าวว่า ‘ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านอย่าได้ปฏิบัติด้วยการอดอาหารทุกอย่าง
ถ้าท่านจักปฏิบัติด้วยการอดอาหารทุกอย่าง ข้าพเจ้าทั้งหลายจะแทรกโอชาอันเป็น
ทิพย์เข้าทางขุมขนของท่าน ท่านจะได้ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยโอชานั้น’ อาตมภาพ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร

จึงมีความดำริว่า ‘เราปฏิญญาว่า จะต้องอดอาหารทุกอย่าง แต่เทวดาเหล่านี้จะ
แทรกโอชาอันเป็นทิพย์เข้าทางขุมขนของเรา เราจะยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยโอชานั้น
การปฏิญญานั้นก็จะพึงเป็นมุสาแก่เรา’ อาตมภาพจึงกล่าวห้ามเทวดาเหล่านั้นว่า
‘อย่าเลย’
อาตมภาพมีความดำริว่า ‘ทางที่ดี เราควรกินอาหารให้น้อยลง ๆ เพียง
ครั้งละ ๑ ฟายมือบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดถั่วเขียวบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดถั่วพูบ้าง
เท่าเยื่อในเมล็ดถั่วดำบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดบัวบ้าง’ อาตมภาพจึงฉันอาหารน้อยลง ๆ
เพียงครั้งละ ๑ ฟายมือบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดถั่วเขียวบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดถั่วพูบ้าง
เท่าเยื่อในเมล็ดถั่วดำบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดบัวบ้าง เมื่ออาตมภาพฉันอาหารน้อยลง ๆ
เพียงครั้งละ ๑ ฟายมือบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดถั่วเขียวบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดถั่วพูบ้าง
เท่าเยื่อในเมล็ดถั่วดำบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดบัวบ้าง กายจึงซูบผอมมาก อวัยวะน้อยใหญ่
ของอาตมภาพจึงเป็นเหมือนเถาวัลย์ที่มีข้อมากหรือเถาวัลย์ที่มีข้อดำ เนื้อสะโพก
ก็ลีบเหมือนกีบเท้าอูฐ กระดูกสันหลังก็ผุดเป็นหนามเหมือนเถาวัลย์ ซี่โครงทั้ง ๒ ข้าง
ขึ้นสะพรั่ง เหมือนกลอนศาลาเก่า ดวงตาทั้ง ๒ ก็ลึกเข้าไปในเบ้าตา เหมือน
ดวงดาวปรากฏอยู่ในบ่อน้ำลึก หนังบนศีรษะก็เหี่ยวหดเหมือนลูกน้ำเต้าที่เขาตัดมา
ขณะยังดิบต้องลมและแดดเข้าก็เหี่ยวหดไป เพราะเป็นผู้มีอาหารน้อยนั้น อาตมภาพ
คิดว่า ‘จะลูบพื้นท้อง’ ก็จับถึงกระดูกสันหลัง คิดว่า ‘จะลูบกระดูกสันหลัง’ ก็จับถึง
พื้นท้อง เพราะพื้นท้องของอาตมภาพแนบติดจนถึงกระดูกสันหลัง อาตมภาพคิดว่า
‘จะถ่ายอุจจาระหรือถ่ายปัสสาวะ’ ก็ซวนเซล้มลง ณ ที่นั้น เมื่อจะให้กายสบายบ้าง
จึงใช้ฝ่ามือลูบตัว ขนทั้งหลายที่มีรากเน่าก็หลุดร่วงจากกาย เพราะเป็นผู้มีอาหารน้อย
มนุษย์ทั้งหลายเห็นอาตมภาพแล้ว ก็กล่าวอย่างนี้ว่า ‘พระสมณโคดมดำไป’ บางพวก
ก็กล่าวอย่างนี้ว่า ‘พระสมณโคดมไม่ดำเพียงแต่คล้ำไป’ บางพวกก็กล่าวอย่างนี้ว่า
‘ไม่ดำ ไม่คล้ำ เพียงแต่พร้อยไป’ เรามีผิวพรรณบริสุทธิ์ เปล่งปลั่ง เพียงแต่เสียผิวไป
เพราะเป็นผู้มีอาหารน้อยเท่านั้น
[๓๓๕] ราชกุมาร อาตมภาพนั้นมีความดำริว่า ‘สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด
เหล่าหนึ่งในอดีตเสวยทุกขเวทนากล้าแข็ง หยาบ เผ็ดร้อน ที่เกิดขึ้นเพราะความเพียร
ทุกขเวทนานั้น อย่างยิ่งก็เพียงเท่านี้ไม่เกินกว่านี้ไป สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร

เหล่าหนึ่งในอนาคตเสวยทุกขเวทนากล้าแข็ง หยาบ เผ็ดร้อน ที่เกิดขึ้นเพราะ
ความเพียร ทุกขเวทนานั้น อย่างยิ่งก็เพียงเท่านี้ไม่เกินกว่านี้ไป สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบัน เสวยทุกขเวทนากล้าแข็ง หยาบ เผ็ดร้อน
ที่เกิดขึ้นเพราะความเพียร ทุกขเวทนานั้น อย่างยิ่งก็เพียงเท่านี้ไม่เกินกว่านี้ไป
แต่เราก็ยังมิได้บรรลุญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ วิเศษยิ่งกว่าธรรมของ
มนุษย์ ด้วยทุกกรกิริยาอันเผ็ดร้อนนี้ จะพึงมีทางอื่นเพื่อการตรัสรู้บ้างไหม’
อาตมภาพจึงมีความดำริว่า ‘เราจำได้อยู่ เมื่อคราวงานของท้าวสักกาธิบดี
ซึ่งเป็นพระราชบิดา เรานั่งอยู่ใต้ต้นหว้าอันร่มเย็น ได้สงัดจากกามและอกุศลธรรม
ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ ทางนั้น
พึงเป็นทางแห่งการตรัสรู้หรือหนอ’ อาตมภาพมีความรู้แจ้งที่ตามระลึกด้วยสติว่า
‘ทางนั้นเป็นทางแห่งการตรัสรู้’ อาตมภาพจึงมีความดำริว่า ‘เรากลัวความสุขที่เว้น
จากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายหรือ’ อาตมภาพก็ดำริว่า ‘เราไม่กลัวความสุขที่เว้น
จากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายเลย’
ราชกุมาร อาตมภาพจึงมีความดำริต่อไปว่า ‘เราผู้มีกายซูบผอมมากอย่างนี้
จะบรรลุความสุขนั้นไม่ใช่ทำได้ง่ายเลย ทางที่ดี เราควรกินอาหารหยาบ คือข้าวสุก
และขนมกุมมาส’ อาตมภาพก็ฉันอาหารหยาบคือข้าวสุกและขนมกุมมาส ครั้งนั้น
ภิกษุปัญจวัคคีย์เฝ้าบำรุงอาตมภาพ ด้วยหวังว่า ‘พระสมณโคดมบรรลุธรรมใด
จักบอกธรรมนั้นแก่เราทั้งหลาย’ เมื่อใด อาตมภาพฉันอาหารหยาบ คือข้าวสุก
และขนมกุมมาส เมื่อนั้น ภิกษุปัญจวัคคีย์นั้น ก็เบื่อหน่าย จากไปด้วยเข้าใจว่า
‘พระสมณโคดมมักมาก คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมากเสียแล้ว’

ฌาน ๔ และวิชชา ๓

[๓๓๖] ราชกุมาร อาตมภาพฉันอาหารหยาบให้ร่างกายมีกำลัง สงัดจาก
กามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิด
จากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสในภายใน
มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่
เพราะปีติจางคลายไป มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะเสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร

ตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข’ เพราะ
ละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว บรรลุจตุตถฌาน ที่ไม่มี
ทุกข์ไม่มีสุขมีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่
เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ
เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ อาตมภาพนั้น
น้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง
๒ ชาติบ้าง ฯลฯ อาตมภาพระลึกชาติก่อนได้หลายชาติพร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและ
ชีวประวัติอย่างนี้ อาตมภาพได้บรรลุวิชชาที่ ๑ นี้ ในปฐมยามแห่งราตรี กำจัด
อวิชชาได้แล้ว วิชชาก็เกิดขึ้น กำจัดความมืดได้แล้ว ความสว่างก็เกิดขึ้น เหมือน
บุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่
เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ
เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ อาตมภาพนั้น
น้อมจิตไปเพื่อจุตูปปาตญาณ เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง
งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่
สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ฯลฯ อาตมภาพได้บรรลุวิชชาที่ ๒ นี้ในมัชฌิมยามแห่ง
ราตรี กำจัดอวิชชาได้แล้ว วิชชาก็เกิดขึ้น กำจัดความมืดได้แล้ว ความสว่าง
ก็เกิดขึ้น เหมือนบุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่
เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ
เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ อาตมภาพนั้น
น้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย
นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ
นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา’ เมื่ออาตมภาพรู้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตก็หลุดพ้นจาก
กามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’
รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร

ราชกุมาร อาตมภาพบรรลุวิชชาที่ ๓ นี้ในปัจฉิมยามแห่งราตรี กำจัดอวิชชา
ได้แล้ว วิชชาก็เกิดขึ้น กำจัดความมืดได้แล้ว ความสว่างก็เกิดขึ้น เหมือนบุคคลผู้
ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่

ทรงมีความขวนขวายน้อย

[๓๓๗] ราชกุมาร อาตมภาพนั้นได้มีความดำริว่า ‘ธรรม๑ที่เราได้บรรลุแล้วนี้
ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต ไม่เป็นวิสัยแห่งตรรกะ ละเอียด
บัณฑิต(เท่านั้น)จึงจะรู้ได้ ส่วนหมู่ประชาผู้รื่นรมย์ด้วยอาลัย ยินดีในอาลัย เพลิดเพลิน
ในอาลัย ฐานะที่หมู่สัตว์ผู้รื่นรมย์ด้วยอาลัย๒ ยินดีในอาลัย เพลิดเพลินในอาลัย
นี้ย่อมเป็นสิ่งที่เห็นได้ยาก กล่าวคือหลักอิทัปปัจจยตา(ความที่มีสิ่งนั้นสิ่งนี้เป็นปัจจัย
ของสิ่งนี้) หลักปฏิจจสมุปบาท(การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกัน ๆ จึงเกิดมี) ถึงแม้ฐานะ
อันนี้ก็เป็นสิ่งที่เห็นได้ยากนัก กล่าวคือความสงบแห่งสังขารทั้งปวง ความสลัดทิ้ง
อุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา วิราคะ นิโรธ นิพพาน ก็ถ้าเราจะพึงแสดงธรรม
และผู้อื่นจะไม่เข้าใจซึ้งต่อเรา ข้อนั้นก็จะพึงเป็นความเหน็ดเหนื่อยเปล่าแก่เรา จะพึง
เป็นความลำบากเปล่าแก่เรา’
อนึ่งเล่า คาถาอันน่าอัศจรรย์เหล่านี้ที่ไม่เคยสดับมาก่อน ได้ปรากฏแก่เราว่า
‘บัดนี้ เรายังไม่ควรประกาศธรรมที่เราบรรลุด้วยความลำบาก
เพราะธรรมนี้ไม่ใช่สิ่งที่ผู้ถูกราคะและโทสะครอบงำจะรู้ได้ง่าย
แต่เป็นสิ่งที่พาทวนกระแส๓ ละเอียด ลึกซึ้ง รู้เห็นได้ยาก ประณีต
ผู้กำหนัดด้วยราคะ ถูกกองโมหะหุ้มห่อไว้ จักรู้เห็นไม่ได้๔’
ราชกุมาร เมื่ออาตมภาพพิจารณาดังนี้ จิตก็น้อมไปเพื่อความขวนขวายน้อย
มิได้น้อมไป เพื่อแสดงธรรม


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร

สหัมบดีพรหมอาราธนาแสดงธรรม

[๓๓๘] ครั้งนั้น สหัมบดีพรหมทราบความดำริในใจของอาตมภาพด้วยใจ
(ของตน) จึงได้มีความรำพึงว่า
‘ท่านผู้เจริญ โลกจะฉิบหายหนอ โลกจะพินาศหนอ เพราะพระตถาคตอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้าทรงน้อมพระทัยไปเพื่อความขวนขวายน้อย มิได้น้อมพระทัยไป
เพื่อทรงแสดงธรรม’
ลำดับนั้น สหัมบดีพรหมอันตรธานจากพรหมโลกมาปรากฏ ณ เบื้องหน้า
อาตมภาพ เปรียบเหมือนคนที่แข็งแรงเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้า แล้วห่มอุตตราสงค์
เฉวียงบ่า ประนมมือมาทางทิศที่อาตมภาพอยู่ ได้กล่าวกับอาตมภาพว่า ‘ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคได้โปรดแสดงธรรม ขอพระสุคตเจ้าได้โปรดแสดงธรรม
เพราะสัตว์ทั้งหลายผู้มีธุลีในดวงตาน้อย๑มีอยู่ สัตว์เหล่านั้นจะเสื่อมเพราะไม่ได้สดับธรรม
สัตว์เหล่านั้นจักเป็นผู้รู้ทั่วถึงธรรม๒’
สหัมบดีพรหมได้ทูลอาราธนาดังนี้ แล้วได้ทูลเป็นคาถาประพันธ์ต่อไปว่า
‘ในกาลก่อน ธรรมที่ไม่บริสุทธิ์
อันคนที่มีมลทิน๓คิดค้นไว้ ปรากฏในแคว้นมคธ
พระองค์โปรดทรงเปิดประตูอมตธรรมนั้นเถิด
ขอสัตว์ทั้งหลายจงฟังธรรมที่พระสัมพุทธเจ้า
ผู้ปราศจากมลทิน ได้ตรัสรู้แล้วตามลำดับ
ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระปัญญาดี มีพระสมันตจักษุ
บุรุษผู้ยืนอยู่บนยอดเขาศิลาล้วน
พึงเห็นหมู่ชนได้โดยรอบ ฉันใด
พระองค์ผู้หมดความโศกแล้ว


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร

โปรดเสด็จขึ้นสู่ปราสาทคือธรรม
จักได้เห็นหมู่ชนผู้ตกอยู่ในความเศร้าโศก
และถูกชาติชราครอบงำได้ชัดเจน ฉันนั้น
ข้าแต่พระองค์ผู้มีความเพียร
ผู้ชนะสงคราม๑ ผู้นำหมู่๒ ผู้ไม่มีหนี้๓
ขอพระองค์โปรดลุกขึ้นเสด็จจาริกไปในโลก
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค
ขอพระองค์โปรดจงทรงแสดงธรรม
เพราะสัตว์ทั้งหลายจักเป็นผู้รู้ทั่วถึงธรรม๔

เวไนยสัตว์เปรียบด้วยดอกบัว๕

[๓๓๙] ราชกุมาร ครั้งนั้น อาตมภาพรับคำทูลอาราธนาของพรหม และ
เพราะอาศัยความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย จึงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ๖ เมื่อตรวจดู
โลกด้วยพุทธจักษุได้เห็นสัตว์ทั้งหลายผู้มีธุลีในดวงตา๗น้อย มีธุลีในดวงตามาก
มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการทราม สอนให้รู้ได้ง่าย สอนให้รู้
ได้ยาก บางพวกเห็นปรโลกและโทษว่าเป็นสิ่งน่ากลัว บางพวกเห็นปรโลกและโทษ
ว่าเป็นสิ่งไม่น่ากลัว


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร

ในกออุบล(บัวขาบ) ในกอปทุม(บัวหลวง) หรือในกอบุณฑริก(บัวขาว) ดอก
อุบล ดอกปทุม ดอกบุณฑริก บางดอกที่เกิดในน้ำ เจริญในน้ำ ยังไม่พ้นน้ำ จมอยู่
ใต้น้ำ และมีน้ำหล่อเลี้ยงไว้ ดอกอุบล ดอกปทุม ดอกบุณฑริก บางดอกที่เกิดในน้ำ
เจริญในน้ำ อยู่เสมอน้ำ ดอกอุบล ดอกปทุม ดอกบุณฑริก บางดอกที่เกิดในน้ำ
เจริญในน้ำ อยู่พ้นน้ำ ไม่แตะน้ำ แม้ฉันใด อาตมภาพเมื่อตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ
ได้เห็นสัตว์ทั้งหลายผู้มีธุลีในดวงตาน้อย มีธุลีในดวงตามาก มีอินทรีย์แก่กล้า
มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการทราม สอนให้รู้ได้ง่าย สอนให้รู้ได้ยาก บางพวก
เห็นปรโลกและโทษว่าเป็นสิ่งน่ากลัว บางพวกเห็นปรโลกและโทษว่าเป็นสิ่งไม่น่ากลัว๑
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ลำดับนั้น อาตมภาพได้กล่าวคาถาตอบท้าวสหัมบดีพรหมว่า
‘พรหม สัตว์เหล่าใดมีโสตประสาท
จงปล่อยศรัทธามาเถิด
เรามิได้ปิดประตูอมตธรรมสำหรับสัตว์เหล่านั้น
แต่เรารู้สึกว่าเป็นการยากลำบาก
จึงไม่คิดจะแสดงธรรมอันประณีต
ที่เราคล่องแคล่ว ในหมู่มนุษย์๒


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร

ทรงรำพึงถึงผู้ควรรับธรรมเทศนา

[๓๔๐] ราชกุมาร ครั้งนั้น สหัมบดีพรหมทราบว่า ‘พระผู้มีพระภาคได้
ทรงประทานโอกาสเพื่อจะแสดงธรรมแก่เราแล้ว’ จึงถวายอภิวาทอาตมภาพ กระทำ
ประทักษิณแล้วได้หายไปจากที่นั้น
ราชกุมาร อาตมภาพดำริว่า ‘เราควรแสดงธรรมแก่ใครก่อนหนอ ใครจักรู้
ธรรมนี้ได้ฉับพลัน’ แล้วดำริต่อไปว่า ‘อาฬารดาบส กาลามโคตรนี้ เป็นบัณฑิต
ฉลาดเฉียบแหลม มีปัญญา มีธุลีในดวงตาน้อยมานาน ทางที่ดี เราควรแสดงธรรม
แก่อาฬารดาบส กาลามโคตรก่อน เธอจักรู้ธรรมนี้ได้ฉับพลัน’
ครั้งนั้น เทวดาองค์หนึ่งเข้ามาหาอาตมภาพแล้วกล่าวว่า ‘ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ อาฬารดาบส กาลามโคตร ทำกาละได้ ๗ วันแล้ว’
อนึ่ง อาตมภาพก็ได้เกิดญาณทัสสนะขึ้นว่า ‘อาฬารดาบส กาลามโคตร
ทำกาละได้ ๗ วันแล้ว’ จึงดำริว่า ‘อาฬารดาบส กาลามโคตร เป็นผู้มีความ
เสื่อมจากคุณอันยิ่งใหญ่๑แล้วหนอ เพราะถ้าเธอได้ฟังธรรมนี้ ก็จะพึงรู้ได้ฉับพลัน’
อาตมภาพจึงดำริว่า ‘เราควรแสดงธรรมแก่ใครก่อนหนอ ใครจักรู้ทั่วถึงธรรม
นี้ได้ฉับพลัน’ จึงดำริต่อไปว่า ‘อุทกดาบส รามบุตรนี้ เป็นบัณฑิต ฉลาดเฉียบแหลม
มีปัญญา มีธุลีในดวงตาน้อยมานาน ทางที่ดี เราควรแสดงธรรมแก่อุทกดาบส
รามบุตรก่อน เธอจักรู้ธรรมนี้ได้ฉับพลัน’
ลำดับนั้น เทวดาองค์หนึ่งเข้ามาหาอาตมภาพแล้วกล่าวว่า ‘ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ อุทกดาบส รามบุตร ได้ทำกาละเมื่อวานนี้’
อนึ่ง อาตมภาพก็ได้เกิดญาณทัสสนะขึ้นว่า ‘อุทกดาบส รามบุตร ได้ทำกาละ
เมื่อวานนี้’ จึงดำริว่า ‘อุทกดาบส รามบุตร เป็นผู้มีความเสื่อมจากคุณอันยิ่งใหญ่
แล้วหนอ เพราะถ้าเธอได้ฟังธรรมนี้ ก็จะพึงรู้ได้ฉับพลัน’


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร

ทรงพบอุปกาชีวก

[๓๔๑] ราชกุมาร อาตมภาพจึงดำริว่า ‘เราควรแสดงธรรมแก่ใครก่อนหนอ
ใครจักรู้ธรรมนี้ได้ฉับพลัน’ จึงดำริว่า ‘ภิกษุปัญจวัคคีย์มีอุปการะแก่เรามาก ที่ได้เฝ้า
ปรนนิบัติเราผู้มุ่งบำเพ็ญเพียร ทางที่ดี เราควรแสดงธรรมแก่ภิกษุปัญจวัคคีย์ก่อน’
แล้วดำริต่อไปว่า ‘บัดนี้ ภิกษุปัญจวัคคีย์อยู่ที่ไหนหนอ’ ก็ได้เห็นภิกษุปัญจวัคคีย์อยู่
ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์
ราชกุมาร ครั้งนั้น อาตมภาพพักอยู่ที่ตำบลอุรุเวลาตามความต้องการแล้ว
จึงหลีกจาริกไปทางกรุงพาราณสี
ราชกุมาร อาชีวกชื่ออุปกะได้พบอาตมภาพผู้กำลังเดินทางไกล ณ ระหว่าง
แม่น้ำคยากับต้นโพธิพฤกษ์ ได้ถามเราว่า ‘อาวุโส อินทรีย์ของท่านผ่องใสยิ่งนัก
ผิวพรรณของท่านบริสุทธิ์ผุดผ่อง ท่านบวชอุทิศใคร ใครเป็นศาสดาของท่าน หรือ
ท่านชอบใจธรรมของใคร’
เมื่ออุปกาชีวกถามอย่างนี้แล้ว อาตมภาพจึงได้กล่าวคาถาตอบอุปกาชีวกว่า
‘เราเป็นผู้ครอบงำธรรมทั้งปวง๑ รู้ธรรมทั้งปวง๒
มิได้แปดเปื้อนในธรรมทั้งปวง๓ ละธรรมทั้งปวง๔ได้สิ้นเชิง
หลุดพ้นเพราะสิ้นตัณหา ตรัสรู้ยิ่งเอง
แล้วจะพึงกล่าวอ้างใครเล่า
เราไม่มีอาจารย์๕ เราไม่มีผู้เสมอเหมือน
เราไม่มีผู้ทัดเทียมในโลกกับทั้งเทวโลก


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร

เพราะเราเป็นอรหันต์ เป็นศาสดาผู้ยอดเยี่ยม
เราผู้เดียวเป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ
เป็นผู้เยือกเย็น ดับกิเลสในโลกได้แล้ว
เราจะไปเมืองหลวงของชาวกาสี ประกาศธรรมจักร
ตีกลองอมตธรรมไปในโลกอันมีความมืดมน๑’
อุปกาชีวกกล่าวว่า ‘อาวุโส ท่านสมควรเป็นพระอนันตชินะตามที่ท่านประกาศ’
อาตมภาพจึงกล่าวตอบว่า
‘ชนเหล่าใดได้ถึงความสิ้นอาสวะแล้ว
ชนเหล่านั้นย่อมเป็นพระชินะเช่นเรา
อุปกะ เราชนะความชั่วได้แล้ว
เพราะฉะนั้น เราจึงชื่อว่าพระชินะ๒’
เมื่ออาตมภาพกล่าวอย่างนั้นแล้ว อุปกาชีวกจึงกล่าวว่า ‘อาวุโส ควรจะเป็น
อย่างนั้น’ โคลงศีรษะแลบลิ้นแล้วเดินสวนทางหลีกไป

ทรงแสดงธรรมโปรดภิกษุปัญจวัคคีย์

[๓๔๒] ราชกุมาร ลำดับนั้น อาตมภาพจาริกไปโดยลำดับ ถึงป่าอิสิปตน-
มฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี ได้เข้าไปหาภิกษุปัญจวัคคีย์ถึงที่อยู่ ภิกษุปัญจวัคคีย์
เห็นอาตมภาพเดินมาแต่ไกล จึงนัดหมายกันและกันว่า ‘อาวุโส พระสมณโคดมนี้
เป็นผู้มักมาก คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นคนมักมาก กำลังเสด็จมา
พวกเราไม่พึงกราบไหว้ ไม่พึงลุกรับ ไม่พึงรับบาตรและจีวรของพระองค์ แต่จะจัด
อาสนะไว้ ถ้าพระองค์ปรารถนาก็จักประทับนั่ง’
อาตมภาพเข้าไปหาภิกษุปัญจวัคคีย์ ภิกษุปัญจวัคคีย์ก็ลืมข้อนัดหมายของตน
บางพวกต้อนรับอาตมภาพแล้วรับบาตรและจีวร บางพวกปูลาดอาสนะ บางพวกจัด
หาน้ำล้างเท้า แต่ภิกษุปัญจวัคคีย์เรียกอาตมภาพโดยออกนามและใช้คำว่า ‘อาวุโส’


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร

เมื่อภิกษุปัญจวัคคีย์กล่าวอย่างนั้นแล้ว อาตมภาพจึงห้ามภิกษุปัญจวัคคีย์ว่า
‘ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอย่าเรียกตถาคตโดยออกชื่อและใช้คำว่า ‘อาวุโส’
ตถาคตเป็นอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยตนเองโดยชอบ เธอทั้งหลายจงเงี่ยโสตสดับ เราจะ
สั่งสอนอมตธรรมที่เราได้บรรลุแล้ว จะแสดงธรรม เธอทั้งหลายเมื่อปฏิบัติตามที่เรา
สั่งสอน ไม่นานนักก็จักทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์
ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
เข้าถึงอยู่ในปัจจุบันแน่แท้’
เมื่ออาตมภาพกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุปัญจวัคคีย์ได้กล่าวกับอาตมภาพว่า
‘อาวุโสโคดม แม้ด้วยจริยานั้น ด้วยปฏิปทานั้น ด้วยทุกกรกิริยานั้น พระองค์ก็ยัง
มิได้บรรลุญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ วิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ บัดนี้
พระองค์เป็นผู้มักมาก คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นคนมักมาก ไฉนจัก
บรรลุญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ วิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ได้เล่า’
เมื่อภิกษุปัญจวัคคีย์กล่าวอย่างนั้นแล้ว อาตมภาพจึงได้กล่าวกับภิกษุปัญจ-
วัคคีย์ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตไม่ได้เป็นคนมักมาก ไม่ได้คลายความเพียร ไม่ได้
เวียนมาเพื่อความเป็นคนมักมาก ตถาคตเป็นอรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบ เธอทั้งหลาย
จงเงี่ยโสตสดับ เราจะสั่งสอนอมตธรรมที่เราได้บรรลุแล้ว จะแสดงธรรม เธอทั้งหลาย
เมื่อปฏิบัติตามที่เราสั่งสอน ไม่นานนักก็จักทำให้แจ้งประโยชน์ยอดยี่ยมอันเป็นที่สุด
แห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ
ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบันแน่แท้’
แม้ครั้งที่ ๒ ภิกษุปัญจวัคคีย์ก็ได้กล่าวกับอาตมภาพว่า ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๒ อาตมภาพก็ได้กล่าวกับภิกษุปัญจวัคคีย์ว่า ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ ภิกษุปัญจวัคคีย์ก็ได้กล่าวกับอาตมภาพว่า ‘อาวุโสโคดม แม้ด้วย
จริยานั้น ด้วยปฏิปทานั้น ด้วยทุกกรกิริยานั้น พระองค์ก็ยังมิได้บรรลุญาณทัสสนะ
ที่ประเสริฐอันสามารถ วิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ได้ บัดนี้ พระองค์เป็นผู้มักมาก
คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นคนมักมาก ไฉนจักบรรลุญาณทัสสนะ
ที่ประเสริฐอันสามารถ วิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ได้เล่า’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร

เมื่อภิกษุปัญจวัคคีย์กล่าวอย่างนี้แล้ว อาตมภาพได้กล่าวกับภิกษุปัญจวัคคีย์ว่า
‘ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายยังจำได้หรือไม่ว่า ถ้อยคำเช่นนี้เราได้เคยกล่าวในกาล
ก่อนแต่นี้’
ภิกษุปัญจวัคคีย์กล่าวว่า ‘ถ้อยคำเช่นนี้ไม่เคยได้ฟังมาก่อน พระพุทธเจ้าข้า’
อาตมภาพจึงกล่าวว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยตนเอง
โดยชอบ เธอทั้งหลายจงเงี่ยโสตสดับ เราจะสั่งสอนอมตธรรมที่เราบรรลุแล้ว
จะแสดงธรรม เธอทั้งหลายเมื่อปฏิบัติตามที่เราสั่งสอน ไม่นานนักก็จักทำให้แจ้ง
ซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวช
เป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบันแน่แท้’
อาตมภาพสามารถทำให้ภิกษุปัญจวัคคีย์ยินยอมได้แล้ว อาตมภาพกล่าวสอน
ภิกษุ ๒ รูป ภิกษุ ๓ รูปก็เที่ยวบิณฑบาต เราทั้ง ๖ ฉันบิณฑบาตที่ภิกษุ ๓ รูป
นำมา อาตมภาพกล่าวสอนภิกษุ ๓ รูป ภิกษุ ๒ รูปก็เที่ยวบิณฑบาต เราทั้ง ๖
ฉันบิณฑบาตที่ภิกษุ ๒ รูปนำมา๑

ทรงแก้ปัญหาของโพธิราชกุมาร

[๓๔๓] ครั้งนั้น ภิกษุปัญจวัคคีย์ที่อาตมภาพสั่งสอนและพร่ำสอนอยู่อย่างนี้
ไม่นานนักก็ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตร
ผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่
ในปัจจุบัน”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว โพธิราชกุมารได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อภิกษุได้พระตถาคตเป็นผู้แนะนำนานเพียงไรหนอ
จึงทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออก
จากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ใน
ปัจจุบัน”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ราชกุมาร ถ้าเช่นนั้น ในข้อนี้อาตมภาพขอย้อนถาม
พระองค์ก่อน พระองค์พึงตอบตามที่พอพระทัย พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้น
ว่าอย่างไร พระองค์เป็นผู้ฉลาดในศิลปะ คือ การทรงช้าง การใช้ขอช้าง มิใช่หรือ”
โพธิราชกุมารทูลว่า “ใช่ พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์เป็นผู้ฉลาดในศิลปะคือ
การทรงช้าง การใช้ขอช้าง”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ราชกุมาร พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่า
อย่างไร บุรุษมาในเมืองนี้ด้วยเข้าใจว่า ‘โพธิราชกุมารทรงรู้ศิลปะคือการทรงช้าง
การใช้ขอช้าง เราจักศึกษาศิลปะคือการขี่ช้าง การใช้ขอช้างในสำนักของโพธิราชกุมารนั้น’
แต่เขาไม่มีศรัทธา จึงไม่บรรลุผลเท่าที่บุคคลผู้มีศรัทธาจะพึงบรรลุ เขามีสุขภาพ
มีโรคาพาธมาก จึงไม่บรรลุผลเท่ากับคนที่มีสุขภาพมีโรคาพาธน้อยจะพึงบรรลุ
เขาเป็นคนโอ้อวด มีมารยา จึงไม่บรรลุผลเท่าที่บุคคลผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยาจะพึง
บรรลุ เขาเป็นผู้เกียจคร้าน จึงไม่บรรลุผลเท่าที่บุคคลผู้ปรารภความเพียรจะพึง
บรรลุ และเขาเป็นผู้มีปัญญาทรามจึงไม่บรรลุผลเท่าที่บุคคลผู้มีปัญญาจะพึงบรรลุ
ราชกุมาร พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษนั้นควรศึกษา
ศิลปะ คือการขี่ช้าง การใช้ขอช้างในสำนักของพระองค์บ้างไหม”
โพธิราชกุมารทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษนั้นแม้จะประกอบด้วยองค์
ประกอบแต่ละอย่าง ก็ไม่ควรศึกษาศิลปะ คือ การขี่ช้าง การใช้ขอช้างในสำนักของ
หม่อมฉัน ไม่จำต้องกล่าวถึงองค์ประกอบทั้ง ๕ ข้อ”
[๓๔๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ราชกุมาร พระองค์ทรงเข้าพระทัย
ความข้อนั้นว่าอย่างไร เปรียบเหมือนบุรุษมาเมืองนี้ด้วยเข้าใจว่า ‘โพธิราชกุมาร
ทรงรู้ศิลปะคือการทรงช้าง การใช้ขอช้าง เราจักศึกษาศิลปะคือการขี่ช้าง การใช้
ขอช้างในสำนักของโพธิราชกุมารนั้น’ เขาเป็นผู้มีศรัทธา จึงบรรลุผลเท่าที่บุคคล
ผู้มีศรัทธาจะพึงบรรลุ เขามีโรคาพาธน้อย จึงบรรลุผลเท่าที่คนผู้มีโรคาพาธน้อย
จะพึงบรรลุ เขาเป็นคนไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา จึงบรรลุผลเท่าที่บุคคลผู้ไม่โอ้อวด
ไม่มีมารยาจะพึงบรรลุ เขาเป็นผู้ปรารภความเพียร จึงบรรลุผลเท่าที่บุคคลผู้ปรารภ
ความเพียรจะพึงบรรลุ และเขาเป็นผู้มีปัญญาจึงบรรลุผลเท่าที่บุคคลผู้มีปัญญาจะพึง
บรรลุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร

ราชกุมาร พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษนั้นควรจะ
ศึกษาศิลปะคือการขี่ช้าง การใช้ขอช้างในสำนักของพระองค์บ้างไหม”
โพธิราชกุมารทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษนั้นแม้จะประกอบด้วยองค์
ประกอบแต่ละอย่างก็ควรศึกษาศิลปะคือการขี่ช้าง การใช้ขอช้างในสำนักของ
หม่อมฉันได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงองค์ประกอบทั้ง ๕ ข้อ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ราชกุมาร องค์ของภิกษุผู้มีความเพียร ๕ ประการนี้
ก็อย่างนั้นเหมือนกัน
องค์ของภิกษุผู้มีความเพียร ๕ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีศรัทธา๑ เชื่อปัญญาเครื่องตรัสรู้ของตถาคตว่า ‘แม้เพราะ
เหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วย
พระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี
รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของ
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’
๒. เป็นผู้มีสุขภาพ มีโรคาพาธน้อย ประกอบด้วยไฟธาตุสำหรับย่อย
อาหารสม่ำเสมอ ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก ปานกลางพอเหมาะแก่การ
บำเพ็ญเพียร
๓. เป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา เปิดเผยตนตามความเป็นจริงในศาสดา
หรือในเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลาย


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร

๔. เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อยังกุศลธรรมให้ถึง
พร้อม เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดทิ้งธุระในกุศล
ธรรมทั้งหลาย
๕. เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาที่เป็นอริยะ เห็นความเกิดและ
ความดับ สามารถชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
ราชกุมาร นี้แล คือองค์ของภิกษุผู้มีความเพียร ๕ ประการ
[๓๔๕] ราชกุมาร ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์แห่งความเพียร ๕ ประการนี้
เมื่อได้ตถาคตเป็นผู้แนะนำ จะพึงทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่ง
พรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบันได้ ใช้เวลาเพียง ๗ ปี
ราชกุมาร ไม่ต้องถึง ๗ ปี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์แห่งความเพียร ๕ ประการนี้
เมื่อได้ตถาคตเป็นผู้แนะนำ จะพึงทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่ง
พรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบันได้ ใช้เวลาเพียง ๖ ปี ฯลฯ ๕ ปีฯลฯ ๔ ปี ฯลฯ
๓ ปี ฯลฯ ๒ ปี ฯลฯ ๑ ปี
ราชกุมาร ไม่ต้องถึง ๑ ปี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์แห่งความเพียร ๕ ประการนี้
เมื่อได้ตถาคตเป็นผู้แนะนำ จะพึงทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่ง
พรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบันได้ ใช้เวลาเพียง ๗ เดือน
ราชกุมาร ไม่ต้องถึง ๗ เดือน ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์แห่งความเพียร ๕ ประการนี้
เมื่อได้ตถาคตเป็นผู้แนะนำ จะพึงทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่ง
พรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร

ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบันได้ ใช้เวลาเพียง ๖ เดือน ฯลฯ ๕ เดือน ฯลฯ
๔ เดือน ฯลฯ ๓ เดือน ฯลฯ ๒ เดือน ฯลฯ ๑ เดือน ฯลฯ กึ่งเดือน
ราชกุมาร ไม่ต้องถึงกึ่งเดือน ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์แห่งความเพียร ๕ ประการนี้
เมื่อได้ตถาคตเป็นผู้แนะนำ จะพึงทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่ง
พรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบันได้ ใช้เวลาเพียง ๗ คืน ๗ วัน
ราชกุมาร ไม่ต้องถึง ๗ คืน ๗ วัน ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์แห่งความเพียร
๕ ประการนี้ เมื่อได้ตถาคตเป็นผู้แนะนำ จะพึงทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยม
อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ
ต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบันได้ ใช้เวลาเพียง ๖ คืน ๖ วัน
ฯลฯ ๕ คืน ๕ วัน ฯลฯ ๔ คืน ๔ วัน ฯลฯ ๓ คืน ๓ วัน ฯลฯ ๒ คืน ๒ วัน ฯลฯ
๑ คืน ๑ วัน
ราชกุมาร ไม่ต้องถึง ๑ คืน ๑ วัน ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์แห่งความเพียร
๕ ประการนี้ เมื่อได้ตถาคตเป็นผู้แนะนำ มีตถาคตสั่งสอนในเวลาเย็น ก็จักบรรลุ
คุณวิเศษได้ในเวลาเช้า มีตถาคตสั่งสอนในเวลาเช้า ก็จักบรรลุคุณวิเศษได้ในเวลาเย็น๑”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว โพธิราชกุมารได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ว่า “พระพุทธเจ้ามีคุณน่าอัศจรรย์จริง พระธรรมมีคุณน่าอัศจรรย์จริง พระธรรมที่
พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้วน่าอัศจรรย์จริง เพราะภิกษุที่พระตถาคตทรงสั่งสอนใน
เวลาเย็น จักบรรลุคุณวิเศษในเวลาเช้า ภิกษุที่พระตถาคตทรงสั่งสอนในเวลาเช้า
จักบรรลุคุณวิเศษในเวลาเย็น”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๕. โพธิราชกุมารสูตร

โพธิราชกุมารถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตั้งแต่อยู่ในครรภ์

[๓๔๖] เมื่อโพธิราชกุมารตรัสอย่างนี้แล้ว มาณพสัญชิกาบุตรได้กราบทูล
โพธิราชกุมารว่า
“ท่านโพธิราชพระองค์นี้ทรงประกาศไว้ว่า ‘พระพุทธเจ้ามีคุณน่าอัศจรรย์จริง
พระธรรมมีคุณน่าอัศจรรย์จริง พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้วน่าอัศจรรย์จริง’
แต่พระองค์ไม่ทรงถึงพระโคดมผู้เจริญพระองค์นั้นพร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์
เป็นสรณะ”
โพธิราชกุมารตรัสว่า “สัญชิกาบุตรเพื่อนรัก ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนั้น
สัญชิกาบุตรเพื่อนรัก ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนั้น เรื่องนั้นเราได้ฟังมาแล้ว ได้รับมา
ต่อพระพักตร์ของพระราชมารดาของเราแล้ว คือ ครั้งหนึ่ง(ครั้งที่ ๑) พระผู้มีพระภาค
ประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี ขณะนั้น เสด็จแม่ของเรากำลังทรง
พระครรภ์ เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ทรงถวายอภิวาทพระผู้มี
พระภาคแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ‘ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ลูกคนที่อยู่ในครรภ์ของหม่อมฉันนี้จะเป็นชายก็ตาม เป็นหญิงก็ตาม
เขาย่อมถึงพระผู้มีพระภาคพร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอพระผู้มี
พระภาคจงทรงจำเขาว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต’
ครั้งหนึ่ง(ครั้งที่ ๒) พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ ณ เภสกฬาวัน สถานที่ให้อภัย
หมู่เนื้อ เขตกรุงสุงสุมารคิระ แคว้นภัคคะนี้ เวลานั้น แม่นมอุ้มเราใส่สะเอวพาเข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โพธิราชกุมารพระองค์นี้ ย่อมถึงพระผู้มี
พระภาค พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำ
โพธิราชกุมารนั้นว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต’
สัญชิกาบุตรเพื่อนรัก แม้ครั้งที่ ๓ เรานี้ย่อมถึงพระผู้มีพระภาคพร้อมทั้งพระ
ธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำหม่อมฉันว่าเป็นอุบาสก
ผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต” ดังนี้แล

โพธิราชกุมารสูตรที่ ๕ จบ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๖. อังคุลิมาลสูตร

๖. อังคุลิมาลสูตร
ว่าด้วยโจรชื่อองคุลิมาล
พระพุทธเจ้าเสด็จโปรดโจรชื่อองคุลิมาล

[๓๔๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้นแล ในแคว้นของพระเจ้าปเสนทิโกศล มีโจรชื่อ
องคุลิมาล เป็นคนหยาบช้า มีฝ่ามือเปื้อนเลือด ชอบฆ่าคน ไม่มีความกรุณาในสัตว์
ทั้งหลาย โจรองคุลิมาลนั้น ก่อกวนชาวบ้านบ้าง ชาวนิคมบ้าง ชาวชนบทบ้าง
ให้เดือดร้อนไปทั่ว เขาเข่นฆ่ามนุษย์แล้วตัดเอานิ้วมือร้อยเป็นพวงมาลัยสวม(คอ)ไว้
ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไป
บิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี ทรงเที่ยวบิณฑบาตในกรุงสาวัตถีแล้ว เสด็จกลับจากบิณฑบาต
ภายหลังเสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว ทรงเก็บงำเสนาสนะ ถือบาตรและจีวรเสด็จไป
ตามทางที่โจรองคุลิมาลซุ่มอยู่ พวกคนเลี้ยงโค พวกคนเลี้ยงสัตว์ พวกชาวนา
ที่เดินมาพบพระผู้มีพระภาคผู้เสด็จไปตามทางที่โจรองคุลิมาลซุ่มอยู่ จึงกราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระสมณะ อย่าเสด็จไปทางนั้น ในทางนั้นมีโจรชื่อองคุลิมาล เป็นคน
หยาบช้า มีฝ่ามือเปื้อนเลือด ชอบฆ่าคน ไม่มีความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย โจร
องคุลิมาลนั้น ก่อกวนชาวบ้านบ้าง ชาวนิคมบ้าง ชาวชนบทบ้าง ให้เดือดร้อนไปทั่ว
เขาเข่นฆ่ามนุษย์แล้วตัดเอานิ้วมือร้อยเป็นพวงมาลัยสวมไว้
ข้าแต่พระสมณะ คนที่จะเดินทางนี้ต้องรวมพวกกันให้ได้ ๑๐ คนบ้าง ๒๐ คน
บ้าง ๓๐ คนบ้าง ๔๐ คนบ้าง ๕๐ คนบ้าง แม้กระนั้นก็ยังตกอยู่ในเงื้อมมือของโจร
องคุลิมาลจนได้”
เมื่อคนพวกนั้นกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคทรงนิ่งเฉย เสด็จต่อไป
แม้ครั้งที่ ๒ พวกคนเลี้ยงโค พวกคนเลี้ยงสัตว์ พวกชาวนาที่เดินมาก็ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๖. อังคุลิมาลสูตร

“ข้าแต่พระสมณะ อย่าเสด็จไปทางนั้น ในทางนั้นมีโจรชื่อองคุลิมาล เป็นคน
หยาบช้า มีฝ่ามือเปื้อนเลือด ชอบฆ่าคน ไม่มีความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย โจร
องคุลิมาลนั้น ก่อกวนชาวบ้านบ้าง ชาวนิคมบ้าง ชาวชนบทบ้างให้เดือดร้อนไปทั่ว
เขาเข่นฆ่ามนุษย์แล้วตัดเอานิ้วมือร้อยเป็นพวงมาลัยสวมไว้
ข้าแต่พระสมณะ คนที่จะเดินทางนี้ต้องรวมพวกกันให้ได้ ๑๐ คนบ้าง ๒๐ คน
บ้าง ๓๐ คนบ้าง ๔๐ คนบ้าง ๕๐ คนบ้าง แม้กระนั้นก็ยังตกอยู่ในเงื้อมมือของโจร
องคุลิมาลจนได้”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงนิ่งเฉย เสด็จต่อไป
แม้ครั้งที่ ๓ พวกคนเลี้ยงโค พวกคนเลี้ยงสัตว์ พวกชาวนาที่เดินมาก็ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระสมณะ อย่าเสด็จไปทางนั้น ในทางนั้นมีโจรชื่อองคุลิมาล เป็นคน
หยาบช้า มีฝ่ามือเปื้อนเลือด ชอบฆ่าคน ไม่มีความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย โจร
องคุลิมาลนั้น ก่อกวนชาวบ้านบ้าง ชาวนิคมบ้าง ชาวชนบทบ้าง ให้เดือดร้อนไปทั่ว
เขาเข่นฆ่ามนุษย์แล้วตัดเอานิ้วมือร้อยเป็นพวงมาลัยสวมไว้
ข้าแต่พระสมณะ คนที่จะเดินทางนี้ต้องรวมพวกกันให้ได้ ๑๐ คนบ้าง ๒๐ คน
บ้าง ๓๐ คนบ้าง ๔๐ คนบ้าง ๕๐ คนบ้าง แม้กระนั้นก็ยังตกอยู่ในเงื้อมมือของโจร
องคุลิมาลจนได้”
[๓๔๘] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงนิ่งเฉยเสด็จต่อไป โจรองคุลิมาลได้เห็น
พระผู้มีพระภาคเสด็จมาแต่ไกล ได้คิดว่า “น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ คนที่เดิน
มาทางนี้จะต้องรวมพวกกันให้ได้ ๑๐ คนบ้าง ๒๐ คนบ้าง ๓๐ คนบ้าง ๔๐ คนบ้าง
๕๐ คนบ้าง แม้กระนั้นก็ยังตกอยู่ในเงื้อมมือของเรา แต่ทำไม สมณะนี้เพียงรูปเดียว
ไม่มีเพื่อนสักคน ชะรอยจะมาข่มเรา ทางที่ดี เราพึงฆ่าสมณะรูปนี้เสีย”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๖. อังคุลิมาลสูตร

ลำดับนั้น โจรองคุลิมาลถือดาบและโล่ผูกสอดแล่งธนูไว้พร้อม ติดตามพระผู้มี
พระภาคไปทางเบื้องพระปฤษฎางค์ พระผู้มีพระภาคทรงบันดาลอิทธาภิสังขาร๑ โดยวิธี
ที่โจรองคุลิมาลจะวิ่งจนสุดกำลัง ก็ไม่สามารถจะตามทันพระผู้มีพระภาคผู้เสด็จไปตาม
ปกติได้ ครั้งนั้น โจรองคุลิมาลได้มีความคิดว่า
“น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ เมื่อก่อนแม้ช้างที่กำลังวิ่ง ม้าที่กำลังวิ่ง
รถที่กำลังแล่น เนื้อที่กำลังวิ่ง เราก็ยังวิ่งตามทันจับได้ แต่เราวิ่งจนสุดกำลังยังไม่ทัน
สมณะรูปนี้ซึ่งเดินตามปกติได้” จึงหยุดยืนกล่าวกับพระผู้มีพระภาคว่า “หยุดก่อน
สมณะ หยุดก่อนสมณะ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เราหยุดแล้ว องคุลิมาล ท่านต่างหากจงหยุด”
จากนั้น โจรองคุลิมาลคิดว่า “สมณะเหล่านี้เป็นศากยบุตรมักเป็นคนพูดจริง
มีปฏิญญาจริง แต่สมณะรูปนี้เดินไปอยู่แท้ ๆ กลับพูดว่า ‘เราหยุดแล้ว องคุลิมาล
ท่านต่างหากจงหยุด’ ทางที่ดี เราควรจะถามสมณะรูปนี้ดู”

องคุลิมาลละพยศ

[๓๔๙] ลำดับนั้น โจรองคุลิมาลได้ถามพระผู้มีพระภาค ด้วยคาถาว่า
“สมณะ ท่านกำลังเดินไป ยังกล่าวว่า
‘เราหยุดแล้ว ท่านต่างหากยังไม่หยุด’
กลับกล่าวหาข้าพเจ้าผู้หยุดแล้วว่ายังไม่หยุด
สมณะ ข้าพเจ้าขอถามเนื้อความนี้กับท่าน
ท่านหยุดอย่างไร ข้าพเจ้าไม่หยุดอย่างไร”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๖. อังคุลิมาลสูตร

พระผู้มีพระภาค ตรัสตอบว่า
“องคุลิมาล เราวางอาชญา
ในสรรพสัตว์ได้แล้ว
จึงชื่อว่าหยุดแล้วตลอดกาล
ส่วนท่านไม่สำรวมในสัตว์ทั้งหลาย
เพราะฉะนั้น เราจึงชื่อว่าหยุดแล้ว
ส่วนท่านสิชื่อว่ายังไม่หยุด”
โจรองคุลิมาลกล่าวว่า
“สมณะ นานจริงหนอ ท่านผู้ที่เทวดา
และมนุษย์บูชาแล้ว ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
เสด็จมาถึงป่าใหญ่เพื่ออนุเคราะห์ข้าพระองค์
ข้าพระองค์นั้นจักละการทำบาป
เพราะฟังคาถาอันประกอบด้วยธรรมของพระองค์”
โจรองคุลิมาลได้กล่าวอย่างนี้แล้ว
ทิ้งดาบและอาวุธลงในเหวลึก มีหน้าผาชัน
โจรองคุลิมาลได้ถวายอภิวาทพระบาททั้งสองของพระสุคต
แล้วทูลขอบรรพชากับพระสุคต ณ ที่นั้นเอง
พระพุทธเจ้าทรงประกอบด้วยพระกรุณาคุณ
ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ เป็นศาสดาของโลก
พร้อมทั้งเทวโลก
ได้ตรัสกับโจรองคุลิมาลในเวลานั้นว่า
“เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด”
นี้แลเป็นภิกษุภาวะของโจรองคุลิมาลนั้น๑


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๖. อังคุลิมาลสูตร

พระเจ้าปเสนทิโกศลเข้าเฝ้า

[๓๕๐] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคมีท่านพระองคุลิมาลเป็นปัจฉาสมณะ
เสด็จหลีกจาริกไปทางกรุงสาวัตถี ทรงเที่ยวจาริกไปโดยลำดับ เสด็จถึงกรุงสาวัตถีแล้ว
ได้ยินว่า ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น หมู่ชนจำนวนมากประชุมกันอยู่ที่ประตูพระราชวัง
ของพระเจ้าปเสนทิโกศล ส่งเสียงดังอื้ออึงว่า
“ข้าแต่สมมติเทพ ในแคว้นของพระองค์มีโจรชื่อองคุลิมาล เป็นคนหยาบช้า
มีฝ่ามือเปื้อนเลือด ชอบฆ่าคน ไม่มีความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย โจรองคุลิมาลนั้น
ก่อกวนชาวบ้านบ้าง ชาวนิคมบ้าง ชาวชนบทบ้างให้เดือดร้อนไปทั่ว เขาเข่นฆ่า
พวกมนุษย์แล้วตัดเอานิ้วมือร้อยเป็นพวงมาลัยสวมไว้ ขอสมมติเทพจงทรงกำจัดมัน
เสียเถิด”
ต่อมา พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จออกจากกรุงสาวัตถี ด้วยขบวนม้าประมาณ
๕๐๐ ตัว เสด็จเข้าไปทางพระอารามแต่ยังวันทีเดียว เสด็จไปจนสุดทางที่ยานพาหนะ
จะไปได้แล้วลงจากยาน เสด็จพระราชดำเนินด้วยพระบาทเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร
พระผู้มีพระภาคตรัสถามพระเจ้าปเสนทิโกศลว่า “มหาบพิตร เจ้าแผ่นดิน
มคธจอมเสนา ทรงพระนามว่าพิมพิสาร ทรงทำให้พระองค์ทรงขัดเคือง เจ้าลิจฉวี
เมืองเวสาลีหรือพระราชาผู้เป็นปฏิปักษ์เหล่าอื่นทรงทำให้พระองค์ขัดเคืองหรือ”
พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เจ้าแผ่นดินมคธ
จอมเสนา ทรงพระนามว่าพิมพิสาร มิได้ทรงทำให้หม่อมฉันขัดเคือง แม้เจ้าลิจฉวี
ผู้ครองกรุงเวสาลีก็มิได้ทรงทำให้หม่อมฉันขัดเคือง แม้พระราชาที่เป็นปฏิปักษ์เหล่าอื่น
ก็มิได้ทรงทำให้หม่อมฉันขัดเคืองเช่นกัน ในแคว้นของหม่อมฉัน มีโจรชื่อองคุลิมาล
เป็นคนหยาบช้า มีฝ่ามือเปื้อนเลือด ชอบฆ่าคน ไม่มีความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๖. อังคุลิมาลสูตร

โจรองคุลิมาลนั้นก่อกวนชาวบ้านบ้าง ชาวนิคมบ้าง ชาวชนบทบ้างให้เดือดร้อนไปทั่ว
เขาเข่นฆ่าพวกมนุษย์แล้วตัดเอานิ้วมือร้อยเป็นพวงมาลัยสวมไว้ หม่อมฉันจักไปกำจัด
มันเสีย”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มหาบพิตร ถ้าพระองค์จะพึงพบองคุลิมาลผู้โกนผม
และหนวดนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เว้นจากการ
ฆ่าสัตว์ เว้นจากการลักทรัพย์ เว้นจากการพูดเท็จ ฉันภัตตาหารมื้อเดียว เป็น
พรหมจารี มีศีล มีกัลยาณธรรม พระองค์สมควรจะจัดการกับเขาเช่นไร”
พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันควร
กราบไหว้ ลุกรับ นิมนต์ให้นั่ง หรือเจาะจงนิมนต์ท่านด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร๑ หรือควรจัดการอารักขาคุ้มครองป้องกัน ตามความ
เหมาะสม
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แต่โจรองคุลิมาลนั้น เป็นคนทุศีล มีบาปธรรม จักมีความ
สำรวมด้วยศีลเห็นปานนี้ได้ที่ไหน”
สมัยนั้น ท่านพระองคุลิมาลนั่งอยู่ในที่ไม่ไกลจากพระผู้มีพระภาค พระผู้มี
พระภาคจึงทรงยกพระหัตถ์เบื้องขวาขึ้นชี้ตรัสบอกพระเจ้าปเสนทิโกศลว่า “มหาบพิตร
นั่นคือองคุลิมาล”
ทันใดนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงมีความกลัว มีความหวาดหวั่น มีพระโลม-
ชาติชูชัน(มีขนพองสยองเกล้า) พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า พระเจ้าปเสนทิโกศล
ทรงกลัว ทรงหวาดหวั่น มีพระโลมชาติชูชัน จึงตรัสกับพระเจ้าปเสนทิโกศลว่า
“อย่าทรงกลัวเลย มหาบพิตร อย่าทรงกลัวเลย มหาบพิตร องคุลิมาลนี้ไม่มี
อันตรายต่อพระองค์”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๖. อังคุลิมาลสูตร

จากนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงระงับความกลัว ความหวาดหวั่นหรือพระ-
โลมชาติที่ชูชันได้แล้ว จึงเสด็จเข้าไปหาท่านพระองคุลิมาลถึงที่อยู่ แล้วได้ตรัสถาม
ท่านพระองคุลิมาลว่า “พระคุณเจ้าชื่อว่าองคุลิมาล ใช่ไหม”
ท่านพระองคุลิมาลถวายพระพรว่า “ใช่ มหาบพิตร”
พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสถามว่า “บิดาของพระคุณเจ้ามีโคตรอย่างไร มารดา
ของพระคุณเจ้ามีโคตรอย่างไร”
ท่านพระองคุลิมาลถวายพระพรว่า “มหาบพิตร บิดาชื่อคัคคะ มารดาชื่อ
มันตานี”
พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสว่า “ขอพระคุณเจ้าคัคคมันตานีบุตรจงอภิรมย์เถิด
โยมจักทำความขวนขวายเพื่อถวายจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย-
เภสัชบริขารแด่พระคุณเจ้าคัคคมันตานีบุตรเอง”
[๓๕๑] สมัยนั้น ท่านพระองคุลิมาลถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ถือการเที่ยว
บิณฑบาตเป็นวัตร ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ถือไตรจีวรเป็นวัตร ครั้งนั้น ท่านพระ
องคุลิมาลจึงถวายพระพรพระเจ้าปเสนทิโกศลว่า “อย่าเลย มหาบพิตร ไตรจีวรของ
อาตมภาพมีครบแล้ว”
ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วจึงประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ พระผู้มีพระภาคทรง
ฝึกบุคคลที่ใคร ๆ ฝึกไม่ได้ ทรงทำบุคคลที่ใคร ๆ ทำให้สงบไม่ได้ให้สงบได้ ทรงทำ
บุคคลที่ใคร ๆ ดับไม่ได้ให้ดับได้ เพราะว่าหม่อมฉันทั้งที่มีอาชญา มีศัสตราอยู่พร้อม
ก็ไม่สามารถจะฝึกผู้ใดได้ แต่พระผู้มีพระภาคไม่มีอาชญา ไม่มีศัสตราเลย ยังฝึก
ผู้นั้นได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๖. อังคุลิมาลสูตร

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าเช่นนั้น บัดนี้ หม่อมฉันขอทูลลากลับ เพราะมีกิจ
มีหน้าที่ที่จะต้องทำอีกมาก”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ขอมหาบพิตรจงกำหนดเวลาที่สมควร ณ บัดนี้เถิด”
ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงลุกจากที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค
กระทำประทักษิณแล้วเสด็จจากไป

พระองคุลิมาลโปรดหญิงมีครรภ์

ครั้นเวลาเช้า ท่านพระองคุลิมาลครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไป
บิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี กำลังเที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับตรอกอยู่ในกรุงสาวัตถี
ได้เห็นสตรีคนหนึ่งมีครรภ์แก่ใกล้คลอด จึงคิดว่า “สัตว์ทั้งหลายย่อมเศร้าหมองหนอ
สัตว์ทั้งหลายย่อมเศร้าหมองหนอ” จากนั้น ท่านพระองคุลิมาลก็เที่ยวบิณฑบาตใน
กรุงสาวัตถี กลับจากบิณฑบาตภายหลังฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เช้าวันนี้ ข้าพระองค์ครองอันตรวาสก
ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี กำลังเที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับ
ตรอกอยู่ในกรุงสาวัตถี ได้เห็นสตรีมีครรภ์แก่ใกล้คลอดคนหนึ่ง จึงคิดว่า ‘สัตว์ทั้งหลาย
ย่อมเศร้าหมองหนอ สัตว์ทั้งหลายย่อมเศร้าหมองหนอ’ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “องคุลิมาล ถ้าเช่นนั้น เธอจงเข้าไปหาสตรีนั้นถึง
ที่อยู่แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘น้องหญิง ตั้งแต่อาตมภาพเกิดมา ไม่เคยรู้ว่าจงใจปลง
ชีวิตสัตว์เลย ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่เธอ ขอความสวัสดีจงมีแก่
ทารกในครรภ์ของเธอเถิด”
ท่านพระองคุลิมาลกราบทูลว่า “ก็การพูดเช่นนั้นจักเป็นอันว่าข้าพระองค์
กล่าวเท็จทั้งที่รู้เป็นแน่ เพราะข้าพระองค์เคยจงใจปลงชีวิตสัตว์เสียมากต่อมาก
พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๖. อังคุลิมาลสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “องคุลิมาล ถ้าเช่นนั้น เธอจงเข้าไปหาสตรีนั้นถึง
ที่อยู่แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘น้องหญิง ตั้งแต่อาตมภาพเกิดมาโดยอริยชาติ ไม่เคยรู้ว่า
จงใจปลงชีวิตสัตว์เลย ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่เธอ ขอความสวัสดี
จงมีแก่ทารกในครรภ์ของเธอเถิด”
ท่านพระองคุลีมาลทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว เข้าไปหาหญิงนั้นถึงที่อยู่แล้วได้
กล่าวว่า “น้องหญิง ตั้งแต่อาตมภาพเกิดมาโดยอริยชาติ ไม่เคยรู้ว่าจงใจปลงชีวิต
สัตว์เลย ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่เธอ ขอความสวัสดีจงมีแก่ทารก
ในครรภ์ของเธอเถิด”
ทันใดนั้น ความสวัสดีได้มีแก่สตรีนั้น ความสวัสดีได้มีแก่ทารกในครรภ์ของสตรี
นั้นแล้ว

พระองคุลิมาลบรรลุอรหัตตผล

ต่อมา ท่านพระองคุลิมาลหลีกออกไปอยู่รูปเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร
อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนักก็ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่ง
พรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
ท่านพระองคุลิมาล ได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย
[๓๕๒] ครั้นเวลาเช้า ท่านพระองคุลิมาลครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร
เข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ก้อนดินที่บุคคลทั้งหลายขว้างไปทางอื่นก็มา
ตกลงที่กายของท่านพระองคุลิมาล ท่อนไม้ที่บุคคลทั้งหลายขว้างไปทางอื่นก็มาตกลง
ที่กายของท่านพระองคุลิมาล ก้อนกรวดที่บุคคลทั้งหลายขว้างไปทางอื่นก็มาตกลง
ที่กายของท่านพระองคุลิมาล ท่านพระองคุลิมาลมีศีรษะแตก เลือดไหล บาตร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๖. อังคุลิมาลสูตร

ก็แตก ผ้าสังฆาฏิก็ขาด เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ พระผู้มีพระภาคได้
ทอดพระเนตรเห็นท่านพระองคุลิมาลกำลังเดินมาแต่ไกล ได้ตรัสกับท่านพระองคุลิ-
มาลว่า
“เธอจงอดกลั้นไว้เถิดพราหมณ์ เธอจงอดกลั้นไว้เถิดพราหมณ์ เธอได้เสวย
วิบากกรรมซึ่งเป็นเหตุให้เธอหมกไหม้อยู่ในนรกหลายปี หลายร้อยปี หลายพันปี
ในปัจจุบันนี้แล้ว๑”

พระองคุลิมาลเปล่งอุทาน

ครั้งนั้นแล ท่านพระองคุลิมาลอยู่ในที่สงัด หลีกเร้นอยู่ เสวยวิมุตติสุขแล้ว
ได้เปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
“คนที่ประมาทมาก่อน ต่อมาภายหลัง ไม่ประมาท
เขาย่อมทำโลกนี้ให้สว่างไสวได้
ประดุจดวงจันทร์ที่พ้นจากเมฆฉะนั้น
คนที่ทำบาปกรรมแล้วปิดไว้ได้ด้วยกุศล๒
ย่อมจะทำโลกนี้ให้สว่างไสวได้
ประดุจดวงจันทร์ที่พ้นจากเมฆฉะนั้น
เช่นเดียวกันแล ภิกษุที่ยังหนุ่มแน่น
ขวนขวายอยู่ในพระพุทธศาสนา
ก็ย่อมทำโลกนี้ให้สว่างไสวได้
ประดุจดวงจันทร์ที่พ้นแล้วจากเมฆฉะนั้น


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๖. อังคุลิมาลสูตร

ขอศัตรูทั้งหลายของเราพึงฟังธรรมกถาเถิด
ขอศัตรูทั้งหลายของเราจงขวนขวายในพระพุทธศาสนาเถิด
ขอมนุษย์ทั้งหลายที่เป็นศัตรูของเรา
จงคบสัตบุรุษผู้ชวนให้ยึดถือธรรมเถิด
ขอศัตรูทั้งหลายของเราจงได้รับความผ่องแผ้วคือขันติ
และสรรเสริญความไม่โกรธ๑เถิด
ขอจงฟังธรรมตามกาล๒และจงปฏิบัติตามธรรมนั้นเถิด
ผู้ที่เป็นศัตรูนั้นไม่ควรเบียดเบียนเราหรือใคร ๆ อื่นเลย
ขอให้บรรลุความสงบอย่างยิ่ง๓
แล้วรักษาคุ้มครองผู้มีตัณหาและปราศจากตัณหา
คนทดน้ำย่อมชักน้ำไปได้
ช่างศรย่อมดัดศรให้ตรงได้
ช่างถากย่อมถากไม้ได้ ฉันใด
บัณฑิตทั้งหลายย่อมฝึกตนได้ ฉันนั้น
คนบางพวกย่อมฝึกสัตว์ ด้วยอาชญาบ้าง
ด้วยขอบ้าง ด้วยแส้บ้าง
เราเป็นผู้ที่พระผู้มีพระภาคผู้คงที่๔
ผู้ไม่มีอาชญา ไม่มีศัสตรา ฝึกแล้ว


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๖. อังคุลิมาลสูตร

เมื่อก่อนเรามีชื่อว่าอหิงสกะ แต่ยังเบียดเบียน(ผู้อื่น)อยู่
วันนี้เรามีชื่อตรงความจริง เราไม่เบียดเบียนใคร ๆ แล้ว
เมื่อก่อนเราเป็นโจรปรากฏชื่อองคุลิมาล
เรานั้นเมื่อถูกกิเลสดุจห้วงน้ำใหญ่พัดไปมา
จึงได้ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ
เมื่อก่อนเรามีมือเปื้อนเลือด ปรากฏชื่อว่าองคุลิมาล
ท่านจงดูการที่เราถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะ
เราถอนตัณหาอันจะนำไปสู่ภพได้แล้ว
หลังจากทำกรรมอันเป็นเหตุให้ถึงทุคติเช่นนั้นไว้มากแล้ว
เราผู้ได้รับวิบากกรรม๑นั้นแล้ว
จึงเป็นผู้ไม่มีหนี้บริโภค๒
พวกชนพาลปัญญาทราม มัวแต่ประมาท
ส่วนปราชญ์ทั้งหลายรักษาความไม่ประมาท
เหมือนรักษาทรัพย์อันประเสริฐฉะนั้น
พวกท่านจงอย่าประมาท อย่าคลุกคลีในกาม
เพราะว่าผู้ไม่ประมาทเพ่งอยู่เป็นนิจ
ย่อมประสบสุขอันไพบูลย์
การที่เรามาสู่พระพุทธศาสนานี้นั้น มาถูกทางแล้ว
ไม่ไร้ประโยชน์ คิดไม่ผิดแล้ว


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๗. ปิยชาติกสูตร

ในบรรดาธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงจำแนกไว้ดีแล้ว
เราได้เข้าถึงธรรมอันประเสริฐสุด๑แล้ว
การที่เราได้เข้าถึงธรรมอันประเสริฐสุดนี้นั้น
เข้าถึงอย่างถูกต้อง ไม่ไร้ประโยชน์
คิดไม่ผิดแล้ว วิชชา ๓๒ เราก็บรรลุแล้ว
คำสอนของพระพุทธเจ้าเราก็ทำตามแล้ว๓” ดังนี้แล

องคุลิมาลสูตรที่ ๖ จบ

๗. ปิยชาติกสูตร
ว่าด้วยทุกข์เกิดจากสิ่งเป็นที่รัก
ลูกชายคนเดียวของคหบดีตาย

[๓๕๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้นแล ลูกชายคนเดียวซึ่งเป็นที่รักเป็นที่ชอบใจของ
คหบดีคนหนึ่งเสียชีวิตลง เพราะการเสียชีวิตของลูกชายคนเดียวนั้น การงานก็ไม่
เป็นอันทำ อาหารก็ไม่เป็นอันกิน คหบดีนั้นได้ไปยังป่าช้า คร่ำครวญถึงลูกชายว่า
“ลูกโทน เจ้าอยู่ที่ไหน ลูกโทน เจ้าอยู่ที่ไหน”
จากนั้น คหบดีนั้นได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มี
พระภาคแล้วจึงนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับคหบดีนั้นว่า


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๗. ปิยชาติกสูตร

“คหบดี ใจของท่านไม่มีอินทรีย์๑ไว้ยึดเหนี่ยว อินทรีย์(ร่างกาย) ของท่านก็
หมองคล้ำไป”
คหบดีนั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทำไม อินทรีย์ของข้าพระองค์
จะไม่หมองคล้ำไปเล่า เพราะลูกชายคนเดียวซึ่งเป็นที่รักเป็นที่ชอบใจของข้าพระองค์
ได้เสียชีวิตลง เพราะการเสียชีวิตของลูกชายคนเดียวนั้น การงานก็ไม่เป็นอันทำ
อาหารก็ไม่เป็นอันกิน ข้าพระองค์ไปป่าช้า คร่ำครวญถึงลูกชายนั้นว่า ‘ลูกโทน
เจ้าอยู่ที่ไหน ลูกโทน เจ้าอยู่ที่ไหน”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ข้อนี้เป็นอย่างนั้น คหบดี ข้อนี้เป็นอย่างนั้น คหบดี
เพราะว่า โสกะ(ความเศร้าโศก) ปริเทวะ(ความคร่ำครวญ) ทุกข์(ความทุกข์กาย)
โทมนัส(ความทุกข์ใจ) และอุปายาส(ความคับแค้นใจ) เกิดจากสิ่งอันเป็นที่รัก มีมา
จากสิ่งอันเป็นที่รัก”
คหบดีกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การที่โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
และอุปายาส เกิดจากสิ่งอันเป็นที่รัก มีมาจากสิ่งอันเป็นที่รักนั้น จักเป็นอย่างนั้นไป
ได้อย่างไร แท้จริง ความยินดีและโสมนัส(ความดีใจ) เกิดจากสิ่งอันเป็นที่รัก มีมา
จากสิ่งอันเป็นที่รักต่างหาก”
จากนั้น คหบดีไม่ยินดีไม่คัดค้านพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ลุกจากที่นั่ง
แล้วจากไป
[๓๕๔] สมัยนั้น นักเลงสะกาเป็นอันมากเล่นสะกากันอยู่ในที่ไม่ไกลจาก
พระผู้มีพระภาค ขณะนั้นเอง คหบดีนั้นเข้าไปหานักเลงสะกาเหล่านั้นแล้วเล่าเรื่อง
ให้ฟังว่า
“พ่อมหาจำเริญ ขอโอกาส ข้าพเจ้าได้เข้าไปเฝ้าพระสมณโคดมถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทพระสมณโคดมแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระสมณโคดมได้ตรัสกับข้าพเจ้า
ว่า ‘คหบดี ใจของท่านไม่มีอินทรีย์ไว้ยึดเหนี่ยว อินทรีย์ของท่านก็หมองคล้ำไป’


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๗. ปิยชาติกสูตร

เมื่อพระสมณโคดมตรัสอย่างนี้แล้ว ข้าพเจ้าได้กราบทูลพระสมณโคดมว่า ‘ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ทำไมอินทรีย์ของข้าพระองค์จะไม่หมองคล้ำไปเล่า เพราะลูกชาย
คนเดียวซึ่งเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของข้าพระองค์ได้เสียชีวิตลง เพราะการเสียชีวิต
ของลูกชายคนเดียวนั้น การงานก็ไม่เป็นอันทำ อาหารก็ไม่เป็นอันกิน ข้าพระองค์ไป
ป่าช้าคร่ำครวญถึงลูกชายนั้นว่า ‘ลูกโทน เจ้าอยู่ที่ไหน ลูกโทน เจ้าอยู่ที่ไหน’
พระสมณโคดมได้ตรัสว่า ‘ข้อนี้เป็นอย่างนั้น คหบดี ข้อนี้เป็นอย่างนั้น คหบดี
เพราะว่าโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เกิดจากสิ่งอันเป็นที่รัก มีมาจาก
สิ่งอันเป็นที่รัก’
ข้าพเจ้าได้กราบทูลว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การที่โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
และอุปายาส เกิดจากสิ่งอันเป็นที่รัก มีมาจากสิ่งอันเป็นที่รักนั้น จักเป็นอย่างนั้นไป
ได้อย่างไร ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แท้จริง ความยินดีและโสมนัส เกิดจากสิ่งอันเป็น
ที่รัก มีมาจากสิ่งอันเป็นที่รักนั้นต่างหาก’
พ่อมหาจำเริญ จากนั้น ข้าพเจ้าไม่ยินดีไม่คัดค้านพระภาษิตของพระสมณโคดม
ลุกจากที่นั่งแล้วจากมา”
นักเลงสะกาเหล่านั้นได้พูดเสริมว่า “ข้อนี้เป็นอย่างนั้น คหบดี ข้อนี้เป็น
อย่างนั้น คหบดี เพราะความยินดีและโสมนัส ย่อมเกิดจากสิ่งอันเป็นที่รัก มีมาจาก
สิ่งอันเป็นที่รัก”
ขณะนั้น คหบดีนั้นคิดว่า “ความเห็นของเราตรงกันกับพวกนักเลงสะกา”
แล้วจากไป ต่อมา เรื่องที่พูดกันนี้ ได้แพร่เข้าไปถึงพระราชวังโดยลำดับ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๗. ปิยชาติกสูตร

ทุกข์ย่อมเกิดจากของอันเป็นที่รัก

[๓๕๕] ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศล ได้รับสั่งเรียกพระนางมัลลิกาเทวีมา
ตรัสว่า “มัลลิกา คำว่า ‘โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เกิดจากสิ่งอัน
เป็นที่รัก มีมาจากสิ่งอันเป็นที่รัก’ พระสมณโคดมของเธอตรัสไว้หรือ”
พระนางมัลลิกาเทวีกราบทูลว่า “ข้าแต่มหาราช ถ้าพระดำรัสนั้นพระผู้มีพระภาค
ตรัสไว้จริง พระดำรัสนั้นก็เป็นอย่างนั้น เพคะ”
พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสว่า “พระนางมัลลิกานี้คล้อยตามพระดำรัสที่พระ-
สมณโคดมตรัสเท่านั้นว่า ‘ข้าแต่มหาราช ถ้าพระดำรัสนั้นพระผู้มีพระภาคตรัสไว้จริง
พระดำรัสนั้นก็เป็นอย่างนั้น’ ศิษย์คล้อยตามคำที่อาจารย์กล่าวว่า ‘ข้อนี้เป็น
อย่างนั้น ท่านอาจารย์ ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ท่านอาจารย์’ ฉันใด เธอก็ฉันนั้น
เหมือนกัน คล้อยตามพระดำรัสที่พระสมณโคดมตรัสเท่านั้นว่า ‘ข้าแต่มหาราช
ถ้าพระดำรัสนั้นพระผู้มีพระภาคตรัสไว้จริง พระดำรัสนั้นก็เป็นอย่างนั้น’ มัลลิกา
เธอจงหลบหน้าไปให้พ้น จงพินาศเสีย”
ลำดับนั้น พระนางมัลลิกาเทวีรับสั่งเรียกพราหมณ์ชื่อนาฬิชังฆะมาตรัสว่า
“มาเถิด ท่านพราหมณ์ ท่านจงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
พระยุคลบาททั้งสองของพระองค์ด้วยเศียรเกล้า แล้วทูลถามถึงพระสุขภาพ ความมี
พระโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพระพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ ตามคำ
ของฉันว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระนางมัลลิกาเทวีขอถวายอภิวาทพระยุคลบาท
ของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า ทูลถามถึงพระสุขภาพ ความมีพระโรคาพาธน้อย
กระปรี้กระเปร่า มีพระพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ’ และท่านจงทูลถามอย่างนี้ว่า
‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระดำรัสนี้ว่า ‘โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
เกิดจากสิ่งอันเป็นที่รัก มีมาจากสิ่งอันเป็นที่รัก’ พระผู้มีพระภาคตรัสจริงหรือ’ เธอ
ควรจำพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสให้ดีแล้วมาบอกฉัน ธรรมดาพระตถาคตทั้งหลาย
ย่อมตรัสไม่ผิดพลาดแน่”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๗. ปิยชาติกสูตร

นาฬิชังฆพราหมณ์รับพระราชเสาวนีย์แล้วได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระนางมัลลิกาเทวีขอถวายอภิวาทพระยุคลบาท
ของท่านพระโคดมด้วยเศียรเกล้า ทูลถามถึงพระสุขภาพ ความมีพระโรคาพาธน้อย
กระปรี้กระเปร่า มีพระพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ แล้วรับสั่งทูลถามอย่างนี้ว่า
‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระดำรัสนี้ว่า ‘โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทนมัส และอุปายาส
เกิดจากสิ่งอันเป็นที่รัก มีมาจากสิ่งอันเป็นที่รัก’ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้จริงหรือ”
[๓๕๖] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ข้อนี้เป็นอย่างนั้น พราหมณ์ ข้อนี้
เป็นอย่างนั้น พราหมณ์ เพราะว่าโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
เกิดจากสิ่งอันเป็นที่รัก มีมาจากสิ่งอันเป็นที่รัก การที่โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
และอุปายาส เกิดจากสิ่งอันเป็นที่รัก มีมาจากสิ่งอันเป็นที่รักได้อย่างไร ท่านพึง
ทราบโดยอธิบายนี้
เรื่องเคยมีมาแล้ว ในกรุงสาวัตถีนี้แล มารดาของหญิงคนหนึ่งได้ตายไป
เพราะความตายของมารดานั้น หญิงนั้นจึงเป็นบ้า มีจิตเลื่อนลอย เข้าสู่ถนนทุกถนน
เข้าสู่ตรอกทุกตรอกแล้วได้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘พวกท่านได้พบมารดาของฉันบ้างไหม
พวกท่านได้พบมารดาของฉันบ้างไหม’
การที่โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เกิดจากสิ่งอันเป็นที่รัก มีมา
จากสิ่งอันเป็นที่รักได้อย่างไร ท่านพึงทราบโดยอธิบายนี้
เรื่องเคยมีมาแล้ว ในกรุงสาวัตถีนี้แล บิดาของหญิงคนหนึ่งได้ตายไป ... พี่ชาย
น้องชาย ... พี่สาวน้องสาว ... บุตร ... ธิดา ... สามีของหญิงคนหนึ่งได้ตายไป
เพราะความตายของสามีนั้น หญิงนั้นจึงเป็นบ้า มีจิตเลื่อนลอย เข้าสู่ถนนทุกถนน
เข้าสู่ตรอกทุกตรอกแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘พวกท่านได้พบสามีของฉันบ้างไหม พวกท่าน
ได้พบสามีของฉันบ้างไหม’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๗. ปิยชาติกสูตร

การที่โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เกิดจากสิ่งอันเป็นที่รัก มีมา
จากสิ่งอันเป็นที่รักได้อย่างไร ท่านพึงทราบโดยอธิบายนี้
เรื่องเคยมีมาแล้ว ในกรุงสาวัตถีนี้แล มารดาของชายคนหนึ่งตายไป เพราะ
ความตายของมารดานั้น ชายคนนั้นจึงเป็นบ้า มีจิตเลื่อนลอย เข้าสู่ถนนทุกถนน
เข้าสู่ตรอกทุกตรอกแล้วได้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘พวกท่านได้พบมารดาของข้าพเจ้าบ้างไหม
พวกท่านได้พบมารดาของข้าพเจ้าบ้างไหม’
การที่โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เกิดจากสิ่งอันเป็นที่รัก มีมา
จากสิ่งอันเป็นที่รักได้อย่างไร ท่านพึงทราบโดยอธิบายนี้
เรื่องเคยมีมาแล้ว ในกรุงสาวัตถีนี้แล บิดาของชายคนหนึ่งตายไป... พี่ชายน้อง
ชาย... พี่สาวน้องสาว... บุตร... ธิดา... ภรรยาของชายคนหนึ่งตายไป เพราะความ
ตายของภรรยานั้น ชายคนนั้นจึงเป็นบ้า มีจิตเลื่อนลอย เข้าสู่ถนนทุกถนน เข้าสู่
ตรอกทุกตรอก แล้วได้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘พวกท่านได้พบภรรยาของข้าพเจ้าบ้างไหม
พวกท่านได้พบภรรยาของข้าพเจ้าบ้างไหม’
การที่โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เกิดจากสิ่งอันเป็นที่รัก มีมา
จากสิ่งอันเป็นที่รักได้อย่างไร ท่านพึงทราบโดยอธิบายนี้
พราหมณ์ เรื่องเคยมีมาแล้ว ในกรุงสาวัตถีนี้แล หญิงคนหนึ่งได้ไปยังตระกูล
ของญาติ พวกญาติของหญิงนั้น ต้องการจะพรากสามีของนางแล้วยกนางให้แก่ชายอื่น
แต่หญิงนั้นไม่ปรารถนาชายคนนั้น ต่อมา หญิงนั้นได้บอกสามีว่า ‘พี่ พวกญาติของ
ดิฉันต้องการจะพรากท่านแล้วยกดิฉันให้แก่ชายอื่น แต่ดิฉันไม่ปรารถนาชายคนนั้น’
ต่อจากนั้น สามีได้ฟันภรรยาขาดสองท่อนแล้วจึงฆ่าตัวตายตาม ด้วยคิดว่า ‘เราทั้งสอง
จะไม่พรากจากกัน’
การที่โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เกิดจากสิ่งอันเป็นที่รัก มีมา
จากสิ่งอันเป็นที่รักได้อย่างไร ท่านพึงทราบโดยอธิบายนี้เถิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๗. ปิยชาติกสูตร

[๓๕๗] ครั้งนั้น นาฬิชังฆพราหมณ์ชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค
แล้วลุกจากที่นั่งได้เข้าไปเฝ้าพระนางมัลลิกาเทวีถึงที่ประทับ ได้กราบทูลถึงเรื่องการ
สนทนาปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคทั้งหมดแก่พระนางมัลลิกาเทวี ลำดับนั้น พระนาง
มัลลิกาเทวีได้เข้าไปเฝ้าพระเจ้าปเสนทิโกศลถึงที่ประทับแล้ว ได้ทูลถามพระเจ้า
ปเสนทิโกศลว่า
“ข้าแต่มหาราช ทูลกระหม่อมเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร พระกุมารี
พระนามว่าวชิรี เป็นที่รักของทูลกระหม่อมใช่ไหม เพคะ”
พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสตอบว่า “ใช่แล้ว มัลลิกา วชิรีกุมารีเป็นที่รักของเรา”
“ทูลกระหม่อมเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร เพราะวชิรีกุมารีต้องมีอันแปร
ผันเป็นอย่างอื่นไป๑ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จะพึงเกิดขึ้นแก่ทูล
กระหม่อมหรือไม่ เพคะ”
“มัลลิกา เพราะวชิรีกุมารีแปรผันเป็นอย่างอื่นไป แม้ชีวิตของเราก็ต้องแปรผัน
เป็นอย่างอื่นไปด้วย ทำไม โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจักไม่เกิดขึ้น
แก่เราเล่า”
“ข้อนี้แลที่พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงมุ่งหมาย จึงตรัสว่า ‘โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เกิดจากสิ่ง
อันเป็นที่รัก มีมาจากสิ่งอันเป็นที่รัก’ เพคะ
ทูลกระหม่อมเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร พระนางวาสภขัตติยาเป็นที่รัก
ของทูลกระหม่อมใช่ไหมเพคะ”
“ใช่แล้ว มัลลิกา พระนางวาสภขัตติยาเป็นที่รักของเรา”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๗. ปิยชาติกสูตร

“ทูลกระหม่อมทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร เพราะพระนางวาสภ-
ขัตติยาแปรผันเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจะพึงเกิด
ขึ้นแก่ทูลกระหม่อมหรือไม่ เพคะ”
“มัลลิกา เพราะพระนางวาสภขัตติยาแปรผันเป็นอย่างอื่นไป แม้ชีวิตของเรา
ก็ต้องแปรผันเป็นอย่างอื่นไปด้วย ทำไม โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
จักไม่เกิดขึ้นแก่เราเล่า”
“ข้อนี้แลที่พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงมุ่งหมาย จึงตรัสว่า ‘โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เกิดจากสิ่งอัน
เป็นที่รัก มีมาจากสิ่งอันเป็นที่รัก’ เพคะ
ทูลกระหม่อมทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร เสนาบดีชื่อวิทูฑภะเป็นที่รัก
ของทูลกระหม่อมใช่ไหมเพคะ”
“ใช่แล้ว มัลลิกา เสนาบดีชื่อวิทูฑภะเป็นที่รักของเรา”
“ทูลกระหม่อมทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร เพราะเสนาบดีชื่อ
วิทูฑภะแปรผันเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจะพึงเกิด
ขึ้นแก่ทูลกระหม่อมหรือไม่ เพคะ”
“มัลลิกา เพราะเสนาบดีชื่อวิทูฑภะ แปรผันเป็นอย่างอื่นไป แม้ชีวิตของเรา
ก็ต้องแปรผันเป็นอย่างอื่นไปด้วย ทำไม โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
จักไม่เกิดขึ้นแก่เราเล่า”
“ข้อนี้แลที่พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงมุ่งหมาย จึงตรัสว่า ‘โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เกิดจากสิ่ง
อันเป็นที่รัก มีมาจากสิ่งอันเป็นที่รัก’ เพคะ
ทูลกระหม่อมทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร หม่อมฉันเป็นที่รักของ
ทูลกระหม่อมใช่ไหม เพคะ”
“ใช่แล้ว มัลลิกา เธอเป็นที่รักของเรา”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๗. ปิยชาติกสูตร

“ทูลกระหม่อมทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร เพราะหม่อมฉันแปรผัน
เป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จะพึงเกิดขึ้นแก่
ทูลกระหม่อมหรือไม่ เพคะ”
“มัลลิกา เพราะเธอแปรผันเป็นอย่างอื่นไป แม้ชีวิตของเราก็ต้องแปรผันเป็น
อย่างอื่นไปด้วย ทำไม โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจักไม่เกิดขึ้น
แก่เราเล่า”
“ข้อนี้แลที่พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงมุ่งหมาย จึงตรัสว่า ‘โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เกิดจากสิ่ง
อันเป็นที่รัก มีมาจากสิ่งอันเป็นที่รัก’ เพคะ
ทูลกระหม่อมทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร แคว้นกาสีและแคว้นโกศล
เป็นที่รักของทูลกระหม่อมใช่ไหม เพคะ”
“ใช่แล้ว มัลลิกา แคว้นกาสีและแคว้นโกศลเป็นที่รักของเรา เพราะอานุภาพ
แห่งแคว้นกาสีและแคว้นโกศล เราจึงใช้สอยแก่นจันทน์ที่เกิดจากแคว้นกาสี ได้ทัด
ทรงดอกไม้ ของหอม และเครื่องลูบไล้”
“ทูลกระหม่อมทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร เพราะแคว้นกาสีและ
แคว้นโกศลแปรผันเป็นอย่างอื่นไป๑ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
จะพึงเกิดขึ้นแก่ทูลกระหม่อมหรือไม่ เพคะ”
“มัลลิกา เพราะแคว้นกาสีและแคว้นโกศลแปรผันเป็นอย่างอื่นไป แม้ชีวิต
ของเราก็ต้องแปรผันเป็นอย่างอื่นไปด้วย ทำไม โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ
อุปายาสจักไม่เกิดขึ้นแก่เราเล่า”
พระนางมัลลิกาเทวีกราบทูลว่า “ข้าแต่มหาราช ข้อนี้แลที่พระผู้มีพระภาค
ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงมุ่งหมาย จึงตรัสว่า
‘โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เกิดจากสิ่งอันเป็นที่รัก มีมาจากสิ่ง
อันเป็นที่รัก เพคะ”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๘. พาหิติกสูตร

พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสว่า “มัลลิกา น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ที่พระผู้มี
พระภาคพระองค์นั้นจะทรงเห็นชัด แทงตลอดด้วยพระปัญญาแล้ว มาเถิด มัลลิกา
ช่วยล้างมือให้ทีเถิด”
จากนั้นพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงลุกขึ้นจากที่ประทับ ทรงห่มพระภูษาเฉวียงบ่า
ประนมพระหัตถ์ไปทางทิศที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่แล้ว ทรงเปล่งอุทาน ๓ ครั้งว่า
“ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น” ดังนี้แล

ปิยชาติกสูตรที่ ๗ จบ

๘. พาหิติกสูตร
ว่าด้วยการถวายผ้าพาหิติกา
พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงสนทนาธรรมกับพระอานนท์

[๓๕๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้นเวลาเช้า ท่านพระอานนท์ครองอันตรวาสก ถือบาตร
และจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี เที่ยวบิณฑบาตในกรุงสาวัตถีแล้ว กลับจาก
บิณฑบาตภายหลังฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว ได้เข้าไปยังบุพพารามปราสาทของนาง
วิสาขามิคารมาตาเพื่อพักกลางวัน
สมัยนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จขึ้นช้างเอกบุณฑริก ออกจากกรุงสาวัตถีแต่
ยังวัน ทอดพระเนตรเห็นท่านพระอานนท์กำลังเดินมาแต่ไกล ได้รับสั่งเรียกอำมาตย์
ชื่อสิริวัฑฒ์มาตรัสว่า “สิริวัฑฒ์เพื่อนรัก นั่นพระคุณเจ้าอานนท์ ใช่หรือไม่”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๘. พาหิติกสูตร

สิริวัฑฒ์มหาอำมาตย์กราบทูลว่า “ใช่ พระเจ้าข้า นั่นพระคุณเจ้าอานนท์”
ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลรับสั่งเรียกชายคนหนึ่งมาตรัสว่า “มาเถิด
พ่อยอดชาย เธอจงเข้าไปหาพระคุณเจ้าอานนท์ถึงที่อยู่แล้วกราบเท้าทั้งสองของ
พระคุณเจ้าอานนท์ด้วยเศียรเกล้า ตามคำของเราว่า ‘พระคุณเจ้า พระเจ้าปเสนทิโกศล
ทรงกราบเท้าทั้งสองของพระคุณเจ้าอานนท์ด้วยเศียรเกล้า’ และจงเรียนท่าน
อย่างนี้ว่า ‘พระคุณเจ้า ได้ยินว่า ถ้าพระคุณเจ้าอานนท์ไม่มีกิจรีบด่วนอะไร
ขอพระคุณเจ้าอานนท์จงอาศัยความอนุเคราะห์รออยู่สักครู่หนึ่งเถิด”
ชายคนนั้นทูลรับสนองพระราชดำรัสแล้ว จึงเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่
กราบท่านพระอานนท์แล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบเรียนท่านพระอานนท์ว่า
“พระคุณเจ้า พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงกราบเท้าทั้งสองของพระคุณเจ้าอานนท์
ด้วยพระเศียรเกล้า และรับสั่งมาอย่างนี้ว่า ‘ได้ยินว่า ถ้าพระคุณเจ้าอานนท์ไม่มีกิจ
รีบด่วนอะไร ขอพระคุณเจ้าอานนท์จงอาศัยความอนุเคราะห์รออยู่สักครู่หนึ่งเถิด”
ท่านพระอานนท์รับนิมนต์โดยดุษณีภาพ ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศล
เสด็จไปจนสุดทางที่ช้างทรงจะไปได้แล้วลงจากช้างทรง เสด็จพระราชดำเนินไปด้วย
พระบาท เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ทรงกราบแล้วประทับยืน ณ ที่สมควร
ได้ตรัสกับท่านพระอานนท์ว่า “พระคุณเจ้า ถ้าพระคุณเจ้าอานนท์ไม่มีกิจรีบด่วน
อะไร ขอโอกาสเถิด ขอพระคุณเจ้าอานนท์จงอาศัยความอนุเคราะห์ไปยังฝั่งแม่น้ำ
อจิรวดีเถิด”
ท่านพระอานนท์รับนิมนต์โดยดุษณีภาพ

สมาจาร ๓

[๓๕๙] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ได้เข้าไปยังฝั่งแม่น้ำอจิรวดีแล้วนั่งบน
อาสนะที่ปูลาดไว้แล้วที่โคนต้นไม้แห่งหนึ่ง ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จไป
จนสุดทางที่ช้างทรงจะไปได้แล้วลงจากช้างทรง เสด็จพระราชดำเนินไปด้วยพระบาท
เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ทรงกราบแล้วประทับยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้ตรัส
กับท่านพระอานนท์ว่า “พระคุณเจ้า ขอพระคุณเจ้าอานนท์จงนั่งบนเครื่องลาดไม้
นี้เถิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๘. พาหิติกสูตร

ท่านพระอานนท์ทูลว่า “อย่าเลย มหาบพิตร เชิญพระองค์ประทับนั่งเถิด
อาตมภาพนั่งบนอาสนะของอาตมภาพอยู่แล้ว”
พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงประทับนั่งบนที่ประทับที่ปูลาดไว้แล้ว ได้ตรัสถามท่าน
พระอานนท์ว่า “พระคุณเจ้าอานนท์ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงประพฤติ
กายสมาจาร(ความประพฤติทางกาย) ที่สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้แจ้ง พึงติเตียน
บ้างหรือหนอ”
ท่านพระอานนท์ถวายพระพรว่า “มหาบพิตร พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ไม่ทรงประพฤติกายสมาจารที่สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้แจ้งพึงติเตียนเลย ขอถวาย
พระพร”
พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสถามว่า “พระคุณเจ้า พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ทรงประพฤติวจีสมาจาร(ความประพฤติทางวาจา) ฯลฯ มโนสมาจาร(ความประพฤติ
ทางใจ) ที่สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้แจ้ง พึงติเตียนบ้างหรือหนอ”
ท่านพระอานนท์ถวายพระพรว่า “มหาบพิตร พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ไม่ทรงประพฤติมโนสมาจารที่สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้แจ้งพึงติเตียนเลย ขอถวาย
พระพร”
พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสว่า “พระคุณเจ้า น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ
ข้อความที่พวกโยมไม่สามารถทำให้บริบูรณ์ด้วยการตั้งปัญหา พระคุณเจ้าอานนท์
ทำให้บริบูรณ์ได้ด้วยการแก้ปัญหา ชนเหล่าใดเป็นคนพาล ไม่ฉลาด ไม่ใคร่ครวญ
ไม่พิจารณาแล้วยังกล่าวคุณหรือโทษของชนเหล่าอื่นได้ พวกโยมไม่ยึดถือการกล่าว
คุณหรือโทษของชนเหล่านั้น โดยความเป็นสาระ
พระคุณเจ้า ส่วนชนเหล่าใดเป็นบัณฑิต เป็นผู้ฉลาดเฉียบแหลม มีปัญญา
ใคร่ครวญพิจารณาแล้ว กล่าวคุณหรือโทษของชนเหล่าอื่น พวกโยมย่อมยึดถือการ
กล่าวคุณหรือโทษของชนเหล่านั้นโดยความเป็นสาระ
[๓๖๐] กายสมาจารที่สมณพราหมณ์ผู้รู้แจ้ง พึงติเตียน เป็นอย่างไร”
ท่านพระอานนท์ถวายพระพรว่า “มหาบพิตร กายสมาจารที่เป็นอกุศลเป็น
กายสมาจารที่สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้แจ้ง พึงติเตียน ขอถวายพระพร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๘. พาหิติกสูตร

“พระคุณเจ้า กายสมาจารที่เป็นอกุศล เป็นอย่างไร”
“กายสมาจารที่มีโทษ เป็นกายสมาจารที่เป็นอกุศล ขอถวายพระพร”
“พระคุณเจ้า กายสมาจารที่มีโทษ เป็นอย่างไร”
“กายสมาจารที่มีความเบียดเบียน เป็นกายสมาจารที่มีโทษ ขอถวายพระพร”
“พระคุณเจ้า กายสมาจารที่มีความเบียดเบียน๑ เป็นอย่างไร”
“กายสมาจารที่มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นกายสมาจารที่มีความเบียดเบียน ขอถวาย
พระพร”
“พระคุณเจ้า กายสมาจารที่มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นอย่างไร”
“กายสมาจารใด ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
เพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง อกุศลธรรมทั้งหลายย่อมเจริญแก่กายสมาจารนั้น
กุศลธรรมทั้งหลายย่อมเสื่อม(จากายสมาจารนั้น) กายสมาจารเห็นปานนี้ สมณพราหมณ์
ทั้งหลายผู้รู้แจ้ง พึงติเตียน ขอถวายพระพร”
“พระคุณเจ้า วจีสมาจาร ฯลฯ มโนสมาจารที่สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้แจ้ง
พึงติเตียน เป็นอย่างไร”
“มโนสมาจารที่เป็นอกุศล เป็นมโนสมาจารที่สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้แจ้ง
พึงติเตียน ขอถวายพระพร”
“พระคุณเจ้า มโนสมาจารที่เป็นอกุศล เป็นอย่างไร”
“มโนสมาจารที่มีโทษ เป็นมโนสมาจารที่เป็นอกุศล ขอถวายพระพร”
“พระคุณเจ้า มโนสมาจารที่มีโทษ เป็นอย่างไร”
“มโนสมาจารที่มีความเบียดเบียน เป็นมโนสมาจารที่มีโทษ ขอถวายพระพร”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๘. พาหิติกสูตร

“พระคุณเจ้า มโนสมาจารที่มีความเบียดเบียน เป็นอย่างไร”
“มโนสมาจารที่มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นมโนสมาจารที่มีความเบียดเบียน ขอถวาย
พระพร”
“พระคุณเจ้า มโนสมาจารที่มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นอย่างไร”
“มโนสมาจารใดย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
เพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง อกุศลธรรมทั้งหลายย่อมเจริญแก่มโนสมาจารนั้น
กุศลธรรมทั้งหลายย่อมเสื่อม มโนสมาจารเห็นปานนี้ สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้แจ้ง
พึงติเตียน ขอถวายพระพร”
พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสถามว่า “พระคุณเจ้า พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ทรงสรรเสริญการละอกุศลธรรมทุกอย่างหรือ”
ท่านพระอานนท์ถวายพระพรว่า “มหาบพิตร พระตถาคตทรงละอกุศลธรรม
ได้ทุกอย่าง ทรงประกอบด้วยกุศลธรรม ขอถวายพระพร”
[๓๖๑] พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสถามว่า “พระคุณเจ้า กายสมาจารที่สมณ-
พราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้แจ้ง ไม่พึงติเตียน เป็นอย่างไร”
ท่านพระอานนท์ถวายพระพรว่า “มหาบพิตร กายสมาจารที่เป็นกุศลเป็น
กายสมาจารที่สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้แจ้ง ไม่พึงติเตียน ขอถวายพระพร”
“พระคุณเจ้า กายสมาจารที่เป็นกุศล เป็นอย่างไร”
“กายสมาจารที่ไม่มีโทษ เป็นกายสมาจารที่เป็นกุศล ขอถวายพระพร”
“พระคุณเจ้า กายสมาจารที่ไม่มีโทษ เป็นอย่างไร”
“กายสมาจารที่ไม่มีความเบียดเบียน เป็นกายสมาจารที่ไม่มีโทษ ขอถวาย
พระพร”
“พระคุณเจ้า กายสมาจารที่ไม่มีความเบียดเบียน เป็นอย่างไร”
“กายสมาจารที่มีสุขเป็นวิบาก เป็นกายสมาจารที่ไม่มีความเบียดเบียน ขอถวาย
พระพร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๘. พาหิติกสูตร

“พระคุณเจ้า กายสมาจารที่มีสุขเป็นวิบาก เป็นอย่างไร”
“กายสมาจารใดย่อมเป็นไปเพื่อไม่เบียดเบียนตนเองบ้าง เพื่อไม่เบียดเบียนผู้
อื่นบ้าง เพื่อไม่เบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง อกุศลธรรมทั้งหลายย่อมเสื่อมจาก
กายสมาจารนั้น กุศลธรรมทั้งหลายย่อมเจริญ(แก่กายสมาจารนั้น) กายสมาจาร
เห็นปานนี้ สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้แจ้ง ไม่พึงติเตียน ขอถวายพระพร”
“พระคุณเจ้า วจีสมาจาร ฯลฯ มโนสมาจารที่สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้แจ้ง
ไม่พึงติเตียน เป็นอย่างไร”
“มโนสมาจารที่เป็นกุศล เป็นมโนสมาจารที่สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้แจ้ง
ไม่พึงติเตียน ขอถวายพระพร”
“พระคุณเจ้า มโนสมาจารที่เป็นกุศล เป็นอย่างไร”
“มโนสมาจารที่ไม่มีโทษ เป็นมโนสมาจารที่เป็นกุศล ขอถวายพระพร”
“พระคุณเจ้า มโนสมาจารที่ไม่มีโทษ เป็นอย่างไร”
“มโนสมาจารที่ไม่มีความเบียดเบียน เป็นมโนสมาจารที่ไม่มีโทษ ขอถวาย
พระพร”
“พระคุณเจ้า มโนสมาจารที่ไม่มีความเบียดเบียน เป็นอย่างไร”
“มโนสมาจารที่มีสุขเป็นวิบาก เป็นมโนสมาจารที่ไม่มีความเบียดเบียน ขอถวาย
พระพร”
“พระคุณเจ้า มโนสมาจารที่มีสุขเป็นวิบาก เป็นอย่างไร”
“มโนสมาจารใดย่อมเป็นไปเพื่อไม่เบียดเบียนตนเองบ้าง เพื่อไม่เบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
เพื่อไม่เบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง อกุศลธรรมทั้งหลายย่อมเสื่อมจากมโนสมาจารนั้น
กุศลธรรมทั้งหลายย่อมเจริญ มโนสมาจารเห็นปานนี้ สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้แจ้ง
ไม่พึงติเตียน ขอถวายพระพร”
พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสถามว่า “พระคุณเจ้า พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ทรงสรรเสริญการเข้าถึงกุศลธรรมทุกอย่างหรือ”
ท่านพระอานนท์ถวายพระพรว่า “มหาบพิตร พระตถาคตทรงละอกุศลธรรม
ได้ทุกอย่าง ทรงประกอบด้วยกุศลธรรม ขอถวายพระพร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๘. พาหิติกสูตร

พระเจ้าปเสนทิโกศลถวายผ้าพาหิติกา

[๓๖๒] พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสว่า “พระคุณเจ้า น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคย
ปรากฏ พระคุณเจ้าอานนท์กล่าวภาษิตนี้ดีเหลือเกิน พวกโยมมีใจชื่นชมยินดีด้วย
ภาษิตของพระคุณเจ้าอานนท์นี้ พวกโยมมีใจชื่นชมยินดีด้วยภาษิตของพระคุณเจ้า
อานนท์อย่างนี้ ถ้าช้างแก้วสมควรแก่พระคุณเจ้าอานนท์ แม้ช้างแก้วพวกโยม
ก็สมควรถวายแก่พระคุณเจ้าอานนท์ ถ้าม้าแก้วสมควรแก่พระคุณเจ้าอานนท์
แม้ม้าแก้วพวกโยมก็สมควรถวายแก่พระคุณเจ้าอานนท์ ถ้าบ้านส่วยสมควรแก่
พระคุณเจ้าอานนท์ แม้บ้านส่วยพวกโยมก็สมควรถวายแก่พระคุณเจ้าอานนท์’ แต่พวก
โยมรู้อยู่ว่า ‘นั่นไม่สมควรแก่พระคุณเจ้าอานนท์เลย’
พระคุณเจ้า ผ้าพาหิติกา๑ผืนนี้ยาว ๑๖ ศอกถ้วน กว้าง ๘ ศอกถ้วน
พระเจ้าแผ่นดินมคธพระนามว่าอชาตศัตรูเวเทหิบุตร ทรงใส่ในคันฉัตรส่งมาประทาน
แก่โยม ขอพระคุณเจ้าอานนท์โปรดอนุเคราะห์รับผ้าพาหิติกาไว้เถิด”
ท่านพระอานนท์ถวายพระพรว่า “อย่าเลย มหาบพิตร ไตรจีวรของอาตมภาพ
มีครบแล้ว ขอถวายพระพร”
พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสว่า “พระคุณเจ้า แม่น้ำอจิรวดีนี้ พระคุณเจ้าอานนท์
และพวกโยมเห็นแล้ว มหาเมฆยังฝนให้ตกบนภูเขา ภายหลังแม่น้ำอจิรวดีนี้ย่อม
ไหลเอ่อล้นฝั่งทั้งสอง ฉันใด ท่านพระอานนท์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักทำไตรจีวรของ
ตนด้วยผ้าพาหิติกานี้ และจักแบ่งไตรจีวรเก่ากับเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย เมื่อเป็น
อย่างนี้ ทักษิณาของพวกโยมนี้ คงจักแผ่ไปดุจแม่น้ำเอ่อล้นฝั่ง พระคุณเจ้า
ขอพระคุณเจ้าอานนท์โปรดรับผ้าพาหิติกาเถิด”
ท่านพระอานนท์รับผ้าพาหิติกาแล้ว ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ตรัสกับ
ท่านพระอานนท์ว่า “พระคุณเจ้า เอาเถิด บัดนี้ พวกโยมขอลากลับ เพราะมีกิจ
มีหน้าที่ที่จะต้องทำอีกมาก”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๙. ธัมมเจติยสูตร

ท่านพระอานนท์ถวายพระพรว่า “มหาบพิตร ขอพระองค์จงทรงกำหนดเวลา
ที่สมควร ณ บัดนี้เถิด”
ต่อจากนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงชื่นชมยินดีภาษิตของท่านพระอานนท์แล้ว
เสด็จลุกขึ้นจากที่ประทับ กราบท่านพระอานนท์ ทรงกระทำประทักษิณแล้วเสด็จจากไป
[๓๖๓] ครั้งนั้น เมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จจากไปไม่นาน ท่านพระอานนท์
ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูล
ถึงเรื่องการสนทนาปราศรัยกับพระเจ้าปเสนทิโกศลทั้งหมดแด่พระผู้มีพระภาค และได้
ถวายผ้าพาหิติกานั้นแด่พระผู้มีพระภาค
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เป็นลาภของพระเจ้าปเสนทิโกศล พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงได้ดีแล้ว ที่ท้าวเธอได้ทรง
พบอานนท์ และได้ประทับนั่งใกล้อานนท์”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมยินดีพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

พาหิติกสูตรที่ ๘ จบ

๙. ธัมมเจติยสูตร
ว่าด้วยธรรมเจดีย์

[๓๖๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของพวกเจ้าศากยะชื่อเมทฬุปะ
แคว้นสักกะ สมัยนั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จไปนิคมชื่อนครกะด้วยพระราช-
กรณียกิจบางอย่าง ลำดับนั้น ท้าวเธอรับสั่งกับเสนาบดีชื่อทีฆการายนะว่า “การายนะ
เพื่อนรัก ท่านจงจัดยานพาหนะคันงาม ๆ เตรียมไว้ เราจะไปดูสถานที่อันรื่นรมย์
ในอุทยานหลวง”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๙. ธัมมเจติยสูตร

ทีฆการายนเสนาบดีทูลรับสนองพระราชดำรัสแล้วให้จัดยานพาหนะคันงาม ๆ
หลายคันไว้ แล้วกราบทูลแด่พระเจ้าปเสนทิโกศลว่า “ขอเดชะ ข้าพระองค์จัดยาน
พาหนะคันงาม ๆ หลายคันไว้เพื่อพระองค์แล้ว ขอพระองค์ทรงกำหนดเวลาที่สมควร
ณ บัดนี้เถิด พระเจ้าข้า”
ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงขึ้นยานพาหนะคันงามเสด็จออกจากนิคม
ชื่อนครกะ พร้อมกับยานพาหนะคันงาม ๆ ตามเสด็จ ด้วยราชานุภาพอย่างยิ่งใหญ่
เสด็จไปยังอุทยานอันน่ารื่นรมย์ จนสุดทางที่ยานพาหนะจะไปได้แล้วลงจากยาน
เสด็จพระราชดำเนินด้วยพระบาทเข้าไปยังอุทยาน ท้าวเธอพระราชดำเนินพักผ่อน
ไปมาในอุทยาน ได้ทอดพระเนตรเห็นหมู่ไม้ล้วนน่าร่มรื่น ชวนให้เกิดความเพลินใจ
มีเสียงน้อย มีเสียงอึกทึกน้อย ปราศจากการสัญจรไปมาของผู้คน ควรเป็นสถาน
ที่ทำการลับของมนุษย์ สมควรเป็นที่หลีกเร้น ครั้นเห็นแล้วทรงเกิดพระปีติปรารภ
พระผู้มีพระภาคว่า
“หมู่ไม้เหล่านี้ล้วนน่าร่มรื่น ชวนให้เกิดความเพลินใจ มีเสียงน้อย มีเสียงอึกทึก
น้อย ปราศจากการสัญจรไปมาของผู้คน ควรเป็นสถานที่ทำการลับของมนุษย์
สมควรเป็นที่หลีกเร้น เป็นเหมือนสถานที่ที่เราเคยเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้ามาก่อน”
[๓๖๕] ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลรับสั่งเรียกทีฆการายนเสนาบดีมาตรัสว่า
“การายนะเพื่อนรัก หมู่ไม้เหล่านี้ล้วนน่าร่มรื่น ชวนให้เกิดความเพลินใจ มีเสียงน้อย
มีเสียงอึกทึกน้อย ปราศจากการสัญจรไปมาของผู้คน ควรเป็นสถานที่ทำการลับ
ของมนุษย์ สมควรเป็นที่หลีกเร้น เป็นเหมือนสถานที่ที่เราเคยเข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ามาก่อน
การายนะเพื่อนรัก บัดนี้ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ประทับอยู่ ณ ที่ไหน”
ทีฆการายนเสนาบดีกราบทูลว่า “บัดนี้ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นประทับอยู่ที่นิคมของพวกเจ้าศากยะชื่อเมทฬุปะ พระเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๙. ธัมมเจติยสูตร

พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสถามว่า “การายนะเพื่อนรัก นิคมของพวกเจ้าศากยะ
ชื่อเมทฬุปะ อยู่ห่างจากนิคมชื่อนครกะเท่าไร”
ทีฆการายนเสนาบดีทูลตอบว่า “ไม่ไกลนัก ระยะทางประมาณ ๓ โยชน์
อาจเสด็จไปถึงได้โดยใช้ระยะเวลาไม่ถึงวัน พระเจ้าข้า”
พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสว่า “การายนะเพื่อนรัก ถ้าเช่นนั้น ท่านจงจัดยาน
พาหนะคันงาม ๆ หลายคันไว้ เราจักไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระองค์นั้น”
ทีฆการายนเสนาบดีทูลรับสนองพระราชดำรัสแล้วสั่งให้จัดยานพาหนะคันงาม ๆ
หลายคันไว้ แล้วกราบทูลพระเจ้าปเสนทิโกศลว่า “ขอเดชะ ข้าพระองค์จัดยาน
พาหนะคันงาม ๆ หลายคันไว้แล้ว พระเจ้าข้า ขอพระองค์ทรงกำหนดเวลาที่สมควร
ณ บัดนี้เถิด”
ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงขึ้นยานพาหนะคันงาม เสด็จออกจากนิคม
ชื่อนครกะ พร้อมกับยานพาหนะคันงาม ๆ ตามเสด็จ ถึงนิคมของพวกเจ้าศากยะ
ชื่อเมทฬุปะโดยใช้เวลาไม่ถึงวัน เสด็จไปยังอารามจนสุดทางที่ยานพาหนะจะไปได้แล้ว
ลงจากยาน เสด็จพระราชดำเนินด้วยพระบาทเข้าไปยังอาราม

พระเจ้าปเสนทิโกศลเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค

[๓๖๖] สมัยนั้น ภิกษุหลายรูปเดินจงกรมอยู่ที่กลางแจ้ง ลำดับนั้น พระเจ้า
ปเสนทิโกศลเสด็จเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นถึงที่อยู่ แล้วตรัสถามว่า “พระคุณเจ้า
ผู้เจริญ บัดนี้ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นประทับอยู่ ณ
ที่ไหนหนอ โยมประสงค์จะเฝ้าพระองค์”
ภิกษุเหล่านั้นถวายพระพรว่า “ขอมหาบพิตร จงเงียบเสียง เสด็จเข้าไปยัง
พระวิหารหลังนั้นซึ่งมีประตูปิดสนิทดีแล้ว อย่าทรงรีบด่วน เสด็จเข้าไปยังระเบียง
ทรงกระแอม แล้วทรงเคาะกลอนประตูนิดหน่อยเถิด พระผู้มีพระภาคจักทรงเปิด
ประตูรับ ขอถวายพระพร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๙. ธัมมเจติยสูตร

ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงมอบพระแสงขรรค์และพระอุณหิสแก่ทีฆ-
การายนเสนาบดีในที่นั้น หลังจากนั้นทีฆการายนเสนาบดีได้คิดว่า “บัดนี้ พระมหาราชจัก
ทรงปรึกษาความลับ เราควรจะยืนอยู่ในที่นี้แล”
ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ทรงเงียบเสียง เสด็จเข้าไปยังพระวิหารหลัง
นั้นซึ่งมีประตูปิดสนิทดีแล้ว มิได้ทรงรีบด่วน เสด็จเข้าไปยังระเบียง ทรงกระแอม
แล้วทรงเคาะกลอนประตูนิดหน่อย พระผู้มีพระภาคทรงเปิดประตูรับ
ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จเข้าไปยังพระวิหาร ทรงซบพระเศียรลงจุมพิต
พระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยพระโอษฐ์ ทรงนวดพระยุคลบาทด้วยฝ่าพระหัตถ์
ทั้งสอง และทรงประกาศพระนามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันคือพระเจ้า
ปเสนทิโกศล ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันคือพระเจ้าปเสนทิโกศล”

ทรงสรรเสริญพระธรรมวินัย

[๓๖๗] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “มหาบพิตร พระองค์ทรงเห็นอำนาจ
ประโยชน์อะไร จึงทรงกระทำความนอบน้อมเป็นอย่างยิ่งในสรีระนี้ถึงเพียงนี้ และทรง
แสดงอาการฉันมิตรถึงเพียงนี้”
พระเจ้าปเสนทิโกศลทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันมีความเห็น
คล้อยตามธรรม๑ในพระผู้มีพระภาคว่า ‘พระผู้มีพระภาคตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ
พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้
ปฏิบัติดีแล้ว’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส หม่อมฉันเห็นสมณพราหมณ์
พวกหนึ่ง ประพฤติพรหมจรรย์มีกำหนด ๑๐ ปีบ้าง ๒๐ ปีบ้าง ๓๐ ปีบ้าง ๔๐ ปีบ้าง
สมัยต่อมา สมณพราหมณ์เหล่านั้นอาบน้ำดำหัว ลูบไล้อย่างดี แต่งผมและหนวด
บำเรอตนให้เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ประการ แต่หม่อมฉันได้เห็นภิกษุ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๙. ธัมมเจติยสูตร

ทั้งหลายในพระธรรมวินัยนี้ ประพฤติพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์บริบูรณ์ มอบกาย
ถวายชีวิตอยู่
อนึ่ง หม่อมฉันไม่เห็นพรหมจรรย์อื่นที่บริสุทธิ์ บริบูรณ์อย่างนี้ นอกจาก
พระธรรมวินัยนี้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้เองที่หม่อมฉันมีความเห็นคล้อยตามธรรม
ในพระผู้มีพระภาคว่า ‘พระผู้มีพระภาคตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ พระธรรม
อันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว’
[๓๖๘] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อีกประการหนึ่ง แม้พระราชายังวิวาทกับ
พระราชา แม้กษัตริย์ยังวิวาทกับกษัตริย์ แม้พราหมณ์ยังวิวาทกับพราหมณ์
แม้คหบดียังวิวาทกับคหบดี แม้มารดายังวิวาทกับบุตร แม้บุตรยังวิวาทกับมารดา
แม้บิดายังวิวาทกับบุตร แม้บุตรยังวิวาทกับบิดา แม้พี่ชายน้องชายยังวิวาทกับ
พี่สาวน้องสาว แม้พี่สาวน้องสาวยังวิวาทกับพี่ชายน้องชาย แม้สหายก็ยังวิวาทกับ
สหาย แต่หม่อมฉันได้เห็นภิกษุทั้งหลายในพระธรรมวินัยนี้ สมัครสมานสามัคคี
ไม่วิวาทกัน เข้ากันได้สนิทเหมือนน้ำกับน้ำนม มองดูกันและกันด้วยสายตาเปี่ยม
ด้วยความรักอยู่ หม่อมฉันไม่เห็นบริษัทอื่นที่สมัครสมานสามัคคีกันอย่างนี้ นอกจาก
บริษัทนี้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้เองที่หม่อมฉันมีความเห็นคล้อยตามธรรม
ในพระผู้มีพระภาคว่า ‘พระผู้มีพระภาคตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ พระธรรม
อันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว’
[๓๖๙] อีกประการหนึ่ง หม่อมฉันเดินเที่ยวชมรอบ ๆ พระอาราม รอบ ๆ
อุทยานไปมา ณ ที่นั้น ๆ หม่อมฉันได้เห็นสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ซูบผอม มีผิวพรรณ
ไม่ผ่องใส ผอมเหลือง ตามตัวสะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น ดูเหมือนว่าจะไม่กล้าสบตาคน
หม่อมฉันนั้นได้เกิดความดำริว่า ‘ท่านเหล่านี้คงไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์เป็นแน่
หรือว่าท่านเหล่านั้นมีบาปกรรมอะไร ที่ทำแล้วปกปิดไว้ ท่านเหล่านั้นจึงซูบผอม
มีผิวพรรณไม่ผ่องใส ผอมเหลือง ตามตัวสะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น ดูเหมือนว่าจะไม่
กล้าสบตาคน’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๙. ธัมมเจติยสูตร

หม่อมฉันเข้าไปหาสมณพราหมณ์เหล่านั้น แล้วถามอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุ
ทั้งหลาย เหตุไร พวกท่านจึงซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณไม่ผ่องใส ผอมเหลือง
ตามตัวสะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น ดูเหมือนว่าจะไม่กล้าสบตาคน’
สมณพราหมณ์เหล่านั้นได้ตอบอย่างนี้ว่า ‘มหาบพิตร พวกอาตมภาพเป็นโรค
พันธุกรรม๑’
แต่หม่อมฉันได้เห็นภิกษุทั้งหลายในพระธรรมวินัยนี้ ร่าเริงยิ่งนัก มีใจชื่นบาน
มีรูปอันน่ายินดี มีอินทรีย์ผ่องใส มีความขวนขวายน้อย ไม่หวาดกลัว เลี้ยงชีพด้วย
ของที่ผู้อื่นให้ มีจิตดุจมฤคอยู่
หม่อมฉันนั้นได้ดำริว่า ‘ท่านเหล่านี้ คงรู้คุณวิเศษขึ้นไปกว่าเดิมในศาสนาของ
พระผู้มีพระภาคเป็นแน่ ท่านเหล่านี้จึงร่าเริงยินดียิ่งนัก มีจิตชื่นบาน มีรูปอันน่า
ยินดี มีอินทรีย์ผ่องใส มีความขวนขวายน้อย ไม่หวาดกลัว เลี้ยงชีพด้วยของที่ผู้อื่นให้
มีจิตดุจมฤคอยู่’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้เองที่หม่อมฉันมีความเห็นคล้อยตามธรรม
ในพระผู้มีพระภาคว่า ‘พระผู้มีพระภาคตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ พระธรรม
อันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว’
[๓๗๐] อีกประการหนึ่ง หม่อมฉันเป็นราชามหากษัตริย์ผู้ได้รับมูรธาภิเษก๒แล้ว
ย่อมสามารถที่จะฆ่าคนที่สมควรฆ่าได้ จะให้ริบทรัพย์ของคนที่สมควรริบได้ จะให้
เนรเทศคนที่สมควรเนรเทศได้ เมื่อหม่อมฉันนั่งอยู่ในที่วินิจฉัยอรรถคดี ก็ยังมีคน
ทั้งหลายพูดแทรกขึ้นมาในระหว่าง ๆ หม่อมฉันนั้นไม่ได้เพื่อจะห้ามว่า ‘ท่านผู้เจริญ
ทั้งหลาย เมื่อเรานั่งอยู่ในที่วินิจฉัยอรรถคดี พวกท่านอย่าพูดแทรกขึ้นระหว่าง
ถ้อยคำของเรา จงรอให้เราพูดจบเสียก่อน’


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๙. ธัมมเจติยสูตร

คนทั้งหลายก็ยังพูดแทรกขึ้นในระหว่างถ้อยคำของหม่อมฉัน แต่หม่อมฉันได้
เห็นภิกษุทั้งหลายในพระธรรมวินัยนี้ ในสมัยที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมแก่
บริษัทหลายร้อย สาวกทั้งหลายของพระผู้มีพระภาค ก็ไม่มีเสียงไอหรือเสียงจามเลย
เรื่องเคยมีมาแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมแก่บริษัทหลายร้อย ในบริษัทนั้น
สาวกของพระผู้มีพระภาครูปหนึ่งได้ไอขึ้น เพื่อนพรหมจารีรูปหนึ่งได้ใช้เข่าสะกิดเธอ
ด้วยความประสงค์ให้เธอรู้สึกตัวได้ว่า ‘ท่านจงเงียบ อย่าทำเสียงดังไป พระผู้มีพระภาค
ผู้เป็นศาสดาของเราทั้งหลายทรงแสดงธรรมอยู่’
หม่อมฉันนั้นได้ดำริว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ
ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคทรงแนะนำบริษัทอย่างดีเช่นนี้ โดยไม่ต้องใช้อาชญา โดยไม่ต้อง
ใช้ศัสตราเลย’ หม่อมฉันไม่เห็นบริษัทอื่นที่ได้รับการแนะนำอย่างดีเช่นนี้ นอกจาก
บริษัทนี้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้เองที่หม่อมฉันมีความเห็นคล้อยตามธรรม
ในพระผู้มีพระภาคว่า ‘พระผู้มีพระภาคตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ พระธรรม
อันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว’
[๓๗๑] อีกประการหนึ่ง หม่อมฉันได้เห็นกษัตริย์ ผู้เป็นบัณฑิตบางพวก
ในโลกนี้ มีปัญญาละเอียดอ่อน โต้วาทะกับคนอื่นได้ สามารถนับขนทรายได้ กษัตริย์
เหล่านั้นเหมือนดั่งเที่ยวทำลายทิฏฐิของผู้อื่นด้วยปัญญา พอได้ฟังข่าวว่า ‘ท่านผู้
เจริญทั้งหลาย ได้ยินว่า พระสมณโคดมจักเสด็จมาถึงบ้านหรือนิคมชื่อโน้น’ กษัตริย์
เหล่านั้นก็พากันแต่งปัญหา ด้วยตั้งใจว่า ‘เราทั้งหลายจักพากันเข้าไปหาพระสมณ-
โคดมแล้วถามปัญหานี้ ถ้าพระสมณโคดมถูกเราทั้งหลายถามแล้วอย่างนี้ จักตรัส
ตอบอย่างนี้ เราทั้งหลายจักโต้วาทะอย่างนี้กับพระสมณโคดม ถ้าแม้พระสมณโคดม
ถูกเราทั้งหลายถามแล้วอย่างนี้ จักตรัสตอบอย่างนี้ เราทั้งหลายจักโต้วาทะอย่างนี้
กับพระสมณโคดม’
กษัตริย์เหล่านั้นได้ฟังข่าวว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้ยินว่า พระสมณโคดม
เสด็จมาถึงบ้านหรือนิคมโน้น’ แล้วก็พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้กษัตริย์เหล่านั้นเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๙. ธัมมเจติยสูตร

เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา กษัตริย์
เหล่านั้นที่พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจ
ให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา ก็ไม่ทูลถามปัญหา
กับพระผู้มีพระภาคอีก ที่ไหนจักโต้วาทะกับพระองค์ได้เล่า โดยที่แท้ก็พากันยอมตน
เข้าเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้เองที่หม่อมฉันมีความเห็นคล้อยตามธรรมของ
พระผู้มีพระภาคว่า ‘พระผู้มีพระภาคตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ พระธรรม
อันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว’
[๓๗๒] อีกประการหนึ่ง หม่อมฉันได้เห็นพราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิต ฯลฯ
คหบดีผู้เป็นบัณฑิต ฯลฯ สมณะผู้เป็นบัณฑิตบางพวกในโลกนี้ มีปัญญาละเอียด
อ่อน โต้วาทะกันคนอื่นได้ สามารถนับขนทรายได้ สมณะเหล่านั้นเหมือนดั่งเที่ยว
ทำลายทิฏฐิของผู้อื่นด้วยปัญญา พอได้ฟังข่าวว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้ยินว่า
พระสมณโคดมจักเสด็จมาถึงบ้านหรือนิคมชื่อโน้น’ สมณะเหล่านั้นก็พากันแต่ง
ปัญหา ด้วยตั้งใจว่า ‘เราทั้งหลายจักพากันเข้าไปหาพระสมณโคดมแล้วถามปัญหานี้
ถ้าพระโคดมถูกเราทั้งหลายถามแล้วอย่างนี้ จักตรัสตอบอย่างนี้ เราทั้งหลาย
จักโต้วาทะอย่างนี้กับพระสมณโคดม ถ้าแม้พระสมณโคดมถูกเราทั้งหลายถามแล้ว
อย่างนี้ จักตรัสตอบอย่างนี้ เราทั้งหลายจักโต้วาทะอย่างนี้กับพระสมณโคดม’
สมณะเหล่านั้นได้ฟังข่าวว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้ยินว่า พระสมณโคดม
เสด็จมาถึงบ้านหรือนิคมโน้น’ แล้วก็พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้สมณะเหล่านั้นเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ
เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา สมณะ
เหล่านั้นที่พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจ
ให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง ด้วยธรรมีกถาก็ไม่ทูลถาม
ปัญหากับพระผู้มีพระภาคอีก ที่ไหนจักโต้วาทะกับพระองค์ได้เล่า โดยที่แท้ก็ขอโอกาส
เพื่อออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตกับพระผู้มีพระภาค

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๙. ธัมมเจติยสูตร

พระผู้มีพระภาคก็ทรงให้พวกเขาบวช พวกเขาเมื่อบวชแล้วอย่างนี้ก็หลีกไปอยู่
ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนักก็ทำให้แจ้งซึ่ง
ประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวช
เป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน พวกเขา
พากันกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลายไม่พินาศละซิหนอ ท่านผู้เจริญ เราทั้งหลาย
ไม่พินาศละซิหนอ ท่านผู้เจริญ ด้วยว่า เมื่อก่อนเราทั้งหลายไม่ได้เป็นสมณะเลย
ก็ปฏิญญาว่า ‘เป็นสมณะ’ ไม่ได้เป็นพราหมณ์เลยก็ปฏิญญาว่า ‘เป็นพราหมณ์’
ไม่ได้เป็นพระอรหันต์เลยก็ปฏิญญาว่า ‘เป็นพระอรหันต์’ บัดนี้ เราทั้งหลายเป็น
สมณะ เป็นพราหมณ์ เป็นพระอรหันต์’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้เองที่หม่อมฉันมีความเห็นคล้อยตามธรรม
ในพระผู้มีพระภาคว่า ‘พระผู้มีพระภาคตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ พระธรรม
อันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว’
[๓๗๓] อีกประการหนึ่ง ช่างไม้ชื่ออิสิทันตะ และช่างไม้ชื่อปุราณะเหล่านี้
กินอยู่กับหม่อมฉัน ใช้ยวดยานของหม่อมฉัน หม่อมฉันให้เครื่องเลี้ยงชีพแก่เขา
ตั้งยศให้เขา แต่ถึงกระนั้น พวกเขาจะทำความเคารพนบนอบในหม่อมฉันเหมือน
ในพระผู้มีพระภาคก็หาไม่
เรื่องเคยมีมาแล้ว หม่อมฉันยกกองทัพออกไป เมื่อจะทดลองช่างไม้ชื่อ
อิสิทันตะ และช่างไม้ชื่อปุราณะเหล่านี้ จึงเข้าพักในที่พักอันแคบแห่งหนึ่ง ครั้งนั้นแล
ช่างไม้ชื่ออิสิทันตะและช่างไม้ชื่อปุราณะ เหล่านี้ใช้เวลาให้หมดไปด้วยการสนทนา
ธรรมีกถาตลอดราตรีเป็นส่วนใหญ่ ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ทางทิศใด
พวกเขาก็หันศีรษะไปทางทิศนั้น นอนเหยียดเท้ามาทางหม่อมฉัน หม่อมฉันนั้นได้
ดำริว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ช่างไม้ชื่ออิสิทันตะ
และช่างไม้ชื่อปุราณะเหล่านี้กินอยู่กับเรา ใช้ยวดยานของเรา เราให้เครื่องเลี้ยงชีพ
แก่พวกเขา ตั้งยศให้พวกเขา แต่ถึงกระนั้น พวกเขาจะได้ทำความเคารพนบนอบ
ในเรา เหมือนในพระผู้มีพระภาคก็หาไม่ ทั้ง ๒ คนนี้คงจะรู้คุณวิเศษยิ่งขึ้นไป
กว่าเดิม ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นแน่’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๙. ธัมมเจติยสูตร

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้เองที่หม่อมฉันมีความเห็นคล้อยตามธรรม
ในพระผู้มีพระภาคว่า ‘พระผู้มีพระภาคตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ พระธรรม
อันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว’

พระพุทธเจ้ากับพระเจ้าปเสนทิโกศลมีพระชนม์เท่ากัน

[๓๗๔] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อีกประการหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็น
กษัตริย์ แม้หม่อมฉันก็เป็นกษัตริย์ พระผู้มีพระภาคทรงเป็นชาวโกศล แม้หม่อมฉัน
ก็เป็นชาวโกศล พระผู้มีพระภาคทรงมีพระชนมายุ ๘๐ พรรษา แม้หม่อมฉันก็มี
อายุ ๘๐ ปี แม้ด้วยการที่พระผู้มีพระภาคทรงเป็นกษัตริย์ แม้หม่อมฉันก็เป็น
กษัตริย์ พระผู้มีพระภาคทรงเป็นชาวโกศล แม้หม่อมฉันก็เป็นชาวโกศล พระผู้มี
พระภาคทรงมีพระชนมายุ ๘๐ พรรษา แม้หม่อมฉันก็มีอายุ ๘๐ ปีนี้ หม่อมฉัน
จึงได้ทำความเคารพนบนอบเป็นอย่างยิ่งในพระผู้มีพระภาค และแสดงอาการฉันมิตร
ถึงเพียงนี้ เอาเถิด บัดนี้ หม่อมฉันขอทูลลากลับ เพราะมีกิจ มีหน้าที่ที่จะต้องทำ
อีกมาก พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มหาบพิตร ขอพระองค์จงกำหนดเวลาที่สมควร ณ
บัดนี้เถิด”
ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงลุกจากที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มี
พระภาค ทรงกระทำประทักษิณแล้วเสด็จจากไป
ครั้งนั้นแล เมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จจากไปไม่นาน พระผู้มีพระภาครับสั่ง
เรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าปเสนทิโกศลพระองค์นี้ตรัส
ธรรมเจดีย์๑ ทรงลุกจากที่ประทับแล้วเสด็จจากไป เธอทั้งหลายจงเรียนธรรมเจดีย์


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๑๐. กัณณกัตถลสูตร

จงศึกษา จงทรงจำธรรมเจดีย์นี้ไว้ ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเจดีย์ประกอบด้วยประโยชน์
เป็นอาทิพรหมจรรย์๑”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

ธัมมเจติยสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. กัณณกัตถลสูตร
ว่าด้วยเหตุการณ์ที่ตำบลกัณณกัตถละ

[๓๗๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ตำบลกัณณกัตถละเป็นที่ให้อภัย
หมู่เนื้อ ใกล้นครชื่ออุทัญญา สมัยนั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จไปยังอุทัญญานคร
ด้วยพระราชกรณียกิจบางอย่าง ได้รับสั่งเรียกบุรุษคนหนึ่งมาตรัสว่า
“มาเถิด พ่อยอดชาย เธอจงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้ว
ถวายอภิวาทพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า จงทูลถามถึงพระสุขภาพ
ความมีพระโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพระพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ
ตามคำของเราว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเจ้าปเสนทิโกศลขอถวายอภิวาท
พระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า ทูลถามถึงพระสุขภาพ ความมี
พระโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพระพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ’ และจง
กราบทูลอย่างนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ได้ทราบว่า วันนี้พระเจ้าปเสนทิโกศล
เสวยพระกระยาหารเช้าเสร็จแล้ว ภายหลังเวลาพระกระยาหาร จักเสด็จมาเฝ้า
พระผู้มีพระภาค”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค] ๑๐. กัณณกัตถลสูตร

บุรุษนั้นทูลรับสนองพระราชดำรัสแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเจ้าปเสนทิโกศลขอถวายอภิวาทพระยุคลบาทของ
พระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า ทรงทูลถามถึงพระสุขภาพ ความมีพระโรคาพาธน้อย
กระปรี้กระเปร่า มีพระพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ และกราบทูลอย่างนี้ว่า
‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ได้ทราบว่า วันนี้พระเจ้าปเสนทิโกศลเสวยพระกระยาหารเช้า
เสร็จแล้ว ภายหลังเวลาพระกระยาหาร จักเสด็จมาเฝ้าพระผู้มีพระภาค พระพุทธเจ้าข้า”
พระภคินีทรงพระนามว่าโสมา และพระภคินีทรงพระนามว่าสกุลา ได้ทรงสดับ
ข่าวว่า “ได้ยินว่า วันนี้ พระเจ้าปเสนทิโกศลเสวยพระกระยาหารเช้าเสร็จแล้ว
ภายหลังเวลาพระกระยาหารจักเสด็จไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค” เวลานั้นเอง พระภคินี-
โสมา และพระภคินีสกุลา จึงเสด็จเข้าไปเฝ้าพระเจ้าปเสนทิโกศลในที่เสวยพระกระยาหาร
แล้วได้กราบทูลว่า
“ข้าแต่มหาราช ถ้าเช่นนั้น ขอพระองค์จงทรงถวายอภิวาทพระยุคลบาทของ
พระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า จงทรงถามถึงพระสุขภาพ ความมีพระโรคาพาธน้อย
กระปรี้กระเปร่า มีพระพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ ตามคำของหม่อมฉัน
ทั้งสองว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภคินีโสมาและพระภคินีสกุลา ขอถวาย
อภิวาทพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า ทูลถามถึงพระสุขภาพ
ความมีพระโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพระพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ เพคะ”

พระเจ้าปเสนทิโกศลเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า

[๓๗๖] ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสวยพระกระยาหารเช้าเสร็จแล้ว
ภายหลังเวลาพระกระยาหาร เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ทรงถวาย
อภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภคินีโสมาและพระภคินีสกุลา ขอถวายอภิวาท
พระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า ทูลถามถึงพระสุขภาพ ความมี
พระโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพระพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๔๖๐ }


>>>>> หน้าต่อไป >>>>>





eXTReMe Tracker