ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ



จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อความสะดวก และสวยงาม
(เฉพาะหน้าจอใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์)
กรุณาคลิก จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อให้กรอบ
ค้นข้อความ ปรากฎที่ด้านซ้ายของหน้า

พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑-๓ สุตตันตปิฎกที่ ๐๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค

พระสุตตันตปิฎก
ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น



พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๔

๓๔
คันถะ๑(เครื่องร้อยรัด) ๔

๑. อภิชฌากายคันถะ (กายคันถะคืออภิชฌา)
๒. พยาปาทกายคันถะ (กายคันถะคือพยาบาท)
๓. สีลัพพตปรามาสกายคันถะ (กายคันถะคือสีลัพพตปรามาส)
๔. อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ (กายคันถะคือความยึดถือว่าสิ่งนี้เท่านั้นจริง)

๓๕
อุปาทาน๒(ความถือมั่น) ๔

๑. กามุปาทาน (ความถือมั่นในกาม)
๒. ทิฏฐุปาทาน (ความถือมั่นในทิฏฐิ)
๓. สีลัพพตุปาทาน (ความถือมั่นในศีลพรต)
๔. อัตตวาทุปาทาน (ความถือมั่นในวาทะว่ามีอัตตา)

๓๖
โยนิ๓(กำเนิด) ๔

๑. อัณฑชโยนิ (กำเนิดของสัตว์ที่เกิดในไข่)
๒. ชลาพุชโยนิ (กำเนิดของสัตว์ที่เกิดในครรภ์)
๓. สังเสทชโยนิ (กำเนิดของสัตว์ที่เกิดในเถ้าไคล)
๔. โอปปาติกโยนิ (กำเนิดของสัตว์ที่เกิดผุดขึ้น)

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ สํ.ม. (แปล) ๑๙/๑๗๕/๑๐๒-๑๐๓
๒ ดูเทียบ อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๓๘/๕๘๘
๓ ดูเทียบ ม.มู. (แปล) ๑๒/๑๕๒/๑๕๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๔

๓๗
การก้าวลงสู่ครรภ์๑ ๔
๑. สัตว์บางชนิดในโลกนี้ไม่รู้สึกตัวขณะก้าวลงสู่ครรภ์ของมารดา ไม่รู้สึกตัว
ขณะอยู่ในครรภ์ของมารดา (และ) ไม่รู้สึกตัวขณะคลอดจากครรภ์ของ
มารดา นี้เป็นการก้าวลงสู่ครรภ์ประการที่ ๑
๒. สัตว์บางชนิดในโลกนี้รู้สึกตัวขณะก้าวลงสู่ครรภ์ของมารดา แต่ไม่รู้สึก
ตัวขณะอยู่ในครรภ์ของมารดา ไม่รู้สึกตัวขณะคลอดจากครรภ์ของ
มารดา นี้เป็นการก้าวลงสู่ครรภ์ประการที่ ๒
๓. สัตว์บางชนิดในโลกนี้รู้สึกตัวขณะก้าวลงสู่ครรภ์ของมารดา รู้สึกตัวขณะ
อยู่ในครรภ์ของมารดา แต่ไม่รู้สึกตัวขณะคลอดจากครรภ์ของมารดา
นี้เป็นการก้าวลงสู่ครรภ์ประการที่ ๓
๔. สัตว์บางชนิดในโลกนี้รู้สึกตัวขณะก้าวลงสู่ครรภ์ของมารดา รู้สึกตัวขณะ
อยู่ในครรภ์ของมารดา (และ) รู้สึกตัวขณะคลอดจากครรภ์ของมารดา
นี้เป็นการก้าวลงสู่ครรภ์ประการที่ ๔

๓๘
การได้อัตภาพ๒ ๔
๑. การได้อัตภาพที่สัญเจตนาของตนดำเนินไป มิใช่สัญเจตนาของผู้อื่นดำเนินไป
๒. การได้อัตภาพที่สัญเจตนาของผู้อื่นดำเนินไป มิใช่สัญเจตนาของตนดำเนินไป
๓. การได้อัตภาพที่สัญเจตนาของตนและสัญเจตนาของผู้อื่นดำเนินไป
๔. การได้อัตภาพที่มิใช่สัญเจตนาของตนและมิใช่สัญเจตนาของผู้อื่นดำเนินไป

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบข้อ ๑๔๗ หน้า ๑๐๗ ในเล่มนี้
๒ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๗๑/๒๔๐-๒๔๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๔

๓๙
[๓๑๓] ทักขิณาวิสุทธิ๑(ความบริสุทธิ์แห่งทักษิณา) ๔

๑. ทักษิณาที่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก (ผู้ให้) แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก
(ผู้รับ)
๒. ทักษิณาที่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก
๓. ทักษิณาที่ไม่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก
๔. ทักษิณาที่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก

๔๐
สังคหวัตถุ๒(ธรรมเครื่องยึดเหนี่ยว) ๔

๑. ทาน (การให้)
๒. เปยยวัชชะ (วาจาเป็นที่รัก)
๓. อัตถจริยา (การประพฤติประโยชน์)
๔. สมานัตตตา (การวางตนสม่ำเสมอ)

๔๑
อนริยโวหาร(วิธีการพูดของผู้มิใช่อริยะ) ๔

๑. มุสาวาท (พูดเท็จ)
๒. ปิสุณาวาจา (พูดส่อเสียด)
๓. ผรุสวาจา (พูดคำหยาบ)
๔. สัมผัปปลาปะ (พูดเพ้อเจ้อ)

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๗๘/๑๒๓
๒ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๓๒/๕๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๔

๔๒
อริยโวหาร(วิธีการพูดของผู้เป็นอริยะ) ๔

๑. มุสาวาทา เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการพูดเท็จ)
๒. ปิสุณาย วาจาย เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการพูดส่อเสียด)
๓. ผรุสาย วาจาย เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการพูดคำหยาบ)
๔. สัมผัปปลาปา เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ)

๔๓
อนริยโวหาร๑ ๔ อีกนัยหนึ่ง

๑. การกล่าวสิ่งที่ไม่ได้เห็นว่าได้เห็น
๒. การกล่าวสิ่งที่ไม่ได้ฟังว่าได้ฟัง
๓. การกล่าวสิ่งที่ไม่ได้ทราบว่าได้ทราบ
๔. การกล่าวสิ่งที่ไม่ได้รู้ว่าได้รู้

๔๔
อริยโวหาร๒ ๔ อีกนัยหนึ่ง

๑. การกล่าวสิ่งที่ไม่ได้เห็นว่าไม่ได้เห็น
๒. การกล่าวสิ่งที่ไม่ได้ฟังว่าไม่ได้ฟัง
๓. การกล่าวสิ่งที่ไม่ได้ทราบว่าไม่ได้ทราบ
๔. การกล่าวสิ่งที่ไม่ได้รู้ว่าไม่ได้รู้

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๒๕๐/๓๖๘
๒ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๒๕๑/๓๖๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๔

๔๕
อนริยโวหาร๑ ๔ อีกนัยหนึ่ง
๑. การกล่าวสิ่งที่ได้เห็นว่าไม่ได้เห็น
๒. การกล่าวสิ่งที่ได้ฟังว่าไม่ได้ฟัง
๓. การกล่าวสิ่งที่ได้ทราบว่าไม่ได้ทราบ
๔. การกล่าวสิ่งที่ได้รู้ว่าไม่ได้รู้

๔๖
อริยโวหาร๒ ๔ อีกนัยหนึ่ง
๑. การกล่าวสิ่งที่ได้เห็นว่าได้เห็น
๒. การกล่าวสิ่งที่ได้ฟังว่าได้ฟัง
๓. การกล่าวสิ่งที่ได้ทราบว่าได้ทราบ
๔. การกล่าวสิ่งที่ได้รู้ว่าได้รู้

๔๗
[๓๑๔] บุคคล๓ ๔
๑. เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน
๒. เป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน
๓. เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน
และเป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน
๔. เป็นผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน
และเป็นผู้ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้
เดือดร้อน เขาผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นผู้
ไม่หิว ดับร้อน เย็นใจ เสวยสุขมีตนอันประเสริฐอยู่ในปัจจุบันเทียว

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๒๕๒/๓๖๙
๒ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๒๕๓/๓๗๐
๓ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๙๘/๓๐๓, อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๑๗๔-๑๗๗/๒๐๖-๒๐๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๔

๔๘
บุคคล๑ ๔ อีกนัยหนึ่ง

๑. เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น
๒. เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง
๓. เป็นผู้ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง และไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น
๔. เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง และปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น

๔๙
บุคคล๒ ๔ อีกนัยหนึ่ง

๑. ตโม ตมปรายโน (ผู้มืดมา และมืดไป)
๒. ตโม โชติปรายโน (ผู้มืดมา แต่สว่างไป)
๓. โชติ ตมปรายโน (ผู้สว่างมา แต่มืดไป)
๔. โชติ โชติปรายโน (ผู้สว่างมา และสว่างไป)

๕๐
บุคคล๓๔ อีกนัยหนึ่ง

๑. สมณอจละ (สมณะผู้ไม่หวั่นไหว)
๒. สมณปทุมะ (สมณะเหมือนดอกปทุม)
๓. สมณปุณฑริกะ (สมณะเหมือนดอกบุณฑริก)
๔. สมเณสุ สมณสุขุมาละ (สมณะผู้ละเอียดอ่อน ในหมู่สมณะ)

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๙๖/๑๔๕
๒ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๘๕/๑๒๙, อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๑๖๘/๒๐๑-๒๐๒
๓ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๘๗/๑๓๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๕

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย นี้แล คือธรรมหมวดละ ๔ ประการ ที่พระผู้มีพระภาค
ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว
พวกเราทั้งหมดนี้แหละพึงสังคายนา ไม่พึงวิวาทกันในธรรมนั้น เพื่อให้พรหมจรรย์นี้
ตั้งอยู่ได้นาน ดำรงอยู่ได้นาน ข้อนั้นพึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุข
แก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย

สังคีติหมวด ๔ จบ
ภาณวารที่ ๑ จบ

สังคีติหมวด ๕

[๓๑๕] ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมหมวดละ ๕ ประการ ที่พระผู้มีพระภาค
ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว
มีอยู่ พวกเราทั้งหมดนี้แหละพึงสังคายนา ไม่พึงวิวาทกันในธรรมนั้น ฯลฯ เพื่อ
ประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ธรรมหมวดละ ๕ ประการ คืออะไร
คือ


ขันธ์๑ ๕
๑. รูปขันธ์ (กองรูป)
๒. เวทนาขันธ์ (กองเวทนา)

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๑/๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๒๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๕

๓. สัญญาขันธ์ (กองสัญญา)
๔. สังขารขันธ์ (กองสังขาร)
๕. วิญญาณขันธ์ (กองวิญญาณ)


อุปาทานขันธ์ (ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น) ๕

๑. รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป)
๒. เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา)
๓. สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา)
๔. สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร)
๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ)


กามคุณ๑ ๕

๑. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
๒. เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ...
๓. กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ...
๔. รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ...
๕. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๖๓/๕๗๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๕


คติ๑(ภพที่สัตว์ไปเกิด) ๕

๑. นิรยะ (นรก)
๒. ติรัจฉานโยนิ (กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน)
๓. เปตติวิสัย (แดนเปรต)
๔. มนุสสะ (มนุษย์)
๕. เทวะ (เทวดา)


มัจฉริยะ๒(ความตระหนี่) ๕

๑. อาวาสมัจฉริยะ (ความตระหนี่อาวาส)
๒. กุลมัจฉริยะ (ความตระหนี่ตระกูล)
๓. ลาภมัจฉริยะ (ความตระหนี่ลาภ)
๔. วัณณมัจฉริยะ (ความตระหนี่วรรณะ)
๕. ธัมมมัจฉริยะ (ความตระหนี่ธรรม)


นิวรณ์๓(สิ่งที่ขัดขวางจิตไม่ให้บรรลุความดี) ๕

๑. กามฉันทนิวรณ์ (นิวรณ์คือความพอใจในกาม)
๒. พยาบาทนิวรณ์ (นิวรณ์คือความคิดร้าย)
๓. ถีนมิทธนิวรณ์ (นิวรณ์คือความหดหู่และเซื่องซึม)
๔. อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ (นิวรณ์คือความฟุ้งซ่านและร้อนใจ)
๕. วิจิกิจฉานิวรณ์ (นิวรณ์คือความลังเลสงสัย)

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๓๙/๔๙
๒ ดูเทียบ อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๘๙๓/๕๖๑
๓ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๕๘/๒๒๓, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๔๑/๕๙๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๕


โอรัมภาคิยสังโยชน์๑(ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์เบื้องต่ำ) ๕

๑. สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นตัวของตน)
๒. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย)
๓. สีลัพพตปรามาส (ความถือมั่นศีลพรต)
๔. กามฉันทะ (ความกำหนัดในกามคุณ)
๕. พยาบาท (ความคิดร้าย)


อุทธัมภาคิยสังโยชน์๒(ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์เบื้องสูง) ๕

๑. รูปราคะ (ความติดใจในอารมณ์แห่งรูปฌาน)
๒. อรูปราคะ (ความติดใจในอารมณ์แห่งอรูปฌาน)
๓. มานะ (ความถือตัว)
๔. อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน)
๕. อวิชชา (ความไม่รู้แจ้ง)


สิกขาบท๓ ๕

๑. ปาณาติปาตา เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการฆ่าสัตว์)
๒. อทินนาทานา เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่
เจ้าของเขามิได้ให้)

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๑๓/๒๑, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๔๐/๕๙๒
๒ ดูเทียบ อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๔๐/๕๙๒
๓ ดูเทียบ อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๗๐๓/๔๔๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๕

๓. กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม)
๔. มุสาวาทา เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการพูดเท็จ)
๕. สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการเสพของมึนเมา
คือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความ
ประมาท)

๑๐
[๓๑๖] อภัพพฐาน๑(ฐานะที่เป็นไปไม่ได้) ๕

๑. เป็นไปไม่ได้ที่ภิกษุขีณาสพจะจงใจปลงชีวิตสัตว์
๒. เป็นไปไม่ได้ที่ภิกษุขีณาสพจะถือเอาสิ่งของที่ผู้อื่นไม่ได้ให้โดยอาการขโมย
๓. เป็นไปไม่ได้ที่ภิกษุขีณาสพจะเสพเมถุนธรรม
๔. เป็นไปไม่ได้ที่ภิกษุขีณาสพจะพูดเท็จทั้งที่รู้
๕. เป็นไปไม่ได้ที่ภิกษุขีณาสพจะสั่งสม บริโภคกามเหมือนเมื่อเป็นคฤหัสถ์

๑๑
พยสนะ๒(วิบัติ) ๕

๑. ญาติพยสนะ (ความวิบัติแห่งญาติ)
๒. โภคพยสนะ (ความวิบัติแห่งโภคะ)
๓. โรคพยสนะ (ความวิบัติเพราะโรค)
๔. สีลพยสนะ (ความวิบัติแห่งศีล)
๕. ทิฏฐิพยสนะ (ความวิบัติแห่งทิฏฐิ)

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.นวก. (แปล) ๒๓/๗/๔๔๖
๒ ดูเทียบ องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๑๓๐/๒๑๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๐๓ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๕

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายหลังจากตายแล้ว จะไม่ไปเกิดในอบาย
ทุคติ วินิบาต นรก เพราะความวิบัติแห่งญาติเป็นเหตุ เพราะความวิบัติแห่งโภคะ
เป็นเหตุ หรือเพราะความวิบัติเพราะโรคเป็นเหตุ แต่สัตว์ทั้งหลายหลังจากตายแล้ว
จะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะความวิบัติแห่งศีลเป็นเหตุ หรือเพราะ
ความวิบัติแห่งทิฏฐิเป็นเหตุ

๑๒
สัมปทา๑ (ความถึงพร้อม) ๕

๑. ญาติสัมปทา (ความถึงพร้อมแห่งญาติ)
๒. โภคสัมปทา (ความถึงพร้อมแห่งโภคะ)
๓. อาโรคยสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยความไม่มีโรค)
๔. สีลสัมปทา (ความถึงพร้อมแห่งศีล)
๕. ทิฏฐิสัมปทา (ความถึงพร้อมแห่งทิฏฐิ)

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายหลังจากตายแล้ว จะไม่ไปเกิดในสุคติโลก
สวรรค์ เพราะความถึงพร้อมแห่งญาติเป็นเหตุ เพราะความถึงพร้อมแห่งโภคะ
เป็นเหตุ หรือเพราะความถึงพร้อมด้วยความไม่มีโรคเป็นเหตุ แต่สัตว์ทั้งหลาย
หลังจากตายแล้ว จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลเป็นเหตุ
หรือเพราะความถึงพร้อมแห่งทิฏฐิเป็นเหตุ

๑๓
โทษแห่งศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีล๒ ๕

๑. บุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติในโลกนี้ ย่อมถึงความเสื่อมโภคทรัพย์เป็นอันมาก
ซึ่งมีความประมาทเป็นเหตุ นี้เป็นโทษประการที่ ๑ แห่งศีลวิบัติของ
บุคคลผู้ทุศีล

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๑๓๐/๒๑๐
๒ ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) ๕/๒๘๕/๑๐๐, ที.ม. (แปล) ๑๐/๑๔๙/๙๓-๙๔, องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๒๑๓/๓๕๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๕

๒. กิตติศัพท์อันชั่วของบุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติ ย่อมกระฉ่อนไป นี้เป็นโทษ
ประการที่ ๒ แห่งศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีล
๓. บุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติ จะเข้าไปยังบริษัทใด ๆ จะเป็นขัตติยบริษัทก็ตาม
พราหมณบริษัทก็ตาม คหบดีบริษัทก็ตาม สมณบริษัทก็ตาม ย่อมไม่
แกล้วกล้า เก้อเขินเข้าไป นี้เป็นโทษประการที่ ๓ แห่งศีลวิบัติของบุคคล
ผู้ทุศีล
๔. บุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติ ย่อมหลงลืมสติตาย นี้เป็นโทษประการที่ ๔ แห่ง
ศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีล
๕. บุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติ หลังจากตายแล้ว ย่อมไปเกิดในอบาย ทุคติ
วินิบาต นรก นี้เป็นโทษประการที่ ๕ แห่งศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีล

๑๔
อานิสงส์แห่งศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล๑ ๕
๑. บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีลในโลกนี้ ย่อมมีโภคทรัพย์เป็นอันมาก ซึ่งมี
ความไม่ประมาทเป็นเหตุ นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๑ แห่งศีลสมบัติของ
บุคคลผู้มีศีล
๒. กิตติศัพท์อันงามของบุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมขจรไป นี้เป็น
อานิสงส์ประการที่ ๒ แห่งศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล
๓. บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล จะเข้าไปยังบริษัทใด ๆ จะเป็นขัตติย-
บริษัทก็ตาม พราหมณบริษัทก็ตาม คหบดีบริษัทก็ตาม สมณบริษัท
ก็ตาม ย่อมแกล้วกล้า ไม่เก้อเขินเข้าไป นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๓
แห่งศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล
๔. บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมไม่หลงลืมสติตาย นี้เป็นอานิสงส์
ประการที่ ๔ แห่งศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล
๕. บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล หลังจากตายแล้ว ย่อมไปเกิดในสุคติโลก
สวรรค์ นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๕ แห่งศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ที.ม. (แปล) ๑๐/๑๕๐/๙๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๕

๑๕
ธรรมสำหรับผู้เป็นโจทก์๑ ๕
ภิกษุผู้เป็นโจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงตั้งธรรม ๕ ประการไว้มั่นในตนแล้ว
จึงโจทผู้อื่น คือ
๑. เราจักกล่าวในกาลอันควร จักไม่กล่าวในกาลอันไม่ควร
๒. เราจักกล่าวถ้อยคำจริง จักไม่กล่าวถ้อยคำไม่จริง
๓. เราจักกล่าวถ้อยคำอ่อนหวาน จักไม่กล่าวถ้อยคำหยาบ
๔. เราจักกล่าวถ้อยคำอันประกอบด้วยประโยชน์ จักไม่กล่าวถ้อยคำอันไม่
ประกอบด้วยประโยชน์
๕. เราจักมีเมตตาจิตกล่าว จักไม่เพ่งโทษกล่าว
ภิกษุผู้เป็นโจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงตั้งธรรม ๕ ประการนี้ไว้มั่นในตน
แล้วจึงโจทผู้อื่น

๑๖
[๓๑๗] องค์ของภิกษุผู้บำเพ็ญความเพียร๒ ๕
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาเครื่องตรัสรู้ของพระตถาคตว่า ‘แม้เพราะ
เหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์
เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็น
สารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นพระศาสดาของเทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๑๖๗/๒๗๗
๒ ดูเทียบ องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๕๓/๙๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๕

๒. เป็นผู้มีอาพาธน้อย โรคเบาบาง ประกอบด้วยไฟธาตุสำหรับย่อยอาหาร
สม่ำเสมอ ไม่เย็นนัก ไม่อนนัก ปานกลาง เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียร
๓. เป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา ทำตนให้เปิดเผยตามความเป็นจริงในพระศาสดา
หรือเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลาย
๔. เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมเกิด มีความ
เข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่
๕. เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาเห็นความเกิด
และความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ

๑๗
[๓๑๘] สุทธาวาส (ที่อยู่ของท่านผู้บริสุทธิ์) ๕

๑. อวิหา ๒. อตัปปา
๓. สุทัสสา ๔. สุทัสสี
๕. อกนิฏฐา

๑๘
พระอนาคามี๑ ๕

๑. อันตราปรินิพพายี (ผู้ที่จะปรินิพพานในระหว่างอายุยังไม่ทันถึงกึ่ง)
๒. อุปหัจจปรินิพพายี (ผู้ที่จะปรินิพพานต่อเมื่ออายุพ้นกึ่งไปแล้ว)
๓. อสังขารปรินิพพายี (ผู้ที่จะปรินิพพานโดยไม่ต้องใช้ความเพียรมาก)
๔. สสังขารปรินิพพายี (ผู้ที่จะปรินิพพานโดยต้องใช้ความเพียรมาก)
๕. อุทธังโสโต อกนิฏฐคามี (ผู้มีกระแสในเบื้องบนไปสู่ชั้นอกนิฏฐภพ)

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๘๘/๓๑๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๕

๑๙
[๓๑๙] กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู๑ ๕
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระศาสดา๒ จิตของ
ภิกษุผู้เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระศาสดานั้น
ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำ
ต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร การที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความ
เพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร
นี้เป็นกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปูประการที่ ๑
๒. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระธรรม ฯลฯ
๓. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในสิกขา (ข้อที่จะต้อง
ศึกษา) ฯลฯ
๕. เป็นผู้โกรธ ไม่พอใจ มีจิตถูกโทสะ (ความคิดประทุษร้าย) กระทบ
มีจิตแข็งกระด้างในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้โกรธไม่พอใจ
มีจิตถูกโทสะกระทบ มีจิตแข็งกระด้างในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายนั้น
ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำ
ต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร การที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความ
เพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร
นี้เป็นกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปูประการที่ ๕

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๔/๒๒-๒๓
๒ ไม่เลื่อมใสในพระศาสดา ในที่นี้หมายถึงไม่เชื่อว่า พระสรีระของพระพุทธเจ้าประดับด้วยลักษณะมหา-
บุรุษ ๓๒ ประการ ไม่เชื่อว่าพระสัพพัญญุตญาณของพระพุทธเจ้าสามารถรู้อดีต อนาคต และปัจจุบันได้
(องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๕/๘๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๐๘ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๕

๒๐
[๓๒๐] วินิพันธา๑(กิเลสเครื่องผูกใจ) ๕
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่
ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจากความ
เร่าร้อน ไม่ปราศจากความอยากในกามทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ยัง
ไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจาก
ความรัก ไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่
ปราศจากความอยากในกามทั้งหลายนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความ
เพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร
การที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อ
กระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องผูกใจประการที่ ๑
๒. เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ... ในกาย ฯลฯ
๓. เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ... ในรูป ฯลฯ
๔. ฉันอาหารตามความต้องการจนอิ่มเกินไป ประกอบความสุขในการนอน
ความสุขในการเอกเขนก ความสุขในการหลับอยู่ ฯลฯ
๕. ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยความปรารถนาเป็นเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง
ว่า ‘ด้วยศีล วัตร ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้ เราจะเป็นเทพเจ้า หรือ
เทพองค์ใดองค์หนึ่ง’ จิตของภิกษุผู้ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยความ
ปรารถนาเป็นเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่งว่า ‘ด้วยศีล วัตร ตบะ หรือ
พรหมจรรย์นี้ เราจะเป็นเทพเจ้า หรือเทพองค์ใดองค์หนึ่ง’ ย่อมไม่
น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง
เพื่อบำเพ็ญเพียร การที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อ
ประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกิเลส
เครื่องผูกใจประการที่ ๕

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ม.มู. (แปล) ๑๒/๑๘๕-๑๘๙/๑๙๗-๒๐๓, องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๒๐๖/๓๔๘-๓๕๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๕

๒๑
อินทรีย์๑ ๕
๑. จักขุนทรีย์ (อินทรีย์คือตา)
๒. โสตินทรีย์ (อินทรีย์คือหู)
๓. ฆานินทรีย์ (อินทรีย์คือจมูก)
๔. ชิวหินทรีย์ (อินทรีย์คือลิ้น)
๕. กายินทรีย์ (อินทรีย์คือกาย)

๒๒
อินทรีย์๒ ๕ อีกนัยหนึ่ง

๑. สุขินทรีย์ (อินทรีย์คือความสุขกาย)
๒. ทุกขินทรีย์ (อินทรีย์คือความทุกข์กาย)
๓. โสมนัสสินทรีย์ (อินทรีย์คือความสุขใจ)
๔. โทมนัสสินทรีย์ (อินทรีย์คือความทุกข์ใจ)
๕. อุเปกขินทรีย์ (อินทรีย์คืออุเบกขา)

๒๓
อินทรีย์๓ ๕ อีกนัยหนึ่ง

๑. สัทธินทรีย์ (อินทรีย์คือศรัทธา)
๒. วิริยินทรีย์ (อินทรีย์คือวิริยะ)
๓. สตินทรีย์ (อินทรีย์คือสติ)
๔. สมาธินทรีย์ (อินทรีย์คือสมาธิ)
๕. ปัญญินทรีย์ (อินทรีย์คือปัญญา)

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๑๐๑๒/๖๖๐
๒ ดูเทียบ อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๒๒๐/๑๙๙-๒๐๐
๓ ดูเทียบ อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๒๒๐/๒๐๐-๒๐๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๕

๒๔
[๓๒๑] ธาตุ๑ที่สลัด๒ ๕
๑. เมื่อภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มนสิการกามทั้งหลาย๓ จิตของเธอ
ย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในกามทั้งหลาย แต่
เมื่อเธอมนสิการเนกขัมมะ จิตของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่
น้อมไปในเนกขัมมะ จิตนั้นของเธอชื่อว่าเป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว
อบรมดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้วจากกาม
ทั้งหลาย เธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ๔และความเร่าร้อนที่ก่อความ
คับแค้น๕ ซึ่งเกิดขึ้นเพราะกามเป็นปัจจัย เธอย่อมไม่เสวยเวทนานั้น
นี้พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่าธาตุที่สลัดกามทั้งหลาย
๒. เมื่อภิกษุมนสิการพยาบาท จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส
ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในพยาบาท แต่เมื่อเธอมนสิการอพยาบาท จิต
ของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ น้อมไปในอพยาบาท จิตนั้นของเธอ
ชื่อว่าเป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว
พรากออกดีแล้วจากพยาบาท เธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะและความ
เร่าร้อนที่ก่อความคับแค้น ซึ่งเกิดขึ้นเพราะพยาบาทเป็นปัจจัย เธอ

เชิงอรรถ :
๑ ธาตุในที่นี้หมายถึงธัมมธาตุและมโนวิญญาณธาตุขั้นพิเศษ เป็นสภาวะที่ว่างจากอัตตา (อัตตสุญญสภาวะ)
(องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๐/๘๒) หรือสภาวะที่ปราศจากชีวะ (องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๒๐๐/๙๑)
๒ ดูเทียบ องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๒๐๐/๓๔๐-๓๔๒
๓ มนสิการกามทั้งหลาย ในที่นี้หมายถึงวิธีการที่ท่านผู้ออกจากอสุภฌาน (เพ่งความไม่งาม) แล้วส่งจิตคิด
ถึงกามคุณ เพื่อตรวจดูจิตว่า ‘บัดนี้จิตเราแน่วแน่ต่อเนกขัมมะหรือไม่ กามวิตกยังเกิดขึ้นอยู่หรือไม่’ เหมือน
คนจับงูพิษ เพื่อทดลองดูว่างูมีพิษหรือไม่ (ที.ปา.อ. ๓๒๑/๒๓๐, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๒๐๐/๙๑)
๔ อาสวะ ในที่นี้หมายถึงอาสวะ ๔ คือ กามาสวะ (อาสวะคือกาม) ภวาสวะ (อาสวะคือภพ) ทิฏฐาสวะ
(อาสวะคือทิฏฐิ) อวิชชาสวะ (อาสวะคืออวิชชา) (สํ.สฬา.อ. ๓/๕๓-๖๒/๑๔, องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๕๘/๑๔๐)
๕ ความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้น ในที่นี้หมายถึงความเร่าร้อนเพราะกิเลสหรือความเร่าร้อนเพราะวิบาก
กรรมที่ก่อความคับแค้นให้ หรือให้เกิดทุกข์ทางกายและทุกข์ทางใจ อันเป็นผลมาจากอาสวะ (องฺ.ฉกฺก.อ.
๓/๕๘/๑๔๐, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๕๘/๑๕๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๕

ย่อมไม่เสวยเวทนานั้น นี้พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่าธาตุที่สลัด
พยาบาท
๓. เมื่อภิกษุมนสิการวิหิงสา จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่
ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในวิหิงสา แต่เมื่อเธอมนสิการอวิหิงสา จิตของเธอ
จึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ น้อมไปในอวิหิงสา จิตนั้นของเธอชื่อว่า
เป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว
พรากออกดีแล้วจากวิหิงสา เธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะและความเร่าร้อน
ที่ก่อความคับแค้น ซึ่งเกิดขึ้นเพราะวิหิงสาเป็นปัจจัย เธอย่อมไม่
เสวยเวทนานั้น นี้พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่าธาตุที่สลัดวิหิงสา
๔. เมื่อภิกษุมนสิการรูปทั้งหลาย จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส
ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในรูปทั้งหลาย แต่เมื่อเธอมนสิการอรูป จิตของ
เธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ น้อมไปในอรูป จิตนั้นของเธอชื่อว่า
เป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว
พรากออกดีแล้วจากรูปทั้งหลาย เธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะและความ
เร่าร้อนที่ก่อความคับแค้น ซึ่งเกิดขึ้นเพราะรูปเป็นปัจจัย เธอย่อมไม่
เสวยเวทนานั้น นี้พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่าธาตุที่สลัดรูปทั้งหลาย
๕. เมื่อภิกษุมนสิการสักกายะ๑ จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส
ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในสักกายะ แต่เมื่อเธอมนสิการสักกายนิโรธ
(ความดับแห่งสักกายะ) จิตของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ น้อมไป
ในสักกายนิโรธ จิตนั้นของเธอชื่อว่าเป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ มนสิการสักกายะในที่นี้หมายถึงวิธีการที่พระอรหันต์สุกขวิปัสสกะ(ผู้บำเพ็ญวิปัสสนาล้วนๆ)ผู้เห็นนิพพาน
ด้วยอรหัตตมรรคและอรหัตตผล ออกจากผลสมาบัติแล้ว ส่งจิตไปยังอุปาทานขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณ เพื่อจะทดสอบดูว่า ‘ความยึดมั่นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่าเป็นอัตตายังมี
อยู่หรือไม่’ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๐/๘๓)
อนึ่ง ๔ วิธีแรกดังกล่าวมาแล้ว เป็นวิธีของท่านผู้เป็นสมถยานิกะ (ผู้บำเพ็ญสมถกัมมัฏฐาน) แต่วิธี
ที่ ๕ นี้เป็นวิธีของท่านผู้เป็นวิปัสสนายานิกะ (ผู้บำเพ็ญวิปัสสนาล้วน) (องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๒๐๐/๙๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๕

ตั้งอยู่ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้วจากสักกายะ เธอหลุดพ้น
แล้วจากอาสวะและความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้น ซึ่งเกิดขึ้นเพราะ
สักกายะเป็นปัจจัย เธอย่อมไม่เสวยเวทนานั้น นี้พระผู้มีพระภาค
ตรัสเรียกว่าธาตุที่สลัดสักกายะ

๒๕
[๓๒๒] เหตุแห่งวิมุตติ๑ ๕
๑. พระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีบางรูปผู้ตั้งอยู่ในฐานะครูแสดงธรรม๒
แก่ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เธอรู้แจ้งอรรถ๓ รู้แจ้งธรรม๔ในธรรมนั้น
ตามที่พระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีบางรูปผู้ตั้งอยู่ในฐานะครูแสดง
แก่เธอ เมื่อเธอรู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมี
ปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบ
ย่อมได้รับสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น นี้เป็นวิมุตตายตนะประการที่ ๑
๒. พระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีบางรูปผู้ตั้งอยู่ในฐานะครู ไม่ได้แสดง
ธรรมแก่ภิกษุ แต่ภิกษุแสดงธรรมตามที่ตนได้สดับมาตามที่ตนได้
เรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร ฯลฯ
๓. พระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีบางรูปผู้ตั้งอยู่ในฐานะครู ไม่ได้แสดง
ธรรมแก่ภิกษุ แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมตามที่ตนได้สดับมาตาม
ที่ตนได้เรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร แต่ภิกษุสาธยายธรรมตามที่ตน
ได้สดับมาตามที่ตนได้เรียนมาโดยพิสดาร ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๒๖/๓๓-๓๕
๒ ธรรม ในที่นี้หมายถึงอริยสัจ ๔ (ที.ปา.ฏีกา ๓๒๒/๓๑๖, องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๖/๘)
๓ รู้แจ้งอรรถ ในที่นี้หมายถึงรู้ความหมายแห่งบาลีนั้นว่า ศีลมาในที่นี้ สมาธิมาในที่นี้ ปัญญามาในที่นี้
(ที.ปา.ฏีกา ๓๒๒/๓๑๖, องฺ.ติก.อ. ๒/๔๓/๑๕๒-๑๕๓, องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๖/๘)
๔ รู้แจ้งธรรม ในที่นี้หมายถึงรู้บาลีคือพระพุทธพจน์ เช่น ทรงจำบาลีที่ให้รู้ความหมายได้อย่างถูกต้อง
(ที.ปา.ฏีกา ๓๒๒/๓๑๖, องฺ.ติก.อ. ๓/๔๓/๑๕๒-๑๕๓, องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๖/๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๕

๔. พระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีบางรูปผู้ตั้งอยู่ในฐานะครู ไม่ได้แสดงธรรม
แก่ภิกษุ แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมตามที่ตนได้สดับมาตามที่ตนได้
เรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร ไม่ได้สาธยายธรรมตามที่ตนได้สดับมา
ตามที่ตนได้เรียนมาโดยพิสดาร แต่ภิกษุตรึกตามตรองตามเพ่งตาม
ด้วยใจซึ่งธรรมตามที่ตนได้สดับมาตามที่ตนได้เรียนมา ฯลฯ
๕. พระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีบางรูปผู้ตั้งอยู่ในฐานะครูไม่ได้แสดง
ธรรมแก่ภิกษุ แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมตามที่ตนได้สดับมาตามที่
ตนได้เรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร ไม่ได้สาธยายธรรมตามที่ตนได้
สดับมาตามที่ตนได้เรียนมาโดยพิสดาร และไม่ได้ตรึกตามตรองตาม
เพ่งตามด้วยใจซึ่งธรรมตามที่ตนได้สดับมาตามที่ตนได้เรียนมา แต่
เธอเรียนสมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งมาดี มนสิการดี ทรงจำไว้ดี
แทงตลอดดีด้วยปัญญา เธอรู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรม ในธรรมนั้น
ตามที่เธอได้เรียนสมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งมาดี มนสิการดี
ทรงจำไว้ดี แทงตลอดดีด้วยปัญญา เมื่อเธอรู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรม
ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมีปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจเกิดปีติ
กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบ ย่อมได้รับสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น
นี้เป็นวิมุตตายตนะประการที่ ๕

๒๖
สัญญาที่ควรเจริญเพื่อวิมุตติ๑ ๕
๑. อนิจจสัญญา (กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร)
๒. อนิจเจ ทุกขสัญญา (กำหนดหมายความเป็นทุกข์ในความไม่เที่ยงแห่ง
สังขาร)
๓. ทุกเข อนัตตสัญญา (กำหนดหมายความเป็นอนัตตาในความเป็นทุกข์)
๔. ปหานสัญญา (กำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตกและบาปธรรมทั้งหลาย)
๕. วิราคสัญญา (กำหนดหมายวิราคะเป็นธรรมละเอียดประณีต)

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๖๑/๑๑๐, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๕๖/๑๒๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๖

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย นี้แล คือธรรมหมวดละ ๕ ประการ ที่พระผู้มีพระภาค
ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว
พวกเราทั้งหมดนี้แหละพึงสังคายนา ไม่พึงวิวาทกันในธรรมนั้น เพื่อให้พรหมจรรย์นี้
ตั้งอยู่ได้นาน ดำรงอยู่ได้นาน ข้อนั้นพึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุข
แก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย

สังคีติหมวด ๕ จบ

สังคีติหมวด ๖

[๓๒๓] ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมหมวดละ ๖ ประการ ที่พระผู้มีพระภาค
ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว
มีอยู่ พวกเราทั้งหมดนี้แหละพึงสังคายนา ไม่พึงวิวาทกันในธรรมนั้น เพื่อให้พรหมจรรย์นี้
ตั้งอยู่ได้นาน ดำรงอยู่ได้นาน ข้อนั้นพึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุข
แก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย
ธรรมหมวดละ ๖ ประการ คืออะไร
คือ


อายตนะภายใน๑ ๖
๑. จักขวายตนะ (อายตนะคือตา)
๒. โสตายตนะ (อายตนะคือหู)
๓. ฆานายตนะ (อายตนะคือจมูก)

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ สํ.นิ. (แปล) ๑๖/๒/๖, สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๑/๑-๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๖

๔. ชิวหายตนะ (อายตนะคือลิ้น)
๕. กายายตนะ (อายตนะคือกาย)
๖. มนายตนะ (อายตนะคือใจ)


อายตนะภายนอก๑ ๖

๑. รูปายตนะ (อายตนะคือรูป)
๒. สัททายตนะ (อายตนะคือเสียง)
๓. คันธายตนะ (อายตนะคือกลิ่น)
๔. รสายตนะ (อายตนะคือรส)
๕. โผฏฐัพพายตนะ (อายตนะคือโผฏฐัพพะ)
๖. ธัมมายตนะ (อายตนะคือธรรมารมณ์)


หมวดวิญญาณ๒ ๖

๑. จักขุวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางตา)
๒. โสตวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางหู)
๓. ฆานวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางจมูก)
๔. ชิวหาวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางลิ้น)
๕. กายวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางกาย)
๖. มโนวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางใจ)

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๔-๖/๔-๕
๒ ดูเทียบ สํ.นิ. (แปล) ๑๖/๒/๗, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๑๒๑/๘๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๖


หมวดผัสสะ๑ ๖

๑. จักขุสัมผัส (ความกระทบทางตา)
๒. โสตสัมผัส (ความกระทบทางหู)
๓. ฆานสัมผัส (ความกระทบทางจมูก)
๔. ชิวหาสัมผัส (ความกระทบทางลิ้น)
๕. กายสัมผัส (ความกระทบทางกาย)
๖. มโนสัมผัส (ความกระทบทางใจ)


หมวดเวทนา๒ ๖

๑. จักขุสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากจักขุสัมผัส)
๒. โสตสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากโสตสัมผัส)
๓. ฆานสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากฆานสัมผัส)
๔. ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากชิวหาสัมผัส)
๕. กายสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากกายสัมผัส)
๖. มโนสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากมโนสัมผัส)


หมวดสัญญา๓ ๖
๑. รูปสัญญา (กำหนดหมายรู้รูป)
๒. สัททสัญญา (กำหนดหมายรู้เสียง)

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ สํ.นิ. (แปล) ๑๖/๒/๖
๒ ดูเทียบ สํ.นิ. (แปล) ๑๖/๒/๗
๓ ดูเทียบ สํ.นิ. (แปล) ๑๖/๑๙๓/๒๙๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๖

๓. คันธสัญญา (กำหนดหมายรู้กลิ่น)
๔. รสสัญญา (กำหนดหมายรู้รส)
๕. โผฏฐัพพสัญญา (กำหนดหมายรู้โผฏฐัพพะ)
๖. ธัมมสัญญา (กำหนดหมายรู้ธรรมารมณ์)


หมวดสัญเจตนา๑ ๖

๑. รูปสัญเจตนา (ความจำนงรูป)
๒. สัททสัญเจตนา (ความจำนงเสียง)
๓. คันธสัญเจตนา (ความจำนงกลิ่น)
๔. รสสัญเจตนา (ความจำนงรส)
๕. โผฏฐัพพสัญเจตนา (ความจำนงโผฏฐัพพะ)
๖. ธัมมสัญเจตนา (ความจำนงธรรมารมณ์)


หมวดตัณหา๒ ๖

๑. รูปตัณหา (ความทะยานอยากได้รูป)
๒. สัททตัณหา (ความทะยานอยากได้เสียง)
๓. คันธตัณหา (ความทะยานอยากได้กลิ่น)
๔. รสตัณหา (ความทะยานอยากได้รส)
๕. โผฏฐัพพตัณหา (ความทะยานอยากได้โผฏฐัพพะ)
๖. ธัมมตัณหา (ความทะยานอยากได้ธรรมารมณ์)

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ สํ.ข. (แปล) ๑๗/๕๖/๘๔
๒ ดูเทียบ สํ.นิ. (แปล) ๑๖/๑๔๔/๒๙๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๖


[๓๒๔] อคารวะ๑(ความไม่เคารพ) ๖
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระศาสดา
๒. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระธรรม
๓. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระสงฆ์
๔. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในสิกขา
๕. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในความไม่ประมาท
๖. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในปฏิสันถาร

๑๐
คารวะ๒(ความเคารพ) ๖
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในพระศาสดา
๒. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในพระธรรม
๓. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในพระสงฆ์
๔. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในสิกขา
๕. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในความไม่ประมาท
๖. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในปฏิสันถาร

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๔๐/๔๙๒
๒ ดูเทียบ องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๔๐/๔๙๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๖

๑๑
โสมนัสสูปวิจาร (การใคร่ครวญอารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส) ๖
๑. เห็นรูปทางตาแล้ว ใคร่ครวญรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส
๒. ฟังเสียงทางหูแล้ว ใคร่ครวญเสียงอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส
๓. ดมกลิ่นทางจมูกแล้ว ใคร่ครวญกลิ่นอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส
๔. ลิ้มรสทางลิ้นแล้ว ใคร่ครวญรสอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส
๕. ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายแล้ว ใคร่ครวญโผฏฐัพพะอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส
๖. รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ใคร่ครวญธรรมารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส

๑๒
โทมนัสสูปวิจาร (การใคร่ครวญอารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส) ๖
๑. เห็นรูปทางตาแล้ว ใคร่ครวญรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส
๒. ฟังเสียงทางหูแล้ว ใคร่ครวญเสียงอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส
๓. ดมกลิ่นทางจมูกแล้ว ใคร่ครวญกลิ่นอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส
๔. ลิ้มรสทางลิ้นแล้ว ใคร่ครวญรสอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส
๕. ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายแล้ว ใคร่ครวญโผฏฐัพพะอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส
๖. รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ใคร่ครวญธรรมารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส

๑๓
อุเปกขูปวิจาร (การใคร่ครวญอารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา) ๖
๑. เห็นรูปทางตาแล้ว ใคร่ครวญรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
๒. ฟังเสียงทางหูแล้ว ใคร่ครวญเสียงอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
๓. ดมกลิ่นทางจมูกแล้ว ใคร่ครวญกลิ่นอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๖

๔. ลิ้มรสทางลิ้นแล้ว ใคร่ครวญรสอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
๕. ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายแล้ว ใคร่ครวญโผฏฐัพพะอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
๖. รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ใคร่ครวญธรรมารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา

๑๔
สารณียธรรม๑ (ธรรมเป็นเหตุให้ระลึกถึง) ๖
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. ตั้งมั่นเมตตากายกรรม๒ ในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้า
และลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสารณียธรรมที่ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่
เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อ
ความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๒. ตั้งมั่นเมตตาวจีกรรม ในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและ
ลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสารณียธรรมที่ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ
เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความ
สามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๓. ตั้งมั่นเมตตามโนกรรม ในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและ
ลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสารณียธรรมที่ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ
เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความ
สามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๔. บริโภคโดยไม่แบ่งแยก๓ลาภทั้งหลายอันประกอบด้วยธรรม ได้มา
โดยธรรม โดยที่สุดแม้เพียงบิณฑบาต (อาหารในบาตร) บริโภคกับ
เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายผู้มีศีล แม้นี้ก็เป็นสารณียธรรมที่ทำให้เป็นที่รัก

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๑๒/๔๒๗
๒ เมตตากายกรรม ในที่นี้หมายถึงกายกรรมที่พึงทำด้วยจิตประกอบด้วยเมตตา เมตตาวจีกรรมและ
เมตตามโนกรรม ก็มีอรรถาธิบายเช่นเดียวกันนี้ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๑/๙๗)
๓ ไม่แบ่งแยก หมายถึงไม่แบ่งแยกบุคคลโดยคิดว่า “จะให้แก่คนนั้น ไม่ให้แก่คนนี้” (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๑/๙๙,
องฺ.ฉกฺก. ฏีกา ๓/๑๑/๑๑๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๖

ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่
วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๕. มีศีลไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท ท่านผู้รู้สรรเสริญ ที่ไม่
ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ เป็นไปเพื่อสมาธิ เสมอกันกับเพื่อน
พรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสารณียธรรม
ที่ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน
เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๖. มีอริยทิฏฐิ๑อันเป็นธรรมเครื่องนำออก๒เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ
แก่ผู้ทำตาม เสมอกันกับเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและ
ลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสารณียธรรมที่ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ
เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความ
สามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน

๑๕
[๓๒๕] วิวาทมูล๓ (มูลเหตุแห่งวิวาท) ๖
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธไว้ ภิกษุใดเป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธไว้ ภิกษุ
นั้นอยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระศาสดา อยู่
อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระธรรม อยู่อย่างไม่มี
ความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระสงฆ์ และไม่ทำสิกขาให้
บริบูรณ์ ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่อย่างไม่มีความเคารพ

เชิงอรรถ :
๑ อริยทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึงสัมมาทิฏฐิในอริยมรรค (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๑/๑๐๓)
๒ อันเป็นธรรมเครื่องนำออก ในที่นี้หมายถึงมรรค ๔ (โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค
และอรหัตตมรรค) ที่ตัดมูลเหตุแห่งวัฏฏะ ทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้วออกจากวัฏฏะได้ (อภิ.สงฺ. (แปล)
๓๔/๑๒๙๕/๓๒๗, อภิ.สงฺ.อ. ๘๓-๑๐๐/๙๘)
๓ ดูเทียบ องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๓๖/๔๘๔-๔๘๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๖

ไม่มีความยำเกรงในพระศาสดา อยู่อย่างไม่มีความเคารพ อยู่อย่างไม่มี
ความยำเกรงในพระธรรม อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำ
เกรงในพระสงฆ์ และไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์ ย่อมก่อวิวาทให้เกิดขึ้น
ในสงฆ์ ซึ่งเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คน
หมู่มาก เพื่อไม่ใช่ประโยชน์ เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายพิจารณา
เห็นมูลเหตุแห่งวิวาทเช่นนี้ภายในหรือภายนอก ท่านทั้งหลายพึง
พยายามเพื่อละมูลเหตุแห่งวิวาทที่เป็นบาปภายในหรือภายนอกนั้นแล
ถ้าท่านทั้งหลายไม่พิจารณาเห็นมูลเหตุแห่งวิวาทเช่นนี้ภายในหรือ
ภายนอก ท่านทั้งหลายพึงปฏิบัติเพื่อให้มูลเหตุแห่งวิวาทที่เป็นบาป
นั้นแลไม่ยืดเยื้อต่อไป การละมูลเหตุแห่งวิวาทที่เป็นบาปนั้นย่อมมีได้
และมูลเหตุแห่งวิวาทที่เป็นบาปนั้น ย่อมไม่ยืดเยื้อต่อไป
๒. เป็นผู้ลบหลู่ ตีเสมอ ฯลฯ
๓. เป็นผู้ริษยา มีความตระหนี่ ฯลฯ
๔. เป็นผู้โอ้อวด มีมายา ฯลฯ
๕. เป็นผู้มีความปรารถนาชั่ว เป็นมิจฉาทิฏฐิ๑ ฯลฯ
๖. เป็นผู้ยึดมั่นทิฏฐิของตน มีความถือรั้น สละสิ่งที่ตนยึดมั่นได้ยาก
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุใดเป็นผู้ยึดมั่นทิฏฐิของตน มีความ
ถือรั้น สละสิ่งที่ตนยึดมั่นได้ยาก ภิกษุนั้นอยู่อย่างไม่มีความเคารพ
ไม่มีความยำเกรงในพระศาสดา อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มี
ความยำเกรงในพระธรรม อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง

เชิงอรรถ :
๑ เป็นมิจฉาทิฏฐิ หมายถึงเป็นมิจฉาทิฏฐิบุคคลพวกที่ถือนัตถิกวาทะ (ลัทธิที่ถือว่า ทานที่บุคคลให้แล้ว
ไม่มีผล) อเหตุกวาทะ (ลัทธิที่ถือว่าไม่มีเหตุปัจจัยเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย) และอกิริยวาทะ
(ลัทธิที่ถือว่า การกระทำทุกอย่างไม่มีผล ทำดีก็ไม่ได้ดี ทำชั่วก็ไม่ได้ชั่ว เป็นความเห็นที่ปฏิเสธกฎแห่งกรรม)
(องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๓๖/๑๑๗) และดูเทียบ ที.สี. (แปล) ๙/๑๖๕/๕๓, ๑๖๗/๕๔,๑๗๓/๕๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๖

ในพระสงฆ์และไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์ ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุ
ผู้อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระศาสดา อยู่
อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระธรรม อยู่อย่างไม่มี
ความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระสงฆ์ และไม่ทำสิกขาให้
บริบูรณ์ ย่อมก่อการวิวาทให้เกิดขึ้นในสงฆ์ ซึ่งเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล
แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่ประโยชน์ เพื่อไม่
เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
ถ้าท่านทั้งหลายพิจารณาเห็นมูลเหตุแห่งวิวาทเช่นนี้ภายในหรือ
ภายนอก ท่านทั้งหลายพึงพยายามเพื่อละมูลเหตุแห่งวิวาทที่เป็นบาป
ภายในหรือภายนอกนั้นแล ถ้าท่านทั้งหลายไม่พิจารณาเห็นมูลเหตุ
แห่งวิวาทเช่นนี้ภายในหรือภายนอก ท่านทั้งหลายพึงปฏิบัติเพื่อให้
มูลเหตุแห่งวิวาทที่เป็นบาปนั้นแลไม่ยืดเยื้อต่อไป การละมูลเหตุแห่ง
วิวาทที่เป็นบาปนั้นย่อมมีได้ และมูลเหตุแห่งวิวาทที่เป็นบาปนั้น ย่อม
ไม่ยืดเยื้อต่อไป

๑๖
ธาตุ๑ ๖

๑. ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน)
๒. อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ)
๓. เตโชธาตุ (ธาตุไฟ)
๔. วาโยธาตุ (ธาตุลม)
๕. อากาสธาตุ (ธาตุคือที่ว่าง)
๖. วิญญาณธาตุ (ธาตุคือความรู้อารมณ์)

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๑๗๒/๑๓๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๖

๑๗
[๓๒๖] ธาตุที่สลัด๑ ๖
๑. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าได้เจริญเมตตาเจโต-
วิมุตติ๒แล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว
ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่พยาบาท(ความคิดร้าย)
ก็ยังครอบงำจิตของข้าพเจ้าอยู่’ ภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวตักเตือนเธอ
ว่า ‘อย่าได้กล่าวอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ อย่าได้กล่าวอย่างนี้ ผู้มีอายุ
อย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค เพราะการกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดี
เลย พระผู้มีพระภาคไม่ตรัสอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ เป็นไปไม่ได้เลย
ที่ภิกษุได้เจริญเมตตาเจโตวิมุตติแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจ
ยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว
แต่พยาบาทก็ยังครอบงำจิตของภิกษุนั้นอยู่’ ข้อนั้นเป็นไปไม่ได้เลย
เพราะเมตตาเจโตวิมุตตินี้เป็นธาตุที่สลัดพยาบาท
๒. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าได้เจริญกรุณา-
เจโตวิมุตติแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว
ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่วิหิงสา(ความเบียดเบียน)
ก็ยังครอบงำจิตของข้าพเจ้าอยู่’ ภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวตักเตือนเธอ
ว่า ‘อย่าได้กล่าวอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ อย่าได้กล่าวอย่างนี้ ผู้มีอายุ
อย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค เพราะการกล่าวตู่พระผู้มีพระภาค

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๑๓/๔๒๙-๔๓๑
๒ เมตตาเจโตวิมุตติในที่นี้หมายถึงเมตตาที่เกิดจากตติยฌานและจตุตถฌาน เพราะพ้นจากปัจจนีกธรรม
(ธรรมที่เป็นข้าศึก) กล่าวคือนิวรณ์ ๕ ประการ ได้แก่ กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ
วิจิกิจฉา (ที.ปา.อ. ๓๒๖/๒๓๔, องฺ.เอกก.อ. ๑/๗/๔๒, องฺ. ฉกฺก. อ. ๓/๑๓/๑๐๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๖

ไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาคไม่ตรัสอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ เป็นไปไม่ได้เลย
ที่ภิกษุได้เจริญกรุณาเจโตวิมุตติแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจ
ยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว
แต่วิหิงสาก็ยังครอบงำจิตของภิกษุนั้นอยู่’ ข้อนั้นเป็นไปไม่ได้เลย
เพราะกรุณาเจโตวิมุตตินี้เป็นธาตุที่สลัดวิหิงสา
๓. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าได้เจริญมุทิตา-
เจโตวิมุตติแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว
ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่อรติ(ความไม่ยินดี) ก็ยัง
ครอบงำจิตของข้าพเจ้าอยู่’ ภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวตักเตือนเธอว่า
‘อย่าได้กล่าวอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ อย่าได้กล่าวอย่างนี้ ผู้มีอายุ อย่าได้
กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค เพราะการกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย
พระผู้มีพระภาคไม่ตรัสอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุ
ได้เจริญมุทิตาเจโตวิมุตติแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว
ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่อรติ
ก็ยังครอบงำจิตของภิกษุนั้นอยู่’ ข้อนั้นเป็นไปไม่ได้เลย เพราะมุทิตา-
เจโตวิมุตตินี้เป็นธาตุที่สลัดอรติ
๔. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าได้เจริญอุเบกขา-
เจโตวิมุตติแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว
ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่ราคะก็ยังครอบงำจิตของ
ข้าพเจ้าอยู่’ ภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวตักเตือนเธอว่า ‘อย่าได้กล่าว
อย่างนี้เลย ผู้มีอายุ อย่าได้กล่าวอย่างนี้ ผู้มีอายุ อย่าได้กล่าวตู่
พระผู้มีพระภาค เพราะการกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย พระผู้มี
พระภาคไม่ตรัสอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุได้เจริญ
อุเบกขาเจโตวิมุตติแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้
เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่ราคะก็ยัง
ครอบงำจิตของภิกษุนั้นอยู่’ ข้อนั้นเป็นไปไม่ได้เลย เพราะอุเบกขา-
เจโตวิมุตตินี้เป็นธาตุที่สลัดราคะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๖

๕. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าได้เจริญอนิมิตตา-
เจโตวิมุตติ๑แล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่
ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่วิญญาณของ
ข้าพเจ้าก็ยังแส่หานิมิตอยู่’ ภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวตักเตือนเธอว่า
‘อย่าได้กล่าวอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ อย่าได้กล่าวอย่างนี้ ผู้มีอายุ
อย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค เพราะการกล่าวตู่พระผู้มีพระภาค
ไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาคไม่ตรัสอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ เป็นไปไม่ได้เลย
ที่ภิกษุได้เจริญอนิมิตตาเจโตวิมุตติแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็น
ดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว
แต่วิญญาณ ของภิกษุนั้นก็ยังแส่หานิมิตอยู่’ ข้อนั้นเป็นไปไม่ได้เลย
เพราะอนิมิตตาเจโตวิมุตตินี้เป็นธาตุที่สลัดนิมิตทั้งปวง
๖. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าปราศจาก
อัสมิมานะ และไม่พิจารณาเห็นว่า ‘เราเป็นนี้’ แต่ลูกศรคือความ
เคลือบแคลงสงสัยก็ยังครอบงำจิตของข้าพเจ้าอยู่’ ภิกษุทั้งหลาย
พึงกล่าวตักเตือนเธอว่า ‘อย่าได้กล่าวอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ อย่าได้
กล่าวอย่างนี้ ผู้มีอายุ อย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค เพราะการ
กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาคไม่ตรัสอย่างนี้เลย ผู้มี
อายุ เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุปราศจากอัสมิมานะแล้ว และไม่พิจารณา

เชิงอรรถ :
๑ อนิมิตตาเจโตวิมุตติ หมายถึงพลววิปัสสนา(วิปัสสนาที่มีพลัง) คือ อรหัตตผลสมาบัติ ที่ชื่อว่า อนิมิต
(ไม่มีเครื่องหมาย) เพราะไม่มีราคนิมิต (นิมิตคือราคะ) ไม่มีโทสนิมิต (นิมิตคือโทสะ) ไม่มีโมหนิมิต (นิมิต
คือโมหะ) ไม่มีรูปนิมิต (นิมิตคือรูป) ไม่มีนิจจนิมิต (นิมิตคือความเที่ยง) เป็นต้น (ที.ปา.อ. ๓๒๖/๒๓๔,
องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๓/๑๐๔)
อีกอย่างหนึ่ง อนิมิตตาเจโตวิมุตติ เป็นชื่อของญาณ ๔ คือ (๑) ภยตุปัฏฐานญาณ (ญาณในการเห็น
สังขารปรากฏโดยความเป็นภัย) (๒) อาทีนวานุปัสสนาญาณ (ญาณในการพิจารณาอารมณ์แล้วพิจารณาเห็น
โทษ) (๓) มุญจิตุกัมมยตาญาณ (ญาณหยั่งรู้อันทำให้ต้องการจะพ้น) (๔) ภังคญาณ (ญาณที่พิจารณาเห็น
ความดับ) (องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๑๓/๑๑๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๖

เห็นว่า ‘เราเป็นนี้’ แต่ลูกศรคือความเคลือบแคลงสงสัยก็ยัง
ครอบงำจิตของภิกษุนั้นอยู่’ ข้อนั้นเป็นไปไม่ได้เลย เพราะสภาวะที่
ถอนอัสมิมานะ๑ นี้เป็นธาตุที่สลัดลูกศรคือความเคลือบแคลงสงสัย

๑๘
[๓๒๗] อนุตตริยะ๒ ๖

๑. ทัสสนานุตตริยะ (การเห็นอันยอดเยี่ยม)
๒. สวนานุตตริยะ (การฟังอันยอดเยี่ยม)
๓. ลาภานุตตริยะ (การได้อันยอดเยี่ยม)
๔. สิกขานุตตริยะ (การศึกษาอันยอดเยี่ยม)
๕. ปาริจริยานุตตริยะ (การบำรุงอันยอดเยี่ยม)
๖. อนุสสตานุตตริยะ (การระลึกอันยอดเยี่ยม)

๑๙
อนุสสติฏฐาน๓ ๖

๑. พุทธานุสสติ (การระลึกถึงพระพุทธเจ้า)
๒. ธัมมานุสสติ (การระลึกถึงพระธรรม)
๓. สังฆานุสสติ (การระลึกถึงพระสงฆ์)
๔. สีลานุสสติ (การระลึกถึงศีล)
๕. จาคานุสสติ (การระลึกถึงการบริจาค)
๖. เทวตานุสสติ (การระลึกถึงเทวดา)

เชิงอรรถ :
๑ สภาวะที่ถอนอัสมิมานะ ในที่นี้หมายถึงอรหัตตมรรค ที่เรียกว่าสภาวะที่ถอนอัสมิมานะ เพราะเมื่อเห็นนิพพาน
ด้วยอำนาจผลที่เกิดจากอรหัตตมรรค อัสมิมานะจึงไม่มี (ที.ปา.อ. ๓๒๖/๒๓๕, องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๓/๑๐๕)
๒ ดูเทียบ องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๘/๔๑๙-๔๒๐
๓ อนุสสติฏฐาน แปลว่า “ฐานคืออนุสสติ” หมายถึงเหตุคืออนุสสติ ได้แก่ ฌาน ๓(ที.ปา.อ. ๓๒๗/๒๓๕,
องฺ. ฉกฺก.อ. ๓/๒๕/๑๑๐,๒๙/๑๑๒)
อนุสสติ ที่เรียกว่า “ฐาน” เพราะเป็นเหตุให้ได้รับประโยชน์เกื้อกูลและความสุขทั้งในภพนี้และภพหน้า
เช่น พุทธานุสสติ ย่อมเป็นเหตุให้บรรลุคุณวิเศษ เพราะเมื่อบุคคลระลึกถึงพุทธคุณอยู่ ปีติ (ความอิ่มใจ)
ย่อมเกิด จากนั้น จึงพิจารณาปีติให้เห็นความสิ้นไปเสื่อมไปจนได้บรรลุอรหัตตผล
อนุสสติฏฐาน นี้จัดเป็นอุปจารกัมมัฏฐาน แม้คฤหัสถ์ก็สามารถบำเพ็ญได้ (ขุ.อป.อ.๑/๒๕/๑๓๗,
องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๙/๑๐๘) และดูเทียบ องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๙/๔๒๐-๔๒๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๖

๒๐
[๓๒๘] สตตวิหารธรรม๑ (ธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นนิตย์ของพระขีณาสพ) ๖
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. เห็นรูปทางตาแล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่
๒. ฟังเสียงทางหูแล้ว ...
๓. ดมกลิ่นทางจมูกแล้ว ...
๔. ลิ้มรสทางลิ้นแล้ว ...
๕. ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายแล้ว ...
๖. รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา
มีสติสัมปชัญญะอยู่

๒๑
[๓๒๙] อภิชาติ๒ ๖
๑. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นกัณหาภิชาติ (เกิดในตระกูลต่ำ) ประพฤติ
ธรรมดำ
๒. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นกัณหาภิชาติ ประพฤติธรรมขาว
๓. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นกัณหาภิชาติ บรรลุนิพพานที่ไม่ดำ ไม่ขาว
๔. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นสุกกาภิชาติ (เกิดในตระกูลสูง) ประพฤติธรรมดำ
๕. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นสุกกาภิชาติ ประพฤติธรรมขาว
๖. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นสุกกาภิชาติ บรรลุนิพพานที่ไม่ดำ ไม่ขาว

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบข้อ ๓๕๖ หน้า ๓๙๔ ในเล่มนี้
๒ อภิชาติ ในที่นี้หมายถึงการกำหนดหมายชนเป็นชั้น เป็นกลุ่ม เช่น หมู่คนที่ประพฤติอย่างนี้ ๆ กำหนด
เรียกอย่างนี้ ๆ (ที.สี.อ. ๑๖๘/๑๔๗) หรือหมายถึงชาติกำเนิด (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๕๗/๑๓๙, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา
๓/๕๗/๑๕๐) และดู ที.สี. (แปล) ๙/๑๖๘/๕๕, องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๕๗/๕๔๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๗

๒๒
นิพเพธภาคิยสัญญา๑ (กำหนดหมายในญาณอันเป็นส่วนชำแรกกิเลส) ๖
๑. อนิจจสัญญา (กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร)
๒. อนิจเจ ทุกขสัญญา (กำหนดหมายความเป็นทุกข์ในความไม่เที่ยงแห่ง
สังขาร)
๓. ทุกเข อนัตตสัญญา (กำหนดหมายความเป็นอนัตตาในความเป็นทุกข์)
๔. ปหานสัญญา (กำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตกและบาปธรรมทั้งหลาย)
๕. วิราคสัญญา (กำหนดหมายวิราคะว่าเป็นธรรมละเอียดประณีต)
๖. นิโรธสัญญา (กำหนดหมายนิโรธว่าเป็นธรรมละเอียดประณีต)
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย นี้แล คือธรรมหมวดละ ๖ ประการ ที่พระผู้มีพระภาค
ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว
พวกเราทั้งหมดนี้แหละพึงสังคายนา ไม่พึงวิวาทกันในธรรมนั้น ฯลฯ เพื่อประโยชน์
เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

สังคีติหมวด ๖ จบ

สังคีติหมวด ๗

[๓๓๐] ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมหมวดละ ๗ ประการ ที่พระผู้มีพระภาค
ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว
มีอยู่ พวกเราทั้งหมดนี้แหละพึงสังคายนา ไม่พึงวิวาทกันในธรรมนั้น ฯลฯ เพื่อ
ประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๕๖/๑๒๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๗

ธรรมหมวดละ ๗ ประการ คืออะไร
คือ


อริยทรัพย์๑ ๗

๑. สัทธาธนะ (ทรัพย์คือศรัทธา)
๒. สีลธนะ (ทรัพย์คือศีล)
๓. หิริธนะ (ทรัพย์คือหิริ)
๔. โอตตัปปธนะ (ทรัพย์คือโอตตัปปะ)
๕. สุตธนะ (ทรัพย์คือสุตะ)
๖. จาคธนะ (ทรัพย์คือจาคะ)
๗. ปัญญาธนะ (ทรัพย์คือปัญญา)


โพชฌงค์๒ ๗

๑. สติสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความระลึกได้)
๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือการเฟ้นธรรม)
๓. วิริยสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความเพียร)
๔. ปีติสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความอิ่มใจ)
๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความสงบกายสงบใจ)
๖. สมาธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความตั้งจิตมั่น)
๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความวางใจเป็นกลาง)

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๕/๘
๒ ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๐๒/๒๔๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๗


ธรรมที่เป็นบริขารแห่งสมาธิ๑ ๗

๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ)
๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ)
๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ)
๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ)
๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ)
๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ)


อสัทธรรม๒ ๗
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

๑. เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๒. เป็นผู้ไม่มีหิริ
๓. เป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ ๔. เป็นผู้มีสุตะน้อย
๕. เป็นผู้เกียจคร้าน ๖. เป็นผู้มีสติหลงลืม
๗. เป็นผู้มีปัญญาทราม


สัทธรรม๓ ๗
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีศรัทธา ๒. เป็นผู้มีหิริ
๓. เป็นผู้มีโอตตัปปะ ๔. เป็นพหูสูต

เชิงอรรถ :
๑ บริขารแห่งสมาธิ หมายถึงองค์ประกอบแห่งมรรคสมาธิ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๔๔-๔๕/๑๘๓) และดูเทียบ
องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๔๕/๖๘-๖๙
๒ ดูเทียบ องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๙๓/๑๘๓
๓ ดูเทียบ องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๙๔/๑๘๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๗

๕. เป็นผู้ปรารภความเพียร ๖. เป็นผู้มีสติมั่นคง
๗. เป็นผู้มีปัญญา


สัปปุริสธรรม๑ ๗
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

๑. เป็นธัมมัญญ (ผู้รู้จักเหตุ)
๒. เป็นอัตถัญญ (ผู้รู้จักผล)
๓. เป็นอัตตัญญ (ผู้รู้จักตน)
๔. เป็นมัตตัญญ (ผู้รู้จักประมาณ)
๕. เป็นกาลัญญ (ผู้รู้จักกาลเวลา)
๖. เป็นปริสัญญ (ผู้รู้จักชุมชน)
๗. เป็นปุคคลัญญ (ผู้รู้จักบุคคล)


[๓๓๑] นิททสวัตถุ๒(เหตุให้ได้ชื่อว่าผู้มีอายุไม่ถึง ๑๐ ปี) ๗
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการสมาทานสิกขา๓ และไม่ปราศจาก
ความรักในการสมาทานสิกขาต่อไป๔

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.สตฺตก.(แปล) ๒๓/๖๘/๑๔๓
๒ นิททสวัตถุ แปลว่า ธรรมที่เป็นเหตุให้ชื่อว่า “นิททสะ” ซึ่งแปลว่า มีอายุไม่ถึง ๑๐ ปี คำนี้เป็นคำที่พวก
เดียรถีย์ใช้เรียกนิครนถ์ผู้ประพฤติพรหมจรรย์กำหนด ๑๒ ปี ถ้าตายลงเมื่อถึง ๑๐ ปี เรียกผู้นั้นว่า
“นิททส” คือเมื่อมาเกิดอีก จะมีอายุไม่ถึง ๑๐ ปี และอาจไม่ถึง ๙ ปี - ๑ ปี แต่พระผู้มีพระภาคทรงใช้คำนี้
หมายถึงพระขีณาสพในความหมายว่า “ไม่มีการเกิดอีก” ไม่ว่าจะเกิดมาเพียงวันเดียวหรือครู่เดียวโดย
มีเงื่อนไขว่า ผู้นั้นต้องเพียบพร้อมด้วยธรรม ๗ ประการ ส่วนเวลาประพฤติพรหมจรรย์มากน้อยไม่สำคัญ
(ที.ปา.อ. ๓๓๑/๒๓๘, องฺ.สตฺตก.อ. ๓๒๐/๑๖๔-๑๖๕)
๓ สมาทานสิกขา ในที่นี้หมายถึงการบำเพ็ญไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญาให้บริบูรณ์และถูกต้อง (องฺ.
สตฺตก.อ. ๓/๒๐/๑๖๕, องฺ.สตฺตก.ฏีกา ๓/๒๐/๑๙๒)
๔ ไม่ปราศจากความรักในการสมาทานสิกขาต่อไป ในที่นี้หมายถึงกาลเวลาแห่งการบำเพ็ญที่เนื่องกัน
ไม่ขาดระยะ มิได้หมายถึงภพในอนาคต (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๒๐/๑๖๕, องฺ.สตฺตก.ฏีกา ๓/๒๐/๑๙๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๗

๒. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการใคร่ครวญธรรม๑ และไม่ปราศจาก
ความรักในการใคร่ครวญธรรมต่อไป
๓. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการกำจัดความอยาก๒ และไม่ปราศจาก
ความรักในการกำจัดความอยากต่อไป
๔. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการหลีกเร้น และไม่ปราศจากความรักใน
การหลีกเร้นต่อไป
๕. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการปรารภความเพียร และไม่ปราศจาก
ความรักในการปรารภความเพียรต่อไป
๖. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน๓ และไม่ปราศจาก
ความรักในสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตนต่อไป
๗. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการแทงตลอดด้วยทิฏฐิ๔ และไม่ปราศจาก
ความรักในการแทงตลอดด้วยทิฏฐิต่อไป


สัญญา๕ ๗
๑. อนิจจสัญญา (กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร)
๒. อนัตตสัญญา (กำหนดหมายความเป็นอนัตตาแห่งธรรมทั้งปวง)

เชิงอรรถ :
๑ การใคร่ครวญธรรม แปลจากบาลีว่า “ธมฺมนิสนฺติ” หมายถึงการเพ่งพินิจพิจารณาเห็นธรรมโดยเป็น
สภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา คำว่า “ธมฺมนิสนฺติ” เป็นชื่อของวิปัสสนา (ที.ปา.อ. ๓๓๑/๒๓๙,
องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๒๐/๑๖๕, องฺ.สตฺตก.ฏีกา ๓/๒๐/๑๙๒)
๒ การกำจัดความอยาก หมายถึงการกำจัดหรือข่มตัณหาได้ด้วยอำนาจภังคานุปัสสนาญาณ (ญาณที่
พิจารณาเห็นความดับ) (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐/๑๖๕, องฺ.สตฺตก.ฏีกา ๓/๒๐/๑๙๒) หรือด้วยอำนาจวิปัสสนา-
ญาณมีวิราคานุปัสสนา เป็นต้น (ที.ปา.ฏีกา ๓๓๑/๓๒๖)
๓ สติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน ในที่นี้หมายถึงสติและเนปักกปัญญา กล่าวคือสติและสัมปชัญญะ
(องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๒๐/๑๖๕, องฺ.สตฺตก.ฏีกา ๓/๒๐/๑๙๓)
๔ การแทงตลอดด้วยทิฏฐิ แปลจากบาลีว่า “ทิฏฐิปฏิเวธ” หมายถึงมัคคทัสสนะ (การเห็นด้วยมรรค)
กล่าวคือ การเห็นแจ้งด้วยมัคคสัมมาทิฏฐิ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๒๐/๑๖๕, องฺ.สตฺตก.ฏีกา ๓/๒๐/๑๙๓)
๕ ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๕๗/๑๒๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๗

๓. อสุภสัญญา (กำหนดหมายความไม่งามแห่งกาย)
๔. อาทีนวสัญญา (กำหนดหมายโทษทุกข์ของกายอันมีความเจ็บไข้ต่าง ๆ)
๕. ปหานสัญญา (กำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตกและบาปธรรมทั้งหลาย)
๖. วิราคสัญญา (กำหนดหมายวิราคะว่าเป็นธรรมละเอียดประณีต)
๗. นิโรธสัญญา (กำหนดหมายนิโรธว่าเป็นธรรมละเอียดประณีต)


พละ๑ ๗

๑. สัทธาพละ (กำลังคือศรัทธา)
๒. วิริยพละ (กำลังคือวิริยะ)
๓. หิริพละ (กำลังคือหิริ)
๔. โอตตัปปพละ (กำลังคือโอตตัปปะ)
๕. สติพละ (กำลังคือสติ)
๖. สมาธิพละ (กำลังคือสมาธิ)
๗. ปัญญาพละ (กำลังคือปัญญา)

๑๐
[๓๓๒] วิญญาณฐิติ๒(ภูมิเป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณ) ๗

๑. มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน คือ มนุษย์ เทพบางพวก๓
และวินิปาติกะบางพวก๔ นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๑

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๓/๔
๒ ดูเทียบ ที.ม. (แปล) ๑๐/๑๒๗/๗๒-๗๓
๓ เทพบางพวก หมายถึงเทพในสวรรค์ชั้นกามาวจรภูมิ ๖ คือ (๑) ชั้นจาตุมหาราช (๒) ชั้นดาวดึงส์
(๓) ชั้นยามา (๔) ชั้นดุสิต (๕) ชั้นนิมมานรดี (๖) ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี (ที.ม.อ. ๒/๑๒๗/๑๐๙)
๔ วินิปาติกะบางพวก หมายถึงพวกเวมานิกเปรตที่พ้นจากอบายภูมิ ๔ เช่น ยักษิณีผู้เป็นมารดาของ
อุตตระ ยักษิณีผู้เป็นมารดาของปิยังกระ ยักษิณีผู้เป็นมารดาของผุสสะ ร่างกายของเปรตเหล่านี้แตกต่างกัน
คือ มีทั้งอ้วน ผอม เตี้ย สูง มีผิวขาว ผิวดำ ผิวสีทอง และสีนิล มีลักษณะ มีสัญญาต่างกัน ด้วยติเหตุกะ
ทุเหตุกะ และอเหตุกะ เหมือนของมนุษย์ เวมานิกเปรตเหล่านี้ไม่มีศักดิ์มาก เหมือนพวกเทพบางพวก
ได้รับทุกข์ในข้างแรม ได้รับสุขในข้างขึ้น แต่เวมานิกเปรตที่เป็นติเหตุกะสามารถบรรลุธรรมได้ เช่น การ
บรรลุธรรมของยักษิณีผู้เป็นมารดาของปิยังกระ เป็นต้น (ที.ม.อ. ๑๒๗/๑๐๙,๔๔-๔๕/๑๘๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๗

๒. มีสัตว์ทั้งหลายมีกายต่างกัน แต่มีสัญญาอย่างเดียวกัน คือพวกเทพ
ชั้นพรหมกายิกา๑ (เทพผู้นับเนื่องในหมู่พรหม) นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๒
๓. มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายอย่างเดียวกัน แต่มีสัญญาต่างกัน คือ พวก
เทพชั้นอาภัสสระ นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๓
๔. มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน คือ พวก
เทพชั้นสุภกิณหะ (เทพผู้เต็มไปด้วยความงดงาม) นี้เป็นวิญญาณฐิติ ที่ ๔
๕. มีสัตว์ทั้งหลายบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน๒โดยกำหนดว่า “อากาศ
หาที่สุดมิได้” เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตต-
สัญญาโดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๕
๖. มีสัตว์ทั้งหลายล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง
บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน๓โดยกำหนดว่า “วิญญาณหาที่สุดมิได้”
นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๖
๗. มีสัตว์ทั้งหลายล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
อากิญจัญญายตนฌาน๔โดยกำหนดว่า “ไม่มีอะไร” นี้เป็นวิญญาณฐิติ
ที่ ๗

เชิงอรรถ :
๑ เทพชั้นพรหมกายิกา หมายถึงพรหมชั้นปฐมฌานภูมิ (ระดับปฐมฌาน) ๓ ชั้น คือ (๑) พรหมปาริสัชชา
(พวกบริษัทบริวารมหาพรหม) (๒) พรหมปโรหิตา (พวกปุโรหิตมหาพรหม) (๓) มหาพรหมา (พวกท้าว
มหาพรหม) (ที.ม.อ. ๑๒๗/๑๐๙-๑๑๐)
๒ อากาสานัญจายตนฌาน หมายถึงฌานที่กำหนดอากาศ คือช่องว่างอันหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์ เป็นขั้น
ที่ ๑ ของอรูปฌาน ๔ (ที.สี.อ. ๔๑๔/๓๐๘)
๓ วิญญาณัญจายตนฌาน หมายถึงฌานที่กำหนดวิญญาณอันหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์ เป็นขั้นที่ ๒ ของ
อรูปฌาน ๔ (ที.สี.อ. ๔๑๔/๓๐๘)
๔ อากิญจัญญายตนฌาน หมายถึงฌานที่กำหนดภาวะอันไม่มีอะไร (ความว่าง) เป็นอารมณ์ ฌานนี้เรียก
อีกอย่างหนึ่งว่า สัญญัคคะ (ที่สุดแห่งสัญญา) เพราะเป็นภาวะสุดท้ายของการมีสัญญา กล่าวคือผู้บรรลุ
อากิญจัญญายตนฌานแล้ว ชั้นต่อไปจะเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานบ้าง เข้าถึงสัญญาเวทยิต-
นิโรธบ้าง (ที.สี.อ. ๔๑๔/๓๐๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๗

๑๑
ทักขิเณยยบุคคล (บุคคลผู้ควรแก่ทักษิณา) ๗

๑. อุภโตภาควิมุต๑ (ผู้หลุดพ้นทั้ง ๒ ส่วน)
๒. ปัญญาวิมุต๒ (ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา)
๓. กายสักขี๓ (ผู้เป็นพยานในนามกายด้วยกาย)
๔. ทิฏฐิปัตตะ๔ (ผู้บรรลุสัมมาทิฏฐิ)
๕. สัทธาวิมุต๕ (ผู้หลุดพ้นด้วยศรัทธา)
๖. ธัมมานุสารี๖ (ผู้แล่นไปตามธรรม)
๗. สัทธานุสารี๗ (ผู้แล่นไปตามศรัทธา)

๑๒
อนุสัย๘ (กิเลสที่นอนเนื่องในสันดาน) ๗

๑. กามราคานุสัย (อนุสัยคือความกำหนัดในกาม)
๒. ปฏิฆานุสัย (อนุสัยคือความยินร้าย)
๓. ทิฏฐานุสัย (อนุสัยคือความเห็นผิด)
๔. วิจิกิจฉานุสัย (อนุสัยคือความลังเลสงสัย)
๕. มานานุสัย (อนุสัยคือความถือตัว)
๖. ภวราคานุสัย (อนุสัยคือความติดใจในภพ)
๗. อวิชชานุสัย (อนุสัยคือความไม่รู้แจ้ง)

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๑๕๐ หน้า ๑๑๑ ในเล่มนี้
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๓ ข้อ ๑๕๐ หน้า ๑๑๑ ในเล่มนี้
๓ ดูเชิงอรรถที่ ๔ ข้อ ๑๕๐ หน้า ๑๑๑ ในเล่มนี้
๔ ดูเชิงอรรถที่ ๕ ข้อ ๑๕๐ หน้า ๑๑๑ ในเล่มนี้
๕ ดูเชิงอรรถที่ ๖ ข้อ ๑๕๐ หน้า ๑๑๑ ในเล่มนี้
๖ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๑๕๐ หน้า ๑๑๒ ในเล่มนี้
๗ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๑๕๐ หน้า ๑๑๒ ในเล่มนี้
๘ ดูเทียบ องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๑๑/๑๗, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๔๙/๖๐๕-๖๐๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๗

๑๓
สังโยชน์๑ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพ) ๗

๑. อนุนยสังโยชน์ (สังโยชน์คือความยินดี๒)
๒. ปฏิฆสังโยชน์ (สังโยชน์คือความยินร้าย)
๓. ทิฏฐิสังโยชน์ (สังโยชน์คือความเห็นผิด)
๔. วิจิกิจฉาสังโยชน์ (สังโยชน์คือความลังเลสงสัย)
๕. มานสังโยชน์ (สังโยชน์คือความถือตัว)
๖. ภวราคสังโยชน์ (สังโยชน์คือความติดใจในภพ)
๗. อวิชชาสังโยชน์ (สังโยชน์คือความไม่รู้แจ้ง)

๑๔
อธิกรณสมถธรรม๓ (ธรรมเป็นเครื่องระงับอธิกรณ์) ๗
เพื่อระงับ เพื่อดับอธิกรณ์๔ทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้ว ๆ
๑. สงฆ์พึงให้สัมมุขาวินัย๕
๒. สงฆ์พึงให้สติวินัย๖

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๘/๑๔
๒ ความยินดี หมายถึงกามราคะ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๘/๑๖๐)
๓ ดูเทียบ องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๘๔/๑๗๙
๔ อธิกรณ์ หมายถึงเรื่องที่สงฆ์ต้องดำเนินการ มี ๔ อย่าง คือ (๑) วิวาทาธิกรณ์ การถกเถียงกันเกี่ยวกับ
พระธรรมวินัย (๒) อนุวาทาธิกรณ์ การโจทหรือกล่าวหากันด้วยอาบัติ (๓) อาปัตตาธิกรณ์ การต้อง
อาบัติ การปรับอาบัติ และการแก้ไขตัวเองให้พ้นจากอาบัติ (๔) กิจจาธิกรณ์ กิจธุระต่าง ๆ ที่สงฆ์จะต้องทำ
เช่น การให้อุปสมบท การให้ผ้ากฐิน เป็นต้น (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๕/๑๓) และดู วิ.จู. (แปล) ๖/๒๑๕/๒๔๕-๒๔๖)
๕-๖ สัมมุขาวินัย วิธีระงับอธิกรณ์ ในที่พร้อมหน้า คือต้องพร้อมทั้ง ๔ พร้อม คือ (๑) พร้อมหน้าสงฆ์
ได้แก่ ภิกษุเข้าร่วม ประชุมครบองค์ประชุมตามที่กำหนดไว้แต่ละกรณี (๒) พร้อมหน้าบุคคลได้แก่คู่กรณี
หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องในเรื่องนั้นอยู่พร้อมหน้า (๓) พร้อมหน้าวัตถุ ได้แก่ ยกเรื่องที่เกิดขึ้นนั้นมาวินิจฉัย
(๔) พร้อมหน้าธรรม ได้แก่ วินิจฉัยถูกต้องตามธรรมวินัย
สติวินัย หมายถึงวิธีระงับอธิกรณ์โดยประกาศให้ทราบว่า พระอรหันต์เป็นพระอริยะ ผู้มีสติสมบูรณ์
เป็นวิธีระงับโดยเอาสติเป็นหลักในกรณีที่มีผู้โจทพระอรหันต์ เป็นการบอกให้รู้ว่า ใครจะโจทพระอรหันต์
ไม่ได้ (วิ.ม. (แปล) ๕/๔๐๐-๔๐๑/๒๘๘-๒๙๑) และดูเทียบ วิ.จู. (แปล) ๖/๑๘๕-๒๑๒/๒๑๘-๒๔๓,
วิ.ป. (แปล) ๘/๒๗๕/๓๗๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๓๘ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๘

๓. สงฆ์พึงให้อมูฬหวินัย๑
๔. สงฆ์พึงให้ปฏิญญาตกรณะ๒
๕. สงฆ์พึงให้เยภุยยสิกา๓
๖. สงฆ์พึงให้ตัสสปาปิยสิกา๔
๗. สงฆ์พึงให้ติณวัตถารกะ๕
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย นี้แล คือธรรมหมวดละ ๗ ประการ ที่พระผู้มีพระภาค
ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว
พวกเราทั้งหมดนี้แหละพึงสังคายนา ไม่พึงวิวาทกันในธรรมนั้น ฯลฯ เพื่อประโยชน์
เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

สังคีติหมวด ๗ จบ
ภาณวารที่ ๒ จบ

สังคีติหมวด ๘

[๓๓๓] ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมหมวดละ ๘ ประการที่พระผู้มีพระภาค
ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว
มีอยู่ พวกเราทั้งหมดนี้แหละพึงสังคายนา ไม่พึงวิวาทกันในธรรมนั้น ฯลฯ เพื่อ
ประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
๑-๕ อมูฬหวินัย หมายถึงวิธีระงับอธิกรณ์โดยยกประโยชน์ให้แก่ภิกษุที่หายเป็นบ้าแล้ว ในกรณีที่มีผู้
โจทภิกษุด้วยอาบัติที่ต้องในขณะเป็นบ้า สงฆ์จะสวดประกาศสมมติเพื่อมิให้ใคร ๆ โจทเธอด้วยอาบัติ
ปฏิญญาตกรณะ หมายถึงวิธีระงับอธิกรณ์โดยปรับอาบัติตามคำรับสารภาพของภิกษุผู้ต้องอาบัติ
เยภุยยสิกา หมายถึงวิธีระงับอธิกรณ์โดยตัดสินตามเสียงข้างมาก สงฆ์จะใช้วิธีการนี้ในกรณีที่บุคคล
หลายฝ่ายมีความเห็นไม่ตรงกัน
ตัสสปาปิยสิกา หมายถึงวิธีระงับอธิกรณ์โดยตัดสินลงโทษผู้กระทำผิด เมื่อสงฆ์พิจารณาตามหลักฐาน
พยานแล้ว เห็นว่ามีความผิดจริง แม้เธอจะไม่รับสารภาพก็ตาม
ติณวัตถารกะ หมายถึงวิธีระงับอธิกรณ์โดยให้ทั้ง ๒ ฝ่ายประนีประนอมกัน เปรียบเหมือนเอาหญ้า
กลบไว้ ไม่ต้องชำระสะสางความ วิธีนี้จะใช้ระงับอธิกรณ์ที่ยุ่งยาก เช่น กรณีพิพาทกันของภิกษุชาวกรุง
โกสัมพี (วิ.ม. ๕/๔๐๐-๔๐๑/๒๘๘-๒๙๑/๓๓๓-๓๓๕) และ ดูเทียบ วิ.จู. (แปล) ๖/๑๘๕-๒๑๒/๒๑๘-๒๔๓,
วิ.ป. (แปล) ๘/๒๗๕/๓๗๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๘

ธรรมหมวดละ ๘ ประการ คืออะไร
คือ


มิจฉัตตะ๑(ความเป็นธรรมที่ผิด) ๘

๑. มิจฉาทิฏฐิ (เห็นผิด)
๒. มิจฉาสังกัปปะ (ดำริผิด)
๓. มิจฉาวาจา (เจรจาผิด)
๔. มิจฉากัมมันตะ (กระทำผิด)
๕. มิจฉาอาชีวะ (เลี้ยงชีพผิด)
๖. มิจฉาวายามะ (พยายามผิด)
๗. มิจฉาสติ (ระลึกผิด)
๘. มิจฉาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นผิด)


สัมมัตตะ๒ (ความเป็นธรรมที่ถูก) ๘

๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ)
๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ)
๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ)
๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ)
๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ)
๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ)
๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ)

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๓๒/๒๘๒
๒ ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๓๓//๒๘๒-๒๘๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๔๐ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๘


ทักขิเณยยบุคคล๑ (บุคคลผู้ควรแก่ทักษิณา) ๘
๑. พระโสดาบัน
๒. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล
๓. พระสกทาคามี
๔. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล
๕. พระอนาคามี
๖. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล
๗. พระอรหันต์
๘. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล


[๓๓๔] กุสีตวัตถุ๒ (เหตุแห่งความเกียจคร้าน) ๘
๑. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีงานที่ต้องทำ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า
‘เราจักต้องทำงาน เมื่อเราทำงานอยู่ กายจักเมื่อยล้า อย่ากระนั้นเลย
เราจะนอน’ เธอจึงนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยัง
ไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำ
ให้แจ้ง นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๑
๒. ภิกษุทำงานแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราได้ทำงานแล้ว เมื่อเรา
ทำงานอยู่ กายเมื่อยล้าแล้ว อย่ากระนั้นเลย เราจะนอน’ เธอจึงนอน
เสีย ไม่ปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๒
๓. ภิกษุต้องเดินทาง เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราจักต้องเดินทาง เมื่อ
เราเดินทางอยู่ กายจักเมื่อยล้า อย่ากระนั้นเลย เราจะนอน’ เธอจึง
นอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๓

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.นวก. (แปล) ๒๓/๙/๔๔๘, อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๒๐๗/๑๐๘
๒ ดูเทียบ องฺ.อฏฺฐก. (แปล) ๒๓/๘๐/๔๐๐-๔๐๒, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๕๓/๖๑๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๔๑ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๘

๔. ภิกษุเดินทางแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราเดินทางแล้ว เมื่อเรา
เดินทางอยู่ กายเมื่อยล้าแล้ว อย่ากระนั้นเลย เราจะนอน’ เธอจึง
นอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๔
๕. ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือนิคม ไม่ได้โภชนะเศร้าหมอง
หรือประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า
‘เราเที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือนิคม ก็ไม่ได้โภชนะเศร้าหมองหรือ
ประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการ กายของเรานั้นเมื่อยล้าแล้ว
ไม่ควรแก่การงาน อย่ากระนั้นเลย เราจะนอน’ เธอจึงนอนเสีย ไม่ปรารภ
ความเพียร ฯลฯ นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๕
๖. ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือนิคม ได้โภชนะเศร้าหมองหรือ
ประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เรา
เที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือนิคม ได้โภชนะเศร้าหมองหรือประณีต
บริบูรณ์เพียงพอตามต้องการแล้ว กายของเรานั้นหนัก ไม่ควรแก่
การงาน จะเหมือนถั่วราชมาสชุ่มด้วยน้ำ อย่ากระนั้นเลย เรา
จะนอน’ เธอจึงนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นกุสีต
วัตถุประการ ที่ ๖
๗. ภิกษุเกิดอาพาธขึ้นเล็กน้อย เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราเกิดมี
อาพาธ ขึ้นเล็กน้อยแล้ว มีข้ออ้างที่จะนอนได้ อย่ากระนั้นเลย
เราจะนอน’ เธอจึงนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็น
กุสีตวัตถุประการที่ ๗
๘. ภิกษุหายอาพาธแล้ว แต่หายอาพาธยังไม่นาน เธอมีความคิดอย่างนี้
ว่า ‘เราหายอาพาธแล้ว แต่หายอาพาธยังไม่นาน กายของเรายัง
อ่อนแอไม่ควรแก่การงาน อย่ากระนั้นเลย เราจะนอน’ เธอจึงนอนเสีย
ไม่ปรารภ ความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยัง
ไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นกุสีตวัตถุ
ประการที่ ๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๔๒ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๘


[๓๓๕] อารัมภวัตถุ๑(เหตุแห่งการปรารภความเพียร) ๘
๑. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้มีงานที่ต้องทำ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า
‘เราจัก ต้องทำงาน เมื่อเราทำงาน การจะใส่ใจคำสั่งสอนของ
พระพุทธเจ้าทั้งหลายมิใช่ทำได้ง่าย อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภ
ความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ
เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง’ เธอจึงปรารภความเพียร เพื่อ
ถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรม
ที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นอารัมภวัตถุประการที่ ๑
๒. ภิกษุทำงานแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราได้ทำงานแล้ว เมื่อเรา
ทำงานอยู่ ก็ไม่สามารถที่จะใส่ใจคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้
อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง
เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง’ เธอ
จึงปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นอารัมภวัตถุประการที่ ๒
๓. ภิกษุต้องเดินทาง เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราจักต้องเดินทาง การที่
เราเดินทางอยู่จะใส่ใจคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย มิใช่ทำ
ได้ง่าย อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่
ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำ
ให้แจ้ง’ เธอจึงปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นอารัมภวัตถุประการที่ ๓
๔. ภิกษุเดินทางแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราเดินทางแล้ว เมื่อเรา
เดินทางอยู่ ก็ไม่สามารถที่จะใส่ใจคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้
อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง
เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง’
เธอจึงปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นอารัมภวัตถุประการที่ ๔

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.อฏฺฐก. (แปล) ๒๓/๘๐/๔๐๒-๔๐๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๔๓ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๘

๕. ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือนิคม ไม่ได้โภชนะที่เศร้าหมอง
หรือประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า
‘เราเที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือนิคม ไม่ได้โภชนะเศร้าหมองหรือ
ประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการ กายของเรานั้นเบา ควรแก่
การงาน อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรม
ที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำ
ให้แจ้ง’ เธอจึงเริ่มปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นอารัมภวัตถุประการที่ ๕
๖. ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือนิคม ได้โภชนะเศร้าหมองหรือ
ประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เรา
เที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือนิคม ได้โภชนะเศร้าหมองหรือประณีต
บริบูรณ์เพียงพอตามต้องการแล้ว ร่างกายของเรานั้นมีกำลัง ควรแก่
การงาน อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรม
ที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำ
ให้แจ้ง’ เธอจึงปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นอารัมภวัตถุประการที่ ๖
๗. ภิกษุเกิดมีอาพาธขึ้นเล็กน้อย เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราเกิดมีอาพาธ
ขึ้นเล็กน้อยแล้ว เป็นไปได้ที่อาพาธของเราจะพึงรุนแรงขึ้น อย่ากระนั้น
เลย เราจะรีบปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม
ที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง’ เธอจึงปรารภความเพียร
ฯลฯ นี้เป็นอารัมภวัตถุประการที่ ๗
๘. ภิกษุหายอาพาธแล้ว แต่หายอาพาธยังไม่นาน เธอมีความคิดอย่าง
นี้ว่า ‘เราหายอาพาธแล้ว แต่หายอาพาธยังไม่นาน เป็นไปได้ที่อาพาธ
ของเราจะพึงกลับกำเริบขึ้น อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภความเพียร
เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรม
ที่ยังไม่ทำให้แจ้ง’ เธอจึงปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อ
บรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็น
อารัมภวัตถุประการที่ ๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๘


[๓๓๖] ทานวัตถุ๑(เหตุแห่งการให้ทาน) ๘
๑. ให้ทานเพราะประสบเข้า๒
๒. ให้ทานเพราะกลัว๓
๓. ให้ทานเพราะคิดว่า ‘เขาได้ให้แก่เราแล้ว’
๔. ให้ทานเพราะคิดว่า ‘เขาจักให้แก่เรา’
๕. ให้ทานเพราะคิดว่า ‘การให้ทานเป็นการดี’
๖. ให้ทานเพราะคิดว่า ‘เราหุงหากินเองได้ ชนเหล่านี้หุงหากินเองไม่ได้
การที่เราหุงหากินเองได้ จะไม่ให้ทานแก่ชนเหล่านี้ผู้หุงหากินเองไม่ได้
ไม่ควร’
๗. ให้ทานเพราะคิดว่า ‘เมื่อเราให้ทานนี้ กิตติศัพท์อันงาม ย่อมขจรไป’
๘. ให้ทานเพื่อเป็นเครื่องประดับจิต และปรุงแต่งจิต๔


[๓๓๗] ทานุปปัตติ๕ (ผลที่เกิดจากการให้ทาน) ๘
๑. บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้
ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีปแก่สมณะ
หรือพราหมณ์ เขาให้สิ่งใด ก็หวังสิ่งนั้นตอบแทน เขาเห็นพวกขัตติย

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.อฏฺฐก. (แปล) ๒๓/๓๑/๒๘๗
๒ ให้ทานเพราะประสบเข้า หมายถึงเมื่อพบว่าเขามาหา ให้รอสักครู่ก็สามารถให้ทานได้ ไม่รู้สึกหนักใจที่
จะถวายทาน (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๓๑/๒๕๓)
๓ ให้ทานเพราะกลัว ในที่นี้หมายถึงให้ทาน เพราะกลัวตำหนิติเตียน หรือกลัวอบายภูมิ (องฺ.อฏฺฐก.อ.
๓/๓๑/๒๕๓)
๔ ให้ทานเพื่อเป็นเครื่องประดับจิตและปรุงแต่งจิต ในที่นี้หมายถึงให้ทานเครื่องประดับจิตในการเจริญ
สมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน เพราะทานจะทำจิตใจให้อ่อนโยน เหมาะแก่การเจริญกัมมัฏฐาน
ทั้งสอง (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๓๑/๒๕๓)
๕ ดูเทียบ องฺ.อฏฐก. (แปล) ๒๓/๓๕/๒๙๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๘

มหาศาล พราหมณมหาศาล หรือคหบดีมหาศาล ผู้เอิบอิ่ม พรั่งพร้อม
บำเรอตนอยู่ด้วยกามคุณ จึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ หลังจาก
ตายแล้ว เราพึงเกิดร่วมกับพวกขัตติยมหาศาล พราหมณมหาศาล
หรือคหบดีมหาศาล’ เขาตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้นอยู่
จิตของเขานั้นน้อมไปในทางต่ำ เจริญให้ยิ่งขึ้นไปไม่ได้ ย่อมเป็นไปเพื่อ
เกิดในที่นั้น๑ ข้อนั้นแล เรากล่าวไว้สำหรับผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับผู้ทุศีล
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย มโนปณิธานของท่านผู้มีศีลย่อมสำเร็จได้เพราะ
เป็นผู้บริสุทธิ์
๒. บุคคลบางคนในโลกนี้ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม
เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์
เขาให้สิ่งใด ก็หวังสิ่งนั้นตอบแทน เขาได้สดับมาว่า ‘พวกเทพชั้นจาตุ-
มหาราช มีอายุยืน มีผิวพรรณงาม มีความสุขมาก’ จึงมีความ
ปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ หลังจากตายแล้ว เราพึงเกิดร่วมกับ
พวกเทพชั้นจาตุมหาราช’ เขาตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้นอยู่
จิตของเขานั้นน้อมไปในทางต่ำ เจริญให้ยิ่งขึ้นไปไม่ได้ ย่อมเป็นไปเพื่อ
เกิดในที่นั้น ข้อนั้นแล เรากล่าวไว้สำหรับผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับผู้ทุศีล
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย มโนปณิธานของท่านผู้มีศีล ย่อมสำเร็จได้เพราะ
เป็นผู้บริสุทธิ์
๓. บุคคลบางคนในโลกนี้ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม
เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์
เขาให้สิ่งใด ก็หวังสิ่งนั้นตอบแทน เขาได้สดับมาว่า ‘พวกเทพชั้น
ดาวดึงส์ ฯลฯ
๔. บุคคลบางคนในโลกนี้ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม
เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์
เขาให้สิ่งใด ก็หวังสิ่งนั้นตอบแทน เขาได้สดับมาว่า ‘พวกเทพชั้นยามา ฯลฯ’

เชิงอรรถ :
๑ เกิดในที่นั้น หมายถึงเกิดในสถานที่ที่ตนปรารถนาไว้ขณะทำบุญ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๓๕/๒๕๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๔๖ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๘

๕. บุคคลบางคนในโลกนี้ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม
เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์
เขาให้สิ่งใด ก็หวังสิ่งนั้นตอบแทน เขาได้สดับมาว่า ‘พวกเทพชั้นดุสิต ฯลฯ’
๖. บุคคลบางคนในโลกนี้ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม
เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์
เขาให้สิ่งใด ก็หวังสิ่งนั้นตอบแทน เขาได้สดับมาว่า ‘พวกเทพชั้น
นิมมานรดี ฯลฯ’
๗. บุคคลบางคนในโลกนี้ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม
เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์
เขาให้สิ่งใด ก็หวังสิ่งนั้นตอบแทน เขาได้สดับมาว่า ‘พวกเทพชั้น
ปรนิมมิตวสวัตดี มีอายุยืน มีผิวพรรณงาม มีความสุขมาก’ จึงมีความ
ปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ หลังจากตายแล้ว เราพึงเกิดร่วมกับพวก
เทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดี’ เขาตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตอยู่
จิตของเขานั้นน้อมไปในทางต่ำ เจริญให้ยิ่งขึ้นไปไม่ได้ ย่อมเป็นไปเพื่อ
เกิดในที่นั้น ข้อนั้นแล เรากล่าวไว้สำหรับผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับผู้ทุศีล
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย มโนปณิธานของท่านผู้มีศีล ย่อมสำเร็จได้เพราะ
เป็นผู้บริสุทธิ์
๘. บุคคลบางคนในโลกนี้ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม
เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์
เขาให้สิ่งใด ก็หวังสิ่งนั้นตอบแทน เขาได้สดับมาว่า ‘พวกเทพชั้นพรหม-
กายิกา มีอายุยืน มีผิวพรรณงาม มีความสุขมาก’ จึงมีความปรารถนา
อย่างนี้ว่า ‘โอหนอ หลังจากตายแล้ว เราพึงเกิดร่วมกับพวกเทพชั้น
พรหมกายิกา’ เขาตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้นอยู่ จิตของเขา
นั้นน้อมไปในทางต่ำ เจริญให้ยิ่งขึ้นไปไม่ได้ ย่อมเป็นไปเพื่อเกิดในที่นั้น
ข้อนั้นแล เรากล่าวไว้สำหรับผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับผู้ทุศีล สำหรับผู้
ปราศจากราคะ ไม่ใช่สำหรับผู้มีราคะ ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย มโนปณิธาน
ของท่านผู้มีศีล ย่อมสำเร็จได้ เพราะเป็นผู้ปราศจากราคะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๘


บริษัท๑ (ชุมนุม) ๘

๑. ขัตติยบริษัท (ชุมนุมกษัตริย์)
๒. พราหมณบริษัท (ชุมนุมพราหมณ์)
๓. คหบดีบริษัท (ชุมนุมคหบดี)
๔. สมณบริษัท (ชุมนุมสมณะ)
๕. จาตุมหาราชบริษัท (ชุมนุมเทพชั้นจาตุมหาราช)
๖. ดาวดึงสบริษัท (ชุมนุมเทพชั้นดาวดึงส์)
๗. มารบริษัท (ชุมนุมเทพชั้นนิมมานรดี)
๘. พรหมบริษัท (ชุมนุมพรหม)


โลกธรรม๒ ๘

๑. ได้ลาภ ๒. เสื่อมลาภ
๓. ได้ยศ ๔. เสื่อมยศ
๕. นินทา ๖. สรรเสริญ
๗. สุข ๘. ทุกข์

๑๐
[๓๓๘] อภิภายตนะ๓(อายตนะที่ยอดเยี่ยมด้วยกำลังฌาน) ๘

๑. บุคคลหนึ่งมีรูปสัญญาภายใน๔ เห็นรูปทั้งหลายภายนอกขนาดเล็ก มี
สีสันดีหรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’
นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๑

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.อฏฺฐก. (แปล) ๒๓/๖๙/๓๗๑-๓๗๒, ที.ม. (แปล) ๑๐/๑๗๒/๑๑๘
๒ ดูเทียบ องฺ.อฏฺฐก. (แปล) ๒๓/๕/๒๐๒-๒๐๓
๓ อภิภายตนะ หมายถึงเหตุครอบงำ เหตุที่มีอิทธิพล ได้แก่ฌาน หรือฌานที่เป็นเหตุครอบงำนิวรณ์ ๕ และ
อารมณ์ทั้งหลาย คำว่า อภิภายตนะ มาจากคำว่า อภิภู + อายตนะ ที่ชื่อว่า อภิภู เพราะครอบงำอารมณ์
และชื่อว่า อายตนะ เพราะเป็นที่เกิดความสุขอันวิเศษแก่พระโยคีทั้งหลาย แต่ในที่นี้หมายถึงมนายตนะ
และธัมมายตนะ (ที.ม.อ. ๑๗๓/๑๐๔, องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๖๕/๒๗๐, องฺ.อฏฺฐก.ฏีกา ๓/๖๑-๖๕/๓๐๒) และ
ดูเทียบ องฺ.ทสก.(แปล) ๒๔/๒๙/๗๑
๔ มีรูปสัญญาภายใน หมายถึงมีความหมายรู้รูปภายในโดยการบริกรรมรูปภายใน (ที.ม.อ. ๑๗๓/๑๖๔,
องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๖๕/๒๗๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๔๘ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๘

๒. บุคคลหนึ่งมีรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกขนาดใหญ่ มีสีสันดี
หรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’
นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๒
๓. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน๑ เห็นรูปทั้งหลายภายนอกขนาดเล็ก
มีสีสันดีหรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้
เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๓
๔. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกขนาดใหญ่
มีสีสันดีหรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้
เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๔
๕. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่เขียว มีสี
เขียว เปรียบด้วยของเขียว มีสีเขียวเข้ม เปรียบเหมือนดอกผักตบที่เขียว
มีสีเขียว เปรียบด้วยของเขียว มีสีเขียวเข้ม ฉันใด หรือเปรียบเหมือนผ้า
ในเมืองพาราณสี อันมีเนื้อละเอียดทั้ง ๒ ด้านที่เขียว มีสีเขียว เปรียบ
ด้วยของเขียว มีสีเขียวเข้ม ฉันใด บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่เขียว มีสีเขียว เปรียบ
ด้วยของเขียว มีสีเขียวเข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า
‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๕
๖. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่เหลือง มีสี
เหลือง เปรียบด้วยของเหลือง มีสีเหลืองเข้ม เปรียบเหมือนดอก
กรรณิการ์ที่เหลือง มีสีเหลือง เปรียบด้วยของเหลือง มีสีเหลืองเข้ม
ฉันใด หรือเปรียบเหมือนผ้าเมืองพาราณสี อันมีเนื้อละเอียดทั้ง ๒ ด้าน
ที่เหลือง มีสีเหลือง เปรียบด้วยของเหลือง มีสีเหลืองเข้ม ฉันใด บุคคล
หนึ่งมีอรูปสัญญาภายในก็ฉันนั้นเหมือนกัน เห็นรูปทั้งหลายภายนอก
ที่เหลือง มีสีเหลือง เปรียบด้วยของเหลือง มีสีเหลืองเข้ม ครอบงำรูป

เชิงอรรถ :
๑ มีอรูปสัญญาภายใน หมายถึงมีความหมายรู้รูปภายใน คือ เว้นจากสัญญาโดยการบริกรรมรูปภายใน (ที.ม.อ.
๑๗๓/๑๖๕, องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๖๕/๒๗๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๘

เหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้ เป็นอภิภายตนะ
ประการที่ ๖
๗. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่แดง มีสีแดง
เปรียบด้วยของแดง มีสีแดงเข้ม เปรียบเหมือนดอกชบาที่แดง มีสีแดง
เปรียบด้วยของแดง มีสีแดงเข้ม ฉันใด หรือเปรียบเหมือนผ้าเมือง
พาราณสี อันมีเนื้อละเอียดทั้ง ๒ ด้านที่แดง มีสีแดง เปรียบด้วย
ของแดง มีสีแดงเข้ม ฉันใด บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายในก็ฉันนั้น
เหมือนกัน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่แดง มีสีแดง เปรียบด้วยของแดง
มีสีแดงเข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้
เป็นอภิภายตนะประการที่ ๗
๘. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่ขาว มีสีขาว
เปรียบด้วยของขาว มีสีขาวเข้ม เปรียบเหมือนดาวประกายพรึกที่ขาว
มีสีขาว เปรียบด้วยของขาว มีสีขาวเข้ม ฉันใด หรือเปรียบเหมือน
ผ้าเมืองพาราณสี อันมีเนื้อละเอียดทั้ง ๒ ด้านที่ขาว มีสีขาว เปรียบ
ด้วยของขาว มีสีขาวเข้ม ฉันใด บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายในก็ฉันนั้น
เหมือนกัน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่ขาว มีสีขาว เปรียบด้วยของขาว
มีสีขาวเข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้
เป็นอภิภายตนะประการที่ ๘

๑๑
[๓๓๙] วิโมกข์๑(ความหลุดพ้น) ๘
๑. บุคคลผู้มีรูป๒ เห็นรูปทั้งหลาย นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๑
๒. บุคคลผู้มีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอก นี้เป็นวิโมกข์
ประการที่ ๒

เชิงอรรถ :
๑ วิโมกข์ แปลว่า ความหลุดพ้น หมายถึงภาวะที่จิตหลุดพ้นจากสิ่งรบกวนและน้อมดิ่งไปในอารมณ์นั้น
(องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๖๖/๒๗๒) ดูเทียบ ที.ม. (แปล) ๑๐/๑๗๔/๑๒๒
๒ มีรูป ในที่นี้หมายถึงได้รูปฌานที่เกิดจากการทำบริกรรมในรูปภายในตน เช่นทำบริกรรมผม เหงื่อ เนื้อ
เลือด กระดูก ฟัน เล็บ โดยวิธีการบริกรรมเป็นสีต่าง ๆ มีสีเขียว เหลือง แดง เป็นต้น (องฺ.อฏฺฐก.อ.
๓/๖๕/๒๗๐, ๖๖/๒๗๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๕๐ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๙

๓. บุคคลเป็นผู้น้อมใจไปว่า ‘งาม’ นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๓
๔. บุคคลบรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุด
มิได้’ อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญา
โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๔
๕. บุคคลล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญ-
จายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่ นี้เป็นวิโมกข์
ประการที่ ๕
๖. บุคคลล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตน-
ฌานโดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๖
๗. บุคคลล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานา-
สัญญายตนฌานอยู่ นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๗
๘. บุคคลล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
สัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๘
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย นี้แล คือธรรมหมวดละ ๘ ประการ ที่พระผู้มีพระภาค
ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้ชอบแล้ว
พวกเราทั้งหมดนี้แหละพึงสังคายนา ไม่พึงวิวาทกันในธรรมนั้น ฯลฯ เพื่อประโยชน์
เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

สังคีติหมวด ๘ จบ

สังคีติหมวด ๙

[๓๔๐] ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมหมวดละ ๙ ประการที่พระผู้มีพระภาค
ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว
มีอยู่ พวกเราทั้งหมดนี้แหละพึงสังคายนา ไม่พึงวิวาทกันในธรรมนั้น ฯลฯ เพื่อ
ประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๕๑ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๙

ธรรมหมวดละ ๙ ประการ คืออะไร
คือ

อาฆาตวัตถุ๑ (เหตุผูกอาฆาต) ๙
๑. บุคคลย่อมผูกอาฆาตว่า ‘ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์๒แก่เรา’
๒. บุคคลย่อมผูกอาฆาตว่า ‘ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา’
๓. บุคคลย่อมผูกอาฆาตว่า ‘ผู้นี้จักทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา’
๔. บุคคลย่อมผูกอาฆาตว่า ‘ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รัก
ที่ชอบพอของเรา’
๕. บุคคลย่อมผูกอาฆาตว่า ‘ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รัก
ที่ชอบพอของเรา’
๖. บุคคลย่อมผูกอาฆาตว่า ‘ผู้นี้จักทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รัก
ที่ชอบพอของเรา’
๗. บุคคลย่อมผูกอาฆาตว่า ‘ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รัก
ไม่เป็นที่ชอบพอของเรา’
๘. บุคคลย่อมผูกอาฆาตว่า ‘ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รัก
ไม่เป็นที่ชอบพอของเรา’
๙. บุคคลย่อมผูกอาฆาตว่า ‘ผู้นี้จักทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รัก
ไม่เป็นที่ชอบพอของเรา’

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ วิ.ป. (แปล) ๘/๓๘๐/๕๕๘-๕๕๙, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๗๙/๑๗๗, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๖๗/๖๙๙
๒ สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ในที่นี้หมายถึงความพินาศ เสียหาย ไม่เจริญ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๘๘-๘๙/๑๕๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๕๒ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๙


อาฆาตปฏิวินยะ๑ (อุบายเป็นเครื่องกำจัดอาฆาต) ๙
๑. บุคคลย่อมกำจัดอาฆาตว่า ‘ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา การ
ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรานั้น จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน๒’
๒. บุคคลย่อมกำจัดอาฆาตว่า ‘ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา
การทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรานั้น จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน’
๓. บุคคลย่อมกำจัดอาฆาตว่า ‘ผู้นี้จักทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา การ
ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรานั้น จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน’
๔. บุคคลย่อมกำจัดอาฆาตว่า ‘ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็น
ทีรักที่ชอบพอของเรา การทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รักที่
ชอบพอของเรานั้น จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน’
๕. บุคคลย่อมกำจัดอาฆาตว่า ‘ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้
เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา การทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รัก
ที่ชอบพอของเรานั้น จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน’
๖. บุคคลย่อมกำจัดอาฆาตว่า ‘ผู้นี้จักทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่
รักที่ชอบพอของเรา การทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบ
พอของเรานั้น จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน’
๗. บุคคลย่อมกำจัดอาฆาตว่า ‘ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ที่ไม่เป็น
ที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา การทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็น
ที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรานั้น จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน’
๘. บุคคลย่อมกำจัดอาฆาตว่า ‘ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่
เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา การทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็น
ที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรานั้น จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน’

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ. ทสก. (แปล) ๒๔/๘๐/๑๗๘-๑๗๙
๒ ดูประกอบ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๘๐/๑๗๘-๑๗๙ ซึ่งมีสำนวนบาลีต่างกันเล็กน้อย กล่าวคือ ในเล่ม ๒๔
ใช้ว่า “อนตฺถํ เม อจริ, ตํ กุเตตฺถ ลพฺภา”ติ อาฆาตํ ปฏิวิเนติ. แต่ในที่นี้ใช้ว่า “อนตฺถํ เม อจรีติ ตํ กุเตตฺถ
ลพฺภา”ติ อาฆาตํ ปฏิวิเนติ.

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๕๓ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๙

๙. บุคคลย่อมกำจัดอาฆาตว่า ‘ผู้นี้จักทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่
รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา การทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รัก
ไม่เป็นที่ชอบพอของเรานั้น จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน’


[๓๔๑] สัตตาวาส๑ (ภพเป็นที่อยู่ของสัตว์) ๙
๑. มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน คือ มนุษย์ เทพ
บางพวก และวินิปาติกะบางพวก นี้เป็นสัตตาวาสที่ ๑
๒. มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน คือ พวกเทพ
ชั้นพรหมกายิกา (เทพผู้นับเนื่องในหมู่พรหม) เกิดในปฐมฌาน นี้เป็น
สัตตาวาสที่ ๒
๓. มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน คือ พวกเทพ
ชั้นอาภัสสระ นี้เป็นสัตตาวาสที่ ๓
๔. มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน คือ พวก
เทพชั้นสุภกิณหะ (เทพผู้เต็มไปด้วยความงดงาม) นี้เป็นสัตตาวาสที่ ๔
๕. มีสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีสัญญา ไม่เสวยอารมณ์ คือ พวกเทพชั้นอสัญญี-
สัตตพรหม นี้เป็นสัตตาวาสที่ ๕
๖. มีสัตว์ทั้งหลายผู้บรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘อากาศ
หาที่สุดมิได้’ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตต-
สัญญาโดยประการทั้งปวง นี้เป็นสัตตาวาสที่ ๖
๗. มีสัตว์ทั้งหลายผู้ล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
วิญญาณัญจาญายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ นี้เป็น
สัตตาวาสที่ ๗

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ข้อ ๓๕๙ หน้า ๔๒๐ในเล่มนี้, ที.ม. (แปล) ๑๐/๑๒๗/๗๒, องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๔๔/๖๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๕๔ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๙

๘. มีสัตว์ทั้งหลายผู้ล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
อากิญจัญญายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ นี้เป็นสัตตาวาสที่ ๘
๙. มีสัตว์ทั้งหลายผู้ล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน นี้เป็นสัตตาวาสที่ ๙


[๓๔๒] กาลที่ไม่ใช่ขณะ ไม่ใช่สมัย เพื่อจะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์๑ ๙
๑. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จอุบัติขึ้นในโลกนี้แล้ว และ
ทรงแสดงธรรม๒ที่นำความสงบมาให้ เป็นไปเพื่อปรินิพพาน ให้ถึงการ
ตรัสรู้ ที่พระสุคตทรงประกาศไว้แล้ว แต่บุคคลนี้เป็นผู้เข้าถึงนรก นี้เป็น
กาลที่ไม่ใช่ขณะ ไม่ใช่สมัย เพื่อจะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๑
๒. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จอุบัติขึ้นในโลกนี้แล้ว และ
ทรงแสดงธรรมที่นำความสงบมาให้ เป็นไปเพื่อปรินิพพาน ให้ถึงการ
ตรัสรู้ ที่พระสุคตทรงประกาศไว้แล้ว แต่บุคคลนี้เป็นผู้เข้าถึงกำเนิด
สัตว์ดิรัจฉาน นี้ก็เป็นกาลที่ไม่ใช่ขณะ ไม่ใช่สมัย เพื่อจะอยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์ข้อที่ ๒
๓. พระตถาคต ฯลฯ แต่บุคคลนี้เป็นผู้เข้าถึงเปรตวิสัย นี้ก็เป็นกาลที่ไม่ใช่ขณะ
ไม่ใช่สมัย เพื่อจะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๓
๔. พระตถาคต ฯลฯ แต่บุคคลนี้เป็นผู้เข้าถึงอสุรกาย นี้ก็เป็นกาลที่ไม่ใช่ขณะ
ไม่ใช่สมัย เพื่อจะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๔
๕. พระตถาคต ฯลฯ แต่บุคคลนี้เป็นผู้เข้าถึงเทพนิกาย๓ที่มีอายุยืนชั้นใด
ชั้นหนึ่ง นี้ก็เป็นกาลที่ไม่ใช่ขณะ ไม่ใช่สมัย เพื่อจะอยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์ข้อที่ ๕

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.อฏฺฐก. (แปล) ๒๓/๒๙/๒๗๔-๒๗๖
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๓๒๒ หน้า ๓๑๓ ในเล่มนี้
๓ เทพนิกาย ในที่นี้หมายถึงเทพที่เป็นอสัญญีสัตว์ (องฺ.อฏฺฐก.อ ๓/๒๙/๒๔๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๕๕ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๙

๖. พระตถาคต ฯลฯ แต่บุคคลนี้เป็นผู้กลับไปเกิดในปัจจันตชนบท อยู่ใน
พวกมิลักขะผู้ไม่รู้เดียงสา ที่ไม่มีภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกา
ผ่านไปมา นี้ก็เป็นกาลที่ไม่ใช่ขณะ ไม่ใช่สมัย เพื่อจะอยู่ประพฤติพรหม-
จรรย์ข้อที่ ๖
๗. พระตถาคต ฯลฯ แต่บุคคลนี้เป็นผู้กลับมาเกิดในมัชฌิมชนบท เป็น
มิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นวิปริตว่า ‘ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้ว
ไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบากของกรรมที่ทำดีและทำชั่วไม่มี
โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มีคุณ บิดาไม่มีคุณ โอปปาติกสัตว์๑
ไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ ทำให้แจ้งโลกนี้และโลก
หน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้ ก็ไม่มีในโลก นี้ก็เป็นกาล
ที่ไม่ใช่ขณะ ไม่ใช่สมัย เพื่อจะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๗
๘. พระตถาคต ฯลฯ แต่บุคคลนี้เป็นผู้กลับมาเกิดในมัชฌิมชนบท เป็นคน
มีปัญญาทราม โง่เขลา เป็นคนเซอะ ไม่สามารถจะรู้เนื้อความแห่ง
สุภาษิตและทุพภาษิตได้ นี้ก็เป็นกาลที่ไม่ใช่ขณะ ไม่ใช่สมัย เพื่อจะอยู่
ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๘
๙. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่เสด็จอุบัติขึ้นในโลก และไม่ทรง
แสดงธรรมที่นำความสงบมาให้เป็นไปเพื่อปรินิพพาน ให้ถึงการตรัสรู้
ที่พระสุคตทรงประกาศแล้ว ถึงบุคคลนี้จะกลับมาเกิดในมัชฌิมชนบท
และเป็นผู้มีปัญญา ไม่โง่เขลา ไม่เป็นคนเซอะ สามารถรู้เนื้อความแห่ง
สุภาษิตและทุพภาษิตได้ นี้ก็เป็นกาลที่ไม่ใช่ขณะ ไม่ใช่สมัย เพื่อจะอยู่
ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๙

เชิงอรรถ :
๑ โอปปาติกสัตว์ คือสัตว์ที่เกิดและเติบโตเต็มที่ทันที และเมื่อจุติ(ตาย) ก็หายวับไป ไม่ทิ้งซากศพไว้ เช่น
เทวดาและสัตว์นรก (ที.สี.อ. ๑/๑๗๑/๑๔๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๕๖ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๙


[๓๔๓] อนุปุพพวิหารธรรม๑ (ธรรมเป็นเครื่องอยู่ตามลำดับ) ๙
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร
ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่
๒. เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสในภายใน มีภาวะ
ที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจาก
สมาธิอยู่
๓. เพราะปีติจางคลายไป มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วย
นามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา
มีสติ อยู่เป็นสุข’
๔. เพราะละสุขและทุกข์ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว บรรลุ
จตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์และสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่
๕. บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ อยู่
เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญาโดย
ประการทั้งปวง
๖. ล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตน-
ฌานโดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่
๗. ล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตน-
ฌานโดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่
๘. ล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานา-
สัญญายตนฌานอยู่
๙. ล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิต-
นิโรธอยู่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.นวก. (แปล) ๒๓/๓๒/๔๙๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๕๗ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๑๐


[๓๔๔] อนุปุพพนิโรธ๑ (ความดับไปตามลำดับ) ๙
๑. กามสัญญาของผู้เข้าปฐมฌานดับไป
๒. วิตก วิจารของผู้เข้าทุติยฌานดับไป
๓. ปีติของผู้เข้าตติยฌานดับไป
๔. ลมหายใจเข้า ลมหายใจออกของผู้เข้าจตุตถฌานดับไป
๕. รูปสัญญาของผู้เข้าอากาสานัญจายตนฌานดับไป
๖. อากาสานัญจายตนสัญญาของผู้เข้าวิญญาณัญจายตนฌานดับไป
๗. วิญญาณัญจายตนสัญญาของผู้เข้าอากิญจัญญายตนฌานดับไป
๘. อากิญจัญญายตนสัญญาของผู้เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌานดับไป
๙. สัญญาและเวทนาของผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ๒ดับไป
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย นี้แล คือธรรมหมวดละ ๙ ประการ ที่พระผู้มีพระภาค
ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว
พวกเราทั้งหมดนี้แหละพึงสังคายนา ไม่พึงวิวาทกันในธรรมนั้น ฯลฯ เพื่อประโยชน์
เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

สังคีติหมวด ๙ จบ

สังคีติหมวด ๑๐

[๓๔๕] ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมหมวดละ ๑๐ ประการ ที่พระผู้มี
พระภาคผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นตรัสไว้โดย
ชอบแล้วมีอยู่ พวกเราทั้งหมดนี้แหละพึงสังคายนา ไม่พึงวิวาทกันในธรรมนั้น ฯลฯ
เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.นวก. (แปล) ๒๓/๓๑/๔๙๓
๒ สัญญาเวทยิตนิโรธ หมายถึงสมาบัติที่ดับสัญญาและเวทนามี ๒ คือ อสัญญาสมาบัติ และนิโรธสมาบัติ
ที่เป็นอสัญญาสมาบัติมีแก่ปุถุชน ที่เป็นนิโรธสมาบัติ มีเฉพาะแต่พระอนาคามีและพระอรหันต์ผู้ชำนาญใน
สมาบัติ ๘ แล้วเท่านั้น จึงจะเข้าได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๓๕/๒๘๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๑๐

ธรรมหมวดละ ๑๐ ประการ คืออะไร
คือ


นาถกรณธรรม๑(ธรรมเครื่องกระทำที่พึ่ง) ๑๐
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในพระปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วยอาจาระ
(มารยาท)และโคจร(การเที่ยวไป) มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทาน
ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย แม้การที่ภิกษุเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการ
สังวรในพระปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัย
ในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย นี้เป็นนาถ-
กรณธรรม
๒. เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมากซึ่งธรรมทั้งหลายที่มี
ความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงามในที่สุด
ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบ
ถ้วน แล้วทรงจำไว้ได้คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ๒ แม้การที่
ภิกษุเป็นพหูสูต ฯลฯ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม
๓. เป็นผู้มีมิตรดี๓ มีสหายดี๔ มีเพื่อนดี๕ แม้การที่ภิกษุเป็นผู้มีมิตรดี มี
สหายดี มีเพื่อนดี นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม
๔. เป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วยธรรมเป็นเครื่องทำให้เป็นผู้ว่าง่าย อดทน
รับฟังคำพร่ำสอนโดยเคารพ แม้การที่ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วย

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๗/๓๑-๓๓
๒ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิหมายถึงรู้แจ้งธรรมโดยผลและเหตุด้วยปัญญา (ที.ปา.อ. ๓๔๕/๒๔๖, องฺ.จตุกฺก.อ.
๒/๒๒/๓๐๐)
๓ มิตรดี หมายถึงมิตรที่มีคุณธรรม คือ ศีล เป็นต้น (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๗/๓๒๒)
๔ สหายดี หมายถึงเพื่อนร่วมงานที่ดี (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๗/๓๒๒)
๕ เพื่อนดี หมายถึงเพื่อนที่รักใคร่สนิทสนม รู้ใจกัน ซื่อสัตย์ต่อกัน (ที.ปา.อ. ๓๔๕/๒๔๖, องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๗/๓๒๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๕๙ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๑๐

ธรรมเป็นเครื่องทำให้เป็นผู้ว่าง่าย อดทน รับฟังคำพร่ำสอนโดยเคารพ นี้
ก็เป็นนาถกรณธรรม
๕. เป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านในการงานที่จะต้องช่วยกันทำทั้งงานสูงและ
งานต่ำ๑ของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่อง
พิจารณาอันเป็นอุบายในการงานที่จะต้องช่วยกันทำนั้น สามารถทำได้
สามารถจัดได้ แม้การที่ภิกษุเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านในการงานที่จะ
ต้องช่วยกันทำทั้งงานสูงและงานต่ำของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ฯลฯ
สามารถทำได้ สามารถจัดได้ นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม
๖. เป็นผู้ใคร่ธรรม๒ เป็นผู้ฟังและผู้แสดงธรรมอันเป็นที่พอใจ มีความ
ปราโมทย์อย่างยิ่งในพระอภิธรรม๓ ในพระอภิวินัย๔ แม้การที่ภิกษุเป็น
ผู้ใคร่ธรรม เป็นผู้ฟังและผู้แสดงธรรมอันเป็นที่พอใจ มีความปราโมทย์
อย่างยิ่งในพระอภิธรรม ในพระอภิวินัย นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม
๗. เป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชช-
บริขารตามแต่จะได้ แม้การที่ภิกษุเป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขารตามแต่จะได้ นี้ก็เป็นนาถ-
กรณธรรม
๘. เป็นผู้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมเกิด มีความ
เข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่
แม้การที่ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรม เกิด
มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่
นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม

เชิงอรรถ :
๑ งานสูง หมายถึงงานย้อมจีวร หรืองานโบกทาพระเจดีย์ ตลอดถึงงานที่จะต้องช่วยกันทำที่โรงอุโบสถ
เรือนพระเจดีย์ เรือนต้นโพธิ์ เป็นต้น งานต่ำ หมายถึงงานเล็กน้อย มีล้างเท้า และนวดเท้า เป็นต้น
(ที.ปา.อ. ๓๔๕/๒๔๖, องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๗/๓๒๒)
๒ ผู้ใคร่ธรรม ในที่นี้หมายถึงรักพระพุทธพจน์คือพระไตรปิฎก (ที.ปา.อ. ๓๔๕/๒๔๗, องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๗/๓๒๒)
๓ พระอภิธรรม หมายถึงสัตตัปปกรณธรรม คือพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ หรืออีกนัยหนึ่ง คือ มรรค ๔ และ
ผล ๔ (ที.ปา.อ. ๓๔๕/๒๔๗, องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๗/๓๒๓)
๔ พระอภิวินัย หมายถึงขันธกบริวาร หรืออีกนัยหนึ่ง หมายถึงธรรมที่เป็นเครื่องระงับกิเลส (ที.ปา.อ.
๓๔๕/๒๔๗, องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๗/๓๒๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๖๐ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๑๐

๙. เป็นผู้มีสติ คือ ประกอบด้วยสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน๑อย่างยิ่ง
ระลึกถึงสิ่งที่ทำและคำที่พูดแม้นานได้ แม้การที่ภิกษุเป็นผู้มีสติ คือ
ประกอบด้วยสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตนอย่างยิ่ง ระลึกถึงสิ่งที่ทำและ
คำที่พูดแม้นาน นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม
๑๐. เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาเห็นทั้งความ
เกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
แม้การที่ภิกษุเป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา
เห็นทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้น
ทุกข์โดยชอบ นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม


[๓๔๖] กสิณายตนะ๒ (บ่อเกิดแห่งธรรมที่มีกสิณเป็นอารมณ์) ๑๐
๑. บุคคลหนึ่งจำปฐวีกสิณ(กสิณคือดิน)ได้ ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง
ไม่มีสอง ไม่มีประมาณ

๒. บุคคลหนึ่งจำอาโปกสิณ (กสิณคือน้ำ)ได้ ...
๓. บุคคลหนึ่งจำเตโชกสิณ (กสิณคือไฟ)ได้ ...
๔. บุคคลหนึ่งจำวาโยกสิณ (กสิณคือลม)ได้ ...
๕. บุคคลหนึ่งจำนีลกสิณ (กสิณคือสีเขียว)ได้ ...
๖. บุคคลหนึ่งจำปีตกสิณ (กสิณคือสีเหลือง)ได้ ...
๗. บุคคลหนึ่งจำโลหิตกสิณ (กสิณคือสีแดง)ได้ ...
๘. บุคคลหนึ่งจำโอทาตกสิณ (กสิณคือสีขาว)ได้ ...

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๓ ข้อ ๓๓๑ หน้า ๓๓๔ ในเล่มนี้
๒ บ่อเกิดแห่งธรรมที่มีกสิณเป็นอารมณ์ หมายถึงที่เกิดหรือที่เป็นไปแห่งธรรมทั้งหลายโดยบริกรรมกสิณ
เป็นอารมณ์ คำว่า กสิณ หมายถึงวัตถุสำหรับเพ่งเพื่อจูงใจให้เป็นสมาธิ (ที.ปา.อ. ๓๔๖/๒๔๗, องฺ.ทสก.อ.
๓/๒๕/๓๓๓, อง.ทสก.ฏีกา ๓/๒๕/๓๙๕) และดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๒๕/๕๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๖๑ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๑๐

๙. บุคคลหนึ่งจำอากาสกสิณ (กสิณคือความว่าง)ได้ ...
๑๐. บุคคลหนึ่งจำวิญญาณกสิณ (กสิณคือวิญญาณ)ได้ ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ
เบื้องขวาง ไม่มีสอง ไม่มีประมาณ


[๓๔๗] อกุศลกรรมบถ๑(ทางแห่งอกุศลกรรม) ๑๐

๑. ปาณาติบาต (การฆ่าสัตว์)
๒. อทินนาทาน (การลักทรัพย์)
๓. กาเมสุมิจฉาจาร (การประพฤติผิดในกาม)
๔. มุสาวาท (การพูดเท็จ)
๕. ปิสุณาวาจา (การพูดส่อเสียด)
๖. ผรุสวาจา (การพูดคำหยาบ)
๗. สัมผัปปลาปะ (การพูดเพ้อเจ้อ)
๘. อภิชฌา (ความเพ่งเล็งอยากได้ของของเขา)
๙. พยาบาท (ความคิดร้าย)
๑๐. มิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด)


กุศลกรรมบถ๒ (ทางแห่งกุศลกรรม) ๑๐

๑. ปาณาติปาตา เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการฆ่าสัตว์)
๒. อทินนาทานา เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการลักทรัพย์)
๓. กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม)
๔. มุสาวาทา เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการพูดเท็จ)
๕. ปิสุณาย วาจาย เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการพูดส่อเสียด)
๖. ผรุสาย วาจาย เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการพูดคำหยาบ)
๗. สัมผัปปลาปา เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ)

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๗๘/๓๓๐
๒ ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๗๘/๓๓๐-๓๓๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๖๒ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๑๐

๘. อนภิชฌา (ความไม่เพ่งเล็งอยากได้ของของเขา)
๙. อพยาบาท (ความไม่คิดร้าย)
๑๐. สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ)


[๓๔๘] อริยวาส๑ (ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยะ) ๑๐
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ละองค์ ๕ ได้
๒. เป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๖
๓. เป็นผู้มีธรรมเป็นเครื่องรักษาอย่างเอก
๔. เป็นผู้มีอปัสเสนธรรม (ธรรมเป็นดุจพนักพิง) ๔ ประการ
๕. เป็นผู้มีปัจเจกสัจจะ๒ อันบรรเทาได้
๖. เป็นผู้มีการแสวงหาอันสละได้ดี
๗. เป็นผู้มีความดำริอันไม่ขุ่นมัว
๘. เป็นผู้มีกายสังขารอันระงับได้
๙. เป็นผู้มีจิตหลุดพ้นได้ดี
๑๐. เป็นผู้มีปัญญาหลุดพ้นได้ดี
ภิกษุเป็นผู้ละองค์ ๕ ได้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละกามฉันทะ(ความพอใจในกาม) ได้ เป็นผู้
ละพยาบาท (ความคิดร้าย) ได้ เป็นผู้ละถีนมิทธะ(ความหดหู่และเซื่องซึม) ได้ เป็นผู้
ละอุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ) ได้ เป็นผู้ละวิจิกิจฉา(ความลังเลสงสัย) ได้
ภิกษุเป็นผู้ละองค์ ๕ ได้ เป็นอย่างนี้แล

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๒๐/๓๙-๔๒
๒ ปัจเจกสัจจะ หมายถึงความเห็นส่วนตัวของแต่ละคนที่แตกต่างกันไปโดยยึดถือว่า “ความเห็นนี้เท่านั้นจริง
ความเห็นนี้เท่านั้นจริง” (ที.ปา.อ. ๓๔๘/๒๕๑, องฺ.ทสก.อ. ๓/๒๐/๓๒๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๑๐

ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เห็นรูปทางตาแล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ
มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ ฟังเสียงทางหู ... ดมกลิ่นทางจมูก ... ลิ้มรส
ทางลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ... รู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่
เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุเป็นผู้มีธรรมเป็นเครื่องรักษาอย่างเอก เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้ประกอบด้วยใจที่รักษาด้วยสติ ภิกษุเป็นผู้มี
ธรรมเป็นเครื่องรักษาอย่างเอก เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุเป็นผู้มีอปัสเสนธรรม ๔ ประการ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้พิจารณาแล้วเสพอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้ว อดกลั้น
อย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วบรรเทาอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วเว้นอย่างหนึ่ง๑ ภิกษุเป็น
ผู้มีอปัสเสนธรรม ๔ ประการ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุเป็นผู้มีปัจเจกสัจจะอันบรรเทาได้ เป็นอย่างไร
คือ ปัจเจกสัจจะเป็นอันมากของสมณพราหมณ์จำนวนมากที่มีอยู่ทั้งหมด ภิกษุ
ในพระธรรมวินัยนี้บรรเทาได้ กำจัดได้ สละได้ คลายได้ ปล่อยวางได้ ละได้ สละคืนได้
ภิกษุเป็นผู้มีปัจเจกสัจจะอันบรรเทาได้ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุเป็นผู้มีการแสวงหาอันสละได้ดี เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละการแสวงหากามได้ ละการแสวงหาภพได้
ระงับการแสวงหาพรหมจรรย์ได้ ภิกษุเป็นผู้มีการแสวงหาอันสละได้ดี เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุเป็นผู้มีความดำริอันไม่ขุ่นมัว เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละความดำริในกามได้ เป็นผู้ละความดำริ
ในพยาบาทได้ เป็นผู้ละความดำริในวิหิงสาได้ ภิกษุเป็นผู้มีความดำริอันไม่ขุ่นมัว
เป็นอย่างนี้แล

เชิงอรรถ :
๑ พิจารณาแล้วเสพ หมายถึงพิจารณาแล้วใช้สอยปัจจัย ๔ มีจีวร เป็นต้น พิจารณาแล้วอดกลั้น หมายถึง
พิจารณาแล้วอดกลั้นต่อความหนาว เป็นต้น พิจารณาแล้วบรรเทา หมายถึงพิจารณาแล้วบรรเทา
อกุศลวิตก มีกามวิตก (ความตรึกในทางกาม) เป็นต้น พิจารณาแล้วเว้น หมายถึงพิจารณาแล้วเว้นช้าง
ดุร้าย หรือคนพาล เป็นต้น (ที.ปา.อ. ๓๐๘/๒๐๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๖๔ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๑๐

ภิกษุเป็นผู้มีกายสังขารอันระงับได้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัส
ดับไปก่อนแล้ว จึงบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์และไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะ
อุเบกขาอยู่ ภิกษุเป็นผู้มีกายสังขารอันระงับได้ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุเป็นผู้มีจิตหลุดพ้นได้ดี เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีจิตหลุดพ้นจากราคะ มีจิตหลุดพ้นจาก
โทสะ มีจิตหลุดพ้นจากโมหะ ภิกษุเป็นผู้มีจิตหลุดพ้นได้ดี เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุเป็นผู้มีปัญญาหลุดพ้นได้ดี เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้รู้ชัดว่า ‘ราคะเราละได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน
เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไป
ไม่ได้’ รู้ชัดว่า ‘โทสะเราละได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดราก
ถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้’ รู้ชัดว่า ‘โมหะเราละได้
เด็ดขาด ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่
ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้’ ภิกษุเป็นผู้มีปัญญาหลุดพ้นได้ดี เป็นอย่างนี้แล


อเสขธรรม๑ (ธรรมที่เป็นอเสขะ) ๑๐
๑. สัมมาทิฏฐิ๒ที่เป็นอเสขะ
๒. สัมมาสังกัปปะที่เป็นอเสขะ
๓. สัมมาวาจาที่เป็นอเสขะ

เชิงอรรถ :
๑ อเสขธรรม หมายถึงธรรมที่เป็นผลและธรรมที่สัมปยุตด้วยธรรมเป็นผลนั้น เป็นธรรมระดับโลกุตตระของ
พระอเสขะ คือพระอรหันตขีณาสพ (ที.ปา.อ. ๓๔๘/๒๕๒, ที.ปา.ฏีกา ๓๔๘/๓๔๙, องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๒/๓๒๐,
๑๑๒/๓๗๔) และดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๑๑/๒๕๖
๒ สัมมาทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึงปัญญาที่ทำหน้าที่เห็นอารมณ์ของตนถูกต้อง (ที.ปา.อ. ๓๔๘/๒๕๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๖๕ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๑๐

๔. สัมมากัมมันตะที่เป็นอเสขะ
๕. สัมมาอาชีวะที่เป็นอเสขะ
๖. สัมมาวายามะที่เป็นอเสขะ
๗. สัมมาสติที่เป็นอเสขะ
๘. สัมมาสมาธิที่เป็นอเสขะ
๙. สัมมาญาณะ๑ที่เป็นอเสขะ
๑๐. สัมมาวิมุตติที่เป็นอเสขะ
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย นี้แล คือธรรมหมวดละ ๑๐ ประการ ที่พระผู้มีพระภาค
ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว
พวกเราทั้งหมดนี้แหละพึงสังคายนา ไม่พึงวิวาทกันในธรรมนั้น เพื่อให้พรหมจรรย์นี้
ตั้งอยู่ได้นาน ดำรงอยู่ได้นาน ข้อนั้นพึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่
คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย”

สังคีติหมวด ๑๐ จบ

[๓๔๙] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จลุกขึ้นแล้ว ตรัสกับท่านพระสารีบุตร
ดังนี้ว่า “ดีละ ดีละ ดีแท้ สารีบุตร ที่เธอกล่าวสังคีติปริยาย(แนวทางแห่งการ
สังคายนา)แก่ภิกษุทั้งหลาย” ท่านพระสารีบุตร ได้กล่าวสังคีติปริยายนี้แล้ว
พระศาสดาทรงพอพระทัย และภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมภาษิตของท่าน
พระสารีบุตรแล้วแล

สังคีติสูตรที่ ๑๐ จบ


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๑ ประการ

๑๑. ทสุตตรสูตร
ว่าด้วยธรรม ๑ ถึง ๑๐ ประการ

[๓๕๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป
ประทับอยู่ที่ฝั่งสระโบกขรณีชื่อคัคครา เขตกรุงจัมปา ณ ที่นั้น ท่านพระสารีบุตร
เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “ท่านภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว
ท่านพระสารีบุตรจึงกล่าวว่า
“เราจักกล่าวทสุตตรสูตร
อันเป็นธรรมเครื่องปลดเปลื้องกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งปวง
เพื่อบรรลุถึงพระนิพพาน เพื่อทำที่สุดทุกข์”

ธรรม ๑ ประการ

[๓๕๑] ธรรม ๑ ประการที่มีอุปการะมาก___ธรรม ๑ ประการที่ควรเจริญ
ธรรม ๑ ประการที่ควรกำหนดรู้___ธรรม ๑ ประการที่ควรละ
ธรรม ๑ ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม___ธรรม ๑ ประการที่เป็นไปในฝ่าย
คุณวิเศษ
ธรรม ๑ ประการที่แทงตลอดได้ยาก___ธรรม ๑ ประการที่ควรให้เกิดขึ้น
ธรรม ๑ ประการที่ควรรู้ยิ่ง___ธรรม ๑ ประการที่ควรทำให้แจ้ง

(ก) ธรรม ๑ ประการที่มีอุปการะมาก คืออะไร
คือ ความไม่ประมาทในกุศลธรรมทั้งหลาย
นี้ คือธรรม ๑ ประการที่มีอุปการะมาก
(ข) ธรรม ๑ ประการที่ควรเจริญ คืออะไร
คือ กายคตาสติ๑ สหรคตด้วยความสำราญ
นี้ คือธรรม ๑ ประการที่ควรเจริญ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.เอกก. (แปล) ๒๐/๕๖๓/๕๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๑ ประการ

(ค) ธรรม ๑ ประการที่ควรกำหนดรู้ คืออะไร
คือ ผัสสะที่ยังมีอาสวะ มีอุปาทาน
นี้ คือธรรม ๑ ประการที่ควรกำหนดรู้
(ฆ) ธรรม ๑ ประการที่ควรละ คืออะไร
คือ อัสมิมานะ (ความถือตัวว่าเป็นเรา)
นี้ คือธรรม ๑ ประการที่ควรละ
(ง) ธรรม ๑ ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม คืออะไร
คือ อโยนิโสมนสิการ๑
นี้ คือธรรม ๑ ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม
(จ) ธรรม ๑ ประการที่เป็นไปในฝ่ายคุณวิเศษ คืออะไร
คือ โยนิโสมนสิการ๒
นี้ คือธรรม ๑ ประการที่เป็นไปในฝ่ายคุณวิเศษ
(ฉ) ธรรม ๑ ประการที่แทงตลอดได้ยาก คืออะไร
คือ เจโตสมาธิ อันมีลำดับติดต่อกันไป
นี้ คือธรรม ๑ ประการที่แทงตลอดได้ยาก
(ช) ธรรม ๑ ประการที่ควรให้เกิดขึ้น คืออะไร
คือ ญาณอันไม่กำเริบ
นี้ คือธรรม ๑ ประการที่ควรให้เกิดขึ้น
(ฌ) ธรรม ๑ ประการที่ควรรู้ยิ่ง คืออะไร
คือ สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร
นี้ คือธรรม ๑ ประการที่ควรรู้ยิ่ง

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.เอกก. (แปล) ๒๐/๑๕/๓
๒ ดูเทียบ องฺ.เอกก. (แปล) ๒๐/๒๐/๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๒ ประการ

(ญ) ธรรม ๑ ประการที่ควรทำให้แจ้ง คืออะไร
คือ เจโตวิมุตติ อันไม่กำเริบ
นี้ คือธรรม ๑ ประการที่ควรทำให้แจ้ง
ธรรม ๑๐ ประการนี้ เป็นของจริง เป็นของแท้ แน่นอน ไม่ผิดพลาด ไม่เป็น
อย่างอื่น ที่พระตถาคตตรัสรู้แล้วโดยชอบ ด้วยประการฉะนี้

ธรรม ๒ ประการ

[๓๕๒] ธรรม ๒ ประการที่มีอุปการะมาก___ธรรม ๒ ประการที่ควรเจริญ
ธรรม ๒ ประการที่ควรกำหนดรู้___ธรรม ๒ ประการที่ควรละ
ธรรม ๒ ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม___ธรรม ๒ ประการที่เป็นไปในฝ่าย
คุณวิเศษ
ธรรม ๒ ประการที่แทงตลอดได้ยาก___ธรรม ๒ ประการที่ควรให้เกิดขึ้น
ธรรม ๒ ประการที่ควรรู้ยิ่ง___ธรรม ๒ ประการที่ควรทำให้แจ้ง

(ก) ธรรม ๒ ประการที่มีอุปการะมาก คืออะไร
คือ
๑. สติ (ความระลึกได้)
๒. สัมปชัญญะ (ความรู้ตัว)๑
นี้ คือธรรม ๒ ประการที่มีอุปการะมาก
(ข) ธรรม ๒ ประการที่ควรเจริญ คืออะไร
คือ
๑. สมถะ (การฝึกจิตให้สงบเป็นสมาธิ)
๒. วิปัสสนา (ความเห็นแจ้ง)๒
นี้ คือธรรม ๒ ประการที่ควรเจริญ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบข้อ ๓๐๔ หน้า ๒๕๕ ในเล่มนี้, องฺ.ทุก. (แปล) ๒๐/๑๘๐/๑๒๙
๒ ดูเทียบข้อ ๓๐๔ หน้า ๒๕๖ ในเล่มนี้, องฺ.ทุก. (แปล) ๒๐/๑๗๓/๑๒๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๖๙ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๒ ประการ

(ค) ธรรม ๒ ประการที่ควรกำหนดรู้ คืออะไร
คือ
๑. นาม
๒. รูป๑
นี้ คือธรรม ๒ ประการที่ควรกำหนดรู้
(ฆ) ธรรม ๒ ประการที่ควรละ คืออะไร
คือ

๑. อวิชชา (ความไม่รู้แจ้ง)
๒. ภวตัณหา (ความอยากในภพ)๒

นี้ คือธรรม ๒ ประการที่ควรละ
(ง) ธรรม ๒ ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม คืออะไร
คือ

๑. โทวจัสสตา (ความเป็นผู้ว่ายาก)
๒. ปาปมิตตตา (ความมีบาปมิตร)๓

นี้ คือธรรม ๒ ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม
(จ) ธรรม ๒ ประการที่เป็นไปในฝ่ายคุณวิเศษ คืออะไร
คือ

๑. โสวจัสสตา (ความเป็นผู้ว่าง่าย)
๒. กัลยาณมิตตตา (ความมีกัลยาณมิตร)๔

นี้คือธรรม ๒ ประการที่เป็นไปในฝ่ายคุณวิเศษ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบข้อ ๓๐๔ หน้า ๒๕๒ ในเล่มนี้, องฺ.ทุก. (แปล) ๒๐/๙๐/๑๐๗
๒ ดูเทียบข้อ ๓๐๔ หน้า ๒๕๒ ในเล่มนี้
๓ ดูเทียบข้อ ๓๐๔ หน้า ๒๕๓ ในเล่มนี้, องฺ.ทุก. (แปล) ๒๐/๙๕/๑๐๘
๔ ดูเทียบข้อ ๓๐๔ หน้า ๒๕๓ ในเล่มนี้, องฺ.ทุก. (แปล) ๒๐/๙๖/๑๐๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๗๐ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๒ ประการ

(ฉ) ธรรม ๒ ประการที่แทงตลอดได้ยาก คืออะไร
คือ
๑. ธรรมที่เป็นเหตุ เป็นปัจจัย เพื่อความเศร้าหมองของสัตว์ทั้งหลาย
๒. ธรรมที่เป็นเหตุ เป็นปัจจัย เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย
นี้คือธรรม ๒ ประการที่แทงตลอดได้ยาก
(ช) ธรรม ๒ ประการที่ควรให้เกิดขึ้น คืออะไร
คือ ญาณ ๒ ได้แก่

๑. ขยญาณ (ความรู้ในการสิ้นกิเลส)
๒. อนุปปาทญาณ (ความรู้ในการไม่เกิดกิเลส)๑

นี้ คือธรรม ๒ ประการที่ควรให้เกิดขึ้น
(ฌ) ธรรม ๒ ประการที่ควรรู้ยิ่ง คืออะไร
คือ ธาตุ ๒ ได้แก่
๑. สังขตธาตุ (ธาตุที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง)
๒. อสังขตธาตุ (ธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง)
นี้ คือธรรม ๒ ประการที่ควรรู้ยิ่ง
(ญ) ธรรม ๒ ประการที่ควรทำให้แจ้ง คืออะไร
คือ

๑. วิชชา (ความรู้แจ้ง)
๒. วิมุตติ (ความหลุดพ้น)๒

นี้ คือธรรม ๒ ประการที่ควรทำให้แจ้ง
ธรรม ๒๐ ประการนี้ เป็นของจริง เป็นของแท้ แน่นอน ไม่ผิดพลาด ไม่เป็น
อย่างอื่น ที่พระตถาคตตรัสรู้แล้วโดยชอบ ด้วยประการฉะนี้

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบข้อ ๓๐๔ หน้า ๒๕๘ ในเล่มนี้
๒ ดูเทียบข้อ ๓๐๔ หน้า ๒๕๘ ในเล่มนี้, องฺ.ทุก. (แปล) ๒๐/๙๑/๑๐๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๗๑ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๓ ประการ

ธรรม ๓ ประการ

[๓๕๓] ธรรม ๓ ประการที่มีอุปการะมาก___ธรรม ๓ ประการที่ควรเจริญ
ธรรม ๓ ประการที่ควรกำหนดรู้___ธรรม ๓ ประการที่ควรละ
ธรรม ๓ ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม___ธรรม ๓ ประการที่เป็นไปในฝ่าย
คุณวิเศษ
ธรรม ๓ ประการที่แทงตลอดได้ยาก___ธรรม ๓ ประการที่ควรให้เกิดขึ้น
ธรรม ๓ ประการที่ควรรู้ยิ่ง___ธรรม ๓ ประการที่ควรทำให้แจ้ง

(ก) ธรรม ๓ ประการที่มีอุปการะมาก คืออะไร
คือ

๑. สัปปุริสสังเสวะ___(การคบหาสัตบุรุษ)
๒. สัทธัมมัสสวนะ___(การฟังพระสัทธรรม)
๓. ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ___(การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม)๑

นี้ คือธรรม ๓ ประการที่มีอุปการะมาก
(ข) ธรรม ๓ ประการที่ควรเจริญ คืออะไร
คือ สมาธิ๒ ๓ ได้แก่
๑. สมาธิที่มีทั้งวิตก และมีวิจาร
๒. สมาธิที่ไม่มีวิตก มีเพียงวิจาร
๓. สมาธิที่ไม่มีวิตก และไม่มีวิจาร
นี้ คือธรรม ๓ ประการที่ควรเจริญ
(ค) ธรรม ๓ ประการที่ควรกำหนดรู้ คืออะไร
คือ เวทนา๓ ๓ ได้แก่
๑. สุขเวทนา (ความรู้สึกสุข)

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบข้อ ๓๑๑ หน้า ๒๘๖ ในเล่มนี้
๒ ดูเทียบข้อ ๓๐๕ หน้า ๒๗๓ ในเล่มนี้
๓ ดูเทียบข้อ ๓๐๕ หน้า ๒๖๖ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๗๒ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๓ ประการ

๒. ทุกขเวทนา (ความรู้สึกทุกข์)
๓. อทุกขมสุขเวทนา (ความรู้สึกไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุข)
นี้ คือธรรม ๓ ประการที่ควรกำหนดรู้
(ฆ) ธรรม ๓ ประการที่ควรละ คืออะไร
คือ ตัณหา๑ ๓ ได้แก่

๑. กามตัณหา (ความทะยานอยากในกาม)
๒. ภวตัณหา (ความทะยานอยากในภพ)
๓. วิภวตัณหา (ความทะยานอยากในวิภพ)

นี้ คือธรรม ๓ ประการที่ควรละ
(ง) ธรรม ๓ ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม คืออะไร
คือ อกุศลมูล๒ ๓ ได้แก่
๑. อกุศลมูลคือโลภะ (ความอยากได้)
๒. อกุศลมูลคือโทสะ (ความคิดประทุษร้าย)
๓. อกุศลมูลคือโมหะ (ความหลง)
นี้ คือธรรม ๓ ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม
(จ) ธรรม ๓ ประการที่เป็นไปในฝ่ายคุณวิเศษ คืออะไร
คือ กุศลมูล๓ ๓ ได้แก่
๑. กุศลมูลคืออโลภะ (ความไม่อยากได้)
๒. กุศลมูลคืออโทสะ (ความไม่คิดประทุษร้าย)
๓. กุศลมูลคืออโมหะ (ความไม่หลง)
นี้ คือธรรม ๓ ประการที่เป็นไปในฝ่ายคุณวิเศษ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบข้อ ๓๐๕ หน้า ๒๖๔ ในเล่มนี้
๒ ดูเทียบข้อ ๓๐๕ หน้า ๒๕๙ ในเล่มนี้
๓ ดูเทียบข้อ ๓๐๕ หน้า ๒๕๙ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๗๓ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๓ ประการ

(ฉ) ธรรม ๓ ประการที่แทงตลอดได้ยาก คืออะไร
คือ ธาตุที่สลัด ๓ ได้แก่
๑. ธาตุที่สลัดกามคือเนกขัมมะ๑
๒. ธาตุที่สลัดรูปคืออรูป๒
๓. การสลัดสิ่งที่เกิดขึ้น สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งขึ้น สิ่งที่อาศัยกันและ
กันเกิดขึ้นอย่างใดอย่างหนึ่ง คือนิโรธ๓
นี้ คือธรรม ๓ ประการที่แทงตลอดได้ยาก
(ช) ธรรม ๓ ประการที่ควรให้เกิดขึ้น คืออะไร
คือ ญาณ ๓ ได้แก่

๑. อตีตังสญาณ (ญาณหยั่งรู้ส่วนอดีต)
๒. อนาคตังสญาณ (ญาณหยั่งรู้ส่วนอนาคต)
๓. ปัจจุปปันนังสญาณ (ญาณหยั่งรู้ส่วนปัจจุบัน)

นี้ คือธรรม ๓ ประการที่ควรให้เกิดขึ้น
(ฌ) ธรรม ๓ ประการที่ควรรู้ยิ่ง คืออะไร
คือ ธาตุ๔ ๓ ได้แก่

๑. กามธาตุ (ธาตุคือกามภพ)
๒. รูปธาตุ (ธาตุคือรูปภพ)
๓. อรูปธาตุ (ธาตุคืออรูปภพ)

นี้ คือธรรม ๓ ประการที่ควรรู้ยิ่ง

เชิงอรรถ :
๑ เนกขัมมะ ในที่นี้หมายถึงอนาคามิมรรค (ที.ม.อ. ๓๕๓/๒๕๙)
๒ อรูป ในที่นี้หมายถึงอรหัตตมรรคในอรูปภพ (ที.ม.อ. ๓๕๓/๒๕๙)
๓ นิโรธ ในที่นี้หมายถึงอรหัตตผล (ที.ม.อ. ๓๕๓/๒๕๙)
๔ ดูเทียบข้อ ๓๐๕ หน้า ๒๖๒ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๗๔ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๔ ประการ

(ญ) ธรรม ๓ ประการที่ควรทำให้แจ้ง คืออะไร
คือ วิชชา๑ ๓ ได้แก่
๑. วิชชา คือความหยั่งรู้ที่ทำให้ระลึกถึงชาติก่อนได้
๒. วิชชา คือความหยั่งรู้การจุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย
๓. วิชชา คือความหยั่งรู้ในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
นี้ คือธรรม ๓ ประการที่ควรทำให้แจ้ง
ธรรม ๓๐ ประการนี้ เป็นของจริง เป็นของแท้ แน่นอน ไม่ผิดพลาด ไม่เป็น
อย่างอื่น ที่พระตถาคตตรัสรู้แล้วโดยชอบ ด้วยประการฉะนี้

ธรรม ๔ ประการ

[๓๕๔] ธรรม ๔ ประการที่มีอุปการะมาก___ธรรม ๔ ประการที่ควรเจริญ
ธรรม ๔ ประการที่ควรกำหนดรู้___ธรรม ๔ ประการที่ควรละ
ธรรม ๔ ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม___ธรรม ๔ ประการที่เป็นไปในฝ่าย
คุณวิเศษ
ธรรม ๔ ประการที่แทงตลอดได้ยาก___ธรรม ๔ ประการที่ควรให้เกิดขึ้น
ธรรม ๔ ประการที่ควรรู้ยิ่ง___ธรรม ๔ ประการที่ควรทำให้แจ้ง

(ก) ธรรม ๔ ประการที่มีอุปการะมาก คืออะไร
คือ จักร๒ ๔ ได้แก่

๑. ปฏิรูปเทสวาสะ (การอยู่ในถิ่นที่ดี)
๒. สัปปุริสสังเสวะ (การคบหาสัตบุรุษ)
๓. อัตตสัมมาปณิธิ (การตั้งตนไว้ชอบ)
๔. ปุพเพกตปุญญตา (ความเป็นผู้ได้ทำความดีไว้ในก่อนแล้ว)

นี้ คือธรรม ๔ ประการที่มีอุปการะมาก

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบข้อ ๓๐๕ หน้า ๒๗๕ ในเล่มนี้
๒ ดูเทียบข้อ ๓๑๑ หน้า ๒๘๖ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๗๕ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๔ ประการ

(ข) ธรรม ๔ ประการที่ควรเจริญ คืออะไร
คือ สติปัฏฐาน๑ ๔ ได้แก่
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ...
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ...
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
นี้ คือธรรม ๔ ประการที่ควรเจริญ
(ค) ธรรม ๔ ประการที่ควรกำหนดรู้ คืออะไร
คือ อาหาร๒ ๔ ได้แก่

๑. กวฬิงการาหาร (อาหารคือคำข้าว) ทั้งหยาบและละเอียด
๒. ผัสสาหาร (อาหารคือผัสสะ)
๓. มโนสัญเจตนาหาร (อาหารคือมโนสัญเจตนา)
๔. วิญญาณาหาร (อาหารคือวิญญาณ)

นี้ คือธรรม ๔ ประการที่ควรกำหนดรู้
(ฆ) ธรรม ๔ ประการที่ควรละ คืออะไร
คือ โอฆะ๓ (ห้วงน้ำคือกิเลส) ๔ ได้แก่

๑. กาโมฆะ (โอฆะคือกาม)
๒. ภโวฆะ (โอฆะคือภพ)
๓. ทิฏโฐฆะ (โอฆะคือทิฏฐิ)
๔. อวิชโชฆะ (โอฆะคืออวิชชา)

นี้ คือธรรม ๔ ประการที่ควรละ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบข้อ ๓๐๖ หน้า ๒๗๖ ในเล่มนี้
๒ ดูเทียบข้อ ๓๑๑ หน้า ๒๘๗ ในเล่มนี้
๓ ดูเทียบข้อ ๓๑๑ หน้า ๒๙๒ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๗๖ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๔ ประการ

(ง) ธรรม ๔ ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม คืออะไร
คือ โยคะ๑ (เครื่องเกาะเกี่ยว) ๔ ได้แก่

๑. กามโยคะ (โยคะคือกาม)
๒. ภวโยคะ (โยคะคือภพ)
๓. ทิฏฐิโยคะ (โยคะคือทิฏฐิ)
๔. อวิชชาโยคะ (โยคะคืออวิชชา)

นี้ คือธรรม ๔ ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม
(จ) ธรรม ๔ ประการที่เป็นไปในฝ่ายคุณวิเศษ คืออะไร
คือ วิสังโยคะ๒ (ความพราก) ๔ ได้แก่

๑. กามโยควิสังโยคะ (ความพรากจากกามโยคะ)
๒. ภวโยควิสังโยคะ (ความพรากจากภวโยคะ)
๓. ทิฏฐิโยควิสังโยคะ (ความพรากจากทิฏฐิโยคะ)
๔. อวิชชาโยควิสังโยคะ (ความพรากจากอวิชชาโยคะ)

นี้ คือธรรม ๔ ประการที่เป็นไปในฝ่ายคุณวิเศษ
(ฉ) ธรรม ๔ ประการที่แทงตลอดได้ยาก คืออะไร
คือ สมาธิ ๔ ได้แก่

๑. หานภาคิยสมาธิ (สมาธิฝ่ายเสื่อม)
๒. ฐิติภาคิยสมาธิ (สมาธิฝ่ายดำรง)
๓. วิเสสภาคิยสมาธิ (สมาธิฝ่ายวิเศษ)
๔. นิพเพธภาคิยสมาธิ (สมาธิฝ่ายชำแรกกิเลส)

นี้ คือธรรม ๔ ประการที่แทงตลอดได้ยาก
(ช) ธรรม ๔ ประการที่ควรให้เกิดขึ้น คืออะไร
คือ ญาณ๓ ๔ ได้แก่
๑. ธัมมญาณ (ความรู้ในธรรม)
๒. อันวยญาณ (ความรู้ในการคล้อยตาม)

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบข้อ ๓๑๒ หน้า ๒๙๒ ในเล่มนี้
๒ ดูเทียบข้อ ๓๑๒ หน้า ๒๙๒ ในเล่มนี้
๓ ดูเทียบข้อ ๓๑๐ หน้า ๒๘๕ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๗๗ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๔ ประการ

๓. ปริยญาณ (ความรู้ในการกำหนดจิตของผู้อื่น)
๔. สัมมติญาณ (ความรู้ในสมมติ)

นี้ คือธรรม ๔ ประการที่ควรให้เกิดขึ้น
(ฌ) ธรรม ๔ ประการที่ควรรู้ยิ่ง คืออะไร
คือ อริยสัจ ๔ ได้แก่

๑. ทุกขอริยสัจ (อริยสัจคือทุกข์)
๒. ทุกขสมุทยอริยสัจ (อริยสัจคือเหตุเกิดแห่งทุกข์)
๓. ทุกขนิโรธอริยสัจ (อริยสัจคือความดับแห่งทุกข์)
๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ (อริยสัจคือข้อปฏิบัติให้ถึงความ
ดับแห่งทุกข์)

นี้ คือธรรม ๔ ประการที่ควรรู้ยิ่ง
(ญ) ธรรม ๔ ประการที่ควรทำให้แจ้ง คืออะไร
คือ สามัญญผล๑ (ผลแห่งความเป็นสมณะ) ๔ ได้แก่
๑. โสดาปัตติผล
๒. สกทาคามิผล
๓. อนาคามิผล
๔. อรหัตตผล
นี้ คือธรรม ๔ ประการที่ควรทำให้แจ้ง
ธรรม ๔๐ ประการนี้ เป็นของจริง เป็นของแท้ แน่นอน ไม่ผิดพลาด ไม่เป็น
อย่างอื่น ที่พระตถาคตตรัสรู้แล้วโดยชอบ ด้วยประการฉะนี้

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบข้อ ๓๑๑ หน้า ๒๘๕ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๗๘ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๕ ประการ

ธรรม ๕ ประการ

[๓๕๕] ธรรม ๕ ประการที่มีอุปการะมาก___ธรรม ๕ ประการที่ควรเจริญ
ธรรม ๕ ประการที่ควรกำหนดรู้___ธรรม ๕ ประการที่ควรละ
ธรรม ๕ ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม___ธรรม ๕ ประการที่เป็นไปในฝ่าย
คุณวิเศษ
ธรรม ๕ ประการที่แทงตลอดได้ยาก___ธรรม ๕ ประการที่ควรให้เกิดขึ้น
ธรรม ๕ ประการที่ควรรู้ยิ่ง___ธรรม ๕ ประการที่ควรทำให้แจ้ง

(ก) ธรรม ๕ ประการที่มีอุปการะมาก คืออะไร
คือ องค์ของผู้บำเพ็ญความเพียร๑ ๕ ได้แก่
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาเครื่องตรัสรู้ของพระตถาคตว่า
‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์
ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและ
จรณะ เสด็จไปดี ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้
อย่างยอดเยี่ยม เป็นพระศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’
๒. เป็นผู้มีอาพาธน้อย โรคเบาบาง ประกอบด้วยไฟธาตุสำหรับ
ย่อยอาหารสม่ำเสมอ ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก ปานกลาง เหมาะ
แก่การบำเพ็ญเพียร
๓. เป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา ทำตนให้เปิดเผยตามความเป็นจริง
ในพระศาสดา หรือเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลาย
๔. เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมเกิด
มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม
ทั้งหลายอยู่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบข้อ ๓๑๗ หน้า ๓๐๖ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๗๙ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๕ ประการ

๕. เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาเห็น
ความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความ
สิ้นทุกข์โดยชอบ
นี้ คือธรรม ๕ ประการที่มีอุปการะมาก
(ข) ธรรม ๕ ประการที่ควรเจริญ คืออะไร
คือ สัมมาสมาธิ ประกอบด้วยองค์ ๕ ได้แก่
๑. มีปีติแผ่ไป
๒. มีสุขแผ่ไป
๓. มีการกำหนดรู้จิตผู้อื่นแผ่ไป
๔. มีแสงสว่าง๑แผ่ไป
๕. ปัจจเวกขณญาณเป็นนิมิต
นี้ คือธรรม ๕ ประการที่ควรเจริญ
(ค) ธรรม ๕ ประการที่ควรกำหนดรู้ คืออะไร
คือ อุปาทานขันธ์๒ (กองแห่งความยึดมั่น) ๕ ได้แก่

๑. รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป)
๒. เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา)
๓. สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา)
๔. สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร)
๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ)

นี้ คือธรรม ๕ ประการที่ควรกำหนดรู้
(ฆ) ธรรม ๕ ประการที่ควรละ คืออะไร
คือ นิวรณ์๓ ๕ ได้แก่
๑. กามฉันทะ (ความพอใจในกาม)
๒. พยาบาท (ความคิดร้าย)

เชิงอรรถ :
๑ แสงสว่าง ในที่นี้หมายถึงทิพพจักขุ คือ ตาทิพย์ (ที.ปา.อ. ๓๕๕/๒๖๑)
๒ ดูเทียบข้อ ๓๑๕ หน้า ๓๐๐ ในเล่มนี้
๓ ดูเทียบข้อ ๓๑๕ หน้า ๓๐๑ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๘๐ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๕ ประการ

๓. ถีนมิทธะ (ความหดหู่และเซื่องซึม)
๔. อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ)
๕. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย)

นี้ คือธรรม ๕ ประการที่ควรละ
(ง) ธรรม ๕ ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม คืออะไร
คือ กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู๑ ๕ ได้แก่
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระศาสดา
จิตของภิกษุผู้เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสใน
พระศาสดานั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบ
เนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร การที่จิตของ
ภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อ
กระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องตึงจิต
ดุจตะปูประการที่ ๑
๒. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระธรรม ...
๓. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระสงฆ์ ...
๔. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในสิกขา (ข้อที่จะ
ต้องศึกษา) ...
๕. เป็นผู้โกรธ ไม่พอใจ มีจิตถูกโทสะ (ความคิดประทุษร้าย)
กระทบ มีจิตแข็งกระด้างในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย จิตของ
ภิกษุผู้โกรธ ไม่พอใจ มีจิตถูกโทสะกระทบ มีจิตแข็งกระด้าง
ในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร
เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร
การที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ
เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องตรึงจิต
ดุจตะปูประการที่ ๕
นี้ คือธรรม ๕ ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบข้อ ๓๑๙ หน้า ๓๐๘ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๘๑ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๕ ประการ

(จ) ธรรม ๕ ประการที่เป็นไปในฝ่ายคุณวิเศษ คืออะไร
คือ อินทรีย์๑ ๕ ได้แก่

๑. สัทธินทรีย์ (อินทรีย์คือศรัทธา)
๒. วิริยินทรีย์ (อินทรีย์คือวิริยะ)
๓. สตินทรีย์ (อินทรีย์คือสติ)
๔. สมาธินทรีย์ (อินทรีย์คือสมาธิ)
๕. ปัญญินทรีย์ (อินทรีย์คือปัญญา)

นี้ คือธรรม ๕ ประการที่เป็นไปในฝ่ายคุณวิเศษ
(ฉ) ธรรม ๕ ประการที่แทงตลอดได้ยาก คืออะไร
คือ ธาตุที่สลัด๒ ๕ ได้แก่
๑. เมื่อภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มนสิการกามทั้งหลาย จิตของ
เธอย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในกามทั้งหลาย
แต่เมื่อเธอมนสิการเนกขัมมะ จิตของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่
น้อมไปในเนกขัมมะ จิตนั้นของเธอชื่อว่าเป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว
อบรมดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้ว
จากกามทั้งหลาย เธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะและความเร่าร้อน
ที่ก่อความคับแค้น ซึ่งเกิดขึ้นเพราะกามเป็นปัจจัย เธอย่อม
ไม่เสวยเวทนานั้น นี้พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่าธาตุที่สลัดกาม
ทั้งหลาย
๒. เมื่อภิกษุมนสิการพยาบาท จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส
ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในพยาบาท แต่เมื่อเธอมนสิการอพยาบาท
จิตของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ น้อมไปในอพยาบาท
จิตนั้นของเธอชื่อว่าเป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ตั้งอยู่
ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้วจากพยาบาท เธอ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบข้อ ๓๒๐ หน้า ๓๑๐ ในเล่มนี้
๒ ดูเทียบข้อ ๓๒๑ หน้า ๓๑๑-๓๑๒ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๘๒ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๕ ประการ

หลุดพ้นแล้วจากอาสวะและความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้น
ซึ่งเกิดขึ้นเพราะพยาบาทเป็นปัจจัย เธอย่อมไม่เสวยเวทนานั้น
นี้พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่าธาตุที่สลัดพยาบาท
๓. เมื่อภิกษุมนสิการวิหิงสา จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส
ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในวิหิงสา แต่เมื่อเธอมนสิการอวิหิงสา จิต
ของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ น้อมไปในอวิหิงสา จิตนั้น
ของเธอชื่อว่าเป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้ว
หลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้วจากวิหิงสา เธอหลุดพ้นแล้ว
จากอาสวะและความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้น ซึ่งเกิดขึ้น
เพราะวิหิงสาเป็นปัจจัย เธอย่อมไม่เสวยเวทนานั้น นี้พระผู้มี
พระภาคตรัสเรียกว่าธาตุที่สลัดวิหิงสา
๔. เมื่อภิกษุมนสิการรูปทั้งหลาย จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป ไม่
เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในรูปทั้งหลาย แต่เมื่อเธอมนสิการ
อรูป จิตของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ น้อมไปในอรูป
จิตนั้นของเธอชื่อว่าเป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ตั้งอยู่
ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้วจากรูปทั้งหลาย เธอ
หลุดพ้นแล้วจากอาสวะและความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้น
ซึ่งเกิดขึ้นเพราะรูปเป็นปัจจัย เธอย่อมไม่เสวยเวทนานั้น
นี้พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่าธาตุที่สลัดรูปทั้งหลาย
๕. เมื่อภิกษุมนสิการสักกายะ จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป ไม่
เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในสักกายะ แต่เมื่อเธอมนสิการ
สักกายนิโรธ (ความดับแห่งสักกายะ) จิตของเธอจึงแล่นไป
เลื่อมใส ตั้งอยู่ น้อมไปในสักกายนิโรธ จิตของเธอชื่อว่าเป็น
จิตดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว
พรากออกดีแล้วจากสักกายะ เธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะและ
ความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้น ซึ่งเกิดขึ้นเพราะสักกายะเป็น
ปัจจัย เธอย่อมไม่เสวยเวทนานั้น นี้พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก
ว่าธาตุที่สลัดสักกายะ
นี้ คือธรรม ๕ ประการที่แทงตลอดได้ยาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๘๓ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๕ ประการ

(ช) ธรรม ๕ ประการที่ควรให้เกิดขึ้น คืออะไร
คือ สัมมาสมาธิ ประกอบด้วยญาณ๑ ๕ ได้แก่
๑. ญาณย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า “สมาธิ๒นี้มีสุขในปัจจุบัน และ
มีสุขเป็นวิบากต่อไป’
๒. ญาณย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า ‘สมาธินี้ เป็นอริยะ ปราศจาก
อามิส๓’
๓. ญาณย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า ‘สมาธินี้มิใช่บุรุษชั่ว๔เสพแล้ว’
๔. ญาณย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า ‘สมาธินี้ สงบ ประณีต ได้ด้วย
ความสงบระงับ บรรลุได้ด้วยภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น และ
มิใช่บรรลุได้ด้วยการข่ม(ธรรมที่เป็นข้าศึก) ห้ามกิเลส ด้วย
สสังขารจิต๕’
๕. ญาณย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า ‘เรานั้นมีสติ เข้าสมาธิ และเรา
มีสติออกจากสมาธินี้’
นี้ คือธรรม ๕ ประการที่ควรให้เกิดขึ้น
(ฌ) ธรรม ๕ ประการที่ควรรู้ยิ่ง คืออะไร
คือ วิมุตตายตนะ๖(เหตุแห่งความหลุดพ้น) ๕ ได้แก่
๑. พระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีบางรูปผู้ตั้งอยู่ในฐานะครูแสดง
ธรรมแก่ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เธอรู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรมใน
ธรรมนั้น ตามที่พระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีบางรูปผู้ตั้ง

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๒๗/๓๕-๓๖
๒ สมาธิ ในที่นี้หมายถึงอรหัตตผลสมาบัติ หรือมรรคสมาธิ (ที.ปา.อ. ๓๕๕/๒๖๑, องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๗/๙)
๓ อามิส ในที่นี้หมายถึงกาม วัฏฏะ และโลก (ที.ปา.อ. ๓๕๕/๒๖๑, องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๗/๙)
๔ มิใช่บุรุษชั่ว ในที่นี้หมายถึงมหาบุรุษมีพระพุทธเจ้า เป็นต้น (ที.ปา.อ. ๓๕๕/๒๖๑)
๕ สสังขารจิต แปลว่า จิตที่ถูกสังขารกระตุ้นเตือน ในที่นี้หมายถึงรูปาวจรกุศลจิต และอรูปาวจรกุศลจิต (ที.ปา.อ.
๓๕๕/๒๖๑-๒๖๒, ที.ปา.ฏีกา ๓๕๕/๓๕๙, องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๗/๙, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๒๗/๑๔)
๖ ดูเทียบข้อ ๓๒๒ หน้า ๓๑๓-๓๑๔ ในเล่มนี้, องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๒๖/๓๓-๓๕, ที.ปา.ฏีกา ๓๕๕/๓๕๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๘๔ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๕ ประการ

อยู่ในฐานะครูแสดงธรรมแก่เธอ เมื่อเธอรู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรม
ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมีปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจมีปีติ
กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบ ย่อมได้รับสุข เมื่อมีสุข จิตย่อม
ตั้งมั่น นี้เป็นวิมุตตายตนะประการที่ ๑
๒. พระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีบางรูปผู้ตั้งอยู่ในฐานะครูไม่
ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ แต่ภิกษุแสดงธรรมตามที่ตนได้สดับมา
ตามที่ตนได้เรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร เธอรู้แจ้งอรรถรู้แจ้ง
ธรรมในธรรมตามที่ตนได้สดับมาตามที่ตนได้เรียนมา ที่เธอ
แสดงแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร เมื่อเธอรู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรม ย่อม
เกิดปราโมทย์ เมื่อมีปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจมีปีติ
กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบ ย่อมได้รับสุข เมื่อมีสุข จิตย่อม
ตั้งมั่น นี้เป็นวิมุตตายตนะประการที่ ๒
๓. พระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีบางรูปผู้ตั้งอยู่ในฐานะครูไม่
ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมตามที่ตนได้
สดับมาตามที่ตนได้เรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร แต่ภิกษุ
สาธยายธรรมตามที่ได้สดับมาตามที่ตนได้เรียนมาโดยพิสดาร
เธอรู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรมในธรรมตามที่ตนได้สดับมาตามที่
ตนได้เรียนมา ที่เธอสาธยายโดยพิสดาร เมื่อเธอรู้แจ้งอรรถรู้
แจ้งธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมีปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ
เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบ ย่อมได้รับสุข เมื่อ
มีสุข จิตย่อมตั้งมั่น นี้เป็นวิมุตตายตนะประการที่ ๓
๔. พระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีบางรูปผู้ตั้งอยู่ในฐานะครูไม่ได้
แสดงธรรมแก่ภิกษุ แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมตามที่ตนได้สดับ
มาตามที่ตนได้เรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร ไม่ได้สาธยายธรรม
ตามที่ตนได้สดับมาตามที่ตนได้เรียนมาโดยพิสดาร ภิกษุตรึกตาม
ตรองตามเพ่งตามด้วยใจซึ่งธรรมตามที่ตนได้สดับมาตามที่ตน
ได้เรียนมา เธอรู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรมในธรรมตามที่ตนได้สดับมา
ตามที่ตนได้เรียนมา ที่เธอตรึกตามตรองตามเพ่งตามด้วยใจ
เมื่อเธอรู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๘๕ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๕ ประการ

ปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ เธอมี
กายสงบ ย่อมได้รับสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น นี้เป็น
วิมุตตายตนะประการที่ ๔
๕. พระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีบางรูปผู้ตั้งอยู่ในฐานะครูไม่ได้
แสดงธรรมแก่ภิกษุ แม้ภิกษุก็ไม่ได้ไปแสดงธรรมตามที่ตนได้
สดับมาตามที่ตนได้เรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร ไม่ได้สาธยาย
ธรรมตามที่ตนได้สดับมาตามที่ตนได้เรียนมาโดยพิสดาร และ
ไม่ได้ตรึกตาม ตรองตาม เพ่งตามด้วยใจซึ่งธรรมตามที่ตนได้
สดับมาตามที่ตนได้เรียนมา แต่เธอเรียนสมาธินิมิตอย่างใด
อย่างหนึ่งมาดี มนสิการดี ทรงจำไว้ดี แทงตลอดดีด้วยปัญญา
เธอรู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรมในธรรมนั้นตามที่เธอได้เรียนสมาธิ-
นิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งมาดี มนสิการดี ทรงจำไว้ดี แทงตลอด
ดีด้วยปัญญา เมื่อเธอรู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์
เมื่อมีปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ เธอมี
กายสงบ ย่อมได้รับสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น นี้เป็น
วิมุตตายตนะประการที่ ๕
นี้ คือธรรม ๕ ประการที่ควรรู้ยิ่ง
(ญ) ธรรม ๕ ประการที่ควรทำให้แจ้ง คืออะไร
คือ ธรรมขันธ์ ๕ ได้แก่

๑. สีลขันธ์ (กองศีล)
๒. สมาธิขันธ์ (กองสมาธิ)
๓. ปัญญาขันธ์ (กองปัญญา)
๔. วิมุตติขันธ์ (กองวิมุตติ)
๕. วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ (กองวิมุตติญาณทัสสนะ)

นี้ คือธรรม ๕ ประการที่ควรทำให้แจ้ง
ธรรม ๕๐ ประการนี้ เป็นของจริง เป็นของแท้ แน่นอน ไม่ผิดพลาด ไม่เป็น
อย่างอื่น ที่พระตถาคตตรัสรู้แล้วโดยชอบ ด้วยประการฉะนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๘๖ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๖ ประการ

ธรรม ๖ ประการ

[๓๕๖] ธรรม ๖ ประการที่มีอุปการะมาก___ธรรม ๖ ประการที่ควรเจริญ
ธรรม ๖ ประการที่ควรกำหนดรู้___ธรรม ๖ ประการที่ควรละ
ธรรม ๖ ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม___ธรรม ๖ ประการที่เป็นไปในฝ่าย
คุณวิเศษ
ธรรม ๖ ประการที่แทงตลอดได้ยาก___ธรรม ๖ ประการที่ควรให้เกิดขึ้น
ธรรม ๖ ประการที่ควรรู้ยิ่ง___ธรรม ๖ ประการที่ควรทำให้แจ้ง

(ก) ธรรม ๖ ประการที่มีอุปการะมาก คืออะไร
คือ สารณียธรรม๑ ๖ ได้แก่
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. ตั้งมั่นเมตตากายกรรม๒ในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งในที่
แจ้งและในที่ลับ๓ นี้เป็นสารณียธรรมที่ทำให้เป็นที่รัก ทำให้
เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่
วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๒. ตั้งมั่นเมตตาวจีกรรมในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งในที่แจ้ง
และในที่ลับ แม้นี้ก็เป็นสารณียธรรม ที่ทำให้เป็นที่รัก ทำให้
เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่
วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๓. ตั้งมั่นเมตตามโนกรรมในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งในที่แจ้ง
และในที่ลับ แม้นี้ก็เป็นสารณียธรรม ฯลฯ เป็นไปเพื่อความ
สงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน
เพื่อความเป็นอันเดียวกัน

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบข้อ ๓๒๔ หน้า ๓๒๑ ในเล่มนี้, องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๑๒/๔๒๗-๔๒๘
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๓๒๔ หน้า ๓๒๑ ในเล่มนี้
๓ ทั้งในที่แจ้งและในที่ลับ ในที่นี้หมายถึงทั้งต่อหน้าและลับหลัง (ที.ม.อ. ๑๔๑/๑๓๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๘๗ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๖ ประการ

๔. บริโภคโดยไม่แบ่งแยก๑ลาภทั้งหลายที่ประกอบด้วยธรรม ได้มา
โดยธรรม โดยที่สุดแม้เพียงบิณฑบาต (อาหารในบาตร) บริโภค
รวมกับเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายผู้มีศีล แม้นี้ก็เป็นสารณียธรรม
ฯลฯ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน
เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๕. มีศีลไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท ท่านผู้รู้สรรเสริญ
ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ เป็นไปเพื่อสมาธิ เสมอกันกับ
เพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งในที่แจ้งและในที่ลับ แม้นี้ก็เป็น
สารณียธรรมที่ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อ
ความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน
เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๖. มีอริยทิฏฐิ๒ อันเป็นธรรมเครื่องนำออก๓เพื่อความสิ้นทุกข์
โดยชอบแก่ผู้ทำตาม เสมอกันกับเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ทั้งในที่แจ้งและในที่ลับ แม้นี้ก็เป็นสารณียธรรมที่ทำให้เป็น
ที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อ
ความไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอัน
เดียวกัน
นี้ คือธรรม ๖ ประการที่มีอุปการะมาก
(ข) ธรรม ๖ ประการที่ควรเจริญ คืออะไร
คือ อนุสสติฏฐาน๔ ๖ ได้แก่
๑. พุทธานุสสติ (การระลึกถึงพระพุทธเจ้า)
๒. ธัมมานุสสติ (การระลึกถึงพระธรรม)
๓. สังฆานุสสติ (การระลึกถึงพระสงฆ์)

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๓ ข้อ ๓๒๔ หน้า ๓๒๑ ในเล่มนี้
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๓๒๔ หน้า ๓๒๒ ในเล่มนี้
๓ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๓๒๔ หน้า ๓๒๒ ในเล่มนี้
๔ ดูเชิงอรรถที่ ๓ ข้อ ๓๒๗ หน้า ๓๒๘ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๘๘ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๖ ประการ

๔. สีลานุสสติ (การระลึกถึงศีล)
๕. จาคานุสสติ (การระลึกถึงการบริจาค)
๖. เทวตานุสสติ (การระลึกถึงเทวดา)
นี้ คือธรรม ๖ ประการที่ควรเจริญ
(ค) ธรรม ๖ ประการที่ควรกำหนดรู้ คืออะไร
คือ อายตนะภายใน๑ ๖ ได้แก่

๑. จักขวายตนะ (อายตนะคือตา)
๒. โสตายตนะ (อายตนะคือหู)
๓. ฆานายตนะ (อายตนะคือจมูก)
๔. ชิวหายตนะ (อายตนะคือลิ้น)
๕. กายายตนะ (อายตนะคือกาย)
๖. มนายตนะ (อายตนะคือใจ)

นี้ คือธรรม ๖ ประการที่ควรกำหนดรู้
(ฆ) ธรรม ๖ ประการที่ควรละ คืออะไร
คือ หมวดตัณหา๒ ๖ ได้แก่

๑. รูปตัณหา (ความอยากได้รูป)
๒. สัททตัณหา (ความอยากได้เสียง)
๓. คันธตัณหา (ความอยากได้กลิ่น)
๔. รสตัณหา (ความอยากได้รส)
๕. โผฏฐัพพตัณหา (ความอยากได้โผฏฐัพพะ)
๖. ธัมมตัณหา (ความอยากได้ธรรมารมณ์)

นี้ คือธรรม ๖ ประการที่ควรละ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบข้อ ๓๒๓ หน้า ๓๑๕ ในเล่มนี้, สํ.นิ. (แปล) ๑๖/๒/๖
๒ ดูเทียบข้อ ๓๒๓ หน้า ๓๑๘ ในเล่มนี้, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๔๔/๖๐๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๘๙ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๖ ประการ

(ง) ธรรม ๖ ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม คืออะไร
คือ อคารวะ๑ ๖ ได้แก่
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระศาสดา
๒. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระธรรม
๓. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระสงฆ์
๔. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในสิกขา
๕. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในความไม่ประมาท
๖. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในปฏิสันถาร
นี้ คือธรรม ๖ ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม
(จ) ธรรม ๖ ประการที่เป็นไปในฝ่ายคุณวิเศษ คืออะไร
คือ คารวะ๒ ๖ ได้แก่
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในพระศาสดา
๒. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในพระธรรม
๓. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในพระสงฆ์
๔. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในสิกขา
๕. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในความไม่ประมาท
๖. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในปฏิสันถาร
นี้ คือธรรม ๖ ประการที่เป็นไปในฝ่ายคุณวิเศษ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบข้อ ๓๒๔ หน้า ๓๑๙ ในเล่มนี้
๒ ดูเทียบข้อ ๓๒๔ หน้า ๓๑๙ ในเล่มนี้, องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๓๒/๔๗๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๙๐ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๖ ประการ

(ฉ) ธรรม ๖ ประการที่แทงตลอดได้ยาก คืออะไร
คือ ธาตุที่สลัด๑ ๖ ได้แก่
๑. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าได้เจริญ
เมตตาเจโตวิมุตติ๒แล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว
ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว
แต่พยาบาท (ความคิดร้าย) ก็ยังครอบงำจิตของข้าพเจ้าอยู่’
ภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวตักเตือนเธอว่า ‘อย่าได้กล่าวอย่างนี้เลย
ผู้มีอายุ อย่าได้กล่าวอย่างนี้ ผู้มีอายุ อย่าได้กล่าวตู่พระผู้มี
พระภาค เพราะการกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย พระผู้มี
พระภาคไม่ตรัสอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุได้
เจริญเมตตาเจโตวิมุตติแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยาน
แล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว
แต่พยาบาทก็ยังครอบงำจิตของภิกษุนั้นอยู่’ ข้อนั้นเป็นไป
ไม่ได้เลย เพราะเมตตาเจโตวิมุตตินี้เป็นธาตุที่สลัดพยาบาท
๒. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าได้เจริญ
กรุณาเจโตวิมุตติแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว
ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว
แต่วิหิงสา (ความเบียดเบียน) ก็ยังครอบงำจิตของข้าพเจ้าอยู่’
ภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวตักเตือนเธอว่า ‘อย่าได้กล่าวอย่างนี้เลย
ผู้มีอายุ อย่าได้กล่าวอย่างนี้ ผู้มีอายุ อย่าได้กล่าวตู่พระผู้มี
พระภาค เพราะการกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย พระผู้มี
พระภาคไม่ตรัสอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุ
ได้เจริญกรุณาเจโตวิมุตติแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบข้อ ๓๒๕ หน้า ๓๒๕ ในเล่มนี้, องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๑๓/๔๒๙-๔๓๑
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๓๒๖ หน้า ๓๒๕ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๙๑ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๖ ประการ

ยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว
ปรารภดีแล้ว แต่วิหิงสาก็ยังครอบงำจิตของภิกษุนั้นอยู่’ ข้อนั้น
เป็นไปไม่ได้เลย เพราะกรุณาเจโตวิมุตตินี้เป็นธาตุที่สลัดวิหิงสา
๓. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าได้เจริญ
มุทิตาเจโตวิมุตติแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว
ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว
แต่อรติ (ความไม่ยินดี) ก็ยังครอบงำจิตของข้าพเจ้าอยู่’ ภิกษุ
ทั้งหลายพึงกล่าวตักเตือนเธอว่า ‘อย่าได้กล่าวอย่างนี้เลย ผู้มี
อายุ อย่าได้กล่าวอย่างนี้ ผู้มีอายุ อย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค
เพราะการกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาค
ไม่ตรัสอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุได้เจริญมุทิตา-
เจโตวิมุตติแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้
เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่อรติ
ก็ยังครอบงำจิตของภิกษุนั้นอยู่’ ข้อนั้นเป็นไปไม่ได้เลย เพราะ
มุทิตาเจโตวิมุตตินี้เป็นธาตุที่สลัดอรติ
๔. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าได้เจริญ
อุเบกขาเจโตวิมุตติแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว
ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว
แต่ราคะ (ความกำหนัดยินดี) ก็ยังครอบงำจิตของข้าพเจ้าอยู่’
ภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวตักเตือนเธอว่า ‘อย่าได้กล่าวอย่างนี้เลย
ผู้มีอายุ อย่าได้กล่าวอย่างนี้ ผู้มีอายุ อย่าได้กล่าวตู่พระผู้มี
พระภาค เพราะการกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย พระผู้มี
พระภาคไม่ตรัสอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุได้
เจริญอุเบกขาเจโตวิมุตติแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจ
ยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภ
ดีแล้ว แต่ราคะก็ยังครอบงำจิตของภิกษุนั้นอยู่’ ข้อนั้นเป็นไป
ไม่ได้เลย เพราะอุเบกขาเจโตวิมุตตินี้เป็นธาตุที่สลัดราคะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๙๒ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๖ ประการ

๕. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าได้เจริญ
อนิมิตตาเจโตวิมุตติ๑แล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว
ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว
แต่วิญญาณของข้าพเจ้าก็ยังแส่หานิมิตอยู่’ ภิกษุทั้งหลายพึง
กล่าวตักเตือนเธอว่า ‘อย่าได้กล่าวอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ อย่าได้
กล่าวอย่างนี้ ผู้มีอายุ อย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค เพราะ
การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาคไม่ตรัส
อย่างนี้เลย ผู้มีอายุ เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุได้เจริญอนิมิตตา-
เจโตวิมุตติแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็น
ที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่วิญญาณ
ของภิกษุนั้นก็ยังแส่หานิมิตอยู่’ ข้อนั้นเป็นไปไม่ได้เลย เพราะ
อนิมิตตาเจโตวิมุตตินี้เป็นธาตุที่สลัดนิมิตทั้งปวง
๖. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าปราศจาก
อัสมิมานะแล้ว และไม่พิจารณาเห็นว่า ‘เราเป็นนี้’ แต่ลูกศร
คือความเคลือบแคลงสงสัยก็ยังครอบงำจิตของข้าพเจ้าอยู่’
ภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวตักเตือนเธอว่า ‘อย่าได้กล่าวอย่างนี้เลย
ผู้มีอายุ อย่าได้กล่าวอย่างนี้ ผู้มีอายุ อย่าได้กล่าวตู่พระผู้มี
พระภาค เพราะการกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย พระผู้มี
พระภาคไม่ตรัสอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุ
ปราศจากอัสมิมานะแล้ว และไม่พิจารณาเห็นว่า ‘เราเป็นนี้’
แต่ลูกศรคือความเคลือบแคลงสงสัยก็ยังครอบงำจิตของภิกษุนั้นอยู่’
ข้อนั้นเป็นไปไม่ได้เลย เพราะสภาวะที่ถอนอัสมิมานะ๒นี้เป็น
ธาตุที่สลัดลูกศรคือความเคลือบแคลงสงสัย’
นี้ คือธรรม ๖ ประการที่แทงตลอดได้ยาก

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๓๒๖ หน้า ๓๒๗ ในเล่มนี้
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๓๒๖ หน้า ๓๒๘ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๙๓ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๖ ประการ

(ช) ธรรม ๖ ประการที่ควรให้เกิดขึ้น คืออะไร
คือ สตตวิหารธรรม๑ (ธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นนิตย์ของพระขีณาสพ) ๖ ได้แก่
๑. เห็นรูปทางตาแล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มี
สติสัมปชัญญะอยู่
๒. ฟังเสียงทางหู ...
๓. ดมกลิ่นทางจมูก ...
๔. ลิ้มรสทางลิ้น ...
๕. ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ...
๖. รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา
มีสติสัมปชัญญะอยู่
นี้ คือธรรม ๖ ประการที่ควรให้เกิดขึ้น
(ฌ) ธรรม ๖ ประการที่ควรรู้ยิ่ง คืออะไร
คือ อนุตตริยะ๒ (ยอดเยี่ยม) ๖ ได้แก่

๑. ทัสสนานุตตริยะ (การเห็นอันยอดเยี่ยม)
๒. สวนานุตตริยะ (การฟังอันยอดเยี่ยม)
๓. ลาภานุตตริยะ (การได้อันยอดเยี่ยม)
๔. สิกขานุตตริยะ (การศึกษาอันยอดเยี่ยม)
๕. ปาริจริยานุตตริยะ (การบำรุงอันยอดเยี่ยม)
๖. อนุสสตานุตตริยะ (การระลึกอันยอดเยี่ยม)

นี้ คือธรรม ๖ ประการที่ควรรู้ยิ่ง
(ญ) ธรรม ๖ ประการที่ควรทำให้แจ้ง คืออะไร
คือ อภิญญา ๖ ได้แก่
๑. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียว
แสดงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ แสดง
ให้ปรากฏ หรือแสดงให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา กำแพง (และ)ภูเขา

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบข้อ ๓๒๘ หน้า ๓๒๙ ในเล่มนี้
๒ ดูเทียบข้อ ๓๒๗ หน้า ๓๒๘ ในเล่มนี้, องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๘/๔๑๙-๔๒๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๙๔ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๖ ประการ

ไปได้ไม่ติดขัด เหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นหรือดำลงในแผ่น
ดินเหมือนไปในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำโดยที่น้ำไม่แยกเหมือนเดิน
บนแผ่นดินก็ได้ นั่งขัดสมาธิเหาะไปในอากาศ เหมือนนกบิน
ไปก็ได้ ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ อันมีฤทธิ์มาก
มีอานุภาพมากก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้
๒. ภิกษุนั้นได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ทั้ง
ที่อยู่ไกลและใกล้ด้วยหูทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์
๓. ภิกษุนั้นกำหนดรู้จิตของสัตว์และคนอื่นด้วยจิตของตน คือ จิต
มีราคะก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือปราศจากราคะก็รู้ว่าปราศจาก
ราคะ จิตมีโทสะก็รู้ว่ามีโทสะ หรือปราศจากโทสะก็รู้ว่า
ปราศจากโทสะ จิตมีโมหะก็รู้ว่ามีโมหะ หรือปราศจากโมหะ
ก็รู้ว่าปราศจากโมหะ จิตหดหู่ก็รู้ว่าหดหู่ หรือฟุ้งซ่านก็รู้ว่า
ฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหัคคตะก็รู้ว่าเป็นมหัคคตะ หรือไม่เป็น
มหัคคตะก็รู้ว่าไม่เป็นมหัคคตะ จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่ามีจิต
อื่นยิ่งกว่า หรือไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่าไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิต
เป็นสมาธิก็รู้ว่าเป็นสมาธิ หรือไม่เป็นสมาธิก็รู้ว่าไม่เป็นสมาธิ
จิตหลุดพ้นก็รู้ว่าหลุดพ้น หรือไม่หลุดพ้นก็รู้ว่าไม่หลุดพ้น
๔. ภิกษุนั้น ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติ
บ้าง ๓ ชาติบ้าง ๔ ชาติบ้าง ๕ ชาติบ้าง ๑๐ ชาติบ้าง
๒๐ ชาติบ้าง ๓๐ ชาติบ้าง ๔๐ ชาติบ้าง ๕๐ ชาติบ้าง
๑๐๐ ชาติบ้าง ๑,๐๐๐ ชาติบ้าง ๑๐๐,๐๐๐ ชาติบ้าง ตลอด
สังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง
ตลอดสังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ว่า ‘ในภพโน้น
เรามีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์
และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นแล้วก็ไปเกิดในภพโน้น ในภพ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๙๕ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๖ ประการ

นั้นเราก็มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุข
ทุกข์ และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นแล้วจึงมาเกิดในภพนี้’
เธอระลึกชาติก่อนได้หลายชาติพร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและ
ชีวประวัติอย่างนี้
๕. ภิกษุนั้นเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง
งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์
เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า ‘หมู่สัตว์ที่
ประกอบกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต กล่าวร้ายพระ
อริยะ มีความเห็นผิด และชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความ
เห็นผิด พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปบังเกิดในอบาย ทุคติ
วินิบาต นรก แต่หมู่สัตว์ที่ประกอบกายสุจริต วจีสุจริต และ
มโนสุจริต ไม่กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นชอบ และ
ชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นชอบ พวกเขาหลังจาก
ตายแล้วจะไปบังเกิดในสุคติโลกสวรรค์’ เธอเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลัง
จุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและ
เกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์
ผู้เป็นไปตามกรรมอย่างนี้แล
๖. ภิกษุนั้นทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ
เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
นี้ คือธรรม ๖ ประการที่ควรทำให้แจ้ง
ธรรม ๖๐ ประการนี้ เป็นของจริง เป็นของแท้ แน่นอน ไม่ผิดพลาด ไม่เป็น
อย่างอื่น ที่พระตถาคตตรัสรู้แล้วโดยชอบ ด้วยประการฉะนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๙๖ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๗ ประการ

ธรรม ๗ ประการ

[๓๕๗] ธรรม ๗ ประการที่มีอุปการะมาก___ธรรม ๗ ประการที่ควรเจริญ
ธรรม ๗ ประการที่ควรกำหนดรู้___ธรรม ๗ ประการที่ควรละ
ธรรม ๗ ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม___ธรรม ๗ ประการที่เป็นไปในฝ่าย
คุณวิเศษ
ธรรม ๗ ประการที่แทงตลอดได้ยาก___ธรรม ๗ ประการที่ควรให้เกิดขึ้น
ธรรม ๗ ประการที่ควรรู้ยิ่ง___ธรรม ๗ ประการที่ควรทำให้แจ้ง

(ก) ธรรม ๗ ประการที่มีอุปการะมาก คืออะไร
คือ อริยทรัพย์๑ ๗ ได้แก่

๑. สัทธาธนะ (ทรัพย์คือศรัทธา)
๒. สีลธนะ (ทรัพย์คือศีล)
๓. หิริธนะ (ทรัพย์คือหิริ)
๔. โอตตัปปธนะ (ทรัพย์คือโอตตัปปะ)
๕. สุตธนะ (ทรัพย์คือสุตะ)
๖. จาคธนะ (ทรัพย์คือจาคะ)
๗. ปัญญาธนะ (ทรัพย์คือปัญญา)

นี้ คือธรรม ๗ ประการที่มีอุปการะมาก
(ข) ธรรม ๗ ประการที่ควรเจริญ คืออะไร
คือ สัมโพชฌงค์๒ ๗ ได้แก่
๑. สติสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความระลึกได้)
๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความ
เฟ้นธรรม)
๓. วิริยสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความเพียร)
๔. ปีติสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความอิ่มใจ)

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบข้อ ๓๓๐ หน้า ๓๓๑ ในเล่มนี้, องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๕/๘
๒ ดูเทียบข้อ ๓๓๐ หน้า ๓๓๑ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๙๗ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๗ ประการ

๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความสงบ
กายสงบใจ)
๖. สมาธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความตั้ง
จิตมั่น)
๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความวางใจ
เป็นกลาง)
นี้ คือธรรม ๗ ประการที่ควรเจริญ
(ค) ธรรม ๗ ประการที่ควรกำหนดรู้ คืออะไร
คือ วิญญาณฐิติ๑ ๗ ได้แก่
๑. มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน คือ มนุษย์
เทพบางพวก และวินิปาติกะบางพวก นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๑
๒. มีสัตว์ทั้งหลายมีกายต่างกัน แต่มีสัญญาอย่างเดียวกัน คือ
พวกเทพชั้นพรหมกายิกา (เทพผู้นับเนื่องในหมู่พรหม) เกิดใน
ปฐมฌาน นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๒
๓. มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายอย่างเดียวกัน แต่มีสัญญาต่างกัน คือ
พวกเทพชั้นอาภัสสระ นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๓
๔. มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน
คือ พวกเทพชั้นสุภกิณหะ (เทพผู้เต็มไปด้วยความงดงาม) นี้
เป็นวิญญาณฐิติที่ ๔
๕. มีสัตว์ทั้งหลายบรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า
“อากาศหาที่สุดมิได้” เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา
ไม่กำหนดนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิญญาณ-
ฐิติที่ ๕
๖. มีสัตว์ทั้งหลายล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง
บรรลุวิญญาณัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า “วิญญาณหาที่สุด
มิได้” นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๖

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบข้อ ๓๓๒ หน้า ๓๓๕-๓๓๖ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๙๘ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๗ ประการ

๗. มีสัตว์ทั้งหลายล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง
บรรลุอากิญจัญญายตนฌานโดยกำหนดว่า “ไม่มีอะไร” นี้
เป็นวิญญาณฐิติที่ ๗
นี้ คือธรรม ๗ ประการที่ควรกำหนดรู้
(ฆ) ธรรม ๗ ประการที่ควรละ คืออะไร
คือ อนุสัย๑ ๗ ได้แก่

๑. กามราคานุสัย (อนุสัยคือความกำหนัดในกาม)
๒. ปฏิฆานุสัย (อนุสัยคือความยินร้าย)
๓. ทิฏฐานุสัย (อนุสัยคือความเห็นผิด)
๔. วิจิกิจฉานุสัย (อนุสัยคือความลังเลสงสัย)
๕. มานานุสัย (อนุสัยคือความถือตัว)
๖. ภวราคานุสัย (อนุสัยคือความติดใจในภพ)
๗. อวิชชานุสัย (อนุสัยคือความไม่รู้แจ้ง)

นี้ คือธรรม ๗ ประการที่ควรละ
(ง) ธรรม ๗ ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม คืออะไร
คือ อสัทธรรม๒ ๗ ได้แก่
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ไม่มีศรัทธา
๒. เป็นผู้ไม่มีหิริ
๓. เป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ
๔. เป็นผู้มีสุตะน้อย
๕. เป็นผู้เกียจคร้าน
๖. เป็นผู้มีสติหลงลืม
๗. เป็นผู้มีปัญญาทราม
นี้ คือธรรม ๗ ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบข้อ ๓๓๒ หน้า ๓๓๗ ในเล่มนี้, องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๑๑/๑๗
๒ ดูเทียบข้อ ๓๓๐ หน้า ๓๓๒ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๓๙๙ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๗ ประการ

(จ) ธรรม ๗ ประการที่เป็นไปในฝ่ายคุณวิเศษ คืออะไร
คือ สัทธรรม๑ ๗ ได้แก่
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีศรัทธา
๒. เป็นผู้มีหิริ
๓. เป็นผู้มีโอตตัปปะ
๔. เป็นพหูสูต
๕. เป็นผู้ปรารภความเพียร
๖. เป็นผู้มีสติมั่นคง
๗. เป็นผู้มีปัญญา
นี้ คือธรรม ๗ ประการที่เป็นไปในฝ่ายคุณวิเศษ
(ฉ) ธรรม ๗ ประการที่แทงตลอดได้ยาก คืออะไร
คือ สัปปุริสธรรม๒ ๗ ได้แก่
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

๑. เป็นธัมมัญญู (ผู้รู้จักเหตุ)
๒. เป็นอัตถัญญู (ผู้รู้จักผล)
๓. เป็นอัตตัญญู (ผู้รู้จักตน)
๔. เป็นมัตตัญญู (ผู้รู้จักประมาณ)
๕. เป็นกาลัญญู (ผู้รู้จักเวลา)
๖. เป็นปริสัญญู (ผู้รู้จักชุมชน)
๗. เป็นปุคคลัญญู (ผู้รู้จักบุคคล)

นี้ คือธรรม ๗ ประการที่แทงตลอดได้ยาก

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบข้อ ๓๓๐ หน้า ๓๓๒-๓๓๓ ในเล่มนี้
๒ ดูเทียบข้อ ๓๓๐ หน้า ๓๓๓ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๔๐๐ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๗ ประการ

(ช) ธรรม ๗ ประการที่ควรให้เกิดขึ้น คืออะไร
คือ สัญญา๑ ๗ ได้แก่

๑. อนิจจสัญญา (กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร)
๒. อนัตตสัญญา (กำหนดหมายความเป็นอนัตตาแห่งธรรมทั้งปวง)
๓. อสุภสัญญา (กำหนดหมายความไม่งามแห่งกาย)
๔. อาทีนวสัญญา (กำหนดหมายทุกข์โทษของกายอันมีความ
เจ็บไข้ต่าง ๆ)
๕. ปหานสัญญา (กำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตกและบาปธรรม
ทั้งหลาย)
๖. วิราคสัญญา (กำหนดหมายวิราคะว่าเป็นธรรมละเอียดประณีต)
๗. นิโรธสัญญา (กำหนดหมายนิโรธว่าเป็นธรรมละเอียดประณีต)

นี้ คือธรรม ๗ ประการที่ควรให้เกิดขึ้น
(ฌ) ธรรม ๗ ประการที่ควรรู้ยิ่ง คืออะไร
คือ นิททสวัตถุ๒ ๗ ได้แก่
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการสมาทานสิกขา และไม่
ปราศจากความรัก๓ในการสมาทานสิกขาต่อไป
๒. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการใคร่ครวญธรรม และไม่
ปราศจากความรักในการใคร่ครวญธรรมต่อไป
๓. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการกำจัดความอยาก และไม่
ปราศจากความรักในการกำจัดความอยากต่อไป
๔. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการหลีกเร้น และไม่ปราศจาก
ความรักในการหลีกเร้นต่อไป
๕. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการปรารภความเพียร และไม่
ปราศจากความรักในการปรารภความเพียรต่อไป

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบข้อ ๓๓๑ หน้า ๓๓๔ ในเล่มนี้, องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๔๒/๖๓
๒ ดูเทียบข้อ ๓๓๑ หน้า ๓๓๓-๓๓๔ ในเล่มนี้, องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๖๒๔/๑๘๙
๓ ดูเชิงอรรถที่ ๔ ข้อ ๓๓๑ หน้า ๓๓๓ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๔๐๑ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๗ ประการ

๖. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในสติปัญญาเครื่องรักษาตน และ
ไม่ปราศจากความรักในสติปัญญาเครื่องรักษาตนต่อไป
๗. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการแทงตลอดทิฏฐิ และไม่
ปราศจากความรักในการแทงตลอดทิฏฐิต่อไป
นี้ คือธรรม ๗ ประการที่ควรรู้ยิ่ง
(ญ) ธรรม ๗ ประการที่ควรทำให้แจ้ง คืออะไร
คือ กำลังของพระขีณาสพ ๗ ได้แก่
๑. สังขารทั้งปวงเป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพในพระธรรมวินัยนี้เห็น
ว่าเป็นสภาวะไม่เที่ยงด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง
ข้อที่สังขารทั้งปวงเป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเห็นว่าเป็นสภาวะ
ไม่เที่ยงด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง นี้เป็นกำลังของ
ภิกษุขีณาสพที่ภิกษุขีณาสพอาศัยปฏิญญาความสิ้นอาสวะ
ทั้งหลายว่า “อาสวะของเราสิ้นแล้ว”
๒. กามทั้งหลายเป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเห็นว่าเปรียบด้วยหลุม
ถ่านเพลิงด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง แม้ข้อที่กาม
ทั้งหลายเป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเห็นว่าเปรียบด้วยหลุมถ่าน
เพลิงด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง นี้ก็เป็นกำลังของ
ภิกษุขีณาสพที่ภิกษุขีณาสพอาศัยปฏิญญาความสิ้นอาสวะ
ทั้งหลายว่า “อาสวะของเราสิ้นแล้ว”
๓. จิตของภิกษุขีณาสพเป็นธรรมชาติน้อมไปในวิเวก โน้มไปใน
วิเวก โอนไปในวิเวก ตั้งอยู่ในวิเวก ยินดียิ่งในเนกขัมมะ
ปราศจากเงื่อนธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะโดยประการทั้งปวง
แม้ข้อที่จิตของภิกษุขีณาสพเป็นธรรมชาติน้อมไปในวิเวก โน้ม
ไปในวิเวก โอนไปในวิเวก ตั้งอยู่ในวิเวก ยินดียิ่งในเนกขัมมะ
ปราศจากเงื่อนธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะโดยประการทั้งปวง
นี้ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพที่ภิกษุขีณาสพอาศัยปฏิญญา
ความสิ้นอาสวะทั้งหลายว่า “อาสวะของเราสิ้นแล้ว”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๔๐๒ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๗ ประการ

๔. สติปัฏฐาน ๔ เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว แม้
ข้อที่สติปัฏฐาน ๔ เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว
นี้ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพที่ภิกษุขีณาสพอาศัยปฏิญญา
ความสิ้นอาสวะทั้งหลายว่า “อาสวะของเราสิ้นแล้ว”
๕. อินทรีย์ ๕ เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว แม้ข้อ
ที่อินทรีย์ ๕ เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว นี้ก็เป็น
กำลังของภิกษุขีณาสพที่ภิกษุขีณาสพอาศัยปฏิญญาความสิ้น
อาสวะทั้งหลายว่า “อาสวะของเราสิ้นแล้ว”
๖. โพชฌงค์ ๗ เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว แม้ข้อ
ที่โพชฌงค์ ๗ เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว นี้ก็
เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพที่ภิกษุขีณาสพอาศัยปฏิญญาความ
สิ้นอาสวะทั้งหลายว่า “อาสวะของเราสิ้นแล้ว”
๗. อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว
แม้ข้อที่อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญ
อบรมดีแล้ว นี้ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพที่ภิกษุขีณาสพ
อาศัยปฏิญญาความสิ้นอาสวะทั้งหลายว่า “อาสวะของเรา
สิ้นแล้ว”
นี้ คือธรรม ๗ ประการที่ควรทำให้แจ้ง
ธรรม ๗๐ ประการนี้ เป็นของจริง เป็นของแท้ แน่นอน ไม่ผิดพลาด ไม่เป็น
อย่างอื่น ที่พระตถาคตตรัสรู้แล้วโดยชอบ ด้วยประการฉะนี้

ภาณวารที่ ๑ จบ


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๘ ประการ

ธรรม ๘ ประการ

[๓๕๘] ธรรม ๘ ประการที่มีอุปการะมาก___ธรรม ๘ ประการที่ควรเจริญ
ธรรม ๘ ประการที่ควรกำหนดรู้___ธรรม ๘ ประการที่ควรละ
ธรรม ๘ ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม___ธรรม ๘ ประการที่เป็นไปในฝ่าย
คุณวิเศษ
ธรรม ๘ ประการที่แทงตลอดได้ยาก___ธรรม ๘ ประการที่ควรให้เกิดขึ้น
ธรรม ๘ ประการที่ควรรู้ยิ่ง___ธรรม ๘ ประการที่ควรทำให้แจ้ง

(ก) ธรรม ๘ ประการที่มีอุปการะมาก คืออะไร
คือ เหตุ ๘ ประการ ปัจจัย ๘ ประการ เป็นไปเพื่อได้อาทิพรหมจริยกปัญญา
ที่ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งปัญญาที่ได้แล้ว
เหตุ ๘ ประการ ปัจจัย ๘ ประการ คืออะไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีหิริโอตตัปปะ มีความรักและความเคารพอย่างแรงกล้า
ในพระศาสดา หรือในเพื่อนพรหมจารีบางรูป ซึ่งตั้งอยู่ในฐานะ
ครูที่เธออาศัยอยู่ นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยประการที่ ๑ เป็นไปเพื่อได้
อาทิพรหมจริยกปัญญาที่ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ ไพบูลย์
เจริญเต็มที่แห่งปัญญาที่ได้แล้ว
๒. เป็นผู้มีหิริโอตตัปปะ มีความรักและความเคารพอย่างแรงกล้า
ในพระศาสดา หรือในเพื่อนพรหมจารีบางรูป ซึ่งตั้งอยู่ในฐานะ
ครูที่เธออาศัยอยู่ เธอเข้าไปหาท่านเหล่านั้นตามเวลาอันควร
สอบถามไต่สวนว่า “พระพุทธพจน์นี้เป็นอย่างไร เนื้อความ
ของพระพุทธพจน์นี้เป็นอย่างไร” ท่านเหล่านั้นจะเปิดเผย
ธรรมที่ยังไม่เปิดเผย จะทำให้ง่ายซึ่งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้ง่าย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๔๐๔ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๘ ประการ

และบรรเทาความสงสัยในธรรมที่น่าสงสัยหลายอย่างแก่เธอ
นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยประการที่ ๒ เป็นไปเพื่อได้อาทิพรหม-
จริยกปัญญาที่ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็ม
ที่แห่งปัญญาที่ได้แล้ว
๓. ครั้นฟังธรรมนั้นแล้ว ย่อมได้รับความสงบเย็น ๒ ประการคือ
(๑) ความสงบเย็นทางกาย (๒) ความสงบเย็นทางจิต นี้เป็น
เหตุเป็นปัจจัยประการที่ ๓ เป็นไปเพื่อได้อาทิพรหมจริยก-
ปัญญาที่ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่ง
ปัญญาที่ได้แล้ว
๔. เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในพระปาติโมกข์๑ เพียบพร้อม
ด้วยอาจาระ (มารยาท)และโคจร(การเที่ยวไป) มีปกติเห็นภัย
ในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย นี้
เป็นเหตุเป็นปัจจัยประการที่ ๔ เป็นไปเพื่อได้อาทิพรหม-
จริยกปัญญา ที่ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่
แห่งปัญญาที่ได้แล้ว
๕. เป็นพหูสูต ทรงสุตะสั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมาก ซึ่งธรรมทั้งหลาย
ที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงาม
ในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์
บริบูรณ์ครบถ้วน แล้วทรงจำไว้ได้คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอด
ดีด้วยทิฏฐิ นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยประการที่ ๕ เป็นไปเพื่อได้อาทิ-
พรหมจริยกปัญญาที่ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญ
เต็มที่แห่งปัญญาที่ได้แล้ว

เชิงอรรถ :
๑ สังวรในพระปาติโมกข์ มีอรรถาธิบายแต่ละคำดังนี้ สังวร หมายถึงการไม่ล่วงละเมิดทางกาย ทางวาจา
ปาติโมกข์ หมายถึงศีลสิกขาบทที่เป็นเหตุให้ผู้รักษาหลุดพ้นจากทุกข์ (ปาติ=รักษา+โมกขะ = ความหลุด
พ้น) (วิสุทฺธิ. ๑/๑๔/๑๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๔๐๕ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๘ ประการ

๖. เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมเกิด
มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม
ทั้งหลายอยู่ นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยประการที่ ๖ เป็นไปเพื่อได้
อาทิพรหมจริยกปัญญาที่ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ ไพบูลย์
เจริญเต็มที่แห่งปัญญาที่ได้แล้ว
๗. เป็นผู้มีสติ คือ ประกอบด้วยสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน๑
อย่างยิ่ง ระลึกถึงสิ่งที่ทำ และคำที่พูดแม้นานได้ นี้เป็นเหตุ
เป็นปัจจัยประการที่ ๗ เป็นไปเพื่อได้อาทิพรหมจริยกปัญญา
ที่ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งปัญญา
ที่ได้แล้ว
๘. ภิกษุพิจารณาเห็นความเกิดและความเสื่อมในอุปาทานขันธ์ ๕
อยู่ว่า ‘รูปเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นอย่างนี้ ความ
ดับแห่งรูปเป็นอย่างนี้ เวทนาเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่ง
เวทนาเป็นอย่างนี้ ความดับแห่งเวทนาเป็นอย่างนี้ สัญญา
เป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาเป็นอย่างนี้ ความดับแห่ง
สัญญาเป็นอย่างนี้ สังขารเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร
เป็นอย่างนี้ ความดับแห่งสังขารเป็นอย่างนี้ วิญญาณเป็น
อย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นอย่างนี้ ความดับแห่ง
วิญญาณเป็นอย่างนี้’ นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยประการที่ ๘ เป็นไป
เพื่อได้อาทิพรหมจริยกปัญญาที่ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ
ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งปัญญาที่ได้แล้ว
นี้ คือธรรม ๘ ประการที่มีอุปการะมาก

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๓ ข้อ ๓๓๑ หน้า ๓๓๔ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๔๐๖ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๘ ประการ

(ข) ธรรม ๘ ประการที่ควรเจริญ คืออะไร
คือ อริยมรรคมีองค์๑ ๘ ได้แก่

๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ)
๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ)
๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ)
๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ)
๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ)
๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ)
๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ)

นี้ คือธรรม ๘ ประการที่ควรเจริญ
(ค) ธรรม ๘ ประการที่ควรกำหนดรู้ คืออะไร
คือ โลกธรรม๒ ๘ ได้แก่

๑. ได้ลาภ ๒. เสื่อมลาภ
๓. ได้ยศ ๔. เสื่อมยศ
๕. นินทา ๖. สรรเสริญ
๗. สุข ๘. ทุกข์

นี้ คือธรรม ๘ ประการที่ควรกำหนดรู้
(ฆ) ธรรม ๘ ประการที่ควรละ คืออะไร
คือ มิจฉัตตธรรม๓ (ธรรมที่ผิด) ๘ ได้แก่
๑. มิจฉาทิฏฐิ (เห็นผิด)
๒. มิจฉาสังกัปปะ (ดำริผิด)

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบข้อ ๓๓๓ หน้า ๓๔๐ ในเล่มนี้
๒ ดูเทียบข้อ ๓๓๗ หน้า ๓๔๘ ในเล่มนี้
๓ ดูเทียบข้อ ๓๓๓ หน้า ๓๔๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๔๐๗ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๘ ประการ

๓. มิจฉาวาจา (เจรจาผิด)
๔. มิจฉากัมมันตะ (กระทำผิด)
๕. มิจฉาอาชีวะ (เลี้ยงชีพผิด)
๖. มิจฉาวายามะ (พยายามผิด)
๗. มิจฉาสติ (ระลึกผิด)
๘. มิจฉาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นผิด)

นี้ คือธรรม ๘ ประการที่ควรละ
(ง) ธรรม ๘ ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม คืออะไร
คือ กุสีตวัตถุ๑ (เหตุแห่งความเกียจคร้าน) ๘ ได้แก่
๑. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีงานที่ต้องทำ เธอมีความคิดอย่างนี้
ว่า ‘เราจักต้องทำงาน เมื่อเราทำงานอยู่ กายจักเมื่อยล้า
อย่ากระนั้นเลย เราจะนอน’ เธอจึงนอนเสีย ไม่ปรารภความ
เพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อ
ทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๑
๒. ภิกษุทำงานแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราได้ทำงานแล้ว
เมื่อเราทำงาน กายเมื่อยล้าแล้ว อย่ากระนั้นเลย เราจะนอน’
เธอจึงนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร ฯลฯ เพื่อทำให้แจ้ง
ธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๒
๓. ภิกษุต้องเดินทาง เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราจักต้อง
เดินทาง เมื่อเราเดินทาง กายจักเมื่อยล้า อย่ากระนั้นเลย
เราจะนอน’ เธอจึงนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร ฯลฯ เพื่อ
ทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๓

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบข้อ ๓๓๔ หน้า ๓๔๑-๓๔๒ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๔๐๘ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๘ ประการ

๔. ภิกษุเดินทางแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราเดินทางแล้ว
เมื่อเราเดินทาง กายเมื่อยล้าแล้ว อย่ากระนั้นเลย เราจะนอน’
เธอจึงนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร ฯลฯ เพื่อทำให้แจ้ง
ธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๔
๕. ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตตามบ้านหรือนิคม ไม่ได้โภชนะเศร้าหมอง
หรือประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการ เธอมีความคิด
อย่างนี้ว่า ‘เราเที่ยวบิณฑบาตตามบ้านหรือนิคม ก็ไม่ได้
โภชนะเศร้าหมองหรือประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการ
กายของเรานั้นเมื่อยล้าแล้ว ไม่ควรแก่การงาน อย่ากระนั้นเลย
เราจะนอน’ เธอจึงนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร ฯลฯ เพื่อ
ทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๕
๖. ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตตามบ้านหรือนิคม ได้โภชนะเศร้าหมอง
หรือประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการ เธอมีความคิด
อย่างนี้ว่า ‘เราเที่ยวบิณฑบาตตามบ้านหรือนิคม ได้โภชนะ
เศร้าหมองหรือประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการแล้ว กาย
ของเรานั้นหนัก ไม่ควรแก่การงาน จะเป็นเหมือนถั่วราชมาส
ชุ่มด้วยน้ำ อย่ากระนั้นเลย เราจะนอน’ เธอจึงนอนเสีย ไม่
ปรารภความเพียร ฯลฯ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง
นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๖
๗. ภิกษุเกิดอาพาธขึ้นเล็กน้อย เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราเกิด
มีอาพาธขึ้นเล็กน้อย มีข้ออ้างที่จะนอนได้ อย่ากระนั้นเลย
เราจะนอน’ เธอจึงนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร ฯลฯ เพื่อ
ทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๗
๘. ภิกษุหายอาพาธแล้ว แต่หายอาพาธยังไม่นาน เธอมีความคิด
อย่างนี้ว่า ‘เราหายอาพาธแล้ว แต่หายอาพาธยังไม่นาน กาย
ของเรานั้นยังอ่อนแอ ไม่ควรแก่การงาน มีข้ออ้างที่จะนอนได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๔๐๙ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๘ ประการ

อย่ากระนั้นเลย เราจะนอน‘เธอจึงนอนเสีย ไม่ปรารภ
ความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่
บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นกุสีตวัตถุ
ประการที่ ๘
นี้ คือธรรม ๘ ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม
(จ) ธรรม ๘ ประการที่เป็นไปในฝ่ายคุณวิเศษ คืออะไร
คือ อารัมภวัตถุ๑ (เหตุแห่งการปรารภความเพียร) ๘ ได้แก่
๑. ภิกษุในพระในธรรมวินัยนี้ มีงานที่ต้องทำ เธอมีความคิด
อย่างนี้ว่า ‘เราจักต้องทำงาน เมื่อเราทำงาน การจะใส่ใจคำ
สั่งสอนของพระพุทธเจ้ามิใช่ทำได้ง่าย อย่ากระนั้น
เลย เราจะรีบปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อ
บรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง’
เธอจึงปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุ
ธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็น
อารัมภวัตถุประการที่ ๑
๒. ภิกษุทำงานแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราทำงานแล้ว
เมื่อเราทำงานอยู่ ก็ไม่สามารถที่จะใส่ใจคำสั่งสอนของพระ
พุทธเจ้าทั้งหลายได้ อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภความ
เพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ
เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง‘เธอจึงปรารภความเพียร
ฯลฯ เพื่อทำให้แจ้งธรรม ที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นอารัมภวัตถุ
ประการที่ ๒

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบข้อ ๓๓๕ หน้า ๓๔๓-๓๔๔ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๔๑๐ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๘ ประการ

๓. ภิกษุต้องเดินทาง เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราจักต้องเดินทาง
การที่เราเดินทางอยู่ จะใส่ใจคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
มิใช่ทำได้ง่าย อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภความเพียร
เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้
แจ้งธรรม ที่ยังไม่ทำให้แจ้ง’ เธอจึงปรารภความเพียร ฯลฯ
เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นอารัมภวัตถุประการ
ที่ ๓
๔. ภิกษุเดินทางแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราได้เดินทางแล้ว
เมื่อเดินทางอยู่ ก็ไม่สามารถที่จะใส่ใจคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ทั้งหลายได้ อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภความเพียร
เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้
แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง’ เธอจึงปรารภความเพียร ฯลฯ
เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นอารัมภวัตถุประการ
ที่ ๔
๕. ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตตามบ้านหรือนิคม ไม่ได้โภชนะเศร้าหมอง
หรือประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการ เธอมีความคิด
อย่างนี้ว่า ‘เราเที่ยวบิณฑบาตตามบ้านหรือนิคม ไม่ได้โภชนะ
เศร้าหมองหรือประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการ กายของ
เรานั้นเบา ควรแก่การงาน อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภ
ความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่
บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง’ เธอจึงปรารภ
ความเพียร ฯลฯ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็น
อารัมภวัตถุประการที่ ๕
๖. ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตตามบ้านหรือนิคม ได้โภชนะเศร้าหมอง
หรือประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการ เธอมีความคิด
อย่างนี้ว่า ‘เราเที่ยวบิณฑบาตตามบ้านหรือนิคม ได้โภชนะ
เศร้าหมองหรือประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการแล้ว ร่างกาย
ของเรานั้นมีกำลัง ควรแก่การงาน อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๔๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๘ ประการ

ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่
ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง’ เธอจึงปรารภ
ความเพียร ฯลฯ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็น
อารัมภวัตถุประการที่ ๖
๗. ภิกษุเกิดมีอาพาธขึ้นเล็กน้อย เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราเกิด
มีอาพาธขึ้นเล็กน้อยแล้ว เป็นไปได้ที่อาพาธของเราจะพึงรุนแรง
ขึ้น อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรม
ที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่
ยังไม่ทำให้แจ้ง’ เธอจึงปรารภความเพียร ฯลฯ เพื่อทำให้แจ้ง
ธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นอารัมภวัตถุประการที่ ๗
๘. ภิกษุหายอาพาธแล้ว แต่หายอาพาธยังไม่นาน เธอมีความคิด
อย่างนี้ว่า ‘เราหายอาพาธแล้ว แต่หายอาพาธยังไม่นาน เป็น
ไปได้ที่อาพาธของเราจะกลับกำเริบขึ้น อย่ากระนั้นเลย
เราจะรีบปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุ
ธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง’ เธอจึง
ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม
ที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็น
อารัมภวัตถุประการที่ ๘
นี้ คือธรรม ๘ ประการที่เป็นไปในฝ่ายคุณวิเศษ
(ฉ) ธรรม ๘ ประการที่แทงตลอดได้ยาก คืออะไร
คือ กาลที่ไม่ใช่ขณะ ไม่ใช่สมัย เพื่อจะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์๑ ได้แก่
๑. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลกนี้แล้ว
และทรงแสดงธรรม๒ที่นำความสงบมาให้ เป็นไปเพื่อปรินิพพาน๓

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบข้อ ๓๔๒ หน้า ๓๕๕ ในเล่มนี้, องฺ.อฏฺฐก. (แปล) ๒๓/๒๙/๒๗๔
๒ ธรรม ในที่นี้หมายถึงสัจจะ ๔ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๒๙/๒๙๘)
๓ ปรินิพพาน ในที่นี้หมายถึงความดับกิเลส (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๒๙/๒๔๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๔๑๒ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๘ ประการ

ให้ถึงการตรัสรู้ ที่พระสุคตทรงประกาศแล้ว แต่บุคคลนี้เป็น
ผู้เข้าถึงนรก นี้เป็นกาลที่ไม่ใช่ขณะ ไม่ใช่สมัย เพื่อจะอยู่
ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๑
๒. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลกแล้ว
และทรงแสดงธรรม ที่นำความสงบมาให้ เป็นไปเพื่อปรินิพพาน
ให้ถึงการตรัสรู้ ที่พระสุคตทรงประกาศแล้ว แต่บุคคลนี้เป็น
ผู้เข้าถึงกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน นี้ก็เป็นกาลที่ไม่ใช่ขณะ ไม่ใช่สมัย
เพื่อจะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๒
๓. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลกแล้ว
และทรงแสดงธรรม ที่นำความสงบมาให้ เป็นไปเพื่อปรินิพพาน
ให้ถึงการตรัสรู้ ที่พระสุคตทรงประกาศแล้ว แต่บุคคลนี้เป็น
ผู้เข้าถึงเปรตวิสัย นี้ก็เป็นกาลที่ไม่ใช่ขณะ ไม่ใช่สมัย เพื่อจะ
อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๓
๔. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลกแล้ว
และทรงแสดงธรรมที่นำความสงบมาให้ เป็นไปเพื่อปรินิพพาน
ให้ถึงการตรัสรู้ ที่พระสุคตทรงประกาศแล้ว แต่บุคคลนี้เป็น
ผู้เข้าถึงเทพนิกาย๑ที่มีอายุยืนชั้นใดชั้นหนึ่ง นี้ก็เป็นกาลที่ไม่ใช่ขณะ
ไม่ใช่สมัย เพื่อจะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๔
๕. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลกแล้ว
และทรงแสดงธรรมที่นำความสงบมาให้ เป็นไปเพื่อปรินิพพาน
ให้ถึงการตรัสรู้ ที่พระสุคตทรงประกาศแล้ว แต่บุคคลนี้เป็น
ผู้กลับมาเกิดในปัจจันตชนบท อยู่ในพวกมิลักขะผู้ไม่รู้เดียงสา
ที่ไม่มีภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกาผ่านไปมา นี้ก็
เป็นกาลที่ไม่ใช่ขณะ ไม่ใช่สมัย เพื่อจะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์
ข้อที่ ๕

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๓ ข้อ ๓๔๒ หน้า ๓๕๕ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๔๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๘ ประการ

๖. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลกแล้ว
ฯลฯ แต่บุคคลนี้เป็นผู้กลับมาเกิดในมัชฌิมชนบท เป็นมิจฉา-
ทิฏฐิ มีความเห็นวิปริตว่า ‘ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชา
แล้วไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบากของกรรมที่ทำดี
และทำชั่วก็ไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มีคุณ
บิดาไม่มีคุณ โอปปาติกสัตว์ไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดี
ปฏิบัติชอบ ทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ก็ไม่มีในโลกนี้’ นี้ก็เป็นกาลที่ไม่ใช่ขณะ
ไม่ใช่สมัย เพื่อจะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๖
๗. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลกแล้ว
ฯลฯ แต่บุคคลนี้เป็นผู้กลับมาเกิดในมัชฌิมชนบท เป็นคนมี
ปัญญาทราม โง่เขลา เป็นคนเซอะ๑ ไม่สามารถจะรู้เนื้อความ
แห่งคำสุภาษิตและทุพภาษิตได้ นี้ก็เป็นกาลที่ไม่ใช่ขณะ ไม่ใช่สมัย
เพื่อจะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๗
๘. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่เสด็จอุบัติขึ้นในโลก
และไม่ทรงแสดงธรรมที่นำความสงบมาให้ เป็นไปเพื่อปรินิพพาน
ให้ถึงการตรัสรู้ ที่พระสุคตทรงประกาศแล้ว ถึงบุคคลนี้จะ
กลับมาเกิดในมัชฌิมชนบท และเป็นผู้มีปัญญาไม่โง่เขลา ไม่เป็น
คนเซอะ สามารถรู้เนื้อความแห่งคำสุภาษิตและทุพภาษิตได้ นี้ก็
เป็นกาลที่ไม่ใช่ขณะ ไม่ใช่สมัย เพื่อจะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์
ข้อที่ ๘
นี้ คือธรรม ๘ ประการที่แทงตลอดได้ยาก

เชิงอรรถ :
๑ เป็นคนเซอะ แปลจากบาลีว่า ‘เอฬมูโค’ อรรถกถาอธิบายไขความว่า ‘ปคฺฆริตเขฬมูโค’ แปลว่า ‘เป็นใบ้มี
น้ำลายไหล’ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๑๒/๔๘) หมายถึงใช้ปากพูดได้บ้าง พูดไม่ชัด (สํ.ม.อ. ๓/๒๒๕-๒๓๑/๒๒๓)
แต่ในอภิธานปฺปทีปิกาฏีกา อธิบายว่า หมายถึงผู้ไม่ฉลาดพูดไม่ฉลาดฟัง และไม่ฉลาดในภาษาที่จะพูด
(วตฺตุ โสตุญฺจ อกุสโล, วจเน จ อกุสโล) ท่านแยกอธิบายไว้ว่า เอโฬ หมายถึง พธิโร (คนหูหนวก) มูโค
หมายถึง อวจโน (พูดไม่ได้) หรือหมายถึงคนโอ้อวด (สเฐปิ เอฬมูโค) (อภิธา : ฏีกา คาถา ๗๓๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๔๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๘ ประการ

(ช) ธรรม ๘ ประการที่ควรให้เกิดขึ้น คืออะไร
คือ ความตรึกของมหาบุรุษ ๘ ได้แก่
๑. นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มักน้อย ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้มักมาก
๒. นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้สันโดษ ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้ไม่สันโดษ
๓. นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้สงัด ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้ยินดีใน
การคลุกคลี
๔. นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ปรารภความเพียร ไม่ใช่ธรรมของ
บุคคลผู้เกียจคร้าน
๕. นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้หลงสติ
๖. นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีใจตั้งมั่น ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้มีใจ
ไม่ตั้งมั่น
๗. นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีปัญญา ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้มี
ปัญญาทราม
๘. นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ยินดีในนิปปปัญจธรรม๑ ผู้พอใจใน
นิปปปัญจธรรม ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้ยินดีในปปัญจธรรม
ผู้พอใจในปปัญจธรรม
นี้ คือธรรม ๘ ประการที่ควรให้เกิดขึ้น
(ฌ) ธรรม ๘ ประการที่ควรรู้ยิ่ง คืออะไร
คือ อภิภายตนะ๒ ๘ ได้แก่
๑. ภิกษุรูปหนึ่งมีรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอก
ขนาด เล็ก มีสีสันดีหรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญา
อย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๑
๒. ภิกษุรูปหนึ่งมีรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกขนาด
ใหญ่ มีสีสันดีหรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่าง
นี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๒

เชิงอรรถ :
๑ นิปปปัญจธรรม ในที่นี้หมายถึงธรรมที่ปราศจากสิ่งปรุงแต่ง คือ มานะ ตัณหา และทิฏฐิ (ที.ปา.อ. ๓๕๘/
๒๖๔)
๒ดูเทียบข้อ ๓๓๘ หน้า ๓๔๘-๓๕๐ ในเล่มนี้, ที.ม. (แปล) ๑๐/๑๗๓/๑๒๐, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๒๙/๗๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๔๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๘ ประการ

๓. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน๑ เห็นรูปทั้งหลายภายนอก
ขนาดเล็ก มีสีสันดีหรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญา
อย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๓
๔. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอก
ขนาดใหญ่ มีสีสันดีหรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญา
อย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๔
๕. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอก
ที่เขียว มีสีเขียว เปรียบด้วยของเขียว มีสีเขียวเข้ม เปรียบ
เหมือนดอกผักตบที่เขียว มีสีเขียว เปรียบด้วยของเขียว มีสี
เขียวเข้ม ฉันใด หรือเปรียบเหมือนผ้าในเมืองพาราณสี อันมี
เนื้อละเอียดทั้ง ๒ ด้านที่เขียว มีสีเขียว เปรียบด้วยของเขียว
มีสีเขียวเข้ม แม้ฉันใด ภิกษุรูปหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่เขียว มีสีเขียว
เปรียบด้วยของเขียว มีสีเขียวเข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มี
สัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๕
๖. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่เหลือง
มีสีเหลือง เปรียบด้วยของเหลือง มีสีเหลืองเข้ม เปรียบ
เหมือนดอกกรรณิการ์ที่เหลือง มีสีเหลือง เปรียบด้วยของเหลือง
มีสีเหลืองเข้ม ฉันใด หรือเปรียบเหมือนผ้าในเมืองพาราณสี
อันมีเนื้อละเอียดทั้ง ๒ ด้านที่เหลือง มีสีเหลือง เปรียบด้วย
ของเหลือง มีสีเหลืองเข้ม แม้ฉันใด ภิกษุรูปหนึ่งมีอรูปสัญญา
ภายใน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่เหลือง
มีสีเหลือง เปรียบด้วยของเหลือง มีสีเหลืองเข้ม ครอบงำรูป
เหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภาย
ตนะประการที่ ๖

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๓๓๘ หน้า ๓๔๙ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๔๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๘ ประการ

๗. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอก
ที่แดง มีสีแดง เปรียบด้วยของแดง มีสีแดงเข้ม เปรียบเหมือน
ดอกชบาที่แดง มีสีแดง เปรียบด้วยของแดง มีสีแดงเข้ม ฉันใด
หรือเปรียบเหมือนผ้าในเมืองพาราณสีอันมีเนื้อละเอียดทั้ง ๒
ด้านที่แดง มีสีแดง เปรียบด้วยของแดง มีสีแดงเข้ม ฉันใด
ภิกษุรูปหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เห็นรูป
ทั้งหลายภายนอกที่แดง มีสีแดง เปรียบด้วยของแดง มีสีแดง
เข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’
นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๗
๘. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอก
ที่ขาว มีสีขาว เปรียบด้วยของขาว มีสีขาวเข้ม เปรียบเหมือน
ดาวประกายพรึกที่ขาว มีสีขาว เปรียบด้วยของขาว มีสีขาว
เข้ม ฉันใด หรือเปรียบเหมือนผ้าในเมืองพาราณสี อันมีเนื้อ
ละเอียดทั้ง ๒ ด้านที่ขาว มีสีขาว เปรียบด้วยของขาว มีสี
ขาวเข้ม แม้ฉันใด ภิกษุรูปหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่ขาว มีสีขาว เปรียบด้วย
ของขาว มีสีขาวเข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า
‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๘
นี้ คือธรรม ๘ ประการที่ควรรู้ยิ่ง
(ญ) ธรรม ๘ ประการที่ควรทำให้แจ้ง คืออะไร
คือ วิโมกข์๑ ๘ ได้แก่
๑. บุคคลผู้มีรูป เห็นรูปทั้งหลาย นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๑
๒. บุคคลผู้มีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอก นี้เป็น
วิโมกข์ประการที่ ๒
๓. บุคคลผู้น้อมใจไปว่า ‘งาม’ เท่านั้น นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๓

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบข้อ ๓๓๙ หน้า ๓๕๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๔๑๗ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๘ ประการ

๔. บุคคลบรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘อากาศหา
ที่สุดมิได้’ อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนด
นานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๔
๕. บุคคลล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
วิญญาณัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่
นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๕
๖. บุคคลล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
อากิญจัญญายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ นี้เป็น
วิโมกข์ประการที่ ๖
๗. บุคคลล่วงอากิญจัญญายนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
เนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๗
๘. บุคคลล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง
บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๘
นี้ คือธรรม ๘ ประการที่ควรทำให้แจ้ง
ธรรม ๘๐ ประการนี้ เป็นของจริง เป็นของแท้ แน่นอน ไม่ผิดพลาด ไม่เป็น
อย่างอื่น ที่พระตถาคตตรัสรู้แล้วโดยชอบ ด้วยประการฉะนี้

ธรรม ๙ ประการ

[๓๕๙] ธรรม ๙ ประการที่มีอุปการะมาก___ธรรม ๙ ประการที่ควรเจริญ
ธรรม ๙ ประการที่ควรกำหนดรู้___ธรรม ๙ ประการที่ควรละ
ธรรม ๙ ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม___ธรรม ๙ ประการที่เป็นไปในฝ่าย
คุณวิเศษ
ธรรม ๙ ประการที่แทงตลอดได้ยาก___ธรรม ๙ ประการที่ควรให้เกิดขึ้น
ธรรม ๙ ประการที่ควรรู้ยิ่ง___ธรรม ๙ ประการที่ควรทำให้แจ้ง

(ก) ธรรม ๙ ประการที่มีอุปการะมาก คืออะไร
คือ ธรรมมีโยนิโสมนสิการเป็นมูล ๙ ได้แก่
๑. บุคคลมนสิการโดยแยบคาย ปราโมทย์ย่อมเกิด
๒. เมื่อมีปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๔๑๘ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๙ ประการ

๓. เมื่อใจเกิดปีติ กายย่อมสงบ
๔. ผู้มีกายสงบ ย่อมได้รับสุข
๕. เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น
๖. เมื่อจิตตั้งมั่น ย่อมรู้ ย่อมเห็นตามความเป็นจริง
๗. เมื่อรู้ เมื่อเห็นตามความเป็นจริง ย่อมเบื่อหน่ายได้เอง
๘. เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด
๙. เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น
นี้ คือธรรม ๙ ประการที่มีอุปการะมาก
(ข) ธรรม ๙ ประการที่ควรเจริญ คืออะไร
คือ องค์ความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ ๙ ได้แก่
๑. องค์ความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ คือสีลวิสุทธิ (ความหมดจด
แห่งศีล)
๒. องค์ความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ คือจิตตวิสุทธิ (ความหมดจด
แห่งจิต)
๓. องค์ความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ คือทิฏฐิวิสุทธิ (ความหมดจด
แห่งทิฏฐิ)
๔. องค์ความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ คือกังขาวิตรณวิสุทธิ (ความ
หมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องข้ามพ้นความสงสัย)
๕. องค์ความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ คือมัคคามัคคญาณทัสสน-
วิสุทธิ (ความหมดจดแห่งญาณที่รู้เห็นว่าเป็นทางหรือมิใช่ทาง)
๖. องค์ความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ คือปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ
(ความหมดจดแห่งญาณที่รู้เห็นทางดำเนิน)
๗. องค์ความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ คือญาณทัสสนวิสุทธิ (ความ
หมดจดแห่งญาณทัสสนะ)
๘. องค์ความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ คือปัญญาวิสุทธิ (ความ
หมดจดแห่งปัญญา)
๙. องค์ความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ คือวิมุตติวิสุทธิ (ความหมดจด
แห่งความหลุดพ้น)
นี้ คือธรรม ๙ ประการที่ควรเจริญ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๔๑๙ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๙ ประการ

(ค) ธรรม ๙ ประการที่ควรกำหนดรู้ คืออะไร
คือ สัตตาวาส๑ ๙ ได้แก่
๑. มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน คือ มนุษย์
เทพบางพวก และวินิปาติกะบางพวก นี้เป็นสัตตาวาสที่ ๑
๒. มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายต่างกัน แต่มีสัญญาอย่างเดียวกัน คือ
พวกเทพชั้นพรหมกายิกา (เทพผู้นับเนื่องในหมู่พรหม) เกิดใน
ปฐมฌาน นี้เป็นสัตตาวาสที่ ๒
๓. มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายอย่างเดียวกัน แต่มีสัญญาต่างกัน คือ
พวกเทพชั้นอาภัสสระ นี้เป็นสัตตาวาสที่ ๓
๔. มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน คือ
พวกเทพชั้นสุภกิณหะ (เทพผู้เต็มไปด้วยความงดงาม) นี้เป็น
สัตตาวาสที่ ๔
๕. มีสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีสัญญา ไม่เสวยอารมณ์ คือ พวกเทพชั้น
อสัญญีสัตตพรหม นี้เป็นสัตตาวาสที่ ๕
๖. มีสัตว์ทั้งหลายผู้บรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า
‘อากาศหาที่สุดมิได้’ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา
ไม่กำหนดนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง นี้เป็นสัตตาวาสที่ ๖
๗. มีสัตว์ทั้งหลายผู้ล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง
บรรลุวิญญาณัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุด
มิได้’ นี้เป็นสัตตาวาสที่ ๗
๘. มีสัตว์ทั้งหลายผู้ล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง
บรรลุอากิญจัญญายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ นี้เป็น
สัตตาวาสที่ ๘

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบข้อ ๓๔๑ หน้า ๓๕๔-๓๕๕ ในเล่มนี้, ที.ม. (แปล) ๑๐/๑๒๗/๗๒, องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๔๔/๖๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๔๒๐ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๙ ประการ

๙. มีสัตว์ทั้งหลายผู้ล่วงอากิญจัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง
บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน นี้เป็นสัตตาวาสที่ ๙
นี้ คือธรรม ๙ ประการที่ควรกำหนดรู้
(ฆ) ธรรม ๙ ประการที่ควรละ คืออะไร
คือ ธรรมมีตัณหาเป็นมูลเหตุ๑ ๙ ได้แก่
๑. เพราะอาศัยตัณหา ปริเยสนา (การแสวงหา) จึงเป็นไป
๒. เพราะอาศัยปริเยสนา ลาภะ(การได้) จึงเป็นไป
๓. เพราะอาศัยลาภะ วินิจฉยะ (การกำหนด) จึงเป็นไป
๔. เพราะอาศัยวินิจฉยะ ฉันทราคะ (ความกำหนดด้วยอำนาจ
ความพอใจ) จึงเป็นไป
๕. เพราะอาศัยฉันทราคะ อัชโฌสานะ (ความหมกมุ่นฝังใจ) จึง
เป็นไป
๖. เพราะอาศัยอัชโฌสานะ ปริคคหะ (การยึดถือครอบครอง) จึง
เป็นไป
๗. เพราะอาศัยปริคคหะ มัจฉริยะ (ความตระหนี่) จึงเป็นไป
๘. เพราะอาศัยมัจฉริยะ อารักขะ (ความหวงกั้น) จึงเป็นไป
๙. เพราะอาศัยอารักขะเป็นเหตุ บาปอกุศลธรรมเป็นอเนก ที่เกิดขึ้น
จากการถือท่อนไม้ การถือศัสตรา การทะเลาะ การแก่งแย่ง
การวิวาท การกล่าวขึ้นเสียงว่า ‘มึง มึง’ และการพูดเท็จ จึง
เป็นไป๒
นี้ คือธรรม ๙ ประการที่ควรละ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ที.ม. (แปล) ๑๐/๑๐๓/๖๑, องฺ.นวก. (แปล) ๒๓/๒๓/๔๘๐
๒ ดูเทียบ ที.ม. (แปล) ๑๐/๑๐๓/๖๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๔๒๑ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๙ ประการ

(ง) ธรรม ๙ ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม คืออะไร
คือ อาฆาตวัตถุ๑ (เหตุผูกอาฆาต) ๙ ได้แก่
๑. บุคคลย่อมผูกอาฆาตว่า ‘ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์๒แก่เรา’
๒. บุคคลย่อมผูกอาฆาตว่า ‘ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา’
๓. บุคคลย่อมผูกอาฆาตว่า ‘ผู้นี้จักทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา’
๔. บุคคลย่อมผูกอาฆาตว่า ‘ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คน
ผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา’
๕. บุคคลย่อมผูกอาฆาตว่า ‘ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่
คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา’
๖. บุคคลย่อมผูกอาฆาตว่า ‘ผู้นี้จักทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คน
ผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา’
๗. บุคคลย่อมผูกอาฆาตว่า ‘ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้
ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา’
๘. บุคคลย่อมผูกอาฆาตว่า ‘ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คน
ผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา’
๙. บุคคลย่อมผูกอาฆาตว่า ‘ผู้นี้จักทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่บุคคล
ผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา’
นี้ คือธรรม ๙ ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม
(จ) ธรรม ๙ ประการที่เป็นไปในฝ่ายคุณวิเศษ คืออะไร
คือ อุบายเป็นเครื่องกำจัดอาฆาต๓ ๙ ได้แก่
๑. บุคคลย่อมกำจัดอาฆาตว่า ‘ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา
การทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรานั้น จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน‘๔

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบข้อ ๓๔๐ หน้า ๓๕๒ ในเล่มนี้, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๗๙/๑๗๗-๑๗๘
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๓๔๐ หน้า ๓๕๒ ในเล่มนี้
๓ ดูเทียบข้อ ๓๔๐ หน้า ๓๕๓ ในเล่มนี้
๔ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๓๔๐ หน้า ๓๕๓ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๔๒๒ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๙ ประการ

๒. บุคคลย่อมกำจัดอาฆาตว่า ‘ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
แก่เรา การทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรานั้น จะหาได้ในผู้นี้
แต่ที่ไหน’
๓. บุคคลย่อมกำจัดอาฆาตว่า ‘ผู้นี้จักทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา
การทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรานั้น จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน’
๔. บุคคลย่อมกำจัดอาฆาตว่า ‘ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่
คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา การทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่
คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรานั้น จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน’
๕. บุคคลย่อมกำจัดอาฆาตว่า ‘ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา การทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรานั้น จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน’
๖. บุคคลย่อมกำจัดอาฆาตว่า ‘ผู้นี้จักทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่
คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา การทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่
คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรานั้น จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน’
๗. บุคคลย่อมกำจัดอาฆาตว่า ‘ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คน
ผู้ที่ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา การทำสิ่งที่เป็นประโยชน์
แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรานั้น จะหาได้ในผู้นี้
แต่ที่ไหน’
๘. บุคคลย่อมกำจัดอาฆาตว่า ‘ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่
คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา การทำสิ่งที่เป็นประโยชน์
แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรานั้น จะหาได้ในผู้นี้
แต่ที่ไหน’
๙. บุคคลย่อมกำจัดอาฆาตว่า ‘ผู้นี้จักทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คน
ผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา การทำสิ่งที่เป็นประโยชน์
แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรานั้น จะหาได้ในผู้นี้
แต่ที่ไหน’
นี้ คือธรรม ๙ ประการที่เป็นไปในฝ่ายคุณวิเศษ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๔๒๓ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๙ ประการ

(ฉ) ธรรม ๙ ประการที่แทงตลอดได้ยาก คืออะไร
คือ นานัตตะ (สภาวะที่ต่างกัน) ๙ ได้แก่
๑. ความต่างกันแห่งธาตุ๑
๒. เพราะอาศัยความต่างกันแห่งธาตุ ความต่างกันแห่งผัสสะ
จึงเกิดขึ้น
๓. เพราะอาศัยความต่างกันแห่งผัสสะ ความต่างกันแห่งเวทนา
จึงเกิดขึ้น
๔. เพราะอาศัยความต่างกันแห่งเวทนา ความต่างกันแห่งสัญญา
จึงเกิดขึ้น
๕. เพราะอาศัยความต่างกันแห่งสัญญา ความต่างกันแห่งความ
ดำริจึงเกิดขึ้น
๖. เพราะอาศัยความต่างกันแห่งความดำริ ความต่างกันแห่ง
ความพอใจจึงเกิดขึ้น
๗. เพราะอาศัยความต่างกันแห่งความพอใจ ความต่างกันแห่ง
ความเร่าร้อนจึงเกิดขึ้น
๘. เพราะอาศัยความต่างกันแห่งความเร่าร้อน ความต่างกันแห่ง
การแสวงหาจึงเกิดขึ้น
๙. เพราะอาศัยความต่างกันแห่งการแสวงหา ความต่างกันแห่ง
การได้จึงเกิดขึ้น
นี้ คือธรรม ๙ ประการที่แทงตลอดได้ยาก
(ช) ธรรม ๙ ประการที่ควรให้เกิดขึ้น คืออะไร
คือ สัญญา๒ ๙ ได้แก่
๑. อสุภสัญญา (ความกำหนดหมายความไม่งามแห่งกาย)
๒. มรณสัญญา (ความกำหนดหมายความตายที่จะต้องมาถึงเป็น
ธรรมดา)

เชิงอรรถ :
๑ ธาตุ ในที่นี้หมายถึงธาตุ ๑๘ มีจักขุธาตุ เป็นต้น (ที.ปา.อ. ๓๕๙/๒๖๕)
๒ ดูเทียบ องฺ.นวก. (แปล) ๒๓/๑๖/๔๖๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๔๒๔ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๙ ประการ

๓. อาหาเร ปฏิกูลสัญญา (ความกำหนดหมายความปฏิกูลใน
อาหาร)
๔. สัพพโลเก อนภิรตสัญญา (ความกำหนดหมายความไม่น่า
เพลิดเพลินในโลกทั้งปวง)
๕. อนิจจสัญญา (ความกำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร)
๖. อนิจเจ ทุกขสัญญา (ความกำหนดหมายความเป็นทุกข์ในความ
ไม่เที่ยงแห่งสังขาร )
๗. ทุกเข อนัตตสัญญา (ความกำหนดหมายความเป็นอนัตตาใน
ความเป็นทุกข์)
๘. ปหานสัญญา (ความกำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตกและบาป
ธรรมทั้งหลาย)
๙. วิราคสัญญา (ความกำหนดหมายวิราคะว่าเป็นธรรมละเอียด
ประณีต)
นี้ คือธรรม ๙ ประการที่ควรให้เกิดขึ้น
(ฌ) ธรรม ๙ ประการที่ควรรู้ยิ่ง คืออะไร
คือ อนุปุพพวิหาร๑ ๙ ได้แก่
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก
วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่
๒. เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌานที่มีความผ่องใส
ในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร
มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่
๓. เพราะปีติจางคลายไป มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุข
ด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า
‘ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข’

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบข้อ ๓๔๓ หน้า ๓๕๗ ในเล่มนี้, องฺ.นวก. (แปล) ๒๓/๓๓/๔๙๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๔๒๕ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๙ ประการ

๔. เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน
แล้ว บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์และสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะ
อุเบกขาอยู่
๕. บรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุด
มิได้’ อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนด
นานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง
๖. ล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
วิญญาณัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่
๗. ล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญ-
จัญญายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่
๘. ล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุเนว-
สัญญานาสัญญายตนฌานอยู่
๙. ล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
สัญญาเวทยิตนิโรธอยู่
นี้ คือธรรม ๙ ประการที่ควรรู้ยิ่ง
(ญ) ธรรม ๙ ประการที่ควรทำให้แจ้ง คืออะไร
คือ อนุปุพพนิโรธ๑ ๙ ได้แก่
๑. กามสัญญาของผู้เข้าปฐมฌานดับไป
๒. วิตก วิจารของผู้เข้าทุติยฌานดับไป
๓. ปีติของผู้เข้าตติยฌานดับไป
๔. ลมหายใจเข้าลมหายใจออกของผู้เข้าจตุตถฌานดับไป
๕. รูปสัญญาของผู้เข้าอากาสานัญจายตนฌานดับไป
๖. อากาสานัญจายตนสัญญาของผู้เข้าวิญญาณัญจายตนฌาน
ดับไป
๗. วิญญาณัญจายตนสัญญาของผู้เข้าอากิญจัญญายตนฌาน
ดับไป

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบข้อ ๓๔๔ หน้า ๓๕๘ ในเล่มนี้, องฺ.นวก. (แปล) ๒๓/๓๑/๔๙๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๔๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๑๐ ประการ

๘. อากิญจัญญายตนสัญญาของผู้เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
ดับไป
๙. สัญญาและเวทนาของผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธดับไป
นี้ คือธรรม ๙ ประการที่ควรทำให้แจ้ง
ธรรม ๙๐ ประการนี้ เป็นของจริง เป็นของแท้ แน่นอน ไม่ผิดพลาด ไม่เป็น
อย่างอื่น ที่พระตถาคตตรัสรู้แล้วโดยชอบ ด้วยประการฉะนี้

ธรรม ๑๐ ประการ

[๓๖๐] ธรรม ๑๐ ประการที่มีอุปการะมาก___ธรรม ๑๐ ประการที่ควรเจริญ
ธรรม ๑๐ ประการที่ควรกำหนดรู้___ธรรม ๑๐ ประการที่ควรละ
ธรรม ๑๐ ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม___ธรรม ๑๐ ประการที่เป็นไปในฝ่าย
คุณวิเศษ
ธรรม ๑๐ ประการที่แทงตลอดได้ยาก___ธรรม ๑๐ ประการที่ควรให้เกิดขึ้น
ธรรม ๑๐ ประการที่ควรรู้ยิ่ง___ธรรม ๑๐ ประการที่ควรทำให้แจ้ง

(ก) ธรรม ๑๐ ประการที่มีอุปการะมาก คืออะไร
คือ นาถกรณธรรม๑ (ธรรมเครื่องกระทำที่พึ่ง) ๑๐ ได้แก่
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในพระปาติโมกข์ เพียบพร้อม
ด้วยอาจาระ(มารยาท)และโคจร(การเที่ยวไป) มีปกติเห็นภัย
ในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
แม้การที่ภิกษุเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยสังวรในพระปาติโมกข์
เพียบพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษแม้
เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลายนี้เป็นนาถ-
กรณธรรม

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบข้อ ๓๔๕ หน้า ๓๕๙-๓๖๑ ในเล่มนี้, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๗/๓๑-๓๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๔๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๑๐ ประการ

๒. เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมากซึ่งธรรม
ทั้งหลายที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง
มีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและ
พยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วน แล้วทรงจำไว้ได้คล่องปาก
ขึ้นใจ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ แม้การที่ภิกษุเป็นพหูสูต ฯลฯ
แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม
๓. เป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี แม้การที่ภิกษุเป็นผู้มีมิตรดี
มีสหายดี มีเพื่อนดี นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม
๔. เป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วยธรรมเป็นเครื่องทำให้เป็นผู้ว่าง่าย
อดทน รับฟังคำพร่ำสอนโดยเคารพ แม้การที่ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย
ประกอบด้วยธรรมเป็นเครื่องทำให้เป็นผู้ว่าง่าย อดทน รับฟัง
คำพร่ำสอนโดยเคารพ นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม
๕. เป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านในการงานที่จะต้องช่วยกันทำทั้งงาน
สูงและงานต่ำของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ประกอบด้วยปัญญา
เป็นเครื่องพิจารณาอันเป็นอุบายในการงานที่จะต้องช่วยกัน
ทำนั้น สามารถทำได้ สามารถจัดได้ แม้การที่ภิกษุเป็นผู้ขยัน
ไม่เกียจคร้านในการงานที่จะต้องช่วยกันทำทั้งงานสูงและงาน
ต่ำของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ประกอบด้วยปัญญาเป็น
เครื่องพิจารณาอันเป็นอุบายในการงานที่จะต้องช่วยกันทำนั้น
สามารถทำได้ สามารถจัดได้ นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม
๖. เป็นผู้ใคร่ธรรม เป็นผู้ฟังและผู้แสดงธรรมอันเป็นที่พอใจ
มีความปราโมทย์อย่างยิ่งในพระอภิธรรม ในพระอภิวินัย
แม้การที่ภิกษุเป็นผู้ใคร่ธรรม เป็นผู้ฟังและผู้แสดงธรรมอันเป็น
ที่พอใจ มีความปราโมทย์อย่างยิ่งในพระอภิธรรม ในพระอภิวินัย
นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม
๗. เป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย
เภสัชชบริขารตามแต่จะได้ แม้การที่ภิกษุเป็นผู้สันโดษด้วยจีวร
บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขารตามแต่
จะได้ นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๔๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๑๐ ประการ

๘. เป็นผู้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมเกิด
มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศล-
ธรรมทั้งหลายอยู่ แม้การที่ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียรเพื่อ
ละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมเกิด มีความเข้มแข็ง มีความ
บากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ นี้ก็เป็น
นาถกรณธรรม
๙. เป็นผู้มีสติ คือ ประกอบด้วยสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน
อย่างยิ่ง ระลึกถึงสิ่งที่ทำและคำที่พูดแม้นานได้ แม้การที่
ภิกษุเป็นผู้มีสติ คือ ประกอบด้วยสติปัญญาเป็นเครื่องรักษา
ตนอย่างยิ่ง ระลึกถึงสิ่งที่ทำและคำที่พูดแม้นานได้ นี้ก็เป็น
นาถกรณธรรม
๑๐. เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา
เห็นทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลสให้ถึง
ความสิ้นทุกข์โดยชอบ แม้การที่ภิกษุเป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบ
ด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาเห็นความเกิดและความดับ
อันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ นี้ก็เป็น
นาถกรณธรรม
นี้ คือธรรม ๑๐ ประการที่มีอุปการะมาก
(ข) ธรรม ๑๐ ประการที่ควรเจริญ คืออะไร
คือ กสิณายตนะ๑ (บ่อเกิดแห่งธรรมที่มีกสิณเป็นอารมณ์) ๑๐ ได้แก่
๑. บุคคลหนึ่งจำปฐวีกสิณ(กสิณคือดิน)ได้ ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ
เบื้องขวาง ไม่มีสอง ไม่มีประมาณ
๒. บุคคลหนึ่งจำอาโปกสิณ (กสิณคือน้ำ)ได้ ...
๓. บุคคลหนึ่งจำเตโชกสิณ (กสิณคือไฟ)ได้ ...
๔. บุคคลหนึ่งจำวาโยกสิณ (กสิณคือลม)ได้ ...

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๓๔๖ หน้า ๓๖๑ ในเล่มนี้, และดูเทียบข้อ ๓๔๖ หน้า ๓๖๑ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๔๒๙ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๑๐ ประการ

๕. บุคคลหนึ่งจำนีลกสิณ (กสิณคือสีเขียว)ได้ ...
๖. บุคคลหนึ่งจำปีตกสิณ (กสิณคือสีเหลือง)ได้ ...
๗. บุคคลหนึ่งจำโลหิตกสิณ (กสิณคือสีแดง)ได้ ...
๘. บุคคลหนึ่งจำโอทาตกสิณ (กสิณคือสีขาว)ได้ ...
๙. บุคคลหนึ่งจำอากาสกสิณ (กสิณคือความว่าง)ได้ ...
๑๐. บุคคลหนึ่งจำวิญญาณกสิณ (กสิณคือวิญญาณ)ได้ ทั้งเบื้องบน
เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ไม่มีสอง ไม่มีประมาณ
นี้ คือธรรม ๑๐ ประการที่ควรเจริญ
(ค) ธรรม ๑๐ ประการที่ควรกำหนดรู้ คืออะไร
คือ อายตนะ ๑๐ ได้แก่

๑. จักขวายตนะ (อายตนะคือตา)
๒. รูปายตนะ (อายตนะคือรูป)
๓. โสตายตนะ (อายตนะคือหู)
๔. สัททายตนะ (อายตนะคือเสียง)
๕. ฆานายตนะ (อายตนะคือจมูก)
๖. คันธายตนะ (อายตนะคือกลิ่น)
๗. ชิวหายตนะ (อายตนะคือลิ้น)
๘. รสายตนะ (อายตนะคือรส)
๙. กายายตนะ (อายตนะคือกาย)
๑๐. โผฏฐัพพายตนะ (อายตนะคือโผฏฐัพพะ)

นี้ คือธรรม ๑๐ ประการที่ควรกำหนดรู้
(ฆ) ธรรม ๑๐ ประการที่ควรละ คืออะไร
คือ มิจฉัตตะ๑(ความเป็นธรรมที่ผิด) ๑๐ ได้แก่

๑. มิจฉาทิฏฐิ (เห็นผิด)
๒. มิจฉาสังกัปปะ (ดำริผิด)
๓. มิจฉาวาจา (เจรจาผิด)

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๓๒/๒๘๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๔๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๑๐ ประการ

๔. มิจฉากัมมันตะ (กระทำผิด)
๕. มิจฉาอาชีวะ (เลี้ยงชีพผิด)
๖. มิจฉาวายามะ (พยายามผิด)
๗. มิจฉาสติ (ระลึกผิด)
๘. มิจฉาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นผิด)
๙. มิจฉาญาณะ (รู้ผิด)
๑๐. มิจฉาวิมุตติ (หลุดพ้นผิด)

นี้ คือธรรม ๑๐ ประการที่ควรละ
(ง) ธรรม ๑๐ ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม คืออะไร
คือ อกุศลกรรมบถ๑(ทางแห่งอกุศลกรรม) ๑๐ ได้แก่

๑. ปาณาติบาต (การฆ่าสัตว์)
๒. อทินนาทาน (การลักทรัพย์)
๓. กาเมสุมิจฉาจาร (การประพฤติผิดในกาม)
๔. มุสาวาท (การพูดเท็จ)
๕. ปิสุณาวาจา (การพูดส่อเสียด)
๖. ผรุสวาจา (การพูดคำหยาบ)
๗. สัมผัปปลาปะ (การพูดเพ้อเจ้อ)
๘. อภิชฌา (ความเพ่งเล็งอยากได้ของของเขา)
๙. พยาบาท (ความคิดร้าย)
๑๐. มิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด)

นี้ คือธรรม ๑๐ ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม
(จ) ธรรม ๑๐ ประการที่เป็นไปในฝ่ายคุณวิเศษ คืออะไร
คือ กุศลกรรมบถ๒(ทางแห่งกุศลกรรม) ๑๐ ได้แก่
๑. ปาณาติปาตา เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการฆ่าสัตว์)
๒. อทินนาทานา เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการลักทรัพย์)

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบข้อ ๓๔๗ หน้า ๓๖๒ ในเล่มนี้, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๗๘/๓๓๐
๒ ดูเทียบข้อ ๓๔๗ หน้า ๓๖๒-๓๖๓ ในเล่มนี้, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๗๘/๓๓๐-๓๓๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๔๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๑๐ ประการ

๓. กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการประพฤติผิด
ในกาม)
๔. มุสาวาทา เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการพูดเท็จ)
๕. ปิสุณาย วาจาย เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการพูดส่อเสียด)
๖. ผรุสาย วาจาย เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการพูดคำหยาบ)
๗. สัมผัปปลาปา เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ)
๘. อนภิชฌา (ความไม่โลภอยากได้ของของเขา)
๙. อพยาบาท (ความไม่คิดร้าย)
๑๐. สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ)

นี้ คือธรรม ๑๐ ประการที่เป็นไปในฝ่ายคุณวิเศษ
(ฉ) ธรรม ๑๐ ประการที่แทงตลอดได้ยาก คืออะไร
คือ อริยวาส๑ (ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยะ) ๑๐ ได้แก่
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ละองค์ ๕ ได้
๒. เป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๖
๓. เป็นผู้มีธรรมเป็นเครื่องรักษาอย่างเอก
๔. เป็นผู้มีอปัสเสนธรรม (ธรรมเป็นดุจพนักพิง) ๔ ประการ
๕. เป็นผู้มีปัจเจกสัจจะอันบรรเทาได้
๖. เป็นผู้มีการแสวงหาอันสละได้ดี
๗. เป็นผู้มีความดำริอันไม่ขุ่นมัว
๘. เป็นผู้มีกายสังขารอันระงับได้
๙. เป็นผู้มีจิตหลุดพ้นได้ดี
๑๐. เป็นผู้มีปัญญาหลุดพ้นได้ดี

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบข้อ ๓๔๘ หน้า ๓๖๓-๓๖๕ ในเล่มนี้, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๙-๒๐/๓๘-๔๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๔๓๒ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๑๐ ประการ

ภิกษุเป็นผู้ละองค์ ๕ ได้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละกามฉันทะ(ความพอใจในกาม) ได้ เป็นผู้
ละพยาบาท (ความคิดร้าย) ได้ เป็นผู้ละถีนมิทธะ(ความหดหู่และเซื่องซึม) ได้ เป็นผู้
ละอุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ) ได้ เป็นผู้ละวิจิกิจฉา(ความลังเลสงสัย)ได้
ภิกษุเป็นผู้ละองค์ ๕ ได้ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เห็นรูปทางตาแล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา
มีสติสัมปชัญญะอยู่ ฟังเสียงทางหู ... ดมกลิ่นทางจมูก ... ลิ้มรสทางลิ้น ... ถูกต้อง
โผฏฐัพพะทางกาย ... รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา
มีสติสัมปชัญญะอยู่ ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุเป็นผู้มีธรรมเป็นเครื่องรักษาอย่างเอก เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยใจที่รักษาด้วยสติ ภิกษุเป็น
ผู้มีธรรมเป็นเครื่องรักษาอย่างเอก เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุเป็นผู้มีอปัสเสนธรรม ๔ ประการ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้พิจารณาแล้วเสพอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วอดกลั้น
อย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วเว้นอย่างหนึ่ง๑ พิจารณาแล้วบรรเทาอย่างหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้
มีอปัสเสนธรรม ๔ ประการ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุเป็นผู้มีปัจเจกสัจจะ๒อันบรรเทาได้ เป็นอย่างไร
คือ ปัจเจกสัจจะเป็นอันมากของสมณพราหมณ์จำนวนมากที่มีอยู่ทั้งหมด ภิกษุ
ในพระธรรมวินัยนี้บรรเทาได้ กำจัดได้ สละได้ คลายได้ ปล่อยวางได้ ละได้ สละคืนได้
ภิกษุเป็นผู้มีปัจเจกสัจจะ อันบรรเทาได้ เป็นอย่างนี้แล

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๓๔๘ หน้า ๓๖๔ ในเล่มนี้
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๓๔๘ หน้า ๓๖๓ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๔๓๓ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๑๐ ประการ

ภิกษุเป็นผู้มีการแสวงหาอันสละได้ดี เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละการแสวงหากามได้ ละการแสวงหาภพได้
ระงับการแสวงหาพรหมจรรย์ได้ ภิกษุเป็นผู้มีการแสวงหาอันสละได้ดี เป็นอย่าง
นี้แล
ภิกษุเป็นผู้มีความดำริอันไม่ขุ่นมัว เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละความดำริในกามได้ เป็นผู้ละความดำริใน
พยาบาท(การคิดร้าย) ได้ เป็นผู้ละความดำริในวิหิงสาได้ ภิกษุเป็นผู้มีความดำริอัน
ไม่ขุ่นมัว เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุเป็นผู้มีกายสังขารอันระงับได้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัส
ดับไปก่อนแล้ว จึงบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่
ภิกษุเป็นผู้มีกายสังขารอันระงับได้ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุเป็นผู้มีจิตหลุดพ้นได้ดี เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีจิตหลุดพ้นจากราคะ มีจิตหลุดพ้นจาก
โทสะ มีจิตหลุดพ้นจากโมหะ ภิกษุเป็นผู้มีจิตหลุดพ้นได้ดี เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุเป็นผู้มีปัญญาหลุดพ้นได้ดี เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้รู้ชัดว่า ‘ราคะเราละได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน
เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไป
ไม่ได้’ รู้ชัดว่า ‘โทสะเราละได้เด็ดขาด ฯลฯ เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้’ รู้ชัดว่า ‘โมหะเราละ
ได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่
ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้’ ภิกษุเป็นผู้มีปัญญาหลุดพ้นได้ดี เป็นอย่างนี้แล
นี้ คือธรรม ๑๐ ประการที่แทงตลอดได้ยาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๔๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๑๐ ประการ

(ช) ธรรม ๑๐ ประการที่ควรให้เกิดขึ้น คืออะไร
คือ สัญญา๑ ๑๐ ได้แก่
๑. อสุภสัญญา (ความกำหนดหมายความไม่งามแห่งกาย)
๒. มรณสัญญา (ความกำหนดหมายความตายที่จะมาถึงเป็น
ธรรมดา)
๓. อาหาเร ปฏิกูลสัญญา (ความกำหนดหมายความเป็นปฏิกูล
ในอาหาร)
๔. สัพพโลเก อนภิรตสัญญา (ความกำหนดหมายความไม่
เพลิดเพลินในโลกทั้งปวง)
๕. อนิจจสัญญา (ความกำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร)
๖. อนิจเจ ทุกขสัญญา (ความกำหนดหมายความเป็นทุกข์ใน
ความไม่เที่ยงแห่งสังขาร)
๗. ทุกเข อนัตตสัญญา (ความกำหนดหมายความเป็นอนัตตาใน
ความเป็นทุกข์)
๘. ปหานสัญญา (ความกำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตกและบาป-
ธรรมทั้งหลาย)
๙. วิราคสัญญา (ความกำหนดหมายวิราคะว่าเป็นธรรมละเอียด
ประณีต)
๑๐. นิโรธสัญญา (ความกำหนดหมายนิโรธว่าเป็นธรรมละเอียด
ประณีต)
นี้ คือธรรม ๑๐ ประการที่ควรให้เกิดขึ้น
(ฌ) ธรรม ๑๐ ประการที่ควรรู้ยิ่ง คืออะไร
คือ นิชชรวัตถุ (ธรรมที่ทำให้เสื่อม) ๑๐ ได้แก่
๑. มิจฉาทิฏฐิ (เห็นผิด) ของผู้มีสัมมาทิฏฐิ ย่อมเสื่อมไป คือ
บาปอกุศลธรรมเป็นอเนกของบุคคลที่เกิดเพราะมิจฉาทิฏฐิ
เป็นปัจจัยย่อมเสื่อมไป และกุศลธรรมเป็นอเนกย่อมถึงความ
เจริญเต็มที่เพราะสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๕๖/๑๒๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๔๓๕ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๑๐ ประการ

๒. มิจฉาสังกัปปะ (ดำริผิด) ของผู้มีสัมมาสังกัปปะ ย่อมเสื่อมไป
คือ บาปอกุศลธรรมเป็นอเนกของบุคคลที่เกิดเพราะมิจฉา-
สังกัปปะเป็นปัจจัยย่อมเสื่อมไป และกุศลธรรมเป็นอเนกย่อม
ถึงความเจริญเต็มที่เพราะสัมมาสังกัปปะเป็นปัจจัย
๓. มิจฉาวาจา (เจรจาผิด) ของผู้มีสัมมาวาจา ย่อมเสื่อมไป คือ
บาปอกุศลธรรมเป็นอเนกของบุคคลที่เกิดเพราะมิจฉาวาจา
เป็นปัจจัยย่อมเสื่อมไป และกุศลธรรมเป็นอเนกย่อมถึงความ
เจริญเต็มที่เพราะสัมมาวาจาเป็นปัจจัย
๔. มิจฉากัมมันตะ (กระทำผิด) ของผู้มีสัมมากัมมันตะ ย่อมเสื่อมไป
คือ บาปอกุศลธรรมเป็นอเนกของบุคคลที่เกิดเพราะมิจฉา-
กัมมันตะเป็นปัจจัยย่อมเสื่อมไป และกุศลธรรมเป็นอเนกย่อม
ถึงความเจริญเต็มที่เพราะสัมมากัมมันตะเป็นปัจจัย
๕. มิจฉาอาชีวะ (เลี้ยงชีพผิด) ของผู้มีสัมมาอาชีวะ ย่อมเสื่อมไป
คือ บาปอกุศลธรรมเป็นอเนกของบุคคลที่เกิดเพราะมิจฉา-
อาชีวะเป็นปัจจัยย่อมเสื่อมไป และกุศลธรรมเป็นอเนกย่อมถึง
ความเจริญเต็มที่เพราะสัมมาอาชีวะเป็นปัจจัย
๖. มิจฉาวายามะ (พยายามผิด) ของผู้มีสัมมาวายามะ ย่อมเสื่อมไป
คือ บาปอกุศลธรรมเป็นอเนกของบุคคลที่เกิดเพราะมิจฉา-
วายามะเป็นปัจจัยย่อมเสื่อมไป และกุศลธรรมเป็นอเนกย่อม
ถึงความเจริญเต็มที่เพราะสัมมาวายามะเป็นปัจจัย
๗. มิจฉาสติ (ระลึกผิด) ของผู้มีสัมมาสติ ย่อมเสื่อมไป คือ
บาปอกุศลธรรมเป็นอเนกของบุคคลที่เกิดเพราะมิจฉาสติเป็น
ปัจจัยย่อมเสื่อมไป และกุศลธรรมเป็นอเนกย่อมถึงความ
เจริญเต็มที่เพราะสัมมาสติเป็นปัจจัย
๘. มิจฉาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นผิด) ของผู้มีสัมมาสมาธิ ย่อมเสื่อมไป
คือ บาปอกุศลธรรมเป็นอเนกของบุคคลที่เกิดเพราะมิจฉาสมาธิ
เป็นปัจจัยย่อมเสื่อมไป และกุศลธรรมเป็นอเนกย่อมถึงความเจริญ
เต็มที่เพราะสัมมาสมาธิเป็นปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๔๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๑๐ ประการ

๙. มิจฉาญาณะ (รู้ผิด) ของผู้มีสัมมาญาณะ ย่อมเสื่อมไป คือ
บาปอกุศลธรรมเป็นอเนกของบุคคลที่เกิดเพราะมิจฉาญาณะ
เป็นปัจจัยย่อมเสื่อมไป และกุศลธรรมเป็นอเนกย่อมถึงความ
เจริญเต็มที่เพราะสัมมาญาณะเป็นปัจจัย
๑๐. มิจฉาวิมุตติ (หลุดพ้นผิด) ของผู้มีสัมมาวิมุตติ ย่อมเสื่อมไป
คือ บาปอกุศลธรรมเป็นอเนกของบุคคลที่เกิดเพราะมิจฉา-
วิมุตติเป็นปัจจัยย่อมเสื่อมไป และกุศลธรรมเป็นอเนกย่อมถึง
ความเจริญเต็มที่เพราะสัมมาวิมุตติเป็นปัจจัย
นี้ คือธรรม ๑๐ ประการที่ควรรู้ยิ่ง
(ญ) ธรรม ๑๐ ประการที่ควรทำให้แจ้ง คืออะไร
คือ อเสขธรรม๑ ๑๐ ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ๒ที่เป็นอเสขะ
๒. สัมมาสังกัปปะที่เป็นอเสขะ
๓. สัมมาวาจาที่เป็นอเสขะ
๔. สัมมากัมมันตะที่เป็นอเสขะ
๕. สัมมาอาชีวะที่เป็นอเสขะ
๖. สัมมาวายามะที่เป็นอเสขะ
๗. สัมมาสติที่เป็นอเสขะ
๘. สัมมาสมาธิที่เป็นอเสขะ
๙. สัมมาญาณะ๓ที่เป็นอเสขะ
๑๐. สัมมาวิมุตติที่เป็นอเสขะ
นี้ คือธรรม ๑๐ ประการที่ควรทำให้แจ้ง

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๓๔๘ หน้า ๓๖๕ ในเล่มนี้ และดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๑๑/๒๕๖
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๓๔๘ หน้า ๓๖๕ ในเล่มนี้
๓ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๓๔๘ หน้า ๓๖๖ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า :๔๓๗ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] วรรคนี้มี ๑๑ พระสูตรได้แก่

ธรรม ๑๐๐ ประการนี้ เป็นของจริง เป็นของแท้ แน่นอน ไม่ผิดพลาด ไม่เป็น
อย่างอื่น ที่พระตถาคตตรัสรู้แล้วโดยชอบ ด้วยประการฉะนี้”
เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้ ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมภาษิตของ
ท่านพระสารีบุตรแล้วแล

ทสุตตรสูตรที่ ๑๑ จบ
ปาฏิกวรรค จบ

วรรคนี้มี ๑๑ พระสูตร ได้แก่

๑. ปาฏิกสูตร___๒. อุทุมพริกสูตร
๓. จักกวัตติสูตร___๔. อัคคัญญสูตร
๕. สัมปสาทนียสูตร___๖. ปาสาทิกสูตร
๗. ลักขณสูตร___๘. สิงคาลกสูตร
๙. อาฏานาฏิยสูตร___๑๐. สังคีติสูตร
๑๑. ทสุตตรสูตร

ปาฏิกวรรค จบ
ทีฆนิกายทั้งหมดมี ๓๔ สูตร จัดเป็น ๓ วรรค

จบบริบูรณ์


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ สุตตันตปิฎกที่ ๐๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค จบ





eXTReMe Tracker